|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
42,0020,001,เข้ามาเป็นเหตุให้ขัดขวาง นี้แลเป็นเหตุให้ภิกษุหันหาทางหลีกเลี่ยง
|
|
42,0020,002,และเลิกเสีย คือทนต้องอาบัติ.
|
|
42,0020,003,ราชกวี
|
|
42,0020,004,ถ. คำว่าสิกขากับสิกขาบท ต่างกันอย่างไร หรือเหมือนกัน ?
|
|
42,0020,005,ต. ต่างกัน โดยหมายความกว้างแคบกว่ากัน. สิกขาได้แก่ศีล
|
|
42,0020,006,สมาธิ และปัญญา ซึ่งเป็นที่รวบรวมพระพุทธศาสโนวาททั้งสิ้น ส่วน
|
|
42,0020,007,สิขาบทหมายความเฉพาะข้อห้ามอันหนึ่ง ๆ แห่งพระวินัยบัญญัติ
|
|
42,0020,008,อย่างเดียวกับบทหรือมาตราอันหนึ่ง ๆ แห่งพระราชบัญญัติหรือกฎหมาย
|
|
42,0020,009,ฉะนั้น.
|
|
42,0020,010,๙/๙/๒๔๖๗
|
|
42,0020,011,ถ. พระอริยบุคคล ตั้งต้นแต่พระโสดาบันจนถึงพระอรหันต์
|
|
42,0020,012,ท่านยังต้องอาบัติหรือไม่ ? ตอบเช่นนั้น พูดเอาเองหรือมีอะไรเป็น
|
|
42,0020,013,เครื่องอ้าง ?
|
|
42,0020,014,ต. พระอริยบุคคล ตั้งต้นแต่พระโสดาบันจนถึงพระอรหันต์
|
|
42,0020,015,ย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง. ตอบเช่นนี้
|
|
42,0020,016,ไม่ได้พูดเอาเอง อาศัยพระสูตรมาในวรรคที่ ๔ แห่งทุติยปัณณาสก์
|
|
42,0020,017,ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ ทรงไว้ใน
|
|
42,0020,018,วินัยมุขเล่ม ๑ หน้า ๒๒.
|
|
42,0020,019,๒๔๘๑
|
|
42,0020,020,ถ. คำว่าย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติ
|
|
42,0020,021,บ้างนั้น มีอธิบายอย่างไร ?
|
|
|