dhamma-scholar-book / 39 /390040.csv
uisp's picture
init upload
c5b6280
Book,Page,LineNumber,Text
39,0040,001,รูป ๒
39,0040,002,<B>มหาภูตรูป</B> รูปใหญ่
39,0040,003,<B>อุปาทายรูป</B> รูปอาศัย
39,0040,004,คำว่า <B>รูป</B> แปลว่า สิ่งที่เสื่อมสลายไป เพราะเหตุปัจจัย ดังนั้น
39,0040,005,สิ่งอะไรก็ตามที่บุคคลเห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหู สูดดมด้วยจมูก ลิ้มด้วยลิ้น
39,0040,006,"และถูกต้องด้วยกาย สรุปรวมว่าเป็น "" รูป "" ท่านจำแนกรูปออกเป็นสอง"
39,0040,007,กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
39,0040,008,<B>๑. มหาภูตรูป</B> รูปใหญ่ ได้แก่ ธาตุทั้ง ๔ ประการ คือ
39,0040,009,๑. ลักษณะใดเข้มแข็ง ที่ปรากฏอยู่ในกายนี้ เช่น ผม ขน เล็บ
39,0040,010,ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด
39,0040,011,ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า เรียกว่า ปฐวีธาตุ คือ ธาตุดิน
39,0040,012,๒. ลักษณะใดที่ไหลเอิบอาบไปมาได้ เช่น น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ
39,0040,013,น้ำเหงือ น้ำตา เปลวมัน ปัสสาวะ เป็นต้น เรียกว่า อาโปธาตุ คือ ธาตุน้ำ
39,0040,014,๓. ลักษณะใดที่พัดผันไปมาได้ เช่น ลมหายใจ ลมพัดขึ้นเบื้องบน
39,0040,015,ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมตามตัว เรียกว่า วาโยธาตุ คือ
39,0040,016,ธาตุลม
39,0040,017,๔. ธาตุอันใดทำกายให้อบอุ่น ทำกายให้ทรุดโทรม ทำกายให้กระวน
39,0040,018,กระวาย เผาอาหารให้ย่อย เรียกว่า เตโชธาตุ คือ ธาตุไฟ รวมธาตุทั้ง
39,0040,019,๔ ประการเข้าก็จัดเป็นมหาภูตรูป แปลว่า รูปใหญ่