title
stringlengths
0
33.4k
context
stringlengths
0
133k
raw
stringlengths
39
133k
url
stringlengths
0
53
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผู้ช่วยโฆษกฯ เผย นายกรัฐมนตรี เตรียมเดินทางลงพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน วันพุธที่ 17 มกราคมนี้
วันอังคารที่ 23 มกราคม 2561 ผู้ช่วยโฆษกฯ เผย นายกรัฐมนตรี เตรียมเดินทางลงพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน วันพุธที่ 17 มกราคมนี้ ผู้ช่วยโฆษกฯ เผย นายกรัฐมนตรี เตรียมเดินทางลงพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน วันพุธที่ 17 มกราคม 2561 นี้ พร้อมเป็นประธานสักขีพยานในการมอบสมุดประจําตัวผู้ได้รับการคัดเลือกให้ทํากินในชุมชนโครงการจัดที่ดินทํากินให้ชุมชน (คทช.) แก่ประชาชนในพื้นที่ ตามนโยบายของรัฐบาล วันนี้ (16ม.ค. 61 ) เวลา 14.20 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทําเนียบรัฐบาล ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ พันเอกหญิงทักษดา สังขจันทร์ ผู้ช่วยโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ได้เปิดเผยถึงภารกิจของนายกรัฐมนตรี ที่เตรียมเดินทางไปตรวจราชการที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในวันพุธที่ 17 มกราคม 2561 ว่า เวลา 07.30 น. นายกรัฐมนตรีและคณะ จะเดินทางออกจากท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 (บน.6) ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ไปยังท่า อากาศยานแม่ฮ่องสอน ตําบลจองคํา อําเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยเครื่องบิน C-130 ของกองทัพอากาศ จากนั้นจะเดินทางต่อไปยังโรงเรียนห้องสอนศึกษา ในพระอุปถัมภ์ฯ ตําบลจองคํา อําเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อเป็นประธานสักขีพยานในการมอบสมุดประจําตัวผู้ได้รับการคัดเลือกให้ทํากินในชุมชน โครงการจัดที่ดินทํากินให้ชุมชน (คทช.) ตามนโยบายของรัฐบาล ให้แก่ผู้แทนประชาชน 3 ตําบล จํานวน 8 ราย และพบปะกับประชาชนจังหวัดแม่ฮ่องสอน เวลาประมาณ 11.00 น. นายกรัฐมนตรี จะเดินทางต่อไปยังศูนย์บริการและพัฒนาลุ่มน้ํา ปายตามพระราชดําริ (ท่าโป่งแดง) จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อเยี่ยมชมผลผลิตโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ และรับฟังข้อเสนอ แนวทางการพัฒนาอาชีพและเพิ่มรายได้ของชาวแม่ฮ่องสอน โดยโครงการต่าง ๆ ประกอบด้วย 1) กลุ่มคนอยู่ร่วมกับป่า 2) โครงการสร้างป่าสร้างรายได้ ตามพระราชดําริฯ 3) เกษตรแปลงใหญ่ 4) กลุ่มผลผลิตและผลิตภัณฑ์จากวนเกษตร (กล้วยไม้/บุก/กาแฟ/พืชสมุนไพร/ถั่ว) กลุ่มผู้เลี้ยงไก่ แม่ฮ่องสอน/กลุ่มผลิตภัณฑ์จากขนแกะ 6) กลุ่มสมาชิกศูนย์ศิลปาชีพจังหวัดแม่ฮ่องสอนในพระบรมราชินูปภัมภ์ ก่อนเดินทางต่อไปยัง ศาลากลางจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตําบลจองคํา อําเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อเป็นประธานการประชุมยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดแม่ฮ่องสอน (Working lunch) ณ ห้องประชุมขุนลุมประพาส ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดแม่ฮ่องสอน จากนั้น นายกรัฐมนตรีและคณะ จะเดินทางไปยังชุมชนคุณธรรมน้อมนําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ศาสตร์พระราชา สะพานข้าว ก้าวเพื่อสุข) เพื่อเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้ชุมชนคุณธรรมน้อมนําหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง และแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพบ่อนําพุร้อนผาบ่อง ตําบลผาบ่อง อําเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน พร้อมชมการสาธิตการแปรรูปน้ํามันถั่วลิสง และข้าวเพื่อสุขภาพ/แปลงนาเกษตรอินทรีย์/กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านผาบ่อ พร้อมรับฟังบรรยายสรุปการดําเนินงานชุมชนคุณธรรม หลังจากนั้นจะเดินทางไปสักการะพระธาตุดอยกองมู ตําบลจองคํา อําเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนเดินทางกลับกรุงเทพมหานคร โดยคาดว่าจะเดินทางถึงท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 (บน.6) ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ในเวลาประมาณ 18.30 น. ---------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผู้ช่วยโฆษกฯ เผย นายกรัฐมนตรี เตรียมเดินทางลงพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน วันพุธที่ 17 มกราคมนี้ วันอังคารที่ 23 มกราคม 2561 ผู้ช่วยโฆษกฯ เผย นายกรัฐมนตรี เตรียมเดินทางลงพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน วันพุธที่ 17 มกราคมนี้ ผู้ช่วยโฆษกฯ เผย นายกรัฐมนตรี เตรียมเดินทางลงพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน วันพุธที่ 17 มกราคม 2561 นี้ พร้อมเป็นประธานสักขีพยานในการมอบสมุดประจําตัวผู้ได้รับการคัดเลือกให้ทํากินในชุมชนโครงการจัดที่ดินทํากินให้ชุมชน (คทช.) แก่ประชาชนในพื้นที่ ตามนโยบายของรัฐบาล วันนี้ (16ม.ค. 61 ) เวลา 14.20 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทําเนียบรัฐบาล ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ พันเอกหญิงทักษดา สังขจันทร์ ผู้ช่วยโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ได้เปิดเผยถึงภารกิจของนายกรัฐมนตรี ที่เตรียมเดินทางไปตรวจราชการที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในวันพุธที่ 17 มกราคม 2561 ว่า เวลา 07.30 น. นายกรัฐมนตรีและคณะ จะเดินทางออกจากท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 (บน.6) ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ไปยังท่า อากาศยานแม่ฮ่องสอน ตําบลจองคํา อําเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยเครื่องบิน C-130 ของกองทัพอากาศ จากนั้นจะเดินทางต่อไปยังโรงเรียนห้องสอนศึกษา ในพระอุปถัมภ์ฯ ตําบลจองคํา อําเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อเป็นประธานสักขีพยานในการมอบสมุดประจําตัวผู้ได้รับการคัดเลือกให้ทํากินในชุมชน โครงการจัดที่ดินทํากินให้ชุมชน (คทช.) ตามนโยบายของรัฐบาล ให้แก่ผู้แทนประชาชน 3 ตําบล จํานวน 8 ราย และพบปะกับประชาชนจังหวัดแม่ฮ่องสอน เวลาประมาณ 11.00 น. นายกรัฐมนตรี จะเดินทางต่อไปยังศูนย์บริการและพัฒนาลุ่มน้ํา ปายตามพระราชดําริ (ท่าโป่งแดง) จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อเยี่ยมชมผลผลิตโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ และรับฟังข้อเสนอ แนวทางการพัฒนาอาชีพและเพิ่มรายได้ของชาวแม่ฮ่องสอน โดยโครงการต่าง ๆ ประกอบด้วย 1) กลุ่มคนอยู่ร่วมกับป่า 2) โครงการสร้างป่าสร้างรายได้ ตามพระราชดําริฯ 3) เกษตรแปลงใหญ่ 4) กลุ่มผลผลิตและผลิตภัณฑ์จากวนเกษตร (กล้วยไม้/บุก/กาแฟ/พืชสมุนไพร/ถั่ว) กลุ่มผู้เลี้ยงไก่ แม่ฮ่องสอน/กลุ่มผลิตภัณฑ์จากขนแกะ 6) กลุ่มสมาชิกศูนย์ศิลปาชีพจังหวัดแม่ฮ่องสอนในพระบรมราชินูปภัมภ์ ก่อนเดินทางต่อไปยัง ศาลากลางจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตําบลจองคํา อําเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อเป็นประธานการประชุมยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดแม่ฮ่องสอน (Working lunch) ณ ห้องประชุมขุนลุมประพาส ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดแม่ฮ่องสอน จากนั้น นายกรัฐมนตรีและคณะ จะเดินทางไปยังชุมชนคุณธรรมน้อมนําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ศาสตร์พระราชา สะพานข้าว ก้าวเพื่อสุข) เพื่อเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้ชุมชนคุณธรรมน้อมนําหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง และแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพบ่อนําพุร้อนผาบ่อง ตําบลผาบ่อง อําเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน พร้อมชมการสาธิตการแปรรูปน้ํามันถั่วลิสง และข้าวเพื่อสุขภาพ/แปลงนาเกษตรอินทรีย์/กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านผาบ่อ พร้อมรับฟังบรรยายสรุปการดําเนินงานชุมชนคุณธรรม หลังจากนั้นจะเดินทางไปสักการะพระธาตุดอยกองมู ตําบลจองคํา อําเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนเดินทางกลับกรุงเทพมหานคร โดยคาดว่าจะเดินทางถึงท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 (บน.6) ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ในเวลาประมาณ 18.30 น. ---------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/9420
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.พม. ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนและให้การช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเป้าหมายของกระทรวง พม. โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน และผู้สูงอายุ ที่จังหวัดอุบลราชธานี และมุกดาหาร
วันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม 2560 รมว.พม. ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนและให้การช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเป้าหมายของกระทรวง พม. โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน และผู้สูงอายุ ที่จังหวัดอุบลราชธานี และมุกดาหาร รมว.พม. ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนและให้การช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเป้าหมายของกระทรวง พม. โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน และผู้สูงอายุ ที่จังหวัดอุบลราชธานี และมุกดาหาร วันนี้ (6 ต.ค.60) เวลา 09.00 น. นายณรงค์ คงคํา โฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่าพลตํารวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.)พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวง พม. เดินทางลงพื้นที่เยี่ยมเยียนและให้การช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเป้าหมายของกระทรวง พม. โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน และผู้สูงอายุ ณ เทศบาลตําบลเขมราฐ อําเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี จากนั้นได้เดินทางลงพื้นที่ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) อบต.ป่งขามดงหมู อําเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหา พลตํารวจเอก อดุลย์กล่าวว่า การลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีในวันนี้ ตนพร้อมคณะผู้บริหารกระทรวง พม. ได้เยี่ยมเยียนพบปะประชาชนกลุ่มหมายของกระทรวงพม. โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน และผู้สูงอายุในพื้นที่ดังกล่าว พร้อมทั้งเยี่ยมชมสภาเด็กและเยาวชน จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อสร้างขวัญกําลังใจในการทํางาน และมอบโอวาทแนวทางสภาเด็กและเยาวชนการดําเนินงานสภาเด็กและเยาวชน ให้กับเด็กและเยาวชนในพื้นที่ พร้อมมอบทุนการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน จํานวน 60 ทุน และมอบอุปกรณ์กีฬาแก่สภาเด็กและเยาวชนตําบล/เทศบาล 10 พื้นที่ อีกทั้งมอบเงินซ่อมแซมบ้านผู้สูงอายุจํานวน 5 หลัง นอกจากนี้ ยังได้เยี่ยมชมการจัดกิจกรรมต่างๆ ผ่านนิทรรศการของชมรมผู้สูงอายุ พลตํารวจเอก อดุลย์กล่าวต่อไปว่า สําหรับการจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนนั้น สืบเนื่องจากพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 13 มิถุนายน 2560 และมีผลบังคับใช้ตามมาตรา 22 กําหนดให้องค์การบริหารส่วนตําบล/ เทศบาล ดําเนินการจัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนตําบล/เทศบาล อําเภอ/เขต และจังหวัด/กรุงเทพมหานคร เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเองชุมชน สังคม และเป็นองค์กรกลางของเด็กและเยาวชนในทุกระดับ ทําหน้าที่เป็นตัวแทนของเยาวชนในพื้นที่รวบรวมสังเคราะห์ปัญหาความต้องการในการพัฒนาและข้อเสนอในการพัฒนาเด็กและเยาวชนในระดับนโยบาย ซึ่งการมีสภาเด็กและเยาวชนในทุกระดับ เป็นการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชน มีส่วนร่วมในการดําเนินงานเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนอย่างมีประสิทธิภาพ แสดงความคิดเห็นในเรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน ตลอดจนสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนได้แสดงออกที่สอดคล้องกับความรู้ความสามารถ และพัฒนาตนเองตามวัยที่เหมาะสม พลตํารวจเอก อดุลย์กล่าวต่ออีกว่า จากความร่วมมือดําเนินงานตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว จะได้ผู้นําเด็กและเยาวชน กว่า 160,000 คน จาก 7,775 แห่ง ทั่วประเทศ ในนามสภาเด็กและเยาวชน ที่จะเป็นกําลังสําคัญในการร่วมกันสร้างสรรค์กิจกรรม พัฒนา ป้องกัน แก้ไขปัญหาต่างๆ ในชุมชน เป็นสะพานเชื่อมความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชุมชน ซึ่งการพัฒนาเด็กและเยาวชนนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือและบูรณาการการทํางานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน และทุกภาคส่วนในพื้นที่ ให้มีประสิทธิภาพ ทั้งในส่วน ทีม One Home พม. ในพื้นที่ นําโดยพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) และท้องถิ่นจังหวัด ท้องถิ่นอําเภอ ร่วมกับ อปท. ทุกระดับ เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับการพัฒนาอย่างมีทิศทาง ถูกต้อง เหมาะสม และยั่งยืน ภายใต้แนวคิด "เด็กคิด เด็กทํา เด็กนํา ผู้ใหญ่หนุน” พลตํารวจเอก อดุลย์กล่าวเพิ่มเติมว่า จากนั้นในช่วงบ่าย ตนพร้อมคณะฯ ได้เดินทางไปลงพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร เพื่อติดตามสถานการณ์การดําเนินงานของหน่วยงานในสังกัด และพบปะประชาชนกลุ่มหมายของกระทรวง พม. โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน และผู้สูงอายุในพื้นที่ พร้อมทั้งมอบเงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุจํานวน 20 คน มอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม จํานวน 20 คน และมอบเงินสงเคราะห์ช่วยเหลือเด็กยากจน จํานวน 20 คน นอกจากนี้ ยังได้เยี่ยมชมการดําเนินงานของกลุ่มอาชีพและภูมิปัญญาผู้สูงอายุในพื้นที่ดังกล่าวอีกด้วย "สําหรับปัญหาสังคมที่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ทั้ง 2 จังหวัด กําลังประสบอยู่ในขณะนี้ อาทิ ปัญหาความเดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ เงินทุนการศึกษาของเด็กและเยาวชน รวมถึงการดํารงชีพของผู้มีรายได้น้อย เป็นต้น ซึ่งได้กําชับให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวง พม. ในพื้นที่ทั้ง 2 จังหวัด บูรณาการการทํางานร่วมกันในลักษณะของ One Home เพื่อลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือประชาชนอย่างต่อเนื่อง และหากประชาชนท่านใดที่พบหรือประสบปัญหาสังคมและต้องการรับความช่วยเหลือ สามารถติดต่อได้ที่สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดมุกดาหาร หรือติดต่อที่ศูนย์ช่วยเหลือสังคม โทร.1300 ตลอด 24 ชั่วโมง”พลตํารวจเอก อดุลย์กล่าวในตอนท้าย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.พม. ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนและให้การช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเป้าหมายของกระทรวง พม. โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน และผู้สูงอายุ ที่จังหวัดอุบลราชธานี และมุกดาหาร วันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม 2560 รมว.พม. ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนและให้การช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเป้าหมายของกระทรวง พม. โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน และผู้สูงอายุ ที่จังหวัดอุบลราชธานี และมุกดาหาร รมว.พม. ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนและให้การช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเป้าหมายของกระทรวง พม. โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน และผู้สูงอายุ ที่จังหวัดอุบลราชธานี และมุกดาหาร วันนี้ (6 ต.ค.60) เวลา 09.00 น. นายณรงค์ คงคํา โฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่าพลตํารวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.)พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวง พม. เดินทางลงพื้นที่เยี่ยมเยียนและให้การช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเป้าหมายของกระทรวง พม. โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน และผู้สูงอายุ ณ เทศบาลตําบลเขมราฐ อําเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี จากนั้นได้เดินทางลงพื้นที่ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) อบต.ป่งขามดงหมู อําเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหา พลตํารวจเอก อดุลย์กล่าวว่า การลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีในวันนี้ ตนพร้อมคณะผู้บริหารกระทรวง พม. ได้เยี่ยมเยียนพบปะประชาชนกลุ่มหมายของกระทรวงพม. โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน และผู้สูงอายุในพื้นที่ดังกล่าว พร้อมทั้งเยี่ยมชมสภาเด็กและเยาวชน จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อสร้างขวัญกําลังใจในการทํางาน และมอบโอวาทแนวทางสภาเด็กและเยาวชนการดําเนินงานสภาเด็กและเยาวชน ให้กับเด็กและเยาวชนในพื้นที่ พร้อมมอบทุนการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน จํานวน 60 ทุน และมอบอุปกรณ์กีฬาแก่สภาเด็กและเยาวชนตําบล/เทศบาล 10 พื้นที่ อีกทั้งมอบเงินซ่อมแซมบ้านผู้สูงอายุจํานวน 5 หลัง นอกจากนี้ ยังได้เยี่ยมชมการจัดกิจกรรมต่างๆ ผ่านนิทรรศการของชมรมผู้สูงอายุ พลตํารวจเอก อดุลย์กล่าวต่อไปว่า สําหรับการจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนนั้น สืบเนื่องจากพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 13 มิถุนายน 2560 และมีผลบังคับใช้ตามมาตรา 22 กําหนดให้องค์การบริหารส่วนตําบล/ เทศบาล ดําเนินการจัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนตําบล/เทศบาล อําเภอ/เขต และจังหวัด/กรุงเทพมหานคร เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเองชุมชน สังคม และเป็นองค์กรกลางของเด็กและเยาวชนในทุกระดับ ทําหน้าที่เป็นตัวแทนของเยาวชนในพื้นที่รวบรวมสังเคราะห์ปัญหาความต้องการในการพัฒนาและข้อเสนอในการพัฒนาเด็กและเยาวชนในระดับนโยบาย ซึ่งการมีสภาเด็กและเยาวชนในทุกระดับ เป็นการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชน มีส่วนร่วมในการดําเนินงานเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนอย่างมีประสิทธิภาพ แสดงความคิดเห็นในเรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน ตลอดจนสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนได้แสดงออกที่สอดคล้องกับความรู้ความสามารถ และพัฒนาตนเองตามวัยที่เหมาะสม พลตํารวจเอก อดุลย์กล่าวต่ออีกว่า จากความร่วมมือดําเนินงานตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว จะได้ผู้นําเด็กและเยาวชน กว่า 160,000 คน จาก 7,775 แห่ง ทั่วประเทศ ในนามสภาเด็กและเยาวชน ที่จะเป็นกําลังสําคัญในการร่วมกันสร้างสรรค์กิจกรรม พัฒนา ป้องกัน แก้ไขปัญหาต่างๆ ในชุมชน เป็นสะพานเชื่อมความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชุมชน ซึ่งการพัฒนาเด็กและเยาวชนนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือและบูรณาการการทํางานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน และทุกภาคส่วนในพื้นที่ ให้มีประสิทธิภาพ ทั้งในส่วน ทีม One Home พม. ในพื้นที่ นําโดยพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) และท้องถิ่นจังหวัด ท้องถิ่นอําเภอ ร่วมกับ อปท. ทุกระดับ เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับการพัฒนาอย่างมีทิศทาง ถูกต้อง เหมาะสม และยั่งยืน ภายใต้แนวคิด "เด็กคิด เด็กทํา เด็กนํา ผู้ใหญ่หนุน” พลตํารวจเอก อดุลย์กล่าวเพิ่มเติมว่า จากนั้นในช่วงบ่าย ตนพร้อมคณะฯ ได้เดินทางไปลงพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร เพื่อติดตามสถานการณ์การดําเนินงานของหน่วยงานในสังกัด และพบปะประชาชนกลุ่มหมายของกระทรวง พม. โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน และผู้สูงอายุในพื้นที่ พร้อมทั้งมอบเงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุจํานวน 20 คน มอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม จํานวน 20 คน และมอบเงินสงเคราะห์ช่วยเหลือเด็กยากจน จํานวน 20 คน นอกจากนี้ ยังได้เยี่ยมชมการดําเนินงานของกลุ่มอาชีพและภูมิปัญญาผู้สูงอายุในพื้นที่ดังกล่าวอีกด้วย "สําหรับปัญหาสังคมที่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ทั้ง 2 จังหวัด กําลังประสบอยู่ในขณะนี้ อาทิ ปัญหาความเดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ เงินทุนการศึกษาของเด็กและเยาวชน รวมถึงการดํารงชีพของผู้มีรายได้น้อย เป็นต้น ซึ่งได้กําชับให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวง พม. ในพื้นที่ทั้ง 2 จังหวัด บูรณาการการทํางานร่วมกันในลักษณะของ One Home เพื่อลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือประชาชนอย่างต่อเนื่อง และหากประชาชนท่านใดที่พบหรือประสบปัญหาสังคมและต้องการรับความช่วยเหลือ สามารถติดต่อได้ที่สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดมุกดาหาร หรือติดต่อที่ศูนย์ช่วยเหลือสังคม โทร.1300 ตลอด 24 ชั่วโมง”พลตํารวจเอก อดุลย์กล่าวในตอนท้าย
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/7213
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ฐานะการคลังของรัฐบาลเดือนตุลาคม 2560
วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2560 ฐานะการคลังของรัฐบาลเดือนตุลาคม 2560 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดเดือนตุลาคม 2560 ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ 2561 รัฐบาลมีรายได้นําส่งคลังทั้งสิ้นจํานวน 183,814 ล้านบาท ในขณะที่มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้นจํานวน 428,374 ล้านบาท นายสุวิชญ โรจนวานิช ผูอํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงข่าวฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดเดือนตุลาคม 2560 ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ 2561 รัฐบาลมีรายไดนําสงคลังทั้งสิ้นจํานวน 183,814 ล้านบาท ในขณะที่มีการเบิกจายเงินงบประมาณทั้งสิ้นจํานวน 428,374 ล้านบาท รัฐบาลไดกูเงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจํานวน 40,600 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2560 มีจํานวนทั้งสิ้น 304,817 ลานบาท นายสุวิชญฯ สรุปวา “ฐานะการคลังในเดือนตุลาคม 2560 อยู่ในระดับที่เข้มแข็ง โดยเงินคงคลังมีจํานวนทั้งสิ้นกว่าสามแสนล้านบาท เพียงพอสําหรับการรองรับการเบิกจ่ายงบประมาณและสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้” ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดประจําปีงบประมาณ 2561 หน่วย: ล้านบาท เดือนตุลาคม เปรียบเทียบ 2560 2559 จํานวน ร้อยละ 1. รายได้ 183,814 151,054 32,760 21.7 2. รายจ่าย 428,374 435,355 (6,981) (1.6) 3. ดุลเงินงบประมาณ (244,560) (284,301) 39,741 (14.0) 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ (14,981) 26,092 (41,073) (157.4) 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) (259,541) (258,209) (1,332) (0.5) 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 40,600 52,714 (12,114) (23.0) 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) (218,941) (205,495) (13,446) (6.5) 8. เงินคงคลังปลายงวด 304,817 235,805 69,012 29.3 ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง รายละเอียดเพิ่มเติม ดูไดจาก www.fpo.go.th สํานักนโยบายการคลัง สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร 0 2273 9020 ตอ 3563, 3558 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดประจําเดือนตุลาคม 2560 ในเดือนตุลาคม 2560 รัฐบาลขาดดุลเงินสดจํานวน 259,541 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณจํานวน 244,560 ล้านบาท และเป็นการขาดดุลเงินนอกงบประมาณจํานวน 14,981 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2560 มีจํานวน 304,817 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. รัฐบาลมีรายไดนําสงคลัง จํานวน 183,814 ลานบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปที่แลวจํานวน 32,760 ลานบาท (คิดเปนรอยละ 21.7) ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการนําส่งเงินจากรายได้รัฐวิสาหกิจและภาษีมูลค่าเพิ่มที่สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 2. รัฐบาลมีการเบิกจายเงินงบประมาณทั้งสิ้น จํานวน 428,374 ลานบาท ต่ํากว่าเดือนเดียวกันปที่แลวจํานวน 6,981 ลานบาท (คิดเปนรอยละ 1.6) โดยเป็นรายจ่ายปีปัจจุบันจํานวน 413,946 ล้านบาท ต่ํากว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.0 ประกอบดวยรายจายประจําจํานวน 381,741 ล้านบาท ต่ํากว่าเดือนเดียวกันปที่แลวรอยละ 3.3 และรายจายลงทุน 32,205 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 17.0 และการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณปกอนจํานวน 14,428 ลานบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 11.2 (ตารางที่ 1) การเบิกจายเงินงบประมาณที่สําคัญในเดือนนี้ ไดแก รายจ่ายอื่นของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจํานวน 60,121 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ จํานวน 43,894 ล้านบาท และเงินอุดหนุนสํานักงานประกันสังคมจํานวน 42,095 ล้านบาท ตารางที่ 1 การเบิกจายเงินงบประมาณประจําปีงบประมาณ 2561 หนวย: ลานบาท เดือนตุลาคม เปรียบเทียบ 2560 2559 จํานวน ร้อยละ 1. รายจายปปจจุบัน 413,946 422,383 (8,437) (2.0) 1.1 รายจายประจํา 381,741 394,852 (13,111) (3.3) 1.2 รายจายลงทุน 32,205 27,531 4,674 17.0 2. รายจายจากงบประมาณปกอน 14,428 12,972 1,456 11.2 3. รายจายรวม (1+2) 428,374 435,355 (6,981) (1.6) ที่มา: กรมบัญชีกลาง 3. ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด จากรายไดนําสงคลังและการเบิกจายเงินงบประมาณของรัฐบาลขางตน สงผลให้ดุลเงินงบประมาณในเดือนตุลาคม 2560 ขาดดุลจํานวน 244,560 ลานบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจํานวน 14,981 ลานบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการไถ่ถอนตั๋วเงินคลังจํานวน 40,000 ล้านบาท เงินฝากคลังของกองทุนประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานรากจํานวน 20,284 ล้านบาท ทําให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดจํานวน 259,541 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจํานวน 40,600 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังกูชดเชยการขาดดุล) ขาดดุลเท่ากับจํานวน 218,941 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2560 มีจํานวนทั้งสิ้น 304,817 ล้านบาท (ตารางที่ 2) ตารางที่ 2 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดเดือนตุลาคม 2560 หน่วย : ล้านบาท เดือนตุลาคม เปรียบเทียบ 2560 2559 จํานวน ร้อยละ 1. รายได้ 183,814 151,054 32,760 21.7 2. รายจ่าย 428,374 435,355 (6,981) (1.6) 3. ดุลเงินงบประมาณ (244,560) (284,301) 39,741 (14.0) 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ (14,981) 26,092 (41,073) (157.4) 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) (259,541) (258,209) (1,332) (0.5) 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 40,600 52,714 (12,114) (23.0) 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) (218,941) (205,495) (13,446) (6.5) 8. เงินคงคลังปลายงวด 304,817 235,805 69,012 29.3 สํานักนโยบายการคลัง สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร 0 2273 9020 ตอ 3563, 3558
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ฐานะการคลังของรัฐบาลเดือนตุลาคม 2560 วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2560 ฐานะการคลังของรัฐบาลเดือนตุลาคม 2560 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดเดือนตุลาคม 2560 ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ 2561 รัฐบาลมีรายได้นําส่งคลังทั้งสิ้นจํานวน 183,814 ล้านบาท ในขณะที่มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้นจํานวน 428,374 ล้านบาท นายสุวิชญ โรจนวานิช ผูอํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงข่าวฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดเดือนตุลาคม 2560 ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ 2561 รัฐบาลมีรายไดนําสงคลังทั้งสิ้นจํานวน 183,814 ล้านบาท ในขณะที่มีการเบิกจายเงินงบประมาณทั้งสิ้นจํานวน 428,374 ล้านบาท รัฐบาลไดกูเงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจํานวน 40,600 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2560 มีจํานวนทั้งสิ้น 304,817 ลานบาท นายสุวิชญฯ สรุปวา “ฐานะการคลังในเดือนตุลาคม 2560 อยู่ในระดับที่เข้มแข็ง โดยเงินคงคลังมีจํานวนทั้งสิ้นกว่าสามแสนล้านบาท เพียงพอสําหรับการรองรับการเบิกจ่ายงบประมาณและสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้” ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดประจําปีงบประมาณ 2561 หน่วย: ล้านบาท เดือนตุลาคม เปรียบเทียบ 2560 2559 จํานวน ร้อยละ 1. รายได้ 183,814 151,054 32,760 21.7 2. รายจ่าย 428,374 435,355 (6,981) (1.6) 3. ดุลเงินงบประมาณ (244,560) (284,301) 39,741 (14.0) 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ (14,981) 26,092 (41,073) (157.4) 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) (259,541) (258,209) (1,332) (0.5) 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 40,600 52,714 (12,114) (23.0) 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) (218,941) (205,495) (13,446) (6.5) 8. เงินคงคลังปลายงวด 304,817 235,805 69,012 29.3 ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง รายละเอียดเพิ่มเติม ดูไดจาก www.fpo.go.th สํานักนโยบายการคลัง สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร 0 2273 9020 ตอ 3563, 3558 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดประจําเดือนตุลาคม 2560 ในเดือนตุลาคม 2560 รัฐบาลขาดดุลเงินสดจํานวน 259,541 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณจํานวน 244,560 ล้านบาท และเป็นการขาดดุลเงินนอกงบประมาณจํานวน 14,981 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2560 มีจํานวน 304,817 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. รัฐบาลมีรายไดนําสงคลัง จํานวน 183,814 ลานบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปที่แลวจํานวน 32,760 ลานบาท (คิดเปนรอยละ 21.7) ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการนําส่งเงินจากรายได้รัฐวิสาหกิจและภาษีมูลค่าเพิ่มที่สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 2. รัฐบาลมีการเบิกจายเงินงบประมาณทั้งสิ้น จํานวน 428,374 ลานบาท ต่ํากว่าเดือนเดียวกันปที่แลวจํานวน 6,981 ลานบาท (คิดเปนรอยละ 1.6) โดยเป็นรายจ่ายปีปัจจุบันจํานวน 413,946 ล้านบาท ต่ํากว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.0 ประกอบดวยรายจายประจําจํานวน 381,741 ล้านบาท ต่ํากว่าเดือนเดียวกันปที่แลวรอยละ 3.3 และรายจายลงทุน 32,205 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 17.0 และการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณปกอนจํานวน 14,428 ลานบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 11.2 (ตารางที่ 1) การเบิกจายเงินงบประมาณที่สําคัญในเดือนนี้ ไดแก รายจ่ายอื่นของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจํานวน 60,121 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ จํานวน 43,894 ล้านบาท และเงินอุดหนุนสํานักงานประกันสังคมจํานวน 42,095 ล้านบาท ตารางที่ 1 การเบิกจายเงินงบประมาณประจําปีงบประมาณ 2561 หนวย: ลานบาท เดือนตุลาคม เปรียบเทียบ 2560 2559 จํานวน ร้อยละ 1. รายจายปปจจุบัน 413,946 422,383 (8,437) (2.0) 1.1 รายจายประจํา 381,741 394,852 (13,111) (3.3) 1.2 รายจายลงทุน 32,205 27,531 4,674 17.0 2. รายจายจากงบประมาณปกอน 14,428 12,972 1,456 11.2 3. รายจายรวม (1+2) 428,374 435,355 (6,981) (1.6) ที่มา: กรมบัญชีกลาง 3. ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด จากรายไดนําสงคลังและการเบิกจายเงินงบประมาณของรัฐบาลขางตน สงผลให้ดุลเงินงบประมาณในเดือนตุลาคม 2560 ขาดดุลจํานวน 244,560 ลานบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจํานวน 14,981 ลานบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการไถ่ถอนตั๋วเงินคลังจํานวน 40,000 ล้านบาท เงินฝากคลังของกองทุนประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานรากจํานวน 20,284 ล้านบาท ทําให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดจํานวน 259,541 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจํานวน 40,600 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังกูชดเชยการขาดดุล) ขาดดุลเท่ากับจํานวน 218,941 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2560 มีจํานวนทั้งสิ้น 304,817 ล้านบาท (ตารางที่ 2) ตารางที่ 2 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดเดือนตุลาคม 2560 หน่วย : ล้านบาท เดือนตุลาคม เปรียบเทียบ 2560 2559 จํานวน ร้อยละ 1. รายได้ 183,814 151,054 32,760 21.7 2. รายจ่าย 428,374 435,355 (6,981) (1.6) 3. ดุลเงินงบประมาณ (244,560) (284,301) 39,741 (14.0) 4. ดุลเงินนอกงบประมาณ (14,981) 26,092 (41,073) (157.4) 5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) (259,541) (258,209) (1,332) (0.5) 6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 40,600 52,714 (12,114) (23.0) 7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) (218,941) (205,495) (13,446) (6.5) 8. เงินคงคลังปลายงวด 304,817 235,805 69,012 29.3 สํานักนโยบายการคลัง สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร 0 2273 9020 ตอ 3563, 3558
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/8210
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีมอบคำขวัญเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2561 “รู้คิด รู้เท่าทัน สร้างสรรค์เทคโนโลยี”
วันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม 2560 นายกรัฐมนตรีมอบคําขวัญเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจําปี 2561 “รู้คิด รู้เท่าทัน สร้างสรรค์เทคโนโลยี” นายกรัฐมนตรีมอบคําขวัญเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจําปี 2561 “รู้คิด รู้เท่าทัน สร้างสรรค์เทคโนโลยี” วันนี้ (22 ธันวาคม 2560) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีมอบคําขวัญเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจําปี 2561 ว่า “รู้คิด รู้เท่าทัน สร้างสรรค์เทคโนโลยี” โดยนายกรัฐมนตรีต้องการให้เด็กและเยาวชน ทุกคนได้ตระหนักถึงความสําคัญของตนเองว่า เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าของประเทศ ขอให้ตั้งใจใฝ่ศึกษาเล่าเรียน หมั่นฝึกฝนพัฒนาตนเองอยู่เสมอ และพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ รวมทั้งรู้จักการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม และเป็นคนดีของสังคม ตลอดจนเป็นผู้ที่มีความกตัญญูรู้คุณต่อพ่อแม่ ผู้มีพระคุณ ครูอาจารย์ มีจิตสาธารณะ เพื่อการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข และพร้อมจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและคุณธรรมของประเทศชาติต่อไป ---------------------------------
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีมอบคำขวัญเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2561 “รู้คิด รู้เท่าทัน สร้างสรรค์เทคโนโลยี” วันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม 2560 นายกรัฐมนตรีมอบคําขวัญเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจําปี 2561 “รู้คิด รู้เท่าทัน สร้างสรรค์เทคโนโลยี” นายกรัฐมนตรีมอบคําขวัญเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจําปี 2561 “รู้คิด รู้เท่าทัน สร้างสรรค์เทคโนโลยี” วันนี้ (22 ธันวาคม 2560) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีมอบคําขวัญเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจําปี 2561 ว่า “รู้คิด รู้เท่าทัน สร้างสรรค์เทคโนโลยี” โดยนายกรัฐมนตรีต้องการให้เด็กและเยาวชน ทุกคนได้ตระหนักถึงความสําคัญของตนเองว่า เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าของประเทศ ขอให้ตั้งใจใฝ่ศึกษาเล่าเรียน หมั่นฝึกฝนพัฒนาตนเองอยู่เสมอ และพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ รวมทั้งรู้จักการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม และเป็นคนดีของสังคม ตลอดจนเป็นผู้ที่มีความกตัญญูรู้คุณต่อพ่อแม่ ผู้มีพระคุณ ครูอาจารย์ มีจิตสาธารณะ เพื่อการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข และพร้อมจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและคุณธรรมของประเทศชาติต่อไป ---------------------------------
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/8935
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กสร. ชูสปก.ต้นแบบด้านความปลอดภัยกว่า 400 แห่ง
วันพุธที่ 21 สิงหาคม 2562 กสร. ชูสปก.ต้นแบบด้านความปลอดภัยกว่า 400 แห่ง กสร. มอบเกียรติบัตรสถานประกอบกิจการต้นแบบดีเด่นด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ประจําปี 2562 แก่สถานประกอบกิจการที่ผ่านเกณฑ์ 421 แห่ง เพื่อยกย่องเป็นต้นแบบที่ดีด้านความปลอดภัย ร่วมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกัน นายวิวัฒน์ ตังหงส์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีมอบเกียรติบัตรสถานประกอบกิจการต้นแบบดีเด่นด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ประจําปี 2562 ในวันพุธที่ 21 สิงหาคม 2562 ณ ห้องประชุมใหญ่ กองความปลอดภัยแรงงาน อาคารกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (ส่วนแยกตลิ่งชัน) กทม. ว่า การจัดกิจกรรมสถานประกอบกิจการต้นแบบดีเด่นด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนนโยบาย Safety Thailand โดยมีเป้าหมายหลักคือการสร้างความตระหนักและจิตสํานึกในเรื่องความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในทุกภาคส่วนเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกัน (Preventive Safety Culture) ทั้งนี้ การดําเนินการจะประสบความสําเร็จได้ จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมาร่วมมือในการทํางาน รวมถึงบุคลากรขององค์กรก็จะต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้มีความรู้ ความเข้าใจอย่างถูกต้องในเรื่องความปลอดภัยในการทํางาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านความปลอดภัยในการทํางาน โดยเฉพาะการลดอุบัติเหตุหรือลดการประสบอันตรายจากการทํางาน เป็นมาตรการป้องกันไม่ให้ลูกจ้างได้รับอันตราย มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงและยั่งยืน สอดคล้องตามนโยบายระเบียบวาระแห่งชาติ “แรงงานปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี” นายวิวัฒน์ กล่าวต่อว่า สําหรับสถานประกอบกิจการที่ได้รับเกียรติบัตรสถานประกอบกิจการต้นแบบดีเด่นด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานจะต้องผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กําหนด สําหรับในปี 2562 นี้ มีสถานประกอบกิจการที่ได้รับเกียรติบัตรสถานประกอบกิจการต้นแบบดีเด่นด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน จํานวนทั้งสิ้น 421 แห่ง แบ่งเป็น ระดับประเทศ ระดับแพลทินัม 21-23 ปี ติดต่อกัน, 16–19 ปี ติดต่อกัน และ 11–14 ปี ติดต่อกัน 112 แห่ง ระดับเพชร 6–9 ปี ติดต่อกัน 90 แห่ง ระดับทอง 2–4 ปี ติดต่อกัน 193 แห่ง และระดับจังหวัด (กรุงเทพมหานคร) จํานวน 26 แห่ง
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กสร. ชูสปก.ต้นแบบด้านความปลอดภัยกว่า 400 แห่ง วันพุธที่ 21 สิงหาคม 2562 กสร. ชูสปก.ต้นแบบด้านความปลอดภัยกว่า 400 แห่ง กสร. มอบเกียรติบัตรสถานประกอบกิจการต้นแบบดีเด่นด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ประจําปี 2562 แก่สถานประกอบกิจการที่ผ่านเกณฑ์ 421 แห่ง เพื่อยกย่องเป็นต้นแบบที่ดีด้านความปลอดภัย ร่วมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกัน นายวิวัฒน์ ตังหงส์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีมอบเกียรติบัตรสถานประกอบกิจการต้นแบบดีเด่นด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ประจําปี 2562 ในวันพุธที่ 21 สิงหาคม 2562 ณ ห้องประชุมใหญ่ กองความปลอดภัยแรงงาน อาคารกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (ส่วนแยกตลิ่งชัน) กทม. ว่า การจัดกิจกรรมสถานประกอบกิจการต้นแบบดีเด่นด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนนโยบาย Safety Thailand โดยมีเป้าหมายหลักคือการสร้างความตระหนักและจิตสํานึกในเรื่องความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในทุกภาคส่วนเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกัน (Preventive Safety Culture) ทั้งนี้ การดําเนินการจะประสบความสําเร็จได้ จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมาร่วมมือในการทํางาน รวมถึงบุคลากรขององค์กรก็จะต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้มีความรู้ ความเข้าใจอย่างถูกต้องในเรื่องความปลอดภัยในการทํางาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านความปลอดภัยในการทํางาน โดยเฉพาะการลดอุบัติเหตุหรือลดการประสบอันตรายจากการทํางาน เป็นมาตรการป้องกันไม่ให้ลูกจ้างได้รับอันตราย มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงและยั่งยืน สอดคล้องตามนโยบายระเบียบวาระแห่งชาติ “แรงงานปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี” นายวิวัฒน์ กล่าวต่อว่า สําหรับสถานประกอบกิจการที่ได้รับเกียรติบัตรสถานประกอบกิจการต้นแบบดีเด่นด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานจะต้องผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กําหนด สําหรับในปี 2562 นี้ มีสถานประกอบกิจการที่ได้รับเกียรติบัตรสถานประกอบกิจการต้นแบบดีเด่นด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน จํานวนทั้งสิ้น 421 แห่ง แบ่งเป็น ระดับประเทศ ระดับแพลทินัม 21-23 ปี ติดต่อกัน, 16–19 ปี ติดต่อกัน และ 11–14 ปี ติดต่อกัน 112 แห่ง ระดับเพชร 6–9 ปี ติดต่อกัน 90 แห่ง ระดับทอง 2–4 ปี ติดต่อกัน 193 แห่ง และระดับจังหวัด (กรุงเทพมหานคร) จํานวน 26 แห่ง
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/22392
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-องคมนตรี ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดนราธิวาส
วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2562 องคมนตรี ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดนราธิวาส องคมนตรี ตรวจเยี่ยมให้กําลังใจบุคลากรโรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดนราธิวาส เป็นองค์กรดิจิทัล บริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ ลดรอคอยจากเฉลี่ย45นาทีเหลือเพียง21นาทีประชาชนพึงพอใจเพิ่มเป็นร้อยละ 80 วันนี้ (15 พฤศจิกายน 2562) ที่โรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อําเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรีในฐานะรองประธานกรรมการมูลนิธิเทพรัตนเวชชานุกูล พร้อมด้วยนายแพทย์เจษฎา ฉายคุณรัฐ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 12 และคณะ ตรวจเยี่ยมให้กําลังเจ้าหน้าที่และติดตามการดําเนินงาน นายแพทย์เจษฎา ฉายคุณรัฐ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 12 กล่าวว่า โรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง รับผิดชอบประชากร 47,049 คนได้นําเทคโนโลยีทางการแพทย์มาใช้ในระบบบริหารจัดการภายในโรงพยาบาลเป็นองค์กรดิจิทัลไม่ใช้กระดาษทั้งแผนกผู้ป่วยนอกผู้ป่วยใน และback officeลดขั้นตอนและอํานวยความสะดวกทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ ทําให้ผู้ป่วยนัดตรวจออนไลน์ได้โดยใช้บัตรประจําตัวประชาชนกับเครื่องให้บริการอัตโนมัติ (ตู้ KIOS) และมีสมาร์ททีวีแสดงคิวการเรียกและบอกลําดับที่แผนกผู้ป่วยนอก ส่วนแผนกผู้ป่วยในมีโปรแกรม บันทึกการตรวจรักษาสําหรับแพทย์ พยาบาล และทุกกลุ่มงาน ทําให้แพทย์ตรวจติดตามผลแล็บ เอกซเรย์ และสั่งการรักษาได้ทุกที่ทุกเวลาผลของการดําเนินงานช่วยลดระยะเวลารอคอยเฉลี่ยจาก 45 นาที เหลือเพียง 21 นาที ความพึงพอใจต่อบริการเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 80.49 นายแพทย์เจษฎากล่าวต่อว่า ด้านผู้ให้บริการใช้ระบบ Back office Paperless อาทิใบลาต่างๆ การขออนุมัติไปราชการ การรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยง ผู้บริหารสามารถอนุมัติผ่านสมาร์ทโฟนได้ตลอดเวลา ทําให้ลดขั้นตอนการทํางานและเพิ่มความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ทุกระดับนอกจากนี้ โรงพยาบาลได้เชื่อมต่อข้อมูลสุขภาพและให้บริการแบบ 1อําเภอ 1 HN จัดบริการเชิงรุกที่หน่วยบริการปฐมภูมิ( PCU) โดยทีมแพทย์และสหวิชาชีพ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการและลดความแออัดในโรงพยาบาล จัดโครงการผ่าตัดตาต้อกระจกเชิงรุกป้องกันตาบอดให้กับผู้สูงอายุในพื้นที่ทุกปีร่วมกับชุมชนดูแลสิ่งแวดล้อมมาตรฐาน GREEN & CLEAN Hospital ได้รับรางวัล GREEN & CLEAN ระดับดีมาก PLUS ปี 2562 โดยเป็นต้นแบบการจัดการขยะรีไซเคิลในรูปแบบธนาคารขยะจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน พัฒนาห้องน้ําและห้องส้วมตามมาตรฐานส้วม HAS ใช้นวัตกรรมเพื่อลดพลังงานและมีโรงครัวมาตรฐานโรงครัวฮาลาล จากครัวโรงพยาบาลสู่ครัวโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทําให้เป็นโรงพยาบาลที่มากกว่าโรงพยาบาล มีชุมชนเป็นเจ้าของที่แท้จริง เน้นหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บริการประชาชนดุจญาติมิตร *********************************** 15 พฤศจิกายน 2562
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-องคมนตรี ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดนราธิวาส วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2562 องคมนตรี ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดนราธิวาส องคมนตรี ตรวจเยี่ยมให้กําลังใจบุคลากรโรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดนราธิวาส เป็นองค์กรดิจิทัล บริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ ลดรอคอยจากเฉลี่ย45นาทีเหลือเพียง21นาทีประชาชนพึงพอใจเพิ่มเป็นร้อยละ 80 วันนี้ (15 พฤศจิกายน 2562) ที่โรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อําเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรีในฐานะรองประธานกรรมการมูลนิธิเทพรัตนเวชชานุกูล พร้อมด้วยนายแพทย์เจษฎา ฉายคุณรัฐ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 12 และคณะ ตรวจเยี่ยมให้กําลังเจ้าหน้าที่และติดตามการดําเนินงาน นายแพทย์เจษฎา ฉายคุณรัฐ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 12 กล่าวว่า โรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง รับผิดชอบประชากร 47,049 คนได้นําเทคโนโลยีทางการแพทย์มาใช้ในระบบบริหารจัดการภายในโรงพยาบาลเป็นองค์กรดิจิทัลไม่ใช้กระดาษทั้งแผนกผู้ป่วยนอกผู้ป่วยใน และback officeลดขั้นตอนและอํานวยความสะดวกทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ ทําให้ผู้ป่วยนัดตรวจออนไลน์ได้โดยใช้บัตรประจําตัวประชาชนกับเครื่องให้บริการอัตโนมัติ (ตู้ KIOS) และมีสมาร์ททีวีแสดงคิวการเรียกและบอกลําดับที่แผนกผู้ป่วยนอก ส่วนแผนกผู้ป่วยในมีโปรแกรม บันทึกการตรวจรักษาสําหรับแพทย์ พยาบาล และทุกกลุ่มงาน ทําให้แพทย์ตรวจติดตามผลแล็บ เอกซเรย์ และสั่งการรักษาได้ทุกที่ทุกเวลาผลของการดําเนินงานช่วยลดระยะเวลารอคอยเฉลี่ยจาก 45 นาที เหลือเพียง 21 นาที ความพึงพอใจต่อบริการเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 80.49 นายแพทย์เจษฎากล่าวต่อว่า ด้านผู้ให้บริการใช้ระบบ Back office Paperless อาทิใบลาต่างๆ การขออนุมัติไปราชการ การรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยง ผู้บริหารสามารถอนุมัติผ่านสมาร์ทโฟนได้ตลอดเวลา ทําให้ลดขั้นตอนการทํางานและเพิ่มความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ทุกระดับนอกจากนี้ โรงพยาบาลได้เชื่อมต่อข้อมูลสุขภาพและให้บริการแบบ 1อําเภอ 1 HN จัดบริการเชิงรุกที่หน่วยบริการปฐมภูมิ( PCU) โดยทีมแพทย์และสหวิชาชีพ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการและลดความแออัดในโรงพยาบาล จัดโครงการผ่าตัดตาต้อกระจกเชิงรุกป้องกันตาบอดให้กับผู้สูงอายุในพื้นที่ทุกปีร่วมกับชุมชนดูแลสิ่งแวดล้อมมาตรฐาน GREEN & CLEAN Hospital ได้รับรางวัล GREEN & CLEAN ระดับดีมาก PLUS ปี 2562 โดยเป็นต้นแบบการจัดการขยะรีไซเคิลในรูปแบบธนาคารขยะจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน พัฒนาห้องน้ําและห้องส้วมตามมาตรฐานส้วม HAS ใช้นวัตกรรมเพื่อลดพลังงานและมีโรงครัวมาตรฐานโรงครัวฮาลาล จากครัวโรงพยาบาลสู่ครัวโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทําให้เป็นโรงพยาบาลที่มากกว่าโรงพยาบาล มีชุมชนเป็นเจ้าของที่แท้จริง เน้นหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บริการประชาชนดุจญาติมิตร *********************************** 15 พฤศจิกายน 2562
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/24596
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณสุดยอดวัฒนธรรมสร้างสรรค์แห่งปี 2561 ยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคล เป็นแบบอย่างในการสร้างคุณค่าที่ดีให้แก่สังคม จำนวน 32 โล่
วันพุธที่ 26 ธันวาคม 2561 นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณสุดยอดวัฒนธรรมสร้างสรรค์แห่งปี 2561 ยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคล เป็นแบบอย่างในการสร้างคุณค่าที่ดีให้แก่สังคม จํานวน 32 โล่ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณสุดยอดวัฒนธรรมสร้างสรรค์แห่งปี พ.ศ. 2561 ยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคล เป็นแบบอย่างในการสร้างคุณค่าที่ดีให้แก่สังคม จํานวน 32 โล่รางวัล วันที่ (26 ธ.ค. 2561) เวลา 10.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณสุดยอดวัฒนธรรมสร้างสรรค์แห่งปี พ.ศ. 2561 จํานวน 32 โล่รางวัล โดยมี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นายกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ในรอบปี พ.ศ.2561 มีผลงานสร้างสรรค์ เหตุการณ์สําคัญและบุคคลนํามาซึ่งชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของประเทศไทยเป็นจํานวนมาก ดังนั้น กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ในฐานะหน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทในการสร้างคนดี สังคมดี ยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคล รวมถึงพัฒนาความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมนําภาพลักษณ์ไทยสู่สากล ได้รวบรวมและคัดเลือกผลงานสร้างสรรค์ เหตุการณ์สําคัญและบุคคลของประเทศไทยที่มีความโดดเด่นในปี พ.ศ. 2561 ประกาศเป็นสุดยอดวัฒนธรรมสร้างสรรค์แห่งปี เพื่อเผยแพร่เหตุการณ์สําคัญ ผลงานสร้างสรรค์และยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลให้ประชาชน สังคมได้รับทราบและเป็นแบบอย่างในการสร้างคุณค่าที่ดีให้แก่สังคม จํานวน 6 สาขา รวมทั้งหมด 32 รางวัล ดังนี้ 1.บุคคลแห่งปี บุคคลที่มีชีวิตหรือเสียชีวิต มีผลงานเป็นที่ประจักษ์นํามาซึ่งชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของประเทศไทย และปฏิบัติตนเป็นที่ยอมรับของสังคม ได้แก่ 1) พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) 2) ศาสตราจารย์ ประเสริฐ ณ นคร 3) ศาสตรเมธี ดร.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ 4) นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา 5) นายอาทิวราห์ คงมาลัย (ตูน บอดี้สแลม) และ 6) นาวาตรี สมาน กุนัน (จ่าแซม) 2. สปอตสร้างสรรค์แห่งปี โดยสะท้อนวิถีชีวิตและวัฒนธรรมไทย หรือสื่อเพื่อการรณรงค์และสร้างจิตสํานึกค่านิยมที่ดี 3. คลิปวีดิโอสร้างสรรค์แห่งปี โดยสะท้อนวิถีชีวิตและวัฒนธรรมไทย หรือสื่อเพื่อการรณรงค์และสร้างจิตสํานึกค่านิยมที่ดี 4. ละครโทรทัศน์สร้างสรรค์แห่งปี มีความโดดเด่นด้านการละคร ทรงคุณค่าในทางศิลปะ สะท้อนชีวิตและความเป็นไทย 5. ภาพยนตร์ไทยสร้างสรรค์แห่งปี โดยส่งเสริมและสร้างสรรค์ความเป็นไทย ค่านิยมที่ดีงาน ทรงคุณค่าทางศิลปะและกระแสตอบรับที่ดีจากผู้ชม และ 6. เหตุการณ์สําคัญแห่งปี เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในปี 2561 ที่สร้างสรรค์และส่งผลเชิงบวกต่อสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ตลอดจนกระแสนิยมต่าง ๆ ที่ประชาชนรับรู้ ได้แก่ 1) ยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนโขนไทยเป็นมรดกวัฒนธรรมของมนุษยชาติ 2) ยูเนสโกประกาศให้ฟิล์มกระจกเป็นมรดกความทรงจําแห่งโลก 3) ปฏิบัติการถ้ําหลวง:บันทึกวาระแห่งโลก 4) เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติระดับโลก ภายใต้ชื่อ “Thailand Biennale, Krabi 2018” 5) เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2018 “Bangkok Art Biennale 2018” และ 6) สวดมนต์ข้ามปีถวายพระราชกุศล เสริมสิริมงคลทั่วโลก ส่งท้ายปีเก่าวิถีไทย ต้อนรับปีใหม่วิถีธรรม พ.ศ. 2562 โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัล ขอให้ผู้ได้รับรางวัลทุกท่าน รักษาคุณงามความดี และเกียรติภูมิที่ได้รับนี้ให้คงอยู่ไว้เป็นแบบอย่างที่ดีงาม จดจาจึกไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้สืบทอดสืบไป พร้อมกล่าวมอบนโยบายตอนหนึ่งว่า รัฐบาลให้ความสําคัญกับการส่งเสริม คุ้มครอง และรักษามรดกทางวัฒนธรรมของชาติ เพื่อสร้างความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ชาติ และความเป็นไทยแก่อนุชนรุ่นหลัง โดยการนําศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมที่อยู่คู่ชาติไทยมาช้านาน เป็นสื่อทางวัฒนธรรมที่สะท้อนวิถีชีวิต ค่านิยมที่ดีในการสร้างคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม และสังคมจิตอาสา ที่สร้างสรรค์สังคมไทยให้มีความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพ พร้อมทั้ง รณรงค์สร้างจิตสํานึกของคนในชาติให้มีส่วนร่วมในการสืบสาน ถ่ายทอด ฟื้นฟู พัฒนามรดกทางวัฒนธรรมไทย เพื่อธํารงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทยตลอดไป นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า รางวัลประกาศเกียรติคุณสุดยอดวัฒนธรรมสร้างสรรค์แห่งปี พุทธศักราช 2561 ถือเป็นรางวัลที่ทรงคุณค่ายิ่ง และเป็นเครื่องเชิดชูเกียรติแก่ผู้ที่ความมุ่งมั่น ตั้งใจ อุทิศ ทุ่มเท เสียสละพลังกาย พลังใจ กําลังทรัพย์ ประกอบคุณงามความดีเพื่อสร้างสรรค์สังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งความคิดบวก และสังคมจิตสาธารณะ ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยการให้การแบ่งปัน การเอื้ออาทร การมีน้ําใจ และการช่วยเหลือเกื้อกูลกันโดยไม่แบ่งแยกหรือเลือกปฏิบัติ ในการที่บุคคล ๆ หนึ่ง หรือหลาย ๆ คนจะร่วมกันกระทําสิ่งใด ๆ ที่ก่อเกิดเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติ ในความรู้สึกของหลาย ๆ คน อาจดูเป็นเรื่องยาก ในการที่จะทําบางเรื่องให้เป็นจริงได้ แต่เมื่อมีความตั้งใจ ความมุ่งมั่น และคิดดี คิดชอบ ก็จะกระทําได้ไม่ยาก ดังที่มีคํากล่าวว่า “การให้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด” และ”การกระทําดีทําได้ทุกวัน” ทั้งนี้ จากจุดเริ่มต้นจุดประกายความคิด ก้าวสู่ความหมายที่ยิ่งใหญ่ในหลาย ๆ เหตุกราณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย นํามาซึ่งชื่อเสียง เกียรติภูมิ และภาพลักษณ์ที่ดีแก่ประเทศ แสดงให้เห็นถึงพลังทางสังคมที่แนบแน่นของชาติไทยในวันนี้ สิ่งที่น่าภาคภูมิใจ คือ ในช่วงชีวิตของคนหนึ่งคน และหลาย ๆ คน ได้ทําความดีที่ยิ่งใหญ่ที่เป็นคุณค่าที่ดีต่อสังคมและเพื่อช่วยเหลือมนุษย์ และเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ทุกท่านเป็นต้นแบบของการสร้างแรงบันดาลใจที่ดีให้กับคนในสังคม ที่จะสืบทอดความดีงามนี้ไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลานของเรา นอกจากนี้ ยังเป็นการประกาศแก่นานาประเทศทั่วโลก ได้รับรู้ว่าคนไทยมีความรู้ ความสามารถ มีความรัก ความสามัคคี มีความเสียสละ มีจิตอาสา ที่สําคัญ “เราทุกคนมีหัวใจที่เข้มแข็งในการทําความดีเพื่อสังคม โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน” ซึ่งถือเป็นการสนองพระราชปณิธานของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงได้พระราชทานโครงการจิตอาสา “เราทํา ความ ดี ด้วยหัวใจ” ที่ทรงมีพระราชปรารถนาให้ประชาชนชาวไทยเป็นผู้มีจิตสาธารณะ และมีส่วนร่วมในการทําคุณประโยชน์แก่สังคม ชุมชน และประเทศชาติ -----------------------------------------------------------------
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณสุดยอดวัฒนธรรมสร้างสรรค์แห่งปี 2561 ยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคล เป็นแบบอย่างในการสร้างคุณค่าที่ดีให้แก่สังคม จำนวน 32 โล่ วันพุธที่ 26 ธันวาคม 2561 นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณสุดยอดวัฒนธรรมสร้างสรรค์แห่งปี 2561 ยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคล เป็นแบบอย่างในการสร้างคุณค่าที่ดีให้แก่สังคม จํานวน 32 โล่ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณสุดยอดวัฒนธรรมสร้างสรรค์แห่งปี พ.ศ. 2561 ยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคล เป็นแบบอย่างในการสร้างคุณค่าที่ดีให้แก่สังคม จํานวน 32 โล่รางวัล วันที่ (26 ธ.ค. 2561) เวลา 10.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณสุดยอดวัฒนธรรมสร้างสรรค์แห่งปี พ.ศ. 2561 จํานวน 32 โล่รางวัล โดยมี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นายกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ในรอบปี พ.ศ.2561 มีผลงานสร้างสรรค์ เหตุการณ์สําคัญและบุคคลนํามาซึ่งชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของประเทศไทยเป็นจํานวนมาก ดังนั้น กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ในฐานะหน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทในการสร้างคนดี สังคมดี ยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคล รวมถึงพัฒนาความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมนําภาพลักษณ์ไทยสู่สากล ได้รวบรวมและคัดเลือกผลงานสร้างสรรค์ เหตุการณ์สําคัญและบุคคลของประเทศไทยที่มีความโดดเด่นในปี พ.ศ. 2561 ประกาศเป็นสุดยอดวัฒนธรรมสร้างสรรค์แห่งปี เพื่อเผยแพร่เหตุการณ์สําคัญ ผลงานสร้างสรรค์และยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลให้ประชาชน สังคมได้รับทราบและเป็นแบบอย่างในการสร้างคุณค่าที่ดีให้แก่สังคม จํานวน 6 สาขา รวมทั้งหมด 32 รางวัล ดังนี้ 1.บุคคลแห่งปี บุคคลที่มีชีวิตหรือเสียชีวิต มีผลงานเป็นที่ประจักษ์นํามาซึ่งชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของประเทศไทย และปฏิบัติตนเป็นที่ยอมรับของสังคม ได้แก่ 1) พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) 2) ศาสตราจารย์ ประเสริฐ ณ นคร 3) ศาสตรเมธี ดร.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ 4) นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา 5) นายอาทิวราห์ คงมาลัย (ตูน บอดี้สแลม) และ 6) นาวาตรี สมาน กุนัน (จ่าแซม) 2. สปอตสร้างสรรค์แห่งปี โดยสะท้อนวิถีชีวิตและวัฒนธรรมไทย หรือสื่อเพื่อการรณรงค์และสร้างจิตสํานึกค่านิยมที่ดี 3. คลิปวีดิโอสร้างสรรค์แห่งปี โดยสะท้อนวิถีชีวิตและวัฒนธรรมไทย หรือสื่อเพื่อการรณรงค์และสร้างจิตสํานึกค่านิยมที่ดี 4. ละครโทรทัศน์สร้างสรรค์แห่งปี มีความโดดเด่นด้านการละคร ทรงคุณค่าในทางศิลปะ สะท้อนชีวิตและความเป็นไทย 5. ภาพยนตร์ไทยสร้างสรรค์แห่งปี โดยส่งเสริมและสร้างสรรค์ความเป็นไทย ค่านิยมที่ดีงาน ทรงคุณค่าทางศิลปะและกระแสตอบรับที่ดีจากผู้ชม และ 6. เหตุการณ์สําคัญแห่งปี เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในปี 2561 ที่สร้างสรรค์และส่งผลเชิงบวกต่อสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ตลอดจนกระแสนิยมต่าง ๆ ที่ประชาชนรับรู้ ได้แก่ 1) ยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนโขนไทยเป็นมรดกวัฒนธรรมของมนุษยชาติ 2) ยูเนสโกประกาศให้ฟิล์มกระจกเป็นมรดกความทรงจําแห่งโลก 3) ปฏิบัติการถ้ําหลวง:บันทึกวาระแห่งโลก 4) เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติระดับโลก ภายใต้ชื่อ “Thailand Biennale, Krabi 2018” 5) เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2018 “Bangkok Art Biennale 2018” และ 6) สวดมนต์ข้ามปีถวายพระราชกุศล เสริมสิริมงคลทั่วโลก ส่งท้ายปีเก่าวิถีไทย ต้อนรับปีใหม่วิถีธรรม พ.ศ. 2562 โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัล ขอให้ผู้ได้รับรางวัลทุกท่าน รักษาคุณงามความดี และเกียรติภูมิที่ได้รับนี้ให้คงอยู่ไว้เป็นแบบอย่างที่ดีงาม จดจาจึกไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้สืบทอดสืบไป พร้อมกล่าวมอบนโยบายตอนหนึ่งว่า รัฐบาลให้ความสําคัญกับการส่งเสริม คุ้มครอง และรักษามรดกทางวัฒนธรรมของชาติ เพื่อสร้างความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ชาติ และความเป็นไทยแก่อนุชนรุ่นหลัง โดยการนําศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมที่อยู่คู่ชาติไทยมาช้านาน เป็นสื่อทางวัฒนธรรมที่สะท้อนวิถีชีวิต ค่านิยมที่ดีในการสร้างคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม และสังคมจิตอาสา ที่สร้างสรรค์สังคมไทยให้มีความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพ พร้อมทั้ง รณรงค์สร้างจิตสํานึกของคนในชาติให้มีส่วนร่วมในการสืบสาน ถ่ายทอด ฟื้นฟู พัฒนามรดกทางวัฒนธรรมไทย เพื่อธํารงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทยตลอดไป นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า รางวัลประกาศเกียรติคุณสุดยอดวัฒนธรรมสร้างสรรค์แห่งปี พุทธศักราช 2561 ถือเป็นรางวัลที่ทรงคุณค่ายิ่ง และเป็นเครื่องเชิดชูเกียรติแก่ผู้ที่ความมุ่งมั่น ตั้งใจ อุทิศ ทุ่มเท เสียสละพลังกาย พลังใจ กําลังทรัพย์ ประกอบคุณงามความดีเพื่อสร้างสรรค์สังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งความคิดบวก และสังคมจิตสาธารณะ ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยการให้การแบ่งปัน การเอื้ออาทร การมีน้ําใจ และการช่วยเหลือเกื้อกูลกันโดยไม่แบ่งแยกหรือเลือกปฏิบัติ ในการที่บุคคล ๆ หนึ่ง หรือหลาย ๆ คนจะร่วมกันกระทําสิ่งใด ๆ ที่ก่อเกิดเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติ ในความรู้สึกของหลาย ๆ คน อาจดูเป็นเรื่องยาก ในการที่จะทําบางเรื่องให้เป็นจริงได้ แต่เมื่อมีความตั้งใจ ความมุ่งมั่น และคิดดี คิดชอบ ก็จะกระทําได้ไม่ยาก ดังที่มีคํากล่าวว่า “การให้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด” และ”การกระทําดีทําได้ทุกวัน” ทั้งนี้ จากจุดเริ่มต้นจุดประกายความคิด ก้าวสู่ความหมายที่ยิ่งใหญ่ในหลาย ๆ เหตุกราณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย นํามาซึ่งชื่อเสียง เกียรติภูมิ และภาพลักษณ์ที่ดีแก่ประเทศ แสดงให้เห็นถึงพลังทางสังคมที่แนบแน่นของชาติไทยในวันนี้ สิ่งที่น่าภาคภูมิใจ คือ ในช่วงชีวิตของคนหนึ่งคน และหลาย ๆ คน ได้ทําความดีที่ยิ่งใหญ่ที่เป็นคุณค่าที่ดีต่อสังคมและเพื่อช่วยเหลือมนุษย์ และเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ทุกท่านเป็นต้นแบบของการสร้างแรงบันดาลใจที่ดีให้กับคนในสังคม ที่จะสืบทอดความดีงามนี้ไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลานของเรา นอกจากนี้ ยังเป็นการประกาศแก่นานาประเทศทั่วโลก ได้รับรู้ว่าคนไทยมีความรู้ ความสามารถ มีความรัก ความสามัคคี มีความเสียสละ มีจิตอาสา ที่สําคัญ “เราทุกคนมีหัวใจที่เข้มแข็งในการทําความดีเพื่อสังคม โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน” ซึ่งถือเป็นการสนองพระราชปณิธานของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงได้พระราชทานโครงการจิตอาสา “เราทํา ความ ดี ด้วยหัวใจ” ที่ทรงมีพระราชปรารถนาให้ประชาชนชาวไทยเป็นผู้มีจิตสาธารณะ และมีส่วนร่วมในการทําคุณประโยชน์แก่สังคม ชุมชน และประเทศชาติ -----------------------------------------------------------------
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/17768
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. มอบรางวัลอาสาสมัครและองค์การที่มีกิจกรรมทางสังคมดีเด่น ปี 60 ร่วมพัฒนาสังคม โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม 2561 พม. มอบรางวัลอาสาสมัครและองค์การที่มีกิจกรรมทางสังคมดีเด่น ปี 60 ร่วมพัฒนาสังคม โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง พม. มอบรางวัลอาสาสมัครและองค์การที่มีกิจกรรมทางสังคมดีเด่น ปี 60 ร่วมพัฒนาสังคม โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง วันนี้ (23 มี.ค. 61) เวลา 15.30 น.พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุเสด็จประทานโล่ประกาศเกียรติคุณอาสาสมัครดีเด่น และองค์การที่มีกิจกรรมทางสังคมดีเด่นแห่งชาติ เนื่องใน วันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติและวันอาสาสมัครไทย ประจําปี 2560 โดยมีพลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.)พร้อมคณะผู้บริหาร กระทรวง พม. ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ เฝ้ารับเสด็จ ณ ห้องรอยัล จูบิลี่ บอลรูม อาคารชาเลนเจอร์ ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี อําเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เนื่องด้วย รัฐบาลได้กําหนดวันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นวันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติและวันอาสาสมัครไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงร่วมกันจัดงาน วันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติและวันอาสาสมัครไทย เป็นประจําทุกปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรําลึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และเผยแพร่พระเกียรติคุณ และพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในงานด้านการจัดสวัสดิการสังคม สังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาสังคม อีกทั้งเป็นการประกาศเกียรติคุณ และเป็นแบบอย่างแก่อาสาสมัครและองค์การที่มีกิจกรรมทางสังคม ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 จนถึงปัจจุบัน มีอาสาสมัครและองค์กรที่ได้รับรางวัล รวมทั้งสิ้น 3,317 ราย ได้แก่ อาสาสมัครดีเด่น จํานวน 3,133 คน และองค์การที่มีกิจกรรมทางสังคมดีเด่น จํานวน 184 องค์การ สําหรับการจัดงานวันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ และวันอาสาสมัครไทย ประจําปี 2560 ได้จัดขึ้นเป็นปีที่ 25 โดยกําหนดจัดกิจกรรมสําคัญ แบ่งออกเป็น 1) กิจกรรมภาคเช้า เป็นเวทีสมัชชาสวัสดิการสังคมแห่งชาติ หัวข้อ "ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง... ทําอย่างไรให้เป็นจริง” โดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย นายชินชัย ชี้เจริญ ประธานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม สภาสังคมสงเคราะห์ฯ ดร.ปัณณ์ อนันอภิบุตร ผู้อํานวยการ ส่วนนโยบายภาษีสรรพากร รศ.ทองทิพภา วิริยะพันธุ์ ประธานโครงการ CSR พอเพียง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ ศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2) กิจกรรมภาคบ่าย 2.1) พิธีประทานโล่เกียรติคุณแก่อาสาสมัครดีเด่นและองค์การที่มีกิจกรรมทางสังคมดีเด่น โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชา ทินัดดามาตุ เสด็จประทานรางวัล ซึ่งมีผู้ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 308 ราย แบ่งเป็น อาสาสมัครดีเด่น จํานวน 287 คน องค์การที่มีกิจกรรมทางสังคมดีเด่น จํานวน 21 องค์กร และ 2.2) นิทรรศการ ได้แก่ นิทรรศการเทิดพระเกียรติ สมเด็จนครินทราบรมราชชนนี ในหัวข้อ "สมเด็จย่ากับงานอาสาสมัครและการพัฒนาที่ยั่งยืน” นิทรรศการ วันสังคมสงเคราะห์และวันอาสาสมัครไทย และนิทรรศการขององค์การสวัสดิการสังคมและหน่วยงานต่างๆ เช่น การทําแนวกันไฟเปียก การทํา CPR ห้องเรียนสาธิตการออม และการสาธิตการสอนเด็กในรูปแบบพิเศษเพื่อสร้างเด็กอัจฉริยะ เป็นต้น ทั้งนี้ กระทรวง พม. ขอแสดงความยินดีและยกย่องเชิดชูเกียรติอาสาสมัครดีเด่น และและองค์การที่มีกิจกรรมทางสังคมดีเด่นแห่งชาติ และหวังว่าการประชุมสมัชชาสวัสดิการสังคมแห่งชาติ ครั้งที่ 25 ในหัวข้อเรื่อง "ไม่ทิ้งใคร ไว้ข้างหลัง...ทําอย่างไรให้เป็นจริง” จะเป็นแนวทางการดําเนินงานด้านการพัฒนาสังคม การพิทักษ์ คุ้มครองสิทธิประชาชน และผู้ด้อยโอกาส ที่ส่งผลให้ประชาชนและผู้ที่ประสบปัญหาทางสังคมได้รับการดูแลและบริการทางสังคม ที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถดํารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข เพื่อลดความเหลื่อมล้ํา สร้างความเป็นธรรม และพัฒนาสังคมร่วมกันอย่างยั่งยืน
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. มอบรางวัลอาสาสมัครและองค์การที่มีกิจกรรมทางสังคมดีเด่น ปี 60 ร่วมพัฒนาสังคม โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม 2561 พม. มอบรางวัลอาสาสมัครและองค์การที่มีกิจกรรมทางสังคมดีเด่น ปี 60 ร่วมพัฒนาสังคม โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง พม. มอบรางวัลอาสาสมัครและองค์การที่มีกิจกรรมทางสังคมดีเด่น ปี 60 ร่วมพัฒนาสังคม โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง วันนี้ (23 มี.ค. 61) เวลา 15.30 น.พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุเสด็จประทานโล่ประกาศเกียรติคุณอาสาสมัครดีเด่น และองค์การที่มีกิจกรรมทางสังคมดีเด่นแห่งชาติ เนื่องใน วันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติและวันอาสาสมัครไทย ประจําปี 2560 โดยมีพลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.)พร้อมคณะผู้บริหาร กระทรวง พม. ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ เฝ้ารับเสด็จ ณ ห้องรอยัล จูบิลี่ บอลรูม อาคารชาเลนเจอร์ ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี อําเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เนื่องด้วย รัฐบาลได้กําหนดวันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นวันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติและวันอาสาสมัครไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงร่วมกันจัดงาน วันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติและวันอาสาสมัครไทย เป็นประจําทุกปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรําลึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และเผยแพร่พระเกียรติคุณ และพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในงานด้านการจัดสวัสดิการสังคม สังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาสังคม อีกทั้งเป็นการประกาศเกียรติคุณ และเป็นแบบอย่างแก่อาสาสมัครและองค์การที่มีกิจกรรมทางสังคม ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 จนถึงปัจจุบัน มีอาสาสมัครและองค์กรที่ได้รับรางวัล รวมทั้งสิ้น 3,317 ราย ได้แก่ อาสาสมัครดีเด่น จํานวน 3,133 คน และองค์การที่มีกิจกรรมทางสังคมดีเด่น จํานวน 184 องค์การ สําหรับการจัดงานวันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ และวันอาสาสมัครไทย ประจําปี 2560 ได้จัดขึ้นเป็นปีที่ 25 โดยกําหนดจัดกิจกรรมสําคัญ แบ่งออกเป็น 1) กิจกรรมภาคเช้า เป็นเวทีสมัชชาสวัสดิการสังคมแห่งชาติ หัวข้อ "ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง... ทําอย่างไรให้เป็นจริง” โดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย นายชินชัย ชี้เจริญ ประธานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม สภาสังคมสงเคราะห์ฯ ดร.ปัณณ์ อนันอภิบุตร ผู้อํานวยการ ส่วนนโยบายภาษีสรรพากร รศ.ทองทิพภา วิริยะพันธุ์ ประธานโครงการ CSR พอเพียง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ ศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2) กิจกรรมภาคบ่าย 2.1) พิธีประทานโล่เกียรติคุณแก่อาสาสมัครดีเด่นและองค์การที่มีกิจกรรมทางสังคมดีเด่น โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชา ทินัดดามาตุ เสด็จประทานรางวัล ซึ่งมีผู้ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 308 ราย แบ่งเป็น อาสาสมัครดีเด่น จํานวน 287 คน องค์การที่มีกิจกรรมทางสังคมดีเด่น จํานวน 21 องค์กร และ 2.2) นิทรรศการ ได้แก่ นิทรรศการเทิดพระเกียรติ สมเด็จนครินทราบรมราชชนนี ในหัวข้อ "สมเด็จย่ากับงานอาสาสมัครและการพัฒนาที่ยั่งยืน” นิทรรศการ วันสังคมสงเคราะห์และวันอาสาสมัครไทย และนิทรรศการขององค์การสวัสดิการสังคมและหน่วยงานต่างๆ เช่น การทําแนวกันไฟเปียก การทํา CPR ห้องเรียนสาธิตการออม และการสาธิตการสอนเด็กในรูปแบบพิเศษเพื่อสร้างเด็กอัจฉริยะ เป็นต้น ทั้งนี้ กระทรวง พม. ขอแสดงความยินดีและยกย่องเชิดชูเกียรติอาสาสมัครดีเด่น และและองค์การที่มีกิจกรรมทางสังคมดีเด่นแห่งชาติ และหวังว่าการประชุมสมัชชาสวัสดิการสังคมแห่งชาติ ครั้งที่ 25 ในหัวข้อเรื่อง "ไม่ทิ้งใคร ไว้ข้างหลัง...ทําอย่างไรให้เป็นจริง” จะเป็นแนวทางการดําเนินงานด้านการพัฒนาสังคม การพิทักษ์ คุ้มครองสิทธิประชาชน และผู้ด้อยโอกาส ที่ส่งผลให้ประชาชนและผู้ที่ประสบปัญหาทางสังคมได้รับการดูแลและบริการทางสังคม ที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถดํารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข เพื่อลดความเหลื่อมล้ํา สร้างความเป็นธรรม และพัฒนาสังคมร่วมกันอย่างยั่งยืน
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/11008
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มติ ครม.ด้านการศึกษา 26 ก.พ.2562
วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 มติ ครม.ด้านการศึกษา 26 ก.พ.2562 นายชลํา อรรถธรรม โฆษกกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ 6 เรื่อง มติ ครม.ด้านการศึกษา 26 ก.พ.2562 นายชลํา อรรถธรรม โฆษกกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ 6 เรื่อง คือ - อนุมัติร่าง พ.ร.บ.การอาชีวศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... - อนุมัติงบกลาง 857 ล้านบาท โครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ - อนุมัติการโอนใบอนุญาต จัดตั้งโรงเรียนนานาชาติเชียงใหม่ - อนุมัติการลงนามบันทึกความตกลง จัดตั้งศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาของซีมีโอ - เห็นชอบให้ Les Roches (เลส์โรช) ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เข้ามาจัดการศึกษาในประเทศไทย - อนุมัติแต่งตั้ง รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา อนุมัติร่าง พ.ร.บ.การอาชีวศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ หลักการร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และรับทราบแผนในการจัดทํากฎหมายลําดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสําคัญ ของกฎหมายลําดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ โดยสาระสําคัญของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนี้ 1. กําหนดให้การจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ ให้จัดตามหลักสูตรที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากําหนด ได้แก่ (1) ประกาศนียบัตรเตรียมอาชีวศึกษา (2) ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (3) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และ (4) ปริญญาตรีสายเทคโนโลยี หรือสายปฏิบัติการ (เดิมกําหนดเพียง (2) – (4) เท่านั้น) 2. ให้ถือว่าสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรเตรียมอาชีวศึกษา ตามหลักสูตรที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากําหนดที่มีอยู่ก่อนวันที่ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับ เป็นการจัดการเรียนการสอนตามร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ อนุมัติงบกลาง 857 ล้านบาท โครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ฯ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ ให้สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 งบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น จํานวน 857,666,500 บาท ตามความเห็นของสํานักงบประมาณ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสําหรับโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ เพื่อสร้างกําลังคนที่มีสมรรถนะสูง สําหรับอุตสาหกรรม New Growth Engine ตามนโยบาย Thailand 4.0 และการปฏิรูปการอุดมศึกษาไทย สาระสําคัญ 1. โครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ เพื่อสร้างกําลังคนที่มีสมรรถนะสูงสําหรับอุตสาหกรรม New Growth Engine ตามนโยบาย Thailand 4.0 และการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย (ปี พ.ศ. 2561 – 2565) มีรายละเอียด ดังนี้ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกําลังคนที่มีสมรรถนะและศักยภาพสูงสําหรับการทํางานในอุตสาหกรรมใหม่สู่ New S-Curve และเป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (New Growth Engines) ของประเทศ 2. เพื่อสร้างฐาน (Platform) การพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งอนาคตโดยปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตบัณฑิต และสร้างต้นแบบของหลักสูตรและการเรียนการสอน โดยเน้นการปรับเปลี่ยนเนื้อหาสาระโครงสร้างหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนการสอน สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติในสภาพจริงเป็นสําคัญ พัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างให้ผู้เรียนมีสมรรถนะและศักยภาพสูง รวมทั้งการร่วมมือกับสถานประกอบการ หรือภาคอุตสาหกรรมในการผลิตบัณฑิตและกําลังคน รายละเอียดกิจกรรม 1. การจัดการศึกษาในระดับประกาศนียบัตร (Non Degree) เป็นการจัดอบรมปรับเปลี่ยนและเพิ่มสมรรถนะและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ตอบโจทย์เฉพาะของสถานประกอบการหรืออุตสาหกรรมร่วมกับภาคการผลิตที่มีระยะเวลาดําเนินการที่ต่อเนื่องไม่ต่ํากว่า 6 เดือน เพื่อผลิตกําลังคนที่ทํางานในสถานประกอบการและผู้ที่ต้องการเรียนรู้สมรรถนะและทักษะเพิ่มเติม อัตราค่าใช้จ่าย 60,000 บาท/คน โดยจะจัดการอบรม จํานวน 3 รุ่น (ปี 2562 – 2564) รวม 37,670 คน 2. การจัดการศึกษาในระดับปริญญา (degree) 2.1 ร่วมมือกับสถานประกอบการในการผลิตบัณฑิต เพื่อต่อยอดการพัฒนาที่ตอบโจทย์การขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมอนาคตพลวัต (New S-Curve) อัตราค่าใช้จ่าย 50,000-200,000 บาทต่อคนต่อปี แล้วแต่หลักสูตร จํานวน 5 รุ่น (ปี 2561 – 2565) รวม 21,460 คน 2.2 การผลิตบัณฑิตด้วยการบูรณาการทักษะชีวิตของสังคมดิจิทัลกับความรู้ในรายวิชาหลักในศาสตร์สาขาวิชาชีพ โดยการพัฒนาการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไปและทักษะชีวิตของสังคมดิจิทัล (General Education) โดยสถาบันจะได้รับการสนับสนุนตามความเหมาะสมในลักษณะงบดําเนินการ ในวงเงินประมาณ 2,396,000 บาท/หลักสูตร จํานวน 10 หลักสูตร ดําเนินการปี 2562 – 2564 ประโยชน์ที่จะได้รับ - ประเทศไทยมีกําลังคนที่มีทักษะ สมรรถนะและศักยภาพสูง เพิ่มขึ้นตามนโยบายประเทศไทย 4.0 - อุตสาหกรรม New Growth Engine ของประเทศสามารถขยายการผลิตและมีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้นในระดับสากล ด้วยการมีกําลังคนระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพสูงและเชี่ยวชาญขั้นสูงตามมาตรฐานสากล - สามารถรักษาฐานการผลิตไว้ในประเทศ เนื่องจากประเทศสามารถผลิตกําลังคนที่เป็นช่างคุณภาพสูงป้อนภาคอุตสาหกรรม ทําให้เพิ่มความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศในการประกอบกิจการ - สถาบันอุดมศึกษาไทยได้ปฏิรูปสู่อุดมศึกษาแห่งอนาคต โดยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ที่มีสมรรถนะและศักยภาพสูง เน้นความร่วมมือกับภาคเอกชนหรือภาคอุตสาหกรรมแบบครบวงจรและเข้มข้นรองรับการพัฒนาประเทศเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 2. สํานักงบประมาณ (สงป.) ได้นําเรื่องดังกล่าวกราบเรียนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบให้ ศธ. โดยสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 งบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น จํานวน 857,666,500 บาท ตามความเห็นของ สงป. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดําเนินการ ดังนี้ งบรายจ่ายอื่น ลักษณะเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป 1. หลักสูตรประกาศนียบัตร (ตุลาคม 2561 – กันยายน 2562) ปี 2562 อัตราค่าใช้จ่าย 60,000 บาท/คน จํานวน 8,337 คน จํานวนเงิน 500,220,000 บาท 2. หลักสูตรปริญญา อัตราค่าใช้จ่าย 50,000 – 200,000 บาทต่อคนต่อปี แล้วแต่หลักสูตร ปี 2561 จํานวน 2,841 คน และปี 2562 จํานวน 3,988 คน แบ่งเป็น 2.1 ปีการศึกษา 2561 (ตุลาคม 2561 - กรกฎาคม 2562) จํานวนเงิน 256,693,000 บาท 2.2 ปีการศึกษา 2562 (สิงหาคม 2562 - กันยายน 2562) จํานวนเงิน 95,961,500 บาท 3. การพัฒนาการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (General Education) (ตุลาคม 2561 - กันยายน 2562) จํานวนเงิน 4,792,000 บาท ปี 2562 อัตราค่าใช้จ่าย 2,396,000 บาท/หลักสูตร จํานวน 2 หลักสูตร รวม 857,666,500 บาท อนุมัติการโอนใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียนนานาชาติเชียงใหม่ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2526 (เรื่อง โรงเรียนนอกกฎหมายของ ดร.คิงส์ จังหวัดเชียงใหม่) จากเดิม ที่อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียนนานาชาติเชียงใหม่ เป็น ให้กระทรวงการต่างประเทศมีอํานาจในการโอนใบอนุญาตดังกล่าวให้แก่มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทยได้ โดยให้กระทรวงศึกษาธิการรับความเห็นของสํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติไปพิจารณาดําเนินการต่อไป อนุมัติการลงนามฯ จัดตั้งศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาของซีมีโอ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ ดังนี้ 1. อนุมัติการจัดทําและลงนามบันทึกความตกลงในการจัดตั้งศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาของซีมีโอที่ประเทศไทย [Memorandum of Agreement between the Government of the Kingdom of Thailand and the Southeast Asian Ministers of Education Organization on the Establishment of the SEAMEO Regional Centre for STEM Education (SEAMEO STEM - ED) in Thailand] ทั้งนี้ หากก่อนลงนามมีความจําเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขบันทึกความตกลงฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสําคัญ ให้ ศธ. หารือกับกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) (กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย) เพื่อพิจารณาดําเนินการในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องนําเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง 2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ลงนามในบันทึกความตกลงในการจัดตั้ง SEAMEO STEM – ED โดยมอบหมายให้ กต. จัดทําหนังสือมอบอํานาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ลงนาม (ยังไม่ได้กําหนดวันลงนาม เนื่องจากจะต้องเวียนร่างบันทึกความตกลงฯ ให้ประเทศสมาชิก เห็นชอบก่อน) โดยเนื้อหาของร่างบันทึกความตกลงฯ ระบุถึงสถานที่ตั้งของศูนย์ฯ อํานาจหน้าที่ของศูนย์ฯ รวมถึงการบริหารจัดการและงบประมาณ ซึ่งการจัดตั้งศูนย์ SEAMEOSTEM - ED ในประเทศไทยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพและสร้างความเข้มแข็งในด้านสะเต็มศึกษา เป็นศูนย์พัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ระดับภูมิภาคด้วยงานวิจัยเกี่ยวกับสะเต็มศึกษาที่มีคุณภาพทั้งในประเทศไทยและในประเทศสมาชิกซีมีโอ ซึ่งมีความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลเรื่องการส่งเสริมสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากร ให้มีคุณภาพสามารถบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรม และคณิตศาสตร์ไปใช้เชื่อมโยง และแก้ปัญหาในชีวิตจริง อีกทั้งจะช่วยเสริมสร้างศักยภาพของประเทศในการเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาในภูมิภาคต่อไป เห็นชอบให้ Les Roches จากสวิสฯ เข้ามาจัดการศึกษาในไทย คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ให้ Asian Institute of Hospitality Management, in Academic Association With Les Roches (เลส์โรช) ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เข้ามาจัดการศึกษาในประเทศไทย ตามความในข้อ 4 แห่งคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 29/2560 เรื่อง การส่งเสริมการจัดการศึกษาโดยสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศ ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2560 ทั้งนี้ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอให้เลส์โรช ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์เข้ามาจัดการศึกษาในประเทศไทย ในหลักสูตรปริญญาตรีสาขาการบริหารธุรกิจการโรงแรม (Bachelor of Business Administration in Global Hospitality Management) โดยจัดตั้งใน 2 พื้นที่ คือ จังหวัดชลบุรีและกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับอุตสาหกรรมการโรงแรมและการท่องเที่ยว ซึ่งเป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพของพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ซึ่งคณะกรรมการพัฒนาการจัดการศึกษาโดยสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศ (คพอต.) ในการประชุมครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2562 พิจารณาแล้วเห็นว่าการเข้ามาจัดการศึกษาของสถาบันฯ ดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ รูปแบบ วิธีการ และเงื่อนไข ในการดําเนินการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศ ตามที่คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติแล้ว (17 ตุลาคม 2560) อนุมัติแต่งตั้งรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้ง นายพีระพล พูลทวี ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ให้ดํารงตําแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตําแหน่งที่ว่าง Written by บัลลังก์ โรหิตเสถียร Rewriter/Editor บัลลังก์ โรหิตเสถียร
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มติ ครม.ด้านการศึกษา 26 ก.พ.2562 วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 มติ ครม.ด้านการศึกษา 26 ก.พ.2562 นายชลํา อรรถธรรม โฆษกกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ 6 เรื่อง มติ ครม.ด้านการศึกษา 26 ก.พ.2562 นายชลํา อรรถธรรม โฆษกกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ 6 เรื่อง คือ - อนุมัติร่าง พ.ร.บ.การอาชีวศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... - อนุมัติงบกลาง 857 ล้านบาท โครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ - อนุมัติการโอนใบอนุญาต จัดตั้งโรงเรียนนานาชาติเชียงใหม่ - อนุมัติการลงนามบันทึกความตกลง จัดตั้งศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาของซีมีโอ - เห็นชอบให้ Les Roches (เลส์โรช) ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เข้ามาจัดการศึกษาในประเทศไทย - อนุมัติแต่งตั้ง รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา อนุมัติร่าง พ.ร.บ.การอาชีวศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ หลักการร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และรับทราบแผนในการจัดทํากฎหมายลําดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสําคัญ ของกฎหมายลําดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ โดยสาระสําคัญของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนี้ 1. กําหนดให้การจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ ให้จัดตามหลักสูตรที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากําหนด ได้แก่ (1) ประกาศนียบัตรเตรียมอาชีวศึกษา (2) ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (3) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และ (4) ปริญญาตรีสายเทคโนโลยี หรือสายปฏิบัติการ (เดิมกําหนดเพียง (2) – (4) เท่านั้น) 2. ให้ถือว่าสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรเตรียมอาชีวศึกษา ตามหลักสูตรที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากําหนดที่มีอยู่ก่อนวันที่ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับ เป็นการจัดการเรียนการสอนตามร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ อนุมัติงบกลาง 857 ล้านบาท โครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ฯ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ ให้สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 งบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น จํานวน 857,666,500 บาท ตามความเห็นของสํานักงบประมาณ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสําหรับโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ เพื่อสร้างกําลังคนที่มีสมรรถนะสูง สําหรับอุตสาหกรรม New Growth Engine ตามนโยบาย Thailand 4.0 และการปฏิรูปการอุดมศึกษาไทย สาระสําคัญ 1. โครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ เพื่อสร้างกําลังคนที่มีสมรรถนะสูงสําหรับอุตสาหกรรม New Growth Engine ตามนโยบาย Thailand 4.0 และการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย (ปี พ.ศ. 2561 – 2565) มีรายละเอียด ดังนี้ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกําลังคนที่มีสมรรถนะและศักยภาพสูงสําหรับการทํางานในอุตสาหกรรมใหม่สู่ New S-Curve และเป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (New Growth Engines) ของประเทศ 2. เพื่อสร้างฐาน (Platform) การพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งอนาคตโดยปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตบัณฑิต และสร้างต้นแบบของหลักสูตรและการเรียนการสอน โดยเน้นการปรับเปลี่ยนเนื้อหาสาระโครงสร้างหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนการสอน สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติในสภาพจริงเป็นสําคัญ พัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างให้ผู้เรียนมีสมรรถนะและศักยภาพสูง รวมทั้งการร่วมมือกับสถานประกอบการ หรือภาคอุตสาหกรรมในการผลิตบัณฑิตและกําลังคน รายละเอียดกิจกรรม 1. การจัดการศึกษาในระดับประกาศนียบัตร (Non Degree) เป็นการจัดอบรมปรับเปลี่ยนและเพิ่มสมรรถนะและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ตอบโจทย์เฉพาะของสถานประกอบการหรืออุตสาหกรรมร่วมกับภาคการผลิตที่มีระยะเวลาดําเนินการที่ต่อเนื่องไม่ต่ํากว่า 6 เดือน เพื่อผลิตกําลังคนที่ทํางานในสถานประกอบการและผู้ที่ต้องการเรียนรู้สมรรถนะและทักษะเพิ่มเติม อัตราค่าใช้จ่าย 60,000 บาท/คน โดยจะจัดการอบรม จํานวน 3 รุ่น (ปี 2562 – 2564) รวม 37,670 คน 2. การจัดการศึกษาในระดับปริญญา (degree) 2.1 ร่วมมือกับสถานประกอบการในการผลิตบัณฑิต เพื่อต่อยอดการพัฒนาที่ตอบโจทย์การขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมอนาคตพลวัต (New S-Curve) อัตราค่าใช้จ่าย 50,000-200,000 บาทต่อคนต่อปี แล้วแต่หลักสูตร จํานวน 5 รุ่น (ปี 2561 – 2565) รวม 21,460 คน 2.2 การผลิตบัณฑิตด้วยการบูรณาการทักษะชีวิตของสังคมดิจิทัลกับความรู้ในรายวิชาหลักในศาสตร์สาขาวิชาชีพ โดยการพัฒนาการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไปและทักษะชีวิตของสังคมดิจิทัล (General Education) โดยสถาบันจะได้รับการสนับสนุนตามความเหมาะสมในลักษณะงบดําเนินการ ในวงเงินประมาณ 2,396,000 บาท/หลักสูตร จํานวน 10 หลักสูตร ดําเนินการปี 2562 – 2564 ประโยชน์ที่จะได้รับ - ประเทศไทยมีกําลังคนที่มีทักษะ สมรรถนะและศักยภาพสูง เพิ่มขึ้นตามนโยบายประเทศไทย 4.0 - อุตสาหกรรม New Growth Engine ของประเทศสามารถขยายการผลิตและมีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้นในระดับสากล ด้วยการมีกําลังคนระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพสูงและเชี่ยวชาญขั้นสูงตามมาตรฐานสากล - สามารถรักษาฐานการผลิตไว้ในประเทศ เนื่องจากประเทศสามารถผลิตกําลังคนที่เป็นช่างคุณภาพสูงป้อนภาคอุตสาหกรรม ทําให้เพิ่มความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศในการประกอบกิจการ - สถาบันอุดมศึกษาไทยได้ปฏิรูปสู่อุดมศึกษาแห่งอนาคต โดยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ที่มีสมรรถนะและศักยภาพสูง เน้นความร่วมมือกับภาคเอกชนหรือภาคอุตสาหกรรมแบบครบวงจรและเข้มข้นรองรับการพัฒนาประเทศเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 2. สํานักงบประมาณ (สงป.) ได้นําเรื่องดังกล่าวกราบเรียนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบให้ ศธ. โดยสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 งบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น จํานวน 857,666,500 บาท ตามความเห็นของ สงป. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดําเนินการ ดังนี้ งบรายจ่ายอื่น ลักษณะเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป 1. หลักสูตรประกาศนียบัตร (ตุลาคม 2561 – กันยายน 2562) ปี 2562 อัตราค่าใช้จ่าย 60,000 บาท/คน จํานวน 8,337 คน จํานวนเงิน 500,220,000 บาท 2. หลักสูตรปริญญา อัตราค่าใช้จ่าย 50,000 – 200,000 บาทต่อคนต่อปี แล้วแต่หลักสูตร ปี 2561 จํานวน 2,841 คน และปี 2562 จํานวน 3,988 คน แบ่งเป็น 2.1 ปีการศึกษา 2561 (ตุลาคม 2561 - กรกฎาคม 2562) จํานวนเงิน 256,693,000 บาท 2.2 ปีการศึกษา 2562 (สิงหาคม 2562 - กันยายน 2562) จํานวนเงิน 95,961,500 บาท 3. การพัฒนาการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (General Education) (ตุลาคม 2561 - กันยายน 2562) จํานวนเงิน 4,792,000 บาท ปี 2562 อัตราค่าใช้จ่าย 2,396,000 บาท/หลักสูตร จํานวน 2 หลักสูตร รวม 857,666,500 บาท อนุมัติการโอนใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียนนานาชาติเชียงใหม่ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2526 (เรื่อง โรงเรียนนอกกฎหมายของ ดร.คิงส์ จังหวัดเชียงใหม่) จากเดิม ที่อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียนนานาชาติเชียงใหม่ เป็น ให้กระทรวงการต่างประเทศมีอํานาจในการโอนใบอนุญาตดังกล่าวให้แก่มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทยได้ โดยให้กระทรวงศึกษาธิการรับความเห็นของสํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติไปพิจารณาดําเนินการต่อไป อนุมัติการลงนามฯ จัดตั้งศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาของซีมีโอ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ ดังนี้ 1. อนุมัติการจัดทําและลงนามบันทึกความตกลงในการจัดตั้งศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาของซีมีโอที่ประเทศไทย [Memorandum of Agreement between the Government of the Kingdom of Thailand and the Southeast Asian Ministers of Education Organization on the Establishment of the SEAMEO Regional Centre for STEM Education (SEAMEO STEM - ED) in Thailand] ทั้งนี้ หากก่อนลงนามมีความจําเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขบันทึกความตกลงฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสําคัญ ให้ ศธ. หารือกับกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) (กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย) เพื่อพิจารณาดําเนินการในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องนําเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง 2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ลงนามในบันทึกความตกลงในการจัดตั้ง SEAMEO STEM – ED โดยมอบหมายให้ กต. จัดทําหนังสือมอบอํานาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ลงนาม (ยังไม่ได้กําหนดวันลงนาม เนื่องจากจะต้องเวียนร่างบันทึกความตกลงฯ ให้ประเทศสมาชิก เห็นชอบก่อน) โดยเนื้อหาของร่างบันทึกความตกลงฯ ระบุถึงสถานที่ตั้งของศูนย์ฯ อํานาจหน้าที่ของศูนย์ฯ รวมถึงการบริหารจัดการและงบประมาณ ซึ่งการจัดตั้งศูนย์ SEAMEOSTEM - ED ในประเทศไทยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพและสร้างความเข้มแข็งในด้านสะเต็มศึกษา เป็นศูนย์พัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ระดับภูมิภาคด้วยงานวิจัยเกี่ยวกับสะเต็มศึกษาที่มีคุณภาพทั้งในประเทศไทยและในประเทศสมาชิกซีมีโอ ซึ่งมีความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลเรื่องการส่งเสริมสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากร ให้มีคุณภาพสามารถบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรม และคณิตศาสตร์ไปใช้เชื่อมโยง และแก้ปัญหาในชีวิตจริง อีกทั้งจะช่วยเสริมสร้างศักยภาพของประเทศในการเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาในภูมิภาคต่อไป เห็นชอบให้ Les Roches จากสวิสฯ เข้ามาจัดการศึกษาในไทย คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ให้ Asian Institute of Hospitality Management, in Academic Association With Les Roches (เลส์โรช) ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เข้ามาจัดการศึกษาในประเทศไทย ตามความในข้อ 4 แห่งคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 29/2560 เรื่อง การส่งเสริมการจัดการศึกษาโดยสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศ ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2560 ทั้งนี้ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอให้เลส์โรช ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์เข้ามาจัดการศึกษาในประเทศไทย ในหลักสูตรปริญญาตรีสาขาการบริหารธุรกิจการโรงแรม (Bachelor of Business Administration in Global Hospitality Management) โดยจัดตั้งใน 2 พื้นที่ คือ จังหวัดชลบุรีและกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับอุตสาหกรรมการโรงแรมและการท่องเที่ยว ซึ่งเป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพของพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ซึ่งคณะกรรมการพัฒนาการจัดการศึกษาโดยสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศ (คพอต.) ในการประชุมครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2562 พิจารณาแล้วเห็นว่าการเข้ามาจัดการศึกษาของสถาบันฯ ดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ รูปแบบ วิธีการ และเงื่อนไข ในการดําเนินการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศ ตามที่คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติแล้ว (17 ตุลาคม 2560) อนุมัติแต่งตั้งรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้ง นายพีระพล พูลทวี ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ให้ดํารงตําแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตําแหน่งที่ว่าง Written by บัลลังก์ โรหิตเสถียร Rewriter/Editor บัลลังก์ โรหิตเสถียร
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/19048
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธ.ก.ส.จัดตลาดของดี SMEs เกษตรไทย
วันพุธที่ 2 สิงหาคม 2560 ธ.ก.ส.จัดตลาดของดี SMEs เกษตรไทย ธ.ก.ส. จัด“ตลาดของดี SMEs เกษตรไทย” ณ ตลาดคลองผดุงกรุงเกษมข้างทําเนียบรัฐบาล วันที่ 4-27 สิงหาคม 2560 นําสินค้าจากผู้ผลิตส่งตรงถึงมือผู้บริโภค วันนี้ เวลา 9.30 น. (2 สิงหาคม 2560) ณ ศูนย์แถลงข่าว ตึกนารีสโมสร ทําเนียบรัฐบาล นางสาวเรณู ตังคจิวางกูร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง พร้อมด้วย นายสุรพงศ์ นิลพันธุ์ รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร่วมแถลงข่าวการจัด “ตลาดของดี SMEs เกษตรไทย” บริเวณริมคลองผดุงกรุงเกษม ข้างทําเนียบรัฐบาล ระหว่างวันที่ 4 -27 สิงหาคม 2560 ตั้งแต่เวลา 9.00-19.00 น. นางสาวเรณู ตังคจิวางกูร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสําคัญในการพัฒนาช่องทางการตลาดสินค้าต่าง ๆ ตามแนวคิดของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยที่ผ่านมามีหน่วยงานต่างๆ ร่วมจัดงานบริเวณริมคลองผดุงกรุงเกษม ข้างทําเนียบรัฐบาล ด้วยดีเสมอมา เช่น ตลอดทั้งเดือนกรกฎาคม 2560 กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เป็นเจ้าภาพหลักร่วมกับบริษัทประชารัฐสามัคคี จํากัด พร้อมผู้ประกอบการที่สนับสนุนโครงการดังกล่าว ซึ่งตลอดเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วไปเข้าชมงานกว่า 300,000 ราย มีการจับจ่ายใช้สอยภายในงานกว่า 250 ล้านบาท และส่งมอบต่อให้ ธ.ก.ส.ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพหลักในเดือนสิงหาคม 2560 ภายใต้กรอบแนวคิด “ยกระดับ SMEs ไทยก้าวไกล สู่สากล” จัดขึ้นวันที่ 4-27 สิงหาคม 2560 เปิดให้ชม ชิม ช้อปได้ตั้งแต่เวลา 09.00-19.00 น. และจะมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 4 สิงหาคม 2560 เวลา 13.30 น. ขอเชิญชวนประชาชนมาร่วม ชม ชิม ช้อปและสนับสนุนผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตถึงผู้บริโภคโดยตรงอันจะก่อให้เกิดรายได้จํานวนมากกระจายไปยังผู้ประกอบการอย่างแท้จริง ส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจฐานรากอีกด้วย นายสุรพงศ์ นิลพันธุ์ รองผู้จัดการ ธ.ก.ส. เปิดเผยว่า “ธ.ก.ส.พร้อมดําเนินนโยบายเกษตรยุคใหม่ตามแนวทางประชารัฐของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการผลักดัน SMEs ไทยสู่ยุคเกษตร 4.0 ขับเคลื่อนนวัตกรรมการผลิตอย่างพิถีพิถันด้วยภูมิปัญญาของคนไทย โดย ธ.ก.ส. นําสินค้าคุณภาพจากผู้ผลิตส่งตรงถึงผู้บริโภค ในงานตลาดของดี SMEs เกษตรไทย ซึ่งจัดขึ้นวันที่ 4-27 สิงหาคม 2560 ณ ตลาดคลองผดุงกรุงเกษม ข้างทําเนียบรัฐบาล โดยจัดร้านค้าภายในงานสัปดาห์ละ 135 บูธ สลับหมุนเวียนจําหน่ายสินค้ากว่า 500 ร้านค้า ตลอดระยะเวลา 4 สัปดาห์ ประกอบด้วย ลูกค้า SMEs เกษตร ลูกค้าประชารัฐ และเครือข่ายส่วนงานภายนอก ได้แก่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด และ บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จํากัด (มหาชน) พร้อมเสริมความรู้ด้านการตลาดให้แก่ลูกค้า SMEs โดยผู้ทรงคุณวุฒิ” สําหรับรูปแบบการจัดงาน แบ่งเป็น 4 สัปดาห์ โดยสัปดาห์แรก วันที่ 4-9 สิงหาคม 2560 จัดในธีม SMEs สู่เศรษฐกิจไทย นําเสนอ โซนจัดแสดงร้านค้า ลูกค้าSMEs เกษตรของ ธ.ก.ส. ที่มีระบบแฟรนไชส์ สัปดาห์ที่สอง วันที่ 10-15 สิงหาคม 2560 จัดในธีม Gift for Mom ของขวัญวันแม่ นําเสนอโซนสินค้าที่สามารถนําไปเป็นของขวัญวันแม่ได้ อาทิ ผ้าไหม เครื่องประดับ สินค้าหัตถกรรม และสมุนไพร เป็นต้น สัปดาห์ที่สาม วันที่ 16-21 สิงหาคม 2560 จัดในธีม Thai Idea Gift Fest แกะกล่องไอเดียไทย ก้าวไกลสู่อนาคต นําเสนอโซนจําหน่ายสินค้า SMEs เกษตร ที่มีนวัตกรรมและสามารถนําไปเป็นของฝากได้ อาทิ สินค้าที่มี Package สวยงาม ขนมอบแห้ง และสินค้า Premium ต่างๆ เป็นต้น และในสัปดาห์สุดท้าย สัปดาห์ที่ 4 วันที่ 22-27 สิงหาคม 2560 จัดในธีม Fruit Fun Fresh ช้อปเพลินผลไม้ดี วิถีไทย นําเสนอโซนการจําหน่ายสินค้าเด่นจากแต่ละท้องถิ่น ผลไม้สดจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ และผลไม้แปรรูปที่มี Package สวยงามสามารถนําไปเป็นของฝากได้ กิจกรรมภายในงาน นอกจากจําหน่ายสินค้า SMEs เกษตรและอาหารแล้ว ยังมีกิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ผู้ร่วมงาน และประชาชนทั่วไป เช่น ความรู้ทางการเงินและความรู้ด้านการประกอบอาชีพ กิจกรรมส่งเสริมการขาย โปรโมชั่นสินค้าราคาพิเศษ บูธให้คําปรึกษาสินเชื่อจากธนาคาร พิเศษ! ตลอดงาน บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด ให้บริการรับ-ส่งของขวัญวันแม่ภายในงาน แจกการ์ด และถ่ายภาพทําตราไปรษณียากรพิเศษให้แก่คู่แม่ลูกที่เข้าร่วมกิจกรรม นอกจากนั้น บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จํากัด (มหาชน) ยังจัดตรวจสุขภาพให้แก่คุณแม่ในช่วงวันแม่ คือวันที่ 12-13 สิงหาคม 2560 อีกด้วย “ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนมาเที่ยว ชม ชิม ช้อป งานตลาดของดี SMEs เกษตรไทย ณ ตลาดคลองผดุงกรุงเกษม ข้างทําเนียบรัฐบาล ร่วมสร้างกําลังใจให้กับพี่น้องผู้ผลิต และผู้ประกอบการ SMEs เกษตรสนับสนุนเศรษฐกิจฐานราก ในวันที่ 4-27 สิงหาคม 2560 กันเยอะๆ นะครับ” นายสุรพงศ์ กล่าวทิ้งท้าย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธ.ก.ส.จัดตลาดของดี SMEs เกษตรไทย วันพุธที่ 2 สิงหาคม 2560 ธ.ก.ส.จัดตลาดของดี SMEs เกษตรไทย ธ.ก.ส. จัด“ตลาดของดี SMEs เกษตรไทย” ณ ตลาดคลองผดุงกรุงเกษมข้างทําเนียบรัฐบาล วันที่ 4-27 สิงหาคม 2560 นําสินค้าจากผู้ผลิตส่งตรงถึงมือผู้บริโภค วันนี้ เวลา 9.30 น. (2 สิงหาคม 2560) ณ ศูนย์แถลงข่าว ตึกนารีสโมสร ทําเนียบรัฐบาล นางสาวเรณู ตังคจิวางกูร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง พร้อมด้วย นายสุรพงศ์ นิลพันธุ์ รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร่วมแถลงข่าวการจัด “ตลาดของดี SMEs เกษตรไทย” บริเวณริมคลองผดุงกรุงเกษม ข้างทําเนียบรัฐบาล ระหว่างวันที่ 4 -27 สิงหาคม 2560 ตั้งแต่เวลา 9.00-19.00 น. นางสาวเรณู ตังคจิวางกูร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสําคัญในการพัฒนาช่องทางการตลาดสินค้าต่าง ๆ ตามแนวคิดของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยที่ผ่านมามีหน่วยงานต่างๆ ร่วมจัดงานบริเวณริมคลองผดุงกรุงเกษม ข้างทําเนียบรัฐบาล ด้วยดีเสมอมา เช่น ตลอดทั้งเดือนกรกฎาคม 2560 กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เป็นเจ้าภาพหลักร่วมกับบริษัทประชารัฐสามัคคี จํากัด พร้อมผู้ประกอบการที่สนับสนุนโครงการดังกล่าว ซึ่งตลอดเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วไปเข้าชมงานกว่า 300,000 ราย มีการจับจ่ายใช้สอยภายในงานกว่า 250 ล้านบาท และส่งมอบต่อให้ ธ.ก.ส.ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพหลักในเดือนสิงหาคม 2560 ภายใต้กรอบแนวคิด “ยกระดับ SMEs ไทยก้าวไกล สู่สากล” จัดขึ้นวันที่ 4-27 สิงหาคม 2560 เปิดให้ชม ชิม ช้อปได้ตั้งแต่เวลา 09.00-19.00 น. และจะมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 4 สิงหาคม 2560 เวลา 13.30 น. ขอเชิญชวนประชาชนมาร่วม ชม ชิม ช้อปและสนับสนุนผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตถึงผู้บริโภคโดยตรงอันจะก่อให้เกิดรายได้จํานวนมากกระจายไปยังผู้ประกอบการอย่างแท้จริง ส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจฐานรากอีกด้วย นายสุรพงศ์ นิลพันธุ์ รองผู้จัดการ ธ.ก.ส. เปิดเผยว่า “ธ.ก.ส.พร้อมดําเนินนโยบายเกษตรยุคใหม่ตามแนวทางประชารัฐของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการผลักดัน SMEs ไทยสู่ยุคเกษตร 4.0 ขับเคลื่อนนวัตกรรมการผลิตอย่างพิถีพิถันด้วยภูมิปัญญาของคนไทย โดย ธ.ก.ส. นําสินค้าคุณภาพจากผู้ผลิตส่งตรงถึงผู้บริโภค ในงานตลาดของดี SMEs เกษตรไทย ซึ่งจัดขึ้นวันที่ 4-27 สิงหาคม 2560 ณ ตลาดคลองผดุงกรุงเกษม ข้างทําเนียบรัฐบาล โดยจัดร้านค้าภายในงานสัปดาห์ละ 135 บูธ สลับหมุนเวียนจําหน่ายสินค้ากว่า 500 ร้านค้า ตลอดระยะเวลา 4 สัปดาห์ ประกอบด้วย ลูกค้า SMEs เกษตร ลูกค้าประชารัฐ และเครือข่ายส่วนงานภายนอก ได้แก่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด และ บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จํากัด (มหาชน) พร้อมเสริมความรู้ด้านการตลาดให้แก่ลูกค้า SMEs โดยผู้ทรงคุณวุฒิ” สําหรับรูปแบบการจัดงาน แบ่งเป็น 4 สัปดาห์ โดยสัปดาห์แรก วันที่ 4-9 สิงหาคม 2560 จัดในธีม SMEs สู่เศรษฐกิจไทย นําเสนอ โซนจัดแสดงร้านค้า ลูกค้าSMEs เกษตรของ ธ.ก.ส. ที่มีระบบแฟรนไชส์ สัปดาห์ที่สอง วันที่ 10-15 สิงหาคม 2560 จัดในธีม Gift for Mom ของขวัญวันแม่ นําเสนอโซนสินค้าที่สามารถนําไปเป็นของขวัญวันแม่ได้ อาทิ ผ้าไหม เครื่องประดับ สินค้าหัตถกรรม และสมุนไพร เป็นต้น สัปดาห์ที่สาม วันที่ 16-21 สิงหาคม 2560 จัดในธีม Thai Idea Gift Fest แกะกล่องไอเดียไทย ก้าวไกลสู่อนาคต นําเสนอโซนจําหน่ายสินค้า SMEs เกษตร ที่มีนวัตกรรมและสามารถนําไปเป็นของฝากได้ อาทิ สินค้าที่มี Package สวยงาม ขนมอบแห้ง และสินค้า Premium ต่างๆ เป็นต้น และในสัปดาห์สุดท้าย สัปดาห์ที่ 4 วันที่ 22-27 สิงหาคม 2560 จัดในธีม Fruit Fun Fresh ช้อปเพลินผลไม้ดี วิถีไทย นําเสนอโซนการจําหน่ายสินค้าเด่นจากแต่ละท้องถิ่น ผลไม้สดจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ และผลไม้แปรรูปที่มี Package สวยงามสามารถนําไปเป็นของฝากได้ กิจกรรมภายในงาน นอกจากจําหน่ายสินค้า SMEs เกษตรและอาหารแล้ว ยังมีกิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ผู้ร่วมงาน และประชาชนทั่วไป เช่น ความรู้ทางการเงินและความรู้ด้านการประกอบอาชีพ กิจกรรมส่งเสริมการขาย โปรโมชั่นสินค้าราคาพิเศษ บูธให้คําปรึกษาสินเชื่อจากธนาคาร พิเศษ! ตลอดงาน บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด ให้บริการรับ-ส่งของขวัญวันแม่ภายในงาน แจกการ์ด และถ่ายภาพทําตราไปรษณียากรพิเศษให้แก่คู่แม่ลูกที่เข้าร่วมกิจกรรม นอกจากนั้น บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จํากัด (มหาชน) ยังจัดตรวจสุขภาพให้แก่คุณแม่ในช่วงวันแม่ คือวันที่ 12-13 สิงหาคม 2560 อีกด้วย “ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนมาเที่ยว ชม ชิม ช้อป งานตลาดของดี SMEs เกษตรไทย ณ ตลาดคลองผดุงกรุงเกษม ข้างทําเนียบรัฐบาล ร่วมสร้างกําลังใจให้กับพี่น้องผู้ผลิต และผู้ประกอบการ SMEs เกษตรสนับสนุนเศรษฐกิจฐานราก ในวันที่ 4-27 สิงหาคม 2560 กันเยอะๆ นะครับ” นายสุรพงศ์ กล่าวทิ้งท้าย
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/5647
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สคร. จัดงานมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น ปี 2562 “พลังรัฐวิสาหกิจไทย สู่มิติใหม่ด้วยดิจิทัล”
วันอังคารที่ 24 ธันวาคม 2562 สคร. จัดงานมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น ปี 2562 “พลังรัฐวิสาหกิจไทย สู่มิติใหม่ด้วยดิจิทัล” สคร.จัดงานมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นประจําปี 2562 ภายใต้แนวคิด “พลังรัฐวิสาหกิจไทย สู่มิติใหม่ด้วยดิจิทัล” โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในงาน พร้อมทั้งมอบรางวัลและมอบนโยบายให้แก่รัฐวิสาหกิจ สํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) จัดงานมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นประจําปี 2562 ภายใต้แนวคิด “พลังรัฐวิสาหกิจไทย สู่มิติใหม่ด้วยดิจิทัล” โดยมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีให้เกียรติเป็นประธานในงาน พร้อมทั้งมอบรางวัลและมอบนโยบายให้แก่รัฐวิสาหกิจ เมื่อวันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2562 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ โดยการจัดงานในปีนี้มีการมอบรางวัลทั้งสิ้น 10 ประเภทรางวัล นายประภาศ คงเอียด ผู้อํานวยการ สคร. เปิดเผยว่า สคร. ได้มีการจัดงานมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น หรือ SOE Award อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกําลังใจในการปฏิบัติงานของรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจมีความมุ่งมั่นในการดําเนินงานเพื่อพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพและนําองค์กรสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งได้รับการตอบรับในการเข้าร่วมงานจากรัฐวิสาหกิจและผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดีตลอดมา โดยการจัดงานในปีนี้ ภายใต้แนวคิด “พลังรัฐวิสาหกิจไทย สู่มิติใหม่ด้วยดิจิทัล” ก็เพื่อเป็นการสนับสนุนรัฐวิสาหกิจที่มีความโดดเด่นในการสร้างสรรค์และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาองค์กรในมิติต่างๆ ให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้อย่างสะดวกรวดเร็ว สําหรับผลรางวัล SOE Award ประจําปี 2562 ทั้ง 10 ประเภทรางวัล มีดังนี้ 1. รางวัลคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจดีเด่น ได้แก่ การประปานครหลวง บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) และ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 2. รางวัลการบริหารจัดการองค์กรดีเด่น (1) ประเภทเกียรติยศ ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับรางวัลประเภทเกียรติยศติดต่อกันเป็นปีที่ 2 (รางวัลการบริหารจัดการองค์กรดีเด่นติดต่อกันเป็นปีที่ 4) (2) ประเภทดีเด่น ได้แก่ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน และการไฟฟ้านครหลวง 3. รางวัลการพัฒนาองค์กรดีเด่น 3.1 ภาพรวม ได้แก่ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ 3.2 ด้านการตรวจสอบภายใน ได้แก่ บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จํากัด 3.3 ด้านการบริหารจัดการสารสนเทศและดิจิทัล ได้แก่ การยางแห่งประเทศไทย 3.4 ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ได้แก่ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย 4. รางวัลผู้นําองค์กรดีเด่น ได้แก่ นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ 5. รางวัลการเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใสดีเด่น ได้แก่ บริษัท ปตท จํากัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 6. รางวัลการดําเนินงานเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมดีเด่น (1) ประเภทดีเด่น ได้แก่ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (2) ประเภทชมเชย ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง 7. รางวัลความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมดีเด่น แบ่งรางวัลเป็น 2 ด้าน ประกอบด้วย 7.1 ด้านความคิดสร้างสรรค์ (1) ประเภทดีเด่น ได้แก่ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) (2) ประเภทชมเชย ได้แก่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด 7.2 ด้านนวัตกรรม (1) ประเภทดีเด่น ได้แก่ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และการประปาส่วนภูมิภาค (2) ประเภทชมเชย ได้แก่ การประปานครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย 8. รางวัลความร่วมมือเพื่อการพัฒนาดีเด่น แบ่งเป็น 2 ด้าน ประกอบด้วย 8.1 ด้านการยกระดับการบริหารจัดการองค์กร หรือโครงการพี่เลี้ยง (1) ประเภทดีเด่น จํานวน 2 คู่รัฐวิสาหกิจ คู่ที่ 1 ได้แก่ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) และการรถไฟแห่งประเทศไทย คู่ที่ 2 ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง และองค์การตลาด (2) ประเภทชมเชย จํานวน 2 คู่รัฐวิสาหกิจ คู่ที่ 1 ได้แก่ การประปานครหลวง และองค์การสวนพฤกษศาสตร์ คู่ที่ 2 ได้แก่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และองค์การสะพานปลา 8.2 ด้านความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ – ไม่มีผู้ได้รับรางวัล – 9. รางวัลการพัฒนาสู่รัฐวิสาหกิจดิจิทัล (1) ประเภทดีเด่น – ไม่มีผู้ได้รับรางวัล – (2) ประเภทเชิดชูเกียรติ ได้แก่ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 10. รางวัลรัฐวิสาหกิจยอดเยี่ยมประจําปี 2562 ได้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และธนาคารอาคารสงเคราะห์
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สคร. จัดงานมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น ปี 2562 “พลังรัฐวิสาหกิจไทย สู่มิติใหม่ด้วยดิจิทัล” วันอังคารที่ 24 ธันวาคม 2562 สคร. จัดงานมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น ปี 2562 “พลังรัฐวิสาหกิจไทย สู่มิติใหม่ด้วยดิจิทัล” สคร.จัดงานมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นประจําปี 2562 ภายใต้แนวคิด “พลังรัฐวิสาหกิจไทย สู่มิติใหม่ด้วยดิจิทัล” โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในงาน พร้อมทั้งมอบรางวัลและมอบนโยบายให้แก่รัฐวิสาหกิจ สํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) จัดงานมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นประจําปี 2562 ภายใต้แนวคิด “พลังรัฐวิสาหกิจไทย สู่มิติใหม่ด้วยดิจิทัล” โดยมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีให้เกียรติเป็นประธานในงาน พร้อมทั้งมอบรางวัลและมอบนโยบายให้แก่รัฐวิสาหกิจ เมื่อวันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2562 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ โดยการจัดงานในปีนี้มีการมอบรางวัลทั้งสิ้น 10 ประเภทรางวัล นายประภาศ คงเอียด ผู้อํานวยการ สคร. เปิดเผยว่า สคร. ได้มีการจัดงานมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น หรือ SOE Award อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกําลังใจในการปฏิบัติงานของรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจมีความมุ่งมั่นในการดําเนินงานเพื่อพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพและนําองค์กรสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งได้รับการตอบรับในการเข้าร่วมงานจากรัฐวิสาหกิจและผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดีตลอดมา โดยการจัดงานในปีนี้ ภายใต้แนวคิด “พลังรัฐวิสาหกิจไทย สู่มิติใหม่ด้วยดิจิทัล” ก็เพื่อเป็นการสนับสนุนรัฐวิสาหกิจที่มีความโดดเด่นในการสร้างสรรค์และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาองค์กรในมิติต่างๆ ให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้อย่างสะดวกรวดเร็ว สําหรับผลรางวัล SOE Award ประจําปี 2562 ทั้ง 10 ประเภทรางวัล มีดังนี้ 1. รางวัลคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจดีเด่น ได้แก่ การประปานครหลวง บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) และ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 2. รางวัลการบริหารจัดการองค์กรดีเด่น (1) ประเภทเกียรติยศ ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับรางวัลประเภทเกียรติยศติดต่อกันเป็นปีที่ 2 (รางวัลการบริหารจัดการองค์กรดีเด่นติดต่อกันเป็นปีที่ 4) (2) ประเภทดีเด่น ได้แก่ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน และการไฟฟ้านครหลวง 3. รางวัลการพัฒนาองค์กรดีเด่น 3.1 ภาพรวม ได้แก่ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ 3.2 ด้านการตรวจสอบภายใน ได้แก่ บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จํากัด 3.3 ด้านการบริหารจัดการสารสนเทศและดิจิทัล ได้แก่ การยางแห่งประเทศไทย 3.4 ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ได้แก่ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย 4. รางวัลผู้นําองค์กรดีเด่น ได้แก่ นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ 5. รางวัลการเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใสดีเด่น ได้แก่ บริษัท ปตท จํากัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 6. รางวัลการดําเนินงานเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมดีเด่น (1) ประเภทดีเด่น ได้แก่ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (2) ประเภทชมเชย ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง 7. รางวัลความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมดีเด่น แบ่งรางวัลเป็น 2 ด้าน ประกอบด้วย 7.1 ด้านความคิดสร้างสรรค์ (1) ประเภทดีเด่น ได้แก่ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) (2) ประเภทชมเชย ได้แก่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด 7.2 ด้านนวัตกรรม (1) ประเภทดีเด่น ได้แก่ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และการประปาส่วนภูมิภาค (2) ประเภทชมเชย ได้แก่ การประปานครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย 8. รางวัลความร่วมมือเพื่อการพัฒนาดีเด่น แบ่งเป็น 2 ด้าน ประกอบด้วย 8.1 ด้านการยกระดับการบริหารจัดการองค์กร หรือโครงการพี่เลี้ยง (1) ประเภทดีเด่น จํานวน 2 คู่รัฐวิสาหกิจ คู่ที่ 1 ได้แก่ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) และการรถไฟแห่งประเทศไทย คู่ที่ 2 ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง และองค์การตลาด (2) ประเภทชมเชย จํานวน 2 คู่รัฐวิสาหกิจ คู่ที่ 1 ได้แก่ การประปานครหลวง และองค์การสวนพฤกษศาสตร์ คู่ที่ 2 ได้แก่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และองค์การสะพานปลา 8.2 ด้านความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ – ไม่มีผู้ได้รับรางวัล – 9. รางวัลการพัฒนาสู่รัฐวิสาหกิจดิจิทัล (1) ประเภทดีเด่น – ไม่มีผู้ได้รับรางวัล – (2) ประเภทเชิดชูเกียรติ ได้แก่ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 10. รางวัลรัฐวิสาหกิจยอดเยี่ยมประจําปี 2562 ได้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และธนาคารอาคารสงเคราะห์
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/25423
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“อลงกรณ์” ลุยด่านระนอง กำชับคุมเข้มสัตว์น้ำต่างชาติทะลักเข้าไทย
วันศุกร์ที่ 24 มกราคม 2563 “อลงกรณ์” ลุยด่านระนอง กําชับคุมเข้มสัตว์น้ําต่างชาติทะลักเข้าไทย “อลงกรณ์” ลุยด่านระนอง กําชับคุมเข้มสัตว์น้ําต่างชาติทะลักเข้าไทย พร้อมแก้ปัญหาราคาสัตว์น้ําในประเทศไทย นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายมนัส กําเนิดมณี ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสุวิทย์ คชสิงห์ ผู้ตรวจราชการกรมประมงและคณะ เดินทางลงพื้นที่จังหวัดระนอง เพื่อตรวจด่านประมงและตลาดซื้อขายสัตว์น้ํา พร้อมกับประชุมหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ณ สํานักงานวิจัยประมงทะเล โดยเน้นย้ําการแก้ไขปัญหาการทําประมงผิดกฏหมาย และการแก้ไขปัญหาราคาสัตว์น้ําในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการนําเข้าสัตว์น้ําจากต่างประเทศ และได้กําชับให้ด่านประมงเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจตราการนําเข้าสัตว์น้ําชายแดน ทั้งนี้ ยังได้มอบนโยบายในปี 2563 ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน) เรื่องการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) ในทุกจังหวัดรวมทั้งระนอง และโครงการรณรงค์กําจัดขยะในทะเล (Sea Zero Waste) อีกทั้งยังได้พบปะกับผู้ประกอบการแพปลา ตัวแทนชาวประมง และนายกสมาคมกุ้งทะเลระนอง เพื่อสอบถามปัญหาและแนวทางในการทํางานร่วมกัน เพื่อพัฒนาศักยภาพประมงภายในพื้นที่ จ.ระนอง ต่อไป โทร 02-2810859 แฟกซ์ 02-2822871 [email protected] www.moac.go.th www.facebook.com/kasetthai
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“อลงกรณ์” ลุยด่านระนอง กำชับคุมเข้มสัตว์น้ำต่างชาติทะลักเข้าไทย วันศุกร์ที่ 24 มกราคม 2563 “อลงกรณ์” ลุยด่านระนอง กําชับคุมเข้มสัตว์น้ําต่างชาติทะลักเข้าไทย “อลงกรณ์” ลุยด่านระนอง กําชับคุมเข้มสัตว์น้ําต่างชาติทะลักเข้าไทย พร้อมแก้ปัญหาราคาสัตว์น้ําในประเทศไทย นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายมนัส กําเนิดมณี ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสุวิทย์ คชสิงห์ ผู้ตรวจราชการกรมประมงและคณะ เดินทางลงพื้นที่จังหวัดระนอง เพื่อตรวจด่านประมงและตลาดซื้อขายสัตว์น้ํา พร้อมกับประชุมหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ณ สํานักงานวิจัยประมงทะเล โดยเน้นย้ําการแก้ไขปัญหาการทําประมงผิดกฏหมาย และการแก้ไขปัญหาราคาสัตว์น้ําในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการนําเข้าสัตว์น้ําจากต่างประเทศ และได้กําชับให้ด่านประมงเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจตราการนําเข้าสัตว์น้ําชายแดน ทั้งนี้ ยังได้มอบนโยบายในปี 2563 ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน) เรื่องการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) ในทุกจังหวัดรวมทั้งระนอง และโครงการรณรงค์กําจัดขยะในทะเล (Sea Zero Waste) อีกทั้งยังได้พบปะกับผู้ประกอบการแพปลา ตัวแทนชาวประมง และนายกสมาคมกุ้งทะเลระนอง เพื่อสอบถามปัญหาและแนวทางในการทํางานร่วมกัน เพื่อพัฒนาศักยภาพประมงภายในพื้นที่ จ.ระนอง ต่อไป โทร 02-2810859 แฟกซ์ 02-2822871 [email protected] www.moac.go.th www.facebook.com/kasetthai
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/26017
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ประชุมคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ครั้งที่ 1/2562
วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 ประชุมคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ครั้งที่ 1/2562 นายสันติ กีระนันทน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ครั้งที่ 1/2562 โดยมีผู้ช่วยรัฐมนตรีทุกกระทรวงเข้าร่วมประชุม เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 62 นายสันติ กีระนันทน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ครั้งที่ 1/2562 โดยมีผู้ช่วยรัฐมนตรีทุกกระทรวงเข้าร่วมประชุม พร้อมด้วยนายศิริรุจ จุลกะรัตน์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายสุรพลชามาตย์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมด้วย ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 อาคารสํานักปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ประชุมคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ครั้งที่ 1/2562 วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 ประชุมคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ครั้งที่ 1/2562 นายสันติ กีระนันทน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ครั้งที่ 1/2562 โดยมีผู้ช่วยรัฐมนตรีทุกกระทรวงเข้าร่วมประชุม เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 62 นายสันติ กีระนันทน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ครั้งที่ 1/2562 โดยมีผู้ช่วยรัฐมนตรีทุกกระทรวงเข้าร่วมประชุม พร้อมด้วยนายศิริรุจ จุลกะรัตน์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายสุรพลชามาตย์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมด้วย ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 อาคารสํานักปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/18509
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 12 มีนาคม 2563
วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจําวันที่ 12 มีนาคม 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจําวันที่ 12 มีนาคม 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ประจําวันที่12 มีนาคม 2563 1.สถานการณ์ ถึงวันที่12 มีนาคม 2563 ณ เวลา 08.00 น. 1. ผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรักษาในโรงพยาบาล 34 ราย กลับบ้านแล้ว 35 ราย เสียชีวิต 1 ราย รวมสะสม 70 ราย 2. ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม – 11 มีนาคม 2563 มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนต้องเฝ้าระวังสะสมทั้งหมด 5,232 ราย คัดกรองจากทุกด่าน 219 ราย มารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอง 5,013 ราย อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้วและอยู่ระหว่างติดตามอาการ 3,865 ราย ส่วนใหญ่เป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ยังคงรักษาในโรงพยาบาล 1,367 ราย 3. สถานการณ์ทั่วโลกใน 121 ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษ 1 เรือสําราญ ข้อมูลตั้งแต่ 5 มกราคม – 12 มีนาคม 2563 (07.00 น.) พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจํานวน 121,996 ราย เสียชีวิต 4,390 ราย ส่วนประเทศจีนพบผู้ป่วย 80,790 ราย เสียชีวิต 3,158 ราย 2. สธ. พบผู้ป่วยยืนยันโรคโควิด-19 เป็นกลุ่มก้อน 11 ราย กระทรวงสาธารณสุข เผยวันนี้พบผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นกลุ่มก้อน 11 ราย ทั้งหมดเป็นคนไทย อายุ 25 – 38 ปี เป็นการค้นพบจากการขยายการคัดกรองการป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจเป็นกลุ่มก้อน และมีผู้ป่วยรักษาหายกลับบ้านได้ 1 ราย สรุปผู้ป่วยยืนยันรักษาหายกลับบ้านแล้ว 35 ราย ยังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 34 ราย เสียชีวิต 1 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 70 ราย นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และนายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อํานวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ว่า ในวันนี้ มีผู้ป่วยรักษาหายกลับบ้านได้ 1 ราย เป็นหญิงอายุ 62 ปี รักษาที่สถาบันบําราศนราดูร และพบผู้ป่วยยืนยันเป็นกลุ่มก้อน 11 ราย เป็นคนไทยทั้งหมด ซึ่งเป็นการค้นพบจากการขยายการคัดกรองการป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจเป็นกลุ่มก้อน โดยสรุปวันนี้ มีผู้ป่วยยืนยันที่รักษาหายแล้ว 35 ราย ยังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 34 ราย เสียชีวิต 1 ราย ผู้ป่วยสะสม 70 ราย สําหรับผู้ป่วยอาการหนัก 1 ราย ที่สถาบันบําราศนราดูร ยังต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด กระทรวงสาธารณสุขได้รับรายงานผู้ป่วยจากโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ให้ประวัติว่า เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 ได้พบปะกลุ่มเพื่อนนักท่องเที่ยวชาวฮ่องกงที่มาเที่ยวเมืองไทย หลังจากนั้น 4 วัน (วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563) เริ่มป่วยด้วยอาการไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ไอ ในขณะที่มีอาการป่วยอยู่นั้นได้นัดสังสรรค์กับเพื่อนสนิทอีก 2 ครั้ง (วันที่ 27 และ 29 กุมภาพันธ์ 2563) โดยมีพฤติกรรมดื่มสุราแก้วเดียวกัน สูบบุหรี่มวนเดียวกัน หลังจากนั้นในวันที่ 4 มีนาคม 2563 ผู้ร่วมสังสรรค์เริ่มทยอยป่วย 7 คนเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล โดยตรวจพบการติดเชื้อ 11 คนจากทั้งหมด 15 คน (รวมผู้ป่วย) เป็นชาย 5 คน หญิง 6 คน ช่วงอายุ 25 – 38 ปี ในจํานวนนี้มี 4 คนที่ไม่ป่วยเเละไม่ติดเชื้อ ทั้งหมดให้ประวัติว่า ไม่ได้ดื่มเหล้าเเละสูบบุหรี่ร่วมกับกลุ่มเพื่อน กระทรวงสาธารณสุข ได้ติดตามครอบครัวและเพื่อนที่ไม่ได้ร่วมกลุ่มสังสรรค์เบื้องต้น 70 คน ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการครั้งแรกไม่พบเชื้อ จึงไม่พบหลักฐานว่าเกิด super spreading เนื่องจากเป็นการติดเชื้อในกลุ่มเพื่อนสนิทที่ร่วมวงสังสรรค์ ยังไม่ออกนอกกลุ่ม กรณีการป่วยเป็นกลุ่มก้อนครั้งนี้ เป็นบทเรียนที่สําคัญของคนไทยหลายประการ คือ 1.หากป่วยแล้วไม่กักตัว ส่งผลกระทบคนใกล้ชิดและครอบครัวติดเชื้อ 2. ในสถานการณ์โรคระบาด มาตรการ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ล้างมือ/ ไม่ใช้ของร่วมกับผู้อื่น เป็นสิ่งสําคัญมาก 3. เมื่อเจ็บป่วยต้องพักอยู่กับบ้าน ลดความเสี่ยงของผู้อื่นและสังคม เราจะป้องกันและชะลอเฟส 3 ได้ หากทุกคนร่วมมือร่วมใจกัน ความปลอดภัยและสุขภาพคือสิ่งสําคัญอันดับแรก ทั้งนี้หากพบอาการป่วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่จํานวนหลายคนในช่วงเวลา 1-2 สัปดาห์ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและพบแพทย์ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422 3. คําแนะนําสําหรับประชาชน ขอความร่วมมือประชาชนปฏิบัติตัวตามคําแนะนําของกระทรวงสาธารณสุข ดูแลสุขภาพ โดยหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนอยู่แออัด หลีกเลี่ยงอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการโรคระบบทางเดินหายใจ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ และสวมหน้ากากผ้าเพื่อป้องกันโรค ติดตามข่าวสารจากกระทรวงสาธารณสุขหากมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่ หรือเว็บไซต์ https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/ ช่องทาง Twitter, Facebook, Line official, Tik Tok “ไทยรู้ สู้โควิด” และLine official ChatBot 1422 “Kor-Ror-OK” กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข หรือสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง อย่าเชื่อข่าวลือจากทุกทาง “เช็คก่อนแชร์” ตรวจสอบข่าวลวงได้ที่www.antifakenewscenter.com *************************12 มีนาคม 2563
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 12 มีนาคม 2563 วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจําวันที่ 12 มีนาคม 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจําวันที่ 12 มีนาคม 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ประจําวันที่12 มีนาคม 2563 1.สถานการณ์ ถึงวันที่12 มีนาคม 2563 ณ เวลา 08.00 น. 1. ผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรักษาในโรงพยาบาล 34 ราย กลับบ้านแล้ว 35 ราย เสียชีวิต 1 ราย รวมสะสม 70 ราย 2. ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม – 11 มีนาคม 2563 มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนต้องเฝ้าระวังสะสมทั้งหมด 5,232 ราย คัดกรองจากทุกด่าน 219 ราย มารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอง 5,013 ราย อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้วและอยู่ระหว่างติดตามอาการ 3,865 ราย ส่วนใหญ่เป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ยังคงรักษาในโรงพยาบาล 1,367 ราย 3. สถานการณ์ทั่วโลกใน 121 ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษ 1 เรือสําราญ ข้อมูลตั้งแต่ 5 มกราคม – 12 มีนาคม 2563 (07.00 น.) พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจํานวน 121,996 ราย เสียชีวิต 4,390 ราย ส่วนประเทศจีนพบผู้ป่วย 80,790 ราย เสียชีวิต 3,158 ราย 2. สธ. พบผู้ป่วยยืนยันโรคโควิด-19 เป็นกลุ่มก้อน 11 ราย กระทรวงสาธารณสุข เผยวันนี้พบผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นกลุ่มก้อน 11 ราย ทั้งหมดเป็นคนไทย อายุ 25 – 38 ปี เป็นการค้นพบจากการขยายการคัดกรองการป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจเป็นกลุ่มก้อน และมีผู้ป่วยรักษาหายกลับบ้านได้ 1 ราย สรุปผู้ป่วยยืนยันรักษาหายกลับบ้านแล้ว 35 ราย ยังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 34 ราย เสียชีวิต 1 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 70 ราย นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และนายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อํานวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ว่า ในวันนี้ มีผู้ป่วยรักษาหายกลับบ้านได้ 1 ราย เป็นหญิงอายุ 62 ปี รักษาที่สถาบันบําราศนราดูร และพบผู้ป่วยยืนยันเป็นกลุ่มก้อน 11 ราย เป็นคนไทยทั้งหมด ซึ่งเป็นการค้นพบจากการขยายการคัดกรองการป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจเป็นกลุ่มก้อน โดยสรุปวันนี้ มีผู้ป่วยยืนยันที่รักษาหายแล้ว 35 ราย ยังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 34 ราย เสียชีวิต 1 ราย ผู้ป่วยสะสม 70 ราย สําหรับผู้ป่วยอาการหนัก 1 ราย ที่สถาบันบําราศนราดูร ยังต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด กระทรวงสาธารณสุขได้รับรายงานผู้ป่วยจากโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ให้ประวัติว่า เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 ได้พบปะกลุ่มเพื่อนนักท่องเที่ยวชาวฮ่องกงที่มาเที่ยวเมืองไทย หลังจากนั้น 4 วัน (วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563) เริ่มป่วยด้วยอาการไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ไอ ในขณะที่มีอาการป่วยอยู่นั้นได้นัดสังสรรค์กับเพื่อนสนิทอีก 2 ครั้ง (วันที่ 27 และ 29 กุมภาพันธ์ 2563) โดยมีพฤติกรรมดื่มสุราแก้วเดียวกัน สูบบุหรี่มวนเดียวกัน หลังจากนั้นในวันที่ 4 มีนาคม 2563 ผู้ร่วมสังสรรค์เริ่มทยอยป่วย 7 คนเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล โดยตรวจพบการติดเชื้อ 11 คนจากทั้งหมด 15 คน (รวมผู้ป่วย) เป็นชาย 5 คน หญิง 6 คน ช่วงอายุ 25 – 38 ปี ในจํานวนนี้มี 4 คนที่ไม่ป่วยเเละไม่ติดเชื้อ ทั้งหมดให้ประวัติว่า ไม่ได้ดื่มเหล้าเเละสูบบุหรี่ร่วมกับกลุ่มเพื่อน กระทรวงสาธารณสุข ได้ติดตามครอบครัวและเพื่อนที่ไม่ได้ร่วมกลุ่มสังสรรค์เบื้องต้น 70 คน ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการครั้งแรกไม่พบเชื้อ จึงไม่พบหลักฐานว่าเกิด super spreading เนื่องจากเป็นการติดเชื้อในกลุ่มเพื่อนสนิทที่ร่วมวงสังสรรค์ ยังไม่ออกนอกกลุ่ม กรณีการป่วยเป็นกลุ่มก้อนครั้งนี้ เป็นบทเรียนที่สําคัญของคนไทยหลายประการ คือ 1.หากป่วยแล้วไม่กักตัว ส่งผลกระทบคนใกล้ชิดและครอบครัวติดเชื้อ 2. ในสถานการณ์โรคระบาด มาตรการ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ล้างมือ/ ไม่ใช้ของร่วมกับผู้อื่น เป็นสิ่งสําคัญมาก 3. เมื่อเจ็บป่วยต้องพักอยู่กับบ้าน ลดความเสี่ยงของผู้อื่นและสังคม เราจะป้องกันและชะลอเฟส 3 ได้ หากทุกคนร่วมมือร่วมใจกัน ความปลอดภัยและสุขภาพคือสิ่งสําคัญอันดับแรก ทั้งนี้หากพบอาการป่วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่จํานวนหลายคนในช่วงเวลา 1-2 สัปดาห์ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและพบแพทย์ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422 3. คําแนะนําสําหรับประชาชน ขอความร่วมมือประชาชนปฏิบัติตัวตามคําแนะนําของกระทรวงสาธารณสุข ดูแลสุขภาพ โดยหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนอยู่แออัด หลีกเลี่ยงอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการโรคระบบทางเดินหายใจ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ และสวมหน้ากากผ้าเพื่อป้องกันโรค ติดตามข่าวสารจากกระทรวงสาธารณสุขหากมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่ หรือเว็บไซต์ https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/ ช่องทาง Twitter, Facebook, Line official, Tik Tok “ไทยรู้ สู้โควิด” และLine official ChatBot 1422 “Kor-Ror-OK” กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข หรือสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง อย่าเชื่อข่าวลือจากทุกทาง “เช็คก่อนแชร์” ตรวจสอบข่าวลวงได้ที่www.antifakenewscenter.com *************************12 มีนาคม 2563
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/27100
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล- อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ พม. ชี้แจง กรณี voice tv เสนอข่าวปัญหาสังคมผู้สูงอายุ
วันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2561 อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ พม. ชี้แจง กรณี voice tv เสนอข่าวปัญหาสังคมผู้สูงอายุ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ พม. ชี้แจง กรณี voice tv เสนอข่าวปัญหาสังคมผู้สูงอายุ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 นางธนาภรณ์ พรมสุวรรณ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ชี้แจงกรณี voice tv เสนอข่าวกรณีปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เผยแพร่บทสัมภาษณ์ ของ วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ ที่ปรึกษาด้านหลักประกันทางสังคม ทีดีอาร์ไอ ในประเด็นปัญหาความเหลื่อมล้ําของระบบประกันสุขภาพของไทย โดยมีสาระสําคัญ ดังนี้ 1. อีก 30 ปี (พ.ศ. 2590) ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุที่ติดบ้านหรือติดเตียงเพิ่มเป็น 1.1 ล้านคนจาก ปัจจุบันมีประมาณ 3.7 แสนคน และจะมีค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านประมาณ 3.4 แสนล้านบาท พม. ขอชี้แจงว่า พม. มีภารกิจหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนทุกช่วงวัย โดยกรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) มีภารกิจหลักในการดูแล การส่งเสริมศักยภาพ การคุ้มครอง รวมทั้งการสร้างหลักประกันและพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ ซึ่งมี พ.ร.บ. ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุทุกมิติ (สังคม เศรษฐกิจ สุขภาพ สภาพแวดล้อม และเทคโนโลยี/นวัตกรรม)โดยมีกลไกในการบูรณาการและขับเคลื่อน คือ คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) ซึ่งมีองค์ประกอบจากส่วนราชการหน่วยที่เกี่ยวข้อง และในระดับพื้นที่มีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.)ในระดับตําบล 878 แห่ง เพื่อเป็นสถานที่ในการจัดกิจกรรมสําหรับผู้สูงอายุที่ครอบคลุมทุกมิติ และขยายเพิ่มอีก 400 แห่งในปี 2561 รวมเป็น 1,278 แห่งทั่วประเทศ และมีศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ (ศพส.) 12 แห่ง ที่ให้การดูแลผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาทางสังคม, จัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุในทุกอําเภอ การดําเนินงานได้มุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ดังนี้ 1. ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุให้มีพลังและมีสุขภาพดี Active aging โดยการสร้างโอกาสในการทํางานในวัยสูงอายุ ซึ่งจะนําไปสู่การมีรายได้เพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิต ซึ่งในปี 2561 มีเป้าหมายในการส่งเสริมการมีรายได้และมีงานทําของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นด้วยประชารัฐ จํานวน 19,500 คน 2. ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน มุ่งเน้นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมเพิ่มขึ้น และเน้นให้ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลของตนเอง เพื่อลดภาวะพึ่งพิงให้มากที่สุด 3. ผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง เป็นหน้าที่หลักของ สธ. ซึ่งมุ่งเน้นการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิง ให้ได้รับการดูแลที่มีมาตรฐาน และเพื่อให้การดูแลเป็นไปอย่างมีมาตรฐาน พม. ได้มีการจัดมาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุ ประกอบด้วย หลักสูตรการดูแล (18 ชั่วโมง, 70 ชั่วโมง, และ 240 ชั่วโมง) มาตรฐานผู้ดูแล และมาตรฐานสถานที่ดูแลผู้สูงอายุ สําหรับรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่เหมาะสมในบริบทของประเทศไทย จะต้องมีความร่วมมือในทุกภาคส่วน ตั้งแต่ในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคม ด้วยการใช้ทรัพยากรในรูปของงบประมาณ ทุนทางวัฒนธรรม ศาสนา ความเอื้ออาทรในสังคมไทย เพื่อให้ผู้สูงอายุมีหลักประกันที่มั่นคง รวมทั้งได้รับสวัสดิการและบริการที่เหมาะสม โดยใช้กลไกอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (อผส.) เป็นกลไกสําคัญในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน 2. การไม่มีระบบการประกันระยะยาว ค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะตกกับครอบครัวที่มีผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง แต่ละครอบครัวต้องจ่ายประมาณ 20,000 บาทต่อเดือน สําหรับผู้สูงอายุติดเตียง และ 10,000 บาทต่อเดือนสําหรับผู้สูงอายุติดบ้าน ซึ่งรวมทั้งค่าผู้ดูแล ค่าเดินทางผู้ดูแล-ผู้จัดการดูแล ค่าใช้จ่าย ด้านอุปกรณ์ ค่าวัสดุสิ้นเปลือง พม. ขอชี้แจงว่า พม. โดย ผส. ได้มีนโยบายสนับสนุนการออมในทุกรูปแบบ โดยการสร้างวินัยในการออมเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุที่มั่นคงให้กับคนทุกช่วงวัย ซึ่งการออมเปรียบเสมือนตาข่ายที่จะรองรับบุคคลให้สามารถใช้ชีวิตหลังเกษียณได้อย่างไม่ลําบาก โดยการดูแลผู้สูงอายุในปัจจุบันทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ได้บูรณาการร่วมกัน 4 กระทรวงหลัก ได้แก่ สธ. ศธ. พม. และ มท. เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับสังคมผู้สูงอายุอย่างครอบคลุมด้วยยุทธศาสตร์ 3S ได้แก่ (1) Strong เป็นการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้แข็งแรง มีการพัฒนาระบบบริการที่เข้าถึงง่าย “ไร้รอยต่อ” จากสถานบริการสู่ชุมชน โรงพยาบาลมีการจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ และจัดให้มีคลินิกผู้สูงอายุในโรงพยาบาลตั้งแต่ 120 เตียงขึ้นไป (2) Security สนับสนุนเรื่องความมั่นคงในชีวิตของผู้สูงอายุ ผ่านการออมและการมีงานทํา การพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ 1 จังหวัด 1 เมือง และการคุ้มครองทางสังคม ไม่ให้มีกรณีผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งและโดนทําร้าย และ (3) Social Participation การมีส่วนร่วมในสังคม ส่งเสริมพื้นที่ต้นแบบการบูรณาการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และส่งเสริมพัฒนาชมรมผู้สูงอายุคุณภาพ มีการสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุในรูปแบบประชารัฐ เพื่อให้อยู่ในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรี และมีคุณภาพชีวิตที่ดี นอกจากนี้ พม. และ สธ. ได้ร่วมกับ JICA ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ซึ่งมุ่งพัฒนารูปแบบบริการสําหรับผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการฟื้นฟูสุขภาพอย่างต่อเนื่องภายหลังออกจากโรงพยาบาล เพื่อป้องกันผู้สูงอายุกลุ่มนี้ไม่ให้อยู่ในภาวะติดเตียง โดยผลักดันให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย ผ่านโครงการพัฒนารูปแบบบริการสุขภาพและสวัสดิการสังคมเชิงบูรณาการโดยชุมชน ให้เกิดบริการด้านสุขภาพและสังคมที่มีความเชื่อมโยงกัน ทั้งทางการแพทย์ การฟื้นฟูสมรรถภาพ การบริการทางสังคม และการช่วยชีวิต 3. จากสถิติลักษณะของโรคที่มีผู้สูงอายุมักจะเป็นคือโรคไม่ติดต่อเรื้อรังถ้าไม่เปลี่ยนแปลงการให้และการใช้บริการแบบปัจจุบัน ผู้ให้บริการจะรับมือไม่ไหวและอาจใช้วิธีตัดการให้บริการ ลดคุณภาพ 4. งานวิจัยหลายประเทศพบว่าค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลของผู้ป่วยทุกวัยสูงมากที่สุดในไตรมาสสุดท้ายของชีวิต ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ขณะที่ทรัพยากรในด้านสุขภาพมีอยู่จํากัด โดยผู้ป่วยที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่สุดคือผู้ป่วยโรคหัวใจ และโรคมะเร็งมีค่ารักษาแพงที่สุดเป็นอันดับสอง พม. ขอชี้แจงในส่วนของข้อ 3 และข้อ 4 ว่า กรมกิจการผู้สูงอายุได้ตระหนักและให้ความสําคัญกับการป้องกันก่อนที่จะเกิดโรค จึงได้ดําเนินการ ดังนี้ 1. ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเบื้องต้นและการป้องกันโรคให้แก่ อผส. เพื่อให้ อผส. เป็นกลไกในระดับพื้นที่ในเรื่องดังกล่าวกับผู้สูงอายุ 2. จัดให้มีหลักสูตรเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน โดยขับเคลื่อนผ่าน โรงเรียนผู้สูงอายุ และ ศพอส. ทั่วประเทศ -------------------------
