dhamma-scholar-book / 45 /450016.csv
uisp's picture
init upload
c5b6280
Book,Page,LineNumber,Text
45,0016,001,พิธีทำสามีจิกรรม
45,0016,002,เป็นธรรมเนียมของสงฆ์อย่างหนึ่งที่ภิกษุสามเณรพึงทำความชอบต่อกัน
45,0016,003,เพื่อความสามัคคีกัน อยู่ร่วมกันโดยสงบสุข การทำความชอบนี้เรียกว่า สามีจิกรรม
45,0016,004,หมายถึงการขอขมาโทษกัน ให้อภัยกัน ทุกโอกาสไม่ว่าจะมีโทษขัดข้องหมองใจกัน
45,0016,005,หรือไม่ก็ตาม ถึงโอกาสที่ควรทำสามีจีกรรมกันแล้ว ทุกรูปไม่พึงละโอกาสเสีย จึงได้ชื่อ
45,0016,006,ว่าเป็นภิกษุสามเณรที่ดีปฏิบัติชอบตามระบอบพระธรรมวินัย โอกาสควรทำสามีจิกรรม
45,0016,007,นั้นโดยนิยมมีดังนี้
45,0016,008,๑) ในวันเข้าพรรษา ทั้งภิกษุและสามเณรที่ร่วมอยู่วัดเดียวกันควรทำสามี
45,0016,009,จิกรรมต่อกัน เรียงตัวตั้งแต่ผู้มีอาวุโสมากที่สุด ถึงสามเณรรูปสุดท้ายในวัด ไม่ควรเว้น
45,0016,010,เพื่อความสามัคคีในวัด
45,0016,011,๒) ในระยะเข้าพรรษา เริ่มแต่วันเข้าพรรษาและหลังวันเข้าพรรษา ระยะ
45,0016,012,เวลาประมาณ ๗ วัน ควรทำสามีจิกรรมต่อท่านที่เคารพนับถือ ซึ่งอยู่ต่างวัดโดยทั่ว
45,0016,013,ถึงกัน
45,0016,014,๓) ในโอกาสจะจากกันไปอยู่วัดอื่นหรือถิ่นอื่น นิยมทำต่อผู้ท่านผู้มีอาวุโส
45,0016,015,กว่าตนในวัด และต่อท่านที่เคารพนับถือทั่วไป เป็นการลาจากกัน
45,0016,016,ทั้ง ๒ กรณีนี้ เป็นการทำสามีจิกรรม แบบขอขมาโทษ นอกจากนี้ยังมี
45,0016,017,ีสามีจิกรรมแบบถวายสักการะเป็นการแสดงมุทิตาจิตอีกแบบหนึ่ง นิยมทำต่อท่าน
45,0016,018,ที่ตนเคารพนับถือในโอกาสที่ท่านผู้นั้นได้รับอิสริยศักดิ์ หรือได้รับยกย่องในฐานันดรศักดิ์
45,0016,019,เป็นการแสดงจิตใจที่พลอยยินดีให้ปรากฏ
45,0016,020,เพราะความมุ่งหมายและเหตุผลของการทำสามีจิกรรมมีดังกล่าว การ
45,0016,021,กระทำจึงเกิดพิธีขึ้นโดยนิยมเป็นแบบ ๆ ดังต่อไปนี้