query_id
stringlengths
1
4
query
stringlengths
14
176
positive_passages
listlengths
1
9
negative_passages
listlengths
0
14
4
บันทึกเหตุการณ์และเรื่องราวต่าง ๆ ในยุคสามก๊กฉบับแรก ที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเรียกว่าอะไร?
[ { "docid": "9800#4", "text": "บันทึกเหตุการณ์และเรื่องราวต่าง ๆ ในยุคสามก๊กฉบับแรก ที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรคือ จดหมายเหตุสามก๊ก หรือสามก๊กจี่ หรือซันกั๋วจือ () ซึ่งเป็นผลงานการเขียนในลักษณะพงศาวดารโดยตันซิ่วหรือเฉินโซ่ว บัณฑิตแห่งราชวงศ์จิ้น อดีตข้าราชการอาลักษณ์คนหนึ่งของจ๊กก๊กที่ถูกกวาดต้อนมายังวุยก๊กหลังจากพ่ายแพ้ศึกสงคราม โดยเขียนขึ้นตามบัญชาของพระเจ้าจิ้นหวู่ตี้เพื่อเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ ต่อมาในช่วงใดช่วงหนึ่งระหว่างปี พ.ศ. 1873 - พ.ศ. 1943 หลัว กวั้นจงในขณะที่เขากำลังทำงานเป็นกุนซือให้ก๊กต่อต้านราชวงค์หยวนกลุ่มหนึ่ง(ต่อมาถูกจูหยวนจางโจมตี) เขาได้นำซันกั๋วจือมาแต่งใหม่ในรูปแบบนิยายกึ่งประวัติศาสตร์ โดยเนื้อเรื่องทั้งหมดนำมาจากซันกั๋วจือบ้างและแต่งเพิ่มเติมเองบ้าง ซึ่งเมื่อเทียบกับซันกั๋วจือนั้น พบว่ามาจากซันกั๋วจือร้อยละ 70 และแต่งเองร้อยละ 30 โดยประมาณ\nซันกั๋วจื้อ () ซึ่งเป็นจดหมายเหตุของตันซิ่ว ถือได้ว่าเป็นเอกสารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของจีนในสมัยของยุคสามก๊กชุดแรก ซึ่งถือว่ามีความสมบูรณ์มากที่สุด มีความยาว 65 เล่ม ประกอบไปด้วย วุยจี่ (จดหมายเหตุก๊กวุย) จำนวน 30 เล่มสมุด จ๊กจี่ (จดหมายเหตุก๊กจ๊ก) จำนวน 15 เล่มสมุด และง่อจี่ (จดหมายเหตุก๊กง่อ) จำนวน 20 เล่มสมุด มีตัวอักษรรวมทั้งหมดประมาณ 360,000 ตัว ซึ่งในตอนแรกนั้นตันซิ่วไม่ได้ตั้งชื่อบันทึกประวัติศาสตร์สามก๊กว่า \"ซันกั๋วจวื้อ\" ซึ่งชื่อนี้ได้มาจากบัณฑิตในสมัยราชวงศ์ต้าซ่งผู้หนึ่งเป็นผู้ตั้งให้ แต่เนื่องจากตันซิ่วรับราชการเป็นขุนนางของราชวงศ์จิ้นหรือวุยก๊ก ซึ่งทำให้การเขียนจดหมายเหตุสามก๊กนั้นเป็นการเขียนที่ยึดเอาราชวงศ์จิ้นเป็นหลัก ตันซิ่วยกให้วุยก๊กของโจโฉเป็นก๊กที่ปกครองแผ่นดินอย่างถูกต้อง ส่วนจ๊กก๊กของเล่าปี่และง่อก๊กของซุนกวน กลายเป็นเพียงรัฐที่มีการปกครองเพียงบางส่วนของประเทศจีนเท่านั้น และด้วยเหตุนี้ทำให้มุมมองของตันซิ่วที่มีต่อจ๊กก๊กและง่อก๊กแตกต่างจากสามก๊กของหลัว กวั้นจง ซึ่งนำเอาจดหมายเหตุสามก๊กมาดัดแปลงเพิ่มเติมจนกลายเป็นสามก๊กในปัจจุบัน", "title": "สามก๊ก" } ]
[ { "docid": "59039#1", "text": "โครงเรื่องหลักอ้างอิงเนื้อเรื่องจากประวัติศาสตร์วรรณคดีสามก๊ก ฉบับหลอ กว้านจง ซึ่งตัวละครและเหตุการณ์ต่าง ๆ ปรากฏขึ้นตามวรรณกรรมไม่ผิดเพี้ยน หากแต่มีการตีความเหตุการณ์ต่าง ๆ ในรูปแบบอื่น และแต่งเติมเรื่องราวรายละเอียดเข้าไปใหม่ คล้ายกับเป็นเบื้องลึกเบื้องหลังของวรรณกรรม หรือช่องว่างที่ขาดหายไปจากประวัติศาสตร์ ที่มีความซับซ้อนกว่าการบันทึกดั้งเดิม\nตัวอย่างเช่น การนำ สุมาอี้ หรือ ลกซุน ที่โดดเด่นในช่วงท้ายยุคสามก๊ก แต่กลับไม่ค่อยมีบันทึกประวัติในวัยเยาว์ มาใส่บทบาทในเหตุการณ์ต่าง ๆ การให้บทของ เตียวเสี้ยน เป็นมือสังหารอาชีพที่เชี่ยวชาญการใช้ธนูและการล่อลวงด้วยความงาม หรือการตีความขุนพลที่โด่งดังในความบ้าบิ่น เช่น ลิโป้ และ เตียวหุย ว่าแท้จริงมีปัญญาหลักแหลม การเพิ่มบทบาทของ จูล่ง และ ม้าเฉียว ที่ไร้บทบาทในบันทึกประวัติศาสตร์บ่อยครั้ง ว่าแท้จริงเป็นผู้ที่ไปกระทำการต่าง ๆ เบื้องหลัง เช่นเป็นมือสังหารหรือสายลับ", "title": "หงสาจอมราชันย์" }, { "docid": "59039#3", "text": "หงสาจอมราชันย์ เป็นเรื่องที่ดัดแปลงมาจากวรรณกรรมสามก๊กของ หลอ กว้านจง เนื่องจากบันทึกสามก๊กหลายส่วนมีความคลุมเครือ จึงเป็นช่องให้มีการเสริมแต่งเรื่องราวได้จากการอ้างอิงประวัติศาสตร์ เช่น การที่สกุลพ่อค้าที่ทรงอิทธิพล จะชุบเลี้ยงกองทหารและมือสังหาร ในเรื่องจึงให้สกุลสุมามีกลุ่มมือสังหารชื่อซากทัพ ซึ่งรับคนพิการให้มาฝึกเป็นสมาชิก และคอยกระทำการเบื้องหลังประวัติศาสตร์ เช่น การลอบสังหารบุคคลสำคัญ", "title": "หงสาจอมราชันย์" }, { "docid": "743196#3", "text": "เนื้อเรื่องเริ่มในตอนปลายของราชวงศ์ฮั่น กษัตริย์อ่อนแอ ขันทีมีอำนาจ บ้านเมืองเต็มไปด้วยความฉ้อฉล พลเมืองถูกกดขี่ กองโจรโพกผ้าเหลืองซึ่งเกิดจากการรวมกลุ่มของชาวบ้าน ที่ประกาศความเป็นไทจากอำนาจรัฐ เมื่อมีพระราชโองการให้หัวเมืองต่าง ๆ ยกกองทัพไปปราบปราม กลียุคจากสงครามจึงเป็นโรงละครใหญ่ให้วีรบุรุษได้ปรากฏตัว", "title": "สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)" }, { "docid": "165509#3", "text": "อย่างไรก็ตาม ซานกั๋วจื้อ ก็มีอุปสรรคในการเขียนมาก และเป็นเอกสารที่เขียนขึ้นในฐานะของจดหมายเหตุราชสำนัก มีลักษณะเป็นบันทึกชีวประวัติบุคคลต่างๆ ในสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก จนสิ้นสุดยุคสามก๊ก เรื่องราวในซานกั๋วจื้อไม่ได้แพร่หลายมากนักในระยะแรก แต่ก็เป็นเอกสารประวัติศาสตร์ยุคสามก๊กฉบับแรกที่ถูกนักเขียนในรุ่นหลังนำมาใช้ค้นคว้า อ้างอิง จนกระทั่งในสมัยราชวงศ์หมิง นักประพันธ์คนสำคัญคือ หลอกว้านจง (ล่อกวนตง) ก็ได้นำจดหมายเหตุสามก๊กมาใช้เป็นต้นแบบในการประพันธ์วรรณกรรมสามก๊ก ซึ่งต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิง สองพ่อลูกนักประพันธ์คือ เหมาหลุน และ เหมาจงกัง ก็ได้นำมาปรับปรุงเพิ่มเติมให้กระชับและสมบูรณ์ขึ้น จนกลายเป็นสามก๊กที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน ซึ่งก็คือต้นแบบของ วรรณกรรมสามก๊ก ซานกั๋วเหยี่ยนอี้ นั่นเอง", "title": "จดหมายเหตุสามก๊ก" }, { "docid": "165509#4", "text": "ผู้เขียนบันทึกทางประวัติศาสตร์เหตุการณ์ต่าง ๆ ในยุคสามก๊กฉบับแรกคือตันซิ่วหรือเฉินโซ่ว เกิดในปีที่ 11 ศักราชเกี้ยนเฮ็งหรือในปี พ.ศ. 776 ก่อนจะเข้ารับราชการในตำแหน่งหัวหน้าหอหลวงประจำสำนักของราชวงศ์จิ้น ในวัยเด็กตันซิ่วได้รับการศึกษาจากเจียงจิวผู้เป็นอาจารย์ เนื่องจากตันซิ่วเป็นคนฉลาดจึงเป็นที่ไม่พอใจของขันทีฮุยโฮ คนสนิทของพระเจ้าเล่าเสี้ยน ต่อมาในปี พ.ศ. 806 เตงงายแม่ทัพแห่งวุยก๊กได้ยกทัพเข้าโจมตีจ๊กก๊ก เป็นเหตุให้พระเจ้าเล่าเสี้ยนต้องยอมสวามิภักดิ์และถูกควบคุมตัวไปยังวุยก๊ก", "title": "จดหมายเหตุสามก๊ก" }, { "docid": "794161#1", "text": "นักคิดและปัญญาชนยุคปัจจุบันตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับรายละเอียดของเรื่องราวใน “บันทึกประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่” เป็นแหล่งข้อมูลหลักตั้งแต่ ซือหม่า เชียน เขียนบันทึกเอาไว้เมื่อศตวรรษที่ 1 หรือหลังจากเหตุการณ์ผ่านไปแล้ว 100 ปีและยังเป็นเจ้าหน้าที่ในราชสำนักแห่งราชวงศ์ฮั่น ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่สืบต่อจากราชวงศ์ฉิน และคาดว่าในบันทึกอาจจะแสดงถึงข้อความอันเป็นปฏิปักษ์ต่อราชวงศ์ฉิน ในขณะที่เป็นที่ชัดเจนว่าจักรพรรดิจิ๋นซีทรงรวบรวมและทำลายงานเขียนจำนวนมากซึ่งพระองค์ทรงพิจารณาว่าเป็นภัยต่อราชบังลังก์ เอกสารแต่ละฉบับจะทำสำเนาไว้ 2 ฉบับถูกเก็บรักษาไว้ในห้องสมุดของจักรพรรดิซึ่งถูกทำลายจากศึกสงครามที่เกิดขึ้นภายหลังการล่มสลายของราชวงศ์ฉิน ปัจจุบันนี้เป็นที่เชื่อกันว่ามีนักคิดและปัญญาชนจำนวนมากถูกฆ่า แต่พวกเขาเหล่านี้ไม่ได้สังกัดในสำนักวิชาขงจื้อและไม่ได้ถูก “ฝังทั้งเป็น” ในบางกรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้และสำนวนที่ว่า “\"เผาตำรา ฝังบัณฑิต\"” ได้กลายเป็นตำนานที่ยังคงอยู่รอดมาได้ในมรดกของขงจื้อ", "title": "เผาตำรา ฝังบัณฑิต" }, { "docid": "172697#7", "text": "\"สามก๊ก\" นวนิยายจีนสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 ของหลัว กวั้นจง/ล่อกวนตง (羅貫中) เอาเหตุการณ์ประวัติศาสตร์จีนสมัยสามก๊กไปแต่งเติมเพิ่มอรรถรส โดยพรรณนาว่า หวัง ยฺหวิ่น ใช้เล่ห์เพทุบายต่าง ๆ เพื่อกำจัดทรราชต่ง จั๋ว/ตั๋งโต๊ะ ซึ่งควบตำแหน่งอุปราช (司徒) และราชครู (太师) เรียกแผนของหวัง ยฺหวิ่น ว่า \"แผนสาวงาม\" (美人計) และ \"แผนห่วงสัมพันธ์\" (連環計) จัดเข้าในสามสิบหกยุทธศาสตร์ (三十六計)", "title": "อ้องอุ้น" }, { "docid": "165509#0", "text": "จดหมายเหตุสามก๊ก (; ) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ บทประพันธ์โดย เฉินโซ่ว (ตันซิ่ว, Chen Shou) บัณฑิตและขุนนางชาวเสฉวน มีตัวตนจริงอยู่ในสมัยยุคสามก๊ก โดยเนื้อหาตามบทประพันธ์เกิดจากจินตนาการ ซึ่งแท้จริงแล้วฉากสำคัญหลายฉากในจดหมายเหตุสามก๊กเช่น ในปี พ.ศ. 776 ซึ่งเป็นปีเกิดของเฉินโซ่ว ภายหลังพระเจ้าเหี้ยนเต้สละบัลลังก์แล้ว ตระกูลของเฉินโซ่วรับราชการเป็นบริวารแก่จ๊กก๊กของพระเจ้าเล่าปี่ ซึ่งรวมทั้งเฉินโซ่วด้วย ซึ่งบันทึกทางประวัติศาสตร์รวมทั้งเรื่องราวการต่อสู้อย่างละเอียดถี่ถ้วน เป็นการบันทึกโดยบิดาของเฉินโซ่ว", "title": "จดหมายเหตุสามก๊ก" }, { "docid": "928787#0", "text": "มหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้ว (, \"หมั่นนัน มะห่าหย่าซะหวิ่นด่อจี\") เป็นหนังสือบันทึกเหตุการณ์ฉบับทางการเป็นฉบับแรกของราชวงศ์คองบอง ที่พระเจ้าจักกายแมงโปรดให้คณะกรรมการประวัติศาสตร์หลวงแห่งพม่าเรียบเรียงขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1829 และ ค.ศ. 1832 โดยอาศัยเอกสารบันทึกเหตุการณ์ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นหลายฉบับ และจารึกที่รวบรวมได้ในรัชสมัยพระเจ้าปดุง ตลอดจนมหากาพย์พระราชประวัติหลายฉบับ แม้ผู้เรียบเรียงจะแย้งข้อมูลบางส่วนในมหาราชวงศ์ฉบับอูกะลา ซึ่งเป็นบันทึกเหตุการณ์ฉบับมาตรฐานของราชวงศ์ตองอู แต่ยังคงข้อมูลตามมหาราชวงศ์ฉบับนั้น", "title": "มหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้ว" } ]
7
เทียรี่ เมฆวัฒนา สามารถเล่นกีต้าร์ได้ใช่หรือไม่?
[ { "docid": "56155#7", "text": "จนกระทั่งปี พ.ศ. 2526 เทียรี่ เมฆวัฒนา ได้มีโอกาสร่วมงานกับวงคาราบาวเป็นครั้งแรก โดยเป็นการออกทัวร์คอนเสิร์ตโปรโมทอัลบั้ม \"วณิพก\" โดยรับหน้าที่เล่นกีตาร์ไฟฟ้าบนเวทีคอนเสิร์ตแทนที่เล็ก - ปรีชา ชนะภัย มือกีตาร์โซโล่ตัวจริงของทางวง ที่ติดภารกิจต้องไปทัวร์คอนเสิร์ตกับวงเพรสซิเดนท์ที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งเทียรี่เคยไปศึกษาที่นั่น", "title": "เทียรี่ เมฆวัฒนา" }, { "docid": "56155#11", "text": "หลังจากทัวร์คอนเสิร์ตร่วมกับวงคาราบาวมาอย่างยาวนาน เทียรี่ก็ได้เป็นสมาชิกของวงคาราบาวอย่างเต็มตัวในปี พ.ศ. 2527 ในอัลบั้ม เมด อิน ไทยแลนด์ โดยเป็นสมาชิกใหม่ในตำแหน่งมือกีตาร์และนักร้องนำ โดยได้ร้องเพลงให้คาราบาวเพลงแรกคือเพลง \"นางงามตู้กระจก\" ซึ่งผลจากความสำเร็จอย่างถล่มทลายของอัลบั้มชุดนี้ที่มียอดจำหน่ายในปีเดียวมากกว่า 5,000,000 ตลับ/ก๊อปปี้ ซึ่งเป็นสถิติที่สูงที่สุดในประเทศไทย ทำให้เทียรี่ เมฆวัฒนาในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของวงโด่งดังเป็นอย่างมาก และเทียรี่ก็ได้ขึ้นเล่นคอนเสิร์ตทำโดยคนไทย ซึ่งเป็นคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งแรกของประเทศไทยและวงคาราบาวที่สนามจักรยานเวโลโดรม ในสนามกีฬาหัวหมาก ในปี พ.ศ. 2528 ซึ่งคอนเสิร์ตดังกล่าวมีผู้ชมมากกว่า 60,000 คน อีกทั้งยังได้ไปทัวร์คอนเสิร์ตที่สหรัฐอเมริกาอีกด้วย โดยเทียรี่ เมฆวัฒนาได้เป็นผู้ร้องเพลง เมด อิน ไทยแลนด์ ในเวอร์ชันภาษาอังกฤษ โดยในเวอร์ชันนี้ทางวงตั้งชื่อเพลงว่า Made in Thailand in USA", "title": "เทียรี่ เมฆวัฒนา" }, { "docid": "56155#5", "text": "หลังจากกลับมาเมืองไทยเพียง 2 สัปดาห์ เทียรี่ได้เซ็นสัญญาเป็นนักดนตรีในห้องอัดเสียงของค่ายเพลงอโซน่า รับหน้าที่เล่นกีตาร์เพื่อบันทึกเสียงในอัลบั้มของศิลปินหลายคนทั้งศิรินทรา นิยากร, ไพจิตร อักษรณรงค์และ นัดดา วิยกาญจน์", "title": "เทียรี่ เมฆวัฒนา" }, { "docid": "56155#2", "text": "โดยเทียรี่มีความสนใจในการเล่นดนตรีมาตั้งแต่เด็ก ๆ โดยหัดเล่นกีตาร์ตอนอายุ 11 ขวบ ซึ่งเพลงแรกที่หัดเล่นคือเพลง \"Flying Machine\" ของเซอร์ คลิฟฟ์ ริชาร์ด เทียรี่ชื่นชอบและได้รับแรงบันดาลใจทางดนตรีมาจากบทเพลงของบ็อบ ดิลลัน, ดอน แม็กลีน, เดอะ บีทเทิลส์ รวมถึงวงควีนด้วย", "title": "เทียรี่ เมฆวัฒนา" } ]
[ { "docid": "56155#25", "text": "เทียรี่ เมฆวัฒนา แต่งงานกับ อุทุมพร ศิลาพันธุ์ นักแสดงสาว ทั้งคู่ได้อยู่กินกันมานับสิบปี จนมีลูกด้วยกันทั้งสิ้น 2 คน คือ เจน เมขลา (ลูกสาว) และ เจสซี เมฆ (ลูกชาย) แต่ก็ได้หย่าร้างกันเมื่อต้นปี พ.ศ. 2545 โดยเทียรี่เป็นฝ่ายขอหย่าเอง โดยอ้างว่าไม่มีเวลาให้กับครอบครัวเพียงพอ ปัจจุบัน เทียรี่มีห้องอัดเสียงเป็นของตนเองชื่อ jessie&jane studio มีบริษัทเพลงของตัวเองชื่อ here entertainment และมีบริษัท CRB entertainment จำกัด รับงานโฆษณาและผลิตรายการโทรทัศน์ โดยมีนิตยสารของตนเองชื่อ Coffee Break", "title": "เทียรี่ เมฆวัฒนา" }, { "docid": "56155#10", "text": "ความโด่งดังของอัลบั้ม ท.ทหารอดทน ทำให้วงคาราบาวทั้งวงได้เล่นเป็นดารารับเชิญในภาพยนตร์เรื่อง ปล.ผมรักคุณ และเทียรี่ในฐานะนักดนตรีแบ็กอัพก็ได้ปรากฏตัวในภาพยนตร์เรื่องนี้พร้อมกับคาราบาวด้วย โดยในปีดังกล่าว เทียรี่ เมฆวัฒนา ได้แต่งงานเป็นครั้งแรกกับแฟนสาวที่คบหากันมานานถึง 6 ปี แต่กลับใช้ชีวิตคู่อยู่เพียงแค่ 6 เดือนก็ได้หย่าขาดจากกันในปีเดียวกัน", "title": "เทียรี่ เมฆวัฒนา" }, { "docid": "56155#12", "text": "ในปีเดียวกัน เทียรี่ เมฆวัฒนาได้แสดงภาพยนตร์อีกครั้งในภาพยนตร์เรื่องเสียงเพลงแห่งเสรีภาพ คู่กับนางเอกสาว จุ๋ม - อุทุมพร ศิลาพันธ์ ซึ่งสมาชิกวงคาราบาวได้แสดงภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยกันทั้งวง ตลอดจนมีดาราอื่น ๆ เช่น ษา - สุพรรษา เนื่องภิรมย์, หมู - พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ, สุรชัย จันทิมาธร หรือ หงา คาราวาน มาร่วมแสดงด้วย และในปีดังกล่าว บริษัทการบินไทย ครบรอบ 25 ปี จึงได้มอบหมายให้วงคาราบาวแต่งเพลงให้ ซึ่งแอ๊ด - ยืนยง โอภากุล ได้แต่งเพลง \"รักคุณเท่าฟ้า\" โดยมอบให้เทียรี่เป็นผู้ขับร้อง และกลายเป็นเพลงฮิตที่ติดหูผู้ฟังอย่างมากจนถึงปัจจุบันและมีการนำกลับมาร้องซ้ำโดยศิลปินอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ฟอร์ด - สบชัย ไกรยูรเสน เป็นต้น", "title": "เทียรี่ เมฆวัฒนา" }, { "docid": "56155#4", "text": "หลังจากนั้น ด้วยความที่ตัวเทียรี่ได้ออกโทรทัศน์บ่อยจึงได้รับการติดต่อให้แสดงภาพยนตร์เรื่องแรกคือเรื่อง สตรีหมายเลขศูนย์ คู่กับ ชลธิชา สุวรรณรัต และได้เล่นเป็นพระเอกอีกครั้งในภาพยนตร์เรื่อง โอ้กุ๊กไก่ ในปี พ.ศ. 2522 ก่อนจะพักงานในวงการบันเทิงเพื่อเดินทางไปศึกษาต่อที่ American Business Institute และทำงานเป็นนักดนตรีตอนกลางคืนในร้านอาหาร ที่เมืองแมนฮัตตัน นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยร้องเพลงสากลของเซอร์ คลิฟฟ์ ริชาร์ด และ เอลวิส เพรสลี่ย์", "title": "เทียรี่ เมฆวัฒนา" }, { "docid": "56155#3", "text": "เทียรี่เข้าสู่วงการบันเทิงด้วยการถ่ายแบบ แสดงละครและภาพยนตร์ ก่อนจะเริ่มมีผลงานทางดนตรีครั้งแรก เป็นดนตรีแนวโฟล์ก โดยเข้าร่วมวงดนตรี Runspot กับ กิตติคุณ เชียรสงค์ และหมึก ศิลปากร เล่นออกอากาศทางรายการ เสาร์สนุก ทางช่อง 9 อสมท. ในปี พ.ศ. 2521", "title": "เทียรี่ เมฆวัฒนา" }, { "docid": "56155#22", "text": "โดยเทียรี่เป็นนักร้องที่มีเสียงแหบเสน่ห์เป็นตัวของตนเอง จึงมีเพลงที่ได้รับความนิยมในแต่ละอัลบั้มอยู่หลายเพลง ซึ่งส่วนมากเพลงที่จะเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมเป็นเพลงช้า จึงได้มีโอกาสแต่งและร้องเพลงประกอบภาพยนตร์และละครหลายเรื่อง เช่น ละครเรื่อง \"สุดแต่ใจจะไขว่คว้า\" ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2532, \"ไผ่แดง\" ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ในปี พ.ศ. 2534, \"ด้วยสองมือแม่นี้ที่สร้างโลก\" ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2537, \"แม้เลือกเกิดได้\" ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ในปี พ.ศ. 2544 เป็นต้น และเคยร้องเพลงออกอัลบั้มร่วมกับ อิทธิ พลางกูร ด้วย และจุดเด่นอีกประการหนึ่งของเพลงของเทียรี่ อยู่ที่เนื้อร้องที่เล่นกับภาษาได้อย่างลงตัวและสนุก มีความหมาย เช่น เพลง \"พขร.ณ รมต.\" ที่เล่นกับตัวย่อทั้งเพลง, \"ฉำฉาฉ่อยฉุกเฉิน\" ที่เล่นกับอักษร ฉ.ฉิ่ง ทั้งเพลง, \"หัวใจจิ้มจุ่ม\" ที่เล่นกับอักษร จ.จาน, \"ไปไหนไปด้วย\" ที่มีการยกตัวอย่างเปรียบเทียบเปรียบเปรยทั้งเพลง เป็นต้น และเพลงส่วนใหญ่ในอัลบั้มเดี่ยวมักจะแฝงไว้ด้วยป๊อปเซ้นส์เสมอ ซึ่งทำให้เพลงของเทียรี่ฟังง่ายและเป็นที่นิยม", "title": "เทียรี่ เมฆวัฒนา" } ]
9
ดิ อะเมซิ่ง เรซ เป็นเรียลลิตี้โชว์จากประเทศอะไร?
[ { "docid": "202175#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอ็น ดิสคัฟเวอรี แชนแนล (; หรือในบางครั้งรู้จักกันในชื่อ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ลาติน อเมริกา) เป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้ทางโทรทัศน์ในเวอร์ชันของ ลาติน อเมริกา ที่สร้างมาจากเรียลลิตี้โชว์ชื่อดังของสหรัฐอเมริกา ที่ชื่อ ดิ อะเมซิ่ง เรซ โดย ดิสคัฟเวอรี แชนแนล ลาตินอเมริกา ด้วยความร่วมมือของดิสนีย์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขัน 11 ทีม ทีมละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบ โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 250,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ข้อแตกต่างเล็กน้อยสำหรับเวอร์ชันนี้คือ Routmaker ได้ถูกเปลี่ยนเป็นสี น้ำเงิน-ดำและซองคำใบ้ได้ถูกเปลี่ยนเป็นสีน้ำงินแทนสีเหลืองดั่งเดิม รวมถึงชื่อทีมที่ขึ้นในรายการจะตามด้วยธงประเทศของตนเองด้วย การเดิทางทั้งหมดผ่าน 1 ทวีปโดยไม่ได้ออกนอกทวีปอเมริกาใต้แต่อย่างใด รวมถึงเป็น ดิ อะเมซิ่ง เรซ เวอร์ชันที่ 3 ถัดจากบราซิลและอิสราเอล ที่เส้นชัยนั้นไม่ได้อยู่ในประเทศแรกที่ออกเดินทาง ปัจจุบันยังคงผลิตฤดูกาลถัดๆ มาอยู่เรื่อยๆ และในฤดูกาลที่ 3 หลังจากเปลี่ยนช่องที่ทำการออกอากาศในฤดูกาลที่ 3 เป็นต้นมารายการจึงได้กลับไปใช้ Routmaker สีมาตรฐานของต้นฉบับ คือ เหลือง-แดงและซองคำใบ้สีเหลือง", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซเอ็นดิสคัฟเวอรีแชนแนล" }, { "docid": "186328#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย () เป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้ทางโทรทัศน์ที่สร้างมาจากเรียลลิตี้โชว์ชื่อดังของสหรัฐอเมริกา ที่ชื่อ ดิ อะเมซิ่ง เรซ\nในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2548 สถานีโทรทัศน์ ซีบีเอส ให้โอกาสประเทศอื่นในการทำ \"ดิ อะเมซิ่ง เรซ\" เป็นของตนเอง และเครือข่ายทีวีของเอเชีย เอเอ็กซ์เอ็น เอเชีย ก็เป็นหนึ่งในผู้ผลิตแรก ๆ ที่ได้สิทธิ์ในการผลิด \"ดิ อะเมซิ่ง เรซ\" สำหรับประเทศของตนเอง รายการนี้ผลิตโดยบริษัทผลิตรายการของออสเตรเลีย ActiveTV สำหรับเอเอ็กซ์เอ็น โดยความร่วมมือของบัวนาวิสต้า อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชีย-แปซิฟิก (BVITV-AP) พิธีกรของรายการคือนักแสดงชาวสิงคโปร์เชื้อสายจีน-อเมริกัน อลัน วู", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซเอเชีย" }, { "docid": "73009#1", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ ในเวอร์ชันสหรัฐอเมริกา สร้างโดย อลิส ดอร์แกนเลอร์ และ เบ็นตั้น แวนด์ มัสเตอร์ และได้ออกอากาศในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ ค.ศ. 2001 มีพิธีกรชื่อดังระดับรางวัลเอ็มมี ชาวนิวซีแลนด์ ฟิล คีโอแกน เป็นพิธีกรของรายการตั้งแต่ซีซั่นแรก และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ระดับ ฮอลลีวูด เจอร์รี บรัคไฮเมอร์ เป็นผู้อำนวยการสร้างหลักของรายการ นอกจากนี้รายการนี้ยังมีการซื้อลิขสิทธิ์ ไปสร้างในหลาย ๆ ประเทศ โดยยังคงรูปแบบหลัก ๆ ของรายการอยู่ ส่วนเนื้อหาในบทความนี้จะใช้เกณฑ์และเนื้อหาของฉบับอเมริกาเป็นส่วนใหญ่", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ" } ]
[ { "docid": "195991#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 6 () เป็นฤดูกาลที่ 6 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 6" }, { "docid": "195995#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 7 () เป็นฤดูกาลที่ 7 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 7" }, { "docid": "192289#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 4 () เป็นฤดูกาลที่ 4 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส โดยฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลแรกที่รางวัลเอ็มมีมีการแจกรางวัลประเภทเรียลลิตี้โชว์การแข่งขันและรายการก็คว้ามาได้แบบผูกขาดอยู่รายการเดียวจนถึงปัจจุบัน", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 4" }, { "docid": "196005#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 9 () เป็นฤดูกาลที่ 9 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีม ๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 9" }, { "docid": "192288#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 3 () เป็นฤดูกาลที่ 3 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 3" }, { "docid": "195155#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 5 () เป็นฤดูกาลที่ 5 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 5" }, { "docid": "498318#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 22 () เป็นฤดูกาลที่ 22 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 9 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก ทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 22" }, { "docid": "450114#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ 21 () เป็นฤดูกาลที่ 21 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก ทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ 21" } ]
20
คอเคลียเต็มไปด้วยน้ำที่เรียกว่าอะไร?
[ { "docid": "844976#6", "text": "คอเคลียเต็มไปด้วยน้ำที่เรียกว่า perilymph ซึ่งไหวไปตามแรงสั่นสะเทือนที่มาจากหูชั้นกลางโดยผ่านช่องรูปไข่ (oval window)\nเมื่อน้ำในคอเคลียเคลื่อน ท่อคอเคลีย (cochlear duct/partition) ที่อยู่ตรงกลาง ซึ่งรวมเยื่อฐาน (basilar membrane) และอวัยวะของคอร์ติ ก็จะเคลื่อนด้วย\nเซลล์ขนนับเป็นพัน ๆ จะรับรู้การเคลื่อนไหวผ่าน stereocilia แล้วแปลงแรงกลนั้นให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าที่สื่อประสาทไปยังเซลล์ประสาทเป็นพัน ๆ\nโดยตัวนิวรอนที่ต่อกับเซลล์ขนจะเป็นตัวแปลงสัญญาณจากเซลล์ขนให้เป็นอิมพัลส์ไฟฟ้าประสาทที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) ซึ่งส่งทางเส้นประสาท auditory nerve ไปยังโครงสร้างในก้านสมองเพื่อการประมวลผลต่อ ๆ ไป", "title": "หูชั้นในรูปหอยโข่ง" } ]
[ { "docid": "860326#6", "text": "กลไกการเสียการได้ยินเกิดจากความบอบช้ำต่อ stereocilia ของคอเคลีย ซึ่งเป็นโครงสร้างหลักเต็มไปด้วยน้ำของหูชั้นใน\nใบหูบวกกับหูชั้นกลางจะขยายความดันเสียงถึง 20 เท่า จึงเป็นความดันเสียงในระดับสูงที่เข้ามาถึงคอเคลียแม้จะเกิดจากเสียงในอากาศที่ไม่ดังมาก\nเหตุโรคของคอเคลียก็คือ สารมีออกซิเจนที่มีฤทธิ์ (reactive oxygen species) ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการตายเฉพาะส่วนกับอะพอพโทซิสที่เกิดจากเสียงของ stereocilia\nการได้รับเสียงดัง ๆ มีผลต่าง ๆ กันต่อบุคคลกลุ่มต่าง ๆ", "title": "ผลต่อสุขภาพจากเสียง" }, { "docid": "844976#3", "text": "เยื่อแบ่งส่วนที่วิ่งไปตามคอเคลียเกือบทั้งหมดตัวเองก็เป็นท่อเต็มไปด้วยน้ำ ซึ่งเรียกว่าเป็นท่อที่ 3\nเป็นช่องตรงกลางที่เรียกว่า cochlear duct\nน้ำในช่องที่เรียกว่า endolymph แม้จะมีอิเล็กโทรไลต์และโปรตีนเช่นกัน แต่ก็สมบูรณ์ไปด้วยไอออนโพแทสเซียม ซึ่งทำให้มีความต่างทางเคมีจากน้ำในอีก 2 ช่องที่เรียกว่า perilymph\nซึ่งสมบูรณ์ไปด้วยไอออนโซเดียม ความต่างกันนี้ทำให้เกิดความต่างศักย์ไฟฟ้า", "title": "หูชั้นในรูปหอยโข่ง" }, { "docid": "844976#0", "text": "หูชั้นในรูปหอยโข่ง\nหรือ อวัยวะรูปหอยโข่ง\nหรือ คอเคลีย\n(, , จาก , kōhlias, แปลว่า หมุนเป็นวงก้นหอย หรือเปลือกหอยทาก) เป็นอวัยวะรับเสียงในหูชั้นใน\nเป็นช่องกลวงมีรูปร่างเป็นก้นหอยโข่งอยู่ในกระดูกห้องหูชั้นใน (bony labyrinth) โดยในมนุษย์จะหมุน 2.5 ครั้งรอบ ๆ แกนที่เรียกว่า modiolus\nและมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 9 มม.\nโครงสร้างหลักของคอเคลียก็คืออวัยวะของคอร์ติ ซึ่งเป็นอวัยวะรับประสาทสัมผัสคือการได้ยินเสียง และอยู่กระจายไปตามผนังที่กั้นโพรงสองโพรงที่เต็มไปด้วยน้ำ ซึ่งวิ่งไปตามก้นหอยที่ค่อย ๆ แคบลง\nส่วนคำว่าคอเคลียมาจากคำในภาษาละตินซึ่งแปลได้ว่า \"เปลือกหอยทาก\" และก็มาจากคำภาษากรีกว่า κοχλίας, \"kokhlias\" ซึ่งแปลว่า หอยทาก หรือเกลียว ซึ่งมาจากคำว่า κόχλος, kokhlos ซึ่งแปลว่า เปลือกวนเป็นก้นหอย\nคอเคลียในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดยกเว้นของโมโนทรีมมีรูปร่างเช่นนี้\nคอเคลียเป็นโพรงกระดูกรูปกรวยวนเป็นรูปก้นหอย\nที่คลื่นความดันเสียงจะแพร่กระจายไปจากส่วนฐาน (base) ใกล้หูชั้นกลางที่ช่องรูปไข่ (oval window) ไปยังส่วนยอด (apex) คือที่ส่วนปลายหรือตรงกลางของก้นหอย\nโพรงที่วนเป็นก้นหอยเรียกว่า Rosenthal's canal หรือ spiral canal of the cochlea โดยยาวประมาณ 30 มม. และหมุน 2¾ รอบ ๆ แกนที่เรียกว่า modiolus\nโดยมีโครงสร้างรวมทั้ง", "title": "หูชั้นในรูปหอยโข่ง" }, { "docid": "844976#7", "text": "กระดูกเล็ก (ossicle) ที่เรียกว่ากระดูกโกลน เป็นตัวส่งแรงสั่นสะเทือนจากหูชั้นกลางไปยัง \"fenestra ovalis\" หรือช่องรูปไข่ ที่นอกคอเคลีย ซึ่งก็จะสั่นน้ำ perilymph ใน vestibular duct คือช่องบนของคอเคลีย\nกระดูกเล็ก 3 ชิ้นในหูชั้นกลางจำเป็นเพื่อส่งคลื่นเสียงเข้าไปในคอเคลีย เพราะว่าคอเคลียเป็นระบบน้ำ-เยื่อ และมันจำเป็นต้องได้แรงดันเพื่อส่งเสียงเป็นคลื่นน้ำสูงกว่าที่เป็นคลื่นอากาศโดยต่างจากหูชั้นนอก\nเป็นความดันที่เพิ่มขึ้นอาศัยอัตราพื้นที่ของแก้วหู (tympanic membrane) ต่อของเยื่อช่องรูปไข่ เป็นประมาณ 20 เท่า\nของแรงดันคลื่นเสียงเดิมในอากาศ\nกระบวนการเพิ่มความดันแบบนี้เป็นรูปแบบหนึ่งของ impedance matching คือเป็นการจับคู่คลื่นเสียงที่วิ่งไปในอากาศให้เข้ากับคลื่นเสียงที่วิ่งไปในระบบน้ำ-เยื่อ", "title": "หูชั้นในรูปหอยโข่ง" }, { "docid": "844976#1", "text": "คอเคลียเป็นส่วนของหูชั้นในที่มีรูปเหมือนกับเปลือกหอยทาก\nเป็นตัวรับเสียงโดยความสั่นสะเทือน ซึ่งเป็นเหตุให้ stereocilia เคลื่อน\nที่ถ่ายโอนแรงสั่นสะเทือนเป็นอิมพัลส์ประสาทซึ่งส่งไปยังสมองเพื่อตีความ\nมีโพรง 3 โพรงที่เต็มไปด้วยน้ำ โดยโพรงที่ 3 มีอวัยวะของคอร์ติ ซึ่งสามารถตรวจจับแรงดันแล้วส่งสัญญาณตามประสาทหู (auditory nerve) ไปยังสมอง\nส่วนโพรงสองโพรงนั้นเรียกว่า vestibular canal และ tympanic canal", "title": "หูชั้นในรูปหอยโข่ง" }, { "docid": "844976#12", "text": "คอเคลียไม่เพียงแต่ \"รับ\" เสียงเท่านั้น แต่ยัง \"สร้าง\" เสียงและขยายเสียงเมื่อยังมีสภาพดี\nเมื่อสิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องได้ยินเสียงที่ค่อย คอเคลียก็จะขยายเสียงโดยการถ่ายโอนความรู้สึกแบบผกผัน (reverse transduction) ที่เซลล์ขนด้านนอก (OHC) คือจะเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้ากลับไปเป็นแรงกลผ่านกระบวนการป้อนกลับเชิงบวก\nโดย OHC มีมอเตอร์โปรตีนที่เรียกว่า prestin ที่เยื่อหุ้มเซลล์ด้านนอก\nซึ่งสร้างความเคลื่อนไหวโดยเพิ่มแรงดันคลื่นน้ำที่มากระทบกับเยื่อหุ้มเซลล์\nการขยายเสียงแบบแอคทีฟเช่นนี้ สำคัญเพื่อให้ได้ยินเสียงค่อย ๆ\nแต่ก็ทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่คอเคลียสร้างคลื่นเสียงแล้วส่งย้อนกลับเข้ามาผ่านหูชั้นกลางที่เรียกว่า otoacoustic emissions", "title": "หูชั้นในรูปหอยโข่ง" }, { "docid": "844992#5", "text": "หูชั้นในประกอบด้วยอวัยวะรูปหอยโข่ง/คอเคลีย (cochlea) (ในมนุษย์ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 9 มม.) และโครงสร้างที่ไม่เกี่ยวกับการได้ยินเสียงอื่น ๆ\nอวัยวะรูปหอยโข่งจะมีส่วน 3 ส่วนที่เต็มไปด้วยน้ำ โดยแรงดันที่เยื่อกั้นหูชั้นใน (basilar membrane) ซึ่งแบ่งส่วนของโครงสร้าง จะเป็นตัวขับคลื่นในน้ำ\nสิ่งที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งก็คือ ท่อที่เรียกว่า \"cochlear duct/partition\" หรือ \"scala media\" จะมี endolymph ซึ่งเป็นน้ำที่มีสารประกอบคล้ายกับของเหลวในเซลล์\nอวัยวะของคอร์ติอยู่ในท่อนี้บนเยื่อกั้นหูชั้นใน และมีหน้าที่แปลงคลื่นกลไปเป็นสัญญาณไฟฟ้า\nอีกสองช่องที่เหลือเรียกว่า scala tympani และ scala vestibuli\nซึ่งอยู่ในห้องหูชั้นใน (labyrinth) ที่เป็นกระดูก และเต็มไปด้วยของเหลวที่เรียกว่า perilymph ซึ่งมีสารประกอบคล้ายกับน้ำหล่อสมองไขสันหลัง\nความแตกต่างทางเคมีของ endolymph และ perilymph เป็นเรื่องสำคัญต่อการทำงานของหูชั้นใน ซึ่งอาศัยความแตกต่างทางศักย์ไฟฟ้าของไอออน โพแทสเซียมและแคลเซียม", "title": "ระบบการได้ยิน" }, { "docid": "912564#18", "text": "แรงสั่นในอากาศจะกระตุ้นแก้วหู\nซึ่งรับแรงสั่นเพื่อส่งต่อไปยังเซลล์รับเสียงคือเซลล์ขน\nกระดูกหูซึ่งเชื่อมต่อจากแก้วหูจะส่งแรงสั่นต่อไปยังหูชั้นในรูปหอยโข่ง (คอเคลีย) ที่เต็มไปด้วยน้ำ\nโดยกระดูกโกลนซึ่งเป็นส่วนท้ายของกระดูกหูจะส่งแรงดันไปที่ช่องรูปไข่ที่คอเคลีย\nซึ่งเป็นช่องที่อำนวยให้แรงสั่นดำเนินต่อไปในน้ำภายในคอเคลีย ไปยังอวัยวะรับเสียงที่อยู่ภายใน\nมีลักษณะต่าง ๆ หลายอย่างเกี่ยวกับเสียงที่ได้ยิน รวมทั้งความดัง ระดับเสียง (ความสูงต่ำ) และ timbre\nหูมนุษย์สามารถตรวจจับความต่างระดับเสียง ด้วยเซลล์ขนที่เคลื่อนไหวเมื่อได้ยินซึ่งอยู่บนเยื่อกั้นหูชั้นใน (basilar membrane)\nเสียงความถี่สูงจะเร้าเซลล์ขนที่ฐาน (ส่วนนอกสุด) ของเยื่อกันหูชั้นใน ในขณะที่เสียงความถี่กลางจะทำเซลล์ขนที่อยู่ตรงกลางเยื่อให้สั่น\nสำหรับความถี่เสียงที่ต่ำกว่า 200 เฮิรตซ์ ปลายของเยื่อกั้นหูชั้นในจะสั่นที่ความถี่เดียวกันกับคลื่นเสียง\nโดยนิวรอนก็จะส่งกระแสประสาทในอัตราความถี่เดียวกันกับแรงสั่นด้วย\nสมองสามารถกำหนดอัตราการส่งสัญญาณ จึงสามารถรับรู้เสียงความถี่ต่ำได้", "title": "แบบสิ่งเร้า" }, { "docid": "435651#6", "text": "ในพัฒนาการสัปดาห์ที่ 5 auditory vesicle จะเกิดท่อคอเคลีย (cochlear duct) ซึ่งประกอบด้วยอวัยวะของคอร์ติและน้ำ endolymph ในเนื้อเยื่อห้องหูชั้นใน\nเยื่อ Reissner's membrane จะกั้นท่อคอเคลียจากช่อง scala vestibuli ที่เต็มไปด้วยน้ำ perilymph\nและเยื่อกั้นหูชั้นใน (basilar membrane) ก็จะกั้นท่อคอเคลียจากช่อง scala tympani ซึ่งเป็นอีกช่องหนึ่งในห้องหูชั้นใน\nส่วนผนังด้านข้างของท่อคอเคลียเกิดจาก spiral ligament และ stria vascularis ซึ่งจะเป็นตัวผลิตน้ำ endolymph ด้วย\nเซลล์ขนจะพัฒนามาจากสันด้านข้างและตรงกลาง (lateral and medial ridge) ของท่อคอเคลีย ซึ่งเมื่อรวมกับเยื่อคลุม (tectorial membrane) ก็จะเป็นอวัยวะของคอร์ติ", "title": "หูชั้นใน" } ]
24
ตำนานคนตัดไผ่ หรือ ตำนานเจ้าหญิงคะงุยะเป็นตัวอย่างของที่มาของนวนิยายเชิงวิทยาศาสตร์ใช่หรือไม่?
[ { "docid": "285193#0", "text": "ตำนานคนตัดไผ่ หรือ ตำนานเจ้าหญิงคะงุยะ (, ) เป็นตำนานพื้นบ้านของญี่ปุ่นที่มีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 10 ที่ถือกันว่าเป็นวรรณกรรมญี่ปุ่นชิ้นที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นตัวอย่างของที่มาของนวนิยายเชิงวิทยาศาสตร์", "title": "ตำนานคนตัดไผ่" } ]
[ { "docid": "774117#0", "text": "เจ้าหญิงกระบอกไม้ไผ่ ( แปล: ตำนานธิดาคะงุยะ) เป็นภาพยนตร์อนิเมะแนวแฟนตาซีดรามา ผลิตโดยสตูดิโอจิบลิ กำกับและร่วมเขียนบทโดยอิซะโอะ ทะกะฮะตะ โดยอาศัยเค้าโครงจากตำนานคนตัดไผ่ ซึ่งเป็นตำนานพื้นเมืองของญี่ปุ่น ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม ในงานประกาศรางวัลครั้งที่ 87", "title": "เจ้าหญิงกระบอกไม้ไผ่" }, { "docid": "285193#2", "text": "วันหนึ่งขณะที่เดินอยู่กลางป่า ชายแก่ผู้มีอาชีพตัดไผ่ชื่อทะเกะโตริ โนะ โอะกินะ ( \"\"ชายแก่ผู้ตัดไผ่ขาย\"\") มองเห็นปล้องไผ่ที่ส่องแสงเรืองรองเข้า ด้วยความสงสัยก็ไปตัดปล้องไผ่ดู ก็พบว่าภายในมีเด็กทารกผู้หญิงขนาดเท่าหัวแม่มือนอนอยู่ ทะเกะโตะริ โนะ โอะกินะผู้มีความดีใจที่ได้พบเด็กน้อยน่ารักก็นำทารกกลับไปบ้านไปให้ภรรยาเลี้ยงอย่างลูก และตั้งชื่อให้ว่าคะงุยะฮิเมะ ( \"\"เจ้าหญิงแห่งราตรีอันเรืองรอง\"\")", "title": "ตำนานคนตัดไผ่" }, { "docid": "285193#3", "text": "ตั้งแต่นั้นมาทะเกะโตะริ โนะ โอะกินะก็พบว่าเมื่อใดที่ตนตัดปล้องไผ่ ก็จะพบก้อนทองก้อนเล็ก ๆ อยู่ภายในปล้องไผ่ที่ตัด ไม่นานนักทะเกะโตะริ โนะ โอะกินะก็มีฐานะร่ำรวยขึ้นมา คะงุยะฮิเมะเองก็เติบโตขึ้นมาเป็นสตรีที่มีขนาดปกติและมีความสวยงามเป็นอันมาก ในระยะแรกทะเกะโตะริ โนะ โอะกินะก็พยายามกันไม่ให้ลูกสาวได้พบกับคนแปลกหน้า แต่ไม่นานนักความสวยงามของคะงุยะก็เป็นที่เลื่องลือจนเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไป จนกระทั่งมีเจ้าชายห้าพระองค์เสด็จมาขอตัวคะงุยะฮิเมะต่อทะเกะโตะริ โนะ โอะกินะ และทรงพยายามหว่านล้อมให้ทะเกะโตะริ โนะ โอะกินะไปบอกให้คะงุยะฮิเมะเลือกเจ้าชายองค์ใดองค์หนึ่งจนกระทั่งสำเร็จ เมื่อทราบว่ามีผู้มาหมายปองคะงุยะฮิเมะจึงวางแผนกันตนเอง โดยตั้งข้อทดสอบต่าง ๆ ที่ยากเกินกว่าที่จะทำให้สำเร็จได้ให้เจ้าชายแต่ละองค์ไปทำ คะงุยะฮิเมะประกาศว่าจะยอมแต่งงานกับเจ้าชายองค์ใดที่สามารถนำสิ่งที่ตนขอมากลับมาได้", "title": "ตำนานคนตัดไผ่" }, { "docid": "285193#11", "text": "นอกจากนั้นก็ยังมีผู้เสนอว่า “ตำนานคนตัดไผ่” เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับ “ทะเลสาบหงส์ขาว” (Swan Lake) ที่เขียนโดยปีเตอร์ อิลิช ไชคอฟสกีด้วย ซึ่งอาจจะมาจากการที่คะงุยะ-ฮิเมะสวม “hagoromo” (羽衣 หรือ “เสื้อคลุมขนนก”) เมื่อพร้อมที่จะเดินทางกลับจันทรประเทศ แต่ฮะโกะโระโมะเกี่ยวข้องมากกว่ากับตำนานที่เรียกว่า “hagoromo densetsu” เช่นในเรื่องที่บันทึกใน “Ohmi-no-kuni Fudo ki” ที่เป็นเรื่องของชายผู้ที่สอนสุนัขให้ขโมยเสื้อคลุมขนนกของนางฟ้าแปดองค์ขณะที่กำลังสรงน้ำ ซึ่งทำให้องค์หนึ่งต้องตกไปเป็นภรรยา เรื่องหลังนี้มีความคล้ายคลึงกันมากกับตำนานเยอรมันที่ “โวลันเดอร์ช่างเหล็ก” (Völundr หรือ Wayland the Smith) และน้องชายที่แต่งงานกับนางหงส์ นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีความคล้ายคลึงเป็นอันมากกับเรื่อง “พระสุธน-มโนราห์” ที่ตัวเอกของเรื่องเป็นนางกินรีที่ถอดปีกถอดหางลงเล่นน้ำเมื่อถูกจับ จนต้องกลายมาเป็นพระมเหสีของพระสุธน", "title": "ตำนานคนตัดไผ่" }, { "docid": "285193#9", "text": "เนื้อหาของตำนานมาจากเรื่องราวที่เล่าขานกันมาก่อนหน้าที่จะเขียนเป็นเรื่องราวขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ชื่อตัวเอกของเรื่อง--ตะเกะโตริ โนะ โอะกินะ--ปรากฏในกวีนิพนธ์ชุด () ที่รวบรวมขึ้นราว ค.ศ. 759 (โคลง # 3791) ในสมัยนาระ ในโคลงนี้ตะเกะโตริ โนะ โอะกินะพบกลุ่มสตรีที่ขับกลอนให้ฟัง ซึ่งทำให้สันนิษฐานได้ว่าเรื่องราวเกี่ยวกับคนตัดไผ่และสตรีลึกลับเป็นเรื่องราวที่เล่าขานกันมาก่อนหน้านั้น", "title": "ตำนานคนตัดไผ่" }, { "docid": "285193#12", "text": "เมื่อหนังสือ “Jinyu Fenghuang” (金玉凤凰) ซึ่งเป็นหนังสือจีนเกี่ยวกับตำนานทิเบตได้รับการตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1957\nเมื่อต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 นักค้นคว้าวรรณกรรมญี่ปุ่นพบว่า “Banzhu Guniang” (班竹姑娘) ซึ่งเป็นตำนานเรื่องหนึ่งในหนังสือที่ว่ามีความคล้ายคลึงกับ “ตำนานคนตัดไผ่” แต่นักค้นคว้าบางคนก็ไม่เห็นด้วยว่ามีความละม้ายคล้ายคลึงกันจริง", "title": "ตำนานคนตัดไผ่" }, { "docid": "285193#4", "text": "คืนนั้นทะเกะโตะริ โนะ โอะกินะก็ทูลเจ้าชายแต่ละพระองค์ถึงสิ่งต่าง ๆ ที่คะงุยะฮิเมะขอให้แต่ละองค์ต้องทรงนำกลับมา เจ้าชายองค์แรกต้องไปทรงนำบาตรหินของพระโคตมพุทธเจ้ามาจากอินเดียกลับมาให้ องค์ที่สองต้องทรงนำกิ่งไม้ประดับอัญมณีจากเกาะเกาะโฮไรในประเทศจีน องค์ที่สามต้องทรงไปนำเสื้อคลุมของหนูไฟจากเมืองจีนกลับมาให้ องค์ที่สี่ต้องทรงไปถอดอัญมณีจากคอมังกรมาให้ และองค์ที่ห้าต้องทรงไปหาหอยมีค่าของนกนกนางแอ่นกลับมา", "title": "ตำนานคนตัดไผ่" }, { "docid": "285193#6", "text": "ระหว่างฤดูร้อนปีนั้น เมื่อใดเห็นพระจันทร์เต็มดวงตาของคะงุยะฮิเมะก็จะคลอไปด้วยน้ำตา ทั้งทะเกะโตะริ โนะ โอะกินะและภรรยาก็พยายามถามถึงสาเหตุแต่คะงุยะฮิเมะก็ไม่สามารถจะบอกได้ว่ามีอะไรผิดปกติ พฤติกรรมของคะงุยะฮิเมะยิ่งแปลกขึ้นจนกระทั่งจนในที่สุดก็ยอมเปิดเผยว่านางนั้นมิได้มาจากโลกนี้ และถึงเวลาแล้วจะต้องเดินทางกลับไปยังบ้านเมืองที่อยู่บนจันทรประเทศ บางตำนานก็กล่าวว่าคะงุยะฮิเมะถูกส่งมายังมนุษยโลกชั่วคราวเพื่อเป็นการลงโทษเพราะไปทำความผิดเข้า แต่บางตำนานก็ว่าถูกส่งตัวมาซ่อนไว้ในโลกเพื่อความปลอดภัยระหว่างสงครามที่เกิดขึ้นบนสรวงสวรรค์", "title": "ตำนานคนตัดไผ่" }, { "docid": "285193#13", "text": "แต่การศึกษาเรื่องนี้ในคริสต์ทศวรรษ 1980 พบว่าความสัมพันธ์ดังกล่าวมิใช่ความสัมพันธ์กันอย่างง่าย ๆ ตามที่เชื่อกันมาแต่เดิม โอะกุสึ (Okutsu) ให้คำอธิบายอย่างยืดยาวถึงการค้นคว้าและให้ความเห็นว่าหนังสือ “Jinyu Fenghuang” เป็นหนังสือที่เขียนสำหรับเด็ก ฉะนั้นบรรณาธิการก็อาจจะถือโอกาสปรับให้เหมาะสมกับผู้อ่าน นอกจากนั้นแล้วหนังสือรวมตำนานทิเบตเล่มอื่นก็ไม่มีเรื่องใดที่คล้ายคลึงกับ “ตำนานคนตัดไผ่”", "title": "ตำนานคนตัดไผ่" } ]
29
ค.ศ. 1951 ใครเป็นนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ?
[ { "docid": "11781#0", "text": "เซอร์วินสตัน เลนเนิร์ด สเปนเซอร์-เชอร์ชิล () เป็นรัฐบุรุษชาวอังกฤษผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรสองสมัย ระหว่างปี 1940 ถึง 1945 และปี 1951 ถึง 1955 ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคสงครามของศตวรรษที่ 20 นอกจากนี้ วินสตันยังเป็นทหารในกองทัพอังกฤษ, นักประวัติศาสตร์, นักเขียน, ตลอดจนศิลปิน เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาอักษรศาสตร์ และยังเป็นบุคคลแรกที่ได้เป็น พลเมืองเกียรติยศแห่งสหรัฐอเมริกา ผู้คนมักนิยมเรียกเขาด้วยชื่อ \"วินสตัน\" แทนที่จะเรียกด้วยนามสกุล", "title": "วินสตัน เชอร์ชิล" } ]
[ { "docid": "796727#0", "text": "สเปนเซอร์ เพอร์ซิวัล () เป็นนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1809 จนกระทั่งถูกลอบสังหารในวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1812 เป็นนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียวในประวัติศาสตร์อังกฤษที่ถูกลอบสังหาร ก่อนหน้าที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เขาเคยเป็นอัยการสูงสุดแห่งอังกฤษและเวลส์", "title": "สเปนเซอร์ เพอร์ซิวัล" }, { "docid": "206982#22", "text": "และเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2551 นายควินตัน เควลย์ เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย กล่าวหลังเข้าพบ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี โดยใช้เวลาประมาณ 30 นาที ที่พรรคประชาธิปัตย์ว่า นายอภิสิทธิ์ มีคุณสมบัติและความ สามารถที่ดีเยี่ยม เพราะเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนอีตัน อีกทั้งจบมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ\nพร้อมแสดงความเห็นด้วยกับนายกรัฐมนตรี ว่า รัฐบาลชุดนี้มีภารกิจใหญ่ 4 ประการคือการฟื้นความมั่นใจของนานาชาติในประเทศไทย สร้างความสมานฉันท์ เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งอีกครั้ง โดยยึดหลักนิติธรรม รักษาความปลอดภัยของสนามบิน ซึ่งถือเป็นประตูในการท่องเที่ยวของไทย สร้างความมั่นใจแก่นักธุรกิจทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ซึ่งจะดึงให้มีการลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ในการเข้าพบครั้งนี้ ในฐานะที่นายกรัฐมนตรีเป็นแฟนฟุตบอลอังกฤษ จึงได้มอบของขวัญเป็นเสื้อยืดนิวคาสเซิล ยูไนเต็ด โดยด้านหลังมีชื่อ นายอภิสิทธิ์ และหมายเลข 27 ซึ่งหมายถึงนายกรัฐมนตรี คนที่ 27 ของประเทศไทย", "title": "คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 59" }, { "docid": "133689#1", "text": "จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศและแต่งตั้งรัฐมนตรีชั่วคราว ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 คณะบริหารประเทศชั่วคราว เป็นผู้ลงนามในประกาศคณะรัฐมนตรีคณะนี้ไม่ได้แถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎรคณะรัฐมนตรีชั่วคราวได้แจ้งไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎร ขอให้ดำเนินการจัดตั้งนายกรัฐมนตรีต่อไป\nและได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้ง จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี บริหารราชการแผ่นดิน\nเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2494", "title": "คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 23" }, { "docid": "338356#70", "text": "ในปี พ.ศ. 2540 พรรคแรงงานแห่งอังกฤษได้รับเสียงข้างมากในสภาเป็นครั้งแรกในรอบ 18 ปี โทนี แบลร์ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ ร่วมกับประธานาธิบดีบิล คลินตัน ได้ร่วมกันแสดงถึง \"แนวทางที่สาม\" ในการอธิบายถึงลัทธิอุดมการณ์กลาง-ซ้ายของพวกเขา ในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน ชาวอเมริกันและชาวอังกฤษได้แสดงออกถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันด้วยการแสดงออกถึงความเศร้าโศกและความตกตะลึงต่อการสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงแห่งเวลส์จากอุบัติเหตุทางรถยนต์ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งฮิลลารี คลินตัน สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งแห่งสหรัฐในขณะนั้นก็ได้เดินทางไปร่วมพิธีศพของเจ้าหญิงแห่งเวลส์ที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ในวันที่ 6 กันยายนด้วย นอกจากนี้ตลอดช่วง พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2542 ทั้งสหรัฐและสหราชอาณาจักรยังได้ส่งกองทัพของตนร่วมในการรักษาสันติภาพระหว่างสงครามคอซอวอ", "title": "ความสัมพันธ์สหราชอาณาจักร–สหรัฐ" }, { "docid": "852837#0", "text": "จอห์น โจเซฟ แอมโบรส เคอร์ติน () เป็นนักการเมืองชาวออสเตรเลียจากพรรคแรงงาน และเป็นนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียคนที่ 14 ระหว่างปี ค.ศ. 1935 ถึง 1945 เขาสามารถนำพาประเทศผ่านพ้นภัยคุกคามจากการรุกคืบของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย เขาถึงแก่อสัญกรรมขณะอยู่ในแหน่งเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 เพียงหนึ่งเดือนก่อนหน้าที่สงครามจะสิ้นสุดลง", "title": "จอห์น เคอร์ติน" }, { "docid": "863871#0", "text": "อาร์ชิบอลด์ ฟิลิป พริมโรส เอิร์ลที่ 5 แห่งโรสเบรี เอิร์ลที่ 1 แห่งมิดลอเธียน () เป็นรัฐบุรุษและนักการเมืองชาวอังกฤษ เขาดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1894 ถึง 22 มิถุนายน ค.ศ. 1895 ก่อนที่ปู่ของเขาจะถึงอนิจกรรมใน ค.ศ. 1868 เขาเป็นที่รู้จักในชื่อ ท่านลอร์ดดัลเมนี", "title": "อาร์ชิบอลด์ พริมโรส เอิร์ลที่ 5 แห่งโรสเบรี" }, { "docid": "891065#3", "text": "ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1942 ถึง ค.ศ. 1945 เขาได้ทำหน้าที่เป็นนายกรัฐมนตรีนอร์เวย์ ผู้นำบริหารรัฐนอร์เวย์ร่วมกับผู้บริหารพลเรือนเยอรมัน โยเซฟ เทอร์โบเวน รัฐบาลหุ่นเชิดนิยมนาซีของเขา ได้เป็นที่รู้จักกันในฐานะ\"ระบอบควิสลิง\" ที่ถูกครอบงำโดยคณะรัฐมนตรีจากพรรค Nasjonal Samling รัฐบาลของควิสลิงได้มีส่วนร่วมกับมาตราการสุดท้ายในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของเยอรมนี ควิสลิงได้ถูกจับกุมตัวและถูกไต่สวนในระหว่างการกวาดล้างฝ่ายนิยมฟาสซิสต์ในนอร์เวย์หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เขาถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหาหลายข้อกล่าวหา รวมทั้งการฉ้อฉล, การฆาตกรรม และเป็นผู้ทรยศอย่างใหญ่หลวงต่อรัฐนอร์เวย์และถูกตัดสินลงโทษด้วยการประหารชีวิต เขาได้ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าแบบทีมยิง (firing squad) ที่ป้อมอาร์เคอซัส ในกรุงออสโล เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 ด้วยคำว่า ควิสลิง ต่อมาได้กลายเป็นภาษิตสำหรับ \"ผู้สมรู้ร่วมคิด\" หรือ \"คนทรยศ\" ในหลายภาษา ซึ่งได้สะท้อนแสดงให้เห็นถึงความน่าสังเวชในการกระทำของควิสลิง ทั้งในช่วงเวลาที่ยังมีชีวืตและจนกระทั่งที่เขาได้เสียชีวิตลง", "title": "วิดคัน ควิสลิง" }, { "docid": "80055#0", "text": "คณะรัฐมนตรี คณะที่ 29 (9 กุมภาพันธ์ 2502 - 8 ธันวาคม 2506)\nจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2502 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ พลเอกสุทธิ์ สุทธิสารรณกร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2502 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี\nมีการจัดตั้งกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ จึงมีการแต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี", "title": "คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 29" }, { "docid": "286631#0", "text": "จอร์จ เกรนวิลล์ () เป็นนักการเมืองชาวอังกฤษ ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 8 แห่งบริเตนใหญ่ระหว่าง ค.ศ. 1763 - ค.ศ. 1765 เกิดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1712 และถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1770 ขณะอายุได้ 58 ปี", "title": "จอร์จ เกรนวิลล์" } ]
34
คู่สมรสของ บรรหาร ศิลปอาชา คือใคร?
[ { "docid": "193882#1", "text": "นายวราวุธ ศิลปอาชา เกิดเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2516 ที่แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นลูกชายคนสุดท้องของนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทยและอดีตนายกรัฐมนตรี กับคุณหญิงแจ่มใส ศิลปอาชา ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางสุวรรณา ศิลปอาชา (สกุลเดิม ไรวินท์) มีบุตรด้วยกัน 3 คน", "title": "วราวุธ ศิลปอาชา" }, { "docid": "6131#3", "text": "บรรหารสมรสกับคุณหญิงแจ่มใส ศิลปอาชา มีบุตร 3 คน", "title": "บรรหาร ศิลปอาชา" } ]
[ { "docid": "125860#1", "text": "สมรสกับนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย มีบุตร-ธิดารวม 3 คน เป็นชาย 1 คน คือ นายวราวุธ ศิลปอาชา (สมรสกับ เก๋ - สุวรรณา ไรวินท์ ทายาทตระกูลไรวินท์ เจ้าของธุรกิจ ซุปไก่ก้อนรีวอง) และเป็นหญิง 2 คน คือ น.ส. กัญจนา ศิลปอาชา และ น.ส. ปาริชาติ ศิลปอาชา", "title": "แจ่มใส ศิลปอาชา" }, { "docid": "6131#0", "text": "บรรหาร ศิลปอาชา (19 สิงหาคม พ.ศ. 2475 – 23 เมษายน พ.ศ. 2559) เป็นนักการเมืองชาวไทย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 21 ประธานกรรมการมูลนิธิบรรหาร-แจ่มใส ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี 11 สมัย อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา อดีตนายกสภาสถาบันการพลศึกษา อดีตกรรมการผู้จัดการ บริษัท สหศรีชัยก่อสร้าง จำกัด และอดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย ทั้งเป็นพี่ชายของชุมพล ศิลปอาชา อดีตรองนายกรัฐมนตรี", "title": "บรรหาร ศิลปอาชา" }, { "docid": "6131#2", "text": "บรรหารเป็นชาวจังหวัดสุพรรณบุรี เดิมมีชื่อว่า เต็กเซียง แซ่เบ๊ (馬德祥) บิดาของบรรหาร คือ เซ่งกิม แซ่เบ๊ ส่วนมารดาของบรรหาร คือ สายเอ็ง แซ่เบ๊ เป็นเจ้าของร้านสิ่งทอชื่อ ย่งหยูฮง ทั้งคู่มีบุตร 6 คน ดังนี้ตามลำดับ สมบูรณ์ ศิลปอาชา, สายใจ ศิลปอาชา, อุดม ศิลปอาชา, บรรหาร ศิลปอาชา, ดรุณี วายากุล, และชุมพล ศิลปอาชา", "title": "บรรหาร ศิลปอาชา" }, { "docid": "207325#1", "text": "นายชุมพล ศิลปอาชา เกิดเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2483 ที่ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรของเซ่งกิม และสายเอ็ง แซ่เบ๊ เป็นน้องชายของบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 21 จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร สำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโท (M.P.A.) มหาวิทยาลัยซีราคิวส์ สหรัฐอเมริกา ด้านชีวิตครอบครัว ได้สมรสกับดวงมาลย์ ศิลปอาชา (สกุลเดิม เจียรสวัสดิ์วัฒนา) ผู้พิพากษาอาวุโส ศาลคดีเด็กสมุทรปราการ มีบุตร 2 คน คือ สลิลดา ศิลปอาชา กับรัฐพล ศิลปอาชา", "title": "ชุมพล ศิลปอาชา" }, { "docid": "56164#5", "text": "ชีวิตส่วนตัว เล็กสมรสกับ ศศิธร ชนะภัย โดยมีบุตรชาย 2 คน ชื่อ ต๊อด และ แฟ้บ (ประกาศิต) โดยบุตรคนแรกเกิดจากภรรยาเก่า และมีกิจการส่วนตัวนอกเหนือจากการเล่นดนตรีคือ ผลิตกีตาร์โปร่งในนามของวงคาราบาว โดยเริ่มผลิตออกมาตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2547 โดยผลิตออกมา 2 ชุด ใช้ชื่อรุ่นว่า \"คนเก็บฟืน\" และ \"มนต์เพลงคาราบาว\" และได้ร่วมแสดงภาพยนตร์อีกครั้งในเรื่อง \"แฟนฉัน\" ในปี พ.ศ. 2546 ที่โด่งดัง โดยรับบทเป็นพ่อของตัวละครเด็กหญิงในเรื่อง และออกหนังสือที่เกี่ยวกับประสบการณ์การแสดงดนตรีในอเมริกา ในปี พ.ศ. 2545 ชื่อ \"135 วัน อเมริกัน อเมริกา\" และอีกเล่มเกี่ยวกับประสบการณ์การเล่นดนตรีตั้งแต่ยุคแรก ๆ ในปี พ.ศ. 2550 ชื่อ ...เบื้องบนเป็นแผ่นฟ้ากว้าง...", "title": "ปรีชา ชนะภัย" }, { "docid": "219626#5", "text": "ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ จุฑามาศ อิสสรานุกฤต หรือ บุ๋ม ปุยฝ้าย แฟนสาวที่คบกันตั้งแต่อัลบั้ม รวมดาว โดยจัดพิธีหมั้นกันเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2532 ที่ห้องวิภาวดีบอลรูม มี เสกสรรค์ ภู่ประดิษฐ์ อดีตพิธีกรรายการ โลกดนตรี เจ้าของฉายา โฆษกคนยาก ซึ่งทั้งคู่ให้ความเคารพ (ปัจจุบันนี้เสกสรรค์ได้เสียชีวิตลงแล้ว) เป็นพิธีกร โดยมีนักข่าวติดตามทำข่าวจำนวนมากและท่ามกลางความยินดีของแฟนคลับของทั้งสองฝ่ายและได้มีพิธีมงคลสมรสเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2536 ที่ห้องเลิศวนาลัย โรงแรมฮิลตัน (ปัจจุบันคือโรงแรมสวิสโฮเต็ลปาร์คนายเลิศ) มีลูกสาวด้วยกัน 2 คนคือ น้องเพนกวิน และ น้องกีวี", "title": "สุทธิพงษ์ วัฒนจัง" }, { "docid": "106169#8", "text": "ด้านชีวิตครอบครัวของครูรังสี ท่านแต่งงานกับนางสุภาพ คังคะโรจนะ มีบุตรชาย 2 คน คือ นายมหศักดิ์ กับ สุรศักดิ์ ทัศนพยัคฆ์ ซึ่งยังทำงานอยู่เบื้องหลังในวงการภาพยนตร์ สืบทอดจากครูรังสี ขณะที่ครูรังสีเอง หลังจากห่างหายไปจากวงการแล้ว ก็ได้ไปทำสวนอยู่ที่จันทบุรี ไม่มีใครได้พบเจอ กระทั่งเมื่อปี 2544 ท่านได้ไปทำเซอร์ไพรส์ให้กับลูกศิษย์ คนหนึ่งซึ่งไปจัดเลี้ยงงานวันเกิดกันที่จันทบุรี", "title": "รังสี ทัศนพยัคฆ์" }, { "docid": "39528#3", "text": "นายอาสา สมรสกับ ท่านผู้หญิงสุจิตคุณ สารสิน (นามสกุลเดิม กิติยากร) ธิดาของหม่อมเจ้าขจรจบกิตติคุณ กิติยากร กับหม่อมราชวงศ์วิจิตรโฉม ชยางกูร มีบุตร-ธิดา 3 คน คือ\nประสบการณ์ทำงานอื่น ๆ อาทิ\nกรรมการ ธนาคารกรุงเทพ, รองประธานกรรมการ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ร่วมเสริมกิจ จำกัด, ประธานกรรมการ บริษัท ไทยเอเชียแปซิฟิคบริวเวอรี่ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่าย เบียร์ไฮเนเก้น และ ไทเกอร์เบียร์ ของประเทศสิงคโปร์", "title": "อาสา สารสิน" } ]
42
ราชวงศ์หมิงมีประมุของค์แรกคือใคร ?
[ { "docid": "21447#2", "text": "ปฐมจักรพรรดิต้าหมิง จูหยวนจาง หรือ จักรพรรดิหงหวู่ หลังจากที่ได้ทรงประกาศปลดแอกชาวฮั่นจากภายใต้การปกครองของราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล ได้สถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้น พระองค์ได้ทรงพยายามปฏิรูปการปกครองอาณาจักรเสียใหม่ ทรงพยายามสร้างระบบสังคมชุมชนชนบทแบบพึ่งพาตนเอง ปฏิรูประบบราชการ, กฎหมาย จักรพรรดิหงหวู่ได้สร้างระบบที่เป็นระเบียบที่ยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้ที่จะสามารถรองรับและสนับสนุนการทหารของราชวงศ์หมิงอย่างยั่งยืน ทำให้ด้านการทหารในช่วงนั้นราชวงศ์หมิงประสบความสำเร็จมีกองทัพภาคพื้นดินเกินกว่า 1 ล้านคนและกองทัพเรือมีอู่ต่อเรือที่หนานจิงเป็นอู่ต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้น พระองค์ยังได้ทรงตระหนักถึงการลดทอนอำนาจของเหล่าขันทีในราชสำนัก, เหล่าพ่อค้าที่คดโกงทางเศรษฐกิจ, ปฏิรูปโดยใช้ระบบศักดินาโดยโอนมอบสิทธิครอบครองที่ดินให้แก่พระโอรสของพระองค์ทั่วประเทศจีนและพยายามแนะนำให้พระโอรสใช้หลักกระแสรับสั่งที่เผยแพร่โดยราชสำนักหมิงชื่อว่า หวงหมิงซูซุ่น หลักการนี้ได้ถูกยกเลิกเมื่อพระราชนัดดาของพระองค์ จักรพรรดิเจี้ยนเหวิน ซึ่งขึ้นเป็นฮ่องเต้องค์ที่ 2 ทรงคิดรวบอำนาจและพยายามที่จะกำจัดอำนาจของพระปิตุลาของพระองค์เอง ก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองหรือการทัพที่จิงหนานขึ้น หลังจากการทัพดังกล่าวสิ้นสุดลงองค์ชายหยันได้สืบราชสมบัติต่อเป็นฮ่องเต้ ในปี ค.ศ. 1402 พระนามว่า จักรพรรดิหย่งเล่อ", "title": "ราชวงศ์หมิง" } ]
[ { "docid": "817177#1", "text": "เจ้าพระอัคร์บุตร (บุญมี) ทรงเป็นพระโอรสพระองค์แรกในเจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี รามางกูร) เจ้าเมืองธาตุพนมหรือขุนโอกาสผู้ปกครองกองข้าโอกาสพระธาตุพนมลำดับที่ ๒ กับอาชญานางบุษดี อีกทั้งทรงเป็นพระนัดดาในเจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร) เจ้าเมืองธาตุพนมหรือขุนโอกาสผู้ปกครองกองข้าโอกาสพระธาตุพนมพระองค์แรกจากราชวงศ์เวียงจันทน์ กับอาชญานางยอดแก้วศรีบุญมาแห่งจำปาศักดิ์ เจ้าพระอัคร์บุตร (บุญมี) ทรงเป็นเจ้านายจากราชวงศ์เวียงจันทน์ผู้พยายามอ้างสิทธิ์และมีสิทธิ์เป็นลำดับแรกในการขึ้นปกครองธาตุพนมในลำดับที่ ๓ ต่อจากเจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี รามางกูร) ผู้เป็นพระบิดา แต่ความพยายามนั้นไม่เป็นผลสำเร็จ เนื่องจากตำแหน่งเจ้าเมืองหรือขุนโอกาสตกไปเป็นของพระปราณีศรีมหาพุทธบริษัท (เมฆ รามางกูร) ผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องและเครือญาติใกล้ชิด อันเนื่องมาจากความยืดเยื้อเกี่ยวปัญหาการเมืองท้องถิ่นของเจ้านายลาวหลายประการ อาทิ ปัญหาการช่วงชิงดินแดนอาณานิคมริมฝั่งแม่น้ำโขงของประเทศฝรั่งเศส ปัญหาการพยายามลดอำนาจทางการปกครองของเจ้านายท้องถิ่นเมืองธาตุพนมจากฝ่ายสยาม ปัญหาการขัดแย้งผลประโยชน์ทางการเมืองของเหล่าเครือญาติเจ้านายท้องถิ่นเมืองธาตุพนมเอง ตลอดจนปัญหาเกี่ยวกับกบฏผีบุญหรือกบฏผู้มีบุญของภาคอีสาน", "title": "เจ้าพระอัคร์บุตร (บุญมี รามางกูร)" }, { "docid": "257422#2", "text": "ประมุขผู้เป็นชายทุกองค์ใช้ชื่อทอเลมี ที่เป็นสตรีบางคนก็เป็นพระขนิษฐาของพระราชสวามีมักจะใช้ชื่อ “คลีโอพัตรา” หรือ “อาร์ซิโนเอ” หรือ “เบเรนิเซ” สมาชิกคนสำคัญที่สุดของราชวงศ์คือ พระราชินีองค์สุดท้ายคลีโอพัตราที่ 7 ที่เป็นที่รู้จักกันจากการมีบทบาทในความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์ และ ปอมเปย์ และต่อมาระหว่าง อ็อคเตเวียน และ มาร์ก แอนโทนี การฆ่าตัวตายคลีโอพัตราเป็นการสิ้นสุดการครองอียิปต์ของราชวงศ์ทอเลมี", "title": "ราชวงศ์ทอเลมี" }, { "docid": "70134#3", "text": "เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีเจ้าจอมพระองค์แรกตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทั้งยังเป็นพระพี่เลี้ยงผู้มีอายุมากกว่าพระองค์ จึงเป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกริ้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบันทึกในพระราชหัตถเลขาที่ทรงมีถึงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ความว่า", "title": "เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์แข ในรัชกาลที่ 5" }, { "docid": "96335#3", "text": "การแต่งงานดังกล่าวเป็นความพยายามครั้งที่สามของบิดาของจูฟเฟรย์ ฟุลค์ที่ 5 เคานต์แห่งอ็องฌู ในการสร้างสัมพันธไมตรีทางการเมืองกับนอร์ม็องดี ครั้งแรกเขาจับบุตรสาว อลิซ สมรสกับวิลเลียม อาเดลิน ทายาทของพระเจ้าเฮนรีที่ 1 หลังวิลเลียมจมน้ำสิ้นพระชนม์ในการอับปางของเรือขาว ฟุลค์จับบุตรสาวอีกคน ซีบิลลา แต่งงานกับวิลเลียม คลิโต บุตรชายของพระเชษฐาของพระเจ้าเฮนรีที่ 1 โรเบิร์ต เคอร์โธส พระเจ้าเฮนรีที่ 1 ทำให้การแต่งงานดังกล่าวเป็นโมฆะเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้การอ้างสิทธิ์ในนอร์ม็องดีที่เป็นปรปักษ์ต่อพระองค์ของวิลเลียม คลิโตแข็งแกร่งมากขึ้น สุดท้ายฟุลค์ก็บรรลุเป้าหมายด้วยการแต่งงานของจูฟเฟรย์กับมาทิลดา ฟุลค์จึงส่งต่อตำแหน่งให้จูฟเฟรย์แล้วไปเป็นกษัตริย์แห่งเยรูซาเล็ม", "title": "ราชวงศ์แพลนแทเจเนต" }, { "docid": "865054#2", "text": "เมื่อแรกประสูติพระองค์เจ้าจงกล ทรงได้แม่ช้อย มารดาของสุนทรภู่ เป็นนางนม จึงทรงสนิทสนมกับสุนทรภู่มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ สุนทรภู่มีบุตรกับแม่จัน 1 คน ชื่อหนูพัด แต่ชีวิตครอบครัวก็ยังไม่ราบรื่นนัก ในที่สุดแม่จันก็ร้างลาไป พระองค์เจ้าจงกลได้รับอุปการะหนูพัดไว้", "title": "พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจงกล" }, { "docid": "956646#1", "text": "จักรพรรดิถังเกาจงมีโอรสสามองค์ คือเจี้ยนเฉิน, ซื่อหมิง และหยวนจิ๊ ในสามคนนี้ ซื่อหมิง บุตรคนที่สองเฉลียวฉลาดและมีไหวพริบมากที่สุด อีกทั้งยังช่วยงานบิดามากมาย จนได้รับการคาดหมายว่าจะเป็นผู้สืบทอดบัลลังก์คนต่อไป ซื่อหมิงปลอมตัวเป็นสามัญชนเพื่อเข้าร่วมงานประลองยุทธฮั่นเทียนเหมิน และได้รู้จักกับจอมยุทธน้อยเจียงฟง ทั้งสองคบหากันเป็นสหายสนิท อีกทั้งซื่อหมิงได้ช่วยชีวิตของแม่นางฉิงซิซิ จนบังเกิดเป็นความรัก แต่เหมือนฟ้าดินกลั่นแกล้ง ซิซิตกเป็นที่หมายปองของเจี้ยนเฉิน ซึ่งพยายามทุกวิถีทางที่จะได้ครอบครองตัวเธอ เจี้ยนเฉินร่วมมือกับหยวนจิ๊หาทางขัดขวางไม่ให้ซื่อหมิงได้เป็นองค์รัชทายาท บัดนี้พี่น้องต้องมาห้ำหั่นกันเองและกลายเป็นตำนานศึกสายเลือดที่เล่าขานไม่รู้จบความนิยมของละคร เรื่องนี้ ถูกรีรัน ถึง 3 ครั้งที่ฮ่องกง ในช่อง the Jade Terrace\nในเดือนตุลาคม 2528, เดือนเมษายน 2531 และเดือนตุลาคม 2533", "title": "ยุทธจักรชิงจ้าวบัลลังค์" }, { "docid": "149282#0", "text": "พระเจ้ามยองจง เป็นประมุขราชวงศ์โชซอนองค์ที่ 13 (พ.ศ. 2088 ถึง พ.ศ. 2110) หรือ องค์ชายเคียงวอน เป็นโอรสของพระเจ้าจุงจงกับมเหสีมุนจอง ขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุ 11 พรรษา ต่อจากพระเชษฐาต่างมารดา คือ พระเจ้าอินจง ที่สิ้นพระชนม์ไปด้วยพระสุขภาพไม่สู้จะดีในพ.ศ. 2088 มีพระมารดาคือ พระพันปีมุนจอง สำเร็จราชการแทน", "title": "พระเจ้ามย็องจงแห่งโชซ็อน" }, { "docid": "92658#23", "text": "จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ทรงลี้ภัยไปยังฝรั่งเศสและเสด็สวรรคตในปี ค.ศ. 1997 และได้ฝังพระบรมศพที่ มกุฎราชกุมารบ๋าว ล็อง จึงได้สืบทอดตำแหน่งพระประมุขแห่งราชวงศ์เหงียนหลังการเสด็จสวรรคตของพระบิดาในวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1997 จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 หลังจากนั้นเจ้าชายบ๋าว ทั้ง ได้ทรงสืบทอดตำแหน่งพระประมุขราชวงศ์เหงียนจนถึงปัจจุบัน", "title": "ราชวงศ์เหงียน" }, { "docid": "32264#43", "text": "สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเป็นพระประมุขสมัยใหม่พระองค์แรกของประเทศอังกฤษ พระประมุของค์ก่อน ๆ ทรงเป็นผู้เข้าไปมีบทบาทอย่างแท้จริงในกระบวนการปกครองบ้านเมือง ความต่อเนื่องของการปฏิรูปด้านกฎหมายต่าง ๆ ทำให้เห็นถึงอำนาจของสภาสามัญเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลเสียต่อสภาขุนนางและสถาบันกษัตริย์ เพราะบทบาทขององค์ประมุขกลายเป็นสัญลักษณ์มากขึ้น นับตั้งแต่รัชกาลของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเป็นต้นมา องค์พระประมุข \"ทรงมีสิทธิจะได้รับคำปรึกษา มีสิทธิจะแนะนำ และมีสิทธิจะตักเตือน\" ตามคำกล่าวของวอลเตอร์ เบจฮอต นักหนังสือพิมพ์ชาวอังกฤษ", "title": "สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "12891#0", "text": "พระเจ้ากรุงจีน หรือ จักรพรรดิจีน ( \"หวงตี้\"; ฮกเกี้ยน:ฮ่องเต้; แต้จิ๋ว:อ้วงตี่) คือประมุขจักรวรรดิจีน โดยมีจิ๋นซีฮ่องเต้เป็นฮ่องเต้พระองค์แรก ก่อนสมัยราชวงศ์ฉิน ประเทศจีนได้ถูกแบ่งเป็นแว่นแคว้นต่าง ๆ มากมาย และแต่ละแคว้นจะมีผู้ปกครอง เรียกว่า อ๋อง (; พินอิน:wáng) ซึ่งแปลว่า พระมหากษัตริย์ แต่ต่อมาหลังจากอ๋องแห่งแคว้นฉินได้รวบรวมแว่นแคว้นต่าง ๆ เป็นหนึ่งเดียวจึงสถาปนาแผ่นดินเป็นจักรวรรดิจีน และประกาศใช้เป็นพระนามคำนำหน้าว่าจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ คือฉินซือหวงตี้ หรือจิ๋นซีฮ่องเต้", "title": "จักรพรรดิจีน" } ]
49
สนุกเกอร์ กำเนิดที่ประเทศใด ?
[ { "docid": "209100#1", "text": "สนุกเกอร์ได้เกิดขึ้นในเมืองจาบาลปุร์ ประเทศอินเดียโดยทหารอังกฤษ ได้รับความนิยมในหมู่ผู้เล่นที่ใช้ภาษาอังกฤษและประเทศในเครือจักรภพแห่งชาติ โดยผู้เล่นมืออาชีพมักจะได้รับเงินรางวัลจำนวนมากจากการแข่งขัน ขณะนี้เป็นที่นิยมมากขึ้นในจีน การเดินทางของผู้เล่นอาชีพเพื่อเข้าการแข่งขันที่จัดขึ้นทั่วทุกมุมโลก รายการทัวร์นาเมนต์ใหญ่คือเวิลด์สนุกเกอร์แชมเปียนชิป จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในเมื่องเชฟฟีลด์ ประเทศอังกฤษ", "title": "สนุกเกอร์" }, { "docid": "209100#2", "text": "สนุกเกอร์เริ่มเกิดขึ้นในปลายศตวรรษที่ 19 ในยุค 1870 กีฬาบิลเลียดเป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมในหมู่ทหารอังกฤษที่ประจำการทั่วอินเดีย โดยต้นกำเนิดสนุกเกอร์เริ่มต้นในกรมทหารเดวอนเชอร์ในเมืองจาบาลปุร์ ในช่วงปี 1875 มีรากฐานมาจากพ็อกเก็ตบิลเลียด แล้วรวมเกมปิรามิด (ลูกแดง 15 ลูก) และไลฟ์พูล (ลูกสีต่าง ๆ) เข้าด้วยกัน รูปแบบของเกมในช่วงแรกมี ลูกสีแดง 15 ลูกตั้งเป็นรูปสามเหลี่ยม คู่กับ ลูกดำ 1 ลูก ที่จุดด้านหลังลูกแดงสามเหลี่ยม พร้อมทั้งมีการนำลูกสีต่างๆ ได้แก่ เหลือง เขียว น้ำตาล น้ำเงิน และชมพูเพิ่มเข้ามาอีกในเวลาต่อมา จึงได้พัฒนามาเรี่อยๆ จนกระทั่งปี 1884 กติกาสนุกเกอร์เริ่มใช้ครั้งแรกโดย เซอร์ เนวิลล์ ฟรานซิส ฟิตซ์เจอรัลด์ แชมเบอร์เลน ที่เล่นกันในสโตนเฮาส์ในเมืองอูตี ใช้โต๊ะที่ทำขึ้นโดย เบอร์โรส์แอนด์วัตต์ (Burroughes & Watts) นำมาจากเรือ ที่มาของชื่อ \"สนุกเกอร์\" (snooker) ในภาษาอังกฤษ เป็นสแลงของนักเรียนนายทหารปีแรกหรือบุคลากรที่ไม่มีประสบการณ์ แชมเบอร์เลนได้เอ่ยคำว่าสนุกเกอร์ขึ้นมา เมื่อผู้เล่นแทงไม่ถูกลูกเป้าหลายครั้งจนกลายเป็นที่มาของชื่อสนุกเกอร์ ในปี 1887 สนุกเกอร์ได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ \"สปอร์ติงไลฟ์\" (Sporting Life) จนทำให้เป็นที่รู้จัก แชมเบอร์เลนก็เลยกลายเป็นผู้คิดค้นเกมสนุกเกอร์โดยปริยายจากคำบอกเล่าของนิตยสาร \"เดอะฟิลด์\" (The Field) ที่ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 1938", "title": "สนุกเกอร์" } ]
[ { "docid": "209100#0", "text": "สนุกเกอร์ (; ออกเสียง: ในสำเนียงบริติช หรือ ในสำเนียงอเมริกัน) เป็นกีฬาที่ใช้ไม้คิวในการเล่น โดยเล่นบนโต๊ะผ้าสักหลาดหนาที่มีหลุมอยู่ 4 มุมโต๊ะ และตรงกลางของด้านยาวอีกด้านละหลุม โต๊ะมีขนาด 12 ฟุต × 6 ฟุต (3.6 ม. x 1.8 ม.) การเล่นใช้ไม้คิวและลูกสนุกเกอร์ มีลูกสีขาว 1 ลูก ลูกสีแดง 15 ลูก มีคะแนนลูกละ 1 คะแนน และมีลูกสีต่าง ๆ คือ สีเหลือง (2 คะแนน), สีเขียว (3), สีน้ำตาล (4), สีน้ำเงิน (5), สีชมพู (6) และสีดำ (7) ผู้เล่น (หรือทีม) ชนะ 1 เฟรม (แต่ละเกม) โดยแต้มที่เหนือกว่าฝั่งตรงข้าม โดยใช้แทงลูกสีแดงและแทงลูกสี ผู้ที่ชนะจำนวนเฟรมมากกว่าจะเป็นผู้ชนะ", "title": "สนุกเกอร์" }, { "docid": "209100#5", "text": "ความก้าวหน้าที่สำคัญกำลังปรากฏขึ้น ในปี 1969 เมื่อ เดวิด แอทเทนเบอเรอห์ ได้รับหน้าที่จัดการแข่งขันสนุกเกอร์ พอตแบล็ก (Pot Black) เพื่อแสดงศักยภาพของโทรทัศน์สีกับโต๊ะสีเขียวและลูกหลายสีที่ให้ประโยชน์อย่างดีสำหรับการแพร่ภาพสี ขึ้นเรตติงจากความสำเร็จด้วยความยอดนิยมจากการชมมากที่สุดบนช่องบีบีซีทู จนทำให้สนุกเกอร์เป็นที่สนใจมากขึ้น และปี 1978 เวิลด์แชมเปียนชิป ได้ถ่ายทอดสดการแข่งขันอย่างเต็มที่ สนุกเกอร์ได้อยู่ในกระแสหลักอย่างเร็วในกีฬาหลัก ในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ และประเทศในเครือจักรภพจำนวนมากได้ประสบความสำเร็จมากในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา มีการแข่งขันผ่านการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์มากที่สุด ในปี 1985 ได้รวมผู้ชมทั้งหมด 18.5 ล้านจากการแข่งขันเฟรมสุดท้ายระหว่าง เดนนิส เทย์เลอร์ และ สตีฟ เดวิส ในปีที่ผ่านมาได้สูญเสียจากการโฆษณายาสูบ ที่ได้นำไปสู่​​การลดลงจำนวนการแข่งขันระดับอาชีพ แม้จะได้รับแหล่งที่มาจากบางสปอนเซอร์ใหม่ และมีความนิยมในตะวันออกไกลและจีน ที่มีความสามารถใหม่ๆ เช่น เหลียง เหวินปั๋ว ผู้เล่นเป็นที่ยอมรับมากขึ้นเช่น ติง จวิ้นฮุย และ มาร์โก ฟู ที่ได้เป็นลางบอกเหตุที่ดีสำหรับอนาคตของการเล่นกีฬาในส่วนหนึ่งของโลก", "title": "สนุกเกอร์" }, { "docid": "209100#3", "text": "ผลดังกล่าวของสนุกเกอร์ในประเทศอังกฤษได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น แต่โดยทั่วไปก็ยังคงเกมชนิดนี้ไว้สำหรับสุภาพบุรุษและหลายชมรมที่จัดตั้งขึ้นโดยผู้ชายซึ่งมีโต๊ะบิลเลียดที่จะไม่อนุญาตให้ผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกได้เล่น เพื่อรองรับความนิยมของเกมขนาดเล็กที่ได้เปิดกว้างมากขึ้นสำหรับชมรมเฉพาะสนุกเกอร์ที่เริ่มจะก่อตัวมากขึ้น", "title": "สนุกเกอร์" }, { "docid": "98797#0", "text": "ซัมมอนเนอร์มาสเตอร์ () เป็นการ์ดเกมรูปแบบใหม่ที่ผลิตในประเทศไทย โดยทีมงานฟีโนมีน่อนปาร์ตี้ ของบริษัท ซานโตนีโน่ จำกัด ซึ่งคิดค้น และสร้างสรรค์ระบบโดยคนไทยทั้งหมด แต่ในขณะเดียวกันก็สร้างสรรค์เอกลักษณ์อันแปลกใหม่ไม่เหมือนใคร โดยให้ผู้เล่นรับบทเป็นเจ้าแห่งมนต์อสูร (Summoner = นักใช้มนต์อสูร, Master = หัวหน้า ผู้เชี่ยวชาญ) และมีเวทมนตร์คอยเป็นตัวเสริมและพลิกสถานการณ์ การเล่นจะมีความหลากหลายมาก เพราะผู้เล่นสามารถจัดกองการ์ดมาเองตามแต่รูปแบบที่ชอบของแต่ละคนได้ เพื่อนำไปใช้ในการเล่นตามความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคน", "title": "ซัมมอนเนอร์มาสเตอร์" }, { "docid": "557581#1", "text": "หนึ่งทศวรรษผ่านไป นับตั้งแต่ จอห์น คอนเนอร์ (นิค สธาร์ล) ได้ช่วยปกป้องวันสิ้นโลก และรักษามวลมนุษยชาติเอาไว้ได้ นั่นก็คือวันที่เครือข่ายแห่งเครื่องจักรกล ที่ผ่านการพัฒนาอย่างรวดเร็วของ สกายเน็ต กลายเป็นเครื่องจักรกลที่มีความคิด และเริ่มทำลายมนุษยชาติ แต่วันที่ 29 สิงหาคม ปี 1997 ผ่านมาและผ่านไป โดยมิได้เกิดเหตุการณ์ร้าย แม้ว่าทางสกายเน็ต จะพยายามสังหารคอนเนอร์ถึงสองครั้ง เพื่อก่อสงครามกับมนุษย์ แต่มันเป็นความพยายามที่ล้มเหลวทั้งสองครั้ง", "title": "ฅนเหล็ก 3 กำเนิดใหม่เครื่องจักรสังหาร" }, { "docid": "209100#10", "text": "ในปี 1982 (พ.ศ. 2525) ได้ก่อตั้ง สมาคมสนุกเกอร์แห่งประเทศไทย โดยมอริส เคอร์ ชาวอังกฤษที่เป็นผู้บุกเบิกกีฬาสนุกเกอร์เข้ามาในประเทศไทย โดยเริ่มมีการแข่งขันชิงแชมป์อาเซียน ปี 1983 (พ.ศ. 2526) ในปรเทศสิงคโปร์ การกีฬาแห่งประเทศไทยได้บรรจุสนุกเกอร์ให้อยู่ในพระราชบัญญัติกีฬาตั้งแต่ปี 1984 (พ.ศ. 2527) ในปี 1985 (พ.ศ. 2528) ได้มีการแข่งขันสนุกเกอร์มืออาชีพในประเทศไทยในชื่อว่า ไทยแลนด์ มาสเตอร์ (ชื่ออื่น เอเชียนโอเพน และ ไทยแลนด์โอเพน) โดยมีการเริ่มจัดอันดับโลกตั้งแต่ในฤดูกาล 1989/90 (2532/33) จนถึง 2001/02 (2544/45)", "title": "สนุกเกอร์" }, { "docid": "882217#1", "text": "ประเทศเจ้าภาพ (มาเลเซีย)", "title": "กีฬาบิลเลียดและสนุกเกอร์ในซีเกมส์ 2017" }, { "docid": "475996#0", "text": "สเปซอินเวเดอร์ส (; ) เป็นวิดีโอเกมอาเขด ที่ได้รับการออกแบบโดยโทะโมะฮิโระ นิชิคะโดะ และได้รับการเปิดตัวใน ค.ศ. 1978 ซึ่งเดิมผลิตและจำหน่ายโดยบริษัทไทโทในประเทศญี่ปุ่น และในภายหลังได้รับสิทธิการผลิตในสหรัฐอเมริกาโดยมิดเวย์ของแบลลี \" สเปซอินเวเดอร์ส\" เป็นหนึ่งในเกมยิงปืนที่เก่าแก่ที่สุด โดยมีจุดมุ่งหมายคือการปราบฝูงเอเลี่ยนด้วยปืนเลเซอร์เพื่อทำคะแนนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการออกแบบเกม นิชิคะโดะได้รับแรงบันดาลใจจากสื่อที่เป็นที่นิยมอย่าง \"เบรกเอาท์\", \"เดอะวอร์ออฟเดอะเวิลด์ส\" และ \"สตาร์ วอร์ส\" ในการทำให้สำเร็จ เขาได้ออกแบบฮาร์ดแวร์และเครื่องมือในการพัฒนาที่กำหนดขึ้นเอง", "title": "สเปซอินเวเดอส์" } ]
51
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีหน้าที่หลักคืออะไร ?
[ { "docid": "152224#1", "text": "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมาย หรือความครอบงำใดๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์ สภาผู้แทนราษฎรมีหน้าที่โดยตรงในทางนิติบัญญัติ ซึ่งร่างพระราชบัญญัติ หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ จะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้ ก็ด้วยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา และยังมีอำนาจควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินด้วย เช่น การให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี การตั้งกระทู้ถาม และการเสนอญัตติขอให้เปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ทั้งนี้ เป็นไปตามการปกครองระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา", "title": "สภาผู้แทนราษฎรไทย" } ]
[ { "docid": "27972#4", "text": "การลาออกของนายแพทย์เปรมศักดิ์ ส่งผลให้พรรคไทยรักไทยมี ส.ส.บัญชีรายชื่อ เหลือเพียง 99 คน (คาดการณ์ว่า จะไม่มีพรรคใดได้คะแนนปาร์ตี้ลิสต์ถึง 5% ทำให้ ส.ส.บัญชีรายชื่อทั้ง 100 คน จะมาจากพรรคไทยรักไทยทั้งหมด) เมื่อรวมกับ ส.ส.ระบบเขตอีก 400 คน เป็น 499 คน ไม่ครบตามที่ระบุไว้ในมาตรา 98 ของรัฐธรรมนูญว่า \"สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวนห้าร้อยคนโดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อตามมาตรา 99 จำนวนหนึ่งร้อยคน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งตามมาตรา 102 จำนวนสี่ร้อยคน\" และส่งผลให้จำนวน ส.ส.ไม่ครบที่จะเป็นองค์ประกอบของสภาผู้แทนราษฎร ไม่สามารถประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร และไม่สามารถประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อคัดเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร และนายกรัฐมนตรีได้\nคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2549 ดังนี้\n\"หมายเหตุ\" ข้อมูลส.ส.แบบระบบบัญชีรายชื่อ 399 เขต (ขาด สมุทรสาคร เขต 3) ขณะที่ข้อมูลส.ส.แบบแบ่งเขต 398 เขต (ขาด นนทบุรี เขต 3 และ สมุทรสาคร เขต 3) และการใช้สิทธิเลือกตั้งบัญชีรายชื่อมากกว่าแบบแบ่งเขต เพราะ จ.นนทบุรี เขต 3 มีการเลือกตั้งเฉพาะส.ส.บัญชีรายชื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2549 จำนวน 40 เขตเลือกตั้ง ใน 17 จังหวัด ประกอบด้วย\nจังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชุมพร จังหวัดตรัง จังหวัดปัตตานี จังหวัดพังงา จังหวัดสตูล จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา จังหวัดกระบี่\n25 เมษายน พ.ศ. 2549 ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ตุลาการศาลปกครองสูงสุดและผู้พิพากษาศาลฎีกา ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณตนก่อนเข้ารับหน้าที่ เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2549 โดยทรงแสดงความห่วงใยปัญหาเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่มีผู้สมัครพรรคเดียว ได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 20 ทำให้ต้องมีการเลือกตั้งซ่อมซึ่งการเลือกตั้งซ่อมครั้งแรกผ่านพ้นไปก็ปรากฏว่ายังไม่ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครบ 500 คน ทำให้ไม่สามารถดำเนินการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย", "title": "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป เมษายน พ.ศ. 2549" }, { "docid": "464279#5", "text": "อัยการสูงสุด เป็นโจท์ฟ้องร้องนายศุภชัย โพธิ์สุ แกนนำพรรคภูมิใจไทย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ในขณะนั้น) ว่าจงใจกระทําความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จากการที่นายศุภชัย กล่าวในระหว่างเป็นประธานเปิดการฝึกอบรมอาสาสมัครหมอดิน ของสถานีพัฒนาที่ดินสกลนคร เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552 แต่ต่อมาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษายกฟ้อง", "title": "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร เขต 3 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2552" }, { "docid": "458261#2", "text": "ผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่า พรรคชาติไทย ที่มี พลตรีประมาณ อดิเรกสาร เป็นหัวหน้าพรรค ได้รับเลือกมาเป็นลำดับที่หนึ่ง โดยได้ที่นั่งไปทั้งสิ้น 110 ที่นั่ง รองลงไปคือ พรรคกิจสังคม ที่มี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นหัวหน้าพรรคได้ 99 ที่นั่ง และพรรคประชาธิปัตย์ ที่มี นายพิชัย รัตตกุล เป็นหัวหน้าพรรค ได้ 56 ที่นั่ง ซึ่งไม่มีพรรคใดได้เสียงเกินครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร ที่มีทั้งหมด 324 เสียง ซึ่งผลการจัดตั้งรัฐบาล ปรากฏว่า พรรคกิจสังคม, พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคประชากรไทยตกลงกันที่จะสนับสนุน พล.อ.เปรม เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ ขณะที่พรรคชาติไทย รวมกันกับพรรคการเมืองอื่น ๆ เป็นฝ่ายค้าน", "title": "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526" }, { "docid": "162476#1", "text": "สมาชิก 435 คนของสภาผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนจากเขตการปกครอง (district) และมีหน้าที่สองปี ผู้แทนราษฎรได้รับเลือกตั้งมาจากเขตการปกครองตามจำนวนประชากรที่ระบุไว้ในเขตการเลือกตั้งสหรัฐซึ่งเปลื่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ฉะนั้นทุกสองปีหนึ่งในสามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องได้รับเลือกตั้งใหม่ ส่วนสมาชิกวุฒิสภา 100 คนของวุฒิสภารับหน้าที่ครั้งละหกปี แต่ละมลรัฐมีสิทธิในการเลือกสมาชิกวุฒิสภาสองคนไม่ว่าจะเป็นรัฐมีประชากรมากหรือน้อยเท่าใด", "title": "รัฐสภาสหรัฐ" }, { "docid": "602594#5", "text": "สมชัยกล่าวต่ออีกว่า ส่วนมาตรา 56 ของร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. … ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย กระทำการใด ๆ เพื่อเป็นการให้คุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมือง กรณีนี้ คสช. ไม่ได้มีสถานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ (ไม่ใช่ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว หรือพนักงานของรัฐ) แต่ คสช. สามารถใช้อำนาจหน้าที่ผ่านเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ดังนั้น จึงจำเป็นต้องระมัดระวังอย่างยิ่งในการใช้อำนาจดังกล่าวที่อาจเป็นคุณหรือโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมือง และมาตรา 169 (4) ของรัฐธรรมนูญ กำหนดว่า คณะรัฐมนตรีต้องไม่ใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐเพื่อกระทำการใดอันอาจมีผลต่อการเลือกตั้ง กรณีนี้เป็นการบังคับในช่วงที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้ง ดังนั้น คสช. ที่ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีจำเป็นต้องระมัดระวังอย่างยิ่งในการดำเนินการใด ๆ ที่อาจมีผลต่อการเลือกตั้ง", "title": "สมชัย ศรีสุทธิยากร" }, { "docid": "432531#6", "text": "ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 พรรคราษฎร ได้รับเลือกตั้งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 4 คน คือ พลเอก มานะ รัตนโกเศศ ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ สุรพล เลี้ยงบำรุง และ ร้อยเอก เอนก นาวาพานิช หลังการเลือกตั้งได้เข้าร่วมรัฐบาลของพรรคสามัคคีธรรม ซึ่งสนับสนุนพลเอก สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี โดย ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี", "title": "พรรคราษฎร (พ.ศ. 2529)" }, { "docid": "56036#6", "text": "ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 องอาจ คล้ามไพบูลย์ เป็น ผู้สมัคร ส.ส.กรุงเทพฯ เขต 12 (บางกอกน้อย บางพลัด ตลิ่งชัน และทวีวัฒนา) หมายเลข 10 สามารถชนะการเลือกตั้งเป็นอันดับ 1 ด้วยคะแนนเสียง 107,695 เสียง และสามารถนำพาเพื่อนร่วมทีมที่ลงสมัคร ส.ส. เป็นครั้งแรก คือ ชนินทร์ รุ่งแสง อดีต ส.ก.เขตบางกอกน้อย และผศ.ดร. รัชดา ธนาดิเรก อาจารย์จาก ม.มหิดล โดยชนะเลือกตั้งแบบยกทีม", "title": "องอาจ คล้ามไพบูลย์" }, { "docid": "372115#2", "text": "มีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งออกมาใช้สิทธิ์ทั้งสิ้น 75.03% จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 46,921,682 คน พรรคที่ได้รับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อมากที่สุดคือ พรรคเพื่อไทย 15,744,190 คะแนน และรองลงมาคือ พรรคประชาธิปัตย์ 11,433,501 คะแนน โดยผู้ใช้สิทธิ์เลือกพรรคเพื่อไทย คิดเป็น 44.72% ของจำนวนผู้ที่ออกมาเลือกตั้งในปี 2554 ผลปรากฏว่าพรรคเพื่อไทยได้ที่นั่งผู้แทนราษฎรเกินกึ่งหนึ่ง 265 ที่ นับเป็นครั้งที่สองในรอบทศวรรษที่มีพรรคการเมืองได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งในสภาผู้แทนราษฎร และยิ่งลักษณ์ ชินวัตรเป็นว่าที่นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นพรรคฝ่ายค้านหลัก โดยได้ที่นั่งผู้แทนราษฎร 159 ที่", "title": "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554" }, { "docid": "127751#7", "text": "พรรคสามัคคีธรรมได้ที่นั่งมากที่สุด คือ 79 ที่นั่ง จากจำนวนที่นั่งทั้งหมด 360 ที่นั่ง ทำให้ต้องจัดตั้งรัฐบาลผสม โดยได้รับการสนับสนุนจากอีก 4 พรรค รวมเป็น 5 พรรคร่วมรัฐบาล คือ พรรคสามัคคีธรรม (ส.ส. 79 คน) พรรคชาติไทย (ส.ส. 74 คน) พรรคกิจสังคม (ส.ส. 31 คน) พรรคประชากรไทย (ส.ส. 7 คน) และพรรคราษฎร (ส.ส. 4 คน) รวมเป็น ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล 195 คน", "title": "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535" } ]
59
เทคโนโลยีสารสนเทศ คืออะไร?
[ { "docid": "1773#0", "text": "เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที () คือการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม เพื่อจัดเก็บ ค้นหา ส่งผ่าน และจัดดำเนินการข้อมูล ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับธุรกิจหนึ่งหรือองค์การอื่น ๆ ศัพท์นี้โดยปกติก็ใช้แทนความหมายของเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และยังรวมไปถึงเทคโนโลยีการกระจายสารสนเทศอย่างอื่นด้วย เช่นโทรทัศน์และโทรศัพท์ อุตสาหกรรมหลายอย่างเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่างเช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ อินเทอร์เน็ต อุปกรณ์โทรคมนาคม การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และบริการทางคอมพิวเตอร์ =", "title": "เทคโนโลยีสารสนเทศ" } ]
[ { "docid": "72493#0", "text": "เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (; ไอซีที) เป็นศัพท์ที่มักใช้ในความหมายคล้ายกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) แต่ขยายขอบเขตเพิ่มขึ้นโดยเน้นเรื่องบทบาทของการสื่อสารแบบรวมศูนย์ (ยูซี) กับบูรณาการของสิ่งต่อไปนี้ได้แก่ โทรคมนาคม (ทั้งสายโทรศัพท์และสัญญาณไร้สาย) คอมพิวเตอร์ตลอดจนถึงซอฟต์แวร์วิสาหกิจ มิดเดิลแวร์ หน่วยเก็บข้อมูล และระบบโสตทัศน์ต่าง ๆ ซึ่งทั้งหมดช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึง เก็บบันทึก ส่งผ่าน และจัดดำเนินการสารสนเทศได้", "title": "เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร" }, { "docid": "938261#0", "text": "ยุคสารสนเทศ หรือยุคคอมพิวเตอร์ ยุคดิจิทัล หรือยุคสื่อใหม่ เป็นยุคสมัยในประวัติศาตร์มนุษย์ซึ่งมีลักษณะเปลี่ยนจากอุตสาหกรรมเดิมตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมนำมาซึ่งการปรับให้เป็นอุตสาหกรรม มาเป็นเศรษฐกิจที่อิงเทคโนโลยีสารสนเทศ การเริ่มต้นของยุคสารสนเทศสัมพันธ์กับการปฏิวัติดิจิทัล บทนิยามของดิจิทัลหรือสารสนเทศยังเปลี่ยนแปลงตามเวลาเมื่อเทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์ผู้ใช้ วิธีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์และสิ่งประดิษฐ์อื่นเข้าสู่เขตการวิจัย การพัฒนาและการออกวางจำหน่ายตลาด", "title": "ยุคสารสนเทศ" }, { "docid": "34263#11", "text": "\"วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสารหรือ ไอซีอี คือการรวบรวมความรู้เกี่ยวกับด้านคอมพิวเตอร์เชิงวิศวกรรม,ด้านสื่อสารโทร คมนาคมเชิงวิศวกรรม และด้านของเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเรียกรวมได้ว่า เป็นศาสตร์วิศวกรรมโทรคมนาคมยุคใหม่ ซึ่งนักศึกษาที่เรียนรู้ทางด้านนี้จะมีความรู้ครอบคลุมสามารถทำงานในสังคม ยุคใหม่ได้ทั่วโลก ที่สำคัญปัจจุบันหลายองค์กรเริ่มมีความต้องการ ผู้ที่จบวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสารเพิ่มมากขึ้นแล้ว\" รศ. ดร.ภัทรพงษ์ เรืองรัมย์ กล่าวทิ้งท้าย", "title": "วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร" }, { "docid": "1773#22", "text": "ในบริบทของธุรกิจ สมาคมเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งสหรัฐอเมริกา (ITAA) ได้นิยามเทคโนโลยีสารสนเทศว่าเป็น \"การเรียน การออกแบบ การพัฒนา การประยุกต์ การทำให้เกิดผล การสนับสนุน และการจัดการระบบสารสนเทศที่อาศัยคอมพิวเตอร์\" ความรับผิดชอบของงานเหล่านั้นในขอบข่ายรวมไปถึงการบริหารเครือข่าย การพัฒนาและการติดตั้งซอฟต์แวร์ และการวางแผนและจัดการวัฏจักรชีวิตของเทคโนโลยีขององค์การ อันประกอบด้วยการบำรุงรักษา การยกระดับ และการทดแทนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์", "title": "เทคโนโลยีสารสนเทศ" }, { "docid": "312504#4", "text": "สังคมอุดมปัญญา” ในที่นี้หมายถึงสังคมที่มีการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างชาญฉลาด โดยใช้แนวปฏิบัติของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประชาชนทุกระดับมีความเฉลียวฉลาด (Smart) และรอบรู้สารสนเทศ (Information literacy) สามารถเข้าถึง และใช้สารสนเทศอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม มีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนและสังคม มีการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีธรรมาภิบาล (Smart Governance) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสู่เศรษฐกิจและสังคมฐานความรู้และนวัตกรรมอย่างยั่งยืนและมั่นคง", "title": "แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2)" }, { "docid": "2931#3", "text": "ระบบสารสนเทศและ MIS (IS) - หรือการประยุกต์ใช้ภูมิทัศน์ - คือการรวมกันของเทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology) และกิจกรรมของผู้คนว่าด้วยการดำเนินการให้ความช่วยเหลือใด ๆ, การทำการจัดการและการตัดสินใจ ในความหมายที่กว้างมาก, ระบบสารสนเทศเป็นคำที่ใช้บ่อยในการอ้างถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คน กระบวนการข้อมูลและเทคโนโลยี ในแง่นี้คำที่ใช้ในการอ้างอิงไม่เพียงแต่จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ที่องค์กรจะใช้เท่านั้น, แต่ยังรวมถึงวิธีที่คนมีปฏิสัมพันธ์กับเทคโนโลยีนี้ในการสนับสนุนกระบวนการทางธุรกิจ", "title": "ระบบสารสนเทศ" }, { "docid": "203247#7", "text": "ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคนโลยี ได้รับพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการมีส่วนจัดทำสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนในพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้โปรแกรมที่พัฒนาโดยคนไทยจัดทำเป็นซีดี-รอม รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2\nศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี ได้ร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศาสตราจารย์ ดร.ถาวร วัชราภัย ชักชวนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหิดล ในการจัดทำฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทยเพื่อรวมแหล่งข้อมูลเพื่อการสืบค้นเป็นฐานข้อมูลเดียวกัน", "title": "ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี" }, { "docid": "312504#5", "text": "(1) ประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของประชากรทั้งประเทศ มีความรอบรู้ สามารถเข้าถึง สร้างสรรค์ และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ รู้เท่าทัน มีคุณธรรมและจริยธรรม (Information Literacy) ก่อ\nเกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ การทำงาน และการดำรงชีวิตประจำวัน\n(2) ยกระดับความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศ ขึ้นอย่างน้อย 15 อันดับ ใน Networked Readiness Index \n(3) เพิ่มบทบาทและความสำคัญของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีสัดส่วนมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรม ICT ต่อ GDP ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20", "title": "แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2)" }, { "docid": "72094#1", "text": "สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ เป็นโครงการที่สืบเนื่องมาจากการศึกษาวิจัยเชิงนโยบายโดยคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (National Information Technology Committee:NITC) ซึ่งได้ว่าจ้างสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ศึกษาความเป็นไปได้ของการพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศภาครัฐ (Government Information Network: GINet) จากนั้น ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ได้พิจารณาผลการศึกษาของ TDRI ประกอบกับการศึกษาเพิ่มเติม และได้จัดทำเป็นแผนการดำเนินงานพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศภาครัฐเสนอต่อ NITC เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2540 ซึ่ง NITC เห็นชอบกับการจัดทำโครงการในรูปแบบการจัดตั้งสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ เพื่อพัฒนาเครือข่าย GINet และดำเนินกิจกรรมอื่นที่สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในภาครัฐ", "title": "สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ" } ]
61
กระแสไฟฟ้าจะไหลที่ ผิวของตัวนำเป็นหลัก ระหว่างพื้นผิวด้านนอกจนถึงระดับที่เรียกว่าอะไร?
[ { "docid": "770532#0", "text": "ผลกระทบที่ผิว () เป็นแนวโน้มของ กระแสไฟฟ้าสลับ (AC) ที่จะกระจายอยู่ภายในตัวนำในแบบที่ว่า ความหนาแน่นของกระแส จะมีมากที่สุดใกล้กับผิวหน้าของตัวนำและลดลงตามระดับความลึกที่มากขึ้นในตัวนำ กระแสไฟฟ้าจะไหลที่ \"ผิว\" () ของตัวนำเป็นหลัก ระหว่างพื้นผิวด้านนอกจนถึงระดับที่เรียกว่า ความลึกของผิว () ผลกระทบที่ผิวทำให้เกิด ความต้านทาน ที่มีประสิทธิผล () ของตัวนำเพิ่มขึ้นใน ความถี่ ที่สูงขึ้นโดยที่ระดับความลึกของผิวมีขนาดเล็กลง ดังนั้นภาคตัดขวางที่ใช้งานจริงของตัวนำจึงลดลง ผลกระทบที่ผิวจะทำหน้าที่ต่อต้านกับ กระแสเอ็ดดี้ ที่เหนี่ยวนำขึ้นโดยการเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสสลับ. ที่ความถี่ 60 เฮิร์ตซ์ในทองแดง ความลึกของผิวจะเป็นประมาณ 8.5 มม ที่ความถี่สูงขึ้น ความลึกของผิวจะมีขนาดเล็กลง ทำให้ความต้านทาน AC เพิ่มขึ้น ความต้านทาน AC ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากผลกระทบที่ผิวนี้สามารถทุเลาลงได้โดยการใช้ ลวด Litz ที่ถูกทอขึ้นอย่างพิเศษ. เพราะว่าภายในของตัวนำขนาดใหญ่จะนำพากระแสเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ตัวนำแบบท่อจึงสามารถนำมาใช้ได้เพื่อประหยัดน้ำหนักและค่าใช้จ่าย", "title": "ผลกระทบที่ผิว" } ]
[ { "docid": "770532#1", "text": "ตัวนำทั้งหลาย ที่มักจะอยู่ในรูปแบบของสายไฟ อาจถูกใช้ในการส่งพลังงานหรือสัญญาณไฟฟ้าโดยการให้ กระแสสลับ ไหลผ่านตัวนำนั้น ตัวขนส่งประจุ () ที่ประกอบขึ้นเป็นกระแส ที่มักจะเป็น อิเล็กตรอน จะถูกขับเคลื่อนด้วยสนามไฟฟ้าที่เกิดจากจากแหล่งที่มาของพลังงานไฟฟ้า กระแสสลับในตัวนำจะก่อให้เกิดสนามแม่เหล็กสลับในและรอบ ๆ ตัวนำ เมื่อความเข้มของกระแสในตัวนำมีการเปลี่ยนแปลง สนามแม่เหล็กก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน การเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กเป็นผลในการสร้างสนามไฟฟ้าซึ่งตรงข้ามกับการเปลี่ยนแปลงในความเข้มข้นของกระแส สนามไฟฟ้าฝ่ายตรงข้ามนี้เรียกว่า \"แรงเคลื่อนไฟฟ้าย้อนกลับ\" () (EMF กลับหลัง ()) แรงเคลื่อนไฟฟ้าย้อนกลับจะมีมากที่สุดที่ศูนย์กลางของตัวนำและมันจะบังคับให้อิเล็กตรอนนำกระแสออกไปที่ผิวของตัวนำดังแสดงในแผนภาพด้านขวา", "title": "ผลกระทบที่ผิว" }, { "docid": "552731#19", "text": "ที่ความถี่สูงมากๆ กระแสจะไม่ไหลในเส้นลวด แต่ไหลบนพื้นผิวของลวดภายในความหนาของผิวเล็กน้อย ความลึกของผิวจะมีความหนาที่ทำให้ความหนาแน่นกระแสลดลง 63% แม้ที่ความถี่ค่อนข้างต่ำที่ใช้ในการส่งกำลังไฟฟ้​​า (50-60 Hz), การกระจายไม่สม่ำเสมอของกระแสไฟฟ้ายังคงเกิดขึ้นในตัวนำที่หนาพอ ตัวอย่างเช่นความลึกของผิวของตัวนำทองแดงจะอยู่ที่ประมาณ 8.57 มม. ที่ 60 Hz, ดังนั้น ตัวนำที่กระแสสูงมักจะกลวงเพื่อลดมวลและค่าใช้จ่าย", "title": "ไฟฟ้ากระแสสลับ" }, { "docid": "552731#24", "text": "สาย coaxial มักใช้กับความถี่เสียงหรือสูงกว่าเพื่อความสะดวก ประกอบด้วยลวดตัวนำอยู่ภายในหลอดตัวนำแยกจากกันด้วยชั้นของไดอิเล็กทริก กระแสไฟฟ้าที่ไหลในตัวนำด้านในมีค่าเท่ากับและตรงข้ามกับกระแสที่ไหลบนพื้นผิวด้านในของหลอด สนามแม่เหล็กไฟฟ้าจึงมีอย่างสมบูรณ์ภายในหลอดและ (โดยจินตนาการ) ไม่มีการสูญเสียพลังงานจากการแผ่รังสีหรือเชื่อมถึงกันนอกหลอด สาย coaxial มีการสูญเสียเล็กน้อยที่ยอมรับได้สำหรับความถี่สูงถึงประมาณ 5 GHz สำหรับความถี่ไมโครเวฟที่สูงกว่า 5 GHz ความสูญเสีย (สาเหตุหลักจากความต้านทานไฟฟ้าของตัวนำใส้กลาง) มากเกินไป ทำให้ waveguide เป็นตัวกลางในการส่งคลื่นที่มีประสิทธิภาพมากกว่า สาย coaxial ที่มีอากาศแทนสารไดอิเล็กทริกเป็นที่ต้องการเพราะสามารถส่งกำลังด้วยความสูญเสียที่น้อยกว่า", "title": "ไฟฟ้ากระแสสลับ" }, { "docid": "554729#2", "text": "กระแสตรงที่ใช้ส่วนใหญ่มีแรงดันที่ 750 V ถูกส่งมาในรางที่สามที่เป็นตัวนำไม่หุ้มฉนวน และไหลกลับไปในรางวิ่งสองราง รางที่สามจะวางขนานไปกับรางวิ่ง แต่อยู่ด้านนอก และอยู่คนละฝั่งกับชานชลาเพื่อความปลอดภัย หัวรถจักรรับพลังงานไฟฟ้าจากรางที่สามผ่านทาง'รองเท้า' ที่ติดอยู่ด้านล่างของตัวรถ ไฟฟ้าดังกล่าวถูกจ่ายให้มอเตอร์ขับเคลื่อนขบวนรถและอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ กระแสไฟฟ้าจะไหลกลับแหล่งกำเนิดผ่านทางล้อรถไฟที่เป็นเหล็กและรางวิ่งจนครบวงจร ในบางกรณี รางวิ่งไม่สามารถใช้เป็นตัวนำส่งผ่านกระแสไหลกลับได้ จึงต้องวางรางตัวนำเพิ่มเป็นรางที่สี่", "title": "รางที่สี่" }, { "docid": "48613#20", "text": "กระบวนการที่ยอมกระแสไฟฟ้าไหลผ่านวัสดุเรียกว่าการนำไฟฟ้า และธรรมชาติของมันสามารถแปรไปตามธรรมชาติของอนุภาคที่มีประจุและวัสดุที่อนุภาคเหล่านั้นจะไหลผ่าน ตัวอย่างของกระแสไฟฟ้าจะรวมถึงการนำกระแสของโลหะเมื่ออิเล็กตรอนไหลไปในตัวนำเช่นโลหะ อีกตัวอย่างหนึ่งคือการแยกสลายด้วยไฟฟ้าเมื่อไอออน (อะตอมที่มีประจุ) ไหลผ่านของเหลวหรือผ่านพลาสมาเช่นสปากของไฟฟ้า ในขณะที่อนุภาคเองสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างเชื่องช้า บางครั้งด้วยความเร็วลอยเฉลี่ยเพียงเศษของมิลิเมตรต่อวินาทีเท่านั้น สนามไฟฟ้าที่ขับพวกมันนั้นตัวมันเองแผ่กระจายที่ความเร็วใกล้กับความเร็วแสง เปิดโอกาสให้สัญญาณไฟฟ้าสามารถผ่านไปได้อย่างรวดเร็วไปตามเส้นลวด", "title": "ไฟฟ้า" }, { "docid": "813241#33", "text": "ถ้านำตัวนำยวดยิ่งรูปวงแหวนมาวางในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็ก จากนั้นลดอุณหภูมิจนต่ำกว่าอุณหภูมิวิกฤตแล้วเอาสนามแม่เหล็กออก ตามหลักการเหนี่ยวนำไฟฟ้าของฟาราเดย์จะมีการแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำเกิดขึ้น จึงมีกระแสไฟฟ้าไหลวนในวงแหวน แต่เนื่องจากตัวนำยวดยิ่งไม่มีความต้านทานไฟฟ้าดังนั้นจึงไม่มีการสูญเสียพลังงาน กระแสไฟฟ้านี้จะสามารถไหลวนอยู่ในวงแหวนได้ตลอดไปโดยไม่สูญหายเรียกกระแสไฟฟ้านี้ว่า กระแสยืนยง (Persistent current) (File and Mills, 1963; Buckel, 1991)และฟลักซ์แม่เหล็กที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าไหลวนนี้จะถูกกักอยู่ภายในวงแหวนของตัวนำยวดยิ่ง             3. ปรากฏการณ์ไอโซโทป", "title": "วัสดุตัวนำยวดยิ่ง" }, { "docid": "23195#5", "text": "ในการอุปมาเหมือนไฮดรอลิก กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเส้นลวด (หรือ ตัวต้านทาน) เป็นเหมือนน้ำที่ไหลผ่านท่อ และ แรงดัน ตกคร่อมเส้นลวดเป็นเหมือน ความดัน ตกคร่อมที่ใช้ผลักดันน้ำให้ไหลไปตามท่อ การนำไฟฟ้าจะเป็นสัดส่วนกับปริมาณการไหลสำหรับความดันที่กำหนดให้ :formula_3 และความต้านทานไฟฟ้าจะเป็นสัดส่วนกับปริมาณของความดันที่จำเป็นเพื่อให้มีการไหลที่กำหนด :formula_4 (การนำไฟฟ้าและความต้านทานไฟฟ้าเป็น ส่วนกลับกัน)", "title": "ความต้านทานและการนำไฟฟ้า" }, { "docid": "771351#0", "text": "ในตัวนำที่มี กระแสสลับ ไหลในตัวมัน ถ้ามีกระแสอื่นกำลังไหลผ่านตัวนำอื่นที่อยู่ใกล้เคียง เช่นภายในขดลวดที่อยู้ใกล้ชิดกัน การกระจายของกระแสไฟฟ้าภายในตัวนำแรกจะถูกจำกัดอยู่ในภูมิภาคขนาดเล็ก หรือเรียกว่า กระแสแออัด () ผลที่เกิดขึ้นจะเรียกว่าเป็น \"ผลจากความใกล้ชิด\" () การแออัดนี้จะทำให้มีการเพิ่มขึ้นของความต้านทานที่มีประสิทธิผล () ของวงจร ซึ่งจะเพิ่มขึ้นตามความถี่ที่เพิ่มขึ้น", "title": "ผลจากความใกล้ชิด" }, { "docid": "552731#14", "text": "สายนิวทรอลหรือสายดิน จะต่อระหว่างโลหะที่เป็นฝาตู้ใส่อุปกรณ์กับสายดิน ตัวนำนี้จะป้องกันไฟฟ้าดูด ในกรณีที่มีกระแสไฟฟ้ารั่วมาที่ฝาตู้โลหะนี้ การเชื่อมฝาตู้ที่เป็นโลหะทั้งหมดมาที่สายดินเพียงจุดเดียว จะทำให้แน่ใจได้ว่า จะมีเส้นทางของกระแสรั่วไปลงดินที่สั้นที่สุด กระแสที่รั่วนี้ จะต้องทำให้อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้ารั่ว (เบรกเกอร์, ฟิวส์)ทำงานเช่นเบรกเกอร์ตก หรือฟิวส์ละลายให้เร็วที่สุด สายที่เชื่อมตู้ทุกเส้นต้องมาลงดินที่ตู้กระจายไฟหลักหรือที่เดียวกับที่สายนิวทรอลต่อลงดิน", "title": "ไฟฟ้ากระแสสลับ" } ]
63
จรวด ที่ส่งออกไปนอกโลกสำเร็จลำแรกคือจรวดของชาติใด ?
[ { "docid": "451888#22", "text": "ยานอวกาศลำแรกของมนุษย์ที่ส่งออกไปนอกโลกคือ สปุตนิก 1 เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2500 โดยสาธารณโซเวียต-รัสเซีย (ปัจจุบันคือประเทศรัสเซีย) ทำการโคจรอยู่ในวงโคจรของโลกอยู่จนถึงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2501 จาการส่งสปุตนิก 1 ขึ้นไปทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพบรรยากาศของโลกมากขึ้น จากนั้นมนุษย์จึงได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศกันอย่างรวดเร็ว จนปัจจุบันมีดาวเทียมโคจรอยู่รอบๆ โลกราว 5,000 ดวง และมียานอวกาศขึ้นลงจำนวนมาก เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์การเดินทางสู่อวกาศของมนุษย์มีหลายเหตุการณ์ดังตัวอย่างเหตุการณ์ที่สำคัญดังตาราง\nยูริ เอ กาการิน ชาวรัสเซีย นักบินอวกาศคนแรกที่ขึ้นไปสู่วงโคจร และเดินทางรอยโลกด้วยยานวอสตอค 1 ต่อมาสหรัฐอเมริกาก็ประสบความสำเร็จในการส่งมนุษย์ไปสำรวจดวงจันทร์เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ด้วยยานอพพอลโล 11 จากนั้นมนุษย์ได้พัฒนาโครงการยานขนส่งอวกาศขึ้นมาเพื่อการใช้งานซึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการให้จรวดในการเดินทางสู่อวกาศ", "title": "เทคโนโลยีอวกาศ" } ]
[ { "docid": "255754#37", "text": "ปัญหาหนึ่งที่ยังไม่เคยได้รับการแก้ไขเกี่ยวกับจรวดคือ การกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ (atmospheric reentry) โลกของจรวด มันได้ถูกแสดงให้เห็นแล้วว่า ในการโคจรของยานอวกาศในวงโคจรในชั้นบรรยากาศนั้นจะมีพลังงานจลน์ที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่เกิดขึ้นมากพอในขนาดที่จะทำให้เกิดความร้อนถึงขั้นที่จะระเหยตัวยานให้กลายเป็นไอได้อย่างง่ายดาย, และยังเป็นที่รู้จักกันดีว่าสามารถทำให้อุกกาบาตร่วงเป็นลูกไฟตกลงสู่พื้นดินได้ ความลึกลับนี้ได้รับการแก้ไขในสหรัฐอเมริกาในปี 1951 เมื่อ เอช จูเลียน อัลเลน (H. Julian Allen) และ เอ. เจ. เอ็กเกอร์ส, จูเนียร์. (A. J. Eggers, Jr.) แห่งคณะที่ปรึกษาด้านอวกาศแห่งชาติ (National Advisory Committee for Aeronautics) (NACA) ได้ค้นพบ ว่า รูปทรงของยานอวกาศที่มีรูปทรงแบบทู่ ๆ (แรงฉุดลากสูง) มีความเหมาะสมที่จะเป็นเกราะป้องกันความร้อนที่มีประสิทธิภาพได้มากที่สุด ด้วยรูปทรงแบบนี้ประมาณ 99% ของพลังงานความร้อน จะถูกถ่ายโอนกลับไปสู่อากาศโดยรอบ มากกว่าจะไหลเข้าสู่ผิวของอากาศยานนั้น ๆ และนี่จึงทำให้สามารถปกป้องความปลอดภัยให้ยานอวกาศในขณะที่กำลังเคลื่อนที่อยู่ในวงโคจรได้", "title": "จรวด" }, { "docid": "255754#4", "text": "เป็นเวลาพอดิบพอดีเมื่อมีเที่ยวบินแรกของจรวดเกิดขึ้นคือเกิดการประกวดประชันแข่งขันกัน ปัญหาคือว่าลูกธนูไฟของชาวจีนสามารถเป็นลูกธนูทั้งที่มีวัตถุระเบิดที่แนบมาหรือลูกธนูที่ขับเคลื่อนโดยดินปืนกันแน่ มีรายงานของธนูไฟและ'หม้อเหล็ก'ซึ่งอาจจะได้ยินเป็นระยะทางไกลได้ถึง 5 ลี้ (25 กิโลเมตรหรือ 15 ไมล์) เมื่อมีการระเบิดขณะเกิดปะทะกัน, ก่อให้เกิดการทำลายล้างรัศมี 600 เมตร (2,000 ฟุต), อย่างเด่นชัดเนื่องจากเศษกระสุน ได้มีการอ้างสิทธิการวิจัยร่วมกันคือบันทึกแรกที่ใช้จรวดในการสู้รบโดยชาวจีนในปี 1232 กับกองทัพมองโกลที่ไคเฟงฟู (Kai Feng Fu) อย่างไรก็ตาม ขนาดที่ลดลงมาของหม้อเหล็กอาจถูกใช้เป็นวิธีสำหรับกองทัพเพื่อล้อมยิงผู้รุกราน ข้อมูลอ้างอิงทางวิชาการ กล่าวว่าในปี ค.ศ. 998 ชายคนหนึ่งชื่อ ถัง ฟู่ (Tang Fu) ได้คิดค้นลูกธนูไฟชนิดใหม่ที่มีหัวเหล็ก ธนูไฟ คือธนูที่แนบติดกับวัตถุระเบิดหรือธนูที่ขับดันโดยดินปืนอย่างใดอย่างหนึ่งดังเช่นอาวุธ ฮวาชา (Hwacha) ของเกาหลี", "title": "จรวด" }, { "docid": "255754#3", "text": "ด้วยความที่หาได้ง่ายของดินดำ (ดินปืน) ได้ถูกนำมาใช้ขับดันกระสุนยิงอันเป็นพัฒนาการยุคเริ่มแรกของจรวดเชื้อเพลิงแข็ง วิทยาการจรวดเริ่มขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 9 มีการคิดค้นดินปืนโดยนักพรตชาวจีนในลัทธิเต๋าซึ่งได้ค้นพบผงสีดำในขณะที่กำลังทำการค้นหาตัวยาสำหรับการทำชีวิตให้เป็นอมตะ การค้นพบโดยบังเอิญนี้ได้นำไปสู่การทดลองทำเป็นอาวุธเช่น ระเบิด, ปืนใหญ่, ธนูไฟ สำหรับการก่อความไม่สงบและจรวดขับเคลื่อนธนูไฟ การค้นพบดินปืนอาจเป็นผลผลิตแห่งศตวรรษของการทดลองเล่นแร่แปรธาตุในลัทธิเต๋าซึ่งนักเล่นแร่แปรธาตุได้พยายามที่จะสร้างยาอายุวัฒนะ แห่งความเป็นอมตะที่จะช่วยให้คนที่กินมันจะกลายเป็นอมตะทางร่างกาย", "title": "จรวด" }, { "docid": "54924#53", "text": "ข้อตกลงแรก ๆ ของโลกว่าด้วยการต่อสู้เพื่อลดแก๊สเรือนกระจกคือ “พิธีสารเกียวโต” ซึ่งเป็นการแก้ไข “กรอบงานการประชุมใหญ่ของสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ” (UNFCCC) ซึ่งเจรจาต่อรองและตกลงกันเมื่อ พ.ศ. 2540 ปัจจุบันพิธีสารดังกล่าวครอบคลุมประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมากกว่า 160 ประเทศและรวมปริมาณการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกมากกว่า 65% ของทั้งโลก มีเพียงสหรัฐอเมริกาและคาซัคสถานสองประเทศที่ยังไม่ให้สัตยาบัน สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ปล่อยแก๊สเรือนกระจกมากที่สุดในโลก สนธิสัญญานี้จะหมดอายุในปี พ.ศ. 2555 และได้มีการเจรจาระหว่างชาติที่เริ่มเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550 เพื่อร่างสนธิสัญญาในอนาคตเพื่อใช้แทนฉบับปัจจุบัน", "title": "ภาวะโลกร้อน" }, { "docid": "406749#1", "text": "การปล่อยบูรันขึ้นสู่วงโคจรครั้งแรกและครั้งเดียวนั้นเกิดขึ้นเมื่อเวลา 3:00 UTC ของวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1988 จากไบโคนูร์คอสโมโดรมจุดปล่อยที่ 110/37 มันถูกยกขึ้นสู่วงโคจรอย่างไร้คนบังคับ โดยจรวดอีเนอร์เจียที่ได้รับการออกแบบพิเศษ ซึ่งจนถึงปัจจุบันนี้ เป็นจรวดที่หนักที่สุดที่ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงเหลว ไม่เหมือนกับกระสวยอวกาศ ซึ่งขับเคลื่อนด้วยเครื่องเพิ่มกำลังของแข็งและเครื่องยนต์เชื้อเพลิงเหลวของตัวกระสวยเอง ซึ่งนำเชื้อเพลิงมาจากถังเชื้อเพลิงขนาดใหญ่ ระบบอีเนอร์เจีย-บูรันใช้เฉพาะแรงผลักดันจากเครื่องยนต์เชื้อเพลิงเหลว RD สี่เครื่องของจรวด ซึ่งพัฒนาโดยวาเลนติน กลุชโก นับแต่ต้น บูรันตั้งใจให้ใช้ได้ทั้งในโหมดอัตโนมัติและมีคนบังคับ แม้โครงการจะประสบความล้าช้าหลายปี บูรันยังคงเป็นเพียงกระสวยอวกาศเพียงลำเดียวที่เคยสำเร็จเที่ยวบินไร้คนบังคับในโหมดอัตโนมัติสมบูรณ์กระทั่งวันที่ 22 เมษายน ค.ศ. 2010 เมื่อกองทัพอากาศสหรัฐปล่อยเครื่องบินอวกาศโบอิง เอ็กซ์-37 ลำดับการปล่อยอัตโนมัติดำเนินไปตามที่กำหนด และจรวดอีเนอร์เจียยกพาหนะขึ้นสู่วงโคจรชั่วคราวก่อนที่ส่วนโคจรจะแยกตัวออกตามที่ตั้งโปรแกรมไว้ หลังส่งตัวเองขึ้นสู่วงโคจรชั้นสูงกว่าและเสร็จสิ้นการโคจรรอบโลกสองรอบ เครื่องยนต์ระบบควบคุมเครื่องยนต์ (ODU) ยิงตัวเองอัตโนมัติเพื่อเริ่มกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ หลังภารกิจเริ่ม 206 นาทีพอดี ส่วนโคจรบูรันลงจอด โดยเสียฉนวนกันความร้อน (thermal tile) ไปเพียง 5 แผ่น จาก 38,000 แผ่นตลอดช่วงการบิน การลงจอดอัตโนมัติเกิดขึ้นที่ลานวิ่งของไบโคนูร์คอสโมโดรม ที่ซึ่ง แม้จะมีความเร็วลมด้านข้าง 61.2 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มันลงจอดโดยคลาดเคลื่อนจากจุดเป้าหมายไปด้านข้างเพียง 3 เมตร และด้านยาวเพียง 10 เมตร เที่ยวบินไร้คนบังคับนี้เป็นครั้งแรกที่ยานอวกาศขนาดนี้และความซับซ้อนระดับนี้ปล่อยขึ้นสู่อวกาศ เสร็จสิ้นการทดสอบในวงโคจร กลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศอีกครั้ง และลงจอดภายใต้การควบคุมอัตโนมัติ", "title": "บูรัน" }, { "docid": "784747#2", "text": "ไทยคม 8 ได้รับการอนุมัติให้ยิงสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2557 ไทยคม 8 ถูกยิงขึ้นจากฐาน ณ แหลมคะแนเวอรัล SLC-40 ในรัฐฟลอริดา เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2559 โดยบริษัทสเปซเอ็กซ์ เป็นดาวเทียมดวงที่สี่ของโลกที่ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรโดยจรวดฟัลคอน 9 และยังเป็นครั้งแรกของโลกที่จรวดที่ใช้ส่งดาวเทียมสามารถลงจอดบนแพฐานจรวดได้สำเร็จโดยไม่ระเบิด", "title": "ไทยคม 8" }, { "docid": "255754#70", "text": "ผลลัพธ์ของการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจรวดในเครื่องยนต์จรวดคือการเพิ่มความเร็วของก๊าซที่เป็นผลทำให้ก๊าซมีอัตราเร็วที่สูงมาก, ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดการผลิตแรงผลักดันขึ้นต่อตัวจรวด ในตอนแรก, แก๊สจากการเผาไหม้จะถูกส่งกระจายไปในทุกทิศทาง แต่จะมีเพียงแค่บางส่วนเท่านั้นที่จะผลิตแรงผลักดันสุทธิให้เกิดขึ้น ทิศทางในอุดมคติของการเคลื่อนที่ของไอเสียจะอยู่ในทิศทางเพื่อที่จะทำให้เกิดแรงผลักดัน ที่ปลายด้านบนของห้องเผาไหม้ที่ร้อน, ของไหลก๊าซร้อนที่มีพลังจะไม่สามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้, ดังนั้นจึงผลักดันขึ้นทางด้านบนของห้องเผาไหม้ (combustion chamber) ของเครื่องยนต์จรวด เนื่องจากก๊าซเผาไหม้เข้าใกล้ทางออกของห้องเผาไหม้, มันจึงเพิ่มอัตราเร็วขึ้น ผลกระทบของส่วนที่บรรจบกันเป็นรูปกรวยของหัวฉีดท่อไอเสียของเครื่องยนต์จรวดในของไหลความดันสูงของก๊าซที่ถูกเผาไหม้คือการทำให้ก๊าซมีการเร่งความเร็วด้วยอัตราเร็วสูง อัตราเร็วของก๊าซที่สูงขึ้น, จะช่วยลดความดันของก๊าซ (ตามหลักของแบร์นูลลี (Bernoulli's principle) หรือ กฎทรงพลังงาน) ให้ต่ำลงโดยเกิดขึ้นในส่วนของห้องเผาไหม้ ในเครื่องยนต์ที่ออกแบบอย่างเหมาะสม, กระแสการไหลของก๊าซจะไปถึงที่ระดับอัตราเร็วมัค 1 ที่บริเวณตรงส่วนลำคอของพวยหัวฉีดท่อไอเสีย เมื่อถึงจุดที่อัตราเร็วของการไหลเพิ่มขึ้น นอกจากลำคอของพวยหัวฉีดท่อไอเสียแล้ว, ส่วนแผ่ขยายของรูปทรงระฆังของเครื่องยนต์จะช่วยให้แก๊สสามารถขยายตัวเพื่อผลักดันชิ้นส่วนเครื่องยนต์จรวดให้เคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงกันข้ามได้ ดังนั้น, ส่วนที่เป็นรูปทรงระฆังของหัวฉีดจึงช่วยทำให้เกิดแรงผลักดันที่เพิ่มขึ้น แสดงเป็นคำพูดได้อย่างง่าย ๆ ว่า, \"สำหรับทุก ๆ แรงกระทำย่อมมีแรงกระทำโต้ตอบที่มีขนาดเท่ากันและมีทิศตรงข้าม\", ตามกฎข้อที่สามของนิวตัน ซึ่งส่งผลให้ก๊าซที่ปล่อยออกมาก่อให้เกิดปฏิกิริยาของแรงบนจรวดทำให้มันเร่งความเร็วให้แก่ตัวจรวด \nในห้องที่ปิดตายหมดทุกด้าน, ความกดดันจะเท่ากันหมดในแต่ละทิศทางและจะไม่มีความเร่งเกิดขึ้น ถ้าช่องเปิดอยู่ด้านล่างของห้องแล้วความดันจะไม่กระทำต่อผนังห้องส่วนที่หายไปอีกต่อไป การเปิดนี้ช่วยให้ไอเสียสามารถหลบหนีเล็ดลอดออกไปได้ ความดันที่เหลืออยู่จะทำให้แรงผลักดันเกิดขึ้นในด้านตรงข้ามกับการเปิด, และความดันเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ผลักดันจรวดไปด้วย", "title": "จรวด" }, { "docid": "804147#11", "text": "หลังจากความสำเร็จของสปุตนิก โคโรเลฟ -บัดนี้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชนว่า\"หัวหน้าสถาปนิกจรวดอวกาศ\" เข้าร่วมระดมทุนเพื่อเร่งบรรจุโครงการส่งคนไปนอกโลก", "title": "โครงการอวกาศโซเวียต" }, { "docid": "197448#1", "text": "จรวดแซตเทิร์น 1 ผลิตโดยบริษัทไครสเลอร์สามารถบรรทุกของหนัก 9000 กิโลกรัม เข้าสู่วงโคจรรอบโลกระดับต่ำ หรือ ภาษาอังกฤษ:Low Earth Orbit (LEO) คือที่ความสูงประมาณ 160 - 2000 กิโลเมตร (100 - 1,240 ไมล์) เหนือพื้นโลกหรือของที่หนัก 2200 กิโลกรัม ที่สามารถหลุดพ้นโรงดึงดูดของโลกได้ จรวดแซตเทิร์น 1 มี 3 ท่อน", "title": "จรวดแซตเทิร์น 1" }, { "docid": "52640#3", "text": "อ่านเพิ่มเติม: ประวัติศาสตร์ของการบินในอวกาศ \nสปุตนิกเป็นดาวเทียมดวงแรก มันถูกส่งขึ้นวงโคจรต่ำรูปไข่โดยสหภาพโซเวียตหรือตอนนี้คือรัสเซียเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 1957 การเปิดตัวครั้งนั้นนำไปสู่การพัฒนาใหม่ทางการเมือง, การทหาร, เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ในขณะที่การเปิดตัวของสปุตนิกเป็นเหตุการณ์เดียวแต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของยุคอวกาศ นอกเหนือจากมูลค่าของมันในฐานะที่เป็นเทคโนโลยีแรก \"สปุตนิก\" ยังช่วยในการระบุความหนาแน่นของชั้นบรรยากาศด้านบน () ผ่านการวัดการเปลี่ยนแปลงของวงโคจรของดาวเทียม นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับการกระจายสัญญาณวิทยุในไอโอโนสเฟียส์ ไนโตรเจนแรงดันสูงในตัวยานของดาวเทียมที่ผิดพลาดได้ให้โอกาสแรกสำหรับการตรวจสอบสะเก็ดดาว ถ้าสะเก็ดดาวทะลุเปลือกนอกของดาวเทียมก็จะถูกตรวจพบโดยข้อมูลอุณหภูมิจะถูกส่งกลับไปยังโลก \"สปุตนิก 1\" ถูกเปิดตัวในช่วงปีฟิสิกส์สากลจาก สถานีเลขที่ 1/5 ที่ Tyuratam range ที่ 5 ใน Kazakh SSR (ตอนนี้เป็น Baikonur คอสโมโดรม) ดาวเทียมได้เดินทางที่ 29,000 กิโลเมตร (18,000 ไมล์) ต่อชั่วโมง ใช้เวลา 96.2 นาทีเพื่อให้ครบรอบวงโคจรและปล่อยสัญญาณวิทยุที่ 20.005 และ 40.002 MHz", "title": "ยานอวกาศ" } ]
65
คลอโรฟิลล์ พบเฉพาะในผักใบเขียวหรือไม่ ?
