|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
21,0050,001,ก็จักเป็นอันตราย. เขาลุกขึ้นไปพร้อมกับบริษัทเดินไปหน่อยหนึ่งแล้วก็กลับ
|
|
21,0050,002,ทำเลสว่ามีกิจเนื่องอยู่ด้วย สรีระบางอย่าง แล้วเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูล
|
|
21,0050,003,ขอบรรพชา. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า <B>อถโข รฏฺปาโล กุลปุตฺโต
|
|
21,0050,004,อจิรวุฏฺิตาย ปริสาย ฯเปฯ ปพฺพาเชตฺ มํ ภควา.</B> ก็เพราะนับจำเดิม
|
|
21,0050,005,แต่ราหุลกุมารบวชแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงบวชบุตร ที่มารดาบิดาไม่
|
|
21,0050,006,อนุญาต ฉะนั้น จึงตรัสถามเขาว่า <B>อนุญฺาโตสิ ปน ตฺวํ รฏฺปาล มา-
|
|
21,0050,007,ตาปิตูหิ ฯลฯ ปพฺพชฺชาย.</B> ในคำว่า <B>อมฺม ตาต</B> นี้ รัฐปาละเรียกมารดา
|
|
21,0050,008,ว่า <B>อมฺม</B> เรียกบิดาว่า <B>ตาต.</B> บทว่า <B>เอกปุตฺตโก</B> แปลว่า บุตรน้อยคน
|
|
21,0050,009,เดียวเท่านั้น บุตรไรๆ อื่นไม่ว่าพี่หรือน้องไม่มี. ก็ในคำนี้ เมื่อควรจะกล่าวว่า
|
|
21,0050,010,<B>เอกปุตฺโต</B> ก็กล่าวว่า <B>เอกปุตฺตโก</B> ด้วยอำนาจความเอ็นดู. บทว่า <B>ปิโย</B>
|
|
21,0050,011,แปลว่าเกิดปีติ. บทว่า <B>มนาโป</B> แปลว่า เจริญใจ. บทว่า <B>สุเข ิโต</B>
|
|
21,0050,012,แปลว่าตั้งอยู่ในสุขนั่นแหละ อธิบายว่า จำเริญสุข. บทว่า <B>สุขปริหโฏ</B> แปล
|
|
21,0050,013,ว่า บริหารด้วยความสุข. ตั้งแต่เวลาเกิดมา เขามีแม่นมโดยอุ้มไม่วางมือ
|
|
21,0050,014,เล่นด้วยเครื่องเล่นของเด็กมีรถม้าน้อย ๆ เป็นต้น ให้บริโภคเเต่โภชนะที่มีรสดี
|
|
21,0050,015,ชื่อว่า บริหารด้วยความสุข. บทว่า <B>น ตฺวํ ตาต รฏฺปาล กสฺสจิ ทุกฺขสฺส
|
|
21,0050,016,ชานาสิ</B> ความว่า พ่อรัฐปาละ เจ้าไม่รู้ระลึกไม่ได้ถึงส่วนของความทุกข์แม้
|
|
21,0050,017,ประมาณน้อย. บทว่า <B>มรเณนปิ เต มยํ อกามกา วินา ภวิสฺสาม</B> ความ
|
|
21,0050,018,ว่า แม้ถ้าท่านจะพึงตายเสีย เมื่อพวกเรายังเป็นอยู่ไซร้ แม้เพราะความตาย
|
|
21,0050,019,ของท่าน พวกเราไม่ต้องการ ไม่ปรารถนา ไม่ชอบใจตน ก็จำจักต้องพลัดพราก
|
|
21,0050,020,หรือจักถึงความพลัดพรากท่านไป. บทว่า <B>กึ ปน มยํ ตํ</B> ความว่า เมื่อเป็น
|
|
21,0050,021,เช่นนั้น เหตุที่เราจักอนุญาตให้ท่านเป็นอยู่ ชื่ออะไร. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบ
|
|
21,0050,022,ความในคำว่า <B>กึ ปน มยนฺตํ</B> นี้อย่างนี้ว่า ด้วยเหตุไรพวกเราจึงจักอนุญาต
|
|
21,0050,023,ให้ท่านมีชีวิตอยู่. บทว่า <B>ตตฺเถว</B> ความว่าในที่ที่มารดาบิดาไม่อนุญาตท่าน
|
|
|