|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
50,0012,001,ของตนให้ถึงที่สุดได้. แม้ในอธิการนี้ พระอริยมรรคชื่อว่าเขี้ยว เพราะเป็น
|
|
50,0012,002,ดุจเขี้ยว เพราะฉะนั้น พึงทราบความโดยความหมายที่คล้ายกันเท่านั้น.
|
|
50,0012,003,บทว่า <B>คิริคพฺภเร</B> แปลว่า ใกล้ถ้ำภูเขา. (บทว่า <B>คิริคพฺภเร</B>)
|
|
50,0012,004,เป็นสัตมีวิภัตติลงในอรรถว่าใกล้. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า <B>คิริควฺหเร.</B>
|
|
50,0012,005,ความว่า ที่ชัฎแห่งป่าคือไพรสณฑ์ ใกล้ภูเขา. ก็คำว่า <B>คิริคพฺภเร</B> นี้ เป็น
|
|
50,0012,006,คำแสดงถึงสถานที่อันรุ่งโรจน์ และแสดงถึงภาคพื้นที่ควรบันลือสีหนาทของ
|
|
50,0012,007,ราชสีห์เหล่านั้น. ประกอบความว่า ของราชสีห์ทั้งหลายซึ่งบันลืออยู่ ที่ใกล้ถ้ำ
|
|
50,0012,008,ภูเขา ดังนี้.
|
|
50,0012,009,ก็ราชสีห์ทั้งหลาย เมื่ออยู่ที่ใกล้ถ้ำภูเขา คือในที่ซึ่งสงัดจากผู้คน
|
|
50,0012,010,เพราะราชสีห์เป็นสัตว์ที่คนและสัตว์อื่นเข้าใกล้ได้ยาก จะบันลือสีหนาทในเวลา
|
|
50,0012,011,ไปหากิน เพื่อป้องกันความสะดุ้งกลัวของหมู่มฤคเล็ก ๆ ที่จะบังเกิดขึ้นเพราะ
|
|
50,0012,012,เห็นตน ฉันใด แม้พระมหาเถระเหล่านี้ เมื่ออยู่ในสุญญาคาร เช่นเดียวกับ
|
|
50,0012,013,ถ้ำภูเขา ที่คนเหล่าอื่นเข้าใกล้ได้ยากทีเดียว ก็บันลือ (สีหนาท) อย่างไม่
|
|
50,0012,014,เกรงใคร กล่าวคือคาถาที่กล่าวไว้ เพื่อหลีกเว้นความสะดุ้งหวาดเสียวเล็ก ๆ
|
|
50,0012,015,น้อย ๆ ด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิ ของปุถุชนผู้ด้อยคุณธรรม. ด้วยเหตุนั้น
|
|
50,0012,016,ท่านจึงกล่าวว่า <B>สีทานํว นทนฺตานํ ทาีนํ คิริคพฺภเร</B> ( แปลว่า ดุจ-
|
|
50,0012,017,การบันลือของสีหะทั้งหลาย ซึ่งเป็นสัตว์ประเสริฐกว่าเหล่าสัตว์ที่มีเขี้ยว
|
|
50,0012,018,ทั้งหลาย ที่ใกล้ถ้ำภูเขา) ดังนี้.
|
|
50,0012,019,บทว่า <B>สุณาถ</B> เป็นคำกล่าวบังคับให้ฟัง. พระอานนทเถระ ประสงค์
|
|
50,0012,020,จะให้เกิดความเป็นผู้ใคร่จะฟัง ให้เกิดความสนใจในการฟัง ปลุกให้เกิดความ
|
|
50,0012,021,อุตสาหะ. ให้เข้าไปตั้งไว้ซึ่งความเคารพและความนับถืออย่างมาก แก่บริษัทที่
|
|
50,0012,022,มาประชุมกัน (เพื่อฟัง) คาถาทั้งหลายที่พระเถระนั้นกล่าวอยู่. อีกอย่างหนึ่ง
|
|
50,0012,023,พึงทราบความแห่งบทว่า <B>สีหานํ </B> เป็นต้น ด้วยสามารถแห่งความสูงสุด
|
|
|