[ { "docid": "142149#0", "text": "คลอโรฟิลล์ () เป็นสารประกอบที่พบได้ในส่วนที่มีสีเขียวของพืช โดยพบมากที่ใบของพืชนอกจากนี้ยังพบได้ที่แบคทีเรียที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ และยังพบได้ในสาหร่ายเกือบทุกชนิด นอกจากนี้คลอโรฟิลล์ทำหน้าที่เป็นโมเลกุลรับพลังงานจากแสง และนำพลังงานดังกล่าวไปใช้ในการสร้างพลังงานเคมีโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เพื่อสร้างสารอินทรีย์ เช่น น้ำตาล และนำไปใช้เพื่อการดำรงชีวิต คลอโรฟิลล์ อยู่ในโครงสร้างที่เรียกว่า เยื่อหุ้มไทลาคอยล์ (thylakoid membrane) ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มที่อยู่ภายใน คลอโรพลาสต์ (chloroplast)", "title": "คลอโรฟิลล์" }, { "docid": "180674#1", "text": "คลอโรพลาสต์ (chloroplast) เป็นออร์แกแนลที่พบในพืช เป็นพลาสติด ที่มีสีเขียว พบเฉพาะในเซลล์พืช และสาหร่าย เกือบทุกชนิด พลาสติดมีเยื่อหุ้มสองชั้น ภายในโครงสร้างพลาสติด จะมีเม็ดสี หรือรงควัตถุบรรจุอยู่ ถ้ามีเม็ดสีคลอโรฟิลล์ (chlorophyll) เรียกว่า คลอโรพลาสต์ ถ้ามีเม็ดสีชนิดอื่นๆ เช่น แคโรทีนอยด์ เรียกว่า โครโมพลาส พลาสติดไม่มีเม็ดสี เรียกว่า ลิวโคพลาสต์ (leucoplast) ทำหน้าที่ เป็นแหล่งเก็บสะสมโปรตีน หรือเก็บสะสมแป้ง ที่เรียกว่า เม็ดสี (starch grains) เรียกว่า amyloplast ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารคลอโรฟิลล์ ภายในคลอโรพลาสต์ ประกอบด้วยส่วนที่เป็นของเหลว เรียกว่า สโตรมา (stroma) มีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้อง กับการสังเคราะห์ด้วยแสง แบบที่ไม่ต้องใช้แสง (dark reaction) มี DNA RNA และไรโบโซม และเอนไซม์อีกหลายชนิด ปะปนกันอยู่", "title": "คลอโรพลาสต์" } ]
[ { "docid": "382086#2", "text": "คลอโรฟิลล์มีหน้าที่สำคัญคือจับรังสีแสงอาทิตย์และนำพลังงานที่ได้ไปใช้สร้างอาหารสำหรับพืช สร้างน้ำตาลจากน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำตาลจะเป็นสิ่งตั้งต้นของอาหารพืช ก็คือคาร์โบไฮเดรตซึ่งเป็นสิ่งที่พืชต้องการเพื่อใช้ในการเจริญเติบโต ในกระบวนการผลิตอาหาร คลอโรฟิลล์จะทำลายตัวเองอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งหมดไป ระหว่างฤดูที่พืชพันธุ์เจริญงอกงาม พืชจะสร้างคลอโรฟิลล์เพิ่มเติมทำให้มีปริมาณคลอโรฟิลล์อยู่มาก ใบไม้จึงยังคงมีสีเขียว", "title": "การเปลี่ยนสีของใบไม้ในฤดูใบไม้ร่วง" }, { "docid": "665729#1", "text": "พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนใต้ของกินี, เซียร์ราลีโอน ไปจนถึงไลบีเรีย พบในแหล่งน้ำจืดช่วงที่ใกล้กับชายฝั่งทะเล โดยอาศัยอยู่ในลำธารน้ำที่ไหลเอื่อย ๆ ในป่าเปิดแบบสะวันนา และลำธารในเขตป่าฝน มักอาศัยในลำธารที่มีพรรณไม้น้ำขึ้นอยู่หนาแน่น เนื่องจากวางไข่ไว้ตามใบของพืชน้ำ ส่วนหัวมีจุดกลมเล็ก ๆ เห็นเด่นชัด เชื่อว่ามีไว้เพื่อเป็นประสาทรับแสงสว่าง เพื่อให้รู้ถึงความมืด-สว่าง ในช่วงเวลากลางวัน สีสันตามลำตัวมีความหลากหลายมาก ตามแหล่งที่มา เช่น มีครีบสีส้มเข้ม และครีบอกสีฟ้า-เขียว หรือครีบหลังและครีบอกที่เป็นสีน้ำตาลเหลืองอ่อน", "title": "ปลาคลาวน์คิลลี่ฟิช" }, { "docid": "142149#1", "text": "คลอโรฟิลล์เป็นสารที่ละลายได้ดีในอะซีโตนและแอลกอฮอล์ โครงสร้างอาจแบ่งได้เป็นสองส่วน คือ ส่วนหัว และส่วนหาง โดยที่ส่วนหัวของคลอโรฟิลล์มีลักษณะเป็นวงแหวนไพรอล (pyrole ring) ที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบอยู่ 4 วง และมีธาตุแมกนีเซียมอยู่ตรงกลางโดยทำพันธะกับไนโตรเจน ส่วนหัวนี้มีขนาดประมาณ 1.5x1.5 อังสตรอม ส่วนหางของคลอโรฟิลล์มีลักษณะเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ 20 อะตอม มีความยาวประมาณ 2 อังสตรอม คลอโรฟิลล์ดูดกลืนแสงได้ดีที่ช่วงคลื่นของแสงสีฟ้าและสีแดง แต่ดูดกลืนช่วงแสงสีเหลืองและเขียวได้น้อย ดังนั้นเมื่อได้รับแสงจะดูดกลืนแสงสีฟ้าและสีแดงไว้ ส่วนแสงสีเขียวที่ไม่ได้ดูดกลืนจึงสะท้อนออกมา ทำให้เห็นคลอโรฟิลล์มีสีเขียว", "title": "คลอโรฟิลล์" }, { "docid": "614536#2", "text": "มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ชอบมุดใต้กองใบไม้หรือกรวดหิน พบอาศัยอยู่ในลำธารที่มีกรวดและใบไม้ร่วงหนาแน่น เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วว่องไวมาก ตั้งแต่บริเวณน้ำตกจนถึงที่ราบต่ำและป่าพรุ กินสัตว์หน้าดินขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร พบชุกชุมในบางแหล่งน้ำ เช่น น้ำตกภาคตะวันออกของไทยแถบจังหวัดจันทบุรี และพบไปจนถึงมาเลเซียและอินโดนีเซีย", "title": "ปลาปล้องอ้อยคูลี่" }, { "docid": "777026#1", "text": "ส่วนใหญ่จะพบเชื้อ \"N. fowleri\" ได้ในแหล่งน้ำอุ่นในธรรมชาติ เช่น บึง ทะเลสาบ แม่น้ำ บ่อน้ำพุร้อน เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจพบได้ในดิน แหล่งน้ำในชุมชนที่ไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม เครื่องทำความร้อนในบ้าน บริเวณน้ำทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรม สระว่ายน้ำที่ไม่ได้ใช้คลอรีนหรือมีคลอรีนน้อยเกินไป เป็นต้น โดยจะพบได้ในระยะอะมีบอยด์หรือระยะแฟลเจลเลตแบบชั่วคราว ยังมีปรากฏหลักฐานว่าเชื้อนี้อยู่ได้ในน้ำเค็ม", "title": "เนเกลอริเอซิส" }, { "docid": "358330#5", "text": "โรคของผักตระกูลกะหล่ำที่พบมากก็คือ โรคเน่าเละ (Soft rot) ชาวสวนเรียกว่า โรคเน่า, โรคหัวเน่า สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Erwinia carotovara โรคนี้มีแมลงวันเป็นพาหะ ลักษณะอาการของโรคคือ ในระยะแรกจะพบเป็นจุดช้ำหรือฉ่ำน้ำที่บริเวณดอก ต่อมาจุดเหล่านี้ขยายออก เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลถึงดำ เนื้อเยื่อบริเวณแผลมีลักษณะเป็นเมือกเยิ้มมีกลิ่นเหม็น เมื่อเป็นมาก ๆ ทำให้ดอกเกิดอาการเน่าเละเป็นสีน้ำตาลดำไปทั้งดอก แล้วจะเน่าอย่างรวดเร็วภายใน 2 - 3 วัน ทำให้ต้นยุบลงไปทั้งต้นหรือทั้งหัว และโรคนี้จะแพร่ไปยังต้นที่อยู่ใกล้เคียง การป้องกันกำจัดคือ ระมัดระวังอย่าให้เกิดแผลบนดอกบรอกโคลี กำจัดแมลงที่กัดกินบรอกโคลี และเมื่อพบต้นที่แสดงอาการให้ตัดไปเผาทำลาย โรคเน่าเละมักพบว่าเกิดร่วมกับโรคลำไส้ดำ หรือที่ชาวสวนเรียกว่า โรคโอกึน สาเหตุเกิดจากการขาดธาตุโบรอน บรอกโคลีจะแสดงอาการช่อดอกเน่าดำ โรคนี้ทำความเสียหายแก่ต้นบรอกโคลีทั้งต้น เมื่อพบเห็นต้นที่เป็นโรค ควรรีบถอนไปทำลายทิ้ง และหากมีโรคระบาดมาก ไม่ควรจะปลูกพืชตระกูลนี้ซ้ำที่เดิมอีก ควรเปลี่ยนไปปลูกพืชตระกูลอื่นหมุนเวียนบ้าง", "title": "บรอกโคลี" }, { "docid": "142149#2", "text": "ในธรรมชาติมีคลอโรฟิลล์อยู่หลายชนิดด้วยกันซึ่งแต่ล่ะชนิดมีโครงสร้างหลักที่เหมือนกันคือ วงแหวนไพรอล 4 วง แต่โซ่ข้าง (side chain) ของคลอโรฟิลล์แต่ละชนิดจะมีลักษณะที่ต่างกันออกไป เช่น คลอโรฟิลล์ เอ (chlorophyll a) และคลอโรฟิลล์ บี (chlorophyll b) มีโครงสร้างโมเลกุลที่ต่างกันเพียงตำแหน่งเดียวเท่านั้น นั่นคือ ที่วงแหวนไพรอล วงที่สองของคลอโรฟิลล์ เอ มีโซ่ข้างเป็นหมู่เมททิล (-CH3) ส่วนของคลอโรฟิลล์ บี เป็นหมู่อัลดีไฮด์ (-CHO) ซึ่งการที่โครงสร้างที่ต่างกันนี้ก็ทำให้มีคุณสมบัติแตกต่างกัน รวมทั้งคุณสมบัติการดูดกลืนแสงก็ต่างกันด้วย และทำให้คลอโรฟิลล์ทั้งสองชนิดนี้มีสีต่างกันเล็กน้อย โดยที่คลอโรฟิลล์ เอ มีสีเขียวเข้ม ส่วนคลอโรฟิลล์ บี มีสีเขียวอ่อน", "title": "คลอโรฟิลล์" }, { "docid": "140046#3", "text": "ฟอสซิลของ \"Doedicurus clavicaudatus\" ถูกพบในอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ โดยเฉพาะที่ Ensenada Formation ในอาร์เจนตินา เนื่องจากสัตว์ชนิดนี้สูญพันธุ์ไปเมื่อไม่นานมานี้ จึงสันนิษฐานว่าอาจถูกล่าโดยมนุษย์กลุ่มแรกที่ตั้งรกรากอเมริกาใต้ ระดับดีเอ็นเอที่รักษาไว้ได้คือ 2/5 สัตว์ที่อุ้มบุญน่าจะเป็นอมาดิลโล แต่ความเหมาะสมมีเพียง 1/5 เพราะอมาดิลโลยักษ์ซึ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาอมาดิลโลชนิดเดียวกัน ยังมีน้ำหนักแค่ 30 กิโล กรัม เมื่อเปรียบเทียบกับไซซ์รถเต่าแล้ว ถือว่ายังห่างกันไกล", "title": "เดดิคูรัส" } ]
67
ใครเป็นผู้เขียน ตำนานบุตรแห่งฮูริน จนจบ?
[ { "docid": "155870#0", "text": "ตำนานบุตรแห่งฮูริน () เป็นนวนิยายแฟนตาซีระดับสูงแบบมหากาพย์ที่บรรยายในลักษณะร้อยแก้ว ประพันธ์โดยเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ซึ่งได้เริ่มโครงเรื่องไว้ตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1910 และได้ปรับแก้เนื้อหาหลายต่อหลายครั้ง จนกระทั่งโทลคีนเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1973 เรื่องนี้ก็ยังไม่เสร็จเรียบร้อยพอจะตีพิมพ์ได้ คริสโตเฟอร์ โทลคีน บุตรชายของเขา ได้นำต้นฉบับทั้งหมดมาเรียบเรียงขึ้นใหม่และใส่บทบรรยายเพิ่มเติมจนสำเร็จ ได้ตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2007 ออกวางจำหน่ายพร้อมกันทั้งในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา สำหรับประเทศไทยมีการแปลและพิมพ์จำหน่ายในปี ค.ศ. 2008 โดยสำนักพิมพ์แพรวเยาวชน", "title": "ตำนานบุตรแห่งฮูริน" }, { "docid": "155870#21", "text": "คริสโตเฟอร์ โทลคีน ได้รวบรวมงานเขียนที่กระจัดกระจายของโทลคีน เรียบเรียงออกมาเป็นผลงานหลายเล่ม เช่น ซิลมาริลลิออน Unfinished Tales รวมถึงหนังสือชุดประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ ซึ่งทยอยออกสู่บรรณพิภพมาเป็นลำดับ ล่าสุดเขาได้เรียบเรียงงานเขียนเรื่อง \"ตำนานบุตรแห่งฮูริน\" ออกสู่บรรณพิภพได้สำเร็จในปี ค.ศ. 2007 โดยออกวางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2007 พร้อมกันทั้งในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา", "title": "ตำนานบุตรแห่งฮูริน" }, { "docid": "5622#50", "text": "ล่าสุดในปี พ.ศ. 2550 คริสโตเฟอร์ โทลคีน ได้อุตสาหะรวบรวมและเรียบเรียงงานเขียนชิ้นสำคัญออกมาอีกชิ้นหนึ่ง คือ ตำนานบุตรแห่งฮูริน อันเป็นเรื่องราวของทูริน ทูรัมบาร์ และนิเอนอร์ น้องสาวของเขา ทั้งสองเป็นบุตรของฮูริน ตัวละครชาวมนุษย์คนสำคัญที่มีบทบาทในการช่วยเหลือเหล่าเอลฟ์ในตำนานซิลมาริลลิออน โดยที่คริสโตเฟอร์เรียบเรียงเนื้อหาทั้งหมดมาจาก \"ซิลมาริลลิออน\", \"Unfinished Tales\", \"ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ\" และงานเขียนต้นร่างที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์อีกจำนวนหนึ่ง", "title": "เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน" }, { "docid": "125869#1", "text": "เมื่อเดือนเมษายน 2550 คริสโตเฟอร์ได้ตีพิมพ์นวนิยายที่บิดาได้เขียนเล่มใหม่ \"ตำนานบุตรแห่งฮูริน (The Children of Húrin)\" ซึ่งโทลคีนได้ทำการเขียนในช่วงปี พ.ศ. 2494 - 2500 (ช่วงที่เก่าแก่ที่สุดคือที่ขียนเมื่อปี พ.ศ. 2461) ซึ่งเขาเขียนเกือบจะจบแล้วแต่ก็ได้เลิกเขียนก่อน", "title": "คริสโตเฟอร์ โทลคีน" } ]
[ { "docid": "155870#19", "text": "\"ตำนานบุตรแห่งฮูริน\" แต่เดิมเป็นงานเขียนร้อยแก้วของโทลคีน ในหนังสือ \"ประมวลตำนานอันสาบสูญ\" (The Book of Lost Tales) เป็นวรรณกรรมหนึ่งในสามเรื่องเอกของโทลคีนนับตั้งแต่ยุคแรกเริ่มก่อนการประพันธ์ ลอร์ดออฟเดอะริงส์ มีชื่อเรื่องเมื่อประพันธ์ครั้งแรกใน ค.ศ. 1919 ว่า เรื่องของทูรินกับโฟอาโลเค ต่อมาโทลคีนนำบทประพันธ์นี้ไปแต่งขึ้นใหม่เป็นกวีนิพนธ์ ใช้ชื่อว่า ทูริน บุตรแห่งฮูริน กับกลอรุนด์เจ้ามังกร โดยใช้เวลาประพันธ์อยู่หลายปี เป็นบทกวีนิพนธ์ขนาดยาวหลายพันบรรทัด แต่ยังแต่งไม่จบ ระหว่างนั้นโทลคีนก็ประพันธ์งานชิ้นอื่นๆ ไปด้วย โดยมีงานชิ้นใหญ่ที่สุดที่ขัดขวางการประพันธ์ผลงานอื่นของเขาไปเป็นเวลานานหลายปี คือการประพันธ์เรื่อง ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ในราวปลายคริสต์ทศวรรษ 1940", "title": "ตำนานบุตรแห่งฮูริน" }, { "docid": "155870#20", "text": "หลังจาก ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ โทลคีนจึงหันมาเอาใจใส่กับงานเขียนในยุคแรกๆ ของเขาอีกครั้ง เขาได้ปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาของ \"ตำนานบุตรแห่งฮูริน\" ไปอีกมาก แต่ยังไม่ได้เรียบเรียงให้สมบูรณ์พอสำหรับการตีพิมพ์ เมื่อโทลคีนเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1973 งานเขียนชุดนี้รวมทั้งงานอื่นๆ ของเขาอีกจำนวนมากจึงยังไม่ได้รับการตีพิมพ์", "title": "ตำนานบุตรแห่งฮูริน" }, { "docid": "155870#1", "text": "\"ตำนานบุตรแห่งฮูริน\" เล่าถึงเรื่องราวชะตากรรมของบรรดาบุตรของฮูริน ทายาทตระกูลฮาดอร์ ชาวมนุษย์ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ซึ่งมีชีวิตอยู่ในยุคที่หนึ่งของอาร์ดา ได้แก่ ทูริน ทูรัมบาร์ และ นิเอนอร์ นีนิเอล พวกเขาทั้งหมดต้องคำสาปจากจอมมารมอร์กอธให้ประสบแต่ความหายนะในชีวิต เนื่องจากฮูรินไม่ยินยอมอยู่ใต้บังคับของมอร์กอธ", "title": "ตำนานบุตรแห่งฮูริน" }, { "docid": "27548#0", "text": "จอมใจจอมยุทธ์ หรือ ตำนานอักษรกระบี่ (; ) เป็นผลงานเรื่องแรกของ กิมย้ง หรือในชื่อ จือเกี่ยมอึ้งชิ้วลก (Shu Jian En Chau Lu : จอมใจจอมยุทธ์) ซึ่งเขียนขึ้นครั้งแรกราว ๆ พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) ซึ่งเนื้อเรื่องเรื่องนี้ ได้เค้าจากตำนานที่เล่าขานกันว่า พระจักรพรรดิ์เคี่ยนหลงฮ่องเต้ (เฉียนหลงฮ่องเต้) แห่งราชวงศ์ชิง มีสายเลือดจีน (ชาวฮั่น) แสดงให้เห็นความขัดแย้งระหว่างอำนาจกับเชื้อชาตินิยม นิยายเรื่องนี้ทำให้กิมย้ง ติดอันดับในยุทธจักรนิยายกำลังภายในทันที เป็นพื้นฐานความสำเร็จในเรื่องต่อ ๆ ไป แต่มีข้อด้อยที่ตัวละครเอกไม่เด่น ความเด่นกลับไปตกอยู่กับหัวหน้าหน่วยพรรค ดอกไม้แดงทั้งหมด 14 คน ซึ่งมี ตั้งแกลก (เฉินเจียลั่ว)ตัวเอกของเรื่อง เป็นหัวหน้าใหญ่ แม้ผู้แต่งจะพยายามเน้นให้ประมุขพรรค คือ ตั้งแกลก เด่นกว่าคนอื่นก็ตาม แต่ไม่ถึงกับประทับใจผู้อ่านมากนัก แต่กระนั้นก็ยังจัดเป็นวรรณกรรมที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง", "title": "จอมใจจอมยุทธ์" }, { "docid": "431789#0", "text": "ตำนานจักรพรรดิ อภินิหารฝ่ามือยูไล () เป็นการ์ตูนจีนจากประเทศฮ่องกง แต่งเรื่องโดย หวงยี่หลาง วาดภาพโดย หวงยี่หลาง ตีพิมพ์และจัดจำหน่ายโดยสำนักพิมพ์บุรพัฒน์ พิมพ์ครั้งแรก 1 กุมภาพันธ์ 2546 โดยมีเนื้อเรื่องเป็นเรื่องราวของ \"หลงเกอเอ๋อ\" เด็กหนุ่มที่ชอบกินกบประหลาดจนทำให้มีพลังวัตรมหาศาลแฝงอยู่ในร่าง และวันหนึ่งเขาได้พบกับ \"หลี่อู๋หมิง\" ผู้สืบทอดฝ่ามือยูไลที่บาดเจ็บสาหัสจากการตามล่าของศัตรู หลี่อู๋หมิงถูกชะตากับหลงเกอเอ๋อ จึงถ่ายทอดฝ่ามือยูไลสามกระบวนท่าให้ เพื่อให้หลงเกอเอ๋อเป็นผู้สืบทอดฝ่ามือเทพคนต่อไป และใช้ฝ่ามือยูไลนี้ปกป้องบ้านเมืองช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนต่อไป เหมือนชะตาเล่นกับเขา จนในที่สุดเขาได้เกี่ยวพันธ์กับจอมมารมากมายในยุทธ์ภพ และผู้ก่อตั้งราชวงศ์ซ่ง หรือซ้อง", "title": "ตำนานจักรพรรดิ อภินิหารฝ่ามือยูไล" }, { "docid": "287725#1", "text": "หนังสือเล่มนี้แต่แรกเป็นจดหมายขนาดยาวที่ถูกเขียนถึงชาวฮีบรู ผู้เขียนไม่ได้ระบุชื่อตนเองว่าเป็นใคร ซึ่งการทำเช่นนั้นแสดงว่า ผู้รับจดหมายชาวฮีบรูต้องรู้จักผู้เขียนเป็นอย่างดี และจากเนื้อหาในจดหมายที่กล่าวถึงคำสอนในคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมด้วยนั้น แสดงว่าผู้เขียนเป็นผู้มีการศึกษาและเข้าใจในเรื่องราวเหล่านั้นดี ประกอบกับผู้เขียนมีความสนิทสนมกับทิโมธีด้วย ทำให้ในยุคแรกเชื่อกันว่านักบุญเปาโลอัครทูต น่าจะเป็นผู้เขียนจดหมายฉบับนี้ แต่หลังจากการปฏิรูปแล้ว มีข้อโต้แย้งว่า ผู้เขียนไม่น่าจะเป็นเปาโล เพราะสไตล์การเขียนจดหมายของนักบุญเปาโล ไม่ใช่แบบที่อยู่ในจดหมายฉบับนี้ อาจจะเป็นอปอลโลมากกว่า ซึ่งอปอลโลก็มีคุณลักษณะดังกล่าวข้างต้นด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการยืนยันได้แน่นอนว่าผู้เขียนเป็นใคร ส่วนช่วงเวลาในการเขียนน่าอยู่ในราวปี ค.ศ. 70 คือก่อนที่กรุงเยรูซาเลมจะล่มสลาย", "title": "จดหมายถึงชาวฮีบรู" } ]
73
ประเทศแคนาดา มีกษัตริย์หรือไม่ ?
[ { "docid": "5448#0", "text": "แคนาดา () เป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ ติดกับสหรัฐ เป็นประเทศที่มีที่ตั้งอยู่ทางเหนือมากที่สุดของโลกและมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ปัจจุบันแคนาดาใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยถือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเป็นพระมหากษัตริย์ (หมายเหตุ: พระองค์เดียวกับพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร แต่โดยรัฐธรรมนูญแล้วถือว่าเป็นคนละตำแหน่ง)", "title": "ประเทศแคนาดา" }, { "docid": "745848#0", "text": "ผู้สำเร็จราชการแคนาดา (; หรือ [เพศหญิง]: Gouverneure générale du Canada) คืออุปราชแห่งสหพันธ์รัฐแคนาดา ผู้สำเร็จราชการแทนสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร พระมหากษัตริย์แคนาดาพระองค์ปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจากแคนาดามีประมุขแห่งรัฐร่วมกับประเทศเครือจักรภพอีก 15 ประเทศ ซึ่งก็คือพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรผู้ทรงมีถิ่นพำนักหลักอยู่ในสหราชอาณาจักร ดังนั้นพระมหากษัตริย์แคนาดาจึงทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนตามคำกราบบังคมทูลของนายกรัฐมนตรีแห่งแคนาดา ขึ้นมารับผิดชอบพระราชกรณียกิจตามรัฐธรรมนูญและพระราชกรณียกิจเชิงพิธีการส่วนมากแทนพระองค์ โดยระยะเวลาการดำรงตำแหน่งไม่ได้จำกัดไว้อย่างชัดเจนหรือเรียกได้ว่าเป็นระยะเวลา \"ตามแต่พระราชอัธยาศัย\" (at Her Majesty's pleasure) ซึ่งตามธรรมเนียมที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแล้ว ผู้ดำรงตำแหน่งมักจะมีวาระอยู่ประมาณ 5 ปี นอกจากนี้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1959 เป็นต้นมา ผู้ดำรงตำแหน่งจะสลับสับเปลี่ยนกันไปมาระหว่างชาวแคนาดาผู้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ (Anglophone) และชาวแคนาดาผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ (Francophone) ซึ่งผู้สำเร็จราชการสามารถติดต่อกับองค์พระประมุขได้โดยตรงไม่ว่าจะประทับอยู่ ณ ที่ใดก็ตาม", "title": "ผู้สำเร็จราชการแคนาดา" }, { "docid": "5448#2", "text": "ประเทศแคนาดา ประกอบด้วยรัฐ 10 รัฐ และดินแดน 3 แห่ง และปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เป็นพระประมุขสูงสุด แคนาดาเป็นประเทศที่ใช้ภาษาทางการ 2 ภาษาทั้งในระดับประเทศและในรัฐนิวบรันสวิก ภาษาทางการ 2 ภาษานั้นคือ ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม แคนาดาเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเป็นประเทศอุตสาหกรรม มีเศรษฐกิจที่หลากหลาย ซึ่งพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ และพึ่งพาการค้าขาย โดยเฉพาะกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่แคนาดามีความสัมพันธ์อันยาวนานและสลับซับซ้อน", "title": "ประเทศแคนาดา" }, { "docid": "5448#6", "text": "ปี พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) แคนาดาได้รับสถานะเป็นประเทศที่เท่าเทียมกับอังกฤษโดยมีกษัตริย์อังกฤษเป็นพระประมุข และต่อมาในปี พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) รัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ ก็ได้เข้าร่วมเป็นรัฐที่สิบของแคนาดา", "title": "ประเทศแคนาดา" }, { "docid": "829174#0", "text": "ประเทศในเครือจักรภพ () เป็นรัฐกึ่งเอกราชซึ่งยอมรับพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรเป็นประมุขแห่งรัฐ ถือว่ายังเป็นดินแดนในจักรวรรดิบริติช ประกอบด้วย แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ นิวฟันด์แลนด์ แอฟริกาใต้ เสรีรัฐไอร์แลนด์ และต่อมาภายหลังคริสต์ทศวรรษ 1940 ได้รวมถึง อินเดีย ปากีสถาน และซีลอน (ศรีลังกาในปัจจุบัน) ประเทศในเครือจักรภพปรากฎอยู่จนถึง ค.ศ. 1953 หลังจากนั้นประเทศต่าง ๆ ในเครือจักรภพได้แปรสภาพเป็นราชอาณาจักรเครือจักรภพและเป็นสมาชิกในเครือจักรภพแห่งประชาชาติ", "title": "ประเทศในเครือจักรภพ" } ]
[ { "docid": "5448#7", "text": "แคนาดาเป็นสหพันธรัฐที่ประกอบด้วย 10 รัฐ (provinces) และ 3 ดินแดน (territories) ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างรัฐกับดินแดนคือ รัฐของแคนาดาได้รับมอบอำนาจจากบทบัญญัติในกฎหมายรัฐธรรมนูญโดยตรง ขณะที่ดินแดนของแคนาดาจัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายของสหพันธรัฐ ดังนั้น รัฐบาลสหพันธ์จึงมีอำนาจโดยตรงในการควบคุมดูแลดินแดน ส่วนรัฐบาลของรัฐนั้นจะมีอำนาจและสิทธิในการปกครองตนเองมากกว่า", "title": "ประเทศแคนาดา" }, { "docid": "5448#11", "text": "แคนาดาเป็นประเทศเดียวในกลุ่มจี 8 ที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง สาเหตุสำคัญเนื่องจากแคนาดาเป็นประเทศที่มีมาตรการการค้าที่เสรีและโปร่งใสมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก\nแคนาดาเป็นประเทศที่พึ่งพิงการค้ากับต่างประเทศเป็นหลัก โดยมีสัดส่วนการค้าต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ถึงร้อยละ 45 สำหรับการส่งออก และร้อยละ 40 สำหรับการนำเข้า รูปแบบการค้าและการลงทุนของแคนาดาจะพึ่งพิงกับสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก ทั้งสหรัฐอเมริกาและแคนาดาเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญที่สุดระหว่างกันทั้งการนำเข้าและการส่งออก อีกทั้งยังมีการจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (North American Free Trade Agreement: NAFTA) ซึ่งยิ่งช่วยเสริมมูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศให้มากยิ่งขึ้น", "title": "ประเทศแคนาดา" }, { "docid": "30643#14", "text": "แคนาดาแบ่งส่วนย่อยของการปกครองออกเป็นรัฐ (province) แต่ละรัฐจะมีอำนาจอิสระในพื้นที่ของตน เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา ส่วนย่อยของรัฐนั้นจะแตกต่างกันออกไปไม่เหมือนกัน ในบรรดาสิบรัฐของแคนาดา มีห้ารัฐที่ใช้เคาน์ตี หรือ \"เทศมณฑล\" เรียกส่วนย่อยของตน ในจำนวนนี้ได้แก่รัฐนิวบรันสวิก รัฐโนวาสโกเชีย รัฐออนแทริโอ รัฐควิเบก รัฐเกาะเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด หรือปรินซ์เอ็ดเวิร์ดไอแลนด์", "title": "เทศมณฑล" }, { "docid": "48356#4", "text": "ปัจจุบันมี 44 รัฐอธิปไตยในโลกที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ โดย 16 รัฐเป็นเครือจักรภพแห่งชาติ ซึ่งยอมรับว่าสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเป็นประมุขแห่งรัฐของตน ประเทศราชาธิปไตยทุกประเทศในยุโรปเป็นแบบภายใต้รัฐธรรมนูญ ยกเว้นนครรัฐวาติกัน แต่พระมหากษัตริย์ในรัฐเล็ก ๆ มักมีอิทธิพลทางการเมืองมากกว่าในรัฐใหญ่ ๆ พระมหาษัตริย์กัมพูชา ญี่ปุ่น จอร์แดน มาเลเซียและโมร็อกโก \"ครองราชย์ แต่ไม่ปกครอง\" แม้จะมีความแตกต่างกันบ้างในอำนาจที่พระมหากษัตริย์ในประเทศเหล่านี้ทรงถือ แม้พระมหากษัตริย์จะทรงปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่พระมหากษัตริย์บรูไน โอมาน กาตาร์ ซาอุดิอาระเบียและสวาซิแลนด์ดูเหมือนว่าจะทรงมีอิทธิพลทางการเมืองเหนือแหล่งแห่งอำนาจหน้าที่แหล่งหนึ่งแหล่งใดในชาตินั้นต่อไป ไม่ว่าจะโดยอำนาจตามรัฐธรรมนูญหรือโดยประเพณี", "title": "ราชาธิปไตย" }, { "docid": "490496#8", "text": "แต่ในเอกสารส่วนใหญ่เกี่ยวกับประเทศอื่นในเครือจักรภพ นอกจากสหราชอาณาจักร ประเทศแคนาดา และประเทศนิวซีแลนด์ มักไม่เติมสร้อยพระนาม \"ผู้ปกป้องศรัทธา\" เช่น สำหรับประเทศออสเตรเลีย ออกพระนามสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ว่า \"โดยพระคุณของพระเป็นเจ้า เอลิซาเบธที่ 2 สมเด็จพระราชินีนาถแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ ตลอดทั้งราชอาณาจักรและดินแดนอื่น ๆ ของพระนาง พระประมุขแห่งเครือจักรภพ\" ที่ประเทศแคนาดาเลือกคงสร้อยพระนาม \"ผู้ปกป้องศรัทธา\" ไว้มิใช่เพราะพระมหากษัตริย์ทรงอุปถัมภ์ศาสนาประจำชาติ (แคนาดาไม่มีศาสนาประจำชาติ) แต่เพราะถือว่าทรงอุปถัมภ์ศาสนาและลัทธิความเชื่อต่าง ๆ เป็นการทั่วไป ลุย แซ็งต์. โลรองต์ นายกรัฐมนตรีแคนาดา แถลงต่อสภาสามัญชนแคนาดาเมื่อ ค.ศ. 1953 ว่า", "title": "อัครศาสนูปถัมภก" } ]
77
ประเทศที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรปคืออะไร?
[ { "docid": "1821#2", "text": "ยุโรปมีพื้นที่ประมาณ 10,180,000 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2% ของผิวโลก (6.8% ของผืนดิน) ในทางการเมืองยุโรปมีรัฐอธิปไตยและเขตปกครองกว่า 50 รัฐ ซึ่งมีรัสเซียเป็นประเทศที่ใหญ่และมีประชากรมากที่สุด โดยกินพื้นที่ทวีปยุโรป 39% และมีประชากรทั้งหมด 15% ของทวีป ใน ยุโรปมีประชากรประมาณ /1e6 round 0 ล้านคน (หรือ 11% ของประชากรโลก) ภูมิอากาศยุโรปส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากกระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรแอตแลนติกทำให้ภายในทวีปจะมีอากาศหนาวจัดในฤดูหนาวและร้อนในฤดูร้อนแม้ในละติจูดเดียวกันในเอเชียกับอเมริกาเหนือจะมีสภาพอากาศที่รุนแรง ยุโรปภาคพื้นทวีปจะเห็นความแตกต่างตามฤดูกาลได้ชัดเจนกว่าบริเวณชายฝั่ง", "title": "ทวีปยุโรป" } ]
[]
79
ไส้ติ่งอักเสบสามารถทำให้คนเสียชีวิตได้หรือไม่?
[ { "docid": "218429#0", "text": "ไส้ติ่งอักเสบ () เป็นโรคที่เกิดกับไส้ติ่ง เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบทุกรายต้องได้รับการผ่าตัดเอาไส้ติ่งออก หากไม่ได้รับการรักษาแล้วจะมีอัตราการตายสูง การเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบและภาวะช็อค", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "218429#12", "text": "พยากรณ์โรคโดยทั่วไปดีมาก อัตราการตายโดยรวมน้อยกว่า 1% มาก ภาวะเป็นโรคส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับว่าไส้ติ่งนั้นอักเสบเฉียบพลันมากหรือไม่ หรือมีการแตกของไส้ติ่งที่อักเสบหรือไม่ ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุดคือการติดเชื้อของแผลผ่าตัด พบในผู้ป่วยไส้ติ่งแตกประมาณ 1-5%\nการให้การวินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบในผู้ป่วยที่มาอาการชนิดตรงไปตรงมานั้นอาจทำได้ง่าย แพทย์อาจสามารถมั่นใจในการวินิจฉัยได้มากโดยอาศัยข้อมูลจากประวัติและการตรวจร่างกายก็เพียงพอ โดยอาศัยผลตรวจทางห้องปฏิบัติการเป็นการเสริมความสมบูรณ์ของการวินิจฉัยเท่านั้น แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการแบบไม่ตรงไปตรงมา เป็นไปได้ยากมากที่จะให้การวินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบในระยะแรกๆ ของอาการเจ็บป่วย ซึ่งผู้ป่วยอาจมีอาการเพียงปวดท้องทั่วๆ คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเหลว ซึ่งเป็นอาการที่พบซ้อนกับโรคอื่นๆ เช่นกระเพาะอักเสบหรือลำไส้อักเสบ เวลาที่ผ่านไปมากขึ้นจะทำให้อาการของผู้ป่วยแสดงออกเด่นชัดมากขึ้น จึงทำให้วินิจฉัยได้แม่นยำมากขึ้น ดังนั้นจึงมีกรณีผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้อง ไปพบแพทย์ในระยะแรกด้วยอาการที่ไม่ชัดเจน และได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก (ให้ยา+กลับบ้าน และ/หรือ นัดติดตามการรักษา) ซึ่งต่อมากลับมีอาการไม่ดีขึ้น และไปตรวจอีกครั้งพบว่ามีอาการเป็นไส้ติ่งอักเสบชัดเจน กรณีนี้เช่นนี้พบได้เป็นจำนวนมาก", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "218429#2", "text": "ไส้ติ่งเป็นส่วนขยายของลำไส้ใหญ่ส่วนต้น มีรูปร่างเรียวหยาวคล้ายหนอน ทำให้มีคำเรียกในภาษาอังกฤษว่า vermiform appendix (ติ่งรูปหนอน) ความยาวโดยเฉลี่ย 8-10 เซนติเมตร (มีขนาดได้ตั้งแต่ 2-20 เซนติเมตร) เจริญขึ้นในเดือนที่ห้าของการตั้งครรภ์ และมีเนื้อเยื่อน้ำเหลือง (lymphoid follicle) ทั่วชั้นเยื่อเมือก เนื้อเยื่อน้ำเหลืองเหล่านี้จะมีจำนวนมากขึ้นและขยายขนาดเมื่อมีอายุ 8-20 ปี\nจากหลักฐานในปัจจุบันเชื่อกันว่าโรคไส้ติ่งอักเสบเป็นผลที่เกิดจากการมีการอุดตันของไส้ติ่ง เมื่อเกิดมีการอุดตันเกิดขึ้นแล้ว ส่วนที่อุดตันนี้จะมีการคั่งของมูกมาอัดแน่นและบวมขึ้น มีความดันภายในส่วนที่อุดตันนี้และตัวผนังไส้ติ่งเองสูงขึ้น เกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดขนาดเล็ก ขัดขวางการไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลือง น้อยครั้งที่จะมีไส้ติ่งที่เป็นถึงขั้นนี้แล้วกลับหายเป็นปกติได้เอง เมื่ออาการดำเนินต่อไปไส้ติ่งจะขาดเลือดและตายเฉพาะส่วนไป ต่อมาแบคทีเรียที่มีอยู่แล้วในลำไส้จะผ่านผนังไส้ติ่งที่ตายแล้วนี้ออกมา เกิดหนองขึ้นรอบๆ ไส้ติ่ง จนสุดท้ายแล้วไส้ติ่งที่อักเสบมากนี้จะแตกออกทำให้เกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นพิษและเสียชีวิตได้", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" } ]
[ { "docid": "218429#6", "text": "โรคไส้ติ่งอักเสบเรื้อรังต่างจากโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน อาการอาจแตกต่างได้มากในผู้ป่วยแต่ละคน ดังมีคำกล่าวว่า \"ไม่มีลักษณะเฉพาะหรือการตรวจทั่วไปใดๆ ที่จะใช้วินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบเรื้อรังเป็นซ้ำได้ จะต้องวินิจฉัยโดยการคัดออกเท่านั้น...\"\nผลจากการมีไส้ติ่งอักเสบจะทำให้ผนังช่องท้องอ่อนไหวต่อการสัมผัสเบาๆ มากขึ้น มีอาการกดเจ็บที่ท้อง หรือหากมีการอักเสบของเยื่อบุช่องท้องมากอาจมีอาการกดปล่อยแล้วเจ็บ (rebound tenderness) ในกรณีที่ไส้ติ่งของผู้ป่วยอยู่ตำแหน่งหลังลำไส้ใหญ่อาจทำให้ไม่มีอาการเจ็บจากการตรวจทางหน้าท้องได้เพราะลำไส้ใหญ่ที่เต็มไปด้วยอากาศจะกันไม่ให้แรงกดไปสัมผัสโดนไส้ติ่งที่อักเสบ ในกรณีเดียวกัน ถ้าไส้ติ่งอยู่ต่ำลงมาภายในอุ้งเชิงกรานก็จะตรวจไม่พบอาการเจ็บหน้าท้องหรือหน้าท้องแข็งเช่นกัน ในกรณีเช่นนี้การตรวจทางทวารหนักจะตรวจพบอาการเจ็บใน rectovesical pouch ได้ การกระทำใดๆ ที่เพิ่มแรงดันในช่องท้อง เช่น การไอ จะทำให้มีอาการเจ็บที่ตำแหน่ง McBurney's point และเป็นวิธีตรวจหาตำแหน่งของไส้ติ่งที่อักเสบที่เจ็บน้อยที่สุด ถ้าตรวจหน้าท้องแล้วพบว่าหน้าท้องแข็งอย่างมากโดยที่ผู้ป่วยไม่ได้ตั้งใจเกร็งหน้าท้องแล้วเป็นไปได้มากว่าจะมีภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบแล้ว ซึ่งต้องได้รับการผ่าตัดโดยด่วน\nการกดตรวจลึกบริเวณ iliac fossa ทางด้านซ้ายอาจทำให้มีอาการเจ็บบริเวณ iliac fossa ทางด้านขวา นี่เป็นลักษณะของ Rovsing's sign หรือ Rovsing's symptom ใช้วินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันได้", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "218429#3", "text": "ในบรรดาสาเหตุต่างๆ ของการอุดตันของไส้ติ่ง เช่น การมีวัตถุแปลกปลอม การมีบาดแผล พยาธิ สาเหตุที่ได้รับความสนใจมากสาเหตุหนึ่งคือการมีนิ่วอุจจาระไปอุดตัน พบว่ามีความชุกของการพบนิ่วอุจจาระในผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบในประเทศพัฒนาแล้วมากกว่าในประเทศกำลังพัฒนา และการมีนิ่วอุจจาระอุดตันในไส้ติ่งมักพบว่ามีความสัมพันธ์กับไส้ติ่งอักเสบรุนแรง นอกจากนี้ภาวะท้องผูกก็อาจมีส่วนด้วย ดังที่พบว่าผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบมีจำนวนครั้งการถ่ายอุจจาระต่อสัปดาห์น้อยกว่ากลุ่มควบคุมปกติอย่างมีนัยสำคัญ การเกิดมีนิ่วอุจจาระในไส้ติ่งสัมพันธ์กับการที่มีที่เก็บอุจจาระคั่งในลำไส้ใหญ่ส่วนขึ้นและการมีช่วงเวลาในการบีบไล่อุจจาระนาน จากข้อมูลทางระบาดวิทยาพบว่าในกลุมประชากรที่ไม่เป็นโรคไส้ติ่งอักเสบ ไม่พบผู้ป่วยโรคกระเปาะลำไส้หรือติ่งเนื้อเลย และพบผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่น้อยมาก นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งไส้ตรงมักเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบนำมาก่อนด้วย มีหลายการศึกษาพบว่าการกินอาหารที่มีกากใยต่ำมีส่วนในการทำให้เกิดโรคไส้ติ่งอักเสบ ซึ่งตรงกันกับข้อมูลที่ว่าการกินอาหารที่มีกากใยต่ำทำให้มีช่วงเวลาในการบีบไล่อุจจาระนานขึ้น", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "218429#5", "text": "อาการที่ไม่ตรงไปตรงมานั้นอาจเริ่มจากมีอาการปวดเริ่มที่หน้าท้องด้านล่างขวาตั้งแต่ต้น ท้องเสีย และมีการดำเนินโรคที่ยาวนานค่อยเป็นค่อยไปกว่า หากไส้ติ่งที่อักเสบสัมผัสกับกระเพาะปัสสาวะอาจทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อย หากไส้ติ่งที่อักเสบอยู่ด้านหลังลำไส้เล็กตอนปลายอาจมีอาการคลื่นไส้รุนแรงได้ บางรายอาจรู้สึกปวดเบ่ง", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "218429#4", "text": "อาการของไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันนั้นอาจแบ่งได้เป็นสองชนิด คือชนิดตรงไปตรงมาและชนิดไม่ตรงไปตรงมา ประวัติของผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันชนิดตรงไปตรงมานั้นจะเริ่มจากมีอาการปวดบริเวณรอบสะดือก่อนที่จะย้ายไปปวดบริเวณหน้าท้องด้านล่างขวา ลักษณะนี้เกิดจากการที่อาการปวดในช่วงแรกเกิดจากเส้นประสาทอวัยวะภายในที่รับความรู้สึกจากไส้ติ่งนั้นแบ่งแยกตำแหน่งความเจ็บปวดได้ไม่ชัดเจนเท่าอาการปวดในช่วงหลังที่เกิดจากอักเสบลุกลามไปยังเยื่อบุช่องท้องซึ่งมีเส้นประสาทโซมาติกที่สามารถระบุตำแหน่งอาการปวดได้ชัดเจนกว่า อาการปวดท้องมักมีร่วมกับอาการเบื่ออาหารและมีไข้ อย่างไรก็ดีไข้ไม่ใช่อาการที่จำเป็นต้องมีเสมอไป อาจมีอาการคลื่นไส้และอาเจียน รู้สึกง่วงซึม และรู้สึกไม่สบาย ด้วยอาการแบบตรงไปตรงมานี้ การวินิจฉัยสามารถทำได้ง่าย ผู้ป่วยมักได้รับการผ่าตัดรวดเร็วและผลออกมาไม่รุนแรง", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "363706#46", "text": "ผู้ป่วยที่เป็นเด็กมีความเสี่ยงที่จะเกิดความพิการจากอันตรายที่มีต่อระบบประสาทได้ มีการพบว่าผู้รอดชีวิต 15% เกิดการสูญเสียการได้ยินจากประสาทหูเสื่อม โรคลมชัก ความผิดปกติทางการเรียนรู้และพฤติกรรม และการมีระดับสติปัญญาลดลง ผู้ป่วยบางรายที่สูญเสียการได้ยินอาจหายเป็นปกติได้ ส่วนในผู้ใหญ่นั้น 66% ไม่เกิดความพิการ ปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดคือภาวะหูตึง (14%) และความบกพร่องทางสติปัญญา (10%)", "title": "เยื่อหุ้มสมองอักเสบ" }, { "docid": "218429#11", "text": "ผลการรักษาไส้ติ่งอักเสบไม่ว่าจะมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตามส่วนใหญ่ได้ผลดี ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถกลับสู่ภาวะปกติในเวลาไม่นานหลังการผ่าตัด และหลังจากนั้นสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "299226#8", "text": "ในปัจจุบัน เชื่อว่าฮูดินีเสียชีวิตเพราะไส้ติ่งอักเสบ และการถูกชกเข้าที่หน้าท้องยิ่งทำให้อาการหนักยิ่งขึ้น แต่ก็มีบางส่วนเชื่อว่าเขาเสียชีวิตเพราะถูกวางยาจากบุคคลที่เสียประโยชน์จากการเข้าทรงที่ฮูดินีได้เปิดโปง", "title": "แฮร์รี ฮูดินี" }, { "docid": "129070#3", "text": "โซดาไฟสามารถทำให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายได้อย่างเฉียบพลัน ถ้าสุดดมฝุ่นควันของสารจะทำให้ระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ อาจเกิดปอดอักเสบ น้ำท่วมปอดได้ หากเข้าตาจะมีฤทธิ์ทำลาย ตั้งแต่ระคายเคือง หรือรุนแรงกระทั่งทำให้ตาบอดได้ หากถูกผิวหนังจะทำให้เกิดการไหม้จนเป็นแผลลึก หากรับประทานเข้าไปจะเกิดการไหม้ในปาก ลำคอ และทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หมดสติ จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ผู้ที่เคยได้รับสารเข้าไปทางปาก อาจมีการพัฒนากลายเป็นมะเร็งในภายหลัง 12-42 ปี หลังจากกินเข้าไป", "title": "โซดาไฟ" }, { "docid": "218429#13", "text": "รายงานการค้นพบโรคไส้ติ่งอักเสบที่ไม่มีข้อสงสัยครั้งแรกของโลกเกิดขึ้นโดย Lorenz Heirster ศาสตราจารย์ทางศัลยศาสตร์ใน Altdorf, Franconia ในปี พ.ศ. 2254 ขณะผ่าตรวจศพ ส่วนการผ่าตัดไส้ติ่งครั้งแรกทำโดย Claudius Amyand ศัลยแพทย์กองทัพอังกฤษ โดย Amyan ทำการผ่าตัดไส้ติ่งในปี พ.ศ. 2278 โดยไม่ใช้ยาสลบเพื่อนำเอาไส้ติ่งที่แตกแล้วออกมา ต่อมา Reginald H. Fitz ซึ่งเป็นนักกายวิภาคพยาธิวิทยาในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้อธิบายโรคไส้ติ่งอักเสบไว้ในปี พ.ศ. 2429 หลังจากศึกษากรณีการอักเสบและแตกของไส้ติ่งกว่า 257 กรณี และได้แนะนำให้รักษาโรคนี้โดยการผ่าตัดในระยะแรกๆ ซึ่งคำแนะนำของเขายังเป็นจริงแม้ในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี เนื่องจาก Fitz ไม่ใช่ศัลยแพทย์ คำแนะนำของเขาจึงถูกเพิกเฉยอยู่เป็นระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นในช่วงท้ายของศตวรรษที่ 19 ศัลยแพทย์ชาวอังกฤษ H. Hancock ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดไส้ติ่งเป็นครั้งแรกในผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน ต่อมาหลายปีหลังจากนี้ C. McBurney ชาวอเมริกาได้ตีพิมพ์รายงานชุดหนึ่งเกี่ยวกับการวินิจฉัยและรักษาโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน McBurney ผู้นี้เองที่เป็นเจ้าของชื่อของ McBurney point, McBurney incision และ McBurney's sign", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "218429#9", "text": "ไส้ติ่งอักเสบรักษาโดยการผ่าตัดเอาไส้ติ่งออก () ในช่วงแรกผู้ป่วยจะได้รับการเตรียมการผ่าตัดโดยให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดน้ำในขณะที่งดน้ำและงดอาหาร อาจมีการให้ยาปฏิชีวนะ (เช่น cefuroxime, metronidazole) ทางหลอดเลือดดำเพื่อช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและลดการแพร่กระจายของการติดเชื้อในช่องท้อง รวมถึงลดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดด้วย ถ้าผู้ป่วยท้องว่างอาจใช้การผ่าตัดโดยการวางยาสลบ หรือไม่เช่นนั้นอาจใช้การทำให้ชาโดยฉีดยาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" }, { "docid": "218429#14", "text": "ในปัจจุบันการผ่าตัดเอาไส้ติ่งออกไม่ว่าจะด้วยวิธีผ่าเปิดช่องท้องหรือการผ่าแบบส่องกล้องยังคงเป็นวิธีหลักในการรักษาไส้ติ่งอักเสบธรรมดา", "title": "ไส้ติ่งอักเสบ" } ]
82
พรรคประชาธิปัตย์ก่อตั้งเมื่อไหร่?
[ { "docid": "4944#0", "text": "พรรคประชาธิปัตย์ (, ย่อ: ปชป.) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2489 เป็นพรรคการเมืองจดทะเบียนที่เก่าแก่ที่สุดของไทยที่ยังดำเนินการอยู่ พรรคมีสมาชิกที่ได้แจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองไว้ จำนวน 2,895,933 คน นับเป็นพรรคการเมืองที่มีสมาชิกมากที่สุดในประเทศไทย และมีสาขาพรรคจำนวน 175 สาขา นายควง อภัยวงศ์ ได้ก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นเมื่อ 5 เมษายน พ.ศ. 2489 โดยการประชุมรวมตัวกันของนักการเมืองกลุ่มหนึ่งที่บริษัทของนายควง ที่ย่านเยาวราช แต่ทางพรรคถือเอาวันที่ 6 เมษายน เป็นวันก่อตั้งพรรค เพื่อให้ตรงกับวันจักรี มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นฝ่ายค้านคานอำนาจของ นายปรีดี พนมยงค์ ต่อมานายปรีดีลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังถูกกดดันจากกรณีสวรรคต ร.8 และรัฐสภาลงคะแนนให้ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้ใกล้ชิดนายปรีดี ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีสืบต่อ", "title": "พรรคประชาธิปัตย์" } ]
[ { "docid": "671343#0", "text": "พรรคกิจประชาธิปไตย หรือ กลุ่มกิจประชาธิปไตย เป็นกลุ่มการเมืองที่ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2522 โดยมีพลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ อดีต ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นหัวหน้าพรรค เนื่องจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 ถูกกำหนดขึ้นหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 แต่ยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมืองออกมาบังคับใช้ ดังนั้น บทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญจึงยกเว้นข้อกำหนดเกี่ยวกับการสังกัดพรรคการเมืองของผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จึงเป็นการรวมตัวอขงนักการเมืองในรูปแบบของ \"กลุ่มการเมือง\"", "title": "พรรคกิจประชาธิปไตย (พ.ศ. 2522)" }, { "docid": "654145#0", "text": "พรรคประชาชน พรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนจัดตั้งตาม พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2511 โดยจดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2511 มีนาย เลียง ไชยกาล หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ เป็นหัวหน้าพรรคและนาย เขมชาติ บุณยรัตพันธุ์ เป็นเลขาธิการพรรค ซึ่งก่อนหน้านั้นพรรคประชาชนได้เคยก่อตั้งมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2490 โดยนายเลียง ไชยกาล และอดีตสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์อีก 16 คน", "title": "พรรคประชาชน (พ.ศ. 2511)" }, { "docid": "775636#0", "text": "พรรคเสรีประชาธิปไตย พรรคการเมืองของไทยในอดีตที่จดทะเบียนก่อตั้งตาม พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2498 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2498 โดยมีนาย เมธ รัตนประสิทธิ์ เป็นหัวหน้าพรรค มีร้อยโท จารุบุตร เรืองสุวรรณ บิดาของนาย จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ อดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และอดีตหัวหน้า พรรคเพื่อไทย เป็นเลขาธิการพรรค ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 ได้มีการเปลี่ยนแปลงในตำแหน่งเลขาธิการพรรค เมื่อร้อยโท จารุบุตร ได้ลาออกจากตำแหน่ง และได้แต่งตั้งให้ บุญคุ้ม จันทรศรีสุริยวงศ์ ดำรงตำแหน่งแทน", "title": "พรรคเสรีประชาธิปไตย (พ.ศ. 2498)" }, { "docid": "775109#1", "text": "พรรคอธิปัตย์ จดทะเบียนจัดตั้งเแ็นพรรคการเมืองลำดับที่ 27/2517 เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 โดยมีพลตำรวจโท ประชา บูรณธนิต เป็นหัวหน้าพรรค และมีนายบุญเกิด หิรัญคำ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ พรรคประชาธิปัตย์ เป็นเลขาธิการพรรค และมีแกนนำที่สำคัญ อาทิ สมพร จุรีมาศ ส.ส.ร้อยเอ็ด อ่ำ รองเงิน ส.ส.พัทลุง ศิระ ปัทมาคม ส.ส.จังหวัดพระนคร", "title": "พรรคอธิปัตย์" }, { "docid": "953880#3", "text": "ในปี พ.ศ. 2526 นายชุมพล มณีเนตร ได้จัดตั้งพรรคประชาธิปไตยขึ้นอีกครั้งหนึ่ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ และยุบพรรคไปในปี พ.ศ. 2529ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 พรรคประชาธิปไตย ได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรเพียง 2 ที่นั่ง คือ นายเจริญ หนูสง จากจังหวัดพัทลุง และนายสุนทร ยิ่งนคร จากจังหวัดสมุทรสงคราม", "title": "พรรคประชาธิปไตย (พ.ศ. 2517)" }, { "docid": "784239#0", "text": "พรรคประชาธิปไตย พรรคการเมืองของไทยในอดีตที่จดทะเบียนก่อตั้งตาม พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2534 เป็นลำดับที่ 29/2534 มีนาย ธนา ไชยประสิทธิ์ หรือ บิ๊กต้อม หัวหน้าคณะนักกีฬาไทยเป็นหัวหน้าพรรคและนาย สุพล เนยปฏิมานนท์ เป็นเลขาธิการพรรคโดยมีแกนนำพรรคที่สำคัญคือนาย ธาดา เศวตศิลา บุตรชายของ พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา อดีตหัวหน้า พรรคกิจสังคม และอดีต องคมนตรี และสามีของตั๊ก มยุรา เศวตศิลา ดารานักแสดงชื่อดัง", "title": "พรรคประชาธิปไตย (พ.ศ. 2534)" }, { "docid": "783130#0", "text": "พรรคเสรีประชาธิปไตย พรรคการเมืองของไทยในอดีตที่จดทะเบียนตาม พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2511 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2511 เป็นลำดับที่ 8/2511 โดยมีร้อยโท จารุบุตร เรืองสุวรรณ เป็นหัวหน้าพรรคและพันเอก สมคิด ศรีสังคม เป็นเลขาธิการพรรคโดยมีนาย จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ อดีตหัวหน้า พรรคเพื่อไทย และอดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย บุตรชายของร้อยโทจารุบุตรเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหารพรรค", "title": "พรรคเสรีประชาธิปไตย (พ.ศ. 2511)" }, { "docid": "650919#0", "text": "พรรคกิจประชาคม หรือชื่อเดิม พรรคประชาราษฎร์ พรรคการเมืองที่จดทะเบียนลำดับที่ 10/2525 จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2525 มีนาย ไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และมีนางศิระ ปัทมาคม เป็นเลขาธิการพรรค ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ได้มีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่โดยมีนางศิระ ปัทมาคม เป็นหัวหน้าพรรคในระยะสั้นๆ ก่อนที่นาย บุญชู โรจนเสถียร อดีตเลขาธิการ พรรคกิจสังคม จะเข้ามารับตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่", "title": "พรรคกิจประชาคม" }, { "docid": "953880#1", "text": "เมื่อพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517 ประกาศบังคับใช้เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2517 นายชุมพล มณีเนตร อดีต ส.ส.จังหวัดฉะเชิงเทรา พรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยนายนิสิต เวทย์ศิริยานันท์ อดีต ส.ส.จังหวัดศรีสะเกษ และสมาชิกอีกจำนวนหนึ่ง ร่วมกันจัดตั้ง \"พรรคประชาธิปไตย\" โดยมีนายชุมพล เนตรมณี เป็นหัวหน้าพรรค นายนิสิต เวทย์ศิริยานันท์ เป็นรองหัวหน้าพรรค", "title": "พรรคประชาธิปไตย (พ.ศ. 2517)" } ]
89
แอมโมนอยด์สูญพันธุ์ไปเมื่อใด ?
[ { "docid": "221238#3", "text": "แอมโมนอยด์วิวัฒนาการมาจากนอติลอยด์ในกลุ่มของแบคตริทิดา พบครั้งแรกในช่วงปลายของยุคไซลูเรียนถึงช่วงต้นยุคดีโวเนียน (ประมาณ 400 ล้านปีมาแล้ว) และได้สูญพันธุ์ไปเมื่อสิ้นสุดยุคครีเทเชียส (65 ล้านปีมาแล้ว) ไปพร้อมๆกับไดโนเสาร์ การจำแนกแอมโมนอยด์จะอาศัยลวดลายบนพื้นเปลือกกระดองและโครงสร้างผนังกั้นในเปลือกกระดองที่ทำให้เกิดเป็นห้องๆ โดยอาศัยลักษณะดังกล่าวและลักษณะอื่นๆเราสามารถจำแนกชั้นย่อยแอมโมนอยดีเป็น 3 อันดับและ 8 อันดับย่อย เส้นรอยเชื่อมบนพื้นเปลือกกระดองของแอมโมนอยด์ซึ่งเกิดจากการตัดกันของผนังกั้นห้องกับเปลือกกระดองด้านนอกจะมีลักษณะโค้งตะหวัดไปมาเกิดลักษณะเป็นสันและพู ขณะที่เส้นรอยเชื่อมบนเปลือกหอยนอติลอยด์จะตวัดโค้งเว้าเพียงเล็กน้อย", "title": "แอมโมนอยด์" }, { "docid": "222217#19", "text": "การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เมื่อสิ้นสุดยุคเพอร์เมียนส่งผลกระทบต่อนอติลอยด์น้อยกว่าสิ่งมีชีวิตอื่นๆ และมีเพียงไม่กี่กลุ่มเท่านั้นที่รอดพ้นเข้าไปในมหายุคมีโซโซอิกได้แก่ซูเดอร์โธเซอริด แบคทรีติด และนอติลิด และอาจรวมไปถึงออร์โธเซอริด รูปแบบเปลือกกระดองที่เป็นแท่งตรงยังคงรอดพ้นอยู่ได้ไปจนสิ้นสุดที่ยุคไทรแอสซิก แต่ออร์โธเซอริดอาจพบได้ในหินยุคครีเทเชียสด้วยเหมือนกัน มีเพียงอันดับย่อยของนอติลอยด์เพียงอันดับย่อยเดียวเท่านั้นคือนอติลินาที่รอดพ้นไปจนตลอดมหายุคมีโซโซอิกที่ได้มีชีวิตร่วมกับลูกหลานอย่างแอมโมนอยด์ที่มีลักษณะพิเศษมากกว่า ทั้งหมดของนอติลอยด์เหล่านี้มีลักษณะที่แตกต่างจากหอยงวงช้างในปัจจุบันเพียงเล็กน้อย มันได้ฟื้นคืนสภาพขึ้นมาเล็กน้อยในช่วงต้นๆของยุคเทอร์เชียรี (อาจจะเป็นเพื่อการเติมพื้นที่อาศัยที่ว่างลงโดยแอมโมนอยด์จากเหตุการณ์สูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส-เทอร์เชียรี) และได้รักษาการกระจายพันธุ์ไปทั่วโลกจนถึงช่วงกลางของมหายุคซีโนโซอิก ด้วยภูมิอากาศโลกที่เย็นลงในช่วงสมัยไมโอซีนและสมัยไพลโอซีนได้ทำให้การกระจายพันธุ์หดหายไปและก็ได้ลดความหลากหลายลงอีกครั้ง ในปัจจุบันพบนอติลอยด์เพียง 6 ชนิดเท่านั้นทั้งหมดอยู่ใน 2 สกุล คือ “สกุลนอติลุส” และ “สกุลอัลโลนอติลุส”", "title": "นอติลอยด์" } ]
[ { "docid": "221238#25", "text": "แอมโมนอยด์ตกอยู่ในเหตุการณ์สูญพันธุ์ครั้งหลักๆหลายครั้งซึ่งมักจะรอดพ้นเหตุการณ์ดังกล่าวมาได้ไม่กี่ชนิด อย่างไรก็ตามแต่ละเหตุการณ์ดังกล่าว ชนิดที่หลงเหลือก็จะแตกแขนงเผ่าพันธุ์ออกไปอีกมาก แอมโมไนต์ได้ลดจำนวนลงช่วงท้ายๆของมหายุคมีโซโซอิกและไม่ได้หลงเหลือเข้าไปในมหายุคซีโนโซอิกเลย กลุ่มสุดท้ายได้สาบสูญเผ่าพันธุ์ไปสิ้นไปพร้อมๆกับไดโนเสาร์เมื่อ 65 ล้านปีก่อน (เหตุการณ์สูญพันธุ์ระหว่างยุคครีเทเชียส/เทอร์เชียรี) นั่นคือไม่มีแอมโมไนต์สายพันธุ์ใดๆรอดพ้นจากเหตุการณ์เมื่อสิ้นสุดยุคครีเทเชียสเลย ขณะที่นอติลอยด์บางชนิดรอดพ้นมาได้อาจสืบเนื่องมาจากความแตกต่างในด้านพัฒนาการของมัน หากการสูญพันธุ์เหล่านั้นเป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระแทกของอุกกาบาตแล้ว แพลงตอนที่มีอยู่รอบโลกสามารถถูกลดจำนวนลงได้มาก นั่นเป็นผลให้เกิดความหายนะในการสืบทอดเผ่าพันธุ์ของแอมโมไนต์ในช่วงระยะแพลงตอนิก (planktonic stage) ของมัน", "title": "แอมโมนอยด์" }, { "docid": "221238#6", "text": "เพราะว่าแอมโมไนต์และเครือญาติที่ใกล้ชิดได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้วจึงทำให้รู้จักการดำรงชีวิตของมันได้น้อยมาก เป็นการยากที่จะพบชิ้นส่วนเนื้อเยื่อของมันจึงไม่อาจเข้าใจการดำรงชีวิตในรายละเอียดได้ กระนั้นกระตามได้มีการศึกษาทดสอบกันมากเกี่ยวกับเปลือกกระดองของแอมโมนอยด์ และโดยการใช้แบบจำลองของเปลือกกระดองในถังน้ำ \nแอมโมนอยด์จำนวนมากอาจอาศัยอยู่ในทะเลเปิดแทนที่จะอาศัยอยู่บริเวณท้องทะเล ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าไม่ค่อยพบแอมโมนอยด์ในชั้นหินที่มีซากดึกดำบรรพ์อื่นที่เป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนพื้นท้องทะเล แอมโมนอยด์จำนวนมาก อย่างเช่น ออกซิโนติเซอแรส ที่เชื่อได้ว่าว่ายน้ำได้เก่งด้วยมีรูปร่างเปลือกกระดองที่แคบบางคล้ายรูปจานที่เพรียวลู่ไปในน้ำได้ดี แม้ว่าแอมโมนอยด์บางกลุ่มจะว่ายน้ำได้ไม่ดีและดูเหมือนว่าจะอาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเลและว่ายน้ำได้ช้ามาก แอมโมไนต์และเหล่าญาติๆที่ใกล้ชิดทั้งหลายอาจกินอาหารจำพวกปลา ครัสตาเชียน และสิ่งมีชีวิตเล็กๆอื่นๆ ขณะที่ตัวมันเองก็ตกเป็นเหยื่อของสัตว์อื่นๆเช่นกัน อย่างเช่น สัตว์เลื้อยคลานทะเลจำพวกโมซาซอร์ มีการพบซากดึกดำบรรพ์ของแอมโมนอยด์ที่มีร่องรอยเขี้ยวฟันของสัตว์อื่นที่เข้าโจมตี", "title": "แอมโมนอยด์" }, { "docid": "221238#0", "text": "แอมโมนอยด์ เป็นกลุ่มของสัตว์ทะเลที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ในทางชีววิทยาได้จัดให้อยู่ในชั้นย่อย แอมโมนอยดี ของชั้นเซฟาโลพอด ในไฟลั่มหอยหรือมอลลัสกา แอมโมไนต์เป็นซากดึกดำบรรพ์ดัชนีที่ดีสามารถใช้กำหนดอายุของชั้นหินในทางธรณีวิทยาได้", "title": "แอมโมนอยด์" }, { "docid": "221238#27", "text": "หอยงวงช้าง (นอติลอยด์ - ปัจจุบันยังพบมีชีวิตอยู่ 6 ชนิด) และแอมโมไนต์ (แอมโมนอยด์) ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้วเมื่อ 65 ล้านปีก่อน จัดเป็นหอยอยู่ในกลุ่มของเซฟาโรพอดด้วยกันซึ่งรวมถึงหมึกและหมึกยักษ์ด้วย หอยงวงช้างและแอมโมไนต์มีเปลือกกระดองขดม้วนในแนวระนาบแบบเดียวกันซึ่งโดยทั่วไปมีความคล้ายคลึงกันมาก หอยงวงช้างวิวัฒน์ขึ้นมาครั้งแรกในช่วงปลายของยุคแคมเบรียน (ประมาณ 500 ล้านปีมาแล้ว) ขณะที่แอมโมไนต์ได้เริ่มวิวัฒน์ขึ้นมาในยุคดีโวเนียน (ประมาณ 400 ล้านปีมาแล้ว) หอยทั้งสองชนิดนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกันมากแต่สามารถแยกแยะความแตกต่างกันได้ที่ตำแหน่งของท่อสูบฉีดน้ำ (siphuncle) ทั้งนี้โพรงด้านในของเปลือกกระดองของหอยทั้งสองชนิดนี้ จะถูกแบ่งออกเป็นห้องย่อยๆด้วยแผ่นผนังกั้นห้อง (septa) โดยหอยงวงช้างจะมีท่อสูบฉีดน้ำเชื่อมต่อระหว่างแผ่นผนังห้องดังกล่าวที่บริเวณตรงกลางของแผ่นผนังกั้น ขณะที่ท่อสูบฉีดน้ำในแอมโมไนต์จะอยู่ชิดไปทางขอบด้านนอกของเปลือกหอย", "title": "แอมโมนอยด์" }, { "docid": "221238#21", "text": "เนื่องด้วยแอมโมไนต์ดำรงชีวิตด้วยการว่ายน้ำหรือลอยตัวได้อย่างอิสระ จึงมักพบอาศัยลอยตัวอยู่เหนือพื้นท้องทะเลเพื่อป้องกันตัวเองที่จะเข้าไปอาศัยอยู่บนพื้นท้องทะเลอันเป็นที่ที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำ เมื่อแอมโมไนต์ล้มตายก็จะจมลงสู่พื้นท้องทะเลและจะถูกฝังกลบด้วยตะกอนอย่างค่อยเป็นค่อยไป แบคทีเรียที่เข้าทำการย่อยสลายซากของมันเหล่านี้ปรกติแล้วจะย่อยสลายในส่วนที่บอบบางอย่างเนื้อเยื่ออย่างสมดุลในสภาพแวดล้อมแบบรีด๊อก (ที่มีออกซิเจนน้อย) ที่เพียงพอที่จะลดความสามารถในการละลายของแร่ในน้ำทะเลอย่างฟอสเฟตและคาร์บอเนต ทำให้เกิดการตกสะสมตัวของแร่พอกเป็นชั้นๆโดยรอบซากดึกดำบรรพ์เรียกว่า มวลสารพอก ส่งผลให้แอมโมไนต์จำนวนมากได้รับการเก็บรักษาเป็นซากดึกดำบรรพ์ได้อย่างดีเยี่ยม", "title": "แอมโมนอยด์" }, { "docid": "221238#7", "text": "ส่วนของเนื้อเยื่อที่อ่อนนุ่มของแอมโมนอยด์จะอยู่ที่ห้องขนาดใหญ่ที่สุดที่ปลายสุดของขดเปลือกกระดอง ส่วนห้องที่เหลืออีกหลายห้องด้วยมีผนังกั้นจะค่อยๆมีขนาดเล็กลงไป ห้องเหล่านี้เป็นห้องสำหรับควบคุมปริมาณน้ำเพื่อควบคุมการลอยตัวอยู่ในน้ำทะเล ดังนั้นห้องที่เล็กว่าเหล่านั้นย่อมจะลอยพลิกขึ้นด้านบนเหนือห้องใหญ่ที่เป็นที่อยู่ของเนื้อเยื่อมีชีวิต", "title": "แอมโมนอยด์" }, { "docid": "11611#6", "text": "เมื่อไดโนเสาร์เริ่มสูญพันธุ์จากเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ในขณะที่เริ่มมหายุคซีโนโซอิกนั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเริ่มเพิ่มจำนวนประชากร แพร่กระจายเผ่าพันธุ์อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นการเริ่มยุคสมัยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เมื่อประมาณ 70 ล้านปีมาแล้ว โดยอาจเป็นผลกระทบมาจากสถานะของสัตว์เลื้อยคลานในระบบนิเวศ \" (ecological niche) \" ที่เกิดช่องว่างลงเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเข้ามาแทนที่ และอาจมีเหตุผลอื่น ๆ เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย เช่น ความว่องไวและปราดเปรียวของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม การที่สามารถปรับและรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ แม้จะอยู่ในสภาวะอากาศแบบใดก็ตาม การมีขนปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย การมีสายรกที่เป็นสายใยเชื่อมต่อระหว่างแม่และตัวอ่อน ตลอดไปจนถึงการเลี้ยงดูลูกเมื่อถือกำเนิดออกมา", "title": "สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม" }, { "docid": "221238#9", "text": "ลักษณะหนึ่งที่พบในเปลือกกระดองของหอยงวงช้างปัจจุบันคือความแปรผันในรูปร่างและขนาดอันเนื่องมาจากเพศที่ต่างกันของสัตว์ โดยเปลือกกระดองของเพศผู้ค่อนข้างเล็กและกว้างกว่าของเพศเมีย ภาวะทวิสัณฐานทางเพศนี้ถูกนำมาอธิบายในเรื่องความแปรผันของขนาดของเปลือกกระดองแอมโมไนต์สายพันธุ์เดียวกันด้วย กล่าวคือเปลือกกระดองใหญ่กว่า (เรียกว่า ‘’’มาโครคองช์’’’) เป็นเพศเมีย และเปลือกกระดองที่เล็กกว่า (เรียกว่า ‘’’ไมโครคองช์’’’) เป็นเพศผู้ โดยเข้าใจได้ว่าเนื่องมาจากเพศเมียต้องการขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่าเพื่อการผลิตไข่ ตัวอย่างที่ดีอันหนึ่งในเรื่องความแปรผันอันเนื่องจากเพศนี้พบได้ใน “ไบเฟอริเซอแรส” จากช่วงต้นๆของยุคจูแรสซิกในยุโรป", "title": "แอมโมนอยด์" } ]
96
พระราชวังบวรสถานมงคล ถูกสร้างขึ้นเมื่อไหร่?
[ { "docid": "8726#0", "text": "พระราชวังบวรสถานมงคล หรือ พระบวรราชวัง ตั้งอยู่ที่เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นพระราชวังที่ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทซึ่งทรงดำรงพระอิสริยยศกรมพระราชวังบวรสถานมงคลพระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์โปรดให้สร้างขึ้น โดยเริ่มสร้างพร้อม ๆ กับพระบรมมหาราชวังใน พ.ศ. 2325 การก่อสร้างพระราชวังแห่งนี้ใช้พื้นที่ตั้งแต่ทิศเหนือของวัดสลัก (ปัจจุบันคือวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร) ขึ้นไปจรดคลองคูเมืองเดิม และได้ทำผาติกรรมที่ดินส่วนหนึ่งทางด้านเหนือของวัดสลัก เข้ามาเป็นเขตพระราชวังบวรสถานมงคลด้วย อาณาเขตของพระราชวังบวรสถานมงคลเดิมกว้างขวางมาก แต่ปัจจุบันได้ดัดแปลงส่วนหนึ่งเป็นสนามหลวง และถนน และเป็นที่ตั้งของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โรงละครแห่งชาติ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์", "title": "พระราชวังบวรสถานมงคล" } ]
[ { "docid": "8726#25", "text": "พระราชมณเฑียร หรือ หมู่พระวิมาน เป็นหมู่พระที่นั่งภายในพระราชวังบวรสถานมงคล สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคลพระองค์แรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สร้างเป็นหมู่พระที่นั่งประกอบกัน และมีการซ่อมแซมและปรับปรุงครั้งใหญ่ในสมัยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ปัจจุบัน เป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ใช้เป็นสถานที่ที่จัดแสดงนิทรรศการ วัตถุสิ่งของต่าง ๆ", "title": "พระราชวังบวรสถานมงคล" }, { "docid": "8726#2", "text": "พระราชวังบวรสถานมงคลนั้นเป็นศูนย์กลางทางการปกครองของผู้ดำรงพระอิสริยยศกรมพระราชวังบวรสถานมงคลจึงมีความสำคัญมาก พระราชวังแห่งนี้ใช้เวลาสร้าง 3 ปีแล้วเสร็จและมีการฉลองพระราชวังพร้อมกับการสมโภชพระนครและฉลองพระบรมมหาราชวังเมื่อ พ.ศ. 2328 พระราชวังบวรสถานมงคลเมื่อแรกสร้างนั้นเป็นเครื่องไม้ทั้งสิ้น ในการสร้างพระบรมมหาราชวังในระยะแรกนั้นได้ถ่ายแบบมาจากพระราชวังในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่พระราชวังบวรสถานมงคลนั้นไม่มีหลักฐานว่าถ่ายแบบมาจากพระราชวังจันทรเกษมซึ่งเป็นที่ประทับของพระมหาอุปราชในสมัยกรุงศรีอยุธยา อย่างไรก็ตาม ในการสร้าง พระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน ซึ่งเป็นท้องพระโรงนั้น ตั้งอยู่บริเวณด้านตะวันออกของสระน้ำ ได้ถ่ายแบบมาจากพระที่นั่งทรงปืนในพระราชวังหลวงสมัยกรุงศรีอยุธยา ดังนั้น จึงมีบางคนเรียกพระที่นั่งองค์นี้ว่า พระที่นั่งทรงปืน หรือ บ้างก็เรียกพระที่นั่งทรงธรรม เนื่องจากใช้เป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลด้วย", "title": "พระราชวังบวรสถานมงคล" }, { "docid": "8726#26", "text": "พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ เป็นพระที่นั่งภายในพระราชวังบวรสถานมงคล สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เดิมมีนามว่า \"พระที่นั่งสุทธาสวรรย์\" เดิมสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทมีพระราชดำริให้สร้างขึ้นเพื่อทำการพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น พระราชพิธีตรุษสารท พระราชพิธีโสกันต์พระเจ้าลูกเธอ เป็นต้น หลังจากนั้น เมื่อปี พ.ศ. 2330 พระองค์เสด็จไปยังเชียงใหม่ และไดัอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ลงมา พระองค์จึงทรงพระราชอุทิศพระที่นั่งองค์นี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ ต่อมา สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ทรงเปลี่ยนนามพระที่นั่งองค์นี้ว่า \"พระที่นั่งพุทไธสวรรย์\" ปัจจุบัน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์เป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร", "title": "พระราชวังบวรสถานมงคล" }, { "docid": "118866#1", "text": "สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาททรงสร้างขึ้นเป็นที่ประทับ ในช่วงแรกนั้นพระราชมณเฑียรนั้นมีลักษณะและตั้งอยู่ที่ไหนนั้น ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด เพียงแต่มีการสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นตำหนักเจ้าพิกุลทอง ในปี พ.ศ. 2332 จึงได้สร้างเป็นพระวิมาน 3 หลังเรียงต่อกัน ซึ่งสันนิษฐานว่าทำตามคติที่เคยมีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาที่ว่า การสร้างที่ประทับของพระราชาธิบดีนั้น ควรมีพระมณเฑียร 3 หลัง ใช้เป็นที่เสด็จประทับในฤดูร้อน ฤดูฝน และ ฤดูหนาว ฤดูกาลละ 1 หลัง แต่ระยะหลังได้ลดส่วนลงมาเป็นการสร้างเป็นเพียงหมู่พระวิมานเดียวที่ประกอบด้วยพระวิมาน 3 หลังต่อกัน", "title": "หมู่พระวิมาน (พระราชวังบวรสถานมงคล)" }, { "docid": "118866#0", "text": "หมู่พระวิมาน เป็นหมู่พระที่นั่งภายในพระราชวังบวรสถานมงคล สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระองค์แรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นสมเด็จพระราชอนุชาร่วมพระชนกพระชนนีกับ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หมู่พระวิมานเป็นหมู่พระที่นั่งหลายองค์ประกอบกัน และมีการซ่อมแซมและปรับปรุงครั้งใหญ่ในสมัยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ปัจจุบัน เป็นอาคารหลักของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ใช้เป็นสถานที่ที่จัดแสดงนิทรรศการ วัตถุสิ่งของต่าง ๆ \nปัจจุบัน หมู่พระวิมาน ได้รับการบูรณะใหม่ทั้งหมด คงเหลือไว้แต่เพียงพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย ซึ่งเป็นสถานที่จัดนิทรรศการ", "title": "หมู่พระวิมาน (พระราชวังบวรสถานมงคล)" }, { "docid": "8726#27", "text": "พระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน เป็นพระที่นั่งที่สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทเพื่อใช้เป็นท้องพระโรงเสด็จออกขุนนาง และทรงบำเพ็ญพระราชกุศล การสร้างพระที่นั่งองค์นี้ถ่ายแบบพระที่นั่งมาจากพระที่นั่งทรงปืนที่พระราชวังหลวง สมัยกรุงศรีอยุธยา ดังนั้น จึงมีบางคนเรียกพระที่นั่งองค์นี้ว่า \"พระที่นั่งทรงปืน\" อย่างไรก็ตาม เมื่อพระราชมณเฑียรสร้างแล้วเสร็จ พระที่นั่งองค์นี้ก็ใช้เป็นเพียงสถานที่เสด็จทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ดังนั้น บางครั้งจึงเรียกพระที่นั่งองค์นี้ว่า \"พระที่นั่งทรงธรรม\" พระที่นั่งแห่งนี้ยังใช้เป็นสถานที่ตั้งพระบรมศพของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทด้วย ปัจจุบัน พระที่นั่งองค์นี้เป็นสถานที่จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทย", "title": "พระราชวังบวรสถานมงคล" }, { "docid": "182633#2", "text": "ต่อมา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยุ่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพ ขึ้นเป็น สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ดังนั้น พระองค์จึงเสด็จมาประทับอยู่ที่พระราชวังบวรสถานมงคล โดยมีการได้ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงพระราชวังบวรสถานมงคลมากมาย เนื่องจากพระราชวังบวรสถานมงคลอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม โดยพระองค์โปรดให้ใช้บริเวณสวนเลี้ยงกระต่ายในสมัยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์เป็นบริเวณสำหรับสร้างวัดภายในพระราชวังบวรสถานมงคลเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เรียกว่า วัดพระแก้ววังหน้า แต่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ พระองค์เสด็จทิวงคตลงเสียก่อน การก่อสร้างวัดพระแก้ววังหน้ามาแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้รับพระราชทานนามว่า \"วัดบวรสถานสุทธาวาส\"", "title": "วัดบวรสถานสุทธาวาส" }, { "docid": "8726#11", "text": "ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้สถาปนาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพ ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (ภายหลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ออกพระนามว่า\"สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ\") หลังจากนั้น พระองค์ทรงประทับอยู่ที่พระราชวังบวรสถานมงคลตลอดพระชนม์ชีพ โดยพระองค์ได้ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงพระราชวังบวรสถานมงคลมากมาย", "title": "พระราชวังบวรสถานมงคล" }, { "docid": "118866#5", "text": "พระที่นั่งวสันตพิมาน เป็นพระที่นั่ง 2 ชั้น 1 ใน 3 หลังของหมู่พระวิมาน สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่พระบรรทมของกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในทำนองว่าใช้ประทับในฤดูฝน โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทเคยเสด็จมาประทับ ณ พระที่นั่งองค์นี้ หลังจากการปรับปรุงในสมัยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ พระองค์ก็มิได้เสด็จเข้ามาประทับที่พระที่นั่งองค์นี้ ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จมาประทับในพระที่นั่งองค์นี้ชั่วระยะหนึ่ง โดยมีการตั้งพระแท่นแขวนเศวตฉัตร ดังเช่นห้องพระบรรทมที่พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง หลังจากนั้น พระองค์จึงเสด็จย้ายไปประทับ ณ พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ ที่พระองค์ทรงสร้างขึ้น", "title": "หมู่พระวิมาน (พระราชวังบวรสถานมงคล)" }, { "docid": "8726#24", "text": "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ดัดแปลงสนามวังหน้าเป็นส่วนหนึ่งของสนามหลวง และรื้อป้อมปราการต่าง ๆ ลง และโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพิพิธภัณฑสถานไปไว้ที่ พระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย ใน พ.ศ. 2430 และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชมณเฑียรในพระราชวังบวรสถานมงคลจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนครใน พ.ศ. 2469 ปัจจุบัน พื้นที่ส่วนใหญ่ของพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โรงละครแห่งชาติและท้องสนามหลวงตอนเหนือฟากตะวันตก", "title": "พระราชวังบวรสถานมงคล" }, { "docid": "8726#9", "text": "ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์ ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (ภายหลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ออกพระนามว่า \"สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์\") พระองค์ทรงสมรสกับพระธิดาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท และได้เสด็จเข้าประทับที่พระราชวังบวรสถานมงคล ในสมัยของพระองค์นั้น ไม่ได้มีการสร้างสิ่งใดเพิ่มเติมภายในพระราชวังบวรสถานมงคล แต่มีการปรับปรุงสิ่งก่อสร้างที่ชำรุดทรุดโทรมลง พระองค์ทรงให้รื้อพระพิมานดุสิตาลง โดยนำไม้ที่ได้จากการรื้อไปใช้ในการสร้างวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร รื้อกุฎิวัดหลวงชีซึ่งชำรุด ทำเป็นสวนเลี้ยงกระต่าย นอกจากนี้ ภายในพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ พระองค์ทรงย้ายปราสาทปรางค์ 5 ยอด ซึ่งเดิมสร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ แต่ภายหลังการเสด็จทิวงคตของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ไปประดิษฐานภายในพระบรมมหาราชวังแล้ว พระองค์จึงทรงให้ตั้งพระที่นั่งเศวตฉัตรแทน เพื่อเป็นที่เสด็จออกแขกเมืองและพระสงฆ์ถวายพระธรรมเทศนา", "title": "พระราชวังบวรสถานมงคล" } ]
107
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีออกจากฐานันดรศักดิ์เมื่อวันที่เท่าไหร่?
[ { "docid": "19590#4", "text": "เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ เพื่อทรงอภิเษกสมรสกับปีเตอร์ แลด เจนเซน ชาวอเมริกัน ในพระบรมหาราชวังตามราชประเพณี และเสด็จประทับอยู่สหรัฐอเมริกา ทั้งทรงเปลี่ยนพระนามเป็น จูลี เจนเซน () ทั้งสองมีโอรส-ธิดา 3 คน ทั้งหมดเกิดในสหรัฐอเมริกา ได้แก่", "title": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี" } ]
[ { "docid": "19590#0", "text": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี (พระนามเดิม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี; ประสูติ: 5 เมษายน 2494) เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และเป็นพระเชษฐภคินีพระองค์เดียวในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร", "title": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี" }, { "docid": "19590#2", "text": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2494 เวลา 23.28 น. ณ โรงพยาบาลมองชัวซีส์ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์และได้เสด็จนิวัตพระนคร แล้วประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต และเมื่อถึงงานพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่แล้ว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระอิสริยยศเมื่อประสูติ คือ \"สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี\" โดยพระนามของพระองค์มาจากพระนามและนามของพระประยูรญาติหลายพระองค์ อันได้แก่ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงตรัสเรียกว่า \"เป้\" อันเป็นคำลดรูปของคำว่า \"ลาปูเป\" () ซึ่งเป็นคำมาจากภาษาฝรั่งเศส แปลว่า ตุ๊กตา ส่วนพระราชวงศ์และบุคคลอื่น ๆ จะเรียกพระองค์ว่า \"ทูลกระหม่อมฟ้าหญิงใหญ่\" ส่วนพระอนุชาและพระขนิษฐาจะเรียกพระองค์ว่า \"พี่หญิง\"", "title": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี" }, { "docid": "19590#6", "text": "เมื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประทับอยู่ประเทศสหรัฐอเมริกานั้น บางปีสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ได้เสด็จมาเยี่ยมบ้าง และพระองค์เสด็จนิวัตประเทศไทยเพื่อทรงเยี่ยมพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทั้งได้ทรงร่วมงานพระราชพิธีต่าง ๆ พร้อมด้วยพระโอรสและพระธิดาดังนี้เมื่อทรงหย่ากับปีเตอร์ แลด เจนเซน เมื่อ พ.ศ. 2541 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จนิวัตประเทศไทยและประทับอยู่เป็นการถาวรเมื่อ พ.ศ. 2544", "title": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี" }, { "docid": "317870#1", "text": "ในปี 2495 ขณะที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ทรงพระครรภ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เป็นพระอภิบาลทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ครั้นยังทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ จากนั้น ได้เป็นคุณพยาบาลผู้ใหญ่ประจำพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี", "title": "วิไล อมาตยกุล" }, { "docid": "19590#1", "text": "หลังจากทรงสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ณ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว ทรงประกาศลาออกจากฐานันดรศักดิ์เป็นสามัญชน เพื่อเข้าพระพิธีเสกสมรสกับปีเตอร์ แลดด์ เจนเซนในพระบรมหาราชวังตามพระราชประเพณี แล้วเสด็จไปประทับด้วยพระสวามี ณ สหรัฐอเมริกาเมื่อ พ.ศ. 2515 ก่อนจะเสด็จนิวัติประเทศไทยเป็นการถาวรเมื่อ พ.ศ. 2544 โดยหลังเสด็จนิวัติประเทศไทยเป็นการถาวร พระองค์ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจในด้านการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ทรงช่วยเหลือราษฎรและให้โอกาส ผู้พิการ เยาวชน ตลอดจนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ทั้งยังทรงแสดงภาพยนตร์ตามบทพระนิพนธ์หลายเรื่อง และทรงเป็นผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์", "title": "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี" }, { "docid": "18064#48", "text": "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีการบำเพ็ญพระราชกุศลพระชนมายุ 5 รอบ 60 พรรษา ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 โดยเสด็จกลับจากพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศมาเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีการบำเพ็ญพระราชกุศลพระชนมายุ 5 รอบและพระราชทานน้ำพระมหาสังข์ โดยในช่วงเช้าสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ เสด็จพระดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระกุศลถวายพระศพพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี พระชนนี ณ พระที่นั่งทรงธรรม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "198123#2", "text": "เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2509 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี (ฐานันดรศักดิ์ในขณะนั้น) ไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อน พระราชทานชื่อเขื่อนนี้ว่า \"เขื่อนอุบลรัตน์\"", "title": "เขื่อนอุบลรัตน์" }, { "docid": "168370#9", "text": "หลังจากนั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยรวรางกูร ขณะทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ พร้อมด้วย คุณสิริกิติยา เจนเซน เสด็จพระราชดำเนินถึงโรงพยาบาลศิริราชตามลำดับ", "title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์" }, { "docid": "64316#3", "text": "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนพดารา ศิรินิภาพรรณวดี ทรงมีประชวรด้วยพระโรคพระปับผาสะมานาน และต่อมาทรงพระประชวรด้วยพระโรควักกะ พระอาการทรุดลงและสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ ณ วังสวนสุนันทา สิริรวมพระชนมายุได้ ๓๙ พรรษา ในการนั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินในการพระราชทานน้ำสรงพระศพ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนพดารา ณ วังสวนสุนันทา เจ้าพนักงานภูษามาลาเชิญพระศพลงสู่พระโกศลองในประกอบด้วยพระโกศกุดั่นใหญ่ และอัญเชิญพระศพจากวังสวนสุนันทา มาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งอภิเศกดุสิต ภายในพระราชวังดุสิต ในการนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายในมีพระนามว่า \"สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้ามาลินีนพดารา ศิรินิภาพรรณวดี กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา\"", "title": "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา ศิรินิภาพรรณวดี กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา" } ]
111
ซิงเกิลแรกของ หลุยส์ แกเบรียล บ็อบ มีชื่อว่าอะไร?
[ { "docid": "125837#0", "text": "หลุยส์ แกเบรียล บ็อบ () (เกิดเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2513) หรือที่รู้จักกันในวงการเพลงคือ แกเบรียล () เป็นศิลปินนักร้องและนักแต่งเพลงหญิงชาวอังกฤษ เกิดที่เมืองแฮกนี่ย์ ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นบุคคลที่มีปัญหาเกี่ยวกับหนังตาตกด้านขวา เธอเปิดตัวด้วยซิงเกิลแรกที่มีชื่อว่า \"ดรีมส์\" ซึ่งสามารถขึ้นสู่อันดับ 1 บนชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักร () เมื่อปี พ.ศ. 2536 และมีผลงานซิงเกิลอื่นๆเช่น \"โกอิงโนแวร์\", \"กิฟมีอะลิตเติลมอร์ไทม์\", \"วอล์กออนบาย\" และ \"อิฟยูเอเวอร์\" ซึ่งร้องร่วมกับนักร้องกลุ่มบอยแบนด์ อีสต์ เซเวนทีน", "title": "แกเบรียล" }, { "docid": "125837#2", "text": "ในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2536 แกเบรียลได้ปล่อยซิงเกิลแรกในชีวิตของเธอที่ชื่อว่า \"ดรีมส์\" เพลงนี้แต่งโดยแกเบรียลร่วมกับทิม ลอส์ และโปรดิวซ์โดยริชชี เฟอร์มี ซึ่งเพลงนี้สามารถขึ้นสู่อันดับ 1 บน ชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักร เป็นเวลา 3 สัปดาห์ ในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2536 โดยเพลงนี้ได้เข้าไปขึ้นอยู่บนชาร์ตของเกาะอังกฤษเป็นครั้งแรกด้วยอันดับที่ 2 ซึ่งเป็นชาร์ตที่สูงที่สุดเท่าที่เคยมีมาเมื่อเทียบกับนักร้องหน้าใหม่คนอื่นๆของอังกฤษในขณะนั้น เพลงนี้ได้เข้าสู่อันดับที่ 26 ในชาร์ต บิลบอร์ดฮอต 100 () ของสหรัฐอเมริกา และเข้าสู่อันดับที่ 1 ในชาร์ต ฮอตแดนซ์คลับเพลย์ () และในประเทศออสเตรเลีย เพลงนี้ได้เข้าสู่อันดับที่ 2 ใน ARIA Chart ตามมาด้วยซิงเกิลที่ 2 \"โกอิงโนแวร์\" จากอัลบั้มเดียวกัน ซึ่งแต่งโดยแกเบรียลและจอส แมคฟาร์เลน โปรดิวซ์โดย พีช แครกกี้ เพลงนี้เข้าสู่อันดับที่ 9 ใน ชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักร และอยู่อันดับที่ 18 ในชาร์ตเพลงของประเทศไอร์แลนด์ เป็นเพลงที่สองที่โด่งดังไม่แพ้กันจากอัลบั้ม \"ไฟด์ยัวร์เวย์\"", "title": "แกเบรียล" }, { "docid": "555430#1", "text": "เธอเปิดตัวด้วยซิงเกิลแรกที่มีชื่อว่า \"Dreams\" ซึ่งสามารถขึ้นสู่อันดับ 1 ของ ชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักร () เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2536 ส่วนซิงเกิลที่โดดเด่นอื่นๆ เช่นเพลง \"Going Nowhere\", \"Give Me a Little More Time\", \"Walk on By\" และ \"If You Ever\" ซึ่งเพลงนี้ได้ร้องร่วมกับนักร้องกลุ่มบอยแบนด์ อีสต์ เซเวนทีน () หลังจากห่างหายไปจากวงการเพลงไม่กี่ปี แกเบรียลก็กลับมาอย่างงดงามด้วยซิงเกิล \"Rise\" ซึ่งเป็นซิงเกิลที่ 2 ของเธอที่ขึ้นสู่อันดับ 1 บนชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักร ได้อีกครั้งในปี พ.ศ. 2543 และอัลบั้มที่ใช้ชื่อเดียวกันนี้ ก็สามารถขึ้นสู่อันดับสูงสุดใน ชาร์ตอัลบั้มแห่งสหราชอาณาจักร () เป็นเวลา 3 สัปดาห์", "title": "รายชื่อผลงานเพลงของแกเบรียล" } ]
[ { "docid": "125837#6", "text": "แกเบรียล ออกผลงานอัลบั้มรวมเพลงเป็นครั้งแรก และวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 โดยใช้ชื่อว่า \"ดรีมส์แคนคัมทรู, เกรเทสฮิตส์ ชุดที่ 1\" อัลบั้มนี้ประสบความสำเร็จในสหราชอาณาจักรเป็นอย่างมาก มียอดขายในระดับ ทองคำขาว ถึง 4 ครั้ง และกลายเป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของปี พ.ศ. 2544 และเป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดอันดับที่ 76 ในรอบทศวรรษของสหราชอาณาจักร ซิงเกิลแรกจากอัลบั้มนี้คือ \"เอาต์ออฟรีช\" ซึ่งใช้เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง \"บันทึกรักพลิกล็อก\" () ด้วย เพลงนี้เข้าสู่อันดับที่ 4 ในชาร์ตของอังกฤษ และอันดับที่ 9 ในชาร์ตของประเทศออสเตรเลีย กลายเป็นซิงเกิลที่ 2 ที่โด่งดังที่สุดในประเทศนี้ และเป็นซิงเกิลที่ขายดีที่สุดเป็นอันดับที่ 37 ของปี พ.ศ. 2544 และยังคงอยู่ในชาร์ตเป็นเวลามากว่า 20 สัปดาห์ ส่วนในประเทศนิวซีแลนด์ เพลงนี้ถูกจัดให้เป็นซิงเกิลที่ประสบความสำเร็จที่สุดในช่วงปี พ.ศ. 2544 ในอันดับที่ 10 ด้วย เพลงนี้ขายได้ 320,000 ก็อปปี้ ในสหราชอาณาจักร และตามมาด้วยซิงเกิลสุดท้ายจากอัลบั้มรวมฮิตนี้คือเพลง \"ดอนต์นีตเดอะซันทูไชน์ (ทูเมกมีสไมล์)\" เพลงนี้เข้ามาสู่อันดับที่ 9 ในชาร์ตของเกาะอังกฤษ และเป็นเพลงที่ 10 ที่ติดท็อป 10", "title": "แกเบรียล" }, { "docid": "125837#5", "text": "แกเบรียล เริ่มบันทึกเสียงเพื่อลงอัลบั้มที่ 3 ของเธอ ที่ใช้ชื่อว่า \"ไรซ์\" ในช่วง ปี พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2542 อัลบั้ม \"ไรซ์\" วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ภายในสหราชอาณาจักร และวางจำหน่ายในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2543 และกลายเป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดของเธอ เป็นอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก สามารถทะยานขึ้นสู่อันดับที่ 1 ใน ชาร์ตอัลบั้มแห่งสหราชอาณาจักร ได้ถึง 3 สัปดาห์ และได้รับสถิติ 4x ทองคำขาว เปิดตัวด้วย \"ซันไชน์\" ซิงเกิลแรกจากอัลบั้มนี้ เข้ามาสู่อันดับที่ 9 เป็นเพลงที่ 6 ที่ติดท็อป 10 ตามมาด้วยซิงเกิล \"ไรซ์\" เป็นซิงเกิลที่ 2 ของอัลบั้มนี้ เพลงนี้ขึ้นสู่อันดับที่ 1 ได้อย่างงดงาม ซึ่งเป็นเพลงที่ 2 ที่ขึ้นอันดับ 1 ต่อจากเพลง \"ดรีมส์\" เพลง \"ไรซ์\" แต่งโดย แกเบรียล, ออลลี่ ดากอส, เฟอร์ดี้ อังเกอร์-ฮามิลตัน และ บ็อบ ดีแลน และโปรดิวซ์โดย จอนนี ดอลล่า เพลงนี้อิงทำนองมาจากเพลง \"นอกกิงออนเฮเวนส์ดอร์\" () ของ บ็อบ ดีแลน () เพลงนี้อยู่ในอันดับ 1 ใน ชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักร เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2543 จำหน่ายได้ถึง 460,000 ก็อปปี้ด้วยกัน ถือเป็นเพลงที่ขายดีอันดับที่ 14 ในช่วงปี พ.ศ. 2543 ส่วนตัวอัลบั้มที่ใช้ชื่อเดียวกันนั้น ก็ติดท็อปอันดับ 1 อยู่ในชาร์ตอัลบั้มแห่งสหราชอาณาจักรเป็นเวลา 3 สัปดาห์ และอยู่ในชาร์ตนั้นรวมทั้งหมด 87 สัปดาห์ และซิงเกิลต่อมา \"เว็นอะวูแมน\" เป็นซิงเกิลที่ 3 จากอัลบั้ม \"ไรซ์\" ปล่อยในช่วงเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2543 เพลงนี้ติดอันดับที่ 6 ใน ชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักร กลายเป็นเพลงที่ 8 ที่ติดท็อป 10 ต่อด้วยซิงเกิลสุดท้ายจากอัลบั้มนี้ \"ชูดด์ไอสเตย์\" เพลงนี้ติดอันดับที่ 13 ใน ชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักร เป็นเพลงที่ 4 ที่ติดท็อป 15 โดยตัวมิวสิควิดีโอเพลงนี้ให้อารมณ์ที่เศร้าเหมือนตัวเพลงได้อย่างดี และบางส่วนของเพลงได้ถูกตัดไปเป็นเพลงประกอบของช่องข่าว บีบีซีนิวส์ ด้วย และในปี พ.ศ. 2547 เพลงนี้ถูกใช้เป็นเพลงประกอบละครเพลงของช่อง บีบีซี เรื่อง \"แบล็คพูล\" ()", "title": "แกเบรียล" }, { "docid": "95836#0", "text": "นัมเบอร์วันส์ () เป็นอัลบั้มที่ 8 ของศิลปินหญิงชาวอเมริกัน มารายห์ แครี ออกวางขายในยุโรปเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1998 โดยโคลัมเบีย เรคคอร์ดส เป็นอัลบั้มรวมเพลงอัลบั้มแรกของเธอที่มีเพลงอันดับ 1 ในบิลบอร์ดทั้งหมดของเธอ 13 เพลง ทางด้านอันดับอัลบั้มเปิดตัวใน 5 อันดับแรกบนชาร์ท \nในอัลบั้มมีเพลงใหม่อย่าง \"Sweetheart\" ที่เธอร่วมงานกับ [เจอร์เมน ดูปริ]] และเพลง \"When You Believe\" ที่ร้องกับวิทนีย์ ฮูสตันในเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง เดอะ พรินซ์ ออฟ อียิปต์ (The Prince Of Egypt) และเพลง \"I Still Believe\" เพลงที่เธอนำมาทำใหม่ของเบรนด้า เค. สตารร์", "title": "นัมเบอร์วันส์ (อัลบั้มมารายห์ แครี)" }, { "docid": "965221#0", "text": "ดรีมส์แคนคัมทรู, เกรเทสฮิตส์ ชุดที่ 1 () คืออัลบั้มรวมเพลงชุดแรกของ แกเบรียล นักร้องและนักแต่งเพลงหญิงชาวอังกฤษ วางจำหน่ายช่วงปี พ.ศ. 2544 เป็นอัลบั้มที่รวมผลงานเพลงซิงเกิลฮิตของแกเบรียลตั้งแต่อัลบั้มแรก อัลบั้มนี้เป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดในสหราชอาณาจักรเป็นอันดับที่ 5 ของปี พ.ศ. 2544 สามารถทำยอดขายทะลุ 4 แพลตินัม เป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดอันดับที่ 76 ในรอบสิบปีของสหราชอาณาจักร", "title": "ดรีมส์แคนคัมทรู, เกรเทสฮิตส์ ชุดที่ 1" }, { "docid": "125837#9", "text": "ในปี พ.ศ. 2550 แกเบรียลได้ปล่อยซิงเกิลใหม่ มีชื่อว่า \"วาย\" ซึ่งเธอได้นำไปร้องสดในรายการ \"เดอะ เนชันนัล ล็อตเตอรี่\" ()เมื่อวันที่ 19 กันยายน เช่นเดียวกับรายการต่างๆในช่องโทรทัศน์ด้วย ซึ่งเพลง \"วาย\" ไม่สามารถเข้ามาติดบนท็อป 40 ได้ จากนั้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 อัลบั้มสตูดิโอลำดับที่ห้าที่ชื่อว่า \"ออลเวส์\" ก็ได้ถูกวางจำหน่ายออกมาภายในสหราชอาณาจักร อัลบั้มนี้ได้รับคำชมจากนักวิจารณ์ดนตรีในเชิงบวก สามารถเข้ามาอยู่ในชาร์ตอัลบั้มแห่งสหราชอาณาจักร ในอันดับที่ 11 และอีกเพียง 12 ก๊อปปี้เท่านั้นก็จะเข้ามาในอันดับที่ 10 \"ออลเวส์\" เข้ามาอยู่ใน ชาร์ตอัลบั้มอาร์แอนด์บีแห่งสหราชอาณาจักรในอันดับที่ 4 ภายในอัลบั้มมีเพลง \"วาย\" ในแบบฉบับที่ร้องร่วมกับ พอล เวลเลอร์ () และซิงเกิลสุดท้ายที่ปล่อยออกมาจากอัลบั้มนี้คือ \"เอเวอรีลิตเติลเทียร์ดรอป\" ซึ่งพลาดจากชาร์ตต่างๆไป", "title": "แกเบรียล" }, { "docid": "74619#3", "text": "ร็อบบี วิลเลียมส์ ออกซิงเกิ้ลแรก Freedom เพลงเก่าของ จอร์จ ไมเคิล โดยในอัลบั้มแรกของเขาที่ชื่อว่า “ ไลฟ ธรู อะ เลนซ” (Life Thru A Lens) กับค่ายคริสสะลิส เร็คคอร์ดส (ChrystallMeth Records) ตามมาด้วยเพลง \"Old Before I Die\" (#2) , \"Lazy Days\" (#8) และ \"South Of The Border\" (#14) จนกระทั่งซิงเกิ้ลที่ชื่อว่า Angels ได้ปล่อยออกมาในช่วงเทศกาลคริสต์มาส เป็นการเน้นความดังของร็อบบี เพลงนี้อยู่ในชาร์ทนานกว่า 27 สัปดาห์ และขายได้ถึง 868,000 แผ่น", "title": "ร็อบบี วิลเลียมส์" }, { "docid": "7087#3", "text": "เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2536 หิน เหล็ก ไฟ ออกอัลบั้มชุดแรกซึ่งมีชื่อเดียวกับชื่อวง สังกัดค่าย อาร์เอส โปรโมชัน โดยได้บันทึกเสียงที่ห้องอัด เซ็นเตอร์ สเตจ ของแอ๊ด คาราบาว เพลงที่ได้รับความนิยมในอัลบั้มนี้ได้แก่ \"ยอม\", \"เพื่อเธอ\", \"นางแมว\", \"พลังรัก\", \"สู้\", \"ร็อคเกอร์\" โดยอัลบั้มหิน เหล็ก ไฟ เป็นอัลบั้มที่มียอดจำหน่ายมากกว่า 1 ล้านตลับ และได้รับรางวัลสีสันอะวอร์ดส์ ครั้งที่ 6 (พ.ศ. 2536) สาขาศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม และโปรดิวเซอร์ยอดเยี่ยม นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงคอนเสิร์ต ช็อต ชาร์จ ช็อค ร็อก คอนเสิร์ต (Short Charge Shock Rock Concert) ครั้งที่ 1 ที่ สนามกีฬาอินดอร์สเตเดียม หัวหมาก ซึ่งถือว่าเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของวงการดนตรีไทย โดยเป็นวงร็อกวงแรกของไทยที่ทำยอดขายได้ถึง 1 ล้านตลับ และคอนเสิร์ต ช็อต ชาร์จ ช็อค ร็อก คอนเสิร์ต ก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยเป็นคอนเสิร์ตของศิลปินไทยที่มียอดผู้ชมมากที่สุดในปี พ.ศ. 2536 จนต้องจัดครั้งต่อมาในปี พ.ศ. 2537, พ.ศ. 2538 และ พ.ศ. 2556", "title": "หิน เหล็ก ไฟ" } ]
122
ขงจื่อ เกิดในยุคสมัยใด?
[ { "docid": "7708#3", "text": "ขงจื๊อเดิมชื่อว่า ชิว (丘)ชื่อรอง จ้งหนี (仲尼) เป็นชาวเมือง โจวอี้ (陬义)ในแคว้นหลู่ปัจจุบันคือเมือง ชวีฟู่ (曲阜)ในมณฑล ซานตง (山东)ท่านเกิดในสมัยชุนชิว (春秋)เมื่อ 551 ปีก่อนคริสตกาล ถึงแก่กรรมเมื่อ 479 ปีก่อนคริสตกาล สิริอายุ 73 ปี", "title": "ขงจื๊อ" } ]
[ { "docid": "133828#11", "text": "ในเรื่องของชาวจีนที่ไปเป็นกษัตริย์ปกครองโคโจซ็อนนี้ปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์ของเกาหลีในสองยุคสมัย จึงมักทำให้สับสนว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในยุคสมัยใดกันแน่ เหตุการณ์แรกคือเรื่องของ จี้จื่อ หรือ กีจา นี้เกิดในช่วงของโคโจซ็อนยุคกลาง ตรงกับยุคสมัยราชวงศ์โจว แต่อีกเหตุการณ์หนึ่งนั้นเกิดขึ้นสมัยโคโจซ็อนยุคปลาย ซึ่งตรงกับยุคสมัยราชวงศ์ฮั่นของจีน เหตุการณ์ครั้งหลังนี้ยังนำมาสู่การก่อตั้งอาณาจักรแห่งใหม่ขึ้นอีกแห่งทางตอนใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ในประวัติศาสตร์ช่วงหลังนี้กล่าวถึงขุนพลชาวจีนผู้หนึ่งนามว่า เหว่ยมั่ง ในพ.ศ. 349 เหว่ยมั่งเป็นขุนพลจากแคว้นเอี๋ยน ที่ลี้ภัยเข้าไปอยู่ในอาณาจักรโคโจซ็อน แล้วเข้ารับใช้กษัตริย์จุน ที่ปกครองโคโจซ็อนในขณะนั้น", "title": "อาณาจักรโชซ็อนโบราณ" }, { "docid": "567847#2", "text": "ไม่มีหลักฐานว่าชู่จฺวีนั้นเริ่มมีขึ้นมาตั้งแต่เมื่อใด แต่ก็มีหลายกระแสต่างบ่งบอกถึงที่มา เช่น มีที่มาจากตั้งแต่ยุคจักรพรรดิเหลืองหรืออึ่งตี้ (黃帝) เมื่อกว่า 5,000 ปีก่อน โดยเป็นการละเล่นเพื่อผ่อนคลายให้แก่ทหาร หรือเกิดขึ้นเมื่อ 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือราว 2,500 ปีก่อน ในยุคสงครามระหว่างรัฐครั้งใหญ่ แต่ชู่จฺวีนั้นได้รับความนิยมถึงขีดสุดในยุคราชวงศ์ฮั่น (206 ปีก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 220)", "title": "ชู่จฺวี" }, { "docid": "399398#1", "text": "ฌ้อปาอ๋อง มีชื่อเดิมว่า เซี่ยงอวี่ (Xiang Yu, 项羽) เกิดเมื่อ 232 ปีก่อนคริสตกาล ตรงกับยุคจ้านกว๋อ ที่แคว้นฌ้อ หรือ แคว้นฉู่ (ปัจจุบันครอบคลุมดินแดนของมณฑลหูหนาน, มณฑลหูเป่ย์, ฉงชิ่ง, มณฑลเหอหนาน, มณฑลอานฮุย และบางส่วนของมณฑลเจียงซูและมณฑลเจียงซี) เป็นบุคคลที่ได้รับการกล่าวขานว่ามีพละกำลังมหาศาล สามารถยกกระถางธูปที่มีน้ำหนักนับร้อยกิโลกรัมไว้บนเหนือหัวได้ เกิดในตระกูลขุนศึก ได้รับการเล่าเรียนวิชายุทธและการศึกจาก เซี่ยงเหลียง (Xiang Liang, 項梁) ผู้เป็นอา ต่อมาเมื่อปลายราชวงศ์ฉิน เกิดกบฏชาวนาและอีกหลายกบฏต่อต้านราชวงศ์ฉิน เซี่ยงอวี่ก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย และด้วยความสามารถ ทำให้ได้เป็นผู้นำระดับแม่ทัพ และได้ร่วมมือกับหลิวปังในการโจมตีหัวเมืองต่าง ๆ โดยวีรกรรมครั้งสำคัญคือ เมื่อ 206 ปีก่อนคริสตกาล เซี่ยงอวี่นำทัพไปที่เมืองเสียนหยาง เมืองหลวงของราชวงศ์ฉิน ทั้งที่มีกองกำลังน้อยกว่ามากถึง 10 ต่อ 1 หลังจากข้ามแม่น้ำจางเหอไปแล้ว เซี่ยง หวี่ได้สั่งการให้ทหารทั้งหมดที่พกเสบียงอาหารแห้งจำนวนที่จะพอรับประทานได้ 3 วัน และให้ทุบหม้อสำหรับปรุงอาหาร และให้เจาะรูให้เรือที่ข้ามแม่น้ำมาให้รั่วทั้งหมด เพื่อที่จะเอาชนะให้ได้ ไม่เช่นนั้นก็ตายกันหมด ซึ่งวีรกรรมตรงนี้ได้กลายมาเป็นภาษิตในภาษาจีนที่ว่า \"ทุบหม้อจมเรือ\" อันหมายถึง สิ่งสำคัญที่ตัดสินชะตากรรม", "title": "ฌ้อปาอ๋อง" }, { "docid": "7708#0", "text": "ขงจื๊อ (; ; ภาษาไทยมีเรียกกันหลายชื่อ เช่น ขงฟู่จื่อ ขงบรมครูจื่อ ข่งชิว) (ตามธรรมเนียม, 8 กันยายน 551 - 479 ปีก่อน ค.ศ.) หรือ วันที่ 27 เดือน 8 (八月廿七日) ตามปฏิทินทางจันทรคติของจีน ชื่อรอง \"จ้งหนี\" เป็นนักคิดและนักปรัชญาสังคมที่มีชื่อเสียงของจีน คำสอนของขงจื๊อนั้น ฝังรากอิทธิพลลึกลงไปในสังคมเอเชียตะวันออกมาเป็นเวลาถึง 20 ศตวรรษ หลักปรัชญาของขงจื๊อนั้นเน้นเกี่ยวกับศีลธรรมส่วนตัว และศีลธรรมในการปกครอง ความถูกต้องเหมาะสมของความสัมพันธ์ในสังคม และ ความยุติธรรมและบริสุทธิ์ใจ", "title": "ขงจื๊อ" }, { "docid": "168755#0", "text": "ขงหยง หรือ ขงเล่ง มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า ข่งหรง() (ค.ศ. 153 - ค.ศ. 208) มีชื่อรองว่าเหวินจฺวี่ () เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นชาวเมืองซีฟู่ ในเขตแคว้นหลู่โก้วะ ( โลก๊ก ) อันเป็นที่เกิดของขงจื้อ เป็นเชื้อสายของขงจื้อลำดับที่ 20 มีสติปัญญาเฉียบแหลม เมื่ออายุ 10 ขวบได้ไปหาหลี่อิ๋ง เจ้าเมือง คนเฝ้าประตูไม่ให้เข้า ขงหยงอ้างว่าเป็นเพื่อนสนิทของเจ้าเมืองจึงเข้าได้ เมื่อหลีอิ๋งถามว่า เป็นเพื่อนสนิทมาตั้งแต่ครั้งไหน ขงหยงตอบว่า บรรพบุรุษของข้าพเจ้า (คือขงจื้อ) ได้ไปถามความรู้เกี่ยวกับประเพณี จากบรรพบุรุษของท่าน ( คือ เล่าจื๊อ ซึ่งชื่อจริงว่า หลีเอ๋อ ) จึงถือว่าสกุลเราสนิทมาหลายชั่วคนแล้ว", "title": "ขงหยง" }, { "docid": "174954#0", "text": "จงโฮย (; ) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ขุนพลคนสำคัญแห่งวุยก๊กในยุคปลาย เกิดเมื่อปี ค.ศ. 225 มีชื่อรองว่าซื่อจี้ เป็นลูกชายคนรองของจงฮิว มีพี่ชายอีกคนชื่อว่าจงอี้ เป็นชาวตำบลฉางเช่อ เมืองอิงชวน มณฑลเ หอหนาน เป็นคนมีสติปัญญาและทะเยอทะยาน ได้ช่วยตระกูลสุมายึดอำนาจจากโจซองได้สำเร็จ", "title": "จงโฮย" }, { "docid": "975657#0", "text": "จู๋ชูจี้เหนียน (; \"หนังสือไม้ไผ่รายปี\") หรือ จี๋จ่งจี้เหนียน (; \"หนังสือรายปีแห่งเนินจี๋\") เป็นพงศาวดารจีนโบราณ ตั้งต้นด้วยยุคสมัยปรัมปราของจักรพรรดิเหลือง (黃帝) ยาวมาจนถึง 299 ปีก่อนคริสตกาล โดยเนื้อหาช่วงหลังมุ่งเน้นที่ประวัติของรัฐเว่ย์ (魏国) ในช่วงรณรัฐ (戰國) เอกสารนี้จึงว่าด้วยยุคสมัยใกล้เคียงกับในหนังสือ \"ฉื่อจี้\" (史記) ที่ซือหม่า เชียน (司馬遷) เขียนขึ้นเมื่อ 91 ปีก่อนคริสตกาล", "title": "จู๋ชูจี้เหนียน" }, { "docid": "215731#0", "text": "คลองใหญ่ () หรือ ต้า-ยฺวิ่นเหอ () ขุดในสมัยราชวงศ์สุย เริ่มขุดตั้งแต่ปี ค.ศ. 587 และใช้เวลาขุดกว่า 30 ปี ใช้แรงงานมนุษย์กว่า 6 ล้านคน จุดประสงค์เพื่อการขนส่งสินค้า การท่องเที่ยวดินแดนเจียงหนาน (ภาคใต้บริเวณปากแม่น้ำแยงซี) และเพื่อเชื่อมต่อดินแดนภาคเหนือและใต้เข้าด้วยกัน โดยให้ลั่วหยางเป็นศูนย์กลาง เริ่มจากอำเภอจั๋วจวิน (ปักกิ่งปัจจุบัน) จนถึงเมืองอู๋หาง (หางโจวปัจจุบัน) เชื่อมต่อกับแม่น้ำใหญ่ ๆ 5 สายในจีน อันได้แก่ แม่น้ำไห่เหอ แม่น้ำฮวงโห แม่น้ำหวยเหอ แม่น้ำแยงซี และแม่น้ำเฉียนถังเจียง มีความยาวกว่า 2,500 กิโลเมตร นับเป็นคลองขุดแรงงานมนุษย์ที่มีความยาวที่สุดในสมัยนั้น และถึงปัจจุบัน โดยแบ่งการขุดเป็น 4 ส่วน ได้แก่ คลองทงจี้ คลองหาน คลองหย่งจี้ และลำน้ำเจียงหนาน\nคลองทงจี้ เริ่มจากนครลั่วหยาง เข้าสู่แม่น้ำฮวงโห ไปเชื่อมแม่น้ำหวยเหอที่ไหลผ่านซันหยาง (หวยอานปัจจุบัน) ต่อไปยัง คลองหาน ซึ่งเป็นคลองขุดโบราณจากยุคชุนชิว ในสมัยราชวงศ์โจว ซึ่งผู้ครองแคว้นหวู่ได้สั่งให้ขุดขึ้นตั้งแต่ 486 ปีก่อนคริสตกาล เชื่อมลำน้ำหวยเหอกับแม่น้ำแยงซีที่เมืองเจียงตู (หยางโจวปัจจุบัน) รวมระยะทางกว่า 1,000 กิโลเมตร จากทางตอนใต้ของแม่น้ำแยงซีเกียง ขุดไปเชื่อมกับ ลำน้ำเจียงหนาน ถึงเมืองอู๋หาง (หางโจวปัจจุบัน) ระยะทางกว่า 500 กิโลเมตร ส่วนทางเหนือได้มีการขุด คลองหย่งจี้ เริ่มจากลั่วโข่วใกล้เมืองลั่วหยาง ขึ้นเหนือสู่จั๋วจวิน (ปักกิ่งปัจจุบัน) ระยะทาง 1,000 กิโลเมตร รวมกับลำคลองเล็กๆ อีกมากมาย เชื่อมโยงเข้าด้วยกันหมดเป็นเครือข่ายครอบคลุมทั้งเหนือใต้ ภาษีผ่านด่านตามคลอง อิฐ และไม้สำหรับสร้างพระราชวังก็ถูกส่งไปยังเมืองหลวงตามคลองสายนี้", "title": "คลองใหญ่ (ประเทศจีน)" }, { "docid": "85156#6", "text": "เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ยิน (1,324 –1,066 ปี ก่อนคริสต์ศักราช เป็นชื่อเรียกของราชวงศ์ซาง หลังย้ายเมืองหลวงไปเมืองยิน ซึ่งปัจจุบันคือเมืองอันหยัง ในมณฑลเหอหนาน) จากหลักฐานบนกระดองเต่ามีตัวหนังสือจีนโบราณอยู่ตัวหนึ่ง ซึ่งหมายถึง 'การตัดองคชาต' และ คำว่า ‘羌 ’(อ่านว่าเชียง) บนกระดองเต่ากล่าวไว้ว่า อู่ติงหวัง จักรพรรดิแห่งราชวงศ์ยิน (1,254 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ได้มีรับสั่งให้ตัดอวัยวะเพศของหนุ่มชาวเชียง ที่ถูกจับมาเป็นเชลย และให้นำตัวไปเป็นขันที ทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรมต่างๆ", "title": "ขันที" } ]
133
บิดาแห่งกฎหมายไทย คือใคร?
[ { "docid": "37917#0", "text": "มหาอำมาตย์เอก มหาเสวกเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (21 ตุลาคม พ.ศ. 2417 - 7 สิงหาคม พ.ศ. 2463) ทรงเป็นต้นราชสกุลรพีพัฒน์ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 14 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้วางรากฐานด้านกฎหมายในเมืองไทย จนได้รับพระสมัญญานามว่าพระบิดาแห่งกฎหมายไทย", "title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์" } ]
[ { "docid": "5133#15", "text": "กฎหมายอังกฤษระบุว่า เด็กที่เกิดในประเทศอังกฤษก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) จะได้รับสัญชาติอังกฤษ เว้นแต่จะเกิดแต่คณะเจ้าหน้าที่และตัวแทนทางทูต ผู้ซึ่งมีความคุ้มกันทางทูต และหากเกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) โดยมีบิดาหรือมารดาคนหนึ่งคนใดเป็นคนอังกฤษ หรือตั้งรกรากอยู่ในประเทศอังกฤษ จะได้รับสัญชาติอังกฤษ ขณะที่กฎหมายไทยระบุว่า ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด (พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (1))", "title": "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" }, { "docid": "190717#3", "text": "นอกจากนี้ ตามกฎหมายไทยแล้ว คนไร้ความสามารถที่กระทำความผิดอาญาก็ให้พ้นจากความรับผิดในการกระทำนั้น แต่ความรับผิดทางแพ่งมิได้สิ้นสุดลงไปด้วย โดยในทางแพ่ง บิดา มารดา หรือผู้อนุบาลของคนไร้ความสามารถต้องร่วมรับผิดในการกระทำอันเป็นละเมิดของคนไร้ความสามารถไปด้วย เว้นแต่สามารถพิสูจน์ได้ว่าได้ดูแลรักษาบุคคลนั้นอย่างระมัดระวังเต็มที่แล้ว", "title": "คนไร้ความสามารถ" }, { "docid": "490529#4", "text": "พระยาประเสริฐภักดี (จุ้ย) บิดา ของพระยาประเสริฐสงคราม (ใจ) ปรากฏประวัติในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ภายหลังเมื่อปี พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) ทรงกระทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีแล้ว ทรงเห็นว่าตำแหน่งเจ้าเมืองศรีเทพได้ว่างลง บุตรชายของพระยาประเสริฐสวามิภักดิ์เจ้าเมืองคนเก่าที่นามเดิมว่า “จุ้ย” ซึ่งรับราชการเป็นทหารช่วยบ้านเมืองมานาน ผู้เป็นบิดาก็ทรงรู้จักมักคุ้นอยู่ อีกทั้งเป็นคนพื้นบ้านนี้อยู่แล้ว รู้จักการบ้านการเมือง สภาพบ้านเมืองและคุ้นเคยกับชาวบ้านอย่างดี จึงโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ “พระศรีถมอรัตน์” ตำแหน่งเจ้าเมืองศรีเทพสืบแทน ต่อมา ในสมัยท่านได้มีส่วนช่วยเหลือประเทศชาติปกป้องอธิปไตยจากการรุกรานของพม่าและข้าศึกต่างๆ อาทิ จัดให้มีการเกณฑ์ราษฎรมาฝึกเป็นทหาร สะสมเสบียงส่งไปช่วยเหลือกองทัพไทย ปราบปรามโจรผู้ร้ายที่คอยดักปล้นสะดมราษฎร ช่วยทำนุบำรุงพระศาสนาด้วยการนำชาวบ้านก่อสร้างและปฏิสังขรณ์วัด เข้าวัดทำบุญฟังธรรมอยู่เนือง ๆ นอกจากนั้นยังเป็นผู้เสนอให้สมุหนายกที่กำกับกรมวัง (ขณะนั้นเมืองศรีเทพอยู่ในการปกครองขึ้นตรงต่อพระนครโดยตรง) ซึ่งมีหน้าที่ดูแลกิจการพระศาสนา พิจารณาประกาศจัดตั้งเป็นวัดให้ถูกต้อง 1 แห่ง เมื่อปี พ.ศ. 2340 ได้แก่ วัดป่าเรไรทอง (ตั้งอยู่ในเขตตัวอำเภอวิเชียรบุรีในปัจจุบันนี้) เพื่อให้เป็นวัดประจำเมือง และกำกับดูแลในกิจการราชการต่างพระเนตรพระกรรณ จนราษฎรมีความเป็นอยู่สงบสุขเรียบร้อยดี ในความดีความชอบที่ท่านกระทำจึงได้โปรดเกล้าเลื่อนบรรดาศักดิ์สูงขึ้นเป็น “พระยาประเสริฐภักดี” จนกระทั่งช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 พระยาประเสริฐภักดีมีอายุมากแล้ว ก็ต้องพ้นเกษียณราชการและต่อมาในช่วงราชกาลที่ 3 ท่านจึงถึงแก่อนิจกรรมลง", "title": "พระยาประเสริฐสงคราม (ใจ ณ วิเชียร)" }, { "docid": "78370#2", "text": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญาเป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระชนนีคือเจ้าจอมมารดาบัว (สกุลเดิม ณ นคร) ธิดาของเจ้าพระยานคร (น้อย ณ นคร) กับท่านผู้หญิงอิน พระองค์ได้รับพระราชทานพระนามจากพระชนกนาถ มีพระเชษฐาและพระอนุชาร่วมพระชนกชนนีคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมลักษณเลิศ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์ และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดำรงฤทธิ์", "title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา" }, { "docid": "900864#7", "text": "เทหยักษา\nเป็นเทพแห่งยักษ์ เดิมชื่อทารคา เป็นราชบุตรของอนันตยักษาผู้ปกครองนครคีรีกัณฑ์ แต่ถูกกาฬสูตรซึ่งเป็นยักษ์ต่างเมือง จาก นรกัณฑ์ลอบโจมตีโดยใช้เชลยมนุษย์เป็นไส้ศึก บิดาของทารคาถูกฆ่าตาย เขาจำต้องหลบหนีออกจากเมืองพร้อมน้องชาย และเติบโตมาท่ามกลางภัยอันตราย ทั้งจากสัตว์ร้ายและมนุษย์ที่คอยตามล่าเพราะชิงชังบิดาของเขา\nเวลาผ่านไป บนเส้นทางแห่งการเข่นฆ่าเพื่อเอาตัวรอด ทักษะการต่อสู้ของทารคาพัฒนาถึงขั้นสูง ขณะเดียวกันความพยาบาทที่ฝังลึกในใจ ก็ทำให้ทารคากลายเป็นยักษ์ที่โหดเหี้ยม ดุร้าย ยากหาใครมาต่อกร ซึ่งยิ่งทำให้ทารคาหรือเทหยักษาหลงใหลในอำนาจ ปรารถนาจะครอบครองทุกสิ่งทุกอย่าง โดยมีแม่หมอการ์ณีชา ยักษีชราเป็นผู้รับใช้", "title": "9 ศาสตรา" }, { "docid": "872535#1", "text": "เจ้าพระยาเพ็ชร์พิไชย (ใจ) เป็นบุตรคนโตของเจ้าพระยาชำนาญภักดี (สมบุญ) สืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) เมื่อโตขึ้นเจ้าพระยาชำนาญภักดี (สมบุญ) บิดาได้นำถวายตัวเป็นมหาดเล็กหลวง ในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาสมเด็จพระนารายณ์สวรรคต พระเพทราชา จางวางกรมพระคชบาล ได้เป็นพระมหากษัตริย์ ได้โปรดเกล้าตั้งให้นายจิตร บุตรเจ้าพระยาชำนาญภักดี (สมบุญ) เป็นที่พระพรหมสุรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจฝ่ายพระราชวังบวร และได้ถึงแก่กรรมในต้นแผ่นดินพระเพทราชา ส่วนนายใจ พี่ชายหาได้มีบรรดาศักดิ์ในสมัยนั้นไม่", "title": "เจ้าพระยาเพ็ชร์พิไชย (ใจ)" }, { "docid": "288627#1", "text": "นิดา (สินจัย เปล่งพานิช) แม่ค้าขายแผ่นซีดีตามตลาดนัดวัยกลางคน มีลูกชายวัยรุ่นคนหนึ่งชื่อ ต้น มีอาการประหลาดไม่ยอมออกจากห้องนอนตัวเองมาเป็นเวลานานถึง 5 ปี โดยที่ตัวเธอเองก็ไม่ได้รู้ว่ามันเป็นความผิดปกติอะไร จนกระทั่งรุ่นน้องที่เธอรู้จักคนหนึ่งที่ทำงานเบื้องหลังรายการโทรทัศน์ (พงศ์พิชญ์ ปรีชาบริสุทธิ์กุล) ได้รู้เข้า จึงอยากติดต่อไปออกรายการ แต่ต้นไม่ยอมไป แถมยังมีเศษกระดาษสอดออกมาจากใต้ประตูความว่า ห้ามยุ่ง ไม่เช่นนั้นเตรียมมาเก็บศพเขาได้เลย และที่บ้านตรงข้าม ป่าน (กัญญา รัตนเพชร์) เด็กสาววัยรุ่นรุ่นเดียวกับต้น ก็ถูกผู้เป็นแม่เก็บตัวไว้เฉพาะแต่ในห้องนอนเหมือนกัน เนื่องจากเธอเป็นโรคภูมิแพ้อย่างรุนแรง จากการที่จ้องมองไปยังห้องของต้นทุกวัน ป่านสงสัยว่าในบ้านตรงข้ามนั้นมีใครอยู่ในห้องหรือไม่", "title": "ใคร...ในห้อง" }, { "docid": "179015#2", "text": "ดร.บัญชา ชุตินัยนา (ธวัธชัย สัจจกุล) เป็นนักธุรกิจเจ้าของกิจการเครื่องสำอาง และอาหารเสริมแบบขายตรง บัญชาเป็นคนเจ้าระเบียบมีวินัยในการดำเนินชีวิต การแต่งกายเนี๊ยบ มีภรรยาคนปัจจุบันชื่อ สาวิตรี (เพ็ญพักตร์ ศิริกุล) สาวสังคมชั้นสูง มีบุตร 2 คน คนที่ 1 ก็คือหนอน ที่เกิดจากภรรยาคนแรกซึ่งเป็นพยาบาลชื่อ มาลี (ศรีพรรณ ชื่นชมบูรณ์) ส่วนคนที่ 2 ชื่อ แพรไหม (เมย์ - กุณฑีรา สัตตบงกช) เกิดจากภรรยาคนปัจจุบันชื่อสาวิตรี บัญชาอยากให้แพรไหมเป็นตัวแทนของสาวรุ่นใหม่ ที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพและความสวยงาม สาวิตรีและบัญชาจึงพยายามทุกทาง ที่จะผลักดันให้ได้รับตำแหน่งนางสาวสยาม ในขณะเดียวกัน บัญชาก็เป็นแกนนำในการรณรงค์ต่อต้านคนอ้วน เจ้าของสโลแกน \"อย่าอ้วน ไม่ดี\"\nหนอนเป็นลูกที่เกิดจากภรรยาเก่าคือมาลี ที่มีพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ตรงกันข้าม หนอนจึงเป็นเด็กอ้วนตั้งแต่เด็ก ซึ่งบัญชาโกรธมากที่มาลีตามใจลูก จนขาดระเบียบวินัยในการกิน และด้วยความทะเยอทะยานของบัญชา ทำให้ในที่สุดทั้งสองจึงแยกทางกัน โดยบัญชาได้แต่งงานใหม่กับสาวิตรี ทิ้งหนอนให้อยู่กับยายที่ลำพูน และเมื่อมาลีเสียชีวิต หนอนก็อยู่กับยายมาตลอด วันหนึ่งขณะอยู่ที่ร้านทำผม หนอนเห็นข่าวบัญชาทางทีวี ส่งเสริมแพรไหมและแอนตี้คนอ้วน โดยที่ไม่มีใครรู้เลยว่า บัญชามีลูกอ้วนมากอย่างเธอ หนอนจึงเกิดความคิดที่จะเอาชนะใจพ่อ ซึ่งไม่ได้พบหน้ากันเลยตั้งแต่แยกทางกับแม่\nหนอนตัดสินใจเดินทางเข้ากรุงเทพฯเพื่อประกวดธิดาช้าง ด้วยความมุ่งมั่น โดยที่ผีเสื้อก็ไม่อาจทัดทานได้ เมื่อบัญชาเห็นข่าวทางทีวี และจำได้ว่านั่นคือหนอนลูกสาวของตน จึงสั่งการให้ลูกน้องคนสนิท ให้ไปขัดขวางการประกวดทุกวิถีทาง แต่ทุกครั้งที่โดนกลั่นแกล้ง ก็ดูเหมือนจะกลายเป็นส่งเสริมให้หนอน และการประกวดธิดาช้าง ยิ่งโด่งดังขึ้นไปทุกที ด้านแพรไหม ถึงแม้จะไม่อยากเข้าประกวด แต่ต้องทำเพราะไม่กล้าขัดใจพ่อ-แม่ เธอถูกเลี้ยงดูมาแบบทำทุกอย่างตามตาราง โดยเฉพาะเรื่องการรับประทานอาหารแบบจำกัด เพื่อรักษารูปร่าง เธอจึงมีสภาพจิตใจที่เก็บกดอย่างมาก และในการประกวดครั้งนี้ แพรไหมถูกวางตัวให้เป็น ก็ยิ่งสร้างความกดดันให้เธอมากขึ้น\nการประกวดของทั้ง 2 เวทีดำเนินต่อไป และเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นกับแพรไหม เมื่อหนอนทราบข่าว เธอจึงต้องตัดสินใจว่า จะเลือกช่วยชีวิตน้องสาวคนเดียวของเธอ หรือเลือกตำแหน่งอันทรงคุณค่าจากเวทีอันมีเกียรติ ที่เธอต้องต่อสู้เพื่อแสดงให้พ่อเห็นว่า เธอสามารถทำได้ แม้จะมีรูปร่างอ้วนก็ตาม เธอจะเลือกความต้องการของจิตใจแบบไหน พ่อผู้ให้ชีวิตจะมองข้ามสรีระภายนอก และหันกลับไปมองถึงจิตใจอันดีงามของเธอหรือไม่ ร่วมเป็นกำลังใจให้เธอเอาชนะอุปสรรคเหล่านี้ให้ได้ใน ธิดาช้าง", "title": "ธิดาช้าง" }, { "docid": "64644#0", "text": "ศาสตราจารย์ ระพี สาคริก \"บิดาแห่งกล้วยไม้ไทย\" (4 ธันวาคม พ.ศ. 2465 — 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561) ราษฎรอาวุโส นักวิจัย นักวิชาการเกษตรผู้บุกเบิกวงการกล้วยไม้ของประเทศไทยสู่สากล อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นอดีตนายกสภาสถาบันอาศรมศิลป์", "title": "ระพี สาคริก" }, { "docid": "586966#0", "text": "ท่านผู้หญิงพัว อนุรักษ์ราชมณเฑียร เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 เป็นธิดาเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (ปลื้ม สุจริตกุล) มารดาชื่อเง็ก เกิดที่บ้านฝั่งธนบุรี ตรงข้ามวัดปากน้ำ ตำบลปากคลองด่าน (ปัจจุบันคือ แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร) เนื่องจากมารดาเลี้ยงลูกยาก เกิดมาหลายคนเสียชีวิตหมด หม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา ซึ่งเป็นญาติผู้ใหญ่ฝ่ายบิดาทราบความ ก็ขอไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม แล้วก็ถูกส่งตัวไปเข้ารับการอบรมในพระบรมมหาราชวัง อยู่ในความปกครองดูแลของเจ้าจอมเพิ่ม สุจริตกุล ผู้มีศักดิ์เป็นอา ตั้งแต่อายุได้ 2-3 ขวบ โดยอาศัยเคล็ดโบราณให้ผ่านลอดใต้ท้องช้าง เพื่อเลี้ยงง่าย คุณอาพาไปขึ้นเฝ้าเจ้านายบนพระที่นั่งเทพดนัยบ่อยๆ และได้มีโอกาสเฝ้าทูลกระหม่อมเอียดน้อย (พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงพระเยาว์) ได้รับพระราชทานชื่อว่า พัวพันเพิ่ม ต่อมาใช้คำหน้าเพียงคำเดียวว่า พัว ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา", "title": "พัว อนุรักษ์ราชมณเฑียร" } ]
136
ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เข้ามาเมืองไทยครั้งแรกปีใด ?