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล- อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ พม. ชี้แจง กรณี voice tv เสนอข่าวปัญหาสังคมผู้สูงอายุ วันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2561 อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ พม. ชี้แจง กรณี voice tv เสนอข่าวปัญหาสังคมผู้สูงอายุ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ พม. ชี้แจง กรณี voice tv เสนอข่าวปัญหาสังคมผู้สูงอายุ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 นางธนาภรณ์ พรมสุวรรณ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ชี้แจงกรณี voice tv เสนอข่าวกรณีปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เผยแพร่บทสัมภาษณ์ ของ วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ ที่ปรึกษาด้านหลักประกันทางสังคม ทีดีอาร์ไอ ในประเด็นปัญหาความเหลื่อมล้ําของระบบประกันสุขภาพของไทย โดยมีสาระสําคัญ ดังนี้ 1. อีก 30 ปี (พ.ศ. 2590) ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุที่ติดบ้านหรือติดเตียงเพิ่มเป็น 1.1 ล้านคนจาก ปัจจุบันมีประมาณ 3.7 แสนคน และจะมีค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านประมาณ 3.4 แสนล้านบาท พม. ขอชี้แจงว่า พม. มีภารกิจหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนทุกช่วงวัย โดยกรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) มีภารกิจหลักในการดูแล การส่งเสริมศักยภาพ การคุ้มครอง รวมทั้งการสร้างหลักประกันและพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ ซึ่งมี พ.ร.บ. ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุทุกมิติ (สังคม เศรษฐกิจ สุขภาพ สภาพแวดล้อม และเทคโนโลยี/นวัตกรรม)โดยมีกลไกในการบูรณาการและขับเคลื่อน คือ คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) ซึ่งมีองค์ประกอบจากส่วนราชการหน่วยที่เกี่ยวข้อง และในระดับพื้นที่มีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.)ในระดับตําบล 878 แห่ง เพื่อเป็นสถานที่ในการจัดกิจกรรมสําหรับผู้สูงอายุที่ครอบคลุมทุกมิติ และขยายเพิ่มอีก 400 แห่งในปี 2561 รวมเป็น 1,278 แห่งทั่วประเทศ และมีศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ (ศพส.) 12 แห่ง ที่ให้การดูแลผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาทางสังคม, จัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุในทุกอําเภอ การดําเนินงานได้มุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ดังนี้ 1. ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุให้มีพลังและมีสุขภาพดี Active aging โดยการสร้างโอกาสในการทํางานในวัยสูงอายุ ซึ่งจะนําไปสู่การมีรายได้เพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิต ซึ่งในปี 2561 มีเป้าหมายในการส่งเสริมการมีรายได้และมีงานทําของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นด้วยประชารัฐ จํานวน 19,500 คน 2. ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน มุ่งเน้นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมเพิ่มขึ้น และเน้นให้ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลของตนเอง เพื่อลดภาวะพึ่งพิงให้มากที่สุด 3. ผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง เป็นหน้าที่หลักของ สธ. ซึ่งมุ่งเน้นการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิง ให้ได้รับการดูแลที่มีมาตรฐาน และเพื่อให้การดูแลเป็นไปอย่างมีมาตรฐาน พม. ได้มีการจัดมาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุ ประกอบด้วย หลักสูตรการดูแล (18 ชั่วโมง, 70 ชั่วโมง, และ 240 ชั่วโมง) มาตรฐานผู้ดูแล และมาตรฐานสถานที่ดูแลผู้สูงอายุ สําหรับรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่เหมาะสมในบริบทของประเทศไทย จะต้องมีความร่วมมือในทุกภาคส่วน ตั้งแต่ในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคม ด้วยการใช้ทรัพยากรในรูปของงบประมาณ ทุนทางวัฒนธรรม ศาสนา ความเอื้ออาทรในสังคมไทย เพื่อให้ผู้สูงอายุมีหลักประกันที่มั่นคง รวมทั้งได้รับสวัสดิการและบริการที่เหมาะสม โดยใช้กลไกอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (อผส.) เป็นกลไกสําคัญในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน 2. การไม่มีระบบการประกันระยะยาว ค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะตกกับครอบครัวที่มีผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง แต่ละครอบครัวต้องจ่ายประมาณ 20,000 บาทต่อเดือน สําหรับผู้สูงอายุติดเตียง และ 10,000 บาทต่อเดือนสําหรับผู้สูงอายุติดบ้าน ซึ่งรวมทั้งค่าผู้ดูแล ค่าเดินทางผู้ดูแล-ผู้จัดการดูแล ค่าใช้จ่าย ด้านอุปกรณ์ ค่าวัสดุสิ้นเปลือง พม. ขอชี้แจงว่า พม. โดย ผส. ได้มีนโยบายสนับสนุนการออมในทุกรูปแบบ โดยการสร้างวินัยในการออมเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุที่มั่นคงให้กับคนทุกช่วงวัย ซึ่งการออมเปรียบเสมือนตาข่ายที่จะรองรับบุคคลให้สามารถใช้ชีวิตหลังเกษียณได้อย่างไม่ลําบาก โดยการดูแลผู้สูงอายุในปัจจุบันทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ได้บูรณาการร่วมกัน 4 กระทรวงหลัก ได้แก่ สธ. ศธ. พม. และ มท. เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับสังคมผู้สูงอายุอย่างครอบคลุมด้วยยุทธศาสตร์ 3S ได้แก่ (1) Strong เป็นการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้แข็งแรง มีการพัฒนาระบบบริการที่เข้าถึงง่าย “ไร้รอยต่อ” จากสถานบริการสู่ชุมชน โรงพยาบาลมีการจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ และจัดให้มีคลินิกผู้สูงอายุในโรงพยาบาลตั้งแต่ 120 เตียงขึ้นไป (2) Security สนับสนุนเรื่องความมั่นคงในชีวิตของผู้สูงอายุ ผ่านการออมและการมีงานทํา การพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ 1 จังหวัด 1 เมือง และการคุ้มครองทางสังคม ไม่ให้มีกรณีผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งและโดนทําร้าย และ (3) Social Participation การมีส่วนร่วมในสังคม ส่งเสริมพื้นที่ต้นแบบการบูรณาการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และส่งเสริมพัฒนาชมรมผู้สูงอายุคุณภาพ มีการสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุในรูปแบบประชารัฐ เพื่อให้อยู่ในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรี และมีคุณภาพชีวิตที่ดี นอกจากนี้ พม. และ สธ. ได้ร่วมกับ JICA ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ซึ่งมุ่งพัฒนารูปแบบบริการสําหรับผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการฟื้นฟูสุขภาพอย่างต่อเนื่องภายหลังออกจากโรงพยาบาล เพื่อป้องกันผู้สูงอายุกลุ่มนี้ไม่ให้อยู่ในภาวะติดเตียง โดยผลักดันให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย ผ่านโครงการพัฒนารูปแบบบริการสุขภาพและสวัสดิการสังคมเชิงบูรณาการโดยชุมชน ให้เกิดบริการด้านสุขภาพและสังคมที่มีความเชื่อมโยงกัน ทั้งทางการแพทย์ การฟื้นฟูสมรรถภาพ การบริการทางสังคม และการช่วยชีวิต 3. จากสถิติลักษณะของโรคที่มีผู้สูงอายุมักจะเป็นคือโรคไม่ติดต่อเรื้อรังถ้าไม่เปลี่ยนแปลงการให้และการใช้บริการแบบปัจจุบัน ผู้ให้บริการจะรับมือไม่ไหวและอาจใช้วิธีตัดการให้บริการ ลดคุณภาพ 4. งานวิจัยหลายประเทศพบว่าค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลของผู้ป่วยทุกวัยสูงมากที่สุดในไตรมาสสุดท้ายของชีวิต ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ขณะที่ทรัพยากรในด้านสุขภาพมีอยู่จํากัด โดยผู้ป่วยที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่สุดคือผู้ป่วยโรคหัวใจ และโรคมะเร็งมีค่ารักษาแพงที่สุดเป็นอันดับสอง พม. ขอชี้แจงในส่วนของข้อ 3 และข้อ 4 ว่า กรมกิจการผู้สูงอายุได้ตระหนักและให้ความสําคัญกับการป้องกันก่อนที่จะเกิดโรค จึงได้ดําเนินการ ดังนี้ 1. ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเบื้องต้นและการป้องกันโรคให้แก่ อผส. เพื่อให้ อผส. เป็นกลไกในระดับพื้นที่ในเรื่องดังกล่าวกับผู้สูงอายุ 2. จัดให้มีหลักสูตรเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน โดยขับเคลื่อนผ่าน โรงเรียนผู้สูงอายุ และ ศพอส. ทั่วประเทศ -------------------------
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/9998
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กนอ.ชี้แจง โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะ 3 ดำเนินการตามขั้นตอนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนตามกฎหมาย
วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม 2560 กนอ.ชี้แจง โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะ 3 ดําเนินการตามขั้นตอนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนตามกฎหมาย ผู้ว่าฯ กนอ.ชี้แจงโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะ 3 ดําเนินการตามขั้นตอนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนตามกฎหมาย ไม่ขัดต่อการใช้ประโยชน์ตามกฎหมายผังเมืองระยอง-ร่างประกาศผังเมืองรวมมาบตาพุด เมื่อวันที่ 27 ต.ค.60 นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ชี้แจงกรณที่โซเชียลมีเดียมีการวิจารณ์การออกคําสั่ง มาตรา 44 ของ คสช. ยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายผังเมืองในโครงการ EEC กรณีโครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 เป็นการผลักดันให้โครงการในพื้นที่ EEC ผ่าน โดยไม่คํานึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนและกฎหมายที่มีบังคับใช้อยู่ พร้อมกับยังระบุอีกว่า สาเหตุสําคัญที่ต้องเร่งออกคําสั่งดังกล่าว เนื่องจากโครงการมาบตาพุด เฟส 3 ที่จะมีการถมทะเลและมีการจัดทํารายงาน EHIA ที่เสนอต่อ สผ. และ คชก. แล้วนั้น ในทางกฎหมายโครงการนี้จะไม่สามารถผ่านการอนุมัติของ สผ. และ คชก. เพราะขัดกับกฎหมายผังเมืองของจังหวัดระยอง แต่คําสั่งดังกล่าวได้ยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายผังเมือง ฉะนั้น โครงการมาบตาพุด เฟส 3 จะได้รับการอนุมัติให้ก่อสร้างได้ นั้น กนอ. ขอชี้แจงข้อเท็จจริง ดังนี้ การดําเนินโครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 กนอ. ได้จัดทํารายงาน EHIA ซึ่งผ่านการมีส่วนร่วมทั้งระดับชุมชน อําเภอ และจังหวัด (ค.1, ค.2 และ ค.3) ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางในการจัดทํารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสําหรับโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม 2552 ครบถ้วนแล้ว และ กนอ. ได้นําเสนอ สผ. พิจารณา ซึ่ง สผ. พิจารณาครั้งที่ 1 แล้ว และให้ กนอ. ชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติม กนอ. ได้จัดทําและจัดส่งข้อเท็จจริงเพิ่มเติมต่อ สผ. แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของ สผ. กฎหมายเกี่ยวกับผังเมืองที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน คือ กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดระยอง พ.ศ. 2560 ซึ่งมีแผนผังกําหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จําแนกท้ายกฎกระทรวงด้วย (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2560) และร่างประกาศผังเมืองรวมมาบตาพุด ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนที่ 7 กล่าวคือ ภายหลังจากที่ได้มีการปิดประกาศเพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียพิจารณาให้ข้อคิดเห็น/ข้อคัดค้าน/ข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการด้านผังเมืองครบ 90 วันแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการรวบรวมตรวจสอบพิจารณาคําร้องและแจ้งผลการพิจารณาคําร้องต่อผู้ร้อง (หากมี) ซึ่งจากการตรวจสอบการใช้พื้นที่สําหรับโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะ 3 พบว่าไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยผังเมืองและร่างประกาศผังเมืองฯ ดังที่กล่าวมา ดังนั้น โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะ 3 ของ กนอ. ได้ดําเนินการตามขั้นตอนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนตามกฎหมาย จึงไม่ขัดต่อการใช้ประโยชน์ตามกฎหมายผังเมืองของจังหวัดระยอง และร่างประกาศผังเมืองรวมมาบตาพุด (ผังเมืองเฉพาะ) ที่มีการทบทวนอยู่ อย่างไรก็ตาม กนอ. ได้ตระหนักถึงความห่วงใยของทุกฝ่าย และจะถือปฏิบัติตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดต่อไป ------------------------
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กนอ.ชี้แจง โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะ 3 ดำเนินการตามขั้นตอนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนตามกฎหมาย วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม 2560 กนอ.ชี้แจง โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะ 3 ดําเนินการตามขั้นตอนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนตามกฎหมาย ผู้ว่าฯ กนอ.ชี้แจงโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะ 3 ดําเนินการตามขั้นตอนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนตามกฎหมาย ไม่ขัดต่อการใช้ประโยชน์ตามกฎหมายผังเมืองระยอง-ร่างประกาศผังเมืองรวมมาบตาพุด เมื่อวันที่ 27 ต.ค.60 นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ชี้แจงกรณที่โซเชียลมีเดียมีการวิจารณ์การออกคําสั่ง มาตรา 44 ของ คสช. ยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายผังเมืองในโครงการ EEC กรณีโครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 เป็นการผลักดันให้โครงการในพื้นที่ EEC ผ่าน โดยไม่คํานึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนและกฎหมายที่มีบังคับใช้อยู่ พร้อมกับยังระบุอีกว่า สาเหตุสําคัญที่ต้องเร่งออกคําสั่งดังกล่าว เนื่องจากโครงการมาบตาพุด เฟส 3 ที่จะมีการถมทะเลและมีการจัดทํารายงาน EHIA ที่เสนอต่อ สผ. และ คชก. แล้วนั้น ในทางกฎหมายโครงการนี้จะไม่สามารถผ่านการอนุมัติของ สผ. และ คชก. เพราะขัดกับกฎหมายผังเมืองของจังหวัดระยอง แต่คําสั่งดังกล่าวได้ยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายผังเมือง ฉะนั้น โครงการมาบตาพุด เฟส 3 จะได้รับการอนุมัติให้ก่อสร้างได้ นั้น กนอ. ขอชี้แจงข้อเท็จจริง ดังนี้ การดําเนินโครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 กนอ. ได้จัดทํารายงาน EHIA ซึ่งผ่านการมีส่วนร่วมทั้งระดับชุมชน อําเภอ และจังหวัด (ค.1, ค.2 และ ค.3) ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางในการจัดทํารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสําหรับโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม 2552 ครบถ้วนแล้ว และ กนอ. ได้นําเสนอ สผ. พิจารณา ซึ่ง สผ. พิจารณาครั้งที่ 1 แล้ว และให้ กนอ. ชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติม กนอ. ได้จัดทําและจัดส่งข้อเท็จจริงเพิ่มเติมต่อ สผ. แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของ สผ. กฎหมายเกี่ยวกับผังเมืองที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน คือ กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดระยอง พ.ศ. 2560 ซึ่งมีแผนผังกําหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จําแนกท้ายกฎกระทรวงด้วย (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2560) และร่างประกาศผังเมืองรวมมาบตาพุด ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนที่ 7 กล่าวคือ ภายหลังจากที่ได้มีการปิดประกาศเพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียพิจารณาให้ข้อคิดเห็น/ข้อคัดค้าน/ข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการด้านผังเมืองครบ 90 วันแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการรวบรวมตรวจสอบพิจารณาคําร้องและแจ้งผลการพิจารณาคําร้องต่อผู้ร้อง (หากมี) ซึ่งจากการตรวจสอบการใช้พื้นที่สําหรับโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะ 3 พบว่าไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยผังเมืองและร่างประกาศผังเมืองฯ ดังที่กล่าวมา ดังนั้น โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะ 3 ของ กนอ. ได้ดําเนินการตามขั้นตอนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนตามกฎหมาย จึงไม่ขัดต่อการใช้ประโยชน์ตามกฎหมายผังเมืองของจังหวัดระยอง และร่างประกาศผังเมืองรวมมาบตาพุด (ผังเมืองเฉพาะ) ที่มีการทบทวนอยู่ อย่างไรก็ตาม กนอ. ได้ตระหนักถึงความห่วงใยของทุกฝ่าย และจะถือปฏิบัติตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดต่อไป ------------------------
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/7648
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. KICK OFF เปิดตัวโครงการ “จังหวัดต้นแบบ อยุธยาเมืองมรดกโลก เมืองอารยสถาปัตย์ และเมืองท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล
วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม 2561 พม. KICK OFF เปิดตัวโครงการ “จังหวัดต้นแบบ อยุธยาเมืองมรดกโลก เมืองอารยสถาปัตย์ และเมืองท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล พม. KICK OFF เปิดตัวโครงการ “จังหวัดต้นแบบ อยุธยาเมืองมรดกโลก เมืองอารยสถาปัตย์ และเมืองท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล" วันนี้ (13 ก.ค.61) เวลา 14.00 น. ที่วัดไชยวัฒนาราม อําเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาพลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.)เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ "จังหวัดต้นแบบ อยุธยาเมืองมรดกโลก เมืองอารยสถาปัตย์ และเมืองท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล” ซึ่งเป็นโครงการขยายพื้นที่ตัวอย่างในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้คนพิการได้เข้าถึงสิ่งอํานวย ความสะดวก และการขับเคลื่อนการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดํารงชีวิตของคนพิการ เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์ในอาคาร สถานที่ และบริการต่างๆ รวมทั้งมีส่วนร่วมกิจกรรมในสังคมอย่างเท่าเทียมในสังคม โดยมีกิจกรรมสําคัญ ประกอบด้วย พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) พร้อมกิจกรรม KICK OFF เปิดตัวโครงการฯ และเยี่ยมชมการจัดสิ่งอํานวยความสะดวกสําหรับคนพิการ โดยมีผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรคนพิการ และเครือข่ายทูตอารยสถาปัตย์ จํานวนประมาณ 400 คน เข้าร่วมงาน รัฐบาลขับเคลื่อนนโยบายสําคัญสําหรับกลุ่มคนพิการ โดยการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการและการผลักดันกฎหมายต่างๆ เพื่อให้คนพิการได้รับสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองต่างๆ โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม อีกทั้งการออกแบบที่สากลและเป็นธรรม หรือ Universal Design ที่มุ่งเน้นการออกแบบเพื่อเติมเต็ม ความต้องการของมนุษย์ หรือเรียกว่าการออกแบบสําหรับทุกคน (Design for All) ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้บูรณาการความร่วมมือกับกระทรวงและภาคีเครือข่าย อาทิ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และองค์กรคนพิการ ในการขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วนในเรื่องการเข้าถึงบริการสังคมของคนพิการ โดยการส่งเสริมการจัดสภาพแวดล้อมที่ปราศจากอุปสรรคต่อการ มีส่วนร่วมของคนพิการ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ภายใต้วิสัยทัศน์ "คนพิการดํารงชีวิตอิสระร่วมกับทุกคนในสังคมอย่างมีความสุข สามารถเข้าถึงสิทธิอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน” ด้วยการดําเนินงาน ปรับปรุงสภาพแวดล้อมและจัดสิ่งอํานวยความสะดวกสาธารณะที่เอื้อต่อคนพิการได้อย่างไม่มีอุปสรรค และครอบคลุมตั้งแต่ 1) ต้นทาง บ้านและที่พักอาศัย 2) กลางทาง ระบบขนส่งมวลชน ถนน ทางเดินเท้า และ 3) ปลายทาง อาคาร และพื้นที่สาธารณะ เช่น สถานที่ราชการ วัด โรงเรียน โรงพยาบาล สวนสาธารณะ ศาสนสถาน สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่บริการน้ํามัน (ปตท.) โรงแรม ร้านอาหาร และห้างร้านต่างๆ เพื่อเปลี่ยนภาระให้เป็นพลัง และเปิดกว้างให้ทุกคนในสังคมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข สําหรับโครงการ "จังหวัดต้นแบบ อยุธยาเมืองมรดกโลก เมืองอารยสถาปัตย์ และเมืองท่องเที่ยว เพื่อคนทั้งมวล” กระทรวง พม. โดย พก. ได้ร่วมกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ร่วมขับเคลื่อนตามแนวทางประชารัฐ ซึ่งเริ่มดําเนินการจัดสิ่งอํานวยความสะดวกสําหรับคนพิการในสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งศาสนสถาน วัด คริสตจักร และมัสยิด โดยมี การปรับปรุงทางลาด ห้องน้ํา ที่จอดรถคนพิการ และป้ายสัญลักษณ์/ข้อมูล นอกจากนี้ ยังมีแผนขยายการจัดสิ่งอํานวยความสะดวกให้คนพิการและผู้สูงอายุ ในเส้นทางท่องเที่ยวต่างๆ ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภายใต้ความร่วมมือ จากภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. KICK OFF เปิดตัวโครงการ “จังหวัดต้นแบบ อยุธยาเมืองมรดกโลก เมืองอารยสถาปัตย์ และเมืองท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม 2561 พม. KICK OFF เปิดตัวโครงการ “จังหวัดต้นแบบ อยุธยาเมืองมรดกโลก เมืองอารยสถาปัตย์ และเมืองท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล พม. KICK OFF เปิดตัวโครงการ “จังหวัดต้นแบบ อยุธยาเมืองมรดกโลก เมืองอารยสถาปัตย์ และเมืองท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล" วันนี้ (13 ก.ค.61) เวลา 14.00 น. ที่วัดไชยวัฒนาราม อําเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาพลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.)เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ "จังหวัดต้นแบบ อยุธยาเมืองมรดกโลก เมืองอารยสถาปัตย์ และเมืองท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล” ซึ่งเป็นโครงการขยายพื้นที่ตัวอย่างในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้คนพิการได้เข้าถึงสิ่งอํานวย ความสะดวก และการขับเคลื่อนการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดํารงชีวิตของคนพิการ เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์ในอาคาร สถานที่ และบริการต่างๆ รวมทั้งมีส่วนร่วมกิจกรรมในสังคมอย่างเท่าเทียมในสังคม โดยมีกิจกรรมสําคัญ ประกอบด้วย พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) พร้อมกิจกรรม KICK OFF เปิดตัวโครงการฯ และเยี่ยมชมการจัดสิ่งอํานวยความสะดวกสําหรับคนพิการ โดยมีผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรคนพิการ และเครือข่ายทูตอารยสถาปัตย์ จํานวนประมาณ 400 คน เข้าร่วมงาน รัฐบาลขับเคลื่อนนโยบายสําคัญสําหรับกลุ่มคนพิการ โดยการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการและการผลักดันกฎหมายต่างๆ เพื่อให้คนพิการได้รับสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองต่างๆ โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม อีกทั้งการออกแบบที่สากลและเป็นธรรม หรือ Universal Design ที่มุ่งเน้นการออกแบบเพื่อเติมเต็ม ความต้องการของมนุษย์ หรือเรียกว่าการออกแบบสําหรับทุกคน (Design for All) ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้บูรณาการความร่วมมือกับกระทรวงและภาคีเครือข่าย อาทิ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และองค์กรคนพิการ ในการขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วนในเรื่องการเข้าถึงบริการสังคมของคนพิการ โดยการส่งเสริมการจัดสภาพแวดล้อมที่ปราศจากอุปสรรคต่อการ มีส่วนร่วมของคนพิการ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ภายใต้วิสัยทัศน์ "คนพิการดํารงชีวิตอิสระร่วมกับทุกคนในสังคมอย่างมีความสุข สามารถเข้าถึงสิทธิอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน” ด้วยการดําเนินงาน ปรับปรุงสภาพแวดล้อมและจัดสิ่งอํานวยความสะดวกสาธารณะที่เอื้อต่อคนพิการได้อย่างไม่มีอุปสรรค และครอบคลุมตั้งแต่ 1) ต้นทาง บ้านและที่พักอาศัย 2) กลางทาง ระบบขนส่งมวลชน ถนน ทางเดินเท้า และ 3) ปลายทาง อาคาร และพื้นที่สาธารณะ เช่น สถานที่ราชการ วัด โรงเรียน โรงพยาบาล สวนสาธารณะ ศาสนสถาน สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่บริการน้ํามัน (ปตท.) โรงแรม ร้านอาหาร และห้างร้านต่างๆ เพื่อเปลี่ยนภาระให้เป็นพลัง และเปิดกว้างให้ทุกคนในสังคมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข สําหรับโครงการ "จังหวัดต้นแบบ อยุธยาเมืองมรดกโลก เมืองอารยสถาปัตย์ และเมืองท่องเที่ยว เพื่อคนทั้งมวล” กระทรวง พม. โดย พก. ได้ร่วมกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ร่วมขับเคลื่อนตามแนวทางประชารัฐ ซึ่งเริ่มดําเนินการจัดสิ่งอํานวยความสะดวกสําหรับคนพิการในสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งศาสนสถาน วัด คริสตจักร และมัสยิด โดยมี การปรับปรุงทางลาด ห้องน้ํา ที่จอดรถคนพิการ และป้ายสัญลักษณ์/ข้อมูล นอกจากนี้ ยังมีแผนขยายการจัดสิ่งอํานวยความสะดวกให้คนพิการและผู้สูงอายุ ในเส้นทางท่องเที่ยวต่างๆ ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภายใต้ความร่วมมือ จากภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/13840
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผลประชุม กช. 1/2561
วันพุธที่ 11 เมษายน 2561 ผลประชุม กช. 1/2561 นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันจันทร์ที่ 9 เมษายน 2561 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) ครั้งที่1/2561 เมื่อวันจันทร์ที่ 9 เมษายน 2561 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ ● เห็นชอบระเบียบการจัดสรรเงินอุดหนุนฯ โรงเรียนเอกชนใน จชต. เพิ่มขึ้น 85% จาก มติ ครม. วันที่ 1 ตุลาคม 2556 เห็นชอบให้กระทรวงศึกษาธิการปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการจัดสรรเงินอุดหนุนรายบุคคลโรงเรียนประเภทสามัญศึกษา ศาสนาควบคู่สามัญ อาชีวศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จากร้อยละ 70 เป็นร้อยละ 85 ที่ประชุมจึงให้ความเห็นชอบ (ร่าง) ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนว่าด้วยการอุดหนุนพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2557 (ฉบับที่..) พ.ศ. ....เพื่อปรับอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลโรงเรียนประเภทสามัญศึกษา ศาสนาควบคู่สามัญ อาชีวศึกษาในเขตพื้นที่ จชต. ให้สอดคล้องกับอัตราค่าใช้จ่ายรายบุคคลไม่เกินร้อยละ 85ของอัตราค่าใช้จ่ายรายบุคคล โดยยกเลิกตารางอัตราเงินอุดหนุนแนบท้ายระเบียบเดิม และใช้ตารางอัตราเงินอุดหนุนแนบท้ายระเบียบนี้แทนมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560ดังนี้ ระดับการศึกษา อุดหนุนเพิ่ม(บาท/คน/ปี) 1. ก่อนประถมศึกษา (อ.1-อ.3) 2. ประถมศึกษา 3. มัธยมศึกษาตอนต้น 4. มัธยมศึกษาตอนปลาย (สายสามัญ) ระดับการศึกษา อุดหนุนเพิ่ม(บาท/คน/ปี) มัธยมศึกษาตอนปลาย - สายอาชีพ (ปวช.) 1. อุตสาหกรรม/สิ่งทอ 2. พาณิชยกรรม/ท่องเที่ยว 3. ศิลปกรรม 4. เกษตรกรรม/ประมง 5. คหกรรม ● เห็นชอบประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการโอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน ที่ประชุมให้ความเห็นชอบ (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการโอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน พ.ศ. .... ซึ่งเป็นการปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบันและมีความเหมาะสมยิ่งขึ้นสําหรับการโอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบและโรงเรียนนอกระบบ โดยมีสาระสําคัญคือยกเลิกประกาศฉบับเดิม, หลักเกณฑ์และวิธีการโอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบและนอกระบบ กําหนดบทเฉพาะกาล เป็นต้น ● เห็นชอบการกําหนดเครื่องแบบผู้อํานวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนเอกชน ที่ประชุมให้ความเห็นชอบ(ร่าง) ระเบียบว่าด้วยการกําหนดเครื่องแบบผู้อํานวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนเอกชน เพื่อเป็นการยกย่อง เชิดชูวิชาชีพครูโรงเรียนเอกชน ซึ่งมีสาระสําคัญคือ กําหนดชนิดของเครื่องแบบแบ่งเป็นเครื่องแบบปฏิบัติการสําหรับการปฏิบัติงานหรือเข้าร่วมพิธีกับหน่วยงานราชการอื่นและเครื่องแบบพิธีการสําหรับเข้าร่วมพิธีตามหมายกําหนดการของสํานักพระราชวังและพิธีที่ส่วนราชการอื่นกําหนดรวมทั้งกําหนดการแต่งกายในวันปฏิบัติงานโดยให้แต่งกายใช้แบบและสีที่สุภาพ เรียบร้อย เหมาะสมกับกาลเทศะ ●รับทราบโครงการส่งเสริมการจัดการศึกษาด้านอาชีพในโรงเรียนเอกชน จากนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ และนโยบายกระทรวงศึกษาธิการในการขับเคลื่อนการศึกษาระดับภาค เพื่อผลิตกําลังคนให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน และพบว่าผู้ปกครองนิยมส่งบุตรหลานเข้าโรงเรียนเอกชนในระดับก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษา เพราะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงรองจากโรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัย แต่ในระดับมัธยมศึกษาจะต่างกันคือนักเรียนที่เก่งจะเปลี่ยนไปเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐ ดังนั้น โรงเรียนเอกชนจึงต้องปรับตัวจากที่สอนวิชาการเป็นหลัก มาสอนวิชาชีพเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และแนวทางการพัฒนาตามบริบทของพื้นที่โดยลักษณะการสอนจะเป็นแบบบูรณาการระหว่างโรงเรียนเอกชนระดับมัธยม และโรงเรียนนอกระบบมาร่วมกันจัดการเรียนการสอนวิชาชีพ เช่น การโรงแรมและการท่องเที่ยว ธุรกิจการบิน พาณิชย์นาวี คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ●รับทราบการถ่ายโอนภารกิจโครงการอาหารกลางวันสําหรับนักเรียนโรงเรียนเอกชน จากการประชุม กช. เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2560 ได้เสนอแนวทางการอุดหนุนโครงการอาหารกลางวันสําหรับนักเรียนโรงเรียนเอกชนโดยเห็นชอบในหลักการขอให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนโครงการอาหารกลางวันสําหรับนักเรียนในโรงเรียนเอกชน ระดับก่อนประถมศึกษาและระดับประถมศึกษาทุกคน ตั้งแต่ปีงบประมาณพ.ศ.2562 เป็นต้นไป สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ได้เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการบริหารแผนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและแผนปฏิบัติการกําหนดขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านการถ่ายโอนภารกิจ ซึ่งที่ประชุมมีมติให้กระทรวงศึกษาธิการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาแนวทางการอุดหนุนโครงการอาหารกลางวันสําหรับนักเรียนโรงเรียนเอกชน โดยไม่ต้องดําเนินการถ่ายโอนภารกิจโครงการอาหารกลางวันสําหรับนักเรียนในโรงเรียนเอกชน จากสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเนื่องจากเห็นว่าหากมีการถ่ายโอนภารกิจโครงการอาหารกลางวันสําหรับนักเรียนในโรงเรียนเอกชนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะส่งผลให้สัดส่วนรายได้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลเพิ่มขึ้น อาจทําให้สัดส่วนงบประมาณในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่นลดลง ● การหารือกรณีการเบิกเงินอุดหนุนซ้ําซ้อนในโรงเรียนเอกชนจังหวัดกาญจนบุรี ที่ประชุมได้รับทราบ สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ได้ลงพื้นที่ร่วมกับสํานักงานศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) กาญจนบุรีดําเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรีมีพฤติกรรมทุจริตด้วยการนํารายชื่อนักเรียนที่ไม่มีตัวตนมาเบิกเงินอุดหนุน โดยขณะนี้ ศธจ.กาญจนบุรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและได้มีหนังสือไปถึงโรงเรียนเอกชนดังกล่าวเพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบจํานวนนักเรียน เอกสารทะเบียนราษฎร์ และตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการแก้ไขเอกสารสูติบัตร ส่วนเด็กซ้ําซ้อนหลักฐานที่มีอยู่นั้นค่อนข้างชัดเจน ซึ่ง ศธจ.กาญจนบุรีกําลังเร่งตรวจสอบเพื่อรายงานให้ สช.ทราบต่อไปนอกจากนี้ยังได้ขยายผลการตรวจสอบไปยังโรงเรียนเอกชนทุกโรงเรียนในจังหวัดกาญจนบุรีด้วย รมว.ศึกษาธิการกล่าวเพิ่มเติมว่า กรณีมีการทุจริตเงินอุดหนุนการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเอกชนใน จ.กาญจนบุรี หรือในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่ามีมานานกว่า 10 ปีแล้ว แต่สาเหตุที่พบเจอในครั้งนี้เพราะมีผู้แจ้งเบาะแสให้ตรวจสอบ ซึ่งการทุจริตเงินอุดหนุนมีทั้งในรูปแบบที่เด็กเรียนอยู่ในโรงเรียนของ สพฐ. แต่ยังมีชื่อเบิกเงินอุดหนุนในโรงเรียนเอกชนหรือบางกรณีก็มีการสร้างชื่อและนําเลขประจําตัวประชาชนของเด็กอายุ 8 เดือนมาใช้ด้วยซึ่งหากจะต้องมีการตรวจสอบทั้งอายุและเลขประจําตัวประชาชนของเด็กด้วย คงต้องใช้เวลา ในขณะนี้ที่เจ้าหน้าที่ก็มีจํานวนจํากัด ดังนั้น ที่ประชุมจึงมอบให้คณะทํางาน โดยนายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการสภาการศึกษา เป็นประธาน ไปศึกษาแนวทางการปรับเพิ่มเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานนักเรียนโรงเรียนเอกชน ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 กําหนดให้ “รัฐจัดการศึกษาให้เด็กทุกคนอย่างเท่าเทียม” ซึ่งปัจจุบันนักเรียนโรงเรียนรัฐได้รับเงินรายหัวมากกว่านักเรียนโรงเรียนเอกชน ในขณะที่ผลการทดสอบโอเน็ตของนักเรียนโรงเรียนเอกชนสูงกว่าทุกรายวิชา ถือเป็นการลงทุนน้อยแต่ได้ผลมาก จึงให้คณะทํางานไปศึกษาในเรื่องนี้ และเป็นเรื่องที่สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้ศึกษาข้อมูลไว้แล้วเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา Writtenอิชยา กัปปา,นวรัตน์ รามสูต Photo Creditธนภัทรจันทร์ห้างหว้า, อิทธิพล รุ่งก่อน Rewriterนวรัตน์ รามสูต Editorบัลลังก์ โรหิตเสถียร
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผลประชุม กช. 1/2561 วันพุธที่ 11 เมษายน 2561 ผลประชุม กช. 1/2561 นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันจันทร์ที่ 9 เมษายน 2561 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) ครั้งที่1/2561 เมื่อวันจันทร์ที่ 9 เมษายน 2561 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ ● เห็นชอบระเบียบการจัดสรรเงินอุดหนุนฯ โรงเรียนเอกชนใน จชต. เพิ่มขึ้น 85% จาก มติ ครม. วันที่ 1 ตุลาคม 2556 เห็นชอบให้กระทรวงศึกษาธิการปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการจัดสรรเงินอุดหนุนรายบุคคลโรงเรียนประเภทสามัญศึกษา ศาสนาควบคู่สามัญ อาชีวศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จากร้อยละ 70 เป็นร้อยละ 85 ที่ประชุมจึงให้ความเห็นชอบ (ร่าง) ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนว่าด้วยการอุดหนุนพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2557 (ฉบับที่..) พ.ศ. ....เพื่อปรับอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลโรงเรียนประเภทสามัญศึกษา ศาสนาควบคู่สามัญ อาชีวศึกษาในเขตพื้นที่ จชต. ให้สอดคล้องกับอัตราค่าใช้จ่ายรายบุคคลไม่เกินร้อยละ 85ของอัตราค่าใช้จ่ายรายบุคคล โดยยกเลิกตารางอัตราเงินอุดหนุนแนบท้ายระเบียบเดิม และใช้ตารางอัตราเงินอุดหนุนแนบท้ายระเบียบนี้แทนมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560ดังนี้ ระดับการศึกษา อุดหนุนเพิ่ม(บาท/คน/ปี) 1. ก่อนประถมศึกษา (อ.1-อ.3) 2. ประถมศึกษา 3. มัธยมศึกษาตอนต้น 4. มัธยมศึกษาตอนปลาย (สายสามัญ) ระดับการศึกษา อุดหนุนเพิ่ม(บาท/คน/ปี) มัธยมศึกษาตอนปลาย - สายอาชีพ (ปวช.) 1. อุตสาหกรรม/สิ่งทอ 2. พาณิชยกรรม/ท่องเที่ยว 3. ศิลปกรรม 4. เกษตรกรรม/ประมง 5. คหกรรม ● เห็นชอบประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการโอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน ที่ประชุมให้ความเห็นชอบ (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการโอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน พ.ศ. .... ซึ่งเป็นการปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบันและมีความเหมาะสมยิ่งขึ้นสําหรับการโอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบและโรงเรียนนอกระบบ โดยมีสาระสําคัญคือยกเลิกประกาศฉบับเดิม, หลักเกณฑ์และวิธีการโอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบและนอกระบบ กําหนดบทเฉพาะกาล เป็นต้น ● เห็นชอบการกําหนดเครื่องแบบผู้อํานวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนเอกชน ที่ประชุมให้ความเห็นชอบ(ร่าง) ระเบียบว่าด้วยการกําหนดเครื่องแบบผู้อํานวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนเอกชน เพื่อเป็นการยกย่อง เชิดชูวิชาชีพครูโรงเรียนเอกชน ซึ่งมีสาระสําคัญคือ กําหนดชนิดของเครื่องแบบแบ่งเป็นเครื่องแบบปฏิบัติการสําหรับการปฏิบัติงานหรือเข้าร่วมพิธีกับหน่วยงานราชการอื่นและเครื่องแบบพิธีการสําหรับเข้าร่วมพิธีตามหมายกําหนดการของสํานักพระราชวังและพิธีที่ส่วนราชการอื่นกําหนดรวมทั้งกําหนดการแต่งกายในวันปฏิบัติงานโดยให้แต่งกายใช้แบบและสีที่สุภาพ เรียบร้อย เหมาะสมกับกาลเทศะ ●รับทราบโครงการส่งเสริมการจัดการศึกษาด้านอาชีพในโรงเรียนเอกชน จากนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ และนโยบายกระทรวงศึกษาธิการในการขับเคลื่อนการศึกษาระดับภาค เพื่อผลิตกําลังคนให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน และพบว่าผู้ปกครองนิยมส่งบุตรหลานเข้าโรงเรียนเอกชนในระดับก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษา เพราะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงรองจากโรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัย แต่ในระดับมัธยมศึกษาจะต่างกันคือนักเรียนที่เก่งจะเปลี่ยนไปเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐ ดังนั้น โรงเรียนเอกชนจึงต้องปรับตัวจากที่สอนวิชาการเป็นหลัก มาสอนวิชาชีพเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และแนวทางการพัฒนาตามบริบทของพื้นที่โดยลักษณะการสอนจะเป็นแบบบูรณาการระหว่างโรงเรียนเอกชนระดับมัธยม และโรงเรียนนอกระบบมาร่วมกันจัดการเรียนการสอนวิชาชีพ เช่น การโรงแรมและการท่องเที่ยว ธุรกิจการบิน พาณิชย์นาวี คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ●รับทราบการถ่ายโอนภารกิจโครงการอาหารกลางวันสําหรับนักเรียนโรงเรียนเอกชน จากการประชุม กช. เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2560 ได้เสนอแนวทางการอุดหนุนโครงการอาหารกลางวันสําหรับนักเรียนโรงเรียนเอกชนโดยเห็นชอบในหลักการขอให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนโครงการอาหารกลางวันสําหรับนักเรียนในโรงเรียนเอกชน ระดับก่อนประถมศึกษาและระดับประถมศึกษาทุกคน ตั้งแต่ปีงบประมาณพ.ศ.2562 เป็นต้นไป สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ได้เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการบริหารแผนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและแผนปฏิบัติการกําหนดขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านการถ่ายโอนภารกิจ ซึ่งที่ประชุมมีมติให้กระทรวงศึกษาธิการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาแนวทางการอุดหนุนโครงการอาหารกลางวันสําหรับนักเรียนโรงเรียนเอกชน โดยไม่ต้องดําเนินการถ่ายโอนภารกิจโครงการอาหารกลางวันสําหรับนักเรียนในโรงเรียนเอกชน จากสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเนื่องจากเห็นว่าหากมีการถ่ายโอนภารกิจโครงการอาหารกลางวันสําหรับนักเรียนในโรงเรียนเอกชนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะส่งผลให้สัดส่วนรายได้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลเพิ่มขึ้น อาจทําให้สัดส่วนงบประมาณในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่นลดลง ● การหารือกรณีการเบิกเงินอุดหนุนซ้ําซ้อนในโรงเรียนเอกชนจังหวัดกาญจนบุรี ที่ประชุมได้รับทราบ สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ได้ลงพื้นที่ร่วมกับสํานักงานศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) กาญจนบุรีดําเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรีมีพฤติกรรมทุจริตด้วยการนํารายชื่อนักเรียนที่ไม่มีตัวตนมาเบิกเงินอุดหนุน โดยขณะนี้ ศธจ.กาญจนบุรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและได้มีหนังสือไปถึงโรงเรียนเอกชนดังกล่าวเพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบจํานวนนักเรียน เอกสารทะเบียนราษฎร์ และตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการแก้ไขเอกสารสูติบัตร ส่วนเด็กซ้ําซ้อนหลักฐานที่มีอยู่นั้นค่อนข้างชัดเจน ซึ่ง ศธจ.กาญจนบุรีกําลังเร่งตรวจสอบเพื่อรายงานให้ สช.ทราบต่อไปนอกจากนี้ยังได้ขยายผลการตรวจสอบไปยังโรงเรียนเอกชนทุกโรงเรียนในจังหวัดกาญจนบุรีด้วย รมว.ศึกษาธิการกล่าวเพิ่มเติมว่า กรณีมีการทุจริตเงินอุดหนุนการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเอกชนใน จ.กาญจนบุรี หรือในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่ามีมานานกว่า 10 ปีแล้ว แต่สาเหตุที่พบเจอในครั้งนี้เพราะมีผู้แจ้งเบาะแสให้ตรวจสอบ ซึ่งการทุจริตเงินอุดหนุนมีทั้งในรูปแบบที่เด็กเรียนอยู่ในโรงเรียนของ สพฐ. แต่ยังมีชื่อเบิกเงินอุดหนุนในโรงเรียนเอกชนหรือบางกรณีก็มีการสร้างชื่อและนําเลขประจําตัวประชาชนของเด็กอายุ 8 เดือนมาใช้ด้วยซึ่งหากจะต้องมีการตรวจสอบทั้งอายุและเลขประจําตัวประชาชนของเด็กด้วย คงต้องใช้เวลา ในขณะนี้ที่เจ้าหน้าที่ก็มีจํานวนจํากัด ดังนั้น ที่ประชุมจึงมอบให้คณะทํางาน โดยนายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการสภาการศึกษา เป็นประธาน ไปศึกษาแนวทางการปรับเพิ่มเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานนักเรียนโรงเรียนเอกชน ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 กําหนดให้ “รัฐจัดการศึกษาให้เด็กทุกคนอย่างเท่าเทียม” ซึ่งปัจจุบันนักเรียนโรงเรียนรัฐได้รับเงินรายหัวมากกว่านักเรียนโรงเรียนเอกชน ในขณะที่ผลการทดสอบโอเน็ตของนักเรียนโรงเรียนเอกชนสูงกว่าทุกรายวิชา ถือเป็นการลงทุนน้อยแต่ได้ผลมาก จึงให้คณะทํางานไปศึกษาในเรื่องนี้ และเป็นเรื่องที่สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้ศึกษาข้อมูลไว้แล้วเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา Writtenอิชยา กัปปา,นวรัตน์ รามสูต Photo Creditธนภัทรจันทร์ห้างหว้า, อิทธิพล รุ่งก่อน Rewriterนวรัตน์ รามสูต Editorบัลลังก์ โรหิตเสถียร
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/11465
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“สนธิรัตน์”ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานของร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ
วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน 2561 “สนธิรัตน์”ลงพื้นที่ติดตามผลการดําเนินงานของร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ “สนธิรัตน์”ลงพื้นที่ติดตามผลการดําเนินงานของร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ ยืนยันรัฐบาลยังคงเดินหน้าใช้กลไกของร้านค้าช่วยลดภาระค่าครองชีพให้กับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เผยจะมีการติดตั้งเครื่องรูดบัตรครบ 40,000 แห่งภายในเดือน มิ.ย.นี้ ทําให้ร้านค้าครอบคลุมมากขึ้น ส่วนยอดใช้จ่ายล่าสุด 29,488 ล้านบาท มีสินค้าซื้อขายกว่า 100 ล้านรายการ นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า วันที่ 9 มิถุนายน 2561 ได้นําคณะผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ลงพื้นที่ติดตามการดําเนินงานโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ ณ ร้านค้าประชารัฐกองทุนหมู่บ้านบ่อพลับ หมู่ที่ 3 ตําบลเนินกว้าว อําเภอ โกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ โดยได้ยืนยันว่ารัฐบาลยังคงเดินหน้าใช้ร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ เป็นกลไกในการช่วยลดค่าครองชีพให้กับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและประชาชนผู้มีรายได้น้อย และกําลังจะพัฒนาร้านค้า ธงฟ้าประชารัฐให้เป็นร้านโชห่วยมืออาชีพ รวมถึงการเชื่อมโยงผู้ผลิต ให้จัดส่งสินค้าราคาถูกเข้าร้านค้า และเชื่อมโยงสินค้าเกษตร สินค้าชุมชน เพื่อให้ร้านค้ามีสินค้าที่หลากหลายและมีราคาถูกจําหน่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยดึงดูดให้ประชาชนเข้ามาใช้บริการ และทําให้ร้านค้ามีรายได้มากขึ้น สําหรับความคืบหน้าการติดตั้งเครื่องรับชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDC) ขณะนี้ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ได้ติดตั้งครบตามเป้าหมาย 30,000 ร้านแล้ว และในส่วนของสํานักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (กทบ) ที่รับผิดชอบติดตั้ง 10,000 แห่ง ขณะนี้ได้ติดตั้งไปแล้วประมาณ 1,800 ร้าน และคาดว่าภายในเดือนมิถุนายน 2561 นี้ จะติดตั้งได้ครบ และทําให้มีร้านค้าธงฟ้าประชารัฐที่ติดตั้งเครื่องรูดบัตรครบตามเป้าหมาย 40,000 แห่ง ทําให้มีร้านค้าครอบคลุมผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมากขึ้น ส่วนการใช้จ่ายเงินผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ตั้งแต่เริ่มเปิดตัวโครงการวันที่ 4 ตุลาคม 2560 ถึงวันที่ 5 มิถุนายน 2561 มียอดซื้อขายแล้ว 29,488 ล้านบาท และมีจํานวนสินค้าที่ซื้อขายกว่า 100 ล้านรายการ นายสนธิรัตน์กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ยังมีแผนที่จะหารือกับผู้ผลิตรายใหญ่ ในการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคราคาถูก ป้อนให้กับร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ โดยตั้งเป้าที่จะเปิดให้มีมุมสินค้าธงฟ้า ซึ่งจําหน่ายสินค้าราคาถูกให้กับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และประชาชนทั่วไป ได้เข้ามาเลือกซื้อสินค้า ซึ่งจะช่วยลด ค่าครองชีพได้อีกทางหนึ่ง และยังจะใช้ร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ เป็นที่ขายสินค้าเกษตร สินค้าชุมชน เพื่อเพิ่มความหลากหลายของสินค้าที่จําหน่ายให้กับร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ และช่วยให้เกษตรกร ผู้ผลิตสินค้าชุมชน มีช่องทางการจําหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังได้สั่งการให้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างผู้ผลิต ผู้ค้าส่ง และผู้ขนส่งสินค้า ในการจัดส่งสินค้าราคาถูกให้กับร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ โดยให้มีศูนย์กระจายสินค้าทั้งในระดับจังหวัดและอําเภอ เพื่อให้ร้านค้าธงฟ้าประชารัฐมีสินค้าจําหน่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยลดต้นทุนให้กับร้านค้า แต่ยังช่วยดึงดูดให้คนเข้าร้านเพิ่มมากขึ้นด้วย สําหรับจังหวัดนครสวรรค์ มีผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 208,954 ราย จากจําหน่ายประชากรทั้งหมด 1,065,868 คน ขณะนี้กรุงไทยรายงานว่า มีการติดตั้งเครื่องรูดบัตรแล้ว 397 เครื่อง แบ่งเป็นร้านค้า 395 ร้าน รถโมบายจํานวน 2 คัน
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“สนธิรัตน์”ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานของร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน 2561 “สนธิรัตน์”ลงพื้นที่ติดตามผลการดําเนินงานของร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ “สนธิรัตน์”ลงพื้นที่ติดตามผลการดําเนินงานของร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ ยืนยันรัฐบาลยังคงเดินหน้าใช้กลไกของร้านค้าช่วยลดภาระค่าครองชีพให้กับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เผยจะมีการติดตั้งเครื่องรูดบัตรครบ 40,000 แห่งภายในเดือน มิ.ย.นี้ ทําให้ร้านค้าครอบคลุมมากขึ้น ส่วนยอดใช้จ่ายล่าสุด 29,488 ล้านบาท มีสินค้าซื้อขายกว่า 100 ล้านรายการ นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า วันที่ 9 มิถุนายน 2561 ได้นําคณะผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ลงพื้นที่ติดตามการดําเนินงานโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ ณ ร้านค้าประชารัฐกองทุนหมู่บ้านบ่อพลับ หมู่ที่ 3 ตําบลเนินกว้าว อําเภอ โกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ โดยได้ยืนยันว่ารัฐบาลยังคงเดินหน้าใช้ร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ เป็นกลไกในการช่วยลดค่าครองชีพให้กับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและประชาชนผู้มีรายได้น้อย และกําลังจะพัฒนาร้านค้า ธงฟ้าประชารัฐให้เป็นร้านโชห่วยมืออาชีพ รวมถึงการเชื่อมโยงผู้ผลิต ให้จัดส่งสินค้าราคาถูกเข้าร้านค้า และเชื่อมโยงสินค้าเกษตร สินค้าชุมชน เพื่อให้ร้านค้ามีสินค้าที่หลากหลายและมีราคาถูกจําหน่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยดึงดูดให้ประชาชนเข้ามาใช้บริการ และทําให้ร้านค้ามีรายได้มากขึ้น สําหรับความคืบหน้าการติดตั้งเครื่องรับชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDC) ขณะนี้ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ได้ติดตั้งครบตามเป้าหมาย 30,000 ร้านแล้ว และในส่วนของสํานักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (กทบ) ที่รับผิดชอบติดตั้ง 10,000 แห่ง ขณะนี้ได้ติดตั้งไปแล้วประมาณ 1,800 ร้าน และคาดว่าภายในเดือนมิถุนายน 2561 นี้ จะติดตั้งได้ครบ และทําให้มีร้านค้าธงฟ้าประชารัฐที่ติดตั้งเครื่องรูดบัตรครบตามเป้าหมาย 40,000 แห่ง ทําให้มีร้านค้าครอบคลุมผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมากขึ้น ส่วนการใช้จ่ายเงินผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ตั้งแต่เริ่มเปิดตัวโครงการวันที่ 4 ตุลาคม 2560 ถึงวันที่ 5 มิถุนายน 2561 มียอดซื้อขายแล้ว 29,488 ล้านบาท และมีจํานวนสินค้าที่ซื้อขายกว่า 100 ล้านรายการ นายสนธิรัตน์กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ยังมีแผนที่จะหารือกับผู้ผลิตรายใหญ่ ในการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคราคาถูก ป้อนให้กับร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ โดยตั้งเป้าที่จะเปิดให้มีมุมสินค้าธงฟ้า ซึ่งจําหน่ายสินค้าราคาถูกให้กับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และประชาชนทั่วไป ได้เข้ามาเลือกซื้อสินค้า ซึ่งจะช่วยลด ค่าครองชีพได้อีกทางหนึ่ง และยังจะใช้ร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ เป็นที่ขายสินค้าเกษตร สินค้าชุมชน เพื่อเพิ่มความหลากหลายของสินค้าที่จําหน่ายให้กับร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ และช่วยให้เกษตรกร ผู้ผลิตสินค้าชุมชน มีช่องทางการจําหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังได้สั่งการให้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างผู้ผลิต ผู้ค้าส่ง และผู้ขนส่งสินค้า ในการจัดส่งสินค้าราคาถูกให้กับร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ โดยให้มีศูนย์กระจายสินค้าทั้งในระดับจังหวัดและอําเภอ เพื่อให้ร้านค้าธงฟ้าประชารัฐมีสินค้าจําหน่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยลดต้นทุนให้กับร้านค้า แต่ยังช่วยดึงดูดให้คนเข้าร้านเพิ่มมากขึ้นด้วย สําหรับจังหวัดนครสวรรค์ มีผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 208,954 ราย จากจําหน่ายประชากรทั้งหมด 1,065,868 คน ขณะนี้กรุงไทยรายงานว่า มีการติดตั้งเครื่องรูดบัตรแล้ว 397 เครื่อง แบ่งเป็นร้านค้า 395 ร้าน รถโมบายจํานวน 2 คัน
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/12926
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.ศธ.เข้าร่วมประชุม Education World Forum ที่สหราชอาณาจักร
วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม 2560 รมว.ศธ.เข้าร่วมประชุม Education World Forum ที่สหราชอาณาจักร นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้เข้าร่วมประชุม Education World Forum 2017 และร่วมงาน British Educational Training Technology Show (BETT) ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 23 - 28 มกราคม 2560 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทย ได้มีโอกาสพบปะและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเชิงนโยบายกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจากหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งผู้แทนจาก OECD และธนาคารโลก โดยได้หารือในเรื่องโอกาสและความท้าทายทางการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ที่มีประสิทธิภาพ ตามสภาวะของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสถานภาพทางสังคม โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทยได้กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง PISA in Thailand Policy Implications เมื่อวันอังคารที่ 24 มกราคม 2560 ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานจํานวนมาก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.ศธ.เข้าร่วมประชุม Education World Forum ที่สหราชอาณาจักร วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม 2560 รมว.ศธ.เข้าร่วมประชุม Education World Forum ที่สหราชอาณาจักร นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้เข้าร่วมประชุม Education World Forum 2017 และร่วมงาน British Educational Training Technology Show (BETT) ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 23 - 28 มกราคม 2560 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทย ได้มีโอกาสพบปะและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเชิงนโยบายกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจากหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งผู้แทนจาก OECD และธนาคารโลก โดยได้หารือในเรื่องโอกาสและความท้าทายทางการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ที่มีประสิทธิภาพ ตามสภาวะของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสถานภาพทางสังคม โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทยได้กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง PISA in Thailand Policy Implications เมื่อวันอังคารที่ 24 มกราคม 2560 ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานจํานวนมาก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/1477
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ทส. ร่วมการประชุมสุดยอดว่าด้วยการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ ค.ศ. ๒๐๑๙ (United Nations Climate Action Summit 2019)
วันจันทร์ที่ 30 กันยายน 2562 ทส. ร่วมการประชุมสุดยอดว่าด้วยการดําเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ ค.ศ. ๒๐๑๙ (United Nations Climate Action Summit 2019) ทส. ร่วมการประชุมสุดยอดว่าด้วยการดําเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ ค.ศ. ๒๐๑๙ (United Nations Climate Action Summit 2019) ทส. ร่วมการประชุมสุดยอดว่าด้วยการดําเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ ค.ศ. ๒๐๑๙ (United Nations Climate Action Summit 2019) เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๒ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นางรวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนายพิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิชย์ รองเลขาธิการสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมกับคณะผู้แทนไทย นําโดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยงานอื่น ๆ เข้าร่วมการประชุมสุดยอดว่าด้วยการดําเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ ค.ศ. ๒๐๑๙ (United Nations Climate Action Summit 2019) ในห้วงการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ ๗๔ ณ สํานักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก โดยการประชุมดังกล่าวเป็นข้อริเริ่มของเลขาธิการสหประชาชาติเพื่อยกระดับความมุ่งมั่นในการดําเนินการของประเทศและภาคส่วนต่าง ๆ ในการจํากัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก และบรรลุเป้าหมายของความตกลงปารีสภายใต้กรอบอนุสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถ้อยแถลงในนามประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อเน้นย้ําว่า ประเทศอาเซียนมีความเปราะบางต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาเซียนจึงให้ความสําคัญต่อการดําเนินการด้านสภาพภูมิอากาศทั้งในด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้ประกาศเป้าหมายที่สําคัญ (key targets) ของอาเซียนในด้านสภาพภูมิอากาศใน ๒ ด้าน ได้แก่ (๑) ด้านพลังงาน อาเซียนจะลดความเข้มข้นของการใช้พลังงานลงร้อยละ ๓๐ และเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนร้อยละ ๒๓ ภายในปี ค.ศ. ๒๐๒๕ และ (๒) ด้านการขนส่งทางบก อาเซียนจะลดการใช้เชื้อเพลิงเฉลี่ยของยานพาหนะขนาดเล็กที่จําหน่ายในอาเซียนร้อยละ ๒๖ ระหว่างปี ค.ศ. ๒๐๑๕ – ๒๐๒๕ รวมถึงจะเสนอและเสริมสร้างมาตรการนโยบายการคลังบนพื้นฐานการประหยัดพลังงานหรือการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระดับประเทศ และส่งเสริมการประกาศใช้มาตรฐานการใช้เชื้อเพลิงสําหรับยานพาหนะขนาดเล็กของแต่ละประเทศ พร้อมเน้นย้ําว่า การต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศและทุกภาคส่วน โดยอาเซียนพร้อมที่จะพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนกับประชาคมโลกในการดําเนินการเพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อประกันความยั่งยืนให้กับอนุชนรุ่นปัจจุบันและอนาคต แถลงการณ์ร่วมอาเซียนสําหรับการประชุมฯ (ASEAN Joint Statement to the United Nations Climate Action Summit 2019) เป็นข้อริเริ่มของไทยในฐานะประธานอาเซียน เนื่องจากไทยตระหนักถึงความสําคัญของการประชุมฯ และความจําเป็นในการร่วมมือร่วมใจกันของประชาคมโลกในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเป็นความท้าทายที่สําคัญของศตวรรษ โดยแถลงการณ์ร่วมที่ไทยได้จัดทําผ่านการเจรจากับประเทศสมาชิกอาเซียน สะท้อนเป้าหมายการดําเนินการที่เป็นรูปธรรมในด้านสภาพภูมิอากาศของอาเซียน และเน้นย้ําบทบาทของอาเซียนในฐานะหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในเวทีระหว่างประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดหลัก (theme) สําหรับการเป็นประธานอาเซียนของไทย คือ “Advancing Partnership for Sustainability” หรือ “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน”
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ทส. ร่วมการประชุมสุดยอดว่าด้วยการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ ค.ศ. ๒๐๑๙ (United Nations Climate Action Summit 2019) วันจันทร์ที่ 30 กันยายน 2562 ทส. ร่วมการประชุมสุดยอดว่าด้วยการดําเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ ค.ศ. ๒๐๑๙ (United Nations Climate Action Summit 2019) ทส. ร่วมการประชุมสุดยอดว่าด้วยการดําเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ ค.ศ. ๒๐๑๙ (United Nations Climate Action Summit 2019) ทส. ร่วมการประชุมสุดยอดว่าด้วยการดําเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ ค.ศ. ๒๐๑๙ (United Nations Climate Action Summit 2019) เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๒ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นางรวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนายพิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิชย์ รองเลขาธิการสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมกับคณะผู้แทนไทย นําโดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยงานอื่น ๆ เข้าร่วมการประชุมสุดยอดว่าด้วยการดําเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ ค.ศ. ๒๐๑๙ (United Nations Climate Action Summit 2019) ในห้วงการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ ๗๔ ณ สํานักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก โดยการประชุมดังกล่าวเป็นข้อริเริ่มของเลขาธิการสหประชาชาติเพื่อยกระดับความมุ่งมั่นในการดําเนินการของประเทศและภาคส่วนต่าง ๆ ในการจํากัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก และบรรลุเป้าหมายของความตกลงปารีสภายใต้กรอบอนุสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถ้อยแถลงในนามประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อเน้นย้ําว่า ประเทศอาเซียนมีความเปราะบางต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาเซียนจึงให้ความสําคัญต่อการดําเนินการด้านสภาพภูมิอากาศทั้งในด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้ประกาศเป้าหมายที่สําคัญ (key targets) ของอาเซียนในด้านสภาพภูมิอากาศใน ๒ ด้าน ได้แก่ (๑) ด้านพลังงาน อาเซียนจะลดความเข้มข้นของการใช้พลังงานลงร้อยละ ๓๐ และเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนร้อยละ ๒๓ ภายในปี ค.ศ. ๒๐๒๕ และ (๒) ด้านการขนส่งทางบก อาเซียนจะลดการใช้เชื้อเพลิงเฉลี่ยของยานพาหนะขนาดเล็กที่จําหน่ายในอาเซียนร้อยละ ๒๖ ระหว่างปี ค.ศ. ๒๐๑๕ – ๒๐๒๕ รวมถึงจะเสนอและเสริมสร้างมาตรการนโยบายการคลังบนพื้นฐานการประหยัดพลังงานหรือการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระดับประเทศ และส่งเสริมการประกาศใช้มาตรฐานการใช้เชื้อเพลิงสําหรับยานพาหนะขนาดเล็กของแต่ละประเทศ พร้อมเน้นย้ําว่า การต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศและทุกภาคส่วน โดยอาเซียนพร้อมที่จะพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนกับประชาคมโลกในการดําเนินการเพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อประกันความยั่งยืนให้กับอนุชนรุ่นปัจจุบันและอนาคต แถลงการณ์ร่วมอาเซียนสําหรับการประชุมฯ (ASEAN Joint Statement to the United Nations Climate Action Summit 2019) เป็นข้อริเริ่มของไทยในฐานะประธานอาเซียน เนื่องจากไทยตระหนักถึงความสําคัญของการประชุมฯ และความจําเป็นในการร่วมมือร่วมใจกันของประชาคมโลกในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเป็นความท้าทายที่สําคัญของศตวรรษ โดยแถลงการณ์ร่วมที่ไทยได้จัดทําผ่านการเจรจากับประเทศสมาชิกอาเซียน สะท้อนเป้าหมายการดําเนินการที่เป็นรูปธรรมในด้านสภาพภูมิอากาศของอาเซียน และเน้นย้ําบทบาทของอาเซียนในฐานะหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในเวทีระหว่างประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดหลัก (theme) สําหรับการเป็นประธานอาเซียนของไทย คือ “Advancing Partnership for Sustainability” หรือ “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน”
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/23502
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงดิจิทัลฯ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการ “๑ ตำบล ๑ โรงเรียนคุณภาพ” ลดความเหลื่อมล้ำด้านการจัดการศึกษาของประเทศ
วันพุธที่ 23 มกราคม 2562 กระทรวงดิจิทัลฯ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการ “๑ ตําบล ๑ โรงเรียนคุณภาพ” ลดความเหลื่อมล้ําด้านการจัดการศึกษาของประเทศ กระทรวงดิจิทัลฯ นายขจิต สุขุม ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะผู้แทนกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจําตําบล โดยโครงการ “๑ ตําบล ๑ โรงเรียนคุณภาพ “ เป็นนโยบายที่เน้นการพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานตามบริบทของตนเอง เกิดความเท่าเทียมและครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อลดความเหลื่อมล้ําด้านการจัดการศึกษาของประเทศ ซึ่งต้องอาศัยการมีส่วนร่วมที่เข้มแข็ง ที่ประกอบด้วย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงพลังงาน จึงจะทําให้โครงการดังกล่าวประสบผลสําเร็จ ขณะนี้ได้ดําเนินการคัดเลือกโรงเรียนเรียบร้อยแล้ว และเริ่มเปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2562 ณ ทําเนียบรัฐบาล โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานและแสดงปาฐกถาพิเศษ ********************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงดิจิทัลฯ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการ “๑ ตำบล ๑ โรงเรียนคุณภาพ” ลดความเหลื่อมล้ำด้านการจัดการศึกษาของประเทศ วันพุธที่ 23 มกราคม 2562 กระทรวงดิจิทัลฯ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการ “๑ ตําบล ๑ โรงเรียนคุณภาพ” ลดความเหลื่อมล้ําด้านการจัดการศึกษาของประเทศ กระทรวงดิจิทัลฯ นายขจิต สุขุม ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะผู้แทนกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจําตําบล โดยโครงการ “๑ ตําบล ๑ โรงเรียนคุณภาพ “ เป็นนโยบายที่เน้นการพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานตามบริบทของตนเอง เกิดความเท่าเทียมและครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อลดความเหลื่อมล้ําด้านการจัดการศึกษาของประเทศ ซึ่งต้องอาศัยการมีส่วนร่วมที่เข้มแข็ง ที่ประกอบด้วย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงพลังงาน จึงจะทําให้โครงการดังกล่าวประสบผลสําเร็จ ขณะนี้ได้ดําเนินการคัดเลือกโรงเรียนเรียบร้อยแล้ว และเริ่มเปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2562 ณ ทําเนียบรัฐบาล โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานและแสดงปาฐกถาพิเศษ ********************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/18312
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมต.นร. นายเทวัญฯ ลงพื้นที่ตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจขายรถยนต์ใช้แล้ว
วันพุธที่ 25 ธันวาคม 2562 รมต.นร. นายเทวัญฯ ลงพื้นที่ตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจขายรถยนต์ใช้แล้ว รมต.เทวัญฯ นําคณะ สคบ. ลงพื้นที่เร่งคุ้มครองสิทธิ์ผู้บริโภครถยนต์ใช้แล้ว หลังพบมีผู้ร้องเรียนกว่าร้อยราย วันนี้ (25 ธ.ค.62) เวลา 09.30 น. ที่ศูนย์รวมรถยนต์เดอะเบสท์ 5 บริเวณถนนกาญจนาภิเษก เขตตลิ่งชันกรุงเทพมหานคร นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายณัฎฐชัย ศรีรุ่งสุขพินิจ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี นําคณะเจ้าหน้าที่ของสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคลงพื้นที่ตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจขายรถยนต์ใช้แล้ว โดยมี พลตํารวจตรี ประสิทธิ์ เฉลิมวุฒิศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเข้าร่วม การลงพื้นที่ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิผู้บริโภคและคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรมในการซื้อรถยนต์ใช้แล้ว และแนะนําผู้ประกอบธุรกิจให้ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย ตลอดจนมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับผู้บริโภคที่จะเลือกซื้อรถยนต์ใช้แล้ว ตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการขายรถยนต์ใช้แล้วเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2562 มีวัตถุประสงค์เพื่อกํากับดูแลและควบคุมการขายรถยนต์ใช้แล้วซึ่งปัจจุบันพบว่ามีผู้บริโภคจํานวนกว่า 500 ราย ได้รับความเดือดร้อนจากการซื้อรถยนต์ใช้แล้ว เนื่องจากมีการปกปิดข้อมูลหรือไม่แจ้งข้อมูล ที่ถูกต้องเกี่ยวกับรถยนต์ใช้แล้ว ที่มีการซื้อขายกันในท้องตลาด เช่น มีการแก้ไขตัวเลขระยะทางการใช้รถยนต์ (แก้ไขเลขไมล์) ไม่ส่งมอบรถยนต์ตามที่ตกลงกันไว้ ส่งมอบรถยนต์ชํารุดบกพร่อง รถยนต์มีการดัดแปลงสภาพตัวถัง เครื่องยนต์ มีผลทําให้ไม่สามารถโอนทะเบียนได้ หรือแม้กระทั่งมีการริบเงินทั้งที่ผู้บริโภคไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา ทั้งนี้ สาระสําคัญของประกาศฉบับนี้ระบุไว้ ดังนี้ รถยนต์ใช้แล้วหมายถึงรถยนต์นั่งส่วนบุคคล หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจขาย แลกเปลี่ยนหรือจําหน่ายให้แก่ผู้บริโภค ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการประมูลหรือขายทอดตลาดรวมถึงการแยกขายเป็นชิ้นส่วน กําหนดเงื่อนไขสัญญารถยนต์ใช้แล้ว รายละเอียดเกี่ยวกับรถยนต์ใช้แล้ว (ตามความเป็นจริงที่ระบุไว้ในเล่มทะเบียนรถยนต์) กําหนดวัน เดือน ปี รับชําระเงิน กําหนดวัน เดือน ปี และสถานที่ส่งมอบรถยนต์ กําหนดการส่งมอบสมุดคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ และเอกสารที่เกี่ยวข้องในการโอน สิทธิในการบอกเลิกสัญญาของผู้บริโภค กําหนดระยะเวลาการคืนเงินภายใน 15 วัน ห้ามใช้สัญญาที่มีลักษณะยกเว้นความรับผิดผู้ขายหรือข้อสัญญาที่ให้สิทธิผู้ประกอบธุรกิจ เปลี่ยนแปลงราคาเปลี่ยนกําหนดวันส่งมอบ อันเป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้บริโภค หรือริบเงินเว้นแต่ผู้บริโภคเป็นฝ่ายผิดสัญญา ................................... กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมต.นร. นายเทวัญฯ ลงพื้นที่ตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจขายรถยนต์ใช้แล้ว วันพุธที่ 25 ธันวาคม 2562 รมต.นร. นายเทวัญฯ ลงพื้นที่ตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจขายรถยนต์ใช้แล้ว รมต.เทวัญฯ นําคณะ สคบ. ลงพื้นที่เร่งคุ้มครองสิทธิ์ผู้บริโภครถยนต์ใช้แล้ว หลังพบมีผู้ร้องเรียนกว่าร้อยราย วันนี้ (25 ธ.ค.62) เวลา 09.30 น. ที่ศูนย์รวมรถยนต์เดอะเบสท์ 5 บริเวณถนนกาญจนาภิเษก เขตตลิ่งชันกรุงเทพมหานคร นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายณัฎฐชัย ศรีรุ่งสุขพินิจ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี นําคณะเจ้าหน้าที่ของสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคลงพื้นที่ตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจขายรถยนต์ใช้แล้ว โดยมี พลตํารวจตรี ประสิทธิ์ เฉลิมวุฒิศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเข้าร่วม การลงพื้นที่ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิผู้บริโภคและคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรมในการซื้อรถยนต์ใช้แล้ว และแนะนําผู้ประกอบธุรกิจให้ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย ตลอดจนมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับผู้บริโภคที่จะเลือกซื้อรถยนต์ใช้แล้ว ตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการขายรถยนต์ใช้แล้วเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2562 มีวัตถุประสงค์เพื่อกํากับดูแลและควบคุมการขายรถยนต์ใช้แล้วซึ่งปัจจุบันพบว่ามีผู้บริโภคจํานวนกว่า 500 ราย ได้รับความเดือดร้อนจากการซื้อรถยนต์ใช้แล้ว เนื่องจากมีการปกปิดข้อมูลหรือไม่แจ้งข้อมูล ที่ถูกต้องเกี่ยวกับรถยนต์ใช้แล้ว ที่มีการซื้อขายกันในท้องตลาด เช่น มีการแก้ไขตัวเลขระยะทางการใช้รถยนต์ (แก้ไขเลขไมล์) ไม่ส่งมอบรถยนต์ตามที่ตกลงกันไว้ ส่งมอบรถยนต์ชํารุดบกพร่อง รถยนต์มีการดัดแปลงสภาพตัวถัง เครื่องยนต์ มีผลทําให้ไม่สามารถโอนทะเบียนได้ หรือแม้กระทั่งมีการริบเงินทั้งที่ผู้บริโภคไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา ทั้งนี้ สาระสําคัญของประกาศฉบับนี้ระบุไว้ ดังนี้ รถยนต์ใช้แล้วหมายถึงรถยนต์นั่งส่วนบุคคล หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจขาย แลกเปลี่ยนหรือจําหน่ายให้แก่ผู้บริโภค ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการประมูลหรือขายทอดตลาดรวมถึงการแยกขายเป็นชิ้นส่วน กําหนดเงื่อนไขสัญญารถยนต์ใช้แล้ว รายละเอียดเกี่ยวกับรถยนต์ใช้แล้ว (ตามความเป็นจริงที่ระบุไว้ในเล่มทะเบียนรถยนต์) กําหนดวัน เดือน ปี รับชําระเงิน กําหนดวัน เดือน ปี และสถานที่ส่งมอบรถยนต์ กําหนดการส่งมอบสมุดคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ และเอกสารที่เกี่ยวข้องในการโอน สิทธิในการบอกเลิกสัญญาของผู้บริโภค กําหนดระยะเวลาการคืนเงินภายใน 15 วัน ห้ามใช้สัญญาที่มีลักษณะยกเว้นความรับผิดผู้ขายหรือข้อสัญญาที่ให้สิทธิผู้ประกอบธุรกิจ เปลี่ยนแปลงราคาเปลี่ยนกําหนดวันส่งมอบ อันเป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้บริโภค หรือริบเงินเว้นแต่ผู้บริโภคเป็นฝ่ายผิดสัญญา ................................... กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/25470
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไทย-จีนกระชับความร่วมมือเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ
วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน 2560 ไทย-จีนกระชับความร่วมมือเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ ไทย-จีนกระชับความร่วมมือเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ วันนี้ (16 มิย 60) เวลา 17.30 น พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี ประชุมร่วมกับ นายหวัง เสี่ยวเฟิน รองประธานสํานักงานการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมด้วยคณะทํางานประสานความร่วมมือใน การกํากับดูแลการท่องเที่ยวไทย-จีน ณ โรงแรมดาราเทวี จ. เชียงใหม่ เพื่อให้การทํางานร่วมกันคล่องตัวมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงได้มอบหมายให้อธิบดีกรมการท่องเที่ยวทั้งสองฝ่าย เป็นผู้ประสานงานหลักของทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้ ฝ่ายจีนยินดีสนับสนุนการจัดปีท่องเที่ยวแห่งชาติ และจะไปหารือ เพื่อเตรียมเสนอในการประชุมครั้งต่อไปในเดือนพฤศจิกายน ที่กรุงปักกิ่ง รองนายกรัฐมนตรีกล่าวหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศจะแน่นแฟ้นยิ่งๆขึ้น เราจะดูแลนักท่องเที่ยวจีนเป็นอย่างดีเหมือนญาติ และจะเร่งดําเนินการทันทีหากมีการร้องเรียนใดๆ ด้านการท่องเที่ยว ท้องถิ่นทุกแห่งจะต้อนรับดูแลด้วยคุณภาพที่มีมาตรฐาน ด้วยการเป็น "เจ้าบ้านที่ดี" ในขณะที่ตํารวจจะเป็นฝ่ายสนับสนุน อํานวยความสะดวกและดูแลความปลอดภัย นายหวัง เสี่ยวเฟิน กล่าวว่า ที่ประเทศจีนมีการจัดระเบีนบ และตรวจสอบบริษัทนําเที่ยวกว่า 13,000 บริษัท ปรากฎว่า มี 700 บริษัทเข้าข่ายมีความผิด และมีจํานวน 400 ถูกลงโทษ และบางแห่งถูกยกเลิก หรือสั่งปิดกิจการ มีผลให้นักท่องเที่ยวลดลงไปบ้างเช่น ที่ยุนนาน 40% เสฉวน 30% ผลจากการเข้มงวดทําให้มีการปรับปรุงตัวเข้าสู่มาตรฐาน ทําให้มีคุณภาพมากขึ้น ปัจจุบันนี้ที่ มณฑลไหหลํา คืนสู่ปรกติแล้ว ในขณะที่ ยูนนาน ค่อยๆ ฟื้นตัวกลับขึ้นมา และในโอกาสนี้จีนยังได้ชื่นชมตํารวจท่องเที่ยวไทย ว่ามีประสิทธิภาพอยู่ในระดับต้นๆ ของโลก และขอเชิญไปแลกเปลี่ยนในการประชุมครั้งหน้าด้วย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไทย-จีนกระชับความร่วมมือเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน 2560 ไทย-จีนกระชับความร่วมมือเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ ไทย-จีนกระชับความร่วมมือเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ วันนี้ (16 มิย 60) เวลา 17.30 น พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี ประชุมร่วมกับ นายหวัง เสี่ยวเฟิน รองประธานสํานักงานการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมด้วยคณะทํางานประสานความร่วมมือใน การกํากับดูแลการท่องเที่ยวไทย-จีน ณ โรงแรมดาราเทวี จ. เชียงใหม่ เพื่อให้การทํางานร่วมกันคล่องตัวมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงได้มอบหมายให้อธิบดีกรมการท่องเที่ยวทั้งสองฝ่าย เป็นผู้ประสานงานหลักของทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้ ฝ่ายจีนยินดีสนับสนุนการจัดปีท่องเที่ยวแห่งชาติ และจะไปหารือ เพื่อเตรียมเสนอในการประชุมครั้งต่อไปในเดือนพฤศจิกายน ที่กรุงปักกิ่ง รองนายกรัฐมนตรีกล่าวหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศจะแน่นแฟ้นยิ่งๆขึ้น เราจะดูแลนักท่องเที่ยวจีนเป็นอย่างดีเหมือนญาติ และจะเร่งดําเนินการทันทีหากมีการร้องเรียนใดๆ ด้านการท่องเที่ยว ท้องถิ่นทุกแห่งจะต้อนรับดูแลด้วยคุณภาพที่มีมาตรฐาน ด้วยการเป็น "เจ้าบ้านที่ดี" ในขณะที่ตํารวจจะเป็นฝ่ายสนับสนุน อํานวยความสะดวกและดูแลความปลอดภัย นายหวัง เสี่ยวเฟิน กล่าวว่า ที่ประเทศจีนมีการจัดระเบีนบ และตรวจสอบบริษัทนําเที่ยวกว่า 13,000 บริษัท ปรากฎว่า มี 700 บริษัทเข้าข่ายมีความผิด และมีจํานวน 400 ถูกลงโทษ และบางแห่งถูกยกเลิก หรือสั่งปิดกิจการ มีผลให้นักท่องเที่ยวลดลงไปบ้างเช่น ที่ยุนนาน 40% เสฉวน 30% ผลจากการเข้มงวดทําให้มีการปรับปรุงตัวเข้าสู่มาตรฐาน ทําให้มีคุณภาพมากขึ้น ปัจจุบันนี้ที่ มณฑลไหหลํา คืนสู่ปรกติแล้ว ในขณะที่ ยูนนาน ค่อยๆ ฟื้นตัวกลับขึ้นมา และในโอกาสนี้จีนยังได้ชื่นชมตํารวจท่องเที่ยวไทย ว่ามีประสิทธิภาพอยู่ในระดับต้นๆ ของโลก และขอเชิญไปแลกเปลี่ยนในการประชุมครั้งหน้าด้วย
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/4607
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พระสงฆ์และผู้แสวงบุญ กลับจากอินเดีย แยกเข้าสู่กระบวนการคัดกรองและควบคุมโรคของรัฐ [กระทรวงกลาโหม]
วันศุกร์ที่ 24 เมษายน 2563 พระสงฆ์และผู้แสวงบุญ กลับจากอินเดีย แยกเข้าสู่กระบวนการคัดกรองและควบคุมโรคของรัฐ [กระทรวงกลาโหม] พระสงฆ์และผู้แสวงบุญ กลับจากอินเดีย แยกเข้าสู่กระบวนการคัดกรองและควบคุมโรคของรัฐ พล.ท.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษก กห. เปิดเผยว่า ระหว่าง 24 - 25 เม.ย.63 พระสงฆ์ จํานวน 226 รูป รวมทั้งแม่ชี ผู้แสวงบุญ และผู้ตกค้างในอินเดีย จํานวน 116 คน ณ เมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย จะเดินทางกลับไทย โดยสายการบิน Air Asia (เช่าเหมาลํา) จํานวน 2 เที่ยวบิน ในเส้นทางคยา - กรุงเทพฯ ( ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง ) ทั้งหมดจะเดินทางถึงประเทศไทย เที่ยวบินแรกใน 24 เม.ย.63 เวลา 1510 และเที่ยวบินถัดไปใน 25 เม.ย.63 เวลา 1510 โดยพระสงฆ์ทุกรูป รวมทั้งผู้แสวงบุญทั้งหมด จะต้องเข้าสู่กระบวนการคัดกรองโรค ณ ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง และเข้าสู่มาตรการกักตัวควบคุมโรคของรัฐในสถานที่ที่กําหนด โดยดําเนินการแยกพระสงฆ์ทุกรูป เข้าพักในพื้นที่ H2do Residence จว.สมุทรปราการ อยู่ในการกํากับของพระสังฆาธิการในพื้นที่ สําหรับผู้แสวงบุญทั้งหมด แยกเข้าพัก ณ รร.รัตนโกสินทร์ กทม. ภายใต้การดูแลของทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง .........
