dhamma-scholar-book / 42 /420026.csv
uisp's picture
init upload
c5b6280
Book,Page,LineNumber,Text
42,0026,001,แห่งปาราชิกในคราวเดียว แต่รวมตีราคาถึงวัตถุปาราชิก เรียก
42,0026,002,นานาภัณฑะ ต่างกันอย่างนี้.
42,0026,003,๒๔๖๔
42,0026,004,ถ. การถือเอาทรัพย์เป็นอสังหาริมะ กำหนดว่าถึงที่สุดด้วย
42,0026,005,อะไร ? จงอธิบาย.
42,0026,006,ต. ด้วยขาดกรรมสิทธิ์แห่งเจ้าของ. ตัวอย่าง เช่น ภิกษุกล่าวตู่
42,0026,007,เพื่อที่จะเอาที่ดินของผู้ใดผู้หนึ่ง เจ้าของเป็นผู้มีวาสนาน้อยเถียงไม่ขึ้น
42,0026,008,ทอดกรรมสิทธิ์ของตนเสีย ภิกษุต้องอาบัติถึงที่ในขณะนั้น ถ้าเจ้าของ
42,0026,009,ยังไม่ปล่อยกรรมสิทธิ์ ฟ้องภิกษุในศาลเพื่อเรียกที่ดินคืนต่างเป็นความ
42,0026,010,แก้คดีกัน ถ้าเจ้าของแพ้ ภิกษุต้องอาบัติถึงที่. ภิกษุเป็นโจทฟ้อง
42,0026,011,ความเองเพื่อตู่เอาที่ดินก็เหมือนกัน. แต่คำว่าเจ้าของแพ้ความนั้น
42,0026,012,พึงเข้าใจว่าแพ้ในศาลสูงสุดที่คดีเป็นจบลงเพียงเท่านั้น.
42,0026,013,๒๔๖๔
42,0026,014,ถ. ภิกษุต้องปาราชิกเพราะทรัพย์ของตนเองจักมีหรือไม่ ? ถ้ามี
42,0026,015,จัดเข้าในอวหารข้อไหน ? จงตอบให้ได้ความชัด.
42,0026,016,ต. มี จัดเข้าในสังเกตวีตินามนะ เช่นภิกษุนำของควรแก่
42,0026,017,ภาษีมาจะผ่านที่เก็บภาษี ซ่อนของเหล่านั้นเสีย หรือของมากซ่อน
42,0026,018,ให้เห็นแต่น้อย ดังนี้ ต้องอาบัติถึงที่สุดขณะนำของนั้นล่วงพ้นเขต
42,0026,019,เก็บภาษี เพื่อจำง่าย เรียกว่าตระบัด อวหารบทนี้เพ่งทรัพย์ของตน
42,0026,020,แต่ต้องเสียให้แก่ผู้ครองบ้านเมืองที่ตนนำของผ่านเข้าไป ข้อนี้แสดง
42,0026,021,ให้เห็นว่า ฝ่ายพระยอมนับถือกรรมสิทธิ์ของผู้ครองบ้านเมืองในที่จะ
42,0026,022,เก็บภาษี ซึ่งท่านจะพึงได้จากตนตามจำนวนสินค้า ในคัมภีร์วิภังค์