|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
48,0034,001,อีกอย่างหนึ่ง คำว่า <B>ปุจฺฉิตา</B> เป็นคำระบุถึงเหตุที่เทวดานั้น
|
|
48,0034,002,ถูกถาม โดยมุข คือความวิเสส [ ขยายความ ] และคำพยากรณ์ตอบ
|
|
48,0034,003,ปัญหา ท่านอธิบายไว้ดังนี้ว่า ถามว่า พระเถระถามโดยนัยเป็นต้นว่า
|
|
48,0034,004,เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้. เทวดาถูกพระเถระให้ตอบปัญหา
|
|
48,0034,005,นั้น จึงบอกกรรมที่เทวดานั้นกระทำมาแล้ว เหตุนั้น คำถามนั้น ท่าน
|
|
48,0034,006,จึงกล่าวว่า <B>เทวตา ปุจฺฉิตา</B> เทวดาถูกถาม. เพราะเหตุที่เทวดาถูกถาม
|
|
48,0034,007,ถูกให้ตอบถึงกรรมที่ถูกพระเถระถาม ฉะนั้น จึงชื่อว่าถูกถามปัญหา
|
|
48,0034,008,และเพราะเหตุที่เทวดาถูกถามอีก มีสภาพที่จะต้องบอกถึงกรรมที่ถูกถาม
|
|
48,0034,009,ฉะนั้น จึงชื่อว่าพยากรณ์ปัญหา. คำว่านี้เป็นผลของกรรมใด นี้ เป็นคำ
|
|
48,0034,010,แสดงสรูปความที่พระเถระกล่าวว่าปัญหา. ก็ในคำนี้มีความดังนี้ว่านี้เป็น
|
|
48,0034,011,ผลบุญของกรรมใด ที่ประจักษ์แก่พระเถระผู้ถาม และเทวดาที่ถูกถาม
|
|
48,0034,012,มีในลำดับชาติ [ มนุษย์ ] มีประการดังกล่าวแล้ว เทวดาก็พยากรณ์บุญ
|
|
48,0034,013,กรรมที่พระเถระกล่าวว่าปัญหา เพราะท่านต้องการรู้กรรมนั้น.
|
|
48,0034,014,คำว่า <B>อหํ มนุสฺเสสุ</B> เป็นต้น เป็นอาการพยากรณ์ [ ตอบ ]
|
|
48,0034,015,ปัญหา. ในคำนั้น เทวดาแสดงองค์ด้วยคำว่า <B>อหํ.</B> เทวดากล่าวว่า
|
|
48,0034,016,<B>มนุสฺเสสุ</B> ในหมู่มนุษย์แล้วกล่าวย้ำว่า <B>มนุสฺสภูตา</B> ครั้งเกิดเป็นมนุษย์
|
|
48,0034,017,ก็เพื่อแสดงว่า ในครั้งนั้น คุณของมนุษย์ทั้งหลาย มีอยู่ในตน. จริงอยู่
|
|
48,0034,018,ผู้ใดเกิดเป็นมนุษย์ กระทำกรรมที่ไม่ควรมีฆ่าสัตว์เป็นต้น ก็สมควร
|
|
48,0034,019,รับโทษ เมื่อต้องโทษมีการตัดมือเป็นต้น จากพระราชาเป็นอาทิในที่
|
|
48,0034,020,นั้น ๆ ย่อมเสวยทุกข์เป็นอันมาก ผู้นี้ชื่อว่ามนุษย์นรก. อีกคนหนึ่ง เกิด
|
|
48,0034,021,เป็นมนุษย์ไม่ได้อาหารและเครื่องนุ่งห่ม เพราะกรรมที่คนทำไว้แต่ก่อน
|
|
48,0034,022,ต้องกระหายหิวโหย มากไปด้วยทุกข์ เมื่อไม่ได้หลักแหล่ง ก็เร่ร่อนไป
|
|
|