[ { "docid": "14722#4", "text": "ศาสตราจารย์คอร์ราโดสมรสกับนางแฟนนี วิเวียนนี มีบุตรสาวชื่อ อิซซาเบลล่า และสืบเนื่องจากปี พ.ศ. 2466 ท่านได้ชนะการประกวดการออกแบบเหรียญเงินตราสยามที่จัดขึ้นในยุโรปและยังมีความต้องการแสวงหาสถานที่ปฏิบัติงานแห่งใหม่ ประกอบกับในช่วงเวลานั้นซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระประสงค์ต้องการบุคลากรที่เชี่ยวชาญในด้านศิลปะตะวันตกเพื่อที่จะเข้ามารับราชการเป็นช่างปั้นในแผ่นดินไทยและทำการฝึกสอนช่างไทยให้มีความสามารถในการสร้างงานประติมากรรมแบบตะวันตกได้ ทางรัฐบาลอิตาลีจึงได้ยื่นข้อเสนอโดยการส่งคุณวุฒิและผลงานของศาสตราจารย์คอร์ราโดให้สยามพิจารณา โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงเป็นบุคคลสำคัญในการคัดเลือกศาสตรจารย์คอร์ราโดให้มาปฏิบัติงานในสยาม ด้วยเหตุนี้ศาตราจารย์คอร์ราโดจึงเดินทางสู่แผ่นดินสยามพร้อมกับภรรยาและบุตรสาวโดยทางเรือ เพื่อเข้ามารับราชการเป็นช่างปั้นประจำกรมศิลปากร กระทรวงวัง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2466 ขณะมีอายุได้ 32 ปี และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์สอนวิชาช่างปั้นหล่อ แผนกศิลปากรสถานแห่งราชบัณฑิตยสภา ในปี พ.ศ. 2469", "title": "ศิลป์ พีระศรี" } ]
[ { "docid": "14722#19", "text": "นอกเหนือไปจากการจัดทำอนุสาวรีย์แล้วยังได้มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้นเพื่อเป็นเสมือนอนุสรณ์สถานแก่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี โดยใช้ชื่อว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ โดยเป็นความร่วมมือกันระหว่างบรรดาลูกศิษย์และผู้ใกล้ชิดศาสตราจารย์ศิลป์ เพื่อรำลึกถึงคุณูปการของท่าน ตั้งอยู่ในกรมศิลปากร มีการทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2527 ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 92 ปี ของท่าน โดยนายชวน หลีกภัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้นมาเป็นประธานในพิธี ซึ่งปัจจุบันพิพิธภัณฑ์แห่งนี้สังกัดในสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ในเครือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ภายในตัวอาคารจัดแสดงนิทรรศการถาวร มีการแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 2 ห้องจัดแสดง คือห้องชั้นนอกตรงทางเข้าพิพิธภัณฑ์จัดแสดงผลงานศิลปะของลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิด อาทิเช่น ผลงานของ เฟื้อ หริพิทักษ์, ชลูด นิ่มเสมอ, เขียน ยิ้มศิริ และ สวัสดิ์ ตันติสุข ซึ่งถือเป็นศิลปินรุ่นแรก ๆ ของศิลปะไทยแบบสมัยใหม่ที่ได้สืบทอดความรู้ ความคิดสร้างสรรค์และอุดมการณ์ที่ศาสตราจารย์ศิลป์ได้วางรากฐานไว้ให้ ในส่วนของห้องที่สองหรือห้องชั้นใน จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ของศาสตราจารย์ศิลป์ในช่วงที่ท่านยังมีชีวิต เช่น โต๊ะทำงาน เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องมือปั้น เป็นต้น โดยในห้องที่สองนี้ได้มีการจำลองห้องทำงานแบบดั้งเดิมในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ รวมไปถึงแบบร่างอนุสาวรีย์และประติมากรรมชิ้นสำคัญและหนังสือหายากที่ศาสตราจารย์ศิลป์เคยใช้ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับศิลปะตะวันตกซึ่งให้บริการแก่ผู้เข้าชมอีกด้วย", "title": "ศิลป์ พีระศรี" }, { "docid": "14722#17", "text": "ตลอดชีวิตการทำงานของศาสตราจารย์ศิลป์ ท่านได้สร้างผลงานประติมากรรมไว้มากมาย โดยผลงานที่ยังมีอยู่มาจนถึงปัจจุบันก็อาทิเช่นด้วยคุณูปการที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีมีให้ต่อประเทศไทย ทำให้มีการรำลึกถึงท่านทุกวันที่ 15 กันยายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายเกิดของท่าน เรียกกันว่าวันศิลป์ พีระศรี โดยถือเป็นวันสำคัญของวงการศิลปะไทยและนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร ในวันศิลป์ พีระศรีนั้นมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระจะจัดกิจกรรมขึ้นในมหาวิทยาลัยเพื่อให้ศิษย์ปัจจุบัน ศิษย์เก่าหรือผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของท่าน มีการวางดอกไม้เป็นการรำลึกถึงท่านที่ลานอนุสาวรีย์ที่คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ โดยนักศึกษาจะเปิดร้านขายของที่ระลึกและมีการแสดงดนตรีสดตลอดทั้งวัน นอกจากนั้นยังมีการเปิดให้ประชาชนเข้าร่วมแสดงความเคารพต่ออัฐิของท่านในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ และพิธีสำคัญจะเริ่มขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งทุ่ม ซึ่งจะเป็นการจุดเทียนที่ลานอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป์พร้อมไปกับการร้องเพลงSanta Lucia และเพลงศิลปากรนิยมเพื่อเป็นการรำลึกถึงท่านในวันสำคัญนี้", "title": "ศิลป์ พีระศรี" }, { "docid": "14722#0", "text": "ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี (15 กันยายน พ.ศ. 2435 — 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505) เดิมชื่อ คอร์ราโด เฟโรชี (Corrado Feroci) ชาวอิตาลีสัญชาติไทย เป็นประติมากรจากเมืองฟลอเรนซ์ที่เข้ามารับราชการในประเทศไทยตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยถือเป็นปูชนียบุคคลคนหนึ่งของไทยที่ได้สร้างคุณูปการในทางศิลปะและมีผลงานที่เป็นที่กล่าวขานจนเป็นที่รู้จักกว้างขวาง ทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้งและอาจารย์สอนวิชาศิลปะที่โรงเรียนประณีตศิลปกรรม ซึ่งภายหลังได้รับการยกฐานะให้เป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยศาสตราจารย์ศิลป์ได้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัย มีความรักใคร่ ห่วงใยและปรารถนาดีต่อลูกศิษย์อยู่ตลอดจนเป็นที่รักและนับถือทั้งในหมู่ศิษย์และอาจารย์ด้วยกัน", "title": "ศิลป์ พีระศรี" }, { "docid": "14722#18", "text": "หลังจากศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีถึงแก่อนิจกรรมไปแล้ว เหล่าลูกศิษย์ก็ได้มีความพยายามที่จะจัดสร้างอนุสาวรีย์ของศาสตราจารย์ศิลป์เพื่อเป็นเกียรติแด่ท่านที่ได้มีคุณูปการต่อศิลปะไทยและเป็นผู้ก่อตั้งและวางรากฐานให้แก่มหาวิทยาลัยศิลปากร แต่เนื่องด้วยกฎหมายของประเทศไทยในตอนนั้นไม่อนุญาตให้มีการจัดตั้งอนุสาวรีย์ของคนต่างชาติในประเทศได้ ถึงอย่างนั้นอาจารย์สนั่น ศิลากรณ์ ซึ่งเป็นลูกศิษย์รุ่นแรก ๆ ของศาสตราจารย์ศิลป์ ได้แอบสร้างอนุสาวรีย์ของศาสตราจารย์ศิลป์ขนาดเท่าคนจริงขึ้น แต่ก็ไม่มีที่ที่จะสามารถจัดตั้งได้จึงจำเป็นต้องเก็บเอาไว้ในห้องคณบดีคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ จนกระทั่งในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ นำโดยพิษณุ ศุภนิมิตร ได้เข้าไปนำอนุสาวรีย์ออกมาจากห้องคณบดี ก่อฐานแล้วทำการติดตั้งอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป์โดยไม่เกรงกลัวกับการโดนจับ ซึ่งในปัจจุบันอนุสาวรีย์นี้ก็ยังคงตั้งอยู่เช่นเดิม โดยลานแห่งนี้มีชื่อเรียกกันในหมู่นักศึกษาว่า ลานอาจารย์ศิลป์ และยังมีการสร้างเพิ่มเติมในภายหลังที่วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์และวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีอีกด้วย", "title": "ศิลป์ พีระศรี" }, { "docid": "14722#12", "text": "ศาสตราจารย์ศิลป์ถือเป็นบุคคลที่มีใจรักในศิลปะมาตั้งแต่เด็ก เป็นสิ่งทีท่านให้ความสนใจมากกว่าสิ่งอื่นใด ท่านก็สามารถส่งเสียตัวเองจนเรียนจบด้วยเกียรตินิยมอันดับที่ 1 และสามารถสอบเข้าเป็นศาสตราจารย์ได้ตั้งแต่อายุยังน้อย แต่งงานครั้งแรกกับนางพาโอล่า แองเจลินี แต่ก็ได้ขอแยกทางตามคำสั่งศาลในหนึ่งปีให้หลัง จากนั้นท่านแต่งงานใหม่กับ แฟนนี วิเวียนนี มีบุตรสองคน บุตรสาวชื่อ อิซาเบลลา ส่วนบุตรชายชื่อ โรมาโน (เกิดและเติบโตที่ไทย) เมื่อเข้ารับราชการในประเทศไทยท่านได้รับเงินเดือนที่เพียงพอต่อการเลี้ยงครอบครัวของท่าน ศาสตราจารย์ศิลป์มีนิสัยรักธรรมชาติ ชอบความเรียบง่ายและหลงรักในวัฒนธรรมไทยเป็นอย่างมาก มีความตั้งใจจริงที่จะช่วยพัฒนาวงการศิลปะไทยให้ก้าวหน้า ในมุมมองของลูกศิษย์นั้น ศาสตราจารย์ศิลป์เป็นคนที่มีความรักใคร่ ห่วงใยละปรารถนาดีต่อลูกศิษย์เป็นอย่างมาก ในเวลาสอนศาสตราจารย์ศิลป์จะจริงจังและเป็นคนที่มีความตรงต่อเวลา สอนด้วยความเข้มงวดและมักจะพร่ำสอนให้นักศึกษาทำงานหนักอยู่เป็นประจำ เพราะงานศิลปะที่ดีนั้นย่อมมาจากการฝึกฝนอย่างหนัก โดยท่านยังมีความเป็นกันเองกับนักศึกษา มักจะแทนตัวเองว่า “ฉัน” และแทนนักศึกษาว่า “นาย” เมื่อนักศึกษาคนไหนขาดแคลนทุนทรัพย์ท่านก็มักจะช่วยเหลือเสมอ ท่านยังโปรดปรานการฟังเพลงเป็นอย่างมาก โดยเพลงที่ท่านมักจะฮัมเวลาทำงานอยู่บ่อยๆก็คือเพลงซานตา ลูเชีย เพลงพื้นเมืองภาษาอิตาลีซึ่งภายหลังได้กลายมาเป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร", "title": "ศิลป์ พีระศรี" }, { "docid": "14722#8", "text": "แต่เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำลงอย่างมากภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ค่าครองชีพในประเทศไทยสูงขึ้น ทำให้สถานะทางการเงินของท่านได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก โดยศาสตราจารย์ศิลป์จำต้องขายทั้งรถยนต์และบ้าน รวมถึงที่ดิน เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตทางการเงิน แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ในท้ายที่สุด ศาสตราจารย์ศิลป์จึงจำเป็นต้องเดินทางกลับไปยังอิตาลี ประเทศบ้านเกิดพร้อมกับครอบครัวหรือก็คือการลาออกจากราชการนั่นเอง แต่เนื่องจากงานในประเทศไทยที่ยังคงติดค้างอยู่มาก รวมไปถึงความรักในประเทศไทยและอุดมการณ์ในการพัฒนาวงการศิลปะไทยของท่าน ทำให้ศาสตราจารย์ศิลป์ตัดสินใจเดินทางกลับมารับราชการและรับตำแหน่งเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยศิลปากรอีกครั้งในพ.ศ. 2492 แต่ในครั้งนี้นางแฟนนี อิซาเบลลาและโรมาโน(ลูกชายที่เกิดในประเทศไทย) นั้นไม่ได้เดินทางกลับมาด้วย ทำให้อาจารย์ศิลป์ต้องจากครอบครัวและหยุดชีวิตสมรสของท่านลงเช่นกัน", "title": "ศิลป์ พีระศรี" }, { "docid": "14722#10", "text": "ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีได้แต่งงานใหม่กับนางมาลินี เคนนี่ในปีพ.ศ. 2502 แต่ไม่ได้มีบุตรด้วยกัน ศาสตราจารย์ศิลป์ยังคงทุ่มเทเวลาและอุทิศชีวิตให้กับวงการศิลปะไทยเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2505 ซึ่งท่านได้ล้มป่วยลงจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ก่อนที่จะถึงแก่อนิจกรรมในวันที่14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 ที่โรงพยาบาลศิริราช ด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวภายหลังการเข้ารับการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ รวมสิริอายุได้ 69 ปี 7เดือน 29 วัน โดยมีพิธีพระราชทานเพลิงศพที่วัดเทพศิรินทราวาสเมื่อวันที่17 มกราคม พ.ศ. 2506 ซึ่งอัฐิถูกแยกไปสามส่วนด้วยกันคือที่สุสานชิมิเตโร เดญลี อัลลอรี เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ส่วนที่สองถูกบรรจุในอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ณ ลานศาสตรจารย์ศิลป์ พีระศรี ในมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ และส่วนที่สามถูกเก็บไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ ในกรมศิลปากร", "title": "ศิลป์ พีระศรี" }, { "docid": "14722#3", "text": "ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี มีนามเดิมว่าคอร์ราโด เฟโรชี เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2435 ในเขตซานโจวันนี (San Giovanni) เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เป็นบุตรของนายอาตูโด เฟโรชีและนางซานตินา เฟโรชี ซึ่งประกอบธุรกิจการค้า และเนื่องจากเกิดและอาศัยอยู่ ณ เมืองฟลอเรนซ์ นครแห่งการกำเนิดศิลปะเรอเนซองส์ชื่อก้องของอิตาลี คอร์ราโดจึงมีความสนใจในวิชาศิลปะมาตั้งแต่วัยเด็ก คอร์ราโดนั้นมีความสนใจและชื่นชอบในผลงานประติมากรรมของมิเกลันเจโลและโลเรนโซ กีแบร์ตีในมหาวิหารฟลอเรนซ์เป็นอย่างมาก จึงได้สมัครเป็นลูกมือช่วยงานศิลปินที่มีชื่อเสียงตามสตูดิโอต่างๆของเมืองฟลอเรนซ์ เขามีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะศึกษาวิชาศิลปะและเป็นศิลปินให้ได้ อย่างไรก็ตามบิดามารดาของคอร์ราโดกลับไม่เห็นด้วยกับความคิดของเขาเพราะต้องการให้มาสืบทอดธุรกิจของครอบครัวต่อไปมากกว่า แต่คอร์ราโดมีความตั้งใจที่จะศึกษาศิลปะอย่างแรงกล้า จึงได้เก็บสะสมเงินและเข้าศึกษาในสถาบันศิลปแห่งนครฟลอเรนซ์ (Accademia di Belle Arti di Firenze) หลักสูตร 7 ปี ในปีพ.ศ. 2451 และจบการศึกษาในปีพ.ศ. 2458 ในขณะที่มีอายุ 23 ปีด้วยเกียรตินิยมอันดับที่หนึ่ง และได้รับประกาศนียบัตรช่างปั้นช่างเขียน ต่อมาได้สอบคัดเลือกและได้รับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ประจำราชวิทยาลัย ศาสตราจารย์คอร์ราโดมีความรอบรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์ วิจารณ์ศิลป์และปรัชญาโดยเฉพาะมีความสามารถทางด้านศิลปะแขนงประติมากรรมและจิตรกรรมเป็นอย่างสูง ได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะไว้มากมายและได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดออกแบบอนุสาวรีย์จากรัฐบาลหลายครั้ง อาทิเช่น ผลงานอนุสาวรีย์ผู้กล้าในสงครามโลกครั้งที่ 1 บนเกาะเอลบา เป็นต้น", "title": "ศิลป์ พีระศรี" }, { "docid": "190123#7", "text": "ปี 2496 ชีวิตเริ่มเป็นนักแสดงเต็มตัว ล้อต๊อกมาชวนไปร่วมในคณะตลก ที่ได้ตั้งเป็นครั้งแรก โดยไปแสดงตามโรงภาพยนตร์ ทั้งในกรุงเทพ และต่างจังหวัด ทั้งประเทศ ในสมัยนั้นเป็นช่วงยุคสงครามโลก ประเทศไทยขาดภาพยนตร์มาฉาย ต้องอาศัยการแสดงจากคณะตลกที่มีชื่อแสดงแทน ตอนนั้นใช้ชื่อการแสดงว่า \"ทองแป๊ะ สินจารุ\" ดาราตลกที่มีชื่อในยุคนั้นคือ ดอกดิน กัญญามาลย์ , ทองฮ๊ะ , ทองแถม , บังเละ , อบ บุญติด ,มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา ,ล้อต๊อก ,สมพงษ์ พงษ์มิตร ,สาหัส บุญหลง,ชูศรี โรจนประดิษฐ์ ,พูนสวัสดิ์ ธีมากร, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, อบ บุญติด เป็นต้น", "title": "ประสาน ศิลป์จารุ" }, { "docid": "14722#13", "text": "ศาสตราจารย์ศิลป์ยังเป็นคนที่ตั้งใจในการทำงานอย่างแท้จริง ท่านจะมาทำงานตั้งแต่เช้าตรู่ ใช้เวลาพักผ่อนในช่วงกลางวันแค่สั้นๆเพื่อที่จะไม่เป็นการเสียเวลาต่อการทำงาน และจะกลับบ้านก็ต่อเมื่อค่ำแล้วเท่านั้น โดยจะใช้เวลาไปกับการทำงานในห้องทำงาน สอนนักศึกษาและหาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา ในภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านจะพิมพ์คัดลอกเอกสารสำหรับสอนนักศึกษาไว้เพิ่มเติมอีกหนึ่งชุดเสมอเพื่อป้องกันความเสียหายจากระเบิด หลังจากสงครามสิ้นสุดท่านจำต้องขายทั้งรถ บ้านและที่ดินเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตการเงินครอบครัว แต่ก็ยังปั่นจักรยานจากบ้านทางถนนสุขุมวิทมาสอนอยู่ทุกวัน เมื่อจำเป็นต้องเดินทางกลับอิตาลีเพราะวิกฤตทางการเงินแต่ท่านก็ยังห่วงงานที่ประเทศไทยที่ยังคงคั่งค้าง จึงจำเป็นต้องแยกทางกับครอบครัวเพื่อที่จะมาสานต่ออุดมการณ์ของท่านต่อ ในช่วงบั้นปลายแม้จะป่วยหนักแต่ศาสตราจารย์ศิลป์ก็ยังทำงานของท่านต่อ ท่านยังตรวจข้อสอบของนักศึกษาในขณะที่รักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช ท่านได้บอกกล่าวกับลูกศิษย์ไว้ว่า \"นาย ถ้าฉันตาย นายนึกถึงฉัน นายรักฉัน นายไม่ต้องไปทำอะไร นายทำงาน\" ซึ่งเป็นคำสอนที่ลูกศิษย์ยึดถือไว้อีกประโยคหนึ่งเพื่อช่วยสืบต่ออุดมการณ์ของศาสตรจารย์ศิลป์ในการพัฒนาวงการศิลปะไทยต่อไปตราบนานเท่านาน", "title": "ศิลป์ พีระศรี" } ]
142
รางวัลบลูริบบันด์ มอบให้โดยใคร ?
[ { "docid": "206158#2", "text": "ต่อมาในปี ค.ศ. 1935 เซอร์แฮโรลด์ เฮลส์ นักการเมืองและเจ้าของบริษัทเดินเรือทะเลชาวอังกฤษ ได้ริเริ่มมอบถ้วยรางวัล ชื่อว่า \"เฮลส์ โทรฟี\" () สร้างด้วยเงิน มีความสูง 1.2 เมตร น้ำหนักประมาณ 46 กิโลกรัม สลักชื่อเรือที่ครองสถิติ มอบให้กับเรือที่ได้รางวัลบลูริบบันด์นี้", "title": "บลูริบบันด์" } ]
[ { "docid": "206158#0", "text": "บลูริบบันด์ () เป็นชื่อรางวัลที่มอบให้กับเรือที่เป็นเจ้าของสถิติเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกด้วยเวลาน้อยที่สุด โดยยึดถือจากความเร็วเฉลี่ยตลอดการเดินทาง", "title": "บลูริบบันด์" }, { "docid": "267685#1", "text": "ในงานมอบรางวัลประจำปีครั้งที่ 50 ของรางวัลแกรมมี อัลบั้ม \"แบ็กทูแบล็ก\" ได้รับ 5 รางวัล (เทียบเท่ากับ ลอรีน ฮิลล์ อลิเชีย คีย์ส นอราห์ โจนส์ บียอนเซ่ และอลิสัน เคราส์) ที่เป็นศิลปินหญิงที่ได้รับรางวัลมากที่สุดในงานมอบรางวัลครั้งเดียว อัลบั้มได้รับสาขา เพลงป็อปยอดเยี่ยม ขณะที่เพลง \"Rehab\" ได้รับรางวัลเพลงป็อปหญิงยอดเยี่ยม เพลงแห่งปี และบันทึกเสียงแห่งปี ไวน์เฮาส์เองยังได้รับรางวัลศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม จนถึงบัดนี้อัลบั้มขายได้ 15,197,000 ชุดทั่วโลก กับยอดขาย 5.5 ล้านชุดในปี 2007 ถือเป็นอัลบั้มขายดีที่สุดแห่งปี", "title": "แบ็กทูแบล็ก" }, { "docid": "206158#1", "text": "บลูริบบันด์มีที่มาจากการแข่งขันของบริษัทเดินเรือทะเลข้ามมหาสมุทรแอนแลนติก ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1860 เพื่อใช้ประกาศต่อสาธารณชน และแสดงภาพพจน์ของบริษัท โดยแบ่งออกเป็นสองรางวัล มอบให้เรือที่ครองสถิติการเดินทางขาไปทางทิศตะวันออก (eastbound) จากทวีปอเมริกาไปทวีปยุโรป และขาไปทางทิศตะวันตก (westbound) จากทวีปยุโรปไปทวีปอเมริกา", "title": "บลูริบบันด์" }, { "docid": "908484#33", "text": "ในวันที่ 5 ธันวาคม 2559 Bloomberg Philanthropies ได้กลายเป็นผู้บริจาคเพื่อการต่อต้านการสูบบุหรี่มากที่สุดในประเทศกำลังพัฒนา\nองค์กรได้ประกาศว่าจะให้ทรัพย์อีก 360 ล้านเหรียญ (11,700 ล้านเหรียญ) นอกเหนือจากที่ตั้งใจไว้ก่อนแล้ว โดยรวมเป็นทรัพย์ที่บริจาคหรือตั้งใจบริจาคทั้งหมด 1,000 ล้านเหรียญ (32,500 ล้านบาท)\nเงินก้อนใหม่นี้จะช่วยขยายงานที่มีอยู่แล้ว เช่น ชักนำให้ประเทศต่าง ๆ ตรวจตราการสูบบุหรี่ ออกกฎหมายที่เข้มงวดเพื่อควบคุม และรณรงค์ทางสื่อมวลชนเพื่อให้การศึกษาแก่สาธารชนเกี่ยวกับอัตรายของ บุหรี่\nเป็นโปรแกรมที่ทำในประเทศ 110 ประเทศ รวมทั้งจีน อินเดีย อินโดนีเซีย บังกลาเทศ\nและประเทศไทย", "title": "ไมเคิล บลูมเบอร์ก" }, { "docid": "206158#3", "text": "ปัจจุบัน ถ้วยรางวัลของเฮลส์อยู่ในการครอบครองของเรือ เอสเอส ยูไนเต็ดสเตตส์ สัญชาติอเมริกัน ที่ทำลายสถิติของเรือ อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี สัญชาติอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1952 ทั้งขาตะวันออกด้วยสถิติ 3 วัน 20 ชั่วโมง 42 นาที (เฉลี่ย 35.59 นอต) และขาตะวันตกด้วยสถิติ 3 วัน 12 ชั่วโมง 12 นาที (เฉลี่ย 34.51 นอต) และยังเป็นเจ้าของสถิติขาตะวันตกอยู่จนถึงทุกวันนี้ ถ้วยรางวัลเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ของท่าเรือคิงสพอยน์ นิวยอร์ก", "title": "บลูริบบันด์" }, { "docid": "135805#33", "text": "นอกจากนั้น ยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล 3 รางวัล ในงานประกาศผลรางวัลเพลง แกรมมี่ครั้งที่ 54 โดย สามารถคว้าไปได้ 1 รางวัล นั่นคือ รางวัล Best R&B Album โดยบราวน์ได้ขึ้นแสดงโชว์ ถึง 2 รอบ เป็นการปรากฏตัวครั้งแรกในงานนี้ หลังจากเหตุการณ์ถูกทำโทษจากกรณีทำร้ายร่างกาย", "title": "คริส บราวน์" }, { "docid": "185626#11", "text": "วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 กั๊กกี้ได้รับรางวัลนักแสดงหน้าใหม่ในงาน บลู ริบบอน อวอร์ด ครั้งที่ 50 (50th Blue Ribbon Awards) ซึ่งก่อนหน้านี้เธอเคยได้รับรางวัลนักแสดงหน้าใหม่จากสถาบันอื่นมาแล้วถึง 4 ครั้ง จากบทแสดงนำในภาพยนตร์ 3 เรื่อง โค่ยซุรุ มาโดริ, วารุ โบโระ, และ รักเรา...นิรันดร (Sky of Love) ในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2551 เธอก็ได้รับรางวัล โกลเด้น แอร์โรว์ อวอร์ด ซึ่งรางวัลนี้เป็นรางวัลที่ 6 เธอได้รับจากการแสดงภาพยนตร์ 3 เรื่อง", "title": "ยุอิ อะระงะกิ" }, { "docid": "827#3", "text": "รางวัลโนเบลเป็นความตั้งใจก่อนเสียชีวิตของ อัลเฟรด โนเบล (Alfred Nobel) นักเคมีชาวสวีเดน ผู้คิดค้นระเบิดไดนาไมต์ ซึ่งรู้สึกเสียใจจากการที่ระเบิดของเขาถูกนำไปใช้ในการคร่าชีวิตมนุษย์ เขาจึงมอบ 94% ของทรัพย์สินมาให้เป็นเงินทุนในรางวัลโนเบล 5 สาขา (เคมี, การแพทย์, วรรณกรรม, สันติภาพ และฟิสิกส์)", "title": "รางวัลโนเบล" }, { "docid": "577462#0", "text": "2013 บิลบอร์ด มิวสิก อวอร์ด () เป็นรางวัลแห่งวงการดนตรีอเมริกัน ที่จัดขึ้นโดยนิตยสารเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเพลงในอเมริกา \"บิลบอร์ด\" ซึ่งงานประกาศผลรางวัลจัดขึ้นที่ เอ็มจีเอ็ม แกรนด์ การ์เด้น อารีนา (MGM Grand Garden Arena) ในนครลาสเวกัส รัฐเนวาดา ประเทศสหรัฐอเมริกา จัดขึ้นในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ถ่ายทอดสดผ่านทางเอบีซี โดยมีพิธีกรประจำงานคือ \"เทรซี มอร์แกน\" ซึ่งผู้ที่ได้รับรางวัลศิลปินแห่งปีได้แก่ \"เทย์เลอร์ สวิฟต์\" และยังเป็นผู้ที่ได้รับรางวัลเยอะที่สุดในปีนี้ด้วย ด้วยรางวัลทั้งหมด 8 รางวัลจากการเสนอชื่อเข้าชิงทั้งหมด 11 รางวัล นอกจากนี้ยังมีการมอบรางวัลสาขาใหม่คือ \"รางวัลบิลบอร์ดไมล์สโตน\" (Billboard Milestone Award) สนับสนุนโดย เชฟโรเลต ซึ่งผู้ที่ได้รับรางวัลนี้คือ \"จัสติน บีเบอร์\"", "title": "2013 บิลบอร์ด มิวสิก อวอร์ด" } ]
144
ปฐมกษัตริย์แห่ง ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ คือใคร?
[ { "docid": "161133#1", "text": "จากนั้นราชวงศ์เวสเซ็กซ์ก็ปกครองอังกฤษทั้งหมดที่เรียกว่า “Bretwalda” ตั้งแต่ สมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช ในปี ค.ศ. 871 ไปจนถึงสมเด็จพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 2 แห่งอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1016 การปกครองของราชวงศ์เวสเซ็กซ์มักจะมีผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์จากฝ่ายอื่นโดยเฉพาะจาก บริเวณเดนลอว์ (Danelaw) ที่ปกครองโดยกฎหมายของเดนมาร์ก และต่อมาโดยสเวน ฟอร์คเบียร์ดผู้ยึดราชบัลลังก์ระหว่าง ค.ศ. 1013 ถึง ค.ศ. 1014 ระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอเธล์เรดที่ 2 แห่งอังกฤษ พระเจ้าสเวน ฟอร์คเบียร์ดและผู้สืบเชื้อสายของพระองค์ปกครองอังกฤษจนปี ค.ศ. 1042 หลังจากรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าฮาร์ธาคานูท ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ก็ได้รับการฟื้นฟูอยู่ชั่วระยะหนึ่งระหว่างปี ค.ศ. 1042 ถึงปี ค.ศ. 1066 ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ และ สมเด็จพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสัน หรือพระเจ้าฮาโรลด์ที่ 2 ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ก็สิ้นสุดลงไม่นานหลังจากยุทธการเฮสติงส์โดยสมเด็จพระเจ้าเอ็ดการ์ เอเธลลิงผู้ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าฮาโรลด์ถูกปลดจากราชบัลลังก์โดยดยุคแห่งนอร์มังดีผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ หรือ “พระเจ้าวิลเลียมผู้พิชิต” (William the Conqueror) ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์นอร์มันผังลำดับเครือญาติ (family tree) ของราชวงศ์เวสเซ็กซ์", "title": "ราชวงศ์เวสเซกซ์" } ]
[ { "docid": "881966#0", "text": "เอเธลบาลด์ [ภาษาอังกฤษ Aethelbald หรือ Ethelbald] กษัตริย์ของชาวเวสเซ็กซ์ ทรงเป็นโอรสองค์ที่สองจากห้าพระองค์ของพระเจ้าเอเธลวูล์ฟกับออสเบอร์ที่เป็นลูกสาวของข้าราชบริพารคนหนึ่งของพระองค์และตัวพระนางเองสืบเชื้อสายมาจากสายราชวงศ์ของเวสเซ็กซ์ ขณะที่พระราชบิดาของพระองค์ เอเธลวูล์ฟ เสด็จไปจาริกแสวงบุญที่โรมในปีค.ศ.855 เอเธลบาล์ดวางแผนกับบิชอปแห่งเชอร์บอร์นและผู้นำท้องถิ่นของซัมเมอร์เซ็ตต่อต้านพระองค์ รายละเอียดของแผนการไม่เป็นที่รู้ แต่เมื่อกลับมาจากโรม เอเธลวูล์ฟพบว่าพระราชอำนาจของพระองค์ถูกจำกัดเหลือแค่กษัตริย์ย่อยแห่งเคนต์ ขณะที่เอเธลบาลด์ควบคุมเวสเซ็กซ์", "title": "เอเธล์บาลด์ กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์" }, { "docid": "881967#0", "text": "เอเธลเบิร์ท [ภาษาอังกฤษ Aethelbert หรือ Ethelbert, ภาษาแองโกลแซ็กซัน Æþelberht] กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์ ทรงเป็นโอรสองค์ที่สามจากห้าพระองค์ของพระเจ้าเอเธลวูล์ฟกับออสเบอร์ที่ตัวพระนางเองสืบเชื้อสายมาจากสายราชวงศ์ของชาวเวสเซ็กซ์ ช่วงสั้นๆก่อนที่เอเธลวูล์ฟจะเสด็จไปโรมในปีค.ศ. 855 เอเธลเบิร์ทได้รับการแต่งตั้งเป็นกษัตริย์ย่อยแห่งเคนต์ (จริงๆคือเคนต์, เอสเซ็กซ์, เซอร์รีย์ และซัสเซ็กซ์) ตำแหน่งที่พระองค์ดำรงอยู่จนถึงปี ค.ศ. 860", "title": "เอเธล์เบิร์ท กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์" }, { "docid": "975000#1", "text": "ปี ค.ศ. 865 มองเห็นได้ถึงการมาถึงของกองทัพนอกรีตขนาดใหญ่ในอีสต์แองเกลีย ราชอาณาจักรแองโกลแซกซันถูกชาวเดน (ชาวไวกิ้ง) ปราบทีละแห่ง จนเมื่อเกือบถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 ราชอาณาจักรที่เป็นเอกราชสี่แห่งสุดท้ายของอังกฤษถูกลดเหลือเพียงหนึ่งแห่ง เวสเซกซ์คือราชอาณาจักรเดียวที่ยังไม่ถูกชาวไวกิงทำลาย ภายใต้พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช เวสเซกซ์กลายเป็นใจกลางของอังกฤษที่ถูกรวมเป็นหนึ่งเดียว พระนัดดาของพระองค์ อาเธลสตาน เป็นปฐมกษัตริย์แห่งอังกฤษ", "title": "กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์" }, { "docid": "218325#0", "text": "กัว เวย์ (郭威; 10 กันยายน 904 – 22 กุมภาพันธ์ 954) หรือเป็นที่รู้จักตามชื่อวัดประจำรัชกาลว่า ปฐมกษัตริย์ (太祖) เป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์โจวยุคหลังในประเทศจีนสมัยห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร อยู่ในสมบัติตั้งแต่ปี 951 จนสิ้นชีวิต", "title": "กัว เวย์" }, { "docid": "881966#5", "text": "พระเจ้าเอเธลวูล์ฟกลับมาในปีค.ศ.856 พร้อมกับเจ้าสาวคนใหม่ จูดิธ ธิดาของกษัตริย์ของแฟรงก์ ชาร์ลผู้หัวล้าน แอสเซอร์รายงานว่าช่วงที่เอเธลวูล์ฟไม่อยู่ มีการวางแผนขัดขวางการกลับมาของพระองค์ซึ่งแอบวางแผนการกันที่ฝั่งตะวันตกของเวสเซ็กซ์ทั้งโดยเอเธลบาลด์ หรือโดยเอลสตาน บิชอปแห่งเชอร์บอร์น และเอียนวูล์ฟ ผู้นำทองถิ่นแห่งซัมเมอร์เซ็ต หรืออาจจะทั้งสามคน ขณะที่กษัตริย์ของชาวแฟรงก์เดินหน้าสร้างความปลอดภัยให้กับธิดาของพระองค์ ดูไม่น่าเป็นไปได้ที่พระองค์จะยอมส่งตัวธิดาให้กับประเทศที่มีสงครามกลางเมือง เป็นไปได้มากกว่าว่าเอเธลบาลด์คงก่อการปฏิวัติหลังจากทราบข่าวการอภิเษกสมรสของพระราชบิดากับจูดิธ เนื่องจากเจ้าหญิงชาวแฟรงก์มีเชื้อสายราชวงศ์เป็นของตัวเองและอาจประสูติรัชทายาทที่คู่ควรกับบัลลังก์มากกว่าพระองค์ แอสเซอร์บันทึกไว้ว่าเพื่อหลีกเลี่ยงสงครามกลางเมือง เอเธลวูล์ฟแบ่งอาณาจักรที่เคยเป็นเอกภาพ มอบหมายส่วนฝั่งตะวันตกให้เอเธลบาลด์และเก็บฝั่งตะวันออกไว้กับตัวอง มันถูกเข้าใจว่าหมายความว่าเอเธลบาลด์ได้เวสเซ็กซ์ ขณะที่เอเธลวูลวูล์ฟปลดเอเธลเบิร์ทออกจากตำแหน่งกษัตริย์แห่งเคนต์ แต่เวสเซ็กซ์และฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ที่เพิ่งพิชิตได้ไม่น่าจะเรียกว่าเป็นอาณาจักร \"ที่เคยเป็นเอกภาพ\" ได้ และผู้สมรู้ร่วมคิดของเอเธลบาลด์มาจากฝั่งตะวันตกของเวสเซ็กซ์ ดังนั้นแอสเซอร์และแหล่งข้อมูลอื่นๆอาจหมายความว่าเอเธลวูล์ฟกลับมาปกครองอาณาจักรของพระองค์ เป็นไปได้มากกว่าว่าเอเธลวูล์ฟคงเก็บเวสเซ็กซ์ตอนกลางและฝั่งตะวันออกไว้ ยอมให้เอเธลบาลด์ปกครองเวสเซ็กซ์ฝั่งตะวันตก การไม่เหรียญในพระนามของเอเธลบาลด์อาจหมายความว่าเหรียญของเวสเซ็กซ์อยู่ในพระนามของเอเธลวูล์ฟไปจนพระองค์สวรรคต", "title": "เอเธล์บาลด์ กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์" }, { "docid": "161067#0", "text": "พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ () (ราว ค.ศ. 943 หรือ ค.ศ. 944 - ค.ศ. 975) พระมหากษัตริย์อังกฤษในราชวงศ์เวสเซ็กซ์", "title": "พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ" }, { "docid": "881967#3", "text": "ในปีค.ศ.855 เอเธลเบิร์ทได้รับการแต่งตั้งเป็นกษัตริย์ย่อยแห่งเคนต์ ตำแหน่งที่ตามธรรมเนียมแล้วจะมอบให้กับรัชทายาทอันดับต้นๆของบัลลังก์แห่งเวสเซ็กซ์ พระองค์อยู่ในตำแหน่งนี้ในตอนที่พระราชบิดา เอเธลวูล์ฟ ไปเยือนโรมเพื่อจาริกแสวงบุญ พระเชษฐาของพระองค์ เอเธลบาลด์ ได้รับมอบหมายให้ดูแลเวสเซ็กซ์ เอเธลวูล์ฟดูเหมือนตั้งใจจะให้เอเธลเบิร์ทสร้างกิ่งก้านสาขาของกษัตริย์เวสเซ็กซ์ในเคนต์ ทว่าเมื่อเอเธลบาลด์สวรรคตในปีค.ศ.860 ความเป็นกษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์ถูกส่งต่อให้กับเอเธลเบิร์ท อาจจะเพราะเอเธลเร็ดกับอัลเฟรดยังเด็กเกินไปที่จะนำประเทศเผชิญหน้ากับการโจมตีของไวกิ้ง (อัลเฟรดพระชนมายุเพียง 11 ชันษา)", "title": "เอเธล์เบิร์ท กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์" }, { "docid": "881966#6", "text": "ไม่ว่าสถานการณ์ในช่วงระหว่างที่เอเธลวูล์ฟกลับมาในปีค.ศ.856 จนถึงการสวรรคตของพระองค์ในปีค.ศ.858 จะเป็นเช่นไร หลังการสวรรคตของเอเธลวูล์ฟ เอเธลบาลด์ขึ้นเป็นกษัตริย์เพียงพระองค์เดียวของชาวเวสเซ็กซ์ และพระอนุชาของพระองค์ยังคงเป็นกษัตริย์แห่งเคนท์", "title": "เอเธล์บาลด์ กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์" }, { "docid": "881965#12", "text": "แหวนมีเส้นผ่าศูนย์ประมาณ 26 มม. หัวแหวนกลม เลี่ยมด้วยเครื่องถม มีรูปลูกแกะของพระเจ้าและตัวอักษร A กับ D (Agnus Dei หรือลูกแกะของพระเจ้า) ที่สลักอยู่ด้านหลังคือคำว่า \"พระราชินีเอเดลสวิด\" เช่นเดียวกับแหวนของเอเธลววูล์ฟ มันถูกตีความว่าเป็นของขวัญหรือสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการ ไม่ใช่สมบัติของราชวงศ์", "title": "เอเธล์วูลฟ์ กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์" } ]
156
คาร์บอน คืออะไร?
[ { "docid": "14908#0", "text": "ธาตุหมู่ 14 () หรือ ธาตุหมู่คาร์บอน () คือ อนุกรมเคมีของธาตุเคมีในตารางธาตุ ที่มีจำนวนอิเล็กตรอนในวงโคจรชั้นนอกสุดของอะตอมเท่ากับ 4 แนวโน้มการสูญเสียอิเล็กตรอนของธาตุเหล่านี้จะแปรผันตามขนาดของอะตอมที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งก็หมายถึงจำนวนเลขอะตอมที่เพิ่มขึ้นด้วย ธาตุคาร์บอนตามลำพังตัวมันเองจะแสดงตัวเป็นไอออนปะจุลบ คือ คาร์ไบด์ไออน (carbide (C) ions) ส่วนทั้งซิลิกอน และ เจอร์เมเนียมเป็นธาตุกึ่งโลหะจะแสดงตัวเป็นไอออน +4 ( ions)", "title": "หมู่คาร์บอน" }, { "docid": "2698#3", "text": "คาร์บอนปรากฏในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด และเป็นพื้นฐานของอินทรีย์เคมี นอกจากนี้ อโลหะนี้มีคุณสมบัติทางเคมีที่น่าสนใจ คือ สามารถทำพันธะกับตัวเอง และธาตุอื่น ๆ เป็นจำนวนมาก เกิดได้เป็นสารประกอบเกือบ 10 ล้านชนิด เมื่อรวมกับออกซิเจน จะเกิดเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตของพืช เมื่อรวมกับไฮโดรเจน จะเกิดเป็นสารประกอบต่าง ๆ ที่เรียกรวม ๆ ว่าไฮโดรคาร์บอน ซึ่งจำเป็นต่ออุตสาหกรรมในรูปแบบของเชื้อเพลิงฟอสซิล เมื่อรวมกับทั้งไฮโดรเจนและออกซิเจน สามารถจะเกิดเป็นสารประกอบได้หลายประเภท เช่น กรดไขมัน ซึ่งจำเป็นต่อชีวิต และเอสเทอร์ ซึ่งให้รสชาติแก่ผลไม้หลายชนิด ไอโซโทป คาร์บอน-14ใช้ในการวัดอายุโดยใช้กัมมันตภาพรังสี", "title": "คาร์บอน" }, { "docid": "2698#0", "text": "คาร์บอน () เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ C และเลขอะตอม 6 เป็นธาตุอโลหะที่มีอยู่มาก มีวาเลนซ์ 4 และมีหลายอัญรูป:Lamp black ประกอบด้วยพื้นที่ที่เป็นแกรไฟต์ขนาดเล็ก ๆ ซึ่งพื้นที่เหล่านี้จะกระจายสุ่ม จึงมีโครงสร้างไอโซโทรปิก", "title": "คาร์บอน" } ]
[ { "docid": "514345#0", "text": "คาร์บอนซับออกไซค์ หรือ ไตรคาร์บอนซับออกไซค์ คือปริมาณออกไซด์ของคาร์บอนที่มีอยู่ในสูตรเคมี CO หรือ O=C=C=C=O ในสี่ที่สะสมของพันธะคู่ทำให้เป็น คูมูเลน จะเป็นหนึ่งในสมาชิกที่มีเสถียรภาพของชุดของเส้นออกโซคาร์บอน O=C=O ซึ่งยังรวมถึง คาร์บอนไดออกไซด์ (CO) และเพนตาคาร์บอนไดออกไซค์ (CO)", "title": "คาร์บอนซับออกไซค์" }, { "docid": "235181#0", "text": "เตตระฟลูออโรมีเทน หรือ คาร์บอนเตตระฟลูออไรด์ เป็นสารฟลูออโรคาร์บอนอย่างง่ายที่สุด (CF) มีพันธะทางเคมีที่แข็งแรกเนื่องจากเป็นพันธะระหว่างคาร์บอนกับฟลูออรีน สามารถจัดอยู่ในกลุ่มสารฮาโลอัลเคนหรือฮาโลมีเทน เนื่องจากพันธะระหว่างคาร์บอนและฟลูออรีนถึงสี่พันธะและค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีของฟลูออรีนที่สุด คาร์บอนในโมเลกุลนี้จึงมีประจุบวกอย่างมีนัยสำคัญซึ่งทำให้ทำให้มีลักษณะของพันธะไอออนิก เตตระฟลูออโรมีเทนเป็นก๊าซเรือนกระจก", "title": "คาร์บอนเตตระฟลูออไรด์" }, { "docid": "34905#13", "text": "แอลเคน หรือที่รู้จักกันว่า พาราฟิน เป็นไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัวที่เป็นโซ่ตรงหรือโซ่กิ่งที่มีเฉพาะธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบ มีสูตรทั่วไปว่า CH โดยทั่วไปมักมีคาร์บอน 5 ถึง 40 อะตอมต่อโมเลกุล แม้จะมีโมเลกุลที่สั้นกว่าหรือยาวกว่าบ้างในสารผสม", "title": "ปิโตรเลียม" }, { "docid": "152611#11", "text": "คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์และกลุ่มทั้ง 3 ของแก๊สฟลูโอริเนต ( gas) ได้แก่ ซัลเฟอร์เฮกซาฟลูออไรด์ (, ไฮโดรฟลูโอโรคาร์บอน () และเพอฟลูโอโรคาร์บอน ) นับเป็นแก๊สเรือนกระจกที่กำหนดไว้ในพิธีสารเกียวโต ซึ่งได้ถึงกำหนดการบังคับใช้ใน พ.ศ. 2548", "title": "แก๊สเรือนกระจก" }, { "docid": "14321#0", "text": "คาร์โบไฮเดรต () เป็นสารชีวโมเลกุลที่สำคัญที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด คำว่าคาร์โบไฮเดรตมีรากศัพท์มาจากคำว่า คาร์บอน (carbon) และคำว่าไฮเดรต (hydrate) อิ่มตัวไปด้วยน้ำ ซึ่งรวมกันก็หมายถึงคาร์บอนที่อิมตัวไปด้วยน้ำ เนื่องจากสูตรเคมีอย่างง่ายก็คือ (C•HO) n ซึ่ง n≥3 โดยคาร์โบไฮเดรตจัดเป็นสารประกอบแอลดีไฮด์ (aldehyde) หรือคีโทน (ketone) ที่มีหมู่ไฮดรอกซิล (hydroxyl group, -OH) เกาะอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเรียกว่า สารประกอบโพลีไฮดรอกซีแอลดีไฮด์ (polyhydroxyaldehyde) หรือ โพลีไฮดรอกซีคีโทน (polyhydroxyketone) ซึ่งการที่มีหมู่ไฮดรอกซิลในโมเลกุลนั้น ทำให้เกิดการวางตัวกัน และยังสามารถทำปฏิกิริยาหรือสร้างพันธะกับสารอื่นๆได้ ดังนั้น คาร์โบไฮเดรตจึงมีความหลากหลายทั้งในด้านของโครงสร้างทางเคมี และบทบาททางชีวภาพอีกด้วย หน่วยที่เล็กทีสุดของคาร์โบไฮเดรตก็คือน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวหรือโมโนแซคคาร์ไรด์", "title": "คาร์โบไฮเดรต" }, { "docid": "988858#2", "text": "ตำแหน่งพันธะคู่ของคาร์บอนกับคาร์บอนภายในโซ่กรดคาร์บอกซิลิก จะระบุเป็นอักษรกรีก\nอะตอมคาร์บอนที่ใกล้กลุ่มคาร์บอกซิลมากที่สุดเรียกว่าคาร์บอน\"อัลฟา\" ถัดไปเรียกว่าคาร์บอน\"บีตา\" เป็นต้น\nอะตอมคาร์บอนในกลุ่มเมธิล (methyl group) ท้ายสุดของโซ่ไฮโดรคาร์บอนเรียกว่าคาร์บอน \"โอเมกา\" เพราะเป็นอักษรสุดท้ายของชุดตัวอักษร\nกรดไขมันโอเมกา-3 มีพันธะคู่ห่างจากคาร์บอนโอเมกา 3 คาร์บอน เทียบกับกรดไขมันโอเมกา-6 ที่มีพันธะคู่ห่างจากคาร์บอนโอเมกา 6 คาร์บอน (ดูรูป)", "title": "ไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่" }, { "docid": "15995#2", "text": "กรดไขมันเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของไขมันทุกชนิด มีคาร์บอนตั้งแต่ 4 – 36 ตัว ไม่แตกกิ่ง พันธะระหว่างคาร์บอนอาจเป็นพันธะเดี่ยวทั้งหมด ซึ่งเรียกว่ากรดไขมันอิ่มตัว หรือมีพันธะคู่ปนกับพันธะเดี่ยว ซึ่งเรียกว่ากรดไขมันไม่อิ่มตัว จำนวนของคาร์บอนในกรดไขมันส่วนใหญ่มักเป็นเลขคู่ จุดหลอมเหลวของกรดไขมันขึ้นกับจำนวนคาร์บอนและจำนวนพันธะคู่ เช่นที่อุณหภูมิห้อง กรดไขมันอิ่มตัวที่มีคาร์บอน 12 – 24 ตัวอยู่ในสภาพเป็นไข ในขณะที่กรดไขมันไม่อิ่มตัวที่มีคาร์บอนเท่ากันยังเป็นน้ำมันอยู่ เป็นต้น", "title": "ลิพิด" }, { "docid": "3557#0", "text": "กรดไขมัน () เป็นกรดคาร์บอกซิลิก (carboxylic acid) ซึ่งมีหางเป็นโซ่แบบ อะลิฟาติก (aliphatic) ยาวมีทั้งกรดไขมันอิ่มตัว (saturated) และกรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated) กรดไขมันจะมีคาร์บอน อย่างน้อย 8 อะตอม และส่วนใหญ่จะเป็นจำนวนเลขคู่ เพราะกระบวนการชีวสังเคราะห์ ของกรดไขมันจะเป็นการเพิมโมเลกุลของอะซิเตต ซึ่งมีคาร์บอน อยู่ 2 อะตอม", "title": "กรดไขมัน" } ]
160
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคือกษัตริย์องค์ที่เท่าไหร่แห่งราชวงศ์จักรี?
[ { "docid": "4253#0", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระองค์ที่ 1 ในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เสวยราชสมบัติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. 2411 เสด็จสวรรคต เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 11 แรม 4 ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ด้วยโรคพระวักกะ", "title": "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" } ]
[ { "docid": "4253#24", "text": "หากไม่นับรวมรัชกาลที่ 1-4 แล้ว ถือว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระบรมอรรคราชบรรพบุรุษของพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ โดยเป็นสมเด็จพระบรมชนกนาถของพระมหากษัตริย์ไทย 2 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสมเด็จพระบรมอัยกาธิราชของพระมหากษัตริย์ไทยอีก 2 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รวมถึงยังเป็นสมเด็จพระบรมปัยกาธิราชของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร", "title": "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "42751#0", "text": "สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า (พระนามเดิม พระเทียรราชา) พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 15 แห่งอาณาจักรอยุธยา เป็นพระมหากษัตริย์ที่ได้รับการยกย่องว่ามีบุญญาธิการมากเพราะทรงมีช้างเผือกในครอบครองถึง 7 ช้าง จนได้รับการขนานพระนามว่า พระเจ้าช้างเผือก ในรัชกาลนี้ เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านทางการเมืองจากคราวขุนวรวงศาธิราช สภาพบ้านเมืองไม่ได้สงบสุขเท่าที่ควร มีเหตุการณ์ความไม่สงบทั้งภายในและภายนอก โดยเฉพาะสงครามกับกรุงหงสาวดี", "title": "สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ" }, { "docid": "120752#1", "text": "เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 4 ในพระบรมราชจักรีวงศ์ พระองค์ทรงสถาปนา สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคลรับพระบวรราชโองการ มีพระเกียรติยศเสมอด้วยพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 2 พระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนั้น พระองค์จึงมีพระราชดำริให้ปรับปรุงพระบวรราชวังครั้งใหญ่เพื่อให้สมพระเกียรติยศในฐานะที่เป็นสถานที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว", "title": "พระที่นั่งคชกรรมประเวศ" }, { "docid": "22735#0", "text": "เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า () สถาปนาขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2416 ด้วยทรงเห็นว่าพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีทรงอยู่ในราชสมบัติยั่งยืนนานมาเป็นเวลา 90 ปี ก็ด้วยความจงรักภักดีและการปฏิบัติราชการของพระบรมวงศานุวงศ์และบรรดาขุนนางข้าราชการทั้งปวง ทั้งมีพระราชประสงค์จะทรงชุบเลี้ยงบรรดาทายาทของบุคคลเหล่านี้ ให้มีความเจริญรุ่งเรืองในราชการสืบเนื่องต่อไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทายาทของผู้ได้รับพระราชทานสามารถรับพระราชทานตราสืบตระกูลของบิดาได้ โดยพระราชทานนามพระองค์ \"จุลจอมเกล้า\" เป็นนามของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้ พร้อมทรงคิดคำขวัญจารึกบนดวงตราว่า \"เราจะบำรุงตระกูลวงศ์ให้เจริญ\"", "title": "เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า" }, { "docid": "897064#0", "text": "พระเจ้าธรรมเจดีย์ (, ; c. 1409–1492) กษัตริย์องค์ที่ 16 แห่ง อาณาจักรหงสาวดี ครองสิริราชสมบัติระหว่างปี ค.ศ. 1471 ถึง 1492 เป็นหนึ่งในผู้ปกครองที่มีความรู้ความสามารถมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของพม่าและมอญ โดยกล่าวกันว่าพระองค์เป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดากษัตริย์หงสาวดีทั้งหมด เดิมพระองค์เป็นพระภิกษุมีสมณศักดิ์ว่า \"พระมหาปิฎกธร\" และเป็นผู้ต้านทานอำนาจของอาณาจักรอังวะ ในวัยเยาว์พระองค์เป็นที่ปรึกษาที่เชื่อถือได้และเป็นพระโอรสบุญธรรมของพระนางเชงสอบู เมื่อพระชนมายุได้ 48 พรรษา พระองค์พร้อมลูกศิษย์ได้แอบไปช่วยพระนางเชงสอบูจากกรุงอังวะกลับมายัง กรุงหงสาวดี แต่เพราะความละอายทำให้พระองค์ตัดสินพระทัยลาสิกขาพระนางเชงสอบูจึงยกพระธิดาพระองค์หนึ่งให้อภิเษกสมรสพร้อมกับตั้งให้พระองค์เป็นรัชทายาท เนื่องจากราชวงศ์ในขณะนั้นไร้เชื้อพระวงศ์ที่เป็นผู้ชาย เมื่อพระนางเชงสอบูสละราชบัลลังก์ องค์รัชทายาทได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาเป็น \"พระเจ้าธรรมเจดีย์\"", "title": "พระเจ้าธรรมเจดีย์" }, { "docid": "4281#0", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 - 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 7 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง เวลา 12.25 น. หรือตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 76 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระองค์ที่ 9 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 และทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 รวมดำรงสิริราชสมบัติ 9 ปี เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 สิริพระชนมพรรษา 47 พรรษา", "title": "พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "4261#0", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ปีฉลู รวมพระชนมายุ 45 พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 15 ปี", "title": "พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "111850#1", "text": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนเจริญผลภูลสวัสดิ์ เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 49 ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสัมฤทธิ์ เมื่อวันอังคาร ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน ตรงกับวันที่ 28 สิงหาคมพ.ศ. 2370 พระนามเดิม พระองค์เจ้าชมพูนุท พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯสถาปนาเป็น\"กรมหมื่นเจริญผลพูลสวัสดิ์\" ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ทรงกำกับมหาดเล็ก ช่างกระดาษ ช่างเขียนผู้หญิง และคลังพิมานอากาศ แล้วทรงเลื่อนเป็น\"กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์\"", "title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนเจริญผลภูลสวัสดิ์" }, { "docid": "153987#15", "text": "อย่างไรก็ตามพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มีพระกรุณาด้วยทรงเห็นว่าเป็นเชื้อพระวงศ์ฝ่ายใน ประกอบกับก่อนหน้านี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยมีพระราชกระแสเมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็น กรมขุนพินิตประชานาถ ความว่า \"\"...ถ้าเจ้าได้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ในกระบวนพี่น้องทั้งหมด จะมีพระองค์หญิงหนึ่งองค์ และพระองค์ชายอีกหนึ่งองค์ ทรงกระทำความผิดเป็นมหันตโทษ ขอให้ไว้ชีวิตพระองค์เจ้าพี่น้องทั้งสองพระองค์ด้วย...\"\" ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชทานอภัยโทษเฆี่ยน 90 ที (3 ยก) กับโทษประหารเสียด้วย แต่โปรดเกล้าให้ริบราชบาตรสวิญญาณกทรัพย์, อวิญญาณกทรัพย์ เข้าเป็นของหลวงสำหรับซ่อมแซมพระอารามและสิ่งก่อสร้างที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างไว้ ทั้งถอดยศพระองค์เจ้าให้เป็นหม่อมเรียกอย่างสามัญชน และให้จำสนม (คุกฝ่ายใน) นอกจากนั้นให้ทำตามลูกขุนผู้พิจารณาปรับโทษ ดังปรากฏในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ตรงกับวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2429 มีข้อความตอนหนึ่งว่า", "title": "หม่อมยิ่ง" } ]
163
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร อยู่ราชวงศ์ใด?
[ { "docid": "4284#18", "text": "\"พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จุฬาลงกรณราชปรียวรนัดดา มหิตลานเรศวรางกูร ไอศูรยสันตติวงศวิสุทธ์ วรุตมขัตติยศักตอรรคอุดม จักรีบรมราชวงศนิวิฐ ทศพิธราชธรรมอุกฤษฎนิบุณ อดุลยกฤษฎาภินิหารรังสฤษฎ์ สุสาธิตบูรพาธิการ ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ ธัญอรรคลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคล อเนกนิกรชนสโมสรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สรรพรัฐทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวไศรย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ วิศิษฏศักตอัครนเรศรามาธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการ สกลไพศาลมหารัษฎาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร\"", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#1", "text": "พระองค์เสด็จขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 ขณะที่มีพระชนมายุเพียง 8 พรรษา และทรงประทับอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ดังนั้น จึงมีการแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินจนกว่าพระองค์จะทรงบรรลุนิติภาวะ", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" } ]
[ { "docid": "4284#0", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (20 กันยายน พ.ศ. 2468 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489) เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ (ภายหลังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และหม่อมสังวาลย์ (ภายหลังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระชนกชนนีอีก 2 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช (ภายหลังทรงขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช)", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#3", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เป็นพระโอรสในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ณ เมืองไฮเดลแบร์ก สาธารณรัฐไวมาร์ (ปัจจุบันคือประเทศเยอรมนี) ขณะที่สมเด็จพระราชชนกทรงศึกษาการแพทย์ที่ประเทศเยอรมนี โดยได้รับพระราชทานพระนามจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า หม่อมเจ้าอานันทมหิดล มหิดล หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล โดยสมเด็จพระราชชนนีทรงออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการลำลองว่า \"นันท\" พระองค์ทรงมีสมเด็จพระเชษฐภคินี 1 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระอนุชา 1 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#17", "text": "หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ในโอกาสมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เป็นพระปรมาภิไธยอันวิเศษตามแบบแผนโบราณราชประเพณีว่า", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4284#19", "text": "นอกจากนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขานพระปรมาภิไธยอย่างมัธยมว่า \"พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล สกลไพศาลมหารัษฎาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร\" และอย่างสังเขปว่า \"พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร\"", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "19587#0", "text": "มหาอำมาตย์ตรี พันเอกพิเศษ จอมพลเรือ นายกองเอกเสือป่า สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (1 มกราคม พ.ศ. 2435 – 24 กันยายน พ.ศ. 2472) เป็นพระบรมราชชนกในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเป็นพระอัยกาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร", "title": "สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก" }, { "docid": "4284#6", "text": "วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ และมิได้ทรงสมมติเจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่งเป็นรัชทายาท ดังนั้น คณะรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรจึงได้อัญเชิญเสด็จพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดลที่มีพระชันษาเพียง 9 ปี ซึ่งเป็นเจ้านายเชื้อพระบรมวงศ์พระองค์ที่ 1 ในลำดับพระราชสันตติวงศ์ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 ขึ้นทรงราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล สืบพระราชสันตติวงศ์ต่อไปตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 และได้รับการเฉลิมพระนามใหม่เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2477 ว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "70175#0", "text": "สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา เดิมคือ เจ้าจอมมารดาเปี่ยม (สกุลเดิม: สุจริตกุล; ประสูติ: 5 มีนาคม พ.ศ. 2381 - พิราลัย: 13 เมษายน พ.ศ. 2447) พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมารดาของพระอัครมเหสีไทยถึงสามพระองค์คือ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี, สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ถือเป็นพระสัสสุ (แม่ยาย) ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระอัยยิกา (ยาย) ของพระมหากษัตริย์ไทยสองพระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ยังเป็นพระปัยยิกา (ย่าทวด) ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช", "title": "สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา" }, { "docid": "4284#16", "text": "การเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทำให้เกิดปัญหาในการเรียกขานพระนาม เนื่องจากพระองค์ยังไม่ได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณี แต่ต่อมา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระอนุสรณ์คำนึงถึงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลว่ายังพอจะสนองพระเดชพระคุณให้สมพระเกียรติได้ ด้วยการเฉลิมพระปรมาภิไธยและถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์บางองค์ เช่น นพปฎลมหาเศวตฉัตร ซึ่งใช้กางกั้นพระบรมศพและพระบรมอัฐิ ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2489 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชจึงประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลขึ้นเป็น \"พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย\"", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "4219#5", "text": "หลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระอนุชาคือพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช (ปัจจุบันคือพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช) จึงได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์ในวันเดียวกัน และภายหลังได้ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร) พระธิดาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคล กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ (หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร) กับหม่อมหลวงบัว กิติยากร (สนิทวงศ์) มีพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวคือสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ซึ่งทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน", "title": "ราชวงศ์จักรี" }, { "docid": "4284#7", "text": "ในขณะนั้นพระองค์ทรงมีพระชนมพรรษาเพียง 8 พรรษา และยังทรงประทับอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จึงทำให้ต้องมีการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพื่อบริหารราชการแผ่นดินแทนจนกว่าจะทรงบรรลุนิติภาวะ ได้แก่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" } ]
167
โทคิเมคิเมโมเรียล มีโรงเรียนชื่อว่าอะไร?
[ { "docid": "357794#2", "text": "ในซีรีส์ของโทคิเมคิแต่ละภาคจะกล่าวถึงตำนานโรแมนติคแตกต่างกันไปในแต่ละเมือง โดยในโรงเรียนฮิบิกิโนะนี้ ได้มีตำนานเล่าขานกันว่า ในวันจบการศึกษา หากชายหญิงคู่ใดไปสารภาพรักกันที่หอระฆังที่อยู่ด้านหลังโรงเรียน ถ้าเสียงระฆังที่เสียนี้ดังขึ้นอีกครั้งเมื่อไร ชายหญิงคู่นั้นจะสมหวังในรัก และมีความสุขตลอดไป", "title": "โทคิเมคิเมโมเรียล 2" }, { "docid": "358183#2", "text": "ในซีรีส์ของโทคิเมคิแต่ละภาคจะกล่าวถึงตำนานโรแมนติคแตกต่างกันไปในแต่ละเมือง โดยในโรงเรียนคิราเมคินี้ ในหมู่เหล่านักเรียนหญิงได้มีเรื่องเล่าขานถึงตำนานที่มีอยู่ว่า ในวันพิธีจบการศึกษานั้น หนุ่มสาวคู่ใดที่รักกันอย่างจริงใจเมื่อได้ไปสารภาพรักกันที่ใต้ต้นไม้ใหญ่เก่าแก่ที่อยู่หลังโรงเรียนแล้ว หนุ่มสาวคู่นั้นจะสมหวังในความรักและจะมีความสุขด้วยกันตลอดไป (ซึ่งตำนานนี้ได้ถูกนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งใน โทคิเมคิเมโมเรียล 4)", "title": "โทคิเมคิเมโมเรียล" } ]
[ { "docid": "358183#0", "text": "โทคิเมคิเมโมเรียล หรือชื่อเต็มว่า โทคิเมคิเมโมเรียล ~ฟอร์เอฟเวอร์ วิธ ยู~ () ซึ่งเป็นภาคแรกของซีรีส์เกมซิมูเลชันจีบสาวชื่อดัง โทคิเมคิเมโมเรียล พัฒนาโดยบริษัทโคนามิ โดยภาคแรกนี้ออกวางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 สำหรับเครื่องพีซีเอนจิน ซึ่งมาโด่งดังเมื่อถูกนำมารีเมคลงเครื่อง เพลย์สเตชัน และได้รับความนิยมอย่างสูง จนถูกนำมารีเมคลงเครื่องเล่นเกมอื่นๆ อีกหลายชนิดด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีการสร้างภาคต่อและภาคเสริมออกมาอีกมากมาย รวมไปถึงภาพยนตร์อะนิเมะแบบ OVA อีกด้วย", "title": "โทคิเมคิเมโมเรียล" }, { "docid": "167058#0", "text": "โทคิเมคิเมโมเรียล โอนลีเลิฟ () เป็นอนิเมะที่ดัดแปลงมาจากเกมออนไลน์ \"โทคิเมคิเมโมเรียล ออนไลน์\" ซึ่งเป็นหนึ่งในซีรีส์เกมส์จีบสาวชื่อดัง โทคิเมคิเมโมเรียล โดยในเรื่องจะมีทั้งตัวละครพื้นฐานจากเกม เช่น ตัวละคร NPC (อาจารย์, เพื่อนนักเรียน) และตัวละครออริจินอลที่ออกแบบขึ้นมาใหม่สำหรับอนิเมะโดยเฉพาะ", "title": "โทคิเมคิเมโมเรียล โอนลีเลิฟ" }, { "docid": "358183#27", "text": "ผู้เป็นทายาทของตระกูลอิจูอินอันมั่งคั่งมีแม้กระทั่งกองทัพคุ้มครองของตนเอง มิหนำซ้ำคุณปู่ยังเป็น ผู้ก่อตั้งโรงเรียนคิราเมคินี้ด้วย เรย์มีความสามารถเชิงกีฬารอบด้าน แถมมีหญิงมาชอบเยอะ การที่มีตัวเอกอยู่ชั้นเดียวกัน ดูเหมือนว่าจะทำให้เกียรติที่สูงศักดิ์ของเขาต้องแปดเปื้อนและสั่นคลอน แต่", "title": "โทคิเมคิเมโมเรียล" }, { "docid": "534313#1", "text": "เป็นโรงเรียนมัธยมปลายที่ไม่ปรากฏชื่อ ที่โทมะและเพื่อน ๆ ของเขาเรียนอยู่เป็นโรงเรียนที่ แอคเซราเรเตอร์ เรียนอยู่ แลเป็นโรงเรียนหนึ่งใน 5 โรงเรียนที่มีชื่อเสียงในเมืองแห่งการศึกษา และพยายามที่จะเป็นที่ 1 เป็นโรงเรียนคู่แข่งกับ โรงเรียนโทคิวะได และไม่จำกัดว่าผู้ที่เข้ามาเรียนจะต้องมีพลังพิเศษทุกคนโรงเรียนมัธยมต้นโทคิวะได เป็นโรงเรียนที่มิซากะ มิโคโตะ กับ ชิราอิ คุโรโกะ เรียนอยู่ และเป็นโรงเรียนหนึ่งใน 5 ของโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในเมืองแห่งการศึกษา เป็นโรงเรียนมัธยมต้นหญิงล้วนในเขตการศึกษาที่ 7 บรรยากาศโรงเรียนแบบลูกคุณหนู และผู้ที่เข้าเรียนจะต้องมีพลังพิเศษตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป และในโรงเรียนแห่งนี้มีผู้ที่มีพลังพิเศษระดับ 5 เรียนอยู่ที่นี่ถึง 2 คน", "title": "รายชื่อตัวละครในอินเดกซ์ คัมภีร์คาถาต้องห้าม และเรลกัน แฟ้มลับคดีวิทยาศาสตร์" }, { "docid": "357794#21", "text": "อาจารย์ชมรมดนตรีที่แสนเพอร์เฟคทั้งความงาม ความรู้ ความสามารถ เล่นกีฬาก็เก่งชอบเล่นเปียโนอีกด้วย เรียกได้ว่าสมบูรณ์แบบทุอย่าง เธอรู้จักกับตัวเอกและฮิคาริมาตั้งแต่ยังเด็กๆและคอยดูแลแบบพี่สาวที่แสนดี แต่สิ่งที่เธอไม่ชอบคือการตื่นนอนเช้าๆ ตอนนี้เป็นนักศีกษาที่มหาวิทยาลัยและต้องการที่จะไปเป็นอาจารย์ในอนาคต", "title": "โทคิเมคิเมโมเรียล 2" }, { "docid": "79400#3", "text": "วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2550 โทคิเมคิเมโมเรียล เกิร์ลไซด์ ได้ออกวางจำหน่ายในรูปแบบเกมสำหรับเครื่องนินเทนโด ดีเอส โดยใช้ชื่อว่า \"โทคิเมคิเมโมเรียล เกิร์ลไซด์ 1st Love\" รายละเอียดโดยรวมจะเหมือนกับเวอร์ชันเครื่องเพลย์สเตชัน 2 แต่จะมีการจัดวางรูปแบบหน้าจอและไอคอนคำสั่งใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับจอของเครื่องดีเอส มีการเพิ่มภาพอีเวนท์กับฉากจบใหม่ และมีระบบใหม่เพิ่มขึ้นมา คือ ระบบ \"สกินชิป\" ซึ่งเป็นการใช้ปากกาสัมผัสไปที่ตัวละครชายเพื่อเพิ่มค่าความสัมพันธ์ ยิ่งไปกว่านั้นยังมีตัวละครใหม่ที่ตัวผู้เล่นสามารถสร้างความสัมพันธ์ด้วยได้ เพิ่มมาอีก 1 คน คือ เทนโด จิน", "title": "โทคิเมคิเมโมเรียล เกิร์ลไซด์" }, { "docid": "79400#2", "text": "ตัวผู้เล่นจะรับบทเป็นนักเรียนหญิง ซึ่งมาเข้าเรียนต่อในชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนฮาบาตาคิ ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียน ตัวผู้เล่นจะมีโอกาสได้พบเจอกับชายหนุ่มมากหน้าหลายตา ซึ่งนอกจากต้องทำกิจกรรมหลาย ๆ อย่าง เช่นการเรียนหนังสือ เข้าชมรม หรือทำงานพิเศษเพื่อเพิ่มค่าความสามารถในด้านต่าง ๆ ของตนเองแล้ว ก็ยังต้องพยายามสร้างความสนิมสนมกับชายหนุ่มโดยการพูดคุยและชวนไปออกเดท เพื่อที่ชายหนุ่มจะได้มาสารภาพรักกับตัวผู้เล่นในวันสำเร็จการศึกษา", "title": "โทคิเมคิเมโมเรียล เกิร์ลไซด์" }, { "docid": "358183#31", "text": "ปรากฏตัวครั้งแรกในภาคดราม่าซีรีส์ Vol.1 นิจิอิโระ โนะ เซชุน และออกมาเป็นตัวละครรับเชิญในภาค โทคิเมคิเมโมเรียล 2 ซับสตอรี่ แดนซิ่ง ซัมเมอร์ วาเคชั่น เธอเป็นรุ่นน้องของซากิ อยู่ชมรมฟุตบอล ที่เคารพและหวงรุ่นพี่ซากิมากชนิดที่ว่าถึงกับเขม่นกับตัวเอกเลยในทีเดียว มิโนริเป็นตัวละครภาคเสริมที่ถูกพูดถึงมากคนนึง และเป็นที่น่าเสียดายว่านอกจากภาคนิจิอิโระ โนะ เซชุน แล้ว เธอก็ไม่ค่อยมีบทบาทอะไรในภาคอื่นเลยนอกจากเป็นตัวละครเสริมฉากธรรมดาๆ เท่านั้นเอง", "title": "โทคิเมคิเมโมเรียล" } ]
173
หัวหน้าพรรคคนแรกของพรรคประชาธิปัตย์ คือใคร?
[ { "docid": "27916#16", "text": "ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ดำเนินการจัดตั้งพรรคประชาธิปัตย์ ร่วมกับนายควง อภัยวงศ์ ขึ้นในวันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2489 โดยชื่อ \"ประชาธิปัตย์\" นั้น ท่านเป็นผู้บัญญัติขึ้น โดยมีความหมายว่า \"ผู้บำเพ็ญประชาธิปไตย\" โดยมีจุดมุ่งหมายคือ ต่อต้านการกระทำอันเป็นเผด็จการไม่ว่าวิธีการใด ๆ โดยมีนายควง อภัยวงศ์ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นรองหัวหน้าพรรค ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ยุบพรรคก้าวหน้ามารวมกับพรรคประชาธิปัตย์ เป็นเลขาธิการพรรค และนายชวลิต อภัยวงศ์ เป็นรองเลขาธิการพรรค", "title": "หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช" } ]
[ { "docid": "371428#1", "text": "ในช่วงแรกของการจัดตั้งพรรค ได้มีการมอบหมายให้ ณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรครวมไทย ซึ่งเป็นพรรคที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มเป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และมี เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ หัวหน้าพรรคประชาชน ซึ่งมีจำนวน ส.ส.เป็นอันดับ 2 เป็นเลขาธิการพรรคคนแรกอีกด้วย โดยภายหลังจากการรวมพรรคกันไม่นาน พรรคก็เข้าร่วมรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัน เมื่อได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นสมัยที่ 2", "title": "พรรคเอกภาพ" }, { "docid": "58736#6", "text": "ในทางการเมือง เคยเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2522 - 2525 หลังหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคคนที่ 2 ลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งนับเป็นช่วงวิกฤตที่สุดของพรรคประชาธิปัตย์ ที่กระแสความนิยมตกต่ำอย่างรุนแรงและสมาชิกในพรรคเกิดความแตกแยกกัน โดยผลการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2522 ในกรุงเทพฯ ได้ ส.ส. เพียงคนเดียว คือตัว พ.อ. (พิเศษ) ดร.ถนัด เองที่เป็น ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขต 2 (เขตพญาไทและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย) โดย พ.อ.(พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ ต้องรับภาระในตำแหน่ง หัวหน้าพรรค เพื่อประคองพรรคให้อยู่รอดต่อไปได้ และเคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516 และในปี พ.ศ. 2523 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เขามีหลานชายคนหนึ่งเป็นนักธุรกิจที่เคลื่อนไหวทางการเมืองคืออัมรินทร์ คอมันตร์", "title": "ถนัด คอมันตร์" }, { "docid": "125882#4", "text": "ในปี พ.ศ. 2522 เมื่อ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้พ้นวาระและประกาศวางมือการเมือง นายอุทัยได้ลงแข่งขันเป็นหัวหน้าพรรคคนต่อไป กับ นายชวน หลีกภัย เพื่อนสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์รุ่นเดียวกับ และ พ.อ.(พิเศษ)ถนัด คอมันตร์ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ท่ามกลางการจับตามองของหลายฝ่าย โดยนายอุทัยได้รับการสนับสนุนจาก นายธรรมนูญ เทียนเงิน อดีตเลขาธิการพรรค ด้วยความเป็นคนชลบุรีด้วยกัน ปรากฏว่า ที่ประชุมพรรคได้เลือก พ.อ.(พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ เป็นหัวหน้าพรรคคนต่อไป หลังจากนั้นไม่นาน นายอุทัยก็ได้ลาออกไปตั้งพรรคการเมืองของตัวเองทั้งพรรคก้าวหน้า และพรรคเอกภาพ", "title": "อุทัย พิมพ์ใจชน" }, { "docid": "116195#3", "text": "เมื่อแรกก่อตั้งพรรค พลตรีสนั่น ได้เชิญ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ขณะนั้นดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก และกำลังจะหมดวาระ ให้มาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคมหาชน แต่ ดร.ศุภชัยปฏิเสธ และต่อมาพิจารณารับตำแหน่งอื่นในสหประชาชาติต่อ พลตรีสนั่นจึงสนับสนุนให้ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นหัวหน้าพรรคแทน", "title": "พรรคมหาชน" }, { "docid": "124910#1", "text": "ในช่วงก่อตั้ง นายสุวิทย์ คุณกิตติ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก ยุทธศาสตร์หาเสียงของพรรคคือ \"นำรอยยิ้มกลับสู่สังคมไทย\" มีอดีต ส.ส.ภาคอีสานเป็นสมาชิก เช่น กลุ่มของพินิจ จารุสมบัติ ปรีชา เลาหพงศ์ชนะ วัฒนา อัศวเหม โสภณ เพชรสว่าง กลุ่มอดีต ส.ส.กรุงเทพมหานคร ในกลุ่มกรุงเทพ 50 ของสุรนันท์ เวชชาชีวะ รวมทั้งกลุ่มบ้านริมน้ำของสุชาติ ตันเจริญ และกลุ่มทางภาคเหนือของกิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ อีกด้วย ในส่วนของกลุ่มบุคคลอื่นที่ไม่ได้เป็นนักการเมืองมาก่อน แต่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคด้วยก็ได้แก่ นายสุระ แสนคำ หรือ เขาทราย แกแล็คซี่ อดีตแชมป์โลกชาวไทย และ นาวาอากาศตรีปิยะพงษ์ ผิวอ่อน อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย เป็นต้น", "title": "พรรคเพื่อแผ่นดิน" }, { "docid": "644706#1", "text": "ทางพรรคลงรับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 ได้รับเลือกตั้ง 19 ที่นั่ง หลังจากการเลือกตั้งครั้งนี้นายเสวตร ได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค และนำสมาชิกบางส่วนย้ายไปสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ที่ประชุมจึงได้มีการเลือกนาย สวัสดิ์ คำประกอบ มาเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่", "title": "พรรคเกษตรสังคม" }, { "docid": "4944#4", "text": "ในปี พ.ศ. 2551 ภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ มีสถานะเป็น \"พรรคฝ่ายค้านพรรคเดียว\" เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และผู้นำฝ่ายค้าน ได้ประกาศจัดตั้ง \"คณะรัฐมนตรีเงา\" ขึ้นตรวจสอบการบริหารงานของรัฐบาลและนำเสนอแนวทางการบริหารประเทศ ควบคู่ไปกับการบริหารงานของรัฐบาล ตามรูปแบบรัฐบาลเงาในระบบเวสต์มินสเตอร์ของประเทศอังกฤษ ขึ้นเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551", "title": "พรรคประชาธิปัตย์" }, { "docid": "654145#0", "text": "พรรคประชาชน พรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนจัดตั้งตาม พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2511 โดยจดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2511 มีนาย เลียง ไชยกาล หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ เป็นหัวหน้าพรรคและนาย เขมชาติ บุณยรัตพันธุ์ เป็นเลขาธิการพรรค ซึ่งก่อนหน้านั้นพรรคประชาชนได้เคยก่อตั้งมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2490 โดยนายเลียง ไชยกาล และอดีตสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์อีก 16 คน", "title": "พรรคประชาชน (พ.ศ. 2511)" }, { "docid": "458282#1", "text": "ผลการเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ โดย นายพิชัย รัตตกุล หัวหน้าพรรค และนายชวน หลีกภัย แกนนำคนสำคัญของพรรค ได้รับเลือกตั้งมากที่สุด ด้วยเสียงมากถึง 99 เสียง โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครได้มากถึง 15 เสียง จึงเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล โดยพรรคที่ได้รับเลือกตั้งรองลงมา คือ พรรคชาติไทย 64 เสียง, พรรคกิจสังคม 51 เสียง และพรรคราษฎร 20 เสียง โดยเสียงทั้งหมดในสภาผู้แทนราษฎรมีทั้งหมด 347 เสียง", "title": "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529" }, { "docid": "4944#0", "text": "พรรคประชาธิปัตย์ (, ย่อ: ปชป.) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2489 เป็นพรรคการเมืองจดทะเบียนที่เก่าแก่ที่สุดของไทยที่ยังดำเนินการอยู่ พรรคมีสมาชิกที่ได้แจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองไว้ จำนวน 2,895,933 คน นับเป็นพรรคการเมืองที่มีสมาชิกมากที่สุดในประเทศไทย และมีสาขาพรรคจำนวน 175 สาขา นายควง อภัยวงศ์ ได้ก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นเมื่อ 5 เมษายน พ.ศ. 2489 โดยการประชุมรวมตัวกันของนักการเมืองกลุ่มหนึ่งที่บริษัทของนายควง ที่ย่านเยาวราช แต่ทางพรรคถือเอาวันที่ 6 เมษายน เป็นวันก่อตั้งพรรค เพื่อให้ตรงกับวันจักรี มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นฝ่ายค้านคานอำนาจของ นายปรีดี พนมยงค์ ต่อมานายปรีดีลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังถูกกดดันจากกรณีสวรรคต ร.8 และรัฐสภาลงคะแนนให้ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้ใกล้ชิดนายปรีดี ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีสืบต่อ", "title": "พรรคประชาธิปัตย์" } ]
174
มรณสักขี คืออะไร ?
[ { "docid": "148008#0", "text": "ในศาสนาคริสต์ มรณสักขี () หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนที่ถูกทรมานจนตายหรือถูกฆ่าหรือถูกลงโทษให้ประหารชีวิตเพราะความเชื่อ ในศาสนาคริสต์ยุคแรกมีผู้ถูกทรมานและฆ่าด้วยความทรมานต่างๆเช่นถูกขว้างด้วยก้อนหินให้ตาย ถูกตรึงกางเขน ถูกเผาทั้งเป็น และอื่น ๆ", "title": "มรณสักขีในศาสนาคริสต์" } ]
[ { "docid": "543080#0", "text": "มรณสักขีแห่งสองคอน คือคริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกชาวไทย 7 คน ที่ถูกตำรวจยิงเสียชีวิตเพราะไม่ยอมเลิกนับถือศาสนาคริสต์ ทั้ง 7 คนได้รับการยกย่องจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกว่าเป็นมรณสักขี และได้รับการประกาศเป็นบุญราศีพร้อมกันโดยสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ณ มหาวิหารนักบุญเปโตร นครรัฐวาติกัน เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2532 นับเป็นคริสตชนชาวไทยกลุ่มแรกที่ได้เป็นบุญราศี", "title": "มรณสักขีแห่งสองคอน" }, { "docid": "965247#1", "text": "มรณสักขีส่วนมากได้รับการยกย่องว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และได้รับความเคารพนับถือจากชนรุ่นหลัง ในฐานะเป็นสัญลักษณ์ของผู้นำและวีรชนในยามที่ตนตกอยู่ในภาวะลำบาก มรณสักขีจึงมีบทบาทสำคัญในทางศาสนา นอกจากนี้มรณสักขีหลายคนยังมีอิทธิพลต่อชีวิตโลกวิสัยด้วย เช่น โสกราตีส", "title": "มรณสักขี" }, { "docid": "543080#3", "text": "เมื่อครูสีฟองเสียชีวิต ชาวบ้านก็หวาดผวาไม่กล้าทำศาสนกิจตามปกติ ตำรวจยังคงเรียกประชุมชาวบ้านแล้วสั่งให้เปลี่ยนศาสนา แต่มีคริสตชน 8 คนยืนยันจะไม่ละทิ้งความเชื่อ ได้แก่\nในวันที่ 26 ธันวาคม ทั้งหมดจึงถูกตำรวจเรียกไปที่สุสานประจำชุมชน นายกองสี บิดาของนางสาวสุวรรณได้ตามมาพาบุตรสาวกลับบ้าน จึงเหลือผู้ยอมพลีชีพ 7 คน ทั้ง 7 นั่งอธิษฐานที่ขอนไม้แล้ว พวกตำรวจจึงใช้ปืนยิงแต่ละคนจนเข้าใจว่าเสียชีวิตหมดแล้วจึงกลับไป ชาวบ้านที่เข้าไปดูศพพบว่ามีเด็กหญิงสอนคนเดียวที่รอดชีวิต และช่วยกันฟังศพมรณสักขีทั้ง 6 คนที่ป่าช้านั้น นับเป็นมรณสักขีชาวไทยคาทอลิกคนที่ 2-7 ตามลำดับ", "title": "มรณสักขีแห่งสองคอน" }, { "docid": "239189#2", "text": "ภาพเขียนนี้เป็นฉากการพลีชีพของนักบุญแม็ทธิวผู้ประพันธ์ “พระวรสารนักบุญแม็ทธิว” ตามตำนานแล้วนักบุญแม็ทธิวถูกสั่งให้ฆ่าโดยพระเจ้าแผ่นดินแห่งเอธิโอเปียขณะที่ทรงทำพิธีมิซซาหน้าแท่นบูชา พระเจ้าแผ่นดินทรงหลงเสน่ห์พระนัดดาของพระองค์เอง นักบุญแม็ทธิวจึงกล่าวติเตียนนอกจากสตรีที่ว่าจะเป็นพระนัดดาแล้วก็ยังเป็นชีด้วยซึ่งถือว่าเป็น “เจ้าสาวของพระเยซู” (Bride of Christ) คาร์ดินัลคอนทราเรลลิผู้เสียชีวิตไปหลายสิบปีก่อนหน้านั้นบ่งไว้รายละเอียดของภาพไว้ว่าให้เป็นภาพที่เป็นฉากที่นักบุญแม็ทธิวกำลังจะถูกสังหารโดยทหารที่ส่งมาโดยพระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงไม่มีคุณธรรม, ให้มีโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่เหมาะสม และให้มีผู้เห็นเหตุการณ์ที่แสดงอารมณ์ต่างๆ ที่เหมาะสม (ดูรายละเอียดในบทความชาเปลคอนทราเรลลิ)", "title": "การเป็นมรณสักขีของนักบุญมัทธิว (การาวัจโจ)" }, { "docid": "148008#2", "text": "คริสต์ศาสนิกชนคนแรกที่เป็นมรณสักขีคือนักบุญสเทเฟนที่บันทึกไว้ใน ถูกขว้างด้วยก้อนหินจนถึงแก่ชีวิตเพราะศรัทธาในพระเยซูว่าเป็นพระเมสสิยาห์ และยังคงมีคริสต์ศาสนิกชนอีกหลายคนที่ถูกฆ่านอกจากนักบุญสเทเฟน ตามที่นักบุญเปาโลอัครทูตกล่าวว่ามีการขู่จะฆ่าสาวกของพระเยซูในเวลานั้นหลายครั้ง ()", "title": "มรณสักขีในศาสนาคริสต์" }, { "docid": "888328#0", "text": "มรณสักขีแห่งเมืองลาว () เป็นคริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิก 11 คน ประกอบด้วยบาทหลวง ภราดา และฆราวาส ที่ถูกเจ้าหน้าที่ปะเทดลาวสังหารในช่วง ค.ศ. 1954–1970", "title": "มรณสักขีแห่งเมืองลาว" }, { "docid": "148008#3", "text": "ในคริสต์ศตวรรษต่อมาก็มีการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนอย่างเป็นทางการอีกหลายครั้งเช่นในระหว่างการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ โดยถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกนอกรีตหรือเป็น “พวกนิยมพระสันตะปาปา” (Papists)หมายเหตุ: ตามตำนานนักบุญยอห์นอัครทูตถูกต้มในน้ำมันแต่รอดมาได้และเป็นอัครทูตองค์เดียวที่มิได้เป็นมรณสักขี", "title": "มรณสักขีในศาสนาคริสต์" }, { "docid": "239189#5", "text": "เมื่อมาถึงจุดนี้คาราวัจโจก็ทิ้งการเขียนภาพ “การพลีชีพ” และหันไปเขียน “พระเยซูเรียกนักบุญแม็ทธิว” ซึ่งใช้ลักษณะการเขียนจากประสบการณ์ในการเขียนภาพชีวิตประจำวันเช่นในภาพ “คนโกงไพ่” และ “หมอดู” ที่เขียนก่อนหน้านั้นเพียงแต่ขยายให้ใหญ่ขึ้น เมื่อได้ทำเช่นนั้นแล้วก็เหมือนกับทำให้เกิดมีความเชื่อมั่นในตนเองเพิ่มขึ้นจนสามารถหันกลับไปเขียน “การพลีชีพ” ต่อได้แต่ครั้งนี้เขียนด้วยลักษณะการเขียนที่เป็นตัวของตนเอง", "title": "การเป็นมรณสักขีของนักบุญมัทธิว (การาวัจโจ)" }, { "docid": "888328#1", "text": "กระบวนการประกาศเป็นนักบุญของบาทหลวงมาริโอ บอร์ซากา กับครู Paul Thoj Xyooj เริ่มเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 2006 อีกส่วนหนึ่งเป็นกระบวนการประกาศเป็นนักบุญของบาทหลวง Joseph Thąo Tiěn กับเพื่อนมรณสักขีรวม 15 คน เริ่มเมื่อวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 2008 ถึงปี ค.ศ. 2016 สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสจึงทรงรับรองการประกาศเป็นบุญราศีแก่มรณสักขีทั้ง 17 คน และมีพิธีประกาศในวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 2016 ณ อาสนวิหารพระหฤทัย นครเวียงจันทน์ โดยมีพระคาร์ดินัลออร์ลันโด เกเบโด เป็นผู้แทนพระองค์", "title": "มรณสักขีแห่งเมืองลาว" } ]
177
สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ก่อตั้งโดยใคร ?
[ { "docid": "76497#14", "text": "โครงการสถานีโทรทัศน์เสรีในระบบยูเอชเอฟ ในนามสถานีโทรทัศน์ไอทีวีนั้น มีสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าของคลื่นความถี่ โดยทำสัญญาสัมปทานให้ บริษัท สยามอินโฟเทนเมนท์ จำกัด (ภายหลังคือ บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน)) ดำเนินการจัดตั้งสถานีฯ ได้ ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 และออกอากาศทางช่อง 26 มาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2550", "title": "สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี" }, { "docid": "50904#0", "text": "บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) เป็นกลุ่มบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับสื่อโทรทัศน์ โดยได้รับอนุมัติให้ดำเนินการสัมปทานสถานีโทรทัศน์ระบบ UHF จาก บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) จำนวน 1 ช่องสถานี ส่งโทรทัศน์สีในระบบยูเอชเอฟ ทางช่อง 26 (ต่อมาเปลี่ยนเป็นช่อง 29) โดยใช้ชื่อว่า สถานีโทรทัศน์ไอทีวี (ปัจจุบันสถานีฯได้ถูกโอนกิจการให้แก่ทั้งสองหน่วยงานของรัฐ ซึ่งสามารถอ่านรายละเอียดได้ที่ด้านล่าง) เดิมชื่อ บริษัท สยามอินโฟเทนเมนท์ จำกัด ก่อตั้งเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 โดย ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัทอื่นๆ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น \"บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน)\" เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2541 ปัจจุบัน บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทนี้", "title": "ไอทีวี" }, { "docid": "75876#3", "text": "ในปี พ.ศ. 2538 บริษัท สยามอินโฟเทนเมนต์ จำกัด (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) จนถึงปัจจุบัน) ผู้ดำเนินกิจการสถานีโทรทัศน์ไอทีวี เชิญให้เครือเนชั่นเข้าร่วมบริหาร โดยเทพชัยอาสาเข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายข่าวคนแรก ซึ่งสามารถนำพาไอทีวียุคแรกให้ประสบความสำเร็จอย่างมาก นอกจากนั้นเขายังเป็นผู้ประกาศข่าว และผู้ดำเนินรายการไอทีวีทอล์ก ย้อนรอย ฯลฯ ด้วยตนเอง จนได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำประจำปี พ.ศ. 2542 ประเภทผู้ประกาศข่าวชายดีเด่น ต่อมา ราวกลางปี พ.ศ. 2543 เทพชัยและพนักงานฝ่ายข่าวส่วนหนึ่ง เคลื่อนไหวคัดค้านกรณีบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เข้าถือหุ้นใหญ่ใน บมจ.ไอทีวี โดยหลังจากนั้น ผู้บริหารไอทีวีโยกย้ายให้เทพชัยไปเป็นที่ปรึกษาสถานีฯ เขาจึงประกาศฟ้องศาลให้ดำเนินคดีกับฝ่ายบริหารไอทีวี แต่ต่อมายอมประนีประนอมกันได้ และในเดือนพฤศจิกายน เทพชัยประกาศลาออกจากทุกตำแหน่งในไอทีวี แล้วกลับไปรับตำแหน่งบรรณาธิการเครือเนชั่น", "title": "เทพชัย หย่อง" }, { "docid": "76497#3", "text": "สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี เริ่มต้นขึ้นภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีภายใต้การนำของ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 กำหนดว่าหากบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ไม่สามารถจ่ายค่าสัมปทานที่ค้างอยู่ทั้งสิ้น 2,210 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี เป็นจำนวนเงินรวม 464.5 ล้านบาท และค่าปรับกรณีทำผิดสัญญาเรื่องผังรายการอีกกว่า 97,760 ล้านบาทได้ ภายในวันที่ 7 มีนาคม ทางสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) จะดำเนินการยกเลิกสัญญาสัมปทานการดำเนินงานสถานีโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟโดยทันที ซึ่งภายหลังจากที่บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) มีท่าทีว่าจะไม่สามารถชำระเงินค่าสัมปทานค้างจ่าย และค่าปรับ เป็นจำนวนเงินรวมเกือบ 1 แสนล้านบาทได้นั้น คณะรัฐมนตรีจึงตัดสินใจที่จะยึดคืนสัมปทานจากบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน)", "title": "สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี" }, { "docid": "76080#5", "text": "สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เริ่มดำเนินโครงการ สถานีโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟ เมื่อปี พ.ศ. 2538 โดยมีการเปิดประมูลรับสัมปทาน เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2538 โดย กลุ่มสยามทีวีแอนด์คอมมิวนิเคชั่น (แปรรูปเป็น บริษัท สยามอินโฟเทนเมนท์ จำกัด เมื่อได้รับอนุมัติสัมปทานแล้ว และเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541) เป็นผู้ได้รับอนุมัติสัมปทานดังกล่าว โดยใช้ชื่อสถานีว่า สถานีโทรทัศน์ไอทีวี (ITV-Independent Television) นับเป็น สถานีโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟแห่งแรกของประเทศไทย แพร่ภาพออกอากาศทางช่อง 26 และเปลี่ยนมาเป็นช่อง 29 ในภายหลัง โดยมีอายุสัมปทาน 30 ปี เริ่มต้นออกอากาศอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 และได้เปลี่ยนแปลงเป็น สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีในปี 2550 และ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ตามลำดับ ในปี 2551", "title": "ยูเอชเอฟ" }, { "docid": "41115#1", "text": "\"สถานีโทรทัศน์ไอทีวี\" ถือกำเนิดจากดำริของรัฐบาลในสมัยที่ นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ที่ต้องการให้มี\"สถานีโทรทัศน์เสรี\" เพื่อการนำเสนอข่าวสาร และสาระความรู้สู่ประชาชน โดยเปิดให้เอกชนเช่าสัมปทาน เพื่อให้มีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง โดยในโครงการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เสรีดังกล่าวนั้น ระบุวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งไว้ว่า ในช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 สถานีโทรทัศน์ทั้งหมด อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ ซึ่งสามารถบิดเบือนการนำเสนอข่าว ให้เป็นไปตามที่ตนต้องการได้ ประชาชนจึงไม่สามารถรับรู้ข่าวที่ทหารเข้าปราบปรามประชาชนในช่วงนั้นได้ ประจวบเหมาะกับการที่มีเสียงเรียกร้องของประชาชน ให้รัฐบาลใช้นโยบายจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เสรีดังกล่าว เพื่อเสนอข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริง และรายการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เป็นต้น", "title": "สถานีโทรทัศน์ไอทีวี" } ]
[ { "docid": "63610#1", "text": "เมื่อปี พ.ศ. 2511 ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ในขณะนั้น ได้แก่ไทยทีวีช่อง 4 ของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน) และ ททบ.7 (ปัจจุบันคือ ททบ.5) กับช่อง 7 สี ของกองทัพบก ได้ประชุมร่วมกันและมีมติว่า แต่ละสถานีฯ ควรจะได้รวมตัวกันขึ้น เพื่อปรึกษาหารือ และดำเนินการจัดการในเรื่องต่าง ๆ อันจะเกิดประโยชน์ร่วมกันกับทุกสถานีฯ จึงก่อตั้งองค์กรชื่อว่า \"โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย\" เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ปีดังกล่าว โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่ง ประกอบด้วยผู้อำนวยการของช่องโทรทัศน์ทั้ง 4 เป็นกรรมการ และมอบให้ ผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 เป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง อันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาแต่ก่อตั้ง ซึ่งต่อมาสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เข้าร่วมเป็นสมาชิกถาวร นับแต่ก่อตั้งเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513 ต่อมามีช่องโทรทัศน์ เข้าเป็นสมาชิกสมทบคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และไทยพีบีเอส (เดิมคือสถานีโทรทัศน์ไอทีวี และสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี)", "title": "โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย" }, { "docid": "76497#25", "text": "สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 เวลา 00:08 น. โดยรับช่วงการออกอากาศต่อจากสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ซึ่งในวันนั้น เป็นวันสถาปนาขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย อย่างเป็นทางการ โดยองค์การฯ ได้รับโอนกิจการสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ของกรมประชาสัมพันธ์ มาดำเนินการต่อด้วย และเป็นผลทำให้ทีไอทีวีต้องหยุดการออกอากาศตามผังรายการและสัญญาณของสถานีฯเองทั้งหมดและเชื่อมสัญญาณการทดลองการออกอากาศจากอาคารสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์) เป็นเวลา 16 วัน และกลับมาออกอากาศโดยสัญญาณของสถานีเองอีกครั้ง ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ และในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ เริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการในเวลา 05:00 น.", "title": "สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี" }, { "docid": "41115#2", "text": "ในปี พ.ศ. 2538 สปน.ได้เปิดประมูลสัมปทานการดำเนินงานสถานีโทรทัศน์เสรีขึ้น โดย\"กลุ่มบริษัท สยามทีวีแอนด์คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด\" ซึ่งนำโดยธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ชนะการประมูล และได้รับอนุมัติให้ดำเนินงาน โครงการสถานีโทรทัศน์เสรีช่องใหม่ ในระบบยูเอชเอฟ ออกอากาศทางช่อง 26 นับเป็นสถานีโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟช่องแรกของประเทศไทย จากนั้น กลุ่มบริษัท สยามทีวีแอนด์คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ได้ก่อตั้ง \"บริษัท สยาม อินโฟเทนเมนท์ จำกัด\" เพื่อเป็นนิติบุคคลที่ดำเนินการสถานีฯ โดยมีการลงนามในสัญญาสัมปทานฯ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 พร้อมทั้งเชิญชวนให้บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมถือหุ้น และบริหารสถานีฯ ด้วย", "title": "สถานีโทรทัศน์ไอทีวี" }, { "docid": "50904#1", "text": "แนวคิดการก่อตั้งไอทีวี เกิดขึ้นในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 เนื่องจากในขณะเกิดเหตุการณ์ สื่อโทรทัศน์ จำนวน 5 ช่อง ในขณะนั้น คือ ช่อง 3 ททบ.5 ช่อง 7 (BBTV) ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. สทท. มิได้รายงานข่าวเหตุการณ์นองเลือด ตามความเป็นจริง ประกอบกับมีเสียงเรียกร้องจากประชาชน ให้เปิดดำเนินการสถานีโทรทัศน์เสรี ในระบบยูเอชเอฟ เพื่อให้คนไทยมีโอกาสได้รับรู้ข่าวสารที่ถูกต้องเป็นกลางอย่างแท้จริง", "title": "ไอทีวี" }, { "docid": "41115#4", "text": "เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2541 บจก.สยาม อินโฟเทนเมนท์ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น \"บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน)\" และในราวปี พ.ศ. 2542 หน่วยงานภาครัฐแห่งหนึ่งได้เปลี่ยนแปลงช่องสัญญาณให้กับไอทีวี จากช่อง 26 มาเป็นช่อง 29 โดยส่งสัญญาณจากยอดอาคารใบหยก 2 และมีสถานีเครือข่ายทั้งสิ้น 52 แห่งทั่วประเทศ นับเป็นสถานีโทรทัศน์ที่มีเครือข่ายมากที่สุด ครอบคลุมจำนวนผู้รับชม ประมาณร้อยละ 98 ของประชากรในประเทศไทย", "title": "สถานีโทรทัศน์ไอทีวี" } ]
192
เจ้าจอมแว่นถือกำเนิดในราชวงศ์อะไร?
[ { "docid": "170636#1", "text": "เจ้าจอมแว่น เป็นเจ้านายจากราชวงศ์เวียงจันทน์พระองค์แรกที่เชื่อมสัมพันธไมตรีทางเครือญาติกับเจ้านายในราชวงศ์จักรีของสยาม เจ้าจอมแว่นเดิมเป็นชาวนครเวียงจันทน์และถือกำเนิดในราชวงศ์เวียงจันทน์ สันนิษฐานว่า ประสูติ ณ เมืองพานพร้าวหรือเมืองพันพร้าว ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดหนองคายตรงข้ามกับเมืองนครเวียงจันทน์ เป็นพระธิดาในพระนครศรีบริรักษ์ บรมราชภักดีศรีศุภสุนทร (ท้าวศักดิ์ หรือ ท้าวพัน) เจ้าเมืองขอนแก่นองค์แรก พระนครศรีบริรักษ์ บรมราชภักดีศรีศุภสุนทร (ศักดิ์) เป็นต้นสกุลเสนอพระ นครศรีบริรักษ์ แพนพา อุปฮาด สุนทรพิทักษ์ ในจังหวัดขอนแก่น เจ้าจอมแว่นเป็นพระนัดดาในเจ้าแสนปัจจุทุม (ท้าวแสนแก้วบุฮม) บ้านเพี้ยปู่ เมืองธุรคมหงส์สถิต (เมืองทุละคม) แขวงนครเวียงจันทน์ และเป็นพระราชปนัดดาในสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 3 หรือสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสารพระมหากษัตริย์แห่งนครเวียงจันทน์ อีกทั้งยังเป็นพระราชนัดดา (หลานลุง) ในเจ้าแก้วมงคล (เจ้าแก้วบุรม) ผู้สร้างเมืองท่งศรีภูมิ ปัจจุบันคืออำเภอสุวรรณภูมิในจังหวัดร้อยเอ็ด แต่บ้างก็ว่าพระนครศรีบริรักษ์ (ศักดิ์) ผู้เป็นพระบิดาในเจ้าจอมแว่น เป็นพระราชโอรสในพระรัตนวงศามหาขัติยราช (ภู) เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ พระรัตนวงศามหาขัติยราช (ภู) เป็นพระราชอนุชาในพระยาขัติยวงศ์พิสุทธิบดี (สีลัง) เจ้าเมืองร้อยเอ็ด ต้นตระกูล ธนสีลังกูร ทั้ง 2 พระองค์เป็นพระราชโอรสในพระขัติยวงศา (ทนต์ หรือสุทนต์) เจ้าเมืองร้อยเอ็ดพระองค์แรก และมีศักดิ์เป็นพระราชนัดดาในเจ้าแก้วมงคล (เจ้าแก้วบุรม) ดังนั้น เจ้าจอมแว่นจึงมีศักดิ์เป็นพระราชปนัดดาในเจ้าแก้วมงคล (เจ้าแก้วบุรม)", "title": "เจ้าจอมแว่น ในรัชกาลที่ 1" } ]
[ { "docid": "170636#0", "text": "เจ้าจอมแว่น หรือ เจ้าคุณจอมแว่น พระนามเดิมว่า เจ้านางคำแว่น หรือ อัญญานางคำแว่น บ้างออกพระนามว่า เจ้านางบัวตอง ชาวลาวและชาวอีสานนิยมออกคำลำลองพระนามว่า เจ้านางเขียวค้อม เป็นพระบรมวงศานุวงศ์จากนครเวียงจันทน์ อดีตนางพระกำนัลในพระอัครมเหสีของสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสารแห่งเวียงจันทน์ ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ผู้รับใช้เบื้องพระยุคลบาทอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่เมื่อครั้งรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจนผลัดราชวงศ์ใหม่ เจ้าจอมแว่นเป็นพระสนมเอกที่มีอิทธิพลต่อราชสำนักสยามฝ่ายในอย่างสูง จนชาววังได้ยกย่องให้เป็น เจ้าคุณข้างใน และถือเป็นเจ้าคุณคนแรกในพระราชวงศ์จักรี อีกทั้งยังเป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่คอยอภิบาลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอที่ยังทรงพระเยาว์อย่างเข้มงวด จนได้รับฉายาว่า คุณเสือ", "title": "เจ้าจอมแว่น ในรัชกาลที่ 1" }, { "docid": "170636#4", "text": "ภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ได้ปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีแล้ว พระองค์ได้สถาปนาให้เจ้านางคำแว่นเป็นเจ้าจอมแว่น พระสนมเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาเพียเมืองแสน (คำพาว) เจ้านายในราชวงศ์เมืองสุวรรณภูมิผู้เป็นเครือญาติกับเพียเมืองแพน (ศักดิ์) พระบิดาของเจ้าจอมแว่น ได้วิวาทกับกรมการเมืองเดิมของเมืองสุวรรณภูมิจึงได้แยกตัวออกไปตั้งไพร่พลที่บ้านหนองกองแก้ว จากนั้นจึงได้ถูกแต่งตั้งเป็นพระจันทรประเทศ เจ้าเมืองชลบถวิบูลย์ (อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น) ทำราชการขึ้นเมืองนครราชสีมา ในตำนานพื้นถิ่นเมืองขอนแก่นเล่าว่า ฝ่ายพระบิดาของเจ้าจอมแว่นเห็นดังนั้นก็ปรารถนาจะเป็นเจ้าเมืองกับเขาบ้าง จึงได้ปรึกษากับพระธิดาของตน ฝ่ายเจ้าจอมแว่นเห็นว่าพระบิดาของตนอยากเป็นเจ้าเมืองก็ทรงเห็นดีเห็นงามด้วยอย่างยิ่ง ต่อมาจึงได้ทูลขอพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระราชสวามีเป็นการส่วนพระองค์ ให้เพียเมืองแพน (ศักดิ์) ผู้เป็นพระบิดาซึ่งยกไพร่พลแยกออกจากเมืองสุวรรณภูมิ มาตั้งที่บ้านบึงบอน (ปัจจุบันคือ บ้านเมืองเก่า ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น) ตั้งแต่ พ.ศ. 2332 เป็นเจ้าเมืองเช่นเดียวกับเพียเมืองแสน (คำพาว) ต่อมา พ.ศ. 2340 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพียเมืองแพนผู้เป็นพระบิดาดำรงบรรดาศักดิ์เป็นที่ พระนครศรีบริรักษ์ เจ้าเมืองขอนแก่นหรือผู้ว่าราชการเมืองขอนแก่นพระองค์แรก โดยตั้งนามเมืองตามนามบ้านขามอันเป็นที่ตั้งพระธาตุขามแก่น แล้วทำราชการขึ้นกับเมืองนครราชสีมา ด้วยจำนวนประชากรของเมืองเพียง 330 ครอบครัวเท่านั้น", "title": "เจ้าจอมแว่น ในรัชกาลที่ 1" }, { "docid": "170636#10", "text": "เจ้าจอมแว่นเป็นผู้มีความกล้าหาญ และมีศิลปะในการเพ็ดทูลเรื่องราวต่างๆ ที่ไม่มีผู้ใดกล้านำขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) และหากเจ้าจอมแว่นเห็นว่าเรื่องนั้นเป็นสิ่งสมควรและถูกต้องแล้ว ก็จะกราบทูลทันทีมิได้เกรงกลัวพระราชอาญา ความกล้าหาญของเจ้าจอมแว่นเป็นที่ประจักษ์เมื่อปี พ.ศ. 2339 คราวที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกหาราช (รัชกาลที่ 1) ทรงเหน็ดเหนื่อยพระวรกายจากการว่าราชการงานเมือง ขณะบรรทมหลับก็เกิดพระสุบินและทรงละเมอ ทำให้ข้าราชบริพารตกใจไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรดี เจ้าจอมแว่นจึงใช้ความหาญกล้าตัดสินใจกัดนิ้วพระบาท จนพระเจ้าอยู่หัวทรงรู้สึกพระองค์และตื่นพระบรรทม เจ้าจอมแว่นจึงได้รับความดีความชอบและเป็นที่โปรดปรานของพระองค์อย่างมาก และด้วยความจงรักภักดีสุจริตใจของเจ้าจอมแว่นนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกหาราช (รัชกาลที่ 1) จึงไม่ทรงพิโรธ ความกล้าหาญของเจ้าจอมแว่นอีกครั้งหนึ่งได้ปรากฏ ดังนี้", "title": "เจ้าจอมแว่น ในรัชกาลที่ 1" }, { "docid": "170636#3", "text": "เจ้าจอมแว่น มีพี่น้องที่ประสูติแต่พระบิดาเดียวกันรวม 5 องค์ คือเดิมเจ้าจอมแว่นอาศัยอยู่กับพระบิดาที่นครเวียงจันทน์ ตั้งแต่เมื่อครั้งพระบิดาทำราชการดำรงบรรดาศักดิ์ที่ เพียเมืองแพน กรมการเมืองธุรคมหงส์สถิต ในแขวงนครเวียงจันทน์ ขึ้นแก่ราชอาณาจักรศรีสัตนาคนหุตล้านช้างเวียงจันทน์ ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 3 (สมเด็จพระเจ้าสิริบุญสาร) ต่อมาพระบิดาได้เลื่อนเป็นเจ้าเมืองรัตนนคร จากนั้นพระนางได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) มาสู่กรุงธนบุรีตั้งแต่ พ.ศ. 2322 เมื่อครั้งทรงเป็นแม่ทัพยกพลไปทำลายเมืองนครเวียงจันทน์ เมื่อ พ.ศ. 2321 และกวาดต้อนครัวชาวลาว พระราชบุตร พระราชธิดา พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางท้าวเพีย ทรัพย์สมบัติสิ่งของเครื่องศาสตราวุธและช้างม้าเป็นอันมาก พร้อมทั้งอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) พระบาง และพระพุทธรูปมีค่าจำนวนมากกลับมายังกรุงธนบุรี ขณะที่พระสวามียังดำรงบรรดาศักดิ์ขุนนางเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธน ฝ่ายพระบิดาของพระนาง คือ เพียเมืองแพน (ศักดิ์) นั้นได้อพยพไพร่พลข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งบ้านเรือนกระจัดกระจายกันไปหลายแห่งในภาคอีสาน คือ บ้านโพธิ์ตาก (ปัจจุบันคือ บ้านโพธิ์ตาม ตำบลบ้านกง อำเภอเมืองขอนแก่น) บ้านยางเดี่ยว บ้านโพธิ์ศรี (ปัจจุบันคือ บ้านโพธิ์ศรี ตำบลบ้านโน อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น) บ้านโพธิ์ชัย เมืองมัญจาคีรี (ปัจจุบันคือ บ้านโพธิ์ชัย อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น) จากนั้นจึงอพยพไพร่พลบางส่วนมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านชีโหล่น ขึ้นกับแขวงเมืองท่งหรือเมืองสุวรรณภูมิราชบุรีประเทศราช ต่อมาเพียเมืองแพน (ศักดิ์) ผู้เป็นพระบิดาได้อพยพไพร่พลตั้งขึ้นเป็นเมืองชื่อ เมืองเพี้ย ที่บ้านดอนพยอม หรือบ้านโนนกระยอม เมืองเพี้ย (ปัจจุบันคือ บ้านเมืองเพี้ย ตำบลเมืองเพี้ย อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น) ครั้นต่อมาอีกราว 9 ปี ในปี พ.ศ. 2331 เพียเมืองแพน (ศักดิ์) ก็ได้พาราษฎรและไพร่พลประมาณ 330 คน ขอแยกตัวออกจากเมืองสุวรรณภูมิไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ฝั่งบึงบอน ส่วนพระนางนั้นได้แยกจากพระบิดาไปประทับอยู่กับพระสวามีที่กรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ของสยามแต่เมื่อครั้งเวียงจันทน์แตก", "title": "เจ้าจอมแว่น ในรัชกาลที่ 1" }, { "docid": "170636#12", "text": "เจ้าจอมแว่นรับราชการในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) อย่างใกล้ชิดแต่มิได้ให้ประสูติพระราชบุตร นอกจากนี้ ท่านยังเป็นผู้ถวายการอภิบาลพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี หรือพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงจันทบุรี ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) กับเจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงทองสุกอย่างใกล้ชิด ด้วยมีเชื้อสายเป็นราชวงศ์ลาวเวียงจันทน์เหมือนกัน อีกทั้งยังเป็นพระญาติใกล้ชิดด้วย เนื่องจากว่าทั้งสองพระองค์มีพระราชปัยกาหรือทวดพระองค์เดียวกัน รวมทั้งยังเป็นผู้ถวายการอภิบาลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ที่ประสูติแต่เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี อีก 3 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าชายอาภรณ์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าชายกลาง (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์) และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าชายปิ๋ว ตลอดจนเป็นผู้ถวายการอภิบาลพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าหญิงบุญรอด (สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี) อีกด้วย", "title": "เจ้าจอมแว่น ในรัชกาลที่ 1" }, { "docid": "170636#33", "text": "เจ้าจอมแว่น ถึงแก่อนิจกรรมในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ประชาชนได้สร้างพระธาตุบรรจุพระอัฐิของพระองค์ไว้ ณ วัดนางเขียวค้อม เมืองพานพร้าว เรียกว่า ธาตุนางเขียวค้อม อนึ่ง เมืองพานพร้าวและเมืองศรีเชียงใหม่ (ในเขตจังหวัดหนองคายปัจจุบัน) เป็นหัวเมืองลาวที่เจ้าจอมแว่นได้ขอร้องให้พระราชสวามีห้ามทำลาย เมื่อครั้งยกทัพไปเผานครเวียงจันทน์สมัยพระเจ้าตากสิน", "title": "เจ้าจอมแว่น ในรัชกาลที่ 1" }, { "docid": "170636#15", "text": "พระอุโบสถของวัดก่อเป็นอิฐสูงพ้นดินประมาณ 2 ศอก เอาเสาไม้แก่นเป็นเสาประธาน หลังคามุงกระเบื้อง ฝาผนังเอาไม้สักเป็นฝารอบ มีบานประตูหน้าต่าง แต่กุฎีนั้นทำด้วยเสาไม้แก่น มีหลังคามุงบัง สัณฐานเช่นเรือนโบราณ ครั้นต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) เมื่อเจ้าจอมแว่นถึงแก่กรรมแล้ว ได้มีญาติผู้หญิงของเจ้าจอมแว่นท่านหนึ่งเป็นข้าราชการฝ่ายในมีนามว่า อิน ได้มีจิตศรัทธาจัดการปฏิสังขรณ์วัดขรัวอินเสียใหม่ทั้งวัด การปฏิสังขรณ์คราวนี้ได้รื้อเอาสถานที่ของเก่าออกทิ้งทั้งหมดแล้วสร้างใหม่ โดยสร้างเป็นอุโบสถขนาดเล็ก ก่ออิฐปูนขึ้นใหม่ เสนาสนะก่อด้วยอิฐปูนแต่เครื่องบนใช้ไม้ไผ่สานเป็นแกน เสร็จแล้วได้กราบถวายบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) พระองค์จึงทรงดำริว่า \" \"วัดขรัวอินนี้แปลก สมภารเจ้าวัดชื่อ อิน ผู้ศรัทธาปฏิสังขรณ์ก็ชื่อ อิน ไม่แต่เท่านั้น ชาวบ้านก็อุตส่าห์ให้เรียกว่า วัดขรัวอิน เสียอีก\" \" จึงได้พระราชทานนามให้วัดนี้ใหม่ว่า วัดดาวดึงษาสวรรค์ อันหมายถึง สวรรค์ชั้นที่พระอินทร์สถิตย์อยู่", "title": "เจ้าจอมแว่น ในรัชกาลที่ 1" }, { "docid": "170636#32", "text": "โดยปกติแล้ว ผู้คนมักนิยมไปกราบไหว้บูชาพระพุทธโลกนาถที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เพราะเชื่อกันว่าศักดิ์สิทธิ์ในเรื่องให้บุตร และจะประสบผลสำเร็จหากขอในคืนวันเพ็ญซึ่งเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา นอกจากสร้างรูปเด็กถวายประดับในวิหารพระโลกนาถแล้ว ในงานเทศน์มหาชาติครั้งหนึ่ง เจ้าจอมแว่นยังทำกระจาดใหญ่ใส่เด็กผมจุกแต่งเครื่องหมดจดงดงาม ติดกัณฑ์เทศน์ถวายเป็นสิทธิขาด นับเป็นความคิดแปลกแหวกแนว อาจจะสืบเนื่องมาจากความต้องการมีพระองค์เจ้าเป็นอย่างยิ่งก็เป็นได้", "title": "เจ้าจอมแว่น ในรัชกาลที่ 1" }, { "docid": "170636#20", "text": "หลักฐานในจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวีกล่าวว่า เจ้าจอมแว่นเป็นเจ้านายท่านหนึ่งในบรรดาพระบรมวงศานุวงศ์และเจ้านายที่ร่วมกันจัดอาหารคาวหวานถวายพระภิกษุสงฆ์และเลี้ยงผู้คนในคราวพระราชพิธีสำคัญต่างๆ เช่น เมื่อครั้งทำบุญใหญ่ฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ได้ทรงโปรดให้เลิกนำข้าวถวายพระ แต่ให้ทำขนมจีนเลี้ยงพระสงฆ์นับพันรูปโดยใช้แป้งขนมจีนจำนวนมากถึงวันละเกวียน ในงานนี้เจ้าจอมแว่นผู้มีชื่อเสียงในการปรุงน้ำยาที่สุดในสมัยนั้น ได้เป็นผู้ปรุงถวายพระในงานบุญใหญ่ครั้งนี้เอง", "title": "เจ้าจอมแว่น ในรัชกาลที่ 1" } ]
196
เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา เป็นการผสมผสานระหว่างเกมแอ็กชัน เกมผจญภัยใช่หรือไม่?
[ { "docid": "137542#0", "text": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา () เป็นเกมชุดประเภทแอ็กชันผจญภัยที่กล่าวถึงวีรบุรุษในตำนาน ริเริ่มโดยนักออกแบบเกมชาวญี่ปุ่น ชิเงะรุ มิยะโมะโตะ (宮本 茂) พัฒนาและวางจำหน่ายโดยนินเทนโด (Nintendo) เกมชุดนี้เป็นการผสมผสานระหว่างเกมแอ็กชัน เกมผจญภัย เกมปริศนา เกมเล่นตามบทบาท (RPG) ในบางโอกาสก็มีการใช้เกมมุมมองด้านข้าง (platform) เกมสายลับ (stealth) หรือเกมแข่งขัน (racing) ประกอบอยู่ด้วย", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา (เกมชุด)" } ]
[ { "docid": "589357#5", "text": "ในภาคนี้ ยังคงรูปแบบเกมแอคชั่นผจญภัยเหมือนภาคอื่นๆ โดยที่มุมมองส่วนใหญ่จะเป็นมุมมองจากข้างบน ผู้เล่นจะต้องผจญภัยอยู่ในเกาะโคโฮลินท์ ต่อสู้กับศัตรูและตะลุยดันเจี้ยน ในภาคนี้ดันเจี้ยนจะกว้างและยากกว่าภาคก่อนๆ และมีบอสที่เรียกว่า ไนท์แมร์ ซึ่งเราต้องจัดการเแล้วเอาเครื่องดนตรีทั้งแปดมาเพื่อจบเกม โดยที่เมื่อเราชนะไนท์แมร์แต่ละตัว เราจะได้หัวใจเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่อง ถ้าหัวใจเราหมด เราจะตายแล้วเริ่มใหม่ที่ประตูบานล่าสุดที่เราเปิดในเกม", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา ลิงส์อะเวกเคนนิง" }, { "docid": "787531#6", "text": "ต่อมา, สกัลคิดพบลิงก์และดีใจที่เป็นเพื่อนกันและตอนนี้หน้ากากไม่มีพลังและอยู่นำคนขายหน้ากากแห่งความสุข และ เขากลับไปที่อาณาจักรไฮรูล.\nในภาคนี้ ยังคงรูปแบบเกมแอคชั่นผจญภัยเหมือนภาคอื่นๆ โดยที่มุมมองส่วนใหญ่จะเป็นมุมมองจากข้างบน ผู้เล่นจะต้องผจญภัยอยู่ในเทอร์มินาต่อสู้กับศัตรูและตะลุยดันเจี้ยน ในภาคนี้ดันเจี้ยนจะกว้างและยากกว่าภาคก่อนๆ และมีบอสที่เรียกว่า เมเยอรา ซึ่งเราต้องจัดการแล้วเอาซากที่เหลือของอสูรยักษ์ทั้งสี่มาเพื่อจบเกม โดยที่เมื่อเราชนะเมเยอราแต่ละตัว เราจะออกจากดวงจันทร์ ถ้าหัวใจเราหมด เราจะตายแล้วเริ่มใหม่ที่คล็อกทาวน์ที่เราเปิดในเกม", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา เมเยอราส์แมสก์" }, { "docid": "137542#3", "text": "เกมชุดเดอะเลเจนด์ออฟเซลดาเป็นเกมที่รวมปริศนาหลายชนิด การต่อสู้อย่างมีกลยุทธ์ และการสำรวจ ซึ่งทั้งหมดเป็นสาระหลักของเกมทั้งชุด แต่มีการปรับแต่งและเพิ่มคุณลักษณะใหม่ในแต่ละภาค ผู้เล่นจะได้รับรางวัลเมื่อได้สำรวจพื้นที่หรือแก้ปัญหาได้สำเร็จ เกมชุดนี้ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการค้นหาตำแหน่งและการสำรวจไปตามด่านต่างๆ ที่เรียกว่า \"ดันเจี้ยน (dungeon) \" ผู้เล่นต้องแก้ปริศนาในดันเจี้ยน กำจัดศัตรูระหว่างทาง แล้วไปต่อสู้กับหัวหน้าดันเจี้ยน ดันเจี้ยนแต่ละแห่งจะมีไอเท็มสำคัญหนึ่งอย่างที่จำเป็นสำหรับการเข้าถึงหรือใช้ประมือกับหัวหน้า ไอเท็มบางชนิดปรากฏซ้ำในภาคอื่นๆ เป็นส่วนมาก (เช่นบูมเมอแรง) ในขณะที่ไอเท็มบางอย่างก็มีใช้เฉพาะภาคเดียว", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา (เกมชุด)" }, { "docid": "261462#0", "text": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา ออคารินาออฟไทม์ (; ) เป็นเกมแนวผจญภัยลำดับที่ 5 จากเกมชุดเดอะเลเจนด์ออฟเซลดา สร้างขึ้นโดยบริษัทนินเทนโด (Nintendo) ในรูปแบบของ นินเทนโด 64 (Nintendo 64) เผยแพร่ในญี่ปุ่นในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 อเมริกาในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 และยุโรปในวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2541 เกมนี้มียอดขายทั่วโลกกว่า 7.6 ล้านตลับ เนื้อหาในเกมก็เหมือนกับภาคก่อน ๆ คือ ลิงก์จะต้องช่วยเหลืออาณาจักรไฮรัลให้รอดพ้นจากจอมมารกานอนดอร์ฟ", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา ออคารินาออฟไทม์" }, { "docid": "787670#2", "text": "เดอะวินด์เวกเกอร์ประสบความสำเร็จในด้านธุรกิจ นักวิจารณ์ต่างพากันชื่นชมในความลึกล้ำและลูกเล่นใหม่ๆของเกม แต่ก็มีข้อติติงอยู่ที่การควบคุมและการแสดงผลซึ่งยังเป็นการ์ตูน 3 มิติ ต่อมาได้มีการรีเมคโดยใช้ชื่อว่า เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา เดอะวินด์เวกเกอร์ HD ลงวียูในปี ค.ศ. 2013 ซึ่งใช้กราฟิคคมชัด.\nในภาคนี้ ยังคงรูปแบบเกมแอคชั่นผจญภัยเหมือนภาคอื่นๆ โดยที่มุมมองส่วนใหญ่จะเป็นมุมมองจากข้างบน ผู้เล่นจะต้องผจญภัยอยู่ในเกรีทซีต่อสู้กับศัตรูและตะลุยดันเจี้ยน ในภาคนี้ดันเจี้ยนจะกว้างและยากกว่าภาคก่อนๆ และมีบอสที่เรียกว่า กานอนดอร์ฟ ซึ่งเราต้องจัดการแล้วเอาดาบมาสเตอร์ซอร์ดมาเพื่อจบเกม โดยที่เมื่อเราชนะเมเยอราแต่ละตัว เราจะออกจากหอคอย ถ้าหัวใจเราหมด เราจะตายแล้วเริ่มใหม่ที่ประตูบานล่าสุดที่เราเปิดในเกม", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา เดอะวินด์เวกเกอร์" }, { "docid": "787701#1", "text": "เกมนี้เป็นหนึ่งในไม่กี่ภาคที่ไม่ได้ดำเนินเรื่องอยู่ในอาณาจักรไฮรูลเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่จะดำเนินเรื่องอยู่ในเกาะที่อยู่บนท้องฟ้าที่มีชื่อว่า \"สกายลอฟท์\" ซึ่งคุ้มครองโดยผู้พิทักษ์นามว่า \"ไฮเลีย\" (\"Hylia\") โดยที่ผู้เล่นจะสวมบทบาทเป็นลิงก์ คอยจัดการกับศัตรูและแก้ไขปริศนาต่างๆพร้อมกับตามหาไทรฟอร์ซเพื่ออกไปจากคุกใต้ดิน 4 แห่งก่อนกิราฮิมเอาตัวเซลดา\nในภาคนี้ ยังคงรูปแบบเกมแอคชั่นผจญภัยเหมือนภาคอื่นๆ โดยที่มุมมองส่วนใหญ่จะเป็นมุมมองจากข้างบน ผู้เล่นจะต้องผจญภัยอยู่ในพื้นโลกต่อสู้กับศัตรูและตะลุยดันเจี้ยน ในภาคนี้ดันเจี้ยนจะกว้างและยากกว่าภาคก่อนๆ และมีบอสที่เรียกว่า เดมิส ซึ่งเราต้องจัดการแล้วเอาเปลวไฟศักดิ์สิทธิ์ทั้งสามมาสร้างดาบมาสเตอร์ซอร์ดเพื่อจบเกม โดยที่เมื่อเราชนะเดมิส เราจะออกจากมิติหนึ่ง ถ้าหัวใจเราหมด เราจะตายแล้วเริ่มใหม่ที่สกายลอฟท์ที่เราเปิดในเกม", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา สกายวอร์ดซอร์ด" }, { "docid": "589357#7", "text": "นอกจากภารกิจหลักแล้ว ในเกมยังมีภารกิจย่อยต่างๆ รวมถึงการเก็บเปลือกหอยที่ซ่อนอยู่ในเกม เมื่อเก็บครบ 20 อัน เราจะได้ดาบอันทรงพลังที่สามารถปล่อยลำแสงได้ขณะที่มีหัวใจเต็มหลอด คล้ายกับเกม \nเดอะเลเจนด์ออฟเซลดา ภาคนี้ยังเป็นภาคแรกที่มีมินิเกมแลกของ โดยที่เราต้องให้ไอเท็มกับตัวละครหนึ่งแล้วตัวละครนั้นจะให้ไอเท็มอีกชิ้นหนึ่งกลับมาแทนและยังเป็นภาคแรกที่สามารถปรับแต่งปุ่ม A กับ B สำหรับใช้ไอเท็มต่างๆได้ ทำให้ปริศนาในเกมมีความหลากหลายและสามารถใช้ไอเท็มร่วมกันได้ นอกจากนั้น ภาคนี้ยังเป็นจุดเริ่มต้นของอีเวนท์ประจำเกมซีรีส์เซลด้าหลายอีเวนท์ อาทิ ตกปลา, เรียนรู้บทเพลงใหม่จากออคารินา ซึ่งภายหลังได้ไปอยู่ในเกมเซลด้าภาคถัดมา เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา ออคารินาออฟไทม์", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา ลิงส์อะเวกเคนนิง" }, { "docid": "657419#1", "text": "เนื้อเรื่องของ \"อะลิงก์ทูเดอะพาสต์\" จะเกี่ยวข้องกับการผจญภัยของลิงก์เพื่อกอบกู้อาณาจักรไฮรูล กำจัดกานอนและช่วยเหลือลูกหลานแห่งนักปราชญ์ทั้งเจ็ด เกมนี้จะใช้มุมมองด้านบนแบบเดียวกับภาคแรก เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา โดยเลือกที่จะทิ้งรูปแบบไซด์สครอลลิ่งของ เซลดา II ดิแอดเวนเจอร์ออฟลิงก์ ไป หลายสิ่งหลายอย่างในภาคนี้ได้ถูกนำไปใช้ในภาคต่อๆมา เช่น โลกคู่ขนาน,มาสเตอร์ซอร์ด,อาวุธอื่นๆอีกมากมาย", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา: อะลิงก์ทูเดอะแพสต์" }, { "docid": "137542#5", "text": "คู่มือประกอบในภาค \"อะลิงก์ทูเดอะแพสต์ (A Link to the Past) \" บนเครื่องซูเปอร์แฟมิคอมได้เปิดเผยว่า ลิงก์ (ตัวเอก) ในภาคนี้เป็นบรรพบุรุษของลิงก์จากเครื่องแฟมิคอม เช่นเดียวกับภาค \"ออคารินาออฟไทม์ (Ocarina of Time) \" ในเครื่องนินเทนโด 64 ที่กล่าวถึงความสัมพันธ์แบบเดียวกันกับลิงก์ในเครื่องซูเปอร์แฟมิคอม ส่วนภาค \"เดอะวินด์เวกเกอร์ (The Wind Waker) \" กล่าวไว้ว่า อาณาจักรไฮรัลที่น้ำท่วมเป็นผลมาจาก \"วีรบุรุษ\" ที่ผจญภัยต่อไปในอาณาจักรอื่น ซึ่งข้อความนี้อาจพูดเป็นนัยว่า หมายถึงลิงก์จากออคารินาออฟไทม์ที่ผจญภัยต่อใน \"อาณาจักรเทอร์มินา (Termina) \" ของภาค \"เมเยอราส์มาสก์ (Majora's Mask) \" ซึ่งทั้งหมดไม่มีข้อมูลระบุว่าช่วงเวลาของอาณาจักรไฮรัลของแต่ละภาคอยู่ห่างกันเท่าไร", "title": "เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา (เกมชุด)" } ]
201
สัตว์ประจำชาติสหรัฐอเมริกาคืออะไร?
[ { "docid": "823#60", "text": "นิเวศวิทยาของสหรัฐนั้นหลากหลายมาก (megadiverse) โดยมีพืชมีท่อลำเลียงประมาณ 17,000 ชนิดในสหรัฐแผ่นดินใหญ่และรัฐอะแลสกา และพบพืชดอกกว่า 1,800 ชนิดในรัฐฮาวาย ซึ่งมีจำนวนน้อยที่พบในแผ่นดินใหญ่ สหรัฐเป็นถิ่นที่อยู่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 428 ชนิด นก 784 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 311 ชนิดและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 295 ชนิด มีการพบแมลงประมาณ 91,000 ชนิด อินทรีหัวขาวเป็นนกประจำชาติและสัตว์ประจำชาติของสหรัฐ และเป็นสัญลักษณ์ของประเทศเสมอมา", "title": "สหรัฐ" } ]
[ { "docid": "83865#4", "text": "ปัจจุบันได้มีการผลักดันให้แมวโคราชขึ้นทะเบียนเป็นสัตว์ประจำชาติไทย ในปี พ.ศ. 2552คนสมัยโบราณมีความเชื่อว่า แมวสีสวาดเป็นแมวนำโชคลาภของคนโคราช และคนเลี้ยงทั่ว ๆ ไป จะนำมาซึ่งความสุขสวัสดิมงคลแก่ผู้เลี้ยง แมวสีสวาดเคยประกวดชนะเลิศในระดับโลกมาแล้วในปี พ.ศ. 2503 ที่สหรัฐอเมริกา เป็นแมวตัวเมียชื่อว่าสุนัน และเป็นที่นิยมของชาวต่างประเทศมาก จึงนับว่าแมวไทยได้ทำชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยเป็นอันมาก", "title": "มาเลศ" }, { "docid": "625166#24", "text": "การรับรองเนื้อสัตว์อินทรีย์ในสหรัฐอเมริกาเป็นการรับรองว่า สัตว์ในไร่นานั้นผ่านกฎเกณฑ์การผลิตอาหารอินทรีย์ของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา กฎเกณฑ์ควบคุมเหล่านี้รวมไปถึงการที่สัตว์เหล่านี้จะถูกเลี้ยงดูด้วยอาหารอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองและไม่มีของที่เหลือจากสัตว์ นอกจากนี้ สัตว์ที่ถูกเลี้ยงในไร่นาอินทรีย์ต้องไม่ได้รับฮอร์โมนเร่งการเติบโตหรือยาปฏิชีวนะ สัตว์เหล่านี้ยังต้องถูกเลี้ยงดูด้วยกระบวนการที่ปกป้องสายพันธุ์พื้นบ้านและทรัพยากรทางธรรมชาติอื่น ๆ ไม่อนุญาตให้มีการฉายรังสี การใช้กากตะกอนน้ำเสียของมนุษย์ และวิศวพันธุกรรมในกระบวนการปศุสัตว์อินทรีย์", "title": "อาหารอินทรีย์" }, { "docid": "550433#15", "text": "ในอดีต บางท้องที่มีกฎหมายห้ามมนุษย์เพศผู้ร่วมประเวณีกับสัตว์เดรัจฉานเพศเมีย เช่น อัลปากา (Alpaca) และการสังวาสกับอัลปากายังเป็นความผิดตามกฎหมายในประเทศเปรูอยู่ ส่วนในสหรัฐอเมริกานั้น ปรากฏว่า ตั้งแต่ ค.ศ. 2012 เป็นต้นว่า การร่วมประเวณีกับสัตว์นับเป็นความผิดตามกฎหมายของรัฐจำนวนสามสิบเจ็ดรัฐ กฎหมายระดับรัฐเหล่านี้ส่วนใหญ่ตราขึ้นในช่วง ค.ศ. 1999 ถึง ค.ศ. 2012 นี้เอง ในเมืองอีนัมคลอว์ (Enumclaw) รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ยังเคยมีไร่ปศุสัตว์หลายแห่งเปิดเป็น \"โรงค้าประเวณีสัตว์\" (animal brothel) แต่เมื่อเกิดคดีชำเราม้าเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 ซึ่งชายคนหนึ่งไส้แตกตายในห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลชมชนอีนัมคลอว์หลังจากร่วมประเวณีกับม้า สภานิติบัญญัติรัฐวอชิงตันซึ่งเป็นเพียงไม่กี่รัฐที่ยังไม่มีกฎหมายป้องกันและปราบปรามการชำเราสัตว์ จึงตรากฎหมายเช่นนั้นขึ้นโดยไม่ชักช้า กระบวนการนิติบัญญัติใช้เวลาเพียงหกเดือน", "title": "อาการกระสันสัตว์" }, { "docid": "48130#4", "text": "สัตว์ป่าประกอบไปด้วยสัตว์นานาชนิด ได้แก่ ช้าง กวาง เสือ หมี สมเสร็จ ชะนี ลิง เลียงผา นกชนิดต่าง ๆ เป็นต้น สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น กบทูด และพันธุ์ปลาที่หายากประจำถิ่น ได้แก่ ปลามังกร รวมถึงในอดีตเคยมีบันทึกว่าเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของกระซู่ ด้วย โดยในปลายปี พ.ศ. 2508 มีพรานท้องถิ่นสามารถยิงกระซู่ได้ในปลักกลางป่า ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2530 สืบ นาคะเสถียร ได้ลงพื้นที่สำรวจค้นหาโดยใช้เวลา 10 วัน ไม่เจอตัว แต่ได้พบร่องรอยเมื่อฤดูฝนปีที่ผ่านมา", "title": "อุทยานแห่งชาติเขาสก" }, { "docid": "668340#1", "text": "พายแอปเปิลเป็นของหวานที่นิยมรับประทานในประเทศตะวันตกหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ สวีเดน เป็นต้น พายแอปเปิลถือว่าเป็นอาหารประจำชาติของสหรัฐอเมริกา", "title": "พายแอปเปิล" }, { "docid": "226339#0", "text": "สมาคมพิทักษ์สัตว์แห่งโลก คือ World Society for the Protection of Animals หรือ WSPA เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนนานาชาติ มีสมาชิกระดับท้องถิ่นเข้าร่วมกว่า 800 องค์กรจากกว่า 150 ประเทศ และในประเทศไทย ได้รับพระกรุณาคุณจาก พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จเป็นประธานในพิธีเปิดสมาคมพิทักษ์สัตว์แห่งโลก สำนักงานใหญ่ ประจำภูมิภาคเอเชีย (WSPA Asia) ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ที่ชั้น 19 ตึกOlympia Thai Tower ทั้งนี้เพื่อจะได้เข้าไปช่วยเหลือและยกระดับสัตว์ในภูมิภาคเชียได้ดียิ่งขึ้น ประเทศไทยสมาคมพิทักษ์สัตว์แห่งโลกมีสมาชิกเข้าร่วม 11 องค์กรด้วยกัน", "title": "สมาคมพิทักษ์สัตว์แห่งโลก" }, { "docid": "86547#2", "text": "นากจึงเป็นสัตว์ที่มีที่อยู่ในธรรมชาติใกล้กับแหล่งน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ หลากหลายประเภท เช่น บึง, ทะเลสาบ, ลำธาร, ป่าชายเลน แม้แต่พื้นที่เกษตรกรรมของมนุษย์ เช่น ท้องร่องในสวนผลไม้, นาข้าว หรือนากุ้ง เป็นต้น พบได้ทั่วโลก โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ นากยักษ์ (\"Pteronura brasiliensis\") พบในลุ่มแม่น้ำอเมซอนในทวีปอเมริกาใต้ บางชนิดพบในทะเล คือ นากทะเล (\"Enhydra lutris\") ที่สามารถนอนหงายท้องบนผิวน้ำทะเลและเอาหินทุบเปลือกหอยกินเป็นอาหารได้ด้วย", "title": "นาก" }, { "docid": "312314#5", "text": "สมเสร็จ เป็นสัตว์ที่มีระบบสายตาที่ไม่ดี แต่มีระบบประสาทรับฟังทางหูและดมกลิ่นดีเยี่ยม ปกติเป็นสัตว์ที่มีอุปนิสัยเรียบร้อย ไม่ก้าวร้าว แต่เคยมีรายงานว่า สมเสร็จอเมริกากลางตัวหนึ่งในสวนสัตว์โจมตีด้วยกรามใส่ผู้ดูแลซึ่งเป็นผู้หญิง เมื่อปี ค.ศ. 1998 จนได้รับบาดเจ็บสาหัสถึงขั้นพิการแขนขาด สมเสร็จเป็นสัตว์ที่อ้างอิงถึงในวัฒนธรรมและความเชื่อของญี่ปุ่น ด้วยการเป็นปีศาจตนหนึ่งที่กินความฝัน หรือฝันร้ายของผู้คนในนอนหลับเมื่อยามค่ำคืน เรียกว่า \"บะกุ\" () เป็นต้น", "title": "สมเสร็จ" }, { "docid": "8217#9", "text": "จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์แห่งสถาบันสมิธโซเนียนพบว่า แมวเป็นสัตว์ที่เป็นภัยคุกคามต่อสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ อย่างยิ่ง โดยในสหรัฐอเมริกาแมวได้ฆ่านกไปถึงปีละ 2,000–4,000 ล้านตัวต่อปี ทั้งแมวที่มีเจ้าของ หรือแมวจร ส่วนในออสเตรเลียปีละ 70 ล้านตัวต่อปี และอังกฤษ 27 ล้านตัวต่อปี รวมแล้วทั่วโลกประมาณ 7,000–20,000 ล้านตัวต่อปี โดยในรอบ 500 ปีที่ผ่านมา แมวได้ทำให้สัตว์ชนิดต่าง ๆ ทั้ง นก, สัตว์ปีก, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก, สัตว์ฟันแทะ, สัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกสูญพันธุ์ไปแล้วถึง 430 ชนิด เนื่องจากแมวเป็นสัตว์ที่มีสัญชาตญาณนักล่า บางทีล่าหรือฆ่าเพราะความอยากรู้อยากเห็นไม่ได้นำมากินหรือเป็นอาหาร", "title": "แมว" } ]
202
มังกรโคโมโด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าอย่างไร?
[ { "docid": "303360#0", "text": "มังกรโคโมโด (; ชื่อวิทยาศาสตร์: \"Varanus komodoensis\") เป็นสัตว์เลื้อยคลานในอันดับกิ้งก่าชนิดหนึ่ง มีถิ่นอาศัยอยู่บนเกาะโคโมโด, รินจา, โฟลเร็ซ และกีลีโมตังในประเทศอินโดนีเซีย อยู่ในวงศ์และสกุลเดียวกับเหี้ย (Varanidae) จัดเป็นตะกวดชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ยังสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนี้ ตัวโตเต็มวัยมีขนาดความยาวโดยเฉลี่ย 2-3 เมตร (6.6 ถึง 9.8 ฟุต) และมีน้ำหนักประมาณ 90 กิโลกรัม (150 ปอนด์)", "title": "มังกรโกโมโด" } ]
[ { "docid": "303360#4", "text": "แต่ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับมังกรโคโมโดก็ยังเป็นที่รู้จักน้อยมาก เนื่องด้วยจากที่อยู่บนเกาะห่างไกลและภาวะจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในปี ค.ศ. 1926 จึงได้มีการศึกษามังกรโกโมโดอย่างจริงจังโดยคณะนักวิทยาศาสตร์และนักสร้างภาพยนตร์ชาวอเมริกัน โดยได้มีภาพยนตร์เกี่ยวกับวิถีชีวิตของมังกรโกโมโดในธรรมชาติ ภาพยนตร์ชุดนี้ได้สร้างความฮือฮาเป็นอย่างยิ่ง และในปีถัดมา มังกรโกโมโดที่มีชีวิต 2 ตัวก็ได้ถูกส่งไปยังทวีปยุโรป แม้จะมีรูปร่างหน้าตาน่ากลัว แต่มังกรโคโมโดทั้ง 2 ตัวนี้กลับมีอุปนิสัยอ่อนโยนน่ารัก", "title": "มังกรโกโมโด" }, { "docid": "303360#2", "text": "มังกรโคโมโดเป็นที่รู้จักครั้งแรกของชาวโลก เมื่อพันตรีปีเตอร์ เอาเวินส์ ทหารชาวดัตช์ ซึ่งเป็นผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สัตววิทยาและสวนพฤกษศาสตร์ชวาที่เมืองเบยเตินซอร์ค (ปัจจุบันคือโบโกร์) ได้ยินเรื่องราวของมันและต้องการข้อมูลของมัน ดังนั้นในปี ค.ศ. 1910 เขาได้ติดต่อไปยังข้าหลวงของเกาะโฟลเร็ซ ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของเกาะโกโมโด ข้าหลวงซึ่งเป็นนักธรรมชาติวิทยาสมัครเล่นคนหนึ่งรับปากว่าจะหาข้อมูลมาให้", "title": "มังกรโกโมโด" }, { "docid": "303360#5", "text": "มังกรโคโมโดเป็นสัตว์ที่พบได้เฉพาะบนเกาะโคโมโดและหมู่เกาะใกล้เคียงเท่านั้น ไม่พบในที่อื่นใดของโลกอีก มีอุปนิสัยดุร้าย ชอบอยู่เป็นฝูง มังกรโกโมโดเป็นสัตว์กินเนื้อเป็นอาหาร จะวิ่งล่าเหยื่อด้วยการซุ่มจู่โจมกัดเหยื่อด้วยฟันที่คม แต่มันจะวิ่งไล่ได้เพียงครั้งเดียว ถ้าหากมันจับเหยื่อไม่ได้ มันจะต้องหยุดนิ่งเพื่อชาร์จพลังสำหรับการวิ่งครั้งใหม่ มังกรโกโมโดเป็นสัตว์ไม่มีพิษแต่ก็เสมือนว่ามีพิษ เนื่องจากในน้ำลายของมันมีเชื้อแบคทีเรียอยู่มากกว่าถึง 50 ชนิด เหยื่อที่ถูกกัดจะเกิดอาการโลหิตเป็นพิษ และจะถึงแก่ความตายในเวลาไม่เกิน 3 วัน ซึ่งบางครั้งเมื่อเหยื่อที่มังกรโคโมโดกัดและทิ้งน้ำลายไว้ในแผล หลบหนีไป มังกรโกโมโดจะติดตามไปเพื่อรอให้เหยื่อตายก่อนจะลงมือกินอีกด้วย เหยื่อของมังกรโกโมโดตามธรรมชาตินั้น มักเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ เช่น กวาง หรือวัวควายของชาวบ้าน", "title": "มังกรโกโมโด" }, { "docid": "303360#10", "text": "บรรพบุรุษของมังกรโคโมโดมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับไดโนเสาร์ โดยมีบรรพบุรุษร่วมกันเมื่อ 300 ล้านปีมาแล้ว (ยุคคาร์บอนิเฟอรัส) และเริ่มแยกออกจากกันเมื่อประมาณ 250 ล้านปีก่อน โดยไดโนเสาร์เริ่มมีวิวัฒนาการในการเดิน 2 ขา ส่วนมังกรโกโมโดยังคลาน 4 เท้า เมื่อ 100 ล้านปีก่อน ต้นตระกูลของมังกรโกโมโด เริ่มออกเดินทางจากเอเชียมุ่งสู่ยุโรป อเมริกาเหนือ และเดินทางมายังออสเตรเลียเมื่อ 15 ล้านปีก่อน โดยเดินทางผ่านอินโดนีเซีย เมื่อระดับนํ้าทะเลเพิ่มสูงขึ้น แผ่นดินอินโดนีเซียถูกแยกเป็นเกาะ ๆ มังกรโกโมโดจึงตกค้างอยู่ตามเกาะเหล่านั้นมาจนทุกวันนี้ \nมังกรโคโมโดสามารถวิ่งได้เร็ว 20 กิโลเมตร/ชั่วโมง ด้วยกล้ามเนื้อขาที่แข็งแรง แต่มันจะวิ่งได้ระยะสั้นแล้วต้องหยุดพักเพราะมีขนาดลำตัวที่ใหญ่ มันจึงมักล่าโดยใช้วิธีซุ่มดักเหยื่ออยู่ตามทางเดินของสัตว์ รอจนกระทั่งเหยื่อเข้ามาใกล้ระยะที่มันจู่โจมได้ มันจึงจะจู่โจมด้วยฟันที่คมกริบ และเล็บที่แข็งแรง อีกทั้งยังมีน้ำลายที่เต็มไปด้วยจุลินทรีย์ที่เป็นพิษมากมายแม้มันจะล้มเหยื่อไม่ได้ในการล่า แต่ถ้าหากเหยื่อถูกกัดแล้วจะเกิดอาการเลือดเป็นพิษ และตายในเวลาไม่เกินสามวัน จากนั้นมังกรโกโมโดก็จะตามกลิ่นของเหยื่อที่ตายเพื่อไปกินได้\nมังกรโคโมโดมีประสาทในการรับกลิ่นและแยกกลิ่นดีมาก มันสามารถรับกลิ่นได้ไกลหลายกิโลเมตร โดยมันจะใช้ลิ้นในการรับกลิ่น และใช้ปุ่มที่เพดานปากในการแยกกลิ่น มันสามารถบอกได้ว่าเหยื่อของมันอยู่ที่ใด และมีอาการเป็นอย่างไร ซึ่งก็เป็นการเพิ่มโอกาสในการหาอาหารของมัน", "title": "มังกรโกโมโด" }, { "docid": "303360#9", "text": "มังกรโคโมโดเป็นเหี้ยพันธุ์ใหญ่ที่สุดของโลก โตเต็มที่เมื่อมีอายุได้สิบห้าปี และมีอายุยืนกว่าห้าสิบปีในป่าธรรมชาติ ชาวพื้นเมืองบนเกาะโกโมโดเรียกมันว่า โอรา (ora) หรือจระเข้บก ส่วนบนเกาะโฟลเร็ซเรียกว่า บียาวักรักซาซา (biawak raksasa) หมายถึง เหี้ยหรือตะกวดยักษ์ มังกรโกโมโดเป็นสัตว์ผู้ล่า เดิมเหยื่อของมันเกิดขึ้นเพื่อล่าช้างแคระที่บัดนี้ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว แต่มันก็สามารถล้มควาย กวาง แพะ หรือแม้กระทั่งลูกของมังกรโกโมโดด้วยกัน ด้วยเหตุนี้ลูกของมังกรโกโมโดจึงใช้เวลาช่วงแรก ๆ ของชีวิตอยู่บนยอดของต้นไม้เพื่อไม่ให้ถูกกิน และจะป้องกันตัวด้วยการกลิ้งไปมาในมูลหรือปัสสาวะของเหยื่อ เพื่อไม่ให้ตัวที่ใหญ่กว่ากิน มังกรโกโมโดกินอาหารเดือนละครั้ง และสามารถกินได้มากถึง 3 ใน 4 ของน้ำหนักตัว โดยกินด้วยการกลืนลงไปเลยโดยไม่เคี้ยว", "title": "มังกรโกโมโด" }, { "docid": "303360#11", "text": "มังกรโคโมโดมีขนาดร่างกายที่ใหญ่โต เนื่องจากบนเกาะเหล่านี้เคยมีช้างแคระอาศัยอยู่สองชนิด (จากหลักฐานทางซากดึกดำบรรพ์) ซึ่งน่าจะเป็นเป็นอาหารเดิมของมังกรโกโมโด และจากการที่พวกมันต้องล่าเหยื่อขนาดใหญ่นี้เอง จึงทำให้มันต้องวิวัฒนาการร่างกายให้ใหญ่โต เพื่อล่าเหยื่อ\nดูบทความหลักที่ \"การเกิดโดยไม่ผสมพันธุ์\"", "title": "มังกรโกโมโด" }, { "docid": "303360#15", "text": "จากการสำรวจพบว่ามังกรโคโมโดในธรรมชาติ 2 ใน 3 เป็นตัวผู้ นั่นแสดงว่าแม้มังกรโคโมโดจะสามารถสืบพันธุ์โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ได้ แต่ก็มีความยืดหยุ่นที่มีการสืบพันธุ์โดยใช้การผสมพันธุ์ได้ด้วย แต่ทว่าด้วยความสามารถพิเศษในการสืบพันธุ์แบบนี้ ทำให้มังกรโคโมโดตัวเมียมีอายุสั้นกว่าตัวผู้ถึงครึ่งต่อครึ่ง", "title": "มังกรโกโมโด" }, { "docid": "303360#13", "text": "นอกจากนี้แล้ว ยังมีกรณีที่มังกรโคโมโดตัวเมีย 2 ตัว ที่สวนสัตว์เชสเตอร์ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ได้ออกไข่แล้วฟักออกมาเป็นตัวโดยที่ไม่ต้องมีการผสมพันธุ์กับตัวผู้ นักวิทยาศาสตร์เปิดเผยว่า การสืบพันธุ์โดยไม่ใช้เพศนั้น (การเกิดโดยไม่ผสมพันธุ์) เกิดขึ้นกับสัตว์มีกระดูกสันหลังราว 70 ชนิด เช่น งู, ปลาฉลาม, กิ้งก่า หรือแม้แต่ไก่งวงหรือปลากระเบน แต่มักถูกมองว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก การให้กำเนิดโดยไม่ใช้เพศผู้ของมังกรโกโมโดนั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจทีเดียว", "title": "มังกรโกโมโด" }, { "docid": "197198#4", "text": "ยี่สิบปีต่อมา ทารกนั้น ซึ่งผู้พิพากษาฟร็อลโลให้ชื่อว่า ควอซีโมโด (Quasimodo) เติบโตขึ้นเป็นหนุ่มมีอัธยาศัยไมตรีงดงาม เขาอาศัยอยู่ในหอระฆังวัด และมีหน้าที่ตีระฆังให้วัด โดยผู้พิพากษาฟร็อลโลจะมาเยี่ยมเช้าสายบ่ายเย็น และถ่ายทอดศิลปวิทยาต่าง ๆ ให้ไม่ขาด แต่ผู้พิพากษาฟร็อลโลไม่ต้องการให้ควอซีโมโดออกนอกวัด เพราะเกรงผู้คนจะแตกตื่นในความอัปลักษณ์ของเขา จึงพร่ำสอนเขาว่า โลกภายนอกโหดร้าย และจะคอยซ้ำเติม \"อาชญากรรม\" ที่ควอซีโมโดเกิดมามีรูปทราม วัดนี้เท่านั้นที่จะเป็นธงชัยแห่งพระอรหันต์คุ้มครองให้ควอซีโมโดปลอยภัยทั้งปวง เพราะตามกฎหมายแล้ว ทุกชีวิตในพัทธสีมาวัดจะได้รับการอภัยทาน", "title": "คนค่อมแห่งนอเทรอดาม (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2539)" } ]
204
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ก่อตั้งขึ้นเมื่อไหร่?