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พระสงฆ์และผู้แสวงบุญ กลับจากอินเดีย แยกเข้าสู่กระบวนการคัดกรองและควบคุมโรคของรัฐ [กระทรวงกลาโหม] วันศุกร์ที่ 24 เมษายน 2563 พระสงฆ์และผู้แสวงบุญ กลับจากอินเดีย แยกเข้าสู่กระบวนการคัดกรองและควบคุมโรคของรัฐ [กระทรวงกลาโหม] พระสงฆ์และผู้แสวงบุญ กลับจากอินเดีย แยกเข้าสู่กระบวนการคัดกรองและควบคุมโรคของรัฐ พล.ท.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษก กห. เปิดเผยว่า ระหว่าง 24 - 25 เม.ย.63 พระสงฆ์ จํานวน 226 รูป รวมทั้งแม่ชี ผู้แสวงบุญ และผู้ตกค้างในอินเดีย จํานวน 116 คน ณ เมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย จะเดินทางกลับไทย โดยสายการบิน Air Asia (เช่าเหมาลํา) จํานวน 2 เที่ยวบิน ในเส้นทางคยา - กรุงเทพฯ ( ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง ) ทั้งหมดจะเดินทางถึงประเทศไทย เที่ยวบินแรกใน 24 เม.ย.63 เวลา 1510 และเที่ยวบินถัดไปใน 25 เม.ย.63 เวลา 1510 โดยพระสงฆ์ทุกรูป รวมทั้งผู้แสวงบุญทั้งหมด จะต้องเข้าสู่กระบวนการคัดกรองโรค ณ ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง และเข้าสู่มาตรการกักตัวควบคุมโรคของรัฐในสถานที่ที่กําหนด โดยดําเนินการแยกพระสงฆ์ทุกรูป เข้าพักในพื้นที่ H2do Residence จว.สมุทรปราการ อยู่ในการกํากับของพระสังฆาธิการในพื้นที่ สําหรับผู้แสวงบุญทั้งหมด แยกเข้าพัก ณ รร.รัตนโกสินทร์ กทม. ภายใต้การดูแลของทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง .........
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/29705
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บทความ "สป.ศธ.อวดโฉมผลงานรอบ 4 ปี "ปฏิรูปการศึกษา" ตอบโจทย์แผนชาติ"
วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 บทความ "สป.ศธ.อวดโฉมผลงานรอบ 4 ปี "ปฏิรูปการศึกษา" ตอบโจทย์แผนชาติ" กระทรวงศึกษาธิการ โดยสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เผยแพร่บทความ "สป.ศธ.อวดโฉมผลงานรอบ 4 ปี "ปฏิรูปการศึกษา" ตอบโจทย์แผนชาติ" ในหนังสือพิมพ์ ASTVmanager ฉบับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 กระทรวงศึกษาธิการ โดยสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เผยแพร่บทความ "สป.ศธ.อวดโฉมผลงานรอบ 4 ปี "ปฏิรูปการศึกษา" ตอบโจทย์แผนชาติ" ในหนังสือพิมพ์ASTVmanagerฉบับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 Writtenby Photo Credit Rewriter/Editorบัลลังก์ โรหิตเสถียร
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บทความ "สป.ศธ.อวดโฉมผลงานรอบ 4 ปี "ปฏิรูปการศึกษา" ตอบโจทย์แผนชาติ" วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 บทความ "สป.ศธ.อวดโฉมผลงานรอบ 4 ปี "ปฏิรูปการศึกษา" ตอบโจทย์แผนชาติ" กระทรวงศึกษาธิการ โดยสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เผยแพร่บทความ "สป.ศธ.อวดโฉมผลงานรอบ 4 ปี "ปฏิรูปการศึกษา" ตอบโจทย์แผนชาติ" ในหนังสือพิมพ์ ASTVmanager ฉบับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 กระทรวงศึกษาธิการ โดยสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เผยแพร่บทความ "สป.ศธ.อวดโฉมผลงานรอบ 4 ปี "ปฏิรูปการศึกษา" ตอบโจทย์แผนชาติ" ในหนังสือพิมพ์ASTVmanagerฉบับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 Writtenby Photo Credit Rewriter/Editorบัลลังก์ โรหิตเสถียร
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/18502
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศฯ แต่งตั้ง ๕ ผู้บริหารระดับสูง ศธ.
วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม 2561 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศฯ แต่งตั้ง ๕ ผู้บริหารระดับสูง ศธ. โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงกระทรวงศึกษาธิการ ๕ รายแล้ว มีผลตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๑ ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๑ เผยแพร่ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ พ้นจากตําแหน่งเดิม และแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จํานวน ๕ ราย ดังนี้ ๑. นางวัฒนาพร ระงับทุกข์ พ้นจากตําแหน่ง รองปลัดกระทรวง สํานักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง รองเลขาธิการสภาการศึกษา สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ๒. นายอํานาจ วิชยานุวัติ พ้นจากตําแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สํานักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง รองปลัดกระทรวง สํานักงานปลัดกระทรวง ๓. นางสาวอุษณีย์ ธโนศวรรย์ พ้นจากตําแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สํานักงานปลัดกระทรวง ๔. นายศรีชัย พรประชาธรรม พ้นจากตําแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง เลขาธิการสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สํานักงานปลัดกระทรวง ๕. นายณรงค์ แผ้วพลสง พ้นจากตําแหน่ง ศึกษาธิการภาค สํานักงานศึกษาธิการภาค ๑๕ (เชียงใหม่) สํานักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สํานักงานปลัดกระทรวง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อ่านเพิ่มเติมราชกิจจานุเบกษา Rewriter/Editor บัลลังก์ โรหิตเสถียร
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศฯ แต่งตั้ง ๕ ผู้บริหารระดับสูง ศธ. วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม 2561 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศฯ แต่งตั้ง ๕ ผู้บริหารระดับสูง ศธ. โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงกระทรวงศึกษาธิการ ๕ รายแล้ว มีผลตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๑ ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๑ เผยแพร่ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ พ้นจากตําแหน่งเดิม และแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จํานวน ๕ ราย ดังนี้ ๑. นางวัฒนาพร ระงับทุกข์ พ้นจากตําแหน่ง รองปลัดกระทรวง สํานักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง รองเลขาธิการสภาการศึกษา สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ๒. นายอํานาจ วิชยานุวัติ พ้นจากตําแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สํานักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง รองปลัดกระทรวง สํานักงานปลัดกระทรวง ๓. นางสาวอุษณีย์ ธโนศวรรย์ พ้นจากตําแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สํานักงานปลัดกระทรวง ๔. นายศรีชัย พรประชาธรรม พ้นจากตําแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง เลขาธิการสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สํานักงานปลัดกระทรวง ๕. นายณรงค์ แผ้วพลสง พ้นจากตําแหน่ง ศึกษาธิการภาค สํานักงานศึกษาธิการภาค ๑๕ (เชียงใหม่) สํานักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สํานักงานปลัดกระทรวง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อ่านเพิ่มเติมราชกิจจานุเบกษา Rewriter/Editor บัลลังก์ โรหิตเสถียร
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/16040
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดแรงงาน เยี่ยมศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานภาค 2 ระยอง ชู"ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง"
วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม 2561 ปลัดแรงงาน เยี่ยมศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานภาค 2 ระยอง ชู"ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" "ปลัดแรงงาน" ลงพื้นที่จังหวัดระยอง เยี่ยมศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานภาค 2 เน้น ทํางานโดยใช้เครือข่ายช่วยบูรณาการหน่วยงานในพื้นที่ ถือประโยชน์ประชาชนเป็นที่ตั้ง คนงานต้องได้รับการดูแลทั้ง จิตใจและสังคม สุขภาพและการแพทย์ และด้านอาชีพให้ครบถ้วยทุกมิติ โดยไ นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงานได้เยี่ยมชมการดําเนินงานของศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน ภาค 2 พร้อมกับคณะกรรมการประกันสังคมและที่ปรึกษา ในคราวการประชุมสัญจร ครั้งที่ 3/2561 ณ จังหวัดระยอง ในการนี้ ปลัดกระทรวงแรงงาน ได้ชื่นชมการดําเนินการของศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน โดยให้เน้นย้ําการฟื้นฟูคนงานที่ได้รับบาดเจ็บหรือทุพพลภาพจากการทํางานให้ได้รับการดูแลทั้งด้านจิตใจและสังคมด้านสุขภาพและการแพทย์ และด้านอาชีพ นอกจากนี้ยัง ได้มอบนโยบายการดําเนินงานของศูนย์ฯ ว่าจะต้องขยายขอบเขตการให้บริการพร้อมทั้งให้ศึกษาความเป็นไปได้ โดยถือระเบียบ และประโยชน์ประชาชนและผู้ประกันตนเป็นหลัก ซึ่งจะต้องทํางานโดยบูรณาการกับหน่วยงานทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น ทํางานในลักษณะเครือข่ายแบบประชารัฐ เพื่อทําประโยชน์ให้กับพี่น้องประชาชนและสังคมส่วนรวมต่อไป ทั้งนี้ การพัฒนาฟื้นฟูคนงานจะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อให้คนงานดังกล่าวสามารถดํารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขและมีงานทําอย่างมีศักดิ์ศรี ท้ายสุดได้เน้นย้ํานโยบายของรัฐบาลที่มุ่งพัฒนาประเทศโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เพื่อลดความเหลื่อมล้ําและสร้างความเป็นธรรมในสังคม --------------------------------- กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์/ 12 พฤษภาคม 2561
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดแรงงาน เยี่ยมศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานภาค 2 ระยอง ชู"ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม 2561 ปลัดแรงงาน เยี่ยมศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานภาค 2 ระยอง ชู"ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" "ปลัดแรงงาน" ลงพื้นที่จังหวัดระยอง เยี่ยมศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานภาค 2 เน้น ทํางานโดยใช้เครือข่ายช่วยบูรณาการหน่วยงานในพื้นที่ ถือประโยชน์ประชาชนเป็นที่ตั้ง คนงานต้องได้รับการดูแลทั้ง จิตใจและสังคม สุขภาพและการแพทย์ และด้านอาชีพให้ครบถ้วยทุกมิติ โดยไ นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงานได้เยี่ยมชมการดําเนินงานของศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน ภาค 2 พร้อมกับคณะกรรมการประกันสังคมและที่ปรึกษา ในคราวการประชุมสัญจร ครั้งที่ 3/2561 ณ จังหวัดระยอง ในการนี้ ปลัดกระทรวงแรงงาน ได้ชื่นชมการดําเนินการของศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน โดยให้เน้นย้ําการฟื้นฟูคนงานที่ได้รับบาดเจ็บหรือทุพพลภาพจากการทํางานให้ได้รับการดูแลทั้งด้านจิตใจและสังคมด้านสุขภาพและการแพทย์ และด้านอาชีพ นอกจากนี้ยัง ได้มอบนโยบายการดําเนินงานของศูนย์ฯ ว่าจะต้องขยายขอบเขตการให้บริการพร้อมทั้งให้ศึกษาความเป็นไปได้ โดยถือระเบียบ และประโยชน์ประชาชนและผู้ประกันตนเป็นหลัก ซึ่งจะต้องทํางานโดยบูรณาการกับหน่วยงานทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น ทํางานในลักษณะเครือข่ายแบบประชารัฐ เพื่อทําประโยชน์ให้กับพี่น้องประชาชนและสังคมส่วนรวมต่อไป ทั้งนี้ การพัฒนาฟื้นฟูคนงานจะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อให้คนงานดังกล่าวสามารถดํารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขและมีงานทําอย่างมีศักดิ์ศรี ท้ายสุดได้เน้นย้ํานโยบายของรัฐบาลที่มุ่งพัฒนาประเทศโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เพื่อลดความเหลื่อมล้ําและสร้างความเป็นธรรมในสังคม --------------------------------- กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์/ 12 พฤษภาคม 2561
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/12197
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยภาคใต้ ภูเก็ต สงขลา สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช
วันพุธที่ 28 มีนาคม 2561 สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยภาคใต้ ภูเก็ต สงขลา สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ รายงานสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยภาคใต้ โดยเป็นผลสํารวจภาคสนามจากโครงการที่อยู่ระหว่างการขาย เฉพาะโครงการที่มีหน่วยเหลือขายไม่ต่ํากว่า 6 หน่วย ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต สงขลา สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ รายงานสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยภาคใต้ โดยเป็นผลสํารวจภาคสนามจากโครงการที่อยู่ระหว่างการขาย เฉพาะโครงการที่มีหน่วยเหลือขายไม่ต่ํากว่า 6 หน่วย ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต สงขลา สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช โดย ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานกลยุทธ์ 2 และรักษาการผู้อํานวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่าในปี 2560 ภาพรวมภาคใต้ 14 จังหวัด มีจํานวน Housing Stock ประมาณ 3.5 ล้านหลัง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.6 ของประเทศ เฉพาะพื้นที่ 4 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดภูเก็ต สงขลา สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช มีสัดส่วน Housing Stock รวมกันร้อยละ 51.9 ของ 14 จังหวัดภาคใต้ โดยมีสัดส่วนการโอนกรรมสิทธิ์จํานวน 27,628 หน่วย มูลค่ารวม 50,691 ล้านบาท ซึ่งจังหวัดภูเก็ตมีการโอนกรรมสิทธิ์ ปี 2560 จํานวนทั้งสิ้น 6,247 หน่วย คิดเป็นมูลค่า 17,579 ล้านบาท จังหวัดสงขลาจํานวน 5,432 หน่วย คิดเป็นมูลค่า 8,262 ล้านบาท จังหวัดสุราษฎร์ธานี จํานวน 4,219 หน่วย คิดเป็นมูลค่า 7,652 ล้านบาท และจังหวัดนครศรีธรรมราชจํานวน 3,207 หน่วยคิดเป็นมูลค่า 4,850 ล้านบาท ด้วยความเคลื่อนไหวดังกล่าวศูนย์ข้อมูลฯ จึงกําหนดเป็นพื้นที่ดําเนินการสํารวจภาคสนามโครงการที่อยู่อาศัยอยู่ระหว่างการขาย จากการสํารวจ ณ ไตรมาส 3 ปี 2560 พบความเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ ดังนี้ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดภูเก็ตมีโครงการที่มีหน่วยเหลือขายไม่ต่ํากว่า 6 หน่วย อยู่ระหว่างการขายจํานวน 154 โครงการ มีจํานวนหน่วยทั้งหมด 26,088 หน่วย มีมูลค่าโครงการรวม 123,187 ล้านบาท ประกอบด้วยบ้านจัดสรร 11,153 หน่วย (ลดลงจากปี 2559 ที่มี 13,246 หน่วย) และอาคารชุด 14,935 หน่วย (ลดลงจากปี 2559 ที่มี 16,311 หน่วย) โดยมีโครงการเปิดขายใหม่ในปี 2560 จํานวน 37 โครงการ จํานวน 4,907 หน่วยมีมูลค่าโครงการรวม 21,425 ล้านบาท เป็นบ้านจัดสรร 15 โครงการ จํานวน 1,039 หน่วย มีมูลค่าโครงการ 5,189 ล้านบาท เป็นอาคารชุด 22 โครงการ จํานวน 3,868 หน่วย มีมูลค่าโครงการ 16,236 ล้านบาท โดยภาพรวมจังหวัดภูเก็ตโครงการมีที่อยู่อาศัยประเภทอาคารชุดเสนอขายมากที่สุดร้อยละ 57.2 รองลงมาเป็นบ้านแฝดร้อยละ 13.9 และเป็นทาวน์เฮ้าส์ร้อยละ 13.5 ซึ่งทั้งหมดหนาแน่นอยู่ในพื้นที่อําเภอเมืองภูเก็ต ในประเภทบ้านจัดสรร มีโครงการบ้านจัดสรรซึ่งอยู่ระหว่างการขาย 70 โครงการ มีหน่วยในผังโครงการรวมกันประมาณ 11,153 หน่วย มีมูลค่าโครงการการตามหน่วยในผังรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 51,803 ล้านบาท ในประเภทอาคารชุด มีโครงการอาคารชุดซึ่งอยู่ระหว่างการขาย 84 โครงการ มีหน่วยในผังโครงการรวมกันประมาณ 14,935 หน่วย มูลค่าโครงการรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 71,384 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในระดับราคา 3.01 – 5.00 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 33.7 รองลงมาอยู่ในระดับราคา 2.01 – 3.00 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 28 และมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 4.72 ล้านบาท ด้านภาพรวมการขายพบว่ามีหน่วยที่ขายได้จํานวน 19,951 หน่วย หรือร้อยละ 76.5 (ต่อหน่วยทั้งหมด 26,088 หน่วย) มีมูลค่าโครงการขายได้รวม 91,531 ล้านบาท โดยอําเภอเมืองภูเก็ตมีสัดส่วนขายได้มากที่สุด ร้อยละ79.6 (ต่อหน่วยทั้งหมด 12,672 หน่วย) ขณะที่ภาพรวมหน่วยเหลือขาย จํานวน 6,137 หน่วย หรือร้อยละ 23.5 มีมูลค่าเหลือขาย 31,656 ล้านบาท และทาวน์เฮ้าส์มีหน่วยเหลือขายมากที่สุดร้อยละ 24.3 (ต่อหน่วยทั้งหมด 3,528 หน่วย) เป็นที่น่าสังเกตว่าอัตราการดูดซับต่อเดือน หรือ Absorption Rate ในปี 2560 ดีขึ้นจากปี 2559 โดยปรับขึ้นจากร้อยละ 6.5 ในปี 2559 เป็นร้อยละ 7.7 ในปี 2560 โดยเฉพาะกลุ่มราคา 5 ล้านบาทขึ้นไปมีอัตราดูดซับต่อเดือนเพิ่มขึ้น จังหวัดสงขลา (อําเภอหาดใหญ่ อําเภอเมือง และอําเภอสะเดา) จากการสํารวจพบว่ามีหน่วยที่อยู่อาศัยในผังของโครงการของผู้ประกอบการซึ่งอยู่ในระหว่างการขายทั้งสิ้น 139 โครงการ ประมาณ 11,053 หน่วย มีมูลค่าโครงการรวม 42,656 ล้านบาท แบ่งเป็นหน่วยบ้านจัดสรร จํานวน 122 โครงการ ประมาณ 7,981 หน่วย (ลดลงจากปี 2559 ที่มี 9,367หน่วย) และหน่วยห้องชุด จํานวน 17 โครงการ ประมาณ 3,072 หน่วย (ลดลงจากปี 2559 ที่มี 4,860 หน่วย) โดยมีจํานวนหน่วยอยู่ในอําเภอหาดใหญ่สูงสุดถึงร้อยละ 82.5 และเป็นโครงการเปิดขายใหม่ในปี 2560 จํานวน 33 โครงการ จํานวน 1,225 หน่วย มีมูลค่าโครงการรวม 3,564 ล้านบาท เป็นบ้านจัดสรร 32 โครงการ จํานวน 749 หน่วย มีมูลค่าโครงการ 2,628 ล้านบาท เป็นอาคารชุดเพียง 1 โครงการ จํานวน 476 หน่วย มีมูลค่าโครงการ 935 ล้านบาท โดยภาพรวมการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในจังหวัดสงขลาเป็นประเภทบ้านเดี่ยวมากที่สุดร้อยละ 30.9 รองลงมาเป็นอาคารชุดร้อยละ 27.8 อันดับสามเป็นทาวน์เฮ้าส์ร้อยละ 23 ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในระดับราคา 3.01 – 5.00 ลบ. คิดเป็นร้อยละ 33.4 รองลงมาอยู่ในระดับราคา 2.01 – 3.00 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 27.2 ในประเภทบ้านจัดสรร มีโครงการบ้านจัดสรรซึ่งอยู่ระหว่างการขายมากถึง 122 โครงการ แต่มีหน่วยในผังโครงการรวมกันเพียงประมาณ 7,981 หน่วย มีมูลค่าโครงการการตามหน่วยในผังรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 35,157 ล้านบาท ในประเภทอาคารชุด มีโครงการอาคารชุดซึ่งอยู่ระหว่างการขาย 17 โครงการ มีหน่วยในผังโครงการรวมกันประมาณ 3,072 หน่วย มูลค่าโครงการรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 7,499 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในระดับราคา 3.01 – 5.00 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 33.4 อาคารชุด ส่วนใหญ่อยู่ในระดับราคา 2.01 – 3.00 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 31.2 โดยภาพรวมการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในจังหวัดสงขลามีหน่วยขายได้จํานวน 7,792 หน่วย หรือ ร้อยละ 70.5 (ต่อหน่วยทั้งหมด 11,053 หน่วย) มีมูลค่าโครงการขายได้รวม 29,627 ล้านบาท ซึ่งอาคารชุดมีสัดส่วนขายได้มากที่สุดร้อยละ 76.6 (ต่อหน่วยทั้งหมด 3,072 หน่วย) มีหน่วยเหลือขายประมาณ 3,261 หน่วย มูลค่าหน่วยเหลือขายรวมประมาณ 13,029 ล้านบาท ด้านอัตราการดูดซับต่อเดือน หรือ Absorption Rate ในปี 2560 ดีขึ้นจากปี 2559 โดยปรับขึ้นจากร้อยละ 3 ในปี 2559 เป็นร้อยละ 5 ในปี 2560 โดยมีอัตราดูดซับต่อเดือนเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มราคา จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อําเภอเมืองสุราษฎร์ธานี และเกาะสมุย) จากการสํารวจพบว่ามีหน่วยที่อยู่อาศัยในผังของโครงการของผู้ประกอบการซึ่งอยู่ในระหว่างการขายทั้งสิ้น 102 โครงการ มีจํานวนหน่วยทั้งหมด 7,718 หน่วย มีมูลค่าโครงการรวม 26,865 ล้านบาท เป็นบ้านจัดสรร 6,116 หน่วย (เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ที่มี 5,845 หน่วย) เป็นอาคารชุด 1,602 หน่วย (ลดลงจากปี 2559 ที่มี 1,722 หน่วย) โดยมีจํานวนหน่วยอยู่ในอําเภอเมืองสุราษฎร์ธานี สูงถึงร้อยละ 86.2 และมีโครงการเปิดขายใหม่ในปี 2560 จํานวน 23 โครงการ เป็นบ้านจัดสรรทั้งหมด โดยมีจํานวน 1,129 หน่วย มีมูลค่าโครงการรวม 3,279 ล้านบาท โดยภาพรวมการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในพื้นที่อําเภอเมืองสุราษฎร์ธานี และเกาะสมุยเป็นบ้านเดี่ยวมากที่สุดร้อยละ 42.3 รองลงมาเป็นอาคารชุดร้อย 20.8 และอันดับสามเป็นทาวน์เฮ้าส์ร้อยละ 15.2 ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในระดับราคา 3.01– 5.00 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 34.3 รองลงมาอยู่ในระดับราคา 2.01 – 3.00 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 31.6 โดยภาพรวมราคาเฉลี่ยอยู่ที่ราคา 3.48 ล้านบาท ในประเภทบ้านจัดสรร มีโครงการบ้านจัดสรรซึ่งอยู่ระหว่างการขายโดยอยู่ในอําเภอเมืองสุราษฎร์ธานี และเกาะสมุย ทั้งหมด 91 โครงการ มีหน่วยในผังโครงการรวมกันประมาณ 6,116 หน่วย มีมูลค่าโครงการการตามหน่วยในผังรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 22,482 ล้านบาท ในประเภทอาคารชุด มีโครงการอาคารชุดซึ่งอยู่ระหว่างการขายโดยอยู่ในอําเภอเมืองสุราษฎร์ธานีทั้งหมด 11 โครงการ มีหน่วยในผังโครงการรวมกันประมาณ 1,602 หน่วย มูลค่าโครงการรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 4,384 ล้านบาท โดยภาพรวมการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในพื้นที่อําเภอเมืองสุราษฎร์ธานี และเกาะสมุย มีหน่วยขายได้ 5,113 หน่วย หรือร้อยละ 66.2 (ต่อหน่วยทั้งหมด 7,718 หน่วย) มีมูลค่าโครงการขายได้รวม 17,640 ล้านบาท โดยอําเภอเมืองสุราษฎร์ธานี มีสัดส่วนขายได้มากที่สุดร้อยละ 68.2 (ต่อหน่วยทั้งหมด 6,651หน่วย) อาคารชุดมีสัดส่วนขายได้มากที่สุดหรือร้อยละ 83.5 (ต่อหน่วยทั้งหมด 1,602 หน่วย) โดยมีหน่วยเหลือขาย 2,605 หน่วย หรือร้อยละ 33.8 มีมูลค่าเหลือขาย 9,225 ล้านบาท และบ้านแฝดเหลือขายมากที่สุดร้อยละ 62 (ต่อหน่วยทั้งหมด 1,165 หน่วย) ด้านอัตราการดูดซับต่อเดือน หรือ Absorption Rate ในปี 2560 ดีขึ้นจากปี 2559 โดยปรับขึ้นจากร้อยละ 4.9 ในปี 2559 เป็นร้อยละ 5 ในปี 2560 โดยมีอัตราดูดซับต่อเดือนเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มราคา ยกเว้นกลุ่มราคาต่ํากว่า 1 ล้านบาท จังหวัดนครศรีธรรมราช (อําเภอเมืองนครศรีธรรมราช) จากการสํารวจพบว่ามีหน่วยที่อยู่อาศัยในผังโครงการของผู้ประกอบการซึ่งอยู่ในระหว่างการขายทั้งสิ้น 35 โครงการ มีจํานวนหน่วยทั้งหมด 5,197 หน่วย มีมูลค่าโครงการรวม 19,356 ล้านบาท เป็นบ้านจัดสรร 5,043 หน่วย (เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ที่มี 4,549 หน่วย) เป็นอาคารชุด 154 หน่วย (ลดลงจากปี 2559 ที่มี 385 หน่วย) โดยมีโครงการเปิดขายใหม่ในปี 2560 มีจํานวน 9 โครงการ เป็นบ้านจัดสรรทั้งหมด มีจํานวน 901หน่วย มีมูลค่าโครงการรวม 3,688 ล้านบาท มีหน่วยที่อยู่อาศัยในผังของโครงการของผู้ประกอบการซึ่งอยู่ในระหว่างการขายทั้งสิ้นประมาณ 5,197 หน่วย แบ่งเป็นหน่วยบ้านจัดสรรประมาณ 5,043 หน่วย อาคารชุดประมาณ 154 หน่วย ซึ่งโครงการส่วนใหญ่อยู่ในระดับราคา 3.01 – 5.00 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 55.6รองลงมาอยู่ในระดับราคา 2.01 – 3.00 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 22.5 ในประเภทบ้านจัดสรร มีโครงการบ้านจัดสรรซึ่งอยู่ระหว่างการขายโดยอยู่ในอําเภอเมืองนครศรีธรรมราชทั้งหมด 34 โครงการ มีหน่วยในผังโครงการรวมกันประมาณ 5,043 หน่วย มีมูลค่าโครงการตามหน่วยในผังรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 19,149 ล้านบาท ในประเภทอาคารชุด มีโครงการอาคารชุดซึ่งอยู่ระหว่างการขายเพียง 1 โครงการ มีหน่วยในผังโครงการรวมกันประมาณ 154 หน่วย มูลค่าโครงการรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 208 ล้านบาท โดยภาพรวมการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในพื้นที่อําเภอเมืองนครศรีธรรมราช มีหน่วยขายได้ 3,406 หน่วย หรือร้อยละ 65.5 (ต่อหน่วยทั้งหมด 5,197 หน่วย) มีมูลค่าโครงการขายได้รวม 12,932 ล้านบาท และอาคารชุดมีสัดส่วนขายได้มากที่สุดร้อยละ 96 (ต่อหน่วยทั้งหมด 154 หน่วย) มีหน่วยเหลือขาย 1,791 หน่วย หรือร้อยละ 34.5 มีมูลค่าหน่วยเหลือขาย 6,964 ล้านบาท โดยบ้านแฝดเหลือขายมากที่สุดร้อยละ 64.5 (ต่อหน่วยทั้งหมด 837 หน่วย) ด้านอัตราการดูดซับต่อเดือน หรือ Absorption Rate ในปี 2560 ลดลงจากปี 2559 โดยปรับลดลงจากร้อยละ 7.7 ในปี 2559 เป็นร้อยละ 4.7 ในปี 2560 โดยมีอัตราดูดซับต่อเดือนลดลงอย่างมากในกลุ่มราคา 1.5-3 ล้านบาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 0-2645-9675-6 ฝ่ายประชาสัมพันธ์และบริการข้อมูล ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยภาคใต้ ภูเก็ต สงขลา สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช วันพุธที่ 28 มีนาคม 2561 สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยภาคใต้ ภูเก็ต สงขลา สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ รายงานสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยภาคใต้ โดยเป็นผลสํารวจภาคสนามจากโครงการที่อยู่ระหว่างการขาย เฉพาะโครงการที่มีหน่วยเหลือขายไม่ต่ํากว่า 6 หน่วย ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต สงขลา สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ รายงานสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยภาคใต้ โดยเป็นผลสํารวจภาคสนามจากโครงการที่อยู่ระหว่างการขาย เฉพาะโครงการที่มีหน่วยเหลือขายไม่ต่ํากว่า 6 หน่วย ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต สงขลา สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช โดย ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานกลยุทธ์ 2 และรักษาการผู้อํานวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่าในปี 2560 ภาพรวมภาคใต้ 14 จังหวัด มีจํานวน Housing Stock ประมาณ 3.5 ล้านหลัง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.6 ของประเทศ เฉพาะพื้นที่ 4 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดภูเก็ต สงขลา สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช มีสัดส่วน Housing Stock รวมกันร้อยละ 51.9 ของ 14 จังหวัดภาคใต้ โดยมีสัดส่วนการโอนกรรมสิทธิ์จํานวน 27,628 หน่วย มูลค่ารวม 50,691 ล้านบาท ซึ่งจังหวัดภูเก็ตมีการโอนกรรมสิทธิ์ ปี 2560 จํานวนทั้งสิ้น 6,247 หน่วย คิดเป็นมูลค่า 17,579 ล้านบาท จังหวัดสงขลาจํานวน 5,432 หน่วย คิดเป็นมูลค่า 8,262 ล้านบาท จังหวัดสุราษฎร์ธานี จํานวน 4,219 หน่วย คิดเป็นมูลค่า 7,652 ล้านบาท และจังหวัดนครศรีธรรมราชจํานวน 3,207 หน่วยคิดเป็นมูลค่า 4,850 ล้านบาท ด้วยความเคลื่อนไหวดังกล่าวศูนย์ข้อมูลฯ จึงกําหนดเป็นพื้นที่ดําเนินการสํารวจภาคสนามโครงการที่อยู่อาศัยอยู่ระหว่างการขาย จากการสํารวจ ณ ไตรมาส 3 ปี 2560 พบความเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ ดังนี้ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดภูเก็ตมีโครงการที่มีหน่วยเหลือขายไม่ต่ํากว่า 6 หน่วย อยู่ระหว่างการขายจํานวน 154 โครงการ มีจํานวนหน่วยทั้งหมด 26,088 หน่วย มีมูลค่าโครงการรวม 123,187 ล้านบาท ประกอบด้วยบ้านจัดสรร 11,153 หน่วย (ลดลงจากปี 2559 ที่มี 13,246 หน่วย) และอาคารชุด 14,935 หน่วย (ลดลงจากปี 2559 ที่มี 16,311 หน่วย) โดยมีโครงการเปิดขายใหม่ในปี 2560 จํานวน 37 โครงการ จํานวน 4,907 หน่วยมีมูลค่าโครงการรวม 21,425 ล้านบาท เป็นบ้านจัดสรร 15 โครงการ จํานวน 1,039 หน่วย มีมูลค่าโครงการ 5,189 ล้านบาท เป็นอาคารชุด 22 โครงการ จํานวน 3,868 หน่วย มีมูลค่าโครงการ 16,236 ล้านบาท โดยภาพรวมจังหวัดภูเก็ตโครงการมีที่อยู่อาศัยประเภทอาคารชุดเสนอขายมากที่สุดร้อยละ 57.2 รองลงมาเป็นบ้านแฝดร้อยละ 13.9 และเป็นทาวน์เฮ้าส์ร้อยละ 13.5 ซึ่งทั้งหมดหนาแน่นอยู่ในพื้นที่อําเภอเมืองภูเก็ต ในประเภทบ้านจัดสรร มีโครงการบ้านจัดสรรซึ่งอยู่ระหว่างการขาย 70 โครงการ มีหน่วยในผังโครงการรวมกันประมาณ 11,153 หน่วย มีมูลค่าโครงการการตามหน่วยในผังรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 51,803 ล้านบาท ในประเภทอาคารชุด มีโครงการอาคารชุดซึ่งอยู่ระหว่างการขาย 84 โครงการ มีหน่วยในผังโครงการรวมกันประมาณ 14,935 หน่วย มูลค่าโครงการรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 71,384 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในระดับราคา 3.01 – 5.00 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 33.7 รองลงมาอยู่ในระดับราคา 2.01 – 3.00 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 28 และมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 4.72 ล้านบาท ด้านภาพรวมการขายพบว่ามีหน่วยที่ขายได้จํานวน 19,951 หน่วย หรือร้อยละ 76.5 (ต่อหน่วยทั้งหมด 26,088 หน่วย) มีมูลค่าโครงการขายได้รวม 91,531 ล้านบาท โดยอําเภอเมืองภูเก็ตมีสัดส่วนขายได้มากที่สุด ร้อยละ79.6 (ต่อหน่วยทั้งหมด 12,672 หน่วย) ขณะที่ภาพรวมหน่วยเหลือขาย จํานวน 6,137 หน่วย หรือร้อยละ 23.5 มีมูลค่าเหลือขาย 31,656 ล้านบาท และทาวน์เฮ้าส์มีหน่วยเหลือขายมากที่สุดร้อยละ 24.3 (ต่อหน่วยทั้งหมด 3,528 หน่วย) เป็นที่น่าสังเกตว่าอัตราการดูดซับต่อเดือน หรือ Absorption Rate ในปี 2560 ดีขึ้นจากปี 2559 โดยปรับขึ้นจากร้อยละ 6.5 ในปี 2559 เป็นร้อยละ 7.7 ในปี 2560 โดยเฉพาะกลุ่มราคา 5 ล้านบาทขึ้นไปมีอัตราดูดซับต่อเดือนเพิ่มขึ้น จังหวัดสงขลา (อําเภอหาดใหญ่ อําเภอเมือง และอําเภอสะเดา) จากการสํารวจพบว่ามีหน่วยที่อยู่อาศัยในผังของโครงการของผู้ประกอบการซึ่งอยู่ในระหว่างการขายทั้งสิ้น 139 โครงการ ประมาณ 11,053 หน่วย มีมูลค่าโครงการรวม 42,656 ล้านบาท แบ่งเป็นหน่วยบ้านจัดสรร จํานวน 122 โครงการ ประมาณ 7,981 หน่วย (ลดลงจากปี 2559 ที่มี 9,367หน่วย) และหน่วยห้องชุด จํานวน 17 โครงการ ประมาณ 3,072 หน่วย (ลดลงจากปี 2559 ที่มี 4,860 หน่วย) โดยมีจํานวนหน่วยอยู่ในอําเภอหาดใหญ่สูงสุดถึงร้อยละ 82.5 และเป็นโครงการเปิดขายใหม่ในปี 2560 จํานวน 33 โครงการ จํานวน 1,225 หน่วย มีมูลค่าโครงการรวม 3,564 ล้านบาท เป็นบ้านจัดสรร 32 โครงการ จํานวน 749 หน่วย มีมูลค่าโครงการ 2,628 ล้านบาท เป็นอาคารชุดเพียง 1 โครงการ จํานวน 476 หน่วย มีมูลค่าโครงการ 935 ล้านบาท โดยภาพรวมการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในจังหวัดสงขลาเป็นประเภทบ้านเดี่ยวมากที่สุดร้อยละ 30.9 รองลงมาเป็นอาคารชุดร้อยละ 27.8 อันดับสามเป็นทาวน์เฮ้าส์ร้อยละ 23 ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในระดับราคา 3.01 – 5.00 ลบ. คิดเป็นร้อยละ 33.4 รองลงมาอยู่ในระดับราคา 2.01 – 3.00 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 27.2 ในประเภทบ้านจัดสรร มีโครงการบ้านจัดสรรซึ่งอยู่ระหว่างการขายมากถึง 122 โครงการ แต่มีหน่วยในผังโครงการรวมกันเพียงประมาณ 7,981 หน่วย มีมูลค่าโครงการการตามหน่วยในผังรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 35,157 ล้านบาท ในประเภทอาคารชุด มีโครงการอาคารชุดซึ่งอยู่ระหว่างการขาย 17 โครงการ มีหน่วยในผังโครงการรวมกันประมาณ 3,072 หน่วย มูลค่าโครงการรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 7,499 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในระดับราคา 3.01 – 5.00 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 33.4 อาคารชุด ส่วนใหญ่อยู่ในระดับราคา 2.01 – 3.00 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 31.2 โดยภาพรวมการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในจังหวัดสงขลามีหน่วยขายได้จํานวน 7,792 หน่วย หรือ ร้อยละ 70.5 (ต่อหน่วยทั้งหมด 11,053 หน่วย) มีมูลค่าโครงการขายได้รวม 29,627 ล้านบาท ซึ่งอาคารชุดมีสัดส่วนขายได้มากที่สุดร้อยละ 76.6 (ต่อหน่วยทั้งหมด 3,072 หน่วย) มีหน่วยเหลือขายประมาณ 3,261 หน่วย มูลค่าหน่วยเหลือขายรวมประมาณ 13,029 ล้านบาท ด้านอัตราการดูดซับต่อเดือน หรือ Absorption Rate ในปี 2560 ดีขึ้นจากปี 2559 โดยปรับขึ้นจากร้อยละ 3 ในปี 2559 เป็นร้อยละ 5 ในปี 2560 โดยมีอัตราดูดซับต่อเดือนเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มราคา จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อําเภอเมืองสุราษฎร์ธานี และเกาะสมุย) จากการสํารวจพบว่ามีหน่วยที่อยู่อาศัยในผังของโครงการของผู้ประกอบการซึ่งอยู่ในระหว่างการขายทั้งสิ้น 102 โครงการ มีจํานวนหน่วยทั้งหมด 7,718 หน่วย มีมูลค่าโครงการรวม 26,865 ล้านบาท เป็นบ้านจัดสรร 6,116 หน่วย (เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ที่มี 5,845 หน่วย) เป็นอาคารชุด 1,602 หน่วย (ลดลงจากปี 2559 ที่มี 1,722 หน่วย) โดยมีจํานวนหน่วยอยู่ในอําเภอเมืองสุราษฎร์ธานี สูงถึงร้อยละ 86.2 และมีโครงการเปิดขายใหม่ในปี 2560 จํานวน 23 โครงการ เป็นบ้านจัดสรรทั้งหมด โดยมีจํานวน 1,129 หน่วย มีมูลค่าโครงการรวม 3,279 ล้านบาท โดยภาพรวมการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในพื้นที่อําเภอเมืองสุราษฎร์ธานี และเกาะสมุยเป็นบ้านเดี่ยวมากที่สุดร้อยละ 42.3 รองลงมาเป็นอาคารชุดร้อย 20.8 และอันดับสามเป็นทาวน์เฮ้าส์ร้อยละ 15.2 ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในระดับราคา 3.01– 5.00 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 34.3 รองลงมาอยู่ในระดับราคา 2.01 – 3.00 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 31.6 โดยภาพรวมราคาเฉลี่ยอยู่ที่ราคา 3.48 ล้านบาท ในประเภทบ้านจัดสรร มีโครงการบ้านจัดสรรซึ่งอยู่ระหว่างการขายโดยอยู่ในอําเภอเมืองสุราษฎร์ธานี และเกาะสมุย ทั้งหมด 91 โครงการ มีหน่วยในผังโครงการรวมกันประมาณ 6,116 หน่วย มีมูลค่าโครงการการตามหน่วยในผังรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 22,482 ล้านบาท ในประเภทอาคารชุด มีโครงการอาคารชุดซึ่งอยู่ระหว่างการขายโดยอยู่ในอําเภอเมืองสุราษฎร์ธานีทั้งหมด 11 โครงการ มีหน่วยในผังโครงการรวมกันประมาณ 1,602 หน่วย มูลค่าโครงการรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 4,384 ล้านบาท โดยภาพรวมการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในพื้นที่อําเภอเมืองสุราษฎร์ธานี และเกาะสมุย มีหน่วยขายได้ 5,113 หน่วย หรือร้อยละ 66.2 (ต่อหน่วยทั้งหมด 7,718 หน่วย) มีมูลค่าโครงการขายได้รวม 17,640 ล้านบาท โดยอําเภอเมืองสุราษฎร์ธานี มีสัดส่วนขายได้มากที่สุดร้อยละ 68.2 (ต่อหน่วยทั้งหมด 6,651หน่วย) อาคารชุดมีสัดส่วนขายได้มากที่สุดหรือร้อยละ 83.5 (ต่อหน่วยทั้งหมด 1,602 หน่วย) โดยมีหน่วยเหลือขาย 2,605 หน่วย หรือร้อยละ 33.8 มีมูลค่าเหลือขาย 9,225 ล้านบาท และบ้านแฝดเหลือขายมากที่สุดร้อยละ 62 (ต่อหน่วยทั้งหมด 1,165 หน่วย) ด้านอัตราการดูดซับต่อเดือน หรือ Absorption Rate ในปี 2560 ดีขึ้นจากปี 2559 โดยปรับขึ้นจากร้อยละ 4.9 ในปี 2559 เป็นร้อยละ 5 ในปี 2560 โดยมีอัตราดูดซับต่อเดือนเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มราคา ยกเว้นกลุ่มราคาต่ํากว่า 1 ล้านบาท จังหวัดนครศรีธรรมราช (อําเภอเมืองนครศรีธรรมราช) จากการสํารวจพบว่ามีหน่วยที่อยู่อาศัยในผังโครงการของผู้ประกอบการซึ่งอยู่ในระหว่างการขายทั้งสิ้น 35 โครงการ มีจํานวนหน่วยทั้งหมด 5,197 หน่วย มีมูลค่าโครงการรวม 19,356 ล้านบาท เป็นบ้านจัดสรร 5,043 หน่วย (เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ที่มี 4,549 หน่วย) เป็นอาคารชุด 154 หน่วย (ลดลงจากปี 2559 ที่มี 385 หน่วย) โดยมีโครงการเปิดขายใหม่ในปี 2560 มีจํานวน 9 โครงการ เป็นบ้านจัดสรรทั้งหมด มีจํานวน 901หน่วย มีมูลค่าโครงการรวม 3,688 ล้านบาท มีหน่วยที่อยู่อาศัยในผังของโครงการของผู้ประกอบการซึ่งอยู่ในระหว่างการขายทั้งสิ้นประมาณ 5,197 หน่วย แบ่งเป็นหน่วยบ้านจัดสรรประมาณ 5,043 หน่วย อาคารชุดประมาณ 154 หน่วย ซึ่งโครงการส่วนใหญ่อยู่ในระดับราคา 3.01 – 5.00 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 55.6รองลงมาอยู่ในระดับราคา 2.01 – 3.00 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 22.5 ในประเภทบ้านจัดสรร มีโครงการบ้านจัดสรรซึ่งอยู่ระหว่างการขายโดยอยู่ในอําเภอเมืองนครศรีธรรมราชทั้งหมด 34 โครงการ มีหน่วยในผังโครงการรวมกันประมาณ 5,043 หน่วย มีมูลค่าโครงการตามหน่วยในผังรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 19,149 ล้านบาท ในประเภทอาคารชุด มีโครงการอาคารชุดซึ่งอยู่ระหว่างการขายเพียง 1 โครงการ มีหน่วยในผังโครงการรวมกันประมาณ 154 หน่วย มูลค่าโครงการรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 208 ล้านบาท โดยภาพรวมการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในพื้นที่อําเภอเมืองนครศรีธรรมราช มีหน่วยขายได้ 3,406 หน่วย หรือร้อยละ 65.5 (ต่อหน่วยทั้งหมด 5,197 หน่วย) มีมูลค่าโครงการขายได้รวม 12,932 ล้านบาท และอาคารชุดมีสัดส่วนขายได้มากที่สุดร้อยละ 96 (ต่อหน่วยทั้งหมด 154 หน่วย) มีหน่วยเหลือขาย 1,791 หน่วย หรือร้อยละ 34.5 มีมูลค่าหน่วยเหลือขาย 6,964 ล้านบาท โดยบ้านแฝดเหลือขายมากที่สุดร้อยละ 64.5 (ต่อหน่วยทั้งหมด 837 หน่วย) ด้านอัตราการดูดซับต่อเดือน หรือ Absorption Rate ในปี 2560 ลดลงจากปี 2559 โดยปรับลดลงจากร้อยละ 7.7 ในปี 2559 เป็นร้อยละ 4.7 ในปี 2560 โดยมีอัตราดูดซับต่อเดือนลดลงอย่างมากในกลุ่มราคา 1.5-3 ล้านบาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 0-2645-9675-6 ฝ่ายประชาสัมพันธ์และบริการข้อมูล ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/11129
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมช.มท. เป็นประธานแถลงข่าวการจัดงาน OTOP CITY 2017 ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบปลายปี ยกสินค้า OTOP ของขวัญของฝากจากภูมิปัญญามาจำหน่ายกว่า 2 หมื่นรายการ ตั้งเป้ายอดจำหน่าย 1.2 พันล้านบาท
วันพฤหัสบดีที่ 14 ธันวาคม 2560 รมช.มท. เป็นประธานแถลงข่าวการจัดงาน OTOP CITY 2017 ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบปลายปี ยกสินค้า OTOP ของขวัญของฝากจากภูมิปัญญามาจําหน่ายกว่า 2 หมื่นรายการ ตั้งเป้ายอดจําหน่าย 1.2 พันล้านบาท รมช.มท. เป็นประธานแถลงข่าวการจัดงาน OTOP CITY 2017 ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบปลายปี ยกสินค้า OTOP ของขวัญของฝากจากภูมิปัญญามาจําหน่ายกว่า 2 หมื่นรายการ ตั้งเป้ายอดจําหน่าย 1.2 พันล้านบาท วันนี้ (14 ธ.ค.60) เวลา 14:00 น. ณ ลานอีเดน ชั้น 3 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ นายสุธี มากบุญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการแถลงข่าวการจัดงาน “OTOP CITY 2017 ของขวัญจากภูมิปัญญา ประชารัฐ สร้างโอกาส สร้างอาชีพ สร้างรายได้” ซึ่งกระทรวงมหาดไทย กําหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 17 - 25 ธันวาคมนี้ ตั้งแต่เวลา 10:00 – 21:00 น. ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1 - 3 อิมแพคเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี โดยมี นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ร่วมในการแถลงข่าวฯ โอกาสนี้ นายสุธี มากบุญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า การจัดงาน OTOP CITY 2017 ของขวัญจากภูมิปัญญา ประชารัฐ สร้างโอกาส สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ในครั้งนี้ เป็นงานที่รัฐบาลให้ความสําคัญและสนับสนุนการส่งเสริมการตลาดของผู้ประกอบการ OTOP ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบปลายปี ซึ่งมีความพิเศษและกิจกรรมที่หลากหลาย และเป็นโอกาสที่ดีที่ประเทศไทยจะได้แสดงให้ชาวไทยและชาวต่างชาติได้เห็นถึงความก้าวหน้าในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ที่เป็นภูมิปัญญาของคนไทย และคาดหวังว่าการจัดงานครั้งนี้จะช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ตลอดจนสมาชิกกลุ่มอาชีพต่าง ๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ การจัดงาน OTOP CITY 2017 ของขวัญจากภูมิปัญญา ประชารัฐ สร้างโอกาส สร้างอาชีพ สร้างรายได้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 13 โดยกําหนดจัดงานในระหว่างวันที่ 17 – 25 ธันวาคม 2560 รวม 9 วัน ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1 – 3 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี อําเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยตั้งเป้ายอดการจําหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ภายในงาน 1.2 พันล้านบาท คาดการณ์จะมีประชาชนเยี่ยมชมงานไม่น้อยกว่า 4 แสนคน สามารถกระจายรายได้ให้เศรษฐกิจชุมชนฐานรากให้มีความเข้มแข็ง ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศมากขึ้น ด้าน นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า การจัดงาน OTOP CITY 2017 แบ่งเป็น 12 โซน คือ นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ภายใต้แนวคิด “ดวงใจราษฎร์ สืบสานศาสตร์ วัฒนาประชาไทย” และจัดแสดงสินค้าที่น่าสนใจอีก 11 โซน เช่น โซน Unseen หมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว จัดแสดงวิถีชีวิต สาธิตการแสดงวัฒนธรรมไทย 4 ภาค และจําหน่ายผลิตภัณฑ์ จํานวน 34 หมู่บ้าน 28 จังหวัด ภายใต้แนวคิด “ถนนสายชา ตระการตาวัฒนธรรม อร่อยล้ําอาหารพื้นบ้าน”, โซน OTOP Masterpiece เป็นโซนของขวัญระดับ Premium ที่จัดแสดงและจําหน่ายผลิตภัณฑ์จาก 50 ศิลปิน OTOP ที่มีความโดดเด่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และโซน OTOP ของขวัญของฝากจัดจําหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ที่จัดเป็นชุดของฝาก กระเช้าของขวัญ และกิ๊ฟเซ็ทต่าง ๆ โดยทุกโซนถือเป็นการคัดสรรสุดยอดผลิตภัณฑ์มาจําหน่ายในราคาพิเศษมากกว่า 20,000 รายการ จํานวนกว่า 2,500 ร้านค้า สุดท้าย นายสุธี มากบุญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้กล่าวเชิญชวนพี่น้องประชาชนร่วมสนับสนุนและให้กําลังใจกลุ่มผู้ผลิตและผู้ประกอบการ OTOP พบกับสุดยอดสินค้า OTOP คุณภาพดีจากทุกภาคทั่วประเทศ ที่คัดสรรมาให้เลือกชิม ชม ช็อป เพื่อเป็นของขวัญ ของฝาก มอบกับผู้ที่เคารพนับถือ ในงาน “OTOP CITY 2017 ของขวัญจากภูมิปัญญา ประชารัฐ สร้างโอกาส สร้างอาชีพ สร้างรายได้” ระหว่างวันที่ 17 - 25 ธันวาคมนี้ ตั้งแต่เวลา 10.00 - 21.00 น. ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1 - 3 อิมแพคเมืองทองธานี อําเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. ครั้งที่ 192/2560 กองสารนิเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย โทร 0-22224131-2
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมช.มท. เป็นประธานแถลงข่าวการจัดงาน OTOP CITY 2017 ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบปลายปี ยกสินค้า OTOP ของขวัญของฝากจากภูมิปัญญามาจำหน่ายกว่า 2 หมื่นรายการ ตั้งเป้ายอดจำหน่าย 1.2 พันล้านบาท วันพฤหัสบดีที่ 14 ธันวาคม 2560 รมช.มท. เป็นประธานแถลงข่าวการจัดงาน OTOP CITY 2017 ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบปลายปี ยกสินค้า OTOP ของขวัญของฝากจากภูมิปัญญามาจําหน่ายกว่า 2 หมื่นรายการ ตั้งเป้ายอดจําหน่าย 1.2 พันล้านบาท รมช.มท. เป็นประธานแถลงข่าวการจัดงาน OTOP CITY 2017 ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบปลายปี ยกสินค้า OTOP ของขวัญของฝากจากภูมิปัญญามาจําหน่ายกว่า 2 หมื่นรายการ ตั้งเป้ายอดจําหน่าย 1.2 พันล้านบาท วันนี้ (14 ธ.ค.60) เวลา 14:00 น. ณ ลานอีเดน ชั้น 3 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ นายสุธี มากบุญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการแถลงข่าวการจัดงาน “OTOP CITY 2017 ของขวัญจากภูมิปัญญา ประชารัฐ สร้างโอกาส สร้างอาชีพ สร้างรายได้” ซึ่งกระทรวงมหาดไทย กําหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 17 - 25 ธันวาคมนี้ ตั้งแต่เวลา 10:00 – 21:00 น. ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1 - 3 อิมแพคเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี โดยมี นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ร่วมในการแถลงข่าวฯ โอกาสนี้ นายสุธี มากบุญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า การจัดงาน OTOP CITY 2017 ของขวัญจากภูมิปัญญา ประชารัฐ สร้างโอกาส สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ในครั้งนี้ เป็นงานที่รัฐบาลให้ความสําคัญและสนับสนุนการส่งเสริมการตลาดของผู้ประกอบการ OTOP ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบปลายปี ซึ่งมีความพิเศษและกิจกรรมที่หลากหลาย และเป็นโอกาสที่ดีที่ประเทศไทยจะได้แสดงให้ชาวไทยและชาวต่างชาติได้เห็นถึงความก้าวหน้าในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ที่เป็นภูมิปัญญาของคนไทย และคาดหวังว่าการจัดงานครั้งนี้จะช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ตลอดจนสมาชิกกลุ่มอาชีพต่าง ๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ การจัดงาน OTOP CITY 2017 ของขวัญจากภูมิปัญญา ประชารัฐ สร้างโอกาส สร้างอาชีพ สร้างรายได้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 13 โดยกําหนดจัดงานในระหว่างวันที่ 17 – 25 ธันวาคม 2560 รวม 9 วัน ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1 – 3 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี อําเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยตั้งเป้ายอดการจําหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ภายในงาน 1.2 พันล้านบาท คาดการณ์จะมีประชาชนเยี่ยมชมงานไม่น้อยกว่า 4 แสนคน สามารถกระจายรายได้ให้เศรษฐกิจชุมชนฐานรากให้มีความเข้มแข็ง ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศมากขึ้น ด้าน นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า การจัดงาน OTOP CITY 2017 แบ่งเป็น 12 โซน คือ นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ภายใต้แนวคิด “ดวงใจราษฎร์ สืบสานศาสตร์ วัฒนาประชาไทย” และจัดแสดงสินค้าที่น่าสนใจอีก 11 โซน เช่น โซน Unseen หมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว จัดแสดงวิถีชีวิต สาธิตการแสดงวัฒนธรรมไทย 4 ภาค และจําหน่ายผลิตภัณฑ์ จํานวน 34 หมู่บ้าน 28 จังหวัด ภายใต้แนวคิด “ถนนสายชา ตระการตาวัฒนธรรม อร่อยล้ําอาหารพื้นบ้าน”, โซน OTOP Masterpiece เป็นโซนของขวัญระดับ Premium ที่จัดแสดงและจําหน่ายผลิตภัณฑ์จาก 50 ศิลปิน OTOP ที่มีความโดดเด่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และโซน OTOP ของขวัญของฝากจัดจําหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ที่จัดเป็นชุดของฝาก กระเช้าของขวัญ และกิ๊ฟเซ็ทต่าง ๆ โดยทุกโซนถือเป็นการคัดสรรสุดยอดผลิตภัณฑ์มาจําหน่ายในราคาพิเศษมากกว่า 20,000 รายการ จํานวนกว่า 2,500 ร้านค้า สุดท้าย นายสุธี มากบุญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้กล่าวเชิญชวนพี่น้องประชาชนร่วมสนับสนุนและให้กําลังใจกลุ่มผู้ผลิตและผู้ประกอบการ OTOP พบกับสุดยอดสินค้า OTOP คุณภาพดีจากทุกภาคทั่วประเทศ ที่คัดสรรมาให้เลือกชิม ชม ช็อป เพื่อเป็นของขวัญ ของฝาก มอบกับผู้ที่เคารพนับถือ ในงาน “OTOP CITY 2017 ของขวัญจากภูมิปัญญา ประชารัฐ สร้างโอกาส สร้างอาชีพ สร้างรายได้” ระหว่างวันที่ 17 - 25 ธันวาคมนี้ ตั้งแต่เวลา 10.00 - 21.00 น. ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1 - 3 อิมแพคเมืองทองธานี อําเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. ครั้งที่ 192/2560 กองสารนิเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย โทร 0-22224131-2
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/8770
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีหารือนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในโอกาสการเข้าร่วมงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น
วันพุธที่ 23 ตุลาคม 2562 นายกรัฐมนตรีหารือนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในโอกาสการเข้าร่วมงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรีหารือนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในโอกาสการเข้าร่วมงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น วันนี้ (23 ตุลาคม 2562) เวลา 12.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พบหารือทวิภาคีกับนายชินโซ อาเบะ (H.E. Mr. Shinzo Abe) นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ในห้วงการเข้าร่วม พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น ณ ทําเนียบรับรองของรัฐบาลญี่ปุ่น (State Guesthouse) สรุปสาระสําคัญดังนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวในนามของรัฐบาลและประชาชนไทย แสดงความยินดี เนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น โดยนายกรัฐมนตรีชื่นชมรัฐบาลญี่ปุ่นที่จัดพระราชพิธีได้อย่างสมพระเกียรติ ปีนี้ถือเป็นปีมหามงคลของทั้งไทยและญี่ปุ่น โดยไทยได้จัดพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีแสดงความเชื่อมั่นว่า ภายใต้การนําและกํากับดูแลของนายกรัฐมนตรีอาเบะ และการบริหารจัดการภัยพิบัติที่เป็นเลิศของรัฐบาลญี่ปุ่น จะทําให้ญี่ปุ่นจะสามารถฟื้นตัวจากเหตุการณ์ไต้ฝุ่นฮากิบิสได้อย่างรวดเร็ว นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นขอบคุณนายกรัฐมนตรีที่มาร่วมงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของของสมเด็จพระจักรพรรดิ แห่งญี่ปุ่น และหวังว่าจะพบกันในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 (ASEAN Summit) ในต้นเดือน พฤศจิกายนนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะร่วมมือเพื่อผลักดันประเด็นความร่วมมือ ทั้งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การส่งเสริม การลงทุน และการยกระดับอุตสาหกรรมเป้าหมายใน EEC การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการค้าเสรี และความร่วมมือในการพัฒนาประเทศที่สาม รวมทั้งเห็นพ้องจะเร่งผลักดันการเจรจา RCEP ให้สําเร็จ รวมทั้งขยายผลความร่วมมือลุ่มน้ําโขงกับญี่ปุ่น และการเข้าร่วม TPP ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงความพร้อมของไทย ในการจัดการประชุมผู้นํากรอบความร่วมมือ ลุ่มน้ําโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 11 ในฐานะประธานร่วมกับญี่ปุ่น ในวันที่ 4 พฤศจิกายนนี้ที่กรุงเทพฯ โดย ไทยมุ่งมั่นที่จะทํางานอย่างใกล้ชิดกับญี่ปุ่นในการขับเคลื่อนการดําเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์กรุงโตเกียว ค.ศ. 2018 และข้อริเริ่มลุ่มน้ําโขงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 จากนั้นในเวลา 18.00 น. นายกรัฐมนตรีและภริยาเข้าร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ําที่นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และภริยา เป็นเจ้าภาพเลี้ยง เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้เข้าร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น ณ โรงแรมนิวโอตานิ โตเกียว ในเวลา 00.20 น. ของวันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม 2562 นายกรัฐมนตรีและภริยา พร้อมด้วยคณะ จะเดินทางออกจากท่าอากาศยานฮาเนดะ กรุงโตเกียว ญี่ปุ่น โดยจะเดินทางถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการในเวลา 04.50 น. ในวันเดียวกัน
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีหารือนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในโอกาสการเข้าร่วมงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น วันพุธที่ 23 ตุลาคม 2562 นายกรัฐมนตรีหารือนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในโอกาสการเข้าร่วมงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรีหารือนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในโอกาสการเข้าร่วมงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น วันนี้ (23 ตุลาคม 2562) เวลา 12.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พบหารือทวิภาคีกับนายชินโซ อาเบะ (H.E. Mr. Shinzo Abe) นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ในห้วงการเข้าร่วม พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น ณ ทําเนียบรับรองของรัฐบาลญี่ปุ่น (State Guesthouse) สรุปสาระสําคัญดังนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวในนามของรัฐบาลและประชาชนไทย แสดงความยินดี เนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น โดยนายกรัฐมนตรีชื่นชมรัฐบาลญี่ปุ่นที่จัดพระราชพิธีได้อย่างสมพระเกียรติ ปีนี้ถือเป็นปีมหามงคลของทั้งไทยและญี่ปุ่น โดยไทยได้จัดพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีแสดงความเชื่อมั่นว่า ภายใต้การนําและกํากับดูแลของนายกรัฐมนตรีอาเบะ และการบริหารจัดการภัยพิบัติที่เป็นเลิศของรัฐบาลญี่ปุ่น จะทําให้ญี่ปุ่นจะสามารถฟื้นตัวจากเหตุการณ์ไต้ฝุ่นฮากิบิสได้อย่างรวดเร็ว นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นขอบคุณนายกรัฐมนตรีที่มาร่วมงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของของสมเด็จพระจักรพรรดิ แห่งญี่ปุ่น และหวังว่าจะพบกันในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 (ASEAN Summit) ในต้นเดือน พฤศจิกายนนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะร่วมมือเพื่อผลักดันประเด็นความร่วมมือ ทั้งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การส่งเสริม การลงทุน และการยกระดับอุตสาหกรรมเป้าหมายใน EEC การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการค้าเสรี และความร่วมมือในการพัฒนาประเทศที่สาม รวมทั้งเห็นพ้องจะเร่งผลักดันการเจรจา RCEP ให้สําเร็จ รวมทั้งขยายผลความร่วมมือลุ่มน้ําโขงกับญี่ปุ่น และการเข้าร่วม TPP ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงความพร้อมของไทย ในการจัดการประชุมผู้นํากรอบความร่วมมือ ลุ่มน้ําโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 11 ในฐานะประธานร่วมกับญี่ปุ่น ในวันที่ 4 พฤศจิกายนนี้ที่กรุงเทพฯ โดย ไทยมุ่งมั่นที่จะทํางานอย่างใกล้ชิดกับญี่ปุ่นในการขับเคลื่อนการดําเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์กรุงโตเกียว ค.ศ. 2018 และข้อริเริ่มลุ่มน้ําโขงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 จากนั้นในเวลา 18.00 น. นายกรัฐมนตรีและภริยาเข้าร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ําที่นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และภริยา เป็นเจ้าภาพเลี้ยง เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้เข้าร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น ณ โรงแรมนิวโอตานิ โตเกียว ในเวลา 00.20 น. ของวันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม 2562 นายกรัฐมนตรีและภริยา พร้อมด้วยคณะ จะเดินทางออกจากท่าอากาศยานฮาเนดะ กรุงโตเกียว ญี่ปุ่น โดยจะเดินทางถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการในเวลา 04.50 น. ในวันเดียวกัน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/24006
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สรุปผลจัดทำแผนบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค (ภาคใต้) ของกระทรวงศึกษาธิการ
วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2560 สรุปผลจัดทําแผนบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค (ภาคใต้) ของกระทรวงศึกษาธิการ พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษา รมช.ศธ. รับฟังการนําเสนอการจัดทําแผนบูรณาการด้านการศึกษาภาคใต้ ฝากให้ทุกหน่วยงานร่วมกันวางแนวทางจัดทําแผนบูรณาการด้านการศึกษา กําหนดโครงการพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษา รมช.ศธ. รับฟังการนําเสนอการจัดทําแผนบูรณาการด้านการศึกษาภาคใต้ ฝากให้ทุกหน่วยงานร่วมกันวางแนวทางจัดทําแผนบูรณาการด้านการศึกษา กําหนดโครงการพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ มององค์ประกอบแต่ละพื้นที่ให้รอบด้าน ภายใต้กรอบภารกิจหลักของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อการพัฒนาและบูรณาการด้านการศึกษาให้เกิดความยั่งยืน จังหวัดภูเก็ต – เมื่อวันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2560 เวลา 10.00 น. พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รับฟังการนําเสนอการจัดทําแผนบูรณาการด้านการศึกษา ของสํานักงานศึกษาธิการภาค (ศธภ.) ในเขตพื้นที่ภาคใต้ พร้อมทั้งเป็นประธานในพิธีปิดการประชุมปฏิบัติการจัดทําแผนบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค (ภาคใต้) ของกระทรวงศึกษาธิการ ณ โรงแรมรอยัล ภูเก็ต ซิตี้ อําเภอเมืองภูเก็ต นายอํานาจ วิชยานุวัติ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวว่า รู้สึกชื่นชมและขอขอบคุณตัวแทนจากศึกษาธิการภาค 6-8 ที่กล้าคิด กล้านําเสนอความคิดนอกกรอบ นําหน่วยงานอื่นเข้ามามีส่วนช่วยในการพัฒนาด้านการศึกษา ซึ่งเป็นการบูรณาการอย่างแท้จริง การพัฒนาคนเป็นสิ่งสําคัญ เพราะคนคือต้นทางของการขับเคลื่อนการพัฒนาต้องพัฒนาให้ครบถ้วนทั้งระบบ ให้ความสําคัญตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง ต้องขับเคลื่อนไปพร้อมกัน การกําหนดแผนและงบประมาณในการดําเนินโครงการตามยุทธศาสตร์ต่าง ๆ จะต้องคิดให้ครอบคลุมและต้องเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนา ซึ่งภารกิจหลักที่สําคัญของการจัดทําแผนบูรณาการด้านการศึกษา คือ การพัฒนาคนและการศึกษา ดังนั้น การกําหนดโครงการพัฒนาจึงต้องมีความชัดเจนและตอบสนองต่อภารกิจที่สําคัญนี้ เรื่องของการวิจัยถือเป็นเรื่องที่รัฐบาลให้ความสําคัญและต้องการผลักดันให้เกิดขึ้นในการพัฒนาด้านต่าง ๆ ของประเทศ ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถนําการวิจัยมาบูรณาการกับแผนด้านการศึกษาของแต่ละพื้นที่ได้ ขอให้คิด วางแผนและกําหนดโครงการพัฒนาให้ตอบสนองต่อความต้องการของพื้นที่ในแต่ละภาค เพื่อจะได้เติมเต็ม และพัฒนาเขตพื้นที่ให้เกิดความสมบูรณ์ในรอบด้านมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งร่วมกันส่งเสริม และสร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจ ให้เกิดขึ้นในการจัดทําแผนบูรณาการด้านการศึกษาของทุกภูมิภาค เพื่อสื่อสารไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาขับเคลื่อนด้านการศึกษา และสามารถเชื่อมโยงกับทุกมิติของสังคมได้อย่างทั่วถึง พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุลกล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการ โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์) ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบการวางแผนขับเคลื่อนจัดการศึกษาในพื้นที่พิเศษต่าง ๆ ของประเทศ ให้เกิดผลในทางปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพด้านการศึกษา โดยเฉพาะพื้นที่พิเศษในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีปัญหาด้านคุณภาพการศึกษา และปัญหาต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ําในการพัฒนาคนด้วยการศึกษา ซึ่งเป็นเรื่องหลักของการพัฒนาประเทศและตามนโยบายพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการได้กําหนดให้พื้นที่ดังกล่าว เป็นพื้นที่พิเศษที่ต้องได้รับการดําเนินการอย่างเร่งด่วนด้วยการจัดโครงการต่าง ๆ ของส่วนราชการในกระทรวงศึกษาธิการ และภาคเอกชนตามกลไกประชารัฐให้สนับสนุนงานของรัฐบาล ทั้งมิติความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ได้ดําเนินการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง จนเห็นผลเป็นรูปธรรมกระทรวงศึกษาธิการจึงได้จัดให้มีการประชุมเพื่อทบทวนการจัดทําแผนบูรณาการ จัดการศึกษาในพื้นที่พิเศษให้เกิดผลในทางปฏิบัติของการพัฒนาคุณภาพด้านการศึกษา และขยายผลการดําเนินการวางแผนการศึกษาในพื้นที่พิเศษออกไปในระดับทุกภูมิภาคของประเทศ อย่างไรก็ตาม การวางแผนเป็นเรื่องที่ยาก ต้องมององค์ประกอบต่าง ๆ ของแต่ละพื้นที่ให้ครบถ้วน และเชื่อมโยงสู่การบูรณาการด้านการศึกษาให้เกิดจริงได้แต่หลังจากที่ได้รับฟังการนําเสนอผลการจัดทําแผนและการจัดทํางบประมาณของผู้เข้าร่วมประชุมในวันนี้ ทําให้เห็นการรวมกําลังทางความคิดของทุกท่าน ซึ่งจะเป็นกลไกที่สําคัญในการผลักดันการบูรณาการงานด้านการศึกษาของประเทศกับภาคส่วนต่าง ๆ ให้เกิดผลสําเร็จ พื้นที่ภาคใต้มีอะไรสําคัญ ขอให้นําส่วนนั้นมากําหนดเป็นวิสัยทัศน์ของแผนการดําเนินงานให้ชัดเจน โครงการที่วางไว้ต้องตอบโจทย์และรองรับสู่การพัฒนาของแต่ละพื้นที่ด้วย อย่ายึดติดกับกรอบอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องวางแผนให้สามารถขับเคลื่อนไปพร้อม ๆ กันได้ นอกจากนี้ การส่งเสริมคนให้มีการศึกษา เพื่อรองรับกับการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ถือเป็นภารกิจที่สําคัญของกระทรวงศึกษาธิการการวางแผนหรือการกําหนดโครงการจะต้องตอบสนองต่อภารกิจและนโยบายของกระทรวงไปพร้อม ๆ กับการบูรณาการในด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จะทําอย่างไรให้แผนออกมาสมบูรณ์และทันเวลา ถ้าเราคิดแผนได้ดี ปฏิบัติได้ดี ทุกอย่างก็จะขับเคลื่อนไปได้อย่างที่เราทุกคนมุ่งหวังไว้ ขออวยพรให้การประชุมปฏิบัติการจัดทําแผนบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค (ภาคใต้) ในครั้งนี้ ได้ผลสัมฤทธิ์ดังที่ผู้เข้าร่วมประชุมและคณะผู้จัดงานทุกท่านหวังไว้ ทุกท่านคือกลไกที่สําคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านการศึกษาของประเทศให้เกิดความสําเร็จครบถ้วนและยั่งยืน จงจิตร ฟองละแอ:สรุป บัลลังก์ โรหิตเสถียร:เรียบเรียง ธนภัทร จันทร์ห้างหว้า, ธเนศ งามสถิร:ถ่ายภาพ กลุ่มสารนิเทศ สอ.สป.:รายงาน
