text
stringlengths 11
12.4k
| meta
dict |
---|---|
ชื่อ: ปลาเสือพ่นน้ำ
ชื่อสามัญ: Archer Fishes
ชื่อวิทยาศาสตร์: Toxotes chatareus
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ปลาเสือพ่นน้ำเป็นปลาที่มีลักษณะเด่น คือ ส่วนหัวและลำตัวประกอบด้วยจุดสีดำกรมหรือรี จำนวน 6-7 จุด มีสีสมอมเหลือง ครีบหลังและครีบก้นเป็นสีเหลืองมีขอบเป็นสีดำ จะงอยปากแหลม ตามีขนาดใหญ่ค่อนไปทางด้านบน จึงสามารถมองเห็นผิวน้ำได้ดี ขากรรไกรล่างยาวกว่าขากรรไกรบนเล็กน้อย ลำตัวรูปร่างทรงขนมเปียกปูน ป้อมสั้นแบนข้างมาก โดยเฉพาะท้องแบนเป็นวันบริเวณท้องเป็นสีน้ำเงิน ลำตัวสีเหลืองมีลานดำเหมือนเสือจึงได้ชื่อว่า ปลาเสือ มีการปรับตัวให้เหมาะสมกับการกินแมลง โดยมีวิวัฒนาการให้เงือกเกิดช่องใต้เพดานปาก สามารถพ่นน้ำออกไปได้เป็นลำโดยแรงอัดของแผ่นปิดเงือก ขนาดทั่วไปเฉลี่ย 20 เซนติเมตร ขนาดใหญ่สุดที่เคยพบยาว 25 เซนติเมตร ปลาเสือพ่นน้ำเป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง กินแพลงก์ตอนสัตว์ โรติเฟอร์ ตัวอ่อนแมลง ลูกกุ้ง สัตว์น้ำจำพวกมดและแมลงเป็นอาหาร สามารถฝึกให้กินเนื้อปลาสับและอาหารเม็ดสำเร็จรูปได้
ถิ่นที่อาศัย: พบกระจายอยู่ทั่วไปในประเทศแถบตะวันออก เช่น หมู่เกาะฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย อินโดนิเซีย มาเลเซีย ไทย พม่า และ อินเดีย ในประเทศไทยพบอยู่ตามแม่น้ำ และลำคลอง หนองบึง ที่มีการเชื่อมต่อกับแม่น้ำและบริเวณปากแม่น้ำโดยพบชุกชุมในภาคกลางและภาคใต้
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาม้า กวาง
ชื่อท้องถิ่น: ปลาม้า ปลากวง ปลากวาง
ชื่อสามัญ: Boeseman croaker
ชื่อวิทยาศาสตร์: Boesemania microlepis
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: มีรูปร่างเพรียวเล็กไปทางด้านท้ายลำตัว หัวค่อนข้างเล็ก หน้าผากเว้าลึก ตาอยู่สูงไปทางด้านบนของหัว ปากกว้างอยู่ด้านล่างของจะงอยปาก ใต้คางมีรูเล็ก ๆ 5 รู ครีบหลังยาวตลอดส่วนหลัง ตอนหน้าเป็นก้านแข็ง ตอนท้ายเป็นก้านอ่อน โคนหางเรียวเล็ก ครีบก้นมีก้าสนแข็งอันใหญ่หนา ครีบอกยาว ครีบท้องมีปลายเป็นเส้นยาวเช่นเดียวกับครีบหาง เกล็ดมีความเล็กมาก ลำตัวสีเทาอ่อนอ่อนเหลือบเงิน ด้านหลังมีสีคล้ำ ด้านข้างลำตัวมีแถบสีคล้ำจาง ๆ เป็นแนวเฉียงหลายแถบ ด้านท้องสีจาง ครีบใส จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Boesemania มีความประมาณ 25-30 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1 เมตร
ถิ่นที่อาศัย: อาศัยอยู่ในแม่น้ำขนาดใหญ่ และพบในแหล่งน้ำนิ่งบ้าง บ่อปลา หรือบ่อกุ้งที่อยู่ใกล้ทะเล พบมากในแม่น้ำตอนล่าง แต่ก็พบในแหล่งน้ำที่ไกลจากปากแม่น้ำมากเช่นกัน พบในภาคกลาง ภาคเหนือ และในแม่น้ำโขงในภาคอีสาน โดยพบสูงสุดถึงที่จังหวัดเลย
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาแขยงหิน
ชื่อท้องถิ่น: แขยงหิน , กดหิน
ชื่อสามัญ: Siamese rock catrish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Leiocassis siamensis
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ลำตัวค่อนข้างยาว ไม่มีเกล็ด หัวแบนราบลงเล็กน้อย ตามีผิวหนังใสปิดคลุม มีฟันซี่แหลมเล็กๆ อยู่บนขากรรไกร และเพดานปาก มีหนวด 4 คู่ ครีบหลังและครีบหูมีหนามแหลม ลำตัวมีพื้นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน มีแถบดำหรือน้ำตาลเข้มพาดขวางลำตัว กินลูกปลา ลูกกุ้ง และสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กเป็นอาหาร
ถิ่นที่อาศัย: อยู่ตามลำธาร เช่น แม่น้ำวัง จังหวัดลำปาง แม่น้ำแม่กลอง จังหวัดราชบุรี บริเวณปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ ฯลฯ
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลากดแก้ว
ชื่อท้องถิ่น: กดหางแดง, กดข้างหม้อ,กดเขี้ยว,คัง,เคิง(อีสาน)
ชื่อสามัญ: Red tail Mystus
ชื่อวิทยาศาสตร์: Mystus ruckioides
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: หัวและลำตัวตอนหน้าแบนราบลง หัวและปากยื่นยาว หนวดยาว ตาเล็ก ลำตัวสีเทาอ่อนอมฟ้าหรือเขียวมะกอก ท้องสีจาง ครีบมีสีคล้ำและสีแดงเรื่อ ครีบหลังไม่มีก้านแข็ง ครีบไขมันยาว ครีบหางเว้าลึกมีส้มสด แดงหรือคล้ำอมแดง อาหาร ปลาและกุ้ง พฤติกรรม มักซุ่มอยู่ใต้ร่มเงาหรือไม้ใต้น้ำเพื่อรอเหยื่อ
ถิ่นที่อาศัย: หนอง บึง และแม่น้ำสายหลัก
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาเค้าขาว
ชื่อท้องถิ่น: ค้าว
ชื่อสามัญ: White sheatfish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Wallago attu
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: หัวและปากยื่นแหลม ปากกว้างมาก มุมปากอยู่เลยหลังลูกตา หัวและตัวแบนข้างไปหาด้านท้ายหลังป่องออกและมีสีเงิน วาวอมเขียว ลำตัวด้านข้างมีแถบสีคล้ำ ท้องสีจาง ครีบหลังเล็กและปลายแหลม ครีบอกใหญ่ ครีบก้นยาว ครีบหางเว้าตื้น อาหาร แมลง ปลา กุ้งและสัตว์น้ำอื่นๆ พฤติกรรม ล่าเหยื่อบริเวณผิวน้ำถึงหน้าดิน
ถิ่นที่อาศัย: แม่น้ำสายหลักและแหล่งน้ำหลาก
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลารากกล้วย
ชื่อท้องถิ่น: ซ่อนทราย
ชื่อสามัญ: Horse-face loach
ชื่อวิทยาศาสตร์: Acantopsis choirorhynchos
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ปลารากกล้วยมีลำตัวเรียวยาวแบนข้างเล็กน้อย มีสีน้ำตาลอ่อน ท้องสีขาว แนวสันหลังมีแถบสั้น ๆ สีน้ำตาลดำ แนวเส้นข้างตัวมีสีน้ำตาลเล็กพาดไปตามความยาวลำตัว ข้างละ ๑ แถบ มีจุดสีน้ำตาลประมาณ ๘-๑๒ จุด หัวมีขนาดใหญ่เรียวแหลมและแบนข้าง ตามีขนาดเล็กอยู่ค่อนไปทางด้านบน บริเวณหน้าตามีหนามแหลมเล็ก ๆ ปลายแยกเป็น ๒ แฉกซ่อนอยู่ใต้ร่องผิวหนัง จงอยปากค่อนข้างยาวแหลม และงุ้มต่ำ ริมฝีปากบนมีรอยหยัก ริมฝีปากร่างมีค่อนข้างหนา มีหนวดสั้น ๆ ๓ คู่ ครีบหลังและครีบหางมีสีน้ำตาลอ่อน
ถิ่นที่อาศัย: ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ เป็นปลาที่ชอบอาศัยในบริเวณที่มีน้ำใสไหลแรงซึ่งเป็นทรายหรือกรวดเล็ก ๆ สีของปลารากกล้วยจะกลมกลืนกับที่อยู่อาศัย มักจะเอาหัวทวนน้ำเสมอ หากตกใจจะซ่อนตัวในทรายอย่างรวดเร็ว
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลากดเหลือง
ชื่อท้องถิ่น: กดขี้ลิง กดเหลืองเล็ก
ชื่อสามัญ: YELLOW MYSTUS , GREEN CATFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์: Hemibagrus nemurus
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ปลากดเหลืองเป็นปลาน้ำจืดที่ไม่มีเกล็ด ลำตัวกลมยาว หัวค่อนข้างแบนเรียวเป็นรูปกรวย (conical) กระดูกท้ายทอยยาวถึงโคนครีบหลัง ปากกว้าง ขากรรไกรแข็งแรง มีฟันซี่เล็ก ๆ สั้นปลายแหลมเป็นกลุ่ม หรือเป็นแผ่นบนขากรรไกรบน ขากรรไกรล่าง และบนเพดานปากซี่กรองสั้นเล็กปลายแหลม มี 15 ซี่ มีหนวด 4 คู่ คือ บริเวณจมูก ริมฝีปากบน ริมฝีปากล่าง และใต้คางอย่างละ 1 คู่ ซึ่งหนวดคู่แรก และหนวดคู่สุดท้าย จะมีความยาวสั้นกว่าหนวดคู่ที่สองและคู่ที่สาม ครีบหลังไม่สูงเป็นครีบเดี่ยวอยู่กลางหลังยาวไม่ถึงครีบไขมันซึ่งต่างจากปลากดเหลือง Hemibagrus filamentus Fang&Chaux,1949) ที่มีก้านครีบหลังยาวถึงครีบไขมัน โดยพบก้านครีบแข็ง 1 ก้าน และก้านครีบอ่อน 7 ก้าน ครีบไขมันเจริญดีมีสีคล้ำหรือดำแตกต่างจากสีของลำตัวอยู่บนหลังตามส่วนท้ายของลำตัว และอยู่ตรงข้ามกับครีบก้น ครีบก้นมีก้านครีบอ่อน 10-11 ก้าน ครีบหูเป็นครีบคู่อยู่หลังบริเวณเหงือก มีเงี่ยงแข็งและแหลมคม 1 คู่ มีก้านครีบอ่อนข้างละ 9 ก้าน ครีบท้องมีก้านครีบอ่อน 6-7 ก้าน ครีบหางเว้าลึกแฉกบนยาวกว่าแฉกล่างประกอบด้านก้านครีบอ่อน 16-17 ก้าน ลักษณะสีของลำตัวจะเปลี่ยนไปตามอายุขนาด และแหล่งที่อยู่อาศัย ปลากดเหลืองที่มีขนาดโตเต็มวัย ลำตัวบริเวณส่วนหลังมีสีน้ำตาลเข้มปนดำ บริเวณข้างลำตัวมีสีน้ำตาลปนเหลือง บริเวณส่วนท้องมีสีขาว ฐานครีบอก ครีบท้อง ครีบก้น มีสีเทาเจือชมพู ครีบหลัง ครีบหางมีสีเขียวซีดจาง ปลายครีบมีสีเทาปนดำ ดวงตามีขนาดปลานกลาง ปลากดเหลืองที่พบโดยทั่วไปมีขนาด 20-25 เซนติเมตร แต่เคยพบขนาดใหญ่สุดกว่า 60 เซนติเมตร ปลาชนิดนี้มีกระเพาะลม ซึ่งมีลักษณะกระเพาะลมตอนเดียวคล้ายรูปหัวใจ ทำหน้าที่ช่วยในการทรงตัวใช้ ปรับความถ่วงจำเพาะของตัวปลาให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย เพื่อให้สามารถลอยตัวอยู่ในน้ำที่ระดับต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ
ถิ่นที่อาศัย: ในพื้นที่จังหวัดสกลนครพบการแพร่กระจายทั่วไปตามแหล่งน้ำธรรมชาติทั้งแหล่งน้ำเปิดและแหล่ง น้ำปิดในประเทศไทยนั้นพบแพร่กระจายอยู่ทั่วไป ตั้งแต่ลุ่มน้ำแม่กลองจนถึงลุ่มน้ำโขง และลุ่มน้ำเจ้าพระยา
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาชะโด
ชื่อท้องถิ่น: แมลงภู่ ไอ้ป๊อก
ชื่อสามัญ: Giant Snake-Head
ชื่อวิทยาศาสตร์: Channa micropeltes
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: เป็นปลาน้ำจืด ขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้โตเต็มที่ได้ถึง 1 เมตร หรือ 1.5 เมตร มีรูปร่างลำตัวค่อนข้างกลมยาว พื้นลำตัวสีน้ำตาลอมเขียว มีลายประสีดำกระจายทั่วตัว ภายในปากมีฟันแหลมคม เมื่อยังเป็นปลาขนาดเล็กจะมีสีลำตัวเป็นสีน้ำตาลและมีแถบสีดำ, ส้ม และเหลืองพาดตามความยาวลำตัว 2 แถบ บริเวณหางสีแดงสด เมื่อเริ่มโตขึ้นมาสีและลายจะเริ่มจางหายไปกลายเป็นสีเขียวอมน้ำตาลคล้ายสีของเปลือกหอยแมลงภู่แทน มีนิสัยดุร้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูผสมพันธุ์ เป็นปลากินเนื้อ
ถิ่นที่อาศัย: พบทั่วไปตามแหล่งน้ำจืดทั่วทุกภาคของประเทศไทย เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสะแกกรัง เขื่อนต่างๆ
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลากระทิงไฟ
ชื่อท้องถิ่น: กระทิงลายดอก, กระทิงลายดอกไม้
ชื่อสามัญ: Fire spiny eel
ชื่อวิทยาศาสตร์: Mastacembelus erythrotaenia