[ { "docid": "30674#1", "text": "สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรีมีรายได้จากภาษีสรรพสามิตยาสูบและสุราในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี", "title": "สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ" } ]
[ { "docid": "30674#0", "text": "สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (ชื่อย่อ: สสส.) เป็นองค์การมหาชน อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี จัดตั้งขึ้นโดย พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 เพื่อเป็นองค์กรหลัก ซึ่งทำหน้าที่ผลักดัน กระตุ้น สนับสนุน และร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ โดยมุ่งหมายให้คนไทย มีสุขภาพกาย จิต ปัญญา และสังคมที่ดี ด้วยการกระตุ้นให้เกิด การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ความเชื่อ และสภาพแวดล้อม ให้เอื้ออำนวยต่อคุณภาพชีวิต อันจะช่วยลดภาระทางเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ โดยมีเป้าหมายในการลดอัตราการเจ็บป่วย และเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของคนไทย ทั้งนี้ ทุนอุดหนุนของ สสส. โดยส่วนมากได้มาจาก เงินที่รัฐจัดเก็บจากผู้ผลิตและนำเข้าสุราและยาสูบ ในอัตราร้อยละ 2 ของภาษีที่ต้องชำระ สสส.ถือเป็นองค์กรด้านสุขภาพรูปแบบใหม่ ที่สอดคล้องกับมติของสมัชชาสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (World Health Assembly Resolution 12.8 : Health Promotion and Health Life-Style) ขององค์การอนามัยโลก (WHO)", "title": "สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ" }, { "docid": "30674#3", "text": "ด้านนโยบายและการกำกับดูแล ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ \nดำเนินการโดย คณะกรรมการประเมินผล ซึ่ง พ.ร.บ.กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 มาตรา 38 ให้มีอำนาจหน้าที่ประเมินผลด้านโยบายและการกำหนดกิจการของกองทุน ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน รายงานผลพร้อมข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการ", "title": "สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ" }, { "docid": "644214#25", "text": "กรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 7 ราย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ้นสภาพจากตำแหน่ง ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 1/2559 \nพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา แต่งตั้ง นาย ชำนาญ พิเชษฐพันธ์ เป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 2/2559 หลังจากนั้นมติที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้แต่งตั้ง ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ เป็นผู้จัดการกองทุน และแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหากรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 7 รายวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2559 คณะรัฐมนตรีอนุมัติ กรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 7 รายและอนุมัติการลาออกของ นาย ชำนาญ พิเชษฐพันธ์ จากตำแหน่งรองประธานกรรมการคนที่สอง", "title": "คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61" }, { "docid": "30674#4", "text": "ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการประเมินผลจึงมีความอิสระจากคณะกรรมการกองทุนฯ มีบทบาทในการ ประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนในภาพรวม ทั้งด้านนโยบาย ด้านผลกระทบต่อสังคม และด้านการบริหารจัดการ อันจะเป็นหลักประกันความรับผิดชอบของ สสส.ต่อสาธารณะ (public accountability)ดำเนินการโดย ภาคีเครือข่าย ซึ่งแม้กฎหมายจะไม่ระบุโดยตรงว่าเป็นโครงสร้างของ สสส. แต่ภาคีเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาพ ถือเป็นผู้ปฏิบัติงานที่แท้จริงของโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ นอกจากนี้ ภาคีเครือข่ายยังมีบทบาทในการร่วมคิด ร่วมเรียนรู้ ร่วมพัฒนาอย่างกัลยาณมิตร และร่วมลงทุนในบางกรณีด้วยเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายซึ่งมีประชาชนเป็นผู้รับประโยชน์สุดท้ายร่วมกัน", "title": "สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ" }, { "docid": "809#1", "text": "สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นองค์กรขนาดเล็กของรัฐภายใต้การกำกับของสำนักนายกรัฐมนตรี ก่อตั้งโดยพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการวิจัย พ.ศ. 2535 ในสมัยรัฐบาล ฯพณฯ นายอานันท์ ปันยารชุน เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การวิจัยเชิงนโยบาย และการวิจัยประยุกต์ต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวิชาการของประเทศ", "title": "สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย" }, { "docid": "30674#5", "text": "คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ ได้แจ้งจุดประสงค์ที่จะตรวจสอบการทุจริตส่งผลให้ ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ เปิดแถลงข่าวเพื่อประกาศลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการ สสส. โดยจะยื่นหนังสือลาออกให้กับคณะกรรมการ สสส. ที่มี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานโดยตำแหน่ง ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการใหม่ทั้งหมดจำนวน 7 ราย ในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558 \nต่อมามีการคำสั่งให้กรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 7 รายพ้นสภาพจากตำแหน่ง ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 1/2559\nทั้งหมดพ้นสภาพในวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2559", "title": "สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ" }, { "docid": "436992#2", "text": "ก้าวสู่การเป็นผู้จัดการของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในเดือนมีนาคม 2553 จวบจนปัจจุบัน ด้วยทุ่มเทผลักดันการรณรงค์โครงการและกิจกรรมปลอดเหล้าและบุหรี่อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งการลดการบริโภคน้ำตาลในเด็ก และมาตรการคุ้มครองเด็กและเยาวชนอื่น ๆ ด้วยวิสัยทัศน์ที่มุ่งหวังให้ \"ไทยเป็นประเทศที่น่าอยู่ที่สุดในโลก\"", "title": "กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์" }, { "docid": "809#8", "text": "สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) มีทุนสนับสนุนนักวิจัยอาวุโสให้สร้างนักวิจัยใหม่ที่มีความสามารถทางวิชาการสูง และเพื่อเป็นเกียรติแก่นักวิจัยในฐานะที่สร้างผลงานดีเด่น เรียกว่า เมธีวิจัยอาวุโส สกว. โดยเริ่มให้ทุนวิจัยตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา ผู้ได้รับคัดเลือกให้เป็น เมธีวิจัยอาวุโส สกว. จะเข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี", "title": "สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย" }, { "docid": "496536#1", "text": "สำนักงานประกันสังคม เริ่มต้นเมื่อมีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515 ได้ระบุให้มี \"กองทุนเงินทดแทน\" ในกรณีที่ลูกจ้างประสบอันตราย สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ และเสียชีวิต ซึ่งกองทุนดังกล่าวได้ริเริ่มเก็บเงินสมทบเข้ากองทุน ในปี พ.ศ. 2517 โดยเริ่มในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เฉพาะสถานประกอบการที่มีลูกจ้างมากกว่า 20 ราย ต่อมาเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2545 ได้ขยายความคุ้มครองโดยขอความร่วมมือให้สถานประกอบการที่มีลูกจ้างมากกว่า 1 ราย ต้องเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน", "title": "สำนักงานประกันสังคม" } ]
210
พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย สวรรคตเมื่อใด?
[ { "docid": "4232#0", "text": "พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พระราชสมภพ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 สวรรคต 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ครองราชย์ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 2 ในราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า ฉิม (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) พระราชสมภพเมื่อวันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ปีกุน เวลาเช้า 5 ยาม ซึ่งตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสวยราชสมบัติเมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2352 - 2367 ขณะมีพระชนมายุได้ 42 พรรษา", "title": "พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย" }, { "docid": "4232#13", "text": "พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระประชวรด้วยโรคพิษไข้ ทรงไม่รู้สึกพระองค์เป็นเวลา 8 วัน พระอาการประชวรก็ได้ทรุดลงตามลำดับ และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 สิริพระชนมายุได้ 57 พรรษา และครองราชย์สมบัติได้ 15 ปี", "title": "พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย" }, { "docid": "4232#7", "text": "เมื่อถึงวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคตด้วยพระโรคชรา ขณะมีพระชนมายุได้ 73 พรรษา นับเวลาในการเสด็จครองราชย์ได้นานถึง 27 ปี สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร กรมพระราชวังบวรสถานมงคล จึงได้เสด็จขึ้นทรงราชย์สืบพระราชสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี", "title": "พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย" } ]
[ { "docid": "814997#33", "text": "นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ใช้ชื่อว่า \"เย็นศิระ เพราะพระบริบาล\" จัดขึ้น ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 โดยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จไปทรงเปิดนิทรรศการด้วยพระองค์เอง ภายในนิทรรศการมีการจัดนิทรรศการทั้งหมด 5 โซน ได้แก่ โซนที่ 1 บุญของแผ่นดินไทย โซนที่ 2 พระราชาผู้ทรงธรรม (ทำ) โซนที่ 3 กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ โซนที่ 4 พระมิ่งขวัญชาวไทย และโซนที่ 5 ร้อยใจไทย นอกจากนั้นในบริเวณจัดแสดงนิทรรศการยังมีการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิตด้วย", "title": "การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" }, { "docid": "66489#11", "text": "สภาพพระบรมศพ ทรงบรรทมหงายพิงพระเขนย (หมอน) คล้ายคนนอนหลับอย่างปกติ มีผ้าคลุมตั้งแต่พระอุระ (อก) ตลอดจนถึงข้อพระบาท (ข้อเท้า) มีพระโลหิต (เลือด) ไหลโทรมพระพักตร์ (หน้า) ลงมาที่พระเขนยและผ้าลาดพระยี่ภู่ พระเศียร (ศีรษะ) ตะแคงไปทางด้านขวาเล็กน้อย บริเวณกึ่งกลางพระนลาฏ (หน้าผาก) ตรงตรงเหนือพระขนง (คิ้ว) ซ้าย มีแผลกระสุนปืน หนังฉีกเป็นแฉกคล้ายเครื่องหมายคูณกว้างยาวประมาณ 4 ซม. พระเนตร (ตา) ทั้งสองหลับสนิท ไม่ได้ฉลองพระเนตร (แว่นตา) พระเกศา (ผม) แสกเรียบอยู่ในรูปที่เคยทรง พระโอษฐ์ (ปาก) ปิด พระกร (แขน) ทั้งสองเหยียดทอดทับนอกผ้าคลุมพระองค์แนบพระวรกายตามปกติ พระหัตถ์ทั้งสองแบอยู่ในท่าธรรมดา พระบาททั้งสองเหยียดทอดชิดกันอยู่ห่างจากปลายพนักพระแท่นประมาณ 7 ซม. มีปืนของกลางขนาดลำกล้อง 11 มม. วางอยู่ข้างพระกรซ้าย ลำกล้องขนานและห่างพระกร 1 นิ้ว ปากกระบอกหันไปทางพระบาท ศูนย์ท้ายของปืนอยู่ตรงระดับข้อพระกร (ข้อศอก)", "title": "การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล" }, { "docid": "825262#0", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 15.52 นาฬิกา ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช หลังการสวรรคต มีประเทศต่างๆและองค์การระดับนานาชาติส่งสาส์นแสดงความเสียใจเป็นจำนวนมาก“ข้าพเจ้ารู้สึกเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระบรมราชชนกนาถ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นการสูญเสียพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งและศูนย์รวมจิตใจของประชาชน ที่ทรงทุ่มเทพระวรกายปฏิบัติพระราชกรณียกิจมากมายแก่ประเทศชาติ\nในสถานการณ์ที่เจ็บปวดและเศร้าโศกนี้ ข้าพเจ้าขอร่วมถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อีกทั้งขอแสดงความเสียใจไปยังสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถด้วย รวมทั้งพระราชวงศ์ไทยทั้งมวล – พระนามาภิไธย มุนีนาถ สีหนุ.”รวมทั้งสมเด็จพระอนุชนโรดม อรุณรัศมีแห่งกัมพูชา พระขนิษฐา (น้องสาว) ในพระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี เสด็จไปทรงถวายสักการะและทรงลงพระนามถวายความอาลัยต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา.", "title": "ปฏิกิริยาต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" }, { "docid": "19587#2", "text": "หลังพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พระองค์ทรงพระประชวรต้องประทับในพระตำหนักวังสระปทุม และสวรรคตเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 เวลา 16.45 น. ด้วยพระโรคฝีบิดในพระยกนะ (ตับ) โดยมีโรคแทรกซ้อนคือพระปัปผาสะบวมน้ำและพระหทัยวาย พระชนมายุได้ 37 พรรษา 8 เดือน 23 วัน", "title": "สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก" }, { "docid": "19587#26", "text": "สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงมีพระราชหฤทัยห่วงศิริราช ยามใดที่มีผู้ใกล้ชิดเข้าเฝ้าจะรับสั่งถึงงานโรงพยาบาลศิริราชเสมอ พระอาการดีขึ้นและแล้วก็ทรุดลง แพทย์ประจำพระองค์คือ ศาสตราจารย์ที พี โนเบิล และดับบลิว เอช เปอร์กินส์ ได้ถวายการรักษาอย่างสุดความสามารถแต่พระอาการก็ทรุดลงเรื่อย ๆ", "title": "สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก" }, { "docid": "110412#1", "text": "ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือนอ้าย ปีจอ ตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2369 รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ทรงกำกับกรมพระอาลักษณ์ และทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นอักษรสาสนโสภณ ในรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ เลื่อนเป็นกรมขุนบดินทรไพศาลโสภณ และโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกำกับกรมอักษรพิมพการและกำกับศาลรับสั่งชำระความราชตระกูล แล้วทรงเลื่อนเป็นกรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ ฑีฆชนม์เชษฐประยูร สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2446 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ด้วยพระชันษา 77 ปี", "title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ ฑีฆชนม์เชษฐประยูร" }, { "docid": "84473#10", "text": "หลังการสวรรคตของพระราชสวามี พระองค์ทรงนำพระแสงดาบอาญาสิทธิ์ไปมอบให้แด่กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พร้อมกับตรัสว่า \"\"พระเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้ว น้องยังเล็กนัก ปกครองบ้านเมืองไม่ได้ เจ้าจงรับราชการปกครองไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ให้เป็นสุขเถิด\"\" เนื่องจากในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่ในรัชกาลก่อนยังทรงพระเยาว์นัก ไม่สามารถปกครองบ้านเมืองได้ ราชสมบัติจึงควรกับกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ด้วยวัยวุฒิ แล้วพระองค์จึงกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเสด็จออกไปประทับ ณ พระราชวังเดิม กับสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑามณี พระราชโอรส และทรงใช้ชีวิตในปลายพระชนม์ชีพอย่างสงบด้วยการเข้าหาพระพุทธศาสนา", "title": "สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี" }, { "docid": "814997#27", "text": "ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จฯ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพฯ ในการถวายภัตตาหารเช้าและเพลแด่พระภิกษุสงฆ์ ระหว่างการพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมพระศพ ครบทั้ง 100 วัน ถึง วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2560 ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง เวลา 7 นาฬิกา และเวลา 11 นาฬิกา", "title": "การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" } ]
212
หมายเลขประจำตัวประชาชนที่ขึ้นต้นด้วยเลข 2 หมายถึงอะไร ?
[ { "docid": "54725#5", "text": "คือคนที่เกิดและมีสัญชาติไทยได้แจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา หมายความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไป แล้วผู้ปกครองลืมหรือติดธุระไม่สามารถไปแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตภายใน 15 วันตามกำหนด เมื่อไปแจ้งภายหลังเด็กคนนั้นก็จะกลายเป็นบุคคลประเภท 2 มีตัวเลขตัวแรกในทะเบียนบ้านขึ้นด้วยเลข 2 เช่น ในกรณีส้มจี๊ด หากพ่อไปแจ้งเกิดให้ ในวันที่ 18 มกราคม 2527 หรือเกินกว่านั้น ส้มจี๊ดก็จะมีเลขประจำตัวเป็น 2 1001 01245 29 9 ในทะเบียนบ้าน และเมื่อไปทำบัตรประชาชนในภายหน้า", "title": "เลขประจำตัวประชาชนไทย" } ]
[ { "docid": "54725#3", "text": "คือคนที่เกิดและมีสัญชาติไทยและได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา หมายความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไป อันเป็นวันเริ่มแรกที่กรมการปกครอง ประกาศให้ประชาชนทุกคนต้องมีเลขประจำตัว 13 หลัก เมื่อพ่อแม่ผู้ปกครองไปแจ้งเกิดที่อำเภอหรือสำนักทะเบียนในเขตที่อยู่ภายใน 15 วัน นับแต่เกิดมาตามที่กฎหมายกำหนด เด็กคนนั้นก็ถือเป็นบุคคลประเภท 1 และจะมีเลขประจำตัวขึ้นด้วยเลข 1\nเช่น เด็กหญิงส้มจี๊ด เกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2527 และพ่อไปแจ้งเกิดที่เขตดุสิตภายในวันที่ 17 มกราคม 2527 เด็กหญิงส้มจี๊ด ก็จะมีหมายเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 1 และก็ต่อด้วยเลขหลักอื่นๆ อีก 12 ตัว เป็น 1 1001 01245 29 9 เป็นต้น ซึ่งเลขนี้จะเป็นเลขประจำตัว ปรากฏในทะเบียนบ้าน และจะปรากฏบนบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อส้มจี๊ดไปทำบัตรประชาชนตอนอายุ 15 ปี", "title": "เลขประจำตัวประชาชนไทย" }, { "docid": "54725#23", "text": "formula_3\nจากสมการแสดงให้เห็นว่า \"x\" ได้จากการ 13×เลขหลักที่ 1 โดยตัวตั้งจะลดลงมาถึงเลข 2 และตัวคูณคือเลขประชาชนตั้งแต่หลักแรกถึงหลักที่ 12 ตามลำดับ จากนั้นนำผลคูณแต่ละหลักรวมกันแล้วนำไปหารด้วย 11 โดยผลลัพธ์จะได้ค่ามอดูลัส นั่นหมายถึงเศษของผลหารที่ได้จากการนำผลรวมจากการคูณแต่ละหลักหารด้วย 11 เช่น 200 หารด้วย 11 จะเหลือเศษคือ 2 นั่นคือผลของมอดูลัส\n\"x\" จะมีค่าเป็นจำนวนเต็มตั้งแต่ 0 ถึง 10 จากนั้นก็ทำตามเงื่อนไขโดย", "title": "เลขประจำตัวประชาชนไทย" }, { "docid": "54725#14", "text": "หมายถึงรหัสของสำนักทะเบียนหรืออำเภอที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนขณะที่ให้เลข กล่าวคือ เลขหลักที่ 2 เป็นเขตการปกครองของไทยโดยอ้างตามเขตรับผิดชอบของกรมการปกครองและตำรวจ ที่มีตั้งแต่ภาค 1-9 และ เลขหลักที่ 3 จะหมายถึงจังหวัดที่อยู่ในภาคนั้น ๆ ส่วนหลักที่ 4 และ 5 หมายถึงเขตหรืออำเภอในจังหวัดนั้น ๆ โดยที่เลขอำเภอจะเริ่มจากเลข 01ไล่ลงไป เช่นเลข 01 คืออำเภอเมือง และถ้าเป็นเขตเทศบาลจะเริ่มจากเลข 99 ย้อนลงมา", "title": "เลขประจำตัวประชาชนไทย" }, { "docid": "54725#6", "text": "คือคนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในสมัยเริ่มแรก (คือตั้งแต่ก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527) หมายความว่า บุคคลใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ณ ที่ใดที่หนึ่งในประเทศไทยมาตั้งแต่ก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 คนนั้นถือว่าเป็นบุคคลประเภท 3 และก็จะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 3\nเช่น ส้มจี๊ด เกิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2501 และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแล้ว ส้มจี๊ดก็จะมีเลขประจำตัวในทะเบียนบ้าน และบัตรประชาชนเป็น 3 1001 01245 29 9", "title": "เลขประจำตัวประชาชนไทย" }, { "docid": "54725#7", "text": "คือคนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญคนต่างด้าว แต่แจ้งย้ายเข้าโดยยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชนในสมัยเริ่มแรก หมายความว่า คนไทยหรือคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญคนต่างด้าว ที่อาจจะเป็นบุคคลประเภท 3 คือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดิมอยู่แล้ว แต่ยังไม่ทันได้เลขประจำตัวก็ขอย้ายบ้านไปเขตหรืออำเภออื่นก่อนช่วง 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 ก็จะเป็นบุคคลประเภท 4 ทันที", "title": "เลขประจำตัวประชาชนไทย" }, { "docid": "54725#0", "text": "เลขประจำตัวในบัตรประชาชนของคนไทย มีด้วยกัน 13 หลัก โดยแต่ละหลัก มีความหมายแตกต่างกันไป ทั้งนี้ ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่ในการกำหนดเลขประจำตัว แก่บุคคลที่อยู่ในราชอาณาจักร คนละหนึ่งเลขโดยไม่ซ้ำกัน และอาจยกเว้นแก่บุคคลบางจำพวก เช่นสมเด็จพระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า เป็นต้น", "title": "เลขประจำตัวประชาชนไทย" }, { "docid": "54725#12", "text": "คนทั้งแปดประเภทนี้จะมีเพียงประเภทที่ 3, 4 และ 5 เท่านั้นที่จะมีบัตรประจำตัวประชาชนได้เลย ส่วนประเภทที่ 1 และ 2 จะมีบัตรประจำตัวประชาชนได้ก็ต่อเมื่อมีอายุถึงเกณฑ์ทำบัตรประจำตัวประชาชน คืออายุ 7 ปี แต่สำหรับบุคคลประเภทที่ 6, 7 และ 8 ที่ยังไม่ได้รับสัญชาติไทย จะมีเพียงทะเบียนประวัติเล่มสีเหลืองเท่านั้น จะไม่มีการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้ บุคคลประเภทที่ 8 ที่ได้รับสัญชาติไทยจะมีบัตรประจำตัวประชาชนได้", "title": "เลขประจำตัวประชาชนไทย" }, { "docid": "897044#2", "text": "เลขประจำตัวประชาชนจีน เริ่มใช้เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ประกอบด้วย 18 หลัก ดังนี้ 6 หลักแรก เป็นรหัสสำนักทะเบียน 8 หลักต่อมาเป็นวันเกิดในรูปแบบ ปปปปดดวว 3 หลักถัดมาเป็นลำดับเลขที่ของบุคคล ตามด้วยรหัสตรวจสอบ 1 หลัก (ต่างจากเลขประจำตัวประชาชนไทย ซึ่งประกอบด้วยประเภทบุคคล 1 หลัก รหัสสำนักทะเบียน 4 หลัก รหัสเล่มสูติบัตร 5 หลัก ลำดับที่ 2 หลัก และเลขตรวจสอบ 1 หลัก) การคำนวณรหัสตรวจสอบ ใช้ตามมาตรฐาน ดังนี้คือ", "title": "บัตรประจำตัวประชาชนจีน" }, { "docid": "54725#9", "text": "คือผู้ที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผู้ที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแต่อยู่ในลักษณะชั่วคราว กล่าวคือ คนที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทยแต่ยังไม่ได้สัญชาติไทยเพราะทางการยังไม่รับรองทางกฎหมาย เช่น ชนกลุ่มน้อยตามชายแดนหรือชาวเขา กลุ่มนี้ถือว่าเป็นผู้เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนบุคคลที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแต่อยู่ชั่วคราว เช่น นักท่องเที่ยวหรือชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย แม้บางคนจะถือพาสปอร์ตประเทศของตน แต่อาจจะมีสามีหรือภรรยาคนไทยจึงไปขอทำทะเบียนประวัติเพื่อให้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านสามีหรือภรรยา คนทั้งสองแบบที่ว่านี้ถือว่าเป็นบุคคลประเภท 6", "title": "เลขประจำตัวประชาชนไทย" } ]
213
โซเฟีย มักดาลีนามีมารดาชื่อว่าอะไร?
[ { "docid": "518183#1", "text": "เจ้าหญิงโซเฟีย มักดาลีนาแห่งเดนมาร์กประสูติในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2289 ณ พระราชวังคริสเตียนบอร์ก โคเปนเฮเกน เป็นพระราชธิดาพระองค์โตในสมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริคที่ 5 แห่งเดนมาร์กกับพระมเหสีพระองค์แรก เจ้าหญิงหลุยส์แห่งบริเตนใหญ่ ในปีพ.ศ. 2294 ขณะมีพระชนมายุ 5 พรรษา เจ้าหญิงทรงถูกหมั้นหมายกับรัชทายาทแห่งราชบัลลังก์สวีเดน คือ เจ้าชายกุสตาฟ และนำมาซึ่งการขึ้นเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน การอภิเษกสมรสถูกจัดแจงโดยรัฐสภาไม่ใช่พระราชวงศ์สวีเดน และเจ้าหญิงทรงเป็นที่ชิงชังจากสมเด็จพระราชินีหลุยซา อัลริคาซึ่งทรงขัดแย้งกับรัฐสภามาเป็นเวลานานและทรงต้องการให้พระราชโอรสอภิเษกสมรสกับพระนัดดาของพระนางเองคือ มาร์เกรฟวีนฟิลิปพินส์แห่งบรันเดนบวร์ก-ชเวดท์ ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2309 เจ้าหญิงโซเฟีย มักดาลีนาได้อภิเษกสมรสกับเจ้าชายกุสตาฟโดยผ่านตัวแทนที่พระราชวังคริสเตียนบอร์กในโคเปนเฮเกน และทั้งสองพระองค์ได้อภิเษกสมรสอย่างเป็นทางการที่สตอกโฮล์ม ในวันที่ 4 พฤศจิกายน\nในราชสำนักสวีเดน เจ้าหญิงทรงได้รับการต้อนรับด้วยความเมตตาจากสมเด็จพระเจ้าอดอล์ฟ เฟรเดอริคแห่งสวีเดน พระสัสสุระแต่สมเด็จพระราชินีหลุยซา อัลริคา พระสัสสุซึ่งทรงปกครองราชสำนัก พระนางทรงชิงชังเจ้าหญิงและแม้กระทั่งเจ้าชายกุสตาฟ พระสวามีก็ไม่สนพระทัยในเจ้าหญิง สมเด็จพระราชินีหลุยซา อัลริคาทรงพยายามโน้มน้าวให้พระราชโอรสห่างเหินกับพระสุณิสา ซึ่งเจ้าชายกุสตาฟทรงรังเกียจแม้แต่จะคิดถึงเรื่องการมีเพศสัมพันธ์กับสตรีจนไม่ประสงค์แม้แต่จะลอง คนผู้หนึ่งในสมัยนั้นได้กล่าวว่า \"เจ้าชายองค์นี้ไม่เคยแสดงความจงรักภักดีต่อหน้าแท่นบูชาวีนัส\" ในปีพ.ศ. 2312 เมื่อศิลปินชาวสวีเดนเดินทางไปเยือนราชสำนักเดนมาร์กของสมเด็จพระเจ้าคริสเตียนที่ 7 แห่งเดนมาร์ก พระเจ้าคริสเตียนตรัสถามเขาถึงพระพลานามัยของพระเชษฐภคินี ศิลปินผู้นั้นทูลตอบว่า \"เจ้าหญิงทรงสุขสบายดีเท่าที่สตรีผู้สมรสมาเกือบสามปีแต่ยังบริสุทธิ์ผุดผ่องพึงรู้สึกพะย่ะค่ะ\" เจ้าหญิงโซเฟีย มักดาลีนาทรงได้รับการบรรยายว่าเป็นเจ้าหญิงที่ทรงพระสิริโฉม เจ้าหญิงทรงนำสินสมรสจำนวนมากมายังราชสำนักสวีเดนนับตั้งแต่พ.ศ. 2223 ที่ซึ่งเจ้าหญิงอัลริคา เอเลโอนอราแห่งเดนมาร์กได้อภิเษกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 11 แห่งสวีเดน เจ้าหญิงโซเฟีย มักดาลีนาทรงได้รับการศึกษาเพื่อทำหน้าที่พระราชินีที่ดี พระนางทรงได้รับการสรรเสริญมากแต่ไม่ทรงได้รับความนิยมอันเนื่องจากการที่ทรงได้รับการอบรมดูแลอย่างเข้มงวดทำให้เป็นการยากที่จะทรงปรับตัวให้เข้ากับราชสำนักสวีเดน โดยตามธรรมชาติ พระนางมีพระบุคลิกที่เยือกเย็นและถือพระองค์ หลังจากพระเจ้าอดอล์ฟ เฟรเดอริคแห่งสวีเดนเสด็จสวรรคตในปีพ.ศ. 2314 เจ้าชายกุสตาฟได้ขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระเจ้ากุสตาฟที่ 3 แห่งสวีเดน ในปีถัดมา เจ้าหญิงโซเฟีย มักดาลีนาได้รับการสวมมงกุฎสมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน", "title": "โซเฟีย มักดาลีนาแห่งเดนมาร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน" } ]
[ { "docid": "518183#12", "text": "พระอนุชาของพระเจ้ากุสตาฟ คือ ดยุคชาร์ลส์ ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 13 แห่งสวีเดน ซึ่งทรงต้องการครองราชบัลลังก์ ก็เป็นผู้กระตุ้นให้เกิดข่าวลือนี้. พระมารดาของพระองค์ได้มีการพูดถึงในระหว่างพระราชินีโซเฟีย มักดาลีนาทรงพระครรภ์ ได้เกิดกระแสข่าวลือท่ามกลางสาธารณะเกี่ยวกับบุตรที่ต้องเป็นบุตรนอกกฎหมาย และพระนางเชื่อว่าพระมหากษัตริย์ทรงจ้างมังค์เพื่อทำให้พระราชินีทรงพระครรภ์ และพระนางจะไม่ยอมรับราชบัลลังก์ให้มาอยู่ในมือของ \"ทายาทของขุนนางธรรมดาสามัญ\"\nสมเด็จพระพันปีหลวงทรงให้ดยุคชาร์ลส์ไปซักถามมังค์ และพูดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ซึ่งทรงตกพระทัยมาก สมเด็จพระราชินีโซเฟีย มักดาลีนาทรงถูกทำให้ตกพระทัยโดยข้อกล่าวหา พระนางทรงสาบานว่าพระนางจะไม่ตรัสสิ่งใดๆกับสมเด็จพระพันปีหลวงอีกเลย และพระนางก็ไม่ตรัสใดๆจริง", "title": "โซเฟีย มักดาลีนาแห่งเดนมาร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน" }, { "docid": "518183#11", "text": "ไม่มีการพิสูจน์ว่ามังค์เป็นบิดาขององค์มกุฎราชกุมาร ทั้งที่พระมหากษัตริย์และพระราชินีทรงเคยถูกบรรยายว่าทรงสนพระทัยทางเพศอย่างมาก ศาสตราจารย์ลึนน์รอธได้แนะนำในเรื่องของปัญหาทางกายวิภาค ที่ซึ่งรับรู้กันไม่กี่คน เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้การผลิตทายาทได้อย่างช้า ในขณะที่ข่าวลือก็ยังคงมีอยู่เรื่อยไป อย่าไรก็ตามเมื่อทั้งสองพระองค์พระราชทานของกำนัลแก่มังค์โดย พระมหากษัตริย์ทรงเลื่อนขั้นให้เขา และพระราชินีพระราชทานนาฬิกาซึ่งมีพระสาทิสลักษณ์ของพระนาง, เงินและแหวนเพชรแก่เขา\nบุคคลในวงการสังคมจำนวนน้อยที่เข้าเป็นกลุ่มเดียวกับสมเด็จพระพันปีหลวงโดยการสนับสนุนและกระจายข่าวลือ เช่น แอนนา ชาร์ล็อตตา ซโรเดอร์เฮล์มและอีวา เอเลนา โลเวน", "title": "โซเฟีย มักดาลีนาแห่งเดนมาร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน" }, { "docid": "518183#21", "text": "เรื่องนี้ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจแก่นิยายเรื่อง Drottningens juvelsmycke (มงกุฎราชินี) ซึ่งโด่งดังมากในสวีเดน ซึ่งเล่าเรื่องราวผ่านตัวละครหลักชื่อ \"ทินโทมารา\" พี่น้องต่างมารดาของพระเจ้ากุสตาฟที่ 4 อดอล์ฟโดยมีบิดาเดียวกันคือเคานท์มังค์\nพระนางโซเฟีย มักดาลีนามีพระโอรส 2 พระองค์ดังนี้", "title": "โซเฟีย มักดาลีนาแห่งเดนมาร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน" }, { "docid": "518183#2", "text": "สมเด็จพระราชินีโซเฟีย มักดาลีนามีพระบุคลิกที่เคร่งเครียดและเขินอาย และไม่ทรงเคยเป็นสมาชิกของกลุ่มคนวงในของกษัตริย์ พระนางและพระเจ้ากุสตาฟมีพระบุคลิกที่แตกต่างกันที่ซึ่งได้สร้างความเหินห่างของทั้งสองพระองค์ พระนางทรงประกอบพระราชกรณียกิจตามพิธีการแต่ไม่ทรงชอบวิถีชีวิตในราชสำนักที่หรูหราซึ่งล้อมรอบพระสวามีที่โปรดการเข้าสังคม เมื่อทรงประกอบพระราชกรณียกิจในฐานะของสมเด็จพระราชินี ดัสเชสเฮดวิก เอลิซาเบธ ชาร์ล็อตแห่งโฮลชไตน์-ก็อตท็อปพระชายาในพระอนุชาของพระสวามี ได้ทรงบรรยายถึงพระราชินีว่าทรง \"ถูกบังคับให้พบปะผู้คน\" พระราชินีโปรดที่จะประทับที่ที่ประทับส่วนพระองค์คือ พระราชวังอัลริคส์ดัลเมื่อใดก็ตามที่ทรงเลี่ยงได้", "title": "โซเฟีย มักดาลีนาแห่งเดนมาร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน" }, { "docid": "518183#7", "text": "ในปีพ.ศ. 2321 สมเด็จพระราชินีโซเฟีย มักดาลีนามีพระประสูติกาลเจ้าชายกุสตาฟ อดอล์ฟในฐานะองค์รัชทายาทในราชบัลลังก์ และในปีพ.ศ. 2325 พระนางมีพระประสูติกาลพระโอรสพระองค์ที่สองคือ เจ้าชายคาร์ล กุสตาฟ ดยุกแห่งสมาแลนด์ ซึ่งมีพระชนม์ชีพในช่วงหนึ่งปีก็สิ้นพระชนม์ มีการแนะนำในบางวงว่าพระราชโอรสพระองค์แรกของพระเจ้ากุสตาฟมีบิดาที่แท้จริงคือใครบางคน เมื่อองค์รัชทายาทประสูติ บิดาของพระโอรสได้ถูกเชื่อโดยสมเด็จพระพันปีหลวง ว่าเป็นเคานท์อดอล์ฟ เฟรเดอริค มังค์ อัฟ ฟุลกิลา ซึ่งต่อมาได้เป็นหัวหน้าทหารม้า ข่าวลือนี้ได้ถูกเชื่อโดยสาธารณะและราชสำนัก และการยอมรับเรื่องอื้อฉาวของสมเด็จพระพันปีหลวงได้นำไปสู่หนึ่งปีของความขัดแย้งระหว่างสมเด็จพระพันปีหลวงกับพระราชโอรส\nตามความเป็นจริงมังค์ได้เข้ามาในฐานะของครูผู้สอนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเพศ เนื่องจากพระเจ้ากุสตาฟทรงได้รับการกล่าวขานว่าไม่ทรงมีประสบการณ์ในเรื่องเพศ พระองค์ทรงเรียกมังค์เข้ามาเพื่อเป็นคนกลางในการปรองดองกับพระมเหสี และเพื่อแนะนำให้ทั้งสองพระองค์ทราบถึงวิธีการร่วมเพศและแสดงการทำให้พิธีอภิเษกสมรสเสร็จสมบูรณ์อย่างแท้จริง มังค์ซึ่งเป็นขุนนางเชื้อสายฟินแลนด์ในเวลานี้เขาได้มีความมั่นคงโดยเป็นคนรักของแอนนา โซเฟีย รามส์สตอร์ม นางสนองพระโอษฐ์ประจำองค์ราชินีมังค์และแอนนา โซฟี รามส์สตอร์มได้ถูกย้ายเข้ามาอยู่ใกล้กับห้องบรรทม เพื่อเตรียมพร้อมตลอดเวลาในการทำตามพระราชประสงค์ และบางครั้งมังค์ได้ถูกเรียกเข้าไปในห้องบรรทม มังค์ได้ทำการบันทึกลงในจดหมายเหตุของเขาเองที่ซึ่งปัจจุบันถูกเก็บรักษาที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติสวีเดน ที่ซึ่งบันทึกว่าการจะทำให้สำเร็จ เขาต้องทำการสัมผัสทั้งสองพระองค์ทางกายด้วยเช่นกัน", "title": "โซเฟีย มักดาลีนาแห่งเดนมาร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน" }, { "docid": "518183#10", "text": "เหตุการณ์นี้ได้ถูกวาดภาพล้อเลียนโดยคาร์ล ออกุสต์ เออเรนสวัลด์ในจดหมายส่วนตัวซึ่งต่อมาได้ถูกค้นพบในภายหลัง ภาพวาดของเขาได้รับการเผยแพร่ในปีพ.ศ. 2530 ที่ซึ่งเขาได้ผ่านเรื่องราวข่าวลือและตลกล้อเลียนพระเจ้ากุสตาฟที่ 3, พระราชินีโซเฟีย มักดาลีนาและมังค์ โดยปราศจากการพิสูจน์ซึ่งเขาเชื่อว่าการกระทำของทั้งสองพระองค์และมังค์เป็นเรื่องจริง ได้มีข่าวลือว่า พระมหากษัตริย์และพระราชินีทรงหย่าขาดจากกันอย่างลับๆและพระราชินีทรงอภิเษกสมรสกับมังค์", "title": "โซเฟีย มักดาลีนาแห่งเดนมาร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน" }, { "docid": "518183#8", "text": "เมื่อกลายเป็นว่ามังค์ได้เข้าร่วมแผนการปรองดองของทั้งสองพระองค์ จึงได้เกิดเสียงเล่าลือไปว่า เขาเป็นบิดาของพระราชโอรสพระองค์แรกของสมเด็จพระราชินีโซเฟีย มักดาลีนา", "title": "โซเฟีย มักดาลีนาแห่งเดนมาร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน" }, { "docid": "159468#1", "text": "โซเฟีย โดโรเธียเป็นพระมารดาของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่ และโซเฟีย โดโรเธียแห่งฮาโนเวอร์ พระราชินีแห่งปรัสเซียผู้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าฟรีดริช วิลเลียมที่ 1 แห่งปรัสเซียผู้เป็นพระมารดาและบิดาของพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย", "title": "โซฟี โดโรเทอา แห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค" }, { "docid": "518183#15", "text": "ในปีพ.ศ. 2330 สมเด็จพระราชินีโซเฟีย มักดาลีนาทรงฝากทรัพย์สินจำนวน 50,000 ริคส์ดาเลอร์ในบัญชีทรัพย์สินของมังค์ ที่ซึ่งเป็นเรื่องอื้อฉาวไปในวงกว้างโดยถือเป็นการ \"ของขวัญอำลา\" ในจุดนี้ มังค์ได้มีความสัมพันธ์อื้อฉาวกับนักบัลเล่ต์ โจวันนา บาซซี ผู้ซึ่งสมเด็จพระราชินีโซเฟีย มักดาลีนาทรงชิงชังอย่างเห็นได้ชัด พระมหากษัตริย์ทรงหวั่นพระทัยเมื่อทรงทราบเรื่องที่พระราชินีทรงฝากพระราชทรัพย์ และพระองค์ทรงพยายามป้องกันไม่ให้เรื่องนี้แพร่กระจายสู่สาธารณะ อย่างไรก็ตามทรงทำไม่สำเร็จ", "title": "โซเฟีย มักดาลีนาแห่งเดนมาร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน" } ]
217
รัฐธรรมนูญฉบับแรกในประเทศไทยเริ่มใช้เมื่อไหร่?
[ { "docid": "142983#3", "text": "จากนั้นคณะบริหารประเทศชั่วคราวได้สั่งยกเลิกรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2492 หันกลับไปใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2475 อันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกมาใช้แทน ซึ่งการรัฐประหารครั้งนี้ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าเป็นการกระทำที่ประหลาดที่สุดในโลก และเป็นเหตุให้พรรคฝ่ายค้าน คือ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ประกาศคว่ำบาตรรัฐบาลทุกประการ เช่น ไม่ร่วมเลือกตั้งในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2495 เป็นต้น", "title": "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2494" }, { "docid": "69653#11", "text": "รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยชื่อว่า “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” จากนั้น ราชอาณาจักรไทยก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาตามลำดับ ดังนี้หากแบ่งกลุ่มรัฐธรรมนูญด้วยการวัดที่ระดับการเลือกสมาชิกสภานิติบัญญัติ จะสามารถแบ่งได้เป็นสามกลุ่มดังนี้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบางฉบับมีการให้อำนาจฝ่ายบริหารโดยไม่มีการถ่วงดุล ทำให้ฝ่ายบริหารมีความเฉียบขาดในการจัดการเรื่องต่าง ๆ ด้วยตนเอง ซึ่งอาจทำให้เกิดความฉับไวในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน แต่ก็นำมาซึ่งการใช้อำนาจรัฐในทางที่ผิดโดยมีการสั่งลงโทษประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ไปแล้วเป็นจำนวนมาก\nมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยถึง 4 ฉบับที่มีบทบัญญัติดังกล่าว ซึ่งในฉบับต่อๆ มานั้นหมายเลขมาตราได้เลื่อนไป แต่ผู้คนก็ยังนิยมกล่าวถึงกรณีการใช้อำนาจเด็ดขาดของนายกรัฐมนตรีว่า \"ใช้อำนาจตามมาตรา 17\"", "title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย" }, { "docid": "671#4", "text": "ก่อนหน้าการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ประเทศไทยยังไม่มีรัฐธรรมนูญใช้ในการปกครองประเทศ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์และประมุขฝ่ายบริหาร ในปี พ.ศ. 2475 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับลายลักษณ์อักษร โดยคาดว่าจะเป็นแนวปฏิบัติที่สำคัญที่สุดในการปกครองประเทศ อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดความขัดแย้งทางการเมืองขึ้นระหว่างกลุ่มมีอิทธิพล จึงได้เกิดรัฐประหารขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2477 รัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการฉบับแรกของประเทศถูกยกเลิก และได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่", "title": "การเมืองไทย" }, { "docid": "296168#7", "text": "ประเทศไทยนั้นกล่าวถึงสิทธิพลเมืองขึ้นครั้งแรกภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ที่ได้เปลี่ยนสถานภาพคนไทยจาก “ไพร่” มาเป็น “พลเมือง” ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้อำนาจนั้น “เป็นของราษฎรทั้งหลาย” (พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2475) เพราะภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ฐานที่มาของความชอบธรรมในการใช้อำนาจรัฐได้เปลี่ยนแปลงจากเบื้องบน คือจากตัวพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นจากเบื้องล่าง คือจากประชาชนชาวไทยทุกๆ คน ผ่านระบบตัวแทนจากการเลือกตั้งที่เสรี และเป็นธรรม (free and fair elections) โดยมีการกำหนดบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิของประชาชนชาวไทยไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจนตั้งแต่ไทยมีรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรก (คือรัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475) ดังจะเห็นจากมาตรา 12 ของรัฐธรรมนูญที่บัญญัติไว้ว่า", "title": "สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง" }, { "docid": "109228#0", "text": "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกแห่งราชอาณาจักรสยาม ประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยเป็นผลพวงหลังการปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยคณะราษฎร ซึ่งได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ) ซึ่งในขณะที่เกิดการปฏิวัตินั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประทับ ณ พระตำหนักวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์", "title": "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475" } ]
[ { "docid": "28664#1", "text": "รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 นี้ถือเป็นรัฐธรรมนูญที่ริเริ่มขึ้นโดยพรรคชาติไทย นายบรรหาร ศิลปอาชานายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองเข้ามาดำเนินการและได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา และมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 99 คน โดย 76 คนเป็นตัวแทนของแต่ละจังหวัด และอีก 23 คนมาจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์ ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งฉบับเดียวของประเทศไทย โดยก่อนหน้านี้ 15 ฉบับมาจากคณะรัฐมนตรีที่มาจากการแต่งตั้งหรือรัฐบาลทหาร รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวถูกเรียกว่าเป็น \"รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน\" เนื่องจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่าง", "title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540" }, { "docid": "965695#0", "text": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๙๒ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 5 ของไทย โดยหากเทียบรัฐธรรมนูญสี่ฉบับก่อนหน้าถือได้ว่าเป็นฉบับที่ดีที่สุด จัดร่างโดยสภาผู้แทนราษฎร และประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2492 และถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 โดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ทำรัฐประหารตนเอง รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 2 ปี เศษ\nรัฐธรรมนูญฉบับนี้ อำนาจนิติบัญญัติ ให้มีรัฐสภาซึ่งประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนวุฒิสภาโดยกำหนดให้มีสมาชิกในสภานี้ทั้งสิ้น 100 คน", "title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492" }, { "docid": "121276#0", "text": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๘๙ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 ของไทย จัดร่างโดยสภาผู้แทนราษฎร และประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 และถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 โดยรัฐประหารของคณะรัฐประหารอันมี พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ นายทหารกองหนุน เป็นหัวหน้า รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 1 ปี 5 เดือน 28 วัน\nรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้มีพฤฒิสภา (วุฒิสภา) ที่มาจากการเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยกำหนดให้มีสมาชิกในสภานี้ทั้งสิ้น 80 คน", "title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489" }, { "docid": "671#6", "text": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 หรือที่เรียกกันว่า \"รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน\" ได้มีการประกาศใช้หลังจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ (พ.ศ. 2535) อย่างไรก็ตาม มีการอ้างว่ารัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว เป็นต้นเหตุของความยุ่งยากทางการเมือง รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีความโดดเด่นในด้านการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกับความเป็นประชาธิปไตยในตัวกฎหมาย นอกจากนี้ยังบัญญัติให้สมาชิกของทั้งสองสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมด มีการรับรองสิทธิมนุษยชนจำนวนมากตามกฎหมาย และมีมาตรการต่าง ๆ เพื่อเพิ่มเสถียรภาพของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ขณะที่มีการจัดตั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญขึ้นเพื่อตรวจสอบฝ่ายบริหารเป็นครั้งแรก เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง และสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา", "title": "การเมืองไทย" }, { "docid": "9169#2", "text": "กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญมีมานานแล้วในต่างประเทศ โดยเฉพาะภาคพื้นยุโรป ซึ่งกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญของไทยมีครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งให้มีพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญรวม 8 ฉบับ ซึ่งปัญหาเรื่องลำดับศักดิ์ของพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญยังเป็นที่ถกเถียงกันเรื่อยมา เพราะหากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ในทางกฎหมายนั้นเมื่อรัฐธรรมนูญถูกยกเลิกก็ย่อมทำให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ถูกยกเลิกด้วย แต่ปัญหาดังกล่าวก็ยังไม่คลี่คลายแม้ในช่วงรัฐประหารที่ผ่านมา", "title": "พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย)" }, { "docid": "12834#10", "text": "การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงมีขึ้นเป็นครั้งแรกของไทยเมื่อ พ.ศ. 2521 ซึ่งกรุงเทพมหานครเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบแรกที่นำระบบดังกล่าวมาใช้ อย่างไรก็ตาม กรุงเทพมหานครเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่มีอยู่เพียงแห่งแรกของไทยในขณะนั้น การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงจึงไม่เป็นที่คุ้นเคยนักสำหรับคนไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 มีการประกาศใช้กฎหมายเทศบาลฉบับใหม่ ทำให้เทศบาลซึ่งเป็นการปกครองท้องถิ่นรูปแบบทั่วไปที่มีอยู่ในทุกจังหวัด ได้เริ่มทดลองใช้ระบบการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง และใช้จริงเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2544 และเรียกระบบการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงในเทศบาลว่า เทศบาลในรูปแบบนายกเทศมนตรี ในขณะที่เทศบาลในรูปแบบเดิมเรียกว่า เทศบาลในรูปแบบคณะเทศมนตรี ภายหลังต่อมา มีการแก้ไขกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีกหลายฉบับ หลายรูปแบบ ในปี พ.ศ. 2546 - 2547 ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมดของไทยใช้ระบบการเลือกตั้งบริหารท้องถิ่นโดยตรงทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร และ เมืองพัทยา ดังนั้น นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา กฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกรูปแบบของไทย กำหนดให้ใช้วิธีการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงแล้วทั้งสิ้น", "title": "ราชการส่วนท้องถิ่น (ประเทศไทย)" }, { "docid": "109228#1", "text": "พระราชบัญญัติธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกในประวัติศาสตร์ไทย ร่างขึ้นโดยแกนนำสำคัญภายในคณะราษฎร โดยในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ กลับพระนคร และในวันเดียวกันนั้นก็โปรดเกล้าฯ ให้คณะราษฎรเข้าเฝ้าฯ และทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกำหนดนิรโทษกรรมให้แก่บรรดาสมาชิกคณะราษฎร นอกจากนี้คณะราษฎรยังถวายร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามด้วย แต่พระองค์ทรงขอตรวจร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวก่อน ซึ่งพระองค์ก็ทรงลงพระปรมาภิไธยในวันรุ่งขึ้น โดยทรงพระอักษรกำกับต่อท้ายชื่อพระราชบัญญัตินั้นว่า \"ชั่วคราว\" สืบเนื่องมาจากพระองค์ทรงเห็นว่าหลักการประชาธิปไตยของผู้ก่อการฯ ไม่พ้องกันกับพระประสงค์ของพระองค์ แต่พระองค์ก็ทรงลงพระปรมาภิไธยเพราะเหตุการณ์ฉุกเฉินในขณะนั้น", "title": "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475" } ]
224
โรงเรียนเทพศิรินทร์ มีอักษรย่อว่าอะไร?
[ { "docid": "24076#0", "text": "โรงเรียนเทพศิรินทร์ (, ย่อ: ท.ศ., DS) เป็นโรงเรียนรัฐบาลชายล้วนขนาดใหญ่ในกลุ่มจตุรมิตร ซึ่งประกอบด้วยโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ตั้งอยู่เลขที่ 1466 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร", "title": "โรงเรียนเทพศิรินทร์" } ]
[ { "docid": "317381#0", "text": "โรงเรียนเทพศิรินทร์ สมุทรปราการ เดิมชื่อว่า โรงเรียนบางเมืองเขียนผ่องอนุสรณ์เปิดทำการสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ โดยการบริจาคที่ดินจำนวน ๓๕ ไร่ ของผู้สืบสกุลอินทรัมพรรย์ คือ นายจรูญ อินทรัมพรรย์ นายแพทย์ประชุม อินทรัมพรรย์และนายประชิต อินทรัมพรรย์ให้กรมสามัญศึกษา ในขณะนั้น เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ \"พระจักราวุธ\" ศึกษา (อินทร์) ต้นตระกูลอินทรัมพรรย์ หลวงสำแดง เดช (เขียน อินทรัมพรรย์) และนางเดชสำแดง (ผ่อง อินทรัมพรรย์) คุณทวด คุณปู่ คุณย่าของผู้บริจาค \nคณะกรรมการบริหารเครือข่ายเทพศิรินทร์ สมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะรรมการบริหารสถานศึกษา ตลอดจนคณะครู นักเรียนโรงเรียนบางเมืองเขียนผ่องอนุสรณ์ มีฉันทานุมัติ ที่จะเข้าร่วมเครือข่ายเทพศิรินทร์ โดยได้รับความเห็นชอบสนับสนุนจากรองศาสตราจารย์ ลินจง อินทรัมพรรย์ (ด้วยท่านผู้บริจาคที่ดินเพื่อก่อสร้างโรงเรียนในครั้งแรกเป็นนักเรียนเก่าโรงเรียนเทพศิรินทร์)\nโรงเรียนเทพศิรินทร์ สมุทรปราการ ได้รับการประกาศชื่อจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยใช้อักษรย่อว่า ท.ศ.ส. มีการบริหารจัดการตามนโยบาย และปรัชญาของโรงเรียนในเครือข่ายเทพศิรินทร์ ตามพุทธสุภาษิตที่ว่า\n\"นสิยา โลกวฑฺฒโน\" แปลว่า ไม่ควรเป็นคนรกโลก\nเป็นสถาบันที่มุ่งมั่นในการหล่อหลอมให้เยาวชนของชาติ เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ เป็นสุภาพบุรุษ สุภาพสตรี ที่มีความรู้ ความสามารถ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา และสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศชาติ อย่างยั่งยืน สืบไป\nโรงเรียนเทพศิรินทร์ สมุทรปราการ ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ ๗๙๙ หมู่ ๖ ถนนเทพารักษ์ ตำบลบางเมืองใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ รหัสไปรษณีย์ ๑๐๒๗๐ เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้ยมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖", "title": "โรงเรียนเทพศิรินทร์ สมุทรปราการ" }, { "docid": "442280#3", "text": "รูปคบเพลิงมีรัศมีแผ่โดยรอบ โดยมีอักษร ส.อ. ซึ่งเป็นอักษรย่อของชื่อโรงเรียนอยู่ในวงกลมใต้รัศมีเปลวเพลิงและคติพจน์และชื่อของโรงเรียนประกอบ\nธมฺมญฺ จเร สุจริตํ แปลว่า พึงปฏิบัติหน้าที่ด้วยสุจริต\n สีฟ้า และ สีชมพู หมายถึง มีจิตแจ่มใสร่าเริง มีความรักสามัคคี มีปัญญานำทางชีวิตสู่อนาคตที่กว้างไกล\nพระพุทธวิสุทธิพร\nดอกเฟื่องฟ้า\nเพลงมาร์ชสอาดเผดิมวิทยา", "title": "โรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา" }, { "docid": "23996#0", "text": "โรงเรียนอัสสัมชัญ (บ้างเรียก อัสสัมชัญบางรัก หรือ อัสสัมชัญกรุงเทพ, ย่อ: อสช, AC) เป็นโรงเรียนเอกชนชายล้วนขนาดใหญ่ในกลุ่มจตุรมิตร ซึ่งประกอบด้วยโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย, โรงเรียนเทพศิรินทร์, โรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ แผนกประถม ซึ่งตั้งอยู่ในซอยเซนต์หลุยส์ 3 ถนนสาทรใต้ และแผนกมัธยม ซึ่งตั้งอยู่ในซอยเจริญกรุง 40 ถนนเจริญกรุง เขตบางรัก", "title": "โรงเรียนอัสสัมชัญ" }, { "docid": "266749#4", "text": "ภาพอาทิตย์อุทัยทอแสงบนพื้นน้ำทะเล หมายถึง “ภาณุรังษี” และ “วังบูรพาภิรมย์” โดย “ภาณุรังษี” นี้เป็นพระนามของสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช ผู้ประทานตรานี้ให้แก่โรงเรียนเมื่อปี พ.ศ. 2467 พระองค์มีพระคุณอเนกอนันต์แก่โรงเรียน อาทิทรงเป็นผู้ทูลขอให้ทรงสถาปนาโรงเรียนต่อองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2438 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการสถาปนาโรงเรียนแบบถาวรและทรงถือว่าโรงเรียนนี้เป็น โรงเรียนในดูแลของพระองค์ด้วย", "title": "โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า" }, { "docid": "861692#0", "text": "โรงเรียนหาดอมราอักษรลักษณ์วิทยา(, อักษรย่อ: อ.อ.ว.) เป็นโรงเรียนรัฐบาล ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 (ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ) ตั้งอยู่ที่หมู่ที่4 บ้าน234 ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายแบบสหศึกษา", "title": "โรงเรียนหาดอมราอักษรลักษณ์วิทยา" }, { "docid": "876071#0", "text": "โรงเรียนเทพศิรินทร์ ขอนแก่น (, ย่อ: ท.ศ.ข., DSKK) เป็นโรงเรียนรัฐบาลในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 (ขอนแก่น) ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายแบบสหศึกษา ตั้งอยู่บริเวณถนนเทพดำเนิน ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น และเป็นโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเทพศิรินทร์", "title": "โรงเรียนเทพศิรินทร์ ขอนแก่น" }, { "docid": "726652#0", "text": "โรงเรียนรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ (อังกฤษ: Ratrardupatham School) (อักษรย่อ: ร.ร.อ., R.R.U.) โรงเรียนรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ ตั้งอยู่เลขที่ 196 หมู่ 7 หน้าวัดห้วยชินสีห์ ตำบลอ่างทอง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2519\nแต่เดิมนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาในตำบลอ่างทองมีจำนวนมาก ประสบความลำบากในการที่จะเรียนต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษา ต้องเดินทางไปเรียนต่อในตัวจังหวัด หรือเรียนที่อำเภอปากท่อ ซึ่งต้องเดินทางกว่า 10 กิโลเมตร กรรมการศึกษาและประชาชน ในตำบลอ่างทองเห็นความจำเป็นที่จะจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาสายสามัญขึ้นที่ตำบลอ่างทอง ประกอบกับในปีการศึกษา 2519 หน่วยงานที่ตั้งขึ้นใหม่ในตำบลนี้คือ หน่วยงานชลประทาน โครงการราชบุรีฝั่งขวา มีครอบครัวคนงาน 500 ครอบครัว มีความจำเป็นต้องส่งบุตรหลาน ให้เข้ารับการศึกษาและหน่วย คส. 6 สพ.ทบ. ก็มีครอบครัวข้าราชการทหารที่ต้องส่งบุตรหลานเข้าเรียนในจังหวัดหน่วยงานต้องจัดรถรับ - ส่งเป็นประจำ ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณปีละมาก ๆ ด้วยความจำเป็นดังกล่าว จึงได้มีการดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ขึ้น", "title": "โรงเรียนรัฐราษฎร์อุปถัมภ์" }, { "docid": "266749#6", "text": "ช่อดอกรำเพย หมายถึง พระนามแห่งองค์สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์” พระบรมราชชนนีของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข ซึ่งทั้งสองพระองค์ทรงสร้างพระอารามและโรงเรียนเพื่อเป็นพระราชกุศลแด่พระ บรมราชชนี ทำเครื่องหมายดอกรำเพยไว้เพื่อให้คนรุ่นหลัง รู้ไว้ว่าพระนามเทพศิรินทร์นี้ได้มาจากพระองค์ท่าน เป็นพระนามมหามงคลยิ่งควรรักษาไว้ให้ดี", "title": "โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า" }, { "docid": "144818#0", "text": "โรงเรียนเทพอักษร เป็นโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 11/5 หมู่ 11 ถนนรามคำแหง แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร 10510 ก่อตั้งเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2499 โดย \"พระยาพิทักษ์ เทพอักษร\" (พิทักษ์ สิงห์วัฒน) เป็นผู้อุปการะโรงเรียน ปัจจุบันมี \"นายสำรวย มีสุข\" เป็นผู้รับใบอนุญาต และ\"นางเอมอร มีสุข\" เป็นผู้จัดการและอาจารย์ใหญ่ ปัจจุบันโรงเรียนเทพอักษรมีนักเรียนกว่า 2,400 คน และครูกว่า 80 คน", "title": "โรงเรียนเทพอักษร" } ]
225
ภาพยนตร์เรื่องสตาร์ วอร์ส ถูกสร้างโดยใคร?
[ { "docid": "11758#0", "text": "สตาร์ วอร์ส () (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 4: ความหวังใหม่ ()) เป็นภาพยนตร์อเมริกันแนวมหากาพย์ละครอวกาศ ออกฉายในปี พ.ศ. 2520 เขียนบทและกำกับโดยจอร์จ ลูคัส เป็นภาพยนตร์ที่ออกฉายเป็นลำดับแรกสุดของมหากาพย์ภาพยนตร์\"สตาร์ วอร์ส\" ทั้ง 6 ภาค โดยมีภาคต่ออีก 2 ภาค ครบสมบูรณ์เป็นไตรภาคเดิม และภาคก่อนอีก 3 ภาคเป็นไตรภาคต้น รวมเป็นมหากาพย์ 6 ภาค ตามลำดับเวลาในเรื่องแล้วถือเป็นลำดับที่ 4 ของการเดินเรื่อง ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้สร้างมาตรฐานใหม่ของการใช้เทคนิกพิเศษในการถ่ายทำภาพยนตร์ การตัดต่อแบบแหวกแนว และการเล่าเรื่องแนวแฟนตาซีวิทยาศาสตร์ ถือเป็นภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จและเป็นแรงบันดาลใจมากที่สุดเรื่องหนึ่งตลอดกาล", "title": "สตาร์ วอร์ส (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "6939#0", "text": "สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 1: ภัยซ่อนเร้น () เป็นภาพยนตร์อเมริกันแนวมหากาพย์ละครอวกาศ เขียนบทและกำกับโดยจอร์จ ลูคัส เป็นภาพยนตร์ลำดับที่ออกฉายเป็นลำดับที่สี่ของมหากาพย์ภาพยนตร์\"สตาร์ วอร์ส\" เป็นภาคแรกของภาพยนตร์\"สตาร์ วอร์ส\" ชุดไตรภาคต้น และเป็นภาพยนตร์ลำดับแรกสุดตามลำดับเหตุการณ์ทั้งหมด นอกจากนี้ยังเป็นภาพยนตร์ที่เป็นผลงานกำกับของจอร์จ ลูคัส เรื่องแรกในรอบ 22 ปี หลังจากภาพยนตร์\"สตาร์ วอร์ส\"ภาคแรกสุด และเป็นผลงานกำกับเรื่องที่สี่ของเขา", "title": "สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 1: ภัยซ่อนเร้น" }, { "docid": "618654#2", "text": "ภาพยนตร์เรื่องนี้ผลิตโดยวอลท์ดิสนีย์พิคเจอร์ส ลูคัสฟิล์ม และแบด โรบอท โปรดักชันส์ จัดจำหน่ายโดยวอลท์ ดิสนีย์ สตูดิโอ โมชั่น พิคเจอร์ส เป็นภาพยนตร์ลำดับที่เจ็ดในมหากาพย์ \"สตาร์ วอร์ส\" โดยเปิดฉายรอบปฐมทัศน์โลก ณ โรงภาพยนตร์สามแห่งในฮอลลีวูดบูลเลอร์วาร์ด ลอสแอนเจลิส ได้แก่ เอลกาปิตันเธียเตอร์ ดอลบีเธียเตอร์ และทีซีแอลไชนีสเธียเตอร์ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และมีกำหนดออกฉายเป็นการทั่วไปสำหรับภูมิภาคอเมริกาในวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2558 สำหรับประเทศไทยออกฉายครั้งแรกในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้สร้างสถิติรายได้เปิดตัวสูงที่สุดตลอดกาล แซงหน้า \"จูราสสิค เวิลด์\" ที่ออกฉายในปีเดียวกัน นอกจากนี้ยังเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้รวมทั่วโลกเกินหนึ่งพันล้านดอลลาร์สหรัฐโดยใช้เวลาเร็วที่สุด คือ 12 วัน และเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดในภูมิภาคอเมริกาเหนืออีกด้วย ปัจจุบัน \"อุบัติการณ์แห่งพลัง\" เป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้เปิดตัวสูงสุดเป็นอันดับที่ 2, อันดับที่ 1 ของภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดในปี พ.ศ. 2558 และอันดับที่ 3 ของภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาล ภาพยนตร์ภาคต่อคือ \"\" และ \"Episode IX\" มีกำหนดฉาย พ.ศ. 2560 และ 2562 ตามลำดับ", "title": "สตาร์ วอร์ส: อุบัติการณ์แห่งพลัง" }, { "docid": "11760#0", "text": "สตาร์วอร์ส 3 ชัยชนะของเจได () (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 6: การกลับมาของเจได ()) เป็นภาพยนตร์อเมริกัน แนวมหากาพย์เทพนิยายอวกาศ กำกับโดย ริชาร์ด มาร์ควานด์ เขียนบทโดยจอร์จ ลูคัสและลอว์เรนว์ แคสแดน โดยมีลูคัสเป็นหัวหน้าผู้อำนวยการสร้าง เป็นภาคที่ 6 ตามลำดับเวลาของภาพยนตร์ชุด \"สตาร์ วอร์ส\" และยังเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่ใช้ระบบ THX ด้วย ภาพยนตร์ดำเนินเรื่องในช่วงเวลาหนึ่งปีหลังเหตุการณ์ใน \"\"", "title": "สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 6: การกลับมาของเจได" }, { "docid": "755492#2", "text": "สตาร์ วอร์ส ไตรภาคต้นและภาค,เป็นภาพบนตร์ที่สร้างโดยจอร์จลูคัส และเจ้าของลิขสิทธิ์คือทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์แต่ก็จะหมดสัญญาและตกลงไปยู่กับดิสนีย์ในปี2020 ส่วนผู้ถือลิขสิทธิ์คือทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์แต่เพียงผู้เดียว เนื่องจากบริษัทได้ออกเงินทุนสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ให้กับลูคัสเอง", "title": "สตาร์ วอร์ส ไตรภาคเดิม" }, { "docid": "442940#0", "text": "สตาร์ วอร์ส ไตรภาคต่อ () เป็นภาพยนตร์ไตรภาคที่มีการวางแผนว่าจะสร้างมาแล้วหลายครั้ง โดยจะเป็นภาคต่อ (ตอนที่ 7-9) ของไตรภาคเดิม (ตอนที่ 4-6) ของภาพยนตร์ชุด \"สตาร์ วอร์ส\" โดยบริษัทลูคัสฟิล์ม แม้ภาพยนตร์ไตรภาคต้นที่เคยได้รับการพูดถึงในลักษณะเดียวกันมาก่อนจะได้รับการผลิตเป็นภาพยนตร์ออกฉายจริง ๆ ในช่วง ค.ศ. 1999-2005 ก็ตาม แต่ทั้งลูคัสฟิล์มและจอร์จ ลูคัสได้ปฏิเสธอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี ว่าจะไม่มีการสร้างภาพยนตร์ภาคต่อของสตาร์ วอร์ส และเนื้อเรื่องทั้งหมดของสตาร์ วอร์ส จะมีแค่ภาพยนตร์ 6 ตอนเท่านั้น", "title": "สตาร์ วอร์ส ไตรภาคต่อ" }, { "docid": "5927#0", "text": "สตาร์ วอร์ส () เป็นภาพยนตร์ชุดแนวมหากาพย์ละครอวกาศ สร้างโดย จอร์จ ลูคัส นอกจากนี้ยังมีสื่อต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากภาพยนตร์ เรียกว่า จักรวาลขยาย ได้แก่ หนังสือ ละครโทรทัศน์ วิดีโอเกมและหนังสือการ์ตูน", "title": "สตาร์ วอร์ส" } ]
[ { "docid": "299451#0", "text": "สตาร์ วอร์ส: เดอะ โคลน วอร์ส () เป็นภาพยนตร์การ์ตูนชุดทางโทรทัศน์แบบแอนิเมชัน 3 มิติ ผลิตโดย Lucasfilm Animation, Lucasfilm Animation Singapore และ CGCG Inc. ฉายครั้งแรกในช่อง Cartoon Network ของสหรัฐอเมริกาในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ดำเนินเรื่องในจักรวาล\"สตาร์ วอร์ส\" ช่วงเวลาเดียวกับภาพยนตร์การ์ตูนชุด \"\" ที่เคยฉายในปี พ.ศ. 2546 ดำเนินเรื่องตามเวลาในท้องเรื่องช่วงปีที่ 22-20 ก่อนยุทธการยาวิน แต่ละตอนยาวประมาณ 22 นาที ฉายในช่วง 30 นาทีโทรทัศน์ จอร์จ ลูคัสผู้สร้าง\"สตาร์ วอร์ส\"กล่าวว่า \"จะมีทั้งหมดอย่างน้อย 100 ตอน (ประมาณ 5 ซีซั่น)\" มี Dave Filoni เป็น supervising director ในขณะที่ Genndy Tartakovsky ซึ่งเป็นผู้กำกับของการ์ตูนชุด \"Clone Wars\" ไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตภาพยนตร์การ์ตูนชุดนี้ แต่ผู้ออกแบบตัวละคร Kilian Plunkett ใช้การออกแบบตัวละครจากการ์ตูนชุดฉบับ 2D เป็นต้นแบบในการออกแบบตัวละครฉบับ 3D นี้ นอกจากนี้ยังมีหนังสือการ์ตูนออนไลน์เล่าเรื่องสั้นๆ ระหว่างแต่ละตอนด้วย", "title": "สตาร์ วอร์ส: เดอะ โคลน วอร์ส" }, { "docid": "744599#0", "text": "สตาร์ วอร์ส ฮอลิเดย์สเปเชียล () กำกับโดย Steve Binder เป็นภาพยนตร์ในเรื่องแต่งชุด\"สตาร์ วอร์ส\"ที่ผลิตสำหรับออกฉายทางโทรทัศน์ในสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 1978 นำแสดงโดยนักแสดงหลักจากรวมทั้งแนะนำตัวละครใหม่เช่นโบบา เฟตต์ ซึ่งจะมีบทบาทในภาพยนตร์ตอนต่อๆ ไป ถือเป็นภาพยนตร์ภาคแยกของ\"สตาร์ วอร์ส\"ตอนแรกอย่างเป็นทางการ ภาพยนตร์ตอนนี้ออกฉายทางโทรทัศน์เพียงครั้งเดียวในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1978 (หนึ่งสัปดาห์ก่อนเทศกาลขอบคุณพระเจ้า) ทางสถานีโทรทัศน์ CBS ตั้งแต่เวลา 20-22 นาฬิกา EST", "title": "สตาร์ วอร์ส ฮอลิเดย์สเปเชียล" }, { "docid": "907838#0", "text": "สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 9 () เป็นภาพยนตร์ในชุด\"สตาร์ วอร์ส\" ภาพยนตร์มหากาพย์เทพนิยายอวกาศ มี เจ. เจ. แอบรัมส์ เป็นผู้กำกับ อำนวยการสร้าง และร่วมเขียนบท เป็นภาพยนตร์ลำดับที่สามและลำดับสุดท้ายในชุดภาพยนตร์ไตรภาคต่อของ\"สตาร์ วอร์ส\" ต่อจาก \"\" เป็นผลงานร่วมผลิตระหว่างบริษัทลูคัสฟิล์ม และแบดโรบอทโปรดักชันส์ซึ่งเป็นบริษัทผลิตภาพยนตร์ของแอบรัมส์ จัดจำหน่ายโดยวอลท์ดิสนีย์สตูดิโอโมชั่นพิคเจอร์ส มีกำหนดออกฉายวันที่ 20 ธันวาคม 2019", "title": "สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 9" }, { "docid": "769466#1", "text": "ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการประกาศการผลิตตั้งแต่ตอนที่บริษัทดิสนีย์เข้าซื้อบริษัทลูคัสฟิล์มเมื่อ พ.ศ. 2555 อำนวยการสร้างโดยแคธลีน เคนเนดี ซึ่งเป็นประธานบริษัทลูคัสฟิล์ม และ แรม เบิร์กแมน ร่วมกับเจ เจ แอบรัมส์ ผู้กำกับภาพยนตร์ \"อุบัติการณ์แห่งพลัง\" ในตำแหน่งผู้อำนวยการสร้างฝ่ายบริหาร นักประพันธ์เพลงจอห์น วิลเลียมส์ กลับมาทำหน้าที่ประพันธ์ดนตรีประกอบภาพยนตร์อีกครั้ง หลังจากเคยทำเพลงประกอบให้ภาพยนตร์ชุด \"สตาร์ วอร์ส\" ภาคหลักมาแล้วทั้ง 7 ภาค การถ่ายทำเริ่มต้นตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นช่วงการเตรียมการถ่ายทำ โดยเป็นการถ่ายทำฉากที่ต้องถ่ายที่เกาะสเกลลิกไมเคิล ประเทศไอร์แลนด์ ส่วนการถ่ายทำหลักเริ่มเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ที่ไพน์วูดสตูดิโอ ประเทศอังกฤษ และสิ้นสุดลงเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2559 ส่วนขั้นตอนหลังการถ่ายทำเสร็จสิ้นลงเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2560", "title": "สตาร์ วอร์ส: ปัจฉิมบทแห่งเจได" } ]
230
กันดั้มซีรีส์ เขียนโดยใคร ?
[ { "docid": "629402#0", "text": "กันดั้ม: G โนะ เรคอนกิสต้า (Gundam Reconguista in G) เป็นผลงานซีรีส์ \"กันดั้ม\" ของบริษัท ซันไรส์ เป็นผลงานที่ถูกสร้างเพื่อฉลองครอบรอบ 35 ปีของซีรีส์ และเป็นผลงานทีวีซีรีส์ในรอบหลายปีซึ่งกำกับและเขียนบทโดย โทะมิโนะ โยะชิยุกิ บิดาผู้ให้กำเนิด กันดั้ม นับตั้งแต่ผลงาน∀กันดั้มในปี 2542 โดยจะเริ่มออกอากาศครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ 2 ตุลาคม 2557 ถึงวันที่ 27 มีนาคม 2558 รวมทั้งสิ้น 26 ตอน", "title": "กันดั้ม: G โนะ เรคอนกิสต้า" }, { "docid": "737974#0", "text": "เทิร์นเอกันดั้ม หรือ ∀กันดั้ม ( ∀เป็น สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์หมายถึง\"รวมทั้งหมด ทุกสิ่งทุกอย่าง\" เป็นผลงานซีรีส์ กันดั้ม ของบริษัทซันไรส์ เป็นผลงานที่ถูกสร้างเพื่อเป็นซีรีส์สุดท้ายของจักรวาลกันดั้ม และเป็นผลงานทีวีซีรีส์ซึ่งกำกับและเขียนบทโดย โทะมิโนะ โยะชิยุกิ บิดาผู้ให้กำเนิด กันดั้ม โดยเริ่มออกอากาศครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ 4 เมษายน 2542 ถึงวันที่ 14 มีนาคม 2543 รวมทั้งสิ้น 50 ตอน", "title": "∀กันดั้ม" }, { "docid": "3026#2", "text": "ผู้กำกับและเขียนบทกันดั้มภาคแรกๆ คือ โทะมิโนะ โยะชิยุกิ ผู้ออกแบบตัวละครคือ ยะซุฮิโกะ โยะชิกะซุ หรือ YAS", "title": "กันดั้ม" } ]
[ { "docid": "349032#0", "text": "คอนโทรล เป็นภาพยนตร์ภาพขาวดำที่กำหนดออกฉายใน 5 ตุลาคม, พ.ศ. 2550 โดยมีเรื่องราวเกี่ยวกับ เอียน เคอร์ติส นักร้องวง จอย ดิวิชัน, แมตต์ กรีนฮอล์ช ได้บทภาพยนตร์เขียนตามหนังสือ \"Touching from a Distance\" ที่เขียนโดย เดโบราห์ เคอร์ติส ผู้ร่วมผลิตภาพยนตร์. กำกับการแสดงโดย แอนตั้น คอร์บจิน, มีนักแสดงนำโดย แซม ไรลี่ย์ รับบทเป็น เอียน, ซาแมนธา มอร์ตัน รับบทเป็น เดโบราห์, และ อเล็กซานดรา มาเรีย ลารา รับบทเป็น Annik Honoré. นอกจากนี้ยังมีแสดงคนอื่นๆได้แก่ เจมส์ แอนโทนี เพียร์สัน, โจ แอนเดอร์สัน, และ แฮร์รีย์ ทรีดาเวย์ แสดงเป็น สมาชิกวง จอยดิวิชัน ที่ประกอบไปด้วย เบอร์นาร์ด ซัมเนอร์, ปีเตอร์ ฮุค, และ สตีเฟน มอร์ริส, ตามลำดับเช่นเดียวกับ โทบี้ เค็บเบลล์ แสดงเป็น ร็อบ เกร็ตตัน ผู้จัดการวง และ เครก พาร์กินสัน แสดงเป็น โทนี่ วิลสัน เจ้าของค่ายเพลง Factory Records", "title": "คอนโทรล (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "33442#0", "text": "การ์ฟีลด์ () เป็นการ์ตูนช่องเรื่องสั้น เขียนโดย จิม เดวิส ตัวละครนำในเรื่องได้แก่ เจ้าแมวอ้วน การ์ฟีลด์ เจ้าหมาน้อย โอดี้ และหนุ่มผู้เป็นเจ้าของเจ้าการ์ฟิลด์และโอดี้ จอน อาร์บัคเคิ้ล ในปี ค.ศ. 2006 การ์ตูนช่องเรื่องการ์ฟีลด์ถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์กว่า 2,570 ฉบับทั่วโลก หนังสือกินเนสบุ๊คได้บันทึกว่าการ์ตูนเรื่องนี้ เป็นการ์ตูนช่องที่ได้รับการตีพิมพ์มากที่สุดในโลก นอกจากนี้ ความสำเร็จของการ์ฟีลด์มิได้หยุดแค่ในหนังสือพิมพ์ การ์ฟีลด์ยังปรากฏโฉมในรูปแบบ", "title": "การ์ฟีลด์" }, { "docid": "275872#0", "text": "โมบิลสูท กันดั้ม ยูนิคอร์น เป็นไลท์โนเวลของซีรีส์กันดั้ม ประพันธ์โดยฮารุโทชิ ฟุคุอิ ออกแบบเครื่องกลโดยฮาจิเมะ คาโทกิ ความยาวสิบเล่ม ปัจจุบันก็ถูกนำมาตีพิมพ์เป็นภาษาไทยแล้ว โดยสองเล่มแรกจะมีชื่อตอนว่า \"วันแห่งยูนิคอร์น\" และเล่มที่สามจะมีชื่อว่า \"การกลับมาของดาวหางสีแดง\"", "title": "โมบิลสูท กันดั้ม ยูนิคอร์น" }, { "docid": "3026#0", "text": "กันดั้ม () () เป็นซีรีส์แอนิเมชั่นญี่ปุ่นเกี่ยวกับหุ่นยนต์ต่อสู้ขนาดยักษ์ สร้างโดยบริษัทซันไรส์ Sunrise (company) กันดั้มนับเป็นอนิเมะซีรีส์แรกซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มการ์ตูนหุ่นยนต์แนวเรียลโรบ็อท มีการสร้างภาคต่อและภาคใหม่มาจนถึงปัจจุบัน และในบางตอนของกันดั้มหลายๆซีรีส์ ซันไรส์ได้สร้างใหม่หรือสร้างเพิ่มเติมแบบขยายความจากเนื้อเรื่องเดิมในรูปแบบ คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ โดยรวมกันในชื่อ Gundam Evolve ออกมา", "title": "กันดั้ม" }, { "docid": "77081#0", "text": "กันด๊าม กันดั้ม () เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นแบบสี่ช่องจบ แต่งโดย ฮิเดกิ โอวาดะ ลงตีพิมพ์ในนิตยสารกันดั้มเอซรายเดือน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 จนถึงปัจจุบัน และมีฉบับรวมเล่มออกมาแล้ว 2 เล่ม เนื้อหาหลักในเรื่องเป็นการล้อเลียนภาพยนตร์อะนิเมะ โมบิลสูทกันดั้ม แบบตลกขบขัน", "title": "กันด๊าม กันดั้ม" }, { "docid": "832785#0", "text": "ครีด () เป็นภาพยนตร์แอคชั่นเกี่ยวกับกีฬา กำกับโดย ไรอัน คูเกลอร์ เขียนบทด้วยตัวเขาเองและ แอรอน โกวิงตัน ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ลำดับที่ 7 ในภาพยนตร์ชุด ร็อคกี้ ต่อจากภาพยนตร์เรื่อง ร็อคกี้ 6 ราชากำปั้น ทุบสังเวียน นำแสดงโดย ไมเคิล บี. จอร์แดน รับบท อโดนิส จอห์นสัน ครีด ลูกชายของอพอลโล ครีด, ซิลเวสเตอร์ สตอลโลน รับบทเป็น ร็อคกี้ บาบัว พร้อมด้วยนักแสดง เทสซ่า ทอมสัน, ฟิซิเชีย ราซาด, โทนี่ เบลเลวว์ และ กราแฮม แม็คเทวิช โดยภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้กล่าวถึงชีวิตของร็อคกี้ บัลบัว แต่กล่าวถึงชีวิตของทายาทของอพอลโล ครีดแทนในเดือนมกราคม ปี 2016 ซิลเวสเตอร์ สตอลโลน และแกรี่ บาร์เบอร์ ยืนยันว่าภาพยนตร์เรื่อง ครีด 2 กำลังดำเนินการถ่ายทำ และจะออกฉายในเดือนพฤศจิกายน 2017", "title": "ครีด (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "618160#0", "text": "กลกิโมโน เป็นนวนิยายแนวแฟนตาซี ประพันธ์โดย พงศกร หรือ นายแพทย์พงศกร จินดาวัฒนะ ตีพิมพ์ครั้งแรกปี 2557 โดยเปิดตัวหนังสือครั้งแรก วันที่ 28 มีนาคม 2557 ในงานสัปดาหนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 42 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยเป็นหนังสือ 1 ใน 5 เล่มที่ได้แจ้งเกิดในงานนี้ และมียอดขายเป็นอันดับ 1 ของร้านจำหน่ายหนังสือบริษัท กรู๊ฟ พับลิชชิ่ง จำกัด โดยการเปิดตัวหนังสือในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกับการเปิดตัวละครโทรทัศน์ ซึ่งเนื้อหาเกี่ยวกับผ้าของญี่ปุ่นและยังเกี่ยวกับตำนานความเชื่อของชาวญี่ปุ่นในเรื่อง ตำนานนกกระเรียนทอผ้า โดยนำมาผูกเป็นเรื่องราวความเร้นลับของผ้ากิโมโนผู้ชาย ลายนกกะเรียนที่สืบทอดต่อๆกันมาเป็นตำนานอันเก่าแก่ กับปมเหตุความขัดแย้งของสองตระกูลใหญ่ แห่งหุบเขาดวงจันทร์ และเรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์ของ ศาลเทพเจ้ากระเรียนกับศาลเทพเจ้าจิ้งจอก แห่งแม่น้ำ สึกิ", "title": "กลกิโมโน" }, { "docid": "665786#0", "text": "นวนิยายชุดอัสแซสซินส์ครีด เขียนขึ้นโดย Anton Gill นักเขียนชาวอังกฤษภายใต้นามปากกาว่า \"Oliver Bowden\" มีเนื้อหาที่อ้างอิงมาจากเนื้อเรื่องหลักของซีรีส์เกมอิงประวัติศาสตร์ขายดีของยูบิซอฟต์ มอนทรีออล แอสแซสซิน ครีด ซึ่งเป็นเรื่องราวของนักฆ่าหลายคนที่ต้องต่อสู้กับกลุ่มเทมพลาร์ในช่วงเวลาต่างๆในประวัติศาสตร์ หนังสือตีพิมพ์กับสำนักพิมพ์ เพนกวินบุ๊คส์ หนังสือเล่มแรกของซีรียส์ \"Assassin's Creed: Renaissance\" วางจำหน่ายวันที่ 26 พฤศจิกายน คศ. 2009", "title": "อัสแซสซินส์ครีด (หนังสือชุด)" }, { "docid": "985632#0", "text": "ก็อบลินสเลเยอร์ (ภาษาญี่ปุ่น: ゴブリンスレイヤー Hepburn: Goburin Sureiyā) เป็น นวนิยายแนวดาร์คแฟนตาซี เขียนโดย Kumo Kagyu วาดโดย Noboru Kannatuki เป็น มังงะ ปรับปรุงโดย Kōsuke Kurose เป็นอันดับใน นิตยสาร Monthly Big Gangan และการปรับเปลี่ยนครั้งที่สองโดย Masahiro Ikeno ในนิตยสารเดียวกัน ได้รับลิขสิทธิ โดยสำนักพิมพ์ในอเมริกาเหนือ Yen Press ,มีดราม่าซีดี 3 เรื่องถูกปล่อยออกมาด้วยกัน ซีรีส์โทรทัศน์ดัดแปลง โดย White Fox ออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 7 ตุลาคม 2561", "title": "ก็อบลิน สเลเยอร์" } ]
241
เอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ มีพี่ชายหรือไม่ ?
[ { "docid": "248270#4", "text": "เจ้าหญิงเอลิซาเบธเป็นพระธิดาจากพระโอรส-ธิดาทั้งหมด 6 พระองค์ของสมเด็จพระราชาธิบดีเฟอร์ดินานด์ที่ 1 กับพระราชินีมารี ทั้งที่ทรงยังไม่เคยเข้าศึกษาในสถานศึกษาใดๆ แต่ทรงพูดได้ถึง 4 ภาษาและทรงได้รับการศึกษาศิลปกรรม,การเต้นรำและประวัติดนตรีและวรรณคดี ทรงชื่นชอบดนตรีและนักดนตรีต่างๆ ว่ากันว่าทรงเก็บผลงานของนักดนตรีต่างๆ รวมถึงแผ่นเสียงไว้ในหีบแผ่นเสียง แต่หีบได้ถูกทำลายในระหว่างที่ครอบครัวถูกคุ้มครองสงครามโลกครั้งที่ 1.", "title": "เอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ" } ]
[ { "docid": "248270#0", "text": "เอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ (12 ตุลาคม พ.ศ. 2437 - 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 พระนามเต็ม: \"เอลิซาเบธ ชาร์ล็อต โจเซฟีน อเล็กซานดรา วิกตอเรีย\") ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ พระมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซ พระนางเป็นพระธิดาของสมเด็จพระราชาธิบดีเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนียกับเจ้าหญิงมารีแห่งเอดินบะระ", "title": "เอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ" }, { "docid": "248270#2", "text": "ในวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2437 เจ้าหญิงมารีแห่งเอดินบะระ พระชายาในมกุฎราชกุมารเฟอร์ดินานด์แห่งโรมาเนียมีพระประสูติกาลพระธิดาที่ปราสาทเปเรส เจ้าหญิงมีพระนามว่า เอลิซาเบธหรือเอลิซาเวตา ซึ่งมีพระนามตามพระปิตุจฉาของพระองค์ คือ สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย พระมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 1 แห่งโรมาเนีย เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงใช้พระชนมชีพในช่วงต้นที่ปราสาทเปเรส เมืองซินายอา ที่ซึ่งมกุฎราชกุมาร ผู้เป็นพระบิดาทรงพำนักอยู่ ในหนังสือ The Story of My Life พระนิพนธ์ในพระราชินีมารี(เจ้าหญิงมารี) ผู้เป็นพระมารดาทรงบันทึกไว้ว่า \"เธอมีผิวที่ขาวดุจดังน้ำนมและมีตาโตสีเขียว มักจะตื่นตกใจกลัวง่าย รักที่จะเก็บและวัดดอกไม้ แต่ในตอนแรกเธอเป็นคนเงียบๆแต่ก็บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับดอกลิลลี่และดอกรักเร่ ดอกใหญ่ ริมสระน้ำ ในตอนอยู่ที่ที่จอดรถใกล้ปราสาท รถม้ากำลังออกตัว ฉันรู้สึกประหลาดใจมากเมื่อเธอได้เล่าเรื่องความฝันของเธอและบอกว่าเธอมีเพื่อนเป็นนางฟ้า ทำให้ฉันรู้สึกว่าเด็กคนนี้ของฉันมีความคิดที่ฉันคาดไม่ถึง\" เนื่องจากเจ้าหญิงมารีในขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 19 พรรษา และเจ้าหญิงเอลิซาเบธกับเจ้าชายคาโรลพระเชษฐาของพระองค์ได้รับการศึกษาร่วมกัน พระราชินีเอลิซาเบธทรงปลูกฝังพระองค์ให้รักศิลปะ", "title": "เอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ" }, { "docid": "248270#11", "text": "[[ไฟล์:Elizabeth and George.jpg|thumb|เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งโรมาเนียและสมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซ ในปีพ.ศ. 2464 วันอภิเษกสมรส]]\nในปีพ.ศ. 2454 ในวันพระราชสมภพของเจ้าหญิงเอลิซาเบธ พระองค์ทรงได้พบปะกับ[[สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซ|เจ้าชายจอร์จแห่งกรีซ]] พระโอรสองค์โตใน[[สมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 1 แห่งกรีซ]] ราชวงศ์กรีซตอบรับคำเชิญของพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ให้เสด็จเยือนโรมาเนียที่กรุงบูคาเรสต์ การพบปะกับเจ้าชายชาวกรีซครั้งแรก เจ้าหญิงทรงปฏิเสธข้อเสนอในการสมรส ซึ่งทำให้ทุกพระราชวงศ์ต่างประหลาดใจ เพราะเจ้าหญิงยังทรงศึกษาอยู่ ก่อนปีพ.ศ. 2457 เจ้าชายจอร์จทรงขอเจ้าหญิงเอลิซาเบธสมรสอีกครั้ง แต่ก็ได้รับการตอบปฏิเสธจากพระองค์เช่นเดิม ซึ่งตอนนั้นพระองค์มีพระชนมายุ 20 พรรษา ทรงปฏิเสธจากคำแนะนำของพระอัยยิกา [[เอลิซาเบธแห่งวีด สมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนีย|พระนางคาร์เมน ซิลเวีย]](อดีตพระราชินีเอลิซาเบธ) ที่ไม่ประสงค์ให้เจ้าหญิงอภิเษกสมรสกับเจ้าชายจอร์จแห่งกรีซ เนื่องจากทรงเชื่อว่า เจ้าหญิงเอลิซาเบธจะสามารถพบพระสวามีที่ดีสำหรับเธอได้ด้วยพระองค์เอง", "title": "เอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ" }, { "docid": "248270#18", "text": "[[ไฟล์:Maria koburg z córkami.JPG|thumb|จากซ้าย:พระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย,เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย อดีตสมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ และ [[มาเรียแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งยูโกสลาเวีย|เจ้าหญิงมิกนอล]] พระขนิษฐา]]\nหลังจากเสด็จกลับโรมาเนีย พระองค์ทรงหลีกเลี่ยงการได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงเป็นเจ้าหญิงแห่งโรมาเนีย คอนสแตนติน อาร์กเทียนูได้จดจำได้ถึงข่าวลือที่เล่าต่อๆกันไปในเวลานั้นเกี่ยวกับพระองค์ว่า \"พวกเขากล่าวว่า พระองค์เสด็จในเขตต่างๆ ฉลองพระองค์ด้วยเสื้อคลุมยาว และมักครวญเพลงของสครูเบิร์ต ลีเดอร์ ทรงสร้างความประหลาดใจมากภายในฉลองพระองค์เครื่องแบบทหาร ทรงประทับใจในห้องที่มืดและประดับด้วยผ้าม่านสีซีด ทรงตื่นบรรทมในตอนกลางคืนและทรงเล่นเปียโนเพื่อขับร้องเพลงจนถึงย่ำรุ่ง ในบทเพลงของโมสาร์ท ทรงวาดภาพบ่อยๆ แต่ทรงเริ่มประพันธ์บทกลอน พระองค์ทรงเดินทางด้วยเงินบำเหน็จรายปีไปที่[[เวนิส]]และ[[นีซ]] ไม่มีใครเห็นพระองค์อยู่กับคนใดเลย!\"", "title": "เอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ" }, { "docid": "248270#10", "text": "[[เจ้าหญิงอีเลียนาแห่งโรมาเนีย]] พระขนิษฐาของเธอซึ่งเป็นพระธิดาลับของพระราชินีมารี ผู้อื้อฉาวกับ[[บาร์บู สเตอบีย์]] เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงไม่สงสารพระขนิษฐาซึ่งประสูติท่ามกลางความอื้อฉาวของพระมารดาแต่กลับล้อเลียนเจ้าหญิงอีเลียนาเสมอ [[คอนสแตนติน อากโทรเอียนนู]]ได้เรียบเรียงเหตุการณ์จากความทรงจำว่า เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงกล่าวกับเจ้าหญิงอีเลียนาว่า \"อีเลียนามาที่หน้าต่างเร็วเข้า มาดูพ่อของเธอ\" ซึ่งบาร์บู สเตอบีย์ได้ออกจากรถพอดี", "title": "เอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ" }, { "docid": "248270#22", "text": "ก่อนปีพ.ศ. 2549 ทรัพย์สินและที่ดินของพระองค์แถบบันล็อก ซึ่งปัจจุบันทรุดโทรมลงมาก ได้ถูกอ้างสิทธิและทำการซ่อมแซมโดย[[พอล-ฟิลิปเป โฮเฮนโซลเลิร์น]] พระนัดดาในเจ้าหญิงเอลิซาเบธ ซึ่งเป็นทายาทอย่างไม่เป็นทางการของพระราชาธิบดีคาโรลที่ 2 ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 การบูรณะต้องหยุดชะงักเพราะตามกฎพระราชวงศ์โฮเฮนโซลเลิร์น ไม่ยอมรับ\"เลือดสีฟ้า\"ของพอล-ฟิลิปเป ดังนั้นจึงไม่มีสิทธิในทรัพย์ของพระราชวงศ์\nพอล-ฟิลิปเป โฮเฮนโซลเลิร์นยังอ้างสิทธิในเงิน,เหรียญตรา,เครื่องประดับ,วัตถุทอง,แพลททินัมและโลหะมีค่าต่างๆของพระราชวงศ์ ที่ถูกยึดโดยคอมมิวนิสต์และทรัพย์สินที่เป็นของเจ้าหญิงเอลิซาเบธ,พระราชาธิบดีคาโรลที่ 2 และเจ้าชายนิโคลัส ซึ่งในปีพ.ศ. 2491 คอมมิวนิสต์ได้เข้ายึดวังบันล็อกได้ยึดเครื่องประดับ,เหรียญที่ระลึกและ เหรียญทอง 708 เหรียญ ปัจจุบันทางเมืองได้ซื้อวังนี้ในวาระ 49 ปีก่อตั้งมณฑลบานาท\n[[ไฟล์:Elizabeth ex-queen of greece.jpg|thumb|เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย อดีตพระราชินีแห่งกรีซ]]\n[[หมวดหมู่:ราชินีแห่งกรีซ|อ]]\n[[หมวดหมู่:เจ้าหญิงโรมาเนีย|อ]]\n[[หมวดหมู่:พระราชปนัดดาในพระราชินีวิกตอเรีย|อ]]\n[[หมวดหมู่:ราชวงศ์โฮเฮนซอลเลิร์น-ซิกมาริงเงิน|อ]]\n[[หมวดหมู่:ราชวงศ์กลึคสบวร์ก]]", "title": "เอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ" }, { "docid": "436325#0", "text": "เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งเวดส์ สมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนีย(29 ธันวาคม พ.ศ. 2386 - 3 มีนาคม/2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459) พระนามเดิมคือ เจ้าหญิงพอลีน เอลิซาเบธ ออตติลี หลุยส์ ซู วีด ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนียโดยเป็นพระมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 1 แห่งโรมาเนีย พระนางทรงเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในด้านวรรณกรรมโดยทรงมีนามปากกาว่า \"คาร์เมน ซิลวา\"(\"Carmen Sylva\") ทรงก่อตั้งองค์กรการกุศลขึ้นมากมาย ชาวโรมาเนียจึงให้พระสมัญญาว่า \"Mama răniților\" และชาวโรมาเนียมักจะเรียกพระนางว่า \"พระราชินีคาร์เมน ซิลวา\" ตามนามปากกาของพระนางมากกว่าเรียกพระนามจริง\nเจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งวีดประสูติที่ปราสาทชลูส์ มองเรปอส เมืองเนาวีด ในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2386 เป็นพระราชธิดาองค์โตในเจ้าชายเฮอร์มันด์ เจ้าชายแห่งเวดส์กับเจ้าหญิงมารีแห่งนัสเซา เจ้าหญิงมารี พระมารดาของเจ้าหญิงเอลิซาเบธเป็นพระราชธิดาในวิลเฮล์ม ดยุคแห่งนัสเซากับเจ้าหญิงหลุยส์แห่งแซ็กซ์-ฮิลด์บูร์กเฮาเซน เจ้าหญิงมารีทรงมีศักดิ์เป็นพระขนิษฐาในแกรนด์ดยุกอดอล์ฟแห่งลักเซมเบิร์กและเป็นพระเชษฐภคินีในสมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งสวีเดนและนอร์เวย์ เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงสนพระทัยในการศึกษาด้านศิลปะ เมื่อทรงพระเยาว์เจ้าหญิงเอลิซาเบธมีพระอุปนิสัยที่สุภาพเรียบร้อยและเสด็จเยี่ยมสถานสงเคราะห์คนวิกลจริตในท้องถิ่นบ่อยๆ", "title": "เอลิซาเบธแห่งเวดส์ สมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนีย" }, { "docid": "248270#5", "text": "สิ้นปีพ.ศ. 2457 เกิดเหตุการณืครั้งใหญ่ในชีวิตพระองค์ คือการเสด็จสวรรคตของ สมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 1 แห่งโรมาเนีย และพระบิดาของพระองค์ได้ขึ้นครองราชสมบัติในพระนาม [[สมเด็จพระราชาธิบดีเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย]] ทำให้พระราชวงศ์ต้องย้ายจากซินายอาไปยัง[[บูคาเรสต์]] ที่[[พระราชวังโคโทรเซนิ]] ทำให้เจ้าหญิงต้องเสด็จออกตามที่สาธารณะพร้อมพระบิดาและพระมารดา ทรงต้องทำกิจกรรมต่างๆเพื่อการกุศล เจ้าหญิงทรงชื่นชอบครั้งที่อยู่ที่บูคาเรสต์มาก เนื่องจากสภาพอากาศของบูคาเรสต์เหมาะกับผู้ชื่นชอบศิลปะ พระองค์มีพระสหายเพิ่มมากขึ้นแต่การพำนักที่นี่ต้องทำตามกฎระเบียบเคร่งครัด", "title": "เอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ" }, { "docid": "239459#30", "text": "ในปีค.ศ. 1920 เจ้าหญิงเอลิซาเบธ พระธิดาองค์โตของพระนางมารี ทรงหมั้นกับเจ้าชายจอร์จแห่งกรีซ พระโอรสองค์โตในสมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 1 แห่งกรีซกับอดีตสมเด็จพระราชินีโซเฟีย พระญาติของพระนางมารี ซึ่งทรงถูกถอดถอนจากราชบัลลังก์กรีซ หลังจากที่พระนางทรงเชิญเจ้าชายจอร์จพร้อมพระขนิษฐาทั้งสองพระองค์คือ เจ้าหญิงเฮเลนและเจ้าหญิงไอรีน มาร่วมประทับพร้อมกับพระนางที่ซินายอา พระนางมารีทรงจัดการกิจกรรมต่างๆมากมายแก่คู่หนุ่มสาวทั้งสองและทรงยินดีอย่างมากที่จะทรงอภิเษกสมรสกับพระธิดาของพระนางตามที่ทรงคาดหมายไว้แล้ว ซึ่งพระธิดาของพระนางเองนั้นมีข้อด่างพร้อยอย่างรุนแรง ในเดือนตุลาคม มีรายงานข่าวจากกรีซเกี่ยวกับการสวรรคตของสมเด็จพระราชาธิบดีอเล็กซานเดอร์แห่งกรีซ ซึ่งเจ้าหญิงกรีซต้องรีบเสด็จกลับไปพบพระบิดาและพระมารดาอย่างเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ในวันถัดมา มีข่าวแจ้งว่า พระมารดาของพระนางมารีได้สิ้นพระชนม์แล้วอย่างสงบที่ซูริก พระนางมารีทรงเตรียมการเดินทางไปยังสวิตเซอร์แลนด์ ที่ซึ่งพระนางจะทรงพาเจ้าหญิงเฮเลนและเจ้าหญิงไอรีนไปพบพระบิดาและพระมารดาของทั้งสองพระองค์ได้และเข้าร่วมพิธีฝังพระศพพระมารดาของพระนาง ในขณะที่เจ้าชายจอร์จและเจ้าหญิงเอลิซาเบธยังคงประทับอยู่ที่ซินายอา", "title": "สมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย" } ]
253
ปอล เซซาน จิตรกรชาวฝรั่งเศส เกิดเมื่อไหร่ ?
[ { "docid": "146617#1", "text": "ปอล เซซาน เกิดเมื่อวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 1839 (พ.ศ. 2382) ในครอบครัวที่มั่งคั่งร่ำรวยในเมืองแอ็กซ็องพรอว็องส์ ประเทศฝรั่งเศส บิดาของเขาประสบความสำเร็จจากธุรกิจด้านการธนาคารที่ความร่ำรวย ส่วนแม่ของเขานั้นก็เป็นที่จิตใจดีของสนับสนุนงานของลูกชาย พ่อของเซซานไม่ได้ปรารถนาให้เขาเป็นจิตรกร ทำให้เซซานต้องไปเรียนกฎหมายอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งเหมือนแอดการ์ เดอกา ในปี ค.ศ. 1852 เซซานได้เข้าเรียนที่วิทยาลัยบูร์บง (Collège Bourbon) ที่นั่นเขาได้พบกับเอมีล ซอลา (Émile Zola) ผู้ซึ่งต่อไปจะกลายเป็นนักเขียนชั้นนำของฝรั่งเศส พวกเขาเรียนหนังสือและเติบโตมาด้วยกัน ทั้งสองจึงเป็นเพื่อนที่รู้ใจของอีกฝ่ายเป็นอย่างดี", "title": "ปอล เซซาน" } ]
[ { "docid": "146617#0", "text": "ปอล เซซาน () จิตรกรชาวฝรั่งเศสในลัทธิประทับใจยุคหลัง สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมัน งานของเซซานเป็นงานที่วางรากฐานสำหรับการเปลี่ยนแปลงจากศิลปะในลัทธิประทับใจของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ไปสู่ศิลปะบาศกนิยมของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นแนวที่ทั้งอ็องรี มาติส และปาโบล ปีกัสโซ ยกย่องเซซานว่าเป็น \"the father of us all\"", "title": "ปอล เซซาน" }, { "docid": "217719#0", "text": "เออแฌน อ็องรี ปอล โกแก็ง (, 7 มิถุนายน ค.ศ. 1848 - 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1903) เป็นจิตรกรสมัยอิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังชาวฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพเขียนสีน้ำมัน", "title": "ปอล โกแก็ง" }, { "docid": "146617#7", "text": "ในปี ค.ศ. 1872 เซซานใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองปงตวซ ประเทศฝรั่งเศส กับฟีแก ภรรยาของเขาและลูกชายของเขา เซซานยังคงมีความกระตือรือร้นที่จะทำงานเขียนภาพต่อไป เขาได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการออกนั่งเขียนภาพข้างนอกกับกามีย์ ปีซาโร และที่ปงตวซนี่เองเซซานได้พบกับ[[ปอล โกแก็ง] ]ผู้ซึ่งชื่นชมในงานของเซซานและยอมจ่ายให้เขา ดังนั้นในราวปี ค.ศ. 1872-1874 เซซานจึงย้ายเข้ามาอยู่ที่บ้านและทำงานให้กับโกแก็งที่เมือง[[โอแวร์ซูว์รวซ]] ในขณะเดียวกันในปี ค.ศ. 1873 นั้น เซซานได้มีโอกาสพบกับ[[ฟินเซนต์ ฟัน โคค]] และในปี ค.ศ. 1874 เขาก็มีโอกาสนำผลงานของตนไปจัดแสดงที่งานแสดงผลงานของศิลปินกลุ่มลัทธิประทับใจ ในงานนั้นภาพของเซซานได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่มศิลปินเป็นอย่างมาก แต่ถึงกระนั้นภาพของเซซานก็มีความแตกต่างจากศิลปินคนอื่น ๆ มากเช่นกัน การวางองค์ประกอบของเขาในขณะนั้นทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนถึงความใกล้เคียงกับงานของปีซาโร และในปี ค.ศ. 1877 เซซานก็ได้จัดงานแสดงผลงานของเขาเองโดยจัดแสดงทั้งหมด 16 ภาพ แต่ก็ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์กลับมาหนักมาก จนเขาเสียกำลังใจไป แต่อย่างไรก็ดีเขาก็ยังคงทำงานเขียนภาพต่อในสตูดิโอของเขา \nในช่วงต้นปี ค.ศ. 1880 งานของเขาเริ่มออกห่างจากลักษณะของลัทธิประทับใจมากขึ้นไปทุกที แต่เขาก็ยังคงออกไปเขียนภาพทิวทัศน์อย่างสม่ำเสมอ ราวสิบปีให้หลังมานี้ เซซานพยายามส่งผลงานของเขาที่มีโครงสร้างตามแบบธรรมชาติเข้าร่วมนิทรรศการของ salon เสมอ แต่ก็ยังคงล้มเหลว (มีเพียงครั้งเดียวที่ได้ร่วมจัดแสดง) จนปี ค.ศ. 1886 พ่อของเขาได้เสียชีวิตและทิ้งมรดกไว้ให้กับเขาจำนวนหนึ่ง นั่นทำให้ปัญหาเรื่องการเงินของเขามีสภาพที่ดีขึ้นด้วย", "title": "ปอล เซซาน" }, { "docid": "217958#1", "text": "ปูแซ็งเกิดเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1594 ที่เมืองเลซ็องเดอลีในนอร์ม็องดีในประเทศฝรั่งเศส และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1665 ลักษณะการเขียนเป็นแบบคลาสสิกซิสม์ งานของปูแซ็งเจะชัดเจน มีเหตุผลและมีระเบียบและนิยมเส้นมากกว่าสี ปูแซ็งมีอิทธิพลต่อจิตรกรที่มีลักษณะเขียนไปทางคลาสสิกมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เช่น ฌัก-หลุยส์ ดาวีด, ปอล เซซาน", "title": "นีกอลา ปูแซ็ง" }, { "docid": "37327#0", "text": "อ็องรี เอมีล เบอนัว มาติส () (31 ธันวาคม ค.ศ. 1869 – 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1954) เป็นจิตรกร ประติมากร และช่างพิมพ์ ชาวฝรั่งเศส ถือกันว่าเขามีฐานะเป็นหัวหน้าและคนที่สำคัญที่สุดของกลุ่มคติโฟวิสต์ ผลงานการวาดรูปของเขาจะโดดเด่นในการที่ใช้สีสันตัดกันอย่างลื่นไหลลงตัว\nอ็องรี มาติส เกิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1869 ที่เมืองเลอกาโต-ก็องเบรซี (Le Cateau-Cambrésis) แคว้นนอร์-ปาดกาแล (Nord-Pas-de-Calais) ประเทศฝรั่งเศส เติบโตในโบแอ็งน็องแวร์ม็องดัว (Bohain-en-Vermandois) เป็นบุตรชายของพ่อค้ามีฐานะมั่งคั่งคนหนึ่งในฝรั่งเศส บิดาต้องการให้เขาเป็นนักกฎหมาย ซึ่งเป็นอาชีพที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นอาชีพที่ดีในสังคมฝรั่งเศสในสมัยนั้น ในตอนแรกมาติสทำตามความปรารถนาของครอบครัวโดยการเข้าศึกษาวิชากฎหมาย จากนั้นเขาได้กลายเป็นจิตรกรโดยบังเอิญ เมื่อเขาล้มป่วยลงในปี ค.ศ.1889 ขณะนั้นเขายังเป็นนักศึกษากฎหมายอยู่ เพื่อนคนหนึ่งได้แนะนำให้เขาหัดวาดรูปเพื่อเป็นการแก้เบื่อหน่าย จนกระทั่งเขาหายป่วยเขาจึงตัดสินใจเลิกเรียนวิชากฎหมายและเข้าศึกษาที่โรงเรียนวิจิตรศิลป์ ในปี ค.ศ. 1895 มาติสได้เป็นศิษย์ของกุสตาฟว์ โมโร อาจารย์ศิลปะคนสำคัญในสมัยนั้น ขณะที่ศึกษาอยู่ในสถาบันสอนศิลปะแห่งนั้นเขาได้พบกับฌอร์ฌ รูโอ, อาลแบร์ มาร์แก ฯลฯ ซึ่งต่อมาเป็นผู้ร่วมคิดค้นคนสำคัญของศิลปะกลุ่มโฟวิสต์\nต่อมาในปี ค.ศ.1897 มาติสเริ่มต้นศึกษาแนวคิดของศิลปินสมัยลัทธิประทับใจ ปอล เซซานเป็นศิลปินที่อิทธิพลต่อมาติสอย่างมาก โดยเขายกย่องว่าผลงานของเซซานมีความโดดเด่นโดยเฉพาะเรื่องของการใช้สี ซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดมวลปริมาตรที่มีความหนาแน่น โดยมาติสได้เขียนไว้ในบันทึกใจความว่า “ผลงานของเซซานอยู่บนรากฐานในพลังของเส้นและสี” นอกจากเซซานแล้ว ยังมีศิลปินกลุ่มอื่นที่เขาให้ความสนใจได้แก่ กลุ่มลัทธิประทับใจใหม่ ศิลปินคนสำคัญในยุคนี้เช่น ปอล โกแก็ง และปอล ซีญัก มาติสกล่าวว่า “กลุ่มนีโอ-ลัทธิประทับใจในกรรมวิธีการแต้มสีเป็นจุด เท่ากับเป็นการทำลายเอกภาพของสี เขาต้องการสร้างงานศิลปะให้มีการเคลื่อนไหว ไม่ใช่ดูนิ่งเหมือนพวกลัทธิประทับใจได้กระทำ และไม่ได้เป็นเครื่องบันทึกธรรมชาติที่ผ่านไปเฉย ๆ ดังเช่นที่ศิลปินลัทธิประทับใจทำ” บันทึกที่กล่าวมาล้วนอยู่ในบทความเรื่อง ‘คำให้การของจิตรกร’ ซึ่งมาติสตีพิมพ์ในวารสารเลอกรังค์รีวิวเมื่อปี ค.ศ.1908", "title": "อ็องรี มาติส" }, { "docid": "13047#0", "text": "ปาโบล รุยซ์ ปีกัสโซ (; ; ; 25 ตุลาคม ค.ศ. 1881 – 8 เมษายน ค.ศ. 1973) จิตรกรเอกของโลก เป็นบุคคลที่นิตยสาร TIME ยกย่องให้เป็นศิลปินที่มีพรสวรรค์ในการสร้างสรรค์มากที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ปีกัสโซเกิดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1881 ที่เมืองมาลากา แคว้นอันดาลูเซียทางตอนใต้ของ ประเทศสเปน เป็นบุตรชายคนโตของดอนโคเซ รุยซ์ อี บลัสโก (ค.ศ. 1838-1913) กับมารีอา ปีกัสโซ อี โลเปซ บิดาเป็นครูสอนศิลปะในมหาวิทยาลัย งานของปีกัสโซเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยแต่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ แต่การเปลี่ยนแปลงทิศทางรูปแบบของผลงานนั้นเกิดจากหรืออาจได้รับแรงบันดาลใจมาจาก เฟอร์นานเดอ โอริเวียร์ (Fernande Olivier) ซึ่งเป็นคนรักคนแรกของเขา และเขาได้แต่งงานครั้งที่ 2 กับแจ็คเกอรีน โร๊ค ในปี ค.ศ. 1961 และเขาจบชีวิตศิลปินลงในวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 1973 เสียชีวิตในวัย 91 ปี", "title": "ปาโบล ปีกัสโซ" }, { "docid": "284529#0", "text": "ฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอรา () (2 ธันวาคม ค.ศ. 1859 - 29 มีนาคม ค.ศ. 1891) เป็นจิตรกรชาวฝรั่งเศสของสมัยอิมเพรสชันนิสม์ใหม่ของคริสต์ศตวรรษที่ 19 งานเขียนชิ้นที่มีชื่อเสียงที่สุดของเซอราคือภาพ “บ่ายวันอาทิตย์บนเกาะลากร็องด์ฌัต” ที่เขียนระหว่างปี ค.ศ. 1884 ถึง ค.ศ. 1886 ซึ่งเป็นภาพที่เปลี่ยนทิศทางของศิลปะสมัยใหม่เข้าสู่สมัยอิมเพรสชันนิสม์ใหม่ และเป็นภาพไอคอนสำคัญที่สุดภาพหนึ่งของคริสต์ศตวรรษที่ 19", "title": "ฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอรา" }, { "docid": "849310#0", "text": "เฟรดริช เมชีแลม ไมเออร์ เวย์เซนฟรอนด์ (; 22 กันยายน ค.ศ. 1895 – 25 สิงหาคม ค.ศ. 1967) เป็นนักแสดงชาวอเมริกัน เกิดในลวีฟและเติบโตในชิคาโก มีผลงานการแสดงภาพยนตร์ทั้งหมด 25 เรื่อง เข้าชิงรางวัลออสการ์ 4 ครั้ง และได้รับรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม จากการรับบทเป็นหลุยส์ ปาสเตอร์ ในภาพยนตร์เรื่อง \"The Story of Louis Pasteur\" (1936) และได้รับรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิส รวมถึงมีผลงานแสดงในละครบรอดเวย์อีกหลายเรื่อง เขายังได้รับรางวัลโทนีสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม จากการแสดงในละครบรอดเวย์เรื่อง \"Inherit the Wind\"", "title": "พอล มุนี" }, { "docid": "249549#0", "text": "ปาโอโล เวโรเนเซ () หรือ ปาโอโล กาลยารี (; ค.ศ. 1528 - 19 เมษายน ค.ศ. 1588) เป็นจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีที่ทำงานอยู่ในเวนิสในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนังและจิตรกรรมสีน้ำมัน งานชิ้นสำคัญของเวโรเนเซก็ได้แก่ \"งานแต่งงานที่เคนา\" และ \"งานเลี้ยงที่บ้านของลีวาย\" (The Feast in the House of Levi) เวโรเนเซใช้ชื่อ \"ปาโอโล กาลยารี\" และมารู้จักกันว่า \"ปาโอโล เวโรเนเซ\" ตามชื่อเมืองเกิดที่เวโรนาในประเทศอิตาลี", "title": "ปาโอโล เวโรเนเซ" } ]
254
บึงบอระเพ็ดมีเนื้อที่เท่าไหร่?
[ { "docid": "54115#0", "text": "บึงบอระเพ็ด เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย และเป็นบึงทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีเนื้อที่ 132,737 ไร่ อยู่ในท้องที่สามอำเภอของจังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอท่าตะโก และอำเภอชุมแสง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดนครสวรรค์ กลางบึงมีตำหนักแพที่สร้างขึ้นครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐาน", "title": "บึงบอระเพ็ด" }, { "docid": "54115#2", "text": "บึงบอระเพ็ดตั้งอยู่ ณ. ตำแหน่งภูมิศาสตร์ที่ละติจูด 15 องศา 40 ลิปดา ถึง 15 องศา 45 ลิปดาเหนือ และ ลองจิจูด 100 องศา 10 ลิปดา ถึง 100 องศา 23 ลิปดาตะวันออก มีพื้นที่ประมาณ 132, 737 ไร่ หรือ (212.3792 ตารางกิโลเมตร) อยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดนครสวรรค์ รวม 3 อำเภอ คือ อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอชุมแสง และอำเภอท่าตะโก ซึ่งทั้ง 3 อำเภอได้แบ่งเขตที่กลางบึงบอระเพ็ด โดยมีอาณาเขต ดังนี้", "title": "บึงบอระเพ็ด" } ]
[ { "docid": "54115#3", "text": "พื้นที่ของบึงบอระเพ็ดในอดีตนั้นเป็นที่ราบลุ่ม แวดล้อมไปด้วยป่าไม้เบญจพรรณอันอุดมสมบูรณ์ มีลำคลองเล็กๆ ไหลผ่านและประกอบไปด้วยหนองน้ำหลายแห่ง เมื่อถึงฤดูฝนจะมีน้ำทางเหนือไหลหลากทำให้บริเวณบึงบอระเพ็ดมีน้ำท่วมเป็น บริเวณกว้างจนกลายเป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ อุดมไปด้วยสัตว์น้ำนานาชนิด ทั้งพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ จระเข้ กุ้งก้ามกรามและตะพาบน้ำ", "title": "บึงบอระเพ็ด" }, { "docid": "54115#1", "text": "เดิมบึงบอระเพ็ดแห่งนี้มีชื่อว่า \"ทะเลเหนือ\" หรือ \"จอมบึง\" เนื่องจากมีสัตว์และพันธุ์พืชน้ำเป็นจำนวนมาก รวมทั้งจระเข้ จากการสำรวจพบว่ามีสัตว์อาศัยอยู่ประมาณ 148 ชนิด พืช 44 ชนิด มีพันธุ์สัตว์ที่หายากได้แก่ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (พบครั้งแรกที่บึงบอระเพ็ด) ปลาเสือตอ ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคมจะมีนกเป็ดน้ำอพยพมาที่บึงแห่งนี้เป็นจำนวนมาก พื้นที่บางส่วนได้รับการประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า", "title": "บึงบอระเพ็ด" }, { "docid": "12203#0", "text": "บึงสีไฟ เป็นแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ของประเทศไทย ตั้งอยู่ในจังหวัดพิจิตร โดยเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่เป็นอันดับสาม หรืออันดับห้าของประเทศ รองจาก บึงบอระเพ็ด ทะเลสาบหนองหาน บึงละหานและ กว๊านพะเยา ตามลำดับ โดยบึงสีไฟมีเนื้อที่ 5,390 ไร่ ซึ่งลดลงมาภายหลังจากการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ ที่เดิมบึงสีไฟมีเนื้อที่มากกว่า 10,000 ไร่ บึงสีไฟเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืด แหล่งอาศัยของนกหลายชนิด และยังเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่สำคัญของจังหวัดพิจิตรด้วย", "title": "บึงสีไฟ" }, { "docid": "54115#7", "text": "กระทรวงพระคลังมหาสมบัติในเวลานั้นได้ประกาศกำหนดเขตบึงบอระเพ็ดไว้เป็นที่ รักษาพืชพันธุ์ปลาน้ำจืด ในปี พ.ศ. 2471 และพิจารณาแก้ไข ในปี พ.ศ. 2473 โดยกำหนดเนื้อที่ประกาศเป็นเขตหวงห้ามไว้ประมาณ 250,000 ไร่ และต่อมารัฐบาลได้ตราพระราชกฤษฎีกา ลงวันที่ 4 สิงหาคม 2480 ถอนการหวงห้ามเหลืออยู่จนถึงปัจจุบัน 132,737 ไร่ 56 ตารางวา โดยมีอาณาเขตติดต่อกัน 3 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอชุมแสง และอำเภอท่าตะโก ในปี พ.ศ. 2490 กระทรวงเกษตราธิการได้แบ่งเขตรักษาพืชพันธุ์ออกเป็น 2 เขต คือ", "title": "บึงบอระเพ็ด" }, { "docid": "54115#5", "text": "ในปี พ.ศ. 2466 ดร.ฮิวจ์ เอ็ม. สมิท ชาวอเมริกันซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านการประมง กระทรวงเกษตราธิการได้ออกสำรวจบึงบอระเพ็ดและได้รายงานผลการสำรวจเมื่อวัน ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466 ว่าบึงบอระเพ็ดเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่และมีความสำคัญมากเกี่ยวกับเรื่องการ ประมง เพราะว่าเป็นแหล่งพันธุ์ปลา เป็นทำเลที่ปลาอาศัยเลี้ยงตัว วางไข่ และแพร่พันธุ์ ควรจะมีการบำรุงรักษาให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลา", "title": "บึงบอระเพ็ด" }, { "docid": "122523#0", "text": "\"บรเพรช\" เป็นไม้เถาเลื้อยที่จัดอยู่ในประเภทไม้เนื้ออ่อนซึ่งมีคุณค่าทางสมุนไพรชนิดหนึ่ง \nมีสรรพคุณ เถา เป็นยาแก้ไข้ ขับเหงื่อ แก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน ใบ แก้รำมะนาด ปวดฟัน แก้ไข้ แก้โรคผิวหนัง ดับพิษปวดแสบปวดร้อน ฆ่าแมลงที่หู บำรุงน้ำดี ฆ่าพยาธิไส้เดือน ผล แก้ไข้ แก้เสมหะเป็นพิษ ราก แก้ไข้ขึ้นสูงที่มีอาการเพ้อคลั่ง ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ เจริญอาหาร เป็นยาอายุวัฒนะ แก้มะเร็งเม็ดเลือด แก้ท้องเฟ้อ มดลูกเสีย กินทุกวันทำให้ร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นหวัด ในขณะเดียวกันมีผลข้างเคียงได้ การรับประทานต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อาจมีผลต่อหัวใจ เพราะเป็นยารสขม", "title": "บอระเพ็ด" }, { "docid": "63068#21", "text": "บึงบอระเพ็ดได้รับการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์เพื่อพยายามจะปกป้องนกชนิดนี้ แต่จากการสำรวจค้นหานกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรที่เหลือรอดซึ่งประกอบด้วยการสำรวจที่บึงบอระเพ็ดหลายครั้ง การค้นหานกชนิดนี้ การสำรวจแม่น้ำยม แม่น้ำน่าน และแม่น้ำวังในภาคเหนือของประเทศไทยปี พ.ศ. 2512 และการสำรวจของแม่น้ำในภาคเหนือของประเทศลาวในปี พ.ศ. 2539 กลับประสบความล้มเหลว", "title": "นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร" }, { "docid": "736264#0", "text": "บอระเพ็ดพุงช้าง เป็นพืชในสกุลสบู่เลือด วงศ์ Menisspermaceae เป็นไม้เถาอายุหลายปี มีหัวกลม โผล่พ้นดิน โคนต้นมีเปลือกแข็ง ปลายยอดเรียบและเหี่ยวแห้งในฤดูแล้ง ใบเดี่ยว ช่อดอกแยกเพศ ออกที่ซอกใบ ผลสดกลมมีขนาดเล็ก ออกดอกเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม กระจายตามเขาหินปูนในภาคตะวันตก พบครั้งแรกในประเทศไทยที่เขาหินปูนที่บ้านวังขนาย จังหวัดกาญจนบุรี", "title": "บอระเพ็ดพุงช้าง" } ]
255
พระบรมราชา (มังมีบิดาชื่อว่าอะไร?
[ { "docid": "782764#1", "text": "พระบรมราชา (มัง) มีพระนามเดิมว่า ท้าวมัง หรือ เจ้าศรีสุมังค์ ในเอกสารพื้นเวียงจันทน์ออกพระนามว่า พระบุรมราชา ในจดหมายเหตุเกี่ยวกับเขมรและญวนในรัชกาลที่ 3 ฉะบับที่ 11 หนังสืออุปฮาดเมืองหลวงมูเลงออกพระนามว่า เจ้าพระนคร เดิมทรงพระยศเป็นที่เจ้าราชบุตร คณะอาญาสี่เมืองนครพนม แต่เมื่อครั้งพระราชบิดาดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองนครพนม พระบรมราชา (มัง) ทรงถือกำเนิดในราชวงศ์ศรีโคตรบูร ซึ่งเป็นราชวงศ์อันเอาแก่ราชวงศ์หนึ่งของราชอาณาจักรล้านช้าง ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบรมราชา (อุ่นเมือง) เจ้าผู้ครองเมืองนครพนม เป็นพระราชนัดดาในพระบรมราชา (ศรีกุลวงษ์) เจ้าเมืองนครพนม บ้างก็ว่าเป็นพระราชนัดดาในพระบรมราชา (กู่แก้ว) ซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระบรมราชา (แอวก่าน) เอกสารบางแห่งกล่าวว่าพระบรมราชา (มัง) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบรมราชา (สุดตา) เจ้าผู้ครองเมืองนครพนม พระบรมราชา (สุดตา) ผู้เป็นพระราชบิดานี้เดิมมียศเป็นเจ้าอินทร์ศรีเชียงใหม่หรือพระศรีเชียงใหม่ เป็นอดีตเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ของเมืองนครพนม มีศักดิ์เป็นพระราชอนุชาในพระบรมราชา (ศรีกุลวงษ์) เจ้าเมืองนครพนมพระองค์ก่อน และเป็นพระสวามีของพระเชษฐภคินีในพระบรมราชา (พรหมา) เจ้าเมืองนครพนม (ต้นสกุล พรหมประกาย ณ นครพนม) เอกสารบางแห่งกล่าวว่า พระบรมราชา (มัง) ทรงเป็นหลานปู่ในพระยาเถินหรือเจ้าหล่องเมืองเถินของลาว และเป็นหลานลุงในพระบรมราชา (ศรีกุลวงษ์) เจ้าเมืองนครพนม", "title": "พระบรมราชา (มัง)" }, { "docid": "782764#4", "text": "หลังจากพระบรมราชา (อุ่นเมือง) ได้ถึงแก่พิราลัยใน พ.ศ. 2347 แล้ว เจ้าราชวงศ์ (มัง) จึงได้ขึ้นเสวยราชย์เป็นเจ้าเมืองนครพนมองค์ต่อไปต่อจากพระราชบิดาของตน ตามราชธรรมเนียมเจ้านายหัวเมืองลาวในการขึ้นเป็นเจ้านครที่ถือสืบต่อกันมาเป็นโบราณราชประเพณีนั้น ผู้ที่ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอุปฮาตจะต้องได้รับการแต่งตั้งหรือขึ้นเสวยราชย์แทนเจ้าเมืององค์ก่อน ส่วนเจ้าราชวงศ์และเจ้าราชบุตรนั้นมีสิทธิ์เป็นลำดับที่ 2 และที่ 3 ต่อจากเจ้าอุปฮาต เมื่อเป็นดังนี้แล้วเจ้าอุปฮาต (ไชย) บุตรพระบรมราชา (ศรีสุราช) เจ้าเมืองนครพนมองค์ก่อนก็เกิดความไม่พอใจ จึงอพยพครอบครัวและบ่าวไพร่ในกองอุปฮาตของตนยกลงไปยังกรุงเทพมหานคร เจ้าแผ่นดินสยามจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าอุปฮาด (ไชย) และไพร่พลตั้งรกรากบ้านเรือนอยู่ ณ เมืองสมุทรปราการ ภายหลังจึงได้แยกย้ายกันไปตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ เมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี และเมืองพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ทางฝ่ายเมืองนครพนมนั้นได้มีการแต่งตั้งให้เจ้าศรียาหรือเจ้าราชศรียาผู้พระราชอนุชาพระบรมราชา (มัง) ขึ้นเป็นเจ้าราชวงศ์ ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ฉบับหอสมุดแห่งชาติ ได้กล่าวถึงเหตุการณ์การอพยพครั้งนี้ว่า", "title": "พระบรมราชา (มัง)" } ]
[ { "docid": "352019#0", "text": "มาเรียม อุสมานี เบกุม ซาฮิบา (, \"มริยัม อุฌ ฌมานี\") หรืออาจรู้จักในนาม หารกาพาอี หรือ โชธาพาอี () พระราชธิดาในราชาภารมัล กุศวาหาแห่งราชวงศ์ราชปุตที่นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีพระนามเดิมว่า ราชกุมารี หิระ คุนวารี ต่อมาพระนางได้อภิเษกสมรสกับสมเด็จพระจักรพรรดิอัคบาร์ กษัตริย์แห่งราชวงศ์โมกุลที่นับถือศาสนาอิสลาม และมีพระราชโอรสด้วยกันเพียงพระองค์เดียวคือ สมเด็จพระจักรพรรดิชะฮันคีร์", "title": "มาเรียม อุสมานี" }, { "docid": "782764#6", "text": "ในเอกสารเพ็ชรพื้นเมืองเวียงจันทน์กล่าวว่า พระบรมราชา (มัง) มีพระราชธิดาพระองค์หนึ่ง พระองค์ได้ถวายไว้เป็นพระชายาในเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ เพื่อเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรีทางเครือญาติของราชวงศ์ศรีโคตรบูรจากเมืองศรีสิทธิศักดิ์โคตรบองหลวงหรือเมืองนครพนมกับราชวงศ์เวียงจันทน์จากกรุงศรีสัตนาคนหุต ภายหลังสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ถูกกองทัพสยามจับได้ พระนางได้สูญเสียพระราชโอรส 1 พระองค์ และถูกทัพสยามของเจ้าพระยาราชสุภาวดีจับได้ภายหลังที่ปากน้ำกระดิงตรงข้ามฝั่งหนองคาย จากนั้นจึงถูกนำไปทูลถวายแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ดังปรากฏความว่า", "title": "พระบรมราชา (มัง)" }, { "docid": "519839#0", "text": "พระคุณานันทะเถระ เป็นพระชาวศรีลังกา ในปฐมวัยมีชื่อว่า ไมเคิล มารดาชื่อ มัลโด สิลวา บิดาชื่อ ไอเนริส แมนดิส บิดาเสียชีวิตปัจจุบันทันด่วนเมื่อไมเคิลยังเล็ก เด็กชายไมเคิลบวชเป็นสามเณรเมื่ออายุ 12 ขวบที่วัดกุมารมหาวิหาร โดยความอุปถัมภ์ของดาเนียล วิชัยสุริยะ ในวัยบอกหนังสือ ร่ำเรียนทั้งหนังสือไบเบิล และวิชาพุทธศาสนา ผลงานของท่านเป็นที่แพร่หลายโดย พันเอกเฮนรี สตีล โอลกอตต์และจากหนังสือพิมพ์ Times of Ceylon ในขณะนั้น", "title": "พระคุณานันทเถระ" }, { "docid": "151314#1", "text": "สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี มีพระนามเดิมว่า นาค เสด็จพระราชสมภพในตระกูลคหบดีเชื้อสายมอญ บิดามีนามว่า ทอง มารดามีนามว่า สั้น ทั้งสองเป็นญาติใกล้ชิดกัน บิดานั้นถึงแก่กรรมไปตั้งแต่สมัยอาณาจักรอยุธยา ส่วนมารดานั้นมีอายุยืนยาวจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แห่งอาณาจักรรัตนโกสินทร์ ภายหลังบวชเป็นแม่ชีจนกระทั่งถึงแก่กรรมเมื่ออายุราว 90 ปี ภายหลังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สถาปนาอัฐิขึ้นเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ในราชวงศ์จักรี ถวายพระนามว่าสมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี", "title": "สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี" }, { "docid": "647101#0", "text": "พระนารายน์รามาธิบดี หรือ สมเด็จพระนารายณ์ราชาที่ 1 เป็นพระมหากษัตริย์กัมพูชาที่ครองราชย์ในระยะเวลาสั้นๆ พระองค์เป็นพระราชโอรสของพระบรมราชารามาธิบดีที่ 1 หรือเจ้าพญายาต เสด็จขึ้นครองราชสมบัติต่อจากพระราชบิดาใน พ.ศ. 1976 เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 1980 หลังจากพระองค์สวรรคตแล้ว สมเด็จพระศรีราชา พระอนุชาของพระองค์ขึ้นครองราชย์ต่อมา และได้สร้างเจดีย์บรรจุพระบรมอัฐิของพระองค์ไว้ที่เขาพนมโฎนปึญ หลังการสวรรคตของพระองค์ได้เกิดความร้าวฉานในพระราชวงศ์ เกิดการแย่งชิงราชสมบัติระหว่างสมเด็จพระศรีราชา พระอนุชา และพระศรีสุริโยทัย พระโอรสของพระองค์.", "title": "พระนารายณ์รามาธิบดี" }, { "docid": "24294#4", "text": "พระองค์เป็นพระราชโอรสของลาวเมง พระมหากษัตริย์แห่งหิรัญนครเงินยางเชียงลาว กับนางเทพคำขยาย พระราชธิดาของท้าวรุ่งแก่นชาย พระมหากษัตริย์แห่งเมืองเชียงรุ่งสิบสองปันนา (เชื้อเครือเจ้าแสนวีสิบสองพันนา กล่าวว่า นางเทพคำขยายมีชื่ออีกชื่อว่าอั้วมิ่งไข่ฟ้า หรือ นางอกแอ่น และเป็นน้องสาวของท้าวรุ่งแก่นชาย เมื่ออภิเสกสมรสกับเจ้าลาวเมงแล้ว ได้เปลี่ยนชื่อเป็นนางคำกาย หรืออั้วมิ่งเมือง)", "title": "พญามังราย" }, { "docid": "782764#0", "text": "พระบรมราชา (มัง) (พ.ศ. 2348 - 2369) ทรงมีพระนามเต็มว่า พระบรมราชากิตติศัพท์เทพฤๅยศ ทศบุรีศรีโคตรบูรหลวง ทรงเป็นเจ้าผู้ปกครองเมืองนครบุรีราชธานีศรีโคตรบูรหลวง หรือเมืองนครพนมในอดีต และทรงเป็นเจ้าผู้ปกครองเมืองนครราชสีมาอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่เมื่อครั้งนครพนมยังเป็นเมืองเจ้าหัวเศิกหรือนครประเทศราชของราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ในสมัยของสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ (พ.ศ. 2348 - 2371) แห่งเวียงจันทน์ ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2367 - 2394) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และทรงเป็นผู้สร้างเวียงท่าแขกหรือเมืองท่าแขกของแขวงคำม่วนในประเทศลาวปัจจุบัน เมื่อครั้งสงครามสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ พระบรมราชา (มัง) ทรงเป็นแม่ทัพองค์สำคัญของฝ่ายนครเวียงจันทน์เช่นเดียวกันกับพระยานรินทร์สงคราม (ทองคำ) อนึ่ง พระบรมราชา (มัง) ทรงเป็นต้นสกุลพระราชทาน มังคลคีรี แห่งจังหวัดนครพนมในภาคอีสานของประเทศไทย อีกทั้งทรงเป็นเจ้าประเทศราชแห่งเมืองนครพนมองค์สุดท้ายที่ขึ้นกับนครเวียงจันทน์และได้รับพระราชทานพระนามเป็นที่ พระบรมราชา เป็นองค์สุดท้ายก่อนที่นครพนมจะตกเป็นประเทศราชของสยาม จากนั้นสยามจึงเปลี่ยนราชทินนามของเจ้าเมืองนครพนมเป็น พระยาพนมนครนุรักษ์ แทน", "title": "พระบรมราชา (มัง)" }, { "docid": "743742#1", "text": "พระองค์เจ้านโรดม มารี รณฤทธิ์ มีนามเดิมว่า เอง มารี (Eng Marie) เป็นธิดาคนโตจากทั้งหมดเก้าคนของเอง เมียะฮ์ (Eng Meas) ข้าราชการกระทรวงมหาดไทยผู้มีเชื้อสายจีน กับมารดาชื่อ ซาราห์ เฮย์ (Sarah Hay) มุสลิมเชื้อสายจาม ส่วนเอง โรลังด์ (Roland Eng) หนึ่งในพี่น้องของพระองค์ เคยเป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา", "title": "พระองค์เจ้านโรดม มารี รณฤทธิ์" }, { "docid": "151314#0", "text": "สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี (9 มีนาคม พ.ศ. 2280 - 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2369) พระนามเดิม นาค เป็นพระบรมราชินีพระองค์แรกของอาณาจักรรัตนโกสินทร์ เป็นพระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2280 ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งอาณาจักรอยุธยา เป็นพระธิดาของทอง ณ บางช้าง และสมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี (พระนามเดิม สั้น หรือมาก) เป็นคหบดีเชื้อสายมอญ", "title": "สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี" }, { "docid": "782764#17", "text": "\"หนังสือมา ณ วันเสาร์ แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ทุติยาษาฒ ปีมะเมียฉอศก หนังสืออุปฮาดเมืองหลวงมูเลง มาเถิงเจ้าเมืองหลวงมูเลง พระนคร ท้าววรบุตร ซึ่งมาตั้งอยู่ ณ บ้านอุเทน\"พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ของสยาม ทรงพระราชทานนามสกุลของทายาทผู้สืบเชื้อสายมาจากพระบรมราชา (มัง) ว่า มังคลคีรี เขียนเป็นอักษรโรมันว่า Mangalagiri นามสกุลเลขที่ 1373 ทรงพระราชทานแก่พระพิทักษ์นครพนม (โต๊ะ) นอกราชการ สังกัดกระทรวงมหาดไทย อดีตกรมการเมืองนครพนม มีศักดิ์เป็นหลานปู่ของพระบรมราชา (มัง) ปัจจุบันทายาทบางส่วนนิยมเขียนนามสกุลเป็นภาษาไทยว่า มังคละคีรี อนึ่ง คำว่า มังคลคีรี หมายถึง ภูเขามงคล มังคละ หมายถึงพระนามเดิมของพระบรมราชา (มัง) คีรี แปลว่า ภูเขา หมายถึงนามเมืองนครพนม", "title": "พระบรมราชา (มัง)" } ]
261
เทคโนโลยีนิวเคลียร์การนำไปประยุกต์ใช้จะได้แก่ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ใช่หรือไม่?
[ { "docid": "665217#0", "text": "เทคโนโลยีนิวเคลียร์ () เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาของนิวเคลียสของอะตอม ท่ามกลางเทคโนโลยีนิวเคลียร์ที่โดดเด่น การนำไปประยุกต์ใช้จะได้แก่ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์, เวชศาสตร์นิวเคลียร์เพื่อการรักษาทางการแพทย์และอาวุธนิวเคลียร์ที่ใช้ในสงคราม มีการนำเทคโนโลยีนิวเคลียร์ไปประยุกต์ใช้อย่างหลากหลายทั้งในด้านการถนอมอาหาร, การเกษตร และการอุตสาหกรรม ประโยขน์ของเทคโนโลยีนิวเคลียร์มีอยู่อย่างหลากหลายแต่โทษของมันก็มีมากเช่นกัน", "title": "เทคโนโลยีนิวเคลียร์" }, { "docid": "20739#0", "text": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนแบบหนึ่งที่ใช้แหล่งพลังงานความร้อนจากเครื่องปฏิกรณ์ที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตไอน้ำแรงดันสูงจ่ายให้กับกังหันไอน้ำ กังหันไอน้ำจะไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าออกมา โดยเครื่องปฏิกรณ์ที่ใช้ในการผลิตพลังงานนิวเคลียร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบวิจัย () ที่ใช้ประโยชน์จากนิวตรอนฟลักซ์ในการวิจัย และระบายความร้อนที่เกิดขึ้นออกสู่ชั้นบรรยากาศ และเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์กำลัง () ที่ใช้พลังความร้อนที่เกิดขึ้นเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์กำลัง มีขนาดใหญ่โตกว่าเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยเป็นอย่างมาก", "title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์" }, { "docid": "109379#0", "text": "เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ () เป็นอุปกรณ์ที่ก่อกำเนิดและควบคุมปฏิกิริยานิวเคลียร์ลูกโซ่ () อย่างยั่งยืน มันถูกนำมาใช้ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้าและในการขับเคลื่อนเรือ ความร้อนจากนิวเคลียร์ฟิชชั่นถูกส่งไปให้กับของเหลว (น้ำหรือก๊าซ) ให้เป็นตัวทำงาน () ของเหลวความร้อนสูงจะไหลไปหมุนกังหันเพื่อหมุนใบพัดเรือหรือหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ไอน้ำที่สร้างโดยนิวเคลียร์ในหลักการสามารถนำมาใช้เพื่อให้ความร้อนในกระบวนการอุตสาหกรรมหรือสำหรับให้ความร้อนชุมชน () เครื่องปฏิกรณ์บางเครื่องใช้ในการผลิตไอโซโทปสำหรับการใช้งานทางการแพทย์และอุตสาหกรรมหรือผลิตพลูโตเนียมสำหรับทำอาวุธ บางเครื่องก็ใช้สำหรับงานวิจัยเท่านั้น ทุกวันนี้มีประมาณ 450 เครื่องปฏิกรณ์พลังงานนิวเคลียร์ที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าในประมาณ 30 ประเทศทั่วโลก", "title": "เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์" } ]
[ { "docid": "665217#29", "text": "ปัจจุบันพลังงานนิวเคลียร์มีประมาณ 15.7% ของการผลิตไฟฟ้าของโลก (ในปี 2004) และถูกใช้ในการขับเคลื่อนเรือบรรทุกเครื่องบิน, เรือตัดน้ำแข็งและเรือดำน้ำ (นับถึงปัจจุบันเศรษฐศาสตร์และความกลัวในบางท่าเรือมีการหลีกเลี่ยงการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในเรือขนส่ง). ทุกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใช้ปฏิกิริยาฟิชชัน. ยังไม่มีปฏิกิริยาฟิวชั่นที่มนุษย์สร้างขึ้นในการผลิตกระแสไฟฟ้า.", "title": "เทคโนโลยีนิวเคลียร์" }, { "docid": "439778#0", "text": "เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบถังกรวด () เป็นเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในยุคที่ 3+ จัดว่าเป็นเทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์ที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน ซึ่งใช้เทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยและประสิทธิภาพสูงมากขึ้นและมีต้นทุนถูกกว่าจากเครื่องปฏิกรณ์แบบทั่วไปที่ใช้น้ำเป็นสารหน่วงนิวตรอน และใช้เป็นสารระบายความร้อนด้วย ในขณะที่เครื่องปฏิกรณ์แบบถังกรวดใช้ pyrolytic graphite เป็นสารหน่วงนิวตรอน และใช้ก๊าซเฉื่อย เป็นสารระบายความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงมาก ในการขับกังหันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโดยตรง ทำให้ไม่ต้องใช้ระบบเครื่องกำเนิดไอน้ำที่มีความซับซ้อน รวมทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายเทพลังงาน โดยทำให้สัดส่วนของการผลิตไฟฟ้าต่อความร้อน มีค่าประมาณ 50% นอกจากนั้น ก๊าซจะไม่ละลายส่วนประกอบที่ปนเปื้อนรังสีออกมา และไม่ดูดกลืนนิวตรอนเหมือนกับการใช้น้ำ ดังนั้นแกนเครื่องปฏิกรณ์จึงมีของเหลวที่มีกัมมันตภาพรังสีในปริมาณที่น้อยกว่าแบบเดิมมาก จึงมีความเสี่ยงด้านผลกระทบทางรังสีที่น้อยลง และยังทำให้ต้นทุนต่ำกว่าเครื่องปฏิกรณ์แบบใช้น้ำมวลเบา", "title": "เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบถังกรวด" }, { "docid": "20739#54", "text": "การนำกลับไปเข้ากระบวนการนิวเคลียร์ใหม่จะช่วยลดปริมาณของเสียระดับสูง, แต่โดยตัวมันเอง มันไม่ได้ลดกัมมันตภาพรังสีหรือลดการกำเนิดความร้อนและดังนั้นจึงย้งมีความจำเป็นในการเก็บของเสียใต้ธรณี. การนำกลับไปเข้ากระบวนการนิวเคลียร์ใหม่ได้เป็นความขัดแย้งทางการเมืองมานานเพราะมันมีศักยภาพที่จะนำไปสู่การแพร่ขยายนิวเคลียร์เพื่อใช้เป็นอาวุธ, ศักยภาพที่จะเป็นอ่อนแอต่อการก่อการร้ายนิวเคลียร์, การท้าทายหลายอย่างทางการเมืองของการหาที่ตั้งสำหรับพื้นที่เก็บของเสีย (ปัญหาที่เกิดเท่าเทียมกับการกำจัดเชื้อเพลิงใช้แล้วโดยตรง) และเนื่องจากค่าใช้จ่ายที่สูงเมื่อเทียบกับการผ่านกระบวนการเชื้อเพลิงเพียงครั้งเดียว. ในสหรัฐอเมริกา ฝ่ายบริหารของโอบามาก้าวถอยหลังจากแผนการของประธานาธิบดีบุชในเรื่องขนาดเชิงพาณิชย์ของการนำกลับไปเข้ากระบวนการนิวเคลียร์ใหม่และได้หวนกลับไปยังโครงการที่เน้นการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการนำกลับไปเข้ากระบวนการนิวเคลียร์ใหม่แทน.", "title": "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์" }, { "docid": "665217#18", "text": "อาวุธนิวเคลียร์เป็นอุปกรณ์ที่ระเบิดได้ที่ได้รับแรงทำลายล้างจากปฏิกิริยานิวเคลียร์, ฟิชชันหรือรวมกันของฟิชชันและฟิวชั่น. ปฏิกิริยาทั้งสองปลดปล่อยพลังงานในปริมาณมหาศาลจากปริมาณที่ค่อนข้างเล็กของสาร. แม้กระทั่งอุปกรณ์นิวเคลียร์ขนาดเล็กก็สามารถทำลายล้างหนึ่งเมืองได้โดยการระเบิด, ไฟไหม้และการแผ่รังสี. อาวุธนิวเคลียร์ได้รับการพิจารณาว่าเป็นอาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูง () และการใช้งานและการควบคุมพวกมันได้เป็นลักษณะสำคัญของนโยบายต่างประเทศนับตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกของพวกมัน.", "title": "เทคโนโลยีนิวเคลียร์" }, { "docid": "6388#72", "text": "การนำกลับไปเข้ากระบวนการใหม่อาจมีศักยภาพที่จะสามารถกู้คืนได้ถึง 95% ของยูเรเนียมและพลูโตเนียมที่เหลืออยู่ในเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว, ทำให้มันเป็นเชื้อเพลิงใหม่ผสมออกไซด์. ขบวนการนี้จะลดการผลิตกัมมันตภาพรังสีในระยะยาวภายในของเสียที่เหลือ, เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ได้นี้เป็นผลิตภัณฑ์ฟิชชันอายุสั้นขนาดใหญ่และจะลดปริมาตรของมันลงกว่า 90%. การนำกลับไปเข้ากระบวนการใหม่ของเชื้อเพลิงจากเครื่องปฏิกรณ์พลเรือนปัจจุบันจะทำอยู่ในสหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส และ รัสเซีย(ในอดีต), เร็วๆนี้จะมีการปรับในประเทศจีนและอาจเป็นอินเดีย, และกำลังจะถูกดำเนินการในระดับกว้างในประเทศญี่ปุ่น. การนำกลับไปเข้ากระบวนการใหม่อย่างเต็มศักยภาพยังไม่ประสบความสำเร็จเพราะต้องใช้เครื่องปฏิกรณ์แบบ breeder, ที่ยังไม่มีใช้ในเชิงพาณิชย์. ฝรั่งเศสได้อ้างถีงการนำกลับไปเข้ากระบวนการใหม่ที่​​ประสบความสำเร็จสูงสุด แต่ในปัจจุบัน มันทำการรีไซเคิลได้เพียง 28% (โดยมวล)ของการใช้เชื้อเพลิงต่อปีเท่านั้น, 7% ภายในฝรั่งเศสและอีก 21% ในรัสเซีย", "title": "พลังงานนิวเคลียร์" }, { "docid": "439778#7", "text": "ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอีกประการหนึ่ง คือ การออกแบบให้ควบคุมด้วยอุณหภูมิ ไม่ได้ควบคุมจากแท่งควบคุม เครื่องปฏิกรณ์จึงมีความซับซ้อนน้อยกว่า เนื่องจากไม่จำเป็นต้องปรับการเดินเครื่อง ตามการเปลี่ยนแปลงของความเข้มของนิวตรอน ซึ่งถ้าใช้การควบคุมด้วยอุณหภูมิ เครื่องปฏิกรณ์สามารถเปลี่ยนกำลังการเดินเครื่องได้อย่างรวดเร็ว โดยการปรับอัตราการไหลของสารระบายความร้อน การออกแบบให้ควบคุมด้วยสารระบายความร้อน จะทำให้ปรับกำลังการเดินเครื่องได้ประสิทธิภาพที่สูงขึ้น โดยการเปลี่ยนความหนาแน่นของสารระบายความร้อน หรือความจุความร้อน", "title": "เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบถังกรวด" }, { "docid": "6388#100", "text": "ราคาของพลังงานที่ใส่เข้าไปและค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อมของทุกโรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์ยังคงต่อเนื่องเป็นเวลานานหลังจากสิ่งอำนวยความสะดวกเสร็จสิ้นการผลิตกระแสไฟฟ้าที่มีประโยชน์สุดท้าย. ทั้งเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นยูเรเนียมสมรรถนะสูงจะต้องถูกปลดประจำการ, กลับคืนสถานที่และชิ้นส่วนของมันให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยมากพอที่จะถูกมอบหมายให้ไปใช้ในงานอื่นๆ. หลังจากระยะเวลาการระบายความร้อนออกที่อาจนานเป็นศตวรรษ, เครื่องปฏิกรณ์จะต้องถูกรื้อถอนและตัดเป็นชิ้นเล็กๆเพื่อที่จะถูกบรรจุในภาชนะบรรจุเพื่อการกำจัดขั้นสุดท้าย. กระบวนการนี​​้เป็นกระบวนการที่มีราคาแพงมาก, ใช้เวลานาน, อันตรายสำหรับคนงาน, เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ, และนำเสนอโอกาสใหม่สำหรับความผิดพลาดของมนุษย์, อุบัติเหตุหรือการก่อวินาศกรรม.", "title": "พลังงานนิวเคลียร์" }, { "docid": "665217#28", "text": "พลังงานนิวเคลียร์เป็นประเภทหนึ่งของเทคโนโลยีนิวเคลียร์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้แบบควบคุมของนิวเคลียร์ที่จะปล่อยพลังงานสำหรับการทำงานที่รวมถึงแรงขับดัน, ความร้อน, และการผลิตกระแสไฟฟ้า. พลังงานนิวเคลียร์ถูกผลิตโดยปฏิกิริยาลูกโซ่นิวเคลียร์ที่ถูกควบคุมซึ่งจะสร้างความร้อนที่ใช้ในการต้มน้ำ, ผลิตไอน้ำ, และขับกังหันไอน้ำ. กังหันถูกใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าและ/หรือในการทำงานทางกล.", "title": "เทคโนโลยีนิวเคลียร์" } ]
271
ใครเป็นผู้นำแสงอาทิตย์มาทำเป็นพลังงานคนแรก?