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สรุปผลจัดทำแผนบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค (ภาคใต้) ของกระทรวงศึกษาธิการ วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2560 สรุปผลจัดทําแผนบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค (ภาคใต้) ของกระทรวงศึกษาธิการ พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษา รมช.ศธ. รับฟังการนําเสนอการจัดทําแผนบูรณาการด้านการศึกษาภาคใต้ ฝากให้ทุกหน่วยงานร่วมกันวางแนวทางจัดทําแผนบูรณาการด้านการศึกษา กําหนดโครงการพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษา รมช.ศธ. รับฟังการนําเสนอการจัดทําแผนบูรณาการด้านการศึกษาภาคใต้ ฝากให้ทุกหน่วยงานร่วมกันวางแนวทางจัดทําแผนบูรณาการด้านการศึกษา กําหนดโครงการพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ มององค์ประกอบแต่ละพื้นที่ให้รอบด้าน ภายใต้กรอบภารกิจหลักของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อการพัฒนาและบูรณาการด้านการศึกษาให้เกิดความยั่งยืน จังหวัดภูเก็ต – เมื่อวันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2560 เวลา 10.00 น. พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รับฟังการนําเสนอการจัดทําแผนบูรณาการด้านการศึกษา ของสํานักงานศึกษาธิการภาค (ศธภ.) ในเขตพื้นที่ภาคใต้ พร้อมทั้งเป็นประธานในพิธีปิดการประชุมปฏิบัติการจัดทําแผนบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค (ภาคใต้) ของกระทรวงศึกษาธิการ ณ โรงแรมรอยัล ภูเก็ต ซิตี้ อําเภอเมืองภูเก็ต นายอํานาจ วิชยานุวัติ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวว่า รู้สึกชื่นชมและขอขอบคุณตัวแทนจากศึกษาธิการภาค 6-8 ที่กล้าคิด กล้านําเสนอความคิดนอกกรอบ นําหน่วยงานอื่นเข้ามามีส่วนช่วยในการพัฒนาด้านการศึกษา ซึ่งเป็นการบูรณาการอย่างแท้จริง การพัฒนาคนเป็นสิ่งสําคัญ เพราะคนคือต้นทางของการขับเคลื่อนการพัฒนาต้องพัฒนาให้ครบถ้วนทั้งระบบ ให้ความสําคัญตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง ต้องขับเคลื่อนไปพร้อมกัน การกําหนดแผนและงบประมาณในการดําเนินโครงการตามยุทธศาสตร์ต่าง ๆ จะต้องคิดให้ครอบคลุมและต้องเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนา ซึ่งภารกิจหลักที่สําคัญของการจัดทําแผนบูรณาการด้านการศึกษา คือ การพัฒนาคนและการศึกษา ดังนั้น การกําหนดโครงการพัฒนาจึงต้องมีความชัดเจนและตอบสนองต่อภารกิจที่สําคัญนี้ เรื่องของการวิจัยถือเป็นเรื่องที่รัฐบาลให้ความสําคัญและต้องการผลักดันให้เกิดขึ้นในการพัฒนาด้านต่าง ๆ ของประเทศ ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถนําการวิจัยมาบูรณาการกับแผนด้านการศึกษาของแต่ละพื้นที่ได้ ขอให้คิด วางแผนและกําหนดโครงการพัฒนาให้ตอบสนองต่อความต้องการของพื้นที่ในแต่ละภาค เพื่อจะได้เติมเต็ม และพัฒนาเขตพื้นที่ให้เกิดความสมบูรณ์ในรอบด้านมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งร่วมกันส่งเสริม และสร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจ ให้เกิดขึ้นในการจัดทําแผนบูรณาการด้านการศึกษาของทุกภูมิภาค เพื่อสื่อสารไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาขับเคลื่อนด้านการศึกษา และสามารถเชื่อมโยงกับทุกมิติของสังคมได้อย่างทั่วถึง พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุลกล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการ โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์) ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบการวางแผนขับเคลื่อนจัดการศึกษาในพื้นที่พิเศษต่าง ๆ ของประเทศ ให้เกิดผลในทางปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพด้านการศึกษา โดยเฉพาะพื้นที่พิเศษในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีปัญหาด้านคุณภาพการศึกษา และปัญหาต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ําในการพัฒนาคนด้วยการศึกษา ซึ่งเป็นเรื่องหลักของการพัฒนาประเทศและตามนโยบายพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการได้กําหนดให้พื้นที่ดังกล่าว เป็นพื้นที่พิเศษที่ต้องได้รับการดําเนินการอย่างเร่งด่วนด้วยการจัดโครงการต่าง ๆ ของส่วนราชการในกระทรวงศึกษาธิการ และภาคเอกชนตามกลไกประชารัฐให้สนับสนุนงานของรัฐบาล ทั้งมิติความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ได้ดําเนินการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง จนเห็นผลเป็นรูปธรรมกระทรวงศึกษาธิการจึงได้จัดให้มีการประชุมเพื่อทบทวนการจัดทําแผนบูรณาการ จัดการศึกษาในพื้นที่พิเศษให้เกิดผลในทางปฏิบัติของการพัฒนาคุณภาพด้านการศึกษา และขยายผลการดําเนินการวางแผนการศึกษาในพื้นที่พิเศษออกไปในระดับทุกภูมิภาคของประเทศ อย่างไรก็ตาม การวางแผนเป็นเรื่องที่ยาก ต้องมององค์ประกอบต่าง ๆ ของแต่ละพื้นที่ให้ครบถ้วน และเชื่อมโยงสู่การบูรณาการด้านการศึกษาให้เกิดจริงได้แต่หลังจากที่ได้รับฟังการนําเสนอผลการจัดทําแผนและการจัดทํางบประมาณของผู้เข้าร่วมประชุมในวันนี้ ทําให้เห็นการรวมกําลังทางความคิดของทุกท่าน ซึ่งจะเป็นกลไกที่สําคัญในการผลักดันการบูรณาการงานด้านการศึกษาของประเทศกับภาคส่วนต่าง ๆ ให้เกิดผลสําเร็จ พื้นที่ภาคใต้มีอะไรสําคัญ ขอให้นําส่วนนั้นมากําหนดเป็นวิสัยทัศน์ของแผนการดําเนินงานให้ชัดเจน โครงการที่วางไว้ต้องตอบโจทย์และรองรับสู่การพัฒนาของแต่ละพื้นที่ด้วย อย่ายึดติดกับกรอบอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องวางแผนให้สามารถขับเคลื่อนไปพร้อม ๆ กันได้ นอกจากนี้ การส่งเสริมคนให้มีการศึกษา เพื่อรองรับกับการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ถือเป็นภารกิจที่สําคัญของกระทรวงศึกษาธิการการวางแผนหรือการกําหนดโครงการจะต้องตอบสนองต่อภารกิจและนโยบายของกระทรวงไปพร้อม ๆ กับการบูรณาการในด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จะทําอย่างไรให้แผนออกมาสมบูรณ์และทันเวลา ถ้าเราคิดแผนได้ดี ปฏิบัติได้ดี ทุกอย่างก็จะขับเคลื่อนไปได้อย่างที่เราทุกคนมุ่งหวังไว้ ขออวยพรให้การประชุมปฏิบัติการจัดทําแผนบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค (ภาคใต้) ในครั้งนี้ ได้ผลสัมฤทธิ์ดังที่ผู้เข้าร่วมประชุมและคณะผู้จัดงานทุกท่านหวังไว้ ทุกท่านคือกลไกที่สําคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านการศึกษาของประเทศให้เกิดความสําเร็จครบถ้วนและยั่งยืน จงจิตร ฟองละแอ:สรุป บัลลังก์ โรหิตเสถียร:เรียบเรียง ธนภัทร จันทร์ห้างหว้า, ธเนศ งามสถิร:ถ่ายภาพ กลุ่มสารนิเทศ สอ.สป.:รายงาน
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/8365
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงวิทย์ฯ เปิดโรงงานคัดบรรจุสับปะรดผลสดหนุนการส่งออก
วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม 2561 กระทรวงวิทย์ฯ เปิดโรงงานคัดบรรจุสับปะรดผลสดหนุนการส่งออก เปิด “โรงคัดบรรจุสับปะรด” ภายใต้โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตภาพและมูลค่าพืชไร่ชุมชน ณ ตําบลอ่าวน้อย อําเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (19 สิงหาคม 2561) ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เป็นประธานในพิธีเปิด “โรงคัดบรรจุสับปะรด” ภายใต้โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตภาพและมูลค่าพืชไร่ชุมชน ณ ตําบลอ่าวน้อย อําเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผลงานการบูรณการความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มุ่งนําวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) แก้ไขปัญหา “สับปะรด” ตลอดห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง.... ใช้เทคโนโลยีชีวภาพปรับปรุงสายพันธุ์ จัดสร้างโรงคัดบรรจุมาตรฐาน/เทคโนโลยีทําความสะอาดผลสับปะรดสด วิจัย/ถ่ายทอดเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวแก้ปัญหาอาการไส้ดําในสับปะรด ถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มจากสับปะรดพร้อมดื่ม พัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมสําหรับการจําหน่ายทั้งในและต่างประเทศ ระบุเป็นตัวอย่างความสําเร็จของใช้วิทยาศาสตร์ฯ แก้ปัญหาผลิตผลทางการเกษตรเพื่อการส่งออก ยกระดับคุณภาพเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่อย่างยั่งยืน ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการะทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กล่าวว่า จากการที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดย วว. ลงพื้นที่ทํางานอย่างใกล้ชิดกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อนํา วทน. เพื่อช่วยแก้ปัญหาสับปะรด ซึ่งเป็นพืชไร่เศรษฐกิจที่สําคัญของของจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการยกระดับคุณภาพผลผลิตเพื่อส่งออก ได้ดําเนินงานอย่างครบวงจรตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ผลผลิตที่ได้จากการดําเนินงานโครงการฯ ในรูปแบบเป็นงานวิจัยหรือเทคโนโลยี ก่อให้เกิดประโยชน์โดยตรงแก่กลุ่มเป้าหมายและผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่ เกษตรกร กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดผลสด ผู้ประกอบกิจการส่งออกผลไม้สด วิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องจากสับปะรด ในพื้นที่จังหวัด ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างหนึ่งของความสําเร็จให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นความตั้งใจของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ที่มุ่งเน้นพัฒนาภาคการเกษตร ให้สามารถนํา วทน. ไปใช้ในการพัฒนาด้านการเกษตร เสริมแกร่งให้เพื่อแก้ปัญหาให้พี่น้องเกษตรกร ยกระดับคุณภาพผลผลิตสามารถแข่งขันได้ในตลาดทั้งในและต่างประเทศ สร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน นายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการกลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ วว. ชี้แจงเพิ่มเติมว่า วว. มีความเชี่ยวชาญอย่างครบวงจรในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านเกษตร เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว เทคโนโลยีเครื่องจักร การแปรรูปอาหาร รวมถึงบรรจุภัณฑ์ จากการศึกษาพบว่า ปัญหาที่สําคัญของการส่งออกสับปะรด คือ อายุการเก็บรักษาหรือเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวที่ยังไม่สามารถยืดอายุการเก็บรักษาผลสับปะรดให้ได้ยาวนานเพียงพอ ทําให้เกิดอาการไส้ดําขึ้นในผลสัปปะรด อีกทั้งขั้นตอนการส่งออกสับปะรดผลสด จําเป็นต้องทําในโรงคัดบรรจุ (packing house) ที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้ได้ผลสับปะรดสดที่ได้คุณภาพดีตรงต่อความต้องการของตลาด นอกจากกระบวนการคัดบรรจุสับปะรดผลสดที่ต้องการโรงคัดบรรจุและเครื่องมืออุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน ด้วยตระหนักถึงความสําคัญดังกล่าว วว. จึงดําเนินการโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตภาพและมูลค่าพืชไร่ชุมชน (สับปะรด จ.ประจวบคีรีขันธ์) มีระยะเวลาดําเนินงาน 4 ปี (ตั้งแต่ปี 2559-2562) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดสร้างโรงคัดบรรจุมาตรฐานและชุดเทคโนโลยีทําความสะอาดสับปะรดผลสด เพื่อการจําหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ถ่ายทอดเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวสับปะรดผลสดให้แก่กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดในเขตพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อแก้ไขปัญหาอาการไส้ดําในสับปะรดผลสด ถ่ายทอดเทคโนโลยี และให้คําแนะนําปรึกษาด้านการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมสําหรับสับปะรดผลสด ที่สอดคล้องกับการใช้เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและระบบการบรรจุที่ใช้แก่ผู้ประกอบการ เกษตรกรและผู้ส่งออกเป้าหมาย รวมทั้งถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มจากสับปะรดให้กับกลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่กลุ่มเป้าหมาย “ขณะนี้โครงการฯ ย่างเข้าสู่ปีที่ 4 การดําเนินงานคืบหน้าไปด้วยดี อาทิ การวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวสับปะรดผลสด ตลอดจนขั้นตอนการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวและการคัดบรรจุผลสับปะรดผลสดเพื่อการส่งออก ผลของอุณหภูมิต่ําในการเก็บรักษาที่มีผลต่อลักษณะอาการไส้ดําของผลสับปะรดสดสายพันธุ์ต่างๆ การลดปัญหาการเกิดอาการไส้ดําด้วยสารเคลือบผิว ผลไม้และการเก็บรักษาโดยการควบคุมสภาพบรรยากาศ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพโดยการใช้พันธุวิศวกรรมเพื่อการปรับปรุงพันธุ์เพื่อแก้ไขปัญหาไส้ดําในผลสับปะรด การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสับปะรดเพื่อการขยายพันธุ์และเพื่อการส่งถ้ายพันธุกรรม และล่าสุดได้ทําการศึกษาความทนทานของสับปะรดสายพันธุ์ใหม่ที่มีต่ออาการไส้ดําและการจัดทําลายพิมพ์ดีเอ็นเอสายพันธุ์สับปะรดในประเทศไทยเพื่อการขึ้นทะเบียนพันธุ์...” รองผู้ว่าการกลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ วว. กล่าว นายสัมพันธ์ ศรีสุริยวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญวิจัย วว. ในฐานะหัวหน้าโครงการฯ ชี้แจงเพิ่มเติมว่า วว. ได้จัดสร้างโรงคัดบรรจุมาตรฐานและชุดเทคโนโลยีทําความสะอาดสับปะรดผลสด เพื่อการจําหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีขนาดกําลังการผลิต 3 ตันต่อชั่วโมง ภายในโรงคัดบรรจุประกอบด้วย เครื่องคัดขนาด เครื่องตัดแต่งคัดผลดีผลเสีย อุโมงค์ลมทําความสะอาด เครื่องเคลือบแวกซ์ สายพานลําเลียงการบรรจุ เครื่องรัดกล่อง เครื่องลดอุณหภูมิและห้องเย็น และห้องแปรรูป ที่เป็นไปตามมาตรฐาน GMP ทั้งนี้โรงคัดบรรจุผลสับปะรดมาตรฐาน จ.ประจวบคีรีขันธ์แห่งนี้ ถือเป็นโรคคัดบรรจุผลสดทันสมัยแห่งแรกของประเทศไทยที่มีเครื่องจักรและกรบวนการผลิตมาตรฐานครบวงจร สามารถใช้งานจริงในพื้นที่และเป็นศูนย์เรียนรู้ เพื่อการศึกษาให้แก่ผู้ผลิตผู้ประกอบการสับปะรดจากพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศ นอกจากนี้โรงคัดบรรจุแห่งนี้ยังสามารถประยุกต์ต่อยอดการใช้ประโยชน์กับการผลิตผลไม้ชนิดอื่นๆ ในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้อีกด้วย ส่วนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ ขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ขนส่งเพื่อการจัดจําหน่ายในประเทศและส่งออก ขนาดบรรจุ 6-7 ผลต่อกล่องเพื่อลดต้นทุนบรรจุภัณฑ์จากเดิม และอยู่ระหว่างการพัฒนาวัสดุกันกระแทกในบรรจุภัณฑ์ขนส่งพร้อมทั้งเป็นบรรจุภัณฑ์ขายปลีกเพื่อการจัดจําหน่าย ขนาดบรรจุ 1 ผล เพื่อคุ้มครองผลิตผลให้ปลอดภัยมากขึ้น นอกจากนี้ วว. ยังได้ดําเนินการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูปและบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มจากสับปะรด โดยได้นําสับปะรดจากกลุ่มเกษตรกรเป็นวัตถุดิบ โดยดําเนินการเก็บตัวอย่างสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย 3 แบบ คือ สับปะรดก่อนส่งออก ส่งออก และหลังส่งออก มาแปรรูปเป็นสับปะรดกวน ได้สับปะรดกวนที่แตกต่างกัน 3 แบบ และนําไปทดสอบการยอมรับของผู้บริโภค วิเคราะห์ผลทางสถิติ ได้สูตรที่คะแนนการยอมรับมากที่สุด เพื่อนําไปถ่ายทอดสูตรและกระบวนการผลิตให้กับกลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงวิทย์ฯ เปิดโรงงานคัดบรรจุสับปะรดผลสดหนุนการส่งออก วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม 2561 กระทรวงวิทย์ฯ เปิดโรงงานคัดบรรจุสับปะรดผลสดหนุนการส่งออก เปิด “โรงคัดบรรจุสับปะรด” ภายใต้โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตภาพและมูลค่าพืชไร่ชุมชน ณ ตําบลอ่าวน้อย อําเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (19 สิงหาคม 2561) ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เป็นประธานในพิธีเปิด “โรงคัดบรรจุสับปะรด” ภายใต้โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตภาพและมูลค่าพืชไร่ชุมชน ณ ตําบลอ่าวน้อย อําเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผลงานการบูรณการความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มุ่งนําวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) แก้ไขปัญหา “สับปะรด” ตลอดห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง.... ใช้เทคโนโลยีชีวภาพปรับปรุงสายพันธุ์ จัดสร้างโรงคัดบรรจุมาตรฐาน/เทคโนโลยีทําความสะอาดผลสับปะรดสด วิจัย/ถ่ายทอดเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวแก้ปัญหาอาการไส้ดําในสับปะรด ถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มจากสับปะรดพร้อมดื่ม พัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมสําหรับการจําหน่ายทั้งในและต่างประเทศ ระบุเป็นตัวอย่างความสําเร็จของใช้วิทยาศาสตร์ฯ แก้ปัญหาผลิตผลทางการเกษตรเพื่อการส่งออก ยกระดับคุณภาพเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่อย่างยั่งยืน ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการะทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กล่าวว่า จากการที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดย วว. ลงพื้นที่ทํางานอย่างใกล้ชิดกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อนํา วทน. เพื่อช่วยแก้ปัญหาสับปะรด ซึ่งเป็นพืชไร่เศรษฐกิจที่สําคัญของของจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการยกระดับคุณภาพผลผลิตเพื่อส่งออก ได้ดําเนินงานอย่างครบวงจรตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ผลผลิตที่ได้จากการดําเนินงานโครงการฯ ในรูปแบบเป็นงานวิจัยหรือเทคโนโลยี ก่อให้เกิดประโยชน์โดยตรงแก่กลุ่มเป้าหมายและผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่ เกษตรกร กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดผลสด ผู้ประกอบกิจการส่งออกผลไม้สด วิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องจากสับปะรด ในพื้นที่จังหวัด ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างหนึ่งของความสําเร็จให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นความตั้งใจของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ที่มุ่งเน้นพัฒนาภาคการเกษตร ให้สามารถนํา วทน. ไปใช้ในการพัฒนาด้านการเกษตร เสริมแกร่งให้เพื่อแก้ปัญหาให้พี่น้องเกษตรกร ยกระดับคุณภาพผลผลิตสามารถแข่งขันได้ในตลาดทั้งในและต่างประเทศ สร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน นายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการกลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ วว. ชี้แจงเพิ่มเติมว่า วว. มีความเชี่ยวชาญอย่างครบวงจรในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านเกษตร เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว เทคโนโลยีเครื่องจักร การแปรรูปอาหาร รวมถึงบรรจุภัณฑ์ จากการศึกษาพบว่า ปัญหาที่สําคัญของการส่งออกสับปะรด คือ อายุการเก็บรักษาหรือเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวที่ยังไม่สามารถยืดอายุการเก็บรักษาผลสับปะรดให้ได้ยาวนานเพียงพอ ทําให้เกิดอาการไส้ดําขึ้นในผลสัปปะรด อีกทั้งขั้นตอนการส่งออกสับปะรดผลสด จําเป็นต้องทําในโรงคัดบรรจุ (packing house) ที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้ได้ผลสับปะรดสดที่ได้คุณภาพดีตรงต่อความต้องการของตลาด นอกจากกระบวนการคัดบรรจุสับปะรดผลสดที่ต้องการโรงคัดบรรจุและเครื่องมืออุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน ด้วยตระหนักถึงความสําคัญดังกล่าว วว. จึงดําเนินการโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตภาพและมูลค่าพืชไร่ชุมชน (สับปะรด จ.ประจวบคีรีขันธ์) มีระยะเวลาดําเนินงาน 4 ปี (ตั้งแต่ปี 2559-2562) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดสร้างโรงคัดบรรจุมาตรฐานและชุดเทคโนโลยีทําความสะอาดสับปะรดผลสด เพื่อการจําหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ถ่ายทอดเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวสับปะรดผลสดให้แก่กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดในเขตพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อแก้ไขปัญหาอาการไส้ดําในสับปะรดผลสด ถ่ายทอดเทคโนโลยี และให้คําแนะนําปรึกษาด้านการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมสําหรับสับปะรดผลสด ที่สอดคล้องกับการใช้เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและระบบการบรรจุที่ใช้แก่ผู้ประกอบการ เกษตรกรและผู้ส่งออกเป้าหมาย รวมทั้งถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มจากสับปะรดให้กับกลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่กลุ่มเป้าหมาย “ขณะนี้โครงการฯ ย่างเข้าสู่ปีที่ 4 การดําเนินงานคืบหน้าไปด้วยดี อาทิ การวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวสับปะรดผลสด ตลอดจนขั้นตอนการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวและการคัดบรรจุผลสับปะรดผลสดเพื่อการส่งออก ผลของอุณหภูมิต่ําในการเก็บรักษาที่มีผลต่อลักษณะอาการไส้ดําของผลสับปะรดสดสายพันธุ์ต่างๆ การลดปัญหาการเกิดอาการไส้ดําด้วยสารเคลือบผิว ผลไม้และการเก็บรักษาโดยการควบคุมสภาพบรรยากาศ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพโดยการใช้พันธุวิศวกรรมเพื่อการปรับปรุงพันธุ์เพื่อแก้ไขปัญหาไส้ดําในผลสับปะรด การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสับปะรดเพื่อการขยายพันธุ์และเพื่อการส่งถ้ายพันธุกรรม และล่าสุดได้ทําการศึกษาความทนทานของสับปะรดสายพันธุ์ใหม่ที่มีต่ออาการไส้ดําและการจัดทําลายพิมพ์ดีเอ็นเอสายพันธุ์สับปะรดในประเทศไทยเพื่อการขึ้นทะเบียนพันธุ์...” รองผู้ว่าการกลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ วว. กล่าว นายสัมพันธ์ ศรีสุริยวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญวิจัย วว. ในฐานะหัวหน้าโครงการฯ ชี้แจงเพิ่มเติมว่า วว. ได้จัดสร้างโรงคัดบรรจุมาตรฐานและชุดเทคโนโลยีทําความสะอาดสับปะรดผลสด เพื่อการจําหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีขนาดกําลังการผลิต 3 ตันต่อชั่วโมง ภายในโรงคัดบรรจุประกอบด้วย เครื่องคัดขนาด เครื่องตัดแต่งคัดผลดีผลเสีย อุโมงค์ลมทําความสะอาด เครื่องเคลือบแวกซ์ สายพานลําเลียงการบรรจุ เครื่องรัดกล่อง เครื่องลดอุณหภูมิและห้องเย็น และห้องแปรรูป ที่เป็นไปตามมาตรฐาน GMP ทั้งนี้โรงคัดบรรจุผลสับปะรดมาตรฐาน จ.ประจวบคีรีขันธ์แห่งนี้ ถือเป็นโรคคัดบรรจุผลสดทันสมัยแห่งแรกของประเทศไทยที่มีเครื่องจักรและกรบวนการผลิตมาตรฐานครบวงจร สามารถใช้งานจริงในพื้นที่และเป็นศูนย์เรียนรู้ เพื่อการศึกษาให้แก่ผู้ผลิตผู้ประกอบการสับปะรดจากพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศ นอกจากนี้โรงคัดบรรจุแห่งนี้ยังสามารถประยุกต์ต่อยอดการใช้ประโยชน์กับการผลิตผลไม้ชนิดอื่นๆ ในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้อีกด้วย ส่วนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ ขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ขนส่งเพื่อการจัดจําหน่ายในประเทศและส่งออก ขนาดบรรจุ 6-7 ผลต่อกล่องเพื่อลดต้นทุนบรรจุภัณฑ์จากเดิม และอยู่ระหว่างการพัฒนาวัสดุกันกระแทกในบรรจุภัณฑ์ขนส่งพร้อมทั้งเป็นบรรจุภัณฑ์ขายปลีกเพื่อการจัดจําหน่าย ขนาดบรรจุ 1 ผล เพื่อคุ้มครองผลิตผลให้ปลอดภัยมากขึ้น นอกจากนี้ วว. ยังได้ดําเนินการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูปและบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มจากสับปะรด โดยได้นําสับปะรดจากกลุ่มเกษตรกรเป็นวัตถุดิบ โดยดําเนินการเก็บตัวอย่างสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย 3 แบบ คือ สับปะรดก่อนส่งออก ส่งออก และหลังส่งออก มาแปรรูปเป็นสับปะรดกวน ได้สับปะรดกวนที่แตกต่างกัน 3 แบบ และนําไปทดสอบการยอมรับของผู้บริโภค วิเคราะห์ผลทางสถิติ ได้สูตรที่คะแนนการยอมรับมากที่สุด เพื่อนําไปถ่ายทอดสูตรและกระบวนการผลิตให้กับกลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/15872
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมโรงงานอุตสาหกรรมชี้แจง กรณีปัญหาการนำเข้าขยะพิษจากต่างประเทศ
วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม 2561 กรมโรงงานอุตสาหกรรมชี้แจง กรณีปัญหาการนําเข้าขยะพิษจากต่างประเทศ กรมโรงงานอุตสาหกรรมชี้แจง กรณีปัญหาการนําเข้าขยะพิษจากต่างประเทศ นายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ชี้แจงกรณีปัญหาการนําเข้าขยะพิษจากต่างประเทศที่รายงานข่าวผ่านสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ดังนี้ ประเด็นที่ 1 ปัจจุบันขยะอุตสาหกรรมและขยะพิษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขยะอิเล็กทรอนิกส์ ถูกนําเข้ามาไนไทยได้ง่าย สาเหตุเกิดจากช่องว่างทางกฎหมายของไทย การบังคับใช้กฎหมายและบทลงโทษ รวมทั้งการปลดเงื่อนไขของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ให้เอื้อต่อการเปิดเสรีทางการค้ากับนายทุนไทยและต่างประเทศ กรมโรงงานอุตสาหกรรมขอชี้แจงว่า ปัจจุบันการนําเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ถูกควบคุมการนําเข้าตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและอนุสัญญาบาเซล โดยจะอนุญาตให้โรงงานที่ได้รับอนุญาตให้รีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์นําเข้ามาเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบเท่านั้น และปริมาณที่นําเข้าต้องสอดคล้องกับกําลังการผลิตของโรงงาน ประเด็นที่ 2 จากการศึกษาพบว่าเส้นทางการนําเข้าจะเริ่มต้นที่ท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี ผ่านด่านศุลกากร และลําเลียงใส่รถบรรทุกเพื่อส่งต่อให้กับโรงงาน ส่วนมากจะอยู่ในพื้นที่ จ.ระยอง จ.ชลบุรี และ จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งกลายเป็นปัญหาและเกิดความเสียหายระยะยาวต่อสิ่งแวดล้อมของไทย กรมโรงงานอุตสาหกรรมขอชี้แจงว่า ผู้นําเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีใบอนุญาตนําเข้าวัตถุอันตรายที่ดําเนินการตามขั้นตอนของอนุสัญญาบาเซล โดยจะออกใบอนุญาตให้เฉพาะโรงงานที่นําเข้ามาเป็นวัตถุดิบในโรงงานของตนเองเท่านั้น ไม่สามารถนําไปขายหรือจําหน่ายต่อให้ผู้อื่นหรือโรงงานอื่นได้ ทั้งนี้ ผู้ที่ลักลอบนําเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์อาจมีการสําแดงข้อมูลอันเป็นเท็จต่อศุลกากร ดังเช่นเมื่อปี 2559 ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมร่วมกับรัฐบาลประเทศญี่ปุ่นตรวจจับและผลักดันขยะอิเล็กทรอนิกส์กลับไปยังประเทศต้นทาง โดยตรวจพบว่ามีการสําแดงข้อมูลการนําเข้าที่เป็นเท็จต่อเจ้าหน้าที่ ประเด็นที่ 3 ตั้งข้อสังเกตว่าอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายขยะมีพิษข้ามพรมแดนและการกําจัดขยะพิษ ซึ่งไทยเข้าเป็นรัฐภาคีเมื่อ ก.พ. 2541 ทําให้เกิดการล็อบบี้เพื่อยกเว้นการบังคับใช้ หากรัฐบาล 2 ประเทศตกลงกันได้ จะสามารถนําขยะอิเล็กทรอนิกส์ ที่อยู่ภายใต้อนุสัญญาฯ เข้ามากําจัดในประเทศปลายทางได้ เช่น จีนอนุมัติให้ส่งขยะพิษจากจีนเข้ามาแปรรูปในไทยได้ กรมโรงงานอุตสาหกรรมขอชี้แจงว่า อนุสัญญาบาเซล เป็นอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของเสียอันตรายที่อนุญาตให้เคลื่อนย้ายของเสียอันตรายข้ามแดนเฉพาะในกลุ่มประเทศภาคีสมาชิกเท่านั้น โดยต้องได้รับคํายินยอมเป็นทางการระหว่างหน่วยงานภาครัฐต้นทางและปลายทาง โดยการควบคุมจะเป็นไปตามกฎหมายของแต่ละประเทศภาคีสมาชิก ปัจจุบันประเทศไทยมีการควบคุมการนําเข้า ส่งออกขยะอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายอย่างเคร่งครัด ประเด็นที่ 4 ล่าสุดพบว่ามีการทลายโรงงานขยะพิษที่ จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นโรงงานเถื่อน และสําแดงของนําเข้าเป็นเท็จ สะท้อนปัญหาจากกฎระเบียบต่างๆ ที่ย่อหย่อนและมีแนวโน้มว่าอาจมีการทุจริตฯ แบ่งผลประโยชน์ในกลุ่มข้าราชการ นักการเมือง และนักธุรกิจ กรมโรงงานอุตสาหกรรมขอชี้แจงว่า โรงงานที่ตรวจพบในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา ไม่ใช่โรงงานเถื่อน แต่หากกรณีเป็นโรงงานเถื่อนและสําแดงเป็นข้อมูลอันเป็นเท็จ จะมีความผิดฐานตั้งและประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2535 จะมีโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และมีความผิดฐานครอบครองวัตถุอันตรายโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 จะมีโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ประเด็นที่ 5 ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องชี้แจงข้อเท็จจริงว่าข้อมูลในข้างต้นถูกต้องหรือไม่ และการส่งเสริมมาตรการดังกล่าวประเทศไทยจะได้รับประโยชน์อะไร จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของคนไทยหรือไม่อย่างไร กรมโรงงานอุตสาหกรรมขอชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวมีบางส่วนที่เข้าใจคลาดเคลื่อน จะเห็นว่าการนําเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-waste หรือซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (Waste from Electrical and Electronic Equipment : WEEE) ที่มีโลหะมีค่าจะมีมูลค่าสูง เมื่อนํามาถอดแยกโดยโรงงานที่มีศักยภาพเพียงพอ ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และมีการควบคุมมลพิษที่ดี จะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน จึงนับเป็นการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังจะเห็นได้จาก ประเทศญี่ปุ่น ได้นําโลหะมีค่าที่สกัดได้จากขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้มาผลิตเป็นเหรียญรางวัลที่จะใช้ในกีฬาโอลิมปิก ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในปี 2020 -------------------------
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมโรงงานอุตสาหกรรมชี้แจง กรณีปัญหาการนำเข้าขยะพิษจากต่างประเทศ วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม 2561 กรมโรงงานอุตสาหกรรมชี้แจง กรณีปัญหาการนําเข้าขยะพิษจากต่างประเทศ กรมโรงงานอุตสาหกรรมชี้แจง กรณีปัญหาการนําเข้าขยะพิษจากต่างประเทศ นายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ชี้แจงกรณีปัญหาการนําเข้าขยะพิษจากต่างประเทศที่รายงานข่าวผ่านสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ดังนี้ ประเด็นที่ 1 ปัจจุบันขยะอุตสาหกรรมและขยะพิษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขยะอิเล็กทรอนิกส์ ถูกนําเข้ามาไนไทยได้ง่าย สาเหตุเกิดจากช่องว่างทางกฎหมายของไทย การบังคับใช้กฎหมายและบทลงโทษ รวมทั้งการปลดเงื่อนไขของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ให้เอื้อต่อการเปิดเสรีทางการค้ากับนายทุนไทยและต่างประเทศ กรมโรงงานอุตสาหกรรมขอชี้แจงว่า ปัจจุบันการนําเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ถูกควบคุมการนําเข้าตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและอนุสัญญาบาเซล โดยจะอนุญาตให้โรงงานที่ได้รับอนุญาตให้รีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์นําเข้ามาเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบเท่านั้น และปริมาณที่นําเข้าต้องสอดคล้องกับกําลังการผลิตของโรงงาน ประเด็นที่ 2 จากการศึกษาพบว่าเส้นทางการนําเข้าจะเริ่มต้นที่ท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี ผ่านด่านศุลกากร และลําเลียงใส่รถบรรทุกเพื่อส่งต่อให้กับโรงงาน ส่วนมากจะอยู่ในพื้นที่ จ.ระยอง จ.ชลบุรี และ จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งกลายเป็นปัญหาและเกิดความเสียหายระยะยาวต่อสิ่งแวดล้อมของไทย กรมโรงงานอุตสาหกรรมขอชี้แจงว่า ผู้นําเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีใบอนุญาตนําเข้าวัตถุอันตรายที่ดําเนินการตามขั้นตอนของอนุสัญญาบาเซล โดยจะออกใบอนุญาตให้เฉพาะโรงงานที่นําเข้ามาเป็นวัตถุดิบในโรงงานของตนเองเท่านั้น ไม่สามารถนําไปขายหรือจําหน่ายต่อให้ผู้อื่นหรือโรงงานอื่นได้ ทั้งนี้ ผู้ที่ลักลอบนําเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์อาจมีการสําแดงข้อมูลอันเป็นเท็จต่อศุลกากร ดังเช่นเมื่อปี 2559 ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมร่วมกับรัฐบาลประเทศญี่ปุ่นตรวจจับและผลักดันขยะอิเล็กทรอนิกส์กลับไปยังประเทศต้นทาง โดยตรวจพบว่ามีการสําแดงข้อมูลการนําเข้าที่เป็นเท็จต่อเจ้าหน้าที่ ประเด็นที่ 3 ตั้งข้อสังเกตว่าอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายขยะมีพิษข้ามพรมแดนและการกําจัดขยะพิษ ซึ่งไทยเข้าเป็นรัฐภาคีเมื่อ ก.พ. 2541 ทําให้เกิดการล็อบบี้เพื่อยกเว้นการบังคับใช้ หากรัฐบาล 2 ประเทศตกลงกันได้ จะสามารถนําขยะอิเล็กทรอนิกส์ ที่อยู่ภายใต้อนุสัญญาฯ เข้ามากําจัดในประเทศปลายทางได้ เช่น จีนอนุมัติให้ส่งขยะพิษจากจีนเข้ามาแปรรูปในไทยได้ กรมโรงงานอุตสาหกรรมขอชี้แจงว่า อนุสัญญาบาเซล เป็นอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของเสียอันตรายที่อนุญาตให้เคลื่อนย้ายของเสียอันตรายข้ามแดนเฉพาะในกลุ่มประเทศภาคีสมาชิกเท่านั้น โดยต้องได้รับคํายินยอมเป็นทางการระหว่างหน่วยงานภาครัฐต้นทางและปลายทาง โดยการควบคุมจะเป็นไปตามกฎหมายของแต่ละประเทศภาคีสมาชิก ปัจจุบันประเทศไทยมีการควบคุมการนําเข้า ส่งออกขยะอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายอย่างเคร่งครัด ประเด็นที่ 4 ล่าสุดพบว่ามีการทลายโรงงานขยะพิษที่ จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นโรงงานเถื่อน และสําแดงของนําเข้าเป็นเท็จ สะท้อนปัญหาจากกฎระเบียบต่างๆ ที่ย่อหย่อนและมีแนวโน้มว่าอาจมีการทุจริตฯ แบ่งผลประโยชน์ในกลุ่มข้าราชการ นักการเมือง และนักธุรกิจ กรมโรงงานอุตสาหกรรมขอชี้แจงว่า โรงงานที่ตรวจพบในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา ไม่ใช่โรงงานเถื่อน แต่หากกรณีเป็นโรงงานเถื่อนและสําแดงเป็นข้อมูลอันเป็นเท็จ จะมีความผิดฐานตั้งและประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2535 จะมีโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และมีความผิดฐานครอบครองวัตถุอันตรายโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 จะมีโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ประเด็นที่ 5 ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องชี้แจงข้อเท็จจริงว่าข้อมูลในข้างต้นถูกต้องหรือไม่ และการส่งเสริมมาตรการดังกล่าวประเทศไทยจะได้รับประโยชน์อะไร จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของคนไทยหรือไม่อย่างไร กรมโรงงานอุตสาหกรรมขอชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวมีบางส่วนที่เข้าใจคลาดเคลื่อน จะเห็นว่าการนําเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-waste หรือซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (Waste from Electrical and Electronic Equipment : WEEE) ที่มีโลหะมีค่าจะมีมูลค่าสูง เมื่อนํามาถอดแยกโดยโรงงานที่มีศักยภาพเพียงพอ ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และมีการควบคุมมลพิษที่ดี จะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน จึงนับเป็นการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังจะเห็นได้จาก ประเทศญี่ปุ่น ได้นําโลหะมีค่าที่สกัดได้จากขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้มาผลิตเป็นเหรียญรางวัลที่จะใช้ในกีฬาโอลิมปิก ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในปี 2020 -------------------------
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/12570
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไทย-อินเดีย พร้อมกระชับความร่วมมือในทุกมิติให้ครอบคลุม
วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2562 ไทย-อินเดีย พร้อมกระชับความร่วมมือในทุกมิติให้ครอบคลุม ไทย-อินเดีย พร้อมกระชับความร่วมมือในทุกมิติให้ครอบคลุม วันนี้ (11 พฤศจิกายน 2562) เวลา 10.00 น. ณ ห้องรับรอง 1 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล นางสุจิตรา ทุไร (H.E. Ms. Suchitra Durai) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอินเดียประจําประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะ นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ในโอกาสเข้ารับหน้าที่ สรุปสาระสําคัญการหารือ ดังนี้ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีกล่าวต้อนรับเอกอัครราชทูตอินเดียฯ พร้อมแสดงความยินดีที่ไทยและอินเดียมีความสัมพันธ์ที่ราบรื่นมาอย่างยาวนาน โอกาสนี้ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรียังได้กล่าวขอบคุณรัฐบาลอินเดียที่ถวายการต้อนรับ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสเสด็จฯ เยือนอินเดียที่ผ่านมา เอกอัครราชทูตอินเดียฯ ขอบคุณรัฐบาลไทยที่ให้การต้อนรับนายกรัฐมนตรีอินเดีย ในการเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 35 ที่ผ่านมา เป็นโอกาสการยกระดับความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศให้มีความใกล้ชิดมากขึ้น และขอบคุณรัฐบาลที่ให้ความร่วมมือกับอินเดียมาโดยตลอด โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ไทยถือว่าเป็นประเทศคู่ค้าสําคัญที่มีศักยภาพของอินเดีย จึงเห็นควรพัฒนาความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจระหว่างกันมากขึ้น ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องการกระชับความร่วมมือในทุกด้าน ได้แก่ ด้านสังคมวัฒนธรรม ด้านการศึกษา และความมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการท่องเที่ยว ไทยขอบคุณรัฐบาลอินเดียที่ดูแลนักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางไปยังอินเดีย และสนับสนุนชาวอินเดียให้มาท่องเที่ยวยังประเทศไทย ทั้งนี้ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีพร้อมสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวอินเดียเดินทางมายังไทยเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรียืนยันให้การสนับสนุนและให้ความร่วมมือกับอินเดียครอบคลุมในทุกมิติ เพื่อเป็นโอกาสยกระดับความสัมพันธ์ไทยกับอินเดียให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น *************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไทย-อินเดีย พร้อมกระชับความร่วมมือในทุกมิติให้ครอบคลุม วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2562 ไทย-อินเดีย พร้อมกระชับความร่วมมือในทุกมิติให้ครอบคลุม ไทย-อินเดีย พร้อมกระชับความร่วมมือในทุกมิติให้ครอบคลุม วันนี้ (11 พฤศจิกายน 2562) เวลา 10.00 น. ณ ห้องรับรอง 1 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล นางสุจิตรา ทุไร (H.E. Ms. Suchitra Durai) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอินเดียประจําประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะ นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ในโอกาสเข้ารับหน้าที่ สรุปสาระสําคัญการหารือ ดังนี้ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีกล่าวต้อนรับเอกอัครราชทูตอินเดียฯ พร้อมแสดงความยินดีที่ไทยและอินเดียมีความสัมพันธ์ที่ราบรื่นมาอย่างยาวนาน โอกาสนี้ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรียังได้กล่าวขอบคุณรัฐบาลอินเดียที่ถวายการต้อนรับ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสเสด็จฯ เยือนอินเดียที่ผ่านมา เอกอัครราชทูตอินเดียฯ ขอบคุณรัฐบาลไทยที่ให้การต้อนรับนายกรัฐมนตรีอินเดีย ในการเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 35 ที่ผ่านมา เป็นโอกาสการยกระดับความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศให้มีความใกล้ชิดมากขึ้น และขอบคุณรัฐบาลที่ให้ความร่วมมือกับอินเดียมาโดยตลอด โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ไทยถือว่าเป็นประเทศคู่ค้าสําคัญที่มีศักยภาพของอินเดีย จึงเห็นควรพัฒนาความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจระหว่างกันมากขึ้น ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องการกระชับความร่วมมือในทุกด้าน ได้แก่ ด้านสังคมวัฒนธรรม ด้านการศึกษา และความมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการท่องเที่ยว ไทยขอบคุณรัฐบาลอินเดียที่ดูแลนักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางไปยังอินเดีย และสนับสนุนชาวอินเดียให้มาท่องเที่ยวยังประเทศไทย ทั้งนี้ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีพร้อมสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวอินเดียเดินทางมายังไทยเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรียืนยันให้การสนับสนุนและให้ความร่วมมือกับอินเดียครอบคลุมในทุกมิติ เพื่อเป็นโอกาสยกระดับความสัมพันธ์ไทยกับอินเดียให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น *************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/24475
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ศบค. เสนอขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินอีก 1 เดือน-ผ่อนปรนมาตรการ ลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศ โดยคำนึงถึงปัจจัยด้านสาธารณสุขเป็นหลัก
วันจันทร์ที่ 27 เมษายน 2563 ศบค. เสนอขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินอีก 1 เดือน-ผ่อนปรนมาตรการ ลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศ โดยคํานึงถึงปัจจัยด้านสาธารณสุขเป็นหลัก ศบค. เสนอขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินอีก 1 เดือน-ผ่อนปรนมาตรการ ลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศ โดยคํานึงถึงปัจจัยด้านสาธารณสุขเป็นหลัก วันนี้ (27 เม.ย.63) เวลา 12.30 น. ณ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) โถงกลาง ตึกสันติไมตรี ทําเนียบรัฐบาล นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. แถลงสถานการณ์ประจําวันและผลการประชุม ในโอกาส พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สรุปสาระสําคัญ ดังนี้ 1. สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ในไทย สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ในไทย มีผู้ที่หายป่วยเพิ่มขึ้น 15 ราย รวมเป็น 2,609 ราย คิดเป็นร้อยละ 89.01 ผู้ป่วยรายใหม่ในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาคือ 9 ราย รายงานผู้เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย รวมผู้เสียชีวิตเป็น 52 ราย โดยผู้เสียชีวิตรายที่ 52 เป็นผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 64 ปี อาชีพแม่บ้าน โรคประจําตัวคือโลหิตจาง มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยยืนยันซึ่งเป็นคนในครอบครัว เริ่มป่วย 2 เมษายน 63 ด้วยอาการไข้ ไอ หอบ เหนื่อย ผลตรวจยืนยันเป็นผู้ป่วยโควิด-19 วันที่ 10 เมษายน 63 อาการแย่ลง เหนื่อยมากขึ้น การทํางานของไตลดลง แพทย์ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ และเสียชีวิตในวันที่ 26 เมษายน 63 ด้วยระบบหายใจล้มเหลวและไตวายเฉียบพลัน ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้ที่เสียชีวิตด้วย จํานวนผู้ป่วยที่ยังรับการรักษาตัว อยู่ที่ 270 รายใน 68 จังหวัด ทั้งนี้ สําหรับผู้ป่วยรายใหม่ 9 ราย จําแนกเป็นผู้ป่วยรายใหม่จากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 3 ราย พบว่าเป็นผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วยยืนยันรายก่อนหน้านี้จากจังหวัดภูเก็ต สุพรรณบุรี และยะลา และใช้วิธีการตรวจหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในชุมชนที่จังหวัดยะลา 4 ราย รวมทั้ง ผู้ป่วยที่เดินทางมาจากต่างประเทศแล้วเข้า State Quarantine ที่กรุงเทพฯ 2 ราย รวมทั้งหมด 9 ราย ซึ่งต่ํากว่า 10 รายเป็นวันแรกตั้งแต่ที่มีการรายงานสถานการณ์ โฆษก ศบค. กล่าวถึงการกระจายตัวของผู้ป่วยรายใหม่ว่า 5 ราย อยู่ที่จังหวัดยะลา กรุงเทพฯ ภูเก็ตและสุพรรณบุรี และจังหวัดที่ไม่มีการรายงานการรับรักษาผู้ป่วยยังเป็น 9 จังหวัดเดิม ด้านจังหวัดที่รับรักษาผู้ป่วยยืนยันสะสมไม่รวม State Quarantine อันดับ 1 ยังเป็นภูเก็ต รองลงมาคือ กรุงเทพฯ ยะลา ปัตตานี นนทบุรี ตามลําดับ ด้านอัตราป่วยต่อแสนประชากร อันดับ 1 คือ กรุงเทพฯ รวม 1,481 ราย หรือ 26.11 ต่อแสนประชากร รองลงมาคือ ภูเก็ต นนทบุรี ยะลา สมุทรปราการ 2. สถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 โลก สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) ของโลก ตัวเลขผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมอยูที่ 2,994,000 กว่าราย อาการหนัก 57,000 ราย หายป่วยแล้ว 870,000 ราย เสียชีวิตไป 206,995 รายคิดเป็นร้อยละ 6.9 โดยประเทศที่มีผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมมากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา พบผู้ป่วยรายใหม่ถึง 26,000 กว่าคน ตามด้วยรัสเซียพบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 6,361 คน อังกฤษ ผู้ป่วยรายใหม่ 4,463 คน ส่วนประเทศที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา โดยในวันเดียวเสียชีวิต 1,148 ราย อังกฤษ เสียชีวิต 413 รายและสเปน เสียชีวิต 288 ราย ส่วนประเทศไทยขณะนี้ลงมาอยู่อันดับที่ 58 ของโลก สถานการณ์ในเอเชียพบว่า สิงคโปร์ยังมีตัวเลขที่สูงอยู่โดยมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 931 รายเสียชีวิต 12 ราย เกาหลีใต้มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่ม 10 รายมีผู้ป่วยยืนยันสะสมรวม 10,738 ราย ญี่ปุ่น มีผู้ป่วยรายใหม่ 210 ราย อินโดนีเซีย ผู้ป่วยรายใหม่ 275 ราย ฟิลิปปินส์ ผู้ป่วยรายใหม่ 285 ราย ส่วนมาเลเซีย พบผู้ป่วยรายใหม่ลดลงอยู่ที่ 38 ราย 3. รายงานผลการปฏิบัติการตามมาตรการ การปฏิบัติงานตามมาตรการเคอร์ฟิว รายงานผลจากการปฏิบัติการ จากการประกาศมาตรการเคอร์ฟิวประจําวันที่ 27 เมษายน 63 โดยศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคงพบว่า จํานวนตัวเลขของผู้กระทําผิดกรณีฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ ลดลง โดยประชาชนที่กระทําความผิด กรณีออกนอกเคหะสถานลดลงไป 119 ราย เหลือ 449 ราย ประชาชนที่กระทําความผิดกรณีมั่วสุมลดลง 28 ราย เหลือ 59 ราย ขอขอบคุณทุกคนที่ให้ความร่วมมือ การดูแลคนไทยเดินทางกลับจากต่างประเทศ วันนี้ (27 เมษายน) เวลา 15.40 น. จะมีคนไทยเดินทางกลับมาจากประเทศญี่ปุ่น จํานวน 15 คน เวลา 17.05 น. จากเนเธอร์แลนด์ 25 คน และเวลา 20.15 น. จากนิวซีแลนด์ 168 คน เป็นนักเรียน นักศึกษา ซึ่งมีการสนธิกําลังกันในหลายส่วนทั้งจากกระทรวงการต่างประเทศ การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย สํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย รวมถึงฝ่ายความมั่นคง ในการจัดหาเครื่องบิน เตรียมสถานที่กักกันตัวของรัฐหรือ State Quarantine และในวันพรุ่งนี้ (28 เมษายน) เวลา 11.55 น. จะมีคนไทยเดินทางกลับมาจากสเปน 12 คน และจากประเทศอินเดีย (นิวเดลี) เป็นนักเรียน นักศึกษา และคนไทยตกค้างจํานวน 200 คน เดินทางมาในเวลา 07.10 น. กระทรวงมหาดไทยได้รายงานสถิติคนไทยที่เดินทางกลับประเทศผ่านจุดผ่านแดนทางบก มีผู้เดินทางเข้ามาแล้ว (วันที่ 26 เมษายน) โดยการลงทะเบียน 293 คน ไม่ลงทะเบียน 107 คน รวม 400 คน ยอดสะสมจํานวนผู้ที่เดินทางกลับมาแล้วตั้งแต่วันที่ 18-26 เมษายน 63 โดยการลงทะเบียน 3,131 คน ไม่ลงทะเบียน 1,043 คน รวม 4,174 คน สําหรับผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียน ภาครัฐจะต้องเข้าไปดูแลให้ เพราะอาจจะเกี่ยวข้องกับการเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งทุกคนต้องได้รับการดูแลที่เรียกว่าสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ โดยมีการรายงานสถานภาพ State Quarantine ตอนนี้มีจํานวนห้องพัก 5,468 ห้อง เข้าพักแล้ว 2,132 ห้อง คงเหลือห้องพัก 3,336 ห้อง และมีผู้กักตัวสะสม 3,379 คน อยู่ระหว่างการกักตัว 2,150 คน และกลับบ้านแล้ว 1,229 คน 4. ผลการประชุม ศบค. นายกรัฐมนตรีในนาม ผอ. ศบค. ชื่นชมการทํางาน หลังจากที่มีการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ตลอดระยะเวลา 1 เดือน ซึ่งทุกภาคส่วนยังต้องร่วมมือกัน ทั้งข้าราชการฝ่ายการเมือง ข้าราชการประจําและภาคธุรกิจ ซึ่งได้รับการยอมรับทั้งในและต่างประเทศ โดยยังคงยึดหลักสาธารณสุขและองค์การอนามัยโลก แม้จะยังคงมีความกังวลด้านเศรษฐกิจ โดยจะได้มีกําหนดระยะเวลาผ่อนปรนในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปโดยอาจะเริ่มที่ร้อยละ 25 ร้อยละ 50 ร้อยละ 75 และ 100 โดยจะมีการทบทวนในแต่ละระยะทุก ๆ 14 วัน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก รวมทั้งพิจารณาถึงผลกระทบที่จะเกิดต่อการควบคุมโรคเพราะเป้าหมายสําคัญ คือ ต้องไม่ให้มีการระบาดในรอบ 2 เพราะจะทําให้การดําเนินการต่าง ๆ ที่ผ่านมาสูญเสีย สาระสําคัญของการประชุม ประกอบด้วย การรายงานปฏิบัติการด้านสาธารณสุข โดยปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้นําเสนอฉากทัศน์ในการควบคุมการแพร่ระบาดใน 3 กรณี คือ การควบคุมได้ดี จะมีผู้ติดเชื้อประมาณ 15-30 รายต่อวัน โดยมีมาตรการเช่นนี้ในขณะนี้ อาทิ การห้ามการเดินทางเข้า-ออกประเทศ จํากัดการเคลื่อนย้ายภายในประเทศ กรณี 2 สถานการณ์ควบคุมได้มีความเสี่ยงต่ํา การระบาดอยู่ในวงจํากัด สาธารณสุขรับรองได้โดยต้องมีมาตรการ อาทิ การชะลอเข้าประเทศ เปิดธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ํา อาจมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ประมาณ 40-70 รายต่อวัน และกรณี 3 สถานการณ์ควบคุมได้ยาก มีการเปิดแบบเต็มรูปแบบจํานวนคนไข้จะมีมาก 500-2,000 รายต่อวัน โดยการพยากรณ์คนไข้ระหว่างพฤษภาคม-มิถุนายนจะอยู่ที่ 46,596 ราย กรณีความเสี่ยงต่ํา 4,661 ราย กรณีการดําเนินมาตรการเข้มข้นเช่นที่ผ่านมา พยากรณ์ผู้ป่วยจะอยู่ที่ 1,189 ราย สําหรับตัวอย่างที่ได้รับการตรวจผู้ป่วยสงสัยตั้งแต่เปิดดําเนินการถึง 24 เมษายน 63 มีจํานวนทั้งสิ้น 178,083 ตัวอย่าง และจะเพิ่มจํานวนมากขึ้นโดยการตรวจเชิงรุกมากขึ้น ซึ่งคณะกรรมการ EOC ของ สธ. จะมีการชี้เป้า โดยเฉพาะกลุ่ม อาทิ มีการอยู่ร่วมกลุ่ม กลุ่มคนแออัด แรงงานต่างด้าว เป็นต้น พลเอก สมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เสนอรายงานประเมินผลสัมฤทธิการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน 2548 ทําให้การดําเนินการตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ในนาม ผอ.ศูนย์ ศบค. เป็นไปอย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ และเป็นเอกภาพ ส่งผลให้การติดเชื้อลดอย่างต่อเนื่อง จากแบบสํารวจความพึงพอใจพบว่า ประชาชนพึงพอใจมากกว่าร้อยละ 70 จึงเสนอเห็นควรขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินออกไปอีก 1 เดือน ถึง 31 พฤษภาคม 63 โดยยังคง 4 มาตรการ 1. ควบคุมการเดินทางเข้า-ออกนอกราชอาณาจักร 2. ห้ามบุคคลออกนอกเคหะสถาน (เคอร์ฟิว 22.00 น.- 04.00 น.) 3. งด ชะลอการเดินทางข้ามเขตจังหวัด 4. งดการดําเนินกิจกรรมในคนหมู่มาก เช่น การอบรม สัมมนา กิจกรรมในที่โล่งแจ้ง ทั้งนี้ หลักคิดของแนวทางผ่อนปรน ต้องคํานึงถึงปัจจัยด้านสาธารณสุขเป็นหลักและนําปัจจัยอื่นมาประกอบการพิจารณา โดยยังต้องให้มีการทํางานที่บ้านร้อยละ 50 พิจารณากิจกรรมที่จําเป็น ทุกคนสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา กิจกรรมนั้นต้องประกอบด้วย 5 เรื่อง ได้แก่ 1. เว้นระยะห่างทางสังคม 2. การวัดอุณหภูมิ 3. การล้างมือ การมีเจลแอลกอฮอล์ ฆ่าเชื้อโรค บริการ 4. การจํากัดจํานวนคนที่เหมาะสมต่อสถานที่ และ 5. การมีแอปพลิเคชันติดตามตัว โดยต้องจัดสมดุลระหว่างสิทธิมนุษยชนและความปลอดภัยของสาธารณชน ขณะเดียวกัน ก็ยังคงต้องเร่งรัดตรวจหาผู้ติดเชื้อในกลุ่มเสี่ยง มีเทคโนโลยีตรวจตรา ติดตาม การดําเนินการของสถานที่ประกอบการต่าง ๆ อาทิ การใช้กล้อง CCTV เป็นต้น ซึ่งการประเมินผลการผ่อนปรนอย่างน้อยทุก 14-15 วัน ซึ่งสามารถผ่อนคลายหรือระงับการผ่อนปรนทันที นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะคณะที่ปรึกษาธุรกิจเอกชนของ ศบค. เสนอแนวทางการผ่อนปรน ภายหลังการขยายระยะเวลาพ.ร.ก. ฉุกเฉิน โดยแบ่ง 4 กลุ่มธุรกิจ คือ กลุ่มสีขาว มีความจําเป็นในชีวิตประจําวัน ร้านขนาดเล็กอยู่ที่โล่งแจ้ง ควบคุมได้ สวนสาธารณะ กลุ่มสีเขียว สถานที่ประกอบการขนาดเล็ก อาจติดเครื่องปรับอากาศหรือไม่ มีมาตรการควบคุมได้ พื้นที่ไม่มาก สนามออกกําลังกายกลางแจ้ง กลุ่มสีเหลือง สถานที่ปิด มีคนมาจํานวนมาก ติดแอร์ ขนาดใหญ่ และกลุ่มสีแดง ที่มีคนมาชุมนุมแออัดมาก เป็นที่เสี่ยงสูง อาทิ สนามมวย สถานบันเทิง เป็นต้น ผอ ศบค. เห็นชอบในหลักการ ได้ให้แนวทางโดยพิจารณาประเภทและช่วงเวลา แต่ให้พิจารณากิจการที่สามารถเปิดดําเนินการได้ทั่วประเทศ ทุกจังหวัดเปิดได้พร้อมกัน โดยมอบสภาพัฒน์ฯ และคณะทํางานฯ หารือในรายละเอียดเพื่อเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาในโอกาสต่อไป ********************** กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ศบค. เสนอขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินอีก 1 เดือน-ผ่อนปรนมาตรการ ลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศ โดยคำนึงถึงปัจจัยด้านสาธารณสุขเป็นหลัก วันจันทร์ที่ 27 เมษายน 2563 ศบค. เสนอขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินอีก 1 เดือน-ผ่อนปรนมาตรการ ลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศ โดยคํานึงถึงปัจจัยด้านสาธารณสุขเป็นหลัก ศบค. เสนอขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินอีก 1 เดือน-ผ่อนปรนมาตรการ ลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศ โดยคํานึงถึงปัจจัยด้านสาธารณสุขเป็นหลัก วันนี้ (27 เม.ย.63) เวลา 12.30 น. ณ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) โถงกลาง ตึกสันติไมตรี ทําเนียบรัฐบาล นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. แถลงสถานการณ์ประจําวันและผลการประชุม ในโอกาส พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สรุปสาระสําคัญ ดังนี้ 1. สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ในไทย สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ในไทย มีผู้ที่หายป่วยเพิ่มขึ้น 15 ราย รวมเป็น 2,609 ราย คิดเป็นร้อยละ 89.01 ผู้ป่วยรายใหม่ในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาคือ 9 ราย รายงานผู้เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย รวมผู้เสียชีวิตเป็น 52 ราย โดยผู้เสียชีวิตรายที่ 52 เป็นผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 64 ปี อาชีพแม่บ้าน โรคประจําตัวคือโลหิตจาง มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยยืนยันซึ่งเป็นคนในครอบครัว เริ่มป่วย 2 เมษายน 63 ด้วยอาการไข้ ไอ หอบ เหนื่อย ผลตรวจยืนยันเป็นผู้ป่วยโควิด-19 วันที่ 10 เมษายน 63 อาการแย่ลง เหนื่อยมากขึ้น การทํางานของไตลดลง แพทย์ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ และเสียชีวิตในวันที่ 26 เมษายน 63 ด้วยระบบหายใจล้มเหลวและไตวายเฉียบพลัน ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้ที่เสียชีวิตด้วย จํานวนผู้ป่วยที่ยังรับการรักษาตัว อยู่ที่ 270 รายใน 68 จังหวัด ทั้งนี้ สําหรับผู้ป่วยรายใหม่ 9 ราย จําแนกเป็นผู้ป่วยรายใหม่จากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 3 ราย พบว่าเป็นผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วยยืนยันรายก่อนหน้านี้จากจังหวัดภูเก็ต สุพรรณบุรี และยะลา และใช้วิธีการตรวจหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในชุมชนที่จังหวัดยะลา 4 ราย รวมทั้ง ผู้ป่วยที่เดินทางมาจากต่างประเทศแล้วเข้า State Quarantine ที่กรุงเทพฯ 2 ราย รวมทั้งหมด 9 ราย ซึ่งต่ํากว่า 10 รายเป็นวันแรกตั้งแต่ที่มีการรายงานสถานการณ์ โฆษก ศบค. กล่าวถึงการกระจายตัวของผู้ป่วยรายใหม่ว่า 5 ราย อยู่ที่จังหวัดยะลา กรุงเทพฯ ภูเก็ตและสุพรรณบุรี และจังหวัดที่ไม่มีการรายงานการรับรักษาผู้ป่วยยังเป็น 9 จังหวัดเดิม ด้านจังหวัดที่รับรักษาผู้ป่วยยืนยันสะสมไม่รวม State Quarantine อันดับ 1 ยังเป็นภูเก็ต รองลงมาคือ กรุงเทพฯ ยะลา ปัตตานี นนทบุรี ตามลําดับ ด้านอัตราป่วยต่อแสนประชากร อันดับ 1 คือ กรุงเทพฯ รวม 1,481 ราย หรือ 26.11 ต่อแสนประชากร รองลงมาคือ ภูเก็ต นนทบุรี ยะลา สมุทรปราการ 2. สถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 โลก สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) ของโลก ตัวเลขผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมอยูที่ 2,994,000 กว่าราย อาการหนัก 57,000 ราย หายป่วยแล้ว 870,000 ราย เสียชีวิตไป 206,995 รายคิดเป็นร้อยละ 6.9 โดยประเทศที่มีผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมมากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา พบผู้ป่วยรายใหม่ถึง 26,000 กว่าคน ตามด้วยรัสเซียพบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 6,361 คน อังกฤษ ผู้ป่วยรายใหม่ 4,463 คน ส่วนประเทศที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา โดยในวันเดียวเสียชีวิต 1,148 ราย อังกฤษ เสียชีวิต 413 รายและสเปน เสียชีวิต 288 ราย ส่วนประเทศไทยขณะนี้ลงมาอยู่อันดับที่ 58 ของโลก สถานการณ์ในเอเชียพบว่า สิงคโปร์ยังมีตัวเลขที่สูงอยู่โดยมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 931 รายเสียชีวิต 12 ราย เกาหลีใต้มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่ม 10 รายมีผู้ป่วยยืนยันสะสมรวม 10,738 ราย ญี่ปุ่น มีผู้ป่วยรายใหม่ 210 ราย อินโดนีเซีย ผู้ป่วยรายใหม่ 275 ราย ฟิลิปปินส์ ผู้ป่วยรายใหม่ 285 ราย ส่วนมาเลเซีย พบผู้ป่วยรายใหม่ลดลงอยู่ที่ 38 ราย 3. รายงานผลการปฏิบัติการตามมาตรการ การปฏิบัติงานตามมาตรการเคอร์ฟิว รายงานผลจากการปฏิบัติการ จากการประกาศมาตรการเคอร์ฟิวประจําวันที่ 27 เมษายน 63 โดยศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคงพบว่า จํานวนตัวเลขของผู้กระทําผิดกรณีฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ ลดลง โดยประชาชนที่กระทําความผิด กรณีออกนอกเคหะสถานลดลงไป 119 ราย เหลือ 449 ราย ประชาชนที่กระทําความผิดกรณีมั่วสุมลดลง 28 ราย เหลือ 59 ราย ขอขอบคุณทุกคนที่ให้ความร่วมมือ การดูแลคนไทยเดินทางกลับจากต่างประเทศ วันนี้ (27 เมษายน) เวลา 15.40 น. จะมีคนไทยเดินทางกลับมาจากประเทศญี่ปุ่น จํานวน 15 คน เวลา 17.05 น. จากเนเธอร์แลนด์ 25 คน และเวลา 20.15 น. จากนิวซีแลนด์ 168 คน เป็นนักเรียน นักศึกษา ซึ่งมีการสนธิกําลังกันในหลายส่วนทั้งจากกระทรวงการต่างประเทศ การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย สํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย รวมถึงฝ่ายความมั่นคง ในการจัดหาเครื่องบิน เตรียมสถานที่กักกันตัวของรัฐหรือ State Quarantine และในวันพรุ่งนี้ (28 เมษายน) เวลา 11.55 น. จะมีคนไทยเดินทางกลับมาจากสเปน 12 คน และจากประเทศอินเดีย (นิวเดลี) เป็นนักเรียน นักศึกษา และคนไทยตกค้างจํานวน 200 คน เดินทางมาในเวลา 07.10 น. กระทรวงมหาดไทยได้รายงานสถิติคนไทยที่เดินทางกลับประเทศผ่านจุดผ่านแดนทางบก มีผู้เดินทางเข้ามาแล้ว (วันที่ 26 เมษายน) โดยการลงทะเบียน 293 คน ไม่ลงทะเบียน 107 คน รวม 400 คน ยอดสะสมจํานวนผู้ที่เดินทางกลับมาแล้วตั้งแต่วันที่ 18-26 เมษายน 63 โดยการลงทะเบียน 3,131 คน ไม่ลงทะเบียน 1,043 คน รวม 4,174 คน สําหรับผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียน ภาครัฐจะต้องเข้าไปดูแลให้ เพราะอาจจะเกี่ยวข้องกับการเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งทุกคนต้องได้รับการดูแลที่เรียกว่าสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ โดยมีการรายงานสถานภาพ State Quarantine ตอนนี้มีจํานวนห้องพัก 5,468 ห้อง เข้าพักแล้ว 2,132 ห้อง คงเหลือห้องพัก 3,336 ห้อง และมีผู้กักตัวสะสม 3,379 คน อยู่ระหว่างการกักตัว 2,150 คน และกลับบ้านแล้ว 1,229 คน 4. ผลการประชุม ศบค. นายกรัฐมนตรีในนาม ผอ. ศบค. ชื่นชมการทํางาน หลังจากที่มีการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ตลอดระยะเวลา 1 เดือน ซึ่งทุกภาคส่วนยังต้องร่วมมือกัน ทั้งข้าราชการฝ่ายการเมือง ข้าราชการประจําและภาคธุรกิจ ซึ่งได้รับการยอมรับทั้งในและต่างประเทศ โดยยังคงยึดหลักสาธารณสุขและองค์การอนามัยโลก แม้จะยังคงมีความกังวลด้านเศรษฐกิจ โดยจะได้มีกําหนดระยะเวลาผ่อนปรนในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปโดยอาจะเริ่มที่ร้อยละ 25 ร้อยละ 50 ร้อยละ 75 และ 100 โดยจะมีการทบทวนในแต่ละระยะทุก ๆ 14 วัน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก รวมทั้งพิจารณาถึงผลกระทบที่จะเกิดต่อการควบคุมโรคเพราะเป้าหมายสําคัญ คือ ต้องไม่ให้มีการระบาดในรอบ 2 เพราะจะทําให้การดําเนินการต่าง ๆ ที่ผ่านมาสูญเสีย สาระสําคัญของการประชุม ประกอบด้วย การรายงานปฏิบัติการด้านสาธารณสุข โดยปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้นําเสนอฉากทัศน์ในการควบคุมการแพร่ระบาดใน 3 กรณี คือ การควบคุมได้ดี จะมีผู้ติดเชื้อประมาณ 15-30 รายต่อวัน โดยมีมาตรการเช่นนี้ในขณะนี้ อาทิ การห้ามการเดินทางเข้า-ออกประเทศ จํากัดการเคลื่อนย้ายภายในประเทศ กรณี 2 สถานการณ์ควบคุมได้มีความเสี่ยงต่ํา การระบาดอยู่ในวงจํากัด สาธารณสุขรับรองได้โดยต้องมีมาตรการ อาทิ การชะลอเข้าประเทศ เปิดธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ํา อาจมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ประมาณ 40-70 รายต่อวัน และกรณี 3 สถานการณ์ควบคุมได้ยาก มีการเปิดแบบเต็มรูปแบบจํานวนคนไข้จะมีมาก 500-2,000 รายต่อวัน โดยการพยากรณ์คนไข้ระหว่างพฤษภาคม-มิถุนายนจะอยู่ที่ 46,596 ราย กรณีความเสี่ยงต่ํา 4,661 ราย กรณีการดําเนินมาตรการเข้มข้นเช่นที่ผ่านมา พยากรณ์ผู้ป่วยจะอยู่ที่ 1,189 ราย สําหรับตัวอย่างที่ได้รับการตรวจผู้ป่วยสงสัยตั้งแต่เปิดดําเนินการถึง 24 เมษายน 63 มีจํานวนทั้งสิ้น 178,083 ตัวอย่าง และจะเพิ่มจํานวนมากขึ้นโดยการตรวจเชิงรุกมากขึ้น ซึ่งคณะกรรมการ EOC ของ สธ. จะมีการชี้เป้า โดยเฉพาะกลุ่ม อาทิ มีการอยู่ร่วมกลุ่ม กลุ่มคนแออัด แรงงานต่างด้าว เป็นต้น พลเอก สมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เสนอรายงานประเมินผลสัมฤทธิการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน 2548 ทําให้การดําเนินการตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ในนาม ผอ.ศูนย์ ศบค. เป็นไปอย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ และเป็นเอกภาพ ส่งผลให้การติดเชื้อลดอย่างต่อเนื่อง จากแบบสํารวจความพึงพอใจพบว่า ประชาชนพึงพอใจมากกว่าร้อยละ 70 จึงเสนอเห็นควรขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินออกไปอีก 1 เดือน ถึง 31 พฤษภาคม 63 โดยยังคง 4 มาตรการ 1. ควบคุมการเดินทางเข้า-ออกนอกราชอาณาจักร 2. ห้ามบุคคลออกนอกเคหะสถาน (เคอร์ฟิว 22.00 น.- 04.00 น.) 3. งด ชะลอการเดินทางข้ามเขตจังหวัด 4. งดการดําเนินกิจกรรมในคนหมู่มาก เช่น การอบรม สัมมนา กิจกรรมในที่โล่งแจ้ง ทั้งนี้ หลักคิดของแนวทางผ่อนปรน ต้องคํานึงถึงปัจจัยด้านสาธารณสุขเป็นหลักและนําปัจจัยอื่นมาประกอบการพิจารณา โดยยังต้องให้มีการทํางานที่บ้านร้อยละ 50 พิจารณากิจกรรมที่จําเป็น ทุกคนสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา กิจกรรมนั้นต้องประกอบด้วย 5 เรื่อง ได้แก่ 1. เว้นระยะห่างทางสังคม 2. การวัดอุณหภูมิ 3. การล้างมือ การมีเจลแอลกอฮอล์ ฆ่าเชื้อโรค บริการ 4. การจํากัดจํานวนคนที่เหมาะสมต่อสถานที่ และ 5. การมีแอปพลิเคชันติดตามตัว โดยต้องจัดสมดุลระหว่างสิทธิมนุษยชนและความปลอดภัยของสาธารณชน ขณะเดียวกัน ก็ยังคงต้องเร่งรัดตรวจหาผู้ติดเชื้อในกลุ่มเสี่ยง มีเทคโนโลยีตรวจตรา ติดตาม การดําเนินการของสถานที่ประกอบการต่าง ๆ อาทิ การใช้กล้อง CCTV เป็นต้น ซึ่งการประเมินผลการผ่อนปรนอย่างน้อยทุก 14-15 วัน ซึ่งสามารถผ่อนคลายหรือระงับการผ่อนปรนทันที นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะคณะที่ปรึกษาธุรกิจเอกชนของ ศบค. เสนอแนวทางการผ่อนปรน ภายหลังการขยายระยะเวลาพ.ร.ก. ฉุกเฉิน โดยแบ่ง 4 กลุ่มธุรกิจ คือ กลุ่มสีขาว มีความจําเป็นในชีวิตประจําวัน ร้านขนาดเล็กอยู่ที่โล่งแจ้ง ควบคุมได้ สวนสาธารณะ กลุ่มสีเขียว สถานที่ประกอบการขนาดเล็ก อาจติดเครื่องปรับอากาศหรือไม่ มีมาตรการควบคุมได้ พื้นที่ไม่มาก สนามออกกําลังกายกลางแจ้ง กลุ่มสีเหลือง สถานที่ปิด มีคนมาจํานวนมาก ติดแอร์ ขนาดใหญ่ และกลุ่มสีแดง ที่มีคนมาชุมนุมแออัดมาก เป็นที่เสี่ยงสูง อาทิ สนามมวย สถานบันเทิง เป็นต้น ผอ ศบค. เห็นชอบในหลักการ ได้ให้แนวทางโดยพิจารณาประเภทและช่วงเวลา แต่ให้พิจารณากิจการที่สามารถเปิดดําเนินการได้ทั่วประเทศ ทุกจังหวัดเปิดได้พร้อมกัน โดยมอบสภาพัฒน์ฯ และคณะทํางานฯ หารือในรายละเอียดเพื่อเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาในโอกาสต่อไป ********************** กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/29838
