title
stringlengths
0
33.4k
context
stringlengths
0
133k
raw
stringlengths
39
133k
url
stringlengths
0
53
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โอกาสทางธุรกิจดีๆ ไม่ควรพลาด Aerospace ณ ประเทศยูเครน และสหพันธรัฐรัสเซีย
วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน 2560 โอกาสทางธุรกิจดีๆ ไม่ควรพลาด Aerospace ณ ประเทศยูเครน และสหพันธรัฐรัสเซีย โอกาสทางธุรกิจดีๆ ไม่ควรพลาด Aerospace ณ ประเทศยูเครน และสหพันธรัฐรัสเซีย โอกาสทางธุรกิจดีๆ ไม่ควรพลาด Aerospace ณ ประเทศยูเครน และสหพันธรัฐรัสเซีย ระหว่างวันที่ 16-23 กรกฏาคม 2560 “ราคาเริ่มต้นสําหรับยูเครน เพียง 67,125.- บาท” เยี่ยมชมโรงงานผลิตชิ้นส่วนดาวเทียม จรวด และเครื่องบิน และเข้าร่วมตลาดอุตสาหกรรม Aerospace ที่ยิ่งใหญ่ในงาน MAKS 2017 1) รายละเอียดการดูงานโดยสังเขป ยูเครน - โรงงาน Yuzhnoya state design Company (วิจัย สร้าง ดาวเทียมและจรวด) - โรงงาน Antonov Serial Production Plant (วิจัย สร้าง เครื่องบิน) - โรงงาน Civil Aviation Plant 410 (ทดสอบ ซ่อมแซม เครื่องบิน) รัสเซีย - MAKS 2017 International Aviation and Space Salon - Yuri Gagarin Cosmonaut Training Center in Star City 2) การศึกษาดูงานรวมการจัด Business Dinner และการจัดทํา THAILAND AEROSPACE INDUSTRY OPPORTUNITY GUIDE 3) ราคานี้รวมตั๋วเครื่องบินชั้นประหยัด,การเดินทางในต่างประเทศทั้งหมด, ที่พัก 2 คนต่อ 1 ห้องและอาหาร, ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม http://skp.gistda.or.th/aerospace/ โทรศัพท์ 099 049 0009
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โอกาสทางธุรกิจดีๆ ไม่ควรพลาด Aerospace ณ ประเทศยูเครน และสหพันธรัฐรัสเซีย วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน 2560 โอกาสทางธุรกิจดีๆ ไม่ควรพลาด Aerospace ณ ประเทศยูเครน และสหพันธรัฐรัสเซีย โอกาสทางธุรกิจดีๆ ไม่ควรพลาด Aerospace ณ ประเทศยูเครน และสหพันธรัฐรัสเซีย โอกาสทางธุรกิจดีๆ ไม่ควรพลาด Aerospace ณ ประเทศยูเครน และสหพันธรัฐรัสเซีย ระหว่างวันที่ 16-23 กรกฏาคม 2560 “ราคาเริ่มต้นสําหรับยูเครน เพียง 67,125.- บาท” เยี่ยมชมโรงงานผลิตชิ้นส่วนดาวเทียม จรวด และเครื่องบิน และเข้าร่วมตลาดอุตสาหกรรม Aerospace ที่ยิ่งใหญ่ในงาน MAKS 2017 1) รายละเอียดการดูงานโดยสังเขป ยูเครน - โรงงาน Yuzhnoya state design Company (วิจัย สร้าง ดาวเทียมและจรวด) - โรงงาน Antonov Serial Production Plant (วิจัย สร้าง เครื่องบิน) - โรงงาน Civil Aviation Plant 410 (ทดสอบ ซ่อมแซม เครื่องบิน) รัสเซีย - MAKS 2017 International Aviation and Space Salon - Yuri Gagarin Cosmonaut Training Center in Star City 2) การศึกษาดูงานรวมการจัด Business Dinner และการจัดทํา THAILAND AEROSPACE INDUSTRY OPPORTUNITY GUIDE 3) ราคานี้รวมตั๋วเครื่องบินชั้นประหยัด,การเดินทางในต่างประเทศทั้งหมด, ที่พัก 2 คนต่อ 1 ห้องและอาหาร, ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม http://skp.gistda.or.th/aerospace/ โทรศัพท์ 099 049 0009
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/4606
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.พม. กำชับ จนท. เร่งเยียวยาจิตใจเด็ก 3 พี่น้องวัย 1-7 ขวบ ที่แม่ทอดทิ้งให้อาศัยเพียงลำพังกับพ่อ และได้เกิดอาการช็อกเสียชีวิตต่อหน้าลูกๆ ที่ จ.บึงกาฬ
วันพุธที่ 28 มิถุนายน 2560 รมว.พม. กําชับ จนท. เร่งเยียวยาจิตใจเด็ก 3 พี่น้องวัย 1-7 ขวบ ที่แม่ทอดทิ้งให้อาศัยเพียงลําพังกับพ่อ และได้เกิดอาการช็อกเสียชีวิตต่อหน้าลูกๆ ที่ จ.บึงกาฬ รมว.พม. กําชับ จนท. เร่งเยียวยาจิตใจเด็ก 3 พี่น้องวัย 1-7 ขวบ ที่แม่ทอดทิ้งให้อาศัยเพียงลําพังกับพ่อ ซึ่งมีพฤติกรรมติดสุราอย่างหนัก และได้เกิดอาการช็อกเสียชีวิตต่อหน้าลูกๆ ที่ จ.บึงกาฬ วันนี้ (28 มิ.ย. 60) เวลา 07.30 น. นายณรงค์ คงคํา โฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า พลตํารวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ (ศปก.พม.) ครั้งที่ 660/2557-2560 เพื่อรับทราบปัญหาทางสังคมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และร่วมหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและการป้องกันปัญหาดังกล่าว โดยมีผู้บริหารและผู้แทนจากหน่วยงานในกระทรวงฯ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 8 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว กรุงเทพฯ พลตํารวจเอก อดุลย์ กล่าวว่า จากกรณีพบเด็กชาย-หญิง 3 พี่น้อง วัย 1-7 ขวบ ถูกผู้เป็นแม่ทอดทิ้งให้อาศัยอยู่เพียงลําพังกับผู้เป็นพ่อวัย 54 ปี ซึ่งมีพฤติกรรมติดสุราอย่างหนัก และได้เกิดอาการช็อกเสียชีวิตต่อหน้าลูกๆ สร้างความเศร้าโศกเสียให้กับลูกๆเป็นอย่างมาก ที่อําเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ นั้น ตนได้กําชับให้พัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดบึงกาฬ (พมจ.บึงกาฬ) พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เร่งลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและประเมินทางสังคมของครอบครัวดังกล่าว และให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นตามภารกิจด้านเด็กของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ พร้อมเร่งเยียวยาฟื้นฟูสภาพจิตใจเด็กทั้ง 3 คนโดยด่วน อีกทั้งประสานหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ช่วยเหลือเรื่องการติดตามหาญาติเพื่อรับเด็กไปดูแลต่อ หากตรวจสอบไม่พบญาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ มีบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดบึงกาฬ เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวง พร้อมรับเด็กเข้ามาอยู่ ในความดูแลและคุ้มครองสวัสดิภาพต่อไป พลตํารวจเอก อดุลย์ กล่าวต่อไปว่า สําหรับกรณีหญิงสาวอายุ 22 ปี พาลูกสาว 4 คน วัย 3 เดือน ถึง 6 ขวบ หนีออกมาจากบ้าน มาขออาศัยบ้านญาติ เนื่องจากผู้เป็นสามี ที่มีพฤติกรรมติดยาเสพติดอย่างหนัก พยายามจะแอบ นําลูกไปขาย เพื่อจะนําเงินไปซื้อยาเสพติดมาเสพ ทั้งยังประสบปัญหาไม่มีรายได้ เพื่อนําไปซื้อนมและอาหารให้ลูกๆ และเด็กยังไม่ได้แจ้งเกิด ที่อําเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย นั้น ตนได้กําชับให้พัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงราย(พมจ.เชียงราย) พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เร่งลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและประเมิน ทางสังคมของครอบครัวดังกล่าว พร้อมให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นตามภารกิจด้านเด็กของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ พร้อมเร่งเยียวยาฟื้นฟูสภาพจิตใจเด็กทั้ง 4 คนและผู้เป็นแม่โดยด่วน อีกทั้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ช่วยเหลือดูแลเรื่องการพาเด็กไปแจ้งเกิด เพื่อให้เด็กได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานและสวัสดิการทางสังคม รวมทั้ง ให้คําแนะนําปรึกษาแก่ผู้เป็นแม่ในเรื่องการส่งเสริมการประกอบอาชีพ เพื่อสร้างรายได้ที่เพียงพอและมั่นคงสามรถเลี้ยงดูครอบครัวในระยะยาวต่อไป พลตํารวจเอก อดุลย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า อีกกรณีเด็กชายวัย 13 ปี นักเรียนชั้น ม.1 เป็นเด็กเรียนดี และเป็นตัวแทนโรงเรียนไปแข่งขันด้านวิชาการต่างๆ ได้รับรางวัลชนะเลิศ ต้องรับภาระเลี้ยงดูน้องๆรวม 4 คน วัย 2-11 ปี ทั้ง 5 ชีวิต อาศัยกันเพียงลําพังบ้านเช่าสภาพเก่าทรุดโทรมและคับแคบ เนื่องจากพ่อกับแม่แยกทางกัน ด้านผู้เป็นพ่อ ไปมีครอบครัวใหม่ ส่วนผู้เป็นแม่ต้องตระเวนทํางานรับจ้างตามต่างจังหวัด และส่งเงินกลับมาให้ใช้จ่าย นานๆทีถึงจะกลับมาเยี่ยม ครอบครัวมีฐานะยากจน ที่บ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ นั้น ตนขอชื่นชมในความขยันหมั่นเพียร ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน มีมุมานะอดทน ช่วยแบ่งเบาภาระของครอบครัว ถึงแม้จะมีอุปสรรคในการดําเนินชีวิตแต่ไม่ย่อท้อ น่ายกย่องเป็นตัวอย่างที่ดีของเด็กและเยาวชน ทั้งนี้ ได้กําชับให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดบุรีรัมย์ (พมจ.บุรีรัมย์) พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เร่งลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง และประเมินทางสังคมของครอบครัวดังกล่าว เพื่อให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นตามภารกิจด้านเด็กของกระทรวงการ พัฒนาสังคมฯ พร้อมมอบสิ่งของเครื่องใช้ที่จําเป็นและอุปกรณ์การศึกษา อีกทั้ง ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ช่วยเหลือดูแลในเรื่องการศึกษาของเด็กทั้ง 5 คนในระยะยาว และการปรับปรุงสภาพที่อยู่อาศัยให้อยู่ในสภาพ ที่เหมาะสม ถูกลักษณะ และมั่นคง พร้อมร่วมกันหาแนวทางการช่วยเหลือดูแลในระยะยาวต่อไป
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.พม. กำชับ จนท. เร่งเยียวยาจิตใจเด็ก 3 พี่น้องวัย 1-7 ขวบ ที่แม่ทอดทิ้งให้อาศัยเพียงลำพังกับพ่อ และได้เกิดอาการช็อกเสียชีวิตต่อหน้าลูกๆ ที่ จ.บึงกาฬ วันพุธที่ 28 มิถุนายน 2560 รมว.พม. กําชับ จนท. เร่งเยียวยาจิตใจเด็ก 3 พี่น้องวัย 1-7 ขวบ ที่แม่ทอดทิ้งให้อาศัยเพียงลําพังกับพ่อ และได้เกิดอาการช็อกเสียชีวิตต่อหน้าลูกๆ ที่ จ.บึงกาฬ รมว.พม. กําชับ จนท. เร่งเยียวยาจิตใจเด็ก 3 พี่น้องวัย 1-7 ขวบ ที่แม่ทอดทิ้งให้อาศัยเพียงลําพังกับพ่อ ซึ่งมีพฤติกรรมติดสุราอย่างหนัก และได้เกิดอาการช็อกเสียชีวิตต่อหน้าลูกๆ ที่ จ.บึงกาฬ วันนี้ (28 มิ.ย. 60) เวลา 07.30 น. นายณรงค์ คงคํา โฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า พลตํารวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ (ศปก.พม.) ครั้งที่ 660/2557-2560 เพื่อรับทราบปัญหาทางสังคมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และร่วมหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและการป้องกันปัญหาดังกล่าว โดยมีผู้บริหารและผู้แทนจากหน่วยงานในกระทรวงฯ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 8 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว กรุงเทพฯ พลตํารวจเอก อดุลย์ กล่าวว่า จากกรณีพบเด็กชาย-หญิง 3 พี่น้อง วัย 1-7 ขวบ ถูกผู้เป็นแม่ทอดทิ้งให้อาศัยอยู่เพียงลําพังกับผู้เป็นพ่อวัย 54 ปี ซึ่งมีพฤติกรรมติดสุราอย่างหนัก และได้เกิดอาการช็อกเสียชีวิตต่อหน้าลูกๆ สร้างความเศร้าโศกเสียให้กับลูกๆเป็นอย่างมาก ที่อําเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ นั้น ตนได้กําชับให้พัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดบึงกาฬ (พมจ.บึงกาฬ) พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เร่งลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและประเมินทางสังคมของครอบครัวดังกล่าว และให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นตามภารกิจด้านเด็กของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ พร้อมเร่งเยียวยาฟื้นฟูสภาพจิตใจเด็กทั้ง 3 คนโดยด่วน อีกทั้งประสานหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ช่วยเหลือเรื่องการติดตามหาญาติเพื่อรับเด็กไปดูแลต่อ หากตรวจสอบไม่พบญาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ มีบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดบึงกาฬ เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวง พร้อมรับเด็กเข้ามาอยู่ ในความดูแลและคุ้มครองสวัสดิภาพต่อไป พลตํารวจเอก อดุลย์ กล่าวต่อไปว่า สําหรับกรณีหญิงสาวอายุ 22 ปี พาลูกสาว 4 คน วัย 3 เดือน ถึง 6 ขวบ หนีออกมาจากบ้าน มาขออาศัยบ้านญาติ เนื่องจากผู้เป็นสามี ที่มีพฤติกรรมติดยาเสพติดอย่างหนัก พยายามจะแอบ นําลูกไปขาย เพื่อจะนําเงินไปซื้อยาเสพติดมาเสพ ทั้งยังประสบปัญหาไม่มีรายได้ เพื่อนําไปซื้อนมและอาหารให้ลูกๆ และเด็กยังไม่ได้แจ้งเกิด ที่อําเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย นั้น ตนได้กําชับให้พัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงราย(พมจ.เชียงราย) พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เร่งลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและประเมิน ทางสังคมของครอบครัวดังกล่าว พร้อมให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นตามภารกิจด้านเด็กของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ พร้อมเร่งเยียวยาฟื้นฟูสภาพจิตใจเด็กทั้ง 4 คนและผู้เป็นแม่โดยด่วน อีกทั้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ช่วยเหลือดูแลเรื่องการพาเด็กไปแจ้งเกิด เพื่อให้เด็กได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานและสวัสดิการทางสังคม รวมทั้ง ให้คําแนะนําปรึกษาแก่ผู้เป็นแม่ในเรื่องการส่งเสริมการประกอบอาชีพ เพื่อสร้างรายได้ที่เพียงพอและมั่นคงสามรถเลี้ยงดูครอบครัวในระยะยาวต่อไป พลตํารวจเอก อดุลย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า อีกกรณีเด็กชายวัย 13 ปี นักเรียนชั้น ม.1 เป็นเด็กเรียนดี และเป็นตัวแทนโรงเรียนไปแข่งขันด้านวิชาการต่างๆ ได้รับรางวัลชนะเลิศ ต้องรับภาระเลี้ยงดูน้องๆรวม 4 คน วัย 2-11 ปี ทั้ง 5 ชีวิต อาศัยกันเพียงลําพังบ้านเช่าสภาพเก่าทรุดโทรมและคับแคบ เนื่องจากพ่อกับแม่แยกทางกัน ด้านผู้เป็นพ่อ ไปมีครอบครัวใหม่ ส่วนผู้เป็นแม่ต้องตระเวนทํางานรับจ้างตามต่างจังหวัด และส่งเงินกลับมาให้ใช้จ่าย นานๆทีถึงจะกลับมาเยี่ยม ครอบครัวมีฐานะยากจน ที่บ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ นั้น ตนขอชื่นชมในความขยันหมั่นเพียร ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน มีมุมานะอดทน ช่วยแบ่งเบาภาระของครอบครัว ถึงแม้จะมีอุปสรรคในการดําเนินชีวิตแต่ไม่ย่อท้อ น่ายกย่องเป็นตัวอย่างที่ดีของเด็กและเยาวชน ทั้งนี้ ได้กําชับให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดบุรีรัมย์ (พมจ.บุรีรัมย์) พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เร่งลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง และประเมินทางสังคมของครอบครัวดังกล่าว เพื่อให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นตามภารกิจด้านเด็กของกระทรวงการ พัฒนาสังคมฯ พร้อมมอบสิ่งของเครื่องใช้ที่จําเป็นและอุปกรณ์การศึกษา อีกทั้ง ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ช่วยเหลือดูแลในเรื่องการศึกษาของเด็กทั้ง 5 คนในระยะยาว และการปรับปรุงสภาพที่อยู่อาศัยให้อยู่ในสภาพ ที่เหมาะสม ถูกลักษณะ และมั่นคง พร้อมร่วมกันหาแนวทางการช่วยเหลือดูแลในระยะยาวต่อไป
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/4845
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.แรงงาน ร่วม MOU ป้องกันยาเสพติดในโรงงาน
วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม 2561 ก.แรงงาน ร่วม MOU ป้องกันยาเสพติดในโรงงาน กระทรวงแรงงาน จับมือ 7 องค์กร MOU ร่วมมือเฝ้าระวังและป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม ตั้งเป้าแก้ปัญหายาเสพติดในโรงงานอย่างยั่งยืน พร้อมตรวจเชิงรุกในพื้นที่เสี่ยง นายวิวัฒน์ ตังหงส์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวภายหลังเป็นผู้แทนกระทรวงแรงงานร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการเฝ้าระวังและป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมภายใต้โครงการ “โรงงานทั่วไทยร่วมใจต้านยาเสพติด” ของกระทรวงอุตสาหกรรมว่า กระทรวงแรงงาน ตระหนักถึงปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน และการใช้สารเสพติดในสถานประกอบกิจการซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสุขภาพ คุณภาพชีวิต ความปลอดภัยในการทํางาน ชุมชน เศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงโดยรวมของประเทศ กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ดําเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานประกอบกิจการมาอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบัน ได้ส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการมีระบบการจัดการปัญหายาเสพติด ภายใต้โครงการโรงงานสีขาว จํานวน 51,772 แห่ง จํานวนลูกจ้างได้รับภูมิคุ้มกัน จํานวน 4,859,623 คน และจัดทําระบบมาตรฐานการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในสถานประกอบกิจการ (มยส.) จํานวน 6,646 แห่ง จํานวนลูกจ้าง 1,325,695 คน อธิบดีกสร. กล่าวต่อไปว่า เพื่อเป็นการขับเคลื่อนการดําเนินงานแบบบูรณาการต่อไป กสร.จึงได้ร่วมมือกับกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สํานักงานตํารวจแห่งชาติ และกองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยการลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันเมื่อวันที่ 4 ธ.ค.61 เพื่อประกาศเจตนารมณ์แสดงความร่วมมือในการเฝ้าระวังและป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานประกอบการโรงงาน และการส่งเสริมมาตรการรณรงค์ที่เป็นรูปธรรมเพื่อมิให้บุคลากรรวมทั้งการประกอบกิจการไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ตลอดจนสนับสนุนปฏิบัติการเชิงรุก และร่วมตรวจโรงงานในพื้นที่เสี่ยงตามนโยบายภาครัฐ ทั้งนี้ ความร่วมมือดังกล่าวจะส่งผลให้สถานประกอบกิจการ ผู้ใช้แรงงาน มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดเพิ่มขึ้นตามกลไกประชารัฐ พร้อมทั้งขับเคลื่อนการดําเนินงานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.แรงงาน ร่วม MOU ป้องกันยาเสพติดในโรงงาน วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม 2561 ก.แรงงาน ร่วม MOU ป้องกันยาเสพติดในโรงงาน กระทรวงแรงงาน จับมือ 7 องค์กร MOU ร่วมมือเฝ้าระวังและป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม ตั้งเป้าแก้ปัญหายาเสพติดในโรงงานอย่างยั่งยืน พร้อมตรวจเชิงรุกในพื้นที่เสี่ยง นายวิวัฒน์ ตังหงส์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวภายหลังเป็นผู้แทนกระทรวงแรงงานร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการเฝ้าระวังและป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมภายใต้โครงการ “โรงงานทั่วไทยร่วมใจต้านยาเสพติด” ของกระทรวงอุตสาหกรรมว่า กระทรวงแรงงาน ตระหนักถึงปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน และการใช้สารเสพติดในสถานประกอบกิจการซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสุขภาพ คุณภาพชีวิต ความปลอดภัยในการทํางาน ชุมชน เศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงโดยรวมของประเทศ กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ดําเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานประกอบกิจการมาอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบัน ได้ส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการมีระบบการจัดการปัญหายาเสพติด ภายใต้โครงการโรงงานสีขาว จํานวน 51,772 แห่ง จํานวนลูกจ้างได้รับภูมิคุ้มกัน จํานวน 4,859,623 คน และจัดทําระบบมาตรฐานการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในสถานประกอบกิจการ (มยส.) จํานวน 6,646 แห่ง จํานวนลูกจ้าง 1,325,695 คน อธิบดีกสร. กล่าวต่อไปว่า เพื่อเป็นการขับเคลื่อนการดําเนินงานแบบบูรณาการต่อไป กสร.จึงได้ร่วมมือกับกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สํานักงานตํารวจแห่งชาติ และกองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยการลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันเมื่อวันที่ 4 ธ.ค.61 เพื่อประกาศเจตนารมณ์แสดงความร่วมมือในการเฝ้าระวังและป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานประกอบการโรงงาน และการส่งเสริมมาตรการรณรงค์ที่เป็นรูปธรรมเพื่อมิให้บุคลากรรวมทั้งการประกอบกิจการไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ตลอดจนสนับสนุนปฏิบัติการเชิงรุก และร่วมตรวจโรงงานในพื้นที่เสี่ยงตามนโยบายภาครัฐ ทั้งนี้ ความร่วมมือดังกล่าวจะส่งผลให้สถานประกอบกิจการ ผู้ใช้แรงงาน มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดเพิ่มขึ้นตามกลไกประชารัฐ พร้อมทั้งขับเคลื่อนการดําเนินงานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/17366
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“บิ๊กฉัตร” ลุยตรวจน้ำท่วมอีสาน ประสานทร.ส่งเรือผลักดันน้ำเร่งระบายน้ำแม่น้ำชีและวางแผนลดการระบายน้ำเขื่อนอุบลรัตน์
วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม 2560 “บิ๊กฉัตร” ลุยตรวจน้ําท่วมอีสาน ประสานทร.ส่งเรือผลักดันน้ําเร่งระบายน้ําแม่น้ําชีและวางแผนลดการระบายน้ําเขื่อนอุบลรัตน์ “บิ๊กฉัตร” ลุยตรวจน้ําท่วมอีสาน ประสานทร.ส่งเรือผลักดันน้ําเร่งระบายน้ําแม่น้ําชีช่วง จ.กาฬสินธุ์ และ ร้อยเอ็ด วางแผนลดการระบายน้ําเขื่อนอุบลรัตน์ 25 ล้าน ลบ.ม./วัน ภายใน 10 พ.ย. นี้ พร้อมเร่งแผนสร้างแก้มลิงรับน้ําในพท.อีสาน วันนี้ (30 ต.ค.60) เวลา 09.15 น. พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสมเกียรติ ประจําวงษ์ อธิบดีกรมชลประทาน ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อํานวยการ สํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า และพลเรือเอก พิเชษฐ ตานะเศรษฐ เสนาธิการทหารเรือ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ําท่วมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจุดแรกคณะได้บินสํารวจสถานการณ์น้ําลุ่มน้ําชีช่วง จ.ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม และขอนแก่น โดยเครื่องบินฝนหลวงและการบินเกษตร ก่อนประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรับฟังบรรยายสรุปสถานการณ์น้ํา การบริหารจัดการน้ํา พื้นที่ประสบปัญหาน้ําท่วม ผลกระทบ และการช่วยเหลือใน 5 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ จ.ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ยโสธร และ ร้อยเอ็ด ณ สํานักงานชลประทานที่ 6 อ.เมือง จ.ขอนแก่น ก่อนเดินทางโดยต่อไปยังแม่น้ําพอง บ้านห้วยซัน ต.สําราญ อ.เมือง จ.ขอนแก่นเพื่อรับฟังบรรยายสรุประดับน้ําเปรียบเทียบปี 2554, 2559 และ 2560 ก่อนพบปะประชาชน มอบถุงยังชีพ มอบเสบียง/เวชภัณฑ์สัตว์ให้แก่ประชาชน และเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ จากนั้นคณะได้เดินทางต่อไปยังจุดซ่อมคันกั้นน้ํา ณ คันกั้นน้ําบ้านสวางค์-คุยโพธิ์ ต.บึงเนียม อ.เมือง จ.ขอนแก่น พลเอกฉัตรชัย เปิดเผยว่า ฝนในปีนี้มีปริมาณใกล้เคียงกับปี 2554 ซึ่งสูงกว่าฝนเฉลี่ย 30 ปี ร้อยละ 27 โดยเฉพาะภาคอีสาน ฝนที่ตกมีปริมาณสูงกว่าปี 2554 ถึง 44.0 มม. ซึ่งสูงกว่าฝนเฉลี่ย ร้อยละ 27 โดยปริมาณฝนที่ตกหนักต่อเนื่องจากพายุตาลัส เซินกา ทกซูรี และ ร่องความกดอากาศต่ํา ทําให้น้ําในเขื่อนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ได้แก่ เขื่อนจุฬาภรณ์ เก็บน้ําสูงกว่าขีดบน (Upper Rule Curve) ตั้งแต่ช่วง ส.ค. 60 – ปัจจุบัน มีน้ํา 167 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 102 ของความจุ มีน้ําไหลเข้า 1.07 ล้าน ลบ.ม./วัน มีน้ําระบายออก 1.04 ล้าน ลบ.ม./วัน และเขื่อนลําปาว เก็บน้ําสูงกว่าขีดบน (Upper Rule Curve) ตั้งแต่ช่วง ก.ค. - ส.ค. 60 ณ วันที่ 29 ต.ค. 60 มีน้ํา 1,860 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 94 ของความจุ มีน้ําไหลเข้า 2.67 ล้าน ลบ.ม./วัน มีน้ําระบายออก 5.47 ล้าน ลบ.ม./วัน ซึ่งทั้งสองเขื่อนไม่มีผลกระทบต่อน้ําท่วม ขณะที่เขื่อนอุบลรัตน์เก็บน้ําสูงกว่าขีดบน (Upper Rule Curve) ตั้งแต่ช่วง พ.ค. 60 – ปัจจุบัน ณ มีน้ํา 2,919 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 120 ของความจุ มีน้ําไหลเข้า 35.52 ล้าน ลบ.ม./วัน มีน้ําระบายออก 44.55 ล้าน ลบ.ม./วัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อน้ําท่วม โดยในช่วงที่ปล่อยน้ํามาก ประมาณ 50 - 54 ล้าน ลบ.ม./วัน คือ ช่วงวันที่ 17 - 26 ต.ค. 60 มวลน้ํานี้ ไหลไป จ.กาฬสินธุ์, ร้อยเอ็ด, ยโสธร และ อุบลราชธานี แต่เนื่องจากแม่น้ําชี ช่วง จ.กาฬสินธุ์ และ ร้อยเอ็ด มีสิ่งกีดขวางทางน้ํามาก น้ําระบายได้ช้า ทําให้น้ําหลากสู่พื้นที่ที่ท่วมอยู่แล้วใน จ.กาฬสินธุ์ และ ร้อยเอ็ด แม่น้ําชี จ.ยโสธร มีน้ําสูงขึ้นเล็กน้อย ประมาณ 0.15 ม. แม่น้ําชี จ.อุบลราชธานี ไม่ได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ตาม จากการคาดการณ์สภาพอากาศภาคอีสาน อากาศเริ่มหนาวเย็น คาดว่าเดือน พ.ย. - ธ.ค. 60 จะไม่มีฝน ดังนั้น จึงคาดว่าระดับน้ําในแม่น้ําชีจังหวัดต่างๆ ที่มีระดับน้ําล้นตลิ่งจะเริ่มลดลง ได้แก่ จ.ยโสธร และ อุบลราชธานี ปัจจุบัน มีน้ําล้นตลิ่ง 0.25 - 0.30 ม.ภายในวันที่ 3 พ.ย. 60 จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ส่วนที่ จ.กาฬสินธุ์ และ ร้อยเอ็ด ปัจจุบัน มีน้ําล้นตลิ่ง 1.00 - 1.50 ม. ภายในสิ้นเดือน พ.ย. 60 จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ จ.ขอนแก่น และ มหาสารคาม ปัจจุบัน มีน้ําล้นตลิ่ง 0.30 - 1.10 ม.ภายในกลางเดือน พ.ย. 60 จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ รวมถึงลดการระบายน้ําเขื่อนอุบลรัตน์ เป็น 25 ล้าน ลบ.ม./วัน ภายในวันที่ 10 พ.ย. 60 แม่น้ําพอง อ.เมือง จ.ขอนแก่น เข้าสู่สภาวะปกติใน 14 วัน คือ วันที่ 13 พ.ย. 60 และแม่น้ําชี อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม เข้าสู่สภาวะปกติใน 16 วัน คือ วันที่ 15 พ.ย. 60 สําหรับมาตรการลดผลกระทบและการให้ความช่วยเหลือนั้น นอกจากการแก้ปัญหาระยะสั้นทั้งแม่น้ําชีและแม่น้ํามูล โดยติดตั้ง Big Bag จํานวน 1,500 ถุง เสริมพนังกั้นน้ําแม่น้ําพอง ต.สําราญ อ.เมือง จ.ขอนแก่น ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ําตามจุดต่างๆ จํานวน 24 เครื่อง ได้แก่ ฝายร้อยเอ็ด สะพานข้ามแม่น้ามูล อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี ปตร.พิมาย อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ปตร.จอหอ อ.เมือง จ.นครราชสีมา แล้วยังได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ํา จํานวน 4 เครื่อง ที่ปตร.กุดแดง อ.เมือง จ.มหาสารคาม และปตร.ท่าตูม อ.เมือง จ.มหาสารคาม พร้อมทั้งดําเนินการซ่อมแซมคันกั้นน้ําแม่น้ําพองที่แตก 2 ครั้ง ครั้งแรกที่ ต.สําราญ อ.เมือง จ.ขอนแก่น และ ครั้งที่สองที่ ต.บึงเนียม อ.เมือง จ.ขอนแก่น และประสานกองทัพเรือซึ่งได้ประสานขอรับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากกองทัพเรือ โดยเฉพาะแม่น้ําชีช่วง จ.กาฬสินธุ์ และ ร้อยเอ็ด ซึ่งสิ่งกีดขวางทางน้ํามาก ระบายน้ําได้ช้าอีกทางแล้ว ยังกําหนดมาตรการแก้ปัญหาระยะยาว เช่น การเสริมพนังกั้นน้ํา เพื่อป้องกันน้ําท่วมพื้นที่สําคัญ การปรับปรุงแก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ําในแม่น้ําชี ช่วง จ.กาฬสินธุ์ และ ร้อยเอ็ด ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการน้ําอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น บริหารน้ําในเขื่อน เก็บกักไม่ให้เกินขีดบน (Upper Rule Curve) เพื่อรับพายุ ฝนตกหนักได้ และ ไม่ให้ต่ํากว่าขีดล่าง (Lower Rule Curve) เพื่อให้มีน้ําเพียงพอในฤดูแล้งพื้นที่ลุ่มต่ําที่น้ําท่วมทุกปี ต้องทําระบบป้องกัน และ แจ้งเตือน การจัดจราจรน้ํา การพร่องน้ํา เพื่อลดความคับคลั่งของน้ําในแม่น้ําสายหลัก ลดการเอ่อท่วม และพิจารณาพื้นที่จัดทําแก้มลิงชะลอน้ําหลาก และเก็บกักน้ําไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้งที่กระทรวงเกษตรฯ ได้ดําเนินการแล้วในลุ่มน้ํายมและลุ่มน้ําเจ้าพระยา “ในช่วงปี 2557 - 2560 มีการก่อสร้างแหล่งน้ําและแก้มลิงเพิ่มเติม ซึ่งสามารถช่วยลดน้ําหลากได้มาก ซึ่งจะต้องขยายผลมากขึ้น โดยเน้นพื้นที่ที่น้ําท่วมเป็นประจํา ลุ่มน้ําชี สกลนคร นครพนม อุบลราชธานี เป็นต้น ซึ่งพบว่าแก้มลิงที่ได้ดําเนินการตลอด 3 ปี สามารถเพิ่มการเก็บกักน้ําทั่วประเทศเพิ่มขี้น 1,579 ล้าน ลบ.ม. ลุ่มน้ํายม เพิ่ม 215 ล้าน ลบ.ม. ลุ่มน้ําเจ้าพระยา เพิ่ม 190 ล้าน ลบ.ม. ลุ่มน้ําชี เพิ่ม 204 ล้าน ลบ.ม.และลุ่มน้ํามูล เพิ่ม 197 ล้าน ลบ.ม. โดยในปี 2561 กระทรวงเกษตรฯ มีแผนในจัดการเพาะปลูกพื้นที่ลุ่มต่ําที่น้ําท่วมเป็นประจํา เช่นเดียวกับลุ่มน้ํายม และ ลุ่มน้ําเจ้าพระยาด้วยเช่นกัน ซึ่งต้องมีการชี้แจงทําความเข้าใจเพื่อขอความร่วมมือกับเกษตรกรต่อไป” พลเอกฉัตรชัย กล่าว สําหรับการช่วยเหลือของกระทรวงเกษตรฯ ได้มีการตั้งจุดอพยพสัตว์/เสบียงสัตว์การดูแลโรคระบาด การฟื้นฟูไม้ผล ไม้ยืนต้น การสํารวจและประมาณการความเสียหาย การช่วยเหลือพื้นที่ที่น้ําท่วมทั้ง 2 ครั้ง การบําบัดน้ําเสีย พร้อมวางมาตรการช่วยเหลือและฟื้นฟูทั้งเฉพาะหน้าและระยะยาว เช่น การสนับสนุนการปรับระยะเวลาเพาะปลูกในพื้นที่ลุ่มต่ํา การเร่งรัดเงินชดเชยการสนับสนุนปัจจัยการผลิต การลดภาระหนี้สิน การชดเชยรายได้ เช่น การจ้างแรงของกรมชลประทาน เป็นต้น เปรียบเทียบปี 2554 - 2560 1. ปริมาณฝน ลําดับ ภาค ปริมาณฝนสะสม ม.ค. - ต.ค. (มม.) หมายเหตุ เฉลี่ย 30 ปี ปี 2554 ปี 2560 เหนือ 1,167.2 1,664.8 1,390.0 อีสาน 1,365.2 1,684.2 1,728.2 กลาง 1,202.8 1,503.5 1,538.0 ตะวันออก 1,784.9 2,056.4 1,981.6 ใต้ฝั่งตะวันออก 1,050.5 1,622.0 1,737.7 ใต้ฝั่งตะวันตก 2,366.6 2,679.0 2,999.1 เฉลี่ยทั้งประเทศ 1,398.5 1,797.5 1,770.7 2. ปริมาณน้ําในลําน้ํา ณ วันที่ 29 ต.ค. 54 กับ วันที่ 29 ต.ค. 60 ลําดับ แม่น้ํา ช่วง ระดับน้ํา/หน่วย ปี 2554 ปี 2560 ชี อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร ลบ.ม./วินาที มูล อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ลบ.ม./วินาที 3. พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ (ไร่) ณ วันที่ 29 ต.ค. 54 กับ วันที่ 29 ต.ค. 60 ตามรายงานของ ชป. ลําดับ จังหวัด ปี 2554 ปี 2560 หมายเหตุ นครราชสีมา - - ชัยภูมิ - ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร ศรีสะเกษ หนองบัวลําภู - อุบลราชธานี สุรินทร์ - รวม กลุ่มโฆษกและวิเคราะห์ข่าว กองเกษตรสารนิเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร 02-2810859 แฟกซ์ 02-2822871 [email protected] www.moac.go.th www.facebook.com/kasetthai
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“บิ๊กฉัตร” ลุยตรวจน้ำท่วมอีสาน ประสานทร.ส่งเรือผลักดันน้ำเร่งระบายน้ำแม่น้ำชีและวางแผนลดการระบายน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม 2560 “บิ๊กฉัตร” ลุยตรวจน้ําท่วมอีสาน ประสานทร.ส่งเรือผลักดันน้ําเร่งระบายน้ําแม่น้ําชีและวางแผนลดการระบายน้ําเขื่อนอุบลรัตน์ “บิ๊กฉัตร” ลุยตรวจน้ําท่วมอีสาน ประสานทร.ส่งเรือผลักดันน้ําเร่งระบายน้ําแม่น้ําชีช่วง จ.กาฬสินธุ์ และ ร้อยเอ็ด วางแผนลดการระบายน้ําเขื่อนอุบลรัตน์ 25 ล้าน ลบ.ม./วัน ภายใน 10 พ.ย. นี้ พร้อมเร่งแผนสร้างแก้มลิงรับน้ําในพท.อีสาน วันนี้ (30 ต.ค.60) เวลา 09.15 น. พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสมเกียรติ ประจําวงษ์ อธิบดีกรมชลประทาน ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อํานวยการ สํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า และพลเรือเอก พิเชษฐ ตานะเศรษฐ เสนาธิการทหารเรือ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ําท่วมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจุดแรกคณะได้บินสํารวจสถานการณ์น้ําลุ่มน้ําชีช่วง จ.ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม และขอนแก่น โดยเครื่องบินฝนหลวงและการบินเกษตร ก่อนประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรับฟังบรรยายสรุปสถานการณ์น้ํา การบริหารจัดการน้ํา พื้นที่ประสบปัญหาน้ําท่วม ผลกระทบ และการช่วยเหลือใน 5 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ จ.ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ยโสธร และ ร้อยเอ็ด ณ สํานักงานชลประทานที่ 6 อ.เมือง จ.ขอนแก่น ก่อนเดินทางโดยต่อไปยังแม่น้ําพอง บ้านห้วยซัน ต.สําราญ อ.เมือง จ.ขอนแก่นเพื่อรับฟังบรรยายสรุประดับน้ําเปรียบเทียบปี 2554, 2559 และ 2560 ก่อนพบปะประชาชน มอบถุงยังชีพ มอบเสบียง/เวชภัณฑ์สัตว์ให้แก่ประชาชน และเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ จากนั้นคณะได้เดินทางต่อไปยังจุดซ่อมคันกั้นน้ํา ณ คันกั้นน้ําบ้านสวางค์-คุยโพธิ์ ต.บึงเนียม อ.เมือง จ.ขอนแก่น พลเอกฉัตรชัย เปิดเผยว่า ฝนในปีนี้มีปริมาณใกล้เคียงกับปี 2554 ซึ่งสูงกว่าฝนเฉลี่ย 30 ปี ร้อยละ 27 โดยเฉพาะภาคอีสาน ฝนที่ตกมีปริมาณสูงกว่าปี 2554 ถึง 44.0 มม. ซึ่งสูงกว่าฝนเฉลี่ย ร้อยละ 27 โดยปริมาณฝนที่ตกหนักต่อเนื่องจากพายุตาลัส เซินกา ทกซูรี และ ร่องความกดอากาศต่ํา ทําให้น้ําในเขื่อนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ได้แก่ เขื่อนจุฬาภรณ์ เก็บน้ําสูงกว่าขีดบน (Upper Rule Curve) ตั้งแต่ช่วง ส.ค. 60 – ปัจจุบัน มีน้ํา 167 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 102 ของความจุ มีน้ําไหลเข้า 1.07 ล้าน ลบ.ม./วัน มีน้ําระบายออก 1.04 ล้าน ลบ.ม./วัน และเขื่อนลําปาว เก็บน้ําสูงกว่าขีดบน (Upper Rule Curve) ตั้งแต่ช่วง ก.ค. - ส.ค. 60 ณ วันที่ 29 ต.ค. 60 มีน้ํา 1,860 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 94 ของความจุ มีน้ําไหลเข้า 2.67 ล้าน ลบ.ม./วัน มีน้ําระบายออก 5.47 ล้าน ลบ.ม./วัน ซึ่งทั้งสองเขื่อนไม่มีผลกระทบต่อน้ําท่วม ขณะที่เขื่อนอุบลรัตน์เก็บน้ําสูงกว่าขีดบน (Upper Rule Curve) ตั้งแต่ช่วง พ.ค. 60 – ปัจจุบัน ณ มีน้ํา 2,919 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 120 ของความจุ มีน้ําไหลเข้า 35.52 ล้าน ลบ.ม./วัน มีน้ําระบายออก 44.55 ล้าน ลบ.ม./วัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อน้ําท่วม โดยในช่วงที่ปล่อยน้ํามาก ประมาณ 50 - 54 ล้าน ลบ.ม./วัน คือ ช่วงวันที่ 17 - 26 ต.ค. 60 มวลน้ํานี้ ไหลไป จ.กาฬสินธุ์, ร้อยเอ็ด, ยโสธร และ อุบลราชธานี แต่เนื่องจากแม่น้ําชี ช่วง จ.กาฬสินธุ์ และ ร้อยเอ็ด มีสิ่งกีดขวางทางน้ํามาก น้ําระบายได้ช้า ทําให้น้ําหลากสู่พื้นที่ที่ท่วมอยู่แล้วใน จ.กาฬสินธุ์ และ ร้อยเอ็ด แม่น้ําชี จ.ยโสธร มีน้ําสูงขึ้นเล็กน้อย ประมาณ 0.15 ม. แม่น้ําชี จ.อุบลราชธานี ไม่ได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ตาม จากการคาดการณ์สภาพอากาศภาคอีสาน อากาศเริ่มหนาวเย็น คาดว่าเดือน พ.ย. - ธ.ค. 60 จะไม่มีฝน ดังนั้น จึงคาดว่าระดับน้ําในแม่น้ําชีจังหวัดต่างๆ ที่มีระดับน้ําล้นตลิ่งจะเริ่มลดลง ได้แก่ จ.ยโสธร และ อุบลราชธานี ปัจจุบัน มีน้ําล้นตลิ่ง 0.25 - 0.30 ม.ภายในวันที่ 3 พ.ย. 60 จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ส่วนที่ จ.กาฬสินธุ์ และ ร้อยเอ็ด ปัจจุบัน มีน้ําล้นตลิ่ง 1.00 - 1.50 ม. ภายในสิ้นเดือน พ.ย. 60 จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ จ.ขอนแก่น และ มหาสารคาม ปัจจุบัน มีน้ําล้นตลิ่ง 0.30 - 1.10 ม.ภายในกลางเดือน พ.ย. 60 จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ รวมถึงลดการระบายน้ําเขื่อนอุบลรัตน์ เป็น 25 ล้าน ลบ.ม./วัน ภายในวันที่ 10 พ.ย. 60 แม่น้ําพอง อ.เมือง จ.ขอนแก่น เข้าสู่สภาวะปกติใน 14 วัน คือ วันที่ 13 พ.ย. 60 และแม่น้ําชี อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม เข้าสู่สภาวะปกติใน 16 วัน คือ วันที่ 15 พ.ย. 60 สําหรับมาตรการลดผลกระทบและการให้ความช่วยเหลือนั้น นอกจากการแก้ปัญหาระยะสั้นทั้งแม่น้ําชีและแม่น้ํามูล โดยติดตั้ง Big Bag จํานวน 1,500 ถุง เสริมพนังกั้นน้ําแม่น้ําพอง ต.สําราญ อ.เมือง จ.ขอนแก่น ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ําตามจุดต่างๆ จํานวน 24 เครื่อง ได้แก่ ฝายร้อยเอ็ด สะพานข้ามแม่น้ามูล อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี ปตร.พิมาย อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ปตร.จอหอ อ.เมือง จ.นครราชสีมา แล้วยังได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ํา จํานวน 4 เครื่อง ที่ปตร.กุดแดง อ.เมือง จ.มหาสารคาม และปตร.ท่าตูม อ.เมือง จ.มหาสารคาม พร้อมทั้งดําเนินการซ่อมแซมคันกั้นน้ําแม่น้ําพองที่แตก 2 ครั้ง ครั้งแรกที่ ต.สําราญ อ.เมือง จ.ขอนแก่น และ ครั้งที่สองที่ ต.บึงเนียม อ.เมือง จ.ขอนแก่น และประสานกองทัพเรือซึ่งได้ประสานขอรับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากกองทัพเรือ โดยเฉพาะแม่น้ําชีช่วง จ.กาฬสินธุ์ และ ร้อยเอ็ด ซึ่งสิ่งกีดขวางทางน้ํามาก ระบายน้ําได้ช้าอีกทางแล้ว ยังกําหนดมาตรการแก้ปัญหาระยะยาว เช่น การเสริมพนังกั้นน้ํา เพื่อป้องกันน้ําท่วมพื้นที่สําคัญ การปรับปรุงแก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ําในแม่น้ําชี ช่วง จ.กาฬสินธุ์ และ ร้อยเอ็ด ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการน้ําอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น บริหารน้ําในเขื่อน เก็บกักไม่ให้เกินขีดบน (Upper Rule Curve) เพื่อรับพายุ ฝนตกหนักได้ และ ไม่ให้ต่ํากว่าขีดล่าง (Lower Rule Curve) เพื่อให้มีน้ําเพียงพอในฤดูแล้งพื้นที่ลุ่มต่ําที่น้ําท่วมทุกปี ต้องทําระบบป้องกัน และ แจ้งเตือน การจัดจราจรน้ํา การพร่องน้ํา เพื่อลดความคับคลั่งของน้ําในแม่น้ําสายหลัก ลดการเอ่อท่วม และพิจารณาพื้นที่จัดทําแก้มลิงชะลอน้ําหลาก และเก็บกักน้ําไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้งที่กระทรวงเกษตรฯ ได้ดําเนินการแล้วในลุ่มน้ํายมและลุ่มน้ําเจ้าพระยา “ในช่วงปี 2557 - 2560 มีการก่อสร้างแหล่งน้ําและแก้มลิงเพิ่มเติม ซึ่งสามารถช่วยลดน้ําหลากได้มาก ซึ่งจะต้องขยายผลมากขึ้น โดยเน้นพื้นที่ที่น้ําท่วมเป็นประจํา ลุ่มน้ําชี สกลนคร นครพนม อุบลราชธานี เป็นต้น ซึ่งพบว่าแก้มลิงที่ได้ดําเนินการตลอด 3 ปี สามารถเพิ่มการเก็บกักน้ําทั่วประเทศเพิ่มขี้น 1,579 ล้าน ลบ.ม. ลุ่มน้ํายม เพิ่ม 215 ล้าน ลบ.ม. ลุ่มน้ําเจ้าพระยา เพิ่ม 190 ล้าน ลบ.ม. ลุ่มน้ําชี เพิ่ม 204 ล้าน ลบ.ม.และลุ่มน้ํามูล เพิ่ม 197 ล้าน ลบ.ม. โดยในปี 2561 กระทรวงเกษตรฯ มีแผนในจัดการเพาะปลูกพื้นที่ลุ่มต่ําที่น้ําท่วมเป็นประจํา เช่นเดียวกับลุ่มน้ํายม และ ลุ่มน้ําเจ้าพระยาด้วยเช่นกัน ซึ่งต้องมีการชี้แจงทําความเข้าใจเพื่อขอความร่วมมือกับเกษตรกรต่อไป” พลเอกฉัตรชัย กล่าว สําหรับการช่วยเหลือของกระทรวงเกษตรฯ ได้มีการตั้งจุดอพยพสัตว์/เสบียงสัตว์การดูแลโรคระบาด การฟื้นฟูไม้ผล ไม้ยืนต้น การสํารวจและประมาณการความเสียหาย การช่วยเหลือพื้นที่ที่น้ําท่วมทั้ง 2 ครั้ง การบําบัดน้ําเสีย พร้อมวางมาตรการช่วยเหลือและฟื้นฟูทั้งเฉพาะหน้าและระยะยาว เช่น การสนับสนุนการปรับระยะเวลาเพาะปลูกในพื้นที่ลุ่มต่ํา การเร่งรัดเงินชดเชยการสนับสนุนปัจจัยการผลิต การลดภาระหนี้สิน การชดเชยรายได้ เช่น การจ้างแรงของกรมชลประทาน เป็นต้น เปรียบเทียบปี 2554 - 2560 1. ปริมาณฝน ลําดับ ภาค ปริมาณฝนสะสม ม.ค. - ต.ค. (มม.) หมายเหตุ เฉลี่ย 30 ปี ปี 2554 ปี 2560 เหนือ 1,167.2 1,664.8 1,390.0 อีสาน 1,365.2 1,684.2 1,728.2 กลาง 1,202.8 1,503.5 1,538.0 ตะวันออก 1,784.9 2,056.4 1,981.6 ใต้ฝั่งตะวันออก 1,050.5 1,622.0 1,737.7 ใต้ฝั่งตะวันตก 2,366.6 2,679.0 2,999.1 เฉลี่ยทั้งประเทศ 1,398.5 1,797.5 1,770.7 2. ปริมาณน้ําในลําน้ํา ณ วันที่ 29 ต.ค. 54 กับ วันที่ 29 ต.ค. 60 ลําดับ แม่น้ํา ช่วง ระดับน้ํา/หน่วย ปี 2554 ปี 2560 ชี อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร ลบ.ม./วินาที มูล อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ลบ.ม./วินาที 3. พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ (ไร่) ณ วันที่ 29 ต.ค. 54 กับ วันที่ 29 ต.ค. 60 ตามรายงานของ ชป. ลําดับ จังหวัด ปี 2554 ปี 2560 หมายเหตุ นครราชสีมา - - ชัยภูมิ - ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร ศรีสะเกษ หนองบัวลําภู - อุบลราชธานี สุรินทร์ - รวม กลุ่มโฆษกและวิเคราะห์ข่าว กองเกษตรสารนิเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร 02-2810859 แฟกซ์ 02-2822871 [email protected] www.moac.go.th www.facebook.com/kasetthai
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/7672
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รอง นรม.ฉัตรชัยฯ ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการดำเนินงานแก่เจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า-ออก ( PIPO) หน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลอ่าวน้อย จ.ประจวบขีรีขันธ์
วันพุธที่ 2 พฤษภาคม 2561 รอง นรม.ฉัตรชัยฯ ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการดําเนินงานแก่เจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า-ออก ( PIPO) หน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลอ่าวน้อย จ.ประจวบขีรีขันธ์ รองนายกรัฐมนตรี ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการดําเนินงานแก่เจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า-ออก ( PIPO) หน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลอ่าวน้อยตามแนวทางแก้ไขปัญหาการทําการประมงที่ผิดกฎหมายอย่างยั่งยืน วันนี้ (2 พ.ค.61) เวลา 09.30 น. พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการดําเนินงานแก่เจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า-ออก (PIPO) หน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลอ่าวน้อย ถนนสวนสน ตําบลอ่าวน้อย อําเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตามแผนปฏิบัติการเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานของศูนย์แจ้งเข้า - ออกเรือประมง (PIPO) โดยใช้แนวทางการตรวจแบบบูรณาการข้อมูลการทําประมงจากทุกแหล่ง เช่น เส้นทางการทําประมงที่ได้จากระบบติดตามเรือประมง (VMS) สมุดบันทึกทําการประมง (Logbook) โดยนํามาตรวจสอบร่วมกับข้อมูลเชิงลึกเพื่อนําไปสู่การบังคับใช้กฎหมายได้อย่างตรงตัวผู้กระทําผิด ทั้งนี้บนหลักการอํานวยความสะดวกให้ผู้ที่ปฏิบัติตามกฎหมาย บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดกับผู้ที่ปฏิบัติผิดกฎหมาย ที่ผ่านมา ศูนย์ฯ ประจวบคีรีขันธ์ มีผลการปฏิบัติงานที่ดีเยี่ยมสามารถเป็นแบบอย่างให้กับ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า – ออก อื่นๆได้ นอกจากนั้น รองนายกรัฐมนตรียังได้มอบนโยบายเพิ่มเติมให้ศูนย์ฯ มุ่งเน้นการอํานวยความสะดวกให้กับชาวประมง โดยลดการตรวจเอกสารซึ่งซ้ําซ้อนระหว่างหน่วยงาน เพิ่มความรวดเร็วในการตรวจเรือ และเชื่อมโยงการทํางานเป็นเครือข่ายกับหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งจะทําให้ชาวประมงที่ปฏิบัติตามกฎหมายได้รับความสะดวกรวดเร็วในการออกทําการประมงมากยิ่งขึ้น รองนายกรัฐมนตรีย้ําว่า รัฐบาลจะให้ความสําคัญกับการอํานวยความสะดวกสําหรับการทําประมงที่ถูกกฎหมาย ส่วนการประมงที่ผิดกฎหมายจะดําเนินการอย่างเข้มงวด จากนั้น รองนายกรัฐมนตรีและคณะ ได้เดินทางไปเยี่ยมชมกิจกรรมของเครือข่ายชาวประมงพื้นบ้านประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งดําเนินโครงการนําร่อง ชาวประมงดิจิตัล หรือ Digital Artisanal Fisheries โดยเรือประมงพื้นบ้านในเครือข่ายทุกลําจะติดตั้งอุปกรณ์ติดตามเรือของ Pelagic Data System (PDA) ซึ่งมีลักษณะการทํางานเช่นเดียวกับระบบ VMS ที่ติดตั้งในเรือประมงพาณิชย์ โดยระบบ PDA ของเรือประมงพื้นบ้านจะบ่งบอกถึงพฤติกรรมการทําการประมง เครื่องมือทําการประมง การละเมิดวัน/ เวลา/เขตกําหนดการทําการประมง ระบุพิกัดของการจับสัตว์นํ้า การขนถ่ายในทะเล (Transshipment) และ อุณหภูมิของการจัดเก็บสัตว์นํ้า ซึ่งนับได้ว่าเป็นข้อมูลที่มีคุณค่าต่อการทําระบบตรวจสอบ ย้อนกลับแบบดิจิตัล (Digital Traceability) และเมื่อนํามารวมกับการทํากิจกรรมในชุมชนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ระบบนิเวศน์ทางทะเล การทําประมงแบบยั่งยืน และส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อเฝ้าระวังการทําการประมงผิดกฎหมายในชุมชนประมง ชายฝั่ง ก็จะทําให้ชุมชนประมงพื้นบ้านกลายเป็นชาวประมงดิจิตัล ที่สามารถสื่อสารกับผู้บริโภคผ่าน เทคโนโลยีการสื่อสาร (Application) และสื่อออนไลน์ให้ทําการสนับสนุนการทําประมงยั่งยืนโดยการ สนับสนุนสินค้าของชาวประมงที่ทําการประมงอย่างยั่งยืนและมีระบบตรวจสอบย้อนกลับแบบดิจิตัลทําให้ รู้ถึงแหล่งที่มาของอาหารทะเลและพฤติกรรมการทําการประมง สําหรับเครือข่ายประมงพื้นบ้านนี้ตั้งอยู่ที่ บ้านทุ่งน้อย อ.กุยบุรี จ. ประจวบคีรีขันธ์ เป็นชุมชนที่มีความหลากหลายของขนาดเรือ ชนิดของ เคร่ืองมือทําการประมง และชนิดของสัตว์นํ้า ตลอดจนมีการรวมกลุุ่มเป็นชุมชนชาวประมงที่เข้มแข็ง โดยได้มีการรวมกลุ่มทําการขายสินค้าอาหารทะเลจากการทําการประมงยั่งยืนให้กับผู้บริโภคโดยตรงใช้ชื่อว่า “คนทะเล” โดยมีการกําหนดกฎกติกาชุมชนของการทําประมง (Code of Conduct) จึงนับได้ว่าเป็นชุมชนที่มีความพร้อม รองนายกรัฐมนตรีได้กล่าวกับชาวประมงพื้นบ้านโดยยินดีให้การสนับสนุนกับกิจกรรมที่ส่งเสริมการทําประมงอย่างยั่งยืน ชุมชนนี้นับเป็นต้นแบบของการยกระดับมาตรฐานการประมงพื้นบ้านโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ราคาถูก แต่ได้รับข้อมูลครบถ้วนในการตรวจสอบย้อนกลับสัตว์น้ําที่จับได้และนําออกสู่ตลาด สร้างความโปร่งใสในการทําประมงของชาวประมงพื้นบ้านทําให้เกิดความมั่นใจในการบริโภค ดังนั้นจึงสั่งการให้กรมประมงใช้โครงการนี้เป็นต้นแบบในการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนประมงท้องถิ่นซึ่งระบุไว้ว่าเป็นหน้าที่ของรัฐบาลตามมาตรา 25 ของ พรก.ประมง นอกจากนั้น รองนายกรัฐมนตรียังสั่งการเพิ่มเติมให้ ศปมผ. เร่งรัดจัดทําแผนการทํางานร่วมกับชาวประมงพื้นบ้านเพื่อให้เป็นเครือข่ายในการติดตาม เฝ้าระวัง และควบคุมการทําประมงภาดประชาชน เพราะการแก้ไขปัญหาการทําการประมงที่ผิดกฎหมายนั้นภาครัฐไม่สามารถดําเนินการอย่างมีประสิทธิภาพไม่ได้เลยหากขาดความร่วมมือและการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน ซึ่งจากการพบปะกับชาวประมงพื้นบ้านวันนี้ได้รับคํายื่นยันว่าประมงพื้นบ้านพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับแนวทางของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการทําการประมงที่ผิดกฎหมายเพื่อนความยั่งยืนมาสู่ท้องทะเลไทย ........................................................................................... กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รอง นรม.ฉัตรชัยฯ ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการดำเนินงานแก่เจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า-ออก ( PIPO) หน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลอ่าวน้อย จ.ประจวบขีรีขันธ์ วันพุธที่ 2 พฤษภาคม 2561 รอง นรม.ฉัตรชัยฯ ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการดําเนินงานแก่เจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า-ออก ( PIPO) หน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลอ่าวน้อย จ.ประจวบขีรีขันธ์ รองนายกรัฐมนตรี ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการดําเนินงานแก่เจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า-ออก ( PIPO) หน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลอ่าวน้อยตามแนวทางแก้ไขปัญหาการทําการประมงที่ผิดกฎหมายอย่างยั่งยืน วันนี้ (2 พ.ค.61) เวลา 09.30 น. พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการดําเนินงานแก่เจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า-ออก (PIPO) หน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลอ่าวน้อย ถนนสวนสน ตําบลอ่าวน้อย อําเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตามแผนปฏิบัติการเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานของศูนย์แจ้งเข้า - ออกเรือประมง (PIPO) โดยใช้แนวทางการตรวจแบบบูรณาการข้อมูลการทําประมงจากทุกแหล่ง เช่น เส้นทางการทําประมงที่ได้จากระบบติดตามเรือประมง (VMS) สมุดบันทึกทําการประมง (Logbook) โดยนํามาตรวจสอบร่วมกับข้อมูลเชิงลึกเพื่อนําไปสู่การบังคับใช้กฎหมายได้อย่างตรงตัวผู้กระทําผิด ทั้งนี้บนหลักการอํานวยความสะดวกให้ผู้ที่ปฏิบัติตามกฎหมาย บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดกับผู้ที่ปฏิบัติผิดกฎหมาย ที่ผ่านมา ศูนย์ฯ ประจวบคีรีขันธ์ มีผลการปฏิบัติงานที่ดีเยี่ยมสามารถเป็นแบบอย่างให้กับ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า – ออก อื่นๆได้ นอกจากนั้น รองนายกรัฐมนตรียังได้มอบนโยบายเพิ่มเติมให้ศูนย์ฯ มุ่งเน้นการอํานวยความสะดวกให้กับชาวประมง โดยลดการตรวจเอกสารซึ่งซ้ําซ้อนระหว่างหน่วยงาน เพิ่มความรวดเร็วในการตรวจเรือ และเชื่อมโยงการทํางานเป็นเครือข่ายกับหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งจะทําให้ชาวประมงที่ปฏิบัติตามกฎหมายได้รับความสะดวกรวดเร็วในการออกทําการประมงมากยิ่งขึ้น รองนายกรัฐมนตรีย้ําว่า รัฐบาลจะให้ความสําคัญกับการอํานวยความสะดวกสําหรับการทําประมงที่ถูกกฎหมาย ส่วนการประมงที่ผิดกฎหมายจะดําเนินการอย่างเข้มงวด จากนั้น รองนายกรัฐมนตรีและคณะ ได้เดินทางไปเยี่ยมชมกิจกรรมของเครือข่ายชาวประมงพื้นบ้านประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งดําเนินโครงการนําร่อง ชาวประมงดิจิตัล หรือ Digital Artisanal Fisheries โดยเรือประมงพื้นบ้านในเครือข่ายทุกลําจะติดตั้งอุปกรณ์ติดตามเรือของ Pelagic Data System (PDA) ซึ่งมีลักษณะการทํางานเช่นเดียวกับระบบ VMS ที่ติดตั้งในเรือประมงพาณิชย์ โดยระบบ PDA ของเรือประมงพื้นบ้านจะบ่งบอกถึงพฤติกรรมการทําการประมง เครื่องมือทําการประมง การละเมิดวัน/ เวลา/เขตกําหนดการทําการประมง ระบุพิกัดของการจับสัตว์นํ้า การขนถ่ายในทะเล (Transshipment) และ อุณหภูมิของการจัดเก็บสัตว์นํ้า ซึ่งนับได้ว่าเป็นข้อมูลที่มีคุณค่าต่อการทําระบบตรวจสอบ ย้อนกลับแบบดิจิตัล (Digital Traceability) และเมื่อนํามารวมกับการทํากิจกรรมในชุมชนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ระบบนิเวศน์ทางทะเล การทําประมงแบบยั่งยืน และส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อเฝ้าระวังการทําการประมงผิดกฎหมายในชุมชนประมง ชายฝั่ง ก็จะทําให้ชุมชนประมงพื้นบ้านกลายเป็นชาวประมงดิจิตัล ที่สามารถสื่อสารกับผู้บริโภคผ่าน เทคโนโลยีการสื่อสาร (Application) และสื่อออนไลน์ให้ทําการสนับสนุนการทําประมงยั่งยืนโดยการ สนับสนุนสินค้าของชาวประมงที่ทําการประมงอย่างยั่งยืนและมีระบบตรวจสอบย้อนกลับแบบดิจิตัลทําให้ รู้ถึงแหล่งที่มาของอาหารทะเลและพฤติกรรมการทําการประมง สําหรับเครือข่ายประมงพื้นบ้านนี้ตั้งอยู่ที่ บ้านทุ่งน้อย อ.กุยบุรี จ. ประจวบคีรีขันธ์ เป็นชุมชนที่มีความหลากหลายของขนาดเรือ ชนิดของ เคร่ืองมือทําการประมง และชนิดของสัตว์นํ้า ตลอดจนมีการรวมกลุุ่มเป็นชุมชนชาวประมงที่เข้มแข็ง โดยได้มีการรวมกลุ่มทําการขายสินค้าอาหารทะเลจากการทําการประมงยั่งยืนให้กับผู้บริโภคโดยตรงใช้ชื่อว่า “คนทะเล” โดยมีการกําหนดกฎกติกาชุมชนของการทําประมง (Code of Conduct) จึงนับได้ว่าเป็นชุมชนที่มีความพร้อม รองนายกรัฐมนตรีได้กล่าวกับชาวประมงพื้นบ้านโดยยินดีให้การสนับสนุนกับกิจกรรมที่ส่งเสริมการทําประมงอย่างยั่งยืน ชุมชนนี้นับเป็นต้นแบบของการยกระดับมาตรฐานการประมงพื้นบ้านโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ราคาถูก แต่ได้รับข้อมูลครบถ้วนในการตรวจสอบย้อนกลับสัตว์น้ําที่จับได้และนําออกสู่ตลาด สร้างความโปร่งใสในการทําประมงของชาวประมงพื้นบ้านทําให้เกิดความมั่นใจในการบริโภค ดังนั้นจึงสั่งการให้กรมประมงใช้โครงการนี้เป็นต้นแบบในการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนประมงท้องถิ่นซึ่งระบุไว้ว่าเป็นหน้าที่ของรัฐบาลตามมาตรา 25 ของ พรก.ประมง นอกจากนั้น รองนายกรัฐมนตรียังสั่งการเพิ่มเติมให้ ศปมผ. เร่งรัดจัดทําแผนการทํางานร่วมกับชาวประมงพื้นบ้านเพื่อให้เป็นเครือข่ายในการติดตาม เฝ้าระวัง และควบคุมการทําประมงภาดประชาชน เพราะการแก้ไขปัญหาการทําการประมงที่ผิดกฎหมายนั้นภาครัฐไม่สามารถดําเนินการอย่างมีประสิทธิภาพไม่ได้เลยหากขาดความร่วมมือและการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน ซึ่งจากการพบปะกับชาวประมงพื้นบ้านวันนี้ได้รับคํายื่นยันว่าประมงพื้นบ้านพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับแนวทางของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการทําการประมงที่ผิดกฎหมายเพื่อนความยั่งยืนมาสู่ท้องทะเลไทย ........................................................................................... กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/11925
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงเกษตรฯ รายงานสถานการณ์น้ำ ณ วันที่ 25 มี.ค. 2563
วันพุธที่ 25 มีนาคม 2563 กระทรวงเกษตรฯ รายงานสถานการณ์น้ํา ณ วันที่ 25 มี.ค. 2563 กระทรวงเกษตรฯ รายงานสถานการณ์น้ํา ณ วันที่ 25 มี.ค. 2563 นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึง สถานการณ์น้ําในอ่างเก็บน้ําทั้งประเทศ ว่า สภาพน้ําในอ่างเก็บน้ําขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศจํานวน 447 แห่ง มีปริมาณน้ําในอ่างฯ รวมกันทั้งสิ้น 38,978 ล้าน ลบ.ม. (51% ของความจุอ่างฯ) ปริมาณน้ําใช้การได้ 15,257 ล้าน ลบ.ม. (29% ของความจุน้ําใช้การ) อ่างเก็บน้ําขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ําใช้การน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30% ของความจุอ่าง จํานวน 20 แห่ง คือ ภูมิพล สิริกิติ์ แม่งัดสมบูรณ์ชล แม่กวงอุดมธารา แม่มอก ห้วยหลวง จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลําพระเพลิง มูลบน ลําแชะ ลํานางรอง ป่าสักชลสิทธิ์ ทับเสลา กระเสียว ขุนด่านปราการชล คลองสียัด บางพระ หนองปลาไหล และประแสร์ สถานการณ์น้ําใน 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ และป่าสักฯ) ปริมาณน้ํารวมกันทั้งสิ้น 9,429 ล้าน ลบ.ม. (38% ของความจุอ่างฯ) เป็นปริมาณน้ําใช้การได้ 2,733 ล้าน ลบ.ม. (15% ของความจุน้ําใช้การ) ส่วนผลการจัดสรรน้ําฤดูแล้งปี 2562/63 แบ่งเป็นทั้งประเทศ แผนการจัดสรรน้ํา 17,699 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ําไปแล้ว 13,508 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 76 และเจ้าพระยา แผนการจัดสรรน้ํา 4,500 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ําไปแล้ว 3,5641 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 81 แผน-ผลการเพาะปลูกข้าวนาปรังปี 2562/63 ในเขตชลประทาน (ข้อมูล ณ วันที่ 18 มี.ค.63) ในส่วนของทั้งประเทศ แผนเพาะปลูกข้าวนาปรัง 2.31 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 4.17 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 180.56 ของแผนฯ เก็บเกี่ยวแล้ว 1.60 ล้านไร่ และลุ่มน้ําเจ้าพระยา แผนเพาะปลูกข้าวนาปรัง – ล้านไร่ (รณรงค์งดทํานาต่อเนื่องฤดูแล้ง ปี 2562/63) เพาะปลูกแล้ว 1.99 ล้านไร่ เก็บเกี่ยวแล้ว 1.21 ล้านไร่ คุณภาพน้ํา วันที่ 25 มี.ค.63 เวลา 05.00 น. : แม่น้ําเจ้าพระยา สถานีประปาสําแล จ.ปทุมธานี (ปกติ) ท่าน้ํานนทบุรี จ.นนทบุรี (ปกติ) ทั้งนี้ กรมชลประทานได้บริหารจัดการน้ําเพื่อแก้ไขปัญหาความเค็ม โดยทําการผันน้ําบางส่วนจากแม่น้ําแม่กลองมายังแม่น้ําเจ้าพระยา แม่น้ําบางปะกง สถานีปราจีนบุรี (ปกติ) แม่น้ําท่าจีน สถานีปากคลองจินดา (ปกติ) และแม่น้ําแม่กลอง สถานีปากคลองดําเนินสะดวก (ปกติ) นอกจากนี้ จังหวัดที่มีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) ตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2562 จํานวน 23 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ ศรีสะเกษ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี รวมทั้งสิ้น 139 อําเภอ 714 ตําบล 3 เทศบาล 6,065 หมู่บ้าน/ชุมชน (ข้อมูลจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ณ วันที่ 24 มี.ค.63) สําหรับกิจกรรมและการให้ความช่วยเหลือของศูนย์อํานวยการเฉพาะกิจแก้ไขและบรรเทาวิกฤตภัยแล้งฯ ประกอบด้วย โครงการชลประทานร้อยเอ็ด สํานักงานชลประทานที่ 6 รับสมัครแรงงานเกษตรกรเพื่อจ้างทํางานตามมาตรการช่วยเหลือภัยแล้งของกรมชลประทาน โดยรับสมัครแรงงานเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร/ประชาชนที่มีบัตรประชารัฐหรือเกษตรกรในพื้นที่ ตําบลวังหลวง อําเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เข้าทํางานในโครงการก่อสร้างอาคารป้องกันการกัดเซาะลําน้ํายัง โครงการชลประทานนครราชสีมา สํานักงานชลประทานที่ 8 ลงพื้นที่นํารถบรรทุกน้ําออกแจกจ่ายน้ําสําหรับการอุปโภค-บริโภค เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ที่ประสบปัญหาภัยแล้ง พื้นที่ตําบลด่านใน อําเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา โครงการชลประทานระยอง สํานักงานชลประทานที่ 9 นําเครื่องสูบน้ําขนาด 8 นิ้ว จํานวน 1 เครื่อง ไปติดตั้งที่หมู่ 5 ตําบลสองสลึง อําเภอแกลง จังหวัดระยอง เพื่อสูบน้ําจากคลองสองสลึงเข้าสู่คลองย่อย ให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ําสําหรับการอุปโภค-บริโภค และพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ําเพื่อการเกษตร ในเขตพื้นที่ของโครงการชลประทานระยอง โครงการส่งน้ําและบํารุงรักษาชลหารพิจิตร สํานักงานชลประทานที่ 11 ลงพื้นที่ติดตามการกําจัดวัชพืชโดยใช้เรือกําจัดวัชพืชจากสํานักเครื่องจักรกล ณ คลองลําปลาทิว บริเวณ กม.13+000 เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนในการส่งน้ําเพื่อการเกษตรให้กับพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ํา และแก้ไขเรื่องการสัญจรทางน้ําให้กับประชาชน พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ํา โครงการส่งน้ําและบํารุงรักษาชัณสูตร สํานักงานชลประทานที่ 12 ลงพื้นที่ติดตามการดําเนินการบริหารจัดการน้ําช่วงฤดูแล้งปี 2562/63 เพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร พื้นที่ไม้ผล-ไม้ยืนต้น บริเวณคลอง 3 ขวา - 1 ขวา ในพื้นที่ตําบลวังน้ําเย็น อําเภอแสวงหา ตําบลรํามะสัก อําเภอโพธิ์ทอง ตําบลมงคลธรรมนิมิตร ตําบลสามโก้ อําเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง โครงการชลประทานนครศรีธรรมราช สํานักงานชลประทานที่ 15 ลงพื้นที่สนับสนุนเครื่องสูบน้ําพร้อมน้ํามันเชื้อเพลิงขนาด 12 นิ้ว จํานวน 2 เครื่อง และขนาด 8 นิ้ว จํานวน 1 เครื่อง รวมทั้งหมด 3 เครื่อง เพื่อช่วยเหลือสถานการณ์ภัยแล้งแก่ราษฎรในเขตพื้นที่ปากคลองค้อ ตําบลเกาะทวด อําเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงเกษตรฯ รายงานสถานการณ์น้ำ ณ วันที่ 25 มี.ค. 2563 วันพุธที่ 25 มีนาคม 2563 กระทรวงเกษตรฯ รายงานสถานการณ์น้ํา ณ วันที่ 25 มี.ค. 2563 กระทรวงเกษตรฯ รายงานสถานการณ์น้ํา ณ วันที่ 25 มี.ค. 2563 นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึง สถานการณ์น้ําในอ่างเก็บน้ําทั้งประเทศ ว่า สภาพน้ําในอ่างเก็บน้ําขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศจํานวน 447 แห่ง มีปริมาณน้ําในอ่างฯ รวมกันทั้งสิ้น 38,978 ล้าน ลบ.ม. (51% ของความจุอ่างฯ) ปริมาณน้ําใช้การได้ 15,257 ล้าน ลบ.ม. (29% ของความจุน้ําใช้การ) อ่างเก็บน้ําขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ําใช้การน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30% ของความจุอ่าง จํานวน 20 แห่ง คือ ภูมิพล สิริกิติ์ แม่งัดสมบูรณ์ชล แม่กวงอุดมธารา แม่มอก ห้วยหลวง จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลําพระเพลิง มูลบน ลําแชะ ลํานางรอง ป่าสักชลสิทธิ์ ทับเสลา กระเสียว ขุนด่านปราการชล คลองสียัด บางพระ หนองปลาไหล และประแสร์ สถานการณ์น้ําใน 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ และป่าสักฯ) ปริมาณน้ํารวมกันทั้งสิ้น 9,429 ล้าน ลบ.ม. (38% ของความจุอ่างฯ) เป็นปริมาณน้ําใช้การได้ 2,733 ล้าน ลบ.ม. (15% ของความจุน้ําใช้การ) ส่วนผลการจัดสรรน้ําฤดูแล้งปี 2562/63 แบ่งเป็นทั้งประเทศ แผนการจัดสรรน้ํา 17,699 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ําไปแล้ว 13,508 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 76 และเจ้าพระยา แผนการจัดสรรน้ํา 4,500 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ําไปแล้ว 3,5641 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 81 แผน-ผลการเพาะปลูกข้าวนาปรังปี 2562/63 ในเขตชลประทาน (ข้อมูล ณ วันที่ 18 มี.ค.63) ในส่วนของทั้งประเทศ แผนเพาะปลูกข้าวนาปรัง 2.31 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 4.17 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 180.56 ของแผนฯ เก็บเกี่ยวแล้ว 1.60 ล้านไร่ และลุ่มน้ําเจ้าพระยา แผนเพาะปลูกข้าวนาปรัง – ล้านไร่ (รณรงค์งดทํานาต่อเนื่องฤดูแล้ง ปี 2562/63) เพาะปลูกแล้ว 1.99 ล้านไร่ เก็บเกี่ยวแล้ว 1.21 ล้านไร่ คุณภาพน้ํา วันที่ 25 มี.ค.63 เวลา 05.00 น. : แม่น้ําเจ้าพระยา สถานีประปาสําแล จ.ปทุมธานี (ปกติ) ท่าน้ํานนทบุรี จ.นนทบุรี (ปกติ) ทั้งนี้ กรมชลประทานได้บริหารจัดการน้ําเพื่อแก้ไขปัญหาความเค็ม โดยทําการผันน้ําบางส่วนจากแม่น้ําแม่กลองมายังแม่น้ําเจ้าพระยา แม่น้ําบางปะกง สถานีปราจีนบุรี (ปกติ) แม่น้ําท่าจีน สถานีปากคลองจินดา (ปกติ) และแม่น้ําแม่กลอง สถานีปากคลองดําเนินสะดวก (ปกติ) นอกจากนี้ จังหวัดที่มีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) ตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2562 จํานวน 23 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ ศรีสะเกษ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี รวมทั้งสิ้น 139 อําเภอ 714 ตําบล 3 เทศบาล 6,065 หมู่บ้าน/ชุมชน (ข้อมูลจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ณ วันที่ 24 มี.ค.63) สําหรับกิจกรรมและการให้ความช่วยเหลือของศูนย์อํานวยการเฉพาะกิจแก้ไขและบรรเทาวิกฤตภัยแล้งฯ ประกอบด้วย โครงการชลประทานร้อยเอ็ด สํานักงานชลประทานที่ 6 รับสมัครแรงงานเกษตรกรเพื่อจ้างทํางานตามมาตรการช่วยเหลือภัยแล้งของกรมชลประทาน โดยรับสมัครแรงงานเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร/ประชาชนที่มีบัตรประชารัฐหรือเกษตรกรในพื้นที่ ตําบลวังหลวง อําเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เข้าทํางานในโครงการก่อสร้างอาคารป้องกันการกัดเซาะลําน้ํายัง โครงการชลประทานนครราชสีมา สํานักงานชลประทานที่ 8 ลงพื้นที่นํารถบรรทุกน้ําออกแจกจ่ายน้ําสําหรับการอุปโภค-บริโภค เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ที่ประสบปัญหาภัยแล้ง พื้นที่ตําบลด่านใน อําเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา โครงการชลประทานระยอง สํานักงานชลประทานที่ 9 นําเครื่องสูบน้ําขนาด 8 นิ้ว จํานวน 1 เครื่อง ไปติดตั้งที่หมู่ 5 ตําบลสองสลึง อําเภอแกลง จังหวัดระยอง เพื่อสูบน้ําจากคลองสองสลึงเข้าสู่คลองย่อย ให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ําสําหรับการอุปโภค-บริโภค และพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ําเพื่อการเกษตร ในเขตพื้นที่ของโครงการชลประทานระยอง โครงการส่งน้ําและบํารุงรักษาชลหารพิจิตร สํานักงานชลประทานที่ 11 ลงพื้นที่ติดตามการกําจัดวัชพืชโดยใช้เรือกําจัดวัชพืชจากสํานักเครื่องจักรกล ณ คลองลําปลาทิว บริเวณ กม.13+000 เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนในการส่งน้ําเพื่อการเกษตรให้กับพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ํา และแก้ไขเรื่องการสัญจรทางน้ําให้กับประชาชน พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ํา โครงการส่งน้ําและบํารุงรักษาชัณสูตร สํานักงานชลประทานที่ 12 ลงพื้นที่ติดตามการดําเนินการบริหารจัดการน้ําช่วงฤดูแล้งปี 2562/63 เพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร พื้นที่ไม้ผล-ไม้ยืนต้น บริเวณคลอง 3 ขวา - 1 ขวา ในพื้นที่ตําบลวังน้ําเย็น อําเภอแสวงหา ตําบลรํามะสัก อําเภอโพธิ์ทอง ตําบลมงคลธรรมนิมิตร ตําบลสามโก้ อําเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง โครงการชลประทานนครศรีธรรมราช สํานักงานชลประทานที่ 15 ลงพื้นที่สนับสนุนเครื่องสูบน้ําพร้อมน้ํามันเชื้อเพลิงขนาด 12 นิ้ว จํานวน 2 เครื่อง และขนาด 8 นิ้ว จํานวน 1 เครื่อง รวมทั้งหมด 3 เครื่อง เพื่อช่วยเหลือสถานการณ์ภัยแล้งแก่ราษฎรในเขตพื้นที่ปากคลองค้อ ตําบลเกาะทวด อําเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/27840
