text
stringlengths
11
12.4k
meta
dict
ชื่อ: ปลาโมง ชื่อท้องถิ่น: เผาะ , โมงยาง , ยาง หรือ อ้ายด้อง ,หัวม่วม ชื่อวิทยาศาสตร์: Panagasius bocourti ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ส่วนหัวกลมมน ส่วนท้องไม่มีสัน ส่วนบนของลำตัวมีสีดำปนเทา ส่วนท้องมีสีขาวอมเหลือง บริเวณโคนครีบหู มีต่อมสร้างสร้างเหมือก จำนวน 3 รู ถิ่นที่อาศัย: แม่น้ำโขงและแม่น้ำเจ้าพระยา สถานะภาพ: สัตว์น้ำเฉพาะถิ่น
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: แปบควาย ชื่อวิทยาศาสตร์: Paralaubuca harmandi ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยในแม่น้ำ อพยพไปบนพื้นที่น้ำท่วมช่วงฤดูน้ำหลาก นิสัยเป็นปลากินเนื้อ กินแพลงก์ตอนสัตว์ และแมลง ขนาดที่พบ ใหญ่สุดมีความยาว 30 เซนติเมตร ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ์ พบตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึง ลุ่มแม่น้ำโขง ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พบทั่วไป สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ปลาหว้าหน้านอ ชื่อท้องถิ่น: หว่า , ปลางา , หน้าซวง ชื่อวิทยาศาสตร์: Bangana behri ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ลำตัวแบนข้างและลึก หัวโต มีหนวด 2 คู่ ตัวผู้ที่โตเต็มวัยจะมีหน้าผากโหนกเห็นได้ชัด และมีตุ่มประบริเวณปากถึงหลังตา ลำตัวและครีบสีน้ำตาลอ่อนอมเถาหรือสีกากี หัวสีเหลืองทอง ท้องสีจาง ครีบหลังใหญ่ไม่มีก้าน ครีบแข็ง ครีบอก ครีบท้อง และครีบก้นยาว ครีบหางใหญ่ ถิ่นที่อาศัย: บริเวณที่เป็นแก่งของแม่น้ำสายหลัก สถานะภาพ: ใกล้สูญพันธุ์
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: แปบ ชื่อวิทยาศาสตร์: Paralaubuca riveroi ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยในแม่น้ำ อพยพไปบนพื้นที่น้ำท่วมช่วงฤดูน้ำหลาก นิสัยเป็นปลากินเนื้อ กินแพลงก์ตอนสัตว์เป็นหลัก และกินแมลง เป็นครั้งคราว ขนาดที่พบใหญ่สุดมีความยาว 15 เซนติเมตร ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ์ พบตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำแม่กลองจนถึงลุ่ม แม่น้ำโขง และภาคใต้ของประเทศไทย ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พบทั่วไป นอกจากนี้ พบในประเทศมาเลเซีย สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: แปบควาย ชื่อวิทยาศาสตร์: Paralaubuca typus ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยในแม่น้ำ และหนองบึง อพยพไปบนพื้นที่น้ำท่วมช่วงฤดูน้ำหลาก มักพบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ นิสัย เป็นปลากินเนื้อ กินแพลงก์ตอนสัตว์เป็นหลัก และกินแมลง เป็นครั้งคราว ขนาดที่พบใหญ่ที่สุดมีความยาว 18 เซนติเมตร ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ์ พบตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำแม่กลองจนถึง ลุ่มแม่น้ำโขง ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พบทั่วไป สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ซิวอ้าว ชื่อวิทยาศาสตร์: Luciosoma bleekeri ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยในแม่น้ำ และหนองบึง อพยพไปบนพื้นที่น้ำท่วมช่วงฤดูน้ำหลาก นิสัยเป็นปลากินเนื้อ กินปลา กุ้ง ปู และแมลง ขนาดที่พบใหญ่สุดมีความยาว 30 เซนติเมตร ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ์ พบตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึง ลุ่มแม่น้ำโขง ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พบทั่วไป และพบชุกชุม ตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ลงมาจนถึงพระนครศรีอยุธยา สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: น้ำหมึก ชื่อวิทยาศาสตร์: Opsarius koratensis ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยในแม่น้ำ และลำธาร โดยพบได้ตั้งแต่ลำธารบริเวณ เชิงเขาจนถึงเขตที่สูง อพยพไปบนพื้นที่น้ำท่วมช่วงฤดูน้ำหลาก นิสัยเป็นปลากินเนื้อ กินตัวอ่อนแมลง ขนาดที่พบใหญ่สุด มีความยาว 8 เซนติเมตร ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ์ พบตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึง ลุ่มแม่น้ำโขง ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พบในเขตลุ่มน้ำตอนบน ตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำปิงจนถึงลุ่มแม่น้ำน่าน สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: น้ำหมึก ชื่อวิทยาศาสตร์: Opsarius pulchellus ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยในลำธารในเขตพื้นที่่สูง นิสัยเป็นปลากินเนื้อ กินตัวอ่อนแมลง และลูกปลา ขนาดที่พบใหญ่สุดมีความยาว 11 เซนติเมตร ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ์ พบตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึง ลุ่มแม่น้ำโขง ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พบในเขตลุ่มน้ำตอนบน ตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำปิงจนถึงลุ่มแม่น้ำน่าน สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: แปบ ชื่อวิทยาศาสตร์: Oxygaster pointoni ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยในแม่น้ำ และหนองบึง นิสัยเป็นปลากินเนื้อ กิน แพลงก์ตอนสัตว์ หอย สัตว์หน้าดิน และแมลง ขนาดที่พบ ใหญ่สุดมีความยาว 18 เซนติเมตร ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ์ พบตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงลุ่ม แม่น้ำโขง ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พบบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ และในบึงบอระเพ็ด สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: แปบหางดอก ชื่อวิทยาศาสตร์: Parachela maculicauda ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยในแม่น้ำ และหนองบึง นิสัยเป็นปลากินเนื้อ กิน แพลงก์ตอนสัตว์ และแมลง ขนาดที่พบใหญ่สุดมีความยาว 6 เซนติเมตร ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ์ พบตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึง ลุ่มแม่น้ำโขง และภาคใต้ของประเทศไทย ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พบทั่วไป ตั้งแต่เขตลุ่มน้ำตอนกลางลงมาจนถึงลุ่มน้ำตอนล่าง และในบึงบอระเพ็ด สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: แปบ ชื่อวิทยาศาสตร์: Parachela siamensis ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยในแม่น้ำ และหนองบึง มักพบว่ายน้ำใกล้ผิวน้ำ อพยพไปบนพื้นที่น้ำท่วมช่วงฤดูน้ำหลาก นิสัยเป็นปลากินเนื้อ กินแพลงก์ตอนสัตว์ และแมลง ขนาดที่พบใหญ่สุดมีความยาว 8 เซนติเมตร ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ์ พบตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึง ลุ่มแม่น้ำโขง และภาคใต้ของประเทศไทย ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พบทั่วไป ตั้งแต่เขตลุ่มน้ำตอนกลางลงมาจนถึงลุ่มน้ำตอนล่าง และในบึงบอระเพ็ด สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ฝักพร้า ชื่อวิทยาศาสตร์: Macrochirichthys macrochirus ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยในแม่น้ำและหนองบึง อพยพไปบนพื้นที่น้ำท่วมช่วงฤดูน้ำหลาก นิสัยเป็นปลากินเนื้อ ปลาเมื่อโตเต็มวัยกินปลา เป็นหลัก ลูกปลาวัยอ่อนกินแมลง ขนาดที่พบใหญ่สุดมีความยาว 45 เซนติเมตร ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ์ พบตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงลุ่มแม่น้ำโขง และภาคใต้ของประเทศไทย ปัจจุบันหายาก ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และพบในเขตลุ่มน้ำตอนบน สถานะภาพ: ใกล้สูญพันธุ์