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีเป็นประธานประชุม คนร. ครั้งที่ 1/60 เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ
วันอังคารที่ 10 มกราคม 2560 นายกรัฐมนตรีเป็นประธานประชุม คนร. ครั้งที่ 1/60 เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานประชุม คนร. ครั้งที่ 1/60 เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจที่ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ พร้อมรับทราบผลการดําเนินงานตามแผนการแก้ไขปัญหา-แผนการแก้ไขปัญหาองค์กรของรัฐวิสาหกิจและกรอบเป้าหมายการประเมินผลการดําเนินงานปี 60 ของ7 รัฐวิสาหกิจ วันนี้ (9 ม.ค.60) เวลา 09.30 น. ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ครั้งที่ 1/2560 โดยมี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุม ภายหลังการประชุม นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ในฐานะกรรมการและเลขานุการ คนร. เปิดเผยผลการประชุม คนร. สรุปสาระสําคัญได้ดังนี้ คนร. เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ และมอบหมายให้รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนําไปใช้เป็นแนวทางในการจัดทําแผนที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจเป็นการน้อมนําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และหลักการสําคัญของกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ไทยแลนด์ 4.0 แผนดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Digital Economy) และนําสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงาน มาใช้เป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนายุทธศาสตร์ขึ้น ทั้งนี้ แผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 : กําหนดบทบาทรัฐวิสาหกิจให้ชัดเจน เพื่อเป็นเครื่องมือสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติโดยกําหนดบทบาทและทิศทางการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจให้ชัดเจนและแยกบทบาทระหว่างผู้กํากับดูแล ผู้กําหนดนโยบายและผู้ให้บริการออกจากกันอย่างชัดเจน ยุทธศาสตร์ที่ 2 : เร่งการลงทุนที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศ โดยการจัดให้มีแผนการลงทุนของรัฐวิสาหกิจราย 5 ปี ที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลงทุน พร้อมทั้งสนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมกับโครงการลงทุน และการระดมทุนจากแหล่งเงินทุนทางเลือกอื่น ๆ เช่น การส่งเสริมให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPPs) หรือการระดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย เป็นต้น ยุทธศาสตร์ที่ 3 : เสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการเงิน เพื่อให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจการเงินที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ จะจัดให้มีกลไกในการชดเชยให้แก่รัฐวิสาหกิจที่ได้ดําเนินการตามนโยบายของรัฐภายในกรอบระยะเวลาที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งทางการเงินให้กับรัฐวิสาหกิจที่ดําเนินการตามนโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์ที่ 4 : สนับสนุนการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยเฉพาะการมุ่งสร้างนวัตกรรมและนําเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องคล้องกับไทยแลนด์ 4.0 และแผนดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Digital Economy) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ประชาชนและลดต้นทุนการดําเนินงาน ยุทธศาสตร์ที่ 5 : ส่งเสริมระบบธรรมาภิบาลให้มีความโปร่งใสและมีคุณธรรม มีกลไกส่งเสริมและสนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจปรับปรุงกระบวนการบริหารจัดการ เพื่อเป็นองค์กรคุณธรรม มีกลไกกํากับ ติดตาม ตรวจสอบ บริหารความเสี่ยงและประเมินผลที่เพียงพอเหมาะสม มีโครงสร้างองค์กรและกระบวนการทํางานสมัยใหม่ พัฒนาศักยภาพบุคลากรควบคู่กับการมีคุณธรรม กําหนดระบบแรงจูงใจการดําเนินงานที่เหมาะสม คํานึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สังคม และสิ่งแวดล้อมเป็นสําคัญ ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจจัดทําขึ้นโดย สคร. ร่วมกับ สศช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงเจ้าสังกัด คณะกรรมการประเมินผลงานรัฐวิสาหกิจ (PAC) เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้รัฐวิสาหกิจเป็นองค์กรคุณธรรมและเป็นเครื่องมือสําคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่ความ มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน พร้อมกันนี้ คนร. รับทราบผลการดําเนินงานตามแผนการแก้ไขปัญหาของรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งแผนการแก้ไขปัญหาองค์กรของรัฐวิสาหกิจปี 2560 และกรอบเป้าหมายการประเมินผลการดําเนินงานประจําปี 2560 ของรัฐวิสาหกิจทั้ง 7 แห่ง ตามที่คณะอนุกรรมการกลั่นกรองแผนการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจเสนอ โดยได้มีการพิจารณาเรื่องที่สําคัญของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง สรุปได้ดังนี้ 1) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) คนร. รับทราบความคืบหน้าการดําเนินการแก้ไขปัญหาของ ธพว. โดย ธพว. มีผลการดําเนินงานในภาพรวมดีขึ้นและเป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนด เช่น การขยายสินเชื่อใหม่เพิ่มขึ้น 34,000 ล้านบาท การบริหารหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) เป็นต้น ทั้งนี้ ในปี 2560 คนร. ได้กําหนดให้ ธพว. เร่งปล่อยสินเชื่อวงเงินไม่เกิน 15 ล้านบาท ให้เพิ่มขึ้น และการบริหารจัดการ NPLs ให้มีจํานวนไม่เกิน 16,600 ล้านบาท รวมทั้งมอบหมายให้กระทรวงการคลังกํากับการดําเนินการของ ธพว. ให้เป็นไปตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยเคร่งครัด 2) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) คนร. รับทราบความคืบหน้าการดําเนินการแก้ไขปัญหาของ ธอท. โดยมีการจัดทําแผนรองรับการดําเนินงานตลอดจนการเพิ่มช่องทางให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินของ ธอท. ได้มากขึ้น และได้จัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์เป็นไปตามแผนแล้ว ซึ่งขณะนี้กระทรวงการคลังมีความพร้อมในการเพิ่มทุนและ ธอท. จะมีการโอนหนี้ NPFs ไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์ ทั้งนี้ คนร. ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังกํากับการดําเนินงานของ ธอท. ในเรื่องต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด รวมถึงการสรรหาพันธมิตรภายในเดือนมิถุนายน 2560 3) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) คนร. รับทราบความคืบหน้าการดําเนินการแก้ไขปัญหาของ ขสมก. โดยมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมกํากับการดําเนินงานของกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) และ ขสมก. ให้เป็นไปตามมติ คนร. และ/หรือ แผนการแก้ไขปัญหาองค์กร ทั้งนี้ คนร. ได้เน้นย้ําให้มีการตรวจสอบความปลอดภัยโดยเข้มงวด 4) บริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน) (บกท.) คนร. รับทราบความคืบหน้าในการดําเนินการแก้ไขปัญหาของ บกท. ซึ่งในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 มีผลประกอบการดีขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2558 อย่างไรก็ตาม การดําเนินการตามแผนส่วนใหญ่ยังอยู่ระหว่างการดําเนินการ จึงมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมกํากับดูแลโดยเคร่งครัด ทั้งนี้ มอบหมายให้ บกท. เร่งจัดทําระบบขายตั๋วให้สามารถเพิ่มสัดส่วนการขายผ่าน Internet ให้เร็วขึ้น และพิจารณาความเหมาะสมในการลงทุนในบริษัทลูกต่างๆ 5) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) คนร. รับทราบความคืบหน้าในการดําเนินการแก้ไขปัญหาของ รฟท. ทั้งนี้ สําหรับข้อเสนอของ รฟท. ที่จะรับผิดชอบเรื่องการดําเนินการพัฒนาที่ดินย่านมักกะสันและดําเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงเอง มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายพิชิตฯ) และ รฟท. พิจารณาในรายละเอียดอีกครั้ง ซึ่งจะต้องกําหนดเงื่อนไขความสําเร็จ รวมทั้งจะต้องสามารถลดภาระหนี้สินของ รฟท. ลงด้วย 6) – 7) บริษัท ทีโอที จํากัด (มหาชน) (บมจ. ทีโอที.) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) (บมจ. กสท.) คนร. รับทราบความคืบหน้าในการดําเนินการปรับโครงสร้างการประกอบธุรกิจของ บมจ. ทีโอที และ บมจ. กสท โดยจัดตั้งบริษัท NGDC ในการดําเนินธุรกิจเคเบิ้ลใยแก้วใต้น้ําและอินเทอร์เน็ตดาต้าเซ็นเตอร์ และ NGN ในการเนินธุรกิจอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ทั้งนี้ คนร. ได้มอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมร่วมกับ บมจ. ทีโอที และ บมจ. กสท พิจารณาแผนธุรกิจของ บมจ. ทีโอที บมจ. กสท และบริษัทในเครือที่จะจัดตั้งขึ้นให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และให้นําเสนอคณะอนุกรรมการกลั่นกรองแผนการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจ ภายในต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2560 ------------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก (ข้อมูลจากฝ่ายเลขานุการ คนร.)
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีเป็นประธานประชุม คนร. ครั้งที่ 1/60 เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ วันอังคารที่ 10 มกราคม 2560 นายกรัฐมนตรีเป็นประธานประชุม คนร. ครั้งที่ 1/60 เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานประชุม คนร. ครั้งที่ 1/60 เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจที่ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ พร้อมรับทราบผลการดําเนินงานตามแผนการแก้ไขปัญหา-แผนการแก้ไขปัญหาองค์กรของรัฐวิสาหกิจและกรอบเป้าหมายการประเมินผลการดําเนินงานปี 60 ของ7 รัฐวิสาหกิจ วันนี้ (9 ม.ค.60) เวลา 09.30 น. ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ครั้งที่ 1/2560 โดยมี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุม ภายหลังการประชุม นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ในฐานะกรรมการและเลขานุการ คนร. เปิดเผยผลการประชุม คนร. สรุปสาระสําคัญได้ดังนี้ คนร. เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ และมอบหมายให้รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนําไปใช้เป็นแนวทางในการจัดทําแผนที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจเป็นการน้อมนําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และหลักการสําคัญของกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ไทยแลนด์ 4.0 แผนดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Digital Economy) และนําสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงาน มาใช้เป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนายุทธศาสตร์ขึ้น ทั้งนี้ แผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 : กําหนดบทบาทรัฐวิสาหกิจให้ชัดเจน เพื่อเป็นเครื่องมือสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติโดยกําหนดบทบาทและทิศทางการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจให้ชัดเจนและแยกบทบาทระหว่างผู้กํากับดูแล ผู้กําหนดนโยบายและผู้ให้บริการออกจากกันอย่างชัดเจน ยุทธศาสตร์ที่ 2 : เร่งการลงทุนที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศ โดยการจัดให้มีแผนการลงทุนของรัฐวิสาหกิจราย 5 ปี ที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลงทุน พร้อมทั้งสนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมกับโครงการลงทุน และการระดมทุนจากแหล่งเงินทุนทางเลือกอื่น ๆ เช่น การส่งเสริมให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPPs) หรือการระดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย เป็นต้น ยุทธศาสตร์ที่ 3 : เสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการเงิน เพื่อให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจการเงินที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ จะจัดให้มีกลไกในการชดเชยให้แก่รัฐวิสาหกิจที่ได้ดําเนินการตามนโยบายของรัฐภายในกรอบระยะเวลาที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งทางการเงินให้กับรัฐวิสาหกิจที่ดําเนินการตามนโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์ที่ 4 : สนับสนุนการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยเฉพาะการมุ่งสร้างนวัตกรรมและนําเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องคล้องกับไทยแลนด์ 4.0 และแผนดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Digital Economy) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ประชาชนและลดต้นทุนการดําเนินงาน ยุทธศาสตร์ที่ 5 : ส่งเสริมระบบธรรมาภิบาลให้มีความโปร่งใสและมีคุณธรรม มีกลไกส่งเสริมและสนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจปรับปรุงกระบวนการบริหารจัดการ เพื่อเป็นองค์กรคุณธรรม มีกลไกกํากับ ติดตาม ตรวจสอบ บริหารความเสี่ยงและประเมินผลที่เพียงพอเหมาะสม มีโครงสร้างองค์กรและกระบวนการทํางานสมัยใหม่ พัฒนาศักยภาพบุคลากรควบคู่กับการมีคุณธรรม กําหนดระบบแรงจูงใจการดําเนินงานที่เหมาะสม คํานึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สังคม และสิ่งแวดล้อมเป็นสําคัญ ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจจัดทําขึ้นโดย สคร. ร่วมกับ สศช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงเจ้าสังกัด คณะกรรมการประเมินผลงานรัฐวิสาหกิจ (PAC) เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้รัฐวิสาหกิจเป็นองค์กรคุณธรรมและเป็นเครื่องมือสําคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่ความ มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน พร้อมกันนี้ คนร. รับทราบผลการดําเนินงานตามแผนการแก้ไขปัญหาของรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งแผนการแก้ไขปัญหาองค์กรของรัฐวิสาหกิจปี 2560 และกรอบเป้าหมายการประเมินผลการดําเนินงานประจําปี 2560 ของรัฐวิสาหกิจทั้ง 7 แห่ง ตามที่คณะอนุกรรมการกลั่นกรองแผนการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจเสนอ โดยได้มีการพิจารณาเรื่องที่สําคัญของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง สรุปได้ดังนี้ 1) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) คนร. รับทราบความคืบหน้าการดําเนินการแก้ไขปัญหาของ ธพว. โดย ธพว. มีผลการดําเนินงานในภาพรวมดีขึ้นและเป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนด เช่น การขยายสินเชื่อใหม่เพิ่มขึ้น 34,000 ล้านบาท การบริหารหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) เป็นต้น ทั้งนี้ ในปี 2560 คนร. ได้กําหนดให้ ธพว. เร่งปล่อยสินเชื่อวงเงินไม่เกิน 15 ล้านบาท ให้เพิ่มขึ้น และการบริหารจัดการ NPLs ให้มีจํานวนไม่เกิน 16,600 ล้านบาท รวมทั้งมอบหมายให้กระทรวงการคลังกํากับการดําเนินการของ ธพว. ให้เป็นไปตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยเคร่งครัด 2) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) คนร. รับทราบความคืบหน้าการดําเนินการแก้ไขปัญหาของ ธอท. โดยมีการจัดทําแผนรองรับการดําเนินงานตลอดจนการเพิ่มช่องทางให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินของ ธอท. ได้มากขึ้น และได้จัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์เป็นไปตามแผนแล้ว ซึ่งขณะนี้กระทรวงการคลังมีความพร้อมในการเพิ่มทุนและ ธอท. จะมีการโอนหนี้ NPFs ไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์ ทั้งนี้ คนร. ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังกํากับการดําเนินงานของ ธอท. ในเรื่องต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด รวมถึงการสรรหาพันธมิตรภายในเดือนมิถุนายน 2560 3) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) คนร. รับทราบความคืบหน้าการดําเนินการแก้ไขปัญหาของ ขสมก. โดยมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมกํากับการดําเนินงานของกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) และ ขสมก. ให้เป็นไปตามมติ คนร. และ/หรือ แผนการแก้ไขปัญหาองค์กร ทั้งนี้ คนร. ได้เน้นย้ําให้มีการตรวจสอบความปลอดภัยโดยเข้มงวด 4) บริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน) (บกท.) คนร. รับทราบความคืบหน้าในการดําเนินการแก้ไขปัญหาของ บกท. ซึ่งในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 มีผลประกอบการดีขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2558 อย่างไรก็ตาม การดําเนินการตามแผนส่วนใหญ่ยังอยู่ระหว่างการดําเนินการ จึงมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมกํากับดูแลโดยเคร่งครัด ทั้งนี้ มอบหมายให้ บกท. เร่งจัดทําระบบขายตั๋วให้สามารถเพิ่มสัดส่วนการขายผ่าน Internet ให้เร็วขึ้น และพิจารณาความเหมาะสมในการลงทุนในบริษัทลูกต่างๆ 5) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) คนร. รับทราบความคืบหน้าในการดําเนินการแก้ไขปัญหาของ รฟท. ทั้งนี้ สําหรับข้อเสนอของ รฟท. ที่จะรับผิดชอบเรื่องการดําเนินการพัฒนาที่ดินย่านมักกะสันและดําเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงเอง มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายพิชิตฯ) และ รฟท. พิจารณาในรายละเอียดอีกครั้ง ซึ่งจะต้องกําหนดเงื่อนไขความสําเร็จ รวมทั้งจะต้องสามารถลดภาระหนี้สินของ รฟท. ลงด้วย 6) – 7) บริษัท ทีโอที จํากัด (มหาชน) (บมจ. ทีโอที.) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) (บมจ. กสท.) คนร. รับทราบความคืบหน้าในการดําเนินการปรับโครงสร้างการประกอบธุรกิจของ บมจ. ทีโอที และ บมจ. กสท โดยจัดตั้งบริษัท NGDC ในการดําเนินธุรกิจเคเบิ้ลใยแก้วใต้น้ําและอินเทอร์เน็ตดาต้าเซ็นเตอร์ และ NGN ในการเนินธุรกิจอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ทั้งนี้ คนร. ได้มอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมร่วมกับ บมจ. ทีโอที และ บมจ. กสท พิจารณาแผนธุรกิจของ บมจ. ทีโอที บมจ. กสท และบริษัทในเครือที่จะจัดตั้งขึ้นให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และให้นําเสนอคณะอนุกรรมการกลั่นกรองแผนการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจ ภายในต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2560 ------------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก (ข้อมูลจากฝ่ายเลขานุการ คนร.)
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/1261
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การเสวนารวมพลังเครือข่ายร่วมขับเคลื่อนแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2560-2579)
วันจันทร์ที่ 4 กันยายน 2560 การเสวนารวมพลังเครือข่ายร่วมขับเคลื่อนแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2560-2579) ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมเสวนา เรื่อง รวมพลังเครือข่ายร่วมขับเคลื่อนแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2560-2579) และปาฐกถาพิเศษ “ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาการศึกษาอย่างยั่งยืน” เมื่อวันพฤหัสบดีที่31สิงหาคม2560ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรีโดยมีผู้บริหารเข้าร่วม อาทินายวิวัฒน์ ศัลยกําธรประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.),นายอรรถพล ตรึกตรอง ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ, นายชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ รองเลขาธิการสภาการศึกษา ฯลฯ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุลกล่าวตอนหนึ่งว่า การประชุมเสวนาดังกล่าว สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ได้กําหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่31สิงหาคม -1กันยายน2560เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนแผนการศึกษาแห่งชาติและการปฏิรูปการศึกษา โดยใช้พลังเครือข่ายการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ ร่วมกําหนดแนวทางการบริหารจัดการแผนพัฒนาการศึกษา และเลือกประเด็นการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาที่มีความจําเป็นเร่งด่วน อันเป็นปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนส่งเสริมเครือข่ายการศึกษาประชารัฐให้เข้มแข็งและเป็นเครื่องมือหลักในการปฏิรูปการศึกษา ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ นําไปสู่การพัฒนาชาติย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนต่อไป โดยกลุ่มเป้าหมายในการเสวนาครั้งนี้ มีจํานวน250คนโดยมีตัวแทนกลุ่มต่าง ๆ คือ ศึกษาธิการภาค ศึกษาธิการจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด ภาคีเครือข่ายจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้ พื้นที่นําร่อง6พื้นที่เครือข่ายประชารัฐของ สกศ. บุคคลเครือข่าย เด็กและเยาวชน รวมทั้งตัวแทนภาคประชาชน สําหรับสถานที่การจัดเสวนาครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจาก "ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง"ที่ก่อตั้งโดย ดร.วิวัฒน์ ศัลยกําธร หรือ อาจารย์ยักษ์ซึ่งเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีบทบาทสําคัญในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวลงสู่การปฏิบัติ โดยเป็นศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตที่แสดงผลสัมฤทธิ์ของการนําศาสตร์พระราชาด้านการจัดการดิน น้ํา ป่า มาฟื้นฟูระบบนิเวศจนสามารถพลิกฟื้นดินดานสร้างระบบนิเวศที่สมดุลต่อระบบการผลิตภาคการเกษตร ซึ่งเป็นสถานที่สวยงาม สงบ ร่มรื่น เป็นธรรมชาติ ผู้คนสุภาพอ่อนน้อม ที่สําคัญยังมีนักศึกษาชาวไทยและต่างประเทศมาเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเช่น นักศึกษาประเทศภูฏาน4คน ได้เข้ามาเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นเวลากว่า3ปี เพื่อนําความรู้เศรษฐกิจพอเพียง และศาสตร์พระราชา กลับไปเป็นแนวทางพัฒนาพื้นที่ในประเทศภูฏาน ทั้งนี้ได้ให้แนวคิดแก่ผู้เข้าร่วมเสวนาในเรื่องศาสตร์พระราชาซึ่งเป็นเรื่องที่พูดถึงกันทั่วโลก แม้แต่ชาวต่างประเทศก็ยังให้ความสนใจเข้ามาศึกษาในเรื่องนี้อย่างจริงจัง จึงได้ย้ําให้ร่วมกันขับเคลื่อน โดยนําหลักคิดเรื่องศาสตร์พระราชาไปสู่การปฏิบัติที่มีหลากหลายแนวทาง เช่นกระบวนการคิดที่จะนําไปสู่การสร้างเด็กและเยาวชนให้เป็นพลเมืองดี มีวินัย ภูมิใจไทย ไปสร้างชาติ ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด “STAR STEMS”ของคณะอนุกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบการเรียนรู้ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ STARได้แก่ Student-คนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ, Teacher-กระตุ้นความคิด กระตุ้นจินตนาการ แนะนํา กํากับ, Academic-บูรณาการสาระวิชา ความดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ รับผิดชอบ, Revolution-ทุกอย่างต้องปรับเปลี่ยน พลิกผันทันที STEMSเป็นการเรียนรู้แบบ Situation Based Learning : SbL พร้อมสอดแทรกเรื่องคุณธรรม ความเป็นไทยตลอดเวลา ได้แก่ Scientific Thinking หลักเหตุและผล, Thai-Technology หลักภูมิปัญญาไทย ศาสตร์พระราชา, English-Engineering หลักประสิทธิภาพ ระบบและการสื่อสารภาษาอังกฤษ, Moral-Mathematics หลักพิสูจน์ด้วยหลักตรรกะและคุณธรรม, Socio Geology หลักความสอดคล้อง เชื่อมโยงกับภูมิสังคม นอกจากนี้ ได้เน้นย้ําให้การอบรมสั่งสอนเด็กและเยาวชน ควรจะเป็น "คุณธรรมนําความรู้" ไม่ใช่ความรู้คู่คุณธรรม และฝากหลักคิดการทํางานและการครองตนด้วยว่า ขอให้เราค้นพบตัวเอง เพราะการรู้จักตัวเองจะทําให้รู้ว่า อะไรที่ควรหรือไม่ควรประพฤติปฏิบัติ อะไรที่ควรหวงแหน อะไรคือความผิดหรือความชั่ว และขอให้ช่วยนําหลักคิดที่สําคัญในการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม 5 ข้อ ได้แก่ 1) ความพอเพียง 2) ความกตัญญู 3) ความซื่อสัตย์สุจริต 4) ความรับผิดชอบ 5) อุดมการณ์คุณธรรมจริยธรรม ไปถ่ายทอดและขยายผลให้เกิดเป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมแก่ลูกหลานเยาวชนไทย เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ในหลวงรัชกาลที่ 9 สืบไป บัลลังก์ โรหิตเสถียร: สรุป/รายงาน ยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี:ถ่ายภาพ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การเสวนารวมพลังเครือข่ายร่วมขับเคลื่อนแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2560-2579) วันจันทร์ที่ 4 กันยายน 2560 การเสวนารวมพลังเครือข่ายร่วมขับเคลื่อนแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2560-2579) ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมเสวนา เรื่อง รวมพลังเครือข่ายร่วมขับเคลื่อนแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2560-2579) และปาฐกถาพิเศษ “ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาการศึกษาอย่างยั่งยืน” เมื่อวันพฤหัสบดีที่31สิงหาคม2560ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรีโดยมีผู้บริหารเข้าร่วม อาทินายวิวัฒน์ ศัลยกําธรประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.),นายอรรถพล ตรึกตรอง ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ, นายชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ รองเลขาธิการสภาการศึกษา ฯลฯ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุลกล่าวตอนหนึ่งว่า การประชุมเสวนาดังกล่าว สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ได้กําหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่31สิงหาคม -1กันยายน2560เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนแผนการศึกษาแห่งชาติและการปฏิรูปการศึกษา โดยใช้พลังเครือข่ายการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ ร่วมกําหนดแนวทางการบริหารจัดการแผนพัฒนาการศึกษา และเลือกประเด็นการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาที่มีความจําเป็นเร่งด่วน อันเป็นปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนส่งเสริมเครือข่ายการศึกษาประชารัฐให้เข้มแข็งและเป็นเครื่องมือหลักในการปฏิรูปการศึกษา ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ นําไปสู่การพัฒนาชาติย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนต่อไป โดยกลุ่มเป้าหมายในการเสวนาครั้งนี้ มีจํานวน250คนโดยมีตัวแทนกลุ่มต่าง ๆ คือ ศึกษาธิการภาค ศึกษาธิการจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด ภาคีเครือข่ายจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้ พื้นที่นําร่อง6พื้นที่เครือข่ายประชารัฐของ สกศ. บุคคลเครือข่าย เด็กและเยาวชน รวมทั้งตัวแทนภาคประชาชน สําหรับสถานที่การจัดเสวนาครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจาก "ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง"ที่ก่อตั้งโดย ดร.วิวัฒน์ ศัลยกําธร หรือ อาจารย์ยักษ์ซึ่งเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีบทบาทสําคัญในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวลงสู่การปฏิบัติ โดยเป็นศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตที่แสดงผลสัมฤทธิ์ของการนําศาสตร์พระราชาด้านการจัดการดิน น้ํา ป่า มาฟื้นฟูระบบนิเวศจนสามารถพลิกฟื้นดินดานสร้างระบบนิเวศที่สมดุลต่อระบบการผลิตภาคการเกษตร ซึ่งเป็นสถานที่สวยงาม สงบ ร่มรื่น เป็นธรรมชาติ ผู้คนสุภาพอ่อนน้อม ที่สําคัญยังมีนักศึกษาชาวไทยและต่างประเทศมาเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเช่น นักศึกษาประเทศภูฏาน4คน ได้เข้ามาเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นเวลากว่า3ปี เพื่อนําความรู้เศรษฐกิจพอเพียง และศาสตร์พระราชา กลับไปเป็นแนวทางพัฒนาพื้นที่ในประเทศภูฏาน ทั้งนี้ได้ให้แนวคิดแก่ผู้เข้าร่วมเสวนาในเรื่องศาสตร์พระราชาซึ่งเป็นเรื่องที่พูดถึงกันทั่วโลก แม้แต่ชาวต่างประเทศก็ยังให้ความสนใจเข้ามาศึกษาในเรื่องนี้อย่างจริงจัง จึงได้ย้ําให้ร่วมกันขับเคลื่อน โดยนําหลักคิดเรื่องศาสตร์พระราชาไปสู่การปฏิบัติที่มีหลากหลายแนวทาง เช่นกระบวนการคิดที่จะนําไปสู่การสร้างเด็กและเยาวชนให้เป็นพลเมืองดี มีวินัย ภูมิใจไทย ไปสร้างชาติ ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด “STAR STEMS”ของคณะอนุกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบการเรียนรู้ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ STARได้แก่ Student-คนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ, Teacher-กระตุ้นความคิด กระตุ้นจินตนาการ แนะนํา กํากับ, Academic-บูรณาการสาระวิชา ความดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ รับผิดชอบ, Revolution-ทุกอย่างต้องปรับเปลี่ยน พลิกผันทันที STEMSเป็นการเรียนรู้แบบ Situation Based Learning : SbL พร้อมสอดแทรกเรื่องคุณธรรม ความเป็นไทยตลอดเวลา ได้แก่ Scientific Thinking หลักเหตุและผล, Thai-Technology หลักภูมิปัญญาไทย ศาสตร์พระราชา, English-Engineering หลักประสิทธิภาพ ระบบและการสื่อสารภาษาอังกฤษ, Moral-Mathematics หลักพิสูจน์ด้วยหลักตรรกะและคุณธรรม, Socio Geology หลักความสอดคล้อง เชื่อมโยงกับภูมิสังคม นอกจากนี้ ได้เน้นย้ําให้การอบรมสั่งสอนเด็กและเยาวชน ควรจะเป็น "คุณธรรมนําความรู้" ไม่ใช่ความรู้คู่คุณธรรม และฝากหลักคิดการทํางานและการครองตนด้วยว่า ขอให้เราค้นพบตัวเอง เพราะการรู้จักตัวเองจะทําให้รู้ว่า อะไรที่ควรหรือไม่ควรประพฤติปฏิบัติ อะไรที่ควรหวงแหน อะไรคือความผิดหรือความชั่ว และขอให้ช่วยนําหลักคิดที่สําคัญในการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม 5 ข้อ ได้แก่ 1) ความพอเพียง 2) ความกตัญญู 3) ความซื่อสัตย์สุจริต 4) ความรับผิดชอบ 5) อุดมการณ์คุณธรรมจริยธรรม ไปถ่ายทอดและขยายผลให้เกิดเป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมแก่ลูกหลานเยาวชนไทย เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ในหลวงรัชกาลที่ 9 สืบไป บัลลังก์ โรหิตเสถียร: สรุป/รายงาน ยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี:ถ่ายภาพ
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/6381
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเผย กษ. เร่งขับเคลื่อนการเกษตรเพื่อแก้ปัญหา กระตุ้นความเป็นอยู่เกษตรกรและเศรษฐกิจฐานราก
วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม 2560 เลขาธิการสํานักงานเศรษฐกิจการเกษตรเผย กษ. เร่งขับเคลื่อนการเกษตรเพื่อแก้ปัญหา กระตุ้นความเป็นอยู่เกษตรกรและเศรษฐกิจฐานราก เลขาธิการ สศก.เผย กษ.กําหนดให้ปี 2561 เป็นปีแห่งการยกระดับคน การบริหารจัดการมาตรฐานสินค้าเกษตรสู่เกษตร 4.0 พร้อมเร่งขับเคลื่อนการเกษตรเพื่อแก้ปัญหา กระตุ้นความเป็นอยู่เกษตรกร-เศรษฐกิจฐานราก ทั้งเร่งรัดเบิกจ่ายงบฯกระตุ้นเศรษฐกิจภาคเกษตรตลอดปี 61 วันที่ 28 ต.ค.60 นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงกรณีที่ ทีเอ็มบีรายงานว่า รายได้เกษตรกรปีหน้ายังอยู่ในภาวะนิ่ง ส่งผลให้กําลังซื้อเศรษฐกิจภูมิภาคไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรสําคัญมีแนวโน้มทรงตัวต่อเนื่อง ในขณะที่เกษตรกรไม่สามารถใช้จ่ายได้เพิ่มขึ้น ทําให้คาดการณ์ดัชนีรายได้เกษตรกรปี 2561 พบว่า รายได้จะไม่ขยายตัว ภาครัฐต้องเร่งการเบิกจ่ายงบประมาณมากขึ้น หรือเพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภูมิภาค นั้น สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร ขอชี้แจงข้อเท็จจริงว่า ภาพรวมรายได้เกษตรกร สะท้อนจากดัชนีรายได้เกษตรกร ในระยะ 9 เดือน ปี 2560 (ม.ค.-ก.ย. 2560) อยู่ที่ระดับ 155.34 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ม.ค.-ก.ย. 2559) ร้อยละ 8.88 เป็นผลมาจากดัชนีผลผลิตที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.50 ในขณะที่ดัชนีราคาปรับตัวลดลงร้อยละ 1.47 และหากพิจารณาแนวโน้มดัชนีรายได้เกษตรกรทั้งปี 2560 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2559 เป็นผลจากผลผลิตสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้น อาทิ ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน สับปะรดโรงงาน ยางพารา ปาล์มน้ํามัน และผลไม้ แม้ว่าดัชนีราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้มลดลงก็ตาม จากสถานการณ์ราคาสินค้าเกษตรลดลงในปี 2560 เป็นผลมาจากการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทําให้ปริมาณผลผลิตเพิ่มมากขึ้น แต่เนื่องจากปัญหาคุณภาพสินค้าที่มีความชื้นค่อนข้างสูงจากฝนตกชุกและต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อราคา ซึ่งรัฐบาลได้พยายามแก้ไขปัญหาเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร โดยใช้ตลาดนําการผลิตหรือผลิตตามตลาดต้องการ รวมทั้งแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม และส่งเสริมระบบตลาดออนไลน์ ปี 2561 ภาครัฐ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กําหนดเป้าหมายให้เป็น “ปีแห่งการยกระดับคน การบริหารจัดการมาตรฐานสินค้าเกษตรสู่เกษตร 4.0” ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณรวม 103,586.6227 ล้านบาท ในจํานวนนี้ มีงานโครงการสนับสนุนนโยบาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ยกกระดาษ A4) และงานสําคัญอื่น ๆ จํานวน 57,742.1386 ล้านบาท ประกอบ 15 โครงการแผนงานสําคัญ ประกอบด้วย 1) การบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา 2) ระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ 3) ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร 4) Zoning by Agri-Map 5) Smart Farmer 6) พัฒนาสถาบันเกษตรกรรูปแบบประชารัฐ 7) ธนาคารสินค้าเกษตร 8) เกษตรอินทรีย์ 9) ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ 10) จัดระเบียบการประมงให้เป็นมาตรฐาน 11) ขยายศูนย์เมล็ดพันธ์ข้าว 12) ส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าสินค้าและการใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตรทดแทนแรงงาน 13) ตลาดสินค้าเกษตร 14) พัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรสู่มาตรฐาน (GAP) และ15) การช่วยเหลือด้านหนี้สินสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายขับเคลื่อนการเกษตรเพื่อแก้ปัญหาและกระตุ้นความเป็นอยู่ของเกษตรกรและเศรษฐกิจฐานราก และช่วยให้รายได้เกษตรกรขยายตัวต่อเนื่อง พร้อมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคเกษตรในไตรมาสแรก ปี 2561 วงเงิน 33,891.39 ล้านบาท (ร้อยละ 32.72) ไตรมาสที่ 2 จํานวน 23,478.51 ล้านบาท (ร้อยละ 22.67) ไตรมาสที่ 3 จํานวน 22,359.16 ล้านบาท (ร้อยละ 21.58) และไตรมาสที่ 4 จํานวน 23,857.56 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 23.03 ซึ่งเชื่อมั่นว่าผลสัมฤทธิ์จะได้รับจากการดําเนินงานตามงบประมาณปี 2561 ซึ่งหากเป็นไปตามแผน จะช่วยสนับสนุนให้ต้นทุนการผลิตลดลง ผลผลิตเพิ่มขึ้น มีคุณภาพมาตรฐาน สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ซึ่งส่งผลให้รายได้เกษตรกรเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง --------------------------
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเผย กษ. เร่งขับเคลื่อนการเกษตรเพื่อแก้ปัญหา กระตุ้นความเป็นอยู่เกษตรกรและเศรษฐกิจฐานราก วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม 2560 เลขาธิการสํานักงานเศรษฐกิจการเกษตรเผย กษ. เร่งขับเคลื่อนการเกษตรเพื่อแก้ปัญหา กระตุ้นความเป็นอยู่เกษตรกรและเศรษฐกิจฐานราก เลขาธิการ สศก.เผย กษ.กําหนดให้ปี 2561 เป็นปีแห่งการยกระดับคน การบริหารจัดการมาตรฐานสินค้าเกษตรสู่เกษตร 4.0 พร้อมเร่งขับเคลื่อนการเกษตรเพื่อแก้ปัญหา กระตุ้นความเป็นอยู่เกษตรกร-เศรษฐกิจฐานราก ทั้งเร่งรัดเบิกจ่ายงบฯกระตุ้นเศรษฐกิจภาคเกษตรตลอดปี 61 วันที่ 28 ต.ค.60 นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงกรณีที่ ทีเอ็มบีรายงานว่า รายได้เกษตรกรปีหน้ายังอยู่ในภาวะนิ่ง ส่งผลให้กําลังซื้อเศรษฐกิจภูมิภาคไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรสําคัญมีแนวโน้มทรงตัวต่อเนื่อง ในขณะที่เกษตรกรไม่สามารถใช้จ่ายได้เพิ่มขึ้น ทําให้คาดการณ์ดัชนีรายได้เกษตรกรปี 2561 พบว่า รายได้จะไม่ขยายตัว ภาครัฐต้องเร่งการเบิกจ่ายงบประมาณมากขึ้น หรือเพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภูมิภาค นั้น สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร ขอชี้แจงข้อเท็จจริงว่า ภาพรวมรายได้เกษตรกร สะท้อนจากดัชนีรายได้เกษตรกร ในระยะ 9 เดือน ปี 2560 (ม.ค.-ก.ย. 2560) อยู่ที่ระดับ 155.34 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ม.ค.-ก.ย. 2559) ร้อยละ 8.88 เป็นผลมาจากดัชนีผลผลิตที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.50 ในขณะที่ดัชนีราคาปรับตัวลดลงร้อยละ 1.47 และหากพิจารณาแนวโน้มดัชนีรายได้เกษตรกรทั้งปี 2560 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2559 เป็นผลจากผลผลิตสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้น อาทิ ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน สับปะรดโรงงาน ยางพารา ปาล์มน้ํามัน และผลไม้ แม้ว่าดัชนีราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้มลดลงก็ตาม จากสถานการณ์ราคาสินค้าเกษตรลดลงในปี 2560 เป็นผลมาจากการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทําให้ปริมาณผลผลิตเพิ่มมากขึ้น แต่เนื่องจากปัญหาคุณภาพสินค้าที่มีความชื้นค่อนข้างสูงจากฝนตกชุกและต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อราคา ซึ่งรัฐบาลได้พยายามแก้ไขปัญหาเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร โดยใช้ตลาดนําการผลิตหรือผลิตตามตลาดต้องการ รวมทั้งแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม และส่งเสริมระบบตลาดออนไลน์ ปี 2561 ภาครัฐ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กําหนดเป้าหมายให้เป็น “ปีแห่งการยกระดับคน การบริหารจัดการมาตรฐานสินค้าเกษตรสู่เกษตร 4.0” ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณรวม 103,586.6227 ล้านบาท ในจํานวนนี้ มีงานโครงการสนับสนุนนโยบาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ยกกระดาษ A4) และงานสําคัญอื่น ๆ จํานวน 57,742.1386 ล้านบาท ประกอบ 15 โครงการแผนงานสําคัญ ประกอบด้วย 1) การบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา 2) ระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ 3) ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร 4) Zoning by Agri-Map 5) Smart Farmer 6) พัฒนาสถาบันเกษตรกรรูปแบบประชารัฐ 7) ธนาคารสินค้าเกษตร 8) เกษตรอินทรีย์ 9) ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ 10) จัดระเบียบการประมงให้เป็นมาตรฐาน 11) ขยายศูนย์เมล็ดพันธ์ข้าว 12) ส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าสินค้าและการใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตรทดแทนแรงงาน 13) ตลาดสินค้าเกษตร 14) พัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรสู่มาตรฐาน (GAP) และ15) การช่วยเหลือด้านหนี้สินสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายขับเคลื่อนการเกษตรเพื่อแก้ปัญหาและกระตุ้นความเป็นอยู่ของเกษตรกรและเศรษฐกิจฐานราก และช่วยให้รายได้เกษตรกรขยายตัวต่อเนื่อง พร้อมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคเกษตรในไตรมาสแรก ปี 2561 วงเงิน 33,891.39 ล้านบาท (ร้อยละ 32.72) ไตรมาสที่ 2 จํานวน 23,478.51 ล้านบาท (ร้อยละ 22.67) ไตรมาสที่ 3 จํานวน 22,359.16 ล้านบาท (ร้อยละ 21.58) และไตรมาสที่ 4 จํานวน 23,857.56 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 23.03 ซึ่งเชื่อมั่นว่าผลสัมฤทธิ์จะได้รับจากการดําเนินงานตามงบประมาณปี 2561 ซึ่งหากเป็นไปตามแผน จะช่วยสนับสนุนให้ต้นทุนการผลิตลดลง ผลผลิตเพิ่มขึ้น มีคุณภาพมาตรฐาน สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ซึ่งส่งผลให้รายได้เกษตรกรเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง --------------------------
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/7654
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ร่าง พ.ร.บ.สภาองค์กรผู้บริโภค
วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน 2561 ร่าง พ.ร.บ.สภาองค์กรผู้บริโภค รัฐบาลอนุมัติร่าง พ.ร.บ.สภาองค์กรผู้บริโภคแห่งชาติ อาทิตย์ที่ 17 มิ.ย.61 ร่าง พ.ร.บ.สภาองค์กรผู้บริโภค ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลอนุมัติร่าง พ.ร.บ.สภาองค์กรผู้บริโภคแห่งชาติ กําหนดให้มีการจัดตั้งสภาองค์กรผู้บริโภคประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภค จํานวน 10 คน และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น ด้านยา ด้านอสังหาริมรัพย์ และด้านอื่น ๆ คอีก 9 คน ทําหน้าที่พิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค เป็นตัวแทนประสานกับหน่วยงานรัฐเพื่อเรียกร้องสิทธิ เฝ้าระวังสินค้าและบริการที่มีปัญหา พร้อมทั้งคอยแจ้งข่าวสาร เตือนภัยสินค้าหรือบริการที่อาจสร้างความเสียหายแก่ประชาชน เป็นต้น พร้อมทั้งตั้งสํานักงานคณะกรรมการสภาองค์กรผู้บริโภค เป็นองค์กรอิสระ ทํางานควบคู่ไปกับสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นองค์กรภาครัฐ เพื่อให้ประชาชนได้รับความคุ้มครองจากการใช้สินค้าและบริการอย่างเป็นธรรม ร่วมเดินหน้าประเทศไทย กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ร่าง พ.ร.บ.สภาองค์กรผู้บริโภค วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน 2561 ร่าง พ.ร.บ.สภาองค์กรผู้บริโภค รัฐบาลอนุมัติร่าง พ.ร.บ.สภาองค์กรผู้บริโภคแห่งชาติ อาทิตย์ที่ 17 มิ.ย.61 ร่าง พ.ร.บ.สภาองค์กรผู้บริโภค ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลอนุมัติร่าง พ.ร.บ.สภาองค์กรผู้บริโภคแห่งชาติ กําหนดให้มีการจัดตั้งสภาองค์กรผู้บริโภคประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภค จํานวน 10 คน และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น ด้านยา ด้านอสังหาริมรัพย์ และด้านอื่น ๆ คอีก 9 คน ทําหน้าที่พิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค เป็นตัวแทนประสานกับหน่วยงานรัฐเพื่อเรียกร้องสิทธิ เฝ้าระวังสินค้าและบริการที่มีปัญหา พร้อมทั้งคอยแจ้งข่าวสาร เตือนภัยสินค้าหรือบริการที่อาจสร้างความเสียหายแก่ประชาชน เป็นต้น พร้อมทั้งตั้งสํานักงานคณะกรรมการสภาองค์กรผู้บริโภค เป็นองค์กรอิสระ ทํางานควบคู่ไปกับสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นองค์กรภาครัฐ เพื่อให้ประชาชนได้รับความคุ้มครองจากการใช้สินค้าและบริการอย่างเป็นธรรม ร่วมเดินหน้าประเทศไทย กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/13227
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.ดิจิทัลฯ ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “Thailand 4.0 and the Transformation to the Digital Era ประเทศไทย 4.0 และการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล”
วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม 2561 รมว.ดิจิทัลฯ ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “Thailand 4.0 and the Transformation to the Digital Era ประเทศไทย 4.0 และการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล” รมว.ดิจิทัลฯ p.p1 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; text-indent: 36.0px; font: 16.0px Helvetica; -webkit-text-stroke: #000000} p.p2 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; text-indent: 36.0px; font: 16.0px Helvetica; -webkit-text-stroke: #000000; min-height: 19.0px} p.p3 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; font: 18.0px Helvetica; -webkit-text-stroke: #000000; min-height: 22.0px} p.p4 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; font: 16.0px Helvetica; -webkit-text-stroke: #000000} span.s1 {font-kerning: none} ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “Thailand 4.0 and the Transformation to the Digital Era ประเทศไทย 4.0 และการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล” ในการฝึกอบรมหลักสูตร Corporation Governance in Digital Era ให้กับกรรมการ (Board of Directors) จากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ กว่า 60 คน โดยมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (มูลนิธิ สวค.) จัดขึ้น เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะให้กับกรรมการซึ่งมีหน้าที่ในการกํากับดูแลการบริหารองค์ภายใต้ยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยี และพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถในการขับเคลื่อนรัฐวิสาหกิจ เพื่อดําเนินการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับการดําเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล อีกทั้งยังตระหนักถึงความสําคัญของการพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรคุณธรรม มีระบบการกํากับดูแลกิจการ และการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักการกํากับดูแลกิจการที่ดี เพื่อนําไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจถือเป็นการพัฒนาเชิงเทคนิค ซึ่งต้องควบคู่กับการพัฒนาในมิติเชิงสังคม รวมถึงการสร้างบุคลากรและองค์กรให้มีคุณธรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นองค์กรต้นแบบที่มีลักษณะการทํางานแบบร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน สามารถขับเคลื่อนประเทศและองค์กรได้อย่างประสบความสําเร็จในยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีดิจิทัล และผลักดันสู่นโยบายประเทศไทย 4.0 และคนไทย 4.0 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2561 ณ โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน ถนนรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพฯ **********************************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.ดิจิทัลฯ ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “Thailand 4.0 and the Transformation to the Digital Era ประเทศไทย 4.0 และการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล” วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม 2561 รมว.ดิจิทัลฯ ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “Thailand 4.0 and the Transformation to the Digital Era ประเทศไทย 4.0 และการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล” รมว.ดิจิทัลฯ p.p1 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; text-indent: 36.0px; font: 16.0px Helvetica; -webkit-text-stroke: #000000} p.p2 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; text-indent: 36.0px; font: 16.0px Helvetica; -webkit-text-stroke: #000000; min-height: 19.0px} p.p3 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; font: 18.0px Helvetica; -webkit-text-stroke: #000000; min-height: 22.0px} p.p4 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; font: 16.0px Helvetica; -webkit-text-stroke: #000000} span.s1 {font-kerning: none} ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “Thailand 4.0 and the Transformation to the Digital Era ประเทศไทย 4.0 และการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล” ในการฝึกอบรมหลักสูตร Corporation Governance in Digital Era ให้กับกรรมการ (Board of Directors) จากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ กว่า 60 คน โดยมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (มูลนิธิ สวค.) จัดขึ้น เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะให้กับกรรมการซึ่งมีหน้าที่ในการกํากับดูแลการบริหารองค์ภายใต้ยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยี และพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถในการขับเคลื่อนรัฐวิสาหกิจ เพื่อดําเนินการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับการดําเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล อีกทั้งยังตระหนักถึงความสําคัญของการพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรคุณธรรม มีระบบการกํากับดูแลกิจการ และการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักการกํากับดูแลกิจการที่ดี เพื่อนําไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจถือเป็นการพัฒนาเชิงเทคนิค ซึ่งต้องควบคู่กับการพัฒนาในมิติเชิงสังคม รวมถึงการสร้างบุคลากรและองค์กรให้มีคุณธรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นองค์กรต้นแบบที่มีลักษณะการทํางานแบบร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน สามารถขับเคลื่อนประเทศและองค์กรได้อย่างประสบความสําเร็จในยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีดิจิทัล และผลักดันสู่นโยบายประเทศไทย 4.0 และคนไทย 4.0 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2561 ณ โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน ถนนรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพฯ **********************************
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/12384
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“รมช.วิวัฒน์” ลงพื้นที่ยกระดับพัฒนาระบบสหกรณ์ให้เกิดความเข้มแข็ง
วันอังคารที่ 6 มีนาคม 2561 “รมช.วิวัฒน์” ลงพื้นที่ยกระดับพัฒนาระบบสหกรณ์ให้เกิดความเข้มแข็ง “รมช.วิวัฒน์” ลงพื้นที่ยกระดับพัฒนาระบบสหกรณ์ให้เกิดความเข้มแข็ง ชูศูนย์สาธิตสหกรณ์โครงการหุบกะพง จํากัด ต้นแบบสหกรณ์ในด้านความเข้มแข็ง พร้อมเดินสายตรวจเยี่ยมให้กําลังใจและรับฟังปัญหาของสมาชิกสหกรณ์ในพื้นที่ จ.เพชรบุรี นายวิวัฒน์ ศัลยกําธร รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมศูนย์สาธิตสหกรณ์โครงการหุบกะพง จํากัด อําเภอชะอํา จังหวัดเพชรบุรี ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายส่งเสริมพัฒนาระบบสหกรณ์ให้เกิดความเข้มแข็ง เนื่องจากการดําเนินธุรกิจของสหกรณ์มีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนในระดับฐานรากทุกสาขาอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการเกษตร ดังนั้น ทั้งหน่วยงานภาครัฐและขบวนการสหกรณ์ จึงจําเป็นต้องร่วมมือกันขับเคลื่อนระบบสหกรณ์ให้เป็นกลไกหลักของการพัฒนาประเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สําหรับโครงการจัดพัฒนาที่ดินฯ ตามพระราชประสงค์หุบกะพง อําเภอชะอํา จังหวัดเพชรบุรี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตมอบอํานาจการจัดที่ดินในหมู่บ้านสหกรณ์โครงการหุบกะพง อ.ชะอํา จ.เพชรบุรี เนื้อที่ประมาณ 12,079 ไร่ ให้แก่กรมส่งเสริมสหกรณ์ กับสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จํากัด เพื่อจัดและพัฒนาที่ดินของโครงการให้แก่เกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทํากินเป็นของตนเอง หรือมีเพียงเล็กน้อยไม่พอแก่การครองชีพเข้าประกอบการเกษตรโดยไม่ให้กรรมสิทธิ์ตามวัตถุประสงค์ของศูนย์สาธิตสหกรณ์โครงการหุบกะพง ศูนย์สาธิตสหกรณ์โครงการหุบกะพง จํากัด เป็นสหกรณ์ต้นแบบในพื้นที่โครงการจัดพัฒนาที่ดินฯ ตามพระราชประสงค์หุบกระพง มีกลุ่มอาชีพสังกัดสหกรณ์ที่เข้มแข็งและสามารถให้บริการสมาชิกได้อย่างทั่วถึง มีหน้าที่รับผิดชอบใน 6 ภารกิจหลัก คือ 1.งานจัดพัฒนาที่ดินตามพระราชประสงค์หุบกะพง และงานชลประทาน 2. งานส่งเสริมสหกรณ์ในพื้นที่โครงการฯ 3.งานส่งเสริมอาชีพ (การผลิต) และการตลาด 4.งานเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ 5.งานโครงการพิเศษ สาธิต ทดลองการเกษตร และ 6. งานด้านบริการกิจกรรมเพื่อสังคม มีโครงการที่ดําเนินการ ได้แก่ 1.โครงการส่งเสริมการปลูกหน่อไม้ฝรั่งปลอดสารในพื้นที่โครงการตามพระราชประสงค์หุบกะพง และ 2.โครงการส่งเสริมและพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรของสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จํากัด ชอย่างไรก็ตาม โครงการจัดพัฒนาที่ดินฯ ตามพระราชประสงค์หุบกะพง จะต้องมีการพัฒนาสืบสานต่อเนื่องไป โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเล็งเห็นว่า หากชาวบ้านไม่มีที่ทํากินก็ต้องบุกรุกป่าไปเรื่อยๆ เมื่อป่าหมดคนในเมืองก็ไม่สามารถอยู่ได้ อีกทั้งที่แห่งนี้เป็นแห่งแรกที่พระองค์พระราชทานให้จัดและพัฒนาที่ดินของโครงการให้แก่เกษตรกรที่ไม่มีที่ดินหลากหลายกลุ่ม ทรงห่วงใยราษฎรจะไม่มีที่ทํากิน และมีพระราชประสงค์ให้ทุกกลุ่มอยู่ร่วมกันด้วยความสามัคคี ดังนั้น จึงต้องมีการพัฒนาในด้านต่างๆ เช่น การจัดระบบชลประทานและพัฒนาแหล่งน้ํา การดูแลเครื่องมือเครื่องจักรกลด้านชลประทานให้มีประสิทธิภาพ การส่งเสริมระบบบริหารจัดการสหกรณ์ในพื้นที่โครงการฯ ตลอดทั้งส่งเสริมเรื่องความสามัคคีและความซื่อสัตย์ในกลุ่มสมาชิกสหกรณ์ เป็นต้น “สหกรณ์ต้องไม่หยุดพัฒนาตนเองในมิติต่างๆ โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม ต้องมีการจัดระบบนิเวศให้สมบูรณ์ จัดระบบพัฒนาทั้งในด้านการผลิต การแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่จะนําไปจําหน่าย ขณะเดียวกัน ควรเกิดความร่วมมือระหว่างสหกรณ์ด้วยกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน และเมื่อได้มีการพัฒนาแล้วควรถ่ายทอดความรู้เพื่อช่วยเหลือสหกรณ์อื่นๆที่อ่อนแอกว่าด้วย โดยความร่วมมือทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นสิ่งที่มีความสําคัญและควรมองข้าม เพราะจะทําให้ได้รับความรู้เพื่อพัฒนาสหกรณ์ต่อไป” นายวิวัฒน์กล่าว หลังจากนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสหกรณ์อื่นๆในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี อาทิ สหกรณ์นิคมชะอํา จํากัด ที่มีจุดเด่นคือ การมีกระบวนการผลิตผักปลอดภัย การรวมกลุ่มเพื่อลดต้นทุนการผลิต และการทําปุ๋ยอินทรีย์ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนรวมน้ําใจยาง จํากัด ซึ่งเป็นสหกรณ์ที่มีผลงานดีเด่นระดับภาค ประจําปี 2560 เป็นองค์กรที่สําคัญของชุมชน ทําให้ผู้เป็นสมาขิกทีดีขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้ ชุมชนเกิดความเข้มแข็งช่วยให้เกิดความสามัคคีในกลุ่ม และสหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จํากัด ที่มีจุดเด่นคือ ส่งเสริมการผลิตและรวบรวทกล้วยหอมทองปลอดสารพิษเพื่อการส่งออกระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ปริมาณธุรกิจ 20-30 ล้านบาท/ปี และการส่งเสริมให้สมาชิกปลูกผักปลอดสารพิษ กลุ่มโฆษกและวิเคราะห์ข่าว กองเกษตรสารนิเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร 02-2810859 แฟกซ์ 02-2822871 [email protected] www.moac.go.th www.facebook.com/kasetthai
