|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
28,0003,001,<H1>สารัตถปกาสินี อรรถกถาสังยุตตนิกาย</H1>
|
|
28,0003,002,<H1>สฬายตนวรรค</H1>
|
|
28,0003,003,<H1>ปฐมปัณณาสก์</H1>
|
|
28,0003,004,<H1>อรรถกถาอัชฌัตติกอนิจจสูตรที่ ๑</H1>
|
|
28,0003,005,ในสฬายตนวรรค อัชฌัตติกอนิจจสูตรที่ ๑ วินิจฉัยดังต่อไปนี้.
|
|
28,0003,006,บทว่า <B>จกฺขุํ</B> ได้แก่จักษุ ๒ คือ ญาณจักษุ ๑ มังสจักษุ ๑.
|
|
28,0003,007,ในจักษุ ๒ อย่างนั้น ญาณจักษุมี ๕ อย่าง คือ พุทธจักษุ ธรรมจักษุ
|
|
28,0003,008,สมันตจักษุ ทิพยจักษุ ปัญญาจักษุ. ในจักษุ ๕ ย่างนั้น ที่ชื่อว่าพุทธจักษุ
|
|
28,0003,009,ได้แก่ อาสยานุสยญาณและอินทริยปโรปริยัตตญาณ ซึ่งมาในพระบาลีว่า
|
|
28,0003,010,ทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ. ที่ชี่อธรรมจักษุ ได้แก่มรรคจิต ๓ ผลจิต ๓
|
|
28,0003,011,ซึ่งมาในพระบาลีว่า <B>วิรชํ วีตมลํ ธมฺมจกฺขุํ อุทปาทิ</B> ธรรมจักษุ
|
|
28,0003,012,ปราศจากกิเลสดุจธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้น. ที่ชื่อว่า สมันตจักษุ
|
|
28,0003,013,ได้แก่ สัพพัญญุตญาณ ที่มาในพระบาลีว่า <B>ปาสาทมารุยฺห สมนฺตจกฺขุ</B>
|
|
28,0003,014,สมันตจักษุขึ้นสู่ปราสาท. ที่ชื่อว่า ทิพยจักษุ ได้แก่ ญาณที่เกิดขึ้นด้วยการ
|
|
28,0003,015,ขยายอาโลกกสิณ ที่มาในพระบาลีว่า <B>ทิพฺเพน จกฺขุนา วิสุทฺเธน</B>
|
|
28,0003,016,ด้วยทิพยจักษุอันหมดจด. ที่ชื่อว่า ปัญญาจักษุ ได้แก่ ญาณในการกำหนด
|
|
28,0003,017,สัจจะ ๔ ซึ่งมาในพระบาลีว่า <B>จกฺขุํ อุทปาทิ</B> จักษุ ( ธรรมจักษุ )
|
|
28,0003,018,เกิดขึ้นแล้ว. แม้มังสจักษุ ก็มี ๒ อย่าง คือ สัมภารจักษุ ๑ ปสาทจักษุ ๑.
|
|
|