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: นางอ้าว ชื่อวิทยาศาสตร์: Raiamas guttatus ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยในแม่น้ำ หนองบึง และพบบ้างบนพื้นที่น้ำท่วม นิสัยเป็นปลากินเนื้อ กินปลา และแมลง ขนาดที่พบใหญ่สุด มีความยาว 45 เซนติเมตร เป็นปลาเศรษฐกิจ นิยมเลี้ยงเป็น ปลาสวยงาม ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ์ พบตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำสาละวินจนถึง ลุ่มแม่น้ำโขง ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พบในเขตลุ่มน้ำตอนบน ตั้งแต่ ลุ่มแม่น้ำปิงจนถึงลุ่มแม่น้ำน่าน นอกจากนี้ พบในลุ่มแม่น้ำตาปี ในภาคใต้ของประเทศไทย สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ซิวเจ้าฟ้า ชื่อวิทยาศาสตร์: Amblypharyngodon chulabhornae ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยในหนองบึง นา และที่ลุ่มน้ำขังที่มีพรรณพืชน้ำขึ้น นิสัยเป็นปลากินเนื้อ กินแพลงก์ตอนสัตว์และตัวอ่อนแมลง ขนาดที่พบใหญ่สุดมีความยาว 5 เซนติเมตร การตั้งชื่อได้มาจาก พระนามพระราชทานของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ราชกุมารี ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ์ พบตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำแม่กลองจนถึง ลุ่มแม่น้ำโขง และภาคใต้ของประเทศไทย ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พบทั่วไป สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ซิวหนู ชื่อวิทยาศาสตร์: Boraras urophthalmoides ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยในหนองบึง และที่ลุ่มน้ำขัง มักพบบริเวณที่มี พรรณพืชน้ำขึ้นและมีคุณภาพน้ำดี กินแพลงก์ตอนสัตว์เป็นหลัก ขนาดที่พบใหญ่สุดมีความยาวเพียง 2 เซนติเมตร ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ์ พบตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึง ลุ่มแม่น้ำโขง และภาคใต้ของประเทศไทย ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พบในบึงบอระเพ็ด สถานะภาพ: มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ รวมถึงรายละเอียดสถานภาพเฉพาะ
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ท้องพลุ ชื่อวิทยาศาสตร์: Laubuca caeruleostigmata ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยในแม่น้ำ และหนองบึง ชอบว่ายน้ำใกล้ผิวน้ำ นิสัยเป็นปลากินเนื้อ กินแพลงก์ตอนสัตว์ และแมลง ขนาดที่พบ ใหญ่สุดมีความยาว 6 เซนติเมตร ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ์ พบตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึง ลุ่มแม่น้ำโขง ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พบบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ และในแม่น้ำยม บริเวณจังหวัดสุโขทัย สถานะภาพ: ใกล้สูญพันธุ์
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ซิวใบไผ่แม่แตง ชื่อวิทยาศาสตร์: Devario maetaengensis ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยในลำธารจากเชิงเขาจนถึงเขตที่สูง นิสัยเป็นปลา กินเนื้อ กินแพลงก์ตอนสัตว์ และแมลง ขนาดที่พบใหญ่สุดมี ความยาว 6 เซนติเมตร ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ์ เป็นปลาถิ่นเดียวของไทย พบในลุ่มแม่น้ำ เจ้าพระยาตอนบน และพบเฉพาะในลุ่มแม่น้ำแม่แตง และลุ่ม แม่น้ำปิงตอนบน ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ สถานะภาพ: มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ รวมถึงรายละเอียดสถานภาพเฉพาะ
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ซิวหนวดยาว ชื่อวิทยาศาสตร์: Esomus metallicus ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยในแม่น้ำ คลอง และหนองบึง มักพบบริเวณที่น้ำตื้น และว่ายน้ำอยู่รวมกันเป็นฝูงบริเวณใกล้ผิวน้ำ นิสัยเป็นปลา กินเนื้อ กินแพลงก์ตอนสัตว์ แมลง และตัวอ่อนแมลง ขนาดที่พบ ใหญ่สุดมีความยาว 7 เซนติเมตร ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ์ พบตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงลุ่มแม่น้ำโขง และภาคใต้ของประเทศไทย ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พบทั่วไป สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ซิวควาย ชื่อวิทยาศาสตร์: Rasbora aurotaenia ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยในแม่น้ำ และหนองบึง มักพบอยู่รวมกันเป็นฝูงและ ว่ายน้ำอยู่ใกล้ผิวน้ำ นิสัยเป็นปลากินเนื้อ กินแพลงก์ตอนสัตว์ และแมลง ขนาดที่พบใหญ่สุดมีความยาว 15 เซนติเมตร เป็น ปลาเศรษฐกิจ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ์ พบตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึง ลุ่มแม่น้ำโขง ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พบทั่วไป สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: บ้า ชื่อวิทยาศาสตร์: Leptobarbus hoeveni ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยในแม่น้ำ และหนองบึง พบบ้างบนพื้นที่น้ำท่วม นิสัยเป็นปลากินทั้งพืชและสัตว์ กินพืชน้ำ ผลและเมล็ดจากไม้ ยืนต้นริมลำน้ำ และแมลง ขนาดที่พบใหญ่สุดมีความยาวถึง 70 เซนติเมตร ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ์ พบตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงลุ่ม แม่น้ำโขง และภาคใต้ของประเทศไทย ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พบในเขตลุ่มน้ำตอนกลาง และในบึงบอระเพ็ด นอกจากนี้ พบในบอร์เนียว และสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย สถานะภาพ: มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ รวมถึงรายละเอียดสถานภาพเฉพาะ
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ซิวหางแดง ชื่อวิทยาศาสตร์: Rasbora borapetensis ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยในหนองบึงที่มีระดับน้ำไม่ลึกและมีพรรณพืชน้ำ มักพบว่ายน้ำอยู่รวมกันเป็นฝูง นิสัยเป็นปลากินเนื้อ กิน แพลงก์ตอนสัตว์ สัตว์หน้าดินขนาดเล็ก และแมลง ขนาดที่พบใหญ่สุดมีความยาว 6 เซนติเมตร เป็นปลาเศรษฐกิจ นิยมเลี้ยง เป็นปลาสวยงาม ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ์ พบตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึง ลุ่มแม่น้ำโขง และภาคใต้ของประเทศไทย ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พบทั่วไป สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ซิวครีบแดง ชื่อวิทยาศาสตร์: Rasbora rubrodorsalis ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยในหนองบึงที่มีระดับน้ำตื้นและมีพรรณพืชน้ำ ขึ้นหนาแน่น นิสัยเป็นปลากินเนื้อ กินแพลงก์ตอนสัตว์ และ ตัวอ่อนแมลง ขนาดที่พบใหญ่สุดมีความยาว 5 เซนติเมตร เป็นปลาเศรษฐกิจ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ์ พบตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงลุ่มแม่น้ำโขง ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พบตั้งแต่เขตตอนกลางลงมา จนถึงลุ่มน้ำตอนล่าง และในบึงบอระเพ็ด สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ซิว ชื่อวิทยาศาสตร์: Rasbora palustris ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยในแม่น้ำ ลำห้วย คลอง และหนองบึง อพยพไปบน พื้นที่น้ำท่วมช่วงฤดูน้ำหลาก มักพบว่ายน้ำอยู่รวมกันเป็นฝูง นิสัย เป็นปลากินทั้งพืชและสัตว์ กินอินทรีย์สารหน้าดิน แพลงก์ตอนสัตว์ ตัวอ่อนแมลง และแมลงน้ำ ขนาดที่พบใหญ่สุดมีความยาว 6 เซนติเมตร ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ์ พบตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึง ลุ่มแม่น้ำโขง ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พบทั่วไป สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ซิวหลังดำ ชื่อวิทยาศาสตร์: Rasbora dorsinotata ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยในแม่น้ำ ลำธารต้นน้ำ หนองบึง และพบบ้างบน พื้นที่น้ำท่วม นิสัยเป็นปลากินเนื้อ กินแพลงก์ตอนสัตว์ แมลง และตัวอ่อนแมลง ขนาดที่พบใหญ่สุดมีความยาว 7 เซนติเมตร ถิ่นที่อาศัย: การกระจายพันธุ์ พบตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึง ลุ่มแม่น้ำโขง ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พบบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ในบึงบอระเพ็ด และในแม่น้ำน่าน สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ปลาตะพัด,ปลาอโรวานา,ปลามังกร ชื่อท้องถิ่น: ปลาตะพัด ชื่อสามัญ: Arowana,Bonytongue fish,Dragon fish,Emperor fish ชื่อวิทยาศาสตร์: Scleropages formosus ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ลำตัวยาว ด้านข้างแบน เกล็ดมีขนาดใหญ่สีเงินอมเขียวหรือฟ้าเรียงเป็นระเบียบอย่างสวยงาม เกล็ดบริเวณเส้นข้างลำตัวมีประมาณ 24 ชิ้น ตาโต ปากใหญ่เฉียงขึ้นด้านบน ฟันแหลม ครีบหลังและครีบก้นยาวไปใกล้บริเวณครีบหาง สันท้องคม มีหนวด 1 คู่อยู่ใต้คาง ปลาตะพัดขนาดโตเต็มที่ได้ยาวได้ราว 90 เซนติเมตร หนักได้ถึง 7 กิโลกรัม พฤติกรรมมักจะว่ายบริเวณริมผิวน้ำ อาหารของปลาตะพัด ได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็ก ตลอดจนแมลง สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดเล็ก ปลาโตเต็มวัยสามารถโดดงับอาหารได้สูงถึง 1 เมตร แต่ละแหล่งน้ำจะมีสีสันแตกต่างหลากหลายกันออกไป เชื่อว่าเกิดเนื่องจากลักษณะทางพันธุกรรมและสภาพแวดล้อมที่อยู่ เช่น สีทอง สีแดง สีเงิน สีทองอ่อน เป็นต้น ถิ่นที่อาศัย: อาศัยอยู่ในแม่น้ำที่มีสภาพใสสะอาด พบได้ในทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และปลาในแต่ละแหล่งน้ำจะมีสีสันแตกต่างหลากหลายกันออกไป สำหรับประเทศไทย เชื่อว่าเหลือเพียงบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสงและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองยัน ซึ่งเป็นต้นแม่น้ำตาปี และบริเวณแม่น้ำ ที่อำเภอละงู จังหวัดสตูลเท่านั้น สถานะภาพ: สัตว์น้ำคุ้มครอบตาม พรบ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: แขยงนวล ชื่อท้องถิ่น: แขยงนวล ชื่อวิทยาศาสตร์: Mytus wolffii ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ปลาแขยงนวลมีรูปร่างค่อนข้างสั้น ส่วนหัวโตปากเล็กมีหนวด 4 คู่ ครีบอกและครีบหลังเป็นก้านแข็ง ครีบไขมันค่อนข้างสั้น ครีบหางเว้าลึก ลำตัวมีสีเทาเขียวมะกอกหรือเหลืองทอง ด้านท้องสีเขียวอ่อน ขนาดที่พบใหญ่สุด 20 เซนติเมตร ขนาดโดยทั่วไป 10-15 เซนติเมตร มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ถิ่นที่อาศัย: ในอดีตพบมากในแม่น้ำสายสำคัญๆ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำตาปี (คีรี และคณะ, 2546) นอกจากนี้ยังมีรายงานพบในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า เวียดนามและกัมพูชา โดยพบทั้งในบริเวณ แหล่งน้ำจืดและน้ำกร่อย (Fishbase, 2006) สถานะภาพ: สัตว์น้ำเฉพาะถิ่น
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ปลาแกง ชื่อท้องถิ่น: ปลาดอกงิ้ว,พอน,สร้อยน้ำเงิน ชื่อสามัญ: mudcarb ชื่อวิทยาศาสตร์: Cirrhinus molitorella ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: หากินตามพื้นท้องน้ำ จำพวกซากอินทรีย์ สาหร่าย และเเพลงก์ตอนพืช ถิ่นที่อาศัย: พบในแม่น้ำโขง และแม่น้ำเจ้าพระยา สถานะภาพ: สัตว์น้ำเฉพาะถิ่น
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ปลากะพงขาว ชื่อท้องถิ่น: กะพงน้ำจืด,โจ้โล้ว ชื่อสามัญ: Giant Perch,Sea bass ชื่อวิทยาศาสตร์: Lates calcarifer ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยบริเวณชายฝั่งทะเลและปากแม่น้ำซึ่งเป็นน้ำกร่อย อพยพย้ายถิ่นเข้ามาหาอาหารและอาศัยในแม่น้ำเป็นระยะทางนับร้อยกิโลเมตรเป็นปลากินเนื้อและเป็นปลาที่เปลี่ยนจากเพศผู้เป็นเพศเมียเมื่อมีขนาดโตขึ้น (protandrous hermaphodite) ถิ่นที่อาศัย: พบกระจายทั่วไปในชายฝั่งทะเลของทวีปเอเซียไปจนถึงทางใต้ของปาปัวนิวกีนีและตอนเหนือของออสเตรเลีย สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ปลาหมอทะเล ชื่อท้องถิ่น: ตังเหลือง,เก๋าทอง ชื่อสามัญ: Giant grouper ชื่อวิทยาศาสตร์: Epinephelus lanceolatus ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: เป็นปลากะรังที่ใหญ่ที่สุดในครอบครัวนี้มีความยาวได้ถึง 2.5 เมตรน้ำหนัก 400 กิโลกรัม พบได้บริเวณแนวปะการัง,ปากแม่น้ำ,ป่าชายเลนและคลองน้ำกร่อย ถิ่นที่อาศัย: แพร่กระจายไปทั่วโลกคือในเขตอินโดแปซิฟิกจากทะเลแดง และฝั่งตะวันออกของ แอฟริกาไปจนถึงเกาะฮาวายและหมู่เกาะพิทคาลิน ประเทศปากีสถาน,ออสเตรเลีย,ทะเลจีนใต้,ฟิลิปปินส์,ญี่ปุ่นตอนใต้,กวม และฟิจิ สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ปลากะรังเสือ ชื่อท้องถิ่น: เก๋าตัง ชื่อสามัญ: Tiger grouper,Brown marbled grouper ชื่อวิทยาศาสตร์: Epinephelus fuscoguttatus ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: อาศัยอยู่ในแนวปะการังและแนวกองหินความลึก 1-60 เมตร ขนาดโตเต็มที่มีความยาว 120 เซนติเมตร ถิ่นที่อาศัย: พบได้ในเขตตะวันตกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และ เขตอินโดแปซิฟิกตะวันตก,อ่าวเปอร์เซีย,ทะเลแดงในแอฟริกาตะวันออก สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ปลากะรังดอกแดง ชื่อท้องถิ่น: ราปู ชื่อสามัญ: Orange spotted grouper,green grouper ชื่อวิทยาศาสตร์: Epinephelus coioides ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: พบตามปากแม่น้ำ,คลองน้ำกร่อย,เกาะแก่งริมชายฝั่ง ลูกปลา ขนาดเล็กพบได้บ่อยในน้ำตื้นบริเวณปากแม่น้ำ กินปลาขนาดเล็ก,กุ้ง และปู เป็นปลาที่เปลี่ยนจากเพศเมียเป็นเพศผู้เมื่อมีขนาดโตขึ้น (protogynus hermaphodite) ถิ่นที่อาศัย: พบได้ในเขตอินโดแปซิฟิกตะวันตก,ทะเลแดง,แอฟริกาใต้,หมู่เกาะปาเลา ฟิจิ และออสเตรเลีย สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ปลากะรังหงส์ ชื่อท้องถิ่น: เก๋าหน้างอน ชื่อสามัญ: Humpback grouper,Panther grouper ชื่อวิทยาศาสตร์: Cromileptes altivelis ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: พบกระจายตามแนวชายฝั่งทะเลบริเวณแนวปะการังความลึก 2-40 เมตร ขนาดโตเต็มที่มีความยาว 70 เซนติเมตร ถิ่นที่อาศัย: พบได้ทั่วไปในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย และเขตอินโดแปซิฟิกตะวันตก สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ปลากะรังจุดฟ้า ชื่อท้องถิ่น: กุดสลาด,ย่ำสวาด ชื่อสามัญ: Blue spotted coral trout,Leopard coral grouper ชื่อวิทยาศาสตร์: Plectropomus leopardus ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: พบกระจายตามแนวชายฝั่งทะเลบริเวณแนวปะการังความลึก3-100 เมตร ขนาดโตเต็มที่มีความยาวได้ถึง 120 เซนติเมตร น้ำหนัก 23.6 กิโลกรัม ถิ่นที่อาศัย: พบมากแถบทะเลเขตร้อนแปซิฟิกตะวันตก,ตอนใต้ของญี่ปุ่น,ออสเตรเลีย,ทะเลแดง,ทะเลอาหรับและทวีปแอฟริกาใต้ สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ปลาช่อนทะเล ชื่อท้องถิ่น: ไฮโหลย ชื่อสามัญ: Cobia, Black kingfish, cabio, crabeater, ชื่อวิทยาศาสตร์: Rachycentron canadum ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: เป็นปลาผิวน้ำอาศัยบริเวณชายฝั่งทะเลและไหล่ทวีปขนาดโตเต็มที่ยาว 200 เซนติเมตร น้ำหนัก 61 กิโลกรัม ถิ่นที่อาศัย: พบในเขตร้อนและเขตอบอุ่นตั้งแต่อินโดแปซิฟิกไปถึงเขตแอตแลนติกแต่พบได้น้อยในเขตตอนกลางและตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ปลากระมัง ชื่อท้องถิ่น: วี เลียม เหลี่ยม แพะ สะกาง ชื่อสามัญ: SMITH'S BARB ชื่อวิทยาศาสตร์: Puntioplites proctozsron ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ปลากระมังเป็นปลามีเกล็ดอยู่ในสกุล Barb เช่นเดียวกับปลาตะเพียนขาว มีขั้นการวิวัฒนาการตาม Taki (1974) คือ Phylum Chordata Class Pisces Order Cypriniformes Sub order Cyprinoidei Family Cyprinidae Sub family Cyprininae, Genus Puntioplites Species proctozysron เกล็ดตามลำตัวมีสีเงิน เกล็ดในแนวเส้นข้างตัว 33-35 เกล็ด หน้าครีบหลัง 13-15 เกล็ด และรอบคอดหาง 16-18 เกล็ด ครีบหลังประกอบด้วยก้านครีบเดี่ยว 3 อัน ก้านครีบแขนง 8 อัน ครีบก้นประกอบด้วยก้านครีบเดี่ยว 3 อัน ซึ่งมีหนามแหลมซึ่งจะพบในปลาตะเพียนเพียง 2-3 ชนิดเท่านั้น (Smith, 1945) และก้านครีบแขนง 5 อัน จงอยปากทู่ ไม่มีฟันที่ริมฝีปากและเพดานปาก ไม่มีหนวด ซี่เหยือกยาวเรียวและบอบบางกว่าปลาตะเพียนขาว รูปร่างค่อนข้างเหลี่ยมมากกว่าตะเพียนขาว ซึ่งจะเห็นเหลี่ยมชัดบริเวณหน้าครีบหลังและครีบก้น ในบางท้องที่จึงเรียกปลาชนิดนี้ว่า “ปลาเหลี่ยม” หรือ “สี่เหลี่ยม” และตรงรอยต่อระหว่างกะโหลกกับส่วนหลังจะหักเว้าเล็กน้อยก่อนเฉียงขึ้นไปยังโคนครีบหลัง ปลากระมังมีสัดส่วนของลำตัวคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของความยาวมาตรฐาน (percent of standard length หรือ % SL) แล้วแสดงเป็นค่าน้อยที่สุด – ค่ามากที่สุด (ค่าเฉลี่ย + ค่าเบี่ยงเบน) % SL ดังนี้ ความลึกลำตัว 44.28 – 47.67 (46.12 + 1.25) % SL,ความยาวหัว 28.00 -31.56 (29.73 + 1.26) % SL, เส้นผ่าศูนย์กลางตา 8.00 -10.49 (9.96 + 0.78) % SL, ความยาวหน้าตา (Snout) 7.78 – 9.69 ( 8.61 + 0.57) % SL, ความลึกคอดหาง 14.16 -15.15 (14.47 + 0.31) % SL, ความกว้างระหว่างตา 10.02-12.95 (11.23 + 0.90) % SL, ความยาวหลังตา 152.57+14.62 ( 13.45 + 0.76) % SL, ความยาหน้าครีบหลัง 57.40+62.25 (59.72 +1.45) % SL, ความยาวหน้าครีบก้น 71.46-76.00 (73068 + 1.44) % SL, ความยาวหน้าครีบท้อง 47.29-51.50 ( 49.80 + 1.14) % SL ลักษณะที่สามารถแยกปลากระมังออกจากปลาในกลุ่มปลาตะเพียน (Puntiid fish) ได้โดยชัดเจนคือ ก้านครีบก้นอันดับที่ 3 เป็นหนามแหลมที่เป็นหยัก ( Serrated anal spine) ซึ่งจะไม่พบลักษณะแบบนี้เลยในปลาตะเพียนตัวอื่นๆ แหล่งกำเนิดและการแพร่กระจาย จากการสำรวจอ่างเก็บน้ำของประเทศไทยสามารถพบปลากระมังในทุกแหล่งและสามารถจับขึ้นมาจำหน่ายเป็นจำนวนมาก สมศักดิ์ (2515) กล่าวว่า ปลาชนิดนี้พบมากในประเทศไทย กัมพูชา พม่า และลาว สำหรับในประเทศไทยพบทั่วไปในแม่น้ำ ลำคลอง เช่น แม่น้ำปิง แม่น้ำโขง แม่น้ำมูล จากการสำรวจในอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ พบว่ามีกระจายอยู่ทั่วไปและสามารถจับมาจำหน่ายได้เป็นจำนวนมาก ยงยุทธ (2529) กล่าวว่าในการรวบรวมพันธุ์ปลากระมังพบว่าปลาชนิดนี้ชอบอาศัยในบริเวณป่าพง ป่าอ้อ ที่ขึ้นอยู่ตามริมฝั่งคลองที่น้ำท่วมถึง และมีระดับน้ำเฉลี่ย 80-100 ซม. อาหารและนิสัยการกินอาหาร จากการศึกษาพบว่าปลากระมังเป็นปลาที่มีซีกเหงือกยาวเรียวและบอบบางและมีฟันในอุ้งปลา (pharyngeal teeth) และเป็นปลาพวก (cyprinid) ซึ่งจัดเป็นปลาพวกไม่มีกระเพาะ ส่วนลำไส้จากการวัดความยาวของลำไส้เปรียบเทียบกับความยาวลำตัว จำนวน 26 ตัวอย่าง พบว่าอัตราส่วนความยาวลำไส้ : ความยาวลำตัวเฉลี่ย 1.383 : 1 และมีความสัมพันธ์ระหว่างความยาวลำตัว (L) และความยาวลำไส้ (I) จากสูตร L = cIin L = 92.18045 I 0.7938 r = 0.5816 ความแตกต่างระหว่างเพศภายนอกของปลากระมังเพศผู้และเพศเมีย ลักษณะความแตกต่างระหว่างเพศของปลากระมังทั้ง 2 เพศ เมื่อดูจากลักษณะภายนอกจะมีความแตกต่างดังนี้ 1. ปลากระมังรุ่นเดียวกันเมื่อโตเต็มวัยเพศผู้จะมีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย 2. ลักษณะลำตัวปลาเพศผู้จะเรียว ส่วนเพศเมียจะป้อมกว่า 3. ในฤดูผสมพันธุ์ตัวเมียท้องจะนิ่มและอูมเป่ง ขยายออกมาด้านข้าง และ urogenital pore กว้างกว่าปกติ ส่วนตัวผู้เมื่อเอามือรีดเบาๆ จากท้องไปทางทวารจะมีน้ำเชื้อสีขาวคล้ายน้ำนมไหลออกมาจากช่องเพศ อัตราส่วนเพศในธรรมชาติ อัตราส่วนเพศของปลากระมังที่ได้จากการเก็บตัวอย่างครั้งนี้ = 1:1 ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวและน้ำหนัก ในการศึกษาสัมพันธ์ระหว่างความยาวและน้ำหนัก ของปลากระมังโดยแยกเพศในตัวอย่างเพศผู้ 428 ตัว และตัวอย่างเพศเมีย 443 ตัว คำนวณหาสมการโดยใช้วิธี Method of Least Square ได้สมการดังนี้ สมการเพศผู้ log W = -2.02201 + 3.11973 log L หรือ W = 0.0095058 L3.11973 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) = 0.927360 สมการของเพศเมีย log W = 1.86597 + 2.99159 log L หรือ W = 0.013615 L2.99159 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) = 0.848982 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่ได้มีสหสัมนธ์สูงที่ระดับสัยสำคัญที่ 95% แสดงว่าร้อยละ 95 ของความยาวและน้ำหนักของปลากระมัง มีความสัมพันธ์กันในรูปสมการยกกำลังดังสมาการที่ได้จริง เมื่อนำค่าของ W และ L เขียนกราฟจะได้กราฟเส้นโค้ง เมื่อนำค่า log ของน้ำหนักและความยาวของปลากระมังเพศผู้และเพศเมียจะได้กราฟเส้นตรง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในขนาดน้ำหนักเท่ากัน ปลากระมังเพศเมียจะยาวกว่าปลากระมังเพศผู้เสมอ ซึ่งสัมพันธ์ตามการศึกษาความแตกต่างระหว่างเพศภายนอกซึ่งพบว่าปลากระมังรุ่นเดียวกันเมื่อโตเต็มวัยเพศเมียจะมีขนาดโตกว่าเพศผู้ การวิวัฒนาการของอวัยวะเพศของปลากระมัง จากตัวอย่างปลากระมังเพศผู้จำนวน 428 ตัวอย่าง เมื่อผ่าตัดตรวจดูลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่มองเห็นโดยการเก็บตัวอย่างในรอบปีเมื่อคิดเปอร์เซ็นต์การพัฒนาของอัณฑะตามวิธีของ Kesteven (1960) พบว่า 1. เดือนธันวาคม ปลากระมังเพศผู้ส่วนใหญ่ 75.36% พัฒนาอยู่ในระยะ Resting ซึ่งเป็นระยะที่ปรับสภาพเตรียมพร้อมสำหรับฤดูกาลต่อไป มีบางส่วน ( 24.64%) ที่พัฒนาเร็วขึ้นมีการทำลายน้ำเชื้อหมดไปจนอวัยวะเพศเข้าสู่ระยะแรกของการพัฒนา 2. เดือนมกราคม การพัฒนาของอวัยวะเพศผู้มีแนวโน้มที่จะเตรียมพร้อมในการพัฒนาการสร้างน้ำเชื้อมากขึ้น ดังนั้นตัวอย่างส่วนใหญ่ ( 85.18%) จึงพบระยะเริ่มต้นการพัฒนาคือ ระยะ Vergin และมีบางส่วนที่พัฒนามากขึ้น 3. เดือนกุมภาพันธ์ การพัฒนาของอวัยวะเพศผู้ในช่วงนี้ยังใความแตกต่างมากนัก 92.10 % ยังอยู่ในระยะ Vergin 4. เดือนมีนาคม การพัฒนาของอวัยวะเพศผู้เริ่มกระจายไปสู่ระยะที่พัฒนามากขึ้น คือ เป็น Vergin 18.00 % Maturing Vergin 36.00% นอกนั้นกระจายในเปอร์เซ็นต์ต่ำจนสมารถพบปลาเพศผุ้ที่มีน้ำเชื้อแก่เต็มที่ (Gravid) พร้อมที่จะผสมพันธุ์ และปลาที่ปล่อยน้ำเชื้อไปแล้ว 5. เดือนเมษายน ปลาเพศผู้มีลักษณะการพัฒนาใกล้เคียงกันในเดือนมีนาคม ส่วนของอวัยวะเพศผู้ในระยะ Vergin ลดลงเหลือเพียง 10.91% แต่ Maturing Vergin มากขึ้นถึง 41.82 % 6. เดือนพฤษภาคม อวัยวะเพศผู้ในระยะ Vergin ลดลงมากจนเหลือเพียง 7.50% แต่จะกระจายไปสู่ระยะที่พัฒนามากขึ้น และพบระยะ Gravid ถึง 40.00% 7. เดือนมิถุนายน ไม่พบปลาที่อยู่ในระยะพัฒนาต้นๆ คือ Vergin และ Maturing Vergin เลยแต่จะพบอวัยวะเพศในระยะ developing มากถึง 47.06% 8. เดือนกรกฎาคม พบปลาเพศผู้ส่วนใหญ่ มีความพร้อมที่จะผสมพันธุ์คือ มีระยะ Developing 33.33% และพร้อมในการผสมพันธุ์ 33.33% และบางส่วนที่ปล่อยน้ำเชื้อไปแล้ว 22.22% 9. เดือนสิงหาคม พบปลาเพศผู้มีอวัยวะเพศอยู่ในระยะ Gravid มาก ถึง 53.85% 10. เดือนกันยายน ยังสามารถพบอวัยวะเพศผู้ในระยะ Gravid ได้ถึง 38.90% และปลาที่ปล่อยน้ำเชื้อไปแล้วในระยะ spawning 23.81% 11. เดือนตุลาคม จะไม่สามารถพบปลาที่มีน้ำเชื้อเต็มท้องเลยจะพบแต่ปลาที่มีอัณฑะบวมแดง ในระยะ spent 67.65% และปลาเพศผู้ที่เตรียมพร้อมในฤดูต่อไป 32.35% 12. เดือนพฤศจิกายน ปลาเริ่มที่จะปรับตัวสู่ฤดูกาลสืบพันธุ์ในปีต่อไปจึงพบปลาในระยะ Vergin 82.14% และปลาระยะ Maturing