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: รูปร่างยาวคล้ายงูหรือปลาไหล แต่ท้ายลำตัวส่วนที่อยู่ค่อนไปทางหางจะมีลักษณะแบนข้าง และส่วนหัวหรือปลายปากจะยื่นยาวและแหลม จะงอยปากล่างจะยื่นยาวกว่าจะงอยปากบน ตามีขนาดเล็ก ครีบหลัง ครีบทวาร และหางจะเชื่อมต่อติดกันเป็นครีบเดียว โดยครีบหลังตอนหน้าจะมีขนาดเล็กมากและลักษณะเป็นหยักคล้ายกับฟันเลื่อย เป็นปลาที่มีสีสันและลวดลายสวยงามมาก มีสีน้ำตาลหรือดำมีแต้มและแถบสีแดงขนาดใหญ่และเล็กเรียงแถวตามความยาวลำตัว ครีบหูมีสีดำขอบแดง ลักษณะทางอนุกรมวิธานที่แตกต่างจากกระทิงชนิดอื่นคือ กระทิงไฟไม่มีกระดูกที่เป็นหนามแหลมอยู่บริเวณหน้านัยน์ตา กินลูกกุ้ง ลูกปลา และตัวอ่อนแมลงเป็นอาหาร
ถิ่นที่อาศัย: พบได้ในบริเวณน้ำจืดและน้ำกร่อย ในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีน ทางภาคใต้ที่ทะเลน้อย (ทะเลสาบสงขลาตอนใน) แม่น้ำตาปี
สถานะภาพ: ใกล้สูญพันธุ์ | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลากระทุงเหว
ชื่อท้องถิ่น: เข็มแม่น้ำ กระทุงเหวเมือง
ชื่อสามัญ: Freshwater garfish, Round-tail garfish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Xenentodon cancilla
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: เป็นปลาพันธุ์พื้นเมืองของไทยที่พบทั่วไปในแหล่งน้ำจืด จัดเป็นปลาขนาดเล็ก ความยาว 10 - 25 เซนติเมตรรูปร่างกลมยาวเรียวคล้ายเข็ม ท้องแบน จะงอยปากยาวเรียวแหลมมีฟันแหลมคมซี่เล็กๆ เรียงเป็นแถวครีบหลังและครีบก้นอยู่ใกล้กับครีบหาง ครีบหูขนาดใหญ่และแข็งแรงช่วยในการกระโดดพ้นผิวน้ำ
ถิ่นที่อาศัย: ปลากระทุงเหวชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ ตามผิวน้ำ พบในแหล่งน้ำไหลทุกภาค
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาหลดจุด
ชื่อท้องถิ่น: หลด หลดจุด
ชื่อสามัญ: Peacock eel, Spotted Spiny Eel
ชื่อวิทยาศาสตร์: Macrognathus siamensis
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ปลาหลดจุดเป็นปลาน้ำจืดอยู่ในวงศ์เดียวกับปลากระทิง แต่มีขนาดเล็กกว่าปลากระทิง ลำตัวยาวเรียว แบนข้าง จะงอยปากเรียวแหลม ที่ปลายมีหนวดสั้นๆอยู่ 1 คู่ ปากเล็กอยู่ใต้ตาครีบหลังและครีบหางไม่มีลายหรือจุด มีจุดสีดำคล้ายดวงตาที่โคนครีบหลังประมาณ 1-5 จุด ขนาดโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร อัตราส่วนระหว่างเพศผู้ต่อเพศเมียเฉลี่ยตลอดทั้งปีมีค่าเท่ากับ 1.6:1.0 ผสมพันธุ์ได้ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม
ถิ่นที่อาศัย: ปลาหลดจุดเป็นปลาที่อาศัยอยู่ตามพื้นหน้าดินบริเวณน้ำไหลช้าๆ หรือน้ำนิ่งซึ่งพบมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หนอง และ บึง แพร่กระจายไปทั่วประเทศ มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย อินเดีย พม่า และเวียดนาม แหล่งที่พบปลาหลดจุดในจังหวัดร้อยเอ็ด คือ บริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ แม่น้ำมูลและแม่น้ำชี รวมถึงลำน้ำสาขา
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลามัน
ชื่อท้องถิ่น: ปลามัน
ชื่อสามัญ: Stone-Lapping fish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Garra parvifilum
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: เป็นปลาขนาดเล็ก ความยาวเฉลี่ย 6-7 เซนติเมตร ลำตัวมีสีคล้ำดำตั้งแต่หัวจรดฐานครีบหาง ส่วนท้องมีสีขาวงาช้าง ลักษณะปากเป็นปากดูดอยู่ด้านล่าง เพื่อใช้หาอาหารประเภทตะไคร่น้ำ ที่ต่างจากชนิดอื่นในสกุลเดียวกันอย่างเด่นชัด คือ มีหนวดที่ขากรรไกรบนสั้นกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของลูกตา และมีความยาวเส้นหางน้อยกว่าความยาวหัว
ถิ่นที่อาศัย: เป็นปลาที่พบแพร่กระจายในภาคเหนือตอนบนของไทยโดยเฉพาะแม่น้ำสาขาของแม่น้ำน่าน โดยอาศัยตามลำธารภูเขาที่มีกระแสน้ำไหล น้ำใสสะอาด ความลึกไม่เกิน 1 เมตร พื้นท้องน้ำเป็นกรวดหินและทราย
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาสลิด
ชื่อท้องถิ่น: ปลาใบไม้
ชื่อสามัญ: SNAKESKIN GOURAMI
ชื่อวิทยาศาสตร์: Trichogaster pectoralis (Regan, 1910)
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: มีรูปร่างคล้ายปลากระดี่หม้อ แต่ขนาดโตกว่า ลำตัวแบนข้างมีครีบท้องยาวครีบเดียวสีของลำตัวเขียวออกเทาหรือมีสีคล้ำมีริ้วดำพาดขวางตามลำตัวจากหัวถึงหาง
ถิ่นที่อาศัย: หนอง บึง ตามบริเวณที่มีพรรณไม้น้ำ ผักและ สาหร่ายเพื่อใช้เป็นที่พักอาศัยกำบังตัว
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาตะเพียนน้ำตก
ชื่อท้องถิ่น: หนามบี้
ชื่อสามัญ: Golden Little Barb
ชื่อวิทยาศาสตร์: Puntius rhombeus
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: มีรูปร่างป้อมสั้น ลำตัวแบนข้าง ความยาวลำตัวประมาณ 10 เซนติเมตร หัวมีขนาดเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ นัยน์ตาเล็กเกล็ดมีขนาดใหญ่ ครีบหางใหญ่ ปลายเป็นแฉกลึก แก้มมีสีเหลืองปนแดง กระโดงหลังสูงกว้างมีสีแดง มีแถบดำที่ปลายกระโดง ขอบบนและขอบล่างของครีบหางมีแถบดำข้างละแถบ กินพืชน้ำ ตัวอ่อนแมลงน้ำ ซากพืชซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยเป็นอาหาร
ถิ่นที่อาศัย: พบตามแม่น้ำลำคลอง หนองบึงทั่วทุกภาค ทำให้มี ชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามภาษาท้องถิ่น
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลากระดี่มุก
ชื่อท้องถิ่น: ปลากระดี่มุก
ชื่อสามัญ: Pearl Gourami, Leeri, Mosaic Gourami
ชื่อวิทยาศาสตร์: Trichogaster leerii (Bleeker,1852)
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ปลากระดี่มุกจัดอยู่ใน Order Perciformes Family Belontiidac (Nelson,1994) ครีบหางมีก้านครีบแข็ง 5-7 อันและก้านครีบอ่อน 8-10 อัน ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 12-14 อัน และก้านครีบอ่อน 25-30 อัน ครีบอกมีก้านครีบอ่อน 9 อัน ครีบท้องมีก้านครีบแข็ง 1 อันและก้านครีบอ่อน 3-4 อัน ส่วนเกล็ดตามแนวขนานกับเส้นข้างลำตัวมี 44-50 เกล็ด (Hans and Hans,1988)
ถิ่นที่อาศัย: มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่เป็นคู่หรือกลุ่มเล็ก ๆ ในแหล่งน้ำที่มีค่าของน้ำมีความเป็นกรดต่ำกว่าค่าของน้ำปกติ (ต่ำกว่า 7.0) เช่น ในป่าพรุ
สถานะภาพ: มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ รวมถึงรายละเอียดสถานภาพเฉพาะ | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ตะพาบม่านลาย
ชื่อท้องถิ่น: กริวลาย กราวด่าง ม่อมลาย มั่มลาย
ชื่อสามัญ: Siamese Norrow-headed Softshell turtle
ชื่อวิทยาศาสตร์: Chitra chitra
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ตะพาบม่านลาย เป็นตะพาบชนิดที่หายากมาก และมีลวดลายสีสันสวยงาม ลักษณะที่สำคัญของตะพาบม่านลายคือ กระดองหลังค่อนข้างแบนและเรียบ สีของลำตัวเปลี่ยนได้บ้างตามสภาพแวดล้อม ตั้งแต่สีน้ำตาลเหลืองจนถึงน้ำตาลออกม่วง มีลวดลายสีอ่อนกว่าสีของกระดองหลัง มีลายคล้ายลายพรางซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละตัวอยู่บนกระดองหลัง และมีลายรูปเจดีย์บริเวณไหล่และคอด้านบน กระดองท้องสีขาวอมชมพู หัวมีขนาดเล็กและยาว คอยาว การแยกเพศของตะพาบม่านลายที่เห็นได้ชัดเจนคือความแตกต่างของความยาวหาง โดยเพศผู้จะมีหางยาวโผล่พ้นขอบกระดองด้านท้ายออกมา แต่เพศเมียหางจะสั้นกว่า และปลายหางอยู่ใกล้กับขอบกระดอง ตะพาบ ม่านลายดำรงชีวิตส่วนใหญ่โดยการฝังตัวอยู่ใต้ทรายริมแม่น้ำที่มีน้ำไหลและ สะอาด โผล่ปลายจมูกและตาเล็กๆขึ้นมาระดับเดียวกับทรายคอยปลาว่ายผ่านมาแล้วยืดหัว และคอออกมาจับปลากินอย่างรวดเร็ว ปกติจะไม่ขึ้นมาบนบก ยกเว้นตัวเมียขึ้นมาวางไข่บริเวณหาดทรายริมแม่น้ำ
ถิ่นที่อาศัย: แม่น้ำแควน้อย แควใหญ่ แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำปิง
สถานะภาพ: สัตว์น้ำคุ้มครอบตาม พรบ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาจาด
ชื่อท้องถิ่น: ปลาจาด
ชื่อสามัญ: Goldfin tinfoil barb
ชื่อวิทยาศาสตร์: Hypsibarbus vernayi
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน ลำตัวมีลักษณะแบนข้าง หัวค่อนข้างยาว ก้านครีบหลังก้านแรกแข็ง ครีบหางเป็นแฉกลึก ครีบท้องและครีบหูออกสีส้ม กินพวกแมลงน้ำ พืชน้ำ
ถิ่นที่อาศัย: กระจายทั่วทุกภาคของประเทศไทย
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาอีกง
ชื่อท้องถิ่น: อีกง อีกึง มังกง แขยง แขยงกง กด
ชื่อสามัญ: Long whiskered catfish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Mystus gulio
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ชอบว่ายน้ำรวมกันเป็นฝูง ลำตัวค่อนข้างกลมหนา ปกติมีสีเทาอมทองหรือสีเทาอมม่วง ส่วนท้องมีสีขาว
ถิ่นที่อาศัย: สามารถพบปลาอีกงบริเวณแม่น้ำสายใหญ่ ๆที่ติดต่อกับทะเลโดยเฉพาะบริเวณ น้ำกร่อย เนื่องจากมีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงความเค็มของน้ำได้เป็นอย่างดี พบทั่งไปในอินเดีย พม่า ศรีลังกา สุมาตรา และในประเทศไทย พบทั่วไปในแม่น้ำปัตตานี แม่น้ำจันทร์บูรณ์ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน
สถานะภาพ: สัตว์น้ำเฉพาะถิ่น | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: หอยกาบใหญ่
ชื่อท้องถิ่น: หอยปุ้ม
ชื่อสามัญ: Freshwater Pearl Mussel
ชื่อวิทยาศาสตร์: Chamberlainia hainesiana
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: เป็นหอยสองฝา ที่มีขนาดใหญ่ เปลือกหนา ภายในมีความแวววาวของชั้นมุก รูปร่างค่อนข้างมล เปลือกอูม ความยาวเปลือก 15-20 เซนติเมตร นำมาใช้ในการผลิตไข่มุกน้ำจืด เพื่อประโยชน์ในอุตสาหกรรมอัญมณี เครื่องสำอาง และยา เปลือกนำมาทำเป็นเครื่องประดับ เครื่องใช้ เครื่องเรือนประดับมุก เนื้อใช้เป็นอาหารของคนและสัตว์ นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศน์ทางน้ำ เนื่องจากช่วยลดปริมาณอินทรีย์สารในน้ำ ด้วยการกรองกินแพลงก์ตอนที่ล่องลอยในน้ำเป็นอาหาร ทำให้มีส่วนช่วยในการรักษาสมดุลของแหล่งน้ำ
ถิ่นที่อาศัย: พบในลุ่มน้ำแม่กลอง และลุ่มน้ำเจ้าพระยา ไม่พบในแหล่งน้ำนิ่ง โดยสภาพเนื้อดินที่พื้นท้องน้ำบริเวณแหล่งอาศัยของหอยมุก ส่วนใหญ่เป็นแบบดินร่วนปนทราย
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาแรด
ชื่อท้องถิ่น: ปลามิน ปลาเม่น
ชื่อสามัญ: Giant gourami
ชื่อวิทยาศาสตร์: Osphronemus goramy
