dhamma-scholar-book / 45 /450045.csv
uisp's picture
init upload
c5b6280
Book,Page,LineNumber,Text
45,0045,001,พิธีเจริญพระพุทธมนต์
45,0045,002,<B>การเจริญพระพุทธมนต์</B> เป็นพิธีกรรมฝ่ายสงฆ์พึงปฏิบัติโดยเฉพาะในงาน
45,0045,003,มงคลต่าง ๆ ได้แก่การที่พระสงฆ์ตามจำนวนนิยมของพิธีร่วมกันสาธยายมนต์จาก
45,0045,004,คาถาพุทธภาษิตบ้าง จากพระสูตรบ้าง จากมนต์ของเกจิอาจารย์เป็นธรรมคติบ้าง ตาม
45,0045,005,ที่ท่านพระโบราณาจารย์กำหนดไว้โดยควรแก่พิธีนั้น ๆ การสาธยายมนต์ของพระสงฆ์
45,0045,006,"ในพิธีทำบุญ ถ้าเป็นงานมงคลนิยมเรียกว่า ""<B>เจริญพระพุทธมนต์</B>"" แต่ถ้าเป็นงาน"
45,0045,007,"อวมงคล นิยมเรียกเป็นระเบียบว่า ""<B>สวดพระพุทธมนต์</B>"" เรียกคำกิริยาสาธยายว่า"
45,0045,008,"""<B>เจริญ</B>"" หรือ ""<B>สวด</B>"" ต่างกันตามประเภทของงานเท่านั้น แต่เมื่อพูดอย่างภาษา"
45,0045,009,"ชาวบ้านทั่วไป ก็พูดกันเพียงเข้าใจง่าย ๆ ว่า ""<B>สวดมนต์</B>"" ทั้งในงานมงคลและงาน"
45,0045,010,อวมงคล
45,0045,011,ก่อนจะชี้แจงถึงพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ซึ่งหมายถึงพิธีที่พระสงฆ์สวดมนต์
45,0045,012,ในงานมงคลนั้นจำเป็นต้นรู้จักลักษณะบทพระพุทธมนต์ที่ใช้ในงานมงคลต่าง ๆ
45,0045,013,เป็นเบื้องแรก ซึ่งมียมเป็นระเบียบแบบต่าง ๆ ใช้กันทั่วไปอยู่ ดังนี้
45,0045,014,๑. เจ็ดตำนาน
45,0045,015,๒. สิบสองตำนาน
45,0045,016,๓. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
45,0045,017,๔. มหาสมยสูตร
45,0045,018,๕. โพชฌงคสูตร