|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
05,0037,001,ข้อว่า <B>อฏฺฐมํ วตฺถุํ ปริปูเรนฺตี อสฺสมณี โหติ </B> มีความว่า
|
|
05,0037,002,ภิกษุณีทำวัตถุที่ ๘ ให้เต็มบริบูรณ์ โดยนัยใดนัยหนึ่ง จะเป็นโดยอนุโลม
|
|
05,0037,003,หรือโดยปฏิโลม หรือโดยคั่นเป็นตอนก็ตาม เป็นผู้มิใช่สมณี. ส่วนภิกษุณีใด
|
|
05,0037,004,ทำวัตถุเดียว หรือ ๗ วัตถุให้เต็มแม้ตั้ง ๗ ครั้ง จะเป็นผู้ชื่อว่ามิใช่สมณีหามิได้
|
|
05,0037,005,"เลย, ภิกษุณีนั้นแสดงอาบัติที่ต้องแล้วย่อมพ้นได้. อีกนัยหนึ่ง ในสิกขาบทนี้ "
|
|
05,0037,006,บัณฑิต. พึงทราบอาบัติที่ควรนับ. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
|
|
05,0037,007,อาบัติที่แสดงแล้วควรนับ (ว่าแสดงแล้ว) ก็มี อาบัติที่แสดงแล้วไม่ควรนับ
|
|
05,0037,008,(ว่าแสดงแล้ว) ก็มี.
|
|
05,0037,009,ในคำว่า <B>เทสิตา คณนูปิกา</B> เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
|
|
05,0037,010,อาบัติที่ภิกษุณีทำการทอดธุระ แสดงว่า บัดนี้เราจักไม่ต้อง จัดว่าควรนับ คือ
|
|
05,0037,011,ถึงการนับว่าได้แสดงแล้ว ไม่เป็นองค์แห่งปาราชิก. เพราะฉะนั้น ภิกษุณีใด
|
|
05,0037,012,ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ทำการทอดธุระ แสดงแล้ว กลับต้องอีกด้วยอำนาจแห่ง
|
|
05,0037,013,"กิเลส, กลับแสดงอีก. ภิกษุณีนั้นแม้เมื่อทำวัตถุทั้ง ๘ ให้เต็มอย่างนี้ ก็ไม่"
|
|
05,0037,014,เป็นปาราชิก. ก็ภิกษุณีใดต้องแล้ว แสดงทั้ง ๆ ที่ยังมีความอุตสาหะว่า เรา
|
|
05,0037,015,"จักต้องวัตถุอย่างอื่นแม้อีก, อาบัตินั้นของภิกษุณีนั้น ไม่ควรนับ, แม้เธอแสดง"
|
|
05,0037,016,แล้วก็ไม่เป็นอันแสดงเลยคือ ยังไม่ถึงการนับว่าได้แสดงแล้ว ยังเป็นองค์แห่ง
|
|
05,0037,017,"ปาราชิกอยู่ทีเดียว, พอเมื่อวัตถุที่ ๘ ครบบริบูรณ์ เธอก็เป็นปาราชิก. คำที่"
|
|
05,0037,018,เหลือ ตื้นทั้งนั้นแล.
|
|
05,0037,019,สิกขาบทนี้ มีการทอดธุระเป็นสมุฏฐาน เกิดขึ้น ทางกายวาจากับจิต
|
|
05,0037,020,เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต
|
|
05,0037,021,มีเวทนา ๒ ดังนี้แล.
|
|
05,0037,022,<I>อรรถกถาปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ จบบริบูรณ์
|
|
05,0037,023,ตามวรรณนานุกรมแล.</I>
|
|
|