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ฝันเป็นจริง! เพียงแตะบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ด้วยระบบ E-Ticket ก็ขึ้นรถเมล์ได้
วันพุธที่ 20 กันยายน 2560 ฝันเป็นจริง! เพียงแตะบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ด้วยระบบ E-Ticket ก็ขึ้นรถเมล์ได้ ระบบ E-Ticket จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บค่าโดยสารให้เกิดความถูกต้อง ฝันเป็นจริง! เพียงแตะบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ด้วยระบบ E-Ticket ก็ขึ้นรถเมล์ได้ จากนโยบายการจัดทําบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมอบให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยเพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และรายจ่ายในการเดินทาง โดยบัตรดังกล่าวจะเริ่มใช้งานได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 เป็นต้นไป นั้น สําหรับพี่น้องประชาชนที่ใช้รถโดยสาร ขสมก ซึ่งวิ่งให้บริการในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล สามารถใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐขึ้นรถโดยสารธรรมดา จํานวน 800 คัน ที่ได้ทยอยติดตั้งระบบบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Ticket) เพื่อรองรับความต้องการของผู้ถือบัตรทุกรายได้ตั้งแต่วันที่ 17 ต.ค.60 เป็นต้นไป โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนไว้ใน 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ นครปฐม สมุทรสาคร ซึ่งมีจํานวนประมาณ 1.3 ล้านคน ทั้งนี้ เนื่องจากภาครัฐมีความจําเป็นต้องบรรจุข้อมูลลงในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่สอดคล้องกับมาตรฐานกลางระบบตั๋วร่วม (แมงมุม) ของสํานักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ซึ่งจะเชื่อมโยงการเดินทางด้วยรถโดยสาร ขสมก. และรถไฟฟ้าทั้งบนดินและใต้ดิน เพิ่มความสะดวกให้กับประชาชน จึงทําให้ต้องเพิ่มขั้นตอนการผลิตและควบคุมคุณภาพ ก่อนนําไปทดสอบกับเครื่องอ่านบัตร (E-Ticket) ต่อไป และ เพื่อเป็นการชดเชยและลดผลกระทบของผู้มีรายได้น้อย อันเนื่องมาจากขั้นตอนการผลิตที่ใช้เวลานานขึ้น กรมบัญชีกลางจะยกยอดวงเงินแต่ละประเภทสวัสดิการที่คงเหลือจากการใช้จ่ายในเดือนตุลาคม 2560 ให้ไปใช้ต่อได้ในเดือนพฤศจิกายน 2560 ส่วนวิธีการใช้งานบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในการเดินทางด้วยรถโดยสาร ขสมก. นั้นไม่ยุ่งยาก เพียงผู้ถือบัตรนําบัตรสวัสดิการแห่งรัฐแตะที่เครื่องอ่านบัตร ซึ่งติดตั้งอยู่ที่จุดขึ้นและลงบนรถโดยสาร ระบบจะตัดค่าโดยสารอัตโนมัติ โดยในระยะแรกจะมีพนักงานแนะนําวิธีการใช้งาน จนกว่าผู้ถือบัตรจะเกิดความคุ้นเคย และหากอยากทราบว่า รถโดยสารคันใดที่ติดตั้งระบบ E-ticket ขอให้สังเกตที่กระจกด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลัง ซึ่งจะมีสติ๊กเกอร์สีเขียวระบุไว้ว่า “รถคันนี้ใช้ระบบเก็บเงินอัตโนมัติ” แทนที่ข้อความ “รถเมล์ฟรีภาษีจากประชาชน” ระบบ E-Ticket จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บค่าโดยสารให้เกิดความถูกต้อง แม่นยํา และช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานเก็บค่าโดยสาร พร้อมทั้งสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของการเดินทางที่ทันสมัย สะท้อนวิถีชีวิตของคนเมืองได้เป็นอย่างดี ภาพ/ข่าว : กลุ่มสื่อสารเชิงกลยุทธ์ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ฝันเป็นจริง! เพียงแตะบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ด้วยระบบ E-Ticket ก็ขึ้นรถเมล์ได้ วันพุธที่ 20 กันยายน 2560 ฝันเป็นจริง! เพียงแตะบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ด้วยระบบ E-Ticket ก็ขึ้นรถเมล์ได้ ระบบ E-Ticket จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บค่าโดยสารให้เกิดความถูกต้อง ฝันเป็นจริง! เพียงแตะบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ด้วยระบบ E-Ticket ก็ขึ้นรถเมล์ได้ จากนโยบายการจัดทําบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมอบให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยเพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และรายจ่ายในการเดินทาง โดยบัตรดังกล่าวจะเริ่มใช้งานได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 เป็นต้นไป นั้น สําหรับพี่น้องประชาชนที่ใช้รถโดยสาร ขสมก ซึ่งวิ่งให้บริการในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล สามารถใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐขึ้นรถโดยสารธรรมดา จํานวน 800 คัน ที่ได้ทยอยติดตั้งระบบบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Ticket) เพื่อรองรับความต้องการของผู้ถือบัตรทุกรายได้ตั้งแต่วันที่ 17 ต.ค.60 เป็นต้นไป โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนไว้ใน 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ นครปฐม สมุทรสาคร ซึ่งมีจํานวนประมาณ 1.3 ล้านคน ทั้งนี้ เนื่องจากภาครัฐมีความจําเป็นต้องบรรจุข้อมูลลงในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่สอดคล้องกับมาตรฐานกลางระบบตั๋วร่วม (แมงมุม) ของสํานักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ซึ่งจะเชื่อมโยงการเดินทางด้วยรถโดยสาร ขสมก. และรถไฟฟ้าทั้งบนดินและใต้ดิน เพิ่มความสะดวกให้กับประชาชน จึงทําให้ต้องเพิ่มขั้นตอนการผลิตและควบคุมคุณภาพ ก่อนนําไปทดสอบกับเครื่องอ่านบัตร (E-Ticket) ต่อไป และ เพื่อเป็นการชดเชยและลดผลกระทบของผู้มีรายได้น้อย อันเนื่องมาจากขั้นตอนการผลิตที่ใช้เวลานานขึ้น กรมบัญชีกลางจะยกยอดวงเงินแต่ละประเภทสวัสดิการที่คงเหลือจากการใช้จ่ายในเดือนตุลาคม 2560 ให้ไปใช้ต่อได้ในเดือนพฤศจิกายน 2560 ส่วนวิธีการใช้งานบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในการเดินทางด้วยรถโดยสาร ขสมก. นั้นไม่ยุ่งยาก เพียงผู้ถือบัตรนําบัตรสวัสดิการแห่งรัฐแตะที่เครื่องอ่านบัตร ซึ่งติดตั้งอยู่ที่จุดขึ้นและลงบนรถโดยสาร ระบบจะตัดค่าโดยสารอัตโนมัติ โดยในระยะแรกจะมีพนักงานแนะนําวิธีการใช้งาน จนกว่าผู้ถือบัตรจะเกิดความคุ้นเคย และหากอยากทราบว่า รถโดยสารคันใดที่ติดตั้งระบบ E-ticket ขอให้สังเกตที่กระจกด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลัง ซึ่งจะมีสติ๊กเกอร์สีเขียวระบุไว้ว่า “รถคันนี้ใช้ระบบเก็บเงินอัตโนมัติ” แทนที่ข้อความ “รถเมล์ฟรีภาษีจากประชาชน” ระบบ E-Ticket จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บค่าโดยสารให้เกิดความถูกต้อง แม่นยํา และช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานเก็บค่าโดยสาร พร้อมทั้งสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของการเดินทางที่ทันสมัย สะท้อนวิถีชีวิตของคนเมืองได้เป็นอย่างดี ภาพ/ข่าว : กลุ่มสื่อสารเชิงกลยุทธ์ สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/6832
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. แถลงย้ำเกณฑ์จ่ายเงินสงเคราะห์รายละไม่เกิน 2,000 บาท ไม่ใช่เงินเยียวยา ให้ผู้ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19
วันอังคารที่ 28 เมษายน 2563 พม. แถลงย้ําเกณฑ์จ่ายเงินสงเคราะห์รายละไม่เกิน 2,000 บาท ไม่ใช่เงินเยียวยา ให้ผู้ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 พม. แถลงย้ําเกณฑ์จ่ายเงินสงเคราะห์รายละไม่เกิน 2,000 บาท ไม่ใช่เงินเยียวยา ให้ผู้ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 วันนี้ (28 เม.ย.63) เวลา 10.00 น. ที่บริเวณโถงชั้น 1 อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว ถนนกรุงเกษม กรุงเทพฯ นางพัชรี อาระยะกุล รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะโฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานการแถลงข่าวเรื่องการช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) เป็นกรณีเร่งด่วน โดยใช้งบประมาณปกติและเงินสงเคราะห์ช่วยเหลือตามระเบียบ พร้อมตั้งครัวกลางและศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้เร่ร่อนไร้ที่อยู่อาศัย ทั่วประเทศ นางพัชรี กล่าวว่า เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) ได้ส่งผลกระทบ ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมต่อประชาชนในวงกว้าง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) มีความห่วงใยประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว จึงได้ดําเนินมาตรการช่วยเหลือด้านปัจจัยสี่ทั้งอาหาร ที่พัก เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนอย่างเร่งด่วน อีกทั้งยังใช้มาตรการทางบริหารสําหรับการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมของกระทรวง พม. ด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์รายละไม่เกิน 2,000 บาท ซึ่งไม่ใช่เงินเยียวยา โดยเบิกจ่ายตามระเบียบและประกาศของกระทรวง พม. ประกอบด้วย 1) การสงเคราะห์เด็กภายในครอบครัว 2) การสงเคราะห์ผู้ตกทุกข์ได้ยากในประเทศให้กลับภูมิลําเนาเดิม 3) การจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉิน 4) การสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยและผู้ไร้ที่พึ่ง 5) เงินอุดหนุนเงินสงเคราะห์และฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ 6) การช่วยเหลือสตรีหรือครอบครัวที่ประสบปัญหาทางสังคม 7) การคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนการจัดที่พักอาศัย อาหารและเครื่องนุ่งห่มให้ผู้สูงอายุตามความจําเป็นอย่างทั่วถึง 8) การคุ้มครอง การส่งเสริมและการสนับสนุนการช่วยเหลือผู้สูงอายุ ซึ่งได้รับอันตรายจากการถูกทารุณกรรมหรือถูกแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือถูกทอดทิ้ง และการให้คําแนะนําปรึกษาดําเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องในทางการแก้ไขปัญหาครอบครัว และหนังสือกระทรวงการคลัง อาทิ 1) การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายโครงการรณรงค์เพื่อป้องกันโรคเอดส์ และการดําเนินงานช่วยเหลือด้านเงินทุนประกอบอาชีพแก่สตรีที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเอดส์ 2) การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการรณรงค์เพื่อป้องกันโรคเอดส์ และ 3) เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับตัวชาวเขา ทั้งนี้ การจ่ายเงินสงเคราะห์ไม่ใช่สําหรับประชาชนทั้งหมดในภาพรวมของประเทศ แต่เฉพาะประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน อาทิ เด็ก เยาวชน คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้มีรายได้น้อย คนไร้ที่พึ่ง ชาวเขา และผู้ที่เดือดร้อนจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยมีกระบวนการตรวจสอบและประเมินข้อเท็จจริงจากนักสังคมสงเคราะห์ว่ามีความเดือดร้อนและความต้องการการช่วยเหลือเร่งด่วนอย่างไร อีกทั้งต้องวิเคราะห์เป็นรายกรณีตามขั้นตอนและระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง นางพัชรี กล่าวต่อไปว่า สําหรับการช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายและประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากโรคโควิด-19 ที่ยังตกหล่นไม่ได้รับการช่วยเหลือจากมาตรการต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐ ทางกระทรวง พม. สํานักนายกรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย และกรุงเทพมหานคร จะดําเนินการร่วมกันสํารวจพื้นที่ทุกหมู่บ้าน ทุกชุมชน และทุกกลุ่มเป้าหมายให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 พ.ค. 2563 โดยจะนําข้อมูลทั้งหมดมาเชื่อมโยงกับทุกกระทรวง เพื่อดูแลประชาชนที่เดือดร้อนให้ครอบคลุมได้มากที่สุด และตกหล่นให้น้อยที่สุด ทั้งนี้ หากประชาชนประสบปัญหาทางสังคมและเดือดร้อนจากโรคโควิด-19 หรือพบเห็นผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ ขอให้ติดต่อที่ สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) ทุกจังหวัด ในภูมิลําเนาที่อยู่อาศัย หรือแจ้งมายัง สายด่วน พม. โทร 1300 บริการฟรี 24 ชม. ของศูนย์ช่วยเหลือสังคม นางพัชรี กล่าวเพิ่มเติมว่า ในขณะที่ กระทรวง พม. ได้ดําเนินมาตรการช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่ง คนไร้บ้าน ผู้ที่ตกงาน และผู้ที่ประสบปัญหาสังคมที่ไม่มีที่พักอาศัยในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล โดยได้จัดเตรียมสถานที่รองรับ 5 แห่ง ที่สะอาด ปลอดภัย และมีอาหารครบ 3 มื้อ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด อีกทั้งได้เตรียมรถบริการของศูนย์ช่วยเหลือสังคมสําหรับประชาชนที่ไม่มีที่พักอาศัย เพื่อพาไปส่งที่จุดคัดกรองเฉพาะกิจ (ดินแดง) ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกรุงเทพฯ โดยจะมีการตรวจสุขภาพในเบื้องต้นก่อนจะให้เข้าพักในสถานที่รองรับ สําหรับในพื้นที่ต่างจังหวัด กระทรวง พม. ยังได้เตรียมหน่วยงานในพื้นที่ทุกจังกวัด เป็นสถานที่รองรับเช่นเดียวกัน อีกทั้งได้มอบหมายให้สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ทุกจังหวัด ร่วมตั้งครัวกลางเพื่อแจกจ่ายอาหารให้กับประชาชนทั่วไปในที่สาธารณะได้กินครบทุกมื้ออย่างทั่วถึง รวมทั้งจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้เร่ร่อน ไร้ที่อยู่อาศัย ทั่วประเทศ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. แถลงย้ำเกณฑ์จ่ายเงินสงเคราะห์รายละไม่เกิน 2,000 บาท ไม่ใช่เงินเยียวยา ให้ผู้ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 วันอังคารที่ 28 เมษายน 2563 พม. แถลงย้ําเกณฑ์จ่ายเงินสงเคราะห์รายละไม่เกิน 2,000 บาท ไม่ใช่เงินเยียวยา ให้ผู้ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 พม. แถลงย้ําเกณฑ์จ่ายเงินสงเคราะห์รายละไม่เกิน 2,000 บาท ไม่ใช่เงินเยียวยา ให้ผู้ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 วันนี้ (28 เม.ย.63) เวลา 10.00 น. ที่บริเวณโถงชั้น 1 อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว ถนนกรุงเกษม กรุงเทพฯ นางพัชรี อาระยะกุล รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะโฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานการแถลงข่าวเรื่องการช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) เป็นกรณีเร่งด่วน โดยใช้งบประมาณปกติและเงินสงเคราะห์ช่วยเหลือตามระเบียบ พร้อมตั้งครัวกลางและศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้เร่ร่อนไร้ที่อยู่อาศัย ทั่วประเทศ นางพัชรี กล่าวว่า เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) ได้ส่งผลกระทบ ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมต่อประชาชนในวงกว้าง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) มีความห่วงใยประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว จึงได้ดําเนินมาตรการช่วยเหลือด้านปัจจัยสี่ทั้งอาหาร ที่พัก เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนอย่างเร่งด่วน อีกทั้งยังใช้มาตรการทางบริหารสําหรับการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมของกระทรวง พม. ด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์รายละไม่เกิน 2,000 บาท ซึ่งไม่ใช่เงินเยียวยา โดยเบิกจ่ายตามระเบียบและประกาศของกระทรวง พม. ประกอบด้วย 1) การสงเคราะห์เด็กภายในครอบครัว 2) การสงเคราะห์ผู้ตกทุกข์ได้ยากในประเทศให้กลับภูมิลําเนาเดิม 3) การจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉิน 4) การสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยและผู้ไร้ที่พึ่ง 5) เงินอุดหนุนเงินสงเคราะห์และฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ 6) การช่วยเหลือสตรีหรือครอบครัวที่ประสบปัญหาทางสังคม 7) การคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนการจัดที่พักอาศัย อาหารและเครื่องนุ่งห่มให้ผู้สูงอายุตามความจําเป็นอย่างทั่วถึง 8) การคุ้มครอง การส่งเสริมและการสนับสนุนการช่วยเหลือผู้สูงอายุ ซึ่งได้รับอันตรายจากการถูกทารุณกรรมหรือถูกแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือถูกทอดทิ้ง และการให้คําแนะนําปรึกษาดําเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องในทางการแก้ไขปัญหาครอบครัว และหนังสือกระทรวงการคลัง อาทิ 1) การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายโครงการรณรงค์เพื่อป้องกันโรคเอดส์ และการดําเนินงานช่วยเหลือด้านเงินทุนประกอบอาชีพแก่สตรีที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเอดส์ 2) การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการรณรงค์เพื่อป้องกันโรคเอดส์ และ 3) เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับตัวชาวเขา ทั้งนี้ การจ่ายเงินสงเคราะห์ไม่ใช่สําหรับประชาชนทั้งหมดในภาพรวมของประเทศ แต่เฉพาะประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน อาทิ เด็ก เยาวชน คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้มีรายได้น้อย คนไร้ที่พึ่ง ชาวเขา และผู้ที่เดือดร้อนจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยมีกระบวนการตรวจสอบและประเมินข้อเท็จจริงจากนักสังคมสงเคราะห์ว่ามีความเดือดร้อนและความต้องการการช่วยเหลือเร่งด่วนอย่างไร อีกทั้งต้องวิเคราะห์เป็นรายกรณีตามขั้นตอนและระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง นางพัชรี กล่าวต่อไปว่า สําหรับการช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายและประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากโรคโควิด-19 ที่ยังตกหล่นไม่ได้รับการช่วยเหลือจากมาตรการต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐ ทางกระทรวง พม. สํานักนายกรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย และกรุงเทพมหานคร จะดําเนินการร่วมกันสํารวจพื้นที่ทุกหมู่บ้าน ทุกชุมชน และทุกกลุ่มเป้าหมายให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 พ.ค. 2563 โดยจะนําข้อมูลทั้งหมดมาเชื่อมโยงกับทุกกระทรวง เพื่อดูแลประชาชนที่เดือดร้อนให้ครอบคลุมได้มากที่สุด และตกหล่นให้น้อยที่สุด ทั้งนี้ หากประชาชนประสบปัญหาทางสังคมและเดือดร้อนจากโรคโควิด-19 หรือพบเห็นผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ ขอให้ติดต่อที่ สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) ทุกจังหวัด ในภูมิลําเนาที่อยู่อาศัย หรือแจ้งมายัง สายด่วน พม. โทร 1300 บริการฟรี 24 ชม. ของศูนย์ช่วยเหลือสังคม นางพัชรี กล่าวเพิ่มเติมว่า ในขณะที่ กระทรวง พม. ได้ดําเนินมาตรการช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่ง คนไร้บ้าน ผู้ที่ตกงาน และผู้ที่ประสบปัญหาสังคมที่ไม่มีที่พักอาศัยในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล โดยได้จัดเตรียมสถานที่รองรับ 5 แห่ง ที่สะอาด ปลอดภัย และมีอาหารครบ 3 มื้อ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด อีกทั้งได้เตรียมรถบริการของศูนย์ช่วยเหลือสังคมสําหรับประชาชนที่ไม่มีที่พักอาศัย เพื่อพาไปส่งที่จุดคัดกรองเฉพาะกิจ (ดินแดง) ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกรุงเทพฯ โดยจะมีการตรวจสุขภาพในเบื้องต้นก่อนจะให้เข้าพักในสถานที่รองรับ สําหรับในพื้นที่ต่างจังหวัด กระทรวง พม. ยังได้เตรียมหน่วยงานในพื้นที่ทุกจังกวัด เป็นสถานที่รองรับเช่นเดียวกัน อีกทั้งได้มอบหมายให้สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ทุกจังหวัด ร่วมตั้งครัวกลางเพื่อแจกจ่ายอาหารให้กับประชาชนทั่วไปในที่สาธารณะได้กินครบทุกมื้ออย่างทั่วถึง รวมทั้งจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้เร่ร่อน ไร้ที่อยู่อาศัย ทั่วประเทศ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/29903
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"วราวุธ" พร้อมผู้บริหาร ทส. ให้ขวัญกำลังเจ้าหน้าที่ พร้อมแก้ไขภัยแล้ง
วันจันทร์ที่ 13 เมษายน 2563 "วราวุธ" พร้อมผู้บริหาร ทส. ให้ขวัญกําลังเจ้าหน้าที่ พร้อมแก้ไขภัยแล้ง นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงฯ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมให้ขวัญกําลังใจเจ้าหน้าที่และรับฟังการบรรยายสรุปปัญหา อุปสรรค์ รวมถึงสถานการณ์ไฟป่าในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว "วราวุธ" พร้อมผู้บริหาร ทส. ให้ขวัญกําลังเจ้าหน้าที่ พร้อมแก้ไขภัยแล้ง วันที่ 10 เมษายน 2563 เวลาประมาณ 10.30 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงฯ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมให้ขวัญกําลังใจเจ้าหน้าที่และรับฟังการบรรยายสรุปปัญหา อุปสรรค์ รวมถึงสถานการณ์ไฟป่าในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ ที่ 16 (เชียงใหม่) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และในพื้นที่ใกล้เคียง จากนั้นลงพื้นที่เดินสํารวจสภาพพื้นที่ป่าที่ได้รับความเสียหายจากไฟป่า และมอบข้าวสาร เครื่องยังชีพ และอุปกรณ์ดับไฟให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานดับไฟป่าและป้องกันไฟป่า ณ บริเวณป่าชุมชนบ้านทุ่งหัวทุ่ง เทอดพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราช อําเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ การลงพื้นที่ครั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ขอบคุณและฝากให้เจ้าหน้าที่ทุกท่านปฏิบัติงานด้วยความอดทน และใช้ ความเข้าใจในการทํางานร่วมกันกับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ส่วนเรื่องการแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ กระทรวงฯ จะดําเนินการสํารวจพื้นที่และขุดเจาะบ่อบาดาล เพื่อหาแหล่งน้ําสําหรับบรรเทาความเดือนร้อนของเจ้าหน้าที่และประชาชน ด้านเรื่องการเฝ้าระวัง จะดําเนินการให้มีการเพิ่มจุดสกัดลาดตระเวนและอุปกรณ์ในการดําเนินงานเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ในเรื่องการสร้างความรับรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนให้ทราบถึงผลกระทบและผลเสียหายที่เกิดจากการเผาป่า จะให้เยาวชนและประชาชนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นจิตอาสาเพื่อร่วมดูแลรักษาพิทักษ์ผืนป่าในพื้นที่ต่อไป ทั้งนี้ ในการลงพื้นนายชัชวาลย์ พุทธโธ นายอําเภอเขียงดาว ได้ให้การต้อนรับ และมีนายประกาศิต ระวิวรรณ หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว ให้นําลงพื้นที่และบรรยายสรุปสถานการณ์ไฟป่าในพื้นที่ ณ บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ ที่ 16 (เชียงใหม่) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"วราวุธ" พร้อมผู้บริหาร ทส. ให้ขวัญกำลังเจ้าหน้าที่ พร้อมแก้ไขภัยแล้ง วันจันทร์ที่ 13 เมษายน 2563 "วราวุธ" พร้อมผู้บริหาร ทส. ให้ขวัญกําลังเจ้าหน้าที่ พร้อมแก้ไขภัยแล้ง นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงฯ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมให้ขวัญกําลังใจเจ้าหน้าที่และรับฟังการบรรยายสรุปปัญหา อุปสรรค์ รวมถึงสถานการณ์ไฟป่าในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว "วราวุธ" พร้อมผู้บริหาร ทส. ให้ขวัญกําลังเจ้าหน้าที่ พร้อมแก้ไขภัยแล้ง วันที่ 10 เมษายน 2563 เวลาประมาณ 10.30 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงฯ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมให้ขวัญกําลังใจเจ้าหน้าที่และรับฟังการบรรยายสรุปปัญหา อุปสรรค์ รวมถึงสถานการณ์ไฟป่าในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ ที่ 16 (เชียงใหม่) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และในพื้นที่ใกล้เคียง จากนั้นลงพื้นที่เดินสํารวจสภาพพื้นที่ป่าที่ได้รับความเสียหายจากไฟป่า และมอบข้าวสาร เครื่องยังชีพ และอุปกรณ์ดับไฟให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานดับไฟป่าและป้องกันไฟป่า ณ บริเวณป่าชุมชนบ้านทุ่งหัวทุ่ง เทอดพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราช อําเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ การลงพื้นที่ครั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ขอบคุณและฝากให้เจ้าหน้าที่ทุกท่านปฏิบัติงานด้วยความอดทน และใช้ ความเข้าใจในการทํางานร่วมกันกับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ส่วนเรื่องการแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ กระทรวงฯ จะดําเนินการสํารวจพื้นที่และขุดเจาะบ่อบาดาล เพื่อหาแหล่งน้ําสําหรับบรรเทาความเดือนร้อนของเจ้าหน้าที่และประชาชน ด้านเรื่องการเฝ้าระวัง จะดําเนินการให้มีการเพิ่มจุดสกัดลาดตระเวนและอุปกรณ์ในการดําเนินงานเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ในเรื่องการสร้างความรับรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนให้ทราบถึงผลกระทบและผลเสียหายที่เกิดจากการเผาป่า จะให้เยาวชนและประชาชนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นจิตอาสาเพื่อร่วมดูแลรักษาพิทักษ์ผืนป่าในพื้นที่ต่อไป ทั้งนี้ ในการลงพื้นนายชัชวาลย์ พุทธโธ นายอําเภอเขียงดาว ได้ให้การต้อนรับ และมีนายประกาศิต ระวิวรรณ หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว ให้นําลงพื้นที่และบรรยายสรุปสถานการณ์ไฟป่าในพื้นที่ ณ บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ ที่ 16 (เชียงใหม่) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/28930
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐโกตดิวัวร์ประจำประเทศไทยถิ่นพำนัก ณ กรุงปักกิ่ง เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีในโอกาสเข้ารับหน้าที่
วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน 2560 เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐโกตดิวัวร์ประจําประเทศไทยถิ่นพํานัก ณ กรุงปักกิ่ง เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีในโอกาสเข้ารับหน้าที่ เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐโกตดิวัวร์ประจําประเทศไทยถิ่นพํานัก ณ กรุงปักกิ่ง เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีในโอกาสเข้ารับหน้าที่ วันนี้(วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน 2560) เวลา 09.30 น. นายอาดามา ดอสโซ (H.E. Mr. Adama Dosso) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐโกตดิวัวร์ประจําประเทศไทย ถิ่นพํานัก ณ กรุงปักกิ่ง เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในโอกาสเข้ารับหน้าที่ ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทําเนียบรัฐบาล ภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ พลโท วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวสรุปสาระสําคัญการหารือดังนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวต้อนรับเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐโกตดิวัวร์ ในนามของนายกรัฐมนตรี และรัฐบาลไทย และแสดงความขอบคุณประธานาธิบดีโกตดิวัวร์ ที่ได้มีข้อความสาส์นแสดงความเสียใจต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และมีสาส์นถวายพระพรชัยมงคลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องในโอกาสที่ขึ้นทรงราชย์ เอกอัครราชทูตกล่าวขอบคุณนายกรัฐมนตรี และขอบคุณคนไทย ที่ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี และชื่นชมแนวทางการพัฒนาประเทศของไทย นายกรัฐมนตรียืนยันว่ารัฐบาลพร้อมที่จะกระชับความสัมพันธ์ และร่วมมือกับโกตดิวัวร์ โดยที่ไทยและโกตดิวัวร์ต่างเป็นประเทศเกษตรกรรม ไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก นายกรัฐมนตรีขอบคุณที่โกตดิวัวร์พิจารณาซื้อข้าวจากไทย และเอกอัครราชทูตกล่าวว่าโกตดิวัวร์เป็นประเทศที่ส่งออกเมล็ดโกโก้มากที่สุดของโลก ทั้งสองฝ่ายหวังว่าความคล้ายคลึงนี้จะนําไปสู่การร่วมมือกันในด้านต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ร่วมกันต่อไป โดยนายกรัฐมนตรียืนยันที่จะสนับสนุนความร่วมมือด้านวิชาการและการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติ ที่ดี ในด้านต่างๆ แก่โกตดิวัวร์ อาทิ การฝึกอบรมบุคลากรด้านการปลูกข้าว การเกษตร วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และการพัฒนาศักยภาพการแปรรูปสินค้าเกษตร เป็นต้น นายกรัฐมนตรียินดีที่จะสนับสนุนนักลงทุนไทยให้ไปลงทุนที่โกตดิวัวร์ ขอให้รัฐบาลโกตดิวัวร์ดูแลนักลงทุนไทย ด้านกฎหมาย การอํานวยความสะดวก ลดอุปสรรคในการค้าการลงทุน โดยนายกรัฐมนตรีได้เสนอให้โกตดิวัวร์เป็นศูนย์กระจายสินค้าของไทยในแอฟริกา และไทยยินดีที่จะเป็นศูนย์กระจายสินค้าโกตดิวัวร์ในอาเซียน พร้อมกันนี้นายกรัฐมนตรีได้แจ้งให้เอกอัครราชทูตทราบถึงแนวทางการดําเนินนโยบายจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ยืนยันที่จะบริหารประเทศเพื่อคนไทยได้ดํารงชีวิตอย่างสันติสุข รัฐบาลให้ความสําคัญกับการดูแลคนไทยทุกศาสนา และใช้แนวทางสันติเพื่อแก้ไขปัญหา และขอให้รัฐบาลโกตดิวัวร์สนับสนุนแนวทางการแก้ปัญหาของไทยด้วย โดยในตอนท้ายนายกรัฐมนตรีได้ชื่นชมฟุตบอลทีมชาติโกตดิวัวร์ที่มีผู้เล่นที่มีความสามารถในระดับโลก และหวังว่าทั้งสองประเทศจะมีความร่วมมือเพื่อพัฒนาการกีฬาร่วมกัน และทั้งสองฝ่ายต่างกล่าวเชิญผู้นําเพื่อแลกเปลี่ยนการเยือนในช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อไป
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐโกตดิวัวร์ประจำประเทศไทยถิ่นพำนัก ณ กรุงปักกิ่ง เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีในโอกาสเข้ารับหน้าที่ วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน 2560 เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐโกตดิวัวร์ประจําประเทศไทยถิ่นพํานัก ณ กรุงปักกิ่ง เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีในโอกาสเข้ารับหน้าที่ เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐโกตดิวัวร์ประจําประเทศไทยถิ่นพํานัก ณ กรุงปักกิ่ง เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีในโอกาสเข้ารับหน้าที่ วันนี้(วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน 2560) เวลา 09.30 น. นายอาดามา ดอสโซ (H.E. Mr. Adama Dosso) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐโกตดิวัวร์ประจําประเทศไทย ถิ่นพํานัก ณ กรุงปักกิ่ง เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในโอกาสเข้ารับหน้าที่ ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทําเนียบรัฐบาล ภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ พลโท วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวสรุปสาระสําคัญการหารือดังนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวต้อนรับเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐโกตดิวัวร์ ในนามของนายกรัฐมนตรี และรัฐบาลไทย และแสดงความขอบคุณประธานาธิบดีโกตดิวัวร์ ที่ได้มีข้อความสาส์นแสดงความเสียใจต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และมีสาส์นถวายพระพรชัยมงคลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องในโอกาสที่ขึ้นทรงราชย์ เอกอัครราชทูตกล่าวขอบคุณนายกรัฐมนตรี และขอบคุณคนไทย ที่ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี และชื่นชมแนวทางการพัฒนาประเทศของไทย นายกรัฐมนตรียืนยันว่ารัฐบาลพร้อมที่จะกระชับความสัมพันธ์ และร่วมมือกับโกตดิวัวร์ โดยที่ไทยและโกตดิวัวร์ต่างเป็นประเทศเกษตรกรรม ไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก นายกรัฐมนตรีขอบคุณที่โกตดิวัวร์พิจารณาซื้อข้าวจากไทย และเอกอัครราชทูตกล่าวว่าโกตดิวัวร์เป็นประเทศที่ส่งออกเมล็ดโกโก้มากที่สุดของโลก ทั้งสองฝ่ายหวังว่าความคล้ายคลึงนี้จะนําไปสู่การร่วมมือกันในด้านต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ร่วมกันต่อไป โดยนายกรัฐมนตรียืนยันที่จะสนับสนุนความร่วมมือด้านวิชาการและการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติ ที่ดี ในด้านต่างๆ แก่โกตดิวัวร์ อาทิ การฝึกอบรมบุคลากรด้านการปลูกข้าว การเกษตร วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และการพัฒนาศักยภาพการแปรรูปสินค้าเกษตร เป็นต้น นายกรัฐมนตรียินดีที่จะสนับสนุนนักลงทุนไทยให้ไปลงทุนที่โกตดิวัวร์ ขอให้รัฐบาลโกตดิวัวร์ดูแลนักลงทุนไทย ด้านกฎหมาย การอํานวยความสะดวก ลดอุปสรรคในการค้าการลงทุน โดยนายกรัฐมนตรีได้เสนอให้โกตดิวัวร์เป็นศูนย์กระจายสินค้าของไทยในแอฟริกา และไทยยินดีที่จะเป็นศูนย์กระจายสินค้าโกตดิวัวร์ในอาเซียน พร้อมกันนี้นายกรัฐมนตรีได้แจ้งให้เอกอัครราชทูตทราบถึงแนวทางการดําเนินนโยบายจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ยืนยันที่จะบริหารประเทศเพื่อคนไทยได้ดํารงชีวิตอย่างสันติสุข รัฐบาลให้ความสําคัญกับการดูแลคนไทยทุกศาสนา และใช้แนวทางสันติเพื่อแก้ไขปัญหา และขอให้รัฐบาลโกตดิวัวร์สนับสนุนแนวทางการแก้ปัญหาของไทยด้วย โดยในตอนท้ายนายกรัฐมนตรีได้ชื่นชมฟุตบอลทีมชาติโกตดิวัวร์ที่มีผู้เล่นที่มีความสามารถในระดับโลก และหวังว่าทั้งสองประเทศจะมีความร่วมมือเพื่อพัฒนาการกีฬาร่วมกัน และทั้งสองฝ่ายต่างกล่าวเชิญผู้นําเพื่อแลกเปลี่ยนการเยือนในช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อไป
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/8460
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีเยี่ยมชมตลาดมีนบุรีพบปะกับพ่อค้า แม่ค้า สอบถาม รับฟังปัญหา และพูดคุยทักทายกับประชาชนที่มาเดินตลาดอย่างเป็นกันเอง ยืนยันจะแก้ไขปัญหาให้ดีที่สุด
วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน 2561 นายกรัฐมนตรีเยี่ยมชมตลาดมีนบุรีพบปะกับพ่อค้า แม่ค้า สอบถาม รับฟังปัญหา และพูดคุยทักทายกับประชาชนที่มาเดินตลาดอย่างเป็นกันเอง ยืนยันจะแก้ไขปัญหาให้ดีที่สุด นายกรัฐมนตรีเยี่ยมชมตลาดมีนบุรีพบปะกับพ่อค้า แม่ค้า สอบถาม รับฟังปัญหา และพูดคุยทักทายกับประชาชนที่มาเดินตลาดอย่างเป็นกันเอง ยืนยันจะแก้ไขปัญหาให้ดีที่สุด วันนี้ (22 พฤศจิกายน 2561) เวลา 12.00 น. ณ ตลาดมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีพร้อมคณะ เยี่ยมชมตลาดมีนบุรี ซึ่งเป็นตลาด 1 ใน 4 ตลาดของกรุงเทพมหานครที่ได้รับรองมาตรฐานการพัฒนาสู่การเป็น “พรีเมี่ยมมาร์เก็ต” โดยนายกรัฐมนตรีได้สอบถามพ่อค้า แม่ค้า เกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคต่างๆ รวมทั้งทักทายกับประชาชน ที่มาเดินตลาดอย่างเป็นกันเอง โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังได้แสดงฝีมือทําอาหารผัดไทยด้วยตนเอง และแจกจ่ายให้กับสื่อมวลชนที่ร่วมติดตามรายงานข่าว ได้ร่วมชิมฝีมือการทําผัดไทยของตนเองพร้อมชมว่า "เป็นผัดไทยที่อร่อยที่สุดในโลก" นายกรัฐมนตรียังกล่าวกับพ่อค้าแม่ค้าและประชาชนที่มาให้การต้อนรับว่า การลงพื้นที่ในครั้งนี้ เพื่อมาเยี่ยมให้กําลังใจทุกคน มาด้วยใจ ไม่ต้องการอะไรตอบแทน และไม่ต้องนําสิ่งของหรือดอกไม้มาให้ขอมอบหัวใจให้กันและกันก็พอ เพราะตนเองก็มาแต่ตัวกับหัวใจ โดยสิ่งที่กล่าวกับประชาชนเป็นสิ่งที่ออกมาจากความรู้สึกที่แท้จริง ด้วยความตั้งใจที่ต้องการทําเพื่อประชาชนและจะทําให้ดีที่สุด เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน พร้อมขอคํามั่นสัญญาจากประชาชนว่า จะเลือกนักการเมืองที่ดี เข้ามาเป็นตัวแทนประชาชน เพื่อบริหารประเทศ และจะไม่สร้างความขัดแย้งเกิดขึ้นอีก และจะไม่ให้ร้ายซึ่งกันและกัน เพื่อประเทศชาติของทุกคนทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวยืนยันว่า จะไม่ยกเลิกบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และไม่เคยคิดที่จะรื้อเรื่องหลักประกันสุขภาพบัตร 30 บาท แต่จะทําให้ดีขึ้น ย้ํานโยบายที่ทําดีก็จะไม่ยกเลิก และกล่าวขอโทษเรื่องการจัดระเบียบในกรุงเทพมหานคร เพราะที่รัฐบาลทําไปเพื่อจะได้มีระเบียบขึ้น -------------------------------------------
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีเยี่ยมชมตลาดมีนบุรีพบปะกับพ่อค้า แม่ค้า สอบถาม รับฟังปัญหา และพูดคุยทักทายกับประชาชนที่มาเดินตลาดอย่างเป็นกันเอง ยืนยันจะแก้ไขปัญหาให้ดีที่สุด วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน 2561 นายกรัฐมนตรีเยี่ยมชมตลาดมีนบุรีพบปะกับพ่อค้า แม่ค้า สอบถาม รับฟังปัญหา และพูดคุยทักทายกับประชาชนที่มาเดินตลาดอย่างเป็นกันเอง ยืนยันจะแก้ไขปัญหาให้ดีที่สุด นายกรัฐมนตรีเยี่ยมชมตลาดมีนบุรีพบปะกับพ่อค้า แม่ค้า สอบถาม รับฟังปัญหา และพูดคุยทักทายกับประชาชนที่มาเดินตลาดอย่างเป็นกันเอง ยืนยันจะแก้ไขปัญหาให้ดีที่สุด วันนี้ (22 พฤศจิกายน 2561) เวลา 12.00 น. ณ ตลาดมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีพร้อมคณะ เยี่ยมชมตลาดมีนบุรี ซึ่งเป็นตลาด 1 ใน 4 ตลาดของกรุงเทพมหานครที่ได้รับรองมาตรฐานการพัฒนาสู่การเป็น “พรีเมี่ยมมาร์เก็ต” โดยนายกรัฐมนตรีได้สอบถามพ่อค้า แม่ค้า เกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคต่างๆ รวมทั้งทักทายกับประชาชน ที่มาเดินตลาดอย่างเป็นกันเอง โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังได้แสดงฝีมือทําอาหารผัดไทยด้วยตนเอง และแจกจ่ายให้กับสื่อมวลชนที่ร่วมติดตามรายงานข่าว ได้ร่วมชิมฝีมือการทําผัดไทยของตนเองพร้อมชมว่า "เป็นผัดไทยที่อร่อยที่สุดในโลก" นายกรัฐมนตรียังกล่าวกับพ่อค้าแม่ค้าและประชาชนที่มาให้การต้อนรับว่า การลงพื้นที่ในครั้งนี้ เพื่อมาเยี่ยมให้กําลังใจทุกคน มาด้วยใจ ไม่ต้องการอะไรตอบแทน และไม่ต้องนําสิ่งของหรือดอกไม้มาให้ขอมอบหัวใจให้กันและกันก็พอ เพราะตนเองก็มาแต่ตัวกับหัวใจ โดยสิ่งที่กล่าวกับประชาชนเป็นสิ่งที่ออกมาจากความรู้สึกที่แท้จริง ด้วยความตั้งใจที่ต้องการทําเพื่อประชาชนและจะทําให้ดีที่สุด เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน พร้อมขอคํามั่นสัญญาจากประชาชนว่า จะเลือกนักการเมืองที่ดี เข้ามาเป็นตัวแทนประชาชน เพื่อบริหารประเทศ และจะไม่สร้างความขัดแย้งเกิดขึ้นอีก และจะไม่ให้ร้ายซึ่งกันและกัน เพื่อประเทศชาติของทุกคนทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวยืนยันว่า จะไม่ยกเลิกบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และไม่เคยคิดที่จะรื้อเรื่องหลักประกันสุขภาพบัตร 30 บาท แต่จะทําให้ดีขึ้น ย้ํานโยบายที่ทําดีก็จะไม่ยกเลิก และกล่าวขอโทษเรื่องการจัดระเบียบในกรุงเทพมหานคร เพราะที่รัฐบาลทําไปเพื่อจะได้มีระเบียบขึ้น -------------------------------------------
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/17006
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ออมสิน รุกบริการ สาขาดิจิทัล : Digital Branch ช่องทางบริการทางการเงิน 24 ชั่วโมง
วันศุกร์ที่ 29 ธันวาคม 2560 ออมสิน รุกบริการ สาขาดิจิทัล : Digital Branch ช่องทางบริการทางการเงิน 24 ชั่วโมง ธนาคารออมสิน เปิดสาขาดิจิทัล : Digital Branch ช่องทางบริการทางการเงินรูปแบบใหม่ ให้ลูกค้าได้สื่อสารกับพนักงานผ่านหน้าจอ VTM ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เผยโฉมแล้ว 5 แห่ง ในชุมชนเมือง ธนาคารออมสิน เปิดสาขาดิจิทัล : Digital Branch ช่องทางบริการทางการเงินรูปแบบใหม่ ให้ลูกค้าได้สื่อสารกับพนักงานผ่านหน้าจอ VTM ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เผยโฉมแล้ว 5 แห่ง ในชุมชนเมือง สอดรับแนวคิด DigiThai Life Solution by GSB ตามแผนปี 2560 พร้อมจัดโปรโมชั่นช่วงแนะนําบริการ ลูกค้าใหม่เปิดบัญชีเงินฝากเผื่อเรียก รับดอกเบี้ยร้อยละ 1 ยกเว้นค่าธรรมเนียมรายเดือน MyMo และค่าธรรมเนียมแรกเข้าบัตรเดบิตยาวถึงสิ้นปี 2561 นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อํานวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ด้วยรูปแบบและช่องทางการให้บริการของระบบสถาบันการเงินมีการปรับปรุงพัฒนาอยู่ตลอดเวลา โดยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปเพื่อมุ่งสู่การให้บริการสะดวกและรวดเร็ว สอดคล้องกับการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งในปี 2560 ธนาคารออมสินได้ปรับปรุงช่องทางการให้บริการที่หลากหลายมากขึ้น โดยล่าสุด เปิดให้บริการสาขาดิจิทัล หรือ Digital Branch ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ให้บริการ 24 ชั่วโมง ตอบโจทย์บริการทางการเงินที่ครบวงจรมากขึ้น เพื่อรองรับและมุ่งสู่การเป็น Digi-Thai Banking “Digital for All Thais” ภายใต้แนวคิด DigiThai Life Solution by GSB ซึ่ง Digital Branch เป็นการเพิ่มช่องทางการให้บริการและสร้างภาพลักษณ์การให้บริการที่ทันสมัย ซึ่งได้เปิดให้บริการแล้วจํานวน 5 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสินสาขาพร้อมพงษ์ สาขาเซ็นทรัลพลาซ่าปิ่นเกล้า สาขาเมเจอร์รังสิต สาขาตลาดรวมใจ (เมืองทองธานี) และศูนย์บริการถนนห้วยแก้ว จ.เชียงใหม่ พร้อมทั้งได้จัดโปรโมชั่นสําหรับลูกค้าผู้มาใช้บริการไปจนถึงสิ้นปี 2561 สําหรับ Digital Branch ของธนาคารออมสิน จะให้บริการด้วยเครื่องบริการธุรกรรมทางการเงินอัตโนมัติ หรือ VTM มีลักษณะเป็นเครื่อง Self-Service ซึ่งจะมีบริการหลักคือ การเปิดบัญชีใหม่ เป็นบัญชีเงินฝากเผื่อเรียก Digital Savings (เงินฝากเผื่อเรียกแบบไม่มีสมุดเงินฝาก) การสมัครใช้บริการบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันให้บริการ บัตรเดบิต และ การสมัครใช้บริการ Mobile Banking หรือ MyMo “ลูกค้าที่มาเปิดบัญชีใหม่ที่เครื่อง VTM ต้องสมัครใช้บริการ MyMo ควบคู่กันเพื่อใช้ในการตรวจสอบรายการ (Statement) และถอนเงินผ่าน application MyMo MyCard หลังจากนั้นสามารถเลือกได้ว่าจะสมัครใช้บริการบัตรอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มเติมหรือไม่ โดยบริการหลักนั้นลูกค้าจะสื่อสารกับพนักงานผ่านหน้าจอของเครื่อง VTM โดยมีพนักงาน V-Teller ทําหน้าที่แนะนําการทํารายการต่างๆ ให้ลูกค้า สัมภาษณ์ลูกค้าพร้อมตรวจสอบบัตรประชาชนและตัวตนของลูกค้าผ่านหน้าจอ VTM” นายชาติชาย กล่าว ทั้งนี้ ธนาคารฯ ได้จัดโปรโมชั่น เพื่อเชิญชวนให้ลูกค้ามาใช้บริการดังกล่าว โดยลูกค้ารายใหม่ที่ยังไม่เคยใช้บริการ MyMo มาสมัครใช้บริการ MyMo ผ่านเครื่อง VTM จะได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมรายเดือนจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 หากสมัครบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ธนาคารฯ ไม่คิดค่าธรรมเนียมแรกเข้าจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 และเปิดบัญชีเงินฝากเผื่อเรียก Digital Banking ได้อัตราดอกเบี้ย 1.00% ต่อปี จากปกติ 0.50% ต่อปี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ตามสื่อประชาสัมพันธ์ของธนาคารออมสินทุกช่องทาง ได้แก่ Website : www.gsb.or.th, Line Official, Facebook : GSB Society หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ธนาคารออมสินทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ธนาคารออมสิน Call Center โทร.1115
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ออมสิน รุกบริการ สาขาดิจิทัล : Digital Branch ช่องทางบริการทางการเงิน 24 ชั่วโมง วันศุกร์ที่ 29 ธันวาคม 2560 ออมสิน รุกบริการ สาขาดิจิทัล : Digital Branch ช่องทางบริการทางการเงิน 24 ชั่วโมง ธนาคารออมสิน เปิดสาขาดิจิทัล : Digital Branch ช่องทางบริการทางการเงินรูปแบบใหม่ ให้ลูกค้าได้สื่อสารกับพนักงานผ่านหน้าจอ VTM ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เผยโฉมแล้ว 5 แห่ง ในชุมชนเมือง ธนาคารออมสิน เปิดสาขาดิจิทัล : Digital Branch ช่องทางบริการทางการเงินรูปแบบใหม่ ให้ลูกค้าได้สื่อสารกับพนักงานผ่านหน้าจอ VTM ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เผยโฉมแล้ว 5 แห่ง ในชุมชนเมือง สอดรับแนวคิด DigiThai Life Solution by GSB ตามแผนปี 2560 พร้อมจัดโปรโมชั่นช่วงแนะนําบริการ ลูกค้าใหม่เปิดบัญชีเงินฝากเผื่อเรียก รับดอกเบี้ยร้อยละ 1 ยกเว้นค่าธรรมเนียมรายเดือน MyMo และค่าธรรมเนียมแรกเข้าบัตรเดบิตยาวถึงสิ้นปี 2561 นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อํานวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ด้วยรูปแบบและช่องทางการให้บริการของระบบสถาบันการเงินมีการปรับปรุงพัฒนาอยู่ตลอดเวลา โดยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปเพื่อมุ่งสู่การให้บริการสะดวกและรวดเร็ว สอดคล้องกับการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งในปี 2560 ธนาคารออมสินได้ปรับปรุงช่องทางการให้บริการที่หลากหลายมากขึ้น โดยล่าสุด เปิดให้บริการสาขาดิจิทัล หรือ Digital Branch ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ให้บริการ 24 ชั่วโมง ตอบโจทย์บริการทางการเงินที่ครบวงจรมากขึ้น เพื่อรองรับและมุ่งสู่การเป็น Digi-Thai Banking “Digital for All Thais” ภายใต้แนวคิด DigiThai Life Solution by GSB ซึ่ง Digital Branch เป็นการเพิ่มช่องทางการให้บริการและสร้างภาพลักษณ์การให้บริการที่ทันสมัย ซึ่งได้เปิดให้บริการแล้วจํานวน 5 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสินสาขาพร้อมพงษ์ สาขาเซ็นทรัลพลาซ่าปิ่นเกล้า สาขาเมเจอร์รังสิต สาขาตลาดรวมใจ (เมืองทองธานี) และศูนย์บริการถนนห้วยแก้ว จ.เชียงใหม่ พร้อมทั้งได้จัดโปรโมชั่นสําหรับลูกค้าผู้มาใช้บริการไปจนถึงสิ้นปี 2561 สําหรับ Digital Branch ของธนาคารออมสิน จะให้บริการด้วยเครื่องบริการธุรกรรมทางการเงินอัตโนมัติ หรือ VTM มีลักษณะเป็นเครื่อง Self-Service ซึ่งจะมีบริการหลักคือ การเปิดบัญชีใหม่ เป็นบัญชีเงินฝากเผื่อเรียก Digital Savings (เงินฝากเผื่อเรียกแบบไม่มีสมุดเงินฝาก) การสมัครใช้บริการบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันให้บริการ บัตรเดบิต และ การสมัครใช้บริการ Mobile Banking หรือ MyMo “ลูกค้าที่มาเปิดบัญชีใหม่ที่เครื่อง VTM ต้องสมัครใช้บริการ MyMo ควบคู่กันเพื่อใช้ในการตรวจสอบรายการ (Statement) และถอนเงินผ่าน application MyMo MyCard หลังจากนั้นสามารถเลือกได้ว่าจะสมัครใช้บริการบัตรอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มเติมหรือไม่ โดยบริการหลักนั้นลูกค้าจะสื่อสารกับพนักงานผ่านหน้าจอของเครื่อง VTM โดยมีพนักงาน V-Teller ทําหน้าที่แนะนําการทํารายการต่างๆ ให้ลูกค้า สัมภาษณ์ลูกค้าพร้อมตรวจสอบบัตรประชาชนและตัวตนของลูกค้าผ่านหน้าจอ VTM” นายชาติชาย กล่าว ทั้งนี้ ธนาคารฯ ได้จัดโปรโมชั่น เพื่อเชิญชวนให้ลูกค้ามาใช้บริการดังกล่าว โดยลูกค้ารายใหม่ที่ยังไม่เคยใช้บริการ MyMo มาสมัครใช้บริการ MyMo ผ่านเครื่อง VTM จะได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมรายเดือนจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 หากสมัครบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ธนาคารฯ ไม่คิดค่าธรรมเนียมแรกเข้าจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 และเปิดบัญชีเงินฝากเผื่อเรียก Digital Banking ได้อัตราดอกเบี้ย 1.00% ต่อปี จากปกติ 0.50% ต่อปี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ตามสื่อประชาสัมพันธ์ของธนาคารออมสินทุกช่องทาง ได้แก่ Website : www.gsb.or.th, Line Official, Facebook : GSB Society หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ธนาคารออมสินทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ธนาคารออมสิน Call Center โทร.1115
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/9119
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-อนุทิน ย้ำ ดื่มไม่ขับ เข้มมาตรการตามกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม 2562 อนุทิน ย้ํา ดื่มไม่ขับ เข้มมาตรการตามกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ย้ําประชาชน “ดื่มไม่ขับ” เข้มมาตรการตามกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ขายให้เด็กต่ํากว่า 20 ปี เอาผิดกับร้านที่จําหน่าย ตรวจหาแอลกอฮอล์ในเลือดผู้ขับขี่ที่ทําให้มีผู้บาดเจ็บทุกราย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ย้ําประชาชน “ดื่มไม่ขับ” เข้มมาตรการตามกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ขายให้เด็กต่ํากว่า 20 ปี เอาผิดกับร้านที่จําหน่าย ตรวจหาแอลกอฮอล์ในเลือดผู้ขับขี่ที่ทําให้มีผู้บาดเจ็บทุกราย บ่ายวันนี้ (26 ธันวาคม 2562) ที่สถานีขนส่งหมอชิต กทม. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังร่วมพิธีเปิดงานรณรงค์ลดอุบัติเหตุปีใหม่ปลอดภัย เมาไม่ขับ จัดโดยมูลนิธิเมาไม่ขับ โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ว่า กระทรวงสาธารณสุขสนับสนุนมาตรการป้องปรามผู้ดื่มแล้วขับ โดยให้โรงพยาบาลทุกแห่งสนับสนุนการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้ขับขี่ทุกรายตามที่ตํารวจร้องขอ กรณีที่เหตุนั้นทําให้มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต และไม่สามารถตรวจวัดทางลมหายใจได้ เพื่อให้เกิดการดําเนินคดีกับผู้ที่ขับขี่รถในขณะเมาสุราทุกราย และเข้มข้นการดําเนินงานตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ไม่จําหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้แก่เด็กอายุต่ํากว่า 20 ปี ผู้ที่มีอาการเมาสุราจนครองสติไม่ได้ การขายสุราในเวลาที่ห้ามขาย คือหลัง 24.00 - 11.00 น. และ 14.00 - 17.00 น. การเร่ขาย การโฆษณาหรือส่งเสริมการขาย (ลด แลก แจก แถม) ห้ามดื่มและจําหน่ายในบริเวณกําหนดเช่น ปั๊มน้ํามัน ทางเท้า วัด สถานที่ราชการ โรงเรียน เป็นต้น กรณีที่พบเด็กอายุต่ํากว่า 20 ปี เกิดอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บ มีการดื่มสุรา ตํารวจจะสอบสวนหาร้านค้าที่จําหน่ายให้กับเด็ก และจะดําเนินคดีตามกฎหมายทุกราย เนื่องจากอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา สาเหตุเกินครึ่งมาจากการดื่มแล้วขับ ผู้ขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์เกินกฎหมายกําหนด สูงถึงร้อยละ 58 พบเด็กอายุต่ํากว่า 20 ปีที่มีปริมาณแอลกอฮอล์เกิน 20 mg% สูงถึงร้อยละ 44 “ขอความร่วมมือประชาชน โดยเฉพาะคนในครอบครัว ช่วยกันป้องกันผู้ที่ดื่ม ไม่ให้ขับรถ เพื่อลดความสูญเสียและการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ กรณีบาดเจ็บ เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต ให้เข้ารับบริการที่โรงพยาบาลใกล้ที่สุด โดยไม่ต้องสํารองจ่ายภายใน 72 ชั่วโมงแรก ตามนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” (Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP) โทร 1669” นายอนุทินกล่าว
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-อนุทิน ย้ำ ดื่มไม่ขับ เข้มมาตรการตามกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม 2562 อนุทิน ย้ํา ดื่มไม่ขับ เข้มมาตรการตามกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ย้ําประชาชน “ดื่มไม่ขับ” เข้มมาตรการตามกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ขายให้เด็กต่ํากว่า 20 ปี เอาผิดกับร้านที่จําหน่าย ตรวจหาแอลกอฮอล์ในเลือดผู้ขับขี่ที่ทําให้มีผู้บาดเจ็บทุกราย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ย้ําประชาชน “ดื่มไม่ขับ” เข้มมาตรการตามกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ขายให้เด็กต่ํากว่า 20 ปี เอาผิดกับร้านที่จําหน่าย ตรวจหาแอลกอฮอล์ในเลือดผู้ขับขี่ที่ทําให้มีผู้บาดเจ็บทุกราย บ่ายวันนี้ (26 ธันวาคม 2562) ที่สถานีขนส่งหมอชิต กทม. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังร่วมพิธีเปิดงานรณรงค์ลดอุบัติเหตุปีใหม่ปลอดภัย เมาไม่ขับ จัดโดยมูลนิธิเมาไม่ขับ โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ว่า กระทรวงสาธารณสุขสนับสนุนมาตรการป้องปรามผู้ดื่มแล้วขับ โดยให้โรงพยาบาลทุกแห่งสนับสนุนการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้ขับขี่ทุกรายตามที่ตํารวจร้องขอ กรณีที่เหตุนั้นทําให้มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต และไม่สามารถตรวจวัดทางลมหายใจได้ เพื่อให้เกิดการดําเนินคดีกับผู้ที่ขับขี่รถในขณะเมาสุราทุกราย และเข้มข้นการดําเนินงานตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ไม่จําหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้แก่เด็กอายุต่ํากว่า 20 ปี ผู้ที่มีอาการเมาสุราจนครองสติไม่ได้ การขายสุราในเวลาที่ห้ามขาย คือหลัง 24.00 - 11.00 น. และ 14.00 - 17.00 น. การเร่ขาย การโฆษณาหรือส่งเสริมการขาย (ลด แลก แจก แถม) ห้ามดื่มและจําหน่ายในบริเวณกําหนดเช่น ปั๊มน้ํามัน ทางเท้า วัด สถานที่ราชการ โรงเรียน เป็นต้น กรณีที่พบเด็กอายุต่ํากว่า 20 ปี เกิดอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บ มีการดื่มสุรา ตํารวจจะสอบสวนหาร้านค้าที่จําหน่ายให้กับเด็ก และจะดําเนินคดีตามกฎหมายทุกราย เนื่องจากอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา สาเหตุเกินครึ่งมาจากการดื่มแล้วขับ ผู้ขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์เกินกฎหมายกําหนด สูงถึงร้อยละ 58 พบเด็กอายุต่ํากว่า 20 ปีที่มีปริมาณแอลกอฮอล์เกิน 20 mg% สูงถึงร้อยละ 44 “ขอความร่วมมือประชาชน โดยเฉพาะคนในครอบครัว ช่วยกันป้องกันผู้ที่ดื่ม ไม่ให้ขับรถ เพื่อลดความสูญเสียและการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ กรณีบาดเจ็บ เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต ให้เข้ารับบริการที่โรงพยาบาลใกล้ที่สุด โดยไม่ต้องสํารองจ่ายภายใน 72 ชั่วโมงแรก ตามนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” (Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP) โทร 1669” นายอนุทินกล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/25508
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พลเอก ประวิตรฯ หนุนขับเคลื่อนการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า (พะเยา สุพรรณบุรี เชียงราย) ดำรงคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรม เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน
วันพุธที่ 1 กรกฎาคม 2563 พลเอก ประวิตรฯ หนุนขับเคลื่อนการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า (พะเยา สุพรรณบุรี เชียงราย) ดํารงคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรม เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน พลเอก ประวิตรฯ หนุนขับเคลื่อนการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า (พะเยา สุพรรณบุรี เชียงราย) ดํารงคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรม เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน วันนี้ (1 กรกฎาคม 63) เวลา 11.00 น. ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า ครั้งที่ 1/2563 สรุปสาระสําคัญ ดังนี้ ที่ประชุมเห็นชอบการปรับปรุงระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า โดยขยายเขตกรุงรัตนโกสินทร์ให้ครอบคลุมพื้นที่ต่อเนื่องบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก และเห็นชอบโครงการดําเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองคูเมืองเดิม และพื้นที่โดยรอบ โครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานคลองหลอดวัดราชนัดดา และคลองหลอดวัดราชบพิธ ให้สวยงามเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและพื้นที่อนุรักษ์วัฒนธรรม สร้างความหลากหลายด้านการท่องเที่ยว รวมทั้งพัฒนาพื้นที่ชุมชนโดยรอบให้มีความน่าอยู่อย่างยั่งยืน เพื่อเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน โอกาสนี้ ที่ประชุมยังได้เห็นชอบการประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่าร้อยเอ็ด ครอบคลุมพื้นที่กําแพงเมือง คูเมืองร้อยเอ็ด บึงพลาญชัย และศาสนสถานที่สําคัญ อาทิ วัดเหนือ วัดกลางมิ่งเมือง วัดบูรพาภิราม วัดสระทอง วัดบึงพลาญชัย และวัดศาลเจ้าร้อยเอ็ด รวมทั้งย่านการค้าบริเวณถนนผดุงพานิช พร้อมทั้งเห็นชอบในหลักการโครงการจัดทําแผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่า 3 เมือง ได้แก่ เมืองเก่าพะเยา เมืองเก่าสุพรรณบุรี และเมืองเก่าเชียงราย เพื่อขับเคลื่อนงานอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าให้มีความสอดคล้องกับบริบทพื้นที่ รักษาคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน กําหนดโซนหรือพื้นที่อนุรักษ์ ให้เยาวชน คนรุ่นใหม่ได้ใช้ประโยชน์และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ พร้อมเปิดโอกาสให้คนในท้องถิ่นร่วมเรียนรู้ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมท้องถิ่นที่หลากหลาย สร้างความภาคภูมิใจ สมัครสมานสามัคคี รวมทั้งเป็นการสร้างรายได้ทําให้เกิดความยั่งยืนในการอนุรักษ์ต่อไป ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีได้กําชับให้สํานักการโยธา กรุงเทพมหานคร ประสานกรมศิลปากร พิจารณาความเหมาะสมในการพัฒนาซากโบราณสถานบริเวณคลองคูเมืองเดิม ติดตามและขับเคลื่อนการดําเนินงานในพื้นที่เมืองเก่าให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์เฉพาะของพื้นที่ และการมีส่วนร่วมของประชาชนด้วย ................................................ กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พลเอก ประวิตรฯ หนุนขับเคลื่อนการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า (พะเยา สุพรรณบุรี เชียงราย) ดำรงคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรม เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน วันพุธที่ 1 กรกฎาคม 2563 พลเอก ประวิตรฯ หนุนขับเคลื่อนการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า (พะเยา สุพรรณบุรี เชียงราย) ดํารงคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรม เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน พลเอก ประวิตรฯ หนุนขับเคลื่อนการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า (พะเยา สุพรรณบุรี เชียงราย) ดํารงคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรม เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน วันนี้ (1 กรกฎาคม 63) เวลา 11.00 น. ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า ครั้งที่ 1/2563 สรุปสาระสําคัญ ดังนี้ ที่ประชุมเห็นชอบการปรับปรุงระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า โดยขยายเขตกรุงรัตนโกสินทร์ให้ครอบคลุมพื้นที่ต่อเนื่องบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก และเห็นชอบโครงการดําเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองคูเมืองเดิม และพื้นที่โดยรอบ โครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานคลองหลอดวัดราชนัดดา และคลองหลอดวัดราชบพิธ ให้สวยงามเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและพื้นที่อนุรักษ์วัฒนธรรม สร้างความหลากหลายด้านการท่องเที่ยว รวมทั้งพัฒนาพื้นที่ชุมชนโดยรอบให้มีความน่าอยู่อย่างยั่งยืน เพื่อเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน โอกาสนี้ ที่ประชุมยังได้เห็นชอบการประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่าร้อยเอ็ด ครอบคลุมพื้นที่กําแพงเมือง คูเมืองร้อยเอ็ด บึงพลาญชัย และศาสนสถานที่สําคัญ อาทิ วัดเหนือ วัดกลางมิ่งเมือง วัดบูรพาภิราม วัดสระทอง วัดบึงพลาญชัย และวัดศาลเจ้าร้อยเอ็ด รวมทั้งย่านการค้าบริเวณถนนผดุงพานิช พร้อมทั้งเห็นชอบในหลักการโครงการจัดทําแผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่า 3 เมือง ได้แก่ เมืองเก่าพะเยา เมืองเก่าสุพรรณบุรี และเมืองเก่าเชียงราย เพื่อขับเคลื่อนงานอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าให้มีความสอดคล้องกับบริบทพื้นที่ รักษาคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน กําหนดโซนหรือพื้นที่อนุรักษ์ ให้เยาวชน คนรุ่นใหม่ได้ใช้ประโยชน์และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ พร้อมเปิดโอกาสให้คนในท้องถิ่นร่วมเรียนรู้ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมท้องถิ่นที่หลากหลาย สร้างความภาคภูมิใจ สมัครสมานสามัคคี รวมทั้งเป็นการสร้างรายได้ทําให้เกิดความยั่งยืนในการอนุรักษ์ต่อไป ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีได้กําชับให้สํานักการโยธา กรุงเทพมหานคร ประสานกรมศิลปากร พิจารณาความเหมาะสมในการพัฒนาซากโบราณสถานบริเวณคลองคูเมืองเดิม ติดตามและขับเคลื่อนการดําเนินงานในพื้นที่เมืองเก่าให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์เฉพาะของพื้นที่ และการมีส่วนร่วมของประชาชนด้วย ................................................ กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/32993
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-วธ.จัดงาน “วันภาษาไทยแห่งชาติ” น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณด้านภาษาและวรรณกรรม รัชกาลที่ 9
วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม 2562 วธ.จัดงาน “วันภาษาไทยแห่งชาติ” น้อมรําลึกพระมหากรุณาธิคุณด้านภาษาและวรรณกรรม รัชกาลที่ 9 วธ.จัดงาน “วันภาษาไทยแห่งชาติ” น้อมรําลึกพระมหากรุณาธิคุณด้านภาษาและวรรณกรรม รัชกาลที่ 9สนองพระบรมราโชบายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระบรมชนกนาถมอบรางวัลเชิดชูเกียรติปูชนียบุคคล–เยาวชน-ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น–เพชรในเพลง วธ.จัดงาน “วันภาษาไทยแห่งชาติ” น้อมรําลึกพระมหากรุณาธิคุณด้านภาษาและวรรณกรรม รัชกาลที่ 9 สนองพระบรมราโชบายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระบรมชนกนาถ มอบรางวัลเชิดชูเกียรติปูชนียบุคคล–เยาวชน-ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น–เพชรใเพลง เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2562 ที่ห้องโถง ชั้น 1 กระทรวงวัฒนธรรม นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เป็นประธานในงานแถลงข่าวงานวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจําปี 2562 โดยมีนายกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรมและผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม นายอิทธิพล กล่าวว่า วธ.ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ จัดกิจกรรมเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ 29 กรกฎาคม ประจําปี พ.ศ. 2562 โดยปีนี้กําหนดจัดกิจกรรมในวันที่ 26 กรกฎาคม 2562 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อน้อมรําลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรที่ทรงห่วงใยการใช้ภาษาไทยของคนไทย และเพื่อเผยแพร่พระอัจฉริยภาพด้านภาษาและวรรณกรรมที่ทรงเป็นนักปราชญ์และนักภาษาไทย ซึ่งพระองค์ได้ทรงร่วมอภิปรายเรื่อง ปัญหาการใช้คําไทย ในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2505 และต่อมาคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปีเป็น “วันภาษาไทยแห่งชาติ” เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ ความภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมของชาติด้านภาษาและวรรณกรรม รวมถึงส่งเสริมการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องให้แก่เด็ก เยาวชนและประชาชน และเพื่อสนองพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงดําเนินรอยตามเบื้องพระยุคลบาทและสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระบรมชนกนาถ ทรงสนพระราชหฤทัยและมีพระปรีชาด้านการประพันธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองเป็นที่ประจักษ์ ทรงสนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมที่เกี่ยวกับงานวรรณกรรมของชาติ ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดําเนินไปพระราชทานรางวัลสร้างสรรค์วรรณกรรมยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนหรือรางวัล ซีไรท์ และทรงห่วงใยเยาวชนของชาติด้านการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง ตลอดจนการรักษาขนบประเพณีอันดีงามของไทย เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ วธ.โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) และกรมศิลปากร (ศก.) ได้คัดเลือกบุคคลและองค์กร เพื่อรับเข็ม โล่เชิดชูเกียรติและมอบรางวัล เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ดังนี้ 1.ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย 1 รางวัล ได้แก่ นายบุญเตือน ศรีวรพจน์ 2.ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 17 รางวัล แบ่งเป็นคนไทย 15 รางวัล ได้แก่ นายกรนันสักก์ ตั้งหทัยชูหิรัญ ,นายกฤษฎา สุนทร ,นายคารม ธรรมชยาธร , แพทย์หญิง ชัญวลี ศรีสุโข ,นายธีระ ธัญไพบูลย์ ,นายบุญมา ศรีหมาด ,รองศาสตราจารย์ปรมินท์ จารุวร ,นายภาสวัฒก์ บุญจันทร์ ,รองศาสตราจารย์ยุรฉัตร บุญสนิท ,รองศาสตราจารย์เรไร ไพรวรรณ์ ,นางวโรกาส มังกรพิศม์ ,ผู้ช่วยศาสตราจารย์วัลยา ช้างขวัญยืน ,นายวิษณุ พุ่มสว่าง ,ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมเกียรติ คู่ทวีกุล ,นายอดิสรณ์ พึ่งยา และชาวต่างประเทศ 2 รางวัล ได้แก่ น.ส.เจือง ถิ หั่ง (Ms.Truong Thi Hang) และนายอเล็กซ์ซานเดอร์ วิลส์ (Mr. Alexander Wills) 3.ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น 12 รางวัล แบ่งเป็นคนไทย 9 รางวัล ได้แก่ นายดํารงศักดิ์ บุญสู่ ,นายดุสิต เชาวชาติ ,นายปั่น นันสว่าง ,พระครูสีลสาราภรณ์ (สมสิทธิ์ รกฺขิตสีโล) ,นายมนตรี คงแก้ว ,นายเมตต์ เมตต์การุณจิต ,นางยินดี ตรีรัญเพชร ,รองศาสตราจารย์วีณา วีสเพ็ญ และนางอบเชย ศรีสุข และชาวต่างชาติ 3 รางวัล ได้แก่ นายคริสโตเฟอร์ เชฟ (Mr. Christopher Chaafe) ,นายมาร์ติน วีลเลอร์ (Mr. Martin Wheeler) และนายอุดม สุขเสน่ห์ (Mr. Allen Robert Dean Long) 4.ผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย ประกอบด้วย ประเภทบุคคล คือ รองศาสตราจารย์สืบพงศ์ ธรรมชาติ และประเภทองค์กร ได้แก่ กลุ่มงานอนุรักษ์เอกสารโบราณ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ,ชมรมโจ๊กปริศนาพนัสนิคม และศุมาสถาบันภาษาและวัฒนธรรม ส่วนรางวัลเยาวชนผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นที่มีความสามารถด้านการพูด การอ่าน การเขียน พุทธศักราช 2562 10 รางวัล ดังนี้ นายกุมภารักษ์ น้อยคํา โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศ จ.เพชรบุรี ,น.ส.จันทิมา จิตนิยม โรงเรียนบ้านไร่พิทยาคม จ.สุโขทัย ,นายชินวัฒน์ อรัญทม โรงเรียนกําแพง จ.ศรีสะเกษ ,นายโชคชัย พลธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ ,นายต่อพงศ์ เชื้ออุ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ.ขอนแก่น ,นายธีระวัฒน์ ชูรัตน์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ,นายภูริวัฒน์ เขนย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ,นายรณชัย หวังกวดกลาง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จ.สุรินทร์ ,น.ส.วรรณธิดา สามสี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จ.ภูเก็ต และนายสมชาย ทุนมาก มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก นอกจากนี้ รางวัลการประกวดเพลง เพชรในเพลง 12 รางวัล ดังนี้ 1.รางวัลเชิดชูเกียรติ ประกอบด้วย รางวัลเชิดชูเกียรติศิลปินเพชรในเพลง ได้แก่ น.ส.ธนพร แวกประยูร (ปาน ธนพร) ,รางวัลเชิดชูเกียรตินักร้องเพลงอมตะ ได้แก่ เรือเอกหญิงสมศรี ม่วงศรเขียว ,รางวัลเชิดชูเกียรติรายการโทรทัศน์ส่งเสริมภาษาและศิลปวัฒนธรรมไทย ได้แก่ รายการคุณพระช่วย ,รางวัลเชิดชูเกียรติวงดนตรีสร้างสรรค์ภาษาไทยในเพลง ได้แก่ วงดิอิมพอสซิเบิ้ล 2.รางวัลประพันธ์เพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ได้แก่ รางวัลชนะเลิศผู้ประพันธ์คําร้องเพลงไทยสากล ได้แก่ เพลงให้รักเป็นคําตอบ ผู้ประพันธ์ นายสุทธิพงษ์ สมบัติจินดา ,รางวัลชนะเลิศผู้ประพันธ์คําร้องเพลงไทยลูกทุ่ง ได้แก่ เพลงเหงาจนเงาหนี ผู้ประพันธ์ นายพงษ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณ (เท่ง เถิดเทิง) ,รางวัลชนะเลิศผู้ประพันธ์คําร้องเพลงเพื่อชีวิต ได้แก่ เพลงสํานึก ผู้ประพันธ์ นายพงษ์สิทธิ์ คัมภีร์ 3.รางวัลการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ได้แก่ รางวัลชนะเลิศผู้ขับร้องเพลงไทยสากลชาย ได้แก่ เพลงกลับมาตรงนี้ ผู้ขับร้อง นายอุเทน พรหมมินทร์ ,รางวัลชนะเลิศผู้ขับร้องเพลงไทยสากลหญิง ได้แก่ เพลงเพลงพรแผ่นดิน ผู้ขับร้อง น.ส.ณัฐธิกา เอี่ยมท่าไม้ ,รางวัลชนะเลิศผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย ได้แก่ เพลงตํานานอโยธยา ผู้ขับร้อง นายธนพล สัมมาพรต (แจ๊ค ธนพล),รางวัลชนะเลิศผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิง ได้แก่ เพลงหอบฝันสู่เมืองใหญ่ ผู้ขับร้อง น.ส.พลอยชมพู ลอมเศรษฐี (ปะแป้ง พลอยชมพู) และรางวัลชนะเลิศผู้ขับร้องเพลงเพื่อชีวิตชาย ได้แก่ เพลงเช’๒๐๑๘ ผู้ขับร้อง นายยืนยง โอภากุล นอกจากนี้ มีการจัดนิทรรศการปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น ผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทยและเยาวชนผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นที่มีความสามารถด้านการอ่าน การเขียน การพูด พุทธศักราช 2562 และนิทรรศการรางวัลเพชรในเพลง พร้อมกันนี้กรมศิลปากรจัดพิมพ์หนังสือหายาก คือ หนังสือจินดามณี ฉบับหมอบรัดเล และหนังสือวันภาษาไทยแห่งชาติ ซึ่งได้รวมพิมพ์เรื่อง โบราณศึกษา ของ พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษณ์) ไว้ เพื่อแจกเป็นที่ระลึกให้แก่ผู้ร่วมงานด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวอีกว่า ปีนี้เป็นปีที่สามที่วธ.ได้ประสานขอความร่วมมือไปยังสถานทูตประจําประเทศไทย โดยเชิญชวนเอกอัครราชทูต และผู้แทนสถานทูตแต่ละประเทศถ่ายทําวีดิทัศน์รณรงค์การใช้ภาษาไทย ซึ่งขณะนี้มีสถานทูตหลายประเทศส่งวีดิทัศน์ร่วมกิจกรรม เช่น อเมริกา อังกฤษ อิสราเอล และซูดาน เพื่อเผยแพร่และส่งเสริมการใช้ภาษาไทยให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่สําคัญคือเสริมสร้างความสัมพันธ์เกียรติภูมิและภาพลักษณ์ที่ดี เพื่อนําความเป็นไทยสู่สากล และจะมอบเกียรติบัตรให้แก่สถานทูตที่ร่วมกิจกรรมด้วย นอกจากนี้ มีกิจกรรมเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจําปี 2562 ในส่วนกลาง มีกิจกรรมได้แก่ วันที่ 23 กรกฎาคม 2562 การบรรยาย “ฉันทลักษณ์ไทยที่ถูกต้องตามแบบแผนของไทยแต่โบราณ” วันที่ 24 กรกฎาคม 2562 สัมมนาทางวิชาการ “เมื่อดอกไม้บาน...ในสวนขวัญวรรณศิลป์” ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วันที่ 25 กรกฎาคม 2562 การบรรยายวิชาการ “ภาษาไทยที่ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก” ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) และเสวนาวิชาการ “ภาษาไทยในกระแส 4.0” ณ โรงแรมรามา การ์เด้นส์ กรุงเทพฯ และเสวนา“ภาษาไทย ภาษาเพลง ร้องบรรเลงบนสื่อออนไลน์” ในวันที่ 26กรกฎาคม 2562 ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ขณะที่ส่วนภูมิภาคมีกิจกรรม ได้แก่ วันที่ 24 กรกฎาคม 2562 การเสวนาวิชาการ “อิทธิพลของภาษาและวรรณคดีบาลีสันสกฤตที่ต่อภาษาและวรรณคดีไทย” ณ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมถึงมีกิจกรรมเนื่องในวันภาษาไทยในจังหวัดต่างๆ ได้แก่ การประกวดพูดเชิงสร้างสรรค์ “ภาษาไทยถิ่นใต้:อัตลักษณ์และความหลากหลายทางวัฒนธรรม” ครั้งที่ 2 วันที่ 3-26 กรกฎาคม 2562 ณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ การประกวดงานเขียนเรื่องเล่าจากบ้านเราใน 4 จังหวัดภาคใต้ คือ สงขลา ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส ระหว่างเดือนมกราคม - สิงหาคม 2562 การประกวดทํานองเสนาะระดับอุดมศึกษา “ขับภาพ อ่าน ร้อง ซ้องถวาย” วันที่ 29 กรกฎาคม 2562 ณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น -------------------
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-วธ.จัดงาน “วันภาษาไทยแห่งชาติ” น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณด้านภาษาและวรรณกรรม รัชกาลที่ 9 วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม 2562 วธ.จัดงาน “วันภาษาไทยแห่งชาติ” น้อมรําลึกพระมหากรุณาธิคุณด้านภาษาและวรรณกรรม รัชกาลที่ 9 วธ.จัดงาน “วันภาษาไทยแห่งชาติ” น้อมรําลึกพระมหากรุณาธิคุณด้านภาษาและวรรณกรรม รัชกาลที่ 9สนองพระบรมราโชบายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระบรมชนกนาถมอบรางวัลเชิดชูเกียรติปูชนียบุคคล–เยาวชน-ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น–เพชรในเพลง วธ.จัดงาน “วันภาษาไทยแห่งชาติ” น้อมรําลึกพระมหากรุณาธิคุณด้านภาษาและวรรณกรรม รัชกาลที่ 9 สนองพระบรมราโชบายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระบรมชนกนาถ มอบรางวัลเชิดชูเกียรติปูชนียบุคคล–เยาวชน-ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น–เพชรใเพลง เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2562 ที่ห้องโถง ชั้น 1 กระทรวงวัฒนธรรม นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เป็นประธานในงานแถลงข่าวงานวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจําปี 2562 โดยมีนายกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรมและผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม นายอิทธิพล กล่าวว่า วธ.ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ จัดกิจกรรมเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ 29 กรกฎาคม ประจําปี พ.ศ. 2562 โดยปีนี้กําหนดจัดกิจกรรมในวันที่ 26 กรกฎาคม 2562 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อน้อมรําลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรที่ทรงห่วงใยการใช้ภาษาไทยของคนไทย และเพื่อเผยแพร่พระอัจฉริยภาพด้านภาษาและวรรณกรรมที่ทรงเป็นนักปราชญ์และนักภาษาไทย ซึ่งพระองค์ได้ทรงร่วมอภิปรายเรื่อง ปัญหาการใช้คําไทย ในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2505 และต่อมาคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปีเป็น “วันภาษาไทยแห่งชาติ” เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ ความภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมของชาติด้านภาษาและวรรณกรรม รวมถึงส่งเสริมการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องให้แก่เด็ก เยาวชนและประชาชน และเพื่อสนองพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงดําเนินรอยตามเบื้องพระยุคลบาทและสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระบรมชนกนาถ ทรงสนพระราชหฤทัยและมีพระปรีชาด้านการประพันธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองเป็นที่ประจักษ์ ทรงสนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมที่เกี่ยวกับงานวรรณกรรมของชาติ ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดําเนินไปพระราชทานรางวัลสร้างสรรค์วรรณกรรมยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนหรือรางวัล ซีไรท์ และทรงห่วงใยเยาวชนของชาติด้านการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง ตลอดจนการรักษาขนบประเพณีอันดีงามของไทย เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ วธ.โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) และกรมศิลปากร (ศก.) ได้คัดเลือกบุคคลและองค์กร เพื่อรับเข็ม โล่เชิดชูเกียรติและมอบรางวัล เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ดังนี้ 1.ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย 1 รางวัล ได้แก่ นายบุญเตือน ศรีวรพจน์ 2.ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 17 รางวัล แบ่งเป็นคนไทย 15 รางวัล ได้แก่ นายกรนันสักก์ ตั้งหทัยชูหิรัญ ,นายกฤษฎา สุนทร ,นายคารม ธรรมชยาธร , แพทย์หญิง ชัญวลี ศรีสุโข ,นายธีระ ธัญไพบูลย์ ,นายบุญมา ศรีหมาด ,รองศาสตราจารย์ปรมินท์ จารุวร ,นายภาสวัฒก์ บุญจันทร์ ,รองศาสตราจารย์ยุรฉัตร บุญสนิท ,รองศาสตราจารย์เรไร ไพรวรรณ์ ,นางวโรกาส มังกรพิศม์ ,ผู้ช่วยศาสตราจารย์วัลยา ช้างขวัญยืน ,นายวิษณุ พุ่มสว่าง ,ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมเกียรติ คู่ทวีกุล ,นายอดิสรณ์ พึ่งยา และชาวต่างประเทศ 2 รางวัล ได้แก่ น.ส.เจือง ถิ หั่ง (Ms.Truong Thi Hang) และนายอเล็กซ์ซานเดอร์ วิลส์ (Mr. Alexander Wills) 3.ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น 12 รางวัล แบ่งเป็นคนไทย 9 รางวัล ได้แก่ นายดํารงศักดิ์ บุญสู่ ,นายดุสิต เชาวชาติ ,นายปั่น นันสว่าง ,พระครูสีลสาราภรณ์ (สมสิทธิ์ รกฺขิตสีโล) ,นายมนตรี คงแก้ว ,นายเมตต์ เมตต์การุณจิต ,นางยินดี ตรีรัญเพชร ,รองศาสตราจารย์วีณา วีสเพ็ญ และนางอบเชย ศรีสุข และชาวต่างชาติ 3 รางวัล ได้แก่ นายคริสโตเฟอร์ เชฟ (Mr. Christopher Chaafe) ,นายมาร์ติน วีลเลอร์ (Mr. Martin Wheeler) และนายอุดม สุขเสน่ห์ (Mr. Allen Robert Dean Long) 4.ผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย ประกอบด้วย ประเภทบุคคล คือ รองศาสตราจารย์สืบพงศ์ ธรรมชาติ และประเภทองค์กร ได้แก่ กลุ่มงานอนุรักษ์เอกสารโบราณ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ,ชมรมโจ๊กปริศนาพนัสนิคม และศุมาสถาบันภาษาและวัฒนธรรม ส่วนรางวัลเยาวชนผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นที่มีความสามารถด้านการพูด การอ่าน การเขียน พุทธศักราช 2562 10 รางวัล ดังนี้ นายกุมภารักษ์ น้อยคํา โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศ จ.เพชรบุรี ,น.ส.จันทิมา จิตนิยม โรงเรียนบ้านไร่พิทยาคม จ.สุโขทัย ,นายชินวัฒน์ อรัญทม โรงเรียนกําแพง จ.ศรีสะเกษ ,นายโชคชัย พลธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ ,นายต่อพงศ์ เชื้ออุ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ.ขอนแก่น ,นายธีระวัฒน์ ชูรัตน์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ,นายภูริวัฒน์ เขนย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ,นายรณชัย หวังกวดกลาง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จ.สุรินทร์ ,น.ส.วรรณธิดา สามสี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จ.ภูเก็ต และนายสมชาย ทุนมาก มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก นอกจากนี้ รางวัลการประกวดเพลง เพชรในเพลง 12 รางวัล ดังนี้ 1.รางวัลเชิดชูเกียรติ ประกอบด้วย รางวัลเชิดชูเกียรติศิลปินเพชรในเพลง ได้แก่ น.ส.ธนพร แวกประยูร (ปาน ธนพร) ,รางวัลเชิดชูเกียรตินักร้องเพลงอมตะ ได้แก่ เรือเอกหญิงสมศรี ม่วงศรเขียว ,รางวัลเชิดชูเกียรติรายการโทรทัศน์ส่งเสริมภาษาและศิลปวัฒนธรรมไทย ได้แก่ รายการคุณพระช่วย ,รางวัลเชิดชูเกียรติวงดนตรีสร้างสรรค์ภาษาไทยในเพลง ได้แก่ วงดิอิมพอสซิเบิ้ล 2.รางวัลประพันธ์เพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ได้แก่ รางวัลชนะเลิศผู้ประพันธ์คําร้องเพลงไทยสากล ได้แก่ เพลงให้รักเป็นคําตอบ ผู้ประพันธ์ นายสุทธิพงษ์ สมบัติจินดา ,รางวัลชนะเลิศผู้ประพันธ์คําร้องเพลงไทยลูกทุ่ง ได้แก่ เพลงเหงาจนเงาหนี ผู้ประพันธ์ นายพงษ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณ (เท่ง เถิดเทิง) ,รางวัลชนะเลิศผู้ประพันธ์คําร้องเพลงเพื่อชีวิต ได้แก่ เพลงสํานึก ผู้ประพันธ์ นายพงษ์สิทธิ์ คัมภีร์ 3.รางวัลการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ได้แก่ รางวัลชนะเลิศผู้ขับร้องเพลงไทยสากลชาย ได้แก่ เพลงกลับมาตรงนี้ ผู้ขับร้อง นายอุเทน พรหมมินทร์ ,รางวัลชนะเลิศผู้ขับร้องเพลงไทยสากลหญิง ได้แก่ เพลงเพลงพรแผ่นดิน ผู้ขับร้อง น.ส.ณัฐธิกา เอี่ยมท่าไม้ ,รางวัลชนะเลิศผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย ได้แก่ เพลงตํานานอโยธยา ผู้ขับร้อง นายธนพล สัมมาพรต (แจ๊ค ธนพล),รางวัลชนะเลิศผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิง ได้แก่ เพลงหอบฝันสู่เมืองใหญ่ ผู้ขับร้อง น.ส.พลอยชมพู ลอมเศรษฐี (ปะแป้ง พลอยชมพู) และรางวัลชนะเลิศผู้ขับร้องเพลงเพื่อชีวิตชาย ได้แก่ เพลงเช’๒๐๑๘ ผู้ขับร้อง นายยืนยง โอภากุล นอกจากนี้ มีการจัดนิทรรศการปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น ผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทยและเยาวชนผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นที่มีความสามารถด้านการอ่าน การเขียน การพูด พุทธศักราช 2562 และนิทรรศการรางวัลเพชรในเพลง พร้อมกันนี้กรมศิลปากรจัดพิมพ์หนังสือหายาก คือ หนังสือจินดามณี ฉบับหมอบรัดเล และหนังสือวันภาษาไทยแห่งชาติ ซึ่งได้รวมพิมพ์เรื่อง โบราณศึกษา ของ พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษณ์) ไว้ เพื่อแจกเป็นที่ระลึกให้แก่ผู้ร่วมงานด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวอีกว่า ปีนี้เป็นปีที่สามที่วธ.ได้ประสานขอความร่วมมือไปยังสถานทูตประจําประเทศไทย โดยเชิญชวนเอกอัครราชทูต และผู้แทนสถานทูตแต่ละประเทศถ่ายทําวีดิทัศน์รณรงค์การใช้ภาษาไทย ซึ่งขณะนี้มีสถานทูตหลายประเทศส่งวีดิทัศน์ร่วมกิจกรรม เช่น อเมริกา อังกฤษ อิสราเอล และซูดาน เพื่อเผยแพร่และส่งเสริมการใช้ภาษาไทยให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่สําคัญคือเสริมสร้างความสัมพันธ์เกียรติภูมิและภาพลักษณ์ที่ดี เพื่อนําความเป็นไทยสู่สากล และจะมอบเกียรติบัตรให้แก่สถานทูตที่ร่วมกิจกรรมด้วย นอกจากนี้ มีกิจกรรมเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจําปี 2562 ในส่วนกลาง มีกิจกรรมได้แก่ วันที่ 23 กรกฎาคม 2562 การบรรยาย “ฉันทลักษณ์ไทยที่ถูกต้องตามแบบแผนของไทยแต่โบราณ” วันที่ 24 กรกฎาคม 2562 สัมมนาทางวิชาการ “เมื่อดอกไม้บาน...ในสวนขวัญวรรณศิลป์” ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วันที่ 25 กรกฎาคม 2562 การบรรยายวิชาการ “ภาษาไทยที่ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก” ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) และเสวนาวิชาการ “ภาษาไทยในกระแส 4.0” ณ โรงแรมรามา การ์เด้นส์ กรุงเทพฯ และเสวนา“ภาษาไทย ภาษาเพลง ร้องบรรเลงบนสื่อออนไลน์” ในวันที่ 26กรกฎาคม 2562 ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ขณะที่ส่วนภูมิภาคมีกิจกรรม ได้แก่ วันที่ 24 กรกฎาคม 2562 การเสวนาวิชาการ “อิทธิพลของภาษาและวรรณคดีบาลีสันสกฤตที่ต่อภาษาและวรรณคดีไทย” ณ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมถึงมีกิจกรรมเนื่องในวันภาษาไทยในจังหวัดต่างๆ ได้แก่ การประกวดพูดเชิงสร้างสรรค์ “ภาษาไทยถิ่นใต้:อัตลักษณ์และความหลากหลายทางวัฒนธรรม” ครั้งที่ 2 วันที่ 3-26 กรกฎาคม 2562 ณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ การประกวดงานเขียนเรื่องเล่าจากบ้านเราใน 4 จังหวัดภาคใต้ คือ สงขลา ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส ระหว่างเดือนมกราคม - สิงหาคม 2562 การประกวดทํานองเสนาะระดับอุดมศึกษา “ขับภาพ อ่าน ร้อง ซ้องถวาย” วันที่ 29 กรกฎาคม 2562 ณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น -------------------
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/21693
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ชี้แจง ปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ำ
วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2561 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ชี้แจง ปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ํา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ชี้แจง ปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ํา เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2561 นายสรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ และโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แทนคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์; Egg Board) ชี้แจงปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ํา ตามที่นายมาโนช ชูทับทิม นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ เรียกร้องให้ภาครัฐเร่งตรวจสอบและแก้ไขปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ํา ในประเด็นดังนี้ 1. ราคาไข่ไก่เกษตรกรขายไข่คละได้ ณ วันที่ 3 พ.ย. 2561 มีราคาอยู่ที่ 1.40 - 2.30 บาท ซึ่งต่ําสุดในรอบ 30 ปี และสวนทางกับราคาอาหารสัตว์ 33 บาทต่อกิโลกรัม 2. ปัจจุบันราคาไข่ไก่เกินความต้องการมีมากกว่า 10 ล้านฟอง เนื่องจากมีการนําเข้าปู่ย่าพันธุ์ พ่อแม่พันธุ์มากเกินไป ซึ่งแม้เกษตรกรได้พยายามปลดแม่พันธุ์ไก่ทั่วประเทศแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร ขณะที่ปลายทางผู้บริโภคยังคงต้องรับภาระการซื้อไข่ไก่ราคาแพงอยู่ จึงเรียกร้องให้ภาครัฐตรวจสอบกรณีดังกล่าว ข้อเท็จจริง 1. ตั้งแต่เดือน ม.ค.61 ถึง ต้นเดือน ต.ค.61 ราคาไข่คละหน้าฟาร์มเฉลี่ย 2.54 บาท (เบอร์ 0 ราคา 3.54 บาท, เบอร์ 1 ราคา 3.04 บาท, เบอร์ 2 ราคา 2.75 บาท, เบอร์ 3 ราคา 2.55 บาท, เบอร์ 4 ราคา 2.45 บาท, เบอร์ 5 ราคา 2.24 บาท, เบอร์ 6 ราคา 1.85 บาท) โดยราคาขายไข่แต่ละภูมิภาค (ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) อาจแตกต่างกัน 10-20 สตางค์ 2. ต้นเดือน ต.ค.61 จนถึงปัจจุบัน ราคาไข่คละหน้าฟาร์มเฉลี่ย 2.30 บาท (เบอร์ 0 ราคา 3.30 บาท, เบอร์ 1 ราคา 2.80 บาท, เบอร์ 2 ราคา 2.55 บาท, เบอร์ 3 ราคา 2.35 บาท, เบอร์ 4 ราคา 2.25 บาท, เบอร์ 5 ราคา 2.00 บาท, เบอร์ 6 ราคา 1.65 บาท) 3. สาเหตุที่ราคาไข่ลดลงตั้งแต่ต้นเดือน ต.ค.61 จนถึงปัจจุบัน เนื่องจากการบริโภคลดลงช่วงเทศกาลกินเจและปิดเทอม ทําให้มีปริมาณไข่ที่สะสมจํานวนมาก และไข่ที่ออกมาช่วงเวลานี้มีขนาดฟองเล็ก 4. ข้อมูลสถานการณ์ไก่ไข่ปัจจุบัน มีปริมาณพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ (PS) ที่ให้ผลผลิต 521,860 ตัว แม่ไก่ไข่ยืนกรงจํานวน 56-57 ล้านตัว ผลผลิตไข่เฉลี่ยประมาณ 44-45 ล้านฟอง/วัน 5. ข้อมูลราคาอาหารไก่ไข่ระยะให้ไข่ ในระหว่างเดือน ม.ค.-ต.ค.61 อยู่ที่ 11-13 บาท/กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับพื้นที่ และวัตถุดิบที่ใช้ผลิต (ไม่ใช่ 33บาท/กิโลกรัม) การดําเนินการของปศุสัตว์ 1. ตลอดปี 61 ถึงปัจจุบัน กรมปศุสัตว์ร่วมกับสมาคมฯ และผู้นําเข้าไก่ไข่พันธุ์ ผลักดันการส่งออกไข่ไปจําหน่ายต่างประเทศ (PS Support) ตั้งแต่เดือน เม.ย.61 จนถึงปัจจุบันรวมแล้ว 258 ตู้คอนเทนเนอร์ (84 ล้านฟอง) ปลดแม่ไก่ไข่ยืนกรง ที่อายุ 72 สัปดาห์ จํานวน 857,486 ตัว ตรวจสอบปริมาณการนําเข้า การเลี้ยง และการปลด PS ไม่ให้เกินอายุ 72 สัปดาห์ ตามมติ Egg Board อย่างเคร่งครัด 2. ประชุมหารือร่วมกับ 16 บริษัทผู้นําเข้าและเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์-ปู่ย่าพันธุ์ไก่ไข่ (24 ต.ค.61) และมีมติปรับลดแผนการนําเข้าปี 62 ลง 10% ของแผนปี 61 ซึ่งจะส่งผลให้ปี 62 มีปริมาณพ่อแม่พันธุ์ (PS) ไม่เกิน 500,000 ตัว ปู่ย่าพันธุ์ไก่ไข่ (GP) ไม่เกิน 4,050 ตัว แม่ไก่ไข่ยืนกรงประมาณ 50 ล้านตัว ผลผลิตไข่ประมาณ 42-43 ล้านฟอง/วัน ซึ่งจะใกล้เคียงกับการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกทั้งไข่สดและผลิตภัณฑ์ไข่แปรรูป 3. แนวโน้มราคาไข่คละหน้าฟาร์มน่าจะค่อยๆ ปรับขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ เนื่องจากมาตรการซึ่งประกอบด้วย เร่งรัดเพิ่มการส่งออกไข่ไปจําหน่ายต่างประเทศ การปลดแม่ไก่ไข่ยืนกรง การร่วมมือกับกรมการค้าภายใน รวมถึงโรงเรียนเปิดเทอม และกําลังจะเข้าช่วงเทศกาลปลายปี ประชาชนบริโภคไข่เพิ่มขึ้น แนวทางแก้ไขปัญหา 1. ประสานกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ตามที่สมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ร้องขอ โดยเบื้องต้นรับแจ้งจากกรมการค้าภายใน จะเชิญหารือเพื่อแก้ปัญหาปริมาณไข่ที่ค้างสะสม และการรักษาเสถียรภาพราคา ภายในสัปดาห์หน้า (5-9 พ.ย.61) ซึ่งจะช่วยให้การแก้ปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาวมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 2. มีแผนกําหนดจัดประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg Board) ภายในเดือน พ.ย.61 วาระพิจารณาแผนการนําเข้าพ่อแม่และปู่ย่าพันธุ์ ปี 62 เพื่อขอมติปรับลดแผนการนําเข้าและเลี้ยง PS ลงอีก 10% ของปี 61 เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาระยะยาวต่อไป -------------------------------
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ชี้แจง ปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ำ วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2561 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ชี้แจง ปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ํา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ชี้แจง ปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ํา เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2561 นายสรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ และโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แทนคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์; Egg Board) ชี้แจงปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ํา ตามที่นายมาโนช ชูทับทิม นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ เรียกร้องให้ภาครัฐเร่งตรวจสอบและแก้ไขปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ํา ในประเด็นดังนี้ 1. ราคาไข่ไก่เกษตรกรขายไข่คละได้ ณ วันที่ 3 พ.ย. 2561 มีราคาอยู่ที่ 1.40 - 2.30 บาท ซึ่งต่ําสุดในรอบ 30 ปี และสวนทางกับราคาอาหารสัตว์ 33 บาทต่อกิโลกรัม 2. ปัจจุบันราคาไข่ไก่เกินความต้องการมีมากกว่า 10 ล้านฟอง เนื่องจากมีการนําเข้าปู่ย่าพันธุ์ พ่อแม่พันธุ์มากเกินไป ซึ่งแม้เกษตรกรได้พยายามปลดแม่พันธุ์ไก่ทั่วประเทศแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร ขณะที่ปลายทางผู้บริโภคยังคงต้องรับภาระการซื้อไข่ไก่ราคาแพงอยู่ จึงเรียกร้องให้ภาครัฐตรวจสอบกรณีดังกล่าว ข้อเท็จจริง 1. ตั้งแต่เดือน ม.ค.61 ถึง ต้นเดือน ต.ค.61 ราคาไข่คละหน้าฟาร์มเฉลี่ย 2.54 บาท (เบอร์ 0 ราคา 3.54 บาท, เบอร์ 1 ราคา 3.04 บาท, เบอร์ 2 ราคา 2.75 บาท, เบอร์ 3 ราคา 2.55 บาท, เบอร์ 4 ราคา 2.45 บาท, เบอร์ 5 ราคา 2.24 บาท, เบอร์ 6 ราคา 1.85 บาท) โดยราคาขายไข่แต่ละภูมิภาค (ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) อาจแตกต่างกัน 10-20 สตางค์ 2. ต้นเดือน ต.ค.61 จนถึงปัจจุบัน ราคาไข่คละหน้าฟาร์มเฉลี่ย 2.30 บาท (เบอร์ 0 ราคา 3.30 บาท, เบอร์ 1 ราคา 2.80 บาท, เบอร์ 2 ราคา 2.55 บาท, เบอร์ 3 ราคา 2.35 บาท, เบอร์ 4 ราคา 2.25 บาท, เบอร์ 5 ราคา 2.00 บาท, เบอร์ 6 ราคา 1.65 บาท) 3. สาเหตุที่ราคาไข่ลดลงตั้งแต่ต้นเดือน ต.ค.61 จนถึงปัจจุบัน เนื่องจากการบริโภคลดลงช่วงเทศกาลกินเจและปิดเทอม ทําให้มีปริมาณไข่ที่สะสมจํานวนมาก และไข่ที่ออกมาช่วงเวลานี้มีขนาดฟองเล็ก 4. ข้อมูลสถานการณ์ไก่ไข่ปัจจุบัน มีปริมาณพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ (PS) ที่ให้ผลผลิต 521,860 ตัว แม่ไก่ไข่ยืนกรงจํานวน 56-57 ล้านตัว ผลผลิตไข่เฉลี่ยประมาณ 44-45 ล้านฟอง/วัน 5. ข้อมูลราคาอาหารไก่ไข่ระยะให้ไข่ ในระหว่างเดือน ม.ค.-ต.ค.61 อยู่ที่ 11-13 บาท/กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับพื้นที่ และวัตถุดิบที่ใช้ผลิต (ไม่ใช่ 33บาท/กิโลกรัม) การดําเนินการของปศุสัตว์ 1. ตลอดปี 61 ถึงปัจจุบัน กรมปศุสัตว์ร่วมกับสมาคมฯ และผู้นําเข้าไก่ไข่พันธุ์ ผลักดันการส่งออกไข่ไปจําหน่ายต่างประเทศ (PS Support) ตั้งแต่เดือน เม.ย.61 จนถึงปัจจุบันรวมแล้ว 258 ตู้คอนเทนเนอร์ (84 ล้านฟอง) ปลดแม่ไก่ไข่ยืนกรง ที่อายุ 72 สัปดาห์ จํานวน 857,486 ตัว ตรวจสอบปริมาณการนําเข้า การเลี้ยง และการปลด PS ไม่ให้เกินอายุ 72 สัปดาห์ ตามมติ Egg Board อย่างเคร่งครัด 2. ประชุมหารือร่วมกับ 16 บริษัทผู้นําเข้าและเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์-ปู่ย่าพันธุ์ไก่ไข่ (24 ต.ค.61) และมีมติปรับลดแผนการนําเข้าปี 62 ลง 10% ของแผนปี 61 ซึ่งจะส่งผลให้ปี 62 มีปริมาณพ่อแม่พันธุ์ (PS) ไม่เกิน 500,000 ตัว ปู่ย่าพันธุ์ไก่ไข่ (GP) ไม่เกิน 4,050 ตัว แม่ไก่ไข่ยืนกรงประมาณ 50 ล้านตัว ผลผลิตไข่ประมาณ 42-43 ล้านฟอง/วัน ซึ่งจะใกล้เคียงกับการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกทั้งไข่สดและผลิตภัณฑ์ไข่แปรรูป 3. แนวโน้มราคาไข่คละหน้าฟาร์มน่าจะค่อยๆ ปรับขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ เนื่องจากมาตรการซึ่งประกอบด้วย เร่งรัดเพิ่มการส่งออกไข่ไปจําหน่ายต่างประเทศ การปลดแม่ไก่ไข่ยืนกรง การร่วมมือกับกรมการค้าภายใน รวมถึงโรงเรียนเปิดเทอม และกําลังจะเข้าช่วงเทศกาลปลายปี ประชาชนบริโภคไข่เพิ่มขึ้น แนวทางแก้ไขปัญหา 1. ประสานกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ตามที่สมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ร้องขอ โดยเบื้องต้นรับแจ้งจากกรมการค้าภายใน จะเชิญหารือเพื่อแก้ปัญหาปริมาณไข่ที่ค้างสะสม และการรักษาเสถียรภาพราคา ภายในสัปดาห์หน้า (5-9 พ.ย.61) ซึ่งจะช่วยให้การแก้ปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาวมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 2. มีแผนกําหนดจัดประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg Board) ภายในเดือน พ.ย.61 วาระพิจารณาแผนการนําเข้าพ่อแม่และปู่ย่าพันธุ์ ปี 62 เพื่อขอมติปรับลดแผนการนําเข้าและเลี้ยง PS ลงอีก 10% ของปี 61 เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาระยะยาวต่อไป -------------------------------
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/16697
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธพว. จับมือ ม.สวนดุสิต ปั้นท่องเที่ยวชุมชนพันแห่ง คาดสร้างงานเพิ่มรายได้คนตัวเล็กในชุมชนได้กว่าล้านราย
วันพุธที่ 24 มกราคม 2561 ธพว. จับมือ ม.สวนดุสิต ปั้นท่องเที่ยวชุมชนพันแห่ง คาดสร้างงานเพิ่มรายได้คนตัวเล็กในชุมชนได้กว่าล้านราย ธพว. จับมือ ม.สวนดุสิต จัดทําข้อมูลท่องเที่ยวชุมชน มุ่งพัฒนาศักยภาพให้เข้มแข็ง ก่อนเติมเงินทุนลงชุมชนต่อยอดเติบโตยั่งยืน นําร่องลงพื้นที่ 300 แห่ง ภายใน 6 เดือน วางเป้าครบ 1,000 แห่งทั่วประเทศ คาดสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ธพว. จับมือ ม.สวนดุสิต จัดทําข้อมูลท่องเที่ยวชุมชน มุ่งพัฒนาศักยภาพให้เข้มแข็ง ก่อนเติมเงินทุนลงชุมชนต่อยอดเติบโตยั่งยืน นําร่องลงพื้นที่ 300 แห่ง ภายใน 6 เดือน วางเป้าครบ 1,000 แห่งทั่วประเทศ คาดสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้คนตัวเล็กในชุมชนกว่า 1 ล้านรายทั่วประเทศ นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME Development Bank เปิดเผยถึง การสนับสนุนและพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวชุมชนและผู้ประกอบการรายย่อยคนตัวเล็กในชุมชน (Micro) หรือ “จุล SMEs” ภายหลังออกจากแผนฟื้นฟูและประกาศเป็น MSME Development Bank ว่า ธนาคารได้จับมือกับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ร่วมกันศึกษาข้อมูลเชิงศักยภาพแหล่งท่องเที่ยงชุมชน 1,000 แห่งทั่วประเทศ โดยรวบรวมข้อมูลศักยภาพของแต่ละชุมชนท่องเที่ยว จากสื่อออนไลน์ต่างๆ ซึ่งนักท่องเที่ยวโพสต์แนะนําสถานที่ท่องเที่ยว และมีการแนะนํากันต่อๆกันในโลกออนไลน์ หรือที่เรียกว่าข้อมูล “ทุติยภูมิ” โดยขณะนี้ได้ทําการรวบรวมและจัดทําเป็นข้อมูลไปแล้วกว่า 876 ชุมชนทั่วประเทศ ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างจัดเก็บข้อมูลคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 6 เดือนนี้ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า แต่ละชุมชนจะมีประมาณ 200 -300ครัวเรือน โดยแต่ละครัวเรือนจะมีสมาชิกประมาณ 3-4 คน หากสามารถพัฒนาชุมชนสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน 1,000 แห่ง จะก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้เข้าสู่ชุมชนอย่างต่อเนื่องไม่ต่ํากว่า 1 ล้านคนทั่วประเทศ สําหรับแหล่งท่องเที่ยวชุมชนจํานวน 876 ชุมชนที่ได้รวบรวมแล้ว ขณะนี้ทีมงานสาขา ธพว. และมหาวิทยาลัยสวนดุสิตพร้อมเครือข่ายมหาวิทยาลัยในท้องถิ่นทั้ง 77 จังหวัด เร่งลงพื้นที่เข้าไปศึกษาเชิงลึกว่าชุมชนท่องเที่ยวนั้นมีความโดดเด่น มีศักยภาพ ความเข้มแข็ง และจุดอ่อนอย่างไร ซึ่งการลงพื้นที่จะเน้นให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการคิดและพัฒนาชุมชนของตนเองเป็นหลัก ขณะที่ธนาคารจะร่วมกับชุมชนเข้าไปพัฒนาเติมเต็มสิ่งที่ชุมชนนั้นๆ ต้องการ โดยเบื้องต้นนําร่องลงพื้นที่ 300 ชุมชนแรกให้แล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 โดยจะกระจายลงพื้นที่ทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ แบ่งเป็น 69 จังหวัดแรก ลงพื้นที่จังหวัดละ 4 ชุมชน รวมทั้งสิ้น 276 ชุมชน อีก 8 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดยะลา นราธิวาส ปัตตานี ระนอง ชุมพร ตรัง พังงา และสตูล ลงพื้นที่จังหวัดละ 3 ชุมชน รวม 24 ชุมชน ส่วนชุมชนที่เหลือจะเร่งลงพื้นที่ให้แล้วเสร็จอย่างเร่งด่วน คาดว่าจะใช้เวลาในการลงพื้นที่วิเคราะห์ศักยภาพของความต้องการของท่องเที่ยวชุมชนแต่ละแห่งให้ครบ 1,000 แห่ง ภายใน 6 เดือน นายมงคล กล่าวอีกว่า การเข้าไปช่วยเหลือท่องเที่ยวชุมชน ธนาคารไม่เน้นเรื่องการให้สินเชื่อหรือให้การสนับสนุนการเงินเป็นหลัก แต่จะเน้นด้านการพัฒนาสร้างความเข้มแข็ง ดึงศักยภาพที่มีแต่ละชุมชนออกมาให้เป็นจุดเด่น ร่วมกับชุมชนแก้ไขปัญหาโดยให้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง และหากชุมชนใดเข้มแข็งและต้องการเงินทุนเพื่อต่อยอดธุรกิจให้เติบโตยิ่งขึ้น ธนาคารก็พร้อมสนับสนุนผ่านโครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy Loan) วงเงิน 50,000 ล้านบาทกู้ได้ไม่เกิน 5 ล้านบาท 3 ปีแรกคิดอัตราดอกเบี้ยเพียง 3% ต่อปี ฟรีค่าธรรมเนียม บสย. 4 ปีแรก นอกจากนี้ธนาคารจะนําหน่วยบริการเคลื่อนที่ “รถม้าเติมทุน ส่งเสริม SMEs ไทย ฉับไว ไปถึงถิ่น” เข้าไปให้คําปรึกษาแนะนําทางธุรกิจถึงชุมชน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการรายย่อยคนตัวเล็กในชุมชน หรือที่เรียกกว่า “จุลเอสเอ็มอี” มีศักยภาพเข้มแข็งขึ้นได้ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจในระดับฐานรากของประเทศ สร้างความเข้มแข็งต่อเศรษฐกิจไทยในอนาคตอีกด้วย ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ : นางอุบลรัตน์ ค่าแพง ผู้อํานวยการฝ่ายส่งเสริมการตลาด ลูกค้าสัมพันธ์และกิจกรรมเพื่อสังคมโทร. 085-980-7861, 02-265-4404
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธพว. จับมือ ม.สวนดุสิต ปั้นท่องเที่ยวชุมชนพันแห่ง คาดสร้างงานเพิ่มรายได้คนตัวเล็กในชุมชนได้กว่าล้านราย วันพุธที่ 24 มกราคม 2561 ธพว. จับมือ ม.สวนดุสิต ปั้นท่องเที่ยวชุมชนพันแห่ง คาดสร้างงานเพิ่มรายได้คนตัวเล็กในชุมชนได้กว่าล้านราย ธพว. จับมือ ม.สวนดุสิต จัดทําข้อมูลท่องเที่ยวชุมชน มุ่งพัฒนาศักยภาพให้เข้มแข็ง ก่อนเติมเงินทุนลงชุมชนต่อยอดเติบโตยั่งยืน นําร่องลงพื้นที่ 300 แห่ง ภายใน 6 เดือน วางเป้าครบ 1,000 แห่งทั่วประเทศ คาดสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ธพว. จับมือ ม.สวนดุสิต จัดทําข้อมูลท่องเที่ยวชุมชน มุ่งพัฒนาศักยภาพให้เข้มแข็ง ก่อนเติมเงินทุนลงชุมชนต่อยอดเติบโตยั่งยืน นําร่องลงพื้นที่ 300 แห่ง ภายใน 6 เดือน วางเป้าครบ 1,000 แห่งทั่วประเทศ คาดสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้คนตัวเล็กในชุมชนกว่า 1 ล้านรายทั่วประเทศ นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME Development Bank เปิดเผยถึง การสนับสนุนและพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวชุมชนและผู้ประกอบการรายย่อยคนตัวเล็กในชุมชน (Micro) หรือ “จุล SMEs” ภายหลังออกจากแผนฟื้นฟูและประกาศเป็น MSME Development Bank ว่า ธนาคารได้จับมือกับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ร่วมกันศึกษาข้อมูลเชิงศักยภาพแหล่งท่องเที่ยงชุมชน 1,000 แห่งทั่วประเทศ โดยรวบรวมข้อมูลศักยภาพของแต่ละชุมชนท่องเที่ยว จากสื่อออนไลน์ต่างๆ ซึ่งนักท่องเที่ยวโพสต์แนะนําสถานที่ท่องเที่ยว และมีการแนะนํากันต่อๆกันในโลกออนไลน์ หรือที่เรียกว่าข้อมูล “ทุติยภูมิ” โดยขณะนี้ได้ทําการรวบรวมและจัดทําเป็นข้อมูลไปแล้วกว่า 876 ชุมชนทั่วประเทศ ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างจัดเก็บข้อมูลคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 6 เดือนนี้ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า แต่ละชุมชนจะมีประมาณ 200 -300ครัวเรือน โดยแต่ละครัวเรือนจะมีสมาชิกประมาณ 3-4 คน หากสามารถพัฒนาชุมชนสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน 1,000 แห่ง จะก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้เข้าสู่ชุมชนอย่างต่อเนื่องไม่ต่ํากว่า 1 ล้านคนทั่วประเทศ สําหรับแหล่งท่องเที่ยวชุมชนจํานวน 876 ชุมชนที่ได้รวบรวมแล้ว ขณะนี้ทีมงานสาขา ธพว. และมหาวิทยาลัยสวนดุสิตพร้อมเครือข่ายมหาวิทยาลัยในท้องถิ่นทั้ง 77 จังหวัด เร่งลงพื้นที่เข้าไปศึกษาเชิงลึกว่าชุมชนท่องเที่ยวนั้นมีความโดดเด่น มีศักยภาพ ความเข้มแข็ง และจุดอ่อนอย่างไร ซึ่งการลงพื้นที่จะเน้นให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการคิดและพัฒนาชุมชนของตนเองเป็นหลัก ขณะที่ธนาคารจะร่วมกับชุมชนเข้าไปพัฒนาเติมเต็มสิ่งที่ชุมชนนั้นๆ ต้องการ โดยเบื้องต้นนําร่องลงพื้นที่ 300 ชุมชนแรกให้แล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 โดยจะกระจายลงพื้นที่ทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ แบ่งเป็น 69 จังหวัดแรก ลงพื้นที่จังหวัดละ 4 ชุมชน รวมทั้งสิ้น 276 ชุมชน อีก 8 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดยะลา นราธิวาส ปัตตานี ระนอง ชุมพร ตรัง พังงา และสตูล ลงพื้นที่จังหวัดละ 3 ชุมชน รวม 24 ชุมชน ส่วนชุมชนที่เหลือจะเร่งลงพื้นที่ให้แล้วเสร็จอย่างเร่งด่วน คาดว่าจะใช้เวลาในการลงพื้นที่วิเคราะห์ศักยภาพของความต้องการของท่องเที่ยวชุมชนแต่ละแห่งให้ครบ 1,000 แห่ง ภายใน 6 เดือน นายมงคล กล่าวอีกว่า การเข้าไปช่วยเหลือท่องเที่ยวชุมชน ธนาคารไม่เน้นเรื่องการให้สินเชื่อหรือให้การสนับสนุนการเงินเป็นหลัก แต่จะเน้นด้านการพัฒนาสร้างความเข้มแข็ง ดึงศักยภาพที่มีแต่ละชุมชนออกมาให้เป็นจุดเด่น ร่วมกับชุมชนแก้ไขปัญหาโดยให้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง และหากชุมชนใดเข้มแข็งและต้องการเงินทุนเพื่อต่อยอดธุรกิจให้เติบโตยิ่งขึ้น ธนาคารก็พร้อมสนับสนุนผ่านโครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy Loan) วงเงิน 50,000 ล้านบาทกู้ได้ไม่เกิน 5 ล้านบาท 3 ปีแรกคิดอัตราดอกเบี้ยเพียง 3% ต่อปี ฟรีค่าธรรมเนียม บสย. 4 ปีแรก นอกจากนี้ธนาคารจะนําหน่วยบริการเคลื่อนที่ “รถม้าเติมทุน ส่งเสริม SMEs ไทย ฉับไว ไปถึงถิ่น” เข้าไปให้คําปรึกษาแนะนําทางธุรกิจถึงชุมชน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการรายย่อยคนตัวเล็กในชุมชน หรือที่เรียกกว่า “จุลเอสเอ็มอี” มีศักยภาพเข้มแข็งขึ้นได้ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจในระดับฐานรากของประเทศ สร้างความเข้มแข็งต่อเศรษฐกิจไทยในอนาคตอีกด้วย ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ : นางอุบลรัตน์ ค่าแพง ผู้อํานวยการฝ่ายส่งเสริมการตลาด ลูกค้าสัมพันธ์และกิจกรรมเพื่อสังคมโทร. 085-980-7861, 02-265-4404
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/9590
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มอบนโยบายการทำงานให้สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2561 รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มอบนโยบายการทํางานให้สํานักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมตรวจเยี่ยม พร้อมทั้งมอบนโยบายการดําเนินงานแก่สํานักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๖.๐๐ น. พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมตรวจเยี่ยม พร้อมทั้งมอบนโยบายการดําเนินงานแก่สํานักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วยผู้บริหาร และหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม เข้าร่วมประชุมฯ ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม ๑ ชั้น ๙ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ โดยปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้นําเสนอแนวทางการดําเนินงานที่สําคัญของสํานักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม อาทิ การขับเคลื่อนนโยบายลดความเหลื่อมล้ําในการเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชน โดยพัฒนากลไกในระดับภูมิภาค ซึ่งมีกรอบแนวคิดในการจัดโครงสร้างสํานักงานยุติธรรมจังหวัด เป็นหน่วยงานภูมิภาคลักษณะ One Roof เพื่อลดความซ้ําซ้อนและกํากับทิศทางในการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายสําคัญในการลดความเหลื่อมล้ําและช่วยเหลือประชาชน พร้อมทั้งนําเสนอการเพิ่มประสิทธิภาพการช่วยเหลือประชาชนให้เข้าถึงความยุติธรรม ผ่านบริการ “กองทุนยุติธรรม” ซึ่งได้ลดระยะเวลาในการพิจารณาคําขอรับความช่วยเหลือเงินกองทุนยุติธรรม เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการด้านงานยุติธรรมที่รวดเร็วยิ่งขึ้น รวมทั้งการขับเคลื่อนนโยบายคืนคนดีสู่สังคม โดยมุ่งให้ความช่วยเหลือและส่งเสริมด้านอาชีพ แก่ผู้ที่ผ่านการพัฒนาพฤตินิสัยจากกรมราชทัณฑ์ กรมคุมประพฤติ และกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน โดยประสานความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนสังคมในการเชื่อมโยงตลาดแรงงาน และภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้กลุ่มคนดังกล่าวมีงานทํา มีรายได้ พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน และไม่หวนกลับไปกระทําความผิดซ้ําอีก นอกจากนี้ ยังได้นําเสนอแนวทางการนําระบบ Cloud Computing ของกระทรวงยุติธรรม ในการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม เพื่อยกระดับการบริการประชาชน โอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ให้แนวทางในการบริหารงานของ สํานักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม พร้อมทั้งเน้นย้ําการดําเนินงานในประเด็นต่าง ๆ อาทิ การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลการจัดโครงสร้างของสํานักงานยุติธรรมจังหวัด โดยให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการบริหารราชการเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบายในด้านการอํานวยความยุติธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ํา รวมทั้งการบูรณาการการทํางานกับหน่วยงานในระดับพื้นที่ในการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างการรับรู้ และนําบริการงานยุติธรรมไปสู่ประชาชน ทั้งนี้ ความสําเร็จในการขับเคลื่อนงานของกระทรวงยุติธรรมจะเกิดขึ้นได้ จําเป็นจะต้องเข้าถึงบทบาทหน้าที่ในมิติด้านการให้บริการประชาชนอย่างแท้จริง
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มอบนโยบายการทำงานให้สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2561 รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มอบนโยบายการทํางานให้สํานักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมตรวจเยี่ยม พร้อมทั้งมอบนโยบายการดําเนินงานแก่สํานักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๖.๐๐ น. พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมตรวจเยี่ยม พร้อมทั้งมอบนโยบายการดําเนินงานแก่สํานักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วยผู้บริหาร และหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม เข้าร่วมประชุมฯ ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม ๑ ชั้น ๙ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ โดยปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้นําเสนอแนวทางการดําเนินงานที่สําคัญของสํานักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม อาทิ การขับเคลื่อนนโยบายลดความเหลื่อมล้ําในการเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชน โดยพัฒนากลไกในระดับภูมิภาค ซึ่งมีกรอบแนวคิดในการจัดโครงสร้างสํานักงานยุติธรรมจังหวัด เป็นหน่วยงานภูมิภาคลักษณะ One Roof เพื่อลดความซ้ําซ้อนและกํากับทิศทางในการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายสําคัญในการลดความเหลื่อมล้ําและช่วยเหลือประชาชน พร้อมทั้งนําเสนอการเพิ่มประสิทธิภาพการช่วยเหลือประชาชนให้เข้าถึงความยุติธรรม ผ่านบริการ “กองทุนยุติธรรม” ซึ่งได้ลดระยะเวลาในการพิจารณาคําขอรับความช่วยเหลือเงินกองทุนยุติธรรม เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการด้านงานยุติธรรมที่รวดเร็วยิ่งขึ้น รวมทั้งการขับเคลื่อนนโยบายคืนคนดีสู่สังคม โดยมุ่งให้ความช่วยเหลือและส่งเสริมด้านอาชีพ แก่ผู้ที่ผ่านการพัฒนาพฤตินิสัยจากกรมราชทัณฑ์ กรมคุมประพฤติ และกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน โดยประสานความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนสังคมในการเชื่อมโยงตลาดแรงงาน และภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้กลุ่มคนดังกล่าวมีงานทํา มีรายได้ พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน และไม่หวนกลับไปกระทําความผิดซ้ําอีก นอกจากนี้ ยังได้นําเสนอแนวทางการนําระบบ Cloud Computing ของกระทรวงยุติธรรม ในการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม เพื่อยกระดับการบริการประชาชน โอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ให้แนวทางในการบริหารงานของ สํานักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม พร้อมทั้งเน้นย้ําการดําเนินงานในประเด็นต่าง ๆ อาทิ การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลการจัดโครงสร้างของสํานักงานยุติธรรมจังหวัด โดยให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการบริหารราชการเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบายในด้านการอํานวยความยุติธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ํา รวมทั้งการบูรณาการการทํางานกับหน่วยงานในระดับพื้นที่ในการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างการรับรู้ และนําบริการงานยุติธรรมไปสู่ประชาชน ทั้งนี้ ความสําเร็จในการขับเคลื่อนงานของกระทรวงยุติธรรมจะเกิดขึ้นได้ จําเป็นจะต้องเข้าถึงบทบาทหน้าที่ในมิติด้านการให้บริการประชาชนอย่างแท้จริง
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/9478
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมช.กนกวรรณ ชื่นชม สช.หนุนมาตรการช่วยเหลือโรงเรียนเอกชนเต็มที่ หวังฝ่าวิกฤตโควิดไปด้วยกัน [กระทรวงศึกษาธิการ]
วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม 2563 รมช.กนกวรรณ ชื่นชม สช.หนุนมาตรการช่วยเหลือโรงเรียนเอกชนเต็มที่ หวังฝ่าวิกฤตโควิดไปด้วยกัน [กระทรวงศึกษาธิการ] รมช.กนกวรรณ ชื่นชม สช.หนุนมาตรการช่วยเหลือโรงเรียนเอกชนเต็มที่ ทั้งสินเชื่อเสริมสภาพคล่อง-งดดอกเบี้ยกองทุนฯ-ลงทะเบียนรับเงินทดแทนเยียวยาต่าง ๆ หวังฝ่าวิกฤตโควิดไปด้วยกัน นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า จากการที่ได้มอบนโยบายให้ นายอรรถพล ตรึกตรอง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เร่งให้ความช่วยเหลือการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนทั้งในระบบและนอกระบบ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ทําให้โรงเรียนไม่สามารถเปิดทําการเรียนการสอนได้ตามปกติ แต่ในขณะเดียวกันยังคงต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่าย และเงินเดือนครู บุคลากร เช่นเดิมนั้น ขณะนี้ได้รับรายงานความก้าวหน้าในการดําเนินงานหลายส่วนแล้ว รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ต้องขอขอบคุณทาง สช.ที่นํานโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในการประชุมหารือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตลอดจนทําความเข้าใจในกระบวนการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขต่าง ๆ ให้ครู บุคลากร และโรงเรียนและสถานศึกษาเอกชน ได้รับทราบและเข้าถึงการรับสิทธิประโยชน์ที่พึงมีพึงตามมาตรการของรัฐบาลและหน่วยงานต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องและทันตามกรอบระยะเวลา โดยเฉพาะการหารือร่วมกับสํานักงานกองทุนสงเคราะห์ เพื่อหามาตรการบรรเทาความเดือดร้อน และเสริมสภาพคล่องของโรงเรียนและสถานศึกษาเอกชน ใน 2 ส่วน คือ การงดคิดดอกเบี้ยและค่าปรับสินเชื่อเพื่อสวัสดิการ (กองทุนเลี้ยงชีพ) ลูกหนี้เดิม เป็นเวลา 6 เดือน (เดือนพฤษภาคม - ตุลาคม 2563) และลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สินเชื่อเพื่อสวัสดิการ เหลือ 4% ต่อปี ในโครงการที่ 3-4 โดยมีผลอัตโนมัติ พร้อมจัดตั้งสินเชื่อเพื่อสวัสดิการ (เงินทุนเลี้ยงชีพ) โครงการ 5 เพื่อขยายสิทธิ์ให้กับสมาชิกที่มีอายุงาน 5 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี ได้มีสิทธิ์กู้สินเชื่อ ร้อยละ 90 ของเงินสะสม (3%) ส่วนสมาชิกที่มีอายุงาน 10 ปีขึ้นไป กู้ได้ร้อยละ 90 ของเงินสะสมและเงินสมทบ (12%) ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป “มาตรการจัดตั้งสินเชื่อเพื่อสวัสดิการ โครงการ 5 เกิดจากแนวคิดที่ต้องการจะขยายสิทธิ์ให้กับสมาชิกที่มีอายุงาน 5 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี ได้มีสิทธิ์กู้สินเชื่อเพื่อสวัสดิการของตนเอง เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของครูและบุคลากรใหม่ ๆ ในขณะเดียวกัน ครูที่เป็นสมาชิกมานานแล้ว ก็จะได้แบ่งเบาภาระในการชําระค่างวดที่น้อยลงด้วย นอกจากนี้ ยังได้บูรณาการทํางานร่วมกับ ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงแรงงาน สํานักงานประกันสังคม และผู้แทนสมาคมโรงเรียนเอกชน เพื่อชี้แจงทําความเข้าใจเกี่ยวกับการยื่นขอรับเงินทดแทนในกรณีว่างงาน เนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย อันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พ.ศ. 2563 เพื่อรับเงินทดแทนจากกองทุนประกันสังคม 62% ของค่าจ้าง เป็นเวลา 90 วัน (3 เดือน) ซึ่งมีบุคลากรโรงเรียนเอกชน ที่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จํานวนประมาณ 100,000 คน รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอํานวยความสะดวกแก่บุคลากรโรงเรียนเอกชน ในการลงทะเบียนเพื่อรับเงินเยียวยา 5,000 บาทต่อเดือน ตามมาตรการของรัฐบาล สําหรับดูแลและเยียวยาแรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ ที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม ทางเว็บไซต์เราไม่ทิ้งกัน เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนจากผลกระทบโรคติดเชื้อ COVID-19 ด้วย” รมช.ศึกษาธิการ กล่าว