[ { "docid": "57430#6", "text": "ปรากฏการณ์ของโฟโตโวลตาอิกถูกแสดงให้เห็นถึงด้วยการทดลองเป็นครั้งแรกโดยนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศสชื่อ A.E. Becquerel ในปี 1839 ตอนอายุ 19 เขาทำการทดลองในห้องปฏิบัติการ ของพ่อของเขา เขาได้สร้างเซลล์แสงอาทิตย์เป็นตัวแรกของโลก ต่อมา Willoughby Smith ได้ อธิบาย\"ผลของแสงบนซีลีเนียมระหว่างเดินทางของกระแสไฟฟ้า\"เป็นครั้งแรกในบทความชิ้นหนึ่งที่ได้รับการตีพิมพ์ในฉบับ 20 กุมภาพันธ์ 1873 เรื่องธรรมชาติ อย่างไรก็ตามมันไม่มีอะไรเกิดขึ้นจนกระทั่งปี 1883 เซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำด้วย solid state ได้ถูกสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกโดย Charles Fritts ผู้เคลือบสารกึ่งตัวนำซีลีเนียมด้วยชั้นที่บางมากๆของทองเพื่อทำให้เป็นทางเชื่อม() อุปกรณ์นี้มีประสิทธิภาพประมาณ 1% เท่านั้น ในปี 1888 นักฟิสิกส์ชาวรัสเซียชื่อ Aleksandr Stoletov สร้างเซลล์แรกที่อยู่บนพื้นฐานของปรากฏการ์ณโฟโตโวลตาอิกด้านนอกที่ถูกค้นพบโดย Heinrich Hertz ก่อนหน้านี้ในปี 1887", "title": "เซลล์แสงอาทิตย์" } ]
[ { "docid": "445603#7", "text": "ไชโยโปรดักชั่นส์ มีผลงานครั้งแรกเป็นละครโทรทัศน์ เรื่อง \"ไกรทอง\" เมื่อปี พ.ศ. 2515 ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 ซึ่งเป็นเรื่องราวของนิทานพื้นบ้านเกี่ยวกับมนุษย์และจระเข้ ที่เป็นที่รู้จักกันดี โดย สมโพธิได้ใช้สเปเชียลเอฟเฟกส์ผสมกับการนำเสนอแบบลิเก ทำให้ได้รับความนิยมอย่างมากจนเรตติ้งขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง และทำให้ได้มีผลงานเรื่องถัดมา คือ \"พระอภัยมณี\" ต่อมาจึงได้มีผลงานภาพยนตร์เรื่องแรก คือ \"ท่าเตียน\" ในปี พ.ศ. 2516 ซึ่งเป็นเรื่องราวของยักษ์วัดแจ้งสู้กับยักษ์วัดโพธิ์ เมื่ออกฉายประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ทำรายได้อย่างมาก และยังมีผลงานในแนวเดียวกันออกมาอีกหลายเรื่อง ซึ่งทุกเรื่องประสบความสำเร็จทั้งสิ้นกับภาพยนตร์แนวสัตว์ประหลาด, ซูเปอร์ฮีโร่ หรือแฟนตาซี ที่ต้องใช้สเปเชียลเอฟเฟกส์จำนวนมาก ในช่วงที่รุ่งเรือง กล่าวกันว่าเมื่อใดที่สัญลักษณ์ของไชโยภาพยนตร์ปรากฏ คือ รูปสิงโตคู่ ผู้ชมโดยเฉพาะเด็ก ๆ จะวิ่งมาจองพื้นที่นั่งดูในแถวหน้า เป็นจำนวนมาก โดยมีผลงานทั้งสิ้น 16 เรื่อง บางเรื่องยังได้ร่วมสร้างกับบริษัทของต่างประเทศ เช่น สึบุรายะโปรดักชั่น ของญี่ปุ่น และได้ออกฉายยังต่างประเทศด้วย", "title": "สมโพธิ แสงเดือนฉาย" }, { "docid": "74232#2", "text": "ผลงานสำคัญชิ้นแรกของ ปง อัศวินิกุล คืองานบันทึกเสียงเรื่อง \"สันติ-วีณา\" (2497) งานซึ่งสร้างอย่างเร่งรีบเพื่อส่งเข้าร่วมการประกวด ภาพยนตร์โลกภาคเอเชีย ครั้งที่ 1 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดย วิจิตร คุณาวุฒิ เขียนบท, มารุต กำกับการแสดง, รัตน์ เป็นผู้อำนวยการสร้าง กำกับภาพ และตัดต่อ ผลการประกวด ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับ รางวัลกำกับภาพยอดเยี่ยม, รางวัลกำกับศิลป์ยอดเยี่ยม และรางวัลพิเศษจากผู้ผลิตภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด นับเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ประสบความสำเร็จในการประกวดภาพยนตร์ระดับโลก", "title": "ปง อัศวินิกุล" }, { "docid": "649121#9", "text": "แต่เดิมในวงเครื่องสายไม่เคยนำปี่มอญมาประสมวง ผู้ที่คิดทดลองประสมปี่มอญในวงเครื่องสายเป็นท่านแรกคือ นายประสิทธิ์ ถาวร และนายเทียบ คงลายทอง บรรเลงครั้งแรกในการออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ ในนามของวิทยาลัยนาฏศิลป โดยขับร้องและบรรเลงเพลงสุดสงวนเถา และเพลงสุรินทราหูสามชั้น มีนักดนตรีที่ร่วมบรรเลงดังนี้ คือ นายเทียบ คงลายทอง - ปี่มอญ, นางสนิทบรรเลงการ (ละเมียด จิตตะเสวี) - ซออู้, นางทองดี สุจริตกุล - จะเข้, นายเฉลิม ม่วงแพรศรี - ซอด้วง, นายบาง หลวงสุนทร - ขลุ่ยเพียงออ, นางอุษา สุคันธมาลัย - ขับร้อง หลังจากออกอากาศไปแล้วปรากฏว่าไพเราะน่าฟังมาก เนื่องจากมีเสียงปี่มอญมาเติมเต็มช่วงเสียงทุ้มที่ขาดหายไปในวงเครื่องสาย ทำให้ได้อารมณ์และลีลาของสำเนียงมอญที่ชัดเจนขึ้น", "title": "เฉลิม ม่วงแพรศรี" }, { "docid": "57430#31", "text": "Grid parity หมายถึงจุดที่ไฟฟ้าจากสุริยะเท่ากับหรือถูกกว่าพลังงานจากกริด Grid parity สามารถเข้าถึงได้โดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์ต้นทุนต่ำ ผู้นำเสนอพลังงานแสงอาทิตย์หวังที่จะได้รับ grid parity แต่แรกในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของแสงอาทิตย์ และค่าใช้จ่ายที่สูงสำหรับการผลิตไฟฟ้าเช่นในรัฐแคลิฟอร์เนียและญี่ปุ่น บางคนแย้งว่า grid parity มีได้ในฮาวายและเกาะอื่นๆที่หันมาใช้น้ำมันดีเซลในการผลิตไฟฟ้า จอร์จ ดับเบิลยู บุช ได้ตั้งปี 2015 เป็นวันที่สำหรับ grid parity ในสหรัฐอเมริกา การพูดในที่ประชุมในปี 2007 หัวหน้าวิศวกร General Electric ได้คาดการณ์ grid parity โดยไม่ต้องมีการอุดหนุนในบริเวณที่แดดจัดๆของประเทศสหรัฐอเมริการาวปี 2015 สมาคมเซลล์แสงอาทิตย์ได้รายงานในปี 2012 ว่า ประเทศออสเตรเลียได้ grid parity แล้ว(ไม่นำเอาฟีดในอัตราภาษีศุลกากรมาพิจารณา)", "title": "เซลล์แสงอาทิตย์" }, { "docid": "249009#8", "text": "ตอน \"ห้องเตียงรวม\" มีผู้กำกับคือ วิสูตร พูลวรลักษณ์ ที่เป็นผลงานการกำกับการแสดงครั้งแรกเมื่ออายุ 50 กว่าๆ ด้วยเหตุผลที่ว่า ยงยุทธ ทองกองทุนประสบอุบัติเหตุ ทางคุณจิระ มะลิกุลและผู้กำกับจีทีเอชจึงขอร้องให้มากำกับสักเรื่อง โดยในวันถ่ายทำ คุณจิระมาช่วยถ่ายกล้อง 2 และได้ ย้ง ทรงยศ ถ่ายภาพนิ่ง และเอส คมกฤษ มาช่วยเป็นแอ็กติงโค้ชให้นักแสดง", "title": "ห้าแพร่ง" }, { "docid": "315258#6", "text": "วันแรกของการแสดง ผู้จัดงานต้องจัดเครื่องบัตรพลี มีหมาก พลู บุหรี่ ด้ายดิบ ข้าวสาร กำยาน น้ำ เทียน และกล้วยตานี พร้อมด้วยเงินค่ากำนัลจำนวน 30 บาท มามอบให้นายโรงมะโย่งเพื่อทำพิธีเบิกโรง พิธีเริ่มด้วยผู้แสดงและคนเล่นดนตรีเข้ามานั่งล้อมกันเป็นวงกลม หมอผู้ทำพิธีนั่งกลางวงหันหน้าไปทางทิศตะวันออก หยิบผงกำยานพโรยลงในภาชนะที่บรรจุถ่านไฟซึ่งกำลังคุอยู่จนกลิ่นและควันกำยานพุ่งขึ้น หมอยกภาชนะที่บรรจุเครื่องบัตรพลีเวียนไปรอบๆ เปลวควัน 3 รอบ แล้วกล่าวคาถาบวงสรวงพระภูมิเทวา จบแล้วจุดเทียนนำไปติดที่เสาโรงด้านทิศตะวันออกและเสากลางโรง ตลอดถึงเครื่องประโคมอื่นๆ เฉพาะซอและฆ้อง นอกจากติดเทียนบูชาแล้ว จะต้องนำกล้วยตานีไปเซ่นบวงสรวงด้วย มะโย่งถือว่าซอและฆ้องเป็นหลัก เป็นประธานของดนตรี จากนั้นก็บรรเลงเพลงโหมโรง", "title": "มะโย่ง" }, { "docid": "57430#54", "text": "ในปี 2011 นักวิจัยที่ Massachusetts Institute of Technology และ มหาวิทยาลัยรัฐมิชิแกน ได้พัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์โปร่งใสตัวแรกที่มีประสิทธิภาพสูงที่มีประสิทธิภาพพลังงานใกล้เคียงกับ 2% ด้วยความโปร่งใสให้กับสายตาของคนมากกว่า 65% ประสบความสำเร็จโดยการเลือก การดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลตและส่วนใกล้อินฟราเรดของสเปกตรัมด้วยสารโมเลกุลขนาดเล็ก นักวิจัยที่ UCLA เมื่อเร็วๆนี้ได้พัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำด้วยวัสดุเหมือนพอลิเมอร์ ต่อด้วยวิธีการเดียวกัน นั่นคือ 70% โปร่งใสและมีประสิทธิภาพการแปลงพลังงาน 4% เร็ว ๆ นี้ ข้อจำกัดของประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์อินทรีย์ทั้งแบบทึบแสงและโปร่งใสได้ถูกระบุไว้ เซลล์ที่มีความยืดหยุ่นและน้ำหนักเบาเหล่านี้สามารถผลิตได้ในจำนวนมากด้วยต้นทุนต่ำและสามารถนำมาใช้เพื่อสร้างหน้าต่างพลังงานไฟฟ้า", "title": "เซลล์แสงอาทิตย์" }, { "docid": "615676#5", "text": "ในปี พ.ศ. 2528 บริษัทแกรมมี่ ต้องการบุกเบิกงานด้านมิวสิควิดีโอ ในตอนนั้นในประเทศไทยยังไม่มีใครทำ จึงได้รับอาสาทันทีที่ได้โอกาส ถือได้ว่าเป็นผู้กำกับมิวสิควิดีโอคนแรกของไทย โดยมีผลงานการกำกับที่สร้างชื่อ ได้แก่ “สมปองน้องสมชาย” ของ เรวัต พุทธินันทน์ “ฝากฟ้าทะเลฝัน” ของ ธงไชย แมคอินไตย์ “ธรรมดาเป็นเรื่องธรรมดา” ของ เพชร โอสถานุเคราะห์ “เสี่ยวรำพึง” อัสนี-วสันต์ ฯลฯ ต่อมา พ.ศ. 2530 เปิดบริษัทถ่ายทำภาพยนตร์โฆษณา อัพเปอร์คัท (ในเครือแกรมมี) โดยรับหน้าที่เป็นผู้กำกับหนังโฆษณา ควบคู่กับการดูแลแผนกมิวสิควิดีโอในแกรมมี่ไปด้วย จากนั้น พ.ศ. 2534 กลับเข้ามาดูแลฝ่ายการตลาดเพลงในแกรมมี่ หลังจาก เรวัต พุทธินันทน์ เสียชีวิต ได้มีการแบ่งค่ายใหม่ จึงได้ย้ายไปดูแลฝ่ายอื่นๆ เช่น อราทิสท์ แมเนจเม้นท์, รายการทีวี, แกรมมี่บิ๊ก เป็นต้น", "title": "วิเชียร ฤกษ์ไพศาล" }, { "docid": "452246#7", "text": "ดารานำแสดงหนังชุดเด่นของรัชฟิล์มทีวี ยุคแรก \"ปีกกินรี\" (2509) คู่กับ สมชาย ศรีภูมิ ทาง ททบ.7 ขาวดำ บ่ายวันอาทิตย์ ตามด้วยบท เอื้อย-อ้าย ในหนังทีวีภาคค่ำเรื่องแรกของช่อง 7 สี ร่วมกับดาราฟิล์ม (ดาราวิดีโอ ปัจจุบัน) เรื่อง \"ปลาบู่ทอง\" (2510) ,บทพระนางมัทรีใน \"พระเวสสันดร\" (2512) ทั้งสองเรื่องได้รับความนิยมอย่างสูง นำแสดงคู่กับ พัลลภ พรพิษณุ", "title": "เยาวเรศ นิสากร" }, { "docid": "57430#9", "text": "อาจจะเป็นเพราะความสำเร็จที่ทำโดยฮอฟแมนอิเล็กทรอนิกส์ เซลล์แสงอาทิตย์ถูกนำออกจากความสับสนโดยข้อเสนอแนะให้นำพวกมันไปใช้กับดาวเทียม Vanguard I ที่เปิดตัวใน ปี 1958 ในแผนเดิม ดาวเทียมจะได้รับพลังงานจากแบตเตอรี่เท่านั้น และเป็นไปตามแผนในช่วงเวลาสั้นๆก่อนที่แผนนี้จะถูกพับลงไป โดยการเพิ่มเซลล์ที่ด้านนอกของตัวยาน เวลาสำหรับภารกิจอาจจะถูกขยายออกไปโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญกับตัวยานอวกาศหรือระบบพลังงานของมัน ในปี 1959 ประเทศสหรัฐอเมริกาส่งยาน Explorer 6. มันใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาดใหญ่คล้ายกับปีก ซึ่งกลายเป็นคุณสมบัติทั่วไปในดาวเทียมในอนาคต อาร์เรย์เหล่านี้ประกอบด้วย 9600 ชุดของเซลล์แสงอาทิตย์ของฮอฟแมน มีความสงสัยในทางลบบางอย่างในตอนแรก แต่ในทางปฏิบัติ เซลล์พิสูจน์แล้วว่าเป็นความสำเร็จอย่างมาก และเซลล์แสงอาทิตย์ได้รับการออกแบบ อย่างรวดเร็วในดาวเทียมใหม่ๆ ที่โดดเด่นก็คือที่เทลสตาร์ของเบลล์", "title": "เซลล์แสงอาทิตย์" } ]
276
น้องสาวของผมไม่น่ารักขนาดนั้นหรอก ผลิตและจัดจำหน่ายโดย สำนักพิมพ์อะไร?
[ { "docid": "341524#0", "text": "น้องสาวของผมไม่น่ารักขนาดนั้นหรอก ( หรือเรียกโดยย่อว่า โอะเระอิโมะ ()) เป็นชื่อไลท์โนเวลชุดหนึ่งซึ่งสึกะซะ ฟุชิมิ เป็นผู้เขียนเรื่อง และมี ฮิโระ คันซะกิ เป็นผู้วาดภาพประกอบ ผลิตและจัดจำหน่ายโดย สำนักพิมพ์เดงเงกิบุงโกะ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือบริษัทแอสกี้มีเดียเวิร์กส์ พิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2551", "title": "น้องสาวของผมไม่น่ารักขนาดนั้นหรอก" } ]
[ { "docid": "341524#16", "text": "บริษัทบันไดนัมโคเกมส์ได้ดัดแปลงไลท์โนเวลนี้เป็นเกมแนววิชวลโนเวลสองชุด ชุดแรกเรียก \"โอะเระโนะอิโมโตะกะคนนะนิคะวะอีกะไนพอร์เทเบิล (; \"น้องสาวของผมไม่น่ารักขนาดนี้หรอกแบบพกพา\") \" สำหรับเล่นกับเครื่องเพลย์สเตชันแบบพกพา เผยแพร่ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2554 ส่วนชุดที่สองเรียก \"โอะเระโนะอิโมโตะกะคนนะนิคะวะอีวะเกะกะไนพอร์เทเบิลกะสึซุกุวะเกะกะไน\" (; \"ไม่มีทางที่ 'น้องสาวของผมไม่น่ารักขนาดนี้หรอกแบบพกพา' จะมีภาคต่อ\") จำหน่ายตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2555 เพลงเปิดเกมทั้งสองชุดนั้นชื่อ \"เน็กซัส\" (Nexus) วงแคลริสร้อง", "title": "น้องสาวของผมไม่น่ารักขนาดนั้นหรอก" }, { "docid": "493695#0", "text": "รายชื่อตอนในน้องสาวของผมไม่น่ารักขนาดนั้นหรอก เป็นลำดับการฉายของอะนิเมะเรื่องน้องสาวของผมไม่น่ารักขนาดนั้นหรอก ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 2 ภาค โดยภาคแรกเริ่มฉายในวันที่ 3 ตุลาคม 2553 จนถึงวันที่ 19 ธันวาคม 2553 รวมทั้งสิ้น 13 ตอน และในส่วนของ OVA ซึ่งนับเป็นตอนต่อจากที่จบในภาคโทรทัศน์ โดยฉายทาง Nico Nico Douga, ShowTime, Movie Gate และ Bandai Channel ในช่วงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2554 จำนวน 4 ตอน โดยในภาคโทรทัศน์ในตอนที่ 13 จะเป็นตอนที่จบแบบ Good end และในส่วนของ OVA ในตอนแรกจะเป็นตอนจบจริง ๆ ของเรื่อง หรือ True End และในภาคที่ 2 ใช้ชื่อว่า โดยเริ่มฉายมาตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2556 โดยคาดว่าจะฉายรวมทั้งสิ้น 13 ตอน เช่นเดียวกันกับภาคแรก", "title": "รายชื่อตอนในน้องสาวของผมไม่น่ารักขนาดนั้นหรอก" }, { "docid": "341524#7", "text": "ซะกุระ อิเกะดะ ดัดแปลงไลท์โนเวลนี้เป็นมังงะ และลงพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร \"เด็งเงะกิจีส์แมกาซีน\" ของบริษัทแอสกีมีเดียเวิกส์ตั้งแต่ฉบับเดือนมีนาคม 2552 ถึงพฤษภาคม 2553 ต่อมา สำนักพิมพ์เด็งเงะกิคอมิกส์ (Dengeki Comics) ในเครือบริษัทเดียวกัน ได้รวมมังงะดังกล่าวเป็นเล่มใหญ่สี่เล่มจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม 2552 และสำนักพิมพ์ดาร์กฮอร์สคอมิกส์ (Dark Horse Comics) ได้รับอนุญาตให้แปลออกเผยแพร่ในทวีปอเมริกาเหนือ", "title": "น้องสาวของผมไม่น่ารักขนาดนั้นหรอก" }, { "docid": "341524#4", "text": "อย่างไรก็ดี วันหนึ่ง เขาพบกล่องดีวีดีที่น้องสาวทำหล่นไว้ ปกเป็นอนิเมะแนวสาวน้อยเวทมนตร์ แต่ข้างในบรรจุแผ่นเกมลามกอนาจาร ซึ่งทำให้เขาตื่นเต้นตกใจเป็นอันมาก แต่เขาต้องตระหนกไปยิ่งกว่านั้นเมื่อน้องสาวพาเขาไปยังห้องของเธอในกลางดึกแล้วเปิดเผยว่า เธอคลั่งไคล้และสะสมอนิเมะกับเกมที่มีเนื้อหาเร้ากำหนัด โดยเฉพาะที่ว่าด้วยการร่วมประเวณีกับน้องสาว แต่ต้องเก็บรสนิยมนี้เป็นความลับตลอดมาเกลือกคนทั้งปวงรับไม่ได้ ทว่า เคียวซุเกะได้แสดงให้น้องสาวมั่นใจว่า เขามิได้รังเกียจเธอหรือความชื่นชอบของเธอแต่ประการใด กับทั้งยินดีช่วยเหลือให้เธออยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข", "title": "น้องสาวของผมไม่น่ารักขนาดนั้นหรอก" }, { "docid": "341524#2", "text": "ไลท์โนเวลมีเนื้อหาว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างชายหนุ่มคนหนึ่งกับน้องสาวซึ่งไม่ราบรื่นมาแต่ต้น และต้องการพิสูจน์ให้น้องสาวเห็นว่าตนเป็นพี่ชายที่ดี โดยเมื่อเขาค้นพบว่าน้องสาวชื่นชอบเกมลามกอนาจาร เขาได้สงเคราะห์ให้น้องสาวสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขอยู่ในสังคมที่น้อยคนจะยอมรับรสนิยมเช่นว่าได้ ตลอดจนได้ปรับปรุงความสัมพันธ์กับน้องสาวและกลับมารักใคร่กันดังเดิม ไลท์โนเวลนำเสนอปัญหาหลายประการทางครอบครัวและสังคมผ่านเนื้อหาแนวตลก ละคร และวีรคติ โดยทั้งไลท์โนเวลและอนิเมะซึ่งดัดแปลงมานั้นได้รับความนิยมเป็นอันมาก ถึงขนาดเป็นเหตุให้ฟุชิมิ ผู้เขียน ถูกข่มขู่มากกว่าห้าร้อยครั้งให้มอบบทเด่นแก่ตัวละครบางตัวด้วย", "title": "น้องสาวของผมไม่น่ารักขนาดนั้นหรอก" }, { "docid": "862797#0", "text": "น้องสาวของผมคืออาจารย์เอโรมังกะ () เป็นไลต์โนเวลญี่ปุ่น แต่งโดย สึกะซะ ฟุชิมิ และวาดภาพประกอบโดย ฮิโระ คันซะกิ ตีพิมพ์และจัดจำหน่ายโดย สำนักพิมพ์เดงเงกิบุงโกะ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือบริษัทแอสกี้มีเดียเวิร์กส์ ดัดแปลงเป็นมังงะวาดโดย Rin เริ่มตีพิมพ์ลงในนิตยสาร เดงเงกิดะอิโอะ และดัดแปลงเป็นอนิเมะโดย เอ-1 พิกเจอส์ เริ่มออกอากาศเมื่อเดือนเมษายน 2017", "title": "น้องสาวของผมคืออาจารย์เอโรมังกะ" }, { "docid": "341524#5", "text": "นับแต่นั้น คิริโนะก็ร้องขอให้พี่ชายช่วยเหลือในหลาย ๆ เรื่อง รวมถึงเรื่องอนิเมะและเกมเช่นว่า โดยเรียกขานว่าเป็น \"การปรึกษาปัญหาชีวิต\" และทวีความไว้วางใจในพี่ชายขึ้นโดยลำดับ คนทั้งสองจึงได้กลับมาสนิทสนมรักใคร่กันอีกครั้ง\nหนังสือพิมพ์ \"ไมนิชิชิมบุง (Mainichi Shimbun) \" ว่า ในเดือนสิงหาคม 2552 ไลท์โนเวลเล่มที่สี่ขายดีที่สุดในบรรดาไลท์โนเวลที่จำหน่ายในเวลานั้น และเครือข่ายข่าวอนิเมะว่า ในเดือนเมษายน 2553 ไลท์โนเวลเล่มที่หนึ่งถึงห้าขายได้ในประเทศญี่ปุ่นแล้วเป็นจำนวนเก้าแสนสองหมื่นฉบับ", "title": "น้องสาวของผมไม่น่ารักขนาดนั้นหรอก" }, { "docid": "341524#17", "text": "บริษัทคะโดะกะวะคอนเทนส์เกต (Kadokawa Contents Gate) ยังดัดแปลงเกม \"ซิสคาลิปส์\" (Siscalypse) อันเป็นเกมที่ปรากฏในไลท์โนเวล เป็นเกมแนวต่อสู้ประจัญบานเรียก \"ชิงอิโมโตะไทเซ็งซิสคาลิปส์\" (; \"ซิสคาลิปส์ สงครามน้องสาวขนานแท้\") สำหรับเล่นบนโทรศัพท์มือถือผ่านระบบบริการของยาฮู! (Yahoo!) ออกจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2554 ด้วย", "title": "น้องสาวของผมไม่น่ารักขนาดนั้นหรอก" }, { "docid": "538141#0", "text": "รายชื่อตัวละครในน้องสาวผมไม่น่ารักขนาดนั้นหรอก คือ รายชื่อตัวละครจากนิยาย , มังงะ และ ภาพยนตร์การ์ตูน เรื่อง น้องสาวของผมไม่น่ารักขนาดนั้นหรอก", "title": "รายชื่อตัวละครในน้องสาวของผมไม่น่ารักขนาดนั้นหรอก" } ]
280
เรียกผู้นับถืออิสลามว่าอะไร ?
[ { "docid": "16796#1", "text": "ผู้นับถือศาสนาอิสลาม หากเป็นบุรุษจะเรียกว่า มุสลิม หรือเป็นสตรีจะเรียกว่า มุสลิมะฮ์ หรือเรียกโดยรวมว่า อิสลามิกชน คำว่า \"มุสลิม\" เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาอาหรับ แปลว่า ผู้ศิโรราบ ผู้ภักดี มนุษย์ทุกคนสามารถเป็นมุสลิมได้โดยการปฏิญาณตน มุสลิมนั้นไม่จำกัดเผ่าพันธุ์ อายุ เพศ และวรรณะ ผู้ที่เป็นมุสลิมจะต้องปฏิบัติตามศาสนวินัยต่าง ๆ ของอิสลาม (ทั้งวาญิบ และฮะรอม)", "title": "มุสลิม" }, { "docid": "16796#0", "text": "มุสลิม () เป็นบุคคลที่นับถือศาสนาอิสลาม โดยมีคำภีร์อัลกุรอานเป็นคำภีร์ของศาสนานี้ และเชื่อมั่นว่าอัลลอฮ์ได้ส่งญิบรีลเพื่อให้มุฮัมหมัดเป็นศาสดาคนสุดท้ายของศาสนาอิสลาม ชาวมุสลิมส่วนใหญ่ปฏิบัติตามการกระทำของมุฮัมหมัด (\"ซุนนะฮ์\") ตามที่มีการจดบันทึกในรายงานต่างๆ (\"ฮะดีษ\") \"มุสลิม\" เป็นคำศัพท์ภาษาอาหรับหมายถึง \"ผู้เคารพ\" (ต่อพระเจ้า)", "title": "มุสลิม" } ]
[ { "docid": "892663#0", "text": "โลกอิสลาม เป็นศัพท์เชิงวิชาการที่ใช้เรียกผืนแผ่นดินที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ผู้นับถือศาสนาอิสลามมีประมาณหนึ่งพันล้านคน ที่ปฏิบัติตามศาสนาของ\nมุฮัมหมัด บุตรของอับดุลลอฮ์ (ศาสดาของบรรดามุสลิม) เป็นชาวฮิญาซ และเป็นศาสนาที่มีมากว่า 1400 ปี (ปีจันทรคติ) บรรดามุสลิมมีความเชื่อเหมือนกันว่า ศาสดามุฮัมหมัด บุตรของอับดุลลอฮ์ คือศาสดาองค์สุดท้าย (คอตะมุลอันบิยา) เชื่อในกุรอาน ( คัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาอิสลาม) กิบลัตและบทบัญญัติหลักปฏิบัติศาสนกิจ", "title": "โลกอิสลาม" }, { "docid": "17004#12", "text": "กะลิมะหฺ อัชชะฮาดะหฺ (อาหรับ แปลว่า คำสักขีพยาน) คือประโยค อัชหะดุ อัลลา อิลาหะ อิลลัลลอหฺ วะอัชฮะดุ อันนา มุฮัมมะดุร รอซูลุลลอหฺ \"ข้าปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอหฺ และข้าปฏิญาณว่ามุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของพระองค์\" เป็นคำแรกที่ผู้จะรับนับถือศาสนาอิสลามต้องกล่าว", "title": "อภิธานศัพท์ศาสนาอิสลาม" }, { "docid": "752065#0", "text": "การละทิ้งศาสนาอิสลาม หรือ การสิ้นสภาพจากการเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม ( ', \"ริดดะฮ์\" หรือ ') หมายถึงการที่ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามได้ละทิ้งศาสนาอิสลามไปยึดมั่นในการปฏิเสธด้วยความเต็มใจ โดยสามารถเป็นการปฏิเสธทางกาย ทางจิตใจ หรือทางวาจา กรณีนี้รวมถึงผู้ที่ละทิ้งศาสนาอิสลาม อาจละทิ้งไปเปลี่ยนเข้ารับศาสนาอื่น โดยผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามโดยกำเนิด หรือผู้ที่เคยเปลี่ยนเข้ารับศาสนาอิสลามมาก่อน", "title": "การละทิ้งศาสนาอิสลาม" }, { "docid": "392548#13", "text": "คำนี้มีหลายความหมายในอัลกุรอ่าน ในบางโองการ (\"\"), คุณภาพของอิสลามในฐานะการเลื่อมใสศรัทธาภายในคือการเน้นว่า: \"ผู้ซึ่งยอมรับคำแนะนำของอัลลอหฺ, เขาได้ขยายลมหายใจแห่งอิสลาม.\" โองการอื่นๆได้เชื่อมโยง\"islām\" และ \"dīn\" (มักจะแปลเป็น \"ศาสนา\"): \"ทุกวันนี้, ฉันได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์(\"\") สำหรับเจ้า; ฉันได้ให้ลมหายใจแก่พวกเจ้า; ฉันได้ให้อิสลามเป็นศาสนาของพวกเจ้า.\" ยังมีการอธิบายแบบอื่นๆว่า อิสลามเป็นการกระทำเพื่ออัลลอหฺที่มากกว่าความศรัทธา", "title": "S-L-M" }, { "docid": "896345#24", "text": "อิจมาอ์ ตามความหมายพจนานุกรม หมายถึง ความมุ่งมั่นและความเห็นเป็นมติเอกฉันท์ ส่วนความหมายเชิงวิชาการด้านอิลมุลอุซูล หมายถึง มติเอกฉันท์ของบรรดาผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง\nแม้ว่าอิจมาอ์จะเป็นหนึ่งในเหตุผลทั้งสี่ข้างต้น แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นเหตุผลที่เป็นเอกเทศน์เสียเลยทีเดียว คำกล่าวของบรรดามะอ์ซูมนั้นเป็นพยานยืนยัน(ฮุจญัต) ได้ แต่อิจมาอ์สามารถเป็นพยานยืนยันได้ก็ต่อเมื่อพบความมั่นใจว่ามาจากคำกล่าวของบรรดามะอ์ซูม (อ.) ฟุกอฮาบางท่านจึงให้นิยามอิจมาอ์ว่า คือมติเอกฉันท์ของบรรดาฟะกีฮ์กลุ่มหนึ่งที่ควบคู่ไปกับบรรดามะอ์ซูม (อ.)  \nประเภทของอิจมาอ์", "title": "ตักลีด" }, { "docid": "106105#2", "text": "ชาวจีนฮ่อประมาณ 1 ใน 3 จะนับถือศาสนาอิสลาม ใช้ภาษาจีนกลาง นอกนั้นจะนับถือบูชาบรรพบุรุษ และถูกกลืนไปในวัฒนธรรมล้านนา โดยผู้ที่เป็นมุสลิมจะถูกเรียกว่า ผ่าสี่ แต่ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมจะเรียกว่า ผ่าห้า สันนิษฐานได้ว่าคำว่าผ่าสี่อาจจะมาจากภาษาไทใหญ่ มีความหมายว่า เปอร์เซีย", "title": "ฮ่อ" }, { "docid": "3832#3", "text": "หลักมูลที่สุดของศาสนาอิสลาม คือ เอกเทวนิยมอย่างเคร่งครัด เรียก เตาฮีต () พระเป็นเจ้าพรรณนาในบทที่ 112 ของคัมภีร์อัลกุรอานว่า \"จงกล่าวเถิด \"พระองค์คืออัลลอฮฺ พระผู้ทรงเอกะ อัลลอฮฺนั้นทรงอิสระ พระองค์ไม่ทรงประสูติบุตร และไม่ทรงถูกประสูติ และไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระองค์\"\" (112:1-4) มุสลิมและยิวบอกเลิกหลักตรีเอกานุภาพของคริสต์ศาสนิกชนและเทวภาวะของพระเยซู โดยเปรียบเทียบกับพหุเทวนิยม ในศาสนาอิสลาม พระเป็นเจ้าอยู่เกินความเข้าใจซึ้งใด ๆ และมุสลิมไม่คาดหวังเห็นพระเป็นเจ้า พระเป็นเจ้าถูกพรรณาและอ้างถึงในหลายพระนามหรือลักษณะเฉพาะบางอย่าง ที่พบบ่อยที่สุดคือ อัร-เราะห์มาน (Al-Rahmān) หมายถึง \"พระผู้ทรงเมตตา\" และอัล-ราฮีม (Al-Rahīm) หมายถึง \"พระผู้ทรงปรานี\"", "title": "ศาสนาอิสลาม" }, { "docid": "362520#1", "text": "กลุ่มชาติพันธุ์ที่คนไทยเรียกกันว่า \"แขก\" คาดว่าหมายถึงชาวมุสลิมโดยรวม ทั้งนี้พ่อค้าชาวมุสลิมในคาบสมุทรเปอร์เซียที่เข้ามาค้าขายในแหลมมลายู (อินโดนีเซียและมาเลเซีย) ได้นำศาสนาอิสลามเข้ามาด้วย ภายหลังคนพื้นเมืองจึงได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม ส่วนในประเทศไทยนี้พบหลักฐานว่าคนไทยได้ติดต่อสัมผัสกับชาวมุสลิมตั้งแต่ยุคสมัยสุโขทัย และช่วงกรุงศรีอยุธยาเรื่อยมา โดยชาวมุสลิมบางคนนั้น เป็นถึงขุนนางในราชสำนัก ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์มีชาวมุสลิมอพยพมาจากมลายูและเปลี่ยนสัญชาติเป็นไทย นอกจากนี้ยังมีชาวมุสลิมอินเดียที่เข้ามาตั้งรกราก รวมถึงชาวมุสลิมยูนนานที่หนีภัยการเบียดเบียนศาสนาหลังการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ในประเทศจีน", "title": "ศาสนาอิสลามในประเทศไทย" }, { "docid": "919642#0", "text": "บรรดาศาสดาจะได้รัการนับถือและให้เกียรติยกย่องจากชาวมุสลิมเนื่องจากพวกท่านเป็นผู้ที่ได้รับวิวรณ์ (วะฮีย์)จากพระผู้เป็นเจ้า,ชาวมุสลิมจะเรียกพวกท่านว่า (นบี-ศาสดา)หรือ (ระซูล-ศาสนทูต)", "title": "ศาสดาในศาสนาอิสลาม" } ]
281
นีโอมัยซินถูกค้นพบในปี ค.ศ.ใด?
[ { "docid": "26355#12", "text": "นีโอมัยซินถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1949 โดยนักชีวเคมีและนักจุลชีววิทยาชาวอเมริกันเชื้อสายยิวชื่อ เซลมัน แวกส์มัน และ ฮิวเบิร์ต เลเชอวาลิเออร์ (Hubert Lechevalier) ในห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยรัทเกอร์ (Rutgers University) ทั้งนี้ นีโอมัยซินนั้นถูกสร้างขึ้นได้ตามธรรมชาติโดยเชื้อแบคทีเรีย \"Streptomyces fradiae\". โดยกระบวนการการสังเคราะห์จำเป็นอาศัยอาหารเพาะเลี้ยงเชื้อที่จำเพาะและในอยู่สภาวะไร้ออกซิเจน", "title": "นีโอมัยซิน" }, { "docid": "26355#0", "text": "นีโอมัยซิน () เป็นยาปฏิชีวนะกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ มีจำหน่ายในท้องตลาดในหลายรูปแบบเภสัชภัณฑ์ เช่น ครีม, ขี้ผึ้ง, และยาหยอดยา นีโอมัยซินถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1949 ในห้องปฏิบัติการของเซลมัน แวกส์มัน โดยถูกจัดให้เป็นยาปฏิชีวนะที่อยู่ในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ซึ่งมีโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นน้ำตาลอะมิโน (Amino sugars) อย่างน้อย 2 โมเลกุลเชื่อมต่อกันด้วยพันธะไกลโคไซด์ (glycosidic bond)\nโดยส่วนใหญ่แล้วนีโอมัยซินจะถูกนำมาใช้ในรูปแบบยาใช้ภายนอก เช่น นีโอสปอริน อย่างไรก็ตาม ยานี้สามารถบริหารยาโดยการรับประทานได้ แต่จำเป็นต้องใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะอื่น นีโอมัยซินเป็นยาปฏิชีวนะที่ไม่ถูกดูดซึมในระบบทางเดินอาหาร และถูกนำมาใช้เพื่อเป็นการป้องกันโรคสมองจากตับ (hepatic encephalopathy) และภาวะสารไขมันสูงในเลือด (hypercholesterolemia) เนื่องจากการที่นีโอมัยซินออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียในทางเดินอาหาร จะส่งผลให้ระดับแอมโมเนียในร่างกายต่ำลง จึงช่วยป้องกันการเกิดโรคสมองจากตับได้ โดยเฉพาะการให้ยาก่อนการผ่าตัดอวัยวะทางเดินอาหาร นอกจากนี้แล้ว นีโอมัยซินยังออกฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อสเตรปโตมัยซิน ซึ่งเป็นยาหลักอีกชนิดหนึ่งที่ใช้ในการรักษาวัณโรค และเคยมีการใช้นีโอมัยซินในการรักษาภาวะที่เชื้อแบคทีเรียในลำไส้เล็กมีการเจริญเติบโตมากเกินไป (small intestinal bacterial overgrowth) ทั้งนี้ นีโอมัยซินไม่มีในรูปแบบยาที่ใช้สำหรับการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ เนื่องจากตัวยามีพิษต่อไตสูงเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีการผสมนีโอมัยซินปริมาณเล็กน้อยในวัคซีนชนิดฉีดบางชนิด เพื่อจุดประสงค์ในการเป็นสารกันเสีย โดยขนาดยาที่ผู้ฉีดวัคซีนจะได้รับในกรณีนี้อยู่ที่ประมาณ 25 \"μ\"g ต่อการฉีดวัคซีนนั้นหนึ่งครั้ง", "title": "นีโอมัยซิน" } ]
[ { "docid": "26343#8", "text": "สเตรปโตมัยซินถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ. 1943 ในห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยรัทเกอร์ส โดยอัลเบิร์ต ชาตซ์ (Albert Schatz) นักศึกษาปริญญาเอกชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นศิษย์ของเซลมัน แวกส์มัน ในโครงการวิจัยที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากบริษัทเมอร์ค ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ แวกส์มันและเจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการของเขาได้ค้นพบยาปฏิชีวนะหลายนิด ได้แก่ แอคติโนมัยซิน , คลาวาซิน, สเตรปโตธริซิน, กริซีอิน, ฟราดิซิน, นีโอมัยซิน, แคนดิซิดิน, และแคนดิดิน ในจำนวนนี้มีเพียงสเตรปโตมัยซินและนีโอมัยซินเท่านั้นที่พบว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด โดยสเตรปโตมัยซินถือเป็นยาปฏิชีวนะชนิดแรกที่สามารถใช้รักษาวัณโรคให้หายขาดได้ และทำให้แวกส์มันได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ ในปี ค.ศ. 1952 ในฐานะที่เป็นผู้ค้นพบสเตรปโตมัยซิน ซึ่งถือเป็นยาปฏิชีวนะชนิดแรกที่ใช้ในการรักษาวัณโรคระยะแสดงอาการ ต่อมาแวกส์มันได้รับการกล่าวโทษจาก อัลเบิร์ต ชาตซ์ ซึ่งเป็นนักศึกษาที่ทำโครงการดังกล่าวภายใต้การควบคุมดูแลของเขา ว่าตนควรมีส่วนร่วมกับสิ่งที่แวกส์มันได้จากการค้นพบสเตรปโตมัยซินในครั้งนี้", "title": "สเตรปโตมัยซิน" }, { "docid": "26355#3", "text": "นีโฮมัยซินถูกแยกจากเชื้อแบคทีเรีย \"Streptomyces fradiae\" และ\"Streptomyces albogriseus\" ได้เป็นครั้งแรกในปีค.ศ.1949 (NBRC 12773) โดยเป็นยาที่เป็นส่วนผสมของนีโอมัยซินบี (neomycin B หรือ framycetin) และอิพิเมอร์ (Epimers) ของมัน คือ นีโอมัยซินซี ซึ่งมีอยู่ประมาณร้อยละ5–15ของมวลทั้งหมด โดยทั้งสองสารเป็นสารสำคัญในสารผสมนีโอมัยซินที่ออกฤทธิ์ได้ดีในสภาวะที่เป็นด่าง นีโอมัยซินละลายน้ำได้ดีแต่ไม่ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ ทั้งนี้ นีโอมัยซินออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียได้ทั้งแกรมบวกและแกรมลบ แต่ด้วยการเกิดพิษต่อระบบการได้ยินที่เกิดได้ในอัตราที่สูงมาก จึงทำให้มีการจำกัดการใช้ยานี้ในรูปแบบยาใช้ภายนอกและยาที่ใช้สำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรียในช่องปากและทางเดินอาหารเท่านั้น", "title": "นีโอมัยซิน" }, { "docid": "26355#13", "text": "เป็นที่รู้กันดีว่ายาปฏิชีวนะในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์อย่างนีโอมัยซินนั้นมีความสามารถจับกับอาร์เอ็นเอสายคู่ได้ด้วยความจำเพราะที่ค่อนข้างสูง โดยค่าคงที่การแตกตัว (dissociationconstant,Kd) ของนีโอมัยซินต่อตำแหน่ง A-site บนอาร์เอ็นเออยู่ที่ช่วงประมาณ10M อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่มีการค้นพบนีโอมัยซินมาเป็นระยะเวลามากกว่า50ปี กลไกการจับกับดีเอ็นเอของนีโอมัยซินนั้นก็ยังไม่สามารถทราบได้แน่ชัดเท่าใดนัก โดยพบว่านีโอมัยซินนั้นมีผลเพิ่มการคงสภาพทางความร้อนของTriple-stranded DNA โดยไม่มีผลหรือมีผลบ้างเล็กน้อยต่อการคงสภาพของ B-DNA duplex นอกจากนี้นีโอมัยซินยังมีความสามารถจับกับโครงสร้างอื่นที่คล้ายกับโครงสร้างA-DNAได้ ซึ่ง triplex DNA ก็เป็นหนึ่งในโครงสร้างเหล่านั้น ยิ่งไปกว่านั้น นีโอมัยซินยังสามารถเข้าจับเป็นสารประกอบเชิงซ้อนกับสารพันธุกรรมระหว่างการก่อตัวสายผสมสามสายของDNAและRNA (DNA:RNA hybrid triplex formation) ได้", "title": "นีโอมัยซิน" }, { "docid": "26355#11", "text": "ในปีค.ศ.2005–2006 นีโอมัยซินเป็นยาลำดับที่ 5 ที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาการแพ้ได้มากที่สุดในการทำแพ็ทเทสต์ (ร้อยละ10.0) อาการไม่พึงประสงค์อื่นของนีโอมัยซินอาจเกิดขึ้นได้นั้นไม่แตกต่างไปจากยายาปฏิชีวนะชนิดอื่นที่อยู่ในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ โดยนีโอมัยซินสามารถก่อให้เกิดพิษต่อระบบการได้ยิน (ototoxicity) ทำให้เกิดเสียงดังในหูที่ผิดปกติ (tinnitus), สูญเสียการได้ยิน, และเกิดความผิดปกติของ Vestibular system แต่อาการไม่พึงประสงค์ดังข้างต้นที่กล่าวมานั้นเกิดได้ค่อนข้างน้อย ผู้ป่วยที่มีเสียงดังในหูผิดปกติ หรือมีภาวะประสาทหูเสื่อม (sensorineural hearing loss) อยู่ก่อนแล้ว ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบก่อนการใช้ยานี้", "title": "นีโอมัยซิน" }, { "docid": "809638#1", "text": "นีแอนเดอร์ทาลถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1856 ที่ถ้ำเฟลด์โฮเฟอร์ในหุบเขาเนอันเดอร์ ใกล้เมืองดึสเซลดอร์ฟ ทางตอนเหนือของเยอรมนี โดยคนงานเหมืองขุดค้นพบกระดูกโบราณซึ่งตอนแรกเข้าใจว่าเป็นหมี และได้ส่งกระดูกนั้นแก่นักธรรมชาติวิทยา โยฮันน์ คาร์ล ฟูลรอทท์ ฟูลรอทท์จึงได้ส่งต่อให้แก่นักกายวิภาควิทยา เมื่อวิเคราะห์อย่างละเอียดแล้วจึงพบว่าเป็นมนุษย์ดึกดำบรรพ์ชนิดใหม่ จึงให้ชื่อว่า \"นีแอนเดอร์ทาล\" เพื่อเป็นเกียรติแก่หุบเขาเนอันเดอร์ สถานที่ที่ค้นพบ", "title": "นีแอนเดอร์ทาล" }, { "docid": "264698#18", "text": "ชิ้นตัวอย่างเบอร์ลิน (HMN 1880) ถูกค้นพบในปี 1876 หรือ 1877 ที่ Blumenberg ใกล้ Eichstätt ในเยอรมนี โดย Jakob Niemeyer เขาแลกเปลี่ยนชิ้นฟอสซิลที่มีค่านี้กับแม่วัวตัวหนึ่งกับ Johann Dörr ต่อมาถูกวางขายในปี 1881 โดยมีผู้เสนอซื้อหลายคนรวมถึง Othniel Charles Marsh จากพิพิธภัณฑ์พีบอดีของมหาวิทยาลัยเยล แต่มันถูกซื้อไปโดยพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติฮัมโบลดต์ซึ่งปัจจุบันก็ถูกจัดแสดงไว้ที่นั่น โดยมีผู้ให้การสนับสนุนด้านการเงินในการจัดซื้อโดย Ernst Werner von Siemens ผู้ก่อตั้งบริษัท Siemen AG ที่มีชื่อเสียงซึ่งตั้งชื่อตามชื่อของเขา Described in 1884 by Wilhelm Dames, it is the most complete specimen, and the first with a complete head. Once classified as a new species, \"A. siemensii\", a recent evaluation supports the \"A. siemensii\" species definition.", "title": "อาร์คีออปเทอริกซ์" }, { "docid": "201873#1", "text": "ซูเปอร์โนวานี้ค้นพบเมื่อ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1885 โดย แอนสท์ ฮาร์ทวิช ขณะทำงานอยู่ที่หอดูดาวดอร์แพท (ทาร์ทู) ในเอสโตเนีย มันมีความสว่างสูงสุดถึงระดับ 6 แล้วค่อยจางลงไปเป็น 16 ในราวเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1890 รายงานเบื้องต้นแจ้งว่ามันมีสีค่อนข้างแดง และมีความสว่างลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นลักษณะผิดปกติของซูเปอร์โนวาประเภท Ia แต่ไม่มีข้อมูลสเปกตรัมอื่นใดให้ศึกษาเพิ่มเติมอีก", "title": "เอส แอนดรอมิดา" }, { "docid": "923370#12", "text": "ใน ค.ศ. 1952 มีการค้นพบการดื้อยาเพนิซิลลินในแบคทีเรียบางสายพันธุ์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนที่จะมีการนำยาดังกล่าวมาใช้ในทางคลินิก นอกจากนี้ยังมีการค้นพบว่ามีการดื้อยาสเตรปโตมัยซินของแบคทีเรียบางชนิดในช่วงเวลาก่อนหน้านั้นอีกด้วย ต่อมาใน ปี ค.ศ. 1962 ได้มีการตรวจพบเอนไซม์เพนิซิลิเนสในเอนโดสปอร์ของแบคทีเรีย \"Bacillus licheniformis\" ซึ่งเอนไซม์ดังกล่าวเป็นเอนไซม์ที่ทำลายโครงสร้างหลักของยากลุ่มเพนิซิลลิน จากดินแห้งบนรากพืชที่ถูกเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์บริติชตั้งแต่ปี ค.ศ. 1689 นอกจากนั้น การศึกษาจุลชีพในทางเดินอาหารของวิลเลียม เบรน (William Braine) และจอห์น ฮาร์ทเนลล์ (John Hartnell) ซึ่งเป็นลูกเรือที่เสียชีวิตในการเดินสำรวจมหาสมุทรอาร์กติกของจอห์น แฟรงคลิน (Franklin's lost expedition) พบแบคทีเรียสกุล \"Clostridium\" จำนวน 6 สเตรนที่ดื้อต่อเซโฟซิตินและคลินดามัยซิน", "title": "แบคทีเรียดื้อยา" } ]
282
ราชวงศ์ชิง ล่มสลายเมื่อสมัยใด?
[ { "docid": "23110#54", "text": "การล่มสลายของราชวงศ์ชิงใน พ.ศ. 2454 ถือเป็นการสิ้นสุดของประวัติศาสตร์การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในจีนที่มีมายาวนานกว่า 5,000 ปี", "title": "ราชวงศ์ชิง" }, { "docid": "23110#0", "text": "ราชวงศ์ชิง (พ.ศ. 2187 - 2455)(ภาษาแมนจู: daicing gurun; ภาษาจีน:清朝 ; พินอิน: qīng cháo \"ชิงเฉา\" ; ) หรือบางครั้งเรียกว่า ราชวงศ์แมนจู ปกครองแผ่นดินจีนต่อจากราชวงศ์หมิง และถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน ตั้งแต่ พ.ศ. 2187 ถึง พ.ศ. 2455", "title": "ราชวงศ์ชิง" } ]
[ { "docid": "841721#1", "text": "ปลายยุคราชวงศ์ชิง หลิวไหลฉือ (ม่อ เส้าชง) เกิดอิจฉาเพื่อนบ้านที่ไปเป็นขันทีชื่อว่า เส้าเต๋อจาง และได้ขอให้พ่อแม่ตอนตัวเอง แต่หลังจากนั้น ราชวงศ์ชิงได้ล่มสลาย หลิวไม่ได้เป็นขันทีในวังและถูกส่งไปเรียนงิ้วเพื่อ ต่อมา หลิวได้พบกับเจ้าตี้ (เหวิน ปี่เซี่ย) เพื่อนในวัยเด็ก หลิวจึงอยากจะใช้ชีวิตสร้างครอบครัวอย่างคนปกติ แต่ก็ไม่สามารถทำได้หลังจากที่ความเป็นขันทีถูกเปิดเผยขึ้นมา ผู้นำคณะงิ้ว (หง จินเป่า) เห็นใจชีวิตของหลิว และพยายามส่งเขาไปเป็น \"ขันทีคนสุดท้าย\" ในปี 1924 จักรพรรดิผู่อี๋ ถูกเนรเทศออกจากพระราชวังต้องห้าม หลิวจึงต้องกลับมาใช้ชีวิตอย่างคนปกติ\nภาพยนตร์เรื่องนี้สามารถกวาดรายได้ถึง 15,624,171 ดอลลาร์ฮ่องกงและเข้าฉายตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม ถึง 31 มีนาคม 1988 ในฮ่องกง", "title": "ขันทีคนสุดท้าย" }, { "docid": "21447#7", "text": "ในปลายราชวงศ์หมิงได้เริ่มประสบปัญหาภายในหลายอย่าง จาง จวีเจิ้ง มหาอำมาตย์แห่งราชสำนักหมิงได้ริเริ่มการปฏิรูปขึ้นมาใหม่อีกครั้ง แต่มิทันได้เริ่มประสบผลกลับล้มเหลวและถูกขัดขวาง เมื่อได้เกิดการชะลอตัวในด้านเกษตรกรรมซึ่งมาจากปรากฏการณ์ธรรมชาติสอดคล้องกับยุคน้ำแข็งน้อยประจบกับการจัดเก็บภาษีเริ่มมีปัญหาทำให้ปลายยุคราชวงศ์หมิงได้เกิดปัญหาการเพาะปลูกล้มเหลว, อุทกภัยและโรคระบาดเริ่มตามมา ราชวงศ์หมิงได้ล่มสลายลงเมื่อเกิดกลุ่มกบฎชาวนานำโดยหลี่ จื้อเฉิง ได้นำกองทัพบุกเข้ากรุงปักกิ่ง และต่อมา อู๋ซานกุ้ย แม่ทัพหมิงผู้ทรยศได้เปิดด่านซันไฮ่กวานให้กองทัพแมนจูที่กำลังรุกรานเมืองจีนอยู่นั้นเข้ากรุงปักกิ่งได้สำเร็จและตั้งราชวงศ์ชิงขึ้น ส่วนกลุ่มขุนนางและทหารที่ยังคงจงรักภักดีต่อราชวงศ์หมิงได้รวมตัวกันหนีไปตั้งราชวงศ์หมิงใต้ (บริเวณตอนใต้ของประเทศจีน) ดำรงอยู่ถึง ค.ศ. 1683 จนถูกราชวงศ์ชิงโค่นล้ม ราชวงศ์หมิงถึงกาลอวสานอย่างสมบูรณ์", "title": "ราชวงศ์หมิง" }, { "docid": "43808#17", "text": "เมื่อสิ้นรัชสมัยเหิงตี้ เหล่าขุนนางก็ยิ่งฮึกเหิมในอำนาจ ถึงกับมีการซึ้อขายตำแหน่งทางการเมืองกันอย่างเปิดเผย อำนาจบ้านเมืองล่มสลาย สังคมเต็มไปด้วยคนจรไร้ถิ่นฐาน เกิดความเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้าเมื่อถึงรัชสมัยหลิงตี้ เกิดกบฏโพกผ้าเหลืองทางภาคเหนือนำโดยเตียวก๊ก เข้าล้มล้างราชวงศ์ฮั่นตะวันออก บรรดาเจ้าที่ดินที่มีกำลังกล้าแข็งต่างก็ฉกฉวยโอกาสนี้พากันตั้งตนเป็นใหญ่ ต่อสู้แย่งชิงอำนาจ จนท้ายสุดหลงเหลือเพียง 3 กลุ่มอำนาจใหญ่นั่นคือ เว่ย สู่ และ อู๋ หรือที่รู้จักกันในนามของ \"สามก๊ก\" นั่นเอง", "title": "ราชวงศ์ฮั่น" }, { "docid": "23110#3", "text": "ในปี พ.ศ. 2187 ได้เกิดกบฎชาวนานำโดย หลี่ จื้อเฉิง นำกำลังเข้ายึดกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของราชวงศ์หมิง นำไปสู่การล่มสลายของราชวงศ์หมิง หลี่ จื้อเฉิงได้ตั้งตนเองเป็นจักรพรรดิก่อตั้งราชวงศ์ชุนขึ้นมาแทน ในขณะเดียวกันผู้นำราชวงศ์ชิง จักรพรรดิซุ่นจื้อ ได้เริ่มนำกองทัพรุกรานแผ่นดินจีนและล้อมกรุงปักกิ่ง อู๋ ซานกุ้ย แม่ทัพราชวงศ์หมิงผู้ทรยศ ได้แอบติดต่อกับกองทัพแมนจูลับๆ และเปิดประตูป้อมด่านซันไห่ ทำให้กองทัพแมนจูแปดกองธง นำโดยตัวเอ่อร์กุ่น เข้ายึดกรุงปักกิ่งได้สำเร็จ ราชวงศ์ชุนล่มสลาย", "title": "ราชวงศ์ชิง" }, { "docid": "46894#8", "text": "ในช่วงปลายของจลาจล ‘8 อ๋องชิงบัลลังก์’ ขณะที่บรรดาเชื้อพระวงศ์ผู้นำของแต่ละกลุ่มต่างทยอยกันเสียชีวิตในการศึก หัวหน้าของชนเผ่าซงหนูหลิวหยวน ก็ประกาศตั้งตัวเป็นอิสระ โดยใช้ชื่อว่าฮั่นกว๋อ ภายหลังหลิวหยวนสิ้นชีพลง บุครชายชื่อหลิวชง ยกกำลังเข้าบุกลั่วหยางนครหลวงของจิ้นตะวันตก จับจิ้นหวยตี้ เป็นตัวประกันและสำเร็จโทษในเวลาต่อมา โดยเชื้อพระวงศ์ทางนครฉางอันเมื่อทราบเรื่องก็ปราศยกให้จิ้นหมิ่นตี้ ขึ้นครองบัลลังก์สืบทอดราชวงศ์จิ้นต่อไปทันที ประชาชนที่หวาดเกรงภัยจากสงครามทางภาคเหนือ ต่างพากันอพยพลงใต้", "title": "ราชวงศ์จิ้น" }, { "docid": "1658#1", "text": "ในยุคที่ราชวงศ์สุยใกล้ถึงกาลล่มสลาย ฮ่องเต้สุยหยางตี้เรียกเกณฑ์แรงงานอย่างหนัก พร้อมเกณฑ์คนไปรบเกาหลีจนมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ประชาชนเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า บรรดาขุนศึกและผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคสมัยต่างตั้งตัวเป็นอิสระจากกษัตริย์สุยหยางตี้ ทั้งตัวโค่วจงและฉีจื่อหลิงซึ่งเป็นตัวเอกได้โลดเล่นท่ามกลางช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผันนี้ และสร้างตัวจากนักเลงลักเล็กขโมยน้อยในเมืองหยางโจว กลายมาเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการกุมชะตาแผ่นดินจีนช่วงผลัดราชวงศ์ เนื้อเรื่องเน้นไปที่ตัวหลี่ซื่อหมิน ซึ่งเป็นฮ่องเต้ที่มีชื่อเสียงที่สุดของราชวงศ์ถัง อันเป็นราชวงศ์ที่เป็นฉากหลังในการดำเนินเรื่อง โดยที่ตัวเอกโค่วจงและฉีจื่อหลิงมีส่วนในการช่วยหลี่ซื่อหมินขึ้นครองราชย์ มีการต่อสู้กับชนเผ่านอกด่าน(ชาวถูเจี๋ย) และประเทศเกาหลี ซึ่งเกี่ยวข้องในระดับประเทศ และมีการต่อสู้ระหว่างพรรคมาร ซึ่งเกี่ยวข้องในระดับเนื้อเรื่อง มังกรคู่สู้สิบทิศ ออกวางจำหน่ายในรูปแบบของการ์ตูน ครั้งแรกในประเทศไทย โดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ เมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ. 2545 แปลโดย ไผ่เงิน ในรูปแบบหนังสือปกอ่อน จำนวน 50 เล่ม และแบบรวมเล่มโดย คิงส์ คอมมิกส์ จำนวน 32 เล่ม จำนวนตอน 252 ตอน ซึ่งมีเนื้อหาปรับเปลี่ยนจากต้นฉบับนิยายอยู่บ้าง\nถูกนำมาสร้างเป็นทีวีซีรีส์ ในชื่อภาษาไทยว่า \"'ศึกมังกรคู่จ้าวยุทธภพ'\"() กำกับการแสดงโดย : Wong Jing โดยมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาของตัวละคร และมีการเรียกชื่อที่ผิดแปลกไปจากต้นฉบับที่แปลโดย น.นพรัตน์ และไผ่เงิน", "title": "มังกรคู่สู้สิบทิศ" }, { "docid": "88096#1", "text": "ยุคสมัยดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อราชวงศ์ถังล่มสลายลงใน ค.ศ. 907 และสิ้นสุดลงเมื่อราชวงศ์ซ่งก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 960 กินเวลากว่า 50 ปี รัฐที่ตั้งตนต่าง ๆ นี้เดิมเป็นราชอาณาจักรอิสระมาก่อนแล้ว ครั้นราชวงศ์ถังถึงจุดจบ ผู้ปกครองรัฐดังกล่าวก็พากันประกาศตนเป็นจักรพรรดิ จึงเกิดสงครามเพื่อชิงอำนาจกันเป็นจักรพรรดิที่ชอบธรรมแต่ผู้เดียว อย่างไรก็ดี แม้จะถือกันว่า ยุคนี้ยุติลงด้วยการตั้งราชวงศ์ซ่งเมื่อ ค.ศ. 960 แต่กว่าจะปราบปรามฮั่นเหนือ (北漢) รัฐสุดท้ายในหมู่ห้าวงศ์สิบรัฐ ได้ก็ล่วงสู่ ค.ศ. 979 แล้ว", "title": "ยุคห้าวงศ์สิบรัฐ" }, { "docid": "46894#10", "text": "ราชวงศ์จิ้นตะวันออก ก่อตั้งขึ้นหลังจากการอพยพโยกย้ายราชธานีของเหล่าข้าราชสำนักจิ้นลงสู่ภาคใต้ ภายหลังการล่มสลายของ ราชวงศ์จิ้นตะวันตก ซึ่งแม้ว่าจะยังคงนับเนื่องเป็นราชวงศ์หนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์โบราณของจีน แต่แท้จริงแล้ว ขอบข่ายอำนาจการปกครองเพียงสามารถครอบคลุมดินแดนทางตอนใต้ของลำน้ำฉางเจียงเท่านั้น ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ บ้านเมืองทางตอนเหนือระส่ำระสายไปด้วยไฟสงครามการแย่งชิงของแว่นแคว้นต่าง ๆภายใต้การนำของกลุ่มชนเผ่าจากนอกด่าน รวมทั้งชาวฮั่นเอง สถานการณ์ความแตกแยกนี้ ยังคงดำเนินไปท่ามกลางการผลุดขึ้นและล่มสลายลงของราชวงศ์จิ้นตะวันออก จวบจนถึงยุคแห่งการตั้งประจันของ ราชวงศ์เหนือ-ใต้ ซึ่งกินเวลากว่า 300 ปี สถาปนาจิ้นตะวันออก", "title": "ราชวงศ์จิ้น" }, { "docid": "23110#41", "text": "ในรัชกาลของจักรพรรดิเฉียนหลงถือเป็นยุคทองที่รุ่งเรืองที่สุดของราชวงศ์ชิง จากความพยายามปฏิรูปนโยบายภาษี การใช้จ่าย นโยบายการเงินการคลังของยงเจิ้ง ได้ทำให้มีเงินท้องพระคลังเหลือมาถึงยุคของเฉียนหลงเป็นจำนวนมาก เมื่อผนวกกับการที่ประชาชนเมื่อไม่มีภัยสงครามมาเป็นเวลานาน จึงทุ่มเทไปกับการสร้างผลผลิต จนทำให้ยุคสมัยนี้มีความมั่งคั่ง และมีความเจริญก้าวหน้าทางศิลปะวิทยาการต่างๆเป็นอันมาก", "title": "ราชวงศ์ชิง" } ]
283
ราชธานี หมายถึงอะไร ?
[ { "docid": "4427#0", "text": "เมืองหลวง หรือ ราชธานี คือ เมืองหลักที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล ส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของทำเนียบรัฐบาล คำในภาษาอังกฤษ \"capital\" มาจากภาษาละติน \"caput\" หมายถึง \"หัว\" และอาจเกี่ยวข้อง \"เนินเขาแคปิทอไลน์\" เนินเขาที่สูงที่สุดในโรมโบราณ ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์และศาสนา", "title": "เมืองหลวง" } ]
[ { "docid": "66788#0", "text": "เจ้รายดอย () เป็นราชธานีแห่งแรกของอาณาจักรอาหม แต่เดิมราชธานีเจ้รายดอยมีชื่อเดิมว่า \"อภัยปุระ\" ส่วนชื่อ \"เจ้รายดอย\" ซึ่งนามของเมืองมีความหมายตามภาษาอาหม มีความหมายว่า \"เมืองที่เรียงรายอยู่บนเขา\" และภายหลังได้ออกเสียงเพี้ยนเรียกชื่อเมืองดังกล่าวว่า \"จรวยเทพ\" (Charaideo)", "title": "เจ้รายดอย" }, { "docid": "13307#39", "text": "คำว่า “ราชภัฏ” ให้ความหมายที่กินใจความว่า “คนของพระราชา…ข้าของแผ่นดิน” หากตีความตามความรู้สึกยิ่งกินใจและตีความได้กว้างขวางยิ่งขึ้นไปอีกนั่นก็คือ “การถวายงานประดุจข้าราชบริพารที่รับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทที่ต้องถวายงานอย่างสุดความสามารถ สุดชีวิต และสุดจิตสุดใจ” ซึ่งการเป็นคนของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทย่อมเป็นข้าของแผ่นดินอีกด้วย เนื่องจากว่าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทผู้เป็นมิ่งขวัญของพวกเราชาวราชภัฏ ทรงเป็นแบบอย่างการทรงงานเพื่อบ้านเมือง และแผ่นดินอย่างที่มิเคยทรงหยุดพักแม้เพียงนิด แม้ยามที่ทรงประชวรก็ไม่เคยหยุดทรงงาน เพื่อความสุขของปวงชนชาวสยามของพระองค์นั้นเองด้วยเหตุผลเหล่าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจึงได้พระราชทานพระราชลัญจกร อันเป็นเครื่องประกอบพระราชอิศริยยศ พระราชอิศริยศักดิ์ ลงมาเป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประหนึ่งเครื่องเตือนความทรงจำว่าพวกเราชาวราชภัฏคือ “คนของพระราชา และข้าของแผ่นดิน”", "title": "มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี" }, { "docid": "4384#0", "text": "จักรราศี ( มาจากภาษากรีก \"ζῳδιακός\" หมายถึง \"สัตว์\") เป็นแถบสมมติบนท้องฟ้าที่มีขอบเขตประมาณ 8 องศา ค่อนไปทางเหนือและใต้ของแนวเส้นทางที่ดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนผ่าน (สุริยวิถี) ซึ่งครอบคลุมแนวเส้นทางปรากฏของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ในระบบสุริยจักรวาลอีก 7 ดวง คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ส่วนดาวพลูโตนั้น ความเอียงของวงโคจรมีค่ามาก ดาวพลูโตจึงมีเส้นทางปรากฏห่างจากสุริยวิถี", "title": "จักรราศี" }, { "docid": "472285#1", "text": "รามเกียรต์ หรือ รามายณะ มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาวรรณกรรมเอเชีย ภาพการขับเคี่ยวที่พิสดารอลังการของฝ่ายพลับพลากับฝ่ายกรุงลงกา เส้นขนานของธรรมะและอธรรมรามและทศกัณฐ์ จึงเป็นขั้วที่ไม่เพียงยืนหยัด อยู่คนฝ่าย แต่ยังเป็น ศัตรูคู่อาฆาตที่ต้องฟาดฟันกันให้แหลกลาญ “คนที่เป็นศัตรูกันต้องต่อสู้กันตลอดไปจริงหรือ?” กี่พันปีมาแล้วที่ทศกัณฐ์และพระรามเป็นศัตรูกัน กี่พันปีมาแล้วที่ทหาเอกของพระรามอย่างหนุมานต้องทำหน้าท่าปราบอธรรมให้สิ้นซาก คำถามนี้คือ จุดเริ่มต้นของภาพยนตร์แอนิเมชั่น “ยักษ์” โดย “ประภาส ชลศรานนท์” โดยภาพยนตร์เรื่องนี้เริ่มดำเนินการสร้างเมื่อ ปี พ.ศ. 2549 แล้วเสร็จและฉายในเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2555 รวมระยะเวลาสร้าง 6 ปี", "title": "ยักษ์ (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "46380#6", "text": "คำว่า “ราชภัฏ” ให้ความหมายที่กินใจความว่า “คนของพระราชา…ข้าของแผ่นดิน” หากตีความตามความรู้สึกยิ่งกินใจและตีความได้กว้างขวางยิ่งขึ้นไปอีกนั่นก็คือ “การถวายงานประดุจข้าราชบริพารที่รับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทที่ต้องถวายงานอย่างสุดความสามารถ สุดชีวิต และสุดจิตสุดใจ” ซึ่งการเป็นคนของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทย่อมเป็นข้าของแผ่นดินอีกด้วย เนื่องจากว่าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทผู้เป็นมิ่งขวัญของพวกเราชาวราชภัฏ ทรงเป็นแบบอย่างการทรงงานเพื่อบ้านเมือง และแผ่นดินอย่างที่มิเคยทรงหยุดพักแม้เพียงนิด แม้ยามที่ทรงประชวรก็ไม่เคยหยุดทรงงาน เพื่อความสุขของปวงชนชาวสยามของพระองค์นั้นเองด้วยเหตุผลเหล่าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจึงได้พระราชทานพระราชลัญจกร อันเป็นเครื่องประกอบพระราชอิศริยยศ พระราชอิศริยศักดิ์ ลงมาเป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประหนึ่งเครื่องเตือนความทรงจำว่าพวกเราชาวราชภัฏคือ “คนของพระราชา และข้าของแผ่นดิน”", "title": "มหาวิทยาลัยราชภัฏ" }, { "docid": "356066#0", "text": "วัดราชธานี เป็นวัดที่อยู่กลางเมืองสุโขทัย ที่มีประวัติความเป็นมานับแต่ครั้งกรุงสุโขทัย เป็นวัดที่มีความสำคัญ ที่ทางราชการ พ่อค้า ประชาชนถือว่าเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งทางราชการได้อาศัยประกอบรัฐพิธี ที่สำคัญ เช่น พิธีถือน้ำพิพัฒนสัตยา อีกทั้งเป็นวัดที่ตั้งอยู่ใจกลาง เป็นวัดที่มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวสุโขทัยรู้จักกันในชื่อว่า \"หลวงพ่อเป๋า\" เป็นวัดที่อดีตพระราชประสิทธิ์คุณ (ทิม ยสทินโน) ผู้เป็นกำลังหลักในการรวบรวมศาสนวัตถุทางพระพุทธศาสนาครั้งกรุงสุโขทัย เพื่อจัดมอบให้กับพิพิธภัณฑ์สุโขทัย รวมทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัด และอดีตเจ้าอาวาสวัดราชธานี เคยอยู่อาศัยจำพรรษาที่วัดราชธานีแห่งนี้ นอกจากนี้วัดยังเคยเป็นที่ตั้งโรงเรียนประจำจังหวัดสุโขทัยด้วย", "title": "วัดราชธานี" }, { "docid": "66313#0", "text": "ฤๅษี หรือ ฤษี (สันสกฤต: ṛṣi; เทวนาครี: ऋषि) ภาษาสันสกฤตอ่านว่า ฤษิ หมายความว่า ผู้แต่งพระเวท หรือผู้เห็น ฤๅษีเป็นนักบวชพวกหนึ่ง มีมาก่อนพุทธกาล สละบ้านเรือนออกไปบำเพ็ญพรตแสวงหาความสงบ ตามสถานที่สงัดต่างๆ ในป่าเขาหรือถ้ำ และเดิมมักเป็นหญิง ซึ่งเรียก \"ฤษิก\" (rishika) ตามความในคัมภีร์สารวานุกรมนี (Sarvanukramani) ในบรรดาผู้แต่งฤคเวทนั้น เป็นฤษีหญิงถึงยี่สิบคน", "title": "ฤๅษี" }, { "docid": "48356#0", "text": "ราชาธิปไตย () เป็นรูปแบบการปกครองที่ตำแหน่งประมุขแห่งรัฐโดยปกติถืออยู่กระทั่งสวรรคตหรือสละราชสมบัติ โดยมากมักได้อำนาจมาโดยการสืบราชสมบัติ และโดยปกติมักให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์แห่งราชวงศ์ที่ปกครองอยู่ก่อนอย่างเป็นทางการ พระมหาษัตริย์มักมีฐานันดรศักดิ์เป็นพระราชาหรือพระราชินี อย่างไรก็ดี จักรพรรดิ/จักรพรรดินี, แกรนด์ดยุก/แกรนด์ดัชเชส, เจ้าชาย/เจ้าหญิง และคำอื่น ถูกใช้เพื่อระบุตำแหน่งพระมหากษัตริย์ด้วย แม้คำว่า \"monarch\" จะมาจากคำว่า \"ผู้ปกครองคนเดียว\" แต่โดยประเพณี ประมุขแห่งรัฐที่มีตำแหน่งประธานาธิบดีหรือผู้นำ (premier) ไม่ถูกพิจารณาว่าเป็นพระมหากษัตริย์อย่างเป็นทางการ", "title": "ราชาธิปไตย" }, { "docid": "870812#0", "text": "ราชนาวีที่รัก เป็นละครในชุด \"ภารกิจรัก\" แนวแอ็คชั่น โรแมนติก ดราม่า สอดแทรกแนวคิด ความรัก มิตรภาพ และ การเสียสละเพื่อประเทศชาติ ของทางสถานีวิทยุโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ถ่ายทอดเรื่องราวรักระหว่างรบ ของผู้ชายในเครื่องแบบ 4 เหล่า คือ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ และตำรวจ โดยดัดแปลงมาจากนวนิยายชื่อเดียวกัน แพรวพรรณ (แซมมี่ เคาวเวลล์) นักเขียนนิยายรักสดใสที่อยากผันตัวเป็นนักข่าว ได้รับโจทย์ให้ไปติดตามสถานการณ์การทำประมงผิดกฎหมายที่เมืองชายทะเลแห่งหนึ่ง โดยหิรัญญา (กรรณาภรณ์ พวงทอง) และ หนึ่งนาที (ณัฐวัฒน์ เปล่งศิริวัธน์) เพื่อนของแพรวได้ช่วยติดต่อหาแหล่งข่าวในพื้นที่ให้เป็นนายทหารเรือหนุ่ม โดยคาดไม่ถึงว่าจะเป็น เรือเอกจิรวัติ สุกปลั่ง (อรรคพันธ์ นะมาตร์) รุ่นพี่ที่แพรวแอบปลื้มสมัยเรียนประถม ลูกชายคนเดียวของครอบครัวชาวนา ซึ่งปัญหาอยู่ที่วันเพ็ญ (กันตา ดานาว) แม่ของแพรวเกลียดครอบครัวนี้เข้าไส้ เพราะจุก (มัณฑนา หิมะทองคำ) แม่ของต้นกล้า เคยแย่ง บุญเกิด (ศตวรรษ ดุลยวิจิตร) คนรักของวันเพ็ญไปในอดีต", "title": "ราชนาวีที่รัก" } ]
285
แกะโคลนตัวเรกมีชื่อว่าอะไร?
[ { "docid": "841364#0", "text": "ดอลลี () (5 กรกฎาคม 2539 – 14 กุมภาพันธ์ 2546) เป็น แกะเลี้ยงเพศเมีย และเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมตัวแรกที่ถูกโคลนจากเซลล์โซมาติก (somatic cell) ของสัตว์โตเต็มวัย โดยใช้วิธีถ่ายฝากนิวเคลียส (nuclear transfer) ดอลลีถูกโคลนโดย เอียน วิลมุต (Ian Wilmut) คีธ แคมป์เบล (Keith Campbell) และผู้ร่วมงาน ณ สถาบันรอสลิน (Roslin Institute) ส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยเอดินบะระ ประเทศสกอตแลนด์ และบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ PPL Therapeutics ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับเอดินบะระ เงินทุนในการโคลนดอลลีมาจากบริษัท PPL Therapeutics และกระทรวงการเกษตรของสหราชอาณาจักร มันเกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 และตายด้วยโรคทางปอดเมื่ออายุได้ 6 ปี 7 เดือน หลายสื่อ เช่น BBC News และ \"Scientific American\" ยกย่องให้มันเป็น \"แกะดังที่สุดในโลก\"", "title": "ดอลลี (แกะ)" } ]
[ { "docid": "329211#1", "text": "ไอดอลลิ่ง!!! ก่อตั้งเมื่อเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2549 สมาชิกรุ่นที่หนึ่ง มีทั้งหมด 9 คน ออกผลงานซิงเกิลแรกในปี พ.ศ. 2550 ชื่อว่า “กันบาเระ โอโตเมะ (วะไร)” \nจากนั้น ได้ออกผลงานซิงเกิลที่ 2 ชื่อว่า “สโนว์ เซเรเบชั่น” ในปีถัดมา และออกอัลบั้มแรก ใช้ชื่อว่า “ไดอิจิ นะ โมโนะ”\nหลังจากนั้น ก็มีสมาชิกรุ่นที่สอง เข้ามาสมทบ อีก 9 คน แต่มีหนึ่งคน ติดปัญหาด้านการเรียน จึงลาออกอย่างกะทันหัน \nจึงเหลือเพียงสิบเจ็ดคน ออกผลงานซิงเกิลที่ 3 “โคคุฮาคุ” ซิงเกิลนี้ค่อนข้างเป็นที่รู้จักมากกว่าสองซิงเกิลก่อนพอสมควร และก็ได้ออกผลงาน ซิงเกิลที่ 4 “โชกุโจว ไอดอล” ตามมาในปีเดียวกัน", "title": "ไอดอลลิ่ง!!!" }, { "docid": "187942#30", "text": "ชื่อในร่างแรกของตัวละครนี้คือเจคอบ ไนออน () แต่ถูกเปลี่ยนชื่อก่อนที่เกมจะวางจำหน่ายไม่นานนัก ดังนั้นเนื่องจากหนังสือนิยายและหนังสือการ์ตูนฉบับแปลของบางประเทศได้รับการวางจำหน่ายก่อน ชื่อตัวละครนี้ในหนังสือนิยายฉบับแปลภาษาเยอรมันและเกมเวอร์ชันภาษาฝรั่งเศสจึงเป็นเจคอบ ไนออน ส่วนเสริมฐานข้อมูลในเกมฉบับ PS2 ก็เช่นกัน โดยระบุชื่อของเคนโต มาเรก เป็นเคนโต ไนออน", "title": "กาเลน มาเรก" }, { "docid": "430653#1", "text": "คำว่า \"โคลน\" มาจากคำภาษากรีกโบราณว่า κλών (klōn, “กิ่ง”) โดยหมายถึง ขั้นตอนซึ่งพืชต้นใหม่สามารถถูกสร้างขึ้นจากกิ่งได้ โดยสิ่งมีชีวิที่ได้รับการโคลนตัวแรกของโลกก็คือ \"แกะ\" ชื่อว่าดอลลี่", "title": "การโคลน" }, { "docid": "16694#4", "text": "อาซึนะเป็นคนแรกที่เนกิทำพันธสัญญาชั่วคราวด้วยอาวุธประจำกายของเธอที่แสดงอยู่บนการ์ดเป็นดาบขนาดยักษ์ มีชื่อว่า \"ฮามะโนสึรุงิ\" (ชื่อละติน:เอ็นซิสเอ็คโซ็คแทนส์) แต่บ่อยครั้งอาวุธที่เธอเรียกออกมากลับเป็นฮาริเซ็น (พัดกระดาษ) อย่างไรก็ดีเธอก็สามารถใช้มันอย่างมีประสิทธิภาพ อาซึนะเรียกดาบออกมาได้ครั้งแรกในหนังสือการ์ตูนตอนที่ 61 เมื่อเธอพยายามช่วยเนกิจากปลาฉลาม ชี้ให้เห็นว่าอารมณ์ของเธอเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียกอาวุธ", "title": "คากุระซากะ อาซึนะ" }, { "docid": "706928#11", "text": "ในอะนิเมะ คาเมลปรากฏตัวครั้งแรกขณะที่คาเมลป่าตัวหนึ่งพบกับซาโตชิและเพื่อน ๆ บนเกาะซินนาบาร์ หรือเกาะกุเร็น ขณะกำลังหาความช่วยเหลือให้ฝูงเซนิกาเมะ คาเมล และคาเม็กซ์ ผู้นำ ต่างหลับใหลอย่างลึกลับ คาเมลอีกหลาย ๆ ตัวปรากฏว่าเป็นโปเกมอนดับเพลิง และเซนิกาเมะของซาโตชิที่เป็นนักดับเพลิงกิตติมศักดิ์จากบ้านเกิดของมัน กลายเป็นคู่ปรับกับผู้นำ สุดท้ายแล้ว ฮารุกะ เพื่อนอีกคนของซาโตชิ ได้รับเซนิกาเมะจากศาสตราจารย์โอคิโดะในตอน \"ศูนย์วิจัยโอคิโดะ รวมพลทุกคน!\" (The Right Place and the Right Mime) เซนิกาเมะของฮารุกะอายุน้อยและขี้ขลาด ในมังงะ\"โปเกมอนสเปเชียล\" กรีนมีคาเมลตัวหนึ่ง พัฒนาร่างจากเซนิกาเมะตัวที่เธอขโมยจากศาสตราจารย์โอคิโดะ คาเมลของกรีนมีนิสัยเจ้าเล่ห์เหมือนกรีน จากนั้นมันก็พัฒนาร่างเป็นคาเม็กซ์", "title": "รายชื่อโปเกมอน (1–51)" }, { "docid": "94905#8", "text": "เดอะ ไบรด์ เริ่มบัญชีแค้นคนแรก คือ โอเรน โดยเดอะไบรด์ สวมชุดขับมอเตอร์ไซค์สีเหลืองแถบสีดำ (ชุดคล้ายๆ บรู๊ซ ลี) เข้ามาในบ้านใบไม้สีน้ำเงิน \"(House of Blue Leaves)\" ซึ่งเป็นที่โอเรนกับสมาชิกแก็งค์ 88 ชอบมาสังสรรค์กัน และจากนั้นเดอะ ไบรดก็ปรากฏตัวขึ้น พร้อมกับต้องฝ่าด่านสมาชิกแก๊งค์ของโอเรน ซึ่งทั้งหมดนี้เดอะ ไบรด์ต้องเจอกับลูกสมุนของแก็งค์ 88 นับสิบ และในที่สุดเดอะ ไบรด์ สามารถจัดการโอเรนสำเร็จ และได้ไว้ชีวิต โซฟี ฟาเทวล์ (จูลี่ ดรัยฟัส) เพื่อมาบอกบิวล์ว่าเธอจะจัดการกับทุกคนที่ทำร้ายเธอในวันนั้น", "title": "คิลบิล" }, { "docid": "768247#113", "text": "ตนคือปีศาจตนแรกที่หลุดออกจากผนึก เมื่อ 16 ปีก่อน ฆ่าคนในดานาโฟลกับลิธ(ชาติก่อนของเอลี่) สู้แพ้เมลิโอดัสโกรธแค้น จนทั้งเมืองกลายเป็นหลุม แต่ตนรอดตายกับสาหัส ตนจึงสิงร่างเดรฟัสเพื่อฟื้นตัว กับควบคุมจิตใจเฮนดี ตอนที่ทั้งคู่มาสืบเรื่องตน จัดฉากบังคับให้ทั้งคู่ฆ่าซาราทรัส กับใส่ความกลุ่ม 7 บาป ยุยงให้เฮนดีทำวิจัยเรื่องปีศาจ เพื่อหาทางคลายผนึก", "title": "รายชื่อตัวละครในศึกตำนาน 7 อัศวิน" }, { "docid": "55977#48", "text": "ไอนัวร์อื่นที่เข้ามาในเออา เรียกว่า ไมอาร์ ในยุคแรกนั้น ไมอาที่ปรากฏชื่อมากที่สุดคือเมลิอัน ชายาของกษัตริย์พราย ธิงโกล ในยุคที่สามระหว่าง สงครามแหวน ไมอาร์ห้าตนถูกสร้างร่างขึ้นและส่งไปยังเอนดอร์เพื่อช่วยเหลืออิสรชนล้มล้างเซารอน ไมอาร์เหล่านั้นคืออิสทาริ (หรือ \"Wise Ones\") (มนุษย์เรียกว่า พ่อมด) ได้แก่ แกนดัล์ฟ, ซารูมาน, ราดากัสต์, อลาทาร์ และ พัลลันโด ยังมีไมอาร์ฝ่ายร้ายหรือฝ่ายมืด เรียกว่า อูไมอาร์ เช่น บัลร็อก และจอมมารคนที่สองคือ เซารอน", "title": "มิดเดิลเอิร์ธ" }, { "docid": "55977#30", "text": "เทพเจ้าสูงสุดแห่งเอกภพของโทลคีนเรียกว่า เอรู อิลูวาทาร์ ในตอนแรก อิลูวาทาร์ได้สร้างจิตวิญญาณที่มีชื่อว่า ไอนัวร์ และได้สอนวิญญาณเหล่านั้นให้สร้างบทเพลงขึ้น หลังจากที่ไอนัวร์ช่ำชองในความสามารถของแต่ละตนแล้ว อิลูวาทาร์ได้สั่งให้พวกไอนัวร์สร้างบทเพลงอันยิ่งใหญ่ซึ่งตั้งอยู่บนแนวเพลงที่อิลูวาทาร์ประพันธ์ขึ้น ไอนัวร์ที่มีพลังสูงสุดคือ เมลคอร์ (ต่อมาเรียกว่า มอร์กอธ หรือ \"ศัตรูมืด\" โดยพวกเอลฟ์) ได้ทำให้เพลงเสียกระบวน อิลูวาทาร์จึงแก้ไขโดยสร้างแนวเพลงที่ปรับปรุงให้ดีเหนือความเข้าใจของไอนัวร์ ก้าวย่างแห่งบทเพลงของพวกเขาได้หว่านเมล็ดของประวัติศาสตร์แห่งเอกภพที่ยังไม่ได้สร้างและผู้ที่จะมาอยู่ ณ ที่นั้น", "title": "มิดเดิลเอิร์ธ" } ]
297
ไฟฟ้าสถิตสามารถสัมผัสได้หรือไม่ ?
[ { "docid": "786915#1", "text": "ประจุไฟฟ้าสถิตสามารถสร้างขึ้นได้เมื่อไรก็ตามที่สองพื้นผิวสัมผัสกันและแยกจากกัน และอย่างน้อยหนึ่งในพื้นผิวนั้นมีความต้านทานสูงต่อกระแสไฟฟ้า (และดังนั้นมันจึงเป็นฉนวนไฟฟ้า) ผลกระทบทั้งหลายจากไฟฟ้าสถิตจะคุ้นเคยกับคนส่วนใหญ่เพราะผู้คนสามารถรู้สึก, ได้ยิน, และแม้แต่ได้เห็นประกายไฟเมื่อประจุส่วนเกินจะถูกทำให้เป็นกลางเมื่อถูกนำเข้ามาใกล้กับตัวนำไฟฟ้าขนาดใหญ่ (เช่นเส้นทางที่ไปลงดิน) หรือภูมิภาคที่มีประจุส่วนเกินที่มีขั้วตรงข้าม (บวกหรือลบ) ปรากฏการณ์ที่คุ้นเคยของช็อกจากไฟฟ้าสถิต หรือที่เจาะจงมากขึ้นคือการปลดปล่อยไฟฟ้าสถิต () จะเกิดจากการเป็นกลางของประจุ", "title": "ไฟฟ้าสถิต" }, { "docid": "586043#35", "text": "กลุ่มบุคคลที่ชอบประดับร่างได้ทำการทดลองใช้อุปกรณ์แม่เหล็กฝังเพื่อที่จะเลียนแบบประสาทสัมผัสแบบนี้ \nแต่ว่า โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์ (และเชื่อว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นด้วย) สามารถตรวจจับสนามไฟฟ้าโดยอ้อมโดยกำหนดผลที่เกิดขึ้นที่ขน\nตัวอย่างเช่น ลูกโป่งที่มีชารจ์ไฟฟ้าจะมีแรงกดที่ขนแขนของมนุษย์ ซึ่งสามารถรู้สึกได้ทางกายสัมผัส และสามารถระบุได้ว่ามีเหตุมาจากไฟฟ้าสถิต ไม่ได้มาจากลมหรือเหตุอื่น ๆ แต่ว่า นี่ไม่ใช่เป็นการรับรู้สนามแม่เหล็ก แต่เป็นกระบวนการรับรู้หลังระบบรับความรู้สึก", "title": "ประสาทสัมผัส" } ]
[ { "docid": "6061#7", "text": "การปรากฏตัวของความไม่สมดุลของประจุผิวหมายความว่าวัตถุที่จะแสดงพลังดูดหรือพลังผลัก ความไม่สมดุลของประจุผิวนี้ ซึ่งทำให้เกิดไฟฟ้าสถิต สามารถสร้างขึ้นโดยการแตะพื้นผิวที่แตกต่างกันสองชนิดเข้าด้วยกันแล้วแยกพวกมันออกจากกันเนื่องจากปรากฏการณ์ของการสร้างไฟฟ้าจากการสัมผัสและผลกระทบของไทรโบอิเล็กตริก การถูวัตถุไม่นำไฟฟ้าสองชนิดจะสร้างไฟฟ้าสถิตย์จำนวนมาก นี้ไม่ใช่แค่เพียงผลจากแรงเสียดทานเท่านั้น สองพื้นผิวไม่นำไฟฟ้าสามารถถูกประจุแค่เพียงถูกวางไว้ด้านบนของวัตถุอื่น เนื่องจากพื้นผิวส่วนใหญ่จะมีเนื้อหยาบ มันจะใช้เวลานานจะประสบความสำเร็จในการประจุโดยผ่านการสัมผัสมากกว่าผ่านการถู การถูวัตถุเข้าด้วยกันจะเพิ่มปริมาณของการสัผัสแบบกาวระหว่างสองพื้นผิว โดยปกติฉนวนไฟฟ้าเช่นสารที่ไม่นำไฟฟ้า จะดีทั้งการสร้างและจับยืดประจุผิว ตัวอย่างบางส่วนของสารเหล่านี้ได้แก่ยาง, พลาสติก, แก้ว, และไส้ไม้ วัตถุที่เป็นสื่อกระแสไฟฟ้าเท่านั้นที่สร้างความไม่สมดุลของประจุได้ยาก ยกเว้นตัวอย่างเช่นเมื่อพื้นผิวโลหะหนึ่งได้รับผลกระทบโดยสารไม่ใช่ตัวนำที่เป็นของแข็งหรือของเหลว ประจุที่ถูกถ่ายโอนในระหว่างการสร้างไฟฟ้าโดยการสัมผัสจะถูกเก็บไว้บนพื้นผิวของแต่ละวัตถุ เครื่องกำเนิดไฟฟ้านิ่งเป็นอุปกรณ์ที่ผลิตแรงดันไฟฟ้าสูงมากที่กระแสต่ำมากและใช้สำหรับการสาธิตการสอนในชั้นเรียนฟิสิกส์ มันจะพึ่งพาผลกระทบนี้", "title": "สถิตยศาสตร์ไฟฟ้า" }, { "docid": "786915#20", "text": "การไหลของสารที่เป็นผงละเอียดหรือของเหลวการนำต่ำในท่อหรือผ่านการกวนเชิงกลสามารถสะสมไฟฟ้าสถิตย์ได้ การไหลของเม็ดของวัสดุเช่นทรายลงไปตามรางพลาสติกสามารถถ่ายโอนประจุได้ ซึ่งสามารถวัดได้อย่างง่ายดายโดยใช้มัลติมิเตอร์เชื่อมต่อกับฟอยล์โลหะที่ซับในรางช่วงเวลานั้น และสามารถเป็นสัดส่วนหยาบ ๆ กับการไหลของอนุภาค เมฆฝุ่นของสารที่เป็นผงละเอียดสามารถไหม้ไฟหรือระเบิดได้ เมื่อมีการปบลดปล่อยประจุไฟฟ้าสถิตในฝุ่นหรือเมฆไอน้ำ การระเบิดก็เกิดขึ้นได้ ท่ามกลางอุบัติการณ์ในอุตสาหกรรมหลักที่เคยเกิดขึ้นก็คือไซโลเมล็ดพืชในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส, โรงงานสีในประเทศไทย, โรงงานทำแม่พิมพ์ไฟเบอร์กลาสในแคนาดา, การระเบิดถังเก็บในเมืองเกลนพูลรัฐโอคลาโฮมาในปี 2003 และการดำเนินงานถังบรรจุแบบเคลื่อนที่และคลังน้ำมันในเมือง Des Moines ร้ฐไอโอวา และเมืองแวลลีย์เซนเตอร์รัฐแคนซัสในปี 2007", "title": "ไฟฟ้าสถิต" }, { "docid": "786915#0", "text": "ไฟฟ้าสถิต () คือความไม่สมดุลของประจุไฟฟ้าภายในหรือบนพื้นผิวของวัสดุหนึ่ง ประจุยังคงอยู่กับที่จนกระทั่งมันสามารถจะเคลื่อนที่โดยอาศัยการไหลของอิเล็กตรอน (กระแสไฟฟ้า) หรือมีการปลดปล่อยประจุ () ไฟฟ้าสถิตมีชื่อที่ขัดกับไฟฟ้ากระแสที่ไหลผ่านเส้นลวดหรือตัวนำอื่นและนำส่งพลังงาน", "title": "ไฟฟ้าสถิต" }, { "docid": "786915#21", "text": "ความสามารถของของเหลวที่จะเก็บประจุไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับการนำไฟฟ้าของมัน เมื่อของเหลวการนำต่ำไหลผ่านท่อหรือถูกเขย่าด้วยเครื่องกล การแยกประจุที่เหนี่ยวนำโดยการสัมผัสที่เรียกว่า \"ไฟฟ้าจากการไหล\" () จะเกิดขึ้น ของเหลวที่มีการนำไฟฟ้าต่ำ (ต่ำกว่า 50 picosiemens ต่อเมตร) จะถูกเรียกว่าตัวสะสม ของเหลวที่มีการนำสูงกว่า 50 pS/m จะเรียกว่าตัวไม่สะสม ในตัวไม่สะสม ประจุจะฟื้นคืนสภาพได้เร็วที่สุดเท่าที่พวกมันจะแยกออกจากกัน ดังนั้นการสะสมประจุไฟฟ้าจึงไม่ได้มีนัยสำคัญ ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี 50 pS/m คือค่าต่ำสุดการนำไฟฟ้าที่แนะนำสำหรับการกำจัดที่เพียงพอของประจุจากของเหลว", "title": "ไฟฟ้าสถิต" }, { "docid": "786915#5", "text": "อิเล็กตรอนสามารถแลกเปลี่ยนกันระหว่างวัสดุโดยการสัมผัส วัสดุที่มีอิเล็กตรอนผูกพันอย่างอ่อนมีแนวโน้มที่จะสูญเสียพวกมันในขณะที่วัสดุที่มีวงรอบนอกมีที่ว่างมีแนวโน้มที่จะได้รับพวกมัน ธรรมชาตินี้เรียกว่าผลกระทบไทรโบอิเล็กตริก และเป็นผลให้วัสดุหนึ่งกลายเป็นมีประจุบวกและอีกวัสดุหนึ่งมีประจุลบ ขั้วและความแข็งแรงของประจุบนว้สดุทั้งสองทันทีที่พวกมันถูกแยกออกจากกันจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่สัมพันธ์กันระหว่างพวกมันในไฟฟ้าสถิต#ชุดของไทรโบอิเล็กตริก ผลกระทบไทรโบอิเล็กตริกเป็นสาเหตุหลักของการผลิตไฟฟ้าสถิตที่สังเกตได้ในชีวิตประจำวัน และในการสาธิตตามโรงเรียนมัธยมทางวิทยาศาสตร์ทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการถูวัสดุที่แตกต่างเข้าด้วยกัน (เช่นขนสัตว์กับแกนอาคริลิค) การแยกประจุที่เหนี่ยวนำโดยการสัมผัสเป็นสาเหตุที่ทำให้เส้นผมของคุณตั้งขึ้นและทำให้เกิดการ \"เกาะติดจากไฟฟ้าสถิต\" (ตัวอย่างเช่นบอลลูนเมื่อขัดถูกับผมจะกลายเป็นมีประจุลบ เมื่ออยู่ใกล้กับกำแพงบอลลูนที่มีประจุจะดูดกับอนุภาคประจุบวกในผนังและสามารถ \"เกาะติด\" กับมัน ปรากฏให้เห็นว่ามันถูกแขวนต้านแรงโน้มถ่วงของโลก)", "title": "ไฟฟ้าสถิต" }, { "docid": "786915#17", "text": "ความรู้สึกของไฟฟ้าช็อกจะเกิดจากการกระตุ้นของเส้นประสาทเมื่อกระแสเป็นกลางไหลผ่านร่างกายมนุษย์ พลังงานที่เก็บไว้ในรูปไฟฟ้าสถิตย์บนวัตถุหนึ่งจะแปรผันขึ้นอยู่กับขนาดของวัตถุและค่าคาปาซิแตนซ์ของมัน, แรงดันไฟฟ้าที่ใช้ใส่ประจุให้มัน และค่าคงที่ไดอิเล็กตริกของตัวกลางโดยรอบ สำหรับการสร้างแบบจำลองของ ผลกระทบของการปล่อยปล่อยไฟฟ้าสถิตบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความไว มนุษย์จะถูกแสดงเป็นตัวเก็บประจุขนาด 100 pf ถูกใส่ประจุจากแรงดันไฟฟ้า 4000 ถึง 35000 โวลต์ เมื่อสัมผัสกับวัตถุ พลังงานนี้จะถูกปลดปล่อยในเวลาน้อยกว่าหนึ่งส่วนล้านวินาที ในขณะที่พลังงานทั้งหมดมีขนาดเล็ก ด้วยค่าสิบยกกำลังของมิลลิจูล มันก็ยังสามารถสร้างความเสียหายให้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความไว วัตถุขนาดที่ใหญ่กว่าจะเก็บพลังงานได้มากกว่า ซึ่งอาจเป็นอันตรายโดยตรงจากการสัมผัสของมนุษย์ หรืออาจจะให้ประกายไฟที่สามารถจุดชนวนก๊าซหรือฝุ่นละอองไวไฟ", "title": "ไฟฟ้าสถิต" }, { "docid": "786915#24", "text": "การไหลของของเหลวไวไฟเช่นน้ำมันเบนซินภายในท่อสามารถสร้างและสะสมไฟฟ้าสถิต ของเหลวไม่มีขั้วเช่นเบนซิน, โทลูอีน, ไซลีน, ดีเซล, น้ำมันก๊าดและน้ำมันดิบชนิดเบาแสดงความสามารถที่สำคัญสำหรับการสะสมประจุและการเก็บรักษาประจุในระหว่างการไหลด้วยความเร็วสูง การปลดปล่อยไฟฟ้าสถิตสามารถจุดประกายไอน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อพลังงานการปลดปล่อยไฟฟ้าสถิตสูงพอ มันจะสามารถจุดประกายไอน้ำมันเชื้อเพลิงกับส่วนผสมอากาศ เชื้อเพลิงที่แตกต่างกันจะมีขีดจำกัดไวไฟแตกต่างกันและต้องมีพลังงานปลดปล่อยไฟฟ้าสถิตที่จะจุดชนวนในที่ระดับที่แตกต่างกันด้วย", "title": "ไฟฟ้าสถิต" }, { "docid": "786915#3", "text": "วัสดุทั้งหลายประกอบขึ้นจากอะตอมที่ปกติแล้วจะเป็นกลางทางไฟฟ้าเพราะพวกมันมีจำนวนของประจุบวก (โปรตอนในนิวเคลียส) และจำนวนของประจุลบ (อิเล็กตรอนใน \"วงรอบนิวเคลียส\") เท่ากัน ปรากฏการณ์ของไฟฟ้าสถิตจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการแยกประจุบวกและลบออกจากกัน เมื่อวัตถุสองชนิดเสียดสี หรือ สัมผัสกัน อิเล็กตรอนอาจย้ายจากวัตถุหนึ่งไปยังอีกวัตถุหนึ่ง ทำให้วัตถุหนึ่งมีประจุบวกเกิน และอีกวัตถุหนึ่งมีประจุลบเกินในจำนวนที่เท่ากัน เมื่อแยกวัตถุทั้งสองออกจากกัน จึงเกิดการไม่สมดุลของประจุขึ้นในวัตถุแต่ละตัว วัตถุที่มีประจุลบเกิน ก็ถือว่าเกิดไฟฟ้าสถิตประจุลบ วัตถุที่ประจุบวกเกิน ก็เรียกว่าเกิดไฟฟ้าสถิตประจุบวก", "title": "ไฟฟ้าสถิต" } ]
299
แคร์รี แมรี อันเดอร์วูดซึ่งมีชื่อเสียงมาจากการชนะเลิศการประกวดรายการอะไร?
[ { "docid": "148618#0", "text": "แคร์รี แมรี อันเดอร์วูด (; เกิด 10 มีนาคม ค.ศ. 1983) เป็นนักร้องคันทรี, นักแต่งเพลง และนักแสดงชาวอเมริกา ซึ่งมีชื่อเสียงมาจากการชนะเลิศการประกวดรายการ\"อเมริกันไอดอล\" ฤดูกาลที่ 4 ในปี ค.ศ. 2005 และกลายเป็นหนึ่งในนักร้องที่ประสบความสำเร็จที่สุดในทุกวงการเพลง ความสำเร็จของเธอทำให้เธอได้เข้าเป็นสมาชิกแกรนด์โอลออปรีย์ ใน ปีค.ศ. 2008 และเข้ามาอยู่ในหอเกียรติยศดนตรีโอคลาโฮมา (Oklahoma Music Hall of Fame) ในปีค.ศ. 2009 เธอชนะรางวัลดนตรีหลายรางวัล รวมถึง 7 รางวัลแกรมมี, 17 รางวัลบิลบอร์ดมิวสิก, 11 รางวัลอะแคดามีออฟคันทรีมิวสิก และ 9 รางวัลอเมริกันมิวสิก", "title": "แคร์รี อันเดอร์วูด" }, { "docid": "148618#6", "text": "ในฤดูร้อนปีค.ศ. 2004 อันเดอร์วูดได้ไปคัดเลือกในรายการอเมริกันไอดอลที่เซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี หลังจากที่อันเดอร์วูดแสดงเพลง \"Could've Been\" ของ ทิฟฟานี ในรอบผู้หญิง 12 คนสุดท้าย ไซมอน คาวเวลล์ หนึ่งในกรรมการตัดสินได้บอกว่าเธอจะเป็นหนึ่งในตัวเก็งที่จะชนะการแข่งขัน และในรอบ 11 คนสุดท้ายวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 2005 นั้น อันเดอร์วูดได้ร้องเพลงฮิตในยุค 80 เพลง \"Alone\" ของ ฮาร์ต ไซมอน คาวเวลล์ กล่าวทำนายไว้ว่าอันเดอร์วูดนั้นไม่เพียงจะชนะการแข่งครั้งนี้เท่านั้น แต่เธอจะกลายเป็นนักร้องที่มีงานเพลงขายดีกว่าผู้ชนะในฤดูกาลที่ผ่านมาทั้งหมด\nอันเดอร์วูดนั้นเป็นผู้ชนะการแข่งขันหนึ่งในห้าที่ไม่เคยได้รับคะแนนการโหวตต่ำสุดสามอันดับ (ผู้ชนะอีกสี่คนคือ เคลลี คลาร์กสัน, เทย์เลอร์ ฮิกส์, จอร์ดิน สปาร์คส, และเดวิด คุก) โดยหนึ่งในผู้ผลิตรายการได้กล่าวว่าอันเดอร์วูดนั้นได้รับคะแนนท่วมท้น และผ่านเข้ารอบแต่ละรอบด้วยความง่ายดาย ในช่วงการแข่งขันเธอมีฐานแฟนคลับที่ชื่อว่า “Carrie’s Care Bears” ในรอบสุดท้าย เธอร้องเพลงกับ ราสคัล แฟลตส์ ในเพลง \"Bless the Broken Road\"\nในวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 2005 แคร์รี อันเดอร์วูดได้กลายเป็นผู้ชนะรายการอเมริกันไอดอลฤดูกาลที่สี่ รางวัลที่เธอได้รับจากการชนะคือ การเซ็นต์สัญญากับค่ายเพลงซึ่งมีมูลค่าอย่างน้อย 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ, ได้ใช้เครื่องบินส่วนตัวเป็นเวลา 1 ปี และฟอร์ด มัสแตง 1 คัน", "title": "แคร์รี อันเดอร์วูด" } ]
[ { "docid": "148618#2", "text": "อันเดอร์วูดถูกยกย่องโดยนิตยสาร\"โรลลิงสโตน\" ให้เป็นนักร้องหญิงเสียงดีในยุคของเธอในทุกวงการเพลง ถูกยกย่องโดยนิตยสาร\"ไทม์\" ให้เป็น 1 ใน 100 คนที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลก และโดยนิตยสาร\"บิลบอร์ด\" ให้ครองตำแหน่งราชินีแห่งเพลงคันทรี อันเดอร์วูดเป็นนักร้องคันทรีเดี่ยวคนเดียวในทศวรรษที่ 2000 ที่มีเพลงอันดับ 1 บน\"บิลบอร์ด\"ฮอต 100 เป็นนักร้องคันทรีคนแรกและคนเดียวที่เปิดตัวด้วยอันดับ 1 บนฮอต 100 และมีอันดับ 1 ถึง 14 เพลง ซึ่งถือเป็นนักร้องหญิงที่มีอันดับ 1 มากที่สุดบน\"บิลบอร์ด\"ฮอตคันทรีซองส์ ตั้งแต่ปี 1991 ถึงปัจจุบัน โดยทำลายสถิติใน\"กินเนสส์\"บุ๊คของเธอเองที่เคยได้ 10 เพลง เธอเป็นนักร้องคันทรีที่มียอดขายเพลงดิจิตอลมากที่สุดของ RIAA และเป็นผู้เข้าแข่งขันรายการ\"อเมริกัน ไอดอล\"ที่ทำรายได้มากที่สุด อัลบั้ม \"Some Hearts\" ถูกจัดให้เป็นอัลบั้มคันทรีอันดับหนึ่งแห่งทศวรรษที่ 2000 โดย\"บิลบอร์ด\" และเป็นนักร้องหญิงที่มีอันดับสูงสุดในรายชื่อนักร้องคันทรียอดเยี่ยมของ\"บิลบอร์ด\"แห่งทศวรรษที่ 2000", "title": "แคร์รี อันเดอร์วูด" }, { "docid": "148618#22", "text": "อันเดอร์วูดบอกว่าเธอมีความสนใจในกีฬา ในปีค.ศ. 2005 เธอได้ไปแสดงเพลง \"เดอะสตาร์สแปงเกิลด์แบนเนอร์\" ในเกม 4 ของรอบชิงชนะเลิศเอ็นบีเอ ระหว่าง ซานแอนโตนิโอ สเปอรส์ กับ ดีทรอยต์ พิสตันส์\nและในปีค.ศ. 2006 ในเกมรวมดาราเอ็นบีเอ\nเธอยังได้แสดงเพลง \"เดอะสตาร์สแปงเกิลด์แบนเนอร์\" ในรอบชิงชนะเลิศเอ็นเอฟซี ระหว่าง ซีแอตเติล ซีฮอกส์ กับ คาโรไลนา แพนเทอร์ส ในปีค.ศ. 2006 เช่นกัน\nและยังแสดงที่นาสคาร์\nในเกมรวมดาราเอ็มแอลบี ที่เมืองพิตส์เบิร์ก รัฐเพ็นซิลเวเนีย และ เกม 3 ของการแข่งเวิลด์ซีรีส์ ปีค.ศ. 2007 ระหว่าง บอสตัน เรดซอกซ์ กับ โคโลราโด ร็อคกีส์\nเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 อันเดอร์วูดได้แสดงเพลงชาติในซูเปอร์โบวล์ XLIV", "title": "แคร์รี อันเดอร์วูด" }, { "docid": "148618#17", "text": "อันเดอร์วูดนับถือศาสนาคริสต์\nและเธอรับประทานอาหารมังสวิรัติ ในปีค.ศ. 2006 อันเดอร์วูดได้แสดงในช่วงพักครึ่งของการแข่งขันอเมริกันฟุตบอล ในวันขอบคุณพระเจ้าที่สนามกีฬาเท็กซัส ในเมืองเออร์วิง รัฐเทกซัส และได้เป็นเพื่อนกับโทนี โรโม ควอร์เตอร์แบ็ก แห่งทีมดัลลัส คาวบอยส์\nและได้ไปร่วมงานวันเกิดของเขา เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2007 และวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 2007 เขาได้ไปงาน Academy of Country Music Awards กับเธอ อันเดอร์วูดกับโรโมมีข่าวลือว่าคบกันตลอดปีค.ศ. 2007 ถึงแม้ว่าอันเดอร์วูดจะปฏิเสธข่าวลือนั้น แต่โรโมยืนยันบนเว็บไซต์ของเขาว่า \"ผมกำลังคบกับแคร์รี อันเดอร์วูดอยู่\" และยังบอกกับหนังสือพิมพ์อิลลินอยส์ว่าเขากำลังคบกับอันเดอร์วูดอยู่\nในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2007 อันเดอร์วูดเริ่มคบกับเชส ครอว์ฟอร์ด นักแสดงซีรีส์เรื่องกอสซิปเกิร์ล และในวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2007 นิตยสารพีเพิลรายงานว่าทั้งคู่เดินจับมือกันในเมืองนิวยอร์ก\nอย่างไรก็ดีทั้งคู่ก็ได้จบความสัมพันธ์ลงในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ปีค.ศ. 2008", "title": "แคร์รี อันเดอร์วูด" }, { "docid": "549239#2", "text": "ดรูว์ แบร์รีมอร์ นักแสดงหญิงที่มีชื่อเสียงรับบท เคสซีย์ เหยื่อฆาตกรรมรายแรกที่ถูกฆ่าตายตั้งแต่เปิดเรื่องมาได้เพียง 13 นาที สันนิษฐานว่ามีที่มาจากแรงบันดาลใจจากตัวละครในเรื่อง \"Psycho\" ผลงานคลาสสิกของอัลเฟรด ฮิตช์ค็อก ในทศวรรษที่ 60 โดยแต่แรกแบร์รีมอร์ถูกทาบทามให้เล่นบทซิดนีย์ตัวเองของเรื่อง แต่ทว่าเธอกลับเปลี่ยนใจก่อนถ่ายทำเพียง 5 สัปดาห์ และความที่แบร์รีมอร์เป็นคนที่รักสัตว์ เวส คราเวน ผู้กำกับฯจึงเล่าเรื่องการทารุณกรรมสัตว์ให้เธอฟังก่อนถ่ายทำ นั่นทำให้เธอได้ร้องไห้ออกมาเป็นธรรมชาติจริง ๆ และผู้ที่รับบทฆาตกรในหน้ากากผีฉากนี้ก็คือ เวส คราเวน เอง ซึ่งคราเวนได้ถูกแบร์รีมอร์ทุ่มด้วยโทรศัพท์ และก่อนหน้านั้นตามบท แบร์รีมอร์ต้องโทรไปขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจในเบอร์ 911 แต่ทว่าทีมงานลืมที่จะถอดสายโทรศัพท์ออก ทำให้เจ้าหน้าที่ ๆ รับสายนึกว่ามีการฆาตกรรมเกิดขึ้นจริง ๆ และผู้ที่ให้เสียงของฆาตกรหน้ากากผี คราเวนก็กันมิให้พบปะกับบรรดานักแสดงเพื่อให้ได้เสียงสมจริง อีกทั้งในการถ่ายทำยังทำให้ 2 นักแสดงนำ คือ เคอร์นีย์ คอก และเดวิด อาเควตต์ ได้พบกัน ต่อมาทั้งคู่จึงได้แต่งงานกันโดยมีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคน ก่อนที่จะเลิกรากันในปี ค.ศ. 2013", "title": "หวีดสุดขีด" }, { "docid": "148618#21", "text": "อันเดอร์วูดเป็นคนรักสัตว์และรับประทานอาหารมังสวิรัติ เธอไม่ทานเนื้อสัตว์ตั้งแต่อายุ 13 ปี เพราะเธอทนไม่ได้ที่ต้องทานสัตว์ที่เธอเลี้ยง เธอได้รับการโหวตให้เป็น \"คนทานมังสวิรัติที่เซ็กซี่ที่สุดในโลก (World's Sexiest Vegetarian) \" โดย PETA ในปีค.ศ. 2007 เป็นครั้งที่สอง โดยครั้งแรกในปีค.ศ. 2005 ได้ตำแหน่งร่วมกับคริส มาร์ติน นักร้องนำวงโคลด์เพลย์\nในปีค.ศ. 2007 อันเดอร์วูดให้สัมภาษณ์กับ PETA ว่า \"ตั้งแต่ฉันเป็นเด็กฉันก็รักสัตว์มาตลอด [...] ถ้าคุณบอกฉันว่าฉันไม่สามารถร้องเพลงได้อีก ฉันคงบอกว่ามันแย่ แต่มันไม่ใช่ชีวิตของฉัน ถ้าคุณบอกฉันว่าฉันไม่สามารถยุ่งกับสัตว์ได้อีก ฉันคงอยากตาย\"\nอันเดอร์วูดเป็นผู้สนับสนุนให้องค์กร Humane Society of the United States (HSUS) และได้ทำโฆษณาหลายตัวให้องค์กร\nอันเดอร์วูดยังทำโฆษณา \"Protect Your Pets\" ให้องค์กร Do Something ด้วย", "title": "แคร์รี อันเดอร์วูด" }, { "docid": "148618#11", "text": "สิ้นปีค.ศ. 2007 อันเดอร์วูดชนะ 5 รางวัลจาก บิลบอร์ด มิวสิก อวอร์ดส ซึ่งรวมถึงรางวัล \"Billboard 200 Artist of the Year\" และรางวัล Country Artist of the Year ด้วย ปลายปี ค.ศ. 2007 เธอชนะ 3 รางวัลจาก อเมริกัน มิวสิก อวอร์ดส คือ รางวัล Artist of the Year, รางวัล Favorite Female Country Artist และรางวัล Favorite Country Album จากอัลบั้ม Some Hearts อัลบั้มเปิดตัวของเธอ ที่งาน Academy of Country Music Awards ปีค.ศ. 2008 เธอชนะรางวัล Female Vocalist of the Year เป็นครั้งที่สองติดต่อกัน เธอได้เข้าชิงสองรางวัลที่งาน Country Music Association Awards ปีค.ศ. 2008 อันเดอร์วูดและแบรด เพสลีย์เป็นพิธีกรร่วมกันในงานนี้ และเธอชนะรางวัล Female Vocalist of the Year เป็นครั้งที่สามติดต่อกัน แต่ไม่ชนะรางวัล Album of the Year ซึ่ง จอร์จ สเตรท เป็นผู้ชนะรางวัล ที่งาน อเมริกัน มิวสิก อะวอร์ดส ปีค.ศ. 2008 อัลบั้ม Carnival Ride ชนะรางวัล Favorite Country Album ทำให้เป็นครั้งที่ 2 ติดต่อกันที่เธอชนะในสาขานี้ อันเดอร์วูดยังชนะรางวัลที่ต่างประเทศเป็นครั้งแรกคือ รางวัล \"Female Vocalist of the Year\" ที่งาน European Country Music Association Awards ในงาน Academy of Country Music Awards ครั้งที่ 44 ปีค.ศ. 2009 อันเดอร์วูด ได้เข้าชิงรางวัลในสี่สาขาหลัก อันเดอร์วูดชนะรางวัล Female Vocalist of the Year และ Entertainer of The Year ทำให้เธอเป็นผู้หญิงคนแรกที่ชนะรางวัลนี้ในรอบสิบปีและเป็นผู้หญิงคนที่ 7 ที่ได้รางวัลนี้ตลอดระยะเวลาสี่สิบปีของงานนี้ อันเดอร์วูดได้เข้าชิงรางวัล Video of the Year ที่งาน CMT Awards ปีค.ศ. 2009 ในเพลง \"Just A Dream\" ในปีค.ศ. 2009 ที่งาน แกรมมี อวอร์ดส ครั้งที่ 51 เธอชนะรางวัลเป็นปีที่สามติดต่อกันในสาขา Best Female Country Vocal Performance ในเพลง \"Last Name\" และแสดงเพลงนี้ในงาน ที่งาน Grammy Awards ครั้งที่ 52 ปี 2010 อันเดอร์วูดชนะรางวัล Grammy Award เป็นครั้งที่ห้า เธอชนะรางวัล Best Country Collaboration with Vocals ในเพลง “I Told You So” กับ แรนดี้ แทรวิส และยังได้เข้าชิงรางวัล Best Female Country Vocal Performance ในเพลง Just a Dream เธอได้แสดงร่วมกับเซลีน ดิออน, อัชเชอร์, สโมกีย์ โรบินสัน และ เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน ในการแสดง 3-D Michael Jackson Ken Ehrlich โปรดิวเซอร์งาน Grammy Awards บอกว่า ไมเคิล แจ็กสัน ชื่นชมอันเดอร์วูดอย่างมาก นี่เลยเป็นเหตุผลว่าทำไมเธอถึงได้ถูกเลือกให้แสดงระหว่างการแสดงการสรรเสริญของเขา", "title": "แคร์รี อันเดอร์วูด" }, { "docid": "148618#5", "text": "ในระหว่างการศึกษาชั้นมัธยมปลายอันเดอร์วูดเป็นเชียร์ลีดเดอร์, เล่นบาสเก็ตบอลและเล่นซอฟต์บอลด้วย\nในปีค.ศ. 2001 เธอจบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมปลายชีโคตา เธอเป็นนักเรียนที่จบการศึกษาด้วยคะแนนดีเยี่ยม\nหลังจากจบการศึกษาเธอเลือกที่จะไม่เป็นนักร้องตามที่ฝัน เธอบอกว่า \"หลังจากจบชั้นมัธยมปลาย ฉันก็ค่อนข้างจะล้มเลิกความฝันในการเป็นนักร้อง ฉันอยู่ในจุดในชีวิตที่ฉันต้องอยู่กับความเป็นจริง และเตรียมพร้อมกับอนาคตของฉันใน'โลกแห่งความจริง'\" เธอได้เข้ารับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยนอร์ทอิสเทิร์นสเตท ในเมืองแทลิควา รัฐโอคลาโฮมา และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้วยเกียรตินิยมอันดับสองในปีค.ศ. 2006 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน\nเธอได้ใช้เวลาส่วนหนึ่งในช่วงภาคฤดูร้อนในการทำงานให้กับ บ๊อบบี้ เฟรม ส.ส. รัฐโอคลาโฮมา\nและเธอยังเป็นพนักงานเสิร์ฟในร้านขายพิซซ่า, ทำงานที่สวนสัตว์ และที่คลินิกสัตว์ด้วย\nอันเดอร์วูดเป็นสมาชิกชมรม Sigma Sigma Sigma ซึ่งเป็นชมรมเกี่ยวกับผู้หญิง\nในช่วงสองปีระหว่างภาคฤดูร้อนเธอได้แสดงในงานของมหาวิทยาลัยใจกลางเมืองแทลิควา นอกจากนั้นเธอยังได้เข้าร่วมการแข่งขันประกวดนางงามของมหาวิทยาลัย และเธอได้รับรางวัลรองชนะเลิศของนางสาวเอ็นเอสยู ปีค.ศ. 2004", "title": "แคร์รี อันเดอร์วูด" }, { "docid": "148618#12", "text": "ในวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 อันเดอร์วูดถูกเชิญให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกแกรนด์โอล ออปรีย์ โดยแรนดี้ แทรวิส และได้ถูกนำเข้าเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการโดยการ์ธ บรูคส์ เป็นคนนำเข้าสู่แกรนด์โอล ออปรีย์ สองสามเดือนก่อนหน้านี้ เธอร้องเพลงคลาสสิกของจูลี่ แอนดรูว์ส จากภาพยนตร์เรื่ง The Sound of Music ที่งาน \"Movies Rock: A Celebration Of Music In Film\" ปีค.ศ. 2007 ในวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 2008 อันเดอร์วูดได้เปิดตัวหุ่นขี้ผึ้งที่พิพิธพันธ์หุ่นขี้ผึ้งมาดามทุสโซในนิวยอร์ก นิตยสารฟอร์ปส รายงานว่าอันเดอร์วูดเป็นผู้เข้าแข่งขันอเมริกันไอดอลที่มีรายได้มากที่สุดตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2008 ถึงวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 เธอทำรายได้ไปมากกว่าสองเท่าของคนที่ทำรายได้เป็นอันดับสองซึ่งทำรายได้ไปประมาณ 14 ล้านดอลลาร์ เธอปรากฏตัวในซีดีเทศกาลวันหยุด \"Hear Something Country Christmas\" 2007 กับเพลง \"Do You Hear What I Hear?\" ซึ่งเพลงนี้ขึ้นไปได้สูงถึงอันดับ 2 บน AC Chart และอยู่ได้ถึงสามสัปดาห์ติดต่อกัน เธอบันทึกเพลง \"Ever Ever After\" สำหรับเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง Enchanted อันเดอร์วูดร่วมแต่งเพลงให้กับ คริสตี ลี คุก ซึ่งเป็นผู้ที่เคยเข้าแข่งขันอเมริกันไอดอล ในอัลบั้ม Why Wait ซึ่งเป็นอัลบั้มเปิดตัวในงาน Idol Gives Back ปีค.ศ. 2008 เธอร้องเพลงคลาสสิกของ จอร์จ ไมเคิล เพลง \"Praying For Time\" และบันทึกในภายหลัง ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2008 อันเดอร์วูดบันทึกเพลงกับ เอลวิส เพรสลีย์ ซึ่งเป็นการบันทึกหลังจากที่ เอลวิส เพรสลีย์ เสียชีวิตไปแล้ว ในเพลงคลาสสิกของเขาเพลง \"I'll Be Home For Christmas\" ในอัลบั้ม \"Christmas Duets\" ปีค.ศ. 2008 พริสซิลลา เพรสลีย์ ภรรยาเก่าของ Elvis ได้ชวนให้อันเดอร์วูดมาร้องอัลบั้มคู่นี้ \"พริสซิลลา อยากให้ฉันร้องเพลง 'I'll Be Home For Christmas'\" อันเดอร์วูดพูด \"ฉันไม่สามารถตอบว่า 'ไม่' \" เธอคัฟเวอร์เพลงของ มอตลีย์ครู เพลง \"Home Sweet Home\" เพื่อเป็นการจากลาอเมริกันไอดอลฤดูกาลที่ 8 เวอร์ชันของเธอเปิดตัวที่อันดับ 21 บน Hot 100 Songs", "title": "แคร์รี อันเดอร์วูด" } ]
300
อาฟเตอร์สกูล เดบิวต์ด้วยเพลงอะไร?
[ { "docid": "298241#1", "text": "อาฟเตอร์สกูลเปิดตัวอย่างเป็นทางการด้วยซิงเกิล \"อา!\" ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2009 จากนั้นพวกเธอได้ปล่อยซิงเกิล \"ดีวา\" และ \"บีคอสออฟยู\" ในช่วงปลายปี ซึ่งกลายเป็นซิงเกิลยอดฮิตและประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์มากที่สุดของกลุ่ม ซิงเกิลถัดมา \"แบง!\", \"แชมพู\" และ \"แฟลชแบ็ก\" ประสบความสำเร็จบนชาร์ต รวมถึงได้รับความนิยมทั้งในและต่างประเทศ ซิงเกิลที่หก \"เฟิสต์เลิฟ\" ได้รับคำยกย่องในการเต้นแบบโพลแดนซ์จากนิตยสาร \"บิลบอร์ด\" ในปี ค.ศ. 2017 อาฟเตอร์สกูลอยู่อันดับที่ 5 จาก 10 ในรายชื่อ \"เกิร์ลกรุ๊ปเคป็อปที่ยอดเยี่ยมที่สุดแห่งทศวรรษ\"", "title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)" } ]
[ { "docid": "667713#2", "text": "มิวสิกวิดีโอออกเผยแพร่อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2551 โดยอะเว็นจด์เซเวนโฟลด์ และวอร์เนอร์บราเธอร์สเรเคิดส์ วิดีโอประกอบไปด้วยการแสดงดนตรีของวงบนเวทีเล็ก ๆ ในห้องสีขาวกับแสงสีดำ วิดีโอแสดงสิ่งต่าง ๆ ได้แก่ เอ็ม. แชโดวส์ กำลังวิ่งโดยไม่ได้สวมเสื้อ แซกกี เวนเจนซ์ กำลังเต้นรำกับผู้หญิงคนหนึ่ง ซินนิสเตอร์ เกตส์ กำลังถือหัวกะโหลกท่ามกลางเหล่าแสงเทียน เดอะเรฟกำลังนอนพร้อมกับแมงมุมบนหน้าของเขา และจอห์นนี คริสต์ กำลังปล่อยฝูงนกพิราบที่เขาอุ้มเอาไว้ให้บินออกไป", "title": "แอฟเตอร์ไลฟ์ (เพลงอะเว็นจด์เซเวนโฟลด์)" }, { "docid": "668488#0", "text": "เอาต์ออฟแอชิส () เป็นสตูดิโออัลบั้มเปิดตัวของวงดนตรีร็อกชาวอเมริกัน เดดบายซันไรส์ ซึ่งประกอบด้วย เชสเตอร์ เบนนิงตัน นักร้องนำจากวง ลิงคินพาร์ก และสมาชิกจากวง จูเลียน-เค อัลบั้มนี้ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ผ่านวอร์เนอร์บราเธอร์สเรเคิดส์ มีโปรดิวเซอร์ คือ Howard Benson อัลบั้มนี้ได้ออกซิงเกิลมาทั้งหมด 5 ซิงเกิล ได้แก่ \"Crawl Back In\", \"Let Down\", \"Inside of Me\", \"Too Late\" และ \"Fire\" (ซึ่งออกจำหน่ายเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น) โดยอัลบั้มนี้ได้รับการตอบรับที่ดี และติดอันดับที่ 29 ในชาร์ต\"บิลบอร์ด\" 200 อัลบั้มนี้ประสบความสำเร็จในระดับปานกลางในชาร์ตของสหรัฐอเมริกา", "title": "เอาต์ออฟแอชิส" }, { "docid": "667713#0", "text": "\"แอฟเตอร์ไลฟ์\" () เป็นเพลงของวงดนตรีเฮฟวีเมทัลชาวอเมริกัน อะเว็นจด์เซเวนโฟลด์ เพลงนี้ได้ออกจำหน่ายเป็นซิงเกิลลำดับที่ 3 จากสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 4 ของวง \"อะเว็นจด์เซเวนโฟลด์\" ตัวเพลงประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีออร์เคสตรา และประพันธ์โดยมือกลองของวง เดอะเรฟ เพลงนี้ได้ถูกโหวตให้เป็นเพลงที่ดีที่สุดในอัลบั้มในหน้าแรกในเว็บไซต์ของอะเว็นจด์เซเวนโฟลด์ ซิงเกิลนี้ออกจำหน่ายในต้นปี พ.ศ. 2551", "title": "แอฟเตอร์ไลฟ์ (เพลงอะเว็นจด์เซเวนโฟลด์)" }, { "docid": "134655#0", "text": "วิแวร์เดอะเบสท์ออฟ () เป็นอัลบั้มรวมเพลงยอดนิยมของอานเดรอา โบเชลลี ซึ่งประกอบด้วยเพลงยอดนิยมอย่าง \"Time To Say Goodbye\" ที่ร้องคู่กับ Sarah Brightman นักร้องโซปราโน่ระดับโลก และเพลง \"The Prayer\" ที่ร้องคู่กับ เซลีน ดิออน โดยมีดีวีดีบันทึกการแสดงสดออกจำหน่ายในรูปแบบพิเศษในอัลบั้ม ดีสอาร์สเปเชียลไทม์ ของเซลีน ดิออน นอกจากนี้ อัลบั้มวิแวร์ ได้ออกรูปแบบ Deluxe Edition CD และ DVD (American dream)", "title": "เดอะเบสต์ออฟอานเดรอาโบเชลลี: วิแวร์" }, { "docid": "298241#25", "text": "ในวันที่ 17 มิถุนายน 2011 เพลดิสเอนเตอร์เทนเมนท์ ต้นสังกัดของอาฟเตอร์สกูล ได้เปิดเผยว่า ในวันที่ 1 กรกฎาคมที่จะถึงนี้ อาฟเตอร์สกูลจะมีนักเรียนที่จบการศึกษารุ่นแรก ซึ่งอาฟเตอร์สกูลเป็นวงเกิร์ลกรุปที่ได้รับความสนใจมาตั้งแต่เดบิวท์ด้วยระบบสมาชิกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ คือการเข้าโรงเรียนโดยการเพิ่มสมาชิกใหม่ และการจบการศึกษาโดยการลาออกของสมาชิกวง โดยนักเรียนที่จะจบการศึกษาในครั้งนี้ก็คือ เบคก้า ซึ่งต้นสังกัดกล่าวว่า “หลังจากครุ่นคิดและปรึกษาหารือกับเพื่อนๆ ครอบครัว บริษัทมานาน เบคก้าก็ตัดสินใจโดยสรุปว่า เธอจะจบการศึกษาจากวงอาฟเตอร์สกูล และจะกลับไปฮาวายเพื่อทุ่มเทให้กับการเรียนออกแบบที่เธอใฝ่ฝัน” เสริม “ตอนนี้เราก็กำลังวางแผนเรื่องการถ่ายภาพจบการศึกษาของสมาชิกวงรวมกับเบคก้า ซึ่งอีกไม่นานก็จะมีการเปิดตัวผลงานจบการศึกษาของเบคก้า โดยเธอจะมาพบกับแฟนๆ ก่อนที่จะจบการศึกษาครับ” ส่วนเบคก้าก็ได้กล่าวฝากมาทางต้นสังกัดว่า “ตอนนี้ฉันกำลังเตรียมผลงานจบการศึกษาโดยรวมเอาประสบการณ์และช่วงเวลาที่มีความสุขตอนที่อยู่ด้วยกันมาจนกระทั่งถึงตอนนี้อยู่ค่ะ ต่อไป ถ้าทักษะการออกแบบของฉันเพิ่มขึ้น ฉันก็อยากจะออกแบบอัลบั้มของอาฟเตอร์สกูลให้เป็นของขวัญค่ะ” อนึ่ง เบคก้าจะจบการทำกิจกรรมร่วมกับวงอาฟเตอร์สกูลในผลงานจบการศึกษาที่เธอเป็นผู้แต่งเนื้อเพลงเอง ซึ่งเพลงนี้จะกล่าวถึงความรู้สึกของเธอในการทำกิจกรรมกับอาฟเตอร์สกูลตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา", "title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)" }, { "docid": "743508#4", "text": "เครยอนป๊อปเดบิวต์ด้วยเพลง \"Bing Bing\" เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2012 ด้วยภาพลักษณ์แบบเกิร์ลกรุปทั่วไป รวมถึงขึ้นแสดงที่หางโจว ประเทศจีนรวมถึงได้ปรากฏตัวในซีรีส์ของจีนในเรื่อง \"Curry Campus\" ด้วยการเป็นวงที่แสดงบนเวทีในผับแห่งหนึ่ง ต่อมาเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ปีเดียวกัน ได้เดบิวต์บนเวทีด้วยเพลง \"Saturday Night\" ในรายการเอ็ม! เคาต์ดาวน์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ", "title": "เครยอนป๊อป" }, { "docid": "644212#0", "text": "\"อะไลต์แดตเนเวอร์คัมส์\" () เป็นเพลงของวงดนตรีร็อกชาวอเมริกัน ลิงคินพาร์ก ร่วมกับนักดนตรีชาวอเมริกัน สตีฟ อะโอะกิ รวมอยู่ในอัลบั้มรีมิกซ์ชุดที่ 2 ของวง \"รีชาจด์\" เป็นซิงเกิลที่ 26 ของวง เพลงปรากฏเป็นเพลงลำดับแรกในอัลบั้ม ขณะที่เพลงนี้ในเวอร์ชันรีบูตที่โปรดิวซ์โดย ริก รูบิน จะเป็นเพลงลำดับสุดท้ายหรือเป็นแทร็กปิดอัลบั้ม ออกจำหน่ายในรูปแบบซีดีซิงเกิลในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556", "title": "อะไลต์แดตเนเวอร์คัมส์" }, { "docid": "298241#32", "text": "ในวันที่ 1 ธันวาคม 2011 เพลดิสเอนเตอร์เทนเมนท์ ได้ปล่อยซิงเกิลใหม่ \"Happy Pledis 2011\" ซึ่งเป็นซิงเกิลที่ 2 ในโปรเจกต์ \"Happy Pledis\" โดยในคราวนี้ได้ ซนดัมบิ, อาฟเตอร์สกูล, ศิลปินฝึกหัดในค่าย รวมถึงบอยแบนด์กลุ่มใหม่ของเพลดิสที่มีกำหนดจะเดบิวต์ในปีหน้า มาร่วมกันโปรโมทในอัลบั้มนี้ ซึ่งรายได้ส่วนหนึ่งของอัลบั้มนี้จะถูกนำไปบริจาคให้กับองค์กรยูนิเซฟเพื่อช่วยเหลือเด็กๆต่อไป", "title": "อาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)" }, { "docid": "886149#7", "text": "ทางต้นสังกัดของเดอะบอยซ์ประกาศอย่างเป็นทางการว่า เดอะบอยซ์จะเดบิวต์ด้วยอีพี \"เดอะเฟิร์ส\"(The First) โดยมีเพลง \"บอย\"(Boy) เป็นเพลงเดบิวต์และเพลงโปรโมทหลักของอีพีนี้ โดยอีพีได้ถูกปล่อยออกมาในวันที่ 6 ธันวาคม", "title": "เดอะบอยซ์" }, { "docid": "644212#3", "text": "อะไลต์แดตเนเวอร์คัมส์ (รีมิกซ์) () เป็นอีพีชุดที่ 3 ที่ออกเผยแพร่สู่สาธารณะโดยวงดนตรีร็อกชาวอเมริกัน ลิงคินพาร์ก และเป็นอีพีที่ออกเผยแพร่เป็นชุดที่ 2 โดยนักดนตรีอิเล็กโทรเฮาส์ชาวอเมริกัน สตีฟ อะโอะกิ ประกอบไปด้วยเพลง \"A Light That Never Comes\" ในรูปแบบรีมิกซ์ 7 แทร็กโดยศิลปิน 7 ท่าน เป็นหนึ่งในบางอีพีที่ไม่ได้ออกจำหน่ายโดย Machine Shop ซึ่งเป็นค่ายเพลงที่ก่อตั้งขึ้นโดยนักร้องร่วมของวง ไมค์ ชิโนดะ ทั้งอัลบั้มมีอยู่ในช่องในยูทูบที่เป็นทางการของสตีฟ อะโอะกิ และดิมมัคเรคคอร์ดส์", "title": "อะไลต์แดตเนเวอร์คัมส์" } ]
302
อะนิเมะ คืออะไร ?
[ { "docid": "19842#0", "text": "อนิเมะ () เป็นคำภาษาญี่ปุ่นที่มาจากภาษาอังกฤษว่า แอนิเมชั่น (animation) ซึ่งมาจาก ภาษาฝรั่งเศส อานีเม่ (animé) และจากภาษาละติน แปลว่าเคลื่อนไหว หรือภาพเคลื่อนไหว แต่ความหมายกลายจนเป็นคำเฉพาะของภาษาญี่ปุ่นแปลว่า ภาพยนตร์การ์ตูน ภายนอกประเทศญี่ปุ่น อนิเมะหมายถึงภาพยนตร์การ์ตูนสัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะทางศิลปะแตกต่างกับภาพยนตร์การ์ตูนจากแหล่งอื่น อนิเมะส่วนใหญ่จะวาดขึ้นด้วยมือ แต่ปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยสร้างอนิเมะอย่างแพร่หลาย อนิเมะส่วนใหญ่สร้างขึ้นเพื่อให้ความบันเทิงเหมือนภาพยนตร์ โดยมีแนวเรื่องหลากหลายและครอบคลุมแนววรรณกรรมเกือบทุกแนว อนิเมะส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นเป็นตอน ๆ เพื่อฉายทางโทรทัศน์ ส่วนหนึ่งถูกสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาวเพื่อฉายในโรงภาพยนตร์ และอีกส่วนหนึ่งถูกสร้างเป็นตอน ๆ เพื่อขายตรงในรูปแบบดีวีดี วีซีดี หรือวีดิโอ ดูมีการทำตอนเฉพาะที่เรียกว่า โอวีเอ อนิเมะหลายเรื่องถูกดัดแปลงมาจากมังงะ นอกจากนี้ยังมีอนิเมะที่ถูกนำไปดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์อีกด้วย", "title": "อนิเมะ" } ]
[ { "docid": "158346#0", "text": "สัญญามรณะ ธิดาอเวจี () เป็นอะนิเมะแนวลึกลับสยองขวัญ แต่งโดย ฮิโรชิ วาตานาเบะ ต่อมาได้ถูกดัดแปลงเป็นหนังสือการ์ตูน ละครโทรทัศน์ นวนิยาย และเกม สำหรับในด้านของตัวอะนิเมะเองนั้น ก็ได้มีการสร้างภาคต่อ โดยภาคสองใช้ชื่อภาคว่า \"ฟุตะโคะโมะริ\" (二籠) ภาค 3 โดยใช้ชื่อว่า \"มิตสึนะงะเอะ\" (三鼎) และภาค 4 ใช้ชื่อว่า \"โยอิ โนะ โทกิ\" (宵伽)", "title": "สัญญามรณะ ธิดาอเวจี" }, { "docid": "510350#5", "text": "เป็นสเตรนชนิดหนึ่ง ปรากฏครั้งแรกในฐานะแมวเลี้ยงของชิโระ เธอมีความสามารถในการแทรกแทรงระบบสมองและระบบประสาทของผู้อื่น ทำให้เธอสามารถสร้างความทรงจำจอมปลอมขึ้นมาได้ รวมไปถึงสร้างภาพมายา เธอสามารถอยู่ในสภาวะล่องหนได้ ในภายหลังเธอได้กลายมาเป็นผู้รับใช้ของราชาลำดับที่ 1 ดูเหมือนว่าชื่อจริงของเธอจะเป็นอาเมโนะ มิยาบิ (雨乃雅日 \"Ameno Miyabi\")", "title": "K (อะนิเมะ)" }, { "docid": "135087#0", "text": "ไม-โอโตเมะ ศึกอัญมณีสาวน้อยแห่งดวงดาว () () เป็นอะนิเมะที่สร้างโดยบริษัท ซันไรส์ กำกับโดย มาซะคะสึ โอบาระ เป็นการนำเรื่อง ไม-HiME มาเล่าใหม่ในอีกรูปแบบหนึ่ง โดยนำตัวละครจากภาค ไม-HIME มาเปลี่ยนชื่อและบทบาทใหม่ แต่มีตัวละครหลายตัวยังคงใช้ชื่อเดิม รวมทั้งความสัมพันธ์ของตัวละครแต่ละตัวได้เปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน", "title": "ไม-โอโตเมะ ศึกอัญมณีสาวน้อยแห่งดวงดาว" }, { "docid": "218424#0", "text": "อาคานาเมะ () เป็นผีที่มีลิ้นยาว ชื่อของอะคานาเมะ อาจมากจากลักษณะตัวของมัน ที่ค่อนข้างเล็ก ซึ่ง 垢(あか) ในภาษาญี่ปุ่น แปลว่า ขี้ไคลหรือสิ่งสกปรก และ 嘗(嘗める,なめる) ในภาษาญี่ปุ่น แปลว่า เลีย ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของมัน เรื่องเล่าของมันมักเล่าว่า ปีศาจตนนี้จะปรากฏตัวที่ห้องน้ำที่สกปรก ถูกทิ้งโดยไม่ได้ทำความสะอาด โดยมันจะใช้ลิ้นเลียสิ่งสกปรกเหล่านั้น จึงมีผู้เล่าว่าในยามค่ำคืนที่ได้ยินเสียงแปลกๆ จากห้องน้ำ บางทีอาจไม่ใช่เสียงของแมลงสาบ แต่จะเป็นเสียงของอะคานาเมะก็ได้ สำหรับอะคานามะห้องน้ำจะสกปรกหรือไม่ก็ไม่ใช่ปัญหา แต่อะคานาเมะจะชอบห้องน้ำที่สกปรกมากกว่า ซึ่งอะคานาเมะชอบเลียคราบสกปรกที่พิ้นห้องน้ำมาก มักจะออกมาเลียห้องน้ำตอนที่ผู้คนหลับหมด ถ้ามีใครเข้าไปใกล้ มันจะหนีหายอบ่างรวดเร็ว จึงไม่ง่ายนักที่จะพบเห็นปีศาจประเภทนี้", "title": "อะกะนะเมะ" }, { "docid": "415107#0", "text": "มะอิ นะกะฮะระ () เป็นนักพากย์และนักร้องชาวญี่ปุ่น ทำงานกับ I'm Enterprise เธอมักจะมีผลงานพากย์ร่วมกับไอ ชิมิซุ ซึ่งในอะนิเมะจำนวน 8 เรื่อง ทั้งสองคนได้พากย์ตัวละครที่มีความเกี่ยวข้องกัน มะอิมีงานอดิเรกคือทำอาหารและดูภาพยนตร์ และเธอยังมีความสามารถในเคนโด้", "title": "มะอิ นะกะฮะระ" }, { "docid": "510350#8", "text": "หรือเจ้าของฉายา \"ยาตะการาสุ\"(แปลว่าอีกา 3 ขา) เป็นแนวหน้าของกลุ่มโฮมุระ เชี่ยวชาญในการเล่นสเกตบอร์ด เป็นอย่างมาก และยังใช้มันเป็นอาวุธอีกด้วย ยาตะเป็นคนอารมณ์ร้อนและมีความอดทนต่ำ เขามักจะอายที่จะต้องสนทนากับสาวๆ นอกจากนี้เขาเป็นเพื่อนสนิทกับ \"ซารุฮิโกะ ฟุชิมิ\" จนเมื่อฟุชิมิออกจากกลุ่มฮมระไปเข้ากับเซปเตอร์ 4 ยาตะกับฟุชิมิก็กลายเป็นศัตรูกัน", "title": "K (อะนิเมะ)" }, { "docid": "83216#4", "text": "เนกิมะ!? นีโอ เป็นมังงะแบบ Side Story ที่เขียนโดย อ. ทาคุยะ ฟุจิมะ ที่เคยเขียนโดจิน ของเนกิมะ โดยอิงเนื้อเรื่องตามอะนิเมะ เนกิมะ!? เป็นหลัก(เช่น การใช้นีโอบัคดิโอการ์ดเป็นการ์ดพันธะสัญญา) แต่จะฉีกแนวไปอีกพอสมควร เนื้อหาในช่วงแรกนั้นจะกล่าวถึงชีวิตในอดีตก่อนจะมาเป็นครูของเนกิ สปริงฟีลด์\nลงตีพิมพ์ในนิตยสารอาบราคาดาบรา (Abracadabra) และออกเป็นฉบับรวมเล่มแล้ว 4 เล่ม โดยสำนักพิมพ์โคดันฉะ และมีเป็นแบบลิมิตเทดอิดิชั่น 3 เล่ม คือ", "title": "เนกิมะ!?" }, { "docid": "510350#2", "text": "\"อิซานะ ยาชิโระ\" เป็นนักเรียนธรรมดาของโรงเรียนมัธยมปลายอะชินะกะที่ตั้งอยู่บนเกาะที่เชื่อมต่อกับเมืองชิซุเมะ เมืองชั้นนำด้านเทคโนโลยีของญี่ปุ่น ยาชิโระนั้นมักจะมีใบหน้าเปื้อนยิ้มอยู่เสมอและเขายังเป็นเข้ากับทุกคนได้ดี ถึงกระนั้น เขาก็ไม่ได้สนิทกับใครเป็นพิเศษ", "title": "K (อะนิเมะ)" }, { "docid": "22517#2", "text": "ในภาคอะนิเมะได้รับการพากษ์เสียงโดยทากาฮิโระ ซากุระอิ ในภาคภาพยนตร์รับบทโดยทาคามาสะ สุกะ\nในภาคอะนิเมะได้รับการพากษ์เสียงโดยซุซุกิ ทาคุมะ ในภาคภาพยนตร์รับบทโดยมิตสึกิ โคกะ\nในภาคอะนิเมะได้รับการพากษ์เสียงโดยอินาดะ เท็ตสึ ในภาคภาพยนตร์รับบทโดยฮิโรชิ ยามาโมโตะ\nในภาคอะนิเมะได้รับการพากษ์เสียงโดยคานาอิ มิกะแต่ต่อมาเปลี่ยนเป็นวาคาโมโตะ โนริโอะ ส่วนในภาคภาพยนตร์พากษ์เสียงโดยชินจิ ทาเคดะ\nในภาคอะนิเมะได้รับการพากษ์เสียงโดยเรียว ไนโตะ ในภาคภาพยนตร์รับบทโดยโยชิฮิโระ ทาคายามะ\nในภาคอะนิเมะได้รับการพากษ์เสียงโดยคุโรดะ ทาคายะ ในภาคภาพยนตร์รับบทโดยอิตสึจิ อิทาโอะ\nในภาคอะนิเมะได้รับการพากษ์เสียงโดยโมริ โนริฮิสะ ในภาคภาพยนตร์รับบทโดยโนโบรุ คาเนโกะ\nในภาคอะนิเมะได้รับการพากษ์เสียงโดยสุยามะ อาคิโอะ ในภาคภาพยนตร์รับบทโดยซาดาโยชิ ชิมาเนะ\nในภาคอะนิเมะได้รับการพากษ์เสียงโดยคาซามะ ยูโตะ ในภาคภาพยนตร์รับบทโดยโชอิจิโร่ มัตสึโมโตะ\nในภาคอะนิเมะได้รับการพากษ์เสียงโดยชิมุระ โทโมยูกิ\nในภาคอะนิเมะได้รับการพากษ์เสียงโดยยูจิ อุเอดะ\nในภาคอะนิเมะได้รับการพากษ์เสียงโดยมิกะ คานาอิ\nในภาคอะนิเมะได้รับการพากษ์เสียงโดยโนบุยุกิ ฮิยามะ ในภาคภาพยนตร์รับบทโดยเคนอิจิ เอนโด\nในภาคอะนิเมะได้รับการพากษ์เสียงโดยไดกิ นากามูระ ในภาคภาพยนตร์รับบทโดยโนโบรุ ทาคาชิ\nในภาคอะนิเมะได้รับการพากษ์เสียงโดยคิโยยูกิ ยานาดะ\nในภาคอะนิเมะได้รับการพากษ์เสียงโดยมาซามิ คิคุจิ\nในภาคอะนิเมะได้รับการพากษ์เสียงโดยเมงุมิ ฮายาชิบาระ ในภาคภาพยนตร์รับบทโดยฮิโรชิ ยามาโมโตะ", "title": "คุโรมาตี้ โรงเรียนคนบวม" }, { "docid": "510350#3", "text": "สิ่งไม่คาดคิดเกิดขึ้น เมื่อยาชิโระถูกลอบทำร้ายโดยกลุ่มสีแดง\"โฮมุระ\" ในขณะที่เขากำลังหลบหนีนั้น ยาชิโระได้รับความช่วยเหลือจากบุลคลนาม \"ยาโตงามิ คุโระ\" เจ้าของฉายา \"หมาดำ\" จนหลบหนีพ้น แต่เมื่อมาถึงสถานที่ปลอดภัย คุโระกลับจะฆ่ายาชิโระเสียเอง ยาชิโระซึ่งกำลังสับสนกับเหตุการณ์ทั้งหมดถามเหตุผลที่จะฆ่าเขาจากคุโร ทันใดนั้น ภาพจอโทรทัศน์และจอโฆษณาทั่วเมืองก็ได้ปรากฏวิดีโอที่ในนั้นปรากฏภาพบุคคลซึ่งมีหน้าตาเหมือนยาชิโระซึ่งอ้างตนว่า เป็นราชาลำดับเจ็ด \"ราชาไร้สี\" ได้สังหาร \"โทสึกะ ทาทาระ\" สมาชิกคนสำคัญของกลุ่มสีแดงไป ยาชิโระถูกกล่าวหาว่าเป็นมือสังหารในขณะที่เขาเองก็เริ่มสับสนในตัวตนของเขา", "title": "K (อะนิเมะ)" } ]
307
พุทธจริต แบ่งเนื้อหาออกเป็นกี่ สรรค?
