dhamma-scholar-book / 33 /330017.csv
uisp's picture
init upload
c5b6280
Book,Page,LineNumber,Text
33,0017,001,"คำว่า "" อวด "" มีอาการ ๓ อย่าง "
33,0017,002,๑. อวด (โกหก) อวดตรง ๆ กับคนคนเดียว ว่าข้าพเจ้าถึง
33,0017,003,"ธรรมอย่างนั้น ๆ ถ้าผู้นั้นเข้าใจคำพูด ต้องปาราชิก, ถ้าไม่เข้าใจ ต้อง"
33,0017,004,ถุลลัจจัย.
33,0017,005,๒. อวดตรง ๆ กับคนมาก ถ้าเขาเข้าใจคำพูดแม้เพียงคนเดียว
33,0017,006,"ก็ต้องปาราชิก, ถ้าไม่เข้าใจ ต้องถุลลัจจัย."
33,0017,007,๓. อวดโดยอ้อม คืออ้างลักษณะก็ดี อ้างบริขารเป็นต้นก็ดี
33,0017,008,ว่าภิกษุมีรูปร่างเช่นนั้น ๆ ใช้บาตรเช่นนั้น ๆ โดยหมายใจให้ผู้ฟังเข้าใจว่า
33,0017,009,ตนได้บรรลุธรรมเช่นนั้น ๆ ถ้าผู้ฟังเข้าใจ ต้องถุลลัจจัย ถ้าไม่เข้าใจ
33,0017,010,ต้องทุกกฏ.
33,0017,011,การอวดทั้ง ๓ อย่างนี้ ผู้ฟังจะเชื่อหรือไม่เชื่อไม่เป็นประมาณ แต่
33,0017,012,ถืออาการเข้าใจหรือความไม่เข้าใจเป็นประมาณ.
33,0017,013,- สิกขาบทนี้ เป็นสจิตตกะ.
33,0017,014,- เชื่อหรือไม่ ไม่สำคัญ.
33,0017,015,<B>ตัวอย่างคำถาม</B> ภิกษุอวดอุตตริมนุสสธรรมแก่คนหลายคน เขาเชื่อบ้าง
33,0017,016,ไม่เชื่อบ้าง อยากทราบว่า ผู้อวดต้องอาบัติอะไร ?
33,0017,017,<B>ตอบ</B> ถ้าไม่มี อวด เขาเข้าใจแม้คนเดียว ต้องปาราชิก.
33,0017,018,ถ้าเขาไม่เข้าใจ ต้องถุลลัจจัย.
33,0017,019,"ถ้ามี, อวดแก่อนุสัมบัน ต้องปาจิตตีย์."
33,0017,020,"ถ้ามี, อวดแก่ภิกษุ ไม่ต้องอาบัติ. เขาจะเชื่อหรือไม่"
33,0017,021,ไม่เป็นประมาณ.