dhamma-scholar-book / 39 /390007.csv
uisp's picture
init upload
c5b6280
Book,Page,LineNumber,Text
39,0007,001,กัมมัฏฐาน ๒
39,0007,002,<B>สมถกัมมัฏฐาน</B> กัมมัฏฐานเป็นอุบายสงบใจ
39,0007,003,<B>วิปัสสนากัมมัฏฐาน</B> กัมมัฏฐานเป็นอุบายเรืองปัญญา
39,0007,004,<B>กัมมัฏฐาน</B> แปลว่า การงานที่บุคคลควรทำในด้านจิตใจ พระผู้มี
39,0007,005,พระภาคเจ้าทรงจำแนกแสดงไว้เป็น ๒ ระดัง คือ
39,0007,006,<B>( ๑ ) สมถกัมมัฏฐาน</B> กัมมัฏฐานเนื่องด้วยบริกรรม ไม่เน้นหนัก
39,0007,007,ในด้านการใช้ปัญญา พินิจพิจารณา จัดเป็นสมถกัมมัฏฐาน ซึ่งท่านแปลว่า
39,0007,008,กัมมัฏฐานเป็นอุบายสงบใจ ถ้าจะตั้งปัญหาถามว่า สงบใจจากอะไร ก็ตอบ
39,0007,009,ว่า สงบใจจากนิวรณ์ธรรมทั้ง ๕ ประการ คือ
39,0007,010,<B>๑. กามฉันท์</B> ใจที่เหนี่ยวนึกถึงเรื่องที่น่าใคร่ น่าปรารถนา
39,0007,011,น่าพอใจ ซึ่งตนได้เห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหู ได้สูดดมด้วยจมูก ได้ลิ้มด้วย
39,0007,012,ลิ้น ได้ถูกต้องด้วยกาย สิ่งเหล่านั้นถูกเก็บไว้ภายในใจ ทำให้ใจไปเหนี่ยว
39,0007,013,นึกด้วยความใคร่ ความปรารถนาในสิ่งนั้น ใจที่มีลักษณะเช่นนี้ จึงเหมือน
39,0007,014,กับการตกเป็นหนี้ของบุคคลเหล่าอื่น ซึ่งจะต้องชดใช้อยู่เรื่อยไป
39,0007,015,<B>๒. พยาบาท</B> ใจที่เหนี่ยวนึกไปด้วยใจอาฆาตพยาบาท ผูกใจ
39,0007,016,เจ็บ ต้องการจะโต้ตอบ ทำอันตรายล้างผลาญ ฝ่ายที่ทำให้ตนไม่พอใจความ
39,0007,017,คิดในแนวนี้จึงเหมือนกับโรคของใจ ทำนองเดียวกับโรคของกายที่เกิด
39,0007,018,ขึ้นแล้ว บุคคลที่เป็นโรคนั้นจะต้องถูกโรคเสียดแทงให้เกิดความเร่าร้อน