title
stringlengths
0
33.4k
context
stringlengths
0
133k
raw
stringlengths
39
133k
url
stringlengths
0
53
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กสร.ฝากนายจ้างที่มีศูนย์เลี้ยงเด็กฯ จัดมาตรการป้องกันโรคมือเท้าปาก
วันพุธที่ 16 พฤษภาคม 2561 กสร.ฝากนายจ้างที่มีศูนย์เลี้ยงเด็กฯ จัดมาตรการป้องกันโรคมือเท้าปาก กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ขอความร่วมมือนายจ้างที่มีการจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กฯ กว่า 80 แห่งทั่วประเทศจัดมาตรการป้องกันโรคมือเท้าปาก พร้อมกําชับศูนย์เด็กเล็กในสังกัดกสร. ดูแลสุขอนามัย ทําความสะอาดสิ่งแวดล้อมและเครื่องเล่น นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศเตือนให้ระวังเด็กป่วยเป็นโรคมือเท้าปาก จากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 กสร.ได้ขอความร่วมมือนายจ้าง เจ้าของสถานประกอบกิจการที่มีการจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กเพื่อผู้ใช้แรงงานในสถานประกอบกิจการ ซึ่งปัจจุบันมีจํานวน 88 แห่ง ให้จัดมาตรการในการป้องกันโรคดังกล่าว เช่น การตรวจคัดกรองเด็กทุกวัน การทําความสะอาดสิ่งแวดล้อมและของเล่นทุกวัน หรือเมื่อมีการเปื้อนน้ําลาย น้ํามูกหรือสิ่งสกปรก มีมาตรการเคร่งครัดในการล้างมือให้แก่เจ้าหน้าที่ทุกระดับที่ดูแลสัมผัสเด็กเล็ก เป็นต้น ทั้งนี้ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่ดูแลศูนย์เด็กเล็กในสังกัดกสร.ทั้ง 2 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์เด็กเล็กวิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย ในพระราชูปถัมภ์ จังหวัดนครปฐม และศูนย์เด็กเล็กฯ จังหวัดสมุทรปราการ จัดมาตรการในการดูแลป้องกันการติดต่อของโรคดังกล่าวด้วย นายทศพล กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ได้ขอให้สถานประกอบกิจการที่มีการจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กให้ความสําคัญกับการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานทั้งในการให้ความรู้กับผู้เกี่ยวข้อง และในการตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีความปลอดภัย เพื่อป้องกันการเกิดอันตราย และเป็นการร่วมกันขับเคลื่อน Safety Thailand ให้ครอบคลุมทุกภาคส่วน
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กสร.ฝากนายจ้างที่มีศูนย์เลี้ยงเด็กฯ จัดมาตรการป้องกันโรคมือเท้าปาก วันพุธที่ 16 พฤษภาคม 2561 กสร.ฝากนายจ้างที่มีศูนย์เลี้ยงเด็กฯ จัดมาตรการป้องกันโรคมือเท้าปาก กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ขอความร่วมมือนายจ้างที่มีการจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กฯ กว่า 80 แห่งทั่วประเทศจัดมาตรการป้องกันโรคมือเท้าปาก พร้อมกําชับศูนย์เด็กเล็กในสังกัดกสร. ดูแลสุขอนามัย ทําความสะอาดสิ่งแวดล้อมและเครื่องเล่น นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศเตือนให้ระวังเด็กป่วยเป็นโรคมือเท้าปาก จากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 กสร.ได้ขอความร่วมมือนายจ้าง เจ้าของสถานประกอบกิจการที่มีการจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กเพื่อผู้ใช้แรงงานในสถานประกอบกิจการ ซึ่งปัจจุบันมีจํานวน 88 แห่ง ให้จัดมาตรการในการป้องกันโรคดังกล่าว เช่น การตรวจคัดกรองเด็กทุกวัน การทําความสะอาดสิ่งแวดล้อมและของเล่นทุกวัน หรือเมื่อมีการเปื้อนน้ําลาย น้ํามูกหรือสิ่งสกปรก มีมาตรการเคร่งครัดในการล้างมือให้แก่เจ้าหน้าที่ทุกระดับที่ดูแลสัมผัสเด็กเล็ก เป็นต้น ทั้งนี้ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่ดูแลศูนย์เด็กเล็กในสังกัดกสร.ทั้ง 2 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์เด็กเล็กวิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย ในพระราชูปถัมภ์ จังหวัดนครปฐม และศูนย์เด็กเล็กฯ จังหวัดสมุทรปราการ จัดมาตรการในการดูแลป้องกันการติดต่อของโรคดังกล่าวด้วย นายทศพล กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ได้ขอให้สถานประกอบกิจการที่มีการจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กให้ความสําคัญกับการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานทั้งในการให้ความรู้กับผู้เกี่ยวข้อง และในการตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีความปลอดภัย เพื่อป้องกันการเกิดอันตราย และเป็นการร่วมกันขับเคลื่อน Safety Thailand ให้ครอบคลุมทุกภาคส่วน
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/12263
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไตรมาส 1 กรุงไทยมีกำไรจากการดำเนินงานจำนวน 18,403 ล้านบาท
วันพุธที่ 19 เมษายน 2560 ไตรมาส 1 กรุงไทยมีกําไรจากการดําเนินงานจํานวน 18,403 ล้านบาท ธ.กรุงไทย ประกาศผลประกอบการในไตรมาสที่ 1/2560 เปรียบเทียบกับไตรมาส 1/2559 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกําไรจากการดําเนินงาน 18,403 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 144 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.79 ธนาคารกรุงไทย ประกาศผลประกอบการในไตรมาสที่ 1/2560 เปรียบเทียบกับไตรมาส 1/2559 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกําไรจากการดําเนินงาน 18,403 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 144 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.79 ภายหลังหักสํารองหนี้สูญและภาษีเงินได้ มีกําไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคาร 8,532 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 992 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.16 ทั้งนี้รายได้หลักยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 479 ล้านบาท และธนาคารมีการบริหารต้นทุนอย่างเหมาะสม โดยเศรษฐกิจไทยในช่วงต้นปี ภาคการส่งออกสินค้าฟื้นตัว การบริโภคภาคเอกชนและการท่องเที่ยวขยายตัว การใช้จ่ายภาครัฐเป็นแรงขับเคลื่อนของเศรษฐกิจ ในไตรมาส 1/2560 ธนาคารและบริษัทย่อยมีเงินให้สินเชื่อ 1,913,287 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9,198 ล้านบาท จากลูกค้าภาครัฐและธุรกิจขนาดใหญ่ มีเงินฝาก 1,991,444 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19,040 ล้านบาทจากสิ้นปี 2559 ธนาคารและบริษัทย่อยได้กันสํารองหนี้สูญ และขาดทุนจากการด้อยค่าจํานวน 7,460 ล้านบาท ลดลง 1,163 ล้านบาท และมีอัตราส่วนเงินสํารองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ เท่ากับร้อยละ 112.11 ลดลงจากร้อยละ 121.57 ณ 31 ธันวาคม 2559 ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) ณ 31 มีนาคม 2560 จํานวน 100,382 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9,254 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.15 จากลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และลูกค้าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในบางอุตสาหกรรม อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ NPL Ratio (Net) เท่ากับร้อยละ 1.94 และ NPL Ratio (Gross) เท่ากับร้อยละ 4.36 ทั้งนี้ธนาคารได้ดูแลคุณภาพสินทรัพย์อย่างใกล้ชิด มีความระมัดระวังในการพิจารณาสินเชื่อ รวมทั้งให้ความสําคัญในการติดตามหนี้อย่างรวดเร็ว และปรับโครงสร้างหนี้ตามความเหมาะสม ธนาคารมีเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของและเงินกองทุนชั้นที่ 1 เท่ากับ 243,521 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.01 ของสินทรัพย์ถ่วงน้ําหนักตามความเสี่ยง เงินกองทุนทั้งสิ้นเท่ากับ 311,466 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.64 ของสินทรัพย์ถ่วงน้ําหนักตามความเสี่ยง สําหรับอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารที่ได้รับ Standard & Poor’s ระยะยาว/ระยะสั้น BBB / A-2 Moody’s Investors Service ระยะยาว/ระยะสั้น Baa1 / P-2 ฝ่ายสื่อสารองค์กรและภาพลักษณ์ โทร. 0-2208-4174-7 ที่มา : กระทรวงการคลัง ผู้นําเสนอ : กลุ่มสารนิเทศการคลัง สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไตรมาส 1 กรุงไทยมีกำไรจากการดำเนินงานจำนวน 18,403 ล้านบาท วันพุธที่ 19 เมษายน 2560 ไตรมาส 1 กรุงไทยมีกําไรจากการดําเนินงานจํานวน 18,403 ล้านบาท ธ.กรุงไทย ประกาศผลประกอบการในไตรมาสที่ 1/2560 เปรียบเทียบกับไตรมาส 1/2559 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกําไรจากการดําเนินงาน 18,403 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 144 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.79 ธนาคารกรุงไทย ประกาศผลประกอบการในไตรมาสที่ 1/2560 เปรียบเทียบกับไตรมาส 1/2559 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกําไรจากการดําเนินงาน 18,403 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 144 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.79 ภายหลังหักสํารองหนี้สูญและภาษีเงินได้ มีกําไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคาร 8,532 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 992 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.16 ทั้งนี้รายได้หลักยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 479 ล้านบาท และธนาคารมีการบริหารต้นทุนอย่างเหมาะสม โดยเศรษฐกิจไทยในช่วงต้นปี ภาคการส่งออกสินค้าฟื้นตัว การบริโภคภาคเอกชนและการท่องเที่ยวขยายตัว การใช้จ่ายภาครัฐเป็นแรงขับเคลื่อนของเศรษฐกิจ ในไตรมาส 1/2560 ธนาคารและบริษัทย่อยมีเงินให้สินเชื่อ 1,913,287 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9,198 ล้านบาท จากลูกค้าภาครัฐและธุรกิจขนาดใหญ่ มีเงินฝาก 1,991,444 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19,040 ล้านบาทจากสิ้นปี 2559 ธนาคารและบริษัทย่อยได้กันสํารองหนี้สูญ และขาดทุนจากการด้อยค่าจํานวน 7,460 ล้านบาท ลดลง 1,163 ล้านบาท และมีอัตราส่วนเงินสํารองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ เท่ากับร้อยละ 112.11 ลดลงจากร้อยละ 121.57 ณ 31 ธันวาคม 2559 ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) ณ 31 มีนาคม 2560 จํานวน 100,382 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9,254 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.15 จากลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และลูกค้าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในบางอุตสาหกรรม อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ NPL Ratio (Net) เท่ากับร้อยละ 1.94 และ NPL Ratio (Gross) เท่ากับร้อยละ 4.36 ทั้งนี้ธนาคารได้ดูแลคุณภาพสินทรัพย์อย่างใกล้ชิด มีความระมัดระวังในการพิจารณาสินเชื่อ รวมทั้งให้ความสําคัญในการติดตามหนี้อย่างรวดเร็ว และปรับโครงสร้างหนี้ตามความเหมาะสม ธนาคารมีเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของและเงินกองทุนชั้นที่ 1 เท่ากับ 243,521 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.01 ของสินทรัพย์ถ่วงน้ําหนักตามความเสี่ยง เงินกองทุนทั้งสิ้นเท่ากับ 311,466 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.64 ของสินทรัพย์ถ่วงน้ําหนักตามความเสี่ยง สําหรับอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารที่ได้รับ Standard & Poor’s ระยะยาว/ระยะสั้น BBB / A-2 Moody’s Investors Service ระยะยาว/ระยะสั้น Baa1 / P-2 ฝ่ายสื่อสารองค์กรและภาพลักษณ์ โทร. 0-2208-4174-7 ที่มา : กระทรวงการคลัง ผู้นําเสนอ : กลุ่มสารนิเทศการคลัง สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/3129
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-วธ. ออกมาตรการ - แนวทางปฏิบัติในการคัดกรอง เฝ้าระวังดูแล เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธีทั่วประเทศ-แนะปฏิบัติตามข้อแนะนำเคร่งครัด
วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม 2563 วธ. ออกมาตรการ - แนวทางปฏิบัติในการคัดกรอง เฝ้าระวังดูแล เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธีทั่วประเทศ-แนะปฏิบัติตามข้อแนะนําเคร่งครัด วธ. ออกมาตรการ - แนวทางปฏิบัติในการคัดกรอง เฝ้าระวังดูแล เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธีทั่วประเทศ-แนะปฏิบัติตามข้อแนะนําเคร่งครัด นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยมีจํานวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาเพิ่มขึ้นรัฐบาลได้มีข้อสั่งการและออกมาตรการต่างๆ โดยให้มีการบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนในการคัดกรอง เฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคอย่างเข้มข้น และขอให้ประชาชนให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามคําแนะนําต่างๆ เพื่อความปลอดภัยทั้งตนเอง และผู้อื่นนั้น ในส่วนกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) มีหน่วยงานในสังกัดที่ยังคงปฏิบัติหน้าที่เพื่ออํานวยความความสะดวกแก่ประชาชน เนื่องจากกองพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน สํานักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้รับมอบภารกิจพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป เกี่ยวกับพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานแก่ผู้วายชนม์ที่ประกอบคุณงามความดีต่อประเทศชาติที่มีสิทธิตามหลักเกณฑ์ของ สํานักพระราชวัง ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า การปฏิบัติงานเกี่ยวกับพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธี สังกัดกลุ่มอํานวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานกรุงเทพมหานคร และกลุ่มอํานวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานที่ ๑-๑๕ รวมทั้งกลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน สํานักงานวัฒนธรรมจังหวัด๗๖ จังหวัด ประกอบด้วย ข้าราชการ พนักงานราชการ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธี มากกว่า ๒,๑๑๐ คน ทั่วประเทศนั้น ยังคงทําหน้าที่ในการอํานวยความสะดวกและปฏิบัติงานตามหมายรับสั่งของสํานักพระราชวัง ดังนั้น เพื่อเป็นการดูแล คัดกรอง เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค วธ. โดยกองพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน ได้จัดทําแนวทางการปฏิบัติในการเฝ้าระวัง และป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธีเพิ่มเติมจากมาตรการและแนวทางปฏิบัติฯ ของกระทรวงวัฒนธรรม โดยได้ออกหนังสือแจ้งให้หน่วยงานทั้งส่วนกลาง และวัฒนธรรมจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อแจ้งให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธีรับทราบถึงแนวทางและมาตรการต่าง ๆ ดังกล่าว สําหรับมาตรการและแนวทางปฏิบัติฯ ในการดูแลเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธีให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เช่น ๑. จัดให้มีจุดคัดกรอง วัดไข้ มีจุดล้างมือ มีแอลกอฮอล์ให้บริการ และให้สังเกตอาการเบื้องต้นของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธีทุกวันก่อนเคารพธงชาติ หากพบเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธีมีอาการเจ็บป่วยหรือเสี่ยงในการติดเชื้อโดยส่วนกลางให้รายงานให้ผู้บริหารรับทราบ และส่วนภูมิภาคให้รายงานให้วัฒนธรรมจังหวัดทราบทันที ๒. กําชับให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธีปฏิบัติตามคําแนะนําของกระทรวงสาธารณสุข และมาตรการต่าง ๆ ที่รัฐบาลประกาศและแนะนําให้ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ๓. เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธีที่ได้รับมอบหมายให้ไปปฏิบัติงานพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน ตามหมายรับสั่งให้แต่งกายตามชุดที่ปฏิบัติ และสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าไปปฏิบัติหน้าที่ได้ตามความเหมาะสม ๔. ระหว่างการประกอบพิธีสุกําศพ ให้ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง เมื่อปฏิบัติหน้าที่เสร็จเรียบร้อยแล้วให้รีบล้างมือให้สะอาดด้วยน้ําและสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล และเมื่อกลับถึงที่พักให้รีบอาบน้ําชําระร่างกายและซักทําความสะอาดชุดที่สวมใส่ไปปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวทันที เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ได้กําชับให้ผู้บริหาร วธ. และวัฒนธรรมจังหวัด ดูแลและติดตามการปฏิบัติหน้าที่ ของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธีอย่างใกล้ชิด โดยให้รายงานผู้บังคับบัญชา และผู้บริหารระดับสูง รับทราบอย่างต่อเนื่อง
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-วธ. ออกมาตรการ - แนวทางปฏิบัติในการคัดกรอง เฝ้าระวังดูแล เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธีทั่วประเทศ-แนะปฏิบัติตามข้อแนะนำเคร่งครัด วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม 2563 วธ. ออกมาตรการ - แนวทางปฏิบัติในการคัดกรอง เฝ้าระวังดูแล เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธีทั่วประเทศ-แนะปฏิบัติตามข้อแนะนําเคร่งครัด วธ. ออกมาตรการ - แนวทางปฏิบัติในการคัดกรอง เฝ้าระวังดูแล เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธีทั่วประเทศ-แนะปฏิบัติตามข้อแนะนําเคร่งครัด นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยมีจํานวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาเพิ่มขึ้นรัฐบาลได้มีข้อสั่งการและออกมาตรการต่างๆ โดยให้มีการบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนในการคัดกรอง เฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคอย่างเข้มข้น และขอให้ประชาชนให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามคําแนะนําต่างๆ เพื่อความปลอดภัยทั้งตนเอง และผู้อื่นนั้น ในส่วนกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) มีหน่วยงานในสังกัดที่ยังคงปฏิบัติหน้าที่เพื่ออํานวยความความสะดวกแก่ประชาชน เนื่องจากกองพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน สํานักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้รับมอบภารกิจพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป เกี่ยวกับพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานแก่ผู้วายชนม์ที่ประกอบคุณงามความดีต่อประเทศชาติที่มีสิทธิตามหลักเกณฑ์ของ สํานักพระราชวัง ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า การปฏิบัติงานเกี่ยวกับพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธี สังกัดกลุ่มอํานวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานกรุงเทพมหานคร และกลุ่มอํานวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานที่ ๑-๑๕ รวมทั้งกลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน สํานักงานวัฒนธรรมจังหวัด๗๖ จังหวัด ประกอบด้วย ข้าราชการ พนักงานราชการ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธี มากกว่า ๒,๑๑๐ คน ทั่วประเทศนั้น ยังคงทําหน้าที่ในการอํานวยความสะดวกและปฏิบัติงานตามหมายรับสั่งของสํานักพระราชวัง ดังนั้น เพื่อเป็นการดูแล คัดกรอง เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค วธ. โดยกองพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน ได้จัดทําแนวทางการปฏิบัติในการเฝ้าระวัง และป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธีเพิ่มเติมจากมาตรการและแนวทางปฏิบัติฯ ของกระทรวงวัฒนธรรม โดยได้ออกหนังสือแจ้งให้หน่วยงานทั้งส่วนกลาง และวัฒนธรรมจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อแจ้งให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธีรับทราบถึงแนวทางและมาตรการต่าง ๆ ดังกล่าว สําหรับมาตรการและแนวทางปฏิบัติฯ ในการดูแลเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธีให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เช่น ๑. จัดให้มีจุดคัดกรอง วัดไข้ มีจุดล้างมือ มีแอลกอฮอล์ให้บริการ และให้สังเกตอาการเบื้องต้นของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธีทุกวันก่อนเคารพธงชาติ หากพบเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธีมีอาการเจ็บป่วยหรือเสี่ยงในการติดเชื้อโดยส่วนกลางให้รายงานให้ผู้บริหารรับทราบ และส่วนภูมิภาคให้รายงานให้วัฒนธรรมจังหวัดทราบทันที ๒. กําชับให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธีปฏิบัติตามคําแนะนําของกระทรวงสาธารณสุข และมาตรการต่าง ๆ ที่รัฐบาลประกาศและแนะนําให้ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ๓. เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธีที่ได้รับมอบหมายให้ไปปฏิบัติงานพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน ตามหมายรับสั่งให้แต่งกายตามชุดที่ปฏิบัติ และสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าไปปฏิบัติหน้าที่ได้ตามความเหมาะสม ๔. ระหว่างการประกอบพิธีสุกําศพ ให้ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง เมื่อปฏิบัติหน้าที่เสร็จเรียบร้อยแล้วให้รีบล้างมือให้สะอาดด้วยน้ําและสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล และเมื่อกลับถึงที่พักให้รีบอาบน้ําชําระร่างกายและซักทําความสะอาดชุดที่สวมใส่ไปปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวทันที เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ได้กําชับให้ผู้บริหาร วธ. และวัฒนธรรมจังหวัด ดูแลและติดตามการปฏิบัติหน้าที่ ของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพิธีอย่างใกล้ชิด โดยให้รายงานผู้บังคับบัญชา และผู้บริหารระดับสูง รับทราบอย่างต่อเนื่อง
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/28057
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธพว. ย้ายที่ทำการสาขาตาก จากอำเภอเมือง ไปยัง “อำเภอแม่สอด” หนุน ผปก. SMEs รุกค้าขายในเขตเศรษฐกิจพิเศษ
วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560 ธพว. ย้ายที่ทําการสาขาตาก จากอําเภอเมือง ไปยัง “อําเภอแม่สอด” หนุน ผปก. SMEs รุกค้าขายในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank) มีพิธีเปิดที่ทําการสาขาตากแห่งใหม่ ณ อาคารเลขที่ 17/26 ถนนเอเชีย ตําบลแม่สอด อําเภอแม่สอด จังหวัดตาก วันนี้ (15 กุมภาพันธ์ 2560) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank) มีพิธีเปิดที่ทําการสาขาตากแห่งใหม่ ณ อาคารเลขที่ 17/26 ถนนเอเชีย ตําบลแม่สอด อําเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยมีนายสุทธา สายวาณิชย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก เป็นประธานเปิดงาน นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ SME Development Bank ให้การต้อนรับ พร้อมร่วมเปิดที่ทําการอย่างเป็นทางการ พร้อมกับมอบป้ายสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการที่ผ่านการอนุมัติสินเชื่อแฟคเตอริ่ง และ SMEs บัญชีเดียว นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ SME Development Bank เปิดเผยว่า การย้ายที่ทําการสาขาตาก จากอําเภอเมือง มาตั้งที่ทําการใหม่ ณ อําเภอแม่สอด มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการเพิ่มบริการด้านการเงิน การลงทุน และศักยภาพการค้าให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ที่จะเข้าไปค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้าน ตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้อําเภอแม่สอดเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ รองรับการเติบโตเศรษฐกิจในกลุ่ม AEC ซึ่งมีศักยภาพเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ย 20% ต่อปี ถือว่าสูงมาก และอําเภอแม่สอดเป็นจุดเชื่อมต่อเมืองเมียววดีที่มีนิคมอุตสาหกรรม มีสินค้าอุปโภค-บริโภคกว่า 80% มาจากฝั่งไทยเป็นที่นิยมของชาวเมียนมาร์ “สาขาตากแห่งใหม่จะมีส่วนช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs ในอําเภอแม่สอด และจังหวัดใกล้เคียง สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพส่งออกได้จํานวนมาก และมีการขยายการลงทุนมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งธนาคารมีผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการได้อย่างหลากหลายในอัตราดอกเบี้ยต่ํา อาทิ สินเชื่อแฟคเตอริ่ง ดอกเบี้ย 3.99% ต่อปี เบิกจ่ายรวดเร็วทันใจภายใน 1 วันทําการ ช่วยเสริมสภาพคล่องแก่ธุรกิจ สินเชื่อ SMEs บัญชีเดียว และสินเชื่อ SMART SMEs บัญชีเดียว วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 5% ต่อปี ผลักดันให้ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดาปรับเปลี่ยนเป็นนิติบุคคล หรือรูปแบบบริษัท เพื่อการเติบโตในระยะยาว” นอกเหนือบริการด้านสินเชื่อแล้ว ธนาคารได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบสาขาให้ทันสมัยมากขึ้น ตามนโยบาย 4.0 เน้นการนําเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) มาใช้ในการให้บริการ ทั้งด้านบริการสินเชื่อ การบริการข้อมูลข่าวสาร การพัฒนาผู้ประกอบการ ทั้งด้านองค์ความรู้และส่งเสริมการตลาดเพื่อผลักดันให้ผู้ประกอบการเตรียมตัวก้าวสู่การค้ากับประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างต่อเนื่อง นําโดย นายพีรวัส กิ่งแก้ว ผู้จัดการสาขา มือถือ 085-980-8082 และทีมงานพร้อมให้คําปรึกษาด้านสินเชื่อและบริการอื่นๆ ของธนาคาร ได้ที่ สาขาตาก เลขที่ 17/26 ถนนเอเชีย ตําบลแม่สอด อําเภอแม่สอด จังหวัดตาก โทรศัพท์ 055-506-971-2 ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ : นางอุบลรัตน์ ค่าแพง ผู้อํานวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและกิจกรรมเพื่อสังคม มือถือ 085-980-7861 โทร. 0-265-4574-5 ที่มา : กระทรวงการคลัง ผู้นําเสนอ : กลุ่มสารนิเทศการคลัง สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธพว. ย้ายที่ทำการสาขาตาก จากอำเภอเมือง ไปยัง “อำเภอแม่สอด” หนุน ผปก. SMEs รุกค้าขายในเขตเศรษฐกิจพิเศษ วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560 ธพว. ย้ายที่ทําการสาขาตาก จากอําเภอเมือง ไปยัง “อําเภอแม่สอด” หนุน ผปก. SMEs รุกค้าขายในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank) มีพิธีเปิดที่ทําการสาขาตากแห่งใหม่ ณ อาคารเลขที่ 17/26 ถนนเอเชีย ตําบลแม่สอด อําเภอแม่สอด จังหวัดตาก วันนี้ (15 กุมภาพันธ์ 2560) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank) มีพิธีเปิดที่ทําการสาขาตากแห่งใหม่ ณ อาคารเลขที่ 17/26 ถนนเอเชีย ตําบลแม่สอด อําเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยมีนายสุทธา สายวาณิชย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก เป็นประธานเปิดงาน นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ SME Development Bank ให้การต้อนรับ พร้อมร่วมเปิดที่ทําการอย่างเป็นทางการ พร้อมกับมอบป้ายสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการที่ผ่านการอนุมัติสินเชื่อแฟคเตอริ่ง และ SMEs บัญชีเดียว นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ SME Development Bank เปิดเผยว่า การย้ายที่ทําการสาขาตาก จากอําเภอเมือง มาตั้งที่ทําการใหม่ ณ อําเภอแม่สอด มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการเพิ่มบริการด้านการเงิน การลงทุน และศักยภาพการค้าให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ที่จะเข้าไปค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้าน ตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้อําเภอแม่สอดเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ รองรับการเติบโตเศรษฐกิจในกลุ่ม AEC ซึ่งมีศักยภาพเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ย 20% ต่อปี ถือว่าสูงมาก และอําเภอแม่สอดเป็นจุดเชื่อมต่อเมืองเมียววดีที่มีนิคมอุตสาหกรรม มีสินค้าอุปโภค-บริโภคกว่า 80% มาจากฝั่งไทยเป็นที่นิยมของชาวเมียนมาร์ “สาขาตากแห่งใหม่จะมีส่วนช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs ในอําเภอแม่สอด และจังหวัดใกล้เคียง สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพส่งออกได้จํานวนมาก และมีการขยายการลงทุนมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งธนาคารมีผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการได้อย่างหลากหลายในอัตราดอกเบี้ยต่ํา อาทิ สินเชื่อแฟคเตอริ่ง ดอกเบี้ย 3.99% ต่อปี เบิกจ่ายรวดเร็วทันใจภายใน 1 วันทําการ ช่วยเสริมสภาพคล่องแก่ธุรกิจ สินเชื่อ SMEs บัญชีเดียว และสินเชื่อ SMART SMEs บัญชีเดียว วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 5% ต่อปี ผลักดันให้ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดาปรับเปลี่ยนเป็นนิติบุคคล หรือรูปแบบบริษัท เพื่อการเติบโตในระยะยาว” นอกเหนือบริการด้านสินเชื่อแล้ว ธนาคารได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบสาขาให้ทันสมัยมากขึ้น ตามนโยบาย 4.0 เน้นการนําเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) มาใช้ในการให้บริการ ทั้งด้านบริการสินเชื่อ การบริการข้อมูลข่าวสาร การพัฒนาผู้ประกอบการ ทั้งด้านองค์ความรู้และส่งเสริมการตลาดเพื่อผลักดันให้ผู้ประกอบการเตรียมตัวก้าวสู่การค้ากับประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างต่อเนื่อง นําโดย นายพีรวัส กิ่งแก้ว ผู้จัดการสาขา มือถือ 085-980-8082 และทีมงานพร้อมให้คําปรึกษาด้านสินเชื่อและบริการอื่นๆ ของธนาคาร ได้ที่ สาขาตาก เลขที่ 17/26 ถนนเอเชีย ตําบลแม่สอด อําเภอแม่สอด จังหวัดตาก โทรศัพท์ 055-506-971-2 ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ : นางอุบลรัตน์ ค่าแพง ผู้อํานวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและกิจกรรมเพื่อสังคม มือถือ 085-980-7861 โทร. 0-265-4574-5 ที่มา : กระทรวงการคลัง ผู้นําเสนอ : กลุ่มสารนิเทศการคลัง สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/1870
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. เร่งช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและประสบปัญหาทางสังคม ที่ จ.สุราษฏร์ธานี สุรินทร์ และลพบุรี
วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม 2561 พม. เร่งช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและประสบปัญหาทางสังคม ที่ จ.สุราษฏร์ธานี สุรินทร์ และลพบุรี พม. เร่งช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและประสบปัญหาทางสังคม ที่ จ.สุราษฏร์ธานี สุรินทร์ และลพบุรี วันนี้ (31 พ.ค. 61) เวลา 08.30 น.นางไพรวรรณ พลวัน รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ศปก.พม.) ครั้งที่ 79/2561 เพื่อรับทราบปัญหาทางสังคม ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และร่วมหาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหา โดยมีผู้บริหารและผู้แทนจากหน่วยงานในกระทรวง ร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 8 กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ จากกรณีหญิงรายหนึ่งต้องรับภาระเพียงลําพังเลี้ยงดูอีก 2 ชีวิต ทั้งลูกสาวที่นอนป่วยติดเตียง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ แขนขาหงิกงอ มีอาการชักเกร็ง ต้องเจาะคอเพื่อช่วยในการหายใจ และให้อาหารทางสายยาง และหลานชายวัย 2 ขวบ ครอบครัวมีฐานะยากจน ที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี และกรณีหญิงชราวัย 66 ปี อาศัยอยู่เพียงลําพังในบ้านสภาพเก่าทรุดโทรมใกล้ผุพัง ไม่มีไฟฟ้า น้ําประปา และห้องน้ําใช้ ด้านสามีทอดทิ้งไป มีลูก 4 คน แต่ทอดทิ้งไปไม่เคยกลับมาเหลียวแล ที่จังหวัดสุรินทร์ รวมทั้ง กรณีชายรายหนึ่งต้องลาออกจากงาน เพื่อมาอยู่ดูแลแม่แก่ชราวัยประมาณ 70 ปี ที่ป่วย เป็นโรคเบาหวาน และตาบอด 1 ข้าง และหลานชายวัย 5 ขวบ ที่พิการทางร่างกายตั้งแต่กําเนิด นอนป่วยติดเตียงช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ แขน-ขาลีบ ครอบครัวมีฐานะยากจน ที่จังหวัดลพบุรี นั้น ได้กําชับให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พมจ.) ทั้ง 3 จังหวัด ได้แก่ พมจ.สุราษฏร์ธานี พมจ.สุรินทร์ และ พมจ.ลพบุรี พร้อมทีม One Home ทั้ง 3 จังหวัด เร่งลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและประเมินทางสังคมของทั้ง 3 ครอบครัวดังกล่าว เพื่อให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นตามภารกิจด้านเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ ของกระทรวง พม. พร้อมมอบสิ่งของเครื่องใช้ที่จําเป็น อีกทั้ง ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือดูแลในเรื่องการรักษาพยาบาลอาการป่วยผู้ที่ป่วยทั้งหมดอย่างใกล้ชิด และ ดูแลเรื่องการปรับปรุงสภาพที่อยู่อาศัย ให้มั่นคง แข็งแรง และถูกสุขลักษณะ รวมทั้ง การให้คําปรึกษาแนะนําในเรื่องสวัสดิการสังคม เพื่อขอรับสิทธิตามกฎหมายตามความเหมาะสม พร้อมให้คําแนะนําเรื่องการส่งเสริมการประกอบอาชีพ เพื่อสร้างรายได้ ที่เพียงพอและมั่นคงในระยะยาวต่อไป สําหรับการติดตามความช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและประสบปัญหาทางสังคมตามภารกิจกระทรวง พม. มีดังนี้ 1) กรณีหญิงวัย 29 ปี ป่วยเป็นเบาหวาน ต้องรับภาระเพียงลําพังเลี้ยงลูก 3 คน ซึ่งคนโตพิการ และคนเล็กเสี่ยงตาบอด ที่จังหวัดสุรินทร์ นั้น ทางทีม One Home ได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและให้กําลังใจ พร้อมมอบเครื่องอุปโภคบริโภค มอบเงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจน และเงินสงเคราะห์และฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ รวมทั้ง ปรับปรุงสภาพที่อยู่อาศัยสําหรับคนพิการ 2 ) กรณีชายวัย 28 ปี ก่อเหตูทําร้ายร่างกายลูกชายวัย 5 เดือน ได้รับบาดเจ็บสาหัส ที่จังหวัดปราจีนบุรี นั้น ทางทีม One Home ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อให้คําปรึกษาและให้กําลังใจ พร้อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ดูแลสภาพจิตใจมารดาของเด็กเนื่องจากอยู่ในสภาวะซึมเศร้า ทั้งนี้ ร่วมกันวางแผนให้ความช่วยเหลือการประกอบอาชีพ และการดําเนินชีวิตต่อไป ทั้งนี้ ขอความร่วมมือผู้ปกครอง บุคคลใกล้ชิดในครอบครัว และประชาชนทุกคน หากพบเบาะแสการกระทํา ความรุนแรงต่อเด็กในลักษณะดังกล่าว สามารถแจ้งศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 โทรฟรี 24 ชั่วโมง ซึ่งกระทรวง พม. พร้อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดําเนินการช่วยเหลือต่อไป
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. เร่งช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและประสบปัญหาทางสังคม ที่ จ.สุราษฏร์ธานี สุรินทร์ และลพบุรี วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม 2561 พม. เร่งช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและประสบปัญหาทางสังคม ที่ จ.สุราษฏร์ธานี สุรินทร์ และลพบุรี พม. เร่งช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและประสบปัญหาทางสังคม ที่ จ.สุราษฏร์ธานี สุรินทร์ และลพบุรี วันนี้ (31 พ.ค. 61) เวลา 08.30 น.นางไพรวรรณ พลวัน รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ศปก.พม.) ครั้งที่ 79/2561 เพื่อรับทราบปัญหาทางสังคม ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และร่วมหาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหา โดยมีผู้บริหารและผู้แทนจากหน่วยงานในกระทรวง ร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 8 กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ จากกรณีหญิงรายหนึ่งต้องรับภาระเพียงลําพังเลี้ยงดูอีก 2 ชีวิต ทั้งลูกสาวที่นอนป่วยติดเตียง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ แขนขาหงิกงอ มีอาการชักเกร็ง ต้องเจาะคอเพื่อช่วยในการหายใจ และให้อาหารทางสายยาง และหลานชายวัย 2 ขวบ ครอบครัวมีฐานะยากจน ที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี และกรณีหญิงชราวัย 66 ปี อาศัยอยู่เพียงลําพังในบ้านสภาพเก่าทรุดโทรมใกล้ผุพัง ไม่มีไฟฟ้า น้ําประปา และห้องน้ําใช้ ด้านสามีทอดทิ้งไป มีลูก 4 คน แต่ทอดทิ้งไปไม่เคยกลับมาเหลียวแล ที่จังหวัดสุรินทร์ รวมทั้ง กรณีชายรายหนึ่งต้องลาออกจากงาน เพื่อมาอยู่ดูแลแม่แก่ชราวัยประมาณ 70 ปี ที่ป่วย เป็นโรคเบาหวาน และตาบอด 1 ข้าง และหลานชายวัย 5 ขวบ ที่พิการทางร่างกายตั้งแต่กําเนิด นอนป่วยติดเตียงช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ แขน-ขาลีบ ครอบครัวมีฐานะยากจน ที่จังหวัดลพบุรี นั้น ได้กําชับให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พมจ.) ทั้ง 3 จังหวัด ได้แก่ พมจ.สุราษฏร์ธานี พมจ.สุรินทร์ และ พมจ.ลพบุรี พร้อมทีม One Home ทั้ง 3 จังหวัด เร่งลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและประเมินทางสังคมของทั้ง 3 ครอบครัวดังกล่าว เพื่อให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นตามภารกิจด้านเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ ของกระทรวง พม. พร้อมมอบสิ่งของเครื่องใช้ที่จําเป็น อีกทั้ง ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือดูแลในเรื่องการรักษาพยาบาลอาการป่วยผู้ที่ป่วยทั้งหมดอย่างใกล้ชิด และ ดูแลเรื่องการปรับปรุงสภาพที่อยู่อาศัย ให้มั่นคง แข็งแรง และถูกสุขลักษณะ รวมทั้ง การให้คําปรึกษาแนะนําในเรื่องสวัสดิการสังคม เพื่อขอรับสิทธิตามกฎหมายตามความเหมาะสม พร้อมให้คําแนะนําเรื่องการส่งเสริมการประกอบอาชีพ เพื่อสร้างรายได้ ที่เพียงพอและมั่นคงในระยะยาวต่อไป สําหรับการติดตามความช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและประสบปัญหาทางสังคมตามภารกิจกระทรวง พม. มีดังนี้ 1) กรณีหญิงวัย 29 ปี ป่วยเป็นเบาหวาน ต้องรับภาระเพียงลําพังเลี้ยงลูก 3 คน ซึ่งคนโตพิการ และคนเล็กเสี่ยงตาบอด ที่จังหวัดสุรินทร์ นั้น ทางทีม One Home ได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและให้กําลังใจ พร้อมมอบเครื่องอุปโภคบริโภค มอบเงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจน และเงินสงเคราะห์และฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ รวมทั้ง ปรับปรุงสภาพที่อยู่อาศัยสําหรับคนพิการ 2 ) กรณีชายวัย 28 ปี ก่อเหตูทําร้ายร่างกายลูกชายวัย 5 เดือน ได้รับบาดเจ็บสาหัส ที่จังหวัดปราจีนบุรี นั้น ทางทีม One Home ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อให้คําปรึกษาและให้กําลังใจ พร้อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ดูแลสภาพจิตใจมารดาของเด็กเนื่องจากอยู่ในสภาวะซึมเศร้า ทั้งนี้ ร่วมกันวางแผนให้ความช่วยเหลือการประกอบอาชีพ และการดําเนินชีวิตต่อไป ทั้งนี้ ขอความร่วมมือผู้ปกครอง บุคคลใกล้ชิดในครอบครัว และประชาชนทุกคน หากพบเบาะแสการกระทํา ความรุนแรงต่อเด็กในลักษณะดังกล่าว สามารถแจ้งศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 โทรฟรี 24 ชั่วโมง ซึ่งกระทรวง พม. พร้อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดําเนินการช่วยเหลือต่อไป
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/12665
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีวิทย์ฯ เยี่ยมชมโรงงานต้นแบบเทคโนโลยีการลดความชื้นและกำจัดแมลงในข้าวด้วยคลื่นความถี่วิทยุ
วันอังคารที่ 27 มิถุนายน 2560 รัฐมนตรีวิทย์ฯ เยี่ยมชมโรงงานต้นแบบเทคโนโลยีการลดความชื้นและกําจัดแมลงในข้าวด้วยคลื่นความถี่วิทยุ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2560 / ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะผู้บริหาร เยี่ยมชมโรงงานต้นแบบเทคโนโลยีการลดความชื้นและกําจัดแมลงในข้าวด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลย เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2560 / ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะผู้บริหาร เยี่ยมชมโรงงานต้นแบบเทคโนโลยีการลดความชื้นและกําจัดแมลงในข้าวด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (แม่เหียะ) โดยโรงงานต้นแบบนี้มีหลักการทํางานจากการประยุกต์ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงคลื่นความถี่วิทยุ ซึ่งมีความสามารถในการแทรกผ่านเข้าไปในชั้นโมเลกุลภายในเมล็ดข้าว จนเกิดการสั่นสะเทือนเป็นจํานวนล้านครั้งในเวลาหนึ่งวินาที ทําให้เกิดความร้อนสูง ตัวมอดในข้าวและไข่มอดที่ฝังอยู่ในเมล็ดข้าวจึงตายทําให้ข้าวสารที่ผ่านกระบวนการนี้จะปราศจากมอดโดยสิ้นเชิง ซึ่งวิธีนี้ปลอดภัยกว่าวิธีรมควันที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเพราะจะไร้สารเคมีตกค้าง นอกจากนี้ ความร้อนที่เกิดขึ้นยังลดความชื้นในข้าวได้อีก 1% ในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งถือเป็นการเพิ่มมูลค่าข้าวอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสํานักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (สอว.) ได้ให้ทุนสนับสนุนรวมเป็นเงิน 35.83 ล้านบาท (24.5 ล้านบาท, 3 ล้านบาท และ 8.33 ล้านบาท ตามลําดับ) ผ่านอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จ.เชียงใหม่) สร้างโรงงานต้นแบบเทคโนโลยีกําจัดแมลงและไข่แมลงด้วยคลื่นความถี่วิทยุ โดยโรงงานต้นแบบฯ ถูกออกแบบและพัฒนาให้มีระบบที่เหมาะสมกับการติดตั้งเข้ากับระบบโรงสีข้าวในปัจจุบัน โดยใช้หลักการทํางานแบบไหลต่อเนื่องตั้งแต่การรับวัตถุดิบ (Continuous) มีการพัฒนากระบวนการกําจัดแมลงและไข่แมลง (RF Treatment Process) ที่ออกแบบเป็นการเฉพาะร่วมกับห้องที่ให้ความร้อน (Chamber) เพื่อให้มีการกระจายตัวของความร้อนอย่างสม่ําเสมอ (Uniform Thermal Distribution) ซึ่งรับรองคุณภาพโดยอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จ.เชียงใหม่) โดยมีอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทําหน้าที่เป็นแม่ข่าย ซึ่งอุทยานฯ คาดการว่าเทคโนโลยี UTD RF จะสามารถเพิ่มมูลค่าข้าวฯมากกว่า 10-15 บาทต่อกิโลกรัม หรือ ประมาณการมูลค่าเพิ่มจากข้าวที่ผ่านเครื่องฯ จํานวน 150 เครื่อง โดยเฉลี่ยประมาณ 432,000 ตัน/ปี หรือ 2,160,000 ตันภายในระยะเวลา 5 ปี คิดเป็นเงิน 21,600 ล้านบาท ปัจจุบัน อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ให้กับภาคเอกชนเพื่อนําไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์แล้ว ถือเป็นการนํางานวิจัยมาต่อยอดให้ใช้ประโยชน์ได้จริง และยังผลักดันจนถึงปลายทาง เพื่อให้เกษตรกรตลอดจนชุมชนต่าง ๆ สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีนี้ได้ในวงกว้างมากขึ้น
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีวิทย์ฯ เยี่ยมชมโรงงานต้นแบบเทคโนโลยีการลดความชื้นและกำจัดแมลงในข้าวด้วยคลื่นความถี่วิทยุ วันอังคารที่ 27 มิถุนายน 2560 รัฐมนตรีวิทย์ฯ เยี่ยมชมโรงงานต้นแบบเทคโนโลยีการลดความชื้นและกําจัดแมลงในข้าวด้วยคลื่นความถี่วิทยุ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2560 / ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะผู้บริหาร เยี่ยมชมโรงงานต้นแบบเทคโนโลยีการลดความชื้นและกําจัดแมลงในข้าวด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลย เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2560 / ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะผู้บริหาร เยี่ยมชมโรงงานต้นแบบเทคโนโลยีการลดความชื้นและกําจัดแมลงในข้าวด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (แม่เหียะ) โดยโรงงานต้นแบบนี้มีหลักการทํางานจากการประยุกต์ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงคลื่นความถี่วิทยุ ซึ่งมีความสามารถในการแทรกผ่านเข้าไปในชั้นโมเลกุลภายในเมล็ดข้าว จนเกิดการสั่นสะเทือนเป็นจํานวนล้านครั้งในเวลาหนึ่งวินาที ทําให้เกิดความร้อนสูง ตัวมอดในข้าวและไข่มอดที่ฝังอยู่ในเมล็ดข้าวจึงตายทําให้ข้าวสารที่ผ่านกระบวนการนี้จะปราศจากมอดโดยสิ้นเชิง ซึ่งวิธีนี้ปลอดภัยกว่าวิธีรมควันที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเพราะจะไร้สารเคมีตกค้าง นอกจากนี้ ความร้อนที่เกิดขึ้นยังลดความชื้นในข้าวได้อีก 1% ในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งถือเป็นการเพิ่มมูลค่าข้าวอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสํานักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (สอว.) ได้ให้ทุนสนับสนุนรวมเป็นเงิน 35.83 ล้านบาท (24.5 ล้านบาท, 3 ล้านบาท และ 8.33 ล้านบาท ตามลําดับ) ผ่านอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จ.เชียงใหม่) สร้างโรงงานต้นแบบเทคโนโลยีกําจัดแมลงและไข่แมลงด้วยคลื่นความถี่วิทยุ โดยโรงงานต้นแบบฯ ถูกออกแบบและพัฒนาให้มีระบบที่เหมาะสมกับการติดตั้งเข้ากับระบบโรงสีข้าวในปัจจุบัน โดยใช้หลักการทํางานแบบไหลต่อเนื่องตั้งแต่การรับวัตถุดิบ (Continuous) มีการพัฒนากระบวนการกําจัดแมลงและไข่แมลง (RF Treatment Process) ที่ออกแบบเป็นการเฉพาะร่วมกับห้องที่ให้ความร้อน (Chamber) เพื่อให้มีการกระจายตัวของความร้อนอย่างสม่ําเสมอ (Uniform Thermal Distribution) ซึ่งรับรองคุณภาพโดยอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จ.เชียงใหม่) โดยมีอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทําหน้าที่เป็นแม่ข่าย ซึ่งอุทยานฯ คาดการว่าเทคโนโลยี UTD RF จะสามารถเพิ่มมูลค่าข้าวฯมากกว่า 10-15 บาทต่อกิโลกรัม หรือ ประมาณการมูลค่าเพิ่มจากข้าวที่ผ่านเครื่องฯ จํานวน 150 เครื่อง โดยเฉลี่ยประมาณ 432,000 ตัน/ปี หรือ 2,160,000 ตันภายในระยะเวลา 5 ปี คิดเป็นเงิน 21,600 ล้านบาท ปัจจุบัน อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ให้กับภาคเอกชนเพื่อนําไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์แล้ว ถือเป็นการนํางานวิจัยมาต่อยอดให้ใช้ประโยชน์ได้จริง และยังผลักดันจนถึงปลายทาง เพื่อให้เกษตรกรตลอดจนชุมชนต่าง ๆ สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีนี้ได้ในวงกว้างมากขึ้น
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/4783
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลเดินหน้าติดเครื่องรูดบัตรกว่า 5 พันร้านค้า รถโดยสารอีก 800 คัน รองรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ พร้อมเตรียมประเมินผลทุกเดือน มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อย
วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน 2560 รัฐบาลเดินหน้าติดเครื่องรูดบัตรกว่า 5 พันร้านค้า รถโดยสารอีก 800 คัน รองรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ พร้อมเตรียมประเมินผลทุกเดือน มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อย รัฐบาลเดินหน้าติดเครื่องรูดบัตรกว่า 5 พันร้านค้า รถโดยสารอีก 800 คัน รองรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ พร้อมเตรียมประเมินผลทุกเดือน มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อย วันนี้ (24 กันยายน 2560) พลโท สรรเสริญ แก้วกําเนิด โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลเตรียมความพร้อมโครงการร้านธงฟ้าประชารัฐ เพื่อรองรับการใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ที่จะเริ่มต้นในวันที่ 1 ต.ค. 60 นี้ โดยได้เร่งติดตั้งเครื่องรูดบัตรอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีดีซี ในร้านธงฟ้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว 3,000 แห่งทั่วประเทศ และมีเป้าหมายจะติดตั้งให้ได้ถึง 5,700 ร้านค้าภายในต้นเดือน ต.ค.60 “ส่วนในพื้นที่ที่ร้านธงฟ้าไม่สามารถติดตั้งเครื่องรูดบัตรได้ทัน กระทรวงพาณิชย์ได้เตรียมจัดรถโมบายเคลื่อนที่ประมาณ 200 คัน ที่ติดตั้งเครื่องรูดบัตรแล้ว ออกไปจําหน่ายสินค้าธงฟ้าประชารัฐให้แก่ประชาชน ซึ่งผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐสามารถซื้อสินค้าจากร้านธงฟ้าประชารัฐ และร้านค้าอื่น ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ โดยขณะนี้กรมบัญชีกลางกําลังรวบรวมข้อมูลร้านค้าและสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ และจะส่งไปยังสาขาต่าง ๆ ของ ธ.กรุงไทย ธ.ออมสิน และ ธ.ก.ส. เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น" นอกจากนี้ รถโดยสารของ ขสมก. ก็ได้ติดตั้งระบบบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Ticket) แล้วเช่นกัน โดยติดตั้งในรถโดยสารธรรมดา จํานวน 200 คัน และจะทยอยติดตั้งให้ครบ 800 คัน ให้ครอบคลุมพื้นที่ กทม. และปริมณฑล ซึ่งรถที่ร่วมโครงการจะติดสติ๊กเกอร์สีเขียวระบุข้อความว่า “รถคันนี้ใช้ระบบเก็บเงินอัตโนมัติ” ซึ่งผู้ถือบัตรเพียงนําบัตรแตะที่เครื่องอ่านบัตร ระบบจะหักค่าใช้จ่ายทันที ทั้งนี้ ผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนไว้ใน 7 จังหวัด ได้แก่ กทม. นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ นครปฐม และสมุทรสาคร ซึ่งมีจํานวนประมาณ 1.3 ล้านคน จะได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในวันที่ 17 ต.ค.60 เนื่องจากภาครัฐมีความจําเป็นต้องบรรจุข้อมูลลงในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่สอดคล้องกับมาตรฐานกลางระบบตั๋วร่วม (แมงมุม) ของสํานักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ซึ่งจะเชื่อมโยงการเดินทางด้วยรถโดยสาร ขสมก. และรถไฟฟ้าทั้งบนดินและใต้ดิน เพิ่มความสะดวกให้กับประชาชน จึงทําให้ต้องเพิ่มขั้นตอนการผลิตและควบคุมคุณภาพ ก่อนนําไปทดสอบกับเครื่องอ่านบัตร (E-Ticket) ต่อไป "รัฐจะชดเชยสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้มีรายได้น้อย อันเนื่องมาจากขั้นตอนการผลิตที่ใช้เวลานานขึ้น โดยกรมบัญชีกลางจะยกยอดวงเงินสวัสดิการที่คงเหลือจากการใช้จ่ายในเดือนต.ค.60 ให้ไปใช้ต่อได้ในเดือนพ.ย.60 ส่วนเดือนอื่นจะไม่มีการทบยอดคงเหลือแต่อย่างใด" พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กําชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตระเตรียมรองรับการใช้งานบัตรสวัสดิการแห่งรัฐให้เกิดความรัดกุม และในระยะแรกควรศึกษาและประเมินผลการทํางานและข้อบกพร่องทุกเดือน เพื่อให้สามารถปรับปรุงแก้ไขให้สําเร็จอย่างทันท่วงที พร้อมทั้งย้ําว่าการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐนั้น เป็นเพียงการช่วยแบ่งเบาภาระในระยะสั้น ส่วนในระยะยาวรัฐบาลก็มีหน้าที่ส่งเสริมให้ผู้มีรายได้น้อยมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ําของสังคมตามนโยบายของรัฐบาล ...................................................
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลเดินหน้าติดเครื่องรูดบัตรกว่า 5 พันร้านค้า รถโดยสารอีก 800 คัน รองรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ พร้อมเตรียมประเมินผลทุกเดือน มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อย วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน 2560 รัฐบาลเดินหน้าติดเครื่องรูดบัตรกว่า 5 พันร้านค้า รถโดยสารอีก 800 คัน รองรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ พร้อมเตรียมประเมินผลทุกเดือน มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อย รัฐบาลเดินหน้าติดเครื่องรูดบัตรกว่า 5 พันร้านค้า รถโดยสารอีก 800 คัน รองรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ พร้อมเตรียมประเมินผลทุกเดือน มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อย วันนี้ (24 กันยายน 2560) พลโท สรรเสริญ แก้วกําเนิด โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลเตรียมความพร้อมโครงการร้านธงฟ้าประชารัฐ เพื่อรองรับการใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ที่จะเริ่มต้นในวันที่ 1 ต.ค. 60 นี้ โดยได้เร่งติดตั้งเครื่องรูดบัตรอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีดีซี ในร้านธงฟ้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว 3,000 แห่งทั่วประเทศ และมีเป้าหมายจะติดตั้งให้ได้ถึง 5,700 ร้านค้าภายในต้นเดือน ต.ค.60 “ส่วนในพื้นที่ที่ร้านธงฟ้าไม่สามารถติดตั้งเครื่องรูดบัตรได้ทัน กระทรวงพาณิชย์ได้เตรียมจัดรถโมบายเคลื่อนที่ประมาณ 200 คัน ที่ติดตั้งเครื่องรูดบัตรแล้ว ออกไปจําหน่ายสินค้าธงฟ้าประชารัฐให้แก่ประชาชน ซึ่งผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐสามารถซื้อสินค้าจากร้านธงฟ้าประชารัฐ และร้านค้าอื่น ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ โดยขณะนี้กรมบัญชีกลางกําลังรวบรวมข้อมูลร้านค้าและสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ และจะส่งไปยังสาขาต่าง ๆ ของ ธ.กรุงไทย ธ.ออมสิน และ ธ.ก.ส. เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น" นอกจากนี้ รถโดยสารของ ขสมก. ก็ได้ติดตั้งระบบบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Ticket) แล้วเช่นกัน โดยติดตั้งในรถโดยสารธรรมดา จํานวน 200 คัน และจะทยอยติดตั้งให้ครบ 800 คัน ให้ครอบคลุมพื้นที่ กทม. และปริมณฑล ซึ่งรถที่ร่วมโครงการจะติดสติ๊กเกอร์สีเขียวระบุข้อความว่า “รถคันนี้ใช้ระบบเก็บเงินอัตโนมัติ” ซึ่งผู้ถือบัตรเพียงนําบัตรแตะที่เครื่องอ่านบัตร ระบบจะหักค่าใช้จ่ายทันที ทั้งนี้ ผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนไว้ใน 7 จังหวัด ได้แก่ กทม. นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ นครปฐม และสมุทรสาคร ซึ่งมีจํานวนประมาณ 1.3 ล้านคน จะได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในวันที่ 17 ต.ค.60 เนื่องจากภาครัฐมีความจําเป็นต้องบรรจุข้อมูลลงในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่สอดคล้องกับมาตรฐานกลางระบบตั๋วร่วม (แมงมุม) ของสํานักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ซึ่งจะเชื่อมโยงการเดินทางด้วยรถโดยสาร ขสมก. และรถไฟฟ้าทั้งบนดินและใต้ดิน เพิ่มความสะดวกให้กับประชาชน จึงทําให้ต้องเพิ่มขั้นตอนการผลิตและควบคุมคุณภาพ ก่อนนําไปทดสอบกับเครื่องอ่านบัตร (E-Ticket) ต่อไป "รัฐจะชดเชยสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้มีรายได้น้อย อันเนื่องมาจากขั้นตอนการผลิตที่ใช้เวลานานขึ้น โดยกรมบัญชีกลางจะยกยอดวงเงินสวัสดิการที่คงเหลือจากการใช้จ่ายในเดือนต.ค.60 ให้ไปใช้ต่อได้ในเดือนพ.ย.60 ส่วนเดือนอื่นจะไม่มีการทบยอดคงเหลือแต่อย่างใด" พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กําชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตระเตรียมรองรับการใช้งานบัตรสวัสดิการแห่งรัฐให้เกิดความรัดกุม และในระยะแรกควรศึกษาและประเมินผลการทํางานและข้อบกพร่องทุกเดือน เพื่อให้สามารถปรับปรุงแก้ไขให้สําเร็จอย่างทันท่วงที พร้อมทั้งย้ําว่าการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐนั้น เป็นเพียงการช่วยแบ่งเบาภาระในระยะสั้น ส่วนในระยะยาวรัฐบาลก็มีหน้าที่ส่งเสริมให้ผู้มีรายได้น้อยมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ําของสังคมตามนโยบายของรัฐบาล ...................................................
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/6908
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รอง นรม. พล.อ.อ. ประจินฯ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “มหกรรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2560 (Thailand Research Expo 2017)”
วันพุธที่ 23 สิงหาคม 2560 รอง นรม. พล.อ.อ. ประจินฯ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “มหกรรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2560 (Thailand Research Expo 2017)” รองนรม. พล.อ.อ. ประจินฯ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “มหกรรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2560 (Thailand Research Expo 2017)” วันที่ (23 สิงหาคม 2560) เวลา 09.30 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีเปิดงาน “มหกรรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2560 (Thailand Research Expo 2017)” จัดโดย สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ระหว่างวันที่ 23 – 27 สิงหาคม 2560 โดยมีผู้ร่วมงานประกอบด้วย นักวิจัยจากภาครัฐและเอกชน ตัวแทนหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและตัวแทนสื่อมวลชน จํานวนประมาณ 600 คน โอกาสนี้ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวรายงานว่า การจัดงาน “มหกรรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2560 (Thailand Research Expo 2017)” เป็นเวทีระดับชาติที่นําเสนอผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมการวิจัยที่มีคุณภาพ เพื่อเชื่อมโยงบูรณาการองค์ความรู้ไปสู่การใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ ทั้งในมิติเชิงวิชาการ นโยบาย สังคม ชุมชน และพาณิชย์/อุตสาหกรรม โดยเริ่มจัดครั้งแรกเมื่อปี 2549 ภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ และสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้มีการนําเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมการวิจัยที่มีคุณภาพ การจัดงานครั้งนี้ ในปีนี้ จัดขึ้นเป็นปีที่ 12 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อน้อมรําลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็น“พระบิดาแห่งการวิจัย” สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่องานวิจัยไทย นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างสรรค์ และสร้างแรงขับเคลื่อน เพื่อพัฒนาให้เกิดการนําองค์ความรู้ ผลผลิต เทคโนโลยี และนวัตกรรม จากการวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ ตลอดจนเป็นกลไกสําคัญในการเชื่อมโยงการวิจัยของไทยที่มีศักยภาพไปสู่กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ระดับประเทศและนานาชาติ ภายใต้แนวคิด “วิจัยเพื่อพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” กิจกรรมภายในงาน ได้แก่ การแสดงนิทรรศการ พร้อมนําเสนอผลงานมากกว่า 500 ผลงาน ใน 7 ประเด็นกลุ่มเรื่องวิจัย ได้แก่ งานวิจัยเพื่อความมั่งคง งานวิจัยเพื่อการเกษตร งานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม งานวิจัยเพื่อสังคม งานวิจัยเพื่อการแพทย์และสาธารณสุข งานวิจัยเพื่อพลังงาน งานวิจัยเพื่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ในระหว่างการจัดงานยังมี กิจกรรม Highlight Stage เพื่อนําเสนอผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ที่มีความพร้อมใช้ประโยชน์ทั้งในระดับชุมชน/องค์กร/พาณิชย์ กิจกรรม Thailand Research Symposium 2017 เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนนักวิจัยในสาขาวิชาการต่าง ๆ ได้มีโอกาสนําเสนอผลงานวิจัยที่มีคุณภาพต่อผู้สนใจและผู้ใช้ประโยชน์อีกด้วย อีกทั้งยังมีกิจกรรม Research Clinic เป็นการให้คําปรึกษาในเรื่องของการวิจัย พร้อมกิจกรรมประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา 2560 ได้บ่มเพาะความรู้และแรงบันดาลใจในการพัฒนานวัตกรรม พร้อมได้นําเสนอผลงานนวัตกรรมและประกวดแข่งขัน การจัดแสดงและจําหน่ายผลิตภัณฑ์จากภาคเอกชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นที่เพื่อการแสดงและจําหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโครงการในพระราชดําริฯด้วย จากนั้น รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเปิดงานพร้อมปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ศาสตร์พระราชา : วิจัยและพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน” ว่า การวิจัยและการประดิษฐ์คิดค้นเป็นกลไกสําคัญในการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมและเศรษฐกิจ โดยการสร้างความรู้ใหม่ แนวทางใหม่ ทฤษฎีใหม่ หรือชิ้นงานใหม่ ๆ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการสร้างฐานสติปัญญาในการพัฒนาให้กับประเทศได้ และหากนําไปสร้างมูลค่าในเชิงพาณิชย์ได้ก็ จะก่อให้เกิดนวัตกรรมที่สามารถสร้างผลประโยชน์ให้เกิดขึ้นทั้งอาจเป็นตัวเงิน หรือไม่เป็นตัวเงินโดยตรงก็ได้ ดังนั้นการพัฒนาให้ผลงานที่เกิดจากการวิจัย และการประดิษฐ์คิดค้นได้ถูกนําไปพัฒนาปรับปรุงให้นําไปสู่นวัตกรรมก็สามารถสร้างประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ (Economic Benefits) ขึ้นมาได้ ซึ่งนโยบายรัฐบาล นําโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสําคัญกับการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ และลดความเหลื่อมล้ําทางสังคมด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อนําประเทศไปสู่ “ประเทศไทย 4.0” ตอนท้ายของพิธีเปิดงาน“มหกรรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2560 (Thailand Research Expo 2017)” ประธานได้มอบรางวัล National Ethics Committee Accreditation System of Thailand (NECAST) และมอบประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีตามมาตรฐาน (มอก.2677) พร้อมทั้งให้เกียรติถ่ายภาพเป็นที่ระลึกร่วมกับคณะผู้บริหารฯ เครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยฯ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งยังเยี่ยมชมนิทรรศการผลงานวจัย จากหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศอีกด้วย .................................................................. กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รอง นรม. พล.อ.อ. ประจินฯ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “มหกรรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2560 (Thailand Research Expo 2017)” วันพุธที่ 23 สิงหาคม 2560 รอง นรม. พล.อ.อ. ประจินฯ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “มหกรรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2560 (Thailand Research Expo 2017)” รองนรม. พล.อ.อ. ประจินฯ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “มหกรรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2560 (Thailand Research Expo 2017)” วันที่ (23 สิงหาคม 2560) เวลา 09.30 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีเปิดงาน “มหกรรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2560 (Thailand Research Expo 2017)” จัดโดย สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ระหว่างวันที่ 23 – 27 สิงหาคม 2560 โดยมีผู้ร่วมงานประกอบด้วย นักวิจัยจากภาครัฐและเอกชน ตัวแทนหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและตัวแทนสื่อมวลชน จํานวนประมาณ 600 คน โอกาสนี้ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวรายงานว่า การจัดงาน “มหกรรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2560 (Thailand Research Expo 2017)” เป็นเวทีระดับชาติที่นําเสนอผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมการวิจัยที่มีคุณภาพ เพื่อเชื่อมโยงบูรณาการองค์ความรู้ไปสู่การใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ ทั้งในมิติเชิงวิชาการ นโยบาย สังคม ชุมชน และพาณิชย์/อุตสาหกรรม โดยเริ่มจัดครั้งแรกเมื่อปี 2549 ภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ และสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้มีการนําเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมการวิจัยที่มีคุณภาพ การจัดงานครั้งนี้ ในปีนี้ จัดขึ้นเป็นปีที่ 12 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อน้อมรําลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็น“พระบิดาแห่งการวิจัย” สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่องานวิจัยไทย นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างสรรค์ และสร้างแรงขับเคลื่อน เพื่อพัฒนาให้เกิดการนําองค์ความรู้ ผลผลิต เทคโนโลยี และนวัตกรรม จากการวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ ตลอดจนเป็นกลไกสําคัญในการเชื่อมโยงการวิจัยของไทยที่มีศักยภาพไปสู่กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ระดับประเทศและนานาชาติ ภายใต้แนวคิด “วิจัยเพื่อพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” กิจกรรมภายในงาน ได้แก่ การแสดงนิทรรศการ พร้อมนําเสนอผลงานมากกว่า 500 ผลงาน ใน 7 ประเด็นกลุ่มเรื่องวิจัย ได้แก่ งานวิจัยเพื่อความมั่งคง งานวิจัยเพื่อการเกษตร งานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม งานวิจัยเพื่อสังคม งานวิจัยเพื่อการแพทย์และสาธารณสุข งานวิจัยเพื่อพลังงาน งานวิจัยเพื่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ในระหว่างการจัดงานยังมี กิจกรรม Highlight Stage เพื่อนําเสนอผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ที่มีความพร้อมใช้ประโยชน์ทั้งในระดับชุมชน/องค์กร/พาณิชย์ กิจกรรม Thailand Research Symposium 2017 เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนนักวิจัยในสาขาวิชาการต่าง ๆ ได้มีโอกาสนําเสนอผลงานวิจัยที่มีคุณภาพต่อผู้สนใจและผู้ใช้ประโยชน์อีกด้วย อีกทั้งยังมีกิจกรรม Research Clinic เป็นการให้คําปรึกษาในเรื่องของการวิจัย พร้อมกิจกรรมประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา 2560 ได้บ่มเพาะความรู้และแรงบันดาลใจในการพัฒนานวัตกรรม พร้อมได้นําเสนอผลงานนวัตกรรมและประกวดแข่งขัน การจัดแสดงและจําหน่ายผลิตภัณฑ์จากภาคเอกชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นที่เพื่อการแสดงและจําหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโครงการในพระราชดําริฯด้วย จากนั้น รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเปิดงานพร้อมปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ศาสตร์พระราชา : วิจัยและพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน” ว่า การวิจัยและการประดิษฐ์คิดค้นเป็นกลไกสําคัญในการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมและเศรษฐกิจ โดยการสร้างความรู้ใหม่ แนวทางใหม่ ทฤษฎีใหม่ หรือชิ้นงานใหม่ ๆ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการสร้างฐานสติปัญญาในการพัฒนาให้กับประเทศได้ และหากนําไปสร้างมูลค่าในเชิงพาณิชย์ได้ก็ จะก่อให้เกิดนวัตกรรมที่สามารถสร้างผลประโยชน์ให้เกิดขึ้นทั้งอาจเป็นตัวเงิน หรือไม่เป็นตัวเงินโดยตรงก็ได้ ดังนั้นการพัฒนาให้ผลงานที่เกิดจากการวิจัย และการประดิษฐ์คิดค้นได้ถูกนําไปพัฒนาปรับปรุงให้นําไปสู่นวัตกรรมก็สามารถสร้างประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ (Economic Benefits) ขึ้นมาได้ ซึ่งนโยบายรัฐบาล นําโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสําคัญกับการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ และลดความเหลื่อมล้ําทางสังคมด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อนําประเทศไปสู่ “ประเทศไทย 4.0” ตอนท้ายของพิธีเปิดงาน“มหกรรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2560 (Thailand Research Expo 2017)” ประธานได้มอบรางวัล National Ethics Committee Accreditation System of Thailand (NECAST) และมอบประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีตามมาตรฐาน (มอก.2677) พร้อมทั้งให้เกียรติถ่ายภาพเป็นที่ระลึกร่วมกับคณะผู้บริหารฯ เครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยฯ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งยังเยี่ยมชมนิทรรศการผลงานวจัย จากหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศอีกด้วย .................................................................. กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/6137
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงมหาดไทย แจ้ง อปท. ปิดสถานศึกษาในสังกัดทุกแห่ง-ทุกประเภท ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด COVID-19 [กระทรวงมหาดไทย]
วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม 2563 กระทรวงมหาดไทย แจ้ง อปท. ปิดสถานศึกษาในสังกัดทุกแห่ง-ทุกประเภท ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด COVID-19 [กระทรวงมหาดไทย] กระทรวงมหาดไทย แจ้ง อปท. ปิดสถานศึกษาในสังกัดทุกแห่ง-ทุกประเภท ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด COVID-19 วันนี้ (19 มีนาคม 2563) – นายประยูร รัตนเสนีย์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบมาตรการเร่งด่วนในการป้องกันวิกฤตการณ์จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2563 ในมาตรการที่ 2 การยับยั้งการแพร่ระบาดภายในประเทศ ให้งดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย (สถาบันการศึกษา) โรงเรียน โรงเรียนนานาชาติ และสถาบันกวดวิชา หรือปรับวิธีการเรียนการสอนเป็นทางออนไลน์ ตั้งแต่วันพุธที่ 18 มีนาคม 2563 เป็นระยะเวลา 14 วัน และให้สถานศึกษาดําเนินการป้องกันโรคตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด เมื่อสถานศึกษากลับมาเปิดสอนตามปกติ ล่าสุด กระทรวงมหาดไทยได้สั่งการไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ให้แจ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานศึกษาในสังกัด ปิดสถานศึกษาในสังกัดทุกแห่งและทุกประเภท กรณีเหตุพิเศษ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยสถานศึกษาที่ยังจัดการเรียนการสอนไม่ครบถ้วนตามหลักสูตรของสถานศึกษา ขอให้พิจารณากําหนดจัดการเรียนการสอนด้วยระบบออนไลน์ หรือจัดการเรียนการสอนชดเชยหลังจากสถานการณ์คลี่คลายลง รวมถึงให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเลื่อนการรับสมัคร การสอบคัดเลือก การจับฉลาก การประกาศผล การรายงานตัว และการมอบตัว ที่สถานศึกษาประกาศไว้เดิมตามปฏิทินการรับนักเรียน ปีการศึกษา 2563 ตามความจําเป็นของแต่ละพื้นที่อีกด้วย “ขอเรียนเน้นย้ําให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งที่มีสถานศึกษาในสังกัด ดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัดในการดําเนินการปิดสถานศึกษาทุกประเภท ทั้งโรงเรียน วิทยาลัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานศึกษาอื่นๆ ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ดําเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ คําสั่งที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนงดเว้นการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่นํานักเรียนและเด็กเล็กมารวมกลุ่มกันในระหว่างการปิดภาคเรียน และไม่นํานักเรียนเดินทางไปยังหรือแวะผ่าน (Transit)เพื่อร่วมกิจกรรมทางการศึกษา การแข่งขันทักษะวิชาการหรือการแข่งขันกีฬาในประเทศหรือเขตการปกครองที่เสี่ยงต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเด็ดขาด รวมทั้งขอความร่วมมือผู้ปกครองไม่นํานักเรียนและเด็กเล็กเดินทางไปประเทศหรือเขตการปกครองที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อในระหว่างปิดภาคเรียน” อธิบดี สถ. กล่าว ณ วันที่ 19 มีนาคม 2563 กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สํานักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงมหาดไทย แจ้ง อปท. ปิดสถานศึกษาในสังกัดทุกแห่ง-ทุกประเภท ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด COVID-19 [กระทรวงมหาดไทย] วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม 2563 กระทรวงมหาดไทย แจ้ง อปท. ปิดสถานศึกษาในสังกัดทุกแห่ง-ทุกประเภท ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด COVID-19 [กระทรวงมหาดไทย] กระทรวงมหาดไทย แจ้ง อปท. ปิดสถานศึกษาในสังกัดทุกแห่ง-ทุกประเภท ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด COVID-19 วันนี้ (19 มีนาคม 2563) – นายประยูร รัตนเสนีย์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบมาตรการเร่งด่วนในการป้องกันวิกฤตการณ์จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2563 ในมาตรการที่ 2 การยับยั้งการแพร่ระบาดภายในประเทศ ให้งดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย (สถาบันการศึกษา) โรงเรียน โรงเรียนนานาชาติ และสถาบันกวดวิชา หรือปรับวิธีการเรียนการสอนเป็นทางออนไลน์ ตั้งแต่วันพุธที่ 18 มีนาคม 2563 เป็นระยะเวลา 14 วัน และให้สถานศึกษาดําเนินการป้องกันโรคตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด เมื่อสถานศึกษากลับมาเปิดสอนตามปกติ ล่าสุด กระทรวงมหาดไทยได้สั่งการไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ให้แจ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานศึกษาในสังกัด ปิดสถานศึกษาในสังกัดทุกแห่งและทุกประเภท กรณีเหตุพิเศษ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยสถานศึกษาที่ยังจัดการเรียนการสอนไม่ครบถ้วนตามหลักสูตรของสถานศึกษา ขอให้พิจารณากําหนดจัดการเรียนการสอนด้วยระบบออนไลน์ หรือจัดการเรียนการสอนชดเชยหลังจากสถานการณ์คลี่คลายลง รวมถึงให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเลื่อนการรับสมัคร การสอบคัดเลือก การจับฉลาก การประกาศผล การรายงานตัว และการมอบตัว ที่สถานศึกษาประกาศไว้เดิมตามปฏิทินการรับนักเรียน ปีการศึกษา 2563 ตามความจําเป็นของแต่ละพื้นที่อีกด้วย “ขอเรียนเน้นย้ําให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งที่มีสถานศึกษาในสังกัด ดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัดในการดําเนินการปิดสถานศึกษาทุกประเภท ทั้งโรงเรียน วิทยาลัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานศึกษาอื่นๆ ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ดําเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ คําสั่งที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนงดเว้นการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่นํานักเรียนและเด็กเล็กมารวมกลุ่มกันในระหว่างการปิดภาคเรียน และไม่นํานักเรียนเดินทางไปยังหรือแวะผ่าน (Transit)เพื่อร่วมกิจกรรมทางการศึกษา การแข่งขันทักษะวิชาการหรือการแข่งขันกีฬาในประเทศหรือเขตการปกครองที่เสี่ยงต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเด็ดขาด รวมทั้งขอความร่วมมือผู้ปกครองไม่นํานักเรียนและเด็กเล็กเดินทางไปประเทศหรือเขตการปกครองที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อในระหว่างปิดภาคเรียน” อธิบดี สถ. กล่าว ณ วันที่ 19 มีนาคม 2563 กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สํานักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/27538
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงการคลังหารือความคืบหน้าการช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจสายการบิน เพื่อบรรเทาผลกระทบจาก Covid-19 โดยเน้นรักษาสภาพการจ้างงานกว่า 20,000 ตำแหน่ง
วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน 2563 กระทรวงการคลังหารือความคืบหน้าการช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจสายการบิน เพื่อบรรเทาผลกระทบจาก Covid-19 โดยเน้นรักษาสภาพการจ้างงานกว่า 20,000 ตําแหน่ง ในวันที่ 30 เมษายน 2563 กระทรวงการคลังได้มีการหารือร่วมกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ โดยมี ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน เพื่อติดตามความคืบหน้ากรณีที่ผู้ประกอบการธุรกิจสายการบิน ในวันที่ 30 เมษายน 2563 กระทรวงการคลังได้มีการหารือร่วมกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ โดยมี ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน เพื่อติดตามความคืบหน้ากรณีที่ผู้ประกอบการธุรกิจสายการบิน ได้แก่ สายการบินไทยแอร์เอเชีย สายการบินไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์ สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ สายการบินบางกอกแอร์เวย์ สายการบินนกแอร์ สายการบินนกสกู๊ต สายการบินไทยเวียตเจ็ท สายการบินไทยสมายล์แอร์เวย์ ได้ขอให้กระทรวงการคลังพิจารณาแนวทางการบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ต่อธุรกิจสายการบินที่ต้องหยุดการให้บริการ ที่ประชุมได้มีการหารือร่วมกันถึงแนวทางการให้ความช่วยเหลือโดยเห็นว่าควรเป็นรูปแบบของสินเชื่อพิเศษ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เน้นย้ําว่าการช่วยเหลือด้วยสินเชื่อดังกล่าวต้อง 1.) มุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการรักษาการจ้างงานไว้เป็นสําคัญ เนื่องจากธุรกิจสายการบินกลุ่มดังกล่าวมีงานจ้างงานประมาณ 20,000 ตําแหน่ง 2.) สนับสนุนสภาพคล่องเป็นทุนหมุนเวียนที่จําเป็น เพื่อพยุงให้ธุรกิจสายการบินและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวสามารถขับเคลื่อนภาคท่องเที่ยวของไทยต่อไปได้ในอนาคต นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยังได้มอบหมายให้สํานักงานเศรษฐกิจการคลังและสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐเร่งหารือกับผู้ประกอบการในรายละเอียดเพิ่มเติม ก่อนนําเสนอแนวทางที่เหมาะสมโดยเร็ว สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02 273 9020
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงการคลังหารือความคืบหน้าการช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจสายการบิน เพื่อบรรเทาผลกระทบจาก Covid-19 โดยเน้นรักษาสภาพการจ้างงานกว่า 20,000 ตำแหน่ง วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน 2563 กระทรวงการคลังหารือความคืบหน้าการช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจสายการบิน เพื่อบรรเทาผลกระทบจาก Covid-19 โดยเน้นรักษาสภาพการจ้างงานกว่า 20,000 ตําแหน่ง ในวันที่ 30 เมษายน 2563 กระทรวงการคลังได้มีการหารือร่วมกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ โดยมี ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน เพื่อติดตามความคืบหน้ากรณีที่ผู้ประกอบการธุรกิจสายการบิน ในวันที่ 30 เมษายน 2563 กระทรวงการคลังได้มีการหารือร่วมกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ โดยมี ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน เพื่อติดตามความคืบหน้ากรณีที่ผู้ประกอบการธุรกิจสายการบิน ได้แก่ สายการบินไทยแอร์เอเชีย สายการบินไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์ สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ สายการบินบางกอกแอร์เวย์ สายการบินนกแอร์ สายการบินนกสกู๊ต สายการบินไทยเวียตเจ็ท สายการบินไทยสมายล์แอร์เวย์ ได้ขอให้กระทรวงการคลังพิจารณาแนวทางการบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ต่อธุรกิจสายการบินที่ต้องหยุดการให้บริการ ที่ประชุมได้มีการหารือร่วมกันถึงแนวทางการให้ความช่วยเหลือโดยเห็นว่าควรเป็นรูปแบบของสินเชื่อพิเศษ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เน้นย้ําว่าการช่วยเหลือด้วยสินเชื่อดังกล่าวต้อง 1.) มุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการรักษาการจ้างงานไว้เป็นสําคัญ เนื่องจากธุรกิจสายการบินกลุ่มดังกล่าวมีงานจ้างงานประมาณ 20,000 ตําแหน่ง 2.) สนับสนุนสภาพคล่องเป็นทุนหมุนเวียนที่จําเป็น เพื่อพยุงให้ธุรกิจสายการบินและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวสามารถขับเคลื่อนภาคท่องเที่ยวของไทยต่อไปได้ในอนาคต นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยังได้มอบหมายให้สํานักงานเศรษฐกิจการคลังและสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐเร่งหารือกับผู้ประกอบการในรายละเอียดเพิ่มเติม ก่อนนําเสนอแนวทางที่เหมาะสมโดยเร็ว สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02 273 9020
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/30119
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไวรัสโควิด-19 สามารถแพร่กระจายเชื้อได้อย่างไร ??
วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม 2563 ไวรัสโควิด-19 สามารถแพร่กระจายเชื้อได้อย่างไร ?? ไวรัสโควิด-19 สามารถแพร่กระจายเชื้อได้อย่างไร ?? Q: ไวรัสโควิด-19 สามารถแพร่กระจายเชื้อได้อย่างไร ?? A: ส่วนใหญ่แพร่กระจายผ่านการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ ผ่านทางละอองเสมหะจากการไอ จาม น้ํามูก น้ําลาย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไวรัสโควิด-19 สามารถแพร่กระจายเชื้อได้อย่างไร ?? วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม 2563 ไวรัสโควิด-19 สามารถแพร่กระจายเชื้อได้อย่างไร ?? ไวรัสโควิด-19 สามารถแพร่กระจายเชื้อได้อย่างไร ?? Q: ไวรัสโควิด-19 สามารถแพร่กระจายเชื้อได้อย่างไร ?? A: ส่วนใหญ่แพร่กระจายผ่านการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ ผ่านทางละอองเสมหะจากการไอ จาม น้ํามูก น้ําลาย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/27331
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เพิ่มปุ่มสีเขียวเข้ม สำหรับตรวจสอบผู้มีสิทธิ์รับเงินเยียวยา 5,000 บาท แต่ยังโอนเงินไม่สำเร็จ
วันอังคารที่ 11 สิงหาคม 2563 เพิ่มปุ่มสีเขียวเข้ม สําหรับตรวจสอบผู้มีสิทธิ์รับเงินเยียวยา 5,000 บาท แต่ยังโอนเงินไม่สําเร็จ กระทรวงการคลังได้ดําเนินมาตรการเยียวยา 5,000 บาท (มาตรการเราไม่ทิ้งกัน) เสร็จสิ้นแล้วและผู้มีสิทธิ์รับเงินเยียวยาทั้งหมด 15.3 ล้านคน แต่ปัจจุบันคงเหลือผู้มีสิทธิ์รับเงินเยียวยาแต่กระทรวงการคลังไม่สามารถโอนเงินให้ได้ จํานวนประมาณ 70,000 คน นายลวรณ แสงสนิท ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้ดําเนินมาตรการเยียวยา 5,000 บาท (มาตรการเราไม่ทิ้งกัน) เสร็จสิ้นแล้วและผู้มีสิทธิ์รับเงินเยียวยาทั้งหมด 15.3 ล้านคน แต่ปัจจุบันคงเหลือผู้มีสิทธิ์รับเงินเยียวยาแต่กระทรวงการคลังไม่สามารถโอนเงินให้ได้ จํานวนประมาณ 70,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาเกี่ยวกับบัญชีรับเงิน เช่น ยังไม่มีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขบัตรประชาชน หรือบัญชีปิด เป็นต้น กระทรวงการคลังได้พยายามโอนเงินซ้ํา (Retry) อย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์จนถึงปัจจุบัน พร้อมทั้งส่งข้อความ SMS แจ้งไปยังหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ใช้ลงทะเบียน แต่ยังโอนเงินไม่สําเร็จ ส่วนหนึ่งคาดว่าอาจมีการเปลี่ยนแปลงหมายเลขโทรศัพท์มือถือ ดังนั้น กระทรวงการคลังจึงได้เพิ่มช่องทางให้ตรวจสอบว่า ท่านอยู่ในกลุ่มผู้มีสิทธิ์ที่กระทรวงการคลังโอนเงินไม่สําเร็จหรือไม่ ผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ปุ่มสีเขียวเข้ม “ผู้มีสิทธิ์ที่ยังโอนเงินไม่สําเร็จ” และกรอกเลขบัตรประชาชน หากตรวจแล้วพบว่าท่านมีชื่ออยู่ในกลุ่มผู้มีสิทธิ์ที่ยังโอนเงินไม่สําเร็จ ขอให้รีบไปติดต่อธนาคารใดก็ได้ที่ท่านมีบัญชีอยู่ และดําเนินการผูกพร้อมเพย์ด้วยเลขบัตรประชาชนโดยเร็ว โดยกระทรวงการคลังจะพิจารณาปิดโครงการและยุติการโอนเงินในระยะเวลาที่เหมาะสมต่อไป โฆษกกระทรวงการคลังย้ําเพิ่มเติมว่า กระทรวงการคลังไม่ได้เปิดลงทะเบียนเพิ่มเติมหรือไม่ได้แจ้งชื่อผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินเพิ่มเติมแต่อย่างใด การเปิดให้ตรวจสอบผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ปุ่มสีเขียวเข้มนั้น เป็นการตรวจสอบว่าท่านมีรายชื่ออยู่ในกลุ่มที่โอนเงินไม่สําเร็จหรือไม่เท่านั้น เพื่อให้สามารถโอนเงินถึงมือผู้มีสิทธิ์ได้อย่างครบถ้วน ทั้งนี้ สามารถเข้าไปตรวจสอบรายชื่อได้ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3569 3556 และ 3566
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เพิ่มปุ่มสีเขียวเข้ม สำหรับตรวจสอบผู้มีสิทธิ์รับเงินเยียวยา 5,000 บาท แต่ยังโอนเงินไม่สำเร็จ วันอังคารที่ 11 สิงหาคม 2563 เพิ่มปุ่มสีเขียวเข้ม สําหรับตรวจสอบผู้มีสิทธิ์รับเงินเยียวยา 5,000 บาท แต่ยังโอนเงินไม่สําเร็จ กระทรวงการคลังได้ดําเนินมาตรการเยียวยา 5,000 บาท (มาตรการเราไม่ทิ้งกัน) เสร็จสิ้นแล้วและผู้มีสิทธิ์รับเงินเยียวยาทั้งหมด 15.3 ล้านคน แต่ปัจจุบันคงเหลือผู้มีสิทธิ์รับเงินเยียวยาแต่กระทรวงการคลังไม่สามารถโอนเงินให้ได้ จํานวนประมาณ 70,000 คน นายลวรณ แสงสนิท ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้ดําเนินมาตรการเยียวยา 5,000 บาท (มาตรการเราไม่ทิ้งกัน) เสร็จสิ้นแล้วและผู้มีสิทธิ์รับเงินเยียวยาทั้งหมด 15.3 ล้านคน แต่ปัจจุบันคงเหลือผู้มีสิทธิ์รับเงินเยียวยาแต่กระทรวงการคลังไม่สามารถโอนเงินให้ได้ จํานวนประมาณ 70,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาเกี่ยวกับบัญชีรับเงิน เช่น ยังไม่มีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขบัตรประชาชน หรือบัญชีปิด เป็นต้น กระทรวงการคลังได้พยายามโอนเงินซ้ํา (Retry) อย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์จนถึงปัจจุบัน พร้อมทั้งส่งข้อความ SMS แจ้งไปยังหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ใช้ลงทะเบียน แต่ยังโอนเงินไม่สําเร็จ ส่วนหนึ่งคาดว่าอาจมีการเปลี่ยนแปลงหมายเลขโทรศัพท์มือถือ ดังนั้น กระทรวงการคลังจึงได้เพิ่มช่องทางให้ตรวจสอบว่า ท่านอยู่ในกลุ่มผู้มีสิทธิ์ที่กระทรวงการคลังโอนเงินไม่สําเร็จหรือไม่ ผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ปุ่มสีเขียวเข้ม “ผู้มีสิทธิ์ที่ยังโอนเงินไม่สําเร็จ” และกรอกเลขบัตรประชาชน หากตรวจแล้วพบว่าท่านมีชื่ออยู่ในกลุ่มผู้มีสิทธิ์ที่ยังโอนเงินไม่สําเร็จ ขอให้รีบไปติดต่อธนาคารใดก็ได้ที่ท่านมีบัญชีอยู่ และดําเนินการผูกพร้อมเพย์ด้วยเลขบัตรประชาชนโดยเร็ว โดยกระทรวงการคลังจะพิจารณาปิดโครงการและยุติการโอนเงินในระยะเวลาที่เหมาะสมต่อไป โฆษกกระทรวงการคลังย้ําเพิ่มเติมว่า กระทรวงการคลังไม่ได้เปิดลงทะเบียนเพิ่มเติมหรือไม่ได้แจ้งชื่อผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินเพิ่มเติมแต่อย่างใด การเปิดให้ตรวจสอบผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ปุ่มสีเขียวเข้มนั้น เป็นการตรวจสอบว่าท่านมีรายชื่ออยู่ในกลุ่มที่โอนเงินไม่สําเร็จหรือไม่เท่านั้น เพื่อให้สามารถโอนเงินถึงมือผู้มีสิทธิ์ได้อย่างครบถ้วน ทั้งนี้ สามารถเข้าไปตรวจสอบรายชื่อได้ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3569 3556 และ 3566
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34135
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บสย. สร้างประวัติศาสตร์ “ค้ำประกันสินเชื่อ” ทุบสถิติ 5 เดือน 100,000 ล้านบาท จูงมือ SMEs …. เราไม่ทิ้งกัน [กระทรวงการคลัง]
วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม 2563 บสย. สร้างประวัติศาสตร์ “ค้ําประกันสินเชื่อ” ทุบสถิติ 5 เดือน 100,000 ล้านบาท จูงมือ SMEs .... เราไม่ทิ้งกัน [กระทรวงการคลัง] บสย. ประกาศความสําเร็จครั้งใหญ่เข้าสู่ 29 ปี ช่วยผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงสินเชื่อ ทุบสถิติอนุมัติค้ําประกันสินเชื่อ เร็วสุด มากสุด 5 เดือน 100,000 ล้านบาท จูงมือ SMEs ....เราไม่ทิ้งกัน ร่วมฝ่าวิกฤต COVID-19 เติมทุน เสริมสภาพคล่อง บสย. ประกาศความสําเร็จครั้งใหญ่เข้าสู่ 29 ปี ช่วยผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงสินเชื่อ ทุบสถิติอนุมัติค้ําประกันสินเชื่อ เร็วสุด มากสุด 5 เดือน 100,000 ล้านบาท จูงมือ SMEs ....เราไม่ทิ้งกัน ร่วมฝ่าวิกฤต COVID-19 เติมทุน เสริมสภาพคล่อง เผยยังมีวงเงินอีก 40,000 ล้านบาท พร้อมเทหมดหน้าตักเพื่อ SMEs ทุกกลุ่ม ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ประกาศความสําเร็จครั้งใหญ่ ช่วยผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงสินเชื่อ โดยสามารถอนุมัติค้ําประกันสินเชื่อ ทะลุ 100,000 ล้านบาทแล้วในวันนี้ โดย 5 เดือนแรกของปี 2563 ทําลายสถิติสูงสุดนับตั้งแต่ก่อตั้ง บสย. ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจ และผู้ประกอบการ SMEs อย่างรุนแรง ปัจจัยความสําเร็จมาจากการสนับสนุนการทํางานด้านนโยบายของรัฐบาล ได้แก่ 1.นโยบายรัฐบาลและมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ต่อเนื่อง โดยใช้กลไกค้ําประกันสินเชื่อ บสย. 2.มาตรการรัฐบาลในการสนับสนุนงบประมาณที่ช่วยลดต้นทุนธุรกิจ โดยการจ่ายค่าธรรมเนียมค้ําประกันสินเชื่อใน 2 ปีแรกแทนผู้ประกอบการ SMEs และการได้รับการสนับสนุนจากธนาคารพันธมิตร เพื่อเร่งปล่อยสินเชื่อให้กับภาคธุรกิจทุกกลุ่ม นอกจากนี้ ในรอบ 5 เดือนที่ผ่านมา บสย. ได้ปรับกระบวนการทํางานภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการในการอนุมัติหนังสือค้ําประกันสินเชื่อที่ปรับให้เร็วขึ้น จากเฉลี่ยวันละ 300 ฉบับ เป็นวันละ 1,400 ฉบับซึ่งได้รับความร่วมมือจากธนาคารพันธมิตรอย่างดีเยี่ยมเพื่อให้กระบวนการอนุมัติหนังสือค้ําประกันสินเชื่อ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ความต้องการสินเชื่อของผู้ประกอบการ SMEs ที่รอวงเงินเป็นจํานวนมาก ทั้งนี้รัฐบาลและกระทรวงการคลัง ยังได้สนับสนุนให้ บสย. มีการดําเนินการได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบการเข้าถึงสินเชื่อของ SMEs โดยมติ ครม. เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2563 เห็นชอบอนุมัติวงเงินในโครงการค้ําประกันสินเชื่อ บสย. SMEs สร้างไทย จํานวน 10,000 ล้านบาท และ บสย. ยังได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ บสย. เมื่อวันที่ 25พฤษภาคม 2563 ให้ปรับโครงการค้ําประกันสินเชื่อรายสถาบัน ทําให้ บสย. มีวงเงินค้ําประกันสินเชื่ออีกจํานวน 40,000 ล้านบาท ที่พร้อมเทหมดหน้าตัก เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs ได้เข้าถึงสินเชื่อมากที่สุดทันเวลา ร่วมพยุงตัวฝ่าวิกฤตไปด้วยกัน
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บสย. สร้างประวัติศาสตร์ “ค้ำประกันสินเชื่อ” ทุบสถิติ 5 เดือน 100,000 ล้านบาท จูงมือ SMEs …. เราไม่ทิ้งกัน [กระทรวงการคลัง] วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม 2563 บสย. สร้างประวัติศาสตร์ “ค้ําประกันสินเชื่อ” ทุบสถิติ 5 เดือน 100,000 ล้านบาท จูงมือ SMEs .... เราไม่ทิ้งกัน [กระทรวงการคลัง] บสย. ประกาศความสําเร็จครั้งใหญ่เข้าสู่ 29 ปี ช่วยผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงสินเชื่อ ทุบสถิติอนุมัติค้ําประกันสินเชื่อ เร็วสุด มากสุด 5 เดือน 100,000 ล้านบาท จูงมือ SMEs ....เราไม่ทิ้งกัน ร่วมฝ่าวิกฤต COVID-19 เติมทุน เสริมสภาพคล่อง บสย. ประกาศความสําเร็จครั้งใหญ่เข้าสู่ 29 ปี ช่วยผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงสินเชื่อ ทุบสถิติอนุมัติค้ําประกันสินเชื่อ เร็วสุด มากสุด 5 เดือน 100,000 ล้านบาท จูงมือ SMEs ....เราไม่ทิ้งกัน ร่วมฝ่าวิกฤต COVID-19 เติมทุน เสริมสภาพคล่อง เผยยังมีวงเงินอีก 40,000 ล้านบาท พร้อมเทหมดหน้าตักเพื่อ SMEs ทุกกลุ่ม ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ประกาศความสําเร็จครั้งใหญ่ ช่วยผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงสินเชื่อ โดยสามารถอนุมัติค้ําประกันสินเชื่อ ทะลุ 100,000 ล้านบาทแล้วในวันนี้ โดย 5 เดือนแรกของปี 2563 ทําลายสถิติสูงสุดนับตั้งแต่ก่อตั้ง บสย. ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจ และผู้ประกอบการ SMEs อย่างรุนแรง ปัจจัยความสําเร็จมาจากการสนับสนุนการทํางานด้านนโยบายของรัฐบาล ได้แก่ 1.นโยบายรัฐบาลและมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ต่อเนื่อง โดยใช้กลไกค้ําประกันสินเชื่อ บสย. 2.มาตรการรัฐบาลในการสนับสนุนงบประมาณที่ช่วยลดต้นทุนธุรกิจ โดยการจ่ายค่าธรรมเนียมค้ําประกันสินเชื่อใน 2 ปีแรกแทนผู้ประกอบการ SMEs และการได้รับการสนับสนุนจากธนาคารพันธมิตร เพื่อเร่งปล่อยสินเชื่อให้กับภาคธุรกิจทุกกลุ่ม นอกจากนี้ ในรอบ 5 เดือนที่ผ่านมา บสย. ได้ปรับกระบวนการทํางานภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการในการอนุมัติหนังสือค้ําประกันสินเชื่อที่ปรับให้เร็วขึ้น จากเฉลี่ยวันละ 300 ฉบับ เป็นวันละ 1,400 ฉบับซึ่งได้รับความร่วมมือจากธนาคารพันธมิตรอย่างดีเยี่ยมเพื่อให้กระบวนการอนุมัติหนังสือค้ําประกันสินเชื่อ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ความต้องการสินเชื่อของผู้ประกอบการ SMEs ที่รอวงเงินเป็นจํานวนมาก ทั้งนี้รัฐบาลและกระทรวงการคลัง ยังได้สนับสนุนให้ บสย. มีการดําเนินการได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบการเข้าถึงสินเชื่อของ SMEs โดยมติ ครม. เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2563 เห็นชอบอนุมัติวงเงินในโครงการค้ําประกันสินเชื่อ บสย. SMEs สร้างไทย จํานวน 10,000 ล้านบาท และ บสย. ยังได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ บสย. เมื่อวันที่ 25พฤษภาคม 2563 ให้ปรับโครงการค้ําประกันสินเชื่อรายสถาบัน ทําให้ บสย. มีวงเงินค้ําประกันสินเชื่ออีกจํานวน 40,000 ล้านบาท ที่พร้อมเทหมดหน้าตัก เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs ได้เข้าถึงสินเชื่อมากที่สุดทันเวลา ร่วมพยุงตัวฝ่าวิกฤตไปด้วยกัน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/31630
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นรม. ปลื้ม ตลาด อ.ต.ก.ติด 1 ใน 10 ตลาดสด ที่ดีที่สุดในโลก แนะท้องถิ่นและเอกชน ควรพัฒนาตลาดให้มีคุณภาพทัดเทียม อ.ต.ก.
วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน 2560 นรม. ปลื้ม ตลาด อ.ต.ก.ติด 1 ใน 10 ตลาดสด ที่ดีที่สุดในโลก แนะท้องถิ่นและเอกชน ควรพัฒนาตลาดให้มีคุณภาพทัดเทียม อ.ต.ก. นายกรัฐมนตรียินดีที่เว็บไซต์ข่าว CNN ได้จัดอันดับให้ตลาดองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร หรือ ตลาด อ.ต.ก.ใน กทม.เป็น 1 ใน 10 ตลาดสดที่ดีที่สุดในโลก โดยอยู่ในอันดับที่ 4 รองจากตลาดในสเปน ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ วันนี้ (20 เมษายน 2560) พลโท สรรเสริญ แก้วกําเนิด โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รู้สึกยินดีที่เว็บไซต์ข่าว CNN ได้จัดอันดับให้ตลาดองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร หรือ ตลาด อ.ต.ก.ใน กทม.เป็น 1 ใน 10 ตลาดสดที่ดีที่สุดในโลก โดยอยู่ในอันดับที่ 4 รองจากตลาดในสเปน ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ “ท่านนายกฯ พอใจที่ตลาดสดของไทยมีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในระดับโลก โดยถือเป็นตลาดสดสุดสัปดาห์ที่เต็มไปด้วยผัก ผลไม้ อาหารทะเล อาหารสด อาหารปรุงสุก ของหวาน และอื่นๆ ที่หาได้เฉพาะในประเทศไทย รวมทั้งมีสินค้าจากประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชียจัดจําหน่าย และยังมีจุดเด่นคือ ความสะอาด และติดไฟสว่าง ทําให้ผู้ซื้อสามารถเลือกซื้ออาหารได้สะดวก” ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีขอให้ตลาด อ.ต.ก.รักษาคุณภาพมาตรฐานเช่นนี้ไว้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งอยากให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีตลาดสดในความรับผิดชอบ และตลาดสดแห่งอื่น ๆ ของภาคเอกชน นําตัวอย่างการพัฒนาของตลาด อ.ต.ก. ไปปรับประยุกต์ใช้กับตลาดของตนให้ดียิ่งขึ้นด้วย สําหรบ 10 อันดับของตลาดสดที่ดีที่สุดในโลก ได้แก่ 1.ตลาดลา โบเกเรีย เมืองบาเซโลนา ประเทศสเปน 2.ตลาดปลาสึกิจิ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น 3.ตลาดยูเนี่ยน สแควร์ ฟาร์เมอร์ นิวยอร์ก สหรัฐฯ 4.ตลาด อ.ต.ก. กรุงเทพฯ ประเทศไทย 5.ตลาดเซนต์ลอว์เรนซ์ เมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา 6.ตลาดโบโรห์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ 7.ตลาดครีตา อาเยอร์ สิงคโปร์ 8.ตลาดแลงแคสเตอร์ เซนทรัล เพนซิลเวเนีย สหรัฐฯ 9.ตลาดโพรวองกาล เมืองอองตีบส์ ประเทศฝรั่งเศส 10.ตลาดเกาลูน ซิตี้ ฮ่องกง .................. สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นรม. ปลื้ม ตลาด อ.ต.ก.ติด 1 ใน 10 ตลาดสด ที่ดีที่สุดในโลก แนะท้องถิ่นและเอกชน ควรพัฒนาตลาดให้มีคุณภาพทัดเทียม อ.ต.ก. วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน 2560 นรม. ปลื้ม ตลาด อ.ต.ก.ติด 1 ใน 10 ตลาดสด ที่ดีที่สุดในโลก แนะท้องถิ่นและเอกชน ควรพัฒนาตลาดให้มีคุณภาพทัดเทียม อ.ต.ก. นายกรัฐมนตรียินดีที่เว็บไซต์ข่าว CNN ได้จัดอันดับให้ตลาดองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร หรือ ตลาด อ.ต.ก.ใน กทม.เป็น 1 ใน 10 ตลาดสดที่ดีที่สุดในโลก โดยอยู่ในอันดับที่ 4 รองจากตลาดในสเปน ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ วันนี้ (20 เมษายน 2560) พลโท สรรเสริญ แก้วกําเนิด โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รู้สึกยินดีที่เว็บไซต์ข่าว CNN ได้จัดอันดับให้ตลาดองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร หรือ ตลาด อ.ต.ก.ใน กทม.เป็น 1 ใน 10 ตลาดสดที่ดีที่สุดในโลก โดยอยู่ในอันดับที่ 4 รองจากตลาดในสเปน ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ “ท่านนายกฯ พอใจที่ตลาดสดของไทยมีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในระดับโลก โดยถือเป็นตลาดสดสุดสัปดาห์ที่เต็มไปด้วยผัก ผลไม้ อาหารทะเล อาหารสด อาหารปรุงสุก ของหวาน และอื่นๆ ที่หาได้เฉพาะในประเทศไทย รวมทั้งมีสินค้าจากประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชียจัดจําหน่าย และยังมีจุดเด่นคือ ความสะอาด และติดไฟสว่าง ทําให้ผู้ซื้อสามารถเลือกซื้ออาหารได้สะดวก” ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีขอให้ตลาด อ.ต.ก.รักษาคุณภาพมาตรฐานเช่นนี้ไว้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งอยากให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีตลาดสดในความรับผิดชอบ และตลาดสดแห่งอื่น ๆ ของภาคเอกชน นําตัวอย่างการพัฒนาของตลาด อ.ต.ก. ไปปรับประยุกต์ใช้กับตลาดของตนให้ดียิ่งขึ้นด้วย สําหรบ 10 อันดับของตลาดสดที่ดีที่สุดในโลก ได้แก่ 1.ตลาดลา โบเกเรีย เมืองบาเซโลนา ประเทศสเปน 2.ตลาดปลาสึกิจิ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น 3.ตลาดยูเนี่ยน สแควร์ ฟาร์เมอร์ นิวยอร์ก สหรัฐฯ 4.ตลาด อ.ต.ก. กรุงเทพฯ ประเทศไทย 5.ตลาดเซนต์ลอว์เรนซ์ เมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา 6.ตลาดโบโรห์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ 7.ตลาดครีตา อาเยอร์ สิงคโปร์ 8.ตลาดแลงแคสเตอร์ เซนทรัล เพนซิลเวเนีย สหรัฐฯ 9.ตลาดโพรวองกาล เมืองอองตีบส์ ประเทศฝรั่งเศส 10.ตลาดเกาลูน ซิตี้ ฮ่องกง .................. สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/3169
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“มนัญญา” ลั่นกลอง มหกรรมของดีเมืองอุทัยธานี ประจำปี 2562
วันจันทร์ที่ 2 กันยายน 2562 “มนัญญา” ลั่นกลอง มหกรรมของดีเมืองอุทัยธานี ประจําปี 2562 “มนัญญา” ลั่นกลอง มหกรรมของดีเมืองอุทัยธานี ประจําปี 2562 รุกสร้างโอกาสทางการค้าต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น รองรับความต้องการของผู้บริโภค นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในโอกาสเป็นประธานในพิธีเปิดงาน “มหกรรมของดีเมืองอุทัยธานี ประจําปี 2562” ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า รัตนาธิเบศร์ อําเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ว่า การจัดงานมหกรรมของดีเมืองอุทัยธานี ประจําปี 2562 ที่กําหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม ถึงวันที่ 1 กันยายน 2562 นี้ เป็นการบูรณาการของทุกภาคส่วนในจังหวัดอุทัยธานี เพื่อสร้างโอกาสทางการค้า การพัฒนาศักยภาพ และเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นการรวมกลุ่มผู้ผลิต การแปรรูปสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่า รวมไปถึงการนําผลิตภัณฑ์และสถานที่ท่องเที่ยวที่โดดเด่นของจังหวัดอุทัยธานี มาเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ประกอบไปด้วย ผู้ประกอบการ OTOP, SMEs กลุ่มประมง กลุ่มสัมมาชีพและกลุ่มอาชีพ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกร Young smart farmer กลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารและการแปรรูปอาหาร “ อุทัยธานี เป็นจังหวัดเล็กๆ มี 8 อําเภอ แต่ละอําเภอมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน เช่น ที่อําเภอบ้านไร่ มีวัฒนธรรมชาติพันธ์ุของชาวกะเหรี่ยง ชาวมอญ ที่อําเภอแก่นมะกรูด มีดอกไม้และผลไม้เมืองหนาวรสชาติอร่อยให้รับประทาน หรือถ้าอยากดูสัตว์ป่า ก็ให้ไปดูได้ที่อําเภอลานสัก นอกจากนี้ ยังมีปลาแรดที่ขึ้นชื่อในเรื่องความอร่อยอีกด้วย จึงขอเชิญชวนประชาชนทุกท่านเข้าไปเที่ยวชม อุดหนุนซื้อสินค้าของจังหวัดอุทัยธานีได้ และมาเที่ยวชม ชิม ช็อป งานมหกรรมของดีเมืองอุทัยธานี ซึ่งเป็นการรวมของดีเมืองอุทัยธานีมาให้ผู้บริโภคได้อุดหนุนโดยนอกจากในงานจะนําศิลปวัฒนธรรมของชาวอุทัยธานี มาเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นแล้ว ยังเป็นช่องทางในการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น การต่อยอดความคิดอย่างสร้างสรรค์และสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค อันจะเป็นการขยายตลาดและกระจายสินค้าได้มากขึ้น ซึ่งในการจัดงานครั้งนี้จะมีการเจรจาจับคู่ธุรกิจด้วย จึงเป็นการยกระดับรายได้และชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอุทัยธานีให้ดียิ่งขึ้น” นางสาวมนัญญา กล่าว การจัดงานมหกรรมของดีเมืองอุทัยธานีในครั้งนี้ มีการออกร้าน จํานวน 50 ร้านค้า จากกลุ่มผลิตภัณฑ์ต่างๆของจังหวัดอุทัยธานี อาทิ ผ้าปัก ผ้าทอลายโบราณ กะลาบําบัดโรค กระเป๋าผ้า ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง เครื่องประดับเงิน ข้าวหอมนิลจากมือชาวนา ผัดปลอดสาร GAP ข้าวโพดหวานแดงราชินีทับทิมสยาม ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วย ข้าวไรซ์เบอรี่ ขนมรังผึ้งจากแป้งข้าวอินทรีย์ เมล่อน กาแฟสดแก่นมะกรูด และสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ อีกมากมายที่พร้อมให้ผู้บริโภคเข้ามาชม ชิม ช็อป นอกจากนี้ ยังมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมของนักเรียนและนักแสดงพื้นบ้าน ที่มาร่วมเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของชาวจังหวัดอุทัยธานี การแสดงมินิคอนเสิร์ตจากนักดนตรีที่มีชื่อเสียง อีกทั้งจัดกิจกรรมช่วงสินค้านาทีทองเพื่อกระตุ้นการขาย รวมไปถึงการจับสลากชิงรางวัล เพื่อเป็นการคืนกําไรให้กับผู้ซื้อสินค้าในงานนี้อีกด้วย สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร 02-2810859 แฟกซ์ 02-2822871 [email protected] www.moac.go.th www.facebook.com/kasetthai
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“มนัญญา” ลั่นกลอง มหกรรมของดีเมืองอุทัยธานี ประจำปี 2562 วันจันทร์ที่ 2 กันยายน 2562 “มนัญญา” ลั่นกลอง มหกรรมของดีเมืองอุทัยธานี ประจําปี 2562 “มนัญญา” ลั่นกลอง มหกรรมของดีเมืองอุทัยธานี ประจําปี 2562 รุกสร้างโอกาสทางการค้าต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น รองรับความต้องการของผู้บริโภค นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในโอกาสเป็นประธานในพิธีเปิดงาน “มหกรรมของดีเมืองอุทัยธานี ประจําปี 2562” ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า รัตนาธิเบศร์ อําเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ว่า การจัดงานมหกรรมของดีเมืองอุทัยธานี ประจําปี 2562 ที่กําหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม ถึงวันที่ 1 กันยายน 2562 นี้ เป็นการบูรณาการของทุกภาคส่วนในจังหวัดอุทัยธานี เพื่อสร้างโอกาสทางการค้า การพัฒนาศักยภาพ และเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นการรวมกลุ่มผู้ผลิต การแปรรูปสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่า รวมไปถึงการนําผลิตภัณฑ์และสถานที่ท่องเที่ยวที่โดดเด่นของจังหวัดอุทัยธานี มาเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ประกอบไปด้วย ผู้ประกอบการ OTOP, SMEs กลุ่มประมง กลุ่มสัมมาชีพและกลุ่มอาชีพ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกร Young smart farmer กลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารและการแปรรูปอาหาร “ อุทัยธานี เป็นจังหวัดเล็กๆ มี 8 อําเภอ แต่ละอําเภอมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน เช่น ที่อําเภอบ้านไร่ มีวัฒนธรรมชาติพันธ์ุของชาวกะเหรี่ยง ชาวมอญ ที่อําเภอแก่นมะกรูด มีดอกไม้และผลไม้เมืองหนาวรสชาติอร่อยให้รับประทาน หรือถ้าอยากดูสัตว์ป่า ก็ให้ไปดูได้ที่อําเภอลานสัก นอกจากนี้ ยังมีปลาแรดที่ขึ้นชื่อในเรื่องความอร่อยอีกด้วย จึงขอเชิญชวนประชาชนทุกท่านเข้าไปเที่ยวชม อุดหนุนซื้อสินค้าของจังหวัดอุทัยธานีได้ และมาเที่ยวชม ชิม ช็อป งานมหกรรมของดีเมืองอุทัยธานี ซึ่งเป็นการรวมของดีเมืองอุทัยธานีมาให้ผู้บริโภคได้อุดหนุนโดยนอกจากในงานจะนําศิลปวัฒนธรรมของชาวอุทัยธานี มาเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นแล้ว ยังเป็นช่องทางในการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น การต่อยอดความคิดอย่างสร้างสรรค์และสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค อันจะเป็นการขยายตลาดและกระจายสินค้าได้มากขึ้น ซึ่งในการจัดงานครั้งนี้จะมีการเจรจาจับคู่ธุรกิจด้วย จึงเป็นการยกระดับรายได้และชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอุทัยธานีให้ดียิ่งขึ้น” นางสาวมนัญญา กล่าว การจัดงานมหกรรมของดีเมืองอุทัยธานีในครั้งนี้ มีการออกร้าน จํานวน 50 ร้านค้า จากกลุ่มผลิตภัณฑ์ต่างๆของจังหวัดอุทัยธานี อาทิ ผ้าปัก ผ้าทอลายโบราณ กะลาบําบัดโรค กระเป๋าผ้า ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง เครื่องประดับเงิน ข้าวหอมนิลจากมือชาวนา ผัดปลอดสาร GAP ข้าวโพดหวานแดงราชินีทับทิมสยาม ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วย ข้าวไรซ์เบอรี่ ขนมรังผึ้งจากแป้งข้าวอินทรีย์ เมล่อน กาแฟสดแก่นมะกรูด และสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ อีกมากมายที่พร้อมให้ผู้บริโภคเข้ามาชม ชิม ช็อป นอกจากนี้ ยังมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมของนักเรียนและนักแสดงพื้นบ้าน ที่มาร่วมเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของชาวจังหวัดอุทัยธานี การแสดงมินิคอนเสิร์ตจากนักดนตรีที่มีชื่อเสียง อีกทั้งจัดกิจกรรมช่วงสินค้านาทีทองเพื่อกระตุ้นการขาย รวมไปถึงการจับสลากชิงรางวัล เพื่อเป็นการคืนกําไรให้กับผู้ซื้อสินค้าในงานนี้อีกด้วย สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร 02-2810859 แฟกซ์ 02-2822871 [email protected] www.moac.go.th www.facebook.com/kasetthai
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/22722
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมการจัดหางาน ประกาศกำหนดเงื่อนไขการรับคนต่างด้าวเข้าทำงานกรรมกรและงานขายของหน้าร้าน
วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน 2563 กรมการจัดหางาน ประกาศกําหนดเงื่อนไขการรับคนต่างด้าวเข้าทํางานกรรมกรและงานขายของหน้าร้าน กรมการจัดหางาน ออกประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง เงื่อนไขการรับคนต่างด้าวเข้าทํางานกรรมกรและงานขายของ หน้าร้านกับนายจ้าง ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป ได้กําหนดหลักเกณฑ์ การรับคนต่างด้าวเข้าทํางานขายของหน้าร้านและงานกรรมกรให้นายจ้างและคนต่างด้าวปฏิบัติตาม เพื่อประโยชน์ในการรักษาโอกาสในการประกอบอาชีพของคนไทย และควบคุมการรับคนต่างด้าวเข้าทํางานดังกล่าว กับนายจ้างในประเทศให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยคํานึงถึงความมั่นคงของชาติ และความต้องการแรงงาน ต่างด้าวที่จําเป็นต่อการพัฒนาประเทศ นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า เนื่องจากตามข้อ 5 วรรคสอง ของประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กําหนดงานที่ห้ามคนต่างด้าวทํา ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ได้กําหนดให้อธิบดีกรมการจัดหางานออกประกาศกําหนดเงื่อนไขการรับคนต่างด้าวเข้าทํางานกรรมกรและงานขายของหน้าร้าน ซึ่งเป็นงานที่ห้ามคนต่างด้าวทําในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร โดยมีเงื่อนไขให้คนต่างด้าวทํางานนั้นได้ก็เฉพาะงานที่มีนายจ้าง และได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองภายใต้บันทึกความตกลงหรือบันทึความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทําไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ (MOU) ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงแรงงานกําหนดงานที่ห้ามคนต่างด้าวทํา โดยที่ก่อนออกประกาศกําหนดเงื่อนไขการรับคนต่างด้าวเข้าทํางานกรรมกรและงานขายของหน้าร้าน กรมการจัดหางานได้รับฟังความคิดเห็นทั้งจากหน่วยงานราชการ และหน่วยงานภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องแล้ว กรมการจัดหางานจึงออกประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง เงื่อนไขการรับคนต่างด้าวเข้าทางานกรรมกรและงานขายของ หน้าร้านกับนายจ้าง ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป เพื่อกําหนดเงื่อนไขการรับคนต่างด้าวเข้าทํางานกรรมกรและงานขายของหน้าร้าน โดยงานขายของหน้าร้านกําหนดคุณสมบัตินายจ้างที่จะรับคนต่างด้าวเข้าทํางานจะต้องเป็นผู้ประกอบการที่จดทะเบียนพาณิชย์ ตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์ หรือในกรณีร้านค้าที่ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ให้นายจ้างแสดงใบอนุญาต หนังสือรับรอง หรือเอกสารที่ทางราชการออกให้ เพื่อประกอบพาณิชยกิจ และนายจ้างต้องรับคนต่างด้าวทํางานขายของหน้าร้านตามหลักสัดส่วน สูงสุดไม่เกิน 20 คน ซึ่งพิจารณาจากหลักเกณฑ์การชําระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลในรอบปีภาษีที่ผ่านมา ที่กําหนดสัดส่วนการรับคนต่างด้าวได้ตั้งแต่ 1 - 10 คน ตามมูลค่าภาษีเงินได้ที่ได้ชําระแล้ว โดยกรณีที่รอบปีภาษีที่ผ่านมาได้ยื่นแบบแสดงภาษีเงินได้และได้รับยกเว้นการเรียกเก็บภาษีเงินได้ สามารถรับคนต่างด้าวทํางานขายของหน้าร้านได้ 1 คน กรณีที่ชําระภาษีเงินได้ตั้งแต่ 1 - 50,000 บาท สามารถรับคนต่างด้าวทํางานขายของหน้าร้านได้ 3 คน และในกรณีที่ชําระภาษีเงินได้เกินกว่า 50,000 บาท ทุก ๆ 50,000 บาท จ้างคนต่างด้าวทํางานขายของหน้าร้านเพิ่มได้ 1 คน ทั้งนี้ ไม่เกิน 10 คน และหากต้องการรับคนต่างด้าวเข้าทํางานเกินกว่า 10 คน ให้นําหลักเกณฑ์การจ้างงานมาใช้พิจารณา คือ นายจ้างที่มีลูกจ้างคนไทย 30 คน สามารถรับคนต่างด้าวเข้าทํางานเพิ่ม ได้ 1 คน และถ้ามีการจ้างคนไทยเพิ่มทุก ๆ 10 คน ให้รับคนต่างด้าวได้อีก 1 คน ซึ่งรวมทั้ง 2 หลักเกณฑ์แล้วนายจ้าง จะสามารถรับคนต่างเข้าทํางานขายของหน้าร้านได้ไม่เกิน 20 คน ส่วนการรับคนต่างด้าวเข้าทํางานกรรมกรนั้น ไม่ได้กําหนดเรื่องสัดส่วนจํานวนคนต่างด้าวที่จะรับคนต่างด้าวเข้าทํางานไว้ แต่คนต่างด้าวจะมีสิทธิทํางานกรรมกรและงานขายของหน้าร้านได้ ก็ต่อเมื่อในใบอนุญาตทํางานระบุสิทธิว่า สามารถทํางานกรรมกรหรืองานขายของหน้าร้านได้เท่านั้น โดยในงานขายของหน้าร้านต้องระบุนายจ้างด้วย ทั้งนี้ หากไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว คนต่างด้าวและนายจ้างจะมีความผิดตามพระราชกาหนดการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยคนต่างด้าวจะมีความผิดตามมาตรา 8 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000 ถึง 50,000 บาท และเมื่อได้ชําระค่าปรับแล้ว ให้ส่งคนต่างด้าวผู้นั้นกลับออกไปนอกราชอาณาจักรส่วนนายจ้างจะมีความผิดตามมาตรา 9 สําหรับการกระทําความผิดครั้งแรก ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 10,000 ถึง 100,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน และหากเป็นการกระทําความผิดครั้งที่สองต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 ถึง 200,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน หรือทั้งจําทั้งปรับ และห้ามผู้นั้นจ้างคนต่างด้าวทํางานเป็นเวลาสามปีนับแต่วันที่ศาล มีคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษ สาหรับกรณีที่ใบอนุญาตทํางาน ยังไม่ได้ระบุสิทธิว่าสามารถทํางานกรรมกร หรืองานขายของหน้าร้านได้ นายจ้าง/สถาน ประกอบการสามารถยื่นคําขอเปลี่ยนหรือเพิ่มประเภทงานกรรมกร หรืองานขายของหน้าร้านในใบอนุญาตทํางาน ได้ที่ สํานักงานจัดหางานจังหวัด หรือ สํานักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 ที่เป็นที่ตั้งสถานประกอบการ หรือโทรสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร. 1506 กด 2 กรมการจัดหางาน นายสุชาติฯ กล่าว
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมการจัดหางาน ประกาศกำหนดเงื่อนไขการรับคนต่างด้าวเข้าทำงานกรรมกรและงานขายของหน้าร้าน วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน 2563 กรมการจัดหางาน ประกาศกําหนดเงื่อนไขการรับคนต่างด้าวเข้าทํางานกรรมกรและงานขายของหน้าร้าน กรมการจัดหางาน ออกประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง เงื่อนไขการรับคนต่างด้าวเข้าทํางานกรรมกรและงานขายของ หน้าร้านกับนายจ้าง ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป ได้กําหนดหลักเกณฑ์ การรับคนต่างด้าวเข้าทํางานขายของหน้าร้านและงานกรรมกรให้นายจ้างและคนต่างด้าวปฏิบัติตาม เพื่อประโยชน์ในการรักษาโอกาสในการประกอบอาชีพของคนไทย และควบคุมการรับคนต่างด้าวเข้าทํางานดังกล่าว กับนายจ้างในประเทศให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยคํานึงถึงความมั่นคงของชาติ และความต้องการแรงงาน ต่างด้าวที่จําเป็นต่อการพัฒนาประเทศ นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า เนื่องจากตามข้อ 5 วรรคสอง ของประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กําหนดงานที่ห้ามคนต่างด้าวทํา ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ได้กําหนดให้อธิบดีกรมการจัดหางานออกประกาศกําหนดเงื่อนไขการรับคนต่างด้าวเข้าทํางานกรรมกรและงานขายของหน้าร้าน ซึ่งเป็นงานที่ห้ามคนต่างด้าวทําในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร โดยมีเงื่อนไขให้คนต่างด้าวทํางานนั้นได้ก็เฉพาะงานที่มีนายจ้าง และได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองภายใต้บันทึกความตกลงหรือบันทึความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทําไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ (MOU) ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงแรงงานกําหนดงานที่ห้ามคนต่างด้าวทํา โดยที่ก่อนออกประกาศกําหนดเงื่อนไขการรับคนต่างด้าวเข้าทํางานกรรมกรและงานขายของหน้าร้าน กรมการจัดหางานได้รับฟังความคิดเห็นทั้งจากหน่วยงานราชการ และหน่วยงานภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องแล้ว กรมการจัดหางานจึงออกประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง เงื่อนไขการรับคนต่างด้าวเข้าทางานกรรมกรและงานขายของ หน้าร้านกับนายจ้าง ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป เพื่อกําหนดเงื่อนไขการรับคนต่างด้าวเข้าทํางานกรรมกรและงานขายของหน้าร้าน โดยงานขายของหน้าร้านกําหนดคุณสมบัตินายจ้างที่จะรับคนต่างด้าวเข้าทํางานจะต้องเป็นผู้ประกอบการที่จดทะเบียนพาณิชย์ ตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์ หรือในกรณีร้านค้าที่ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ให้นายจ้างแสดงใบอนุญาต หนังสือรับรอง หรือเอกสารที่ทางราชการออกให้ เพื่อประกอบพาณิชยกิจ และนายจ้างต้องรับคนต่างด้าวทํางานขายของหน้าร้านตามหลักสัดส่วน สูงสุดไม่เกิน 20 คน ซึ่งพิจารณาจากหลักเกณฑ์การชําระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลในรอบปีภาษีที่ผ่านมา ที่กําหนดสัดส่วนการรับคนต่างด้าวได้ตั้งแต่ 1 - 10 คน ตามมูลค่าภาษีเงินได้ที่ได้ชําระแล้ว โดยกรณีที่รอบปีภาษีที่ผ่านมาได้ยื่นแบบแสดงภาษีเงินได้และได้รับยกเว้นการเรียกเก็บภาษีเงินได้ สามารถรับคนต่างด้าวทํางานขายของหน้าร้านได้ 1 คน กรณีที่ชําระภาษีเงินได้ตั้งแต่ 1 - 50,000 บาท สามารถรับคนต่างด้าวทํางานขายของหน้าร้านได้ 3 คน และในกรณีที่ชําระภาษีเงินได้เกินกว่า 50,000 บาท ทุก ๆ 50,000 บาท จ้างคนต่างด้าวทํางานขายของหน้าร้านเพิ่มได้ 1 คน ทั้งนี้ ไม่เกิน 10 คน และหากต้องการรับคนต่างด้าวเข้าทํางานเกินกว่า 10 คน ให้นําหลักเกณฑ์การจ้างงานมาใช้พิจารณา คือ นายจ้างที่มีลูกจ้างคนไทย 30 คน สามารถรับคนต่างด้าวเข้าทํางานเพิ่ม ได้ 1 คน และถ้ามีการจ้างคนไทยเพิ่มทุก ๆ 10 คน ให้รับคนต่างด้าวได้อีก 1 คน ซึ่งรวมทั้ง 2 หลักเกณฑ์แล้วนายจ้าง จะสามารถรับคนต่างเข้าทํางานขายของหน้าร้านได้ไม่เกิน 20 คน ส่วนการรับคนต่างด้าวเข้าทํางานกรรมกรนั้น ไม่ได้กําหนดเรื่องสัดส่วนจํานวนคนต่างด้าวที่จะรับคนต่างด้าวเข้าทํางานไว้ แต่คนต่างด้าวจะมีสิทธิทํางานกรรมกรและงานขายของหน้าร้านได้ ก็ต่อเมื่อในใบอนุญาตทํางานระบุสิทธิว่า สามารถทํางานกรรมกรหรืองานขายของหน้าร้านได้เท่านั้น โดยในงานขายของหน้าร้านต้องระบุนายจ้างด้วย ทั้งนี้ หากไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว คนต่างด้าวและนายจ้างจะมีความผิดตามพระราชกาหนดการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยคนต่างด้าวจะมีความผิดตามมาตรา 8 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000 ถึง 50,000 บาท และเมื่อได้ชําระค่าปรับแล้ว ให้ส่งคนต่างด้าวผู้นั้นกลับออกไปนอกราชอาณาจักรส่วนนายจ้างจะมีความผิดตามมาตรา 9 สําหรับการกระทําความผิดครั้งแรก ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 10,000 ถึง 100,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน และหากเป็นการกระทําความผิดครั้งที่สองต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 ถึง 200,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน หรือทั้งจําทั้งปรับ และห้ามผู้นั้นจ้างคนต่างด้าวทํางานเป็นเวลาสามปีนับแต่วันที่ศาล มีคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษ สาหรับกรณีที่ใบอนุญาตทํางาน ยังไม่ได้ระบุสิทธิว่าสามารถทํางานกรรมกร หรืองานขายของหน้าร้านได้ นายจ้าง/สถาน ประกอบการสามารถยื่นคําขอเปลี่ยนหรือเพิ่มประเภทงานกรรมกร หรืองานขายของหน้าร้านในใบอนุญาตทํางาน ได้ที่ สํานักงานจัดหางานจังหวัด หรือ สํานักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 ที่เป็นที่ตั้งสถานประกอบการ หรือโทรสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร. 1506 กด 2 กรมการจัดหางาน นายสุชาติฯ กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/32498
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“สคร. จัดเก็บเงินนำส่งรายได้แผ่นดินสะสม ณ สิ้นไตรมาสแรก ปีงบประมาณ 2563 จำนวน 72,387 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 38 ของเป้าหมายทั้งปี”
วันอังคารที่ 7 มกราคม 2563 “สคร. จัดเก็บเงินนําส่งรายได้แผ่นดินสะสม ณ สิ้นไตรมาสแรก ปีงบประมาณ 2563 จํานวน 72,387 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 38 ของเป้าหมายทั้งปี” ในเดือนธันวาคม 2562 สคร. จัดเก็บเงินนําส่งรายได้แผ่นดินจากรัฐวิสาหกิจและกิจการที่กระทรวงการคลังถือหุ้นต่ํากว่าร้อยละ 50 จํานวน 4,465 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 136 ของประมาณการ จํานวน 3,275 ล้านบาท นายประภาศ คงเอียด ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ในเดือนธันวาคม 2562 สคร. จัดเก็บเงินนําส่งรายได้แผ่นดินจากรัฐวิสาหกิจและกิจการที่กระทรวงการคลังถือหุ้นต่ํากว่าร้อยละ 50 จํานวน 4,465 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 136 ของประมาณการ จํานวน 3,275 ล้านบาท ส่งผลให้มีเงินนําส่งรายได้แผ่นดินสะสม ณ สิ้นไตรมาสแรก ปีงบประมาณ 2563 จํานวน 72,387 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 109 ของประมาณการเงินนําส่งรายได้แผ่นดินสะสม จํานวน 66,452 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 38 ของเป้าหมายทั้งปี (เดือนตุลาคม 2562 – เดือนกันยายน 2563) จํานวน 188,800 ล้านบาท นายชาญวิทย์ นาคบุรี รองผู้อํานวยการ สคร. รักษาการในตําแหน่งที่ปรึกษาด้านการประเมินผลรัฐวิสาหกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า รัฐวิสาหกิจที่นําส่งรายได้แผ่นดินสะสมสูงสุด 10 อันดับแรกในปีงบประมาณ 2563 นําส่งรายได้แผ่นดิน คิดเป็นร้อยละ 96 ของเงินนําส่งรายได้ทั้งหมด โดยสรุปได้ดังนี้ ลําดับที่ รัฐวิสาหกิจ เงินนําส่งรายได้แผ่นดิน (หน่วย : ล้านบาท) 1 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 18,301 2 สํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 15,428 3 บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) 13,139 4 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 5,733 5 ธนาคารออมสิน 5,409 6 บริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) 3,891 7 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 2,414 8 การไฟฟ้านครหลวง 2,350 9 การท่าเรือแห่งประเทศไทย 2,100 10 บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด 1,034 11 อื่นๆ 2,588 รวม 72,387 สํานักนโยบายและแผนรัฐวิสาหกิจ สํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ โทร. 0 2298 5880-7 ต่อ 3157
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“สคร. จัดเก็บเงินนำส่งรายได้แผ่นดินสะสม ณ สิ้นไตรมาสแรก ปีงบประมาณ 2563 จำนวน 72,387 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 38 ของเป้าหมายทั้งปี” วันอังคารที่ 7 มกราคม 2563 “สคร. จัดเก็บเงินนําส่งรายได้แผ่นดินสะสม ณ สิ้นไตรมาสแรก ปีงบประมาณ 2563 จํานวน 72,387 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 38 ของเป้าหมายทั้งปี” ในเดือนธันวาคม 2562 สคร. จัดเก็บเงินนําส่งรายได้แผ่นดินจากรัฐวิสาหกิจและกิจการที่กระทรวงการคลังถือหุ้นต่ํากว่าร้อยละ 50 จํานวน 4,465 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 136 ของประมาณการ จํานวน 3,275 ล้านบาท นายประภาศ คงเอียด ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ในเดือนธันวาคม 2562 สคร. จัดเก็บเงินนําส่งรายได้แผ่นดินจากรัฐวิสาหกิจและกิจการที่กระทรวงการคลังถือหุ้นต่ํากว่าร้อยละ 50 จํานวน 4,465 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 136 ของประมาณการ จํานวน 3,275 ล้านบาท ส่งผลให้มีเงินนําส่งรายได้แผ่นดินสะสม ณ สิ้นไตรมาสแรก ปีงบประมาณ 2563 จํานวน 72,387 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 109 ของประมาณการเงินนําส่งรายได้แผ่นดินสะสม จํานวน 66,452 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 38 ของเป้าหมายทั้งปี (เดือนตุลาคม 2562 – เดือนกันยายน 2563) จํานวน 188,800 ล้านบาท นายชาญวิทย์ นาคบุรี รองผู้อํานวยการ สคร. รักษาการในตําแหน่งที่ปรึกษาด้านการประเมินผลรัฐวิสาหกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า รัฐวิสาหกิจที่นําส่งรายได้แผ่นดินสะสมสูงสุด 10 อันดับแรกในปีงบประมาณ 2563 นําส่งรายได้แผ่นดิน คิดเป็นร้อยละ 96 ของเงินนําส่งรายได้ทั้งหมด โดยสรุปได้ดังนี้ ลําดับที่ รัฐวิสาหกิจ เงินนําส่งรายได้แผ่นดิน (หน่วย : ล้านบาท) 1 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 18,301 2 สํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 15,428 3 บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) 13,139 4 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 5,733 5 ธนาคารออมสิน 5,409 6 บริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) 3,891 7 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 2,414 8 การไฟฟ้านครหลวง 2,350 9 การท่าเรือแห่งประเทศไทย 2,100 10 บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด 1,034 11 อื่นๆ 2,588 รวม 72,387 สํานักนโยบายและแผนรัฐวิสาหกิจ สํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ โทร. 0 2298 5880-7 ต่อ 3157
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/25655
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“ยุติธรรม” เพิ่มประสิทธิภาพเจ้าหน้าที่ตรวจพิสูจน์ยาเสพติด
วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562 “ยุติธรรม” เพิ่มประสิทธิภาพเจ้าหน้าที่ตรวจพิสูจน์ยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม เพิ่มประสิทธิภาพเจ้าหน้าที่ตรวจพิสูจน์ยาเสพติด ในวันพุธที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพมหานคร พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการสัมมนาเชิงวิชาการ “เพิ่มประสิทธิภาพเจ้าหน้าที่ตรวจพิสูจน์ยาเสพติดของสถานตรวจพิสูจน์ยาเสพติดในประเทศไทย” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๘ – ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ เพื่อเสริมสร้างทักษะการตรวจพิสูจน์ยาเสพติดและพัฒนาศักยภาพด้านการวิเคราะห์ข้อมูลให้กับเจ้าหน้าที่ ตลอดจนแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเทคโนโลยีการตรวจพิสูจน์ยาเสพติดร่วมกับระดับนานาชาติ โดยมี ผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม ผู้แทนจากหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย ผู้แทนจากสถานตรวจพิสูจน์ทั่วประเทศ เจ้าหน้าที่ ป.ป.ส. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมฯ โอกาสนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวใจความสําคัญตอนหนึ่ง ว่า การตรวจพิสูจน์ถือเป็นกลไกสําคัญในการกําหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ซึ่งจําเป็นต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีและเครื่องมือในการตรวจพิสูจน์ให้มีความทันสมัย รวมทั้งต้องเสริมสร้างทักษะของเจ้าหน้าที่ให้มีความเชี่ยวชาญ ตลอดจนสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารและใช้ประโยชน์ในการสืบสวนจับกุมกลุ่มผู้ค้ายาเสพติดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ การเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด จะทําให้สามารถทราบได้ว่า ยาเสพติดที่ผลิตมีส่วนผสมของสารประกอบ สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ใดบ้าง ซึ่งจะนําไปสู่การสืบทราบถึงแหล่งที่มาและแหล่งผลิตยาเสพติด ว่านําเข้ามาจากประเทศใด ซึ่งจะทําให้สามารถร่วมกันหามาตรการในการปิดล้อม ป้องกันและปราบปรามได้อย่างทันท่วงที
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“ยุติธรรม” เพิ่มประสิทธิภาพเจ้าหน้าที่ตรวจพิสูจน์ยาเสพติด วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562 “ยุติธรรม” เพิ่มประสิทธิภาพเจ้าหน้าที่ตรวจพิสูจน์ยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม เพิ่มประสิทธิภาพเจ้าหน้าที่ตรวจพิสูจน์ยาเสพติด ในวันพุธที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพมหานคร พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการสัมมนาเชิงวิชาการ “เพิ่มประสิทธิภาพเจ้าหน้าที่ตรวจพิสูจน์ยาเสพติดของสถานตรวจพิสูจน์ยาเสพติดในประเทศไทย” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๘ – ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ เพื่อเสริมสร้างทักษะการตรวจพิสูจน์ยาเสพติดและพัฒนาศักยภาพด้านการวิเคราะห์ข้อมูลให้กับเจ้าหน้าที่ ตลอดจนแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเทคโนโลยีการตรวจพิสูจน์ยาเสพติดร่วมกับระดับนานาชาติ โดยมี ผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม ผู้แทนจากหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย ผู้แทนจากสถานตรวจพิสูจน์ทั่วประเทศ เจ้าหน้าที่ ป.ป.ส. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมฯ โอกาสนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวใจความสําคัญตอนหนึ่ง ว่า การตรวจพิสูจน์ถือเป็นกลไกสําคัญในการกําหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ซึ่งจําเป็นต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีและเครื่องมือในการตรวจพิสูจน์ให้มีความทันสมัย รวมทั้งต้องเสริมสร้างทักษะของเจ้าหน้าที่ให้มีความเชี่ยวชาญ ตลอดจนสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารและใช้ประโยชน์ในการสืบสวนจับกุมกลุ่มผู้ค้ายาเสพติดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ การเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด จะทําให้สามารถทราบได้ว่า ยาเสพติดที่ผลิตมีส่วนผสมของสารประกอบ สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ใดบ้าง ซึ่งจะนําไปสู่การสืบทราบถึงแหล่งที่มาและแหล่งผลิตยาเสพติด ว่านําเข้ามาจากประเทศใด ซึ่งจะทําให้สามารถร่วมกันหามาตรการในการปิดล้อม ป้องกันและปราบปรามได้อย่างทันท่วงที
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/18926
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีระบุยังไม่พอใจภาพรวมการดูแลประชาชนช่วงเทศกาลปีใหม่
วันพุธที่ 3 มกราคม 2561 นายกรัฐมนตรีระบุยังไม่พอใจภาพรวมการดูแลประชาชนช่วงเทศกาลปีใหม่ นายกรัฐมนตรีระบุยังไม่พอใจภาพรวมการดูแลประชาชนช่วงเทศกาลปีใหม่ วันนี้ (3 มกราคม 2561) เวลา 13.40 น. ณ บริเวณห้องโถง ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า ปีใหม่ปีนี้จะเป็นปีแห่งรอยยิ้มของนายกรัฐมนตรี พร้อมกล่าวถึงภาพรวมการดูแลประชาชนช่วงเทศกาลปีใหม่ว่า ถ้ายังมีอุบัติเหตุและยังมีคนบาดเจ็บ คนเสียชีวิตอยู่ ก็ยังไม่พอใจ จะต้องไม่มีคนเจ็บ คนเสียชีวิตถึงพอใจ ซึ่งอุบัติเหตุจะต้องลดลง แต่ทั้งนี้ มีความพอใจที่ไม่มีเหตุการณ์ความรุนแรง และไม่มีการทําความผิดกฎหมายที่ร้ายแรงเหมือนหลายปีที่ผ่านมา พร้อมกล่าวขอบคุณฝ่ายความมั่นคง โดยเฉพาะพลเรือน ตํารวจ ทหาร มูลนิธิ อาสาสมัครต่าง ๆ ที่ร่วมกันทํางานอย่างเต็มที่ไม่เหน็ดเหนื่อย จึงอยากให้ประชาชนให้กําลังใจผู้ที่ทําหน้าที่ช่วงเวลาดังกล่าวที่ผ่านมาด้วย นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า สิ่งที่เป็นกังวลคือทําอย่างไร จะทําให้การจราจรมีความปลอดภัยตลอดทั้งปี ไม่ใช่ช่วงเทศกาลอย่างเดียว ซึ่งทุกอย่างเกิดจากจิตสํานึกของคนและความมีวินัยในการขับรถ โดยส่วนใหญ่แล้ว เป็นอุบัติเหตุจากมอเตอร์ไซด์ จากนี้จะเป็นเทศกาลสงกรานต์ไม่ต้องการให้มีอุบัตเหตุเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้ ทุกคนต้องเคารพกฎจราจร ดูแลตัวเอง เมาไม่ขับ เช็คสภาพรถให้มีความพร้อม และสังคมต้องช่วยกันดูแล ----------------------------------------------
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีระบุยังไม่พอใจภาพรวมการดูแลประชาชนช่วงเทศกาลปีใหม่ วันพุธที่ 3 มกราคม 2561 นายกรัฐมนตรีระบุยังไม่พอใจภาพรวมการดูแลประชาชนช่วงเทศกาลปีใหม่ นายกรัฐมนตรีระบุยังไม่พอใจภาพรวมการดูแลประชาชนช่วงเทศกาลปีใหม่ วันนี้ (3 มกราคม 2561) เวลา 13.40 น. ณ บริเวณห้องโถง ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า ปีใหม่ปีนี้จะเป็นปีแห่งรอยยิ้มของนายกรัฐมนตรี พร้อมกล่าวถึงภาพรวมการดูแลประชาชนช่วงเทศกาลปีใหม่ว่า ถ้ายังมีอุบัติเหตุและยังมีคนบาดเจ็บ คนเสียชีวิตอยู่ ก็ยังไม่พอใจ จะต้องไม่มีคนเจ็บ คนเสียชีวิตถึงพอใจ ซึ่งอุบัติเหตุจะต้องลดลง แต่ทั้งนี้ มีความพอใจที่ไม่มีเหตุการณ์ความรุนแรง และไม่มีการทําความผิดกฎหมายที่ร้ายแรงเหมือนหลายปีที่ผ่านมา พร้อมกล่าวขอบคุณฝ่ายความมั่นคง โดยเฉพาะพลเรือน ตํารวจ ทหาร มูลนิธิ อาสาสมัครต่าง ๆ ที่ร่วมกันทํางานอย่างเต็มที่ไม่เหน็ดเหนื่อย จึงอยากให้ประชาชนให้กําลังใจผู้ที่ทําหน้าที่ช่วงเวลาดังกล่าวที่ผ่านมาด้วย นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า สิ่งที่เป็นกังวลคือทําอย่างไร จะทําให้การจราจรมีความปลอดภัยตลอดทั้งปี ไม่ใช่ช่วงเทศกาลอย่างเดียว ซึ่งทุกอย่างเกิดจากจิตสํานึกของคนและความมีวินัยในการขับรถ โดยส่วนใหญ่แล้ว เป็นอุบัติเหตุจากมอเตอร์ไซด์ จากนี้จะเป็นเทศกาลสงกรานต์ไม่ต้องการให้มีอุบัตเหตุเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้ ทุกคนต้องเคารพกฎจราจร ดูแลตัวเอง เมาไม่ขับ เช็คสภาพรถให้มีความพร้อม และสังคมต้องช่วยกันดูแล ----------------------------------------------
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/9157
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คปภ. กดปุ่ม..! เปิดการอบรมหลักสูตร “วปส.รุ่นที่ 8” ประจำปี 2561
วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม 2561 คปภ. กดปุ่ม..! เปิดการอบรมหลักสูตร “วปส.รุ่นที่ 8” ประจําปี 2561 • ผู้บริหารระดับสูงทั้งภาครัฐ-เอกชน-รัฐวิสาหกิจ- สถาบันการเงิน-คนในวงการประกันภัย ทั่วไทยชักแถวเข้าอบรมหลักสูตรวิทยาการประกันภัยระดับสูง “วปส.”รุ่นที่ 8 อย่างคึกคัก ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า สํานักงาน คปภ. ได้จัดอบรมหลักสูตรวิทยาการประกันภัยระดับสูง หรือ หลักสูตร วปส. ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ โด่งดัง เนื่องจากมีผู้สนใจเข้ารับการอบรมเป็นจํานวนมาก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และธุรกิจประกันภัย มีองค์ความรู้ด้านการประกันภัย การบริหารจัดการความเสี่ยงภัย และการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อคิดเห็นต่างๆ ตลอดจนการส่งเสริมการเป็นผู้นําที่มีคุณธรรม และเสริมสร้างความสามารถด้านบริหารจัดการเชิงสร้างสรรค์ เพื่อนําองค์กรไปสู่ความสําเร็จสอดคล้องกับสภาวการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของโลก ซึ่งเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2561 ได้มีพิธีเปิดการอบรมหลักสูตร “วปส. รุ่นที่ 8” ประจําปี 2561 อย่างเป็นทางการ ณ ห้องประชุมชั้น 2 สถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง โดยได้รับเกียรติจากนายประสงค์ พูลธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (บอร์ด คปภ.) ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการอบรมหลักสูตร วปส. รุ่นที่ 8 ประจําปี 2561 และปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศกับบทบาทของประกันภัยในยุคไทยแลนด์ 4.0” โดยกล่าวในตอนหนึ่งว่าการประกันภัยมีบทบาทสําคัญยิ่งในการสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ และมีส่วนช่วยสังคมและประชาชนในการเตรียมพร้อมรับมือและช่วยบรรเทาผลกระทบจากความสูญเสียและความเสียหาย จากเหตุการณ์ภัยพิบัติที่ผ่านมาภาคประกันภัยได้พิสูจน์แล้วว่ามีบทบาทที่สําคัญในการบริหารความเสี่ยงในทุกๆ กรณี ทําให้ประชาชนได้รู้จักประโยชน์ของการใช้การประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงมากขึ้น ขณะนี้ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล รัฐบาลได้ออกนโยบายรองรับการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ประเทศขับเคลื่อนสู่การเป็น “Digital Economy” ผ่าน Thailand 4.0 Model โดยเฉพาะเรื่องระบบการเงินและการส่งเสริมการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งมีบทบาทสําคัญในการสร้างโอกาสให้กับธุรกิจประกันภัย อาทิ การสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ประกันภัย โดยมีการนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาปฏิวัติรูปแบบการทําธุรกิจหรือที่เรียกกันว่า “InsurTech” ทั้งในด้านของผลิตภัณฑ์ประกันภัย การให้บริการ การบริหารจัดการ รวมไปถึงการสร้างช่องทางการเข้าถึงผู้เอาประกันภัยได้มากยิ่งขึ้น การบริหารความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์ด้วยการประกันภัยความเสี่ยงทางไซเบอร์ (Cyber Risk Insurance) ซึ่งเป็นความท้าทายของสํานักงาน คปภ. ที่จะต้องกํากับดูแลระบบประกันภัยให้เป็นไปอย่างรอบคอบ และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย สําหรับกิจกรรมหลักๆ ในการอบรม หลักสูตร วปส. ปีนี้ใช้ระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม 2561 โดยขอบเขตการศึกษาอบรมแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ส่วนที่ 2 กิจกรรมการศึกษาอบรมด้านวิชาการ แบ่งออกเป็น 8 หมวด คือ หมวดที่ 1 ประกันภัยกับการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงรุกในระดับประเทศและในเวทีระหว่างประเทศ หมวดที่ 2 นโยบายการเงิน การลงทุนในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและโอกาสของธุรกิจไทยในอาเซียน หมวดที่ 3 ยกระดับการประกันวินาศภัยไทยสู่การขับเคลื่อนภารกิจเพื่อชาติ หมวดที่ 4 นวัตกรรมประกันภัยในยุคดิจิทัล หมวดที่ 5 ความท้าทายของอุตสาหกรรมประกันชีวิตกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย หมวดที่ 6 การสร้างกลยุทธ์และวิสัยทัศน์ผู้นํายุคดิจิทัล หมวดที่ 7 การสร้างบรรษัทภิบาลกับการดําเนินธุรกิจในยุคดิจิทัล และหมวดที่ 8 ประเด็นร่วมสมัย และส่วนที่ 3 กิจกรรมวิชาการ ประกอบด้วยการบรรยาย สัมมนา และอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เน้นการเรียนรู้แบบผู้บริหารและการมีส่วนร่วมการจัดทําและนําเสนอรายงานการศึกษากลุ่ม การศึกษาดูงานในประเทศและต่างประเทศ และกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม สําหรับผู้เข้าอบรมหลักสูตร วปส. รุ่น 8 ทางคณะกรรมการสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูงได้มีกระบวนการคัดเลือกจากผู้สมัครจํานวนมากอย่างเข้มข้น จนได้ผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงิน และบุคคลในแวดวงการประกันภัยไทย จํานวนทั้งสิ้น 99 คน ประกอบด้วย ภาคเอกชน จํานวน 57 คน ภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ จํานวน 16 คน ภาคธุรกิจประกันภัย จํานวน 20 คน และภาคการเงิน 6 คน สําหรับสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนาความรู้ จริยธรรม และเสริมสร้างทักษะด้านการประกันภัยระดับสูงให้แก่บุคลากรประกันภัยทุกระดับเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ และสอดคล้องกับการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการประกันภัย ตามแผนพัฒนาการประกันภัย ตลอดจนเป็นศูนย์กลางด้านวิชาการประกันภัย เพื่อให้บุคลากรประกันภัยและประชาชนทั่วไปสามารถใช้ประโยชน์จากสถาบันฯ ในการเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ ค้นคว้าข้อมูลด้านการประกันภัย และการบริหารความเสี่ยง รวมถึงการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาระบบประกันภัย นอกจากนี้สถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูงยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ให้ผู้สําเร็จการศึกษา วปส. รุ่นที่ 7 เข้าเฝ้าฯ ในวันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2561 ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เพื่อเข้ารับพระราชทานประกาศนียบัตรและ เข็มวิทยฐานะของสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง “หลักสูตร วปส. เป็นหลักสูตรเฉพาะทางด้านการประกันภัย และเป็นสหวิทยาการด้านการประกันภัยหลักสูตรเดียวในประเทศไทยที่รวมจุดเด่นของหลายๆ หลักสูตรเข้าด้วยกัน ทําให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ครบถ้วนในเรื่องประกันภัยภัยจากอดีต ปัจจุบัน สู่อนาคต โดยผู้เข้าอบรมวปส.รุ่น 8 ของปีนี้มีจํานวนจากสายไอทีมากกว่ารุ่นก่อนๆ เนื่องจากทาง คปภ. ให้ความสําคัญในการนําเทคโนโลยีและนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่มาใช้กับการกํากับดูแลและพัฒนาธุรกิจประกันภัยของไทย เนื้อหาในหลักสูตร วปส. 8 มีการปรับโฉมต่างจากรุ่นก่อนๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการประกันภัยให้แก่ผู้บริหารระดับสูงในภาคส่วนต่างๆ เพื่อใช้ในการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากมุมมองที่หลากหลายระหว่างผู้เข้าอบรมซึ่งมาจากทุกภาคส่วน รวมทั้งภาคประกันภัย” เลขาธิการ คปภ. กล่าวทิ้งท้าย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คปภ. กดปุ่ม..! เปิดการอบรมหลักสูตร “วปส.รุ่นที่ 8” ประจำปี 2561 วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม 2561 คปภ. กดปุ่ม..! เปิดการอบรมหลักสูตร “วปส.รุ่นที่ 8” ประจําปี 2561 • ผู้บริหารระดับสูงทั้งภาครัฐ-เอกชน-รัฐวิสาหกิจ- สถาบันการเงิน-คนในวงการประกันภัย ทั่วไทยชักแถวเข้าอบรมหลักสูตรวิทยาการประกันภัยระดับสูง “วปส.”รุ่นที่ 8 อย่างคึกคัก ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า สํานักงาน คปภ. ได้จัดอบรมหลักสูตรวิทยาการประกันภัยระดับสูง หรือ หลักสูตร วปส. ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ โด่งดัง เนื่องจากมีผู้สนใจเข้ารับการอบรมเป็นจํานวนมาก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และธุรกิจประกันภัย มีองค์ความรู้ด้านการประกันภัย การบริหารจัดการความเสี่ยงภัย และการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อคิดเห็นต่างๆ ตลอดจนการส่งเสริมการเป็นผู้นําที่มีคุณธรรม และเสริมสร้างความสามารถด้านบริหารจัดการเชิงสร้างสรรค์ เพื่อนําองค์กรไปสู่ความสําเร็จสอดคล้องกับสภาวการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของโลก ซึ่งเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2561 ได้มีพิธีเปิดการอบรมหลักสูตร “วปส. รุ่นที่ 8” ประจําปี 2561 อย่างเป็นทางการ ณ ห้องประชุมชั้น 2 สถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง โดยได้รับเกียรติจากนายประสงค์ พูลธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (บอร์ด คปภ.) ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการอบรมหลักสูตร วปส. รุ่นที่ 8 ประจําปี 2561 และปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศกับบทบาทของประกันภัยในยุคไทยแลนด์ 4.0” โดยกล่าวในตอนหนึ่งว่าการประกันภัยมีบทบาทสําคัญยิ่งในการสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ และมีส่วนช่วยสังคมและประชาชนในการเตรียมพร้อมรับมือและช่วยบรรเทาผลกระทบจากความสูญเสียและความเสียหาย จากเหตุการณ์ภัยพิบัติที่ผ่านมาภาคประกันภัยได้พิสูจน์แล้วว่ามีบทบาทที่สําคัญในการบริหารความเสี่ยงในทุกๆ กรณี ทําให้ประชาชนได้รู้จักประโยชน์ของการใช้การประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงมากขึ้น ขณะนี้ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล รัฐบาลได้ออกนโยบายรองรับการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ประเทศขับเคลื่อนสู่การเป็น “Digital Economy” ผ่าน Thailand 4.0 Model โดยเฉพาะเรื่องระบบการเงินและการส่งเสริมการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งมีบทบาทสําคัญในการสร้างโอกาสให้กับธุรกิจประกันภัย อาทิ การสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ประกันภัย โดยมีการนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาปฏิวัติรูปแบบการทําธุรกิจหรือที่เรียกกันว่า “InsurTech” ทั้งในด้านของผลิตภัณฑ์ประกันภัย การให้บริการ การบริหารจัดการ รวมไปถึงการสร้างช่องทางการเข้าถึงผู้เอาประกันภัยได้มากยิ่งขึ้น การบริหารความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์ด้วยการประกันภัยความเสี่ยงทางไซเบอร์ (Cyber Risk Insurance) ซึ่งเป็นความท้าทายของสํานักงาน คปภ. ที่จะต้องกํากับดูแลระบบประกันภัยให้เป็นไปอย่างรอบคอบ และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย สําหรับกิจกรรมหลักๆ ในการอบรม หลักสูตร วปส. ปีนี้ใช้ระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม 2561 โดยขอบเขตการศึกษาอบรมแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ส่วนที่ 2 กิจกรรมการศึกษาอบรมด้านวิชาการ แบ่งออกเป็น 8 หมวด คือ หมวดที่ 1 ประกันภัยกับการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงรุกในระดับประเทศและในเวทีระหว่างประเทศ หมวดที่ 2 นโยบายการเงิน การลงทุนในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและโอกาสของธุรกิจไทยในอาเซียน หมวดที่ 3 ยกระดับการประกันวินาศภัยไทยสู่การขับเคลื่อนภารกิจเพื่อชาติ หมวดที่ 4 นวัตกรรมประกันภัยในยุคดิจิทัล หมวดที่ 5 ความท้าทายของอุตสาหกรรมประกันชีวิตกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย หมวดที่ 6 การสร้างกลยุทธ์และวิสัยทัศน์ผู้นํายุคดิจิทัล หมวดที่ 7 การสร้างบรรษัทภิบาลกับการดําเนินธุรกิจในยุคดิจิทัล และหมวดที่ 8 ประเด็นร่วมสมัย และส่วนที่ 3 กิจกรรมวิชาการ ประกอบด้วยการบรรยาย สัมมนา และอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เน้นการเรียนรู้แบบผู้บริหารและการมีส่วนร่วมการจัดทําและนําเสนอรายงานการศึกษากลุ่ม การศึกษาดูงานในประเทศและต่างประเทศ และกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม สําหรับผู้เข้าอบรมหลักสูตร วปส. รุ่น 8 ทางคณะกรรมการสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูงได้มีกระบวนการคัดเลือกจากผู้สมัครจํานวนมากอย่างเข้มข้น จนได้ผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงิน และบุคคลในแวดวงการประกันภัยไทย จํานวนทั้งสิ้น 99 คน ประกอบด้วย ภาคเอกชน จํานวน 57 คน ภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ จํานวน 16 คน ภาคธุรกิจประกันภัย จํานวน 20 คน และภาคการเงิน 6 คน สําหรับสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนาความรู้ จริยธรรม และเสริมสร้างทักษะด้านการประกันภัยระดับสูงให้แก่บุคลากรประกันภัยทุกระดับเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ และสอดคล้องกับการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการประกันภัย ตามแผนพัฒนาการประกันภัย ตลอดจนเป็นศูนย์กลางด้านวิชาการประกันภัย เพื่อให้บุคลากรประกันภัยและประชาชนทั่วไปสามารถใช้ประโยชน์จากสถาบันฯ ในการเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ ค้นคว้าข้อมูลด้านการประกันภัย และการบริหารความเสี่ยง รวมถึงการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาระบบประกันภัย นอกจากนี้สถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูงยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ให้ผู้สําเร็จการศึกษา วปส. รุ่นที่ 7 เข้าเฝ้าฯ ในวันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2561 ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เพื่อเข้ารับพระราชทานประกาศนียบัตรและ เข็มวิทยฐานะของสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง “หลักสูตร วปส. เป็นหลักสูตรเฉพาะทางด้านการประกันภัย และเป็นสหวิทยาการด้านการประกันภัยหลักสูตรเดียวในประเทศไทยที่รวมจุดเด่นของหลายๆ หลักสูตรเข้าด้วยกัน ทําให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ครบถ้วนในเรื่องประกันภัยภัยจากอดีต ปัจจุบัน สู่อนาคต โดยผู้เข้าอบรมวปส.รุ่น 8 ของปีนี้มีจํานวนจากสายไอทีมากกว่ารุ่นก่อนๆ เนื่องจากทาง คปภ. ให้ความสําคัญในการนําเทคโนโลยีและนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่มาใช้กับการกํากับดูแลและพัฒนาธุรกิจประกันภัยของไทย เนื้อหาในหลักสูตร วปส. 8 มีการปรับโฉมต่างจากรุ่นก่อนๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการประกันภัยให้แก่ผู้บริหารระดับสูงในภาคส่วนต่างๆ เพื่อใช้ในการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากมุมมองที่หลากหลายระหว่างผู้เข้าอบรมซึ่งมาจากทุกภาคส่วน รวมทั้งภาคประกันภัย” เลขาธิการ คปภ. กล่าวทิ้งท้าย
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/13660
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“ยุติธรรม” พิจารณาให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา
วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน 2560 “ยุติธรรม” พิจารณาให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจําเลยในคดีอาญา ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จําเลยในคดีอาญา ครั้งที่ ๖/๒๕๖๐ เมื่อวันพุธที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๐ เวลา ๑๐.๓๐ น. ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จําเลยในคดีอาญา ครั้งที่ ๖/๒๕๖๐ เพื่อพิจารณาคําขอรับความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจําเลยในคดีอาญา ตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จําเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยมี นางสาวปิติกาญจน์ สิทธิเดช อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ พร้อมด้วยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมฯ ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม ๒ ชั้น ๘ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ กรุงเทพฯ สําหรับการประชุมในครั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้มีการพิจารณาคําขอรับความช่วยเหลือ ทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจําเลยในคดีอาญา จํานวนทั้งสิ้น 1,058 เรื่อง และพิจารณาจ่ายฯ จํานวน 570 เรื่อง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 30,479,744 บาท ดังนี้ ๑) พิจารณาคําขอค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จําเลย จํานวน 23 เรื่อง พิจารณาจ่ายฯ จํานวน 4 เรื่อง เป็นเงิน 967,348 บาท ๒) พิจารณาคําขอค่าตอบแทนแก่ผู้เสียหาย จํานวน 1,035 เรื่อง พิจารณาจ่ายฯ จํานวน 566 เรื่อง เป็นเงิน 29,512,396 บาท
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“ยุติธรรม” พิจารณาให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน 2560 “ยุติธรรม” พิจารณาให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจําเลยในคดีอาญา ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จําเลยในคดีอาญา ครั้งที่ ๖/๒๕๖๐ เมื่อวันพุธที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๐ เวลา ๑๐.๓๐ น. ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จําเลยในคดีอาญา ครั้งที่ ๖/๒๕๖๐ เพื่อพิจารณาคําขอรับความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจําเลยในคดีอาญา ตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จําเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยมี นางสาวปิติกาญจน์ สิทธิเดช อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ พร้อมด้วยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมฯ ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม ๒ ชั้น ๘ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ กรุงเทพฯ สําหรับการประชุมในครั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้มีการพิจารณาคําขอรับความช่วยเหลือ ทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจําเลยในคดีอาญา จํานวนทั้งสิ้น 1,058 เรื่อง และพิจารณาจ่ายฯ จํานวน 570 เรื่อง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 30,479,744 บาท ดังนี้ ๑) พิจารณาคําขอค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จําเลย จํานวน 23 เรื่อง พิจารณาจ่ายฯ จํานวน 4 เรื่อง เป็นเงิน 967,348 บาท ๒) พิจารณาคําขอค่าตอบแทนแก่ผู้เสียหาย จํานวน 1,035 เรื่อง พิจารณาจ่ายฯ จํานวน 566 เรื่อง เป็นเงิน 29,512,396 บาท
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/4853
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมบัญชีกลางเตือนอย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพแอบอ้างหลอกให้โอนเงิน
วันอังคารที่ 15 ตุลาคม 2562 กรมบัญชีกลางเตือนอย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพแอบอ้างหลอกให้โอนเงิน ตามที่มีผู้แอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากกรมบัญชีกลางโดยอ้างชื่อนฤมล ใช้เบอร์โทรศัพท์มือถือหมายเลข 063-190-0465 แจ้งว่ามีโครงการช่วยเหลือเงินบําเหน็จบํานาญข้าราชการบํานาญ และขอหมายเลขบัญชีธนาคารหรือหมายเลขบัตร ATM เป็นเหตุให้มีผู้หลงเชื่อถูกหลอกลวง นายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ตามที่มีผู้แอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากกรมบัญชีกลางโดยอ้างชื่อ นฤมล ใช้เบอร์โทรศัพท์มือถือหมายเลข 063 - 1900465 แจ้งว่ามีโครงการช่วยเหลือเงินบําเหน็จบํานาญข้าราชการบํานาญ และขอหมายเลขบัญชีธนาคารหรือหมายเลขบัตร ATM เป็นเหตุให้มีผู้หลงเชื่อถูกหลอกลวงและสูญเสียทรัพย์สิน นั้น อธิบดีกรมบัญชีกลาง ขอชี้แจงว่า กรมบัญชีกลางได้ตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์และรายชื่อบุคคลดังกล่าวแล้วไม่พบว่าเป็นหมายเลขโทรศัพท์และไม่ใช่บุคลากรกรมบัญชีกลางตามที่มิจฉาชีพแอบอ้าง และกรมบัญชีกลางยังไม่มีโครงการช่วยเหลือเงินบําเหน็จบํานาญข้าราชการบํานาญแต่อย่างใด ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อตามที่มิจฉาชีพแอบอ้าง โดยสามารถตรวจสอบข้อมูลและติดตามข่าวสารของกรมบัญชีกลาง ได้ทางเว็บไซต์ https://www.cgd.go.th และ Facebook กรมบัญชีกลาง ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center กรมบัญชีกลาง 0 2270 6400 ในวันและเวลาราชการ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมบัญชีกลางเตือนอย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพแอบอ้างหลอกให้โอนเงิน วันอังคารที่ 15 ตุลาคม 2562 กรมบัญชีกลางเตือนอย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพแอบอ้างหลอกให้โอนเงิน ตามที่มีผู้แอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากกรมบัญชีกลางโดยอ้างชื่อนฤมล ใช้เบอร์โทรศัพท์มือถือหมายเลข 063-190-0465 แจ้งว่ามีโครงการช่วยเหลือเงินบําเหน็จบํานาญข้าราชการบํานาญ และขอหมายเลขบัญชีธนาคารหรือหมายเลขบัตร ATM เป็นเหตุให้มีผู้หลงเชื่อถูกหลอกลวง นายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ตามที่มีผู้แอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากกรมบัญชีกลางโดยอ้างชื่อ นฤมล ใช้เบอร์โทรศัพท์มือถือหมายเลข 063 - 1900465 แจ้งว่ามีโครงการช่วยเหลือเงินบําเหน็จบํานาญข้าราชการบํานาญ และขอหมายเลขบัญชีธนาคารหรือหมายเลขบัตร ATM เป็นเหตุให้มีผู้หลงเชื่อถูกหลอกลวงและสูญเสียทรัพย์สิน นั้น อธิบดีกรมบัญชีกลาง ขอชี้แจงว่า กรมบัญชีกลางได้ตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์และรายชื่อบุคคลดังกล่าวแล้วไม่พบว่าเป็นหมายเลขโทรศัพท์และไม่ใช่บุคลากรกรมบัญชีกลางตามที่มิจฉาชีพแอบอ้าง และกรมบัญชีกลางยังไม่มีโครงการช่วยเหลือเงินบําเหน็จบํานาญข้าราชการบํานาญแต่อย่างใด ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อตามที่มิจฉาชีพแอบอ้าง โดยสามารถตรวจสอบข้อมูลและติดตามข่าวสารของกรมบัญชีกลาง ได้ทางเว็บไซต์ https://www.cgd.go.th และ Facebook กรมบัญชีกลาง ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center กรมบัญชีกลาง 0 2270 6400 ในวันและเวลาราชการ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/23815
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. สานพลังประชารัฐ ร่วมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ประจำปี 2560 ภายใต้แนวคิด “สร้างครอบครัวไร้รุนแรง ด้วยสื่อสารที่สร้างสรรค์”
วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2560 พม. สานพลังประชารัฐ ร่วมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ประจําปี 2560 ภายใต้แนวคิด “สร้างครอบครัวไร้รุนแรง ด้วยสื่อสารที่สร้างสรรค์” พม. สานพลังประชารัฐ ร่วมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ประจําปี 2560 ภายใต้แนวคิด “สร้างครอบครัวไร้รุนแรง ด้วยสื่อสารที่สร้างสรรค์” วันที่ 25 พ.ย. 60เวลา 09.00 น. นายณรงค์ คงคํา โฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่านายพุฒิพัฒน์ เลิศเชาวสิทธิ์ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.)เป็นประธานในพิธีเปิดงานรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัวประจําปี 2560 และมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ ให้แก่ บุคคลที่ไม่นิ่งเฉยต่อความรุนแรงในครอบครัว และหน่วยงานที่ร่วมสนับสนุนส่งเสริมการยุติความรุนแรงในครอบครัว จํานวน 7 รางวัล พร้อมปล่อยขบวนรถรณรงค์ยุติความรุนแรงฯ เพื่อสร้างกระแสสังคมในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้และตระหนักต่อปัญหาความรุนแรงในครอบครัว และกระตุ้นให้คนในสังคมมีส่วนร่วมด้วยการใช้วาจาในการสื่อสารในครอบครัวอย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม โดยมีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมรวมทั้งสิ้นประมาณ 500 คน ณ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ กรุงเทพมหานคร นายพุฒิพัฒน์กล่าวว่า ปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และความรุนแรงในครอบครัว เป็นปัญหาสําคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสังคมและการสร้างความมั่นคงของครอบครัว ซึ่งปรากฏให้เห็นมาเป็นเวลานาน และพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี นับเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน อีกทั้งองค์การสหประชาชาติ ได้กําหนดให้วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี ถือเป็นวันขจัดความรุนแรงต่อสตรีสากล สําหรับประเทศไทย ทางรัฐบาลได้ตระหนักถึงความสําคัญของปัญหาดังกล่าว และได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2542 เห็นชอบให้เดือนพฤศจิกายนของทุกปี เป็นเดือนแห่งการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีตลอดทั้งเดือน ทําให้หลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมจัดกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงฯ อย่างต่อเนื่องทุกปี โดยมีกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) เป็นหน่วยงานหลักของภาครัฐ ในการประสานการดําเนินการรณรงค์ดังกล่าวร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อสร้างกระแสให้สังคมมีความตระหนักและตื่นตัวต่อปัญหาดังกล่าว เพื่อร่วมเป็นหนึ่งเสียงในการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัวอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ นายพุฒิพัฒน์กล่าวต่อไปว่า สําหรับในปี 2560 กระทรวง พม. โดย สค. มีบทบาทและภารกิจโดยตรงในการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิต และความมั่นคงทั้งในสถาบันครอบครัวและชุมชน ควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคม ให้คนไทยได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเข้มแข็ง ด้วยครอบครัวที่อบอุ่นบนพื้นฐานแห่งความรู้ที่นําไปสู่ความสุขอย่างยั่งยืน ได้กําหนดจัดงานรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ประจําปี 2560 ภายใต้แนวคิด "สร้างครอบครัวไร้รุนแรง ด้วยสื่อสารที่สร้างสรรค์” "หยุด! คําร้าย ทําลายครอบครัว” โดยเริ่มจากตัวเราเองที่ไม่ใช้วาจาที่รุนแรงอันเป็นการสร้างความร้าวฉานขึ้นในครอบครัว รวมทั้งปฏิบัติต่อกันทั้งด้านกาย และวาจาอย่างเคารพ ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ซึ่งการสื่อสารเชิงบวกในสมาชิกครอบครัว ถือเป็นเงื่อนไขสําคัญประการหนึ่งของการหยุดยั้งการกระทําความรุนแรงได นายพุฒิพัฒน์กล่าวเพิ่มเติมว่า สําหรับกิจกรรมในวันนี้ ประกอบด้วย พิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณให้แก่บุคคล หน่วยงานดีเด่น ที่ร่วมดําเนินงานยุติความรุนแรงในครอบครัว จํานวน 7 รางวัล แบ่งเป็นประเภทหน่วยงาน 3 รางวัล ได้แก่ 1) สํานักงานกิจการและโครงการในพระดําริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา โดยมีผู้แทนเข้ารับคือ นายสาโรช นักเบศร์ อัยการพิเศษฝ่ายคดีและครอบครัว 6 2) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้แทนเข้ารับคือ ศาสตราจารย์นายแพทย์ รณชัย คงสกนธ์ ผู้อํานวยการศูนย์จัดการความรู้ความรุนแรงในครอบครัว และ 3) สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี ในพระอุปถัมภ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ผู้แทนเข้ารับคือ นางสาวลานทิพย์ ทวาทศิลป์ นายกสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ และประเภทบุคคล 4 รางวัล ได้แก่ 1) นางสาวอริย์กันตา มหาพฤกษ์พงศ์ หรือน้องยิปโซ (ดารานักแสดงเจ้าของ Word Hurt Campaign) 2) นายเป็ด คล้ามคล้าย (คนขับรถแท็กซี่ช่วยเหลือผู้หญิงที่ถูกคนร้ายพยายามกระทําชําเรา 3) นางสาววนิดา ดับโศรก และ 4) นางสาวมนัญญา ปัดถาวงษ์ ( 2 พลเมืองดีช่วยเหลือเด็กวัย 3 เดือน จากการทําร้ายของพ่อเลี้ยง) นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรม Walk Rally ครอบครัวไร้ความรุนแรง กิจกรรมปล่อยขบวนรถรณรงค์ฯ ไปยังอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ การจัดบูทนิทรรศการและกิจกรรมครอบครัวจากภาคีเครือข่าย "กิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัวในวันนี้ เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่จะช่วยกระตุ้นให้คนในสังคมตระหนักถึงความสําคัญของปัญหา และร่วมกันเป็นพลังในการยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ทั้งนี้ ขอแสดงความยินดีกับหน่วยงานและบุคคลที่ไม่นิ่งเฉยต่อความรุนแรง ที่ได้รับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณจากกระทรวง พม. พร้อมทั้งขอบคุณหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทุกหน่วยงานที่มาร่วมจัดกิจกรรม ตัวแทนภาคประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน ศิลปิน ดารา ที่สละเวลามาช่วยกันรณรงค์ และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการต่อต้านการใช้ความรุนแรงรวมทั้งพี่น้องสื่อมวลชนทุกแขนง ที่มีส่วนร่วมสําคัญในการนําเสนอ ข่าวสาร ข้อเท็จจริง และสะท้อนปัญหาต่างๆให้ประชาชนทราบ อันนํามาสู่การขยายเครือข่ายให้คนในสังคมได้ร่วมกันขจัดปัญหาความรุนแรงดังกล่าวให้หมดไป”นายพุฒิพัฒน์กล่าวในตอนท้าย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. สานพลังประชารัฐ ร่วมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ประจำปี 2560 ภายใต้แนวคิด “สร้างครอบครัวไร้รุนแรง ด้วยสื่อสารที่สร้างสรรค์” วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2560 พม. สานพลังประชารัฐ ร่วมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ประจําปี 2560 ภายใต้แนวคิด “สร้างครอบครัวไร้รุนแรง ด้วยสื่อสารที่สร้างสรรค์” พม. สานพลังประชารัฐ ร่วมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ประจําปี 2560 ภายใต้แนวคิด “สร้างครอบครัวไร้รุนแรง ด้วยสื่อสารที่สร้างสรรค์” วันที่ 25 พ.ย. 60เวลา 09.00 น. นายณรงค์ คงคํา โฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่านายพุฒิพัฒน์ เลิศเชาวสิทธิ์ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.)เป็นประธานในพิธีเปิดงานรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัวประจําปี 2560 และมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ ให้แก่ บุคคลที่ไม่นิ่งเฉยต่อความรุนแรงในครอบครัว และหน่วยงานที่ร่วมสนับสนุนส่งเสริมการยุติความรุนแรงในครอบครัว จํานวน 7 รางวัล พร้อมปล่อยขบวนรถรณรงค์ยุติความรุนแรงฯ เพื่อสร้างกระแสสังคมในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้และตระหนักต่อปัญหาความรุนแรงในครอบครัว และกระตุ้นให้คนในสังคมมีส่วนร่วมด้วยการใช้วาจาในการสื่อสารในครอบครัวอย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม โดยมีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมรวมทั้งสิ้นประมาณ 500 คน ณ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ กรุงเทพมหานคร นายพุฒิพัฒน์กล่าวว่า ปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และความรุนแรงในครอบครัว เป็นปัญหาสําคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสังคมและการสร้างความมั่นคงของครอบครัว ซึ่งปรากฏให้เห็นมาเป็นเวลานาน และพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี นับเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน อีกทั้งองค์การสหประชาชาติ ได้กําหนดให้วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี ถือเป็นวันขจัดความรุนแรงต่อสตรีสากล สําหรับประเทศไทย ทางรัฐบาลได้ตระหนักถึงความสําคัญของปัญหาดังกล่าว และได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2542 เห็นชอบให้เดือนพฤศจิกายนของทุกปี เป็นเดือนแห่งการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีตลอดทั้งเดือน ทําให้หลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมจัดกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงฯ อย่างต่อเนื่องทุกปี โดยมีกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) เป็นหน่วยงานหลักของภาครัฐ ในการประสานการดําเนินการรณรงค์ดังกล่าวร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อสร้างกระแสให้สังคมมีความตระหนักและตื่นตัวต่อปัญหาดังกล่าว เพื่อร่วมเป็นหนึ่งเสียงในการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัวอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ นายพุฒิพัฒน์กล่าวต่อไปว่า สําหรับในปี 2560 กระทรวง พม. โดย สค. มีบทบาทและภารกิจโดยตรงในการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิต และความมั่นคงทั้งในสถาบันครอบครัวและชุมชน ควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคม ให้คนไทยได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเข้มแข็ง ด้วยครอบครัวที่อบอุ่นบนพื้นฐานแห่งความรู้ที่นําไปสู่ความสุขอย่างยั่งยืน ได้กําหนดจัดงานรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ประจําปี 2560 ภายใต้แนวคิด "สร้างครอบครัวไร้รุนแรง ด้วยสื่อสารที่สร้างสรรค์” "หยุด! คําร้าย ทําลายครอบครัว” โดยเริ่มจากตัวเราเองที่ไม่ใช้วาจาที่รุนแรงอันเป็นการสร้างความร้าวฉานขึ้นในครอบครัว รวมทั้งปฏิบัติต่อกันทั้งด้านกาย และวาจาอย่างเคารพ ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ซึ่งการสื่อสารเชิงบวกในสมาชิกครอบครัว ถือเป็นเงื่อนไขสําคัญประการหนึ่งของการหยุดยั้งการกระทําความรุนแรงได นายพุฒิพัฒน์กล่าวเพิ่มเติมว่า สําหรับกิจกรรมในวันนี้ ประกอบด้วย พิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณให้แก่บุคคล หน่วยงานดีเด่น ที่ร่วมดําเนินงานยุติความรุนแรงในครอบครัว จํานวน 7 รางวัล แบ่งเป็นประเภทหน่วยงาน 3 รางวัล ได้แก่ 1) สํานักงานกิจการและโครงการในพระดําริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา โดยมีผู้แทนเข้ารับคือ นายสาโรช นักเบศร์ อัยการพิเศษฝ่ายคดีและครอบครัว 6 2) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้แทนเข้ารับคือ ศาสตราจารย์นายแพทย์ รณชัย คงสกนธ์ ผู้อํานวยการศูนย์จัดการความรู้ความรุนแรงในครอบครัว และ 3) สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี ในพระอุปถัมภ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ผู้แทนเข้ารับคือ นางสาวลานทิพย์ ทวาทศิลป์ นายกสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ และประเภทบุคคล 4 รางวัล ได้แก่ 1) นางสาวอริย์กันตา มหาพฤกษ์พงศ์ หรือน้องยิปโซ (ดารานักแสดงเจ้าของ Word Hurt Campaign) 2) นายเป็ด คล้ามคล้าย (คนขับรถแท็กซี่ช่วยเหลือผู้หญิงที่ถูกคนร้ายพยายามกระทําชําเรา 3) นางสาววนิดา ดับโศรก และ 4) นางสาวมนัญญา ปัดถาวงษ์ ( 2 พลเมืองดีช่วยเหลือเด็กวัย 3 เดือน จากการทําร้ายของพ่อเลี้ยง) นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรม Walk Rally ครอบครัวไร้ความรุนแรง กิจกรรมปล่อยขบวนรถรณรงค์ฯ ไปยังอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ การจัดบูทนิทรรศการและกิจกรรมครอบครัวจากภาคีเครือข่าย "กิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัวในวันนี้ เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่จะช่วยกระตุ้นให้คนในสังคมตระหนักถึงความสําคัญของปัญหา และร่วมกันเป็นพลังในการยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ทั้งนี้ ขอแสดงความยินดีกับหน่วยงานและบุคคลที่ไม่นิ่งเฉยต่อความรุนแรง ที่ได้รับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณจากกระทรวง พม. พร้อมทั้งขอบคุณหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทุกหน่วยงานที่มาร่วมจัดกิจกรรม ตัวแทนภาคประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน ศิลปิน ดารา ที่สละเวลามาช่วยกันรณรงค์ และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการต่อต้านการใช้ความรุนแรงรวมทั้งพี่น้องสื่อมวลชนทุกแขนง ที่มีส่วนร่วมสําคัญในการนําเสนอ ข่าวสาร ข้อเท็จจริง และสะท้อนปัญหาต่างๆให้ประชาชนทราบ อันนํามาสู่การขยายเครือข่ายให้คนในสังคมได้ร่วมกันขจัดปัญหาความรุนแรงดังกล่าวให้หมดไป”นายพุฒิพัฒน์กล่าวในตอนท้าย
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/8369
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มาตรการช่วยเหลือคนพิการในภาวะวิกฤต COVID – 19
วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม 2563 มาตรการช่วยเหลือคนพิการในภาวะวิกฤต COVID – 19 วันพุธที่ 6 พฤษภาคม 2563 Your browser does not support the audio element. ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลเห็นชอบแนวทางการจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อช่วยเหลือคนพิการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คนละ 1,000 บาท จํานวน 1 ครั้ง สําหรับคนพิการที่มีบัตรประจําตัวคนพิการ จํานวน 2 ล้านคน โดยใช้งบประมาณกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ วงเงิน 2,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังเห็นชอบให้ปรับสวัสดิการเบี้ยความพิการ แก่ผู้ถือบัตรประจําตัวผู้พิการ ที่อายุไม่เกิน 18 ปี จํานวน 120,000 คน จากเดือนละ 800 บาท เป็น 1,000 บาท โดยจะเริ่มจ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 63 เป็นต้นไป ซึ่งการเพิ่มเงินช่วยเหลือดังกล่าว นอกจากจะช่วยให้คนพิการมีรายได้เพียงพอ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายที่จําเป็นในช่วงเกิดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แล้ว ยังช่วยให้คนพิการมีเงินทุนเพื่อการดํารงชีวิตที่ดีขึ้นอีกด้วย ​ ร่วมเดินหน้าประเทศไทย กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มาตรการช่วยเหลือคนพิการในภาวะวิกฤต COVID – 19 วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม 2563 มาตรการช่วยเหลือคนพิการในภาวะวิกฤต COVID – 19 วันพุธที่ 6 พฤษภาคม 2563 Your browser does not support the audio element. ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลเห็นชอบแนวทางการจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อช่วยเหลือคนพิการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คนละ 1,000 บาท จํานวน 1 ครั้ง สําหรับคนพิการที่มีบัตรประจําตัวคนพิการ จํานวน 2 ล้านคน โดยใช้งบประมาณกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ วงเงิน 2,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังเห็นชอบให้ปรับสวัสดิการเบี้ยความพิการ แก่ผู้ถือบัตรประจําตัวผู้พิการ ที่อายุไม่เกิน 18 ปี จํานวน 120,000 คน จากเดือนละ 800 บาท เป็น 1,000 บาท โดยจะเริ่มจ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 63 เป็นต้นไป ซึ่งการเพิ่มเงินช่วยเหลือดังกล่าว นอกจากจะช่วยให้คนพิการมีรายได้เพียงพอ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายที่จําเป็นในช่วงเกิดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แล้ว ยังช่วยให้คนพิการมีเงินทุนเพื่อการดํารงชีวิตที่ดีขึ้นอีกด้วย ​ ร่วมเดินหน้าประเทศไทย กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/30584
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม.จัดงานวันแห่งครอบครัว ประจำปี 2560 เชิดชูเกียรติครอบครัวร่มเย็น บุคคลดีเด่นด้านการพัฒนาครอบครัว และครอบครัวผู้มีชื่อเสียง
วันศุกร์ที่ 7 เมษายน 2560 พม.จัดงานวันแห่งครอบครัว ประจําปี 2560 เชิดชูเกียรติครอบครัวร่มเย็น บุคคลดีเด่นด้านการพัฒนาครอบครัว และครอบครัวผู้มีชื่อเสียง พม.จัดงานวันแห่งครอบครัว ประจําปี 2560 เชิดชูเกียรติครอบครัวร่มเย็น บุคคลดีเด่นด้านการพัฒนาครอบครัว และครอบครัวผู้มีชื่อเสียง พร้อมชูแนวคิด “Family comes first : ครอบครัวพอเพียง อยู่อย่างเพียงพอ” เมื่อวันที่ 5 เม.ย. 60 เวลา 09.30 น. ที่ห้องแกรนด์ไดมอนด์ บอลรูม ชั้น 2 อาคารอิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงานวันแห่งครอบครัว ประจําปี 2560 ภายใต้แนวคิด "Family comes first : ครอบครัวพอเพียง อยู่อย่างเพียงพอ” พร้อมมอบโล่เชิดชูเกียรติครอบครัวร่มเย็น บุคคลดีเด่นด้านการพัฒนาครอบครัว และครอบครัวผู้มีชื่อเสียง รวมจํานวนทั้งสิ้น 91 รางวัล และ รับมอบข้อเสนอของสมัชชาครอบครัวแห่งชาติ โดยมี พลตํารวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) ให้การต้อนรับ และกล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน โดยมีผู้เข้าร่วมงาน ประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ปฏิบัติงานด้านครอบครัว ตัวแทนครอบครัวจากทั่วประเทศ และสื่อมวลชน จํานวนประมาณ 900 คน พลตํารวจเอก อดุลย์ กล่าวว่า ตนขอแสดงความยินดีกับทุกครอบครัวที่ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นครอบครัวร่มเย็นในวันนี้ รัฐบาลตระหนักดีว่าสถาบันครอบครัวมีความสําคัญต่อการพัฒนาคุณภาพของประชากรในประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศให้มีความมั่นคงและยั่งยืน ด้วยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปีพุทธศักราช 2533 กําหนดให้วันที่ 14 เมษายน ของทุกปี เป็นวันแห่งครอบครัว เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเห็นความสําคัญของสถาบันครอบครัว สร้างแนวคิดให้ครอบครัวได้เรียนรู้ร่วมกัน พร้อมกับน้อมนําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจําวัน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ครอบครัว และรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาครอบครัว ให้มากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัว ปี 2560 – 2564 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2559 เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางการดําเนินงานเพื่อพัฒนาสถาบันครอบครัวไปในทิศทางเดียวกัน พลตํารวจเอก อดุลย์ กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยี ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อวิธีคิดและการดําเนินชีวิตของสมาชิกในครอบครัว ทําให้ไม่สามารถทําตามบทบาทหน้าที่อย่างเหมาะสม โดย พ่อ-แม่ มุ่งจะหารายได้มาจุนเจือครอบครัว ไม่มีเวลาอบรมเลี้ยงดูบุตร ผู้สูงอายุ ถูกทอดทิ้งให้อยู่กับเด็กตามลําพัง ทําให้ครอบครัวขาดความสมดุล เกิดความขัดแย้งในครอบครัว อันเป็นสาเหตุสําคัญประการหนึ่งที่นําไปสู่การใช้ความรุนแรงในการตัดสินปัญหา ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ตระหนักดีว่าคนที่มีความสุขในครอบครัว ย่อมส่งผลให้เกิดการทํางานที่มีประสิทธิภาพ สร้างสังคมร่มเย็นเป็นสุข พัฒนาประเทศชาติ ให้เจริญก้าวหน้า ซึ่งการจัดงานวันแห่งครอบครัว ประจําปี 2560 ภายใต้แนวคิด "Family comes first : ครอบครัวพอเพียง อยู่อย่างเพียงพอ” ในวันนี้ จึงเป็นหนึ่งกิจกรรมสําคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนเห็นความสําคัญของครอบครัว ได้หันมาใช้กลไกการเรียนรู้ภายในครอบครัวเป็นฐานในการร่วมกันแก้ไขปัญหาของสังคมโดยรวม ต้องอาศัยพื้นฐานของความรัก ความผูกพันในครอบครัว ร่วมกับการนําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดําเนินชีวิต อันจะทําให้ชุมชนและสังคมเข้มแข็งและผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ ไปได้ด้วยดี "สําหรับในปีนี้ มีกิจกรรมสําคัญภายในงาน ประกอบด้วย 1) การมอบโล่เกียรติคุณแก่ครอบครัวร่มเย็น บุคคลดีเด่นด้านการพัฒนาครอบครัว และครอบครัวผู้มีชื่อเสียง รวมทั้งสิ้น 91 รางวัล 2) การมอบข้อเสนอมติสมัชชาครอบครัวระดับชาติ ประจําปี 2560 ให้กับผู้แทนรัฐบาล และ 3) การจัดนิทรรศการแสดงแนวคิดเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น สําหรับงานในปีนี้ มีบุคคลดีเด่นด้านการพัฒนาครอบครัว ครอบครัวผู้มีชื่อเสียง และ สื่อส่งเสริมสัมพันธภาพภายในครอบครัว ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ อาทิ ครอบครัวของคุณงามทิพย์ ฉัตรบริรักษ์ เป็นตัวอย่างของครอบครัวคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวที่สามารถเลี้ยงดูลูกโดยลําพังได้เป็นอย่างดี และ ครอบครัวของคุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นตัวแทนของครอบครัวนักธุรกิจ ซึ่งถือเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดน่าสนใจ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมี สื่อส่งเสริมสถาบันครอบครัวได้รับรางวัลดังกล่าวด้วย คือ ละครเรื่องดวงใจพิสุทธิ์ ที่แสดงให้เห็นถึงความสําคัญ ของครอบครัว และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก นอกจากนี้ มีการจัดนิทรรศการส่งเสริมทักษะอาชีพ ของโครงการทอฝันและผลิตภัณฑ์ของศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวและพื้นที่กิจกรรม Learning Zone สําหรับครอบครัวอีกด้วย” พลตํารวจเอก อดุลย์ กล่าวในตอนท้าย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม.จัดงานวันแห่งครอบครัว ประจำปี 2560 เชิดชูเกียรติครอบครัวร่มเย็น บุคคลดีเด่นด้านการพัฒนาครอบครัว และครอบครัวผู้มีชื่อเสียง วันศุกร์ที่ 7 เมษายน 2560 พม.จัดงานวันแห่งครอบครัว ประจําปี 2560 เชิดชูเกียรติครอบครัวร่มเย็น บุคคลดีเด่นด้านการพัฒนาครอบครัว และครอบครัวผู้มีชื่อเสียง พม.จัดงานวันแห่งครอบครัว ประจําปี 2560 เชิดชูเกียรติครอบครัวร่มเย็น บุคคลดีเด่นด้านการพัฒนาครอบครัว และครอบครัวผู้มีชื่อเสียง พร้อมชูแนวคิด “Family comes first : ครอบครัวพอเพียง อยู่อย่างเพียงพอ” เมื่อวันที่ 5 เม.ย. 60 เวลา 09.30 น. ที่ห้องแกรนด์ไดมอนด์ บอลรูม ชั้น 2 อาคารอิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงานวันแห่งครอบครัว ประจําปี 2560 ภายใต้แนวคิด "Family comes first : ครอบครัวพอเพียง อยู่อย่างเพียงพอ” พร้อมมอบโล่เชิดชูเกียรติครอบครัวร่มเย็น บุคคลดีเด่นด้านการพัฒนาครอบครัว และครอบครัวผู้มีชื่อเสียง รวมจํานวนทั้งสิ้น 91 รางวัล และ รับมอบข้อเสนอของสมัชชาครอบครัวแห่งชาติ โดยมี พลตํารวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) ให้การต้อนรับ และกล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน โดยมีผู้เข้าร่วมงาน ประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ปฏิบัติงานด้านครอบครัว ตัวแทนครอบครัวจากทั่วประเทศ และสื่อมวลชน จํานวนประมาณ 900 คน พลตํารวจเอก อดุลย์ กล่าวว่า ตนขอแสดงความยินดีกับทุกครอบครัวที่ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นครอบครัวร่มเย็นในวันนี้ รัฐบาลตระหนักดีว่าสถาบันครอบครัวมีความสําคัญต่อการพัฒนาคุณภาพของประชากรในประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศให้มีความมั่นคงและยั่งยืน ด้วยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปีพุทธศักราช 2533 กําหนดให้วันที่ 14 เมษายน ของทุกปี เป็นวันแห่งครอบครัว เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเห็นความสําคัญของสถาบันครอบครัว สร้างแนวคิดให้ครอบครัวได้เรียนรู้ร่วมกัน พร้อมกับน้อมนําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจําวัน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ครอบครัว และรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาครอบครัว ให้มากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัว ปี 2560 – 2564 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2559 เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางการดําเนินงานเพื่อพัฒนาสถาบันครอบครัวไปในทิศทางเดียวกัน พลตํารวจเอก อดุลย์ กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยี ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อวิธีคิดและการดําเนินชีวิตของสมาชิกในครอบครัว ทําให้ไม่สามารถทําตามบทบาทหน้าที่อย่างเหมาะสม โดย พ่อ-แม่ มุ่งจะหารายได้มาจุนเจือครอบครัว ไม่มีเวลาอบรมเลี้ยงดูบุตร ผู้สูงอายุ ถูกทอดทิ้งให้อยู่กับเด็กตามลําพัง ทําให้ครอบครัวขาดความสมดุล เกิดความขัดแย้งในครอบครัว อันเป็นสาเหตุสําคัญประการหนึ่งที่นําไปสู่การใช้ความรุนแรงในการตัดสินปัญหา ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ตระหนักดีว่าคนที่มีความสุขในครอบครัว ย่อมส่งผลให้เกิดการทํางานที่มีประสิทธิภาพ สร้างสังคมร่มเย็นเป็นสุข พัฒนาประเทศชาติ ให้เจริญก้าวหน้า ซึ่งการจัดงานวันแห่งครอบครัว ประจําปี 2560 ภายใต้แนวคิด "Family comes first : ครอบครัวพอเพียง อยู่อย่างเพียงพอ” ในวันนี้ จึงเป็นหนึ่งกิจกรรมสําคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนเห็นความสําคัญของครอบครัว ได้หันมาใช้กลไกการเรียนรู้ภายในครอบครัวเป็นฐานในการร่วมกันแก้ไขปัญหาของสังคมโดยรวม ต้องอาศัยพื้นฐานของความรัก ความผูกพันในครอบครัว ร่วมกับการนําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดําเนินชีวิต อันจะทําให้ชุมชนและสังคมเข้มแข็งและผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ ไปได้ด้วยดี "สําหรับในปีนี้ มีกิจกรรมสําคัญภายในงาน ประกอบด้วย 1) การมอบโล่เกียรติคุณแก่ครอบครัวร่มเย็น บุคคลดีเด่นด้านการพัฒนาครอบครัว และครอบครัวผู้มีชื่อเสียง รวมทั้งสิ้น 91 รางวัล 2) การมอบข้อเสนอมติสมัชชาครอบครัวระดับชาติ ประจําปี 2560 ให้กับผู้แทนรัฐบาล และ 3) การจัดนิทรรศการแสดงแนวคิดเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น สําหรับงานในปีนี้ มีบุคคลดีเด่นด้านการพัฒนาครอบครัว ครอบครัวผู้มีชื่อเสียง และ สื่อส่งเสริมสัมพันธภาพภายในครอบครัว ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ อาทิ ครอบครัวของคุณงามทิพย์ ฉัตรบริรักษ์ เป็นตัวอย่างของครอบครัวคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวที่สามารถเลี้ยงดูลูกโดยลําพังได้เป็นอย่างดี และ ครอบครัวของคุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นตัวแทนของครอบครัวนักธุรกิจ ซึ่งถือเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดน่าสนใจ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมี สื่อส่งเสริมสถาบันครอบครัวได้รับรางวัลดังกล่าวด้วย คือ ละครเรื่องดวงใจพิสุทธิ์ ที่แสดงให้เห็นถึงความสําคัญ ของครอบครัว และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก นอกจากนี้ มีการจัดนิทรรศการส่งเสริมทักษะอาชีพ ของโครงการทอฝันและผลิตภัณฑ์ของศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวและพื้นที่กิจกรรม Learning Zone สําหรับครอบครัวอีกด้วย” พลตํารวจเอก อดุลย์ กล่าวในตอนท้าย
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/2963
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“กระทรวงยุติธรรม” ขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์ เพื่อสร้างความรู้ด้านกฎหมายให้เยาวชน
วันอังคารที่ 25 ธันวาคม 2561 “กระทรวงยุติธรรม” ขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์ เพื่อสร้างความรู้ด้านกฎหมายให้เยาวชน พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์ ในวันจันทร์ที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๑ เวลา ๐๘.๓๐ น. ณ โรงเรียนปากเกร็ด อําเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์ พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร บุคลากรในสังกัดกระทรวงยุติธรรม นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาและคณะครูอาจารย์โรงเรียนปากเกร็ด กว่า ๑,๐๒๐ คน เข้าร่วมฯ ทั้งนี้ เพื่อสร้างความรู้ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเป็นสิ่งจําเป็นให้แก่เด็กและเยาวชน รู้เท่าทันภัยสังคม การเผชิญหน้ากับอุปสรรคและความยากลําบาก ที่อาจเกิดขึ้นในแต่ละช่วงชีวิต โดยมุ่งเน้นใน ๔ ด้าน ได้แก่ ๑. ด้านการป้องกันตนเองจากภัยสังคม ๒. การสร้างจิตสํานึกและวินัยในตนเอง ๓. การรู้เท่าทันและห่างไกลยาเสพติด และ ๔. การต่อต้านคอรัปชั่น ภายใต้โครงการ “โรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์ของกระทรวงยุติธรรม” ซึ่งรูปแบบการจัดกิจกรรมเป็นแบบฐานการเรียนรู้ พลอากาศเอก ประจินฯ กล่าวใจความสําคัญตอนหนึ่งว่า “การร่วมกิจกรรมเป็นสิ่งสําคัญอีกประการหนึ่ง ที่สามารถสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน เราจะได้แลกเปลี่ยนทัศนคติ ความคิด และการใช้ชีวิตในสังคม ซึ่งเราต้องขวนขวายหาความรู้ เพื่อให้เราสามารถอยู่รอดในสังคม ประกอบอาชีพสุจริต และสามารถนําความรู้เหล่านั้นมาพัฒนาสังคม ได้กระทรวงยุติธรรม ขอเป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อน ที่จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้เยาวชน โดยเน้นการปลูกฝังความรู้ทางกฎหมาย ผ่านกิจกรรมซึ่งหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรมจัดขึ้น เพื่อให้เกิดการรับรู้ ความเข้าใจ และนําไปสู่การปฏิบัติต่อไป”
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“กระทรวงยุติธรรม” ขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์ เพื่อสร้างความรู้ด้านกฎหมายให้เยาวชน วันอังคารที่ 25 ธันวาคม 2561 “กระทรวงยุติธรรม” ขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์ เพื่อสร้างความรู้ด้านกฎหมายให้เยาวชน พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์ ในวันจันทร์ที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๑ เวลา ๐๘.๓๐ น. ณ โรงเรียนปากเกร็ด อําเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์ พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร บุคลากรในสังกัดกระทรวงยุติธรรม นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาและคณะครูอาจารย์โรงเรียนปากเกร็ด กว่า ๑,๐๒๐ คน เข้าร่วมฯ ทั้งนี้ เพื่อสร้างความรู้ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเป็นสิ่งจําเป็นให้แก่เด็กและเยาวชน รู้เท่าทันภัยสังคม การเผชิญหน้ากับอุปสรรคและความยากลําบาก ที่อาจเกิดขึ้นในแต่ละช่วงชีวิต โดยมุ่งเน้นใน ๔ ด้าน ได้แก่ ๑. ด้านการป้องกันตนเองจากภัยสังคม ๒. การสร้างจิตสํานึกและวินัยในตนเอง ๓. การรู้เท่าทันและห่างไกลยาเสพติด และ ๔. การต่อต้านคอรัปชั่น ภายใต้โครงการ “โรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์ของกระทรวงยุติธรรม” ซึ่งรูปแบบการจัดกิจกรรมเป็นแบบฐานการเรียนรู้ พลอากาศเอก ประจินฯ กล่าวใจความสําคัญตอนหนึ่งว่า “การร่วมกิจกรรมเป็นสิ่งสําคัญอีกประการหนึ่ง ที่สามารถสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน เราจะได้แลกเปลี่ยนทัศนคติ ความคิด และการใช้ชีวิตในสังคม ซึ่งเราต้องขวนขวายหาความรู้ เพื่อให้เราสามารถอยู่รอดในสังคม ประกอบอาชีพสุจริต และสามารถนําความรู้เหล่านั้นมาพัฒนาสังคม ได้กระทรวงยุติธรรม ขอเป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อน ที่จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้เยาวชน โดยเน้นการปลูกฝังความรู้ทางกฎหมาย ผ่านกิจกรรมซึ่งหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรมจัดขึ้น เพื่อให้เกิดการรับรู้ ความเข้าใจ และนําไปสู่การปฏิบัติต่อไป”
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/17750
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการการพัฒนาครูและบุคลากรในสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาด้านมายเซ็ตการประกอบการ ครั้งที่ 1
วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม 2561 การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการการพัฒนาครูและบุคลากรในสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาด้านมายเซ็ตการประกอบการ ครั้งที่ 1 คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นแห่งชาติผลักดันให้มีการดําเนินการจัดตั้ง Startup Club ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา แล้ว 113 แห่งใน 77 จังหวัด เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และส่งเสริมให้รู้จัก เข้าใจ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างผู้ประกอบการ นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นแห่งชาติ (National Startup Committee: NSC) (คณะกรรมการฯ) ได้เปิดเผยว่า คณะกรรมการฯ ได้ผลักดันให้มีการดําเนินการจัดตั้ง Startup Club ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา แล้ว 113 แห่งใน 77 จังหวัด เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และส่งเสริมให้เด็กนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษารู้จัก เข้าใจ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างผู้ประกอบการ ตามดําริของรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ในการนี้ คณะกรรมการฯ ร่วมกับสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง กรมบัญชีกลาง และธนาคารออมสินได้จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการการพัฒนาครูและบุคลากรในสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาด้านมายเซ็ตการประกอบการ (การฝึกอบรมฯ) ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 22 - 23 มีนาคม 2561 ณ โรงแรมเชียงใหม่ แกรนด์วิว จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนางสัญญา ไชยเชียงของ คลังเขต 5 เชียงใหม่ และนางสุดารัตน์ กลิ่นเจริญ ผู้อํานวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจลูกค้าผู้ประกอบการ SMEs Startup ร่วมพิธีเปิดงาน การฝึกอบรมฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และมายเซ็ตทางการประกอบการให้แก่ครูและเจ้าหน้าที่ในสถาบันการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาเพื่อสามารถถ่ายทอดความรู้ และแรงบันดาลใจไปยังนักเรียนที่เข้าร่วม Startup Club ได้ การฝึกอบรมฯ ครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมทั้งหมด 41 ท่าน เป็นครูจากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ Startup Club จํานวน 24 ท่าน จาก 12 สถาบัน และเจ้าหน้าที่จากคณะผู้บริหารการคลังประจําจังหวัด (คบจ.) 17 ท่านจาก 12 จังหวัดในภาคเหนือ ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลําพูน ตาก ลําปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และสุโขทัย โดยมีคณาจารย์จากศูนย์การสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม (Innovation-Driven Entrepreneurship Center : IDE Center) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยทําหน้าที่เป็นวิทยากร ในการฝึกอบรมฯ ตลอดระยะเวลา 2 วัน 1 คืน สําหรับการฝึกอบรมฯ ครั้งต่อไป จะจัดขึ้น ณ จังหวัดอุดรธานี ระหว่างวันที่ 2 - 3 เมษายน 2561 สําหรับครูในสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ Startup Club และเจ้าหน้าที่ คบจ. ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน สํานักนโยบายการออมและการลงทุน สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3644, 3640, 3638
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการการพัฒนาครูและบุคลากรในสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาด้านมายเซ็ตการประกอบการ ครั้งที่ 1 วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม 2561 การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการการพัฒนาครูและบุคลากรในสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาด้านมายเซ็ตการประกอบการ ครั้งที่ 1 คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นแห่งชาติผลักดันให้มีการดําเนินการจัดตั้ง Startup Club ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา แล้ว 113 แห่งใน 77 จังหวัด เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และส่งเสริมให้รู้จัก เข้าใจ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างผู้ประกอบการ นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นแห่งชาติ (National Startup Committee: NSC) (คณะกรรมการฯ) ได้เปิดเผยว่า คณะกรรมการฯ ได้ผลักดันให้มีการดําเนินการจัดตั้ง Startup Club ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา แล้ว 113 แห่งใน 77 จังหวัด เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และส่งเสริมให้เด็กนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษารู้จัก เข้าใจ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างผู้ประกอบการ ตามดําริของรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ในการนี้ คณะกรรมการฯ ร่วมกับสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง กรมบัญชีกลาง และธนาคารออมสินได้จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการการพัฒนาครูและบุคลากรในสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาด้านมายเซ็ตการประกอบการ (การฝึกอบรมฯ) ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 22 - 23 มีนาคม 2561 ณ โรงแรมเชียงใหม่ แกรนด์วิว จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนางสัญญา ไชยเชียงของ คลังเขต 5 เชียงใหม่ และนางสุดารัตน์ กลิ่นเจริญ ผู้อํานวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจลูกค้าผู้ประกอบการ SMEs Startup ร่วมพิธีเปิดงาน การฝึกอบรมฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และมายเซ็ตทางการประกอบการให้แก่ครูและเจ้าหน้าที่ในสถาบันการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาเพื่อสามารถถ่ายทอดความรู้ และแรงบันดาลใจไปยังนักเรียนที่เข้าร่วม Startup Club ได้ การฝึกอบรมฯ ครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมทั้งหมด 41 ท่าน เป็นครูจากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ Startup Club จํานวน 24 ท่าน จาก 12 สถาบัน และเจ้าหน้าที่จากคณะผู้บริหารการคลังประจําจังหวัด (คบจ.) 17 ท่านจาก 12 จังหวัดในภาคเหนือ ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลําพูน ตาก ลําปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และสุโขทัย โดยมีคณาจารย์จากศูนย์การสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม (Innovation-Driven Entrepreneurship Center : IDE Center) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยทําหน้าที่เป็นวิทยากร ในการฝึกอบรมฯ ตลอดระยะเวลา 2 วัน 1 คืน สําหรับการฝึกอบรมฯ ครั้งต่อไป จะจัดขึ้น ณ จังหวัดอุดรธานี ระหว่างวันที่ 2 - 3 เมษายน 2561 สําหรับครูในสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ Startup Club และเจ้าหน้าที่ คบจ. ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน สํานักนโยบายการออมและการลงทุน สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3644, 3640, 3638
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/10959
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ออท.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์/ไทยเข้าเยี่ยมคำนับ รมช.กห.
วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม 2562 ออท.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์/ไทยเข้าเยี่ยมคํานับ รมช.กห. ออท.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์/ไทยเข้าเยี่ยมคํานับ รมช.กห. ออท.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์/ไทยเข้าเยี่ยมคํานับ รมช.กห. เมื่อ 19 ธ.ค.62,เวลา0900 พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล รมช.กห.ได้ให้การต้อนรับ นาง Mary Jo A. Bernardo-Aragon(แมรี่โจ เอ. แบร์นาโด-อารากอน ออท.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์/ไทย เข้าเยี่ยมคํานับในโอกาสอําลาตําแหน่ง ณ ศาลาว่าการกลาโหม พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล รมช.กห.ได้ให้การต้อนรับและกล่าวขอบคุณที่กรุณาให้เกียรติมาเยี่ยมคํานับ พร้อมทั้งกล่าวชื่นชมความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทย กับสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ รวมถึงได้ชื่นชมการปฏิบัตหน้าที่ในช่วงดํารงตําแหน่งที่ผ่านมาที่ได้สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศและขอแสดงความยินดีกับความสําเร็จในการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่30และเป็นเจ้าเหรียญทองในการแข่งขันครั้งนี้ ทั้งสองประเทศได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนในหลายระดับโดยเฉพาะ จนท. ระดับสูงที่มีอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งความสัมพันธ์ทางทหาร ทั้งด้านการศึกษา การฝึกและการส่งกําลังบํารุง รวมทั้งขอบคุณฟิลิปปินส์ที่ได้ส่งบริษัทเอกชนมาร่วมแสดงอุปกรณ์ป้องกันประเทศในงาน Defence&Security ที่จัดขึ้นในเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา นาง Mary Jo A. Bernardo-Aragon(แมรี่โจ เอ. แบร์นาโด-อารากอน ออท.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์/ไทย ได้กล่าวขอบคุณ และกล่าวชื่นชมความสัมพันธ์อันดีในฐานะประเทศที่ร่วมก่อตั้งอาเซียนที่มีมาอย่างยาวนานและชื่นชมความสําเร็จของไทยในการเป็นประธานอาเซียนและการเป็นประธานการประชุม ADMMและADMM PLUS รวมทั้งพร้อมให้การสนับสนุนไทยในการเป็นเจ้าภาพร่วมกับสหรัฐในการฝึกผสมทางทะเลและมีความประสงค์ที่จะพัฒนาความสัมพันธ์และต่อยอดความร่วมมือของทั้งสองประเทศให้มีความยั่งยืนต่อไป
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ออท.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์/ไทยเข้าเยี่ยมคำนับ รมช.กห. วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม 2562 ออท.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์/ไทยเข้าเยี่ยมคํานับ รมช.กห. ออท.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์/ไทยเข้าเยี่ยมคํานับ รมช.กห. ออท.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์/ไทยเข้าเยี่ยมคํานับ รมช.กห. เมื่อ 19 ธ.ค.62,เวลา0900 พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล รมช.กห.ได้ให้การต้อนรับ นาง Mary Jo A. Bernardo-Aragon(แมรี่โจ เอ. แบร์นาโด-อารากอน ออท.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์/ไทย เข้าเยี่ยมคํานับในโอกาสอําลาตําแหน่ง ณ ศาลาว่าการกลาโหม พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล รมช.กห.ได้ให้การต้อนรับและกล่าวขอบคุณที่กรุณาให้เกียรติมาเยี่ยมคํานับ พร้อมทั้งกล่าวชื่นชมความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทย กับสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ รวมถึงได้ชื่นชมการปฏิบัตหน้าที่ในช่วงดํารงตําแหน่งที่ผ่านมาที่ได้สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศและขอแสดงความยินดีกับความสําเร็จในการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่30และเป็นเจ้าเหรียญทองในการแข่งขันครั้งนี้ ทั้งสองประเทศได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนในหลายระดับโดยเฉพาะ จนท. ระดับสูงที่มีอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งความสัมพันธ์ทางทหาร ทั้งด้านการศึกษา การฝึกและการส่งกําลังบํารุง รวมทั้งขอบคุณฟิลิปปินส์ที่ได้ส่งบริษัทเอกชนมาร่วมแสดงอุปกรณ์ป้องกันประเทศในงาน Defence&Security ที่จัดขึ้นในเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา นาง Mary Jo A. Bernardo-Aragon(แมรี่โจ เอ. แบร์นาโด-อารากอน ออท.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์/ไทย ได้กล่าวขอบคุณ และกล่าวชื่นชมความสัมพันธ์อันดีในฐานะประเทศที่ร่วมก่อตั้งอาเซียนที่มีมาอย่างยาวนานและชื่นชมความสําเร็จของไทยในการเป็นประธานอาเซียนและการเป็นประธานการประชุม ADMMและADMM PLUS รวมทั้งพร้อมให้การสนับสนุนไทยในการเป็นเจ้าภาพร่วมกับสหรัฐในการฝึกผสมทางทะเลและมีความประสงค์ที่จะพัฒนาความสัมพันธ์และต่อยอดความร่วมมือของทั้งสองประเทศให้มีความยั่งยืนต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/25334
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คกก.โรคติดต่อแห่งชาติ ออกคำแนะนำในการป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงเดือนรอมฎอน [กระทรวงสาธารณสุข]
วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน 2563 คกก.โรคติดต่อแห่งชาติ ออกคําแนะนําในการป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงเดือนรอมฎอน [กระทรวงสาธารณสุข] คกก.โรคติดต่อแห่งชาติ ออกคําแนะนําในการป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงเดือนรอมฎอน คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 ออกคําแนะนําในการป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงเดือนรอมฎอน สําหรับชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามทั่วประเทศ เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรค ทั้งภายในครอบครัวและในชุมชน วันนี้ (16 เมษายน 2563) นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค ในฐานะกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ได้ลงนามคําแนะนําในการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในช่วงเดือนรอมฎอน ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ในฐานะคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ลงวันที่10 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย ยังมีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง ทําให้ต้องมีการดําเนินมาตรการอย่างเข้มข้นทุกพื้นที่ กรมควบคุมโรค จึงขอความร่วมมือจากประชาชนชาวไทยผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามทั่วประเทศ ร่วมกันป้องกันและลดการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 โดยเฉพาะในช่วงเดือนรอมฎอนปีนี้ ซึ่งจะเริ่มในห้วงระหว่างวันที่ 24 หรือ 25 เมษายน - 23 หรือ 24 พฤษภาคม 2563 นี้ การถือศีลอดในเดือนรอมฎอนเป็นหนึ่งในบทบัญญัติตามหลักปฏิบัติศาสนบัญญัติของผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามซึ่งจะงดเว้นการรับประทานอาหาร เครื่องดื่ม และการปฏิบัติตัวตามหลักศาสนา โดยเริ่มปฏิบัติทุกวันตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนพระอาทิตย์ตกดินเป็นระยะเวลา 1 เดือน ซึ่งระยะเวลาดังกล่าว เป็นช่วงเวลาที่ครอบครัวจะได้อยู่ร่วมกันอย่างใกล้ชิด ทําให้มีความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อทั้งภายในครอบครัวและในชุมชน กรมควบคุมโรค ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติจึงได้ออกคําแนะนําในการป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 โดยขอความร่วมมือให้ผู้ที่ถือศีลอดปฏิบัติตามคําแนะนํา ดังนี้ 1.หลีกเลี่ยงการสลามด้วยการสัมผัสมือ การสวมกอด และการสัมผัสแก้ม โดยให้ยกมือสลามกันเท่านั้น 2.งดการไปร่วมละหมาดญะมาอะฮ์หรือละหมาดวันศุกร์ที่มัสยิด และปฏิบัติตามประกาศจุฬาราชมนตรี เรื่อง มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) อย่างเคร่งครัด โดยแนะนําให้ปฏิบัติศาสนกิจภายในบ้าน 3.หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารร่วมกัน และงดการแบ่งปันอาหารให้แก่กัน หากจําเป็นให้นั่งห่างกันอย่างน้อย1-2 เมตร และไม่จัดอาหารแบบใส่ถาดรวม (บุฟเฟต์) ให้แยกเป็นอาหารจานเดียว มีช้อนส้อมและแก้วน้ําเฉพาะของตนเอง และล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร 4.หลีกเลี่ยงการไปสถานที่ที่มีการรวมตัวกันของคนเป็นจํานวนมาก หากจําเป็นควรเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1-2 เมตร สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยทุกครั้ง และล้างมือด้วยน้ําและสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลให้สะอาดอยู่เสมอ 5.กรณีมีความจําเป็นต้องปฏิบัติศาสนกิจในมัสยิด แนะนําให้เปิดหน้าต่างและผ้าม่านเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก งดการใช้เครื่องปรับอากาศ และให้คัดกรองทุกคนก่อนเข้ามัสยิด หากมีอาการไข้ (อุณหภูมิตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียส)ไอ เจ็บคอ แม้จะมีอาการไม่มาก ให้งดเข้าร่วมและแนะนําให้สังเกตอาการที่บ้าน 6.หากมีการสัมผัสบุคคลหรือไปสถานที่เสี่ยง เมื่อกลับเข้าบ้าน แนะนําให้รีบทําความสะอาดร่างกาย อาบน้ําสระผม และเปลี่ยนเสื้อผ้า 7.เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และดื่มน้ําสะอาดมากๆ หลังรับประทานอาหาร นอกจากจะเป็นข้อควรปฏิบัติในการถือศีลอดที่ถูกต้องแล้วยังช่วยให้ร่างกายไม่ขาดน้ําในสภาพอากาศร้อนด้วย นายแพทย์สุวรรณชัย ให้คําแนะนําเพิ่มเติมว่า ในกลุ่มผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจําตัว ไม่ควรออกไปร่วมกิจกรรมทางศาสนาข้างนอกบ้าน ให้ปฏิบัติศาสนกิจภายในบ้าน เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19จากสิ่งแวดล้อมภายนอก เพราะหากกลุ่มดังกล่าวได้รับเชื้อ จะมีอาการรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คกก.โรคติดต่อแห่งชาติ ออกคำแนะนำในการป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงเดือนรอมฎอน [กระทรวงสาธารณสุข] วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน 2563 คกก.โรคติดต่อแห่งชาติ ออกคําแนะนําในการป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงเดือนรอมฎอน [กระทรวงสาธารณสุข] คกก.โรคติดต่อแห่งชาติ ออกคําแนะนําในการป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงเดือนรอมฎอน คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 ออกคําแนะนําในการป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงเดือนรอมฎอน สําหรับชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามทั่วประเทศ เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรค ทั้งภายในครอบครัวและในชุมชน วันนี้ (16 เมษายน 2563) นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค ในฐานะกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ได้ลงนามคําแนะนําในการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในช่วงเดือนรอมฎอน ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ในฐานะคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ลงวันที่10 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย ยังมีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง ทําให้ต้องมีการดําเนินมาตรการอย่างเข้มข้นทุกพื้นที่ กรมควบคุมโรค จึงขอความร่วมมือจากประชาชนชาวไทยผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามทั่วประเทศ ร่วมกันป้องกันและลดการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 โดยเฉพาะในช่วงเดือนรอมฎอนปีนี้ ซึ่งจะเริ่มในห้วงระหว่างวันที่ 24 หรือ 25 เมษายน - 23 หรือ 24 พฤษภาคม 2563 นี้ การถือศีลอดในเดือนรอมฎอนเป็นหนึ่งในบทบัญญัติตามหลักปฏิบัติศาสนบัญญัติของผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามซึ่งจะงดเว้นการรับประทานอาหาร เครื่องดื่ม และการปฏิบัติตัวตามหลักศาสนา โดยเริ่มปฏิบัติทุกวันตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนพระอาทิตย์ตกดินเป็นระยะเวลา 1 เดือน ซึ่งระยะเวลาดังกล่าว เป็นช่วงเวลาที่ครอบครัวจะได้อยู่ร่วมกันอย่างใกล้ชิด ทําให้มีความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อทั้งภายในครอบครัวและในชุมชน กรมควบคุมโรค ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติจึงได้ออกคําแนะนําในการป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 โดยขอความร่วมมือให้ผู้ที่ถือศีลอดปฏิบัติตามคําแนะนํา ดังนี้ 1.หลีกเลี่ยงการสลามด้วยการสัมผัสมือ การสวมกอด และการสัมผัสแก้ม โดยให้ยกมือสลามกันเท่านั้น 2.งดการไปร่วมละหมาดญะมาอะฮ์หรือละหมาดวันศุกร์ที่มัสยิด และปฏิบัติตามประกาศจุฬาราชมนตรี เรื่อง มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) อย่างเคร่งครัด โดยแนะนําให้ปฏิบัติศาสนกิจภายในบ้าน 3.หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารร่วมกัน และงดการแบ่งปันอาหารให้แก่กัน หากจําเป็นให้นั่งห่างกันอย่างน้อย1-2 เมตร และไม่จัดอาหารแบบใส่ถาดรวม (บุฟเฟต์) ให้แยกเป็นอาหารจานเดียว มีช้อนส้อมและแก้วน้ําเฉพาะของตนเอง และล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร 4.หลีกเลี่ยงการไปสถานที่ที่มีการรวมตัวกันของคนเป็นจํานวนมาก หากจําเป็นควรเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1-2 เมตร สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยทุกครั้ง และล้างมือด้วยน้ําและสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลให้สะอาดอยู่เสมอ 5.กรณีมีความจําเป็นต้องปฏิบัติศาสนกิจในมัสยิด แนะนําให้เปิดหน้าต่างและผ้าม่านเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก งดการใช้เครื่องปรับอากาศ และให้คัดกรองทุกคนก่อนเข้ามัสยิด หากมีอาการไข้ (อุณหภูมิตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียส)ไอ เจ็บคอ แม้จะมีอาการไม่มาก ให้งดเข้าร่วมและแนะนําให้สังเกตอาการที่บ้าน 6.หากมีการสัมผัสบุคคลหรือไปสถานที่เสี่ยง เมื่อกลับเข้าบ้าน แนะนําให้รีบทําความสะอาดร่างกาย อาบน้ําสระผม และเปลี่ยนเสื้อผ้า 7.เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และดื่มน้ําสะอาดมากๆ หลังรับประทานอาหาร นอกจากจะเป็นข้อควรปฏิบัติในการถือศีลอดที่ถูกต้องแล้วยังช่วยให้ร่างกายไม่ขาดน้ําในสภาพอากาศร้อนด้วย นายแพทย์สุวรรณชัย ให้คําแนะนําเพิ่มเติมว่า ในกลุ่มผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจําตัว ไม่ควรออกไปร่วมกิจกรรมทางศาสนาข้างนอกบ้าน ให้ปฏิบัติศาสนกิจภายในบ้าน เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19จากสิ่งแวดล้อมภายนอก เพราะหากกลุ่มดังกล่าวได้รับเชื้อ จะมีอาการรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/29231
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ศธ.จับมือภาคเอกชนและสภาหอการค้าประเทศชั้นนำของโลก ร่วมพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษานานาชาติ
วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม 2561 ศธ.จับมือภาคเอกชนและสภาหอการค้าประเทศชั้นนําของโลก ร่วมพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษานานาชาติ เมื่อวันพุธที่ 1 สิงหาคม 2561 นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษานานาชาติ ครั้งที่ 1 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันพุธที่ 1 สิงหาคม 2561 นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษานานาชาติ ครั้งที่ 1 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ "การประชุมครั้งนี้มีผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ คือม.ล.ปริยดา ดิศกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเข้าร่วมประชุมหารือร่วมกับประธานและผู้แทนสภาหอการค้าของต่างประเทศในประเทศไทย คือ เยอรมนี, ออสเตรเลีย, จีน, สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, เกาหลีใต้ตลอดจนผู้แทนภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม และภาคธุรกิจชั้นนําอาทินายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จํากัด (มหาชน) หรือSCG, รศ.ดร.จีรเดช อู่สวัสดิ์ กรรมการกลุ่มมิตรผล, น.ส.ศิริพร พัชรวัฒน์ ผู้อํานวยการด้านนวัตกรรมการศึกษา บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จํากัด, Dr Hua Xie CEO, TCC BUSINESS CENTER เป็นต้น" รมว.ศึกษาธิการเปิดเผยภายหลังการประชุมว่าเป็นการประชุมครั้งแรกของคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษานานาชาติประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม และสภาหอการค้าของต่างประเทศในประเทศไทย โดยคณะกรรมการชุดนี้ มีหน้าที่หลัก 2 ประการคือ 1) แนะนําเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษานานาชาติ 2) ประกาศหลักสูตรอาชีวศึกษานานาชาติที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเพื่อให้สถาบันอาชีวศึกษาที่สนใจสามารถนําหลักสูตรนานาชาติดังกล่าวไปปรับใช้กับการเรียนการสอนได้ เช่น หลักสูตร Business and Technology Education Council: BTEC ของ Pearson ซึ่งเป็นหลักสูตรวิชาชีพที่ได้รับการรับรองจากอังกฤษ ที่สําคัญคณะกรรมการชุดนี้จะช่วยพัฒนาการอาชีวศึกษาของไทยอาทิ การบริหารจัดการ การวางระบบสถานศึกษา การฝึกหัดครู การประสานกับผู้ประกอบการภาคเอกชนและภาคอุตสาหกรรมในการจ้างงานผู้จบการศึกษาที่ตรงตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ในส่วนของสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านอาชีวศึกษาครั้งสําคัญที่จะได้เรียนรู้รูปแบบอาชีวศึกษาจากหลากหลายประเทศ โดยได้รับความร่วมมือจากสภาหอการค้าและภาคเอกชนหลายประเทศชั้นนําของโลกยินดีที่จะเข้ามาช่วยพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษาให้มีความเป็นสากล โดยแต่ละประเทศไม่ได้เข้ามาเพื่อแข่งขันกัน แต่เข้ามาช่วยเหลือการศึกษาของไทยอย่างแท้จริง "จึงขอเชิญชวนทุกประเทศที่มีหลักสูตรอาชีวศึกษาที่ดี ได้เข้ามาร่วมพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษานานาชาติร่วมกัน หากหลักสูตรของบริษัทหรือหน่วยงานในประเทศใดมีศักยภาพ ก็ให้ประเทศนั้นตรวจสอบมาตรฐาน เพื่อเสนอให้คณะกรรมการฯพิจารณาประกาศหลักสูตรนั้นได้ โดยเป็นการประกาศให้นายจ้างหรือผู้ประกอบการทราบว่า กระทรวงศึกษาธิการมีหลักสูตรอาชีวศึกษาที่มีความทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของนายจ้างและผู้ประกอบการ" นพ.ธีระเกียรติ กล่าว ม.ล.ปริยดา ดิศกุลกล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า การประชุมครั้งแรกนี้ได้หารือร่วมกันถึงบทบาทหน้าที่การทํางานร่วมกัน เช่น เยอรมนีต้องการให้กระทรวงศึกษาธิการเตรียมการวางแผนอบรมพัฒนาครูและผู้เรียนอาชีวศึกษาทั้งหลักสูตรระยะสั้นและหลักสูตรปกติ ให้รองรับกับการเรียนการสอนหลักสูตรอาชีวศึกษาของประเทศต่าง ๆ ดังกล่าว รวมทั้งหลักสูตรอาชีวศึกษาชั้นนําจากประเทศญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย ซึ่งที่ผ่านมามีความร่วมมือกับไทยมาโดยตลอด "ภาคเอกชนเหล่านี้พร้อมเข้ามาร่วมจัดหลักสูตร ในรูปแบบเดียวกับโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School) ในสถาบันอาชีวศึกษาของไทย เพื่อป้อนผู้เรียนอาชีวะของไทยไปทํางานในภาคอุตสาหกรรมของประเทศชั้นนําเหล่านี้ได้ทันทีซึ่งหลังจากนี้ผู้แทนแต่ละประเทศจะไปจัดทําข้อมูลรายละเอียดเพื่อกลับมาเสนอต่อที่ประชุมวางแผนร่วมกันต่อไป" เลขานุการ รมว.ศธ. กล่าว Writtenbyอรพรรณ ฤทธิ์มั่น Photo Creditอิทธิพล รุ่งก่อน Rewriterนวรัตน์ รามสูต Editorบัลลังก์ โรหิตเสถียร
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ศธ.จับมือภาคเอกชนและสภาหอการค้าประเทศชั้นนำของโลก ร่วมพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษานานาชาติ วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม 2561 ศธ.จับมือภาคเอกชนและสภาหอการค้าประเทศชั้นนําของโลก ร่วมพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษานานาชาติ เมื่อวันพุธที่ 1 สิงหาคม 2561 นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษานานาชาติ ครั้งที่ 1 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันพุธที่ 1 สิงหาคม 2561 นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษานานาชาติ ครั้งที่ 1 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ "การประชุมครั้งนี้มีผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ คือม.ล.ปริยดา ดิศกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเข้าร่วมประชุมหารือร่วมกับประธานและผู้แทนสภาหอการค้าของต่างประเทศในประเทศไทย คือ เยอรมนี, ออสเตรเลีย, จีน, สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, เกาหลีใต้ตลอดจนผู้แทนภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม และภาคธุรกิจชั้นนําอาทินายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จํากัด (มหาชน) หรือSCG, รศ.ดร.จีรเดช อู่สวัสดิ์ กรรมการกลุ่มมิตรผล, น.ส.ศิริพร พัชรวัฒน์ ผู้อํานวยการด้านนวัตกรรมการศึกษา บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จํากัด, Dr Hua Xie CEO, TCC BUSINESS CENTER เป็นต้น" รมว.ศึกษาธิการเปิดเผยภายหลังการประชุมว่าเป็นการประชุมครั้งแรกของคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษานานาชาติประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม และสภาหอการค้าของต่างประเทศในประเทศไทย โดยคณะกรรมการชุดนี้ มีหน้าที่หลัก 2 ประการคือ 1) แนะนําเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษานานาชาติ 2) ประกาศหลักสูตรอาชีวศึกษานานาชาติที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเพื่อให้สถาบันอาชีวศึกษาที่สนใจสามารถนําหลักสูตรนานาชาติดังกล่าวไปปรับใช้กับการเรียนการสอนได้ เช่น หลักสูตร Business and Technology Education Council: BTEC ของ Pearson ซึ่งเป็นหลักสูตรวิชาชีพที่ได้รับการรับรองจากอังกฤษ ที่สําคัญคณะกรรมการชุดนี้จะช่วยพัฒนาการอาชีวศึกษาของไทยอาทิ การบริหารจัดการ การวางระบบสถานศึกษา การฝึกหัดครู การประสานกับผู้ประกอบการภาคเอกชนและภาคอุตสาหกรรมในการจ้างงานผู้จบการศึกษาที่ตรงตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ในส่วนของสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านอาชีวศึกษาครั้งสําคัญที่จะได้เรียนรู้รูปแบบอาชีวศึกษาจากหลากหลายประเทศ โดยได้รับความร่วมมือจากสภาหอการค้าและภาคเอกชนหลายประเทศชั้นนําของโลกยินดีที่จะเข้ามาช่วยพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษาให้มีความเป็นสากล โดยแต่ละประเทศไม่ได้เข้ามาเพื่อแข่งขันกัน แต่เข้ามาช่วยเหลือการศึกษาของไทยอย่างแท้จริง "จึงขอเชิญชวนทุกประเทศที่มีหลักสูตรอาชีวศึกษาที่ดี ได้เข้ามาร่วมพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษานานาชาติร่วมกัน หากหลักสูตรของบริษัทหรือหน่วยงานในประเทศใดมีศักยภาพ ก็ให้ประเทศนั้นตรวจสอบมาตรฐาน เพื่อเสนอให้คณะกรรมการฯพิจารณาประกาศหลักสูตรนั้นได้ โดยเป็นการประกาศให้นายจ้างหรือผู้ประกอบการทราบว่า กระทรวงศึกษาธิการมีหลักสูตรอาชีวศึกษาที่มีความทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของนายจ้างและผู้ประกอบการ" นพ.ธีระเกียรติ กล่าว ม.ล.ปริยดา ดิศกุลกล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า การประชุมครั้งแรกนี้ได้หารือร่วมกันถึงบทบาทหน้าที่การทํางานร่วมกัน เช่น เยอรมนีต้องการให้กระทรวงศึกษาธิการเตรียมการวางแผนอบรมพัฒนาครูและผู้เรียนอาชีวศึกษาทั้งหลักสูตรระยะสั้นและหลักสูตรปกติ ให้รองรับกับการเรียนการสอนหลักสูตรอาชีวศึกษาของประเทศต่าง ๆ ดังกล่าว รวมทั้งหลักสูตรอาชีวศึกษาชั้นนําจากประเทศญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย ซึ่งที่ผ่านมามีความร่วมมือกับไทยมาโดยตลอด "ภาคเอกชนเหล่านี้พร้อมเข้ามาร่วมจัดหลักสูตร ในรูปแบบเดียวกับโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School) ในสถาบันอาชีวศึกษาของไทย เพื่อป้อนผู้เรียนอาชีวะของไทยไปทํางานในภาคอุตสาหกรรมของประเทศชั้นนําเหล่านี้ได้ทันทีซึ่งหลังจากนี้ผู้แทนแต่ละประเทศจะไปจัดทําข้อมูลรายละเอียดเพื่อกลับมาเสนอต่อที่ประชุมวางแผนร่วมกันต่อไป" เลขานุการ รมว.ศธ. กล่าว Writtenbyอรพรรณ ฤทธิ์มั่น Photo Creditอิทธิพล รุ่งก่อน Rewriterนวรัตน์ รามสูต Editorบัลลังก์ โรหิตเสถียร
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/14285
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เขตสุขภาพที่ 3 รักษาผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจตีบ อันดับ 1 ของประเทศ
วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน 2561 เขตสุขภาพที่ 3 รักษาผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจตีบ อันดับ 1 ของประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ชื่นชมเขตสุขภาพที่ 3 สามารถให้การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจครบวงจร โดยการให้ยาละลายลิ่มเลือดและสวนหัวใจเปิดเส้นเลือด เพื่อรักษาผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจตีบ สูงเป็นอันดับ 1 ของเขตสุขภาพ วันนี้ (8 มิถุนายน 2561) ที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ ศาสตราจารย์ คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์เจษฎา โชคดํารงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์บุญชัย ธีระกาญจน์ ผู้ตรวจราชการเขตสุขภาพที่ 3 และคณะ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดําเนินงานเขตสุขภาพที่ 3 ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่อย่างเป็นทางการ และให้สัมภาษณ์ว่า รัฐบาลมอบให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นเจ้าภาพจัดทํายุทธศาสตร์การจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ในภาพรวมของประเทศ ระยะยาว (5 – 10 ปี) โดยร่วมมือกับสถาบันทางการแพทย์ และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ กระจายทุกภูมิภาค สําหรับเขตสุขภาพที่ 3 ได้กําหนดให้โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ เป็นศูนย์เลิศด้านหัวใจ จัดตั้งเครือข่ายหัวใจและหลอดเลือด พัฒนาระบบการให้ยาละลายลิ่มเลือดทุกโรงพยาบาลในเขต สามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดแก่ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดตีบภายใน 30 นาที ได้ถึงร้อยละ 49.6 และให้บริการสวนหัวใจเพื่อเปิดเส้นเลือดภายใน 120 นาทีได้ถึงร้อยละ 69 ทําให้ผลการดําเนินงานรักษาผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจตีบครอบคลุมได้ร้อยละ 81.2 สูงเป็นอันดับ 1 ของเขตสุขภาพ ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากร้อยละ 12 ในปี 2558 เหลือร้อยละ 7.73 ในปี 2561 รวมให้บริการสวนหัวใจไปแล้ว 1,123 คน และจะเริ่มเปิดให้บริการผ่าตัดหัวใจ ทําให้เขตสุขภาพที่ 3 สามารถดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียงได้อย่างครบวงจร ลดความเหลื่อมล้ําในการรับบริการของประชาชน ทั้งนี้ เขตสุขภาพที่ 3 ประกอบด้วย 5 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท กําแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี ************************* 8 มิถุนายน 2561
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เขตสุขภาพที่ 3 รักษาผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจตีบ อันดับ 1 ของประเทศ วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน 2561 เขตสุขภาพที่ 3 รักษาผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจตีบ อันดับ 1 ของประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ชื่นชมเขตสุขภาพที่ 3 สามารถให้การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจครบวงจร โดยการให้ยาละลายลิ่มเลือดและสวนหัวใจเปิดเส้นเลือด เพื่อรักษาผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจตีบ สูงเป็นอันดับ 1 ของเขตสุขภาพ วันนี้ (8 มิถุนายน 2561) ที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ ศาสตราจารย์ คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์เจษฎา โชคดํารงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์บุญชัย ธีระกาญจน์ ผู้ตรวจราชการเขตสุขภาพที่ 3 และคณะ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดําเนินงานเขตสุขภาพที่ 3 ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่อย่างเป็นทางการ และให้สัมภาษณ์ว่า รัฐบาลมอบให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นเจ้าภาพจัดทํายุทธศาสตร์การจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ในภาพรวมของประเทศ ระยะยาว (5 – 10 ปี) โดยร่วมมือกับสถาบันทางการแพทย์ และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ กระจายทุกภูมิภาค สําหรับเขตสุขภาพที่ 3 ได้กําหนดให้โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ เป็นศูนย์เลิศด้านหัวใจ จัดตั้งเครือข่ายหัวใจและหลอดเลือด พัฒนาระบบการให้ยาละลายลิ่มเลือดทุกโรงพยาบาลในเขต สามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดแก่ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดตีบภายใน 30 นาที ได้ถึงร้อยละ 49.6 และให้บริการสวนหัวใจเพื่อเปิดเส้นเลือดภายใน 120 นาทีได้ถึงร้อยละ 69 ทําให้ผลการดําเนินงานรักษาผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจตีบครอบคลุมได้ร้อยละ 81.2 สูงเป็นอันดับ 1 ของเขตสุขภาพ ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากร้อยละ 12 ในปี 2558 เหลือร้อยละ 7.73 ในปี 2561 รวมให้บริการสวนหัวใจไปแล้ว 1,123 คน และจะเริ่มเปิดให้บริการผ่าตัดหัวใจ ทําให้เขตสุขภาพที่ 3 สามารถดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียงได้อย่างครบวงจร ลดความเหลื่อมล้ําในการรับบริการของประชาชน ทั้งนี้ เขตสุขภาพที่ 3 ประกอบด้วย 5 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท กําแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี ************************* 8 มิถุนายน 2561
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/12880
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 24 มิถุนายน 2563 [กระทรวงสาธารณสุข]
วันพุธที่ 24 มิถุนายน 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจําวันที่ 24 มิถุนายน 2563 [กระทรวงสาธารณสุข] รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจําวันที่ 24 มิถุนายน 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจําวันที่ 24 มิถุนายน 2563 สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยวันนี้ มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1 ราย เป็นผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศฟิลิปปินส์และเข้ารับการเฝ้าระวังกักตัวในสถานที่รัฐจัดให้ มีผู้ป่วยกลับบ้านได้ 3 ราย ยอดผู้ป่วยกลับบ้านสะสม 3,026 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 95.85 ของผู้ป่วยทั้งหมด มีผู้ป่วยที่ยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 73 ราย หรือร้อยละ 2.31 ของผู้ป่วยทั้งหมด ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม รวมผู้เสียชีวิตสะสม 58 ราย ผู้ป่วยสะสมทั้งสิ้น 3,157 ราย สถานการณ์การติดเชื้อของประเทศไทยขณะนี้ยังคงเป็นคนไทยที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ ส่วนการติดเชื้อภายในประเทศถึงวันนี้นับเป็นเวลา 1 เดือน แล้วที่ไม่พบรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ รัฐบาลขอความร่วมมือให้ประชาชนและทุกภาคส่วนยังคงเข้มมาตรการต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการผ่อนคลายมาตรการในระยะที่ 4 และคณะรัฐมนตรีมีมติให้หยุดชดเชยในช่วงวันสําคัญทางพระพุทธศาสนาในช่วงวันที่ 4-7 กรกฎาคม นี้ ทําให้มีประชาชนทยอยเดินทางกลับภูมิลําเนา ท่องเที่ยว ทําบุญในช่วงวันหยุดยาว บางสถานที่อาจเกิดความแออัด มีการรวมตัวของคนจํานวนมากซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดการแพร่และสัมผัสเชื้อได้ กระทรวงสาธารณสุขขอความร่วมมือประชาชนอย่าประมาท ให้ป้องกันตัวเอง ทุกครั้งที่ออกจากบ้านให้สวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า เลี่ยงการเข้าไปอยู่ในที่ที่มีคนอยู่รวมกันจํานวนมาก พกแอลกอฮอล์เจลสําหรับล้างมือ ที่สําคัญคือ เมื่อป่วยต้องอยู่บ้านพักรักษาตัวไม่ไปในสถานที่ต่างๆ ส่วนวัด หรือ ศาสนสถานควรปฏิบัติตามมาตรการของกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และกระทรวงสาธารณสุขกําหนดอย่างเคร่งครัด เช่น การจัดระเบียบพื้นที่ให้ลดความแออัดเมื่อเข้าไปในพระอุโบสถ จัดจุดคัดกรองวัดไข้ผู้ที่เข้ามาในวัด หากอุณหภูมิร่างกายเกิน 37.5 องศาเซลเซียสไม่อนุญาตให้ร่วมทํากิจกรรม ทุกคนต้องสวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า จัดจุดให้บริการล้างมือด้วยสบู่และน้ําหรือเจลแอลกอฮอล์ รักษาความสะอาดภายในวัด จัดระบบระบายอากาศให้ถ่ายเทได้ดี ลงทะเบียนเข้า-ออก วัดทุกครั้ง และกระชับพิธีการในการประกอบพิธีกรรมให้สั้นลง เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด 19
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 24 มิถุนายน 2563 [กระทรวงสาธารณสุข] วันพุธที่ 24 มิถุนายน 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจําวันที่ 24 มิถุนายน 2563 [กระทรวงสาธารณสุข] รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจําวันที่ 24 มิถุนายน 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจําวันที่ 24 มิถุนายน 2563 สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยวันนี้ มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1 ราย เป็นผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศฟิลิปปินส์และเข้ารับการเฝ้าระวังกักตัวในสถานที่รัฐจัดให้ มีผู้ป่วยกลับบ้านได้ 3 ราย ยอดผู้ป่วยกลับบ้านสะสม 3,026 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 95.85 ของผู้ป่วยทั้งหมด มีผู้ป่วยที่ยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 73 ราย หรือร้อยละ 2.31 ของผู้ป่วยทั้งหมด ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม รวมผู้เสียชีวิตสะสม 58 ราย ผู้ป่วยสะสมทั้งสิ้น 3,157 ราย สถานการณ์การติดเชื้อของประเทศไทยขณะนี้ยังคงเป็นคนไทยที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ ส่วนการติดเชื้อภายในประเทศถึงวันนี้นับเป็นเวลา 1 เดือน แล้วที่ไม่พบรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ รัฐบาลขอความร่วมมือให้ประชาชนและทุกภาคส่วนยังคงเข้มมาตรการต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการผ่อนคลายมาตรการในระยะที่ 4 และคณะรัฐมนตรีมีมติให้หยุดชดเชยในช่วงวันสําคัญทางพระพุทธศาสนาในช่วงวันที่ 4-7 กรกฎาคม นี้ ทําให้มีประชาชนทยอยเดินทางกลับภูมิลําเนา ท่องเที่ยว ทําบุญในช่วงวันหยุดยาว บางสถานที่อาจเกิดความแออัด มีการรวมตัวของคนจํานวนมากซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดการแพร่และสัมผัสเชื้อได้ กระทรวงสาธารณสุขขอความร่วมมือประชาชนอย่าประมาท ให้ป้องกันตัวเอง ทุกครั้งที่ออกจากบ้านให้สวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า เลี่ยงการเข้าไปอยู่ในที่ที่มีคนอยู่รวมกันจํานวนมาก พกแอลกอฮอล์เจลสําหรับล้างมือ ที่สําคัญคือ เมื่อป่วยต้องอยู่บ้านพักรักษาตัวไม่ไปในสถานที่ต่างๆ ส่วนวัด หรือ ศาสนสถานควรปฏิบัติตามมาตรการของกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และกระทรวงสาธารณสุขกําหนดอย่างเคร่งครัด เช่น การจัดระเบียบพื้นที่ให้ลดความแออัดเมื่อเข้าไปในพระอุโบสถ จัดจุดคัดกรองวัดไข้ผู้ที่เข้ามาในวัด หากอุณหภูมิร่างกายเกิน 37.5 องศาเซลเซียสไม่อนุญาตให้ร่วมทํากิจกรรม ทุกคนต้องสวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า จัดจุดให้บริการล้างมือด้วยสบู่และน้ําหรือเจลแอลกอฮอล์ รักษาความสะอาดภายในวัด จัดระบบระบายอากาศให้ถ่ายเทได้ดี ลงทะเบียนเข้า-ออก วัดทุกครั้ง และกระชับพิธีการในการประกอบพิธีกรรมให้สั้นลง เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด 19
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/32712
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีตรวจความพร้อม และการสาธิตด้านการบรรเทาสาธารณภัย ในการฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แบบบูรณาการ ประจำปี 2562 ร่วมกับทหารรักษาพระองค์ เหล่าทัพ และประชาชนจิตอาสา
วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 นายกรัฐมนตรีตรวจความพร้อม และการสาธิตด้านการบรรเทาสาธารณภัย ในการฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แบบบูรณาการ ประจําปี 2562 ร่วมกับทหารรักษาพระองค์ เหล่าทัพ และประชาชนจิตอาสา นายกรัฐมนตรีตรวจความพร้อม และการสาธิตด้านการบรรเทาสาธารณภัย ในการฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแบบบูรณาการ ประจําปี 2562 ร่วมกับทหารรักษาพระองค์ เหล่าทัพ และประชาชนจิตอาสา วันนี้ (14 กุมภาพันธ์ 2562) เวลา 14.00 น. ณ กองพลรบพิเศษที่ 1 อําเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 77 จังหวัด ตรวจความพร้อมและการสาธิตด้านการบรรเทาสาธารณภัยในการฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแบบบูรณาการ ประจําปี 2562 ร่วมกับทหารรักษาพระองค์ เหล่าทัพ และประชาชนจิตอาสา ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขสถานการณ์วิกฤตและภัยพิบัติต่าง ๆ ได้นําแนวทางพระราชทานสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มากําหนดให้มีการฝึก การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแบบบูรณาการ ระหว่างวันที่ 9 - 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี เพื่อพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ การบังคับบัญชาร่วม และการวางแผนการปฏิบัติงานในระยะยาวอย่างเต็มประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยมุ่งหวังประสบการณ์จากการฝึกนําไปใช้ในการปฏิบัติงานต่าง ๆ ให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด ประชาชนได้รับการช่วยเหลือรวดเร็วที่สุด เป็นไปตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงต้องการให้พสกนิกรมีความสุข ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัยน้อยที่สุด โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะได้ชมการตรวจความพร้อม การแสดงยานยนต์ และอากาศยานด้านการบรรเทาสาธารณภัย ประกอบด้วย การกู้ภัยทางน้ํา การกู้ภัยอาคารล่ม การกู้ภัยสารเคมี และวัตถุอันตราย การดับเพลิงโดยเครื่องมือพิเศษ การสาธิตการแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 และเยี่ยมชมระบบรถบัญชาการ ซึ่งระหว่างการตรวจความพร้อมฯ นายกรัฐมนตรีกล่าวกับผู้ร่วมสาธิตและการฝึกตอนหนึ่งว่า ทุกหน่วยงานต้องฝึกฝนฝึกซ้อมในพื้นที่ของตัวเอง และปฏิบัติร่วมกัน พร้อมกล่าวให้กําลังใจทุกคนที่มาร่วมกันในวันนี้ ซึ่งการซ้อมครั้งนี้เป็นแบบอย่างที่ดี ที่จะนําไปเป็นแบบแผนให้กับทุกจังหวัด และกล่าวขอบคุณ บอกผู้เข้าร่วมฝึกให้ยิ้มเข้าไว้เพราะแข็งแรงกันทุกคน โดยสิ่งที่ทําอยู่คือ การทําความดี ด้วยหัวใจ ทั้งนี้ ในฐานะที่ตนเป็นหัวหน้ารัฐบาลจะสืบสาน รักษาต่อยอด สิ่งเหล่านี้ต่อไป และต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสําหรับประชาชนจิตอาสา ขอให้ยิ้มเข้าไว้ ถ้าถามว่าร้อนไหมก็ต้องบอกว่ารู้สึกไม่ร้อน ยิ้มไว้เมื่อภัยมา เราต้องยิ้มเข้าไว้ นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า วันนี้มีความพร้อมและเตรียมการที่ดี ทําให้รู้สึกมั่นใจ เพราะฉะนั้น ก่อนมีเรื่องอะไรที่จะเกิดขึ้น เราต้องมีความพร้อมของเราเสียก่อน ในส่วนของเครื่องมือ รัฐบาลยินดีพร้อมสนับสนุน ซึ่งหลายอย่างทยอยดําเนินการ และวันนี้ถือว่าเป็นการบูรณาการร่วมกันทั้งคนและเครื่องมือ ซึ่งรัฐบาลจะนําเรื่องนี้มาขับเคลื่อนไปพร้อมกัน โดยรัฐบาลมีหน้าที่อํานวยการ พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวทักทายกลุ่มแพทย์ พยาบาล ว่ามีความพร้อมทั้งแพทย์ พยาบาล 3 เหล่าทัพ ถ้ามีคนถามว่ามีทหาร ตํารวจ พลเรือน ไว้ทําไม นี้คือคําตอบไม่ว่าจะบุคคล ยุทโธปกรณ์ และกล่าวขอบคุณประชาชนจิตอาสา ซึ่งประชาชนคือหลักของประเทศ ถ้าทุกคนเข้าใจบทบาทของตนเอง แต่ละบทบาทให้ดีที่สุด ไม่มีอะไรจะทําให้ประเทศของเราอ่อนแอลงไปได้ ทุกคนต้องตั้งมั่นในจิตใจ ว่าเราต้องเป็นที่พึ่งของประชาชนให้ได้ในทุกโอกาส และการทําวันนี้ก็ทําเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชนทั้งสิ้น เราทุกคนต้องทําหน้าที่คนไทย เพราะประชาชนคือหลักของประเทศ ถ้าทุกคนเข้าใจบทบาทของตนเองในแต่ละหน้าที่ และทําให้ดีที่สุดไม่มีอะไรจะทําให้ประเทศเราคลอนแคลนได้ ขอให้ทุกคนมีความสุข สุขภาพแข็งแรง ไม่ว่าจะทําหน้าที่อะไรมีตําแหน่งหรือไม่มีตําแหน่งเราทําได้ทุกหน้าที่อย่างสมศักดิ์ศรี ซึ่งพิสูจน์ได้จากการกระทําจากอดีตที่ผ่านมา ปัจจุบันและอนาคต เราต้องเข้มแข็งต่อไปในทุกมิติอย่าให้ใครมาทําลาย หรือทําให้เกิดความแตกแยกโดยเด็ดขาดถ้าเราไม่รักตัวเองแล้วใครจะมารักเรา โดยนายกรัฐมนตรี หวังให้ทุกภาคส่วนน้อมนําพระราโชบายของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการที่ผู้บัญชาการเหตุการณ์จะต้องเสริมสร้างความแข็งแกร่ง และการกําหนดบทบาทของประชาชนจิตอาสา จิตอาสา 904 และประชาชนจิตอาสาพระราชทาน ตามแนวทางของโครงการจิตอาสาพระราชทาน “เราทําความ ดี ด้วยหัวใจ” ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานในเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นก้าวใหม่ของสังคมไทยในการบูรณาการศักยภาพของทุกภาคส่วนและประชาชนอย่างแท้จริง และขอให้ทุกคนภูมิใจที่ได้รับโอกาสครั้งสําคัญในชีวิตในการมีส่วนร่วมน้อมนําพระราโชบายมาร่วมกันฝึกปฏิบัติงานเพื่อช่วยเหลือทางด้ายมนุษยธรรมในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีพระราชประสงค์ให้พสกนิกรชาวไทยทุกคนดําเนินชีวิตอย่างมีความสุข ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัยน้อยที่สุด และได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ทั้งนี้ ก่อนเดินทางกลับ นายกรัฐมนตรีได้เข้าไปสอบถามผู้ร่วมสาธิตและฝึกท่ามกลางสายฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก เสร็จแล้ว นายกรัฐมนตรีเดินทางกลับกรุงเทพมหานคร -------------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีตรวจความพร้อม และการสาธิตด้านการบรรเทาสาธารณภัย ในการฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แบบบูรณาการ ประจำปี 2562 ร่วมกับทหารรักษาพระองค์ เหล่าทัพ และประชาชนจิตอาสา วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 นายกรัฐมนตรีตรวจความพร้อม และการสาธิตด้านการบรรเทาสาธารณภัย ในการฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แบบบูรณาการ ประจําปี 2562 ร่วมกับทหารรักษาพระองค์ เหล่าทัพ และประชาชนจิตอาสา นายกรัฐมนตรีตรวจความพร้อม และการสาธิตด้านการบรรเทาสาธารณภัย ในการฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแบบบูรณาการ ประจําปี 2562 ร่วมกับทหารรักษาพระองค์ เหล่าทัพ และประชาชนจิตอาสา วันนี้ (14 กุมภาพันธ์ 2562) เวลา 14.00 น. ณ กองพลรบพิเศษที่ 1 อําเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 77 จังหวัด ตรวจความพร้อมและการสาธิตด้านการบรรเทาสาธารณภัยในการฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแบบบูรณาการ ประจําปี 2562 ร่วมกับทหารรักษาพระองค์ เหล่าทัพ และประชาชนจิตอาสา ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขสถานการณ์วิกฤตและภัยพิบัติต่าง ๆ ได้นําแนวทางพระราชทานสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มากําหนดให้มีการฝึก การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแบบบูรณาการ ระหว่างวันที่ 9 - 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี เพื่อพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ การบังคับบัญชาร่วม และการวางแผนการปฏิบัติงานในระยะยาวอย่างเต็มประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยมุ่งหวังประสบการณ์จากการฝึกนําไปใช้ในการปฏิบัติงานต่าง ๆ ให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด ประชาชนได้รับการช่วยเหลือรวดเร็วที่สุด เป็นไปตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงต้องการให้พสกนิกรมีความสุข ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัยน้อยที่สุด โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะได้ชมการตรวจความพร้อม การแสดงยานยนต์ และอากาศยานด้านการบรรเทาสาธารณภัย ประกอบด้วย การกู้ภัยทางน้ํา การกู้ภัยอาคารล่ม การกู้ภัยสารเคมี และวัตถุอันตราย การดับเพลิงโดยเครื่องมือพิเศษ การสาธิตการแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 และเยี่ยมชมระบบรถบัญชาการ ซึ่งระหว่างการตรวจความพร้อมฯ นายกรัฐมนตรีกล่าวกับผู้ร่วมสาธิตและการฝึกตอนหนึ่งว่า ทุกหน่วยงานต้องฝึกฝนฝึกซ้อมในพื้นที่ของตัวเอง และปฏิบัติร่วมกัน พร้อมกล่าวให้กําลังใจทุกคนที่มาร่วมกันในวันนี้ ซึ่งการซ้อมครั้งนี้เป็นแบบอย่างที่ดี ที่จะนําไปเป็นแบบแผนให้กับทุกจังหวัด และกล่าวขอบคุณ บอกผู้เข้าร่วมฝึกให้ยิ้มเข้าไว้เพราะแข็งแรงกันทุกคน โดยสิ่งที่ทําอยู่คือ การทําความดี ด้วยหัวใจ ทั้งนี้ ในฐานะที่ตนเป็นหัวหน้ารัฐบาลจะสืบสาน รักษาต่อยอด สิ่งเหล่านี้ต่อไป และต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสําหรับประชาชนจิตอาสา ขอให้ยิ้มเข้าไว้ ถ้าถามว่าร้อนไหมก็ต้องบอกว่ารู้สึกไม่ร้อน ยิ้มไว้เมื่อภัยมา เราต้องยิ้มเข้าไว้ นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า วันนี้มีความพร้อมและเตรียมการที่ดี ทําให้รู้สึกมั่นใจ เพราะฉะนั้น ก่อนมีเรื่องอะไรที่จะเกิดขึ้น เราต้องมีความพร้อมของเราเสียก่อน ในส่วนของเครื่องมือ รัฐบาลยินดีพร้อมสนับสนุน ซึ่งหลายอย่างทยอยดําเนินการ และวันนี้ถือว่าเป็นการบูรณาการร่วมกันทั้งคนและเครื่องมือ ซึ่งรัฐบาลจะนําเรื่องนี้มาขับเคลื่อนไปพร้อมกัน โดยรัฐบาลมีหน้าที่อํานวยการ พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวทักทายกลุ่มแพทย์ พยาบาล ว่ามีความพร้อมทั้งแพทย์ พยาบาล 3 เหล่าทัพ ถ้ามีคนถามว่ามีทหาร ตํารวจ พลเรือน ไว้ทําไม นี้คือคําตอบไม่ว่าจะบุคคล ยุทโธปกรณ์ และกล่าวขอบคุณประชาชนจิตอาสา ซึ่งประชาชนคือหลักของประเทศ ถ้าทุกคนเข้าใจบทบาทของตนเอง แต่ละบทบาทให้ดีที่สุด ไม่มีอะไรจะทําให้ประเทศของเราอ่อนแอลงไปได้ ทุกคนต้องตั้งมั่นในจิตใจ ว่าเราต้องเป็นที่พึ่งของประชาชนให้ได้ในทุกโอกาส และการทําวันนี้ก็ทําเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชนทั้งสิ้น เราทุกคนต้องทําหน้าที่คนไทย เพราะประชาชนคือหลักของประเทศ ถ้าทุกคนเข้าใจบทบาทของตนเองในแต่ละหน้าที่ และทําให้ดีที่สุดไม่มีอะไรจะทําให้ประเทศเราคลอนแคลนได้ ขอให้ทุกคนมีความสุข สุขภาพแข็งแรง ไม่ว่าจะทําหน้าที่อะไรมีตําแหน่งหรือไม่มีตําแหน่งเราทําได้ทุกหน้าที่อย่างสมศักดิ์ศรี ซึ่งพิสูจน์ได้จากการกระทําจากอดีตที่ผ่านมา ปัจจุบันและอนาคต เราต้องเข้มแข็งต่อไปในทุกมิติอย่าให้ใครมาทําลาย หรือทําให้เกิดความแตกแยกโดยเด็ดขาดถ้าเราไม่รักตัวเองแล้วใครจะมารักเรา โดยนายกรัฐมนตรี หวังให้ทุกภาคส่วนน้อมนําพระราโชบายของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการที่ผู้บัญชาการเหตุการณ์จะต้องเสริมสร้างความแข็งแกร่ง และการกําหนดบทบาทของประชาชนจิตอาสา จิตอาสา 904 และประชาชนจิตอาสาพระราชทาน ตามแนวทางของโครงการจิตอาสาพระราชทาน “เราทําความ ดี ด้วยหัวใจ” ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานในเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นก้าวใหม่ของสังคมไทยในการบูรณาการศักยภาพของทุกภาคส่วนและประชาชนอย่างแท้จริง และขอให้ทุกคนภูมิใจที่ได้รับโอกาสครั้งสําคัญในชีวิตในการมีส่วนร่วมน้อมนําพระราโชบายมาร่วมกันฝึกปฏิบัติงานเพื่อช่วยเหลือทางด้ายมนุษยธรรมในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีพระราชประสงค์ให้พสกนิกรชาวไทยทุกคนดําเนินชีวิตอย่างมีความสุข ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัยน้อยที่สุด และได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ทั้งนี้ ก่อนเดินทางกลับ นายกรัฐมนตรีได้เข้าไปสอบถามผู้ร่วมสาธิตและฝึกท่ามกลางสายฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก เสร็จแล้ว นายกรัฐมนตรีเดินทางกลับกรุงเทพมหานคร -------------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/18798
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คปภ. จัดเวที InsurTech Panorama 2019 ส่งท้ายปีเก่า : ดึงผู้เชี่ยวชาญทั้งไทยและเทศ เปิดมุมมองเทคโนโลยีประกันภัยอัปเดตเทรนด์โลกก้าวสู่อนาคตประกันภัยไทยปี 2020
วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม 2562 คปภ. จัดเวที InsurTech Panorama 2019 ส่งท้ายปีเก่า : ดึงผู้เชี่ยวชาญทั้งไทยและเทศ เปิดมุมมองเทคโนโลยีประกันภัยอัปเดตเทรนด์โลกก้าวสู่อนาคตประกันภัยไทยปี 2020 สํานักงาน คปภ. โดย Center of InsurTech, Thailand (CIT) จัดการประชุมสัมมนาวิชาการเปิดมุมมองด้านเทคโนโลยีการประกันภัย ภายใต้ชื่องาน InsurTech Panorama 2019 ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า สํานักงาน คปภ. โดย Center of InsurTech, Thailand (CIT) จัดการประชุมสัมมนาวิชาการเปิดมุมมองด้านเทคโนโลยีการประกันภัย ภายใต้ชื่องาน InsurTech Panorama 2019 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้และสร้างเสริมแนวคิดทันสมัย ให้แก่ผู้ที่อยู่ในแวดวงการประกันภัยและเทคโนโลยี รวมถึงบุคคลที่สนใจได้มีโอกาสเปิดรับและแลกเปลี่ยนแนวคิดในระดับสากล อันจะนําไปสู่การสร้างองค์ความรู้ ก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่และพัฒนาเทคโนโลยีประกันภัยของไทย ให้ก้าวหน้าไปพร้อมเทคโนโลยีโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยงานนี้ได้จัดขึ้นในวันที่ 18 ธันวาคม 2562 ณ ศูนย์ประชุม C-Asean อาคาร CW โดยมีกลุ่มบุคคลจากหลากหลายภาคส่วนทั้งภาคธุรกิจประกันภัย กลุ่มบริษัทด้านเทคโนโลยี และ Startup รวมถึงสถาบันการศึกษาชั้นนําให้ความสนใจเข้าร่วมสัมมนารวมจํานวนกว่า 300 คน ทั้งนี้ การสัมนา IsurTech Panorama 2019 ยังได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์ในด้านเทคโนโลยีประกันภัยจากบริษัททั้งในและต่างประเทศ อาทิ Plug and Play California, Symbo Singapore, Accelerating Insurance Hong Kong, Fairdee InsurTech, เมืองไทยประกันชีวิต ซึ่งวิทยากรต่างได้กล่าวถึงประเด็นของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เข้ามามีผลดีต่อธุรกิจประกันภัย รวมถึงถึงการใช้แนวคิดแบบ Startup มาประยุกต์ใช้เพื่อให้องค์กรสามารถปรับตัวและพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ถือเป็นแกนกลางของกระแสเทคโนโลยีด้านการประกันภัยในระดับโลก ที่จะส่งผลกระทบในเชิงบวกต่อทั้งองค์กรและกลุ่มผู้บริโภคด้านประกันภัยของไทย เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า ภาคธุรกิจประกันภัยมีความตื่นตัว และเปิดรับเทคโนโลยีเข้ามาสู่กระบวนการดําเนินธุรกิจเป็นอย่างมาก มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอนาคตประกอบด้วย ๓ ประเด็นหลัก ประเด็นแรกคือ การยอมรับและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ มากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ลูกค้า รวมถึงเป็นการสร้าง ecosystem เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับ InsurTech ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งถือเป็นการวางรากฐานที่มั่นคงในระยะยาว โดยบริษัทประกันภัยส่วนใหญ่หันไปจับมือกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี เช่น Startup firm หรือ Outsourcing ซึ่งทําให้บริษัทประกันภัยสามารถก้าวข้ามข้อจํากัด และช่องว่างด้านความรู้ของตนเอง รวมทั้งยังเป็นการเปิดรับ แนวคิด มุมมอง และวิธีการทํางานใหม่ ๆ ซึ่งส่งผลดีต่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์กรอีกด้วย ประเด็นที่สอง การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค จากข้อสังเกตที่ว่ากลุ่มลูกค้าสมัยใหม่นั้นไม่เคยออกห่างจากโทรศัพท์มือถือของตนเอง จึงทําให้บริษัทประกันภัยเริ่มเจาะไปที่กลุ่มลูกค้าเหล่านี้มากขึ้น อีกทั้งยังมีการใช้ Big Data และ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ประเด็นที่สาม คือ ระบบเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานมีการเปลี่ยนแปลง โดยจะเห็นได้ว่ารูปแบบการให้บริการของบริษัทประกันภัยเปลี่ยนไปจากเดิม การบริการจะเน้นไปที่การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า มากกว่าการทําการตลาด การโฆษณา หรือการขายซึ่งเป็นรูปแบบเดิม โดยการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า สามารถทําได้หลายหลากวิธี อาทิ การบริการที่รวดเร็ว หรือ การให้บริการพิเศษ เช่น การปรึกษาแพทย์ออนไลน์ฟรี การมีมาตรการจูงใจให้ไปออกกําลังกายด้วยส่วนลดพิเศษ ให้สิทธิพิเศษในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ร่วมกิจกรรมเพื่อสุขภาพแล้วได้คะแนนสะสมเพื่อลดเบี้ยประกัน หรือรับของรางวัลต่างๆ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องมีระบบ ecosystem ที่รองรับและเชื่อมโยงกันหมด ในภาพรวมการใช้เทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในวงการประกันภัยในรอบปีที่ผ่านมามีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดย สํานักงาน คปภ. มี Centre of InsurTech, Thailand (CIT) เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยีการประกันภัย และนําองค์ความรู้นั้นไปพัฒนาอุตสาหกรรมประกันภัยในด้านต่างๆ เพื่อสร้างนวัตกรรมเชื่อมโยงเพิ่มการให้บริการภาคประชาชนมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งในปีนี้ศูนย์ CIT ได้มีการดําเนินงานที่เข้มข้นครอบคลุมในหลายมิติ ทั้งพัฒนาการใช้เทคโนโลยีในการกํากับดูแลธุรกิจประกันภัย และส่งเสริมความรู้ ศึกษาวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีด้านการประกันภัย ให้กับ Startups กลุ่มคนรุ่นใหม่ และผู้ที่สนใจ โดยนอกจากการจัดสัมมนา Panorama ในครั้งนี้แล้ว ยังมีกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ อาทิ Hackathon และ InsurTech Bootcamp แนะแนวให้ความรู้ เกี่ยวกับเทคโนโลยีและการประกันภัยให้กับนิสิต นักศึกษาในหลายมหาวิทยาลัย อย่างต่อเนื่องรวมไปถึงการจัดประกวดสุดยอดนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีประกันภัย หรือ OIC InsurTech Award นอกจากนี้ยังมีการพัฒนา “Application คนกลาง ForSure” ขึ้น เพื่อให้ตัวแทน/นายหน้าประกันภัยสามารถตรวจสอบข้อมูลใบอนุญาตของตนเอง และให้ลูกค้าตรวจสอบใบอนุญาตขณะเสนอขายประกันภัยได้ ตลอดจนมีการพัฒนา Chat Bot @OICConnect ขึ้น ซึ่งเป็นระบบ AI ที่มีความสามารถในการประมวลภาษาไทย แยกแยะหาคําสําคัญที่สอบถามเข้ามายังสํานักงาน คปภ. และค้นหาคําตอบส่งกลับไปโดยอัตโนมัติ “ผมเชื่อมั่นว่า สํานักงาน คปภ. ในฐานะผู้กํากับดูแลธุรกิจประกันภัยจะร่วมมือกับกลุ่มธุรกิจประกันภัยกลุ่ม InsurTech Startup และผู้เกี่ยวข้องในภาคส่วนต่างๆ เพื่อพัฒนาและนําพาอุตสาหกรรมประกันภัยให้ก้าวข้ามความท้าทายต่างๆ และสามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสมากมายที่ก่อตัวขึ้นในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล อย่างมีประสิทธิภาพ ขอให้ทุกท่านมีความตื่นตัว และมีการเตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายทุกรูปแบบอยู่เสมอ และร่วมกันเป็นกําลังสําคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้เดินหน้าแบบไม่เพียงแต่ก้าวทัน แต่ให้ก้าวล้ําการเปลี่ยนแปลง เพื่อก่อให้เกิดคุณค่าและการเติบโตของอุตสาหกรรมประกันภัยอย่างยั่งยืนต่อไป” เลขาธิการ กล่าวในตอนท้าย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คปภ. จัดเวที InsurTech Panorama 2019 ส่งท้ายปีเก่า : ดึงผู้เชี่ยวชาญทั้งไทยและเทศ เปิดมุมมองเทคโนโลยีประกันภัยอัปเดตเทรนด์โลกก้าวสู่อนาคตประกันภัยไทยปี 2020 วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม 2562 คปภ. จัดเวที InsurTech Panorama 2019 ส่งท้ายปีเก่า : ดึงผู้เชี่ยวชาญทั้งไทยและเทศ เปิดมุมมองเทคโนโลยีประกันภัยอัปเดตเทรนด์โลกก้าวสู่อนาคตประกันภัยไทยปี 2020 สํานักงาน คปภ. โดย Center of InsurTech, Thailand (CIT) จัดการประชุมสัมมนาวิชาการเปิดมุมมองด้านเทคโนโลยีการประกันภัย ภายใต้ชื่องาน InsurTech Panorama 2019 ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า สํานักงาน คปภ. โดย Center of InsurTech, Thailand (CIT) จัดการประชุมสัมมนาวิชาการเปิดมุมมองด้านเทคโนโลยีการประกันภัย ภายใต้ชื่องาน InsurTech Panorama 2019 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้และสร้างเสริมแนวคิดทันสมัย ให้แก่ผู้ที่อยู่ในแวดวงการประกันภัยและเทคโนโลยี รวมถึงบุคคลที่สนใจได้มีโอกาสเปิดรับและแลกเปลี่ยนแนวคิดในระดับสากล อันจะนําไปสู่การสร้างองค์ความรู้ ก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่และพัฒนาเทคโนโลยีประกันภัยของไทย ให้ก้าวหน้าไปพร้อมเทคโนโลยีโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยงานนี้ได้จัดขึ้นในวันที่ 18 ธันวาคม 2562 ณ ศูนย์ประชุม C-Asean อาคาร CW โดยมีกลุ่มบุคคลจากหลากหลายภาคส่วนทั้งภาคธุรกิจประกันภัย กลุ่มบริษัทด้านเทคโนโลยี และ Startup รวมถึงสถาบันการศึกษาชั้นนําให้ความสนใจเข้าร่วมสัมมนารวมจํานวนกว่า 300 คน ทั้งนี้ การสัมนา IsurTech Panorama 2019 ยังได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์ในด้านเทคโนโลยีประกันภัยจากบริษัททั้งในและต่างประเทศ อาทิ Plug and Play California, Symbo Singapore, Accelerating Insurance Hong Kong, Fairdee InsurTech, เมืองไทยประกันชีวิต ซึ่งวิทยากรต่างได้กล่าวถึงประเด็นของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เข้ามามีผลดีต่อธุรกิจประกันภัย รวมถึงถึงการใช้แนวคิดแบบ Startup มาประยุกต์ใช้เพื่อให้องค์กรสามารถปรับตัวและพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ถือเป็นแกนกลางของกระแสเทคโนโลยีด้านการประกันภัยในระดับโลก ที่จะส่งผลกระทบในเชิงบวกต่อทั้งองค์กรและกลุ่มผู้บริโภคด้านประกันภัยของไทย เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า ภาคธุรกิจประกันภัยมีความตื่นตัว และเปิดรับเทคโนโลยีเข้ามาสู่กระบวนการดําเนินธุรกิจเป็นอย่างมาก มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอนาคตประกอบด้วย ๓ ประเด็นหลัก ประเด็นแรกคือ การยอมรับและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ มากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ลูกค้า รวมถึงเป็นการสร้าง ecosystem เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับ InsurTech ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งถือเป็นการวางรากฐานที่มั่นคงในระยะยาว โดยบริษัทประกันภัยส่วนใหญ่หันไปจับมือกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี เช่น Startup firm หรือ Outsourcing ซึ่งทําให้บริษัทประกันภัยสามารถก้าวข้ามข้อจํากัด และช่องว่างด้านความรู้ของตนเอง รวมทั้งยังเป็นการเปิดรับ แนวคิด มุมมอง และวิธีการทํางานใหม่ ๆ ซึ่งส่งผลดีต่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์กรอีกด้วย ประเด็นที่สอง การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค จากข้อสังเกตที่ว่ากลุ่มลูกค้าสมัยใหม่นั้นไม่เคยออกห่างจากโทรศัพท์มือถือของตนเอง จึงทําให้บริษัทประกันภัยเริ่มเจาะไปที่กลุ่มลูกค้าเหล่านี้มากขึ้น อีกทั้งยังมีการใช้ Big Data และ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ประเด็นที่สาม คือ ระบบเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานมีการเปลี่ยนแปลง โดยจะเห็นได้ว่ารูปแบบการให้บริการของบริษัทประกันภัยเปลี่ยนไปจากเดิม การบริการจะเน้นไปที่การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า มากกว่าการทําการตลาด การโฆษณา หรือการขายซึ่งเป็นรูปแบบเดิม โดยการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า สามารถทําได้หลายหลากวิธี อาทิ การบริการที่รวดเร็ว หรือ การให้บริการพิเศษ เช่น การปรึกษาแพทย์ออนไลน์ฟรี การมีมาตรการจูงใจให้ไปออกกําลังกายด้วยส่วนลดพิเศษ ให้สิทธิพิเศษในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ร่วมกิจกรรมเพื่อสุขภาพแล้วได้คะแนนสะสมเพื่อลดเบี้ยประกัน หรือรับของรางวัลต่างๆ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องมีระบบ ecosystem ที่รองรับและเชื่อมโยงกันหมด ในภาพรวมการใช้เทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในวงการประกันภัยในรอบปีที่ผ่านมามีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดย สํานักงาน คปภ. มี Centre of InsurTech, Thailand (CIT) เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยีการประกันภัย และนําองค์ความรู้นั้นไปพัฒนาอุตสาหกรรมประกันภัยในด้านต่างๆ เพื่อสร้างนวัตกรรมเชื่อมโยงเพิ่มการให้บริการภาคประชาชนมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งในปีนี้ศูนย์ CIT ได้มีการดําเนินงานที่เข้มข้นครอบคลุมในหลายมิติ ทั้งพัฒนาการใช้เทคโนโลยีในการกํากับดูแลธุรกิจประกันภัย และส่งเสริมความรู้ ศึกษาวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีด้านการประกันภัย ให้กับ Startups กลุ่มคนรุ่นใหม่ และผู้ที่สนใจ โดยนอกจากการจัดสัมมนา Panorama ในครั้งนี้แล้ว ยังมีกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ อาทิ Hackathon และ InsurTech Bootcamp แนะแนวให้ความรู้ เกี่ยวกับเทคโนโลยีและการประกันภัยให้กับนิสิต นักศึกษาในหลายมหาวิทยาลัย อย่างต่อเนื่องรวมไปถึงการจัดประกวดสุดยอดนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีประกันภัย หรือ OIC InsurTech Award นอกจากนี้ยังมีการพัฒนา “Application คนกลาง ForSure” ขึ้น เพื่อให้ตัวแทน/นายหน้าประกันภัยสามารถตรวจสอบข้อมูลใบอนุญาตของตนเอง และให้ลูกค้าตรวจสอบใบอนุญาตขณะเสนอขายประกันภัยได้ ตลอดจนมีการพัฒนา Chat Bot @OICConnect ขึ้น ซึ่งเป็นระบบ AI ที่มีความสามารถในการประมวลภาษาไทย แยกแยะหาคําสําคัญที่สอบถามเข้ามายังสํานักงาน คปภ. และค้นหาคําตอบส่งกลับไปโดยอัตโนมัติ “ผมเชื่อมั่นว่า สํานักงาน คปภ. ในฐานะผู้กํากับดูแลธุรกิจประกันภัยจะร่วมมือกับกลุ่มธุรกิจประกันภัยกลุ่ม InsurTech Startup และผู้เกี่ยวข้องในภาคส่วนต่างๆ เพื่อพัฒนาและนําพาอุตสาหกรรมประกันภัยให้ก้าวข้ามความท้าทายต่างๆ และสามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสมากมายที่ก่อตัวขึ้นในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล อย่างมีประสิทธิภาพ ขอให้ทุกท่านมีความตื่นตัว และมีการเตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายทุกรูปแบบอยู่เสมอ และร่วมกันเป็นกําลังสําคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้เดินหน้าแบบไม่เพียงแต่ก้าวทัน แต่ให้ก้าวล้ําการเปลี่ยนแปลง เพื่อก่อให้เกิดคุณค่าและการเติบโตของอุตสาหกรรมประกันภัยอย่างยั่งยืนต่อไป” เลขาธิการ กล่าวในตอนท้าย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/25326
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล- รมว.ทส. ให้การต้อนรับผู้อำนวยการภาคพื้นแปซิฟิกโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP)
วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม 2562 รมว.ทส. ให้การต้อนรับผู้อํานวยการภาคพื้นแปซิฟิกโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) วันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๖๒ Dr. DechenTsering ผู้อํานวยการสํานักงานผู้แทนภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ และคณะเข้าเยี่ยมคารวะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเนื่องในโอกาสเข้ารับตําแหน่งใหม่และยินดีที่กระทรวงทรัพย รมว.ทส. ให้การต้อนรับผู้อํานวยการภาคพื้นแปซิฟิกโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) วันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๖๒ Dr. DechenTsering ผู้อํานวยการสํานักงานผู้แทนภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ และคณะเข้าเยี่ยมคารวะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเนื่องในโอกาสเข้ารับตําแหน่งใหม่และยินดีที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้มีความร่วมมือทางวิชาการกับโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) มาโดยตลอด โดยเฉพาะการดําเนินงานด้านการจัดการขยะพลาสติกในทะเลและการป้องกันมลพิษทางทะเล มลพิษทางอากาศ และการดําเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมในสาขาอื่นๆ ผู้อํานวยการสํานักงานผู้แทนภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกฯ นําเรียนข้อมูลว่าโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ร่วมกับราชอาณาจักรสวีเดน จะจัดการประชุม SEA of Solutions event ระหว่างวันที่ ๑๑ – ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนการดําเนินงานเพื่อแก้ปัญหาขยะทะเลและขยะพลาสติก โดยจะจัดประชุม High-level Forum ในวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ นอกจากนี้ จะจัดการประชุม Third Meeting of the Ad-Hoc Open-Ended Expert Group on Marine Litter and Microplasticsครั้งที่ ๓ ระหว่างวันที่ ๑๘ – ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ณ กรุงเทพมหานคร โดยเรียนเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นเกียรติกล่าวต้อนรับในช่วง Opening plenary ของการประชุมทั้งสองด้วยนอกจากนั้นแล้ว ผู้แทน UNEP ได้แสดงความขอบคุณรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เข้าร่วมการประชุม 11th High Level Assembly of the Climate and Clean Air Coalition (CCAC) เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๖๒ ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการดําเนินงานด้านการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศอย่างบูรณาการของไทย ซึ่งขณะนี้ UNEP มีความร่วมมือกับกรมควบคุมมลพิษเพื่อดําเนินงานด้านยานพาหนะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งกําหนดมาตรฐาน และมาตรการควบคุมมลพิษจากยานพาหนะ นอกจากนี้UNEP ได้มีการนําเสนอการใช้ระบบขนส่งที่เป็นระบบไฟฟ้า เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแจ้งว่า ประเทศไทยให้ความสําคัญกับการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกโดยมีการขับเคลื่อนการดําเนินงานด้านการจัดการขยะพลาสติกทั้งในทะเลและบนบก รวมทั้งมีนโยบายและแนวทางเลิกใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียว (Single-use Plastic) และเน้นย้ําว่า การขับเคลื่อนการดําเนินงานให้เป็นรูปธรรมจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนด้วย และเห็นว่าระบบขนส่งที่เป็นระบบไฟฟ้า จะเกิดผลดีต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม อาจจะต้องพิจารณาในหลายๆ มิติประกอบด้วย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล- รมว.ทส. ให้การต้อนรับผู้อำนวยการภาคพื้นแปซิฟิกโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม 2562 รมว.ทส. ให้การต้อนรับผู้อํานวยการภาคพื้นแปซิฟิกโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) วันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๖๒ Dr. DechenTsering ผู้อํานวยการสํานักงานผู้แทนภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ และคณะเข้าเยี่ยมคารวะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเนื่องในโอกาสเข้ารับตําแหน่งใหม่และยินดีที่กระทรวงทรัพย รมว.ทส. ให้การต้อนรับผู้อํานวยการภาคพื้นแปซิฟิกโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) วันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๖๒ Dr. DechenTsering ผู้อํานวยการสํานักงานผู้แทนภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ และคณะเข้าเยี่ยมคารวะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเนื่องในโอกาสเข้ารับตําแหน่งใหม่และยินดีที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้มีความร่วมมือทางวิชาการกับโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) มาโดยตลอด โดยเฉพาะการดําเนินงานด้านการจัดการขยะพลาสติกในทะเลและการป้องกันมลพิษทางทะเล มลพิษทางอากาศ และการดําเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมในสาขาอื่นๆ ผู้อํานวยการสํานักงานผู้แทนภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกฯ นําเรียนข้อมูลว่าโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ร่วมกับราชอาณาจักรสวีเดน จะจัดการประชุม SEA of Solutions event ระหว่างวันที่ ๑๑ – ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนการดําเนินงานเพื่อแก้ปัญหาขยะทะเลและขยะพลาสติก โดยจะจัดประชุม High-level Forum ในวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ นอกจากนี้ จะจัดการประชุม Third Meeting of the Ad-Hoc Open-Ended Expert Group on Marine Litter and Microplasticsครั้งที่ ๓ ระหว่างวันที่ ๑๘ – ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ณ กรุงเทพมหานคร โดยเรียนเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นเกียรติกล่าวต้อนรับในช่วง Opening plenary ของการประชุมทั้งสองด้วยนอกจากนั้นแล้ว ผู้แทน UNEP ได้แสดงความขอบคุณรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เข้าร่วมการประชุม 11th High Level Assembly of the Climate and Clean Air Coalition (CCAC) เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๖๒ ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการดําเนินงานด้านการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศอย่างบูรณาการของไทย ซึ่งขณะนี้ UNEP มีความร่วมมือกับกรมควบคุมมลพิษเพื่อดําเนินงานด้านยานพาหนะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งกําหนดมาตรฐาน และมาตรการควบคุมมลพิษจากยานพาหนะ นอกจากนี้UNEP ได้มีการนําเสนอการใช้ระบบขนส่งที่เป็นระบบไฟฟ้า เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแจ้งว่า ประเทศไทยให้ความสําคัญกับการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกโดยมีการขับเคลื่อนการดําเนินงานด้านการจัดการขยะพลาสติกทั้งในทะเลและบนบก รวมทั้งมีนโยบายและแนวทางเลิกใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียว (Single-use Plastic) และเน้นย้ําว่า การขับเคลื่อนการดําเนินงานให้เป็นรูปธรรมจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนด้วย และเห็นว่าระบบขนส่งที่เป็นระบบไฟฟ้า จะเกิดผลดีต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม อาจจะต้องพิจารณาในหลายๆ มิติประกอบด้วย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/23765
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รอง นรม. และ รมว.กห. สั่งตั้งคณะทำงานติดตามแก้ปัญหาวิกฤตจราจร จากการก่อสร้างรถไฟฟ้า จี้ กทม. ตำรวจ และกรมการขนส่งทางบก ลงมาช่วยดูแลความเดือดร้อนประชาชนจริงจัง
วันพุธที่ 8 สิงหาคม 2561 รอง นรม. และ รมว.กห. สั่งตั้งคณะทํางานติดตามแก้ปัญหาวิกฤตจราจร จากการก่อสร้างรถไฟฟ้า จี้ กทม. ตํารวจ และกรมการขนส่งทางบก ลงมาช่วยดูแลความเดือดร้อนประชาชนจริงจัง พล.ท. คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษก กห. เปิดเผยว่า จากปัญหาวิกฤติการจราจรใน กทม. ที่สะสมต่อเนื่อง หลังจากวางแนวกั้นถนนการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ถนนลาดพร้าว) มีผลให้การเดินรถในถนนลาดพร้าวขาออก เคลื่อนตัวได้ช้าสะสมต่อเนื่อง กระทบเชื่อมโยงถึง ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนพหลโยธิน ถนนพระรามเก้า ต่อเนื่องถึงถนนอื่นๆ ส่งผลให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนกันทั่วที่ผ่านมา พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. และ รมว.กห. ได้มีคําสั่งตั้งคณะทํางานติดตามผล การบูรณาการขับเคลื่อนแก้ปัญหาการจราจร โดยมีคณะทํางานจากสํานักงานตํารวจแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับ กทม. และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่งสํารวจ ติดตามและแก้ปัญหาระดับพื้นที่เป็นการเร่งด่วน พร้อมทั้งดําเนินการ สํารวจความเชื่อมโยงและกําหนดแนวทางบริหารจัดการ การจราจรในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ต่อเนื่องกันไป โดย รอง นรม. และ รมว.กห. ได้กําชับเป็นนโยบาย ให้มีการอํานวยความสะดวก เส้นทางที่มีการเชื่อมโยงในพื้นที่ดังกล่าวเพื่อการระบายรถ และขอให้มีการปรับและควบคุมไฟจราจรให้เหมาะสม เพื่อเฉลี่ยรถในเส้นทางต่างๆ ไม่ให้ติดค้างสะสมยาวนาน โดยต้องมีเจ้าหน้าที่ตํารวจ อํานวยความสะดวกและควบคุมตลอดเวลาโดยเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วน พร้อมทั้ง มอบหมายให้ กทม.เตรียมความพร้อมระบบระบายน้ําและประสานกับผู้รับเหมาออกแบบและบริษัทที่ก่อสร้าง หารือทางออกร่วมกันอย่างต่อเนื่องให้การก่อสร้างกระทบกับการจราจรน้อยที่สุด โดยเฉพาะการปรับแนวกั้นถนนให้มีพื้นผิวการจราจรให้ได้มากที่สุด และขอความร่วมมือปรับผิวจราจรระหว่างก่อสร้าง ที่ชํารุด ไม่ราบเรียบในทุกเส้นทางควบคู่กันไป เพื่อมิให้รถต้องชะลอตัวและเกิดอุบัติเหตุบ่อยดังที่เป็นอยู่ พร้อมกันนี้ ขอให้สํานักงานตํารวจแห่งชาติ ประสานกรมการขนส่งทางบก ให้ความสําคัญในการกวดขันวินัยจราจร และกําหนดมาตรการเข้มกับกลุ่มที่ละเลยกฎหมาย โดยเฉพาะ กลุ่มรถสาธารณะ ประเภทรถโดยสารร่วมและรถแท๊กซี่ ที่มีพฤติกรรมขับแซงปาดหน้าและจอดกีดขวางการจราจร ตามข้อมูลที่ประชาชนจํานวนมากแจ้ง ทั้งนี้ ให้คณะทํางานดังกล่าว มีการประเมินผลทุกสัปดาห์และปรับแผนการปฏิบัติให้สามารถบริหารจัดการจราจรได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นรูปธรรมต่อเนื่องกันไป
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รอง นรม. และ รมว.กห. สั่งตั้งคณะทำงานติดตามแก้ปัญหาวิกฤตจราจร จากการก่อสร้างรถไฟฟ้า จี้ กทม. ตำรวจ และกรมการขนส่งทางบก ลงมาช่วยดูแลความเดือดร้อนประชาชนจริงจัง วันพุธที่ 8 สิงหาคม 2561 รอง นรม. และ รมว.กห. สั่งตั้งคณะทํางานติดตามแก้ปัญหาวิกฤตจราจร จากการก่อสร้างรถไฟฟ้า จี้ กทม. ตํารวจ และกรมการขนส่งทางบก ลงมาช่วยดูแลความเดือดร้อนประชาชนจริงจัง พล.ท. คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษก กห. เปิดเผยว่า จากปัญหาวิกฤติการจราจรใน กทม. ที่สะสมต่อเนื่อง หลังจากวางแนวกั้นถนนการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ถนนลาดพร้าว) มีผลให้การเดินรถในถนนลาดพร้าวขาออก เคลื่อนตัวได้ช้าสะสมต่อเนื่อง กระทบเชื่อมโยงถึง ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนพหลโยธิน ถนนพระรามเก้า ต่อเนื่องถึงถนนอื่นๆ ส่งผลให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนกันทั่วที่ผ่านมา พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. และ รมว.กห. ได้มีคําสั่งตั้งคณะทํางานติดตามผล การบูรณาการขับเคลื่อนแก้ปัญหาการจราจร โดยมีคณะทํางานจากสํานักงานตํารวจแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับ กทม. และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่งสํารวจ ติดตามและแก้ปัญหาระดับพื้นที่เป็นการเร่งด่วน พร้อมทั้งดําเนินการ สํารวจความเชื่อมโยงและกําหนดแนวทางบริหารจัดการ การจราจรในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ต่อเนื่องกันไป โดย รอง นรม. และ รมว.กห. ได้กําชับเป็นนโยบาย ให้มีการอํานวยความสะดวก เส้นทางที่มีการเชื่อมโยงในพื้นที่ดังกล่าวเพื่อการระบายรถ และขอให้มีการปรับและควบคุมไฟจราจรให้เหมาะสม เพื่อเฉลี่ยรถในเส้นทางต่างๆ ไม่ให้ติดค้างสะสมยาวนาน โดยต้องมีเจ้าหน้าที่ตํารวจ อํานวยความสะดวกและควบคุมตลอดเวลาโดยเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วน พร้อมทั้ง มอบหมายให้ กทม.เตรียมความพร้อมระบบระบายน้ําและประสานกับผู้รับเหมาออกแบบและบริษัทที่ก่อสร้าง หารือทางออกร่วมกันอย่างต่อเนื่องให้การก่อสร้างกระทบกับการจราจรน้อยที่สุด โดยเฉพาะการปรับแนวกั้นถนนให้มีพื้นผิวการจราจรให้ได้มากที่สุด และขอความร่วมมือปรับผิวจราจรระหว่างก่อสร้าง ที่ชํารุด ไม่ราบเรียบในทุกเส้นทางควบคู่กันไป เพื่อมิให้รถต้องชะลอตัวและเกิดอุบัติเหตุบ่อยดังที่เป็นอยู่ พร้อมกันนี้ ขอให้สํานักงานตํารวจแห่งชาติ ประสานกรมการขนส่งทางบก ให้ความสําคัญในการกวดขันวินัยจราจร และกําหนดมาตรการเข้มกับกลุ่มที่ละเลยกฎหมาย โดยเฉพาะ กลุ่มรถสาธารณะ ประเภทรถโดยสารร่วมและรถแท๊กซี่ ที่มีพฤติกรรมขับแซงปาดหน้าและจอดกีดขวางการจราจร ตามข้อมูลที่ประชาชนจํานวนมากแจ้ง ทั้งนี้ ให้คณะทํางานดังกล่าว มีการประเมินผลทุกสัปดาห์และปรับแผนการปฏิบัติให้สามารถบริหารจัดการจราจรได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นรูปธรรมต่อเนื่องกันไป
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/14442
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนพฤษภาคม 2560
วันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน 2560 รายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจําเดือนพฤษภาคม 2560 ศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนพฤษภาคม 2560 ขยายตัวต่อเนื่อง นําโดย ภาคใต้ ภาคตะวันออก และกทม.และปริมณฑล โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทน สอดคล้องกับการฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชน "เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนพฤษภาคม 2560 ขยายตัวต่อเนื่อง นําโดย ภาคใต้ ภาคตะวันออก และกทม.และปริมณฑล โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทน สอดคล้องกับการฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงการขยายตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว สําหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี" นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจําเดือนพฤษภาคม 2560 ว่า “เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนพฤษภาคม 2560 ขยายตัวต่อเนื่อง นําโดย ภาคใต้ ภาคตะวันออก และกทม.และปริมณฑล โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทน สอดคล้องกับการฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงการขยายตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว สําหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี” โดยมีรายละเอียด สรุปได้ดังนี้ ภาคใต้ เศรษฐกิจขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงภาคเกษตรและภาคท่องเที่ยวเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวที่ร้อยละ 4.1 ต่อปี สอดคล้องกับการบริโภคสินค้าในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 51.2 และ 38.3 ต่อปี ตามลําดับ ตามการขยายตัวในเกือบทุกจังหวัด โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการเพิ่มขึ้นของรายได้เกษตรกร สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากยอดรถปิคอัพและยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ โดยในเดือนพฤษภาคม ขยายตัวที่ร้อยละ 66.4 และ 0.6 ต่อปี ตามลําดับ นอกจากนี้การลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 117.9 ต่อปี สําหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี ทั้งจากจํานวนของผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือนในเดือนเมษายน 2560 โดยขยายตัวร้อยละ 4.0 และ 28.7 ต่อปี ตามลําดับ สอดคล้องกับภาคเกษตรที่ยังคงขยายตัว ตามการขยายตัวของผลผลิตและราคาสินค้าเกษตรสําคัญ อาทิ ปาล์มน้ํามัน และกุ้งขาว ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคม 2560 อยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคที่ร้อยละ 0.9 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนเมษายน 2560 อยู่ที่ร้อยละ 1.6 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค ภาคตะวันออก เศรษฐกิจขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงภาคเกษตรและภาคท่องเที่ยวเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ที่ขยายตัวร้อยละ 22.7 ต่อปี สอดคล้องกับการบริโภคสินค้าในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 24.9 และ 11.1 ต่อปี ตามลําดับ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการเพิ่มขึ้นของรายได้เกษตรกร เช่นเดียวกันกับการลงทุนภาคเอกชนยังขยายตัวได้ดี สะท้อนจากยอดรถปิคอัพและยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ที่ขยายตัวร้อยละ 20.1 และ 21.1 ต่อปี ตามลําดับ นอกจากนี้ เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 156.7 ต่อปี สําหรับด้านอุปทาน โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวขยายตัวทั้งจํานวนและรายได้จากการเยี่ยมเยือนในเดือนเมษายน 2560 ที่ร้อยละ 2.7 และ 11.4 ต่อปี ตามลําดับ เช่นเดียวกันกับภาคเกษตรที่ขยายตัวได้ดี จากการขยายตัวของผลผลิตและราคาสินค้าเกษตร ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคม 2560 ยังอยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคภายในภูมิภาคที่ร้อยละ 3.2 ต่อปี สําหรับอัตราการว่างงานในเดือนเมษายน 2560 อยู่ที่ร้อยละ 0.8 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค กทม.และปริมณฑล เศรษฐกิจขยายตัว โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงการท่องเที่ยว เป็นตัวขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ที่ขยายตัวร้อยละ 2.6 ต่อปี สอดคล้องกับการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวที่ร้อยละ 3.6 และ 10.6 ต่อปี ตามลําดับ ตามการขยายตัวในเกือบทุกจังหวัด โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการเพิ่มขึ้นของรายได้เกษตรกร และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรที่มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากยอดรถปิคอัพและเม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคมที่ขยายตัวร้อยละ 17.8 และ 247.5 ต่อปี ตามลําดับ สําหรับด้านอุปทาน โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ในเกณฑ์ดีทั้งจํานวนและรายได้จากการเยี่ยมเยือนในเดือนเมษายน 2560 ที่ขยายตัวร้อยละ 7.7 และ 34.4 ต่อปี ตามลําดับ สอดคล้องกับภาคเกษตรที่ขยายตัวได้ดี ตามการขยายตัวของผลผลิตสําคัญ อาทิ ข้าวเปลือก และสินค้าประมง เป็นต้น ส่วนด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคม 2560 อยู่ในระดับต่ําที่ร้อยละ 2.6 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนเมษายน 2560 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค ภาคกลาง เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัว โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และการท่องเที่ยวเป็นหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน จากยอดรถยนต์นั่งและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 23.5 และ 14.0 ต่อปี โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในภูมิภาคและการปรับตัวดีขึ้นของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนที่ส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน จากยอดรถปิคอัพและยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ที่ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 27.0 และ 30.8 ต่อปี ตามลําดับ นอกจากนี้ เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคมขยายตัวในอัตราเร่งเช่นกันที่ร้อยละ 494.7 ต่อปี สําหรับด้านอุปทานขยายตัวต่อเนื่อง โดยภาคการท่องเที่ยวขยายตัวต่อเนื่องทั้งจํานวนและรายได้จากการเยี่ยมเยือนในเดือนเมษายน 2560 ที่ร้อยละ 1.4 และ 5.2 ต่อปี ตามลําดับ ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราการว่างงานในเดือนเมษายน 2560 อยู่ที่ร้อยละ 1.6 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาคอย่างไรก็ดีอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคม 2560 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ -0.9 ต่อปี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เศรษฐกิจขยายตัว โดยมีการบริโภคภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยวเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ที่ขยายตัวร้อยละ 0.2 ต่อปี สอดคล้องกับการบริโภคสินค้าในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 32.1 และ 14.0 ต่อปี ตามลําดับ ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรยังคงทรงตัวจากเดือนก่อน สะท้อนจากยอดบรรทุกทะเบียนใหม่ที่หดตัวร้อยละ -0.2 ต่อปี อย่างไรก็ดี ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่ที่ขยายตัวร้อยละ 27.5 ต่อปี สําหรับด้านอุปทาน โดยเฉพาะภาคการเกษตรมีแนวโน้มขยายตัว จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของผลผลิตสินค้าเกษตรที่สําคัญ โดยเฉพาะข้าวเปลือก อ้อยโรงงาน เป็นต้น ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคม 2560 ยังอยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคภายในภูมิภาคที่ร้อยละ 3.2 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนเมษายน 2560 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค ภาคเหนือ เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัว โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยวเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 24.2 และ 15.1 ต่อปี ตามลําดับ ตามการขยายตัวในเกือบทุกจังหวัด โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการเพิ่มขึ้นของรายได้เกษตรกร สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากยอดรถปิคอัพและยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ในเดือนพฤษภาคม ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 18.8 และ 19.7 ต่อปี ตามลําดับ นอกจากนี้เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 33.9 ต่อปี สําหรับด้านอุปทาน โดยเฉพาะด้านภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ทั้งจํานวนและรายได้จากการเยี่ยมเยือนในเดือนเมษายน 2560 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 และ 7.7 ต่อปี ตามลําดับ สอดคล้องกับภาคเกษตรขยายตัวต่อเนื่อง จากผลผลิตสินค้าเกษตรที่ขยายตัวในอัตราเร่ง ตามการปรับตัวเพิ่มขึ้นของสินค้าเกษตรสําคัญ อาทิ ข้าว และข้าวโพด เป็นต้น สําหรับด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราการว่างงานในเดือนเมษายน 2560 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค อย่างไรก็ดีอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคม 2560 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ -1.3 ต่อปี ภาคตะวันตก เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัว โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และการท่องเที่ยวเป็นหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 19.5 และ 4.9 ต่อปี ตามลําดับ ตามการขยายตัวในเกือบทุกจังหวัด โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในภูมิภาค และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนที่ส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน จากยอดรถปิคอัพบรรทุกจดทะเบียนใหม่ และเม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมที่ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 13.2 และ 96.0 ต่อปี ตามลําดับ ส่วนด้านอุปทาน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีทั้งจํานวนและรายได้จากการเยี่ยมเยือนในเดือนเมษายน 2560 ที่ร้อยละ 5.4 และ 6.7 ต่อปี ตามลําดับ ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราการว่างงานในเดือนเมษายนอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคม 2560 ปรับตัวลดลงที่ร้อยละ -0.4 ต่อปี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนพฤษภาคม 2560 วันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน 2560 รายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจําเดือนพฤษภาคม 2560 ศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนพฤษภาคม 2560 ขยายตัวต่อเนื่อง นําโดย ภาคใต้ ภาคตะวันออก และกทม.และปริมณฑล โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทน สอดคล้องกับการฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชน "เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนพฤษภาคม 2560 ขยายตัวต่อเนื่อง นําโดย ภาคใต้ ภาคตะวันออก และกทม.และปริมณฑล โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทน สอดคล้องกับการฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงการขยายตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว สําหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี" นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจําเดือนพฤษภาคม 2560 ว่า “เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนพฤษภาคม 2560 ขยายตัวต่อเนื่อง นําโดย ภาคใต้ ภาคตะวันออก และกทม.และปริมณฑล โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทน สอดคล้องกับการฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงการขยายตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว สําหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี” โดยมีรายละเอียด สรุปได้ดังนี้ ภาคใต้ เศรษฐกิจขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงภาคเกษตรและภาคท่องเที่ยวเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวที่ร้อยละ 4.1 ต่อปี สอดคล้องกับการบริโภคสินค้าในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 51.2 และ 38.3 ต่อปี ตามลําดับ ตามการขยายตัวในเกือบทุกจังหวัด โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการเพิ่มขึ้นของรายได้เกษตรกร สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากยอดรถปิคอัพและยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ โดยในเดือนพฤษภาคม ขยายตัวที่ร้อยละ 66.4 และ 0.6 ต่อปี ตามลําดับ นอกจากนี้การลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 117.9 ต่อปี สําหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี ทั้งจากจํานวนของผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือนในเดือนเมษายน 2560 โดยขยายตัวร้อยละ 4.0 และ 28.7 ต่อปี ตามลําดับ สอดคล้องกับภาคเกษตรที่ยังคงขยายตัว ตามการขยายตัวของผลผลิตและราคาสินค้าเกษตรสําคัญ อาทิ ปาล์มน้ํามัน และกุ้งขาว ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคม 2560 อยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคที่ร้อยละ 0.9 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนเมษายน 2560 อยู่ที่ร้อยละ 1.6 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค ภาคตะวันออก เศรษฐกิจขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงภาคเกษตรและภาคท่องเที่ยวเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ที่ขยายตัวร้อยละ 22.7 ต่อปี สอดคล้องกับการบริโภคสินค้าในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 24.9 และ 11.1 ต่อปี ตามลําดับ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการเพิ่มขึ้นของรายได้เกษตรกร เช่นเดียวกันกับการลงทุนภาคเอกชนยังขยายตัวได้ดี สะท้อนจากยอดรถปิคอัพและยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ที่ขยายตัวร้อยละ 20.1 และ 21.1 ต่อปี ตามลําดับ นอกจากนี้ เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 156.7 ต่อปี สําหรับด้านอุปทาน โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวขยายตัวทั้งจํานวนและรายได้จากการเยี่ยมเยือนในเดือนเมษายน 2560 ที่ร้อยละ 2.7 และ 11.4 ต่อปี ตามลําดับ เช่นเดียวกันกับภาคเกษตรที่ขยายตัวได้ดี จากการขยายตัวของผลผลิตและราคาสินค้าเกษตร ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคม 2560 ยังอยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคภายในภูมิภาคที่ร้อยละ 3.2 ต่อปี สําหรับอัตราการว่างงานในเดือนเมษายน 2560 อยู่ที่ร้อยละ 0.8 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค กทม.และปริมณฑล เศรษฐกิจขยายตัว โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงการท่องเที่ยว เป็นตัวขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ที่ขยายตัวร้อยละ 2.6 ต่อปี สอดคล้องกับการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวที่ร้อยละ 3.6 และ 10.6 ต่อปี ตามลําดับ ตามการขยายตัวในเกือบทุกจังหวัด โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการเพิ่มขึ้นของรายได้เกษตรกร และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรที่มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากยอดรถปิคอัพและเม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคมที่ขยายตัวร้อยละ 17.8 และ 247.5 ต่อปี ตามลําดับ สําหรับด้านอุปทาน โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ในเกณฑ์ดีทั้งจํานวนและรายได้จากการเยี่ยมเยือนในเดือนเมษายน 2560 ที่ขยายตัวร้อยละ 7.7 และ 34.4 ต่อปี ตามลําดับ สอดคล้องกับภาคเกษตรที่ขยายตัวได้ดี ตามการขยายตัวของผลผลิตสําคัญ อาทิ ข้าวเปลือก และสินค้าประมง เป็นต้น ส่วนด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคม 2560 อยู่ในระดับต่ําที่ร้อยละ 2.6 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนเมษายน 2560 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค ภาคกลาง เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัว โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และการท่องเที่ยวเป็นหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน จากยอดรถยนต์นั่งและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 23.5 และ 14.0 ต่อปี โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในภูมิภาคและการปรับตัวดีขึ้นของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนที่ส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน จากยอดรถปิคอัพและยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ที่ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 27.0 และ 30.8 ต่อปี ตามลําดับ นอกจากนี้ เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคมขยายตัวในอัตราเร่งเช่นกันที่ร้อยละ 494.7 ต่อปี สําหรับด้านอุปทานขยายตัวต่อเนื่อง โดยภาคการท่องเที่ยวขยายตัวต่อเนื่องทั้งจํานวนและรายได้จากการเยี่ยมเยือนในเดือนเมษายน 2560 ที่ร้อยละ 1.4 และ 5.2 ต่อปี ตามลําดับ ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราการว่างงานในเดือนเมษายน 2560 อยู่ที่ร้อยละ 1.6 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาคอย่างไรก็ดีอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคม 2560 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ -0.9 ต่อปี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เศรษฐกิจขยายตัว โดยมีการบริโภคภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยวเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ที่ขยายตัวร้อยละ 0.2 ต่อปี สอดคล้องกับการบริโภคสินค้าในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 32.1 และ 14.0 ต่อปี ตามลําดับ ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรยังคงทรงตัวจากเดือนก่อน สะท้อนจากยอดบรรทุกทะเบียนใหม่ที่หดตัวร้อยละ -0.2 ต่อปี อย่างไรก็ดี ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่ที่ขยายตัวร้อยละ 27.5 ต่อปี สําหรับด้านอุปทาน โดยเฉพาะภาคการเกษตรมีแนวโน้มขยายตัว จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของผลผลิตสินค้าเกษตรที่สําคัญ โดยเฉพาะข้าวเปลือก อ้อยโรงงาน เป็นต้น ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคม 2560 ยังอยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคภายในภูมิภาคที่ร้อยละ 3.2 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนเมษายน 2560 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค ภาคเหนือ เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัว โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยวเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 24.2 และ 15.1 ต่อปี ตามลําดับ ตามการขยายตัวในเกือบทุกจังหวัด โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการเพิ่มขึ้นของรายได้เกษตรกร สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากยอดรถปิคอัพและยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ในเดือนพฤษภาคม ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 18.8 และ 19.7 ต่อปี ตามลําดับ นอกจากนี้เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 33.9 ต่อปี สําหรับด้านอุปทาน โดยเฉพาะด้านภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ทั้งจํานวนและรายได้จากการเยี่ยมเยือนในเดือนเมษายน 2560 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 และ 7.7 ต่อปี ตามลําดับ สอดคล้องกับภาคเกษตรขยายตัวต่อเนื่อง จากผลผลิตสินค้าเกษตรที่ขยายตัวในอัตราเร่ง ตามการปรับตัวเพิ่มขึ้นของสินค้าเกษตรสําคัญ อาทิ ข้าว และข้าวโพด เป็นต้น สําหรับด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราการว่างงานในเดือนเมษายน 2560 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค อย่างไรก็ดีอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคม 2560 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ -1.3 ต่อปี ภาคตะวันตก เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัว โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และการท่องเที่ยวเป็นหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 19.5 และ 4.9 ต่อปี ตามลําดับ ตามการขยายตัวในเกือบทุกจังหวัด โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในภูมิภาค และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนที่ส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน จากยอดรถปิคอัพบรรทุกจดทะเบียนใหม่ และเม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมที่ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 13.2 และ 96.0 ต่อปี ตามลําดับ ส่วนด้านอุปทาน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีทั้งจํานวนและรายได้จากการเยี่ยมเยือนในเดือนเมษายน 2560 ที่ร้อยละ 5.4 และ 6.7 ต่อปี ตามลําดับ ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราการว่างงานในเดือนเมษายนอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคม 2560 ปรับตัวลดลงที่ร้อยละ -0.4 ต่อปี
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/4887
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. จับมือภาคีเครือข่ายลงนามบันทึกความร่วมมือ การจัดบริการสุนัขนำทางสำหรับคนตาบอด ครั้งแรกในประเทศไทย
วันศุกร์ที่ 15 กันยายน 2560 พม. จับมือภาคีเครือข่ายลงนามบันทึกความร่วมมือ การจัดบริการสุนัขนําทางสําหรับคนตาบอด ครั้งแรกในประเทศไทย พม. จับมือภาคีเครือข่ายลงนามบันทึกความร่วมมือ การจัดบริการสุนัขนําทางสําหรับคนตาบอด ครั้งแรกในประเทศไทย ร่วมส่งเสริมให้คนพิการสามารถเข้าถึงสิทธิในสังคมอย่างเท่าเทียม และสามารถดํารงชีวิตอิสระในสังคม วันนี้ (15 ก.ย. 60) เวลา 09.00 น. นายณรงค์ คงคํา โฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า พลตํารวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) การจัดบริการสุนัขนําทางสําหรับคนตาบอดในประเทศไทย ระหว่าง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ร่วมกับ กองทัพบก บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ จํากัด และสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมในพิธี จํานวนทั้งสิ้น 50 คน ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว กรุงเทพฯ พลตํารวจเอก อดุลย์ กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายสําคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดย “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” และมอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ดําเนินการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เพื่อให้เข้าถึงสิทธิและสวัสดิการอย่างเท่าเทียมกันในสังคม อาทิ การจัดสวัสดิการเบี้ยความพิการ การจัดสิ่งอํานวยความสะดวกให้สามารถดํารงชีวิตอิสระ รวมถึงส่งเสริมอาชีพและการมีงานทําเพื่อการพึ่งพาตนเองได้ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ จึงมีนโยบายจัดบริการสุนัขนําทางสําหรับคนตาบอดในประเทศไทยเพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเดินทางของคนตาบอด และสอดคล้องกับพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2556 ซึ่งระบุว่า คนพิการมีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอํานวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ ตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ โดยมีสิทธิที่จะนําสัตว์นําทาง เครื่องมือหรืออุปกรณ์นําทาง หรือเครื่องช่วยความพิการใดๆ ติดตัวไปในยานพาหนะหรือสถานที่ต่างๆ โดยได้รับการยกเว้น พลตํารวจเอก อดุลย์ กล่าวต่อไปว่า การจัดบริการสุนัขนําทางสําหรับคนตาบอดในประเทศไทย นับเป็นความริเริ่มครั้งแรก ซึ่งวันนี้ กระทรวง พม. โดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายประชารัฐด้านสังคม ได้แก่ กองทัพบก โดยกรมการสัตว์ทหารบก สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย และบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ จํากัด ได้จัดพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) การจัดบริการสุนัขนําทางสําหรับคนตาบอดในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการขับเคลื่อนการดําเนินงานด้านการจัดสวัสดิการให้แก่คนพิการทางการเห็นในประเทศ ให้สามารถออกสู่สังคมภายนอกและใช้ชีวิตประจําวันได้อย่างเป็นปกติ ทั้งนี้ ในแต่ละหน่วยงานมีหน้าที่ ดังนี้ 1) กองทัพบกได้มอบหมายกรมการสัตว์ทหารบก สนับสนุนด้านกําลังพลชุดครูต้นแบบที่ผ่านการฝึกอบรมจากผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ โดยชุดครูฝึกต้นแบบจะต้องสามารถถ่ายทอดให้กับบุคลากรชุดต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ การสนับสนุนกําลังพลในการเลี้ยงดูสุนัขของโครงการในระยะแรก และการจัดทําแนวทางการฝึกสุนัขนําทางสําหรับคนตาบอด รวมทั้งสนับสนุนอาคาร และสถานที่ สําหรับการฝึกและการเลี้ยงสุนัขในระยะแรก 2) บริษัท เครือเจริญ โภคภัณฑ์ จํากัด สนับสนุนการจัดเตรียมและอาหารสุนัขตามปริมาณที่เหมาะสม และ 3) สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย สนับสนุนและคัดเลือกคนพิการทางการเห็น เข้ารับการฝึกตามหลักสูตรการจัดบริการสุนัขนําทางสําหรับคนตาบอดในประเทศไทย พลตํารวจเอก อดุลย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สําหรับการลงนามบันทึกความร่วมมือในวันนี้ ได้แบ่งเป็น 2 ชุด โดยชุดแรก เป็นการลงนามร่วมกันระหว่างกระทรวง พม. กับกองทัพบก สําหรับชุดที่ 2 เป็นการลงนามร่วมกันระหว่างกระทรวง พม. และบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จํากัด และสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ พก. ดําเนินการประสานความร่วมมือกับองค์กรทั้งในและต่างประเทศ ในการสนับสนุนการนําเข้าครูฝึกและสุนัขจากต่างประเทศ พร้อมอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจําเป็น การประสานขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน พร้อมทั้งสนับสนุนด้านบุคลากรและสถานที่ เพื่อเตรียมการจัดตั้งเป็นสถาบันการจัดบริการสุนัขนําทางสําหรับคนตาบอดในประเทศไทยต่อไป “การลงนามความร่วมมือครั้งนี้ ถือเป็นการริเริ่มครั้งแรกของประเทศไทยในการขับเคลื่อนการจัดบริการสุนัขนําทางสําหรับคนตาบอด นับเป็นการแสดงถึงพลังของความร่วมมือจากหลายภาคส่วนในรูปแบบประชารัฐ ในการส่งเสริมให้คนพิการสามารถเข้าถึงสิทธิและอยู่ในสังคมอย่างเท่าเทียม ทั้งนี้ ตนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือในครั้งนี้ จะได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนการดําเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ และทําให้คนพิการได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิต สามารถดํารงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี ภายใต้แนวคิด “การเปลี่ยนคนพิการ จากภาระให้เป็นพลังของสังคมต่อไป” พลตํารวจเอก อดุลย์ กล่าวในตอนท้าย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. จับมือภาคีเครือข่ายลงนามบันทึกความร่วมมือ การจัดบริการสุนัขนำทางสำหรับคนตาบอด ครั้งแรกในประเทศไทย วันศุกร์ที่ 15 กันยายน 2560 พม. จับมือภาคีเครือข่ายลงนามบันทึกความร่วมมือ การจัดบริการสุนัขนําทางสําหรับคนตาบอด ครั้งแรกในประเทศไทย พม. จับมือภาคีเครือข่ายลงนามบันทึกความร่วมมือ การจัดบริการสุนัขนําทางสําหรับคนตาบอด ครั้งแรกในประเทศไทย ร่วมส่งเสริมให้คนพิการสามารถเข้าถึงสิทธิในสังคมอย่างเท่าเทียม และสามารถดํารงชีวิตอิสระในสังคม วันนี้ (15 ก.ย. 60) เวลา 09.00 น. นายณรงค์ คงคํา โฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า พลตํารวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) การจัดบริการสุนัขนําทางสําหรับคนตาบอดในประเทศไทย ระหว่าง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ร่วมกับ กองทัพบก บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ จํากัด และสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมในพิธี จํานวนทั้งสิ้น 50 คน ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว กรุงเทพฯ พลตํารวจเอก อดุลย์ กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายสําคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดย “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” และมอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ดําเนินการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เพื่อให้เข้าถึงสิทธิและสวัสดิการอย่างเท่าเทียมกันในสังคม อาทิ การจัดสวัสดิการเบี้ยความพิการ การจัดสิ่งอํานวยความสะดวกให้สามารถดํารงชีวิตอิสระ รวมถึงส่งเสริมอาชีพและการมีงานทําเพื่อการพึ่งพาตนเองได้ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ จึงมีนโยบายจัดบริการสุนัขนําทางสําหรับคนตาบอดในประเทศไทยเพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเดินทางของคนตาบอด และสอดคล้องกับพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2556 ซึ่งระบุว่า คนพิการมีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอํานวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ ตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ โดยมีสิทธิที่จะนําสัตว์นําทาง เครื่องมือหรืออุปกรณ์นําทาง หรือเครื่องช่วยความพิการใดๆ ติดตัวไปในยานพาหนะหรือสถานที่ต่างๆ โดยได้รับการยกเว้น พลตํารวจเอก อดุลย์ กล่าวต่อไปว่า การจัดบริการสุนัขนําทางสําหรับคนตาบอดในประเทศไทย นับเป็นความริเริ่มครั้งแรก ซึ่งวันนี้ กระทรวง พม. โดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายประชารัฐด้านสังคม ได้แก่ กองทัพบก โดยกรมการสัตว์ทหารบก สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย และบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ จํากัด ได้จัดพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) การจัดบริการสุนัขนําทางสําหรับคนตาบอดในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการขับเคลื่อนการดําเนินงานด้านการจัดสวัสดิการให้แก่คนพิการทางการเห็นในประเทศ ให้สามารถออกสู่สังคมภายนอกและใช้ชีวิตประจําวันได้อย่างเป็นปกติ ทั้งนี้ ในแต่ละหน่วยงานมีหน้าที่ ดังนี้ 1) กองทัพบกได้มอบหมายกรมการสัตว์ทหารบก สนับสนุนด้านกําลังพลชุดครูต้นแบบที่ผ่านการฝึกอบรมจากผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ โดยชุดครูฝึกต้นแบบจะต้องสามารถถ่ายทอดให้กับบุคลากรชุดต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ การสนับสนุนกําลังพลในการเลี้ยงดูสุนัขของโครงการในระยะแรก และการจัดทําแนวทางการฝึกสุนัขนําทางสําหรับคนตาบอด รวมทั้งสนับสนุนอาคาร และสถานที่ สําหรับการฝึกและการเลี้ยงสุนัขในระยะแรก 2) บริษัท เครือเจริญ โภคภัณฑ์ จํากัด สนับสนุนการจัดเตรียมและอาหารสุนัขตามปริมาณที่เหมาะสม และ 3) สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย สนับสนุนและคัดเลือกคนพิการทางการเห็น เข้ารับการฝึกตามหลักสูตรการจัดบริการสุนัขนําทางสําหรับคนตาบอดในประเทศไทย พลตํารวจเอก อดุลย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สําหรับการลงนามบันทึกความร่วมมือในวันนี้ ได้แบ่งเป็น 2 ชุด โดยชุดแรก เป็นการลงนามร่วมกันระหว่างกระทรวง พม. กับกองทัพบก สําหรับชุดที่ 2 เป็นการลงนามร่วมกันระหว่างกระทรวง พม. และบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จํากัด และสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ พก. ดําเนินการประสานความร่วมมือกับองค์กรทั้งในและต่างประเทศ ในการสนับสนุนการนําเข้าครูฝึกและสุนัขจากต่างประเทศ พร้อมอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจําเป็น การประสานขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน พร้อมทั้งสนับสนุนด้านบุคลากรและสถานที่ เพื่อเตรียมการจัดตั้งเป็นสถาบันการจัดบริการสุนัขนําทางสําหรับคนตาบอดในประเทศไทยต่อไป “การลงนามความร่วมมือครั้งนี้ ถือเป็นการริเริ่มครั้งแรกของประเทศไทยในการขับเคลื่อนการจัดบริการสุนัขนําทางสําหรับคนตาบอด นับเป็นการแสดงถึงพลังของความร่วมมือจากหลายภาคส่วนในรูปแบบประชารัฐ ในการส่งเสริมให้คนพิการสามารถเข้าถึงสิทธิและอยู่ในสังคมอย่างเท่าเทียม ทั้งนี้ ตนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือในครั้งนี้ จะได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนการดําเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ และทําให้คนพิการได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิต สามารถดํารงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี ภายใต้แนวคิด “การเปลี่ยนคนพิการ จากภาระให้เป็นพลังของสังคมต่อไป” พลตํารวจเอก อดุลย์ กล่าวในตอนท้าย
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/6708
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ. เลื่อนรณรงค์ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขึ้นจากสถานการณ์โควิด 19
วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม 2563 สธ. เลื่อนรณรงค์ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขึ้นจากสถานการณ์โควิด 19 กระทรวงสาธารณสุข เลื่อนการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เร็วขึ้น เริ่มแล้ววันนี้จนถึง 31 สิงหาคม 2563 ให้ประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยง รวม 4.11 ล้านโด๊ส พร้อมให้บุคลากรทางการแพทย์อีก 4.1 แสนโด๊ส ลดการป่วย ลดความรุนแรง ลดการเสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ กระทรวงสาธารณสุข เลื่อนการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เร็วขึ้น เริ่มแล้ววันนี้จนถึง 31 สิงหาคม 2563 ให้ประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยง รวม 4.11 ล้านโด๊ส พร้อมให้บุคลากรทางการแพทย์อีก 4.1 แสนโด๊ส ลดการป่วย ลดความรุนแรง ลดการเสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ ในช่วงสถานการณ์โควิด 19 วันนี้ (8 พฤษภาคม 2563) ที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีมอบวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ชนิด 4 สายพันธุ์สําหรับบุคลากรการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี จํานวน 5,000 โด๊ส และให้สัมภาษณ์ว่า ปีนี้ เป็นปีแรกที่กระทรวงสาธารณสุขจัดหาวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิด 4 สายพันธุ์ ให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง จํานวน 4.11 ล้านโด๊ส บุคลากรทางการแพทย์ จํานวน 4.1 แสนโด๊ส และเลื่อนการรณรงค์ให้เร็วขึ้นเป็นวันที่ 1 พฤษภาคมจนถึง 31 สิงหาคม 2563 จากเดิมที่จะเริ่มฉีดวัคซีนในเดือนมิถุนายน เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคทันต่อสถานการณ์โรคโควิด 19 ซึ่งเป็นโรคที่มีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ ลดการป่วย ลดความรุนแรง ลดการเสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ “กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ เป็นกลุ่มที่มีความสําคัญในการดูแลสุขภาพประชาชนและมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในขณะปฏิบัติงานได้ทุกสายพันธุ์ หากบุคลากรเจ็บป่วยจะเกิดผลกระทบกับการให้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่อาจมีการระบาดของโรค COVID-19 เนื่องจากตลอด 3 เดือนที่ผ่านมา ทุกคนได้ร่วมกันทํางานอย่างหนัก ห้องปฏิบัติการตรวจตัวอย่างจากผู้ป่วยนับหมื่นๆ ราย ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและรักษาพยาบาลอย่างดี” นายอนุทินกล่าว นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกับสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) รณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 4.11 ล้านโด๊ส ให้กับประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป, เด็กอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี, ผู้มีโรคเรื้อรัง (ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ในระหว่างได้รับเคมีบําบัด และเบาหวาน), บุคคลอายุ 65 ปีขึ้นไป, ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้, โรคธาลัสซีเมียและผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ และผู้ที่เป็นโรคอ้วน ****************************** 8 พฤษภาคม 2563
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ. เลื่อนรณรงค์ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขึ้นจากสถานการณ์โควิด 19 วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม 2563 สธ. เลื่อนรณรงค์ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขึ้นจากสถานการณ์โควิด 19 กระทรวงสาธารณสุข เลื่อนการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เร็วขึ้น เริ่มแล้ววันนี้จนถึง 31 สิงหาคม 2563 ให้ประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยง รวม 4.11 ล้านโด๊ส พร้อมให้บุคลากรทางการแพทย์อีก 4.1 แสนโด๊ส ลดการป่วย ลดความรุนแรง ลดการเสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ กระทรวงสาธารณสุข เลื่อนการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เร็วขึ้น เริ่มแล้ววันนี้จนถึง 31 สิงหาคม 2563 ให้ประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยง รวม 4.11 ล้านโด๊ส พร้อมให้บุคลากรทางการแพทย์อีก 4.1 แสนโด๊ส ลดการป่วย ลดความรุนแรง ลดการเสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ ในช่วงสถานการณ์โควิด 19 วันนี้ (8 พฤษภาคม 2563) ที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีมอบวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ชนิด 4 สายพันธุ์สําหรับบุคลากรการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี จํานวน 5,000 โด๊ส และให้สัมภาษณ์ว่า ปีนี้ เป็นปีแรกที่กระทรวงสาธารณสุขจัดหาวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิด 4 สายพันธุ์ ให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง จํานวน 4.11 ล้านโด๊ส บุคลากรทางการแพทย์ จํานวน 4.1 แสนโด๊ส และเลื่อนการรณรงค์ให้เร็วขึ้นเป็นวันที่ 1 พฤษภาคมจนถึง 31 สิงหาคม 2563 จากเดิมที่จะเริ่มฉีดวัคซีนในเดือนมิถุนายน เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคทันต่อสถานการณ์โรคโควิด 19 ซึ่งเป็นโรคที่มีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ ลดการป่วย ลดความรุนแรง ลดการเสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ “กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ เป็นกลุ่มที่มีความสําคัญในการดูแลสุขภาพประชาชนและมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในขณะปฏิบัติงานได้ทุกสายพันธุ์ หากบุคลากรเจ็บป่วยจะเกิดผลกระทบกับการให้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่อาจมีการระบาดของโรค COVID-19 เนื่องจากตลอด 3 เดือนที่ผ่านมา ทุกคนได้ร่วมกันทํางานอย่างหนัก ห้องปฏิบัติการตรวจตัวอย่างจากผู้ป่วยนับหมื่นๆ ราย ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและรักษาพยาบาลอย่างดี” นายอนุทินกล่าว นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกับสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) รณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 4.11 ล้านโด๊ส ให้กับประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป, เด็กอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี, ผู้มีโรคเรื้อรัง (ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ในระหว่างได้รับเคมีบําบัด และเบาหวาน), บุคคลอายุ 65 ปีขึ้นไป, ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้, โรคธาลัสซีเมียและผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ และผู้ที่เป็นโรคอ้วน ****************************** 8 พฤษภาคม 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/30494
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มท.1ย้ำชัดมหาดไทยต้องมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก สร้างโอกาส เพิ่มรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำให้ปชช. –บทบาทพัฒนากรต้องพัฒนาชุมชนในทุกด้าน
วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม 2562 มท.1ย้ําชัดมหาดไทยต้องมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก สร้างโอกาส เพิ่มรายได้ ลดความเหลื่อมล้ําให้ปชช. –บทบาทพัฒนากรต้องพัฒนาชุมชนในทุกด้าน มท.1ย้ําชัดมหาดไทยต้องมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก สร้างโอกาส เพิ่มรายได้ ลดความเหลื่อมล้ําให้ปชช. –บทบาทพัฒนากรต้องพัฒนาชุมชนในทุกด้าน วันนี้ (16 ส.ค. 62) เวลา 13.00 น. ที่ห้องแกรนด์ไดมอนด์บอลรูม อาคารอิมแพ็คฟอรัม ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มอบนโยบายและบรรยายพิเศษ เรื่อง “กระทรวงมหาดไทยกับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก” โดยมีผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงมหาดไทย ผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชน พัฒนาการจังหวัด พัฒนาการอําเภอ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมรับฟังกว่า 1,000 คน พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยเป็นกลไกของรัฐบาล เนื่องจากมีโครงสร้างในระดับพื้นที่ ตั้งแต่ท้องถิ่น ท้องที่ และส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด อําเภอ ดังนั้น ทุกกระทรวงที่จะดําเนินนโยบายในระดับพื้นที่จะต้องผ่านโครงสร้างของกระทรวงมหาดไทยแทบทั้งสิ้น ดังนั้น บทบาทของพัฒนากรจังหวัด อําเภอจะต้องพัฒนาชุมชนในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง ฯลฯ จึงถือว่านักพัฒนากรคือ มือไม้ของรัฐบาลในส่วนภูมิภาค พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าวต่อว่า รัฐบาลได้กําหนดให้มียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งในด้านเศรษฐกิจฐานรากนั้นได้น้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 และหลักประชารัฐคือ การมีส่วนร่วมของรัฐ เอกชน และประชาชน เป็นรากฐานในการกําหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ดังนั้น นโยบายการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของกรมการพัฒนาชุมชน ต้องทําทั้งในส่วนของอํานาจหน้าที่ของกรมการพัฒนาชุมชน และช่วยสนับสนุนงานของรัฐบาลและกระทรวงอื่นๆ ที่ลงไปในพื้นที่ด้วย เช่น การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ OTOP และช่องทางจําหน่าย การขับเคลื่อนหมู่บ้านชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว การพัฒนาตลาดประชารัฐให้เป็นตลาดที่สะอาดและปลอดภัย ผ่านการขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี โครงการตลาดประชารัฐ และการขับเคลื่อนภาคประชารัฐ (SE) หรือนโยบายของรัฐบาล เช่น การให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ การจัดการกองทุนต่าง ๆ ในพื้นที่ให้ประชาชนได้เข้าถึงอย่างเท่าเทียม เป็นธรรม และยั่งยืน การป้องกันและแก้ไขยาเสพติด เป็นต้น ท้ายสุด พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา เน้นย้ําว่า ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของกระทรวงมหาดไทย คือ ต้องสร้างโอกาส สร้างความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ําทางสังคม กระจายรายได้ และกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ตรงตามความต้องการของประชาชนและสภาพปัญหาของพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความสุขอย่างยั่งยืน
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มท.1ย้ำชัดมหาดไทยต้องมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก สร้างโอกาส เพิ่มรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำให้ปชช. –บทบาทพัฒนากรต้องพัฒนาชุมชนในทุกด้าน วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม 2562 มท.1ย้ําชัดมหาดไทยต้องมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก สร้างโอกาส เพิ่มรายได้ ลดความเหลื่อมล้ําให้ปชช. –บทบาทพัฒนากรต้องพัฒนาชุมชนในทุกด้าน มท.1ย้ําชัดมหาดไทยต้องมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก สร้างโอกาส เพิ่มรายได้ ลดความเหลื่อมล้ําให้ปชช. –บทบาทพัฒนากรต้องพัฒนาชุมชนในทุกด้าน วันนี้ (16 ส.ค. 62) เวลา 13.00 น. ที่ห้องแกรนด์ไดมอนด์บอลรูม อาคารอิมแพ็คฟอรัม ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มอบนโยบายและบรรยายพิเศษ เรื่อง “กระทรวงมหาดไทยกับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก” โดยมีผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงมหาดไทย ผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชน พัฒนาการจังหวัด พัฒนาการอําเภอ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมรับฟังกว่า 1,000 คน พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยเป็นกลไกของรัฐบาล เนื่องจากมีโครงสร้างในระดับพื้นที่ ตั้งแต่ท้องถิ่น ท้องที่ และส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด อําเภอ ดังนั้น ทุกกระทรวงที่จะดําเนินนโยบายในระดับพื้นที่จะต้องผ่านโครงสร้างของกระทรวงมหาดไทยแทบทั้งสิ้น ดังนั้น บทบาทของพัฒนากรจังหวัด อําเภอจะต้องพัฒนาชุมชนในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง ฯลฯ จึงถือว่านักพัฒนากรคือ มือไม้ของรัฐบาลในส่วนภูมิภาค พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าวต่อว่า รัฐบาลได้กําหนดให้มียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งในด้านเศรษฐกิจฐานรากนั้นได้น้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 และหลักประชารัฐคือ การมีส่วนร่วมของรัฐ เอกชน และประชาชน เป็นรากฐานในการกําหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ดังนั้น นโยบายการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของกรมการพัฒนาชุมชน ต้องทําทั้งในส่วนของอํานาจหน้าที่ของกรมการพัฒนาชุมชน และช่วยสนับสนุนงานของรัฐบาลและกระทรวงอื่นๆ ที่ลงไปในพื้นที่ด้วย เช่น การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ OTOP และช่องทางจําหน่าย การขับเคลื่อนหมู่บ้านชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว การพัฒนาตลาดประชารัฐให้เป็นตลาดที่สะอาดและปลอดภัย ผ่านการขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี โครงการตลาดประชารัฐ และการขับเคลื่อนภาคประชารัฐ (SE) หรือนโยบายของรัฐบาล เช่น การให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ การจัดการกองทุนต่าง ๆ ในพื้นที่ให้ประชาชนได้เข้าถึงอย่างเท่าเทียม เป็นธรรม และยั่งยืน การป้องกันและแก้ไขยาเสพติด เป็นต้น ท้ายสุด พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา เน้นย้ําว่า ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของกระทรวงมหาดไทย คือ ต้องสร้างโอกาส สร้างความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ําทางสังคม กระจายรายได้ และกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ตรงตามความต้องการของประชาชนและสภาพปัญหาของพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความสุขอย่างยั่งยืน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/22298
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. กำชับทีม ONE HOME เร่งช่วยเหลือครอบครัวผู้ประสบปัญหาทางสังคม ที่ จ.พิจิตร และ จ.ชลบุรี พร้อมกำชับ จนท. เร่งติดตามหาลูกสาวของสองสามี-ภรรยาแก่ชรา หลังพลัดพรากกันนานกว่า 20 ปี
วันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม 2561 พม. กําชับทีม ONE HOME เร่งช่วยเหลือครอบครัวผู้ประสบปัญหาทางสังคม ที่ จ.พิจิตร และ จ.ชลบุรี พร้อมกําชับ จนท. เร่งติดตามหาลูกสาวของสองสามี-ภรรยาแก่ชรา หลังพลัดพรากกันนานกว่า 20 ปี พม. กําชับทีม ONE HOME เร่งช่วยเหลือครอบครัวผู้ประสบปัญหาทางสังคม ที่ จ.พิจิตร และ จ.ชลบุรี พร้อมกําชับ จนท. เร่งประสานติดตามหาลูกสาวของสองสามี-ภรรยาแก่ชรา หลังพลัดพรากกันนานกว่า 20 ปี ที่ จ.สงขลา วันนี้ (18 ม.ค. 61) เวลา 08.30 น. นายณรงค์ คงคํา โฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า นางไพรวรรณ พลวัน รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รองปลัด พม.) เป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ศปก.พม.) ครั้งที่ 23/2561 เพื่อรับทราบปัญหาทางสังคมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และร่วมหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและการป้องกันปัญหาดังกล่าว โดยมีผู้บริหารและผู้แทนจากหน่วยงานในกระทรวงฯ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 8 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว กรุงเทพฯ จากกรณีหญิงชราวัย 90 ปี ต้องรับภาระเพียงลําพังเลี้ยงดูลูกชายวัย 67 ปี ที่ป่วยเป็นโรคอัมพฤกษ์ ร่างกายพิการ ช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยได้ ทั้ง 2 ชีวิตอาศัยในบ้านสภาพเก่าทรุดโทรมใกล้ผุพัง ครอบครัวมีฐานะยากจน อาศัยเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและคนพิการใช้ประทังชีวิต ที่จังหวัดพิจิตร และกรณีพบครอบครัวยากไร้ อาศัยอยู่รวมกัน 4 ชีวิต ได้แก่ หญิงชราวัย 69 ปี พิการขาทั้ง 2 ข้างอ่อนแรง ไม่สามารถทํางานได้ หญิงชราวัย 63 ปี ที่ทําหน้าที่เป็นเสาหลัก หาเลี้ยงครอบครัว หลานสาวคนโตวัย 13 ปี กําลังศึกษาอยู่ชั้น ม.1 และหลานสาวคนเล็กวัย 2 ขวบ ทั้ง 4 ชีวิต อาศัยในเพิงสังกะสีสภาพเก่าทรุดโทรม บริเวณใต้สะพานข้ามแม่น้ําแห่งหนึ่ง ไม่มีไฟฟ้า น้ําประปา และห้องน้ําใช้ครอบครัวมีฐานะยากจน ที่จังหวัดพิจิตร และกรณีหญิงชราวัย 80 ปี มีอาชีพเก็บของเก่าขาย เพื่อหาเงินจุนเจือครอบครัว และเลี้ยงดูเหลนวัย 5 ขวบ ที่ยังไม่ได้เรียนหนังสือ ซึ่งแม่ของเด็กหญิงนํามาทิ้งไว้ให้เลี้ยงดูตั้งแต่อายุเพียง 3 เดือน และทอดทิ้งหายไปไม่เคยกลับมาเหลียวแล ทั้ง 2 ชีวิต อาศัยในห้องเช่าสภาพเก่าและคับแคบ ครอบครัวมีฐานะยากจน ที่จังหวัดชลบุรี นั้น ตนได้กําชับให้ทีม ONE HOME ทั้ง 2 จังหวัด ได้แก่ จ.พิจิตร และชลบุรี และศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เร่งลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและประเมินทางสังคมของครอบครัวดังกล่าวทั้งหมด เพื่อให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นตามภารกิจด้านเด็ก คนพิการ และผู้สูงอายุของกระทรวง พม. พร้อมมอบสิ่งของเครื่องใช้ที่จําเป็น และอุปกรณ์ทางการศึกษา อีกทั้ง ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือดูแลในเรื่องการรักษาพยาบาลอาการป่วยของผู้ที่ป่วยทั้งหมดอย่างใกล้ชิด และช่วยเหลือในเรื่องการศึกษาของเด็กทั้งหมดอย่างต่อเนื่องในระยะยาว รวมทั้ง การปรับปรุงสภาพที่อยู่อาศัยให้มีความมั่นคง แข็งแรง ถูกสุขลักษณะ และเหมาะสม รวมทั้ง ให้คําแนะนําในเรื่องสวัสดิการสังคม เพื่อขอรับสิทธิตามกฎหมายตามความเหมาะสม พร้อมให้คําแนะนําปรึกษาแก่ครอบครัวในเรื่องการส่งเสริมการประกอบอาชีพ เพื่อสร้างรายได้ที่เพียงพอและมั่นคงในระยะยาวต่อไป สําหรับกรณี 2 สามี-ภรรยาแก่ชราวัย 70 ปี และ 71 ปี อาศัยอยู่กันเพียงลําพังในกระต๊อบสภาพเก่าทรุดโทรม ได้ประกาศตามหาลูกสาว 3 คน ที่พลัดพรากกันนานกว่า 20 ปี เนื่องจากตนเองย้ายที่อยู่อาศัย และทําเบอร์โทรศัพท์ที่ลูกให้ไว้สูญหาย จึงไม่สามารถติดต่อกันได้ ที่จังหวัดสงขลา นั้น ตนได้กําชับให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของจังหวัดสงขลา (พมจ.สงขลา) พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เร่งลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและประเมินทางสังคม เพื่อให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นตามภารกิจด้านผู้สูงอายุ พร้อมมอบสิ่งของเครื่องใช้ที่จําเป็น อีกทั้ง ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ช่วยเหลือดูแลในเรื่องการติดตามหาลูกสาวที่พลัดพรากกันทั้ง 3 คน อย่างเร่งด่วน และการปรับปรุงสภาพที่อยู่อาศัยให้มีความมั่นคง แข็งแรง ถูกสุขลักษณะ และเหมาะสม พร้อมให้คําปรึกษาแนะนําในเรื่องสวัสดิการสังคม เพื่อขอรับสิทธิตามกฎหมายตามความเหมาะสม
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. กำชับทีม ONE HOME เร่งช่วยเหลือครอบครัวผู้ประสบปัญหาทางสังคม ที่ จ.พิจิตร และ จ.ชลบุรี พร้อมกำชับ จนท. เร่งติดตามหาลูกสาวของสองสามี-ภรรยาแก่ชรา หลังพลัดพรากกันนานกว่า 20 ปี วันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม 2561 พม. กําชับทีม ONE HOME เร่งช่วยเหลือครอบครัวผู้ประสบปัญหาทางสังคม ที่ จ.พิจิตร และ จ.ชลบุรี พร้อมกําชับ จนท. เร่งติดตามหาลูกสาวของสองสามี-ภรรยาแก่ชรา หลังพลัดพรากกันนานกว่า 20 ปี พม. กําชับทีม ONE HOME เร่งช่วยเหลือครอบครัวผู้ประสบปัญหาทางสังคม ที่ จ.พิจิตร และ จ.ชลบุรี พร้อมกําชับ จนท. เร่งประสานติดตามหาลูกสาวของสองสามี-ภรรยาแก่ชรา หลังพลัดพรากกันนานกว่า 20 ปี ที่ จ.สงขลา วันนี้ (18 ม.ค. 61) เวลา 08.30 น. นายณรงค์ คงคํา โฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า นางไพรวรรณ พลวัน รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รองปลัด พม.) เป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ศปก.พม.) ครั้งที่ 23/2561 เพื่อรับทราบปัญหาทางสังคมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และร่วมหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและการป้องกันปัญหาดังกล่าว โดยมีผู้บริหารและผู้แทนจากหน่วยงานในกระทรวงฯ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 8 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว กรุงเทพฯ จากกรณีหญิงชราวัย 90 ปี ต้องรับภาระเพียงลําพังเลี้ยงดูลูกชายวัย 67 ปี ที่ป่วยเป็นโรคอัมพฤกษ์ ร่างกายพิการ ช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยได้ ทั้ง 2 ชีวิตอาศัยในบ้านสภาพเก่าทรุดโทรมใกล้ผุพัง ครอบครัวมีฐานะยากจน อาศัยเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและคนพิการใช้ประทังชีวิต ที่จังหวัดพิจิตร และกรณีพบครอบครัวยากไร้ อาศัยอยู่รวมกัน 4 ชีวิต ได้แก่ หญิงชราวัย 69 ปี พิการขาทั้ง 2 ข้างอ่อนแรง ไม่สามารถทํางานได้ หญิงชราวัย 63 ปี ที่ทําหน้าที่เป็นเสาหลัก หาเลี้ยงครอบครัว หลานสาวคนโตวัย 13 ปี กําลังศึกษาอยู่ชั้น ม.1 และหลานสาวคนเล็กวัย 2 ขวบ ทั้ง 4 ชีวิต อาศัยในเพิงสังกะสีสภาพเก่าทรุดโทรม บริเวณใต้สะพานข้ามแม่น้ําแห่งหนึ่ง ไม่มีไฟฟ้า น้ําประปา และห้องน้ําใช้ครอบครัวมีฐานะยากจน ที่จังหวัดพิจิตร และกรณีหญิงชราวัย 80 ปี มีอาชีพเก็บของเก่าขาย เพื่อหาเงินจุนเจือครอบครัว และเลี้ยงดูเหลนวัย 5 ขวบ ที่ยังไม่ได้เรียนหนังสือ ซึ่งแม่ของเด็กหญิงนํามาทิ้งไว้ให้เลี้ยงดูตั้งแต่อายุเพียง 3 เดือน และทอดทิ้งหายไปไม่เคยกลับมาเหลียวแล ทั้ง 2 ชีวิต อาศัยในห้องเช่าสภาพเก่าและคับแคบ ครอบครัวมีฐานะยากจน ที่จังหวัดชลบุรี นั้น ตนได้กําชับให้ทีม ONE HOME ทั้ง 2 จังหวัด ได้แก่ จ.พิจิตร และชลบุรี และศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เร่งลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและประเมินทางสังคมของครอบครัวดังกล่าวทั้งหมด เพื่อให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นตามภารกิจด้านเด็ก คนพิการ และผู้สูงอายุของกระทรวง พม. พร้อมมอบสิ่งของเครื่องใช้ที่จําเป็น และอุปกรณ์ทางการศึกษา อีกทั้ง ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือดูแลในเรื่องการรักษาพยาบาลอาการป่วยของผู้ที่ป่วยทั้งหมดอย่างใกล้ชิด และช่วยเหลือในเรื่องการศึกษาของเด็กทั้งหมดอย่างต่อเนื่องในระยะยาว รวมทั้ง การปรับปรุงสภาพที่อยู่อาศัยให้มีความมั่นคง แข็งแรง ถูกสุขลักษณะ และเหมาะสม รวมทั้ง ให้คําแนะนําในเรื่องสวัสดิการสังคม เพื่อขอรับสิทธิตามกฎหมายตามความเหมาะสม พร้อมให้คําแนะนําปรึกษาแก่ครอบครัวในเรื่องการส่งเสริมการประกอบอาชีพ เพื่อสร้างรายได้ที่เพียงพอและมั่นคงในระยะยาวต่อไป สําหรับกรณี 2 สามี-ภรรยาแก่ชราวัย 70 ปี และ 71 ปี อาศัยอยู่กันเพียงลําพังในกระต๊อบสภาพเก่าทรุดโทรม ได้ประกาศตามหาลูกสาว 3 คน ที่พลัดพรากกันนานกว่า 20 ปี เนื่องจากตนเองย้ายที่อยู่อาศัย และทําเบอร์โทรศัพท์ที่ลูกให้ไว้สูญหาย จึงไม่สามารถติดต่อกันได้ ที่จังหวัดสงขลา นั้น ตนได้กําชับให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของจังหวัดสงขลา (พมจ.สงขลา) พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เร่งลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและประเมินทางสังคม เพื่อให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นตามภารกิจด้านผู้สูงอายุ พร้อมมอบสิ่งของเครื่องใช้ที่จําเป็น อีกทั้ง ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ช่วยเหลือดูแลในเรื่องการติดตามหาลูกสาวที่พลัดพรากกันทั้ง 3 คน อย่างเร่งด่วน และการปรับปรุงสภาพที่อยู่อาศัยให้มีความมั่นคง แข็งแรง ถูกสุขลักษณะ และเหมาะสม พร้อมให้คําปรึกษาแนะนําในเรื่องสวัสดิการสังคม เพื่อขอรับสิทธิตามกฎหมายตามความเหมาะสม
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/9464
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ขั้นตอนการยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชั่น “เป๋าตัง” หลังจากได้รับ SMS เพื่อร่วมโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” มีวิธีการอย่างไร ??
วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม 2563 ขั้นตอนการยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชั่น “เป๋าตัง” หลังจากได้รับ SMS เพื่อร่วมโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” มีวิธีการอย่างไร ?? ขั้นตอนการยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชั่น “เป๋าตัง” Q : ขั้นตอนการยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชั่น “เป๋าตัง” หลังจากได้รับ SMS เพื่อร่วมโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” มีวิธีการอย่างไร ?? A : 1. Download แอปพลิเคชั่น "เป๋าตัง" (กรณีที่ยังไม่เคยมี) 2. เลือก G-Wallet เพื่อยืนยันตัวตน 2.1 กรณีลงทะเบียนแล้ว - เลือกเข้าใช้งาน G-Wallet เพื่อยืนยันตัวตน 2.2 กรณียังไม่ได้ลงทะเบียน - เลือกลงทะเบียน G-Wallet 3. ยอมรับข้อตกลงการให้ข้อมูลและยินยอมให้ใช้ข้อมูลส่วนบุคคล 4. ยืนยันด้วยบัตรประชาชน 5. ทําการสแกนบัตรประชาชน 6. ยืนยันรหัส OTP จากเบอร์มือถือที่ผูก “เป๋าตัง” 7. สแกนใบหน้า
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ขั้นตอนการยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชั่น “เป๋าตัง” หลังจากได้รับ SMS เพื่อร่วมโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” มีวิธีการอย่างไร ?? วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม 2563 ขั้นตอนการยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชั่น “เป๋าตัง” หลังจากได้รับ SMS เพื่อร่วมโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” มีวิธีการอย่างไร ?? ขั้นตอนการยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชั่น “เป๋าตัง” Q : ขั้นตอนการยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชั่น “เป๋าตัง” หลังจากได้รับ SMS เพื่อร่วมโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” มีวิธีการอย่างไร ?? A : 1. Download แอปพลิเคชั่น "เป๋าตัง" (กรณีที่ยังไม่เคยมี) 2. เลือก G-Wallet เพื่อยืนยันตัวตน 2.1 กรณีลงทะเบียนแล้ว - เลือกเข้าใช้งาน G-Wallet เพื่อยืนยันตัวตน 2.2 กรณียังไม่ได้ลงทะเบียน - เลือกลงทะเบียน G-Wallet 3. ยอมรับข้อตกลงการให้ข้อมูลและยินยอมให้ใช้ข้อมูลส่วนบุคคล 4. ยืนยันด้วยบัตรประชาชน 5. ทําการสแกนบัตรประชาชน 6. ยืนยันรหัส OTP จากเบอร์มือถือที่ผูก “เป๋าตัง” 7. สแกนใบหน้า
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/33676
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงมหาดไทยจัดงานวันที่ระลึกคล้ายวันสถาปนากระทรวงมหาดไทย 1 เมษายน 2560
วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2560 กระทรวงมหาดไทยจัดงานวันที่ระลึกคล้ายวันสถาปนากระทรวงมหาดไทย 1 เมษายน 2560 กระทรวงมหาดไทยจัดงานวันที่ระลึกคล้ายวันสถาปนากระทรวงมหาดไทย 1 เมษายน 2560 วันนี้ (31 มี.ค. 60) ที่กระทรวงมหาดไทย นายชยพล ธิติศักดิ์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะโฆษกกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ด้วยในวันที่ 1 เมษายน ของทุกปี กระทรวงมหาดไทยได้กําหนดให้มีการจัดงานวันที่ระลึกคล้ายวันสถาปนากระทรวงมหาดไทยขึ้น เพื่อน้อมระลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระบรมราชโองการจัดตั้งกระทรวงมหาดไทยขึ้น เมื่อวันที่ 1 เมษายน พุทธศักราช 2435 และได้ทรงมอบหมายให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ เป็นองค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และพระองค์ได้ทรงประกอบพระกรณียกิจด้านต่างๆ อย่างมากมาย รวมทั้งได้ทรงปรับปรุงงานของกระทรวงมหาดไทยหลายประการ อาทิ การแก้ไขระเบียบการปฏิบัติงาน การจัดตั้งศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัด และโดยเฉพาะอย่างยิ่งทรงจัดระเบียบการปกครอง “รูปแบบเทศาภิบาล” และทรงวางรากฐานให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานที่มุ่งมั่นในการบําบัดทุกข์บํารุงสุขแก่พี่น้องประชาชนเพื่อให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข ซึ่งนับเป็นเวลากว่า 125 ปีที่คนมหาดไทยได้ตระหนักในภาระหน้าที่และได้ร่วมปฏิบัติงานอํานวยประโยชน์สุขให้แก่พี่น้องประชาชนอย่างเต็มกําลังความสามารถภายใต้ปณิธานแห่งการ “บําบัดทุกข์ บํารุงสุข” ตามเจตนารมณ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ตราบจนปัจจุบัน สําหรับการจัดงานวันที่ระลึกวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงมหาดไทยในปีนี้ ซึ่งเป็นปีแห่งการครบรอบ 125 ปี ของการก่อตั้งกระทรวงมหาดไทย ตรงกับวันเสาร์ที่ 1 เมษายน 2560 กระทรวงมหาดไทย ได้กําหนดจัดกิจกรรมสําคัญ ดังนี้ - เวลา 05.45 - 07.05 น.พิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายสักการะพระอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรม พระยาดํารงราชานุภาพ ณ บริเวณด้านหน้าศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยเวลา 06.45 น. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็นประธานในพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ พร้อมกล่าวคําถวายสดุดีสมเด็จฯกรมพระยาดํารงราชานุภาพ - เวลา 07.15 – 07.45 น.พิธีทอดผ้าป่า ณ ลานเอนกประสงค์ ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีทอดผ้าป่าสมทบกองทุนพัฒนาเด็กชนบทในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยกรมการพัฒนาชุมชนเป็นเจ้าภาพในการจัดกิจกรรมทอดผ้าป่ามหากุศลในครั้งนี้ เพื่อรวบรวมเงินจากผู้มีจิตศรัทธาจากทั่วประเทศ สมทบเข้าเป็นกองทุนการศึกษาแก่เด็กยากจนและด้อยโอกาสในพื้นที่ชนบท - เวลา 07.50 – 08.45 น.พิธีสงฆ์ ณ ห้องประชุม 1 ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีถวายเครื่องไทยธรรม และภัตตาหารแด่ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก และพระภิกษุสงฆ์ จากนั้น เวลา 09.00 น. จะมีพิธีมอบเข็มเชิดชูเกียรติทองคําและประกาศเกียรติคุณให้แก่พลเมืองดี และพิธีมอบรางวัล “คนดีมหาดไทย”ณ ห้องประชุม 1 ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งกระทรวงมหาดไทยจัดขึ้นเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติแก่“พลเมืองดี” และ “คนดีมหาดไทย” เพื่อเป็นขวัญกําลังใจแก่ผู้ที่ได้รับรางวัลตลอดจนครอบครัว รวมทั้งเป็นการเผยแพร่คุณความดีที่ได้กระทําให้เป็นที่ประจักษ์และแบบอย่างที่ดีแก่สังคมต่อไป โดยรัฐมนตรีว่าการระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีฯ สําหรับในปี 2560 นี้ มีพลเมืองดีที่กระทรวงมหาดไทยพิจารณาเห็นสมควรยกย่องเชิดชูเกียรติ ตามหลักเกณฑ์และระเบียบของ“กองทุนส่งเสริมและสงเคราะห์พลเมืองดี”จํานวน 7 ท่าน และรางวัล “คนดีมหาดไทย” จํานวน 7 ท่านในโอกาสนี้ จึงขอเชิญชวนข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เข้าร่วมในพิธีดังกล่าวโดยพร้อมเพรียงกัน. ครั้งที่ 45/2560
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงมหาดไทยจัดงานวันที่ระลึกคล้ายวันสถาปนากระทรวงมหาดไทย 1 เมษายน 2560 วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2560 กระทรวงมหาดไทยจัดงานวันที่ระลึกคล้ายวันสถาปนากระทรวงมหาดไทย 1 เมษายน 2560 กระทรวงมหาดไทยจัดงานวันที่ระลึกคล้ายวันสถาปนากระทรวงมหาดไทย 1 เมษายน 2560 วันนี้ (31 มี.ค. 60) ที่กระทรวงมหาดไทย นายชยพล ธิติศักดิ์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะโฆษกกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ด้วยในวันที่ 1 เมษายน ของทุกปี กระทรวงมหาดไทยได้กําหนดให้มีการจัดงานวันที่ระลึกคล้ายวันสถาปนากระทรวงมหาดไทยขึ้น เพื่อน้อมระลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระบรมราชโองการจัดตั้งกระทรวงมหาดไทยขึ้น เมื่อวันที่ 1 เมษายน พุทธศักราช 2435 และได้ทรงมอบหมายให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ เป็นองค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และพระองค์ได้ทรงประกอบพระกรณียกิจด้านต่างๆ อย่างมากมาย รวมทั้งได้ทรงปรับปรุงงานของกระทรวงมหาดไทยหลายประการ อาทิ การแก้ไขระเบียบการปฏิบัติงาน การจัดตั้งศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัด และโดยเฉพาะอย่างยิ่งทรงจัดระเบียบการปกครอง “รูปแบบเทศาภิบาล” และทรงวางรากฐานให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานที่มุ่งมั่นในการบําบัดทุกข์บํารุงสุขแก่พี่น้องประชาชนเพื่อให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข ซึ่งนับเป็นเวลากว่า 125 ปีที่คนมหาดไทยได้ตระหนักในภาระหน้าที่และได้ร่วมปฏิบัติงานอํานวยประโยชน์สุขให้แก่พี่น้องประชาชนอย่างเต็มกําลังความสามารถภายใต้ปณิธานแห่งการ “บําบัดทุกข์ บํารุงสุข” ตามเจตนารมณ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ตราบจนปัจจุบัน สําหรับการจัดงานวันที่ระลึกวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงมหาดไทยในปีนี้ ซึ่งเป็นปีแห่งการครบรอบ 125 ปี ของการก่อตั้งกระทรวงมหาดไทย ตรงกับวันเสาร์ที่ 1 เมษายน 2560 กระทรวงมหาดไทย ได้กําหนดจัดกิจกรรมสําคัญ ดังนี้ - เวลา 05.45 - 07.05 น.พิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายสักการะพระอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรม พระยาดํารงราชานุภาพ ณ บริเวณด้านหน้าศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยเวลา 06.45 น. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็นประธานในพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ พร้อมกล่าวคําถวายสดุดีสมเด็จฯกรมพระยาดํารงราชานุภาพ - เวลา 07.15 – 07.45 น.พิธีทอดผ้าป่า ณ ลานเอนกประสงค์ ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีทอดผ้าป่าสมทบกองทุนพัฒนาเด็กชนบทในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยกรมการพัฒนาชุมชนเป็นเจ้าภาพในการจัดกิจกรรมทอดผ้าป่ามหากุศลในครั้งนี้ เพื่อรวบรวมเงินจากผู้มีจิตศรัทธาจากทั่วประเทศ สมทบเข้าเป็นกองทุนการศึกษาแก่เด็กยากจนและด้อยโอกาสในพื้นที่ชนบท - เวลา 07.50 – 08.45 น.พิธีสงฆ์ ณ ห้องประชุม 1 ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีถวายเครื่องไทยธรรม และภัตตาหารแด่ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก และพระภิกษุสงฆ์ จากนั้น เวลา 09.00 น. จะมีพิธีมอบเข็มเชิดชูเกียรติทองคําและประกาศเกียรติคุณให้แก่พลเมืองดี และพิธีมอบรางวัล “คนดีมหาดไทย”ณ ห้องประชุม 1 ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งกระทรวงมหาดไทยจัดขึ้นเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติแก่“พลเมืองดี” และ “คนดีมหาดไทย” เพื่อเป็นขวัญกําลังใจแก่ผู้ที่ได้รับรางวัลตลอดจนครอบครัว รวมทั้งเป็นการเผยแพร่คุณความดีที่ได้กระทําให้เป็นที่ประจักษ์และแบบอย่างที่ดีแก่สังคมต่อไป โดยรัฐมนตรีว่าการระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีฯ สําหรับในปี 2560 นี้ มีพลเมืองดีที่กระทรวงมหาดไทยพิจารณาเห็นสมควรยกย่องเชิดชูเกียรติ ตามหลักเกณฑ์และระเบียบของ“กองทุนส่งเสริมและสงเคราะห์พลเมืองดี”จํานวน 7 ท่าน และรางวัล “คนดีมหาดไทย” จํานวน 7 ท่านในโอกาสนี้ จึงขอเชิญชวนข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เข้าร่วมในพิธีดังกล่าวโดยพร้อมเพรียงกัน. ครั้งที่ 45/2560
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/2819
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไทยยังคงสถานะ 'เทียร์ 2 ' ในรายงานสถานการณ์ค้ามนุษย์ปี 2563
วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม 2563 ไทยยังคงสถานะ 'เทียร์ 2 ' ในรายงานสถานการณ์ค้ามนุษย์ปี 2563 วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม 2563 Your browser does not support the audio element. ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ กระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกา เผยแพร่รายงานการค้ามนุษย์ ประจําปี 2563 หรือ TIP Report 2020 จัดระดับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวม 187 ประเทศ โดยประเทศไทยยังคงอยู่ในระดับ 2 (Tier 2) ที่มีความพยายามปรับปรุงแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์อย่างมีนัยสําคัญ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ทุกรูปแบบ จนเกิดผลสําเร็จอย่างเป็นรูปธรรมและดําเนินการอย่างจริงจังต่อไป เช่น การดําเนินคดีและบังคับใช้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์อย่างเคร่งครัด /การคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ เป็นต้น “รวมไทยสร้างชาติ” กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไทยยังคงสถานะ 'เทียร์ 2 ' ในรายงานสถานการณ์ค้ามนุษย์ปี 2563 วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม 2563 ไทยยังคงสถานะ 'เทียร์ 2 ' ในรายงานสถานการณ์ค้ามนุษย์ปี 2563 วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม 2563 Your browser does not support the audio element. ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ กระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกา เผยแพร่รายงานการค้ามนุษย์ ประจําปี 2563 หรือ TIP Report 2020 จัดระดับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวม 187 ประเทศ โดยประเทศไทยยังคงอยู่ในระดับ 2 (Tier 2) ที่มีความพยายามปรับปรุงแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์อย่างมีนัยสําคัญ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ทุกรูปแบบ จนเกิดผลสําเร็จอย่างเป็นรูปธรรมและดําเนินการอย่างจริงจังต่อไป เช่น การดําเนินคดีและบังคับใช้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์อย่างเคร่งครัด /การคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ เป็นต้น “รวมไทยสร้างชาติ” กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/33220
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 7 เมษายน 2560
วันศุกร์ที่ 7 เมษายน 2560 ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 7 เมษายน 2560 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 7 เมษายน 2560 เวลา 20.15 น. สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่แก่ปวงชนชาวไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 บนเส้นทางประชาธิปไตย 85 ปี ในประวัติศาสตร์การเมืองของไทย ที่สําคัญเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้รับความเห็นชอบจากการออกเสียง “ประชามติ” ของปวงชนชาวไทย ทั้งนี้ การประกาศใช้รัฐธรรมนูญ เป็นการเริ่มต้นนับหนึ่งของเหตุการณ์อื่น ๆ ที่จะตามมา จนกระทั่งการเลือกตั้งเสร็จสิ้นลง และเมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่แล้ว รัฐบาลนี้ก็จะส่งมอบภารกิจให้รัฐบาลใหม่ อันจะเป็นการเริ่มช่วงเวลา “ระยะสาม” ตาม Roadmap ที่รัฐบาลและ คสช. วางเอาไว้แต่แรกนะครับ ไม่เคยเปลี่ยนแปลง ผมอยากใช้โอกาสนี้ ขอให้ทุกคน ทุกภาคส่วน ได้มีการกระชับความเข้าใจ และประสานความร่วมมือซึ่งกันและกันให้มากยิ่งขึ้น เพื่อจะไปสู่การพัฒนาประเทศ โดยน้อมนํา “ศาสตร์พระราชา” อันได้แก่ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการคิด และปฏิบัติ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ รวมทั้งให้มีการขับเคลื่อนประเทศด้วยกลไก “ประชารัฐ” เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติ และเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่มุ่งให้ประเทศไทย ก้าวเข้าสู่ความ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ผมขอให้ร่วมกันสร้างความสามัคคีปรองดอง สร้างบรรยากาศที่สงบ และสันติสุข เอื้ออํานวยต่อ “วาระแห่งชาติ” ที่กําลังจะมาถึง ได้แก่ “พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ” พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชด้วยความสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณ และ “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ อย่างสมพระเกียรติ รวมทั้ง การเตรียมการเลือกตั้งให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย บริสุทธิ์และยุติธรรม ซึ่งแต่ละเหตุการณ์สําคัญเหล่านั้น ก็จะดํารงไปตามครรลองที่เหมาะสม ไม่สมควรที่ผู้ใดจะทําให้เสียบรรยากาศ เสียความรู้สึก เสียความตั้งใจของประชาชนชาวไทย ทั้งประเทศ ในช่วงเวลาประวัติศาสตร์ที่สําคัญของประเทศเรานี้ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดิน และการปฏิรูปประเทศ ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ประสบความสําเร็จ ทั้งนี้ก็ด้วยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยมี “พี่น้องข้าราชการ” เป็นแกนกลางของการทํางาน ผมขออัญเชิญพระราโชวาทของ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร ที่พระราชทานแก่ข้าราช การพลเรือน เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน ปีนี้ ความว่า “งานราชการนั้น คือ งานของแผ่นดิน มีผลเกี่ยวเนื่องโดยตรงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนทุกคน ดังนั้นข้าราชการผู้ปฏิบัติบริหารงานของแผ่นดิน จึงต้องทําความเข้าใจถึงความสําคัญในหน้าที่และความรับผิดชอบของตนให้ถ่องแท้ แล้วร่วมกันคิด ร่วมกันทํา ร่วมกันแก้ปัญหา ด้วยความอุตสาหะ เสียสละ และด้วยความสุจริตจริงใจ โดยถือประโยชน์ที่จะเกิดจากงานเป็นหลัก งานของแผ่นดินทุกส่วน จักได้ดําเนินก้าวหน้าไปพร้อมกัน และสําเร็จประโยชน์ที่พึงประสงค์ คือ ยังความเจริญมั่นคง ให้เกิดแก่ประเทศชาติ และประชาชนได้แท้จริง และยั่งยืนตลอดไป” ทั้งนี้ หลากหลายความสําเร็จ อันจะเกิดจากการทํางานหนักของข้าราชการ ตามนโยบายรัฐบาลและ คสช. ร่วมกับ “กลไกประชารัฐ” ที่เราได้จัดทําไว้แล้ว ผมขอชื่นชม ขอขอบคุณ ขอให้ทุกคนรักษามาตรฐานการทํางานที่ดี มีธรรมาภิบาล ซื่อสัตย์สุจริต ไว้ตลอดไปนะครับ อาทิเช่น... (1) หนี้ครัวเรือนของไทยนั้น “ลดลง” เป็นครั้งแรกในรอบ 11 ปี ถือว่าเป็นนิมิตรหมายอันดี (2) พี่น้องเกษตรกร และผู้ประกอบอาชีพอิสระ มีกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) รองรับ และสร้างความมั่นคงในชีวิต อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เพราะได้ถูกละเลยไว้ยาวนาน ไม่อยู่ในกองทุนบําเหน็จบํานาญช้าราชการ (กบข.) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (กสล.) หรือกองทุนประกันสังคม เช่นที่ผ่านมา (3) ประชาชนทุกคน จะได้รับความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม ลดความเหลื่อมล้ําในสังคม โดยได้รับการช่วยเหลือจาก “กองทุนยุติธรรม” ในการวางเงินประกัน การปล่อยตัวชั่วคราว การจ้างทนายความ เหล่านี้เป็นต้น (4) สถานการณ์คอร์รัปชั่นในประเทศ ภาพลักษณ์ความโปร่งใส ในสายตานานาชาติ “ดีที่สุด” รอบ 10 ปีและการเรียกรับสินบน “ลดลง” มากกว่าร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับ 15 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเราจะต้องดําเนินการอย่างต่อเนื่อง ให้ลดลงเหลือ 0 ให้จงได้โดยเร็วนะครับ ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่รัฐบาลดําเนินการอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการสร้างธรรมาภิบาลในระบบราชการให้ได้ สร้างความซื่อสัตย์สุจริตให้ได้ สําหรับกรณีที่มีผู้กระทําความผิดอยู่ในเรื่องของการ ทุจิตคอรัปชั่นก็ต้องใช้มาตรการทางกฎหมายดําเนินการต่อไป ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับทั้งผู้ให้ และผู้รับ ด้วย (5) ตลาดคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งผลการดําเนินการมาแล้ว 30 ครั้ง มียอดจําหน่าย และยอดสั่งซื้อสินค้า ผลิตภัณฑ์ กว่า 1,500 ล้านบาท ก็ผมยกให้เป็น “ต้นแบบ” ของ “ตลาดชุมชน 4.0” ที่มีการค้าทั้ง on-line และ e-Commerce หรือเป็น “ตลาดประชารัฐ” ที่เป็นสถานที่สําหรับการประสานความร่วมมือ หรือการจับคู่ การเจรจาทางธุรกิจ ตั้งแต่ผู้ผลิต “ต้นทาง” ไปจนถึงตลาด “ปลายทาง” ตลอดห่วงโซ่คุณภาพ ให้เป็นแหล่งรวมกิจกรรมในชุมชน ที่คงไม่ใช่เป็นเพียงตลาดสด ตลาดค้าปลีกธรรมดาทั่วไปนะครับ เหล่านี้เราต้องพัฒนา สําหรับเดือนเมษายน นี้ ตลาดคลองผดุงกรุงเกษม ขยายผลความสําเร็จจาก “ตลาดวิถีไทยชายแดนใต้ กินดี อยู่ได้ เข้าใจกัน” นะครับ ในเดือนที่ผ่านมาได้รับการตอบรับจากพี่น้องประชาชนเป็นอย่างมาก มียอดการซื้อขายกว่า 70 ล้านบาท ซึ่งก็เป็นเม็ดเงินจากตลาดนี้ที่ส่งตรงไปถึงเกษตรกร และชาวประมงผู้ด้อยโอกาส และผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ วันนี้ “ตลาดมิติใหม่ชายแดนใต้ ก้าวไกลสู่ความเป็นสามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เพื่อให้บริการพี่น้องชาวกรุงเทพฯ ปริมณฑลและนักท่องเที่ยวแล้ว ตลอดช่วงเทศกาลสงกรานต์ และตลอดเดือนเมษายนนี้ ผมขอเชิญชวนผู้ที่สนใจ ทุกท่าน มาช่วยกันอุดหนุนนะครับ สินค้าของพี่น้องชาวใต้ และร่วมกิจกรรม งานบุญ ช่วงสงกรานต์ด้วย และ (6) การออกแบบหลักสูตรและการพัฒนาบุคคลากรของ กศน. ให้เป็น “วิทยากรประจําศูนย์ดิจิทัลชุมชน” กว่า 7,000 ศูนย์ทั่วประเทศ ให้ครบทุกตําบล ซึ่งเป็นตัวอย่างของการทํางาน อย่างบูรณาการกันของภาครัฐ พร้อมกับความร่วมมือของภาคเอกชน ในการขับเคลื่อนงานด้านนโยบายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพื่อช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและส่งเสริมให้ชุมชนเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล ที่น่าชื่นชมอย่างยิ่งก็ คือโครงการนี้ ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการประกอบธุรกิจของชุมชนในท้องถิ่น กว่า 41,000 ร้านค้า สามารถนําสินค้าไปขายในระบบออนไลน์ เป็นการเพิ่มช่องทางการขาย สร้างรายได้เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ช่วยนํารายได้และความมั่งคั่งไปสู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึง ซึ่งในระยะต่อไปนั้น ก็จะมีเป็นการมุ่งสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานรากโดยส่งเสริมเศรษฐกิจผู้ประกอบการในชุมชนท้องถิ่น เพื่อยกระดับผู้ประกอบการในท้องถิ่น อันได้แก่ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร, วิสาหกิจชุมชน,SMEs และStartups ให้ได้รับการส่งเสริมการนําเทคโนโลยีมาใช้ประกอบธุรกิจ เพื่อที่จะสามารถนําสินค้าเข้าขายผ่านสื่อออนไลน์ได้ แล้วยกระดับไปเชื่อมกับตลาดกลาง พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของกระทรวงต่างๆ และสามารถรวมตัวเป็นตลาดออนไลน์ในระดับประเทศได้ พี่น้องประชาชนที่เคารพครับ มีเรื่องหนึ่ง ที่เราไม่เคยทําสําเร็จมาก่อน อาจเป็นเพราะความไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่ตระหนัก หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ก็มีความสําคัญอย่างมาก เพราะกระทบต่อมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม นั่นก็คือ การบริหารจัดการที่ดินของประเทศ และการจัดทําผังเมือง ซึ่งพื้นที่ประเทศไทย 300 กว่า ล้านไร่ แบ่งเป็นที่ดินเอกชน 40% และที่ดินของรัฐอีก 60% ภายใต้การกํากับดูแลของหลากหลายหน่วยงาน ที่มีการจัดทําแผนที่ด้วยมาตรฐาน และสัดส่วนที่ต่างกัน ก่อให้เกิดปัญหาความไม่สอดคล้อง ไม่ชัดเจน ทับซ้อน พิพาทอ้างสิทธิ์ ไปจนถึงการบุกรุก จนเป็นปัญหาเรื้อรังจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ความล้มเหลว” ในการปฏิรูประบบผังเมืองในอดีตที่ผ่านมา ได้สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจมหาศาล เช่น น้ําท่วมใหญ่ทั่วประเทศ ปี 2554 เกิดความเสียหายในพื้นที่ภาคกลางและกรุงเทพฯ หลาย “แสนล้านบาท” เนื่องจากสาเหตุหลัก ๆ หลายประการ ได้แก่ (1) การใช้ที่ดินผิดประเภท เช่น การขายที่นา ซึ่งเป็นที่ลุ่ม น้ําท่วมถึง ในราคาถูก เพื่อการไปสร้างนิคมอุตสาหกรรม (2) การขยายเมือง ขยายกรุงเทพฯ และปริมณฑล ลงพื้นที่ลุ่มน้ําเดิม และขวางทางน้ําธรรมชาติ ขวางการไหลน้ําเหนือ ไม่ให้ลงสู่ทะเล เป็นการฝืนธรรมชาติ และ (3) ถือว่าสําคัญที่สุด คือ ความผิดพลาดในการบริหาร 9 กลุ่มลุ่มน้ํา 25 ลุ่มน้ําใหญ่ 254 ลุ่มน้ําย่อย ประกอบกับ การที่เราไม่มียุทธศาสตร์ในการตั้งถิ่นฐาน, การสร้างเมือง และกระกระจายตัวประชากรในภาพรวมของประเทศทําให้ไม่มี “แผนแม่บท” สําหรับส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ในการที่จะวางแผนของตนเอง ทําให้เกิดการขัดแย้งกัน และไร้ทิศทาง ต่างคนต่างทํา ไม่บูรณาการกันนะครับ ทั้งนี้ก็ด้วยการไม่เข้าใจนะครับ ประชาชนก็หลายส่วน หลายฝ่ายก็ต่อต้าน ทุกคนก็เกรงความเดือดร้อน ในกลุ่มของตนเองด้วยนะครับ อันนี้รัฐบาลก็เห็นใจอยู่แล้ว ซึ่งรัฐบาล และ คสช. ในปัจจุบันนั้น ก็ได้กําหนดแนวทางแก้ไขให้เกิดความยั่งยืนก็คือ (1) เราจําเป็นต้องมีการกําหนดนโยบายการตั้งถิ่นฐานและการผังเมืองโดยมีหน่วยงานระดับชาติ กํากับดูแล และทํางานควบคู่ไปกับสภาพัฒน์ฯ (2) มีกฎหมายเฉพาะ เหมือนเป็น “ธรรมนูญการผังเมือง” ในการกํากับกฎหมายอื่นๆ ไม่ให้หน่วยงานต่าง ๆ ละเมิด หรือปล่อยให้มีการพัฒนาเชิงพื้นที่ ที่ไม่เป็นไปตามหลักการนี้ เช่น การสร้างขยายเมืองในพื้นที่เสี่ยงภัยธรรมชาติ หรือการใช้พื้นที่รับน้ํา ทางธรรมชาติผ่าน ในกิจการอื่น นอกจากการเกษตรกรรม เหล่านี้เป็นต้น และ (3) การสร้างกลไกและกระบวนการบริหารจัดการที่ดินของประเทศ ที่จะต้องเชื่อมโยงกันทุกระดับ เช่น มีการออกแบบมาตรฐาน และเกณฑ์การวางแผนเชิงพื้นที่ของประเทศ ภาค จังหวัด ท้องถิ่น ในทิศทางเดียวกัน และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศด้วย ข้อมูลที่ผมกล่าวมาเบื้องต้นนี้ เป็นผลการศึกษาของ (1) ศาสตราจารย์กิตติคุณ เดชา บุญค้ํา ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ภูมิสถาปัตยกรรม และ (2) คณะกรรมาธิการ การบริหารราชการแผ่นดิน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่ผมเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์อย่างมาก ในการกําหนดไว้เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ทั้งนี้ นอกจากการแก้ปัญหาน้ําท่วม น้ําแล้งแล้ว นโยบายของรัฐบาลนี้ ยังนําหลักการดังกล่าว มาประยุกต์ใช้ ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา การปฏิรูปที่ดินของประเทศ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคม ทุกระบบ รวมทั้ง การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ 10 แห่งทั่วประเทศ และระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก EEC ด้วยนะครับ ทั้งนี้ก็เพื่อให้การสร้างเมืองใหม่ การพัฒนาประเทศ และการกระจายความเจริญต่าง ๆ มีความสมดุล และเป็นมิตรกับธรรมชาติ แล้วกระจายไปสู่เมืองเล็ก ๆ นะครับ ให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น ไม่อย่างนั้นทุกคนก็จะอยู่ในเมืองใหญ่ แออัด ปัญหาจราจร ปัญหาขยะ ปัญหาน้ําเสีย การระบายน้ํามีปัญหาทั้งหมดนะครับ เราต้องกระจายความเจริญเหล่านั้นลงไปให้ทั่วประเทศให้ได้ สําหรับการแก้ไขปัญหาเดิมนั้น อาจจะเป็นเรื่องที่ยาก หากไม่ได้รับความร่วมมือจากพี่น้องประชาชน เช่น รื้อถอน ย้ายที่ ออกจากพื้นที่บุกรุก หรือจัดระเบียบพื้นที่ใหม่ทั้งหมด หากไม่ยินยอม มันก็ทําไม่ได้นะครับ ทุกคนเรียกร้อง แต่ไม่ยินยอมก็ทําไม่ได้ทั้งหมด การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนก็ไม่เกิด เพราะเราปล่อยให้ “สิทธิ์ส่วนบุคคล” อยู่เหนือ “สิทธิส่วนรวม” ใช่หรือไม่ หากพี่น้องประชาชนอยากให้รัฐบาลแก้ไข ก็ต้อแสดงความจํานง ร่วมมือช่วยกันแก้ไข แก้ปัญหา รัฐบาลจึงจะหาวิธีแก้ไข เฉพาะผู้ที่เดือดร้อนได้ วันนี้ ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่เราทุกคนจะต้องร่วมมือกัน นําสิ่งที่ถูกที่ควร เข้าร่องเข้ารอย ทั้ง รัฐบาล คสช. ข้าราชการ ภาคธุรกิจ ประชาชน และทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย ร่วมกันมองอนาคตร่วมกัน ผลประโยชน์ร่วมกัน เพื่อลูกหลานในภายหน้า พี่น้องประชาชนที่รักครับ ในวันพุธที่ผ่านมา ผมได้เดินทางไปประชุมคณะกรรมการนโยบายระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่ท่าอากาศยานอู่ตะเภามา ซึ่งถือเป็นการประชุม “ระดับนโยบาย” ครั้งแรก ภายหลังจากที่คณะทํางานต่าง ๆ ได้เตรียมการ เตรียมข้อมูล สําหรับการตกลงใจในระดับชาติ เพื่อขับเคลื่อนให้ EEC สามารถดําเนินการไปได้อย่างต้องการตามกําหนดนะครับ และเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม ผมเคยพูดถึงการพัฒนา EEC มาหลายครั้ง เนื่องจากจะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ในด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ที่รัฐบาลให้ความสําคัญ และมองว่าจะเป็นการพัฒนาพื้นที่ ที่จะส่งเสริมให้เกิดการสร้างฐานการลงทุน เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมที่สําคัญ ที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจ และจะเอื้อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพิ่มศักยภาพการผลิต ซึ่งก็จะถือเป็นการสร้างอนาคตให้กับประเทศและลูกหลานของเรานั่นเอง นอกจากการพัฒนา EEC แล้ว เราจะต้องช่วยกันสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่โดยตรงทําให้เกิดการจ้างงาน การพัฒนาศักยภาพคนในพื้นที่และชุมชนเป็นการเตรียมการอนาคต ให้กับคนทั้งประเทศ อาจจะ ยังประโยชน์ให้กับภูมิภาคอื่น ๆ ประการแรก พื้นที่นี้ ถือเป็นระเบียงเศรษฐกิจทางฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ ที่จะช่วยลดความแออัดในเมืองกรุง และเมื่อกรุงเทพฯ ผนึกรวมกับ EEC แล้ว พื้นที่นี้จะกลายเป็นมหานครที่น่าอยู่อย่างเต็มภาคภูมิ ประการที่สอง EEC จะเป็นพื้นที่ที่เชื่อมโยงภาคอีสานตอนบนและตอนล่างมาสู่อ่าวไทย ด้วยการขนส่ง ทั้งทางรถไฟและทางถนนมายังท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือสัตหีบ และท่าเรือมาบตาพุด ซึ่งถือเป็นการรวมศูนย์การผลิตของประเทศเชื่อมไว้ด้วยกัน อีกทั้งการที่มีสนามบินอู่ตะเภา และเชื่อมต่อกับรถไฟความเร็วสูง ก็จะช่วยสนับสนุนการท่องเที่ยวในภาคตะวันออก และอื่น ๆ ของไทยอีกด้วย ประการสุดท้ายการพัฒนาพื้นที่นี้ ถือเป็นการเชื่อมโยง 3 จังหวัด EEC เข้ากับการพัฒนาจังหวัดอื่นในภาคตะวันออก (ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี ตราด) และอื่นๆ โดยเฉพาะเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่ตราด และสระแก้ว รวมทั้ง การขนส่งสินค้า โดยเฉพาะผลไม้ ผ่านสนามบินอู่ตะเภา ที่จะช่วยลดต้นทุนการขนส่งลง และ ช่วยให้ผลผลิตมีความสดใหม่ สามารถกระจายความเจริญ นําความได้เปรียบของพื้นที่ต่างๆ มาใช้อย่างเหมาะสม ด้วย การประชุมครั้งนี้นั้น ให้ความสําคัญกับการยกระดับสนามบินอู่ตะเภาเดิม ให้เป็น “เมืองการบิน ภาคตะวันออก” ที่จะมี 2 ทางวิ่ง และคาดว่าจะรองรับผู้โดยสาร“เพิ่มขึ้น 2 เท่า ทุกๆ 5 ปี” จาก 15 ล้านคน เป็น 30 และก็ 60 ล้านคน ในอีก 15 ปีข้างหน้า เพื่อจะผ่อนบรรเทาความคับคั่งของสนามบินดอนเมือง และสุวรรณภูมิลง ขยายความสามารถในการให้บริการทาง การบินของประเทศ รวมทั้ง เพื่อรองรับการท่องเที่ยว ที่เป็นแหล่งรายได้สําคัญ ให้กับเศรษฐกิจไทย และ จะกลายเป็นศูนย์กลางการพัฒนาใหม่ ของประเทศ ที่จะเชื่อมโยงกับ CLMV อาเซียน และเอเชีย นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบินอีก ได้แก่ ศูนย์ซ่อมเครื่องบินล้ํายุค, อี-คอมเมอร์ส, คลังสินค้า, อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอากาศยาน, ศูนย์ธุรกิจการค้า และศูนย์ฝึกอบรมบุคคลากร ด้านการบินและแรงงานฝีมือ สําหรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งจะทําให้ประเทศไทย เพิ่มความสําคัญในภูมิภาคในฐานะศูนย์กลางทางการบิน อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งเมื่อสายการบินต่างๆ สามารถให้ประเทศไทย เป็นทั้งจุดแวะพัก เพื่อเดินทางต่อไปยังประเทศในภูมิภาคแล้ว ยังสามารถเป็นศูนย์ซ่อมบํารุงได้อีกด้วย ก็จะช่วยสร้างรายได้ให้ประเทศ และ ยกระดับบทบาท รวมถึงความสําคัญของไทยในภูมิภาคได้ยิ่งขึ้น ด้วย เพื่อเติมเต็มนโยบายคลัสเตอร์การบินของรัฐบาลดังกล่าว คณะกรรมการนโยบายฯ ได้เห็นชอบ ให้มีรถไฟความเร็วสูง สายตะวันออก เชื่อมทั้ง 3 สนามบินหลักของไทย แบบไร้รอยต่อ โดยผู้โดยสารไม่ต้องเปลี่ยนสถานี ไม่ต้องเปลี่ยนขบวนรถ และใช้เวลาในการเดินทาง จากกรุงเทพฯ ถึงสนามบินอู่ตะเภา ไม่เกิน 1 ชม. ซึ่งจะถือเป็นการเชื่อมโยงพื้นที่ได้ ในหลายมิติ เพื่อจะรองรับการขนส่ง ทั้งคนและสิ่งของ ได้อย่างครบถ้วน สมบูรณ์ สนามบินอู่ตะเภา จึงถือเป็นโครงการเปรียบเสมือน “หัวหอก” สําคัญ ภายใต้การดําเนินนโยบายเชิงรุกไปสู่อนาคตของประเทศ ที่ชัดเจน และเป็นรูปธรรม ที่ผ่านมา ได้มีความก้าวหน้าในการเร่งรัด และ ผลักดัน EEC ไปแล้วมาก ซึ่งจะเห็นได้ว่า (1) การร่วมทุนกับเอกชนสําหรับโครงการสําคัญ ใน EEC นั้นรวดเร็วขึ้น สามารถดําเนินการให้แล้วเสร็จได้ ภายใน 8-10 เดือน (จากเดิม 14 เดือน) (2) การมีเขตปลอดอากร และปลอดเอกสาร “ระดับนานาชาติ” ตาม พ.ร.บ. ศุลกากรใหม่ ซึ่งจะทําให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว เป็นธรรมเทียบกับเขตปลอดอากรชั้นนํา ทั่วโลก (3) การชักจูงผู้ลงทุนรายสําคัญ ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ตามนโยบายของรัฐบาล ทั้งโครงการไบโออีโคโนมี, รถยนต์ไฟฟ้า, หุ่นยนต์, ศูนย์การแพทย์ ที่มีผู้สนใจ ทั้งไทยและต่างประเทศ และ อุตสาหกรรมดิจิทัล ซึ่งบริษัทลาซาดา ของอาลีบาบา กําลังอยู่ในระหว่างการจัดทําข้อเสนอ เพื่อจัดตั้ง “สวนการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การสร้างความยั่งยืน ให้กับการพัฒนานี้รัฐบาลมองว่า เราต้องมีการพัฒนา “เขตนวัตกรรม (EECi)” และ “เขตนวัตกรรมดิจิทัล (EECd)” ภายในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกนี้ ด้วย ประกอบไปด้วย ศูนย์วิจัยและพัฒนาระดับโลกเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมไฮเทคเฉพาะด้าน รวมทั้ง ศูนย์ฝึกอบรม และสิ่งอํานวยความสะดวก ระดับสากล เป็นต้น ทั้งนี้ รัฐบาลมุ่งหวังที่จะสร้าง “สถานที่บ่มเพาะ”การเรียนรู้ และ การสะสมเทคโนโลยีชั้นนําของนักวิชาการไทย และเยาวชนไทย ที่จะช่วยตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ของประเทศ ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก และเทคโนโลยี เราจะต้อง “ยืนบนลําแข็งตัวเอง” ให้ได้ ด้วยนวัตกรรมของคนไทย โดยคนไทย เพื่อคนไทย ทั้งนี้ EEC และการพัฒนา 10 เขตเศรษฐกิจพิเศษ “ทั่วประเทศ” ต้องพิจารณา ถึงเรื่องการใช้พื้นที่ และ การวางผังเมือง เป็นเรื่องสําคัญ ซึ่งผมได้ย้ําให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ดูแลเรื่องผลกระทบ - ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น และ พร้อมรับฟังความเห็น - ปัญหาจากพี่น้องประชาชนในพื้นที่เป็นสําคัญ และ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อหาทางป้องกัน - เยียวยา อย่างรอบคอบ ขอให้ “ทุกคน” ได้เข้าใจ และให้ความร่วมมือ มองประโยชน์ส่วนรวม มองผลได้ในระยะยาวให้กับลูกหลานของท่านในอนาคต อีกเรื่อง ที่บางท่านเคยให้ความคิดเห็นว่าทําไมภาครัฐต้องให้ความสําคัญกับการลงทุนเพื่อพัฒนา EEC หรือการพัฒนาประเทศ ให้เป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาคทําไมไม่นํางบประมาณเหล่านี้ทุ่มไปลงทุนด้านอื่นๆ เช่น สร้างโรงพยาบาล หรือ ช่วยเหลือเกษตรกรให้มากยิ่งขึ้น ผมขอเรียนว่า อยากจะทําความเข้าใจว่า ในการทํางบประมาณของประเทศนั้น รัฐบาลต้องคํานึงถึง การให้น้ําหนักการใช้งบประมาณ อย่างระมัดระวัง ต้องดูแลให้การใช้งบประมาณนั้นเกิดความสมดุลในการพัฒนาประเทศ ในทุกภาคส่วน ต้องนําไปสร้างประโยชน์ให้ประเทศ และ ช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ไม่ใช่แค่เพียงระยะสั้น แต่ต้องรวมถึง การที่จะให้ทุกคนสามารถพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว มีรายได้มั่นคง และยั่งยืนการสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมหลัก จะดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศ ซึ่งไทยจะได้รับประโยชน์เรื่องการจ้างงาน และการรับเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต ในระยะยาว การเป็นศูนย์กลางทางการบิน ก็จะส่งเสริมการท่องเที่ยว มีเที่ยวบินมาไทยมากขึ้น สะดวกขึ้น ช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ ในการเข้ามาใช้สนามบิน ซึ่งรายได้ของประเทศต้องมาจากหลาย ๆ ทาง ในเรื่องภาคเกษตร หรือด้านสาธารณสุข ที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ําผมขอรับรองว่า ไม่เคยให้ความสําคัญเหล่าน้อยลงไป แต่รัฐบาลกําลังสร้างสมดุล เพราะการดูแลคนทั้งประเทศ นับวันรายจ่ายยิ่งมากขึ้น หากไม่มีการลงทุนเพื่ออนาคตไว้เลย วันข้างหน้า จะเอาเงินที่ไหนมาจับจ่ายใช้สอย สร้างสวัสดิการให้พี่น้องประชาชน ได้อีกต่อไป วันนี้ระบบสาธารณสุข การรักษา พยาบาล การปรับปรุงสถานพยาบาล และการจัดหาเครื่องมืออันทันสมัยต้องใช้เงินเพิ่มเติมอีกเป็นจํานวนมาก ทุกครัวเรือนเอง ก็ต้องช่วยกันทํา “บัญชีครัวเรือน” ด้วยนะครับ เพื่อสํารวจรายรับ - รายจ่ายในปัจจุบัน และ วางแผนในอนาคต ลดรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือย ลดหนี้นอกระบบหรือหนี้อื่น ๆ ก็ตาม มองหารายได้เสริม เพื่อจะรองรับภาระในวันข้างหน้านี้อีก ด้วยครับ พี่น้องประชาชนครับ เมื่อท่านอยู่ในบ้าน พ่อแม่พี่น้องก็จะดูแลซึ่งกันและกัน เมื่อท่านออกนอกบ้านรัฐบาลจะต้องดูแลสวัสดิภาพ และความปลอดภัย ให้กับพี่น้องประชาชน ทุกคน ดังนั้น รัฐบาลจึงได้ผลักดันนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” (UCEP) โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ภายใน 72 ชั่วโมง หรือ จนพ้นภาวะวิกฤต เพื่อคุ้มครองสิทธิในการเข้าถึงบริการ อย่างปลอดภัย โดยไม่มีเงื่อนไข ในการเรียกเก็บค่ารักษา และ สถานพยาบาลคู่สัญญา พี่น้องประชาชนสามารถสอบถามข้อมูล หรือ แจ้งเรื่องฉุกเฉินปรึกษา เพื่อขอใช้สิทธิ์ได้ที่สายด่วน 1669 นะครับ สําหรับ มาตรการเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนนที่ผม ในฐานะ หัวหน้า คสช. ได้ออกคําสั่ง ตามมาตรา 44 และ เป็นประเด็นในสังคมอยู่ในเวลานี้ นั้นก็เป็นเพียงการเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย ที่มีอยู่เดิมโดยมุ่งหวังที่จะลดอุบัติเหตุ ลดความเศร้าโศกจากการสูญเสีย และ ลดเรื่องราวสะเทือนใจ ในห้วงเวลาแห่งความสุข จากการเสนอข่าว ที่คอยแต่จะนับตัวเลขอุบัติเหตุ คนเจ็บ คนตาย แต่ไม่เตือนให้ทุกคนเคารพกฎหมาย สร้างความตระหนักรู้ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เพราะไม่มีอะไรดีไปกว่า การแก้ที่ต้นเหตุ คือการป้องกันตนเอง การรับผิดชอบต่อผู้อื่น ผู้ร่วมทางและการมีจิตสํานึก จิตสาธารณะ ฯลฯ หากไม่ทําแบบนี้ เราจะมีความสุขได้อย่างไรกัน ครับ ต้องช่วยกัน ทุกคนทราบดีว่า ที่ผ่านมา ทุกเทศกาลวันหยุดยาว เราจะได้พบเห็นอุบัติเหตุบนท้องถนน เป็นจํานวนมาก หรือแม้กระทั่งในเวลาปกติก็ตาม สร้างความเศร้าโศกเสียใจแก่ญาติ พ่อแม่ พี่น้อง ลูกหลาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุบัติเหตุใหญ่ๆ ที่ต้องมีคนเจ็บคนตายจํานวนมาก ไม่ว่าจะรถบัส - รถตู้ - รถกระบะที่มีคนนั่งท้าย พวกเมาแล้วขับ สร้างความเดือดร้อนให้กับคนอื่นพวกเจ็บหรือเสียชีวิต เพราะไม่คาดเข็มขัดนิรภัย พวกขับรถเร็วเกินไป คึกคะนอง และอีกมากมาย ทําไมเราต้องปล่อยให้เหตุการณ์แบบนั้น เกิดขึ้นซ้ําแล้ว ซ้ําเล่า ผมเข้าใจดี พี่น้องประชาชนจะต้องเดินทางกลับภูมิลําเนา หรือไปเที่ยวตามที่ต่าง ๆ รวมถึง การฉลองเทศกาลสงกรานต์ จํานวนมากที่เดินทางโดยรถไฟ รถบัสโดยสาร รถตู้ และ จํานวนมากที่เดินทางด้วยรถส่วนตัว รถปิคอัพ นั่งท้ายบ้าง ไม่นั่งท้ายบ้างซึ่งเราคงจะให้ไปนั่งรถทัวร์ หรือรถโดยสารทั้งหมดคงเป็นไปไม่ได้ในเวลานี้ เพราะว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นแล้วก็วันนี้ประชาชนยังใช้รถปิกอัพในการสัญจรไปมาเป็นจํานวนมาก และบ้างครั้งไปรถโดยสารตั๋วก็เต็ม รอนานหาไม่ได้ ก็ไม่ได้กลับบ้าน เวลาก็มีน้อย จริง ๆ แล้ว ถ้าทุกคนเคารพกฎหมาย กฎจราจร ซึ่งมีบังคับใช้ตามปกติอยู่แล้วการบาดเจ็บสูญเสีย ก็จะไม่เกิดขึ้น ไม่ต้องทํากฎหมายอะไรเพิ่มขึ้นอีกแล้ว ไม่ว่าจะรถอะไร หากทุกคนระมัดระวัง คิดถึงผู้อื่นจะรู้ได้เองว่า ควรจะป้องกันได้อย่างไรอย่าหวังพึ่งกฎหมายอย่างเดียว เจ้าหน้าที่ทุกคนทํางานหนักอยู่ เสียสละอยู่แล้ว ไม่เคยได้หยุดในวันนักขัตฤกษ์ต่างๆเลย ต้องค่อยดูแลประชาชนอยู่ตลอดเวลา แล้วท้ายสุดก็ถูกตําหนิว่าทําไมมีการสูญเสียบาดเจ็บมากขึ้นทุกปี ๆ ทั้งนี้ต้องช่วยกันนะครับ รัฐบาล เจ้าหน้าที่ไม่สามารถดูแลได้ทั้งหมด ถ้าทุกคนได้ช่วยกันเคารพกฎหมายบ้างตามที่สามารถทําได้ให้มากที่สุดเราก็จะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันได้ด้วยความเข้าอกเข้าใจ ประชาชนผมเข้าใจ ว่าถ้าเราบังคับใช้กฎหมายกันอย่างเต็มที่อย่างที่ไม่เคยใช้มาก่อนก็อาจจะสร้างความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชนมากเกินไปเจ้าหน้าที่ก็จะอะลุ่มอล่วยให้ ในบางส่วนดังที่ทางตํารวจได้ชี้แจงไปแล้ว เช่น...เพื่อ “สร้างวินัยการจราจร” ที่ถูกต้อง ผู้ขับขี่และผู้โดยสารที่นั่งเบาะหน้า จะต้องคาดเข็มขัดนิรภัยตามกฎหมาย แต่จะรวมผู้ที่นั่งเบาะหลังที่ยังไม่มีเข็มขัดนิรภัย จะเตือนไว้ก่อน ส่วนรถโดยสารสาธารณะ รถแท็กซี่ รถตู้-รถบัส ต้องคาดเข็มขัด ทุกที่นั่ง และรถกระบะอนุโลมให้นั่งท้ายได้แต่ห้ามนั่งบนขอบกระบะ ซึ่งกฎหมายเหล่านี้ มีอยู่แล้วทุกตัวในอดีต แต่บังคับใช้ไม่ได้ถูกละเลยมาเป็นเวลานาน ก็ค่อยๆ แก้ไขกัน ค่อยๆปฏิบัติกันนะครับ รัฐบาลเห็นใจทุกคนจริงๆนะครับ ไม่ได้ต้องการจะมุ่งหวังบังคับ ละเมิดสิทธิทําให้คนจนลําบาก คนรวยไม่มีปัญหา เหล่านี้เป็นสาทะกรรมที่สร้างความไม่ร่วมมือให้เกิดขึ้นทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นก็ขอให้ไม่ว่าจะเป็นสื่อ โซเชียลมีเดียหรือประชาชนที่ยังไม่เข้าใจลดระดับลงไปบ้าง ไม่มีอะไรที่จะได้มาเปล่าๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งชีวิต ทรัพย์สิน โดยเฉพาะเมื่อที่เสียไปแล้วยากที่จะกลับคืนมา ก็ลองนําไปคิดเอา สิ่งที่ผมขอเน้นย้ํา ก็คือ “ผู้ขับขี่” ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของอุบัติเหตุ "ทั้งปวง"ต้องไม่ดื่มสุรา ไม่ประมาท ไม่โทร ไม่แชท พักผ่อนให้เพียงพอ ใช้ความเร็วตามกฎหมายกําหนด และ รักษาวินัยจราจร “ผู้โดยสาร” ควรป้องกันตัวเองด้วยการคาดเข็มขัดนิรภัย “ทุกคน” “รถทุกคันบนถนน” ทั้งรถจักรยานยนต์, รถยนต์ส่วนบุคคล และรถโดยสารสาธารณะ ทุกประเภท ต้องตรวจสภาพให้พร้อม ก่อนออกเดินทาง ทั้งนี้ “ทุกคน” บนถนน มีส่วนรับผิดชอบในความปลอดภัยซึ่งกันและกันนะครับมอเตอร์ไซค์ผมก็เป็นห่วงนะครับ การสูญเสียตามสถิติทุกปีหรือตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้น การสูญเสียจะเกิดจากรถมอเตอร์ไซค์ เป็นส่วนมากนะครับ กับรถตู้ รถโดยสารทํานองนี้นะครับ หลังสงกรานต์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้มีการหารือกันอีกครั้ง เพื่อพิจารณาความเหมาะสม รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทุกภาคส่วน ว่าจะปรับมาตรการอย่างไร ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง จะมีห้วงเวลาอย่างไรให้ประชาชนได้มีโอกาสปรับตัว ปรับวิถีการเดินทางบนท้องถนน ซึ่งรัฐบาลจะเร่งรณรงค์สร้างความเข้าใจ อย่างต่อเนื่องต่อไป ผมขอให้ทุกคนเดินทางไปกลับโดยสวัสดิภาพ ใช้ความระมัดระวัง มีสติ คิดถึงคนที่อยู่ที่บ้าน และมีความสุขในเทศกาลสงกรานต์ทุกคน รวมทั้ง ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ทั้งพลเรือน ตํารวจ ทหาร และอาสา สมัครที่เสียสละความสุขส่วนตน และอุทิศเวลาทํางานเพื่อส่วนรวม รวมทั้งครอบครัวของเจ้าหน้าที่ทุกท่านด้วย อย่าน้อยใจ อย่าเสียใจเราจะต้องสร้างความเข้าใจไปเรื่อยๆเพราะเราก็คือคนไทยด้วยกันทั้งสิ้น แต่กฎหมายก็พยายามทําให้ทุกคนอยู่ในกรอบกฎหมายมากที่สุด เรื่องแท็กซี่ รถขนส่งสาธารณะ ก็ควรจะต้องเร่งปรับปรุงตัวเองด้วยนะครับ มีปัญหาเกิดขึ้นมากมายกับผู้รับบริการ ขอให้ทําด้วยใจ ด้วยหน้าที่ ด้วยอาชีพอันสุจริตของท่านอย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีความรับผิดชอบ และมีน้ําใจต่อกัน สุดท้ายนี้ เนื่องจากวันที่ 13 เมษายนของทุกปี เป็น “วันสงกรานต์” และ “วันผู้สูงอายุแห่งชาติ” ส่วนวันที่ 14 เมษายน เป็น “วันครอบครัว” ผมอยากให้โอกาสที่พี่น้องประชาชนจะได้รวมญาติ รวมครอบครัว ทําบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบุพการี รดน้ําดําหัว ขอพรผู้เฒ่า - ผู้แก่เพื่อเสริมสร้างความเป็นสิริมงคล และเพื่อความอบอุ่น - ความสุขร่วมกันของครอบครัว ตามประเพณีและวัฒนธรรมอันดีของไทย สําหรับการละเล่นสงกรานต์นั้น ก็ขอให้พิจารณาความเหมาะสม ไม่คะนอง ไม่อานาจาร และช่วยกันประหยัดน้ําด้วยนะครับ วันที่ 7 เมษายน เป็นวันที่องค์การอนามัยโลก รณรงค์ให้ชาวโลกเห็นความสําคัญของ “โรคซึมเศร้า” ซึ่งเป็น “ภัยเงียบ” ที่คุกคามสุขภาพประชาชนทั่วโลก มากกว่า 300 ล้านคนเป็นโรคซึมเศร้า และเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย สําหรับประเทศไทยร้อยละ 3 ของประชากร เป็นโรคนี้โดยอาจไม่รู้ตัว และคนรอบข้างขาดความตระหนักรู้ หรือไม่เข้าใจ แต่โรคนี้ ป้องกันได้ รักษาให้หายได้ เพียงเราทุกคน “ดูแลซึ่งกันและกัน” เราจะได้ไม่สูญเสียคนที่เรารัก และในช่วงที่อากาศร้อน เดือนเมษายนนี้ ผมอยากให้ทุกคน “ใจเย็น ใช้สติ และรู้จักการให้อภัยกัน” การพบปะพูดคุยกันในครอบครัวในสังคมจะช่วยลดภาวะเหล่านี้ได้ ด้วยการพุดคุยกันด้วยมิตรไมตรี มีน้ําใจที่หยิบยื่นให้แก่กันจะทําให้พบทางออกที่ถูกต้องที่ควรได้เสมอ ขอบคุณครับ ขอให้ “ทุกคน” มีความสุข ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ และเทศกาลสงกรานต์ ขอให้ทุกคนขับขี่รถ โดยไม่ประมาท มีน้ําใจรักษาวินัยจราจร รัฐบาลต้องขอโทษที่ทําให้เกิดความไม่สบายใจของพี่น้องประชาชนในการใช้รถใช้ถนน แต่ทั้งนี้ก็ด้วยความห่วงใยจากใจพวกเราทุกคนนะครับ ขอให้ทุกคนมีสวัสดิภาพปลอดภัยจากการเดินทางไม่ว่าจะไปทําอะไรก็ตามนั้นขอให้มีความสุขทั้งครอบครัวและคนอื่นด้วย สวัสดีครับ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 7 เมษายน 2560 วันศุกร์ที่ 7 เมษายน 2560 ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 7 เมษายน 2560 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 7 เมษายน 2560 เวลา 20.15 น. สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่แก่ปวงชนชาวไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 บนเส้นทางประชาธิปไตย 85 ปี ในประวัติศาสตร์การเมืองของไทย ที่สําคัญเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้รับความเห็นชอบจากการออกเสียง “ประชามติ” ของปวงชนชาวไทย ทั้งนี้ การประกาศใช้รัฐธรรมนูญ เป็นการเริ่มต้นนับหนึ่งของเหตุการณ์อื่น ๆ ที่จะตามมา จนกระทั่งการเลือกตั้งเสร็จสิ้นลง และเมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่แล้ว รัฐบาลนี้ก็จะส่งมอบภารกิจให้รัฐบาลใหม่ อันจะเป็นการเริ่มช่วงเวลา “ระยะสาม” ตาม Roadmap ที่รัฐบาลและ คสช. วางเอาไว้แต่แรกนะครับ ไม่เคยเปลี่ยนแปลง ผมอยากใช้โอกาสนี้ ขอให้ทุกคน ทุกภาคส่วน ได้มีการกระชับความเข้าใจ และประสานความร่วมมือซึ่งกันและกันให้มากยิ่งขึ้น เพื่อจะไปสู่การพัฒนาประเทศ โดยน้อมนํา “ศาสตร์พระราชา” อันได้แก่ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการคิด และปฏิบัติ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ รวมทั้งให้มีการขับเคลื่อนประเทศด้วยกลไก “ประชารัฐ” เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติ และเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่มุ่งให้ประเทศไทย ก้าวเข้าสู่ความ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ผมขอให้ร่วมกันสร้างความสามัคคีปรองดอง สร้างบรรยากาศที่สงบ และสันติสุข เอื้ออํานวยต่อ “วาระแห่งชาติ” ที่กําลังจะมาถึง ได้แก่ “พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ” พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชด้วยความสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณ และ “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ อย่างสมพระเกียรติ รวมทั้ง การเตรียมการเลือกตั้งให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย บริสุทธิ์และยุติธรรม ซึ่งแต่ละเหตุการณ์สําคัญเหล่านั้น ก็จะดํารงไปตามครรลองที่เหมาะสม ไม่สมควรที่ผู้ใดจะทําให้เสียบรรยากาศ เสียความรู้สึก เสียความตั้งใจของประชาชนชาวไทย ทั้งประเทศ ในช่วงเวลาประวัติศาสตร์ที่สําคัญของประเทศเรานี้ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดิน และการปฏิรูปประเทศ ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ประสบความสําเร็จ ทั้งนี้ก็ด้วยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยมี “พี่น้องข้าราชการ” เป็นแกนกลางของการทํางาน ผมขออัญเชิญพระราโชวาทของ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร ที่พระราชทานแก่ข้าราช การพลเรือน เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน ปีนี้ ความว่า “งานราชการนั้น คือ งานของแผ่นดิน มีผลเกี่ยวเนื่องโดยตรงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนทุกคน ดังนั้นข้าราชการผู้ปฏิบัติบริหารงานของแผ่นดิน จึงต้องทําความเข้าใจถึงความสําคัญในหน้าที่และความรับผิดชอบของตนให้ถ่องแท้ แล้วร่วมกันคิด ร่วมกันทํา ร่วมกันแก้ปัญหา ด้วยความอุตสาหะ เสียสละ และด้วยความสุจริตจริงใจ โดยถือประโยชน์ที่จะเกิดจากงานเป็นหลัก งานของแผ่นดินทุกส่วน จักได้ดําเนินก้าวหน้าไปพร้อมกัน และสําเร็จประโยชน์ที่พึงประสงค์ คือ ยังความเจริญมั่นคง ให้เกิดแก่ประเทศชาติ และประชาชนได้แท้จริง และยั่งยืนตลอดไป” ทั้งนี้ หลากหลายความสําเร็จ อันจะเกิดจากการทํางานหนักของข้าราชการ ตามนโยบายรัฐบาลและ คสช. ร่วมกับ “กลไกประชารัฐ” ที่เราได้จัดทําไว้แล้ว ผมขอชื่นชม ขอขอบคุณ ขอให้ทุกคนรักษามาตรฐานการทํางานที่ดี มีธรรมาภิบาล ซื่อสัตย์สุจริต ไว้ตลอดไปนะครับ อาทิเช่น... (1) หนี้ครัวเรือนของไทยนั้น “ลดลง” เป็นครั้งแรกในรอบ 11 ปี ถือว่าเป็นนิมิตรหมายอันดี (2) พี่น้องเกษตรกร และผู้ประกอบอาชีพอิสระ มีกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) รองรับ และสร้างความมั่นคงในชีวิต อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เพราะได้ถูกละเลยไว้ยาวนาน ไม่อยู่ในกองทุนบําเหน็จบํานาญช้าราชการ (กบข.) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (กสล.) หรือกองทุนประกันสังคม เช่นที่ผ่านมา (3) ประชาชนทุกคน จะได้รับความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม ลดความเหลื่อมล้ําในสังคม โดยได้รับการช่วยเหลือจาก “กองทุนยุติธรรม” ในการวางเงินประกัน การปล่อยตัวชั่วคราว การจ้างทนายความ เหล่านี้เป็นต้น (4) สถานการณ์คอร์รัปชั่นในประเทศ ภาพลักษณ์ความโปร่งใส ในสายตานานาชาติ “ดีที่สุด” รอบ 10 ปีและการเรียกรับสินบน “ลดลง” มากกว่าร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับ 15 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเราจะต้องดําเนินการอย่างต่อเนื่อง ให้ลดลงเหลือ 0 ให้จงได้โดยเร็วนะครับ ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่รัฐบาลดําเนินการอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการสร้างธรรมาภิบาลในระบบราชการให้ได้ สร้างความซื่อสัตย์สุจริตให้ได้ สําหรับกรณีที่มีผู้กระทําความผิดอยู่ในเรื่องของการ ทุจิตคอรัปชั่นก็ต้องใช้มาตรการทางกฎหมายดําเนินการต่อไป ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับทั้งผู้ให้ และผู้รับ ด้วย (5) ตลาดคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งผลการดําเนินการมาแล้ว 30 ครั้ง มียอดจําหน่าย และยอดสั่งซื้อสินค้า ผลิตภัณฑ์ กว่า 1,500 ล้านบาท ก็ผมยกให้เป็น “ต้นแบบ” ของ “ตลาดชุมชน 4.0” ที่มีการค้าทั้ง on-line และ e-Commerce หรือเป็น “ตลาดประชารัฐ” ที่เป็นสถานที่สําหรับการประสานความร่วมมือ หรือการจับคู่ การเจรจาทางธุรกิจ ตั้งแต่ผู้ผลิต “ต้นทาง” ไปจนถึงตลาด “ปลายทาง” ตลอดห่วงโซ่คุณภาพ ให้เป็นแหล่งรวมกิจกรรมในชุมชน ที่คงไม่ใช่เป็นเพียงตลาดสด ตลาดค้าปลีกธรรมดาทั่วไปนะครับ เหล่านี้เราต้องพัฒนา สําหรับเดือนเมษายน นี้ ตลาดคลองผดุงกรุงเกษม ขยายผลความสําเร็จจาก “ตลาดวิถีไทยชายแดนใต้ กินดี อยู่ได้ เข้าใจกัน” นะครับ ในเดือนที่ผ่านมาได้รับการตอบรับจากพี่น้องประชาชนเป็นอย่างมาก มียอดการซื้อขายกว่า 70 ล้านบาท ซึ่งก็เป็นเม็ดเงินจากตลาดนี้ที่ส่งตรงไปถึงเกษตรกร และชาวประมงผู้ด้อยโอกาส และผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ วันนี้ “ตลาดมิติใหม่ชายแดนใต้ ก้าวไกลสู่ความเป็นสามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เพื่อให้บริการพี่น้องชาวกรุงเทพฯ ปริมณฑลและนักท่องเที่ยวแล้ว ตลอดช่วงเทศกาลสงกรานต์ และตลอดเดือนเมษายนนี้ ผมขอเชิญชวนผู้ที่สนใจ ทุกท่าน มาช่วยกันอุดหนุนนะครับ สินค้าของพี่น้องชาวใต้ และร่วมกิจกรรม งานบุญ ช่วงสงกรานต์ด้วย และ (6) การออกแบบหลักสูตรและการพัฒนาบุคคลากรของ กศน. ให้เป็น “วิทยากรประจําศูนย์ดิจิทัลชุมชน” กว่า 7,000 ศูนย์ทั่วประเทศ ให้ครบทุกตําบล ซึ่งเป็นตัวอย่างของการทํางาน อย่างบูรณาการกันของภาครัฐ พร้อมกับความร่วมมือของภาคเอกชน ในการขับเคลื่อนงานด้านนโยบายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพื่อช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและส่งเสริมให้ชุมชนเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล ที่น่าชื่นชมอย่างยิ่งก็ คือโครงการนี้ ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการประกอบธุรกิจของชุมชนในท้องถิ่น กว่า 41,000 ร้านค้า สามารถนําสินค้าไปขายในระบบออนไลน์ เป็นการเพิ่มช่องทางการขาย สร้างรายได้เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ช่วยนํารายได้และความมั่งคั่งไปสู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึง ซึ่งในระยะต่อไปนั้น ก็จะมีเป็นการมุ่งสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานรากโดยส่งเสริมเศรษฐกิจผู้ประกอบการในชุมชนท้องถิ่น เพื่อยกระดับผู้ประกอบการในท้องถิ่น อันได้แก่ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร, วิสาหกิจชุมชน,SMEs และStartups ให้ได้รับการส่งเสริมการนําเทคโนโลยีมาใช้ประกอบธุรกิจ เพื่อที่จะสามารถนําสินค้าเข้าขายผ่านสื่อออนไลน์ได้ แล้วยกระดับไปเชื่อมกับตลาดกลาง พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของกระทรวงต่างๆ และสามารถรวมตัวเป็นตลาดออนไลน์ในระดับประเทศได้ พี่น้องประชาชนที่เคารพครับ มีเรื่องหนึ่ง ที่เราไม่เคยทําสําเร็จมาก่อน อาจเป็นเพราะความไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่ตระหนัก หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ก็มีความสําคัญอย่างมาก เพราะกระทบต่อมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม นั่นก็คือ การบริหารจัดการที่ดินของประเทศ และการจัดทําผังเมือง ซึ่งพื้นที่ประเทศไทย 300 กว่า ล้านไร่ แบ่งเป็นที่ดินเอกชน 40% และที่ดินของรัฐอีก 60% ภายใต้การกํากับดูแลของหลากหลายหน่วยงาน ที่มีการจัดทําแผนที่ด้วยมาตรฐาน และสัดส่วนที่ต่างกัน ก่อให้เกิดปัญหาความไม่สอดคล้อง ไม่ชัดเจน ทับซ้อน พิพาทอ้างสิทธิ์ ไปจนถึงการบุกรุก จนเป็นปัญหาเรื้อรังจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ความล้มเหลว” ในการปฏิรูประบบผังเมืองในอดีตที่ผ่านมา ได้สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจมหาศาล เช่น น้ําท่วมใหญ่ทั่วประเทศ ปี 2554 เกิดความเสียหายในพื้นที่ภาคกลางและกรุงเทพฯ หลาย “แสนล้านบาท” เนื่องจากสาเหตุหลัก ๆ หลายประการ ได้แก่ (1) การใช้ที่ดินผิดประเภท เช่น การขายที่นา ซึ่งเป็นที่ลุ่ม น้ําท่วมถึง ในราคาถูก เพื่อการไปสร้างนิคมอุตสาหกรรม (2) การขยายเมือง ขยายกรุงเทพฯ และปริมณฑล ลงพื้นที่ลุ่มน้ําเดิม และขวางทางน้ําธรรมชาติ ขวางการไหลน้ําเหนือ ไม่ให้ลงสู่ทะเล เป็นการฝืนธรรมชาติ และ (3) ถือว่าสําคัญที่สุด คือ ความผิดพลาดในการบริหาร 9 กลุ่มลุ่มน้ํา 25 ลุ่มน้ําใหญ่ 254 ลุ่มน้ําย่อย ประกอบกับ การที่เราไม่มียุทธศาสตร์ในการตั้งถิ่นฐาน, การสร้างเมือง และกระกระจายตัวประชากรในภาพรวมของประเทศทําให้ไม่มี “แผนแม่บท” สําหรับส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ในการที่จะวางแผนของตนเอง ทําให้เกิดการขัดแย้งกัน และไร้ทิศทาง ต่างคนต่างทํา ไม่บูรณาการกันนะครับ ทั้งนี้ก็ด้วยการไม่เข้าใจนะครับ ประชาชนก็หลายส่วน หลายฝ่ายก็ต่อต้าน ทุกคนก็เกรงความเดือดร้อน ในกลุ่มของตนเองด้วยนะครับ อันนี้รัฐบาลก็เห็นใจอยู่แล้ว ซึ่งรัฐบาล และ คสช. ในปัจจุบันนั้น ก็ได้กําหนดแนวทางแก้ไขให้เกิดความยั่งยืนก็คือ (1) เราจําเป็นต้องมีการกําหนดนโยบายการตั้งถิ่นฐานและการผังเมืองโดยมีหน่วยงานระดับชาติ กํากับดูแล และทํางานควบคู่ไปกับสภาพัฒน์ฯ (2) มีกฎหมายเฉพาะ เหมือนเป็น “ธรรมนูญการผังเมือง” ในการกํากับกฎหมายอื่นๆ ไม่ให้หน่วยงานต่าง ๆ ละเมิด หรือปล่อยให้มีการพัฒนาเชิงพื้นที่ ที่ไม่เป็นไปตามหลักการนี้ เช่น การสร้างขยายเมืองในพื้นที่เสี่ยงภัยธรรมชาติ หรือการใช้พื้นที่รับน้ํา ทางธรรมชาติผ่าน ในกิจการอื่น นอกจากการเกษตรกรรม เหล่านี้เป็นต้น และ (3) การสร้างกลไกและกระบวนการบริหารจัดการที่ดินของประเทศ ที่จะต้องเชื่อมโยงกันทุกระดับ เช่น มีการออกแบบมาตรฐาน และเกณฑ์การวางแผนเชิงพื้นที่ของประเทศ ภาค จังหวัด ท้องถิ่น ในทิศทางเดียวกัน และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศด้วย ข้อมูลที่ผมกล่าวมาเบื้องต้นนี้ เป็นผลการศึกษาของ (1) ศาสตราจารย์กิตติคุณ เดชา บุญค้ํา ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ภูมิสถาปัตยกรรม และ (2) คณะกรรมาธิการ การบริหารราชการแผ่นดิน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่ผมเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์อย่างมาก ในการกําหนดไว้เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ทั้งนี้ นอกจากการแก้ปัญหาน้ําท่วม น้ําแล้งแล้ว นโยบายของรัฐบาลนี้ ยังนําหลักการดังกล่าว มาประยุกต์ใช้ ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา การปฏิรูปที่ดินของประเทศ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคม ทุกระบบ รวมทั้ง การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ 10 แห่งทั่วประเทศ และระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก EEC ด้วยนะครับ ทั้งนี้ก็เพื่อให้การสร้างเมืองใหม่ การพัฒนาประเทศ และการกระจายความเจริญต่าง ๆ มีความสมดุล และเป็นมิตรกับธรรมชาติ แล้วกระจายไปสู่เมืองเล็ก ๆ นะครับ ให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น ไม่อย่างนั้นทุกคนก็จะอยู่ในเมืองใหญ่ แออัด ปัญหาจราจร ปัญหาขยะ ปัญหาน้ําเสีย การระบายน้ํามีปัญหาทั้งหมดนะครับ เราต้องกระจายความเจริญเหล่านั้นลงไปให้ทั่วประเทศให้ได้ สําหรับการแก้ไขปัญหาเดิมนั้น อาจจะเป็นเรื่องที่ยาก หากไม่ได้รับความร่วมมือจากพี่น้องประชาชน เช่น รื้อถอน ย้ายที่ ออกจากพื้นที่บุกรุก หรือจัดระเบียบพื้นที่ใหม่ทั้งหมด หากไม่ยินยอม มันก็ทําไม่ได้นะครับ ทุกคนเรียกร้อง แต่ไม่ยินยอมก็ทําไม่ได้ทั้งหมด การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนก็ไม่เกิด เพราะเราปล่อยให้ “สิทธิ์ส่วนบุคคล” อยู่เหนือ “สิทธิส่วนรวม” ใช่หรือไม่ หากพี่น้องประชาชนอยากให้รัฐบาลแก้ไข ก็ต้อแสดงความจํานง ร่วมมือช่วยกันแก้ไข แก้ปัญหา รัฐบาลจึงจะหาวิธีแก้ไข เฉพาะผู้ที่เดือดร้อนได้ วันนี้ ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่เราทุกคนจะต้องร่วมมือกัน นําสิ่งที่ถูกที่ควร เข้าร่องเข้ารอย ทั้ง รัฐบาล คสช. ข้าราชการ ภาคธุรกิจ ประชาชน และทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย ร่วมกันมองอนาคตร่วมกัน ผลประโยชน์ร่วมกัน เพื่อลูกหลานในภายหน้า พี่น้องประชาชนที่รักครับ ในวันพุธที่ผ่านมา ผมได้เดินทางไปประชุมคณะกรรมการนโยบายระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่ท่าอากาศยานอู่ตะเภามา ซึ่งถือเป็นการประชุม “ระดับนโยบาย” ครั้งแรก ภายหลังจากที่คณะทํางานต่าง ๆ ได้เตรียมการ เตรียมข้อมูล สําหรับการตกลงใจในระดับชาติ เพื่อขับเคลื่อนให้ EEC สามารถดําเนินการไปได้อย่างต้องการตามกําหนดนะครับ และเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม ผมเคยพูดถึงการพัฒนา EEC มาหลายครั้ง เนื่องจากจะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ในด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ที่รัฐบาลให้ความสําคัญ และมองว่าจะเป็นการพัฒนาพื้นที่ ที่จะส่งเสริมให้เกิดการสร้างฐานการลงทุน เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมที่สําคัญ ที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจ และจะเอื้อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพิ่มศักยภาพการผลิต ซึ่งก็จะถือเป็นการสร้างอนาคตให้กับประเทศและลูกหลานของเรานั่นเอง นอกจากการพัฒนา EEC แล้ว เราจะต้องช่วยกันสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่โดยตรงทําให้เกิดการจ้างงาน การพัฒนาศักยภาพคนในพื้นที่และชุมชนเป็นการเตรียมการอนาคต ให้กับคนทั้งประเทศ อาจจะ ยังประโยชน์ให้กับภูมิภาคอื่น ๆ ประการแรก พื้นที่นี้ ถือเป็นระเบียงเศรษฐกิจทางฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ ที่จะช่วยลดความแออัดในเมืองกรุง และเมื่อกรุงเทพฯ ผนึกรวมกับ EEC แล้ว พื้นที่นี้จะกลายเป็นมหานครที่น่าอยู่อย่างเต็มภาคภูมิ ประการที่สอง EEC จะเป็นพื้นที่ที่เชื่อมโยงภาคอีสานตอนบนและตอนล่างมาสู่อ่าวไทย ด้วยการขนส่ง ทั้งทางรถไฟและทางถนนมายังท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือสัตหีบ และท่าเรือมาบตาพุด ซึ่งถือเป็นการรวมศูนย์การผลิตของประเทศเชื่อมไว้ด้วยกัน อีกทั้งการที่มีสนามบินอู่ตะเภา และเชื่อมต่อกับรถไฟความเร็วสูง ก็จะช่วยสนับสนุนการท่องเที่ยวในภาคตะวันออก และอื่น ๆ ของไทยอีกด้วย ประการสุดท้ายการพัฒนาพื้นที่นี้ ถือเป็นการเชื่อมโยง 3 จังหวัด EEC เข้ากับการพัฒนาจังหวัดอื่นในภาคตะวันออก (ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี ตราด) และอื่นๆ โดยเฉพาะเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่ตราด และสระแก้ว รวมทั้ง การขนส่งสินค้า โดยเฉพาะผลไม้ ผ่านสนามบินอู่ตะเภา ที่จะช่วยลดต้นทุนการขนส่งลง และ ช่วยให้ผลผลิตมีความสดใหม่ สามารถกระจายความเจริญ นําความได้เปรียบของพื้นที่ต่างๆ มาใช้อย่างเหมาะสม ด้วย การประชุมครั้งนี้นั้น ให้ความสําคัญกับการยกระดับสนามบินอู่ตะเภาเดิม ให้เป็น “เมืองการบิน ภาคตะวันออก” ที่จะมี 2 ทางวิ่ง และคาดว่าจะรองรับผู้โดยสาร“เพิ่มขึ้น 2 เท่า ทุกๆ 5 ปี” จาก 15 ล้านคน เป็น 30 และก็ 60 ล้านคน ในอีก 15 ปีข้างหน้า เพื่อจะผ่อนบรรเทาความคับคั่งของสนามบินดอนเมือง และสุวรรณภูมิลง ขยายความสามารถในการให้บริการทาง การบินของประเทศ รวมทั้ง เพื่อรองรับการท่องเที่ยว ที่เป็นแหล่งรายได้สําคัญ ให้กับเศรษฐกิจไทย และ จะกลายเป็นศูนย์กลางการพัฒนาใหม่ ของประเทศ ที่จะเชื่อมโยงกับ CLMV อาเซียน และเอเชีย นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบินอีก ได้แก่ ศูนย์ซ่อมเครื่องบินล้ํายุค, อี-คอมเมอร์ส, คลังสินค้า, อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอากาศยาน, ศูนย์ธุรกิจการค้า และศูนย์ฝึกอบรมบุคคลากร ด้านการบินและแรงงานฝีมือ สําหรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งจะทําให้ประเทศไทย เพิ่มความสําคัญในภูมิภาคในฐานะศูนย์กลางทางการบิน อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งเมื่อสายการบินต่างๆ สามารถให้ประเทศไทย เป็นทั้งจุดแวะพัก เพื่อเดินทางต่อไปยังประเทศในภูมิภาคแล้ว ยังสามารถเป็นศูนย์ซ่อมบํารุงได้อีกด้วย ก็จะช่วยสร้างรายได้ให้ประเทศ และ ยกระดับบทบาท รวมถึงความสําคัญของไทยในภูมิภาคได้ยิ่งขึ้น ด้วย เพื่อเติมเต็มนโยบายคลัสเตอร์การบินของรัฐบาลดังกล่าว คณะกรรมการนโยบายฯ ได้เห็นชอบ ให้มีรถไฟความเร็วสูง สายตะวันออก เชื่อมทั้ง 3 สนามบินหลักของไทย แบบไร้รอยต่อ โดยผู้โดยสารไม่ต้องเปลี่ยนสถานี ไม่ต้องเปลี่ยนขบวนรถ และใช้เวลาในการเดินทาง จากกรุงเทพฯ ถึงสนามบินอู่ตะเภา ไม่เกิน 1 ชม. ซึ่งจะถือเป็นการเชื่อมโยงพื้นที่ได้ ในหลายมิติ เพื่อจะรองรับการขนส่ง ทั้งคนและสิ่งของ ได้อย่างครบถ้วน สมบูรณ์ สนามบินอู่ตะเภา จึงถือเป็นโครงการเปรียบเสมือน “หัวหอก” สําคัญ ภายใต้การดําเนินนโยบายเชิงรุกไปสู่อนาคตของประเทศ ที่ชัดเจน และเป็นรูปธรรม ที่ผ่านมา ได้มีความก้าวหน้าในการเร่งรัด และ ผลักดัน EEC ไปแล้วมาก ซึ่งจะเห็นได้ว่า (1) การร่วมทุนกับเอกชนสําหรับโครงการสําคัญ ใน EEC นั้นรวดเร็วขึ้น สามารถดําเนินการให้แล้วเสร็จได้ ภายใน 8-10 เดือน (จากเดิม 14 เดือน) (2) การมีเขตปลอดอากร และปลอดเอกสาร “ระดับนานาชาติ” ตาม พ.ร.บ. ศุลกากรใหม่ ซึ่งจะทําให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว เป็นธรรมเทียบกับเขตปลอดอากรชั้นนํา ทั่วโลก (3) การชักจูงผู้ลงทุนรายสําคัญ ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ตามนโยบายของรัฐบาล ทั้งโครงการไบโออีโคโนมี, รถยนต์ไฟฟ้า, หุ่นยนต์, ศูนย์การแพทย์ ที่มีผู้สนใจ ทั้งไทยและต่างประเทศ และ อุตสาหกรรมดิจิทัล ซึ่งบริษัทลาซาดา ของอาลีบาบา กําลังอยู่ในระหว่างการจัดทําข้อเสนอ เพื่อจัดตั้ง “สวนการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การสร้างความยั่งยืน ให้กับการพัฒนานี้รัฐบาลมองว่า เราต้องมีการพัฒนา “เขตนวัตกรรม (EECi)” และ “เขตนวัตกรรมดิจิทัล (EECd)” ภายในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกนี้ ด้วย ประกอบไปด้วย ศูนย์วิจัยและพัฒนาระดับโลกเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมไฮเทคเฉพาะด้าน รวมทั้ง ศูนย์ฝึกอบรม และสิ่งอํานวยความสะดวก ระดับสากล เป็นต้น ทั้งนี้ รัฐบาลมุ่งหวังที่จะสร้าง “สถานที่บ่มเพาะ”การเรียนรู้ และ การสะสมเทคโนโลยีชั้นนําของนักวิชาการไทย และเยาวชนไทย ที่จะช่วยตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ของประเทศ ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก และเทคโนโลยี เราจะต้อง “ยืนบนลําแข็งตัวเอง” ให้ได้ ด้วยนวัตกรรมของคนไทย โดยคนไทย เพื่อคนไทย ทั้งนี้ EEC และการพัฒนา 10 เขตเศรษฐกิจพิเศษ “ทั่วประเทศ” ต้องพิจารณา ถึงเรื่องการใช้พื้นที่ และ การวางผังเมือง เป็นเรื่องสําคัญ ซึ่งผมได้ย้ําให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ดูแลเรื่องผลกระทบ - ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น และ พร้อมรับฟังความเห็น - ปัญหาจากพี่น้องประชาชนในพื้นที่เป็นสําคัญ และ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อหาทางป้องกัน - เยียวยา อย่างรอบคอบ ขอให้ “ทุกคน” ได้เข้าใจ และให้ความร่วมมือ มองประโยชน์ส่วนรวม มองผลได้ในระยะยาวให้กับลูกหลานของท่านในอนาคต อีกเรื่อง ที่บางท่านเคยให้ความคิดเห็นว่าทําไมภาครัฐต้องให้ความสําคัญกับการลงทุนเพื่อพัฒนา EEC หรือการพัฒนาประเทศ ให้เป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาคทําไมไม่นํางบประมาณเหล่านี้ทุ่มไปลงทุนด้านอื่นๆ เช่น สร้างโรงพยาบาล หรือ ช่วยเหลือเกษตรกรให้มากยิ่งขึ้น ผมขอเรียนว่า อยากจะทําความเข้าใจว่า ในการทํางบประมาณของประเทศนั้น รัฐบาลต้องคํานึงถึง การให้น้ําหนักการใช้งบประมาณ อย่างระมัดระวัง ต้องดูแลให้การใช้งบประมาณนั้นเกิดความสมดุลในการพัฒนาประเทศ ในทุกภาคส่วน ต้องนําไปสร้างประโยชน์ให้ประเทศ และ ช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ไม่ใช่แค่เพียงระยะสั้น แต่ต้องรวมถึง การที่จะให้ทุกคนสามารถพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว มีรายได้มั่นคง และยั่งยืนการสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมหลัก จะดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศ ซึ่งไทยจะได้รับประโยชน์เรื่องการจ้างงาน และการรับเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต ในระยะยาว การเป็นศูนย์กลางทางการบิน ก็จะส่งเสริมการท่องเที่ยว มีเที่ยวบินมาไทยมากขึ้น สะดวกขึ้น ช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ ในการเข้ามาใช้สนามบิน ซึ่งรายได้ของประเทศต้องมาจากหลาย ๆ ทาง ในเรื่องภาคเกษตร หรือด้านสาธารณสุข ที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ําผมขอรับรองว่า ไม่เคยให้ความสําคัญเหล่าน้อยลงไป แต่รัฐบาลกําลังสร้างสมดุล เพราะการดูแลคนทั้งประเทศ นับวันรายจ่ายยิ่งมากขึ้น หากไม่มีการลงทุนเพื่ออนาคตไว้เลย วันข้างหน้า จะเอาเงินที่ไหนมาจับจ่ายใช้สอย สร้างสวัสดิการให้พี่น้องประชาชน ได้อีกต่อไป วันนี้ระบบสาธารณสุข การรักษา พยาบาล การปรับปรุงสถานพยาบาล และการจัดหาเครื่องมืออันทันสมัยต้องใช้เงินเพิ่มเติมอีกเป็นจํานวนมาก ทุกครัวเรือนเอง ก็ต้องช่วยกันทํา “บัญชีครัวเรือน” ด้วยนะครับ เพื่อสํารวจรายรับ - รายจ่ายในปัจจุบัน และ วางแผนในอนาคต ลดรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือย ลดหนี้นอกระบบหรือหนี้อื่น ๆ ก็ตาม มองหารายได้เสริม เพื่อจะรองรับภาระในวันข้างหน้านี้อีก ด้วยครับ พี่น้องประชาชนครับ เมื่อท่านอยู่ในบ้าน พ่อแม่พี่น้องก็จะดูแลซึ่งกันและกัน เมื่อท่านออกนอกบ้านรัฐบาลจะต้องดูแลสวัสดิภาพ และความปลอดภัย ให้กับพี่น้องประชาชน ทุกคน ดังนั้น รัฐบาลจึงได้ผลักดันนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” (UCEP) โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ภายใน 72 ชั่วโมง หรือ จนพ้นภาวะวิกฤต เพื่อคุ้มครองสิทธิในการเข้าถึงบริการ อย่างปลอดภัย โดยไม่มีเงื่อนไข ในการเรียกเก็บค่ารักษา และ สถานพยาบาลคู่สัญญา พี่น้องประชาชนสามารถสอบถามข้อมูล หรือ แจ้งเรื่องฉุกเฉินปรึกษา เพื่อขอใช้สิทธิ์ได้ที่สายด่วน 1669 นะครับ สําหรับ มาตรการเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนนที่ผม ในฐานะ หัวหน้า คสช. ได้ออกคําสั่ง ตามมาตรา 44 และ เป็นประเด็นในสังคมอยู่ในเวลานี้ นั้นก็เป็นเพียงการเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย ที่มีอยู่เดิมโดยมุ่งหวังที่จะลดอุบัติเหตุ ลดความเศร้าโศกจากการสูญเสีย และ ลดเรื่องราวสะเทือนใจ ในห้วงเวลาแห่งความสุข จากการเสนอข่าว ที่คอยแต่จะนับตัวเลขอุบัติเหตุ คนเจ็บ คนตาย แต่ไม่เตือนให้ทุกคนเคารพกฎหมาย สร้างความตระหนักรู้ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เพราะไม่มีอะไรดีไปกว่า การแก้ที่ต้นเหตุ คือการป้องกันตนเอง การรับผิดชอบต่อผู้อื่น ผู้ร่วมทางและการมีจิตสํานึก จิตสาธารณะ ฯลฯ หากไม่ทําแบบนี้ เราจะมีความสุขได้อย่างไรกัน ครับ ต้องช่วยกัน ทุกคนทราบดีว่า ที่ผ่านมา ทุกเทศกาลวันหยุดยาว เราจะได้พบเห็นอุบัติเหตุบนท้องถนน เป็นจํานวนมาก หรือแม้กระทั่งในเวลาปกติก็ตาม สร้างความเศร้าโศกเสียใจแก่ญาติ พ่อแม่ พี่น้อง ลูกหลาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุบัติเหตุใหญ่ๆ ที่ต้องมีคนเจ็บคนตายจํานวนมาก ไม่ว่าจะรถบัส - รถตู้ - รถกระบะที่มีคนนั่งท้าย พวกเมาแล้วขับ สร้างความเดือดร้อนให้กับคนอื่นพวกเจ็บหรือเสียชีวิต เพราะไม่คาดเข็มขัดนิรภัย พวกขับรถเร็วเกินไป คึกคะนอง และอีกมากมาย ทําไมเราต้องปล่อยให้เหตุการณ์แบบนั้น เกิดขึ้นซ้ําแล้ว ซ้ําเล่า ผมเข้าใจดี พี่น้องประชาชนจะต้องเดินทางกลับภูมิลําเนา หรือไปเที่ยวตามที่ต่าง ๆ รวมถึง การฉลองเทศกาลสงกรานต์ จํานวนมากที่เดินทางโดยรถไฟ รถบัสโดยสาร รถตู้ และ จํานวนมากที่เดินทางด้วยรถส่วนตัว รถปิคอัพ นั่งท้ายบ้าง ไม่นั่งท้ายบ้างซึ่งเราคงจะให้ไปนั่งรถทัวร์ หรือรถโดยสารทั้งหมดคงเป็นไปไม่ได้ในเวลานี้ เพราะว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นแล้วก็วันนี้ประชาชนยังใช้รถปิกอัพในการสัญจรไปมาเป็นจํานวนมาก และบ้างครั้งไปรถโดยสารตั๋วก็เต็ม รอนานหาไม่ได้ ก็ไม่ได้กลับบ้าน เวลาก็มีน้อย จริง ๆ แล้ว ถ้าทุกคนเคารพกฎหมาย กฎจราจร ซึ่งมีบังคับใช้ตามปกติอยู่แล้วการบาดเจ็บสูญเสีย ก็จะไม่เกิดขึ้น ไม่ต้องทํากฎหมายอะไรเพิ่มขึ้นอีกแล้ว ไม่ว่าจะรถอะไร หากทุกคนระมัดระวัง คิดถึงผู้อื่นจะรู้ได้เองว่า ควรจะป้องกันได้อย่างไรอย่าหวังพึ่งกฎหมายอย่างเดียว เจ้าหน้าที่ทุกคนทํางานหนักอยู่ เสียสละอยู่แล้ว ไม่เคยได้หยุดในวันนักขัตฤกษ์ต่างๆเลย ต้องค่อยดูแลประชาชนอยู่ตลอดเวลา แล้วท้ายสุดก็ถูกตําหนิว่าทําไมมีการสูญเสียบาดเจ็บมากขึ้นทุกปี ๆ ทั้งนี้ต้องช่วยกันนะครับ รัฐบาล เจ้าหน้าที่ไม่สามารถดูแลได้ทั้งหมด ถ้าทุกคนได้ช่วยกันเคารพกฎหมายบ้างตามที่สามารถทําได้ให้มากที่สุดเราก็จะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันได้ด้วยความเข้าอกเข้าใจ ประชาชนผมเข้าใจ ว่าถ้าเราบังคับใช้กฎหมายกันอย่างเต็มที่อย่างที่ไม่เคยใช้มาก่อนก็อาจจะสร้างความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชนมากเกินไปเจ้าหน้าที่ก็จะอะลุ่มอล่วยให้ ในบางส่วนดังที่ทางตํารวจได้ชี้แจงไปแล้ว เช่น...เพื่อ “สร้างวินัยการจราจร” ที่ถูกต้อง ผู้ขับขี่และผู้โดยสารที่นั่งเบาะหน้า จะต้องคาดเข็มขัดนิรภัยตามกฎหมาย แต่จะรวมผู้ที่นั่งเบาะหลังที่ยังไม่มีเข็มขัดนิรภัย จะเตือนไว้ก่อน ส่วนรถโดยสารสาธารณะ รถแท็กซี่ รถตู้-รถบัส ต้องคาดเข็มขัด ทุกที่นั่ง และรถกระบะอนุโลมให้นั่งท้ายได้แต่ห้ามนั่งบนขอบกระบะ ซึ่งกฎหมายเหล่านี้ มีอยู่แล้วทุกตัวในอดีต แต่บังคับใช้ไม่ได้ถูกละเลยมาเป็นเวลานาน ก็ค่อยๆ แก้ไขกัน ค่อยๆปฏิบัติกันนะครับ รัฐบาลเห็นใจทุกคนจริงๆนะครับ ไม่ได้ต้องการจะมุ่งหวังบังคับ ละเมิดสิทธิทําให้คนจนลําบาก คนรวยไม่มีปัญหา เหล่านี้เป็นสาทะกรรมที่สร้างความไม่ร่วมมือให้เกิดขึ้นทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นก็ขอให้ไม่ว่าจะเป็นสื่อ โซเชียลมีเดียหรือประชาชนที่ยังไม่เข้าใจลดระดับลงไปบ้าง ไม่มีอะไรที่จะได้มาเปล่าๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งชีวิต ทรัพย์สิน โดยเฉพาะเมื่อที่เสียไปแล้วยากที่จะกลับคืนมา ก็ลองนําไปคิดเอา สิ่งที่ผมขอเน้นย้ํา ก็คือ “ผู้ขับขี่” ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของอุบัติเหตุ "ทั้งปวง"ต้องไม่ดื่มสุรา ไม่ประมาท ไม่โทร ไม่แชท พักผ่อนให้เพียงพอ ใช้ความเร็วตามกฎหมายกําหนด และ รักษาวินัยจราจร “ผู้โดยสาร” ควรป้องกันตัวเองด้วยการคาดเข็มขัดนิรภัย “ทุกคน” “รถทุกคันบนถนน” ทั้งรถจักรยานยนต์, รถยนต์ส่วนบุคคล และรถโดยสารสาธารณะ ทุกประเภท ต้องตรวจสภาพให้พร้อม ก่อนออกเดินทาง ทั้งนี้ “ทุกคน” บนถนน มีส่วนรับผิดชอบในความปลอดภัยซึ่งกันและกันนะครับมอเตอร์ไซค์ผมก็เป็นห่วงนะครับ การสูญเสียตามสถิติทุกปีหรือตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้น การสูญเสียจะเกิดจากรถมอเตอร์ไซค์ เป็นส่วนมากนะครับ กับรถตู้ รถโดยสารทํานองนี้นะครับ หลังสงกรานต์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้มีการหารือกันอีกครั้ง เพื่อพิจารณาความเหมาะสม รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทุกภาคส่วน ว่าจะปรับมาตรการอย่างไร ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง จะมีห้วงเวลาอย่างไรให้ประชาชนได้มีโอกาสปรับตัว ปรับวิถีการเดินทางบนท้องถนน ซึ่งรัฐบาลจะเร่งรณรงค์สร้างความเข้าใจ อย่างต่อเนื่องต่อไป ผมขอให้ทุกคนเดินทางไปกลับโดยสวัสดิภาพ ใช้ความระมัดระวัง มีสติ คิดถึงคนที่อยู่ที่บ้าน และมีความสุขในเทศกาลสงกรานต์ทุกคน รวมทั้ง ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ทั้งพลเรือน ตํารวจ ทหาร และอาสา สมัครที่เสียสละความสุขส่วนตน และอุทิศเวลาทํางานเพื่อส่วนรวม รวมทั้งครอบครัวของเจ้าหน้าที่ทุกท่านด้วย อย่าน้อยใจ อย่าเสียใจเราจะต้องสร้างความเข้าใจไปเรื่อยๆเพราะเราก็คือคนไทยด้วยกันทั้งสิ้น แต่กฎหมายก็พยายามทําให้ทุกคนอยู่ในกรอบกฎหมายมากที่สุด เรื่องแท็กซี่ รถขนส่งสาธารณะ ก็ควรจะต้องเร่งปรับปรุงตัวเองด้วยนะครับ มีปัญหาเกิดขึ้นมากมายกับผู้รับบริการ ขอให้ทําด้วยใจ ด้วยหน้าที่ ด้วยอาชีพอันสุจริตของท่านอย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีความรับผิดชอบ และมีน้ําใจต่อกัน สุดท้ายนี้ เนื่องจากวันที่ 13 เมษายนของทุกปี เป็น “วันสงกรานต์” และ “วันผู้สูงอายุแห่งชาติ” ส่วนวันที่ 14 เมษายน เป็น “วันครอบครัว” ผมอยากให้โอกาสที่พี่น้องประชาชนจะได้รวมญาติ รวมครอบครัว ทําบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบุพการี รดน้ําดําหัว ขอพรผู้เฒ่า - ผู้แก่เพื่อเสริมสร้างความเป็นสิริมงคล และเพื่อความอบอุ่น - ความสุขร่วมกันของครอบครัว ตามประเพณีและวัฒนธรรมอันดีของไทย สําหรับการละเล่นสงกรานต์นั้น ก็ขอให้พิจารณาความเหมาะสม ไม่คะนอง ไม่อานาจาร และช่วยกันประหยัดน้ําด้วยนะครับ วันที่ 7 เมษายน เป็นวันที่องค์การอนามัยโลก รณรงค์ให้ชาวโลกเห็นความสําคัญของ “โรคซึมเศร้า” ซึ่งเป็น “ภัยเงียบ” ที่คุกคามสุขภาพประชาชนทั่วโลก มากกว่า 300 ล้านคนเป็นโรคซึมเศร้า และเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย สําหรับประเทศไทยร้อยละ 3 ของประชากร เป็นโรคนี้โดยอาจไม่รู้ตัว และคนรอบข้างขาดความตระหนักรู้ หรือไม่เข้าใจ แต่โรคนี้ ป้องกันได้ รักษาให้หายได้ เพียงเราทุกคน “ดูแลซึ่งกันและกัน” เราจะได้ไม่สูญเสียคนที่เรารัก และในช่วงที่อากาศร้อน เดือนเมษายนนี้ ผมอยากให้ทุกคน “ใจเย็น ใช้สติ และรู้จักการให้อภัยกัน” การพบปะพูดคุยกันในครอบครัวในสังคมจะช่วยลดภาวะเหล่านี้ได้ ด้วยการพุดคุยกันด้วยมิตรไมตรี มีน้ําใจที่หยิบยื่นให้แก่กันจะทําให้พบทางออกที่ถูกต้องที่ควรได้เสมอ ขอบคุณครับ ขอให้ “ทุกคน” มีความสุข ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ และเทศกาลสงกรานต์ ขอให้ทุกคนขับขี่รถ โดยไม่ประมาท มีน้ําใจรักษาวินัยจราจร รัฐบาลต้องขอโทษที่ทําให้เกิดความไม่สบายใจของพี่น้องประชาชนในการใช้รถใช้ถนน แต่ทั้งนี้ก็ด้วยความห่วงใยจากใจพวกเราทุกคนนะครับ ขอให้ทุกคนมีสวัสดิภาพปลอดภัยจากการเดินทางไม่ว่าจะไปทําอะไรก็ตามนั้นขอให้มีความสุขทั้งครอบครัวและคนอื่นด้วย สวัสดีครับ
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/2960
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ม.หอการค้า เผยธุรกิจขนาดกลางในระบบเข้าถึงมาตรการหนุนภาครัฐ SME Development Bank ประกาศลุยถึงถิ่นเสริมแกร่งอุ้มรายย่อย
วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม 2561 ม.หอการค้า เผยธุรกิจขนาดกลางในระบบเข้าถึงมาตรการหนุนภาครัฐ SME Development Bank ประกาศลุยถึงถิ่นเสริมแกร่งอุ้มรายย่อย ม.หอการค้าไทยเผยผลสํารวจชี้ SMEs ขนาดกลางและจดทะเบียนสามารถรับรู้ข้อมูล และเข้าถึงมาตรการสนับสนุนภาครัฐได้ดี สวนทางรายย่อยอยู่นอกระบบ ด้าน ธพว. ประกาศพร้อมอุดช่องว่าง ชูหน่วยรถม้าเติมทุนฯ แพลตฟอร์ม SME D Bank เจาะลึกลงถึงถิ่น ม.หอการค้าไทย เผยผลสํารวจชี้ SMEs ขนาดกลางและจดทะเบียน สามารถรับรู้ข้อมูล และเข้าถึงมาตรการสนับสนุนภาครัฐได้ดี สวนทางรายย่อยอยู่นอกระบบ ด้าน ธพว. ประกาศพร้อมอุดช่องว่าง ชูหน่วยรถม้าเติมทุนฯ แพลตฟอร์ม SME D Bank เจาะลึกลงถึงถิ่น เติมทุนคู่ความรู้ หนุนเข้าระบบ ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อํานวยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึง “การประเมินความสามารถในการเข้าถึงนโยบายภาครัฐของ SMEs ไทย” จากการสํารวจ SMEs จํานวน 1,200 ตัวอย่างทั่วประเทศ พบว่า สัดส่วนกลุ่ม SMEs ที่รู้ถึงมาตรการและความช่วยเหลือจากรัฐบาล 60.31% ส่วนกลุ่มไม่รู้ 39.69% โดยในจํานวนกลุ่มที่รับรู้นั้น 30.54% ระบุว่า รับรู้ในระดับสูงมาก โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มจดทะเบียน 80.3% และเป็นธุรกิจขนาดกลางถึง 90.9% ช่องทางที่ทําให้รับรู้ส่วนใหญ่ 35.15% จากการบอกต่อของคนสนิท และ 33.68% จากเจ้าหน้าที่รัฐลงไปแนะนํา ส่วนสิ่งที่รับรู้มากที่สุด คือ มาตรการสนับสนุนสินเชื่อจากสถาบันการเงินของรัฐ 76.7% มาตรการด้านภาษี 71.2% และการเสริมทักษะความรู้ 53.6% ด้านกลุ่มที่ระบุว่าไม่รู้ บอกเหตุผลว่า ไม่มีเวลาติดตามข้อมูลข่าวสาร 34.35% ไม่ได้อยู่ในกลุ่มหรือเครือข่าย เช่น สมาคม หรือสมาพันธ์ต่างๆ 18.88% และช่องทางสื่อสารกระจุกตัวเฉพาะในสื่อของภาครัฐ 17.25% เป็นต้น ด้านทัศนะต่อความสามารถในการเข้าถึงนโยบายและมาตรการของรัฐและธุรกิจ พบว่า 55.61% เข้าถึงได้ระดับปานกลาง ส่วนที่ไม่สามารถเข้าถึงได้เลย มีเพียง 4.17% โดยส่วนใหญ่กลุ่มธุรกิจที่จดทะเบียน และเป็นธุรกิจขนาดกลางจะสามารถเข้าถึงมาตรการและความช่วยเหลือของภาครัฐได้ดี สวนทางกับกลุ่มไม่จดทะเบียนและขนาดเล็กระบุว่า เข้าถึงความมาตรการและความช่วยเหลือของภาครัฐได้น้อยหรือไม่เคยเข้าถึงเลย สอดคล้องกับการสํารวจในหัวข้อ “การใช้หรือการเข้าร่วมนโยบายหรือมาตรการที่รัฐออกมาช่วยเหลือ SMEs” สิ่งน่าสนใจ คือ SMEs กลุ่มที่ไม่จดทะเบียน ตอบว่าเคยใช้บริการหรือเข้าร่วมโครงการเพียง 9.3% เท่านั้น ขณะที่ SMEs ที่จดทะเบียนเข้าไปใช้บริการ 49.6% แสดงให้เห็นว่า SMEs ที่จดทะเบียนมีโอกาสเข้าถึงความช่วยเหลือภาครัฐมากกว่า SMEs ที่ไม่จดทะเบียน และหากประเมินจากขนาดธุรกิจแล้ว SMEs ขนาดกลาง 81.8% ตอบว่าเคยเข้าร่วมโครงการ แต่ SMEs ขนาดเล็กเข้าร่วมโครงการเพียง 17.1% เท่านั้น เมื่อสอบถามสาเหตุที่ไม่เคยใช้หรือไม่เคยเข้าร่วมโครงการที่รัฐบาลออกมาช่วยเหลือ กลุ่มตัวอย่างตอบเหตุผล เช่น มาตรการ/นโยบายยังไม่ตรงความต้องการ ช่องทางการรับรู้ข่าวสารไม่เพียงพอ ไม่มีเบี้ยเลี้ยงหรือค่าเดินทาง ไม่มีเอกสารยืนยันตัวตนทําให้ไม่ได้รับสิทธิ์ตามเงื่อนไข เป็นต้น ทั้งนี้ กลุ่ม SMEs ที่ไม่เคยร่วมโครงการส่งเสริมใดๆ ของภาครัฐ ระบุมาตรการหรือนโยบายที่ต้องการเข้าร่วมหรือใช้บริการ ได้แก่ 1. ด้านการเงิน เช่น การแนะนําสินเชื่อ ขั้นตอนการยื่นขอสินเชื่อ 2.ด้านภาษี เช่น การลดจ่ายภาษีเงินได้ การเปิดเผยข้อมูลทางด้านภาษี 3.ด้านเสริมทักษะความรู้ เช่น อบรมทักษะการเพิ่มรายได้ พัฒนาธุรกิจ 4.ด้านการตลาด เช่น การจัดหาแหล่งขายสินค้า และ 5.ด้านเทคโนโลยี เช่น ตลาดอิเล็กทรอนิกส์สําหรับช่องทางค้าออนไลน์ เป็นต้น ส่วนสิ่งที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ คือ 1.พัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในประเทศให้ดีขึ้น 2.ลดหย่อนภาษีและยกเลิกภาษีที่ซ้ําซ้อน 3.แก้ปัญหาหนี้สินประชาชน และ 4.ปล่อยสินเชื่อเงินกู้ระยะยาวที่มีดอกเบี้ยคงที่ นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank หรือ ธพว.) กล่าวว่า ผลสํารวจครั้งนี้สะท้อนว่า SMEs ที่ยังไม่รับรู้ และเข้าไม่ถึงมาตรการช่วยเหลือและการสนับสนุนของภาครัฐ ส่วนใหญ่จะเป็นรายเล็ก และไม่จดทะเบียน ทําให้ตกสํารวจ มาตรการช่วยเหลือต่างๆ จึงเข้าไม่ถึง ดังนั้น ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ทํางานเชิงรุก เป็นฝ่ายเดินเข้าไปสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยเอง เช่น 9 มาตรการขับเคลื่อนเอสเอ็มอี ของกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งครอบคลุมช่วยเหลือเอสเอ็มอีทุกกลุ่ม รวมถึงกระทรวงการคลัง จัดมาตรการส่งเสริมพัฒนาความรู้ด้านการบริหารจัดการการเงิน (Financial Literacy) ให้ความรู้ด้านการเงินภาษีบัญชีแก่ผู้ประกอบการทั่วประเทศ นอกจากนั้น นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และนายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดแฟนเพจเฟซบุ๊กส่วนตัว ใช้เป็นช่องทางขยายการสื่อสารข้อมูลความช่วยเหลือจากภาครัฐไปสู่ผู้ประกอบการ รวมถึง ลงพื้นที่เองต่อเนื่อง เพื่อรับฟังข้อมูลและความต้องการจริงจากผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อช่วยเหลือได้โดยตรง ขณะที่ SME Development Bank ยกระดับการทํางาน โดยมีหน่วยบริการเคลื่อนที่ “รถม้าเติมทุน ส่งเสริม SMEs ไทย ฉับไว ไปถึงถิ่น” ให้บริการคนตัวเล็กถึงถิ่น อีกทั้ง มีบริการแพลตฟอร์ม “SME D Bank” สามารถยื่นกู้ออนไลน์ได้ทันที ทุกที่ ทุกเวลา พร้อมมีข่าวสาร และความรู้บริการเสริมแกร่งให้เอสเอ็มอีด้วย “ธนาคารมุ่งทํางานเชิงรุกสนับสนุน SMEs ครอบคลุมทุกกลุ่มอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ SMEs รายย่อยในชุมชนหรือที่เรียกว่าคนตัวเล็ก หน่วยรถม้าเติมทุนฯ และแพลตฟอร์ม SME D Bank จะช่วยเติมเต็มพาเข้าถึงแหล่งเงินทุนควบคู่พัฒนาศักยภาพ ผลักดันให้คนตัวเล็กเข้าสู่ระบบ จดทะเบียนนิติบุคคล ช่วยให้เข้าถึงมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ ซึ่งจะเป็นไม้ค้ํายัน ให้ธุรกิจเติบโต อยู่รอด และยั่งยืน” นายมงคล ระบุ ทั้งนี้ จากที่ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมกับ SME Development Bank สํารวจสถานการณ์เอสเอ็มอีไทย พบว่า ยังมีผู้ประกอบการรายย่อย หรือ “จุลเอสเอ็มอี” ที่ไม่จดทะเบียน หรือตกสํารวจ อีกกว่า 2.7 ล้านราย ขณะที่กลุ่ม SMEs จดทะเบียนอยู่ในระบบ ธุรกิจเกิดประโยชน์ ปรับตัวดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะยอดขายปรับตัวเพิ่มขึ้น 40.7% กําไรดีขึ้น 32.7% ราคาสินค้าปรับตัวดีขึ้น 24.2% และสภาพคล่องของธุรกิจปรับตัวดีขึ้น 27.4%
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ม.หอการค้า เผยธุรกิจขนาดกลางในระบบเข้าถึงมาตรการหนุนภาครัฐ SME Development Bank ประกาศลุยถึงถิ่นเสริมแกร่งอุ้มรายย่อย วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม 2561 ม.หอการค้า เผยธุรกิจขนาดกลางในระบบเข้าถึงมาตรการหนุนภาครัฐ SME Development Bank ประกาศลุยถึงถิ่นเสริมแกร่งอุ้มรายย่อย ม.หอการค้าไทยเผยผลสํารวจชี้ SMEs ขนาดกลางและจดทะเบียนสามารถรับรู้ข้อมูล และเข้าถึงมาตรการสนับสนุนภาครัฐได้ดี สวนทางรายย่อยอยู่นอกระบบ ด้าน ธพว. ประกาศพร้อมอุดช่องว่าง ชูหน่วยรถม้าเติมทุนฯ แพลตฟอร์ม SME D Bank เจาะลึกลงถึงถิ่น ม.หอการค้าไทย เผยผลสํารวจชี้ SMEs ขนาดกลางและจดทะเบียน สามารถรับรู้ข้อมูล และเข้าถึงมาตรการสนับสนุนภาครัฐได้ดี สวนทางรายย่อยอยู่นอกระบบ ด้าน ธพว. ประกาศพร้อมอุดช่องว่าง ชูหน่วยรถม้าเติมทุนฯ แพลตฟอร์ม SME D Bank เจาะลึกลงถึงถิ่น เติมทุนคู่ความรู้ หนุนเข้าระบบ ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อํานวยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึง “การประเมินความสามารถในการเข้าถึงนโยบายภาครัฐของ SMEs ไทย” จากการสํารวจ SMEs จํานวน 1,200 ตัวอย่างทั่วประเทศ พบว่า สัดส่วนกลุ่ม SMEs ที่รู้ถึงมาตรการและความช่วยเหลือจากรัฐบาล 60.31% ส่วนกลุ่มไม่รู้ 39.69% โดยในจํานวนกลุ่มที่รับรู้นั้น 30.54% ระบุว่า รับรู้ในระดับสูงมาก โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มจดทะเบียน 80.3% และเป็นธุรกิจขนาดกลางถึง 90.9% ช่องทางที่ทําให้รับรู้ส่วนใหญ่ 35.15% จากการบอกต่อของคนสนิท และ 33.68% จากเจ้าหน้าที่รัฐลงไปแนะนํา ส่วนสิ่งที่รับรู้มากที่สุด คือ มาตรการสนับสนุนสินเชื่อจากสถาบันการเงินของรัฐ 76.7% มาตรการด้านภาษี 71.2% และการเสริมทักษะความรู้ 53.6% ด้านกลุ่มที่ระบุว่าไม่รู้ บอกเหตุผลว่า ไม่มีเวลาติดตามข้อมูลข่าวสาร 34.35% ไม่ได้อยู่ในกลุ่มหรือเครือข่าย เช่น สมาคม หรือสมาพันธ์ต่างๆ 18.88% และช่องทางสื่อสารกระจุกตัวเฉพาะในสื่อของภาครัฐ 17.25% เป็นต้น ด้านทัศนะต่อความสามารถในการเข้าถึงนโยบายและมาตรการของรัฐและธุรกิจ พบว่า 55.61% เข้าถึงได้ระดับปานกลาง ส่วนที่ไม่สามารถเข้าถึงได้เลย มีเพียง 4.17% โดยส่วนใหญ่กลุ่มธุรกิจที่จดทะเบียน และเป็นธุรกิจขนาดกลางจะสามารถเข้าถึงมาตรการและความช่วยเหลือของภาครัฐได้ดี สวนทางกับกลุ่มไม่จดทะเบียนและขนาดเล็กระบุว่า เข้าถึงความมาตรการและความช่วยเหลือของภาครัฐได้น้อยหรือไม่เคยเข้าถึงเลย สอดคล้องกับการสํารวจในหัวข้อ “การใช้หรือการเข้าร่วมนโยบายหรือมาตรการที่รัฐออกมาช่วยเหลือ SMEs” สิ่งน่าสนใจ คือ SMEs กลุ่มที่ไม่จดทะเบียน ตอบว่าเคยใช้บริการหรือเข้าร่วมโครงการเพียง 9.3% เท่านั้น ขณะที่ SMEs ที่จดทะเบียนเข้าไปใช้บริการ 49.6% แสดงให้เห็นว่า SMEs ที่จดทะเบียนมีโอกาสเข้าถึงความช่วยเหลือภาครัฐมากกว่า SMEs ที่ไม่จดทะเบียน และหากประเมินจากขนาดธุรกิจแล้ว SMEs ขนาดกลาง 81.8% ตอบว่าเคยเข้าร่วมโครงการ แต่ SMEs ขนาดเล็กเข้าร่วมโครงการเพียง 17.1% เท่านั้น เมื่อสอบถามสาเหตุที่ไม่เคยใช้หรือไม่เคยเข้าร่วมโครงการที่รัฐบาลออกมาช่วยเหลือ กลุ่มตัวอย่างตอบเหตุผล เช่น มาตรการ/นโยบายยังไม่ตรงความต้องการ ช่องทางการรับรู้ข่าวสารไม่เพียงพอ ไม่มีเบี้ยเลี้ยงหรือค่าเดินทาง ไม่มีเอกสารยืนยันตัวตนทําให้ไม่ได้รับสิทธิ์ตามเงื่อนไข เป็นต้น ทั้งนี้ กลุ่ม SMEs ที่ไม่เคยร่วมโครงการส่งเสริมใดๆ ของภาครัฐ ระบุมาตรการหรือนโยบายที่ต้องการเข้าร่วมหรือใช้บริการ ได้แก่ 1. ด้านการเงิน เช่น การแนะนําสินเชื่อ ขั้นตอนการยื่นขอสินเชื่อ 2.ด้านภาษี เช่น การลดจ่ายภาษีเงินได้ การเปิดเผยข้อมูลทางด้านภาษี 3.ด้านเสริมทักษะความรู้ เช่น อบรมทักษะการเพิ่มรายได้ พัฒนาธุรกิจ 4.ด้านการตลาด เช่น การจัดหาแหล่งขายสินค้า และ 5.ด้านเทคโนโลยี เช่น ตลาดอิเล็กทรอนิกส์สําหรับช่องทางค้าออนไลน์ เป็นต้น ส่วนสิ่งที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ คือ 1.พัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในประเทศให้ดีขึ้น 2.ลดหย่อนภาษีและยกเลิกภาษีที่ซ้ําซ้อน 3.แก้ปัญหาหนี้สินประชาชน และ 4.ปล่อยสินเชื่อเงินกู้ระยะยาวที่มีดอกเบี้ยคงที่ นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank หรือ ธพว.) กล่าวว่า ผลสํารวจครั้งนี้สะท้อนว่า SMEs ที่ยังไม่รับรู้ และเข้าไม่ถึงมาตรการช่วยเหลือและการสนับสนุนของภาครัฐ ส่วนใหญ่จะเป็นรายเล็ก และไม่จดทะเบียน ทําให้ตกสํารวจ มาตรการช่วยเหลือต่างๆ จึงเข้าไม่ถึง ดังนั้น ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ทํางานเชิงรุก เป็นฝ่ายเดินเข้าไปสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยเอง เช่น 9 มาตรการขับเคลื่อนเอสเอ็มอี ของกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งครอบคลุมช่วยเหลือเอสเอ็มอีทุกกลุ่ม รวมถึงกระทรวงการคลัง จัดมาตรการส่งเสริมพัฒนาความรู้ด้านการบริหารจัดการการเงิน (Financial Literacy) ให้ความรู้ด้านการเงินภาษีบัญชีแก่ผู้ประกอบการทั่วประเทศ นอกจากนั้น นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และนายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดแฟนเพจเฟซบุ๊กส่วนตัว ใช้เป็นช่องทางขยายการสื่อสารข้อมูลความช่วยเหลือจากภาครัฐไปสู่ผู้ประกอบการ รวมถึง ลงพื้นที่เองต่อเนื่อง เพื่อรับฟังข้อมูลและความต้องการจริงจากผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อช่วยเหลือได้โดยตรง ขณะที่ SME Development Bank ยกระดับการทํางาน โดยมีหน่วยบริการเคลื่อนที่ “รถม้าเติมทุน ส่งเสริม SMEs ไทย ฉับไว ไปถึงถิ่น” ให้บริการคนตัวเล็กถึงถิ่น อีกทั้ง มีบริการแพลตฟอร์ม “SME D Bank” สามารถยื่นกู้ออนไลน์ได้ทันที ทุกที่ ทุกเวลา พร้อมมีข่าวสาร และความรู้บริการเสริมแกร่งให้เอสเอ็มอีด้วย “ธนาคารมุ่งทํางานเชิงรุกสนับสนุน SMEs ครอบคลุมทุกกลุ่มอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ SMEs รายย่อยในชุมชนหรือที่เรียกว่าคนตัวเล็ก หน่วยรถม้าเติมทุนฯ และแพลตฟอร์ม SME D Bank จะช่วยเติมเต็มพาเข้าถึงแหล่งเงินทุนควบคู่พัฒนาศักยภาพ ผลักดันให้คนตัวเล็กเข้าสู่ระบบ จดทะเบียนนิติบุคคล ช่วยให้เข้าถึงมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ ซึ่งจะเป็นไม้ค้ํายัน ให้ธุรกิจเติบโต อยู่รอด และยั่งยืน” นายมงคล ระบุ ทั้งนี้ จากที่ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมกับ SME Development Bank สํารวจสถานการณ์เอสเอ็มอีไทย พบว่า ยังมีผู้ประกอบการรายย่อย หรือ “จุลเอสเอ็มอี” ที่ไม่จดทะเบียน หรือตกสํารวจ อีกกว่า 2.7 ล้านราย ขณะที่กลุ่ม SMEs จดทะเบียนอยู่ในระบบ ธุรกิจเกิดประโยชน์ ปรับตัวดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะยอดขายปรับตัวเพิ่มขึ้น 40.7% กําไรดีขึ้น 32.7% ราคาสินค้าปรับตัวดีขึ้น 24.2% และสภาพคล่องของธุรกิจปรับตัวดีขึ้น 27.4%
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/14875
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รพ.สมุทรปราการเปิดตึก ผู้ป่วยใน 9 ชั้น ลดความแออัดผู้มารับบริการ
วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน 2560 รพ.สมุทรปราการเปิดตึก ผู้ป่วยใน 9 ชั้น ลดความแออัดผู้มารับบริการ กระทรวงสาธารณสุข ลดความแออัดผู้มารับบริการในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ เร่งพัฒนาระบบบริการ เพิ่มประสิทธิภาพรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ และจังหวัดสมุทรปราการนครแห่งอนาคต กระทรวงสาธารณสุข ลดความแออัดผู้มารับบริการในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ เร่งพัฒนาระบบบริการ เพิ่มประสิทธิภาพรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ และจังหวัดสมุทรปราการนครแห่งอนาคต วันนี้ (17 กันยายน 2560 ) นายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานเปิดอาคารผู้ป่วยใน 9 ชั้น และทอดผ้าป่าสามัคคี โรงพยาบาลสมุทรปราการ ว่า โรงพยาบาลสมุทรปราการเป็นโรงพยาบาลศูนย์ขนาด 530 เตียง ผู้มารับบริการเพิ่มขึ้นจํานวนมาก มีผู้มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก เฉลี่ยวันละ2,405คน อัตราการครองเตียงมากถึงร้อยละ124มีเจ้าหน้าที่ให้บริการทั้งหมด จํานวน1,441คน จึงนับเป็นภาระงานที่หนักสําหรับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลสมุทรปราการที่ต้องให้บริการรักษาพยาบาลประชาชนที่มารับบริการจํานวนมาก จึงต้องเร่งเพิ่มศักยภาพของโรงพยาบาลเพื่อเตรียมรองรับ จังหวัดสมุทรปราการนครแห่งอนาคต (City of Great Potential) ซึ่งจะเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่เป็นฐานการผลิตของประเทศ เป็นจังหวัดที่มีการเจริญเติบโตและมีประชาชนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น จึงได้เพิ่มการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยใน9ชั้น ซึ่งได้รับงบประมาณจากกระทรวงสาธารณสุข จํานวน343,888,000บาท สามารถให้บริการประชาชนได้เพิ่มมากขึ้น จะช่วยลดความแออัดที่แผนกผู้ป่วยนอก และลดภาระผู้ป่วยใน ที่ล้นเตียงลงได้ ทั้งนี้ อาคารผู้ป่วยใน9ชั้น ประกอบไปด้วย ชั้นล่างห้องงานระบบงานวิศวกรรมและจอดรถยนต์31คัน ชั้นที่1ห้องงานชันสูตร ห้องตรวจผู้ป่วยนอกอายุรกรรม ห้องจ่ายยาและห้องเก็บเงิน ชั้นที่2ห้องตรวจผู้ป่วยนอกกุมารเวชกรรม หูคอจมูก คลินิกอ่อนหวาน แผนกแพทย์แผนไทย และห้องตรวจหัวใจ(Echocardiogram) ชั้นที่3กลุ่มงานพยาธิวิทยา งานวางแผนครอบครัว ห้องตรวจผู้ป่วย ห้องให้คําปรึกษาชั้นที่4-6หอผู้ป่วยสามัญ ชั้นละ60 เตียง รวม180 เตียง ชั้นที่7หอผู้ป่วยพิเศษ24ห้อง ชั้นที่8 ห้องส่งเสริมสุขภาพและห้องสํานักงาน ชั้นที่9 ห้องประชุมขนาด360 คน ********************************** 17 กันยายน 2560
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รพ.สมุทรปราการเปิดตึก ผู้ป่วยใน 9 ชั้น ลดความแออัดผู้มารับบริการ วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน 2560 รพ.สมุทรปราการเปิดตึก ผู้ป่วยใน 9 ชั้น ลดความแออัดผู้มารับบริการ กระทรวงสาธารณสุข ลดความแออัดผู้มารับบริการในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ เร่งพัฒนาระบบบริการ เพิ่มประสิทธิภาพรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ และจังหวัดสมุทรปราการนครแห่งอนาคต กระทรวงสาธารณสุข ลดความแออัดผู้มารับบริการในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ เร่งพัฒนาระบบบริการ เพิ่มประสิทธิภาพรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ และจังหวัดสมุทรปราการนครแห่งอนาคต วันนี้ (17 กันยายน 2560 ) นายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานเปิดอาคารผู้ป่วยใน 9 ชั้น และทอดผ้าป่าสามัคคี โรงพยาบาลสมุทรปราการ ว่า โรงพยาบาลสมุทรปราการเป็นโรงพยาบาลศูนย์ขนาด 530 เตียง ผู้มารับบริการเพิ่มขึ้นจํานวนมาก มีผู้มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก เฉลี่ยวันละ2,405คน อัตราการครองเตียงมากถึงร้อยละ124มีเจ้าหน้าที่ให้บริการทั้งหมด จํานวน1,441คน จึงนับเป็นภาระงานที่หนักสําหรับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลสมุทรปราการที่ต้องให้บริการรักษาพยาบาลประชาชนที่มารับบริการจํานวนมาก จึงต้องเร่งเพิ่มศักยภาพของโรงพยาบาลเพื่อเตรียมรองรับ จังหวัดสมุทรปราการนครแห่งอนาคต (City of Great Potential) ซึ่งจะเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่เป็นฐานการผลิตของประเทศ เป็นจังหวัดที่มีการเจริญเติบโตและมีประชาชนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น จึงได้เพิ่มการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยใน9ชั้น ซึ่งได้รับงบประมาณจากกระทรวงสาธารณสุข จํานวน343,888,000บาท สามารถให้บริการประชาชนได้เพิ่มมากขึ้น จะช่วยลดความแออัดที่แผนกผู้ป่วยนอก และลดภาระผู้ป่วยใน ที่ล้นเตียงลงได้ ทั้งนี้ อาคารผู้ป่วยใน9ชั้น ประกอบไปด้วย ชั้นล่างห้องงานระบบงานวิศวกรรมและจอดรถยนต์31คัน ชั้นที่1ห้องงานชันสูตร ห้องตรวจผู้ป่วยนอกอายุรกรรม ห้องจ่ายยาและห้องเก็บเงิน ชั้นที่2ห้องตรวจผู้ป่วยนอกกุมารเวชกรรม หูคอจมูก คลินิกอ่อนหวาน แผนกแพทย์แผนไทย และห้องตรวจหัวใจ(Echocardiogram) ชั้นที่3กลุ่มงานพยาธิวิทยา งานวางแผนครอบครัว ห้องตรวจผู้ป่วย ห้องให้คําปรึกษาชั้นที่4-6หอผู้ป่วยสามัญ ชั้นละ60 เตียง รวม180 เตียง ชั้นที่7หอผู้ป่วยพิเศษ24ห้อง ชั้นที่8 ห้องส่งเสริมสุขภาพและห้องสํานักงาน ชั้นที่9 ห้องประชุมขนาด360 คน ********************************** 17 กันยายน 2560
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/6731
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"Thailand Game Show 2019"
วันพุธที่ 30 ตุลาคม 2562 "Thailand Game Show 2019" นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงาน Thailand Game Show 2019 ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้า สยามพารากอน นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงาน Thailand Game Show 2019 โดยมี คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, ดร.กิตติณัฐ ทีคะวรรณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน), ประธานกรรมการบริษัท โชว์ไร้ขีด จํากัด เข้าร่วมงานเมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้า สยามพารากอน รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สังคมมีคําถามถึงความพอเหมาะพอดีในการเล่นเกมของเด็กไทย ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการในฐานะดูแลการจัดการศึกษาและพัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้าน ยืนยันว่าต้องการให้เด็กและเยาวชนใช้เวลาเล่นเกมอย่างมีขอบเขตและในระดับที่เหมาะสม เล่นเพื่อให้รู้กติกา รู้แพ้รู้ชนะ ฝึกทักษะคิดวิเคราะห์จากการวางแผนเชิงสร้างสรรค์ พร้อมนําทักษะเหล่านี้มาใช้พัฒนาตนเองอย่างเหมาะสม เพราะเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบัน ที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมเกม ไปจนถึงการเล่นเป็นกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Esports มีทั้งประเภทบุคคลและทีม ตั้งแต่ระดับสมัครเล่น กึ่งอาชีพ และระดับมืออาชีพ รวมถึงมีรายการแข่งขันและลีกต่าง ๆ เช่นเดียวกับกีฬาทั่วไป ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการเชื่อมั่นว่า การสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้ผลิต ผู้ใช้ และผู้พัฒนาเกม เพื่อร่วมพัฒนาเกมอย่างเหมาะสม จะช่วยสร้าง Digital Platform และแอพพลิเคชั่น เพื่อประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนได้มากขึ้น คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวปาฐกถาเรื่อง "การต่อยอดสังคมเกมเมอร์ สู่โปรแกรมเมอร์กับการ Coding" ตอนหนึ่งว่า ต้องยอมรับว่าการเรียนรู้ในยุคปัจจุบันไม่ได้จํากัดอยู่เพียงแต่ในห้องเรียนเท่านั้น และอุตสาหกรรมเกมก็เข้ามามีบทบาทต่อการสร้างทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 เช่นเดียวกับกระทรวงศึกษาธิการเตรียมแนวทางที่จะเชื่อมโยงเกมเข้ากับหลักสูตร Coding แบบ Unplugged Coding จะเริ่มเปิดเรียนเป็นครั้งแรกในระดับประถมศึกษา เพื่อพัฒนาตรรกะการคิดแบบมีเหตุผลด้วยเกมที่มีความสนุกสนาน ให้เด็กได้เรียนผ่านการเล่น ที่จะช่วยพัฒนาทักษะด้านอื่น ๆ ด้วย อาทิ การอ่านภาษาไทยและภาษาอังกฤษ, ความคิดสร้างสรรค์และทักษะการแก้ปัญหา, การคิดเชิงคณิตศาสตร์, การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและทํางานเป็นทีม จากนั้นจะเชื่อมโยง Unplugged Coding กับการเรียนเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้เด็กและเยาวชนเล่นเกมอย่างสร้างสรรค์ นําไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 อย่างเข้มแข็งต่อไป ดร.กิตติณัฐ ทีคะวรรณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมเกมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นนวัตกรรมด้านการศึกษาที่สามารถนํามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จึงสนับสนุนให้เด็กไทยมีโอกาสเรียนรู้ และพัฒนาเกมอย่างสร้างสรรค์ รวมถึงการพัฒนากีฬา Esports ให้เด็กและเยาวชนสามารถเข้าสู่วงการเกมได้อย่างมืออาชีพ พร้อมกระตุ้นให้เยาวชนไทยเกิดการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านอุตสาหกรรมเกมและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้ บริษัท โชว์ไร้ขีด จํากัด ร่วมกับบริษัท ทรู มีเดีย โซลูชั่น จํากัด เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมเกมไทยให้ก้าวเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางธุรกิจเกมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนชี้แนะแนวทางการเล่นเกมอย่างสมดุล เพื่อส่งเสริมการใช้สื่อออนไลน์และเกมเชิงบวกด้วย อรพรรณ ฤทธิ์มั่น: สรุป นวรัตน์ รามสูต: เรียบเรียง ทิพย์สุดา ศรีษะเเก้ว, ยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี: ถ่ายภาพ กลุ่มประชาสัมพันธ์ สร.: รายงาน
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"Thailand Game Show 2019" วันพุธที่ 30 ตุลาคม 2562 "Thailand Game Show 2019" นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงาน Thailand Game Show 2019 ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้า สยามพารากอน นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงาน Thailand Game Show 2019 โดยมี คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, ดร.กิตติณัฐ ทีคะวรรณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน), ประธานกรรมการบริษัท โชว์ไร้ขีด จํากัด เข้าร่วมงานเมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้า สยามพารากอน รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สังคมมีคําถามถึงความพอเหมาะพอดีในการเล่นเกมของเด็กไทย ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการในฐานะดูแลการจัดการศึกษาและพัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้าน ยืนยันว่าต้องการให้เด็กและเยาวชนใช้เวลาเล่นเกมอย่างมีขอบเขตและในระดับที่เหมาะสม เล่นเพื่อให้รู้กติกา รู้แพ้รู้ชนะ ฝึกทักษะคิดวิเคราะห์จากการวางแผนเชิงสร้างสรรค์ พร้อมนําทักษะเหล่านี้มาใช้พัฒนาตนเองอย่างเหมาะสม เพราะเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบัน ที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมเกม ไปจนถึงการเล่นเป็นกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Esports มีทั้งประเภทบุคคลและทีม ตั้งแต่ระดับสมัครเล่น กึ่งอาชีพ และระดับมืออาชีพ รวมถึงมีรายการแข่งขันและลีกต่าง ๆ เช่นเดียวกับกีฬาทั่วไป ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการเชื่อมั่นว่า การสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้ผลิต ผู้ใช้ และผู้พัฒนาเกม เพื่อร่วมพัฒนาเกมอย่างเหมาะสม จะช่วยสร้าง Digital Platform และแอพพลิเคชั่น เพื่อประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนได้มากขึ้น คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวปาฐกถาเรื่อง "การต่อยอดสังคมเกมเมอร์ สู่โปรแกรมเมอร์กับการ Coding" ตอนหนึ่งว่า ต้องยอมรับว่าการเรียนรู้ในยุคปัจจุบันไม่ได้จํากัดอยู่เพียงแต่ในห้องเรียนเท่านั้น และอุตสาหกรรมเกมก็เข้ามามีบทบาทต่อการสร้างทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 เช่นเดียวกับกระทรวงศึกษาธิการเตรียมแนวทางที่จะเชื่อมโยงเกมเข้ากับหลักสูตร Coding แบบ Unplugged Coding จะเริ่มเปิดเรียนเป็นครั้งแรกในระดับประถมศึกษา เพื่อพัฒนาตรรกะการคิดแบบมีเหตุผลด้วยเกมที่มีความสนุกสนาน ให้เด็กได้เรียนผ่านการเล่น ที่จะช่วยพัฒนาทักษะด้านอื่น ๆ ด้วย อาทิ การอ่านภาษาไทยและภาษาอังกฤษ, ความคิดสร้างสรรค์และทักษะการแก้ปัญหา, การคิดเชิงคณิตศาสตร์, การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและทํางานเป็นทีม จากนั้นจะเชื่อมโยง Unplugged Coding กับการเรียนเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้เด็กและเยาวชนเล่นเกมอย่างสร้างสรรค์ นําไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 อย่างเข้มแข็งต่อไป ดร.กิตติณัฐ ทีคะวรรณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมเกมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นนวัตกรรมด้านการศึกษาที่สามารถนํามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จึงสนับสนุนให้เด็กไทยมีโอกาสเรียนรู้ และพัฒนาเกมอย่างสร้างสรรค์ รวมถึงการพัฒนากีฬา Esports ให้เด็กและเยาวชนสามารถเข้าสู่วงการเกมได้อย่างมืออาชีพ พร้อมกระตุ้นให้เยาวชนไทยเกิดการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านอุตสาหกรรมเกมและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้ บริษัท โชว์ไร้ขีด จํากัด ร่วมกับบริษัท ทรู มีเดีย โซลูชั่น จํากัด เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมเกมไทยให้ก้าวเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางธุรกิจเกมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนชี้แนะแนวทางการเล่นเกมอย่างสมดุล เพื่อส่งเสริมการใช้สื่อออนไลน์และเกมเชิงบวกด้วย อรพรรณ ฤทธิ์มั่น: สรุป นวรัตน์ รามสูต: เรียบเรียง ทิพย์สุดา ศรีษะเเก้ว, ยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี: ถ่ายภาพ กลุ่มประชาสัมพันธ์ สร.: รายงาน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/24163
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรุงไทยยกระดับความปลอดภัยนำเทคโนโลยีติดตั้งเครื่องตรวจสอบบัตรประชาชนทั่วประเทศ
วันอังคารที่ 15 มกราคม 2562 กรุงไทยยกระดับความปลอดภัยนําเทคโนโลยีติดตั้งเครื่องตรวจสอบบัตรประชาชนทั่วประเทศ ธนาคารกรุงไทยขอให้ลูกค้ามั่นใจในระบบงาน การให้บริการและระบบตรวจสอบที่มุ่งเน้นความโปร่งใส ทยอยติดตั้งเครื่องตรวจสอบบัตรประจําตัวประชาชนอิเล็กทรอนิกส์หน้าเคาน์เตอร์สาขาปูพรม ธนาคารกรุงไทยขอให้ลูกค้ามั่นใจในระบบงาน การให้บริการและระบบตรวจสอบที่มุ่งเน้นความโปร่งใส ทยอยติดตั้งเครื่องตรวจสอบบัตรประจําตัวประชาชนอิเล็กทรอนิกส์หน้าเคาน์เตอร์สาขาปูพรมทั่วกรุงเทพฯ 100% แล้วและคาดสัปดาห์หน้าพร้อมให้บริการครบทุกสาขาทั่วประเทศ รวมทั้งเตรียมนําระบบสแกนใบหน้ามาใช้ เพิ่มจากการติดตั้งกล้อง CCTV เดิม เพื่อยกระดับความปลอดภัยในการทําธุรกรรมการเงินและการบริการให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทุกสาขา ส่วนพนักงานสาขาปายที่ทุจริต ถูกไล่ออกและธนาคารได้ร้องทุกข์กล่าวโทษแล้ว สําหรับกรณีสาขาห้วยยอด เป็นเรื่องภายในครอบครัว ซึ่งธนาคารได้ดําเนินการปรับบัญชีให้ลูกค้าเรียบร้อยแล้ว นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยถึงกรณีสาขาปาย ซึ่งลูกค้าร้องเรียนเรื่องเงินในบัญชีหายว่า ธนาคารได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ทําการตรวจสอบตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2561 และได้ต่อยอดขยายผลจากหลักฐานพบว่าพนักงานรายนี้ทุจริตกับลูกค้าจํานวน 10 ราย รวมทั้งสิ้น 11 บัญชี 30 รายการ ยอดเงินประมาณ 5 ล้านบาท โดยธนาคารได้ทยอยปรับรายการสําหรับยอดเงินต้นและดอกเบี้ยในบัญชีของลูกค้า ตั้งแต่เดือนธันาคม 2561 ครบถ้วนทุกบัญชีเมื่อวันที่ 8 มกราคมที่ผ่านมา และธนาคารได้ไล่พนักงานรายดังกล่าวออกและร้องทุกข์กล่าวโทษในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต แสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อประโยชน์ของตนเองและผู้อื่น ปลอมแปลงเอกสาร ลักทรัพย์อันเป็นของนายจ้าง ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ และเพื่อยกระดับการควบคุมภายในของธนาคาร ในเบื้องต้นธนาคารได้ย้ายผู้จัดการสาขาและผู้จัดการสํานักงานเขตออกจากพื้นที่ ไปประจําสํานักงานภาคแล้ว สําหรับกรณีที่สาขาห้วยยอด จังหวัดตรัง เป็นเรื่องภายในครอบครัว ซึ่งลูกค้าถูกหลานสาวนําสมุดบัญชีเงินฝากของตนเองไปเบิกเงินที่ธนาคารโดยใช้เอกสารปลอมประกอบ และลูกค้าได้แจ้งความดําเนินคดีอาญากับหลานสาวของตนเองแล้วเมื่อเช้าวันนี้ (15 มกราคม 2562) และธนาคารได้ดําเนินการเพื่อปรับรายการบัญชีลูกค้าให้ถูกต้องเรียบร้อยแล้ว นายผยง ศรีวณิช ยังได้กล่าวต่อไปว่า ธนาคารยืนยันว่ามีระบบการตรวจสอบภายในที่ดี โดยที่ผ่านมาสามารถตรวจพบความผิดปกติ แต่ยอมรับว่ามีกระบวนการตรวจสอบ Post Audit ที่ยังเป็น Manual อยู่บ้าง ซึ่งต้องใช้เวลา ทําให้ยังไม่ตอบโจทย์และทันต่อเหตุการณ์ ที่ผ่านมาธนาคารได้พัฒนาระบบการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง และ ได้ยกระดับความปลอดภัยและการให้บริการ ธนาคารจึงได้นําเทคโนโลยีที่สามารถรับมือกับอาชญากรรมยุคใหม่ โดยได้ทยอยติดตั้งเครื่องตรวจสอบบัตรประจําตัวประชาชนอิเล็กทรอนิกส์ เชื่อมข้อมูลกับทะเบียนราษฎร์ กระทรวงมหาดไทย สําหรับใช้ในการทํารายการต่างๆ ที่เคาน์เตอร์สาขา โดยได้ครอบคลุมสาขาในกรุงเทพฯ ทั้งหมดแล้ว ได้ใช้งานมาระยะหนึ่ง และในสัปดาห์หน้าจะติดตั้งครบทุกสาขาในต่างจังหวัดทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังเตรียมนําเทคโนโลยีระบบการสแกนใบหน้ามาใช้เพิ่มเสริมจากการใช้กล้อง CCTV เดิม เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการใช้บริการมากยิ่งขึ้น รวมทั้งลดปัญหาการทุจริตในรูปแบบต่างๆ โดยธนาคารต้องการให้ทุกสาขา สามารถให้บริการลูกค้าและประชาชนด้วยมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ ฝ่ายสื่อสารองค์กรและภาพลักษณ์ ธนาคารกรุงไทย โทร 0 2208 4174-8
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรุงไทยยกระดับความปลอดภัยนำเทคโนโลยีติดตั้งเครื่องตรวจสอบบัตรประชาชนทั่วประเทศ วันอังคารที่ 15 มกราคม 2562 กรุงไทยยกระดับความปลอดภัยนําเทคโนโลยีติดตั้งเครื่องตรวจสอบบัตรประชาชนทั่วประเทศ ธนาคารกรุงไทยขอให้ลูกค้ามั่นใจในระบบงาน การให้บริการและระบบตรวจสอบที่มุ่งเน้นความโปร่งใส ทยอยติดตั้งเครื่องตรวจสอบบัตรประจําตัวประชาชนอิเล็กทรอนิกส์หน้าเคาน์เตอร์สาขาปูพรม ธนาคารกรุงไทยขอให้ลูกค้ามั่นใจในระบบงาน การให้บริการและระบบตรวจสอบที่มุ่งเน้นความโปร่งใส ทยอยติดตั้งเครื่องตรวจสอบบัตรประจําตัวประชาชนอิเล็กทรอนิกส์หน้าเคาน์เตอร์สาขาปูพรมทั่วกรุงเทพฯ 100% แล้วและคาดสัปดาห์หน้าพร้อมให้บริการครบทุกสาขาทั่วประเทศ รวมทั้งเตรียมนําระบบสแกนใบหน้ามาใช้ เพิ่มจากการติดตั้งกล้อง CCTV เดิม เพื่อยกระดับความปลอดภัยในการทําธุรกรรมการเงินและการบริการให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทุกสาขา ส่วนพนักงานสาขาปายที่ทุจริต ถูกไล่ออกและธนาคารได้ร้องทุกข์กล่าวโทษแล้ว สําหรับกรณีสาขาห้วยยอด เป็นเรื่องภายในครอบครัว ซึ่งธนาคารได้ดําเนินการปรับบัญชีให้ลูกค้าเรียบร้อยแล้ว นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยถึงกรณีสาขาปาย ซึ่งลูกค้าร้องเรียนเรื่องเงินในบัญชีหายว่า ธนาคารได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ทําการตรวจสอบตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2561 และได้ต่อยอดขยายผลจากหลักฐานพบว่าพนักงานรายนี้ทุจริตกับลูกค้าจํานวน 10 ราย รวมทั้งสิ้น 11 บัญชี 30 รายการ ยอดเงินประมาณ 5 ล้านบาท โดยธนาคารได้ทยอยปรับรายการสําหรับยอดเงินต้นและดอกเบี้ยในบัญชีของลูกค้า ตั้งแต่เดือนธันาคม 2561 ครบถ้วนทุกบัญชีเมื่อวันที่ 8 มกราคมที่ผ่านมา และธนาคารได้ไล่พนักงานรายดังกล่าวออกและร้องทุกข์กล่าวโทษในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต แสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อประโยชน์ของตนเองและผู้อื่น ปลอมแปลงเอกสาร ลักทรัพย์อันเป็นของนายจ้าง ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ และเพื่อยกระดับการควบคุมภายในของธนาคาร ในเบื้องต้นธนาคารได้ย้ายผู้จัดการสาขาและผู้จัดการสํานักงานเขตออกจากพื้นที่ ไปประจําสํานักงานภาคแล้ว สําหรับกรณีที่สาขาห้วยยอด จังหวัดตรัง เป็นเรื่องภายในครอบครัว ซึ่งลูกค้าถูกหลานสาวนําสมุดบัญชีเงินฝากของตนเองไปเบิกเงินที่ธนาคารโดยใช้เอกสารปลอมประกอบ และลูกค้าได้แจ้งความดําเนินคดีอาญากับหลานสาวของตนเองแล้วเมื่อเช้าวันนี้ (15 มกราคม 2562) และธนาคารได้ดําเนินการเพื่อปรับรายการบัญชีลูกค้าให้ถูกต้องเรียบร้อยแล้ว นายผยง ศรีวณิช ยังได้กล่าวต่อไปว่า ธนาคารยืนยันว่ามีระบบการตรวจสอบภายในที่ดี โดยที่ผ่านมาสามารถตรวจพบความผิดปกติ แต่ยอมรับว่ามีกระบวนการตรวจสอบ Post Audit ที่ยังเป็น Manual อยู่บ้าง ซึ่งต้องใช้เวลา ทําให้ยังไม่ตอบโจทย์และทันต่อเหตุการณ์ ที่ผ่านมาธนาคารได้พัฒนาระบบการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง และ ได้ยกระดับความปลอดภัยและการให้บริการ ธนาคารจึงได้นําเทคโนโลยีที่สามารถรับมือกับอาชญากรรมยุคใหม่ โดยได้ทยอยติดตั้งเครื่องตรวจสอบบัตรประจําตัวประชาชนอิเล็กทรอนิกส์ เชื่อมข้อมูลกับทะเบียนราษฎร์ กระทรวงมหาดไทย สําหรับใช้ในการทํารายการต่างๆ ที่เคาน์เตอร์สาขา โดยได้ครอบคลุมสาขาในกรุงเทพฯ ทั้งหมดแล้ว ได้ใช้งานมาระยะหนึ่ง และในสัปดาห์หน้าจะติดตั้งครบทุกสาขาในต่างจังหวัดทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังเตรียมนําเทคโนโลยีระบบการสแกนใบหน้ามาใช้เพิ่มเสริมจากการใช้กล้อง CCTV เดิม เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการใช้บริการมากยิ่งขึ้น รวมทั้งลดปัญหาการทุจริตในรูปแบบต่างๆ โดยธนาคารต้องการให้ทุกสาขา สามารถให้บริการลูกค้าและประชาชนด้วยมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ ฝ่ายสื่อสารองค์กรและภาพลักษณ์ ธนาคารกรุงไทย โทร 0 2208 4174-8
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/18144
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มหาดไทย เผยยอดลงทะเบียนประชาชนร่วมกิจกรรม “Bike อุ่นไอรัก” 3 วัน ยอดลงทะเบียนประชาชนพุ่งกว่า 2.1 แสนคน
วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน 2561 มหาดไทย เผยยอดลงทะเบียนประชาชนร่วมกิจกรรม “Bike อุ่นไอรัก” 3 วัน ยอดลงทะเบียนประชาชนพุ่งกว่า 2.1 แสนคน มหาดไทย เผยยอดลงทะเบียนประชาชนร่วมกิจกรรม “Bike อุ่นไอรัก” 3 วัน ยอดลงทะเบียนประชาชนพุ่งกว่า 2.1 แสนคน วันนี้ (21 พ.ย. 61) เวลา 17:00 น. กระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ในโอกาสที่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชานุญาตให้จัดงาน “อุ่นไอรัก คลายความหนาว สายน้ําแห่งรัตนโกสินทร์” ระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2561 ถึงวันที่ 19 มกราคม 2562 ณ พระลานพระราชวังดุสิต และสนามเสือป่า และได้พระราชทานพระราชานุญาต ให้จัดกิจกรรมปั่นจักรยาน “Bike อุ่นไอรัก” ในโอกาสพิธีเปิดงาน “อุ่นไอรัก คลายความหนาว สายน้ําแห่งรัตนโกสินทร์” เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสําคัญในการรักษาสุขภาพด้วยการออกกําลังกาย และเสริมสร้างความรักความสามัคคีในครอบครัวและสังคม ซึ่งกระทรวงมหาดไทย ได้รับมอบหมายเป็นหน่วยงานดําเนินการจัดกิจกรรม Bike อุ่นไอรัก ในส่วนภูมิภาค พร้อมกับส่วนกลางในวันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม 2561 โดยได้เปิดจัดทําระบบรับลงทะเบียนประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมในส่วนภูมิภาคตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งตลอดระยะเวลา 3 วัน มีพี่น้องประชาชนให้ความสนใจเดินทางมาลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม Bike อุ่นไอรัก ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เป็นจํานวนมาก ทั้งการลงทะเบียนที่ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอําเภอทั่วประเทศ และระบบออนไลน์ ซึ่งผลการลงทะเบียน 3 วัน ตั้งแต่วันที่ 19 – 21 พฤศจิกายน 2561 ถึงเวลา 17.00 น. มีผู้ลงทะเบียนทั้งสิ้น 217,569 คน แบ่งเป็น กรุงเทพมหานคร 46,064 คน และส่วนภูมิภาค 171,505 คน โดย 10 จังหวัดแรกที่มีจํานวนประชาชนลงทะเบียนมากที่สุด ประกอบด้วย จังหวัดนครราชสีมา 10,003 คน นราธิวาส 5,797 คน อุบลราชธานี 5,010 คน อุดรธานี 4,711 คน ชัยนาท 4,636 คน นครศรีธรรมราช 4,520 คน ขอนแก่น 4,086 คน สงขลา 4,024 คน สกลนคร 3,944 คน และชลบุรี 3,554 คน โอกาสนี้ กระทรวงมหาดไทย ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนคนไทยทั่วประเทศ ร่วมลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม “Bike อุ่นไอรัก” ซึ่งจะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม 2561 พร้อมกันทั่วประเทศ โดยสามารถลงทะเบียนได้ผ่านทางเว็บไซต์www.bikeunairak2018.com ที่ศาลากลางจังหวัด และที่ว่าการอําเภอทั่วประเทศ.