[ { "docid": "590933#0", "text": "พุทธจริต หรือ \"จริยาแห่งพระพุทธองค์\" มหากาพย์ภาษาสันสกฤต รจนาโดยพระอัศวโฆษ คาดว่ารจนาขึ้นในราวช่วงต้นศตวรรษที่ 2 ปัจจุบันเหลืออยู่ 28 สรรค 14 สรรคแรกเหลือสมบูรณ์ดีในภาษาสันสกฤต ส่วนสรรคที่ 15 ถึง สรรค 28 อยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ ทั้งนี้ พระอัศวโฆษผู้ประพันธ์ได้ใช้ฉันทลักษณ์ 10 ชนิดในการประพันธ์ อาทิ ตริษฏุภฉันท์ อนุษฎุภฉันท์ วังสัสถฉันท์ เอาปัจฉันทสิกฉันท์ เป็นต้น", "title": "พุทธจริต" } ]
[ { "docid": "590933#31", "text": "สรรคที่ 28 การแจกพระบรมสารีริกธาตุ กล่าวถึงราชทูตจากนครทั้ง 7 ส่งทูตมาขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ แต่เจ้ามัลละไม่ยอม กษัตริย์ทั้ง 7 จึงกรีฑาทัพมาเพื่อแย่งชิงพระบรมสารีริกธาตุ พราหมณ์โทรณะได้ออกมาหย่าศึกจึงไม่มีการสู้รบกัน ครั้งนั้นพระบรมสารีริกธาตุถูกแบ่งออกเป็น 8 ส่วน พราหมณ์โทรณะเก็บภาชนะแจกพระธาตุไว้ ส่วนพระสรีรังคารที่แหลือชาวปสละเก็บไว้บูชา ดังนั้นครั้งแรกจึงมีสถูปทั้งหมด 8 องค์ รวมสถูปที่พราหมณ์โทรณะสร้างและสถูปบรรจุพระสรีรังคารจึงเป็นสถูป 10 องค์ ครั้นเมื่อพระเจ้าอโศกทรงหันมานับถือพระพุทธศาสนาพระองค์ทรงรวบรวมพระบรมสารีริกธาตุมาจากสถูป 7 องค์แล้วแบ่งไปบรรจุในสถูป 84000 องค์ที่สร้างขึ้นใหม่ทั่วชมพูทวีป พระองค์ไม่ได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาจากสถูปองค์ที่ 8 ซึ่งอยู่ในเมืองรามปุระเพราะมีพวกนาคเผ้ารักษาไว้อย่างดี พระองค์มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้าและทรงปฏิบัติบำเพ็ญธรรมจนได้บรรลุโสดาบัน ตอนท้ายของสรรคนี้ผู้รจนากล่าวถึงอานิสงส์ของการบูชาพระบรมสารีริกธาตุและการทำใจให้บริสุทธิ์และกล่าวว่าที่ท่านรจนามหากาพย์พุทธจริตขึ้นมิใช่ต้องการจะอวดความรู้หรือความชำนาญเชิงกวี แต่ต้องการแสดงหลักพุทธธรรมให้แพร่หลายเพื่อประโยชน์สุขของชาวโลกยิ่งๆขึ้นไป", "title": "พุทธจริต" }, { "docid": "48610#17", "text": "ใน พ.ศ. 2519 ระบบของพล พตได้จัดแบ่งชาวกัมพูชาออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ผู้มีสิทธิ์เต็ม ผู้มีสิทธิ์แข่งขัน และผู้อาศัย ผู้อาศัยส่วนใหญ่เป็นประชาชนใหม่ที่ออกจากเมืองมาอยู่ในคอมมูน ได้รับอาหารเพียงน้ำข้าว 2 ชามต่อวัน ซึ่งทำให้เกิดความอดอยากไปทั่ว ประชาชนใหม่ไม่มีสิทธิ์เลือกตั้งในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2519 แม้ว่ารัฐธรรมนูญจะให้สิทธิ์ทุกคนที่อายุมากกว่า 18 ปี ผู้นำเขมรแดงออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงที่ควบคุมโดยรัฐ กล่าวว่าต้องการประชากรเพียง 1-2 ล้านคนในการสร้างสังคมใหม่ ดังนั้น “เก็บคุณไว้ก็ไม่มีประโยชน์ ทำลายคุณไปก็ไม่มีความเสียหาย”", "title": "พล พต" }, { "docid": "630430#3", "text": "เนื้อหาของธชัคคสูตรสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ ไวยากรณ์ภาษิต และ คาถาประพันธ์ ส่วนที่เป็นไวยากรณ์ภาษิต หรือภาษิตที่กล่าวไว้ดีแล้วถูกต้องตามหลักการแล้ว คือส่วนที่พระพุทธองค์ทรงเท้าความถึงการเจริญพุทธานุสสติว่า มีคุณมากกมาย เหมือนดังที่เทวดาทั้งหลายแลดูธงของพระอินทร์ในเทวาสุรสงคราม แต่พุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ และสังฆานุสสติ อันเป็นเหมือนธงชัยของพระภิกษุทั้งหลายนี้ เป็นสิ่งที่เลิศยิ่งกว่าธงชัยของพระอินทร์ และเทวดาผู้นำทั้งหลายนัก เพราะ", "title": "ธชัคคปริตร" }, { "docid": "166731#68", "text": "จิตร ภูมิศักดิ์ ได้เสนอฉันทลักษณ์โคลงห้าพัฒนา โดยปรับปรุงจากฉันทลักษณ์โคลงห้าในโองการแช่งน้ำ โดยกำหนดให้หนึ่งบทมีสี่บาท หนึ่งบาทมีห้าคำ แบ่งเป็นสองวรรค วรรหน้าสามคำ วรรคหลังสองคำ บังคับเอก 4 โท 4 สัมผัสเหมือนโคลงสี่สุภาพ สร้อยเหมือนสร้อยโคลงดั้น เอกโทวรรคแรกอาจสลับที่กันได้ และโทคู่วรรคที่สี่อาจอยู่แยกกันได้ ดังตัวอย่าง", "title": "โคลง" }, { "docid": "423916#5", "text": "ต่อมาเพชรดิบนี้ได้ถูกตัดแบ่งเป็นสามส่วนใหญ่ๆโดยบริษัท รอยัล แอสเชอร์ ไดมอนด์ จำกัด (Royal Asscher Diamond Company) แห่งอัมส์เตอร์ดัม และต่อมาเป็น 9 ชิ้นกับเศษเล็กๆเป็นจำนวนมาก ซึ่งในขณะนั้น เทคโนโลยีไม่ได้เอื้ออำนวยเพื่อรับประกันคุณภาพของการเจียระไนเพชรดั่งปัจจุบัน ซึ่งการตัดแบ่งเพชรในสมัยนั้นถือว่าเป็นงานที่ยากลำบาก และเสี่ยงมาก จึงได้มีการออกแบบอย่างระมัดระวัง โดยทำรอยบากไว้ก่อนที่ความลึกครึ่งนิ้ว และจากนั้นได้สอดมีดที่ออกแบบมาพิเศษนั้น และทำการผ่าออกด้วยแรงมหาศาล ซึ่งทำให้เพชรดิบนี้ถูกแบ่งตรงจุดตำหนิพอดีซึ่งทั้งสองชิ้นนี้ได้แบ่งจุดตำหนิไปเท่าๆกัน", "title": "เพชรคูลลิแนน" }, { "docid": "5709#14", "text": "จากนั้น เดลินิวส์ก็เปิดแนวคิดแบ่งเนื้อหาออกเป็นสองส่วน อย่างชัดเจนเป็นฉบับแรก โดยแบ่งข่าวหน้า 1 ข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวอาชญากรรม ข่าวต่างประเทศ ข่าวเกษตร คอลัมน์ และสกู๊ปวาไรตี้สี่สี เป็นส่วนแรก และส่วนที่สอง เริ่มด้วยข่าวกีฬา ข่าวสังคมสตรี ข่าว กทม. ข่าวภูมิภาค และปิดท้ายด้วยข่าวบันเทิง ต่อมา เดลินิวส์วางแผนขยับขยายสถานที่เพิ่มเติมอีกครั้ง โดยก่อสร้างอาคารสำนักงานหลังใหม่ จำนวน 9 ชั้น บนที่ดินผืนเดียวกับอาคารหลังเดิม", "title": "เดลินิวส์" }, { "docid": "590933#12", "text": "สรรคที่ 9 กุมารานฺเวษณ – การติดตามค้นหาพระกุมาร กล่าวถึงพระราชครูและปุโรหิตเร่งเดินทางไปจนถึงอาศรมของฤษีภารควะและเข้าไปสอบถาม เมื่อรู้ว่าพระกุมารเสด็จมุ่งหน้าไปยังอาศรมของพระมุนีอราฑะจึงออกติดตามไปทันที ทั้งสองตามทันพระกุมารที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่งได้กราบทูลให้ทราทราบข่าวในพระราชวัง พระกุมารตรัสว่าที่ทรงออกผนวชเพราะกลัวชรา พยาธิ และมรณะและจะแสวงหาทางหลุดพ้นเพื่อช่วยเหลือชาวโลกให้ได้ พระราชครูและปุโรหิตได้ทูลชักชวนพระกุมารกลับ แต่พระกุมารทรงปฏิเสธ เมื่อเห็นว่าไม่สำเร็จทั้งสองจึงอำลากลับสู่เมืองโดยได้แต่งตั้งจารบุรุษไว้คอยสืบเส้นทางที่พระกุมารเสด็จไป", "title": "พุทธจริต" }, { "docid": "929064#2", "text": "ตราสัญลักษณ์ของพรรคเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าโดยแบ่งเป็นสองส่วน คือ ส่วนแรกเป็นเส้นทะแยงซ้าย ส่วนด้านขวาเป็นลูกศรชี้ไปด้านขวา \nความเป็นมาของตราสัญลักษณ์ เหตุที่ด้านกว้างของสามเหลี่ยมตั้งอยู่ด้านบน เพื่อที่จะแสดงถึงความสำคัญของประชาชนที่เป็นหัวใจสำคัญของระบอบประชาธิปไตย การตัดเฉือนของตราสัญลักษณ์เพื่อให้เกิดภาพลูกศรที่ชี้ไปข้างหน้าเพื่อให้สอดคล้องกับความหมาย “อนาคต” หรือ “Future” หมายถึง อนาคตที่จะเคลื่อนไปข้างหน้าเพื่อมุ่งสู่ประเทศไทยที่มีอนาคตที่ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ส่วนสีส้มเป็นสีของรุ่งอรุณที่สดใสและเป็นสีแห่งความหวัง ความหวังที่ต้องการพัฒนาประเทศให้เท่าเทียมอารยประเทศ", "title": "พรรคอนาคตใหม่" }, { "docid": "590933#32", "text": "นอกจาก มหากาพย์พุทธจริต จะมีความสละสลวยงดงามในทางกวีพจน์ และมีการบรรยายพุทธประวัติด้วยถ้อยคำสละสลวย จนเกิดความรู้สึกซาบซึ้ง ยังแฝงหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาได้มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่สรรค ที่ 14 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นช่วงที่ทรงบรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิยาณและทำการโปรดสัตว์โลกแล้ว ผู้รจนาได้เลือกสรรถ้อยคำอยน่างชาญฉลาด ในการบรรยายหลักธรรม และโน้มน้าวให้ผู้สดับ/อ่าน ได้เกิดความศรัทธาปสาทะในสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้เกิดความยำเกรงในอกุศลกรรมทั้งปวง และเร่งเร้าให้สัตว์โลกทั้งหลายได้หันมาปฏิบัติกุศลกรรม เพื่อยังให้ตนได้หลุดพ้นจากอบายภูมิ จนถึงพระนิพพานในปั้นปลาย", "title": "พุทธจริต" } ]
312
ไบรโอซัวมีเลือดไหม ?
[ { "docid": "220877#3", "text": "หนวดของไบรโอซัวมีลักษณะเป็นขนที่มีพลังสามารถพัดแกว่งให้เกิดกระแสน้ำไหลพร้อมนำอนุภาคอาหารซึ่งมักจะเป็นพวกแพลงตอนพืชให้เข้าไปในช่องปาก ไส้พุงรูปตัวยูอันประกอบด้วยตั้งแต่คอหอยต่อเนื่องเข้าไปจนถึงท่อลำเรียง ตามด้วยกระเพาะ ซึ่งมีสามส่วนคือ คาร์เดียล ซีกัม และพายโลรัส จากพายโลรัสก็เป็นลำไส้และเรคตัมขนาดเล็ก จนไปสิ้นสุดที่ช่องทวารซึ่งเป็นช่องเปิดออกภายนอกของโลโฟพอร์ ในไบรโอซัวบางกลุ่ม เช่น ซีโนสโตมส์ ส่วนต้นของคาร์เดียอาจมีกึ๋นพิเศษ ไส้พุงและโลโฟพอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของโพลีไพด์ การสร้างใหม่กับการเสื่อมของโพลีไพด์สลับกันหลายรอบเป็นลักษณะของไบรโอซัวที่อาศัยอยู่ในทะเล ภายหลังจากการเสื่อมของโพลีไพด์ครั้งสุดท้ายแล้วช่องปากของซูอิดอาจผนึกเข้าหากันด้วยแผ่นผนังส่วนปลาย \nเพราะว่าไบรโอซัวมีขนาดเล็ก ระบบเลือดจึงไม่มีความจำเป็น การแลกเปลี่ยนก๊าซสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดพื้นผิวลำตัวทั้งหมดของไบรโอซัวโดยเฉพาะส่วนของหนวดของโลโฟพอร์", "title": "ไบรโอซัว" } ]
[ { "docid": "220877#0", "text": "ไบรโอซัวเป็นสัตว์ที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มโคโลนีขนาดเล็ก ที่สามารถสร้างโครงสร้างแข็งด้วยสารแคลเซียมคาร์บอเนต เมื่อดูอย่างผิวเผินแล้วจะมีลักษณะคล้ายปะการัง สมาชิกของสัตว์ในไฟลั่มไบรโอซัวนี้รู้จักกันในนามของ “สัตว์มอสส์” (moss animals หรือ moss animalcules) ซึ่งหากแปลตรงตัวจากศัพท์ภาษากรีก ไบรโอซัวจะหมายถึง เสื่อทะเล (sea mats) โดยทั่วไปแล้วไบรโอซัวชอบอาศัยอยู่ในน้ำทะเลเขตร้อน อากาศอบอุ่น และพบได้ทั่วโลก ปัจจุบันมีประมาณ 8,000 ชนิด ซึ่งมากกว่าชนิดของซากดึกดำบรรพ์ที่ได้รับการบันทึกไว้หลายเท่าตัว", "title": "ไบรโอซัว" }, { "docid": "572073#1", "text": "จัดเป็นแมงกะพรุนส่วนใหญ่ หรือแมงกะพรุนแท้ สัตว์ในชั้นนี้วัฎจักรชีวิตมีรูปร่าง 2 แบบ ในระยะที่เป็นตัวอ่อนจะมีรูปร่างแบบโพลิบมีขนาดเล็ก และในระยะที่เป็นตัวอ่อนจะมีรูปร่างแบบโพลิบมีขนาดเล็ก และในระยะที่เป็นตัวเต็มวัยมีรูปร่างแบบเมดูซา มีรูปร่างคล้ายกระดิ่งคว่ำ มีปากอยู่ด้านล่างตรงกลาง รอบปากจะมีออรัลอาร์ม มีลักษณะยาวแบบคล้ายหนวดยาว 4 อัน ทำหน้าที่จับเยื่อเข้าปาก ด้านบนของลำตัวมีลักษณะโค้งนูน มีชั้นวุ้นหนาทำให้ลอยตัวได้ดี บริเวณขอบกระดิ่งมีหนวดสั้น ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก มีอวัยวะควบคุมการทรงตัวและจุดรับสัมผัสความเข้มของแสงอยู่ที่ฐานของหนวด ดำรงชีวิตเป็นอิสระอาศัยอยู่ในน้ำทะเลทั้งหมด เคลื่อนที่โดยการหดตัวของขอบกระดิ่งเป็นจังหวะค่อย ๆ", "title": "ไซโฟซัว" }, { "docid": "266402#0", "text": "พลาทีโอซอรัส () เป็นไดโนเสาร์โปรซอโรพอดของยุคไทรแอสซิก ขนาด 7.8 เมตร อยู่กันเป็นฝูง กินพืชเป็นอาหาร พบที่ทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ เมื่อหน้าแล้งมาถึงมันจะอพยพ มันสามารถเดินได้ทั้ง 4 ขาและ 2 ขา เวลากินอาหารบนต้นไม้จะยืนด้วย 2 ขา แต่เวลาเดินหรือกินอาหารที่อยู่บนพื่นอย่างหญ้า มันก็จะเดิน 4 ขา พบในยุคไทรแอสซิกตอนปลาย-ยุคจูแรสซิกตอนต้น", "title": "แพลทีโอซอรัส" }, { "docid": "220877#5", "text": "ซากดึกดำบรรพ์ไบรโอซัวถูกพบในช่วงแรกๆของหินยุคออร์โดวิเชียนตอนล่างซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของช่วงขยายเผ่าพันธุ์ครั้งใหญ่ในยุคออร์โดวิเชียน ไบรโอซัวที่พบเป็นองค์ประกอบหลักของชุมชนพื้นท้องทะเลยุคออร์โดวิเชียนเหมือนกับที่พบในปัจจุบันซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พื้นตะกอนใต้ท้องทะเลมีความเสถียรมั่นคง และยังเป็นแหล่งอาหารสำหรับสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนพื้นทะเลนั้นด้วย ในช่วงอนุยุคมิสซิสซิปเปียน (354 ถึง 323 ล้านปีมาแล้ว) ไบรโอซัวถือว่าเป็นสิ่งที่พบเห็นได้โดยทั่วไป เศษชิ้นส่วนที่แตกหักจะพบได้ทั่วไปในชั้นหินปูน มีรายงานการบรรยายซากดึกดำบรรพ์ไบรโอซัวมากกว่า 1,000 ชนิด เป็นไปได้ว่ามีไบรโอซัวแล้วตั้งแต่ยุคแคมเบรียนแต่มีลำตัวอ่อนได้สลายตัวไปหมดและไม่ถูกเก็บรักษาไว้เป็นซากดึกดำบรรพ์ หรือบางทีไบรโอซัวอาจวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษที่มีลักษณะคล้ายโฟโรนิดในช่วงดังกล่าวก็ได้ \nไบรโอซัวเป็นสมาชิกที่สำคัญของชุมชนสเคอโรไบอันส์ (สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนพื้นผิวที่แข็งอย่างเช่น เปลือกหอยและหิน) ทั้งจากหลักฐานซากดึกดำบรรพ์และจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (Taylor and Wilson, 2003)", "title": "ไบรโอซัว" }, { "docid": "220877#9", "text": "ก่อนหน้านั้นไบรโอซัวได้ถูกจำแนกออกเป็นสองกลุ่มย่อยคือ เอคโตพรอคต้าและเอนโตพรอคต้า โดยอาศัยผังลำตัวที่เหมือนกันและอาศัยรูปแบบการดำเนินชีวิตของไบรโอซัวทั้งสองกลุ่ม (นักวิจัยบางคนได้เพิ่มซายคลิโอพอราเข้าไปด้วยโดยคิดกันว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มของเอนโตพรอคต้า) อย่างไรก็ตามกลุ่มของเอคโตพรอคต้าเป็นพวกซีโลเมต (มีลำตัวกลวง) และตัวอ่อนจะผ่านไปตามรอยแยกตามแนวรัศมี ขณะที่กลุ่มของเอนโตพรอคต้าเป็นพวกอะซีโลเมต (ลำตัวไม่กลวง) โดยตัวอ่อนจะผ่านไปตามรอยแยกที่ขดม้วน การศึกษาทางโมเลคคิวล่ายังมีความคลุมเครือเกี่ยวกับตำแหน่งที่แน่นอนของกลุ่มเอนโตพรอคต้า แต่ก็ไม่ได้สนับสนุนว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพวกเอคโตพรอคต้า ด้วยเหตุผลนี้พวกเอนโตพรอคต้าได้ถูกพิจารณาให้เป็นไฟลั่มหนึ่งต่างหาก การแยกไบรโอซัวจำนวน 150 ชนิดของกลุ่มเอนโตพรอคต้าทำให้ไบรโอซัวเป็นชื่อพ้องกับเอคโตพรอคต้า นักวิจัยบางคนยอมรับชื่อหลังนี้ให้เป็นชื่อของกลุ่ม ขณะที่ส่วนใหญ่ยังคงใช้ชื่อเดิม", "title": "ไบรโอซัว" }, { "docid": "170192#1", "text": "มีลักษณะโดดเด่น มีขาหน้าสั้น และปากเล็ก มีแผ่นเกล็ดเรียงบนหลังยาวไปจนถึงปลายหางแผ่นเกล็ดนี้มีไว้ขู่ศัตรูโดดสูบฉีดเลือดไปที่เกล็ด ซึ่งสันนิษฐานว่ามันมีเส้นเลือดเป็นจำนวนมากในบริเวณนี้ และแผ่นกระดูกนี้ไม่ได้มีไว้สำหรับป้องกันตัว แต่มีไว้เพื่อช่วยในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย นอกจากนี้มันยังหนามแหลมที่ปลายหาง ซึ่งเอาไว้ป้องกันตัวจากไดโนเสาร์กินเนื้อในยุคนั้นได้ดี อย่าง อัลโลซอรัส", "title": "สเตโกซอรัส" }, { "docid": "220877#4", "text": "ไบรโอซัวสามารถสืบพันธุ์ได้ทั้งการใช้เพศและการไม่ใช้เพศ จนถึงบัดนี้เรารู้ได้ว่าไบรโอซัวทั้งหมดเป็นเฮอมาโพรไดต์ (หมายถึงเป็นเพศผู้และเพศเมียในตัวเดียวกัน) การสืบพันธุ์แบบไม่ใช้เพศเกิดขึ้นโดยการแบ่งตัวเองออกเป็นซูอิดใหม่ในขณะที่โคโลนีเติบโตใหญ่ขึ้น ถ้าโคโลนีของไบรโอซัวแตกออกจากกันเป็นเสี่ยง แต่ละเสี่ยงสามารถเจริญเติบโตเป็นโคโลนีใหม่ต่อไป โคโลนีที่เกิดขึ้นใหม่ดังกล่าวจะมีลักษณะเหมือนเดิมทุกประการซึ่งเรียกว่า แอนเซสทรูลา \nไบรโอซัวชนิดหนึ่ง ชื่อ Bugula neritina ที่ปัจจุบันได้รับความสนใจเนื่องจากเป็นแหล่งกำเนิดของสารไซโตท็อกซิน หรือ ไบรโอสเตติน ซึ่งพบว่ามีฤทธิ์ต้านมะเร็ง", "title": "ไบรโอซัว" }, { "docid": "842743#1", "text": "ไดโนเซฟาโลซอรัส มีลำตัวยาว 4 เมตร มีคอเรียวยาว 1.7 เมตร มีส่วนหัวที่เล็ก มีครีบยาวที่นิ้วเท้า และฟันที่แหลมคมใช้สำหรับการจับปลาซึ่งเป็นอาหาร โดยซากดึกดำบรรพ์ล่าสุดที่ถูกขุดพบที่มณฑลยูนนาน ทางตอนใต้ของจีน บ่งว่า เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่แพร่ขยายพันธุ์ด้วยการออกลูกเป็นตัว ซึ่งต่างจากสัตว์เลื้อยคลานหรืออาร์โคซอร์จำพวกอื่น เช่น นก หรือจระเข้ ด้วยพบซากตัวอ่อนในลักษณะที่ขดตัวในท่าปกติแบบเดียวกับตัวอ่อนในท้องแม่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และเชื่อว่ามีการกำหนดเพศของตัวอ่อนเป็นไปโดยลักษณะทางพันธุกรรมไม่ใช่อุณหภูมิเป็นตัวกำหนดเหมือนจระเข้", "title": "ไดโนเซฟาโลซอรัส" }, { "docid": "220877#7", "text": "เมื่อมาดูที่ซากโครงสร้างแข็งของไบรโอซัวที่ไม่มีแร่เชื่อมประสาน พบสเตโทบลาสต์ของไบรโอซัวน้ำจืด ไฟลาโตลีแมตทิส .ในซากดึกดำบรรพ์ที่เก่าแก่ที่สุดถึงยุคเพอร์เมียน และซากดึกดำบรรพ์ของซีโนสโตมที่เก่าแก่ที่สุดเพียงยุคไทรแอสซิก", "title": "ไบรโอซัว" } ]
315
โทรศัพท์มือถือ เครื่องแรกถูกประดิษฐ์ขึ้นเมื่อไหร่?
[ { "docid": "551658#9", "text": "หนึ่งในโทรศัพท์ไร้สายยุคแรก ที่มีพื้นฐานมาจากพลังงานแผ่รังสีถูกประดิษฐ์โดย นิโคลา เทสลา อุปกรณ์ใช้เครื่องส่งและเครื่องรับที่มีการสั่นพ้องที่ความถี่เดียวกัน ทำให้มีการสื่อสารระหว่างกันได้ ในปี ค.ศ. 1916 เขานำเอาการทดลองที่เคยทำเมื่อปี ค.ศ. 1896 มาศึกษาใหม่ เขาพบว่า \"เมื่อไรก็ตามทีผมได้รับผลกระทบของเครื่องส่ง หนึ่งในวิธีที่ง่ายที่สุด (ในการตรวจจับการส่งสัญญาณแบบไร้สาย) คือ ป้อนสนามแม่เหล็กให้เกิดกระแสในตัวนำ และเมื่อผมทำอย่างนั้น ความถี่ต่ำให้เสียงออกมา\"", "title": "พลังงานจากการแผ่รังสี" }, { "docid": "24448#2", "text": "โทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องแรกถูกผลิตและออกแสดงใน พ.ศ. 2516 โดย มาร์ติน คูเปอร์ (Martin Cooper) นักประดิษฐ์จากบริษัทโมโตโรลา เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักประมาณ 1.1 กิโลกรัม ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลก เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2543 ที่มีจำนวน 12.4 ล้านคน มาเป็น 4,600 ล้านคน", "title": "โทรศัพท์เคลื่อนที่" } ]
[ { "docid": "412858#27", "text": "อย่างไรก็ตาม ในปีที่สิบนับจากการตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกจากผู้ประดิษฐ์อุปกรณ์ [[Wibree]] จากบริษัทโนเกียในปี 2001 ก็ยังไม่มีการดำเนินการสร้างระบบบนชิปหรือบนโพรโทคอลในผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล พีดีเอ โทรศัพท์มือถือหรือผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ใดๆ ไม่ว่าจะเปิดเผยหรือไม่ก็ตาม การประกาศทั้งหมดที่เห็นก็ยังคงมีเพียงแค่ประกาศจาก Bluetooth SIG และไม่มีความคืบหน้าอื่นใดหลังจาก 27 ม.ค. 2010 ยกเว้นเพียงกรณี Velo-odometer แบบไร้สาย ซึ่งอาจจะไม่เป็นที่ยอมรับว่าเป็น \"การประยุกต์ใช้ที่น่าทึ่ง\" ร่วมกับโทรศัพท์มือถือ", "title": "บลูทูธพลังงานต่ำ" }, { "docid": "4817#26", "text": "ดาวเทียมของสหรัฐดวงแรกเพื่อการสื่อสารอยู่ในโครงการ SCORE เมื่อ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1958 ซึ่งใช้ เทปบันทึกเสียงในการจัดเก็บและส่งต่อข้อความเสียง มันถูกใช้ในการส่งคำอวยพรคริสมาสต์ ไปทั่วโลกจากประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ดไวต์ ดี ไอเซนฮาวร์ ในปี ค.ศ. 1960 นาซ่าส่ง ดาวเทียม Echo; บอลลูนฟิล์ม PET อะลูมิเนียมยาว 100 ฟุต (30 เมตร) ทำหน้าที่เป็นกระจกสะท้อนแสงแบบพาสซีฟสำหรับการสื่อสารวิทยุ ดาวเทียม Courier 1B สร้างโดย Philco, ก็ถูกส่งขึ้นไปในปี 1960 เช่นกัน โดยเป็นดาวเทียมทวนสัญญาณแบบแอคทีฟดวงแรกของโลก", "title": "โทรคมนาคม" }, { "docid": "24448#7", "text": "\"ตำนานไปรษณีย์โทรเลขสยาม\" พ.ศ. 2429 ถึง พ.ศ. 2468 ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับโทรศัพท์ในประเทศไทยไว้ว่า ประเทศไทยได้นำเอาโทรศัพท์มาใช้เป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2424 ตรงกับรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยกรมกลาโหม (กระทรวงกลาโหมในปัจจุบัน) ได้สั่งเข้ามาใช้งานในกิจการเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ โดยติดตั้งที่กรมอู่ทหารเรือกรุงเทพฯ 1 เครื่อง และป้อมยามปากน้ำเจ้าพระยา จังหวัดสมุทรปราการอีก 1 เครื่อง รวม 2 เครื่อง เพื่อจะได้แจ้งข่าวเรือ เข้าออกในแม่น้ำ เจ้าพระยาให้ทางกรุงเทพฯทราบ \nในปัจจุบันชุมสายโทรศัพท์ที่ติดตั้งใหม่ ๆ จะเป็นระบบ SPC ทั้งหมด ระบบอื่น ๆ เลิกผลิตแล้ว ประเทศไทยเรากำลัง เร่งติดตั้งโทรศัพท์เพื่อให้พอใช้กับประชาชน ดังจะเห็นจากโครงการ 3 ล้านเลขหมายในแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 และโครงการอื่น ๆ ต่อไป รวมทั้งวิทยุโทรศัพท์อีกด้วย เพื่อเสริมให้ระบบสื่อสารในประเทศไทยมีประสิทธิภาพ เอื้ออำนวย ต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป", "title": "โทรศัพท์เคลื่อนที่" }, { "docid": "254546#0", "text": "เอ็นเกจ () เป็นชื่อของโทรศัพท์มือถือรุ่นหนึ่งในอดีต หรือชื่อของบริการเกมในโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันของบริษัทโนเกีย ซึ่งสำหรับตัวเครื่องในยุคเริ่มต้นนั้นได้เริ่มมีการจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2546 โดยได้ออกวางจำหน่ายเพื่อให้แตกต่างจากเกมบอยแอดวานซ์ของบริษัทนินเทนโดในด้านของการที่เป็นเครื่องเล่นเกมบนโทรศัพท์มือถืออย่างเต็มรูปแบบ แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร ซึ่งส่วนหนึ่งนั้นเนื่องมาจากปุ่มต่างๆที่อยู่บนเครื่องนั้นถูกมองว่าเหมาะสมกับการโทรศัพท์มากกว่าการเล่นเกม และอีกประการหนึ่งก็คือตัวเครื่องในรุ่นแรกนั้นถูกมองว่ามีลักษณะคล้ายกับอาหารของชาวเม็กซิกันที่มีชื่อว่า\"ทาโก้\"", "title": "เอ็นเกจ" }, { "docid": "113459#3", "text": "ในประเทศไทยยุคแรกประมาณปี พ.ศ. 2470 ได้ติดตั้งเครื่องส่งวิทยุระบบ AM ขนาด 200 วัตต์ ณ ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข โดยการควบคุมของช่างวิทยุกรมไปรษณีย์โทรเลข นับเป็นครั้งแรกที่มีเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงออกอากาศ เครื่องรับวิทยุในยุคแรกนั้นเป็นชนิดแร่ มีเสียงเบามากและต้องใช้หูฟัง ต่อมาเปลี่ยนเป็นเครื่องรับชนิดหลอดสุญญากาศ มีความดังมากขึ้น เช่น เครื่องรับชนิด 4 หลอด ถึง 8 หลอด", "title": "เครื่องรับวิทยุ" }, { "docid": "2584#9", "text": "เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1997 เครื่องดีปบลูของบริษัทไอบีเอ็ม กลายมาเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่สามารถเล่นหมากรุกเอาชนะ แกรี คาสปารอฟ แชมป์โลกในขณะนั้นได้ และในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 เครื่องวัตสันของบริษัทไอบีเอ็มก็สามารถเอาชนะแชมป์รายการตอบคำถามจีโอพาร์ดีได้แบบขาดลอย นอกจากนี้ เครื่องเล่นเกมอย่าง Kinect ก็ใช้เทคโนโลยีของปัญญาประดิษฐ์ มาใช้ในการสร้างส่วนติดต่อกับผู้ใช้ผ่านทางการเคลื่อนไหวร่างกายใน 3 มิติเช่นกัน", "title": "ปัญญาประดิษฐ์" }, { "docid": "507684#2", "text": "แท็บเล็ตอิเล็กทรอนิกส์สำหรับขีดเขียนด้วยมือเครื่องแรกนั้น คือ เครื่องเท็ลออโตกราฟ (Telautograph) ซึ่งเอลิชา เกรย์ (Elisha Gray) จดสิทธิบัตรไปใน ค.ศ. 1888 เอลิชา เกรย์ ผู้นี้เป็นที่รู้จักกันในฐานะที่ประดิษฐ์โทรศัพท์และอยู่ร่วมสมัยกับอะเล็กซานเดอร์ เกรย์แฮม เบล (Alexander Graham Bell)", "title": "กราฟิกส์แท็บเล็ต" }, { "docid": "4701#1", "text": "เครื่องรับโทรทัศนขาว-ดำเครื่องแรกของโลก สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1925 โดยเป็นผลงานการประดิษฐ์ของจอห์น โลจี เบร์ด ชาวสกอตแลนด์ทั้งนี้ บางประเทศอาจส่งโทรทัศน์มากกว่ามาตรฐานก็ว่าได้ ยกตัวอย่างเช่น มีบางประเทศอาจจะส่งโทรทัศน์ในระบบวีเอชเอฟตั้งแต่ช่อง 1 ถึงช่อง 18 และระบบยูเอชเอฟตั้งแต่ช่อง 19 ถึงช่อง 72 เป็นต้น และระบบทั้ง 2 เป็นช่องส่งสัญญาณโทรทัศน์ที่กำหนดได้แน่นอนที่สุด แม้จะออกอากาศโดยใช้เสาอากาศภาคพื้นดิน", "title": "โทรทัศน์" }, { "docid": "286764#0", "text": "แบล็คเบอร์รี่ (BlackBerry) เป็นสมาร์ตโฟนและโทรศัพท์มือถือโดยบริษัทแบล็คเบอร์รี่จำกัด (BlackBerry Limited) หรือเดิมคือบริษัทรีเสิร์ชอินโมชั่น (Reserch in Motion Limited - RIM) จากประเทศแคนาดา แบล็คเบอร์รี่เครื่องแรกเริ่มผลิตในปี พ.ศ. 2542 โดยมีลักษณะเป็นเพจเจอร์สองทาง แบล็คเบอร์รี่รุ่นล่าสุดคือ แซด 30, แซด 10, คิว 10 และ คิว 5 มีลักษณะส่วนต่อประสานกับผู้ใช้แตกต่างกันไปในแต่ละรุ่น โดยส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ที่โด่งดังและเป็นที่นิยมที่สุดของแบล็คเบอร์รี่คือแป้นพิมพ์คิวเวอตี้ ขณะที่แบล็คเบอร์รี่รุ่นใหม่จะใช้ส่วนประสานงานผู้ใช้แบบหน้าจอสัมผัสและคีย์บอร์เสมือนดังเช่น ไอโฟน", "title": "แบล็คเบอร์รี (โทรศัพท์มือถือ)" } ]
322
การบูชาองค์พระบรมสารีริกธาตุโดยประการต่าง ๆ เช่น การสร้างเจดีย์ เพื่อประดิษฐานพระธาตุไว้สักการะ ใช่หรือไม่?
[ { "docid": "57360#2", "text": "ชาวพุทธเชื่อว่าพระบรมสารีริกธาตุเป็นวัตถุแทนองค์พระบรมศาสดาที่ทรงคุณค่าสูงสุดในศาสนาพุทธ จึงนิยมกระทำการบูชาองค์พระบรมสารีริกธาตุโดยประการต่าง ๆ เช่น การสร้างเจดีย์ เพื่อประดิษฐานพระธาตุไว้สักการะ โดยเชื่อว่ามีอานิสงส์ประดุจได้กระทำการบูชาแด่พระพุทธเจ้าเมื่อยังทรงพระชนม์อยู่", "title": "พระบรมสารีริกธาตุ" } ]
[ { "docid": "110543#8", "text": "การบรรจุพระบรมสารีริกธาตุใว้ภายในองค์พระเจดีย์มีอยู่หลายครั้ง ที่สำคัญคือเมื่อ พ.ศ. 2422 รัฐบาลอินเดียได้ถวายพระบรมสารีริกธาตุ ที่ขุดได้จากเนินพระเจดีย์เก่าที่เมืองกบิลพัศดุ์\nบรรจุอยู่ภายในผอบที่มีอักษร พราหมี หรือ เมาริยะ จารึกใว้ว่า \"พระบรมสารีริกธาตุนี้ เป็นของพระพุทธเจ้า (สมณโคดม) ตระกูลศากยราช ได้รับแบ่งปันในเวลาถวายพระเพลิงพุทธสรีระ\" ให้แด่รัชกาลที่ 5 แล้วจึงได้โปรดเกล้าให้นำมาบรรจุใว้ในองค์พระเจดีย์", "title": "พระบรมบรรพต" }, { "docid": "56395#5", "text": "เชื่อกันว่าการได้ไหว้สักการะพระธาตุอันเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอริยสงฆ์นั้น จะนำมาซึ่งความสุข ความเจริญมาสู่ผู้ที่เคารพบูชา อีกทั้งอานิสงส์ผลบุญที่ได้จากการกราบไหว้บูชา และสร้างกุศลกับพระธาตุนั้น เชื่อว่าส่งผลแรงยิ่งนัก หากผู้ใดปฏิบัติบูชาด้วยจิตใจอันบริสุทธิ์ และหมั่นกราบไหว้บูชาตามกำลังความสามารถทุกครั้ง อานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ของพระธาตุ จะดลบันดาลให้เกิดสิริมงคลในชีวิตแก่ตัวผู้บูชา", "title": "วัดพระธาตุบังพวน" }, { "docid": "56714#32", "text": "ได้มีการออกพระราชบัญญัติต่าง ๆ ให้การพิจารณาคดีในศาลรวดเร็วขึ้น เช่น กฎหมายลงทะเบียนที่ดิน การขายฝิ่น ฯลฯ โดยร่วมกับคณะเสนาบดีร่างถวายทรงทราบเพื่อลงพระปรมาภิไธย ด้านขนบธรรมเนียมประเพณีได้ริเริ่มประเพณีทำบุญวันเกิดเป็นครั้งแรกเมื่ออายุครบ 50 ปี คงเริ่มมาจากคำแนะนำของชาวจีน ต่อมา ประเพณีนี้ก็ได้แพร่หลายไปในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์และขุนนาง", "title": "สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)" }, { "docid": "65923#5", "text": "หลังจากที่พระเพลิงเผาซึ่งเผาไหม้พระพุทธสรีระดับมอดลงแล้ว บรรดากษัตริย์มัลละทั้งหลายจึงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุทั้งหมด ใส่ลงในหีบทองแล้วนำไปรักษาไว้ภายในนครกุสินารา ส่วนเครื่องบริขารต่างๆ ของพระพุทธเจ้าได้มีการอัญเชิญไปประดิษฐานตามที่ต่างๆ อาทิ ผ้าไตรจีวร อัญเชิญไปประดิษฐานที่แคว้นคันธาระ บาตรอัญเชิญไปประดิษฐานที่เมืองปาตลีบุตร เป็นต้น และเมื่อบรรดากษัตริย์จากแคว้นต่างๆ ได้ทราบว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานที่นครกุสินารา จึงได้ส่งตัวแทนไปขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อนำกลับมาสักการะยังแคว้นของตนแต่ก็ถูกกษัตริย์มัลละปฏิเสธ จึงทำให้ทั้งสองฝ่ายขัดแย้งและเตรียมทำสงครามกัน แต่ในสุดเหตุการณ์ก็มิได้บานปลาย เนื่องจากโทณพราหมณ์ได้เข้ามาเป็นตัวกลางเจรจาไกล่เกลี่ย เพื่อยุติความขัดแย้งโดยเสนอให้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น 8 ส่วนเท่าๆ กัน ซึ่งกษัตริย์แต่ละเมืองทรงสร้างเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตามเมืองต่างๆ ดังนี้สำหรับกรณีของกษัตริย์เมืองโมริยะนั้น ได้ส่งผู้แทนมาหลังจากที่โทณพราหมณ์แบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้ทั้ง 8 เมืองไปแล้วจึงได้อัญเชิญพระอังคารไปแทน ส่วนโทณพราหมณ์ ก็ได้สร้างสถูปบรรจุทะนานที่ใช้สำหรับตวงพระบรมสารีริกธาตุสำหรับตนเอง และผู้คนได้สักการะดังที่ได้กล่าวไป", "title": "วันอัฏฐมีบูชา" }, { "docid": "57360#11", "text": "พระพุทธประสงค์ดังกล่าวนี้ เพื่อให้ศาสนาของพระองค์แพร่หลายไป และผู้ที่เกิดมาภายหลัง ไม่ทันเห็นพระองค์เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่ จักได้กระทำการสักการบูชาเพื่อเป็นกุศลแก่ตน ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้พระบรมสารีริกธาตุแพร่หลายไปยังดินแดนต่าง ๆ นับแต่หลังพุทธปรินิพพานเป็นต้นมาวรรณะ (สี) พระบรมสารีริกธาตุตามนัยอรรถกถาพระไตรปิฎกอธิบายว่า สีแห่งพระบรมสารีริกธาตุเสมือนดอกมะลิตูม เสมือนแก้วมุกดาที่เจียรนัยแล้ว และเสมือนจุณทองคำส่วนสัณฐานพระบรมสารีริกธาตุ มี 3 สัณฐาน คือ", "title": "พระบรมสารีริกธาตุ" }, { "docid": "635837#4", "text": "ด้วยเหตุนี้ พระสารีบุตรจึงเชี่ยวชาญในการแสดงธรรมขั้นต้นให้พิสดาร ยังให้บรรพชิตทั้งหลายเข้าใจธรรมได้โดยง่าย แล้วจักบรรลุชั้นสูงๆ ยิ่งขึ้นไปด้วยตนเอง หรือด้วยการสั่งสอนของพระมหาโมคคัลลานะในกาลต่อๆ ไป ดังนั้นในสัจจวิภังคสูตร พระสารีบุตรจึงได้แสดงธรรม เพื่อแจกแจงอริยสัจ 4 อย่างพิสดาร เพื่อความแจ่มแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระผู้มีพระภาคได้เสด็จเข้าไปยังพระวิหารแล้ว ดังนี้", "title": "สัจจวิภังคสูตร" }, { "docid": "57360#12", "text": "ในดินแดนต่าง ๆ ที่นับถือพระพุทธศาสนา ต่างนับถือว่าพระบรมสารีริกธาตุเป็นวัตถุสูงค่าสูงสุด เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งแห่งพระพุทธสรีระขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า และด้วยความเชื่อเรื่องพระพุทธบารมีประดุจพระองค์ทรงพระชนม์อยู่ จึงมีความเชื่อว่าพระบรมสารีริกธาตุแสดงปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น พระบรมสารีริกธาตุลอยน้ำ, พระบรมสารีริกธาตุเสด็จเคลื่อยย้ายที่ประดิษฐานเองได้, พระบรมสารีริกธาตุแสดงปาฏิหาริย์ในลักษณะต่าง ๆ เช่น เปล่งแสงหรือรัศมีโอภาส หรือเพิ่มจำนวนได้ เป็นต้น ซึ่งยังไม่สามารถอธิบายในเชิงวิทยาศาสตร์ได้ แต่เมื่อนำเอาพระบรมสารีริกธาตุไปเทียบกับธาตุต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโลกแล้ว พบว่าไม่ตรงกับธาตุใดเลย", "title": "พระบรมสารีริกธาตุ" }, { "docid": "437237#9", "text": "3. ราษฎรพิธี ได้แก่ พิธีต่าง ๆ ที่ วัด พระสงฆ์ องค์กรภาคเอกชน รวมทั้งประชาชนร่วมกันจัดขึ้นด้วยความศรัทธา ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น กิจกรรมการเวียนเทียน การจัดทำบุญและถวายมหาสังฆทาน กิจกรรมอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ กิจกรรมงานวัดลอยฟ้า กิจกรรมฉายภาพยนตร์สื่อธรรมะทางพระพุทธศาสนา กิจกรรมตักบาตรพระ 1,000,000 รูป เป็นต้น", "title": "พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้" }, { "docid": "57913#63", "text": "ในวันเปิดมูลคันธกุฎิวิหาร มีชาวพุทธและข้าราชการ รัฐบาลอินเดียหลายท่าน และชาวพุทธจากต่างประเทศมากมาย ได้มาร่วมงานกว่าพันคน รัฐบาลอินเดียได้มอบ พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ให้กับผู้แทนสมาคม ได้มีการนำ พระธาตุขึ้นสู่หลังช้าง แห่รอบพระวิหารสามรอบ แล้วจึงนำขึ้นประดิษฐานยังยอดพระเจดีย ์ในพระวิหาร", "title": "อนาคาริก ธรรมปาละ" } ]
326
เฟท/สเตย์ ไนท์ วางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อปีใด?
[ { "docid": "70553#0", "text": "มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ หรือ เฟท/สเตย์ ไนท์ () เป็นเอโรเกะ สร้างโดยไทป์-มูน วางจำหน่ายครั้งแรกในปี 2547 ต่อมา สตูดิโอดีน ได้นำไปทำเป็นภาพยนตร์การ์ตูนฉายทางโทรทัศน์ โดยมีเจเนออนเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ ออกอากาศครั้งแรกวันที่ 6 มกราคม 2549 ถึงวันที่ 16 มิถุนายน 2549 นอกจากนี้ในปี 2550 ไทป์-มูน ได้นำมหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์มาสร้างใหม่สำหรับเครื่อง เพลย์สเตชัน 2 ภายใต้ชื่อ \"เฟท/สเตย์ ไนท์ [เรียลตา นัว]\" โดยตัดเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมสำหรับผู้เยาว์ออกทั้งหมด เฟท/สเตย์ ไนท์ ยังถูกดัดแปลงเป็นมังงะ ซึ่งในขณะนี้กำลังตีพิมพ์ลงในนิตยสารโชเน็นเอซ ฉบับรายเดือน", "title": "มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์" } ]
[ { "docid": "70553#2", "text": "ในปี 2549 เจเนออนและสตูดิโอดีนได้นำ เฟท/สเตย์ ไนท์ มาดัดแปลงเนื้อหาและสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนความยาว 24 ตอน ในปีเดียวกัน ไทป์-มูน ยังได้ประกาศจะวางแผง เฟท/สเตย์ ไนท์ สำหรับเครื่องเพลย์สเตชัน 2 ภายใต้ชื่อ \"เฟท/สเตย์ ไนท์ [เรียลตา นัว]\" ในครึ่งปีหลัง แต่เลื่อนมาจำหน่ายในปี 2550 แทน ไทป์-มูน ยังได้ร่วมมือกับไนโตรพลัสเขียนนวนิยายเรื่อง เฟท/ซีโร่ เล่าเรื่องสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ครั้งที่เกิดขึ้นก่อนสงครามใน เฟท/สเตย์ ไนท์ นอกจากนี้ เมื่อต้นปี 2550 เจเนออนยังได้จัดรายการวิทยุ \"เฟท/สเตย์ ทูน\" โดยมี คานะ อุเอดะ และ อายาโกะ คาวาสุมิ นักพากย์ผู้รับบทเป็นตัวละครเอกในการ์ตูนโทรทัศน์ เป็นพิธีกรอีกด้วย จริงหรอ?", "title": "มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์" }, { "docid": "70553#14", "text": "เมื่อ 28 ตุลาคม 2548 ไทป์-มูนได้ปล่อยไซด์ สตอรี่ของ เฟท/สเตย์ ไนท์ ออกมา ภายใต้ชื่อว่า เฟท/ฮอลโลว์ อทาราเซีย ซึ่งเป็นแฟนดิกส์ที่จะมีไซด์สตอรี่ของ เฟท/สเตย์ ไนท์ ซึ่งจะกล่าวถึงเนื้อเรื่องเพียงแค่ครึ่งปีหลังจากเหตุการณ์ใน เฟท/สเตย์ ไนท์ และมีตัวละครเพิ่มมาไม่ว่าจะเป็นอเวนเจอร์, บาเซตต์ ฟราก้า แม็กเรมินซ์ และ คาเรน ออร์เทนเซีย พร้อมทั้งการกลับมาของตัวละครเดิมเช่น เอมิยะ ชิโร่ และ โทซากะ ริน\nเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2549 ไทป์-มูน ได้ประกาศที่จะวางจำหน่ายนิยายในซีรีส์เฟทเรื่องใหม่ ภายใต้ชื่อว่า เฟท/ซีโร่ ซึ่งเป็นเรื่องราวก่อนเหตุการณ์ใน เฟท/สเตย์ ไนท์ โดยจะมุ่งไปที่สงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ครั้งที่ 4 เล่มแรกวางจำหน่ายในวันที่ 12 ธันวาคม 2549 ซึ่งเกิดจากการร่วมมือกันระหว่าง ไทป์-มูน และ ไนโตรพลัส", "title": "มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์" }, { "docid": "70553#17", "text": "เฟท/สเตย์ ไนท์ ในรูปแบบอะนิเมะ ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2549 และสิ้นสุดเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ความยาวทั้งหมด 24 ตอนโดย Studio DEEN ภายใต้ชื่อว่า Fate Project ด้วยความร่วมมือของ Geneon Entertainment, TBS,CREi,ไทป์-มูน และ Frontier Works Inc. ต่อมาก็ได้ออกอากาศอย่างเป็นสากลในช่อง อะนิแม็กซ์ ในปี 2550 อีกทั้งยังมีฉบับภาษาอังกฤษ เพื่อออกอากาศในเขต เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในเดือน เมษายน ปี พ.ศ. 2550 พร้อมทั้งยังมีการเผยแพร่ลิขสิทธิ์ไปยัง อเมริกาเหนือ อีกด้วย ซึ่งเนื้อหาในอะนิเมะนั้นจะเน้นหนักไปในเนื้อหาของเกม ในส่วนของบท\"เฟท\" มีการเสริมเนื้อหาในส่วนของ \"อันลิมิเต็ด เบลด เวิร์คส\" และ \"เฮฟเว่นส ฟีล\" อีกด้วย แต่จะไม่เพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนของ \"เฟท/ฮอลโลว์ อทาราเซีย\" เลยแม้แต่นิดเดียว ซึ่งในฉบับอะนิเมะนี้ ก็ได้คุณ คาวาอิ เคนจิ ซึ่งเป็นผู้แต่งเพลงในซีรีส์ของเฟท ในต้นฉบับของเกม มาเป็นผู้แต่งเพลงให้ในฉบับอะนิเมะด้วย ซึ่งจะเห็นได้จากการนำซาวนด์แทร็กในเกม มารีมิกซ์ใหม่เพื่อใช้ในฉบับอะนิเมะโดยเฉพาะ อย่างเช่นเพลง \"Yakusoku Sareta Shouri No Tsurugi\"(約束されたの剣), \"Emiya\" และ \"This Illusion\" ซึ่งต่อมาได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น \"disillusion\" เพื่อใช้เป็นเพลงเปิดสำหรับฉบับอะนิเมะ", "title": "มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์" }, { "docid": "70553#16", "text": "เฟท/สเตย์ ไนท์ ในรูปแบบมังงะ ภาพโดย ดัดโตะ นิชิวาคิ ตีพิมพ์ลงในนิตยสาร โชเน็น เอซ ภายใต้ลิขสิทธิ์สำนักพิมพ์คาโดคาว่า โชเท็น เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ซึ่งเนื้อหาจะเน้นนำเสนอโดยอ้างอิงจากในเกมเป็นหลัก และยังเน้นหนักไปที่บท \"อันลิมิเตด เบลด เวิร์คส\" ให้เด่นชัดขึ้นกว่าฉบับอะนิเมะอีกด้วย พร้อมทั้งยังเสริมเนื้อหาให้สัมพันธํเข้ากับ \"เฟท/ฮอลโลว์ อทาราเซีย\" และ \"เฟท/ซีโร่\" อีกด้วย", "title": "มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์" }, { "docid": "72187#0", "text": "เฟท/ฮอลโลว์ อทาราเซีย () เป็นเกมส์วิชช่วล โนเวล ที่สร้างโดยกลุ่มไทป์-มูนวางจำหน่ายในปี 2548 ซึ่งเป็นเนื้อเรื่องที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์ใน เฟท/สเตย์ ไนท์ คำว่า อทาราเซีย ในชื่อของเกมนั้นมีความหมายว่า เงียบสงบ ซึ่งถ้ารวมความหมายของชื่อเรื่องแล้ว จะได้ว่า \"ความเงียบสงัด\"", "title": "เฟท/ฮอลโลว์ อทาราเซีย" }, { "docid": "199404#0", "text": "มาโฮสึไค โนะ โยรุ () เป็น นิยาย ที่แต่งขึ้นโดย นาสุ คิโนโกะ สมาชิกของสตูดิโอ ไทป์-มูน วางจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 28 กรกฎาคม 1996 โดยหลังจากที่ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามกับ \"ซึกิฮิเมะ\" และ \"เฟท/สเตย์ ไนท์\" ไปก่อนหน้านี้ ทางสตูดิโอได้แถลงข้อมูลเกี่ยวกับ วิชช่วล โนเวล โปรเจกต์ล่าสุดที่กำลังอยู่ระหว่างขั้นตอนการผลิต ซึ่งข้อมูลเพิ่มเติมได้ถูกตีพิมพ์ลงในนิตยสาร \"ไทป์-มูน เอซ\" ที่ได้วางจำหน่ายในวันที่ 21 เมษายน 2008", "title": "มาโฮสึไค โนะ โยรุ" }, { "docid": "70553#1", "text": "เฟท/สเตย์ ไนท์ เป็นวิชชวล โนเวล ที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุดในปี 2547 นอกจากนี้ เฟท/ฮอลโลว์ อทาราเซีย \"แฟนดิสก์\" ซึ่งเป็นภาคต่อของเฟท/สเตย์ ไนท์ ยังเป็นวิชชวล โนเวล ที่มียอดจำหน่ายเป็นอันดับที่สองของปี 2548", "title": "มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์" }, { "docid": "141845#0", "text": "อะนะตะ กะ อิตะ โมริ () เป็นซิงเกิลเปิดตัวของ จูไค ที่วางจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 15 มีนาคม 2006 โดย Sistus Records ซึ่งเพลงแรกของซิงเกิลนี้ เป็นเพลงปิดของอะนิเมะเรื่อง เฟท/สเตย์ ไนท์ ส่วนอันดับในโอริก้อนชาร์ตนั้น ซิงเกิลนี้อยู่ในอันดับที่ 16 และมียอดวางจำหน่าย 19,172 ชุดด้วยกัน ซึ่งถือว่าเป็นซิงเกิลที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของจูไคเลยทีเดียว", "title": "อะนะตะ กะ อิตะ โมริ" }, { "docid": "702380#2", "text": "มิวสิกวีดิโอนี้ เผยแพร่ครั้งแรกในวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554 โดยมีพระเอก ไนท์-นิธิดล ป้อมสุวรรณ กับนางเอกโอซา แวง และหยก-ณัฐปภัสร์ ธนาธนมหารัตน์ ถ่ายทำกันที่บ้านเก่า แถวลาดหลุมแก้ว เปิดกองด้วยการถ่ายซีนจบก่อนเพื่อจะได้ให้ทั้ง 3 คนรู้เรื่องและอารมณ์ของหนังเรื่องนี้ เพราะเป็นซีนที่ ไนท์ กับ โอซา แวง นั่งรถเพื่อจะกลับบ้านด้วยกัน แต่ ไนท์ กลับกระวนกระวายใจคิดถึง หยก ๆ เองก็วิ่งตามรถของพระเอก โอซา แวง เห็นในรักแท้ของทั้งคู่ จึงต้องปล่อยพระเอกไป", "title": "ไม่ขอก็จะให้" } ]
344
ปฏิบัติการเอนเทบเบ เกิดขึ้นที่ใด?
[ { "docid": "969906#0", "text": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ () หรือ ปฏิบัติการธันเดอร์โบลต์ () เป็นภารกิจช่วยเหลือตัวประกันในการต่อต้านการก่อการร้ายที่ประสบความสำเร็จ ดำเนินการโดยหน่วยคอมมานโดของกองกำลังป้องกันอิสราเอล (IDF) ที่ท่าอากาศยานเอนเทบเบในประเทศยูกันดาเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1976", "title": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ" } ]
[ { "docid": "969906#35", "text": "อันเป็นผลมาจากปฏิบัติการ กองทัพสหรัฐได้พัฒนาทีมกู้ภัยที่จำลองแบบตามหน่วยที่ใช้ในการกู้ภัยเอนเทบเบ หนึ่งในความพยายามที่จะเลียนแบบที่มีชื่อเสียงคือปฏิบัติการกรงเล็บอินทรี ซึ่งเป็นการช่วยชีวิตที่ล้มเหลวของเจ้าหน้าที่สถานทูตอเมริกันจำนวน 53 คนที่ถูกจับเป็นตัวประกัน ณ กรุงเตหะรานในช่วงวิกฤตการณ์ตัวประกันอิหร่าน", "title": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ" }, { "docid": "969906#6", "text": "ที่เอนเทบเบ สลัดอากาศที่เข้าร่วมอย่างน้อยสี่คน ได้รับการสนับสนุนโดยกองกำลังของประธานาธิบดียูกันดา อีดี อามิน พวกสลัดอากาศย้ายผู้โดยสารไปยังฮอลล์การขนส่งของเทอร์มินัลสนามบินเก่าที่ถูกทิ้งร้าง ที่พวกเขากักขังตัวประกันไว้ภายใต้การเฝ้าระวังสำหรับวันต่อ ๆ ไป อามินมาเยี่ยมตัวประกันเกือบทุกวัน มีข้อมูลใหม่ ๆ เกี่ยวกับความคืบหน้าของพวกเขา และสัญญาว่าจะใช้ความพยายามของเขาเพื่อให้พวกตัวประกันเป็นอิสระผ่านข้อต่อรอง", "title": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ" }, { "docid": "969906#13", "text": "ขณะที่เกิดวิกฤติขึ้น มีความพยายามที่จะเจรจาปล่อยตัวประกัน ตามเอกสารทางการทูตที่ไม่เป็นความลับ รัฐบาลอียิปต์ภายใต้ซาดาต พยายามเจรจากับทั้งองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์และรัฐบาลยูกันดา โดยประธานองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ ยัสเซอร์ อาราฟัต ได้ส่งฮานิ อัล-ฮัสซัน ซึ่งเป็นผู้ช่วยการเมืองของเขาไปยังประเทศยูกันดาในฐานะทูตพิเศษเพื่อเจรจากับผู้จับตัวประกันและอามิน อย่างไรก็ตาม สลัดอากาศฝ่ายปฏิบัติการภายนอกแนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ได้ปฏิเสธที่จะพบเขา", "title": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ" }, { "docid": "969906#3", "text": "การดำเนินการเกิดขึ้นในเวลากลางคืน เครื่องบินขนส่งของอิสราเอล บรรทุกคอมมานโด 100 คนกว่า 4,000 กิโลเมตร (2,500 ไมล์) ไปยังประเทศยูกันดาเพื่อดำเนินการช่วยเหลือ การปฏิบัติการ ซึ่งใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์ในการวางแผน ใช้เวลา 90 นาที จากตัวประกันที่เหลือ 106 คนนั้น 102 คนได้รับการช่วยเหลือ และสามคนถูกฆ่าตาย ส่วนตัวประกันอีกรายที่อยู่ในโรงพยาบาลได้ถูกสังหารในภายหลัง คอมมานโดอิสราเอลห้าคนได้รับบาดเจ็บ และคอมมานโดยศพันโทอีกหนึ่งนายคือโยนาทัน เนทันยาฮู ถูกฆ่าตาย สลัดอากาศทั้งหมดและทหารยูกันดาสี่สิบห้ารายถูกสังหาร ส่วนมิก-17 และมิก-21 สิบเอ็ดลำ ที่สร้างโดยโซเวียตของกองทัพอากาศยูกันดาถูกทำลาย แหล่งข่าวเคนยาให้การสนับสนุนอิสราเอล และผลที่ตามมาของปฏิบัติการ อีดี อามิน ออกคำสั่งเพื่อแก้แค้นและฆ่าชาวเคนยาที่อยู่ในประเทศยูกันดาหลายร้อยคนหลังจากนั้น โดยชาวเคนยาในประเทศยูกันดา 245 คนถูกฆ่าตายและ 3,000 คนได้หนีไป", "title": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ" }, { "docid": "969906#19", "text": "มอสสาดสร้างภาพที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถานที่ของตัวประกัน, จำนวนของสลัดอากาศ และการมีส่วนร่วมของกองทัพยูกันดาจากการปล่อยตัวประกันในปารีส นอกจากนี้ บริษัทตัวแทนอิสราเอลมีส่วนร่วมในการสร้างโครงการในแอฟริกาในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 ถึงคริสต์ทศวรรษ 1970 และในขณะที่เตรียมการโจมตีโฉบฉวยกองทัพอิสราเอลได้ปรึกษากับโซเลลโบเนห์ ซึ่งเป็นบริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่ของอิสราเอลที่สร้างเทอร์มินอลที่คุมตัวประกันไว้ ขณะที่กำลังวางแผนปฏิบัติการทางทหาร กองกำลังป้องกันอิสราเอลได้สร้างแบบจำลองบางส่วนของอาคารผู้โดยสารที่ท่าอากาศยานโดยได้รับความช่วยเหลือจากพลเรือนผู้ช่วยสร้างต้นฉบับ", "title": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ" }, { "docid": "969906#26", "text": "ตัวประกันชื่อไอลัน ฮาร์ทัฟ เปิดเผยว่า วินฟรีด เบอเซ เป็นสลัดอากาศเพียงคนเดียวหลังจากเริ่มปฏิบัติการ ที่ได้เข้าห้องโถงตัวประกัน ตอนแรกเขาใช้ไรเฟิลคาลาชนิคอฟส่องไปที่ตัวประกัน แต่ \"ทันทีที่มาถึงความประสาทสัมผัสของเขา\" ก็ได้สั่งให้พวกเขาหากำบังในห้องน้ำ ก่อนที่จะถูกสังหารโดยหน่วยคอมมานโด ตามที่ฮาร์ทัฟเปิดเผย เบอเซยิงเฉพาะทหารอิสราเอลและไม่ได้ยิงตัวประกัน", "title": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ" }, { "docid": "969906#31", "text": "ส่วนประเทศตะวันตกกล่าวสนับสนุนการโจมตีโฉบฉวย โดยเยอรมนีตะวันตกกล่าวถึงการโจมตีว่า \"การป้องกันตัวเอง\" สวิตเซอร์แลนด์และฝรั่งเศสยกย่องการปฏิบัติการ ตัวแทนจากสหราชอาณาจักรและสหรัฐให้การสรรเสริญอย่างมีนัยสำคัญ โดยเรียกการโจมตีเอนเทบเบว่า \"ปฏิบัติการที่เป็นไปไม่ได้\" บางคนในสหรัฐตั้งข้อสังเกตว่าตัวประกันได้รับการปลดปล่อยในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1976 ซึ่งตรงกับ 200 ปีหลังจากการลงนามประกาศเอกราชของสหรัฐ ในการสนทนากับดีนิทซ์ ซึ่งเป็นเอกอัครราชทูตอิสราเอล เฮนรี คิสซินเจอร์ ได้ออกเสียงวิจารณ์สำหรับการใช้อุปกรณ์ของสหรัฐระหว่างปฏิบัติการของอิสราเอล แต่คำวิจารณ์ดังกล่าวไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณชนในขณะนั้น นอกจากนี้ ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคมปี ค.ศ. 1976 เรือสหรัฐ\"เรนเจอร์\" (ซีวี-61) ซึ่งเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดใหญ่และฝ่ายคุ้มกันเรือดังกล่าวได้เข้าสู่มหาสมุทรอินเดียและดำเนินการปิดชายฝั่งเคนยา เพื่อตอบโต้การคุกคามทางทหารโดยกองกำลังจากยูกันดา", "title": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ" }, { "docid": "969906#4", "text": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ มีชื่อรหัสทางทหารคือปฏิบัติการธันเดอร์โบลต์ บางครั้งอ้างถึงในฐานะปฏิบัติการโยนาทัน เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่หัวหน้าหน่วยที่ชื่อโยนาทัน เนทันยาฮู ซึ่งเป็นพี่ชายของเบนจามิน เนทันยาฮู ผู้เป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอลคนปัจจุบัน", "title": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ" }, { "docid": "969906#17", "text": "การโจมตีโฉบฉวยไม่สามารถดำเนินการได้หากปราศจากความช่วยเหลือจากรัฐบาลแอฟริกาตะวันออกอย่างน้อยหนึ่งแห่ง ชาวยิวเจ้าของกลุ่มบริษัทบริหารโรงแรมบล็อกในประเทศเคนยา พร้อมกับสมาชิกคนอื่น ๆ ของชุมชนชาวยิวและชาวอิสราเอลในกรุงไนโรบี อาจใช้อิทธิพลทางการเมืองและเศรษฐกิจของพวกเขาเพื่อช่วยชักชวนประธานาธิบดีเคนยา โจโม เคนยัตตา ให้ช่วยอิสราเอล ซึ่งรัฐบาลอิสราเอลได้รับอนุญาตจากเคนยาให้กองกำลังป้องกันอิสราเอลข้ามน่านฟ้าเคนยาและเติมเชื้อเพลิงที่ท่าอากาศยานนานาชาติโจโม เคนยัตตา", "title": "ปฏิบัติการเอนเทบเบ" } ]
346
พีระมิดคูฟู มีความสูงเท่าไหร่?
[ { "docid": "100620#1", "text": "เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จในสมัยของฟาโรห์คูฟู มหาพีระมิด มีความสูงถึง 147 เมตร (481 ฟุต หรือประมาณเท่ากับอาคารสูง 40 ชั้น เมื่อคิดความสูงที่ชั้นละ 3.5 เมตร) นับจากก่อสร้างแล้วเสร็จ พีระมิดคูฟูนับเป็นสิ่งก่อสร้างสูงที่สุดในโลก เป็นเวลาต่อเนื่องยาวนานถึง 43 ศตวรรษ จนกระทั่ง มีการก่อสร้าง มหาวิหารลินคอล์น (Lincoln Cathedral) ที่ ประเทศอังกฤษ ซึ่งมียอดวิหารสูง 160 เมตร ในปี พ.ศ. 1843 (ค.ศ. 1300) ซึ่งต่อมายอดวิหารนี้ถูกพายุทำลายในปี พ.ศ. 2092 (ค.ศ. 1549) แต่ขณะนั้นส่วนยอดพีระมิดคูฟูก็สึกกร่อนลงจนมีความสูงไม่ถึง 140 เมตร ทำให้ วิหารเซนต์โอลาฟ (St. Olav's Church) ในประเทศเอสโตเนีย ซึ่งเพิ่งก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2062 (ค.ศ. 1519) กลายเป็นสิ่งก่อสร้างสูงที่สุดในโลกด้วยความสูงของยอดวิหาร 159 เมตร ปัจจุบันมหาพีระมิดมีความสูง ประมาณ 137 เมตร ซึ่งต่ำกว่าเมื่อแรกสร้างประมาณ 10 เมตร และรัฐบาลอียิปต์ได้ดำเนินการติดตั้ง โครงโลหะเพื่อแสดงถึงความสูงที่แท้จริง ขณะก่อสร้างแล้วเสร็จ ไว้ที่ส่วนยอดของ มหาพีระมิดคูฟู", "title": "พีระมิดคูฟู" } ]
[ { "docid": "100620#4", "text": "สิ่งที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งคือด้านทั้ง 4 ของพีระมิดหันออกในแนวทิศ เหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตก ถูกต้องแม่นยำตามทิศจริงไม่ใช่ตามทิศเหนือแม่เหล็ก จึงไม่ใช่การกำหนดทิศด้วยเข็มทิศ ตำแหน่งของพีระมิดนั้น คลาดเคลื่อนจากทิศเหนือเพียง 3 ลิปดา 6 พิลิปดา แสดงถึงความสามารถของ ชาวอียิปต์โบราณ ในการประยุกต์ความรู้ทางดาราศาสตร์ มาใช้ในการกำหนดทิศทางได้เป็นอย่างดี", "title": "พีระมิดคูฟู" }, { "docid": "100620#25", "text": "จนถึงปี พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) กรุงเทพมหานครจึงมีอาคาร โรงแรมใบหยกสวีท (Baiyoke Suite Hotel) เป็นอาคาร 44 ชั้น ที่มีความสูง 151 เมตร ซึ่งนับเป็นอาคารแห่งแรกในประเทศไทย ที่มีความสูงมากกว่า พีระมิดคูฟู ที่ชาวอียิปต์สร้างไว้เมื่อ 4,600 ปีก่อน หลังจากนั้นมีการสร้างอาคารสูงทำลายสถิติ ความสูงของ ใบหยกสวีท อีกหลายแห่ง โดยที่ อาคารใบหยกทาวเวอร์ 2 (Baiyoke Tower 2) ซึ่งสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) เป็นอาคาร 85 ชั้น มีความสูงถึง 304 เมตร กว่า 2 เท่าความสูง พีระมิดคูฟู และยังครองตำแหน่ง อาคารสูงที่สุดในกรุงเทพมหานครอยู่ ณ ปี พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006)", "title": "พีระมิดคูฟู" }, { "docid": "365720#2", "text": "คลื่นสีนามิที่ใญ่ที่สุดมาถึงราว 50 นาที่หลังจากแผ่นดินไหวครั้งแรก ความสูงขนาด 13 ม. ของมันผ่านกำแพงกันคลื่นที่สูงเพียง 10 ม.เท่านั้น ชั่วขณะที่เข้ากระทบถูกจับภาพไว้ได้ด้วยกล้อง น้ำเข้าท่วมห้องเก็บเครื่องกำเนิดไฟฟ้าฉุกเฉินที่อยู่ต่ำอย่างรวดเร็ว เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลไม่นานก็หยุดทำงาน ตัดพลังงานไฟฟ้าที่จ่ายให้กับปั้มน้ำที่สำคัญที่ใช้หมุนเวียนน้ำหล่อเย็นต่อเนื่องให้กับเครื่องปฏิกรณ์แบบ Generation II เป็นเวลาหลาย ๆ วันเพื่อป้องกันไม่ให้แท่งเชื้อเพลิง () หลอมละลายหลังการ SCRAM เนื่องจากแผ่นรองเชื้อเพลิงเซรามิกจะยังคงผลิตความร้อนจากการสลายกัมมันตรังสี () ต่อไปแม้ว่าหลังจากขบวนการฟิชชั่นได้สิ้นสุดลงแล้ว แท่งเชื้อเพลิงจะร้อนมากพอที่จะหลอมละลายตัวมันเองในระหว่างช่วงเวลาการสลายตัวของเชื้อเพลิงถ้าไม่มี cold sink ที่พอเพียง หลังจากปั้มฉุกเฉินที่สอง (ทำงานโดยไฟฟ้าจากแบตเตอรีแบ็กอัพ) ไฟหมดหนึ่งวันหลังจากคลื่นสึนามิ(12 มีนาคม) ปั้มน้ำทั้งหมดก็หยุดและเครื่องปฏิกรณ์ทั้งหลายเริ่มที่จะโอเวอร์ฮีทเนื่องจาก decay heat ที่ผลิตในช่วงวันแรก ๆ หลังการ SCRAM (ปริมาณที่ลดน้อยลงของ decay heat นี้จะถูกปลดปล่อยออกมาอย่างต่อเนื่องหลายปี แต่มีเวลาไม่มากพอสำหรับการระบายความร้อนด้วยน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้แกนเชื้อเพลิงหลอมละลาย)", "title": "ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง" }, { "docid": "100620#5", "text": "นอกจากนี้คนงานก่อสร้างพีระมิดคูฟูยังสามารถทำงานได้อย่างเที่ยงตรงน่าทึ่ง โดยหินตรงส่วนฐานของพีระมิดจัดวางได้เสมอกัน มีความคลาดเคลื่อน เพียงไม่ถึง 2.5 เซนติเมตร และแต่ละด้านของฐานพีระมิด มีความกว้างคลาดเคลื่อนจากกัน เพียงไม่เกิน 8 นิ้ว หรือคิดเป็นเพียง 0.09 % ซึ่งถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับขนาดงานก่อสร้าง และระดับเทคโนโลยีในขณะนั้น", "title": "พีระมิดคูฟู" }, { "docid": "100775#1", "text": "เนื่องจากพีระมิดนี้ ก่อสร้างอยู่บนพื้นหินที่สูงกว่า และตั้งอยู่เป็นองค์กลางของ พีระมิดทั้ง 3 แห่งกีซา ทำให้เมื่อมองด้วยตา พีระมิดคาเฟร จะมีขนาดใหญ่กว่า พีระมิดคูฟู ทั้งที่ในความเป็นจริงมีความสูงน้อยกว่า และมีขนาดฐานแคบกว่า ลักษณะสำคัญอีกอย่างหนึ่งของพีระมิดคาเฟรคือ ส่วนยอดของพีระมิดยังคงมีชั้นหินปูนขัดมัน ที่ชาวอียิปต์โบราณก่อสร้าง ปิดเป็นผิวชั้นนอกของพีระมิดหลงเหลืออยู่ หินปูนขัดมันที่เป็นผิวชั้นนอกนี้ บางก้อนมีน้ำหนัก ถึง 7 เมตริกตัน", "title": "พีระมิดคาเฟร" }, { "docid": "100620#18", "text": "เคยมีการกล่าวเอาไว้ว่าการสร้างพีระมิดแห่งเมืองอียิปต์นั้นอาจจะไม่ใช่ฝีมือของมนุษย์ในสมัยของอียิปต์โบราณ แต่อาจจะเป็นฝีมือของชาวแอตแลนติส ที่ได้สร้างเอาไว้ \" (ดูจากบทความ \"แอตแลนติส\") \" ทำให้มีหลายแนวความคิดที่แสดงให้เห็นว่าปิรามิดได้ถูกสร้างขึ้นโดยมีนัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับโลก ดังจะเห็นได้จากคำนิยามของคำว่า \"ปิรามิด\" จากนักปราชญ์หลายท่าน เช่น อาร์คิเมดิส นักคณิตศาสตร์ชาวกรีกได้ให้นิยามของ \"ปิรามิด\" ดังนี้หากเปรียบเทียบน้ำหนักของ พีระมิดคูฟู กับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กอย่าง ตึกเอ็มไพร์สเตท (Empire State Building) อดีตตึกระฟ้าสูงที่สุดในโลก ซึ่งมีน้ำหนักรวม 365,000 ตัน จะพบว่า พีระมิดคูฟู มีน้ำหนักมากกว่า ตึกเอ็มไพร์สเตท ถึงประมาณ 16 เท่าครึ่ง และเมื่อเทียบกับ อาคารไทเป 101 (Taipei 101) อาคารสูงที่สุดในโลก ณ ปี พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) ซึ่งมีน้ำหนักรวม 700,000 เมตริกตัน พีระมิดคูฟู ยังคงมีน้ำหนักมากกว่า อาคารไทเป 101 ถึง 8 เท่าครึ่ง", "title": "พีระมิดคูฟู" }, { "docid": "100620#24", "text": "ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) อาคารสำนักงานใหญ่ธนาคารกรุงเทพ ก่อสร้างแล้วเสร็จ เป็นอาคาร 32 ชั้นได้ครองตำแหน่งอาคารสูงที่สุดในกรุงเทพฯ ด้วยความสูง 134 เมตร โดยที่ยังคงมีความสูงน้อยกว่า พีระมิดคูฟู ที่อียิปต์ซึ่งขณะนั้นผุพังลงจนมีความสูงประมาณ 137 เมตร", "title": "พีระมิดคูฟู" }, { "docid": "100620#9", "text": "วิธีการลำเลียงหินขึ้นสู่บริเวณก่อสร้างในระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ ระหว่างการก่อสร้างคืออีกส่วนหนึ่งที่เป็นปริศนา แนวคิดแรกเริ่มเชื่อกันว่าชาวอียิปต์โบราณใช้วิธีสร้างทางลาดบริเวณด้านข้างของพีระมิด และชักลากหินขึ้นตามทางลาดที่ก่อสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามความสูงของระดับการก่อสร้างจนถึงจุดสูงสุดยอด และเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จจึงทำการรื้อทางลาดดังกล่าวออกคงเหลือไว้แต่ พีระมิด ที่สร้างเสร็จ ถ้าแนวคิดนี้เป็นจริงสิ่งก่อสร้างใหญ่ที่สุดในโลกยุคนั้นอาจไม่ใช่พีระมิดคูฟู แต่อาจเป็นทางลาดสูงเท่าตึก 40 ชั้นที่ใช้ก่อสร้างพีระมิดแทน มีแนวคิดอื่นๆ เสนอว่าทางลาดดังกล่าวอาจไม่ได้สร้างอยู่ด้านใดด้านหนึ่งข้างพีระมิด แต่อาจสร้างเป็นทางวนรอบพีระมิดแทน หรืออาจบางทีแต่ละชั้นของพีระมิดนั่นเองคือทางที่ใช้ชักลากหินขึ้นสู่ชั้นถัดไป ผ่านทางลาดขนาดเล็กที่สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมต่อระหว่างแต่ละชั้น", "title": "พีระมิดคูฟู" }, { "docid": "71264#2", "text": "ยอดเขาเคทูมีความโดดเด่นในเรื่องของความสูงและความชัน โดยตัวภูเขาเป็นทรงพีระมิดที่มีด้านทั้งสี่ที่ชันมาก โดยด้านเหนือของภูเขาจะมีความชันมากที่สุด โดยมีความสูงถึง 3,200 เมตรจากธารน้ำแข็งเคทูในระยะทางในแนวราบเพียง 3 กิโลเมตร หรือมีความชันเกือบ 47 องศา โดยเฉลี่ยแล้วแต่ละด้านจะมีความสูง 2,800 เมตรในระยะทางแนวราบประมาณ 4 กิโลเมตรหรือความชันกว่า 35 องศา ซึ่งเป็นองศาความชันที่ไม่มีภูเขาใดในโลกจะเทียบได้ จึงทำให้เคทูเป็นภูเขาที่ชันที่สุดและเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เคทูปีนได้ยากมาก", "title": "เคทู" } ]
358
ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุงมีบุตรกี่คน?
[ { "docid": "57369#2", "text": "สมรสกับลำเนา อยู่บำรุง ผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชน มีบุตรด้วยกันทั้งสิ้น 3 คน เป็นชายล้วนคือ ร้อยตำรวจตรี อาจหาญ อยู่บำรุง, ร้อยตำรวจตรี วัน อยู่บำรุง และ พันตำรวจตรี ดวง อยู่บำรุง ลูกชายทั้งสามก็ถูกเรียกกันทั่วไปว่า \"ลูกเหลิม\" มีน้องชายที่เล่นการเมืองท้องถิ่น เป็น ส.ก.หลายสมัยคือ นวรัตน์ อยู่บำรุง ส.ก.เขตหนองแขม\nและน้องชายที่เป็นตำรวจ พ.ต.ท.จารึก อยู่บำรุง ซึ่งเสียชีวิตแล้วเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557\nจบการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก จาก คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ท่ามกลางความสงสัยว่าการจบปริญญาเอกนั้นไม่ได้มาตรฐาน", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "57369#10", "text": "ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง กลับมาเป็นข่าวคราวอีกครั้ง เมื่อลูกชายทั้ง 3 คน คือ ร้อยตำรวจตรีอาจหาญ อยู่บำรุง ร้อยตำรวจตรีวัน อยู่บำรุง และร้อยตำรวจเอกดวง อยู่บำรุง ตกเป็นข่าวผ่านสื่อมวลชนเป็นระยะ ว่ามีพฤติกรรมก้าวร้าว ก่อเหตุวิวาททำร้ายร่างกายหลายครั้ง", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" } ]
[ { "docid": "57369#1", "text": "ร้อยตำรวจเอก เฉลิม เกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490 บิดาชื่อ ร.ต.ต.แฉล้ม อยู่บำรุง มารดาชื่อนางลั้ง อยู่บำรุง จบการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อนเข้ารับราชการตำรวจที่มีตำแหน่งเป็นสารวัตรกองปราบ นั้นได้เคยเป็นทหารยศสิบโทมาก่อน ได้ขอโอนย้ายตัวเองเข้าสังกัดตำรวจ ในการทำงานการเมืองเคยดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กำกับดูแล องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย และขณะที่กำกับดูแลหน่วยงานแห่งนี้ ร้อยตำรวจเอก เฉลิม มีชื่อเรียกสั้น ๆ จากสื่อมวลชนว่า \"เหลิม\" หรือ \"เหลิมดาวเทียม\" เนื่องจากเป็นที่รับรู้กันดีในแวดวงสื่อมวลชนถึงการควบคุมการนำเสนอข่าวด้วยตนเองของ ร้อยตำรวจเอก เฉลิม ซึ่งในบางครั้งถึงกับเข้าไปสั่งการในห้องตัดต่อเอง จนคนในช่อง 9 เรียกว่า \"บรรณาธิการเฉลิม\"", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "57369#24", "text": "ร้อยตำรวจเอก เฉลิมเป็นผู้นำสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดย ร้อยตำรวจเอก เฉลิมเป็นผู้ขึ้นเปิดอภิปรายเป็นคนแรก โดยอภิปรายไม่ไว้วางใจอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในกรณีการปกปิด ซ่อนเร้น ไม่เปิดเผยการรับเงินสนับสนุนพรรคการเมือง ในการรายงานงบดุลต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งเส้นทางของเงินดังกล่าวเป็นเงินที่รับจากบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) แล้วทำนิติกรรมอำพรางผ่านบริษัท เมซไซอะ ซึ่งถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "57369#29", "text": "อย่างไรก็ตามในการเลือกตั้งครั้งถัดมา ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 3 พรรคเพื่อไทย รวมถึงได้ส่งบุตรชายลงสมัครรับเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "57369#17", "text": "แต่ต่อมาในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 นายสมัครได้ตัดสินใจปรับคณะรัฐมนตรี โดยในการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ ร้อยตำรวจเอก เฉลิมได้พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยนายสมัครได้ให้ พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ ดำรงตำแหน่งแทน ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "57369#22", "text": "ภายหลังจากมีการยุบพรรค ร้อยตำรวจเอก เฉลิมได้ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย ทั้งนี้คณะผู้บริหารพรรคพิจารณาแต่งตั้ง ร้อยตำรวจเอก เฉลิมเป็นประธานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อควบคุมการทำงานในสภาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภายในพรรคต่อไป โดย ร้อยตำรวจเอก เฉลิม กล่าวว่าพรรคได้มอบหมายให้ทำหน้าที่ประธานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อทำหน้าที่หัวหน้าพรรคในสภาผู้แทนราษฎร", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "57369#3", "text": "ร้อยตำรวจเอก เฉลิม เป็นที่รู้จักในฐานะนักการเมือง หลายครั้งมีการใช้คำพูดที่ฟังดูรุนแรง ซึ่ง ร้อยตำรวจเอก เฉลิม เคยกล่าวถึงตัวเองไว้ว่า \"ไปทะเลเจอฉลาม มาสภาเจอเฉลิม\"", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "57369#5", "text": "ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง ปรากฏบทบาททางการเมืองครั้งแรกในฐานะผู้ร่วมการพยายามก่อรัฐประหารรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2524 และหลังการทำรัฐประหารไม่สำเร็จ จึงตกเป็นผู้ต้องหามีคำสั่งย้ายเข้ากรมตำรวจในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2524 และพลตำรวจเอกมนต์ชัย พันธุ์คงชื่นอธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น ได้ลงนามในคำสั่งที่ 500/2524 ไล่ออกจากราชการตำรวจในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2524และตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง ต่อมาจึงได้รับการนิรโทษกรรม", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "57369#15", "text": "ร้อยตำรวจเอก เฉลิมตัดสินใจเข้าร่วมงานกับพรรคพลังประชาชน หลังการรัฐประหารใน พ.ศ. 2549 และในช่วงปลายปี พ.ศ. 2550 จะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดย ร้อยตำรวจเอก เฉลิมลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบสัดส่วน ลำดับที่ 2 กลุ่มจังหวัดที่ 6 (กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี และ สมุทรปราการ) และได้รับเลือก", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" } ]
362
เบลารุสตั้งอยู่ที่ใด ?
[ { "docid": "17203#0", "text": "เบลารุส ( \"บฺแยลารูสฺย\"; ) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐเบลารุส (; ) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกัยรัสเซีย ยูเครน โปแลนด์ ลิทัวเนีย และลัตเวีย เมืองหลวงของประเทศคือกรุงมินสก์ เมืองสำคัญของประเทศนี้ ได้แก่ เบรสต์ กรอดโน กอเมล และวีเซียบสค์", "title": "ประเทศเบลารุส" } ]
[ { "docid": "17203#3", "text": "ประเทศเบลารุสแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 จังหวัด (provinces - \"voblasts\") ซึ่งตั้งชื่อจังหวัดตามเมืองที่เป็นศูนย์กลางการบริหารของจังหวัดนั้น ๆ จังหวัดต่าง ๆ จะแบ่งเขตย่อยลงไปเป็น เขต (districts - \"raions\") ส่วนกรุงมินสก์ซึ่งอยู่ในพื้นที่จังหวัดมินสก์ มีสถานะพิเศษไม่ขึ้นกับจังหวัดใด ๆ การแบ่งเขตการปกครองออกเป็นจังหวัดนั้นมีมาตั้งแต่สมัยโซเวียต แหล่งข้อมูลต่าง ๆ ของรัฐบาลเบลารุส กล่าวว่า ในประเทศมีประชากร 58.9% ที่นับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่ง (ตรวจสอบเมื่อเดือน พฤศจิกายน ปีค.ศ. 2011) ภายใน 58.9% นั้น โดยมากนับถือศาสนาคริสต์นิกายต่าง ๆ ซึ่งในทั่วทั้งประเทศ มีประชากร 82% ที่นับถือ คริสต์ศาสนาคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ส่วนผู้ที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิก โดยมากอาศัยอยู่ในบริเวณทิศตะวันออกของประเทศ บางเขตแดนมีผู้คนนับถือคริสต์ศาสนาคริสตจักรโปรเตสแตนท์ (ซึ่งเป็นคริสตจักรที่กำเนิดขึ้นตั้งแต่ช่วงเวลาที่เขตแดนเบลารุสได้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสวีเดน) ในประเทศ มีชนกลุ่มน้อยนับถือศาสนาต่าง ๆ อีกด้วย ได้แก่ คริสต์ศาสนาคริสตจักรกรีกคาทอลิก ศาสนายูดาห์ อิสลาม และ ลัทธินอกศาสนาใหม่ (Neopaganism) มีประชากรจำนวนมากที่ได้เปลี่ยนแปลงศาสนาของตนในช่วงเวลาที่ประเทศเบลารุสได้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซีย โดยประชากรโดยมากได้เปลี่ยนจากศาสนาคริสต์แบบกรีกคาทอลิกเป็นคาทอลิกแบบรัสเซีย", "title": "ประเทศเบลารุส" }, { "docid": "208022#1", "text": "ช่วงที่อยู่ภายใต้การปกครองของลิธัวเนีย ลิธัวนียรับอิทธิพลทางด้านศิลปวัฒนธรรมจากเบลารุสไปมาก รวมทั้งการนับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์ จนกระทั่งซาร์อีวานที่ 4 แห่งรัสเซีย หรือ(ราชอาณาจักรมอสโกวี ในสมัยนั้น) ได้ขยายอำนาจเข้าไปในยุโรปตะวันออก ลิทัวเนียหันไปสร้างความสัมพันธ์กับโปแลนด์ และหันไปนับถือนิกายโรมันคาทอลิกและนำไปสู่การจัดตั้งเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนียใน พ.ศ. 2112 อย่างไรก็ตาม ภายหลังโปแลนด์ได้แผ่อิทธิพลเข้าครอบงำเบลารุสด้วย แต่เบลารุสต่อต้านและแยกตัวออกมาเป็นอิสระ จนพุทธศตวรรษที่ 23 โปแลนด์จึงขยายอำนาจเข้าครอบครองเบลารุสสำเร็จ บังคับให้เลิกใช้ภาษาเบลารุสและสั่งปิดศาสนสถานของนิกายออร์ทอดอกซ์", "title": "ประวัติศาสตร์เบลารุส" }, { "docid": "932758#0", "text": "ฟุตบอลทีมชาติเบลารุส (, \"Natsyyanalnaya zbornaya Bielarusi pa futbolie\") เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของประเทศเบลารุส อยู่ภายใต้การควบคุมของสหพันธ์ฟุตบอลแห่งเบลารุส ใช้บอรีซอฟอารีนาในเมืองบารีซอฟ เป็นสนามเหย้า เบลารุสไม่เคยผ่านรอบคัดเลือกของฟุตบอลโลกและฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ปัจจุบันมีผู้จัดการทีมคือ Igor Kriushenko ซึ่งคุมทีมมาตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 2017", "title": "ฟุตบอลทีมชาติเบลารุส" }, { "docid": "208022#12", "text": "อย่างไรก็ตามประเทศตะวันตกต่อต้านการปกครองของลูคาเชนโคและปฏิเสธการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของเบลารุส ใน พ.ศ. 2547 สภาแห่งยุโรปโจมตีเบลารุสในการที่รัฐบาลขัดขวางการไต่สวนสืบคดีการหายสาบสูญของฝ่ายต่อต้านรัฐบาล รัฐบาลสหรัฐได้ขึ้นบัญชีดำเบลารุสว่าเป็นประเทศที่มีการปกครองแบบเผด็จการในเวลาต่อมา การถูกปฏิเสธจากประเทศตะวันตกยิ่งทำให้เบลารุสดำเนินนโยบายเป็นมิตรกับรัสเซียมากขึ้น", "title": "ประวัติศาสตร์เบลารุส" }, { "docid": "149304#18", "text": "ในปี พ.ศ. 2544 ประธานาธิบดีลูกาเชนโกได้ลงนามในกฎหมายว่าด้วยธงประจำกองทัพเบลารุส ลักษณะของธงนั้นมีสัดส่วนกว้าง 1 ส่วน ยาว 1.7 ส่วน พื้นธงเป็นสีแดง มีลวดลายตามแบบที่ปรากฏในธงชาติประดับที่ด้านคันธง ด้านหน้าธงนั้นมีรูปตราแผ่นดินของเบลารุส เบื้องบนมีแถบอักษรโค้งความ \"УЗБРОЕНЫЯ СІЛЫ\" (แปลว่า \"กองทัพ (เบลารุส)\")เบื้องล่างเป็นอักษรข้อความ \"РЭСПУБЛІКІ БЕЛАРУСЬ\" (แปลว่า \"สาธารณรัฐเบลารุส\") ตัวอักษรในข้อความดังกล่าวนั้นเป็นสีทอง ที่ด้านหลังธงนั้นเป็นรูปตราประจำกองทัพเบลารุส ลักษณะเป็นรูปดาวแดงล้อมด้วยช่อกิ่งโอ๊กและใบลอเรล เหนือรูปดังกล่าวมีข้อความ \"ЗА НАШУ РАДЗІМУ\" (แปลว่า \"เพื่อมาตุภูมิของเรา\") เบื้องล่างของรูปนั้นจารึกชื่อเต็มของหน่วยทหาร", "title": "ธงชาติเบลารุส" }, { "docid": "112689#0", "text": "ภาษาเบลารุส (беларуская мова) เป็นภาษาราชการของประเทศเบลารุส และยังพูดในบางส่วนของรัสเซีย ยูเครน และโปแลนด์ จัดอยู่ในภาษากลุ่มสลาวิกซึ่งมีความคล้ายคลึงกันมาก และภาษาเบลารุสยังคงเป็นภาษาที่คล้ายกับรัสเซียมากถึงแม้ว่าจะคล้ายมาก แต่ชาวเบลารุสยังรักษาภาษาของตนให้ดำรงไว้สืบทอดต่อคนรุ่นหลาน", "title": "ภาษาเบลารุส" }, { "docid": "539293#0", "text": "กองทัพแห่งสาธารณรัฐเบลารุส แบ่งเป็นกำลังทางบกและกำลังทางอากาศและป้องกันทางอากาศ ทั้งหมดอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกระทรวงกลาโหมเบลารุส เบลารุสไม่มีกองทัพเรือ เพราะเป็นประเทศไม่มีทางออกทะเล", "title": "กองทัพเบลารุส" }, { "docid": "208022#6", "text": "ในสงครามโลกครั้งที่สอง สหภาพโซเวียตลงนามเป็นพันธมิตรกับเยอรมันในกติกาสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างนาซี-โซเวียตเมื่อ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2482 จากกติกาสัญญานี้ โซเวียตเข้ายึดครองเบลารุสตะวันตกของโปแลนด์และดินแดนรัฐบอลติกทั้งสาม ต่อมา เยอรมันได้ละเมิดข้อตกลงนี้ บุกเข้าโจมตีมอสโกผ่านทางเบลารุสเมื่อ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2484 เบลารุสถูกโจมตีเสียหายอย่างหนักและมีองค์กรใต้ดินต่อต้านนาซีเกิดขึ้นทั่วไป จน พ.ศ. 2487 โซเวียตจึงปลดปล่อยเบลารุสจากการยึดครองของเยอรมันสำเร็จ", "title": "ประวัติศาสตร์เบลารุส" }, { "docid": "208022#0", "text": "ประวัติศาสตร์เบลารุสเริ่มจากการตั้งถิ่นฐานของชาวสลาฟ เกิดเป็นราชอาณาจักร ภายหลังสวามิภักดิ์ต่อราชอาณาจักรเคียฟ ต่อมาถูกลิธัวเนียยึดครอง เมื่อประกาศเอกราชได้ไม่นานก็ถูกสหภาพโซเวียตเข้ายึดครองอีก ได้เป็นเอกราชอีกครั้งเมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลายไป\nดินแดนที่เป็นประเทศเบลารุสในปัจจุบันมีผู้คนอยู่อาศัยตั้งแต่ยุคหินเก่า ชาวสลาฟเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเบลารุสตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 11 และจัดตั้งราชอาณาจักรโปตอตสด์เมื่อราว พ.ศ. 1405 และได้สวามิภักดิ์ต่อราชอาณาจักรเคียฟ หรือจักรวรรดิเคียฟรุสเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 15 และได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์และรับอิทธิพลศิลปวัฒนธรรมจากจักรวรรดิไบแซนไทน์ หลังจากราชอาณาจักรเคียฟล่มสลายเมื่อ พ.ศ. 1783 เบลารุสจึงถูกลิทัวเนียปกครองเป็นเวลา 400 ปี", "title": "ประวัติศาสตร์เบลารุส" } ]
365
ใครรับบทเป็นพระเอกในละครเรื่อง อินทรีแดง เป็นคนแรก?
[ { "docid": "138403#5", "text": "ครั้งแรกของ อินทรีแดง ที่ได้มาผงาดบนแผ่นฟิล์มภาพยนตร์ขนาด 16 ม.ม. โดยครั้งแรก รังสรรค์ ตันติวงศ์ และ ประทีป โกมลภิส เตรียมสร้างภาพยนตร์เรื่องที่ 2 ต่อจาก ชาติเสือ ให้ มิตร ชัยบัญชา แสดง ระหว่างนั้น มิตร ชัยบัญชา ได้อ่านนิยายเรื่อง อินทรีแดง ที่บ้านรังสรรค์ ตันติวงศ์ จึงชอบและแจ้งความจำนงค์ว่าต้องการแสดงเป็นอินทรีแดง เพราะมีสองบุคลิก เมื่อผู้สร้างและผู้กำกับเห็นความตั้งใจของพระเอก จึงตัดสินใจพามิตร ชัยบัญชา ไปพบ เศก ดุสิต เพื่อขอซื้อนิยายอินทรีแดง ตอน จ้าวนักเลง ให้มิตร ชัยบัญชา รับบทอินทรีแดงครั้งแรก ในชื่อเรื่อง จ้าวนักเลง เมื่อผู้ประพันธ์พบหน้าพระเอกมิตร เขาถูกใจในรูปร่างสูงใหญ่ แบบชายชาติทหาร และได้กล่าวกับมิตรว่า \"\"คุณคืออินทรีแดงของผม\"\" ภาพยนตร์ได้ออกฉายครั้งแรกวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2502 เมื่อเข้าฉายก็ประสบความสำเร็จ ทำรายได้ถล่มทลาย พร้อมสร้างชื่อให้กับ มิตร ชัยบัญชา กลายเป็นพระเอกขวัญใจ มหาชน นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเรื่อยๆ", "title": "อินทรีแดง" }, { "docid": "268560#2", "text": "ภาพยนตร์อินทรีแดงเรื่องนี้เป็นการสร้างครั้งแรก โดย รังสรรค์ ตันติวงศ์ และประทีป โกมลภิส เตรียมสร้างภาพยนตร์เรื่องที่ 2 ต่อจาก ชาติเสือ ให้ มิตร ชัยบัญชา แสดง ระหว่างนั้น มิตร ชัยบัญชา ได้อ่านนิยายเรื่อง อินทรีแดง ที่บ้านรังสรรค์ ตันติวงศ์ จึงชอบและแจ้งความจำนงค์ว่าต้องการแสดงเป็นอินทรีแดง เพราะมีสองบุคลิก เมื่อผู้สร้างและผู้กำกับเห็นความตั้งใจของพระเอก จึงตัดสินใจพามิตร ชัยบัญชา ไปพบ เศก ดุสิต เพื่อขอซื้อนิยายอินทรีแดง ตอน จ้าวนักเลง ให้มิตร ชัยบัญชา รับบทอินทรีแดงครั้งแรก กับภาพยนตร์เรื่องจ้าวนักเลง เมื่อผู้ประพันธ์พบหน้าพระเอกมิตร เขาถูกใจในรูปร่างสูงใหญ่ แบบชายชาติทหาร และได้กล่าวกับมิตรว่า \"\"คุณคืออินทรีแดงของผม\"\"", "title": "จ้าวนักเลง" }, { "docid": "138403#1", "text": "บทประพันธ์เรื่องนี้ได้นำมาสร้าง เป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์อยู่หลายครั้ง โดยครั้งแรก รังสรรค์ ตันติวงศ์ และประทีป โกมลภิส เตรียมสร้างภาพยนตร์เรื่องที่ 2 ต่อจาก ชาติเสือ ให้มิตร ชัยบัญชา แสดง ระหว่างนั้น มิตร ชัยบัญชา ได้อ่านนิยายเรื่อง อินทรีแดง ที่บ้านรังสรรค์ ตันติวงศ์ จึงชอบและแจ้งความจำนงค์ว่าต้องการแสดงเป็นอินทรีแดง เพราะมีสองบุคลิก เมื่อผู้สร้างและผู้กำกับเห็นความตั้งใจของพระเอก จึงตัดสินใจพามิตร ชัยบัญชา ไปพบ เศก ดุสิต เพื่อขอซื้อนิยายอินทรีแดง ตอน จ้าวนักเลง ให้มิตร ชัยบัญชา รับบทอินทรีแดงครั้งแรก กับภาพยนตร์เรื่อง \"จ้าวนักเลง\" ออกฉายครั้งแรกวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2502 ทำรายได้เกินล้านบาท ซึ่งทำให้มิตร ชัยบัญชามีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว นับตั้งแต่นั้นมา (หลังจากเป็นที่รู้จักและเริ่มมีชื่อเสียงจากภาพยนตร์เรื่องแรก \"ชาติเสือ\") และยังมีภาพยนตร์ที่มิตรรับบทเป็นอินทรีแดงอีก 5 ตอนคือเรื่อง \"ทับสมิงคลา\" (2505), \"อวสานอินทรีแดง\" (2506), \"ปีศาจดำ\" (2509), \"จ้าวอินทรี\" (2511), และ \"อินทรีทอง\" (2513) ซึ่ง มิตร ชัยบัญชา เสียชีวิตขณะถ่ายทำฉากโหนบันไดเชือกเฮลิคอปเตอร์ในภาพยนตร์เรื่องนี้ เนื่องจากการผิดพลาดทางเทคนิคที่ทำให้การถ่ายทำไม่เป็นไปตามที่กำหนด", "title": "อินทรีแดง" }, { "docid": "64911#25", "text": "เมื่อ พ.ศ. 2513 มิตรมีโครงการภาพยนตร์ ที่แสดงนำและกำกับการแสดงเป็นเรื่องแรก ในเรื่อง \"อินทรีทอง\" ซึ่งเป็นภาพยนตร์ชุด \"อินทรีแดง\" เรื่องที่ 6 ที่มิตรแสดงในบท โรม ฤทธิไกรหรือ อินทรีแดง ที่ต้องออกสืบหาอินทรีแดงตัวปลอม รับบทโดยครรชิต ขวัญประชา แสดงร่วมกับ เพชรา เชาวราษฎร์ รับบทวาสนา", "title": "มิตร ชัยบัญชา" } ]
[ { "docid": "425803#1", "text": "เข้าสู่วงการบันเทิงในปี พ.ศ. 2511 และมีชื่อเสียงขึ้นมาจากการรับบท \"ภูวนาท\" หรือ \"อินทรีแดง (ตัวปลอม)\" จากภาพยนตร์เรื่อง \"อินทรีทอง\" ในปี พ.ศ. 2513 ซึ่งเป็นตัวร้ายในเรื่อง ที่ทำให้ \"โรม ฤทธิไกร\" ซึ่งเป็นอินทรีแดงตัวจริง ที่แสดงโดย มิตร ชัยบัญชา ต้องเปลี่ยนไปใส่ชุดสีทองเป็นอินทรีทองเพื่อที่จะจัดการกับอินทรีแดงตัวปลอมนี้ ซึ่งถือเป็นภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายในชีวิตการแสดงของมิตร ชัยบัญชา อีกด้วย", "title": "ครรชิต ขวัญประชา" }, { "docid": "138403#8", "text": "ในปี พ.ศ. 2513 มิตรมีโครงการสร้างภาพยนตร์เป็นของตัวเอง ทั้งแสดงนำและกำกับการแสดงเป็นเรื่องแรก ในเรื่อง อินทรีทอง ในบท โรม ฤทธิไกร หรือ อินทรีแดง ที่ต้องออกสืบหาอินทรีแดงตัวปลอม การถ่ายทำสำเร็จได้ด้วยดีจนถึงฉากสุดท้าย ถ่ายทำที่หาดดงตาล พัทยาใต้ จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2513 เวลา 19.00 น. ในเรื่อง หลังจากอินทรีแดงปราบผู้ร้ายได้แล้ว จะหนีตำรวจ ออกจากรังของคนร้าย โดยโหนบันไดเชือกจากเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งมีวาสนาเป็นผู้ขับ  กล้องจะเก็บภาพเฮลิคอปเตอร์ พาอินทรีแดงบินลับหายไป", "title": "อินทรีแดง" }, { "docid": "669481#3", "text": "แม้จะคลุกคลีกับกองถ่าย แต่มีผลงานแสดงละครเรื่องแรกคือ \"ระย้า\" เมื่อปี 2541 จากการชักนำของบิดา เริ่มโด่งดังและพัฒนาฝีมือจนกระทั่งละครเรื่อง \"อังกอร์\" หลังจากนั้น แจ้งเกิดกับบทเพื่อนพระเอก ที่มาช่วยเหลือพระเอกทุกครั้งยามลำบาก โดยที่มีแคนคู่ใจเป็นอาวุธ และแคนนั้นสามารถเปลี่ยนเป็นปืนกลมหาประลัย เอกลักษณ์บทบาทของกัญจน์ในละคร คือรับบทบาทเป็นเพื่อนพระเอก คอยย่างไก่ ต้มกาแฟให้คนทั้งแคมป์กิน พร้อมกับการร้องเพลงประกอบละครทุกเรื่องที่เล่น เขาเผยว่า บทเขียนมาเป็นแบบนี้ และเขาก็เล่นไปตามบทภาพยนตร์เฉลิมพระเกียรติ ฝนแรก (2543)", "title": "กัญจน์ ภักดีวิจิตร" }, { "docid": "138403#0", "text": "อินทรีแดง เป็นบทประพันธ์ซูเปอร์ฮีโร่ฉบับไทยของ เศก ดุสิต โดยมีตัวเอกคือ อินทรีแดง หรือ โรม ฤทธิไกร บทประพันธ์เรื่องนี้ เศก ดุสิตได้เริ่มเขียนขึ้นในปี พ.ศ. 2498 โดยได้แนวความคิดจากภาพยนตร์ของ ร็อก ฮัตสัน ชื่อเรื่อง \"Captain Lightfoot\" ในภาพยนตร์เล่นเป็นตีนแมว ที่มีอุดมการณ์ ช่วยเหลือผู้อื่น ใส่หน้ากากสีแดง จึงสร้างเป็นเนื้อเรื่องในทำนองเดียวกัน โดยใช้เป็นนกอินทรีเพราะเป็นนกที่มีอำนาจ บินได้สูงสุด ใครก็บินไม่สูงเท่านกอินทรี มีความยิ่งใหญ่ โดยนำเรื่องราวในสมัยนั้นมาผูกเข้ากับสภาพปัญหาทางสังคม ทั้งการตัดไม้ทำลายป่า การทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งกฎหมาย เอื้อมไม่ถึง บทประพันธ์ชุด อินทรีแดง ของ เศก ดุสิต เขียนขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. 2498-2513 บทประพันธ์ได้รับความนิยมจากนักอ่านอย่างมาก", "title": "อินทรีแดง" }, { "docid": "220819#0", "text": "อินทรีแดง เป็นภาพยนตร์ไทย ที่ออกฉายในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ของค่ายไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น ร่วมด้วยบริษัทกันตนา ภายใต้การดูแลของบริษัทโลคอล คัลเลอร์ มีทุนสร้าง 150 ล้านบาท กำกับโดย วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง โดยมีนักแสดงนำคือ อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม รับบท อินทรีแดง, ญารินดา บุนนาค รับบทเป็น วาสนา เทียนประดับ ด็อกเตอร์สาวผู้จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ร่วมด้วยวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล รับบทเป็น หมวดชาติ คู่ปรับของอินทรีแดง โดยเรื่องราวในผลงาน \"อินทรีแดง\" ชิ้นนี้มีเรื่องราวและภาพลักษณ์ที่ทันสมัยกว่าในเวอร์ชันก่อน ๆ โดยเป็นเรื่องในอนาคตอีก 4-5 ปีข้างหน้า", "title": "อินทรีแดง (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "138403#11", "text": "ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 วินโปรดักชั่นฟิล์มโดย วิน วันชัย ก็สร้างด้วยการหยิบเอานิยายเรื่องอินทรีแดงที่เศกดุสิตเขียนขึ้นใหม่ มาสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง บินเดี่ยว ได้พระเอกหน้าใหม่มาแสดง สิงหา สุริยง คู่กับนางเอก นัยนา ชีวานันท์ พอปี พ.ศ. 2523 พาราไดซ์ฟิลม์ โดย ประเสริฐ ศรีสมทรัพย์ นำเอานิยายเรื่องอินทรีแดง ตอน พรายมหากาฬ มาสร้างเป็นภาพยนตร์ใหญ่ มี ส.อาสนจินดา กลับมารับหน้าที่กำกับอีกครั้ง ผู้มาสวมบทบาทอินทรีแดงคือ กรุง ศรีวิไล ที่กำลังดัง พร้อมด้วยนางเอกยอดนิยม อรัญญา นามวงศ์", "title": "อินทรีแดง" } ]
366
แมนนี ปาเกียว เสียแชมป์โลกให้ใคร ?
[ { "docid": "48689#1", "text": "เม็ดเงิน ได้แชมป์โลกมาจากการเอาชนะน็อก แมนนี่ ปาเกียว นักมวยชาวฟิลิปปินส์ชื่อดังระดับโลก หลังจากปาเกียวได้แชมป์โลกในรุ่นฟลายเวท สภามวยโลก (WBC) มาอย่างไม่คาดฝันในปลายปี พ.ศ. 2541 ด้วยการเอาชนะน็อกยก 8 ฉัตรชัย สาสกุล เจ้าของตำแหน่งชาวไทยถึงในประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นตำแหน่งแชมป์โลกครั้งแรกของปาเกียว จากนั้นปาเกียวก็ป้องกันตำแหน่งแชมป์โลกไว้ได้ครั้งหนึ่งด้วยการเอาชนะน็อก กาเบรียล มิรา นักมวยชาวเม็กซิกัน ได้ที่ประเทศฟิลิปปินส์", "title": "เม็ดเงิน กระทิงแดงยิม" }, { "docid": "135324#2", "text": "แมนนี ปาเกียว ถือเป็นนักมวยฟิลิปปินส์ที่ไม่เหมือนกับนักมวยฟิลิปปินส์รายอื่น ๆ ด้วยเป็นมวยทรหด หมัดหนักทั้งซ้ายและขวา จิตใจห้าวหาญไม่กลัวใคร และสภาพร่างกายแข็งแกร่ง โดยปาเกียวสามารถเอาชนะนักมวยไทยที่มีฝีมือเก่งกาจได้ถึง 2 คน คือ โชคชัย โชควิวัฒน์ และ ฉัตรชัย อีลิทยิม โดยเฉพาะฉัตรชัย เป็นการเอาชนะน็อกไปโดยไม่มีใครคาดคิดมาก่อนด้วย ในประเทศไทย และยังเป็นผู้แย่งตำแหน่งแชมป์โลกในรุ่นฟลายเวทไปจากฉัตรชัย ถือเป็นแชมป์โลกครั้งแรกของปาเกียว อย่างไรก็ตาม ปาเกียวก็เสียตำแหน่งแชมป์ดังกล่าวคืนให้กับนักมวยชาวไทย ด้วยการแพ้น็อก เม็ดเงิน กระทิงแดงยิม ไปเพียงยกที่ 3 ซึ่งเป็นการป้องกันตำแหน่งครั้งที่ 2 ของปาเกียว โดยก่อนการชกปาเกียวมีปัญหาเรื่องการลดน้ำหนักตัวอย่างมาก จนทำให้ต้องเสียตำแหน่งไปเมื่อไม่สามารถทำน้ำหนักให้อยู่ในพิกัดได้ ซึ่งเม็ดเงินถือเป็นนักมวยเพียง 1 ใน 5 คนที่สามารถเอาชนะปาเกียวได้ และเป็นเพียง 1 ใน 3 คนเท่านั้นที่สามารถน็อคปาเกียวลงได้", "title": "แมนนี ปาเกียว" } ]
[ { "docid": "135324#5", "text": "ในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ปาเกียวขึ้นชิงแชมป์โลกรุ่นเวลเตอร์เวตของ องค์กรมวยโลก (WBO) กับ มิเกล ค็อตโต้ นักมวยชาวเปอร์โตริโก การชกเป็นไปอย่างดุเดือดโดย ปาเกียว สามารถส่ง ค็อตโต้ ลงไปนอนให้กรรมการนับ 8 ได้ในยกที่ 2 และ 3 และหลังจากนั้นปาเกียวก็เป็นไล่ชก ค็อตโต้ อยู่ฝ่ายเดียวจนกรรมการยุติการชกในยกที่ 12 ทำให้ ปาเกียวสามารถคว้าเข็มขัดแชมป์โลกเส้นที่ 7 มาครองได้สำเร็จ และนับเป็นนักมวยคนแรกของโลกที่ได้แชมป์โลกมากถึง 8 รุ่น และถือว่าเป็นนักมวยอันดับหนึ่งของโลกเมื่อเทียบกันแล้วปอนด์ต่อปอนด์ในยุคปัจจุบัน", "title": "แมนนี ปาเกียว" }, { "docid": "135324#6", "text": "ในวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ปาเกียวขึ้นชกป้องกันตำแหน่งแชมป์โลกร่นเวลเตอร์เวทของ WBO โดยพบกับ ฮวน มานูเอล มาร์เกวซ นักมวยชาวเม็กซิกันที่เคยพบกันมาก่อนหน้านี้แล้วถึง 3 ครั้ง แม้ปาเกียวจะเป็นฝ่ายที่เอาชนะไปได้ก่อนหน้าถึง 2 ครั้ง และเสมอหนึ่งครั้ง แต่ฝ่ายมาร์เกวซอ้างว่าตนเองต่างหากที่สมควรเป็นผู้ชนะ สำหรับผลการชกในครั้งนี้ ปรากฏว่าปาเกียวเป็นฝ่ายเดินเข้าหามาร์เกวซ แต่ถูกมาร์เกวซดักสวนกลับไปได้หลายครั้ง จนหมด 12 ยก สภาพการณ์น่าจะเป็นมาร์เกวซเป็นผู้ชนะคะแนน แต่เมื่อมีการประกาศคะแนนออกมาแล้ว ปรากฏว่ากรรมการทั้ง 3 ท่าน ให้มาร์เกวซเป็นฝ่ายแพ้คะแนนไปอย่างไม่เป็นเอกฉันท์ คือ 114-114 ,115-113 และ 116-112 ค้านสายตาแฟนมวยในสนามและทั่วโลกที่นั่งชมการถ่ายทอดผ่านหน้าจอโทรทัศน์เป็นอย่างมาก", "title": "แมนนี ปาเกียว" }, { "docid": "135324#4", "text": "ปัจจุบัน แมนนี ปาเกียว กลายเป็นนักมวยระดับโลก และเป็นนักมวยชาวเอเชียรายแรกที่ได้ครองแชมป์โลกถึง 8 รุ่น นับว่าเป็นแชมป์โลกชาวเอเชียคนแรกที่ทำได้ถึงเช่นนี้ เพราะโดยปกติจะไม่มีโอกาสของนักมวยชาวเอเชียถึงเพียงนี้ อีกทั้งยังได้รับการจัดอันดับว่าเป็นนักมวยที่ดีที่สุดในโลกปอนด์ต่อปอนด์ มักได้รับการติดต่อให้ไปชกที่สหรัฐอเมริกาบ่อย ๆ มีค่าตัวไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท เคยปะทะฝีมือกับยอดนักมวยระดับโลกมาแล้วหลายคน ซ้ำยังเอาชนะได้อีกต่างหาก เช่น มาร์โก อันโตนิโอ บาร์เรร่า, อีริค โมราเลส, ฮวน มานูเอล มาร์เกวซ, ออสการ์ เดอ ลา โฮยา, ริคกี้ ฮัตตัน, อันโตนิโอ มาร์การิโต เป็นต้น จนได้รับการกล่าวขานว่าเป็นนักกีฬาชาวฟิลิปปินส์ที่ชาวโลกรู้จักดีที่สุด และเป็นหนึ่งในชาวฟิลิปปินส์ที่ชาวโลกรู้จักดีที่สุดเทียบเท่าประธานาธิบดีกลอเรีย อาร์โรโย เลยทีเดียว นอกจากนี้ ปาเกียวยังได้รับเกียรติให้เป็นผู้เชิญธงชาติฟิลิปปินส์ ในพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน แม้ว่าตัวปาเกียวเองจะไม่ได้ร่วมการแข่งขันด้วยก็ตาม", "title": "แมนนี ปาเกียว" }, { "docid": "135324#9", "text": "ต่อมาในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2557 ปาเกียวได้มีโอกาสพบกับแบรดลีย์อีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้ปาเกียวมีความมุ่งมั่นมากที่จะเอาชนะแบรดลีย์ให้ได้ ท่ามกลางเสียงวิจารณ์ว่า ปาเกียวในขณะนี้ไม่ใช่ปาเกียวคนเดิมอีกแล้ว เพราะทั้งน้ำหนักหมัด และจังหวะความเร็วที่เคยเป็นจุดเด่น ก็ลดลงเป็นอย่างมาก ผลการชกปรากฏว่า ปาเกียวเป็นฝ่ายชนะคะแนนแบบเป็นเอกฉันท์ต่อแบรดลีย์ด้วยคะแนน 118-110, 116-112 และ 116-112 ทำให้ได้กลับมาเป็นแชมป์โลกอีกครั้ง\nล่าสุด แมนนี ปาเกียว ได้เซ็นสัญญาชกกับ ฟลอยด์ เมย์เวทเธอร์ จูเนียร์ นักมวยที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นอันดับหนึ่งของโลก ซึ่งสถิติการชกยังไม่เคยเสมอหรือแพ้ใคร เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งทั้งคู่ได้รับการจับตาและคาดหมายว่าควรจะได้ชกเพื่อพิสูจน์ฝีมือกันมานานแล้ว โดยกำหนดขึ้นในวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ที่เอ็มจีเอ็มการ์เดนอารีนา ในนครลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา โดยคาดว่าค่าตัวของทั้ง 2 น่าจะไม่น้อยกว่า 250 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 8,000 ล้านบาท) สำหรับ เมย์เวทเทอร์ จูเนียร์ จะได้รับส่วนแบ่งร้อยละ 60 ขณะที่ ปาเกียว จะยอมรับส่วนแบ่งที่น้อยกว่า คือ ร้อยละ 40 รวมทั้งยังมีรายได้สิทธิประโยชน์ด้านอื่นตามมาอีก เช่น ค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดผ่านดาวเทียม", "title": "แมนนี ปาเกียว" }, { "docid": "135324#10", "text": "ผลการชก ปรากฏว่า ปาเกียวเป็นฝ่ายเดินเข้าหาและออกหมัดเข้าใส่ ขณะที่เมย์เวทเธอร์ จูเนียร์ เน้นการชกอยู่วงนอก และเต้นพลิ้วหลบหมัดของปาเกียวไปได้หลายครั้ง ในยกที่ 6 และ 8 ปาเกียวสามารถไล่เมย์เวทเธอร์ จูเนียร์ เข้าไปที่มุมและรัดหมัดชุดใส่ได้ แต่ในยกต่อ ๆ มา เมย์เวทเธอร์ จูเนียร์ กลับมาชกในรูปแบบเดิม เมื่อครบ 12 ยก ปาเกียวเป็นฝ่ายแพ้คะแนนไปอย่างเป็นเอกฉันท์ 118-110, 116-112 และ 116-112 ซึ่งปาเกียวเชื่อว่า ตนน่าจะเป็นฝ่ายชนะมากกว่า โดยหลังการชก ปาเกียวได้เปิดเผยว่า หัวไหล่ขวาของตนนั้นเกิดอาการกล้ามเนื้อฉีกขาดก่อนการชกราว 3 สัปดาห์ ทำให้ไม่สามารถออกหมัดขวาได้อย่างเต็มที่ และต้องเข้ารับการผ่าตัดหลังการชก ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาพักรักษาตัวนานร่วมปี", "title": "แมนนี ปาเกียว" }, { "docid": "351659#5", "text": "โดยเสียแชมป์โลกทั้ง 2 สถาบันนี้ให้แก่ ลามอนต์ ปีเตอร์สัน นักมวยชาวอเมริกันไปในปลายปี ค.ศ. 2011 โดยแพ้คะแนนไปอย่างไม่เป็นเอกฉันท์ โดยในการข่านถูกตัดคะแนนไป 2 คะแนนด้วย แต่ต่อมาทางสมาคมมวยโลกได้มีมติคืนเข็มขัดแชมป์โลกให้แก่ข่าน เนื่องจากปีเตอร์สันไม่ผ่านการตรวจการใช้สารกระตุ้น ก่อนที่ข่านจะชกเดิมพันตำแหน่งแชมป์โลกในรุ่นเดียวกันนี้ กับ แดนนี่ การ์เซีย แชมป์ของสภามวยโลก (WBC) ซึ่งผลการชก ข่านเป็นฝ่ายแพ้ทีเคโอ การ์เซีย ไปในยกที่ 4 ในวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 ชนิดที่ข่านโดนกรรมการนับถึง 3 ครั้งด้วยกัน\nข่านมีเทรนเนอร์ คือ เฟรดดี โรช เทรนเนอร์คนเดียวกับของ แมนนี่ ปาเกียว ยอดนักมวยชาวฟิลิปปินส์ ผู้ซึ่งเป็นแชมป์โลก 8 รุ่นคนแรกของโลก และชกอยู่ในสังกัด \"โกลเด้นบอย โปรโมชั่น\" ของ ออสการ์ เดอ ลา โฮยา โดยที่เดอ ลา โฮยา มีเป้าหมายที่จะประกบคู่ให้พบกับ ปาเกียว หรือ ฟลอยด์ เมย์เวทเธอร์ จูเนียร์ ต่อไปในอนาคต ซึ่งสำหรับปาเกียวแล้ว ทั้งคู่เคยชกด้วยกันขณะที่ซ้อม ปรากฏว่าข่านเป็นฝ่ายไล่ชกปาเกียวอยู่เพียงฝ่ายเดียว", "title": "อาเมียร์ ข่าน" }, { "docid": "57156#4", "text": "ในปี พ.ศ. 2541 ฉัตรชัยชกป้องกันตำแหน่งไว้ได้อย่างสวยงามอีก 2 ครั้ง กับนักมวยชาวเกาหลีใต้ ก่อนที่จะเสียตำแหน่งไปในปลายปี โดยไม่มีใครคาดฝัน เมื่อเป็นฝ่ายแพ้น็อกยก 8 แมนนี่ ปาเกียว นักมวยชาวฟิลิปปินส์ ที่วิทยาลัยทองสุข เขตตลิ่งชัน โดยฉัตรชัยโดนหมัดสวนของปาเกียวเข้าไปเต็ม ๆ ซึ่งก่อนการชกในครั้งนี้ ฉัตรชัย ต้องเผชิญกับปัญหาชีวิตส่วนตัว คือ ภรรยาที่อยู่กินด้วยกันมาได้หนีไปกับชายคนใหม่เพียงไม่กี่วัน โดยที่ฉัตรชัยไม่รู้ตัวมาก่อน ประกอบกับการฟิตซ้อมไม่เต็มที่ จึงทำให้เสียแชมป์โลกไปในที่สุด", "title": "ฉัตรชัย สาสะกุล" }, { "docid": "135324#0", "text": "แมนนี ปาเกียว () นักมวยสากล, นักบาสเกตบอล และนักการเมืองชาวฟิลิปปินส์ เจ้าของฉายา เดอะแพ็คแมน (The Pac Man) นับเป็นนักมวยสากลอาชีพคนแรกของโลกที่ได้เป็นแชมป์โลกถึง 8 รุ่น", "title": "แมนนี ปาเกียว" } ]
374
ใครเป็นผู้ประดิษฐ์กล้องโทรทัศน์คนแรกของโลก?
[ { "docid": "19292#1", "text": "กล้องโทรทรรศน์ชนิดหักเหแสงเป็นกล้องที่ถูกสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกโดยฮานส์ ช่างทำแว่นคนหนึ่ง ซึ่งต่อมาค้นพบว่าหากนำเลนส์มาวางเรียงกันให้ได้ระยะที่ถูกต้องเลนส์สามารถขยายภาพที่อยู่ไกลๆได้ใกล้ขึ้น และ 1 ปีต่อมา กาลิเลโอ กาลิเลอี ก็ได้ นำมาสำรวจท้องฟ้าเป็นครั้งแรกโดยตัวกล้องจะมีเลนส์ 2 ตัวขึ้นไปคือ เลนส์วัตถุ และเลนส์ตา โดยเลนส์วัตถุจะทำหน้าที่รับภาพจากวัตถุ แล้วหักเหแสงไปยังเลนส์ใกล้ตา ซึ่งเลนส์ใกล้ตาจะทำหน้าที่ขยายภาพจากเลนส์วัตถุอีกทีหนึ่ง โดยลักษณะการวางเลนส์จะใช้เลนส์วัตถุที่มี ความยาวโฟกัส ยาว และเลนส์ใกล้ตาที่มีความยาวโฟกัสสั้น โดยในการวางเลนส์ จะวางเลนส์วัตถุ (ความยาวโฟกัสยาว) ไว้ด้านหน้า และเลนส์ใกล้ตา (ความยาวโฟกัสสั้น) ไว้ด้านหลัง โดยระยะห่างของเลนส์ 2 ตัวนี้คือ ความยาวโฟกัสเลนส์วัตถุ + ความยาวโฟกัสเลนส์ตา เป็นต้น", "title": "กล้องโทรทรรศน์" } ]
[ { "docid": "723995#3", "text": "มินสกี เป็นผู้ประดิษฐ์หน้าจอดิสเพลย์แสดงกราฟิกแบบสวมหัวเครื่องแรกของโลกในปี ค.ศ 1963 และกล้องคอนโฟคอลในปี ค.ศ. 1957 อันเป็นที่มาของกล้องกล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกนที่ใช้กันในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังได้พัฒนาหุ่นยนต์เต่า และเครื่อง SNARC เครื่องจักรที่เรียนรู้จากโครงข่ายประสาทเทียมแบบต่อสุ่มเครื่องแรกในปี ค.ศ. 1951", "title": "มาร์วิน มินสกี" }, { "docid": "154005#65", "text": "ริกคาร์โด จิอักโคนี (Riccardo Giacconi) ผู้อำนวยการคนแรกของสถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศ ประกาศในปี ค.ศ. 1986 ว่าเขาต้องการมอบ \"เวลาส่วนตัวของผู้อำนวยการ\" ของเขาให้กับนักดาราศาสตร์สมัครเล่น โดยเขาจะมอบเวลาให้กับการวิจัยที่ไม่ซ้ำกับนักดาราศาสตร์มืออาชีพ และการวิจัยนั้นจำเป็นที่จะต้องใช้ความสามารถของกล้องโทรทรรศน์อวกาศจริง ๆ ผลก็คือมีนักดาราศาสตร์สมัครเล่นทั้งหมด 13 คนได้ใช้กล้องฮับเบิลโดยทำการสังเกตการณ์ระหว่างปี ค.ศ. 1990 และปี ค.ศ. 1997 แต่หลังจากนั้น การตัดงบประมาณของสถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศก็ทำให้ไม่มีนักดาราศาสตร์สมัครเล่นคนไหนได้ใช้กล้องอีกเลย", "title": "กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล" }, { "docid": "445603#7", "text": "ไชโยโปรดักชั่นส์ มีผลงานครั้งแรกเป็นละครโทรทัศน์ เรื่อง \"ไกรทอง\" เมื่อปี พ.ศ. 2515 ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 ซึ่งเป็นเรื่องราวของนิทานพื้นบ้านเกี่ยวกับมนุษย์และจระเข้ ที่เป็นที่รู้จักกันดี โดย สมโพธิได้ใช้สเปเชียลเอฟเฟกส์ผสมกับการนำเสนอแบบลิเก ทำให้ได้รับความนิยมอย่างมากจนเรตติ้งขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง และทำให้ได้มีผลงานเรื่องถัดมา คือ \"พระอภัยมณี\" ต่อมาจึงได้มีผลงานภาพยนตร์เรื่องแรก คือ \"ท่าเตียน\" ในปี พ.ศ. 2516 ซึ่งเป็นเรื่องราวของยักษ์วัดแจ้งสู้กับยักษ์วัดโพธิ์ เมื่ออกฉายประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ทำรายได้อย่างมาก และยังมีผลงานในแนวเดียวกันออกมาอีกหลายเรื่อง ซึ่งทุกเรื่องประสบความสำเร็จทั้งสิ้นกับภาพยนตร์แนวสัตว์ประหลาด, ซูเปอร์ฮีโร่ หรือแฟนตาซี ที่ต้องใช้สเปเชียลเอฟเฟกส์จำนวนมาก ในช่วงที่รุ่งเรือง กล่าวกันว่าเมื่อใดที่สัญลักษณ์ของไชโยภาพยนตร์ปรากฏ คือ รูปสิงโตคู่ ผู้ชมโดยเฉพาะเด็ก ๆ จะวิ่งมาจองพื้นที่นั่งดูในแถวหน้า เป็นจำนวนมาก โดยมีผลงานทั้งสิ้น 16 เรื่อง บางเรื่องยังได้ร่วมสร้างกับบริษัทของต่างประเทศ เช่น สึบุรายะโปรดักชั่น ของญี่ปุ่น และได้ออกฉายยังต่างประเทศด้วย", "title": "สมโพธิ แสงเดือนฉาย" }, { "docid": "156691#0", "text": "จอห์น โลจี เบร์ด (, 13 สิงหาคม พ.ศ. 2431 - 14 มิถุนายน พ.ศ. 2489) เป็นวิศวกรชาวสกอตแลนด์ เป็นผู้ประดิษฐ์ระบบโทรทัศน์เป็นครั้งแรกของโลก", "title": "จอห์น โลจี เบร์ด" }, { "docid": "99639#0", "text": "โลกดนตรี () คือ รายการโทรทัศน์ถ่ายทอดสดการแสดงของคณะดนตรี ศิลปินนักร้อง โดยมี เสกสรรค์ ภู่ประดิษฐ์ เป็นพิธีกร และ บุญชาย ศิริโภคทรัพย์ กับทีมงานคณะ \"“72 โปรโมชั่น”\" เป็นผู้ผลิตรายการ ออกอากาศครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2514 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เดิมชื่อรายการว่า \"Studio 7\" (คำว่า 7 มาจาก ช่อง 7 ขาว-ดำ ซึ่งตอนนั้นยังไม่เป็นช่อง 5 สี) ต่อมาเปลี่ยนเป็น \"Pop On Stage\" โดยแสดงสดเดือนละครั้งในบ่ายวันเสาร์ ครั้งละ 1 ชั่วโมง จนเมื่อ พล.ต.ประทีป ชัยปาณี ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายรายการของสถานี ได้มีนโยบายกำหนดให้ทุกรายการของ ททบ.5 ใช้ชื่อเป็นภาษาไทย รายการจึงเปลี่ยนชื่อเป็น \"โลกดนตรี\" ในที่สุด", "title": "โลกดนตรี" }, { "docid": "58476#1", "text": "ใครเป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีที่เรียกว่า \"แคน\" เป็น คนแรก และทำไมจึงเรียกว่า \"แคน\" นั้น ยังไม่มีหลักฐานที่แน่นอนยืนยันได้\nแคนมีหลายประเภทตามจำนวนลูกแคน คือ", "title": "แคน" }, { "docid": "894929#4", "text": "'ผีพยาบาท' เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของกันตนาในการเริ่มก้าวเข้าสู่วงการภาพยนตร์ไทยในปี พ.ศ. 2503 หลังจากนั้นกันตนากลายเป็นผู้ผลิตภาพยนตร์รายใหญ่ ผลิตภาพยนตร์ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องอาธิ ลูกกรอก และเพชรตาแมว นอกจากนั้นบทละครวิทยุของกันตนาอีกหลายต่อหลายเรื่องก็ถูกซื้อเพื่อนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์โดยผู้ผลิตภาพยนตร์และละครโทรทัศน์อีกหลายราย", "title": "ประดิษฐ์ กัลย์จาฤก" }, { "docid": "126302#4", "text": "แต่จังหวะและโอกาสทำให้เขาได้เขียนบทละครโทรทัศน์เรื่องแรก คือ \"ขบวนการสู้ผีไม่มีถอย\" ออกอากาศตอนกลางวันทางช่อง 3 โดย อรุโณชา ภาณุพันธ์ แห่งบรอดคาสต์ฯ เป็นผู้ที่ให้โอกาสกับ พิง และผลงานการเขียนบทละครโทรทัศน์เรื่องต่อมาคือ \"ซึมน้อยหน่อย กะล่อนมากหน่อย\" ฮิตถล่มทลาย ก่อนที่เขาจะกลายมาเป็นนักเขียนตลกมีชื่อ, นักเล่าเรื่องขบขันในรายการ ตีสิบ, พิธีกร, สแตนอัพคอมิดี้, นักเขียนบทและผู้กำกับละครโทรทัศน์ ที่ที่ถูกจัดให้วางอยู่ในอันดับต้น ๆ ของประเทศที่บรรดาผู้จัดยกย่องให้เป็น 1 ใน 10 นักเขียนบทละครโทรทัศน์มือทอง ในเวลาต่อมา", "title": "พิง ลำพระเพลิง" }, { "docid": "780934#0", "text": "คนตาทิพย์ ละครโทรทัศน์ ผลิตโดยบริษัท กันตนา วิดีโอโปรดักชั่น ละครแนวสยองขวัญ-ดราม่า จากบทประพันธ์ของ ประดิษฐ์ กัลย์จาฤก บททโทรทัศน์ เอื้องอรุณ สมิตสุวรรณ ออกอากาศต่อจากละครเรื่อง คนละโลก ทุกวันพุธ และวันพฤหัสบดี เวลา 20.20 น. - 22.20 น. เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2545 เริ่มออกอากาศเป็นตอนแรก จบบริบูรณ์วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ออกอากาศจำนวน 13 ตอน ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เอกรัตน์ สารสุข และ ปิยธิดา วรมุสิก", "title": "คนตาทิพย์" }, { "docid": "618160#1", "text": "ในปี 2557 บริษัท บรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น จำกัด ได้นำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ครั้งแรก ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เขียนบทโทรทัศน์ โดยณัชภีม โดยมีการฟิตติ้งละครครั้งแรกในวันที่ 7 เมษายน 2557 ซึ่งตรงกับวันสุดท้ายของการวางจำหน่ายหนังสือในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 42 และมีการบวงสรวงเปิดกล้องละครในวันที่ 24 เมษายน 2557 หลังจากนวนิยายมีการวางจำหน่ายประมาณหนึ่งเดือน ถือเป็นปรากฏการณ์การบวงสรวงละครที่มีนักข่าวมาร่วมพิธีมากที่สุด โดยเป็นการกลับมาแสดงละครอีกครั้งในรอบ 17 ปี ของ ธงไชย แมคอินไตย์ ซึ่งรับบทเอกเป็นเทพเจ้านกกระเรียนทองคำ ร่วมกับ ภูภูมิ พงศ์ภาณุ อารยา เอ ฮาร์เก็ต นัฐฐพนธ์ ลียะวณิช เป็นต้น และมีการเปิดตัวละครอย่างเป็นทางการวันที่ 20 มีนาคม 2558 ภายใต้ชื่องาน Kol Kimono Japanese Experiences จัดขึ้นที่พาร์คพารากอน โดยมีการนำวัฒนธรรมความเป็นญี่ปุ่นแท้ๆ มาแสดงในงานนี้ด้วย", "title": "กลกิโมโน" }, { "docid": "19292#13", "text": "กำลังขยายของกล้องโทรทรรศน์จะเท่ากับ ความยาวโฟกัสเลนส์ใกล้วัตถุหรือกระจกเว้า / โฟกัสเลนส์ใกล้ตา\nและความไวแสงเท่ากับ ความยาวโฟกัส / ขนาดหน้ากล้อง", "title": "กล้องโทรทรรศน์" }, { "docid": "19292#0", "text": "กล้องโทรทรรศน์ คืออุปกรณ์ที่ใช้ขยายสิ่งต่างๆวัตถุท้องฟ้าโดยอาศัยหลักการรวมอันมากมายแสง เพื่อให้สามารถมองเห็นวัตถุท้องฟ้าที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเพราะมันไกลเกินไป หรือทำให้มองเห็นได้ชัดขึ้น และมีขนาดใหญ่ขึ้นตามขนาด กล้องโทรทรรศน์ได้ถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1608 โดยฮานส์ ช่างทำแว่นคนหนึ่งซึ่งต่อมาค้นพบว่าหากนำเลนส์มาวางเรียงกับให้ได้ระยะที่ถูกต้องเลนส์สามารถขยายภาพที่อยู่ไกลๆได้ใกล้ขึ้น และ 1 ปีต่อมา กาลิเลโอ กาลิเลอิ ก็ได้ นำมาสำรวจท้องฟ้าเป็นครั้งแรกซึ่งในตอนนั้นเป็นกล้องหักเหแสงที่มีกำลังขยายไม่ถึง 30 เท่า เท่านั้นแต่ก็ทำให้เห็นรายละเอียดต่างๆมากมายของดวงดาวต่างๆที่ยังไม่เคยเห็นมาก่อนทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของการเริ่มมาสำรวจท้องฟ้าโดยใช้กล้องโทรทรรศน์", "title": "กล้องโทรทรรศน์" }, { "docid": "19292#7", "text": "กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสงสร้างได้สำเร็จครั้งแรกในปี ค.ศ. 1668 โดย ไอแซค นิวตันซึ่งในตอนนั้นถือเป็นเรื่องที่ใหม่มากสำหรับวงการดาราศาสตร์ในสมัยนั้น หลักการทำงานของกล้องสะท้อนแสงจะใช้กระจกเว้าสะท้อนแสงแทนที่จะใช้เลนส์ในการหักเหแสง โดยยังมีหลักการที่คล้ายคลึงอยู่บ้างคือ จะใช้กระจกเว้าที่มีความยาวโฟกัสยาว (เหมือนเลนส์วัตถุของกล้องหักเหแสง) สะท้อนแสงจากวัตถุเข้าที่กระจกรองซึ่งจะสะท้อนแสงของวัตถุเข้าที่เลนส์ตาและเข้าตาของผู้ใช้ในที่สุด โดยกล้องชนิดนี้มีข้อดีคือกล้องสามารถที่จะผลิตให้มีขนาดหน้ากล้องใหญ่มาก ๆ ได้ซึ่งจะทำให้สำรวจวัตถุที่จางบนท้องฟ้าได้ดีขึ้น และเมื่อเทียบกับกล้องหักเหแสงหากหน้ากล้องเท่ากันแล้วกล้องแบบสะท้อนแสงจะมีราคาถูกกว่ามาก แต่ทั้งนี้ก็มีราคาเริ่มต้นที่ไม่ถูกนักเหมือนกับกล้องหักเหแสง และกล้องชนิดนี้ยังสามารถใช้สำรวจช่วงคลื่นได้หลากหลายกว่ากล้องหักเหแสง เพราะช่วงคลื่นเหล่านั้นจะไม่ถูกดูดซับโดยแก้วของเลนส์อีกทั้งยังไม่พบปัญหาเรื่องความคลาดสีของกล้องหักเหแสงออกไปจนหมดเพราะกล้องใช้หลักการการสะท้อนจะไม่มีปัญหาเรื่องความคลาดสีเข้ามาเกี่ยวข้อง", "title": "กล้องโทรทรรศน์" } ]
375
การแข่งขัน ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2018–19 มีกี่สโมสรที่ลงแข่งขัน?