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมช.กนกวรรณ ชื่นชม สช.หนุนมาตรการช่วยเหลือโรงเรียนเอกชนเต็มที่ หวังฝ่าวิกฤตโควิดไปด้วยกัน [กระทรวงศึกษาธิการ] วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม 2563 รมช.กนกวรรณ ชื่นชม สช.หนุนมาตรการช่วยเหลือโรงเรียนเอกชนเต็มที่ หวังฝ่าวิกฤตโควิดไปด้วยกัน [กระทรวงศึกษาธิการ] รมช.กนกวรรณ ชื่นชม สช.หนุนมาตรการช่วยเหลือโรงเรียนเอกชนเต็มที่ ทั้งสินเชื่อเสริมสภาพคล่อง-งดดอกเบี้ยกองทุนฯ-ลงทะเบียนรับเงินทดแทนเยียวยาต่าง ๆ หวังฝ่าวิกฤตโควิดไปด้วยกัน นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า จากการที่ได้มอบนโยบายให้ นายอรรถพล ตรึกตรอง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เร่งให้ความช่วยเหลือการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนทั้งในระบบและนอกระบบ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ทําให้โรงเรียนไม่สามารถเปิดทําการเรียนการสอนได้ตามปกติ แต่ในขณะเดียวกันยังคงต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่าย และเงินเดือนครู บุคลากร เช่นเดิมนั้น ขณะนี้ได้รับรายงานความก้าวหน้าในการดําเนินงานหลายส่วนแล้ว รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ต้องขอขอบคุณทาง สช.ที่นํานโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในการประชุมหารือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตลอดจนทําความเข้าใจในกระบวนการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขต่าง ๆ ให้ครู บุคลากร และโรงเรียนและสถานศึกษาเอกชน ได้รับทราบและเข้าถึงการรับสิทธิประโยชน์ที่พึงมีพึงตามมาตรการของรัฐบาลและหน่วยงานต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องและทันตามกรอบระยะเวลา โดยเฉพาะการหารือร่วมกับสํานักงานกองทุนสงเคราะห์ เพื่อหามาตรการบรรเทาความเดือดร้อน และเสริมสภาพคล่องของโรงเรียนและสถานศึกษาเอกชน ใน 2 ส่วน คือ การงดคิดดอกเบี้ยและค่าปรับสินเชื่อเพื่อสวัสดิการ (กองทุนเลี้ยงชีพ) ลูกหนี้เดิม เป็นเวลา 6 เดือน (เดือนพฤษภาคม - ตุลาคม 2563) และลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สินเชื่อเพื่อสวัสดิการ เหลือ 4% ต่อปี ในโครงการที่ 3-4 โดยมีผลอัตโนมัติ พร้อมจัดตั้งสินเชื่อเพื่อสวัสดิการ (เงินทุนเลี้ยงชีพ) โครงการ 5 เพื่อขยายสิทธิ์ให้กับสมาชิกที่มีอายุงาน 5 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี ได้มีสิทธิ์กู้สินเชื่อ ร้อยละ 90 ของเงินสะสม (3%) ส่วนสมาชิกที่มีอายุงาน 10 ปีขึ้นไป กู้ได้ร้อยละ 90 ของเงินสะสมและเงินสมทบ (12%) ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป “มาตรการจัดตั้งสินเชื่อเพื่อสวัสดิการ โครงการ 5 เกิดจากแนวคิดที่ต้องการจะขยายสิทธิ์ให้กับสมาชิกที่มีอายุงาน 5 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี ได้มีสิทธิ์กู้สินเชื่อเพื่อสวัสดิการของตนเอง เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของครูและบุคลากรใหม่ ๆ ในขณะเดียวกัน ครูที่เป็นสมาชิกมานานแล้ว ก็จะได้แบ่งเบาภาระในการชําระค่างวดที่น้อยลงด้วย นอกจากนี้ ยังได้บูรณาการทํางานร่วมกับ ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงแรงงาน สํานักงานประกันสังคม และผู้แทนสมาคมโรงเรียนเอกชน เพื่อชี้แจงทําความเข้าใจเกี่ยวกับการยื่นขอรับเงินทดแทนในกรณีว่างงาน เนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย อันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พ.ศ. 2563 เพื่อรับเงินทดแทนจากกองทุนประกันสังคม 62% ของค่าจ้าง เป็นเวลา 90 วัน (3 เดือน) ซึ่งมีบุคลากรโรงเรียนเอกชน ที่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จํานวนประมาณ 100,000 คน รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอํานวยความสะดวกแก่บุคลากรโรงเรียนเอกชน ในการลงทะเบียนเพื่อรับเงินเยียวยา 5,000 บาทต่อเดือน ตามมาตรการของรัฐบาล สําหรับดูแลและเยียวยาแรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ ที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม ทางเว็บไซต์เราไม่ทิ้งกัน เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนจากผลกระทบโรคติดเชื้อ COVID-19 ด้วย” รมช.ศึกษาธิการ กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/30861
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. จับมือจังหวัดนำร่อง ประกาศเจตนารมณ์จังหวัดปลอดขอทาน
วันจันทร์ที่ 7 มกราคม 2562 พม. จับมือจังหวัดนําร่อง ประกาศเจตนารมณ์จังหวัดปลอดขอทาน พม. จับมือจังหวัดนําร่อง ประกาศเจตนารมณ์จังหวัดปลอดขอทาน วันนี้ (7 ม.ค. 62) เวลา 13.30 น.พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.)เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการควบคุมการขอทาน ครั้งที่ 1/2562 ณ ห้องประชุมชั้น 8 อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สะพานขาว กรุงเทพฯ พลเอก อนันตพรกล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการควบคุมการขอทาน ครั้งที่ 1/2562 เป็นการติดตาม ผลการดําเนินงานที่ผ่านมา ใน 3 ประเด็นสําคัญ ได้แก่ 1) ผลการขับเคลื่อนงานสําคัญของจังหวัด ปี 2561 2) ผลการอบรมพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 ประจําปี 2561 รุ่นที่ 1 เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานในการควบคุม คุ้มครอง และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ทําการขอทาน และ 3) ผลการขับเคลื่อนการดําเนินงานจังหวัดปลอดขอทาน โดยในปี 2562 กระทรวง พม. ได้กําหนดให้นโยบายจังหวัดปลอดขอทาน เป็นนโยบายเร่งด่วน (Flagship Project) ที่ต้องเร่งดําเนินการ โดยกําหนดพื้นที่นําร่องจํานวน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสิงห์บุรี ปราจีนบุรี ลําพูน พัทลุง บุรีรัมย์ และสุโขทัย พร้อมทั้งมีจังหวัดที่ร่วมประกาศเจตนารมณ์จังหวัดปลอดขอทานอีก 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตรัง บึงกาฬ นครพนม ปัตตานี พังงา น่าน เพชรบูรณ์ แพร่ ราชบุรี แม่ฮ่องสอน และหนองบัวลําภู ทั้งนี้ สําหรับจังหวัดอื่นๆ ให้ดําเนินการรณรงค์ประชาสัมพันธ์การดําเนินงานอย่างจริงจัง เพื่อให้มีผู้ทําการขอทานลดลงอย่างน้อยร้อยละ 10 พลเอก อนันตพรกล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณาเห็นชอบการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการควบคุม การขอทาน กรุงเทพมหานคร เพื่อให้เกิดการบูรณาการดําเนินงานร่วมกันในการควบคุม คุ้มครอง และพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้ทําการขอทาน ทั้งในระดับนโยบายและการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นเอกภาพ "กระทรวง พม. พร้อมขับลื่อนการดําเนินงานตามแผนขับเคลื่อนการควบคุมการขอทาน ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2562–2564 ร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และชุมชนท้องถิ่น ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม พร้อมทั้งพัฒนาและส่งเสริมผู้แสดงความสามารถอย่างมีศักยภาพ สู่คุณภาพชีวิตที่ดี ให้สามารถพึ่งพาตนเองและดํารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ต่อไป”พลเอก อนันตพรกล่าวในตอนท้าย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. จับมือจังหวัดนำร่อง ประกาศเจตนารมณ์จังหวัดปลอดขอทาน วันจันทร์ที่ 7 มกราคม 2562 พม. จับมือจังหวัดนําร่อง ประกาศเจตนารมณ์จังหวัดปลอดขอทาน พม. จับมือจังหวัดนําร่อง ประกาศเจตนารมณ์จังหวัดปลอดขอทาน วันนี้ (7 ม.ค. 62) เวลา 13.30 น.พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.)เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการควบคุมการขอทาน ครั้งที่ 1/2562 ณ ห้องประชุมชั้น 8 อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สะพานขาว กรุงเทพฯ พลเอก อนันตพรกล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการควบคุมการขอทาน ครั้งที่ 1/2562 เป็นการติดตาม ผลการดําเนินงานที่ผ่านมา ใน 3 ประเด็นสําคัญ ได้แก่ 1) ผลการขับเคลื่อนงานสําคัญของจังหวัด ปี 2561 2) ผลการอบรมพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 ประจําปี 2561 รุ่นที่ 1 เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานในการควบคุม คุ้มครอง และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ทําการขอทาน และ 3) ผลการขับเคลื่อนการดําเนินงานจังหวัดปลอดขอทาน โดยในปี 2562 กระทรวง พม. ได้กําหนดให้นโยบายจังหวัดปลอดขอทาน เป็นนโยบายเร่งด่วน (Flagship Project) ที่ต้องเร่งดําเนินการ โดยกําหนดพื้นที่นําร่องจํานวน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสิงห์บุรี ปราจีนบุรี ลําพูน พัทลุง บุรีรัมย์ และสุโขทัย พร้อมทั้งมีจังหวัดที่ร่วมประกาศเจตนารมณ์จังหวัดปลอดขอทานอีก 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตรัง บึงกาฬ นครพนม ปัตตานี พังงา น่าน เพชรบูรณ์ แพร่ ราชบุรี แม่ฮ่องสอน และหนองบัวลําภู ทั้งนี้ สําหรับจังหวัดอื่นๆ ให้ดําเนินการรณรงค์ประชาสัมพันธ์การดําเนินงานอย่างจริงจัง เพื่อให้มีผู้ทําการขอทานลดลงอย่างน้อยร้อยละ 10 พลเอก อนันตพรกล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณาเห็นชอบการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการควบคุม การขอทาน กรุงเทพมหานคร เพื่อให้เกิดการบูรณาการดําเนินงานร่วมกันในการควบคุม คุ้มครอง และพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้ทําการขอทาน ทั้งในระดับนโยบายและการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นเอกภาพ "กระทรวง พม. พร้อมขับลื่อนการดําเนินงานตามแผนขับเคลื่อนการควบคุมการขอทาน ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2562–2564 ร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และชุมชนท้องถิ่น ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม พร้อมทั้งพัฒนาและส่งเสริมผู้แสดงความสามารถอย่างมีศักยภาพ สู่คุณภาพชีวิตที่ดี ให้สามารถพึ่งพาตนเองและดํารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ต่อไป”พลเอก อนันตพรกล่าวในตอนท้าย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/17973
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีร่วมปักธง เข้มกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ สู่ทศวรรษ 2 พร้อมเยี่ยมชมบูธนิทรรศการของกระทรวงสาธารณสุข
วันอังคารที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561 นายกรัฐมนตรีร่วมปักธง เข้มกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ สู่ทศวรรษ 2 พร้อมเยี่ยมชมบูธนิทรรศการของกระทรวงสาธารณสุข นายกรัฐมนตรีปักธง เข้มพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2 ปกป้องเยาวชน นักดื่มหน้าใหม่ ให้ห่างไกล ลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ วันนี้ (13 กุมภาพันธ์ 2561) เวลา 08.45 น. บริเวณโถงกลาง ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ร่วมปักธงแสดงสัญลักษณ์ความรัก ความห่วงใย และความปรารถนาดี จากรัฐบาลสู่ เยาวชนและสังคม ผ่านกิจกรรม “1 ทศวรรษ พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551” โดยมีพลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี และศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นําเยี่ยมชมบูธนิทรรศการ โอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวรายงานว่า พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 จะมีผลใช้บังคับครบ 10 ปี ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 นี้ และก้าวสู่ทศวรรษที่ 2 ของพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 รัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขมีเป้าหมายที่จะเพิ่มความเข้มในการปกป้องเด็กและนักดื่มหน้าใหม่ คือเยาวชนและสตรีที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มการดูแลรักษาผู้ติดแอลกอฮอลล์ ให้ลด ละ เลิก รวมถึงพัฒนากฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ให้ครอบคลุมและทันสมัยต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของปัจจุบันและในอนาคต ทั้งนี้ สําหรับมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผ่านมา เพื่อช่วยลดปัญหาและผลกระทบด้านสังคม เศรษฐกิจ ตลอดจนช่วยป้องกันเด็กและเยาวชนไทยให้ห่างไกล รู้เท่าทัน รวมทั้งตระหนักถึงพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ให้เข้าถึงได้โดยง่าย ซึ่งดําเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง เช่น ห้ามจําหน่ายในสถานที่ราชการ สถานศึกษาและสถานีขนส่ง เป็นต้น พร้อมห้ามจําหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเวลาอื่น นอกจากเวลา 11.00–14.00 น. และ 17.00 – 24.00 น. หากฝ่าฝืนมีโทษจําคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ห้ามจําหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่บุคคลซึ่งมีอายุต่ํากว่า 20 ปีบริบูรณ์ มีโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ จํากัดสถานที่ห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ห้ามลดราคาเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการขาย และห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อ เครื่องหมายของเครื่องดื่ม อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณ ชักจูงให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม หากฝ่าฝืนมีโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้ทดลองเดินในอุปกรณ์ การตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ที่กระทรวงสาธารณสุขนํามาจัดนิทรรศการเพื่อวัดประสิทธิภาพการทรงตัว พร้อมกล่าวว่า แอลกอฮอล์เป็นปัญหาหลักของสังคมไทย ทําให้เกิดปัญหาอย่างอื่นตามมาเช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์ ซึ่งพระราชบัญญัติควบคุมฯ ดังกล่าว จะช่วยลดความรุนแรงในสังคม นําไปสู่การลดอุบัติเหตุทางรถยนต์และอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นได้ พร้อมกันนี้กลุ่มเยาวชนและนักเรียนได้มอบช่อดอกกุหลาบสีขาวเพื่อเป็นกําลังใจให้แก่นายกรัฐมนตรี เนื่องในเดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนแห่งความรักด้วย ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณและขอให้เป็นเด็กดีตั้งใจเรียน อนึ่ง ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กระทรวงสาธารณสุข 02-590-1401-2 หรือ www.pr.moph.go.th ........................................................................... กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีร่วมปักธง เข้มกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ สู่ทศวรรษ 2 พร้อมเยี่ยมชมบูธนิทรรศการของกระทรวงสาธารณสุข วันอังคารที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561 นายกรัฐมนตรีร่วมปักธง เข้มกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ สู่ทศวรรษ 2 พร้อมเยี่ยมชมบูธนิทรรศการของกระทรวงสาธารณสุข นายกรัฐมนตรีปักธง เข้มพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2 ปกป้องเยาวชน นักดื่มหน้าใหม่ ให้ห่างไกล ลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ วันนี้ (13 กุมภาพันธ์ 2561) เวลา 08.45 น. บริเวณโถงกลาง ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ร่วมปักธงแสดงสัญลักษณ์ความรัก ความห่วงใย และความปรารถนาดี จากรัฐบาลสู่ เยาวชนและสังคม ผ่านกิจกรรม “1 ทศวรรษ พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551” โดยมีพลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี และศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นําเยี่ยมชมบูธนิทรรศการ โอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวรายงานว่า พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 จะมีผลใช้บังคับครบ 10 ปี ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 นี้ และก้าวสู่ทศวรรษที่ 2 ของพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 รัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขมีเป้าหมายที่จะเพิ่มความเข้มในการปกป้องเด็กและนักดื่มหน้าใหม่ คือเยาวชนและสตรีที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มการดูแลรักษาผู้ติดแอลกอฮอลล์ ให้ลด ละ เลิก รวมถึงพัฒนากฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ให้ครอบคลุมและทันสมัยต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของปัจจุบันและในอนาคต ทั้งนี้ สําหรับมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผ่านมา เพื่อช่วยลดปัญหาและผลกระทบด้านสังคม เศรษฐกิจ ตลอดจนช่วยป้องกันเด็กและเยาวชนไทยให้ห่างไกล รู้เท่าทัน รวมทั้งตระหนักถึงพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ให้เข้าถึงได้โดยง่าย ซึ่งดําเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง เช่น ห้ามจําหน่ายในสถานที่ราชการ สถานศึกษาและสถานีขนส่ง เป็นต้น พร้อมห้ามจําหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเวลาอื่น นอกจากเวลา 11.00–14.00 น. และ 17.00 – 24.00 น. หากฝ่าฝืนมีโทษจําคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ห้ามจําหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่บุคคลซึ่งมีอายุต่ํากว่า 20 ปีบริบูรณ์ มีโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ จํากัดสถานที่ห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ห้ามลดราคาเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการขาย และห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อ เครื่องหมายของเครื่องดื่ม อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณ ชักจูงให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม หากฝ่าฝืนมีโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้ทดลองเดินในอุปกรณ์ การตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ที่กระทรวงสาธารณสุขนํามาจัดนิทรรศการเพื่อวัดประสิทธิภาพการทรงตัว พร้อมกล่าวว่า แอลกอฮอล์เป็นปัญหาหลักของสังคมไทย ทําให้เกิดปัญหาอย่างอื่นตามมาเช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์ ซึ่งพระราชบัญญัติควบคุมฯ ดังกล่าว จะช่วยลดความรุนแรงในสังคม นําไปสู่การลดอุบัติเหตุทางรถยนต์และอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นได้ พร้อมกันนี้กลุ่มเยาวชนและนักเรียนได้มอบช่อดอกกุหลาบสีขาวเพื่อเป็นกําลังใจให้แก่นายกรัฐมนตรี เนื่องในเดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนแห่งความรักด้วย ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณและขอให้เป็นเด็กดีตั้งใจเรียน อนึ่ง ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กระทรวงสาธารณสุข 02-590-1401-2 หรือ www.pr.moph.go.th ........................................................................... กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/10055
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไวรัสโควิด-19 สามารถติดต่อทางกระแสเลือดได้หรือไม่ ??
วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน 2563 ไวรัสโควิด-19 สามารถติดต่อทางกระแสเลือดได้หรือไม่ ?? ไวรัสโควิด-19 ติดต่อทางกระแสเลือดได้หรือไม่ ?? Q : ไวรัสโควิด-19 สามารถติดต่อทางกระแสเลือดได้หรือไม่ ?? A : ที่ผ่านมาพบว่าเชื้อไวรัสฯ มีการตรวจพบในเลือด แต่ยังไม่มีรายงานการติดต่อโดยการให้เลือดแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามกลุ่มเสี่ยงที่ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว ควรงดบริจาคเลือดอย่างน้อย 28 วัน
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไวรัสโควิด-19 สามารถติดต่อทางกระแสเลือดได้หรือไม่ ?? วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน 2563 ไวรัสโควิด-19 สามารถติดต่อทางกระแสเลือดได้หรือไม่ ?? ไวรัสโควิด-19 ติดต่อทางกระแสเลือดได้หรือไม่ ?? Q : ไวรัสโควิด-19 สามารถติดต่อทางกระแสเลือดได้หรือไม่ ?? A : ที่ผ่านมาพบว่าเชื้อไวรัสฯ มีการตรวจพบในเลือด แต่ยังไม่มีรายงานการติดต่อโดยการให้เลือดแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามกลุ่มเสี่ยงที่ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว ควรงดบริจาคเลือดอย่างน้อย 28 วัน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/30051
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​กกจ. เผย จะไปทำงานในเกาหลี ต้องตรวจสุขภาพก่อนขอวีซ่าและกักตัว 14 วันเมื่อไปถึง [กระทรวงแรงงาน]
วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม 2563 ​กกจ. เผย จะไปทํางานในเกาหลี ต้องตรวจสุขภาพก่อนขอวีซ่าและกักตัว 14 วันเมื่อไปถึง [กระทรวงแรงงาน] ​กกจ. เผย จะไปทํางานในเกาหลี ต้องตรวจสุขภาพก่อนขอวีซ่าและกักตัว 14 วันเมื่อไปถึง นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน เผย สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจําประเทศไทย แจ้งเพิ่มเติมเอกสารเพื่อประกอบการยื่นขอตรวจลงตรา (วีซ่า) ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) แก่แรงงานต่างชาติที่จะเข้าไปทํางานในสาธารณรัฐเกาหลี ดังนี้ 1.ใบรับรองแพทย์ (Medical Certificate) ที่มีระยะเวลาไม่เกิน 48 ชั่วโมง ในวันยื่นคําร้องขอวีซ่านอกเหนือจากหนังสือรับรองการตรวจสุขภาพ แบบ ค ตามประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง การตรวจสุขภาพคนหางานที่จะไปทํางานต่างประเทศ ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2560 2.แบบรายงานสุขภาพ (Health Condition Report Form) และหนังสือแสดงความยินยอมการกักตนเอง โดยคนหางานต้องเข้ารับการสัมภาษณ์เกี่ยวกับสุขภาพ พร้อมลงลายมือชื่อรับรองตนเองในวันรับวีซ่า อธิบดีกรมการจัดหางานกล่าวเพิ่มเติมว่า สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจําประเทศไทย จะใช้เวลาพิจารณาออกวีซ่า ไม่น้อยกว่า 14 วัน ตามมาตรการเฝ้าระวัง และขอให้แรงงานไทยตรวจสุขภาพตามที่สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจําประเทศไทย ระบุไว้ ซึ่งหากสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ คลี่คลายลงหรือเข้าสู่ภาวะปกติ กรมการจัดหางานจะแจ้งยกเลิกการตรวจสุขภาพแรงงานไทยตามรายการดังกล่าวให้ทราบอีกครั้ง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ โทร.022456706 สํานักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด และสํานักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​กกจ. เผย จะไปทำงานในเกาหลี ต้องตรวจสุขภาพก่อนขอวีซ่าและกักตัว 14 วันเมื่อไปถึง [กระทรวงแรงงาน] วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม 2563 ​กกจ. เผย จะไปทํางานในเกาหลี ต้องตรวจสุขภาพก่อนขอวีซ่าและกักตัว 14 วันเมื่อไปถึง [กระทรวงแรงงาน] ​กกจ. เผย จะไปทํางานในเกาหลี ต้องตรวจสุขภาพก่อนขอวีซ่าและกักตัว 14 วันเมื่อไปถึง นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน เผย สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจําประเทศไทย แจ้งเพิ่มเติมเอกสารเพื่อประกอบการยื่นขอตรวจลงตรา (วีซ่า) ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) แก่แรงงานต่างชาติที่จะเข้าไปทํางานในสาธารณรัฐเกาหลี ดังนี้ 1.ใบรับรองแพทย์ (Medical Certificate) ที่มีระยะเวลาไม่เกิน 48 ชั่วโมง ในวันยื่นคําร้องขอวีซ่านอกเหนือจากหนังสือรับรองการตรวจสุขภาพ แบบ ค ตามประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง การตรวจสุขภาพคนหางานที่จะไปทํางานต่างประเทศ ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2560 2.แบบรายงานสุขภาพ (Health Condition Report Form) และหนังสือแสดงความยินยอมการกักตนเอง โดยคนหางานต้องเข้ารับการสัมภาษณ์เกี่ยวกับสุขภาพ พร้อมลงลายมือชื่อรับรองตนเองในวันรับวีซ่า อธิบดีกรมการจัดหางานกล่าวเพิ่มเติมว่า สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจําประเทศไทย จะใช้เวลาพิจารณาออกวีซ่า ไม่น้อยกว่า 14 วัน ตามมาตรการเฝ้าระวัง และขอให้แรงงานไทยตรวจสุขภาพตามที่สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจําประเทศไทย ระบุไว้ ซึ่งหากสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ คลี่คลายลงหรือเข้าสู่ภาวะปกติ กรมการจัดหางานจะแจ้งยกเลิกการตรวจสุขภาพแรงงานไทยตามรายการดังกล่าวให้ทราบอีกครั้ง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ โทร.022456706 สํานักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด และสํานักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/31396
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงดิจิทัลฯ ลงพื้นที่ “ศูนย์ดิจิทัลบ้านเดื่อ” หนุนชุมชนสร้างรายได้ผ่านระบบออนไลน์ เสริมเศรษฐกิจท้องถิ่น
วันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2561 กระทรวงดิจิทัลฯ ลงพื้นที่ “ศูนย์ดิจิทัลบ้านเดื่อ” หนุนชุมชนสร้างรายได้ผ่านระบบออนไลน์ เสริมเศรษฐกิจท้องถิ่น กระทรวงดิจิทัลฯ กระทรวงดิจิทัลฯ ส่งเสริมการใช้ดิจิทัลพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทุกชุมชนทั่วประเทศ พร้อมลงพื้นที่ดู“ศูนย์ดิจิทัลชุมชนบ้านเดื่อ” จ.หนองคาย สร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนใช้ประโยชน์เทคโนโลยีดิจิทัลยกระดับเศรษฐกิจในชุมชน นาวาอากาศเอก สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยว่า กระทรวงดิจิทัลฯ มีนโยบายส่งเสริมชุมชนให้มีแหล่งเรียนรู้ที่เรียกว่า “ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน” ในทุกจังหวัดทั่วประเทศมาตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบัน และได้ยกระดับขึ้นเป็น “ศูนย์ดิจิทัลชุมชน” เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้สําหรับประชาชน ให้เข้าถึง เข้าใจ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ส่งเสริมการสร้างรายได้ สร้างอาชีพ รวมทั้งอํานวยความสะดวกในการเข้าถึงบริการภาครัฐให้กับชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ และพร้อมก้าวสู่สังคมยุค “ไทยแลนด์ 4.0” สําหรับจังหวัดหนองคาย ได้รับการติดตั้งศูนย์ดิจิทัลชุมชน รวม 17 ศูนย์ ซึ่งศูนย์ดิจิทัลชุมชนบ้านเดื่อ เป็น 1 ใน 17 ศูนย์ จัดตั้งขึ้นในปี 2554 โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กลุ่มประชาชนในชุมชนและผู้นําชุมชน ได้ตระหนักถึงความสําคัญของเทคโนโลยีดิจิทัลซึ่งเป็นส่วนสําคัญในการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดในภาพรวม จึงได้มีการบํารุงรักษาอุปกรณ์ให้สามารถใช้งานได้อย่างสมบูรณ์จนถึงปัจจุบัน ศูนย์ดิจิทัลชุมชนบ้านเดื่อ มีบทบาทสําคัญต่อชุมชนหลายด้าน ทั้งเป็นศูนย์ฝึกอบรมการประกอบอาชีพของประชาชนในชุมชน โดยมีวิทยากรเป็นผู้ดูแลศูนย์ฯ ดําเนินงานภายใต้การสนับสนุนของเทศบาลตําบลบ้านเดื่อ ซึ่งได้มีการส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงการสื่อสารออนไลน์อย่างทั่วถึง ด้วยการเปิดสัญญาณฟรีไวไฟ (Free Wi-Fi) ให้ประชาชนได้ใช้ และมีการสนับสนุนการเชื่อมโยงการให้บริการทางการแพทย์ผ่านระบบออนไลน์ ระหว่างโรงพยาบาลชุมชนย่อยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยมีสถานพยาบาลตั้งอยู่บริเวณเดียวกับศูนย์ฯ อีกทั้งมีการจัดทําคิวอาร์โค้ด (QR CODE) ให้กับผู้ประกอบการนําเสนอเรื่องราว และวิธีการขายสินค้าเกษตรอินทรีย์ ผ่านช่องทางต่างๆ อาทิ เฟซบุ๊ก และช่องทางอื่นๆ ตลอดจนเป็นศูนย์ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เช่น การขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์ สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนหลายล้านบาท อาทิ การจําหน่ายข้าวไรท์เบอรี่เลิศรัตน์ เป็นต้น นอกจากนี้ ชุมชนบ้านเดื่อ กําลังพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนไปจนถึงการพัฒนากลุ่มชาวบ้านในการทําปลาแดดเดียว จากปลานิลแม่น้ําโขง เป็นต้น ทั้งนี้ ศูนย์ดิจิทัลชุมชนทั่วประเทศไม่เพียงแต่การสร้างประโยชน์ให้ประชาชนรู้เท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัลเท่านั้น แต่ยังสร้างประโยชน์ในการส่งเสริมให้เกิดระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระดับชุมชน ผลักดันให้เกิดรายได้ของผู้คนในพื้นที่ ยกระดับเศรษฐกิจชุมชน ส่งต่อไปยังการเป็นสังคมดิจิทัล ลดความเลื่อมล้ําอย่างเป็นรูปธรรม ********************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงดิจิทัลฯ ลงพื้นที่ “ศูนย์ดิจิทัลบ้านเดื่อ” หนุนชุมชนสร้างรายได้ผ่านระบบออนไลน์ เสริมเศรษฐกิจท้องถิ่น วันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2561 กระทรวงดิจิทัลฯ ลงพื้นที่ “ศูนย์ดิจิทัลบ้านเดื่อ” หนุนชุมชนสร้างรายได้ผ่านระบบออนไลน์ เสริมเศรษฐกิจท้องถิ่น กระทรวงดิจิทัลฯ กระทรวงดิจิทัลฯ ส่งเสริมการใช้ดิจิทัลพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทุกชุมชนทั่วประเทศ พร้อมลงพื้นที่ดู“ศูนย์ดิจิทัลชุมชนบ้านเดื่อ” จ.หนองคาย สร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนใช้ประโยชน์เทคโนโลยีดิจิทัลยกระดับเศรษฐกิจในชุมชน นาวาอากาศเอก สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยว่า กระทรวงดิจิทัลฯ มีนโยบายส่งเสริมชุมชนให้มีแหล่งเรียนรู้ที่เรียกว่า “ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน” ในทุกจังหวัดทั่วประเทศมาตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบัน และได้ยกระดับขึ้นเป็น “ศูนย์ดิจิทัลชุมชน” เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้สําหรับประชาชน ให้เข้าถึง เข้าใจ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ส่งเสริมการสร้างรายได้ สร้างอาชีพ รวมทั้งอํานวยความสะดวกในการเข้าถึงบริการภาครัฐให้กับชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ และพร้อมก้าวสู่สังคมยุค “ไทยแลนด์ 4.0” สําหรับจังหวัดหนองคาย ได้รับการติดตั้งศูนย์ดิจิทัลชุมชน รวม 17 ศูนย์ ซึ่งศูนย์ดิจิทัลชุมชนบ้านเดื่อ เป็น 1 ใน 17 ศูนย์ จัดตั้งขึ้นในปี 2554 โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กลุ่มประชาชนในชุมชนและผู้นําชุมชน ได้ตระหนักถึงความสําคัญของเทคโนโลยีดิจิทัลซึ่งเป็นส่วนสําคัญในการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดในภาพรวม จึงได้มีการบํารุงรักษาอุปกรณ์ให้สามารถใช้งานได้อย่างสมบูรณ์จนถึงปัจจุบัน ศูนย์ดิจิทัลชุมชนบ้านเดื่อ มีบทบาทสําคัญต่อชุมชนหลายด้าน ทั้งเป็นศูนย์ฝึกอบรมการประกอบอาชีพของประชาชนในชุมชน โดยมีวิทยากรเป็นผู้ดูแลศูนย์ฯ ดําเนินงานภายใต้การสนับสนุนของเทศบาลตําบลบ้านเดื่อ ซึ่งได้มีการส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงการสื่อสารออนไลน์อย่างทั่วถึง ด้วยการเปิดสัญญาณฟรีไวไฟ (Free Wi-Fi) ให้ประชาชนได้ใช้ และมีการสนับสนุนการเชื่อมโยงการให้บริการทางการแพทย์ผ่านระบบออนไลน์ ระหว่างโรงพยาบาลชุมชนย่อยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยมีสถานพยาบาลตั้งอยู่บริเวณเดียวกับศูนย์ฯ อีกทั้งมีการจัดทําคิวอาร์โค้ด (QR CODE) ให้กับผู้ประกอบการนําเสนอเรื่องราว และวิธีการขายสินค้าเกษตรอินทรีย์ ผ่านช่องทางต่างๆ อาทิ เฟซบุ๊ก และช่องทางอื่นๆ ตลอดจนเป็นศูนย์ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เช่น การขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์ สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนหลายล้านบาท อาทิ การจําหน่ายข้าวไรท์เบอรี่เลิศรัตน์ เป็นต้น นอกจากนี้ ชุมชนบ้านเดื่อ กําลังพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนไปจนถึงการพัฒนากลุ่มชาวบ้านในการทําปลาแดดเดียว จากปลานิลแม่น้ําโขง เป็นต้น ทั้งนี้ ศูนย์ดิจิทัลชุมชนทั่วประเทศไม่เพียงแต่การสร้างประโยชน์ให้ประชาชนรู้เท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัลเท่านั้น แต่ยังสร้างประโยชน์ในการส่งเสริมให้เกิดระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระดับชุมชน ผลักดันให้เกิดรายได้ของผู้คนในพื้นที่ ยกระดับเศรษฐกิจชุมชน ส่งต่อไปยังการเป็นสังคมดิจิทัล ลดความเลื่อมล้ําอย่างเป็นรูปธรรม ********************
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/9841
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธอส. แจ้งปิดให้บริการธุรกรรมทุกประเภทเป็นการชั่วคราว 12 – 13 ส.ค. 60 เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ
วันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม 2560 ธอส. แจ้งปิดให้บริการธุรกรรมทุกประเภทเป็นการชั่วคราว 12 – 13 ส.ค. 60 เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ ธอส.แจ้งปิดให้บริการธุรกรรมทุกประเภทเป็นการชั่วคราว ระหว่างวันที่ 12-13 สิงหาคม 2560 โดยสาขาในห้างสรรพสินค้าจะเปิดให้บริการตามปกติในวันจันทร์ที่ 14 สิงหาคม 2560 นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ธนาคารแจ้งปิดให้บริการธุรกรรมทุกประเภทเป็นการชั่วคราว ระหว่างวันที่ 12-13 สิงหาคม 2560 โดยสาขาในห้างสรรพสินค้าจะเปิดให้บริการตามปกติในวันจันทร์ที่ 14 สิงหาคม 2560 ทั้งนี้ สาขาทั่วประเทศรวมถึงการทําธุรกรรมผ่านตู้ชําระเงินกู้ (LRM) เงินกู้ตู้ฝากเงิน (CDM) ตู้ปรับสมุดบัญชี และ ATM ทั้งตู้ ธอส.และตู้ของธนาคารอื่นจะเริ่มให้บริการได้ตามปกติตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2560 เป็นต้นไป สําหรับช่วงเวลาปิดให้บริการดังกล่าว ลูกค้าที่ต้องการชําระหนี้เงินกู้ ธอส. สามารถใช้บริการได้ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสหรือตัวแทนชําระเงินอื่นๆ ได้ตามปกติ ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการธุรกรรมแบบดิจิทัลแก่ลูกค้ามากยิ่งขึ้น ธนาคารจึงขออภัยลูกค้าทุกท่านในความไม่สะดวกครั้งนี้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center) โทร 0-2645-9000 หรือ www.ghbank.co.th และ Facebook fanpage ธนาคารอาคารสงเคราะห์
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธอส. แจ้งปิดให้บริการธุรกรรมทุกประเภทเป็นการชั่วคราว 12 – 13 ส.ค. 60 เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ วันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม 2560 ธอส. แจ้งปิดให้บริการธุรกรรมทุกประเภทเป็นการชั่วคราว 12 – 13 ส.ค. 60 เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ ธอส.แจ้งปิดให้บริการธุรกรรมทุกประเภทเป็นการชั่วคราว ระหว่างวันที่ 12-13 สิงหาคม 2560 โดยสาขาในห้างสรรพสินค้าจะเปิดให้บริการตามปกติในวันจันทร์ที่ 14 สิงหาคม 2560 นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ธนาคารแจ้งปิดให้บริการธุรกรรมทุกประเภทเป็นการชั่วคราว ระหว่างวันที่ 12-13 สิงหาคม 2560 โดยสาขาในห้างสรรพสินค้าจะเปิดให้บริการตามปกติในวันจันทร์ที่ 14 สิงหาคม 2560 ทั้งนี้ สาขาทั่วประเทศรวมถึงการทําธุรกรรมผ่านตู้ชําระเงินกู้ (LRM) เงินกู้ตู้ฝากเงิน (CDM) ตู้ปรับสมุดบัญชี และ ATM ทั้งตู้ ธอส.และตู้ของธนาคารอื่นจะเริ่มให้บริการได้ตามปกติตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2560 เป็นต้นไป สําหรับช่วงเวลาปิดให้บริการดังกล่าว ลูกค้าที่ต้องการชําระหนี้เงินกู้ ธอส. สามารถใช้บริการได้ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสหรือตัวแทนชําระเงินอื่นๆ ได้ตามปกติ ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการธุรกรรมแบบดิจิทัลแก่ลูกค้ามากยิ่งขึ้น ธนาคารจึงขออภัยลูกค้าทุกท่านในความไม่สะดวกครั้งนี้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center) โทร 0-2645-9000 หรือ www.ghbank.co.th และ Facebook fanpage ธนาคารอาคารสงเคราะห์
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/5758
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​สธ.เตือนภัยเงียบ โรคซึมเศร้า ที่ครอบครัวต้องเฝ้าระวัง
วันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม 2560 ​สธ.เตือนภัยเงียบ โรคซึมเศร้า ที่ครอบครัวต้องเฝ้าระวัง กระทรวงสาธารณสุข กําชับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอสม. เร่งให้ความรู้ “โรคซึมเศร้า” ให้ประชาชนและครอบครัว สังเกตอาการ และรับคําปรึกษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน ประชาชนประเมินโรคซึมเศร้าด้วยตนเองทางเว็บไซต์กรมสุขภาพจิต แอปพลิเคชั่น smilehub กระทรวงสาธารณสุข กําชับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอสม. เร่งให้ความรู้ “โรคซึมเศร้า” ให้ประชาชนและครอบครัว สังเกตอาการ และรับคําปรึกษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้านประชาชนประเมินโรคซึมเศร้าด้วยตนเองทางเว็บไซต์กรมสุขภาพจิต แอปพลิเคชั่นsmilehubหรือปรึกษาสายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง วันนี้ (25 ธันวาคม 2560) นายแพทย์เจษฎา โชคดํารงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่าองค์การอนามัยโลก คาดการณ์ว่า ในปี2020โรคซึมเศร้าจะเป็นสาเหตุการสูญเสียปีสุขภาวะสูงเป็นอันดับ 2 รองจากโรคหัวใจหลอดเลือดโดยวัดจากปีสุขภาวะที่สูญเสียไปจากโรคและการบาดเจ็บของประชากร (Disability-Adjusted Life Years-DALYs)จากปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม สําหรับประเทศไทยถือเป็นปัญหาที่เฝ้าจับตามองอันดับ4เป็นเรื่องที่สังคมต้องให้ความสําคัญ เพราะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างมากเนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้หากมีอาการรุนแรงจะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย หรือมีชีวิตคล้ายคนพิการทางสมอง ไม่สามารถทํางานได้ กระทรวงสาธารณสุข ได้เร่งแก้ไขปัญหานี้มาโดยตลอด โดยกรมสุขภาพจิตได้ให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับโรคนี้แก่ประชาชน และเพิ่มการเข้าถึงบริการต่าง ๆ ทําให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสามารถเข้าถึงบริการได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 50 อย่างไรก็ดี ได้กําชับให้เจ้าสาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุข เร่งให้ความรู้ประชาชน ครอบครัว เพื่อให้สามารถสังเกตอาการและเฝ้าระวังความผิดปกติของตนเองหรือผู้ใกล้ชิด โดยเฉพาะผู้สูงอายุ วัยรุ่น ผู้มีโรคประจําตัว และส่งเข้ารับคําปรึกษากับเจ้าหน้าที่ นักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน นายแพทย์เจษฎากล่าวต่อว่า ในช่วงเทศกาลปีใหม่นี้ ขอให้ประชาชนใช้เวลากับครอบครัวอย่างมีอบอุ่น สร้างความสัมพันธ์ ความผูกพันในครอบครัว กลับไปอยู่กับพ่อแม่ ผู้สูงอายุ อย่าให้ท่านรู้สึกโดดเดี่ยวหรือถูกทอดทิ้ง นอกจากนี้ อาจใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นตัวช่วยสร้างความเข้มแข็งของสายใยครอบครัว เช่น ไลน์กลุ่มครอบครัว ซึ่งจะทําให้ผู้สูงอายุ ได้เห็นข้อมูลข่าวสารของลูกหลาน และข้อมูลอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ด้วย ด้านแพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในผู้ที่เริ่มมีอาการจะสามารถสังเกตตนเองได้ แต่หากมีอาการรุนแรง ครอบครัว ผู้ใกล้ชิด จะต้องช่วยกันสังเกตว่า มีอาการดังต่อไปนี้ 1.มีอารณ์ซึมเศร้า2.ความสนใจในกิจกรรมต่าง ๆ แทบทั้งหมดลดลงอย่างมาก 3.น้ําหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นมาก เบื่ออาหารหรือเจริญอาหารมาก 4.นอนไม่หลับหรือหลับมากเกินไป 5.กระวนกระวายอยู่ไม่สุขหรือเชื่องช้าลง 6.อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง 7.รู้สึกตนเองไร้ค่า 8.สมาธิลดลง ใจลอย หรือลังเลใจไปหมด 9.คิดเรื่องการตายหรือคิดอยากตายหากพบอาการในข้อ 1 หรือ 2 อย่างน้อย 1 ข้อหรือมีอาการ 5 ข้อหรือมากกว่าเป็นอยู่อยู่นาน 2 สัปดาห์ขึ้นไป และมีอาการตลอดเวลา แทบทุกวัน หมายถึงมีภาวะซึมเศร้า ควรได้รับบริการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ หรือพบแพทย์เพื่อการบําบัดรักษา ทั้งนี้ โรคนี้ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ส่วนใหญ่มาจากปัญหา “กาย จิต สังคม” ทางกาย เช่นผู้ป่วยมีความผิดปกติของระดับสารเคมีที่เซลล์สมองสร้างขึ้นเพื่อรักษาสมดุลย์ของอารมณ์มีประวัติโรคซึมเศร้าในครอบครัว ซึ่งการรักษาจะใช้ยาช่วยปรับระดับสารเคมีในสมอง ทางจิตใจ ผู้ป่วยจะมีความคิดด้านลบกับทุกสิ่ง ในการแก้ไขจะใช้พฤติกรรมบําบัดโดยนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ และทางสังคม จากปัญหาครอบครัว การทํางาน การเรียน ยาเสพติด เป็นต้น ประชาชนสามารถประเมินตนเองด้วยแบบประเมินโรคซึมเศร้าได้ ทางเว็บไซต์กรมสุขภาพจิต http://www.dmh.com/และแอปพลิเคชั่นsmilehubหรือปรึกษาสายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง *************************************** 25 ธันวาคม 2560
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​สธ.เตือนภัยเงียบ โรคซึมเศร้า ที่ครอบครัวต้องเฝ้าระวัง วันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม 2560 ​สธ.เตือนภัยเงียบ โรคซึมเศร้า ที่ครอบครัวต้องเฝ้าระวัง กระทรวงสาธารณสุข กําชับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอสม. เร่งให้ความรู้ “โรคซึมเศร้า” ให้ประชาชนและครอบครัว สังเกตอาการ และรับคําปรึกษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน ประชาชนประเมินโรคซึมเศร้าด้วยตนเองทางเว็บไซต์กรมสุขภาพจิต แอปพลิเคชั่น smilehub กระทรวงสาธารณสุข กําชับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอสม. เร่งให้ความรู้ “โรคซึมเศร้า” ให้ประชาชนและครอบครัว สังเกตอาการ และรับคําปรึกษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้านประชาชนประเมินโรคซึมเศร้าด้วยตนเองทางเว็บไซต์กรมสุขภาพจิต แอปพลิเคชั่นsmilehubหรือปรึกษาสายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง วันนี้ (25 ธันวาคม 2560) นายแพทย์เจษฎา โชคดํารงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่าองค์การอนามัยโลก คาดการณ์ว่า ในปี2020โรคซึมเศร้าจะเป็นสาเหตุการสูญเสียปีสุขภาวะสูงเป็นอันดับ 2 รองจากโรคหัวใจหลอดเลือดโดยวัดจากปีสุขภาวะที่สูญเสียไปจากโรคและการบาดเจ็บของประชากร (Disability-Adjusted Life Years-DALYs)จากปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม สําหรับประเทศไทยถือเป็นปัญหาที่เฝ้าจับตามองอันดับ4เป็นเรื่องที่สังคมต้องให้ความสําคัญ เพราะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างมากเนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้หากมีอาการรุนแรงจะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย หรือมีชีวิตคล้ายคนพิการทางสมอง ไม่สามารถทํางานได้ กระทรวงสาธารณสุข ได้เร่งแก้ไขปัญหานี้มาโดยตลอด โดยกรมสุขภาพจิตได้ให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับโรคนี้แก่ประชาชน และเพิ่มการเข้าถึงบริการต่าง ๆ ทําให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสามารถเข้าถึงบริการได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 50 อย่างไรก็ดี ได้กําชับให้เจ้าสาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุข เร่งให้ความรู้ประชาชน ครอบครัว เพื่อให้สามารถสังเกตอาการและเฝ้าระวังความผิดปกติของตนเองหรือผู้ใกล้ชิด โดยเฉพาะผู้สูงอายุ วัยรุ่น ผู้มีโรคประจําตัว และส่งเข้ารับคําปรึกษากับเจ้าหน้าที่ นักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน นายแพทย์เจษฎากล่าวต่อว่า ในช่วงเทศกาลปีใหม่นี้ ขอให้ประชาชนใช้เวลากับครอบครัวอย่างมีอบอุ่น สร้างความสัมพันธ์ ความผูกพันในครอบครัว กลับไปอยู่กับพ่อแม่ ผู้สูงอายุ อย่าให้ท่านรู้สึกโดดเดี่ยวหรือถูกทอดทิ้ง นอกจากนี้ อาจใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นตัวช่วยสร้างความเข้มแข็งของสายใยครอบครัว เช่น ไลน์กลุ่มครอบครัว ซึ่งจะทําให้ผู้สูงอายุ ได้เห็นข้อมูลข่าวสารของลูกหลาน และข้อมูลอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ด้วย ด้านแพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในผู้ที่เริ่มมีอาการจะสามารถสังเกตตนเองได้ แต่หากมีอาการรุนแรง ครอบครัว ผู้ใกล้ชิด จะต้องช่วยกันสังเกตว่า มีอาการดังต่อไปนี้ 1.มีอารณ์ซึมเศร้า2.ความสนใจในกิจกรรมต่าง ๆ แทบทั้งหมดลดลงอย่างมาก 3.น้ําหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นมาก เบื่ออาหารหรือเจริญอาหารมาก 4.นอนไม่หลับหรือหลับมากเกินไป 5.กระวนกระวายอยู่ไม่สุขหรือเชื่องช้าลง 6.อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง 7.รู้สึกตนเองไร้ค่า 8.สมาธิลดลง ใจลอย หรือลังเลใจไปหมด 9.คิดเรื่องการตายหรือคิดอยากตายหากพบอาการในข้อ 1 หรือ 2 อย่างน้อย 1 ข้อหรือมีอาการ 5 ข้อหรือมากกว่าเป็นอยู่อยู่นาน 2 สัปดาห์ขึ้นไป และมีอาการตลอดเวลา แทบทุกวัน หมายถึงมีภาวะซึมเศร้า ควรได้รับบริการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ หรือพบแพทย์เพื่อการบําบัดรักษา ทั้งนี้ โรคนี้ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ส่วนใหญ่มาจากปัญหา “กาย จิต สังคม” ทางกาย เช่นผู้ป่วยมีความผิดปกติของระดับสารเคมีที่เซลล์สมองสร้างขึ้นเพื่อรักษาสมดุลย์ของอารมณ์มีประวัติโรคซึมเศร้าในครอบครัว ซึ่งการรักษาจะใช้ยาช่วยปรับระดับสารเคมีในสมอง ทางจิตใจ ผู้ป่วยจะมีความคิดด้านลบกับทุกสิ่ง ในการแก้ไขจะใช้พฤติกรรมบําบัดโดยนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ และทางสังคม จากปัญหาครอบครัว การทํางาน การเรียน ยาเสพติด เป็นต้น ประชาชนสามารถประเมินตนเองด้วยแบบประเมินโรคซึมเศร้าได้ ทางเว็บไซต์กรมสุขภาพจิต http://www.dmh.com/และแอปพลิเคชั่นsmilehubหรือปรึกษาสายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง *************************************** 25 ธันวาคม 2560
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/8975
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รอง นรม. วิษณุฯ ส่งเสริมศักยภาพหน่วยงาน ใช้ระบบฐานข้อมูลองค์กรภาคประชาสังคมระดับประเทศอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ
วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 รอง นรม. วิษณุฯ ส่งเสริมศักยภาพหน่วยงาน ใช้ระบบฐานข้อมูลองค์กรภาคประชาสังคมระดับประเทศอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ รองนายกรัฐมนตรี นายวิษณุฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม (คสป.) ครั้งที่ 1/2563 ส่งเสริมศักยภาพหน่วยงาน ใช้ระบบฐานข้อมูลองค์กรภาคประชาสังคมระดับประเทศอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ วันนี้ (12 กุมภาพันธ์ 2563) เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม (คสป.) ครั้งที่ 1/2563 ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สรุปสาระสําคัญ ดังนี้ ที่ประชุมรับทราบคําสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 167/2562 ซึ่งมอบหมายให้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และนายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ ในคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม พร้อมทั้งรับทราบระบบฐานข้อมูลองค์กรภาคประชาสังคมระดับประเทศ ตามที่ได้มีการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบฐานข้อมูลทุติยภูมิด้านองค์กรภาคประชาสังคมระดับประเทศ ครั้งที่ 3/2561 เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2561 โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบระบบฐานข้อมูลองค์กรภาคประชาสังคมระดับประเทศ โดยฝ่ายเลขานุการฯ ได้ดําเนินการส่งเสริมศักยภาพหน่วยงานผู้ใช้งานระบบฐานข้อมูลองค์กรภาคประชาสังคมระดับประเทศ เพื่อให้เจ้าหน้าที่รับผิดชอบ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และสามารถใช้ระบบฐานข้อมูลองค์กรภาคประชาสังคมระดับประเทศได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งสามารถปรับปรุงบันทึกข้อมูลและรายงานผลการดําเนินงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งรับทราบร่างแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 - 2565) ตามที่การประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม ครั้งที่ 2/2561 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2561 มีมติเห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมและพัฒนาองค์กร ภาคประชาสังคม ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2561 - 2565) ก่อนเสนอสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณา ซึ่งฝ่ายเลขานุการฯ และคณะอนุกรรมการด้านแผนงานการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคมได้ปรับแก้ไขร่างแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 - 2565) โดยมีการปรับระยะเวลาการดําเนินงานของร่างแผนปฏิบัติการฯ ให้อยู่ในช่วง พ.ศ. 2563 - 2565 เพื่อให้สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 5 ปีแรก (พ.ศ. 2561 - 2565) และรายละเอียดอื่นตามความเห็นของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบในหลักการทบทวนร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม พ.ศ. .... โดยรองนายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ําให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการการทํางานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ นําข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ ไปพิจารณาดําเนินการปรับปรุงแก้ไขในเรื่องต่าง ๆ ที่ได้หารือ ก่อนนําเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาต่อไป ........................................ กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รอง นรม. วิษณุฯ ส่งเสริมศักยภาพหน่วยงาน ใช้ระบบฐานข้อมูลองค์กรภาคประชาสังคมระดับประเทศอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 รอง นรม. วิษณุฯ ส่งเสริมศักยภาพหน่วยงาน ใช้ระบบฐานข้อมูลองค์กรภาคประชาสังคมระดับประเทศอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ รองนายกรัฐมนตรี นายวิษณุฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม (คสป.) ครั้งที่ 1/2563 ส่งเสริมศักยภาพหน่วยงาน ใช้ระบบฐานข้อมูลองค์กรภาคประชาสังคมระดับประเทศอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ วันนี้ (12 กุมภาพันธ์ 2563) เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม (คสป.) ครั้งที่ 1/2563 ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สรุปสาระสําคัญ ดังนี้ ที่ประชุมรับทราบคําสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 167/2562 ซึ่งมอบหมายให้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และนายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ ในคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม พร้อมทั้งรับทราบระบบฐานข้อมูลองค์กรภาคประชาสังคมระดับประเทศ ตามที่ได้มีการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบฐานข้อมูลทุติยภูมิด้านองค์กรภาคประชาสังคมระดับประเทศ ครั้งที่ 3/2561 เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2561 โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบระบบฐานข้อมูลองค์กรภาคประชาสังคมระดับประเทศ โดยฝ่ายเลขานุการฯ ได้ดําเนินการส่งเสริมศักยภาพหน่วยงานผู้ใช้งานระบบฐานข้อมูลองค์กรภาคประชาสังคมระดับประเทศ เพื่อให้เจ้าหน้าที่รับผิดชอบ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และสามารถใช้ระบบฐานข้อมูลองค์กรภาคประชาสังคมระดับประเทศได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งสามารถปรับปรุงบันทึกข้อมูลและรายงานผลการดําเนินงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งรับทราบร่างแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 - 2565) ตามที่การประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม ครั้งที่ 2/2561 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2561 มีมติเห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมและพัฒนาองค์กร ภาคประชาสังคม ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2561 - 2565) ก่อนเสนอสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณา ซึ่งฝ่ายเลขานุการฯ และคณะอนุกรรมการด้านแผนงานการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคมได้ปรับแก้ไขร่างแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 - 2565) โดยมีการปรับระยะเวลาการดําเนินงานของร่างแผนปฏิบัติการฯ ให้อยู่ในช่วง พ.ศ. 2563 - 2565 เพื่อให้สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 5 ปีแรก (พ.ศ. 2561 - 2565) และรายละเอียดอื่นตามความเห็นของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบในหลักการทบทวนร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม พ.ศ. .... โดยรองนายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ําให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการการทํางานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ นําข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ ไปพิจารณาดําเนินการปรับปรุงแก้ไขในเรื่องต่าง ๆ ที่ได้หารือ ก่อนนําเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาต่อไป ........................................ กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/26448
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มหาดไทย เดินหน้าจัดทำแผนด้านการป้องกันปราบปรามการทุจริตยึดมั่นในหลักคุณธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมขับเคลื่อนพันธกิจ “มหาดไทยใสสะอาด”
วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2561 มหาดไทย เดินหน้าจัดทําแผนด้านการป้องกันปราบปรามการทุจริตยึดมั่นในหลักคุณธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมขับเคลื่อนพันธกิจ “มหาดไทยใสสะอาด” มหาดไทย เดินหน้าจัดทําแผนด้านการป้องกันปราบปรามการทุจริตยึดมั่นในหลักคุณธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมขับเคลื่อนพันธกิจ “มหาดไทยใสสะอาด” วันนี้ (9 พ.ย. 61) เวลา 09.00 น. นายพรพจน์ เพ็ญพาส รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้รับมอบหมายจากนายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ให้ทําหน้าที่เป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการจัดทําแผนปฏิบัติราชการด้านการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของกระทรวงมหาดไทย ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 พร้อมมอบนโยบายและแนวทางการดําเนินงานด้านการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ณ ห้องปริ้นซ์บอลรูม 3 ชั้น 11 โรงแรมปริ้นซ์พาเลซ กรุงเทพฯ จัดขึ้นโดย ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงมหาดไทย เพื่อส่งเสริมบุคลากรในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดแผนปฏิบัติราชการ การถ่ายทอดยุทธศาสตร์ นโยบายและแผนไปสู่การปฏิบัติการดําเนินงานด้านการป้องกัน ปราบปรามการทุจริต รวมทั้งเป็นการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการทุจริตในพื้นที่ และแนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหาดังกล่าว รวมทั้งการจัดทําโครงการตามแผนงานบูรณาการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ และแผนปฏิบัติราชการด้านการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบฯ ของจังหวัด โดยผู้เข้าร่วมสัมมนา ประกอบด้วย ผู้แทนจากจังหวัดทุกจังหวัด และหน่วยงานในสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย รวมทั้งสิ้นจํานวน 170 คน รองปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ปัญหาการทุจริตยังคงเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประเทศชาติและระบบราชการมาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับรูปแบบของการทุจริตที่มีความหลากหลายยิ่งขึ้น กระทรวงมหาดไทยได้ตระหนักถึงพิษภัยและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาดังกล่าวจึงได้ขับเคลื่อนภารกิจด้านการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตด้วยการส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล การป้องกันปราบปรามการทุจริตอย่างเข้มข้น และการสนับสนุนให้มี “จังหวัดใสสะอาด อําเภอใสสะอาด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใสสะอาด” ทั่วประเทศ ตามพันธกิจ “มหาดไทยใสสะอาด” ผ่านฟันเฟืองบุคลากรของกระทรวงมหาดไทย มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหา ร่วมกันเป็นหูเป็นตา โดยเราทุกคนจะต้องรู้ทันสถานการณ์ เหตุการณ์ ระเบียบ กฎหมาย และนโยบายต่างๆ รวมถึงมีความตระหนักรู้ถึงโทษและความเสียหายที่จะบังเกิดตามมา ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงมหาดไทย โดยศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.มท.) ได้ขับเคลื่อนภารกิจดังกล่าว โดยจัดทําแผนปฏิบัติราชการด้านการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบประจําปีที่สอดคล้องกับบริบทต่างๆ ครอบคลุมในทุกด้าน ทั้งสภาพปัญหา และมีความเชื่อมโยงสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ.2560 - 2564) นโยบายของกระทรวงมหาดไทย รวมถึงการบูรณาการการดําเนินโครงการและกิจกรรมต่างๆ ในระดับภูมิภาค รองปลัดกระทรวง กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ กระทรวงมหาดไทยยังได้ดําเนินการตามนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสําคัญกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตอย่างเข้มข้น และเพื่อลดปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบในประเทศ ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงมหาดไทยจึงมีนโยบายที่สําคัญในการขับเคลื่อนภารกิจดังกล่าว โดยพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มอบนโยบายในคราวประชุมหารือข้อราชการของกระทรวงมหาดไทยไว้ว่า การทํางานให้เน้นหลักธรรมาภิบาลในทุกระดับ และปลัดกระทรวงมหาดไทยได้มีการประกาศเจตจํานงของผู้บริหารในการบริหารงานที่มีคุณธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ ยึดหลักธรรมาภิบาลและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อตอบสนองการแก้ไขปัญหาประชาชนอย่างรวดเร็ว ให้เกิดประโยชน์กับประชาชนสูงสุด รวมทั้งส่งเสริมให้ข้าราชการและบุคลากรมีคุณธรรม 4 ประการ คือ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา และปฏิบัติตนยึดมั่นในจริยธรรม กระทําในสิ่งที่ถูกต้องและมุ่งเน้นผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นสําคัญ รวมทั้งให้ความสําคัญกับการป้องกันการทุจริตในการดําเนินโครงการสําคัญของรัฐบาลและของกระทรวงมหาดไทย ผ่านกลไกการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) รวมทั้งยังได้มีนโยบายด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมผ่านกลไกคณะกรรมการจริยธรรมประจํา สป.มท. และทุกจังหวัด เพื่อยกระดับให้ “กระทรวงมหาดไทย เป็นองค์กรที่ไม่ทนต่อการทุจริต” ท้ายนี้ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้เน้นย้ําว่า การสัมมนาครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสดีที่ผู้ร่วมสัมมนาจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน รวมทั้งได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากท่านวิทยากรที่มากด้วยประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ร่วมสัมมนาจะได้นําความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งนําไปขยายผลเผยแพร่ให้กับเพื่อนร่วมงานให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว และรวมพลังเป็นกําลังขับเคลื่อนพันธกิจ “มหาดไทยใสสะอาด” ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนงานตามนโยบายเน้นหนักของกระทรวงมหาดไทย และพร้อมยืนหยัดต่อสิ่งที่ถูกต้องดีงาม โดยยึดหลักบริหารบ้านเมืองที่ดี และปฏิบัติตามหลักกฎหมาย ยึดถือประโยชน์ของส่วนรวมและประเทศชาติเป็นสิ่งสําคัญ.