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มหาดไทย เผยยอดลงทะเบียนประชาชนร่วมกิจกรรม “Bike อุ่นไอรัก” 3 วัน ยอดลงทะเบียนประชาชนพุ่งกว่า 2.1 แสนคน วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน 2561 มหาดไทย เผยยอดลงทะเบียนประชาชนร่วมกิจกรรม “Bike อุ่นไอรัก” 3 วัน ยอดลงทะเบียนประชาชนพุ่งกว่า 2.1 แสนคน มหาดไทย เผยยอดลงทะเบียนประชาชนร่วมกิจกรรม “Bike อุ่นไอรัก” 3 วัน ยอดลงทะเบียนประชาชนพุ่งกว่า 2.1 แสนคน วันนี้ (21 พ.ย. 61) เวลา 17:00 น. กระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ในโอกาสที่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชานุญาตให้จัดงาน “อุ่นไอรัก คลายความหนาว สายน้ําแห่งรัตนโกสินทร์” ระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2561 ถึงวันที่ 19 มกราคม 2562 ณ พระลานพระราชวังดุสิต และสนามเสือป่า และได้พระราชทานพระราชานุญาต ให้จัดกิจกรรมปั่นจักรยาน “Bike อุ่นไอรัก” ในโอกาสพิธีเปิดงาน “อุ่นไอรัก คลายความหนาว สายน้ําแห่งรัตนโกสินทร์” เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสําคัญในการรักษาสุขภาพด้วยการออกกําลังกาย และเสริมสร้างความรักความสามัคคีในครอบครัวและสังคม ซึ่งกระทรวงมหาดไทย ได้รับมอบหมายเป็นหน่วยงานดําเนินการจัดกิจกรรม Bike อุ่นไอรัก ในส่วนภูมิภาค พร้อมกับส่วนกลางในวันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม 2561 โดยได้เปิดจัดทําระบบรับลงทะเบียนประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมในส่วนภูมิภาคตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งตลอดระยะเวลา 3 วัน มีพี่น้องประชาชนให้ความสนใจเดินทางมาลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม Bike อุ่นไอรัก ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เป็นจํานวนมาก ทั้งการลงทะเบียนที่ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอําเภอทั่วประเทศ และระบบออนไลน์ ซึ่งผลการลงทะเบียน 3 วัน ตั้งแต่วันที่ 19 – 21 พฤศจิกายน 2561 ถึงเวลา 17.00 น. มีผู้ลงทะเบียนทั้งสิ้น 217,569 คน แบ่งเป็น กรุงเทพมหานคร 46,064 คน และส่วนภูมิภาค 171,505 คน โดย 10 จังหวัดแรกที่มีจํานวนประชาชนลงทะเบียนมากที่สุด ประกอบด้วย จังหวัดนครราชสีมา 10,003 คน นราธิวาส 5,797 คน อุบลราชธานี 5,010 คน อุดรธานี 4,711 คน ชัยนาท 4,636 คน นครศรีธรรมราช 4,520 คน ขอนแก่น 4,086 คน สงขลา 4,024 คน สกลนคร 3,944 คน และชลบุรี 3,554 คน โอกาสนี้ กระทรวงมหาดไทย ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนคนไทยทั่วประเทศ ร่วมลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม “Bike อุ่นไอรัก” ซึ่งจะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม 2561 พร้อมกันทั่วประเทศ โดยสามารถลงทะเบียนได้ผ่านทางเว็บไซต์www.bikeunairak2018.com ที่ศาลากลางจังหวัด และที่ว่าการอําเภอทั่วประเทศ.
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/16997
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กสร. เผยผลสอบนายจ้างก่อสร้างทำเนียบ ผิดกฎหมายความปลอดภัยจริง
วันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม 2560 กสร. เผยผลสอบนายจ้างก่อสร้างทําเนียบ ผิดกฎหมายความปลอดภัยจริง กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สั่งเจ้าหน้าที่ดําเนินการตามกฎหมายโดยเร็ว หลังนายจ้างก่อสร้างปรับปรุงอาคารตึกบัญชาการ 1-2 ทําเนียบรัฐบาล รับยังไม่ปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัยในการทํางาน เป็นเหตุให้ลูกจ้างได้รับบาดเจ็บ นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่าในวันนี้ (25 ธันวาคม 2560) พนักงานตรวจความปลอดภัยได้สอบข้อเท็จจริงนายจ้าง บริษัท กันต์กนิษฐ์ ก่อสร้าง จํากัด ซึ่งดําเนินการปรับปรุงอาคารตึกบัญชาการ 1-2 ในบริเวณทําเนียบรัฐบาล กรณีลูกจ้างตกจากนั่งร้านขณะปฏิบัติงานได้บาดเจ็บ ซึ่งนายจ้างยอมรับว่ายังไม่ได้ปฏิบัติตามกฎกระทรวง เรื่อง กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551 คือไม่ได้จัดทําราวกั้นหรือรั้วกันตก ตาขาย สิ่งปดกั้น หรืออุปกรณป้องกันอื่นใด ที่มีลักษณะเดียวกัน เพื่อปองกันการพลัดตกของลูกจ้างหรือสิ่งของ และจัดให มีการใชสายหรือเชือกชวยชีวิตและเข็มขัดนิรภัยพร้อมอุปกรณ หรือเครื่องปองกันอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกันใหลูกจ้างใชในการทํางานเพื่อใหเกิดความปลอดภัย ทั้งนี้ได้สั่งการให้พนักงานตรวจความปลอดภัยรวบรวมพยานหลักฐานและดําเนินการตามกฎหมายกับนายจ้างรายนี้ต่อไป “ขอฝากเตือนไปยังนายจ้างที่มีลักษณะของการทํางานเช่นเดียวกันนี้ ให้ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันเหตุซ้ํารอย นายจ้างที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับกฎหมายความปลอดภัยสอบถามได้ที่ กองความปลอดภัยแรงงานโทรศัพท์ 0 2448 9128-39 สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 10 พื้นที่ สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด หรือที่โทรศัพท์สายด่วน 1546” อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกล่าว
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กสร. เผยผลสอบนายจ้างก่อสร้างทำเนียบ ผิดกฎหมายความปลอดภัยจริง วันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม 2560 กสร. เผยผลสอบนายจ้างก่อสร้างทําเนียบ ผิดกฎหมายความปลอดภัยจริง กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สั่งเจ้าหน้าที่ดําเนินการตามกฎหมายโดยเร็ว หลังนายจ้างก่อสร้างปรับปรุงอาคารตึกบัญชาการ 1-2 ทําเนียบรัฐบาล รับยังไม่ปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัยในการทํางาน เป็นเหตุให้ลูกจ้างได้รับบาดเจ็บ นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่าในวันนี้ (25 ธันวาคม 2560) พนักงานตรวจความปลอดภัยได้สอบข้อเท็จจริงนายจ้าง บริษัท กันต์กนิษฐ์ ก่อสร้าง จํากัด ซึ่งดําเนินการปรับปรุงอาคารตึกบัญชาการ 1-2 ในบริเวณทําเนียบรัฐบาล กรณีลูกจ้างตกจากนั่งร้านขณะปฏิบัติงานได้บาดเจ็บ ซึ่งนายจ้างยอมรับว่ายังไม่ได้ปฏิบัติตามกฎกระทรวง เรื่อง กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551 คือไม่ได้จัดทําราวกั้นหรือรั้วกันตก ตาขาย สิ่งปดกั้น หรืออุปกรณป้องกันอื่นใด ที่มีลักษณะเดียวกัน เพื่อปองกันการพลัดตกของลูกจ้างหรือสิ่งของ และจัดให มีการใชสายหรือเชือกชวยชีวิตและเข็มขัดนิรภัยพร้อมอุปกรณ หรือเครื่องปองกันอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกันใหลูกจ้างใชในการทํางานเพื่อใหเกิดความปลอดภัย ทั้งนี้ได้สั่งการให้พนักงานตรวจความปลอดภัยรวบรวมพยานหลักฐานและดําเนินการตามกฎหมายกับนายจ้างรายนี้ต่อไป “ขอฝากเตือนไปยังนายจ้างที่มีลักษณะของการทํางานเช่นเดียวกันนี้ ให้ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันเหตุซ้ํารอย นายจ้างที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับกฎหมายความปลอดภัยสอบถามได้ที่ กองความปลอดภัยแรงงานโทรศัพท์ 0 2448 9128-39 สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 10 พื้นที่ สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด หรือที่โทรศัพท์สายด่วน 1546” อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกล่าว
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/8993
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สรุปประเด็นนายกรัฐมนตรีกล่าวในรายการศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน 2561
วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน 2561 สรุปประเด็นนายกรัฐมนตรีกล่าวในรายการศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน 2561 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้กล่าวกับประชาชนผ่านรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ทางสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ในวันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน 2561 เวลา 20.15 น. ในประเด็นต่าง ๆ ซึ่งสรุปสาระสําคัญดังนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงแนวทางการสร้างความเชื่อมโยงเศรษฐกิจฐานราก (จุลภาค) กับระดับประเทศ(มหภาค) ด้วยการกระจายรายได้ไปยังเศรษฐกิจฐานราก โดยต้องเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ พร้อมเพิ่มการแปรรูป การปรับใช้เทคโนโลยี และการสร้างนวัตกรรม รวมถึงการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ให้กระจายลงไปจนถึงฐานราก ทั้งนี้ เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรและชุมชนในเศรษฐกิจฐานราก สามารถนําไปใช้ประโยชน์ในการปรับตัว ตลอดจนการพัฒนาตนเอง เพื่อเสริมสร้างรายได้มากยิ่งขึ้น สําหรับการลงพื้นที่ของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีที่ผ่านมา (11-12 มิ.ย. 61) ของพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 2 ที่จังหวัดพิจิตรและนครสวรรค์ในครั้งนี้นั้น เป็นแนวคิดของการนําไปประยุกต์ใช้ พร้อมกับการขับเคลื่อนของจังหวัดพิจิตร โดยยึดหลักการ “ระเบิดจากข้างใน” ตามกลไกประชารัฐและโครงการไทยนิยม ยั่งยืน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดที่รัฐบาลต้องการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและพลังของชุมชน จากการพัฒนาบึงสีไฟ ในช่วงปี 2559 นั้น ซึ่งเป็นกลไกประชารัฐ ในการช่วยแก้ไขปัญหาด้วยความร่วมแรงร่วมใจกันเปิดเส้นทางน้ํา กําจัดผักตบชวา ตลอดจนแม่น้ําที่เคยแห้งขอดและอุดตัน ให้ไหลผ่านตลอดทั้งสายความยาว 127 กิโลเมตร เปิดทางน้ําให้เข้ามาเติมในบึงสีไฟได้ ทําให้เห็นความร่วมมือระหว่างองค์กรเครือข่ายภาครัฐ และภาคประชาชน เช่น จังหวัดคุณธรรม โรงเรียนผู้นําตามรอยพ่อ ชมรมผู้สูงอายุ ชมรมคนรักในหลวง ชมรมดูนกพิจิตร และกลุ่มคนพิจิตรคืนชีวิตให้บึงสีไฟ เป็นต้น ด้านการเตรียมความพร้อมสู่การพัฒนายกระดับ “บึงสีไฟ” ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ และพันธุ์สัตว์น้ําที่สําคัญของประเทศ โดยการก่อสร้าง ปรับปรุง และพัฒนาอาคารพิพิธภัณฑ์จระเข้ รวมถึง การปรับปรุงอาคารพิพิธภัณฑ์จัดแสดงพันธุ์ปลา เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ให้สมบูรณ์แบบ ขณะเดียวกันนายรักกี้ สุขประเสริฐ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 4 ตําบลย่านยาวได้ร่วมกับแกนนําชาวบ้านอีกจํานวนหนึ่งพัฒนาแม่น้ําพิจิตร ด้วยการทําความสะอาดและนําน้ําลงมาเติมให้กับแม่น้ํา อย่างต่อเนื่อง โดยการผันน้ําจากคลอง และปรับปรุงอาคารบังคับน้ําดงเศรษฐีที่กั้นระหว่างแม่น้ําน่านกับแม่น้ําพิจิตร ทําให้น้ําจากแม่น้ําน่านไหลเข้าสู่แม่น้ําพิจิตรได้เป็นครั้งแรก ในปี 2560 ก่อให้เกิดความตื่นเต้นและความหวังภายในใจประชาชนใน 4 อําเภอ 13 ตําบล เพราะสองฝั่งแม่น้ําพิจิตร เป็น “สายน้ําแห่งความหวัง” ในพื้นที่ตอนล่างของลุ่มน้ํานี้ อีกด้วย นอกจากนี้ การพัฒนาแม่น้ําพิจิตร มีการก่อตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ําที่ใช้ชื่อว่า “ขุนศึกลูกพ่อปู่ กอบกู้แม่น้ําพิจิตร” อีกด้วย ทั้งนี้ รัฐบาลยังได้สนับสนุนโครงการการฝึกอบรมการทําเกษตรผสมผสานด้วยการเน้นปริมาณผลผลิตเพื่อการค้าขาย มาเป็นแบบพึ่งพาตนเองเพื่อบริโภคในครัวเรือน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยฟื้นฟูพื้นที่เพาะปลูกและริเริ่มทําการเกษตรทฤษฎีใหม่ รวมถึงแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วนตามหลักการ “30-30-30-10” คือ นาข้าว 6 ไร่ น้ํา 6 ไร่ ไม้ผล 6 ไร่ ที่อยู่อาศัย พืชผักสวนครัว และเลี้ยงสัตว์ 2 ไร่ ตามลําดับ ทําให้มีผลผลิตเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน หรือแลกเปลี่ยนผลผลิตภายในชุมชน ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า ในการทําเกษตรกรรม โดยเน้นการน้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเกษตรทฤษฎีใหม่ มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ อีกทั้งมีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่อย่างคุ้มค่ามากที่สุด ส่งผลให้ประชาชนภายในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างแท้จริง นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวถึงการจัดงานนิทรรศการระดับชาติ ถือเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ส่งเสริมการขาย และการเข้าถึงสินค้าทางธุรกิจ ในงาน OTOP Midyear 2018 ภายใต้แนวคิด “เอกลักษณ์จากเสน่ห์วิถีไทยนิยม” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 – 17 มิถุนายน 2561 นี้ ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นโครงการที่มีส่วนสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจมหภาค รวมทั้งการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างอาชีพ ให้กับพี่น้องประชาชนทุกภาคส่วน โดยการพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตและผู้ประกอบการ ให้สามารถพัฒนา และยกระดับผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน นําไปสู่การแข่งขันในตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ได้แก่ ตลาดท้องถิ่น ตลาดภูมิภาค ตลาดต่างประเทศ และตลาดออนไลน์ รวมทั้งการซื้อขายผ่านระบบ e-Commerce ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ให้ก้าวเข้าสู่โมเดล “Thailand 4.0” อย่างแท้จริง ในตอนท้ายของรายการฯ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึง “เทศกาลการแข่งขันกีฬาฟุตบอลโลก 2018” ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศรัสซีย โดยนายกรัฐมนตรีได้แสดงความห่วงใยต่อเด็กและเยาวชน ให้เชียร์ฟุตบอลโลกอย่างมีสติเพื่อความสนุกสนานและเพลิดเพลิน ซึ่งจะเป็นการสร้างแรงบันดาลใจเพื่อนํามาพัฒนาตนเอง โดยให้ผู้ปกครองดูแลอย่างใกล้ชิดให้ห่างไกลจากอบายมุขทุกประเภท ทั้งนี้ รัฐบาลโดยกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข พร้อมให้บริการคําปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านสายด่วน 1323 เพื่อแก้ปัญหาการพนัน“ฟุตบอลโลกออนไลน์ 2018” อย่างเป็นรูปธรรม .................................................................. กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สรุปประเด็นนายกรัฐมนตรีกล่าวในรายการศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน 2561 วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน 2561 สรุปประเด็นนายกรัฐมนตรีกล่าวในรายการศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน 2561 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้กล่าวกับประชาชนผ่านรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ทางสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ในวันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน 2561 เวลา 20.15 น. ในประเด็นต่าง ๆ ซึ่งสรุปสาระสําคัญดังนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงแนวทางการสร้างความเชื่อมโยงเศรษฐกิจฐานราก (จุลภาค) กับระดับประเทศ(มหภาค) ด้วยการกระจายรายได้ไปยังเศรษฐกิจฐานราก โดยต้องเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ พร้อมเพิ่มการแปรรูป การปรับใช้เทคโนโลยี และการสร้างนวัตกรรม รวมถึงการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ให้กระจายลงไปจนถึงฐานราก ทั้งนี้ เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรและชุมชนในเศรษฐกิจฐานราก สามารถนําไปใช้ประโยชน์ในการปรับตัว ตลอดจนการพัฒนาตนเอง เพื่อเสริมสร้างรายได้มากยิ่งขึ้น สําหรับการลงพื้นที่ของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีที่ผ่านมา (11-12 มิ.ย. 61) ของพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 2 ที่จังหวัดพิจิตรและนครสวรรค์ในครั้งนี้นั้น เป็นแนวคิดของการนําไปประยุกต์ใช้ พร้อมกับการขับเคลื่อนของจังหวัดพิจิตร โดยยึดหลักการ “ระเบิดจากข้างใน” ตามกลไกประชารัฐและโครงการไทยนิยม ยั่งยืน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดที่รัฐบาลต้องการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและพลังของชุมชน จากการพัฒนาบึงสีไฟ ในช่วงปี 2559 นั้น ซึ่งเป็นกลไกประชารัฐ ในการช่วยแก้ไขปัญหาด้วยความร่วมแรงร่วมใจกันเปิดเส้นทางน้ํา กําจัดผักตบชวา ตลอดจนแม่น้ําที่เคยแห้งขอดและอุดตัน ให้ไหลผ่านตลอดทั้งสายความยาว 127 กิโลเมตร เปิดทางน้ําให้เข้ามาเติมในบึงสีไฟได้ ทําให้เห็นความร่วมมือระหว่างองค์กรเครือข่ายภาครัฐ และภาคประชาชน เช่น จังหวัดคุณธรรม โรงเรียนผู้นําตามรอยพ่อ ชมรมผู้สูงอายุ ชมรมคนรักในหลวง ชมรมดูนกพิจิตร และกลุ่มคนพิจิตรคืนชีวิตให้บึงสีไฟ เป็นต้น ด้านการเตรียมความพร้อมสู่การพัฒนายกระดับ “บึงสีไฟ” ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ และพันธุ์สัตว์น้ําที่สําคัญของประเทศ โดยการก่อสร้าง ปรับปรุง และพัฒนาอาคารพิพิธภัณฑ์จระเข้ รวมถึง การปรับปรุงอาคารพิพิธภัณฑ์จัดแสดงพันธุ์ปลา เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ให้สมบูรณ์แบบ ขณะเดียวกันนายรักกี้ สุขประเสริฐ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 4 ตําบลย่านยาวได้ร่วมกับแกนนําชาวบ้านอีกจํานวนหนึ่งพัฒนาแม่น้ําพิจิตร ด้วยการทําความสะอาดและนําน้ําลงมาเติมให้กับแม่น้ํา อย่างต่อเนื่อง โดยการผันน้ําจากคลอง และปรับปรุงอาคารบังคับน้ําดงเศรษฐีที่กั้นระหว่างแม่น้ําน่านกับแม่น้ําพิจิตร ทําให้น้ําจากแม่น้ําน่านไหลเข้าสู่แม่น้ําพิจิตรได้เป็นครั้งแรก ในปี 2560 ก่อให้เกิดความตื่นเต้นและความหวังภายในใจประชาชนใน 4 อําเภอ 13 ตําบล เพราะสองฝั่งแม่น้ําพิจิตร เป็น “สายน้ําแห่งความหวัง” ในพื้นที่ตอนล่างของลุ่มน้ํานี้ อีกด้วย นอกจากนี้ การพัฒนาแม่น้ําพิจิตร มีการก่อตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ําที่ใช้ชื่อว่า “ขุนศึกลูกพ่อปู่ กอบกู้แม่น้ําพิจิตร” อีกด้วย ทั้งนี้ รัฐบาลยังได้สนับสนุนโครงการการฝึกอบรมการทําเกษตรผสมผสานด้วยการเน้นปริมาณผลผลิตเพื่อการค้าขาย มาเป็นแบบพึ่งพาตนเองเพื่อบริโภคในครัวเรือน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยฟื้นฟูพื้นที่เพาะปลูกและริเริ่มทําการเกษตรทฤษฎีใหม่ รวมถึงแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วนตามหลักการ “30-30-30-10” คือ นาข้าว 6 ไร่ น้ํา 6 ไร่ ไม้ผล 6 ไร่ ที่อยู่อาศัย พืชผักสวนครัว และเลี้ยงสัตว์ 2 ไร่ ตามลําดับ ทําให้มีผลผลิตเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน หรือแลกเปลี่ยนผลผลิตภายในชุมชน ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า ในการทําเกษตรกรรม โดยเน้นการน้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเกษตรทฤษฎีใหม่ มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ อีกทั้งมีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่อย่างคุ้มค่ามากที่สุด ส่งผลให้ประชาชนภายในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างแท้จริง นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวถึงการจัดงานนิทรรศการระดับชาติ ถือเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ส่งเสริมการขาย และการเข้าถึงสินค้าทางธุรกิจ ในงาน OTOP Midyear 2018 ภายใต้แนวคิด “เอกลักษณ์จากเสน่ห์วิถีไทยนิยม” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 – 17 มิถุนายน 2561 นี้ ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นโครงการที่มีส่วนสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจมหภาค รวมทั้งการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างอาชีพ ให้กับพี่น้องประชาชนทุกภาคส่วน โดยการพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตและผู้ประกอบการ ให้สามารถพัฒนา และยกระดับผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน นําไปสู่การแข่งขันในตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ได้แก่ ตลาดท้องถิ่น ตลาดภูมิภาค ตลาดต่างประเทศ และตลาดออนไลน์ รวมทั้งการซื้อขายผ่านระบบ e-Commerce ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ให้ก้าวเข้าสู่โมเดล “Thailand 4.0” อย่างแท้จริง ในตอนท้ายของรายการฯ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึง “เทศกาลการแข่งขันกีฬาฟุตบอลโลก 2018” ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศรัสซีย โดยนายกรัฐมนตรีได้แสดงความห่วงใยต่อเด็กและเยาวชน ให้เชียร์ฟุตบอลโลกอย่างมีสติเพื่อความสนุกสนานและเพลิดเพลิน ซึ่งจะเป็นการสร้างแรงบันดาลใจเพื่อนํามาพัฒนาตนเอง โดยให้ผู้ปกครองดูแลอย่างใกล้ชิดให้ห่างไกลจากอบายมุขทุกประเภท ทั้งนี้ รัฐบาลโดยกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข พร้อมให้บริการคําปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านสายด่วน 1323 เพื่อแก้ปัญหาการพนัน“ฟุตบอลโลกออนไลน์ 2018” อย่างเป็นรูปธรรม .................................................................. กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/13090
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีสั่งการ ก.แรงงาน เร่งเตรียมความพร้อมให้กับแรงงานไทยที่สนใจไปทำงานต่างประเทศ หลังสถานการณ์โควิด 19 คลี่คลาย
วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน 2563 นายกรัฐมนตรีสั่งการ ก.แรงงาน เร่งเตรียมความพร้อมให้กับแรงงานไทยที่สนใจไปทํางานต่างประเทศ หลังสถานการณ์โควิด 19 คลี่คลาย นายกรัฐมนตรีสั่งการ ก.แรงงาน เร่งเตรียมความพร้อมให้กับแรงงานไทยที่สนใจไปทํางานต่างประเทศ หลังสถานการณ์โควิด 19 คลี่คลาย ศาสตราจารย์นฤมลภิญโญสินวัฒนาโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีเผยจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด19ทําให้ช่วงครึ่งแรกของปี2563 ประเทศต่างๆทั่วโลกประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว แต่คาดว่ากิจกรรมด้านเศรษฐกิจจะกลับมาสู่สภาพปกติโดยเร็ว พลเอกประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมให้ความสําคัญกับผู้ใช้แรงงานซึ่งแรงงานไทยเป็นประเทศลําดับต้นๆที่ตลาดแรงงานในต่างประเทศต้องการทั้งในประเทศที่เป็นคู่เจรจาเดิมและที่เป็นที่นิยมของแรงงานไทยเช่น ไต้หวัน สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย ญี่ปุ่น อิสราเอล และในภูมิภาคอื่นทั่วโลกต่างยอมรับเรื่องความมีวินัยและทักษะฝีมือของแรงงาน ประกอบกับประเทศไทยมีการบริหารจัดการโรคโควิด19ได้เป็นอย่างดีจนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ ทั้งนี้ที่ผ่านมามีผู้แทนจากประเทศต่างๆ เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีอาทิเช่นเอกอัครราชทูตคูเวตได้แจ้งความประสงค์ต้องการแรงงานไทยไปทํางานในการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กรมการจัดหางานกระทรวงแรงงานร่วมกับภาคเอกชนเร่งเตรียมความพร้อมในการจัดส่งแรงงานไทยไปทํางานต่างประเทศให้ได้รับประโยชน์สูงสุด ได้ทํางานอย่างมีศักดิ์ศรีมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีโอกาสได้รับการพัฒนาทักษะฝีมือรวมถึงทักษะด้านภาษาซึ่งหากการเดินทางระหว่างประเทศสามารถทําได้ตามปกติสามารถจัดส่งแรงงานไทยไปทํางานต่างประเทศได้ทันทีให้ใกล้เคียงกับเป้าหมายจํานวน 100,000คนตามที่ตั้งเป้าไว้คาดว่าจะทําให้มีรายได้เข้าประเทศกว่า140,000ล้านบาท ทั้งนี้ขอย้ําให้แรงงานไทยที่สนใจเดินทางไปทํางานต่างประเทศเดินทางไปทํางานอย่างถูกต้องตามกฎหมายเตรียมร่างกายและทักษะฝีมือไว้ให้พร้อมรัฐบาลพร้อมให้การสนับสนุนอํานวยความสะดวกในด้านต่างๆ ............................. กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีสั่งการ ก.แรงงาน เร่งเตรียมความพร้อมให้กับแรงงานไทยที่สนใจไปทำงานต่างประเทศ หลังสถานการณ์โควิด 19 คลี่คลาย วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน 2563 นายกรัฐมนตรีสั่งการ ก.แรงงาน เร่งเตรียมความพร้อมให้กับแรงงานไทยที่สนใจไปทํางานต่างประเทศ หลังสถานการณ์โควิด 19 คลี่คลาย นายกรัฐมนตรีสั่งการ ก.แรงงาน เร่งเตรียมความพร้อมให้กับแรงงานไทยที่สนใจไปทํางานต่างประเทศ หลังสถานการณ์โควิด 19 คลี่คลาย ศาสตราจารย์นฤมลภิญโญสินวัฒนาโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีเผยจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด19ทําให้ช่วงครึ่งแรกของปี2563 ประเทศต่างๆทั่วโลกประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว แต่คาดว่ากิจกรรมด้านเศรษฐกิจจะกลับมาสู่สภาพปกติโดยเร็ว พลเอกประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมให้ความสําคัญกับผู้ใช้แรงงานซึ่งแรงงานไทยเป็นประเทศลําดับต้นๆที่ตลาดแรงงานในต่างประเทศต้องการทั้งในประเทศที่เป็นคู่เจรจาเดิมและที่เป็นที่นิยมของแรงงานไทยเช่น ไต้หวัน สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย ญี่ปุ่น อิสราเอล และในภูมิภาคอื่นทั่วโลกต่างยอมรับเรื่องความมีวินัยและทักษะฝีมือของแรงงาน ประกอบกับประเทศไทยมีการบริหารจัดการโรคโควิด19ได้เป็นอย่างดีจนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ ทั้งนี้ที่ผ่านมามีผู้แทนจากประเทศต่างๆ เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีอาทิเช่นเอกอัครราชทูตคูเวตได้แจ้งความประสงค์ต้องการแรงงานไทยไปทํางานในการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กรมการจัดหางานกระทรวงแรงงานร่วมกับภาคเอกชนเร่งเตรียมความพร้อมในการจัดส่งแรงงานไทยไปทํางานต่างประเทศให้ได้รับประโยชน์สูงสุด ได้ทํางานอย่างมีศักดิ์ศรีมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีโอกาสได้รับการพัฒนาทักษะฝีมือรวมถึงทักษะด้านภาษาซึ่งหากการเดินทางระหว่างประเทศสามารถทําได้ตามปกติสามารถจัดส่งแรงงานไทยไปทํางานต่างประเทศได้ทันทีให้ใกล้เคียงกับเป้าหมายจํานวน 100,000คนตามที่ตั้งเป้าไว้คาดว่าจะทําให้มีรายได้เข้าประเทศกว่า140,000ล้านบาท ทั้งนี้ขอย้ําให้แรงงานไทยที่สนใจเดินทางไปทํางานต่างประเทศเดินทางไปทํางานอย่างถูกต้องตามกฎหมายเตรียมร่างกายและทักษะฝีมือไว้ให้พร้อมรัฐบาลพร้อมให้การสนับสนุนอํานวยความสะดวกในด้านต่างๆ ............................. กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/32018
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธอส.ลดภาระลูกค้าสินเชื่อบ้าน ประกาศลดดอกเบี้ยเงินกู้ 0.100% - 0.350% ต่อปี
วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม 2563 ธอส.ลดภาระลูกค้าสินเชื่อบ้าน ประกาศลดดอกเบี้ยเงินกู้ 0.100% - 0.350% ต่อปี ธอส.ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลง 0.100% - 0.350% ต่อปี เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยของสินเชื่อที่อยู่อาศัยให้กับลูกค้าประชาชน ประกอบด้วย อัตราดอกเบี้ย MRR ลดลงเหลือ 6.275% ต่อปี และอัตราดอกเบี้ย MOR ลดลงเหลือ 6.150% ต่อปี ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลง 0.100% - 0.350% ต่อปี เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยของสินเชื่อที่อยู่อาศัยให้กับลูกค้าประชาชน ประกอบด้วย อัตราดอกเบี้ย MRR ลดลงเหลือ 6.275% ต่อปี และอัตราดอกเบี้ย MOR ลดลงเหลือ 6.150% ต่อปี โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า เพื่อสนับสนุนการประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งพบว่าปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา(COVID-19) ได้มีผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจไทยมากขึ้น ธอส. ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่มีพันธกิจ “ทําให้คนไทยมีบ้าน” จึงประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลง 0.100% - 0.350% ต่อปี เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยให้กับลูกค้าของ ธอส. และสนับสนุนให้เกิดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วย อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลดลง 0.100% ต่อปี จาก 6.375% ต่อปี ลดลงเหลือ 6.275% ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้เบิกเกินบัญชี (MOR) ลดลง 0.350% ต่อปี จาก 6.500% ต่อปี ลดลงเหลือ 6.150% ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) คงไว้ที่ 5.875 % ต่อปี กําหนดให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยของ ธอส. ยังคงเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยที่ต่ําที่สุดในระบบสถาบันการเงินในปัจจุบัน สอบถามรายละเอียดหรือติดตามข้อมูลข่าวสารของธนาคารเพิ่มเติมได้ที่ www.ghbank.co.th หรือ Facebook Fanpage ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center) โทร 0-2645-9000
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธอส.ลดภาระลูกค้าสินเชื่อบ้าน ประกาศลดดอกเบี้ยเงินกู้ 0.100% - 0.350% ต่อปี วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม 2563 ธอส.ลดภาระลูกค้าสินเชื่อบ้าน ประกาศลดดอกเบี้ยเงินกู้ 0.100% - 0.350% ต่อปี ธอส.ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลง 0.100% - 0.350% ต่อปี เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยของสินเชื่อที่อยู่อาศัยให้กับลูกค้าประชาชน ประกอบด้วย อัตราดอกเบี้ย MRR ลดลงเหลือ 6.275% ต่อปี และอัตราดอกเบี้ย MOR ลดลงเหลือ 6.150% ต่อปี ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลง 0.100% - 0.350% ต่อปี เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยของสินเชื่อที่อยู่อาศัยให้กับลูกค้าประชาชน ประกอบด้วย อัตราดอกเบี้ย MRR ลดลงเหลือ 6.275% ต่อปี และอัตราดอกเบี้ย MOR ลดลงเหลือ 6.150% ต่อปี โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า เพื่อสนับสนุนการประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งพบว่าปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา(COVID-19) ได้มีผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจไทยมากขึ้น ธอส. ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่มีพันธกิจ “ทําให้คนไทยมีบ้าน” จึงประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลง 0.100% - 0.350% ต่อปี เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยให้กับลูกค้าของ ธอส. และสนับสนุนให้เกิดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วย อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลดลง 0.100% ต่อปี จาก 6.375% ต่อปี ลดลงเหลือ 6.275% ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้เบิกเกินบัญชี (MOR) ลดลง 0.350% ต่อปี จาก 6.500% ต่อปี ลดลงเหลือ 6.150% ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) คงไว้ที่ 5.875 % ต่อปี กําหนดให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยของ ธอส. ยังคงเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยที่ต่ําที่สุดในระบบสถาบันการเงินในปัจจุบัน สอบถามรายละเอียดหรือติดตามข้อมูลข่าวสารของธนาคารเพิ่มเติมได้ที่ www.ghbank.co.th หรือ Facebook Fanpage ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center) โทร 0-2645-9000
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/27886
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรี พร้อมส่งเสริมเสริมเด็กนักเรียนที่มีความสามารถเป็นเลิศ โดยให้บุคลากรครูเป็นผู้ชี้แนวทาง ตามนโยบาย “เด็กเก่ง เพราะครูดี มีคุณภาพ ชาติพัฒนา”
วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560 นายกรัฐมนตรี พร้อมส่งเสริมเสริมเด็กนักเรียนที่มีความสามารถเป็นเลิศ โดยให้บุคลากรครูเป็นผู้ชี้แนวทาง ตามนโยบาย “เด็กเก่ง เพราะครูดี มีคุณภาพ ชาติพัฒนา” นายกรัฐมนตรี พร้อมส่งเสริมเสริมเด็กนักเรียนที่มีความสามารถเป็นเลิศ โดยให้บุคลากรครูเป็นผู้ชี้แนวทาง ตามนโยบาย “เด็กเก่ง เพราะครูดี มีคุณภาพ ชาติพัฒนา” นายกรัฐมนตรี พร้อมส่งเสริมเสริมเด็กนักเรียนที่มีความสามารถเป็นเลิศ โดยให้บุคลากรครูเป็นผู้ชี้แนวทาง ตามนโยบาย “เด็กเก่ง เพราะครูดี มีคุณภาพ ชาติพัฒนา” วันนี้ (7 กุมภาพันธ์ 2560) เวลา 09.00 น. ณ บริเวณด้านหน้าตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี นายธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล และ พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้ง ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัดกระกระทรวงศึกษาธิการ นําคณะนักเรียน นักศึกษาที่มีความสามารถเป็นเลิศ มาพบ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นขวัญและกําลังใจในการพัฒนาตัวเองต่อไป สําหรับนักเรียนที่มีความสามารถเป็นเลิศ ได้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ นักเรียนที่มีความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์ นักเรียนที่มีความเป็นเลิศด้านภาษาอังกฤษ และนักเรียนที่ได้รับรางวัลระดับนานาชาติ รวมทั้งสิ้น 22 คน คือ 1) กลุ่มความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์ (คิดเลขเร็ว) จํานวน 6 คน โดยจัดกิจกรรมการทดสอบศักยภาพความสามารถคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาในด้านจินตคณิต เวทคณิต และการคิดเลขเร็ว รวมไปถึงการถามจดตัวเลข แล้วค่อยหาคําตอบด้วยระยะเวลาอันสั้น ตัวอย่าง 2356+ 6789 - 569 = เท่าไหร่ อีกทั้งหาคําตอบ ตัวเลขรวมกันให้ได้ = 24 2) กลุ่มความเป็นเลิศด้านภาษาอังกฤษ จํานวน 5 คน โดยการจัดกิจกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษ โดยให้นักเรียนแต่ละโรงเรียนแนะนําจังหวัดของตนเองเป็นเวลาสั้น ๆ เช่น นักเรียนจังหวัดจันทบุรี โดย เด็กนักเรียนได้ร่วมกันกล่าวว่า I love you Uncla Tu 3) กลุ่มความเป็นเลิศด้านกีฬา เป็นกลุ่มนักเรียนที่มีศักยภาพ และทักษะกีฬาฟุตบอลและวอลเลย์บอล จํานวน 5 คน และ 4) นักเรียนตัวแทนที่ไปแข่งขันกีฬาโอลิมปิกด้านวิชาการ ทั้งในด้านของวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ จํานวน 4 คน โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวชื่นชมว่า เด็กเหล่านี้เป็นความภาคภูมิใจให้กับผู้ปกครอง และครู ควรวางรากฐานให้นักเรียนเหล่านี้ได้พัฒนาฝีมือต่อไปในอนาคต ซึ่งจะทําให้เด็กมีจินตนาการสามารภนําจินตนาการเหล่านั้นไปประยุกต์พัฒนาใช้ในชีวิตประจําวันได้ โดยฝึกทักษะให้เป็นคนเก่ง สามาถทํางานได้ ทํางานเป็น และที่สําคัญเป็นเด็กที่อยู่ในกรอบและมีระเบียบวินัยด้วย ทั้งหมดนี้ จะต้องอาศัยครูเป็นผู้อบรมสั่งสอน เพราะครูคือส่วนสําคัญในการผลิตเด็กนักเรียนที่ดี นักเรียนจะดีได้ก็จะต้องมีครูที่ดี ที่จะช่วยสอนนักเรียนเหล่านี้ให้เป็นนักเรียนที่มีคุณภาพ เพื่อให้บุคคลเหล่านี้เป็นกําลังสําคัญที่จะพัฒนาประเทศในวันข้างหน้า นั่นคือการปฏิรูปการศึกษาของไทย โดยให้นักเรียนเหล่านี้ได้รับการฝึกฝนทักษะพัฒนาสมองโดยครู และให้บุคคลเหล่านี้นําความสามารถที่มีมาต่อยอดในการพัฒนาตัวเองและพัฒนาประเทศไทยให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไป ตามนโยบาย “เด็กเก่ง เพราะครูดี มีคุณภาพ ชาติพัฒนา” ---------------------------------------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรี พร้อมส่งเสริมเสริมเด็กนักเรียนที่มีความสามารถเป็นเลิศ โดยให้บุคลากรครูเป็นผู้ชี้แนวทาง ตามนโยบาย “เด็กเก่ง เพราะครูดี มีคุณภาพ ชาติพัฒนา” วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560 นายกรัฐมนตรี พร้อมส่งเสริมเสริมเด็กนักเรียนที่มีความสามารถเป็นเลิศ โดยให้บุคลากรครูเป็นผู้ชี้แนวทาง ตามนโยบาย “เด็กเก่ง เพราะครูดี มีคุณภาพ ชาติพัฒนา” นายกรัฐมนตรี พร้อมส่งเสริมเสริมเด็กนักเรียนที่มีความสามารถเป็นเลิศ โดยให้บุคลากรครูเป็นผู้ชี้แนวทาง ตามนโยบาย “เด็กเก่ง เพราะครูดี มีคุณภาพ ชาติพัฒนา” นายกรัฐมนตรี พร้อมส่งเสริมเสริมเด็กนักเรียนที่มีความสามารถเป็นเลิศ โดยให้บุคลากรครูเป็นผู้ชี้แนวทาง ตามนโยบาย “เด็กเก่ง เพราะครูดี มีคุณภาพ ชาติพัฒนา” วันนี้ (7 กุมภาพันธ์ 2560) เวลา 09.00 น. ณ บริเวณด้านหน้าตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี นายธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล และ พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้ง ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัดกระกระทรวงศึกษาธิการ นําคณะนักเรียน นักศึกษาที่มีความสามารถเป็นเลิศ มาพบ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นขวัญและกําลังใจในการพัฒนาตัวเองต่อไป สําหรับนักเรียนที่มีความสามารถเป็นเลิศ ได้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ นักเรียนที่มีความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์ นักเรียนที่มีความเป็นเลิศด้านภาษาอังกฤษ และนักเรียนที่ได้รับรางวัลระดับนานาชาติ รวมทั้งสิ้น 22 คน คือ 1) กลุ่มความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์ (คิดเลขเร็ว) จํานวน 6 คน โดยจัดกิจกรรมการทดสอบศักยภาพความสามารถคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาในด้านจินตคณิต เวทคณิต และการคิดเลขเร็ว รวมไปถึงการถามจดตัวเลข แล้วค่อยหาคําตอบด้วยระยะเวลาอันสั้น ตัวอย่าง 2356+ 6789 - 569 = เท่าไหร่ อีกทั้งหาคําตอบ ตัวเลขรวมกันให้ได้ = 24 2) กลุ่มความเป็นเลิศด้านภาษาอังกฤษ จํานวน 5 คน โดยการจัดกิจกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษ โดยให้นักเรียนแต่ละโรงเรียนแนะนําจังหวัดของตนเองเป็นเวลาสั้น ๆ เช่น นักเรียนจังหวัดจันทบุรี โดย เด็กนักเรียนได้ร่วมกันกล่าวว่า I love you Uncla Tu 3) กลุ่มความเป็นเลิศด้านกีฬา เป็นกลุ่มนักเรียนที่มีศักยภาพ และทักษะกีฬาฟุตบอลและวอลเลย์บอล จํานวน 5 คน และ 4) นักเรียนตัวแทนที่ไปแข่งขันกีฬาโอลิมปิกด้านวิชาการ ทั้งในด้านของวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ จํานวน 4 คน โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวชื่นชมว่า เด็กเหล่านี้เป็นความภาคภูมิใจให้กับผู้ปกครอง และครู ควรวางรากฐานให้นักเรียนเหล่านี้ได้พัฒนาฝีมือต่อไปในอนาคต ซึ่งจะทําให้เด็กมีจินตนาการสามารภนําจินตนาการเหล่านั้นไปประยุกต์พัฒนาใช้ในชีวิตประจําวันได้ โดยฝึกทักษะให้เป็นคนเก่ง สามาถทํางานได้ ทํางานเป็น และที่สําคัญเป็นเด็กที่อยู่ในกรอบและมีระเบียบวินัยด้วย ทั้งหมดนี้ จะต้องอาศัยครูเป็นผู้อบรมสั่งสอน เพราะครูคือส่วนสําคัญในการผลิตเด็กนักเรียนที่ดี นักเรียนจะดีได้ก็จะต้องมีครูที่ดี ที่จะช่วยสอนนักเรียนเหล่านี้ให้เป็นนักเรียนที่มีคุณภาพ เพื่อให้บุคคลเหล่านี้เป็นกําลังสําคัญที่จะพัฒนาประเทศในวันข้างหน้า นั่นคือการปฏิรูปการศึกษาของไทย โดยให้นักเรียนเหล่านี้ได้รับการฝึกฝนทักษะพัฒนาสมองโดยครู และให้บุคคลเหล่านี้นําความสามารถที่มีมาต่อยอดในการพัฒนาตัวเองและพัฒนาประเทศไทยให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไป ตามนโยบาย “เด็กเก่ง เพราะครูดี มีคุณภาพ ชาติพัฒนา” ---------------------------------------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/1749
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“บิ๊กอู๋”ปลื้ม เด็กไทยเจ๋ง! กวาด 16 ทอง คว้าแชมป์ฝีมือแรงงานอาเซียนสำเร็จ
วันพุธที่ 5 กันยายน 2561 “บิ๊กอู๋”ปลื้ม เด็กไทยเจ๋ง! กวาด 16 ทอง คว้าแชมป์ฝีมือแรงงานอาเซียนสําเร็จ รมว.แรงงาน ปลื้มปริ่ม เยาวชนไทยสุดเจ๋ง กวาด 16 ทอง 4 เงิน 3 ทองแดง รวม 23 เหรียญ คว้าแชมป์ไปครองได้สําเร็จ ก่อนปิดฉากแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน ครั้งที่ 12 ส่งไม้ต่อให้สิงคโปร์เป็นเจ้าภาพอีก 2 ปีข้างหน้า เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2561 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีปิดงานแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน ครั้งที่ 12 โดยมี พลตํารวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน คณะผู้บริหารกระทรวงแรงงาน และคณะกรรมการจัดงานแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียนฯ ร่วมให้การต้อนรับ ณ อิมแพ็ค อารีน่า ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี โดยในพิธีฯ ดังกล่าว พลเอกประวิตรฯ ได้มอบรางวัลแก่ผู้ชนะการแข่งขัน จํานวน 26 สาขา มอบรางวัล Best of Nation แก่ผู้แข่งขันที่ทําผลงานได้ดีที่สุดของแต่ละประเทศ และร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีส่งมอบธงประจําการแข่งขันแก่ประเทศสิงคโปร์เพื่อเป็นเจ้าภาพในครั้งต่อไป พลตํารวจเอก อดุลย์ฯ กล่าวภายหลังพิธีปิดงานฯ ว่า ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพในการจัดงานแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน ครั้งที่ 12 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม – 2 กันยายน 2561 ภายใต้แนวคิด“ทักษะอาเซียน สร้างสรรค์อนาคต” หรือ “ASEAN Skills, Crafting the Future” ตลอดระยะเวลาของการจัดงานแข่งขัน มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 25,000 คน ไม่เพียงแต่จะได้ชมการแข่งขันทักษะฝีมือในสาขาอาชีพที่จําเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน ทั้ง 26 สาขา แต่ยังมีถึงกิจกรรม Try a Skill ซึ่งเปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนที่มาชมงานได้ทดลองสัมผัสการทํางานในแต่ละสาขาอาชีพ และอาจช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนที่มาร่วมชมงานแข่งขัน ในการเลือกศึกษาต่อในสายวิชาชีพและเติบโตขึ้นเป็นแรงงานฝีมือในอนาคต สําหรับการแข่งขันในครั้งนี้เยาวชนไทยสามารถคว้ามาได้ 16 เหรียญทอง จากสาขา 13 สาขา ได้แก่ สาขาบริการอาหารและเครื่องดื่ม สาขาประกอบอาหาร สาขาอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (ทีม) สาขาเทคโนโลยีระบบไฟฟ้าภายในอาคาร สาขาเทคโนโลยีงานเชื่อม สาขาเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์ สาขาสีรถยนต์ สาขาเทคโนโลยีระบบทําความเย็น สาขาบํารุงรักษาเครื่องจักรกล (ทีม) สาขาหุ่นยนต์เคลื่อนที่ (ทีม) สาขาเทคโนโลยียานยนต์ สาขาระบบอัตโนมัติอุตสาหกรรม (ทีม) และสาขาก่ออิฐ เหรียญเงิน 4 เหรียญ จากสาขาไม้เครื่องเรือน สาขาเสริมความงาม สาขากราฟิกดีไซน์ และสาขาแต่งผม เหรียญทองแดง 3 เหรียญ จากสาขาต่อประกอบมุมไม้ สาขาเทคโนโลยีระบบทําความเย็น และสาขาประกอบอาหาร นอกจากนี้ยังได้รับเหรียญฝีมือยอดเยี่ยมอีก 13 เหรียญ ได้แก่ สาขาเทคโนโลยีสายเครือข่าย สาขาการดูแลระบบเครือข่ายสารสนเทศ สาขากราฟิกดีไซน์ สาขาแฟชั่นเทคโนโลยี (2 เหรียญ) สาขาเทคโนโลยียานยนต์ สาขาเทคโนโลยีระบบไฟฟ้าภายในอาคาร สาขาปูกระเบื้อง สาขาก่ออิฐ สาขาไม้เครื่องเรือน สาขาแต่งผม สาขาบริการอาหารและเครื่องดื่ม และสาขาเสริมความงาม และรางวัล Best of Nation เป็นของนางสาวฉัตรวริน คลองน้อย ผู้เข้าแข่งขันในสาขาบริการอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้แก่ผู้แข่งขันที่ทําผลงานได้ดีที่สุดของแต่ละประเทศ มีทั้งหมด 10 รางวัล “ขอแสดงความยินดีกับเยาวชนทุกคนที่ได้รับเหรียญรางวัลในครั้งนี้ รวมถึงผู้เข้าแข่งขันทั้ง 331 คนที่ได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนประเทศเข้าร่วมการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน ครั้งที่ 12 เพราะทุกคนมีความมุ่งมั่น และความอุตสาหะ ซึ่งต้องฝึกซ้อมอย่างเข้มข้นเป็นเวลาหลายเดือน ผู้เข้าแข่งขันทุกคนมีความสามารถจึงมายืนในจุดนี้ได้ ไม่สําคัญว่าจะได้รับเหรียญรางวัลกลับประเทศหรือไม่ เพราะการเข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ น้องๆ จะได้รับมิตรภาพและประสบการณ์ ถือเป็นจุดเริ่มต้นซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อการทํางานต่อไปในอนาคต และช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างอาเซียนด้วย” รมว.แรงงาน กล่าวในท้ายสุด ทั้งนี้ ผู้ได้เหรียญรางวัล กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจะมอบเงินรางวัลแก่ผู้ที่ได้เหรียญทอง 150,000 บาท เหรียญเงิน 75,000 บาท เหรียญทองแดง 40,000 บาท ประกาศนียบัตรฝีมือยอดเยี่ยม 20,000 บาท และรางวัลปลอบใจ 10,000 บาท สําหรับประเทศสิงคโปร์ จะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันในครั้งต่อไป ------------------------------------ กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ - ข่าว/ สมภพ ศีลบุตร - ภาพ/ 4 กันยายน 2561
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“บิ๊กอู๋”ปลื้ม เด็กไทยเจ๋ง! กวาด 16 ทอง คว้าแชมป์ฝีมือแรงงานอาเซียนสำเร็จ วันพุธที่ 5 กันยายน 2561 “บิ๊กอู๋”ปลื้ม เด็กไทยเจ๋ง! กวาด 16 ทอง คว้าแชมป์ฝีมือแรงงานอาเซียนสําเร็จ รมว.แรงงาน ปลื้มปริ่ม เยาวชนไทยสุดเจ๋ง กวาด 16 ทอง 4 เงิน 3 ทองแดง รวม 23 เหรียญ คว้าแชมป์ไปครองได้สําเร็จ ก่อนปิดฉากแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน ครั้งที่ 12 ส่งไม้ต่อให้สิงคโปร์เป็นเจ้าภาพอีก 2 ปีข้างหน้า เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2561 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีปิดงานแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน ครั้งที่ 12 โดยมี พลตํารวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน คณะผู้บริหารกระทรวงแรงงาน และคณะกรรมการจัดงานแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียนฯ ร่วมให้การต้อนรับ ณ อิมแพ็ค อารีน่า ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี โดยในพิธีฯ ดังกล่าว พลเอกประวิตรฯ ได้มอบรางวัลแก่ผู้ชนะการแข่งขัน จํานวน 26 สาขา มอบรางวัล Best of Nation แก่ผู้แข่งขันที่ทําผลงานได้ดีที่สุดของแต่ละประเทศ และร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีส่งมอบธงประจําการแข่งขันแก่ประเทศสิงคโปร์เพื่อเป็นเจ้าภาพในครั้งต่อไป พลตํารวจเอก อดุลย์ฯ กล่าวภายหลังพิธีปิดงานฯ ว่า ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพในการจัดงานแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน ครั้งที่ 12 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม – 2 กันยายน 2561 ภายใต้แนวคิด“ทักษะอาเซียน สร้างสรรค์อนาคต” หรือ “ASEAN Skills, Crafting the Future” ตลอดระยะเวลาของการจัดงานแข่งขัน มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 25,000 คน ไม่เพียงแต่จะได้ชมการแข่งขันทักษะฝีมือในสาขาอาชีพที่จําเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน ทั้ง 26 สาขา แต่ยังมีถึงกิจกรรม Try a Skill ซึ่งเปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนที่มาชมงานได้ทดลองสัมผัสการทํางานในแต่ละสาขาอาชีพ และอาจช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนที่มาร่วมชมงานแข่งขัน ในการเลือกศึกษาต่อในสายวิชาชีพและเติบโตขึ้นเป็นแรงงานฝีมือในอนาคต สําหรับการแข่งขันในครั้งนี้เยาวชนไทยสามารถคว้ามาได้ 16 เหรียญทอง จากสาขา 13 สาขา ได้แก่ สาขาบริการอาหารและเครื่องดื่ม สาขาประกอบอาหาร สาขาอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (ทีม) สาขาเทคโนโลยีระบบไฟฟ้าภายในอาคาร สาขาเทคโนโลยีงานเชื่อม สาขาเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์ สาขาสีรถยนต์ สาขาเทคโนโลยีระบบทําความเย็น สาขาบํารุงรักษาเครื่องจักรกล (ทีม) สาขาหุ่นยนต์เคลื่อนที่ (ทีม) สาขาเทคโนโลยียานยนต์ สาขาระบบอัตโนมัติอุตสาหกรรม (ทีม) และสาขาก่ออิฐ เหรียญเงิน 4 เหรียญ จากสาขาไม้เครื่องเรือน สาขาเสริมความงาม สาขากราฟิกดีไซน์ และสาขาแต่งผม เหรียญทองแดง 3 เหรียญ จากสาขาต่อประกอบมุมไม้ สาขาเทคโนโลยีระบบทําความเย็น และสาขาประกอบอาหาร นอกจากนี้ยังได้รับเหรียญฝีมือยอดเยี่ยมอีก 13 เหรียญ ได้แก่ สาขาเทคโนโลยีสายเครือข่าย สาขาการดูแลระบบเครือข่ายสารสนเทศ สาขากราฟิกดีไซน์ สาขาแฟชั่นเทคโนโลยี (2 เหรียญ) สาขาเทคโนโลยียานยนต์ สาขาเทคโนโลยีระบบไฟฟ้าภายในอาคาร สาขาปูกระเบื้อง สาขาก่ออิฐ สาขาไม้เครื่องเรือน สาขาแต่งผม สาขาบริการอาหารและเครื่องดื่ม และสาขาเสริมความงาม และรางวัล Best of Nation เป็นของนางสาวฉัตรวริน คลองน้อย ผู้เข้าแข่งขันในสาขาบริการอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้แก่ผู้แข่งขันที่ทําผลงานได้ดีที่สุดของแต่ละประเทศ มีทั้งหมด 10 รางวัล “ขอแสดงความยินดีกับเยาวชนทุกคนที่ได้รับเหรียญรางวัลในครั้งนี้ รวมถึงผู้เข้าแข่งขันทั้ง 331 คนที่ได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนประเทศเข้าร่วมการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน ครั้งที่ 12 เพราะทุกคนมีความมุ่งมั่น และความอุตสาหะ ซึ่งต้องฝึกซ้อมอย่างเข้มข้นเป็นเวลาหลายเดือน ผู้เข้าแข่งขันทุกคนมีความสามารถจึงมายืนในจุดนี้ได้ ไม่สําคัญว่าจะได้รับเหรียญรางวัลกลับประเทศหรือไม่ เพราะการเข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ น้องๆ จะได้รับมิตรภาพและประสบการณ์ ถือเป็นจุดเริ่มต้นซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อการทํางานต่อไปในอนาคต และช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างอาเซียนด้วย” รมว.แรงงาน กล่าวในท้ายสุด ทั้งนี้ ผู้ได้เหรียญรางวัล กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจะมอบเงินรางวัลแก่ผู้ที่ได้เหรียญทอง 150,000 บาท เหรียญเงิน 75,000 บาท เหรียญทองแดง 40,000 บาท ประกาศนียบัตรฝีมือยอดเยี่ยม 20,000 บาท และรางวัลปลอบใจ 10,000 บาท สําหรับประเทศสิงคโปร์ จะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันในครั้งต่อไป ------------------------------------ กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ - ข่าว/ สมภพ ศีลบุตร - ภาพ/ 4 กันยายน 2561
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/15151
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไทยและฮ่องกงยืนยันเร่งรัดการเชื่อมโยงระหว่างนโยบายของทั้งสองประเทศให้เห็นผลเป็นรูปธรรม
วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2562 ไทยและฮ่องกงยืนยันเร่งรัดการเชื่อมโยงระหว่างนโยบายของทั้งสองประเทศให้เห็นผลเป็นรูปธรรม ไทยและฮ่องกงยืนยันเร่งรัดการเชื่อมโยงระหว่างนโยบายของทั้งสองประเทศให้เห็นผลเป็นรูปธรรม วันนี้ (วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2562) เวลา 13.30 น. ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทําเนียบรัฐบาล นางแคร์รี หล่ํา (Carrie Lam) ผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกง (Chief Executive of the Hong Kong Special Administrative Region) เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในโอกาสเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการ สรุปสาระสําคัญดังนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวยินดีต้อนรับ และดีใจที่ได้มีโอกาสพบผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกงอีกครั้ง รัฐบาลไทยติดตามสถานการณ์การชุมนุมประท้วงในฮ่องกงอย่างใกล้ชิด และขอให้กําลังใจกับทุกฝ่ายให้แก้ไขสถานการณ์ได้อย่างสันติวิธี ทั้งนี้ เชื่อมั่นในภาวะผู้นําของผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกงซึ่งจะแก้ไขปัญหาโดยยึดมั่นถึงประโยชน์และอนาคตของชาวฮ่องกง ผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกงขอบคุณนายกรัฐมนตรีที่ให้โอกาสในการเข้าเยี่ยมคารวะครั้งนี้ ยินดีที่ได้เดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ขอบคุณสําหรับกําลังใจจากมิตรแท้ และเชื่อมั่นว่าสถานการณ์ในฮ่องกงจะคลี่คลายไปในทางที่ดีในเร็ววันนี้ ทั้งสองฝ่าย ชื่นชมความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ฮ่องกงที่มีความคืบหน้าเป็นรูปธรรมในหลายมิติในช่วงที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีชื่นชมผลการประชุมระดับสูงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างไทย-เขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน ครั้งที่ 1 วันนี้ ที่ประสบความสําเร็จด้วยดี และขอบคุณที่รัฐมนตรีการค้าและพัฒนาเศรษฐกิจฮ่องกง ที่ได้นําคณะนักธุรกิจฮ่องกงกว่า 50 คน มาร่วมงานเมื่อวานนี้ ทั้งนี้ ผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ได้กล่าวถึงความสําเร็จจากการประชุมที่จะส่งผลให้เกิดความร่วมมือสําคัญระหว่างไทย-ฮ่องกงในอนาคต นายกรัฐมนตรีและผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกงมีความเห็นร่วมกันถึงโอกาสทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย จึงพร้อมร่วมมือกันเร่งรัดการเชื่อมโยงเชิงยุทธศาสตร์เพื่อให้เห็นผลเป็นรูปธรรม อาทิ การเชื่อมโยงระหว่างนโยบายการพัฒนาของไทย เช่น ประเทศไทย 4.0 EEC และ “Connecting the Connectivities” กับข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road Initiative: BRI) ของจีน ซึ่งฮ่องกงมีบทบาทสําคัญในการขับเคลื่อน Greater Bay Area ตลอดจน การส่งเสริมความร่วมมือเศรษฐกิจใหม่ SMEs Start-ups การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการวิจัยและการพัฒนา ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้ขอบคุณผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ที่ให้ความสําคัญกับการพัฒนาความสัมพันธ์กับไทย ในฐานะที่ผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกงนับถือศาสนาคริสต์ และเมื่อสัปดาห์ที่แล้วสมเด็จพระสันตะปาปาฟรันซิสได้เสด็จเยือนไทย จึงขอส่งผ่านพระพรจากพระองค์แด่ผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกงด้วย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไทยและฮ่องกงยืนยันเร่งรัดการเชื่อมโยงระหว่างนโยบายของทั้งสองประเทศให้เห็นผลเป็นรูปธรรม วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2562 ไทยและฮ่องกงยืนยันเร่งรัดการเชื่อมโยงระหว่างนโยบายของทั้งสองประเทศให้เห็นผลเป็นรูปธรรม ไทยและฮ่องกงยืนยันเร่งรัดการเชื่อมโยงระหว่างนโยบายของทั้งสองประเทศให้เห็นผลเป็นรูปธรรม วันนี้ (วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2562) เวลา 13.30 น. ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทําเนียบรัฐบาล นางแคร์รี หล่ํา (Carrie Lam) ผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกง (Chief Executive of the Hong Kong Special Administrative Region) เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในโอกาสเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการ สรุปสาระสําคัญดังนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวยินดีต้อนรับ และดีใจที่ได้มีโอกาสพบผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกงอีกครั้ง รัฐบาลไทยติดตามสถานการณ์การชุมนุมประท้วงในฮ่องกงอย่างใกล้ชิด และขอให้กําลังใจกับทุกฝ่ายให้แก้ไขสถานการณ์ได้อย่างสันติวิธี ทั้งนี้ เชื่อมั่นในภาวะผู้นําของผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกงซึ่งจะแก้ไขปัญหาโดยยึดมั่นถึงประโยชน์และอนาคตของชาวฮ่องกง ผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกงขอบคุณนายกรัฐมนตรีที่ให้โอกาสในการเข้าเยี่ยมคารวะครั้งนี้ ยินดีที่ได้เดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ขอบคุณสําหรับกําลังใจจากมิตรแท้ และเชื่อมั่นว่าสถานการณ์ในฮ่องกงจะคลี่คลายไปในทางที่ดีในเร็ววันนี้ ทั้งสองฝ่าย ชื่นชมความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ฮ่องกงที่มีความคืบหน้าเป็นรูปธรรมในหลายมิติในช่วงที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีชื่นชมผลการประชุมระดับสูงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างไทย-เขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน ครั้งที่ 1 วันนี้ ที่ประสบความสําเร็จด้วยดี และขอบคุณที่รัฐมนตรีการค้าและพัฒนาเศรษฐกิจฮ่องกง ที่ได้นําคณะนักธุรกิจฮ่องกงกว่า 50 คน มาร่วมงานเมื่อวานนี้ ทั้งนี้ ผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ได้กล่าวถึงความสําเร็จจากการประชุมที่จะส่งผลให้เกิดความร่วมมือสําคัญระหว่างไทย-ฮ่องกงในอนาคต นายกรัฐมนตรีและผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกงมีความเห็นร่วมกันถึงโอกาสทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย จึงพร้อมร่วมมือกันเร่งรัดการเชื่อมโยงเชิงยุทธศาสตร์เพื่อให้เห็นผลเป็นรูปธรรม อาทิ การเชื่อมโยงระหว่างนโยบายการพัฒนาของไทย เช่น ประเทศไทย 4.0 EEC และ “Connecting the Connectivities” กับข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road Initiative: BRI) ของจีน ซึ่งฮ่องกงมีบทบาทสําคัญในการขับเคลื่อน Greater Bay Area ตลอดจน การส่งเสริมความร่วมมือเศรษฐกิจใหม่ SMEs Start-ups การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการวิจัยและการพัฒนา ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้ขอบคุณผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ที่ให้ความสําคัญกับการพัฒนาความสัมพันธ์กับไทย ในฐานะที่ผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกงนับถือศาสนาคริสต์ และเมื่อสัปดาห์ที่แล้วสมเด็จพระสันตะปาปาฟรันซิสได้เสด็จเยือนไทย จึงขอส่งผ่านพระพรจากพระองค์แด่ผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกงด้วย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/24937
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดกระทรวงยุติธรรม เปิดโครงการเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์หน่วยงานต้นแบบ ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม 2562 ปลัดกระทรวงยุติธรรม เปิดโครงการเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์หน่วยงานต้นแบบ ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์หน่วยงานต้นแบบด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในวันศุกร์ที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๒ เวลา ๐๘.๓๐ น. ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์หน่วยงานต้นแบบด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยมี นายสํารวม บุญเสริม ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านบริหารทรัพยากรบุคคลและผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมฯ ณ โรงแรมเบสต์ เวสเทิร์น พลัส แวนดา แกรนด์ โฮเต็ล อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี โอกาสนี้ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เน้นย้ําว่า การเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์หน่วยงานต้นแบบด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องจากส่วนราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการดําเนินงานด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตจากหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนและภาครัฐวิสาหกิจ ที่เป็นต้นแบบในการทํางานด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เพื่อนําไปพัฒนากระบวนการทํางานต่อไป
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดกระทรวงยุติธรรม เปิดโครงการเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์หน่วยงานต้นแบบ ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม 2562 ปลัดกระทรวงยุติธรรม เปิดโครงการเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์หน่วยงานต้นแบบ ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์หน่วยงานต้นแบบด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในวันศุกร์ที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๒ เวลา ๐๘.๓๐ น. ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์หน่วยงานต้นแบบด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยมี นายสํารวม บุญเสริม ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านบริหารทรัพยากรบุคคลและผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมฯ ณ โรงแรมเบสต์ เวสเทิร์น พลัส แวนดา แกรนด์ โฮเต็ล อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี โอกาสนี้ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เน้นย้ําว่า การเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์หน่วยงานต้นแบบด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องจากส่วนราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการดําเนินงานด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตจากหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนและภาครัฐวิสาหกิจ ที่เป็นต้นแบบในการทํางานด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เพื่อนําไปพัฒนากระบวนการทํางานต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/21803
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีเป็นประธานประกอบพิธีทางศาสนาเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาสำนักนายกรัฐมนตรี ครบรอบปีที่ 86
วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน 2561 นายกรัฐมนตรีเป็นประธานประกอบพิธีทางศาสนาเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาสํานักนายกรัฐมนตรี ครบรอบปีที่ 86 นายกรัฐมนตรีเป็นประธานประกอบพิธีทางศาสนาเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาสํานักนายกรัฐมนตรี ครบรอบปีที่ 86 วันนี้ (28 มิ.ย. 61) เวลา 09.30 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเจริญพุทธมนต์ ถวายตาลปัตร ถวายเครื่องไทยธรรม แด่พระสงฆ์ จํานวน 10 รูป เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาสํานักนายกรัฐมนตรี ครบรอบปีที่ 86 จากนั้น นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้มอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการในสังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี จํานวน 567 คนซึ่งประกอบด้วย เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นทวีติยาภรณ์ช้างเผือก ทวีติยาภรณ์มงกุฏไทย และเหรียญจักรพรรดิมาลา โดยมีนางพัชราภรณ์ อินทรียงค์ ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีผู้อํานวยการกองอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หัวหน้าส่วนราชการ ให้เกียรติมาร่วมในพิธีเป็นจํานวนมาก รองนายกรัฐมนตรี กล่าวแสดงความยินดีในนามของรัฐบาลว่า ขอให้ทุกคนมีความภาคภูมิใจและรักษาคุณงามความดีเกียรติยศแห่งการเป็นผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ไว้ตลอดไป ซึ่งหนทางข้างหน้าที่ทุกคนจะต้องอุทิศตน อุทิศกาย อุทิศใจแก่ราชการยังมีอีกมาก ทุกคนต่างทราบดีอยู่แล้วว่า ประเทศไทยกําลังก้าวเข้าสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลงอีกมากมาย เช่น การปฏิรูปประเทศ การทํางานตามยุทธศาสตร์ชาติ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติราชการแบบใหม่ที่จะต้องยึดกรอบหลักธรรมาภิบาลหรือหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี การขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 หรือ Thailand 4.0 การช่วยคิดประดิษฐ์หรือที่เรียกว่า นวัตกรรม ทุกอย่างคือการขับเคลื่อนประเทศไทยไปข้างหน้าด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งจะต้องทํางานร่วมกันของภาคประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้ครอบคลุมทั้งประเทศ โดยให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมดําเนินการร่วมกับภาครัฐเพื่อให้การขับเคลื่อนประเทศผ่านกลไก“ประชารัฐ”จะต้องมุ่งทํางานแบบบูรณาการร่วมกันอีกด้วย ............................. กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีเป็นประธานประกอบพิธีทางศาสนาเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาสำนักนายกรัฐมนตรี ครบรอบปีที่ 86 วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน 2561 นายกรัฐมนตรีเป็นประธานประกอบพิธีทางศาสนาเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาสํานักนายกรัฐมนตรี ครบรอบปีที่ 86 นายกรัฐมนตรีเป็นประธานประกอบพิธีทางศาสนาเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาสํานักนายกรัฐมนตรี ครบรอบปีที่ 86 วันนี้ (28 มิ.ย. 61) เวลา 09.30 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเจริญพุทธมนต์ ถวายตาลปัตร ถวายเครื่องไทยธรรม แด่พระสงฆ์ จํานวน 10 รูป เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาสํานักนายกรัฐมนตรี ครบรอบปีที่ 86 จากนั้น นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้มอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการในสังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี จํานวน 567 คนซึ่งประกอบด้วย เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นทวีติยาภรณ์ช้างเผือก ทวีติยาภรณ์มงกุฏไทย และเหรียญจักรพรรดิมาลา โดยมีนางพัชราภรณ์ อินทรียงค์ ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีผู้อํานวยการกองอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หัวหน้าส่วนราชการ ให้เกียรติมาร่วมในพิธีเป็นจํานวนมาก รองนายกรัฐมนตรี กล่าวแสดงความยินดีในนามของรัฐบาลว่า ขอให้ทุกคนมีความภาคภูมิใจและรักษาคุณงามความดีเกียรติยศแห่งการเป็นผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ไว้ตลอดไป ซึ่งหนทางข้างหน้าที่ทุกคนจะต้องอุทิศตน อุทิศกาย อุทิศใจแก่ราชการยังมีอีกมาก ทุกคนต่างทราบดีอยู่แล้วว่า ประเทศไทยกําลังก้าวเข้าสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลงอีกมากมาย เช่น การปฏิรูปประเทศ การทํางานตามยุทธศาสตร์ชาติ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติราชการแบบใหม่ที่จะต้องยึดกรอบหลักธรรมาภิบาลหรือหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี การขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 หรือ Thailand 4.0 การช่วยคิดประดิษฐ์หรือที่เรียกว่า นวัตกรรม ทุกอย่างคือการขับเคลื่อนประเทศไทยไปข้างหน้าด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งจะต้องทํางานร่วมกันของภาคประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้ครอบคลุมทั้งประเทศ โดยให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมดําเนินการร่วมกับภาครัฐเพื่อให้การขับเคลื่อนประเทศผ่านกลไก“ประชารัฐ”จะต้องมุ่งทํางานแบบบูรณาการร่วมกันอีกด้วย ............................. กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/13414
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผู้จัดการ กยศ. ชี้แจงกรณีที่นักเคลื่อนไหวด้านพลังงาน โพสต์ข้อความวิจารณ์ ระบบ กยศ.
วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม 2561 ผู้จัดการ กยศ. ชี้แจงกรณีที่นักเคลื่อนไหวด้านพลังงาน โพสต์ข้อความวิจารณ์ ระบบ กยศ. ผู้จัดการ กยศ. ชี้แจงกรณีที่นักเคลื่อนไหวด้านพลังงาน โพสต์ข้อความวิจารณ์ ระบบ กยศ. วันที่ 21 กรกฎาคม 2561 นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กระทรวงการคลัง ชี้แจงประเด็น นายประสิทธิ์ชัย หนูนวล นักเคลื่อนไหวด้านพลังงาน โพสต์ข้อความวิจารณ์ ระบบ กยศ. เนื่องจากกลุ่มหนุนถ่านหินสามารถดูข้อมูลส่วนตัวของตนได้ ดังนี้ 1. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ปล่อยให้ข้อมูลส่วนตัวของลูกหนี้หลุด ถือเป็นระบบที่ไม่มีความปลอดภัย ทั้งนี้ ได้มีการโทรหาเจ้าหน้าที่ กยศ. กลับได้รับแจ้งว่าระบบยังแก้ไขไม่ได้ ถือเป็นการปล่อยให้ข้อมูลส่วนตัวของแต่ละบุคคลตกอยู่ในภาวะความเสี่ยง 2. ข้อมูลหนี้ กยศ. ควรเป็นข้อมูลส่วนตัว ที่ควรมีระบบป้องกัน ไม่ใช่เพียงรู้ข้อมูลเลขบัตรประจําตัวประชาชนและวัน เดือน ปีเกิด ก็สามารถเข้าสู่ข้อมูลส่วนตัวได้ ถือเป็นภัยต่อผู้กู้ยืมอย่างมาก กยศ. ขอชี้แจงดังนี้ 1. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) มีภารกิจหลักในการสนับสนุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือที่ศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลักของประเทศ ซึ่งกองทุนฯ มีระบบในการขอกู้ยืมของนักเรียน นักศึกษาที่ต้องการกู้ยืมเงิน และระบบในการตรวจสอบยอดภาระหนี้ เพื่ออํานวยความสะดวกให้ผู้กู้ยืม โดยสามารถตรวจสอบยอดหนี้ได้ด้วยตนเองทางเว็บไซต์ธนาคารกรุงไทย ธนาคารอิสลาม และ ตู้บริการอเนกประสงค์ของรัฐ หรือ Government Smart Kiosk ปัจจุบันในส่วนของการให้บริการด้านดิจิทัล กองทุนฯได้มีการพัฒนา ระบบทั้งหมดอย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับการบริการให้มีความสะดวก รวดเร็ว รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยตามมาตรฐานภาครัฐ โดยอยู่ระหว่างการดําเนินการโครงการ Digital Student Loan Funds System ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2563 2. สําหรับข้อมูลของผู้กู้ยืมในการขอกู้ยืมผ่านระบบนั้น กองทุนได้มีการ ให้บริการด้านกู้ยืมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์ของกองทุนฯ ซึ่งมีขึ้นตอนดังนี้ 2.1 เลือกลงทะเบียนรหัสผ่าน 2.2 กรอกข้อมูล เลขบัตร ชื่อ สกุล วันเดือนปีเกิด อีเมล และหมายเลขโทรศัพท์ 2.3 ยืนยันรหัส OTP 2.4 กําหนดรหัสผ่าน 2.5 เลือกระดับการศึกษา ที่จะขอกู้ยืม 2.6 ระบบส่งข้อมูลตรวจสอบกับ MOI 2.7 ผู้กู้ต้องเข้าระบบ อีกครั้งหลัง (หลังลงทะเบียนประมาณ 3 ชั่วโมง) เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ตรวจกับ MOI 2.8 หาก เลขบัตร ชื่อ สกุล วันเดือนปีเกิด ตรงกับ MOI จะสามารถยื่นกู้ต่อไปได้ โดยใช้รหัสผ่านที่ผู้กู้ตั้งไว้ตอนลงทะเบียนครั้งแรก 3. ในส่วนการตรวจสอบข้อมูลภาระหนี้ของผู้กู้ยืมนั้น จะใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ เลขบัตรประจําตัวประชาชน วันเดือนปีเกิดของผู้กู้ยืม และต้องใส่รหัส captcha ในการเข้าระบบ สําหรับระบบการตรวจสอบยอดหนี้ของผู้กู้ยืม กองทุนฯอยู่ในระหว่างการ ดําเนินการเพิ่มเติมจากระบบการตรวจสอบยอดหนี้ที่มีอยู่ ดังนี้ 1. กองทุนฯอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบในการรักษาความปลอดภัย ให้กับผู้กู้ยืมในการเข้าตรวจสอบยอดหนี้ด้วยตนเองให้มีความมั่นคงปลอดภัย มากยิ่งขึ้น โดยผู้กู้ยืมต้องใส่รหัสที่กําหนดเองหรือข้อมูลส่วนบุคคลของผู้กู้ และมีการยืนยันตนเอง 2 ระดับตามมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัย โดยในกรณีที่ผู้กู้มีหมายเลขโทรศัพท์มือถือ จะใช้ระบบ OTP ในการยืนยัน ตัวบุคคล แต่หากไม่มีหมายเลขโทรศัพท์หรือหมายเลขโทรศัพท์ผิด จะมีรายการของชุดคําถามที่จะถูกสุ่มขึ้นมาจากระบบ เพื่อให้ผู้กู้สามารถ โทรศัพท์เข้ามายืนยันตัวบุคคลผ่านระบบ Call Center โดยระบบตรวจสอบยอดหนี้ที่กําลังพัฒนาใหม่นี้ จะดําเนินการแล้วเสร็จ พร้อมใช้งานภายในเดือนสิงหาคม 2561 2. กองทุนฯได้เพิ่มช่องทางตรวจสอบยอดหนี้ผ่านตู้บริการ อเนกประสงค์ภาครัฐ หรือ Government Smart Kiosk ที่ผู้กู้สามารถตรวจสอบ ยอดหนี้ได้โดยใช้บัตรประชาชนและรหัส OTP ผ่านโทรศัพท์มือถือ 3. ผู้กู้สามารถติดต่อกยศ.เพื่อสอบถามข้อมูลต่างๆเพิ่มเติม ได้ที่ช่องทางดังนี้ 3.1 กยศ. Call Center หมายเลขโทรศัพท์ 0 2016 4888 วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.30 – 20-00 น. 3.2 โทรสารหมายเลข 0 2016 4800 3.3 อีเมล [email protected] 3.4 Facebook : กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ------------------------
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผู้จัดการ กยศ. ชี้แจงกรณีที่นักเคลื่อนไหวด้านพลังงาน โพสต์ข้อความวิจารณ์ ระบบ กยศ. วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม 2561 ผู้จัดการ กยศ. ชี้แจงกรณีที่นักเคลื่อนไหวด้านพลังงาน โพสต์ข้อความวิจารณ์ ระบบ กยศ. ผู้จัดการ กยศ. ชี้แจงกรณีที่นักเคลื่อนไหวด้านพลังงาน โพสต์ข้อความวิจารณ์ ระบบ กยศ. วันที่ 21 กรกฎาคม 2561 นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กระทรวงการคลัง ชี้แจงประเด็น นายประสิทธิ์ชัย หนูนวล นักเคลื่อนไหวด้านพลังงาน โพสต์ข้อความวิจารณ์ ระบบ กยศ. เนื่องจากกลุ่มหนุนถ่านหินสามารถดูข้อมูลส่วนตัวของตนได้ ดังนี้ 1. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ปล่อยให้ข้อมูลส่วนตัวของลูกหนี้หลุด ถือเป็นระบบที่ไม่มีความปลอดภัย ทั้งนี้ ได้มีการโทรหาเจ้าหน้าที่ กยศ. กลับได้รับแจ้งว่าระบบยังแก้ไขไม่ได้ ถือเป็นการปล่อยให้ข้อมูลส่วนตัวของแต่ละบุคคลตกอยู่ในภาวะความเสี่ยง 2. ข้อมูลหนี้ กยศ. ควรเป็นข้อมูลส่วนตัว ที่ควรมีระบบป้องกัน ไม่ใช่เพียงรู้ข้อมูลเลขบัตรประจําตัวประชาชนและวัน เดือน ปีเกิด ก็สามารถเข้าสู่ข้อมูลส่วนตัวได้ ถือเป็นภัยต่อผู้กู้ยืมอย่างมาก กยศ. ขอชี้แจงดังนี้ 1. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) มีภารกิจหลักในการสนับสนุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือที่ศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลักของประเทศ ซึ่งกองทุนฯ มีระบบในการขอกู้ยืมของนักเรียน นักศึกษาที่ต้องการกู้ยืมเงิน และระบบในการตรวจสอบยอดภาระหนี้ เพื่ออํานวยความสะดวกให้ผู้กู้ยืม โดยสามารถตรวจสอบยอดหนี้ได้ด้วยตนเองทางเว็บไซต์ธนาคารกรุงไทย ธนาคารอิสลาม และ ตู้บริการอเนกประสงค์ของรัฐ หรือ Government Smart Kiosk ปัจจุบันในส่วนของการให้บริการด้านดิจิทัล กองทุนฯได้มีการพัฒนา ระบบทั้งหมดอย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับการบริการให้มีความสะดวก รวดเร็ว รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยตามมาตรฐานภาครัฐ โดยอยู่ระหว่างการดําเนินการโครงการ Digital Student Loan Funds System ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2563 2. สําหรับข้อมูลของผู้กู้ยืมในการขอกู้ยืมผ่านระบบนั้น กองทุนได้มีการ ให้บริการด้านกู้ยืมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์ของกองทุนฯ ซึ่งมีขึ้นตอนดังนี้ 2.1 เลือกลงทะเบียนรหัสผ่าน 2.2 กรอกข้อมูล เลขบัตร ชื่อ สกุล วันเดือนปีเกิด อีเมล และหมายเลขโทรศัพท์ 2.3 ยืนยันรหัส OTP 2.4 กําหนดรหัสผ่าน 2.5 เลือกระดับการศึกษา ที่จะขอกู้ยืม 2.6 ระบบส่งข้อมูลตรวจสอบกับ MOI 2.7 ผู้กู้ต้องเข้าระบบ อีกครั้งหลัง (หลังลงทะเบียนประมาณ 3 ชั่วโมง) เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ตรวจกับ MOI 2.8 หาก เลขบัตร ชื่อ สกุล วันเดือนปีเกิด ตรงกับ MOI จะสามารถยื่นกู้ต่อไปได้ โดยใช้รหัสผ่านที่ผู้กู้ตั้งไว้ตอนลงทะเบียนครั้งแรก 3. ในส่วนการตรวจสอบข้อมูลภาระหนี้ของผู้กู้ยืมนั้น จะใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ เลขบัตรประจําตัวประชาชน วันเดือนปีเกิดของผู้กู้ยืม และต้องใส่รหัส captcha ในการเข้าระบบ สําหรับระบบการตรวจสอบยอดหนี้ของผู้กู้ยืม กองทุนฯอยู่ในระหว่างการ ดําเนินการเพิ่มเติมจากระบบการตรวจสอบยอดหนี้ที่มีอยู่ ดังนี้ 1. กองทุนฯอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบในการรักษาความปลอดภัย ให้กับผู้กู้ยืมในการเข้าตรวจสอบยอดหนี้ด้วยตนเองให้มีความมั่นคงปลอดภัย มากยิ่งขึ้น โดยผู้กู้ยืมต้องใส่รหัสที่กําหนดเองหรือข้อมูลส่วนบุคคลของผู้กู้ และมีการยืนยันตนเอง 2 ระดับตามมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัย โดยในกรณีที่ผู้กู้มีหมายเลขโทรศัพท์มือถือ จะใช้ระบบ OTP ในการยืนยัน ตัวบุคคล แต่หากไม่มีหมายเลขโทรศัพท์หรือหมายเลขโทรศัพท์ผิด จะมีรายการของชุดคําถามที่จะถูกสุ่มขึ้นมาจากระบบ เพื่อให้ผู้กู้สามารถ โทรศัพท์เข้ามายืนยันตัวบุคคลผ่านระบบ Call Center โดยระบบตรวจสอบยอดหนี้ที่กําลังพัฒนาใหม่นี้ จะดําเนินการแล้วเสร็จ พร้อมใช้งานภายในเดือนสิงหาคม 2561 2. กองทุนฯได้เพิ่มช่องทางตรวจสอบยอดหนี้ผ่านตู้บริการ อเนกประสงค์ภาครัฐ หรือ Government Smart Kiosk ที่ผู้กู้สามารถตรวจสอบ ยอดหนี้ได้โดยใช้บัตรประชาชนและรหัส OTP ผ่านโทรศัพท์มือถือ 3. ผู้กู้สามารถติดต่อกยศ.เพื่อสอบถามข้อมูลต่างๆเพิ่มเติม ได้ที่ช่องทางดังนี้ 3.1 กยศ. Call Center หมายเลขโทรศัพท์ 0 2016 4888 วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.30 – 20-00 น. 3.2 โทรสารหมายเลข 0 2016 4800 3.3 อีเมล [email protected] 3.4 Facebook : กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ------------------------
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/14102
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โรงเรียนเตรียมทหารร่วมมือกับกรุงไทย สร้างสังคมไร้เงินสดแห่งแรกของกองทัพ
วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม 2561 โรงเรียนเตรียมทหารร่วมมือกับกรุงไทย สร้างสังคมไร้เงินสดแห่งแรกของกองทัพ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานเปิดงาน Student ID Smart Card Smart AFAPS 4.0 เพื่อศึกษาและพัฒนาระบบการบริการจัดการทางการเงินผ่านระบบ Digital Platform ของธนาคารกรุงไทย โดยมีโรงเรียนเตรียมทหารเป็นต้นแบบ ในวันนี้ (3 สิงหาคม 2561) พลเอก ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานเปิดงาน Student ID Smart Card Smart AFAPS 4.0 เพื่อศึกษาและพัฒนาระบบการบริการจัดการทางการเงินผ่านระบบ Digital Platform ของธนาคารกรุงไทย โดยมีโรงเรียนเตรียมทหารเป็นต้นแบบ ในการพัฒนาสู่ความเป็นสถาบันอัจฉริยะและสังคมไร้เงินสด โดยมี พลตรี กนกพงษ์ จันทร์นวล ผู้บัญชาการโรงเรียนเตรียมทหาร และ นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ร่วมงาน ที่สโมสรกองบัญชาการกองทัพไทย พลตรี กนกพงษ์ จันทร์นวล กล่าวว่า กองทัพพร้อมที่จะก้าวสู่สังคมไร้เงินสด โดยนําเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ประโยชน์ในการอํานวยความสะดวกต่อการดําเนินชีวิตประจําวันและช่วยเหลือการบริหารจัดการการศึกษา โดยจัดทําบัตรนักเรียนเตรียมทหาร กรุงไทย IPAC ที่ตอบโจทย์ในทุกๆ วัน ของนักเรียนเตรียมทหารได้อย่างลงตัว โดยมีระบบบันทึกเวลาเข้ารับการศึกษาแบบอัจฉริยะ และเป็นบัตรแสดงตนประเภท RFID ด้วยการบันทึกภาพใบหน้าของผู้ใช้บัตร พร้อมระบุวัน เวลา ID Number แบบ Realtime รวมทั้งสามารถใช้จ่ายแทนเงินสดได้อีกด้วย ซึ่งจะพัฒนาโรงเรียนเตรียมทหารสู่สังคมไร้เงินสด (AFAPS Cashless Society) ตอบสนองนโยบาย National E-Payment และสอดคล้องกับระบบราชการไทยในบริบทนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล ซึ่งจะทําให้โรงเรียนเตรียมทหาร มีระบบเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ และสมบูรณ์พร้อมใช้งาน กระบวนการจัดการเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพสูงสุดและเป็นต้นแบบให้กับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานอื่นๆ ของกองบัญชาการกองทัพไทยต่อไป นายผยง ศรีวณิช กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า ธนาคารพร้อมให้การสนับสนุนโรงเรียนเตรียมทหารขับเคลื่อนโครงการดังกล่าว โดยจะนํานวัตกรรมทางการเงินมาให้บริการอย่างครบวงจร ภายใต้แนวคิด KTB Total Solution ซึ่งเป็นการสร้างสังคมไร้เงินสดแห่งแรกของกองทัพ โดยบัตรนักเรียนเตรียมทหาร ที่ธนาคารจัดทําขึ้นเป็นบัตรแบบ "Smart Student ID Card" ที่เชื่อมโยงทุกการใช้ชีวิตภายในโรงเรียน โดยเป็นทั้งบัตรเดบิตและบัตรสําหรับเช็คเวลาเข้าเรียน ขึ้นรถบัส เข้าห้องสมุด ใช้ยืม-คืน หนังสือในห้องสมุด เข้าหอนอน เข้ายิมเพื่อออกกําลังกาย ใช้จ่ายแทนเงินสด ตลอดจนใช้เข้าห้องรักษาพยาบาล นอกจากนี้ ยังมีวงเงินคุ้มครองอุบัติเหตุ 1 แสนบาท พร้อมชดเชยค่ารักษาพยาบาล 5 พันบาท จากโรงพยาบาลที่ร่วมโครงการ นอกจากนี้ เพื่ออํานวยความสะดวกให้กับบุคลากรภายในโรงเรียนและผู้ปกครองนักเรียนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ธนาคารจะสนับสนุนและพัฒนาบริการจัดการทางการเงินด้านอื่นๆ ผ่านระบบ KTB Digital Platform ในอนาคตอีกด้วย ฝ่ายสื่อสารองค์กรและภาพลักษณ์ โทร. 0-2208-4176-8
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โรงเรียนเตรียมทหารร่วมมือกับกรุงไทย สร้างสังคมไร้เงินสดแห่งแรกของกองทัพ วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม 2561 โรงเรียนเตรียมทหารร่วมมือกับกรุงไทย สร้างสังคมไร้เงินสดแห่งแรกของกองทัพ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานเปิดงาน Student ID Smart Card Smart AFAPS 4.0 เพื่อศึกษาและพัฒนาระบบการบริการจัดการทางการเงินผ่านระบบ Digital Platform ของธนาคารกรุงไทย โดยมีโรงเรียนเตรียมทหารเป็นต้นแบบ ในวันนี้ (3 สิงหาคม 2561) พลเอก ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานเปิดงาน Student ID Smart Card Smart AFAPS 4.0 เพื่อศึกษาและพัฒนาระบบการบริการจัดการทางการเงินผ่านระบบ Digital Platform ของธนาคารกรุงไทย โดยมีโรงเรียนเตรียมทหารเป็นต้นแบบ ในการพัฒนาสู่ความเป็นสถาบันอัจฉริยะและสังคมไร้เงินสด โดยมี พลตรี กนกพงษ์ จันทร์นวล ผู้บัญชาการโรงเรียนเตรียมทหาร และ นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ร่วมงาน ที่สโมสรกองบัญชาการกองทัพไทย พลตรี กนกพงษ์ จันทร์นวล กล่าวว่า กองทัพพร้อมที่จะก้าวสู่สังคมไร้เงินสด โดยนําเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ประโยชน์ในการอํานวยความสะดวกต่อการดําเนินชีวิตประจําวันและช่วยเหลือการบริหารจัดการการศึกษา โดยจัดทําบัตรนักเรียนเตรียมทหาร กรุงไทย IPAC ที่ตอบโจทย์ในทุกๆ วัน ของนักเรียนเตรียมทหารได้อย่างลงตัว โดยมีระบบบันทึกเวลาเข้ารับการศึกษาแบบอัจฉริยะ และเป็นบัตรแสดงตนประเภท RFID ด้วยการบันทึกภาพใบหน้าของผู้ใช้บัตร พร้อมระบุวัน เวลา ID Number แบบ Realtime รวมทั้งสามารถใช้จ่ายแทนเงินสดได้อีกด้วย ซึ่งจะพัฒนาโรงเรียนเตรียมทหารสู่สังคมไร้เงินสด (AFAPS Cashless Society) ตอบสนองนโยบาย National E-Payment และสอดคล้องกับระบบราชการไทยในบริบทนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล ซึ่งจะทําให้โรงเรียนเตรียมทหาร มีระบบเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ และสมบูรณ์พร้อมใช้งาน กระบวนการจัดการเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพสูงสุดและเป็นต้นแบบให้กับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานอื่นๆ ของกองบัญชาการกองทัพไทยต่อไป นายผยง ศรีวณิช กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า ธนาคารพร้อมให้การสนับสนุนโรงเรียนเตรียมทหารขับเคลื่อนโครงการดังกล่าว โดยจะนํานวัตกรรมทางการเงินมาให้บริการอย่างครบวงจร ภายใต้แนวคิด KTB Total Solution ซึ่งเป็นการสร้างสังคมไร้เงินสดแห่งแรกของกองทัพ โดยบัตรนักเรียนเตรียมทหาร ที่ธนาคารจัดทําขึ้นเป็นบัตรแบบ "Smart Student ID Card" ที่เชื่อมโยงทุกการใช้ชีวิตภายในโรงเรียน โดยเป็นทั้งบัตรเดบิตและบัตรสําหรับเช็คเวลาเข้าเรียน ขึ้นรถบัส เข้าห้องสมุด ใช้ยืม-คืน หนังสือในห้องสมุด เข้าหอนอน เข้ายิมเพื่อออกกําลังกาย ใช้จ่ายแทนเงินสด ตลอดจนใช้เข้าห้องรักษาพยาบาล นอกจากนี้ ยังมีวงเงินคุ้มครองอุบัติเหตุ 1 แสนบาท พร้อมชดเชยค่ารักษาพยาบาล 5 พันบาท จากโรงพยาบาลที่ร่วมโครงการ นอกจากนี้ เพื่ออํานวยความสะดวกให้กับบุคลากรภายในโรงเรียนและผู้ปกครองนักเรียนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ธนาคารจะสนับสนุนและพัฒนาบริการจัดการทางการเงินด้านอื่นๆ ผ่านระบบ KTB Digital Platform ในอนาคตอีกด้วย ฝ่ายสื่อสารองค์กรและภาพลักษณ์ โทร. 0-2208-4176-8
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/14333
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีห่วงน้ำท่วม - ภัยแล้ง ยันมีมาตรการช่วยเหลือ สั่งจ่ายเงินช่วยเหลือเข้าบัญชีเกษตรกโดยตรง เผยเตรียมพิจารณาเปิดลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่ม
วันพุธที่ 28 สิงหาคม 2562 นายกรัฐมนตรีห่วงน้ําท่วม - ภัยแล้ง ยันมีมาตรการช่วยเหลือ สั่งจ่ายเงินช่วยเหลือเข้าบัญชีเกษตรกโดยตรง เผยเตรียมพิจารณาเปิดลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่ม นายกรัฐมนตรีห่วงน้ําท่วม - ภัยแล้ง ยันมีมาตรการช่วยเหลือ สั่งจ่ายเงินช่วยเหลือเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง เผยเตรียมพิจารณาเปิดลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่ม วันนี้ (28 สิงหาคม 2562) เวลา 14.40 น. ณ พุทธมณฑล อําเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงสถานการณ์น้ําท่วมและภัยแล้งในขณะนี้ว่า รัฐบาลมีมาตรการออกมาหลายมาตรการ สิ่งสําคัญคือต้องดูแลผู้มีรายได้น้อยให้มาก ซึ่งขณะนี้เศรษฐกิจอยู่ในช่วงข้าวยากหมากแพงและบางพื้นที่เกิดภัยแล้ง ทําให้หลายคนเป็นห่วง รัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้หารือในทุกมิติและใช้เวลาในการพิจารณามากพอสมควรกว่าจะมีมาตรการใด ๆ ออกมา ทั้งนี้ อย่าไปมองว่ารัฐบาลจะให้อย่างเดียว แต่รัฐบาลจะต้องสร้างความเข้มแข็งด้วย ทั้งการปลูกพืชและควบคุมการผลิต ถ้ารัฐบาลไม่มีมาตรการอะไรเลยประชาชนก็ไม่มีแรงจูงใจในการทําอาชีพของตัวเอง นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า มาตรการประกันราคาข้าวแตกต่างจากมาตรการจํานําข้าว ซึ่งจะใช้เงินไม่มากตามที่ประมาณการไว้ เพราะราคาข้าวถูก แต่เราก็ต้องเตรียมไว้เพื่อไม่ให้เกิดภาระผูกพัน อย่างไรก็ตามมาตรการเหล่านี้ไม่ใช่มาตรการที่ยั่งยืน โดยวางไว้ 1 ปี บางอย่างแค่ 2 เดือน เฉพาะในช่วงที่เกิดปัญหา และปีหน้าก็ต้องดูกันใหม่ โดยรัฐบาลต้องหาวิธีการที่เหมาะสม ยืนยันว่าจะไม่ทําอะไรให้เสียหายและจะระมัดระวังอย่างที่สุด ถือเป็นหลักการสําคัญใน 5 ปีที่ผ่านมา และต่อไปก็จะทําแบบเดิมอีก ส่วนจะมีการทุจริตในส่วนไหนหรือไม่ก็ต้องไปดูกัน ซึ่งวันนี้ได้สั่งการหน่วยงานไปแล้วในการ จ่ายเงินให้กับเกษตรกรต้องจ่ายตรงเข้าบัญชี ไม่เช่นนั้นจะเป็นโอกาสที่คนจะใช้ประโยชน์ ขณะเดียวกันเกษตรกรก็ต้องมีการขึ้นทะเบียนไว้ด้วย นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม รู้สึกเห็นใจ หลายปัญหาที่เกิดขึ้นมารัฐบาลพยายามแก้กฎหมาย ปรับเปลี่ยนมาตรการให้ถูกต้องเพื่อดูแล ซึ่งต้องทําให้ถูกต้องเพราะหากไม่ถูกต้องรัฐบาลจะไม่สามารถดูแลได้ เพราะเงินราชการจะจ่ายเรื่อยเปื่อยไม่ได้ จะมีความผิด ดังนั้น ขอให้ทุกคนช่วยกันสร้างการรับรู้ นอกจากนี้อีกประเด็นที่เป็นห่วงคือเรื่องลมฟ้าอากาศ ซึ่งก่อนหน้านี้มีปัญหาภัยแล้ง และตอนนี้กําลังมีพายุโซนร้อนเข้ามาอีกหลายลูก โดยเชื่อว่าจะเป็นโอกาสที่ดีขึ้นในเรื่องของภัยแล้ง แต่ก็ต้องระมัดระวังและป้องกัน สิ่งเหล่านี้นายกรัฐมนตรีเป็นห่วงทุกวัน และอยากให้เกษตรกรเก็บน้ําไว้ในไร่นาของตัวเองบ้าง หากมีพื้นที่น้อยก็รวมกลุ่มกันสร้างที่กักเก็บน้ําดีกว่าปล่อยให้น้ําไหลไปหมด พร้อมกันนี้ต้องปลูกไม้ยืนต้นไว้วันหน้าจะเป็นมรดกให้ลูกหลาน ซึ่งปัญหาคนไทยคือมีที่ทํากินน้อยเกินไป และยังปลูกพืชเชิงเดี่ยว จึงต้องปรับพฤติกรรมในส่วนนี้ วันนี้รัฐบาลคิดทุกอันทุกเรื่อง ซึ่งต้องดูเรื่องการเงินการคลังด้วย ผู้สื่อข่าวถามว่ามาตรการจ่ายเงินเข้าบัญชีโดยตรงเฉพาะชาวนาหรือในส่วนอื่นด้วยหรือไม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ต่อไปนี้จะให้เข้าบัญชีตรงหมด ซึ่งกระทรวงการคลังได้ทําระบบไว้แล้ว ส่วนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่มีประชาชนเรียกร้องอยากให้รัฐบาลเปิดลงทะเบียนเพิ่มเติมนั้น ขณะนี้กําลังตรวจสอบ ซึ่งที่ผ่านมาเปิดมสองครั้ง โดยครั้งที่ 2 ได้มีการปลดล็อคบางอย่างให้คนเข้ามาได้มากขึ้น สิ่งสําคัญคือจะต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต ใครที่มีเงิน มีที่ดิน และมีบ้านขออย่ามาลงทะเบียน เพราะจะทําให้คนอื่นเสียโอกาส จะต้องมีจิตสํานึกด้วย --------------------------------------------
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีห่วงน้ำท่วม - ภัยแล้ง ยันมีมาตรการช่วยเหลือ สั่งจ่ายเงินช่วยเหลือเข้าบัญชีเกษตรกโดยตรง เผยเตรียมพิจารณาเปิดลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่ม วันพุธที่ 28 สิงหาคม 2562 นายกรัฐมนตรีห่วงน้ําท่วม - ภัยแล้ง ยันมีมาตรการช่วยเหลือ สั่งจ่ายเงินช่วยเหลือเข้าบัญชีเกษตรกโดยตรง เผยเตรียมพิจารณาเปิดลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่ม นายกรัฐมนตรีห่วงน้ําท่วม - ภัยแล้ง ยันมีมาตรการช่วยเหลือ สั่งจ่ายเงินช่วยเหลือเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง เผยเตรียมพิจารณาเปิดลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่ม วันนี้ (28 สิงหาคม 2562) เวลา 14.40 น. ณ พุทธมณฑล อําเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงสถานการณ์น้ําท่วมและภัยแล้งในขณะนี้ว่า รัฐบาลมีมาตรการออกมาหลายมาตรการ สิ่งสําคัญคือต้องดูแลผู้มีรายได้น้อยให้มาก ซึ่งขณะนี้เศรษฐกิจอยู่ในช่วงข้าวยากหมากแพงและบางพื้นที่เกิดภัยแล้ง ทําให้หลายคนเป็นห่วง รัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้หารือในทุกมิติและใช้เวลาในการพิจารณามากพอสมควรกว่าจะมีมาตรการใด ๆ ออกมา ทั้งนี้ อย่าไปมองว่ารัฐบาลจะให้อย่างเดียว แต่รัฐบาลจะต้องสร้างความเข้มแข็งด้วย ทั้งการปลูกพืชและควบคุมการผลิต ถ้ารัฐบาลไม่มีมาตรการอะไรเลยประชาชนก็ไม่มีแรงจูงใจในการทําอาชีพของตัวเอง นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า มาตรการประกันราคาข้าวแตกต่างจากมาตรการจํานําข้าว ซึ่งจะใช้เงินไม่มากตามที่ประมาณการไว้ เพราะราคาข้าวถูก แต่เราก็ต้องเตรียมไว้เพื่อไม่ให้เกิดภาระผูกพัน อย่างไรก็ตามมาตรการเหล่านี้ไม่ใช่มาตรการที่ยั่งยืน โดยวางไว้ 1 ปี บางอย่างแค่ 2 เดือน เฉพาะในช่วงที่เกิดปัญหา และปีหน้าก็ต้องดูกันใหม่ โดยรัฐบาลต้องหาวิธีการที่เหมาะสม ยืนยันว่าจะไม่ทําอะไรให้เสียหายและจะระมัดระวังอย่างที่สุด ถือเป็นหลักการสําคัญใน 5 ปีที่ผ่านมา และต่อไปก็จะทําแบบเดิมอีก ส่วนจะมีการทุจริตในส่วนไหนหรือไม่ก็ต้องไปดูกัน ซึ่งวันนี้ได้สั่งการหน่วยงานไปแล้วในการ จ่ายเงินให้กับเกษตรกรต้องจ่ายตรงเข้าบัญชี ไม่เช่นนั้นจะเป็นโอกาสที่คนจะใช้ประโยชน์ ขณะเดียวกันเกษตรกรก็ต้องมีการขึ้นทะเบียนไว้ด้วย นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม รู้สึกเห็นใจ หลายปัญหาที่เกิดขึ้นมารัฐบาลพยายามแก้กฎหมาย ปรับเปลี่ยนมาตรการให้ถูกต้องเพื่อดูแล ซึ่งต้องทําให้ถูกต้องเพราะหากไม่ถูกต้องรัฐบาลจะไม่สามารถดูแลได้ เพราะเงินราชการจะจ่ายเรื่อยเปื่อยไม่ได้ จะมีความผิด ดังนั้น ขอให้ทุกคนช่วยกันสร้างการรับรู้ นอกจากนี้อีกประเด็นที่เป็นห่วงคือเรื่องลมฟ้าอากาศ ซึ่งก่อนหน้านี้มีปัญหาภัยแล้ง และตอนนี้กําลังมีพายุโซนร้อนเข้ามาอีกหลายลูก โดยเชื่อว่าจะเป็นโอกาสที่ดีขึ้นในเรื่องของภัยแล้ง แต่ก็ต้องระมัดระวังและป้องกัน สิ่งเหล่านี้นายกรัฐมนตรีเป็นห่วงทุกวัน และอยากให้เกษตรกรเก็บน้ําไว้ในไร่นาของตัวเองบ้าง หากมีพื้นที่น้อยก็รวมกลุ่มกันสร้างที่กักเก็บน้ําดีกว่าปล่อยให้น้ําไหลไปหมด พร้อมกันนี้ต้องปลูกไม้ยืนต้นไว้วันหน้าจะเป็นมรดกให้ลูกหลาน ซึ่งปัญหาคนไทยคือมีที่ทํากินน้อยเกินไป และยังปลูกพืชเชิงเดี่ยว จึงต้องปรับพฤติกรรมในส่วนนี้ วันนี้รัฐบาลคิดทุกอันทุกเรื่อง ซึ่งต้องดูเรื่องการเงินการคลังด้วย ผู้สื่อข่าวถามว่ามาตรการจ่ายเงินเข้าบัญชีโดยตรงเฉพาะชาวนาหรือในส่วนอื่นด้วยหรือไม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ต่อไปนี้จะให้เข้าบัญชีตรงหมด ซึ่งกระทรวงการคลังได้ทําระบบไว้แล้ว ส่วนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่มีประชาชนเรียกร้องอยากให้รัฐบาลเปิดลงทะเบียนเพิ่มเติมนั้น ขณะนี้กําลังตรวจสอบ ซึ่งที่ผ่านมาเปิดมสองครั้ง โดยครั้งที่ 2 ได้มีการปลดล็อคบางอย่างให้คนเข้ามาได้มากขึ้น สิ่งสําคัญคือจะต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต ใครที่มีเงิน มีที่ดิน และมีบ้านขออย่ามาลงทะเบียน เพราะจะทําให้คนอื่นเสียโอกาส จะต้องมีจิตสํานึกด้วย --------------------------------------------
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/22591
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สวธ.ร่วมกับสถานีวิทยุ จส.๑๐๐ มอบรางวัลเชิดชูเกียรติ ๙ คนดี “๗ วัน ๗ ความดี” พร้อมติดตามผลงานจากหน่วยงานภาคีเครือข่าย ๑๕ หน่วยงาน สร้างวัฒนธรรมการใช้รถใช้ถนนด้วยวินัยจราจร-น้ำใจไมตร
วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน 2561 สวธ.ร่วมกับสถานีวิทยุ จส.๑๐๐ มอบรางวัลเชิดชูเกียรติ ๙ คนดี “๗ วัน ๗ ความดี” พร้อมติดตามผลงานจากหน่วยงานภาคีเครือข่าย ๑๕ หน่วยงาน สร้างวัฒนธรรมการใช้รถใช้ถนนด้วยวินัยจราจร-น้ําใจไมตร สวธ.ร่วมกับสถานีวิทยุ จส.๑๐๐ มอบรางวัลเชิดชูเกียรติ ๙ คนดี “๗ วัน ๗ ความดี” พร้อมติดตามผลงานจากหน่วยงานภาคีเครือข่าย ๑๕ หน่วยงาน สร้างวัฒนธรรมการใช้รถใช้ถนนด้วยวินัยจราจร-น้ําใจไมตรี-ลดอุบัติเหตุบนท้องถนน (วันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๖๑) กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ สถานีวิทยุ จส.๑๐๐ จัดพิธีมอบรางวัลคนดีที่ทําความดีบนท้องถนน ในโครงการ "๗ วัน ๗ ความดี คนดีบนท้องถนน” โดยได้รับเกียรติจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ พร้อมเงินรางวัลเชิดชู ๙ คนดีบนท้องถนน เพื่อเชิดชูเกียรติบุคคลที่เสียสละและเป็นกําลังใจในการทําความดีเพื่อผู้อื่นต่อไป พร้อมสร้างจิตสํานึกการทําดี ส่งต่อความมีน้ําใจไมตรีให้สังคม ในการนี้ คุณหญิงสุวิมล ผึ่งประเสริฐ กรรมการบริหาร สถานีวิทยุ จส.๑๐๐ ร่วมเป็นเกียรติในพิธี ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย นายวีระ โรจน์พจนรัตน์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้กล่าวแสดงความยินดีชื่นชมต่อ ๙ คนดี ที่ได้รับรางวัลว่า ทั้ง ๙ คน ถือเป็นแบบอย่างของการทําความดี แสดงถึงความมีน้ําใจไมตรีและจิตสํานึกสาธารณะ ซึ่งเป็นค่านิยมพื้นฐานที่ช่วยสร้างความสุขทั้งผู้ให้และผู้รับ งานในวันนี้ จึงเป็นการเผยแพร่การทําความดีและแบบอย่างของการประพฤติดีให้กับสาธารณะชนได้ประจักษ์ ในส่วนของการสัมมนาระดมความเห็น เรื่อง การเสริมสร้างวินัยจราจรและน้ําใจไมตรีบนท้องถนน ทําให้ได้รับทราบข้อเสนอแนะแนวทางที่เป็นประโยชน์ของการเสริมสร้างวินัยจราจร น้ําใจไมตรี รวมถึงมารยาทในการใช้รถใช้ถนนร่วมกัน อันจะช่วยลดอุบัติเหตุ ลดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของผู้ขับขี่ยานพาหนะและผู้สัญจรบนท้องถนน รวมทั้งลดการสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศอีกด้วย โดยในปีนี้มีผู้ที่ทําความดีและได้รับการคัดเลือกได้รับรางวัลใน ๗ เหตุการณ์ ได้แก่ ๑. แท็กซี่พลเมืองดี นายวิทิต ด้วงจุมพล เก็บกระเป๋าผู้โดยสารบรรจุทองน้ําหนัก ๒ กิโลกรัม และเงินสด รวมมูลค่าประมาณ ๒,๘๕๐,๐๐๐ บาท ส่งคืนเจ้าของ ๒. แท็กซี่พลเมืองดี นายประวิทย์ ปั้นทอง ช่วยเหลือชาวต่างชาติพลัดหลง (หญิงชาวเอธิโอเปีย) ๓. พลเมืองดี นายไพบูลย์ ขํามาก (คนขับเรือ) และ นายทวีสิทธิ์ อุ่นสกุลสุข (คนดูแลท่าเรือวัดคลองเตยนอก) ช่วยชีวิตคนกระโดดน้ําจะฆ่าตัวตาย บริเวณท่าเรือวัดคลองเตยนอก ๔. พลเมืองดี นางสาวเขมจิรา แซ่แต้ และ นาวสาวยุวธิดา วงษ์ศรี เก็บกระเป๋าของชาวไต้หวันส่งคืนผ่าน จส.๑๐๐ ๕. พลเมืองดี นายวรชัย ดีสูงเนิน แจ้งผ่าน SOS จส.๑๐๐ ช่วยเหลือชายเป็นลมหมดสติขณะวิ่งออกกําลังกาย ณ ถนนพุทธมณฑลสาย ๒ ๖. พลเมืองดี นายจิระประทีป เพ็ชรจุ้ย แจ้งอุบัติเหตุผ่าน SOS จส.๑๐๐ รถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์เสียหลักพลิกตะแคง ๗. แท็กซี่พลเมืองดี นายพิเชฐ มาไกลพาคุณยายป่วยอัลไซเมอร์หลงทางกลับบ้าน นอกจากนี้ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม หน่วยงานภาคีเครือข่าย ๑๕ ( MOU ) หน่วยงานลดอุบัติเหตุ ร่วมสัมมนาระดมความเห็น สรุปผลงานที่ดําเนินการในช่วงที่ผ่านมา พร้อมหารือแนวทาง การลดอุบัติเหตุ และสร้างวัฒนธรรมการใช้รถใช้ถนนด้วยวินัยจราจร ในระยะต่อไปให้เกิดประสิทธิภาพ โดยมี นายแพทย์ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการ ศูนย์วิชาการความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) เป็นผู้ให้ข้อมูลโดยรวมถึงสถานการณ์จราจรเมืองไทย สถิติการเกิดอุบัติเหตุ เพื่อร่วมกันสร้างการจราจรที่ปลอดภัยบนท้องถนนของเมืองไทย ทั้งนี้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม และ จส.๑๐๐ ได้เริ่มจัดทําโครงการ Give a big heart ขึ้นในปี ๒๕๕๙ โดยประชาสัมพันธ์เรื่องราวคนที่ทําความดีที่มีการแจ้งเรื่องราวผ่านทาง สถานีวิทยุ จส.๑๐๐ และในปี ๒๕๖๑ ได้พิจารณาคัดเลือก ผู้ที่ทําความดี ในช่วงปี ๒๕๕๙-๒๕๖๐ เพื่อมอบรางวัลประกาศเกียรติคุณความดีของบุคคลเพื่อสร้างกําลังใจและเชิดชูเกียรติในการทําความดี ดังกล่าวให้สังคมได้รับทราบ และเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีกับประชาชนตลอดจนเยาวชนรุ่นหลัง ได้เห็นความสําคัญของการทําความดีเพื่อสร้างสังคมที่น่าอยู่ต่อไป
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สวธ.ร่วมกับสถานีวิทยุ จส.๑๐๐ มอบรางวัลเชิดชูเกียรติ ๙ คนดี “๗ วัน ๗ ความดี” พร้อมติดตามผลงานจากหน่วยงานภาคีเครือข่าย ๑๕ หน่วยงาน สร้างวัฒนธรรมการใช้รถใช้ถนนด้วยวินัยจราจร-น้ำใจไมตร วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน 2561 สวธ.ร่วมกับสถานีวิทยุ จส.๑๐๐ มอบรางวัลเชิดชูเกียรติ ๙ คนดี “๗ วัน ๗ ความดี” พร้อมติดตามผลงานจากหน่วยงานภาคีเครือข่าย ๑๕ หน่วยงาน สร้างวัฒนธรรมการใช้รถใช้ถนนด้วยวินัยจราจร-น้ําใจไมตร สวธ.ร่วมกับสถานีวิทยุ จส.๑๐๐ มอบรางวัลเชิดชูเกียรติ ๙ คนดี “๗ วัน ๗ ความดี” พร้อมติดตามผลงานจากหน่วยงานภาคีเครือข่าย ๑๕ หน่วยงาน สร้างวัฒนธรรมการใช้รถใช้ถนนด้วยวินัยจราจร-น้ําใจไมตรี-ลดอุบัติเหตุบนท้องถนน (วันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๖๑) กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ สถานีวิทยุ จส.๑๐๐ จัดพิธีมอบรางวัลคนดีที่ทําความดีบนท้องถนน ในโครงการ "๗ วัน ๗ ความดี คนดีบนท้องถนน” โดยได้รับเกียรติจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ พร้อมเงินรางวัลเชิดชู ๙ คนดีบนท้องถนน เพื่อเชิดชูเกียรติบุคคลที่เสียสละและเป็นกําลังใจในการทําความดีเพื่อผู้อื่นต่อไป พร้อมสร้างจิตสํานึกการทําดี ส่งต่อความมีน้ําใจไมตรีให้สังคม ในการนี้ คุณหญิงสุวิมล ผึ่งประเสริฐ กรรมการบริหาร สถานีวิทยุ จส.๑๐๐ ร่วมเป็นเกียรติในพิธี ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย นายวีระ โรจน์พจนรัตน์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้กล่าวแสดงความยินดีชื่นชมต่อ ๙ คนดี ที่ได้รับรางวัลว่า ทั้ง ๙ คน ถือเป็นแบบอย่างของการทําความดี แสดงถึงความมีน้ําใจไมตรีและจิตสํานึกสาธารณะ ซึ่งเป็นค่านิยมพื้นฐานที่ช่วยสร้างความสุขทั้งผู้ให้และผู้รับ งานในวันนี้ จึงเป็นการเผยแพร่การทําความดีและแบบอย่างของการประพฤติดีให้กับสาธารณะชนได้ประจักษ์ ในส่วนของการสัมมนาระดมความเห็น เรื่อง การเสริมสร้างวินัยจราจรและน้ําใจไมตรีบนท้องถนน ทําให้ได้รับทราบข้อเสนอแนะแนวทางที่เป็นประโยชน์ของการเสริมสร้างวินัยจราจร น้ําใจไมตรี รวมถึงมารยาทในการใช้รถใช้ถนนร่วมกัน อันจะช่วยลดอุบัติเหตุ ลดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของผู้ขับขี่ยานพาหนะและผู้สัญจรบนท้องถนน รวมทั้งลดการสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศอีกด้วย โดยในปีนี้มีผู้ที่ทําความดีและได้รับการคัดเลือกได้รับรางวัลใน ๗ เหตุการณ์ ได้แก่ ๑. แท็กซี่พลเมืองดี นายวิทิต ด้วงจุมพล เก็บกระเป๋าผู้โดยสารบรรจุทองน้ําหนัก ๒ กิโลกรัม และเงินสด รวมมูลค่าประมาณ ๒,๘๕๐,๐๐๐ บาท ส่งคืนเจ้าของ ๒. แท็กซี่พลเมืองดี นายประวิทย์ ปั้นทอง ช่วยเหลือชาวต่างชาติพลัดหลง (หญิงชาวเอธิโอเปีย) ๓. พลเมืองดี นายไพบูลย์ ขํามาก (คนขับเรือ) และ นายทวีสิทธิ์ อุ่นสกุลสุข (คนดูแลท่าเรือวัดคลองเตยนอก) ช่วยชีวิตคนกระโดดน้ําจะฆ่าตัวตาย บริเวณท่าเรือวัดคลองเตยนอก ๔. พลเมืองดี นางสาวเขมจิรา แซ่แต้ และ นาวสาวยุวธิดา วงษ์ศรี เก็บกระเป๋าของชาวไต้หวันส่งคืนผ่าน จส.๑๐๐ ๕. พลเมืองดี นายวรชัย ดีสูงเนิน แจ้งผ่าน SOS จส.๑๐๐ ช่วยเหลือชายเป็นลมหมดสติขณะวิ่งออกกําลังกาย ณ ถนนพุทธมณฑลสาย ๒ ๖. พลเมืองดี นายจิระประทีป เพ็ชรจุ้ย แจ้งอุบัติเหตุผ่าน SOS จส.๑๐๐ รถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์เสียหลักพลิกตะแคง ๗. แท็กซี่พลเมืองดี นายพิเชฐ มาไกลพาคุณยายป่วยอัลไซเมอร์หลงทางกลับบ้าน นอกจากนี้ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม หน่วยงานภาคีเครือข่าย ๑๕ ( MOU ) หน่วยงานลดอุบัติเหตุ ร่วมสัมมนาระดมความเห็น สรุปผลงานที่ดําเนินการในช่วงที่ผ่านมา พร้อมหารือแนวทาง การลดอุบัติเหตุ และสร้างวัฒนธรรมการใช้รถใช้ถนนด้วยวินัยจราจร ในระยะต่อไปให้เกิดประสิทธิภาพ โดยมี นายแพทย์ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการ ศูนย์วิชาการความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) เป็นผู้ให้ข้อมูลโดยรวมถึงสถานการณ์จราจรเมืองไทย สถิติการเกิดอุบัติเหตุ เพื่อร่วมกันสร้างการจราจรที่ปลอดภัยบนท้องถนนของเมืองไทย ทั้งนี้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม และ จส.๑๐๐ ได้เริ่มจัดทําโครงการ Give a big heart ขึ้นในปี ๒๕๕๙ โดยประชาสัมพันธ์เรื่องราวคนที่ทําความดีที่มีการแจ้งเรื่องราวผ่านทาง สถานีวิทยุ จส.๑๐๐ และในปี ๒๕๖๑ ได้พิจารณาคัดเลือก ผู้ที่ทําความดี ในช่วงปี ๒๕๕๙-๒๕๖๐ เพื่อมอบรางวัลประกาศเกียรติคุณความดีของบุคคลเพื่อสร้างกําลังใจและเชิดชูเกียรติในการทําความดี ดังกล่าวให้สังคมได้รับทราบ และเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีกับประชาชนตลอดจนเยาวชนรุ่นหลัง ได้เห็นความสําคัญของการทําความดีเพื่อสร้างสังคมที่น่าอยู่ต่อไป
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/12801
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงยุติธรรม หารือร่วมกับ สคบ. มุ่งคุ้มครองประชาชนให้ได้รับความเป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อสินค้าและบริการตามกฎหมาย
วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม 2561 กระทรวงยุติธรรม หารือร่วมกับ สคบ. มุ่งคุ้มครองประชาชนให้ได้รับความเป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อสินค้าและบริการตามกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม หารือร่วมกับ สคบ. มุ่งคุ้มครองประชาชนให้ได้รับความเป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อสินค้าและบริการตามกฎหมาย ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๓๐น. นางกรรณิการ์ แสงทอง รองปลัดกระทรวงยุติธรรม และนายพิฆเนศ ต๊ะปวง รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เข้าร่วมการประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ระหว่างกระทรวงยุติธรรมและสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) โดยมุ่งหวังที่จะดูแลประชาชนในฐานะผู้บริโภคให้ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย และการช่วยเหลือประชาชนในการดําเนินคดีผู้บริโภค นอกจากนี้ ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับการจัดทําบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างกระทรวงยุติธรรม และ สคบ. เพื่อส่งเสริม ประสานความร่วมมือและร่วมกันผลักดัน การดําเนินงานเพื่อคุ้มครองประชาชนให้ได้รับความเป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อสินค้า และบริการตามกฎหมายอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงยุติธรรม หารือร่วมกับ สคบ. มุ่งคุ้มครองประชาชนให้ได้รับความเป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อสินค้าและบริการตามกฎหมาย วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม 2561 กระทรวงยุติธรรม หารือร่วมกับ สคบ. มุ่งคุ้มครองประชาชนให้ได้รับความเป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อสินค้าและบริการตามกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม หารือร่วมกับ สคบ. มุ่งคุ้มครองประชาชนให้ได้รับความเป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อสินค้าและบริการตามกฎหมาย ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๓๐น. นางกรรณิการ์ แสงทอง รองปลัดกระทรวงยุติธรรม และนายพิฆเนศ ต๊ะปวง รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เข้าร่วมการประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ระหว่างกระทรวงยุติธรรมและสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) โดยมุ่งหวังที่จะดูแลประชาชนในฐานะผู้บริโภคให้ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย และการช่วยเหลือประชาชนในการดําเนินคดีผู้บริโภค นอกจากนี้ ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับการจัดทําบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างกระทรวงยุติธรรม และ สคบ. เพื่อส่งเสริม ประสานความร่วมมือและร่วมกันผลักดัน การดําเนินงานเพื่อคุ้มครองประชาชนให้ได้รับความเป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อสินค้า และบริการตามกฎหมายอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/10806
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กอช. เปิดเวทีเสวนาใหญ่ ชวนคนไทยสร้างเสริมวินัยการออม
วันจันทร์ที่ 12 มิถุนายน 2560 กอช. เปิดเวทีเสวนาใหญ่ ชวนคนไทยสร้างเสริมวินัยการออม กอช. ร่วมจัดเวทีเสวนา “กอช. กับบํานาญภาคประชาชน” ภายใต้โครงการส่งเสริมการออมเงินอย่างยั่งยืนกับเครือข่ายองค์กรการเงินชุมชน : กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตและกลุ่มสหกรณ์ เพื่อต่อยอดความรู้ทางการเงิน ส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการออมอย่างยั่งยืนแก่ประชาชน กองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. ร่วมกับ เครือข่ายองค์กรการเงินชุมชน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตและกลุ่มสหกรณ์ 10 จังหวัด จัดเวทีเสวนา เรื่อง “กอช. กับบํานาญภาคประชาชน” ภายใต้โครงการส่งเสริมการออมเงินอย่างยั่งยืนกับเครือข่ายองค์กรการเงินชุมชน : กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตและกลุ่มสหกรณ์ เพื่อต่อยอดความรู้ทางการเงิน ส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการออมอย่างยั่งยืนแก่ประชาชน ผ่านกลไกการบริหารงานของเครือข่ายองค์กรการเงินชุมชนในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะร่วมกันผลักดันภารกิจส่งเสริมการออมเพื่อสิทธิประโยชน์บํานาญชราภาพให้แก่แรงงานนอกระบบของประเทศได้อย่างเข้าถึง โครงการส่งเสริมการออมเงินอย่างยั่งยืนกับเครือข่ายองค์กรการเงินชุมชนฯ นี้ ได้ร่วมมือกับ 10 จังหวัดนําร่อง ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดชลบุรี จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดสงขลา ทั้งนี้ได้เปิดตัวโครงการและเปิดเวทีเสวนาที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นแห่งแรกในวันพุธที่ 14 มิถุนายน 2560 เวลา 08.30 – 15.00 น. ณ ห้องโกเมน โรงแรมไดมอนด์พลาซ่า จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีนายอวยชัย อินทร์นาค ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดเวทีเสวนา นายสมพร จิตเป็นธม เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. กล่าวว่า การจัดเวทีเสวนา เรื่อง “กอช. กับบํานาญภาคประชาชน” นี้ เป็นหนึ่งในหลายกิจกรรมที่ กอช. ได้จัดขึ้น เพื่อสร้างกระแสให้สังคมตระหนักถึงความสําคัญของการออมเพื่อยามชราภาพ สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีบทบาทในการผลักดันให้ประชาชนได้มีความเข้มแข็งทางการเงินส่วนบุคคล ขยายเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประชาชน ชุมชน และภาครัฐ โดยอาศัยกลไกของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตและกลุ่มสหกรณ์ ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก สํานักงานคลังจังหวัดสุราษฎร์ธานี พัฒนาการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ปราชญ์ชาวบ้าน (โดยนายเจริญ ดวงสุวรรณ) ตลอดจนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตและกลุ่มสหกรณ์ “จึงขอเชิญชวนท่านที่อยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและพื้นที่ใกล้เคียงที่มีความสนใจ ในเรื่องการออมเพื่อยามชราภาพและมีความประสงค์จะเข้าถึงรัฐสวัสดิการทางการเงินกับ กอช. สามารถเข้าร่วมงานเวทีเสวนา เรื่อง “กอช. กับบํานาญภาคประชาชน” ได้ตามวันเวลาและสถานที่ดังกล่าวโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ภายในงานยังจัดให้มีการออกบูธแสดงผลิตภัณฑ์ทางการเงินของ กอช. ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) อีกด้วย” นายสมพรกล่าว สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนการออมแห่งชาติได้ที่ กอช. สายด่วนเงินออม 02-017-0789 ในวันและเวลาทําการ และติดต่อสมัครสมาชิกได้ที่ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธ.ก.ส. และ ธอส. ทุกสาขาทั่วประเทศ และที่สถาบันการเงินชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ... “กอช. ออมสบาย ได้บํานาญ” www.nsf.or.th ฝ่ายประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร : โทร. 02-017-0789 ต่อ 213, 224 Email : [email protected]
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กอช. เปิดเวทีเสวนาใหญ่ ชวนคนไทยสร้างเสริมวินัยการออม วันจันทร์ที่ 12 มิถุนายน 2560 กอช. เปิดเวทีเสวนาใหญ่ ชวนคนไทยสร้างเสริมวินัยการออม กอช. ร่วมจัดเวทีเสวนา “กอช. กับบํานาญภาคประชาชน” ภายใต้โครงการส่งเสริมการออมเงินอย่างยั่งยืนกับเครือข่ายองค์กรการเงินชุมชน : กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตและกลุ่มสหกรณ์ เพื่อต่อยอดความรู้ทางการเงิน ส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการออมอย่างยั่งยืนแก่ประชาชน กองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. ร่วมกับ เครือข่ายองค์กรการเงินชุมชน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตและกลุ่มสหกรณ์ 10 จังหวัด จัดเวทีเสวนา เรื่อง “กอช. กับบํานาญภาคประชาชน” ภายใต้โครงการส่งเสริมการออมเงินอย่างยั่งยืนกับเครือข่ายองค์กรการเงินชุมชน : กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตและกลุ่มสหกรณ์ เพื่อต่อยอดความรู้ทางการเงิน ส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการออมอย่างยั่งยืนแก่ประชาชน ผ่านกลไกการบริหารงานของเครือข่ายองค์กรการเงินชุมชนในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะร่วมกันผลักดันภารกิจส่งเสริมการออมเพื่อสิทธิประโยชน์บํานาญชราภาพให้แก่แรงงานนอกระบบของประเทศได้อย่างเข้าถึง โครงการส่งเสริมการออมเงินอย่างยั่งยืนกับเครือข่ายองค์กรการเงินชุมชนฯ นี้ ได้ร่วมมือกับ 10 จังหวัดนําร่อง ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดชลบุรี จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดสงขลา ทั้งนี้ได้เปิดตัวโครงการและเปิดเวทีเสวนาที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นแห่งแรกในวันพุธที่ 14 มิถุนายน 2560 เวลา 08.30 – 15.00 น. ณ ห้องโกเมน โรงแรมไดมอนด์พลาซ่า จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีนายอวยชัย อินทร์นาค ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดเวทีเสวนา นายสมพร จิตเป็นธม เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. กล่าวว่า การจัดเวทีเสวนา เรื่อง “กอช. กับบํานาญภาคประชาชน” นี้ เป็นหนึ่งในหลายกิจกรรมที่ กอช. ได้จัดขึ้น เพื่อสร้างกระแสให้สังคมตระหนักถึงความสําคัญของการออมเพื่อยามชราภาพ สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีบทบาทในการผลักดันให้ประชาชนได้มีความเข้มแข็งทางการเงินส่วนบุคคล ขยายเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประชาชน ชุมชน และภาครัฐ โดยอาศัยกลไกของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตและกลุ่มสหกรณ์ ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก สํานักงานคลังจังหวัดสุราษฎร์ธานี พัฒนาการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ปราชญ์ชาวบ้าน (โดยนายเจริญ ดวงสุวรรณ) ตลอดจนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตและกลุ่มสหกรณ์ “จึงขอเชิญชวนท่านที่อยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและพื้นที่ใกล้เคียงที่มีความสนใจ ในเรื่องการออมเพื่อยามชราภาพและมีความประสงค์จะเข้าถึงรัฐสวัสดิการทางการเงินกับ กอช. สามารถเข้าร่วมงานเวทีเสวนา เรื่อง “กอช. กับบํานาญภาคประชาชน” ได้ตามวันเวลาและสถานที่ดังกล่าวโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ภายในงานยังจัดให้มีการออกบูธแสดงผลิตภัณฑ์ทางการเงินของ กอช. ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) อีกด้วย” นายสมพรกล่าว สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนการออมแห่งชาติได้ที่ กอช. สายด่วนเงินออม 02-017-0789 ในวันและเวลาทําการ และติดต่อสมัครสมาชิกได้ที่ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธ.ก.ส. และ ธอส. ทุกสาขาทั่วประเทศ และที่สถาบันการเงินชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ... “กอช. ออมสบาย ได้บํานาญ” www.nsf.or.th ฝ่ายประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร : โทร. 02-017-0789 ต่อ 213, 224 Email : [email protected]
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/4447
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 12 กันยายน 2560
วันพุธที่ 13 กันยายน 2560
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 12 กันยายน 2560 วันพุธที่ 13 กันยายน 2560
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไทย-สหรัฐฯ พร้อมร่วมมือ และให้กำลังใจซึ่งกันและกันเพื่อรับมือสถานการณ์โควิด-19
วันพุธที่ 8 เมษายน 2563 ไทย-สหรัฐฯ พร้อมร่วมมือ และให้กําลังใจซึ่งกันและกันเพื่อรับมือสถานการณ์โควิด-19 ไทย-สหรัฐฯ พร้อมร่วมมือ และให้กําลังใจซึ่งกันและกันเพื่อรับมือสถานการณ์โควิด-19 วันนี้ (วันพุธที่ 8 เมษายน 2563) เวลา 09.30 น. ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทําเนียบรัฐบาล นายไมเคิล จอร์จ ดีซอมเบร (H.E. Mr. Michael George DeSombre) เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจําประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อแนะนําตัวในโอกาสเข้ารับหน้าที่ สรุปสาระสําคัญดังนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวยินดีต้อนรับเอกอัครราชทูตสหรัฐประจําประเทศไทย มั่นใจว่าเอกอัครราชทูตฯ จะมีส่วนสําคัญในการพัฒนามิตรภาพไทย-สหรัฐฯ ให้แน่นแฟ้นเหมือนเช่นที่เป็นมาตลอดกว่า 180 ปี ขอฝากความปรารถนาดี ความห่วงใยไปยังประธานาธิบดีทรัมป์และภริยา ให้กําลังใจในการบริหารประเทศเพื่อต่อสู้กับสถานการณ์ไวรัสโคโรนา2019 (โควิด-19) เพื่อให้สถานการณ์ดีขึ้นในเร็ววัน เอกอัครราชทูตฯ กล่าวขอบคุณนายกรัฐมนตรีที่อนุญาตให้เข้าเยี่ยมคารวะแม้จะเป็นช่วงเวลาที่ท้าทายของประเทศไทย และหลายๆ ประเทศในโลก ขอสนับสนุน และชื่นชมมาตรการของรัฐบาลไทย ที่ส่งผลให้มีแนวโน้มตัวเลขผู้ติดเชื้อเป็นแนวราบ ทั้งนี้ ขอขอบคุณรัฐบาลไทยที่ให้การดูแลผู้อาศัยอยู่ในประเทศไทยให้ใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย ทั้งสองฝ่ายต่างชื่นชมความสัมพันธ์ระหว่างกันในทุกๆ ด้าน ทั้งทางด้านความมั่นคง เป็นสาขาที่มีความร่วมมือกันมาอย่างยาวนานและแนบแน่น และด้านการสาธารณสุข เป็นสาขาความร่วมมือสําคัญที่พัฒนามายาวนานหลายทศวรรษ โดยสหรัฐฯ มี ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติ (CDC) มีสํานักงานนอกสหรัฐฯ ขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ที่กรุงเทพฯ โดยนายกรัฐมนตรีขอให้ทั้งสองฝ่ายมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดเพื่อช่วยเหลือในทุกด้าน นายกรัฐมนตรีขอบคุณสหรัฐฯ ที่ได้มอบอุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคล (PPE) ให้ประเทศไทย รวมทั้งขอให้กําลังใจซึ่งกันและกันในช่วงเวลาของความท้าทายนี้ ทั้งนี้ ขอให้คํานึงถึงไม่เพียงแต่ความร่วมมือระหว่างไทยและสหรัฐฯ แต่เป็นความร่วมมือกับทุกประเทศทั่วโลก ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับนโยบายเชิงรุกเพื่อความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ซึ่งจะมีความสําคัญอย่างมากในการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังจากสถานการณ์แพร่ระบาดคลี่คลาย โดยนายกรัฐมนตรีขอให้มองความร่วมมือด้านเศรษฐกิจกับไทยที่ยังมีโอกาสในความร่วมมือระหว่างกันอีกมาก เอกอัครราชทูตฯ กล่าวว่าตั้งใจจะทํางาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจร่วมกันให้มีความใกล้ชิดยิ่งขึ้น
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไทย-สหรัฐฯ พร้อมร่วมมือ และให้กำลังใจซึ่งกันและกันเพื่อรับมือสถานการณ์โควิด-19 วันพุธที่ 8 เมษายน 2563 ไทย-สหรัฐฯ พร้อมร่วมมือ และให้กําลังใจซึ่งกันและกันเพื่อรับมือสถานการณ์โควิด-19 ไทย-สหรัฐฯ พร้อมร่วมมือ และให้กําลังใจซึ่งกันและกันเพื่อรับมือสถานการณ์โควิด-19 วันนี้ (วันพุธที่ 8 เมษายน 2563) เวลา 09.30 น. ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทําเนียบรัฐบาล นายไมเคิล จอร์จ ดีซอมเบร (H.E. Mr. Michael George DeSombre) เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจําประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อแนะนําตัวในโอกาสเข้ารับหน้าที่ สรุปสาระสําคัญดังนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวยินดีต้อนรับเอกอัครราชทูตสหรัฐประจําประเทศไทย มั่นใจว่าเอกอัครราชทูตฯ จะมีส่วนสําคัญในการพัฒนามิตรภาพไทย-สหรัฐฯ ให้แน่นแฟ้นเหมือนเช่นที่เป็นมาตลอดกว่า 180 ปี ขอฝากความปรารถนาดี ความห่วงใยไปยังประธานาธิบดีทรัมป์และภริยา ให้กําลังใจในการบริหารประเทศเพื่อต่อสู้กับสถานการณ์ไวรัสโคโรนา2019 (โควิด-19) เพื่อให้สถานการณ์ดีขึ้นในเร็ววัน เอกอัครราชทูตฯ กล่าวขอบคุณนายกรัฐมนตรีที่อนุญาตให้เข้าเยี่ยมคารวะแม้จะเป็นช่วงเวลาที่ท้าทายของประเทศไทย และหลายๆ ประเทศในโลก ขอสนับสนุน และชื่นชมมาตรการของรัฐบาลไทย ที่ส่งผลให้มีแนวโน้มตัวเลขผู้ติดเชื้อเป็นแนวราบ ทั้งนี้ ขอขอบคุณรัฐบาลไทยที่ให้การดูแลผู้อาศัยอยู่ในประเทศไทยให้ใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย ทั้งสองฝ่ายต่างชื่นชมความสัมพันธ์ระหว่างกันในทุกๆ ด้าน ทั้งทางด้านความมั่นคง เป็นสาขาที่มีความร่วมมือกันมาอย่างยาวนานและแนบแน่น และด้านการสาธารณสุข เป็นสาขาความร่วมมือสําคัญที่พัฒนามายาวนานหลายทศวรรษ โดยสหรัฐฯ มี ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติ (CDC) มีสํานักงานนอกสหรัฐฯ ขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ที่กรุงเทพฯ โดยนายกรัฐมนตรีขอให้ทั้งสองฝ่ายมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดเพื่อช่วยเหลือในทุกด้าน นายกรัฐมนตรีขอบคุณสหรัฐฯ ที่ได้มอบอุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคล (PPE) ให้ประเทศไทย รวมทั้งขอให้กําลังใจซึ่งกันและกันในช่วงเวลาของความท้าทายนี้ ทั้งนี้ ขอให้คํานึงถึงไม่เพียงแต่ความร่วมมือระหว่างไทยและสหรัฐฯ แต่เป็นความร่วมมือกับทุกประเทศทั่วโลก ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับนโยบายเชิงรุกเพื่อความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ซึ่งจะมีความสําคัญอย่างมากในการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังจากสถานการณ์แพร่ระบาดคลี่คลาย โดยนายกรัฐมนตรีขอให้มองความร่วมมือด้านเศรษฐกิจกับไทยที่ยังมีโอกาสในความร่วมมือระหว่างกันอีกมาก เอกอัครราชทูตฯ กล่าวว่าตั้งใจจะทํางาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจร่วมกันให้มีความใกล้ชิดยิ่งขึ้น
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/28625
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มีผลบังคับใช้แล้ว สถานศึกษาต่ำกว่าอุดมศึกษา-รร.กวดวิชากำหนดระยะ ๕ เมตร จากทางเข้า-ออกเป็นเขตปลอดบุหรี่
วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562 มีผลบังคับใช้แล้ว สถานศึกษาต่ํากว่าอุดมศึกษา-รร.กวดวิชากําหนดระยะ ๕ เมตร จากทางเข้า-ออกเป็นเขตปลอดบุหรี่ มีผลบังคับใช้แล้ววันนี้ (๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กําหนดประเภท หรือชื่อของสถานที่สาธารณะ สถานที่ทํางาน และยานพาหนะ ให้ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของสถานที่และยานพาหนะ เป็นเขตปลอดบุหรี่ หรือเขตสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ พ.ศ.๒๕๖๑ มีผลบังคับใช้แล้ววันนี้ (๓กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒)ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กําหนดประเภท หรือชื่อของสถานที่สาธารณะ สถานที่ทํางาน และยานพาหนะ ให้ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของสถานที่และยานพาหนะ เป็นเขตปลอดบุหรี่ หรือเขตสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ พ.ศ.๒๕๖๑ จากการที่ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ได้เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กําหนดประเภทหรือชื่อของสถานที่สาธารณะ สถานที่ทํางาน และยานพาหนะ ให้ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของสถานที่และยานพาหนะเป็นเขตปลอดบุหรี่ หรือเขตสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๖๑โดยมีผลให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนด ๙๐ วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป สําหรับสถานที่ซึ่งถูกกําหนดที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่โดยกําหนดให้พื้นที่และบริเวณทั้งหมดซึ่งใช้ประกอบภารกิจของสถานที่นั้น ทั้งภายในและภายนอกอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้าง บริเวณที่จัดไว้ให้ผู้มารับบริการใช้ประโยชน์ร่วมกัน ไม่ว่าจะมีรั้วล้อมหรือไม่ก็ตามรวมทั้งระยะ ๕ เมตรจากทางเข้า - ออกของสถานที่ เป็นเขตปลอดบุหรี่คือ ๑) สถานบริการสาธารณสุขและส่งเสริมสุขภาพ - คลินิก สหคลินิก โรงพยาบาล รวมถึงสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล - คลินิก โรงพยาบาลสัตว์ รวมถึงสถานพยาบาลสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์ - สถานีอนามัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล สถานบริการสุขภาพทุกประเภท ๒) สถานศึกษา หรือสถานที่เพื่อการเรียนรู้และฝึกอบรม -สถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน - สถานศึกษาระดับที่ต่ํากว่าอุดมศึกษา - สถานกวดวิชา สถานที่สอนกีฬา ดนตรี ขับร้อง การแสดงศิลปะป้องกันตัว ศิลปะ ภาษา และสถานที่ที่ประกอบกิจกรรมในลักษณะเดียวกัน ๓) สถานที่สาธารณะอื่น ๆ -สถานรับดูแลหรือสงเคราะห์เด็ก ผู้เยาว์ หรือสมาคม มูลนิธิ หรือสถานประกอบการในลักษณะเดียวกัน - สนามเด็กเล่น หรือสถานที่ให้บริการสําหรับเด็กในลักษณะเดียวกัน ในกรณีสถานที่ข้างต้นมีทางเข้า - ออกอย่างชัดเจน การวัดระยะ ๕ เมตร ให้วัดระยะจากขอบทางเข้า - ออกทั้งสองด้าน ออกไป ๕ เมตรตามภาพประกอบหมายเลข ๑(ในกรณีสถานที่ดังกล่าวไม่มีทางเข้า - ออกอย่างชัดเจน หรือเข้า - ออกได้ทุกทิศทาง การวัดระยะ ๕ เมตร ให้วัดระยะเฉพาะจากขอบทางเข้า - ออกหลักที่ผู้ดําเนินการกําหนดให้เป็นทางเข้า - ออกออกไป ๕ เมตร) สําหรับการวัดระยะ ๕ เมตร ให้วัดระยะจากพื้นที่ที่ระบุ หรือจากประตู หน้าต่าง ทางเข้า ทางออกท่อหรือช่องระบายอากาศออกไป ๕ เมตร ตามภาพประกอบหมายเลข ๒ ส่วนสถานที่สาธารณะที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ ที่สามารถจัดให้มีเขตสูบบุหรี่ เป็นการเฉพาะได้ ในพื้นที่นอกอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างได้ คือ - สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา - สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ - ท่าอากาศยาน สําหรับสถานที่อื่น ๆ ทั้งหมด รวมทั้งยานพาหนะ ขอให้ตรวจสอบจากราชกิจจานุเบกษาฉบับดังกล่าวได้ที่นี่clickส่วนหน่วยงานใดที่ต้องการทราบลักษณะและวิธีการในการแสดงเครื่องหมายเขตปลอดบุหรี่ และเครื่องหมายเขตสูบบุหรี่clickทั้งนี้ หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท ดาวน์โหลด..ราชกิจจานุเบกษาฉบับนี้ ดาวน์โหลด..ลักษณะและวิธีการในการแสดงเครื่องหมายเขตปลอดบุหรี่ และเครื่องหมายเขตสูบบุหรี่ Rewriter/Editorบัลลังก์ โรหิตเสถียร
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มีผลบังคับใช้แล้ว สถานศึกษาต่ำกว่าอุดมศึกษา-รร.กวดวิชากำหนดระยะ ๕ เมตร จากทางเข้า-ออกเป็นเขตปลอดบุหรี่ วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562 มีผลบังคับใช้แล้ว สถานศึกษาต่ํากว่าอุดมศึกษา-รร.กวดวิชากําหนดระยะ ๕ เมตร จากทางเข้า-ออกเป็นเขตปลอดบุหรี่ มีผลบังคับใช้แล้ววันนี้ (๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กําหนดประเภท หรือชื่อของสถานที่สาธารณะ สถานที่ทํางาน และยานพาหนะ ให้ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของสถานที่และยานพาหนะ เป็นเขตปลอดบุหรี่ หรือเขตสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ พ.ศ.๒๕๖๑ มีผลบังคับใช้แล้ววันนี้ (๓กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒)ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กําหนดประเภท หรือชื่อของสถานที่สาธารณะ สถานที่ทํางาน และยานพาหนะ ให้ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของสถานที่และยานพาหนะ เป็นเขตปลอดบุหรี่ หรือเขตสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ พ.ศ.๒๕๖๑ จากการที่ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ได้เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กําหนดประเภทหรือชื่อของสถานที่สาธารณะ สถานที่ทํางาน และยานพาหนะ ให้ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของสถานที่และยานพาหนะเป็นเขตปลอดบุหรี่ หรือเขตสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๖๑โดยมีผลให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนด ๙๐ วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป สําหรับสถานที่ซึ่งถูกกําหนดที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่โดยกําหนดให้พื้นที่และบริเวณทั้งหมดซึ่งใช้ประกอบภารกิจของสถานที่นั้น ทั้งภายในและภายนอกอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้าง บริเวณที่จัดไว้ให้ผู้มารับบริการใช้ประโยชน์ร่วมกัน ไม่ว่าจะมีรั้วล้อมหรือไม่ก็ตามรวมทั้งระยะ ๕ เมตรจากทางเข้า - ออกของสถานที่ เป็นเขตปลอดบุหรี่คือ ๑) สถานบริการสาธารณสุขและส่งเสริมสุขภาพ - คลินิก สหคลินิก โรงพยาบาล รวมถึงสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล - คลินิก โรงพยาบาลสัตว์ รวมถึงสถานพยาบาลสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์ - สถานีอนามัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล สถานบริการสุขภาพทุกประเภท ๒) สถานศึกษา หรือสถานที่เพื่อการเรียนรู้และฝึกอบรม -สถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน - สถานศึกษาระดับที่ต่ํากว่าอุดมศึกษา - สถานกวดวิชา สถานที่สอนกีฬา ดนตรี ขับร้อง การแสดงศิลปะป้องกันตัว ศิลปะ ภาษา และสถานที่ที่ประกอบกิจกรรมในลักษณะเดียวกัน ๓) สถานที่สาธารณะอื่น ๆ -สถานรับดูแลหรือสงเคราะห์เด็ก ผู้เยาว์ หรือสมาคม มูลนิธิ หรือสถานประกอบการในลักษณะเดียวกัน - สนามเด็กเล่น หรือสถานที่ให้บริการสําหรับเด็กในลักษณะเดียวกัน ในกรณีสถานที่ข้างต้นมีทางเข้า - ออกอย่างชัดเจน การวัดระยะ ๕ เมตร ให้วัดระยะจากขอบทางเข้า - ออกทั้งสองด้าน ออกไป ๕ เมตรตามภาพประกอบหมายเลข ๑(ในกรณีสถานที่ดังกล่าวไม่มีทางเข้า - ออกอย่างชัดเจน หรือเข้า - ออกได้ทุกทิศทาง การวัดระยะ ๕ เมตร ให้วัดระยะเฉพาะจากขอบทางเข้า - ออกหลักที่ผู้ดําเนินการกําหนดให้เป็นทางเข้า - ออกออกไป ๕ เมตร) สําหรับการวัดระยะ ๕ เมตร ให้วัดระยะจากพื้นที่ที่ระบุ หรือจากประตู หน้าต่าง ทางเข้า ทางออกท่อหรือช่องระบายอากาศออกไป ๕ เมตร ตามภาพประกอบหมายเลข ๒ ส่วนสถานที่สาธารณะที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ ที่สามารถจัดให้มีเขตสูบบุหรี่ เป็นการเฉพาะได้ ในพื้นที่นอกอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างได้ คือ - สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา - สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ - ท่าอากาศยาน สําหรับสถานที่อื่น ๆ ทั้งหมด รวมทั้งยานพาหนะ ขอให้ตรวจสอบจากราชกิจจานุเบกษาฉบับดังกล่าวได้ที่นี่clickส่วนหน่วยงานใดที่ต้องการทราบลักษณะและวิธีการในการแสดงเครื่องหมายเขตปลอดบุหรี่ และเครื่องหมายเขตสูบบุหรี่clickทั้งนี้ หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท ดาวน์โหลด..ราชกิจจานุเบกษาฉบับนี้ ดาวน์โหลด..ลักษณะและวิธีการในการแสดงเครื่องหมายเขตปลอดบุหรี่ และเครื่องหมายเขตสูบบุหรี่ Rewriter/Editorบัลลังก์ โรหิตเสถียร
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/18557
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธอส. พร้อมโอน!! ของขวัญปีใหม่ 1,000 บาท ผ่าน Application GHB ALL สำหรับลูกค้าผ่อนดีมีวินัย และมีวงเงินกู้รวมไม่เกิน 1 ล้านบาท
วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม 2562 ธอส. พร้อมโอน!! ของขวัญปีใหม่ 1,000 บาท ผ่าน Application GHB ALL สําหรับลูกค้าผ่อนดีมีวินัย และมีวงเงินกู้รวมไม่เกิน 1 ล้านบาท ธอส.จัดทํา “โครงการของขวัญปีใหม่ 2563 เพื่อส่งเสริมวินัยทางการเงินสําหรับลูกค้า ธอส. ผู้มีรายได้น้อย” มอบเงินจํานวน 1,000 บาท ให้แก่ลูกค้าที่มีคุณสมบัติตามที่ธนาคารกําหนด ด้วยวิธีการโอนเงินผ่านบัญชีเงินฝากที่ผูกกับ Application GHB ALL ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) สนับสนุนนโยบาย ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่มุ่งส่งเสริมวินัยทางการเงินของกลุ่มผู้มีรายได้น้อย พร้อมเติมกําลังซื้อ กระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ จัดทํา “โครงการของขวัญปีใหม่ 2563 เพื่อส่งเสริมวินัยทางการเงินสําหรับลูกค้า ธอส. ผู้มีรายได้น้อย” มอบเงินจํานวน 1,000 บาท ให้แก่ลูกค้าที่มีคุณสมบัติตามที่ธนาคารกําหนด ด้วยวิธีการโอนเงินผ่านบัญชีเงินฝากที่ผูกกับ Application GHB ALL ประเดิมลูกค้ากลุ่มแรกรับเงินทันทีภายในเดือนธันวาคม 2562 ครอบคลุมลูกค้าของธนาคารที่มีสิทธิ์รับของขวัญปีใหม่จํานวนกว่า 170,000 ราย นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายของ ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ต้องการจัดทําของขวัญปีใหม่ ประจําปี 2563 ที่มุ่งส่งเสริมการมีวินัยทางการเงินในการผ่อนชําระเงินกู้เพื่อที่อยูอาศัยของกลุ่มลูกค้าธนาคารผู้มีรายได้น้อย พร้อมทั้งเติมกําลังซื้อ กระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจในช่วงเทศกาลปีใหม่ ธอส. จึงได้จัดทํา “โครงการของขวัญปีใหม่ 2563 เพื่อส่งเสริมวินัยทางการเงินสําหรับลูกค้า ธอส. ผู้มีรายได้น้อย” โดยธนาคารจะมอบเงินจํานวน 1,000 บาท ให้แก่ลูกค้าที่มีคุณสมบัติตามที่ธนาคารกําหนด ประกอบด้วย 1.วงเงินกู้ทุกบัญชีภายใต้หลักประกันเดียวกันไม่เกิน 1 ล้านบาท 2.ต้องไม่เป็นหรือไม่เคยเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) รวมถึงไม่เคยประนอมหนี้กับธนาคาร และไม่เคยมีประวัติการติดตามขอให้ชําระหนี้ค้าง 3.มีประวัติการผ่อนชําระหนี้ดีย้อนหลัง 48 เดือน โดยชําระตรงเวลาและไม่น้อยกว่าเงินงวดที่ธนาคารกําหนดทุกเดือน และ 4.ต้องชําระเงินงวดของเดือนธันวาคม 2562 ในระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2562 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 ทั้งนี้ ลูกค้าต้องมาแสดงความจํานงที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้ทุกสาขาทั่วประเทศ ผ่านระบบ GHB KYC เพื่อตรวจสอบและยืนยันตัวตนของลูกค้า โดยจะโอนเงินของขวัญผ่านบัญชีเงินฝากที่ผูกกับ Application GHB ALL ของธนาคาร ให้แก่ลูกค้าที่มีคุณสมบัติตามที่ธนาคารกําหนด ซึ่งมีจํานวนกว่า 170,000 ราย แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มลูกค้าที่มีคุณสมบัติตามที่ธนาคารกําหนด และชําระเงินงวดผ่าน GHB ALL ภายในเดือนธันวาคม 2562 ธนาคารจะโอนเงินของขวัญปีใหม่ในเดือนธันวาคม 2562 2.กลุ่มลูกค้าที่มีคุณสมบัติตามที่ธนาคารกําหนด แต่ไม่ได้ชําระเงินงวดผ่าน GHB ALL เช่น ชําระผ่านเคาน์เตอร์การเงิน, ตู้ ATM หรือเครื่องชําระหนี้เงินกู้ LRM ในเดือนธันวาคม 2562 ซึ่งลูกค้าจะต้องลงทะเบียนใช้บริการ GHB ALL และชําระเงินงวดผ่าน GHB ALL ภายในเดือนมกราคม 2563 ธนาคารจะโอนเงินของขวัญปีใหม่ภายในเดือนมกราคม 2563 3.กลุ่มลูกค้าสวัสดิการหักเงินเดือน ต้องลงทะเบียนใช้บริการ GHB ALL ภายในเดือนมกราคม 2563 ธนาคารจะทําการโอนเงินของขวัญปีใหม่ภายในเดือนมกราคม 2563 เช่นกัน ทั้งนี้ ลูกค้าของธนาคารสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center) โทร 0-2645-9000 หรือ www.ghbank.co.th และ Facebook Fanpage ธนาคารอาคารสงเคราะห์
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธอส. พร้อมโอน!! ของขวัญปีใหม่ 1,000 บาท ผ่าน Application GHB ALL สำหรับลูกค้าผ่อนดีมีวินัย และมีวงเงินกู้รวมไม่เกิน 1 ล้านบาท วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม 2562 ธอส. พร้อมโอน!! ของขวัญปีใหม่ 1,000 บาท ผ่าน Application GHB ALL สําหรับลูกค้าผ่อนดีมีวินัย และมีวงเงินกู้รวมไม่เกิน 1 ล้านบาท ธอส.จัดทํา “โครงการของขวัญปีใหม่ 2563 เพื่อส่งเสริมวินัยทางการเงินสําหรับลูกค้า ธอส. ผู้มีรายได้น้อย” มอบเงินจํานวน 1,000 บาท ให้แก่ลูกค้าที่มีคุณสมบัติตามที่ธนาคารกําหนด ด้วยวิธีการโอนเงินผ่านบัญชีเงินฝากที่ผูกกับ Application GHB ALL ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) สนับสนุนนโยบาย ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่มุ่งส่งเสริมวินัยทางการเงินของกลุ่มผู้มีรายได้น้อย พร้อมเติมกําลังซื้อ กระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ จัดทํา “โครงการของขวัญปีใหม่ 2563 เพื่อส่งเสริมวินัยทางการเงินสําหรับลูกค้า ธอส. ผู้มีรายได้น้อย” มอบเงินจํานวน 1,000 บาท ให้แก่ลูกค้าที่มีคุณสมบัติตามที่ธนาคารกําหนด ด้วยวิธีการโอนเงินผ่านบัญชีเงินฝากที่ผูกกับ Application GHB ALL ประเดิมลูกค้ากลุ่มแรกรับเงินทันทีภายในเดือนธันวาคม 2562 ครอบคลุมลูกค้าของธนาคารที่มีสิทธิ์รับของขวัญปีใหม่จํานวนกว่า 170,000 ราย นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายของ ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ต้องการจัดทําของขวัญปีใหม่ ประจําปี 2563 ที่มุ่งส่งเสริมการมีวินัยทางการเงินในการผ่อนชําระเงินกู้เพื่อที่อยูอาศัยของกลุ่มลูกค้าธนาคารผู้มีรายได้น้อย พร้อมทั้งเติมกําลังซื้อ กระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจในช่วงเทศกาลปีใหม่ ธอส. จึงได้จัดทํา “โครงการของขวัญปีใหม่ 2563 เพื่อส่งเสริมวินัยทางการเงินสําหรับลูกค้า ธอส. ผู้มีรายได้น้อย” โดยธนาคารจะมอบเงินจํานวน 1,000 บาท ให้แก่ลูกค้าที่มีคุณสมบัติตามที่ธนาคารกําหนด ประกอบด้วย 1.วงเงินกู้ทุกบัญชีภายใต้หลักประกันเดียวกันไม่เกิน 1 ล้านบาท 2.ต้องไม่เป็นหรือไม่เคยเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) รวมถึงไม่เคยประนอมหนี้กับธนาคาร และไม่เคยมีประวัติการติดตามขอให้ชําระหนี้ค้าง 3.มีประวัติการผ่อนชําระหนี้ดีย้อนหลัง 48 เดือน โดยชําระตรงเวลาและไม่น้อยกว่าเงินงวดที่ธนาคารกําหนดทุกเดือน และ 4.ต้องชําระเงินงวดของเดือนธันวาคม 2562 ในระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2562 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 ทั้งนี้ ลูกค้าต้องมาแสดงความจํานงที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้ทุกสาขาทั่วประเทศ ผ่านระบบ GHB KYC เพื่อตรวจสอบและยืนยันตัวตนของลูกค้า โดยจะโอนเงินของขวัญผ่านบัญชีเงินฝากที่ผูกกับ Application GHB ALL ของธนาคาร ให้แก่ลูกค้าที่มีคุณสมบัติตามที่ธนาคารกําหนด ซึ่งมีจํานวนกว่า 170,000 ราย แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มลูกค้าที่มีคุณสมบัติตามที่ธนาคารกําหนด และชําระเงินงวดผ่าน GHB ALL ภายในเดือนธันวาคม 2562 ธนาคารจะโอนเงินของขวัญปีใหม่ในเดือนธันวาคม 2562 2.กลุ่มลูกค้าที่มีคุณสมบัติตามที่ธนาคารกําหนด แต่ไม่ได้ชําระเงินงวดผ่าน GHB ALL เช่น ชําระผ่านเคาน์เตอร์การเงิน, ตู้ ATM หรือเครื่องชําระหนี้เงินกู้ LRM ในเดือนธันวาคม 2562 ซึ่งลูกค้าจะต้องลงทะเบียนใช้บริการ GHB ALL และชําระเงินงวดผ่าน GHB ALL ภายในเดือนมกราคม 2563 ธนาคารจะโอนเงินของขวัญปีใหม่ภายในเดือนมกราคม 2563 3.กลุ่มลูกค้าสวัสดิการหักเงินเดือน ต้องลงทะเบียนใช้บริการ GHB ALL ภายในเดือนมกราคม 2563 ธนาคารจะทําการโอนเงินของขวัญปีใหม่ภายในเดือนมกราคม 2563 เช่นกัน ทั้งนี้ ลูกค้าของธนาคารสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center) โทร 0-2645-9000 หรือ www.ghbank.co.th และ Facebook Fanpage ธนาคารอาคารสงเคราะห์
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/25260
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ เริ่มปฏิบัติตาม พรก.ฉุกเฉินวันแรก พร้อมสั่ง-ขอความร่วมมือ 10 ข้อควรปฏิบัติ
วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม 2563 นายกฯ ให้กําลังใจเจ้าหน้าที่ เริ่มปฏิบัติตาม พรก.ฉุกเฉินวันแรก พร้อมสั่ง-ขอความร่วมมือ 10 ข้อควรปฏิบัติ นายกฯ ให้กําลังใจเจ้าหน้าที่ เริ่มปฏิบัติตาม พรก.ฉุกเฉินวันแรก พร้อมสั่ง-ขอความร่วมมือ 10 ข้อควรปฏิบัติ วันที่ 26 มีนาคม 2563 ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ให้กําลังใจเจ้าหน้าที่ทุกส่วน ทั้งหมอ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ท้องถิ่น ฝ่ายปกครอง และฝ่ายความมั่นคง ที่เริ่มปฏิบัติตามข้อกําหนดของประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินวันแรกในวันนี้ และต้องทํางานใกล้ชิดกับประชาชน ขอให้ระมัดระวังตัวเองให้ปลอดภัย มีความอดทน เสียสละ และให้อภัย พร้อมทั้งสั่งการผู้มีอํานาจหน้าที่ให้ดําเนินการ และขอความร่วมมือประชาชน 10 ข้อ ดังนี้ ให้ประชาชนงดหรือชะลอการเดินทางไปต่างจังหวัด หากมีความจําเป็นให้ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรค เช่น กักตัวเอง 14 วัน ให้ประชาชนใช้แอปพลิเคชันที่ทางราชการกําหนด สําหรับผู้ที่เดินทางกลับภูมิลําเนา เพื่อติดตามป้องกันควบคุมโรค ให้ประชาชนร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ เพื่อประโยชน์ของตัวเองและครอบครัว ให้ประชาชนยึดหลักเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing)อยู่ห่างกันอย่างน้อย 1-2 เมตร และปฏิบัติตามคําแนะนําของแพทย์ ให้ประชาชนดูแลตัวเอง สวมหน้ากากอนามัย ไม่มั่วสุม ให้เจ้าหน้าที่จัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ ยา เวชภัณฑ์ และสถานที่ให้เพียงพอกับผู้ป่วย ให้เจ้าหน้าที่ควบคุมราคาสินค้า ไม่ให้ผู้บริโภคเดือดร้อน เช่น ราคาไข่ไก่ ฯลฯ ให้เจ้าหน้าที่แก้ไขกฎระเบียบการจัดซื้อ และลดภาษีการนําเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์ ให้เจ้าหน้าที่เร่งประสานความร่วมมือกับต่างประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน ให้เจ้าหน้าที่ดูแลช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ และชาวต่างชาติในไทยที่มีใบอนุญาตให้ทํางาน สําหรับการติดตามตัวผู้ที่เดินทางกลับภูมิลําเนาในต่างจังหวัดนั้น รัฐบาลได้ต่อยอดใช้ประโยชน์จากแอปพลิเคชันAOT Airportsที่ใช้ติดตามตัวคนไทยที่เดินทางเข้าประเทศ โดยได้ปรับปรุงให้ใช้งานสะดวกขึ้น เพื่อให้แต่ละจังหวัดส่งเจ้าหน้าที่ไปพบกับคนกลุ่มเสี่ยง และให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันดังกล่าว โดยระบุสถานที่กักกันตัวเอง กักตัวเอง 14 วัน และทุกวันต้องรายงานตัวผ่านระบบ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบสัญลักษณ์สีต่าง ๆ ว่ายังคงกักกันตัวและปลอดภัยหรือไม่ และหากผู้ใช้ออกจากสถานที่กักกันเกิน 50 เมตร ไม่รายงานตัว หรือปิดแอป เจ้าหน้าที่จะทราบข้อมูล และลงไปตามหาตัวในพื้นที่ได้ทันที ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มนําร่องใช้งานแล้วที่ จ.บุรีรัมย์ นอกจากนี้ ยังสามารถนําไปประยุกต์ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงและฝ่ายปกครองที่ประจําจุดตรวจคัดกรองการเดินทางข้ามจังหวัด ใช้ในการตรวจสอบว่าบุคคลกลุ่มเสี่ยงได้รายงานตัวและกักกันตัวเองครบ 14 วันแล้ว ตามมาตรฐานการควบคุมโรคแล้วหรือไม่ได้อีกด้วย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ เริ่มปฏิบัติตาม พรก.ฉุกเฉินวันแรก พร้อมสั่ง-ขอความร่วมมือ 10 ข้อควรปฏิบัติ วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม 2563 นายกฯ ให้กําลังใจเจ้าหน้าที่ เริ่มปฏิบัติตาม พรก.ฉุกเฉินวันแรก พร้อมสั่ง-ขอความร่วมมือ 10 ข้อควรปฏิบัติ นายกฯ ให้กําลังใจเจ้าหน้าที่ เริ่มปฏิบัติตาม พรก.ฉุกเฉินวันแรก พร้อมสั่ง-ขอความร่วมมือ 10 ข้อควรปฏิบัติ วันที่ 26 มีนาคม 2563 ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ให้กําลังใจเจ้าหน้าที่ทุกส่วน ทั้งหมอ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ท้องถิ่น ฝ่ายปกครอง และฝ่ายความมั่นคง ที่เริ่มปฏิบัติตามข้อกําหนดของประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินวันแรกในวันนี้ และต้องทํางานใกล้ชิดกับประชาชน ขอให้ระมัดระวังตัวเองให้ปลอดภัย มีความอดทน เสียสละ และให้อภัย พร้อมทั้งสั่งการผู้มีอํานาจหน้าที่ให้ดําเนินการ และขอความร่วมมือประชาชน 10 ข้อ ดังนี้ ให้ประชาชนงดหรือชะลอการเดินทางไปต่างจังหวัด หากมีความจําเป็นให้ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรค เช่น กักตัวเอง 14 วัน ให้ประชาชนใช้แอปพลิเคชันที่ทางราชการกําหนด สําหรับผู้ที่เดินทางกลับภูมิลําเนา เพื่อติดตามป้องกันควบคุมโรค ให้ประชาชนร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ เพื่อประโยชน์ของตัวเองและครอบครัว ให้ประชาชนยึดหลักเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing)อยู่ห่างกันอย่างน้อย 1-2 เมตร และปฏิบัติตามคําแนะนําของแพทย์ ให้ประชาชนดูแลตัวเอง สวมหน้ากากอนามัย ไม่มั่วสุม ให้เจ้าหน้าที่จัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ ยา เวชภัณฑ์ และสถานที่ให้เพียงพอกับผู้ป่วย ให้เจ้าหน้าที่ควบคุมราคาสินค้า ไม่ให้ผู้บริโภคเดือดร้อน เช่น ราคาไข่ไก่ ฯลฯ ให้เจ้าหน้าที่แก้ไขกฎระเบียบการจัดซื้อ และลดภาษีการนําเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์ ให้เจ้าหน้าที่เร่งประสานความร่วมมือกับต่างประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน ให้เจ้าหน้าที่ดูแลช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ และชาวต่างชาติในไทยที่มีใบอนุญาตให้ทํางาน สําหรับการติดตามตัวผู้ที่เดินทางกลับภูมิลําเนาในต่างจังหวัดนั้น รัฐบาลได้ต่อยอดใช้ประโยชน์จากแอปพลิเคชันAOT Airportsที่ใช้ติดตามตัวคนไทยที่เดินทางเข้าประเทศ โดยได้ปรับปรุงให้ใช้งานสะดวกขึ้น เพื่อให้แต่ละจังหวัดส่งเจ้าหน้าที่ไปพบกับคนกลุ่มเสี่ยง และให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันดังกล่าว โดยระบุสถานที่กักกันตัวเอง กักตัวเอง 14 วัน และทุกวันต้องรายงานตัวผ่านระบบ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบสัญลักษณ์สีต่าง ๆ ว่ายังคงกักกันตัวและปลอดภัยหรือไม่ และหากผู้ใช้ออกจากสถานที่กักกันเกิน 50 เมตร ไม่รายงานตัว หรือปิดแอป เจ้าหน้าที่จะทราบข้อมูล และลงไปตามหาตัวในพื้นที่ได้ทันที ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มนําร่องใช้งานแล้วที่ จ.บุรีรัมย์ นอกจากนี้ ยังสามารถนําไปประยุกต์ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงและฝ่ายปกครองที่ประจําจุดตรวจคัดกรองการเดินทางข้ามจังหวัด ใช้ในการตรวจสอบว่าบุคคลกลุ่มเสี่ยงได้รายงานตัวและกักกันตัวเองครบ 14 วันแล้ว ตามมาตรฐานการควบคุมโรคแล้วหรือไม่ได้อีกด้วย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/27935
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.พม. เผยยอดผลิตหน้ากากผ้าฝีมือหน่วยงาน พม. - อพม. ทั้ง 2 วัน กว่า 30,000 ชิ้น พร้อมเชิญชวนจิตอาสาร่วมทำหน้ากากผ้าแจกประชาชน
วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม 2563 รมว.พม. เผยยอดผลิตหน้ากากผ้าฝีมือหน่วยงาน พม. - อพม. ทั้ง 2 วัน กว่า 30,000 ชิ้น พร้อมเชิญชวนจิตอาสาร่วมทําหน้ากากผ้าแจกประชาชน รมว.พม. เผยยอดผลิตหน้ากากผ้าฝีมือหน่วยงาน พม. - อพม. ทั้ง 2 วัน กว่า 30,000 ชิ้น พร้อมเชิญชวนจิตอาสาร่วมทําหน้ากากผ้าแจกประชาชน เมื่อวันที่ 8 มี.ค. 63 นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เปิดเผยถึงข้อสั่งการเรื่องการทําหน้ากากผ้าที่เย็บด้วยมือ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ว่า มีการจัดสรรวัสดุอุปกรณ์ในการทําหน้ากากผ้าที่เย็บด้วยมือส่งไปยังกรมต่าง ๆ ของกระทรวง พม. เพื่อให้อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ทั่วประเทศ ได้ร่วมกันทําหน้ากากผ้าที่เย็บด้วยมือ ขณะนี้ พบว่า หน้ากากอนามัยผลิตไม่ทันต่อความต้องการ เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบ ขณะเดียวกัน หน้ากากอนามัยควรจะนําไปใช้กับแพทย์และพยาบาลผู้ที่มีความจําเป็นก่อน ส่วนเราสามารถใช้หน้ากากผ้าในการป้องกันตนเองได้ โดยในวันนี้ (8 มี.ค. 63) นับเป็นวันที่ 2 ที่ อพม. ร่วมกันทําหน้ากากผ้าเพื่อแจกจ่ายกันเองภายในชุมชนก่อน และเมื่อผลิตเกินแล้ว จะนําไปแจกจ่ายให้กับพี่น้องประชาชนได้ใช้ต่อไป โดยยอดล่าสุดที่ได้รับรายงานของทุกกรมสังกัดกระทรวง พม. และสํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พมจ.) ทั่วประเทศ รวม 2 วัน (วันที่ 7 - 8 มี.ค. 63) พบว่าสามารถผลิตหน้ากากผ้าได้ทั้งสิ้นกว่า 30,000 ชิ้น ทั้งนี้ ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนทุกท่านที่มีความสนใจมาร่วมกันทําหน้ากากผ้าที่เย็บด้วยมือของตนเองที่ สํานักงาน พมจ. ใกล้บ้านท่าน ซึ่งได้เตรียมวัสดุและอุปกรณ์ไว้ให้ เพื่อสร้างความมั่นใจและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.พม. เผยยอดผลิตหน้ากากผ้าฝีมือหน่วยงาน พม. - อพม. ทั้ง 2 วัน กว่า 30,000 ชิ้น พร้อมเชิญชวนจิตอาสาร่วมทำหน้ากากผ้าแจกประชาชน วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม 2563 รมว.พม. เผยยอดผลิตหน้ากากผ้าฝีมือหน่วยงาน พม. - อพม. ทั้ง 2 วัน กว่า 30,000 ชิ้น พร้อมเชิญชวนจิตอาสาร่วมทําหน้ากากผ้าแจกประชาชน รมว.พม. เผยยอดผลิตหน้ากากผ้าฝีมือหน่วยงาน พม. - อพม. ทั้ง 2 วัน กว่า 30,000 ชิ้น พร้อมเชิญชวนจิตอาสาร่วมทําหน้ากากผ้าแจกประชาชน เมื่อวันที่ 8 มี.ค. 63 นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เปิดเผยถึงข้อสั่งการเรื่องการทําหน้ากากผ้าที่เย็บด้วยมือ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ว่า มีการจัดสรรวัสดุอุปกรณ์ในการทําหน้ากากผ้าที่เย็บด้วยมือส่งไปยังกรมต่าง ๆ ของกระทรวง พม. เพื่อให้อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ทั่วประเทศ ได้ร่วมกันทําหน้ากากผ้าที่เย็บด้วยมือ ขณะนี้ พบว่า หน้ากากอนามัยผลิตไม่ทันต่อความต้องการ เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบ ขณะเดียวกัน หน้ากากอนามัยควรจะนําไปใช้กับแพทย์และพยาบาลผู้ที่มีความจําเป็นก่อน ส่วนเราสามารถใช้หน้ากากผ้าในการป้องกันตนเองได้ โดยในวันนี้ (8 มี.ค. 63) นับเป็นวันที่ 2 ที่ อพม. ร่วมกันทําหน้ากากผ้าเพื่อแจกจ่ายกันเองภายในชุมชนก่อน และเมื่อผลิตเกินแล้ว จะนําไปแจกจ่ายให้กับพี่น้องประชาชนได้ใช้ต่อไป โดยยอดล่าสุดที่ได้รับรายงานของทุกกรมสังกัดกระทรวง พม. และสํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พมจ.) ทั่วประเทศ รวม 2 วัน (วันที่ 7 - 8 มี.ค. 63) พบว่าสามารถผลิตหน้ากากผ้าได้ทั้งสิ้นกว่า 30,000 ชิ้น ทั้งนี้ ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนทุกท่านที่มีความสนใจมาร่วมกันทําหน้ากากผ้าที่เย็บด้วยมือของตนเองที่ สํานักงาน พมจ. ใกล้บ้านท่าน ซึ่งได้เตรียมวัสดุและอุปกรณ์ไว้ให้ เพื่อสร้างความมั่นใจและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/26999
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ออมสิน คิ๊กออฟซอฟท์โลน ปล่อยกู้ 1 หมื่นล้านบาท จับมือ ททท.-สภาอุตฯท่องเที่ยว-บสย. พลิกฟื้นท่องเที่ยวให้กลับมาเป็นฟันเฟืองสำคัญของเศรษฐกิจไทย [กระทรวงการคลัง]
วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม 2563 ออมสิน คิ๊กออฟซอฟท์โลน ปล่อยกู้ 1 หมื่นล้านบาท จับมือ ททท.-สภาอุตฯท่องเที่ยว-บสย. พลิกฟื้นท่องเที่ยวให้กลับมาเป็นฟันเฟืองสําคัญของเศรษฐกิจไทย [กระทรวงการคลัง] ออมสิน คิ๊กออฟซอฟท์โลน ปล่อยกู้ 1 หมื่นล้านบาท จับมือ ททท.-สภาอุตฯท่องเที่ยว-บสย. พลิกฟื้นท่องเที่ยวให้กลับมาเป็นฟันเฟืองสําคัญของเศรษฐกิจไทย ธนาคารออมสิน เดินหน้าปล่อยเงินกู้ซอฟท์โลน วงเงิน 10,000 ล้านบาท ผนึกความร่วมมือ ททท.-สภาอุตฯท่องเที่ยวฯ ดึงผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเข้าคอร์สเสริมสภาพคล่อง ยื่นกู้ได้วงเงินไม่เกินรายละ 20 ล้านบาท ดอกเบี้ยคงที่ 2% 2 ปี โดย บสย. พร้อมเป็นผู้ค้ําประกันสินเชื่อ ตั้งเป้าค้ําฯ 4,000 ราย วงเงิน 10,000 ล้านบาท วันนี้ (27 มีนาคม 2563) ณ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้มีพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลง “โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ํา (Soft Loan) สําหรับผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19” เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีธนาคารออมสินร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ในการดําเนินการตามมาตรการเร่งด่วนของรัฐบาล ซึ่งจะอํานวยความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งทุนสําหรับการเสริมสภาพคล่อง เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยได้เข้าถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ําต่อไป โดยมี นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานในพิธีลงนาม นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ด้วยปัจจุบันสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลกระทบในวงกว้างในหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ทําให้ภาคธุรกิจภาคอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทย ซึ่งรัฐบาลได้ติดตามและให้ความสําคัญอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด นําไปสู่การออกมาตรการดูแลและเยียวยาทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะมาตรการบรรเทาผลกระทบและเสริมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการซึ่งครอบคลุมการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เพื่อให้สามารถดําเนินธุรกิจและคงสภาพการจ้างงานต่อพนักงาน/ลูกจ้างต่อไปได้ นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการ ททท. กล่าวว่า ททท. เป็นอีกหนึ่งกลไกสําคัญในการผลักดันและสนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มุ่งเน้นการส่งเสริมทางการตลาด ซึ่งจากสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ททท. ได้ปรับนโยบายการดําเนินงานอย่างเร่งด่วน โดยช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา 2019 โดยได้แสวงหาความร่วมมือกับสถาบันการเงินต่างๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการได้ดําเนินกิจกรรมการพัฒนามาตรฐานการให้บริการ ด้วยแนวคิด “ซ่อม-สร้าง” เพื่อเตรียมความพร้อมต้อนรับการกลับมาของนักท่องเที่ยวเมื่อทั่วโลกกลับสู่สภาวะปกติ รวมทั้งการวางแผนดําเนินกิจกรรมทางการตลาดเพื่อที่กระตุ้นให้นักท่องเที่ยวเกิดความเชื่อมั่นต่อประเทศไทย อีกครั้ง ด้าน นายชัยรัตน์ ไตรรัตนจรัสพร ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลต่อกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยอย่างมาก ซึ่งสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในฐานะตัวแทนของผู้ประกอบการและผู้มีอาชีพเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวรวม 13 สาขา ตลอดจนผู้ประกอบการและผู้มีอาชีพเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลเป็นอย่างดี โดยการลงนามในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะได้ประสานความร่วมมือกับธนาคารออมสิน และบสย. ที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้ผ่านช่วงเวลาแห่งความยากลําบากเช่นนี้ไปได้ ดร.ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อํานวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า จากการที่สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ที่ส่งผลต่อการดําเนินชีวิตของประชาชนโดยรวม โดยที่รัฐบาลได้ดําเนินมาตรการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ํา (ซอฟท์โลน) เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา Covid-19 โดยธนาคารออมสินเร่งดําเนินการสนับสนุนวงเงินโครงการรวม 150,000 ล้านบาท เพื่อให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว ภายในวงเงิน 135,000 ล้านบาท และให้ธนาคารออมสินให้สินเชื่อโดยตรงในวงเงินอีก 15,000 ล้านบาท โดยสามารถยื่นขอสินเชื่อได้จนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563 สําหรับการดําเนินการปล่อยกู้ของธนาคารออมสินในวงเงิน 15,000 ล้านบาทนั้น ได้เริ่มจัดสรรให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กู้ในวงเงิน 10,000 ล้านบาท ภายใต้ “โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ํา (Soft Loan) สําหรับผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19” สําหรับปล่อยกู้ให้แก่ผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยว เพื่อช่วยเหลือเยียวยาเป็นพิเศษ โดยกําหนดวงเงินกู้สูงสุดต่อรายไม่เกินรายละ 20 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2 ปี ในอัตรา 2% ต่อปี ระยะเวลากู้เงินสูงสุดไม่เกิน 10 ปี ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสามารถใช้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) มาร่วมค้ําประกันเงินกู้ได้ด้วย “ธนาคารออมสิน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือในครั้งนี้ จะสามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวให้สามารถดําเนินธุรกิจในช่วงที่ได้รับผลกระทบนี้ต่อไปได้ ซึ่งจะเป็นพลังในการร่วมกันฟันฝ่าอุปสรรค สร้างความแข็งแกร่งให้แก่ผู้ประกอบการ สามารถคงศักยภาพในการดําเนินธุรกิจหรือพลิกฟื้นธุรกิจให้กลับมาเป็นปกติได้ในเวลาไม่นาน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวเดินอย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป”ดร.ชาติชาย กล่าว นายวิเชษฐ วรกุล รองผู้จัดการทั่วไปอาวุโส สายงานบริหารช่องทางและพัฒนาผู้ประกอบการ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) กล่าวว่า ถือเป็นข่าวดีของผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มท่องเที่ยวที่จะสามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น หลังจากที่ภาคีเครือข่ายด้านการท่องเที่ยว หลายหน่วยงานได้ร่วมกันผลักดัน ขับเคลื่อน ภายใต้ความร่วมมือ โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ํา (Soft Loan) สําหรับผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 โดยความร่วมมือระหว่าง บสย. และธนาคารออมสินครั้งนี้ ธนาคารออมสิน จะเป็นผู้ปล่อยสินเชื่อ บสย. จะค้ําประกันสินเชื่อผู้ประกอบการ SMEs ในส่วนที่ยังขาดหลักประกัน เพื่อเติมเต็ม เพิ่มสภาพคล่อง ประคองให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้ บสย. ตั้งเป้าหมายช่วยค้ําประกันสินเชื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มท่องเที่ยว 4,000 ราย วงเงินค้ําประกันสินเชื่อกว่า 10,000 ล้านบาท ผ่านโครงการค้ําประกันสินเชื่อ PGS (Portfolio Guarantee Scheme) ระยะที่ 8 ฟรีค่าธรรมเนียมค้ําประกันสินเชื่อ 2 ปี สิ้นสุดโครงการวันที่ 30 ธันวาคม 2563 หรือจนกว่าวงเงินจะหมดซึ่งในวันนี้ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวประเทศไทย ได้มอบรายชื่อผู้ประกอบการที่มีความประสงค์ขอยื่นสินเชื่อให้กับธนาคารออมสินในการลงนามครั้งนี้ด้วย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ออมสิน คิ๊กออฟซอฟท์โลน ปล่อยกู้ 1 หมื่นล้านบาท จับมือ ททท.-สภาอุตฯท่องเที่ยว-บสย. พลิกฟื้นท่องเที่ยวให้กลับมาเป็นฟันเฟืองสำคัญของเศรษฐกิจไทย [กระทรวงการคลัง] วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม 2563 ออมสิน คิ๊กออฟซอฟท์โลน ปล่อยกู้ 1 หมื่นล้านบาท จับมือ ททท.-สภาอุตฯท่องเที่ยว-บสย. พลิกฟื้นท่องเที่ยวให้กลับมาเป็นฟันเฟืองสําคัญของเศรษฐกิจไทย [กระทรวงการคลัง] ออมสิน คิ๊กออฟซอฟท์โลน ปล่อยกู้ 1 หมื่นล้านบาท จับมือ ททท.-สภาอุตฯท่องเที่ยว-บสย. พลิกฟื้นท่องเที่ยวให้กลับมาเป็นฟันเฟืองสําคัญของเศรษฐกิจไทย ธนาคารออมสิน เดินหน้าปล่อยเงินกู้ซอฟท์โลน วงเงิน 10,000 ล้านบาท ผนึกความร่วมมือ ททท.-สภาอุตฯท่องเที่ยวฯ ดึงผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเข้าคอร์สเสริมสภาพคล่อง ยื่นกู้ได้วงเงินไม่เกินรายละ 20 ล้านบาท ดอกเบี้ยคงที่ 2% 2 ปี โดย บสย. พร้อมเป็นผู้ค้ําประกันสินเชื่อ ตั้งเป้าค้ําฯ 4,000 ราย วงเงิน 10,000 ล้านบาท วันนี้ (27 มีนาคม 2563) ณ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้มีพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลง “โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ํา (Soft Loan) สําหรับผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19” เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีธนาคารออมสินร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ในการดําเนินการตามมาตรการเร่งด่วนของรัฐบาล ซึ่งจะอํานวยความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งทุนสําหรับการเสริมสภาพคล่อง เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยได้เข้าถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ําต่อไป โดยมี นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานในพิธีลงนาม นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ด้วยปัจจุบันสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลกระทบในวงกว้างในหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ทําให้ภาคธุรกิจภาคอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทย ซึ่งรัฐบาลได้ติดตามและให้ความสําคัญอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด นําไปสู่การออกมาตรการดูแลและเยียวยาทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะมาตรการบรรเทาผลกระทบและเสริมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการซึ่งครอบคลุมการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เพื่อให้สามารถดําเนินธุรกิจและคงสภาพการจ้างงานต่อพนักงาน/ลูกจ้างต่อไปได้ นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการ ททท. กล่าวว่า ททท. เป็นอีกหนึ่งกลไกสําคัญในการผลักดันและสนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มุ่งเน้นการส่งเสริมทางการตลาด ซึ่งจากสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ททท. ได้ปรับนโยบายการดําเนินงานอย่างเร่งด่วน โดยช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา 2019 โดยได้แสวงหาความร่วมมือกับสถาบันการเงินต่างๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการได้ดําเนินกิจกรรมการพัฒนามาตรฐานการให้บริการ ด้วยแนวคิด “ซ่อม-สร้าง” เพื่อเตรียมความพร้อมต้อนรับการกลับมาของนักท่องเที่ยวเมื่อทั่วโลกกลับสู่สภาวะปกติ รวมทั้งการวางแผนดําเนินกิจกรรมทางการตลาดเพื่อที่กระตุ้นให้นักท่องเที่ยวเกิดความเชื่อมั่นต่อประเทศไทย อีกครั้ง ด้าน นายชัยรัตน์ ไตรรัตนจรัสพร ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลต่อกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยอย่างมาก ซึ่งสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในฐานะตัวแทนของผู้ประกอบการและผู้มีอาชีพเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวรวม 13 สาขา ตลอดจนผู้ประกอบการและผู้มีอาชีพเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลเป็นอย่างดี โดยการลงนามในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะได้ประสานความร่วมมือกับธนาคารออมสิน และบสย. ที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้ผ่านช่วงเวลาแห่งความยากลําบากเช่นนี้ไปได้ ดร.ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อํานวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า จากการที่สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ที่ส่งผลต่อการดําเนินชีวิตของประชาชนโดยรวม โดยที่รัฐบาลได้ดําเนินมาตรการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ํา (ซอฟท์โลน) เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา Covid-19 โดยธนาคารออมสินเร่งดําเนินการสนับสนุนวงเงินโครงการรวม 150,000 ล้านบาท เพื่อให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว ภายในวงเงิน 135,000 ล้านบาท และให้ธนาคารออมสินให้สินเชื่อโดยตรงในวงเงินอีก 15,000 ล้านบาท โดยสามารถยื่นขอสินเชื่อได้จนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563 สําหรับการดําเนินการปล่อยกู้ของธนาคารออมสินในวงเงิน 15,000 ล้านบาทนั้น ได้เริ่มจัดสรรให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กู้ในวงเงิน 10,000 ล้านบาท ภายใต้ “โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ํา (Soft Loan) สําหรับผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19” สําหรับปล่อยกู้ให้แก่ผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยว เพื่อช่วยเหลือเยียวยาเป็นพิเศษ โดยกําหนดวงเงินกู้สูงสุดต่อรายไม่เกินรายละ 20 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2 ปี ในอัตรา 2% ต่อปี ระยะเวลากู้เงินสูงสุดไม่เกิน 10 ปี ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสามารถใช้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) มาร่วมค้ําประกันเงินกู้ได้ด้วย “ธนาคารออมสิน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือในครั้งนี้ จะสามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวให้สามารถดําเนินธุรกิจในช่วงที่ได้รับผลกระทบนี้ต่อไปได้ ซึ่งจะเป็นพลังในการร่วมกันฟันฝ่าอุปสรรค สร้างความแข็งแกร่งให้แก่ผู้ประกอบการ สามารถคงศักยภาพในการดําเนินธุรกิจหรือพลิกฟื้นธุรกิจให้กลับมาเป็นปกติได้ในเวลาไม่นาน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวเดินอย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป”ดร.ชาติชาย กล่าว นายวิเชษฐ วรกุล รองผู้จัดการทั่วไปอาวุโส สายงานบริหารช่องทางและพัฒนาผู้ประกอบการ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) กล่าวว่า ถือเป็นข่าวดีของผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มท่องเที่ยวที่จะสามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น หลังจากที่ภาคีเครือข่ายด้านการท่องเที่ยว หลายหน่วยงานได้ร่วมกันผลักดัน ขับเคลื่อน ภายใต้ความร่วมมือ โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ํา (Soft Loan) สําหรับผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 โดยความร่วมมือระหว่าง บสย. และธนาคารออมสินครั้งนี้ ธนาคารออมสิน จะเป็นผู้ปล่อยสินเชื่อ บสย. จะค้ําประกันสินเชื่อผู้ประกอบการ SMEs ในส่วนที่ยังขาดหลักประกัน เพื่อเติมเต็ม เพิ่มสภาพคล่อง ประคองให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้ บสย. ตั้งเป้าหมายช่วยค้ําประกันสินเชื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มท่องเที่ยว 4,000 ราย วงเงินค้ําประกันสินเชื่อกว่า 10,000 ล้านบาท ผ่านโครงการค้ําประกันสินเชื่อ PGS (Portfolio Guarantee Scheme) ระยะที่ 8 ฟรีค่าธรรมเนียมค้ําประกันสินเชื่อ 2 ปี สิ้นสุดโครงการวันที่ 30 ธันวาคม 2563 หรือจนกว่าวงเงินจะหมดซึ่งในวันนี้ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวประเทศไทย ได้มอบรายชื่อผู้ประกอบการที่มีความประสงค์ขอยื่นสินเชื่อให้กับธนาคารออมสินในการลงนามครั้งนี้ด้วย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/28019
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงยุติธรรม โดยกรมบังคับคดีเปิดช่องทางไกล่เกลี่ยหนี้ชั้นบังคับคดีให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วม
วันพุธที่ 8 สิงหาคม 2561 กระทรวงยุติธรรม โดยกรมบังคับคดีเปิดช่องทางไกล่เกลี่ยหนี้ชั้นบังคับคดีให้ผู้ประสบภัยน้ําท่วม กรมบังคับคดีเปิดช่องทางไกล่เกลี่ยหนี้ชั้นบังคับคดีให้ผู้ประสบภัยน้ําท่วม จากสถานการณ์น้ําท่วมในหลายพื้นที่ ซึ่งส่งผลกระทบให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะความสามารถในการชําระหนี้ กรมบังคับคดีได้จัดโครงการไกล่เกลี่ยหนี้ชั้นบังคับคดีให้กับลูกหนี้ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ําท่วม โดยท่านสามารถติดต่อเพื่อขอไกล่เกลี่ยหนี้ชั้นบังคับคดีได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น สามารถติดต่อได้ที่ ๑. ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทกรมบังคับคดี โทร ๐ ๒๘๘๗ - ๕๐๗๒ , ๐ ๒๘๘๗ - ๕๐๘๕ ๒. สายด่วนกรมบังคับคดี ๑๑๑๑ กด ๗๙ ๓. ติดต่อด้วยตนเองที่สํานักงานบังคับคดีจังหวัดทั่วประเทศ ๔. อีเมลอธิบดีกรมบังคับคดี E-mail : [email protected] ได้ทุกวันตลอด ๒๔ ชั่วโมง
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงยุติธรรม โดยกรมบังคับคดีเปิดช่องทางไกล่เกลี่ยหนี้ชั้นบังคับคดีให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วม วันพุธที่ 8 สิงหาคม 2561 กระทรวงยุติธรรม โดยกรมบังคับคดีเปิดช่องทางไกล่เกลี่ยหนี้ชั้นบังคับคดีให้ผู้ประสบภัยน้ําท่วม กรมบังคับคดีเปิดช่องทางไกล่เกลี่ยหนี้ชั้นบังคับคดีให้ผู้ประสบภัยน้ําท่วม จากสถานการณ์น้ําท่วมในหลายพื้นที่ ซึ่งส่งผลกระทบให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะความสามารถในการชําระหนี้ กรมบังคับคดีได้จัดโครงการไกล่เกลี่ยหนี้ชั้นบังคับคดีให้กับลูกหนี้ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ําท่วม โดยท่านสามารถติดต่อเพื่อขอไกล่เกลี่ยหนี้ชั้นบังคับคดีได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น สามารถติดต่อได้ที่ ๑. ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทกรมบังคับคดี โทร ๐ ๒๘๘๗ - ๕๐๗๒ , ๐ ๒๘๘๗ - ๕๐๘๕ ๒. สายด่วนกรมบังคับคดี ๑๑๑๑ กด ๗๙ ๓. ติดต่อด้วยตนเองที่สํานักงานบังคับคดีจังหวัดทั่วประเทศ ๔. อีเมลอธิบดีกรมบังคับคดี E-mail : [email protected] ได้ทุกวันตลอด ๒๔ ชั่วโมง
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/14440
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลปฏิรูประบบการศึกษา พัฒนากำลังคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศ
วันศุกร์ที่ 28 เมษายน 2560 $("#video-player3").css("background-color", "#000000"); var container = document.getElementById("video-player3"); flowplayer.conf = { share :false, // --> set share button // facebook :true, // ratio :9/16, // --> set ratio // seekable :true, // autoplay :false, // splash : true, // chromecast :true, // auto quality // hlsQualities:true, poster :"https://media.thaigov.go.th/uploads/thumbnail/news/2017/04/3371_500x322.jpg", //poster // swf :"flowplayer.swf", // hlsQualities:[{level: -1, label: "ABR"},{level: 1, label: "SD"}, {level: 6, label: "HD"}], }; flowplayer(container, { clip: { sources: [ { // type: "video/mp4",//ถ้า เป็น streamming application/x-mpegurl // src: "vod/testcar.mp4" // type: "application/x-mpegurl", // file: "smil.php?filename=hp_2.mp4/playlist.m3u8", type: "video/mp4",//ถ้า เป็น streamming application/x-mpegurl src: "https://media.thaigov.go.th/uploads/vod/155/2017/04/mp3/02รัฐบาลปฏิรูประบบการศึกษาพัฒนากําลังคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศ.mp3" } ], title: "รัฐบาลปฏิรูประบบการศึกษา พัฒนากําลังคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศ ", // qualities: ["160p", "260p", "530p", "800p"], // defaultQuality: "260p" } }); รัฐบาลปฏิรูประบบการศึกษา พัฒนากําลังคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศ รัฐบาลพัฒนากําลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการบุคลากรของประเทศในอนาคต โดยปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลให้ความสําคัญกับการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพที่มีความซับซ้อนและเกิดขึ้นมาอย่างยาวนานโดยบูรณาการการทํางานของหน่วยงานที่ดูแลการศึกษาตั้งแต่ระดับก่อนอนุบาลจนถึงระดับอุดมศึกษาให้มีทิศทางเดียวกัน และใช้ความต้องการบุคลากรด้านต่าง ๆ ของประเทศเป็นเป้าหมายในการพัฒนากําลังคน เช่น ในอีก 5 ปีข้างหน้า จะต้องพัฒนากําลังคนเพื่อรองรับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ กว่า 6 ล้านคน อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการอีกราว 6 แสนคน รวมถึงผู้มีทักษะสูงในกลุ่ม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยรัฐบาลขอความร่วมมือจากบุคลากรทางการศึกษาและประชาชนทุกภาคส่วนให้ร่วมกันพลิกโฉมระบบการศึกษาไทย เพื่อเป็นรากฐานสําคัญในการพัฒนาประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป ร่วมเดินหน้าประเทศไทย กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลปฏิรูประบบการศึกษา พัฒนากำลังคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศ วันศุกร์ที่ 28 เมษายน 2560 $("#video-player3").css("background-color", "#000000"); var container = document.getElementById("video-player3"); flowplayer.conf = { share :false, // --> set share button // facebook :true, // ratio :9/16, // --> set ratio // seekable :true, // autoplay :false, // splash : true, // chromecast :true, // auto quality // hlsQualities:true, poster :"https://media.thaigov.go.th/uploads/thumbnail/news/2017/04/3371_500x322.jpg", //poster // swf :"flowplayer.swf", // hlsQualities:[{level: -1, label: "ABR"},{level: 1, label: "SD"}, {level: 6, label: "HD"}], }; flowplayer(container, { clip: { sources: [ { // type: "video/mp4",//ถ้า เป็น streamming application/x-mpegurl // src: "vod/testcar.mp4" // type: "application/x-mpegurl", // file: "smil.php?filename=hp_2.mp4/playlist.m3u8", type: "video/mp4",//ถ้า เป็น streamming application/x-mpegurl src: "https://media.thaigov.go.th/uploads/vod/155/2017/04/mp3/02รัฐบาลปฏิรูประบบการศึกษาพัฒนากําลังคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศ.mp3" } ], title: "รัฐบาลปฏิรูประบบการศึกษา พัฒนากําลังคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศ ", // qualities: ["160p", "260p", "530p", "800p"], // defaultQuality: "260p" } }); รัฐบาลปฏิรูประบบการศึกษา พัฒนากําลังคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศ รัฐบาลพัฒนากําลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการบุคลากรของประเทศในอนาคต โดยปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลให้ความสําคัญกับการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพที่มีความซับซ้อนและเกิดขึ้นมาอย่างยาวนานโดยบูรณาการการทํางานของหน่วยงานที่ดูแลการศึกษาตั้งแต่ระดับก่อนอนุบาลจนถึงระดับอุดมศึกษาให้มีทิศทางเดียวกัน และใช้ความต้องการบุคลากรด้านต่าง ๆ ของประเทศเป็นเป้าหมายในการพัฒนากําลังคน เช่น ในอีก 5 ปีข้างหน้า จะต้องพัฒนากําลังคนเพื่อรองรับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ กว่า 6 ล้านคน อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการอีกราว 6 แสนคน รวมถึงผู้มีทักษะสูงในกลุ่ม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยรัฐบาลขอความร่วมมือจากบุคลากรทางการศึกษาและประชาชนทุกภาคส่วนให้ร่วมกันพลิกโฉมระบบการศึกษาไทย เพื่อเป็นรากฐานสําคัญในการพัฒนาประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป ร่วมเดินหน้าประเทศไทย กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/3371
