|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
39,0010,001,<B>( ๒ ) วิปัสสนากัมมัฏฐาน</B> กัมมัฏฐานเป็นอุบายเรืองปัญญา
|
|
39,0010,002,เป็นการสอนให้บุคคลใช้ปัญญา สติและความเพียรพยายามเพ่ง
|
|
39,0010,003,พินิจดูสิ่งที่เราเรียกว่า ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
|
|
39,0010,004,หรือพูดโดยสรุปว่า รูป นาม คำว่ารูปนั้น คือสิ่งที่เราเห็นด้วยตา ได้ยินด้วย
|
|
39,0010,005,หู สูดดมด้วยจมูก ลิ้มด้วยลิ้น ถูกต้องด้วยกาย สิ่งที่เรียกว่านาม ได้แก่
|
|
39,0010,006,สิ่งที่เรารู้ด้วยใจ เช่นความสุข ความทุกข์ ความรัก ความเมตตา ความ
|
|
39,0010,007,กรุณา เป็นต้น นั้นเป็นนาม เพราะฉะนั้น สิ่งใดที่เป็นรูป เสียง กลิ่น รส
|
|
39,0010,008,เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ซึ่งบุคคลสัมผัสได้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย สรุปรวม
|
|
39,0010,009,เรียกว่าเป็นรูป บุคคลได้ใช้ปัญญาพินิจพิจารณามองดูรูปนามเหล่านั้น ใน
|
|
39,0010,010,แง่ของความเป็นจริง ตามหลักของสามัญลักษณะ คือลักษณะที่เสมอกัน
|
|
39,0010,011,ในสัตว์และสังขารทั้งหลาย ได้แก่ความเป็นของไม่เที่ยง เพราะ
|
|
39,0010,012,ไม่ว่ารูปหรือนามก็ตาม ล้วนแล้วแต่มีความเกิดขึ้น และมีความ
|
|
39,0010,013,เสื่อมไปเป็นธรรมดาในขณะที่เกิดมาแล้ว ก็มีการแปรปรวนเปลี่ยนแปลง
|
|
39,0010,014,ไปตลอดเวลา ไม่หยุดอยู่กับที่ สิ่งเหล่านั้นดำรงอยู่ได้เพียงชั่วขณะ ชั่วครั้ง
|
|
39,0010,015,ชั่วคราวเท่านั้น ดังนี้รูปนามทั้งหมดจึงตรงกันข้ามกับความเที่ยงแท้แน่
|
|
39,0010,016,นอน มองเห็นว่าเป็นทุกขตา คือความเป็นทุกข์ รูปนามชื่อว่าเป็นทุกข์
|
|
39,0010,017,อย่างไร
|
|
39,0010,018,รูปนามชื่อว่าเป็นทุกข์เพราะเกิดขึ้นจากเหตุปัจจัย มีการเบียดเบียน
|
|
39,0010,019,ทั้งกายและจิต ก่อให้เกิดความเร่าร้อนและตรงกันข้ามกับสิ่งที่เป็นสุข
|
|
39,0010,020,มองให้เห็นในแง่ของความเป็นอนัตตา คือความไม่ใช่ตัวใช่ตน
|
|
39,0010,021,เพราะว่าไม่มีใครสามารถบังคับบัญชา รูปนามให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ
|
|
|