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มหาดไทย เดินหน้าจัดทำแผนด้านการป้องกันปราบปรามการทุจริตยึดมั่นในหลักคุณธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมขับเคลื่อนพันธกิจ “มหาดไทยใสสะอาด” วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2561 มหาดไทย เดินหน้าจัดทําแผนด้านการป้องกันปราบปรามการทุจริตยึดมั่นในหลักคุณธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมขับเคลื่อนพันธกิจ “มหาดไทยใสสะอาด” มหาดไทย เดินหน้าจัดทําแผนด้านการป้องกันปราบปรามการทุจริตยึดมั่นในหลักคุณธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมขับเคลื่อนพันธกิจ “มหาดไทยใสสะอาด” วันนี้ (9 พ.ย. 61) เวลา 09.00 น. นายพรพจน์ เพ็ญพาส รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้รับมอบหมายจากนายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ให้ทําหน้าที่เป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการจัดทําแผนปฏิบัติราชการด้านการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของกระทรวงมหาดไทย ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 พร้อมมอบนโยบายและแนวทางการดําเนินงานด้านการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ณ ห้องปริ้นซ์บอลรูม 3 ชั้น 11 โรงแรมปริ้นซ์พาเลซ กรุงเทพฯ จัดขึ้นโดย ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงมหาดไทย เพื่อส่งเสริมบุคลากรในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดแผนปฏิบัติราชการ การถ่ายทอดยุทธศาสตร์ นโยบายและแผนไปสู่การปฏิบัติการดําเนินงานด้านการป้องกัน ปราบปรามการทุจริต รวมทั้งเป็นการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการทุจริตในพื้นที่ และแนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหาดังกล่าว รวมทั้งการจัดทําโครงการตามแผนงานบูรณาการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ และแผนปฏิบัติราชการด้านการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบฯ ของจังหวัด โดยผู้เข้าร่วมสัมมนา ประกอบด้วย ผู้แทนจากจังหวัดทุกจังหวัด และหน่วยงานในสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย รวมทั้งสิ้นจํานวน 170 คน รองปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ปัญหาการทุจริตยังคงเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประเทศชาติและระบบราชการมาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับรูปแบบของการทุจริตที่มีความหลากหลายยิ่งขึ้น กระทรวงมหาดไทยได้ตระหนักถึงพิษภัยและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาดังกล่าวจึงได้ขับเคลื่อนภารกิจด้านการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตด้วยการส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล การป้องกันปราบปรามการทุจริตอย่างเข้มข้น และการสนับสนุนให้มี “จังหวัดใสสะอาด อําเภอใสสะอาด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใสสะอาด” ทั่วประเทศ ตามพันธกิจ “มหาดไทยใสสะอาด” ผ่านฟันเฟืองบุคลากรของกระทรวงมหาดไทย มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหา ร่วมกันเป็นหูเป็นตา โดยเราทุกคนจะต้องรู้ทันสถานการณ์ เหตุการณ์ ระเบียบ กฎหมาย และนโยบายต่างๆ รวมถึงมีความตระหนักรู้ถึงโทษและความเสียหายที่จะบังเกิดตามมา ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงมหาดไทย โดยศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.มท.) ได้ขับเคลื่อนภารกิจดังกล่าว โดยจัดทําแผนปฏิบัติราชการด้านการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบประจําปีที่สอดคล้องกับบริบทต่างๆ ครอบคลุมในทุกด้าน ทั้งสภาพปัญหา และมีความเชื่อมโยงสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ.2560 - 2564) นโยบายของกระทรวงมหาดไทย รวมถึงการบูรณาการการดําเนินโครงการและกิจกรรมต่างๆ ในระดับภูมิภาค รองปลัดกระทรวง กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ กระทรวงมหาดไทยยังได้ดําเนินการตามนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสําคัญกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตอย่างเข้มข้น และเพื่อลดปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบในประเทศ ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงมหาดไทยจึงมีนโยบายที่สําคัญในการขับเคลื่อนภารกิจดังกล่าว โดยพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มอบนโยบายในคราวประชุมหารือข้อราชการของกระทรวงมหาดไทยไว้ว่า การทํางานให้เน้นหลักธรรมาภิบาลในทุกระดับ และปลัดกระทรวงมหาดไทยได้มีการประกาศเจตจํานงของผู้บริหารในการบริหารงานที่มีคุณธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ ยึดหลักธรรมาภิบาลและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อตอบสนองการแก้ไขปัญหาประชาชนอย่างรวดเร็ว ให้เกิดประโยชน์กับประชาชนสูงสุด รวมทั้งส่งเสริมให้ข้าราชการและบุคลากรมีคุณธรรม 4 ประการ คือ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา และปฏิบัติตนยึดมั่นในจริยธรรม กระทําในสิ่งที่ถูกต้องและมุ่งเน้นผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นสําคัญ รวมทั้งให้ความสําคัญกับการป้องกันการทุจริตในการดําเนินโครงการสําคัญของรัฐบาลและของกระทรวงมหาดไทย ผ่านกลไกการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) รวมทั้งยังได้มีนโยบายด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมผ่านกลไกคณะกรรมการจริยธรรมประจํา สป.มท. และทุกจังหวัด เพื่อยกระดับให้ “กระทรวงมหาดไทย เป็นองค์กรที่ไม่ทนต่อการทุจริต” ท้ายนี้ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้เน้นย้ําว่า การสัมมนาครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสดีที่ผู้ร่วมสัมมนาจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน รวมทั้งได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากท่านวิทยากรที่มากด้วยประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ร่วมสัมมนาจะได้นําความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งนําไปขยายผลเผยแพร่ให้กับเพื่อนร่วมงานให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว และรวมพลังเป็นกําลังขับเคลื่อนพันธกิจ “มหาดไทยใสสะอาด” ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนงานตามนโยบายเน้นหนักของกระทรวงมหาดไทย และพร้อมยืนหยัดต่อสิ่งที่ถูกต้องดีงาม โดยยึดหลักบริหารบ้านเมืองที่ดี และปฏิบัติตามหลักกฎหมาย ยึดถือประโยชน์ของส่วนรวมและประเทศชาติเป็นสิ่งสําคัญ.
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/16680
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-New Normal วิถีชีวิตใหม่
วันพุธที่ 13 พฤษภาคม 2563 New Normal วิถีชีวิตใหม่ โลกใบเดิมกับยุคโควิด-19 -รักษาระยะห่าง -จํากัดจํานวนผู้ใช้ระบบขนส่งสาธารณะ -จํากัดจํานวนคนและเว้นระยะห่างในร้านอาหาร -พกเจลแอลกอฮอล์และล้างมือบ่อยๆ -ใส่หน้ากากอนามัย -ปิดฝาชักโครกเมื่อใช้เสร็จ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-New Normal วิถีชีวิตใหม่ วันพุธที่ 13 พฤษภาคม 2563 New Normal วิถีชีวิตใหม่ โลกใบเดิมกับยุคโควิด-19 -รักษาระยะห่าง -จํากัดจํานวนผู้ใช้ระบบขนส่งสาธารณะ -จํากัดจํานวนคนและเว้นระยะห่างในร้านอาหาร -พกเจลแอลกอฮอล์และล้างมือบ่อยๆ -ใส่หน้ากากอนามัย -ปิดฝาชักโครกเมื่อใช้เสร็จ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/30739
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เลขาฯ สมช เตือนร้านค้าร้านอาหาร ไม่มีมาตรการป้องกัน พบความบกพร่อง อาจถูกสั่งปิด ขณะที่ โฆษก ก.คลัง ยืนยันคนไทย 66 ล้านคน รัฐบาลดูแลผ่านมาตรการต่างๆ
วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม 2563 เลขาฯ สมช เตือนร้านค้าร้านอาหาร ไม่มีมาตรการป้องกัน พบความบกพร่อง อาจถูกสั่งปิด ขณะที่ โฆษก ก.คลัง ยืนยันคนไทย 66 ล้านคน รัฐบาลดูแลผ่านมาตรการต่างๆ เลขาฯ สมช เตือนร้านค้าร้านอาหาร ไม่มีมาตรการป้องกัน พบความบกพร่อง อาจถูกสั่งปิด ขณะที่ โฆษก ก.คลัง ยืนยันคนไทย 66 ล้านคน รัฐบาลดูแลผ่านมาตรการต่างๆ วันนี้ (16 พ.ค. 63) เวลา 12.00 น. ณ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (โควิด-19) (ศบค.) โถงกลาง ตึกสันติไมตรี ทําเนียบรัฐบาล พลเอก สมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และ นายลวรณ แสงสนิท ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ร่วมตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 2 และมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 สรุปสาระสําคัญ ดังนี้ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ชี้แจงการประชุม ศบค.วานนี้ ได้อนุมัติให้มีการผ่อนคลายระยะที่ 2 จากการประเมินการผ่อนคลายระยะที่ 1 ที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลงเป็นลําดับ รวมทั้งความร่วมมือของประชาชนทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ที่สูงมาก จึงทําให้สามารถผ่อนคลายในระยะที่ 2 ตามมา โดยได้ออกข้อกําหนดฉบับที่ 7 ซึ่งการผ่อนคลายในระยะที่ 2 จะเป็นกิจกรรมหรือกิจการที่มีความเสี่ยงต่อการระบาดโรคอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง แต่มีผลต่อเรื่องเศรษฐกิจและสังคมค่อนข้างสูง คือ ยอมให้ความมั่นคงด้านสาธารณสุขมีความเสี่ยงมากขึ้น เพื่อผ่อนปรนให้การดํารงชีวิตมีความสะดวกสบายมากและเศรษฐกิจสามารถเดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งในระยะที่ 2 3 หรือ 4 จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็นลําดับ แต่จะมีการพิจารณาความเสี่ยงว่ายังอยู่ในความสามารถที่จะควบคุมได้ ประสิทธิภาพด้านสาธารณสุขมีขีดความสามารถรองรับความเสี่ยงได้ หากพบว่ากิจการหรือกิจกรรมใดก่อให้เกิดการแพร่เชื้อไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม 1 หรือ 2 ก็สามารถสั่งปิดได้ หรือเพิ่มมาตรการที่เข้มข้นขึ้นได้เช่นกัน เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ กล่าวถึงการเดินทางหลังจากวันที่ 17 พ.ค. 63 เป็นต้นไปว่า มาตรการบังคับใช้ควบคู่กับการผ่อนคลายระยะ2 ยังมี 3 มาตรการหลักได้แก่ 1. การเดินทางเข้าราชอาณาจักรทั้งทางบก ทางน้ํา ทางอากาศ ยังคงมีความเข้มข้นเช่นเดิม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดจากการนําเชื้อเข้าจากต่างประเทศ และยังไม่อนุญาตให้เครื่องบินพาณิชย์เข้า 2. ปรับระยะเวลาเคอร์ฟิวและการออกนอกเคหสถานขยับออกไปอีก 1 ชั่วโมง เป็น 23:00 น. ถึง 04.00 น. และ 3. ให้ชะลอการเคลื่อนย้ายข้ามจังหวัด ทั้งนี้ รัฐบาลเข้าใจความจําเป็นของประชาชนที่ต้องเดินทาง ซึ่งการเดินทางข้ามจังหวัดสามารถทําได้ หากมีความจําเป็นจริงๆ และเมื่อไปถึงปลายทางแล้ว ยังต้องปฏิบัติตามมาตรการจังหวัดนั้น ๆ พร้อมจะนําข้อเสนอให้ปรับเวลาเคอร์ฟิวเป็นช่วงเวลา 23.00 - 03:00 น. เพื่อให้ประชาชนสามารถเดินทางไปขายของที่ตลาดเช้าไปพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ การพิจารณาปรับเวลาในระยะต่อ ๆ ไป ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ยังชี้แจงให้คลินิกทันตกรรมสามารถเปิดบริการ แต่อนุญาตให้คลินิกเวชกรรมเสริมความงาม สถานเสริมความงาม สามารถเปิดได้กรณีการเสริมความงามเฉพาะเรือนร่างและผิวพรรณ ไม่รวมถึงการเสริมความงามบริเวณใบหน้านั้นว่า กรณีของการทําฟัน ทันตกรรม เป็นกิจกรรมที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิต แต่ยังต้องมีมาตรการที่เข้มงวด สถานเสริมความงามให้ทําช่วงเรือนร่างที่ไม่ใช่ใบหน้า เพราะยังเป็นการกระทําที่เสี่ยงติดเชื้อจากดวงตา และบริเวณอื่น ๆ บนใบหน้า ที่สําคัญในทุก ๆ กิจกรรมจะมีมาตรการควบคุมการจํากัดการใช้เวลาให้น้อยที่สุด เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ยังเตือนไปยังร้านค้า ร้านอาหารที่ไม่มีมาตรการป้องกัน ไม่มีการตั้งจุดตรวจวัดอุณหภูมิ หรือเว้นระยะห่างว่า จะมีหน่วยงานความมั่นคง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่ของกรุงเทพฯหรือจังหวัดที่ได้รับการแต่งตั้งเข้าไปตรวจสอบ หากพบความบกพร่อง ครั้งแรกจะทําการตักเตือน ถ้ามีครั้งต่อไปอาจจะต้องพิจารณาปิดเป็นจุด ๆ ไป เพราะพฤติกรรมเหล่านั้นอาจเป็นข้อบ่งชี้ว่าทําให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคเป็นวงกว้างได้อีก โอกาสนี้นายลวรณ แสงสนิท ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังกล่าวว่า ศูนย์ปฏิบัติการด้านมาตรการช่วยเหลือเยียวยา คือ ดูแลการเยียวยาของภาครัฐให้ครอบคลุมให้ทั่วถึงกับพี่น้องประชาชนทุกกลุ่ม เพราะฉะนั้นมาตรการเยียวยาของภาครัฐตอนนี้ไม่ได้มีเฉพาะมาตรการ 5,000 บาท รวมทั้งมาตรการอื่น ๆ ออกมาเป็นระยะ ๆเพื่อให้เกิดความครอบคลุมกับพี่น้องประชาชนทุกกลุ่ม โฆษกกระทรวงการคลังกล่าวว่า ประชากรไทยประมาณ 66 ล้านคน โดยกลุ่มแรงงาน 40 ล้านคน กลุ่มแรงงาน แบ่งออกเป็นกลุ่มที่ 1แรงงานในระบบที่ได้รับการเยียวยาผ่านสํานักงานประกันสังคม โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 11 ล้านคน กลุ่มที่ 2 แรงงานอิสระ กระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานที่ดูแล “โครงการเราไม่ทิ้งกัน” มาตรการ 3 เดือน ซึ่งปัจจุบันมีผู้ผ่านเกณฑ์ประมาณ 15 ล้านคน โดยจะมีผู้ผ่านเกณฑ์เพิ่มขึ้น โดยกลุ่มเป้าหมาย 16 ล้านคนกลุ่มที่ 3 เกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย 10 ล้านคน โดยมีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานที่ดูแล มาตรการเยียวยา 5,000 บาท 3 เดือน เป็นต่อครอบครัว หัวหน้าครัวเรือนเกษตรเป็นผู้ได้รับเงิน กลุ่มที่ 4 มีประมาณ3ล้านคน เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ อาทิ ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ข้าราชการในหน่วยงานของท้องถิ่น ซึ่งวันนี้รัฐบาลดูแลท่านอยู่ โดยยังไม่มีการลดเวลาการทํางานหรือลดเงินเดือน เมื่อนําทั้งกลุ่ม 1 - 4 รวมกันจะได้ตัวเลขประมาณ 40 ล้านคน ซึ่งกลุ่มนี้ได้รับการดูแลแต่ละมาตรการอยู่แล้ว นอกจากนี้ กลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึงมาตรการของภาครัฐ ได้แก่กลุ่มที่ 5 กลุ่มเปราะบาง ประกอบด้วย เด็กแรกเกิด ผู้สูงอายุ คนพิการ มีจํานวน 13 ล้านคน โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กําลังเสนอมาตรการเพื่อที่จะดูแลประชาชนกลุ่มนี้ กลุ่มที่ 6 กลุ่มผู้มีรายได้น้อย เป็นกลุ่มที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมีจํานวนเต็มที่ 14.6 ล้านคน แต่วันนี้การเยียวยาของภาครัฐจะเน้นการเยียวยาที่จะไม่ซ้ําซ้อนกันระหว่างกลุ่ม ดังนั้นนํา 14.6 ล้านคนของผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ หักออกจากกลุ่มที่ 1 -4 ในกรณีที่มีความซ้ําซ้อน จะเหลือกลุ่มผู้ที่มีรายได้น้อยที่มาตรการของภารรัฐยังลงไปไม่ถึงประมาณ 2.4 ล้านคน กลุ่มที่ 7 คือ กลุ่มคนลงทะเบียนไม่สําเร็จ เป็นกลุ่มที่มีผู้มาร้องเรียนจํานวนมากที่กระทรวงการคลังและกรมประชาสัมพันธ์ ประมาณ 1.7 ล้านคน ภาครัฐดูแลอยู่ในขณะนี้ กลุ่มที่ 8 ผู้ที่ได้รับผลกระทบทางสังคมกรณีฉุกเฉินประมาณ 1 ล้านคน ซึ่งทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีกลไกและระเบียบรองรับอยู่แล้วทั้งนี้ ลดความซ้ําซ้อนกลุ่มที่ 5 - 8 จะมีจํานวนเหลือไม่เกิน 12.5 ล้านคน และ กลุ่มที่ 8 อายุต่ํากว่า 18 ปี อีก 13.5 ล้านคน ซึ่งรัฐบาลพร้อมที่จะดูแลประชาชนทุกกลุ่ม 66 ล้านคน จากมาตรการต่างๆ ที่ได้ดําเนินการไปแล้วและยังมีอีกหลายมาตรการที่จะเริ่มต้น โฆษกกระทรวงการคลังกล่าวว่า รัฐบาลดูแลประชาชนผู้ประกอบการผ่านมาตรการอื่น ๆ อีก อาทิ กลุ่มประชาชน คือ การบรรเทาภาระค่าใช้จ่าย การป้องกันโรค เพิ่มสภาพคล่องในช่วงวิกฤตโควิด-19 โดยยืดภาระการเสียภาษีรายได้บุคคลธรรมดา จากเดือนมีนาคมออกไปเดือนสิงหาคม การชะลอการลดการจ่ายค่าน้ํา ค่าไฟ ด้านป้องกันโรค คือ หากป่วยโควิด-19 ตรวจฟรี รักษาฟรี แจกหน้ากากอนามัยให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงทุกคน ดูแลทั้งการแพทย์ในทุก ๆ มิติ นอกจากนี้ รัฐบาลเตรียมสินเชื่อฉุกเฉินให้กับประชาชน วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท สามารถกู้โดยไม่ต้องมีหลักประกันใด ๆ ที่ธนาคารออมสินและธกส. แห่งละ 2 หมื่นล้าน ซึ่งดอกเบี้ยร้อยละ 0.1 ต่อเดือนเท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีสินเชื่อพิเศษวงเงิน 50,000 บาทต่อคน ดอกเบี้ยร้อยละ 0.35 ต่อเดือน โดยให้มีหลักประกันบ้างสามารถติดต่อที่ธนาคารออมสิน โฆษกกระทรวงการคลังกล่าวว่า กลุ่มของผู้ประกอบการ คือ ลดค่าใช้จ่ายการดูแลป้องกันโรคและเพิ่มสภาพคล่อง โดยการลดค่าใช้จ่ายที่สําคัญ คือ การจ้างงาน โดยภาคธุรกิจที่รักษาระดับการจ้างงานไว้ในช่วงเดือน เม.ย.-มิ.ย. สามารถนําค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานไปหักค่าใช้จ่าย 3 เท่า เป็นแรงจูงใจให้ดูแลแรงงานและรักษาการจ้างงานไว้ นอกจากนี้ การยืดระยะเวลาการเสียภาษีนิติบุคคล จะช่วยบรรเทาค่าใช้จ่ายให้มีสภาพคล่องในมือมากขึ้นเช่นกัน การยกเว้นภาษีอากรนําเข้าจากต่างประเทศ ทั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและรักษาโควิด โดยสิ่งสําคัญที่สุดสําหรับผู้ประกอบการคือ มาตรการเติมเงินรักษาสภาพคล่องให้กับธุรกิจคือ การลดภาษีหัก ณ ที่จ่าย จากปกติต้องเสียในอัตราร้อยละ 3 วันนี้เสียร้อยละ 1.5 กระทรวงการคลังได้มีนโยบายที่ชัดเจน การขอคืน VAT ถ้ายื่นผ่านระบบ 15 วัน จะได้เงินคืน ถ้าหากยื่นเอกสารใช้เวลา 45 วัน นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยยังเตรียมเงิน 5 แสนล้านบาท สําหรับสินเชื่อดอกเบี้ยต่ําเพื่อกระจายลงไปธุรกิจต่างๆ โฆษกกระทรวงการคลังยังเพิ่มเติมเกี่ยวกับการผ่อนคลายต่าง ๆ ของภาครัฐ โดยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งมีผลต่อการเข้าถึงการบริการทางการเงินเป็นอย่างมาก โดยให้มีการผ่อนคลายมาตรการของการเป็นลูกหนี้ NPL ให้กลับมาเป็นลูกหนี้ที่ดี เพื่อให้สามารถเข้าถึงการบริการทางการเงินได้ ทั้งนี้ ยืนยันว่ารัฐบาลพร้อมดูแลคนทุกกลุ่ม ดูแลพี่น้องประชาชนอย่างถ้วนหน้าตามมาตรการที่เหมาะสมที่แตกต่างกันไป และพร้อมที่จะออกมาตรการดูแลอย่างทันท่วงทีให้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ขอให้มั่นใจว่ารัฐบาลจะมีมาตรการออกมา รองรับได้อย่างทันท่วงทีและมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อให้พี่น้องประชาชนและผู้ประกอบการสามารถผ่านวิกฤติโควิด-19 นี้ไปได้ด้วยกัน โอกาสนี้ โฆษกกระทรวงการคลังยังตอบคําถามเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือเยียวยา 5,000 บาท ซึ่งมีผู้ลงทะเบียนบางรายได้รับ แจ้งว่าเป็นเกษตรกร ทําให้ผู้ที่ยังไม่ได้รับเงินกลัวว่าจะตกหล่นนั้น โดยยืนยันว่า กระทรวงการคลังได้มีการส่ง SMS ไปยังผู้ลงทะเบียนโครงการ “เราไม่ทึ้งกัน” แจ้งว่าเป็นหัวหน้าครัวเรือนเกษตรนั้น ประมาณ 470,000 คนนั้น ขณะนี้กระทรวงการคลังได้มีการปรับปรุงข้อมูลเรียบร้อย จะดําเนินการจ่ายเงินทั้งหมดได้พุธหน้า สําหรับผู้ที่ลงทะเบียนไม่สําเร็จประมาณ 1.7 ล้านคน นั้น ยืนยันว่าไม่ตกหล่น กระทรวงการคลังจะดูแลแน่นอน อย่างไรก็ตามกลุ่มผู้ลงทะเบียนไม่สําเร็จและกลุ่มผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียน เป็นคนละกลุ่มแตกต่างกัน เพราะกลุ่มผู้ลงทะเบียนไม่สําเร็จนั้น กระทรวงการคลังมีข้อมูลครบถ้วน สามารถดําเนินการต่อได้ ซึ่งขณะนี้ “โครงการเราไม่ทึ้งกัน” ปิดลงทะเบียนแล้ว ดังนั้น ผู้ที่ยังไม่เคยลงทะเบียน จะต้องไปดูการช่วยเหลือจากมาตรการอื่นๆ ของภาครัฐที่จะออกมา เพื่อมิให้ตกหล่นใครเลยสําหรับกลุ่มที่เป็นทั้งข้าราชการและเกษตรกรนั้น กระทรวงการคลังจะได้ดําเนินตรวจสอบความซ้ําซ้อน และส่งข้อมูลชุดนี้ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้ว เชื่อว่าจะมีมาตรการช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไป ในตอนท้าย โฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า สําหรับบุคคลที่เดือดร้อนมีข้อร้องเรียน สามารถเดินทางไปธนาคารรัฐทุกแห่งได้ทุกสาขา ซึ่งปัญหาร้องเรียนส่วนใหญ่แบ่งออกได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนเลย ขอให้ดูมาตรการอื่น ที่รัฐบาลจะดูแลอาจไม่จําเป็นต้องเดินทางมา กลุ่มที่ 2 คือผู้ลงทะเบียนไม่สําเร็จประมาณ 1.7 ล้านคนแม้ว่าไม่มาร้องเรียน รัฐบาลกลับมาดูแล ไม่ตกหล่น กรณีกลุ่มบัญชีไม่ตรง ซึ่งหลายรายได้ไปผูกบัญชีพร้อมเพย์แล้ว ซึ่งสัปดาห์หน้าจะมีการโอนเงินให้กลุ่มนี้ วันอังคาร 700,000 คน และ วันพุธโอนให้กลุ่มที่เคยได้รับแจงเป็นหัวหน้าครัวเรือนเกษตร อีก 400,000 คน และในวันจันทร์ 200,000 คน จากโครงการ “เราไม่ทิ้งกัน “ .............................. กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เลขาฯ สมช เตือนร้านค้าร้านอาหาร ไม่มีมาตรการป้องกัน พบความบกพร่อง อาจถูกสั่งปิด ขณะที่ โฆษก ก.คลัง ยืนยันคนไทย 66 ล้านคน รัฐบาลดูแลผ่านมาตรการต่างๆ วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม 2563 เลขาฯ สมช เตือนร้านค้าร้านอาหาร ไม่มีมาตรการป้องกัน พบความบกพร่อง อาจถูกสั่งปิด ขณะที่ โฆษก ก.คลัง ยืนยันคนไทย 66 ล้านคน รัฐบาลดูแลผ่านมาตรการต่างๆ เลขาฯ สมช เตือนร้านค้าร้านอาหาร ไม่มีมาตรการป้องกัน พบความบกพร่อง อาจถูกสั่งปิด ขณะที่ โฆษก ก.คลัง ยืนยันคนไทย 66 ล้านคน รัฐบาลดูแลผ่านมาตรการต่างๆ วันนี้ (16 พ.ค. 63) เวลา 12.00 น. ณ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (โควิด-19) (ศบค.) โถงกลาง ตึกสันติไมตรี ทําเนียบรัฐบาล พลเอก สมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และ นายลวรณ แสงสนิท ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ร่วมตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 2 และมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 สรุปสาระสําคัญ ดังนี้ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ชี้แจงการประชุม ศบค.วานนี้ ได้อนุมัติให้มีการผ่อนคลายระยะที่ 2 จากการประเมินการผ่อนคลายระยะที่ 1 ที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลงเป็นลําดับ รวมทั้งความร่วมมือของประชาชนทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ที่สูงมาก จึงทําให้สามารถผ่อนคลายในระยะที่ 2 ตามมา โดยได้ออกข้อกําหนดฉบับที่ 7 ซึ่งการผ่อนคลายในระยะที่ 2 จะเป็นกิจกรรมหรือกิจการที่มีความเสี่ยงต่อการระบาดโรคอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง แต่มีผลต่อเรื่องเศรษฐกิจและสังคมค่อนข้างสูง คือ ยอมให้ความมั่นคงด้านสาธารณสุขมีความเสี่ยงมากขึ้น เพื่อผ่อนปรนให้การดํารงชีวิตมีความสะดวกสบายมากและเศรษฐกิจสามารถเดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งในระยะที่ 2 3 หรือ 4 จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็นลําดับ แต่จะมีการพิจารณาความเสี่ยงว่ายังอยู่ในความสามารถที่จะควบคุมได้ ประสิทธิภาพด้านสาธารณสุขมีขีดความสามารถรองรับความเสี่ยงได้ หากพบว่ากิจการหรือกิจกรรมใดก่อให้เกิดการแพร่เชื้อไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม 1 หรือ 2 ก็สามารถสั่งปิดได้ หรือเพิ่มมาตรการที่เข้มข้นขึ้นได้เช่นกัน เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ กล่าวถึงการเดินทางหลังจากวันที่ 17 พ.ค. 63 เป็นต้นไปว่า มาตรการบังคับใช้ควบคู่กับการผ่อนคลายระยะ2 ยังมี 3 มาตรการหลักได้แก่ 1. การเดินทางเข้าราชอาณาจักรทั้งทางบก ทางน้ํา ทางอากาศ ยังคงมีความเข้มข้นเช่นเดิม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดจากการนําเชื้อเข้าจากต่างประเทศ และยังไม่อนุญาตให้เครื่องบินพาณิชย์เข้า 2. ปรับระยะเวลาเคอร์ฟิวและการออกนอกเคหสถานขยับออกไปอีก 1 ชั่วโมง เป็น 23:00 น. ถึง 04.00 น. และ 3. ให้ชะลอการเคลื่อนย้ายข้ามจังหวัด ทั้งนี้ รัฐบาลเข้าใจความจําเป็นของประชาชนที่ต้องเดินทาง ซึ่งการเดินทางข้ามจังหวัดสามารถทําได้ หากมีความจําเป็นจริงๆ และเมื่อไปถึงปลายทางแล้ว ยังต้องปฏิบัติตามมาตรการจังหวัดนั้น ๆ พร้อมจะนําข้อเสนอให้ปรับเวลาเคอร์ฟิวเป็นช่วงเวลา 23.00 - 03:00 น. เพื่อให้ประชาชนสามารถเดินทางไปขายของที่ตลาดเช้าไปพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ การพิจารณาปรับเวลาในระยะต่อ ๆ ไป ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ยังชี้แจงให้คลินิกทันตกรรมสามารถเปิดบริการ แต่อนุญาตให้คลินิกเวชกรรมเสริมความงาม สถานเสริมความงาม สามารถเปิดได้กรณีการเสริมความงามเฉพาะเรือนร่างและผิวพรรณ ไม่รวมถึงการเสริมความงามบริเวณใบหน้านั้นว่า กรณีของการทําฟัน ทันตกรรม เป็นกิจกรรมที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิต แต่ยังต้องมีมาตรการที่เข้มงวด สถานเสริมความงามให้ทําช่วงเรือนร่างที่ไม่ใช่ใบหน้า เพราะยังเป็นการกระทําที่เสี่ยงติดเชื้อจากดวงตา และบริเวณอื่น ๆ บนใบหน้า ที่สําคัญในทุก ๆ กิจกรรมจะมีมาตรการควบคุมการจํากัดการใช้เวลาให้น้อยที่สุด เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ยังเตือนไปยังร้านค้า ร้านอาหารที่ไม่มีมาตรการป้องกัน ไม่มีการตั้งจุดตรวจวัดอุณหภูมิ หรือเว้นระยะห่างว่า จะมีหน่วยงานความมั่นคง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่ของกรุงเทพฯหรือจังหวัดที่ได้รับการแต่งตั้งเข้าไปตรวจสอบ หากพบความบกพร่อง ครั้งแรกจะทําการตักเตือน ถ้ามีครั้งต่อไปอาจจะต้องพิจารณาปิดเป็นจุด ๆ ไป เพราะพฤติกรรมเหล่านั้นอาจเป็นข้อบ่งชี้ว่าทําให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคเป็นวงกว้างได้อีก โอกาสนี้นายลวรณ แสงสนิท ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังกล่าวว่า ศูนย์ปฏิบัติการด้านมาตรการช่วยเหลือเยียวยา คือ ดูแลการเยียวยาของภาครัฐให้ครอบคลุมให้ทั่วถึงกับพี่น้องประชาชนทุกกลุ่ม เพราะฉะนั้นมาตรการเยียวยาของภาครัฐตอนนี้ไม่ได้มีเฉพาะมาตรการ 5,000 บาท รวมทั้งมาตรการอื่น ๆ ออกมาเป็นระยะ ๆเพื่อให้เกิดความครอบคลุมกับพี่น้องประชาชนทุกกลุ่ม โฆษกกระทรวงการคลังกล่าวว่า ประชากรไทยประมาณ 66 ล้านคน โดยกลุ่มแรงงาน 40 ล้านคน กลุ่มแรงงาน แบ่งออกเป็นกลุ่มที่ 1แรงงานในระบบที่ได้รับการเยียวยาผ่านสํานักงานประกันสังคม โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 11 ล้านคน กลุ่มที่ 2 แรงงานอิสระ กระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานที่ดูแล “โครงการเราไม่ทิ้งกัน” มาตรการ 3 เดือน ซึ่งปัจจุบันมีผู้ผ่านเกณฑ์ประมาณ 15 ล้านคน โดยจะมีผู้ผ่านเกณฑ์เพิ่มขึ้น โดยกลุ่มเป้าหมาย 16 ล้านคนกลุ่มที่ 3 เกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย 10 ล้านคน โดยมีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานที่ดูแล มาตรการเยียวยา 5,000 บาท 3 เดือน เป็นต่อครอบครัว หัวหน้าครัวเรือนเกษตรเป็นผู้ได้รับเงิน กลุ่มที่ 4 มีประมาณ3ล้านคน เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ อาทิ ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ข้าราชการในหน่วยงานของท้องถิ่น ซึ่งวันนี้รัฐบาลดูแลท่านอยู่ โดยยังไม่มีการลดเวลาการทํางานหรือลดเงินเดือน เมื่อนําทั้งกลุ่ม 1 - 4 รวมกันจะได้ตัวเลขประมาณ 40 ล้านคน ซึ่งกลุ่มนี้ได้รับการดูแลแต่ละมาตรการอยู่แล้ว นอกจากนี้ กลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึงมาตรการของภาครัฐ ได้แก่กลุ่มที่ 5 กลุ่มเปราะบาง ประกอบด้วย เด็กแรกเกิด ผู้สูงอายุ คนพิการ มีจํานวน 13 ล้านคน โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กําลังเสนอมาตรการเพื่อที่จะดูแลประชาชนกลุ่มนี้ กลุ่มที่ 6 กลุ่มผู้มีรายได้น้อย เป็นกลุ่มที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมีจํานวนเต็มที่ 14.6 ล้านคน แต่วันนี้การเยียวยาของภาครัฐจะเน้นการเยียวยาที่จะไม่ซ้ําซ้อนกันระหว่างกลุ่ม ดังนั้นนํา 14.6 ล้านคนของผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ หักออกจากกลุ่มที่ 1 -4 ในกรณีที่มีความซ้ําซ้อน จะเหลือกลุ่มผู้ที่มีรายได้น้อยที่มาตรการของภารรัฐยังลงไปไม่ถึงประมาณ 2.4 ล้านคน กลุ่มที่ 7 คือ กลุ่มคนลงทะเบียนไม่สําเร็จ เป็นกลุ่มที่มีผู้มาร้องเรียนจํานวนมากที่กระทรวงการคลังและกรมประชาสัมพันธ์ ประมาณ 1.7 ล้านคน ภาครัฐดูแลอยู่ในขณะนี้ กลุ่มที่ 8 ผู้ที่ได้รับผลกระทบทางสังคมกรณีฉุกเฉินประมาณ 1 ล้านคน ซึ่งทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีกลไกและระเบียบรองรับอยู่แล้วทั้งนี้ ลดความซ้ําซ้อนกลุ่มที่ 5 - 8 จะมีจํานวนเหลือไม่เกิน 12.5 ล้านคน และ กลุ่มที่ 8 อายุต่ํากว่า 18 ปี อีก 13.5 ล้านคน ซึ่งรัฐบาลพร้อมที่จะดูแลประชาชนทุกกลุ่ม 66 ล้านคน จากมาตรการต่างๆ ที่ได้ดําเนินการไปแล้วและยังมีอีกหลายมาตรการที่จะเริ่มต้น โฆษกกระทรวงการคลังกล่าวว่า รัฐบาลดูแลประชาชนผู้ประกอบการผ่านมาตรการอื่น ๆ อีก อาทิ กลุ่มประชาชน คือ การบรรเทาภาระค่าใช้จ่าย การป้องกันโรค เพิ่มสภาพคล่องในช่วงวิกฤตโควิด-19 โดยยืดภาระการเสียภาษีรายได้บุคคลธรรมดา จากเดือนมีนาคมออกไปเดือนสิงหาคม การชะลอการลดการจ่ายค่าน้ํา ค่าไฟ ด้านป้องกันโรค คือ หากป่วยโควิด-19 ตรวจฟรี รักษาฟรี แจกหน้ากากอนามัยให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงทุกคน ดูแลทั้งการแพทย์ในทุก ๆ มิติ นอกจากนี้ รัฐบาลเตรียมสินเชื่อฉุกเฉินให้กับประชาชน วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท สามารถกู้โดยไม่ต้องมีหลักประกันใด ๆ ที่ธนาคารออมสินและธกส. แห่งละ 2 หมื่นล้าน ซึ่งดอกเบี้ยร้อยละ 0.1 ต่อเดือนเท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีสินเชื่อพิเศษวงเงิน 50,000 บาทต่อคน ดอกเบี้ยร้อยละ 0.35 ต่อเดือน โดยให้มีหลักประกันบ้างสามารถติดต่อที่ธนาคารออมสิน โฆษกกระทรวงการคลังกล่าวว่า กลุ่มของผู้ประกอบการ คือ ลดค่าใช้จ่ายการดูแลป้องกันโรคและเพิ่มสภาพคล่อง โดยการลดค่าใช้จ่ายที่สําคัญ คือ การจ้างงาน โดยภาคธุรกิจที่รักษาระดับการจ้างงานไว้ในช่วงเดือน เม.ย.-มิ.ย. สามารถนําค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานไปหักค่าใช้จ่าย 3 เท่า เป็นแรงจูงใจให้ดูแลแรงงานและรักษาการจ้างงานไว้ นอกจากนี้ การยืดระยะเวลาการเสียภาษีนิติบุคคล จะช่วยบรรเทาค่าใช้จ่ายให้มีสภาพคล่องในมือมากขึ้นเช่นกัน การยกเว้นภาษีอากรนําเข้าจากต่างประเทศ ทั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและรักษาโควิด โดยสิ่งสําคัญที่สุดสําหรับผู้ประกอบการคือ มาตรการเติมเงินรักษาสภาพคล่องให้กับธุรกิจคือ การลดภาษีหัก ณ ที่จ่าย จากปกติต้องเสียในอัตราร้อยละ 3 วันนี้เสียร้อยละ 1.5 กระทรวงการคลังได้มีนโยบายที่ชัดเจน การขอคืน VAT ถ้ายื่นผ่านระบบ 15 วัน จะได้เงินคืน ถ้าหากยื่นเอกสารใช้เวลา 45 วัน นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยยังเตรียมเงิน 5 แสนล้านบาท สําหรับสินเชื่อดอกเบี้ยต่ําเพื่อกระจายลงไปธุรกิจต่างๆ โฆษกกระทรวงการคลังยังเพิ่มเติมเกี่ยวกับการผ่อนคลายต่าง ๆ ของภาครัฐ โดยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งมีผลต่อการเข้าถึงการบริการทางการเงินเป็นอย่างมาก โดยให้มีการผ่อนคลายมาตรการของการเป็นลูกหนี้ NPL ให้กลับมาเป็นลูกหนี้ที่ดี เพื่อให้สามารถเข้าถึงการบริการทางการเงินได้ ทั้งนี้ ยืนยันว่ารัฐบาลพร้อมดูแลคนทุกกลุ่ม ดูแลพี่น้องประชาชนอย่างถ้วนหน้าตามมาตรการที่เหมาะสมที่แตกต่างกันไป และพร้อมที่จะออกมาตรการดูแลอย่างทันท่วงทีให้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ขอให้มั่นใจว่ารัฐบาลจะมีมาตรการออกมา รองรับได้อย่างทันท่วงทีและมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อให้พี่น้องประชาชนและผู้ประกอบการสามารถผ่านวิกฤติโควิด-19 นี้ไปได้ด้วยกัน โอกาสนี้ โฆษกกระทรวงการคลังยังตอบคําถามเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือเยียวยา 5,000 บาท ซึ่งมีผู้ลงทะเบียนบางรายได้รับ แจ้งว่าเป็นเกษตรกร ทําให้ผู้ที่ยังไม่ได้รับเงินกลัวว่าจะตกหล่นนั้น โดยยืนยันว่า กระทรวงการคลังได้มีการส่ง SMS ไปยังผู้ลงทะเบียนโครงการ “เราไม่ทึ้งกัน” แจ้งว่าเป็นหัวหน้าครัวเรือนเกษตรนั้น ประมาณ 470,000 คนนั้น ขณะนี้กระทรวงการคลังได้มีการปรับปรุงข้อมูลเรียบร้อย จะดําเนินการจ่ายเงินทั้งหมดได้พุธหน้า สําหรับผู้ที่ลงทะเบียนไม่สําเร็จประมาณ 1.7 ล้านคน นั้น ยืนยันว่าไม่ตกหล่น กระทรวงการคลังจะดูแลแน่นอน อย่างไรก็ตามกลุ่มผู้ลงทะเบียนไม่สําเร็จและกลุ่มผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียน เป็นคนละกลุ่มแตกต่างกัน เพราะกลุ่มผู้ลงทะเบียนไม่สําเร็จนั้น กระทรวงการคลังมีข้อมูลครบถ้วน สามารถดําเนินการต่อได้ ซึ่งขณะนี้ “โครงการเราไม่ทึ้งกัน” ปิดลงทะเบียนแล้ว ดังนั้น ผู้ที่ยังไม่เคยลงทะเบียน จะต้องไปดูการช่วยเหลือจากมาตรการอื่นๆ ของภาครัฐที่จะออกมา เพื่อมิให้ตกหล่นใครเลยสําหรับกลุ่มที่เป็นทั้งข้าราชการและเกษตรกรนั้น กระทรวงการคลังจะได้ดําเนินตรวจสอบความซ้ําซ้อน และส่งข้อมูลชุดนี้ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้ว เชื่อว่าจะมีมาตรการช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไป ในตอนท้าย โฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า สําหรับบุคคลที่เดือดร้อนมีข้อร้องเรียน สามารถเดินทางไปธนาคารรัฐทุกแห่งได้ทุกสาขา ซึ่งปัญหาร้องเรียนส่วนใหญ่แบ่งออกได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนเลย ขอให้ดูมาตรการอื่น ที่รัฐบาลจะดูแลอาจไม่จําเป็นต้องเดินทางมา กลุ่มที่ 2 คือผู้ลงทะเบียนไม่สําเร็จประมาณ 1.7 ล้านคนแม้ว่าไม่มาร้องเรียน รัฐบาลกลับมาดูแล ไม่ตกหล่น กรณีกลุ่มบัญชีไม่ตรง ซึ่งหลายรายได้ไปผูกบัญชีพร้อมเพย์แล้ว ซึ่งสัปดาห์หน้าจะมีการโอนเงินให้กลุ่มนี้ วันอังคาร 700,000 คน และ วันพุธโอนให้กลุ่มที่เคยได้รับแจงเป็นหัวหน้าครัวเรือนเกษตร อีก 400,000 คน และในวันจันทร์ 200,000 คน จากโครงการ “เราไม่ทิ้งกัน “ .............................. กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/30969
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลเร่งเดินหน้าขจัดความยากจนอย่างยั่งยืน
วันพุธที่ 13 ธันวาคม 2560 รัฐบาลเร่งเดินหน้าขจัดความยากจนอย่างยั่งยืน นายกรัฐมนตรีพบปะประชาชนชาวกาฬสินธุ์ ระบุรัฐบาลเร่งเดินหน้าโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างจริงจัง ธ.ค.นี้ เพื่อขจัดความยากจน ให้ประชาชนมีอาชีพ รายได้ คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างเป็นรูปธรรม วันนี้ (13 ธันวาคม 2560) เวลา 11.30 น. ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมผู้ไทยผ้าไหมแพรวา เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมพร้อมกล่าวพบปะประชาชนชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีนายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ และประชาชนมารอให้การต้อนรับ โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้มอบเครื่องจักรกลการเกษตร และมอบโค-กระบือ ตามโครงการธนาคารโค-กระบือให้แก่ผู้แทนเกษตรกร เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ยากจนทั่วประเทศได้มีโค-กระบือ ไว้ใช้แรงงานและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เป็นการช่วยเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้น นายกรัฐมนตรี กล่าวพบปะกับประชาชนตอนหนึ่งว่า การลงพื้นที่ในวันนี้มาพบกับประชาชนด้วยความคิดถึง มาพูดคุยเพื่อรับฟังปัญหาต่าง ๆ พร้อมกับนําคณะรัฐมนตรีมารับฟังปัญหาจากประชาชนด้วยตนเอง และเป็นโอกาสอันดีในการเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างกัน เพราะเครื่องจักรในการขับเคลื่อนประเทศที่สําคัญคือประชาชนทุกคนต้องร่วมมือกัน ช่วยกันขับเคลื่อน และที่สําคัญเป็นพิเศษคือต้องการทําให้จังหวัดกาฬสินธุ์มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน จากพื้นฐานของจังหวัดที่มีอยู่แล้ว ทั้งนี้ ทุกคนต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่ประเทศไทย 4.0 คือใช้ชีวิตอย่างมีสติ มีปัญญา ใช้สมองในการแก้ไขปัญหาในการดํารงชีวิต โดยเริ่มจากภายในจากใจของตัวเองและจากความเข้มแข็งของชุมชนของคนในท้องถิ่น ให้ประชาชนมีรายได้นํากลับมาสู่รัฐบาลซึ่งไทยแลนด์ 4.0 ไม่จําเป็นต้องใช้เทคโนโลยีเก่งอย่างเดียว และที่สําคัญต้องสร้างความเชื่อมโยงในกลุ่มพื้นที่ เช่น การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่แล้ว เช่น ผ้าไหมแพรวา พร้อมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทําเกษตร อย่าทําเกษตรเชิงเดี่ยวเพราะไม่สามารถทําให้หลุดพ้นจากความยากจนได้ ต้องปลูกพืชเสริมสร้างความแตกต่างการทําการเกษตรที่เพียงพอกับความต้องการของตลาด นายกรัฐมนตรีกล่าวยืนยันว่า รัฐบาลทํางานเพื่อประชาชน และให้ความสําคัญในการดูแลคนจนและผู้มีรายได้น้อยเพื่อสร้างความเท่าเทียมและการเข้าถึงโอกาสโดยไม่ได้ปิดกั้นใคร ใครจะวิพากษ์วิจารณ์ถือเป็นสิทธิส่วนบุคคลไม่ได้ห้าม แต่ต้องอยู่ภายใต้กระบวนการของกฎหมาย ซึ่งต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกันอย่างเท่าเทียมกัน นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า นายกรัฐมนตรีก็เป็นประชาชนคนหนึ่ง จําเป็นต้องทําให้ทุกคนปลอดภัยนําไปสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ เพื่อความมั่นคงมั่งคั่งอย่างยั่งยืน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังโดยรัฐบาลจะเดินหน้าโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างจริงจังในเดือนธันวาคมนี้ เพื่อขจัดความยากจนตามแบบอย่างประเทศจีนที่ทําสําเร็จภายใน 5 ปี เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพมีรายได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชนคนไทย จากนั้น นายกรัฐมนตรีและคณะได้เยี่ยมชมนิทรรศการ ก่อนออกเดินทางต่อไปยังอ่างเก็บน้ําลําพะยังตอนบน ต.สงเปลือย อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ ต่อไป ------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลเร่งเดินหน้าขจัดความยากจนอย่างยั่งยืน วันพุธที่ 13 ธันวาคม 2560 รัฐบาลเร่งเดินหน้าขจัดความยากจนอย่างยั่งยืน นายกรัฐมนตรีพบปะประชาชนชาวกาฬสินธุ์ ระบุรัฐบาลเร่งเดินหน้าโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างจริงจัง ธ.ค.นี้ เพื่อขจัดความยากจน ให้ประชาชนมีอาชีพ รายได้ คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างเป็นรูปธรรม วันนี้ (13 ธันวาคม 2560) เวลา 11.30 น. ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมผู้ไทยผ้าไหมแพรวา เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมพร้อมกล่าวพบปะประชาชนชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีนายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ และประชาชนมารอให้การต้อนรับ โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้มอบเครื่องจักรกลการเกษตร และมอบโค-กระบือ ตามโครงการธนาคารโค-กระบือให้แก่ผู้แทนเกษตรกร เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ยากจนทั่วประเทศได้มีโค-กระบือ ไว้ใช้แรงงานและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เป็นการช่วยเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้น นายกรัฐมนตรี กล่าวพบปะกับประชาชนตอนหนึ่งว่า การลงพื้นที่ในวันนี้มาพบกับประชาชนด้วยความคิดถึง มาพูดคุยเพื่อรับฟังปัญหาต่าง ๆ พร้อมกับนําคณะรัฐมนตรีมารับฟังปัญหาจากประชาชนด้วยตนเอง และเป็นโอกาสอันดีในการเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างกัน เพราะเครื่องจักรในการขับเคลื่อนประเทศที่สําคัญคือประชาชนทุกคนต้องร่วมมือกัน ช่วยกันขับเคลื่อน และที่สําคัญเป็นพิเศษคือต้องการทําให้จังหวัดกาฬสินธุ์มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน จากพื้นฐานของจังหวัดที่มีอยู่แล้ว ทั้งนี้ ทุกคนต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่ประเทศไทย 4.0 คือใช้ชีวิตอย่างมีสติ มีปัญญา ใช้สมองในการแก้ไขปัญหาในการดํารงชีวิต โดยเริ่มจากภายในจากใจของตัวเองและจากความเข้มแข็งของชุมชนของคนในท้องถิ่น ให้ประชาชนมีรายได้นํากลับมาสู่รัฐบาลซึ่งไทยแลนด์ 4.0 ไม่จําเป็นต้องใช้เทคโนโลยีเก่งอย่างเดียว และที่สําคัญต้องสร้างความเชื่อมโยงในกลุ่มพื้นที่ เช่น การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่แล้ว เช่น ผ้าไหมแพรวา พร้อมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทําเกษตร อย่าทําเกษตรเชิงเดี่ยวเพราะไม่สามารถทําให้หลุดพ้นจากความยากจนได้ ต้องปลูกพืชเสริมสร้างความแตกต่างการทําการเกษตรที่เพียงพอกับความต้องการของตลาด นายกรัฐมนตรีกล่าวยืนยันว่า รัฐบาลทํางานเพื่อประชาชน และให้ความสําคัญในการดูแลคนจนและผู้มีรายได้น้อยเพื่อสร้างความเท่าเทียมและการเข้าถึงโอกาสโดยไม่ได้ปิดกั้นใคร ใครจะวิพากษ์วิจารณ์ถือเป็นสิทธิส่วนบุคคลไม่ได้ห้าม แต่ต้องอยู่ภายใต้กระบวนการของกฎหมาย ซึ่งต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกันอย่างเท่าเทียมกัน นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า นายกรัฐมนตรีก็เป็นประชาชนคนหนึ่ง จําเป็นต้องทําให้ทุกคนปลอดภัยนําไปสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ เพื่อความมั่นคงมั่งคั่งอย่างยั่งยืน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังโดยรัฐบาลจะเดินหน้าโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างจริงจังในเดือนธันวาคมนี้ เพื่อขจัดความยากจนตามแบบอย่างประเทศจีนที่ทําสําเร็จภายใน 5 ปี เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพมีรายได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชนคนไทย จากนั้น นายกรัฐมนตรีและคณะได้เยี่ยมชมนิทรรศการ ก่อนออกเดินทางต่อไปยังอ่างเก็บน้ําลําพะยังตอนบน ต.สงเปลือย อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ ต่อไป ------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/8729
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.พม. กำชับ จนท. ให้ความคุ้มครองกลุ่มนักศึกษา 8 คน ที่อาจเข้าข่ายเป็นผู้เสียหาย จากการค้ามนุษย์ หลังถูกบังคับใช้แรงงาน และถูกลวนลาม ขณะไปฝึกงานที่เกาหลีใต้
วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน 2560 รมว.พม. กําชับ จนท. ให้ความคุ้มครองกลุ่มนักศึกษา 8 คน ที่อาจเข้าข่ายเป็นผู้เสียหาย จากการค้ามนุษย์ หลังถูกบังคับใช้แรงงาน และถูกลวนลาม ขณะไปฝึกงานที่เกาหลีใต้ รมว.พม. กําชับ จนท. ให้ความคุ้มครองกลุ่มนักศึกษา 8 คน ที่อาจเข้าข่ายเป็นผู้เสียหาย จากการค้ามนุษย์ หลังถูกบังคับใช้แรงงาน และถูกลวนลาม ขณะไปฝึกงานที่เกาหลีใต้ วันนี้ (16 มิ.ย. 60) เวลา 08.00 น.นายณรงค์ คงคํา โฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เปิดเผยว่าพลตํารวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.)เป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ศปก.พม.) ครั้งที่ 652/2557-2560 เพื่อรับทราบปัญหาทางสังคมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และร่วมหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและการป้องกันปัญหาดังกล่าว โดยมีผู้บริหารและผู้แทนจากหน่วยงานในกระทรวงฯ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 8 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว กรุงเทพฯ พลตํารวจเอก อดุลย์กล่าวว่า จากกรณีนักศึกษาจากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงราย จํานวน 8 คน ได้เข้าร้องเรียนศูนย์ดํารงธรรม หลังเดินทางกลับมายังประเทศไทยก่อนกําหนด ว่าได้ไปฝึกงานตามโครงการศึกษาฝึกงานที่ทางวิทยาลัยร่วมกับองค์กรนิติบุคคลประเทศเกาหลีใต้ โดยการไปทํางานที่ประเทศเกาหลีใต้ในครั้งนี้ ไม่ตรงกับสายงานที่เรียนมา นอกจากนี้ ยังถูกใช้แรงงานหนัก ในขณะที่นักศึกษาหญิงถูกลวนลามทางเพศ จึงได้พากันหนีไปขอความช่วยเหลือจากสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโซล ให้ช่วยส่งตัวกลับประเทศไทย นั้น ล่าสุด พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงราย (พมจ.เชียงราย) พร้อมด้วยทีมสหวิชาชีพได้ร่วมกันตรวจสอบข้อเท็จจริงในเบื้องต้น พบว่ากลุ่มนักศึกษาดังกล่าว เป็นชาย 5 คน และหญิง 3 คน อายุระหว่าง 19-24 ปี โดยได้เดินทางไปฝึกงานที่ประเทศเกาหลีใต้ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2560 จนถึงวันที่ 14 มิถุนายน 2560 และถูกหลอกลวงไปแสวงหาประโยชน์จากการบังคับใช้แรงงานเยี่ยงทาสและถูกลวนลามทางเพศ ดังนั้นนักศึกษากลุ่มนี้อาจเข้าข่ายเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดยทีมสหวิชาชีพจะมีการดําเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงและคัดแยกผู้เสียหายอย่างละเอียดอีกครั้ง "ตนได้กําชับให้ข้าราชการหน่วยงานของ พม.จังหวัดเชียงราย ได้ให้การช่วยเหลือคุ้มครองสวัสดิภาพนักศึกษาทั้ง 8 คนโดยเร่งด่วนแล้ว ทั้งนี้ จะดูแลเรื่องที่พักที่ปลอดภัย การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิตามกฎหมาย เพื่อนําไปสู่การนําตัวผู้กระทําผิดมาลงโทษต่อไป”พลตํารวจเอก อดุลย์กล่าวในตอนท้าย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.พม. กำชับ จนท. ให้ความคุ้มครองกลุ่มนักศึกษา 8 คน ที่อาจเข้าข่ายเป็นผู้เสียหาย จากการค้ามนุษย์ หลังถูกบังคับใช้แรงงาน และถูกลวนลาม ขณะไปฝึกงานที่เกาหลีใต้ วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน 2560 รมว.พม. กําชับ จนท. ให้ความคุ้มครองกลุ่มนักศึกษา 8 คน ที่อาจเข้าข่ายเป็นผู้เสียหาย จากการค้ามนุษย์ หลังถูกบังคับใช้แรงงาน และถูกลวนลาม ขณะไปฝึกงานที่เกาหลีใต้ รมว.พม. กําชับ จนท. ให้ความคุ้มครองกลุ่มนักศึกษา 8 คน ที่อาจเข้าข่ายเป็นผู้เสียหาย จากการค้ามนุษย์ หลังถูกบังคับใช้แรงงาน และถูกลวนลาม ขณะไปฝึกงานที่เกาหลีใต้ วันนี้ (16 มิ.ย. 60) เวลา 08.00 น.นายณรงค์ คงคํา โฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เปิดเผยว่าพลตํารวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.)เป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ศปก.พม.) ครั้งที่ 652/2557-2560 เพื่อรับทราบปัญหาทางสังคมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และร่วมหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและการป้องกันปัญหาดังกล่าว โดยมีผู้บริหารและผู้แทนจากหน่วยงานในกระทรวงฯ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 8 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว กรุงเทพฯ พลตํารวจเอก อดุลย์กล่าวว่า จากกรณีนักศึกษาจากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงราย จํานวน 8 คน ได้เข้าร้องเรียนศูนย์ดํารงธรรม หลังเดินทางกลับมายังประเทศไทยก่อนกําหนด ว่าได้ไปฝึกงานตามโครงการศึกษาฝึกงานที่ทางวิทยาลัยร่วมกับองค์กรนิติบุคคลประเทศเกาหลีใต้ โดยการไปทํางานที่ประเทศเกาหลีใต้ในครั้งนี้ ไม่ตรงกับสายงานที่เรียนมา นอกจากนี้ ยังถูกใช้แรงงานหนัก ในขณะที่นักศึกษาหญิงถูกลวนลามทางเพศ จึงได้พากันหนีไปขอความช่วยเหลือจากสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโซล ให้ช่วยส่งตัวกลับประเทศไทย นั้น ล่าสุด พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงราย (พมจ.เชียงราย) พร้อมด้วยทีมสหวิชาชีพได้ร่วมกันตรวจสอบข้อเท็จจริงในเบื้องต้น พบว่ากลุ่มนักศึกษาดังกล่าว เป็นชาย 5 คน และหญิง 3 คน อายุระหว่าง 19-24 ปี โดยได้เดินทางไปฝึกงานที่ประเทศเกาหลีใต้ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2560 จนถึงวันที่ 14 มิถุนายน 2560 และถูกหลอกลวงไปแสวงหาประโยชน์จากการบังคับใช้แรงงานเยี่ยงทาสและถูกลวนลามทางเพศ ดังนั้นนักศึกษากลุ่มนี้อาจเข้าข่ายเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดยทีมสหวิชาชีพจะมีการดําเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงและคัดแยกผู้เสียหายอย่างละเอียดอีกครั้ง "ตนได้กําชับให้ข้าราชการหน่วยงานของ พม.จังหวัดเชียงราย ได้ให้การช่วยเหลือคุ้มครองสวัสดิภาพนักศึกษาทั้ง 8 คนโดยเร่งด่วนแล้ว ทั้งนี้ จะดูแลเรื่องที่พักที่ปลอดภัย การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิตามกฎหมาย เพื่อนําไปสู่การนําตัวผู้กระทําผิดมาลงโทษต่อไป”พลตํารวจเอก อดุลย์กล่าวในตอนท้าย
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/4589
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พาณิชย์ปลื้ม นักลงทุนญี่ปุ่นเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทย พร้อมตอบรับนำทัพเอกชนเข้าร่วมงานสัมมนา ฉลอง 130 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูต
วันอังคารที่ 8 สิงหาคม 2560 พาณิชย์ปลื้ม นักลงทุนญี่ปุ่นเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทย พร้อมตอบรับนําทัพเอกชนเข้าร่วมงานสัมมนา ฉลอง 130 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูต ประธานหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ คนใหม่ (นายโซจิ ซาคาอิ) พร้อมคณะผู้บริหาร เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นางอภิรดี ตันตราภรณ์) เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2560 เพื่อรับทราบนโยบายด้านเศรษฐกิจ และหารือเกี่ยวกับการดําเนินธุรกิจในประเทศไทย พร้อมรายงานผลการสํารวจแนวโน้มทางเศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในประเทศไทย ช่วงครึ่งแรกของปี 2560 นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า หอการค้าญี่ปุ่น (Japanese Chamber of Commerce : JCC) นําคณะผู้บริหารชุดใหม่เข้ามาแนะนําตัว พร้อมหารือประเด็นทางเศรษฐกิจต่าง ๆ รวมถึงรายงานผลการสํารวจแนวโน้มทางเศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในประเทศไทย ช่วงครึ่งแรก ของปี 2560 โดยผลการสํารวจดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า บริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทยมีแนวโน้มเชื่อมั่นในการ ดําเนินธุรกิจในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นกว่าครึ่งหลังของปี 2559 และคาดว่าเศรษฐกิจในประเทศไทยจะปรับตัว ดีขึ้นในครึ่งหลังของปี 2560 ทั้งนี้ บริษัทญี่ปุ่นร้อยละ 44 มีแผนจะขยายการลงทุนในประเทศ และบริษัทญี่ปุ่น อีกร้อยละ 50 จะไม่เปลี่ยนแปลงปริมาณการส่งออกจากประเทศไทย ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ยืนยันว่าจะพยายามอย่างเต็มในการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน เพื่อก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง และพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น 4.0 (Local Economy 4.0) โดยมุ่งเน้นการยกระดับความสามารถในการแข่งขัน เพื่อเพิ่มรายได้ของประชาชนในท้องถิ่น และกระตุ้นเศรษฐกิจในภูมิภาคภายใต้หลักคิดของนายกรัฐมนตรี (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) ที่ว่า "เราจะเดินหน้าไปด้วยกัน" และ "จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" นอกจากนี้ รัฐบาลไทยยังให้ความสําคัญต่อการเสริมสร้างความเชื่อมโยงใน CLMVT โดยพร้อมที่จะเป็นฐานการส่งออกของภูมิภาคอาเซียนผ่านการเป็นศูนย์กลางด้านการขนส่ง การคมนาคม และการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกลุ่มประเทศ CLMVT ซึ่งจะเชื่อมโยงกับนโยบาย “connected industries” และยุทธศาสตร์ “Thailand Plus One” ของญี่ปุ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้แจ้งภาคเอกชนญี่ปุ่นอีกว่า “กระทรวงพาณิชย์มุ่งเน้นการสร้างบรรยากาศเพื่ออํานวยความสะดวกทางด้านการค้าและการลงทุน ล่าสุด ได้เปิดให้บริการ “ระบบจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration)” อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2560 เพื่ออํานวยความสะดวกในการจดทะเบียนนิติบุคคลให้ทันสมัยและรวดเร็วยิ่งขึ้น” อย่างไรก็ดี เนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๓๐ ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย–ญี่ปุ่น กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) จะจัดงานสัมมนาส่งเสริมการลงทุนสําหรับนักธุรกิจ และภาคเอกชนญี่ปุ่นในเดือนกันยายน 2560 เพื่อประชาสัมพันธ์ศักยภาพทางเศรษฐกิจของไทย และ ศึกษาดูงานโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) รวมทั้งกิจกรรมจับคู่ทางธุรกิจและการลงทุนระหว่างผู้ประกอบการไทยและญี่ปุ่น โดยประธานหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ ยินดีที่จะ ช่วยประชาสัมพันธ์แก่นักธุรกิจและนักลงทุนญี่ปุ่นในและนอกประเทศต่อไป ในปี 2559 ญี่ปุ่นเป็นนักลงทุนอันดับ 1 โดยมีมูลค่าการลงทุน 57,898 ล้านบาท และปัจจุบันมีเงินลงทุนสะสมโดยตรงในไทย (ปี 2548-2559) 1,351,546 ล้านบาท และคู่ค้าอันดับ 2 ของไทย (รองจากจีน) โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2555-2559) มีมูลค่าการค้าเฉลี่ยปีละ 70,510.61 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2559 การค้า รวมระหว่างไทยกับญี่ปุ่นมีมูลค่า 51,241 ล้านเหรียญสหรัฐ อัตราการเติบโตลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 0.11 สําหรับสินค้าส่งออกสําคัญของไทยไปญี่ปุ่น ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ไก่แปรรูป เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติกเม็ดพลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เป็นต้น ส่วนสินค้านําเข้าสําคัญของไทยจากญี่ปุ่น ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ แผงวงจรไฟฟ้า สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ และเครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ในปี 2559 มีคนญี่ปุ่นอาศัยอยู่ในประเทศไทยมากกว่า 70,000 คน ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นเดินทาง เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย จํานวน 1,439,629 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 4.19 ซึ่งเป็นอันดับ 4 รองจากจีน มาเลเซีย และเกาหลีใต้ ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่น จํานวน 901,458 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 13.14
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พาณิชย์ปลื้ม นักลงทุนญี่ปุ่นเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทย พร้อมตอบรับนำทัพเอกชนเข้าร่วมงานสัมมนา ฉลอง 130 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูต วันอังคารที่ 8 สิงหาคม 2560 พาณิชย์ปลื้ม นักลงทุนญี่ปุ่นเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทย พร้อมตอบรับนําทัพเอกชนเข้าร่วมงานสัมมนา ฉลอง 130 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูต ประธานหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ คนใหม่ (นายโซจิ ซาคาอิ) พร้อมคณะผู้บริหาร เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นางอภิรดี ตันตราภรณ์) เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2560 เพื่อรับทราบนโยบายด้านเศรษฐกิจ และหารือเกี่ยวกับการดําเนินธุรกิจในประเทศไทย พร้อมรายงานผลการสํารวจแนวโน้มทางเศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในประเทศไทย ช่วงครึ่งแรกของปี 2560 นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า หอการค้าญี่ปุ่น (Japanese Chamber of Commerce : JCC) นําคณะผู้บริหารชุดใหม่เข้ามาแนะนําตัว พร้อมหารือประเด็นทางเศรษฐกิจต่าง ๆ รวมถึงรายงานผลการสํารวจแนวโน้มทางเศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในประเทศไทย ช่วงครึ่งแรก ของปี 2560 โดยผลการสํารวจดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า บริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทยมีแนวโน้มเชื่อมั่นในการ ดําเนินธุรกิจในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นกว่าครึ่งหลังของปี 2559 และคาดว่าเศรษฐกิจในประเทศไทยจะปรับตัว ดีขึ้นในครึ่งหลังของปี 2560 ทั้งนี้ บริษัทญี่ปุ่นร้อยละ 44 มีแผนจะขยายการลงทุนในประเทศ และบริษัทญี่ปุ่น อีกร้อยละ 50 จะไม่เปลี่ยนแปลงปริมาณการส่งออกจากประเทศไทย ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ยืนยันว่าจะพยายามอย่างเต็มในการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน เพื่อก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง และพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น 4.0 (Local Economy 4.0) โดยมุ่งเน้นการยกระดับความสามารถในการแข่งขัน เพื่อเพิ่มรายได้ของประชาชนในท้องถิ่น และกระตุ้นเศรษฐกิจในภูมิภาคภายใต้หลักคิดของนายกรัฐมนตรี (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) ที่ว่า "เราจะเดินหน้าไปด้วยกัน" และ "จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" นอกจากนี้ รัฐบาลไทยยังให้ความสําคัญต่อการเสริมสร้างความเชื่อมโยงใน CLMVT โดยพร้อมที่จะเป็นฐานการส่งออกของภูมิภาคอาเซียนผ่านการเป็นศูนย์กลางด้านการขนส่ง การคมนาคม และการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกลุ่มประเทศ CLMVT ซึ่งจะเชื่อมโยงกับนโยบาย “connected industries” และยุทธศาสตร์ “Thailand Plus One” ของญี่ปุ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้แจ้งภาคเอกชนญี่ปุ่นอีกว่า “กระทรวงพาณิชย์มุ่งเน้นการสร้างบรรยากาศเพื่ออํานวยความสะดวกทางด้านการค้าและการลงทุน ล่าสุด ได้เปิดให้บริการ “ระบบจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration)” อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2560 เพื่ออํานวยความสะดวกในการจดทะเบียนนิติบุคคลให้ทันสมัยและรวดเร็วยิ่งขึ้น” อย่างไรก็ดี เนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๓๐ ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย–ญี่ปุ่น กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) จะจัดงานสัมมนาส่งเสริมการลงทุนสําหรับนักธุรกิจ และภาคเอกชนญี่ปุ่นในเดือนกันยายน 2560 เพื่อประชาสัมพันธ์ศักยภาพทางเศรษฐกิจของไทย และ ศึกษาดูงานโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) รวมทั้งกิจกรรมจับคู่ทางธุรกิจและการลงทุนระหว่างผู้ประกอบการไทยและญี่ปุ่น โดยประธานหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ ยินดีที่จะ ช่วยประชาสัมพันธ์แก่นักธุรกิจและนักลงทุนญี่ปุ่นในและนอกประเทศต่อไป ในปี 2559 ญี่ปุ่นเป็นนักลงทุนอันดับ 1 โดยมีมูลค่าการลงทุน 57,898 ล้านบาท และปัจจุบันมีเงินลงทุนสะสมโดยตรงในไทย (ปี 2548-2559) 1,351,546 ล้านบาท และคู่ค้าอันดับ 2 ของไทย (รองจากจีน) โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2555-2559) มีมูลค่าการค้าเฉลี่ยปีละ 70,510.61 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2559 การค้า รวมระหว่างไทยกับญี่ปุ่นมีมูลค่า 51,241 ล้านเหรียญสหรัฐ อัตราการเติบโตลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 0.11 สําหรับสินค้าส่งออกสําคัญของไทยไปญี่ปุ่น ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ไก่แปรรูป เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติกเม็ดพลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เป็นต้น ส่วนสินค้านําเข้าสําคัญของไทยจากญี่ปุ่น ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ แผงวงจรไฟฟ้า สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ และเครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ในปี 2559 มีคนญี่ปุ่นอาศัยอยู่ในประเทศไทยมากกว่า 70,000 คน ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นเดินทาง เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย จํานวน 1,439,629 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 4.19 ซึ่งเป็นอันดับ 4 รองจากจีน มาเลเซีย และเกาหลีใต้ ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่น จํานวน 901,458 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 13.14
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/5773
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ฐานะการคลังของรัฐบาลในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2560
วันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน 2560 ฐานะการคลังของรัฐบาลในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2560 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2560 (เดือนตุลาคม 2559 – เดือนมีนาคม 2560) ว่ารัฐบาลมีรายไดนําสงคลังทั้งสิ้น จํานวน 1,029,237 ล้านบาท ในขณะที่มีการเบิกจายเงินงบประมาณทั้งสิ้น จํานวน 1,605,672 ล้านบาท นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผูอํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงข่าวฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2560 (เดือนตุลาคม 2559 – เดือนมีนาคม 2560) ว่ารัฐบาลมีรายไดนําสงคลังทั้งสิ้น จํานวน 1,029,237 ล้านบาท ในขณะที่มีการเบิกจายเงินงบประมาณทั้งสิ้น จํานวน 1,605,672 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลไดกูเงินเพื่อชดเชยการขาดดุล จํานวน 295,592 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2560 มีจํานวนทั้งสิ้น141,611 ลานบาท นายกฤษฎาฯ สรุปวา “ในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2560 ฐานะการคลังของรัฐบาลยังคงอยู่ในระดับที่เข้มแข็ง ในขณะที่ระดับเงินคงคลังของรัฐบาลเพิ่มสูงขึ้นจากการบริหารเงินสดเพื่อรองรับการเบิกจ่ายที่คาดว่าจะเร่งตัวขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีงบประมาณ 2560” ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2560 หน่วย: ล้านบาท ครึ่งแรก เปรียบเทียบ ปีงบประมาณ 2560 ปีงบประมาณ 2559 จํานวน ร้อยละ 1. รายได้ 1,029,237 1,060,089 (30,852) (2.9) 2. รายจ่าย 1,605,672 1,570,876 34,796 2.2 3. ดุลเงินงบประมาณ (576,435) (510,787) (65,648) (12.9) 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ (18,846) (25,200) 6,354 25.2 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) (595,281) (535,987) (59,294) (11.1) 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 295,592 313,023 (17,431) (5.6) 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) (299,689) (222,964) (76,725) (34.4) 8. เงินคงคลังปลายงวด 141,611 203,218 (61,607) (30.3) ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง รายละเอียดเพิ่มเติม ดูไดจาก www.fpo.go.th สํานักนโยบายการคลัง สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร 0 2273 9020 ตอ 3538 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดประจําเดือนมีนาคม 2560 และในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2560 (เดือนตุลาคม 2559 – เดือนมีนาคม 2560) ในเดือนมีนาคม 2560 รัฐบาลขาดดุลเงินสดจํานวน 28,122 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ จํานวน 47,043 ลานบาท ในขณะที่ดุลเงินนอกงบประมาณเกินดุล จํานวน 18,921 ลานบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2560 มีจํานวน 141,611 ลานบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. ฐานะการคลังเดือนมีนาคม 2560 1.1 รัฐบาลมีรายไดนําสงคลัง จํานวน 176,550 ลานบาท ต่ํากว่าเดือนเดียวกันปที่แลว 5,945 ลานบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการนําส่งรายได้จากการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz (4G) ในปีก่อน 1.2 รัฐบาลมีการเบิกจายเงินงบประมาณทั้งสิ้น จํานวน 223,593 ลานบาท ต่ํากว่าเดือนเดียวกันปที่แลว จํานวน 35,858 ลานบาท (คิดเปนรอยละ 13.8) โดยเป็นรายจ่ายปีปัจจุบัน จํานวน 204,131 ล้านบาท ต่ํากว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 9.1 ประกอบดวยรายจายประจํา จํานวน 152,971 ล้านบาท ต่ํากว่าเดือนเดียวกันปที่แลวรอยละ 14.7 และรายจายลงทุน 51,160 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกัน ปีที่แล้วร้อยละ 13.1 และการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณปกอนจํานวน 19,462 ลานบาท ต่ํากวาเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 44.2 (ตารางที่ 1) การเบิกจายเงินงบประมาณที่สําคัญในเดือนนี้ ไดแก เงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ จํานวน 14,864 ล้านบาท รายจ่ายชําระหนี้ของกระทรวงการคลัง จํานวน 8,191 ล้านบาท และรายจ่ายอื่นของกระทรวงกลาโหม จํานวน 6,898 ล้านบาท ตารางที่ 1 การเบิกจายเงินงบประมาณเดือนมีนาคม 2560 หนวย: ลานบาท เดือนมีนาคม เปรียบเทียบ 2560 2559 จํานวน ร้อยละ 1. รายจายปปจจุบัน 204,131 224,575 (20,444) (9.1) 1.1 รายจายประจํา 152,971 179,352 (26,381) (14.7) 1.2 รายจายลงทุน 51,160 45,223 5,937 13.1 2. รายจายจากงบประมาณปกอน 19,462 34,879 (15,414) (44.2) 3. รายจายรวม (1+2) 223,593 259,451 (35,858) (13.8) ที่มา: กรมบัญชีกลาง 1.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด รายไดนําสงคลังและการเบิกจายเงินงบประมาณของรัฐบาลขางตน สงผลให้ดุลเงินงบประมาณในเดือนมีนาคม 2560 ขาดดุลจํานวน 47,043 ลานบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 18,921 ลานบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากเงินฝากคลังของส่วนราชการสุทธิ จํานวน 14,406 ล้านบาท และรัฐบาลไดกูเงินเพื่อชดเชยการขาดดุล จํานวน 61,262 ลานบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังกูชดเชยการขาดดุล) เกินดุลเทากับจํานวน 33,140 ล้านบาท (ตารางที่ 2) ตารางที่ 2 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดเดือนมีนาคม 2560 หน่วย: ล้านบาท เดือนมีนาคม เปรียบเทียบ 2560 2559 จํานวน ร้อยละ 1. รายได้ 176,550 182,495 (5,945) (3.3) 2. รายจ่าย 223,593 259,451 (35,858) (13.8) 3. ดุลเงินงบประมาณ (47,043) (76,956) 29,913 38.9 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ 18,921 14,077 4,844 34.4 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) (28,122) (62,879) 34,757 55.3 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 61,262 0.0 61,262 0.0 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) 33,140 (62,879) 96,019 152.7 8. เงินคงคลังปลายงวด 141,611 203,218 (61,607) (30.3) ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง 2. ฐานะการคลังในช่วงครึ่งแรกของปงบประมาณ 2560 (เดือนตุลาคม 2559 – เดือนมีนาคม 2560) 2.1 รายไดนําสงคลัง รัฐบาลมีรายไดนําสงคลังทั้งสิ้น 1,029,237 ลานบาท ต่ํากวาชวงเดียวกันปที่แลว 30,852 ลานบาท (คิดเปนรอยละ 2.9) ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการนําส่งรายได้จากการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz (4G) ในปีก่อน 2.2 รายจายรัฐบาล การเบิกจายเงินงบประมาณของรัฐบาลมีจํานวนทั้งสิ้น 1,605,672 ล้านบาท สูงกว่าชวงเดียวกันปที่แลว 34,796 ลานบาท (คิดเปนรอยละ 2.2) ประกอบดวยรายจายปีปัจจุบัน 1,452,770 ลานบาท คิดเปนร้อยละ 53.2 ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย สูงกว่าชวงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.9 และรายจายจากงบประมาณปีก่อน 152,902 ลานบาท ต่ํากว่าชวงเดียวกันปที่แล้วร้อยละ 3.9 (ตารางที่ 3) รายจายปปจจุบันจํานวน 1,452,770 ลานบาท ประกอบดวยรายจายประจํา 1,261,781 ลานบาท (คิดเป็นร้อยละ 57.1 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจําหลังโอนเปลี่ยนแปลง 2,210,541 ล้านบาท) สูงกวาชวงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 1.1 และรายจายลงทุน 190,989 ลานบาท (คิดเป็นร้อยละ 36.6 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนหลังโอนเปลี่ยนแปลง 522,459 ล้านบาท) สูงกว่าช่วงเดียวกันปที่แลว รอยละ 17.0 ตารางที่ 3 การเบิกจายเงินงบประมาณในช่วงครึ่งแรกของปงบประมาณ 2560 (เดือนตุลาคม 2559 – เดือนมีนาคม 2560) หน่วย: ล้านบาท ครึ่งแรก เปรียบเทียบ ปีงบประมาณ 2560 ปีงบประมาณ 2559 จํานวน ร้อยละ 1. รายจ่ายปปจจุบัน 1,452,770 1,411,849 40,921 2.9 1.1 รายจ่ายประจํา 1,261,781 1,248,659 13,122 1.1 1.2 รายจ่ายลงทุน 190,989 163,190 27,799 17.0 2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 152,902 159,027 (6,125) (3.9) 3. รายจ่ายรวม (1+2) 1,605,672 1,570,876 34,796 2.2 ที่มา: กรมบัญชีกลาง 2.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดขาดดุล จํานวน 595,281 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ จํานวน 576,435 ล้านบาท และขาดดุลเงินนอกงบประมาณ จํานวน 18,846 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติกําหนดแผนฯ งวดที่ 10 – 12 ที่เหลื่อมจ่ายจากปีก่อน จํานวน 25,244 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลไดบริหารเงินสดใหสอดคล้องกับความต้องการใชเงินโดยการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจํานวน 295,592 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังการกูเพื่อชดเชยการขาดดุล) ขาดดุลเทากับ 299,689 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2560 มีจํานวนทั้งสิ้น 141,611 ล้านบาท (ตารางที่ 4) ตารางที่ 4 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2560 (เดือนตุลาคม 2559 – เดือนมีนาคม 2560) หน่วย: ล้านบาท ครึ่งแรก เปรียบเทียบ ปีงบประมาณ 2560 ปีงบประมาณ 2559 จํานวน ร้อยละ 1. รายได้ 1,029,237 1,060,089 (30,852) (2.9) 2. รายจ่าย 1,605,672 1,570,876 34,796 2.2 3. ดุลเงินงบประมาณ (576,435) (510,787) (65,648) (12.9) 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ (18,846) (25,200) 6,354 25.2 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) (595,281) (535,987) (59,294) (11.1) 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 295,592 313,023 (17,431) (5.6) 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) (299,689) (222,964) (76,725) (34.4) 8. เงินคงคลังปลายงวด 141,611 203,218 (61,607) (30.3) ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง สํานักนโยบายการคลัง สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร 0 2273 9020 ตอ 3563 ที่มา : กระทรวงการคลัง ผู้นําเสนอ : กลุ่มสารนิเทศการคลัง สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ฐานะการคลังของรัฐบาลในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2560 วันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน 2560 ฐานะการคลังของรัฐบาลในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2560 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2560 (เดือนตุลาคม 2559 – เดือนมีนาคม 2560) ว่ารัฐบาลมีรายไดนําสงคลังทั้งสิ้น จํานวน 1,029,237 ล้านบาท ในขณะที่มีการเบิกจายเงินงบประมาณทั้งสิ้น จํานวน 1,605,672 ล้านบาท นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผูอํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงข่าวฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2560 (เดือนตุลาคม 2559 – เดือนมีนาคม 2560) ว่ารัฐบาลมีรายไดนําสงคลังทั้งสิ้น จํานวน 1,029,237 ล้านบาท ในขณะที่มีการเบิกจายเงินงบประมาณทั้งสิ้น จํานวน 1,605,672 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลไดกูเงินเพื่อชดเชยการขาดดุล จํานวน 295,592 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2560 มีจํานวนทั้งสิ้น141,611 ลานบาท นายกฤษฎาฯ สรุปวา “ในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2560 ฐานะการคลังของรัฐบาลยังคงอยู่ในระดับที่เข้มแข็ง ในขณะที่ระดับเงินคงคลังของรัฐบาลเพิ่มสูงขึ้นจากการบริหารเงินสดเพื่อรองรับการเบิกจ่ายที่คาดว่าจะเร่งตัวขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีงบประมาณ 2560” ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2560 หน่วย: ล้านบาท ครึ่งแรก เปรียบเทียบ ปีงบประมาณ 2560 ปีงบประมาณ 2559 จํานวน ร้อยละ 1. รายได้ 1,029,237 1,060,089 (30,852) (2.9) 2. รายจ่าย 1,605,672 1,570,876 34,796 2.2 3. ดุลเงินงบประมาณ (576,435) (510,787) (65,648) (12.9) 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ (18,846) (25,200) 6,354 25.2 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) (595,281) (535,987) (59,294) (11.1) 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 295,592 313,023 (17,431) (5.6) 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) (299,689) (222,964) (76,725) (34.4) 8. เงินคงคลังปลายงวด 141,611 203,218 (61,607) (30.3) ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง รายละเอียดเพิ่มเติม ดูไดจาก www.fpo.go.th สํานักนโยบายการคลัง สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร 0 2273 9020 ตอ 3538 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดประจําเดือนมีนาคม 2560 และในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2560 (เดือนตุลาคม 2559 – เดือนมีนาคม 2560) ในเดือนมีนาคม 2560 รัฐบาลขาดดุลเงินสดจํานวน 28,122 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ จํานวน 47,043 ลานบาท ในขณะที่ดุลเงินนอกงบประมาณเกินดุล จํานวน 18,921 ลานบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2560 มีจํานวน 141,611 ลานบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. ฐานะการคลังเดือนมีนาคม 2560 1.1 รัฐบาลมีรายไดนําสงคลัง จํานวน 176,550 ลานบาท ต่ํากว่าเดือนเดียวกันปที่แลว 5,945 ลานบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการนําส่งรายได้จากการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz (4G) ในปีก่อน 1.2 รัฐบาลมีการเบิกจายเงินงบประมาณทั้งสิ้น จํานวน 223,593 ลานบาท ต่ํากว่าเดือนเดียวกันปที่แลว จํานวน 35,858 ลานบาท (คิดเปนรอยละ 13.8) โดยเป็นรายจ่ายปีปัจจุบัน จํานวน 204,131 ล้านบาท ต่ํากว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 9.1 ประกอบดวยรายจายประจํา จํานวน 152,971 ล้านบาท ต่ํากว่าเดือนเดียวกันปที่แลวรอยละ 14.7 และรายจายลงทุน 51,160 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกัน ปีที่แล้วร้อยละ 13.1 และการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณปกอนจํานวน 19,462 ลานบาท ต่ํากวาเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 44.2 (ตารางที่ 1) การเบิกจายเงินงบประมาณที่สําคัญในเดือนนี้ ไดแก เงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ จํานวน 14,864 ล้านบาท รายจ่ายชําระหนี้ของกระทรวงการคลัง จํานวน 8,191 ล้านบาท และรายจ่ายอื่นของกระทรวงกลาโหม จํานวน 6,898 ล้านบาท ตารางที่ 1 การเบิกจายเงินงบประมาณเดือนมีนาคม 2560 หนวย: ลานบาท เดือนมีนาคม เปรียบเทียบ 2560 2559 จํานวน ร้อยละ 1. รายจายปปจจุบัน 204,131 224,575 (20,444) (9.1) 1.1 รายจายประจํา 152,971 179,352 (26,381) (14.7) 1.2 รายจายลงทุน 51,160 45,223 5,937 13.1 2. รายจายจากงบประมาณปกอน 19,462 34,879 (15,414) (44.2) 3. รายจายรวม (1+2) 223,593 259,451 (35,858) (13.8) ที่มา: กรมบัญชีกลาง 1.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด รายไดนําสงคลังและการเบิกจายเงินงบประมาณของรัฐบาลขางตน สงผลให้ดุลเงินงบประมาณในเดือนมีนาคม 2560 ขาดดุลจํานวน 47,043 ลานบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 18,921 ลานบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากเงินฝากคลังของส่วนราชการสุทธิ จํานวน 14,406 ล้านบาท และรัฐบาลไดกูเงินเพื่อชดเชยการขาดดุล จํานวน 61,262 ลานบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังกูชดเชยการขาดดุล) เกินดุลเทากับจํานวน 33,140 ล้านบาท (ตารางที่ 2) ตารางที่ 2 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดเดือนมีนาคม 2560 หน่วย: ล้านบาท เดือนมีนาคม เปรียบเทียบ 2560 2559 จํานวน ร้อยละ 1. รายได้ 176,550 182,495 (5,945) (3.3) 2. รายจ่าย 223,593 259,451 (35,858) (13.8) 3. ดุลเงินงบประมาณ (47,043) (76,956) 29,913 38.9 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ 18,921 14,077 4,844 34.4 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) (28,122) (62,879) 34,757 55.3 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 61,262 0.0 61,262 0.0 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) 33,140 (62,879) 96,019 152.7 8. เงินคงคลังปลายงวด 141,611 203,218 (61,607) (30.3) ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง 2. ฐานะการคลังในช่วงครึ่งแรกของปงบประมาณ 2560 (เดือนตุลาคม 2559 – เดือนมีนาคม 2560) 2.1 รายไดนําสงคลัง รัฐบาลมีรายไดนําสงคลังทั้งสิ้น 1,029,237 ลานบาท ต่ํากวาชวงเดียวกันปที่แลว 30,852 ลานบาท (คิดเปนรอยละ 2.9) ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการนําส่งรายได้จากการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz (4G) ในปีก่อน 2.2 รายจายรัฐบาล การเบิกจายเงินงบประมาณของรัฐบาลมีจํานวนทั้งสิ้น 1,605,672 ล้านบาท สูงกว่าชวงเดียวกันปที่แลว 34,796 ลานบาท (คิดเปนรอยละ 2.2) ประกอบดวยรายจายปีปัจจุบัน 1,452,770 ลานบาท คิดเปนร้อยละ 53.2 ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย สูงกว่าชวงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.9 และรายจายจากงบประมาณปีก่อน 152,902 ลานบาท ต่ํากว่าชวงเดียวกันปที่แล้วร้อยละ 3.9 (ตารางที่ 3) รายจายปปจจุบันจํานวน 1,452,770 ลานบาท ประกอบดวยรายจายประจํา 1,261,781 ลานบาท (คิดเป็นร้อยละ 57.1 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจําหลังโอนเปลี่ยนแปลง 2,210,541 ล้านบาท) สูงกวาชวงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 1.1 และรายจายลงทุน 190,989 ลานบาท (คิดเป็นร้อยละ 36.6 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนหลังโอนเปลี่ยนแปลง 522,459 ล้านบาท) สูงกว่าช่วงเดียวกันปที่แลว รอยละ 17.0 ตารางที่ 3 การเบิกจายเงินงบประมาณในช่วงครึ่งแรกของปงบประมาณ 2560 (เดือนตุลาคม 2559 – เดือนมีนาคม 2560) หน่วย: ล้านบาท ครึ่งแรก เปรียบเทียบ ปีงบประมาณ 2560 ปีงบประมาณ 2559 จํานวน ร้อยละ 1. รายจ่ายปปจจุบัน 1,452,770 1,411,849 40,921 2.9 1.1 รายจ่ายประจํา 1,261,781 1,248,659 13,122 1.1 1.2 รายจ่ายลงทุน 190,989 163,190 27,799 17.0 2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 152,902 159,027 (6,125) (3.9) 3. รายจ่ายรวม (1+2) 1,605,672 1,570,876 34,796 2.2 ที่มา: กรมบัญชีกลาง 2.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดขาดดุล จํานวน 595,281 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ จํานวน 576,435 ล้านบาท และขาดดุลเงินนอกงบประมาณ จํานวน 18,846 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติกําหนดแผนฯ งวดที่ 10 – 12 ที่เหลื่อมจ่ายจากปีก่อน จํานวน 25,244 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลไดบริหารเงินสดใหสอดคล้องกับความต้องการใชเงินโดยการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจํานวน 295,592 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังการกูเพื่อชดเชยการขาดดุล) ขาดดุลเทากับ 299,689 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2560 มีจํานวนทั้งสิ้น 141,611 ล้านบาท (ตารางที่ 4) ตารางที่ 4 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2560 (เดือนตุลาคม 2559 – เดือนมีนาคม 2560) หน่วย: ล้านบาท ครึ่งแรก เปรียบเทียบ ปีงบประมาณ 2560 ปีงบประมาณ 2559 จํานวน ร้อยละ 1. รายได้ 1,029,237 1,060,089 (30,852) (2.9) 2. รายจ่าย 1,605,672 1,570,876 34,796 2.2 3. ดุลเงินงบประมาณ (576,435) (510,787) (65,648) (12.9) 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ (18,846) (25,200) 6,354 25.2 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) (595,281) (535,987) (59,294) (11.1) 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 295,592 313,023 (17,431) (5.6) 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) (299,689) (222,964) (76,725) (34.4) 8. เงินคงคลังปลายงวด 141,611 203,218 (61,607) (30.3) ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง สํานักนโยบายการคลัง สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร 0 2273 9020 ตอ 3563 ที่มา : กระทรวงการคลัง ผู้นําเสนอ : กลุ่มสารนิเทศการคลัง สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/3342
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ดร.พิเชฐฯ ร่วมเปิดนิทรรศการ Japan Wireless Expo ฉลอง 130 ปี ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น
วันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม 2560 ดร.พิเชฐฯ ร่วมเปิดนิทรรศการ Japan Wireless Expo ฉลอง 130 ปี ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น ดร.พิเชฐฯ ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ร่วมกล่าวในพิธีเปิดนิทรรศการงานและสัมมนา Japan Wireless Expo จัดขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบรอบ 130 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและญี่ปุ่น ซึ่งกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสาร ประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งเป็นการแบ่งปันความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีไร้สายที่ทันสมัย ซึ่งภายในงานประกอบไปด้วยการจัดนิทรรศการและการสัมมนาในหัวข้อ การตรวจคลื่นความถี่ (Spectrum Monitoring) การป้องกันภัยพิบัติ และกิจการด้านอวกาศและการคมนาคม นอกจากนี้ ดร.พิเชฐฯ ยังได้เชิญ คุณจิโร อาคามะ (Mr. Jiro AKAMA) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารของประเทศญี่ปุ่น และคณะไปเยี่ยมชมโครงการ Eastern Economic Corridor (EEC) และโครงการ Digital Park ที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ในโอกาสหน้า ณ โรงแรมพูลแมน กรุงเทพ แกรนด์ สุขุมวิท กรุงเทพฯ **************************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ดร.พิเชฐฯ ร่วมเปิดนิทรรศการ Japan Wireless Expo ฉลอง 130 ปี ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น วันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม 2560 ดร.พิเชฐฯ ร่วมเปิดนิทรรศการ Japan Wireless Expo ฉลอง 130 ปี ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น ดร.พิเชฐฯ ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ร่วมกล่าวในพิธีเปิดนิทรรศการงานและสัมมนา Japan Wireless Expo จัดขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบรอบ 130 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและญี่ปุ่น ซึ่งกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสาร ประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งเป็นการแบ่งปันความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีไร้สายที่ทันสมัย ซึ่งภายในงานประกอบไปด้วยการจัดนิทรรศการและการสัมมนาในหัวข้อ การตรวจคลื่นความถี่ (Spectrum Monitoring) การป้องกันภัยพิบัติ และกิจการด้านอวกาศและการคมนาคม นอกจากนี้ ดร.พิเชฐฯ ยังได้เชิญ คุณจิโร อาคามะ (Mr. Jiro AKAMA) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารของประเทศญี่ปุ่น และคณะไปเยี่ยมชมโครงการ Eastern Economic Corridor (EEC) และโครงการ Digital Park ที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ในโอกาสหน้า ณ โรงแรมพูลแมน กรุงเทพ แกรนด์ สุขุมวิท กรุงเทพฯ **************************
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/3599
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ประธานหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ พร้อมสนับสนุนนโยบาย Thailand 4.0 และ EEC
วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน 2560 ประธานหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ พร้อมสนับสนุนนโยบาย Thailand 4.0 และ EEC ประธานหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ พร้อมสนับสนุนนโยบาย Thailand 4.0 และ EEC วันนี้ (16 มิ.ย. 60) เวลา 10.00 น. นายโซจิ ซาคาอิ (Mr. Soji Sakai) ประธานหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ เข้าเยี่ยมคารวะ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อแนะนําคณะผู้บริหารชุดใหม่และหารือเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจไทย ณ ห้องรับรอง 1 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล สรุปสาระสําคัญการหารือดังนี้ รองนายกรัฐมนตรีแสดงความยินดีต่อการเข้ารับตําแหน่งประธานหอการค้าฯ เชื่อมั่นว่าด้วยประสบการณ์และความรู้ความสามารถของนายซาคาอิจะช่วยสนับสนุนความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นด้านเศรษฐกิจการค้าให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ประธานหอการค้าฯ แสดงความขอบคุณรองนายกรัฐมนตรีที่สละเวลาให้เข้าพบวันนี้ และกล่าวว่าในช่วงรับตําแหน่งได้ประกาศยืนยันที่จะให้การสนับสนุนนโยบาย Thailand 4.0 และเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) พร้อมแสดงความขอบคุณรัฐบาลไทยที่ให้การสนับสนุนการดําเนินธุรกิจของภาคเอกชนญี่ปุ่นในไทยมาโดยตลอด โอกาสนี้รองนายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงการเดินทางญี่ปุ่นเมื่อต้นเดือนมิถุนายน เพื่อเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย-ญี่ปุ่น (High Level Joint Commission: HLJC) ครั้งที่ 3 ร่วมกับนายโยะชิฮิเดะ สึกะ (Mr. Yoshihide Suga) เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น และได้เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ซึ่งในโอกาสดังกล่าวรองนายกรัฐมนตรีได้เสนอให้พิจารณานําคณะนักธุรกิจญี่ปุ่นเยือนไทยในโอกาสครบรอบ 130 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย – ญี่ปุ่น โดยจะมีการจัดสัมมนาและศึกษาดูงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ด้วย ทั้งนี้ประธานหอการค้าฯ กล่าวว่าหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ และองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) พร้อมเชิญชวนคณะภาคเอกชนญี่ปุ่นในไทยเข้าร่วมงานดังกล่าว เพื่อแสดงถึงความเชื่อมั่นในศักยภาพของประเทศไทย และย้ําถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน ************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ประธานหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ พร้อมสนับสนุนนโยบาย Thailand 4.0 และ EEC วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน 2560 ประธานหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ พร้อมสนับสนุนนโยบาย Thailand 4.0 และ EEC ประธานหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ พร้อมสนับสนุนนโยบาย Thailand 4.0 และ EEC วันนี้ (16 มิ.ย. 60) เวลา 10.00 น. นายโซจิ ซาคาอิ (Mr. Soji Sakai) ประธานหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ เข้าเยี่ยมคารวะ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อแนะนําคณะผู้บริหารชุดใหม่และหารือเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจไทย ณ ห้องรับรอง 1 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล สรุปสาระสําคัญการหารือดังนี้ รองนายกรัฐมนตรีแสดงความยินดีต่อการเข้ารับตําแหน่งประธานหอการค้าฯ เชื่อมั่นว่าด้วยประสบการณ์และความรู้ความสามารถของนายซาคาอิจะช่วยสนับสนุนความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นด้านเศรษฐกิจการค้าให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ประธานหอการค้าฯ แสดงความขอบคุณรองนายกรัฐมนตรีที่สละเวลาให้เข้าพบวันนี้ และกล่าวว่าในช่วงรับตําแหน่งได้ประกาศยืนยันที่จะให้การสนับสนุนนโยบาย Thailand 4.0 และเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) พร้อมแสดงความขอบคุณรัฐบาลไทยที่ให้การสนับสนุนการดําเนินธุรกิจของภาคเอกชนญี่ปุ่นในไทยมาโดยตลอด โอกาสนี้รองนายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงการเดินทางญี่ปุ่นเมื่อต้นเดือนมิถุนายน เพื่อเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย-ญี่ปุ่น (High Level Joint Commission: HLJC) ครั้งที่ 3 ร่วมกับนายโยะชิฮิเดะ สึกะ (Mr. Yoshihide Suga) เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น และได้เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ซึ่งในโอกาสดังกล่าวรองนายกรัฐมนตรีได้เสนอให้พิจารณานําคณะนักธุรกิจญี่ปุ่นเยือนไทยในโอกาสครบรอบ 130 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย – ญี่ปุ่น โดยจะมีการจัดสัมมนาและศึกษาดูงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ด้วย ทั้งนี้ประธานหอการค้าฯ กล่าวว่าหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ และองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) พร้อมเชิญชวนคณะภาคเอกชนญี่ปุ่นในไทยเข้าร่วมงานดังกล่าว เพื่อแสดงถึงความเชื่อมั่นในศักยภาพของประเทศไทย และย้ําถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน ************
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/4579
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บีโอไอมอบหน้ากากอนามัยให้กระทรวงสาธารณสุข
วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม 2563 บีโอไอมอบหน้ากากอนามัยให้กระทรวงสาธารณสุข บีโอไอมอบหน้ากากอนามัยให้กระทรวงสาธารณสุข บีโอไอมอบหน้ากากอนามัยให้กระทรวงสาธารณสุข นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) มอบหน้ากากอนามัย KN95 จํานวน 3,400 ชิ้น ให้แก่กระทรวงสาธารณสุข เพื่อนําไปใช้ประโยชน์ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ต่อไป โดยหน้ากากดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มบริษัท ปริ๊งซ์ เฉิงซาน และบริษัท ฮอลลี่ กรุ๊ป ผ่านทางสํานักงานเศรษฐกิจการลงทุน ประจําการสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน (บีโอไอ ณ กรุงปักกิ่ง)
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บีโอไอมอบหน้ากากอนามัยให้กระทรวงสาธารณสุข วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม 2563 บีโอไอมอบหน้ากากอนามัยให้กระทรวงสาธารณสุข บีโอไอมอบหน้ากากอนามัยให้กระทรวงสาธารณสุข บีโอไอมอบหน้ากากอนามัยให้กระทรวงสาธารณสุข นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) มอบหน้ากากอนามัย KN95 จํานวน 3,400 ชิ้น ให้แก่กระทรวงสาธารณสุข เพื่อนําไปใช้ประโยชน์ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ต่อไป โดยหน้ากากดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มบริษัท ปริ๊งซ์ เฉิงซาน และบริษัท ฮอลลี่ กรุ๊ป ผ่านทางสํานักงานเศรษฐกิจการลงทุน ประจําการสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน (บีโอไอ ณ กรุงปักกิ่ง)
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/30302
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-งาน “คลินิกเอสเอ็มอีสัญจรแนวประชารัฐ” ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน นาร่องจังหวัดกระบี่ ครั้งที่ 6
วันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม 2560 งาน “คลินิกเอสเอ็มอีสัญจรแนวประชารัฐ” ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน นาร่องจังหวัดกระบี่ ครั้งที่ 6 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงาน “คลินิกเอสเอ็มอีสัญจรแนวประชารัฐ” ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน นาร่องจังหวัดกระบี่ ครั้งที่ 6 กระบี่ : วันนี้ (13 กรกฏาคม 2560) นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงาน “คลินิกเอสเอ็มอีสัญจรแนวประชารัฐ” ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน นาร่องจังหวัดกระบี่ ครั้งที่ 6 ร่วมกระทรวงมหาดไทย สานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และหน่วยงานเครือข่ายการพัฒนาเอ็มเอ็มอี ส่งเสริมผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพิ่มองค์ความรู้ ในการพัฒนาศักยภาพธุรกิจ สร้างมูลค่าเพิ่ม ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น แบ่งเป็น 2 กลุ่มจังหวัด คือ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (ภูเก็ต ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง) และกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย (สุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง) ถือเป็นเขตเศรษฐกิจสาคัญของไทย เพื่อให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนและองค์ความรู้ตามแนวทางของรัฐบาลที่มุ่งสร้างเศรษฐกิจจากภายใน (Local Economy) ด้วยการพัฒนาเอสเอ็มอีและเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เข้มแข็งภายใต้นโยบายอุตสาหกรรม S- Curve ที่ต้องการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจอุตสาหกรรมจาก “เพิ่มมูลค่า” ไปสู่ “สร้างมูลค่าเพิ่ม” ให้กับผู้ประกอบการSMEs ในท้องถิ่นที่มีจานวนมาก โดยธุรกิจเด่นที่เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายร่วมของทั้ง 9 จังหวัด มีอยู่ 2 อุตสาหกรรม คือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป (ข้อมูลของสานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ในปี 2558 ทั้ง 9 จังหวัด มีจานวน SMEs มากถึง 257,667 ราย)
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-งาน “คลินิกเอสเอ็มอีสัญจรแนวประชารัฐ” ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน นาร่องจังหวัดกระบี่ ครั้งที่ 6 วันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม 2560 งาน “คลินิกเอสเอ็มอีสัญจรแนวประชารัฐ” ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน นาร่องจังหวัดกระบี่ ครั้งที่ 6 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงาน “คลินิกเอสเอ็มอีสัญจรแนวประชารัฐ” ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน นาร่องจังหวัดกระบี่ ครั้งที่ 6 กระบี่ : วันนี้ (13 กรกฏาคม 2560) นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงาน “คลินิกเอสเอ็มอีสัญจรแนวประชารัฐ” ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน นาร่องจังหวัดกระบี่ ครั้งที่ 6 ร่วมกระทรวงมหาดไทย สานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และหน่วยงานเครือข่ายการพัฒนาเอ็มเอ็มอี ส่งเสริมผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพิ่มองค์ความรู้ ในการพัฒนาศักยภาพธุรกิจ สร้างมูลค่าเพิ่ม ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น แบ่งเป็น 2 กลุ่มจังหวัด คือ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (ภูเก็ต ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง) และกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย (สุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง) ถือเป็นเขตเศรษฐกิจสาคัญของไทย เพื่อให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนและองค์ความรู้ตามแนวทางของรัฐบาลที่มุ่งสร้างเศรษฐกิจจากภายใน (Local Economy) ด้วยการพัฒนาเอสเอ็มอีและเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เข้มแข็งภายใต้นโยบายอุตสาหกรรม S- Curve ที่ต้องการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจอุตสาหกรรมจาก “เพิ่มมูลค่า” ไปสู่ “สร้างมูลค่าเพิ่ม” ให้กับผู้ประกอบการSMEs ในท้องถิ่นที่มีจานวนมาก โดยธุรกิจเด่นที่เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายร่วมของทั้ง 9 จังหวัด มีอยู่ 2 อุตสาหกรรม คือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป (ข้อมูลของสานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ในปี 2558 ทั้ง 9 จังหวัด มีจานวน SMEs มากถึง 257,667 ราย)
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/5188
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การจัดจำหน่ายพันธบัตรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย วงเงิน 10,000 ล้านบาท อายุ 15 และ 20 ปี เพื่อเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนสถาบัน
วันจันทร์ที่ 30 เมษายน 2561 การจัดจําหน่ายพันธบัตรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย วงเงิน 10,000 ล้านบาท อายุ 15 และ 20 ปี เพื่อเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนสถาบัน ธนาคารธนชาต จํากัด (มหาชน) และ ธนาคารกสิกรไทย จํากัด (มหาชน) เป็นผู้จัดการจัดจําหน่ายพันธบัตรให้แก่ กฟผ. วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท อายุ 15 และ 20 ปี นายประภาศ คงเอียด ผู้อํานวยการสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) รายงานว่า กระทรวงการคลังและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้คัดเลือกผู้จัดการจัดจําหน่ายพันธบัตร 2 ราย ได้แก่ ธนาคารธนชาต จํากัด (มหาชน) และ ธนาคารกสิกรไทย จํากัด (มหาชน) ให้เป็นผู้จัดการจัดจําหน่ายพันธบัตรให้แก่ กฟผ. วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท อายุ 15 และ 20 ปี ซึ่งเป็นครั้งแรกที่กระทรวงการคลังดําเนินการจัดหาเงินกู้ให้แก่รัฐวิสาหกิจโดยการออกพันธบัตรที่กระทรวงการคลังไม่ค้ําประกันและเสนอขายแก่ผู้ลงทุนสถาบัน (Institutional Investor : II) ที่ไม่จํากัดจํานวนผู้ซื้อ นับว่าเป็นการพัฒนาตลาดตราสารหนี้รัฐวิสาหกิจขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง และสร้างแรงจูงใจให้ผู้ลงทุนสนใจลงทุนในพันธบัตรของ กฟผ. มากยิ่งขึ้น ซึ่งมีกําหนดการออกพันธบัตรภายในเดือน มิถุนายน 2561 ทั้งนี้ กฟผ. เป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยมีผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) จากบริษัท ทริสเรทติ้ง (TRIS Rating) อยู่ในระดับ AAA ในการนี้ กระทรวงการคลังขอเชิญชวนผู้ลงทุนสถาบันที่สนใจเข้าร่วมลงทุนในพันธบัตร กฟผ. โดยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ผู้จัดการจัดหน่ายพันธบัตรดังกล่าวได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป และขอขอบคุณที่ให้ความสนใจการจัดจําหน่ายพันธบัตร กฟผ. ในครั้งนี้ สํานักจัดการหนี้ 2 สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทร. 0 2265 8050 ต่อ 5420 The issuance of Electricity Generating Authority of Thailand’s (EGAT) 15- and 20-year bonds for Institutional Investor in the amount of 10,000 million baht Mr. Prapas Kong-Ied Director-General of the Public Debt Management Office (PDMO), announced that the Ministry of Finance (MOF) and Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT), rated AAA by TRIS Rating, have mandated Thanachart Bank Public Co., Ltd. and Kasikornbank Public Co., Ltd. as arrangers for the issuance of 15- and 20-year bonds in the amount of 10,000 million baht during June 2018. The bonds will be EGAT’s first non-guaranteed bonds issuance for institutional investor without restricted number of investors. This marks a development in the SOE bond market that will support more investor participation. The investor who seeks to invest in the EGAT bonds can contact the arrangers mentioned for further information. The Ministry of Finance would like to invite all investors to join this issuance and your participation would be gratefully appreciated. Public Debt Management Office Tel. +66 2 265 8050 Ext. 5420
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การจัดจำหน่ายพันธบัตรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย วงเงิน 10,000 ล้านบาท อายุ 15 และ 20 ปี เพื่อเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนสถาบัน วันจันทร์ที่ 30 เมษายน 2561 การจัดจําหน่ายพันธบัตรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย วงเงิน 10,000 ล้านบาท อายุ 15 และ 20 ปี เพื่อเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนสถาบัน ธนาคารธนชาต จํากัด (มหาชน) และ ธนาคารกสิกรไทย จํากัด (มหาชน) เป็นผู้จัดการจัดจําหน่ายพันธบัตรให้แก่ กฟผ. วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท อายุ 15 และ 20 ปี นายประภาศ คงเอียด ผู้อํานวยการสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) รายงานว่า กระทรวงการคลังและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้คัดเลือกผู้จัดการจัดจําหน่ายพันธบัตร 2 ราย ได้แก่ ธนาคารธนชาต จํากัด (มหาชน) และ ธนาคารกสิกรไทย จํากัด (มหาชน) ให้เป็นผู้จัดการจัดจําหน่ายพันธบัตรให้แก่ กฟผ. วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท อายุ 15 และ 20 ปี ซึ่งเป็นครั้งแรกที่กระทรวงการคลังดําเนินการจัดหาเงินกู้ให้แก่รัฐวิสาหกิจโดยการออกพันธบัตรที่กระทรวงการคลังไม่ค้ําประกันและเสนอขายแก่ผู้ลงทุนสถาบัน (Institutional Investor : II) ที่ไม่จํากัดจํานวนผู้ซื้อ นับว่าเป็นการพัฒนาตลาดตราสารหนี้รัฐวิสาหกิจขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง และสร้างแรงจูงใจให้ผู้ลงทุนสนใจลงทุนในพันธบัตรของ กฟผ. มากยิ่งขึ้น ซึ่งมีกําหนดการออกพันธบัตรภายในเดือน มิถุนายน 2561 ทั้งนี้ กฟผ. เป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยมีผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) จากบริษัท ทริสเรทติ้ง (TRIS Rating) อยู่ในระดับ AAA ในการนี้ กระทรวงการคลังขอเชิญชวนผู้ลงทุนสถาบันที่สนใจเข้าร่วมลงทุนในพันธบัตร กฟผ. โดยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ผู้จัดการจัดหน่ายพันธบัตรดังกล่าวได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป และขอขอบคุณที่ให้ความสนใจการจัดจําหน่ายพันธบัตร กฟผ. ในครั้งนี้ สํานักจัดการหนี้ 2 สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทร. 0 2265 8050 ต่อ 5420 The issuance of Electricity Generating Authority of Thailand’s (EGAT) 15- and 20-year bonds for Institutional Investor in the amount of 10,000 million baht Mr. Prapas Kong-Ied Director-General of the Public Debt Management Office (PDMO), announced that the Ministry of Finance (MOF) and Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT), rated AAA by TRIS Rating, have mandated Thanachart Bank Public Co., Ltd. and Kasikornbank Public Co., Ltd. as arrangers for the issuance of 15- and 20-year bonds in the amount of 10,000 million baht during June 2018. The bonds will be EGAT’s first non-guaranteed bonds issuance for institutional investor without restricted number of investors. This marks a development in the SOE bond market that will support more investor participation. The investor who seeks to invest in the EGAT bonds can contact the arrangers mentioned for further information. The Ministry of Finance would like to invite all investors to join this issuance and your participation would be gratefully appreciated. Public Debt Management Office Tel. +66 2 265 8050 Ext. 5420
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/11848
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-SME Bank (ธพว.) จัดงาน SMEs OTOP ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ พร้อมส่งความประทับใจที่ตลาดคลองผดุงฯ ข้างทำเนียบรัฐบาล 12-27 ธ.ค. 60
วันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม 2560 SME Bank (ธพว.) จัดงาน SMEs OTOP ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ พร้อมส่งความประทับใจที่ตลาดคลองผดุงฯ ข้างทําเนียบรัฐบาล 12-27 ธ.ค. 60 ธพว. ประกาศพร้อมจัดงานตลาดคลองผดุงกรุงเกษมครั้งสุดท้าย ภายใต้ชื่อ “สุดยอด SMEs ส่งสุข ส่งท้าย ส่งความประทับใจ ตลาดคลองผดุงกรุงเกษม 60” รวบรวมสินค้าดีจากผู้ผลิตตัวจริงกว่า 400 รายทั่วประเทศ มั่นใจเงินสะพัดกว่า 50 ล้านบาท และยอดผู้เที่ยวงานทะลุ 1 แสน วันนี้ (4 ธันวาคม 2560) เวลา 10.00 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทําเนียบรัฐบาล นางสาวเรณู ตังคจิวางกูร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ในฐานะประธานคณะกรรมการดําเนินโครงการตลาดคลองผดุงกรุงเกษม และนายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว. หรือ SME Development Bank) ได้ร่วมกันแถลงข่าวการจัดงาน “สุดยอด SMEs ส่งสุข ส่งท้าย ส่งความประทับใจ ตลาดคลองผดุงกรุงเกษม 2560” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-27 ธันวาคม 2560 ณ ตลาดคลองผดุงกรุงเกษม ข้างทําเนียบรัฐบาล โอกาสนี้ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง แถลงว่า ตลาดคลองผดุงกรุงเกษม เริ่มจัดตั้งแต่ปี 2558 และต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 3 ปีแล้ว โดยตลอดระยะ 3 ปีที่ผ่านมา จัดมาทั้งหมด 38 ครั้ง ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเจ้าภาพการจัดงานจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่างๆ จํานวน 24 หน่วยงาน และในการจัดงานครั้งที่ 39 นี้ SME Development Bank ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพ จัดระหว่างวันที่ 12-27 ธันวาคม 2560 โดยถือเป็นโอกาสพิเศษสุดที่จะได้เก็บประสบการณ์และความประทับใจในการมาเที่ยวตลาดเพื่อประชาชนแห่งนี้ เนื่องจากจะเป็นการจัดงานครั้งสุดท้ายก่อนจะส่งมอบพื้นที่คืนให้แก่ทําเนียบรัฐบาล และนําความสําเร็จของตลาดคลองผดุงกรุงเกษมไปใช้เป็นต้นแบบสู่การจัดตลาดประชารัฐตามจุดอื่นๆ ทั่วประเทศต่อไป โอกาสนี้ กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย กล่าวเสริมว่า ตลาดคลองผดุงกรุงเกษม ถือเป็นต้นแบบการพัฒนาตลาดการค้าเพื่อผู้ประกอบการรายย่อย ทั้งกลุ่มเกษตร วิสาหกิจชุมชน และเอสเอ็มอี ให้ได้มีพื้นที่จําหน่ายสินค้าส่งตรงจากผู้ผลิตถึงมือผู้บริโภคในราคายุติธรรม โดยการจัดงานครั้งที่ผ่านๆ มา มีผู้ประกอบการจํานวนมากเมื่อนําสินค้ามาจําหน่ายยังตลาดแห่งนี้แล้ว ส่งผลดีช่วยให้สินค้าเป็นที่รู้จักของตลาดในวงกว้าง เกิดการต่อยอดทางธุรกิจ สร้างงาน สร้างรายได้ต่อชุมชนอย่างต่อเนื่อง และสําหรับการจัดงาน “สุดยอด SMEs ส่งสุข ส่งท้าย ส่งความประทับใจ ตลาดคลองผดุงกรุงเกษม 2560” โดย SME Development Bank เชื่อว่าจะได้รับความสนใจจากประชาชนอย่างยิ่ง เพราะเป็นโอกาสสุดท้ายที่ประชาชนจะได้เก็บความทรงจําและประทับใจของตลาดเพื่อประชาชนแห่งนี้ คาดจะมีผู้เที่ยวงาน 8,000-10,000 คนต่อวัน หรือกว่า 1 แสนคนตลอดการจัดงาน คาดก่อให้เกิดเงินสะพัดภายในงานไม่ต่ํากว่า 50 ล้านบาท และที่สําคัญถือเป็นการกระจายรายได้ถึงมือผู้ผลิตโดยตรงอย่างแท้จริง นอกจากนี้ ในงานได้รวบรวมสินค้าดีมีมาตรฐานจากผู้ประกอบการที่มีศักยภาพทั่วประเทศกว่า 400 ราย ทั้งเอสเอ็มอี โอทอป กลุ่มเกษตรกร ผู้ประกอบการรายย่อย วิสาหกิจชุมชน และท่องเที่ยวชุมชน เป็นต้น แบ่งรูปแบบการจัดงานเป็น 2 สัปดาห์ คือ สัปดาห์ที่ 1 เริ่มตั้งแต่วันที่ 12-18 ธันวาคม 2560 ใช้รูปแบบ “SMEs สินค้าดี 4.0 ท่องเที่ยวชุมชน” รวบรวมสินค้ามาตรฐานเยี่ยม มีนวัตกรรมจากเอสเอ็มอี โอทอป และธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวชุมชน เช่น แพคเกจท่องเที่ยวไทยปี 2561 สินค้าที่ระลึกจากท้องถิ่น เป็นต้น และในสัปดาห์ที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 19-27 ธันวาคม 2560 ใช้รูปแบบ “ของดี ของดัง ของขวัญปีใหม่” คัดสรรสินค้าคุณภาพดีเหมาะซื้อหาเป็นของขวัญในเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ อีกทั้ง ยังพบกิจกรรมพิเศษมากมาย อาทิ ช่วง “สินค้านาทีทองนาทีถูก” โปรโมชั่นที่จะมาช่วยลดภาระค่าครองชีพแก่ประชาชน เช่น ไข่ไก่ 3 แผง ขายราคา 100 บาท น้ํามันพืช 2 ขวดเพียง 50 บาท รวมถึงสินค้าราคาถูกพิเศษจากผู้ประกอบการที่พร้อมใจนํามาลดราคาส่งท้ายปี ตอนท้ายของการแถลงข่าว รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองได้กล่าวเชิญชวนประชาชนมาชม ชิม ช้อป พร้อมทั้งยังมีบริการจําหน่ายกระเช้าของขวัญราคาพิเศษ ห่อของขวัญฟรี กิจกรรมฝึกอาชีพจากหน่วยงานต่างๆ การออกร้านจําหน่ายเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกจากกรมธนารักษ์ มุมความรู้เพื่อให้คําปรึกษาด้านเงินทุน บริการสินเชื่อโปรโมชั่น 7-1-0 คือ อนุมัติสินเชื่อด่วนภายใน 7 วัน เบิกจ่ายฉับไวใน 1 วัน และค่าธรรมเนียม 0 บาท บริการเขียนแผนธุรกิจแก่ผู้สนใจ บริการสินเชื่อเพื่อผู้สนใจลงทุนแฟรนไชส์ที่ได้รับการการันตีจากกระทรวงพาณิชย์ และในช่วงท้ายของการจัดงานได้รับการยืนยันจากผู้ประกอบการว่าจะมีการจําหน่ายสินค้าในราคาถูกลงกว่าเดิม เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้แก่ผู้ที่มาเที่ยวงานอย่างทั่วถึงอีกด้วย ................................................................................. กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-SME Bank (ธพว.) จัดงาน SMEs OTOP ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ พร้อมส่งความประทับใจที่ตลาดคลองผดุงฯ ข้างทำเนียบรัฐบาล 12-27 ธ.ค. 60 วันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม 2560 SME Bank (ธพว.) จัดงาน SMEs OTOP ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ พร้อมส่งความประทับใจที่ตลาดคลองผดุงฯ ข้างทําเนียบรัฐบาล 12-27 ธ.ค. 60 ธพว. ประกาศพร้อมจัดงานตลาดคลองผดุงกรุงเกษมครั้งสุดท้าย ภายใต้ชื่อ “สุดยอด SMEs ส่งสุข ส่งท้าย ส่งความประทับใจ ตลาดคลองผดุงกรุงเกษม 60” รวบรวมสินค้าดีจากผู้ผลิตตัวจริงกว่า 400 รายทั่วประเทศ มั่นใจเงินสะพัดกว่า 50 ล้านบาท และยอดผู้เที่ยวงานทะลุ 1 แสน วันนี้ (4 ธันวาคม 2560) เวลา 10.00 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทําเนียบรัฐบาล นางสาวเรณู ตังคจิวางกูร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ในฐานะประธานคณะกรรมการดําเนินโครงการตลาดคลองผดุงกรุงเกษม และนายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว. หรือ SME Development Bank) ได้ร่วมกันแถลงข่าวการจัดงาน “สุดยอด SMEs ส่งสุข ส่งท้าย ส่งความประทับใจ ตลาดคลองผดุงกรุงเกษม 2560” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-27 ธันวาคม 2560 ณ ตลาดคลองผดุงกรุงเกษม ข้างทําเนียบรัฐบาล โอกาสนี้ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง แถลงว่า ตลาดคลองผดุงกรุงเกษม เริ่มจัดตั้งแต่ปี 2558 และต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 3 ปีแล้ว โดยตลอดระยะ 3 ปีที่ผ่านมา จัดมาทั้งหมด 38 ครั้ง ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเจ้าภาพการจัดงานจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่างๆ จํานวน 24 หน่วยงาน และในการจัดงานครั้งที่ 39 นี้ SME Development Bank ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพ จัดระหว่างวันที่ 12-27 ธันวาคม 2560 โดยถือเป็นโอกาสพิเศษสุดที่จะได้เก็บประสบการณ์และความประทับใจในการมาเที่ยวตลาดเพื่อประชาชนแห่งนี้ เนื่องจากจะเป็นการจัดงานครั้งสุดท้ายก่อนจะส่งมอบพื้นที่คืนให้แก่ทําเนียบรัฐบาล และนําความสําเร็จของตลาดคลองผดุงกรุงเกษมไปใช้เป็นต้นแบบสู่การจัดตลาดประชารัฐตามจุดอื่นๆ ทั่วประเทศต่อไป โอกาสนี้ กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย กล่าวเสริมว่า ตลาดคลองผดุงกรุงเกษม ถือเป็นต้นแบบการพัฒนาตลาดการค้าเพื่อผู้ประกอบการรายย่อย ทั้งกลุ่มเกษตร วิสาหกิจชุมชน และเอสเอ็มอี ให้ได้มีพื้นที่จําหน่ายสินค้าส่งตรงจากผู้ผลิตถึงมือผู้บริโภคในราคายุติธรรม โดยการจัดงานครั้งที่ผ่านๆ มา มีผู้ประกอบการจํานวนมากเมื่อนําสินค้ามาจําหน่ายยังตลาดแห่งนี้แล้ว ส่งผลดีช่วยให้สินค้าเป็นที่รู้จักของตลาดในวงกว้าง เกิดการต่อยอดทางธุรกิจ สร้างงาน สร้างรายได้ต่อชุมชนอย่างต่อเนื่อง และสําหรับการจัดงาน “สุดยอด SMEs ส่งสุข ส่งท้าย ส่งความประทับใจ ตลาดคลองผดุงกรุงเกษม 2560” โดย SME Development Bank เชื่อว่าจะได้รับความสนใจจากประชาชนอย่างยิ่ง เพราะเป็นโอกาสสุดท้ายที่ประชาชนจะได้เก็บความทรงจําและประทับใจของตลาดเพื่อประชาชนแห่งนี้ คาดจะมีผู้เที่ยวงาน 8,000-10,000 คนต่อวัน หรือกว่า 1 แสนคนตลอดการจัดงาน คาดก่อให้เกิดเงินสะพัดภายในงานไม่ต่ํากว่า 50 ล้านบาท และที่สําคัญถือเป็นการกระจายรายได้ถึงมือผู้ผลิตโดยตรงอย่างแท้จริง นอกจากนี้ ในงานได้รวบรวมสินค้าดีมีมาตรฐานจากผู้ประกอบการที่มีศักยภาพทั่วประเทศกว่า 400 ราย ทั้งเอสเอ็มอี โอทอป กลุ่มเกษตรกร ผู้ประกอบการรายย่อย วิสาหกิจชุมชน และท่องเที่ยวชุมชน เป็นต้น แบ่งรูปแบบการจัดงานเป็น 2 สัปดาห์ คือ สัปดาห์ที่ 1 เริ่มตั้งแต่วันที่ 12-18 ธันวาคม 2560 ใช้รูปแบบ “SMEs สินค้าดี 4.0 ท่องเที่ยวชุมชน” รวบรวมสินค้ามาตรฐานเยี่ยม มีนวัตกรรมจากเอสเอ็มอี โอทอป และธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวชุมชน เช่น แพคเกจท่องเที่ยวไทยปี 2561 สินค้าที่ระลึกจากท้องถิ่น เป็นต้น และในสัปดาห์ที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 19-27 ธันวาคม 2560 ใช้รูปแบบ “ของดี ของดัง ของขวัญปีใหม่” คัดสรรสินค้าคุณภาพดีเหมาะซื้อหาเป็นของขวัญในเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ อีกทั้ง ยังพบกิจกรรมพิเศษมากมาย อาทิ ช่วง “สินค้านาทีทองนาทีถูก” โปรโมชั่นที่จะมาช่วยลดภาระค่าครองชีพแก่ประชาชน เช่น ไข่ไก่ 3 แผง ขายราคา 100 บาท น้ํามันพืช 2 ขวดเพียง 50 บาท รวมถึงสินค้าราคาถูกพิเศษจากผู้ประกอบการที่พร้อมใจนํามาลดราคาส่งท้ายปี ตอนท้ายของการแถลงข่าว รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองได้กล่าวเชิญชวนประชาชนมาชม ชิม ช้อป พร้อมทั้งยังมีบริการจําหน่ายกระเช้าของขวัญราคาพิเศษ ห่อของขวัญฟรี กิจกรรมฝึกอาชีพจากหน่วยงานต่างๆ การออกร้านจําหน่ายเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกจากกรมธนารักษ์ มุมความรู้เพื่อให้คําปรึกษาด้านเงินทุน บริการสินเชื่อโปรโมชั่น 7-1-0 คือ อนุมัติสินเชื่อด่วนภายใน 7 วัน เบิกจ่ายฉับไวใน 1 วัน และค่าธรรมเนียม 0 บาท บริการเขียนแผนธุรกิจแก่ผู้สนใจ บริการสินเชื่อเพื่อผู้สนใจลงทุนแฟรนไชส์ที่ได้รับการการันตีจากกระทรวงพาณิชย์ และในช่วงท้ายของการจัดงานได้รับการยืนยันจากผู้ประกอบการว่าจะมีการจําหน่ายสินค้าในราคาถูกลงกว่าเดิม เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้แก่ผู้ที่มาเที่ยวงานอย่างทั่วถึงอีกด้วย ................................................................................. กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/8527
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​รองปลัดก.อุตฯ เป็นประธานเปิดตัวสมาคมส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการไทย (ATED)
วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม 2561 ​รองปลัดก.อุตฯ เป็นประธานเปิดตัวสมาคมส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการไทย (ATED) ​รองปลัดก.อุตฯ เป็นประธานเปิดตัวสมาคมส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการไทย (ATED) เมื่อวันที่ (18 สิงหาคม 2561) นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดตัวสมาคมส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการไทย (ATED) ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จังหวัดนครปฐม โดยมีนางสาวชุติภา โอภาสานนท์นายกสมาคมส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการไทย นางยุพรัตน์ ศตวิริยะ ผู้อํานวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม นายสมคิด ตัณฑศรีกุล อุตสาหกรรมจังหวัดนครปฐม นายกสมาคมฯ จังหวัดนครปฐม และจังหวัดต่างๆ สมาชิกสมาคมฯ ทั่วประเทศ ร่วมงาน ซึ่งมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 300 คน โดยสมาคมส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการไทย จังหวัดนครปฐม ก่อกําเนิดมาจากสมาชิกที่ผ่านการฝึกอบรมของโครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม อันมีส่วนช่วยสร้างผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดย่อม (SMEs) ให้มีศักยภาพเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสําเร็จเจริญก้าวหน้าในธุรกิจอุตสาหกรรมกลายเป็นธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​รองปลัดก.อุตฯ เป็นประธานเปิดตัวสมาคมส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการไทย (ATED) วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม 2561 ​รองปลัดก.อุตฯ เป็นประธานเปิดตัวสมาคมส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการไทย (ATED) ​รองปลัดก.อุตฯ เป็นประธานเปิดตัวสมาคมส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการไทย (ATED) เมื่อวันที่ (18 สิงหาคม 2561) นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดตัวสมาคมส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการไทย (ATED) ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จังหวัดนครปฐม โดยมีนางสาวชุติภา โอภาสานนท์นายกสมาคมส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการไทย นางยุพรัตน์ ศตวิริยะ ผู้อํานวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม นายสมคิด ตัณฑศรีกุล อุตสาหกรรมจังหวัดนครปฐม นายกสมาคมฯ จังหวัดนครปฐม และจังหวัดต่างๆ สมาชิกสมาคมฯ ทั่วประเทศ ร่วมงาน ซึ่งมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 300 คน โดยสมาคมส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการไทย จังหวัดนครปฐม ก่อกําเนิดมาจากสมาชิกที่ผ่านการฝึกอบรมของโครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม อันมีส่วนช่วยสร้างผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดย่อม (SMEs) ให้มีศักยภาพเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสําเร็จเจริญก้าวหน้าในธุรกิจอุตสาหกรรมกลายเป็นธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/14703
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-‘ประภัตร’ นำคณะลุยนครปฐม เร่งเดินหน้าโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์
วันพุธที่ 15 มกราคม 2563 ‘ประภัตร’ นําคณะลุยนครปฐม เร่งเดินหน้าโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ ‘ประภัตร’ นําคณะลุยนครปฐม เร่งเดินหน้าโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ ดันเกษตรสร้างชาติ สู้ภัยแล้ง นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีเปิดการประชุมชี้แจงแนวทางการดําเนินงาน โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจการที่เกี่ยวเนื่อง (เกษตรสร้างชาติ) ภายใต้ความร่วมมือ ระหว่าง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) พร้อมด้วย นายขจรเกียรติ รักพาณิชมณี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม นายสุรเดช สมิเปรม รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและเกษตรกรใน 7 อําเภอ จาก จ.นครปฐม กว่า 1,000 คน เข้าร่วม ณ ห้องคอนเวนชั่นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน อ.กําแพงแสน จ.นครปฐม นายประภัตร กล่าวว่า ขณะนี้มีหลายจังหวัดได้รับผลกระทบจากภัยแล้งอย่างรุนแรง และถูกประกาศเป็นเขตให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว ทั้งภาคเหนือ และภาคอิสาน ตลอดจนกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่า ไทยจะเผชิญกับภาวะฝนแล้งไปจนถึง มิ.ย. 2563 ส่วนช่วงต้นปีฝนจะตกต่ํากว่าค่าปกติ 3-5% รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ทําให้เกษตรกรไม่สามารถทําการเกษตรได้ อีกทั้งยังขาดโอกาส การเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อใช้ในการฟื้นฟูหรือปรับเปลี่ยนอาชีพ จึงได้มีโครงการดังกล่าวขึ้น ซึ่งการลงพื้นที่ในครั้งนี้เพื่อชี้แจงโครงการให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้เข้าร่วมโครงการฯ ถือปฏิบัติร่วมกัน ตลอดจนเพื่อให้การขับเคลื่อนโครงการฯ บรรลุวัตถุประสงค์ มีผลสัมฤทธิ์ สามารถสร้างรายได้และมีอาชีพที่มั่นคง ยั่งยืน ซึ่งได้รับการตอบรับจากเกษตรกรเป็นอย่างดี นายประภัตร กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถภาคปศุสัตว์ไทย ฟื้นฟูอาชีพแก่เกษตรกร บรรเทาความเดือดร้อนเสียหายอันเนื่องมาจากภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ และผลกระทบจากราคาพืชผลการเกษตรตกต่ํา พร้อมทั้งสนับสนุนการจัดการตลาด ผลผลิตทางการเกษตรที่เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ และเพื่อเป็นการสร้างอาชีพทางเลือกใหม่ด้วยการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมมาเลี้ยงสัตว์จําหน่ายทั้งภายในและต่างประเทศ ได้แก่ โคเนื้อ กระบือ แพะแกะ และไก่พื้นเมือง รวมถึงกิจการที่เกี่ยวเนื่อง โดยรัฐบาลมีประกันราคาและตลาดรองรับ ตลอดจนมีคอกกลางรวบรวมสัตว์ต่างๆ ที่ส่งเสริมเพื่อส่งออก ซึ่งเกษตรกรจะต้องจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน นอกจากนี้ภายในงานหน่วยงานทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ และเอกชน ร่วมชี้แจงโครงการฯ ให้พี่น้องเกษตรกรได้รับทราบ เข้าใจ รวมถึงสํารวจความต้องการของเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการต่างๆ ซึ่งในส่วนของจังหวัดนครปฐม สามารถส่งเสริมอาชีพได้หลากหลาย ทั้งด้านประมง ด้านปศุสัตว์อาทิ ส่งเสริมการเลี้ยงโค แพะ แกะ สุกร เป็ด ไก่ ฯลฯ โครงการต่างๆ นั้นหน่วยงานภาครัฐร่วมบูรณาการให้การสนับสนุนเช่น บ่อบาดาลเพื่อการเกษตร อาหารสําหรับเลี้ยงสัตว์ พร้อมทั้งการให้ความรู้แก่เกษตรกร ทั้งนี้ จ.นครปฐม มีพื้นที่ทั้งหมด 1.35 ล้านไร่ เป็นพื้นที่เกษตรกรรม 796,662 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 58.78 ของพื้นที่ มีพื้นที่ทํานาปี334,211 ไร่ ทํานาปรัง 199,203 ไร่ พืชไร่ 80,668 ไร่ มีเกษตรกรทําการประมงจํานวน 8,390 ราย พื้นที่ทําการประมง90,153.14 ไร่ ส่วนอาชีพเลี้ยงสัตว์ ประกอบด้วย เกษตรกรเลี้ยงโคเนื้อ 2,170 ราย โคเนื้อ 39,976 ตัว เกษตรกรเลี้ยงกระบือ29 ราย กระบือ 288 ตัว เกษตรกรเลี้ยงแพะ-แกะ 132 ราย แพะ-แกะ 9,067 ตัว และเกษตรกรเลี้ยงไก่พื้นเมือง 11,413 ราย ไก่พื้นเมือง 1,078,933 ตัว สําหรับสถานการณ์น้ํา จ.นครปฐมใช้น้ําจาก 2 ลุ่มน้ํา คือ ลุ่มน้ําเจ้าพระยา 28% และลุ่มน้ําแม่กลอง 72% โดยมีสถานการณ์ดังนี้ 1. ลุ่มน้ําเจ้าพระยา ปริมาณน้ําใน 4 เขื่อนหลัก รวม 10,789 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 43% ปริมาณน้ําที่สามารถนําไปใช้ได้4,093 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 23% และ 2. ลุ่มน้ําแม่กลอง ปริมาณน้ําใน 2 เขื่อนหลัก (เขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ) รวม 21,639 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 81% ปริมาณน้ําที่สามารถนําไปใช้ได้ 8,362 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 63% โดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดีระดับน้ําในแม่น้ําท่าจีน ช่วงตอนบนของจังหวัดอยู่ในเกณฑ์ปกติ ส่วนตอนล่างของจังหวัดอยู่ในระดับน้อย โดยมีบางช่วงเวลาระดับน้ําสูงขึ้นและต่ําลงเป็นช่วงๆ เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากน้ําทะเล สําหรับค่าความเค็มของแม่น้ําท่าจีนในเขตจังหวัดนครปฐมอยู่ในเกณฑ์ปกติ โทร 02-2810859 แฟกซ์ 02-2822871 [email protected] www.moac.go.th www.facebook.com/kasetthai
