dhamma-scholar-book / 35 /350027.csv
uisp's picture
init upload
c5b6280
Book,Page,LineNumber,Text
35,0027,001,"๑. <B>ประนมมือ</B> ในบาลีเรียกว่า ""<B>ทำอัญชลี</B>"" คือประกบฝ่ามือ "
35,0027,002,ให้นิ้วแนบชิดติดตรงกัน ประคองไว้ตรงระหว่างอก ปลายนิ้วเชิดขึ้น
35,0027,003,ศอกแนบชิดชายโครง. ในเวลาสวดมนต์ ฟังสวด ฟังเทศน์ รับศีล
35,0027,004,และเวลาพูดกับพระผู้ใหญ่ เป็นต้น.
35,0027,005,"๒. <B>ไหว้</B> ในบาลีเรียกว่า ""<B>นมัสการ</B>"" คือยกมือประนม ก้ม"
35,0027,006,ศีรษะลงเล็กน้อย หัวแม่มือจดระหว่างคิ้ว นิ้วชี้จดส่วนบนหน้าผาก. ใน
35,0027,007,เวลาพระนั่งเก้าอี้ หรือยืน เดินอยู่ในที่อันไม่ควรกราบ.
35,0027,008,"๓. <B>กราบ</B> ในบาลีเรียกว่า ""<B>อภิวาท</B>"" คือกราบลงด้วยองค์ ๕"
35,0027,009,"เรียกว่า ""<B>เบญจางคประดิษฐ์</B>"" องค์ ๕ คือหน้าผาก ๑ ฝ่ามือตลอด"
35,0027,010,ถึงข้อศอก ๒ เข่า ๒ จดพื้น.
35,0027,011,"การกราบ ผู้ชายนั่ง ""<B>ท่าพรหม</B>"" คือคุกเข้า ฝ่าเท้ายันพื้นกับ"
35,0027,012,"กัน, ผู้หญิงนั่ง ""<B>ท่านเทพธิดา</B>"" คือคุกเข่า ฝ่าเท้าเหยียดออกไปรองกัน."
35,0027,013,กราบในเวลาทำวัตร และเวลาแสดงคารวะอย่างสูง.
35,0027,014,๒. วิธีประเคนของพระ
35,0027,015,การประเคนของพระ คือการถวายของให้ถึงมือพระ. ถ้าผู้หญิง
35,0027,016,ประเคน ต้องวางบนผ้าหรือภาชนะ เช่นบาตร เป็นต้น ที่พระถืออยู่.
35,0027,017,ของที่ประเคน ต้องไม่เป็น <B>วัตถุอนามาส</B> หรือของที่พระไม่ควร
35,0027,018,จับ เช่น <B>เงิน ทองคำ</B> และไม่เป็นของที่หนักถึงกับต้องหาม. แม้
35,0027,019,อาหารทุกชนิด ถ้าเลยเที่ยงแล้ว ก็ไม่ต้องประเคน.
35,0027,020,ผู้ประเคน พึงเข้าใกล้พระประมาณ ๑ ศอก ไม่เกินศอกคืบ จะนั่ง
35,0027,021,หรือยืน แล้วแต่สถานที่. จับของสองมือ (บางอย่างต้องจับมือเดียว เช่น
35,0027,022,ช้อนตักของใส่บาตร) ยกขึ้น น้อมถวาย เสร็จแล้วไหว้หรือกราบ