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: มีรูปร่าง ลำตัวป้อมสั้น แบนข้าง หัวมีขนาดเล็ก ปากเล็กเฉียงขึ้นยึดหดได้ มีเกล็ดขนาดใหญ่ครีบท้องมีขนาดเล็ก ก้านครีบท้องอันหน้าเปลี่ยนรูปเป็นระยางค์ยาว ลำตัวมีสีสันแตกต่างกันตามขนาดและอายุของปลา ปลาขนาดเล็กมีแถบสีดำเข้มพาดขวางลำตัวปลาจำนวน 8-10 แถบ ที่โคนครีบหางมีจุดสีดำข้างละ 1 จุด เมื่อปลาโตขึ้นแถบสีดำและจุดที่โคนครีบหางจะค่อยๆจางหายไป สีของลำตัวด้านบนเปลี่ยนเป็ฯสีน้ำตาลปนดำหรือค่อนข้างเทา ด้านล่างเป็นสีขาวเงินแถมเหลือง ส่วนหัวด้านบนจะมีโหนกยื่นนูนออกมา เรียกว่า นอปลาแรด
ถิ่นที่อาศัย: อยู่ในประเทศอินโดนีเซียแถบหมู่เกาะสุมาตรา ชวา บอร์เนียว และหมู่เกาะอินเดียตะวันออก ปลาแรดในประเทศไทยพบในแหล่งน้ำธรรมชาติ และอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ เช่นแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำตาปี แม่น้ำสะแกกรัง แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำโขง อ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครรินทร์ เขื่อนเขาแหลม เป็นต้น
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาซิวข้างขวาน(ขวานใหญ่)
ชื่อท้องถิ่น: ซิวรัส,บูงอมาแจ
ชื่อสามัญ: Harlequin rasbora
ชื่อวิทยาศาสตร์: Trigonostigma heteromorpha
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: รูปร่างแบนข้าง ตัวมีสีส้มแดงเหลือบชมพูหรือม่วง ตอนกลางลำตัวจนถึงโคนหางมีแต้มสีดำรูปสามเหลี่ยมคล้ายขวาน อาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่กว่า 100 ตัวขึ้นไป วางไข่ติดกับบริเวณใต้ใบพืชน้ำ
ถิ่นที่อาศัย: พรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส
สถานะภาพ: สัตว์น้ำเฉพาะถิ่น | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาปล้องอ้อย
ชื่อสามัญ: Kuhlii loach หรือ Coolie loach
ชื่อวิทยาศาสตร์: Acanthopthalmus kuhlii
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ลำตัวมีรูปร่างเรียวยาว (elongated shape) สีน้ำตาล มีแถบสีเหลืองส้มพาดขวางจำนวน ๑๑-๑๒ แถบ ปากอยู่ด้านล่างยืดหดได้เล็กน้อย มีหนวดสั้น ๆ ๔ คู่ อยู่บริเวณขากรรไกรบน ๒ คู่ บริเวณขากรรไกรล่าง ๑ คู่ และบริเวณจมูก ๑ คู่ มีเกล็ดแบบ cycloid ขอบเกล็ดเรียบมีลักษณะ บางใส เกล็ดมีขนาดเฉลี่ย ๐.๒๒ มิลลิเมตร ไม่มีเส้นข้างตัว ลักษณะฟันเป็นฟันละเอียดขนาดเล็ก (villiform) บริเวณเพดานบนตามีขนาดเล็กและมีหนังหุ้มตา ที่กระพุ้งแก้มมีหนามอยู่ในแอ่งบริเวณหลังตา ข้างละ ๑ อัน ส่วนใหญ่มีความยาวประมาณ ๕-๘ เซนติเมตรและน้ำหนัก ประมาณ ๐.๘๐ -๑.๘๐ กรัม
ถิ่นที่อาศัย: พบบริเวณใต้รากไม้ ขอนไม้ บริเวณที่มีพรรณไม้น้ำ เช่น คล้าน้ำ บอน สาหร่ายหางกระรอก เป็นต้น หรือที่เป็นซากพืช ใบไม้ทับถม พื้นดินอ่อนไม่แข็งจนเกินไป หากบริเวณใดที่เป็นพื้นแข็งจะไม่พบ บริเวณที่พบจะเป็นคลองธรรมชาติไม่มีการทำลายถ้าแหล่งน้ำใดถูกเปลี่ยนแปลงสภาพเดิมจะไม่พบปลาปล้องอ้อย เช่น คลองที่มีการขุดลอกใหม่ ระดับความลึกที่พบปลา ปล้องอ้อยอยู่ระหว่าง ๓ -๑๕๐ เซนติเมตร แต่จะพบมากที่ความลึก ๔๐-๘๐ เซนติเมตร | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาแขยงจุด
ชื่อวิทยาศาสตร์: Mystus micracathus
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: เป็นปลาน้ำจืดจัดอยู่ ในปลาหนังไม่มีเกล็ดขนาดเล็ก รูปร่างค่อนข้างสั้นมีหนวดยาว ๔ คู่ ครีบอกและครีบหลังมีก้านครีบแข็ง ครีบไขมันค่อนข้างสั้น ครีบหางเว้าลึกมีจุดสีดำที่ขอดหาง ตัวมีสีเทาอมเขียวเข้ม ขนาดที่พบยาวประมาณ ๑๐-๑๕ เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ ๑๐-๒๐ กรัม ถ้าเป็นปลาขนาดเล็กจะมีสีเหลืองนวล มักอยู่รวมกันเป็นฝูงมีอยู่ทั่วไป ในแหล่งน้ำไหล เช่นแม่น้ำ ลำคลอง ลำธาร คาดว่าน่าจะพบทั้งภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้
ถิ่นที่อาศัย: พบบริเวณน้ำไหลบริเวณที่มีพรรณไม้น้ำ เช่น สาหร่าย ตะไคร่น้ำ วัชพืชน้ำ ฯลฯ บริเวณที่มีก้อนหิน กรวด หรือมีใบไม้หรือกิ่งไม้ทับถม เพื่อเป็นที่หลบซ่อน | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาตะเพียนปากหนวด
ชื่อท้องถิ่น: จาด ปากหนวด
ชื่อวิทยาศาสตร์: Hypsibarbus malcomi
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: คล้ายปลาตะเพียนขาว แต่ลำตัวเรียวยาวกว่า มีหนวดค่อนข้างยาวที่มุมปาก 2 คู่ เกล็ดใหญ่ ลำตัวสีเงินเทา ครีบสีส้ม และมีขอบสีแดงเรื่อหรือชมพู
ถิ่นที่อาศัย: พบในแม่น้ำสายหลักและสาขา ของแม่น้ำโขง
สถานะภาพ: สัตว์น้ำเฉพาะถิ่น | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาตะโกก
ชื่อท้องถิ่น: โจก
ชื่อสามัญ: Soldier river barb
ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyclocheilichthys enoplos
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: Systomini มีรูปร่างเพรียวยาว หัวเล็ก หางคอด มีหนวด 2 คู่อยู่ริมฝีปาก เกล็ดมีขนาดใหญ่สีเงิน ครีบหลังยกสูง ครีบหางเว้าลึก เป็นปลาที่มีความปราดเปรียวว่องไวมาก มักหากินตามพื้นท้องน้ำ โดยอาหารไก้แก่ สัตว์หน้าดิน เช่น หอย, ปู มีพฤติกรรมชอบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำเชี่ยวและขุ่นข้น ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร
ถิ่นที่อาศัย: พบในลุ่มแม่น้ำใหญ่ในภาคกลางและภาคอีสาน เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำแม่กลอง, แม่น้ำท่าจีน, แม่น้ำโขงและสาขา รวมทั้งแหล่งน้ำขนาดใหญ่เช่น บึงบอระเพ็ดด้วย
สถานะภาพ: สัตว์น้ำเฉพาะถิ่น | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาแขยงธง
ชื่อท้องถิ่น: แขยงธง
ชื่อสามัญ: Bocourt s River Catfish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Mystus bocourti
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก มีรูปร่างยาวเรียวคล้ายกับปลาแขยงข้างลาย ปากค่อนข้างเล็ก หลังช่องเหงือกมีจุดดำ 1 จุด มีหนวด 4 คู่ ลักษณะเด่นจะมีครีบหลังอันแรกยาวจนเห็นได้ชัดคล้ายชายธง ครีบไขมันมีขนดใหญ่และยาว ครีบหูมีเงี่ยงแหลมคมข้างละอัน ครีบหางเว้าลึกส่วนบนมีปลายยาวเป็นเส้นระยาง ลำตัวมีสีเทาอ่อนหรือน้ำตาลเรื่อ กินลูกปลา ลูกกุ้ง สัตว์น้ำขนาดเล็ก ซากสัตว์และพืชที่เน่าเปื่อย
ถิ่นที่อาศัย: อยู่ในแหล่งน้ำไหล แม่น้ำ ลำคลองทั่วไปบางครั้งอาจเข้าไปหากินในแหล่งน้ำนิ่งเป็นคครั้งคราว
สถานะภาพ: สัตว์น้ำเฉพาะถิ่น | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาซ่า
ชื่อท้องถิ่น: คุยลาม
ชื่อวิทยาศาสตร์: Labiobarbus siamensis
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ลำตัวเพรียวยาว หัวเล็ก และหางคอด ปากเล็ก มีหนวดยาวที่มุมปาก 2 คู่ เกล็ดเล็ก ลำตัวสีเงินวาว มีแถบสีคล้ำพาดตามยาว 5-6 แถบ ข้างลำตัวตอนเหนือครีบอกมีแถบสีคล้ำตามแนวตั้ง ครีบสีจาง หรือเหลืองอ่อน ครีบหลังยาวมาก และมีขอบสีคล้ำ ครีบหางเว้าลึกสีแดงเรื่อ
ถิ่นที่อาศัย: พบในแม่น้ำสายหลักและสาขา ของประเทศไทย
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาหนวดพราหมณ์หนวดเจ็ดเส้น
ชื่อท้องถิ่น: ปลาหนดพราหมณ์
ชื่อสามัญ: Paradise Threadfin
ชื่อวิทยาศาสตร์: Polynemus Longipectoralis
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ลักษณะลำตัวเพรียวยาว แบนข้างเล็กน้อย ส่วนหัวมีลักษณะมนกลม มีจงอยปากทู่ ปากกว้างอยู่ด้านล่างของจงอยปาก ฟันซึ่เล็กละเอียดบนขากรรไกร ตามีขนาดเล็กอยู่ตอนปลายของหัว และมีเยื่อไขมันคลุม เกล็ดขนาดเล็ก ลำตัวมีสีเงินวาว หรือสีเนื้อ ครีบอกแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนบนเป็นครีบยาวแหลม ส่วนล่างมีลักษณะเป็นเส้นเรียวยาว คล้ายหนวดปลาช่วยในการสัมผัสรับความรู้สึก คลำทางและหาอาหาร โดยมีข้างละเจ็ดเส้น เป็นจุดเด่นของปลาชนิดนี้ ยามว่ายน้ำทำให้ปลาชนิดนี้มีความสวยงามแตกต่างจากปลาชนิดอื่นเป็นปลากินเนื้อและสัตว์หน้าดิน
ถิ่นที่อาศัย: ในประเทศไทย พบแพร่กระจายในแม่น้ำต่างๆ เช่น แม่น้ำน่าน แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำบางปะกง และแม่น้ำสะแกกรัง เป็นต้น
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาไหลนา
ชื่อท้องถิ่น: ปลาไหลนา ปลาไหลบึง
ชื่อสามัญ: Swamp Eel, Asian Swamp Eel
ชื่อวิทยาศาสตร์: Monopterus albus
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ปลาไหลนาเป็นปลาน้ำจืดกลุ่มปลากระดูกแข็ง ชนิดหนึ่ง ลักษณะลำตัวยาว ครีบอก (pectoral fin) และครีบท้อง (ventral fin) เสื่อมหายไม่เหลืออยู่เลย ครีบหลัง (dorsal fin) เริ่มต้นตรงกับแนวของรูก้นทอดไปตามแนวสันลำตัวด้านบน ส่วนครีบก้น (anal fin) เริ่มต้นจากจุดกึ่งกลางของระยะรูก้นกับปลายหาง โดยทั้งครีบหลังและครีบก้นจะไปรวมกับครีบหาง (caudal fin) ทำให้ปลาไหลนามีหางแบบ diphycercal tail มีลักษณะปลายหางเรียวแหลม แบ่งครีบหางออกเป็นสองส่วนเท่าๆ กัน ปลาไหลนาจัดเป็นพวกปลากินเนื้อ (carnivorous fish) ที่ชอบฉก หรือแทะกินเนื้อสัตว์ที่ตายแล้ว ทั้งสภาพสดที่มีกลิ่นคาวจัด จนเน่าเปื่อยจนมีกลิ่นเหม็น รวมถึงลูกปลาขนาดเล็กตัวหนอน ตัวอ่อนแมลง ไส้เดือน หรือสัตว์หน้าดินต่างๆ (benthos) ซากวัชพืชที่มีสิ่งมีชีวิตเล็กๆ เกาะอาศัยอยู่ เป็นปลาที่มีตาขนาดเล็ก แต่จมูกและเส้นข้างลำตัวพัฒนาการดี จึงชอบกินอาหารในที่มืด สิ่งแวดล้อมสงบเงียบ และมีนิสัยรวมกลุ่มในการอยู่อาศัยหรือกินอาหาร ปลาจะเติบโตมีความสมบูรณ์เพศเมื่ออายุครบ 1 ปี และมีความยาวเหยียดประมาณ 17 เซนติเมตร ปลาขนาดนี้จะเป็นปลาเพศเมียล้วน และ สรุปว่า ปลาไหลนาเมื่อขนาดยังเล็ก (ความยาวตัว < 28 เซนติเมตร) เป็นปลาเพศเมียเมื่อโตขึ้นขนาดตัวปานกลาง (ความยาวตัว 28.0 - 45.9 เซนติเมตร) เป็นปลาเพศรวมและเมื่อปลาขนาดใหญ่ (ความยาวตัว > 46 เซนติเมตร) และอายุมาก เป็นปลาเพศผู้ ปลาไหลนาจึงเป็นพวก Genetic Sex Reversal แบบ Protogynous Hermaphrodite พฤติกรรมการวางไข่ แม่ปลาไหลจะก่อหวอดในโพรงดินที่มีโพรงอากาศก่อนวางไข่ประมาณ 1 - 2 วัน ลักษณะของไข่ปลาหลังการวางไข่ใหม่ๆ เป็นเม็ดกลมใสเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร และจะค่อยๆ บวมน้ำขยายขนาดโตขึ้นจนมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 มิลลิเมตร ไข่มีสีเหลืองอ่อนกลมทึบแสง พ่อแม่ปลาไหลนาจะหวงแหนไข่มาก คอยเฝ้าบริเวณปากโพรงดินบริเวณที่วางไข่ ปลาไหลนาจึงเป็นปลาที่มีพฤติกรรม ที่พ่อแม่ปลาคอยดูแลรักษาไข่ เพื่อป้องกันอันตรายจากศัตรูต่างๆ
