|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
39,0024,001,ธรรม ๒
|
|
39,0024,002,<B>โลกิยธรรม</B> ธรรมอันเป็นวิสัยของโลก
|
|
39,0024,003,<B>โลกุตรธรรม</B> ธรรมอันพ้นวิสัยของโลก
|
|
39,0024,004,<B>๑. โลกิยธรรม</B> หมายถึงธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และเป็นกลาง ๆ
|
|
39,0024,005,ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดบุญ เกิดบาป ทำให้ผู้ประพฤติ ผู้กระทำ ประสบความ
|
|
39,0024,006,ทุกข์ ความสุข ในชั้นของโลก ในด้านความสุข สามารถสร้างความสุข
|
|
39,0024,007,ที่ประณีตขึ้นไป ยังต้องบังเกิดในภพชาติต่าง ๆ ที่ประณีตขึ้นไปโดยลำดับ
|
|
39,0024,008,จนถึงพรหมโลกในที่สุด ได้ชื่อว่าโลกิยธรรมทั้งหมด ดังนั้น ศีล ๕ ประการ
|
|
39,0024,009,ก็ดี ธรรม ๕ ประการ คือ ความเมตตา สัมมาอาชีพ สทารสันโดษ คือ
|
|
39,0024,010,ยินดีในภรรยาของตนเอง พูดความจริง ความมีสติและประโยชน์ในปัจจุบัน
|
|
39,0024,011,มีความหมั่น ขยันในการทำงาน การรู้จักเก็บออมรักษาทรัพย์สมบัติเอาไว้
|
|
39,0024,012,คบหาสมาคมกับคนดีเป็นมิตรเป็นหาย รู้ประมาณในการใช้จ่ายทรัพย์
|
|
39,0024,013,เป็นต้น ได้ชื่อว่าเป็นโลกิยธรรมทั้งหมด
|
|
39,0024,014,<B>๒. โลกุตรธรรม</B> คือธรรมอันพ้นวิสัยของชาวโลกทั่ว ๆ ไป
|
|
39,0024,015,เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ได้แก่ธรรมะเพียง ๙ ประการ คือ <B>โสดาปัตติมรรค
|
|
39,0024,016,โสดาปัตติผล สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล
|
|
39,0024,017,อรหัตมรรค อรหัตผล</B> กับ<B>นิพพาน</B> รวมเรียกว่า <B>โลกุตรธรรม</B> เพื่อ
|
|
39,0024,018,ให้เกิดความเข้าใจง่าย นอกจากมรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ แล้ว นอกจาก
|
|
39,0024,019,นั้นได้ชื่อว่าเป็นโลกิยธรรมทั้งหมด ส่วนมรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ได้ชื่อ
|
|
39,0024,020,ว่า โลกุตรธรรม ธรรมอันพ้นวิสัยของชาวโลก
|
|
|