dhamma-scholar-book / 35 /350003.csv
uisp's picture
init upload
c5b6280
Book,Page,LineNumber,Text
35,0003,001,"""มาเถิดภิกษุ จงประพฤติพรหมจรรย์เถิด"" ดังนี้เป็นต้น. ผู้นั้นถือเพศ "
35,0003,002,คือ โกนผม นุ่งห่มสบงจีวร เป็นเสร็จพิธี.
35,0003,003,๒. ขอบวชต่อพระสาวก ต้องปลงผม นุ่งห่มสบงจีวรก่อน แล้ว
35,0003,004,ลั่นวาจาถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะคือเป็นที่พึ่งที่ระลึก ๓ หน เป็นเสร็จพิธี.
35,0003,005,๓. ผู้มีอายุไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ขอบวช ก็บวชด้วยวิธีที่ ๒
35,0003,006,สำเร็จเป็นสามเณร.
35,0003,007,๔. คฤหัสถ์ผู้ไม่ต้องการบวช ลั่นวาจาถึงพระพุทธ - พระธรรม -
35,0003,008,"พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ <B>ถ้าอายุเกิน ๑๕ ปี ผู้ชาย เรียกว่า ""อุบาสก"""
35,0003,009,"หญิง เรียกว่า ""อุบาสิกา"" ถ้าอายุ ๑๕ ลงมา ๑๒ ขึ้นไป เรียกว่า"
35,0003,010,"""พุทธมามกะ"" หรือ ""พุทธมามิกา""</B> ตามเพศชาย - หญิง."
35,0003,011,การปฏิญาณตนเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา คนหนึ่งจะปฏิญาณ
35,0003,012,หลายครั้ง ตามความเลื่อมใสศรัทธาก็ได้.
35,0003,013,ประเพณีนิยมแสดงตนเป็นพุทธมามกะในประเทศไทย ในปัจจุบัน
35,0003,014,มีสรุปได้ ๔ คราว คือ :-
35,0003,015,๑. คราวที่บุตร - หลาน มีอายุพ้นเขตทารก คือระหว่างอายุ
35,0003,016,๑๒-๑๕ ปี เพื่อให้เด็กสืบความเป็นชาวพุทธตามตระกูลวงศ์.
35,0003,017,๒. คราวส่งบุตร - หลาน ที่เป็นชาวพุทธอยู่แล้ว ไปอยู่ในถิ่น
35,0003,018,ศาสนาอื่นนานแรมปี เพื่อให้เด็กระลึกอยู่เสมอว่า ตนเป็น
35,0003,019,พุทธศาสนิกชน. หรือเมื่อเข้าโรงเรียนต่างศาสนา.
35,0003,020,๓. คราวที่เด็กเข้าศึกษาในโรงเรียนที่สอนวิชาทั้งสามัญศึกษาและ
35,0003,021,วิสามัญศึกษา เพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญในการที่ตนเป็น
35,0003,022,ชาวพุทธอยู่ร่วมกัน.