ถิ่นที่อาศัย: พบได้ทั่วไปตามแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น คูน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ที่ค่อนข้างเป็นแหล่งน้ำนิ่ง จึงเรียกว่าปลาไหลบึง (swamp eel) และยังสามารถเจริญเติบโตได้ดีในนาข้าว จึงนิยมเรียกกันว่า ปลาไหลนา (rice-field eel) ชอบอาศัยอยู่ตามพื้นโคลนที่มีซากพืชซากสัตว์เน่าเปื่อยสะสมอยู่หรือบริเวณที่ปกคลุมด้วยวัชพืช พวกหญ้าน้ำที่รกและชื้นแฉะ ในฤดูแล้งขุดรูอยู่อาศัย ลึก 1 - 1.5 เมตร หรือชอบฝังตัวในลักษณะจำศีลใต้พื้นโคลนบริเวณก้นหนองบึง ด้วยลักษณะพิเศษทางกายวิภาคและสรีระวิทยาของปลาไหลนา ทำให้สามารถอยู่อาศัยในที่แห้งแล้งไม่มีน้ำได้นานๆ
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาเทโพ
ชื่อท้องถิ่น: ปึ่ง หูหมาด เต๊าะ
ชื่อสามัญ: Black Ear Catfish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Pangasius larnaudii
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: เป็นปลาไม่มีเกล็ด มีจุดแต้มสีดำบริเวณครีบหูทั้งสองข้าง ขนาดโตเต็มที่ความยาว 1.30 เมตร(สมโภชน์, 2523) กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร แต่ปลาขนาดเล็กจะกินแมลงเพียงอย่างเดียว
ถิ่นที่อาศัย: พบแพ่รกระจายทั่วไปในแม่น้ำโขงและสาขา แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำสายสำคัญ เช่น แม่น้ำปิง แม่น้ำมูล และอ่างเก็บน้ำ
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาแก้มแดง
ชื่อท้องถิ่น: ตะเพียนแก้มแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Hypsibarbus lageri
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: เป็นปลาน้ำจืดที่มีลักษณะคล้ายปลาตะเพียน แต่มีขนาดใหญ่กว่า ลำตัวแบนข้าง แผ่นปิดเหงือกมีสีแดง เกล็ดเหนือเส้นข้างลำตัวถึงโคนครีบหลังมี 5 แถว พบขนาดใหญ่สุดมีความยาว 40 เซนติเมตร กินแพลงก์ตอนสัตว์ สาหร่ายและใส้เดือน เป็นอาหาร
ถิ่นที่อาศัย: แม่น้ำโขงตอนกลางและสาขา
สถานะภาพ: สัตว์น้ำเฉพาะถิ่น | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาตะเพียนลาย
ชื่อท้องถิ่น: ยาลุยีลีมา
ชื่อสามัญ: Striped barb
ชื่อวิทยาศาสตร์: Systomus johorensis
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: รูปร่างแบนข้าง ลำตัวแบบกระสวย ปากเล็ก มีหนวด 2 คู่ ตัวมีสีน้ำตาลแดงหรือเหลืองเข้ม มีแถบสีดำตามแนวยาวของลำตัว 5-6 แถบ ตั้งแต่ด้านหลังจนถึงด้านท้อง แถบใหญ่สุดอยู่ที่กลางลำตัว ตามแนวเส้นข้างตัวไปถึงโคนครีบหาง ในปลาตัวเล็กมีบั้งตามแนวขวางลำตัว 4 บั้ง เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนเป็นแถบตามแนวยาว ขนาดพบใหญ่สุด 10 เซนติเมตร พบเป็นฝูง 10-30 ตัว
ถิ่นที่อาศัย: พรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส
สถานะภาพ: สัตว์น้ำเฉพาะถิ่น | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลากระแห
ชื่อท้องถิ่น: ปลาลำปำ ปลาเลียนไฟ ตะเพียนหางแดง
ชื่อสามัญ: Schwanen feld ’s tinfoil barb
ชื่อวิทยาศาสตร์: Barbodes schwanenfeldi
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: รูปร่างป้อมสั้น ลำตัวแบนข้าง หัวมีขนาดเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ นัยน์ตาเล็ก ปากเล็กและอยู่ปลายสุด เกล็ดมีขนาดใหญ่ สีพื้นของลำตัว เป็นสีขาวเงิน หรือสีเหลืองปนแดง กระโดงหลังสีแดง และมีแถบดำที่ปลายกระโดง ขอบบนและล่างของครีบหาง มีแถบสีดำข้างละแถบ
ถิ่นที่อาศัย: แม่น้ำ ลำคลอง หนองบึง ทั่วทุกภาค
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลากระดี่ กระดี่นาง กระดี่แสงจันทร์
ชื่อท้องถิ่น: ภาษาอีสาน เรียกว่า
ชื่อสามัญ: Moonlight gourami
ชื่อวิทยาศาสตร์: Trichogaster microlepis
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ลักษณะนิสัย มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง สามารถฮุบอากาศจากผิวน้ำได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านเหงือก เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะก่อหวอดผสมกับเศษหญ้าหรือพืชไม้ชนิดต่าง ๆ ชอบอยู่ในน้ำนิ่งระดับน้ำไม่ลึกนัก และว่ายน้ำหากินอยู่ตามกอหญ้า นาข้าว พันธุ์ไม้น้ำ ต่าง ๆ กระดี่นางมักอาศัยปะปนอยู่กับกระดี่หม้อ แต่มีจำนวนไม่มากนัก หายากกว่ากระดี่หม้อ ผู้ที่มีความชำนาญอาจมองหวอดปลากระดี่ออกว่าหวอดไหนเป็นกระดี่หม้อหรือกระดี่นาง หวอดกระดี่นางมีผู้ตักช้อนมาเลี้ยงไว้ในบ่อหรืออ่างกว้าง ๆ แล้วนำลูกที่เลี้ยงได้ขนาดส่งขายตลาดปลาสวยงาม อาหารและการกินอาหาร กินแพลงก์ตอนเป็นอาหารเป็นปลาที่มีนิสัยชอบหากินบริเวณผิวน้ำ ฤดูวางไข่ พฤษภาคม ถึง กันยายน
ถิ่นที่อาศัย: พบตามแหล่งน้ำทั่วไปในทุกภาคของประเทศ ชอบอยู่ในแหล่งน้ำนิ่ง ต่างประเทศมีในแถบอินโดจีน เป็นปลาที่พบได้ในแหล่งน้ำในภาคอีสาน ภาคกลาง และ ภาคตะวันออกของไทย
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาดุกอุย
ชื่อท้องถิ่น: ดุกอุย
ชื่อสามัญ: Broadhead catfish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Clarias macrocephalus
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ส่วนของท้ายทอยยื่นแหลม แต่ส่วนท้ายมนกลม ครีบหลังอยู่ค่อนข้างชิดกับท้ายทอย ส่วนหัวแบนราบ ด้านบนหัวเรียบไม่ขรุขระและแบนข้างไปทางด้านท้ายของลำตัว ครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางแยกกันชัดเจน ครีบท้องเล็ก ครีบหางเล็กปลายมน ตัวมีสีคล้ำอมเหลือง มีจุดสีขาวเป็นแถวแนวตั้งบนลำตัวในบางตัว ด้านท้องมีสีจาง
ถิ่นที่อาศัย: แหล่งน้ำนิ่ง และแม่น้ำของทุกภาค ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาบู่
ชื่อท้องถิ่น: ปลาบู่จาก ปลาบู่เอื้อย
ชื่อสามัญ: Sand Goby,Marble Sleeper
ชื่อวิทยาศาสตร์: Oxyeleotris marmorata
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ปลาบู่มีลำตัวค่อนข้างกลม หางแบน ปากกว้างเฉียงขึ้นเล็กน้อย นัยน์ตาเล็ก รูจมูกคู่หน้าเป็นหลอดยื่นมาชิดกับร่องเหนือริมปาก ครีบอกไม่ติดกัน ครีบหลังมีสองอัน ครีบหางกลมมน เคลื่อนไหวช้าในระดับกลางน้ำ แต่จะปราดเปรียวเมื่ออยู่บนพื้นและสามารถหยุดการเคลื่อนไหวได้กระทันหัน ปลาบู่จัดเป็นปลาขนาดกลาง ขนาดโตเต็มวัยประมาณ 30 ซม.ขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพบยาวถึง 60 ซม. ในธรรมชาติปลาตัวเมียจะวางไข่ติดกับวัสดุต่างๆ ในน้ำ เช่น เสาไม้ ตอไม้ ฯลฯ ปลาตัวผู้จะเข้าดูแลไข่โดยใช้ครีบหูหรือครีบหางพัดโบกไปมาช้าๆ เข้าใจว่าเป็นการช่วยเพิ่มออกซิเจน ปลาบู่เป็นปลากินสัตว์น้ำอื่น ได้แก่ ลูกปลา ตัวอ่อนแมลงน้ำ กุ้ง ปู เป็นต้น สามารถเลี้ยงให้เจริญเติบโตได้ทั้งในบ่อและกระชัง
ถิ่นที่อาศัย: แม่น้ำ สาขาของแม่น้ำและอ่างเก็บน้ำทุกภาคของประเทศไทย
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาชะโอน
ชื่อท้องถิ่น: สยุมพร
ชื่อสามัญ: Two - spot glass catfish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Ompok bimaculatus
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำลำคลองที่มีกระแสน้ำไหลเบาๆ หรือน้ำนิ่ง อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง กินลูกปลาขนาดเล็กเป็นอาหาร มีลักษณะโดยทั่วไป คือ หัวสั้น และแบนข้างเล็กน้อย ลำตัวแบนข้างและยาว ส่วนหลังโค้งสูงขึ้นเล็กน้อย ปากกว้าง ขากรรไกรล่างยื่นออกมาเลยขากรรไกรบนเล็กน้อย ตาขนาดค่อนข้างโตอยู่สูงกว่าหลังมุมปากเล็กน้อย มีหนวด 2 คู่ คือหนวดที่ริมฝีปากยาวถึงประมาณท้อง และหนวดใต้คางสั้น ครีบหลังมีขนาดเล็ก ครีบอกมีขนาดใหญ่ ครีบท้องอยู่ตรงข้ามกับครีบหลัง ครีบหางแบบ 2 แฉกเว้าตรงกลางและปลายมน ลักษณะที่เด่นอีกอย่างหนึ่งคือ มีจุดสีดำขนาดใหญ่อยู่เหนือครีบอก
ถิ่นที่อาศัย: กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่อินเดีย พม่า เวียดนาม ตลอดจนมาเลเซีย
สถานะภาพ: มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ รวมถึงรายละเอียดสถานภาพเฉพาะ | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาเล็บมือนาง
ชื่อสามัญ: Siamese algae eater
ชื่อวิทยาศาสตร์: Crossocheilus siamensis
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: เล็บมือนาง เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Crossocheilus reticulatus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae - Garrae มีรูปร่างลำตัวเพรียว หัวเล็ก ปากเล็กอยู่ด้านล่างของจงอยปากและมีแผ่นหนังคลุม มีหนวดสั้น 1 คู่ เกล็ดเล็ก ลำตัวสีเงินอมเหลือง มีลายสีคล้ำที่ขอบเกล็ด โคนครีบหางมีจุดสีดำเห็นชัดเจน ครีบใสสีเหลืองเรื่อ มีขนาดความยาวประมาณ 8-10 ซ.ม. ใหญ่สุด 17 ซ.ม. 1. แถบดำข้างตัวเป็นเส้นซิกแซกตามแนวเหล็ดยาวผ่ากลางครีบหาง 2. แนวเกล็ดเหนือแถบดำเป็นลายร่างแห 3. ครีบใสไม่มีสี 4. ปากเป็นปากดูด อาหารของปลาเล็บมือนาง ได้แก่ ตะไคร่น้ำ แพลงก์ตอน และสัตว์หน้าดินขนาดเล็ก
ถิ่นที่อาศัย: ปลาเล็บมือนางมีพฤติกรรมอยู่เป็นฝูงใหญ่ตามแก่ง ช่วงฤดูฝนมีการย้ายถิ่นเข้าสู่ทุ่งน้ำหลากอาศัยตามแม่น้ำสายหลักและแก่ง แหล่งน้ำหลาก
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลากระทิงลาย
ชื่อท้องถิ่น: กระทิงลาย
ชื่อสามัญ: Tire track eel
ชื่อวิทยาศาสตร์: Mastacembelus favus
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ลำตัวเรียวยาว แบนข้างเล็กน้อย ครีบหลัง ครีบหาง และครีบก้น เชื่อมต่อกัน ด้านหลังมีก้านครีบแข็งสั้นหลายอัน ตาเล็ก ครีบอกใหญ่ หัวมีลายตั้งแต่ปลายจะงอยปากคาดมาที่ตาถึงช่องเปิดเหงือก ตัวมีสีเทาอ่อนหรือน้ำตาลอมเหลือง มีลายดวงสีเหลืองตามลำตัวไปถึงส่วนท้องด้านล่าง ครีบมีสีคล้ำ มีจุดประสีเหลืองอ่อน
ถิ่นที่อาศัย: แม่น้ำ ลำคลอง หนอง และบึง ทั่วทุกภาค
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลากดเหลือง
ชื่อท้องถิ่น: ปลากดเหลือง
ชื่อสามัญ: Yellow mystus,
ชื่อวิทยาศาสตร์: Hemibagrus filamentus