Vergin 14.29% และปลาในระยะ developed เพียง 3.57% จากลักษณะที่มองเห็นในเพศผู้และเก็บตัวอย่างในรอบปี เมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์การพัฒนาของอัณฑะในแต่ละเดือนพอสรุปได้ว่า ปลากระมังเพศผู้มีน้ำเชื้อพร้อมที่จะผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนกันยายน การพัฒนาของรังไข่ พบว่า 1. เดือนธันวาคม ปลากระมังเพศเมียส่วนใหญ่ (77.50%) พัฒนาอยู่ในระยะ Resting เพื่อเตรียมพร้อมในฤดูต่อไป มีบางส่วน (22.50%) ที่เริ่มพัฒนาในระยะแรก 2. เดือนมกราคม การพัฒนาในระยะ Resting ลดลงมาก (10.63%) และมีมากที่สุดในระยะ Vergin (80.85%) และเริ่มพบระยะ Maturing Vergin (8.51%) 3. เดือนกุมภาพันธ์ ไม่พบปลาในระยะ Vergin เลย การพัฒนาของอวัยวะเพศเพิ่มมากขึ้นพบระยะ maturing Vergin มาก (52.38%) และเริ่มพบระยะ developed (19.50%) 4. เดือนมีนาคม มีการพัฒนาไม่ค่อยแตกต่างจากเดือนก่อนมากนักเพียงแต่เพิ่มเปอร์เซ็นต์การพัฒนาในระยะเดิม คือ maturing Vergin ลดลงเป็น 45.10% แต่เพิ่มระยะ developed เป็น 41.18% 5. เดือนเมษายน เริ่มพบปลาที่มีรังไข่ระยะ developing 4.25% แต่ยังไม่พบปลาที่มีไข่เต็มท้อง 6. เดือนพฤษภาคม เริ่มพบปลาที่มีไข่แก่เต็มท้องในระยะ Gravid (4.92%) แต่ยังไม่ได้พบปลาที่วางไข่แล้วและในท้องมีไข่แน่นทุกตัว แสดงว่ายังไม่ได้วางไข่ 7. เดือนมิถุนายน พบปลาที่มีไข่เต็มท้องพร้อมที่จะวางไข่ มากขึ้น (6.25%) และเริ่มพบปลาที่ได้วางไข่ไปแล้ว spawning (3.13%) 8. เดือนกรกฎาคม ปลาส่วนใหญ่มีไข่เต็มท้องพร้อมที่จะวางไข่ (45.45%) และเริ่มพบปลาที่มีไข่ยุบลงและมีรังไข่สีแดงช้ำในระยะ spent (9.09%) 9. เดือนสิงหาคม ปลาที่วางไข่ได้ในระยะ Gravid เริ่มลดลดเหลือเพียง 17.65% แต่จะพบปลาที่วางไข่แล้วในระยะ spawning มากขึ้น (29.41%) 10. เดือนกันยายน ปลาที่มีไข่แก่เต็มท้องในระยะ Gravid เพิ่มมากขึ้นอีกครั้งและเป็นครั้งที่สูงสุดในระอบปี (42.28%%) 11. เดือนตุลาคม ไม่พบปลาที่มีไข่แก่เต็มท้องพร้อมที่จะวางไข่ได้เลย พบปลาที่วางไข่ไปแล้วและพี่พบมากเป็นปลาที่ปรับสภาพสู่ฤดูใหม่ในระยะ Resting มาก (62.50%) 12. เดือนพฤศจิกายน เป็นช่วงเวลาที่ปลาเตรียมพร้อมสำหรับฤดูกาลต่อไป การพัฒนาของรังไข่ในแต่ละเดือนสรุปได้ว่า ปลากระมังเพศเมียเริ่มมีไข่แก่เต็มท้อง ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม และเริ่มวางไข่ตั้งแต่เดือนมิถุนายน แต่จะพบปลาที่พร้อมผสมพันธุ์วางไข่ได้มากที่สุดในเดือนกรกฎาคมถึงกันยายนและปลาจะว่างไข่หมดในเดือนตุลาคมหลังจากนี้จะไม่พบปลาที่มีไข่แก่เต็มท้องเลย ปลาจะปรับตัวเตรียมพร้อมเพื่อฤดูกาลใหม่ต่อไป ดัชนีความสัมพันธ์ของอวัยวะเพศของปลากระมัง จากตัวอย่างปลาทั้งหมด 547 ตัว หาค่า จากสูตร G.S.I. = น้ำหนักอวัยวะเพศ X 100 น้ำหนักตัว-น้ำหนักอวัยวะเพศ ปลาเพศผู้จำนวน 294 ตัวอย่างพบว่ามีค่า G.S.I. ระหว่าง 0.138 – 1.950 % และในฤดูผสมพันธุ์มีค่า G.S.I. = 1.284 – 1.950 % ซึ่งพบว่าปลาเพศผู้มีน้ำเชื้อตลอดปีแต่จะเพิ่มมากที่สุดในฤดูผสมพันธุ์ แต่ตลอดทั้งปี G.S.I. จะมีค่าไมแตกต่างกันมากนัก ปลาเพศเมีย จำนวน 253 ตัวอย่างพบว่ามีค่า G.S.I. ระหว่าง 0.216 -10.117 % และในฤดูสืบพันธุ์มีค่า G.S.I. = 8.210 – 10.117% ซึ่งจะพบว่าค่า G.S.I. จะเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่เดือนมิถุนายน (1.439%) และในเดือนกรกฎาคม (10.09%) และลดลงเล็กน้อยในเดือนสิงหาคม (8.210%) และเพิ่มขึ้นอีกครั้งซึ่งสูงสุดในรอบปีในเดือนกันยายน (10.117%) และหลังจากนั้นจะลดลงซึ่งพอจะประมาณได้ว่าปลากระมังสามารถวางไข่ได้ตลอด 4 เดือน ตั้งแต่มิถุนายนถึงกันยายน ซึ่งสอดคล้องกับวิธีการผ่าตัดดูอวัยวะเพศ ค่า coefficient of condition ในแต่ละเดือนของปลากระมัง จากการศึกษาค่า coefficient of condition (K) ซึ่งเป็นค่าแสดงถึงความสมบูรณ์ของปลา จากสูตร K = 100w/L3 ตาม Swingle และ Shell (1971) โดยใช้ปลากระมังเพศผู้ 428 ตัว เพศเมีย 443 ตัว พบว่าในรอบปีปลาจะหากิจและสะสมอาหารไว้เพื่อกิจกรรมต่างๆ ทางสรีระของตัวปลา เช่น ในการเจริญเติบโตและการแพร่อขยายพันธุ์ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมปลาอาจจะกินอาหารได้มากทำให้อ้วนขึ้น และกิจกรรมการแพร่ขยายพันธุ์ก็มีผลทำให้ค่านี้เพิ่มขึ้น ในระหว่างปีปลาจะมีการพัฒนาอวัยวะสืบพันธุ์ ทำให้อวัยวะสืบพันธุ์ (gonad) มีขนาดและน้ำหนักเพิ่มขึ้นจึงมีผลต่อค่า coefficient of condition ทำให้เกิดความแปรผันในแต่ละเดือน นิสัยการวางไข่ ลักษณะของไข่และความดกไข่ พบว่าปลากระมังเป็นปลาที่ชอบวางไข่ในที่โคลนหนาๆ และมีน้ำไหลผ่าน และมีลักษณะไข่แบบครึ่งจมครึ่งลอย (semivouyant dgg) เช่นเดียวกับปลาตะเพียนขาว โดยเริ่มแรกปล่อยออกจากตัวจะจม แล้วดูดน้ำเข้า perivitelline space ของไข่ จึงทำให้ไข่มีขนาดเพิ่มขึ้น และมีความถ่วงจำเพาะใกล้เคียงกับน้ำ จึงลอยตามกระแสน้ำแต่จะจมเมื่ออยู่ในน้ำนิ่ง ไข่ปลากระมังมีลักษณะโปร่งแสงสามารถเห็นไข่แดงเป็นจุดสีเหลืองสดชัดเจน ความดกของไข่เมื่อเทียบกับน้ำหนักรังไข่ พบว่าเฉลี่ย ๆ 4,802 กรัม จะมีไข่จำนวน 16,807.25 ฟอง หรือทุกๆ 1 กรัมของรังไข่จะมีไข่เฉลี่ย จำนวน 3,500 ฟอง การใช้ประโยชน์และการตลาด จากการรวบรวมสถิติการจับปลากระมังขึ้นมาใช้ประโยชน์และซื้อขายของหน่วยงานพัฒนาประมงในอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ จำนวน 18 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 – 2530 พบว่าสมารถจับได้มากเป็นอันดับ 2 และจากสถิติปี 2527 จากมูลค่ารวมของปลาแต่ละชนิด 30.3 ล้านบาท เป็นมูลค่าของปลากระมังอย่างเดียวถึง 4.4 ล้านบาท ปลาสดซื้อขายกันในราคา ประมาณ 15-21 บาท แต่เมื่อแปรรูปเป็นปลารมควัน ราคาประมาณกิโลกรัมละ 50 บาท ตากแห้งกิโลกรัมละ 25 บาท หมักเกลือกิโลกรัมละ 20-30 บาท (สุวีณา และคณะ, 2532 ) จากการศึกษาของ สุพัตร์ และธราพันธ์ (2546) ได้ทำการทดลองศึกษาระยะเวลาในการเปลี่ยนอาหารจากอาหารมีชีวิตเป็นอาหารสำเร็จรูป คือ อนุบาลด้วยอาหารสำเร็จรูป 35 วัน, อนุบาลด้วยไรแดง 7, 14, 21 วัน จากนั้นอนุบาลด้วยอาหารสำเร็จรูปจนถึง 35 วัน และ อนุบาลด้วยไรแดง 35 วัน พบว่าลูกปลากระมังมีน้ำหนักเฉลี่ยสุดท้ายเท่ากับ 0.07+0.02, 0.16+0.08, 0.18+0.02, 0.25+0.04 และ 0.25+0.01 กรัม ความยาวเฉลี่ยสุดท้ายเท่ากับ 1.70+0.15, 2.10+0.50, 2.30+0.15, 2.90+0.11 และ 2.80+0.25 เซนติเมตร ตามลำดับ พบว่าระยะเวลาที่เหมาะสมคือ อนุบาลด้วยไรแดง 14-21 วัน (อายุ 21-28 วัน) แล้วจึงอนุบาลด้วยอาหารสำเร็จรูป และได้ทำการศึกษาความต้องการโปรตีนของลูกปลากระมัง ด้วยอาหารที่มีระดับโปรตีนต่างกัน 5 ระดับ คือ 20, 25, 30, 35 และ 40 เปอร์เซ็นต์ มีพลังงานที่ย่อยได้ 290 กิโลแคลอรี/100 กรัม พบว่าลูกปลากระมังมีน้ำหนักเฉลี่ยสุดท้ายเท่ากับ 0.23+0.02, 0.39+0.07, 1.03+0.07, 1.32+0.10 และ 1.29+0.14 กรัม ความยาวเฉลี่ยสุดท้ายเท่ากับ 2.50+0.21, 3.10+0.15, 3.80+60.15, 4.40+0.17 และ 4.50+0.12 เซนติเมตร ตามลำดับ จากการทดลองพบว่าอาหารที่มีระดับโปรตีนที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของลูกปลากระมัง คือ อาหารที่ระดับโปรตีน 35 เปอร์เซ็นต์ ถิ่นที่อาศัย: ในแหล่งน้ำจืดทั่วประเทศไทย แต่ละภาคจะเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามภาษาท้องถิ่น ภาคกลางเรียกว่า ปลากระมัง บางแห่งเรียกชื่อสั้น ๆ เช่นที่บึงบอระเพ็ด เรียกว่า ปลามัง หรือบางคนเรียก ปลาสมิด ที่ปากน้ำโพมักเรียก ปลาเลียม หรือปลาเหลี่ยม สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ปลาหมอ ชื่อท้องถิ่น: สะเด็ด เข็ง ชื่อสามัญ: climbing perch ชื่อวิทยาศาสตร์: Anabas testudineus ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ลักษณะภายนอก ลำตัวค่อนข้างแบน บริเวณหน้าค่อนข้างกลม ส่วนหางแบนข้าง มีความยาวประมาณ 2.5 – 3.0เท่า ของความลึกลำตัว ปากสั้นกลมมน