|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
39,0002,001,ให้สมบูรณ์ในชั้นศีล สมาธิและปัญญาได้มากน้อยแต่ไหนเพียงไร พระอริย
|
|
39,0002,002,บุคคลประเภทนี้ ท่านจึงแบ่งออกเป็น ๓ ระดับด้วยกัน ด้วยอำนาจการละ
|
|
39,0002,003,สังโยชน์ คือกิเลสเป็นเครื่องผูกมัดใจสัตว์ไว้ได้ไม่เท่ากันคือ
|
|
39,0002,004,<B>๑. พระโสดาบัน</B> ละสังโยชน์ คือกิเลสที่ผูกใจสัตว์ไว้ได้เด็ดขาด
|
|
39,0002,005,๓ ประการ คือ
|
|
39,0002,006,<B>๑.๑ สักกายทิฏฐิ</B> ความเห็นเป็นเหตุ ถือตัวถือตน ถือเรา ถือเขา
|
|
39,0002,007,เป็นเราเป็นเขา ตลอดถึงพวกเราพวกเขา และความยึดถือในลักษณะนี้
|
|
39,0002,008,อาจจะลึกลงไปจนถึงความยึดถือในขันธ์ทั้ง ๕ ประการ คือ รูป เวทนา
|
|
39,0002,009,สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าขันธ์ ๕ เป็นเรา เราเป็นขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ มีในเรา
|
|
39,0002,010,หรือ เรามีอยู่ในขันธ์ ๕ พระอริยบุคคลระดับโสดาบัน ก็สามารถละสังโยชน์
|
|
39,0002,011,ระดับนี้ออกไปจากใจได้ ทั้งส่วนหยาบและส่วนละเอียด
|
|
39,0002,012,<B>๑.๒ วิจิกิจฉา</B> ความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจในสิ่งต่าง ๆ เช่นไม่
|
|
39,0002,013,แน่ใจระหว่างความดี ความชั่ว ไม่แน่ใจในผลของกรรม ตัวการที่สำคัญก็คือ
|
|
39,0002,014,ว่าเกิดความเคลือบแคลงสงสัยในคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
|
|
39,0002,015,ในไตรสิกขาคือเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา ในเรื่องอดีต หรือภพชาติ ต่าง ๆ
|
|
39,0002,016,ในอดีต เรื่องอนาคต คือความจะมีความจะเป็นในอนาคต สงสัยหมดทั้งอดีต
|
|
39,0002,017,และอนาคต ซึ่งมาสรุปรวมที่ความสงสัยในกำของปฏิจจสมุปบาท คือธรรมที่
|
|
39,0002,018,เป็นปัจจัยอาศัยกันและกันเกิดขึ้น ซึ่งบางครั้งทรงใช้คำว่า ปัจจยาการ คือ
|
|
39,0002,019,อาการที่เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย บางครั้งทรงใช้คำว่าอิทัปปัจจยตา เมื่อสิ่งนี้มี
|
|
39,0002,020,สิ่งนี้ก็มี สิ่งนี้เกิด สิ่งนี้ก็เกิด สิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี สิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ พระ
|
|
39,0002,021,โสดาบันบุคคลนั้น สามารถละในส่วนของความเคลือบแคลงสงสัยในคุณของ
|
|
|