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: เป็นปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ด จัดเป็นปลากินเนื้อ มีรูปร่างที่ปราดเปรียว ส่วนหัวมีลักษณะแบนลง และด้านบนของหัวมีลักษณะคล้ายแผ่นเกราะเป็นสัน ที่ไม่ถูกปกคลุมด้วยผิวหนัง ครีบไขมันยาวปานกลาง
ถิ่นที่อาศัย: แหล่งน้ำธรรมชาติ อ่างเก็บน้ำทั่วทุกภาคของประเทศไทย ภาคใต้พบในแม่น้ำตาปี ปัตตานี สายบุรี บางนรา โกลก และสาขา และบริเวณปากแม่น้ำที่เป็นน้ำกร่อยหรือชายฝั่ง เช่น ทะเลน้อย ทะเลสาบสงขลา และพรุต่าง ๆ เช่น พรุควนเคร็ง พรุโต๊ะแดง อาศัยอยู่ตามพื้นท้องน้ำที่เป็นพื้นดินแข็งและกรวด ที่มีกระแสน้ำไหลผ่านไม่แรงนัก
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลากระสง
ชื่อท้องถิ่น: กระจน อีจน
ชื่อสามัญ: Bloched Snakeheadfish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Channa lucius
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ปลาน้ำจืดที่มีรูปร่างคล้ายปลาช่อนแต่ส่วนหัวแบนกว่า จะงอยปากงอนขขึ้นเล็กน้อย รูปร่างป้อมสั้นกว่าปลาช่อน สีสันบริเวณลำตัวเป็นสีเขียวมะกอกมีลวดลายคล้ายลายไม้ ความยาวเต็มที่ประมาณ 40 เซนติเมตร เป็นปลากินเนื้อ ลูกปลากระสงขนาดเล็กมักอยู่รวมกันเป็นฝูง มีลายแถบดำพาดตามลำตัววตลอดแนว
ถิ่นที่อาศัย: พบอาศัยในแหล่งน้ำนิ่งทั้งแหล่งน้ำขนาดใหญ่และเล็กทั่วไป รวมถึงบริเวณพื้นที่ป่าพรุ
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาปีกไก่
ชื่อท้องถิ่น: เพียว กะปิ๋ว
ชื่อสามัญ: Sheatfish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Kryptopterus cryptopterus
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: รูปร่างเพรียวยาวคล้ายปลาเนื้ออ่อน แบนข้างมาก ส่วนหัวสั้น ปากเล็ก ตาโตอยู่ต่ำกว่ามุมปาก มีหนวดยาว 2 คู่ ครีบหลังเล็กมากเห็นเป็นเส้นสั้นๆ ครีบอกใหญ่มีก้านแข็ง หางเว้าตื้น ตัวมีสีเหลืองเหลือบเขียว ค่อนข้างใส ความยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร
ถิ่นที่อาศัย: พบอาศัยทั่วไปในแม่น้ำลำคลองและทะเลสาบขนาดใหญ่
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาดุกอุย
ชื่อท้องถิ่น: ดุกอุย
ชื่อสามัญ: Broadhead catfish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Clarias macrocephalus
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ส่วนของท้ายทอยยื่นแหลม แต่ส่วนท้ายมนกลม ครีบหลังอยู่ค่อนข้างชิดกับท้ายทอย ส่วนหัวแบนราบ ด้านบนหัวเรียบไม่ขรุขระและแบนข้างไปทางด้านท้ายของลำตัว ครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางแยกกันชัดเจน ครีบท้องเล็ก ครีบหางเล็กปลายมน ตัวมีสีคล้ำอมเหลือง มีจุดสีขาวเป็นแถวแนวตั้งบนลำตัวในบางตัว ด้านท้องมีสีจาง
ถิ่นที่อาศัย: แหล่งน้ำนิ่ง และแม่น้ำของทุกภาค ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาชะโอนหิน
ชื่อท้องถิ่น: ดุกขน
ชื่อสามัญ: Upstream sheatfish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Silurus torrentis
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ปลาชะโอนหินอยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน ลำตัวแบนข้างและเรียวยาว ตาขนาดเล็กมาก หัวและปากขนาดเล็ก มีหนวด 3 คู่ ครีบหางและครีบก้นต่อเนื่องกัน ครีบหลังมีขนาดเล็กมาก ขนาดประมาณ 20-30 เซนติเมตร มักซ่อนตัวอยู่ใต้โขดหิน ออกหากินในเวลากลางคืน กินตัวอ่อนแมลงและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร
ถิ่นที่อาศัย: พบอาศัยอยู่ตามลำธาร และห้วยบนที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 200-300 เมตร
สถานะภาพ: มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ รวมถึงรายละเอียดสถานภาพเฉพาะ | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ซิวข้างขวาน
ชื่อท้องถิ่น: ซิวข้างขวานเล็ก
ชื่อสามัญ: Lambchop rasbora, False Harlequin
ชื่อวิทยาศาสตร์: Trigonostigma espei
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: เป็นปลาน้ำจืด มีลำตัวแบนข้าง รูปร่างสมมาตรซ้ายขวา เกล็ดมีขนาดเล็ก ลำตัวมีสีน้ำเงินอมส้ม ส่วนท้องสีขาวเงิน ครีบมีสีเหลืองส้ม ครีบหางแบบเว้าลึกมีสีเหลืองส้มหรือสีแดงอ่อน มีลักษณะเด่น คือมีแถบสีดำเล็กๆ พาดทับเส้นข้างลำตัวทั้งสองข้าง ตั้งแต่บริเวณด้านหน้าของครีบหลังถึงฐานครีบหาง เป็นปลาที่เคลื่อนที่ได้เร็ว และอาศัยอยู่ในบริเวณแหล่งน้ำตื้นๆ ที่มีพรรณไม้น้ำ น้ำมีสีน้ำตาลใส และวางไข่ติดกับใบของพรรณไม้น้ำพวก Cryptocorynes วางไข่ครั้งละ 200-300 ฟอง (สุรศักดิ์, 2543; Alderton, 1997) ระยะเวลาที่ไข่ฟักเป็นตัวประมาณ 24 ชั่วโมง ลูกปลาสามารถว่ายน้ำเป็นอิสระได้ภายใน 4 วัน และเริ่มกินอาหารขนาดเล็ก (อาหารมีชีวิต)
ถิ่นที่อาศัย: เป็นปลาน้ำจืดมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อน มีการแพร่กระจายในแถบประเทศมาเลเซีย อินโดนิเซีย และเกาะสุมาตรา ส่วนในประเทศไทยพบได้ในเขตภาคใต้และภาคตะวันออก สำหรับในจังหวัดตรังจะพบปลาซิวข้างขวานในแม่น้ำ ลำคลอง โดยเฉพาะในเขตอำเภอ ย่านตาขาว และอำเภอปะเหลียน
สถานะภาพ: ใกล้สูญพันธุ์ | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ยี่สก
ชื่อท้องถิ่น: เอิน เอินตาแดง อิสก กะสก
ชื่อสามัญ: Seven-stripped carp
ชื่อวิทยาศาสตร์: Probarbus jullieni
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ หัวค่อนข้างโต มีหนวดสั้น 1 คู่ อยู่มุมปากบน ปากเล็กยืดหดได้ อยู่คล้อยลงมาใต้ส่วนหัว สีของลำตัวเหลือง มีแถบสีดำ 7 แถบ พาดไปตามความยาวของ ลำตัว แถบสีดำเหล่านี้จะพาดอยู่ระหว่างรอยต่อของเกล็ด ตาสีแดง ครีบทุกครีบสีชมพู อยู่ตามแม่น้ำที่พื้นที่เป็นกรวด หินหรือทราย ในฤดูผสมพันธุ์ปลาตัวผู้จะเปลี่ยนสีลำตัวเป็นสีคล้ำอมม่วงและมีตุ่มสิวขึ้นบริเวณข้างแก้มและครีบอก วางไข่ในฤดูหนาว โดยจะอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ๆ ฝูงละ 30 - 40 ตัว บริเวณที่วางไข่อยู่ท้ายเกาะกลางน้ำ กินหอยและตัวอ่อนแมลงน้ำที่อยู่บริเวณพื้นดิน ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่พบมีความยาว 1 เมตร และมีน้ำหนักถึง
ถิ่นที่อาศัย: พบตามแหล่งน้ำใหญ่ของภาคกลาง, ภาคเหนือและอีสาน เช่น แม่น้ำโขง, แม่น้ำน่าน, แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำท่าจีน, แม่น้ำแม่กลอง นอกจากนี้แล้วยังพบได้ที่แม่น้ำปะหัง ในรัฐปะหัง ของมาเลเซียอีกด้วย
สถานะภาพ: สัตว์น้ำเฉพาะถิ่น | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: หน้าหมอง
ชื่อท้องถิ่น: หน้าหมอง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Osteochilus enneaporus
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: คล้ายปลาสร้อยนกเขา แต่จะงอยปากยื่นกว่า ปากงุ้มอยู่ด้านล่าง ครีบหลังสั้นกว่า ลำตัวมีสีน้ำตาลแดงหรือม่วงคล้ำ หัวมักมีสีคล้ำหรือม่วงคล้ำ ข้างช่องเหงือกมีแต้มสีดำ ครีบสีคล้ำ ขนาด 15 - 20 เซนติเมตร กินตะไคร่น้ำและอินทรียสาร
ถิ่นที่อาศัย: พบที่ภาคใต้ของไทย และพบที่ อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ เมื่อปี 2550
สถานะภาพ: สัตว์น้ำเฉพาะถิ่น | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลากระโห้
ชื่อท้องถิ่น: กะมัน หัวมัน
ชื่อสามัญ: Siamese Giant Carp
ชื่อวิทยาศาสตร์: Catlocarpio siamensis
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ปลาน้ำจืดชนิดมีเกล็ด มีขนาดใหญ่สุดในวงศ์ปลาตะเพียน มีลักษณะสำคัญคือ ส่วนหัวโต ปากกว้าง ตาเล็ก นิสัย เป็นปลากินพืช กินแพลงก์ตอนและพันธุ์ไม้น้ำ ขนาดที่พบใหญ่สุด 3 เมตร
ถิ่นที่อาศัย: พบเฉพาะแม่น้ำสายใหญ่ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำโขง
สถานะภาพ: ใกล้สูญพันธุ์ | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลากราย
ชื่อท้องถิ่น: หางแพน ตองกราย
ชื่อสามัญ: Clown featherback,Clown knifefish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Chitala ornata
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ปลาน้ำจืดที่รูปร่างแปลกกว่าปลาอื่น คือ ลำตัวด้านข้างแบนมาก ท้องแบนเป็นสัน ข้างลำตัวเหนือครีบก้นแต่ละด้านมีจุดกลมขนาดใหญ่สีดำขอบสีขาวเรียงเป็นแถว จำนวน 5-10 จุด นิสัยเป็นปลากินเนื้อ กินแมลงน้ำ ลูกกุ้ง ปลาขนาดเล็ก
ถิ่นที่อาศัย: พบทั่วไปตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึงมักอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีกิ่งไม้ใต้น้ำหรือพืชน้ำค่อนข้างหนาแน่น
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: เต่ากระอาน
ชื่อท้องถิ่น: เต่ากระอาน
ชื่อสามัญ: Southern River Terrapin
ชื่อวิทยาศาสตร์: Batagur affinis
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: เต่ากระอานเป็นสัตว์ที่กินทั้งพืชและสัตว์อื่นเป็นอาหาร แต่จะกินพืชเป็นอาหารหลักเช่น ผลมะเดื่อ ผักบุ้ง และพืชน้ำอื่นๆ เป็นเต่าน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย และ เป็น1 ใน 13 ชนิดของเต่าน้ำจืดที่พบในประเทศไทย อาศัยอยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย เป็นเต่าน้ำจืดกระดองแข็งขนาดใหญ่ มีรูปร่างค่อนข้างกลม สามารถหดหัวเข้ากระดองได้ในแนวตรง หัวมีแผ่นเกล็ดหุ้มอยู่ทั้งด้านบนและด้านข้าง ตัวโตเต็มที่มีน้ำหนัก 29.0 กิโลกรัม ความกว้างกระดอง 58.5 เซนติเมตร ความยาวกระดอง 58.5 เซนติเมตร กระดองหลัง (Carapace) รูปไข่ เต่าชนิดนี้จะอาศัยอยู่ในน้ำเกือบตลอดเวลา จะขึ้นมาบนบกเฉพาะเวลาต้องการแสงแดดและวางไข่เท่านั้น
ถิ่นที่อาศัย: เต่ากระอานมักพบบริเวณน้ำกร่อยแถบปากน้ำใหญ่ ๆ และลำคลองที่ต่อกับทะเล โดยเฉพาะบริเวณส่วนโค้งของลำคลองที่มีลักษณะน้ำวน เต่ากระอานจะอาศัยอยู่ตามพื้นท้องน้ำ ปัจจุบันในประเทศไทยพบที่คลองละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
สถานะภาพ: สัตว์น้ำคุ้มครอบตาม พรบ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาสร้อยลูกกล้วย
ชื่อท้องถิ่น: ปลาซ่า
ชื่อวิทยาศาสตร์: labiobarbus lineatus