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-วิธีการดูแลที่พักคนงานก่อสร้างในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
วันศุกร์ที่ 17 เมษายน 2563 วิธีการดูแลที่พักคนงานก่อสร้างในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 มีวิธีการอย่างไรบ้างนะ สําหรับนายจ้าง -ควบคุมความสะอาดอย่างเคร่งครัด -จัดให้มีที่ล้างมือพร้อมสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ตามจุดต่างๆ -จัดให้มีการคัดกรองเบื้องต้นเพื่อสังเกตอาการ สําหรับคนงานหรือคนในครอบครัว -หมั่นสังเกตอาการตนเองและคนในครอบครัว -หมั่นดูแลความสะอาด -หลีกเลี่ยงการรวมหมู่กัน -สวมหน้ากากอนามัย งดการสัมผัสใบหน้า -กินอาหารปรุงสุกและใช้ช้อนกลาง
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-วิธีการดูแลที่พักคนงานก่อสร้างในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 วันศุกร์ที่ 17 เมษายน 2563 วิธีการดูแลที่พักคนงานก่อสร้างในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 มีวิธีการอย่างไรบ้างนะ สําหรับนายจ้าง -ควบคุมความสะอาดอย่างเคร่งครัด -จัดให้มีที่ล้างมือพร้อมสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ตามจุดต่างๆ -จัดให้มีการคัดกรองเบื้องต้นเพื่อสังเกตอาการ สําหรับคนงานหรือคนในครอบครัว -หมั่นสังเกตอาการตนเองและคนในครอบครัว -หมั่นดูแลความสะอาด -หลีกเลี่ยงการรวมหมู่กัน -สวมหน้ากากอนามัย งดการสัมผัสใบหน้า -กินอาหารปรุงสุกและใช้ช้อนกลาง
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/29243
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. ร่วมกับ สภาสมาคมสตรีแห่งชาติฯ จัดงานวันสตรีไทย ประจำปี 2562 ภายใต้แนวคิด “สายธารแห่งพระบารมี สู่การพัฒนาสตรีที่ยั่งยืน” เชิดชูเกียรติ สตรีไทยดีเด่นและเยาวสตรีไทยดีเด่น
วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม 2562 พม. ร่วมกับ สภาสมาคมสตรีแห่งชาติฯ จัดงานวันสตรีไทย ประจําปี 2562 ภายใต้แนวคิด “สายธารแห่งพระบารมี สู่การพัฒนาสตรีที่ยั่งยืน” เชิดชูเกียรติ สตรีไทยดีเด่นและเยาวสตรีไทยดีเด่น พม. ร่วมกับ สภาสมาคมสตรีแห่งชาติฯ จัดงานวันสตรีไทย ประจําปี 2562 ภายใต้แนวคิด “สายธารแห่งพระบารมี สู่การพัฒนาสตรีที่ยั่งยืน” เชิดชูเกียรติ สตรีไทยดีเด่นและเยาวสตรีไทยดีเด่น วันที่ 1 ส.ค. 62 เวลา 16.00 น. สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดําเนิน ไปทรงเปิดงานวันสตรีไทย ประจําปี 2562 ภายใต้แนวคิด "สายธารแห่งพระบารมี สู่การพัฒนาสตรีที่ยั่งยืน” พร้อมทั้งพร้อมทั้งพระราชทานเกียรติบัตร แก่สตรีไทยดีเด่น 150 คน และเยาวสตรีไทยดีเด่น 25 คน ซึ่งจัดขึ้นโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) ร่วมกับสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ โดยมี นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) กราบบังคมทูลรายงานเกี่ยวกับการจัดงาน นางวันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสมาคมสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ กราบบังคมทูลรายงานความเป็นมาของวันสตรีไทย พร้อมด้วย นายปรเมธี วิมลศิริ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) นายเลิศปัญญา บูรณบัณฑิต อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว คณะผู้บริหารกระทรวง พม. และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าฯรับเสด็จ ณ ห้องรอยัลจูบิลี่ บอลรูม อาคารชาเลนเจอร์ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี อําเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี นายจุติ กล่าวว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้วันที่ 1 สิงหาคมของทุกปีเป็น "วันสตรีไทย” โดยได้พระราชทานแนวพระราชดําริหน้าที่สําคัญเบื้องต้นของสตรีไทย 4 ประการ ได้แก่ 1. พึงทําหน้าที่ของแม่ให้สมบูรณ์ 2. พึงทําหน้าที่ของแม่บ้านให้สมบูรณ์ 3.พึงรักษาเอกลักษณ์ของความเป็นสตรีไทย และ 4. พึงฝึกฝนตนเองให้มีความรู้ความสามารถยิ่งขึ้น ซึ่งสตรีไทยสามารถน้อมนํากระแสพระราชดํารัสสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ไปใช้เป็นแนวทางในการดําเนินชีวิตและพัฒนาตนเอง อันจะส่งผลให้ครอบครัวไทย สังคมไทย และประเทศไทยมีความสุข ความเจริญ นําไปสู่การพัฒนาด้านอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง และสตรีไทยจะเป็นที่ยกย่องชื่นชมของสังคมโลกได้ต่อไป พร้อมทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนในสังคมตระหนักถึงความสําคัญในบทบาท ความสามารถ และคุณค่าของสตรีไทย อีกทั้งได้พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้ "ดอกกล้วยไม้ คัทลียา ควีนสิริกิติ์” เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ ประจําวันสตรีไทย ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา นายจุติ กล่าวต่อไปว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) ร่วมกับสภาสมาคมสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และและภาคีเครือข่าย ต่างสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ จึงร่วมกันจัดงาน "วันสตรีไทย” สืบเนื่องมาเป็นประจําทุกปี สําหรับในปี 2562 นี้ ได้กําหนดจัดงาน "วันสตรีไทย” ภายใต้แนวคิด "สายธารแห่งพระบารมี สู่การพัฒนาสตรีที่ยั่งยืน” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสที่จะทรงเจริญพระชนมพรรษา 87 พรรษา ในวันที่ 12 สิงหาคม 2562 พร้อมทั้งเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2562 และเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 41 พรรษา เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2562 อีกทั้งเพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้สตรีไทยได้มีความรู้ และความสามารถเพิ่มขึ้น เป็นพลังในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติต่อไป เพื่อให้สังคมไทยและประชาคมโลกตระหนักถึงบทบาทความสามารถและคุณค่าของสตรีไทย และเพื่อรวมพลังกลุ่มองค์กรสตรีทั่วประเทศ ด้วยความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในอันที่จะพร้อมใจกันกระทําความดีเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล นายจุติ กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดงานในปีนี้ มีการจัดกิจกรรมสําคัญ ประกอบด้วย 1) กิจกรรมภาคเช้า ได้แก่ พิธีแสดงความยินดีกับสตรีไทยดีเด่น และเยาวสตรีไทยดีเด่น ประจําปี 2562 การมอบเข็มสตรีไทยดีเด่นและการมอบทุนฯให้เยาวสตรีไทยดีเด่น และ 2) กิจกรรมภาคบ่าย ได้แก่ การรับเสด็จสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงเสด็จพระราชดําเนินมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดงานสตรีไทย ประจําปี 2562 พร้อมทั้งพระราชทานเกียรติบัตรแก่สตรีไทยดีเด่น 150 คน และเยาวสตรีไทยดีเด่น 25 คน นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการต่างๆ ที่น่าสนใจ อาทิ นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง นิทรรศการของสภาสมาคมสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และกิจกรรมของหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมงาน ประกอบด้วย 1)กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกระทรวงมหาดไทย 2)ร้านจิตอาสา 904 และร้านโกลเด้น เพลซ 3) มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 4) มูลนิธิสายใจไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และ 5) กระทรวง พม. ซึ่งนําเสนอภารกิจด้านการส่งเสริมศักยภาพสตรีของศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว 8 แห่ง
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. ร่วมกับ สภาสมาคมสตรีแห่งชาติฯ จัดงานวันสตรีไทย ประจำปี 2562 ภายใต้แนวคิด “สายธารแห่งพระบารมี สู่การพัฒนาสตรีที่ยั่งยืน” เชิดชูเกียรติ สตรีไทยดีเด่นและเยาวสตรีไทยดีเด่น วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม 2562 พม. ร่วมกับ สภาสมาคมสตรีแห่งชาติฯ จัดงานวันสตรีไทย ประจําปี 2562 ภายใต้แนวคิด “สายธารแห่งพระบารมี สู่การพัฒนาสตรีที่ยั่งยืน” เชิดชูเกียรติ สตรีไทยดีเด่นและเยาวสตรีไทยดีเด่น พม. ร่วมกับ สภาสมาคมสตรีแห่งชาติฯ จัดงานวันสตรีไทย ประจําปี 2562 ภายใต้แนวคิด “สายธารแห่งพระบารมี สู่การพัฒนาสตรีที่ยั่งยืน” เชิดชูเกียรติ สตรีไทยดีเด่นและเยาวสตรีไทยดีเด่น วันที่ 1 ส.ค. 62 เวลา 16.00 น. สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดําเนิน ไปทรงเปิดงานวันสตรีไทย ประจําปี 2562 ภายใต้แนวคิด "สายธารแห่งพระบารมี สู่การพัฒนาสตรีที่ยั่งยืน” พร้อมทั้งพร้อมทั้งพระราชทานเกียรติบัตร แก่สตรีไทยดีเด่น 150 คน และเยาวสตรีไทยดีเด่น 25 คน ซึ่งจัดขึ้นโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) ร่วมกับสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ โดยมี นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) กราบบังคมทูลรายงานเกี่ยวกับการจัดงาน นางวันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสมาคมสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ กราบบังคมทูลรายงานความเป็นมาของวันสตรีไทย พร้อมด้วย นายปรเมธี วิมลศิริ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) นายเลิศปัญญา บูรณบัณฑิต อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว คณะผู้บริหารกระทรวง พม. และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าฯรับเสด็จ ณ ห้องรอยัลจูบิลี่ บอลรูม อาคารชาเลนเจอร์ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี อําเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี นายจุติ กล่าวว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้วันที่ 1 สิงหาคมของทุกปีเป็น "วันสตรีไทย” โดยได้พระราชทานแนวพระราชดําริหน้าที่สําคัญเบื้องต้นของสตรีไทย 4 ประการ ได้แก่ 1. พึงทําหน้าที่ของแม่ให้สมบูรณ์ 2. พึงทําหน้าที่ของแม่บ้านให้สมบูรณ์ 3.พึงรักษาเอกลักษณ์ของความเป็นสตรีไทย และ 4. พึงฝึกฝนตนเองให้มีความรู้ความสามารถยิ่งขึ้น ซึ่งสตรีไทยสามารถน้อมนํากระแสพระราชดํารัสสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ไปใช้เป็นแนวทางในการดําเนินชีวิตและพัฒนาตนเอง อันจะส่งผลให้ครอบครัวไทย สังคมไทย และประเทศไทยมีความสุข ความเจริญ นําไปสู่การพัฒนาด้านอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง และสตรีไทยจะเป็นที่ยกย่องชื่นชมของสังคมโลกได้ต่อไป พร้อมทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนในสังคมตระหนักถึงความสําคัญในบทบาท ความสามารถ และคุณค่าของสตรีไทย อีกทั้งได้พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้ "ดอกกล้วยไม้ คัทลียา ควีนสิริกิติ์” เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ ประจําวันสตรีไทย ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา นายจุติ กล่าวต่อไปว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) ร่วมกับสภาสมาคมสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และและภาคีเครือข่าย ต่างสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ จึงร่วมกันจัดงาน "วันสตรีไทย” สืบเนื่องมาเป็นประจําทุกปี สําหรับในปี 2562 นี้ ได้กําหนดจัดงาน "วันสตรีไทย” ภายใต้แนวคิด "สายธารแห่งพระบารมี สู่การพัฒนาสตรีที่ยั่งยืน” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสที่จะทรงเจริญพระชนมพรรษา 87 พรรษา ในวันที่ 12 สิงหาคม 2562 พร้อมทั้งเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2562 และเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 41 พรรษา เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2562 อีกทั้งเพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้สตรีไทยได้มีความรู้ และความสามารถเพิ่มขึ้น เป็นพลังในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติต่อไป เพื่อให้สังคมไทยและประชาคมโลกตระหนักถึงบทบาทความสามารถและคุณค่าของสตรีไทย และเพื่อรวมพลังกลุ่มองค์กรสตรีทั่วประเทศ ด้วยความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในอันที่จะพร้อมใจกันกระทําความดีเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล นายจุติ กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดงานในปีนี้ มีการจัดกิจกรรมสําคัญ ประกอบด้วย 1) กิจกรรมภาคเช้า ได้แก่ พิธีแสดงความยินดีกับสตรีไทยดีเด่น และเยาวสตรีไทยดีเด่น ประจําปี 2562 การมอบเข็มสตรีไทยดีเด่นและการมอบทุนฯให้เยาวสตรีไทยดีเด่น และ 2) กิจกรรมภาคบ่าย ได้แก่ การรับเสด็จสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงเสด็จพระราชดําเนินมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดงานสตรีไทย ประจําปี 2562 พร้อมทั้งพระราชทานเกียรติบัตรแก่สตรีไทยดีเด่น 150 คน และเยาวสตรีไทยดีเด่น 25 คน นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการต่างๆ ที่น่าสนใจ อาทิ นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง นิทรรศการของสภาสมาคมสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และกิจกรรมของหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมงาน ประกอบด้วย 1)กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกระทรวงมหาดไทย 2)ร้านจิตอาสา 904 และร้านโกลเด้น เพลซ 3) มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 4) มูลนิธิสายใจไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และ 5) กระทรวง พม. ซึ่งนําเสนอภารกิจด้านการส่งเสริมศักยภาพสตรีของศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว 8 แห่ง
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/21959
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ชี้เอสเอ็มอีไทยตื่นตัวยกระดับโลจิสติกส์คว้าโอกาสทองตลาดออนไลน์บูม SME Development Bank รับลูกประกาศหนุนเต็มสูบดันถึงความรู้คู่เงินทุน
วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม 2561 ชี้เอสเอ็มอีไทยตื่นตัวยกระดับโลจิสติกส์คว้าโอกาสทองตลาดออนไลน์บูม SME Development Bank รับลูกประกาศหนุนเต็มสูบดันถึงความรู้คู่เงินทุน ม.หอการค้าไทยเผยผลสํารวจชี้ SMEsไทย ตื่นตัวยกระดับระบบโลจิสติกส์ เชื่อจะมีบทบาทสําคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ตามเทรนด์เติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซ ระบุอยากลงทุนพัฒนาเทคโนโลยี และบรรจุภัณฑ์ เชื่อช่วยเพิ่มยอดขาย ด้าน ธพว.ประกาศพร้อมหนุน ต่อยอดความรู้และเงินทุน ม.หอการค้าไทย เผยผลสํารวจชี้ SMEsไทย ตื่นตัวยกระดับระบบโลจิสติกส์ เชื่อจะมีบทบาทสําคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ตามเทรนด์เติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซ ระบุอยากลงทุนพัฒนาเทคโนโลยี และบรรจุภัณฑ์ เชื่อช่วยเพิ่มยอดขาย ด้าน SME Development Bank ประกาศพร้อมหนุน ต่อยอดความรู้และเงินทุน รองศาสตราจารย์ ดร.เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงผลการสํารวจ “รูปแบบการใช้และการจัดการ Logistics SMEs ไทย” จากกลุ่มตัวอย่าง 1,221 ตัวอย่าง ว่า เอสเอ็มอีไทยมีการดําเนินกิจกรรมโลจิสติกส์หลากหลาย โดยแบ่งตามสัดส่วน ร้อยละ 26.48 เพื่อจัดซื้อวัตถุดิบ/สินค้า, ร้อยละ 22.97 จัดส่งสินค้า, ร้อยละ 18.81 จัดการสต๊อกสินค้า, ร้อยละ 12.51 การบรรจุหีบห่อ/บรรจุภัณฑ์, ร้อยละ 7.23 ทําเอกสารนําเข้า-ส่งออก, ร้อยละ 6.63 วางแผนการผลิต และร้อยละ 5.37 การจัดการสินค้ารับคืน โดยแทบทุกกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างระบุว่า จะทําเอง ยกเว้นแค่การจัดส่งสินค้า กลุ่มตัวอย่างบอกว่าจะใช้วิธีว่าจ้างผู้อื่น เมื่อถามถึงระดับความสําคัญของระบบโลจิสติกส์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 46.01 ระบุว่า สําคัญปานกลาง และเชื่อว่าในอีก 6 เดือน และ 1 ปีข้างหน้า จะมีความสําคัญมาก ซึ่งเป็นแนวโน้มเหมือนกันหมด ทั้งกลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง จดทะเบียน และไม่จดทะเบียน ส่วนค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์เทียบกับค่าใช้จ่ายโดยรวมของกิจการ กรณีทําเอง อยู่ที่ร้อยละ 30.56 ส่วนจ้างบริษัทภายนอก อยู่ที่ร้อยละ 13.33 ขณะที่ค่าใช้จ่าย ด้านการขนส่งสินค้าและบริการเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายโดยรวมของกิจการ กรณีทําเอง อยู่ที่ร้อยละ 18.99 ส่วนจ้างบริษัทภายนอก อยู่ที่ร้อยละ 15.77 ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 87.24 เผยว่า มีการเก็บสต๊อกสินค้าเพื่อรอการขาย และหากแยกเป็นธุรกิจขนาดเล็ก เก็บสต๊อกสินค้ารอการขาย เฉลี่ย 24 วัน ส่วนธุรกิจขนาดกลาง เก็บสต๊อกสินค้ารอการขาย เฉลี่ย 35 วัน นอกจากนั้น ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง ระบุตรงกันด้วยว่า เทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์ที่สําคัญมาก คือ การจัดส่งสินค้า ทว่า สาเหตุที่ธุรกิจยังไม่นําเทคโนโลยีมาใช้นั้น คําตอบคือ กิจการมีขนาดเล็กจึงไม่จําเป็นต้องใช้ ร้อยละ 29.85, ไม่มีเงินทุนในการซื้อเทคโนโลยี ร้อยละ 26.70 , กิจการไม่มีอะไรเกี่ยวกับเทคโนโลยีเลย ร้อยละ 14.81 , เทคโนโลยียังไม่มีความจําเป็นกับกิจการ ร้อยละ 13.83 , ไม่รู้ว่าจะใช้เทคโนโลยีอย่างไร ร้อยละ 6.80 และอื่นๆ ร้อยละ 8.01 นอกจากนั้น กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 32.40 มีแผนจะลงทุนซื้อเครื่องมือเกี่ยวข้องระบบขนส่ง เทคโนโลยี และไอที โดยร้อยละ 74.32 จะใช้วิธีกู้ยืม เฉลี่ยวงเงินที่ต้องการ 237,217.39 บาท ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย รองอธิการบดีอาวุโสวิชาการและงานวิจัย และผู้อํานวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เผยถึงรูปแบบการใช้บริการขนส่งของ SMEsไทย นั้น กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 60.72 มีการดําเนินธุรกิจออนไลน์ (e-commerce) โดยขนาดเล็กมีมูลค่าการดําเนินธุรกิจออนไลน์ คิดเป็นร้อยละ 26.52 ของมูลค่าทั้งหมด ส่วนธุรกิจขนาดกลางมีมูลค่าการดําเนินธุรกิจออนไลน์ คิดเป็นร้อยละ 31.94 ของมูลค่าทั้งหมด โดยใช้ออนไลน์ดําเนินธุรกิจมาแล้ว 6 ปีเท่ากัน ทั้งนี้ ธุรกิจมีบริการจัดส่งสินค้าฟรี (Free Shipping) ร้อยละ 61.99 และเมื่อแยกตามขนาดธุรกิจ และการจดทะเบียนนิติบุคคลพบว่า ธุรกิจขนาดเล็กและไม่จดทะเบียนนิติบุคคล มีอัตราให้บริการดังกล่าวมากกว่าธุรกิจขนาดกลางและจดทะเบียนนิติบุคคลด้วยซ้ํา โดยส่วนใหญ่เลือกวิธีจัดการส่งสินค้าเอง ซึ่งพาหนะที่นิยมใช้ในการส่งสินค้า ทั้งส่งเอง และจ้างบริษัทขนส่ง ได้แก่ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถบรรทุก รถตู้ และรถโดยสาร ตามลําดับ ส่วนผู้ให้บริการจัดส่งสินค้าที่ผู้ประกอบการนิยมมากสุด ได้แก่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด ร้อยละ 20.37 , Kerry ร้อยละ 20.06 , บริษัท ขนส่ง จํากัด ร้อยละ 16.76 , LINE MAN ร้อยละ 12.78 , บริษัท รถโดยสารเอกชน ร้อยละ 10.14 , การรถไฟแห่งประเทศไทย ร้อยละ 8.71 , Grab ร้อยละ 5.46 , LALAMOVE ร้อยละ 2.55 , อื่นๆ รถจักรยานยนต์รับจ้าง ร้อยละ 1.46 , เครื่องบิน ร้อยละ 0.95 และ บริษัทรถขนส่งเอกชน ร้อยละ 0.76 ด้านรูปแบบการใช้บรรจุภัณฑ์นั้น กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนจากปัจจัยด้านความแข็งแรง และปลอดภัยในการขนส่ง รวมถึง เพื่อส่งเสริมการตลาด เช่น ความสวยงาม พกพาสะดวก โดยธุรกิจขนาดเล็กและไม่ได้จดทะเบียน ให้คะแนนเฉลี่ยประมาณ 7.5 คะแนน ส่วนธุรกิจขนาดกลางและจดทะเบียน ให้คะแนนเฉลี่ยประมาณ 8 คะแนน อีกทั้ง ร้อยละ 21.28 มีแผนจะลงทุนพัฒนาบรรจุภัณฑ์ โดยต้องการวงเงิน 89,893.44 บาท และหากกู้เงินที่ต้องการได้ เชื่อว่า จะทําให้ยอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.13 ผศ.ดร.ธนวรรธน์ เผยด้วยว่า มาตรการหรือความช่วยเหลือที่กลุ่มตัวอย่างระบุว่าอยากได้รับจากภาครัฐ ได้แก่ 1.พัฒนากระบวนการจัดการระบบโลจิสติกส์ 2.ส่งเสริมหรือพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อจัดการระบบโลจิสติกส์ และ 3.พัฒนาระบบขนส่ง ส่วนความต้องการจาก SME Development Bank คือ 1.สินเชื่อสําหรับปรับปรุงกระบวนการโลจิสติกส์ เช่น การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ พัฒนาระบบเทคโนโลยีสําหรับการจัดส่งสินค้า และ 2.ส่งเสริมหรือพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับสินค้า การเลือกใช้เทคโนโลยีสําหรับการจัดส่งสินค้าที่เหมาะสมกับธุรกิจ ด้านนายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank หรือ ธพว.) กล่าวถึงผลสํารวจดังกล่าว แสดงให้เห็นชัดเจนว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็ก ขนาดกลาง กลุ่มจดทะเบียน และไม่จดทะเบียนนิติบุคคล ต่างให้ความสําคัญด้านพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ไม่ว่าจะเป็นการจัดส่งสินค้า บริหารสต๊อกสินค้า พัฒนาบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น เพราะมั่นใจว่าจะสร้างประโยชน์ให้ธุรกิจจากการค้าออนไลน์ หรือ e-commerce ซึ่งกําลังได้รับความนิยมและตลาดมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น ธนาคารจะนําผลสํารวจดังกล่าวไปพัฒนาผลิตภัณฑ์สินเชื่อใหม่และบริการสนับสนุน เพื่อมุ่งตอบตรงความต้องการของเอสเอ็มอีที่อยากลงทุนเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มศักยภาพระบบโลจิสติกส์ และช่วยลดต้นทุนการจัดส่งสินค้า นอกเหนือจากบริการต่างๆ ที่ธนาคารได้ดําเนินการมาแล้วหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแพลตฟอร์ม ‘SME D Bank’ ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันรวบรวมเครื่องมือเสริมแกร่งธุรกิจ (Tools Box) มากกว่า 100 รายการ เช่น ระบบคลังสินค้า ระบบจัดการขนส่ง ฯลฯ เปิดให้ดาวน์โหลดใช้งานได้ฟรี จัดกิจกรรมเติมความรู้ อาทิ สัมมนาแนะนําการทําตลาดออนไลน์ พาจับคู่ธุรกิจกับผู้ให้บริหารตลาดออนไลน์ อย่าง Shopee และองค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง (HKTDC) รวมถึง มีโครงการพัฒนาด้านดีไซน์และบรรจุภัณฑ์ ให้โดนใจตลาดและเหมาะสมแก่การจัดขนส่ง เป็นต้น และสําหรับผู้ประกอบการที่ต้องการลงทุนเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาระบบโลจิสติกส์ หรือปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ ธนาคารมีสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษไว้บริการ เช่น สินเชื่อเถ้าแก่4.0 จากกระทรวงอุตสาหกรรม สําหรับนิติบุคคล คิดอัตราดอกเบี้ยเพียง 1% ต่อปี ปลอดชําระเงินต้น 3 ปีแรก เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายย่อยที่มีปัญหาทางการเงินสามารถกู้ได้ (แม้เคยปรับโครงสร้างหนี้ หรือผ่อนชําระไม่ต่อเนื่องมาก็ตาม) และ สินเชื่อเศรษฐกิจติดดาว สําหรับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ดอกเบี้ย 3% ต่อปี ใน 3 ปีแรก เพื่อธุรกิจเกษตรแปรรูป ท่องเที่ยว/ท่องเที่ยวชุมชน และผู้ประกอบการใหม่ หรือมีนวัตกรรม เป็นต้น
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ชี้เอสเอ็มอีไทยตื่นตัวยกระดับโลจิสติกส์คว้าโอกาสทองตลาดออนไลน์บูม SME Development Bank รับลูกประกาศหนุนเต็มสูบดันถึงความรู้คู่เงินทุน วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม 2561 ชี้เอสเอ็มอีไทยตื่นตัวยกระดับโลจิสติกส์คว้าโอกาสทองตลาดออนไลน์บูม SME Development Bank รับลูกประกาศหนุนเต็มสูบดันถึงความรู้คู่เงินทุน ม.หอการค้าไทยเผยผลสํารวจชี้ SMEsไทย ตื่นตัวยกระดับระบบโลจิสติกส์ เชื่อจะมีบทบาทสําคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ตามเทรนด์เติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซ ระบุอยากลงทุนพัฒนาเทคโนโลยี และบรรจุภัณฑ์ เชื่อช่วยเพิ่มยอดขาย ด้าน ธพว.ประกาศพร้อมหนุน ต่อยอดความรู้และเงินทุน ม.หอการค้าไทย เผยผลสํารวจชี้ SMEsไทย ตื่นตัวยกระดับระบบโลจิสติกส์ เชื่อจะมีบทบาทสําคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ตามเทรนด์เติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซ ระบุอยากลงทุนพัฒนาเทคโนโลยี และบรรจุภัณฑ์ เชื่อช่วยเพิ่มยอดขาย ด้าน SME Development Bank ประกาศพร้อมหนุน ต่อยอดความรู้และเงินทุน รองศาสตราจารย์ ดร.เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงผลการสํารวจ “รูปแบบการใช้และการจัดการ Logistics SMEs ไทย” จากกลุ่มตัวอย่าง 1,221 ตัวอย่าง ว่า เอสเอ็มอีไทยมีการดําเนินกิจกรรมโลจิสติกส์หลากหลาย โดยแบ่งตามสัดส่วน ร้อยละ 26.48 เพื่อจัดซื้อวัตถุดิบ/สินค้า, ร้อยละ 22.97 จัดส่งสินค้า, ร้อยละ 18.81 จัดการสต๊อกสินค้า, ร้อยละ 12.51 การบรรจุหีบห่อ/บรรจุภัณฑ์, ร้อยละ 7.23 ทําเอกสารนําเข้า-ส่งออก, ร้อยละ 6.63 วางแผนการผลิต และร้อยละ 5.37 การจัดการสินค้ารับคืน โดยแทบทุกกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างระบุว่า จะทําเอง ยกเว้นแค่การจัดส่งสินค้า กลุ่มตัวอย่างบอกว่าจะใช้วิธีว่าจ้างผู้อื่น เมื่อถามถึงระดับความสําคัญของระบบโลจิสติกส์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 46.01 ระบุว่า สําคัญปานกลาง และเชื่อว่าในอีก 6 เดือน และ 1 ปีข้างหน้า จะมีความสําคัญมาก ซึ่งเป็นแนวโน้มเหมือนกันหมด ทั้งกลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง จดทะเบียน และไม่จดทะเบียน ส่วนค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์เทียบกับค่าใช้จ่ายโดยรวมของกิจการ กรณีทําเอง อยู่ที่ร้อยละ 30.56 ส่วนจ้างบริษัทภายนอก อยู่ที่ร้อยละ 13.33 ขณะที่ค่าใช้จ่าย ด้านการขนส่งสินค้าและบริการเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายโดยรวมของกิจการ กรณีทําเอง อยู่ที่ร้อยละ 18.99 ส่วนจ้างบริษัทภายนอก อยู่ที่ร้อยละ 15.77 ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 87.24 เผยว่า มีการเก็บสต๊อกสินค้าเพื่อรอการขาย และหากแยกเป็นธุรกิจขนาดเล็ก เก็บสต๊อกสินค้ารอการขาย เฉลี่ย 24 วัน ส่วนธุรกิจขนาดกลาง เก็บสต๊อกสินค้ารอการขาย เฉลี่ย 35 วัน นอกจากนั้น ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง ระบุตรงกันด้วยว่า เทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์ที่สําคัญมาก คือ การจัดส่งสินค้า ทว่า สาเหตุที่ธุรกิจยังไม่นําเทคโนโลยีมาใช้นั้น คําตอบคือ กิจการมีขนาดเล็กจึงไม่จําเป็นต้องใช้ ร้อยละ 29.85, ไม่มีเงินทุนในการซื้อเทคโนโลยี ร้อยละ 26.70 , กิจการไม่มีอะไรเกี่ยวกับเทคโนโลยีเลย ร้อยละ 14.81 , เทคโนโลยียังไม่มีความจําเป็นกับกิจการ ร้อยละ 13.83 , ไม่รู้ว่าจะใช้เทคโนโลยีอย่างไร ร้อยละ 6.80 และอื่นๆ ร้อยละ 8.01 นอกจากนั้น กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 32.40 มีแผนจะลงทุนซื้อเครื่องมือเกี่ยวข้องระบบขนส่ง เทคโนโลยี และไอที โดยร้อยละ 74.32 จะใช้วิธีกู้ยืม เฉลี่ยวงเงินที่ต้องการ 237,217.39 บาท ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย รองอธิการบดีอาวุโสวิชาการและงานวิจัย และผู้อํานวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เผยถึงรูปแบบการใช้บริการขนส่งของ SMEsไทย นั้น กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 60.72 มีการดําเนินธุรกิจออนไลน์ (e-commerce) โดยขนาดเล็กมีมูลค่าการดําเนินธุรกิจออนไลน์ คิดเป็นร้อยละ 26.52 ของมูลค่าทั้งหมด ส่วนธุรกิจขนาดกลางมีมูลค่าการดําเนินธุรกิจออนไลน์ คิดเป็นร้อยละ 31.94 ของมูลค่าทั้งหมด โดยใช้ออนไลน์ดําเนินธุรกิจมาแล้ว 6 ปีเท่ากัน ทั้งนี้ ธุรกิจมีบริการจัดส่งสินค้าฟรี (Free Shipping) ร้อยละ 61.99 และเมื่อแยกตามขนาดธุรกิจ และการจดทะเบียนนิติบุคคลพบว่า ธุรกิจขนาดเล็กและไม่จดทะเบียนนิติบุคคล มีอัตราให้บริการดังกล่าวมากกว่าธุรกิจขนาดกลางและจดทะเบียนนิติบุคคลด้วยซ้ํา โดยส่วนใหญ่เลือกวิธีจัดการส่งสินค้าเอง ซึ่งพาหนะที่นิยมใช้ในการส่งสินค้า ทั้งส่งเอง และจ้างบริษัทขนส่ง ได้แก่ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถบรรทุก รถตู้ และรถโดยสาร ตามลําดับ ส่วนผู้ให้บริการจัดส่งสินค้าที่ผู้ประกอบการนิยมมากสุด ได้แก่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด ร้อยละ 20.37 , Kerry ร้อยละ 20.06 , บริษัท ขนส่ง จํากัด ร้อยละ 16.76 , LINE MAN ร้อยละ 12.78 , บริษัท รถโดยสารเอกชน ร้อยละ 10.14 , การรถไฟแห่งประเทศไทย ร้อยละ 8.71 , Grab ร้อยละ 5.46 , LALAMOVE ร้อยละ 2.55 , อื่นๆ รถจักรยานยนต์รับจ้าง ร้อยละ 1.46 , เครื่องบิน ร้อยละ 0.95 และ บริษัทรถขนส่งเอกชน ร้อยละ 0.76 ด้านรูปแบบการใช้บรรจุภัณฑ์นั้น กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนจากปัจจัยด้านความแข็งแรง และปลอดภัยในการขนส่ง รวมถึง เพื่อส่งเสริมการตลาด เช่น ความสวยงาม พกพาสะดวก โดยธุรกิจขนาดเล็กและไม่ได้จดทะเบียน ให้คะแนนเฉลี่ยประมาณ 7.5 คะแนน ส่วนธุรกิจขนาดกลางและจดทะเบียน ให้คะแนนเฉลี่ยประมาณ 8 คะแนน อีกทั้ง ร้อยละ 21.28 มีแผนจะลงทุนพัฒนาบรรจุภัณฑ์ โดยต้องการวงเงิน 89,893.44 บาท และหากกู้เงินที่ต้องการได้ เชื่อว่า จะทําให้ยอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.13 ผศ.ดร.ธนวรรธน์ เผยด้วยว่า มาตรการหรือความช่วยเหลือที่กลุ่มตัวอย่างระบุว่าอยากได้รับจากภาครัฐ ได้แก่ 1.พัฒนากระบวนการจัดการระบบโลจิสติกส์ 2.ส่งเสริมหรือพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อจัดการระบบโลจิสติกส์ และ 3.พัฒนาระบบขนส่ง ส่วนความต้องการจาก SME Development Bank คือ 1.สินเชื่อสําหรับปรับปรุงกระบวนการโลจิสติกส์ เช่น การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ พัฒนาระบบเทคโนโลยีสําหรับการจัดส่งสินค้า และ 2.ส่งเสริมหรือพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับสินค้า การเลือกใช้เทคโนโลยีสําหรับการจัดส่งสินค้าที่เหมาะสมกับธุรกิจ ด้านนายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank หรือ ธพว.) กล่าวถึงผลสํารวจดังกล่าว แสดงให้เห็นชัดเจนว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็ก ขนาดกลาง กลุ่มจดทะเบียน และไม่จดทะเบียนนิติบุคคล ต่างให้ความสําคัญด้านพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ไม่ว่าจะเป็นการจัดส่งสินค้า บริหารสต๊อกสินค้า พัฒนาบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น เพราะมั่นใจว่าจะสร้างประโยชน์ให้ธุรกิจจากการค้าออนไลน์ หรือ e-commerce ซึ่งกําลังได้รับความนิยมและตลาดมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น ธนาคารจะนําผลสํารวจดังกล่าวไปพัฒนาผลิตภัณฑ์สินเชื่อใหม่และบริการสนับสนุน เพื่อมุ่งตอบตรงความต้องการของเอสเอ็มอีที่อยากลงทุนเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มศักยภาพระบบโลจิสติกส์ และช่วยลดต้นทุนการจัดส่งสินค้า นอกเหนือจากบริการต่างๆ ที่ธนาคารได้ดําเนินการมาแล้วหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแพลตฟอร์ม ‘SME D Bank’ ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันรวบรวมเครื่องมือเสริมแกร่งธุรกิจ (Tools Box) มากกว่า 100 รายการ เช่น ระบบคลังสินค้า ระบบจัดการขนส่ง ฯลฯ เปิดให้ดาวน์โหลดใช้งานได้ฟรี จัดกิจกรรมเติมความรู้ อาทิ สัมมนาแนะนําการทําตลาดออนไลน์ พาจับคู่ธุรกิจกับผู้ให้บริหารตลาดออนไลน์ อย่าง Shopee และองค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง (HKTDC) รวมถึง มีโครงการพัฒนาด้านดีไซน์และบรรจุภัณฑ์ ให้โดนใจตลาดและเหมาะสมแก่การจัดขนส่ง เป็นต้น และสําหรับผู้ประกอบการที่ต้องการลงทุนเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาระบบโลจิสติกส์ หรือปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ ธนาคารมีสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษไว้บริการ เช่น สินเชื่อเถ้าแก่4.0 จากกระทรวงอุตสาหกรรม สําหรับนิติบุคคล คิดอัตราดอกเบี้ยเพียง 1% ต่อปี ปลอดชําระเงินต้น 3 ปีแรก เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายย่อยที่มีปัญหาทางการเงินสามารถกู้ได้ (แม้เคยปรับโครงสร้างหนี้ หรือผ่อนชําระไม่ต่อเนื่องมาก็ตาม) และ สินเชื่อเศรษฐกิจติดดาว สําหรับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ดอกเบี้ย 3% ต่อปี ใน 3 ปีแรก เพื่อธุรกิจเกษตรแปรรูป ท่องเที่ยว/ท่องเที่ยวชุมชน และผู้ประกอบการใหม่ หรือมีนวัตกรรม เป็นต้น
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/16397
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“อาจารย์ยักษ์” เร่งช่วยเหลือชาวนาเกลือทะเล หนุนยกระดับพัฒนาระบบสหกรณ์ให้เข้มแข็ง
วันอังคารที่ 6 มีนาคม 2561 “อาจารย์ยักษ์” เร่งช่วยเหลือชาวนาเกลือทะเล หนุนยกระดับพัฒนาระบบสหกรณ์ให้เข้มแข็ง “อาจารย์ยักษ์” เร่งช่วยเหลือชาวนาเกลือทะเล หนุนยกระดับพัฒนาระบบสหกรณ์ให้เข้มแข็ง ดันคุณภาพเกลือไทยให้เป็นที่รู้จักในตลาดโลก พร้อมส่งเสริมแปรรูปเกลือทะเลผลิตสารทําฝนหลวงเพิ่มขึ้น หวังเพิ่มช่องทางการตลาดให้เกษตรกร นายวิวัฒน์ ศัลยกําธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสหกรณ์การเกษตรเกลือทะเลไทยเพชรบุรี จํากัด ตําบลบ้านแหลม อําเภอบ้านแหลม จังหวัด เพชรบุรี ว่า สินค้าเกษตรที่มีความสําคัญต่อชีวิตมนุษย์และอยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน คือ เกลือ และข้าว ในจังหวัดเพชรบุรีมีพื้นที่ในการทํานาเกลือของเกษตรกรผู้ผลิตเกลือทะเล รวมทั้งสิ้น 32,000 ไร่ โดยเกษตรกรสมาชิกของสหกรณ์การเกษตรเกลือทะเลไทยเพชรบุรี จํากัด มีพื้นที่ทํานาเกลือ จํานวน 16,286 ไร่ คิดเป็น ร้อยละ 45.24 ของพื้นที่ทํานาเกลือทั้งหมดของ จ.เพชรบุรี โดยเกษตรกรผู้ทํานาเกลือได้รวมกันจัดตั้งเป็นสหกรณ์การเกษตร ชาวนาเกลือบ้านแหลม จํากัด ซึ่งมีจุดเด่น คือ ขบวนการผลิตเกลือทะเลสหกรณ์จากการรวบรวมผลผลิตเกลือทะเลของสมาชิกผ่านชุมชนสหกรณ์ ฯ และนํามาแปรรูปเกลือทะเล มีจํานวนสมาชิกทั้งหมด 261 คน ในด้านผลผลิต สหกรณ์ได้กําหนดแผนรวบรวมผลผลิตจากสมาชิก โดยการทํา MOU กับสมาชิกสหกรณ์ฯ รวบรวมเกลือผ่านชุมนุมสหกรณ์เกลือทะเลไทย จํากัด ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – ธันวาคม 2561 ดังนี้ 1.เกลือขาว จํานวน 2,423 ตัน 2.เกลือกลาง จํานวน 62,579 ตัน 3.เกลือดํา จํานวน 3,432 ตัน รวมทั้งสิ้น 68,434 ตัน ปัจจุบันสหกรณ์รวบรวมเกลือจากสมาชิก จํานวน 614,310 กิโลกรัม และส่งผ่านชุมนุมฯ ไปแล้ว 469,950 กิโลกรัม ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้ดําเนินการช่วยเหลือสมาชิกของสถาบันเกษตรกรที่ทํานาเกลือ ของ จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี โดยจัดทําโครงการ “โครงการสร้างระบบการผลิตและการตลาดเกลือ ทะเลของสถาบันเกษตรกรด้วยวิธีการยกระดับราคาให้ยั่งยืน” กําหนดให้สหกรณ์/กลุ่ม เกษตรกรเป็นกลไกในการแก้ไขปัญหาร่วมกันในการผลิตเกลือคุณภาพมาตรฐานและรักษาระดับราคาเกลือให้กับสมาชิกในช่วงฤดูแล้งของทุกปีที่มีเกลือทะเลมากที่สุดประมาณ 3 – 4 เท่า ของช่วงปกติ โดยใช้เงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร วงเงิน 52.5 ล้านบาท เป็นเงิน ปลอดดอกเบี้ย กําหนดชําระคืนภายใน 5 ปี ระยะเวลาเริ่มโครงการ ตั้งแต่ปีการผลิต พ.ศ. 2559 ถึงปี พ.ศ.2563 อย่างไรก็ตาม ภายหลังที่ได้หารือร่วมกับสมาชิกสหกรณ์ฯ พบว่ายังมีปัญหาในการดําเนินงานหลายด้าน อาทิ 1. เรื่องต้นทุนการผลิตเกลือที่สูง ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมกันศึกษาหาแนวทางในการลดต้นทุนการผลิตเกลือให้ต่ําลง 2.ส่งเสริมคุณภาพเกลือ ภาครัฐต้องเร่งรัดให้มีการจัดทํามาตรฐานของสินค้าเกลือทะเล จําแนกเกลือให้มีหลายระดับ เพื่อยกระดับให้เป็นสินค้าส่งออกที่สําคัญ สามารถสร้างตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศได้อย่างถาวร และเป็นที่รู้จักและต้องการของตลาดโลก ซึ่งต้องมีการระดมความร่วมมือในเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง ผลักดันเกลือไทยเป็นที่รู้จักในสังคมโลก เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีอาชีพที่มั่นคง 3. การแปรรูปผลผลิตเกลือให้สามารถนําไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่น สนับสนุนการนําเกลือทะเลมาใช้ในการผลิตสารฝนหลวง เพื่อช่วยให้เกษตรกรได้มีช่องทางการตลาดเพิ่มขึ้น โดยยังคงคุณภาพและคุณสมบัติของเกลือทะเลที่ทําการผลิตสารฝนหลวงให้ได้มาตรฐาน พร้อมทั้งให้สํานักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ทําการศึกษาวิจัยการพัฒนาเกลือทะเล เพื่อนําไปใช้ประโยชน์อื่นๆ อย่างกว้างขวาง และ 4. ส่งเสริมยกระดับระบบสหกรณ์นาเกลือให้เกิดความเข้มแข็ง มีการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งจะต้องหาแนวทางส่งเสริมและพัฒนาต่อไป “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงวางรากฐานรักษาอาชีพทํานาเกลือไว้ให้คนไทยทรงพระราชทานพื้นที่ที่สําคัญในการทํานาเกลือจนเกิดประโยชน์ต่อคนไทยมาช้านาน ไม่ใช่เฉพาะทําให้คนไทยไม่เป็นโรคคอหอยพอกเท่านั้น แต่ยังนําเกลือไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ ได้อีก ดังนั้นเราจะรักษาอาชีพทํานาเกลือไว้อย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องช่วยกันทุกฝ่าย เชื่อว่าความร่วมมือและความรู้จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะสามารถสืบสานพระราชปณิธานของรัชกาลที่ 5 ให้คงอยู่กับคนไทยได้นานเท่านาน” นายวิวัฒน์ กล่าว กลุ่มโฆษกและวิเคราะห์ข่าว กองเกษตรสารนิเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร 02-2810859 แฟกซ์ 02-2822871 [email protected] www.moac.go.th www.facebook.com/kasetthai
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“อาจารย์ยักษ์” เร่งช่วยเหลือชาวนาเกลือทะเล หนุนยกระดับพัฒนาระบบสหกรณ์ให้เข้มแข็ง วันอังคารที่ 6 มีนาคม 2561 “อาจารย์ยักษ์” เร่งช่วยเหลือชาวนาเกลือทะเล หนุนยกระดับพัฒนาระบบสหกรณ์ให้เข้มแข็ง “อาจารย์ยักษ์” เร่งช่วยเหลือชาวนาเกลือทะเล หนุนยกระดับพัฒนาระบบสหกรณ์ให้เข้มแข็ง ดันคุณภาพเกลือไทยให้เป็นที่รู้จักในตลาดโลก พร้อมส่งเสริมแปรรูปเกลือทะเลผลิตสารทําฝนหลวงเพิ่มขึ้น หวังเพิ่มช่องทางการตลาดให้เกษตรกร นายวิวัฒน์ ศัลยกําธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสหกรณ์การเกษตรเกลือทะเลไทยเพชรบุรี จํากัด ตําบลบ้านแหลม อําเภอบ้านแหลม จังหวัด เพชรบุรี ว่า สินค้าเกษตรที่มีความสําคัญต่อชีวิตมนุษย์และอยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน คือ เกลือ และข้าว ในจังหวัดเพชรบุรีมีพื้นที่ในการทํานาเกลือของเกษตรกรผู้ผลิตเกลือทะเล รวมทั้งสิ้น 32,000 ไร่ โดยเกษตรกรสมาชิกของสหกรณ์การเกษตรเกลือทะเลไทยเพชรบุรี จํากัด มีพื้นที่ทํานาเกลือ จํานวน 16,286 ไร่ คิดเป็น ร้อยละ 45.24 ของพื้นที่ทํานาเกลือทั้งหมดของ จ.เพชรบุรี โดยเกษตรกรผู้ทํานาเกลือได้รวมกันจัดตั้งเป็นสหกรณ์การเกษตร ชาวนาเกลือบ้านแหลม จํากัด ซึ่งมีจุดเด่น คือ ขบวนการผลิตเกลือทะเลสหกรณ์จากการรวบรวมผลผลิตเกลือทะเลของสมาชิกผ่านชุมชนสหกรณ์ ฯ และนํามาแปรรูปเกลือทะเล มีจํานวนสมาชิกทั้งหมด 261 คน ในด้านผลผลิต สหกรณ์ได้กําหนดแผนรวบรวมผลผลิตจากสมาชิก โดยการทํา MOU กับสมาชิกสหกรณ์ฯ รวบรวมเกลือผ่านชุมนุมสหกรณ์เกลือทะเลไทย จํากัด ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – ธันวาคม 2561 ดังนี้ 1.เกลือขาว จํานวน 2,423 ตัน 2.เกลือกลาง จํานวน 62,579 ตัน 3.เกลือดํา จํานวน 3,432 ตัน รวมทั้งสิ้น 68,434 ตัน ปัจจุบันสหกรณ์รวบรวมเกลือจากสมาชิก จํานวน 614,310 กิโลกรัม และส่งผ่านชุมนุมฯ ไปแล้ว 469,950 กิโลกรัม ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้ดําเนินการช่วยเหลือสมาชิกของสถาบันเกษตรกรที่ทํานาเกลือ ของ จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี โดยจัดทําโครงการ “โครงการสร้างระบบการผลิตและการตลาดเกลือ ทะเลของสถาบันเกษตรกรด้วยวิธีการยกระดับราคาให้ยั่งยืน” กําหนดให้สหกรณ์/กลุ่ม เกษตรกรเป็นกลไกในการแก้ไขปัญหาร่วมกันในการผลิตเกลือคุณภาพมาตรฐานและรักษาระดับราคาเกลือให้กับสมาชิกในช่วงฤดูแล้งของทุกปีที่มีเกลือทะเลมากที่สุดประมาณ 3 – 4 เท่า ของช่วงปกติ โดยใช้เงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร วงเงิน 52.5 ล้านบาท เป็นเงิน ปลอดดอกเบี้ย กําหนดชําระคืนภายใน 5 ปี ระยะเวลาเริ่มโครงการ ตั้งแต่ปีการผลิต พ.ศ. 2559 ถึงปี พ.ศ.2563 อย่างไรก็ตาม ภายหลังที่ได้หารือร่วมกับสมาชิกสหกรณ์ฯ พบว่ายังมีปัญหาในการดําเนินงานหลายด้าน อาทิ 1. เรื่องต้นทุนการผลิตเกลือที่สูง ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมกันศึกษาหาแนวทางในการลดต้นทุนการผลิตเกลือให้ต่ําลง 2.ส่งเสริมคุณภาพเกลือ ภาครัฐต้องเร่งรัดให้มีการจัดทํามาตรฐานของสินค้าเกลือทะเล จําแนกเกลือให้มีหลายระดับ เพื่อยกระดับให้เป็นสินค้าส่งออกที่สําคัญ สามารถสร้างตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศได้อย่างถาวร และเป็นที่รู้จักและต้องการของตลาดโลก ซึ่งต้องมีการระดมความร่วมมือในเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง ผลักดันเกลือไทยเป็นที่รู้จักในสังคมโลก เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีอาชีพที่มั่นคง 3. การแปรรูปผลผลิตเกลือให้สามารถนําไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่น สนับสนุนการนําเกลือทะเลมาใช้ในการผลิตสารฝนหลวง เพื่อช่วยให้เกษตรกรได้มีช่องทางการตลาดเพิ่มขึ้น โดยยังคงคุณภาพและคุณสมบัติของเกลือทะเลที่ทําการผลิตสารฝนหลวงให้ได้มาตรฐาน พร้อมทั้งให้สํานักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ทําการศึกษาวิจัยการพัฒนาเกลือทะเล เพื่อนําไปใช้ประโยชน์อื่นๆ อย่างกว้างขวาง และ 4. ส่งเสริมยกระดับระบบสหกรณ์นาเกลือให้เกิดความเข้มแข็ง มีการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งจะต้องหาแนวทางส่งเสริมและพัฒนาต่อไป “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงวางรากฐานรักษาอาชีพทํานาเกลือไว้ให้คนไทยทรงพระราชทานพื้นที่ที่สําคัญในการทํานาเกลือจนเกิดประโยชน์ต่อคนไทยมาช้านาน ไม่ใช่เฉพาะทําให้คนไทยไม่เป็นโรคคอหอยพอกเท่านั้น แต่ยังนําเกลือไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ ได้อีก ดังนั้นเราจะรักษาอาชีพทํานาเกลือไว้อย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องช่วยกันทุกฝ่าย เชื่อว่าความร่วมมือและความรู้จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะสามารถสืบสานพระราชปณิธานของรัชกาลที่ 5 ให้คงอยู่กับคนไทยได้นานเท่านาน” นายวิวัฒน์ กล่าว กลุ่มโฆษกและวิเคราะห์ข่าว กองเกษตรสารนิเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร 02-2810859 แฟกซ์ 02-2822871 [email protected] www.moac.go.th www.facebook.com/kasetthai
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/10534
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด
วันพุธที่ 25 มีนาคม 2563 ข้อกําหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1)
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด วันพุธที่ 25 มีนาคม 2563 ข้อกําหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1)
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/27861
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ทส. เปิดงานสัปดาห์อนุรักษ์ทรัพยากรน้ำแห่งชาติและวันน้ำโลก ประจำปี 2560 "Waste Water : น้ำเสีย" ชูแนวคิดการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนตามรอย "ศาสตร์พระราชา"
วันพุธที่ 22 มีนาคม 2560 ทส. เปิดงานสัปดาห์อนุรักษ์ทรัพยากรน้ําแห่งชาติและวันน้ําโลก ประจําปี 2560 "Waste Water : น้ําเสีย" ชูแนวคิดการบริหารจัดการน้ําอย่างยั่งยืนตามรอย "ศาสตร์พระราชา" รัฐบาล โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ชวนคนไทยหันกลับมาใส่ใจ ร่วมกันอนุรักษ์ ดูแลรักษาทรัพยากรน้ําเพื่ออนาคต พร้อมทั้งช่วยกันลดปัญหาน้ําเสีย ตามแนวพระราชดําริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช วันนี้ (22 มีนาคม 2560) ณ ฮอลล์ 1 อิมแพ็ค เมืองทองธานี พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานสัปดาห์อนุรักษ์ทรัพยากรน้ําแห่งชาติและวันน้ําโลก ประจําปี 2560 ภายใต้หัวข้อ “Waste Water : น้ําเสีย” พร้อมทั้งมอบนโยบายการบริหารจัดการน้ําของประเทศ ดังนี้ 1. ให้น้อมนําแนวพระราชดําริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาบริหารจัดการน้ํา เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2. ให้ทุกภาคส่วนร่วมกันบริหารจัดการน้ํา เพื่อให้ประชาชนมีน้ําสะอาดในการอุปโภค บริโภค รวมทั้งน้ําเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม อย่างเพียงพอและเหมาะสม 3. การกําหนดแนวทางในการดําเนินงาน ต้องปราศจากวาระซ่อนเร้น วาระทางการเมือง และผลประโยชน์ส่วนตน 4. การบริหารจัดการน้ําเสีย ให้ดําเนินการตั้งแต่ต้นทางเพื่อลดปริมาณน้ําเสีย 5. รณรงค์ให้ภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชนและเยาวชน ตระหนักถึงความสําคัญของทรัพยากรน้ําและใช้น้ําอย่างรู้คุณค่า 6. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในเรื่องการเพาะปลูกพืชในพื้นที่อย่างเหมาะสม ตามหลักสภาพภูมิศาสตร์และภูมิอากาศ 7. ให้ดําเนินงานด้วยความสุจริต โปร่งใสและเป็นธรรม เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายให้บรรลุผลสําเร็จ สําหรับกิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย การบรรยายพิเศษ ในหลวงรัชกาลที่ 9 กับพระราชดํารัส “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา , การจัดแสดงนิทรรศการการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน อนึ่ง องค์การสหประชาชาติ ได้กําหนดให้วันที่ ๒๒ มีนาคมของทุกปีเป็นวันน้ําโลก (World Water Day) เพื่อให้ทุกประเทศตระหนักถึงความสําคัญของทรัพยากรน้ํา และกระตุ้นให้ประชาคมโลกร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรน้ําโดยช่วยกันดูแล บํารุงรักษา และการพัฒนาแหล่งน้ํา อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน สําหรับประเทศไทย ได้ให้ความสําคัญในเรื่องดังกล่าว โดยเมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๑ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้สัปดาห์ที่ตรงกับวันที่ ๒๒ มีนาคมของทุกปี เป็นสัปดาห์อนุรักษ์ทรัพยากรน้ําแห่งชาติ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ทส. เปิดงานสัปดาห์อนุรักษ์ทรัพยากรน้ำแห่งชาติและวันน้ำโลก ประจำปี 2560 "Waste Water : น้ำเสีย" ชูแนวคิดการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนตามรอย "ศาสตร์พระราชา" วันพุธที่ 22 มีนาคม 2560 ทส. เปิดงานสัปดาห์อนุรักษ์ทรัพยากรน้ําแห่งชาติและวันน้ําโลก ประจําปี 2560 "Waste Water : น้ําเสีย" ชูแนวคิดการบริหารจัดการน้ําอย่างยั่งยืนตามรอย "ศาสตร์พระราชา" รัฐบาล โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ชวนคนไทยหันกลับมาใส่ใจ ร่วมกันอนุรักษ์ ดูแลรักษาทรัพยากรน้ําเพื่ออนาคต พร้อมทั้งช่วยกันลดปัญหาน้ําเสีย ตามแนวพระราชดําริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช วันนี้ (22 มีนาคม 2560) ณ ฮอลล์ 1 อิมแพ็ค เมืองทองธานี พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานสัปดาห์อนุรักษ์ทรัพยากรน้ําแห่งชาติและวันน้ําโลก ประจําปี 2560 ภายใต้หัวข้อ “Waste Water : น้ําเสีย” พร้อมทั้งมอบนโยบายการบริหารจัดการน้ําของประเทศ ดังนี้ 1. ให้น้อมนําแนวพระราชดําริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาบริหารจัดการน้ํา เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2. ให้ทุกภาคส่วนร่วมกันบริหารจัดการน้ํา เพื่อให้ประชาชนมีน้ําสะอาดในการอุปโภค บริโภค รวมทั้งน้ําเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม อย่างเพียงพอและเหมาะสม 3. การกําหนดแนวทางในการดําเนินงาน ต้องปราศจากวาระซ่อนเร้น วาระทางการเมือง และผลประโยชน์ส่วนตน 4. การบริหารจัดการน้ําเสีย ให้ดําเนินการตั้งแต่ต้นทางเพื่อลดปริมาณน้ําเสีย 5. รณรงค์ให้ภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชนและเยาวชน ตระหนักถึงความสําคัญของทรัพยากรน้ําและใช้น้ําอย่างรู้คุณค่า 6. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในเรื่องการเพาะปลูกพืชในพื้นที่อย่างเหมาะสม ตามหลักสภาพภูมิศาสตร์และภูมิอากาศ 7. ให้ดําเนินงานด้วยความสุจริต โปร่งใสและเป็นธรรม เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายให้บรรลุผลสําเร็จ สําหรับกิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย การบรรยายพิเศษ ในหลวงรัชกาลที่ 9 กับพระราชดํารัส “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา , การจัดแสดงนิทรรศการการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน อนึ่ง องค์การสหประชาชาติ ได้กําหนดให้วันที่ ๒๒ มีนาคมของทุกปีเป็นวันน้ําโลก (World Water Day) เพื่อให้ทุกประเทศตระหนักถึงความสําคัญของทรัพยากรน้ํา และกระตุ้นให้ประชาคมโลกร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรน้ําโดยช่วยกันดูแล บํารุงรักษา และการพัฒนาแหล่งน้ํา อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน สําหรับประเทศไทย ได้ให้ความสําคัญในเรื่องดังกล่าว โดยเมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๑ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้สัปดาห์ที่ตรงกับวันที่ ๒๒ มีนาคมของทุกปี เป็นสัปดาห์อนุรักษ์ทรัพยากรน้ําแห่งชาติ
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/2581
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลแจงข้อเท็จจริงกรณีถางป่าทำที่จอด ฮ.รับนายกฯ ชี้ข้อมูลบิดเบือนทำให้ผู้อื่นเสียหาย
วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม 2561 รัฐบาลแจงข้อเท็จจริงกรณีถางป่าทําที่จอด ฮ.รับนายกฯ ชี้ข้อมูลบิดเบือนทําให้ผู้อื่นเสียหาย รัฐบาลแจงข้อเท็จจริงกรณีถางป่าทําที่จอด ฮ.รับนายกฯ ชี้ข้อมูลบิดเบือนทําให้ผู้อื่นเสียหาย วันที่ 7 ธันวาคม 2561 นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่มีผู้อ้างว่า ข้าราชการถางป่า 10 ไร่ เพื่อทําลานจอดเฮลิคอปเตอร์ให้นายกรัฐมนตรีขึ้นไปปลูกต้นไม้ บริเวณจุดสกัดโล่ใหญ่ อุทยานแห่งชาติตาดโตน จ.ชัยภูมิ และกีดกันไม่ให้ชาวบ้านเข้าไปร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ธ.ค.61 ว่า "เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง โดยกระทรวงมหาดไทยรายงานว่า บริเวณที่ปรับเป็นลานจอดเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 4 - 5 ไร่ เป็นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม สภาพเป็นภูเขาหัวโล้น มีเพียงหญ้าคาปกคลุม และไม่มีต้นไม้แต่อย่างใด โดยเมื่อปี 2557 พื้นที่แถบนี้อยู่ในเขตปฏิบัติการทวงคืนผืนป่า 13,000 ไร่ ซึ่งปัจจุบันปลูกป่าไปแล้ว 7,000 ไร่ ที่เหลืออยู่ระหว่างดําเนินการ" โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ยังกล่าวอีกว่า จ.ชัยภูมิไม่ได้ห้ามประชาชนเข้าไปยื่นหนังสือแก่นายกรัฐมนตรี รวมทั้งยังได้จัดตั้งศูนย์ดํารงธรรมส่วนหน้าเพื่อรับเรื่องร้องเรียนในวันดังกล่าวจํานวน 2 จุด คือ บริเวณอ่างเก็บน้ําลําสะพุง อ.หนองบัวแดง และอุทยานแห่งชาติตาดโตน อ.เมือง โดยมีจํานวนเรื่องร้องเรียนทั้งสิ้น 23 เรื่อง และ 16 เรื่องตามลําดับ "เมื่อข้อเท็จจริงเป็นเช่นนี้ จึงแสดงให้เห็นว่าผู้ที่กล่าวอ้างไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้อง ทําให้ข่าวดังกล่าวสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทําอย่างยิ่ง"
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลแจงข้อเท็จจริงกรณีถางป่าทำที่จอด ฮ.รับนายกฯ ชี้ข้อมูลบิดเบือนทำให้ผู้อื่นเสียหาย วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม 2561 รัฐบาลแจงข้อเท็จจริงกรณีถางป่าทําที่จอด ฮ.รับนายกฯ ชี้ข้อมูลบิดเบือนทําให้ผู้อื่นเสียหาย รัฐบาลแจงข้อเท็จจริงกรณีถางป่าทําที่จอด ฮ.รับนายกฯ ชี้ข้อมูลบิดเบือนทําให้ผู้อื่นเสียหาย วันที่ 7 ธันวาคม 2561 นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่มีผู้อ้างว่า ข้าราชการถางป่า 10 ไร่ เพื่อทําลานจอดเฮลิคอปเตอร์ให้นายกรัฐมนตรีขึ้นไปปลูกต้นไม้ บริเวณจุดสกัดโล่ใหญ่ อุทยานแห่งชาติตาดโตน จ.ชัยภูมิ และกีดกันไม่ให้ชาวบ้านเข้าไปร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ธ.ค.61 ว่า "เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง โดยกระทรวงมหาดไทยรายงานว่า บริเวณที่ปรับเป็นลานจอดเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 4 - 5 ไร่ เป็นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม สภาพเป็นภูเขาหัวโล้น มีเพียงหญ้าคาปกคลุม และไม่มีต้นไม้แต่อย่างใด โดยเมื่อปี 2557 พื้นที่แถบนี้อยู่ในเขตปฏิบัติการทวงคืนผืนป่า 13,000 ไร่ ซึ่งปัจจุบันปลูกป่าไปแล้ว 7,000 ไร่ ที่เหลืออยู่ระหว่างดําเนินการ" โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ยังกล่าวอีกว่า จ.ชัยภูมิไม่ได้ห้ามประชาชนเข้าไปยื่นหนังสือแก่นายกรัฐมนตรี รวมทั้งยังได้จัดตั้งศูนย์ดํารงธรรมส่วนหน้าเพื่อรับเรื่องร้องเรียนในวันดังกล่าวจํานวน 2 จุด คือ บริเวณอ่างเก็บน้ําลําสะพุง อ.หนองบัวแดง และอุทยานแห่งชาติตาดโตน อ.เมือง โดยมีจํานวนเรื่องร้องเรียนทั้งสิ้น 23 เรื่อง และ 16 เรื่องตามลําดับ "เมื่อข้อเท็จจริงเป็นเช่นนี้ จึงแสดงให้เห็นว่าผู้ที่กล่าวอ้างไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้อง ทําให้ข่าวดังกล่าวสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทําอย่างยิ่ง"
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/17363
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีปิด และมอบรางวัลให้กับนักกีฬาที่ชนะการแข่งขัน Air Race 1 World Cup Thailand 2017
วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2560 รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีปิด และมอบรางวัลให้กับนักกีฬาที่ชนะการแข่งขัน Air Race 1 World Cup Thailand 2017 รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีปิด และมอบรางวัลให้กับนักกีฬาที่ชนะการแข่งขัน Air Race 1 World Cup Thailand 2017 วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน 2560 เวลา 16.15 น. พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีปิด และมอบรางวัลให้กับนักกีฬาที่ชนะการแข่งขัน Air Race 1 World Cup Thailand 2017 ณ สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา โดยมี นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, พลเรือเอกโสภณ วัฒนมงคล ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพเรือ , Mr. Jeff Zaltman Ceo บริษัท Air Race และ นายสกล วรรณพงษ์ ผู้ว่าการ กกท. เข้าร่วม ท่ามกลางผู้เข้าชมล้นหลาม ทั้งนักท่องเที่ยว และแฟนคลับนับหมื่นคน โดยผลการแข่งขันมีดังนี้ ประเภท Sliver อันดับ 1 หมายเลข 8 Mr. Swaid Rahn (USA) อันดับ 2 หมายเลข 40 Mr. Chip Mupoles (USA) อันดับ 3 หมายเลข 9 Mr. Scott Holmes (Canada) ประเภท GOLD อันดับ 1 หมายเลข 99 Mr. Timothy Cone (USA) อันดับ 2 หมายเลข 69 Mr. Philip Goforth (USA) อันดับ หมายเลข 79 Mr. Justin Phillipson (USA) (แชมป์เก่าปีที่แล้ว)
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีปิด และมอบรางวัลให้กับนักกีฬาที่ชนะการแข่งขัน Air Race 1 World Cup Thailand 2017 วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2560 รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีปิด และมอบรางวัลให้กับนักกีฬาที่ชนะการแข่งขัน Air Race 1 World Cup Thailand 2017 รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีปิด และมอบรางวัลให้กับนักกีฬาที่ชนะการแข่งขัน Air Race 1 World Cup Thailand 2017 วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน 2560 เวลา 16.15 น. พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีปิด และมอบรางวัลให้กับนักกีฬาที่ชนะการแข่งขัน Air Race 1 World Cup Thailand 2017 ณ สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา โดยมี นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, พลเรือเอกโสภณ วัฒนมงคล ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพเรือ , Mr. Jeff Zaltman Ceo บริษัท Air Race และ นายสกล วรรณพงษ์ ผู้ว่าการ กกท. เข้าร่วม ท่ามกลางผู้เข้าชมล้นหลาม ทั้งนักท่องเที่ยว และแฟนคลับนับหมื่นคน โดยผลการแข่งขันมีดังนี้ ประเภท Sliver อันดับ 1 หมายเลข 8 Mr. Swaid Rahn (USA) อันดับ 2 หมายเลข 40 Mr. Chip Mupoles (USA) อันดับ 3 หมายเลข 9 Mr. Scott Holmes (Canada) ประเภท GOLD อันดับ 1 หมายเลข 99 Mr. Timothy Cone (USA) อันดับ 2 หมายเลข 69 Mr. Philip Goforth (USA) อันดับ หมายเลข 79 Mr. Justin Phillipson (USA) (แชมป์เก่าปีที่แล้ว)
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/8194
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“บิ๊กอู๋” เตรียมประชุม ILC ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิสต์ พร้อมยื่นสัตยาบันอนุสัญญาฯ ฉ.29 ว่าด้วยแรงงานบังคับ
วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน 2561 “บิ๊กอู๋” เตรียมประชุม ILC ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิสต์ พร้อมยื่นสัตยาบันอนุสัญญาฯ ฉ.29 ว่าด้วยแรงงานบังคับ “โฆษกแรงงาน” เผย รัฐมนตรีแรงงานและคณะ เตรียมเข้าร่วมประชุมองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILC) สมัยที่ 107 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส แสดงเจตนารมณ์ยื่นสัตยาบันพิธีสารเสริมอนุสัญญาฯ ฉบับที่ 29 ว่าด้วยแรงงานบังคับ ค.ศ. 1930 นางเพชรรัตน์ สินอวย รองปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน และคณะ มีกําหนดเดินทางไปประชุมองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILC) สมัยที่ 107 ระหว่างวันที่ 1 - 7 มิถุนายน 2561 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ตามที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกก่อตั้งองค์การฯ ตั้งแต่ พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) โดยในการประชุมในครั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีวาระเข้าพบ Mr. Guy Ryder ผู้อํานวยการใหญ่ ILO และจดทะเบียนยื่นสัตยาบันพิธีสารเสริมอนุสัญญาฯ ฉบับที่ 29 ว่าด้วยแรงงานบังคับ ค.ศ. 1930 พร้อมกล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมใหญ่ ในวันที่ 4 มิถุนายน 2561 ด้วย นางเพชรรัตน์ฯ กล่าวต่อว่า สาระสําคัญของการเข้าร่วมประชุมใหญ่ประจําปีองค์การแรงงานระหว่างประเทศ สมัยที่ 107 (107th Session of the International Labour conference: 107th Session of ILC) เป็นการยืนยันถึงเจตนารมณ์ความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) ในเรื่อง มาตรการในการช่วยเหลือและคุ้มครองผู้เสียหายจากการใช้แรงงานเกณฑ์ หรือแรงงานบังคับให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน การสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ประชาชนทั่วไป คนหางาน คนงาน นายจ้าง รวมถึงหน่วยงานผู้มีอํานาจที่เกี่ยวข้องในประเด็นว่าด้วยแรงงานบังคับ และส่งเสริมให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบ และส่งเสริมให้เกิดการเคารพสิทธิมนุษยชน อันนําไปสู่การหลีกเลี่ยงปัญหาและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ทั้งนี้ นอกจากการประชุมองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILC) สมัยที่ 107 ในครั้งนี้แล้ว พล.ต.อ.อดุลย์ฯ จะได้มีกําหนดเยี่ยมชมการปฏิบัติงานการให้บริการกงสุลสัญจร นอกเวลาราชการแก่คนไทยในสวิตเซอร์แลนด์ พบปะคนงานไทยในสวิตเซอร์แลนด์ พร้อมหารือข้อราชการกับ นายจักรี ศรีชวนะ เอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น ณ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น สมาพันธรัฐสวิส ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อความร่วมมือในมาตรการการช่วยเหลือและคุ้มครองผู้เสียหายจากการใช้แรงงานเกณฑ์ หรือแรงงานบังคับให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนอีกด้วย ---------------------------------------- กลุ่มงานโฆษกและการข่าว/ กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์/ ณัฏฐภัทร์ ชื่นเอี่ยม – ข่าว/ สํานักประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ - ข้อมูล/ 1 มิถุนายน2561
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“บิ๊กอู๋” เตรียมประชุม ILC ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิสต์ พร้อมยื่นสัตยาบันอนุสัญญาฯ ฉ.29 ว่าด้วยแรงงานบังคับ วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน 2561 “บิ๊กอู๋” เตรียมประชุม ILC ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิสต์ พร้อมยื่นสัตยาบันอนุสัญญาฯ ฉ.29 ว่าด้วยแรงงานบังคับ “โฆษกแรงงาน” เผย รัฐมนตรีแรงงานและคณะ เตรียมเข้าร่วมประชุมองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILC) สมัยที่ 107 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส แสดงเจตนารมณ์ยื่นสัตยาบันพิธีสารเสริมอนุสัญญาฯ ฉบับที่ 29 ว่าด้วยแรงงานบังคับ ค.ศ. 1930 นางเพชรรัตน์ สินอวย รองปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน และคณะ มีกําหนดเดินทางไปประชุมองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILC) สมัยที่ 107 ระหว่างวันที่ 1 - 7 มิถุนายน 2561 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ตามที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกก่อตั้งองค์การฯ ตั้งแต่ พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) โดยในการประชุมในครั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีวาระเข้าพบ Mr. Guy Ryder ผู้อํานวยการใหญ่ ILO และจดทะเบียนยื่นสัตยาบันพิธีสารเสริมอนุสัญญาฯ ฉบับที่ 29 ว่าด้วยแรงงานบังคับ ค.ศ. 1930 พร้อมกล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมใหญ่ ในวันที่ 4 มิถุนายน 2561 ด้วย นางเพชรรัตน์ฯ กล่าวต่อว่า สาระสําคัญของการเข้าร่วมประชุมใหญ่ประจําปีองค์การแรงงานระหว่างประเทศ สมัยที่ 107 (107th Session of the International Labour conference: 107th Session of ILC) เป็นการยืนยันถึงเจตนารมณ์ความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) ในเรื่อง มาตรการในการช่วยเหลือและคุ้มครองผู้เสียหายจากการใช้แรงงานเกณฑ์ หรือแรงงานบังคับให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน การสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ประชาชนทั่วไป คนหางาน คนงาน นายจ้าง รวมถึงหน่วยงานผู้มีอํานาจที่เกี่ยวข้องในประเด็นว่าด้วยแรงงานบังคับ และส่งเสริมให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบ และส่งเสริมให้เกิดการเคารพสิทธิมนุษยชน อันนําไปสู่การหลีกเลี่ยงปัญหาและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ทั้งนี้ นอกจากการประชุมองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILC) สมัยที่ 107 ในครั้งนี้แล้ว พล.ต.อ.อดุลย์ฯ จะได้มีกําหนดเยี่ยมชมการปฏิบัติงานการให้บริการกงสุลสัญจร นอกเวลาราชการแก่คนไทยในสวิตเซอร์แลนด์ พบปะคนงานไทยในสวิตเซอร์แลนด์ พร้อมหารือข้อราชการกับ นายจักรี ศรีชวนะ เอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น ณ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น สมาพันธรัฐสวิส ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อความร่วมมือในมาตรการการช่วยเหลือและคุ้มครองผู้เสียหายจากการใช้แรงงานเกณฑ์ หรือแรงงานบังคับให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนอีกด้วย ---------------------------------------- กลุ่มงานโฆษกและการข่าว/ กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์/ ณัฏฐภัทร์ ชื่นเอี่ยม – ข่าว/ สํานักประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ - ข้อมูล/ 1 มิถุนายน2561
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/12687
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน เข้าพบรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เพื่อแสดงความขอบคุณกระทรวงยุติธรรมที่ให้ความช่วยเหลืออำนวยความยุติธรรมในการต่อสู้คดีให
วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม 2561 กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน เข้าพบรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เพื่อแสดงความขอบคุณกระทรวงยุติธรรมที่ให้ความช่วยเหลืออํานวยความยุติธรรมในการต่อสู้คดีให กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน เข้าพบรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เพื่อแสดงความขอบคุณกระทรวงยุติธรรมที่ให้ความช่วยเหลืออํานวยความยุติธรรมในการต่อสู้คดีให้แก่ประชาชนในจังหวัดบุรีรัมย์ ในวันศุกร์ที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ บริเวณด้านหน้าห้องรับรองกระทรวงยุติธรรม ชั้น ๒ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน เข้าพบ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เพื่อแสดงความขอบคุณกระทรวงยุติธรรมที่ให้ความช่วยเหลืออํานวยความยุติธรรม ในการต่อสู้คดีให้แก่ประชาชนในจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งคดีดังกล่าว กระทรวงยุติธรรม โดยศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ดําเนินการช่วยเหลือในการต่อสู้คดี ให้กับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ ๕ อําเภอในจังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ ปะคํา หนองหงส์ หนองกี่ โนนสุวรรณ และนางรอง ที่ถูกบริษัทปุ๋ยอินทรีย์เอกชนแห่งหนึ่งฟ้องร้องที่ศาลจังหวัดนางรอง รวม ๘๘ คดี มีจําเลยรวม ๒๒๒ คน ในข้อหาผิดสัญญาซื้อขายปุ๋ยอินทรีย์ จนศาลจังหวัดนางรองมีคําพิพากษายกฟ้องในคดีดังกล่าว ทั้งนี้ ในส่วนของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ได้ลงพื้นที่สร้างการรับรู้ทางด้านกฎหมาย ในเรื่องของการกู้ยืม ค้ําประกัน จํานอง จํานํา ขายฝาก รวมทั้งการไกล่เกลี่ยหนี้ชั้นบังคับคดีด้วย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน เข้าพบรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เพื่อแสดงความขอบคุณกระทรวงยุติธรรมที่ให้ความช่วยเหลืออำนวยความยุติธรรมในการต่อสู้คดีให วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม 2561 กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน เข้าพบรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เพื่อแสดงความขอบคุณกระทรวงยุติธรรมที่ให้ความช่วยเหลืออํานวยความยุติธรรมในการต่อสู้คดีให กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน เข้าพบรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เพื่อแสดงความขอบคุณกระทรวงยุติธรรมที่ให้ความช่วยเหลืออํานวยความยุติธรรมในการต่อสู้คดีให้แก่ประชาชนในจังหวัดบุรีรัมย์ ในวันศุกร์ที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ บริเวณด้านหน้าห้องรับรองกระทรวงยุติธรรม ชั้น ๒ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน เข้าพบ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เพื่อแสดงความขอบคุณกระทรวงยุติธรรมที่ให้ความช่วยเหลืออํานวยความยุติธรรม ในการต่อสู้คดีให้แก่ประชาชนในจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งคดีดังกล่าว กระทรวงยุติธรรม โดยศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ดําเนินการช่วยเหลือในการต่อสู้คดี ให้กับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ ๕ อําเภอในจังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ ปะคํา หนองหงส์ หนองกี่ โนนสุวรรณ และนางรอง ที่ถูกบริษัทปุ๋ยอินทรีย์เอกชนแห่งหนึ่งฟ้องร้องที่ศาลจังหวัดนางรอง รวม ๘๘ คดี มีจําเลยรวม ๒๒๒ คน ในข้อหาผิดสัญญาซื้อขายปุ๋ยอินทรีย์ จนศาลจังหวัดนางรองมีคําพิพากษายกฟ้องในคดีดังกล่าว ทั้งนี้ ในส่วนของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ได้ลงพื้นที่สร้างการรับรู้ทางด้านกฎหมาย ในเรื่องของการกู้ยืม ค้ําประกัน จํานอง จํานํา ขายฝาก รวมทั้งการไกล่เกลี่ยหนี้ชั้นบังคับคดีด้วย
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/11010
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผลประชุมองค์กรหลัก 18 ก.ค.2560
วันพุธที่ 19 กรกฎาคม 2560 ผลประชุมองค์กรหลัก 18 ก.ค.2560 นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมองค์กรหลัก ครั้งที่ 27/2560 เมื่อวันอังคารที่ 18 กรกฎาคม 2560 ณ ห้องประชุมสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยมี พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมประชุมว่า ที่ประชุมได้รับทราบข้อสั่งการของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ในส่วนเกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการรวมทั้งประเด็นอื่น ๆ ที่สําคัญในการประชุมครั้งนี้ ● ให้ทุกหน่วยงานสร้างการรับรู้และความเข้าใจ เน้นประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีเสนอแนะให้ทุกกระทรวงพยายามสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจต่อสาธารณชนในเรื่องสําคัญ ๆ ในมุมมองใหม่ที่เน้นถึงประโยชน์ที่กลุ่มเป้าหมายจะได้รับ มากกว่าการจะไปบอกว่าเราทําอะไรเหมือนเช่นที่ผ่านมา ซึ่งที่ประชุมเห็นด้วยกับแนวคิดนี้ เพราะที่ผ่านมาเราอาจจะเน้นการสื่อสารแต่สิ่งที่ทํา แต่ไม่ได้เน้นถึงประโยชน์ที่กลุ่มเป้าหมายจะได้รับ จากการสอบถามพ่อแม่ผู้ปกครอง สิ่งที่สนใจคือเรียนแบบนี้แล้วลูกได้อะไร สอบต่อได้ไหม หรือชุมชนท้องถิ่นจะดีขึ้นได้อย่างไร โดยไม่ได้สนใจถึงยุทธศาสตร์การทํางานเลย ดังนั้น เพื่อให้งานของกระทรวงศึกษาธิการสามารถสื่อสารไปยังประชาชนและสาธารณชนไม่เป็นนามธรรมจนเกินไปจึงมอบให้ผู้บริหารกระทรวง ผู้บริหารองค์กรหลักและหน่วยงานในกํากับ ติดตามการดําเนินงาน รวมทั้งเตรียมข้อมูลเพื่อสื่อสารสร้างการรับรู้ต่อสังคมและสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นถึงประโยชน์และสิ่งที่“เด็ก/ครู/ผู้ปกครอง/ชุมชน จะได้อะไร”จากการดําเนินงานนโยบายสําคัญและส่งผลกระทบสูงต่อกลุ่มเป้าหมาย เช่น - การพัฒนาข้าราชการครูแนวใหม่ ที่เชื่อมโยงกับหลักเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะซึ่งขณะนี้มีครูสมัครลงทะเบียนเข้ารับการอบรมกับสถาบันคุรุพัฒนาแล้วมากกว่า 4 แสนคน และสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดสรรงบประมาณลงไปยังพื้นที่กว่า 448 ล้านบาท และจะทยอยโอนให้ครบทั้ง 1,000 ล้านบาทภายในเดือนสิงหาคมนี้ ส่วนงบประมาณเหลือจ่ายของ สพฐ. ในปีนี้ทั้งหมดจะคืนกลับให้ครูและจะไม่มีโครงการที่สั่งไปจากส่วนกลาง จึงขอให้ทุกหน่วยงานสื่อสารอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างการรับรู้และสร้างความเข้าใจว่าเรากําลังพยายามจัดระบบให้มีความลงตัว พร้อมจัดหลักสูตรที่มีความเหมาะสมรองรับกับความต้องการของครูให้ครอบคลุมมากที่สุด - ยุทธศาสตร์พัฒนากําลังคนสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (พ.ศ.2560-2564)ของสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์ดังกล่าวแล้ว เพื่อการผลิตและพัฒนากําลังคนอาชีวศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐานสากล มีทักษะด้านอุตสาหกรรม เทคโนโลยี การท่องเที่ยว และการแพทย์ ตลอดจนมีคุณธรรม จริยธรรม และปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและอุตสาหกรรมในอนาคต รองรับการพัฒนาเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา) หรือ Eastern Economic Corridor: EEC นอกจากนี้ รมว.ศึกษาธิการ มอบหมายให้สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จัดทํายุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนการผลิตกําลังคนในระดับอุดมศึกษาเช่นเดียวกัน และเสนอให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการผลิตกําลังคนในภาพรวมของการพัฒนาประเทศด้วย - การยกระดับการสื่อสารภาษาอังกฤษมอบ ม.ล.ปริยดา ดิศกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการสื่อสารกับประชาชนและสาธารณชนให้สามารถเข้าถึงแอพพลิเคชัน Echo English เพื่อพัฒนาตนเอง และให้ครูได้เข้าถึงการพัฒนาครูแกนนําด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (Boot Camp) ด้วย - การพัฒนาห้องปฏิบัติการสะเต็มศึกษามอบสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) สื่อสารความก้าวหน้าการดําเนินการพัฒนาห้องปฏิบัติการ (Lab) เพื่อส่งเสริมการสอนสะเต็มศึกษาในโรงเรียนต่าง ๆ ให้สาธารณชนรับรู้อย่างต่อเนื่อง - การแก้ไขปัญหาทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการมอบ พล.ท.โกศล ประทุมชาติ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดําเนินการสื่อสารความก้าวหน้าการดําเนินงาน โดยเน้นปัญหาที่ได้รับการแก้ไขหรือได้ข้อสรุปแล้ว เพื่อให้สังคมรับรู้ถึงความจริงจังในการดําเนินงาน ● จัดหลักสูตร “ท้องถิ่นศึกษา” ตามแนวทาง Zen Marketing นายกรัฐมนตรี ได้ยกตัวอย่างการตลาดแหล่งท่องเที่ยวของญี่ปุ่น (Zen Marketing) ซึ่งประสบความสําเร็จเป็นอย่างมาก โดยริเริ่มด้วยการตลาดภายใน (Internal Marketing) ในการสื่อสารเพื่อปลูกจิตสํานึกรักบ้านเกิดและความรู้ท้องถิ่นให้กับเด็กในพื้นที่ในหลักสูตรต่าง ๆ เช่น วิชานาราศึกษา วิชาโกเบศึกษา เป็นต้น ที่จะทําให้เด็กมีความเข้าใจผลิตภัณฑ์ คนดัง และชุมชนของตนเองก่อน เพื่อสื่อสารทําการตลาดภายนอก (External Marketing) ไปยังสู่ลูกค้าและบุคคลภายนอกต่อไป จึงมอบกระทรวงศึกษาธิการทบทวนฟื้นฟูความร่วมมือกับกระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา ในเรื่องของการท่องเที่ยว เพื่อขยายผลความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบ สพฐ. เตรียมจัดหลักสูตรท้องถิ่นศึกษาในพื้นที่ต่าง ๆ โดยขอให้บูรณาการการทํางานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการสื่อสารการตลาดภายในและสร้างจิตสํานึกรักท้องถิ่นผ่านเด็กนักเรียนเพิ่มมากขึ้น ให้เด็กได้รู้ที่มาที่ไปของพื้นที่ ได้เข้าไปสัมผัสและทัศนศึกษาในสถานที่สําคัญพบปะบุคคลสําคัญ ตลอดจนเข้าถึงเอกลักษณ์และผลิตภัณฑ์ดี ๆ ประจําท้องถิ่น ที่จะช่วยสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของให้กับเด็ก ชุมชนและท้องถิ่นไปในตัว ทําให้เกิดความรัก ความหวงแหนรักษา และพร้อมที่จะสื่อสารต่อไปยังบุคคลภายนอกด้วยความภาคภูมิใจ ทั้งนี้อาจเชื่อมโยงสู่การยกระดับภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้วย ● เร่งขับเคลื่อนการบูรณาการงานด้านการศึกษาในภูมิภาค นายกรัฐมนตรี ได้กําชับให้กระทรวงศึกษาธิการเร่งขับเคลื่อนการดําเนินงานด้านการศึกษาในภูมิภาค โดยเน้นการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานทั้งจังหวัดและให้ผู้รับผิดชอบลงพื้นที่กํากับติดตามการวางแผนการพัฒนาการศึกษาแบบบูรณาการโดยอาจใช้แนวทางของแผนพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดนหรือแผนบูรณาการการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้มีแผนยกระดับคุณภาพการศึกษาในระดับภาคและจังหวัด ให้มีระบบการผลิตกําลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ มีแนวทางการแก้ปัญหาการศึกษาในด้านต่าง ๆ พร้อมให้หน่วยงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน การอาชีวศึกษา และการอุดมศึกษา จัดสรรงบประมาณดําเนินการไปยังพื้นที่โดยด่วน ● โรงเรียนปลอดบุหรี่ เหล้า และสื่อลามกอนาจาร 100% จากการที่กระทรวงศึกษาธิการได้หารือร่วมกับ ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ถึงสถานการณ์ในการดําเนินงานให้โรงเรียนเป็นเขตปลอดบุหรี่ 100% ตามกฎหมายนั้น ในความเป็นจริงต้องยอมรับว่า ยังมีโรงเรียนบางส่วนที่ไม่ปลอดบุหรี่จริง ดังนั้น รมว.ศึกษาธิการ จึงมอบนโยบายไปยัง สพฐ. ดําเนินการให้โรงเรียนทุกแห่งปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ใน 3 เรื่อง คือการปลอดบุหรี่ การปลอดสุรา และการปลอดสื่อลามกอนาจาร ทั้งนี้ได้เปิดโอกาสให้นักเรียนได้รายงานตรงไปยังศึกษาธิการภาคและศึกษาธิการจังหวัด เมื่อพบเห็นว่ามีผู้ใดกระทําการดังกล่าว พร้อมกําหนดให้เป็นตัวชี้วัดของศึกษาธิการภาค-จังหวัด ในการดําเนินงานเพื่อให้โรงเรียนปลอดบุหรี่ สุรา และสื่อลามกทั้ง 100% ด้วย แต่หากผู้บริหารและครูยังไม่สามารถเลิกได้ ก็ขอให้กระทํานอกเขตโรงเรียน หรือหากต้องการเลิกอย่างจริงจัง ศธ.ยินดีประสานกับมูลนิธิเพื่อรับการบําบัดต่อไป นอกจากนี้ ยังขอให้โรงเรียนรณรงค์เพื่อลดการใช้โทรศัพท์มือถือและสมาร์ทโฟนในขณะเรียนหนังสือด้วยเนื่องจากนายกรัฐมนตรีเห็นว่า ปัจจุบันเด็กไม่มีสมาธิจากการเรียน เพราะใช้วิธีการถ่ายรูปแทนการฟังและจดในสิ่งที่ครูพูด หากเป็นไปได้ขอรณรงค์ให้มีการใช้โทรศัพท์สําหรับติดต่อกับผู้ปกครองในช่วงมารับและส่งเท่านั้น ● ปรามสถานศึกษาไม่ให้จัดรับน้องใหม่แบบพิสดาร นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการสภาการศึกษา ในฐานะโฆษกกระทรวงศึกษาธิการกล่าวในประเด็นนี้ว่า จากกรณีข่าวการรับน้องใหม่แบบพิสดารในสถาบันอุดมศึกษา ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อนักศึกษาและสถาบันที่ปรากฏเป็นข่าวทางสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ นั้น รมว.ศึกษาธิการ จึงได้มีนโยบายกําชับไปยังสถาบันอุดมศึกษาให้ลงโทษกับรุ่นพี่หรือผู้กระทําการดังกล่าวตามความเหมาะสมของความผิด และหากเป็นความผิดทางกฎหมาย เช่น การละเมิดสิทธิมนุษยชน ฯลฯ ก็สามารถแจ้งความเอาผิดได้โดยกระทรวงศึกษาธิการจะไม่ปกป้องแต่อย่างใด และสิ่งสําคัญคือมหาวิทยาลัยเองต้องรับผิดชอบ ทั้งอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้บริหาร ต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมมอบ สกอ. นําประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 10 พฤษภาคม 2555 เรื่อง การจัดกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ในสถาบันอุดมศึกษา มากํากับอย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ประเพณีรับน้องแบบเดิมเน้นในเรื่องของศิลปวัฒนธรรม การบายศรีสู่ขวัญ หรือจิตอาสาบําเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม แต่ระยะหลังต้องยอมรับว่า กิจกรรมส่วนใหญ่จัดเพื่อความสนุกสนาน และมักจะเลยเถิดพิสดารจนก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาอยู่เสมอ ดังนั้น การนํามาตรการตามประกาศมากํากับดูแล เพื่อต้องการที่จะป้องปรามไม่ให้จัดกิจกรรมรับน้องใหม่อย่างไม่สร้างสรรค์ และเพื่อเอาผิดกับนักศึกษารุ่นพี่หรือผู้เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง ไม่ให้เป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นต่อไป นวรัตน์ รามสูต, บัลลังก์ โรหิตเสถียร: สรุป/รายงาน กิตติกร แซ่หมู่ (กลุ่มสารนิเทศ สป.ศธ.): ถ่ายภาพ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผลประชุมองค์กรหลัก 18 ก.ค.2560 วันพุธที่ 19 กรกฎาคม 2560 ผลประชุมองค์กรหลัก 18 ก.ค.2560 นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมองค์กรหลัก ครั้งที่ 27/2560 เมื่อวันอังคารที่ 18 กรกฎาคม 2560 ณ ห้องประชุมสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยมี พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมประชุมว่า ที่ประชุมได้รับทราบข้อสั่งการของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ในส่วนเกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการรวมทั้งประเด็นอื่น ๆ ที่สําคัญในการประชุมครั้งนี้ ● ให้ทุกหน่วยงานสร้างการรับรู้และความเข้าใจ เน้นประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีเสนอแนะให้ทุกกระทรวงพยายามสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจต่อสาธารณชนในเรื่องสําคัญ ๆ ในมุมมองใหม่ที่เน้นถึงประโยชน์ที่กลุ่มเป้าหมายจะได้รับ มากกว่าการจะไปบอกว่าเราทําอะไรเหมือนเช่นที่ผ่านมา ซึ่งที่ประชุมเห็นด้วยกับแนวคิดนี้ เพราะที่ผ่านมาเราอาจจะเน้นการสื่อสารแต่สิ่งที่ทํา แต่ไม่ได้เน้นถึงประโยชน์ที่กลุ่มเป้าหมายจะได้รับ จากการสอบถามพ่อแม่ผู้ปกครอง สิ่งที่สนใจคือเรียนแบบนี้แล้วลูกได้อะไร สอบต่อได้ไหม หรือชุมชนท้องถิ่นจะดีขึ้นได้อย่างไร โดยไม่ได้สนใจถึงยุทธศาสตร์การทํางานเลย ดังนั้น เพื่อให้งานของกระทรวงศึกษาธิการสามารถสื่อสารไปยังประชาชนและสาธารณชนไม่เป็นนามธรรมจนเกินไปจึงมอบให้ผู้บริหารกระทรวง ผู้บริหารองค์กรหลักและหน่วยงานในกํากับ ติดตามการดําเนินงาน รวมทั้งเตรียมข้อมูลเพื่อสื่อสารสร้างการรับรู้ต่อสังคมและสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นถึงประโยชน์และสิ่งที่“เด็ก/ครู/ผู้ปกครอง/ชุมชน จะได้อะไร”จากการดําเนินงานนโยบายสําคัญและส่งผลกระทบสูงต่อกลุ่มเป้าหมาย เช่น - การพัฒนาข้าราชการครูแนวใหม่ ที่เชื่อมโยงกับหลักเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะซึ่งขณะนี้มีครูสมัครลงทะเบียนเข้ารับการอบรมกับสถาบันคุรุพัฒนาแล้วมากกว่า 4 แสนคน และสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดสรรงบประมาณลงไปยังพื้นที่กว่า 448 ล้านบาท และจะทยอยโอนให้ครบทั้ง 1,000 ล้านบาทภายในเดือนสิงหาคมนี้ ส่วนงบประมาณเหลือจ่ายของ สพฐ. ในปีนี้ทั้งหมดจะคืนกลับให้ครูและจะไม่มีโครงการที่สั่งไปจากส่วนกลาง จึงขอให้ทุกหน่วยงานสื่อสารอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างการรับรู้และสร้างความเข้าใจว่าเรากําลังพยายามจัดระบบให้มีความลงตัว พร้อมจัดหลักสูตรที่มีความเหมาะสมรองรับกับความต้องการของครูให้ครอบคลุมมากที่สุด - ยุทธศาสตร์พัฒนากําลังคนสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (พ.ศ.2560-2564)ของสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์ดังกล่าวแล้ว เพื่อการผลิตและพัฒนากําลังคนอาชีวศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐานสากล มีทักษะด้านอุตสาหกรรม เทคโนโลยี การท่องเที่ยว และการแพทย์ ตลอดจนมีคุณธรรม จริยธรรม และปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและอุตสาหกรรมในอนาคต รองรับการพัฒนาเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา) หรือ Eastern Economic Corridor: EEC นอกจากนี้ รมว.ศึกษาธิการ มอบหมายให้สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จัดทํายุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนการผลิตกําลังคนในระดับอุดมศึกษาเช่นเดียวกัน และเสนอให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการผลิตกําลังคนในภาพรวมของการพัฒนาประเทศด้วย - การยกระดับการสื่อสารภาษาอังกฤษมอบ ม.ล.ปริยดา ดิศกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการสื่อสารกับประชาชนและสาธารณชนให้สามารถเข้าถึงแอพพลิเคชัน Echo English เพื่อพัฒนาตนเอง และให้ครูได้เข้าถึงการพัฒนาครูแกนนําด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (Boot Camp) ด้วย - การพัฒนาห้องปฏิบัติการสะเต็มศึกษามอบสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) สื่อสารความก้าวหน้าการดําเนินการพัฒนาห้องปฏิบัติการ (Lab) เพื่อส่งเสริมการสอนสะเต็มศึกษาในโรงเรียนต่าง ๆ ให้สาธารณชนรับรู้อย่างต่อเนื่อง - การแก้ไขปัญหาทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการมอบ พล.ท.โกศล ประทุมชาติ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดําเนินการสื่อสารความก้าวหน้าการดําเนินงาน โดยเน้นปัญหาที่ได้รับการแก้ไขหรือได้ข้อสรุปแล้ว เพื่อให้สังคมรับรู้ถึงความจริงจังในการดําเนินงาน ● จัดหลักสูตร “ท้องถิ่นศึกษา” ตามแนวทาง Zen Marketing นายกรัฐมนตรี ได้ยกตัวอย่างการตลาดแหล่งท่องเที่ยวของญี่ปุ่น (Zen Marketing) ซึ่งประสบความสําเร็จเป็นอย่างมาก โดยริเริ่มด้วยการตลาดภายใน (Internal Marketing) ในการสื่อสารเพื่อปลูกจิตสํานึกรักบ้านเกิดและความรู้ท้องถิ่นให้กับเด็กในพื้นที่ในหลักสูตรต่าง ๆ เช่น วิชานาราศึกษา วิชาโกเบศึกษา เป็นต้น ที่จะทําให้เด็กมีความเข้าใจผลิตภัณฑ์ คนดัง และชุมชนของตนเองก่อน เพื่อสื่อสารทําการตลาดภายนอก (External Marketing) ไปยังสู่ลูกค้าและบุคคลภายนอกต่อไป จึงมอบกระทรวงศึกษาธิการทบทวนฟื้นฟูความร่วมมือกับกระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา ในเรื่องของการท่องเที่ยว เพื่อขยายผลความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบ สพฐ. เตรียมจัดหลักสูตรท้องถิ่นศึกษาในพื้นที่ต่าง ๆ โดยขอให้บูรณาการการทํางานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการสื่อสารการตลาดภายในและสร้างจิตสํานึกรักท้องถิ่นผ่านเด็กนักเรียนเพิ่มมากขึ้น ให้เด็กได้รู้ที่มาที่ไปของพื้นที่ ได้เข้าไปสัมผัสและทัศนศึกษาในสถานที่สําคัญพบปะบุคคลสําคัญ ตลอดจนเข้าถึงเอกลักษณ์และผลิตภัณฑ์ดี ๆ ประจําท้องถิ่น ที่จะช่วยสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของให้กับเด็ก ชุมชนและท้องถิ่นไปในตัว ทําให้เกิดความรัก ความหวงแหนรักษา และพร้อมที่จะสื่อสารต่อไปยังบุคคลภายนอกด้วยความภาคภูมิใจ ทั้งนี้อาจเชื่อมโยงสู่การยกระดับภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้วย ● เร่งขับเคลื่อนการบูรณาการงานด้านการศึกษาในภูมิภาค นายกรัฐมนตรี ได้กําชับให้กระทรวงศึกษาธิการเร่งขับเคลื่อนการดําเนินงานด้านการศึกษาในภูมิภาค โดยเน้นการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานทั้งจังหวัดและให้ผู้รับผิดชอบลงพื้นที่กํากับติดตามการวางแผนการพัฒนาการศึกษาแบบบูรณาการโดยอาจใช้แนวทางของแผนพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดนหรือแผนบูรณาการการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้มีแผนยกระดับคุณภาพการศึกษาในระดับภาคและจังหวัด ให้มีระบบการผลิตกําลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ มีแนวทางการแก้ปัญหาการศึกษาในด้านต่าง ๆ พร้อมให้หน่วยงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน การอาชีวศึกษา และการอุดมศึกษา จัดสรรงบประมาณดําเนินการไปยังพื้นที่โดยด่วน ● โรงเรียนปลอดบุหรี่ เหล้า และสื่อลามกอนาจาร 100% จากการที่กระทรวงศึกษาธิการได้หารือร่วมกับ ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ถึงสถานการณ์ในการดําเนินงานให้โรงเรียนเป็นเขตปลอดบุหรี่ 100% ตามกฎหมายนั้น ในความเป็นจริงต้องยอมรับว่า ยังมีโรงเรียนบางส่วนที่ไม่ปลอดบุหรี่จริง ดังนั้น รมว.ศึกษาธิการ จึงมอบนโยบายไปยัง สพฐ. ดําเนินการให้โรงเรียนทุกแห่งปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ใน 3 เรื่อง คือการปลอดบุหรี่ การปลอดสุรา และการปลอดสื่อลามกอนาจาร ทั้งนี้ได้เปิดโอกาสให้นักเรียนได้รายงานตรงไปยังศึกษาธิการภาคและศึกษาธิการจังหวัด เมื่อพบเห็นว่ามีผู้ใดกระทําการดังกล่าว พร้อมกําหนดให้เป็นตัวชี้วัดของศึกษาธิการภาค-จังหวัด ในการดําเนินงานเพื่อให้โรงเรียนปลอดบุหรี่ สุรา และสื่อลามกทั้ง 100% ด้วย แต่หากผู้บริหารและครูยังไม่สามารถเลิกได้ ก็ขอให้กระทํานอกเขตโรงเรียน หรือหากต้องการเลิกอย่างจริงจัง ศธ.ยินดีประสานกับมูลนิธิเพื่อรับการบําบัดต่อไป นอกจากนี้ ยังขอให้โรงเรียนรณรงค์เพื่อลดการใช้โทรศัพท์มือถือและสมาร์ทโฟนในขณะเรียนหนังสือด้วยเนื่องจากนายกรัฐมนตรีเห็นว่า ปัจจุบันเด็กไม่มีสมาธิจากการเรียน เพราะใช้วิธีการถ่ายรูปแทนการฟังและจดในสิ่งที่ครูพูด หากเป็นไปได้ขอรณรงค์ให้มีการใช้โทรศัพท์สําหรับติดต่อกับผู้ปกครองในช่วงมารับและส่งเท่านั้น ● ปรามสถานศึกษาไม่ให้จัดรับน้องใหม่แบบพิสดาร นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการสภาการศึกษา ในฐานะโฆษกกระทรวงศึกษาธิการกล่าวในประเด็นนี้ว่า จากกรณีข่าวการรับน้องใหม่แบบพิสดารในสถาบันอุดมศึกษา ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อนักศึกษาและสถาบันที่ปรากฏเป็นข่าวทางสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ นั้น รมว.ศึกษาธิการ จึงได้มีนโยบายกําชับไปยังสถาบันอุดมศึกษาให้ลงโทษกับรุ่นพี่หรือผู้กระทําการดังกล่าวตามความเหมาะสมของความผิด และหากเป็นความผิดทางกฎหมาย เช่น การละเมิดสิทธิมนุษยชน ฯลฯ ก็สามารถแจ้งความเอาผิดได้โดยกระทรวงศึกษาธิการจะไม่ปกป้องแต่อย่างใด และสิ่งสําคัญคือมหาวิทยาลัยเองต้องรับผิดชอบ ทั้งอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้บริหาร ต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมมอบ สกอ. นําประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 10 พฤษภาคม 2555 เรื่อง การจัดกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ในสถาบันอุดมศึกษา มากํากับอย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ประเพณีรับน้องแบบเดิมเน้นในเรื่องของศิลปวัฒนธรรม การบายศรีสู่ขวัญ หรือจิตอาสาบําเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม แต่ระยะหลังต้องยอมรับว่า กิจกรรมส่วนใหญ่จัดเพื่อความสนุกสนาน และมักจะเลยเถิดพิสดารจนก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาอยู่เสมอ ดังนั้น การนํามาตรการตามประกาศมากํากับดูแล เพื่อต้องการที่จะป้องปรามไม่ให้จัดกิจกรรมรับน้องใหม่อย่างไม่สร้างสรรค์ และเพื่อเอาผิดกับนักศึกษารุ่นพี่หรือผู้เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง ไม่ให้เป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นต่อไป นวรัตน์ รามสูต, บัลลังก์ โรหิตเสถียร: สรุป/รายงาน กิตติกร แซ่หมู่ (กลุ่มสารนิเทศ สป.ศธ.): ถ่ายภาพ
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/5317
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-Nan SandBox การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 Nan SandBox การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 ​ Your browser does not support the audio element. ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ชื่นชมการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน พื้นที่จังหวัดน่าน หรือ Nan SandBox ในรูปแบบประชารัฐ โดยจัดการที่ดินให้มีความสมดุล แบ่งเป็นพื้นที่ป่าสงวน ร้อยละ 72 พื้นที่ทํากินในเขตป่า ร้อยละ 18 และพื้นที่จัดสรรให้ปลูกพืชเศรษฐกิจ ร้อยละ 10 ทําให้สภาพป่าเริ่มฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น และเกิดประโยชน์กับประชาชนทั้งการประกอบอาชีพ ที่อยู่อาศัย ส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าไม้อย่างยั่งยืน ซึ่งแนวคิดดังกล่าวจะเป็นต้นแบบให้พื้นที่อื่น ๆ นําไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลสําเร็จต่อไป ร่วมเดินหน้าประเทศไทย กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-Nan SandBox การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 Nan SandBox การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 ​ Your browser does not support the audio element. ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ชื่นชมการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน พื้นที่จังหวัดน่าน หรือ Nan SandBox ในรูปแบบประชารัฐ โดยจัดการที่ดินให้มีความสมดุล แบ่งเป็นพื้นที่ป่าสงวน ร้อยละ 72 พื้นที่ทํากินในเขตป่า ร้อยละ 18 และพื้นที่จัดสรรให้ปลูกพืชเศรษฐกิจ ร้อยละ 10 ทําให้สภาพป่าเริ่มฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น และเกิดประโยชน์กับประชาชนทั้งการประกอบอาชีพ ที่อยู่อาศัย ส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าไม้อย่างยั่งยืน ซึ่งแนวคิดดังกล่าวจะเป็นต้นแบบให้พื้นที่อื่น ๆ นําไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลสําเร็จต่อไป ร่วมเดินหน้าประเทศไทย กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/26683
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ ปลื้มดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค พ.ย.60 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง สูงสุดในรอบ 33 เดือน
วันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม 2560 นายกฯ ปลื้มดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค พ.ย.60 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง สูงสุดในรอบ 33 เดือน นายกรัฐมนตรี ปลื้มดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพฤศจิกายน 2560 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง สูงสุดในรอบ 33 เดือน คาดได้อานิสงส์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ชี้ธนาคารโลกยกไทยกําลังก้าวสู่ความมั่งคั่ง วันนี้ (9 พ.ย.60) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยินดีที่ได้รับทราบรายงานดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ประจําเดือน พ.ย.60 สํารวจโดย ม.หอการค้าไทย ซึ่งระบุว่า ดัชนีปรับเพิ่มขึ้นทุกตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 78 จาก 76.7 เมื่อเดือน ต.ค. โดยถือว่าเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 33 เดือน “ดัชนีที่เพิ่มขึ้นทุกตัวได้รับอานิสงส์จากมาตรการช้อปช่วยชาติ ที่หมุนเศรษฐกิจให้คึกคัก โดยเฉพาะการจับจ่ายของชนชั้นกลาง และมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งคนฐานรากได้ประโยชน์ ประกอบกับการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยรวมถึงการส่งออกดีเกินคาด ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นดีขึ้นเป็นลําดับ” ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า รัฐบาลมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับผู้มีรายได้น้อย และกระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยในกลุ่มประชาชนทั่วไป ซึ่งจะส่งผลให้บรรยากาศการซื้อขายสินค้าและบริการในช่วงสิ้นปีถึงปีใหม่คึกคัก และเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเชื่อว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างชัดเจนในไตรมาสที่ 2 ของปีหน้า อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังคงห่วงใยและพยายามแก้ไขปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตร และสถานการณ์น้ําท่วมที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ให้ดีขึ้นโดยเร็ว นอกจากนี้ เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่รายงานแนวโน้มการเติบโตแบบมีส่วนร่วมของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกในระยะยาวของธนาคารโลกได้ระบุว่า ประเทศไทยได้เริ่มหลุดพ้นจากความยากจน และกําลังก้าวสู่ความมั่งคั่ง พร้อมกับเสนอ 3 แนวทางที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ําในสังคม คือ 1.ให้โอกาสด้านเศรษฐกิจกับผู้มีรายได้น้อย 2. มีระบบการดูแลด้านสังคม สาธารณสุข ประกันสังคม และการส่งเสริมการออม 3.การใช้มาตรการทางการเงินการคลัง เช่น มาตรการภาษี ช่วยลดปัญหาความไม่เสมอภาค ซึ่งทั้งหมดนี้สอดคล้องกับแนวทางที่รัฐบาลได้ดําเนินการในปัจจุบัน และแผนที่วางไว้ในอนาคตด้วย ----------------- สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ ปลื้มดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค พ.ย.60 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง สูงสุดในรอบ 33 เดือน วันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม 2560 นายกฯ ปลื้มดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค พ.ย.60 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง สูงสุดในรอบ 33 เดือน นายกรัฐมนตรี ปลื้มดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพฤศจิกายน 2560 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง สูงสุดในรอบ 33 เดือน คาดได้อานิสงส์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ชี้ธนาคารโลกยกไทยกําลังก้าวสู่ความมั่งคั่ง วันนี้ (9 พ.ย.60) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยินดีที่ได้รับทราบรายงานดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ประจําเดือน พ.ย.60 สํารวจโดย ม.หอการค้าไทย ซึ่งระบุว่า ดัชนีปรับเพิ่มขึ้นทุกตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 78 จาก 76.7 เมื่อเดือน ต.ค. โดยถือว่าเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 33 เดือน “ดัชนีที่เพิ่มขึ้นทุกตัวได้รับอานิสงส์จากมาตรการช้อปช่วยชาติ ที่หมุนเศรษฐกิจให้คึกคัก โดยเฉพาะการจับจ่ายของชนชั้นกลาง และมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งคนฐานรากได้ประโยชน์ ประกอบกับการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยรวมถึงการส่งออกดีเกินคาด ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นดีขึ้นเป็นลําดับ” ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า รัฐบาลมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับผู้มีรายได้น้อย และกระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยในกลุ่มประชาชนทั่วไป ซึ่งจะส่งผลให้บรรยากาศการซื้อขายสินค้าและบริการในช่วงสิ้นปีถึงปีใหม่คึกคัก และเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเชื่อว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างชัดเจนในไตรมาสที่ 2 ของปีหน้า อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังคงห่วงใยและพยายามแก้ไขปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตร และสถานการณ์น้ําท่วมที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ให้ดีขึ้นโดยเร็ว นอกจากนี้ เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่รายงานแนวโน้มการเติบโตแบบมีส่วนร่วมของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกในระยะยาวของธนาคารโลกได้ระบุว่า ประเทศไทยได้เริ่มหลุดพ้นจากความยากจน และกําลังก้าวสู่ความมั่งคั่ง พร้อมกับเสนอ 3 แนวทางที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ําในสังคม คือ 1.ให้โอกาสด้านเศรษฐกิจกับผู้มีรายได้น้อย 2. มีระบบการดูแลด้านสังคม สาธารณสุข ประกันสังคม และการส่งเสริมการออม 3.การใช้มาตรการทางการเงินการคลัง เช่น มาตรการภาษี ช่วยลดปัญหาความไม่เสมอภาค ซึ่งทั้งหมดนี้สอดคล้องกับแนวทางที่รัฐบาลได้ดําเนินการในปัจจุบัน และแผนที่วางไว้ในอนาคตด้วย ----------------- สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/8658
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.แรงงาน นัดถกพนักงานตรวจแรงงานอาเซียน ยกระดับการตรวจแรงงานภาคประมง
วันอังคารที่ 10 ธันวาคม 2562 ก.แรงงาน นัดถกพนักงานตรวจแรงงานอาเซียน ยกระดับการตรวจแรงงานภาคประมง กระทรวงแรงงาน จัดประชุมวิชาการว่าด้วยการตรวจแรงงานอาเซียนครั้งที่ 8 ระดมความคิดเห็นเจ้าหน้าที่ตรวจแรงงานจากประเทศสมาชิกอาเซียน ยกระดับความร่วมมือการตรวจแรงงานภาคประมง 18 ถึง 19 ธันวาคมนี้ โดยมีรมว.แรงงานเป็นประธาน ณ โรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค กรุงเทพฯ นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กําหนดจัดการประชุมวิชาการว่าด้วยการตรวจ แรงงานอาเซียนครั้งที่ 8 (The 8th ASEAN Labour Inspection Conference) ขึ้น ภายใต้หัวข้อ “การสร้างงานที่มีคุณค่าในภาคประมงผ่านการตรวจแรงงานในอาเซียน" การประชุมดังกล่าวจะเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ นวัตกรรม และประสบการณ์ที่เกี่ยวกับการตรวจแรงงานในภาคประมงระหว่างผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมตรวจแรงงานระหว่างประเทศ ประเทศโปรตุเกส ผู้แทนองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ผู้แทนประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งจากภาครัฐ นายจ้าง และลูกจ้าง เพื่อร่วมกันกําหนดแนวทางในการพัฒนาการตรวจแรงงานในภาคประมงและแนวปฏิบัติในห่วงโซ่อุปทานให้มีประสิทธิภาพ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมทั้งจะได้ร่วมกันกําหนดแนวทางในการประสานความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ตรวจแรงงานและภาคประชาสังคมในภูมิภาคเพื่อให้แรงงานในภาคประมงได้รับการคุ้มครองอย่างเป็นธรรมและได้ทํางานที่มีคุณค่า โดยที่ประชุมจะนําสาระสําคัญที่ได้จากการแลกเปลี่ยนมาดําเนินการจัดทําข้อเสนอแนะเพื่อการสร้างงานที่มีคุณค่าในภาคประมงผ่านการตรวจแรงงานในอาเซียนเพื่อเสนอที่ประชุมคณะทํางานเจ้าหน้าที่อาวุโสแรงงานอาเซียนพิจารณาประกอบการจัดทําแผนงานที่เกี่ยวข้องต่อไป นายอภิญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า การประชุมวิชาการว่าด้วยการตรวจแรงงานอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีการประชุมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและเครือข่ายด้านแรงงานของอาเซียน ในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และแนวปฏิบัติที่ดี เกี่ยวกับการจัดทําและพัฒนาระบบการตรวจแรงงานของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อให้มีการดําเนินการเป็นไปในทิศทางเดียวกันและสอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานสากล รวมทั้งพัฒนาศักยภาพเครือข่ายเจ้าหน้าที่ตรวจแรงงานในภูมิภาคอาเซียน การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นเป็นประจําทุกปี ภายใต้แผนงานคณะทํางานเจ้าหน้าที่อาวุโสแรงงานอาเซียน (ASEAN Senior Labour Official Meeting Working Group: SLOM-WG พ.ศ. 2559– 2563) โดยประเทศสมาชิกอาเซียนหมุนเวียนผลัดกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมตามความสมัครใจ สําหรับการประชุมวิชาการว่าด้วยการตรวจแรงงานอาเซียนครั้งที่ 8 ในวาระที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียนในปี 2562 ได้กําหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-19 ธันวาคม 2562 โดยมี หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็นประธานในพิธีเปิดและกล่าวต้อนรับผู้ข้าร่วมประชุม ณ โรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค กรุงเทพฯ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.แรงงาน นัดถกพนักงานตรวจแรงงานอาเซียน ยกระดับการตรวจแรงงานภาคประมง วันอังคารที่ 10 ธันวาคม 2562 ก.แรงงาน นัดถกพนักงานตรวจแรงงานอาเซียน ยกระดับการตรวจแรงงานภาคประมง กระทรวงแรงงาน จัดประชุมวิชาการว่าด้วยการตรวจแรงงานอาเซียนครั้งที่ 8 ระดมความคิดเห็นเจ้าหน้าที่ตรวจแรงงานจากประเทศสมาชิกอาเซียน ยกระดับความร่วมมือการตรวจแรงงานภาคประมง 18 ถึง 19 ธันวาคมนี้ โดยมีรมว.แรงงานเป็นประธาน ณ โรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค กรุงเทพฯ นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กําหนดจัดการประชุมวิชาการว่าด้วยการตรวจ แรงงานอาเซียนครั้งที่ 8 (The 8th ASEAN Labour Inspection Conference) ขึ้น ภายใต้หัวข้อ “การสร้างงานที่มีคุณค่าในภาคประมงผ่านการตรวจแรงงานในอาเซียน" การประชุมดังกล่าวจะเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ นวัตกรรม และประสบการณ์ที่เกี่ยวกับการตรวจแรงงานในภาคประมงระหว่างผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมตรวจแรงงานระหว่างประเทศ ประเทศโปรตุเกส ผู้แทนองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ผู้แทนประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งจากภาครัฐ นายจ้าง และลูกจ้าง เพื่อร่วมกันกําหนดแนวทางในการพัฒนาการตรวจแรงงานในภาคประมงและแนวปฏิบัติในห่วงโซ่อุปทานให้มีประสิทธิภาพ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมทั้งจะได้ร่วมกันกําหนดแนวทางในการประสานความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ตรวจแรงงานและภาคประชาสังคมในภูมิภาคเพื่อให้แรงงานในภาคประมงได้รับการคุ้มครองอย่างเป็นธรรมและได้ทํางานที่มีคุณค่า โดยที่ประชุมจะนําสาระสําคัญที่ได้จากการแลกเปลี่ยนมาดําเนินการจัดทําข้อเสนอแนะเพื่อการสร้างงานที่มีคุณค่าในภาคประมงผ่านการตรวจแรงงานในอาเซียนเพื่อเสนอที่ประชุมคณะทํางานเจ้าหน้าที่อาวุโสแรงงานอาเซียนพิจารณาประกอบการจัดทําแผนงานที่เกี่ยวข้องต่อไป นายอภิญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า การประชุมวิชาการว่าด้วยการตรวจแรงงานอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีการประชุมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและเครือข่ายด้านแรงงานของอาเซียน ในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และแนวปฏิบัติที่ดี เกี่ยวกับการจัดทําและพัฒนาระบบการตรวจแรงงานของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อให้มีการดําเนินการเป็นไปในทิศทางเดียวกันและสอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานสากล รวมทั้งพัฒนาศักยภาพเครือข่ายเจ้าหน้าที่ตรวจแรงงานในภูมิภาคอาเซียน การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นเป็นประจําทุกปี ภายใต้แผนงานคณะทํางานเจ้าหน้าที่อาวุโสแรงงานอาเซียน (ASEAN Senior Labour Official Meeting Working Group: SLOM-WG พ.ศ. 2559– 2563) โดยประเทศสมาชิกอาเซียนหมุนเวียนผลัดกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมตามความสมัครใจ สําหรับการประชุมวิชาการว่าด้วยการตรวจแรงงานอาเซียนครั้งที่ 8 ในวาระที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียนในปี 2562 ได้กําหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-19 ธันวาคม 2562 โดยมี หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็นประธานในพิธีเปิดและกล่าวต้อนรับผู้ข้าร่วมประชุม ณ โรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค กรุงเทพฯ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/25129
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล- เด็กแรกเกิดสามารถใส่หน้ากากอนามัย เพื่อออกไปยังพื้นที่สาธารณะได้หรือไม่ ??
วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม 2563 เด็กแรกเกิดสามารถใส่หน้ากากอนามัย เพื่อออกไปยังพื้นที่สาธารณะได้หรือไม่ ?? เด็กแรกเกิดสามารถใส่หน้ากากอนามัย เพื่อออกไปยังพื้นที่สาธารณะได้หรือไม่ ?? Q : เด็กแรกเกิดสามารถใส่หน้ากากอนามัย เพื่อออกไปยังพื้นที่สาธารณะได้หรือไม่ ?? A : สามารถใส่ได้ แต่ทั้งนี้หน้ากากอนามัยอาจทําให้เด็กแรกเกิดรู้สึกอึดอัด ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยง ควรจํากัดไม่ให้เด็กแรกเกิดมีการสัมผัส ติดต่อกับฝูงชนให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล- เด็กแรกเกิดสามารถใส่หน้ากากอนามัย เพื่อออกไปยังพื้นที่สาธารณะได้หรือไม่ ?? วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม 2563 เด็กแรกเกิดสามารถใส่หน้ากากอนามัย เพื่อออกไปยังพื้นที่สาธารณะได้หรือไม่ ?? เด็กแรกเกิดสามารถใส่หน้ากากอนามัย เพื่อออกไปยังพื้นที่สาธารณะได้หรือไม่ ?? Q : เด็กแรกเกิดสามารถใส่หน้ากากอนามัย เพื่อออกไปยังพื้นที่สาธารณะได้หรือไม่ ?? A : สามารถใส่ได้ แต่ทั้งนี้หน้ากากอนามัยอาจทําให้เด็กแรกเกิดรู้สึกอึดอัด ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยง ควรจํากัดไม่ให้เด็กแรกเกิดมีการสัมผัส ติดต่อกับฝูงชนให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34043
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ฐานะการคลังของรัฐบาลในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2560
วันพุธที่ 30 สิงหาคม 2560 ฐานะการคลังของรัฐบาลในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2560 รัฐบาลมีรายได้นําส่งคลังทั้งสิ้นจํานวน 1,904,053 ล้านบาท ในขณะที่มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้นจํานวน 2,514,229 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจํานวน 451,681 ล้านบาท นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผูอํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงข่าวฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2560 (เดือนตุลาคม 2559 - เดือนกรกฎาคม 2560) ว่ารัฐบาลมีรายไดนําสงคลังทั้งสิ้นจํานวน 1,904,053 ล้านบาท ในขณะที่มีการเบิกจายเงินงบประมาณทั้งสิ้นจํานวน 2,514,229 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลไดกูเงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจํานวน 451,681 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2560 มีจํานวนทั้งสิ้น 258,419 ลานบาท นายกฤษฎาฯ สรุปวา “การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา ได้ส่งผลดีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจช่วงครึ่งแรกของปี 2560 ที่ขยายตัวได้ถึงร้อยละ 3.5 ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณในช่วงที่เหลือ เพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้” ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2560 หน่วย: ล้านบาท 10 เดือน เปรียบเทียบ ปีงบประมาณ 2560 ปีงบประมาณ 2559 จํานวน ร้อยละ 1. รายได้ 1,904,053 1,964,267 (60,214) (3.1) 2. รายจ่าย 2,514,229 2,432,848 81,381 3.3 3. ดุลเงินงบประมาณ (610,176) (468,581) (141,595) (30.2) 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ (24,386) (96,192) 71,806 74.6 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) (634,562) (564,773) (69,789) (12.4) 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 451,681 386,207 65,474 17.0 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) (182,881) (178,566) (4,315) (2.4) 8. เงินคงคลังปลายงวด 258,419 247,616 10,803 4.4 ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง รายละเอียดเพิ่มเติม ดูไดจาก www.fpo.go.th สํานักนโยบายการคลัง สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร 0 2273 9020 ตอ 3538 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดประจําเดือนกรกฎาคม 2560 และในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2560 (เดือนตุลาคม 2559 – เดือนกรกฎาคม 2560) 1. ฐานะการคลังเดือนกรกฎาคม 2560 1.1 รัฐบาลมีรายไดนําสงคลัง จํานวน 162,014 ลานบาท เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ โดยรายได้นําส่งคลังสูงกว่าเดือนเดียวกันปที่แลว 6,396 ลานบาท เนื่องจากมีการนําส่งรายได้จากการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลงวดที่ 4 บางส่วน 1.2 รัฐบาลมีการเบิกจายเงินงบประมาณทั้งสิ้น จํานวน 256,760 ลานบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปที่แลวจํานวน 72,563 ลานบาท (คิดเปนรอยละ 39.4) โดยเป็นรายจ่ายปีปัจจุบันจํานวน 251,721 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 42.9 ประกอบดวยรายจายประจําจํานวน 227,022 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปที่แลวรอยละ 47.5 และรายจายลงทุน 24,699 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกัน ปีที่แล้วร้อยละ 11.2 และการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณปกอนจํานวน 5,039 ลานบาท ต่ํากวาเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 37.4 (ตารางที่ 1) การเบิกจายเงินงบประมาณที่สําคัญในเดือนนี้ ไดแก เงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจํานวน 29,602 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการจํานวน 13,142 ล้านบาท และรายจ่ายชําระหนี้ของกระทรวงการคลังจํานวน 11,920 ล้านบาท ตารางที่ 1 การเบิกจายเงินงบประมาณเดือนกรกฎาคม 2560 หนวย: ลานบาท เดือนกรกฎาคม เปรียบเทียบ 2560 2559 จํานวน ร้อยละ 1. รายจายปปจจุบัน 251,721 176,145 75,576 42.9 1.1 รายจายประจํา 227,022 153,931 73,091 47.5 1.2 รายจายลงทุน 24,699 22,214 2,485 11.2 2. รายจายจากงบประมาณปกอน 5,039 8,052 (3,013) (37.4) 3. รายจายรวม (1+2) 256,760 184,197 72,563 39.4 ที่มา: กรมบัญชีกลาง 1.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด จากรายไดนําสงคลังและการเบิกจายเงินงบประมาณของรัฐบาลขางตน สงผลให้ดุลเงินงบประมาณในเดือนกรกฎาคม 2560 ขาดดุลจํานวน 94,746 ลานบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจํานวน 45,869 ลานบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจาก รายรับจากการชดใช้เงินคงคลัง จํานวน 27,078 ล้านบาท และการประมูลตั๋วเงินคลังสุทธิ จํานวน 20,000 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดก่อนกู้ชดเชยการขาดดุลจํานวน 48,877 ล้านบาท โดยรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจํานวน 22,000 ล้านบาท ทําให้ดุลเงินสด (หลังกูชดเชยการขาดดุล) ขาดดุลเทากับจํานวน 26,877 ล้านบาท (ตารางที่ 2) ตารางที่ 2 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดเดือนกรกฎาคม 2560 หน่วย: ล้านบาท เดือนกรกฎาคม เปรียบเทียบ 2560 2559 จํานวน ร้อยละ 1. รายได้ 162,014 155,618 6,396 4.1 2. รายจ่าย 256,760 184,197 72,563 39.4 3. ดุลเงินงบประมาณ (94,746) (28,579) (66,167) (231.5) 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ 45,869 29,720 16,149 54.3 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (๓+๔) (48,877) 1,141 (50,018) (4,383.7) 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 22,000 11,027 10,973 99.5 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (๕+๖) (26,877) 12,168 (39,045) (320.9) 8. เงินคงคลังปลายงวด 258,419 247,616 10,803 4.4 ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง 2. ฐานะการคลังในช่วง 10 เดือนแรกของปงบประมาณ 2560 (เดือนตุลาคม 2559 - เดือนกรกฎาคม 2560) 2.1 รายไดนําสงคลัง รัฐบาลมีรายไดนําสงคลังทั้งสิ้นจํานวน 1,904,053 ลานบาท เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ โดยรายได้นําส่งคลังต่ํากวาชวงเดียวกันปที่แลวจํานวน 60,214 ลานบาท (คิดเปนรอยละ 3.1) เนื่องจากปีที่แล้วมีการนําส่งรายได้จากการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 และ 1800 MHz (4G) จํานวน 56,273 ล้านบาท การชําระภาษีการพนันในส่วนของสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว และ 2 ตัว ของสํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลจํานวน 11,982 ล้านบาท และการนําส่งเงินสภาพคล่องส่วนเกินของกองทุนหมุนเวียนจํานวน 10,634 ล้านบาท ทั้งนี้ หากไม่รวมรายได้พิเศษดังกล่าว รายได้นําส่งคลังปีนี้ จะสูงกว่าปีก่อนจํานวน 18,675 ล้านบาท 2.2 รายจายรัฐบาล การเบิกจายเงินงบประมาณของรัฐบาลมีจํานวนทั้งสิ้นจํานวน 2,514,229 ล้านบาท สูงกว่าชวงเดียวกันปที่แลวจํานวน 81,381 ลานบาท (คิดเปนรอยละ 3.3) ประกอบดวย รายจายปีปัจจุบันจํานวน 2,329,256 ลานบาท คิดเปนร้อยละ 79.7 ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย (2,923,000 ล้านบาท) สูงกว่าชวงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 4.6 และรายจายจากงบประมาณปีก่อนจํานวน 184,973 ลานบาท ต่ํากว่าชวงเดียวกันปที่แล้วร้อยละ 10.2 (ตารางที่ 3) รายจายปปจจุบันจํานวน 2,329,256 ลานบาท ประกอบดวยรายจายประจําจํานวน 2,030,032 ลานบาท (คิดเป็นร้อยละ 86.7 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจําหลังโอนเปลี่ยนแปลงจํานวน 2,340,449 ล้านบาท) สูงกวาชวงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 4.6 และรายจายลงทุนจํานวน 299,224 ลานบาท (คิดเป็นร้อยละ 51.4 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนหลังโอนเปลี่ยนแปลงจํานวน 582,551 ล้านบาท) สูงกว่าช่วงเดียวกันปที่แลวรอยละ 4.3 ตารางที่ 3 การเบิกจายเงินงบประมาณในช่วง 10 เดือนแรกของปงบประมาณ 2560 (เดือนตุลาคม 2559 - เดือนกรกฎาคม 2560) หน่วย: ล้านบาท 10 เดือน เปรียบเทียบ ปีงบประมาณ 2560 ปีงบประมาณ 2559 จํานวน ร้อยละ 1. รายจ่ายปปจจุบัน 2,329,256 2,226,770 102,486 4.6 1.1 รายจ่ายประจํา 2,030,032 1,939,841 90,191 4.6 1.2 รายจ่ายลงทุน 299,224 286,929 12,295 4.3 2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 184,973 206,078 (21,105) (10.2) 3. รายจ่ายรวม (1+2) 2,514,229 2,432,848 81,381 3.3 ที่มา: กรมบัญชีกลาง 2.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ขาดดุลจํานวน 634,562 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณจํานวน 610,176 ล้านบาท ในขณะที่เงินนอกงบประมาณขาดดุลจํานวน 24,386 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการไถ่ถอนตั๋วเงินคลังสุทธิ จํานวน 40,000 ล้านบาท และรายรับ จากการชดใช้เงินคงคลังจํานวน 27,078 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลไดบริหารเงินสดใหสอดคล้องกับความต้องการใชเงินโดยการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจํานวน 451,681 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังการกูเพื่อชดเชยการขาดดุล) ขาดดุลเทากับจํานวน 182,881 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2560 มีจํานวนทั้งสิ้น 258,419 ล้านบาท (ตารางที่ 4) ตารางที่ 4 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2560 (เดือนตุลาคม 2559 - เดือนกรกฎาคม 2560) หน่วย: ล้านบาท 10 เดือน เปรียบเทียบ ปีงบประมาณ 2560 ปีงบประมาณ 2559 จํานวน ร้อยละ 1. รายได้ 1,904,053 1,964,267 (60,214) (3.1) 2. รายจ่าย 2,514,229 2,432,848 81,381 3.3 3. ดุลเงินงบประมาณ (610,176) (468,581) (141,595) (30.2) 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ (24,386) (96,192) 71,806 74.6 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) (634,562) (564,773) (69,789) (12.4) 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 451,681 386,207 65,474 17.0 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) (182,881) (178,566) (4,315) (2.4) 8. เงินคงคลังปลายงวด 258,419 247,616 10,803 4.4 ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง สํานักนโยบายการคลัง สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร 0 2273 9020 ตอ 3563
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ฐานะการคลังของรัฐบาลในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2560 วันพุธที่ 30 สิงหาคม 2560 ฐานะการคลังของรัฐบาลในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2560 รัฐบาลมีรายได้นําส่งคลังทั้งสิ้นจํานวน 1,904,053 ล้านบาท ในขณะที่มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้นจํานวน 2,514,229 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจํานวน 451,681 ล้านบาท นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผูอํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงข่าวฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2560 (เดือนตุลาคม 2559 - เดือนกรกฎาคม 2560) ว่ารัฐบาลมีรายไดนําสงคลังทั้งสิ้นจํานวน 1,904,053 ล้านบาท ในขณะที่มีการเบิกจายเงินงบประมาณทั้งสิ้นจํานวน 2,514,229 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลไดกูเงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจํานวน 451,681 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2560 มีจํานวนทั้งสิ้น 258,419 ลานบาท นายกฤษฎาฯ สรุปวา “การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา ได้ส่งผลดีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจช่วงครึ่งแรกของปี 2560 ที่ขยายตัวได้ถึงร้อยละ 3.5 ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณในช่วงที่เหลือ เพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้” ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2560 หน่วย: ล้านบาท 10 เดือน เปรียบเทียบ ปีงบประมาณ 2560 ปีงบประมาณ 2559 จํานวน ร้อยละ 1. รายได้ 1,904,053 1,964,267 (60,214) (3.1) 2. รายจ่าย 2,514,229 2,432,848 81,381 3.3 3. ดุลเงินงบประมาณ (610,176) (468,581) (141,595) (30.2) 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ (24,386) (96,192) 71,806 74.6 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) (634,562) (564,773) (69,789) (12.4) 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 451,681 386,207 65,474 17.0 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) (182,881) (178,566) (4,315) (2.4) 8. เงินคงคลังปลายงวด 258,419 247,616 10,803 4.4 ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง รายละเอียดเพิ่มเติม ดูไดจาก www.fpo.go.th สํานักนโยบายการคลัง สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร 0 2273 9020 ตอ 3538 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดประจําเดือนกรกฎาคม 2560 และในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2560 (เดือนตุลาคม 2559 – เดือนกรกฎาคม 2560) 1. ฐานะการคลังเดือนกรกฎาคม 2560 1.1 รัฐบาลมีรายไดนําสงคลัง จํานวน 162,014 ลานบาท เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ โดยรายได้นําส่งคลังสูงกว่าเดือนเดียวกันปที่แลว 6,396 ลานบาท เนื่องจากมีการนําส่งรายได้จากการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลงวดที่ 4 บางส่วน 1.2 รัฐบาลมีการเบิกจายเงินงบประมาณทั้งสิ้น จํานวน 256,760 ลานบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปที่แลวจํานวน 72,563 ลานบาท (คิดเปนรอยละ 39.4) โดยเป็นรายจ่ายปีปัจจุบันจํานวน 251,721 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 42.9 ประกอบดวยรายจายประจําจํานวน 227,022 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปที่แลวรอยละ 47.5 และรายจายลงทุน 24,699 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกัน ปีที่แล้วร้อยละ 11.2 และการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณปกอนจํานวน 5,039 ลานบาท ต่ํากวาเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 37.4 (ตารางที่ 1) การเบิกจายเงินงบประมาณที่สําคัญในเดือนนี้ ไดแก เงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจํานวน 29,602 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการจํานวน 13,142 ล้านบาท และรายจ่ายชําระหนี้ของกระทรวงการคลังจํานวน 11,920 ล้านบาท ตารางที่ 1 การเบิกจายเงินงบประมาณเดือนกรกฎาคม 2560 หนวย: ลานบาท เดือนกรกฎาคม เปรียบเทียบ 2560 2559 จํานวน ร้อยละ 1. รายจายปปจจุบัน 251,721 176,145 75,576 42.9 1.1 รายจายประจํา 227,022 153,931 73,091 47.5 1.2 รายจายลงทุน 24,699 22,214 2,485 11.2 2. รายจายจากงบประมาณปกอน 5,039 8,052 (3,013) (37.4) 3. รายจายรวม (1+2) 256,760 184,197 72,563 39.4 ที่มา: กรมบัญชีกลาง 1.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด จากรายไดนําสงคลังและการเบิกจายเงินงบประมาณของรัฐบาลขางตน สงผลให้ดุลเงินงบประมาณในเดือนกรกฎาคม 2560 ขาดดุลจํานวน 94,746 ลานบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจํานวน 45,869 ลานบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจาก รายรับจากการชดใช้เงินคงคลัง จํานวน 27,078 ล้านบาท และการประมูลตั๋วเงินคลังสุทธิ จํานวน 20,000 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดก่อนกู้ชดเชยการขาดดุลจํานวน 48,877 ล้านบาท โดยรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจํานวน 22,000 ล้านบาท ทําให้ดุลเงินสด (หลังกูชดเชยการขาดดุล) ขาดดุลเทากับจํานวน 26,877 ล้านบาท (ตารางที่ 2) ตารางที่ 2 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดเดือนกรกฎาคม 2560 หน่วย: ล้านบาท เดือนกรกฎาคม เปรียบเทียบ 2560 2559 จํานวน ร้อยละ 1. รายได้ 162,014 155,618 6,396 4.1 2. รายจ่าย 256,760 184,197 72,563 39.4 3. ดุลเงินงบประมาณ (94,746) (28,579) (66,167) (231.5) 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ 45,869 29,720 16,149 54.3 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (๓+๔) (48,877) 1,141 (50,018) (4,383.7) 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 22,000 11,027 10,973 99.5 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (๕+๖) (26,877) 12,168 (39,045) (320.9) 8. เงินคงคลังปลายงวด 258,419 247,616 10,803 4.4 ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง 2. ฐานะการคลังในช่วง 10 เดือนแรกของปงบประมาณ 2560 (เดือนตุลาคม 2559 - เดือนกรกฎาคม 2560) 2.1 รายไดนําสงคลัง รัฐบาลมีรายไดนําสงคลังทั้งสิ้นจํานวน 1,904,053 ลานบาท เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ โดยรายได้นําส่งคลังต่ํากวาชวงเดียวกันปที่แลวจํานวน 60,214 ลานบาท (คิดเปนรอยละ 3.1) เนื่องจากปีที่แล้วมีการนําส่งรายได้จากการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 และ 1800 MHz (4G) จํานวน 56,273 ล้านบาท การชําระภาษีการพนันในส่วนของสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว และ 2 ตัว ของสํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลจํานวน 11,982 ล้านบาท และการนําส่งเงินสภาพคล่องส่วนเกินของกองทุนหมุนเวียนจํานวน 10,634 ล้านบาท ทั้งนี้ หากไม่รวมรายได้พิเศษดังกล่าว รายได้นําส่งคลังปีนี้ จะสูงกว่าปีก่อนจํานวน 18,675 ล้านบาท 2.2 รายจายรัฐบาล การเบิกจายเงินงบประมาณของรัฐบาลมีจํานวนทั้งสิ้นจํานวน 2,514,229 ล้านบาท สูงกว่าชวงเดียวกันปที่แลวจํานวน 81,381 ลานบาท (คิดเปนรอยละ 3.3) ประกอบดวย รายจายปีปัจจุบันจํานวน 2,329,256 ลานบาท คิดเปนร้อยละ 79.7 ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย (2,923,000 ล้านบาท) สูงกว่าชวงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 4.6 และรายจายจากงบประมาณปีก่อนจํานวน 184,973 ลานบาท ต่ํากว่าชวงเดียวกันปที่แล้วร้อยละ 10.2 (ตารางที่ 3) รายจายปปจจุบันจํานวน 2,329,256 ลานบาท ประกอบดวยรายจายประจําจํานวน 2,030,032 ลานบาท (คิดเป็นร้อยละ 86.7 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจําหลังโอนเปลี่ยนแปลงจํานวน 2,340,449 ล้านบาท) สูงกวาชวงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 4.6 และรายจายลงทุนจํานวน 299,224 ลานบาท (คิดเป็นร้อยละ 51.4 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนหลังโอนเปลี่ยนแปลงจํานวน 582,551 ล้านบาท) สูงกว่าช่วงเดียวกันปที่แลวรอยละ 4.3 ตารางที่ 3 การเบิกจายเงินงบประมาณในช่วง 10 เดือนแรกของปงบประมาณ 2560 (เดือนตุลาคม 2559 - เดือนกรกฎาคม 2560) หน่วย: ล้านบาท 10 เดือน เปรียบเทียบ ปีงบประมาณ 2560 ปีงบประมาณ 2559 จํานวน ร้อยละ 1. รายจ่ายปปจจุบัน 2,329,256 2,226,770 102,486 4.6 1.1 รายจ่ายประจํา 2,030,032 1,939,841 90,191 4.6 1.2 รายจ่ายลงทุน 299,224 286,929 12,295 4.3 2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 184,973 206,078 (21,105) (10.2) 3. รายจ่ายรวม (1+2) 2,514,229 2,432,848 81,381 3.3 ที่มา: กรมบัญชีกลาง 2.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ขาดดุลจํานวน 634,562 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณจํานวน 610,176 ล้านบาท ในขณะที่เงินนอกงบประมาณขาดดุลจํานวน 24,386 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการไถ่ถอนตั๋วเงินคลังสุทธิ จํานวน 40,000 ล้านบาท และรายรับ จากการชดใช้เงินคงคลังจํานวน 27,078 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลไดบริหารเงินสดใหสอดคล้องกับความต้องการใชเงินโดยการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจํานวน 451,681 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังการกูเพื่อชดเชยการขาดดุล) ขาดดุลเทากับจํานวน 182,881 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2560 มีจํานวนทั้งสิ้น 258,419 ล้านบาท (ตารางที่ 4) ตารางที่ 4 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2560 (เดือนตุลาคม 2559 - เดือนกรกฎาคม 2560) หน่วย: ล้านบาท 10 เดือน เปรียบเทียบ ปีงบประมาณ 2560 ปีงบประมาณ 2559 จํานวน ร้อยละ 1. รายได้ 1,904,053 1,964,267 (60,214) (3.1) 2. รายจ่าย 2,514,229 2,432,848 81,381 3.3 3. ดุลเงินงบประมาณ (610,176) (468,581) (141,595) (30.2) 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ (24,386) (96,192) 71,806 74.6 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) (634,562) (564,773) (69,789) (12.4) 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 451,681 386,207 65,474 17.0 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) (182,881) (178,566) (4,315) (2.4) 8. เงินคงคลังปลายงวด 258,419 247,616 10,803 4.4 ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง สํานักนโยบายการคลัง สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร 0 2273 9020 ตอ 3563
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/6306
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองปลัด ก.อุตฯ ร่วมเปิดตัวอาคารทริปเปิ้ลเอของบริษัท แพนดอร่า โพรดักชั่น จำกัด ณ นิคมอัญธานี
วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน 2561 รองปลัด ก.อุตฯ ร่วมเปิดตัวอาคารทริปเปิ้ลเอของบริษัท แพนดอร่า โพรดักชั่น จํากัด ณ นิคมอัญธานี รองปลัด ก.อุตฯ ร่วมเปิดตัวอาคารทริปเปิ้ลเอของบริษัท แพนดอร่า โพรดักชั่น จํากัด ณ นิคมอัญธานี เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2561 นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกล่าวสุนทรพจน์แสดงความยินดีในโอกาสเปิดตัวอาคารทริปเปิ้ลเอของบริษัท แพนดอร่า โพรดักชั่น จํากัด ณ นิคมอัญธานี โดยภายในงานมี มร. อันเดอร์ส โคลดิ้ง ฟรีส CEO ของบริษัท เเพนดอร่า และคุณดวงใจ อัศวจินตจิตน์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน คุณประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภาคเอกชน หอการค้าทั้งในและต่างประเทศ กว่า 120 คน ร่วมงาน โดยบริษัท แพนดอร่า โพรดักชั่น จํากัด เป็นบริษัทผู้ผลิตอัญมณีและเครื่องประดับรายใหญ่ที่สุดในโลกสัญชาติเดนมาร์ค เริ่มธุรกิจตั้งเเต่ปี 2525 และมีฐานการผลิตในประเทศไทยเพียงแห่งเดียว (ที่กรุงเทพฯเเละ จ.ลําพูน) และส่งสินค้าจําหน่ายไปกว่า 100 ประเทศ 6 ทวีปทั่วโลก มีช่างฝีมือและพนักงานที่เป็นคนไทยเกือบร้อยละ 50 ซึ่งในวันนี้บริษัทฯ มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของไทยทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานเเละฝีมือของคนไทย จึงเกิดการขยายฐานการผลิตมูลค่ากว่า 9,000 ล้านบาท สร้างอาคารทริปเปิ้ลเอที่มีความทันสมัย ช่วยรักษ์สิ่งเเวดล้อม ใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ต้องการให้อุตสาหกรรมไทยขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม รักษ์สิ่งเเวดล้อม เเละเชื่อมโยงเศรษฐกิจโลกภายในปี 2564
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองปลัด ก.อุตฯ ร่วมเปิดตัวอาคารทริปเปิ้ลเอของบริษัท แพนดอร่า โพรดักชั่น จำกัด ณ นิคมอัญธานี วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน 2561 รองปลัด ก.อุตฯ ร่วมเปิดตัวอาคารทริปเปิ้ลเอของบริษัท แพนดอร่า โพรดักชั่น จํากัด ณ นิคมอัญธานี รองปลัด ก.อุตฯ ร่วมเปิดตัวอาคารทริปเปิ้ลเอของบริษัท แพนดอร่า โพรดักชั่น จํากัด ณ นิคมอัญธานี เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2561 นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกล่าวสุนทรพจน์แสดงความยินดีในโอกาสเปิดตัวอาคารทริปเปิ้ลเอของบริษัท แพนดอร่า โพรดักชั่น จํากัด ณ นิคมอัญธานี โดยภายในงานมี มร. อันเดอร์ส โคลดิ้ง ฟรีส CEO ของบริษัท เเพนดอร่า และคุณดวงใจ อัศวจินตจิตน์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน คุณประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภาคเอกชน หอการค้าทั้งในและต่างประเทศ กว่า 120 คน ร่วมงาน โดยบริษัท แพนดอร่า โพรดักชั่น จํากัด เป็นบริษัทผู้ผลิตอัญมณีและเครื่องประดับรายใหญ่ที่สุดในโลกสัญชาติเดนมาร์ค เริ่มธุรกิจตั้งเเต่ปี 2525 และมีฐานการผลิตในประเทศไทยเพียงแห่งเดียว (ที่กรุงเทพฯเเละ จ.ลําพูน) และส่งสินค้าจําหน่ายไปกว่า 100 ประเทศ 6 ทวีปทั่วโลก มีช่างฝีมือและพนักงานที่เป็นคนไทยเกือบร้อยละ 50 ซึ่งในวันนี้บริษัทฯ มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของไทยทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานเเละฝีมือของคนไทย จึงเกิดการขยายฐานการผลิตมูลค่ากว่า 9,000 ล้านบาท สร้างอาคารทริปเปิ้ลเอที่มีความทันสมัย ช่วยรักษ์สิ่งเเวดล้อม ใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ต้องการให้อุตสาหกรรมไทยขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม รักษ์สิ่งเเวดล้อม เเละเชื่อมโยงเศรษฐกิจโลกภายในปี 2564
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/13097
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“นโยบายตำบล ขับขี่ปลอดภัย” ทั่วไทย ตั้งเป้าลดอุบัติเหตุ ลดความสูญเสียทรัพยากรบุคคลและทรัพย์สิน
วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2562 “นโยบายตําบล ขับขี่ปลอดภัย” ทั่วไทย ตั้งเป้าลดอุบัติเหตุ ลดความสูญเสียทรัพยากรบุคคลและทรัพย์สิน กระทรวงมหาดไทย ร่วมมือทุกภาคีเครือข่ายขับเคลื่อน “นโยบายตําบล ขับขี่ปลอดภัย” ทั่วไทย ตั้งเป้าลดอุบัติเหตุ ลดความสูญเสียทรัพยากรบุคคลและทรัพย์สิน เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 10 ตุลาคม 2562 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) เป็นประธานการประชุมขับเคลื่อนความปลอดภัยทางถนนขององค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) ณ ห้องประชุมดอกแก้ว ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยมี นายมานพ ปัทมาลัยนายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย นายสมศักดิ์ กิตติธรกุล นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย (อบจ.) และ นายวิชัช ไตรรัตน์ นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตําบลแห่งประเทศไทย(อบต.) พร้อมด้วยนายเชษฐา โมสิกรัตน์ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เข้าร่วมการประชุม นายนิพนธ์ กล่าวตอนหนึ่งว่า วันนี้เชิญ 3 องค์กรปกครองท้องถิ่นเข้าร่วมประชุมเพื่อขับเคลื่อนนโยบายขับขี่ปลอดภัย หรือ ตําบลขับขี่ปลอดภัย โดยเล็งเห็นว่า หลักการระเบียบของสํานักนายกรัฐมนตรีปี 2554 กําหนดให้มีคณะทํางานด้านความปลอดภัย ระดับจังหวัด อําเภอ และท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยในฐานะที่ดูแลกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เป็นฝ่ายเลขานุการเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนน ได้เร่งรัดนโยบายนี้เป็นการเฉพาะเพื่อขับเคลื่อนในระดับท้องถิ่น ให้มีการจัดระเบียบการจราจรในแต่ละเขตพื้นที่ เพราะยอดผู้เสียชีวิตบนท้องถนนของไทยสูงกว่า 22,000 รายต่อปี จึงเป็นปัญหาด้านความปลอดภัยและความสูญเสียของพี่น้องประชาชน ตนจึงขอให้ อปท. ทั้งหมดเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโยบายตําบล ขับขี่ปลอดภัยไปด้วยกัน เพื่อร่วมกันลดความสูญเสียชีวิตบนท้องถนน รักษาทรัพยากรบุคคลและทรัพย์สินอื่นๆ การทําให้อุบัติเหตุลดลง หรือไม่เกิดขึ้นเลย จําเป็นต้องขอความร่วมมือกับทุกภาคีเครือข่าย และการบังคับใช้กฎหมายจราจร หรือการลดจุดเสี่ยงบนท้องถนน อาทิ เพิ่มสัญญาณไฟจราจร ความสว่างบนท้องถนน หรือลดจุดเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ เพราะการเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดในท้องถิ่น และมีจํานวนเพิ่มมากขึ้น อปท.ต้องช่วยกันปิดจุดเสี่ยงบนท้องถนน พร้อมการรณรงค์ “เมาไม่ขับ” ทั้งประเทศ ชูแคมเปญ “เมาไม่ขับ เพราะคนที่บ้านยังรออยู่” ขอให้ทุกภาคส่วนช่วยกันเพื่อหยุดยั้งการสูญเสียบนท้องถนน ตั้งเป้าลดยอดการสูญเสียให้น้อยลง ขณะนี้ กรม ปภ.กําลังระดมความคิดเห็นหามาตรการร่วมกันทั้ง 4 ภาค ซึ่งได้เสร็จสิ้นไปแล้วในส่วนของภาคกลางและภาคใต้ โดยวันที่ 21ตุลาคม จะระดมความคิดเห็นในส่วนของภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ และวันที่ 25 ตุลาคม จะระดมความคิดเห็นในส่วนของภาคอีสานที่จังหวัดขอนแก่น รวมถึงฟังความเห็นจากองค์กรภาคี ทั้งในส่วนของท้องถิ่น กรมทางหลวง และตํารวจจราจร โดยจะมีการจัดประชุมใหญ่พร้อมกันทั้งประเทศต่อไป -------------------------
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“นโยบายตำบล ขับขี่ปลอดภัย” ทั่วไทย ตั้งเป้าลดอุบัติเหตุ ลดความสูญเสียทรัพยากรบุคคลและทรัพย์สิน วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2562 “นโยบายตําบล ขับขี่ปลอดภัย” ทั่วไทย ตั้งเป้าลดอุบัติเหตุ ลดความสูญเสียทรัพยากรบุคคลและทรัพย์สิน กระทรวงมหาดไทย ร่วมมือทุกภาคีเครือข่ายขับเคลื่อน “นโยบายตําบล ขับขี่ปลอดภัย” ทั่วไทย ตั้งเป้าลดอุบัติเหตุ ลดความสูญเสียทรัพยากรบุคคลและทรัพย์สิน เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 10 ตุลาคม 2562 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) เป็นประธานการประชุมขับเคลื่อนความปลอดภัยทางถนนขององค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) ณ ห้องประชุมดอกแก้ว ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยมี นายมานพ ปัทมาลัยนายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย นายสมศักดิ์ กิตติธรกุล นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย (อบจ.) และ นายวิชัช ไตรรัตน์ นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตําบลแห่งประเทศไทย(อบต.) พร้อมด้วยนายเชษฐา โมสิกรัตน์ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เข้าร่วมการประชุม นายนิพนธ์ กล่าวตอนหนึ่งว่า วันนี้เชิญ 3 องค์กรปกครองท้องถิ่นเข้าร่วมประชุมเพื่อขับเคลื่อนนโยบายขับขี่ปลอดภัย หรือ ตําบลขับขี่ปลอดภัย โดยเล็งเห็นว่า หลักการระเบียบของสํานักนายกรัฐมนตรีปี 2554 กําหนดให้มีคณะทํางานด้านความปลอดภัย ระดับจังหวัด อําเภอ และท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยในฐานะที่ดูแลกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เป็นฝ่ายเลขานุการเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนน ได้เร่งรัดนโยบายนี้เป็นการเฉพาะเพื่อขับเคลื่อนในระดับท้องถิ่น ให้มีการจัดระเบียบการจราจรในแต่ละเขตพื้นที่ เพราะยอดผู้เสียชีวิตบนท้องถนนของไทยสูงกว่า 22,000 รายต่อปี จึงเป็นปัญหาด้านความปลอดภัยและความสูญเสียของพี่น้องประชาชน ตนจึงขอให้ อปท. ทั้งหมดเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโยบายตําบล ขับขี่ปลอดภัยไปด้วยกัน เพื่อร่วมกันลดความสูญเสียชีวิตบนท้องถนน รักษาทรัพยากรบุคคลและทรัพย์สินอื่นๆ การทําให้อุบัติเหตุลดลง หรือไม่เกิดขึ้นเลย จําเป็นต้องขอความร่วมมือกับทุกภาคีเครือข่าย และการบังคับใช้กฎหมายจราจร หรือการลดจุดเสี่ยงบนท้องถนน อาทิ เพิ่มสัญญาณไฟจราจร ความสว่างบนท้องถนน หรือลดจุดเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ เพราะการเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดในท้องถิ่น และมีจํานวนเพิ่มมากขึ้น อปท.ต้องช่วยกันปิดจุดเสี่ยงบนท้องถนน พร้อมการรณรงค์ “เมาไม่ขับ” ทั้งประเทศ ชูแคมเปญ “เมาไม่ขับ เพราะคนที่บ้านยังรออยู่” ขอให้ทุกภาคส่วนช่วยกันเพื่อหยุดยั้งการสูญเสียบนท้องถนน ตั้งเป้าลดยอดการสูญเสียให้น้อยลง ขณะนี้ กรม ปภ.กําลังระดมความคิดเห็นหามาตรการร่วมกันทั้ง 4 ภาค ซึ่งได้เสร็จสิ้นไปแล้วในส่วนของภาคกลางและภาคใต้ โดยวันที่ 21ตุลาคม จะระดมความคิดเห็นในส่วนของภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ และวันที่ 25 ตุลาคม จะระดมความคิดเห็นในส่วนของภาคอีสานที่จังหวัดขอนแก่น รวมถึงฟังความเห็นจากองค์กรภาคี ทั้งในส่วนของท้องถิ่น กรมทางหลวง และตํารวจจราจร โดยจะมีการจัดประชุมใหญ่พร้อมกันทั้งประเทศต่อไป -------------------------
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/23739
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรี แถลงมาตรการแต่ละด้านเพื่อสกัดกั้นการแพร่ระบาดโควิด 19 ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย 17 มีนาคม 2563
วันอังคารที่ 17 มีนาคม 2563 นายกรัฐมนตรี แถลงมาตรการแต่ละด้านเพื่อสกัดกั้นการแพร่ระบาดโควิด 19 ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย 17 มีนาคม 2563 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงมาตรการแต่ละด้านเพื่อสกัดกั้นการแพร่ระบาดโควิด 19 ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันอังคารที่ 17 มีนาคม 2563 เวลา 19.00 น. สวัสดีครับพี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่านครับ เมื่อวานนี้ขอขอบคุณครับในแรงใจแรงสนับสนุนต่าง ๆ ที่ให้กําลังใจนายกรัฐมนตรีมากมายพอสมควรนะครับ ขอขอบคุณทุกท่าน นายกรัฐมนตรีต้องทําหน้าที่เพื่อประชาชนคนไทยทุกคนอย่างเต็มความสามารถ ทุ่มเทกําลังกายกําลังใจทุกอย่าง พร้อมกับบูรณาการร่วมกับคณะรัฐมนตรีทุกท่าน และทํางานกับทุกคนด้วย วันนี้มีเรื่องเรียนให้ทราบดังต่อไปนี้นะครับ เรียนประชาชนชาวไทยทุกท่าน ปัจจุบันถึงแม้ว่าขณะนี้จะยังไม่เข้าสู่การระบาดในระยะที่ 3 แต่อาจจะมีแนวโน้มในการแพร่กระจายเพิ่มมากขึ้น และเพื่อเป็นการลดการแพร่ระบาดจากกรุงเทพฯ ไปสู่จังหวัดอื่น ๆ จึงจําเป็นต้องเตรียมความพร้อมและหามาตรการรองรับ โดยทุกภาคส่วนจะต้องทําความเข้าใจร่วมกัน เพื่อบูรณาการความร่วมมือ เพื่อหาแนวทางการรองรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นขอขอบคุณทุกส่วนราชการที่ร่วมมือในการประสานงานให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม เมื่อวานนี้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งอาจจะมีข้อมูลชี้แจงไม่ได้มากนัก เพราะหลายเรื่องต้องนําเข้าพิจารณาในคณะรัฐมนตรี เมื่อวานนี้ประชุมไปแล้ว วันนี้ได้นําเรื่องมาเสนอให้คณะรัฐมนตรีรับทราบและมีการพิจารณาดําเนินการในด้านต่าง ๆ 6 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านสาธารณสุข (2) ด้านเวชภัณฑ์ป้องกัน (3) ด้านข้อมูล การชี้แจงและการรับเรื่องร้องเรียน (4) ด้านการต่างประเทศ (5) ด้านมาตรการป้องกัน และ (6) ด้านมาตรการให้ความช่วยเหลือเยียวยา และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ ดังนี้ 1. ด้านสาธารณสุขเรายังไม่มีการปิดเมือง หรือปิดประเทศ 1.1 ป้องกันและสกัดกั้นการนําเชื้อเข้าสู่ประเทศไทย คือ (1) ชาวต่างชาติที่เดินทางจากประเทศซึ่งเป็นพื้นที่เขตติดโรคติดต่ออันตราย จํานวน 4 ประเทศ และ 2 เขตปกครองพิเศษ ที่ได้ประกาศไปแล้ว รวมถึงประเทศที่มีการระบาดต่อเนื่อง - ขาเข้าต้องมีใบรับรองแพทย์อายุไม่เกิน 3 วัน - ต้องมีประกันสุขภาพ - ยินยอมใช้ Application ติดตามของรัฐ - มาตรการนี้ใช้กับการเข้าเมืองทุกช่องทาง ทั้งทางบก-น้ํา-อากาศ - ตํารวจตรวจคนเข้าเมืองต้องขอดูหนังสือเดินทางของชาวต่างประเทศด้วยว่าประเทศก่อนประเทศสุดท้ายที่จะเข้ามาประเทศไทยนั้นคืออะไรบ้าง เป็นเขตติดต่อโรคหรือไม่ แล้วแจ้งให้กระทรวงมหาดไทยทราบ - มาตรการกักกันของรัฐ จะต้องถูกกักตัวไว้สังเกตอาการ 14 วัน ตามมาตรการที่มีอยู่แล้วเดิม (2) การห้ามข้าราชการ พนักงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ เดินทางไปต่างประเทศ ยกเว้นมีเหตุจําเป็น และขอเตือนประชาชนให้งดการเดินทางไปในประเทศซึ่งเป็นพื้นที่เขตติดโรคติดต่ออันตราย และพื้นที่ที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่อง 1.2 พัฒนาระบบและกลไกการกักกันผู้ที่ติดเชื้อหรือผู้ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตราย ณ ที่พํานัก ตาม พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ซึ่งมีการจัดตั้งคณะทํางานเรียบร้อยแล้ว 1.3 กําหนดให้ชาวต่างประเทศ รวมทั้งคนไทยที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ต้องใช้แอปพลิเคชั่น ติดตามตัวทุกคน 1.4 บุคลากรทางการแพทย์ปัจจุบันเรามีเพียงพอ มีแพทย์ทั้งจากโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชน จํานวน 37,160 คน มีพยาบาลทั้งจากโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชน รวมจํานวน 151,571 คน วันนี้ได้สั่งการให้ทุกโรงพยาบาลเตรียมพื้นที่สําหรับผู้ป่วยติดเชื้อ และเตรียมโรงพยาบาลเฉพาะกิจหรือโรงพยาบาลสนาม เพื่อรองรับหากสถานการณ์ปรับเข้าสู่ระยะที่สาม ทั้งระดับพื้นที่ โรงพยาบาลทหารด้วย 1.5 จัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือที่จําเป็น ในปริมาณที่เพียงพอสําหรับรับมือระยะที่ 3 ได้แก่ ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือ และชุดป้องกันโรค ซึ่งมีแผนการผลิตและจัดหาแล้วอย่างต่อเนื่อง 1.6 ขอแนะนําให้คนไทยที่พํานักอาศัยในต่างประเทศได้ชะลอการเดินทางกลับประเทศไทยจนกว่าสถานการณ์การระบาดของโรคจะดีขึ้น หรือไม่ก็ติดต่อไปที่สถานทูต สถานกงสุลทุกประเทศ ในฐานะคนไทย 2. ด้านเวชภัณฑ์ป้องกัน ต้องเร่งผลิตในประเทศจัดหาจากต่างประเทศให้เพียงพอกับความต้องการ ในเรื่องของ - เร่งผลิตหน้ากากอนามัย หน้ากากทางเลือก เพื่อเป็นทางเลือกสําหรับการป้องกัน เจล และแอลกอฮอล์เพิ่มเติม ผลิตมากขึ้น วันนี้มีการอนุมัติปลดล็อกในการใช้แอลกอฮอล์ไปทําผลิตภัณฑ์เจล ไปยังภาคเอกชนด้วย วันนี้รัฐบาลกําลังจะทําเจล ผลิตเพื่อแจกจ่ายในสถานที่ร้านค้า ปั๊มน้ํามันบางจาก และ ปตท. ขอให้ติดตามต่อไป ว่าจะได้รับเมื่อไรอย่างไร ขอให้เตรียมอุปกรณ์ไว้ด้วย จะได้ลดภาระในเรื่องการจัดหาอุปกรณ์ ทั้งนี้ จะส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปใช้หน้ากากผ้าเมื่อเดินทางเข้าสถานที่ชุมนุมหรือชุมชน และเร่งผลิตหน้ากากผ้าให้เพียงพอทั้งสองประเภท - ในส่วนของหน้ากากอนามัยของกลางที่ยึดได้จากการค้าขายออนไลน์ผิดกฎหมาย การค้าขายเกินราคา เหล่านี้ เราจะรวบรวมส่งศูนย์กระจายและบริหารจัดการสินค้าหน้ากากอนามัยเหล่านั้น เพื่อกระจายต่อไป - ในส่วนของการสํารวจข้อมูลต่าง ๆ ในการส่งออก เรื่องนี้กําลังดําเนินการอยู่ หลายอย่างเป็นข้อตกลง หลายอย่างเป็นสัญญาทางการค้า และมีการผลิตทั้งในประเทศ จําหน่ายในประเทศ และมีการรับจ้างผลิตจากนอกประเทศมาด้วย เป็นแบรนด์เฉพาะของเขา วันนี้กําลังตรวจสอบให้ชัดเจน 5 ถ้ามีความจําเป็นเราสามารถที่จะเอามาใช้ได้สําหรับในประเทศไทย ก็จะดําเนินการ รัฐบาลจําเป็นต้องดูแลในเรื่องเหล่านี้ - การสํารวจความต้องการของเวชภัณฑ์ที่จําเป็น อาทิ ชุดป้องกันสําหรับบุคลากรทางการแพทย์ หน้ากาก N95 และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จําเป็น วันนี้ได้ประสานกับต่างประเทศในการจัดหาเพิ่มเติมให้เพียงพอ ทราบว่ามีประเทศจีนกําลังจะบริจาคให้เราจํานวนหนึ่ง ที่เหลือเราอาจจะต้องมีการเจรจาเพื่อจะซื้อขายกันต่อไปในราคามิตรภาพ ในส่วนของหน้ากาก ในส่วนของยา ในส่วนของอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านั้น และเราก็มีการพัฒนาของเราไปด้วย ด้วยความร่วมมือระหว่างกัน - การตรวจสอบการขาย Online การกักตุน และการระบายของสินค้า เป็นเรื่องที่มีความสําคัญอย่างยิ่ง วันนี้รัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการลงไปตรวจสอบแล้ว มีการไปร่วมมือกันทั้งส่วนของกระทรวงพาณิชย์ กรมการค้าภายใน ตํารวจ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จะทําให้ข้อมูลเหล่านี้ชัดเจนให้มากยิ่งขึ้น อะไรที่จะสามารถนํามาใช้ได้เพิ่มเติมก็จะได้ดําเนินการ 3. ด้านข้อมูล: การสื่อสารข้อมูลต่าง ๆ ของรัฐบาลหลัก ๆ มาจาก 2 แหล่ง ได้แก่ (1) กระทรวงสาธารณสุข เป็นการแถลงเฉพาะด้านข้อมูลทางการแพทย์ การสาธารณสุข ด้วยการปฏิบัติการตาม พ.ร.บ. โรคติดต่อร้ายแรง (2) ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 เป็นการแถลงภาพรวมในทุกด้านที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องเชิงบริหารสถานการณ์ดังกล่าว อย่างที่กราบเรียนไปแล้วว่าหลายเรื่องจําเป็นที่ต้องเข้าคณะรัฐมนตรีด้วย เพราะเป็นมาตรการของรัฐบาล 4. ด้านต่างประเทศ: มีการจัดตั้งทีมงานเพื่อดูแลคนไทยในต่างประเทศ - ให้กระทรวงการต่างประเทศใช้ประโยชน์จาก TEAM THAILAND ในต่างประเทศ เพื่อเป็นทีมเฉพาะกิจ ดูแลคนไทยในต่างประเทศ เราต้องยอมรับว่าเขาเป็นคนไทยเช่นเดียวกัน ต้องดูแลเขา อย่างไรก็ว่ากันมา รัฐบาลพร้อมจะสนับสนุนให้ โดยมีเอกอัครราชทูตเป็นหัวหน้าทีม - ในประเทศให้นําผู้แทนภาคเอกชน ภาคประชาชน เข้ามาหารือด้วย เพราะมีหลายส่วน มีคําแนะนําอันเป็นประโยชน์ และมีหลายอย่างที่รับผลกระทบด้วย จะได้หารือกันทีเดียว 5. ด้านมาตรการป้องกันจะต้องลดโอกาสการแพร่ระบาดของโรคในสถานที่ต่าง ๆ ที่มีความเสี่ยงสูง 5.1 ปิดสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคเพิ่มขึ้น ได้แก่ 1) สถานที่ซึ่งผู้คนมาร่วมเป็นกิจวัตร เพื่อทํากิจกรรมร่วมกันอาจแพร่เชื้อได้ง่ายแม้จะป้องกันดีแล้ว เรายังมีทางเลือกอื่นทดแทนการชุมนุม ได้แก่ มหาวิทยาลัย โรงเรียนนานาชาติ สถาบันกวดวิชา และทุกสถาบัน ให้ปิดชั่วคราว ตั้งแต่วันพุธที่ 18 มีนาคม 2563 เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ และให้สถานศึกษาเหล่านั้นได้ดําเนินการป้องกันโรคตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด 2) สถานที่ซึ่งผู้คนไม่ได้มาชุมนุมเป็นกิจวัตร แต่มาเพื่อทํากิจกรรมที่มีการเบียดเสียดใกล้ชิด และเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อง่ายทางปาก สัมผัสถูกเนื้อถูกตัวหรือใช้สิ่งของร่วมกันง่ายจะต้อง 2.1) ปิดชั่วคราว จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย สําหรับสนามมวย สนามม้า สนามกีฬาที่มีผู้ชมแออัด ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล 2.2) ปิดชั่วคราว 14 วัน สําหรับ ผับ สถานบันเทิง สถานบริการ นวดแผนโบราณ ฟิตเนส สปา และโรงมหรสพ ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล สําหรับพื้นที่อื่น ๆ นั้นเป็นเรื่องของผู้ว่าราชการจังหวัดและคณะกรรมการระดับพื้นที่จะได้พิจารณาความเหมาะสมด้วยการดําเนินการดังกล่าว และการที่จะปิด 14 วันนี้ถ้าหากว่าสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น เราอาจจะมีการยืดระยะเวลาออกไปอีก ขอให้ทุกคนอย่าห่วงกังวล 3) งดการจัดกิจกรรมรวมคนจํานวนมากที่มีความเสี่ยงสูงต่อการแพร่ระบาดของโรค เช่น การจัดคอนเสิร์ต การจัดงานแสดงสินค้าต่าง ๆ กิจกรรมทางศาสนา วัฒนธรรม และกีฬา โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด พิจารณาให้ความเห็นชอบด้วย ให้มีการเพิ่มมาตรการป้องกันสําหรับพื้นที่และสถานที่ที่ยังต้องเปิดอยู่ 5.2 ลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อในสถานที่ที่มีประชาชนใช้บริการจํานวนมาก ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า ตลาด สถานที่ราชการ และรัฐวิสาหกิจ โดยจะต้องดําเนินการตามมาตรการป้องกันที่กระทรวงสาธารณสุขกําหนด 5.3 ร้านค้า ร้านอาหาร ให้มีมาตรการป้องกันการแพร่เชื้อ เช่น การทําความสะอาดพื้นผิวสัมผัส การคัดกรองอุณหภูมิ การใช้หน้ากากอนามัย รวมทั้งลดความแออัด 5.4 ยับยั้งการแพร่ระบาดภายในประเทศ ได้แก่ งดวันหยุดสงกรานต์ ต้องขอความร่วมมือด้วย วันที่ 13 - 15 เมษายน 2563 ขอให้เลื่อนออกไปก่อน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด โดยจะจัดชดเชยวันหยุดให้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม 5.5 ลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อในระบบการขนส่งสาธารณะในประเทศ โดยเพิ่มความถี่ของการเดินรถ มีมาตรการดูแลให้เข้มงวดขึ้น ในการเดินทางต่าง ๆ 5.6 งดกิจกรรมที่มีการเคลื่อนย้ายคนข้ามจังหวัดของหน่วยงานที่มีคนเป็นจํานวนมาก เช่น ค่ายทหาร เรือนจํา โรงเรียน หรือหากจําเป็นต้องเคลื่อนย้าย ต้องมีมาตรการป้องกันการแพร่ของโรค รวมถึงการจํากัดการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวด้วย 5.7 ให้ทุกหน่วยงานได้พิจารณามาตรการเหลื่อมเวลาการทํางานและการทํางานที่บ้าน และส่งเสริมให้ใช้ระบบอินเทอร์เน็ต เช่น การประชุมทางไกล โดยให้หน่วยงานราชการทุกหน่วยทําแผนการทํางานจากบ้านและรายงานผลการปฏิบัติต่อศูนย์ฯ 5.8 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด และคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ใช้อํานาจตาม พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มาตรา 35 เพื่อจํากัด ดูแล การเคลื่อนย้ายที่จะทําให้เกิดการแพร่ระบาด หรือกําหนดมาตรการที่เหมาะสมอื่น ๆ ในการจํากัดพื้นที่เสี่ยงตามข้อมูลที่มีการแพร่ระบาด และแจ้งมาตรการที่จะดําเนินการต่อศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้รับทราบ และให้ความเห็นชอบโดยเร็ว พร้อมทั้งรายงานผลการดําเนินงานเป็นประจําทุกวัน 5.9 ให้เร่งดําเนินการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคในทุกอําเภอ เขต หมู่บ้าน ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่โดยด่วน และให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วยในการดําเนินการเฝ้าระวัง 6. ด้านมาตรการช่วยเหลือเยียวยาได้แก่ 6.1 กลุ่มธุรกิจ โรงงาน สถานประกอบการ โรงแรม และธุรกิจเกี่ยวเนื่องด้านการท่องเที่ยว ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาหามาตรการรองรับเพื่อช่วยเหลือธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ ในกรณีที่ต้องชะลอการ lay off พนักงาน ลูกจ้าง อาทิ มาตรการช่วยเหลือการลดราคาห้องพักของธุรกิจโรงแรม 6.2 กลุ่มประชาชนได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ ให้กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณามาตรการในการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ รับฟังข้อร้องเรียน ที่ต้องการให้ช่วยเหลือ และมีภาระในในการผ่อนชําระ เช่น รถจักรยานยนต์ ฯลฯ เพื่อให้สถาบันการเงินผ่อนผันการชําระค่างวด รวมถึงประชาชนที่ประกอบอาชีพต่าง ๆ ที่อยู่นอกระบบ เช่น พ่อค้า แม่ค้า ลูกจ้างรายวัน เป็นต้น กลุ่มเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ และพิจารณามาตรการเพื่อนําเสนอเป็นมาตรการบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์การแพร่ระบาดฯในระยะที่ 2 ต่อไป 6.3 ให้กระทรวงการคลัง กระทรวงยุติธรรม กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดําเนินการดูแลอย่างเข้มงวดในเรื่องที่เกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจากสถานการณ์ไวรัสโควิด 19 เช่น หนี้นอกระบบ การบังคับคดี การขายฝาก เป็นต้น 6.4 การสร้างขวัญและกําลังใจให้กับกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งนี้ สําหรับมาตรการของรัฐบาลเพื่อรองรับผลกระทบที่สืบเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคที่เคยเข้าคณะรัฐมนตรี ขอให้ศูนย์ข้อมูลโควิด นําไปเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ในช่วงทางต่าง ๆ ต่อไป หลายอย่างหลายมาตรการเหล่านี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติ ต้องไปดําเนินการ ภายใต้ความรับผิดชอบ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด ทั้งหมดนี้ที่กราบเรียนให้ทราบคือว่าเราอยู่ในระหว่างที่เราจะต้องสกัดกั้นการแพร่เชื้อจากต่างประเทศ และสกัดกั้นการแพร่กระจายในประเทศให้ได้มากที่สุด เพราะเราจะต้องควบคุมสถานการณ์ ชะลอให้อยู่ในระยะที่ 2 ให้นานที่สุด เพราะฉะนั้นจะมีมาตรการเพิ่มเติมมาตามลําดับ วันนี้มีแค่นี้ วันหน้าอาจจะมีมากขึ้น ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศของเรา เราจะต้องใช้มาตรการในการควบคุม ป้องกัน รักษา และสื่อสารในทุก ๆ ด้าน เราถือว่าการแก้ไขปัญหา โควิด 19 มีความสําคัญเป็นอันดับ 1 สําหรับประเทศไทยในเวลานี้ เนื่องจากมีผลกระทบต่อชีวิตของประชาชนโดยตรง และเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคบรรเทาลงแล้ว รัฐบาลจะได้ดําเนินการฟื้นฟูผลกระทบด้านอื่น ๆ อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเศรษฐกิจต่อไป ทั้งนี้ รัฐบาลจะประเมินสถานการณ์โควิด 19 ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง รวมถึงปัญหาเศรษฐกิจรายวันอย่างใกล้ชิดและรอบคอบ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือ ปรับหรือเพิ่มเติมมาตรการต่าง ๆ ให้เกิดความเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ต่อไป ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรี แถลงมาตรการแต่ละด้านเพื่อสกัดกั้นการแพร่ระบาดโควิด 19 ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย 17 มีนาคม 2563 วันอังคารที่ 17 มีนาคม 2563 นายกรัฐมนตรี แถลงมาตรการแต่ละด้านเพื่อสกัดกั้นการแพร่ระบาดโควิด 19 ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย 17 มีนาคม 2563 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงมาตรการแต่ละด้านเพื่อสกัดกั้นการแพร่ระบาดโควิด 19 ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันอังคารที่ 17 มีนาคม 2563 เวลา 19.00 น. สวัสดีครับพี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่านครับ เมื่อวานนี้ขอขอบคุณครับในแรงใจแรงสนับสนุนต่าง ๆ ที่ให้กําลังใจนายกรัฐมนตรีมากมายพอสมควรนะครับ ขอขอบคุณทุกท่าน นายกรัฐมนตรีต้องทําหน้าที่เพื่อประชาชนคนไทยทุกคนอย่างเต็มความสามารถ ทุ่มเทกําลังกายกําลังใจทุกอย่าง พร้อมกับบูรณาการร่วมกับคณะรัฐมนตรีทุกท่าน และทํางานกับทุกคนด้วย วันนี้มีเรื่องเรียนให้ทราบดังต่อไปนี้นะครับ เรียนประชาชนชาวไทยทุกท่าน ปัจจุบันถึงแม้ว่าขณะนี้จะยังไม่เข้าสู่การระบาดในระยะที่ 3 แต่อาจจะมีแนวโน้มในการแพร่กระจายเพิ่มมากขึ้น และเพื่อเป็นการลดการแพร่ระบาดจากกรุงเทพฯ ไปสู่จังหวัดอื่น ๆ จึงจําเป็นต้องเตรียมความพร้อมและหามาตรการรองรับ โดยทุกภาคส่วนจะต้องทําความเข้าใจร่วมกัน เพื่อบูรณาการความร่วมมือ เพื่อหาแนวทางการรองรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นขอขอบคุณทุกส่วนราชการที่ร่วมมือในการประสานงานให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม เมื่อวานนี้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งอาจจะมีข้อมูลชี้แจงไม่ได้มากนัก เพราะหลายเรื่องต้องนําเข้าพิจารณาในคณะรัฐมนตรี เมื่อวานนี้ประชุมไปแล้ว วันนี้ได้นําเรื่องมาเสนอให้คณะรัฐมนตรีรับทราบและมีการพิจารณาดําเนินการในด้านต่าง ๆ 6 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านสาธารณสุข (2) ด้านเวชภัณฑ์ป้องกัน (3) ด้านข้อมูล การชี้แจงและการรับเรื่องร้องเรียน (4) ด้านการต่างประเทศ (5) ด้านมาตรการป้องกัน และ (6) ด้านมาตรการให้ความช่วยเหลือเยียวยา และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ ดังนี้ 1. ด้านสาธารณสุขเรายังไม่มีการปิดเมือง หรือปิดประเทศ 1.1 ป้องกันและสกัดกั้นการนําเชื้อเข้าสู่ประเทศไทย คือ (1) ชาวต่างชาติที่เดินทางจากประเทศซึ่งเป็นพื้นที่เขตติดโรคติดต่ออันตราย จํานวน 4 ประเทศ และ 2 เขตปกครองพิเศษ ที่ได้ประกาศไปแล้ว รวมถึงประเทศที่มีการระบาดต่อเนื่อง - ขาเข้าต้องมีใบรับรองแพทย์อายุไม่เกิน 3 วัน - ต้องมีประกันสุขภาพ - ยินยอมใช้ Application ติดตามของรัฐ - มาตรการนี้ใช้กับการเข้าเมืองทุกช่องทาง ทั้งทางบก-น้ํา-อากาศ - ตํารวจตรวจคนเข้าเมืองต้องขอดูหนังสือเดินทางของชาวต่างประเทศด้วยว่าประเทศก่อนประเทศสุดท้ายที่จะเข้ามาประเทศไทยนั้นคืออะไรบ้าง เป็นเขตติดต่อโรคหรือไม่ แล้วแจ้งให้กระทรวงมหาดไทยทราบ - มาตรการกักกันของรัฐ จะต้องถูกกักตัวไว้สังเกตอาการ 14 วัน ตามมาตรการที่มีอยู่แล้วเดิม (2) การห้ามข้าราชการ พนักงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ เดินทางไปต่างประเทศ ยกเว้นมีเหตุจําเป็น และขอเตือนประชาชนให้งดการเดินทางไปในประเทศซึ่งเป็นพื้นที่เขตติดโรคติดต่ออันตราย และพื้นที่ที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่อง 1.2 พัฒนาระบบและกลไกการกักกันผู้ที่ติดเชื้อหรือผู้ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตราย ณ ที่พํานัก ตาม พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ซึ่งมีการจัดตั้งคณะทํางานเรียบร้อยแล้ว 1.3 กําหนดให้ชาวต่างประเทศ รวมทั้งคนไทยที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ต้องใช้แอปพลิเคชั่น ติดตามตัวทุกคน 1.4 บุคลากรทางการแพทย์ปัจจุบันเรามีเพียงพอ มีแพทย์ทั้งจากโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชน จํานวน 37,160 คน มีพยาบาลทั้งจากโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชน รวมจํานวน 151,571 คน วันนี้ได้สั่งการให้ทุกโรงพยาบาลเตรียมพื้นที่สําหรับผู้ป่วยติดเชื้อ และเตรียมโรงพยาบาลเฉพาะกิจหรือโรงพยาบาลสนาม เพื่อรองรับหากสถานการณ์ปรับเข้าสู่ระยะที่สาม ทั้งระดับพื้นที่ โรงพยาบาลทหารด้วย 1.5 จัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือที่จําเป็น ในปริมาณที่เพียงพอสําหรับรับมือระยะที่ 3 ได้แก่ ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือ และชุดป้องกันโรค ซึ่งมีแผนการผลิตและจัดหาแล้วอย่างต่อเนื่อง 1.6 ขอแนะนําให้คนไทยที่พํานักอาศัยในต่างประเทศได้ชะลอการเดินทางกลับประเทศไทยจนกว่าสถานการณ์การระบาดของโรคจะดีขึ้น หรือไม่ก็ติดต่อไปที่สถานทูต สถานกงสุลทุกประเทศ ในฐานะคนไทย 2. ด้านเวชภัณฑ์ป้องกัน ต้องเร่งผลิตในประเทศจัดหาจากต่างประเทศให้เพียงพอกับความต้องการ ในเรื่องของ - เร่งผลิตหน้ากากอนามัย หน้ากากทางเลือก เพื่อเป็นทางเลือกสําหรับการป้องกัน เจล และแอลกอฮอล์เพิ่มเติม ผลิตมากขึ้น วันนี้มีการอนุมัติปลดล็อกในการใช้แอลกอฮอล์ไปทําผลิตภัณฑ์เจล ไปยังภาคเอกชนด้วย วันนี้รัฐบาลกําลังจะทําเจล ผลิตเพื่อแจกจ่ายในสถานที่ร้านค้า ปั๊มน้ํามันบางจาก และ ปตท. ขอให้ติดตามต่อไป ว่าจะได้รับเมื่อไรอย่างไร ขอให้เตรียมอุปกรณ์ไว้ด้วย จะได้ลดภาระในเรื่องการจัดหาอุปกรณ์ ทั้งนี้ จะส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปใช้หน้ากากผ้าเมื่อเดินทางเข้าสถานที่ชุมนุมหรือชุมชน และเร่งผลิตหน้ากากผ้าให้เพียงพอทั้งสองประเภท - ในส่วนของหน้ากากอนามัยของกลางที่ยึดได้จากการค้าขายออนไลน์ผิดกฎหมาย การค้าขายเกินราคา เหล่านี้ เราจะรวบรวมส่งศูนย์กระจายและบริหารจัดการสินค้าหน้ากากอนามัยเหล่านั้น เพื่อกระจายต่อไป - ในส่วนของการสํารวจข้อมูลต่าง ๆ ในการส่งออก เรื่องนี้กําลังดําเนินการอยู่ หลายอย่างเป็นข้อตกลง หลายอย่างเป็นสัญญาทางการค้า และมีการผลิตทั้งในประเทศ จําหน่ายในประเทศ และมีการรับจ้างผลิตจากนอกประเทศมาด้วย เป็นแบรนด์เฉพาะของเขา วันนี้กําลังตรวจสอบให้ชัดเจน 5 ถ้ามีความจําเป็นเราสามารถที่จะเอามาใช้ได้สําหรับในประเทศไทย ก็จะดําเนินการ รัฐบาลจําเป็นต้องดูแลในเรื่องเหล่านี้ - การสํารวจความต้องการของเวชภัณฑ์ที่จําเป็น อาทิ ชุดป้องกันสําหรับบุคลากรทางการแพทย์ หน้ากาก N95 และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จําเป็น วันนี้ได้ประสานกับต่างประเทศในการจัดหาเพิ่มเติมให้เพียงพอ ทราบว่ามีประเทศจีนกําลังจะบริจาคให้เราจํานวนหนึ่ง ที่เหลือเราอาจจะต้องมีการเจรจาเพื่อจะซื้อขายกันต่อไปในราคามิตรภาพ ในส่วนของหน้ากาก ในส่วนของยา ในส่วนของอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านั้น และเราก็มีการพัฒนาของเราไปด้วย ด้วยความร่วมมือระหว่างกัน - การตรวจสอบการขาย Online การกักตุน และการระบายของสินค้า เป็นเรื่องที่มีความสําคัญอย่างยิ่ง วันนี้รัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการลงไปตรวจสอบแล้ว มีการไปร่วมมือกันทั้งส่วนของกระทรวงพาณิชย์ กรมการค้าภายใน ตํารวจ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จะทําให้ข้อมูลเหล่านี้ชัดเจนให้มากยิ่งขึ้น อะไรที่จะสามารถนํามาใช้ได้เพิ่มเติมก็จะได้ดําเนินการ 3. ด้านข้อมูล: การสื่อสารข้อมูลต่าง ๆ ของรัฐบาลหลัก ๆ มาจาก 2 แหล่ง ได้แก่ (1) กระทรวงสาธารณสุข เป็นการแถลงเฉพาะด้านข้อมูลทางการแพทย์ การสาธารณสุข ด้วยการปฏิบัติการตาม พ.ร.บ. โรคติดต่อร้ายแรง (2) ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 เป็นการแถลงภาพรวมในทุกด้านที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องเชิงบริหารสถานการณ์ดังกล่าว อย่างที่กราบเรียนไปแล้วว่าหลายเรื่องจําเป็นที่ต้องเข้าคณะรัฐมนตรีด้วย เพราะเป็นมาตรการของรัฐบาล 4. ด้านต่างประเทศ: มีการจัดตั้งทีมงานเพื่อดูแลคนไทยในต่างประเทศ - ให้กระทรวงการต่างประเทศใช้ประโยชน์จาก TEAM THAILAND ในต่างประเทศ เพื่อเป็นทีมเฉพาะกิจ ดูแลคนไทยในต่างประเทศ เราต้องยอมรับว่าเขาเป็นคนไทยเช่นเดียวกัน ต้องดูแลเขา อย่างไรก็ว่ากันมา รัฐบาลพร้อมจะสนับสนุนให้ โดยมีเอกอัครราชทูตเป็นหัวหน้าทีม - ในประเทศให้นําผู้แทนภาคเอกชน ภาคประชาชน เข้ามาหารือด้วย เพราะมีหลายส่วน มีคําแนะนําอันเป็นประโยชน์ และมีหลายอย่างที่รับผลกระทบด้วย จะได้หารือกันทีเดียว 5. ด้านมาตรการป้องกันจะต้องลดโอกาสการแพร่ระบาดของโรคในสถานที่ต่าง ๆ ที่มีความเสี่ยงสูง 5.1 ปิดสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคเพิ่มขึ้น ได้แก่ 1) สถานที่ซึ่งผู้คนมาร่วมเป็นกิจวัตร เพื่อทํากิจกรรมร่วมกันอาจแพร่เชื้อได้ง่ายแม้จะป้องกันดีแล้ว เรายังมีทางเลือกอื่นทดแทนการชุมนุม ได้แก่ มหาวิทยาลัย โรงเรียนนานาชาติ สถาบันกวดวิชา และทุกสถาบัน ให้ปิดชั่วคราว ตั้งแต่วันพุธที่ 18 มีนาคม 2563 เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ และให้สถานศึกษาเหล่านั้นได้ดําเนินการป้องกันโรคตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด 2) สถานที่ซึ่งผู้คนไม่ได้มาชุมนุมเป็นกิจวัตร แต่มาเพื่อทํากิจกรรมที่มีการเบียดเสียดใกล้ชิด และเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อง่ายทางปาก สัมผัสถูกเนื้อถูกตัวหรือใช้สิ่งของร่วมกันง่ายจะต้อง 2.1) ปิดชั่วคราว จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย สําหรับสนามมวย สนามม้า สนามกีฬาที่มีผู้ชมแออัด ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล 2.2) ปิดชั่วคราว 14 วัน สําหรับ ผับ สถานบันเทิง สถานบริการ นวดแผนโบราณ ฟิตเนส สปา และโรงมหรสพ ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล สําหรับพื้นที่อื่น ๆ นั้นเป็นเรื่องของผู้ว่าราชการจังหวัดและคณะกรรมการระดับพื้นที่จะได้พิจารณาความเหมาะสมด้วยการดําเนินการดังกล่าว และการที่จะปิด 14 วันนี้ถ้าหากว่าสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น เราอาจจะมีการยืดระยะเวลาออกไปอีก ขอให้ทุกคนอย่าห่วงกังวล 3) งดการจัดกิจกรรมรวมคนจํานวนมากที่มีความเสี่ยงสูงต่อการแพร่ระบาดของโรค เช่น การจัดคอนเสิร์ต การจัดงานแสดงสินค้าต่าง ๆ กิจกรรมทางศาสนา วัฒนธรรม และกีฬา โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด พิจารณาให้ความเห็นชอบด้วย ให้มีการเพิ่มมาตรการป้องกันสําหรับพื้นที่และสถานที่ที่ยังต้องเปิดอยู่ 5.2 ลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อในสถานที่ที่มีประชาชนใช้บริการจํานวนมาก ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า ตลาด สถานที่ราชการ และรัฐวิสาหกิจ โดยจะต้องดําเนินการตามมาตรการป้องกันที่กระทรวงสาธารณสุขกําหนด 5.3 ร้านค้า ร้านอาหาร ให้มีมาตรการป้องกันการแพร่เชื้อ เช่น การทําความสะอาดพื้นผิวสัมผัส การคัดกรองอุณหภูมิ การใช้หน้ากากอนามัย รวมทั้งลดความแออัด 5.4 ยับยั้งการแพร่ระบาดภายในประเทศ ได้แก่ งดวันหยุดสงกรานต์ ต้องขอความร่วมมือด้วย วันที่ 13 - 15 เมษายน 2563 ขอให้เลื่อนออกไปก่อน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด โดยจะจัดชดเชยวันหยุดให้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม 5.5 ลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อในระบบการขนส่งสาธารณะในประเทศ โดยเพิ่มความถี่ของการเดินรถ มีมาตรการดูแลให้เข้มงวดขึ้น ในการเดินทางต่าง ๆ 5.6 งดกิจกรรมที่มีการเคลื่อนย้ายคนข้ามจังหวัดของหน่วยงานที่มีคนเป็นจํานวนมาก เช่น ค่ายทหาร เรือนจํา โรงเรียน หรือหากจําเป็นต้องเคลื่อนย้าย ต้องมีมาตรการป้องกันการแพร่ของโรค รวมถึงการจํากัดการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวด้วย 5.7 ให้ทุกหน่วยงานได้พิจารณามาตรการเหลื่อมเวลาการทํางานและการทํางานที่บ้าน และส่งเสริมให้ใช้ระบบอินเทอร์เน็ต เช่น การประชุมทางไกล โดยให้หน่วยงานราชการทุกหน่วยทําแผนการทํางานจากบ้านและรายงานผลการปฏิบัติต่อศูนย์ฯ 5.8 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด และคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ใช้อํานาจตาม พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มาตรา 35 เพื่อจํากัด ดูแล การเคลื่อนย้ายที่จะทําให้เกิดการแพร่ระบาด หรือกําหนดมาตรการที่เหมาะสมอื่น ๆ ในการจํากัดพื้นที่เสี่ยงตามข้อมูลที่มีการแพร่ระบาด และแจ้งมาตรการที่จะดําเนินการต่อศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้รับทราบ และให้ความเห็นชอบโดยเร็ว พร้อมทั้งรายงานผลการดําเนินงานเป็นประจําทุกวัน 5.9 ให้เร่งดําเนินการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคในทุกอําเภอ เขต หมู่บ้าน ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่โดยด่วน และให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วยในการดําเนินการเฝ้าระวัง 6. ด้านมาตรการช่วยเหลือเยียวยาได้แก่ 6.1 กลุ่มธุรกิจ โรงงาน สถานประกอบการ โรงแรม และธุรกิจเกี่ยวเนื่องด้านการท่องเที่ยว ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาหามาตรการรองรับเพื่อช่วยเหลือธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ ในกรณีที่ต้องชะลอการ lay off พนักงาน ลูกจ้าง อาทิ มาตรการช่วยเหลือการลดราคาห้องพักของธุรกิจโรงแรม 6.2 กลุ่มประชาชนได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ ให้กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณามาตรการในการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ รับฟังข้อร้องเรียน ที่ต้องการให้ช่วยเหลือ และมีภาระในในการผ่อนชําระ เช่น รถจักรยานยนต์ ฯลฯ เพื่อให้สถาบันการเงินผ่อนผันการชําระค่างวด รวมถึงประชาชนที่ประกอบอาชีพต่าง ๆ ที่อยู่นอกระบบ เช่น พ่อค้า แม่ค้า ลูกจ้างรายวัน เป็นต้น กลุ่มเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ และพิจารณามาตรการเพื่อนําเสนอเป็นมาตรการบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์การแพร่ระบาดฯในระยะที่ 2 ต่อไป 6.3 ให้กระทรวงการคลัง กระทรวงยุติธรรม กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดําเนินการดูแลอย่างเข้มงวดในเรื่องที่เกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจากสถานการณ์ไวรัสโควิด 19 เช่น หนี้นอกระบบ การบังคับคดี การขายฝาก เป็นต้น 6.4 การสร้างขวัญและกําลังใจให้กับกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งนี้ สําหรับมาตรการของรัฐบาลเพื่อรองรับผลกระทบที่สืบเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคที่เคยเข้าคณะรัฐมนตรี ขอให้ศูนย์ข้อมูลโควิด นําไปเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ในช่วงทางต่าง ๆ ต่อไป หลายอย่างหลายมาตรการเหล่านี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติ ต้องไปดําเนินการ ภายใต้ความรับผิดชอบ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด ทั้งหมดนี้ที่กราบเรียนให้ทราบคือว่าเราอยู่ในระหว่างที่เราจะต้องสกัดกั้นการแพร่เชื้อจากต่างประเทศ และสกัดกั้นการแพร่กระจายในประเทศให้ได้มากที่สุด เพราะเราจะต้องควบคุมสถานการณ์ ชะลอให้อยู่ในระยะที่ 2 ให้นานที่สุด เพราะฉะนั้นจะมีมาตรการเพิ่มเติมมาตามลําดับ วันนี้มีแค่นี้ วันหน้าอาจจะมีมากขึ้น ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศของเรา เราจะต้องใช้มาตรการในการควบคุม ป้องกัน รักษา และสื่อสารในทุก ๆ ด้าน เราถือว่าการแก้ไขปัญหา โควิด 19 มีความสําคัญเป็นอันดับ 1 สําหรับประเทศไทยในเวลานี้ เนื่องจากมีผลกระทบต่อชีวิตของประชาชนโดยตรง และเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคบรรเทาลงแล้ว รัฐบาลจะได้ดําเนินการฟื้นฟูผลกระทบด้านอื่น ๆ อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเศรษฐกิจต่อไป ทั้งนี้ รัฐบาลจะประเมินสถานการณ์โควิด 19 ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง รวมถึงปัญหาเศรษฐกิจรายวันอย่างใกล้ชิดและรอบคอบ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือ ปรับหรือเพิ่มเติมมาตรการต่าง ๆ ให้เกิดความเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ต่อไป ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/27429
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ มอบโล่และใบประกาศเกียรติคุณแก่ผู้เกษียณอายุ ประจำปี 2562
วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน 2562 รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ มอบโล่และใบประกาศเกียรติคุณแก่ผู้เกษียณอายุ ประจําปี 2562 รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ มอบโล่และใบประกาศเกียรติคุณแก่ผู้เกษียณอายุ ประจําปี 2562 นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานพิธีมอบโล่และใบประกาศเกียรติคุณแก่ผู้เกษียณอายุ ประจําปี 2562 จํานวน 550 คน โดยมีผู้บริหารกระทรวงฯ ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจของกระทรวงฯ เข้าร่วม ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2562 สําหรับการจัดงานดังกล่าว จัดขึ้นเป็นประจําทุกปี เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณแก่ผู้ที่จะเกษียณอายุที่ได้เสียสละทุ่มเทกําลังกาย กําลังปัญญา และกําลังสําคัญให้แก่หน่วยงาน ที่ได้สร้างคุณประโยชน์ตลอดระยะเวลาในการปฏิบัติงาน โดย รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ ได้กล่าวให้โอวาทแก่ผู้เกษียณอายุว่า ทุกท่านถือเป็นผู้มีประสบการณ์การทํางานมาอย่างยาวนาน เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถความถนัดในแต่ละด้าน และเชื่อว่ายังสามารถสร้างคุณูปการด้วยการนําเทคโนโลยีมาช่วยกันสร้างแนวคิดที่จะพัฒนาบ้านเมือง ทั้งนี้อยากให้ผู้ที่เกษียณอายุได้กลับมารวมตัวกัน เพื่อทํากิจกรรมดีๆ ทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ให้ได้มีแนวทางในการยึดถือ ศึกษา และเป็นแนวทางให้กับผู้ปฏิบัติงานในกระทรวงฯ ต่อไป *********************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ มอบโล่และใบประกาศเกียรติคุณแก่ผู้เกษียณอายุ ประจำปี 2562 วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน 2562 รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ มอบโล่และใบประกาศเกียรติคุณแก่ผู้เกษียณอายุ ประจําปี 2562 รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ มอบโล่และใบประกาศเกียรติคุณแก่ผู้เกษียณอายุ ประจําปี 2562 นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานพิธีมอบโล่และใบประกาศเกียรติคุณแก่ผู้เกษียณอายุ ประจําปี 2562 จํานวน 550 คน โดยมีผู้บริหารกระทรวงฯ ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจของกระทรวงฯ เข้าร่วม ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2562 สําหรับการจัดงานดังกล่าว จัดขึ้นเป็นประจําทุกปี เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณแก่ผู้ที่จะเกษียณอายุที่ได้เสียสละทุ่มเทกําลังกาย กําลังปัญญา และกําลังสําคัญให้แก่หน่วยงาน ที่ได้สร้างคุณประโยชน์ตลอดระยะเวลาในการปฏิบัติงาน โดย รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ ได้กล่าวให้โอวาทแก่ผู้เกษียณอายุว่า ทุกท่านถือเป็นผู้มีประสบการณ์การทํางานมาอย่างยาวนาน เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถความถนัดในแต่ละด้าน และเชื่อว่ายังสามารถสร้างคุณูปการด้วยการนําเทคโนโลยีมาช่วยกันสร้างแนวคิดที่จะพัฒนาบ้านเมือง ทั้งนี้อยากให้ผู้ที่เกษียณอายุได้กลับมารวมตัวกัน เพื่อทํากิจกรรมดีๆ ทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ให้ได้มีแนวทางในการยึดถือ ศึกษา และเป็นแนวทางให้กับผู้ปฏิบัติงานในกระทรวงฯ ต่อไป *********************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/23410
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองปลัดภานุวัฒน์ฯ เข้าตรวจเยี่ยมศูนย์ดำรงธรรมส่วนหน้า และตรวจเยี่ยมจุดบริการรับเรื่องร้องทุกข์ จ.ราชบุรี
วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน 2562 รองปลัดภานุวัฒน์ฯ เข้าตรวจเยี่ยมศูนย์ดํารงธรรมส่วนหน้า และตรวจเยี่ยมจุดบริการรับเรื่องร้องทุกข์ จ.ราชบุรี นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าตรวจเยี่ยมศูนย์ดํารงธรรมส่วนหน้า ณ ศาลาประชาคม อําเภอดําเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี วันที่ (11 พฤศจิกายน 2562) เวลา 11.00 น. นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนายบรรจง สุกรีฑา รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เข้าตรวจเยี่ยมศูนย์ดํารงธรรมส่วนหน้า ณ ศาลาประชาคม อําเภอดําเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี และตรวจเยี่ยมจุดบริการรับเรื่องร้องทุกข์ ณ จวนผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรีหลังเก่า เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองปลัดภานุวัฒน์ฯ เข้าตรวจเยี่ยมศูนย์ดำรงธรรมส่วนหน้า และตรวจเยี่ยมจุดบริการรับเรื่องร้องทุกข์ จ.ราชบุรี วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน 2562 รองปลัดภานุวัฒน์ฯ เข้าตรวจเยี่ยมศูนย์ดํารงธรรมส่วนหน้า และตรวจเยี่ยมจุดบริการรับเรื่องร้องทุกข์ จ.ราชบุรี นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าตรวจเยี่ยมศูนย์ดํารงธรรมส่วนหน้า ณ ศาลาประชาคม อําเภอดําเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี วันที่ (11 พฤศจิกายน 2562) เวลา 11.00 น. นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนายบรรจง สุกรีฑา รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เข้าตรวจเยี่ยมศูนย์ดํารงธรรมส่วนหน้า ณ ศาลาประชาคม อําเภอดําเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี และตรวจเยี่ยมจุดบริการรับเรื่องร้องทุกข์ ณ จวนผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรีหลังเก่า เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/24502
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไอแบงก์ ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา
วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 ไอแบงก์ ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) ออกมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา โดยพักชําระหนี้เงินต้นและชําระเฉพาะกําไรได้นานสูงสุด 12 เดือน มอบสิทธิ์ให้ทั้งลูกค้าสินเชื่อบุคคลและสินเชื่อเพื่อธุรกิจ จากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยวรวมไปถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับชาวจีนทั้งทางตรงและทางอ้อม ไอแบงก์ จึงได้ออกมาตรการเพื่อผ่อนคลายผลกระทบดังกล่าว ด้วยการผ่อนปรนการผ่อนชําระหนี้เดิมประเภทสินเชื่อบุคคลและสินเชื่อเพื่อธุรกิจที่มีกําหนดระยะเวลา โดยให้พักชําระหนี้เงินต้นและชําระเฉพาะกําไรระยะเวลา 6 - 12 เดือน ทั้งนี้ไม่เกินเดือนธันวาคม 2563 ซึ่งคุณสมบัติของผู้ที่เข้าเกณฑ์การผ่อนปรนครั้งนี้ จะต้องเป็นลูกค้าสินเชื่อเดิมของธนาคาร มีวงเงินสินเชื่ออุปโภคบริโภคทั้งแบบมีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน หรือสินเชื่อเพื่อธุรกิจแบบมีกําหนดระยะเวลา เป็นผู้ดําเนินธุรกิจหรือลูกจ้างขององค์กรหรือผู้ประกอบกิจการที่ดําเนินธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา เช่น ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจผลิตหรือจําหน่ายของที่ระลึก เป็นต้น ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามเพื่อยื่นใบคําขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชําระหนี้ ได้ที่ไอแบงก์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือติดต่อ Ibank Call Center 1302 ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 30 เมษายน 2563
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไอแบงก์ ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 ไอแบงก์ ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) ออกมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา โดยพักชําระหนี้เงินต้นและชําระเฉพาะกําไรได้นานสูงสุด 12 เดือน มอบสิทธิ์ให้ทั้งลูกค้าสินเชื่อบุคคลและสินเชื่อเพื่อธุรกิจ จากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยวรวมไปถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับชาวจีนทั้งทางตรงและทางอ้อม ไอแบงก์ จึงได้ออกมาตรการเพื่อผ่อนคลายผลกระทบดังกล่าว ด้วยการผ่อนปรนการผ่อนชําระหนี้เดิมประเภทสินเชื่อบุคคลและสินเชื่อเพื่อธุรกิจที่มีกําหนดระยะเวลา โดยให้พักชําระหนี้เงินต้นและชําระเฉพาะกําไรระยะเวลา 6 - 12 เดือน ทั้งนี้ไม่เกินเดือนธันวาคม 2563 ซึ่งคุณสมบัติของผู้ที่เข้าเกณฑ์การผ่อนปรนครั้งนี้ จะต้องเป็นลูกค้าสินเชื่อเดิมของธนาคาร มีวงเงินสินเชื่ออุปโภคบริโภคทั้งแบบมีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน หรือสินเชื่อเพื่อธุรกิจแบบมีกําหนดระยะเวลา เป็นผู้ดําเนินธุรกิจหรือลูกจ้างขององค์กรหรือผู้ประกอบกิจการที่ดําเนินธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา เช่น ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจผลิตหรือจําหน่ายของที่ระลึก เป็นต้น ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามเพื่อยื่นใบคําขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชําระหนี้ ได้ที่ไอแบงก์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือติดต่อ Ibank Call Center 1302 ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 30 เมษายน 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/26387
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลปลดล็อคอุ้มผู้ประกอบการ SMEs คนตัวเล็กที่มีปัญหาทางการเงิน คลอดสินเชื่อเปิดโอกาสฟื้นฟูและเสริมศักยภาพธุรกิจ คิดดอกเบี้ยต่ำ 1% ต่อปี
วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 รัฐบาลปลดล็อคอุ้มผู้ประกอบการ SMEs คนตัวเล็กที่มีปัญหาทางการเงิน คลอดสินเชื่อเปิดโอกาสฟื้นฟูและเสริมศักยภาพธุรกิจ คิดดอกเบี้ยต่ํา 1% ต่อปี รัฐบาลเดินหน้าสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย SMEs คนตัวเล็กที่มีปัญหาทางการเงินเข้าถึงแหล่งทุน ออกโครงการสินเชื่อพิเศษ วงเงิน 8,000 ล้านบาท ให้กู้สูงสุด 1 ล้านบาทต่อราย คิดดอกเบี้ย 1%ต่อปี รัฐบาลเดินหน้าสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย SMEs คนตัวเล็กที่มีปัญหาทางการเงินเข้าถึงแหล่งทุน ออกโครงการสินเชื่อพิเศษ วงเงิน 8,000 ล้านบาท ให้กู้สูงสุด 1 ล้านบาทต่อราย คิดดอกเบี้ย 1%ต่อปี เปิดโอกาสใช้ลงทุนขยายกิจการ ทุนหมุนเวียน แจ้งเกิดธุรกิจใหม่ เชื่อช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพและสร้างรายได้ ผลักดันเศรษฐกิจฐานรากเติบโตยั่งยืน ดร.พสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว. หรือSME Development Bank) กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสําคัญอย่างยิ่งต่อผู้ประกอบการ SMEs โดยเฉพาะรายย่อย หรือที่เรียกว่า “คนตัวเล็ก” ในชุมชนทั่วประเทศ ซึ่งอดีตที่ผ่านมามักไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนในระบบได้เลย มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2560 ได้เห็นชอบและอนุมัติมาตรการพิเศษเพื่อขับเคลื่อน SMEs สู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 โดยอนุมัติ “โครงการฟื้นฟูและเสริมศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสําหรับ SMEsคนตัวเล็ก”วงเงิน 8,000 ล้านบาท โดยผ่อนปรนเงื่อนไขต่างๆ เปิดโอกาสให้คนตัวเล็กเข้าถึงแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ําพิเศษได้มากกว่าปกติ “สินเชื่อนี้ ต้องการสนับสนุน SMEsคนตัวเล็ก ที่เป็นนิติบุคคลมีปัญหาทางการเงิน ซึ่งเดิมเข้าถึงแหล่งทุนของสถาบันการเงินได้ยาก แต่กิจการยังมีศักยภาพดําเนินต่อไปได้ และมีความสามารถในการชําระหนี้ได้ ให้ได้รับโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อนําไปใช้ฟื้นฟูปรับปรุงกิจการ เป็นทุนหมุนเวียนในการดําเนินกิจการ หรือพัฒนากิจการให้มีประสิทธิภาพและขีดความสามารถเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการสร้างเศรษฐกิจจากฐานราก (Local Economy) เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ที่ยั่งยืน รวมถึงสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ SMEsรายย่อยเข้าสู่ระบบตามนโยบายรัฐบาลด้วย” ดร.พสุ กล่าว แนวทางดําเนินการนั้น คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ (กอป.) มอบหมายให้ ธพว. เป็นหน่วยร่วมดําเนินการทําหน้าที่ผู้จัดการโครงการ ทั้งรับคําขอกู้ วิเคราะห์โครงการ และอนุมัติสินเชื่อ เป็นต้น สําหรับคุณสมบัติของผู้ประกอบการ SMEs รายย่อยคนตัวเล็กที่อยู่ในข่ายได้รับการสนับสนุนสินเชื่อนี้ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ส่วนบุคคลธรรมดายื่นขอกู้ได้เช่นกัน แต่ต้องจดทะเบียนนิติบุคคลให้เสร็จ ก่อนอนุมัติสินเชื่อ มีจํานวนการจ้างงานไม่เกิน 50 คน หรือมีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดินไม่เกิน 50 ล้านบาท และ ณ วันยื่นขอกู้ต้องไม่เป็น NPL หรือ ไม่ถูกดําเนินคดี นอกจากนี้ผู้กู้ต้องมีบัญชีรับ-จ่าย หรือระบบบัญชีชุดเดียวในกิจการเท่านั้น ส่วนประวัติการชําระหนี้ก่อนวันยื่นกู้ กรณีลูกหนี้ปกติ ในช่วง 12 เดือนนี้ ชําระหนี้ล่าช้าได้ไม่เกิน 3 ครั้ง สําหรับกรณีเคยปรับเงื่อนไขการชําระหนี้ หรือเคยปรับโครงสร้างหนี้ ต้องชําระหนี้มาแล้ว 4 งวดติดต่อ ไม่เคยค้างหลังมีการปรับเงื่อนไขหรือโครงสร้างหนี้ และหากชําระหนี้มาแล้วมากกว่า 4 งวด ให้ชําระหนี้ล่าช้าได้ไม่เกิน 2 ครั้ง นอกเหนือจากคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผู้กู้ต้องไม่อยู่ระหว่างการได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนสนับสนุนสินเชื่อจาก กองทุนพลิกฟื้น วงเงิน 1,000 ล้าน หรือ กองทุนฟื้นฟู วงเงิน 2,000 ล้านบาท จากสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัว และหัตถกรรมไทย จากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ในการขอกู้ ต้องนําเงินไปใช้ลงทุน ขยาย ปรับปรุง พัฒนากิจการให้มีประสิทธิภาพและขีดความสามารถเพิ่มขึ้น รวมถึงลงทุนเริ่มต้นธุรกิจ สร้างธุรกิจใหม่ หรือใช้เป็นทุนหมุนเวียนในกิจการ กําหนดวงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อราย ระยะเวลากู้ยืมสูงสุดไม่เกิน 7 ปี ปลอดชําระคืนเงินต้น สูงสุด 3 ปี คิดอัตราดอกเบี้ยเพียง 1%ต่อปีตลอดอายุสัญญา สําหรับกรณีผู้กู้เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ให้วงเงินสูงสุดกู้ไม่เกิน 200,000 บาท หากมีผลการชําระหนี้เป็นปกติไม่น้อยกว่า 3 งวด หรือตามเงื่อนไขที่ธนาคารกําหนด แต่ไม่น้อยกว่า 3 เดือนให้สามารถขอวงเงินเพิ่มได้ตามความเหมาะสม และความสามารถในการชําระหนี้ โดยสามารถยื่นกู้ได้ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 เป็นต้นไปจนกว่าจะหมดวงเงิน เชื่อว่าจะมีผู้ประกอบการรายย่อยเข้าถึงสินเชื่อกว่า 27,000 ราย เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้จากฐานราก สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 36,640 ล้านบาท ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ : นางอุบลรัตน์ ค่าแพง ผู้อํานวยการฝ่ายส่งเสริมการตลาด ลูกค้าสัมพันธ์และกิจกรรมเพื่อสังคม โทร. 085-980-7861, 02-265-4404
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลปลดล็อคอุ้มผู้ประกอบการ SMEs คนตัวเล็กที่มีปัญหาทางการเงิน คลอดสินเชื่อเปิดโอกาสฟื้นฟูและเสริมศักยภาพธุรกิจ คิดดอกเบี้ยต่ำ 1% ต่อปี วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 รัฐบาลปลดล็อคอุ้มผู้ประกอบการ SMEs คนตัวเล็กที่มีปัญหาทางการเงิน คลอดสินเชื่อเปิดโอกาสฟื้นฟูและเสริมศักยภาพธุรกิจ คิดดอกเบี้ยต่ํา 1% ต่อปี รัฐบาลเดินหน้าสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย SMEs คนตัวเล็กที่มีปัญหาทางการเงินเข้าถึงแหล่งทุน ออกโครงการสินเชื่อพิเศษ วงเงิน 8,000 ล้านบาท ให้กู้สูงสุด 1 ล้านบาทต่อราย คิดดอกเบี้ย 1%ต่อปี รัฐบาลเดินหน้าสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย SMEs คนตัวเล็กที่มีปัญหาทางการเงินเข้าถึงแหล่งทุน ออกโครงการสินเชื่อพิเศษ วงเงิน 8,000 ล้านบาท ให้กู้สูงสุด 1 ล้านบาทต่อราย คิดดอกเบี้ย 1%ต่อปี เปิดโอกาสใช้ลงทุนขยายกิจการ ทุนหมุนเวียน แจ้งเกิดธุรกิจใหม่ เชื่อช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพและสร้างรายได้ ผลักดันเศรษฐกิจฐานรากเติบโตยั่งยืน ดร.พสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว. หรือSME Development Bank) กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสําคัญอย่างยิ่งต่อผู้ประกอบการ SMEs โดยเฉพาะรายย่อย หรือที่เรียกว่า “คนตัวเล็ก” ในชุมชนทั่วประเทศ ซึ่งอดีตที่ผ่านมามักไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนในระบบได้เลย มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2560 ได้เห็นชอบและอนุมัติมาตรการพิเศษเพื่อขับเคลื่อน SMEs สู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 โดยอนุมัติ “โครงการฟื้นฟูและเสริมศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสําหรับ SMEsคนตัวเล็ก”วงเงิน 8,000 ล้านบาท โดยผ่อนปรนเงื่อนไขต่างๆ เปิดโอกาสให้คนตัวเล็กเข้าถึงแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ําพิเศษได้มากกว่าปกติ “สินเชื่อนี้ ต้องการสนับสนุน SMEsคนตัวเล็ก ที่เป็นนิติบุคคลมีปัญหาทางการเงิน ซึ่งเดิมเข้าถึงแหล่งทุนของสถาบันการเงินได้ยาก แต่กิจการยังมีศักยภาพดําเนินต่อไปได้ และมีความสามารถในการชําระหนี้ได้ ให้ได้รับโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อนําไปใช้ฟื้นฟูปรับปรุงกิจการ เป็นทุนหมุนเวียนในการดําเนินกิจการ หรือพัฒนากิจการให้มีประสิทธิภาพและขีดความสามารถเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการสร้างเศรษฐกิจจากฐานราก (Local Economy) เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ที่ยั่งยืน รวมถึงสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ SMEsรายย่อยเข้าสู่ระบบตามนโยบายรัฐบาลด้วย” ดร.พสุ กล่าว แนวทางดําเนินการนั้น คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ (กอป.) มอบหมายให้ ธพว. เป็นหน่วยร่วมดําเนินการทําหน้าที่ผู้จัดการโครงการ ทั้งรับคําขอกู้ วิเคราะห์โครงการ และอนุมัติสินเชื่อ เป็นต้น สําหรับคุณสมบัติของผู้ประกอบการ SMEs รายย่อยคนตัวเล็กที่อยู่ในข่ายได้รับการสนับสนุนสินเชื่อนี้ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ส่วนบุคคลธรรมดายื่นขอกู้ได้เช่นกัน แต่ต้องจดทะเบียนนิติบุคคลให้เสร็จ ก่อนอนุมัติสินเชื่อ มีจํานวนการจ้างงานไม่เกิน 50 คน หรือมีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดินไม่เกิน 50 ล้านบาท และ ณ วันยื่นขอกู้ต้องไม่เป็น NPL หรือ ไม่ถูกดําเนินคดี นอกจากนี้ผู้กู้ต้องมีบัญชีรับ-จ่าย หรือระบบบัญชีชุดเดียวในกิจการเท่านั้น ส่วนประวัติการชําระหนี้ก่อนวันยื่นกู้ กรณีลูกหนี้ปกติ ในช่วง 12 เดือนนี้ ชําระหนี้ล่าช้าได้ไม่เกิน 3 ครั้ง สําหรับกรณีเคยปรับเงื่อนไขการชําระหนี้ หรือเคยปรับโครงสร้างหนี้ ต้องชําระหนี้มาแล้ว 4 งวดติดต่อ ไม่เคยค้างหลังมีการปรับเงื่อนไขหรือโครงสร้างหนี้ และหากชําระหนี้มาแล้วมากกว่า 4 งวด ให้ชําระหนี้ล่าช้าได้ไม่เกิน 2 ครั้ง นอกเหนือจากคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผู้กู้ต้องไม่อยู่ระหว่างการได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนสนับสนุนสินเชื่อจาก กองทุนพลิกฟื้น วงเงิน 1,000 ล้าน หรือ กองทุนฟื้นฟู วงเงิน 2,000 ล้านบาท จากสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัว และหัตถกรรมไทย จากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ในการขอกู้ ต้องนําเงินไปใช้ลงทุน ขยาย ปรับปรุง พัฒนากิจการให้มีประสิทธิภาพและขีดความสามารถเพิ่มขึ้น รวมถึงลงทุนเริ่มต้นธุรกิจ สร้างธุรกิจใหม่ หรือใช้เป็นทุนหมุนเวียนในกิจการ กําหนดวงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อราย ระยะเวลากู้ยืมสูงสุดไม่เกิน 7 ปี ปลอดชําระคืนเงินต้น สูงสุด 3 ปี คิดอัตราดอกเบี้ยเพียง 1%ต่อปีตลอดอายุสัญญา สําหรับกรณีผู้กู้เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ให้วงเงินสูงสุดกู้ไม่เกิน 200,000 บาท หากมีผลการชําระหนี้เป็นปกติไม่น้อยกว่า 3 งวด หรือตามเงื่อนไขที่ธนาคารกําหนด แต่ไม่น้อยกว่า 3 เดือนให้สามารถขอวงเงินเพิ่มได้ตามความเหมาะสม และความสามารถในการชําระหนี้ โดยสามารถยื่นกู้ได้ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 เป็นต้นไปจนกว่าจะหมดวงเงิน เชื่อว่าจะมีผู้ประกอบการรายย่อยเข้าถึงสินเชื่อกว่า 27,000 ราย เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้จากฐานราก สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 36,640 ล้านบาท ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ : นางอุบลรัตน์ ค่าแพง ผู้อํานวยการฝ่ายส่งเสริมการตลาด ลูกค้าสัมพันธ์และกิจกรรมเพื่อสังคม โทร. 085-980-7861, 02-265-4404
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/10234
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ชี้แจงโครงการจัดซื้อจัดจ้างเปลี่ยนเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด และปรับปรุงระบบลำเลียงกระเป๋าสัมภาระอาคารผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม 2561 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จํากัด (มหาชน) ชี้แจงโครงการจัดซื้อจัดจ้างเปลี่ยนเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด และปรับปรุงระบบลําเลียงกระเป๋าสัมภาระอาคารผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จํากัด (มหาชน) (ทอท.) กระทรวงคมนาคม ชี้แจงเกี่ยวกับโครงการจัดซื้อจัดจ้างเปลี่ยนเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด จํานวน 26 เครื่อง และปรับปรุงระบบลําเลียงกระเป๋าสัมภาระอาคารผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) วงเงิน 2,880,500,000 บาท นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อํานวยการใหญ่ ทอท. กล่าวว่า ตามที่มีผู้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) โครงการจัดซื้อจัดจ้างเปลี่ยนเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด (EDS) และปรับปรุงระบบลําเลียงกระเป๋าสัมภาระอาคารผู้โดยสาร ณ ทสภ. ที่กําหนดคุณสมบัติผู้เสนอราคาจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทผู้ผลิตในต่างประเทศหรือเจ้าของผลิตภัณฑ์ในต่างประเทศว่า เป็นผู้จําหน่ายเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดรุ่นที่มีความเร็วสายพานไม่น้อยกว่า 0.5 เมตรต่อวินาที รวมทั้งได้รับการรับรองจาก Transportation Security Administration (TSA) ของประเทศสหรัฐอเมริกา และการอนุมัติจาก ECAC Standard - 3 หรือสูงกว่า ของประเทศในกลุ่มยุโรป ถือเป็นการเปิดช่องให้มีการล็อกสเปคกําหนดตัวเอกชนผู้ได้รับงานล่วงหน้า ทําให้มีเอกชนจํานวนไม่กี่รายที่สามารถเข้าร่วมประกวดภายใต้คุณสมบัติเหล่านี้ได้ ทอท. ขอชี้แจงว่า เมื่อพิจารณาจากความต้องการของ ทสภ. ซึ่งมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ที่ปรึกษาโครงการฯ จึงสรุปได้ว่าเครื่อง EDS ที่มีความเร็วสายพาน 0.5 เมตรต่อวินาที มีความเหมาะสม เนื่องจากเครื่อง EDS มีความสามารถได้มาตรฐานความปลอดภัยและช่วยเพิ่มระดับการให้บริการ (Level of Services) สอดคล้องกับความต้องการของ ทสภ. ทอท. ได้ปรับปรุงสเปคใหม่โดยคํานึงถึงเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยสามารถรองรับการใช้งานได้ในระยะยาว 13 - 15 ปีข้างหน้า หรือจนถึงปี 2578 ด้านคุณภาพสเปคของเครื่อง EDS ต้องมีมาตรฐานระดับโลก และได้รับการรับรองมาตรฐานจาก TSA ของสหรัฐอเมริกาและการอนุมัติจาก ECAC Standard - 3 หรือสูงกว่าของประเทศในกลุ่มยุโรป ซึ่งให้การยอมรับท่าอากาศยานที่มีมาตรฐานในระดับเดียวกันในการบินเข้าประเทศ ทั้งนี้ จากรายงานผลการออกแบบ (Final Report) ตรวจสอบ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2560 มีผู้ผลิตเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดรุ่นความเร็ว 0.5 เมตรต่อวินาที ที่ได้รับการรับรองจาก TSA จํานวน 2 ราย ได้แก่ เครื่อง MV3D ของบริษัท L3 Communications และเครื่อง Hi-Scan10080XCT ของบริษัท Smith Detection และอยู่ระหว่างการดําเนินการขออนุญาต จํานวน 2 ราย ได้แก่ เครื่อง CTX9800DSi ของบริษัท Morpho Detection และเครื่อง X1000 ของบริษัท SureScan การตั้งข้อสังเกตว่าเครื่อง CTX9800DSi ซึ่งจากเดิมเป็นบริษัท Morpho Detection ปัจจุบันบริษัทดังกล่าวได้เป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Smith Detection จากการเข้าซื้อกิจการ จึงไม่ได้เป็นการปิดกั้น หรือกําหนดตัวเอกชนในการจัดหาไว้แต่อย่างใด สําหรับกรณีที่ นายวรพจน์ ยศะทัตต์ ตัวแทนขายเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดยี่ห้อ CTX ในประเทศไทย กล่าวว่า ร่าง TOR ประมูลงานโครงการนี้ ไม่แตกต่างจากร่าง TOR เดิมที่เคยทําหนังสือร้องเรียนไปยังผู้บริหาร ทอท. รวมทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐบาล ที่กีดกันไม่ให้เครื่อง CTX เข้าร่วมประมูล โดยเฉพาะการกําหนดรุ่นที่มีความเร็วสายพานไม่น้อยกว่า 0.5 เมตรต่อวินาที และได้รับการรับรองจาก TSA ซึ่งจะทําให้ CTX ไม่ผ่านคุณสมบัติในทันที รวมทั้งการจัดทําราคากลางจัดซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดกับสายพานลําเลียง วงเงิน 2.8 พันล้านบาท บริษัทที่ปรึกษาฯ ที่รับจ้างจัดทํา TOR ไม่เคยสอบถามราคาเครื่อง CTX จากบริษัทมาก่อนนั้น ทอท. ขอชี้แจงว่า การจัดทําราคากลางกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาฯ ได้สอบราคาไปยังผู้ผลิตเครื่อง EDS ความเร็วสูง 0.5 เมตรต่อวินาที และได้รับการเสนอราคา ซึ่งเป็นราคาที่ครอบคลุมถึงงานปรับปรุงสายพานหน้าเครื่องและหลังเครื่องแล้ว
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ชี้แจงโครงการจัดซื้อจัดจ้างเปลี่ยนเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด และปรับปรุงระบบลำเลียงกระเป๋าสัมภาระอาคารผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม 2561 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จํากัด (มหาชน) ชี้แจงโครงการจัดซื้อจัดจ้างเปลี่ยนเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด และปรับปรุงระบบลําเลียงกระเป๋าสัมภาระอาคารผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จํากัด (มหาชน) (ทอท.) กระทรวงคมนาคม ชี้แจงเกี่ยวกับโครงการจัดซื้อจัดจ้างเปลี่ยนเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด จํานวน 26 เครื่อง และปรับปรุงระบบลําเลียงกระเป๋าสัมภาระอาคารผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) วงเงิน 2,880,500,000 บาท นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อํานวยการใหญ่ ทอท. กล่าวว่า ตามที่มีผู้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) โครงการจัดซื้อจัดจ้างเปลี่ยนเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด (EDS) และปรับปรุงระบบลําเลียงกระเป๋าสัมภาระอาคารผู้โดยสาร ณ ทสภ. ที่กําหนดคุณสมบัติผู้เสนอราคาจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทผู้ผลิตในต่างประเทศหรือเจ้าของผลิตภัณฑ์ในต่างประเทศว่า เป็นผู้จําหน่ายเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดรุ่นที่มีความเร็วสายพานไม่น้อยกว่า 0.5 เมตรต่อวินาที รวมทั้งได้รับการรับรองจาก Transportation Security Administration (TSA) ของประเทศสหรัฐอเมริกา และการอนุมัติจาก ECAC Standard - 3 หรือสูงกว่า ของประเทศในกลุ่มยุโรป ถือเป็นการเปิดช่องให้มีการล็อกสเปคกําหนดตัวเอกชนผู้ได้รับงานล่วงหน้า ทําให้มีเอกชนจํานวนไม่กี่รายที่สามารถเข้าร่วมประกวดภายใต้คุณสมบัติเหล่านี้ได้ ทอท. ขอชี้แจงว่า เมื่อพิจารณาจากความต้องการของ ทสภ. ซึ่งมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ที่ปรึกษาโครงการฯ จึงสรุปได้ว่าเครื่อง EDS ที่มีความเร็วสายพาน 0.5 เมตรต่อวินาที มีความเหมาะสม เนื่องจากเครื่อง EDS มีความสามารถได้มาตรฐานความปลอดภัยและช่วยเพิ่มระดับการให้บริการ (Level of Services) สอดคล้องกับความต้องการของ ทสภ. ทอท. ได้ปรับปรุงสเปคใหม่โดยคํานึงถึงเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยสามารถรองรับการใช้งานได้ในระยะยาว 13 - 15 ปีข้างหน้า หรือจนถึงปี 2578 ด้านคุณภาพสเปคของเครื่อง EDS ต้องมีมาตรฐานระดับโลก และได้รับการรับรองมาตรฐานจาก TSA ของสหรัฐอเมริกาและการอนุมัติจาก ECAC Standard - 3 หรือสูงกว่าของประเทศในกลุ่มยุโรป ซึ่งให้การยอมรับท่าอากาศยานที่มีมาตรฐานในระดับเดียวกันในการบินเข้าประเทศ ทั้งนี้ จากรายงานผลการออกแบบ (Final Report) ตรวจสอบ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2560 มีผู้ผลิตเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดรุ่นความเร็ว 0.5 เมตรต่อวินาที ที่ได้รับการรับรองจาก TSA จํานวน 2 ราย ได้แก่ เครื่อง MV3D ของบริษัท L3 Communications และเครื่อง Hi-Scan10080XCT ของบริษัท Smith Detection และอยู่ระหว่างการดําเนินการขออนุญาต จํานวน 2 ราย ได้แก่ เครื่อง CTX9800DSi ของบริษัท Morpho Detection และเครื่อง X1000 ของบริษัท SureScan การตั้งข้อสังเกตว่าเครื่อง CTX9800DSi ซึ่งจากเดิมเป็นบริษัท Morpho Detection ปัจจุบันบริษัทดังกล่าวได้เป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Smith Detection จากการเข้าซื้อกิจการ จึงไม่ได้เป็นการปิดกั้น หรือกําหนดตัวเอกชนในการจัดหาไว้แต่อย่างใด สําหรับกรณีที่ นายวรพจน์ ยศะทัตต์ ตัวแทนขายเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดยี่ห้อ CTX ในประเทศไทย กล่าวว่า ร่าง TOR ประมูลงานโครงการนี้ ไม่แตกต่างจากร่าง TOR เดิมที่เคยทําหนังสือร้องเรียนไปยังผู้บริหาร ทอท. รวมทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐบาล ที่กีดกันไม่ให้เครื่อง CTX เข้าร่วมประมูล โดยเฉพาะการกําหนดรุ่นที่มีความเร็วสายพานไม่น้อยกว่า 0.5 เมตรต่อวินาที และได้รับการรับรองจาก TSA ซึ่งจะทําให้ CTX ไม่ผ่านคุณสมบัติในทันที รวมทั้งการจัดทําราคากลางจัดซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดกับสายพานลําเลียง วงเงิน 2.8 พันล้านบาท บริษัทที่ปรึกษาฯ ที่รับจ้างจัดทํา TOR ไม่เคยสอบถามราคาเครื่อง CTX จากบริษัทมาก่อนนั้น ทอท. ขอชี้แจงว่า การจัดทําราคากลางกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาฯ ได้สอบราคาไปยังผู้ผลิตเครื่อง EDS ความเร็วสูง 0.5 เมตรต่อวินาที และได้รับการเสนอราคา ซึ่งเป็นราคาที่ครอบคลุมถึงงานปรับปรุงสายพานหน้าเครื่องและหลังเครื่องแล้ว
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/10704
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ดูแลสุขภาพพระสงฆ์ ผ่านธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์
วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม 2561 ดูแลสุขภาพพระสงฆ์ ผ่านธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ รัฐบาลให้ความสําคัญกับการดูแลสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ โดยดําเนินงานตามหลักการของธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ปี 2560 ร่วมกับโครงการพลังบวร หรือ บ้าน วัด โรงเรียน ดูแลสุขภาพพระสงฆ์ ผ่านธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลให้ความสําคัญกับการดูแลสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ โดยดําเนินงานตามหลักการของธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ปี 2560 ร่วมกับโครงการพลังบวร หรือ บ้าน วัด โรงเรียน ตามแนวทางประชารัฐโดยจะมีการจัดทําฐานข้อมูลพระสงฆ์ การตรวจคัดกรองสุขภาพพระสงฆ์ และการอบรมให้ความรู้ทั้งฝ่ายพระสงฆ์และฆราวาส ใน 3 เรื่อง ประกอบด้วย พระสงฆ์กับการดูแลสุขภาพตนเอง บทบาทพระสงฆ์ในการสร้างเสริมสุขภาวะของชุมชน และการอุปัฏฐากดูแลสุขภาพพระสงฆ์ของชุมชนและสังคมอย่างถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัย ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดในการสร้างเสริมสุขภาวะให้กับพระสงฆ์และช่วยสร้างความมั่นคงแก่พระพุทธศาสนาที่ว่า “พระแข็งแรง วัดมั่นคง ชุมชนเป็นสุข” ร่วมเดินหน้าประเทศไทย กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ดูแลสุขภาพพระสงฆ์ ผ่านธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม 2561 ดูแลสุขภาพพระสงฆ์ ผ่านธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ รัฐบาลให้ความสําคัญกับการดูแลสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ โดยดําเนินงานตามหลักการของธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ปี 2560 ร่วมกับโครงการพลังบวร หรือ บ้าน วัด โรงเรียน ดูแลสุขภาพพระสงฆ์ ผ่านธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลให้ความสําคัญกับการดูแลสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ โดยดําเนินงานตามหลักการของธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ปี 2560 ร่วมกับโครงการพลังบวร หรือ บ้าน วัด โรงเรียน ตามแนวทางประชารัฐโดยจะมีการจัดทําฐานข้อมูลพระสงฆ์ การตรวจคัดกรองสุขภาพพระสงฆ์ และการอบรมให้ความรู้ทั้งฝ่ายพระสงฆ์และฆราวาส ใน 3 เรื่อง ประกอบด้วย พระสงฆ์กับการดูแลสุขภาพตนเอง บทบาทพระสงฆ์ในการสร้างเสริมสุขภาวะของชุมชน และการอุปัฏฐากดูแลสุขภาพพระสงฆ์ของชุมชนและสังคมอย่างถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัย ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดในการสร้างเสริมสุขภาวะให้กับพระสงฆ์และช่วยสร้างความมั่นคงแก่พระพุทธศาสนาที่ว่า “พระแข็งแรง วัดมั่นคง ชุมชนเป็นสุข” ร่วมเดินหน้าประเทศไทย กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/14931
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.พม. กำชับ พมจ. ทั่วประเทศ ทำงานเชิงรุกและเข้าถึงประชาชนมากขึ้น พร้อมเชิญชวนนักศึกษาฝึกงานกับ พม. เพื่อนำความรู้ไปสร้างสังคมที่ดีในอนาคต
วันพุธที่ 21 สิงหาคม 2562 รมว.พม. กําชับ พมจ. ทั่วประเทศ ทํางานเชิงรุกและเข้าถึงประชาชนมากขึ้น พร้อมเชิญชวนนักศึกษาฝึกงานกับ พม. เพื่อนําความรู้ไปสร้างสังคมที่ดีในอนาคต รมว.พม. กําชับ พมจ. ทั่วประเทศ ทํางานเชิงรุกและเข้าถึงประชาชนมากขึ้น พร้อมเชิญชวนนักศึกษาฝึกงานกับ พม. เพื่อนําความรู้ไปสร้างสังคมที่ดีในอนาคต วันนี้ (21 ส.ค. 62) เวลา 10.00 น. ที่ห้องประชุมชั้น 8 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สะพานขาว กรุงเทพฯ นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ศปก.พม.) ครั้งที่ 26/2562 โดยมี นายปรเมธี วิมลศิริ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) พร้อมด้วยผู้บริหาร ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมการประชุม รวมทั้งพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดทั่วประเทศ ร่วมการประชุม โดยระบบการประชุมทางไกล Video Conference นายจุติ กล่าวว่า การประชุม ศปก.พม. ครั้งนี้ ได้พูดคุยและรับฟังปัญหาในแต่ละพื้นที่จากพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) ทุกจังหวัด พร้อมทั้งได้กําชับให้ พมจ. ปฏิบัติงานในพื้นที่เชิงรุกและเข้าถึงการช่วยเหลือประชาชนมากขึ้น และจัดทําระบบฐานข้อมูล (DATA BASE) ที่มีอยู่ให้ดีขึ้น เพื่อจะได้เฝ้าระวังและได้เห็นปัญหาตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งจะได้แก้ไขปัญหาทันท่วงที รวมถึงเน้นการติดตามปัญหาที่ได้รับมาจากประชาชนร้องเรียน ไม่ใช่รับแล้วนิ่งเฉย ต้องติดตามปัญหาว่าผลสําเร็จเป็นอย่างไร และต้องให้ประชาชนเห็นว่าก่อนที่จะมาร้องเรียนกับทางกระทรวง พม. เป็นอย่างไร และหลังร้องเรียนกระทรวง พม. ได้ดําเนินการอย่างไรบ้าง แล้วมีปัญหาติดขัดตรงไหนบ้าง นายจุติ กล่าวต่อไปว่า กระทรวง พม. จะมีการขยายช่องทางการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาทางสังคมด้วยการรับสมัครอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ทั่วประเทศ ให้มีจํานวนเพิ่มขึ้น ซึ่งประชาชนที่ประสงค์จะเข้ามาเป็น อพม. จะได้รับการฝึกอบรมจากทางกระทรวง พม. จากนั้นจะได้ไปเป็นจิตอาสาช่วยงานสังคมมากขึ้น นอกจากนี้ ยังได้แจ้งให้ พมจ. ทราบถึงโครงการที่กระทรวง พม. จะรับสมัครนักศึกษาฝึกงาน เพื่อให้นักศึกษามีความเชี่ยวชาญในด้านสังคมสงเคราะห์ การดูแลผู้สูงอายุ ฯลฯ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถติดตัว นําไปปรับใช้ในการประกอบอาชีพต่างๆในอนาคตต่อไป ทั้งนี้ ขอเชิญชวนนักศึกษาร่วมฝึกงานกับทางกระทรวง พม. โดยแต่ละพื้นที่สามารถฝึกงานกับ พมจ. ทุกจังหวัด ซึ่งทางกระทรวง พม. จะจัดอบรมความรู้ให้เข้มข้นและก่อนที่จะจบการฝึกอบรมเรื่องหลักสูตรการเตรียมความพร้อมเข้าสู่การทํางานและเป็นผู้นําใน ปี 2021 ให้กับทุกคน ซึ่งจะเน้นการฝึกงานที่มีคุณภาพ และเชื่อว่าจิตอาสาที่เข้ามาร่วมฝึกงาน จะได้รับทราบปัญหาสังคมมากยิ่งขึ้น และจะนําไปสร้างสังคมที่ดีในอนาคตได้ รวมถึงช่วยแก้ไขปัญหาสังคมไปด้วย อย่างไรก็ตาม มีความตั้งใจให้ทุกคนมีส่วนร่วมทั้งหมด ในการแก้ไขปัญหาสังคม และการดําเนินงานของกระทรวง พม. จะประสบความสําเร็จได้จะต้องมีพลังประชาสังคมสนับสนุนด้วย "ทั้งนี้ หากประชาชนที่ประสบปัญหาทางสังคมและต้องการขอความช่วยเหลือ สามารถแจ้งศูนย์ช่วยเหลือสังคม กระทรวง พม. สายด่วน 1300 บริการ 24 ชั่วโมง ซึ่งพร้อมให้บริการและประสานส่งต่อไปยังหน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง อีกทั้ง การบูรณาการปฏิบัติงานร่วมกับจิตอาสาและ อพม. ในพื้นที่ ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่าน 4 ช่องทาง ได้แก่ 1) โทรศัพท์ภายในประเทศ โทร. สายด่วน 1300 2) สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) 3) ติดต่อด้วยตนเอง (walk in) ที่ศูนย์ช่วยเหลือสังคม กระทรวง พม. สะพานขาว กรุงเทพฯ และ 4) โทรศัพท์ระหว่างประเทศ โทร. (00)66 99 130 1300 นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถขอความช่วยเหลือผ่านทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ : จุติ ไกรฤกษ์ รมว.พัฒนาสังคมฯ ได้อีกหนึ่งช่องทาง” นายจุติ กล่าวในตอนท้าย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.พม. กำชับ พมจ. ทั่วประเทศ ทำงานเชิงรุกและเข้าถึงประชาชนมากขึ้น พร้อมเชิญชวนนักศึกษาฝึกงานกับ พม. เพื่อนำความรู้ไปสร้างสังคมที่ดีในอนาคต วันพุธที่ 21 สิงหาคม 2562 รมว.พม. กําชับ พมจ. ทั่วประเทศ ทํางานเชิงรุกและเข้าถึงประชาชนมากขึ้น พร้อมเชิญชวนนักศึกษาฝึกงานกับ พม. เพื่อนําความรู้ไปสร้างสังคมที่ดีในอนาคต รมว.พม. กําชับ พมจ. ทั่วประเทศ ทํางานเชิงรุกและเข้าถึงประชาชนมากขึ้น พร้อมเชิญชวนนักศึกษาฝึกงานกับ พม. เพื่อนําความรู้ไปสร้างสังคมที่ดีในอนาคต วันนี้ (21 ส.ค. 62) เวลา 10.00 น. ที่ห้องประชุมชั้น 8 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สะพานขาว กรุงเทพฯ นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ศปก.พม.) ครั้งที่ 26/2562 โดยมี นายปรเมธี วิมลศิริ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) พร้อมด้วยผู้บริหาร ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมการประชุม รวมทั้งพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดทั่วประเทศ ร่วมการประชุม โดยระบบการประชุมทางไกล Video Conference นายจุติ กล่าวว่า การประชุม ศปก.พม. ครั้งนี้ ได้พูดคุยและรับฟังปัญหาในแต่ละพื้นที่จากพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) ทุกจังหวัด พร้อมทั้งได้กําชับให้ พมจ. ปฏิบัติงานในพื้นที่เชิงรุกและเข้าถึงการช่วยเหลือประชาชนมากขึ้น และจัดทําระบบฐานข้อมูล (DATA BASE) ที่มีอยู่ให้ดีขึ้น เพื่อจะได้เฝ้าระวังและได้เห็นปัญหาตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งจะได้แก้ไขปัญหาทันท่วงที รวมถึงเน้นการติดตามปัญหาที่ได้รับมาจากประชาชนร้องเรียน ไม่ใช่รับแล้วนิ่งเฉย ต้องติดตามปัญหาว่าผลสําเร็จเป็นอย่างไร และต้องให้ประชาชนเห็นว่าก่อนที่จะมาร้องเรียนกับทางกระทรวง พม. เป็นอย่างไร และหลังร้องเรียนกระทรวง พม. ได้ดําเนินการอย่างไรบ้าง แล้วมีปัญหาติดขัดตรงไหนบ้าง นายจุติ กล่าวต่อไปว่า กระทรวง พม. จะมีการขยายช่องทางการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาทางสังคมด้วยการรับสมัครอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ทั่วประเทศ ให้มีจํานวนเพิ่มขึ้น ซึ่งประชาชนที่ประสงค์จะเข้ามาเป็น อพม. จะได้รับการฝึกอบรมจากทางกระทรวง พม. จากนั้นจะได้ไปเป็นจิตอาสาช่วยงานสังคมมากขึ้น นอกจากนี้ ยังได้แจ้งให้ พมจ. ทราบถึงโครงการที่กระทรวง พม. จะรับสมัครนักศึกษาฝึกงาน เพื่อให้นักศึกษามีความเชี่ยวชาญในด้านสังคมสงเคราะห์ การดูแลผู้สูงอายุ ฯลฯ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถติดตัว นําไปปรับใช้ในการประกอบอาชีพต่างๆในอนาคตต่อไป ทั้งนี้ ขอเชิญชวนนักศึกษาร่วมฝึกงานกับทางกระทรวง พม. โดยแต่ละพื้นที่สามารถฝึกงานกับ พมจ. ทุกจังหวัด ซึ่งทางกระทรวง พม. จะจัดอบรมความรู้ให้เข้มข้นและก่อนที่จะจบการฝึกอบรมเรื่องหลักสูตรการเตรียมความพร้อมเข้าสู่การทํางานและเป็นผู้นําใน ปี 2021 ให้กับทุกคน ซึ่งจะเน้นการฝึกงานที่มีคุณภาพ และเชื่อว่าจิตอาสาที่เข้ามาร่วมฝึกงาน จะได้รับทราบปัญหาสังคมมากยิ่งขึ้น และจะนําไปสร้างสังคมที่ดีในอนาคตได้ รวมถึงช่วยแก้ไขปัญหาสังคมไปด้วย อย่างไรก็ตาม มีความตั้งใจให้ทุกคนมีส่วนร่วมทั้งหมด ในการแก้ไขปัญหาสังคม และการดําเนินงานของกระทรวง พม. จะประสบความสําเร็จได้จะต้องมีพลังประชาสังคมสนับสนุนด้วย "ทั้งนี้ หากประชาชนที่ประสบปัญหาทางสังคมและต้องการขอความช่วยเหลือ สามารถแจ้งศูนย์ช่วยเหลือสังคม กระทรวง พม. สายด่วน 1300 บริการ 24 ชั่วโมง ซึ่งพร้อมให้บริการและประสานส่งต่อไปยังหน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง อีกทั้ง การบูรณาการปฏิบัติงานร่วมกับจิตอาสาและ อพม. ในพื้นที่ ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่าน 4 ช่องทาง ได้แก่ 1) โทรศัพท์ภายในประเทศ โทร. สายด่วน 1300 2) สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) 3) ติดต่อด้วยตนเอง (walk in) ที่ศูนย์ช่วยเหลือสังคม กระทรวง พม. สะพานขาว กรุงเทพฯ และ 4) โทรศัพท์ระหว่างประเทศ โทร. (00)66 99 130 1300 นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถขอความช่วยเหลือผ่านทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ : จุติ ไกรฤกษ์ รมว.พัฒนาสังคมฯ ได้อีกหนึ่งช่องทาง” นายจุติ กล่าวในตอนท้าย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/22412