[ { "docid": "962605#1", "text": "ทั้งหมด 178 ทีมที่เข้าร่วมในระบบการคัดเลือกของ ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2018–19, ประกอบไป้วยรอบคัดเลือกและรอบเพลย์ออฟ, กับ 35 ทีมในเส้นทางแชมเปียนส์และ 143 ทีมในเส้นทางหลัก. 21 ผู้ชนะในรอบเพลย์ออฟ (8 จากเส้นทางแชมเปียนส์, 13 จากเส้นทางหลัก) ผ่านเข้าสู่ รอบแบ่งกลุ่ม, ที่เข้าร่วมกับ 6 ผู้แพ้ของ แชมเปียนส์ลีก รอบเพลย์ออฟ (4 จาก เส้นทางแชมเปียนส์, 2 จาก เส้นทางลีก), และ 4 ผู้แพ้เส้นทางลีกของ แชมเปียนส์ลีก รอบคัดเลือกรอบสาม.", "title": "ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2018–19 รอบคัดเลือกและรอบเพลย์ออฟ" } ]
[ { "docid": "984745#0", "text": "รอบแบ่งกลุ่ม ในการแข่งขัน ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2018–19 จะเริ่มแข่งขันตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2561 (ค.ศ. 2018) และสิ้นสุดจนถึงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (ค.ศ. 2018). 48 ทีมทั้งหมดที่เข้าร่วมการแข่งขันในรอบแบ่งกลุ่มเพื่อที่จะตัดสินหา 24 จาก 32 ทีมในการแข่งขัน รอบแพ้คัดออก ของ ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2018–19.", "title": "ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2018–19 รอบแบ่งกลุ่ม" }, { "docid": "957750#0", "text": "ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2018–19 เป็นฤดูกาลที่ 48 ของการแข่งขันระหว่างสโมสรฟุตบอลในระดับรองของยุโรป ซึ่งจัดขึ้นโดย สหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) และเป็นฤดูกาลที่ 10 นับตั้งแต่เปลี่ยนชื่อจาก ยูฟ่าคัพ มาเป็น ยูฟ่ายูโรปาลีก.", "title": "ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2018–19" }, { "docid": "902217#0", "text": "รอบแพ้คัดออก หรือรอบน็อกเอาต์ ในการแข่งขันยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2017–18 เริ่มแข่งขันในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 (ค.ศ. 2018) จนถึงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 (ค.ศ. 2018) ซึ่งเป็นรอบชิงชนะเลิศ ที่ ปาร์กออแล็งปิกลียอแน ในแดซีแนส์-ชาร์ปีเยอ, ประเทศฝรั่งเศส, เพื่อที่จะตัดสินแชมเปียนส์ของ ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2017–18. ทั้งหมด 32 ทีมที่เข้าร่วมในรอบแพ้คัดออก.", "title": "ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2017–18 รอบแพ้คัดออก" }, { "docid": "957750#3", "text": "สำหรับยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2018–19 แต่ละสมาคมจะได้รับการจัดอันดับตาม ค่าสัมประสิทธิ์แต่ละประเทศของยูฟ่าในปี 2017 ซึ่งคำนวณจากการทำผลงานแข่งขันระดับสโมสรยุโรปตั้งแต่ฤดูกาล 2012–13 ถึงฤดูกาล 2016–17.", "title": "ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2018–19" }, { "docid": "947111#8", "text": "การจับสลากสำหรับรอบคัดเลือกรอบแรกจะจัดขึ้นในวันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 2018. นัดแรกจะลงเล่นในวันที่ 10 และ 11 กรกฎาคม, และนัดที่สองจะลงเล่นในวันที่ 17 และ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 2018. ผู้แพ้ของรอบนี้จะได้ผ่านเข้าสู่ ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2018–19 รอบคัดเลือกรอบสอง, ยกเว้นผู้แพ้ของคู่ คอร์ก ซิตี/แลเกีย วอร์ซอ ซึ่งจะเป็นผู้ที่ทำการสุ่มการจับสลากเพื่อที่จะได้รับสิทธิ์บายเข้าสู่ ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2018–19 รอบคัดเลือกรอบสาม.\nรอบคัดเลือกรอบสองได้แบ่งออกเป็นสองส่วน: เส้นทางแชมเปียนส์ (สำหรับทีมที่เป็นแชมป์ลีก) และเส้นทางลีก (สำหรับทีมที่ไม่ได้เป็นแชมป์ลีก). การจับสลากสำหรับรอบคัดเลือกรอบสองได้จัดขึ้นในวันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 2018. นัดแรกจะลงเล่นในวันที่ 24 และ 25 กรกฎาคม, และนัดที่สองจะลงเล่นในวันที่ 31 กรกฎาคม และ 1 สิงหาคม ค.ศ. 2018. ทีมผู้แพ้จากสองส่วนทั้งเส้นทางแชมเปียนส์และเส้นทางลีกจะได้ผ่านเข้าสู่ ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2018–19 รอบคัดเลือกรอบสาม.\nรอบคัดเลือกรอบสามได้แบ่งออกเป็นสองส่วน: เส้นทางแชมเปียนส์ (สำหรับทีมที่เป็นแชมป์ลีก) และเส้นทางลีก (สำหรับทีมที่ไม่ได้เป็นแชมป์ลีก). การจับสลากสำหรับรอบคัดเลือกรอบสามได้จัดขึ้นในวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 2018. นัดแรกจะลงเล่นในวันที่ 7 และ 8 สิงหาคม, และนัดที่สองจะลงเล่นในวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 2018. ทีมผู้แพ้จากสองส่วนทั้งเส้นทางแชมเปียนส์และเส้นทางลีกจะได้ผ่านเข้าสู่ ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2018–19 รอบแบ่งกลุ่ม.\nรอบเพลย์ออฟได้แบ่งออกเป็นสองส่วน: เส้นทางแชมเปียนส์ (สำหรับทีมที่เป็นแชมป์ลีก) และเส้นทางลีก (สำหรับทีมที่ไม่ได้เป็นแชมป์ลีก). การจับสลากสำหรับรอบเพลย์ออฟได้จัดขึ้นในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 2018. นัดแรกจะลงเล่นในวันที่ 21 และ 22 สิงหาคม, และนัดที่สองจะลงเล่นในวันที่ 28 และ 29 สิงหาคม ค.ศ. 2018. ทีมผู้แพ้จากสองส่วนทั้งเส้นทางแชมเปียนส์และเส้นทางลีกจะได้ผ่านเข้าสู่ ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2018–19 รอบแบ่งกลุ่ม.\nในรอบแพ้คัดออก, แต่ละทีมจะต้องลงเล่นพบกันหมดในระบบสองนัดเหย้า-เยือน, ยกเว้นรอบชิงชนะเลิศที่เป็นนัดเดียว.\nการจับสลากสำหรับรอบ 16 ทีมสุดท้ายจะจัดขึ้นในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (ค.ศ. 2018). เลกแรกจะลงเล่นในวันที่ 12, 13, 19 และ 20 กุมภาพันธ์, และเลกที่สองจะลงเล่นในวันที่ 5, 6, 12 และ 13 มีนาคม พ.ศ. 2562 (ค.ศ. 2019).\nสถิติรวมตั้งแต่รอบคัดเลือก และ รอบเพลย์ออฟ.", "title": "ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2018–19" }, { "docid": "882208#0", "text": "รอบแบ่งกลุ่ม ในการแข่งขัน ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2017–18 จะเริ่มแข่งขันตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560 (ค.ศ. 2017) และสิ้นสุดจนถึงวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (ค.ศ. 2017). 48 ทีมทั้งหมดที่เข้าร่วมการแข่งขันในรอบแบ่งกลุ่มเพื่อที่จะตัดสินหา 24 จาก 32 ทีมในการแข่งขัน รอบแพ้คัดออก ของ ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2017–18.", "title": "ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2017–18 รอบแบ่งกลุ่ม" }, { "docid": "962605#5", "text": "ด้านล่างนี้คือทีมที่เข้าร่วมการแข่งขัน (กับค่าสัมประสิทธิ์สโมสรยูฟ่า ปี ค.ศ. 2018 ของพวกเขา), ถูกจัดกลุ่มโดยรอบเริ่มต้นของพวกเขา.ตารางของการแข่งขันมีตามด้านล่างนี้ (การจับสลากทั้งหมดจัดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ของยูฟ่า ในเมืองนียง, ประเทศสวิตเซอร์แลนด์).", "title": "ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2018–19 รอบคัดเลือกและรอบเพลย์ออฟ" }, { "docid": "962605#0", "text": "การแข่งขัน ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2018–19 รอบคัดเลือกและรอบเพลย์ออฟ เริ่มต้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน และจะสิ้นสุดในวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 2018.", "title": "ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2018–19 รอบคัดเลือกและรอบเพลย์ออฟ" }, { "docid": "871041#0", "text": "การแข่งขัน ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2017–18 รอบคัดเลือกและรอบเพลย์ออฟ เริ่มต้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน และจะสิ้นสุดในวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 2017. ทั้งหมด 156 ทีมที่เข้าร่วมในรอบคัดเลือกและรอบเพลย์ออฟเพื่อที่จะตัดสินหาผู้ชนะ 22 จาก 48 ทีมเข้าไปเล่นใน รอบแบ่งกลุ่ม ของ ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2017–18.", "title": "ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2017–18 รอบคัดเลือกและรอบเพลย์ออฟ" }, { "docid": "957750#2", "text": "ทีมสโมสรทั้งหมด 214 ทีมจากทั้งหมด 55 สมาชิกสมาคมของแต่ละประเทศ ที่จะเข้าร่วมการแข่งขันในยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2018–19 โดยการจัดอันดับของแต่ละสมาคมขึ้นอยู่กับค่าสัมประสิทธิ์ยูฟ่าซึ่งจะถูกใช้ในการกำหนดจำนวนทีมที่จะเข้าร่วมในแต่ละสมาคม โดยมีคุณสมบัติดังนี้", "title": "ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2018–19" }, { "docid": "957750#4", "text": "นอกเหนือจากการจัดสรรซึ่งจะยึดเป็นหลักในการคิดค่าสัมประสิทธิ์ประเทศ, สมาคมอาจจะมีทีมที่เข้าร่วมในยูโรปาลีก, ตามที่ระบุไว้ด้านล่าง:\nในรอบเบื้องต้น, แต่ละทีมจะถูกแบ่งออกเป็นทีมวางและทีมที่ไม่ได้เป็นทีมวางซึ่งขึ้นอยู่กับค่าสัมประสิทธิ์สโมสรยูฟ่า ปี ค.ศ. 2018, และจากนั้นถูกจับสลากอยู่ในระบบเหย้าและเยือนสองนัด. ทีมที่มาจากสมาคมเดียวกันจะไม่ถูกนำมาจับสลากมาพบกันได้. การจับสลากสำหรับรอบเบื้องต้นจะจัดขึ้นในวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 2018. นัดแรกจะลงเล่นในวันที่ 26 และ 28 มิถุนายน, และนัดที่สองจะลงเล่นในวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 2018.\nในรอบคัดเลือกและรอบเพลย์ออฟ, แต่ละทีมจะถูกแบ่งอยู่ในกลุ่มทีมวางและกลุ่มทีมที่ไม่ได้เป็นทีมวางซึ่งขึ้นอยู่กับปี ค.ศ. 2018 ค่าสัมประสิทธิ์สโมสรยูฟ่า (สำหรับเส้นทางหลัก), หรือขึ้นอยู่กับบางรอบที่พวกเขาได้สิทธิ์เข้าแข่รอบจาก (สำหรับเส้นทางแชมเปียนส์), และจากนั้นถูกจับสลากอยู่ในระบบสองนัดเหย้าและเยือน.", "title": "ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2018–19" } ]
382
คลองรังสิต สร้างขึ้นเมื่อใด ?
[ { "docid": "177501#2", "text": "การขุดคลองตามโครงการรังสิตนับเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนางานด้านชลประทานของประเทศไทย โดยเฉพาะการชลประทานเพื่อการเกษตรกรรม การขุดคลองรังสิตและคลองแยกต่าง ๆ ระหว่าง พ.ศ. 2433 - พ.ศ. 2448 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้พื้นที่รกร้างบริเวณทุ่งหลวงเปลี่ยนเป็นแหล่งเกษตรกรรมขนาดใหญ่ที่มีข้าวเป็นผลผลิตหลัก คลองรังสิตซึ่งเป็นคลองสายหลักจึงเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชีวิตคนรังสิต เป็นทั้งแหล่งน้ำสำหรับเพาะปลูก เส้นทางคมนาคม ตลอดจนใช้ในการอุปโภคและบริโภค แม้การพัฒนาอุตสาหกรรมได้ทำให้คลองรังสิตลดความสำคัญในฐานะคลองส่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรมลง เป็นเพียงคลองชลประทานสำหรับระบายน้ำ", "title": "คลองรังสิต" }, { "docid": "177501#3", "text": "การขุดคลองรังสิตเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2433 ดำเนินการโดย บริษัทขุดคลองแลคูนาสยามจำกัด ซึ่งเป็นบริษัทเอกชน มีเจ้านาย ขุนนาง และชาวตะวันตกเป็นผู้ถือหุ้น ในชั้นต้นประกอบด้วย พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ พระนานาพิธภาษี (ชื่น บุนนาค) และนายโยคิม แกรซี (Joachim Grassi) ต่อมาในปี พ.ศ. 2435 เปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นเป็น หม่อมราชวงศ์สุวพรรณ สนิทวงศ์ บุตรคนใหญ่ในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ เออร์วิน มูลเลอร์ (Erwin Müller) หรือพระปฏิบัติราชประสงค์ และฮันส์ เมทซเลอร์ (Hans Metzler) และยังเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นอีกหลายครั้ง", "title": "คลองรังสิต" } ]
[ { "docid": "539559#0", "text": "คลองสิบห้า เป็นคลองที่ขุดในสมัยรัชกาลที่ 5 ในโครงการทุ่งรังสิต ซึ่งมีขึ้นเพื่อการพัฒนาที่ดิน และพื้นที่ทำนาเพาะปลูกข้าว รวมถึงใช้เป็นที่ตั้งถิ่นฐาน ระหว่างปี พ.ศ. 2435 - 2447 เชื่อมต่อคลองแปดวา และคลองหกวาสายล่างเข้าด้วยกัน คลองสิบห้าเดิมเริ่มต้นจากคลองรังสิต ในอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ไปสิ้นสุดที่คลองแสนแสบ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัด ฉะเชิงเทรา ภายหลังมีคลองขุดเยื้องจากปากคลองสิบห้าที่คลองรังสิต ไปเชื่อมกับแม่น้ำใน ที่จังหวัดนครนายกด้วย", "title": "คลองสิบห้า" }, { "docid": "539501#0", "text": "คลองหกวาสายล่าง หรือ คลองหกวา ขุดขึ้นโดยบริษัทขุดคลองแลคูนาสยามในสมัยรัชกาลที่ 5 ตามโครงการทุ่งรังสิต ระหว่างปี พ.ศ. 2433–2447 และเป็นคลองที่อยู่ล่างสุดของโครงการ เริ่มขุดหลังขุดคลองแปดวาหรือคลองรังสิตประยูรศักดิ์ไปได้ระยะหนึ่ง มีความกว้างหกวา\nคลองหกวาสายล่างเริ่มต้นจากจุดบรรจบของคลองสองและคลองถนน รอยต่อเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร กับอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เป็นเส้นแบ่งเขตกรุงเทพมหานครกับปทุมธานีออกจากกันในช่วงต้น และผ่านเข้าอำเภอลำลูกกา ในช่วงปลายคลองเป็นเส้นแบ่งอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก กับอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา และสิ้นสุดที่แม่น้ำนครนายก มีความยาว 61 กิโลเมตร", "title": "คลองหกวาสายล่าง" }, { "docid": "539493#0", "text": "คลองหกวาสายบน เป็นคลองที่ขุดขึ้นหลังคลองแปดวา หรือคลองรังสิตประยูรศักดิ์เริ่มขุดไปได้ระยะหนึ่ง โดยบริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม ในสมัยรัชกาลที่ 5 เชื่อมระหว่างคลองหนึ่ง บริเวณเขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี และอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กับแม่น้ำใน ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำนครนายก ที่อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี จุดประสงค์เพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายคลองต่าง ๆ เข้าด้วยกันตามโครงการทุ่งรังสิต ระหว่างปี พ.ศ. 2433 – พ.ศ. 2447 เหตุที่เรียกว่าคลองหกวาสายบน ด้วยเพราะคลองนี้มีความกว้าง 6 วา และอยู่ทางเหนือของคลองแปดวา ส่วนคลองขนาดกว้างหกวาที่อยู่ทางใต้ของคลองแปดวาก็เรียกกันว่าคลองหกวาสายล่าง", "title": "คลองหกวาสายบน" }, { "docid": "177501#0", "text": "คลองรังสิตประยูรศักดิ์ หรือมักเรียกสั้น ๆ ว่า คลองรังสิต เป็นคลองสายหลักในโครงการพัฒนาที่ดินขนาดใหญ่แห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งเริ่มขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นโครงการคลองชลประทานเพื่อการเกษตรแห่งแรกของไทยที่ริเริ่มขึ้นเพื่อพัฒนาพื้นที่บริเวณทุ่งรังสิตให้เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าว รองรับการขยายตัวของการส่งออกข้าว ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของไทยในขณะนั้น", "title": "คลองรังสิต" }, { "docid": "177501#11", "text": "การพัฒนาที่ดินตามโครงการรังสิต ทำให้มีคนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณทุ่งรังสิตมากขึ้น โดยเฉพาะทางตอนใต้ของโครงการ แล้วกระจายตัวขึ้นไปทางตอนเหนือตามคลองที่ขุดเพิ่มขึ้น สาเหตุที่มีคนอพยพเข้ามาในเขตรังสิตมากขึ้นเป็นผลมาจากการขยายตัวของการส่งออกข้าว ประกอบกับความเชื่อมั่นในระบบชลประทานแบบใหม่นี้ว่าจะสามารถช่วยเพิ่มผลผลิตและแก้ปัญหาเรื่องน้ำได้ ทำให้มีคนสนใจลงทุนทำนากันมากขึ้น ตลอดจนมีการผลักดันไพร่และทาสที่เป็นอิสระให้เข้าไปทำงานยังพื้นที่การเกษตรใหม่แห่งนี้อีกด้วย บริเวณทุ่งรังสิตจึงเปลี่ยนสภาพจากพื้นที่รกร้าง กลายเป็นบริเวณที่มีการอยู่อาศัยหนาแน่นมากขึ้น และมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและศาสนา ประกอบด้วยคนไทย จีน มอญ ลาว และแขกมลายูที่นับถือศาสนาพุทธ คริสต์ และอิสลาม ตั้งบ้านเรือนปะปนกันไป", "title": "คลองรังสิต" }, { "docid": "539562#0", "text": "คลองสิบเจ็ด เป็นคลองที่ขุดในสมัยรัชกาลที่ 5 เชื่อมต่อคลองต่างๆ ในโครงการทุ่งรังสิตเข้าด้วยกัน ซึ่งมีขึ้นเพื่อการพัฒนาที่ดิน และพื้นที่ทำนาเพาะปลูกข้าว รวมถึงใช้เป็นที่ตั้งถิ่นฐาน ระหว่างปี พ.ศ. 2435 - 2447 นับเป็นคลองสุดท้ายที่อยู่ด้านตะวันออกสุดของโครงการ คลองสิบเจ็ดเริ่มต้นจากคลองหกวาสายล่าง ในอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัด ฉะเชิงเทรา ไปออกที่คลองแสนแสบในอำเภอเดียวกัน ตรงข้ามปากคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต ซึ่งสามารถใช้เส้นทางต่อไปออกคลองนครเนื่องเขต คลองประเวศบุรีรมย์ และคลองสำโรงได้", "title": "คลองสิบเจ็ด" }, { "docid": "539552#0", "text": "คลองสิบเอ็ด ขุดในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยบริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม ตามโครงการทุ่งรังสิตที่มีจุดประสงค์เพื่อการพัฒนาที่ดิน และพื้นที่ทำนาเพาะปลูกข้าว รวมถึงใช้เป็นที่ตั้งถิ่นฐาน ระหว่างปี พ.ศ. 2435 - 2447 เป็นคลองซอยคลองที่ 11 นับจากฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ที่เชื่อมต่อคลองหกวาสายบน คลองแปดวา และคลองหกวาสายล่างเข้าด้วยกัน หลังคลองหกวาสายบนและสายล่างแล้วเสร็จ คลองสิบเอ็ดเริ่มต้นจากคลองหกวาสายบน หรือคลองระพีพัฒน์ ที่อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ผ่านอำเภอธัญบุรี และไปสิ้นสุดที่คลองสนามกลางลำ เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร", "title": "คลองสิบเอ็ด" }, { "docid": "177501#1", "text": "โครงการรังสิตนับเป็นโครงการพัฒนาที่ดินขนาดใหญ่ที่สุดในสมัยนั้น ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ตั้งแต่ จังหวัดปทุมธานี บริเวณอำเภอธัญบุรี อำเภอคลองหลวง อำเภอหนองเสือ และอำเภอลำลูกกา, จังหวัดนครนายก ในเขตอำเภอองครักษ์, กรุงเทพมหานคร บริเวณเขตหนองจอกและเขตบางเขน, จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่อำเภอวังน้อย และจังหวัดสระบุรี ที่อำเภอหนองแค", "title": "คลองรังสิต" } ]
383
ปราสาทหินพนมรุ้งสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาอะไร?
[ { "docid": "45646#2", "text": "ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นโบสถ์พราหมณ์ลัทธิไศวะ มีการบูรณะก่อสร้างต่อเนื่องกันมาหลายสมัย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงพุทธศตวรรษที่ 17 และในพุทธศตวรรษที่ 18 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขะแมร์ได้หันมานับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน เทวสถานแห่งนี้จึงได้รับการดัดแปลงเป็นวัดมหายาน ในช่วงแรกปราสาทหินพนมรุ้ง สร้างขึ้นจากหินทรายสีชมพู ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งสูง 1,320 ฟุตจากระดับน้ำทะเล ชื่อพนมรุ้งแปลว่าภูเขาใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 15-18", "title": "อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง" }, { "docid": "45646#13", "text": "บริเวณที่ตั้งของปราสาทพนมรุ้งอาจเคยเป็นที่ตั้งของศาสนพื้นถิ่นมาก่อนที่จะมีการก่อสร้างขึ้นเป็นปราสาท ที่มีความใหญ่โตงดงาม สมกับเป็น กมรเตงชคตวฺนํรุง ผู้เป็นเทพเจ้าแห่งปราสาทพนมรุ้ง อันหมายถึงองค์พระศิวะในศาสนาฮินดูที่กษัตริย์เขมรทรงนับถือ การเปลี่ยนสถานที่เคารพพื้นถิ่นให้เป็นปราสาทตามแบบคติเขมร น่าจะเกี่ยวเนื่องกับ การเปลี่ยนลักษณะการเมืองการปกครอง ที่ผู้นำท้องถิ่นมีความสัมพันธ์กับกษัตริย์เขมรโดยใช้ระบบความเชื่อมทางศาสนา วัฒนธรรมและวัฒนธรรมท้องถิ่น", "title": "อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง" }, { "docid": "45646#4", "text": "ปราสาทหินพนมรุ้งสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดูลัทธิไศวะ ซึ่งนับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุด ดังนั้นเขาพนมรุ้งจึงเปรียบเสมือนเขาไกรลาสที่ประทับของพระศิวะ", "title": "อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง" } ]
[ { "docid": "5114#26", "text": "เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า ปราสาทหินพิมายเป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นในคติพุทธศาสนา เพราะประธานเป็นรูปพระพุทธรูปนาคปรกศิลามีพระนาม กมรเตงชคตวิมายะ แต่การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้นักวิชาการส่วนมากเข้าใจว่าพุทธศาสนาลัทธิวัชรยานหรือตันตระยาน เป็นนิกายหนึ่งของพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ซึ่งเมื่อศึกษาถึงปรัชญาและจุดมุ่งหมายของวัชรยานและมหายานแล้ว จะเห็นได้ว่าทั้งวัชรยานและมหายานต่างก็มีปรัชญาที่ต่างกัน ดังนั้นวัชรยานและมหายานจึงเป็นลัทธิที่แยกออกจากกันอย่างชัดเจน เมื่อพิจารณาจากหลักฐานที่ปรากฏที่ปราสาทหินพิมายทั้งจากตัวศิลปะและจารึกกล่าวได้ว่า ปราสาทหินพิมายสร้างขึ้นในพุทธศาสนาลัทธิวัชรยาน เนื่องจากด้านหน้าทางเข้าปราสาทประธาน ปรากฏรูปพระวัชรสัตวพุทธะ คือ พระชินพุทธะองค์ที่ 6 ของลัทธิวัชรยานแสดงรูปโดยทรงถือวัชระในพระหัตถ์ขวา และทรงถือกระดิ่งในพระหัตถ์ซ้าย และจากการศึกษาประติมากรรมเครื่องใช้สัมฤทธิ์ที่บริเวณเมืองพิมายและบริเวณใกล้เคียง พบวัชระและกระดิ่งที่ภิกษุในลัทธิวัชรยานใช้ในการประกอบพิธีกรรมเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้รูปเคารพที่ปรากฏอยู่บนทับหลังประดับประตูด้านในวิมานของปราสาทประธาน ยังแสดงถึงรูปเทพเจ้าในลัทธิวัชรยานด้วย คือทับหลังประดับทิศใต้ แสดงภาพกมรเตงชคตวิมายะอยู่ตรงกลาง ตอนบนของทับหลัง คือ พระชินพุทธะ 6 พระองค์ ด้านละ 3 พระองค์ ทับหลังประดับทิศตะวันตก ตอนบนแสดงภาพพระอมิตาภพุทธะ พระชินพุทธะ ประจำทิศตะวันตกส่วนตอนล่างแสดงภาพความรื่นรมย์บนสวรรค์สุขาวดี ทับหลังประดับทิศเหนือ ตรงกลางเป็นรูปเทพเจ้า 3 พักตร์ 6 กร โดยพระหัตถ์ล่างอยู่ในท่าปางสมาธิ พระหัตถ์ขวากลางถือลูกประคำ และพระหัตถ์ซ้ายกลางถือกระดิ่ง ซึ่งก็คือเหวัชระ หรือพระวัชรินตามชื่อที่ปรากฏในจารึกของกัมพูชาทับหลังประดับทิศตะวันออก แสดงภาพเทพเจ้า 4 พักตร์ 8 กร โดยพระพักตร์ที่ 4อยู่ด้านหลังสองกรล่างอยู่ในท่าแสดงธรรม ร่ายรำอยู่ในท่าอรรธปรยังกะ บนพระไภรวะและนางกาลราตรี และทรงถือหนังช้าง เทพเจ้าองค์นี้คือ สังวร ซึ่งอยู่ในสกุลพระอักโษภยะพระชินพุทธะประจำทิศตะวันออกนอกจากนี้ ยังปรากฏทับหลังประดับประตูชิ้นหนึ่งไม่ทราบตำแหน่งเดิมจากปราสาทหินพิมาย คือ ทับหลังภาพเจ้าเมืองทำอัษฎางคประดิษฐ์ ในพระหัตถ์มีหม้อน้ำที่รองรับน้ำมนตร์จากพระกมรเตงชคตวิมายะ ที่แสดงภาพอยู่ตอนกลางด้านบนของทับหลัง  การถวายอัษฎางคประดิษฐ์เป็นการถวายความเคารพในลัทธิวัชรยาน ซึ่งยังคงปรากฏอยู่ในประเทศธิเบตและเนปาลปัจจุบัน", "title": "จังหวัดนครราชสีมา" }, { "docid": "45646#1", "text": "ปัจจุบัน ปราสาทหินพนมรุ้งกำลังอยู่ในเกณฑ์กำลังพิจารณาเป็นมรดกโลก เช่นเดียวกับ ปราสาทหินในกลุ่มราชมรรคา ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นหนึ่งในปราสาทหินขอมของไทยที่มีชื่อเสียงมากที่สุด เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ และถือเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของจังหวัดบุรีรัมย์ รวมถึงเป็นภาพพื้นหลังตราสัญลักษณ์ของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดอีกด้วย", "title": "อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง" }, { "docid": "45646#9", "text": "ปราสาทประธาน ตั้งอยู่ตรงศูนย์กลางของลานปราสาทชั้นใน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมมณฑป คือห้องโถงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เชื่อมอยู่ทางด้านหน้าที่ส่วนประกอบของปรางค์ประธานตั้งแต่ฐานผนังด้านบนและด้านล่าง เสากรอบประตู เสาติดผนัง ทับหลัง หน้าบัน ซุ้มชั้นต่าง ๆ ตลอดจนกลีบขนุน ก่อด้วยหินทรายสีชมพูมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมกว้าง 8.20 เมตร สูง 27 เมตร ด้านหน้าทำเป็นมณฑปโดยมีอันตราละหรือฉนวนเชื่อมปราสาทประธานนี้ เชื่อว่า สร้างโดย นเรนทราทิตย์ ซึ่งเป็นผู้นำปกครองชุมชนที่มีปราสาทพนมรุ้งเป็นศูนย์กลาง ราว พุทธศตวรรษที่ 17 \nที่บริเวณหน้าบันและทับหลังของปราสาทประธานมีภาพจำหลักแสดงเรื่องราวในศาสนาฮินดู เช่น ศิวนาฏราช (ทรงฟ้อนรำ) ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ อวตารของพระนารายณ์ เช่น พระราม (ในเรื่องรามเกียรติ์) หรือพระกฤษณะ ภาพพิธีกรรม ภาพชีวิตประจำวันของฤๅษีเป็นต้น โดยเฉพาะทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ เป็นทับหลังที่ถูกขโมยไปเมื่อราวปี พ.ศ. 2503 และได้กลับคืนมาในปี พ.ศ. 2531", "title": "อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง" }, { "docid": "45646#14", "text": "กรมศิลปากรได้ทำการซ่อมแซมและบูรณะปราสาทหินพนมรุ้ง โดยวิธีอนัสติโลซิส (ANASTYLOSIS) คือ รื้อของเดิมลงมาโดยทำรหัสไว้ จากนั้นทำฐานใหม่ให้แข็งแรง แล้วนำชิ้นส่วนที่รื้อรวมทั้งที่พังลงมากลับไปก่อใหม่ที่เดิม โดยใช้วิธีการสมัยใหม่ช่วย ซึ่งปราสาทหินพนมรุ้งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติเมื่อปี พ.ศ. 2475 ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75", "title": "อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง" }, { "docid": "131215#24", "text": "1. ซากปราสาทหิน โดยสร้างขึ้นตามความเชื่อเพื่อใช้เป็นสถานที่ประดิษฐาน \"เทวรูป\" ด้วยความเชื่อตามคติพราหมณ์ที่ว่า เมื่อตายแล้วก็จะกลับเข้าสู่พรหม ปัจจุบันองค์ปราสาทได้ถูกทำลายลงไปด้วยกาลเวลา ซึ่งในราวปี พ.ศ. 2490 ยังคงเหลือแต่พื้นศิลา ปรากฏที่ใต้ร่มศรีมหาโพธิ์ของวัดสระแก้ว ซึ่งเชื่อว่ามีการสร้างคู่กันกับปราสาทหินอีกฟากของแก่งสะพือมีแม่น้ำมูลคั่นกลางที่ปรากฏในบริเวณโรงเรียนบ้านสะพือใต้ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี และมีโบราณสถานรายล้อมรอบอาณาบริเวณ มีตั้งแต่บ่อน้ำ สระน้ำโบราณ ตามหลักสถาปัตยกรรมในการปลูกสร้างตามรูปแบบความเชื่อเรื่องศูนย์กลางของจักรวาล อันมีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลาง ยิ่งเน้นย้ำถึงความสำคัญของสถานดังกล่าวมากยิ่งขึ้น", "title": "อำเภอพิบูลมังสาหาร" }, { "docid": "45646#5", "text": "องค์ประกอบและแผนผังของปราสาทพนมรุ้งได้รับการออกแบบให้มีลักษณะเป็นแนวเส้นตรง และเน้นความสำคัญเข้าหาจุดศูนย์กลาง นั่นคือปราสาทประธานซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านขวาของบันไดทางขึ้นสู่ศาสนสถานมีอาคารที่เรียกว่า พลับพลา อาคารนี้อาจจะเป็นอาคารที่เรียกกันในปัจจุบันว่า พลับพลาเปลื้องเครื่อง ซึ่งเป็นที่พักจัดเตรียมองค์ของพระมหากษัตริย์ ก่อนเสด็จเข้าสู่การสักการะเทพเจ้าหรือประกอบพิธีกรรมในบริเวณศาสนสถาน", "title": "อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง" }, { "docid": "131686#12", "text": "ปราสาทสระกำแพงใหญ่สร้างขึ้นในศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธแบบมหายานเพื่อเป็นที่ประดิษฐานเทวรูป จากการขุดแต่งบูรณะปราสาทแห่งนี้ของกรมศิลปากร เมื่อปี พ.ศ. 2532 ได้ค้นพบปฏิมากรรมสำริดขนาดใหญ่เฉพาะองค์สูง 140 เซนติเมตร และรวมความสูงทั้งฐาน 180 เซนติเมตร ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศสกุล ให้ความเห็นว่าเป็นรูปของนันทิเกศวรหรือนันทีศวร ลักษณะพิเศษ คือเป็นสำริดกะไหล่ทอง เดิมอาจจะตั้งอยู่หน้าปราสาทหลังกลางภายในมุขหน้าปราสาท เพราะโดยปกติจะประจำอยู่กับเทวาลัยของพระอิศวร ประติมากรรมชิ้นนี้เป็นศิลปะขอมแบบบาปวนตอนปลาย สำคัญมากนับเป็นประติมากรรมชิ้นเอกชิ้นหนึ่งที่พบในประเทศไทย ปัจจุบันจัดแสดงพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พิมาย", "title": "อำเภออุทุมพรพิสัย" } ]
390
ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิเกิดขึ้นโดยมากจากการบาดเจ็บในสมองซีกขวา ก่อให้เกิด ภาวะใดตามมา?
[ { "docid": "574894#2", "text": "ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิเกิดขึ้นโดยมากจากการบาดเจ็บในสมองซีกขวา ก่อให้เกิด ภาวะละเลยทางการเห็น () ของปริภูมิในด้านซ้าย ภาวะละเลยปริภูมิทางด้านขวามีน้อย เนื่องจากว่า มีระบบการประมวลผลของปริภูมิด้านขวา ในทั้งสมองซีกซ้ายและซีกขวา เปรียบเทียบกับปริภูมิด้านซ้าย ซึ่งในสมองของบุคคลที่ถนัดขวาโดยมาก (คือมีสมองด้านซ้ายเป็นใหญ่) จะมีระบบประมวลผลเพียงแค่ในสมองซีกขวาเท่านั้น ถึงแม้ว่าภาวะนี้จะมีผลอย่างเห็นได้ชัดในการรับรู้ทางตา (visual perception) การละเลยในการรับรู้ทางประสาทอื่น ๆ ก็มีได้ ไม่ว่าจะโดยลำพังหรือเกิดขึ้นพร้อมกับ\"ภาวะละเลยทางการเห็น\"", "title": "ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิ" }, { "docid": "574894#9", "text": "แม้ว่าภาวะละเลยกึ่งปริภูมิก็ปรากฏเมื่อมีความเสียหายต่อสมองซีกซ้าย ซึ่งทำให้เกิดภาวะละเลยในปริภูมิด้านขวา แต่ว่า ภาวะนี้เกิดขึ้นบ่อยกว่าเมื่อมีความเสียหายในสมองซีกขวา โดยมีทฤษฎีว่า ความไม่เสมอกันนี้ เกิดจากความที่สมองซีกขวามีกิจเฉพาะในการรับรู้ปริภูมิและในการทรงจำ ในขณะที่สมองซีกซ้ายมีกิจเฉพาะในเรื่องภาษา ดังนั้น จึงมีการประมวลผลเกี่ยวกับลานสายตาด้านขวาในซีกสมองทั้งสองข้าง และเพราะเหตุนั้น สมองซีกขวาจึงสามารถทำกิจที่สูญเสียไปทางสมองซีกซ้าย แต่ว่า ในนัยตรงข้ามกันไม่เป็นอย่างนั้น", "title": "ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิ" } ]
[ { "docid": "574894#8", "text": "คนไข้ภาวะ extinction ที่เกิดจากความเสียหายในสมองซีกขวา สามารถแจ้งความมีอยู่ของวัตถุในปริภูมิด้านซ้ายเมื่อมีวัตถุเดียวเท่านั้น แต่ว่า เมื่อวัตถุอย่างเดียวกันมีอยู่ในปริภูมิด้านขวาด้วย คนไข้จะแจ้งความมีอยู่ของวัตถุด้านขวาเท่านั้น (คือการรับรู้วัตถุในปริภูมิด้านซ้าย ซึ่งเป็นด้านตรงข้ามกับสมองที่มีความเสียหาย ดับไป (extinct) เพราะความมีอยู่ของวัตถุในปริภูมิด้านขวา)", "title": "ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิ" }, { "docid": "574894#10", "text": "ไม่ควรสับสนภาวะละเลยกับภาวะบอดครึ่งซีก (hemianopsia) ซึ่งเกิดจากความเสียหายต่อวิถีประสาทที่ดำเนินไปสู่คอร์เทกซ์สายตา เป็นการตัดสัญญาณที่ส่งไปจากเรตินาไปยังเปลือกสมอง ส่วนภาวะละเลยเป็นความเสียหายในเขตที่ประมวลข้อมูล คือว่า เปลือกสมองได้รับข้อมูลจากเรตินา แต่ว่าเกิดความผิดพลาดในการประมวลข้อมูลบางอย่างที่ยังไม่เป็นที่เข้าใจกันดี", "title": "ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิ" }, { "docid": "574894#26", "text": "ภาวะละเลยน่าจะเป็นเหตุอย่างหนึ่ง ที่คนไข้มีความเสียหายในสมองซีกขวา มีโอกาสเป็นสองเท่าที่จะหกล้ม มากกว่าคนไข้มีความเสียหายในสมองซีกซ้าย คนไข้ภาวะละเลยต้องใช้เวลาฟื้นฟูนานกว่า และมีการพัฒนาการฟื้นฟูวันต่อวันในระดับที่ต่ำกว่าคนไข้อื่นที่มีความสามารถในการทำกิจคล้าย ๆ กัน นอกจากนั้น คนไข้ภาวะละเลยมีโอกาสที่จะใช้ชีวิตอย่างเป็นอิสระน้อยกว่า แม้แต่เมื่อเทียบกับคนไข้ที่มีทั้งภาวะเสียการสื่อความ (aphasia) อย่างรุนแรงและความอัมพฤกษ์ครึ่งซีกในสมองด้านขวา (คือคนไข้ที่มีความเสียหายในสมองซีกขวาเป็นหลัก)", "title": "ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิ" }, { "docid": "574894#18", "text": "ในกรณีของโรค somatoparaphrenia ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเพราะภาวะละเลยปริภูมิที่ตัว คนไข้อาจจะปฏิเสธความเป็นเจ้าของของแขนขาในด้านตรงข้าม ในหนังสือชื่อว่า \"ชายผู้สับสนภรรยาของตนว่าเป็นหมวก\" แซคส์ (ค.ศ. 1985) พรรณนาถึงคนไข้คนหนึ่งที่ตกจากเตียง หลังจากที่ผลักสิ่งที่เขารู้สึกว่า เป็นขาที่ขาดออกจากซากศพ (ซึ่งความจริงแล้วเป็นขาของเขาเอง) ที่พนักงานได้ซ่อนไว้ภายใต้ผ้าห่มของเขา. คนไข้บางคนอาจจะกล่าวว่า \"ผมไม่รู้ว่านั่นเป็นมือของใคร แต่ว่า น่าจะถอดแหวนของผมออกมาด้วย\" หรือว่า \"นี่เป็นแขนปลอมที่มีใครเอามาใส่ให้ผม ผมได้ส่งลูกสาวของผมให้ไปหาแขนจริงของผมแล้ว\"", "title": "ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิ" }, { "docid": "574894#23", "text": "ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคนไข้มองดูรูปถ่ายหรือใบหน้าตีลังกา คนไข้อาจจะกลับวัตถุนั้นให้มีหัวขึ้นในใจ แล้วละเลยด้านซ้ายของวัตถุกลับหัวนั้น นี่เกิดขึ้นด้วยในรูปที่เอียง หรือภาพสะท้อนในกระจกที่กลับด้านซ้ายขวา คนไข้ที่มองที่รูปกระจกที่กลับด้านของแผนที่โลก อาจจะละเลยการเห็นซีกโลกตะวันตก แม้ว่าส่วนนั้นที่กลับด้านอยู่จะอยู่ทางด้านขวาของกระจก (ทั้ง ๆ ที่เราอาจคิดว่า คนไข้ควรละเลยซีกโลกตะวันออกซึ่งอยู่ด้านซ้ายของกระจก)", "title": "ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิ" }, { "docid": "574894#3", "text": "ยกตัวอย่างเช่น โรคหลอดเลือดสมองที่มีผลต่อสมองกลีบข้างซีกขวา อาจนำไปสู่ภาวะละเลยของลานสายตา (visual field) ด้านซ้าย ทำให้คนไข้มีพฤติกรรมเหมือนกับไม่มีการรับรู้ปริภูมิด้านซ้ายเลย (แม้ว่า อาจจะยังสามารถหันไปทางซ้าย) ในกรณีที่อุกฤษฏ์ คนไข้อาจจะไม่ทานอาหารทางด้านซ้ายในจาน ถึงแม้ว่าอาจจะบ่นว่า หิวข้าว", "title": "ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิ" }, { "docid": "571381#6", "text": "ภาวะบอดความเคลื่อนไหวเป็นความบกพร่องที่เกิดขึ้นภายหลัง คือไม่ได้เกิดแต่กำเนิด ที่เกิดจากรอยโรคในคอร์เทกซ์สายตา และเพราะว่า เซลล์ประสาทของคอร์เทกซ์กลีบขมับกลาง (คือเขตสายตา MT) ตอบสนองต่อตัวกระตุ้นที่เคลื่อนไหว ดังนั้น MT จึงเป็นเขตที่ประมวลผลความเคลื่อนไหวในเปลือกสมอง ในกรณีของ LM รอยโรคที่เกิดขึ้นมีในทั้งสองซีกของสมอง และสมมาตรกัน ในขณะเดียวกัน ก็ยังมีขนาดเล็กพอที่จะไม่ทำลายระบบทางสายตาอย่างอื่นๆ", "title": "ภาวะไม่รู้ความเคลื่อนไหว" }, { "docid": "574894#1", "text": "ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิโดยมากมีผลในกายด้านตรงข้ามกับซีกสมองที่เกิดความเสียหาย (คือมีรอยโรค) แต่ว่า กรณีที่มีผลในด้านเดียวกันกับรอยโรคในสมองก็มีอยู่เหมือนกัน", "title": "ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิ" } ]
398
ภูมิภาคใดของประเทศไทย มีพื้นที่มากที่สุด?
[ { "docid": "13363#1", "text": "ภาคอีสานยังมีเนื้อที่มากที่สุดของประเทศไทย ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ร้อยละ 33.17 เทียบได้กับหนี่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทยได้จัดว่าเป็นพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูลมโล ภูหลวง และภูกระดึง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของชาวอีสานในหลายจังหวัดด้วยกัน เช่น แม่น้ำห้วยหลวง แม่น้ำชี ลำตะคอง แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำมูล แม่น้ำสงคราม", "title": "ภาคอีสาน (ประเทศไทย)" }, { "docid": "330764#10", "text": "ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ภาคอีสาน ประกอบด้วยจังหวัด 20 จังหวัดมีเนื้อที่ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณหนึ่งในสามของพื้นที่ทั้งประเทศ มีดินไม่ดีซึ่งไม่ค่อยเอื้อต่อเกษตรกรรม อย่างไรก็ตาม ข้าวเหนียว ซึ่งเป็นอาหารสำคัญสำหรับประชากรในภูมิภาค จำเป็นต้องอาศัยทุ่งนาที่น้ำท่วมถึงและระบายน้ำได้น้อยในการเจริญเติบโต และที่ซึ่งแหล่งน้ำใกล้เคียงสามารถท่วมถึงได้ มักจะเก็บเกี่ยวสองครั้งต่อปี พืชค้า อย่างเช่น อ้อยและมันสำปะหลังมีการเพาะปลูกกันในบริเวณมหาศาล และยาง ในปริมาณที่น้อยกว่าพืชสองชนิดแรก การผลิตไหมเป็นอุตสาหกรรมแถบชนบทและมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจ ภาคอีสานมีฤดูมรสุมสั้น ๆ นำมาซึ่งอุทกภัยในแถบหุบเขาแม่น้ำ ไม่เหมือนกับพื้นที่ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์กว่าของประเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฤดูแล้งที่ยาวนาน และพื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยหญ้าหรอมแหรม ภูเขาขนาบภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งทางตะวันตกและทางใต้ และแม่น้ำโขงไหลกั้นที่ราบสูงโคราชทางเหนือและทางตะวันออก พืชสมุนไพรพื้นบ้านหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสกุล \"Curcuma\" และพืชวงศ์ขิง เป็นพืชท้องถิ่นของภาค\nภาคอีสานแบ่งลักษณะภูมิประเทศเป็น 5 เขต ได้แก่", "title": "ภูมิศาสตร์ไทย" } ]
[ { "docid": "17500#0", "text": "ภาคกลาง เป็นภูมิภาคตอนกลางของประเทศไทย มีพื้นที่ครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ติดต่อกับภาคเหนือทางทิศเหนือ ติดต่อกับภาคตะวันออก และภาคอีสานทางทิศตะวันออกโดยมีทิวเขาเพชรบูรณ์กั้น ติดต่อกับภาคตะวันตก ทิศเหนือติดต่อกับทิวเขาผีปันน้ำ พื้นนี้เคยเป็นดินแดนที่สำคัญของอาณาจักรอยุธยา และยังเป็นพื้นที่ที่สำคัญของประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน ภาคกลางเป็นภูมิภาคที่มีกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทยตั้งอยู่", "title": "ภาคกลาง (ประเทศไทย)" }, { "docid": "17494#0", "text": "ภาคเหนือ เป็นภูมิภาคที่อยู่ด้านบนสุดของไทย มีลักษณะภูมิประเทศอันประกอบไปด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน ต่อเนื่องมาจากทิวเขาฉานโยมาในประเทศพม่าและประเทศลาว ภาคเหนือมีภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา เหมือนกับพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ การที่มีพื้นที่อยู่เหนือระดับน้ำทะเลและมีเส้นละติจูดอยู่ตอนบนทำให้สภาพอากาศของภาคเหนือเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลอย่างเห็นได้ชัด เช่น มีฤดูหนาวที่หนาวเย็นกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ทางด้านประวัติศาสตร์ของภาคเหนือมีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับอาณาจักรล้านนา", "title": "ภาคเหนือ (ประเทศไทย)" }, { "docid": "17498#0", "text": "ภาคใต้ เป็นภูมิภาคหนึ่งของไทย ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ขนาบด้วยอ่าวไทยทางฝั่งตะวันออก และทะเลอันดามันทางฝั่งตะวันตก มีเนื้อที่รวม 70,715.2 ตารางกิโลเมตร ความยาวจากเหนือจรดใต้ประมาณ 750 กิโลเมตร ทุกจังหวัดของภาคมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ยกเว้นจังหวัดยะลาและจังหวัดพัทลุงพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีทิวเขาที่สำคัญ ได้แก่ ทิวเขาภูเก็ต ทิวเขานครศรีธรรมราช โดยมีทิวเขาสันกาลาคีรี เป็นพรมแดนกั้นระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย ทิวเขาในภาคใต้มีความยาวทั้งสิ้น 1,000 กิโลเมตร", "title": "ภาคใต้ (ประเทศไทย)" }, { "docid": "17500#1", "text": "ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยที่ราบซึ่งเกิดจากการที่แม่น้ำพัดพาเอาเศษหิน เศษดิน กรวดทราย และตะกอนมาทับถมพอกพูนมานับเป็นเวลาล้าน ๆ ปี บริเวณที่ราบของภาคนี้กินอาณาบริเวณตั้งแต่ทางใต้ของจังหวัดอุตรดิตถ์ลงไปจนจรดอ่าวไทย นับเป็นพื้นที่ราบที่มีขนาดกว้างใหญ่กว่าภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศ อย่างไรก็ตามบางบริเวณของภาคกลาง มีภูเขาโดด ๆ ทางจังหวัดนครสวรรค์และด้านตะวันตกของจังหวัดพิษณุโลก จากหลักฐานทางธรณีวิทยา สันนิษฐานว่าภูเขาโดดเหล่านี้เดิมเคยเป็นเกาะ เพราะน้ำทะเลท่วมขึ้นไปถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ในหลายยุค พื้นดินยกตัวสูงขึ้น รวมทั้งการกระทำของแม่น้ำหลาย ๆ สายซึ่งมีการกัดเซาะสึกกร่อนและการทับถมพอกพูน ทำให้บริเวณดังกล่าวเป็นที่ราบอันกว้างใหญ่ของประเทศ", "title": "ภาคกลาง (ประเทศไทย)" }, { "docid": "17500#7", "text": "ยังมีหลายหน่วยงานที่กำหนดขอบเขตของภาคกลางแตกต่างกันออกไป เพราะภูมิภาคเป็นการปกครองที่ไม่มีผู้บริหาร ไม่มีเขตที่ชัดเจน การแบ่งจังหวัดเป็นภูมิภาคจึงเป็นเพียงการจัดกลุ่มทางภูมิศาสตร์และสถิติเท่านั้น บางครั้งก็มีการระบุว่าพื้นที่ภาคตะวันออกเป็นภูมิภาคที่แยกต่างหากจากภาคกลาง หรือระบุว่าภาคกลางไม่มีจังหวัดนครนายก แต่ไปอยู่ภาคตะวันออก เช่น การจัดแบ่งภูมิภาคตามคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กำหนดให้ภาคกลางประกอบด้วย 8 จังหวัด และเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ 1 เขต ได้แก่ส่วนการจัดแบ่งภาคกลางตามระบบ 4 ภาค (เหนือ กลาง อีสาน ใต้) ซึ่งเป็นการแบ่งที่ไม่เป็นทางการ โดยมีพื้นที่ทางเหนือถึงแค่จังหวัดชัยนาท จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดลพบุรี และรวมภาคตะวันตกและภาคตะวันออกเข้ามารวมด้วย ประกอบไปด้วยเขตการปกครอง 25 จังหวัด และเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ 1 เขต ได้แก่", "title": "ภาคกลาง (ประเทศไทย)" }, { "docid": "17494#2", "text": "ภูมิประเทศของภาคเหนือประกอบไปด้วยเทือกเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อน และมีพื้นที่สำคัญของประเทศหลายจุด เช่น พื้นที่ทางด้านตะวันตกสุดของประเทศที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน พื้นที่ทางด้านเหนือสุดของประเทศที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย จุดสูงสุดของประเทศที่ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ ภาคเหนือยังเป็นพื้นที่แรกของประเทศที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน โดยจุดแรกที่แม่น้ำโขงไหลผ่านประเทศไทยอยู่บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย", "title": "ภาคเหนือ (ประเทศไทย)" }, { "docid": "330764#8", "text": "แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำโขงถือได้ว่าค้ำจุนเศรษฐกิจเกษตรกรรมของไทย โดยเป็นพื้นที่ปลูกข้าวและเป็นทางน้ำสำหรับขนส่งสินค้าและผู้คน ในทางกลับกัน ลักษณะทางธรรมชาติของคาบสมุทรในทางภาคใต้ คือ ชายฝั่งทะเลที่ยาว เกาะนอกฝั่ง และบึงพรรณไม้ป่าชายเลนที่กำลังลดจำนวนลงสภาวิจัยแห่งชาติได้แบ่งประเทศไทยออกเป็น 6 ภูมิภาค ตามลักษณะธรรมชาติ รวมไปถึงธรณีสัณฐานและทางน้ำ รวมไปถึงรูปแบบวัฒนธรรมมนุษย์ โดยภูมิภาคต่าง ๆ ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ ถึงแม้ว่ากรุงเทพมหานครจะตั้งอยู่บนที่ราบตอนกลางของประเทศ แต่เนื่องจากมันเป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุด เขตมหานครแห่งนี้จึงอาจพิจารณาได้ว่าเป็นอีกภูมิภาคหนึ่งของประเทศ ภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ทั้งหกนี้มีความแตกต่างกันโดยมีเอกลักษณ์ของตนเองในด้านประชากร ทรัพยากรพื้นฐาน ลักษณะธรรมชาติ และระดับของพัฒนาการทางสังคมและเศรษฐกิจ ความหลากหลายในภูมิภาคต่าง ๆ เหล่านี้ได้เป็นส่วนสำคัญต่อลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย", "title": "ภูมิศาสตร์ไทย" }, { "docid": "563492#0", "text": "ภูมิภาค เป็นเขตการปกครองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ซึ่งมีการแบ่งภูมิภาคที่แตกต่างกัน โดยมีการแบ่งอย่างเป็นทางการเป็น 6 ภูมิภาค ตามการแบ่งของคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยสภาวิจัยแห่งชาติ และยังมีการแบ่งเป็น 4 ภูมิภาค ซึ่งสอดคล้องกับการแบ่งแบบมณฑลเทศาภิบาล", "title": "ภูมิภาคของประเทศไทย" } ]
404
ราชสกุล คืออะไร ?
[ { "docid": "37776#0", "text": "ราชสกุล เป็นนามสกุลสำหรับผู้สืบเชื้อสายมาจากตระกูลวงศ์ในพระมหากษัตริย์ เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2455 หลังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น โดยบัญญัติไว้ว่าผู้ที่สืบเชื้อสายทางบิดามาจากบรรพบุรุษคนเดียวกันให้ใช้ \"นามสกุล\" เดียวกัน ทำให้คนไทยทุกคนมีนามสกุลใช้และทำให้ทราบว่าใครเป็นพี่น้องหรือสืบเชื้อสายมาจากผู้ใด โดยผู้สืบเชื้อสายจากราชสกุล เรียกว่า \"ราชนิกุล\" และสกุลอันสืบเนื่องมาจากกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) และ กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข (วังหลัง) นั้น เรียกว่า บวรราชสกุล", "title": "ราชสกุล" } ]
[ { "docid": "174136#3", "text": "ท่านเจ้าคุณจอมมารดาเอมเป็นต้นราชสกุลฝ่ายหญิง โดยชั้นลูก ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ มี 1 ราชสกุลคือ ราชสกุลนวรัตน\nและโดยชั้นหลานย่า ในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ 9 ราชสกุลคือ ราชสกุลวิไลยวงศ์ ราชสกุลกาญจนะวิชัย ราชสกุลสุทัศนีย์ ราชสกุลวรวุฒิ ราชสกุลรุจวิชัย ราชสกุลวิบูลยพรรณ ราชสกุลรัชนี ราชสกุลวิสุทธิ", "title": "เจ้าคุณจอมมารดาเอม ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "235525#0", "text": "ราชสกุลยุคล เป็นราชสกุลที่สืบเชื้อสายจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและ พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์", "title": "ราชสกุลยุคล" }, { "docid": "40486#0", "text": "ราชสกุลสวัสดิวัตน์ เป็นราชสกุลที่สืบสายจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ พระอนุชาในสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และ ทรงมีพระชายา คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี และมีพระโอรสและพระธิดา กับ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี รวม ๕ พระองค์ คือ", "title": "ราชสกุลสวัสดิวัตน์" }, { "docid": "978506#1", "text": "ต้นราชสกุลจักรพงษ์คือสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ หรือทูลกระหม่อมเล็ก พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชอนุชาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระเชษฐาธิราชในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว", "title": "ราชสกุลจักรพงษ์" }, { "docid": "37776#2", "text": "ราชตระกูล หมายถึง สกุลที่มิได้สืบเชื้อสายโดยตรงจาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยมีการสืบสายจากสมเด็จพระเชษฐภคินี พระอนุชา และพระขนิษฐา ผู้เป็นพระโอรสและพระธิดาในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก สำหรับสายพระพี่พระน้องนี้ บางครั้งก็เรียกกันว่า ราชตระกูลสายพระปฐมวงศ์ หรือ พระปฐมบรมราชวงศ์ มีดังนี้", "title": "ราชสกุล" }, { "docid": "135184#0", "text": "พิยดา จุฑารัตนกุล (สกุลเดิม: อัครเศรณี; เกิด: 17 มิถุนายน พ.ศ. 2518) มีชื่อเล่นว่า อ้อม เป็นนักแสดงและพิธีกรชาวไทย เป็นบุตรสาวคนที่ 2 ของนักแสดงและผู้กำกับ พิศาล อัครเศรณี กับสุดารักษ์ อัครเศรณี มีพี่น้อง 4 คน จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย จบการศึกษาปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร เอกภาษาไทย เข้าสู่วงการครั้งแรกด้วยการแสดง\" มีผลงานที่สร้างชื่อเสียงคือละครเรื่อง \"ทอฝันกับมาวิน\" ในปี พ.ศ. 2539", "title": "พิยดา จุฑารัตนกุล" }, { "docid": "37776#5", "text": "พระญาติวงศ์ ของสมเด็จพระศรีสุลาไลย พระราชมารดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ราชินิกุล รัชกาลที่ 3 ที่มีผู้สืบสายสกุลเป็นที่รู้จักกันดี คือ สายพระยาพัทลุง (ทองขาว) สามีของท่านปล้อง น้านางของสมเด็จพระศรีสุลาไลย และสายสกุล \"ศิริสัมพันธ์\" สืบมาจาก ท่านสาด น้านางของสมเด็จพระศรีสุลาไลยเช่นกัน หากแต่คนละมารดากับพระชนนีเพ็ง ผู้เป็นชนนีของสมเด็จพระศรีสุลาไลย", "title": "ราชสกุล" }, { "docid": "49767#0", "text": "ราชสกุลศุขสวัสดิ เป็นราชสกุลมหาสาขาหนึ่งใน \"มหามกุฎราชสันตติวงศ์\" โดยมี พลโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี กรมหลวงอดิศรอุดมเดช เป็นองค์ต้นราชสกุล ราชตระกูลนี้ยังมีความเกี่ยวเนื่องใกล้ชิดกับราชสกุล “เกษมศรี” ซึ่งเป็นอีกมหาสาขาหนึ่ง ที่มีองค์ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ ด้วยองค์ต้นราชสกุลทั้งสองประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเดียวกัน", "title": "ราชสกุลศุขสวัสดิ" }, { "docid": "176675#8", "text": "หม่อมไกรสรเป็นต้นราชสกุล พึ่งบุญ ได้รับพระราชทานเป็นลำดับที่ 3 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่แปลกกว่าราชสกุลอื่นตรงที่จะนำพระนามของต้นสกุลมาตั้งออกพระนาม ส่วนราชสกุล \"พึ่งบุญ\" กลับไม่ใช้พระนามของพระองค์เจ้าไกรสร หม่อมไกรสรมีหม่อมหลายท่านแต่ไม่ปรากฏนาม มีพระบุตรทั้งหมด 11 องค์ เดิมมียศเป็น \"หม่อมเจ้า\" ที่ต่อมาถูกลดเป็น \"หม่อม\" ทั้งหมด ได้แก่ต้นตระกูล , พึ่งบุญ ณ อยุธยา (กทม), ไกรสรฤทธิ์ , เกษร (มาเก๊า), เท่าที่ปรากฏ", "title": "หม่อมไกรสร" } ]
407
พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน เมื่อประมาณพ.ศ.อะไร?
[ { "docid": "78585#0", "text": "พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน เมื่อประมาณ พ.ศ. 236 สมัยเดียวกันกับประเทศศรีลังกา ด้วยการส่งพระสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ 9 สาย โดยการอุปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์อินเดีย ในขณะนั้นประเทศไทยรวมอยู่ในดินแดนที่เรียกว่าสุวรรณภูมิ ซึ่งมีขอบเขตกว้างขวาง มีประเทศรวมกันอยู่ในดินแดนส่วนนี้ทั้ง 7 ประเทศในปัจจุบัน ได้แก่ ไทย พม่า ศรีลังกา ญวน กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ซึ่งสันนิษฐานว่ามีใจกลางอยู่ที่จังหวัดนครปฐมของไทย เนื่องจากได้พบโบราณวัตถุที่สำคัญ เช่นพระปฐมเจดีย์ และรูปธรรมจักรกวางหมอบเป็นหลักฐานสำคัญ แต่พม่าก็สันนิษฐานว่ามีในกลางอยู่ที่เมืองสะเทิม ภาคใต้ของพม่า พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่สุวรรณภูมิในยุคนี้ นำโดยพระโสณะและพระอุตตระ พระเถระชาวอินเดีย เดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนาในแถบนี้ จนเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ ตามยุคสมัยต่อไปนี้", "title": "ศาสนาพุทธในประเทศไทย" }, { "docid": "79774#0", "text": "พระพุทธศาสนาได้เผยแพร่จากอินเดียสู่ลังกา เมื่อประมาณ พ.ศ. 236 ในคราวที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงอุปถัมภ์การสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ 3 ในอินเดีย และได้ส่งพระเถระผู้รอบรู้แตกฉานในพระธรรมวินัยไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนต่างๆ รวม 9 สายด้วยกัน ใน 9 สายนั้น สายหนึ่งได้มายังเกาะของชาวสิงหล ได้แก่ประเทศศรีลังกาในปัจจุบัน โดยการนำของพระมหินทเถระ ในรัชสมัยของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ซึ่งเป็นกษัตริย์ของลังกาและเป็นพระสหายของพระเจ้าอโศกมหาราช แต่ทั้งสองพระองค์ยังไม่เคยพบกัน พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะทรงศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้อุทิศมหาเมฆวันอุทยานเป็นวัด เรียกว่า “ วัดมหาวิหาร ” ถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ พระพุทธศาสนาเข้าสู่ลังกาในยุคนี้ เป็นพุทธศาสนาแบบเถรวาท พระมหินทเถระได้นำเอาพระไตรปิฎกและอรรถกถาไปสู่ลังกาด้วย การเดินทางไปสู่ลังกาของพระมหินทเถระในครั้งนั้น นอกจากเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแล้ว ยังถือว่าเป็นการปลูกฝังวัฒนธรรมของชาวลังกา เพราะท่านมิเพียงแต่นำเอาพระพุทธศาสนาไปเท่านั้น ท่านยังได้นำเอาอารยะธรรม ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม เข้าไปด้วย ลำดับต่อมา พระนางอนุฬาเทวีมเหสีและสตรีบริวารจำนวนมาก ปรารถนาจะอุปสมบทบ้าง พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะจึงทรงส่งคณะทูตไปสู่ราชสำนักของพระเจ้าอโศก ทูลขอพระนางสังฆมิตตาเถรี และกิ่งพระศรีมหาโพธิ์ ด้านทักษิณมาสู่ลังกาทวีป และพระนางสังฆมิตตาเถรีเป็นอุปัชฌาย์บรรพชาอุปสมบทแก่สตรีชาวลังกาได้ตั้งคณะภิกษุณีขึ้นในลังกา", "title": "ศาสนาพุทธในประเทศศรีลังกา" } ]
[ { "docid": "570393#8", "text": "ข้อมูลเกี่ยวกับการเผยแผ่พระคัมภีร์ทางพุทธศาสนาในไทยเริ่มมีความชัดเจนอีกครั้ง หลังพุทธศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา โดยเมื่อราว พ.ศ. 1800 พวกพระภิกษุไทยซึ่งได้ไปบวชปลง ณ เมืองลังกากลับมาตั้งคณะที่เมืองนครศรีธรรมราช ต่อมากษัตริย์ในอาณาจักรสุโขทัยทรงเลื่อมใสโปรดให้นิมนต์พระสงฆ์ลังกาวงศ์มาประกาศพระศาสนายังตอนเหนือของที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา การมาถึงของคณะสงฆ์ลังกาในแผ่นดินไทยมิใช่ครั้งแรก เพราะเคยมีการติดต่อกันสมัยหริภุญไชย และทวราวดี แต่การมาครั้งนี้ ถือเป็นการสิ้นสุดของคณะนิกายอื่นๆ ที่เคยแพร่หลายในดินแดนนี้ ดังจะเห็นได้ว่า พระสงฆ์นิกายในแถบนี้อาจสังวัธยายพระธรรมเป็นภาษาสันสกฤต แต่พวกนิกายลังกาวงศ์สังวัธยายเป็นภาษามคธ จึงเกิดความขัดแย้งกันขึ้น กว่าจะเป็นเอกภาพได้ต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง", "title": "คัมภีร์ทางศาสนาพุทธในประเทศไทย" }, { "docid": "78585#3", "text": "สมัยอาณาจักรอ้ายลาว ซึ่งเป็นอาณาจักรของบรรพบุรุษชาวไทยที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มน้ำแยงซีเกียง ซึ่งปัจจุบันอยู่ภายใต้การยึดครองของชาวจีนฮั่น พระพุทธศาสนาในยุคนี้คาดว่าเป็นแบบมหายาน ในสมัยขุนหลวงม้าว กษัตริย์ที่ทรงครองราชย์อยู่ในอาณาจักรอ้ายลาว ก่อนที่จะอพยพเข้ามาสู่ดินแดนประเทศไทยในปัจจุบัน ได้รับเอาพระพุทธศาสนามหายาน โดยการนำของพระสมณทูตชาวอินเดียมาเผยแผ่ ในคราวที่พระเจ้ากนิษกะมหาราชทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ 4 ของฝ่ายมหายาน ณ เมืองชลันธร พระสมณทูตได้เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเอเชียกลาง ทำให้หัวเมืองไทยทั้ง 77 มีราษฎร 51,890 ครอบครัว เปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนาแบบมหายานแทนเถรวาท", "title": "ศาสนาพุทธในประเทศไทย" }, { "docid": "78585#11", "text": "ปี พ.ศ. 1839 พญามังราย ทรงสร้างราชธานีขึ้น ชื่อว่า \"นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่\" ได้ตั้งถิ่นฐาน ณ ลุ่มแม่น้ำปิง ได้สร้างเมือง สร้างวัง และวัดขึ้น ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ได้สร้างวัดต่าง ๆ มากมาย ทั้งที่เป็นฝ่ายคามวาสี และอรัญญวาสี จนพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง เมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรล้านนา เช่น เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน และพะเยา ต่างก็มีความเจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านพระพุทธศาสนา พิธีกรรมและความเชื่อทางศาสนามีอิทธิพลต่อชาวล้านนาอย่างมาก ในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราชแห่งเชียงใหม่ ได้ทำการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรกในดินแดนประเทศไทยปัจจุบันขึ้น ณ วัดมหาโพธาราม (วัดเจ็ดยอด) เมื่อ ปี พ.ศ. 2020 ในสมัยล้านนา ได้เกิดมีพระเถระนักปราชญ์ชาวล้านนาหลายรูป ท่านเหล่านั้นได้รจนาคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนาไว้เป็นจำนวนมาก ได้แก่ พระสิริมังคลาจารย์ พญาณกิตติเถระ พระรัตนปัญญา พระโพธิรังษี พระนันทาจารย์ และพระสุวรรณรังสี", "title": "ศาสนาพุทธในประเทศไทย" }, { "docid": "48108#25", "text": "จนกระทั่ง ในปี พ.ศ. 2500 รัฐบาลอินเดียได้เฉลิมฉลองพุทธชยันตี 2500 (วิสาขบูชากึ่งพุทธกาล) โดย ฯพณฯ เยาวหรลาล เนรูห์ นายกรัฐมนตรีแห่งอินเดีย ได้เชิญชวนให้ประเทศพุทธศาสนาทั่วโลกมาสร้างวัดไว้ในดินแดนต้นพุทธอุบัติภูมิ ซึ่งประเทศไทยโดยการนำของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ได้ตอบรับและดำเนินการสร้างวัดเป็นชาติแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 และประเทศชาวพุทธอื่น ๆ เช่น ญี่ปุ่น พม่า เกาหลี จีน ศรีลังกา ธิเบต ฯลฯ ได้ดำเนินการสร้างวัดต่อมาตามลำดับ โดยรัฐบาลอินเดียได้มีส่วนสำคัญในการบูรณะพุทธคยาอย่างต่อเนื่องจนมีสภาพดังที่เห็นในปัจจุบัน", "title": "สังเวชนียสถาน" }, { "docid": "78585#5", "text": "ในสมัยกษัตริย์กัมพูชาราชวงศ์สุริยวรมันเรืองอำนาจนั้น ได้แผ่อาณาเขตขยายออกมาทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางของประเทศไทย ในราว พ.ศ. 1540 และได้ตั้งราชธานีเป็นที่อำนวยการปกครองเมืองต่าง ๆ ในดินแดนดังกล่าวขึ้นหลายแห่ง เช่น เมืองต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้นนี้เมืองลพบุรีหรือละโว้ ถือว่าเป็นเมืองสำคัญที่สุด กษัตริย์กัมพูชาราชวงศ์สุริยวรมัน ทรงนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งมีสายสัมพันธ์เชื่อมต่อมาจากอาณาจักรศรีวิชัย แต่ฝ่ายมหายานในสมัยนี้ผสมกับศาสนาพราหมณ์มาก ประชาชนในอาณาเขตต่าง ๆ ดังกล่าว จึงได้รับพระพุทธศาสนาทั้งแบบเถรวาทที่สืบมาแต่เดิม กับแบบมหายานและศาสนาพราหมณ์ที่เข้ามาใหม่ด้วย ทำให้มีผู้นับถือพระพุทธศาสนาทั้ง 2 แบบ และมีพระสงฆ์ทั้งสองฝ่าย คือ ฝ่ายเถรวาท และฝ่ายมหายาน สำหรับศาสนสถานที่เป็นที่ประจักษ์พยานให้ได้ศึกษาถึงความเป็นมาแห่งพระพุทธศาสนาในประเทศไทยครั้งนั้น ได้แก่พระปรางค์สามยอดที่จังหวัดลพบุรี ปราสาทหินพิมาย ที่จังหวัดนครราชสีมา และปราสาทหินเขาพนมรุ้งที่จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น ส่วนพระพุทธรูปที่สร้างในสมัยนั้นถือเป็นศิลปะอยู่ในกลุ่ม ศิลปสมัยลพบุรี", "title": "ศาสนาพุทธในประเทศไทย" }, { "docid": "5256#11", "text": "จากหลักฐานด้านโบราณคดี ตำนาน นิทานพื้นบ้าน บันทึกราชการของจีน และบันทึกของพระภิกษุจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในพุทธศตวรรษที่ 12 ทำให้ทราบว่ามีอารยธรรมมนุษย์ได้สถาปนาอำนาจในประเทศไทยเป็นเวลานานแล้ว โดยอาณาจักรโบราณในดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน สามารถจำแนกได้ดังรายชื่อด้านล่างนครรัฐของไทยค่อย ๆ เป็นอิสระจากจักรวรรดิขะแมร์ที่เสื่อมอำนาจลง กล่าวกันว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงสถาปนาราชอาณาจักรที่เข้มแข็งและมีเอกราชเมื่อ พ.ศ. 1781 อาณาจักรสุโขทัยมีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช แต่ในรูปแบบที่นักประวัติศาสตร์เรียกว่า ปิตุราชา หรือ พ่อปกครองลูก ที่ผู้ปกครองใกล้ชิดกับผู้ใต้ปกครอง ราษฎรสามารถสั่นกระดิ่งหน้าพระราชวังเพื่อร้องทุกข์แก่พระมหากษัตริย์ได้โดยตรง อาณาจักรสุโขทัยแผ่ขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ผู้ประดิษฐ์อักษรไทย หากเป็นช่วงสั้น ๆ เสถียรภาพของอาณาจักรได้อ่อนแอลงภายหลังการสวรรคตของพระองค์ รัชสมัยพญาลิไทมีการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองมาเป็นธรรมราชา จากการรับอิทธิพลของศาสนาพุทธนิกายเถรวาท แบบลังกาวงศ์ อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของรัฐไทยอีกรัฐหนึ่งที่อุบัติขึ้น คือ อาณาจักรอยุธยาในพื้นที่เจ้าพระยาตอนล่าง", "title": "ประวัติศาสตร์ไทย" }, { "docid": "92109#0", "text": "พระพุทธศาสนาเริ่มเข้ามาในบรูไนตั้งแต่สมัยอาณาจักรศรีวิชัย ที่เรืองอำนาจจากฝั่งคาบสมุทรมลายูอย่างกว้างขวางในศตวรรษที่ 7 เป็นต้นมา จนถึงพุทธศตวรรษที่ 20 จึงอ่อนกำลังลงไปแล้วเงียบหาย คงเหลือแต่อิทธิพลทางภาษา ไว้เท่านั้น ต่อมาจนถึงปัจจุบันก็มีคลื่นชาวจีนโพ้นทะเลอพยพมาสู่ดินแดนนี้เพื่อประกอบอาชีพ เช่นเดียวกันกับประเทศมุสลิมใกล้เคียง จนมีศาสนิกชนเป็นจำนวนมาก และก็มีชาวญี่ปุ่น ชาวไทย ฯลฯ แม้ปัจจุบัน ประเทศนี้จะมีชาวพุทธเพียงร้อยละ 13 เท่านั้น แต่ก็สร้างความหลากหลายทางวัฒนธรรมของประเทศบรูไนได้เป็นอย่างดี แต่ประเทศนี้เป็นประเทศมุสลิม การที่จะเผยแผ่พระศาสนา จึงเป็นไปได้ยาก เช่นเดียวกันกับมาเลเซีย และอินโดนีเซีย", "title": "ศาสนาพุทธในประเทศบรูไน" }, { "docid": "765205#0", "text": "กัมພູມາาเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ เป็นมากว่าพันปี โดยแต่เดิมเป็นดินแดนของกลุ่มชาติพันธ์มอญ-เขมร ที่มีหลักฐานว่าอพยพมาจากอินเดีย ในฐานะพ่อค้า หรือเพื่อการค้า ผ่านเข้ามาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรอินโดจีน และตั้งถิ่นฐาน ผสมผสานกับคนในท้องถิ่นเดิม และกับคนที่อพยพมาทีหลัง ทั้งในชาติพันธุ์ และทางวัฒนธรรมมีความเจริญเพิ่มขึ้นตามลำดับ ต่อมาได้มีชนอินเดียเข้ามาติดต่อค้าขาย และได้นำเอา วัฒนธรรมอินเดียมาเผยแผ่ด้วย ทำให้กัมพูชารับเอาวัฒนธรรมอินเดีย ซึ่งก็คือพระพุทธศาสนาด้วยเช่นกัน", "title": "ศาสนาพุทธในประเทศกัมพูชา" } ]
419
ศาสนาอะไรเป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก?
[ { "docid": "32293#38", "text": "ลัทธิยูดา นับได้ว่าเป็นศาสนาแรกในกลุ่ม เป็นลัทธิเทวนิยมที่เชื่อในพระเจ้าองค์เดียว เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดและยังอยู่ยั่งยืนถึงปัจจุบัน คุณค่าและประวัติศาสตร์ของชาวยิวนับเป็นส่วนหลักสำคัญที่ เป็นรากฐานของกลุ่มศาสนาแอบราฮัมอื่น เช่นคริสต์ศาสนา ศาสนาอิสลาม รวมทั้งศาสนาบาไฮ อย่างไรก็ดี แม้จะมีรากฐานร่วมจากแอบราฮัมด้วยกันมาแต่โบราณ แต่แต่ละศาสนาก็มีความแตกต่างกันทางศิลปะที่ชัดเจน (ทั้งทัศนศิลป์และนาฏศิลป์) ซึ่งความแตกต่างนี้เนื่องมากจากอิทธิพลภูมิภาคที่มีอยู่ก่อนโดยมีศาสนาเข้ามาในภายหลังและกลายเป็นศาสนาที่เป็นตัวแสดงลักษณะเด่นทางวัฒนธรรมในเวลาต่อมา", "title": "วัฒนธรรม" }, { "docid": "42096#2", "text": "ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ในตอนแรกเริ่มเรียกตัวเองว่า \"พราหมณ์\" ต่อมาศาสนาได้เสื่อมความนิยมลงระยะหนึ่งเนื่องจากอิทธิพลของศาสนาพุทธ จนมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 ศังกราจารย์ได้ปฏิรูปศาสนาโดยแต่งคัมภีร์ปุราณะลดความสำคัญของศาสนาพุทธ และนำหลักปฏิบัติรวมทั้งหลักธรรมของศาสนาพุทธมหายานบางส่วนมาใช้และฟื้นฟูปรับปรุงศาสนาพราหมณ์เป็นให้เป็นศาสนาฮินดูเนื่องจากหลักธรรมส่วนใหญ่ของศาสนาพุทธได้ประยุกต์มาจากศาสนาฮินดูเมื่อครั้งยังเป็นศาสนาพราหมณ์โดยเริ่มจากนิกายเถรวาทเมื่อครั้งพุทธกาล -จนถึงนิกายมหายาน - วัชรญาณ เมื่อ โดยคำว่า “ฮินดู” เป็นคำที่ใช้เรียกชาวอารยันที่อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานในลุ่มแม่น้ำสินธุ และเป็นคำที่ใช้เรียกลูกผสมของชาวอารยันกับชาวพื้นเมืองในชมพูทวีป และชนพื้นเมืองนี้ได้พัฒนาศาสนาพราหมณ์โดยการเพิ่มเติมเทพเจ้าท้องถิ่นดั้งเดิมลงไป เนื่องจากเวลานั้นสังคมอินเดีย แตกแยกอย่างมากเนื่องจากอิทธิพลของพุทธศาสนาในประเทศอินเดียที่มีลักษณะเป็นกึ่งพหุเทวนิยม คือนิยมนับถือเทวดา ทำให้ทางตอนเหนือนับถือพระศิวะซึ่งเป็นเทพแห่งภูเขาหิมาลัย ทางตอนใต้ชาวประมงนับถือวิษณุซึ่งเป็นเทพที่ให้ฝนและพายุ ชาวป่านับถือพระนิรุทธ และตอนกลางนับถือพระพิฆเนตร คนอินเดียเวลานั้นเริ่มไม่นับถือศาสนาพราหมณ์เป็นจำนวนมากขึ้น เมื่อต้องการรวมชาติ เมื่อครั้งขับไล่ราชวงศ์โมกุลของอิสลามที่เข้ามายึดครองและสั่งเข่นฆ่าพระสงฆ์คัมภีร์และวัดในพระพุทธศาสนาจนแทบสูญสิ้นไปจากอินเดีย จึงรวมเทพเจ้าแต่ละท้องถิ่นต่างๆมารวมเป็นหนึ่งเดียวกันกับศาสนาพราหมณ์ แล้วเรียกศาสนาของใหม่นี้ว่า “ศาสนาฮินดู” เพราะฉะนั้นศาสนาพราหมณ์จึงมีอีก ชื่อในศาสนาใหม่ว่า “ฮินดู” จนถึงปัจจุบันนี้", "title": "ศาสนาฮินดู" }, { "docid": "766866#0", "text": "ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ในตอนแรกเริ่มเรียกตัวเองว่า ”พราหมณ์” ต่อมาศาสนาได้เสื่อมความนิยมลงระยะหนึ่งเนื่องจากอิทธิพลของศาสนาพุทธ จนมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 ศังกราจารย์ได้ปฏิรูปศาสนาโดยแต่งคัมภีร์ปุราณะลดความสำคัญของศาสนาพุทธ และนำหลักปฏิบัติรวมทั้งหลักธรรมของศาสนาพุทธมหายานบางส่วนมาใช้และฟื้นฟูปรับปรุงศาสนาพราหมณ์เป็นให้เป็นศาสนาฮินดูเนื่องจากหลักธรรมส่วนใหญ่ของศาสนาพุทธได้ประยุกต์มาจากศาสนาฮินดูเมื่อครั้งยังเป็นศาสนาพราหมณ์โดยเริ่มจากนิกายเถรวาทเมื่อครั้งพุทธกาล -จนถึงนิกายมหายาน - วัชรญาณ เมื่อ โดยคำว่า “ฮินดู” เป็นคำที่ใช้เรียกชาวอารยันที่อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานในลุ่มแม่น้ำสินธุ และเป็นคำที่ใช้เรียกลูกผสมของชาวอารยันกับชาวพื้นเมืองในชมพูทวีป และชนพื้นเมืองนี้ได้พัฒนาศาสนาพราหมณ์โดยการเพิ่มเติมเทพเจ้าท้องถิ่นดั้งเดิมลงไป เนื่องจากเวลานั้นสังคมอินเดีย แตกแยกอย่างมากเนื่องจากอิทธิพลของพุทธศาสนาในประเทศอินเดียที่มีลักษณะเป็นกึ่งพหุเทวนิยม คือนิยมนับถือเทวดา ทำให้ทางตอนเหนือนับถือพระศิวะซึ่งเป็นเทพแห่งภูเขาหิมาลัย ทางตอนใต้ชาวประมงนับถือวิษณุซึ่งเป็นเทพที่ให้ฝนและพายุ ชาวป่านับถือพระนิรุทธ และตอนกลางนับถือพระพิฆเนตร คนอินเดียเวลานั้นเริ่มไม่นับถือศาสนาพราหมณ์เป็นจำนวนมากขึ้น เมื่อต้องการรวมชาติ เมื่อครั้งขับไล่ราชวงศ์โมกุลของอิสลามที่เข้ามายึดครองและสั่งเข่นฆ่าพระสงฆ์คัมภีร์และวัดในพระพุทธศาสนาจนแทบสูญสิ้นไปจากอินเดีย จึงรวมเทพเจ้าแต่ละท้องถิ่นต่างๆมารวมเป็นหนึ่งเดียวกันกับศาสนาพราหมณ์ แลัวเรียกศาสนาของใหม่นี้ว่า “ศาสนาฮินดู” เพราะฉะนั้นศาสนาพราหมณ์จึงมีอีก ชื่อในศาสนาใหม่ว่า “ฮินดู” จนถึงปัจจุบันนี้", "title": "ประวัติศาสนาฮินดู" } ]
[ { "docid": "266700#1", "text": "กางเขนเป็นสัญลักษณ์ที่เก่าแก่ที่สุดที่ใช้โดยมนุษย์ และใช้เป็นสัญลักษณ์ศาสนาหลายศาสนาที่รวมทั้งคริสต์ศาสนา กางเขนบ่อยครั้งจะเป็นสัญลักษณ์ของธาตุหลักทั้ง 4 ของโลก (เชวาลิเย, ค.ศ. 1997) หรืออีกความหมายหนึ่งคือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของเทพที่เป็นแกนตั้งและโลกที่คือแกนนอน (คอค, ค.ศ. 1955)", "title": "กางเขน" }, { "docid": "50638#0", "text": "ฤคเวท () เป็นคัมภีร์เล่มแรกในวรรณคดีพระเวท แต่งขึ้นเมื่อราว 3000 ปีก่อนคริสตกาล เป็นตำราทางศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ประกอบไปด้วยบทสวดที่วางท่วงทำนองในการสวดไว้อย่างตายตัว กล่าวถึงบทสรรเสริญคุณ อำนาจแห่งเทวะ และประวัติการสร้างโลก รวมถึงหน้าที่ของพระพรหมผู้สร้างมนุษย์และสรรพสิ่ง ซึ่งจะใช้ในพิธีการบรวงสรวงเทพเจ้าต่างๆ ของชาวอารยัน ตามประเพณีของฮินดูแล้ว การแบ่งหมวดหมู่ของคัมภีร์พระเวทนี้ วยาส ( ผู้แต่งมหากาพย์ มหาภารตะ ) เป็นผู้ทำขึ้นโดยรับคำสั่งจากพระพรหมณ์ การจัดรวบรวมบทสวดในคัมภีร์ฤคเวทนี้ เรียกว่า ฤคเวทสังหิตา มีบทสวดทั้งหมด 1,028 บท เป็นหนึ่งในคัมภีร์ทั้งสี่ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งเรียกรวมกันว่า \"พระเวท\" และนับเป็นบทสวดที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษยชาติ เนื้อหาด้านชาติพันธุวิทยาและภูมิศาสตร์ที่ปรากฏในฤคเวทนั้น เป็นหลักฐานแสดงว่าฤคเวทนั้นมีมานานกว่า 3,000 ปีก่อนคริสตกาล", "title": "ฤคเวท" }, { "docid": "3832#2", "text": "มุสลิมส่วนใหญ่เป็นนิกายซุนนีย์ คิดเป็น 75–90% ของมุสลิมทั้งหมด นิกายใหญ่ที่สุดอันดับสอง คือ ชีอะฮ์ คิดเป็น 10–20% ประเทศมุสลิมใหญ่ที่สุด คือ ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีชาวมุสลิม 12.7% ของโลก ตามมาด้วยปากีสถาน (11.0%) อินเดีย (10.9%) และบังกลาเทศ (9.2%) นอกจากนี้ ยังพบชุมชนขนาดใหญ่ในจีน รัสเซียและยุโรปบางส่วน ด้วยสาวกกว่า 1,500 ล้านคน หรือ 22% ของประชากรโลก อิสลามจึงเป็นศาสนาใหญ่ที่สุดอันดับสองและศาสนาหลักที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกศาสนาหนึ่ง", "title": "ศาสนาอิสลาม" }, { "docid": "523989#2", "text": "อาสนวิหารแม็สถือเป็นหนึ่งในอาสนวิหารที่มีโถงทางเดินโบสถ์ที่สูงที่สุดแห่งหนี่งของโลก และยังมีชื่อเล่นว่า \"โคมไฟแห่งพระผู้เป็นเจ้า\" () อันเนื่องมาจากมีโครงสร้างหน้าต่างที่เป็นงานกระจกสีมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก คิดเป็นพื้นที่ถึง 6,496 ตารางเมตร ซึ่งงานกระจกสีเหล่านั้นล้วนเป็นงานสร้างสรรค์ของศิลปินงานกระจกสีต่าง ๆ ทั้งในยุคกอทิกและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา อาทิ แฮร์มันน์ ฟ็อน มึนส์เทอร์, เตออบาลแห่งลิกไซม์ และวาล็องแต็ง บุช, ศิลปินแห่งยุคจินตนิยม ได้แก่ ชาร์ล-โลร็อง มาเรชาล, ศิลปินนามธรรม ได้แก่ รอเฌ บีเซียร์, ศิลปินบาศกนิยม ได้แก่ ฌัก วียง และรวมถึงศิลปินนวยุคนิยม ได้แก่ มาร์ก ชากาล", "title": "อาสนวิหารแม็ส" }, { "docid": "651178#0", "text": "ถ้ำอชันตา (, ) ตั้งอยู่ในเมืองออรังกาบาด รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย ได้ชื่อว่าเป็น วัดถ้ำในพุทธศาสนาที่งดงามและเก่าแก่ที่สุดในโลก สร้างเมื่อ พ.ศ. 350 โดยพระภิกษุในสมัยนั้นได้ค้นพบสถานที่แห่งนี้ เห็นว่าเป็นสถานที่เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรมกรรมฐานเป็นอย่างยิ่ง จึงได้เจาะภูเขาเพื่อสร้างเป็นกุฏิ โบสถ์ วิหาร ฯลฯ เพื่ออาศัยอยู่อย่างสันโดษ เนื่องจากเป็นสถานที่ห่างไกลผู้คน ภายในเต็มไปด้วยงานแกะสลักหิน เป็นองค์เจดีย์ เป็นพระพุทธรูป และภาพจิตรกรรมฝาผนังถ้ำ เล่าเรื่องราวต่างๆ ในพุทธประวัติและชาดก ในปี พ.ศ. 2527 ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดย องค์การยูเนสโก", "title": "ถ้ำอชันตา" }, { "docid": "57913#28", "text": "\"ชาวพุทธทั่วโลกได้ลืมคืนที่ดี และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นศูนย์กลางที่ยิ่งใหญ่ของศรัทธา ดังเช่นนครเมกกะ และเยรูซาเลม (Mecca and Jeruzaiem) เป็นศูนย์กลางศรัทธาของผู้ศรัทธานับล้านคน-เมื่อข้าพเจ้าได้พักที่โรงแรมที่พุทธคยาปีสองปีที่ผ่านมา ข้าพเจ้ารู้สึกเศร้าใจที่เห็นเครื่องบูชา สาร์ท (Shraddh) ของพวกฮินดูในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นนี้ และวัตถุโบราณที่มีค่าจำนวนมากหลายพันชิ้น ซึ่งจารึกด้วยภาษาสันสกฤตได้ถูกทิ้งจมอยู่ในดิน ข้าพเจ้าได้ถามนักบวชฮินดูว่า\"", "title": "อนาคาริก ธรรมปาละ" }, { "docid": "261949#0", "text": "โดมแห่งศิลา (, ทับศัพท์: \"กุบบะฮ์ อัชซักรอฮ์\", , ทับศัพท์: \"Kipat Hasela\", ) เป็นศาสนสถานของศาสนาอิสลามที่เป็นที่ตั้งของศิลาฤกษ์ (Foundation Stone), เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของศาสนายูดาห์ และเป็นสิ่งก่อสร้างที่เด่นที่สุดบนเนินพระวิหารในกรุงเยรูซาเลม โดมทองสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 691 ซึ่งทำให้เป็นสิ่งก่อสร้างของอิสลามที่เก่าที่สุดในโลก", "title": "โดมแห่งศิลา" } ]
420
ตระกูลชาติพันธุ์ไทใหญ่หมายถึงอะไร?
[ { "docid": "33180#11", "text": "ตระกูลชาติพันธุ์ไทใหญ่ หมายถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีถิ่นฐานดั้งเดิม อยู่บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขง เลยไปถึงลุ่มน้ำสาละวิน อิระวดี และพรหมบุตร เอกลักษณ์ของตระกูลชาติพันธุ์ไทใหญ่ คือ มีระบบการปลูกบ้านสร้างเรือนที่ซับซ้อนกว่าไทน้อย โดยบ้านมักจะมีการกั้นห้องแบ่งระดับยกหลังคา ที่สลับซับซ้อนกว่า นอกจากนี้ในสถาปัตยกรรมขั้นสูง มักจะมีการประดับตกแต่งมากกว่า โดยกลุ่มชาติพันธุ์ในตระกูลนี้ ได้แก่พวกไทใหญ่ (ไทใหญ่เรียกตัวเองว่าไตหรือไตโหลง (ไทหลวง) ส่วนคำว่าไทใหญ่นั้นเป็นชื่อในภาษาไทยเท่านั้น ไม่ใช่ชื่อที่เขาเรียกตัวเอง) ไทเหนือ ไทขึน ไทลื้อ ไทยวน(ภาษาไทยแต่ก่อนเรียกว่าลาวยวน) อาหม อ่ายตน คำยัง คำตี่ พ่าเก นะรา จันหารี และ ตุรุง เป็นต้น", "title": "ชาวไท" }, { "docid": "33212#0", "text": "ไทใหญ่ หรือ ฉาน ( \"ไต๊\"; , ; ) หรือ เงี้ยว (ซึ่งเป็นคำเรียกที่ไม่สุภาพ) คือกลุ่มชาติพันธุ์ในตระกูลภาษาไท-กะได ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ขนาดใหญ่อันดับสองของพม่า ส่วนมากอาศัยในรัฐฉาน ประเทศพม่า และบางส่วนอาศัยอยู่บริเวณดอยไตแลง ชายแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่าคนไทใหญ่ในประเทศพม่ามีประมาณ 3 หรือ 4 ล้านคน แต่มีไทใหญ่หลายแสนคนที่ได้อพยพเข้าสู่ประเทศไทย เพื่อหนีปัญหาทางการเมืองและการหางาน ตามภาษาของเขาเองจะเรียกตัวเอง ไต มีหลายกลุ่มเช่น ไตขืน ไตแหลง ไตคัมตี ไตลื้อ และไตมาว แต่กลุ่มใหญ่ที่สุดคือ ไตโหลง (ไต = ไท และ โหลง (หลวง) = ใหญ่) หรือที่คนไทยเรียกว่า ไทใหญ่ จะเห็นได้ว่าภาษาไตและภาษาไทยคล้ายกันบ้างแต่ไม่เหมือนกัน ชาวไทใหญ่ถือวันที่ 7 กุมภาพันธ์ เป็นวันชาติ เมืองหลวงของรัฐฉานคือ ตองยี มีประชากรประมาณ 150,000 คน ส่วนเมืองสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ สีป้อ ล่าเสี้ยว เชียงตุง และท่าขี้เหล็ก", "title": "ไทใหญ่" } ]
[ { "docid": "33180#10", "text": "การแบ่งตามวัฒนธรรม เป็นการแบ่งตามหลักมานุษยวิทยา โดยใช้เกณฑ์ด้านวัฒนธรรมและประเพณี ซึ่งสามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ไทน้อย ไทใหญ่ และไทยสยาม\nตระกูลชาติพันธุ์ไทน้อย หมายถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีถิ่นฐานเดิม อยู่บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขง ประกอบด้วยในลาว จนถึงลุ่มแม่น้ำดำ-แดง ในเวียดนาม แล้วเลยไปจนถึงตอนใต้ของจีน เอกลักษณ์ตระกูลชาติพันธุ์ไทน้อย คือ มีการปลูกเรือนแบบยาวลึกเข้าไป และไม่มีการเล่นระดับที่ซับซ้อนมาก ในสถาปัตยกรรมขั้นสูงมีการประดับตกแต่งที่ค่อนข้างน้อย เน้นความอ่อนช้อยของศิลปะ แต่เสื้อผ้าอาจจะมีเครื่องประดับมากกว่า โดยกลุ่มชาติพันธุ์ในตระกูลนี้ ได้แก่พวก ไทลาว ไทดำ(ภาษาไทยเรียกว่าลาวโซ่ง) ไทขาว ไทแดง ไทพวน(ภาษาไทยมักจะเรียกว่าลาวพวน) ไทฮ่างตง ตูลาว หลี เจียมาว เกลาว ลาติ ลาคัว ลาฮา จาเบียว เบ ไทแสก(ลาวใช้ไทแซก) ลักเกีย คำ สุย มู่หล่าว เมาหนาน ไทญ้อ ภูไท ต้ง จ้วง คัง นุง โท้ เป็นต้น กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีความหลากหลายกว่าไทใหญ่ โดยเฉพาะด้านภาษา ซึ่งมีกลุ่มภาษาทั้ง 3 กลุ่ม รวมถึงภาษากะได ด้วย", "title": "ชาวไท" }, { "docid": "33180#12", "text": "ตระกูลชาติพันธุ์ไทยสยาม หมายถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำเพชรบุรี เรื่อยไปจนถึงที่ราบลุ่มแม่น้ำพุมดวง-ตาปี ที่ราบลุ่มทะเลสาบสงขลา บริเวณจังหวัดเกาะกง (ประเทศกัมพูชา) และบริเวณจังหวัดเกาะสอง (เขตตะนาวศรี ประเทศพม่า) ไทยสยาม เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการพูดถึงและถกเถียงเรื่องที่มามากที่สุด โดยมีการเสนอทฤษฎีขึ้นมามากมาย ทั้งมาจากเทือกเขาอัลไต หรือมาจากหมู่เกาะทะเลใต้ ด้วยเชื่อว่า ไทยสยาม เป็นชาติพันธุ์บริสุทธิ์ และเป็นต้นตระกูลของทุกชาติพันธุ์ในตระกูลภาษาไท-กะได แต่ในปัจจุบัน นักวิชาการส่วนมากยอมรับแล้วว่า ไทยสยามไม่ใช่ชาติพันธุ์บริสุทธิ์ แต่เป็นชาติพันธุ์ที่มีการผสมผสานกัน ทั้งภายในและภายนอก โดยวัฒนธรรมส่วนมากเป็นส่วนผสมระหว่างไทน้อยและไทใหญ่ นอกจากนี้ยังมีวัฒนธรรมจากภายนอกเข้ามาผสมทั้งจาก มอญ ขอม(เขมรโบราณ) อินเดีย และมลายู อีกด้วย", "title": "ชาวไท" }, { "docid": "33180#0", "text": "ชาวไท เป็นชื่อเรียกโดยรวมของกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดกลุ่มภาษาไท กระจายตัวอยู่ในภูมิภาคอุษาคเนย์ รับประทานข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก นิยมปลูกเรือนเสาสูง มีใต้ถุน อาศัยทั้งในที่ราบลุ่ม และบนภูเขา ประเพณีศพเป็นวิธีเผาจนเป็นเถ้าแล้วเก็บอัฐิไว้ให้ลูกหลานบูชา ศาสนาดั้งเดิมเป็นศาสนาผี นับถือบรรพบุรุษและบูชาพญาแถน (ผีฟ้า หรือเสื้อเมือง) มีประเพณีสำคัญคือ ประเพณีสงกรานต์ ซึ่งเป็นประเพณีเฉลิมฉลองวสันตวิษุวัต และการขึ้นปีใหม่ ทั้งนี้ คำเรียก ไต เป็นคำที่กลุ่มชนตระกูลไทใหญ่ใช้เรียกตนเอง ส่วน ไท เป็นคำเดียวกัน แต่เป็นสำเนียงของชาวไทน้อย และ ไทยสยาม บางครั้ง การใช้คำ ไต-ไท ในวงแคบจะหมายถึงเฉพาะผู้ที่ใช้ภาษาในกลุ่มภาษาไท (ไม่รวมกลุ่มภาษากะได เช่น ลักเกีย แสก คำ ต้ง หลี เจียมาว ฯลฯ)", "title": "ชาวไท" }, { "docid": "41644#7", "text": "ในเกวัฏฏสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ได้กล่าวถึงนิพพานว่าเป็น \"ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใสโดยประการทั้งปวง ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ อุปาทยรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้ เพราะวิญญาณดับ นามและรูปย่อมดับ ไม่มีเหลือในธรรมชาติ ดังนี้ฯ\" ( ที.สี.14/350 )", "title": "นิพพาน" }, { "docid": "936#78", "text": "ประเทศไทยถือว่ามีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ราวร้อยละ 75–95 ของประชากรเป็นชาติพันธุ์ไท ซึ่งรวมสี่ภูมิภาคหลัก คือ ไทยกลางร้อยละ 30 อีสานหรือลาวร้อยละ 22 ล้านนาร้อยละ 9 และใต้ร้อยละ 7 และมีไทยเชื้อสายจีนร้อยละ 14 ของประชากร ที่เหลือเป็นไทยเชื้อสายมลายู ชาวมอญ ชาวเขมร และชาวเขาหลายเผ่า ไทยที่มีบรรพบุรุษจีนบางส่วนมีถึง ร้อยละ 40 ของประชากร ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่รัฐบาลรับรอง 62 กลุ่ม", "title": "ประเทศไทย" }, { "docid": "746399#2", "text": "ชาวไทยเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มชาติพันธุ์ขนาดใหญ่ที่มีชื่อว่า กลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะได โดยเป็นกลุ่มที่ประกอบด้วย ชาวลาว ชาวไทใหญ่จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศพม่า ชาวจ้วงจากกว่างซีในประเทศจีน รวมไปถึงชาวโท้และชาวนุงจากภาคเหนือของประเทศเวียดนาม การอพยพจากตอนใต้ของประเทศจีนมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกิดขึ้นในช่วงสหัสวรรษแรกของคริสต์ศักราช โดยมีความเป็นไปได้ว่าผ่านทางตอนเหนือของประเทศลาว", "title": "ประวัติศาสตร์ไทยช่วงต้น" }, { "docid": "231936#0", "text": "ผู้ไทดำ หรือไทยทรงดำ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทยที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในแคว้นสิบสองจุไทหรือเมืองแถนหรือเดียนเบียนฟู ประเทศเวียดนาม ในปัจจุบัน ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในแถบแม่น้ำดำและแม่น้ำแดง ปัจจุบันอยู่ในเขตเวียดนามเหนือตอนเชื่อมต่อกับลาวและจีนตอนใต้ ผู้ไทดำหรือไทยทรงดำมีชื่อเดิมเรียกกันว่า ไทดำ (Black Tai)หรือ ผู่ไต๋ดำ เพราะนิยมใส่เสื้อดำล้วน ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มคนไทที่อยู่ใกล้เคียงกัน เช่น “ไทขาว”หรือ(White Tai) นิยมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีขาวและไทแดง หรือ(Red Tai) ชอบใช้สีแดงขลิบและตกแต่งชายเสื้อสีดำเป็นต้น ไทดำกลุ่มนี้ได้ถูกกวาดต้อนเข้ามาในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น คนไทยภาคกลางเรียกกันว่า “ลาวทรงดำ” เพราะเข้าใจว่าเป็นพวกเดียวกับลาวและอพยพมาพร้อมกับลาวกลุ่มอื่น ๆต่อมาชื่อเดิมได้หดหายลง คำว่า”ดำ” หายไปนิยมเรียกกันในปัจจุบันว่า”ลาวทรง”หรือ “ลาวโซ่ง” ซึ่งไม่ใช่คำเรียกที่ถูกต้อง ที่ถูกต้องคือเรียก ชนกลุ่มนี้ว่า ผู้ไท ดำนั่นเอง\nคำว่า โซ่ง สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า “ซ่วง” ซึ่งแปลว่า กางเกง เพราะเพราะชาวไทดำนิยมนุ่งกางเกงทั้งชายและหญิง คนไทยและลาวพวนจึงเรียกว่า ลาวซ่วง ซึ่งหมายถึงลาวนุ่งกางเกง ต่อมาเพี้ยนเป็น โซ่ง \nเหตุที่เรียกไทดำว่า ลาวโซ่ง เพราะคำว่า “ลาว” เป็นคำที่คนไทยทั่วไปใช้เรียกคนที่อพยพมาจากถิ่นอื่น แต่ชาวไทดำหรือไทยทรงดำถือตนเองว่าเป็นชนชาติไท จึงนิยมเรียกตนเองว่า ไทดำ หรือผู้ไต๋ดำ", "title": "ไทยทรงดำเพชรบุรี" }, { "docid": "33180#16", "text": "ในประเทศไทย ชาวไทโดยเฉพาะไทยสยาม เป็นประชากรกลุ่มหลักของประเทศ ซึ่งกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหมดประกอบด้วย ไทใหญ่ (ฉาน เงี้ยว) ไทลื้อ ไทขึน ไทยอง ไทยวน ไทดำ (ลาวโซ่ง) ไทยสยาม ภูไท (ญ้อ, โย้ย) ไทพวน (ลาวพวน) ไทอีสาน (ไทลาว) ลาวแง้ว ไทแสก ลาวครั่ง ไทกลา ไทหย่า ลาวตี้ ลาวเวียง ลาวหล่ม และ คำตี่", "title": "ชาวไท" } ]
421
การแผ่ปรับตัว มีกี่ลักษณะ?
[ { "docid": "876645#2", "text": "ลักษณะ 4 อย่างสามารถใช้ระบุการแผ่ปรับตัว", "title": "การแผ่ปรับตัว" } ]
[ { "docid": "876645#4", "text": "ตัวอย่างคลาสสิกอย่างหนึ่งคือการวิวัฒนาการเกิดปุ่มฟันที่สี่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม\nลักษณะเช่นนี้ทำให้สามารถเคี้ยวอาหารได้หลายหลากมากขึ้น\nดังนั้น การวิวัฒนาการเกิดลักษณะเช่นนี้ได้เพิ่มจำนวนวิถีชีวิตเฉพาะนิเวศสำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม\nเป็นลักษณะที่เกิดขึ้นหลายครั้งในกลุ่มต่าง ๆ ช่วงมหายุคซีโนโซอิก และในทุก ๆ กรณี ก็ปรากฏว่ามีการแผ่ปรับตัวตามมาทันที", "title": "การแผ่ปรับตัว" }, { "docid": "876645#8", "text": "ในบรรดาสปีชีส์บนเกาะหนึ่ง สัณฐานที่ต่างกันสำคัญอย่างหนึ่งก็คือขนาดและรูปร่างของจะงอยปาก\nการแผ่ปรับตัวทำให้เกิดวิวัฒนาการมีจะงอยปากต่างกันเพื่อเข้าถึงอาหารและทรัพยากรที่ต่างกัน\nนกที่มีจะงอยสั้น ๆ ปรับตัวกินเมล็ดตามพื้นได้ดีกว่า นกที่มีจะงอยบางและแหลมก็กินแมลง ส่วนนกที่มีจะงอยยาวหาอาหารภายในกระบองเพชร\nเพราะการปรับตัวเป็นวิถีชีวิตเฉพาะเช่นนี้ นก 7 ชนิดหรือมากกว่านั้นจึงสามารถอาศัยในสิ่งแวดล้อมเดียวกันโดยไม่ต้องแข่งขันหรืออดอยากจนทำให้ถึงตาย\nกล่าวอีกอย่างก็คือ ความแตกต่างของจะงอยปากที่เกิดจากการแผ่ปรับตัวทำให้ความหลากหลายบนเกาะดำรงอยู่ได้\nตัวอย่างดังอีกอย่างก็คือปลาหมอสีในทะเลสาบหุบเขาทรุดที่แอฟริกาตะวันออก\nทะเลสาบต่าง ๆ ในเขตนี้เชื่อว่า สามารถรับรองปลาหมอสีกว่า 2,000 ชนิด โดยแต่ละชนิดจะมีลักษณะและสัณฐานที่ต่าง ๆ กันเช่นขนาดตัว\nเหมือนกับหมู่เกาะกาลาปาโกส ทะเลสาบเหล่านี้เป็นภูมิภาคที่แบ่งซอยออกจากกัน กันปลาหมอไม่ให้เจอกัน และอำนวยปลาหมอกับทั้งสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่อยู่ร่วมกันให้วิวัฒนาการต่างหาก ๆ \nความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในทะลเสาบน่าทึ่งมาก เพราะเหตุการณ์แผ่ปรับตัวบางครั้งพึ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นาน", "title": "การแผ่ปรับตัว" }, { "docid": "876645#9", "text": "ประเด็นอย่างหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์สนใจในเรื่องนี้ก็คือว่า มีวิวัฒนาการเบนเข้า (convergent evolution) เกิดขึ้นด้วยหรือไม่ ซึ่งเป็นวิวัฒนาการเกิดโครงสร้างที่คล้ายคลึงกันแต่เกิดขึ้นต่างหาก ๆ ที่ขับโดยความกดดันคัดเลือกเนื่องจากสิ่งแวดล้อมเหมือน ๆ กัน\nอย่างไรก็ดี งานศึกษาเชิงปริมาณในเรื่องวิวัฒนาการเบนเข้าของปลาหมอสีก็ยังจำกัด\nตัวอย่างอีกอย่างของการแผ่ปรับตัวก็คือสปีชีส์นกเฉพาะท้องถิ่นของหมู่เกาะฮาวาย คือ Hawaiian honeycreepers ในวงศ์ย่อย Carduelinae\nซึ่งเป็นนกขนาดใหญ่ที่หลากหลาย อันเป็นส่วนของการแผ่ปรับตัวขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นเมื่อหมู่เกาะได้ตั้งขึ้น\nทั้งภูมิภาคของเกาะและการคัดเลือกโดยธรรมชาติมีอิทธิพลต่อวิวัฒนาการของนก", "title": "การแผ่ปรับตัว" }, { "docid": "879427#42", "text": "ลักษณะปรากฏบางอย่างดูจะไม่ใช่การปรับตัว ซึ่งก็คือ มันมีผลเป็นกลางหรือมีผลร้ายต่อความเหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมปัจจุบัน\nเพราะยีนมีผลต่อฟีโนไทป์หลายอย่าง (เป็น pleiotropic) ดังนั้น ลักษณะปรากฏบางอย่างอาจไม่มีประโยชน์อะไร\nนี่อาจเป็นสิ่งที่นักวิชาการชาวอเมริกันคู่หนึ่ง (Stephen Jay Gould และ Richard Lewontin) เรียกว่า \"spandrel\"\nซึ่งหมายถึงลักษณะที่เกิดเพราะการปรับตัวของลักษณะที่อยู่ใกล้ ๆ กัน", "title": "การปรับตัว (ชีววิทยา)" }, { "docid": "876645#0", "text": "ในชีววิทยาวิวัฒนาการ การแผ่ปรับตัว () เป็นกระบวนการที่สิ่งมีชีวิตเกิดความหลากหลายอย่างรวดเร็วจากสปีชีส์บรรพบุรุษเดียว กลายเป็นรูปแบบต่าง ๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะเมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปทำให้เกิดทรัพยากร เกิดอุปสรรค หรือเกิดวิถีการดำรงชีวิตที่เป็นไปได้ใหม่ ๆ\nกระบวนการจะเป็นเหตุการเกิดสปีชีส์และการปรับตัวทางฟีโนไทป์ของสปีชีส์หลากหลาย ที่กลายมีรูปร่างสัณฐานและสรีรภาพที่ต่างกัน โดยเริ่มจากบรรพบุรุษเดียวกันเร็ว ๆ นี้ \nตัวอย่างหนึ่งก็คือนกสปีชีส์ต่าง ๆ ในวงศ์ย่อย Carduelinae (Hawaiian honeycreepers) ที่พบในหมู่เกาะฮาวาย\nคือผ่านกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ นกได้ปรับตัวอย่างรวดเร็วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ จนมีรูปร่างสัณฐานที่หลากหลาย", "title": "การแผ่ปรับตัว" }, { "docid": "876645#10", "text": "กลไกของการแผ่ปรับตัวจัดได้ว่าเป็น \"การเกิดสปีชีส์ร่วมบริเวณ\" ที่ประชากรรอบนอกแยกเกิดเป็นสปีชีส์ต่างหาก ๆ (peripheral isolate model)\nคือทุกครั้งที่เกิดเกาะใหม่ นกก็จะกระจายพันธุ์ไปยังเกาะมีผลเป็นกลุ่มประชากรใหม่บนเกาะแต่ละเกาะ\nความกดดันคัดเลือกใหม่ก็จะขับให้นกแผ่ปรับตัว เพราะต้องหาทรัพยากรใหม่ ๆ จากสิ่งแวดล้อมที่ต่าง ๆ กันบนเกาะแต่ละเกาะ\nสัณฐานและพฤติกรรมของนกที่เหมือน ๆ กันในเกาะรอบ ๆ นอกเป็นวิวัฒนาการเบนเข้าของลักษณะสืบสายพันธุ์ที่คล้าย ๆ กันเนื่องจากมีสิ่งแวดล้อมคล้าย ๆ กัน", "title": "การแผ่ปรับตัว" }, { "docid": "876645#13", "text": "ในหมู่เกาะแคริบเบียน ขนาดการยืนนั่งที่ใหญ่สัมพันธ์กับขาหน้าที่ยาวกว่า มวลกายที่ใหญ่กว่า หางที่ยาวกว่า และขาหลังที่ยาวกว่า\nแต่บนแผ่นดินใหญ่ ขนาดการยืนนั่งที่ใหญ่สัมพันธ์กับหางที่สั้นกว่า\nซึ่งแสดงว่า กิ้งก่าเหล่านี้ปรับตัวต่าง ๆ กันให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ขึ้นอยู่กับว่าอยู่บนแผ่นดินใหญ่หรือในหมู่เกาะ\nเป็นความแตกต่างที่ยืนยันว่า การแผ่ปรับตัวโดยมากเกิดขึ้นต่างหาก ๆ บนแผ่นดินใหญ่และในหมู่เกาะ", "title": "การแผ่ปรับตัว" }, { "docid": "879427#43", "text": "อนึ่ง ลักษณะบางอย่างอาจเป็นการปรับตัวในอดีต\nแต่การเปลี่ยนแปลงของที่อยู่อาศัยเป็นเหตุทำลักษณะปรับตัวให้ไม่จำเป็นและแม้แต่กลายเป็นอุปสรรค (maladaptation)\nลักษณะปรับตัวเช่นนี้เรียกว่าเป็นลักษณะเหลือค้าง (vestigial)\nสิ่งมีชีวิตจำนวนมากมีอวัยวะเหลือค้าง ซึ่งเป็นส่วนเหลือของโครงสร้างที่มีประโยชน์ในบรรพบุรุษ\nแต่เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิต อวัยวะนั้นจึงกลายเป็นไม่จำเป็น และใช้งานไม่ได้หรือใช้งานได้ลดลง\nแต่เพราะโครงสร้างทุกอย่างมีราคาต่อร่างกาย เพราะฉะนั้น การกำจัดสิ่งที่ใช้การไม่ได้จึงอาจมีประโยชน์\nยกตัวอย่างเช่น ฟันกรามซี่สุดท้ายในมนุษย์\nการเสียการเห็นเป็นสีหรือแม้แต่การเห็นโดยสิ้นเชิงของสัตว์ในถ้ำ\nการเสียอวัยวะภายในต่าง ๆ ของปรสิตภายใน", "title": "การปรับตัว (ชีววิทยา)" }, { "docid": "876645#6", "text": "ตัวอย่างดังของการแผ่ปรับตัวก็คือ นกจาบปีกอ่อนของดาร์วิน\nนักชีววิทยาวิวัฒนาการได้พบว่า เขตภูมิภาคที่แบ่งออกจากกันมักเป็นแหล่งกำเนิดสำคัญของการแผ่ปรับตัว\nความต่าง ๆ ที่พบในเขตที่แบ่งออกจากกัน เช่น หมู่เกาะ เชื่อว่าโปรโหมตให้เกิดความหลากหลายเยี่ยงนี้\nนกจาบปีกอ่อนของดาร์วินอยู่ในภูมิภาคที่แบ่งออกของหมู่เกาะกาลาปาโกส แล้วเกิดความหลากหลายกลายเป็นสปีชีส์ต่าง ๆ ที่มีอะไรต่าง ๆ กันรวมทั้งระบบนิเวศอันเป็นที่อยู่ เสียงร้อง สัณฐานโดยเฉพาะขนาดและรูปร่างของจะงอยปาก", "title": "การแผ่ปรับตัว" }, { "docid": "876645#11", "text": "แม้กรณีที่รู้จักกันดีของการแผ่ปรับตัวจะเกิดในสัตว์ เช่นนกจาบปีกอ่อนของดาร์วินและปลาหมอสี แต่ก็สามารถเกิดในพืชด้วยเช่นกัน\nตัวอย่างดังที่สุดอาจจะเป็นกลุ่มพืชที่เรียกว่า Silversword alliance บนหมู่เกาะฮาวาย\nซึ่งเป็นสปีชีส์พืชต่าง ๆ 28 ชนิด ทั้งเป็นไม้ต้น ไม้พุ่ม และไม้เลื้อย\nเป็นความหลากหลายที่พิเศษ โดยเฉพาะเมื่อดูความแตกต่างทางสัณฐานของพืชแต่ละสปีชีส์\nมีบางสปีชีส์ที่ไม่สามารถแยกแยะด้วยตาว่า เคยเป็นสปีชีส์เดียวกัน\nการแผ่ปรับตัวเกิดขึ้นเป็นล้าน ๆ ปีก่อน แต่งานศึกษาใน 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมาแสดงว่า อัตราการเกิดสปีชีส์และการเกิดความหลากหลายสูงมาก\nอัตราที่สูงเหล่านี้ บวกกับเขตภูมิภาคที่แบ่งออกจากกันของหมู่เกาะฮาวาย เป็นลักษณะกุญแจสำคัญที่ชี้ไปที่กระบวนการแผ่ปรับตัว", "title": "การแผ่ปรับตัว" }, { "docid": "876645#15", "text": "การแผ่ปรับตัวทำให้สปีชีส์ต่าง ๆ ได้ลักษณะสืบสายพันธุ์ที่จำเป็นเพื่อรอดชีวิตในแหล่งที่อยู่เหล่านั้น และลดระดับการแข่งขันซึ่งทำให้สิ่งมีชีวิตจำนวนมากขึ้นสามารถรอดชีวิตได้ ดังที่พบในตัวอย่างต่าง ๆ ที่กล่าวแล้ว", "title": "การแผ่ปรับตัว" }, { "docid": "876645#12", "text": "กิ่งก่าสกุล \"Anolis\" แผ่ปรับตัวไปในสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ มากมายรวมทั้งอเมริกากลางและอเมริกาใต้\nตลอดจนเขต West Indies ของแคริบเบียน โดยเกิดสปีชีส์มากมายเหมือนกับนกจาบปีกอ่อน ปลาหมอสี และ silversword alliance\nมีงานศึกษาเพื่อกำหนดว่า การแผ่ปรับตัวเกิดขึ้นบนแผ่นดินใหญ่เหมือนกับที่เกิดในหมู่เกาะแคริบเบียนหรือไม่\nซึ่งก็พบว่า ต่างกันมาก และลักษณะสัณฐานที่พัฒนาโดยเป็นส่วนของการเกิดสปีชีส์ทั้งในแผ่นดินใหญ่และในหมู่เกาะ ต่างก็เป็นเลักษณะพิเศษโดยเฉพาะ ๆ\nพวกมันได้วิวัฒนาการต่าง ๆ กันเพื่อปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม \nความกดดันทางสิ่งแวดล้อมต่อกิ้งก่าบนแผ่นดินใหญ่ไม่เหมือนกับของกิ้งก่าบนเกาะ\nมีสัตว์ล่ากิ้งก่าบนเกาะมากกว่าบนแผ่นดินใหญ่\nซึ่งไม่ใช่เป็นความแตกต่างเพียงแค่อย่างเดียว\nปัจจัยอื่น ๆ ก็มีบทบาทด้วยว่าจะมีการแผ่ปรับตัวเป็นอะไร", "title": "การแผ่ปรับตัว" }, { "docid": "876645#3", "text": "การวิวัฒนาการมีลักษณะใหม่อาจจะตั้ง clade \nที่เกิดความหลากหลายแล้วสามารถหาอาหารจากแหล่งต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น", "title": "การแผ่ปรับตัว" } ]
426
หลักระวังไว้ก่อน ถูกใช้ครั้งแรกเมื่อไหร่?
[ { "docid": "767600#1", "text": "ส่วนในระดับสากล มีการยอมรับใช้หลักนี้เป็นครั้งแรกในปี 2525 เมื่อสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติตกลงใช้กฎบัตรเพื่อธรรมชาติแห่งโลก (World Charter for Nature)\nแล้วต่อมาจึงมีผลเป็นกฎหมายจริง ๆ ในปี 2530 ผ่านพิธีสารมอนทรีออล (Montreal Protocol)\nต่อจากนั้นจึงมีการใช้หลักนี้ตามสนธิสัญญาที่มีผลทางกฎหมายต่าง ๆ เช่น ปฏิญญารีโอ (Rio Declaration) และพิธีสารเกียวโต", "title": "หลักระวังไว้ก่อน" } ]
[ { "docid": "767600#14", "text": "นักวิชาการท่านหนึ่งสรุปความแตกต่างของการใช้เป็นหลักหรือการใช้เป็นวิธีไว้ว่า\nในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2543 คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ได้เผยแพร่สารเกี่ยวกับหลักระวังไว้ก่อน\nที่คณะกรรมาธิการได้ยอมรับวิธีการประยุกต์ใช้แนวคิดเช่นนี้ แต่ไม่ได้ให้นิยามอย่างละเอียดเกี่ยวกับมัน\nคือ วรรคที่ 2 ของมาตรา 191 ของสนธิสัญญาลิสบอน (Lisbon Treaty) กำหนดว่า\nหลังจากที่คณะกรรมธิการยุโรปได้ยอมรับ\nนโยบายต่าง ๆ ก็เริ่มใช้หลักระวังไว้ก่อน รวมทั้งในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม\nในปี 2006 หลักได้รวมอยู่ในกฎหมายต่าง ๆ รวมทั้งความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์โดยทั่ว ๆ ไป การใช้สารแต่งเติมในอาหารสัตว์ การเผาขยะ และการควบคุมสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม\nและเพราะเป็นการใช้ในระบบกฎหมายที่ถือเอาคำพิพากษาก่อนเป็นบรรทัดฐาน มันจึงกลายเป็น \"หลักทั่วไปของกฎหมายสหภาพยุโรป\"", "title": "หลักระวังไว้ก่อน" }, { "docid": "767600#24", "text": "ในประเด็นการประยุกต์ใช้หลักระวังไว้ก่อนกับนาโนเทคโนโลยี นักวิชาการคู่หนึ่งเสนอว่ามีหลักอยู่สองแบบ ซึ่งพวกเขาเรียกว่า \"แบบเข้ม\" และ \"แบบเชิงรุก\"\nแบบเข้ม \"บังคับให้ไม่ทำอะไรถ้าการกระทำเป็นความเสี่ยง\" ในขณะที่แบบเชิงรุกหมายถึง \"การเลือกทางเลือกที่เสี่ยงน้อยกว่าถ้ามี และการมีผู้รับผิดชอบต่อความเสี่ยงที่มี\"\nมีนักวิชาการที่เสนอให้ประยุกต์ใช้หลักระวังไว้ก่อนแบบเข้มสำหรับองค์กรที่ควบคุมดูแลเกี่ยวกับสารเคมีและเทคโนโลยีสุขภาพ โดยเฉพาะในเรื่องการใช้อนุภาคนาโนของ Ti0 และ ZnO ในสารกันแดด การใช้เงินนาโนในแหล่งน้ำ และการใช้ผลิตภัณฑ์ที่การผลิต การจัดการ หรือการแปรใช้ใหม่ จะทำให้มนุษย์เสี่ยงต่อการได้รับท่อนาโนคาร์บอนทางลมหายใจ", "title": "หลักระวังไว้ก่อน" }, { "docid": "767600#22", "text": "หลักระวังไว้ก่อนมักจะใช้ในด้านชีวภาพเพราะว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่สามารถจำกัดได้ง่ายและมีโอกาสที่จะมีผลต่อทั้งโลก\nแต่จำเป็นน้อยกว่าในบางสาขาเช่นทางอากาศยานศาสตร์ ที่คนไม่กี่คนที่เสี่ยงได้ให้ความยินยอมที่ประกอบด้วยความรอบรู้แล้ว (เช่น นักบินทดสอบ)\nในเรื่องของนวัตกรรมทางเทคโนโลยี การจำกัดผลที่เกิดอาจจะยากขึ้นถ้าเทคโนโลยีนั้นสามารถสร้างก๊อปปี้ของตนเองได้\nผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทซันไมโครซิสเต็มส์บิล จอย เน้นอันตรายของเทคโนโลยีพันธุกรรม นาโนเทคโนโลยี และเทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่สร้างก๊อปปี้ของตนเองได้ในบทความของเขาว่า \"ทำไมอนาคตไม่จำเป็นต้องมีเรา (Why the future doesn't need us)\"\nการประยุกต์ใช้หลักนี้สามารถเห็นได้ในนโยบายของรัฐ ที่บังคับให้บริษัทผลิตยาทำการทดลองทางคลินิกเพื่อที่จะแสดงว่า ยาใหม่นั้นปลอดภัย\nนักปรัชญาประจำมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดกล่าวถึงสิ่งมีชีวิตซูเปอร์ฉลาดในอนาคต และความเสี่ยงที่เรามีถ้ามันพยายามที่จะควบคุมสสารระดับอะตอม", "title": "หลักระวังไว้ก่อน" }, { "docid": "767600#31", "text": "หลักนี้เรียกร้องให้ไม่ทำการเมื่อมีความไม่ชัดเจนทางวิทยาศาสตร์ แต่รูปแบบที่ใช้บางอย่างไม่กำหนดขีดตายที่โอกาสความเสี่ยงจะลั่นไกการใช้หลักนี้ ดังนั้น เครื่องชี้ทุกอย่างว่าผลิตภัณฑ์หนึ่งอาจมีผลลบต่อสุขภาพหรือสิ่งแวดล้อม ก็เป็นเรื่องเพียงพอที่จะใช้หลักนี้\nในปี 2551 ในสหรัฐอเมริกา ศาลอุทธรณ์ได้ยกฟ้องคดีเกี่ยวกับเรื่องกังวลยอดนิยม ว่าเครื่องชนอนุภาคแฮดรอนขนาดใหญ่จะทำลายโลกด้วยหลุมดำ โดยกล่าวว่า", "title": "หลักระวังไว้ก่อน" }, { "docid": "767600#5", "text": "นิยามที่ยอมรับกันทั่วโลกเป็นผลของงานประชุมรีโอ (Rio Conference) หรือว่างานประชุมสุดยอดโลก (Earth Summit) ในปี 2535\nคือหลักที่ 15 ของปฏิญญารีโอ (Rio Declaration) กำหนดว่า \"เพื่อที่จะป้องกันรักษาสิ่งแวดล้อม ประเทศสมาชิกจะประยุกต์ใช้วิธีการแบบระวังไว้ก่อนอย่างกว้างขวางที่สุดตามความสามารถของตน เมื่อมีภัยที่หนักหรือว่าเสียหายแบบแก้ไม่ได้ การไม่มีความแน่นอนสมบูรณ์ทางวิทยาศาสตร์ จะไม่อาจใช้เป็นเหตุผลเพื่อผัดผ่อนปฏิบัติการที่คุ้มค่ากับต้นทุนเพื่อป้องกันความเสื่อมของสิ่งแวดล้อม\"", "title": "หลักระวังไว้ก่อน" }, { "docid": "767600#29", "text": "หลักนี้ในรูปแบบแข็ง ถ้าไม่ใส่ใจเงื่อนไขพื้นฐานว่าควรใช้หลักเมื่อความเสี่ยงมีโอกาสสูงและคำนวณได้ไม่ง่ายเท่านั้น แล้วประยุกต์ใช้ต่อตัวหลักเองเพื่อตัดสินใจว่าควรใช้หลักเป็นนโยบายหรือไม่ อาจจะห้ามไม่ให้ใช้หลักนี้เอง\nสถานการณ์ที่อาจเป็นไปได้จริง ๆ ก็คือ การห้ามไม่ให้ใช้นวัตกรรมหมายความว่าให้ใช้แต่เทคโนโลยีที่มีอยู่ และเทคโนโลยีที่มีอยู่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายหรือไม่มีประโยชน์พอเพียง ดังนั้น จึงมีโอกาสเสี่ยงที่จะก่ออันตรายโดยห้ามไม่ให้ใช้นวัตกรรม\nดังที่นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ชื่อดังคนหนึ่งเขียนไว้ในบทประพันธ์ของเขาว่า \"หลักระวังไว้ก่อน ถ้าประยุกต์ใช้อย่างถูกต้อง ก็จะห้ามใช้หลักระวังไว้ก่อนเอง\"\nยกตัวอย่างเช่น การห้ามใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพราะว่าโอกาสเสี่ยง ก็จะหมายความว่าให้ใช้โรงงานไฟฟ้าที่เผาเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ต่อไป ซึ่งก็จะปล่อยแก๊สเรือนกระจกเข้าสู่สิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ\nอีกตัวอย่างหนึ่งก็คือกฎหมายห้ามปล่อยสารเคมีบางอย่างสู่อากาศในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 2533 เป็นการใช้หลักระวังไว้ก่อนที่ผู้ปล่อยจะต้องพิสูจน์ว่าสารเคมีที่อยู่ในรายชื่อนั้นไม่มีโทษ\nแต่เนื่องจากว่า ไม่มีการแยกแยะว่าสารเคมีในรายการอันไหนมีโอกาสเสี่ยงสูงหรือโอกาสเสี่ยงต่ำ\nดังนั้น ผู้ปล่อยสารเคมีก็เลยเลือกปล่อยสารเคมีที่ไม่ค่อยมีข้อมูลแต่ไม่ได้อยู่ในรายชื่อ", "title": "หลักระวังไว้ก่อน" }, { "docid": "48613#11", "text": "อุปกรณ์โซลิดสเตตตัวแรกเป็น \"ตัวตรวจจับแบบหนวดแมว\" มันถูกใช้เป็นครั้งแรกในทศวรรษที่ 1900 ในเครื่องรับวิทยุ ลวดคล้ายหนวดแมวจะถูกวางเบา ๆ ในการสัมผัสกับผลึกของแข็ง (เช่นผลึกเจอร์เมเนียม) เพื่อที่จะตรวจจับสัญญาณวิทยุจากผลกระทบจุดสัมผัสที่รอยต่อ () ในชิ้นส่วนโซลิดสเตต กระแสจะถูกกักขังอยู่ในชิ้นส่วนที่เป็นของแข็งและสารประกอบที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อสวิตช์และขยายมัน การไหลของกระแสสามารถเข้าใจได้ในสองรูปแบบ: แบบแรกเป็นอิเล็กตรอนที่มีประจุลบ และแบบที่สองเป็นพร่องอิเล็กตรอนที่มีประจุบวกที่เรียกว่าโฮล ประจุและโฮลเหล่านี้สามารถเข้าใจได้ในแง่ของควอนตัมฟิสิกส์ วัสดุที่ใช้สร้างส่วนใหญ่มักจะเป็นสารกึ่งตัวนำที่เป็นผลึก", "title": "ไฟฟ้า" }, { "docid": "767600#11", "text": "หลักแบบแข็งถือว่า การควบคุมเป็นเรื่องจำเป็นเมื่อมีโอกาสเสี่ยงต่อสุขภาพ ความปลอดภัย หรือสิ่งแวดล้อม แม้ว่า หลักฐานที่สนับสนุนว่าเสี่ยงอาจจะยังไม่ชัดเจน และค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจเพื่อควบคุมป้องกันสูง\nในปี 2525 กฎบัตรเพื่อธรรมชาติแห่งโลก (World Charter for Nature) ของสหประชาชาติให้การยอมรับหลักแบบแข็งในระดับสากลโดยกล่าวว่า \"เมื่อโอกาสได้ผลที่ไม่พึงประสงค์ยังไม่ชัดเจน การกระทำเช่นนั้น ๆ ไม่ควรให้ดำเนินการต่อไป\"\nส่วนงานประชุมนักพิทักษ์สิ่งแวดล้อมในปี 2541 (Wingspread Declaration) ที่สื่อเผยแพร่อย่างกว้างขวาง ก็ใช้หลักแบบแข็งเช่นเดียวกัน\nหลักแบบแข็งอาจจะคิดได้ว่าเป็นหลัก \"ไม่เสียใจภายหลัง\" โดยที่ไม่สนใจเรื่องค่าใช้จ่ายในการป้องกัน", "title": "หลักระวังไว้ก่อน" }, { "docid": "769313#2", "text": "สโตรปวาเฟิลถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกที่เมืองเคาดาในสมัยปลายตวรรษที่ 18 หรือต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 คนอบขนมปังใช้ของเหลือจากการทำเบเกอรี่เช่นเศษขนมปัง ทำให้หวานด้วยน้ำเชื่อม บ้างก็ว่าเคราร์ด กัมป์เฮยเซินเป็นผู้คิดค้นในระหว่าง ค.ศ. 1810 ปีที่เขาเปิดร้านถึง ค.ศ. 1840 นับว่าเป็นสูตรที่เก่าแก่ที่สุดของขนมรังผึ้งน้ำเชื่อม มีประมาณ 100 คนที่ขายขนมรังผึ้งน้ำเชื่อมในศตวรรษที่ 19 ที่เมืองเมืองเคาดา และในศตวรรษที่ 20 เริ่มมีโรงงานผลตเกิดขึ้น ในปี1960 มีทั้งหมด 17 โรงงานเฉพาะในเกาดาและ 4 แห่งยังดำเนินการอยู่จนถึงทุกวันนี้", "title": "สโตรปวาเฟิล" }, { "docid": "767600#25", "text": "ทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่างเช่นประชากรปลา ปัจจุบันเริ่มมีการจัดการโดยใช้วิธีระวังไว้ก่อน เช่นกฎควบคุมการตกปลา (Harvest Control Rules)\nภาพแสดงหลักที่ใช้ในการจัดการควบคุมการตกปลาค็อด ดังที่เสนอโดยสภาการสำรวจทะเลนานาชาติ (International Council for the Exploration of the Sea)", "title": "หลักระวังไว้ก่อน" } ]
431
ภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่อง ราพันเซล ออกฉายครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อไหร่?
[ { "docid": "385826#1", "text": "เดิมชื่อภาษาอังกฤษของภาพยนตร์นี้คือ \"Rapunzel\" แต่ก่อนออกฉายเล็กน้อยได้เปลี่ยนเป็น \"Tangled\" ภาพยนตร์นี้ฉายในโรงภาพยนตร์ระบบสามมิติเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2553 ส่วนในประเทศไทย ฉายเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2554 นอกจากนี้เคยทำเป็นภาพยนตร์อนิเมชั่น บาร์บี้ ในชื่อตอนว่า Barbie as Rapunzel (บาร์บี้ เจ้าหญิงราพันเซล) เมื่อปี 2545 สร้างโดย แมทเทล และ ยูนิเวอร์แซล พิคเจอร์ อินเตอร์เนชันแนล การจัดสร้างภาพยนตร์ใช้เวลาถึงหกปี และแอลเอไทมส์รายงานว่า ใช้ทุนไปราว ๆ สองร้อยหกสิบล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันที่ใช้จ่ายเงินไปมากที่สุดทีเดียว", "title": "ราพันเซล เจ้าหญิงผมยาวกับโจรซ่าจอมแสบ" } ]
[ { "docid": "385826#0", "text": "ราพันเซล เจ้าหญิงผมยาวกับโจรซ่าจอมแสบ () เป็น ภาพยนตร์เพลงแนวตลกและเพ้อฝันสัญชาติอเมริกัน วอลต์ดิสนีย์แอนิเมชันสตูดิโอส์สร้างด้วยคอมพิวเตอร์แอนิเมชันเมื่อ พ.ศ. 2553 และเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันซึ่งฉายในโรงภาพยนตร์เป็นลำดับที่ 50 ของวอล์ดิสนีย์ มีเนื้อหาอิงเทวนิยายเยอรมันเรื่อง \"ราพันเซล (Rapunzel) \" ของพี่น้องกริม อย่างหยาบ ๆ และในภาคภาษาอังกฤษนั้น แมนดี มัวร์, ซาชารี เลวี และ ดอนนา เมอร์ฟีย์ ให้เสียงตัวละครเด่น ๆ", "title": "ราพันเซล เจ้าหญิงผมยาวกับโจรซ่าจอมแสบ" }, { "docid": "385826#15", "text": "เนื่องจากดิสนีย์เห็นว่า ภาพยนตร์เรื่องก่อนหน้า \"มหัศจรรย์มนต์รักเจ้าชายกบ\" ที่ฉายในปี 2551 นั้น ยังไม่ได้ดั่งใจ ถึงแม้ว่า ภาพยนตร์นี้จะได้รับคำวิพาษ์วิจารณ์ไปในทางบวก และนำรายได้จากทั่วโลกมาเกือบสองร้อยเจ็ดสิบล้านดอลลาร์สหรัฐก็ตาม ประกอบกับดิสนีย์มองว่า หากภาพยนตร์เรื่องใหม่นั้นใช้ชื่อ \"Rapunzel\" จะไม่จูงใจเด็กหนุ่มมาชมดู ดิสนีย์จึงเปลี่ยนชื่อภาพยนตร์เรื่องใหม่อีกครั้ง จาก \"Rapunzel\" เป็น \"Tangled\" (\"อีนุงตุงนัง\") โดยคาดว่าน่าจะจูงใจทั้งหญิงทั้งชายมากขึ้น และจะได้เน้นย้ำบทบาทของฟลิน ไรเดอร์ พระเอกของเรื่อง มากขึ้นด้วย", "title": "ราพันเซล เจ้าหญิงผมยาวกับโจรซ่าจอมแสบ" }, { "docid": "385826#17", "text": "วันที่ 24 พฤศจิกายน 2553 อันเป็นวันที่เผยแพร่ภาพยนตร์ครั้งแรก ผู้กำกับภาพยนตร์ทั้งสองคนแถลงว่า การเปลี่ยนชื่อมิใช่การตัดสินใจเพื่อการตลาด แต่เพราะว่า ราพันเซลไม่ใช่ตัวเอกเพียงคนเดียวของเรื่อง แต่เป็นทั้งราพันเซลและฟลิน ไรเดอร์ ผู้กำกับทั้งคู่กล่าวด้วยว่า \"ก็เหมือนกับที่คุณจะไปเรียก \"Toy Story\" (\"ทอยสตอรี\") ว่า \"Buzz Lightyear\" (\"บัซ ไลต์เยียร์\" ตัวเอกของเรื่องคู่กับ นายอำเภอวูดี) นั้นก็ไม่ได้อยู่แล้ว\" และว่า พวกตนต้องการชื่อที่แสดงถึงแก่นเรื่องอย่างแท้จริงเท่านั้น", "title": "ราพันเซล เจ้าหญิงผมยาวกับโจรซ่าจอมแสบ" }, { "docid": "436544#29", "text": "ในทวีปอเมริกาเหนือ อนิเมะนี้ฉายครั้งแรกเป็นฉบับพากย์ญี่ปุ่นบรรยายอังกฤษ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 ณ เทศกาลภาพยนตร์เด็กนานาชาตินิวยอร์ก (New York International Children's Film Festival) โดยโฮะโซะดะ ผู้กำกับ ได้ร่วมเทศกาล และเมื่อฉายเสร็จแล้ว ก็ได้พบปะสนทนากับสาธารณชนผ่านล่ามด้วย ต่อมา วันที่ 1 มีนาคม 2553 โฮะโซะดะได้ร่วมรายการศึกษาสื่อบันเทิงเปรียบเทียบ (Comparative Media Studies Program) ที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซ็ตส์ (Massachusetts Institute of Technology) ซึ่งจัดฉายอนิเมะเรื่องนี้แก่สาธารณชนโดยไม่คิดค่าตอบแทน และจัดวงสนทนาระหว่างโฮะโซะดะกับสาธารณชนผู้มาชม ส่วนฉบับพากย์อังกฤษนั้น ฉายหนแรกเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2553 ณ เทศกาลภาพยนตร์เด็กนานาชาตินิวยอร์ก ต่อมา ในคราวชุมนุมโอตาคอนประจำปี 2553 ที่ศูนย์ภาพยนตร์เจนซิสเกล (Gene Siskel Film Center) บริษัทฟันนิเมชันเอนเตอร์เทนเมนต์ (Funimation Entertainment) ได้แถลงว่า จะเริ่มฉายอนิเมะนี้ในโรงภาพยนตร์ตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2553 เป็นต้นไป", "title": "ซัมเมอร์ วอร์ส" }, { "docid": "780217#1", "text": "การถ่ายทำภาพยนตร์เริ่มต้นเมื่อช่วงปลายปี ค.ศ. 2014 ในเมลเบิร์นและรัฐวิกตอเรีย ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉายรอบปฐมทัศน์เมื่อวันที่ 14 กันยายน ค.ศ.2015 ที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโทรอนโต 2015 และเข้าฉายครั้งแรกในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 2015 ซึ่งสามารถสร้างรายได้ในวันเปิดตัวเป็นอันดับหนึ่งในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และกลายเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดเป็นอันดับ 2 ในออสเตรเลีย ประจำปี ค.ศ. 2015 และอันดับ 11 ของภาพยนตร์ทำรายได้สูงสุดตลอดกาลบนตารางบ็อกซ์ออฟฟิสของออสเตรเลีย", "title": "แค้นลั่น ปังเวอร์" }, { "docid": "6939#3", "text": "\"ภัยซ่อนเร้น\"ออกฉายครั้งแรกในวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1999 นับเป็นเวลา 16 ปี หลังจากภาพยนตร์\"สตาร์ วอร์ส\"ภาคล่าสุดคือ\"การกลับมาของเจได\"ออกฉายเมื่อ ค.ศ. 1983 เสียงตอบรับเป็นไปด้วยความตื่นเต้น ครอบครองพื้นที่สื่อจำนวนมาก และมีผู้ตั้งตารอคอยภาพยนตร์เรื่องนี้จำนวนมากเนื่องจากผลกระทบทางวัฒนธรรมร่วมสมัยที่มาจากภาพยนตร์ภาคก่อนๆ เสียงวิจารณ์เป็นไปในทางก้ำกึ่งโดยเสียงชื่นชมมาจากงานภาพและฉากแอกชัน แต่นักวิจารณ์มักชี้ว่ามีจุดบกพร่องในการเขียนบท การสร้างตัวละคร การแสดง และการกำกับการแสดง อย่างไรก็ดีภาพยนตร์เรื่องนี้ทำรายได้ไป 924.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั่วโลกจากการฉายครั้งแรก ทำให้เป็นภาพยนตร์\"สตาร์ วอร์ส\"ที่มีรายได้สูงที่สุดหากไม่ปรับตามค่าเงินเฟ้อ ปี ค.ศ. 2012 ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกนำมาปรับปรุงและฉายใหม่อีกครั้งในระบบสามมิติ จึงทำเงินเพิ่มได้อีก 102.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้มีรายรับรวมทั้งหมดทั่วโลกมากกว่าหนึ่งพันล้านดอลลาร์สหรัญฯ กลับมาอยู่ใน 10 อันดับภาพยนตร์รายรับสูงที่สุดตลอดกาล แต่คงอยู่ในตำแหน่งได้เพียงไม่กี่เดือนก่อนที่\"อัศวินรัตติกาลผงาด\"จะมาชิงตำแหน่งไป", "title": "สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 1: ภัยซ่อนเร้น" }, { "docid": "827654#0", "text": "ซูเปอร์เนเชอรัล () เป็นภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์แฟนตาซีสยองขวัญอเมริกา สร้างขึ้นโดย อีริก คริปก์ ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 2005 ที่ช่อง The WB ที่ต่อมาได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของช่อง The CW นำแสดงโดย จาเร็ด พาดาเล็คกี เป็น แซม วินเชสเตอร์ และ เจนเซน แอคเคิลส์ เป็น ดีน วินเชสเตอร์ โดยเรื่องราวเกี่ยวกับสองพี่น้องที่ออกไล่ล่าปีศาจ ,ผี ,สัตว์ประหลาดและสิ่งมีชีวิตมหัศจรรย์อื่น ๆ ผลิตโดย Warner Bros. Television ร่วมกับบริษัท วันเดอร์แลนด์ ซาวด์ แอนด์ วิชัน และมีอีริก คริปก์ เป็นผู้อำนวยการสร้างการผลิต พร้อมด้วย แม็กจี, โรเบิร์ต ซิงเกอร์, ฟิลิป สกริสเซี่ย, เซรา แกมเบิล, เจเรมี คาร์เวอร์, จอห์น ชิแบน, เบน เอ็ดลันด์, อดัม กลาส และอดีตผู้อำนวยการสร้างและผู้กำกับ คิม แมนเนอร์ ซึ่งเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอดในระหว่างการผลิตฤดูกาลที่สี่", "title": "ซูเปอร์เนเชอรัล (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์)" }, { "docid": "368032#1", "text": "ภาพยนตร์ออกฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2522 หลังจากนั้นเพียง 12 วัน ได้เกิดอุบัติเหตุนิวเคลียร์ทรีไมล์ไอส์แลนด์ เกิดแกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์หลอมละลายบางส่วนที่ดาวฟินเคาน์ตี ใกล้เมืองแฮริสเบิร์ก เมืองหลวงของรัฐเพนซิลเวเนีย มีผู้กล่าวว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจริง ทำให้ยอดขายภาพยนตร์เรื่องนี้ดีขึ้น", "title": "เดอะไชนาซินโดรม" }, { "docid": "590063#0", "text": "ยามสายฝนโปรยปราย (, ) เป็นภาพยนตร์แอนิเมชั่นความยาว 46 นาที กำกับโดย มาโกโตะ ชิงไก มีการฉายรอบปฐมทัศน์ที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ Gold Coast Film ที่ออสเตรเลีย เมื่อ 28 เมษายน พ.ศ. 2556 และได้เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ในญี่ปุ่น เมื่อ 31 พฤษภาคม ปีเดียวกัน นอกจากนี้ ภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่องนี้ ยังได้รับการกล่าวขานและเสียงชื่นชมอย่างมาก ในเรื่องความสวยงามและรายละเอียดของกราฟิก ซึ่งพื้นหลังส่วนใหญ่ของอะนิเมะ คืออุทยานหลวงชินจุกุ สวนสาธารณะขนาดใหญ่กลางกรุงโตเกียว", "title": "ยามสายฝนโปรยปราย" } ]
432
อันเนอ ฟรังค์ เสียชีวิตเมื่อไหร่?