ปากอยู่ปลายสุด(terminal) และเฉียงขึ้นบนเล็กน้อย ตาโตลำตัวมีสีน้ำตาลปนดำ ลักษณะสีเข้ม ส่วนท้องลักษณะสีจางกว่าส่วนหลัง ตามลำตัวมีเกล็ดเป็นชนิดขอบมีหนาม (ctenoid) ที่กระดูกกระพุ้งแก้มตอนปลายมีลักษณะเป็นหนามหยักแหลมคมมาก ลักษณะหางเป็นแบบมนกลมเล็กน้อย ที่โคนหางมีจุดสีดำกลม 1 จุดตามลำตัวมีแถบสีดำ 7 - 8 แถบ ลักษณะความแตกต่างระหว่างเพศปลาหมอเพศเมียจะมีขนาดโตและน้ำหนักมากกว่าเพศผู้ ตัวผู้จะมีลักษณะลำตัวยาวเรียวกว่า ตัวเมียมีความลึกของลำตัวมากกว่าตัวผู้เมื่อมีขนาดความยาวเท่ากัน ฤดูปลามีไข่ปลาหมอเพศเมียจะมีส่วนท้องอูมเป่งซึ่งเพศผู้ส่วนท้องจะเป็นปกติ อัตราส่วนเพศของปลาหมอ คิดเป็นอัตราส่วน เพศผู้ : เพศเมีย = 1 : 1.86 ความดกของไข่มีตั้งแต่ 2,200 -28,000 ฟอง ปลาหมอจะวางไข่ในฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม โดยไข่จะแก่จัดในช่วงเดือนเมษายน -พฤษภาคม อายุประมาณ 5 เดือน ก็สามารถผสมพันธุ์วางไข่ได้ การเพาะพันธุ์ปลาหมอ ฉีดกระตุ้นด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์ (buserelin acetate) ในอัตราความเข้มข้น 10-15 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ (domperidone) 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แม่ปลาจะวางไข่ในเวลา 6 – 8 ชั่วโมง ไข่ปลาหมอเป็นไข่ลอย พัฒนาการของไข่เริ่มจากการปฏิสนธิจนกระทั่งฟักออกเป็นตัวใช้เวลาประมาณ17 ชั่วโมง 30 นาที ที่อุณหภูมิน้ำ 26 – 28 องศาเซลเซียสพัฒนาการของตัวอ่อนจากฟักเป็นตัวจนมีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัย ใช้เวลา 10 วัน ถิ่นที่อาศัย: ปลาหมออาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วๆ ไป ทั้งแห่ลงน้ำนิ่งและน้ำไหล ปลาหมอสามารถปรับตัวเจริญเติบโตเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำกร่อย ป่าจากที่ลุ่มดินเค็มชายฝั่งทะเลที่มีความเค็มไม่เกิน 10 ส่วนในพัน และน้ำที่ค่อนข้างเป็นกรดจัด เช่น ป่าพรุ ตลอดจนมักฝังหรือหมกตัวในโคลนตมได้เป็นระยะเวลานานๆ จึงเป็นปลาที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เนื่องจากมีอวัยวะพิเศษช่วยหายใจ (labyrinth organ) ปลาหมอเป็นปลากินเนื้อ (carnivorous fish) จึงเป็นปลาผู้ล่า(predator) กินสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่าและชอบกินอาหารที่ผิวน้ำและกลางน้ำ สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ปลาพลวงทอง ชื่อท้องถิ่น: ปลาพลวง ชื่อสามัญ: Gold Soro Brook Carp ชื่อวิทยาศาสตร์: Neolissochilus soroides ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: เป็นปลาขนาดกลาง เมื่อโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ลำตัว ยาวเรียว แบนข้างเล็กน้อย สีลำตัวเป็นสีเหลืองทองครีบเป็นสีเหลืองปลาครีบมีสีอ่อน ยกเว้นครีบหลังที่มีสีเทาขอบบนและขอบล่างของครีบหางสีเข้มสีเกล็ดบริเวณส่วนหลังของลำตัวเป็นสีน้ำตาลอมเทาและสีเหลือง บริเวณด้านท้องเป็นสีขาว ทำให้สีของลำตัว แบ่งออกเป็นสองส่วนชัดเจน ไม่มีแถบสีดำบริเวณเส้นข้างตัว ซึ่งทำให้สามารถเป็นข้อระบุที่แตกต่างจากพลวงหิน ถิ่นที่อาศัย: รวมตัวเป็นฝูง ชอบอยู่บริเวณที่มีน้ำไหลบริเวณน้ำตก และแอ่งน้ำที่มีน้ำตกและลำธารบนภูเขา บริเวณโดยรอบเป็นโขดหินขนาดใหญ่ล้อมรอบ พื้นท้องน้ำมีลักษณะเป็นก้อนหินขนาดกลาง และหินกรวด ซึ่งอาจพบในเขต ที่มีต้นพืชตระกูลกระวาน สถานะภาพ: สัตว์น้ำเฉพาะถิ่น
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: กุ้งก้ามกราม ชื่อท้องถิ่น: กุ้งหลวง กุ้งนาง กุ้งแม่น้ำ กุ้งน้ำจืด ชื่อสามัญ: Giant freshwater prawn ชื่อวิทยาศาสตร์: Macrobrachium rosenbergii ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ลักษณะภายนอกโดยทั่วไปของกุ้งก้ามกราม จะมีลำตัวเป็นปล้อง ส่วนหัวและอกคลุมด้วยเปลือกชิ้นเดียวกัน ส่วนของลำตัวมีลักษณะเป็นปล้องๆ มี 6 ปล้อง กรีมีลักษณะโค้งขึ้นมีลักษณะหยักเป็นฟันเลื่อยโดยด้านบนมีจำนวนระหว่าง 13-16 ชี่ ด้านล่างมีจำนวนระหว่าง 10-14 ชี่ โคนกรีกว้างและหนากว่า ปลายกรียาวถึงแผ่นฐานหนวดคู่ที่ 2 กุ้งก้ามกรามมีหนวด 2 คู่ หนวดคู่แรกส่วนของโคนหนาแบ่งเป็น 3 ข้อปล้อง ปล้องที่ 3 แยกเป็นเส้นหนวด 2 เส้น หนวดคู่ที่สองยาวกว่าหนวดคู่ที่หนึ่งแบ่งเป็น 5 ข้อปล้อง ความยาวของแผ่นฐานหนวดคู่ที่สองยาวเป็น 3 เท่าของความกว้างแผ่นฐานหนวดคู่ที่สองขาเดินของกุ้งก้ามกรามมี 5 คู่ โดยขาคู่หนึ่งและที่สอง ตรงปลายมีลักษณะเป็นก้าม ส่วนคู่ที่สาม สี่ ห้า ตรงปลายมีลักษณะเป็นปลายแหลมธรรมดา ขาเดินคู่ที่สองที่มีลักษณะเป็นก้าม นั้น ถ้าเป็นกุ้งตัวผู้จะมีลักษณะใหญ่มาก โดยทั่วๆ ไปส่วนของก้ามทำทน้าที่ในการจับอาหาร ป้อนเข้าปากและป้องกันศัตรู ขาว่ายของกุ้งก้ามกรามมี 5 คู่ส่วนแพนหางมีลักษณะแหลมตรงปลายด้านข้างเป็นแพนออกไป 2 ข้าง ลักษณะของสี สีของกุ้งก้ามกรามโดยทั่วไปมีสีน้ำเงินอมเหลืองโดยเฉพาะขาเดินคู่ที่เป็น ก้ามและส่วนของลำตัวมีสีน้ำเงินเข้ม ปลายขามักเป็นชมพูอมแดง แพนหางตอนปลายมีสีชมพูอมแดงทั่วๆ ไป ระบบสืบพันธุ์กุ้งก้ามกรามตัวผู้มีต่อมผลิตน้ำเชื้อลักษณะเป็นพูแบน 2 พู ขนาดกว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ที่ปลายเชื่อมติดกัน ตำแหน่งที่ตั้งอยู่บนส่วนที่เป็นตับและตับอ่อนและอยู่ด้านล่างของหัวใจ ส่วนท้ายของต่อมผลิตน้ำเชื้อแต่ละพูมีท่อนำน้ำเชื้อมาบริเวณโคนขาเดินคู่ที่ห้า และส่งต่อมายังถุงเก็บน้ำเชื้อซึ่งมีช่องเปิดออกภายนอกที่โคนขาเดินคู่ที่ห้าทั้ง 2 ข้าง น้ำเชื้อของกุ้งก้ามกรามเพศผู้ไม่เคลื่อนไหว มีลักษณะคล้ายดอกเห็ดขนาดกว้างประมาณ 7.5 ไมครอน และมีหางเล็กๆ ยาวประมาณ 12.5 ไมครอน น้ำเชื้อตัวผู้จะถูกผลิตที่ด่อมผลิตน้ำเชื้อและนำมาเก็บที่โคนขาเดินคู่ที่ห้า โดยมีผนังบางๆ หุ้มอยู่ในถุงเก็บน้ำเชื้อหนึ่งๆ จะพบถุงน้ำเชื้อประมาณ 2 ถุง กุ้งก้ามกรามเพศเมียรังไข่อยู่ตำแหน่งเดียวกับต่อมผลิตน้ำเชื้อของตัวผู้ ลักษณะเป็นพูแบนๆ 2 พูเชื่อมติดกันทางด้านท้ายมีขนาดใหญ่จนบังส่วนของตับและตับอ่อนได้ทั้งหมดใน ช่วงมีไข่รังไข่จะขยายใหญ่คลุมส่วนหัว อก และหัวใจ ท่อนำไข่ทั้งสองข้างเป็นท่อโค้งมีช่องเปิดออกภายนอกที่โคนขาเดินคู่ที่สาม ความแตกต่างระหว่างกุ้งเพศผู้และเพศเมีย กุ้งก้ามกรามที่ยังมีขนาดเล็กสามารถแยกเพศโดยดูลักษณะของขาว่ายน้ำคู่ที่สอง ถ้าเป็นกุ้งเพศเมีย ตรงปลายขาว่ายน้ำคู่ที่สอง ตรงปล้องสุดท้ายแยกออกเป็นแขนง 3 อัน โดยอันเล็กสุดอยู่ด้านใน ถ้าเป็นกุ้งเพศผู้ปลายขาว่ายคู่ที่สองแยกเป็นแขนง 4 อัน กุ้งที่มีขนาดโตสามารถแยกเพศผู้ เพศเมีย โดยกุ้งที่ขนาดโตเต็มวัยตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย นอกจากนี้ก้ามของตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าของตัวเมียอย่างเห็นได้ชัดเจน แต่เปลือกหุ้มตัวส่วนท้องของตัวผู้จะแคบกว่าของตัวเมีย ลักษณะอื่นๆ ที่ใช้แยกเพศกุ้งขนาดปานกลางหรือขนาดใหญ่ ได้แก่ ช่องเปิดสำหรับน้ำเชื้อของตัวผู้และช่องเปิดสำหรับไข่ของตัวเมียโดยตัวผู้ ช่องเปิดอยู่บริเวณโคนขาเดินคู่ที่ห้าส่วนตัวเมียช่องเปิดอยู่โคนขาคู่ที่สาม การผสมพันธุ์วางไข่ กุ้งก้ามกรามสามารถผสมพันธุ์และวางไข่ได้ตลอดปี การผสมพันธุ์จะเกิดเมื่อตัวเมียลอกคราบและจะปล่อย ฟีโรโมน ดึงดูดตัวผู้ให้เข้าหาและผสมพันธุ์ และเปลือกยังอ่อนอยู่ ตัวผู้จะเข้าผสมโดยให้น้ำเชื้อตัวผู้ชึ่งมีลักษณะคล้ายสารเหนียวไปติดอยู่ กับส่วนหน้าอกระหว่างขาเดินของตัวเมีย หลังจากผสมพันธุ์แล้ว 6-10 ชั่วโมง กุ้งก้ามกรามตัวเมียจะเริ่มวางไข่ ตัวเมียจะวางไข่บริเวณหน้าท้องท้องระหว่างขาว่ายน้ำ โดยขาว่ายน้ำจะทำหน้าที่โบก พัดน้ำให้ไหลผ่านเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่ไข่ ปกติแล้วกุ้งตัวเมียน้ำหนัก 80 กรัม และยาว 18 เซนติเมตร สามารถผลิตไข่ได้ประมาณ 60,000 ฟอง และถ้ามีขนาดใหญ่กว่านี้อาจมีไข่ได้ถึง100,000 ฟอง/ตัว ไข่ที่ติดขาว่ายน้ำในระยะแรกๆ มีสีเหลืองอมส้มมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.6-0.8 