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ลำตัวด้านข้างกลม ยาว มีครีบหลังเป็นแผงยาวกว่าสกุลอื่นที่มีขนาดใกล้เคียงกัน เหนือครีบมักมีแต้มเป็นจุดสีดำเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มีลายสีดำเป็นเส้นเล็กๆประมาณ 7-8 เส้น พาดไปตามยาวลำตัว และมีจุดดำที่โคนหางอีกหนึ่งจุด มักอยู่รวมกันเป็นฝูง
ถิ่นที่อาศัย: ชอบอาศัยอยู่ในแม่น้ำลำคลอง พบทั่วทุกภาคของประเทศไทย เป็นปลาชนิดเด่นที่แพร่กระจายอยูในคลองละงู และคลองอื่นๆ ในจังหวัดสตูล
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ซิวหางดอก
ชื่อท้องถิ่น: ซิวหางกรรไกรใหญ่
ชื่อสามัญ: Great scissortail
ชื่อวิทยาศาสตร์: Rasbora Caudimaculata
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ลักษณะคล้ายปลาซิวควาย ลำตัวค่อนข้างกลม หัวขนาดเล็ก ตาโต ไม่มีหนวด ริมฝีปากอยู่ส่งนหน้าสุดเฉียงขึ้นเล็กน้อย มุมปากขาวถึงขอบด้านหน้าของตา ครีบหลังมีสีเหลืองอ่อนมีเกล็ดใหญ่ เส้นข้างตัวสมบูรณ์อยู่ค่อนมาทางด้านท้อง เป็นปลาซิวที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ โดยความยาวมาตรฐานสูงสุดที่พบเพศผู้เต็มวัยยาว 17.0 เซนติเมตร มีลักษณะหางคล้ายปลาซิวหางกรรไกร แต่มีลักษณะแตกต่างกันคือ ปลาซิวหางดอกจะมีแถบสีดำที่ปลายสุดของครีบหางทั้งบนและล่าง ส่วนปลาซิวหางกรรไกรจะมีแถบสีดำพาดขวานแพนหางทั้งบนและล่าง ซึ่งแถบสีดำนี้ค่อนไปทางส่วนปลายของแพนหาง ขอบในและขอบนอกของแถบสีดำนี้มีแถบสีขาวพาดขนานคู่กัน
ถิ่นที่อาศัย: เป็นปลาที่มีอยู่ในธรรมชาติ แพร่กระจายในประเทศมาเลเซีย อินโดนิเซีย แม่น้ำโขงตอนล่าง และประเทศไทย สามารถพบในลำธานตั้งแต่บนเขาถึงที่ราบต่ำ ตลอดจนลำคลองที่ผ่านและอยู่รอบๆ ป่าพรุ ในประเทศไทยพบได้เฉพาะภาคใต้ โดยพบมากที่จังหวัดพังงา และพบได้บ้างที่จังหวัดตรัง อาศัยอยู่บริเวณที่มีพื้นท้องน้ำเป็นทราย สำหรับจังหวัดตรัง พบได้ในน้ำตกเพียง 2 แห่งจากทั้งหมด 7 แห่ง คือน้ำตกน้ำพ่าน และน้ำตกโตนเต๊ะ โดยพบบริเวณตอนกลางและตอนล่างของน้ำตกที่มีน้ำไหล มีกิ่งไม้ทับถมกัน และตามแอ่งน้ำ อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ 30-100 ตัว เป็นปลากินแมลงน้ำและพืชน้ำ สำหรับในเขตอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงาพบหลาซิวหางดอกในน้ำที่ไหลมาจากลำธารที่ไหลมาจากน้ำตก โดยพบอยู่รวมกันเป็นฝูงในบริเวณแอ่างน้ำที่มีสาหร่ายหางกระรอกขึ้นหนาแน่น และมีอุณหภูมิน้ำอยู่ในช่วง 25.0-27.0 องศาเซลเซียส
สถานะภาพ: สัตว์น้ำเฉพาะถิ่น | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาตะเพียนทอง
ชื่อท้องถิ่น: ตะเพียนทอง, ตะเพียนหางแดง, เลียนไฟ, ลำปำ
ชื่อสามัญ: Red – tailed, Tinfoil Barb
ชื่อวิทยาศาสตร์: Barbonymus altus
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: เป็นปลาน้ำจืดขนาดกลางมีความยาวประมาณ 3-8 นิ้ว สีสันสวยงาม ลำตัวป้อมแบนข้าง พื้นลำตัวมีสีเงินหรือทอง หัวและปากค่อนข้างเล็ก มีหนวด 2 คู่อยู่ที่ขากรรไกรบนและล่าง ครีบหลังสูงมีสีเทาและส่วนยอดของครีบเป็นสีดำ ครีบหางเป็นเป็นสีเหลือง ขอบหางเป็นสีเทาจาง ๆ ครีบท้องและครีบก้นเป็นสีเหลืองส้มสลับแดง มีรูปร่างคล้ายปลากระแห แต่มีเกล็ดขนาดใหญ่กว่า และครีบหลัง ครีบหางไม่มีแถบสีดำมีขนาดโตเต็มที่ประมาณไม่เกิน 30 เซนติเมตร
ถิ่นที่อาศัย: ประเทศไทย มีอยู่ทั่วไปในน่านน้ำจืด และบางทีก็เข้าไปอาศัยอยู่ในลำคลอง หนองและบึงต่างๆ และมีชุกชุมมากในภาคกลาง ภาคเหนือเรียกว่า ปลาโมงค่า ภาคอีสานเรียกว่า ปลาปาก ภาคใต้เรียกว่าปลาตะเพียนทอง
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาพลวงชมพู
ชื่อท้องถิ่น: อีแกกือเลาะห์
ชื่อวิทยาศาสตร์: Tor douronensis
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ปลาพลวงชมพูจัดเป็นปลาหายากชนิดหนึ่ง เนื้อมีรสชาติดี สามารถรับประทานได้ทั้งเกล็ด
ถิ่นที่อาศัย: พบได้ในบริเวณแหล่งน้ำตก ต้นแม่น้ำสายหลักเหนือเขื่อนบางลาง (คลองฮารา) ในพื้นที่จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นบริเวณที่น้ำค่อนข้างเย็น มีปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำสูง
สถานะภาพ: ใกล้สูญพันธุ์ | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาหมอช้างเหยียบ
ชื่อท้องถิ่น: ปลาโค้ว ปลาแป๊ะ ปลาหมอน้ำ
ชื่อสามัญ: Striped tiger nandid
ชื่อวิทยาศาสตร์: Pritolepis fasciatus
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ลำตัวสีเขียวหรือน้ำตาลปนเหลือง มีขนาดความยาว ๕-๒๐ เซนติเมตร จะกินไข่ปลาทุกชนิด ลูกกุ้ง ลูกปลา แมลงน้ำ เป็นอาหาร และมีนิสัยก้าวร้าวหวงถิ่น มักกัดทำร้ายกันเอง
ถิ่นที่อาศัย: พบตามลำคลอง หนอง บึง ทุกภาค
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาช่อน
ชื่อสามัญ: Striped snake-head fish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Channa stiata
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ลำตัวด้านบนของปลาช่อนจะมีสีเทาปนน้ำตาลหรือสีดำด้านท้องจะเป็นสีค่อนข้างขาว ขนาดโตเต็มที่มีความยาวถึง 1 เมตร
ถิ่นที่อาศัย: แพร่หลายไปทุกภาค
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ก้าง
ชื่อสามัญ: RED-TAILED SNAKEHEAD
ชื่อวิทยาศาสตร์: Channa gachua
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: เป็นสัตว์กินเนื้อ ลำตัวสั้น ป้อม
ถิ่นที่อาศัย: อาศัยอยู่ในบริเวณที่สูงถึง 2,000 ฟุต
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาบ้า
ชื่อท้องถิ่น: ปลาพวง โพง
ชื่อสามัญ: Hoeven'slender carp
ชื่อวิทยาศาสตร์: Leptobarbus hoeveni
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ลำตัวยาวค่อนข้างกลม หัวโต นัยน์ตาค่อนข้างโต ปากกว้างมีหนวด 2 คู่ เกล็ดมีขนาดใหญ่เป็นเงามัน ลำตัวสีน้ำตาลอมเหลือง ส่วนหลังสีดำปนเทา ท้งสีจาง ครีบหางเว้าลึกสีชมพู ครีบอื่นสีแดงจางๆ ขนาดความยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร
ถิ่นที่อาศัย: อยู่ตามน้ำไหล จังหวัดราชบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดพิจิตร จังหวัดนครสวรรค์ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำปราจีนบุรี คลองพระสะทึง จังหวัดสระแก้ว และแม่น้ำโขง
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาตะเพียนทราย
ชื่อท้องถิ่น: ปลาขาว
ชื่อสามัญ: Spot Barb
ชื่อวิทยาศาสตร์: Puntius bimaculatus
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก พบบริเวณลำธารบนภูเขา ลำตัวรูปไข่แบนข้างเล็กน้อย ปากเล็ก เมื่อโตเต็มวัย ลำตัวป้อมสั้น มีสีเงินเหลือบเขียวอ่อนหรือสีเหลือง บริเวณกลางลำตัว โคนครีบหลัง และโคนครีบหางมีจุดสีดำ ครีบหลังสั้น ครีบหางเว้าลึกสีเหลืองอ่อนหรือน้ำตาล มีหนวด 2 คู่ มีเกล็ดบนเส้นข้างลำตัว 23-24 เกล็ด เมื่อโตเต็มที่ความยาวมาตรฐาน (standard length) ประมาณ 7.0 เซนติเมตร กินอินทรีย์สารหน้าดิน ตะไคร่น้ำ และแมลงน้ำขนาดเล็ก
ถิ่นที่อาศัย: พบอาศัยอยู่บริเวณที่มีน้ำใส พื้นเป็นทรายปนกรวดหรือหิน ตามลำธาร ลำห้วยในป่า การแพร่กระจายพบได้ตามลุ่มน้ำโขงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและประเทศกัมพูชา สำหรับในประเทศไทย พบตามลุ่มน้ำเจ้าพระยาและบริเวณลำธารที่มีน้ำสะอาดบนภูเขา
สถานะภาพ: สัตว์น้ำเฉพาะถิ่น | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาเทพา
ชื่อท้องถิ่น: ปลาเลิม
ชื่อสามัญ: Chao Phraya giant catfish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Pangasius sanitwongsei
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: มีส่วนหัวและปากกว้างกว่าปลาในสกุลเดียวกันและชนิดอื่น ๆ มีฟันแหลมคม รูปร่างป้อม ลำตัวลึก ส่วนหลังยกสูงปลายครีบหลัง ครีบอก ครีบท้องยื่นเป็นเส้นยาว ครีบหางเว้าลึก เมื่อว่ายน้ำจะตั้งชั้นเหมือนปลาฉลาม ปลาวัยอ่อนมีสีเทาคล้ำ ข้างลำตัวมีแถบสีคล้ำแนวเฉียง ท้องสีจาง ครีบมีแต้มสีดำ ปลาตัวเต็มวัยมีลำตัวสีเทาคล้ำ ท้องสีจาง ครีบสีคล้ำ ครีบก้นตอนหน้ามีแถบสีคล้ำตามแนวยาว ครีบหางมีแถบสีจางตามแนวยาวทั้ง 2 แฉก มีขนาดประมาณ 1 - 1.25 เมตร ใหญ่สุดพบยาวได้ถึง 3 เมตร
ถิ่นที่อาศัย: พบเฉพาะในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำโขงเท่านั้น ปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปแล้วจากแม่น้ำเจ้าพระยา และหายากในแม่น้ำโขง แต่ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วโดยวิธีการผสมเทียมในบ่อดิน ที่ ศพจ.พะเยาเป็นแห่งแรก ปลาวัยอ่อนกินปลาเล็กเป็นอาหาร ปลาวัยโตกินซากสัตว์อื่น และปลาเล็ก เนื้อมักถูกนำมาขายแทนเนื้อปลาบึก (Pangasinodon gigas) ซึ่งหายาก และมีราคาแพงกว่า นอกนี้แล้วยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปลาพิการที่ลำตัวสั้นกว่าปกติมีราคาสูงมาก
สถานะภาพ: มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์จากแหล่งน้ำธรรมชาติ | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: อึ่งปากขวด
ชื่อท้องถิ่น: อึ่งเพ้า
ชื่อสามัญ: Blunt-headed Burrowing Frog , Truncate-snouted Burrowing Frog or Black Burrowing Frog
ชื่อวิทยาศาสตร์: Glyphoglossus molossus Gunther, 1869
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ลักษณะลำตัวสีดำหรือน้ำตาลอมเทา ลำตัวไม่มียางเหนียว แผ่นหลังและขามีแต้มหรือจุดสีน้ำตาลกระจายอยู่ทั่วไป ท้องสีขาวและบางส่วนมีแต้มลายเมฆ ลักษณะเด่นคือ หัวมีขนาดสั้นมาก ปลายจมูกและขากรรไกรล่างเป็นมุมตัด ขนาดโตเต็มวัยน้ำหนัก 30-97 กรัม ความยาวลำตัว 40-85 มิลลิเมตร
ถิ่นที่อาศัย: แพร่กระจายอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดตาก ลำปาง ลำพูน โดยเฉพาะพื้นที่ป่าเต็งรัง ลักษณะเป็นดินทราย ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 500-700เมตร อึ่งเพ้าจะฝังตัวอยู่ในดินทรายเป็นส่วนใหญ่ที่ระดับความลึก1-2ฟุต (ขึ้นอยู่กับความชื้นในดิน)
สถานะภาพ: ใกล้สูญพันธุ์ | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาการ์ตูนส้มขาว
ชื่อสามัญ: clown anemonefish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Amphiprion ocellaris