[ { "docid": "44795#20", "text": "เดือนมีนาคม พ.ศ. 2488 เกิดโรคไข้รากสาดใหญ่ระบาดในค่ายกักกัน ทำให้นักโทษเสียชีวิตไปประมาณ 17,000 คน พยานบางคนเล่าในภายหลังว่า มาร์กอทร่วงตกจากที่นอนและเสียชีวิตจากอาการช็อก หลังจากนั้นไม่กี่วัน อันเนอก็เสียชีวิต ประมาณว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเพียงไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่กองทหารอังกฤษจะสามารถเข้าปลดปล่อยค่ายกักกันได้ในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2488 แต่ไม่สามารถระบุวันที่ที่แน่นอนได้ ค่ายทั้งค่ายถูกเผาหลังจากได้รับการปลดปล่อยเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคระบาด อันเนอกับมาร์กอทจึงถูกฝังอยู่ใต้กองดินขนาดใหญ่ โดยไม่สามารถระบุตำแหน่งที่แน่ชัดได้", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#0", "text": "อันเนอลีส มารี \"อันเนอ\" ฟรังค์ (Annelies Marie \"Anne\" Frank; 12 มิถุนายน 2472 – ประมาณมีนาคม 2488) หรือแอนน์ แฟรงค์ เป็นเด็กหญิงชาวยิว เกิดที่เมืองแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี เธอมีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะผู้เขียนบันทึกประจำวันซึ่งต่อมาได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือ บรรยายเหตุการณ์ขณะหลบซ่อนตัวจากการล่าชาวยิวในประเทศเนเธอร์แลนด์ ระหว่างที่ถูกเยอรมนีเข้าครอบครองในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง", "title": "อันเนอ ฟรังค์" } ]
[ { "docid": "44795#23", "text": "เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2487 หลังจากกาชาดสากลยืนยันการเสียชีวิตของอันเนอและมาร์กอทแล้ว มีป คีส จึงมอบสมุดบันทึกและเศษกระดาษบันทึกของอันเนอที่เธอเก็บรักษาไว้ด้วยความตั้งใจจะคืนให้แก่อันเนอ ให้แก่ออทโท ฟรังค์ ออทโทบอกในภายหลังว่า เขาไม่เคยรู้มาก่อนว่าอันเนอได้จดบันทึกอย่างละเอียดเกี่ยวกับชีวิตของพวกเขาระหว่างการซ่อนตัว ออทโทค่อย ๆ อ่านบันทึกด้วยความปวดร้าว ระลึกถึงแต่ละเหตุการณ์ที่ปรากฏอยู่ในบันทึก และนึกได้ว่าเขาเคยได้ยินเนื้อความบางส่วนที่ตลก ๆ ซึ่งบุตรสาวของเขาเคยอ่านให้ฟังมาก่อนแล้ว นอกจากนี้เขายังยอมรับว่า เพิ่งเคยได้ทราบความเป็นส่วนตัวบางอย่างของบุตรสาวเป็นครั้งแรก รวมถึงบางส่วนของบันทึกที่เธอไม่เคยพูดถึงกับใครมาก่อน ออทโทกล่าวว่า \"สำหรับผม มันเป็นการเปิดดวงตาครั้งใหญ่... ผมไม่เคยล่วงรู้ความรู้สึกนึกคิดของลูกมาก่อน... เธอเก็บความรู้สึกทั้งหมดนี้ไว้กับตัวเอง\" อันเนอบันทึกความปรารถนาไว้หลายครั้งว่าอยากเป็นนักเขียน ดังนั้น ออทโทจึงเริ่มคิดว่า น่าจะนำบันทึกนี้ไปตีพิมพ์", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#22", "text": "ออทโท ฟรังค์ รอดชีวิตจากค่ายกักกันเอาชวิทซ์ หลังสงคราม เขากลับไปยังอัมสเตอร์ดัมและได้อาศัยพำนักอยู่กับยันและมีป คีส เพื่อติดตามค้นหาครอบครัวของเขา เขาได้ทราบข่าวการเสียชีวิตของภรรยาแล้วตั้งแต่อยู่ที่เอาชวิทซ์ แต่ก็ยังมีความหวังว่าลูกสาวทั้งสองน่าจะรอดชีวิต หลังจากค้นหาอยู่หลายสัปดาห์เขาจึงได้ทราบว่า มาร์กอทและอันเนอเสียชีวิตแล้ว เขาติดตามสอบถามข่าวชะตากรรมของบรรดาสหายของบุตรสาวด้วย และได้ทราบว่าพวกเขาถูกสังหารจนหมด ซูซันเนอ เลเดอร์มันน์ เป็นหนึ่งในชื่อสหายที่ปรากฏบ่อยครั้งอยู่ในสมุดบันทึกของอันเนอ เธอถูกรมแก๊สเสียชีวิตพร้อมกับพ่อแม่ แต่บาร์บารา พี่สาวของซูซันเนอและเพื่อนสนิทของมาร์กอท รอดชีวิต ยังมีเพื่อนร่วมโรงเรียนของพี่น้องฟรังค์อีกหลายคนที่รอดชีวิต เช่นเดียวกับญาติ ๆ อีกหลายคนของทั้งออทโทและเอดิท ฟรังค์ ที่หนีออกจากเยอรมนีในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1930 บางคนไปตั้งรกรากอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#40", "text": "หลังจากออทโท ฟรังค์ เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2523 เขาแสดงความจำนงที่จะมอบต้นฉบับสมุดบันทึกรวมถึงจดหมายและกระดาษบันทึกทั้งหมดให้แก่สถาบันเอกสารหลักฐานสงครามของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นผู้จัดให้มีการตรวจสอบและศึกษาบันทึกในเวลาต่อมาโดยกระทรวงยุติธรรมแห่งเนเธอร์แลนด์ในปี พ.ศ. 2529 มีการตรวจสอบลายมือเปรียบเทียบกับตัวอย่างต่าง ๆ ที่ทราบตัวเจ้าของ และพบว่าถูกต้องตรงกัน ผลตรวจกระดาษ กาว และหมึก พบว่าเป็นสิ่งซึ่งใช้สอยอยู่แล้วในยุคที่เชื่อกันว่าได้เขียนบันทึกขึ้น ผลสรุปจากการตรวจสอบยืนยันว่า บันทึกนี้เป็นของจริง และได้จัดพิมพ์สมุดบันทึกนี้ขึ้นเป็นการพิเศษ รู้จักกันต่อมาว่าเป็น \"ฉบับชำระใหม่\" ศาลแขวงฮัมบูร์กก็ได้ประกาศยืนยันความเป็นตัวจริงของบันทึกนี้เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2533", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "194218#0", "text": "บันทึกลับของแอนน์ แฟรงค์ () เป็นหนังสือที่สร้างขึ้นจากสมุดบันทึกประจำวันของอันเนอ ฟรังค์ ขณะที่เธอและครอบครัวต้องหลบซ่อนตัวอยู่เป็นเวลาเกือบสองปี เพื่อหลบหนีการล่าชาวยิวในเนเธอร์แลนด์ขณะตกอยู่ภายใต้การควบคุมของนาซีเยอรมนีระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ครอบครัวของอันเนอ ฟรังค์ ถูกจับตัวได้ในปี ค.ศ. 1944 และส่งไปยังค่ายกักกันชาวยิว อันเนอผู้เขียนเสียชีวิตด้วยโรคไข้รากสาดใหญ่ในค่ายกักกันแบร์เกิน-เบลเซิน ต่อมาเมื่อสิ้นสุดสงคราม ออทโท ฟรังค์ พ่อของเธอ ซึ่งเป็นคนเดียวในครอบครัวที่รอดชีวิต ได้นำบันทึกนี้ออกเผยแพร่ต่อสาธารณะ", "title": "บันทึกลับของแอนน์ แฟรงค์" }, { "docid": "44795#19", "text": "เมื่อถึงวันที่ 28 ตุลาคมก็มีการคัดเลือกผู้หญิงที่จะย้ายไปยังค่ายกักกันแบร์เกิน-เบลเซิน ผู้หญิงกว่า 8,000 คน รวมทั้งอันเนอและมาร์กอท ฟรังค์ และเอากุสต์ ฟัน แป็ลส์ ถูกย้ายไป แต่เอดิท ฟรังค์ไม่ได้ไปด้วย เธอเสียชีวิตในเวลาต่อมาเนื่องจากอดอาหาร นักโทษจำนวนมากหลั่งไหลไปที่เบลเซินจนต้องมีการตั้งเต็นท์ชั่วคราวสำหรับเป็นที่พักอาศัย ผลจากจำนวนผู้อาศัยที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดโรคระบาดและอัตราเสียชีวิตก็สูงขึ้นอย่างมาก อันเนอได้พบกับเพื่อนเก่าสองคนคือ ฮันเนอลี กอสลาร์ และนาเนตต์ บลิตซ์ เป็นเวลาสั้น ๆ พวกเธอถูกกักกันอยู่ในคนละพื้นที่ของค่าย กอสลาร์กับบลิตซ์มีชีวิตรอดจนสงครามสิ้นสุด ในภายหลังพวกเธอทั้งสองได้เล่าถึงบทสนทนากับอันเนอเมื่อทั้งหมดได้คุยกันชั่วขณะผ่านรั้วกั้นแดน บลิตซ์บอกว่าอันเนอดูผอมมาก ศีรษะล้าน ตัวสั่นเทา ส่วนกอสลาร์เล่าว่าเอากุสต์ ฟัน แป็ลส์ ได้อยู่กับอันเนอและมาร์กอทด้วย ดูเหมือนเธอจะคอยดูแลสองพี่น้องที่กำลังป่วยหนัก คนทั้งสองไม่ได้พบกับมาร์กอท เนื่องจากเธออ่อนแอจนไม่สามารถลุกจากที่นอนได้ อันเนอบอกกับกอสลาร์และบลิตซ์ว่า เธอคิดว่าพ่อกับแม่คงจะตายไปแล้ว ด้วยเหตุนั้นเธอจึงไม่ปรารถนาจะมีชีวิตอยู่ต่อไป กอสลาร์คิดว่าช่วงที่พวกเขาได้พบกันน่าจะอยู่ในราวปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#29", "text": "กอร์เนลิส เซยก์ อดีตผู้อำนวยการมูลนิธิอันเนอ ฟรังค์ และประธานศูนย์สหรัฐอเมริกาของมูลนิธิการศึกษาการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ประกาศในปี พ.ศ. 2542 ว่า เขาเป็นเจ้าของกระดาษบันทึก 5 แผ่น ซึ่งออทโท ฟรังค์ ดึงออกจากสมุดบันทึกก่อนจะนำไปตีพิมพ์ เซยก์อ้างว่าออทโท ฟรังค์ มอบกระดาษบันทึกเหล่านั้นให้เขาเอง ไม่นานก่อนที่ออทโทจะเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2523 เนื้อหาบันทึกส่วนที่หายไปเกี่ยวข้องกับการที่อันเนอ ฟรังค์ วิพากษ์วิจารณ์ชีวิตแต่งงานของพ่อแม่ของเธอ และยังพรรณนาความรู้สึกไม่พอใจต่อแม่ของเธอด้วย ในเวลาต่อมาเรื่องนี้ก็กลายเป็นที่ถกเถียงกัน เพราะเซยก์เรียกร้องสิทธิ์ในการตีพิมพ์บันทึก 5 แผ่นนี้ และคิดจะนำไปขายเพื่อระดมทุนให้แก่ศูนย์สหรัฐอเมริกาของเขา สถาบันเอกสารหลักฐานสงครามแห่งเนเธอร์แลนด์ซึ่งเป็นเจ้าของเดิมของต้นฉบับ เรียกร้องให้เขาคืนบันทึกทั้ง 5 แผ่นนี้ ในปี พ.ศ. 2543 กระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์แห่งเนเธอร์แลนด์ ยินยอมบริจาคเงินจำนวน 300,000 เหรียญสหรัฐให้แก่มูลนิธิของเซยก์ แล้วบันทึกทั้ง 5 แผ่นจึงได้ส่งคืนในปี พ.ศ. 2544 หลังจากนั้นจึงได้นำบันทึกทั้ง 5 แผ่นผนวกรวมเข้าไปในหนังสือบันทึกฉบับพิมพ์ครั้งใหม่ ๆ ด้วย", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#17", "text": "วันที่ 3 กันยายน ทั้งกลุ่มถูกส่งตัวเป็นกลุ่มสุดท้ายไปจากแว็สเตอร์บอร์ก มุ่งสู่ค่ายกักกันเอาชวิทซ์ ใช้เวลาเดินทางถึง 3 วัน ในท่ามกลางความวุ่นวายขณะลงจากรถไฟ พวกผู้ชายก็พลัดจากกลุ่มผู้หญิงและเด็ก แล้วออทโท ฟรังค์ ก็ไม่ได้พบครอบครัวของเขาอีกเลย ในจำนวนผู้โดยสาร 1,019 คนที่มาถึง ถูกแยกส่งไปยังห้องรมแก๊สทันที 549 คน (รวมถึงเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี) อันเนอเพิ่งมีอายุครบ 15 ปีมาได้ 3 เดือน และเป็นหนึ่งในบรรดาผู้รอดชีวิตที่อายุน้อยที่สุด ไม่นานเธอก็เริ่มเข้าใจว่า นักโทษส่วนใหญ่ถูกส่งไปรมแก๊สทันทีที่เดินทางมาถึง เธอไม่ทราบเลยว่ากลุ่มที่มาจาก \"อัคเตอร์เฮยส์\" ทั้งหมดรอดชีวิต แต่คิดไปว่าพ่อของเธอซึ่งอายุกว่าห้าสิบปีแล้วและไม่ค่อยแข็งแรงนัก คงจะถูกฆ่าทันทีที่พวกเขาพลัดจากกัน", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#36", "text": "ปี พ.ศ. 2501 ซีมอน วีเซินทัล ถูกท้าทายจากกลุ่มผู้ต่อต้านขณะแสดงละคร \"The Diary of Anne Frank\" ที่กรุงเวียนนา พวกเขากล่าวหาว่า อันเนอ ฟรังค์ ไม่มีตัวตนจริง และท้าให้วีเซินทัลพิสูจน์ตัวตนของเธอโดยหาตัวคนที่จับกุมเธอ วีเซินทัลจึงเริ่มออกติดตามหาคาร์ล ซิลเบอร์เบาเออร์ ตำรวจในคณะจับกุม และพบตัวเขาในปี พ.ศ. 2506 จากการสัมภาษณ์ ซิลเบอร์เบาเออร์ยอมรับบทบาทของเขา และระบุตัวอันเนอ ฟรังค์ ได้จากภาพถ่ายว่าเป็นหนึ่งในคนที่เขาจับกุม เขาให้ข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ในวันนั้น และเล่าถึงการค้นกระเป๋าใบหนึ่งที่เต็มไปด้วยกระดาษโดยการเทลงบนพื้น คำให้การของเขาสนับสนุนเรื่องราวลำดับเหตุการณ์ที่เล่าโดยพยานคนอื่นมาก่อนหน้านี้ เช่น ออทโท ฟรังค์", "title": "อันเนอ ฟรังค์" }, { "docid": "44795#38", "text": "ปี พ.ศ. 2519 ออทโท ฟรังค์ ฟ้องร้องไฮนซ์ รอท ชาวเมืองแฟรงก์เฟิร์ต ผู้ซึ่งเขียนหนังสือโจมตีว่าบันทึกเป็นเรื่องหลอกลวงสร้างขึ้นเอง ศาลตัดสินว่า หากรอทยังเขียนเช่นนั้นอีก เขาจะต้องถูกปรับเป็นเงิน 500,000 มาร์คเยอรมันและจำคุก 6 เดือน รอทยื่นอุทธรณ์คัดค้าน แต่เขาเสียชีวิตเสียก่อนในปี พ.ศ. 2521 หนึ่งปีก่อนศาลจะตัดสินไม่รับอุทธรณ์", "title": "อันเนอ ฟรังค์" } ]
435
ประเทศจีนมีเมืองหลวงคือ ?
[ { "docid": "6152#0", "text": "ปักกิ่ง หรือ เป่ย์จิง (จีน: , พินอิน: Běijīng) เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อย่อว่า จิง ตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ที่ราบหวาเป่ย์ ชื่อเดิมคือ จี่ (冀) สมัยวสันตสารท (春秋)และสมัยรณรัฐ (战国)เป็นเมืองหลวงของแคว้นเยียน สมัยราชวงศ์เหลียว เป็นเมืองหลวงรอง ชื่อ เยียนจิง เป็นเมืองหลวงของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิน หยวน หมิง ชิงจนถึง สาธารณรัฐจีน เคยใช้ชื่อจงตู ต้าตู เป่ย์ผิงและเป่ย์จิง โดยมีชื่อเรียกทั้งหมดกว่า 60 ชื่อ เริ่มตั้งเป็นเมืองตั้งแต่ปี 1928 ปัจจุบัน แบ่งเป็น 16 เขตและ 2 อำเภอ เป็นนครที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง พื้นที่ทั่วกรุงปักกิ่งมีถึง 16,800 ตารางกิโลเมตร ถึงสิ้นปี ค.ศ. 2017 ทั่วกรุงเปย์จิงมีประชากร 21,107,000 คน กรุงปักกิ่งเป็นศูนย์การเมือง วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ การศึกษาและเขตชุมทางการคมนาคมทั่วประเทศจีนและก็เป็นเมืองท่อง เที่ยวที่มีชื่อดังทั้งในประเทศจีนและในโลก แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญมีกำแพงเมืองจีน พระราชวังโบราณ หอสักการะฟ้าเทียนถัน สุสานจักรพรรดิสมัยราชวงศ์หมิง วังพักร้อนอี๋เหอหยวนและภูเขาเซียงซาน เป็นต้น ปัจจุบันปักกิ่งเป็นเขตการปกครองพิเศษแบบมหานคร 1 ใน 4 แห่งของจีน ซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากับมณฑลหลังจากปักกิ่งได้รับการจัดตั้งเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 1949 โดยเฉพาะหลังจากสมัย 80 ศตวรรษที่ 20 เมืองปักกิ่งได้พัฒนาอย่างรวดเร็วอย่างเหลือเชื่อ มีการเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือ ปัจจุบันนี้ปักกิ่งมีถนนที่สลับกัน ตึกสูงๆ โดยไม่เพียงแต่รักษาสภาพเมืองโบราณ และยังแสดงถึงสภาพเมืองที่ทันสมัย กลายเป็นเมืองใหญ่ของโลก", "title": "ปักกิ่ง" }, { "docid": "2032#0", "text": "ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (; ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1400 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า", "title": "ประเทศจีน" } ]
[ { "docid": "32425#0", "text": "ประเทศญี่ปุ่นนั้นมีเมืองหลวง (首都 \"ชุโตะ\" หรือ 都 \"มิยะโกะ\") มานับต่อนับ แต่ส่วนมากจะอยู่ในยุคโบราณ และจะอยู่ในภาคคันไซทั้งหมด ยกเว้นโตเกียวซึ่งเป็นเมืองหลวงใหม่ เมืองหลวงที่ไม่ใช่เมืองโตเกียว ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศคือ เฮอังเกียว ซึ่งเป็นยุคที่ถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของวัฒนธรรมญี่ปุ่น มีการประดิษฐ์ตัวอักษรญี่ปุ่น โดยดัดแปลงมาจากตัวอักษรจีน ผู้คนเริ่มที่จะสวมใส่กิโมโน ซึ่งในยุคก่อนหน้านั้น ชาวญี่ปุ่นยังแต่งตัวแบบจีนอยู่", "title": "เมืองหลวงญี่ปุ่น" }, { "docid": "92282#14", "text": "หนานจิง เป็นเมืองหลวงเก่าลำดับที่ 5 ของจีน (นครหลวงของ จีนในประวัติศาสตร์ตามลำดับได้แก่ กรุงอันหยาง ซีอาน ลั่วหยาง ไคฟง หนานจิง หางโจวและ ปักกิ่ง) นครหนานจิงมีชื่อ ปรากฏในพงศาวดารมาเกือบ 2,000 ปี และเคยถูกสถาปนา เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรจีนหลายสมัยคือ", "title": "มณฑลเจียงซู" }, { "docid": "25771#0", "text": "หนานจิง หรือรู้จักกันอีกชื่อว่า นานกิง () เป็นเมืองหลวงของมณฑลเจียงซู สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยหนานจิงเป็นหนึ่งในเมืองหลวงเก่าของจีน ปัจจุบันหนานจิงเป็นเมืองใหญ่อันดับสองในภาคตะวันออกของจีน รองจากช่างไห่ และหนานจิงเป็นเมืองหลวงของจีนคณะชาติสมัยปฏิวัติล้มล้างจักรพรรดิจีน ราชวงศ์ชิงหรือแมนจู หนานจิง ที่แปลว่านครหลวงใต้ เคยเป็นเมืองหลวงของหลายราชวงศ์ จนได้รับสมญานามว่า เมืองหลวงสิบแผ่นดิน และยังเป็น 1 ใน 6 นครโบราณ อันได้แก่ ปักกิ่ง หนานจิง ซีอาน ลั่วหยาง หางโจว และ ไคเฟิง เป็นเมืองหลวงครั้งสุดท้ายระหว่างปี พ.ศ. 2470 ถึง พ.ศ. 2492 โดยรัฐบาลสาธารณรัฐจีน ซึ่งมีผู้นำขณะนั้น คือ นายพลเจียงไคเช็ค หลังสถาปนาเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2492 รัฐบาลใหม่จึงได้ย้ายเมืองหลวงกลับมายังปักกิ่งดังเดิม", "title": "หนานจิง" }, { "docid": "86391#0", "text": "หางโจว (จีน: 杭州; Hangzhou) เป็นเมืองหลวงของมณฑลเจ้อเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมืองหางโจว ซึ่งเป็นเมืองเก่าแก่ 1 ใน 6 ของประเทศจีน ปัจจุบันหางโจว ถือเป็นเมืองที่อยู่ในเขตภาคตะวันออกที่ได้รับการพัฒนาอย่างสูงสุดแล้ว ดังนั้นหางโจวจึงเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีว่า เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ มีวัฒนธรรมที่ยาวนาน และเป็นเมืองที่มีทัศนียภาพที่สวยสดงดงามเมืองหนึ่งของประเทศจีน รวมทั้งมั่งคั่งไปด้วยเภสัชอุตสาหกรรม และสถาบันศิลปะมากมาย เมืองหางโจวถือว่าเมืองดิจิตอลไร้สายได้ครอบคลุมถึงทางหลวงและตรอกเล็กซอยน้อยต่างๆในเมือง", "title": "หางโจว" }, { "docid": "640987#6", "text": "บริเวณเจียงหนานยังมีความสำคัญด้านที่มีเมืองหลวงของราชวงศ์จีนโบราณอยู่หลายสมัย เช่น ในยุคสามก๊ก เมืองเจียงเย่ (ปัจจุบันคือ เมืองหนานจิง) เป็นเมืองหลวงของง่อก๊ก ในช่วงศตวรรษที่ 3 มีชาวจีนจากตอนเหนือของประเทศย้ายมายังเจียงหนานมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ต่อมาในช่วงศตวรรษที่ 10 มีการก่อต้งอาณาจักรอู๋เย่ว์ (Wuyue; 吳越) โดยจักรพรรดิเฉียนหลิว (อังกฤษ: Qian Liu; จีนตัวย่อ: 钱镠; พินอิน: Qián Liú) ทำให้บริเวณเจียงหนานได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากยุคนั้นมาจนปัจจุบัน \nในช่วงปลายรัชสมัยของราชวงศ์หยวน เจียงหนานถูกแย่งชิงโดยกลุ่มกบฏสองฝ่าย คือระหว่างฝ่ายจูหยวนจาง หรือต่อมาคือ หงหวู่ตี้ หรือสมเด็จพระจักรพรรดิหงหวู่ (อังกฤษ: Hongwu Emperor; จีน: 洪武帝; พินอิน: \"Hóngwǔ\" \"หงหวู่ตี้\" ) แห่งราชวงศ์หมิง ซึ่งมีฐานที่มั่นอยู่ที่เมืองหนานจิง (หรือนานกิง) และกลุ่มของจางซื่อเฉิง (อังกฤษ: Zhang Shicheng; จีน: 张士诚; พินอิน: \"Zhāng Shìchéng\") ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ในเมืองซูโจวของแคว้นอู๋ หลังจากการต่อสู้แย่งชิงยาวนานนับสิบปี หมิงไท่จู่ (หรือ จูหยวนจาง (朱元璋; เป็นพระนามเดิมของสมเด็จพระจักรพรรดิหงหวู่)) จึงสามารถเข้าโจมตีและยึดครองเมืองซูโจวจากกลุ่มของจางซื่อเฉิงได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1367 และรวบรวมเจียงหนานเข้าด้วยกัน ในภายหลังจูหยวนจางได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นฮ่องเต้ และทรงใช้พระนามว่า หมิงไท่จู่ (明太祖) หรือสมเด็จพระจักรพรรดิหงหวู่ ในวันปีใหม่จีน (20 มกราคม) ในปี ค.ศ. 1368 เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกแห่งราชวงศ์หมิง หลังจากนั้นไม่นานพระองค์ทรงยกทัพขับไล่ชาวมองโกลทางตอนเหนือของจีนได้สำเร็จ เมืองหนานจิงจึงเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์หมิงจากนั้นมา จนถึงช่วงต้นศตวรรษที่ 15 เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิหย่งเล่อ (Yongle) กษัตริย์พระองค์ที่สามแห่งราชวงศ์หมิงทรงมีพระราชดำริให้ย้ายเมืองหลวงจากหนานจิงไปยังเมืองปักกิ่ง", "title": "เจียงหนาน" }, { "docid": "25772#1", "text": "ในภายหลังได้มีการค้นพบทางประวัติศาสตร์มากขึ้น ทำให้จำนวนเมืองหลวงในประวัติศาสตร์นั้นเพิ่มเป็น 7 เมือง โดยเพิ่มไคฟง, หางโจว และอันหยาง ใน ค.ศ. 2004 ทางการจีนได้เพิ่มเจิ้งโจวเป็นเมืองที่ 8", "title": "เมืองหลวงเก่าของจีน" }, { "docid": "640987#15", "text": "นอกจากนั้นยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมโบราณ ทั้งด้านลัทธิเต๋า ขงจื้อ และศาสนาพุทธ โดยเฉพาะเมืองหางโจว ซูโจว และหนานจิง ซึ่งได้รับการยกย่องเป็น 3 ใน 8 เมืองหลวงโบราณของประเทศจีน มีมรดกทางวัฒนธรรมโบราณและสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญทางศาสนาหลายแห่ง อาทิ วัดในพุทธศาสนา วัดของลัทธิเต๋า และสถานที่สำคัญที่เกี่ยวกับขงจื้อ เป็นต้น", "title": "เจียงหนาน" }, { "docid": "15673#10", "text": "ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฉิน (จิ๋นซีฮ่องเต้) เมื่อรวมประเทศจีนเป็นหนึ่งเดียวแล้ว ได้สถาปนาเมืองหลวงของประเทศขึ้น คือ เมืองเสียนหยาง ตั้งอยู่ทางเหนือของซีอานในปัจจุบัน ในอดีตจัดเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในยุคนั้น มีประชากรประมาณ 5 ถึง 6 แสนคน เกือบเท่ากับ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งประเทศ แต่จอมจักรพรรดิทรงเห็นว่า เมืองหลวง เสียนหยาง ยังมีขนาดใหญ่ไม่เพียงพอ จึงโปรดให้สร้างเมือง เออฝาง ขึ้นทางใต้ของเมืองเสียนหยาง กล่าวกันว่า หลังจากราชวงศ์ฉินถูกชาวนาโค่นบัลลังก์แล้วบรรดาพระราชวัง และ ตำหนักในเมืองทั้งสองถูกเผาทำลายสิ้น โดยใช้เวลาเผานานถึง 3 เดือน\nสมัยราชวงศ์ฮั่น ได้มีการสร้างเมืองหลวงใหม่ชื่อ ฉางอาน ถูกสร้างขึ้นบนพื้นที่ระหว่างที่ตั้งเมืองหลวงเก่าทั้งสอง ปัจจุบันยังสามารถมองเห็นที่ตั้งเมืองฉางอานได้ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองซีอาน เมือง ฉางอาน ของราชวงศ์ฮั่นนี้มีอาณาเขตโดยรอบ 25,000 เมตร พื้นที่ 35 ตารางกิโลเมตร ตำหนักภายในเมืองมีจำนวนมากและมีขนาดใหญ่ เล่ากันว่า หลังจากสร้างตำหนักเสร็จแล้ว องค์จักรพรรดิฮั่น ตรัสว่า \"ช่างใหญ่อะไรปานนี้\" 800 ปีหลังจากนั้น จักรพรรดิ ราชวงศ์ สุย ได้สร้างเมืองหลวงอีกเมืองหนึ่งขึ้นทางใต้ของ ฉางอาน ของราชวงศ์ฮั่น ชื่อ ต้าสิ้ง และเปลี่ยน ฉางอาน เป็นสวนดอกไม้ส่วนพระองค์ และเนื่องจากจักรพรรดิราชวงศ์สุยมา", "title": "ซีอาน" }, { "docid": "25772#0", "text": "เมืองหลวงเก่าของจีนตามประวัติศาสตร์นั้น มีคำพูดที่เกี่ยวกับ \"บุพจัตุรมหาธานีแห่งจีน\" () ซึ่งประกอบด้วยนานกิง, ปักกิ่ง, ลั่วหยาง และซีอาน", "title": "เมืองหลวงเก่าของจีน" } ]
450
ตัวรับความรู้สึก คืออะไร?
[ { "docid": "571369#0", "text": "ในระบบรับความรู้สึก (sensory system) ตัวรับความรู้สึก หรือ รีเซ็ปเตอร์รับความรู้สึก หรือ ปลายประสาทรับความรู้สึก () เป็นส่วนปลายของเส้นประสาทรับความรู้สึก (sensory nerve) ที่ตอบสนองต่อตัวกระตุ้นในสิ่งแวดล้อมทั้งภายในภายนอกของสิ่งมีชีวิต และเมื่อตอบสนองต่อตัวกระตุ้น ตัวรับความรู้สึกก็จะทำการถ่ายโอนความรู้สึกที่รับรู้ โดยการสร้าง graded potential หรือศักยะงาน (action potential) ในเซลล์เดียวกันหรือเซลล์ที่อยู่ใกล้ๆ กัน", "title": "ตัวรับความรู้สึก" } ]
[ { "docid": "819814#1", "text": "คนซึมเศร้าอาจรู้สึกเศร้า วิตกกังวล ไร้ความหมาย สิ้นหวัง ไม่มีที่พึ่ง ไม่ภูมิใจในตนเอง/ไม่มีค่า รู้สึกผิด หงุดหงิด โกรธ\nอับอาย หรือกระวนกระวาย\nอาจจะสูญความสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบ ไม่อยากอาหารหรือทานมากเกินไป ไม่มีสมาธิ คอยระลึกถึงรายละเอียดในการตัดสินใจอะไรบางอย่าง มีปัญหาทางความสัมพันธ์ และอาจคิด พยายาม และทำการฆ่าตัวตาย\nการนอนไม่หลับ การนอนมากเกินไป อ่อนเปลี้ย เจ็บปวด มีปัญหาย่อยอาหาร และมีกำลังน้อยลง ก็อาจเป็นอาการร่วมด้วย", "title": "ความซึมเศร้า (อารมณ์)" }, { "docid": "908495#17", "text": "ความคันสามารถเกิดจากการกระตุ้นตัวรับความรู้สึกด้วยแรงกล สารเคมี อุณหภูมิ หรือไฟฟ้า ที่ระบบประสาทนอกส่วนกลาง หรือแม้แต่การสะกิดใจ (suggestion)\nตัวรับความรู้สึกที่ทำให้คันเพราะสิ่งเร้าในสิ่งแวดล้อม จะอยู่ในผิวหนังชั้นบน ๆ\nเมื่อได้สิ่งเร้าแล้ว โดยปกติเนื่องกับฮิสตามีนในร่างกาย ตัวรับก็จะส่งกระแสประสาทไปยังสมองส่วนต่าง ๆ มีทาลามัสเป็นต้น\nซึ่งจะแปรผลแล้วสั่งการให้ร่างกายตอบสนอง", "title": "อาการคันต่างที่" }, { "docid": "571369#6", "text": "ตัวรับความรู้สึกของร่างกายที่ใกล้กับผิวหนัง สามารถจำแนกได้เป็นสองกลุ่มตามโครงสร้างสัณฐาน คือตัวรับความรู้สึกต่างๆ กัน มีใยประสาทต่างๆ กัน เช่นกล้ามเนื้อและตัวรับความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกัน มีใยประสาทแบบ 1 และแบบ 2 ในขณะที่ตัวรับความรู้สึกที่ผิวหนังมีใยประสาทแบบ Aβ, Aδ และ C", "title": "ตัวรับความรู้สึก" }, { "docid": "885656#0", "text": "ตัวรับความรู้สึกที่หนัง () เป็นปลายประสาทรับความรู้สึกที่พบในหนังแท้หรือหนังกำพร้า\nโดยเป็นส่วนของระบบรับความรู้สึกทางกาย\nมีประเภทต่าง ๆ รวมทั้งตัวรับแรงกลที่หนัง โนซิเซ็ปเตอร์ (ความเจ็บปวด) และตัวรับอุณหภูมิ\nตัวรับความรู้สึกที่ผิวหนังรวมทั้ง", "title": "ตัวรับความรู้สึกที่หนัง" }, { "docid": "571369#4", "text": "การกระตุ้นที่เหมาะสม (adequate stimulus) ของตัวรับความรู้สึก เป็นลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งของตัวกระตุ้น ที่ตัวรับความรู้สึกมีตัวช่วยที่เหมาะสมในการถ่ายโอนลักษณะเฉพาะอย่างนั้น (เช่นตัวรับแสงมีโรด็อปซินที่สามารถทำการถ่ายโอนแสงไปเป็นสัญญาณไฟฟ้า) การกระตุ้นที่เหมาะสมใช้แยกประเภทตัวรับความรู้สึกได้ คือ", "title": "ตัวรับความรู้สึก" }, { "docid": "571369#3", "text": "กิจการงานของตัวรับความรู้สึกเป็นองค์ประกอบแรกสุดของระบบรับความรู้สึก (sensory system) เป็นการตอบสนองต่อลักษณะเฉพาะอย่างของตัวกระตุ้น ซึ่งกำหนดโดยการกระตุ้นที่เหมาะสม (adequate stimulus) ของตัวรับความรู้สึก โดยเริ่มกระบวนการถ่ายโอนความรู้สึก \nที่อาจเกิดขึ้นโดยการเปลี่ยนสภาพของตัวรับความรู้สีก", "title": "ตัวรับความรู้สึก" }, { "docid": "882499#10", "text": "การรับสารเคมีโดยสัมผัสต้องอาศัยการสัมผัสกันโดยตรงระหว่างตัวรับความรู้สึกกับสิ่งเร้า\nตัวรับความรู้สึกเช่นนี้มีขนหรือรูปกรวยสั้น ๆ ที่มีรูเดียวใกล้หรือที่ยอด\nดังนั้น จึงเรียกว่า ตัวรับความรู้สึกรูเดียว (uniporous receptor)\nตัวรับความรู้สึกบางอย่างอ่อน บางอย่างแข็งและจะไม่งอเมื่อสัมผัส\nตัวรับความรู้สึกโดยมากจะพบที่ส่วนปาก แต่ก็พบที่หนวดและขาของแมลงบางชนิดด้วย\nจะมีกลุ่มเดนไดรต์ใกล้ ๆ กับรูของตัวรับความรู้สึก แต่จะกระจายตัวต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับสัตว์\nและการส่งสัญญาณประสาทจากเดนไดรต์ก็ต่างกันขึ้นอยู่กับสัตว์และสารเคมีที่เป็นสิ่งเร้า", "title": "ตัวรับรู้สารเคมี" }, { "docid": "469192#11", "text": "ส่วนตัวรับความรู้สึกกระจายอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และแบ่งย่อยได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ตัวรับสิ่งเร้าจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ตัวรับความรู้สึกจากการเคลื่อนไหวตำแหน่งของข้อต่อและกล้ามเนื้อ และตัวรับความรู้สึกจากอวัยวะภายใน\nในระบบรับความรู้สึกทางกาย เขตรับความรู้สึกทางกาย 1 หรือเรียกที่ว่า S1 เป็นเขตรับรู้สัมผัสและอากัปกิริยา แม้ว่า ระบบรับความรู้สึกทางกายจะส่งสัญญาณจากปลายประสาทไปยังเขตบร็อดแมนน์ 3-1-2 ของคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ (postcentral gyrus) เป็นหลัก แต่ก็ยังส่งสัญญาณเกี่ยวกับการรับรู้อากัปกิริยาไปยังซีรีเบลลัมอีกด้วย\nนายกิตตื", "title": "ระบบรับความรู้สึก" }, { "docid": "469192#4", "text": "ลานรับสัญญาณ (receptive field) เป็นเขตในสิ่งแวดล้อมที่อวัยวะรับความรู้สึกและตัวรับความรู้สึกทำการตอบสนอง ตัวอย่างเช่น ส่วนของโลกที่ตาเห็นเป็นลานรับสัญญาณของตา และแสงที่เซลล์รับแสงคือเซลล์รูปแท่ง (rod cell) กับเซลล์รูปกรวย (cone cell) ในตารองรับก็เป็นลานรับสัญญาณของเซลล์เหล่านั้น นักวิทยาศาสตร์ปัจจุบันสามารถบ่งชี้ลานรับสัญญาณต่าง ๆ ในระบบการเห็น ระบบการได้ยิน และระบบรับความรู้สึกทางกาย ได้แล้ว\nภาวะที่รับรู้จากสิ่งเร้า () หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภาวะที่รับรู้ () เป็นปรากฏการณ์ทางกายภาพอย่างหนึ่งที่ตัวรับความรู้สึกรับรู้ได้ มีตัวอย่างเป็นต้นว่า อุณหภูมิ รสชาติ เสียง และแรงกดดัน ตัวรับความรู้สึกที่เริ่มทำงานเพราะสิ่งเร้ามีหน้าที่หลักในการเข้ารหัส\"ภาวะที่รับรู้จากสิ่งเร้า\"", "title": "ระบบรับความรู้สึก" } ]
457
รถไฟฟ้าบีทีเอสเปิดให้บริการวันแรกเมื่อวันที่เท่าไหร่?
[ { "docid": "1919#67", "text": "รถไฟฟ้าบีทีเอส เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2542 แบ่งการเดินรถเป็น 2 เส้นทาง ได้แก่ สายสุขุมวิท และ สายสีลม รวมระยะทาง ส่วน รถไฟฟ้ามหานคร เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2547 สายที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน คือ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ระยะทาง จำนวน 19 สถานี รวมทั้งบางส่วนของรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2553 ดำเนินการโดย การรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อเชื่อมต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปยังใจกลางเมือง ระยะทาง จำนวน 8 สถานี", "title": "กรุงเทพมหานคร" }, { "docid": "534156#0", "text": "โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง เป็นระบบขนส่งมวลชนแบบรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เริ่มเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2542 ในเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท สถานีหมอชิต-สถานีอ่อนนุช และรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ-สถานีสะพานตากสิน โดยในปัจจุบันมีรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้วทั้งสิ้น 5 สาย 85 สถานี ครอบคลุมระยะทางกว่า 125 กิโลเมตร", "title": "รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" }, { "docid": "7931#0", "text": "รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา () หรือชื่อที่เรียกกันทั่วไปว่า รถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS Skytrain) เป็นระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดปทุมธานี ดำเนินการโดยบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ภายใต้สัมปทานของกรุงเทพมหานคร เริ่มเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542", "title": "รถไฟฟ้าบีทีเอส" } ]
[ { "docid": "7931#43", "text": "และผลดำเนินงานบริการรถไฟฟ้าบีทีเอสในรอบบัญชี เมษายน พ.ศ. 2554 ถึง มีนาคม พ.ศ. 2555 มียอดผู้ใช้บริการทั้งสิ้น 176,028,556 เที่ยวคน เพิ่มขึ้นจากงวดปีที่ผ่านมา 21.24% และเมื่อพิจารณาจากผู้โดยสารเฉลี่ยต่อวันภาพรวมปรับตัวสูงขึ้น 18.26% เป็น 480,952 เที่ยวคน ซึ่งวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555 นับว่าเป็นวันที่ทุบสถิติสูงที่สุดนับตั้งแต่เปิดให้บริการมา มีผู้มาใช้บริการถึง 714,575 เที่ยวคน ปัจจุบันรถไฟฟ้าบีทีเอสมียอดผู้โดยสารสะสมครบ 2,000 ล้านคนไปเป็นที่เรียบร้อย เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557 หลังเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2542 ซึ่งใช้เวลาทั้งหมด 14 ปี 9 เดือน", "title": "รถไฟฟ้าบีทีเอส" }, { "docid": "311468#84", "text": "ส่วนรถไฟฟ้า บีทีเอสนั้นต้องปิดการให้บริการประชาชนในบางสถานีระหว่างมีการชุมนุม เช่น สถานีสยาม สถานีราชดำริ และได้หยุดการให้บริการทั้งระบบในบางช่วงเวลา เนื่องจาก นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช. กล่าวว่า ถ้ามีการขนทหารมาฆ่าประชาชนทางรถไฟฟ้าจะทำให้รถไฟตกรางเป็นเรื่องง่ายมากและเจ้าหน้าที่คนไหนที่ขับรถมาส่งทหารก็จะให้คนเสื้อแดงไปจับ ด้านรถไฟฟ้ามหานครได้ประกาศปิดประตูทางเข้าออกสถานีสีลมบริเวณสวนลุมพินีและหยุดการให้บริการในสถานีสีลมในบางช่วงเวลา และการรถไฟแห่งประเทศไทยได้เลื่อนกำหนดการทดสอบระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2553 ออกไปอย่างไม่มีกำหนด จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย เนื่องจากเหตุผลด้านความปลอดภัยในการให้บริการและพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ", "title": "การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553" }, { "docid": "33641#4", "text": "และผลดำเนินงานบริการรถไฟฟ้าบีทีเอสในรอบบัญชีเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 มียอดผู้ใช้บริการทั้งสิ้น 176,028,556 เที่ยวคน เพิ่มขึ้นจากงวดปีที่ผ่านมาร้อยละ 21.24 และเมื่อพิจารณาจากผู้โดยสารเฉลี่ยต่อวันภาพรวมปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 18.26 เป็น 480,952 เที่ยวคน ซึ่งวันที่ 30 มีนาคม 2555 นับว่าเป็นวันที่ทุบสถิติสูงที่สุดนับตั้งแต่เปิดให้บริการมา มีผู้มาใช้บริการถึง 714,575 เที่ยวคน", "title": "การขนส่งในประเทศไทย" }, { "docid": "127101#2", "text": "จนกระทั่งวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 กรุงเทพมหานคร ได้ลงนามสัญญาจัดซื้อและติดตั้งระบบการเดินรถ ส่วนที่ 1 (ระบบอาณัติสัญญาณ) กับบริษัท บอมบาร์ดิเอร์ ทรานสปอร์เทชั่น ซิกแนล (ประเทศไทย) งบประมาณ 368 ล้านบาท กรอบระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือน และเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ได้ดำเนินการจัดซื้อและติดตั้งระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) ส่วนที่ 2 (ระบบสื่อสาร, ระบบจ่ายไฟฟ้า, ระบบควบคุมและจัดเก็บข้อมูลและระบบประกอบอาคารในสถานีที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับระบบรถไฟฟ้า) กับกลุ่มบริษัท AAT Consortium จำกัด งบประมาณ 675 ล้านบาท และลงนามในสัญญาว่าจ้างเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2551 ใช้ระยะเวลาติดตั้งระบบประมาณ 300 วัน \nเมื่อส่วนต่อขยายนี้ดำเนินการเสร็จสิ้น กรุงเทพมหานคร ได้เปิดทดลองเดินรถไฟฟ้าช่วงสะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่ ข้าม แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นครั้งแรก โดยทดสอบระบบอาณัติสัญญาณและระบบที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม - 12 เมษายน พ.ศ. 2552 และเริ่มทดลองให้บริการ (Trial Run) โดยไม่มีผู้โดยสารตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2552 ต่อมา กรุงเทพมหานคร ได้เปิดให้บริการแก่ประชาชนอย่างเป็นทางการโดยไม่คิดค่าโดยสารระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม - 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552 หลังจากนั้นจึงจะเก็บค่าโดยสารตามระยะทาง ซึ่งหลังจากเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 08.00 น. วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 พบว่าสถานีวงเวียนใหญ่มีผู้ใช้บริการ 28,800 เที่ยวคน/วัน และ สถานีกรุงธนบุรี มีผู้ใช้บริการ 12,000 เที่ยวคน/วัน รวม 40,800 เที่ยวคน/วันและวันที่ 18 พฤษภาคม มีผู้โดยสารมากขึ้นเป็น 43,500 เที่ยวคน/วัน คาดว่าในอนาคตจะมีผู้โดยสารมาใช้บริการส่วนต่อขยายนี้ถึงวันละ 50,000 เที่ยวคน/วัน", "title": "สถานีวงเวียนใหญ่ (รถไฟฟ้าบีทีเอส)" }, { "docid": "7931#41", "text": "แต่หลังจากเปิดทดสอบได้ไม่นานก็เกิดปัญหาทำให้ระบบควบคุมหลักไม่สามารถใช้การได้ในวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งสาเหตุมาจากการที่ระบบควบคุมชุดประตู ไม่สามารถเชื่อมต่อกับระบบควบคุมการเดินรถได้ และทำให้ระบบควบคุมการเดินรถทั้งหมดมีปัญหา เบื้องต้นบีทีเอสได้หารือกับบอมบาร์ดิเอร์และได้ข้อสรุปที่ตรงกันว่า จะยุติการทดสอบการใช้งานประตูกั้นชานชาลาก่อน เพื่อหาทางแก้ไขไม่ให้การเชื่อมต่อกับระบบประตูนั้น ทำให้ระบบรถไฟฟ้าล่มอีกเป็นครั้งที่สอง", "title": "รถไฟฟ้าบีทีเอส" }, { "docid": "33641#2", "text": "ชื่อทางการคือ รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา ดำเนินการโดย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี (BTSC) และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ เคที (KT) เริ่มเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เปิดบริการตั้งแต่เวลา 6 นาฬิกาถึง 24 นาฬิกา", "title": "การขนส่งในประเทศไทย" }, { "docid": "118678#2", "text": "จนกระทั่งวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 กรุงเทพมหานคร ได้ลงนามสัญญาจัดซื้อและติดตั้งระบบการเดินรถ ส่วนที่ 1 (ระบบอาณัติสัญญาณ) กับบริษัท บอมบาร์ดิเอร์ ทรานสปอร์เทชั่น ซิกแนล (ประเทศไทย) งบประมาณ 368 ล้านบาท กรอบระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือน และเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ได้ดำเนินการจัดซื้อและติดตั้งระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) ส่วนที่ 2 (ระบบสื่อสาร, ระบบจ่ายไฟฟ้า, ระบบควบคุมและจัดเก็บข้อมูลและระบบประกอบอาคารในสถานีที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับระบบรถไฟฟ้า) กับกลุ่มบริษัท AAT Consortium จำกัด งบประมาณ 675 ล้านบาทและลงนามในสัญญาว่าจ้างเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2551 ใช้ระยะเวลาติดตั้งระบบประมาณ 300 วัน \nเมื่อส่วนต่อขยายนี้ดำเนินการเสร็จสิ้น กรุงเทพมหานคร ได้เปิดทดลองเดินรถไฟฟ้าช่วงสะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่ ข้าม แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นครั้งแรก โดยทดสอบระบบอาณัติสัญญาณและระบบที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม - 12 เมษายน พ.ศ. 2552 และเริ่มทดลองให้บริการ (Trial Run) โดยไม่มีผู้โดยสารตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน ต่อมา กรุงเทพมหานคร ได้เปิดให้บริการแก่ประชาชนอย่างเป็นทางการโดยไม่คิดค่าโดยสารระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม - 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552 หลังจากนั้นจึงจะเก็บค่าโดยสารตามระยะทาง ซึ่งหลังจากเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 08.00 น. วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 พบว่าสถานีกรุงธนบุรี มีผู้ใช้บริการ 12,000 เที่ยวคน/วันและ สถานีวงเวียนใหญ่ มีผู้ใช้บริการ 28,800 เที่ยวคน/วัน รวม 40,800 เที่ยวคน/วันและวันที่ 18 พฤษภาคม มีผู้โดยสารมากขึ้นเป็น 43,500 เที่ยวคน/วัน คาดว่าในอนาคตจะมีผู้โดยสารมาใช้บริการส่วนต่อขยายนี้ถึงวันละ 50,000 เที่ยวคน/วัน", "title": "สถานีกรุงธนบุรี (รถไฟฟ้าบีทีเอส)" }, { "docid": "7931#24", "text": "เว็บไซต์ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพระบุว่า รถไฟฟ้าบีทีเอสมีความปลอดภัยสูง นับตั้งแต่วันแรกที่เปิดให้บริการจนถึงปัจจุบัน ไม่พบว่ามีรายงานอุบัติเหตุร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่อผู้โดยสาร บริษัทฯ คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้โดยสารจึงพิถีพิถันตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ และการเลือกใช้วัสดุ รวมถึงจัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับใช้ในกรณีฉุกเฉินไว้ในขบวนรถและบนสถานี รวมถึงจัดเตรียมมาตรการตรวจสอบ การซ่อมบำรุง การปรับปรุงพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังจัดทำคู่มือการใช้ระบบอย่างปลอดภัยแก่ผู้โดยสาร", "title": "รถไฟฟ้าบีทีเอส" } ]
462
ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก ฉบับภาษาไทย ถูกตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ใด?
[ { "docid": "212399#0", "text": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก () ดัดแปลงจาก \"Genji Monogatari\" หรือ \"ตำนานเก็นจิ\" วรรณกรรมคลาสสิกของญี่ปุ่นจากยุคเฮอัน (ราว ค.ศ. 794-1192) ว่าด้วยเรื่องราวชีวิตรักของท่านฮิคารุ เกนจิ ผู้สูงส่งทั้งชาติสมบัติและรูปสมบัติ วรรณกรรมเรื่องนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดวรรณกรรมญี่ปุ่นและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก แม้แต่ในหนังสือ Lifetime Reading Plan ของ Clifton Fadiman ก็ยังยกให้เป็นหนึ่งในวรรณกรรมเอกของโลกที่ทุกคนควรจะได้อ่านสักครั้งหนึ่งในชีวิต \"ตำนานเกนจิ\"ฉบับนิยายภาพนี้ เขียนโดย ยามาโตะ วากิ ( Yamato Waki ) ผู้ซึ่งใช้เวลาเนิ่นนานหลายปีกับงานชิ้นนี้ทั้งในการศึกษาเตรียมงานและการดัดแปลงถ่ายทอดเป็นภาคการ์ตูน ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร Mimi ระหว่างปี ค.ศ. 1979-1993 ก่อนจะรวมพิมพ์เป็นเล่มจำนวน 13 เล่มจบ ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ โคดันฉะ ในประเทศญี่ปุ่นเป็นภาษาญี่ปุ่น โดยเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 ถึง 1993 มีจำนวนทั้งหมด 13 เล่ม ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษเป็นบางเล่ม ในชื่อ The Tale of Genji โดย สจ๊วร์ต แอทคิน และ โยโกะ โทโยซะกิ ( Stuart Atkin and Yoko Toyosaki ) โดยแปลเป็นนิยายภาพ 2 ภาษา พิมพ์โดยสำนักพิมพ์โคดันฉะเช่นกัน \nได้รับการแปลไทยในฉบับไม่มีลิขสิทธิ์ ในชื่อ ฟ้าใต้แสงจันทร์ โดย สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ และฉบับลิขสิทธิ์ แปลโดย บัณธิต ประสิษฐานุวงษ์ จัดพิมพ์โดย จัดพิมพ์โดย บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด ( มหาชน )\nเนื้อหาภายในเรื่องช่วง 10 เล่มแรก เป็นเรื่องราวชีวิตของเกนจิ ส่วน 3 เล่มหลังเป็นเรื่องราวหลังเกนจิเสียชีวิตไปแล้ว โดยตัวละครเด่นคือคาโอรุและองค์ชายนิโออุ", "title": "ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก" } ]
[ { "docid": "591622#21", "text": "ในประเทศไทย สำนักพิมพ์โพสต์บุ๊กส์ได้รับลิขสิทธิ์ในการแปลและตีพิมพ์นวนิยายเป็นภาษาไทย โดยได้ใช้ชื่อภาษาไทยว่า \"เกมล่าชีวิต\" ตีพิมพ์ครั้งแรกในฉบับปกอ่อนเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2011 แปลเป็นภาษาไทยโดน 'นาธาน' อย่างไรก็ตาม สำนักพิมพ์ได้มีการเปลี่ยนผู้แปลมาเป็น นรา สุภัคโรจน์ ในการตีพิมพ์ครั้งที่สองและรวมไปถึงการแปลหนังสืออีกสองเล่ม ซึ่งได้แก่ \"ปีกแห่งไฟ\" และ \"ม็อกกิ้งเจย์\"", "title": "เกมล่าชีวิต" }, { "docid": "317158#2", "text": "ต้นส้มแสนรักฉบับภาษาไทย ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2522 โดยสำนักพิมพ์ดวงกมล แปลโดยมัทนี เกษกมล มีสุชาติ สวัสดิ์ศรีเป็นบรรณาธิการ อีกสำนวนหนึ่ง แปลโดยสมบัติ เครือทอง สำหรับฉบับแปลภาษาอังกฤษใช้ชื่อว่า \"My Sweet Orange Tree\" ตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1971 นวนิยายภาคต่อ ชื่อ Vamos Aquecer o Sol ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 1974 ส่วนฉบับภาษาไทยใช้ชื่อว่า ต้นส้มแสนรัก ภาค 2 ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2538 โดยสำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น แปลโดย สมบัติ เครือทอง", "title": "ต้นส้มแสนรัก" }, { "docid": "96748#4", "text": "หนังสือชุด ห้าสหายผจญภัย หกสหายไขปริศนา สี่สหายผจญภัย ผจญภัยไขความลับ เจ็ดสหายนักสืบ และ ซนแกร่งกล้า และผจญภัยในบ้านไร่ได้รับการตีพิมพ์เป็นภาคภาษาไทยแล้วจากสำนักพิมพ์ต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีภาษาอื่นๆอีกมากมายที่ได้รับการตีพิมพ์ เช่น สำนักพิมพ์ แมกมิลแลน (: McMillan) สำนักพิมพ์ ฮอดเดอร์ เป็นต้น หนังสือของอีนิด ไบลตัน ได้รับการตอบรับทั้งจากเด็กและผู้ใหญ่เป็นอย่างดียิ่ง ปัจจุบันนี้ คนอังกฤษเกือบทั้งประเทศรู้จัก อีนิด ไบลตันในประเทศไทยนั้น สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์และสำนักพิมพ์เอ็กมอนท์ (: Egmont) ได้จัดพิมพ์หนังสือเล่มต่างๆของ อีนิด ไบลตัน ขึ้น ประกอบด้วยหนังสือชุดต่างๆดังนี้", "title": "อีนิด ไบลตัน" }, { "docid": "181874#0", "text": "ด้วยรัก ความตาย และหัวใจสลาย (; ) เป็นนวนิยายของฮารูกิ มูราคามิ นักเขียนชาวญี่ปุ่น ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1987 ฉบับภาษาไทยแปลโดยนพดล เวชสวัสดิ์ ตีพิมพ์ครั้งแรกโดยสำนักพิมพ์มติชน ได้รับการตีพิมพ์ซ้ำ สิงหาคม พ.ศ. 2551 โดยสำนักพิมพ์กำมะหยี่", "title": "ด้วยรัก ความตาย และหัวใจสลาย" }, { "docid": "15648#3", "text": "สำหรับการจัดพิมพ์ในประเทศไทยช่วงแรกๆ ไม่ค่อยแน่ชัดนักในเรื่องของลิขสิทธิ์ ครั้งแรกจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มิตรไมตรีใช้ชื่อว่า \"หน้ากากแก้ว\" ตีพิมพ์เล่ม 1-4 เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2523-2524 หลังจากนั้นเปลี่ยนมาจัดพิมพ์โดย วิบูลย์กิจ ใช้ชื่อว่า \"นักรักโลกมายา\" มีประมาณ 56 เล่ม (ยังไม่จบ) และต่อมาก็เป็น สยามอินเตอร์คอมิกส์ ที่ได้รับลิขสิทธิ์ตีพิมพ์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยได้มีการตีพิมพ์มาแล้วถึง 3 ครั้ง ซึ่งในครั้งที่ 2 นี่เอง ที่ได้เปลี่ยนชื่อ \"นักรักโลกมายา\" มาเป็น \"หน้ากากแก้ว\" เพื่อให้ตรงกับความหมายในภาษาญี่ปุ่นมากขึ้น ซึ่งล่าสุดตีพิมพ์ถึงฉบับที่ 49 ส่วนฉบับที่ 50 ที่มีกำหนดการจะวางขายที่ญี่ปุ่น ในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 นั้น ทางซุสุเอะ มิอุจิ ก็แจ้งเลื่อนการวางออกไปอีก โดยยังไม่มีประกาศวันวางใหม่ที่แน่นอนออกมาในขณะนี้ ต่อมาในวันที่ 24 สิงหาคม ปีเดียวกัน มิอุจิได้ให้สัมภาษณ์ว่าเธออยู่ในช่วงใกล้ตอนจบของการ์ตูนเรื่องนี้แล้ว", "title": "หน้ากากแก้ว" }, { "docid": "312685#0", "text": "เทพจิ้งจอกจอมยุ่ง (ประจำบ้าน) () เป็นไลท์โนเวลของญี่ปุ่น แต่งโดย ชิบามูระ จิน (Jin Shibamura) ภาพประกอบโดย โฮเด็น เอโซ (Eizō Hōden) เริ่มพิมพ์ฉบับแรกเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 (จนถึงปัจจุบันตีพิมพ์ไปแล้วถึงเล่ม 7) โดยสำนักพิมพ์ ASCII Media Works ตีพิมพ์ในประเทศไทย ครั้งแรกเมื่อ เดือนกันยายน พ.ศ. 2552 (จนถึงปัจจุบันตีพิมพ์ถึงเล่ม 4) โดย บลิส พับลิชชิ่ง (อยู่ในหมวด J-Light ) โดยใช้ชื่อภาษาไทยว่า เทพจิ้งจอกจอมยุ่ง (ประจำบ้าน) ส่วนในสหรัฐอเมริกาได้ลิขสิทธิ์โดยสำนักพิมพ์ NIS America โดยวางแผนจะตีพิมพ์จัดจำหน่ายในชื่อ Our Home's Fox Deity", "title": "เทพจิ้งจอกจอมยุ่ง (ประจำบ้าน)" }, { "docid": "301313#1", "text": "ในประเทศไทย โชเน็น อนเมียวจิ จอมเวทปราบมาร ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยโดย กนกวรรณ อภินันธนาสกุล และตีพิมพ์ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์ BLISS ซึ่งได้ตีพิมพ์จนถึงเล่มที่ 14 ก่อนปิดตัวลง และได้ตีพิมพ์อีกครั้งภายใต้ลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์ G-Plus Book ตั้งแต่เล่ม 15 ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 20 เล่ม (ยังไม่จบ) สำหรับภาคอะนิเมะได้วางจำหน่ายในรูปแบบซีดีและดีวีดี ลิขสิทธิ์โดย TIGA", "title": "โชเน็น อนเมียวจิ จอมเวทปราบมาร" }, { "docid": "743196#0", "text": "สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นแม่กองแปล ตั้งแต่ พ.ศ. 2345 และเป็นร้อยแก้วของไทยที่ได้รับการตีพิมพ์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2417 ก่อนที่จะสังคมไทยจะได้อ่าน ความพยาบาท นิยายแปลโดยแม่วัน และ ละครแห่งชีวิต โดยหม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์ ซึ่งถือเป็นนิยายเล่มแรกของวงวรรณกรรมไทย จึงเป็นนิยายร้อยแก้วที่เก่าแก่ที่สุดในสังคมไทย สำนวนภาษาตลอดจนค่านิยมดั้งเดิมล้วนปรากฏอยู่ทั่วไปในสามก๊ก ชนชั้นนำไทยแต่เดิมก็ถือว่าสามก๊กเป็นตำราการเมืองเสียด้วยซ้ำ คติทางสังคมหลายอย่างก็ถอดแบบมาจากสามก๊ก หนังสือเรื่องนี้จึงน่าเสพและศึกษาไปพร้อม ๆ กัน", "title": "สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)" }, { "docid": "567825#0", "text": "ดั่งดวงหฤทัย เป็นนวนิยายแฟนตาซีรักชวนฝัน บทประพันธ์ของลักษณวดี (นามปากกาของ คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ หรือ คุณหญิงวิมล เจียมเจริญ) ซึ่งทางผู้แต่งได้รับแรงบันดาลใจจากแต่งนิทานให้ลูกชายขณะเดินทางท่องเที่ยว ปัจจุบัน สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม ได้รับลิขสิทธิ์ให้นำบทประพันธ์ดังกล่าวมาตีพิมพ์ใหม่อีกครั้ง มีการนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ถึง 2 ครั้งด้วยกัน (ยกเว้นครั้งที่สองโดยช่อง 7 ไม่ได้สร้างจากนวนิยายของ ลักษณวดี แต่อย่างใด มีเพียงชื่อเรื่องที่เหมือนกันเท่านั้น)\nชื่อพระนามเต็มตัวละครอ้างอิงตามบทประพันธ์ เรียกว่า “รังสิมันตรัตน์” หรือเจ้าหลวงรังสิมันตรัตน์ มิใช่ รังสิมันต์ อย่างที่ได้ยินในทางละครช่อง 7", "title": "ดั่งดวงหฤทัย" } ]
463
กรีกมีภาษาเป็นของตนเองหรือไม่ ?
[ { "docid": "2082#0", "text": "ภาษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก", "title": "ภาษากรีก" }, { "docid": "2051#1", "text": "ชาวกรีกเรียกประเทศตัวเองว่า Hellas ซึ่งภาษากรีกในปัจจุบันออกเสียง ว่า \"Ellas\" โดยในการพูดทั่วไปจะใช้คำว่า \"Ellada\" และมักจะเรียกตัวเองว่า Hellenes แม้กระทั่งในภาษาอังกฤษ ซึ่งคำภาษาอังกฤษ \"Greece\" มาจากชื่อละตินว่า Graecia หมายถึงพื้นที่ทางเหนือของกรีซในปัจจุบัน ซึ่งมีกลุ่มคนที่เรียกว่า Graikos อาศัยอยู่", "title": "ประเทศกรีซ" } ]
[ { "docid": "944164#1", "text": "ภาษากรีกโบราณเป็นภาษาที่ใช้แต่งวรรณกรรมกรีกโบราณ เป็นภาษาของกวีโฮเมอร์ และของนักประวัติศาสตร์ นาฏศิลปิน รวมไปถึงนักปรัชญา ที่มีชีวิตอยู่ในสมัยยุคทองของนครรัฐเอเธนส์ ภาษากรีกโบราณเป็นภาษาที่รุ่มรวยไปด้วยวัฒนธรรมการใช้ระดับสูง ไม่ว่าในทางปรัชญา ทางวรรณคดี ทางวิทยาศาสตร์ ในวิชาการแพทย์ และในวิชาคณิตศาสตร์ คำภาษากรีกเป็นจำนวนมากถูกยืมมาใช้ในภาษาละติน และผ่านต่อมายังภาษาสำคัญๆของยุโรป รวมทั้งภาษาอังกฤษ ปัจจุบันแม้ภาษากรีกโบราณจะนับว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว กล่าวคือไม่มีคนใช้พูดอีกต่อไป แต่การศึกษาภาษากรีกยังคงมีอยู่ในสถาบันการศึกษาชั้นนำของซีกโลกตะวันตก นับตั้งแต่ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการเป็นต้นมา", "title": "ภาษากรีกโบราณ" }, { "docid": "132195#3", "text": "ชาวกรีกฮาเดียนจำนวนเล็กน้อยเข้ามาถึงชายฝั่งของคาบสมุทรอนาโตเลียในช่วงปลายยุคสำริด และอยู่ภายใต้ชนพื้นเมืองที่ไม่ได้พูดภาษากรีก ซึ่งมีความสัมพันธ์กับจักรวรรดิฮิตไตต์ จนกระทั่งถึงยุคที่ชาวกรีกเผ่าไอโอเนียนและดอเรียน เข้ามาตั้งหลักแหล่งและสร้างเมืองใหญ่ๆ ขึ้น นักเขียนที่เกิดในเมืองนี้ได้เขียนไว้ว่า กลุ่มคนในเมืองใหม่มีการแต่งงานระหว่างเผ่า ซึ่งเรียกคนกลุ่มนี้ว่าคาเรีย และพูดภาษาที่ต่างออกไปการเขียนหายไปในช่วงยุคมืดของกรีก แต่การเขียนภาษาคาเรียก่อนหน้านั้นก็ไม่เหลืออยู่ จารึก 2 ภาษาเริ่มปรากฏใน 257 ปีก่อนพุทธศักราช", "title": "ภาษาคาเรีย" }, { "docid": "945472#2", "text": "ภาษากรีกคอยนีมีบทบาทในทางวรรณกรรมมาก โดยเป็นภาษาสื่อสารของยุคหลังคลาสสิก ที่นักวิชาการ และนักเขียนใช้อย่างแพร่หลาย รวมถึง พลูทาร์ก และโพลีบิอัส นอกจากนี้ กรีกคอยนียังเป็นภาษาของพระคริสต์ธรรมใหม่ และของเซปตัวจินท์ (Septuagint) หรือคัมภีร์พระคริสต์ธรรมเก่าภาษากรีกฉบับแปลศตวรรษที่ 3 นอกจากนี้งานเขียนทางเทววิทยาของเหล่าปิตาจารย์แห่งคริสตจักรในช่วงแรกๆ ก็เป็นภาษากรีกคอยนีเกือบทั้งหมด ปัจจุบันภาษานี้ยังใช้อยู่ในฐานะภาษาทางพิธีกรรมของศาสนจักรกรีกออร์โธด็อกซ์", "title": "ภาษากรีกคอยนี" }, { "docid": "22418#7", "text": "คาถาในวิชาเวทมนตร์ฝ่ายตะวันตกจะถูกร่ายเป็นภาษาละตินหรือภาษากรีกโบราณ โดยคาถาที่ร่ายเป็นภาษากรีกโบราณมักจะมีฤทธิ์มากกว่า ก่อนจะร่ายคาถา พ่อมดจะต้องร่าย \"กุญแจเปิดผนึก\" (発動キー) ซึ่งเป็นข้อความที่เป็นรหัสเฉพาะของพ่อมดแต่ละคนก่อน แต่เวลาใช้คาถาพื้นๆ ขณะฝึกหัดเวทมนตร์ก็ไม่ต้องร่ายกุญแจเปิดผนึกของตนเองก็ได้ เช่น นักเรียนโรงเรียนเวทมนตร์เมลเดียนาจะใช้ข้อความ \"พรากตี้บิกิ นาร์\" เป็นกุญแจเปิดผนึกจนถึงวันจบการศึกษา ซึ่งเป็นวันแรกที่พวกเขาได้รับอนุญาตให้ใช้กุญแจเปิดผนึกของตัวเอง", "title": "เวทมนตร์ใน คุณครูจอมเวท เนกิมะ!" }, { "docid": "291058#53", "text": "ในโลกยุคโบราณกรีกเป็นภาษาหลักของการศึกษาวิทยาศาสตร์ การสอนและการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ทำกันในบริเวณกรีกของจักรวรรดิโรมันด้วยภาษากรีก ในตอนปลายโรมันพยายามแปลงานกรีกเป็นภาษาละตินแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก เมื่อความรู้ภาษากรีกลดถอยลง จักรวรรดิละตินทางตะวันตกก็ถูกตัดออกจากความรู้ทางปรัชญาและวิทยาศาสตร์ของกรีก เมื่อผู้พูดภาษาละตินต้องการจะศึกษาวิทยาศาสตร์ก็จะมีหนังสือให้ศึกษาเพียงสองสามเล่มโดยโบเธียสที่สรุปตำรากรีกที่เขียนโดยนิโคมาคัสแห่งเจราซา (Nicomachus of Gerasa) และสารานุกรมละตินที่รวบรวมโดยนักบุญอีซีโดโรแห่งเซบียาในปี ค.ศ. 630", "title": "ต้นสมัยกลาง" }, { "docid": "82084#1", "text": "กลุ่มชนกลุ่มแรกที่รู้จักกันในชื่อชาวคีร์กิซได้มีการกล่าวถึงในยุคกลางตอนต้นของเอกสารจีนในฐานะเพื่อนบ้านทางเหนือ และบางครั้งเป็นกลุ่มจักรวรรดิเติร์กในทุ่งหญ้าสเตปที่อยู่ในมองโกเลีย ชาวคีร์กิซเกี่ยวข้องกับเส้นทางการค้านานาชาติในชื่อเส้นทางสายไหม ในยุคจักรวรรดิ์อุยกูร์เมื่อราว 297 ปีก่อนพุทธศักราช ชนกลุ่มนี้พูดภาษากลุ่มเตอร์กิกที่แตกต่างจากภาษาเตอร์กิกโบราณไปเล็กน้อย และเขียนด้วยอักษรรูนแบบเดียวกัน หลังจากมีชัยชนะเหนืออุยกูร์ ชาวคีร์กีซไม่ได้ครอบครองทุ่งหญ้าสเตปในมองโกเลีย และประวัติศาสตร์ของพวกเขาในช่วงนี้เป็นที่รู้จักน้อยมาก แต่เชื่อว่าพวกเขาคงอาศัยในบริเวณไม่ไกลจากบริเวณที่อยู่ในปัจจุบันนี้", "title": "ภาษาคีร์กีซ" }, { "docid": "122502#5", "text": "การแปลภาษาสันสกฤตเป็นภาษาโดกรี เขียนด้วยอักษรตกริเริ่มปรากฏเมื่อ พ.ศ. 1657 ภาษาโดกรีเองมีกวีนิพนธ์ นิยาย และละครพื้นเมืองเป็นของตนเองเช่นกันโดยมีประวัติสืบค้นได้ถึงพุทธศตวรรษที่ 23 มีสถานีวิทยุและโทรทัศน์ออกอากาศเป็นภาษาโดกรีในรัฐชัมมูและกัษมีระ\nเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2512 ภาษาโดกรีได้รับการยอมรับให้เป็นภาษาเขียนเอกเทศในอินเดีย เป็นภาษาประจำรัฐภาษาหนึ่งของรัฐชัมมูและกัษมีระ ต่อมาในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ภาษาโดกรีได้รับการยอมรับให้เป็นภาษาประจำชาติของอินเดีย ในปากีสถาน ภาษานี้มีชื่อว่าภาษาปาหารี ยังมีผู้ใช้อยู่มากแต่ยังไม่ได้รับการยอมรับให้เป็นภาษาราชการ", "title": "ภาษาโดกรี" }, { "docid": "122502#0", "text": "ภาษาโดกรีเป็นภาษาในจัมมูร์และแคชเมียร์ รวมทั้งในรัฐปัญจาบและรัฐหิมาจัลประเทศ มีผู้พูดราว 2.1 ล้านคน แต่ก่อนถือว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาปัญจาบ แต่ปัจจุบันได้รับการยอมรับว่าเป็นอีกภาษาหนึ่งในอดีตเขียนด้วยอักษรตกริ ซึ่งคล้ายกับอักษรสรทะที่ใช้เขียนภาษาแคชเมียร์ ปัจจุบันเขียนด้วยอักษรเทวนาครีหรืออักษรอาหรับ-เปอร์เซียแบบนัสตาลิก", "title": "ภาษาโดกรี" }, { "docid": "333822#6", "text": "แม้ว่าท่านจะเป็นชาวต่างชาติแต่เรื่องภาษาไม่ใช่อุปสรรค เพราะท่านเชื่อว่าภาษาพื้นฐาน คือบาลีสันสกฤต ซึ่งทั้งคนไทยและต่างชาติก็ต้องเริ่มมาเรียนรู้เหมือนกัน ภาษามีความยากพอกัน แต่คนไทยอาจจะง่ายกว่าที่ศัพท์ไทยมีบาลีสันสกฤต ท่านจึงต้องพยายามและขยันมากหน่อย แต่ก็ไม่นาน โดยท่านใช้วิธีการท่องตัวอักษรจนกระทั่งอ่านได้ จากนั้นก็อยู่คนเดียว ค่อยๆ อ่าน ดูศัพท์ในดิกชันนารี อีกทั้งอยู่กับครูบาอาจารย์ ไม่ได้เรียนทฤษฎีอะไรมากมาย ก็ปฏิบัติไปด้วย มีการพิสูจน์ไปด้วย ได้ปรึกษาหารือกับครูบาอาจารย์ ได้อ่านได้ฟัง พูดคุยกับพระด้วยกัน ทั้งหมดเป็นชีวิตของท่าน ท่านเองก็ต้องคลุกคลีกับสิ่งนี้อยู่แล้วจึงไม่ยากเท่าไร", "title": "พระฌอน ชยสาโร" } ]
467
พ.ศ. 2544 ใครเป็นนายกของไทย ?
[ { "docid": "362887#0", "text": "ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 23 ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2544–2549 ระหว่างดำรงตำแหน่ง ทักษิณริเริ่มหลายนโยบายซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สาธารณสุข การศึกษา พลังงาน ยาเสพติดและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เขาชนะการเลือกตั้งถล่มทลายถึงสองสมัย นโยบายของทักษิณลดความยากจนในชนบทได้อย่างเด่นชัด และจัดบริการสาธารณสุขในราคาที่สามารถจ่ายได้ ด้วยเหตุนี้ ฐานเสียงสนับสนุนของเขาส่วนใหญ่จึงมาจากคนยากจนในชนบท", "title": "การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของทักษิณ ชินวัตร" } ]
[ { "docid": "546813#4", "text": "ต่อมาได้ลงสมัครเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2544 ในสังกัดพรรคไทยรักไทย แต่แพ้ให้กับนายศราวุธ เพชรพนมพร จนวางในการเมืองระดับชาติ จึงมาลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วน จ.อุดรธานี และได้รับเลือกตั้งนั่งตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วน จ.อุดรธานี 1 สมัย แต่ต่อมาพ่ายแพ้การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี สมัยที่สอง จึงทำให้ยุติบทบาททางการเมืองไป", "title": "เฉลิมพล สนิทวงศ์ชัย" }, { "docid": "9877#4", "text": "ในปี พ.ศ. 2544 ได้เข้าอบรมกับนักจิตวิทยา ของสถาบัน เดวิด เลดเบทเทอร์ ซึ่งให้การฝึกอบรมนักกอล์ฟ ในระดับสากล ถึง 2 ครั้ง และในวันที่ 14 มิถุนายน ปีเดียวกัน ก็กลายเป็นคนไทยคนแรก ที่ได้ลงแข่งขันในรายการ ยูเอส โอเพ่น ที่สนาม เซาท์เทิร์น ฮิลล์ส สหรัฐอเมริกา นอกจากนั้น ในวันรุ่งขึ้นนั้นเอง ก็ได้ผ่านรอบตัดตัวในรายการนี้ ต่อมา วันที่ 1 ธันวาคม ปีดังกล่าว ก็ได้เป็นคนไทยคนแรก ที่สามารถทำเงินรางวัลสูงสุดใน เอเชียนทัวร์ คือ 353,060 ดอลลาร์สหรัฐ และยังครองตำแหน่งนี้อีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2547 (12 ธันวาคม) ด้วยจำนวนเงินรางวัลที่เพิ่มขึ้นจากเดิม เป็น 381,929 ดอลลาร์สหรัฐ", "title": "ธงชัย ใจดี" }, { "docid": "124426#0", "text": "รองศาสตราจารย์ การุญ จันทรางศุ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย (เลื่อนขึ้นมาแทนคนที่เป็นรัฐมนตรี ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ) เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2544 อุปนายกสภาวิศวกร คนที่ 1 , กรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร, กรรมการจัดการบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอส) , รองประธานคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม คนที่ 5 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2544, อดีตนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, อดีตกรรมการสภาวิศวกร, อดีตนายกสมาคมนักเรียนเก่าเตรียมอุดมศึกษา ในพระบรมราชูปถัมภ์", "title": "การุญ จันทรางศุ" }, { "docid": "415602#0", "text": "นายวิทยา ทรงคำ (เกิด 29 ตุลาคม พ.ศ. 2498) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเชียงใหม่ เขต 4 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2544 ในสังกัดพรรคไทยรักไทย ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย และดำรงตำแหน่งเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่", "title": "วิทยา ทรงคำ" }, { "docid": "9877#7", "text": "และ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2549 เป็นคนไทยคนแรก ที่คว้าแชมป์ใน เอเชียนทัวร์ อย่างน้อย 1 รายการ ทุกฤดูกาล โดยเป็นมาทั้งหมด 8 รายการ คือ โคลอน คัพ โคเรียน โอเพ่น 2000, เวลส์ อินเดียน โอเพ่น 2001, เมียนมาร์ โอเพ่น 2002, วอลโว่ มาสเตอร์ส ออฟ เอเชีย ไทยแลนด์ 2003, เมียนมาร์ โอเพ่น 2004, คาร์ลสเบอร์ก มาเลเชียน โอเพ่น 2004, คาร์ลสเบอร์ก มาเลเชียน โอเพ่น 2005 และ วอลโว่ มาสเตอร์ส ออฟ เอเชีย ไทยแลนด์ 2006", "title": "ธงชัย ใจดี" }, { "docid": "432997#2", "text": "พ.ศ. 2544 และพ.ศ. 2548 ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม สังกัดพรรคไทยรักไทย สามารถเอาชนะนายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ อดีต ส.ส. จากพรรคชาติไทย ได้ทั้ง 2 ครั้ง หลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2550 ดร.กุสุมาลวตีย้ายไปลงสมัครกับพรรคเพื่อแผ่นดิน พร้อมกับนายกริช กงเพชร รวมทั้งรับตำแหน่งรองเลขาธิการพรรค แต่ไม้ได้รับการเลือกตั้ง จึงย้ายกลับมาเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย และลงเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2554 ได้เป็น ส.ส. สมัยที่ 3 โดยเอาชนะนายยิ่งยศ อุดรพิมพ์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด จากพรรคภูมิใจไทย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เธอได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 53", "title": "กุสุมาลวตี ศิริโกมุท" }, { "docid": "368960#0", "text": "วรินทร ผดุงวิถี (อ้วนตาน) มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์สประจำปี 2544 และยังได้รับตำแหน่งขวัญใจช่างภาพสื่อมวลชน จากการประกวดมิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์สประจำปี 2544 เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมประกวดนางงามจักรวาล 2001 ที่ประเทศเปอร์โตริโก เคยเข้าประกวดนางสาวไทยประจำปี 2541 และได้เป็นผู้ถือป้ายประเทศจอร์แดน ในพิธีการเปิดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2541", "title": "วรินทร ผดุงวิถี" }, { "docid": "576935#2", "text": "ณัฐพนธ์ ศรีสมุทรนาค เคยเป็นมือเซตของวอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ที่เข้าร่วมการแข่งซีเกมส์ถึง 7 สมัยติดต่อกัน (ตั้งแต่ พ.ศ. 2538 ถึง 2544) โดยในซีเกมส์ 1985 เขาได้เป็นหนึ่งในนักกีฬาวอลเลย์บอลชายทีมชาติไทยที่สามารถคว้าเหรียญทองได้เป็นสมัยแรก และในปี พ.ศ. 2545 เขาได้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าผู้ฝีกสอนวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย แล้วเว้นช่วงไประยะหนึ่ง ก่อนที่จะกลับมาทำหน้าที่อีกครั้งใน พ.ศ. 2550 และเริ่มประสบความสำเร็จโดยทีมชาติไทยได้สิทธิ์เข้าแข่งขันวอลเลย์บอลเวิลด์คัพ ด้านงานราชการทหารอากาศ เขาเป็นหัวหน้าฝ่ายบรรจุหีบห่อ สังกัดกรมพลาธิการทหารอากาศ", "title": "ณัฐพนธ์ ศรีสมุทรนาค" }, { "docid": "421212#2", "text": "อดีตเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น และรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นตามลำดับ ปี พ.ศ. 2544 ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย ลำดับที่ 64 ต่อมา พ.ศ. 2548 ย้ายไปสมัครในระบบแบ่งเขต ได้คะแนน 49,406 คะแนน เอาชนะนายอรรถพล ชัยนันท์สมิตย์ จากพรรคกิจสังคม และนายณรงค์เลิศ สุรพล อดีต ส.ส.จากพรรคมหาชน ที่ได้เพียง 2,060 คะแนน นับจากนั้นนายจตุพรได้รับเลือกตั้งติดต่อกันมาอีก 3 ครั้ง โดยไม่เคยสอบตก\nจตุพร เจริญเชื้อ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 สมัย คือ", "title": "จตุพร เจริญเชื้อ" }, { "docid": "288346#3", "text": "ภายหลังการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2544 ที่นายมนตรี ด่านไพบูลย์ ต้องแพ้การเลือกตั้งให้กับนางสาวอาภาภรณ์ พุทธปวน ผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทย หลานสาวของ รศ.ดร.ชรินรัตน์ พุทธปวน จึงได้หันหลังให้กับการเมืองระดับชาติ และมาลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) โดยการสนับสนุนของพรรคไทยรักไทย แต่ก็แพ้การเลือกตั้งให้กับนายสมาน ชมภูเทพ อดีต ส.ส. หลายสมัยจากพรรคประชาธิปัตย์", "title": "ตรี ด่านไพบูลย์" } ]
468
สมัคร สุนทรเวช เสียชีวิตตอนอายุเท่าไหร่ ?
[ { "docid": "34482#0", "text": "สมัคร สุนทรเวช (13 มิถุนายน พ.ศ. 2478 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552) เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 25 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หัวหน้าพรรคพลังประชาชน อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ก่อตั้งพรรคประชากรไทย เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นนักการเมืองเก่าแก่ ที่มีเสียงพูดและลีลาการพูดเป็นเอกลักษณ์ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญมากมาย เช่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (2 สมัย) ได้ฉายาจากสื่อมวลชนทั่วไปว่า \"น้าหมัก\" \"ออหมัก\" หรือ \"ชมพู่\" (มาจากลักษณะจมูกของสมัคร) \"ชาวนา\" (จากกรณีกลุ่มงูเห่า) เป็นต้น", "title": "สมัคร สุนทรเวช" }, { "docid": "34482#8", "text": "หลังพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัครเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์เนื่องจากป่วยเป็นโรคมะเร็งที่ขั้วตับ โดยไม่เป็นที่เปิดเผยทางสื่อมวลชนมากนัก จนกระทั่งกฤษณะ ไชยรัตน์ พิธีกรรายการโทรทัศน์ เดินทางไปถ่ายทำรายการถึงโรงพยาบาล อาการป่วยของสมัครจึงเป็นที่เปิดเผยในวงกว้าง ต่อมา สมัครจึงเดินทางไปรักษาต่อยังสหรัฐอเมริกา และเดินทางกลับมารักษาตัวในประเทศไทยอีกครั้ง จนถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เวลา 08.48 น. สิริอายุได้ 74 ปี", "title": "สมัคร สุนทรเวช" } ]
[ { "docid": "34482#11", "text": "จากนั้น เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 คุณหญิงสุรัตน์ สุนทรเวช ภริยาของสมัคร พร้อมด้วยบุตรสาว บุตรเขย และญาติสนิทมิตรสหายจำนวนกว่า 300 คน เดินทางไปยังท่าเทียบเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ เพื่อโดยสารเรือหลวงกระบุรีไปประกอบพิธีลอยอังคารอัฐิของสมัคร ณ บริเวณอ่าวสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ในการนี้ พลเรือโท ฆนัท ทองพูล ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 เป็นผู้แทนกองทัพเรือต้อนรับพร้อมทั้งอำนวยการประกอบพิธี", "title": "สมัคร สุนทรเวช" }, { "docid": "304271#1", "text": "นายสมศักดิ์ได้เสียชีวิตลงเมื่อเวลาประมาณ 03.00 น. วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2546 ระหว่างที่เดินทางไปพักผ่อนที่ รร.เวล อ.เมือง จ.นครปฐม โดยตัวนายสมศักดิ์ ซึ่งอายุ 57 ปี และมีโรคหัวใจประจำตัว ได้ล้มลงระหว่างลุกเข้าห้องน้ำ แต่เสียชีวิตลงระหว่างนำส่งโรงพยาบาลสนามจันทร์ จ.นครปฐม โดยคณะแพทย์โรงพยาบาลลงความเห็นว่า กล้ามเนื้อหัวใจไม่ทำงาน เป็นเหตุให้หัวใจล้มเหลว", "title": "สมศักดิ์ ศรีวุฒิชาญ" }, { "docid": "665760#7", "text": "สรวงสันติ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2525 เวลา 23.00 น.โดยประมาณ ขณะเดินทางไปจังหวัดปราจีนบุรี พร้อมกับหมอเอื้อ อารีย์ หรือ วิรวด ปานเจริญ นักวิ่งเชียร์แผ่นเสียงที่มีชื่อเสียงขนาดต้องเรียกว่าเป็นระดับเจ้าพ่อ รวมถึง ศักดิ์รินทร์ วัชระศักดิ์ และมีผู้หญิงอีก 1 คน เพื่อนำแผ่นของลูกศิษย์คนใหม่ คือ “ชิตณรงค์ ไผ่ทอง” ไปโปรโมท ระหว่างทางรถเก๋งที่ขับไปเกิดชนประสานงากับรถสิบล้อ ทำให้ “เอื้อ อารีย์” ศักดิ์รินทร์ วัชรศักดิ์” และผู้หญิงที่นั่งไปด้วยเสียชีวิตคาที่ ส่วน “สรวง สันติ” ไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาล ในวันรุ่งขึ้นคือ 23 มกราคม พ.ศ. 2525 สรวง สันติ เสียชีวิตเมื่ออายุได้ 37 ปี และมีบุตร 3 คน คือเด็กหญิงแจ่มใส เด็กชายอยู่ยง-คงกระพัน ซึ่งเป็นคู่แฝด", "title": "สรวง สันติ" }, { "docid": "94530#4", "text": "ก้าน แก้วสุพรรณ เสียชีวิต ด้วยโรคมะเร็งลำไส้ เมื่ออายุ 75 ปี เมื่อเวลา 06.50 น. วันที่ 6 ต.ค. พ.ศ. 2556 บำเพ็ญกุศลศพที่วัดไร่ขิงซึ่งทางวัดบอกว่าจะไว้ที่ศาลาเดียวกับ สายัณห์ สัญญา \nสิ้นนักร้องดังในอดีต \"ก้าน แก้วสุพรรณ\" จากโรคมะเร็ง ด้วยวัย 74 ปี โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ ตั้งสวดพระอภิธรรมศพวัดไร่ขิง\n\"ก้าน แก้วสุพรรณ\" นักร้องลูกทุ่งชื่อดังในอดีต ที่นอนพักรักษาตัว ที่โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) จ.นครปฐม หลังมีอาการแน่นท้อง หายใจไม่ออก ตอนนี้แพทย์งดให้อาหารและนอนรักษาตัวอยู่ที่ชั้น 3 ห้อง 8 ผู้ป่วยพิเศษ 3 ตั้งแต่เมื่อวันที่ 23 ก.ย. ที่ผ่านมานั้น ล่าสุด ทางโรงพยาบาลแจ้งว่า นักร้องดังในอดีตได้เสียชีวิตลงแล้ว ด้วยโรคมะเร็งลำไส้ อายุ 74 ปี เมื่อเวลา 06.50 น. เมื่อช่วงเช้ามืดของวันที่ 6 ต.ค. โดยญาติจะตั้งสวดพระอภิธรรมศพที่วัดไร่ขิง ตามความต้องการของก้าน แก้วสุพรรณ ที่ได้สั่งเสียไว้ก่อนที่จะเสียชีวิต\nซึ่ง ครูก้าน แก้วสุพรรณ ได้ป่วยเป็นมะเร็งลำไส้มาปีกว่า และได้เข้ารับการรักษากับทางแพทย์สมุนไพร และแพทย์แผนปัจจุบันหลายแห่ง แต่อาการก็คงยังไม่ดีขึ้น ยิ่งนับวันร่างกายยิ่งซูบผอมและมีอาการที่ทรุดลง โดยมี นางหยก แก้วสุพรรณ ภรรยาวัย 64 ปี คอยให้การดูแลอย่างใกล้ชิด\nสำหรับประวัติ ก้าน แก้วสุพรรณ มีชื่อจริงว่า มงคล หอมระรื่น มีชื่อเล่นว่า แดง เป็นชาว อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี บทเพลงที่สร้างชื่อเสียง อาทิ น้ำตาลก้นแก้ว, โสนน้อยเรือนงาม ถือว่าเป็นนักร้องแนวหน้าของวงร่วมกับ สุรพล สมบัติเจริญ, ผ่องศรี วรนุช อีกท่านหนึ่ง", "title": "ก้าน แก้วสุพรรณ" }, { "docid": "168797#9", "text": "ร.ต.อ.สุรัตน์ เข้ารักษาอาการปวดขา และขาบวม ที่โรงพยาบาลสมิติเวช ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม ก่อนจะถึงแก่อสัญกรรม เมื่อเวลา 15.20 น. วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ด้วยอาการติดเชื้อในกระแสโลหิต ขณะมีอายุ 78 ปี โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ในวันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม ที่ศาลาเจ้าจอม วัดธาตุทอง กรุงเทพมหานคร และจะมีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพ ในปี พ.ศ. 2557", "title": "สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์" }, { "docid": "160842#7", "text": "สุภาว์ เทวกุล ณ อยุธยา เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจล้มเหลว เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2536 อายุ 65 ปี ขณะที่นวนิยายเรื่องสุดท้าย ชื่อ \"วันวารที่ผ่านไป\" เพิ่งเผยแพร่ได้เพียงตอนเดียว ทางสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยได้จัดตั้งกองทุนชื่อ \"กองทุนรางวัล สุภาว์ เทวกุล\" เพื่อประกวดรางวัลวรรณกรรมดีเด่นประเภท นวนิยาย เรื่องสั้น และบทละคร เป็นประจำทุกปี โดยพิธีมอบรางวัลกระทำในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของสุภาว์ เป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2538", "title": "สุภาว์ เทวกุล" }, { "docid": "37512#7", "text": "เมื่อ พ.ศ. 2526 กลุ่มลูกศิษย์ลูกหาของครูเวส ร่วมกันจัดงานฉลองวันเกิดครบ 7 รอบ 84 ปี ให้ในวันที่ 4 เมษายน ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ แต่ครูเวสก็เสียชีวิตเสียก่อน เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2526 ก่อนหน้าวันงานเพียงไม่กี่วัน หลังจากป่วยเป็นโรคปอดอักเสบเรื้อรังมานานหลายปี", "title": "เวส สุนทรจามร" }, { "docid": "225860#4", "text": "นายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ ถึงแก่อนิจกรรม ด้วยโรคชรา ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 24 มีนาคม 2553 ด้วยวัย 94 ปี โดยมีพิธีฝังศพวันในวันรุ่งขึ้น (25 มีนาคม) ที่สุสานมัสยิดอัลฮุสนา เจียรดับ แขวงหนองจอก เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานดินฝังศพ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ในการพิธีพระราชทานดินฝังศพด้วย นอกจากนั้น นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ได้ไปร่วมในพิธีฝังศพ", "title": "สวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์" }, { "docid": "34482#20", "text": "เมื่อ พ.ศ. 2530 สมัคร สุนทรเวช ถูกปรับออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในคณะรัฐมนตรีคณะที่ 43 และได้อภิปรายไม่ไว้วางใจจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ (คณะรัฐมนตรีคณะที่ 44) เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2530 สมัครอภิปรายกล่าวหาว่า จิรายุรับสินบนโดยนำสำเนาคำแถลงแสดงการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารเฟิสต์ อินเตอร์สเตตในสหรัฐอเมริกา มาแสดงในสภาและอภิปรายว่ามีชื่อของจิรายุเป็นเจ้าของบัญชีดังกล่าว ซึ่งมีรายการโอนเงินค่าสินบน เป็นจำนวนเงิน 92 ล้านบาท จิรายุได้ปฏิเสธและระบุว่าข้อกล่าวหาของสมัครเป็นเท็จและตนไม่เคยมีบัญชีธนาคารในสหรัฐอเมริกา", "title": "สมัคร สุนทรเวช" } ]
474
การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองเหตุการณ์ได้เกิดขึ้นเมื่อวันที่เท่าไหร่?
[ { "docid": "44328#0", "text": "การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองหรือ สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง เป็นความขัดแย้งทางทหารครั้งที่สองระหว่างราชวงศ์โกนบองแห่งพม่า กับราชวงศ์บ้านพลูหลวงแห่งอยุธยา ในการทัพครั้งนี้ กรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นราชธานีคนไทยเกือบสี่ศตวรรษได้เสียแก่พม่าและถึงกาลสิ้นสุดลงไปด้วย เหตุการณ์ได้เกิดขึ้นเมื่อวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน ตรงกับวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310", "title": "การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง" }, { "docid": "288334#8", "text": "ย่างเข้าปี พ.ศ. 2310 ในกรุงเกิดความระส่ำระสายกันดารอาหารอย่างหนัก พม่าตีค่ายป้องกันพระนครนอกกรุงได้ทั้งหมดและยิงปืนเข้ามาในกรุงทุกวัน กรุงศรีอยุธยาส่งทูตขอเลิกรบก็ไม่ยอม ทหารอยุธยาก็ทำการรบอย่างแข็งขันด้วยจวนตัว พม่าจึงเปลี่ยนมาใช้วิธีขุดรากกำแพงทางตะวันออกเฉียงเหนือ กระทำการสองครั้ง จึงตีกรุงศรีอยุธยาแตก เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310", "title": "ข้อวินิจฉัยการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ" } ]
[ { "docid": "44328#38", "text": "พงศาวดารไทยและพม่าไม่ค่อยจะกล่าวถึงชาวบ้านบางกระจันมากนัก โดยเป็นการกล่าวถึงแบบรวบรัด เนื่องจากพงศาวดารมักจะกล่าวถึงความขัดแย้งในระดับรัฐต่อรัฐเท่านั้นหรือเพราะชาวบ้านบางระจันทำการรบเพื่อป้องกันตนเอง หรือมิฉะนั้นก็ไม่เคยเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นเลยก็เป็นได้ ในพงศาวดารพม่ากล่าวถึง \"ผู้นำเล็กน้อย\" ที่หยุดการรุกกองทัพฝ่ายเหนือ แต่ระบุไว้ว่า เกิดขึ้นในช่วงต้นของการทัพตามแม่น้ำวัง ช่วงฤดูฝน (สิงหาคม-ตุลาคม) แม่ทัพพม่าผู้ประจำอยู่ใกล้กับอยุธยาเวลานั้น มิใช่เนเมียวสีหบดี แต่เป็นมังมหานรธา ซึ่งกองทัพฝ่ายใต้ได้ตั้งรอกองทัพฝ่ายเหนือนานนับเดือน ดูเหมือนว่าการบรรยายทั้งสอง ผู้นำเล็กน้อยที่ต้านทานเนเมียวสีหบดีในทางเหนือ และมังมหานรธาที่รั้งทัพไว้ที่กรุงศรีอยุธยา ผสมกันจนเกิดเป็นตำนานดังกล่าวขึ้น", "title": "การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง" }, { "docid": "44328#51", "text": "ผลกระทบโดยตรงของสงครามคราวเสียกรุงครั้งนี้ คือ การเกิดทุพภิกขภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย ทหารพม่าได้ทำลายไร่นาสวนในภาคกลาง ราษฎรไม่มีโอกาสทำมาหากินอย่างปกติ ซ้ำยังทำให้เศรษฐกิจของรัฐไทยตกต่ำอย่างหนักด้วยการปล้นท้องพระคลัง เผาบ้านเรือน วัด และสถานที่ราชการทั้งหลาย ทั้งนี้ ในระหว่างการทัพเองก็มีเรือต่างประเทศจะนำเสบียงและยุทธภัณฑ์มาช่วยเหลืออยุธยา แต่ทัพเรือพม่าก็ขัดขวางจนมิอาจให้ความช่วยเหลือได้", "title": "การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง" }, { "docid": "288334#6", "text": "ในช่วงนี้ พม่ายังคงล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ห่าง ๆ แต่ได้ส่งพลออกปล้นสะดมตามพื้นที่ต่าง ๆ มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น คือ วีรกรรมชาวบ้านบางระจัน พม่ารบชนะกองทัพของพระยาพระคลังจนเคลื่อนมาตั้งค่ายที่โพธิ์สามต้น และเกิดการปะทะกันประปรายกับกองทัพกรมหมื่นเทพพิพิธ", "title": "ข้อวินิจฉัยการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ" }, { "docid": "22602#14", "text": "โดยชุมนุมเจ้าพระฝาง เป็นชุมนุมอิสระสุดท้ายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกปราบชุมนุมก๊กเจ้าพระฝางได้นั้น นับเป็นการพระราชสงครามสุดท้ายที่ ทำให้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงบรรลุพระราชภารกิจสำคัญ ในการรวบรวมพระราชอาณาเขตให้เป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียวดังเดิมหลังภาวะจลาจลเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ในปี พ.ศ. 2310 และทำให้สิ้นสุดสภาพจลาจลการแยกชุมนุมอิสระภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง และนับเป็นการสถาปนากรุงธนบุรีได้อย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ เมื่อสำเร็จศึกปราบชุมนุมก๊กเจ้าพระฝาง ในปี พ.ศ. 2313", "title": "สภาพจลาจลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง" }, { "docid": "44328#58", "text": "การที่รัฐบาลกลางของอยุธยามีการควบคุมอำนาจท้องถิ่นอย่างหละหลวม ทำให้กรุงศรีอยุธยามีอำนาจและความสามารถในการป้องกันตนเองที่จำกัด เพราะไม่ได้รับการช่วยเหลือจากกองทัพหัวเมือง ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาลกลาง ซึ่งแนวคิดดังกล่าว นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้เน้นเป็นพิเศษ และกล่าวว่าการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง \"\"เป็นความล้มเหลวของระบบป้องกันตนเองของอาณาจักรมากกว่าความผิดของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลหนึ่งเท่านั้น\"\" ความเสื่อมโทรมของระบบการป้องกันตนเองของอาณาจักรอยุธยาอีกประการหนึ่ง คือ จำนวนไพร่ที่สามารถเรียกเกณฑ์เข้าสู่กองทัพมีน้อย เพราะรัฐบาลได้สูญเสียไพร่ให้กับเจ้านายและขุนนางไปเป็นอันมาก และอีกจำนวนหนึ่งก็หลีกเลี่ยงการขึ้นทะเบียน เช่น ชาวบ้านบางระจัน นอกจากนี้ หากจะใช้วิธีการกวาดต้อนไพร่มายังภาคกลางเพื่อตั้งกองทัพขนาดใหญ่อย่างสมัยสมเด็จพระนเรศวรก็จะก่อให้เกิดจลาจลขึ้นอีก", "title": "การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง" }, { "docid": "44328#41", "text": "ครั้นเมื่อข้าศึกเข้าประชิดกรุงศรีอยุธยา ได้ปรากฏข้าราชการและราษฎรจำนวนมากหลบหนีไป ทำให้พวกที่เหลืออยู่ในกรุงเกิดการท้อหมดกำลังใจ ทั้งที่ผู้ซึ่งหลบหนีไปจำนวนมากนั้นได้สร้างวีรกรรมในสมัยต่อมา นอกจากนี้ กองทัพหัวเมืองทั้งหลายที่มีจำนวนน้อยอยู่แล้ว และส่วนใหญ่ก็คงไม่เต็มใจจะช่วยเหลือกรุง เป็นผลให้หลังจากกองทัพพิษณุโลกยกกลับไป กองทัพหัวเมืองอื่นก็ไม่มีกำลังใจอยู่ต่อสู้อีก ตัวอย่างข้าราชการผู้ละทิ้งหน้าที่ระหว่างการทัพ ได้แก่ พระยาพลเทพ หลวงโกษา พระยารัตนาธิเบศร์ พระยานครราชสีมา เจ้าศรีสังข์ และพระยาตาก เป็นต้น ความล้มเหลวของยุทธวิธีน้ำหลากนี้เองซึ่งส่งผลกระทบถึงความเข้มแข็งและวินัยทหาร", "title": "การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง" }, { "docid": "44328#76", "text": ". ในพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 2 หน้า 299 ได้กล่าวว่า \"\"พม่าเสียรี้พลประมาณสามพันสี่พันนายทั้งป่วยไข้ตาย ชาวเมืองอยุทยาเสียคนประมาณสองแสนเศษ ทั้งตายด้วยอาวุธและป่วยไข้ตาย\"\" ซึ่ง ชัย เรืองศิลป์ ได้ประมาณว่า มีชาวอยุธยาเสียชีวิตจากการอดอาหารตายมากกว่าต้องอาวุธศัตรูถึงห้าหกเท่า", "title": "การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง" }, { "docid": "44328#67", "text": "หากแต่ประเด็นที่โดดเด่นกว่า คือ ความแตกต่างในจุดประสงค์ของสงครามคราวเสียกรุงทั้งสองครั้งมากกว่า เพราะในสมัยพระเจ้าบุเรงนอง เมื่อปี พ.ศ. 2112 เป้าหมายในการทัพครั้งนั้นเป็นเพียงการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาณาจักรตองอู โดยประสงค์เพียงจะตีเอากรุงศรีอยุธยาเป็นประเทศราชเท่านั้น แต่เป้าหมายในการทัพครั้งนี้ เป็นการสร้างความแตกแยกให้กับกลุ่มการเมืองทั้งหลายในอาณาจักรอยุธยา หรือไม่ก็ทำลายลักษณะทางกายภาพ ทรัพยากรมนุษย์ ทรัพย์ทางคติความเชื่อศิลปะ และทรัพย์ทางปัญญาจนไม่อาจฟื้นฟูได้", "title": "การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง" } ]
491
หนังสือในคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาเดิมมีทั้งหมดกี่เล่ม ?
[ { "docid": "17915#0", "text": "พันธสัญญาเดิม () เป็นศัพท์ศาสนาคริสต์ใช้เรียกคัมภีร์ฮีบรู ซึ่งเป็นชุดคัมภีร์ของชาววงศ์วานอิสราเอลโบราณ ที่รวมกันเป็นส่วนแรกของคัมภีร์ไบเบิลในศาสนาคริสต์ จำนวนหนังสือในพันธสัญญาเดิมจะแตกต่างกันตามแต่ละนิกายในศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์ยอมรับเฉพาะหนังสือ 24 เล่มในคัมภีร์ทานัคว่าเป็นพันธสัญญาเดิม แต่แบ่งใหม่เป็น 39 เล่ม ส่วนนิกายโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ คอปติกออร์ทอดอกซ์ และคริสตจักรแห่งเอธิโอเปีย มีจำนวนหนังสือที่รับเข้าในสารบบพันธสัญญาเดิมของตนมากกว่า", "title": "พันธสัญญาเดิม" }, { "docid": "28968#12", "text": "คัมภีร์ไบเบิล หรือที่เรียกว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ ประกอบด้วยหนังสือ 66 เล่ม โดยแบ่งเป็นภาคพันธสัญญาเดิม 39 เล่ม และภาคพันธสัญญาใหม่ 27 เล่ม", "title": "คัมภีร์ไบเบิล" } ]
[ { "docid": "28968#1", "text": "คริสตชนทุกคนเชื่อว่าพระคัมภีร์ทุกบททุกข้อนั้นมนุษย์เขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ประกอบด้วยหนังสือจำนวน 66 หรือ 73 หรือ 78 เล่ม (แล้วแต่นิกาย) ประกอบด้วยภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมถูกเขียนขึ้นก่อนที่พระเยซูคริสต์ประสูติ ทั้งหมดเขียนเป็นภาษาฮีบรู ยกเว้นส่วนที่เป็นคัมภีร์อธิกธรรม (ยอมรับเฉพาะชาวคาทอลิก) ถูกเขียนด้วยภาษากรีกและภาษาอียิปต์ ส่วนพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว โดยบันทึกถึงเรื่องราวของพระเยซูตลอดพระชนม์ชีพ รวมทั้งคำสอน และการประกาศข่าวดีแห่งความรอด การยอมรับการทรมาน และการไถ่บาปของมนุษย์โดยพระเยซู การกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ การส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มายังอัครทูต ประวัติศาสตร์ของคริสตจักรในยุคแรกเริ่ม ภายหลังการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูแล้ว การเบียดเบียนคริสตจักรในรูปแบบต่าง ๆ", "title": "คัมภีร์ไบเบิล" }, { "docid": "28968#5", "text": "ส่วนสารบบของพันธสัญญาใหม่ก็ได้ข้อสรุปล่าช้าเช่นกัน เพราะหนังสือทุกเล่มในพันธสัญญาใหม่เขียนขึ้นหลังการเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ของพระเยซู ในระยะแรกเอกสารเหล่านี้ใช้เป็นบทอ่านที่เผยแพร่กันในคริสตจักร บางเอกสารเช่น จดหมายของเปาโลได้รับการยอมรับจากอัครทูตซีโมนเปโตรว่าเป็นเอกสารที่เขียนโดยการดลใจจากพระเจ้า หนังสือที่เป็นพระวรสารก็ได้รับการยอมรับตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรก แต่รายชื่อของหนังสือในสารบบพันธสัญญาใหม่ก็ยังไม่ปรากฏชัดเจน แต่ละเล่มยังได้รับการยอมรับไม่พร้อมกัน เช่น พระวรสารทั้ง 4 เล่มและจดหมายของเปาโลได้รับการยอมรับตั้งแต่ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 3 และมีการยอมรับหนังสือวิวรณ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 3 หนังสือฮีบรูได้รับการยอมรับในคริสต์ศตวรรษที่ 4 นอกจากนี้หนังสือบางเล่มเป็นที่ยอมรับเข้าสารบบพันธสัญญาใหม่โดยคริสตจักรในท้องถิ่นหนึ่งแต่ไม่ได้รับการยอมรับในท้องถิ่นอื่น เช่น จดหมายของนักบุญบารนาบัส หนังสือของเคลเมนต์ เป็นต้น จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 5 คริสตชนทุกกลุ่มจึงมีคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่เป็นสารบบเดียวกัน", "title": "คัมภีร์ไบเบิล" }, { "docid": "78680#1", "text": "หนังสือปฐมกาลเป็นหนังสือเล่มแรกของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม (โทราห์) และเป็นเล่มแรกในหมวดเบญจบรรณ ชาวยิวเชื่อว่าโมเสสเป็นผู้เขียนขึ้น เนื้อหากล่าวถึงประวัติการสร้างโลกของพระยาห์เวห์ จนถึงลำดับลูกหลานของวงศ์วานอิสราเอล และการเข้าสู่อียิปต์ ซึ่งประกอบด้วยเรื่องที่รู้จักกันแพร่หลายดี เช่น อาดัมกับเอวา เรือโนอาห์ หอบาเบล ฯลฯ", "title": "หนังสือปฐมกาล" }, { "docid": "44658#1", "text": "ภายหลังได้มีการแปลเป็นภาษากรีกจึงมีชื่อเรียกใหม่ว่า เบญจบรรณ () หมายถึง \"ที่บรรจุห้าอัน\" คือหนังสือ 5 เล่มแรกของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม ได้แก่โทราห์เขียนด้วยภาษาฮีบรูไบเบิล หรือที่รู้จักกันในชื่อ หนังสือของโมเสส เป็นคัมภีร์ที่พระเจ้าประทานให้กับโมเสส กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของโลกและสรรพสิ่ง รวมถึงที่มาของความสัมพันธ์ระหว่างพระยาห์เวห์กับมนุษย์ เช่น การสร้างทรงสร้างของพระเจ้า กำเนิดมนุษย์ ที่มาของบาปกำเนิด พันธสัญญาของพระเจ้า บรรพชนของชนชาติอิสราเอล เรื่องของบัญญัติสิบประการ และพิธีการต่าง ๆ ของชาวอิสราเอล เป็นต้น", "title": "โทราห์" }, { "docid": "78030#0", "text": "หนังสือนางรูธ () เป็นหนังสือเล่มที่สั้นที่สุดเล่มหนึ่งทั้งในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมและในคัมภีร์ฮีบรู มาจากภาษาฮีบรูว่า מגילת רות โดยหนังสือนางรูธนี้ มีเพียง 4 บท เท่านั้น หนังสือเล่มนี้ไม่ระบุผู้เขียนที่ชัดเจน มีนักเทววิทยาบางกลุ่มเชื่อว่า ซามูเอล เป็นผู้เรียบเรียงขึ้น แต่ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกัน เนื่องจากนักประวัติศาสตร์ พบว่าเนื้อหาบางส่วนในหนังสือนางรูธได้ระบุช่วงเวลาซึ่งเชื่อได้ว่า น่าจะเกิดขึ้นภายหลังจากซามูเอลได้เสียชีวิตแล้ว", "title": "หนังสือนางรูธ" }, { "docid": "597223#7", "text": "คัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถา เป็นที่รู้จักกันในหมู่ผู้ศึกษาหลักสูตรพระปริยัติธรรมในประเทศไทยว่า หนังสือธัมมปทัฏฐกถา ฉบับตีพิมพ์แบบสมัยใหม่มีจำนวน 8 เล่ม แต่เรียกว่า 8 ภาค เป็นหนังสือขนาด 8 หน้ายก แต่ละเล่มหนาอย่างต่ำ 126 หน้า สูงสุดหนา 216 หน้า คณะสงฆ์กำหนดให้เป็นหลักสูตร (แบบเรียน) เรียนและสอบความรู้พระปริยัติธรรมแผนกบาลี ที่ใช้ยุติในปัจจุบันนี้หลาบชั้นด้วยกันดังนี้ ธัมมปทัฏฐกถา ภาค 1-2-3-4 ใช้เป็นหลักสูตร ประโยคบาลีสนามหลวง วิชาแปลมคธเป็นไทยโดยพยัญชนะและโดยอรรถ ชั้นประโยค 1-2 และเปรียญตรีปีที่ 1-2 หมวดบาลีศึกษา นอกจากนั้น ธัมมปทัฏฐกถา ภาค 1 ยังใช้เป็นหลักสูตรประโยคบาลีสนามหลวงวิชาแปลไทยเป็นมคธ ชั้นประโยค ป.ธ. 4 อีกด้วย ส่วนธัมมปทัฏฐกถา ภาค 2-3-4 ใช้เป็นหลักสูตรประโยคบาลีสนามหลวง วิชาแปลไทยเป็นมคธ ชั้นประโยค ป.ธ. 5 ธัมมปทัฏฐกถา ภาค 5-6-7-8 ใช้เป็นหลักสูตรประโยคบาลีสนามหลวง วิชาแปลมคธเป็นไทยโดยพยัญชนะและโดยอรรถ และวิชาสัมพันธ์ไทย ชั้นประโยค ป.ธ. 3 และยังใช้เป็นหลักสูตรประโยคบาลีสนามหลวง วิชาแปลไทยเป็นมคธ ชั้นประโยค ป.ธ. 6 อีกด้วย", "title": "ธัมมปทัฏฐกถา" }, { "docid": "956648#1", "text": "หนังสือเล่มนี้เดิมเผยแพร่เป็นชุด ชุดละ 10 รูป ในช่วง ค.ศ. 1899–1904 และเผยแพร่รวมกันเป็น 2 เล่มใน ค.ศ. 1904 มีเนื้อหาประกอบด้วยภาพพิมพ์สิ่งมีชีวิตจำนวน 100 ภาพ ภาพส่วนใหญ่มีคำบรรยายชุดแรก ๆ จากเฮ็คเคิลเอง ตลอดชีวิตการทำงานของเฮ็คเคิล มีการผลิตภาพพิมพ์กว่า 1,000 ชิ้นโดยอ้างอิงภาพร่างและภาพสีน้ำของเขา ภาพในหนังสือนี้คัดสรรมาจากภาพที่ดีที่สุดในจำนวน 1,000 ชิ้นดังกล่าว โดยมี อดอล์ฟ กลิทช์ (Adolf Giltsch) นักภาพพิมพ์หิน เป็นผู้แปลงจากภาพร่างเป็นภาพพิมพ์", "title": "คุนสท์ฟอร์เมินแดร์นาทัวร์" }, { "docid": "163134#3", "text": "หนังสือที่พบทั้งหมดเป็นเอกสารเกี่ยวกับชาวยิวที่เขียนโดยบุคคลร่วมสมัยกับพระเยซู มีอายุประมาณ 2,000 ปี เอกสารสำคัญที่สุดคือคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเก่า หนังสือเอสเธอร์ ส่วนใหญ่เขียนด้วยภาษาฮีบรู บางส่วนเขียนเป็นภาษาแอราเมอิก (ภาษาพูดสมัยนั้น) และภาษากรีก (ภาษาทางการค้าสมัยนั้น) หนังสือบางส่วนกล่าวถึงวิถีชุมชน กฎและข้อลงโทษ ซึ่งแสดงให้เห็นภาพของกลุ่มชาวยิวที่เรียกว่าพวกเอสซีน ซึ่งเชื่อในวันสิ้นโลกอย่างมาก", "title": "ม้วนหนังสือเดดซี" } ]
498
บริษัทเป๊ปซี่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อไหร่?
[ { "docid": "10276#3", "text": "ต่อมาในปี ค.ศ. 1903 ต่อมามีการจำหน่ายและขายผลิตภันฑ์ของเป๊ปซี่ โดยยังคงความเป็นต้นตำรับและคุณสมบัติการช่วยย่อยอาหาร จึงได้มีการจัดทำโฆษณาเครื่องดื่มว่า \"\"สดชื่น มีชีวิตชีวา และช่วยในการย่อยอาหาร\"\" ตามเจตนารมณ์เดิม หลังจากที่ได้มีการว่าจำหน่ายมาประมาณ 2 ปี ในปี ค.ศ. 1905 ได้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงโลโก้ใหม่จากการก่อตั้งครั้งแรกในปี ค.ศ. 1898 โรงงานบรรจุขวด คาเลบได้เปลี่ยนชื่อเป็น \"เป๊ปซี่-โคล่า\" สาขาแรกได้ก่อก่อตั้งในเมืองชาร์ล็อตและเดอร์แฮม รัฐนอร์ทแคโรไลนา 8 ปีต่อมาเป๊ปซี่เปลี่ยนโลโก้ใหม่อีกครั้ง ในปี ค.ศ. 1906 ซึ่งนับเป็นโลโก้แบบที่ 3 และเปลี่ยนแปลงข้อความโฆษณา \"The Original Pure Food Drink\" โดยในปีนั้นเป๊ปซี่มีโรงงานบรรจุขวดแล้วทั้งหมด 15 โรงงานทั่วสหรัฐอเมริกา โดยเครื่องหมายการค้าของเป๊ปซี่ได้รับการจดทะเบียนเพิ่มในในประเทศแคนาดา โดยมียอดจำหน่ายมากถึง 38,605 แกลลอน และในปีต่อมาได่มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป๊ปซี่ ในประเทศเม็กซิโก ในปี ค.ศ. 1907 และมีการเปลี่ยนมาใช้ข้อความที่ว่า \"รสชาติเยี่ยมและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ\" () โดยมีการใช้ข้อความนี้มาต่อเนื่องยาวนานถึง 2 ทศวรรษ", "title": "เป๊ปซี่" }, { "docid": "10276#0", "text": "เป๊ปซี่ โคล่า คือ เครื่องดื่มอัดลมที่ผลิตโดยบริษัทเป๊ปซี่ ซึ่งเป็นบริษัทคู่แข่งรายสำคัญของโคคา โคล่า เป๊ปซี่ โคล่ากำเนิดขึ้นครั้งแรกโดยการคิดค้นของเภสัชกรคาแร็ป แรดแฮมที่นิวเบิร์น นอร์ทแคโรไลนา ช่วงทศวรรษ1800-1900 แรกเริ่มเครื่องดื่มชนิดนี้ตั้งชื่อว่า \"เครื่องดื่มของแบรด (Brad's drink)\" โดยมีเจตนาจะผลิตเครื่องดื่มชนิดนี้ขึ้นเพื่อช่วยรักษาอาการปวดท้อง ต่อมาแรดแฮมจึงตั้งชื่อเครื่องดื่มนี้ว่าเป๊ปซี่จากอาการปวดท้องที่เรียกว่า ดิสเป๊ปเซีย ชื่อเป๊ปซี่นั้นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 1903 ส่วนผสมของเป๊ปซี่ถือเป็นความลับทางการค้าเช่นเดียวกับสูตรผสมของ โค้ก เคเอฟซี และแม็คโดนัลด์", "title": "เป๊ปซี่" } ]
[ { "docid": "10276#34", "text": "แต่เดิม เป๊ปซี่โค อินค์.สหรัฐอเมริกา ทำสัญญามอบสิทธิในการผลิตและจัดจำหน่ายเป๊ปซี่ในประเทศไทย ให้แก่บริษัทเสริมสุข จำกัด โดยเสริมสุขก่อตั้งโรงงานขนาดย่อมแห่งแรก ขึ้นบนเนื้อที่ราว 4 ไร่ บริเวณริมถนนสีลม และเริ่มการจัดจำหน่ายสินค้าประเภทขวดแก้วขนาด 10 ออนซ์ ภายใต้กำลังการผลิตวันละ 20,000 ขวดเป็นครั้งแรก ในเวลาเช้าของวันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2496 ภายใต้คำขวัญโฆษณาที่ว่า \"ดีมาก มากดี\" () โดยจำหน่ายในราคา 1 บาท", "title": "เป๊ปซี่" }, { "docid": "10276#36", "text": "ทว่าหลังจากดำเนินธุรกิจร่วมกันมาเป็นเวลาถึง 59 ปี ในที่สุดเมื่อวันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555 บริษัทแม่เป๊ปซี่โค อินค์. ก็ยุติการต่อสัญญาผลิตและจัดจำหน่ายเป๊ปซี่กับ บจก.เสริมสุข เป็นผลให้สัญญาดังกล่าวสิ้นสุดลงในวันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555 โดยเป๊ปซี่โค อินค์.จัดตั้งบริษัทเป๊ปซี่-โคลา (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด ขึ้นเพื่อดำเนินธุรกิจการผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มเป๊ปซี่ รวมถึงมิรินด้าและเซเว่นอัพ ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 นับแต่บัดนั้น ส่วนแบ่งการตลาดของเป็ปซี่ลดต่ำลง ปิดตำนานความเป็นเจ้าตลาดน้ำดำอันดับหนึ่งของประเทศไทยที่เคยครองมาหลายทศวรรษรอน บราวน์ (Ron Brown) เลขาธิการกระทรวงพาณิชย์ เป็นชาวแอฟริกัน-อเมริกัน คนแรกที่ปรากฏในแคมเปญโฆษณาที่เป๊ปซี่มุ่งเน้นเจาะตลาด แอฟริกัน-อเมริกัน", "title": "เป๊ปซี่" }, { "docid": "10276#28", "text": "ในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครั้งใหญ่ของธุรกิจ เป๊ปซี่ได้ประกาศ IPOs ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และในวันที่ 31 มีนาคม 2542 ก็ได้ตั้งบริษัท The Pepsi Bottling Group, Inc. (PBG) และกลายมา เป็นบริษัทการค้าและบริษัทผลิตขวดที่ใหญ่ที่สุดของเป๊ปซี่ ซึ่งบริหารงานโดย เครก เวธเธอรัป (Craig Weatherup)", "title": "เป๊ปซี่" }, { "docid": "10276#7", "text": "ในปี ค.ศ. 1923 บริษัทเป๊ปซี่-โคล่า ถึงคราวต้องประกาศล้มละลาย และต้องขายสินทรัพย์ให้แก่บริษัท คราเวน โฮลดิ้ง คอร์เปอเรชั่น ในนอร์ธ คาโรไลน่า เป็นจำนวนเงิน 30,000 ดอลลาร์สหรัฐ รอย ซี. เม็กการ์เกล (Roy C. Megargel) นายหน้าค้าหุ้นจากตลาดหุ้น วอลล์ สตรีท ได้ซื้อเครื่องหมายการค้า, ธุรกิจ รวมถึงความนิยมที่ได้สร้างสมมา จาก คราเวน โฮลดิ้ง คอร์เปอเรชั่น เป็นจำนวนเงิน 35,000 ดอลลาร์สหรัฐ และก่อตั้งเป็นบริษัทเป๊ปซี่-โคล่า คอร์เปอเรชั่น ในปี ค.ศ. 1932 จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศ อาร์เจนติน่า แล้วเริ่มออกจำหน่ายผลิตภัณฑ์ขนาดบรรจุขวด 12 ออนซ์ ในราคา 5 เซนต์ ซึ่งเป็นราคาเดียวกับเครื่องดื่มของคู่แข่งในขนาด 6 ออนซ์ ในปี ค.ศ. 1934", "title": "เป๊ปซี่" }, { "docid": "10276#24", "text": "ด้วยการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจกับบริษัท โธมัส เจ. ลิปตัน ในปี 1991 ทำให้เป๊ปซี่กลายเป็นผู้นำทางการตลาดในชาพร้อมดื่ม ด้วย ลิปตัน บริสก์ ซึ่งเป็นอันดับหนึ่งในตลาด และยังจับมือกับกาแฟสตาร์บัคส์ ผลิตกาแฟ แฟรปปูชิโน ซึ่งเป็นเครื่องดื่มกาแฟเย็นในรูปแบบใหม่ซึ่งได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว กลายเป็นกาแฟเย็นพร้อมดื่มที่ได้รับความนิยมที่สุด", "title": "เป๊ปซี่" }, { "docid": "10276#4", "text": "และได้โฆษณาเครื่องดื่มชนิดใหม่ของเขานี้ต่อลูกค้าที่ชื่นชอบ เมื่อยอดขายของเป๊ปซี่-โคล่าเริ่มเพิ่มขึ้นเขาจึงเริ่มตั้งบริษัทและทำการตลาดให้กับเครื่องดื่มใหม่ของเขา จนในปี 1902 เขาเริ่มดำเนินกิจการบริษัทเป๊ปซี่-โคลา ในห้องด้านหลังร้านขายยา เขาจดสิทธิบัตรเครื่องหมายการค้าและได้รับมอบสิทธิบัตรเมื่อ 16 มิถุนายน 1903 ในตอนแรกเขาผสมเครื่องดื่มด้วยตัวเองและจำหน่ายผ่านตู้กดน้ำ แต่ในไม่ช้าคาเลบเริ่มรู้ตัวว่ามีโอกาสอันดีรออยู่ -นั่นคือการบรรจุขวดเป๊ปซี่-โคล่า เพื่อที่ว่าทุกๆ คนในวงกว้างจะได้สามารถลิ้มรสเครื่องดื่มของเขาได้", "title": "เป๊ปซี่" }, { "docid": "10276#17", "text": "ในปี 1964 เมาเทนดิว เครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมในประเทศ กลายเป็นตัวสำคัญในการเสริมทัพความแข็งแกร่งให้กับเป๊ปซี่-โคล่า ด้วยแนวคิดการโฆษณา Ya-Hoo, Mountain Dew! ก็กลายมาเป็นลายเซ็นที่สร้างความจดจำให้กับตรายี่ห้อ การจำหน่ายเป๊ปซี่บรรจุกระป๋องที่เป็นที่นิยมในปัจจุบันนี้มีจุดเริ่มต้นในปี 1965 และในปีเดียวกันนั้นบริษัทเป๊ปซี่-โคล่ายุบรวมกับบริษัท ฟริโต-เลย์ ซึ่งเป็นบริษัทจำหน่ายขนมขบเคี้ยวที่ประสบความสำเร็จจากเมือง ดัลลัส เท็กซัส และกลายเป็นบริษัท PepsiCo, Inc. - หนึ่งในบริษัทประสบความสำเร็จของอเมริกา โดนัลด์ เอ็ม. เคนดัลล์ เป็นผู้ก่อตั้ง และหลังจากนั้นไม่นาน บริษัทก็เปิดธุรกิจในยุโรปตะวันออก และ ญี่ปุ่น", "title": "เป๊ปซี่" }, { "docid": "10276#12", "text": "ในปี ค.ศ. 1950 นายอัลเฟรด เอ็น สตีล ขึ้นดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการและ CEO ของเป๊ปซี่-โคล่า ดาราฮอลลีวูด โจน ครอวฟอร์ด (Joan Crawford) ภรรยาของมิสเตอร์ สตีล เป็นพรีเซ็นเตอร์ในการโปรโมทสินค้าของบริษัท โฆษณาของเป๊ปซี่-โคล่า ก้าวทันรสนิยมของผู้บริโภค ดังเช่นที่สตีลได้บุกเบิกการส่งเสริมการขายเป๊ปซี่-โคล่า ว่าเป็นประสบการณ์มากกว่าการต่อรองราคา สโลแกน \"สองเท่าในราคา 5 เซ็นต์ (Twice as much for a nickel\" ก็เหมือนกับ \"ได้มากกว่า 1 ออนซ์\" (\"More Bounce to the Ounce\") ส่งให้เป๊ปซี่มีทศวรรษที่เต็มไปด้วยพละกำลัง\nในปี ค.ศ. 1953 เมื่อชาวอเมริกันเริ่มตระหนักถึงเรื่องน้ำหนักตัว เป๊ปซี่เริ่มใช้กลยุทธ์ใหม่เกี่ยวกับเรื่องแคลอรี่ต่ำในแคมเปญ \"ความสดชื่นแบบเบาๆ\" (\"The Light Refreshment\") นอกเหนือจากในอเมริกาแล้ว เป๊ปซี่มีโรงงานบรรจุขวดเป๊ปซี่-โคล่าเปิดดำเนินการ 149 โรง ใน 61 ประเทศ \nหลายคนเชื่อว่า ครอวฟอร์ด เป็นผู้ที่เปลี่ยนแนวคิดบริษัทจาก คุณค่า ของยุค 40 ไปเป็นการรณรงค์ด้วยแนวคิดใหม่ทางด้านภาพลักษณ์ในปี 50 มีการนำฝาขวดมาออกแบบเป็นโลโก้ใหม่ และเป๊ปซี่ไม่ได้ทำโฆษณาโดยยึดจุดเด่นทางด้านราคาอีกต่อไป แต่เปลี่ยนมาพูดถึงไลฟ์สไตล์ หลังจากการเสียชีวิตของ มิสเตอร์ สตีล ในปี 1959 แล้ว มิส ครอวฟอร์ด ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของคณะกรรมการบริหาร ในยุคนั้นชาวอเมริกันมีความตระหนักในเรื่องน้ำหนักตัวกันมากขึ้น โฆษณาของเป๊ปซี่ตอบรับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมนี้ด้วยแคมเปญเป๊ปซี่มีแคลอรี่ต่ำผ่านสโลแกน ความสดชื่นแบบเบาๆ (The Light Refreshment) และ สดชื่นได้ โดยไม่ต้องเติม (Refreshing Without Filling)", "title": "เป๊ปซี่" } ]
506
พระราธะ เกิดในตระกูลอะไร?
[ { "docid": "266485#3", "text": "พระราธะ เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในเมืองราชคฤห์ ฐานะเดิมของท่านนั้นจัดว่าอยู่ในขั้นเศรษฐี มีทรัพย์สินเงินทองมาก แต่เมื่อย่างเข้าสู่วัยชราถูกภรรยาและบุตรธิดาทอดทิ้ง ต้องกลายเป็นคนยากจนอนาถา ไร้ที่พึ่งพาอาศัยต้องเลี้ยงชีพด้วยการอาศัยพระภิกษุอยู่ในวัดพระเวฬุวันมหาวิหาร ท่านได้เรียนรู้ว่าชีวิตพระเป็นชีวิตที่สงบไม่วุ่นวายจึงปรารถนาจะมีชีวิตที่สงบอย่างนั้นบ้าง วันหนึ่งจึงเข้าไปหาพระที่คุ้นเคยกันแล้วแจ้งความประสงค์ให้ทราบ ไม่มีพระรูปใดรับบวชให้ แต่ไม่มีภิกษุรูปใดที่จะสงเคราะห์บวชให้ ทำให้เกิดความทุกข์ใจจนร่างกายซูบผอม หน้าตาผิวพรรณหม่นหมอง วันหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วกราบทูลให้ทราบถึงความประสงค์ของตน พระพุทธเจ้าทรงตรวจดูอุปนิสัยของท่านแล้วเห็นว่า แม้จะแก่แต่ก็สามารถบรรลุอรหัตผลได้ จึงตรัสสั่งให้ประชุมสงฆ์รับสั่งถามว่า", "title": "พระราธเถระ" } ]
[ { "docid": "266487#1", "text": "พระลกุณฏกภัททิยเถระ เกิดในตระกูลเศรษฐีผู้มั่งคั่งในเมืองสาวัตถี เมื่อเจริญวัยแล้ว วันหนึ่งได้ตามประชาชนไปฟังธรรมในวัดพระเชตวันมีความเลื่อมใสจึงขอบวชในพระพุทธศาสนา ไม่นานท่านก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน ต่อมาได้เข้าไปสนทนาธรรมกับพระสารีบุตรหลายเรื่อง จนในที่สุดท้ายส่งกระแสจิตพิจารณาตามธรรมสากัจฉาจึงได้บรรลุอรหันต์ในขณะสนทนาธรรมนั่นเอง", "title": "พระลกุณฏกภัททิยเถระ" }, { "docid": "582178#1", "text": "พระยาพิจารณาปฤชามาตย์ฯ เกิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2412 ที่บ้านเดิม ริมถนนสีลม จังหวัดพระนคร เป็นบุตรหลวงอุปการโกษากร (เวท วัชราภัย) มารดาของท่านคือ ท่านปั้น ณ สงขลา ธิดาเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น ณ สงขลา) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา ลำดับที่ 6 มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 7 คน ดังนี้", "title": "พระยาพิจารณาปฤชามาตย์ (สุหร่าย วัชราภัย)" }, { "docid": "539840#1", "text": "พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์) เกิดเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ปีจอ พ.ศ. 2405 ที่ตำบลบ้านเพรียง อำเภอโพไร่หวาน จังหวัดเพชรบุรี บิดาชื่อพ่วง มารดาชื่อปิ่น ในวัยเด็กได้ไปอยู่เล่าเรียนหนังสือที่วัดห้วยเสือ และวัดมหาสมณาราม จังหวัดเพชรบุรี ตามลำดับ ต่อมาได้บรรพชาเป็นสามเณรและเล่าเรียนพระปริยัติธรรมคือภาษาบาลี จนอายุ 19 ปี จึงได้เข้ามาเล่าเรียนต่ออยู่ในสำนักสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ เข้าแปลพระปริยัติธรรมสนามหลวงได้เปรียญธรรม 4 ประโยค พอดีอายุครบอุปสมบท จึงได้อุปสมบท ณ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามนั้น โดยสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาได้ลาสิกขาออกไปรับราชการ โดยได้เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เข้ารับราชการอยู่ในกรมศึกษาธิการ ตั้งแต่ พ.ศ. 2430 เป็นต้นมา และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น \"ขุนประเสริฐอักษรนิติ\" ต่อมาในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2440 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น\"หลวงประเสริฐอักษรนิติ\" มีตำแหน่งราชการในกรมศึกษาธิการ ถือศักดินา 800 แล้วเลื่อนขึ้นเป็น \"พระปริยัติธรรมธาดา\" ตำแหน่งเจ้ากรมราชบัณฑิตขวา ในรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 6 ได้เลื่อนขึ้นเป็น พระยาปริยัติธรรมธาดา", "title": "พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์)" }, { "docid": "399957#1", "text": "หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ท่านมีนามเดิมว่า พุธ อินทรหา ท่านเกิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464 ณ บ้านหนองหญ้าเส้ง ตำบลสันประดู่ อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี เป็นบุตรคนเดียวของบิดามารดา ครอบครัวมีอาชีพทำนาทำไร่ ในช่วงอายุได้ 4 ขวบ มารดาได้ถึงแก่กรรม บิดามีความเสียใจเป็นอันมากจึงนำท่านย้ายมาอยู่บ้านเกิดของบิดาที่ หมู่บ้านโคกพุทรา ตำบลตาลเนิ้ง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร", "title": "พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย)" }, { "docid": "381163#1", "text": "รามาวดี นาคฉัตรีย์ (สกุลเดิม สิริสุขะ) เกิดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2521 ที่จังหวัดน่าน เป็นบุตรสาวคนกลางของ พลโทยุทธนา สิริสุขะ และ เจ้านิรมิต สิริสุขะ (มหาวงศนันท์) มีพี่ชาย 1 คน คือ พันตำรวจตรีโปรด สิริสุขะ และน้องสาว 1 คน คือ เชอร์รี่ เข็มอัปสร สิริสุขะ จบการศึกษาระดับประถมจากโรงเรียนราชานุบาล จ.น่าน, มัธยมต้นจากโรงเรียนอุดมศึกษา, ระดับมัธยมปลายจากโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) และระดับปริญญาตรีคณะมนุษยศาสตร์ เอกการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ตามลำดับ เข้าสู่วงการจากการคว้าตำแหน่งสาวแพรว ปี 1996 (2539) ต่อมายุวดี ไทยหิรัญ ได้ชักชวนเข้าสู่วงการละครทางช่อง 3", "title": "รามาวดี นาคฉัตรีย์" }, { "docid": "19083#2", "text": "รพินทรนาถ ฐากุร เกิดที่คฤหาสน์โชราสังโก นครกัลกัตตา ประเทศอินเดีย ท่านเกิดในวรรณะพราหมณ์ ตระกูลฐากุร ซึ่งเป็นตระกูลที่มั่งคั่งที่สุดตระกูลหนึ่งในแคว้นเบงกอล และไม่ได้มั่งคั่งแต่เพียงทรัพย์สมบัติเท่านั้น หากยังเพียบพร้อมไปด้วยสติปัญญาอีกด้วย กล่าวคือ ผู้สืบสกุลฐากุรหลายคน ได้บำเพ็ญกรณียกิจนานาประการ โดยเฉพาะกิจการด้านวัฒนธรรม ทั้งยังเป็นตระกูลที่ดื่มด่ำในวัฒนธรรมอินเดีย มีความเลื่อมใสต่อลัทธิที่ภักดีต่อพระวิษณุเจ้าเป็นพิเศษ\nรพินทรนาถเป็นบุตรคนที่ 14 ในจำนวน 15 คนของ มหาฤๅษีเทเพนทรนาถ ฐากุร ซึ่งให้ความสนใจต่อการศึกษาของบุตรคนเล็กมาก เมื่อรพินทรนาถอายุได้ 11 ปี หลังจากประกอบพิธีสวมด้ายมงคลยัชโญปวีตตามแบบศาสนาพราหมณ์ให้แล้ว ท่านบิดาก็พาบุตรคนเล็กเดินธุดงค์ไปยังเมืองอมฤตสาร์ และเทือกเขาหิมาลัยเป็นเวลาหลายเดือน กล่าวได้ว่าทัศนะทางด้านศาสนาของรพินทรนาถนั้น ได้รับอิทธิพลมาจากบิดามากทีเดียว รวมทั้งนิสัยที่ชอบเดินทาง นอกจากท่องเที่ยวในประเทศแล้ว ท่านยังได้ไปบรรยายที่สหรัฐอเมริกา 5 ครั้ง ยุโรป 5 ครั้ง ญี่ปุ่น 3 ครั้ง และที่จีน อเมริกาใต้ สหภาพโซเวียต และเอเชียอาคเนย์แห่งละครั้ง", "title": "รพินทรนาถ ฐากุร" }, { "docid": "491347#0", "text": "พระพาหิยรุจีริยเถระ คือ พระมหาสาวกรูปหนึ่ง ซึ่งเกิดในครอบครัวคนมีตระกูล ครั้งหนึ่งได้เคยลงเรือเพื่อไปค้าขายที่สุวรรณภูมิ แต่เรือเกิดอับปางกลางทะเล ทำให้หมดเนื้อหมดตัว แต่รอดชีวิตมาได้ ต่อมาได้ทูลขอพระพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรม พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมวิธีปฏิบัติต่ออารมณ์ที่รับรู้ทางอายตนะทั้งหก พอจบพระธรรมเทศนาอย่างย่อ พระพาหิยะก็บรรลุพระอรหัตตผล แต่ไม่ทันได้อุปสมบท ในขณะที่เที่ยวหาบาตร จีวร ก็ถูกโคแม่ลูกอ่อนขวิดเสียชีวิต พระพาหิยรุจีริยเถระได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางตรัสรู้เฉียบพลัน", "title": "พระพาหิยทารุจีริยเถระ" }, { "docid": "710903#0", "text": "ราม พหาทุร พามชาน (; 9 เมษายน ค.ศ. 1990 — ) มีฉายาว่า ลามะปัลเดน ดอร์เจ () หรือปัจจุบันใช้ว่า ธรรมสังฆะ () จากรัตนปุรี อำเภอพารา ประเทศเนปาล ซึ่งบางส่วนของผู้สนับสนุนของเขาได้อ้างว่าเขาเป็นพระพุทธเจ้าผู้กลับชาติมาเกิด แต่ลามะปัลเดน ดอร์เจได้ปฏิเสธต่อการกล่าวอ้างนี้ และผู้ปฏิบัติธรรมจำนวนมากต่างเห็นด้วยว่าพระโคตมพุทธเจ้าได้เข้าสู่พระนิพพานแล้ว และไม่สามารถจะเกิดใหม่ได้", "title": "ราม พหาทุร พามชาน" }, { "docid": "266449#1", "text": "พระโมฆราช เกิดในตระกูลพราหรมณ์ ชาวเมืองสาวัตถี เมื่อมีอายุพอสมควรแก่การศึกษาศิลปะวิทยาตามประเพณีพราหมณ์ จึงได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของพราหมณ์พาวรี ผู้เป็นปุโรหิตที่ปรึกษาของพระเจ้าปเสนทิโกศลต่อมา พราหมณ์พาวรี เบื่อหน่ายชีวิตการครองเรือน จึงได้กราบทูลลาพระเจ้าปเสนทิโกศล ออกบวชเป็นชฎิล บำเพ็ญพรตตามประเพณีพราหมณ์ ตั้งสำนักอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำโคธาวารี ระหว่างเมืองอัสสกะและเมืองอาฬกะ ตัวเองเป็นเจ้าสำนักและเป็นอาจารย์ใหญ่ทำหน้าที่ทั้งรับและอบรมสั่งสอนไตรเพทแก่ศิษย์ทั่วไป โมฆราชมาณพ พร้อมกับเพื่อศิษย์อีกหลายคนได้ออกบวชติดตามด้วยพราหมณ์พาวรี แม้จะบวชเป็นฤๅษีชฎิลเช่นเดียวกับตระกูลกัสสปะ ๓ พี่น้อง แต่คนทั่วไปก็นิยมเรียก “พราหมณ์พาวรี” อยู่เช่นเดิม ไม่นิยมเรียกว่า “ชฎิล” เหมือนตระกูลกัสสปะ\nทรงสอบการตรัสรู้\nเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนศากยราชา ผู้ครองนคร กบิลพัสดุ์ เสด็จออกบรรพชาได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้วเที่ยวสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้เกิดศรัทธาเลื่อมใสออกบวชประพฤติพรหมจรรย์ ติดตามพระองค์มากมาย พราหมณ์พาวรีได้ทราบข่าวเป็นลำดับ แต่ก็ยังเคลือบแคลงใจในการตรัสรู้ขององค์พระสัพพัญญโคดมเจ้า จึงตั้ง ปัญหาขึ้น ๑๖ หมวด แล้วมอบให้ศิษย์ ๑๖ คน นำไปกราบทูลถามพระบรมศาสดา ซึ่งขณะนั้นประทับอยู่ที่ปาสาณเจดีย์ แคว้นมคธ และโมฆราชมาณพก็เป็นหนึ่งในจำนวนศิษย์เหล่านั้น อชิตมาณพ ผู้เป็นหัวหน้าได้พาคณะศิษย์อีก ๑๕ คน คือ\n๑. ติสสเมตเตยยะ ๒. ปุณณกะ ๓. เมตตคู ๔. โธตกะ ๕. อุปสีวะ ๖. นันทกะ๗. เหมกะ \n๘. โตเทยยะ ๙. กัปปะ ๑๐. ชตุกัณณี ๑๑. ภัทราวุธะ ๑๒. อุทยะ ๑๓. โปสาละ ๑๔. ปิงคิยะ \nและ ๑๕. โมฆราช รวมทั้งสิ้นจำนวน ๑๖ คน พากันไปเข้าเฝ้า พระบรมศาสดาเพื่อทูลถามปัญหา ณ ปาสาณเจดีย์แห่งหนึ่ง \nกราบทูลถามปัญหาเป็นคนที่ ๑๕\nในบรรดามาณพทั้ง ๑๖ คนนั้น โมฆราชมาณพ นับว่าเป็นผู้มีปัญญาดีกว่ามาณพทั้ง หมด จึงคิดที่จะทูลถามปัญหาเป็นคนแรก แต่เห็นว่าอชิตมาณพอยู่ในฐานะเป็นหัวหน้าผู้นำมา จึงเปิดโอกาสให้ถามเป็นคนแรก เมื่ออชิตะ ทูลถามจบแล้ว โมฆราชมาณพ ปรารถนาจะถาม เป็นคนที่ ๒ แต่พระพุทธองค์ตรัสห้ามว่า “ดูก่อนโมฆราช ท่านจงรอให้มาณพคนอื่น ๆ ถามก่อนเถิด”", "title": "พระโมฆราชเถระ" } ]
509
ระเบิดเถิดเทิง ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่เท่าไหร่?
[ { "docid": "134806#2", "text": "ในระยะเริ่มแรก ระเบิดเถิดเทิงมีรูปแบบเป็นรายการวาไรตี้ ซึ่งออกอากาศระหว่างวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2539 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ. 2539 มีพิธีกรหลักคือ มยุรา เศวตศิลา และ หนู คลองเตย (ภายหลัง ได้เพิ่ม หม่ำ จ๊กมก และ เกียรติ กิจเจริญ เป็นพิธีกรหลักด้วย จากเดิมที่เป็นเพียงพิธีกรประจำช่วง ฮาระเบิด) มีช่วงต่าง ๆ ดังนี้\nเป็นการแสดงตลกของคณะตลก ซึ่งมีคณะตลกหลักเป็นคณะของหม่ำ จ๊กมก ที่นอกจากจะเล่นตลกในช่วงนี้แล้ว ยังมีหน้าที่เป็นพิธีกรประจำช่วงด้วย\nเป็นการแสดงดนตรีของวงดนตรี หรือเป็นการแสดงจากดาราซึ่งเป็นระเบิดรับเชิญในสัปดาห์นั้น ช่วงแรกนี้ มีธงชัย ประสงค์สันติ และวงสามโทน เป็นพิธีกรประจำช่วง\nเป็นช่วงการสัมภาษณ์แขกรับเชิญที่ร่วมเล่นละครในแต่ละสัปดาห์ พร้อมกับตอบจดหมายจากทางบ้าน โดยจะปรากฏหลังจากละครได้เล่นจบตอนลง\nเมื่อรายการระเบิดเถิดเทิงออกอากาศได้เพียงระยะเวลา 3 เดือน ระเบิดเถิดเทิงได้เปลี่ยนรูปแบบมาเป็นละครซิตคอม ควบคู่ไปกับเกมโชว์ในช่วงท้ายรายการ ซึ่งถือเป็นรูปแบบของระเบิดเถิดเทิงในยุคนี้และต่อๆมา โดยพิธีกรหลักนั้น เป็นมยุรา เศวตศิลาเพียงคนเดียว แต่หนู คลองเตย และหม่ำ จ๊กมก ได้เปลี่ยนมาทำหน้าที่เป็นผู้เล่นละครซิตคอม และร่วมเล่นเกมโชว์ด้วยนั่นเอง (ทว่ามยุราก็ได้ร่วมเล่นละครซิตคอมด้วย แต่เป็นเพียงบทสมทบเท่านั้น) ซึ่งเริ่มออกอากาศเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2539 จนถึงระเบิดเถิดเทิงในยุคปัจจุบันต่อๆมา", "title": "ระเบิดเถิดเทิง" }, { "docid": "134806#0", "text": "ระเบิดเถิดเทิง เป็นรายการซิตคอมควบคู่กับเกมโชว์ ซึ่งผลิตโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกทุกวันอาทิตย์ โดยในระยะแรกมีรูปแบบเป็นรายการวาไรตี้ อีก 3 เดือนต่อมาได้เปลี่ยนรูปแบบมาเป็นละครซิตคอม ควบคู่กับเกมโชว์ อันเป็นรูปแบบปัจจุบันของรายการ รายการระเบิดเถิดเทิงออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2539 ตลอดระยะเวลาที่ระเบิดเถิดเทิงออกอากาศจนถึงปัจจุบัน ช่วงซิตคอมระเบิดเถิดเทิงยุคแรกและยุคต่อๆมา (2553-ปัจจุบัน)ได้มีการปรับเปลี่ยนเนื้อหา และตัวละครอยู่เรื่อย ๆ นับว่าเป็นซิตคอมที่มีการออกอากาศยาวนานที่สุดในประเทศไทย", "title": "ระเบิดเถิดเทิง" } ]
[ { "docid": "134806#19", "text": "เป็นซิทคอมสั้นคั่นเวลาของรายการ หลังช่วงซิทคอมระเบิดเถิดเทิงในตอนนั้นจบลง หรือเป็นช่วงต่อจากเกมวางระเบิด เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2545 ซิทคอมสั้นช่วงแรกของระเบิดเถิดเทิง มีชื่อว่า วอลล์ เพื่อนกัน อะไรเอ่ย โดยออกอากาศจนถึงยุคระเบิดเที่ยงแถวตรง พอย้ายมาช่องเวิร์คพอยท์ก็ไม่มีการออกอากาศซิตคอมสั้นอีกเลย\nเป็นช่วงสุดท้ายของรายการหลังจากช่วงถอดสลักระเบิด เป็นการรวมเบื้องหลังมุขหลุดๆ ที่ไม่ได้ออกอากาศในเทปนั้นๆ มาให้ชมกันท้ายรายการ เริ่มออกอากาศตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2548 จนถึง พ.ศ. 2555", "title": "ระเบิดเถิดเทิง" }, { "docid": "134806#20", "text": "นอกจากรายการระเบิดเถิดเทิงแล้ว รายการอื่นๆ ในเครือก็นำรูปแบบของรายการไปทำในรูปแบบต่างๆ เช่น ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า 2542 (ใช้ชื่อตอนว่า ระเบิดเถิดเทิง ออกอากาศเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542),2543 (ใช้ชื่อตอนว่า ระเบิดเถิดเทิง เตลิดเปิดเปิง ออกอากาศเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2543),2544(ใช้ชื่อตอนว่า สามช่า ฮาระเบิดเถิดเทิง ออกอากาศเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2544) ,2546 (ครั้งที่ 1 ในตอน รอยไถ...ใคร ได้นำโดมระเบิดและฉากเจ๊หม่ำมาอยู่ในละครเรื่องนี้ ออกอากาศเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2546,ครั้งที่ 2 ใช้ชื่อละครว่า ระเบิดเถิดเทิง ออกอากาศเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2546),2553(ใช้ชื่อตอนว่า นักเลงหัวไม้ กับบ้านไร่เถิดเทิง ออกอากาศเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2553), ว้าว ว้าว ว้าว (ใช้ชื่อตอนว่า ระเบิดเถิดเทิง ฉบับสามช่า ออกอากาศเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2560) ในช่วงละคร และ 20 ปี แก๊ง 3 ช่า (ใช้ชื่อตอนว่า ฮาระเบิดเถิดเทิง ออกอากาศเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2556 โดยในเทปนี้ได้นำมาทั้งละคร ช่วงลุ้นระเบิด และเกมถอดสลักระเบิด)", "title": "ระเบิดเถิดเทิง" }, { "docid": "331704#0", "text": "ระเบิดเถิดเทิง ลั่นทุ่ง เป็นรายการซิทคอมควบคู่กับเกมโชว์ ซึ่งผลิตโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศทางช่อง 5 ออกอากาศเวลา 13.55 - 15.20 น. เป็นประจำทุกวันอาทิตย์ โดยเริ่มออกอากาศในตอนแรก (ตอนที่ 747) ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553 และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 รายการระเบิดเถิดเทิงลั่นทุ่งจะเลื่อนเวลาการออกอากาศเป็นเวลา 12.00 -13.25 น.", "title": "ระเบิดเถิดเทิง ลั่นทุ่ง" }, { "docid": "758334#0", "text": "ระเบิดเถิดเทิงแดนเซอร์ทะลวงไส้ เป็นละครซิทคอมควบคู่กับเกมโชว์ซึ่งเป็นภาคต่อของรายการระเบิดเถิดเทิง ออกอากาศครั้งแรกวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 และออกอากาศในชื่อชุดนี้เป็นครั้งสุดท้าย วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 โดยระเบิดเถิดเทิงแดร็กคูล่าหารัก จะออกอากาศเป็นละครซิทคอมชุดถัดไป", "title": "ระเบิดเถิดเทิงแดนเซอร์ทะลวงไส้" }, { "docid": "274114#0", "text": "ระเบิดเถิดเทิง รุ่น 3 เป็นรายการซิตคอมควบคู่กับเกมโชว์ ซึ่งผลิตโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศทางช่อง 5 เวลา 14.00 - 15.25 น. เป็นประจำทุกวันอาทิตย์ (ตั้งแต่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2552 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553) โดยตอนที่ 705 เป็นตอนแรกของ ระเบิดเถิดเทิง รุ่น 3", "title": "ระเบิดเถิดเทิง รุ่น 3" }, { "docid": "675148#0", "text": "ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง เป็นละครซิทคอมที่เกี่ยวกับชีวิตชาวไทยเชื้อสายจีนควบคู่กับเกมโชว์ซึ่งเป็นภาคต่อของรายการระเบิดเถิดเทิง ออกอากาศครั้งแรกวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558 ทางเวิร์คพอยท์ทีวี\nสำหรับเกมในระเบิดเถิดเทิงสิงโตทองนั้นยังคงใช้เกมรูปแบบเดิมจากระเบิดเถิดเทิงปี 2539 - 2545, 2548 - 2552 ระเบิดเถิดเทิง รุ่น 3 และ ลั่นทุ่ง กับ ระเบิดเที่ยงแถวตรง ในปี 2553 - 2557 และได้เพิ่มเกมอีก 1 เกม", "title": "ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง" }, { "docid": "135794#11", "text": "วิชญ์วิสิฐได้ร่วมเป็นหนึ่งในดารารับเชิญ ของละครซิตคอม\"ระเบิดเถิดเทิง\" ในตอนที่ 631 \"สอบซ่อม\" ซึ่งออกอากาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เวลา 14:00-16:00 น. ทาง ททบ.5 โดยรับบทเป็น “เอ” ลูกชายคนเดียวของ\"หมออาร์ต\" เจ้าของคลินิกลดความอ้วน ในตลาดเถิดเทิง เป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนกับ\"ลูกเกลี้ยง\" ลูกบุญธรรมของเท่ง เถิดเทิง (แสดงโดย อเล็กซ์ เรนเดลล์) เอเรียนหนังสือเก่งมาก ได้เกรด 4 ทุกวิชา แต่กลับตกในวิชาพลศึกษา จึงต้องสอบซ่อมเดาะตะกร้อ โดยมีเท่งกับโหน่งช่วยฝึกสอน ทั้งนี้ ในรอบถอดสลักระเบิด วิชญ์วิสิฐต้องเข้าไปดึงสลักในโดมถึงสองครั้ง ครั้งแรกเลือกสลักหมายเลข 3 ไม่ระเบิด จึงได้รับรางวัลทองคำมูลค่า 10,000 บาท ครั้งที่สองเลือกสลักหมายเลข 2 ซึ่งเป็นสลักระเบิด เขาจึงโดนระเบิดแป้ง และไม่ได้รับรางวัลเครื่องปรับอากาศ", "title": "วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล" }, { "docid": "918415#0", "text": "ระเบิดเถิดเทิงซอยข้าใครอย่าแตะ เป็นละครซิทคอม ซึ่งออกอากาศต่อจากรายการระเบิดเถิดเทิง ผลิตรายการโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศครั้งแรกวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ทางสถานีโทรทัศน์ช่องเวิร์คพอยท์", "title": "ระเบิดเถิดเทิงซอยข้าใครอย่าแตะ" } ]