มิลลิเมตร มีรายงานว่าไข่มีการพัฒนาไปจนมีอวัยวะครบทุกส่วนภายในเปลือกไข่ ขณะเดียวกันถ้าสังเกตจากภายนอกจะเห็นสีของไข่เปลี่ยนแปลงไปจนกระทั่งระยะสุด ท้ายเปลี่ยนเป็นสีเทาดำ และรูปร่างของกุ้งพับงอภายในเปลือกไข่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ชัดเจน ตัวเมียที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์สามารถที่จะวางไข่ได้ 2 ครั้ง ในระยะ 5 เดือน ดังนั้น 1 ปี กุ้งก้ามกรามอาจวางไข่ได้ถึง 3-4 ครั้ง ไข่ที่ผสมแล้วจะฟักภายใน 19-20 วัน ที่อุณหภูมิ 26-28 องศาเซลเซียส ลูกกุ้งที่ฟักใหม่ๆ ในระยะกุ้งวัยอ่อน เป็นพวกที่ชอบแสงมากว่ายไปข้างหลังในท่าตีลังกาเฉียงคล้ายลูกยุง การพัฒนาและการเจริญเติบโตของตัวอ่อน หลังจากไข่ได้รับการผสมจากเชื้อตัวผู้แล้วจะมีการแบ่งตัวของเซลล์เพิ่มขึ้น เรื่อยๆ จนเป็นอวัยวะต่างๆ เกือบสมบูรณ์ แล้วจึงฟักออกจากไข่ ใช้ระยะเวลาประมาณ 19 วัน ยังมีลักษณะไม่เหมือนพ่อแม่ ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ จากนั้นจะเจริญเติบโตด้วยการลอกคราบอีก 12 ครั้ง จึงจะมีลักษณะเหมือนพ่อแม่ การลอกคราบแต่ละครั้งจะใช้เวลา 1-5 วัน ซึ่งจะมีรูปร่างเปลี่ยนไปทุกครั้งจนถึงระยะสุดท้ายที่เรียกว่า ตัวอ่อนวัย สุดท้าย (post larva) หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า กุ้งคว่ำ ลูกกุ้งจะมีลักษณะเหมือนพ่อแม่ทุกประการ ลำตัวใส สามารถควบคุมการทรงตัวในการว่ายน้ำได้ และจะเกาะอยู่พื้นหรือขอบบ่อ ถิ่นที่อาศัย: โดยธรรมชาติจะอยู่ในแม่น้ำ ลำคลอง แทบทุกจังหวัดในภาคกลางและภาคใต้ ทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย วางไข่ในน้ำกร่อยที่เค็มจัด อาหารได้แก่ ไส้เดือน ตัวอ่อนของลูกน้ำ ลูกไร ลูกปลาขนาดเล็ก ซากของสัตว์ต่างๆ และในบางโอกาสก็กินพวกเดียวกันเอง พบชุกชุมทำให้จับง่าย โดยเฉพาะในฤดูหนาว ด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ทำให้ปริมาณในธรรมชาติลดน้อยลง ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในจังหวัดต่าง ๆ แถบภาคกลางของประเทศไทย เช่น สุพรรณบุรี, นครปฐม, ฉะเชิงเทรา และต่างประเทศด้วย เช่น ที่ สหรัฐอเมริกา สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: สร้อยน้ำผึ้ง, ลูกผึ้ง, ผึ้ง, อีดูด ชื่อท้องถิ่น: ไส้ตัน ชื่อสามัญ: Siamese Gyrinochellid ชื่อวิทยาศาสตร์: Gyrinocheilus aymonieri ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ปลาน้ำผึ้งมีลักษณะลำตัวเรียวคล้ายทรงกระบอก (fusiform) มีปากที่เปลี่ยนแปลงเป็นอวัยวะสำหรับดูดเกาะ (oral sucker) มีช่องเปิดให้น้ำผ่านเพื่อการหายใจแลกเปลี่ยนออกซิเจน เรียกว่า spiracles อยู่บริเวณหลังตาตอนบนของแผ่นปิดเหงือก (operculum) มีตุ่ม (tubercles) รวมกันเป็นกลุ่มอยู่บริเวณจะงอยปากปลาน้ำผึ้งเป็นปลามีเกล็ดที่มีขนาดเล็ก จะงอยปากลาดต่ำสีน้ำตาลเข้ม มีตุ่ม (tubercles) รวมกันเป็นกลุ่มบนจะงอยปาก ส่วนหัวบริเวณกะโหลกเหนือตามีสีเหลืองอ่อน ส่วนที่อยู่ใต้ตาตั้งแต่แก้มถึงปลายสุดของริมฝีปากบนและใต้คางสีเหลืองอ่อน มีจุดดำขนาดใหญ่ต่อเนื่องกัน จำนวน 2 แถว ตามแนวยาวของลำตัวคล้ายกับที่ปรากฏบนส่วนหลัง ลักษณะของครีบแผ่กว้างแข็งแรง มีรอยเว้าเล็กน้อย ปากเปลี่ยนแปลงไปเป็นอวัยวะสำหรับดูดเกาะ ช่องเปิดเหงือกมี 2 ช่อง ช่องบนอยู่ในแนวหลังตาเรียกว่า spiracles สำหรับให้น้ำเข้าแทนปากขณะที่ใช้ปากดูดเกาะติดกับหินหรือวัตถุใต้น้ำ ปลาน้ำผึ้งเป็นปลากินพืช (herbivorous fish) โดยกินอาหารประเภทสาหร่าย แพลงก์ตอนพืช และแพลงก์ตอนสัตว์ ถิ่นที่อาศัย: แพร่กระจายอยู่ในประเทศไทย ตั้งแต่แม่น้ำโขง แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำเพชรบุรี และแม่น้ำทุกสายในภาคใต้และภาคตะวันออก อาศัยอยู่ทั้งแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล อยู่รวมกันเป็นฝูง พบมากที่สุโขทัย สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ก้างพระร่วงสุโขทัย, เพียว, ผี ชื่อท้องถิ่น: เพียว ชื่อสามัญ: Ghost Catfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Kryptopterus palembangensis ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ปลาก้างพระร่วงเป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กไม่มีเกล็ด จัดอยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน ไม่มีเกล็ด รูปร่างด้านข้างแบนมาก ลำตัวยาวเรียว ท่อนหางโค้งงอเล็กน้อย มีชื่อเรียกหลายชื่อตามท้องถิ่น อาทิ ภาคกลางเรียก ปลาก้างพระร่วง ปลากระจก ภาคใต้เรียก ปลาบาง ปลาผี ลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้ คือ เนื้อปลามีลักษณะโปร่งแสง ทำให้มองเห็นก้างภายในตัวได้อย่างชัดเจน ลำตัวยาวแบนข้าง ปลาก้างพระร่วงขนาดโตเต็มที่ประมาณ 10 – 15 ซม. ขนาดเฉลี่ยทั่วไปประมาณ 8 – 10 ซม. สูงสุดไม่เกิน 15 ซม. อุปนิสัย เป็นปลาที่ชอบอยู่ร่วมกันเป็นฝูง ชอบน้ำค่อนข้างใส และไหลรินอยู่ตลอดเวลา เป็นปลาชอบความสงบเงียบ ตื่นตกใจง่าย กินอาหารค่อนข้างช้า เวลากลางคืนจึงออกมาหาเหยื่อ เป็นปลาที่ชอบลอยตัวรวมฝูงตั้งแต่ 10-20 ตัว กินอาหารประเภทแพลงก์ตอนสัตว์ ตัวอ่อนแมลงน้ำที่มีชีวิต ลูกน้ำและสัตว์น้ำขนาดเล็กในธรรมชาติ ถิ่นที่อาศัย: ในประเทศไทยพบในลำห้วย ลำธาร อ่างน้ำตกแถวภาคใต้ ภาคตะวันออก และในแม่น้ำบางแห่งบริเวณภาคกลางของประเทศเป็นปลาในเขตร้อน ภาคพื้นเอเชียแปซิคฟิก พบที่เกาะบอร์เนียว เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ในประเทศไทยมีรายงานว่าเคยพบที่จังหวัดนครนายก จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราดและทางภาคใต้ปัจจุบันทางภาคกลางนั้นพบได้น้อยมาก แทบหาไม่พบในธรรมชาติ แต่ยังคงพบปลาก้างพระร่วงนี้ในแหล่งน้ำไหล และเย็น มีร่มไม้รกครึ้ม เวลากลางวัน มักหลบอยู่ตามรากไม้ และแนวร่มไม้ที่ขึ้นตามชายน้ำเวลากลางคืนจึงออกมาหาเหยื่อ เป็นปลาที่ชอบลอยตัวรวมฝูงตั้งแต่ 10-20 ตัว มักอยู่เป็นที่ สถานะภาพ: มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ รวมถึงรายละเอียดสถานภาพเฉพาะ
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ปลาพลวงหิน ชื่อท้องถิ่น: ปลามุง ชื่อสามัญ: Soro brook carp ชื่อวิทยาศาสตร์: Neolissochilus stracheyi ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: เป็นปลาน้ำจืดขนาดกลาง มีความยาวลำตัว 50-80 เซนติเมตร ลำตัวทรงกระบอกแบนข้างเล็กน้อย หัวมน ปากเล็ก เกล็ดใหญ๋ ลำตัวมีสีน้ำตาลอมเขียวหรือเหลือบสีทอง ด้านข้างมีสีเหลือบเงิน มีแถบสีคล้ำพาดยาวไปถึงโคนหาง กินตัวอ่อนแมลง พันธ์ไม้น้ำ และผลไม้เป็นอาหาร ถิ่นที่อาศัย: อยู่รวมกันเป็นฝูงบริเวณน้ำตกและลำธารบนภูเขาที่มีน้ำไหลแรงในเขตภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ของประเทศไทย สถานะภาพ: สัตว์น้ำเฉพาะถิ่น
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ปลาซิวเจ็ดสี ชื่อท้องถิ่น: ปลาซิวใบไผ่ ปลาซิวไข่มุก ชื่อสามัญ: Pearl danio ชื่อวิทยาศาสตร์: Brachydanio albolineatus ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: เป็นปลาขนาดเล็ก ลำตัวมีสีรุ้งปรากฏชัดเจนในเพศผู้ มีความยาวสูงสุด 4.2 เซนติเมตร มีเส้นข้างลำตัวไม่สมบูรณ์ โดยจะสิ้นสุดก่อนฐานของครีบท้อง มีก้านครีบหลัง 7 อัน ก้านครีบก้น 12-13 อัน มีหนวดเจริญดี 2 คู่ มักอยู๋รวมกันเป็นฝูง ในแหล่งน้ำที่มีคุณภาพดีมาก อุณหภูมิน้ำ 22-27 องศาเซลเซียส กินตัวอ่อนแมลง และแพลงค์ตอนสัตว์เป็นอาหาร ถิ่นที่อาศัย: พบในเขตเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ปลานวลจันทร์น้ำจืด ชื่อท้องถิ่น: ปลาพอน ชื่อสามัญ: Cyprininae - Labeonini ชื่อวิทยาศาสตร์: Cirrhinus microlepis ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: มีรูปร่างลำตัวเรียวยาวทรงกระบอก หัวโต ปากและตาเล็ก เกล็ดเล็ก ปลาในเขตลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจะมีหัวและลำตัวสีเงินอมเหลืองทอง ส่วนปลาในลุ่มแม่น้ำโขงจะเป็นสีชมพู ครีบหลังยกสูง ครีบหางเว้าลึก ครีบก้นเล็ก อาหารได้แก่ อินทรียสาร สัตว์หน้าดินขนาดเล็ก แพลงก์ตอน และแมลงต่าง ๆ มีขนาดประมาณ 46 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 69 เซนติเมตร น้ำหนัก 5 กิโลกรัม ถิ่นที่อาศัย: พบมากตามแม่น้ำสายหลักเช่น แม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่อยุธยาขึ้นไปจนถึงนครสวรรค์จนถึงบึงบอระเพ็ด ส่วนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบมากในแม่น้ำโขง ปลาในเขตลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจะมีหัวและลำตัวสีเงิน อมเหลืองทอง ส่วนปลาในลุ่มแม่น้ำโขงจะเป็นสีชมพู ครีบหลังยกสูง ครีบหางเว้าลึก สถานะภาพ: ใกล้สูญพันธุ์