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ลำตัวสีส้ม มีแถบสีขาว 3 แถบ ความยาวประมาณ 11 ซม อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง ร่วมกับดอกไม้ทะเล ไม่มีการย้ายถิ่น เป็นปลาที่เปลี่ยนเพศได้ โดยระยะแรกเป็นเพศผู้และเปลี่ยนเป็นเพศเมียได้ในภายหลัง (protandrous hermaphrodites)
ถิ่นที่อาศัย: อินโดแปซิฟิกตะวันตก มหาสมุทรอินเดียตะวันออก
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาเฉี่ยวหิน
ชื่อท้องถิ่น: นกนางแอ่น โสร่งแขก
ชื่อสามัญ: Silver moony, Silver angel fish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Monodactylus argenteus
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยอยู่ในเขตน้ำกร่อย ปากแม่น้ำ กินแพลงค์ตอนและซากเป็นอาหาร มักอยู่รวมกันเป็นฝูง ขนาดยาวสุด 27 ซม. ขนาดทั่วไป 12 ซม. ลำตัวมีสีเงิน ปลายครีบหลังและครีบก้นมีสีเหลือง หรือ เหลืองส้ม ปลาขนาดเล็กมีแถบสีดำ 2 แถบ พาดแนวตั้งบริเวณหัวและคอ
ถิ่นที่อาศัย: อินโดแปซิฟิกตะวันตก ทะเลแดง และ แอฟริกาตะวันออก
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาการ์ตูนอินเดีย
ชื่อสามัญ: Skunk clownfish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Amphiprion akallopisos
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง ร่วมกับดอกไม้ทะเล ขนาดประมาณ 11 ซม. ลำตัวมีสีเหลืองส้ม มีแถบสีขาวแคบ ๆ ตลอดแนวหลัง เป็นปลาที่เปลี่ยนเพศได้ โดยระยะแรกเป็นเพศผู้และเปลี่ยนเป็นเพศเมียได้ในภายหลัง (protandrous hermaphrodites)
ถิ่นที่อาศัย: อินโดแปซิฟิกตะวันตก แอฟริกาตะวันออก ทะเลอันดามัน
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาการ์ตูนลายปล้อง
ชื่อสามัญ: Clark’s anemonefish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Amphiprion clarkii
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยตามแนวปะการัง ร่วมกับดอกไม้ทะเล ขนาดประมาณ 15 ซม. มีความผันแปรของสีสูง แต่ทั่วไปลำตัวมีสีดำ และมีแถบสีขาวขวางลำตัว 3 แถบ
ถิ่นที่อาศัย: อินโอแปซิฟิกตะวันตก และทะเลอันดามัน
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาหูช้าง
ชื่อสามัญ: Orbicular batfish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Platax orbicularis
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ลำตัวแบนข้าง เมื่อมองด้านข้างรูปร่างค่อนข้างกลม พบได้ตามแนวชายฝั่ง แนวปะการัง และปากแม่น้ำ ลำตัวมีสีเหลืองและสีเงิน ปลาวัยอ่อนมีสีแดงอิฐคล้ายกับใบไม้แห้ง
ถิ่นที่อาศัย: พบได้ทั่วไปในเขตอินโดแปซิฟิก
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาการ์ตูนอานม้า
ชื่อสามัญ: Saddleback clownfish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Amphiprion polymnus
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยตามพื้นทะเล รอบแนวหินหรือแนวปะการัง อยู่ร่วมกับดอกไม้ทะเล ลำตัวมีสีดำ มีแถบสีขาวพาดขวางลำตัว 2 แถบ แถบกลางตัว พาดลงมาครึ่งหนึ่งของลำตัว ลักษณะคล้ายอานม้า
ถิ่นที่อาศัย: พบได้ในเขตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ในประเทศไทยพบได้ทางฝั่งทะเลอ่าวไทย
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาการ์ตูนลายปล้องหางเหลือง
ชื่อสามัญ: Sebae anemonefish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Amphiprion sebae
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ลำตัวสีดำ มีแถบสีขาวพาดขวางลำตัว 2 แถบ หางมีสีเหลืองหรือดำ มักอาศัยอยู่ตามพื้นโคลนปนทรายรอบ ๆ แนวปะการังหรือแนวหิน อาศัยอยู่ร่วมกับดอกไม้ทะเล
ถิ่นที่อาศัย: มหาสมุทรอินเดีย ในไทยพบได้เฉพาะทางฝั่งทะเลอันดามัน
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาการ์ตูนแดงดำ
ชื่อสามัญ: Saddle anemonefish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Amphiprion ephippium
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ลำตัวมีสีส้มแดง มีปานดำบริเวณข้างลำตัว ปลาขนาดเล็กมีแถบสีขาวพาดขวางลำตัว 1-3 แถบ แต่หายไปเมื่อปลาโตเต็มวัย อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง อยู่ร่วมกับดอกไม้ทะเล
ถิ่นที่อาศัย: มหาสมุทรอินเดียตะวันออก ในไทยพบได้ทางฝั่งทะเลอันดามัน
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาการ์ตูนอินเดียแดง
ชื่อสามัญ: Pink skunk anemonefish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Amphiprion perideraion
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ลำตัวสีน้ำตาลส้ม แบนข้าง มีแถบสีขาวพาดขวางบริเวณแผ่นปิดเหงือ และมีแถบสีขาวพาดตามยาวที่หลัง อาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลในแนวปะการัง
ถิ่นที่อาศัย: ตะวันออกของมหาสมุทรอินเดีย และตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ในประเทศไทยพบได้เฉพาะทางฝั่งอ่าวไทย
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ม้าน้ำหนาม
ชื่อสามัญ: Hedgehog seahorse
ชื่อวิทยาศาสตร์: Hippocampus spinosissimus
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: มงกุฎมีหนาม 5-6 อัน หนามที่ลำตัวแหลม แก้มมีหนาม 1-2 อัน หนามที่สันจมูกสั้นหรือไม่ปรากฏ ความยาวสูงสุด 17.2 ซม.
ถิ่นที่อาศัย: พบได้ทั่วไปในน่านน้ำไทย ตามแนวชายฝั่ง
สถานะภาพ: สัตว์น้ำในอนุสัญญาไซเตส (CITES) บัญชีหมายเลข 2 | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ม้าน้ำดำ
ชื่อสามัญ: spotted seahorse
ชื่อวิทยาศาสตร์: Hippocampus kuda
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: มงกุฎค่อนข้างทู่ หนามที่ลำตัวทู่ หรือเป็นปุ่ม ไม่มีหนามที่แก้มและสันจมูก มีจุดเล็กสีขาวตามผิวลำตัวจำนวนมาก ความยาวสูงสุด 17 ซม.
ถิ่นที่อาศัย: พบได้ตามแนวชายฝั่งภาคตะวันออกของไทย
สถานะภาพ: สัตว์น้ำในอนุสัญญาไซเตส (CITES) บัญชีหมายเลข 2 | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ม้าน้ำแคระ
ชื่อสามัญ: Japanese seahorse
ชื่อวิทยาศาสตร์: Hippocampus mohnikei
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: เป็นม้าน้ำขนาดเล็กสุดของไทย ความยาวสูงสุด 8 ซม. หนามสั้นทู่ หนามที่แก้มมีลักษณะทู่ มี 2 อัน หางค่อนข้างยาวเมื่อเทียบกับความยาวลำตัว โดยทั่วไปมีลำตัวสีดำ
ถิ่นที่อาศัย: พบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน
สถานะภาพ: สัตว์น้ำในอนุสัญญาไซเตส (CITES) บัญชีหมายเลข 2 | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: สลิดหินฟ้าหางเหลือง
ชื่อสามัญ: Yellow-tail damsel
ชื่อวิทยาศาสตร์: Pomacentrus similis
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ลำตัวสีน้ำเงิน หางสีเหลือง ขนาดยาวสุด 7 ซม. อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง
ถิ่นที่อาศัย: มหาสมุทรอินเดีย ประเทศไทยพบได้ทางฝั่งทะเลอันดามัน
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: สลิดหินเหลืองมะนาว
ชื่อสามัญ: Lemon damsel
ชื่อวิทยาศาสตร์: Pomacentrus moluccensis
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ลำตัวแบนข้าง สีเหลืองส้ม ขนาดยาวสุด 9 ซม. อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง อยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ กินแพลงก์ตอนหรือสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร
ถิ่นที่อาศัย: มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก และทะเลอันดามัน
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ตะกรับลายเสือเจ็ดแถบ
ชื่อสามัญ: Bengal sergeant fish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Abudefduf bengalensis
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลเขตน้ำกร่อย หรือแนวปะการัง ลำตัวแบนข้าง ความยาวสูงสุดประมาณ 17 ซม. ลำตัวมีสีเหลืองปนเขียว หรือบางครั้งเป็นสีน้ำตาลคล้ำ มีลายสีดำพาดขวางลำตัว 7 แถบ
ถิ่นที่อาศัย: พบได้ทั่วไปในฝั่งทะเลอันดามัน
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ตะกรับลายเสือห้าแถบ
ชื่อสามัญ: Indo-pacific sergeant fish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Abudefduf vaigiensis
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ลำตัวแบนข้าง ความยาวสูงสุดประมาณ 20 ซม. ส่วนท้องมีสีเงิน หลังมีเหลืองปนเขียว มีแถบสีดำพาดขวางลำตัว 5 แถบ อาศัยอยู่ตามแนวหิน หรือแนวปะการัง ริมฝั่งทะเลทั่วไป
ถิ่นที่อาศัย: พบทั่วไปในเขตอินโดแปซิฟิก ทางฝั่งอันดามันพบได้ทั่วไปตามเกาะแก่ง และแนวปะการับต่าง ๆ
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาจิ้มฟันจระเข้
ชื่อสามัญ: Alligator pipefish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Syngnathoides biaculeatus
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยอยู่แนวหญ้าทะเลริมฝั่งทะเล หรือปากแม่น้ำ ความยาวสูงสุดประมาณ 29 ซม. ลำตัวสีเหลือง หรือเหลืองปนเขียว ตัวเมียวางไข่ติดกับหน้าท้องของตัวผู้ กินแพลงก์ตอน หรือลูกกุ้งขนาดเล็กเป็นอาหาร
ถิ่นที่อาศัย: พบทั่วไปในเขตอินโดแปซิฟิก
สถานะภาพ: สัตว์น้ำในอนุสัญญาไซเตส (CITES) บัญชีหมายเลข 2 | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาสินสมุทร
ชื่อสามัญ: Bluering angelfish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Pomacanthus annularis
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ลำตัวแบนข้าง มีลายสีน้ำเงินเป็นเส้นโค้งข้างลำตัว เหนือแผ่นปิดเหงือกมีลายเส้นสีน้ำเงินรูปวงกลม หางสีขาว ลำตัวสีเหลืองส้ม แผ่นปิดเหงือกมีหนามแหลม อาศัยอยู่ตามแนวปะการังทั่วไป
ถิ่นที่อาศัย: พบในเขตอินโดแปซิฟิก มหาสมุทรอินเดีย ในน่านน้ำไทยพบได้ทั่วไป
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาสินสมุทรจักรพรรดิ
ชื่อสามัญ: Emperor angelfish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Pomacanthus imperator
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ลำตัวแบนข้าง ลำตัวสีเหลือง ลายเส้นสีฟ้าตามแนวยาว ส่วนท้องมีสีน้ำเงินเข้มเกือบดำ บริเวณใบหน้าและปากมีสีขาว ความยาวสูงสุดประมาณ 40 ซม.