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-‘ประภัตร’ นำคณะลุยนครปฐม เร่งเดินหน้าโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ วันพุธที่ 15 มกราคม 2563 ‘ประภัตร’ นําคณะลุยนครปฐม เร่งเดินหน้าโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ ‘ประภัตร’ นําคณะลุยนครปฐม เร่งเดินหน้าโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ ดันเกษตรสร้างชาติ สู้ภัยแล้ง นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีเปิดการประชุมชี้แจงแนวทางการดําเนินงาน โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจการที่เกี่ยวเนื่อง (เกษตรสร้างชาติ) ภายใต้ความร่วมมือ ระหว่าง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) พร้อมด้วย นายขจรเกียรติ รักพาณิชมณี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม นายสุรเดช สมิเปรม รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและเกษตรกรใน 7 อําเภอ จาก จ.นครปฐม กว่า 1,000 คน เข้าร่วม ณ ห้องคอนเวนชั่นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน อ.กําแพงแสน จ.นครปฐม นายประภัตร กล่าวว่า ขณะนี้มีหลายจังหวัดได้รับผลกระทบจากภัยแล้งอย่างรุนแรง และถูกประกาศเป็นเขตให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว ทั้งภาคเหนือ และภาคอิสาน ตลอดจนกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่า ไทยจะเผชิญกับภาวะฝนแล้งไปจนถึง มิ.ย. 2563 ส่วนช่วงต้นปีฝนจะตกต่ํากว่าค่าปกติ 3-5% รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ทําให้เกษตรกรไม่สามารถทําการเกษตรได้ อีกทั้งยังขาดโอกาส การเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อใช้ในการฟื้นฟูหรือปรับเปลี่ยนอาชีพ จึงได้มีโครงการดังกล่าวขึ้น ซึ่งการลงพื้นที่ในครั้งนี้เพื่อชี้แจงโครงการให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้เข้าร่วมโครงการฯ ถือปฏิบัติร่วมกัน ตลอดจนเพื่อให้การขับเคลื่อนโครงการฯ บรรลุวัตถุประสงค์ มีผลสัมฤทธิ์ สามารถสร้างรายได้และมีอาชีพที่มั่นคง ยั่งยืน ซึ่งได้รับการตอบรับจากเกษตรกรเป็นอย่างดี นายประภัตร กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถภาคปศุสัตว์ไทย ฟื้นฟูอาชีพแก่เกษตรกร บรรเทาความเดือดร้อนเสียหายอันเนื่องมาจากภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ และผลกระทบจากราคาพืชผลการเกษตรตกต่ํา พร้อมทั้งสนับสนุนการจัดการตลาด ผลผลิตทางการเกษตรที่เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ และเพื่อเป็นการสร้างอาชีพทางเลือกใหม่ด้วยการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมมาเลี้ยงสัตว์จําหน่ายทั้งภายในและต่างประเทศ ได้แก่ โคเนื้อ กระบือ แพะแกะ และไก่พื้นเมือง รวมถึงกิจการที่เกี่ยวเนื่อง โดยรัฐบาลมีประกันราคาและตลาดรองรับ ตลอดจนมีคอกกลางรวบรวมสัตว์ต่างๆ ที่ส่งเสริมเพื่อส่งออก ซึ่งเกษตรกรจะต้องจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน นอกจากนี้ภายในงานหน่วยงานทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ และเอกชน ร่วมชี้แจงโครงการฯ ให้พี่น้องเกษตรกรได้รับทราบ เข้าใจ รวมถึงสํารวจความต้องการของเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการต่างๆ ซึ่งในส่วนของจังหวัดนครปฐม สามารถส่งเสริมอาชีพได้หลากหลาย ทั้งด้านประมง ด้านปศุสัตว์อาทิ ส่งเสริมการเลี้ยงโค แพะ แกะ สุกร เป็ด ไก่ ฯลฯ โครงการต่างๆ นั้นหน่วยงานภาครัฐร่วมบูรณาการให้การสนับสนุนเช่น บ่อบาดาลเพื่อการเกษตร อาหารสําหรับเลี้ยงสัตว์ พร้อมทั้งการให้ความรู้แก่เกษตรกร ทั้งนี้ จ.นครปฐม มีพื้นที่ทั้งหมด 1.35 ล้านไร่ เป็นพื้นที่เกษตรกรรม 796,662 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 58.78 ของพื้นที่ มีพื้นที่ทํานาปี334,211 ไร่ ทํานาปรัง 199,203 ไร่ พืชไร่ 80,668 ไร่ มีเกษตรกรทําการประมงจํานวน 8,390 ราย พื้นที่ทําการประมง90,153.14 ไร่ ส่วนอาชีพเลี้ยงสัตว์ ประกอบด้วย เกษตรกรเลี้ยงโคเนื้อ 2,170 ราย โคเนื้อ 39,976 ตัว เกษตรกรเลี้ยงกระบือ29 ราย กระบือ 288 ตัว เกษตรกรเลี้ยงแพะ-แกะ 132 ราย แพะ-แกะ 9,067 ตัว และเกษตรกรเลี้ยงไก่พื้นเมือง 11,413 ราย ไก่พื้นเมือง 1,078,933 ตัว สําหรับสถานการณ์น้ํา จ.นครปฐมใช้น้ําจาก 2 ลุ่มน้ํา คือ ลุ่มน้ําเจ้าพระยา 28% และลุ่มน้ําแม่กลอง 72% โดยมีสถานการณ์ดังนี้ 1. ลุ่มน้ําเจ้าพระยา ปริมาณน้ําใน 4 เขื่อนหลัก รวม 10,789 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 43% ปริมาณน้ําที่สามารถนําไปใช้ได้4,093 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 23% และ 2. ลุ่มน้ําแม่กลอง ปริมาณน้ําใน 2 เขื่อนหลัก (เขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ) รวม 21,639 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 81% ปริมาณน้ําที่สามารถนําไปใช้ได้ 8,362 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 63% โดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดีระดับน้ําในแม่น้ําท่าจีน ช่วงตอนบนของจังหวัดอยู่ในเกณฑ์ปกติ ส่วนตอนล่างของจังหวัดอยู่ในระดับน้อย โดยมีบางช่วงเวลาระดับน้ําสูงขึ้นและต่ําลงเป็นช่วงๆ เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากน้ําทะเล สําหรับค่าความเค็มของแม่น้ําท่าจีนในเขตจังหวัดนครปฐมอยู่ในเกณฑ์ปกติ โทร 02-2810859 แฟกซ์ 02-2822871 [email protected] www.moac.go.th www.facebook.com/kasetthai
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/25809
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีเผยไม่มีแนวคิดใช้มาตรา 44 แก้ไขปัญหาแอพพลิเคชั่นอูเบอร์
วันอังคารที่ 21 มีนาคม 2560 นายกรัฐมนตรีเผยไม่มีแนวคิดใช้มาตรา 44 แก้ไขปัญหาแอพพลิเคชั่นอูเบอร์ นายกรัฐมนตรีเผยไม่มีแนวคิดใช้มาตรา 44 แก้ไขปัญหาแอพพลิเคชั่นอูเบอร์ วันนี้ (21 สิงหาคม 2560) เวลา 14.30 น. ณ บริเวณห้องโถง ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีถึงกรณีปัญหาการร้องเรียนขอให้มีการใช้ ม.44 จัดการแอพพลิเคชั่นอูเบอร์ ว่า ไม่มีแนวคิดที่จะใช้ มาตรา 44 จัดการแอพพลิเคชั่นอูเบอร์ ซึ่งต้องไปดูก่อนว่าแอพฯ อูเบอร์ทําถูกกฎหมายหรือไม่ ซึ่งตอนนี้กําลังให้กระทรวงคมนาคมพูดคุยหาทางออก ทั้งนี้กฎหมายการให้บริการ การขนรับส่งผู้โดยสารโดยมีค่าตอบแทน มีกฎระเบียบ ข้อบังคับอยู่แล้ว คือกฎหมาย ที่ควบคุมเรื่องแท็กซี่ มีป้ายเหลือง และป้ายต่าง ๆ ต้องดําเนินการตามข้อบังคับ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า สําหรับแอพพลิเคชั่นอูเบอร์ ที่เป็นปัญหาเพราะมีคนร้องเรียนมาว่าทําผิดกฎหมาย ก็จําเป็นต้องไปตรวจสอบ ต้องไปจับกุม แต่ในขณะเดียวกันแอพพลิเคชั่นดังกล่าวก็เป็นทางเลือกที่ดี แต่ก็ต้องหากฎหมายที่เหมาะสมว่าจะทําอย่างไร ที่จะไม่สร้างปัญหาใหม่ขึ้นมา ต้องช่วยกันพัฒนา และหามาตรการใหม่ที่จะไปเสริม แต่ในวันนี้แอพ ฯ ยังผิดกฎหมายอยู่ ก็ต้องคุ้มครองให้คนที่ขับแท็กซี่ที่ถูกต้องกฎหมายด้วย ----------------------------------------
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีเผยไม่มีแนวคิดใช้มาตรา 44 แก้ไขปัญหาแอพพลิเคชั่นอูเบอร์ วันอังคารที่ 21 มีนาคม 2560 นายกรัฐมนตรีเผยไม่มีแนวคิดใช้มาตรา 44 แก้ไขปัญหาแอพพลิเคชั่นอูเบอร์ นายกรัฐมนตรีเผยไม่มีแนวคิดใช้มาตรา 44 แก้ไขปัญหาแอพพลิเคชั่นอูเบอร์ วันนี้ (21 สิงหาคม 2560) เวลา 14.30 น. ณ บริเวณห้องโถง ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีถึงกรณีปัญหาการร้องเรียนขอให้มีการใช้ ม.44 จัดการแอพพลิเคชั่นอูเบอร์ ว่า ไม่มีแนวคิดที่จะใช้ มาตรา 44 จัดการแอพพลิเคชั่นอูเบอร์ ซึ่งต้องไปดูก่อนว่าแอพฯ อูเบอร์ทําถูกกฎหมายหรือไม่ ซึ่งตอนนี้กําลังให้กระทรวงคมนาคมพูดคุยหาทางออก ทั้งนี้กฎหมายการให้บริการ การขนรับส่งผู้โดยสารโดยมีค่าตอบแทน มีกฎระเบียบ ข้อบังคับอยู่แล้ว คือกฎหมาย ที่ควบคุมเรื่องแท็กซี่ มีป้ายเหลือง และป้ายต่าง ๆ ต้องดําเนินการตามข้อบังคับ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า สําหรับแอพพลิเคชั่นอูเบอร์ ที่เป็นปัญหาเพราะมีคนร้องเรียนมาว่าทําผิดกฎหมาย ก็จําเป็นต้องไปตรวจสอบ ต้องไปจับกุม แต่ในขณะเดียวกันแอพพลิเคชั่นดังกล่าวก็เป็นทางเลือกที่ดี แต่ก็ต้องหากฎหมายที่เหมาะสมว่าจะทําอย่างไร ที่จะไม่สร้างปัญหาใหม่ขึ้นมา ต้องช่วยกันพัฒนา และหามาตรการใหม่ที่จะไปเสริม แต่ในวันนี้แอพ ฯ ยังผิดกฎหมายอยู่ ก็ต้องคุ้มครองให้คนที่ขับแท็กซี่ที่ถูกต้องกฎหมายด้วย ----------------------------------------
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/2538
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ศธ.-CP จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ "รวมพลังสร้างสรรค์ทีม" กลุ่ม ผอ.สพท. และนักประชาสัมพันธ์
วันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2560 ศธ.-CP จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ "รวมพลังสร้างสรรค์ทีม" กลุ่ม ผอ.สพท. และนักประชาสัมพันธ์ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ให้ความสําคัญการพัฒนาบุคลากรด้านการศึกษาทุกระดับ ล่าสุดร่วมกับ CP Group จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ "รวมพลังสร้างสรรค์ทีม" (MOE One Synergy Program : Transformational Leadership Workshop) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ให้ความสําคัญการพัฒนาบุคลากรด้านการศึกษาทุกระดับ ล่าสุดร่วมกับ CPGroupจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ"รวมพลังสร้างสรรค์ทีม" (MOE One Synergy Program : Transformational Leadership Workshop)ระหว่างวันที่ 23-25 พฤศจิกายน 2560 ณ สถาบันพัฒนาผู้นําเครือเจริญโภคภัณฑ์ (C.P.Leadership Institute:CPLI) อําเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมาเพื่อพัฒนา ผอ.สพท.ใหม่ 110 คน ให้เป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลง ควบคู่ไปกับการพัฒนานักประชาสัมพันธ์เขตพื้นที่การศึกษา77คนทั่วประเทศ เพื่อเปลี่ยนรูปแบบการประชาสัมพันธ์รองรับ Digital PR นําไปสู่องค์กรดิจิทัล นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวตอนหนึ่งว่า ขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจากการประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และศักยภาพแบบ 360 องศา ให้ได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา/มัธยมศึกษา จํานวน110คน ซึ่งจะเป็นผู้นํายุคใหม่ที่นํานโยบายและกลยุทธ์การทํางานจาก ศธ.ไปปฏิบัติและขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ จึงขอให้กล้าตัดสินใจทําในสิ่งที่ถูกต้อง พร้อมสร้างการเปลี่ยนแปลงในเรื่องที่ไม่เคยมีใครทํามาก่อนให้ได้ในเรื่องที่ถูกต้อง ฝากให้ผู้บริหารทุกคนช่วยขับเคลื่อนงานการศึกษา โดยเน้นไปที่การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ซึ่งควรเป็นสิ่งที่วัดได้ในการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นคณิตศาสตร์ ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ การอาชีวศึกษา ทักษะวิชาชีพ ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ตลอดจนคุณธรรมที่จะใช้เป็นแนวทางดําเนินชีวิตการใช้ตลาดเป็นตัวนําตลาดในที่นี้ก็คือ "ครู เด็ก โรงเรียน พื้นที่" เป็นตัวนําในการพัฒนาตามความต้องการ เช่น การอบรมครู โดยครูเป็นผู้เลือกหลักสูตรและองค์ความรู้เอง และอาจให้สถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่เข้ามาช่วยจัดการอบรมตอบโจทย์ความต้องการแต่ละพื้นที่จัดให้มีระบบการเงินหรือเงินทุนที่เข้มแข็งต่อการพัฒนาซึ่งขณะนี้งบประมาณของ ศธ.ได้กันไว้ให้เพียงพอสําหรับการทํางานตามแผนที่วางไว้ จึงขอให้กําลังใจผู้บริหารได้ตัดสินใจในสิ่งที่ถูก และไม่ตัดสินใจทําในสิ่งที่ผิด ให้เป็นกําลังสําคัญด้านการศึกษาซึ่งตนได้วางระบบไว้แล้วหลายเรื่อง และหลายเรื่องกําลังอยู่ในระหว่างดําเนินการให้มีประสิทธิภาพ แม้อาจจะทําให้ไปขัดแย้งผลประโยชน์ของกลุ่มคนบ้างก็ตาม เช่น แนวทางการพัฒนาครูแบบใหม่ ทบทวนการให้บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ตในสถานศึกษาเพื่อลดปัญหาความซ้ําซ้อนและไม่มีประสิทธิภาพ การสนับสนุนส่งเสริมผู้ใต้บังคับบัญชา ควรส่งเสริมให้ได้รับการพัฒนาตนเองและเลื่อนขั้นเลื่อนตําแหน่งตามความสามารถอย่างยุติธรรม โดยพิจารณาในหลายมิติประกอบกัน ไม่ว่าจะเป็นคะแนนสอบ, ประวัติ, ผลงาน (Performance) ตลอดจนศักยภาพ (Potential) ความเป็นผู้นําหรือด้านที่ต้องการในงานนั้น ๆ ไม่ได้มองว่าเป็นคนของใครเหมือนในอดีตที่ผ่านมา ในนามของกระทรวงศึกษาธิการ ขอขอบคุณเครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่ให้การสนับสนุนการเพิ่มศักยภาพการทํางานเป็นทีม และผู้บริหารระดับสูงสุดยังได้ให้เกียรติพบปะพร้อมมอบแนวคิดการทํางานสู่ความสําเร็จ จึงขอให้ทุกคนรับฟังอย่างตั้งใจ และเก็บเกี่ยวความรู้ประสบการณ์ไปใช้ประโยชน์กับการทํางานอย่างเต็มที่ นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์กล่าวแสดงความชื่นชมการทํางานของ รมว.ศธ. ที่อยู่บนพื้นฐานการเป็น"ผู้รู้จริง รู้ลึก และกล้าตัดสินใจ"ทําเพื่อประโยชน์ประเทศชาติ แม้อาจจะมีผลกระทบกับกลุ่มคนบางกลุ่มที่เสียผลประโยชน์ก็ตาม นอกจากนี้ ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันเราจําเป็นต้องปรับตัวตามโลกที่เปลี่ยนไปสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 ให้ทันซึ่ง "คน" เป็นเรื่องที่สําคัญที่สุดในการเปลี่ยนแปลงCPจึงให้ความสําคัญกับการสร้างคนมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทุ่มเทสร้างสถาบันพัฒนาผู้นําเครือเจริญโภคภัณฑ์แห่งนี้ เพื่อสร้างคนที่เก่งและมีคุณภาพไปขับเคลื่อนและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ สร้างคนสําหรับธุรกิจ เปิดโอกาสคนได้รับการพัฒนาการทํางาน เพราะเมื่อคนทํางานดี ธุรกิจก็จะดีไปด้วย ฝากข้อคิดด้วยว่า "แม้เรามีเงินจํานวนมากและมีโอกาส แต่หากไม่มีคนช่วยทํางาน ธุรกิจก็อาจจะล้มละลายได้ ในทางกลับกันหากไม่มีเงินมากมาย แต่เรามีโอกาสและมีคน คนเหล่านี้จะช่วยสร้างเงินเพิ่มให้เราเป็นจํานวนมากได้เช่นกัน"อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่ากว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ต้องอาศัยเวลา เพราะการสร้างคนไม่สามารถทําได้ภายในวันเดียว แต่ต้องใช้เวลาเป็นสิบ ๆ ปีอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังต้องศึกษาแนวทางการทํางานขององค์กรอื่นระดับนานาชาติที่ประสบความสําเร็จ เพื่อหาจุดแข็งและโอกาสมาปรับใช้ด้วย จึงขอให้ ผอ.สพท.พยายามหาคนเก่งเข้ามาทํางานพร้อมฝากแนวคิดส่วนตัวด้วยว่าการจะสร้าง "คนเก่ง" ควรคํานึงถึง3ด้าน คือ1) ให้อํานาจ เพื่อให้เขาไปแสดงความสามารถ2) ให้ความมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ตามสมควร3) เงิน แม้ไม่ใช่เรื่องที่สําคัญที่สุด แต่หากขยันทํางาน แม้จะมีรายได้มากกว่าเรา ก็ควรแสดงความยินดี อย่างไรก็ตาม ในการทํางานของผู้บริหาร หลายเรื่องเป็นการเปลี่ยนแปลงในสิ่งใหม่ ๆ ดังนั้น ต้องให้โอกาสในการยอมรับความผิดพลาดหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น เพราะคนทํางานมากย่อมผิดพลาดหรือเสียหายบ้าง เพราะเป็นของใหม่ที่ยังไม่มีในตํารา อาจจะต้องอาศัยการลองผิดลองถูก แต่สิ่งสําคัญคือ เมื่อผิดแล้วต้องแก้ไขให้ถูกต้อง และผู้บริหารที่ดีควรจะปกป้องคนที่กล้าทําหรือกล้าสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น ม.ล.ปริยดา ดิศกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวว่า ในการอบรมครั้งนี้ ศธ.ได้จัดหลักสูตรเพื่อพัฒนาบุคลากรออกเป็น2กลุ่ม คือ กลุ่มผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาใหม่110คน และกลุ่มนักประชาสัมพันธ์100คน (จากสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ77คน และนักประชาสัมพันธ์ส่วนกลางที่เป็นCore Team) ในส่วนของหลักสูตรนักประชาสัมพันธ์นั้น ได้จัดหลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างศักยภาพนักประชาสัมพันธ์และสื่อสารการศึกษาทั่วประเทศ ตามโครงการสื่อสารองค์กรอย่างยั่งยืนในยุค Thailand 4.0“MOE Digital Team” ทั้งนี้ เนื่องจาก ศธ.เล็งเห็นความสําคัญของการสร้างการรับรู้ความเข้าใจตามแนวทางนโยบายของรัฐบาล รวมทั้งการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์กรอย่างยั่งยืน จึงได้กําหนดแนวทางการดําเนินงานที่สําคัญในการขับเคลื่อนแบบ Quick Winโดยเน้นการสร้างทีมงาน “MOE Digital Team”เพื่อปรับเปลี่ยนสู่องค์กรดิจิทัล ที่มีระบบการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ความเข้าใจดิจิทัล (Digital PR)และการเตรียมความพร้อมสู่ Thailand 4.0 โดยได้ร่วมกับวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญชั้นนําของประเทศจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในลักษณะการทํางานแบบสานพลังประชารัฐ เพื่อนําระบบ Online Monitoring-Reporting เข้ามาใช้ในการวางแผน กําหนดกลยุทธ์ทางดิจิทัล จัดทําเนื้อหา การเผยแพร่ผ่านสื่อดิจิทัล การเริ่มต้นโครงการ มีหลักการที่สําคัญ 5 ข้อ 1) ศธ.เล็งเห็นความสําคัญของการสร้างการรับรู้ความเข้าใจตามแนวทางนโยบายรัฐบาล ตามมติคณะรัฐมนตรี 2) บริบทของการประชาสัมพันธ์ เปลี่ยนจากเดิมมาสู่ Digital Platform ส่งผลให้วิธีการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ความเข้าใจ เปลี่ยนไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง 3) ศธ.จําเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการสื่อสารขององค์กร เพื่อให้ทันยุค Thailand 4.0 โดยนําเครื่องมือการสื่อสารใหม่ ๆ มาปรับใช้ในการประชาสัมพันธ์ 4) ศธ.ควรมีการวางแผนประชาสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ และทํางานเชิงบูรณาการในทุกหน่วยงานของ ศธ. 5) การนําแนวคิดนโยบายสานพลังประชารัฐ คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม มาใช้ในการดําเนินงาน เพื่อนําไปสู่ Quick Win ทั้งนี้ ได้กําหนดแนวทางดําเนินการเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1การอบรม Focus Groupเพื่อสร้างความเข้าใจในการดําเนินการ MOE Digital Team ให้กับผู้รับผิดชอบโครงการที่จะเป็น Core Teamจากหน่วยงานส่วนกลาง จํานวน20คน ในวันที่ 12 ตุลาคม 2560 เวลา 9.00-12.00 น. ณ ห้องประชุมสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดย ม.ล.ปริยดา ดิศกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน และเชิญทีมผู้บริหารด้านประชาสัมพันธ์ของ ศธ. เข้าร่วม อาทิ นายธาดา เศวตศิลา กรรมการสภาการศึกษา ด้านสื่อสารมวลชน, นายพะโยม ชิณวงศ์ โฆษกกระทรวงศึกษาธิการ ขั้นที่ 2การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทําแผนยุทธศาสตร์การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ ตามยุทธศาสตร์ที่เป็นจุดเน้นของหน่วยงาน ให้กับนักประชาสัมพันธ์ที่เป็น Core Team 20 คนและผู้เกี่ยวข้องจํานวน 60 คนเพื่อวางแผนยุทธศาสตร์การสื่อสารและประชาสัมพันธ์เชิงบูรณาการตามยุทธศาสตร์ที่เป็นจุดเน้นของหน่วยงาน ในวันที่ 24 ตุลาคม 2560 เวลา 9.00-14.00 น. ณ ห้องประชุมราชวัลลภ โดย ม.ล.ปริยดา ดิศกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน ขั้นที่ 3การอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างศักยภาพนักประชาสัมพันธ์และสื่อสารการศึกษาทั่วประเทศ “รวมพลังสร้างสรรค์ทีม” (Team Synergy Program : PR-MOE Digital Workshop)ซึ่งการอบรมรุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 1 จํานวน 100 คน ประกอบด้วย Core Team และนักประชาสัมพันธ์สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเข้าร่วมเป็น Provincial Education Team Leader ระดับจังหวัดๆ ละ 1 คน ระหว่างวันที่ 23-25 พฤศจิกายน 2560 ณ สถาบันพัฒนาผู้นําเครือเจริญโภคภัณฑ์ (C.P. Leadership Institute: CPLI) อําเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดย นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน โดยมีทีมวิทยากรจากบริษัทแสนรัก อินโนเวชั่น จํากัด ให้ความรู้ตลอดการอบรม3วัน หลังจากผ่าน 3 ขั้นตอนนี้ไปแล้ว จะมีการทบทวนหลังปฏิบัติงาน (After Action Review: AAR) เพื่อทบทวนวิธีการทํางาน ทั้งด้านความสําเร็จและปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อนําไปปรับปรุง และขยายโครงการในรุ่นต่อไป นวรัตน์ รามสูต, บัลลังก์ โรหิตเสถียร:สรุป/เรียบเรียง อิทธิพล รุ่งก่อน, ปกรณ์ เรืองยิ่ง:ถ่ายภาพ กลุ่มสารนิเทศ สอ.สป.และกลุ่มประชาสัมพันธ์ สร.:รายงาน
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ศธ.-CP จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ "รวมพลังสร้างสรรค์ทีม" กลุ่ม ผอ.สพท. และนักประชาสัมพันธ์ วันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2560 ศธ.-CP จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ "รวมพลังสร้างสรรค์ทีม" กลุ่ม ผอ.สพท. และนักประชาสัมพันธ์ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ให้ความสําคัญการพัฒนาบุคลากรด้านการศึกษาทุกระดับ ล่าสุดร่วมกับ CP Group จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ "รวมพลังสร้างสรรค์ทีม" (MOE One Synergy Program : Transformational Leadership Workshop) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ให้ความสําคัญการพัฒนาบุคลากรด้านการศึกษาทุกระดับ ล่าสุดร่วมกับ CPGroupจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ"รวมพลังสร้างสรรค์ทีม" (MOE One Synergy Program : Transformational Leadership Workshop)ระหว่างวันที่ 23-25 พฤศจิกายน 2560 ณ สถาบันพัฒนาผู้นําเครือเจริญโภคภัณฑ์ (C.P.Leadership Institute:CPLI) อําเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมาเพื่อพัฒนา ผอ.สพท.ใหม่ 110 คน ให้เป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลง ควบคู่ไปกับการพัฒนานักประชาสัมพันธ์เขตพื้นที่การศึกษา77คนทั่วประเทศ เพื่อเปลี่ยนรูปแบบการประชาสัมพันธ์รองรับ Digital PR นําไปสู่องค์กรดิจิทัล นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวตอนหนึ่งว่า ขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจากการประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และศักยภาพแบบ 360 องศา ให้ได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา/มัธยมศึกษา จํานวน110คน ซึ่งจะเป็นผู้นํายุคใหม่ที่นํานโยบายและกลยุทธ์การทํางานจาก ศธ.ไปปฏิบัติและขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ จึงขอให้กล้าตัดสินใจทําในสิ่งที่ถูกต้อง พร้อมสร้างการเปลี่ยนแปลงในเรื่องที่ไม่เคยมีใครทํามาก่อนให้ได้ในเรื่องที่ถูกต้อง ฝากให้ผู้บริหารทุกคนช่วยขับเคลื่อนงานการศึกษา โดยเน้นไปที่การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ซึ่งควรเป็นสิ่งที่วัดได้ในการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นคณิตศาสตร์ ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ การอาชีวศึกษา ทักษะวิชาชีพ ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ตลอดจนคุณธรรมที่จะใช้เป็นแนวทางดําเนินชีวิตการใช้ตลาดเป็นตัวนําตลาดในที่นี้ก็คือ "ครู เด็ก โรงเรียน พื้นที่" เป็นตัวนําในการพัฒนาตามความต้องการ เช่น การอบรมครู โดยครูเป็นผู้เลือกหลักสูตรและองค์ความรู้เอง และอาจให้สถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่เข้ามาช่วยจัดการอบรมตอบโจทย์ความต้องการแต่ละพื้นที่จัดให้มีระบบการเงินหรือเงินทุนที่เข้มแข็งต่อการพัฒนาซึ่งขณะนี้งบประมาณของ ศธ.ได้กันไว้ให้เพียงพอสําหรับการทํางานตามแผนที่วางไว้ จึงขอให้กําลังใจผู้บริหารได้ตัดสินใจในสิ่งที่ถูก และไม่ตัดสินใจทําในสิ่งที่ผิด ให้เป็นกําลังสําคัญด้านการศึกษาซึ่งตนได้วางระบบไว้แล้วหลายเรื่อง และหลายเรื่องกําลังอยู่ในระหว่างดําเนินการให้มีประสิทธิภาพ แม้อาจจะทําให้ไปขัดแย้งผลประโยชน์ของกลุ่มคนบ้างก็ตาม เช่น แนวทางการพัฒนาครูแบบใหม่ ทบทวนการให้บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ตในสถานศึกษาเพื่อลดปัญหาความซ้ําซ้อนและไม่มีประสิทธิภาพ การสนับสนุนส่งเสริมผู้ใต้บังคับบัญชา ควรส่งเสริมให้ได้รับการพัฒนาตนเองและเลื่อนขั้นเลื่อนตําแหน่งตามความสามารถอย่างยุติธรรม โดยพิจารณาในหลายมิติประกอบกัน ไม่ว่าจะเป็นคะแนนสอบ, ประวัติ, ผลงาน (Performance) ตลอดจนศักยภาพ (Potential) ความเป็นผู้นําหรือด้านที่ต้องการในงานนั้น ๆ ไม่ได้มองว่าเป็นคนของใครเหมือนในอดีตที่ผ่านมา ในนามของกระทรวงศึกษาธิการ ขอขอบคุณเครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่ให้การสนับสนุนการเพิ่มศักยภาพการทํางานเป็นทีม และผู้บริหารระดับสูงสุดยังได้ให้เกียรติพบปะพร้อมมอบแนวคิดการทํางานสู่ความสําเร็จ จึงขอให้ทุกคนรับฟังอย่างตั้งใจ และเก็บเกี่ยวความรู้ประสบการณ์ไปใช้ประโยชน์กับการทํางานอย่างเต็มที่ นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์กล่าวแสดงความชื่นชมการทํางานของ รมว.ศธ. ที่อยู่บนพื้นฐานการเป็น"ผู้รู้จริง รู้ลึก และกล้าตัดสินใจ"ทําเพื่อประโยชน์ประเทศชาติ แม้อาจจะมีผลกระทบกับกลุ่มคนบางกลุ่มที่เสียผลประโยชน์ก็ตาม นอกจากนี้ ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันเราจําเป็นต้องปรับตัวตามโลกที่เปลี่ยนไปสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 ให้ทันซึ่ง "คน" เป็นเรื่องที่สําคัญที่สุดในการเปลี่ยนแปลงCPจึงให้ความสําคัญกับการสร้างคนมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทุ่มเทสร้างสถาบันพัฒนาผู้นําเครือเจริญโภคภัณฑ์แห่งนี้ เพื่อสร้างคนที่เก่งและมีคุณภาพไปขับเคลื่อนและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ สร้างคนสําหรับธุรกิจ เปิดโอกาสคนได้รับการพัฒนาการทํางาน เพราะเมื่อคนทํางานดี ธุรกิจก็จะดีไปด้วย ฝากข้อคิดด้วยว่า "แม้เรามีเงินจํานวนมากและมีโอกาส แต่หากไม่มีคนช่วยทํางาน ธุรกิจก็อาจจะล้มละลายได้ ในทางกลับกันหากไม่มีเงินมากมาย แต่เรามีโอกาสและมีคน คนเหล่านี้จะช่วยสร้างเงินเพิ่มให้เราเป็นจํานวนมากได้เช่นกัน"อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่ากว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ต้องอาศัยเวลา เพราะการสร้างคนไม่สามารถทําได้ภายในวันเดียว แต่ต้องใช้เวลาเป็นสิบ ๆ ปีอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังต้องศึกษาแนวทางการทํางานขององค์กรอื่นระดับนานาชาติที่ประสบความสําเร็จ เพื่อหาจุดแข็งและโอกาสมาปรับใช้ด้วย จึงขอให้ ผอ.สพท.พยายามหาคนเก่งเข้ามาทํางานพร้อมฝากแนวคิดส่วนตัวด้วยว่าการจะสร้าง "คนเก่ง" ควรคํานึงถึง3ด้าน คือ1) ให้อํานาจ เพื่อให้เขาไปแสดงความสามารถ2) ให้ความมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ตามสมควร3) เงิน แม้ไม่ใช่เรื่องที่สําคัญที่สุด แต่หากขยันทํางาน แม้จะมีรายได้มากกว่าเรา ก็ควรแสดงความยินดี อย่างไรก็ตาม ในการทํางานของผู้บริหาร หลายเรื่องเป็นการเปลี่ยนแปลงในสิ่งใหม่ ๆ ดังนั้น ต้องให้โอกาสในการยอมรับความผิดพลาดหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น เพราะคนทํางานมากย่อมผิดพลาดหรือเสียหายบ้าง เพราะเป็นของใหม่ที่ยังไม่มีในตํารา อาจจะต้องอาศัยการลองผิดลองถูก แต่สิ่งสําคัญคือ เมื่อผิดแล้วต้องแก้ไขให้ถูกต้อง และผู้บริหารที่ดีควรจะปกป้องคนที่กล้าทําหรือกล้าสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น ม.ล.ปริยดา ดิศกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวว่า ในการอบรมครั้งนี้ ศธ.ได้จัดหลักสูตรเพื่อพัฒนาบุคลากรออกเป็น2กลุ่ม คือ กลุ่มผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาใหม่110คน และกลุ่มนักประชาสัมพันธ์100คน (จากสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ77คน และนักประชาสัมพันธ์ส่วนกลางที่เป็นCore Team) ในส่วนของหลักสูตรนักประชาสัมพันธ์นั้น ได้จัดหลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างศักยภาพนักประชาสัมพันธ์และสื่อสารการศึกษาทั่วประเทศ ตามโครงการสื่อสารองค์กรอย่างยั่งยืนในยุค Thailand 4.0“MOE Digital Team” ทั้งนี้ เนื่องจาก ศธ.เล็งเห็นความสําคัญของการสร้างการรับรู้ความเข้าใจตามแนวทางนโยบายของรัฐบาล รวมทั้งการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์กรอย่างยั่งยืน จึงได้กําหนดแนวทางการดําเนินงานที่สําคัญในการขับเคลื่อนแบบ Quick Winโดยเน้นการสร้างทีมงาน “MOE Digital Team”เพื่อปรับเปลี่ยนสู่องค์กรดิจิทัล ที่มีระบบการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ความเข้าใจดิจิทัล (Digital PR)และการเตรียมความพร้อมสู่ Thailand 4.0 โดยได้ร่วมกับวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญชั้นนําของประเทศจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในลักษณะการทํางานแบบสานพลังประชารัฐ เพื่อนําระบบ Online Monitoring-Reporting เข้ามาใช้ในการวางแผน กําหนดกลยุทธ์ทางดิจิทัล จัดทําเนื้อหา การเผยแพร่ผ่านสื่อดิจิทัล การเริ่มต้นโครงการ มีหลักการที่สําคัญ 5 ข้อ 1) ศธ.เล็งเห็นความสําคัญของการสร้างการรับรู้ความเข้าใจตามแนวทางนโยบายรัฐบาล ตามมติคณะรัฐมนตรี 2) บริบทของการประชาสัมพันธ์ เปลี่ยนจากเดิมมาสู่ Digital Platform ส่งผลให้วิธีการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ความเข้าใจ เปลี่ยนไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง 3) ศธ.จําเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการสื่อสารขององค์กร เพื่อให้ทันยุค Thailand 4.0 โดยนําเครื่องมือการสื่อสารใหม่ ๆ มาปรับใช้ในการประชาสัมพันธ์ 4) ศธ.ควรมีการวางแผนประชาสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ และทํางานเชิงบูรณาการในทุกหน่วยงานของ ศธ. 5) การนําแนวคิดนโยบายสานพลังประชารัฐ คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม มาใช้ในการดําเนินงาน เพื่อนําไปสู่ Quick Win ทั้งนี้ ได้กําหนดแนวทางดําเนินการเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1การอบรม Focus Groupเพื่อสร้างความเข้าใจในการดําเนินการ MOE Digital Team ให้กับผู้รับผิดชอบโครงการที่จะเป็น Core Teamจากหน่วยงานส่วนกลาง จํานวน20คน ในวันที่ 12 ตุลาคม 2560 เวลา 9.00-12.00 น. ณ ห้องประชุมสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดย ม.ล.ปริยดา ดิศกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน และเชิญทีมผู้บริหารด้านประชาสัมพันธ์ของ ศธ. เข้าร่วม อาทิ นายธาดา เศวตศิลา กรรมการสภาการศึกษา ด้านสื่อสารมวลชน, นายพะโยม ชิณวงศ์ โฆษกกระทรวงศึกษาธิการ ขั้นที่ 2การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทําแผนยุทธศาสตร์การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ ตามยุทธศาสตร์ที่เป็นจุดเน้นของหน่วยงาน ให้กับนักประชาสัมพันธ์ที่เป็น Core Team 20 คนและผู้เกี่ยวข้องจํานวน 60 คนเพื่อวางแผนยุทธศาสตร์การสื่อสารและประชาสัมพันธ์เชิงบูรณาการตามยุทธศาสตร์ที่เป็นจุดเน้นของหน่วยงาน ในวันที่ 24 ตุลาคม 2560 เวลา 9.00-14.00 น. ณ ห้องประชุมราชวัลลภ โดย ม.ล.ปริยดา ดิศกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน ขั้นที่ 3การอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างศักยภาพนักประชาสัมพันธ์และสื่อสารการศึกษาทั่วประเทศ “รวมพลังสร้างสรรค์ทีม” (Team Synergy Program : PR-MOE Digital Workshop)ซึ่งการอบรมรุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 1 จํานวน 100 คน ประกอบด้วย Core Team และนักประชาสัมพันธ์สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเข้าร่วมเป็น Provincial Education Team Leader ระดับจังหวัดๆ ละ 1 คน ระหว่างวันที่ 23-25 พฤศจิกายน 2560 ณ สถาบันพัฒนาผู้นําเครือเจริญโภคภัณฑ์ (C.P. Leadership Institute: CPLI) อําเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดย นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน โดยมีทีมวิทยากรจากบริษัทแสนรัก อินโนเวชั่น จํากัด ให้ความรู้ตลอดการอบรม3วัน หลังจากผ่าน 3 ขั้นตอนนี้ไปแล้ว จะมีการทบทวนหลังปฏิบัติงาน (After Action Review: AAR) เพื่อทบทวนวิธีการทํางาน ทั้งด้านความสําเร็จและปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อนําไปปรับปรุง และขยายโครงการในรุ่นต่อไป นวรัตน์ รามสูต, บัลลังก์ โรหิตเสถียร:สรุป/เรียบเรียง อิทธิพล รุ่งก่อน, ปกรณ์ เรืองยิ่ง:ถ่ายภาพ กลุ่มสารนิเทศ สอ.สป.และกลุ่มประชาสัมพันธ์ สร.:รายงาน
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/8323
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.แรงงาน พร้อมสร้างอาชีพแก่ผู้มีรายได้น้อยทั่วประเทศ
วันพฤหัสบดีที่ 14 ธันวาคม 2560 ก.แรงงาน พร้อมสร้างอาชีพแก่ผู้มีรายได้น้อยทั่วประเทศ รมว.แรงงาน เปิดงาน KICK – OFF โครงการพัฒนาฝีมือให้แก่กลุ่มรัฐวิสาหกิจและผู้มีรายได้น้อย เน้นเพิ่มทักษะฝีมือ สามารถสร้างอาชีพที่มั่นคง มุ่งหวังลดความเหลื่อมล้ําทางสังคม พลตํารวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิดงาน KICK – OFF โครงการพัฒนาฝีมือให้แก่กลุ่มรัฐวิสาหกิจชุมชนและผู้มีรายได้น้อย พร้อมด้วยนายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน และคณะผู้บริหารกระทรวงแรงงานเข้าร่วมในพิธีเปิดงานดังกล่าว ณ บริเวณด้านหน้าอาคารกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน วันนี้ (๑๔ ธ.ค. ๖๐) โดย พล.ต.อ.อดุลย์ฯ กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายสําคัญคือการลดความเหลื่อมล้ําทางสังคม สร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐอย่างเสมอภาคเท่าเทียม เพิ่มโอกาสให้แก่กลุ่มผู้ที่มีรายได้น้อย ซึ่งทางกระทรวงแรงงานได้ริเริ่มโครงการพัฒนาฝีมือให้แก่กลุ่มรัฐวิสาหกิจและผู้มีรายได้น้อย โดยมอบหมายให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) ประสานความร่วมมือกับทุกหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่ รวมถึงการประสานความร่วมมือกับผู้นําชุมชน เพื่อร่วมกันคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายและสํารวจความต้องการด้านอาชีพ ซึ่งขณะนี้มีเป้าหมายดําเนินการทั่วประเทศทั้งหมด ๖๑,๘๔๐คน และได้ตั้งเป้าฝึกอบรมเพิ่มเติมอีกกว่า ๓๘,๐๐๐คน “การขับเคลื่อนโครงการพัฒนาฝีมือให้แก่กลุ่มรัฐวิสาหกิจชุมชนและผู้มีรายได้น้อยทั่วประเทศเป็นการตอบโจทย์การพัฒนากลุ่มเป้าหมายที่มีฐานะยากจนหรือผู้ว่างงานที่ขาดทักษะ ให้สามารถนําความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคต สําหรับหลักสูตรที่ใช้ในการอบรมเป็นหลักสูตรระยะสั้น ใช้เวลาอบรมเพียง ๑๘ – ๓๐ ชั่วโมง อาทิ การทําเฟอร์นิเจอร์ไม้ การชงกาแฟ การทําเครื่องเบญจรงค์ เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะเป็นการถ่ายทอดความรู้ด้านอาชีพ สร้างโอกาสในการมีงานทํา เกิดการสร้างรายได้ในชุมชน และเป็นคนที่มีคุณค่าในสังคม เพื่อให้ประเทศชาติมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนต่อไป” พล.ต.อ.อดุลย์ฯ กล่าวในท้ายที่สุด +++++++++++++++++++++++
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.แรงงาน พร้อมสร้างอาชีพแก่ผู้มีรายได้น้อยทั่วประเทศ วันพฤหัสบดีที่ 14 ธันวาคม 2560 ก.แรงงาน พร้อมสร้างอาชีพแก่ผู้มีรายได้น้อยทั่วประเทศ รมว.แรงงาน เปิดงาน KICK – OFF โครงการพัฒนาฝีมือให้แก่กลุ่มรัฐวิสาหกิจและผู้มีรายได้น้อย เน้นเพิ่มทักษะฝีมือ สามารถสร้างอาชีพที่มั่นคง มุ่งหวังลดความเหลื่อมล้ําทางสังคม พลตํารวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิดงาน KICK – OFF โครงการพัฒนาฝีมือให้แก่กลุ่มรัฐวิสาหกิจชุมชนและผู้มีรายได้น้อย พร้อมด้วยนายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน และคณะผู้บริหารกระทรวงแรงงานเข้าร่วมในพิธีเปิดงานดังกล่าว ณ บริเวณด้านหน้าอาคารกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน วันนี้ (๑๔ ธ.ค. ๖๐) โดย พล.ต.อ.อดุลย์ฯ กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายสําคัญคือการลดความเหลื่อมล้ําทางสังคม สร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐอย่างเสมอภาคเท่าเทียม เพิ่มโอกาสให้แก่กลุ่มผู้ที่มีรายได้น้อย ซึ่งทางกระทรวงแรงงานได้ริเริ่มโครงการพัฒนาฝีมือให้แก่กลุ่มรัฐวิสาหกิจและผู้มีรายได้น้อย โดยมอบหมายให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) ประสานความร่วมมือกับทุกหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่ รวมถึงการประสานความร่วมมือกับผู้นําชุมชน เพื่อร่วมกันคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายและสํารวจความต้องการด้านอาชีพ ซึ่งขณะนี้มีเป้าหมายดําเนินการทั่วประเทศทั้งหมด ๖๑,๘๔๐คน และได้ตั้งเป้าฝึกอบรมเพิ่มเติมอีกกว่า ๓๘,๐๐๐คน “การขับเคลื่อนโครงการพัฒนาฝีมือให้แก่กลุ่มรัฐวิสาหกิจชุมชนและผู้มีรายได้น้อยทั่วประเทศเป็นการตอบโจทย์การพัฒนากลุ่มเป้าหมายที่มีฐานะยากจนหรือผู้ว่างงานที่ขาดทักษะ ให้สามารถนําความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคต สําหรับหลักสูตรที่ใช้ในการอบรมเป็นหลักสูตรระยะสั้น ใช้เวลาอบรมเพียง ๑๘ – ๓๐ ชั่วโมง อาทิ การทําเฟอร์นิเจอร์ไม้ การชงกาแฟ การทําเครื่องเบญจรงค์ เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะเป็นการถ่ายทอดความรู้ด้านอาชีพ สร้างโอกาสในการมีงานทํา เกิดการสร้างรายได้ในชุมชน และเป็นคนที่มีคุณค่าในสังคม เพื่อให้ประเทศชาติมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนต่อไป” พล.ต.อ.อดุลย์ฯ กล่าวในท้ายที่สุด +++++++++++++++++++++++
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/8761
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-EXIM BANK ออกมาตรการสินเชื่อเพื่อการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เงินกู้ระยะยาว 7 ปี อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 2% ต่อปี วงเงินสูงสุด 100 ล้านบาทต่อราย
วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 EXIM BANK ออกมาตรการสินเชื่อเพื่อการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เงินกู้ระยะยาว 7 ปี อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 2% ต่อปี วงเงินสูงสุด 100 ล้านบาทต่อราย EXIM BANK ออกมาตรการสินเชื่อเพื่อการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 2 ปีแรกเพียง 2% เป็นเงินกู้ระยะยาว 7 ปี วงเงินสูงสุด 100 ล้านบาทต่อราย เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการทุกกลุ่มอุตสาหกรรมซื้อหรือปรับปรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ EXIM BANK ออกมาตรการสินเชื่อเพื่อการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 2 ปีแรกเพียง 2% เป็นเงินกู้ระยะยาว 7 ปี วงเงินสูงสุด 100 ล้านบาทต่อราย เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการทุกกลุ่มอุตสาหกรรมซื้อหรือปรับปรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ หรือต่อเติมปรับปรุงโรงงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มมูลค่าสินค้าส่งออกของไทยให้แข่งขันได้ในตลาดการค้าโลกยุคใหม่ นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์เงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2562 เงินบาทแข็งค่าราว 7% ขณะที่มูลค่าส่งออกในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาขยายตัวเฉลี่ย 1.8% ลดลงอย่างมากจากที่เคยขยายตัวสูง ประกอบกับเศรษฐกิจไทยเริ่มมีแนวโน้มชะลอตัว นโยบายของรัฐบาลจึงมุ่งเน้นการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยในตลาดโลก EXIM BANK จึงร่วมกับสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ออก “มาตรการสินเชื่อเพื่อการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต” เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยใช้ประโยชน์จากสภาวะเงินบาทแข็งค่า ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและอุปกรณ์ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต โดยนําเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ในต้นทุนที่ต่ําลง นําไปสู่การพัฒนาสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น แข่งขันได้ในตลาดการค้าโลกยุคใหม่ ตอบสนองนโยบายการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทยไปสู่ Industry 4.0 ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มาตรการสินเชื่อเพื่อการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เป็นสินเชื่อระยะยาวสําหรับผู้ประกอบการทุกกลุ่มอุตสาหกรรม วงเงินสูงสุด 100 ล้านบาทต่อราย ดอกเบี้ยอัตราพิเศษ 2% ต่อปีในปีที่ 1-2 ส่วนปีที่ 3-5 อยู่ที่ Prime Rate -2.00% และปีที่ 6-7 อยู่ที่ Prime Rate (Prime Rate ณ 31 มกราคม 2563 เท่ากับ 6.00%) ระยะเวลาชําระคืนสูงสุด 7 ปี รวมระยะเวลาปลอดชําระเงินต้น 1 ปี สามารถใช้หนังสือค้ําประกันของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นหลักประกันร่วมกับบุคคลค้ําประกันได้ ฟรี! ค่าธรรมเนียมค้ําประกัน บสย. 4 ปี และฟรี! ค่าธรรมเนียมการใช้สินเชื่อ (Front-end Fee) แถมวงเงิน Forward Contract 1 เท่าของวงเงินสินเชื่อ ระยะเวลาให้บริการตั้งแต่บัดนี้ถึง 31 ธันวาคม 2563 วงเงินเป้าหมายของมาตรการอยู่ที่ 5,000 ล้านบาท คาดว่าจะสร้างเม็ดเงินสู่ระบบเศรษฐกิจไม่ต่ํากว่า 22,000 ล้านบาท “EXIM BANK พร้อมอยู่เคียงข้างภาครัฐและเอกชน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่องในสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แม้ในภาวะเงินบาทแข็งค่า ผู้ประกอบการไทยสามารถปิดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนได้ด้วยบริการของ EXIM BANK รวมทั้งใช้โอกาสนี้นําเข้าเครื่องจักรและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าไทยให้แข่งขันได้ในด้านคุณภาพหรือนวัตกรรมในทุกตลาดทั่วโลก” นายพิศิษฐ์กล่าว สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วนสื่อสารองค์กร ฝ่ายพัฒนาความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 4120-4 EXIM Thailand Launches Investment and Production Efficiency Enhancement Credit Scheme: 7-year Term Loan with Special Interest Rate of 2% p.a. and Credit Line of 100 Million Baht per Entrepreneur EXIM Thailand has introduced an Investment and Production Efficiency Enhancement Credit Scheme with offering of a special interest rate of 2% per annum in the first 2 years, maximum 7-year tenor, and credit line of up to 100 million baht per entrepreneur. It aims to encourage entrepreneurs in all industrial sectors to purchase and improve their machinery and equipment or factories in order to uplift production efficiency and add value to Thai export goods for greater competitive edge in the new global trade. Mr. Pisit Serewiwattana, President of Export-Import Bank of Thailand (EXIM Thailand), revealed that amid the successive strengthening of Thai baht, i.e. approximately by 7% in 2019, Thai export value grew in an average of only 1.8% per year over the last 5 years, compared to the robust growth in the foregoing years. Coupled with the slowing trend of Thai economy, the government has established a policy to upgrade Thai entrepreneurs’ competitiveness in the global market. EXIM Thailand has thus collaborated with the Fiscal Policy Office, Ministry of finance, in rolling out “Investment and Production Efficiency Enhancement Credit Scheme” to urge Thai entrepreneurs to leverage on the stronger baht by modifying their machinery and equipment and improving the efficiency of their production processes with the import of machinery and equipment at lower costs and development of products for higher value added and greater competitive advantage to cope with the global trade today. This will respond to the government policy of industrial development toward Industry 4.0 under the 20-year National Strategic Plan. Under the Investment and Production Efficiency Enhancement Credit Scheme, EXIM Thailand will render a long-term credit facility to entrepreneurs in any industrial sectors, with a credit line of up to 100 million baht per entrepreneur, special interest rate of 2.00% per annum in the first 2 years, prime rate -2.00% in the 3rd-5th years and prime rate in the 6th-7th years (prime rate as at January 31, 2020 is 6.00%), and a maximum tenor of 7 years including a grace period of 1 year. The credit facility can be secured by a letter of guarantee from Thai Credit Guarantee Corporation (TCG) together with a personal guarantee. Free! TCG guarantee fee for 4 years and front-end fee, in conjunction with granting of a forward contract worth onefold of credit line. Service is available from today until December 31, 2020. Credit approval is targeted at 5,000 million baht. Approximately 22,000 million baht is expected to be injected into the economic system. “EXIM Thailand is fully ready to work alongside both the public and private sectors to drive Thailand’s continued economic growth under the rapidly changing circumstances at present. Even amid the stronger baht environment, Thai entrepreneurs can close foreign exchange risk positions by using EXIM Thailand’s financial facilities. They should also take this opportunity to import new and modern machinery and technology to improve their production efficiency in order to add value to Thai goods for higher competitiveness in respect of both quality and innovation in all markets around the world,” added Mr. Pisit. For further information, please contact Sustainable Development and Corporate Communication Department Tel. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ext. 4120-4
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-EXIM BANK ออกมาตรการสินเชื่อเพื่อการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เงินกู้ระยะยาว 7 ปี อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 2% ต่อปี วงเงินสูงสุด 100 ล้านบาทต่อราย วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 EXIM BANK ออกมาตรการสินเชื่อเพื่อการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เงินกู้ระยะยาว 7 ปี อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 2% ต่อปี วงเงินสูงสุด 100 ล้านบาทต่อราย EXIM BANK ออกมาตรการสินเชื่อเพื่อการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 2 ปีแรกเพียง 2% เป็นเงินกู้ระยะยาว 7 ปี วงเงินสูงสุด 100 ล้านบาทต่อราย เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการทุกกลุ่มอุตสาหกรรมซื้อหรือปรับปรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ EXIM BANK ออกมาตรการสินเชื่อเพื่อการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 2 ปีแรกเพียง 2% เป็นเงินกู้ระยะยาว 7 ปี วงเงินสูงสุด 100 ล้านบาทต่อราย เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการทุกกลุ่มอุตสาหกรรมซื้อหรือปรับปรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ หรือต่อเติมปรับปรุงโรงงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มมูลค่าสินค้าส่งออกของไทยให้แข่งขันได้ในตลาดการค้าโลกยุคใหม่ นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์เงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2562 เงินบาทแข็งค่าราว 7% ขณะที่มูลค่าส่งออกในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาขยายตัวเฉลี่ย 1.8% ลดลงอย่างมากจากที่เคยขยายตัวสูง ประกอบกับเศรษฐกิจไทยเริ่มมีแนวโน้มชะลอตัว นโยบายของรัฐบาลจึงมุ่งเน้นการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยในตลาดโลก EXIM BANK จึงร่วมกับสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ออก “มาตรการสินเชื่อเพื่อการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต” เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยใช้ประโยชน์จากสภาวะเงินบาทแข็งค่า ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและอุปกรณ์ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต โดยนําเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ในต้นทุนที่ต่ําลง นําไปสู่การพัฒนาสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น แข่งขันได้ในตลาดการค้าโลกยุคใหม่ ตอบสนองนโยบายการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทยไปสู่ Industry 4.0 ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มาตรการสินเชื่อเพื่อการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เป็นสินเชื่อระยะยาวสําหรับผู้ประกอบการทุกกลุ่มอุตสาหกรรม วงเงินสูงสุด 100 ล้านบาทต่อราย ดอกเบี้ยอัตราพิเศษ 2% ต่อปีในปีที่ 1-2 ส่วนปีที่ 3-5 อยู่ที่ Prime Rate -2.00% และปีที่ 6-7 อยู่ที่ Prime Rate (Prime Rate ณ 31 มกราคม 2563 เท่ากับ 6.00%) ระยะเวลาชําระคืนสูงสุด 7 ปี รวมระยะเวลาปลอดชําระเงินต้น 1 ปี สามารถใช้หนังสือค้ําประกันของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นหลักประกันร่วมกับบุคคลค้ําประกันได้ ฟรี! ค่าธรรมเนียมค้ําประกัน บสย. 4 ปี และฟรี! ค่าธรรมเนียมการใช้สินเชื่อ (Front-end Fee) แถมวงเงิน Forward Contract 1 เท่าของวงเงินสินเชื่อ ระยะเวลาให้บริการตั้งแต่บัดนี้ถึง 31 ธันวาคม 2563 วงเงินเป้าหมายของมาตรการอยู่ที่ 5,000 ล้านบาท คาดว่าจะสร้างเม็ดเงินสู่ระบบเศรษฐกิจไม่ต่ํากว่า 22,000 ล้านบาท “EXIM BANK พร้อมอยู่เคียงข้างภาครัฐและเอกชน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่องในสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แม้ในภาวะเงินบาทแข็งค่า ผู้ประกอบการไทยสามารถปิดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนได้ด้วยบริการของ EXIM BANK รวมทั้งใช้โอกาสนี้นําเข้าเครื่องจักรและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าไทยให้แข่งขันได้ในด้านคุณภาพหรือนวัตกรรมในทุกตลาดทั่วโลก” นายพิศิษฐ์กล่าว สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วนสื่อสารองค์กร ฝ่ายพัฒนาความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 4120-4 EXIM Thailand Launches Investment and Production Efficiency Enhancement Credit Scheme: 7-year Term Loan with Special Interest Rate of 2% p.a. and Credit Line of 100 Million Baht per Entrepreneur EXIM Thailand has introduced an Investment and Production Efficiency Enhancement Credit Scheme with offering of a special interest rate of 2% per annum in the first 2 years, maximum 7-year tenor, and credit line of up to 100 million baht per entrepreneur. It aims to encourage entrepreneurs in all industrial sectors to purchase and improve their machinery and equipment or factories in order to uplift production efficiency and add value to Thai export goods for greater competitive edge in the new global trade. Mr. Pisit Serewiwattana, President of Export-Import Bank of Thailand (EXIM Thailand), revealed that amid the successive strengthening of Thai baht, i.e. approximately by 7% in 2019, Thai export value grew in an average of only 1.8% per year over the last 5 years, compared to the robust growth in the foregoing years. Coupled with the slowing trend of Thai economy, the government has established a policy to upgrade Thai entrepreneurs’ competitiveness in the global market. EXIM Thailand has thus collaborated with the Fiscal Policy Office, Ministry of finance, in rolling out “Investment and Production Efficiency Enhancement Credit Scheme” to urge Thai entrepreneurs to leverage on the stronger baht by modifying their machinery and equipment and improving the efficiency of their production processes with the import of machinery and equipment at lower costs and development of products for higher value added and greater competitive advantage to cope with the global trade today. This will respond to the government policy of industrial development toward Industry 4.0 under the 20-year National Strategic Plan. Under the Investment and Production Efficiency Enhancement Credit Scheme, EXIM Thailand will render a long-term credit facility to entrepreneurs in any industrial sectors, with a credit line of up to 100 million baht per entrepreneur, special interest rate of 2.00% per annum in the first 2 years, prime rate -2.00% in the 3rd-5th years and prime rate in the 6th-7th years (prime rate as at January 31, 2020 is 6.00%), and a maximum tenor of 7 years including a grace period of 1 year. The credit facility can be secured by a letter of guarantee from Thai Credit Guarantee Corporation (TCG) together with a personal guarantee. Free! TCG guarantee fee for 4 years and front-end fee, in conjunction with granting of a forward contract worth onefold of credit line. Service is available from today until December 31, 2020. Credit approval is targeted at 5,000 million baht. Approximately 22,000 million baht is expected to be injected into the economic system. “EXIM Thailand is fully ready to work alongside both the public and private sectors to drive Thailand’s continued economic growth under the rapidly changing circumstances at present. Even amid the stronger baht environment, Thai entrepreneurs can close foreign exchange risk positions by using EXIM Thailand’s financial facilities. They should also take this opportunity to import new and modern machinery and technology to improve their production efficiency in order to add value to Thai goods for higher competitiveness in respect of both quality and innovation in all markets around the world,” added Mr. Pisit. For further information, please contact Sustainable Development and Corporate Communication Department Tel. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ext. 4120-4
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/26197
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ครม.เศรษฐกิจเห็นชอบแพคเกจ Thailand Plus กระตุ้นและเร่งรัดการลงทุน 7 ด้าน
