|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
48,0040,001,อีกประการหนึ่ง พึงทำไว้ในใจซึ่งธรรม ๕ คือ :-
|
|
48,0040,002,๑. ความการุญ.
|
|
48,0040,003,๒. ความหวังประโยชน์.
|
|
48,0040,004,๓. ความเอ็นดู.
|
|
48,0040,005,๔. ความออกจากอาบัติ.
|
|
48,0040,006,๕. ความทำวินัยเป็นเบื้องต้น.
|
|
48,0040,007,การโจท มี ๒ คือ :-
|
|
48,0040,008,๑. โจทด้วยกาย.
|
|
48,0040,009,๒. โจทด้วยวาจา.
|
|
48,0040,010,ผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ มีรวม ๓ คือ :-
|
|
48,0040,011,๑. สงฆ์ (สำหรับเรื่องสลักสำคัญ).
|
|
48,0040,012,๒. คณะ (สำหรับเรื่องไม่สำคัญนัก).
|
|
48,0040,013,๓. บุคคล (สำหรับเรื่องเล็กน้อย).
|
|
48,0040,014,ภิกษุผู้จะเข้าสู่วินิจฉัย ควรประพฤติ ดังนี้ :-
|
|
48,0040,015,๑. พึงเป็นผู้เจียมตน.
|
|
48,0040,016,๒. พึงเป็นผู้รู้จักที่นั่ง (ไม่เบียดพระเถระ ไม่กีดภิกษุผู้อ่อนกว่า).
|
|
48,0040,017,๓. พึงนั่งอาสนะอันสมควร.
|
|
48,0040,018,๔. ไม่พึงพูดเรื่องต่าง ๆ.
|
|
48,0040,019,๕. พึงรักษาดุษณีภาพ.
|
|
48,0040,020,คำขอโอกาสของโจทก์ต่อจำเลย
|
|
48,0040,021,""" กโรตุ เม อายสฺมา โอกาสํ อหนฺตํ วตฺตุกาโม """
|
|
48,0040,022,ขอท่านจงทำโอกาสแก่ข้าพเจ้า ๆ ใคร่จะกล่าวกะท่าน.
|
|
|