ถิ่นที่อาศัย: พบในเขตอินโดแปซิฟิก ในประเทศไทยพบได้บ่อยทางฝั่งอันดามัน
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลากล่องเขาวัว
ชื่อสามัญ: Longhorn cowfish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Lactoria cornuta
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่งทะเล เกล็ดเปลี่ยนเป็นเกราะแข็งหุ้มลำตัว มีหนามแหลม 2 อันระหว่างตา คล้ายกับเขาวัว หางยาวใหญ่ ปากเล็กคม ลำตัวสีเหลือง หรือเหลืองปนเขียว มีจุดสีฟ้าทั่วไป
ถิ่นที่อาศัย: พบทั่วไปในเขตอินโดแปซิฟิก
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาโนรีครีบยาว
ชื่อสามัญ: Longfin bannerfish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Heniochus acuminatus
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ลำตัวแบนข้าง ลายขนาดใหญ่สีดำและขาว ครีบหลังอันแรกยาวและมีสีขาว ครีบหลังอันที่ 2 และหางมีสีเหลือง ปากเล็กยื่นยาวเล็กน้อย อาศัยอยู่เป็นฝูงในแนวปะการัง
ถิ่นที่อาศัย: พบทั่วไปในเขตอินโดแปซิฟิก พบทั่วไปในแนวปะการังของไทย
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาใบมีดโกน, ปลาข้างใส
ชื่อสามัญ: Razorfish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Aeoliscus strigatus
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ลำตัวแบนข้างมาก ส่วนท้องเป็นสันคมคล้ายใบมีดโกน ลำตัวเป็นแผ่นแข็งคล้ายพลาสติกใส จะงอยปากยื่นยาวคล้ายท่อ อาศัยอยู่เป็นฝูงตามแนวปะการัง ขณะว่ายน้ำจะเอาหัวทิ่มลง กินแพลงก์ตอนและสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร
ถิ่นที่อาศัย: มหาสมุทรอินเดีย และฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ประเทศไทยพบทั่วไปในฝั่งทะเลอันดามัน
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาผีเสื้อคอขาว
ชื่อสามัญ: Redtail butterflyfish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Chaetodon collare
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ลำตัวแบนข้าง ป้อมสั้น รูปไข่ มีลายสีขาวพาดขวางบริเวณหลังตา หางส่วนต้นมีสีส้ม ตอนกลางมีแถบสีดำ ส่วนปลายใส อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง
ถิ่นที่อาศัย: มหาสมุทรอินเดีย ในทะเลไทยพบได้ทั่วไปในฝั่งอันดามัน
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาสิงโต
ชื่อท้องถิ่น: ปลาโนรา ไก่ตอ
ชื่อสามัญ: Red lionfish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Pterois volitans
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ลำตัวป้อม มีลายพาดขวางตัวลำตัว ครีบหลังและครีบหูมีขนาดใหญ่แผ่คล้ายขนนก
ถิ่นที่อาศัย: มหาสมุทรอินเดียและฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ในประเทศไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ปลาดุกลำพัน
ชื่อท้องถิ่น: ปลาดุกลำพัน
ชื่อสามัญ: Slender Walking Catfish
ชื่อวิทยาศาสตร์: Prophagorus nieuhofii
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: เป็นสัตว์กินเนื้อและซากเน่าเปื่อย
ถิ่นที่อาศัย: พบแพร่กระจายในหมู่เกาะ Indo-Australian แถบหมู่เกาะมะละกาและฟิลิปปินส์ ในประเทศไทยพบในจังหวัดภาคใต้ฝั่งตะวันออก ได้แก่ จังหวัดพัทลุง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร และ จังหวัดนราธิวาส สำหรับแหล่งที่อยู่อาศัย ปลาชนิดนี้ชอบอาศัยในแหล่งน้ำนิ่ง มีต้นไม้ปกคลุม และพื้นดินเป็นโคลน
สถานะภาพ: มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์จากแหล่งน้ำธรรมชาติ | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: กระเบนขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์: Himantura signifer
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยในแม่น้ำสายหลัก นิสัยเป็นปลากินเนื้อ กินกุ้งและปู ขนาดที่พบใหญ่สุดมีความกว้างลำตัวประมาณ 40 เซนติเมตร ก
ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ์ พบเป็นบริเวณกว้าง ตั้งแต่ภูมิภาคเอเซีย จนถึงเขตกาลิมันตัน ประเทศอินโดนีเซีย ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา พบในเขตลุ่มน้ำตอนบน ในแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน นอกจากนี้ มีรายงานพบในแม่น้ำบางปะกง
สถานะภาพ: ใกล้สูญพันธุ์ | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: กระเบนแม่กลอง
ชื่อท้องถิ่น: กระเบนแม่กลอง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Himantura kittipongi
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยในแม่น้ำสายหลัก และบริเวณปากแม่น้ำ นิสัย เป็นปลากินเนื้อ กินปลา กุ้ง และปู ขนาดที่พบใหญ่สุดมีความ กว้างลำตัวประมาณ 50 เซนติเมตร
ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ์ ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พบในแม่น้ำน่าน บริเวณจังหวัดพิษณุโลก นอกจากนี้ พบในแม่น้ำแม่กลอง และมีรายงานพบในประเทศมาเลเซีย
สถานะภาพ: สัตว์น้ำเฉพาะถิ่น | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: กระเบนธง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Pastinachus sephen
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ปลาทะเลที่อพยพเข้ามาในแหล่งน้ำจืดได้เป็นระยะทาง ไกลๆ นิสัยเป็นปลากินเนื้อ กินปลา กุ้ง ปู และสัตว์หน้าดิน ขนาด ที่พบใหญ่สุดมีความกว้างลำตัวถึง 200 เซนติเมตร การกระจายพันธุ์ พบทั่วไปแถบทะเลชายฝั่ง และ
ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ์ พบทั่วไปแถบทะเลชายฝั่ง และบริเวณ ปากแม่น้ำต่างๆ ของเขตอินโดแปซิฟิค มีรายงานพบเป็นครั้งคราว ในแม่น้ำแม่เจ้าพระยา และพบอพยพขึ้นจนถึงบริเวณจังหวัด พระนครศรีอยุธยา นอกจากนี้ พบอพยพเข้า ในทะเลสาบสงขลา ตอนใน
สถานะภาพ: มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ รวมถึงรายละเอียดสถานภาพเฉพาะ | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: สลาด
ชื่อวิทยาศาสตร์: Notopterus notopterus
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยในแม่น้ำ และหนองบึง อพยพไปบนพื้นที่น้ำท่วม ช่วงฤดูน้ำหลาก นิสัยเป็นปลากินทั้งพืชและสัตว์ กินพืชน้ำ กุ้ง ปู ปลาเล็ก และแมลง ขนาดที่พบใหญ่สุดมีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร และเป็นปลาเศรษฐกิจด้านการประมง
ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ พบเป็นบริเวณกว้างในภูมิภาค เอเซีย และพบในทุกภาคของประเทศไทย ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พบทั่วไป
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: กราย
ชื่อวิทยาศาสตร์: chitala ornata
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยในแม่น้ำ และหนองบึง อพยพไปบนพื้นที่น้ำท่วม ช่วงฤดูน้ำหลาก นิสัยเป็นปลากินเนื้อ กินปลา กุ้ง ปู และแมลง ขนาดที่พบใหญ่สุดมีความยาวถึง 100 เซนติเมตร จัดเป็นปลา เศรษฐกิจด้านการประมง นิยมบริโภคและเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ์ พบตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำแม่กลองจนถึง ลุ่มแม่น้ำโขง ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พบทั่วไป
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: สะตือ
ชื่อวิทยาศาสตร์: Chitala lopis
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยในแม่น้ำ และลำน้ำในป่า นิสัยเป็นปลากินเนื้อ กินปลาเป็นหลัก นอกจากนี้ กินแมลงและสัตว์น้ำขนาดเล็กอื่นๆ บ้าง ขนาดที่พบใหญ่สุดมีความยาว 150 เซนติเมตร
ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ์ พบตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำแม่กลองจนถึง ลุ่มแม่น้ำโขง และภาคใต้ของประเทศไทย เป็นปลาหายากใน ลุ่มแม่เจ้าพระยา พบในบึงบอระเพ็ด และแม่น้ำป่าสัก นอกจากนี้ พบในบอร์เนียว สุมาตรา และชวา ประเทศอินโดนีเซีย
สถานะภาพ: มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ รวมถึงรายละเอียดสถานภาพเฉพาะ | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ตูหนา
ชื่อวิทยาศาสตร์: Anguilla bicolor
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ปลาสองน้ำที่เจริญเติบโตในแม่น้ำ และอพยพเพื่อสืบพันธุ์ วางไข่ในทะเล นิสัยเป็นปลากินเนื้อ กินปลา และสัตว์น้ำขนาดเล็ก ขนาดที่พบใหญ่สุดมีความยาว 80 เซนติเมตร
ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ์ พบมากในภาคใต้ของประเทศไทย แถบชายทะเลฝั่งอันดามัน เป็นปลาหายากในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พบอพยพขึ้นถึงบึงบอระเพ็ด นอกจากนี้ มีรายงานพบในประเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: หางไก่
ชื่อวิทยาศาสตร์: Coilia lindmani
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยในแม่น้ำ และบริเวณปากแม่น้ำ นิสัยเป็นปลากินเนื้อ กินกุ้ง ลูกปลา และแมลงน้ำ ขนาดที่พบใหญ่สุดมีความยาว 20 เซนติเมตร
ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ์ พบตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำแม่กลองจนถึง ลุ่มแม่น้ำโขง ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาพบตั้งแต่ปากแม่น้ำจนถึง บริเวณจังหวัดชัยนาท นอกจากนี้ พบในบอร์เนียว และสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย
สถานะภาพ: มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ รวมถึงรายละเอียดสถานภาพเฉพาะ | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: แมวหูดำ
ชื่อวิทยาศาสตร์: Setipinna melanochir
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยในแม่น้ำ และบริเวณปากแม่น้ำ นิสัยเป็นปลา กินเนื้อ กินปลา และตัวอ่อนแมลงน้ำ ขนาดที่พบใหญ่สุด มีความยาว 25 เซนติเมตร
ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ์ พบตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำแม่กลองจนถึง ลุ่มแม่น้ำโขง ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ปกติพบตั้งแต่ปากแม่น้ำ จนถึงเขตลุ่มน้ำตอนล่าง และมีรายงานการพบบึงบอระเพ็ด นอกจากนี้ พบในบอร์เนียวและสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย
สถานะภาพ: มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ รวมถึงรายละเอียดสถานภาพเฉพาะ | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: แมวเขี้ยวยาว
ชื่อวิทยาศาสตร์: Lycothrissa crocodilus
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยในแม่น้ำ และบริเวณปากแม่น้ำ นิสัยเป็นปลา กินเนื้อ กินปลาขนาดเล็ก กุ้ง ปู และแมลง ขนาดที่พบใหญ่สุด มีความยาว 25 เซนติเมตร
ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ์ พบตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำแม่กลองจนถึง ลุ่มแม่น้ำโขง ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พบตั้งแต่ปากแม่น้ำจนถึงเขต ลุ่มน้ำตอนกลาง และในบึงบอระเพ็ด นอกจากนี้ พบในสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย
สถานะภาพ: มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ รวมถึงรายละเอียดสถานภาพเฉพาะ | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ชิวแก้ว
ชื่อวิทยาศาสตร์: Clupeichthys goniognathus
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยในแม่น้ำ และหนองบึง นิสัยเป็นปลากินเนื้อ กิน แพลงก์ตอนสัตว์ และแมลง ขนาดที่พบใหญ่สุดมีความยาว 5 เซนติเมตร
ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ์ พบตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำแม่กลองจนถึง ลุ่มแม่น้ำโขง ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พบทั่วไป และพบชุกชุมตั้งแต่ เหนือเขื่อนชัยนาทจนถึงจังหวัดนครสวรรค์ และในบึงบอระเพ็ด นอกจากนี้ พบในบอร์เนียว และสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ไส้ตันหางดอก
ชื่อวิทยาศาสตร์: Clupeoides borneensis
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยในแม่น้ำ และหนองบึง นิสัยเป็นปลากินเนื้อ กิน แพลงก์ตอนสัตว์ และแมลง ขนาดที่พบใหญ่สุดมีความยาว 7 เซนติเมตร
ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ์ พบตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำแม่กลองจนถึง ลุ่มแม่น้ำโขง ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาพบทั่วไป และพบชุกชุมตั้งแต่ เหนือเขื่อนชัยนาทจนถึงจังหวัดนครสวรรค์ และในบึงบอระเพ็ด นอกจากนี้ พบในบอร์เนียว และสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ซิวแก้ว
ชื่อวิทยาศาสตร์: Corica laciniata
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยในแม่น้ำ และหนองบึง อพยพไปบนพื้นที่น้ำท่วมช่วง ฤดูน้ำหลาก นิสัยเป็นปลากินเนื้อ กินแพลงก์ตอนสัตว์ และแมลง ขนาดที่พบใหญ่สุดมีความยาว 5 เซนติเมตร
ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ์ พบตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำแม่กลองจนถึง ลุ่มแม่น้ำโขง ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พบทั่วไป และพบชุกชุมตั้งแต่ เหนือเขื่อนชัยนาทจนถึงจังหวัดนครสวรรค์ และในบึงบอระเพ็ด นอกจากนี้ พบในเบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซีย
สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |
ชื่อ: ตะลุมพุก
ชื่อวิทยาศาสตร์: Tenualosa toli
ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยในทะเลแถบชายฝั่ง และบริเวณปากแม่น้ำ เป็นปลา สองน้ำที่เจริญเติบโตในทะเล และอพยพเข้ามาวางไข่ในแม่น้ำ นิสัยเป็นปลากินเนื้อ กินสัตว์หน้าดิน และแพลงก์ตอนสัตว์ ขนาด เมื่อโตเต็มที่มีความยาว 40 เซนติเมตร
ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ์ พบเป็นบริเวณกว้างในภูมิภาคเอเซีย ใน แม่น้ำเจ้าพระยา มีรายงานเคยพบอพยพเข้ามาวางไข่ถึงกรุงเทพ ปัจจุบันสูญพันธุ์แล้วจากประเทศไทย และอยู่ในภาวะใกล้ สูญพันธุ์อย่างวิกฤตตามบัญชีแดงของ IUCN
สถานะภาพ: สูญพันธุ์แล้ว | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2",
"title": "Thai fishbase"
} |