tripitaka-mbu / 35 /350031.csv
uisp's picture
add data
3c90236
Book,Page,LineNumber,Text
35,0031,001,<B>ทิฏฐิโยคะ และทำลายอวิชชาเสียได้
35,0031,002,สัตว์เหล่านั้นก็เป็นผู้ปลอดโปร่งจากโยคะ
35,0031,003,ทั้งปวง เป็นมุนีผู้ข้ามพ้นเครื่องผูกแล.</B>
35,0031,004,<I>จบโยคสูตรที่ ๑๐</I>
35,0031,005,<I>จบภัณฑคามวรรคที่ ๑</I>
35,0031,006,<h1> อรรถกถาโยคสูตร</h1>
35,0031,007,พึงทราบวินิจฉัยในโยคสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
35,0031,008,กิเลสชื่อว่า <B>โยคะ</B> เพราะผูกสัตว์ไว้ในวัฏฏะ. ในบทว่า <B>กามโยโค</B>
35,0031,009,เป็นอาทิ ความกำหนัดประกอบด้วยกามคุณ ๕ ชื่อว่า <B>กามโยคะ.</B> ความ
35,0031,010,กำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูปภพและอรูปภพ ชื่อว่า <B>ภวโยคะ.</B> ความ
35,0031,011,ติดใจในฌานก็อย่างนั้น. ราคะประกอบด้วยสัสสตทิฏฐิ และทิฏฐิ ๖๒ ชื่อว่า
35,0031,012,<B>ทิฏฐิโยคะ.</B> ความไม่รู้ในสัจจะ ๔ ชื่อว่า <B>อวิชชาโยคะ</B> อีกอย่างหนึ่ง
35,0031,013,ชื่อว่า <B>กามโยคะ</B> เพราะประกอบสัตว์ไว้ในกามะ ชื่อว่า <B>ภวโยคะ</B> เพราะ
35,0031,014,ประกอบสัตว์ไว้ในภพ. ชื่อว่า <B>ทิฏฐิโยคะ</B> เพราะประกอบสัตว์ไว้ในทิฏฐิ.
35,0031,015,ชื่อว่า <B>อวิชชาโยคะ</B> เพราะประกอบสัตว์ไว้ในอวิชชา คำดังกล่าวมานี้ เป็นชื่อ
35,0031,016,ของธรรมที่กล่าวไว้แล้วในหนหลัง. บัดนี้ เมื่อทรงแสดง ขยายธรรมเหล่านั้น
35,0031,017,ให้พิสดาร จึงตรัสว่า <B>กตโม จ ภิกฺขเว</B> เป็นอาทิ. บรรดาบทเหล่านั้น
35,0031,018,บทว่า <B>สมุทยํ</B> คือความเกิด. บทว่า <B>อตฺถงฺคมํ</B> คือความดับ. บทว่า
35,0031,019,<B>อสฺสาทํ</B> คือ ความชุ่มชื่น. บทว่า <B>อาทีนวํ</B> คือ โทษที่มิใช่ความชุ่มชื่น.
35,0031,020,บทว่า <B>นิสฺสรณํ</B> คือความออกไป.