|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
50,0011,001,ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๒ จำพวกนี้ เมื่อฟ้าฝ่าย่อมไม่สะดุ้ง ๒ จำพวก
|
|
50,0011,002,เป็นไฉน ? คือ ภิกษุผู้ขีณาสพ ๑ สีหมฤคราช ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
|
|
50,0011,003,๒ จำพวกนี้แล เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง ดังนี้ แม้ความว่องไวของราชสีห์
|
|
50,0011,004,ก็ไม่สาธารณะทั่วไปกับสัตว์เหล่าอื่น แม้ความแกล้วกล้าก็เหมือนกัน ( คือไม่
|
|
50,0011,005,เหมือนสัตว์อื่น). จริงอย่างนั้น ราชสีห์กระโดดไปได้ไกล ถึง ๑๐๐ อุสภะ
|
|
50,0011,006,ตกลงในหมู่กระบือป่าเป็นต้น ถึงแม้จะเป็นลูกราชสีห์ ก็ยังต่อสู้ช้างที่ตกมัน
|
|
50,0011,007,ซึ่งทำลายปลอกออกได้ เคี้ยวกินเนื้ออ่อนที่ติดโคนงาได้. ส่วนกำลังแห่ง
|
|
50,0011,008,อริยมรรค และกำลังแห่งฤทธิ์ของพระมหาเถระเหล่านั้น ก็ไม่สาธารณะทั่วไป
|
|
50,0011,009,กับภิกษุเหล่าอื่น เป็นทั้งความเพียรในสัมมัปปธาน ๔ เป็นทั้งบุญอันประเสริฐ
|
|
50,0011,010,ยิ่ง. เพราะฉะนั้น บทว่า <B>สีหานํว</B> จึงได้ความว่า ดุจเหมือนราชสีห์. ก็ใน
|
|
50,0011,011,ข้อนี้ พึงทราบว่า ท่านอุปมาราชสีห์ไว้ต่ำ ๆ เพราะประโยชน์มีความอดกลั้น
|
|
50,0011,012,เป็นต้น อันเป็นคุณพิเศษล่วงส่วน ได้ในพระเถระทั้งหลายเท่านั้น.
|
|
50,0011,013,บทว่า <B>นทนฺตานํ </B> ความว่า คำรามอยู่. อธิบายว่า ในเวลามุ่งหา
|
|
50,0011,014,อาหาร และเวลายินดีเป็นต้น ราชสีห์ทั้งหลายออกจากถ้ำของตนแล้ว บิดกาย
|
|
50,0011,015,บันลือสีหนาทน่าเกรงขาม ฉันใด แม้พระมหาเถระเหล่านี้ ก็ฉันนั้น จะบันลือลั่น
|
|
50,0011,016,น่าเกรงขาม ในเวลาพิจารณาอารมณ์อันเป็นไปในภายใน และเวลาอุทาน
|
|
50,0011,017,เป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ดุจการบันลือของราชสีห์ทั้งหลาย ดังนี้.
|
|
50,0011,018,บทว่า <B>ทาีนํ </B> แปลว่า มีเขี้ยว. อธิบายว่า มีเขี้ยวประเสริฐ มีเขี้ยวงามยิ่ง.
|
|
50,0011,019,อธิบายว่า ราชสีห์ทั้งหลายข่มขวัญปรปักษ์ ด้วยกำลังของเขี้ยวทั้ง ๔ ที่มั่นคง
|
|
50,0011,020,และกล้าแข็งอย่างยิ่ง แล้วยังมโนรถของตนให้ถึงที่สุดได้ ฉันใด แม้พระ-
|
|
50,0011,021,มหาเถระเหล่านี้ก็ฉันนั้น ข่มกิเลสอันเป็นปรปักษ์ ที่ตนยังครอบงำไม่ได้ใน
|
|
50,0011,022,สงสาร ที่หาเบื้องต้นมิได้ ด้วยกำลังแห่งเขี้ยวคืออริยมรรคทั้ง ๔ ยังมโนรถ
|
|
|