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ปลาทรงเครื่อง ชื่อสามัญ: Red Tailed Shark ชื่อวิทยาศาสตร์: Epalzeorhynchos bicolor ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ปลาทรงเครื่อง มีลำตัวยาวเรียวแบนข้างเล็กน้อย ลำตัวสีดำสนิท ครีบหลัง ครีบท้อง และครีบก้นสีดำ ครีบหางสีแดง ครีบอกสีส้มปนดำ ก้านครีบแขนงของครีบหลังมีจำนวน 12-14 ก้าน เกล็ดขนาดเล็กมีจำนวนเกล็ดรอบลำตัว 29-30 เกล็ด และจัดเป็นสัตว์น้ำเฉพาะถิ่นของไทยที่อยู่ในภาวะถูกคุกคามรุนแรง ถิ่นที่อาศัย: อาศัยในแม่น้ำ และลำธาร อพยพไปบนพื้นที่น้ำท่วมช่วงฤดูน้ำหลาก การกระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พบในเขตลุ่มน้ำตอนกลาง ตั้งแต่บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ลงมาจนถึงชัยนาทและในบึงบอระเพ็ด นอกจากนี้ พบในแม่น้ำแม่กลอง บางปะกง และเพชรบุรี สถานะภาพ: สัตว์น้ำเฉพาะถิ่น
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ปลาอีกอง ชื่อสามัญ: Spanner Barb ชื่อวิทยาศาสตร์: Systomus Lateristriga ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ปลาอีกองมีลำตัวค่อนข้างสั้น แบนข้าง ตาอยู่ค่อนไปทางด้านบนของส่วนหัว มีรูจมูก 2 คู่ อยู่ใกล้ตามากกว่าจงอยปาก ปากอยู่ด้านหน้าสุด มุมปากยาวเกือบถึงบริเวณขอบหน้าของตา ลำตัวมีสีเหลืองอมน้ำตาล ขอบเกล็ดมีสีเงินลักษณะเด่นที่เห็นคือบริเวณลำตัว มีแถบสีดำ 2 แถบ ในแนวตั้งอยู่บริเวณเหนือครีบอกและใต้ครีบหลัง และมีแถบสีดำในแนวนอนพาดตามยาวลำตัวตั้งแต่บริเวณใต้ครีบหลังไปจนถึงฐานครีบหางและมีจุดสีดำเป็นวงกลมขนาดเท่ากัน 2 จุด อยู่บริเวณเหนือฐานครีบก้น ครีบทุกครีบมีสีส้มปนแดง ยกเว้นครีบอกมีสีเหลือง ถิ่นที่อาศัย: พบได้ในบริเวณ ลำธาร น้ำตก ที่มีน้ำไหลเอื่อยๆ และเป็นปลาที่อาศัยในแหล่งน้ำที่ใสสะอาด สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ปลาหมูข้างลาย ชื่อสามัญ: Tiger loach ชื่อวิทยาศาสตร์: Syncrossus helodes ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ข้างลาย เป็นปลาเกล็ดที่มีลำตัวค่อนข้างยาว แบบ Elongate ด้านข้างและช่องท้องแบน ส่วนหลังโค้ง ส่วนหัวยาวและแหลม ตามีขนาดเล็ก และบริเวณใต้ตามีหนามแหลมปลายแยกออกเป็น 2 แฉก จะงอยปากแหลม ปากมีขนาดเล็กอยู่ต่ำกว่าตา มีหนวด 3 คู่ ขอบของริมฝีปากบนมีลักษณะเป็นริ้ว ริมฝีปากล่างหนาและกว้าง เกล็ดมีขนาดเล็กฝัง อยู่ในชั้นผิวหนัง ครีบหางเว้าลึก ด้านท้องซีดขาว ลำตัวด้านข้างแบน มีสีน้ำตาลอ่อน มีลักษณะเด่น คือ บริเวณด้านข้างลำตัวมีแถบสีเขียวพาดในแนวขวางลำตัว จำนวน 11 แถบ ส่วนครีบหางมีสีเหลืองมีแถบสีดำพาดขวางก้านครีบ จำนวน 4 แถว เป็นปลาที่ปราดเปรียว ว่องไวไม่อยู่นิ่ง ว่ายน้ำอยู่ตลอดเวลา (หทัยรัตน์ และคณะ, 2546) ถิ่นที่อาศัย: ) ถิ่นอาศัยของปลาหมูข้างลายชอบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำไหล แม่น้ำ ลำคลอง ชอบซุกซ่อนตามตอไม้ ซอกหิน และพื้นดินโคลน บริเวณที่มีน้ำไหลในแม่น้ำโขง และแม่น้ำเจ้าพระยา ทะเลสาบ (Rainboth,1996) สถานะภาพ: สัตว์น้ำทั่วไป
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: กบภูเขา ชื่อท้องถิ่น: เขียดแลว, กบทูต ชื่อสามัญ: Wild Mountain Frog ชื่อวิทยาศาสตร์: Rana blythii (Boulenger) ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: เป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ที่มีกระดูกสันหลัง ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายปาดมากกว่ากบ มีขนาดใหญ่โตเต็มที่ ถึง 3,000 กรัม หัวค่อนข้างแหลม ด้านหลังของหัวมีอวัยวะรับความรู้สึก รูจมูกอยู่ถัดจากปลายปากเล็กน้อ ถัดมาจะมีตา 1 คู่ ลักษณะที่โปนออกมา ถัดจากตามาทางท้ายของส่วนหัวเห็นแว่นกลมๆ จะเป็นหู ปากด้านหน้าชั้นล่างมีเขี้ยว 1 คู่ ผิวหนังสีน้ำตาลปนแดง ด้านท้องสีขาว ลำตัวมีระยางค์ 2 คู่ คู่หน้าประกอบด้วยต้นแขน แขน ข้อมือและมือซึ่งมี 4 นิ้ว คู่หลังเป็นขาประกอบด้วยต้นขา แข้ง ข้อเท้าและเท้า ซึ่งมี 5 นิ้ว ขาหลังแข็งแรงใช้ในการดีดตัวเวลากระโดด ตัวผู้ไม่มีกล่องเสียงจึงไม่มีการร้องเรียกกบตัวเมีย แต่จะใช้วิธีพองตัวให้เต็มที่แล้วปล่อยลมออกมาผ่านเส้นเสียงและท่อลม เพศผู้มีระยะห่างระหว่างตากับเยื่อแก้วหูยาวกว่าเพศเมีย และเพศผู้จะมีเขียวบริเวณขากรรไกรล่างยาวกว่าเพศเมีย
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ปลาดุกด้าน ชื่อท้องถิ่น: ดุกด้าน ดุกด้าง อีแกกือลีกายู(ภาคใต้) ดุกเอ็น(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ชื่อสามัญ: Batrachian Walking catfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Clarias batrachus (Linneaus, 1758) ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ลำตัวยาวทรงกระบอก เรียวและแบนข้างไปทางหาง ผิวหนังเรียบลื่นไม่มีเกล็ด ลำตัวมีสีเทาปนดำ ส่วนท้องขาวหรือเทาอ่อน ส่วนหัวแบนลงด้านล่าง มีหนวด 4 คู่ อยู่ที่ริมฝีปากบน 2 คู่ และริมฝีปากล่าง 2 คู่ กระดูกท้ายทอยมีส่วนยื่นออกไปแหลม ครีบหลัง และครีบก้นยาว ครีบหางมนครีบอกมีก้านครีบแข็ง (เงี่ยง) ซึ่งมีฝันเลื่อยทั้งด้านนอกและด้านใน ปลาดุกด้านมีความยาวสูงสุดถึง 40 เซนติเมตร เป็นปลาที่กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ ถิ่นที่อาศัย: อาศัยในแหล่งน้ำทั่วๆ ไป ทั้งแม่น้ำ ลำคลอง หนอง และบึง ทุกภาคของประเทศไทย สถานะภาพ: ใกล้สูญพันธุ์
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }
ชื่อ: ปลาหมูขาว ชื่อท้องถิ่น: หมูขาว หมูเหลือง หมูมัน ชื่อสามัญ: Yellow - tail botia, Orange – fin loach ชื่อวิทยาศาสตร์: Botia modesta (Bleeker, 1865) ลักษณะชีววิทยาทั่วไป: ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย และค่อนข้างป้อมกว่าปลาหมูชนิดอื่นๆ ความยาวลำตัวจากปลายจงอยปากจนถึงโคนครีบหางเป็น 2.5-2.9 เท่าของความกว้างลำตัว สีลำตัวเป็นสีเทาหรือเทาอมเขียวบริเวณด้านหลังสีเข้มกว่าด้านข้างลำตัว ท้องสีเหลืองอ่อนหรือขาว บริเวณโคนหางมีจุดสีดำสำหรับปลาวัยอ่อนที่ยังไม่โตเต็มที่ จะมีแถบสีดำเล็กๆ พาดขวางลำตัว 4-5 แถบ และเมื่อปลามีอายุมากขึ้นแถบเหล่านี้จะหายไป จงอยปากค่อนข้างยาว ปลายจงอยปากมีหนวด 2 คู่ และมุมปากมีหนวดอีก 1 คู่ ปากอยู่ปลายสุดและอยู่ในระดับต่ำ บริเวณหน้าตามีหนามแหลมปลายแยกเป็น 2 แฉก ขนาดใหญ่และแข็งแรง ครีบทุกครีบไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหลัง ครีบก้นและครีบหางมีสีเหลืองจนถึงสีส้มหรือสีแดงโดยเฉพาะครีบหางจะมีสีสดกว่าครีบอื่นๆ ครีบอกและครีบท้องสีเหลืองจางๆ ขนาดโดยเฉลี่ยทั่วไปที่พบมีความยาวลำตัวประมาณ 10-15 ซม. อาหารของปลาหมูขาวได้แก่ ตัวอ่อนแมลงน้ำ หนอน และซากสัตว์ ถิ่นที่อาศัย: อาศัยบริเวณที่มีน้ำไหลแรง อยู่ในระดับพื้นท้องน้ำหรือบริเวณใกล้ซอกหิน โพรงไม้ โดยพบเป็นฝูงใหญ่ พบมากในภาคกลางและภาคอีสาน สถานะภาพ: ใกล้สูญพันธุ์
{ "domain": "articles", "license": "CC BY", "source": "https://data.go.th/th/dataset/item_cb5d392d-2824-4ac4-a171-2c4796ce81c2", "title": "Thai fishbase" }