วันศุกร์ที่ 6 กันยายน 2562 ครม.เศรษฐกิจเห็นชอบแพคเกจ Thailand Plus กระตุ้นและเร่งรัดการลงทุน 7 ด้าน นายกรัฐมนตรีประชุม ครม.เศรษฐกิจ เห็นชอบแพคเกจ Thailand Plus กระตุ้นและเร่งรัดการลงทุน 7 ด้าน ทั้งมาตรการภาษี การพัฒนาบุคลากร ปรับปรุงกฎระเบียบด้านการลงทุน เร่งรัดให้ได้ข้อสรุปเรื่องการเจรจาเอฟทีเอ พร้อมทําตลาดเชิงรุก วันนี้ (6 ก.ย.62) เวลา 13.30 น. ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) ครั้งที่ 2/2562 โดยภายหลังการประชุม นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการและเลขานุการ ครม.เศรษฐกิจ และนางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ร่วมกันแถลงผลการประชุม ครม.เศรษฐกิจ สรุปสาระสําคัญดังนี้ ที่ประชุมรับทราบสถานการณ์เศรษฐกิจล่าสุดตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานสรุปว่า ข้อมูลทางเศรษฐกิจตั้งแต่ที่รัฐบาลเข้าทําหน้าที่ในเดือนกรกฎาคม 2562 ได้เริ่มปรับตัวดีขึ้น ทั้งตัวเลขของการขับเคลื่อนการใช้จ่ายภาครัฐที่ปรับตัวดีขึ้น รวมถึงเรื่องการส่งออกและการบริโภคที่ขยับตัวดีขึ้นเช่นเดียวกัน พร้อมกันนี้ ที่ประชุมพิจารณามาตรการส่งเสริมการลงทุนรองรับการย้ายฐานของนักลงทุนจากต่างประเทศ ที่มีประเด็นสําคัญรวม 3 ประเด็นคือ (1) โอกาสการดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศที่เร่งย้ายฐาน สืบเนื่องจากผลกระทบของสงครามการค้า ที่จะนํามาสู่การใช้จ่ายลงทุน การยกระดับเทคโนโลยีสู่ 4.0 (2) อุปสรรคของนักลงทุนที่จะมาลงทุนที่ประเทศไทย (3) ทางออกเชิงนโยบายของประเทศไทย ที่จะเป็นการปรับกระบวนการดึงดูดการลงทุนของไทยครั้งใหญ่ ที่ครอบคลุมทุกมิติ ไม่จํากัดเฉพาะแรงจูงใจด้านภาษีของ BOI เท่านั้น โดยที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจได้เห็นชอบแพคเกจเร่งรัดการลงทุนและรองรับการย้ายฐานการผลิตสืบเนื่องจากผลกระทบของสงครามการค้า หรือ Thailand Plus Package 7 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านสิทธิประโยชน์ ให้บีโอไอกําหนดมาตรการสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อเร่งรัดการลงทุน โดยลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 เป็นเวลา 5 ปี เพิ่มเติมจากเกณฑ์ปกติ สําหรับโครงการที่มีเงินลงทุนจริงอย่างน้อย 1,000 ล้านบาท ภายในปี 2564 โดยต้องยื่นขอรับการส่งเสริมภายในปี 2563 2. ด้านการปรับปรุงประสิทธิภาพการดําเนินการของหน่วยงาน ให้จัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนและประสานงานการลงทุน ในลักษณะ One Stop Service โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่ออํานวยความสะดวกและช่วยแก้ไขปัญหาและอุปสรรคแก่นักลงทุน รวมทั้งให้สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) สามารถอนุมัติโครงการในกลุ่มกิจการที่ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลทุกขนาดการลงทุนเพื่อตอบสนองนักลงทุนที่ต้องการย้ายฐานโดยเร็ว 3. ด้านบุคลากร ให้กําหนดมาตรการการคลังเพื่อสนับสนุนการฝึกอบรมแรงงาน โดยให้ผู้ประกอบการนําเงินลงทุนหรือค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมที่เข้าข่าย Advanced Technology ไปหักลดหย่อนเพิ่มขึ้นระหว่างปี 2562 – 2563 รวมทั้งให้มีมาตรการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการจ้างงานบุคลากรทักษะสูงในสาขาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมขั้นสูง โดยสามารถนําค่าจ้างไปหักค่าใช้จ่ายได้ ระหว่างปี 2562 – 2563 นอกจากนี้ ในกรณีของโครงการลงทุนที่ได้รับการส่งเสริมและยังมีสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้อยู่ บีโอไอจะอนุญาตให้นําค่าใช้จ่ายด้านการฝึกอบรมที่เข้าข่ายเป็น Advanced Technology ไปคํานวณรวมเป็นวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้เป็นร้อยละ 200 รวมทั้งให้บีโอไอและกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกันนําเสนอแนวทางและรูปแบบการนําเงินกองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันฯ มาใช้สนับสนุนการจัดตั้งสถาบันการศึกษาศักยภาพสูง 4. ด้านความสะดวกในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business) มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์เร่งปรับปรุงบัญชีแนบท้ายตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 และกฎหมายที่เป็นอุปสรรคและข้อจํากัดต่อการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย นอกจากนี้ยังขอให้บีโอไอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดเชื่อมโยงข้อมูล เพื่ออํานวยความสะดวกแก่นักลงทุน เช่น กรมศุลกากร กรมสรรพากร กรมโรงงานอุตสาหกรรม และกรมที่ดิน เป็นต้น รวมทั้งให้มีการปรับปรุงกฎระเบียบเรื่องวีซ่าและใบอนุญาตทํางาน เพื่ออํานวยความสะดวกแก่นักลงทุนมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญสูง 5. มอบหมายให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เตรียมจัดหาและพัฒนาพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อรองรับการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติแต่ละประเทศเป็นการเฉพาะ เช่น เกาหลี จีน ไต้หวัน เป็นต้น 6. ขอให้กระทรวงพาณิชย์เร่งสรุปผลการศึกษาและกระบวนการต่าง ๆ ให้ได้ข้อสรุปเรื่องการฟื้นการเจรจาความตกลงการค้าไทย – อียู และการเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก (CPTPP) ภายในปี 2562 รวมทั้งมอบให้สํานักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบประมาณแก่กระทรวงพาณิชย์ สําหรับกองทุนช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าด้วย 7. ให้กระทรวงการคลังกําหนดมาตรการเพิ่มเติม โดยให้หักเงินลงทุนด้านระบบอัตโนมัติได้เพิ่มขึ้น ระหว่างปี 2562 – 2563 เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตด้วยระบบอัตโนมัติ อันจะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับห่วงโซ่อุปทานในประเทศไทย สําหรับด้านการชักจูงการลงทุนนั้น บีโอไอจะร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรเพื่อจัดทีมบูรณาการโรดโชว์และทําการตลาดเชิงรุก โดยเน้นชักจูงนักลงทุนในประเทศเป้าหมาย ได้แก่ ประเทศจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลี เป็นต้น “ประเทศไทยมีนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับนโยบาย New Southern Policy ของเกาหลีใต้ Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก ของญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา และนโยบายมุ่งตะวันออก (Look East Policy) ของอินเดีย นอกจากนั้น ยังมีจุดเด่นในการเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงไปยังกลุ่ม ACMECS หรือ CLMVT การออกมาตรการ Thailand Plus ครั้งนี้ จะเป็นโอกาสครั้งสําคัญในการดึงดูดการลงทุนสําหรับนักลงทุนที่ต้องการย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยมากขึ้น” เลขาธิการบีโอไอกล่าว นอกจากนี้ กรรมการและเลขานุการ ครม.เศรษฐกิจ กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า ไม่เคยมีการเสนอแพคเกจลักษณะนี้มาก่อน ครั้งนี้เป็นการเสนอแพคเกจครอบคลุมทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เมื่อผลการประชุม ครม.เศรษฐกิจวันนี้เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันอังคารหน้า ก็จะมีตัวเลขต่าง ๆ ออกมา ซึ่งจะมีตัวเลขต่าง ๆ เพิ่มขึ้นทุกตัวจากที่เคยให้ เป็นการลงทุนเพื่ออนาคต โดยอุตสาหกรรมที่จะเริ่มขับเคลื่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมยาง อุตสาหกรรมเครื่องจักร เรื่องอาหาร กลุ่ม Bio-Chemical Bio-Fuel เป็นต้น ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีสั่งการให้มีการรายงานความคืบหน้าการเร่งรัดการลงทุนและรองรับการย้ายฐานการผลิตสืบเนื่องจากผลกระทบของสงครามการค้า ทั้ง 7 ด้านต่อที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจในสัปดาห์หน้าด้วย ------------------ กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ครม.เศรษฐกิจเห็นชอบแพคเกจ Thailand Plus กระตุ้นและเร่งรัดการลงทุน 7 ด้าน วันศุกร์ที่ 6 กันยายน 2562 ครม.เศรษฐกิจเห็นชอบแพคเกจ Thailand Plus กระตุ้นและเร่งรัดการลงทุน 7 ด้าน นายกรัฐมนตรีประชุม ครม.เศรษฐกิจ เห็นชอบแพคเกจ Thailand Plus กระตุ้นและเร่งรัดการลงทุน 7 ด้าน ทั้งมาตรการภาษี การพัฒนาบุคลากร ปรับปรุงกฎระเบียบด้านการลงทุน เร่งรัดให้ได้ข้อสรุปเรื่องการเจรจาเอฟทีเอ พร้อมทําตลาดเชิงรุก วันนี้ (6 ก.ย.62) เวลา 13.30 น. ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) ครั้งที่ 2/2562 โดยภายหลังการประชุม นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการและเลขานุการ ครม.เศรษฐกิจ และนางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ร่วมกันแถลงผลการประชุม ครม.เศรษฐกิจ สรุปสาระสําคัญดังนี้ ที่ประชุมรับทราบสถานการณ์เศรษฐกิจล่าสุดตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานสรุปว่า ข้อมูลทางเศรษฐกิจตั้งแต่ที่รัฐบาลเข้าทําหน้าที่ในเดือนกรกฎาคม 2562 ได้เริ่มปรับตัวดีขึ้น ทั้งตัวเลขของการขับเคลื่อนการใช้จ่ายภาครัฐที่ปรับตัวดีขึ้น รวมถึงเรื่องการส่งออกและการบริโภคที่ขยับตัวดีขึ้นเช่นเดียวกัน พร้อมกันนี้ ที่ประชุมพิจารณามาตรการส่งเสริมการลงทุนรองรับการย้ายฐานของนักลงทุนจากต่างประเทศ ที่มีประเด็นสําคัญรวม 3 ประเด็นคือ (1) โอกาสการดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศที่เร่งย้ายฐาน สืบเนื่องจากผลกระทบของสงครามการค้า ที่จะนํามาสู่การใช้จ่ายลงทุน การยกระดับเทคโนโลยีสู่ 4.0 (2) อุปสรรคของนักลงทุนที่จะมาลงทุนที่ประเทศไทย (3) ทางออกเชิงนโยบายของประเทศไทย ที่จะเป็นการปรับกระบวนการดึงดูดการลงทุนของไทยครั้งใหญ่ ที่ครอบคลุมทุกมิติ ไม่จํากัดเฉพาะแรงจูงใจด้านภาษีของ BOI เท่านั้น โดยที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจได้เห็นชอบแพคเกจเร่งรัดการลงทุนและรองรับการย้ายฐานการผลิตสืบเนื่องจากผลกระทบของสงครามการค้า หรือ Thailand Plus Package 7 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านสิทธิประโยชน์ ให้บีโอไอกําหนดมาตรการสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อเร่งรัดการลงทุน โดยลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 เป็นเวลา 5 ปี เพิ่มเติมจากเกณฑ์ปกติ สําหรับโครงการที่มีเงินลงทุนจริงอย่างน้อย 1,000 ล้านบาท ภายในปี 2564 โดยต้องยื่นขอรับการส่งเสริมภายในปี 2563 2. ด้านการปรับปรุงประสิทธิภาพการดําเนินการของหน่วยงาน ให้จัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนและประสานงานการลงทุน ในลักษณะ One Stop Service โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่ออํานวยความสะดวกและช่วยแก้ไขปัญหาและอุปสรรคแก่นักลงทุน รวมทั้งให้สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) สามารถอนุมัติโครงการในกลุ่มกิจการที่ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลทุกขนาดการลงทุนเพื่อตอบสนองนักลงทุนที่ต้องการย้ายฐานโดยเร็ว 3. ด้านบุคลากร ให้กําหนดมาตรการการคลังเพื่อสนับสนุนการฝึกอบรมแรงงาน โดยให้ผู้ประกอบการนําเงินลงทุนหรือค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมที่เข้าข่าย Advanced Technology ไปหักลดหย่อนเพิ่มขึ้นระหว่างปี 2562 – 2563 รวมทั้งให้มีมาตรการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการจ้างงานบุคลากรทักษะสูงในสาขาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมขั้นสูง โดยสามารถนําค่าจ้างไปหักค่าใช้จ่ายได้ ระหว่างปี 2562 – 2563 นอกจากนี้ ในกรณีของโครงการลงทุนที่ได้รับการส่งเสริมและยังมีสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้อยู่ บีโอไอจะอนุญาตให้นําค่าใช้จ่ายด้านการฝึกอบรมที่เข้าข่ายเป็น Advanced Technology ไปคํานวณรวมเป็นวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้เป็นร้อยละ 200 รวมทั้งให้บีโอไอและกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกันนําเสนอแนวทางและรูปแบบการนําเงินกองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันฯ มาใช้สนับสนุนการจัดตั้งสถาบันการศึกษาศักยภาพสูง 4. ด้านความสะดวกในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business) มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์เร่งปรับปรุงบัญชีแนบท้ายตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 และกฎหมายที่เป็นอุปสรรคและข้อจํากัดต่อการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย นอกจากนี้ยังขอให้บีโอไอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดเชื่อมโยงข้อมูล เพื่ออํานวยความสะดวกแก่นักลงทุน เช่น กรมศุลกากร กรมสรรพากร กรมโรงงานอุตสาหกรรม และกรมที่ดิน เป็นต้น รวมทั้งให้มีการปรับปรุงกฎระเบียบเรื่องวีซ่าและใบอนุญาตทํางาน เพื่ออํานวยความสะดวกแก่นักลงทุนมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญสูง 5. มอบหมายให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เตรียมจัดหาและพัฒนาพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อรองรับการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติแต่ละประเทศเป็นการเฉพาะ เช่น เกาหลี จีน ไต้หวัน เป็นต้น 6. ขอให้กระทรวงพาณิชย์เร่งสรุปผลการศึกษาและกระบวนการต่าง ๆ ให้ได้ข้อสรุปเรื่องการฟื้นการเจรจาความตกลงการค้าไทย – อียู และการเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก (CPTPP) ภายในปี 2562 รวมทั้งมอบให้สํานักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบประมาณแก่กระทรวงพาณิชย์ สําหรับกองทุนช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าด้วย 7. ให้กระทรวงการคลังกําหนดมาตรการเพิ่มเติม โดยให้หักเงินลงทุนด้านระบบอัตโนมัติได้เพิ่มขึ้น ระหว่างปี 2562 – 2563 เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตด้วยระบบอัตโนมัติ อันจะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับห่วงโซ่อุปทานในประเทศไทย สําหรับด้านการชักจูงการลงทุนนั้น บีโอไอจะร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรเพื่อจัดทีมบูรณาการโรดโชว์และทําการตลาดเชิงรุก โดยเน้นชักจูงนักลงทุนในประเทศเป้าหมาย ได้แก่ ประเทศจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลี เป็นต้น “ประเทศไทยมีนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับนโยบาย New Southern Policy ของเกาหลีใต้ Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก ของญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา และนโยบายมุ่งตะวันออก (Look East Policy) ของอินเดีย นอกจากนั้น ยังมีจุดเด่นในการเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงไปยังกลุ่ม ACMECS หรือ CLMVT การออกมาตรการ Thailand Plus ครั้งนี้ จะเป็นโอกาสครั้งสําคัญในการดึงดูดการลงทุนสําหรับนักลงทุนที่ต้องการย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยมากขึ้น” เลขาธิการบีโอไอกล่าว นอกจากนี้ กรรมการและเลขานุการ ครม.เศรษฐกิจ กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า ไม่เคยมีการเสนอแพคเกจลักษณะนี้มาก่อน ครั้งนี้เป็นการเสนอแพคเกจครอบคลุมทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เมื่อผลการประชุม ครม.เศรษฐกิจวันนี้เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันอังคารหน้า ก็จะมีตัวเลขต่าง ๆ ออกมา ซึ่งจะมีตัวเลขต่าง ๆ เพิ่มขึ้นทุกตัวจากที่เคยให้ เป็นการลงทุนเพื่ออนาคต โดยอุตสาหกรรมที่จะเริ่มขับเคลื่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมยาง อุตสาหกรรมเครื่องจักร เรื่องอาหาร กลุ่ม Bio-Chemical Bio-Fuel เป็นต้น ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีสั่งการให้มีการรายงานความคืบหน้าการเร่งรัดการลงทุนและรองรับการย้ายฐานการผลิตสืบเนื่องจากผลกระทบของสงครามการค้า ทั้ง 7 ด้านต่อที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจในสัปดาห์หน้าด้วย ------------------ กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/22876
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.พม. เปิดงานวันคนพิการสากล จ.อุดรธานี 2561 พร้อมลงพื้นที่ จ. หนองคาย ขับเคลื่อนงานพัฒนาสังคมแบบบูรณาการของคนทุกช่วงวัย
วันพุธที่ 12 ธันวาคม 2561 รมว.พม. เปิดงานวันคนพิการสากล จ.อุดรธานี 2561 พร้อมลงพื้นที่ จ. หนองคาย ขับเคลื่อนงานพัฒนาสังคมแบบบูรณาการของคนทุกช่วงวัย รมว.พม. เปิดงานวันคนพิการสากล จ.อุดรธานี 2561 พร้อมลงพื้นที่ จ. หนองคาย ขับเคลื่อนงานพัฒนาสังคมแบบบูรณาการของคนทุกช่วงวัย วันนี้ (12 ธ.ค. 61) เวลา 10.30 น. ที่ศาลเจ้าปู่ - ย่า อําเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานในพิธีเปิด "งานวันคนพิการสากลจังหวัดอุดรธานี ประจําปี 2561” พร้อมมอบรางวัลคนพิการต้นแบบจังหวัดอุดรธานีและเกียรติบัตรแก่สถานประกอบการ ที่มีการจ้างงานดีเด่น จากนั้นเดินทางไปลงพื้นที่จังหวัดหนองคาย เพื่อตรวจเยี่ยมและติดตามการขับเคลื่อนงานด้านคนพิการและการพัฒนาสังคมแบบบูรณาการของคนทุกช่วงวัย ณ วัดอรัญญิกกาวาส (วัดน้อย) อําเภอเมือง จังหวัดหนองคาย พลเอก อนันตพร กล่าวว่า ด้วย องค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศให้วันที่ 3 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันคนพิการสากล ซึ่งประเทศสมาชิกได้ให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจของสังคมเกี่ยวกับคนพิการและเปิดโอกาส ให้คนพิการได้มีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมของสังคมอย่างสร้างสรรค์ เป็นธรรม เสมอภาค และเท่าเทียมกัน สําหรับประเทศไทย ได้ขับเคลื่อนการจัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสวันคนพิการสากลอย่างต่อเนื่องเป็นประจําทุกปี ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมถึงจังหวัดอุดรธานี ได้มีการจัดงานวันคนพิการสากลจังหวัดอุดรธานี ประจําปี 2561 ขึ้น เพื่อเป็นการร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในวันคนพิการสากล อีกทั้งเป็นการบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน โดยเฉพาะสภาคนพิการทุกประเภทประจําจังหวัดอุดรธานี สร้างความตระหนักและส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่เป็นธรรม เสมอภาค และเท่าเทียมกัน นําไปสู่สังคมที่ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข พลเอก อนันตพร กล่าวต่อไปว่า "งานวันคนพิการสากลจังหวัดอุดรธานี ประจําปี 2561” ประกอบด้วยกิจกรรมสําคัญ ได้แก่ 1) การมอบรางวัลคนพิการต้นแบบจังหวัดอุดรธานี จํานวน 4 ราย 2) การมอบเกียรติบัตรแก่สถานประกอบการที่มี การจ้างงานคนพิการดีเด่น จํานวน 1 แห่ง 3) การมอบเงินทุนกู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพสําหรับคนพิการและผู้ดูแล จํานวน 10 ราย 4) การมอบเงินสงเคราะห์และฟื้นฟูสมรรถภาพชีวิตคนพิการ จํานวน 5 ราย 5) การมอบรถวีลแชร์ให้กับคนพิการทาง การเคลื่อนไหว จํานวน 5 คัน จากมูลนิธิพันธกิจเพื่อการพัฒนา และ 6) การมอบรถโยกให้กับคนพิการทางการเคลื่อนไหว จํานวน 5 คัน จากสมาคมคนพิการจังหวัดอุดรธานี นอกจากนี้ ยังได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามการขับเคลื่อนงานของหน่วยงานสังกัดกระทรวง พม. ในพื้นที่ ได้แก่ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดอุดรธานี กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) และนิคม สร้างตนเองเชียงพิณ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) พลเอก อนันตพร กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากการลงพื้นที่จังหวัดอุดรธานีแล้ว ตนยังได้เดินทางไปลงพื้นที่จังหวัดหนองคาย เพื่อตรวจเยี่ยมและติดตามการขับเคลื่อนงานด้านคนพิการและการพัฒนาสังคมแบบบูรณาการของคนทุกช่วงวัยของหน่วยงานสังกัดกระทรวง พม. ในพื้นที่ ได้แก่ สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหนองคาย สถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านหนองคาย สถานพัฒนาและฟื้นฟูเด็กจังหวัดหนองคาย บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดหนองคาย ศูนย์พัฒนาศักยภาพและอาชีพคนพิการจังหวัดหนองคาย อีกทั้งยังได้ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านและให้การช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม จํานวน 3 ราย ได้แก่ รายที่ 1 นายสัญญา ทองแสน อายุ 69 ปี ได้รับการช่วยเหลือด้วยบ้านน้อยพอเพียงในโครงการพัฒนาเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ทางสังคมและวัฒนธรรม รายที่ 2 นางทองวัน นาคสุวรรณ์ อายุ 79 ปี ได้รับการช่วยเหลือด้วยการปรับปรุงสภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัยแก่ผู้สูงอายุ และ รายที่ 3 นางหอม ศิลาทอง อายุ 71 ปี ได้รับการช่วยเหลือด้วยการปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมสําหรับคนพิการ "นอกจากนี้ มีการประชุมเพื่อรับฟังรายงานผลการขับเคลื่อนงานการพัฒนาสังคมแบบบูรณาการของคนทุกช่วงวัย โดย นายบรรณรัตน์ เก่งกสิกิจ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหนองคาย (พมจ.หนองคาย) กล่าวรายงาน ณ วัดอรัญญิกกาวาส (วัดน้อย) ตําบลหนองสองห้อง จังหวัดหนองคาย ทั้งนี้ ตําบลหนองสองห้องเป็นตําบลที่มีการขับเคลื่อน งานบูรณาการทุกช่วงวัย และประสบผลสําเร็จจนได้รับรางวัลมากมาย อาทิ คนพิการต้นแบบจังหวัดหนองคาย ปี 2559 สภาเด็กและเยาวชนต้นแบบ ปี 2560 ผู้สูงอายุดีเด่น สาขา ภูมิปัญญา ปี 2559 ผู้สูงอายุดีเด่น สาขา จิตอาสา ปี 2560 ศูนย์บริการคนพิการทั่วไปดีเด่น และโรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบจังหวัดหนองคาย ปี 2561 จากนั้น มีการมอบบ้านพอเพียงชนบท จํานวน 150 หลัง และเยี่ยมชมนิทรรศการผลงานจากชาวชุมชนตําบลหนองสองห้อง” พลเอก อนันตพร กล่าวในตอนท้าย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.พม. เปิดงานวันคนพิการสากล จ.อุดรธานี 2561 พร้อมลงพื้นที่ จ. หนองคาย ขับเคลื่อนงานพัฒนาสังคมแบบบูรณาการของคนทุกช่วงวัย วันพุธที่ 12 ธันวาคม 2561 รมว.พม. เปิดงานวันคนพิการสากล จ.อุดรธานี 2561 พร้อมลงพื้นที่ จ. หนองคาย ขับเคลื่อนงานพัฒนาสังคมแบบบูรณาการของคนทุกช่วงวัย รมว.พม. เปิดงานวันคนพิการสากล จ.อุดรธานี 2561 พร้อมลงพื้นที่ จ. หนองคาย ขับเคลื่อนงานพัฒนาสังคมแบบบูรณาการของคนทุกช่วงวัย วันนี้ (12 ธ.ค. 61) เวลา 10.30 น. ที่ศาลเจ้าปู่ - ย่า อําเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานในพิธีเปิด "งานวันคนพิการสากลจังหวัดอุดรธานี ประจําปี 2561” พร้อมมอบรางวัลคนพิการต้นแบบจังหวัดอุดรธานีและเกียรติบัตรแก่สถานประกอบการ ที่มีการจ้างงานดีเด่น จากนั้นเดินทางไปลงพื้นที่จังหวัดหนองคาย เพื่อตรวจเยี่ยมและติดตามการขับเคลื่อนงานด้านคนพิการและการพัฒนาสังคมแบบบูรณาการของคนทุกช่วงวัย ณ วัดอรัญญิกกาวาส (วัดน้อย) อําเภอเมือง จังหวัดหนองคาย พลเอก อนันตพร กล่าวว่า ด้วย องค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศให้วันที่ 3 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันคนพิการสากล ซึ่งประเทศสมาชิกได้ให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจของสังคมเกี่ยวกับคนพิการและเปิดโอกาส ให้คนพิการได้มีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมของสังคมอย่างสร้างสรรค์ เป็นธรรม เสมอภาค และเท่าเทียมกัน สําหรับประเทศไทย ได้ขับเคลื่อนการจัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสวันคนพิการสากลอย่างต่อเนื่องเป็นประจําทุกปี ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมถึงจังหวัดอุดรธานี ได้มีการจัดงานวันคนพิการสากลจังหวัดอุดรธานี ประจําปี 2561 ขึ้น เพื่อเป็นการร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในวันคนพิการสากล อีกทั้งเป็นการบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน โดยเฉพาะสภาคนพิการทุกประเภทประจําจังหวัดอุดรธานี สร้างความตระหนักและส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่เป็นธรรม เสมอภาค และเท่าเทียมกัน นําไปสู่สังคมที่ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข พลเอก อนันตพร กล่าวต่อไปว่า "งานวันคนพิการสากลจังหวัดอุดรธานี ประจําปี 2561” ประกอบด้วยกิจกรรมสําคัญ ได้แก่ 1) การมอบรางวัลคนพิการต้นแบบจังหวัดอุดรธานี จํานวน 4 ราย 2) การมอบเกียรติบัตรแก่สถานประกอบการที่มี การจ้างงานคนพิการดีเด่น จํานวน 1 แห่ง 3) การมอบเงินทุนกู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพสําหรับคนพิการและผู้ดูแล จํานวน 10 ราย 4) การมอบเงินสงเคราะห์และฟื้นฟูสมรรถภาพชีวิตคนพิการ จํานวน 5 ราย 5) การมอบรถวีลแชร์ให้กับคนพิการทาง การเคลื่อนไหว จํานวน 5 คัน จากมูลนิธิพันธกิจเพื่อการพัฒนา และ 6) การมอบรถโยกให้กับคนพิการทางการเคลื่อนไหว จํานวน 5 คัน จากสมาคมคนพิการจังหวัดอุดรธานี นอกจากนี้ ยังได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามการขับเคลื่อนงานของหน่วยงานสังกัดกระทรวง พม. ในพื้นที่ ได้แก่ บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดอุดรธานี กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) และนิคม สร้างตนเองเชียงพิณ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) พลเอก อนันตพร กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากการลงพื้นที่จังหวัดอุดรธานีแล้ว ตนยังได้เดินทางไปลงพื้นที่จังหวัดหนองคาย เพื่อตรวจเยี่ยมและติดตามการขับเคลื่อนงานด้านคนพิการและการพัฒนาสังคมแบบบูรณาการของคนทุกช่วงวัยของหน่วยงานสังกัดกระทรวง พม. ในพื้นที่ ได้แก่ สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหนองคาย สถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านหนองคาย สถานพัฒนาและฟื้นฟูเด็กจังหวัดหนองคาย บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดหนองคาย ศูนย์พัฒนาศักยภาพและอาชีพคนพิการจังหวัดหนองคาย อีกทั้งยังได้ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านและให้การช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม จํานวน 3 ราย ได้แก่ รายที่ 1 นายสัญญา ทองแสน อายุ 69 ปี ได้รับการช่วยเหลือด้วยบ้านน้อยพอเพียงในโครงการพัฒนาเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ทางสังคมและวัฒนธรรม รายที่ 2 นางทองวัน นาคสุวรรณ์ อายุ 79 ปี ได้รับการช่วยเหลือด้วยการปรับปรุงสภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัยแก่ผู้สูงอายุ และ รายที่ 3 นางหอม ศิลาทอง อายุ 71 ปี ได้รับการช่วยเหลือด้วยการปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมสําหรับคนพิการ "นอกจากนี้ มีการประชุมเพื่อรับฟังรายงานผลการขับเคลื่อนงานการพัฒนาสังคมแบบบูรณาการของคนทุกช่วงวัย โดย นายบรรณรัตน์ เก่งกสิกิจ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหนองคาย (พมจ.หนองคาย) กล่าวรายงาน ณ วัดอรัญญิกกาวาส (วัดน้อย) ตําบลหนองสองห้อง จังหวัดหนองคาย ทั้งนี้ ตําบลหนองสองห้องเป็นตําบลที่มีการขับเคลื่อน งานบูรณาการทุกช่วงวัย และประสบผลสําเร็จจนได้รับรางวัลมากมาย อาทิ คนพิการต้นแบบจังหวัดหนองคาย ปี 2559 สภาเด็กและเยาวชนต้นแบบ ปี 2560 ผู้สูงอายุดีเด่น สาขา ภูมิปัญญา ปี 2559 ผู้สูงอายุดีเด่น สาขา จิตอาสา ปี 2560 ศูนย์บริการคนพิการทั่วไปดีเด่น และโรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบจังหวัดหนองคาย ปี 2561 จากนั้น มีการมอบบ้านพอเพียงชนบท จํานวน 150 หลัง และเยี่ยมชมนิทรรศการผลงานจากชาวชุมชนตําบลหนองสองห้อง” พลเอก อนันตพร กล่าวในตอนท้าย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/17453
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ บรรยายพิเศษ “ภาษีร้านค้าออนไลน์กับการปรับโครงสร้างภาษีของประเทศไทย”
วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม 2563 ปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ บรรยายพิเศษ “ภาษีร้านค้าออนไลน์กับการปรับโครงสร้างภาษีของประเทศไทย” ปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ บรรยายพิเศษ “ภาษีร้านค้าออนไลน์กับการปรับโครงสร้างภาษีของประเทศไทย” นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) บรรยายพิเศษ เรื่อง ภาษีร้านค้าออนไลน์ กับการปรับโครงสร้างภาษีของประเทศไทย โดยการบรรยายพิเศษในครั้งนี้ เพื่อให้ความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับภาษีสินค้า ร้านค้า และ บริการต่างๆ ที่เป็น Digital Service บนโลกออนไลน์ ให้กับบุคลากรของสํานักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มีความเข้าใจแนวคิดและวิธีจัดการกับภาษีอย่างถูกต้อง ณ ห้อง Co-working space ชั้น 8 สํานักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2563 ******************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ บรรยายพิเศษ “ภาษีร้านค้าออนไลน์กับการปรับโครงสร้างภาษีของประเทศไทย” วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม 2563 ปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ บรรยายพิเศษ “ภาษีร้านค้าออนไลน์กับการปรับโครงสร้างภาษีของประเทศไทย” ปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ บรรยายพิเศษ “ภาษีร้านค้าออนไลน์กับการปรับโครงสร้างภาษีของประเทศไทย” นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) บรรยายพิเศษ เรื่อง ภาษีร้านค้าออนไลน์ กับการปรับโครงสร้างภาษีของประเทศไทย โดยการบรรยายพิเศษในครั้งนี้ เพื่อให้ความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับภาษีสินค้า ร้านค้า และ บริการต่างๆ ที่เป็น Digital Service บนโลกออนไลน์ ให้กับบุคลากรของสํานักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มีความเข้าใจแนวคิดและวิธีจัดการกับภาษีอย่างถูกต้อง ณ ห้อง Co-working space ชั้น 8 สํานักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2563 ******************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34013
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พิธีเปิดโครงการ “การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562” ครั้งที่ 5
วันอังคารที่ 20 สิงหาคม 2562 พิธีเปิดโครงการ “การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562” ครั้งที่ 5 นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานใน พิธีเปิดโครงการ “การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562” ครั้งที่ 5 วันนี้ (20 สิงหาคม 2562) นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ“การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562” ครั้งที่ 5 ณ โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส หลานหลวง กรุงเทพฯ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พิธีเปิดโครงการ “การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562” ครั้งที่ 5 วันอังคารที่ 20 สิงหาคม 2562 พิธีเปิดโครงการ “การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562” ครั้งที่ 5 นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานใน พิธีเปิดโครงการ “การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562” ครั้งที่ 5 วันนี้ (20 สิงหาคม 2562) นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ“การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562” ครั้งที่ 5 ณ โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส หลานหลวง กรุงเทพฯ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/22359
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ออมสิน จัดแคมเปญออมเงินระยะสั้น “สลากออมสินดิจิทัล 1 ปี” หน่วยละ 20 บาท
วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม 2563 ออมสิน จัดแคมเปญออมเงินระยะสั้น “สลากออมสินดิจิทัล 1 ปี” หน่วยละ 20 บาท ออมสิน จัดแคมเปญออมเงินระยะสั้น “สลากออมสินดิจิทัล 1 ปี” หน่วยละ 20 บาท ตอบโจทย์ New Normal ..เปิด MyMo ฝากได้เลย ลุ้นถูกเลขสลากรางวัลที่ 1 จํานวน 3 ล้านบาท ถึง 12 ครั้ง พร้อมลุ้นรับรถยนต์โตโยต้าและของรางวัลพิเศษ รวม 20 รางวัล ได้อีกด้วย ธนาคารออมสิน ส่งเสริมการออมต่อเนื่อง ด้วยสลากออมสินดิจิทัล 1 ปี งวดที่ 3 เปิดรับฝากผ่าน Mobile Banking “MyMo” เท่านั้น อายุสลาก 1 ปี หน่วยละ 20 บาท ร่วมลุ้นรางวัลเลขสลากทุกวันที่ 16 ของเดือน เงินรางวัลสูงสุด 3 ล้านบาท รวม 12 ครั้ง ดอกเบี้ยและเงินรางวัลได้รับยกเว้นภาษี ดร.ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อํานวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารออมสินในฐานะสถาบันการเงินของรัฐที่มุ่งมั่นทําหน้าที่ส่งเสริมการออม และนําเสนอรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อสนับสนุนภาคการออมอย่างยั่งยืน โดยล่าสุดนี้ได้ปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่จูงใจให้เริ่มต้นออมเงินในจํานวนเงินที่น้อยค่อยๆ เก็บออม และมีผลตอบแทนที่น่าสนใจ โดยมุ่งหวังให้ประชาชนรายย่อย วัยเริ่มต้นทํางาน ได้สร้างความคุ้นเคยกับการออมเงิน ด้วยการฝากสลากออมสินดิจิทัล 1 ปี (สลากดิจิทัล : Digital Salak on MyMo) ซึ่งถือเป็นงวดที่ 3 แล้ว โดยใช้ Mobile Banking ของธนาคารออมสิน หรือ MyMo เครื่องมือฝากเงินในยุคดิจิทัล ตอบโจทย์กระแส New Normal ในช่วงที่ยังต้องเฝ้าระวังสถานการณ์เชื้อไวรัสโคโรนา COVID-19 โดยธนาคารฯ ได้เปิดวงเงินรับฝากสําหรับงวดนี้จํานวน 25,000 ล้านบาท สลากออมสินดิจิทัล 1 ปี อายุสลาก 1 ปี เปิดรับฝากหน่วยละ 20 บาท ผลตอบแทน 0.10 %ต่อปี ทั้งนี้แนะนําให้ฝาก 200,000 บาท เมื่อครบ 1 ปี จะได้ผลตอบแทนขั้นต่ํา 0.70% ต่อปี ยังไม่รวมผลตอบแทนเงินรางวัลเลขสลาก ซึ่งยังสูงกว่าเงินฝากประจํา 1 ปี ทั้งนี้ ผู้ฝากมีสิทธิ์ลุ้นถูกรางวัลจากการออกรางวัลเลขสลากทุกวันที่ 16 ของเดือน จํานวน 12 ครั้ง ตลอดระยะเวลาการฝาก โดยมีรางวัลสูงสุด รางวัลที่ 1 มูลค่าเงินรางวัลกว่า 3 ล้านบาท จํานวน 1 รางวัล รางวัลที่ 2 มูลค่าเงินรางวัล 100,000 บาท จํานวน 1 รางวัล รางวัลที่ 3 – 5 และรางวัลเลขท้าย 4 ตัว (กําหนดงวดและหมวดอักษรเฉพาะรางวัลที่ 1 และ รางวัลที่ 2) โดยการออกรางวัลนี้จะมีการถ่ายทอดสดผ่านทางสื่อออนไลน์สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย Facebook : LIVE NBT2HD ซึ่งดอกเบี้ยและเงินรางวัลจะได้รับการยกเว้นภาษีด้วย นอกจากนี้ ธนาคารฯ ยังได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดเพิ่มเติม “สลากดิจิทัล 1 ปี มีเฮ” สําหรับผู้ที่ฝากระหว่างวันที่ 17 เมษายน – 15 ธันวาคม 2563 ลุ้น 20 รางวัลมูลค่ารวมกว่า 3 ล้านบาท ได้แก่ รถยนต์ TOYOTA CHR รุ่น 1.8 Mid จํานวน 1 รางวัล, รถยนต์ TOYOTA Yaris รุ่น ATIV Mid จํานวน 2 รางวัล, โทรศัพท์ iPhone 11 Pro (256 GB) จํานวน 6 รางวัล, iPad Pro 11 นิ้ว (256 GB) จํานวน 9 รางวัล และ ทองคําแท่ง หนัก 5 บาท จํานวน 2 รางวัล โดยกําหนดออกรางวัลชิงโชคนี้จํานวน 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ออกรางวัลวันที่ 16 กรกฎาคม 2563 ครั้งที่ 2 วันที่ 16 ตุลาคม 2563 และ ครั้งที่ 3 วันที่ 16 มกราคม 2564 “ผู้รักการออมและชื่นชอบการเสี่ยงโชคไม่ควรพลาด เพราะเงินฝากสลากออมสินพิเศษ 1 ปี รุ่นนี้ คํานึงถึงผู้ฝากที่ชอบการฝากระยะสั้นและยังได้ลุ้นถูกรางวัลเลขสลากทุกเดือน ฝากครบ 1 ปี ได้รับเงินต้นคืนทั้งจํานวน พร้อมผลตอบแทนที่ได้ไม่ต้องเสียภาษีอีกด้วย เหมาะสําหรับผู้ที่ชอบผลตอบแทนและเสี่ยงโชคไปพร้อมกัน ซึ่งธนาคารฯ ต้องการเน้นเงินฝากสําหรับผู้เริ่มต้นในการออม ฝากขั้นต่ําเพียง 200 บาทเท่านั้น” ผู้อํานวยการธนาคารออมสิน กล่าวในที่สุด. https://www.gsb.or.th/news-events/press-releases/2563/May/salak.aspx
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ออมสิน จัดแคมเปญออมเงินระยะสั้น “สลากออมสินดิจิทัล 1 ปี” หน่วยละ 20 บาท วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม 2563 ออมสิน จัดแคมเปญออมเงินระยะสั้น “สลากออมสินดิจิทัล 1 ปี” หน่วยละ 20 บาท ออมสิน จัดแคมเปญออมเงินระยะสั้น “สลากออมสินดิจิทัล 1 ปี” หน่วยละ 20 บาท ตอบโจทย์ New Normal ..เปิด MyMo ฝากได้เลย ลุ้นถูกเลขสลากรางวัลที่ 1 จํานวน 3 ล้านบาท ถึง 12 ครั้ง พร้อมลุ้นรับรถยนต์โตโยต้าและของรางวัลพิเศษ รวม 20 รางวัล ได้อีกด้วย ธนาคารออมสิน ส่งเสริมการออมต่อเนื่อง ด้วยสลากออมสินดิจิทัล 1 ปี งวดที่ 3 เปิดรับฝากผ่าน Mobile Banking “MyMo” เท่านั้น อายุสลาก 1 ปี หน่วยละ 20 บาท ร่วมลุ้นรางวัลเลขสลากทุกวันที่ 16 ของเดือน เงินรางวัลสูงสุด 3 ล้านบาท รวม 12 ครั้ง ดอกเบี้ยและเงินรางวัลได้รับยกเว้นภาษี ดร.ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อํานวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารออมสินในฐานะสถาบันการเงินของรัฐที่มุ่งมั่นทําหน้าที่ส่งเสริมการออม และนําเสนอรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อสนับสนุนภาคการออมอย่างยั่งยืน โดยล่าสุดนี้ได้ปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่จูงใจให้เริ่มต้นออมเงินในจํานวนเงินที่น้อยค่อยๆ เก็บออม และมีผลตอบแทนที่น่าสนใจ โดยมุ่งหวังให้ประชาชนรายย่อย วัยเริ่มต้นทํางาน ได้สร้างความคุ้นเคยกับการออมเงิน ด้วยการฝากสลากออมสินดิจิทัล 1 ปี (สลากดิจิทัล : Digital Salak on MyMo) ซึ่งถือเป็นงวดที่ 3 แล้ว โดยใช้ Mobile Banking ของธนาคารออมสิน หรือ MyMo เครื่องมือฝากเงินในยุคดิจิทัล ตอบโจทย์กระแส New Normal ในช่วงที่ยังต้องเฝ้าระวังสถานการณ์เชื้อไวรัสโคโรนา COVID-19 โดยธนาคารฯ ได้เปิดวงเงินรับฝากสําหรับงวดนี้จํานวน 25,000 ล้านบาท สลากออมสินดิจิทัล 1 ปี อายุสลาก 1 ปี เปิดรับฝากหน่วยละ 20 บาท ผลตอบแทน 0.10 %ต่อปี ทั้งนี้แนะนําให้ฝาก 200,000 บาท เมื่อครบ 1 ปี จะได้ผลตอบแทนขั้นต่ํา 0.70% ต่อปี ยังไม่รวมผลตอบแทนเงินรางวัลเลขสลาก ซึ่งยังสูงกว่าเงินฝากประจํา 1 ปี ทั้งนี้ ผู้ฝากมีสิทธิ์ลุ้นถูกรางวัลจากการออกรางวัลเลขสลากทุกวันที่ 16 ของเดือน จํานวน 12 ครั้ง ตลอดระยะเวลาการฝาก โดยมีรางวัลสูงสุด รางวัลที่ 1 มูลค่าเงินรางวัลกว่า 3 ล้านบาท จํานวน 1 รางวัล รางวัลที่ 2 มูลค่าเงินรางวัล 100,000 บาท จํานวน 1 รางวัล รางวัลที่ 3 – 5 และรางวัลเลขท้าย 4 ตัว (กําหนดงวดและหมวดอักษรเฉพาะรางวัลที่ 1 และ รางวัลที่ 2) โดยการออกรางวัลนี้จะมีการถ่ายทอดสดผ่านทางสื่อออนไลน์สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย Facebook : LIVE NBT2HD ซึ่งดอกเบี้ยและเงินรางวัลจะได้รับการยกเว้นภาษีด้วย นอกจากนี้ ธนาคารฯ ยังได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดเพิ่มเติม “สลากดิจิทัล 1 ปี มีเฮ” สําหรับผู้ที่ฝากระหว่างวันที่ 17 เมษายน – 15 ธันวาคม 2563 ลุ้น 20 รางวัลมูลค่ารวมกว่า 3 ล้านบาท ได้แก่ รถยนต์ TOYOTA CHR รุ่น 1.8 Mid จํานวน 1 รางวัล, รถยนต์ TOYOTA Yaris รุ่น ATIV Mid จํานวน 2 รางวัล, โทรศัพท์ iPhone 11 Pro (256 GB) จํานวน 6 รางวัล, iPad Pro 11 นิ้ว (256 GB) จํานวน 9 รางวัล และ ทองคําแท่ง หนัก 5 บาท จํานวน 2 รางวัล โดยกําหนดออกรางวัลชิงโชคนี้จํานวน 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ออกรางวัลวันที่ 16 กรกฎาคม 2563 ครั้งที่ 2 วันที่ 16 ตุลาคม 2563 และ ครั้งที่ 3 วันที่ 16 มกราคม 2564 “ผู้รักการออมและชื่นชอบการเสี่ยงโชคไม่ควรพลาด เพราะเงินฝากสลากออมสินพิเศษ 1 ปี รุ่นนี้ คํานึงถึงผู้ฝากที่ชอบการฝากระยะสั้นและยังได้ลุ้นถูกรางวัลเลขสลากทุกเดือน ฝากครบ 1 ปี ได้รับเงินต้นคืนทั้งจํานวน พร้อมผลตอบแทนที่ได้ไม่ต้องเสียภาษีอีกด้วย เหมาะสําหรับผู้ที่ชอบผลตอบแทนและเสี่ยงโชคไปพร้อมกัน ซึ่งธนาคารฯ ต้องการเน้นเงินฝากสําหรับผู้เริ่มต้นในการออม ฝากขั้นต่ําเพียง 200 บาทเท่านั้น” ผู้อํานวยการธนาคารออมสิน กล่าวในที่สุด. https://www.gsb.or.th/news-events/press-releases/2563/May/salak.aspx
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/30812
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ด่วน!! 3 วันเท่านั้น ... รีบสมัครทำงาน วันละ 300 บาทกับกรมการจัดหางาน ตั้งแต่วันที่ 15 – 17 เมษายน 2563 [กระทรวงแรงงาน]
วันอังคารที่ 14 เมษายน 2563 ด่วน!! 3 วันเท่านั้น ... รีบสมัครทํางาน วันละ 300 บาทกับกรมการจัดหางาน ตั้งแต่วันที่ 15 – 17 เมษายน 2563 [กระทรวงแรงงาน] ด่วน!! 3 วันเท่านั้น ... รีบสมัครทํางาน วันละ 300 บาทกับกรมการจัดหางาน ตั้งแต่วันที่ 15 – 17 เมษายน 2563 กรมการจัดหางาน จะเปิดให้ผู้ว่างงาน กลุ่มแรงงานนอกระบบ ที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ที่สนใจสมัครเข้าทํางานกับกรมการจัดหางาน ในโครงการ จ้างงานด่วน 45 วัน รายได้วันละ 300 บาท จํานวน 300 อัตรา ทั่วประเทศ สมัครได้ตั้งแต่วันที่ 15 – 17 เมษายน 2563 นี้ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการสมัคร ที่ สํานักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 และสํานักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด “ เอกสารและหลักฐานที่ต้องนํามายื่นในการสมัครคัดเลือก ได้แก่1. สําเนาใบประกาศนียบัตร และสําเนาใบแสดงผลการศึกษาที่แสดงว่าเป็นผู้มีวุฒิการศึกษาตรงกับตําแหน่งที่สมัคร จํานวนอย่างละ 1 ฉบับ 2.บัตรประจําตัวประชาชนฉบับจริงโดยผู้ที่สนใจสมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นพนักงานจ้างเหมาบริการ (รายวัน)ในตําแหน่งเจ้าหน้าที่ผู้ช่วยปฏิบัติงานตามโครงการจ้างงานเพื่อลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ต้องยื่นใบสมัครด้วยตนเองพร้อมเอกสารและหลักฐาน ทั้งหมด ในวันเวลาราชการ ภาคเช้าตั้งแต่เวลา 09.00 - 12.00 น. และภาคบ่ายเวลา 13.00 – 15.00 น. ตั้งแต่วันที่ 15 – 17 เมษายน 2563 นี้ เท่านั้น เนื่องจากเป็นงานเร่งด่วนที่ต้องการจ้างงานทันที โดยจะกระจายในจังหวัดใหญ่ 4 คน และจังหวัดเล็ก 2-3 คน และให้สํานักงานจัดหางานจังหวัด เป็นผู้ดําเนินการรับสมัครและประเมินความเหมาะสมเฉพาะตําแหน่ง (สัมภาษณ์) และเนื่องจากมีผู้สนใจจํานวนมาก กรมการจัดหางาน ขอย้ําว่าจะดําเนินการด้วยความโปร่งใส ยุติธรรม และเสมอภาค โดยออกประกาศรายชื่อและขึ้นบัญชีผู้ผ่านการคัดเลือก และให้เริ่มปฏิบัติหน้าที่ได้ตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน 2563 ”นายสุชาติฯ กล่าว
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ด่วน!! 3 วันเท่านั้น ... รีบสมัครทำงาน วันละ 300 บาทกับกรมการจัดหางาน ตั้งแต่วันที่ 15 – 17 เมษายน 2563 [กระทรวงแรงงาน] วันอังคารที่ 14 เมษายน 2563 ด่วน!! 3 วันเท่านั้น ... รีบสมัครทํางาน วันละ 300 บาทกับกรมการจัดหางาน ตั้งแต่วันที่ 15 – 17 เมษายน 2563 [กระทรวงแรงงาน] ด่วน!! 3 วันเท่านั้น ... รีบสมัครทํางาน วันละ 300 บาทกับกรมการจัดหางาน ตั้งแต่วันที่ 15 – 17 เมษายน 2563 กรมการจัดหางาน จะเปิดให้ผู้ว่างงาน กลุ่มแรงงานนอกระบบ ที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ที่สนใจสมัครเข้าทํางานกับกรมการจัดหางาน ในโครงการ จ้างงานด่วน 45 วัน รายได้วันละ 300 บาท จํานวน 300 อัตรา ทั่วประเทศ สมัครได้ตั้งแต่วันที่ 15 – 17 เมษายน 2563 นี้ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการสมัคร ที่ สํานักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 และสํานักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด “ เอกสารและหลักฐานที่ต้องนํามายื่นในการสมัครคัดเลือก ได้แก่1. สําเนาใบประกาศนียบัตร และสําเนาใบแสดงผลการศึกษาที่แสดงว่าเป็นผู้มีวุฒิการศึกษาตรงกับตําแหน่งที่สมัคร จํานวนอย่างละ 1 ฉบับ 2.บัตรประจําตัวประชาชนฉบับจริงโดยผู้ที่สนใจสมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นพนักงานจ้างเหมาบริการ (รายวัน)ในตําแหน่งเจ้าหน้าที่ผู้ช่วยปฏิบัติงานตามโครงการจ้างงานเพื่อลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ต้องยื่นใบสมัครด้วยตนเองพร้อมเอกสารและหลักฐาน ทั้งหมด ในวันเวลาราชการ ภาคเช้าตั้งแต่เวลา 09.00 - 12.00 น. และภาคบ่ายเวลา 13.00 – 15.00 น. ตั้งแต่วันที่ 15 – 17 เมษายน 2563 นี้ เท่านั้น เนื่องจากเป็นงานเร่งด่วนที่ต้องการจ้างงานทันที โดยจะกระจายในจังหวัดใหญ่ 4 คน และจังหวัดเล็ก 2-3 คน และให้สํานักงานจัดหางานจังหวัด เป็นผู้ดําเนินการรับสมัครและประเมินความเหมาะสมเฉพาะตําแหน่ง (สัมภาษณ์) และเนื่องจากมีผู้สนใจจํานวนมาก กรมการจัดหางาน ขอย้ําว่าจะดําเนินการด้วยความโปร่งใส ยุติธรรม และเสมอภาค โดยออกประกาศรายชื่อและขึ้นบัญชีผู้ผ่านการคัดเลือก และให้เริ่มปฏิบัติหน้าที่ได้ตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน 2563 ”นายสุชาติฯ กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/29033
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2563
วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม 2563 รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจําเดือนกุมภาพันธ์ 2563 เศรษฐกิจไทยในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 มีสัญญาณชะลอตัวจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019 : COVID-19) ส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวชะลอตัวลงมาก จากจํานวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว “เศรษฐกิจไทยในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 มีสัญญาณชะลอตัวจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019 : COVID-19) ส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวชะลอตัวลงมาก จากจํานวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมมีสัญญาณชะลอตัวจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจและปัญหาภัยแล้ง อย่างไรก็ดี การจับจ่ายใช้สอยสินค้าทั่วไปยังคงขยายตัวได้ สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่” นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล รองผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง รักษาการในตําแหน่งที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง พร้อมด้วยนายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อํานวยการสํานักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจําเดือนกุมภาพันธ์ 2563 พบว่า “เศรษฐกิจไทยในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 มีสัญญาณชะลอตัวจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019 : COVID-19) ส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวชะลอตัวลงมาก จากจํานวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมมีสัญญาณชะลอตัวจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจและปัญหาภัยแล้ง อย่างไรก็ดี การจับจ่ายใช้สอยสินค้าทั่วไปยังคงขยายตัวได้ สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่” โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้ เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนในภาพรวมมีสัญญาณทรงตัว สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ที่กลับมาขยายตัวร้อยละ 4.6 ต่อปี อย่างไรก็ดี การบริโภคในหมวดสินค้า คงทน จากปริมาณจําหน่ายรถยนต์นั่งและปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ปรับตัวลดลงที่ร้อยละ -15.4 และ -3.7 ต่อปี ตามลําดับ สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ ระดับ 52.5 เป็นผลมาจากความกังวลต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว รวมถึงการดําเนินชีวิตของประชาชน การทําธุรกิจ และภาวะเศรษฐกิจในอนาคต เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว โดยการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณการนําเข้าสินค้าทุนและปริมาณจําหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ชะลอตัวร้อยละ -10.2 และ -18.1 ต่อปี สําหรับการลงทุนในหมวดก่อสร้างปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย สะท้อนจากปริมาณจําหน่ายปูนซีเมนต์หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -1.9 ต่อปี จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -5.0 ขณะที่การจัดเก็บภาษีการทําธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวร้อยละ -18.8 ต่อปี และดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างชะลอตัวที่ร้อยละ -2.0 ต่อปี โดยมีสาเหตุมาจากราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กปรับตัวลดลงเศรษฐกิจภาคการค้าระหว่างประเทศชะลอตัว สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ กลับมาลดลงร้อยละ -4.5 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.3 ต่อปี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ํามันที่ลดลง ประกอบกับปัจจัยฐานสูงของอาวุธในการซ้อมรบในช่วงเดียวกันปีก่อน และเมื่อหักทองคํา น้ํามัน และอาวุธ ยุทธปัจจัยออกแล้ว พบว่าการส่งออกสินค้าของไทยขยายตัวร้อยละ 1.5 นอกจากนี้เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกสินค้า โดยจําแนกเป็นรายตลาดคู่ค้าหลักของไทย พบว่า ตลาดคู่ค้าหลักของไทย อาทิ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และจีน ชะลอตัวลงจากเดือนก่อน อย่างไรก็ดี การส่งออกไปยังประเทศตะวันออกกลาง และอาเซียน 9 ประเทศ ยังคงขยายตัวที่ร้อยละ 16.4 และ 6.1 ต่อปี ตามลําดับ ในขณะที่มูลค่าการนําเข้าสินค้าในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัวที่ร้อยละ -4.3 ต่อปี ส่งผลให้ดุลการค้า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 เกินดุล 3.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทาน พบว่า ภาคการท่องเที่ยวชะลอตัวลงมาก ในขณะที่ภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรมส่งสัญญาณชะลอตัว โดยจํานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยมีจํานวน 2.06 ล้านคน หรือลดลงตัวร้อยละ -42.8 ต่อปี จากการลดลงในกลุ่มนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนที่ลดลงถึงร้อยละ -84.9 และนักท่องเที่ยวประเทศอื่น ๆ อาทิ นักท่องเที่ยวประเทศเกาหลีใต้ ฮ่องกง และมาเลเซีย ที่ลดลงร้อยละ -72.6 -54.8 และ -39.6 ต่อปี ตามลําดับ เนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในขณะที่ภาคการเกษตร สะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรชะลอตัวร้อยละ -4.5 ต่อปี จากการลดลงของผลผลิตในหมวดพืชผลเป็นสําคัญ และภาคอุตสาหกรรมที่ชะลอตัวลงเช่นกัน สะท้อนจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมชะลอตัวร้อยละ -5.2 ต่อปี จากการลดลงของการผลิตในหมวดยานยนต์ น้ําตาล และเม็ดพลาสติก อย่างไรก็ดี ผลผลิตอุตสาหกรรมที่ขยายตัว ได้แก่ อุตสาหกรรมเวชภัณฑ์เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค อาหารทะเลแช่แข็ง และอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม เป็นต้น ในขณะที่ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 90.2 ตามการลดลงในอุตสาหกรรมที่ผลิตเกี่ยวกับสินค้าในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นต้น เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 0.7 ต่อปี และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปี สัดส่วนหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2563 อยู่ที่ร้อยละ 41.3 ต่อ GDP ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งไว้ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ส่วนเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสํารองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2563 อยู่ในระดับสูงที่ 229.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2563 วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม 2563 รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจําเดือนกุมภาพันธ์ 2563 เศรษฐกิจไทยในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 มีสัญญาณชะลอตัวจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019 : COVID-19) ส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวชะลอตัวลงมาก จากจํานวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว “เศรษฐกิจไทยในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 มีสัญญาณชะลอตัวจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019 : COVID-19) ส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวชะลอตัวลงมาก จากจํานวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมมีสัญญาณชะลอตัวจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจและปัญหาภัยแล้ง อย่างไรก็ดี การจับจ่ายใช้สอยสินค้าทั่วไปยังคงขยายตัวได้ สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่” นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล รองผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง รักษาการในตําแหน่งที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง พร้อมด้วยนายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อํานวยการสํานักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจําเดือนกุมภาพันธ์ 2563 พบว่า “เศรษฐกิจไทยในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 มีสัญญาณชะลอตัวจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019 : COVID-19) ส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวชะลอตัวลงมาก จากจํานวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมมีสัญญาณชะลอตัวจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจและปัญหาภัยแล้ง อย่างไรก็ดี การจับจ่ายใช้สอยสินค้าทั่วไปยังคงขยายตัวได้ สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่” โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้ เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนในภาพรวมมีสัญญาณทรงตัว สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ที่กลับมาขยายตัวร้อยละ 4.6 ต่อปี อย่างไรก็ดี การบริโภคในหมวดสินค้า คงทน จากปริมาณจําหน่ายรถยนต์นั่งและปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ปรับตัวลดลงที่ร้อยละ -15.4 และ -3.7 ต่อปี ตามลําดับ สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ ระดับ 52.5 เป็นผลมาจากความกังวลต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว รวมถึงการดําเนินชีวิตของประชาชน การทําธุรกิจ และภาวะเศรษฐกิจในอนาคต เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว โดยการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณการนําเข้าสินค้าทุนและปริมาณจําหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ชะลอตัวร้อยละ -10.2 และ -18.1 ต่อปี สําหรับการลงทุนในหมวดก่อสร้างปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย สะท้อนจากปริมาณจําหน่ายปูนซีเมนต์หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -1.9 ต่อปี จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -5.0 ขณะที่การจัดเก็บภาษีการทําธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวร้อยละ -18.8 ต่อปี และดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างชะลอตัวที่ร้อยละ -2.0 ต่อปี โดยมีสาเหตุมาจากราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กปรับตัวลดลงเศรษฐกิจภาคการค้าระหว่างประเทศชะลอตัว สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ กลับมาลดลงร้อยละ -4.5 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.3 ต่อปี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ํามันที่ลดลง ประกอบกับปัจจัยฐานสูงของอาวุธในการซ้อมรบในช่วงเดียวกันปีก่อน และเมื่อหักทองคํา น้ํามัน และอาวุธ ยุทธปัจจัยออกแล้ว พบว่าการส่งออกสินค้าของไทยขยายตัวร้อยละ 1.5 นอกจากนี้เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกสินค้า โดยจําแนกเป็นรายตลาดคู่ค้าหลักของไทย พบว่า ตลาดคู่ค้าหลักของไทย อาทิ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และจีน ชะลอตัวลงจากเดือนก่อน อย่างไรก็ดี การส่งออกไปยังประเทศตะวันออกกลาง และอาเซียน 9 ประเทศ ยังคงขยายตัวที่ร้อยละ 16.4 และ 6.1 ต่อปี ตามลําดับ ในขณะที่มูลค่าการนําเข้าสินค้าในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัวที่ร้อยละ -4.3 ต่อปี ส่งผลให้ดุลการค้า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 เกินดุล 3.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทาน พบว่า ภาคการท่องเที่ยวชะลอตัวลงมาก ในขณะที่ภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรมส่งสัญญาณชะลอตัว โดยจํานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยมีจํานวน 2.06 ล้านคน หรือลดลงตัวร้อยละ -42.8 ต่อปี จากการลดลงในกลุ่มนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนที่ลดลงถึงร้อยละ -84.9 และนักท่องเที่ยวประเทศอื่น ๆ อาทิ นักท่องเที่ยวประเทศเกาหลีใต้ ฮ่องกง และมาเลเซีย ที่ลดลงร้อยละ -72.6 -54.8 และ -39.6 ต่อปี ตามลําดับ เนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในขณะที่ภาคการเกษตร สะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรชะลอตัวร้อยละ -4.5 ต่อปี จากการลดลงของผลผลิตในหมวดพืชผลเป็นสําคัญ และภาคอุตสาหกรรมที่ชะลอตัวลงเช่นกัน สะท้อนจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมชะลอตัวร้อยละ -5.2 ต่อปี จากการลดลงของการผลิตในหมวดยานยนต์ น้ําตาล และเม็ดพลาสติก อย่างไรก็ดี ผลผลิตอุตสาหกรรมที่ขยายตัว ได้แก่ อุตสาหกรรมเวชภัณฑ์เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค อาหารทะเลแช่แข็ง และอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม เป็นต้น ในขณะที่ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 90.2 ตามการลดลงในอุตสาหกรรมที่ผลิตเกี่ยวกับสินค้าในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นต้น เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 0.7 ต่อปี และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปี สัดส่วนหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2563 อยู่ที่ร้อยละ 41.3 ต่อ GDP ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งไว้ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ส่วนเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสํารองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2563 อยู่ในระดับสูงที่ 229.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/28133
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.พม. ห่วงใยปัญหาการใช้ความความรุนแรงในครอบครัว กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหามาตรการ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาในระยะยาว
วันจันทร์ที่ 18 กันยายน 2560 รมว.พม. ห่วงใยปัญหาการใช้ความความรุนแรงในครอบครัว กําชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหามาตรการ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาในระยะยาว รมว.พม. ห่วงใยปัญหาการใช้ความความรุนแรงในครอบครัว กําชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหามาตรการ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาในระยะยาว วันนี้ (15 ก.ย.60) เวลา 08.00 น. นายณรงค์ คงคํา โฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า พลตํารวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ศปก.พม.) ครั้งที่ 714/2557-2560 เพื่อรับทราบปัญหาทางสังคมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และร่วมหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและการป้องกันปัญหาดังกล่าว โดยมีผู้บริหารและผู้แทนจากหน่วยงานในกระทรวงฯ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 8 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว กรุงเทพฯ พลตํารวจเอก อดุลย์ กล่าวว่า จากกรณีเจ้าหน้าที่ตํารวจ เข้าจับกุมชายวัย 38 ปี ที่ก่อเหตุใช้อาวุธมีดทําร้ายร่างกายลูกสาววัย 12 ปีจนเสียชีวิต และทําร้ายผู้เป็นพ่อแก่ชราวัย 63 ปี ได้รับบาดเจ็บสาหัส อีกทั้งยังทําร้ายลูกชายคนโตวัย 14 ปี ได้รับบาดเจ็บสาเหตุคาดว่าเกิดจากการหึงหวงภรรยา แล้วเกิดอาการคุ้มคลั่ง เนื่องจากผู้ก่อเหตุเคยเป็นผู้ป่วยจิตเวชมาก่อน ที่อําเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี และกรณีหญิงวัย 52 ปี เคยมีประวัติเข้ารับการรักษาอาการป่วยทางจิตก่อเหตุฆาตกรรมลูกสาววัย 15 ปี ป่วยเป็นโรคออทิสติก โดยการจับแขวนคอเสียชีวิต สาเหตุเกิดจากอาการเครียดที่รายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ที่ อําเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี นั้น ทั้งสองกรณีนับเป็นปัญหาการใช้ความรุนแรงภายในครอบครัวที่เพิ่มมากขึ้นในสังคม ซึ่งตนมีความห่วงใยผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าว โดยได้กําชับให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) ทั้ง 2 จังหวัด ได้แก่ พมจ.ลพบุรี และพมจ.นนทบุรี และ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เร่งลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นตามภารกิจด้านเด็กและผู้สูงอายุของกระทรวง พม. พร้อมเร่งช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้เสียหายทั้งหมดจากเหตุการณ์ดังกล่าว อย่างใกล้ชิด อีกทั้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ช่วยเหลือดูแลในเรื่องการรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บ “นอกจากนี้ ยังได้กําชับให้กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจดูแลด้านสถาบันครอบครัว เร่งหามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัวและสังคม เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าวขึ้นอีก” พลตํารวจเอก อดุลย์ กล่าวในตอนท้าย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.พม. ห่วงใยปัญหาการใช้ความความรุนแรงในครอบครัว กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหามาตรการ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาในระยะยาว วันจันทร์ที่ 18 กันยายน 2560 รมว.พม. ห่วงใยปัญหาการใช้ความความรุนแรงในครอบครัว กําชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหามาตรการ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาในระยะยาว รมว.พม. ห่วงใยปัญหาการใช้ความความรุนแรงในครอบครัว กําชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหามาตรการ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาในระยะยาว วันนี้ (15 ก.ย.60) เวลา 08.00 น. นายณรงค์ คงคํา โฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า พลตํารวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ศปก.พม.) ครั้งที่ 714/2557-2560 เพื่อรับทราบปัญหาทางสังคมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และร่วมหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและการป้องกันปัญหาดังกล่าว โดยมีผู้บริหารและผู้แทนจากหน่วยงานในกระทรวงฯ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 8 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว กรุงเทพฯ พลตํารวจเอก อดุลย์ กล่าวว่า จากกรณีเจ้าหน้าที่ตํารวจ เข้าจับกุมชายวัย 38 ปี ที่ก่อเหตุใช้อาวุธมีดทําร้ายร่างกายลูกสาววัย 12 ปีจนเสียชีวิต และทําร้ายผู้เป็นพ่อแก่ชราวัย 63 ปี ได้รับบาดเจ็บสาหัส อีกทั้งยังทําร้ายลูกชายคนโตวัย 14 ปี ได้รับบาดเจ็บสาเหตุคาดว่าเกิดจากการหึงหวงภรรยา แล้วเกิดอาการคุ้มคลั่ง เนื่องจากผู้ก่อเหตุเคยเป็นผู้ป่วยจิตเวชมาก่อน ที่อําเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี และกรณีหญิงวัย 52 ปี เคยมีประวัติเข้ารับการรักษาอาการป่วยทางจิตก่อเหตุฆาตกรรมลูกสาววัย 15 ปี ป่วยเป็นโรคออทิสติก โดยการจับแขวนคอเสียชีวิต สาเหตุเกิดจากอาการเครียดที่รายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ที่ อําเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี นั้น ทั้งสองกรณีนับเป็นปัญหาการใช้ความรุนแรงภายในครอบครัวที่เพิ่มมากขึ้นในสังคม ซึ่งตนมีความห่วงใยผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าว โดยได้กําชับให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) ทั้ง 2 จังหวัด ได้แก่ พมจ.ลพบุรี และพมจ.นนทบุรี และ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เร่งลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นตามภารกิจด้านเด็กและผู้สูงอายุของกระทรวง พม. พร้อมเร่งช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้เสียหายทั้งหมดจากเหตุการณ์ดังกล่าว อย่างใกล้ชิด อีกทั้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ช่วยเหลือดูแลในเรื่องการรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บ “นอกจากนี้ ยังได้กําชับให้กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจดูแลด้านสถาบันครอบครัว เร่งหามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัวและสังคม เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าวขึ้นอีก” พลตํารวจเอก อดุลย์ กล่าวในตอนท้าย
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/6710
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงดีอีเอส กระตุ้นจิตสำนึกในหน้าที่ราชการ จัดอบรม “สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต”
วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม 2563 กระทรวงดีอีเอส กระตุ้นจิตสํานึกในหน้าที่ราชการ จัดอบรม “สร้างผู้นําการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต” กระทรวงดีอีเอส กระตุ้นจิตสํานึกในหน้าที่ราชการ จัดอบรม “สร้างผู้นําการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต” นายภูเวียง ประคํามินทร์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานเปิดโครงการฝึกอบรมหลักสูตร “สร้างผู้นําการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต” ของสํานักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ณ ห้องประชุม MDES 1 ชั้น 9 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ราชการเกิดความรู้ความเข้าใจ เกิดทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการคิดแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม เกิดจิตสํานึกในหน้าที่ราชการ เกิดความอายและไม่ทนต่อการทุจริต สร้างภูมิคุ้มกันต่อการทุจริต และเกิดความร่วมมือร่วมใจในการต่อต้านการทุจริตในหน่วยงาน อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น คาดหวังว่าองค์กรจะมีความเป็นผู้นํา เกิดความกล้าที่จะต่อต้านการทุจริตที่เกิดขึ้นในหน่วยงานในอนาคต เพื่อให้สํานักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลฯเป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่โปร่งใส ปราศจากการทุจริตทุกรูปแบบ และขอให้การฝีกอบรมครั้งนี้ ดําเนินการไปได้ด้วยดี และบรรลุผลสําเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ทุกประการ ******************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงดีอีเอส กระตุ้นจิตสำนึกในหน้าที่ราชการ จัดอบรม “สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต” วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม 2563 กระทรวงดีอีเอส กระตุ้นจิตสํานึกในหน้าที่ราชการ จัดอบรม “สร้างผู้นําการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต” กระทรวงดีอีเอส กระตุ้นจิตสํานึกในหน้าที่ราชการ จัดอบรม “สร้างผู้นําการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต” นายภูเวียง ประคํามินทร์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานเปิดโครงการฝึกอบรมหลักสูตร “สร้างผู้นําการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต” ของสํานักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ณ ห้องประชุม MDES 1 ชั้น 9 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ราชการเกิดความรู้ความเข้าใจ เกิดทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการคิดแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม เกิดจิตสํานึกในหน้าที่ราชการ เกิดความอายและไม่ทนต่อการทุจริต สร้างภูมิคุ้มกันต่อการทุจริต และเกิดความร่วมมือร่วมใจในการต่อต้านการทุจริตในหน่วยงาน อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น คาดหวังว่าองค์กรจะมีความเป็นผู้นํา เกิดความกล้าที่จะต่อต้านการทุจริตที่เกิดขึ้นในหน่วยงานในอนาคต เพื่อให้สํานักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลฯเป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่โปร่งใส ปราศจากการทุจริตทุกรูปแบบ และขอให้การฝีกอบรมครั้งนี้ ดําเนินการไปได้ด้วยดี และบรรลุผลสําเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ทุกประการ ******************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34382