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“รมช.วิวัฒน์” ลงพื้นที่ยกระดับพัฒนาระบบสหกรณ์ให้เกิดความเข้มแข็ง วันอังคารที่ 6 มีนาคม 2561 “รมช.วิวัฒน์” ลงพื้นที่ยกระดับพัฒนาระบบสหกรณ์ให้เกิดความเข้มแข็ง “รมช.วิวัฒน์” ลงพื้นที่ยกระดับพัฒนาระบบสหกรณ์ให้เกิดความเข้มแข็ง ชูศูนย์สาธิตสหกรณ์โครงการหุบกะพง จํากัด ต้นแบบสหกรณ์ในด้านความเข้มแข็ง พร้อมเดินสายตรวจเยี่ยมให้กําลังใจและรับฟังปัญหาของสมาชิกสหกรณ์ในพื้นที่ จ.เพชรบุรี นายวิวัฒน์ ศัลยกําธร รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมศูนย์สาธิตสหกรณ์โครงการหุบกะพง จํากัด อําเภอชะอํา จังหวัดเพชรบุรี ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายส่งเสริมพัฒนาระบบสหกรณ์ให้เกิดความเข้มแข็ง เนื่องจากการดําเนินธุรกิจของสหกรณ์มีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนในระดับฐานรากทุกสาขาอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการเกษตร ดังนั้น ทั้งหน่วยงานภาครัฐและขบวนการสหกรณ์ จึงจําเป็นต้องร่วมมือกันขับเคลื่อนระบบสหกรณ์ให้เป็นกลไกหลักของการพัฒนาประเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สําหรับโครงการจัดพัฒนาที่ดินฯ ตามพระราชประสงค์หุบกะพง อําเภอชะอํา จังหวัดเพชรบุรี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตมอบอํานาจการจัดที่ดินในหมู่บ้านสหกรณ์โครงการหุบกะพง อ.ชะอํา จ.เพชรบุรี เนื้อที่ประมาณ 12,079 ไร่ ให้แก่กรมส่งเสริมสหกรณ์ กับสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จํากัด เพื่อจัดและพัฒนาที่ดินของโครงการให้แก่เกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทํากินเป็นของตนเอง หรือมีเพียงเล็กน้อยไม่พอแก่การครองชีพเข้าประกอบการเกษตรโดยไม่ให้กรรมสิทธิ์ตามวัตถุประสงค์ของศูนย์สาธิตสหกรณ์โครงการหุบกะพง ศูนย์สาธิตสหกรณ์โครงการหุบกะพง จํากัด เป็นสหกรณ์ต้นแบบในพื้นที่โครงการจัดพัฒนาที่ดินฯ ตามพระราชประสงค์หุบกระพง มีกลุ่มอาชีพสังกัดสหกรณ์ที่เข้มแข็งและสามารถให้บริการสมาชิกได้อย่างทั่วถึง มีหน้าที่รับผิดชอบใน 6 ภารกิจหลัก คือ 1.งานจัดพัฒนาที่ดินตามพระราชประสงค์หุบกะพง และงานชลประทาน 2. งานส่งเสริมสหกรณ์ในพื้นที่โครงการฯ 3.งานส่งเสริมอาชีพ (การผลิต) และการตลาด 4.งานเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ 5.งานโครงการพิเศษ สาธิต ทดลองการเกษตร และ 6. งานด้านบริการกิจกรรมเพื่อสังคม มีโครงการที่ดําเนินการ ได้แก่ 1.โครงการส่งเสริมการปลูกหน่อไม้ฝรั่งปลอดสารในพื้นที่โครงการตามพระราชประสงค์หุบกะพง และ 2.โครงการส่งเสริมและพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรของสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จํากัด ชอย่างไรก็ตาม โครงการจัดพัฒนาที่ดินฯ ตามพระราชประสงค์หุบกะพง จะต้องมีการพัฒนาสืบสานต่อเนื่องไป โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเล็งเห็นว่า หากชาวบ้านไม่มีที่ทํากินก็ต้องบุกรุกป่าไปเรื่อยๆ เมื่อป่าหมดคนในเมืองก็ไม่สามารถอยู่ได้ อีกทั้งที่แห่งนี้เป็นแห่งแรกที่พระองค์พระราชทานให้จัดและพัฒนาที่ดินของโครงการให้แก่เกษตรกรที่ไม่มีที่ดินหลากหลายกลุ่ม ทรงห่วงใยราษฎรจะไม่มีที่ทํากิน และมีพระราชประสงค์ให้ทุกกลุ่มอยู่ร่วมกันด้วยความสามัคคี ดังนั้น จึงต้องมีการพัฒนาในด้านต่างๆ เช่น การจัดระบบชลประทานและพัฒนาแหล่งน้ํา การดูแลเครื่องมือเครื่องจักรกลด้านชลประทานให้มีประสิทธิภาพ การส่งเสริมระบบบริหารจัดการสหกรณ์ในพื้นที่โครงการฯ ตลอดทั้งส่งเสริมเรื่องความสามัคคีและความซื่อสัตย์ในกลุ่มสมาชิกสหกรณ์ เป็นต้น “สหกรณ์ต้องไม่หยุดพัฒนาตนเองในมิติต่างๆ โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม ต้องมีการจัดระบบนิเวศให้สมบูรณ์ จัดระบบพัฒนาทั้งในด้านการผลิต การแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่จะนําไปจําหน่าย ขณะเดียวกัน ควรเกิดความร่วมมือระหว่างสหกรณ์ด้วยกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน และเมื่อได้มีการพัฒนาแล้วควรถ่ายทอดความรู้เพื่อช่วยเหลือสหกรณ์อื่นๆที่อ่อนแอกว่าด้วย โดยความร่วมมือทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นสิ่งที่มีความสําคัญและควรมองข้าม เพราะจะทําให้ได้รับความรู้เพื่อพัฒนาสหกรณ์ต่อไป” นายวิวัฒน์กล่าว หลังจากนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสหกรณ์อื่นๆในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี อาทิ สหกรณ์นิคมชะอํา จํากัด ที่มีจุดเด่นคือ การมีกระบวนการผลิตผักปลอดภัย การรวมกลุ่มเพื่อลดต้นทุนการผลิต และการทําปุ๋ยอินทรีย์ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนรวมน้ําใจยาง จํากัด ซึ่งเป็นสหกรณ์ที่มีผลงานดีเด่นระดับภาค ประจําปี 2560 เป็นองค์กรที่สําคัญของชุมชน ทําให้ผู้เป็นสมาขิกทีดีขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้ ชุมชนเกิดความเข้มแข็งช่วยให้เกิดความสามัคคีในกลุ่ม และสหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จํากัด ที่มีจุดเด่นคือ ส่งเสริมการผลิตและรวบรวทกล้วยหอมทองปลอดสารพิษเพื่อการส่งออกระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ปริมาณธุรกิจ 20-30 ล้านบาท/ปี และการส่งเสริมให้สมาชิกปลูกผักปลอดสารพิษ กลุ่มโฆษกและวิเคราะห์ข่าว กองเกษตรสารนิเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร 02-2810859 แฟกซ์ 02-2822871 [email protected] www.moac.go.th www.facebook.com/kasetthai
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/10535
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กสิกรไทย จับมือ ออมสิน ใช้ตู้เอทีเอ็ม ร่วมกันนำร่อง 5 จังหวัด ปลุกโมเดลตู้เอทีเอ็มสีขาว
วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน 2562 กสิกรไทย จับมือ ออมสิน ใช้ตู้เอทีเอ็ม ร่วมกันนําร่อง 5 จังหวัด ปลุกโมเดลตู้เอทีเอ็มสีขาว ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารออมสินปลุกโมเดลเอทีเอ็มสีขาว (White Label ATM) ให้บริการเอทีเอ็มร่วมกันเพื่อสร้างความพึงพอใจและความสะดวกสบายให้กับลูกค้าในการใช้บริการเอทีเอ็มได้ครอบคลุมมากขึ้น ผ่านตู้ออมสิน-กสิกรไทย ฟรีค่าธรรมเนียม ไม่จํากัดจํานวนครั้ง ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารออมสินปลุกโมเดลเอทีเอ็มสีขาว (White Label ATM) ให้บริการเอทีเอ็มร่วมกันเพื่อสร้างความพึงพอใจและความสะดวกสบายให้กับลูกค้าในการใช้บริการเอทีเอ็มได้ครอบคลุมมากขึ้น ผ่านตู้ออมสิน-กสิกรไทย ฟรีค่าธรรมเนียม ไม่จํากัดจํานวนครั้ง มุ่งส่งเสริมการใช้ทรัพยากรทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด วันนี้ (6 พฤศจิกายน 2562) ณ ธนาคารกสิกรไทย สํานักพหลโยธิน นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย และดร.ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อํานวยการธนาคารออมสิน ร่วมลงนามความร่วมมือการให้บริการเอทีเอ็มระหว่างสถาบันการเงินเฉพาะกิจกับธนาคารพาณิชย์ครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อการบริหารจัดการเครื่องเอทีเอ็มในอนาคตร่วมกัน และสานต่อนโยบายเครื่องเอทีเอ็มสีขาวของธนาคาร แห่งประเทศไทย (ธปท.) และสมาคมธนาคารไทย ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในการใช้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น ทั้งนี้ จะมีการยกเว้นค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ให้กับลูกค้า ครอบคลุมการถอนเงินสด สอบถามยอดเงิน และการโอนเงินระหว่างบัญชีที่ผูกกับบัตร โดยลูกค้าของแต่ละธนาคารจะสามารถทําธุรกรรมผ่านเครื่องเอทีเอ็มของอีกธนาคารหนึ่งเสมือนใช้บริการของธนาคารที่ลูกค้าถือบัตร ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2562 – 30 เมษายน 2563 โดยธนาคารกสิกรไทยจะยกเว้นค่าธรรมเนียมต่างธนาคารทันทีที่ลูกค้าทํารายการ ขณะที่ธนาคารออมสินจะคืนค่าธรรมเนียมที่ถูกเรียกเก็บให้กับลูกค้าในวันถัดไป นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ความร่วมมือในวันนี้ของธนาคารกสิกรไทยและธนาคารออมสินเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการเอทีเอ็มสีขาว หรือ White Label ATM ซึ่งโครงการนี้จะช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้าของทั้ง 2 ธนาคาร ในการใช้บริการที่เครื่องเอทีเอ็มจากการมีเครือข่ายเอทีเอ็มที่ให้บริการครอบคลุมในพื้นที่มากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์กับธนาคารที่จะลดค่าใช้จ่ายในการลงทุน การบริหารจัดการเอทีเอ็ม การบริหารจัดการเงินสด และช่วยให้จัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ภายใต้ความร่วมมือในครั้งนี้ ลูกค้าของธนาคารกสิกรไทยและธนาคารออมสิน จะสามารถใช้บริการทั้งการถอนเงิน สอบถามยอด และโอนเงินระหว่างบัญชีที่ผูกกับบัตรที่เครื่องเอทีเอ็มของทั้ง 2 ธนาคาร โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมต่างธนาคารและทําธุรกรรมได้ไม่จํากัดจํานวนครั้ง สําหรับการทําธุรกรรมในจังหวัดเดียวกัน จากเดิมที่ลูกค้าต้องเสียค่าธรรมเนียมต่างธนาคารเมื่อใช้บริการตั้งแต่รายการที่ 5 ภายในเดือนเดียวกันส่วนการทําธุรกรรมข้ามจังหวัดสําหรับโครงการนี้ การถอนเงินสดจะคิดค่าธรรมเนียมลดลงเหลือ 15 บาทต่อรายการการโอนเงินระหว่างบัญชีที่ผูกกับบัตร ลูกค้าธนาคารกสิกรไทยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ส่วนลูกค้าธนาคารออมสินคิดค่าธรรมเนียมลดลงเหลือ 15 บาทต่อรายการ โครงการนี้จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2562 – 30 เมษายน 2563 ดร.ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อํานวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า การให้บริการทางการเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็มในประเทศไทย มีมานานหลายสิบปี ซึ่งผู้ให้บริการแต่ละแห่งต่างมีต้นทุนในการบริหารจัดการ แต่จากความร่วมมือการให้บริการเอทีเอ็มในครั้งนี้ ถือเป็นความร่วมมือเพื่ออํานวยความสะดวกให้กับลูกค้าของธนาคารสามารถเข้าถึงและใช้บริการทางการเงินอย่างเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ ยังสามารถสร้างเป็นต้นแบบเพื่อรองรับการให้บริการเครื่องเอทีเอ็มกับลูกค้าของสถาบันการเงินเฉพาะกิจหรือธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางและขนาดเล็กที่ไม่ต้องการลงทุนเครื่องเอทีเอ็มหรือธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่ต้องการลดต้นทุนที่ซ้ําซ้อนในการให้บริการเครื่องเอทีเอ็มในอนาคต “สําหรับระยะแรกความร่วมมือการให้บริการเอทีเอ็มระหว่างธนาคารออมสินและธนาคารกสิกรไทย จะนําร่องในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสกลนคร นครพนม ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ซึ่งธนาคารออมสินและธนาคารกสิกรไทยมีเครื่องเอทีเอ็มในพื้นที่ 5 จังหวัดดังกล่าว เกือบ 400 เครื่อง และในระยะต่อไปของการให้บริการจะขยายพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งธนาคารออมสินมีเครื่องเอทีเอ็มมากกว่า 7,000 เครื่อง เมื่อรวมกับเครื่องเอทีเอ็มของธนาคารกสิกรไทยที่มีกว่า 10,000 เครื่อง จะถือว่ามีจุดบริการมากเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ทั้ง 2 ธนาคารจะร่วมมือกันพัฒนาบริการและผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการให้บริการที่ครอบคลุมและอํานวยความสะดวกสบายแก่ลูกค้าของทั้ง 2 ธนาคารมากยิ่งขึ้น” ดร.ชาติชาย กล่าว ส่วนบริหารเครือข่ายสื่อ ฝ่ายสื่อสารและองค์การสัมพันธ์ ธนาคารกสิกรไทย โทร.02-470-2654-8 ส่วนประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์องค์กร ฝ่ายสื่อสารองค์กร ธนาคารออมสิน โทร. 02-299-8000 ต่อ 01025
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กสิกรไทย จับมือ ออมสิน ใช้ตู้เอทีเอ็ม ร่วมกันนำร่อง 5 จังหวัด ปลุกโมเดลตู้เอทีเอ็มสีขาว วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน 2562 กสิกรไทย จับมือ ออมสิน ใช้ตู้เอทีเอ็ม ร่วมกันนําร่อง 5 จังหวัด ปลุกโมเดลตู้เอทีเอ็มสีขาว ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารออมสินปลุกโมเดลเอทีเอ็มสีขาว (White Label ATM) ให้บริการเอทีเอ็มร่วมกันเพื่อสร้างความพึงพอใจและความสะดวกสบายให้กับลูกค้าในการใช้บริการเอทีเอ็มได้ครอบคลุมมากขึ้น ผ่านตู้ออมสิน-กสิกรไทย ฟรีค่าธรรมเนียม ไม่จํากัดจํานวนครั้ง ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารออมสินปลุกโมเดลเอทีเอ็มสีขาว (White Label ATM) ให้บริการเอทีเอ็มร่วมกันเพื่อสร้างความพึงพอใจและความสะดวกสบายให้กับลูกค้าในการใช้บริการเอทีเอ็มได้ครอบคลุมมากขึ้น ผ่านตู้ออมสิน-กสิกรไทย ฟรีค่าธรรมเนียม ไม่จํากัดจํานวนครั้ง มุ่งส่งเสริมการใช้ทรัพยากรทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด วันนี้ (6 พฤศจิกายน 2562) ณ ธนาคารกสิกรไทย สํานักพหลโยธิน นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย และดร.ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อํานวยการธนาคารออมสิน ร่วมลงนามความร่วมมือการให้บริการเอทีเอ็มระหว่างสถาบันการเงินเฉพาะกิจกับธนาคารพาณิชย์ครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อการบริหารจัดการเครื่องเอทีเอ็มในอนาคตร่วมกัน และสานต่อนโยบายเครื่องเอทีเอ็มสีขาวของธนาคาร แห่งประเทศไทย (ธปท.) และสมาคมธนาคารไทย ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในการใช้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น ทั้งนี้ จะมีการยกเว้นค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ให้กับลูกค้า ครอบคลุมการถอนเงินสด สอบถามยอดเงิน และการโอนเงินระหว่างบัญชีที่ผูกกับบัตร โดยลูกค้าของแต่ละธนาคารจะสามารถทําธุรกรรมผ่านเครื่องเอทีเอ็มของอีกธนาคารหนึ่งเสมือนใช้บริการของธนาคารที่ลูกค้าถือบัตร ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2562 – 30 เมษายน 2563 โดยธนาคารกสิกรไทยจะยกเว้นค่าธรรมเนียมต่างธนาคารทันทีที่ลูกค้าทํารายการ ขณะที่ธนาคารออมสินจะคืนค่าธรรมเนียมที่ถูกเรียกเก็บให้กับลูกค้าในวันถัดไป นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ความร่วมมือในวันนี้ของธนาคารกสิกรไทยและธนาคารออมสินเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการเอทีเอ็มสีขาว หรือ White Label ATM ซึ่งโครงการนี้จะช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้าของทั้ง 2 ธนาคาร ในการใช้บริการที่เครื่องเอทีเอ็มจากการมีเครือข่ายเอทีเอ็มที่ให้บริการครอบคลุมในพื้นที่มากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์กับธนาคารที่จะลดค่าใช้จ่ายในการลงทุน การบริหารจัดการเอทีเอ็ม การบริหารจัดการเงินสด และช่วยให้จัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ภายใต้ความร่วมมือในครั้งนี้ ลูกค้าของธนาคารกสิกรไทยและธนาคารออมสิน จะสามารถใช้บริการทั้งการถอนเงิน สอบถามยอด และโอนเงินระหว่างบัญชีที่ผูกกับบัตรที่เครื่องเอทีเอ็มของทั้ง 2 ธนาคาร โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมต่างธนาคารและทําธุรกรรมได้ไม่จํากัดจํานวนครั้ง สําหรับการทําธุรกรรมในจังหวัดเดียวกัน จากเดิมที่ลูกค้าต้องเสียค่าธรรมเนียมต่างธนาคารเมื่อใช้บริการตั้งแต่รายการที่ 5 ภายในเดือนเดียวกันส่วนการทําธุรกรรมข้ามจังหวัดสําหรับโครงการนี้ การถอนเงินสดจะคิดค่าธรรมเนียมลดลงเหลือ 15 บาทต่อรายการการโอนเงินระหว่างบัญชีที่ผูกกับบัตร ลูกค้าธนาคารกสิกรไทยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ส่วนลูกค้าธนาคารออมสินคิดค่าธรรมเนียมลดลงเหลือ 15 บาทต่อรายการ โครงการนี้จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2562 – 30 เมษายน 2563 ดร.ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อํานวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า การให้บริการทางการเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็มในประเทศไทย มีมานานหลายสิบปี ซึ่งผู้ให้บริการแต่ละแห่งต่างมีต้นทุนในการบริหารจัดการ แต่จากความร่วมมือการให้บริการเอทีเอ็มในครั้งนี้ ถือเป็นความร่วมมือเพื่ออํานวยความสะดวกให้กับลูกค้าของธนาคารสามารถเข้าถึงและใช้บริการทางการเงินอย่างเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ ยังสามารถสร้างเป็นต้นแบบเพื่อรองรับการให้บริการเครื่องเอทีเอ็มกับลูกค้าของสถาบันการเงินเฉพาะกิจหรือธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางและขนาดเล็กที่ไม่ต้องการลงทุนเครื่องเอทีเอ็มหรือธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่ต้องการลดต้นทุนที่ซ้ําซ้อนในการให้บริการเครื่องเอทีเอ็มในอนาคต “สําหรับระยะแรกความร่วมมือการให้บริการเอทีเอ็มระหว่างธนาคารออมสินและธนาคารกสิกรไทย จะนําร่องในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสกลนคร นครพนม ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ซึ่งธนาคารออมสินและธนาคารกสิกรไทยมีเครื่องเอทีเอ็มในพื้นที่ 5 จังหวัดดังกล่าว เกือบ 400 เครื่อง และในระยะต่อไปของการให้บริการจะขยายพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งธนาคารออมสินมีเครื่องเอทีเอ็มมากกว่า 7,000 เครื่อง เมื่อรวมกับเครื่องเอทีเอ็มของธนาคารกสิกรไทยที่มีกว่า 10,000 เครื่อง จะถือว่ามีจุดบริการมากเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ทั้ง 2 ธนาคารจะร่วมมือกันพัฒนาบริการและผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการให้บริการที่ครอบคลุมและอํานวยความสะดวกสบายแก่ลูกค้าของทั้ง 2 ธนาคารมากยิ่งขึ้น” ดร.ชาติชาย กล่าว ส่วนบริหารเครือข่ายสื่อ ฝ่ายสื่อสารและองค์การสัมพันธ์ ธนาคารกสิกรไทย โทร.02-470-2654-8 ส่วนประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์องค์กร ฝ่ายสื่อสารองค์กร ธนาคารออมสิน โทร. 02-299-8000 ต่อ 01025
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/24356
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“ยธ. พิจารณาการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์”
วันพุธที่ 3 มกราคม 2561 “ยธ. พิจารณาการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์” ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ ประจํากระทรวงยุติธรรม ครั้งที่ ๓/๒๕๖๑ ในวันพุธที่ ๓ มกราคม ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๐๐ น. ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ ประจํากระทรวงยุติธรรม ครั้งที่ ๓/๒๕๖๑ โดยมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนหัวหน้าส่วนราชการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมฯ ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม ๒ ชั้น ๘ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ เพื่อพิจารณาผลการดําเนินการตามมติที่ประชุมคณะกรรมการ จํานวน ๒ เรื่อง และพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม จํานวน ๒ เรื่อง รวมทั้ง พิจารณาการจัดทํามาตรฐานการรับเรื่องราวร้องทุกข์และผังกระบวนงานร้องทุกข์ของกระทรวงยุติธรรม โอกาสนี้ปลัดกระทรวงยุติธรรมได้เน้นย้ําให้ส่วนราชการ ในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ร่วมกันจัดวางระบบการรับเรื่องราวร้องทุกข์ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ให้มีรูปแบบและแนวทางที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อเป็นมาตรฐานในการรับเรื่องราวร้องทุกข์ ซึ่งจะสามารถอํานวยความสะดวกและ เป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้จะต้องมีการติดตามผลการรับเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชนทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งประมวลสถานการณ์ที่ประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรมให้ทราบด้วย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“ยธ. พิจารณาการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์” วันพุธที่ 3 มกราคม 2561 “ยธ. พิจารณาการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์” ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ ประจํากระทรวงยุติธรรม ครั้งที่ ๓/๒๕๖๑ ในวันพุธที่ ๓ มกราคม ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๐๐ น. ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ ประจํากระทรวงยุติธรรม ครั้งที่ ๓/๒๕๖๑ โดยมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนหัวหน้าส่วนราชการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมฯ ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม ๒ ชั้น ๘ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ เพื่อพิจารณาผลการดําเนินการตามมติที่ประชุมคณะกรรมการ จํานวน ๒ เรื่อง และพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม จํานวน ๒ เรื่อง รวมทั้ง พิจารณาการจัดทํามาตรฐานการรับเรื่องราวร้องทุกข์และผังกระบวนงานร้องทุกข์ของกระทรวงยุติธรรม โอกาสนี้ปลัดกระทรวงยุติธรรมได้เน้นย้ําให้ส่วนราชการ ในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ร่วมกันจัดวางระบบการรับเรื่องราวร้องทุกข์ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ให้มีรูปแบบและแนวทางที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อเป็นมาตรฐานในการรับเรื่องราวร้องทุกข์ ซึ่งจะสามารถอํานวยความสะดวกและ เป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้จะต้องมีการติดตามผลการรับเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชนทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งประมวลสถานการณ์ที่ประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรมให้ทราบด้วย
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/9151
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.ดิจิทัลฯ เป็นประธานแถลงข่าว “ผลการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย (MICS 5)”
วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม 2560 รมว.ดิจิทัลฯ เป็นประธานแถลงข่าว “ผลการสํารวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย (MICS 5)” รมว.ดิจิทัลฯ ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เป็นประธานแถลงข่าว “ผลการสํารวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย (MICSf5)” ซึ่งสํานักงานสถิติแห่งชาติ โดยการสนับสนุนหลักจากองค์การยูนิเซฟ ได้ดําเนินการสํารวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย (Multiple Indicators Cluster Survey : MICS) จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและสตรีในด้านต่างๆ เช่น สุขภาพ พัฒนาการ การศึกษา และการคุ้มครองเด็ก จากครัวเรือนกว่า 28,000 แห่งทั่วประเทศ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2558 ถึงเดือนมีนาคม 2559 ปรากฏข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าด้านเด็กและสตรีหลายด้าน เช่น อัตราการจดทะเบียนเกิด ร้อยละ 99 อัตราการใช้น้ําดื่มจากแหล่งน้ําที่สะอาด ร้อยละ 98 อัตราการเข้าเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 95 ทั้งนี้ ความเป็นอยู่ของเด็กและสตรีในประเทศไทยได้รับการพัฒนาไปมากในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา แต่ในขณะเดียวกัน ผลสํารวจครั้งนี้ได้ตอกย้ําความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงของเด็กกลุ่มต่างๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่เด็กอาศัยอยู่ ชาติพันธุ์ของเด็ก รายได้ของครอบครัว และระดับการศึกษา ความไม่เท่าเทียมกัน ถือเป็นเรื่องที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังและเร่งด่วน ณ ห้องกรุงเทพ 2 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2560 *************************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.ดิจิทัลฯ เป็นประธานแถลงข่าว “ผลการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย (MICS 5)” วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม 2560 รมว.ดิจิทัลฯ เป็นประธานแถลงข่าว “ผลการสํารวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย (MICS 5)” รมว.ดิจิทัลฯ ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เป็นประธานแถลงข่าว “ผลการสํารวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย (MICSf5)” ซึ่งสํานักงานสถิติแห่งชาติ โดยการสนับสนุนหลักจากองค์การยูนิเซฟ ได้ดําเนินการสํารวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย (Multiple Indicators Cluster Survey : MICS) จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและสตรีในด้านต่างๆ เช่น สุขภาพ พัฒนาการ การศึกษา และการคุ้มครองเด็ก จากครัวเรือนกว่า 28,000 แห่งทั่วประเทศ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2558 ถึงเดือนมีนาคม 2559 ปรากฏข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าด้านเด็กและสตรีหลายด้าน เช่น อัตราการจดทะเบียนเกิด ร้อยละ 99 อัตราการใช้น้ําดื่มจากแหล่งน้ําที่สะอาด ร้อยละ 98 อัตราการเข้าเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 95 ทั้งนี้ ความเป็นอยู่ของเด็กและสตรีในประเทศไทยได้รับการพัฒนาไปมากในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา แต่ในขณะเดียวกัน ผลสํารวจครั้งนี้ได้ตอกย้ําความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงของเด็กกลุ่มต่างๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่เด็กอาศัยอยู่ ชาติพันธุ์ของเด็ก รายได้ของครอบครัว และระดับการศึกษา ความไม่เท่าเทียมกัน ถือเป็นเรื่องที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังและเร่งด่วน ณ ห้องกรุงเทพ 2 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2560 *************************
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/2761
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมสรรพากรจับมือตลาดหลักทรัพย์ฯ ดันตราสารอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ สนับสนุน e-Business ของประเทศ
วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2562 กรมสรรพากรจับมือตลาดหลักทรัพย์ฯ ดันตราสารอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ สนับสนุน e-Business ของประเทศ กรมสรรพากรมุ่งผลักดันการทําตราสารอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ สนับสนุน e-Business เพื่อตอบสนองนโยบาย “Thailand 4.0” ยกระดับบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร และอํานวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบธุรกิจ โดยมีตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นผู้ให้บริการรายแรกของประเทศ ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า “เพื่อผลักดันการทําตราสารอิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มรูปแบบ และสนับสนุน e-Business ของประเทศไทย กรมสรรพากรจึงได้เพิ่มการให้บริการชําระอากรแสตมป์ทางอิเล็กทรอนิกส์สําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ จํานวน 5 ตราสาร ได้แก่ 1. จ้างทําของ 2. กู้ยืมเงินหรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร 3. ใบมอบอํานาจ 4. ใบมอบฉันทะสําหรับให้ลงมติในที่ประชุมของบริษัท 5. ค้ําประกัน ตราสารอิเล็กทรอนิกส์ ทั้ง 5 ประเภท สามารถยื่นขอชําระอากรได้ทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร และทาง Application Programming Interface (API) ผู้เสียอากรสามารถยื่นขอชําระอากรด้วยตนเอง หรือผ่านผู้ให้บริการ (Service Provider) ให้เป็นผู้ชําระอากรแทนก็ได้ โดยได้เปิดให้บริการชําระอากรแสตมป์ทางอิเล็กทรอนิกส์สําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 เป็นต้นไป ซึ่งจะสามารถชําระอากรได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ลดขั้นตอนการจัดทําเอกสารด้วยกระดาษ ลดปัญหาการคํานวณมูลค่าอากรแสตมป์ผิดพลาด ส่งเสริมให้การทําธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นไปอย่างสมบูรณ์ครบวงจร ส่วนการชําระผ่านผู้ให้บริการกรมสรรพากรได้จับมือกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรับชําระอากรแสตมป์ทางอิเล็กทรอนิกส์สําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์เป็นรายแรก โดยร่วมพัฒนาเชื่อมต่อระบบการนําส่งข้อมูลตราสารอิเล็กทรอนิกส์ทาง API ที่มีปริมาณข้อมูลจํานวนมาก เพื่อให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ดร. ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า “ตลาดหลักทรัพย์ฯ มุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสําหรับตลาดทุนยุคดิจิทัล โดยบริษัท ฟินเน็ต อินโนเวชั่น เน็ตเวิร์ค จํากัด (FinNet) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดให้บริการชําระอากรแสตมป์เป็นตัวเงินสําหรับ ตราสารอิเล็กทรอนิกส์เป็นรายแรก ชําระอากรแสตมป์ได้โดยเรียกใช้ชุดคําสั่งคอมพิวเตอร์ที่เป็นมาตรฐาน (Application Programming Interface) โดยความร่วมมือครั้งนี้เป็นต้นแบบของการเป็นพันธมิตรระหว่างภาครัฐและเอกชน (public private partnership) เพื่ออํานวยความสะดวกทางธุรกิจ (ease of doing business) โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ จะขยายความร่วมมือไปยังหน่วยงานราชการอื่น เพื่อเป็นสะพานเชื่อมให้เป็นประโยชน์แก่ทุกภาคส่วน ตามวิสัยทัศน์ “To Make the Capital Market ‘Work’ for Everyone” ระบบการทํางานของ FinNet จะเชื่อมต่อกับกรมสรรพากร โดยผู้ใช้บริการจะได้รหัสรับรองการชําระอากรแสตมป์ผ่านระบบออนไลน์หลังจากทําการชําระค่าอากรแสตมป์ไปใช้อ้างอิงในเอกสารสัญญาเพื่อให้สัญญามีผลทางกฎหมาย โดยเริ่มเปิดให้บริการสําหรับธุรกรรม 3 ประเภท ได้แก่ 1) การมอบฉันทะเข้าประชุมผู้ถือหุ้น 2) การเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ และ 3) การกู้ยืมเงินเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ และจะขยายไปยังธุรกรรมทุกประเภทในปี 2563 ในลําดับต่อไป ระบบ FinNet จะให้บริการระบบเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มดิจิทัลไอดี ประกอบกับบริการอื่นด้านการชําระเงินที่จะเปิดตัวในช่วงที่เหลือของปีนี้ จะทําให้บริการในตลาดทุนลดการใช้กระดาษและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง” ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวสรุปทิ้งท้ายว่า ความร่วมมือกันระหว่างกรมสรรพากรและตลาดหลักทรัพย์ฯ ในครั้งนี้เป็นการร่วมกันตอบสนองนโยบาย “Thailand 4.0” ของรัฐบาลในการนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในกระบวนการทํางาน ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ และกรมสรรพากรหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การให้บริการชําระอากรแสตมป์ทางอิเล็กทรอนิกส์สําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ จะสร้างความสะดวก รวดเร็ว และลดขั้นตอนการเสียอากรได้เป็นอย่างดี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมสรรพากรจับมือตลาดหลักทรัพย์ฯ ดันตราสารอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ สนับสนุน e-Business ของประเทศ วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2562 กรมสรรพากรจับมือตลาดหลักทรัพย์ฯ ดันตราสารอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ สนับสนุน e-Business ของประเทศ กรมสรรพากรมุ่งผลักดันการทําตราสารอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ สนับสนุน e-Business เพื่อตอบสนองนโยบาย “Thailand 4.0” ยกระดับบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร และอํานวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบธุรกิจ โดยมีตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นผู้ให้บริการรายแรกของประเทศ ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า “เพื่อผลักดันการทําตราสารอิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มรูปแบบ และสนับสนุน e-Business ของประเทศไทย กรมสรรพากรจึงได้เพิ่มการให้บริการชําระอากรแสตมป์ทางอิเล็กทรอนิกส์สําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ จํานวน 5 ตราสาร ได้แก่ 1. จ้างทําของ 2. กู้ยืมเงินหรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร 3. ใบมอบอํานาจ 4. ใบมอบฉันทะสําหรับให้ลงมติในที่ประชุมของบริษัท 5. ค้ําประกัน ตราสารอิเล็กทรอนิกส์ ทั้ง 5 ประเภท สามารถยื่นขอชําระอากรได้ทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร และทาง Application Programming Interface (API) ผู้เสียอากรสามารถยื่นขอชําระอากรด้วยตนเอง หรือผ่านผู้ให้บริการ (Service Provider) ให้เป็นผู้ชําระอากรแทนก็ได้ โดยได้เปิดให้บริการชําระอากรแสตมป์ทางอิเล็กทรอนิกส์สําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 เป็นต้นไป ซึ่งจะสามารถชําระอากรได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ลดขั้นตอนการจัดทําเอกสารด้วยกระดาษ ลดปัญหาการคํานวณมูลค่าอากรแสตมป์ผิดพลาด ส่งเสริมให้การทําธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นไปอย่างสมบูรณ์ครบวงจร ส่วนการชําระผ่านผู้ให้บริการกรมสรรพากรได้จับมือกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรับชําระอากรแสตมป์ทางอิเล็กทรอนิกส์สําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์เป็นรายแรก โดยร่วมพัฒนาเชื่อมต่อระบบการนําส่งข้อมูลตราสารอิเล็กทรอนิกส์ทาง API ที่มีปริมาณข้อมูลจํานวนมาก เพื่อให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ดร. ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า “ตลาดหลักทรัพย์ฯ มุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสําหรับตลาดทุนยุคดิจิทัล โดยบริษัท ฟินเน็ต อินโนเวชั่น เน็ตเวิร์ค จํากัด (FinNet) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดให้บริการชําระอากรแสตมป์เป็นตัวเงินสําหรับ ตราสารอิเล็กทรอนิกส์เป็นรายแรก ชําระอากรแสตมป์ได้โดยเรียกใช้ชุดคําสั่งคอมพิวเตอร์ที่เป็นมาตรฐาน (Application Programming Interface) โดยความร่วมมือครั้งนี้เป็นต้นแบบของการเป็นพันธมิตรระหว่างภาครัฐและเอกชน (public private partnership) เพื่ออํานวยความสะดวกทางธุรกิจ (ease of doing business) โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ จะขยายความร่วมมือไปยังหน่วยงานราชการอื่น เพื่อเป็นสะพานเชื่อมให้เป็นประโยชน์แก่ทุกภาคส่วน ตามวิสัยทัศน์ “To Make the Capital Market ‘Work’ for Everyone” ระบบการทํางานของ FinNet จะเชื่อมต่อกับกรมสรรพากร โดยผู้ใช้บริการจะได้รหัสรับรองการชําระอากรแสตมป์ผ่านระบบออนไลน์หลังจากทําการชําระค่าอากรแสตมป์ไปใช้อ้างอิงในเอกสารสัญญาเพื่อให้สัญญามีผลทางกฎหมาย โดยเริ่มเปิดให้บริการสําหรับธุรกรรม 3 ประเภท ได้แก่ 1) การมอบฉันทะเข้าประชุมผู้ถือหุ้น 2) การเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ และ 3) การกู้ยืมเงินเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ และจะขยายไปยังธุรกรรมทุกประเภทในปี 2563 ในลําดับต่อไป ระบบ FinNet จะให้บริการระบบเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มดิจิทัลไอดี ประกอบกับบริการอื่นด้านการชําระเงินที่จะเปิดตัวในช่วงที่เหลือของปีนี้ จะทําให้บริการในตลาดทุนลดการใช้กระดาษและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง” ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวสรุปทิ้งท้ายว่า ความร่วมมือกันระหว่างกรมสรรพากรและตลาดหลักทรัพย์ฯ ในครั้งนี้เป็นการร่วมกันตอบสนองนโยบาย “Thailand 4.0” ของรัฐบาลในการนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในกระบวนการทํางาน ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ และกรมสรรพากรหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การให้บริการชําระอากรแสตมป์ทางอิเล็กทรอนิกส์สําหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ จะสร้างความสะดวก รวดเร็ว และลดขั้นตอนการเสียอากรได้เป็นอย่างดี
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/21757
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีย้ำ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องดูแลอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี
วันอังคารที่ 10 เมษายน 2561 นายกรัฐมนตรีย้ํา ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องดูแลอํานวยความสะดวกในการเดินทางให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี พ.อ. อธิสิทธิ์ฯ ผู้ช่วยโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ระบุนายกรัฐมนตรีย้ําทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องดูแลความปลอดภัยและอํานวยความสะดวกในการเดินทางให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีไม่ใช่เฉพาะในช่วงเทศกาลต่าง ๆ เท่านั้น วันนี้ (10 เม.ย. 61 ) เวลา 14.10 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทําเนียบรัฐบาล ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ พันเอก อธิสิทธิ์ ไชยนุวัติผู้ช่วยโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงเรื่องที่นายกรัฐมนตรีเน้นย้ําและให้ความสําคัญเกี่ยวกับการอํานวยความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทางให้กับประชาชนช่วงเทศกาลสงกรานต์ว่า การอํานวยความสะดวกดังกล่าวควรดําเนินการอย่างต่อเนื่องไม่ใช่เฉพาะในช่วงเทศกาลต่าง ๆ ที่มีวันหยุดยาวเท่านั้น แต่ขอทุกคนให้ความสําคัญในเรื่องดังกล่าวตลอดทั้งปี เนื่องจากสถิติตัวเลขของประเทศไทยพบว่ายังมีการเกิดอุบัติเหตุทางถนนบ่อยครั้งตลอดทั้งปี นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ได้ขอบคุณเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกคนที่เสียสละดูแลและอํานวยความสะดวกให้กับประชาชนในช่วงวันหยุดยาว และขอให้ประชาชนทุกคนความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ในช่วงเวลาดังกล่าวเพื่อให้การดูแลความปลอดภัยและการอํานวยความสะดวกต่าง ๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อประชาชนโดยรวมด้วย ------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีย้ำ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องดูแลอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี วันอังคารที่ 10 เมษายน 2561 นายกรัฐมนตรีย้ํา ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องดูแลอํานวยความสะดวกในการเดินทางให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี พ.อ. อธิสิทธิ์ฯ ผู้ช่วยโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ระบุนายกรัฐมนตรีย้ําทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องดูแลความปลอดภัยและอํานวยความสะดวกในการเดินทางให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีไม่ใช่เฉพาะในช่วงเทศกาลต่าง ๆ เท่านั้น วันนี้ (10 เม.ย. 61 ) เวลา 14.10 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทําเนียบรัฐบาล ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ พันเอก อธิสิทธิ์ ไชยนุวัติผู้ช่วยโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงเรื่องที่นายกรัฐมนตรีเน้นย้ําและให้ความสําคัญเกี่ยวกับการอํานวยความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทางให้กับประชาชนช่วงเทศกาลสงกรานต์ว่า การอํานวยความสะดวกดังกล่าวควรดําเนินการอย่างต่อเนื่องไม่ใช่เฉพาะในช่วงเทศกาลต่าง ๆ ที่มีวันหยุดยาวเท่านั้น แต่ขอทุกคนให้ความสําคัญในเรื่องดังกล่าวตลอดทั้งปี เนื่องจากสถิติตัวเลขของประเทศไทยพบว่ายังมีการเกิดอุบัติเหตุทางถนนบ่อยครั้งตลอดทั้งปี นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ได้ขอบคุณเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกคนที่เสียสละดูแลและอํานวยความสะดวกให้กับประชาชนในช่วงวันหยุดยาว และขอให้ประชาชนทุกคนความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ในช่วงเวลาดังกล่าวเพื่อให้การดูแลความปลอดภัยและการอํานวยความสะดวกต่าง ๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อประชาชนโดยรวมด้วย ------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/11448
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้การต้อนรับเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรกัมพูชาประจำประเทศไทยในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะเพื่อกระชับความร่วมมือของทั้งสองประเทศ
วันจันทร์ที่ 11 ธันวาคม 2560 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้การต้อนรับเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรกัมพูชาประจําประเทศไทยในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะเพื่อกระชับความร่วมมือของทั้งสองประเทศ รมว.มหาดไทย ให้การต้อนรับเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรกัมพูชาประจําประเทศไทยในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะเพื่อกระชับความร่วมมือของทั้งสองประเทศ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2560 เวลา 14.30 น. ณ ห้องรับรองกระทรวงมหาดไทย พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้การต้อนรับ H.E. Mr. Long Visalo เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรกัมพูชาประจําประเทศไทย ในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะ เพื่อหารือการพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างไทย – กัมพูชาให้แน่นแฟ้นในทุกมิติ อันจะนํามาซึ่งผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศทั้งสอง โอกาสนี้ H.E. Mr. Long Visalo เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรกัมพูชาประจําประเทศไทย ได้แสดงความยินดีที่ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมทั้งชื่นชมความสัมพันธ์อันดีของทั้งสองประเทศที่มีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นเสมอมา มีการแลกเปลี่ยนการเยือนและกระชับความสัมพันธ์เพื่อพัฒนาความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง ทั้งในเรื่องการประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 23 – 25 สิงหาคม 2560 ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา การสนับสนุนการก่อสร้างสะพานหนองเอี่ยน –สตึงบท ระหว่างอําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว กับเมืองปอยเปต จังหวัดบันเตียเมียนเจย เพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุน การป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูง การแก้ไขปัญหายาเสพติด และโครงการความช่วยเหลือด้านการศึกษา เป็นต้น และได้เน้นย้ําถึงการรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยและกัมพูชา ความร่วมมือในการเปิด/ยกระดับจุดผ่านแดนเพิ่มเติมระหว่างกันการปฏิบัติตามความตกลงว่าด้วยการข้ามแดนระหว่างประเทศทั้งสองรวมถึง การพัฒนาความร่วมมือด้านการก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมโยงไทย – กัมพูชา ความร่วมมือด้านพลังงาน และความร่วมมือด้านการเกษตร พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้กล่าวแสดงความขอบคุณ H.E. Mr. Long Visalo เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรกัมพูชาประจําประเทศไทย และคณะที่ได้ให้เกียรติเดินทางมาเยือนกระทรวงมหาดไทย พร้อมทั้ง แสดงความขอบคุณกัมพูชาในการเป็นเจ้าภาพ และให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นด้วยบรรยากาศแห่งมิตรไมตรีสําหรับการประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย – กัมพูชา ครั้งที่ 6 ที่ผ่านมา รวมทั้งรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนการหารือในประเด็นต่าง ๆ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีความตั้งใจที่จะสานต่อความร่วมมือกับราชอาณาจักรกัมพูชาอย่างใกล้ชิด สําหรับประเด็นที่เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรกัมพูชาประจําประเทศไทย ได้มีการหยิบยกระหว่างการหารือนั้น กระทรวงมหาดไทยมีความยินดีและพร้อมสนับสนุนการพัฒนาความร่วมมืออย่างเต็มที่ โดยจะนําประเด็นต่าง ๆ ไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ต่อไป. ครั้งที่ 190/2560 กองสารนิเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย โทร. 0-22224131-2
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้การต้อนรับเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรกัมพูชาประจำประเทศไทยในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะเพื่อกระชับความร่วมมือของทั้งสองประเทศ วันจันทร์ที่ 11 ธันวาคม 2560 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้การต้อนรับเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรกัมพูชาประจําประเทศไทยในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะเพื่อกระชับความร่วมมือของทั้งสองประเทศ รมว.มหาดไทย ให้การต้อนรับเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรกัมพูชาประจําประเทศไทยในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะเพื่อกระชับความร่วมมือของทั้งสองประเทศ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2560 เวลา 14.30 น. ณ ห้องรับรองกระทรวงมหาดไทย พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้การต้อนรับ H.E. Mr. Long Visalo เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรกัมพูชาประจําประเทศไทย ในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะ เพื่อหารือการพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างไทย – กัมพูชาให้แน่นแฟ้นในทุกมิติ อันจะนํามาซึ่งผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศทั้งสอง โอกาสนี้ H.E. Mr. Long Visalo เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรกัมพูชาประจําประเทศไทย ได้แสดงความยินดีที่ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมทั้งชื่นชมความสัมพันธ์อันดีของทั้งสองประเทศที่มีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นเสมอมา มีการแลกเปลี่ยนการเยือนและกระชับความสัมพันธ์เพื่อพัฒนาความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง ทั้งในเรื่องการประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 23 – 25 สิงหาคม 2560 ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา การสนับสนุนการก่อสร้างสะพานหนองเอี่ยน –สตึงบท ระหว่างอําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว กับเมืองปอยเปต จังหวัดบันเตียเมียนเจย เพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุน การป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูง การแก้ไขปัญหายาเสพติด และโครงการความช่วยเหลือด้านการศึกษา เป็นต้น และได้เน้นย้ําถึงการรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยและกัมพูชา ความร่วมมือในการเปิด/ยกระดับจุดผ่านแดนเพิ่มเติมระหว่างกันการปฏิบัติตามความตกลงว่าด้วยการข้ามแดนระหว่างประเทศทั้งสองรวมถึง การพัฒนาความร่วมมือด้านการก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมโยงไทย – กัมพูชา ความร่วมมือด้านพลังงาน และความร่วมมือด้านการเกษตร พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้กล่าวแสดงความขอบคุณ H.E. Mr. Long Visalo เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรกัมพูชาประจําประเทศไทย และคณะที่ได้ให้เกียรติเดินทางมาเยือนกระทรวงมหาดไทย พร้อมทั้ง แสดงความขอบคุณกัมพูชาในการเป็นเจ้าภาพ และให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นด้วยบรรยากาศแห่งมิตรไมตรีสําหรับการประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย – กัมพูชา ครั้งที่ 6 ที่ผ่านมา รวมทั้งรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนการหารือในประเด็นต่าง ๆ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีความตั้งใจที่จะสานต่อความร่วมมือกับราชอาณาจักรกัมพูชาอย่างใกล้ชิด สําหรับประเด็นที่เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรกัมพูชาประจําประเทศไทย ได้มีการหยิบยกระหว่างการหารือนั้น กระทรวงมหาดไทยมีความยินดีและพร้อมสนับสนุนการพัฒนาความร่วมมืออย่างเต็มที่ โดยจะนําประเด็นต่าง ๆ ไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ต่อไป. ครั้งที่ 190/2560 กองสารนิเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย โทร. 0-22224131-2
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/8675
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“ยุติธรรม” วางแนวทางพัฒนาอาชีพผู้กระทำผิดอย่างยั่งยืน
วันอังคารที่ 2 ตุลาคม 2561 “ยุติธรรม” วางแนวทางพัฒนาอาชีพผู้กระทําผิดอย่างยั่งยืน เป็นประธานการประชุมหารือเพื่อกําหนดแนวทางการทํางานของคณะทํางานพัฒนาอาชีพ ผู้กระทําผิดอย่างยั่งยืน (THE HERO) ครั้งที่ ๒/๒๕๖๑ ในวันอังคารที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๓๐ น. ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม ๒ ชั้น ๘อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ นายนิมิต ทัพวนานต์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมหารือเพื่อกําหนดแนวทางการทํางานของคณะทํางานพัฒนาอาชีพ ผู้กระทําผิดอย่างยั่งยืน (THE HERO) ครั้งที่ ๒/๒๕๖๑ โดยมี ผู้แทนจากกรมคุมประพฤติ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และกรมราชทัณฑ์ พร้อมด้วยผู้แทนจากภาคเอกชน เข้าร่วมประชุม ฯ เพื่อพิจารณาแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการส่งเสริมอาชีพแก่ผู้กระทําผิด โดยผู้แทนจากภาคเอกชนได้ชี้แจงเนื้อหาที่จะถ่ายทอดให้แก่เจ้าหน้าที่และผู้พ้นโทษจากทั้ง ๓ กรม อันเป็นหลักสูตรที่เพิ่มศักยภาพให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ THE HERO FOOD ACADEMY ซึ่งผู้แทน ภาคเอกชน เรียกว่า วงล้อ ๖ ด้าน โดยเป็นเนื้อหาที่ผู้แทนภาคเอกชนได้รวบรวมขึ้นจากประสบการณ์ ซึ่งเป็นเนื้อหาที่จําเป็นสําหรับผู้ที่ต้องการริเริ่มดําเนินธุรกิจทางอาหาร ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีมติให้มีการจัดตั้งทีมขึ้น ๓ ทีม ที่จําเป็นต่อการดําเนินโครงการ ได้แก่ ๑. ทีม recipe ๒. ทีม branding ๓. ทีม operation โดยที่ประชุมขอให้ทั้ง ๓ กรมส่งรายชื่อเจ้าหน้าที่ ทั้ง ๓ ทีม มายังกระทรวงยุติธรรม นอกจากนี้ อาจมีการแต่งตั้งคณะทํางานเพื่อดําเนินโครงการ THE HERO FOOD ACADEMY ต่อไป
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“ยุติธรรม” วางแนวทางพัฒนาอาชีพผู้กระทำผิดอย่างยั่งยืน วันอังคารที่ 2 ตุลาคม 2561 “ยุติธรรม” วางแนวทางพัฒนาอาชีพผู้กระทําผิดอย่างยั่งยืน เป็นประธานการประชุมหารือเพื่อกําหนดแนวทางการทํางานของคณะทํางานพัฒนาอาชีพ ผู้กระทําผิดอย่างยั่งยืน (THE HERO) ครั้งที่ ๒/๒๕๖๑ ในวันอังคารที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๓๐ น. ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม ๒ ชั้น ๘อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ นายนิมิต ทัพวนานต์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมหารือเพื่อกําหนดแนวทางการทํางานของคณะทํางานพัฒนาอาชีพ ผู้กระทําผิดอย่างยั่งยืน (THE HERO) ครั้งที่ ๒/๒๕๖๑ โดยมี ผู้แทนจากกรมคุมประพฤติ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และกรมราชทัณฑ์ พร้อมด้วยผู้แทนจากภาคเอกชน เข้าร่วมประชุม ฯ เพื่อพิจารณาแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการส่งเสริมอาชีพแก่ผู้กระทําผิด โดยผู้แทนจากภาคเอกชนได้ชี้แจงเนื้อหาที่จะถ่ายทอดให้แก่เจ้าหน้าที่และผู้พ้นโทษจากทั้ง ๓ กรม อันเป็นหลักสูตรที่เพิ่มศักยภาพให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ THE HERO FOOD ACADEMY ซึ่งผู้แทน ภาคเอกชน เรียกว่า วงล้อ ๖ ด้าน โดยเป็นเนื้อหาที่ผู้แทนภาคเอกชนได้รวบรวมขึ้นจากประสบการณ์ ซึ่งเป็นเนื้อหาที่จําเป็นสําหรับผู้ที่ต้องการริเริ่มดําเนินธุรกิจทางอาหาร ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีมติให้มีการจัดตั้งทีมขึ้น ๓ ทีม ที่จําเป็นต่อการดําเนินโครงการ ได้แก่ ๑. ทีม recipe ๒. ทีม branding ๓. ทีม operation โดยที่ประชุมขอให้ทั้ง ๓ กรมส่งรายชื่อเจ้าหน้าที่ ทั้ง ๓ ทีม มายังกระทรวงยุติธรรม นอกจากนี้ อาจมีการแต่งตั้งคณะทํางานเพื่อดําเนินโครงการ THE HERO FOOD ACADEMY ต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/15802
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลจับมือหน่วยงานรัฐ-เอกชนจัดกิจกรรม “13 ชีวิต หมูป่าอะคาเดมี่ ขอบคุณชุมชนโลก” 3 - 15 ต.ค.นี้ แสดงความขอบคุณทั่วโลก พร้อมนำเสนอภาพลักษณ์ที่ดีของไทยสู่นานาชาติ
วันพุธที่ 3 ตุลาคม 2561 รัฐบาลจับมือหน่วยงานรัฐ-เอกชนจัดกิจกรรม “13 ชีวิต หมูป่าอะคาเดมี่ ขอบคุณชุมชนโลก” 3 - 15 ต.ค.นี้ แสดงความขอบคุณทั่วโลก พร้อมนําเสนอภาพลักษณ์ที่ดีของไทยสู่นานาชาติ รัฐบาลจับมือหน่วยงานรัฐ-เอกชนจัดกิจกรรม “13 ชีวิต หมูป่าอะคาเดมี่ ขอบคุณชุมชนโลก” 3 - 15 ต.ค.นี้ แสดงความขอบคุณทั่วโลก พร้อมนําเสนอภาพลักษณ์ที่ดีของไทยสู่นานาชาติ รัฐบาลจับมือหน่วยงานรัฐ-เอกชนจัดกิจกรรม “13 ชีวิต หมูป่าอะคาเดมี่ ขอบคุณชุมชนโลก” 3 - 15 ต.ค.นี้ แสดงความขอบคุณทั่วโลก พร้อมนําเสนอภาพลักษณ์ที่ดีของไทยสู่นานาชาติ วันที่ 1 ตุลาคม 2561 ที่ตึกนารีสโมสร ทําเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในงานแถลงข่าว “13 ชีวิต หมูป่าอะคาเดมี ขอบคุณชุมชนโลก” โดยมีนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พลโท วีรชน สุคนธปฏิภาค โฆษกและกรรมการสื่อสร้างสรรค์ กรณีถ้ําหลวง จังหวัดเชียงราย คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล กรรมการโอลิมปิกสากล ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) กรรมการสื่อสร้างสรรค์ กรณีถ้ําหลวง จังหวัดเชียงราย และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การช่วยเหลือชีวิตเด็กและผู้ช่วยโค้ชทีมฟุตบอลเยาวชนหมูป่า อะคาเดมี่ ทั้ง 13 คน ที่ติดอยู่ ณ วนอุทยานถ้ําหลวง - ขุนน้ํานางนอน อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ระหว่างวันที่ 23 มิถุนายน – 10 กรกฎาคม 2561 นับเป็นเหตุการณ์ครั้งสําคัญที่ต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์โลก เนื่องจากแสดงให้เห็นถึงการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชนและประชาชนทั้งคนไทยและชาวต่างประเทศที่ปฏิบัติภารกิจด้วยความกล้าหาญ ทุ่มเทและเสียสละอย่างสุดกําลังความสามารถโดยได้รับกําลังใจจากคนทั่วโลก และด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และพระเมตตาของพระบรมวงศานุวงศ์ที่ได้พระราชทานความช่วยเหลือและขวัญกําลังใจตลอดการปฏิบัติงาน ทําให้ภารกิจนี้สําเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี รองนายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า รัฐบาลได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและประชาชน จัดกิจกรรม “13 ชีวิต หมูป่าอะคาเดมี่ ขอบคุณชุมชนโลก” ขึ้น เพื่อขอบคุณชาวโลกในนามของประเทศไทยที่ร่วมปฏิบัติการช่วยเหลือด้วยความห่วงใยมานุษยชาติ และนําเสนอภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยในด้านต่างๆ อาทิ ความสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ตลอดจนวัฒนธรรม ความร่วมมือ ความมีน้ําใจ เอื้ออาทร การรู้รักสามัคคี รวมทั้งการบริหารจัดการปัญหาหรือสถานการณ์ภัยพิบัติที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3 - 15 ตุลาคม 2561 ใน 2 ประเทศ คือ อาร์เจนตินาและสหรัฐอเมริกา โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1.วันที่ 4 - 9 ตุลาคม 2561 นายเอกพล จันทะวงษ์ ผู้ช่วยโค้ชและเด็กทีมฟุตบอลเยาวชนหมูป่า อะคาเดมี่ รวม 13 คน เข้าร่วมพิธีเปิดมหกรรมกีฬาโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน ณ กรุงบัวโนสไอเรส สาธารณรัฐอาร์เจนตินา 2.วันที่ 8 - 9 ตุลาคม 2561 นายณรงศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาในฐานะผู้บัญชาการศูนย์อํานวยการร่วมค้นหาผู้สูญหายถ้ําหลวง-ขุนน้ํานางนอน เป็นผู้แทนทีมปฏิบัติการถ้ําหลวง จังหวัดเชียงราย เข้ารับรางวัล Asia Game Changer Awards ของสมาคม Asia Society Association โดยมีผู้ช่วยโค้ชทีมฟุตบอลเยาวชนหมูป่า อะคาเดมี่ ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ นครนิวยอร์ก มลรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา 3.วันที่ 10 - 12 ตุลาคม 2561 เด็กทีมฟุตบอลเยาวชนหมูป่า อะคาเดมี่ เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนทางศิลปวัฒนธรรมร่วมกับเยาวชนในท้องถิ่น ณ นครลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา นายวิษณุ กล่าวด้วยว่า กิจกรรม “13 ชีวิต หมูป่าอะคาเดมี่ ขอบคุณชุมชนโลก” จะทําให้ชาวโลกได้รับรู้ถึงการแสดงความขอบคุณและความซาบซึ้งใจของคนไทยที่มีต่อการร่วมปฏิบัติการช่วยเหลือทีมหมูป่าอะคาเดมีของชาวต่างชาติ และเผยแพร่ภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยสู่นานาชาติ ช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศต่างๆให้มีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลจับมือหน่วยงานรัฐ-เอกชนจัดกิจกรรม “13 ชีวิต หมูป่าอะคาเดมี่ ขอบคุณชุมชนโลก” 3 - 15 ต.ค.นี้ แสดงความขอบคุณทั่วโลก พร้อมนำเสนอภาพลักษณ์ที่ดีของไทยสู่นานาชาติ วันพุธที่ 3 ตุลาคม 2561 รัฐบาลจับมือหน่วยงานรัฐ-เอกชนจัดกิจกรรม “13 ชีวิต หมูป่าอะคาเดมี่ ขอบคุณชุมชนโลก” 3 - 15 ต.ค.นี้ แสดงความขอบคุณทั่วโลก พร้อมนําเสนอภาพลักษณ์ที่ดีของไทยสู่นานาชาติ รัฐบาลจับมือหน่วยงานรัฐ-เอกชนจัดกิจกรรม “13 ชีวิต หมูป่าอะคาเดมี่ ขอบคุณชุมชนโลก” 3 - 15 ต.ค.นี้ แสดงความขอบคุณทั่วโลก พร้อมนําเสนอภาพลักษณ์ที่ดีของไทยสู่นานาชาติ รัฐบาลจับมือหน่วยงานรัฐ-เอกชนจัดกิจกรรม “13 ชีวิต หมูป่าอะคาเดมี่ ขอบคุณชุมชนโลก” 3 - 15 ต.ค.นี้ แสดงความขอบคุณทั่วโลก พร้อมนําเสนอภาพลักษณ์ที่ดีของไทยสู่นานาชาติ วันที่ 1 ตุลาคม 2561 ที่ตึกนารีสโมสร ทําเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในงานแถลงข่าว “13 ชีวิต หมูป่าอะคาเดมี ขอบคุณชุมชนโลก” โดยมีนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พลโท วีรชน สุคนธปฏิภาค โฆษกและกรรมการสื่อสร้างสรรค์ กรณีถ้ําหลวง จังหวัดเชียงราย คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล กรรมการโอลิมปิกสากล ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) กรรมการสื่อสร้างสรรค์ กรณีถ้ําหลวง จังหวัดเชียงราย และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การช่วยเหลือชีวิตเด็กและผู้ช่วยโค้ชทีมฟุตบอลเยาวชนหมูป่า อะคาเดมี่ ทั้ง 13 คน ที่ติดอยู่ ณ วนอุทยานถ้ําหลวง - ขุนน้ํานางนอน อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ระหว่างวันที่ 23 มิถุนายน – 10 กรกฎาคม 2561 นับเป็นเหตุการณ์ครั้งสําคัญที่ต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์โลก เนื่องจากแสดงให้เห็นถึงการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชนและประชาชนทั้งคนไทยและชาวต่างประเทศที่ปฏิบัติภารกิจด้วยความกล้าหาญ ทุ่มเทและเสียสละอย่างสุดกําลังความสามารถโดยได้รับกําลังใจจากคนทั่วโลก และด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และพระเมตตาของพระบรมวงศานุวงศ์ที่ได้พระราชทานความช่วยเหลือและขวัญกําลังใจตลอดการปฏิบัติงาน ทําให้ภารกิจนี้สําเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี รองนายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า รัฐบาลได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและประชาชน จัดกิจกรรม “13 ชีวิต หมูป่าอะคาเดมี่ ขอบคุณชุมชนโลก” ขึ้น เพื่อขอบคุณชาวโลกในนามของประเทศไทยที่ร่วมปฏิบัติการช่วยเหลือด้วยความห่วงใยมานุษยชาติ และนําเสนอภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยในด้านต่างๆ อาทิ ความสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ตลอดจนวัฒนธรรม ความร่วมมือ ความมีน้ําใจ เอื้ออาทร การรู้รักสามัคคี รวมทั้งการบริหารจัดการปัญหาหรือสถานการณ์ภัยพิบัติที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3 - 15 ตุลาคม 2561 ใน 2 ประเทศ คือ อาร์เจนตินาและสหรัฐอเมริกา โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1.วันที่ 4 - 9 ตุลาคม 2561 นายเอกพล จันทะวงษ์ ผู้ช่วยโค้ชและเด็กทีมฟุตบอลเยาวชนหมูป่า อะคาเดมี่ รวม 13 คน เข้าร่วมพิธีเปิดมหกรรมกีฬาโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน ณ กรุงบัวโนสไอเรส สาธารณรัฐอาร์เจนตินา 2.วันที่ 8 - 9 ตุลาคม 2561 นายณรงศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาในฐานะผู้บัญชาการศูนย์อํานวยการร่วมค้นหาผู้สูญหายถ้ําหลวง-ขุนน้ํานางนอน เป็นผู้แทนทีมปฏิบัติการถ้ําหลวง จังหวัดเชียงราย เข้ารับรางวัล Asia Game Changer Awards ของสมาคม Asia Society Association โดยมีผู้ช่วยโค้ชทีมฟุตบอลเยาวชนหมูป่า อะคาเดมี่ ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ นครนิวยอร์ก มลรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา 3.วันที่ 10 - 12 ตุลาคม 2561 เด็กทีมฟุตบอลเยาวชนหมูป่า อะคาเดมี่ เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนทางศิลปวัฒนธรรมร่วมกับเยาวชนในท้องถิ่น ณ นครลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา นายวิษณุ กล่าวด้วยว่า กิจกรรม “13 ชีวิต หมูป่าอะคาเดมี่ ขอบคุณชุมชนโลก” จะทําให้ชาวโลกได้รับรู้ถึงการแสดงความขอบคุณและความซาบซึ้งใจของคนไทยที่มีต่อการร่วมปฏิบัติการช่วยเหลือทีมหมูป่าอะคาเดมีของชาวต่างชาติ และเผยแพร่ภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยสู่นานาชาติ ช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศต่างๆให้มีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/15839
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ. เผาทำลายยาเสพติดให้โทษมูลค่ากว่า 55,941 ล้านบาท เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก
วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน 2563 สธ. เผาทําลายยาเสพติดให้โทษมูลค่ากว่า 55,941 ล้านบาท เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก กระทรวงสาธารณสุข เผาทําลายยาเสพติดให้โทษของกลาง ครั้งที่ 50 เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก จํานวน 25,301 กิโลกรัม มูลค่ารวมกว่า 55,941 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นยาบ้า ไอซ์ เฮโรอีน กองควบคุมวัตถุเสพติดร่วมเผาวัตถุออกฤทธิ์ของกลางอีกกว่า 1,187 กิโลกรัม กระทรวงสาธารณสุข เผาทําลายยาเสพติดให้โทษของกลาง ครั้งที่ 50 เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก จํานวน 25,301 กิโลกรัม มูลค่ารวมกว่า 55,941 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นยาบ้า ไอซ์ เฮโรอีน กองควบคุมวัตถุเสพติดร่วมเผาวัตถุออกฤทธิ์ของกลางอีกกว่า 1,187 กิโลกรัม วันนี้ (26 มิถุนายน 2563) ณ ศูนย์บริหารสาธารณูปโภคและสิ่งแวดล้อม นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเผาทําลายยาเสพติดให้โทษของกลาง ครั้งที่50 ประจําปี2563เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปีโดยมีนายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ทูตานุทูต ผู้บริหารจากทุกส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สํานักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดกองทัพบก นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน และสื่อมวลชน ร่วมเป็นสักขีพยาน ในปีนี้ยาเสพติดให้โทษของกลางจากคลังเก็บรักษายาเสพติด สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ทําการเผาทําลายมีจํานวน 25,301 กิโลกรัมจาก 2,751 คดี มูลค่ากว่า 55,941 ล้านบาท ประกอบด้วย เมทแอมเฟตามีน/ แอมเฟตามีน (ยาบ้า)น้ําหนักกว่า 18,303 กิโลกรัม (ประมาณ 203 ล้านเม็ด)มูลค่าประมาณ 40,674 ล้านบาท เมทแอมเฟตามีน (ยาไอซ์) น้ําหนักกว่า 5,878 กิโลกรัม มูลค่าประมาณ 12,932 ล้านบาท เฮโรอีนน้ําหนักกว่า 541 กิโลกรัม มูลค่าประมาณ 2,301 ล้านบาท และยังมี MDMA/MDA/MDE (ยาอี/ยาเลิฟ) น้ําหนักประมาณ 0.026กิโลกรัม (107 เม็ด) ฝิ่นน้ําหนักกว่า 9 กิโลกรัม โคคาอีนน้ําหนักกว่า 10 กิโลกรัม ยาเสพติดอื่นๆ น้ําหนักรวมกว่า 557 กิโลกรัม นอกจากนี้ กองควบคุมวัตถุเสพติด สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมเผาวัตถุออกฤทธิ์ของกลาง จํานวนกว่า 1,187 กิโลกรัมจาก 724 คดี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 1 จ.ปทุมธานี และกองพิสูจน์หลักฐานกลาง ร่วมเผาทําลาย ภาชนะ หีบห่อ บรรจุภัณฑ์ที่ผ่านการใช้งานยาเสพติดรวม 15 กล่อง ของกลางทั้งหมดจะถูกเผาทําลายด้วยวิธีไพโรไลติก อินซิเนอะเรชัน (Pyrolytic Incineration) ที่มีอุณหภูมิไม่ต่ํากว่า 850 องศาเซลเซียสจะทําให้เกิดการสลายตัวของโมเลกุลกลายเป็นคาร์บอนในระยะเวลาอันรวดเร็ว ในปีนี้ได้กําหนดวันเผาทําลายยาเสพติดให้โทษ 3 วัน คือวันที่ 26 มิถุนายน 2563 จํานวนกว่า 8,466 กิโลกรัม วันที่ 13 กรกฎาคม 2563 จํานวนกว่า 8,275 กิโลกรัม และวันที่ 14 กรกฎาคม 2563 จํานวนกว่า 8,558 กิโลกรัม สถิติการเผาทําลายยาเสพติดให้โทษของกลางตั้งแต่ปี 2520-2563 รวม 50 ครั้ง มีน้ําหนักรวมกว่า170,545 กิโลกรัม มูลค่ากว่า 273,331 ล้านบาท มากที่สุดได้แก่ เมทแอมเฟตามีน/ แอมเฟตามีน ฝิ่นและอื่นๆ เฮโรอีน และเอ็คซ์ตาซี่ ตามลําดับ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขมีหน้าที่หลักในการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ป้องกันไม่ให้กลับมาเสพซ้ํา ซึ่งในปีงบประมาณ 2563 ตั้งเป้านําผู้เสพผู้ติดยาเสพติดเข้ารับการบําบัด210,982คน แบ่งเป็นระบบสมัครใจ 113,382 คน บังคับบําบัด56,600 คน ต้องโทษ 26,000 คน และระบบคุมความประพฤติ 15,000 คน สําหรับผลการดําเนินงานตั้งแต่1 ตุลาคม 2562 - 15 มิถุนายน 2563นําผู้เสพเข้าสู่กระบวนการบําบัดฯ แล้ว128,520 คน คิดเป็นร้อยละ60.92จากระบบสมัครใจ 48,479คน ระบบบังคับบําบัด66,253 คน และระบบต้องโทษ13,788 คนทั้งนี้โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่งทั่วประเทศพร้อมให้คําปรึกษาและนําเข้าสู่ระบบบําบัดรักษาที่ได้มาตรฐานสากล โดยประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลการเลิกยาเสพติดได้ที่สายด่วน1165 ตลอด24 ชั่วโมง
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ. เผาทำลายยาเสพติดให้โทษมูลค่ากว่า 55,941 ล้านบาท เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน 2563 สธ. เผาทําลายยาเสพติดให้โทษมูลค่ากว่า 55,941 ล้านบาท เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก กระทรวงสาธารณสุข เผาทําลายยาเสพติดให้โทษของกลาง ครั้งที่ 50 เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก จํานวน 25,301 กิโลกรัม มูลค่ารวมกว่า 55,941 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นยาบ้า ไอซ์ เฮโรอีน กองควบคุมวัตถุเสพติดร่วมเผาวัตถุออกฤทธิ์ของกลางอีกกว่า 1,187 กิโลกรัม กระทรวงสาธารณสุข เผาทําลายยาเสพติดให้โทษของกลาง ครั้งที่ 50 เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก จํานวน 25,301 กิโลกรัม มูลค่ารวมกว่า 55,941 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นยาบ้า ไอซ์ เฮโรอีน กองควบคุมวัตถุเสพติดร่วมเผาวัตถุออกฤทธิ์ของกลางอีกกว่า 1,187 กิโลกรัม วันนี้ (26 มิถุนายน 2563) ณ ศูนย์บริหารสาธารณูปโภคและสิ่งแวดล้อม นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเผาทําลายยาเสพติดให้โทษของกลาง ครั้งที่50 ประจําปี2563เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปีโดยมีนายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ทูตานุทูต ผู้บริหารจากทุกส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สํานักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดกองทัพบก นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน และสื่อมวลชน ร่วมเป็นสักขีพยาน ในปีนี้ยาเสพติดให้โทษของกลางจากคลังเก็บรักษายาเสพติด สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ทําการเผาทําลายมีจํานวน 25,301 กิโลกรัมจาก 2,751 คดี มูลค่ากว่า 55,941 ล้านบาท ประกอบด้วย เมทแอมเฟตามีน/ แอมเฟตามีน (ยาบ้า)น้ําหนักกว่า 18,303 กิโลกรัม (ประมาณ 203 ล้านเม็ด)มูลค่าประมาณ 40,674 ล้านบาท เมทแอมเฟตามีน (ยาไอซ์) น้ําหนักกว่า 5,878 กิโลกรัม มูลค่าประมาณ 12,932 ล้านบาท เฮโรอีนน้ําหนักกว่า 541 กิโลกรัม มูลค่าประมาณ 2,301 ล้านบาท และยังมี MDMA/MDA/MDE (ยาอี/ยาเลิฟ) น้ําหนักประมาณ 0.026กิโลกรัม (107 เม็ด) ฝิ่นน้ําหนักกว่า 9 กิโลกรัม โคคาอีนน้ําหนักกว่า 10 กิโลกรัม ยาเสพติดอื่นๆ น้ําหนักรวมกว่า 557 กิโลกรัม นอกจากนี้ กองควบคุมวัตถุเสพติด สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมเผาวัตถุออกฤทธิ์ของกลาง จํานวนกว่า 1,187 กิโลกรัมจาก 724 คดี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 1 จ.ปทุมธานี และกองพิสูจน์หลักฐานกลาง ร่วมเผาทําลาย ภาชนะ หีบห่อ บรรจุภัณฑ์ที่ผ่านการใช้งานยาเสพติดรวม 15 กล่อง ของกลางทั้งหมดจะถูกเผาทําลายด้วยวิธีไพโรไลติก อินซิเนอะเรชัน (Pyrolytic Incineration) ที่มีอุณหภูมิไม่ต่ํากว่า 850 องศาเซลเซียสจะทําให้เกิดการสลายตัวของโมเลกุลกลายเป็นคาร์บอนในระยะเวลาอันรวดเร็ว ในปีนี้ได้กําหนดวันเผาทําลายยาเสพติดให้โทษ 3 วัน คือวันที่ 26 มิถุนายน 2563 จํานวนกว่า 8,466 กิโลกรัม วันที่ 13 กรกฎาคม 2563 จํานวนกว่า 8,275 กิโลกรัม และวันที่ 14 กรกฎาคม 2563 จํานวนกว่า 8,558 กิโลกรัม สถิติการเผาทําลายยาเสพติดให้โทษของกลางตั้งแต่ปี 2520-2563 รวม 50 ครั้ง มีน้ําหนักรวมกว่า170,545 กิโลกรัม มูลค่ากว่า 273,331 ล้านบาท มากที่สุดได้แก่ เมทแอมเฟตามีน/ แอมเฟตามีน ฝิ่นและอื่นๆ เฮโรอีน และเอ็คซ์ตาซี่ ตามลําดับ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขมีหน้าที่หลักในการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ป้องกันไม่ให้กลับมาเสพซ้ํา ซึ่งในปีงบประมาณ 2563 ตั้งเป้านําผู้เสพผู้ติดยาเสพติดเข้ารับการบําบัด210,982คน แบ่งเป็นระบบสมัครใจ 113,382 คน บังคับบําบัด56,600 คน ต้องโทษ 26,000 คน และระบบคุมความประพฤติ 15,000 คน สําหรับผลการดําเนินงานตั้งแต่1 ตุลาคม 2562 - 15 มิถุนายน 2563นําผู้เสพเข้าสู่กระบวนการบําบัดฯ แล้ว128,520 คน คิดเป็นร้อยละ60.92จากระบบสมัครใจ 48,479คน ระบบบังคับบําบัด66,253 คน และระบบต้องโทษ13,788 คนทั้งนี้โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่งทั่วประเทศพร้อมให้คําปรึกษาและนําเข้าสู่ระบบบําบัดรักษาที่ได้มาตรฐานสากล โดยประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลการเลิกยาเสพติดได้ที่สายด่วน1165 ตลอด24 ชั่วโมง
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/32787
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“ดร.สาธิต” เปิดเพจ “คนรักอนามัย ใส่ใจอากาศ PM2.5”เตือนภัยสุขภาพจากฝุ่น
วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน 2562 “ดร.สาธิต” เปิดเพจ “คนรักอนามัย ใส่ใจอากาศ PM2.5”เตือนภัยสุขภาพจากฝุ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเฟซบุ๊กเพจ “คนรักอนามัย ใส่ใจอากาศ PM2.5” เตือนภัยสุขภาพจากฝุ่น พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะจากประชาชน ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ขณะนี้สถานการณ์ฝุ่นละอองในพื้นที่ภาคใต้ของไทย ที่เกิดจากหมอกควันประเทศเพื่อนบ้าน บางพื้นที่มีค่าฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐานอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน จัดทําเฟซบุ๊กเพจ “คนรักอนามัย ใส่ใจอากาศ PM2.5” มอบหมายให้ นายธนิตพล ไชยนันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เฝ้าระวังสถานการณ์รายงานค่าเฉลี่ยปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5)พร้อมสื่อสารถึงวิธีการป้องกันและแนวทางช่วยเหลือของกระทรวงสาธารณสุขเมื่อค่าฝุ่นเกินค่ามาตรฐาน โดยเฟสบุ๊กเพจที่จัดทําขึ้น ยังเป็นช่องทางให้ประชาชนร้องเรียนหรือเสนอแนะ รวมทั้งเป็นศูนย์ประสานงานการช่วยเหลือหรือสนับสนุนจากภาครัฐเมื่อเกิดเหตุการณ์ ในพื้นที่ประสบภัย ดร สาธิต. กล่าวต่อว่า ขอให้ประชาชนติดตามสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 จากเพจดังกล่าว สังเกตความเข้มของแถบสี หากพบว่าเป็นสีส้ม ควรลดการทํากิจกรรมหรือออกกําลังกายกลางแจ้ง เช่น ปั่นจักรยาน วิ่ง โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงอาทิ ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ควรงดการออกนอกบ้าน อยู่ในอาคารโดยเฉพาะห้องสะอาด ถ้าจําเป็นต้องออกนอกบ้านควรสวมหน้ากากอนามัยป้องกันฝุ่น PM2.5 สําหรับผู้ที่ต้องทํางานกลางแจ้งเป็นเวลานาน เช่นเจ้าหน้าที่ตํารวจ แม่ค้าขายของควรสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาทํางาน ด้านแพทย์หญิง พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่าขอให้ประชาชนติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองในอากาศ จากเฟซบุ๊กเพจ “คนรักอนามัย ใส่ใจอากาศ PM2.5” และสังเกตตนเองหากมีอาการผิดปกติ เช่น ไอบ่อย หายใจลําบาก หายใจถี่ หรือวิงเวียนศีรษะ ให้รีบไปพบแพทย์และขอให้ประชาชนหมั่นทําความสะอาดบ้าน ด้วยวิธีเช็ดถูแบบเปียก เพื่อไม่ให้ฝุ่นละอองฟุ้งกระจาย และลดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นในบ้านเรือน เช่น จุดธูป เผาขยะ ***************************************8 กันยายน 2562
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“ดร.สาธิต” เปิดเพจ “คนรักอนามัย ใส่ใจอากาศ PM2.5”เตือนภัยสุขภาพจากฝุ่น วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน 2562 “ดร.สาธิต” เปิดเพจ “คนรักอนามัย ใส่ใจอากาศ PM2.5”เตือนภัยสุขภาพจากฝุ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเฟซบุ๊กเพจ “คนรักอนามัย ใส่ใจอากาศ PM2.5” เตือนภัยสุขภาพจากฝุ่น พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะจากประชาชน ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ขณะนี้สถานการณ์ฝุ่นละอองในพื้นที่ภาคใต้ของไทย ที่เกิดจากหมอกควันประเทศเพื่อนบ้าน บางพื้นที่มีค่าฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐานอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน จัดทําเฟซบุ๊กเพจ “คนรักอนามัย ใส่ใจอากาศ PM2.5” มอบหมายให้ นายธนิตพล ไชยนันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เฝ้าระวังสถานการณ์รายงานค่าเฉลี่ยปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5)พร้อมสื่อสารถึงวิธีการป้องกันและแนวทางช่วยเหลือของกระทรวงสาธารณสุขเมื่อค่าฝุ่นเกินค่ามาตรฐาน โดยเฟสบุ๊กเพจที่จัดทําขึ้น ยังเป็นช่องทางให้ประชาชนร้องเรียนหรือเสนอแนะ รวมทั้งเป็นศูนย์ประสานงานการช่วยเหลือหรือสนับสนุนจากภาครัฐเมื่อเกิดเหตุการณ์ ในพื้นที่ประสบภัย ดร สาธิต. กล่าวต่อว่า ขอให้ประชาชนติดตามสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 จากเพจดังกล่าว สังเกตความเข้มของแถบสี หากพบว่าเป็นสีส้ม ควรลดการทํากิจกรรมหรือออกกําลังกายกลางแจ้ง เช่น ปั่นจักรยาน วิ่ง โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงอาทิ ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ควรงดการออกนอกบ้าน อยู่ในอาคารโดยเฉพาะห้องสะอาด ถ้าจําเป็นต้องออกนอกบ้านควรสวมหน้ากากอนามัยป้องกันฝุ่น PM2.5 สําหรับผู้ที่ต้องทํางานกลางแจ้งเป็นเวลานาน เช่นเจ้าหน้าที่ตํารวจ แม่ค้าขายของควรสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาทํางาน ด้านแพทย์หญิง พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่าขอให้ประชาชนติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองในอากาศ จากเฟซบุ๊กเพจ “คนรักอนามัย ใส่ใจอากาศ PM2.5” และสังเกตตนเองหากมีอาการผิดปกติ เช่น ไอบ่อย หายใจลําบาก หายใจถี่ หรือวิงเวียนศีรษะ ให้รีบไปพบแพทย์และขอให้ประชาชนหมั่นทําความสะอาดบ้าน ด้วยวิธีเช็ดถูแบบเปียก เพื่อไม่ให้ฝุ่นละอองฟุ้งกระจาย และลดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นในบ้านเรือน เช่น จุดธูป เผาขยะ ***************************************8 กันยายน 2562
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/22906
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"อาจารย์ยักษ์" ย้ำ ทุกหน่วยงานกระทรวงเกษตรฯ บูรณาการจัดการน้ำ
วันจันทร์ที่ 29 มกราคม 2561 "อาจารย์ยักษ์" ย้ํา ทุกหน่วยงานกระทรวงเกษตรฯ บูรณาการจัดการน้ํา "อาจารย์ยักษ์" ย้ํา ทุกหน่วยงานกระทรวงเกษตรฯ บูรณาการจัดการน้ํา มองผลกระทบทุกด้าน มุ่งประชารัฐทําแบบสามัคคี "รมช.เกษตรฯวิวัฒน์"ลงพื้นที่ติดตามโครงการเพิ่มปริมาณน้ําในอ่างเก็บน้ําเขื่อนแม่กวงอุดมธาราจ.เชียงใหม่เผยห่วงดินตะกอนที่มากขึ้นจากเขาหัวโล้นต้นน้ําไหลลงเขื่อนหนุนสํานักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตรและสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงจับมือเครือข่ายลุ่มน้ําแม่กวงและกรมชลฯเร่งศึกษาวิจัยผลกระทบเรื่องตะกอนดินและศึกษาการจัดการน้ําทฤษฎีใหม่อ่างใหญ่เติมอ่างเล็กอ่างเล็กเติมสระน้ําของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9ที่จ.สระบุรีและกาฬสินธุ์พร้อมมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน นายวิวัฒน์ศัลยกําธรรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยว่าโครงการเพิ่มปริมาณน้ําในอ่างเก็บน้ําเขื่อนแม่กวงอุดมธารา เป็นโครงการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยกรมชลประทานที่พัฒนาและบริหารจัดการน้ําเชื่อมโยงระหว่างลุ่มน้ําแม่แตง-แม่งัด-แม่กวงซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของลุ่มน้ําปิงเมื่อโครงการแล้วเสร็จจะสร้างเสถียรภาพความมั่นคงด้านปริมาณน้ําให้กับพื้นที่ภาคเหนือโดยเฉพาะบริเวณลุ่มน้ําปิงในเขตจ.เชียงใหม่และจ.ลําพูนเพื่อให้การบริหารจัดการน้ํามีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อประชาชนในภาคเหนือตอนบนทั้งด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมโดยโครงการดังกล่าวจะสามารถเพิ่มปริมาณน้ําในอ่างเก็บน้ําเขื่อนแม่กวงอุดมธาราได้มากขึ้นเฉลี่ยปีละ160ล้านลบ.ม.ทําให้พื้นที่ชลประทานในฤดูแล้งเพิ่มขึ้นจาก17,060ไร่เป็น76,129ไร่เพิ่มปริมาณน้ําเพื่อการอุปโภคบริโภคและอุตสาหกรรมจากปีละ13.31ล้านลบ.ม.เป็น49.99ล้านลบ.ม.ตลอดทั้งช่วยบรรเทาอุทกภัยที่จะเกิดขึ้นในตัวเมืองเชียงใหม่ด้วยกระทรวงเกษตรฯโดยกรมชลประทานจึงได้ทําการศึกษาและออกแบบเพื่อปรับสมดุลน้ําส่วนเกินโดยมีการก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ําช่วงแม่แตง-แม่งัดและอุโมงค์ส่งน้ําช่วงแม่งัด-แม่กวงขณะนี้อยู่ในระหว่างการก่อสร้างกําหนดแล้วเสร็จในปี2565 "ประเด็นสภาพแวดล้อมโดยรวมที่เปลี่ยนแปลงไปสิ่งที่น่าเป็นห่วงไม่ใช่เรื่องของเทคนิคแต่เป็นเรื่องของต้นน้ําเนื่องจากต้นน้ําปัจจุบันกลายเป็นพื้นที่ดินชะล้างพังทลายสูงจากการทําเกษตรเชิงเดี่ยวตะกอนดินที่มากับน้ําจะส่งผลทําให้เขื่อนตื้นเขินประสิทธิภาพการกักเก็บน้ําน้อยลงส่งผลให้ความพยามที่จะเก็บกักน้ําเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติขาดแคลนในช่วงหน้าแล้งน้อยลงตามไปด้วยอย่างไรก็ตามกระทรวงเกษตรฯมีเครือข่ายลุ่มน้ําแม่กวงซึ่งเป็นเครือข่ายที่ขยายผลแนวทางการแก้ไขปัญหาของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9จากศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯโดยมีนายคณิตธนูธรรมเจริญนักวิชาการเข้าไปทํางานประสานกับประชาชนในพื้นที่จนเห็นผลทําให้สมบูรณ์ของป่ากลับคืนมามีน้ําสมบูรณ์ดินสมบูรณ์ขึ้นและประชาชนเข้มแข็งขึ้นจริง"นายวิวัฒน์กล่าว ด้านนายคณิตธนูธรรมเจริญอดีตนักวิชาการของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯที่เข้าไปส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนรวมจนสามารถสร้างแกนนําทํางานอย่างต่อเนื่องมาหลายสิบปีเผยผลวิจัยชี้ชัดว่าการดําเนินงานแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนโดยยึดหลักเข้าใจเข้าถึงพัฒนาใช้วิธีการเดินไปทําความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ส่งผลให้การพัฒนาพื้นที่จากพื้นที่เสื่อมโทรมกลับมาเป็นพื้นที่ป่าสมบูรณ์ได้จริงโดยของป่าสมบูรณ์ขึ้นจากแต่ป่าเบญจพรรณ42%เพิ่มขึ้นเป็น55%ชนิดของพันธ์ไม้จาก57ชนิดเพิ่มเป็น290ชนิดการปกคลุมเรือนยอดจาก64%เพิ่มเป็น82%กล้วยไม้ท้องถิ่นกลับมาจาก24ชนิดเป็น121ชนิดและความสมบูรณ์ของดินเพิ่มขึ้นจริงจากธาตุอาหารในดิน1%เป็น3.4%ต่อน้ําหนักที่สําคัญคือป่าที่เพิ่มมากขึ้นนั้นส่งผลให้ปริมาณน้ําฝนเพิ่มมากขึ้นอัตราการระเหยลดลงความชื้นสัมพัทธ์เพิ่มขึ้นอุณหภูมิลดลงอย่างชัดเจนโดยจากปี2527ปริมาณฝนเฉลี่ย1,142.2มม./ปีอัตราการรระเหย1,356มม./ปีและความชื้นสัมพัทธ์ร้อละ77อุณหภูมิ26.6องศาเมื่อวัดในปี2560พบปริมาณฝน1,413.2มม./ปีอัตราการระเหย1,218มม./ปีความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ87.8อุณหภูมิ21.7องศา ทั้งนี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯยังได้มอบหมายให้กรมชลประทานประสานกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯในการบูรณาการทํางานร่วมกันให้เกิดประสิทธิภาพเพื่อสร้างเครือข่ายประชาชนในพื้นที่ต้นน้ําของอ่างเก็บน้ําเขื่อนแม่กวงอุดมธาราโดยทํางานสนองพระราชดําริพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่10ด้วยการสนับสนุนให้มีพลังจิตอาสากระต้นให้คนไทยเกิดความสามัคคีเดินตามรอยพ่อทําหน้าที่เป็นกลไกในการชักชวนให้ประชาชนมาร่วมเป็นจิตอาสาดูแลลุ่มน้ําแม่กวงขยายผลไปในพื้นที่ลุ่มน้ําย่อยและลุ่มน้ําสาขาของลุ่มน้ําปิงสร้างเครือข่ายจัดการลุ่มน้ําให้แข็งแรงทุกภาคส่วนเพื่อรักษาความสมบูรณ์ของน้ําป้องกันและแก้ไขปัญหาความต้องการน้ําที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคตนอกจากนี้จะสนับสนุนให้สํานักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตรและสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงจังหวัดเชียงใหม่มาร่วมกับเครือข่ายลุ่มน้ําแม่กวงและกรมชลประทานเพื่อทําการศึกษาวิจัยผลกระทบการเกิดตะกอนและให้ศึกษาการจัดการน้ําทฤษฎีใหม่อ่างใหญ่เติมอ่างเล็กอ่างเล็กเติมสระน้ําของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9ที่จ.สระบุรีและกาฬสินธุ์ซึ่งถือเป็นเศรษฐกิจพอเพียงขั้นก้าวหน้าที่แสดงให้เห็นผลแล้วว่าด้วยการจัดการน้ําที่วางแผนเชื่อมโยงทั้งระบบสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ําได้มากถึง5เท่าส่วนวิธีการนั้นให้มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชโดยส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักเก็บน้ํามีแหล่งน้ําประจําไร่นาในพื้นที่ของตนเพื่อลดผลกระทบจากการขาดแคลนน้ําช่วงหน้าแล้งด้วย กลุ่มโฆษกและวิเคราะห์ข่าว กองเกษตรสารนิเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร 02-2810859 แฟกซ์ 02-2822871 [email protected] www.moac.go.th www.facebook.com/kasetthai
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"อาจารย์ยักษ์" ย้ำ ทุกหน่วยงานกระทรวงเกษตรฯ บูรณาการจัดการน้ำ วันจันทร์ที่ 29 มกราคม 2561 "อาจารย์ยักษ์" ย้ํา ทุกหน่วยงานกระทรวงเกษตรฯ บูรณาการจัดการน้ํา "อาจารย์ยักษ์" ย้ํา ทุกหน่วยงานกระทรวงเกษตรฯ บูรณาการจัดการน้ํา มองผลกระทบทุกด้าน มุ่งประชารัฐทําแบบสามัคคี "รมช.เกษตรฯวิวัฒน์"ลงพื้นที่ติดตามโครงการเพิ่มปริมาณน้ําในอ่างเก็บน้ําเขื่อนแม่กวงอุดมธาราจ.เชียงใหม่เผยห่วงดินตะกอนที่มากขึ้นจากเขาหัวโล้นต้นน้ําไหลลงเขื่อนหนุนสํานักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตรและสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงจับมือเครือข่ายลุ่มน้ําแม่กวงและกรมชลฯเร่งศึกษาวิจัยผลกระทบเรื่องตะกอนดินและศึกษาการจัดการน้ําทฤษฎีใหม่อ่างใหญ่เติมอ่างเล็กอ่างเล็กเติมสระน้ําของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9ที่จ.สระบุรีและกาฬสินธุ์พร้อมมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน นายวิวัฒน์ศัลยกําธรรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยว่าโครงการเพิ่มปริมาณน้ําในอ่างเก็บน้ําเขื่อนแม่กวงอุดมธารา เป็นโครงการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยกรมชลประทานที่พัฒนาและบริหารจัดการน้ําเชื่อมโยงระหว่างลุ่มน้ําแม่แตง-แม่งัด-แม่กวงซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของลุ่มน้ําปิงเมื่อโครงการแล้วเสร็จจะสร้างเสถียรภาพความมั่นคงด้านปริมาณน้ําให้กับพื้นที่ภาคเหนือโดยเฉพาะบริเวณลุ่มน้ําปิงในเขตจ.เชียงใหม่และจ.ลําพูนเพื่อให้การบริหารจัดการน้ํามีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อประชาชนในภาคเหนือตอนบนทั้งด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมโดยโครงการดังกล่าวจะสามารถเพิ่มปริมาณน้ําในอ่างเก็บน้ําเขื่อนแม่กวงอุดมธาราได้มากขึ้นเฉลี่ยปีละ160ล้านลบ.ม.ทําให้พื้นที่ชลประทานในฤดูแล้งเพิ่มขึ้นจาก17,060ไร่เป็น76,129ไร่เพิ่มปริมาณน้ําเพื่อการอุปโภคบริโภคและอุตสาหกรรมจากปีละ13.31ล้านลบ.ม.เป็น49.99ล้านลบ.ม.ตลอดทั้งช่วยบรรเทาอุทกภัยที่จะเกิดขึ้นในตัวเมืองเชียงใหม่ด้วยกระทรวงเกษตรฯโดยกรมชลประทานจึงได้ทําการศึกษาและออกแบบเพื่อปรับสมดุลน้ําส่วนเกินโดยมีการก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ําช่วงแม่แตง-แม่งัดและอุโมงค์ส่งน้ําช่วงแม่งัด-แม่กวงขณะนี้อยู่ในระหว่างการก่อสร้างกําหนดแล้วเสร็จในปี2565 "ประเด็นสภาพแวดล้อมโดยรวมที่เปลี่ยนแปลงไปสิ่งที่น่าเป็นห่วงไม่ใช่เรื่องของเทคนิคแต่เป็นเรื่องของต้นน้ําเนื่องจากต้นน้ําปัจจุบันกลายเป็นพื้นที่ดินชะล้างพังทลายสูงจากการทําเกษตรเชิงเดี่ยวตะกอนดินที่มากับน้ําจะส่งผลทําให้เขื่อนตื้นเขินประสิทธิภาพการกักเก็บน้ําน้อยลงส่งผลให้ความพยามที่จะเก็บกักน้ําเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติขาดแคลนในช่วงหน้าแล้งน้อยลงตามไปด้วยอย่างไรก็ตามกระทรวงเกษตรฯมีเครือข่ายลุ่มน้ําแม่กวงซึ่งเป็นเครือข่ายที่ขยายผลแนวทางการแก้ไขปัญหาของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9จากศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯโดยมีนายคณิตธนูธรรมเจริญนักวิชาการเข้าไปทํางานประสานกับประชาชนในพื้นที่จนเห็นผลทําให้สมบูรณ์ของป่ากลับคืนมามีน้ําสมบูรณ์ดินสมบูรณ์ขึ้นและประชาชนเข้มแข็งขึ้นจริง"นายวิวัฒน์กล่าว ด้านนายคณิตธนูธรรมเจริญอดีตนักวิชาการของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯที่เข้าไปส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนรวมจนสามารถสร้างแกนนําทํางานอย่างต่อเนื่องมาหลายสิบปีเผยผลวิจัยชี้ชัดว่าการดําเนินงานแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนโดยยึดหลักเข้าใจเข้าถึงพัฒนาใช้วิธีการเดินไปทําความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ส่งผลให้การพัฒนาพื้นที่จากพื้นที่เสื่อมโทรมกลับมาเป็นพื้นที่ป่าสมบูรณ์ได้จริงโดยของป่าสมบูรณ์ขึ้นจากแต่ป่าเบญจพรรณ42%เพิ่มขึ้นเป็น55%ชนิดของพันธ์ไม้จาก57ชนิดเพิ่มเป็น290ชนิดการปกคลุมเรือนยอดจาก64%เพิ่มเป็น82%กล้วยไม้ท้องถิ่นกลับมาจาก24ชนิดเป็น121ชนิดและความสมบูรณ์ของดินเพิ่มขึ้นจริงจากธาตุอาหารในดิน1%เป็น3.4%ต่อน้ําหนักที่สําคัญคือป่าที่เพิ่มมากขึ้นนั้นส่งผลให้ปริมาณน้ําฝนเพิ่มมากขึ้นอัตราการระเหยลดลงความชื้นสัมพัทธ์เพิ่มขึ้นอุณหภูมิลดลงอย่างชัดเจนโดยจากปี2527ปริมาณฝนเฉลี่ย1,142.2มม./ปีอัตราการรระเหย1,356มม./ปีและความชื้นสัมพัทธ์ร้อละ77อุณหภูมิ26.6องศาเมื่อวัดในปี2560พบปริมาณฝน1,413.2มม./ปีอัตราการระเหย1,218มม./ปีความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ87.8อุณหภูมิ21.7องศา ทั้งนี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯยังได้มอบหมายให้กรมชลประทานประสานกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯในการบูรณาการทํางานร่วมกันให้เกิดประสิทธิภาพเพื่อสร้างเครือข่ายประชาชนในพื้นที่ต้นน้ําของอ่างเก็บน้ําเขื่อนแม่กวงอุดมธาราโดยทํางานสนองพระราชดําริพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่10ด้วยการสนับสนุนให้มีพลังจิตอาสากระต้นให้คนไทยเกิดความสามัคคีเดินตามรอยพ่อทําหน้าที่เป็นกลไกในการชักชวนให้ประชาชนมาร่วมเป็นจิตอาสาดูแลลุ่มน้ําแม่กวงขยายผลไปในพื้นที่ลุ่มน้ําย่อยและลุ่มน้ําสาขาของลุ่มน้ําปิงสร้างเครือข่ายจัดการลุ่มน้ําให้แข็งแรงทุกภาคส่วนเพื่อรักษาความสมบูรณ์ของน้ําป้องกันและแก้ไขปัญหาความต้องการน้ําที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคตนอกจากนี้จะสนับสนุนให้สํานักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตรและสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงจังหวัดเชียงใหม่มาร่วมกับเครือข่ายลุ่มน้ําแม่กวงและกรมชลประทานเพื่อทําการศึกษาวิจัยผลกระทบการเกิดตะกอนและให้ศึกษาการจัดการน้ําทฤษฎีใหม่อ่างใหญ่เติมอ่างเล็กอ่างเล็กเติมสระน้ําของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9ที่จ.สระบุรีและกาฬสินธุ์ซึ่งถือเป็นเศรษฐกิจพอเพียงขั้นก้าวหน้าที่แสดงให้เห็นผลแล้วว่าด้วยการจัดการน้ําที่วางแผนเชื่อมโยงทั้งระบบสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ําได้มากถึง5เท่าส่วนวิธีการนั้นให้มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชโดยส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักเก็บน้ํามีแหล่งน้ําประจําไร่นาในพื้นที่ของตนเพื่อลดผลกระทบจากการขาดแคลนน้ําช่วงหน้าแล้งด้วย กลุ่มโฆษกและวิเคราะห์ข่าว กองเกษตรสารนิเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร 02-2810859 แฟกซ์ 02-2822871 [email protected] www.moac.go.th www.facebook.com/kasetthai
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/9677
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดกระทรวงยุติธรรม ร่วมหารือการกำหนดแผนงานการให้บริการระงับข้อพิพาท ของสถาบันอนุญาโตตุลาการ
วันอังคารที่ 10 ตุลาคม 2560 ปลัดกระทรวงยุติธรรม ร่วมหารือการกําหนดแผนงานการให้บริการระงับข้อพิพาท ของสถาบันอนุญาโตตุลาการ ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสถาบันอนุญาโตตุลาการ ครั้งที่ ๘/๒๕๖๐ เมื่อวันอังคารที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๐๐ น. ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสถาบันอนุญาโตตุลาการ ครั้งที่ ๘/๒๕๖๐ เพื่อรับทราบความคืบหน้าผลการดําเนินงานของสถาบันอนุญาโตตุลาการ ในการบริหารจัดการระบบสารสนเทศด้านการจัดการข้อมูลลูกค้า (CRM) รวมทั้งรับทราบผลการบริหารทรัพยากรบุคคล งบประมาณ และการบริหารจัดการคดีประนอมข้อพิพาทตามภารกิจหลักในไตรมาสที่ ๔/๒๕๖๐ นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาแผนการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๑) แผนพัฒนาระบบ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนทั่วไป ในด้านการระงับข้อพิพาททางเลือก เพื่อให้มีการใช้การอนุญาโตตุลาการและการประนอมข้อพิพาท ในการระงับข้อพิพาทเพิ่มมากขึ้น และ ๒) แผนพัฒนาการให้บริการ โดยมีเป้าหมาย เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับสถาบันอนุญาโตตุลาการ ทั้งนี้ ได้มีข้อเสนอแนะให้จัดทํารายละเอียดของโครงการภายใต้แผนงานต่าง ๆ ให้มีความชัดเจน โดยเน้นผลสัมฤทธิ์ของงานตามภารกิจหลัก และให้สอดคล้องกับเป้าประสงค์ในการสร้างการรับรู้ และสร้างความเชื่อมั่นในสถาบันอนุญาโตตุลาการ เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายใช้การอนุญาโตตุลาการ และการประนอมข้อพิพาทในการระงับข้อพิพาทมากยิ่งขึ้น อีกทั้งเพื่อให้การบริการระงับข้อพิพาททางเลือกแก่ประชาชนทุกฝ่ายได้รับความเป็นธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีคณะกรรมการสถาบันอนุญาโตตุลาการ และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมฯ ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม ๑ ชั้น ๙ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ กรุงเทพฯ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดกระทรวงยุติธรรม ร่วมหารือการกำหนดแผนงานการให้บริการระงับข้อพิพาท ของสถาบันอนุญาโตตุลาการ วันอังคารที่ 10 ตุลาคม 2560 ปลัดกระทรวงยุติธรรม ร่วมหารือการกําหนดแผนงานการให้บริการระงับข้อพิพาท ของสถาบันอนุญาโตตุลาการ ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสถาบันอนุญาโตตุลาการ ครั้งที่ ๘/๒๕๖๐ เมื่อวันอังคารที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๐๐ น. ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสถาบันอนุญาโตตุลาการ ครั้งที่ ๘/๒๕๖๐ เพื่อรับทราบความคืบหน้าผลการดําเนินงานของสถาบันอนุญาโตตุลาการ ในการบริหารจัดการระบบสารสนเทศด้านการจัดการข้อมูลลูกค้า (CRM) รวมทั้งรับทราบผลการบริหารทรัพยากรบุคคล งบประมาณ และการบริหารจัดการคดีประนอมข้อพิพาทตามภารกิจหลักในไตรมาสที่ ๔/๒๕๖๐ นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาแผนการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๑) แผนพัฒนาระบบ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนทั่วไป ในด้านการระงับข้อพิพาททางเลือก เพื่อให้มีการใช้การอนุญาโตตุลาการและการประนอมข้อพิพาท ในการระงับข้อพิพาทเพิ่มมากขึ้น และ ๒) แผนพัฒนาการให้บริการ โดยมีเป้าหมาย เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับสถาบันอนุญาโตตุลาการ ทั้งนี้ ได้มีข้อเสนอแนะให้จัดทํารายละเอียดของโครงการภายใต้แผนงานต่าง ๆ ให้มีความชัดเจน โดยเน้นผลสัมฤทธิ์ของงานตามภารกิจหลัก และให้สอดคล้องกับเป้าประสงค์ในการสร้างการรับรู้ และสร้างความเชื่อมั่นในสถาบันอนุญาโตตุลาการ เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายใช้การอนุญาโตตุลาการ และการประนอมข้อพิพาทในการระงับข้อพิพาทมากยิ่งขึ้น อีกทั้งเพื่อให้การบริการระงับข้อพิพาททางเลือกแก่ประชาชนทุกฝ่ายได้รับความเป็นธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีคณะกรรมการสถาบันอนุญาโตตุลาการ และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมฯ ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม ๑ ชั้น ๙ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ กรุงเทพฯ
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/7298
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. แถลงประเด็น “โทรป่วน” ศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 และการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม 2561 พม. แถลงประเด็น “โทรป่วน” ศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 และการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ พม. แถลงประเด็นปัญหา “โทรป่วน” ศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 และการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย ในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ วันนี้ (16 ส.ค. 61) เวลา 13.30 น. ที่บริเวณโถง ชั้น 1 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว กรุงเทพฯนางสุจิตรา พิทยานรเศรษฐ์ รองโฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นประธานการแถลงผลการดําเนินงานตามภารกิจสําคัญของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้แก่1)ประเด็นปัญหา "โทรป่วน" ศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 โดย นางสาวดรุณี มนัสวานิช ผู้อํานวยการศูนย์ช่วยเหลือสังคม และ2)ประเด็นการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย ในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดย นางสาวจิรฎา วิวัฒนนะ ผู้อํานวยการกองบริหารกองทุนผู้สูงอายุ ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 เป็นศูนย์กลางในการให้คําปรึกษาแนะนําทางโทรศัพท์ รวมถึงรับแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์ และเบาะแสสังคม ใน 10 ประเด็นปัญหาหลักของสังคม ได้แก่ 1) ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว 2) ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม 3) ปัญหาการค้ามนุษย์ 4) ปัญหาผู้ได้รับผลกระทบจากยาเสพติด 5) ปัญหาบุคคลเร่ร่อน ไร้ที่พึ่ง 6) ปัญหาบุคคลขอทาน 7) ปัญหาเด็กและเยาวชน 8) ปัญหาบุคคลสูญหาย 9) ปัญหาผู้สูงอายุ และ 10) ปัญหาคนพิการ ทั้งนี้ ผลการดําเนินการที่ผ่านมา พบว่า มีจํานวนผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยประเด็นปัญหาสังคมที่ได้รับแจ้งสูงสุด ประกอบด้วย 1) ปัญหาความรุนแรง 2) ปัญหาครอบครัวยากจน 3) คนไร้ที่พึ่ง 4) คนขอทาน และ 5) เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม สําหรับสถิติการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาสังคมของศูนย์ช่วยเหลือสังคม ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 60 – 31 ก.ค. 61 มีผู้ใช้บริการรวม 84,475 ราย เฉลี่ย 286 ราย/วัน โดยในจํานวนนี้พบว่ามีจํานวนสายโทรผิด/ก่อกวน โทรเข้ามา จํานวน 21,541 ครั้ง คิดเป็น ร้อยละ 24.8 เฉลี่ยสายโทรผิดก่อกวน วันละ 67 ครั้ง แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1) ผู้ใช้บริการที่โทรเข้ามาก่อกวน 14,393 ครั้ง ร้อยละ 16.5 ส่วนใหญ่ผู้ใช้บริการมีพฤติกรรมโทรแล้วเงียบ 3,800 ครั้ง การโทรก่อกวน เช่น ใช้คําหยาบคาย ร้องเพลง 2,727 ครั้ง และผู้ใช้บริการโทรมาสําเร็จความใคร่ 265 ครั้ง และ 2) ผู้ใช้บริการโทรผิด 7,148 ครั้ง ร้อยละ 8.2 นอกจากนั้น พบว่า มีหมายเลขโทรศัพท์ที่โทรเข้ามาถึง 230 ครั้ง ในรอบ 1 ปีงบประมาณ ซึ่งเป็นหมายเลขเดียวกัน ซึ่งผลกระทบจากสายก่อกวน/โทรผิด ส่งผลให้เสียโอกาสในการให้ความช่วยเหลือผู้ใช้บริการท่านอื่น โดยแนวทางการดําเนินการของศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 กรณีผู้มีพฤติกรรมโทรศัพท์ก่อกวน มีดังนี้ 1) เจ้าหน้าที่รับเรื่องทางโทรศัพท์ เฝ้าสังเกตพฤติกรรมการโทร และแจ้งหัวหน้างานสายด่วนให้ทราบ 2) หากโทรผิด/ก่อกวนเกิน 10 ครั้ง หัวหน้างานสายด่วนจะแจ้งผู้ดูแลระบบสายด่วนดําเนินการบล็อกหมายเลขโทรศัพท์ก่อกวนดังกล่าว และ 3) สรุปหมายเลขโทรก่อกวน และทําหนังสือถึงผู้บังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ เพื่อดําเนินการตรวจสอบและป้องปรามพฤติกรรมโทรศัพท์ก่อกวน ทั้งนี้ ศูนย์ช่วยเหลือสังคม ขอความร่วมมือประชาชนไม่โทรเข้ามาก่อกวนสายด่วน 1300 เพราะทางศูนย์ฯ ต้องการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาสังคม ซึ่งบางกรณีมีความต้องการความช่วยเหลือแบบเร่งด่วน และมีผลต่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยในชีวิต โดยหากพบ จะมีการดําเนินการทางกฎหมายต่อไป สําหรับการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย ในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ นั้น เมื่อวันที่ 15 ส.ค. 61 ได้มีการจัดงาน Kick Off และทําพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกัน 44 พื้นที่นําร่อง ณ ห้องศรีสุริยวงศ์บอลรูม ชั้น 11 โรงแรม ตวันนา สุรวงศ์ กรุงเทพฯ ซึ่งกระทรวงการคลังได้ริเริ่มแนวคิดในการดําเนินมาตรการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และผสานความร่วมมือกับกระทรวง พม. รวมทั้งหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยกําหนดแหล่งเงินเข้ากองทุนผู้สูงอายุเพิ่มเติม 2 แหล่ง คือ การให้กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร เรียกเก็บภาษีสรรพสามิตในส่วนที่เกี่ยวกับสินค้าสุราและยาสูบในอัตราร้อยละ 2 แต่ไม่เกิน 4,000 ล้านบาทต่อปี และการรณรงค์ให้ผู้สูงอายุที่มีฐานะดีและไม่เดือดร้อนทางการเงิน บริจาคเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเข้ากองทุนผู้สูงอายุ เพื่อให้เป็นเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย ในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยให้คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติมีอํานาจในการจัดสรรเงินดังกล่าว ซึ่งคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติได้มอบหมาย ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนเป็นผู้พิจารณาอนุมัติอัตราการจ่ายเงินดังกล่าว โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้จ่ายเงิน ให้ผู้สูงอายุผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุมีมติให้จ่ายเงินในอัตรา ดังนี้ 1) ผู้สูงอายุที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี ได้รับเงินเพิ่มเดือนละ 100 บาท จากเดิมได้รับ 300 บาท รวมเป็น 400 บาท และ 2) ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้เกินกว่า 30,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี ได้รับเงินเพิ่มเดือนละ 50 บาท จากเดิมได้รับ 200 บาท รวมเป็น 250 บาท โดยจะจ่ายทุกวันที่ 15 ของเดือน เริ่มจ่ายครั้งแรกในวันที่ 15 สิงหาคม 2561 สําหรับเดือนนี้จะเป็นการจ่ายเงินสมทบของเดือนกรกฎาคม 2561 ด้วย ซึ่งเป็นไปตามมติคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุที่ได้อนุมัติการจ่ายเงิน เข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2561 ถึงเดือนมีนาคม 2562 ส่วนในระยะต่อไป คณะกรรมการฯ จะพิจารณาอัตราการจ่ายตามสถานะการเงินของกองทุนฯ อีกครั้ง โดยผู้สูงอายุที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถนําบัตรไปกดเงินสดได้ ที่ตู้กดเงินอัตโนมัติ (ATM) ของธนาคารกรุงไทยทุกสาขา (เท่านั้น) จํานวนเงินที่สามารถกดได้ขั้นต่ําไม่น้อยกว่า 100 บาท โดยไม่มีค่าธรรมเนียม (ใช้เลขท้ายบัตรประชาชน 6 หลัก ในการกด และทําการเปลี่ยนรหัสตามขั้นตอนหน้าตู้กดเงินสดอัตโนมัติ) หรือจะนําไปรูดซื้อสินค้าที่ร้านธงฟ้า ผ่านแอปพลิเคชัน "ถุงเงิน” ได้ด้วย สําหรับเงินในส่วนนี้ ผู้สูงอายุที่ใช้เงินไม่หมดในเดือนนั้น สามารถสะสมเงินในบัตร เพื่อเก็บไว้ใช้ในเดือนต่อไปได้ นอกจากนี้ รัฐบาลยังส่งเสริมให้มีการดูแลผู้สูงอายุผ่านการดําเนินงานธนาคารเวลา เพื่อให้การดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง และผู้ให้จะได้รับการตอบแทนตามเวลาที่สะสมไว้ โดยการดําเนินงานธนาคารเวลาสําหรับผู้สูงอายุของประเทศไทย ได้รับความร่วมมือจากสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2561 ได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยแนวทางปฏิบัติร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรื่องการดําเนินงานธนาคารเวลาสําหรับการดูแลผู้สูงอายุไทย โดยมีหน่วยงานที่เข้าร่วมดําเนินการ ได้แก่ กรมกิจการผู้สูงอายุ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) /และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จํานวน 44 พื้นที่นําร่อง
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. แถลงประเด็น “โทรป่วน” ศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 และการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม 2561 พม. แถลงประเด็น “โทรป่วน” ศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 และการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ พม. แถลงประเด็นปัญหา “โทรป่วน” ศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 และการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย ในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ วันนี้ (16 ส.ค. 61) เวลา 13.30 น. ที่บริเวณโถง ชั้น 1 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว กรุงเทพฯนางสุจิตรา พิทยานรเศรษฐ์ รองโฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นประธานการแถลงผลการดําเนินงานตามภารกิจสําคัญของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้แก่1)ประเด็นปัญหา "โทรป่วน" ศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 โดย นางสาวดรุณี มนัสวานิช ผู้อํานวยการศูนย์ช่วยเหลือสังคม และ2)ประเด็นการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย ในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดย นางสาวจิรฎา วิวัฒนนะ ผู้อํานวยการกองบริหารกองทุนผู้สูงอายุ ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 เป็นศูนย์กลางในการให้คําปรึกษาแนะนําทางโทรศัพท์ รวมถึงรับแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์ และเบาะแสสังคม ใน 10 ประเด็นปัญหาหลักของสังคม ได้แก่ 1) ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว 2) ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม 3) ปัญหาการค้ามนุษย์ 4) ปัญหาผู้ได้รับผลกระทบจากยาเสพติด 5) ปัญหาบุคคลเร่ร่อน ไร้ที่พึ่ง 6) ปัญหาบุคคลขอทาน 7) ปัญหาเด็กและเยาวชน 8) ปัญหาบุคคลสูญหาย 9) ปัญหาผู้สูงอายุ และ 10) ปัญหาคนพิการ ทั้งนี้ ผลการดําเนินการที่ผ่านมา พบว่า มีจํานวนผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยประเด็นปัญหาสังคมที่ได้รับแจ้งสูงสุด ประกอบด้วย 1) ปัญหาความรุนแรง 2) ปัญหาครอบครัวยากจน 3) คนไร้ที่พึ่ง 4) คนขอทาน และ 5) เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม สําหรับสถิติการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาสังคมของศูนย์ช่วยเหลือสังคม ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 60 – 31 ก.ค. 61 มีผู้ใช้บริการรวม 84,475 ราย เฉลี่ย 286 ราย/วัน โดยในจํานวนนี้พบว่ามีจํานวนสายโทรผิด/ก่อกวน โทรเข้ามา จํานวน 21,541 ครั้ง คิดเป็น ร้อยละ 24.8 เฉลี่ยสายโทรผิดก่อกวน วันละ 67 ครั้ง แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1) ผู้ใช้บริการที่โทรเข้ามาก่อกวน 14,393 ครั้ง ร้อยละ 16.5 ส่วนใหญ่ผู้ใช้บริการมีพฤติกรรมโทรแล้วเงียบ 3,800 ครั้ง การโทรก่อกวน เช่น ใช้คําหยาบคาย ร้องเพลง 2,727 ครั้ง และผู้ใช้บริการโทรมาสําเร็จความใคร่ 265 ครั้ง และ 2) ผู้ใช้บริการโทรผิด 7,148 ครั้ง ร้อยละ 8.2 นอกจากนั้น พบว่า มีหมายเลขโทรศัพท์ที่โทรเข้ามาถึง 230 ครั้ง ในรอบ 1 ปีงบประมาณ ซึ่งเป็นหมายเลขเดียวกัน ซึ่งผลกระทบจากสายก่อกวน/โทรผิด ส่งผลให้เสียโอกาสในการให้ความช่วยเหลือผู้ใช้บริการท่านอื่น โดยแนวทางการดําเนินการของศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 กรณีผู้มีพฤติกรรมโทรศัพท์ก่อกวน มีดังนี้ 1) เจ้าหน้าที่รับเรื่องทางโทรศัพท์ เฝ้าสังเกตพฤติกรรมการโทร และแจ้งหัวหน้างานสายด่วนให้ทราบ 2) หากโทรผิด/ก่อกวนเกิน 10 ครั้ง หัวหน้างานสายด่วนจะแจ้งผู้ดูแลระบบสายด่วนดําเนินการบล็อกหมายเลขโทรศัพท์ก่อกวนดังกล่าว และ 3) สรุปหมายเลขโทรก่อกวน และทําหนังสือถึงผู้บังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ เพื่อดําเนินการตรวจสอบและป้องปรามพฤติกรรมโทรศัพท์ก่อกวน ทั้งนี้ ศูนย์ช่วยเหลือสังคม ขอความร่วมมือประชาชนไม่โทรเข้ามาก่อกวนสายด่วน 1300 เพราะทางศูนย์ฯ ต้องการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาสังคม ซึ่งบางกรณีมีความต้องการความช่วยเหลือแบบเร่งด่วน และมีผลต่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยในชีวิต โดยหากพบ จะมีการดําเนินการทางกฎหมายต่อไป สําหรับการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย ในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ นั้น เมื่อวันที่ 15 ส.ค. 61 ได้มีการจัดงาน Kick Off และทําพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกัน 44 พื้นที่นําร่อง ณ ห้องศรีสุริยวงศ์บอลรูม ชั้น 11 โรงแรม ตวันนา สุรวงศ์ กรุงเทพฯ ซึ่งกระทรวงการคลังได้ริเริ่มแนวคิดในการดําเนินมาตรการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และผสานความร่วมมือกับกระทรวง พม. รวมทั้งหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยกําหนดแหล่งเงินเข้ากองทุนผู้สูงอายุเพิ่มเติม 2 แหล่ง คือ การให้กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร เรียกเก็บภาษีสรรพสามิตในส่วนที่เกี่ยวกับสินค้าสุราและยาสูบในอัตราร้อยละ 2 แต่ไม่เกิน 4,000 ล้านบาทต่อปี และการรณรงค์ให้ผู้สูงอายุที่มีฐานะดีและไม่เดือดร้อนทางการเงิน บริจาคเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเข้ากองทุนผู้สูงอายุ เพื่อให้เป็นเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย ในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยให้คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติมีอํานาจในการจัดสรรเงินดังกล่าว ซึ่งคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติได้มอบหมาย ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนเป็นผู้พิจารณาอนุมัติอัตราการจ่ายเงินดังกล่าว โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้จ่ายเงิน ให้ผู้สูงอายุผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุมีมติให้จ่ายเงินในอัตรา ดังนี้ 1) ผู้สูงอายุที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี ได้รับเงินเพิ่มเดือนละ 100 บาท จากเดิมได้รับ 300 บาท รวมเป็น 400 บาท และ 2) ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้เกินกว่า 30,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี ได้รับเงินเพิ่มเดือนละ 50 บาท จากเดิมได้รับ 200 บาท รวมเป็น 250 บาท โดยจะจ่ายทุกวันที่ 15 ของเดือน เริ่มจ่ายครั้งแรกในวันที่ 15 สิงหาคม 2561 สําหรับเดือนนี้จะเป็นการจ่ายเงินสมทบของเดือนกรกฎาคม 2561 ด้วย ซึ่งเป็นไปตามมติคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุที่ได้อนุมัติการจ่ายเงิน เข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2561 ถึงเดือนมีนาคม 2562 ส่วนในระยะต่อไป คณะกรรมการฯ จะพิจารณาอัตราการจ่ายตามสถานะการเงินของกองทุนฯ อีกครั้ง โดยผู้สูงอายุที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถนําบัตรไปกดเงินสดได้ ที่ตู้กดเงินอัตโนมัติ (ATM) ของธนาคารกรุงไทยทุกสาขา (เท่านั้น) จํานวนเงินที่สามารถกดได้ขั้นต่ําไม่น้อยกว่า 100 บาท โดยไม่มีค่าธรรมเนียม (ใช้เลขท้ายบัตรประชาชน 6 หลัก ในการกด และทําการเปลี่ยนรหัสตามขั้นตอนหน้าตู้กดเงินสดอัตโนมัติ) หรือจะนําไปรูดซื้อสินค้าที่ร้านธงฟ้า ผ่านแอปพลิเคชัน "ถุงเงิน” ได้ด้วย สําหรับเงินในส่วนนี้ ผู้สูงอายุที่ใช้เงินไม่หมดในเดือนนั้น สามารถสะสมเงินในบัตร เพื่อเก็บไว้ใช้ในเดือนต่อไปได้ นอกจากนี้ รัฐบาลยังส่งเสริมให้มีการดูแลผู้สูงอายุผ่านการดําเนินงานธนาคารเวลา เพื่อให้การดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง และผู้ให้จะได้รับการตอบแทนตามเวลาที่สะสมไว้ โดยการดําเนินงานธนาคารเวลาสําหรับผู้สูงอายุของประเทศไทย ได้รับความร่วมมือจากสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2561 ได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยแนวทางปฏิบัติร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรื่องการดําเนินงานธนาคารเวลาสําหรับการดูแลผู้สูงอายุไทย โดยมีหน่วยงานที่เข้าร่วมดําเนินการ ได้แก่ กรมกิจการผู้สูงอายุ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) /และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จํานวน 44 พื้นที่นําร่อง
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/14651
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ออมสินคว้าแชมป์ 2 ปีซ้อน Best Retail Bank of the Year 2017
วันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน 2560 ออมสินคว้าแชมป์ 2 ปีซ้อน Best Retail Bank of the Year 2017 ธนาคารออมสิน ครองแชมป์ธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อยแห่งปี 2560 : Best Retail Bank of the Year 2017 นั่งแท่นเป็นธนาคารที่ผู้เข้าชมงานมหกรรมการเงิน ครั้งที่ 17 Money Expo 2017 ชื่นชอบและตัดสินใจเลือกใช้บริการมากที่สุด ธนาคารออมสิน ครองแชมป์ธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อยแห่งปี 2560 : Best Retail Bank of the Year 2017 นั่งแท่นเป็นธนาคารที่ผู้เข้าชมงานมหกรรมการเงิน ครั้งที่ 17 Money Expo 2017 ชื่นชอบและตัดสินใจเลือกใช้บริการมากที่สุด จากผลโหวตของสวนดุสิตโพลร่วมกับวารสารการเงินธนาคาร โดยเป็นการครองแชมป์ติดต่อกันเป็นปีที่ 2 รายงานข่าวจากธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า วารสารการเงินธนาคารฉบับเดือนมิถุนายน 2560 ได้เผยผลการสํารวจความคิดเห็นผู้เข้าชมงานมหกรรมการเงินครั้งที่ 17 Money Expo 2017 ที่ วารสารการเงินธนาคาร จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-14 พฤษภาคม 2560 โดยธนาคารออมสิน ได้ครองตําแหน่งธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อยแห่งปี 2560 : Best Retail Bank of The Year 2017 โดยวารสารการเงินธนาคาร ได้รับความร่วมมือจาก สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ทําการสํารวจความคิดเห็นผู้เข้าชมงาน Money Expo 2017 ซึ่งผลปรากฏว่า ธนาคารออมสิน เป็นธนาคารที่ผู้เข้าชมงาน Money Expo 2017 ชื่นชอบและตัดสินใจเลือกใช้บริการมากที่สุด ทั้งนี้ ผู้เข้าชมงานได้ให้เหตุผลว่า ธนาคารออมสินมีบริการที่หลากหลาย มีแคมเปญโปรโมชั่นที่ตรงกับความต้องการอัตราดอกเบี้ยจูงใจ มีการให้เงื่อนไขที่ดี ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก พนักงานในบูธอัธยาศัยดีให้บริการเป็นกันเอง ดูแลเอาใจใส่ให้ข้อมูลดี รวมถึงเป็นสถาบันการเงินที่มีความน่าเชื่อถือ จึงมีความมั่นใจและรู้สึกปลอดภัยที่ใช้บริการ ซึ่งนอกเหนือจากตําแหน่งเกียรติยศนี้แล้ว ธนาคารออมสินยังประสบความสําเร็จกับเป้าหมายยอดธุรกรรมและจํานวนลูกค้าที่มาใช้บริการอีกด้วย สําหรับงาน Money Expo 2017 ธนาคารออมสินมุ่งมั่นสู่ศตวรรษใหม่อย่างมั่นคงและยั่งยืนพร้อมก้าวสู่การเป็น Digi-Thai Banking ผู้นํานวัตกรรมทางการเงินและสังคมยุคใหม่ภายใต้แนวคิด GSB New Century “Integrated Solutions for Digital Life...Digital Banking and Economy 4.0, Simply make it happens ใช้ชีวิตง่ายขึ้นกับออมสินยุคใหม่เชื่อมโลกดิจิทัลทางการเงินสู่ยุค 4.0” แบ่งพื้นที่การจัดแสดงภายในบูธออกเป็น 2 โซน ได้แก่ Financial Innovations นวัตกรรมทางการเงินที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ชีวิตของคนไทย และ Social Innovations ซึ่งส่งผ่านแนวคิดที่ตอบโจทย์การเป็นมากกว่าการธนาคารเพื่อสังคมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทยทุกคน ส่วนผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน ธนาคารออมสินนํามาเสนออย่างครบถ้วน พร้อมแคมเปญโปรโมชั่นที่จัดขึ้นเป็นพิเศษเพื่อผู้เข้าชมงาน Money Expo 2017 โดยเฉพาะ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นพระเอกของงานมีประชาชนเข้ามาจองคิวเพื่อใช้สิทธิ์ฝากเงินกันอย่างเนืองแน่น ตั้งแต่เช้าก่อนเวลาเปิดงาน ก็คือ เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ 4 เดือน อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได (Step up) สูงสุด 4% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยเดือนแรก = 1% ต่อปี เดือนที่ 2 = 2% ต่อปี เดือนที่ 3 =3% ต่อปี และเดือนที่ 4 =4% ต่อปี หรือคิดเฉลี่ยเป็น 2.5% ต่อปี (เทียบเท่าเงินฝากประจํา 2.94% ต่อปี) ดอกเบี้ยยกเว้นภาษี เปิดบัญชีขั้นต่ํา 10,000 บาท รับฝากสูงสุดรายละไม่เกิน 500,000 บาท โดยมีเงื่อนไขการรับฝากด้วยการเปิดใช้บริการบัตรอิเล็กทรอนิกส์ และบริการ MyMo ส่วนสินเชื่อเคหะ ธนาคารออมสินจัดโปรโมชั่นพิเศษเมื่อลูกค้าเลือกทําประกันชีวิตเพื่อประกันสินเชื่อ พร้อมทั้งสมัครใช้ผลิตภัณฑ์ธนาคารอย่างน้อย 3 ประเภท เช่น MyMo สินเชื่อบัตรเงินสด บัตรเครดิต บัตรอิเล็กทรอนิกส์ และเลือกชําระสินเชื่อหักผ่านบัญชี โดยได้รับอัตราดอกเบี้ย 0% นาน 6 เดือน เดือนที่ 7-12 = 0.99% ต่อปี ปีที่ 2 = MRR-1.99% ปีที่ 3 เป็นต้นไป = MRR-1% นอกจากนี้ ยังมีหมัดเด็ดที่ธนาคารออมสินนํามาแข่งขันกับธนาคารอื่นๆ โดยมีโปรโมชั่นสินเชื่อบ้านที่มีการปรับข้อเสนอพิเศษ จากอัตราดอกเบี้ย 0% นาน 6 เดือน เพิ่มเป็น 0% นาน 1 ปี ซึ่งโปรโมชั่นนี้รวมถึงลูกค้าที่ไถ่ถอนสินเชื่อเคหะมาจากสถาบันการเงินอื่น วงเงินกู้ตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป พร้อมกับได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมบริการสินเชื่อและค่าประเมินหลักทรัพย์อีกด้วย สําหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก ก็มีสินเชื่อ GSB SMEsดีเวอร์ 3.99 วงเงินกู้สูงสุด 100 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยปีแรก 3.99% ต่อปี, สินเชื่อ GSB SMEs บัญชีเดี่ยว เปอร์เซ็นต์เดียว อัตราดอกเบี้ย 1% วงเงินกู้สูงสุด 100 ล้านบาท, สินเชื่อ GSB SMEs Startup อัตราดอกเบี้ย 3.99% วงเงินกู้สูงสุด 10 ล้านบาท ผ่อนนาน 10 ปี, สินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน ใช้ได้กับทุกโอกาสตามความต้องการด้วยวงเงินสูงสุด 200,000 บาท อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 75 สตางค์ต่อเดือน รวมทั้ง บริการบัตรเครดิตธนาคารออมสิน “ชีวิตดิจิตอลแบบไทยๆ”, บริการบัตรเดบิต,Digital Salak สลากออมสินรูปแบบดิจิทัล ซึ่งผู้สมัครใช้บริการและร่วมกิจกรรมต่างๆ ของธนาคารออมสินภายในงานจะได้รับของแจก ของแถมต่างๆ มากมาย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ออมสินคว้าแชมป์ 2 ปีซ้อน Best Retail Bank of the Year 2017 วันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน 2560 ออมสินคว้าแชมป์ 2 ปีซ้อน Best Retail Bank of the Year 2017 ธนาคารออมสิน ครองแชมป์ธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อยแห่งปี 2560 : Best Retail Bank of the Year 2017 นั่งแท่นเป็นธนาคารที่ผู้เข้าชมงานมหกรรมการเงิน ครั้งที่ 17 Money Expo 2017 ชื่นชอบและตัดสินใจเลือกใช้บริการมากที่สุด ธนาคารออมสิน ครองแชมป์ธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อยแห่งปี 2560 : Best Retail Bank of the Year 2017 นั่งแท่นเป็นธนาคารที่ผู้เข้าชมงานมหกรรมการเงิน ครั้งที่ 17 Money Expo 2017 ชื่นชอบและตัดสินใจเลือกใช้บริการมากที่สุด จากผลโหวตของสวนดุสิตโพลร่วมกับวารสารการเงินธนาคาร โดยเป็นการครองแชมป์ติดต่อกันเป็นปีที่ 2 รายงานข่าวจากธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า วารสารการเงินธนาคารฉบับเดือนมิถุนายน 2560 ได้เผยผลการสํารวจความคิดเห็นผู้เข้าชมงานมหกรรมการเงินครั้งที่ 17 Money Expo 2017 ที่ วารสารการเงินธนาคาร จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-14 พฤษภาคม 2560 โดยธนาคารออมสิน ได้ครองตําแหน่งธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อยแห่งปี 2560 : Best Retail Bank of The Year 2017 โดยวารสารการเงินธนาคาร ได้รับความร่วมมือจาก สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ทําการสํารวจความคิดเห็นผู้เข้าชมงาน Money Expo 2017 ซึ่งผลปรากฏว่า ธนาคารออมสิน เป็นธนาคารที่ผู้เข้าชมงาน Money Expo 2017 ชื่นชอบและตัดสินใจเลือกใช้บริการมากที่สุด ทั้งนี้ ผู้เข้าชมงานได้ให้เหตุผลว่า ธนาคารออมสินมีบริการที่หลากหลาย มีแคมเปญโปรโมชั่นที่ตรงกับความต้องการอัตราดอกเบี้ยจูงใจ มีการให้เงื่อนไขที่ดี ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก พนักงานในบูธอัธยาศัยดีให้บริการเป็นกันเอง ดูแลเอาใจใส่ให้ข้อมูลดี รวมถึงเป็นสถาบันการเงินที่มีความน่าเชื่อถือ จึงมีความมั่นใจและรู้สึกปลอดภัยที่ใช้บริการ ซึ่งนอกเหนือจากตําแหน่งเกียรติยศนี้แล้ว ธนาคารออมสินยังประสบความสําเร็จกับเป้าหมายยอดธุรกรรมและจํานวนลูกค้าที่มาใช้บริการอีกด้วย สําหรับงาน Money Expo 2017 ธนาคารออมสินมุ่งมั่นสู่ศตวรรษใหม่อย่างมั่นคงและยั่งยืนพร้อมก้าวสู่การเป็น Digi-Thai Banking ผู้นํานวัตกรรมทางการเงินและสังคมยุคใหม่ภายใต้แนวคิด GSB New Century “Integrated Solutions for Digital Life...Digital Banking and Economy 4.0, Simply make it happens ใช้ชีวิตง่ายขึ้นกับออมสินยุคใหม่เชื่อมโลกดิจิทัลทางการเงินสู่ยุค 4.0” แบ่งพื้นที่การจัดแสดงภายในบูธออกเป็น 2 โซน ได้แก่ Financial Innovations นวัตกรรมทางการเงินที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ชีวิตของคนไทย และ Social Innovations ซึ่งส่งผ่านแนวคิดที่ตอบโจทย์การเป็นมากกว่าการธนาคารเพื่อสังคมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทยทุกคน ส่วนผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน ธนาคารออมสินนํามาเสนออย่างครบถ้วน พร้อมแคมเปญโปรโมชั่นที่จัดขึ้นเป็นพิเศษเพื่อผู้เข้าชมงาน Money Expo 2017 โดยเฉพาะ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นพระเอกของงานมีประชาชนเข้ามาจองคิวเพื่อใช้สิทธิ์ฝากเงินกันอย่างเนืองแน่น ตั้งแต่เช้าก่อนเวลาเปิดงาน ก็คือ เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ 4 เดือน อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได (Step up) สูงสุด 4% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยเดือนแรก = 1% ต่อปี เดือนที่ 2 = 2% ต่อปี เดือนที่ 3 =3% ต่อปี และเดือนที่ 4 =4% ต่อปี หรือคิดเฉลี่ยเป็น 2.5% ต่อปี (เทียบเท่าเงินฝากประจํา 2.94% ต่อปี) ดอกเบี้ยยกเว้นภาษี เปิดบัญชีขั้นต่ํา 10,000 บาท รับฝากสูงสุดรายละไม่เกิน 500,000 บาท โดยมีเงื่อนไขการรับฝากด้วยการเปิดใช้บริการบัตรอิเล็กทรอนิกส์ และบริการ MyMo ส่วนสินเชื่อเคหะ ธนาคารออมสินจัดโปรโมชั่นพิเศษเมื่อลูกค้าเลือกทําประกันชีวิตเพื่อประกันสินเชื่อ พร้อมทั้งสมัครใช้ผลิตภัณฑ์ธนาคารอย่างน้อย 3 ประเภท เช่น MyMo สินเชื่อบัตรเงินสด บัตรเครดิต บัตรอิเล็กทรอนิกส์ และเลือกชําระสินเชื่อหักผ่านบัญชี โดยได้รับอัตราดอกเบี้ย 0% นาน 6 เดือน เดือนที่ 7-12 = 0.99% ต่อปี ปีที่ 2 = MRR-1.99% ปีที่ 3 เป็นต้นไป = MRR-1% นอกจากนี้ ยังมีหมัดเด็ดที่ธนาคารออมสินนํามาแข่งขันกับธนาคารอื่นๆ โดยมีโปรโมชั่นสินเชื่อบ้านที่มีการปรับข้อเสนอพิเศษ จากอัตราดอกเบี้ย 0% นาน 6 เดือน เพิ่มเป็น 0% นาน 1 ปี ซึ่งโปรโมชั่นนี้รวมถึงลูกค้าที่ไถ่ถอนสินเชื่อเคหะมาจากสถาบันการเงินอื่น วงเงินกู้ตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป พร้อมกับได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมบริการสินเชื่อและค่าประเมินหลักทรัพย์อีกด้วย สําหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก ก็มีสินเชื่อ GSB SMEsดีเวอร์ 3.99 วงเงินกู้สูงสุด 100 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยปีแรก 3.99% ต่อปี, สินเชื่อ GSB SMEs บัญชีเดี่ยว เปอร์เซ็นต์เดียว อัตราดอกเบี้ย 1% วงเงินกู้สูงสุด 100 ล้านบาท, สินเชื่อ GSB SMEs Startup อัตราดอกเบี้ย 3.99% วงเงินกู้สูงสุด 10 ล้านบาท ผ่อนนาน 10 ปี, สินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน ใช้ได้กับทุกโอกาสตามความต้องการด้วยวงเงินสูงสุด 200,000 บาท อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 75 สตางค์ต่อเดือน รวมทั้ง บริการบัตรเครดิตธนาคารออมสิน “ชีวิตดิจิตอลแบบไทยๆ”, บริการบัตรเดบิต,Digital Salak สลากออมสินรูปแบบดิจิทัล ซึ่งผู้สมัครใช้บริการและร่วมกิจกรรมต่างๆ ของธนาคารออมสินภายในงานจะได้รับของแจก ของแถมต่างๆ มากมาย
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/4418
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมการขนส่งทางบก ย้ำ!! รถโดยสารสาธารณะทุกประเภท เว้นระยะนั่ง หรือยืนห่างกัน อย่างน้อย 1 เมตร ตามนโยบาย Social Distancing ป้องกัน COVID-19 [กระทรวงคมนาคม]
วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม 2563 กรมการขนส่งทางบก ย้ํา!! รถโดยสารสาธารณะทุกประเภท เว้นระยะนั่ง หรือยืนห่างกัน อย่างน้อย 1 เมตร ตามนโยบาย Social Distancing ป้องกัน COVID-19 [กระทรวงคมนาคม] กรมการขนส่งทางบก ย้ํา!! รถโดยสารสาธารณะทุกประเภท เว้นระยะนั่ง หรือยืนห่างกัน อย่างน้อย 1 เมตร ตามนโยบาย Social Distancing ป้องกัน COVID-19 นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ) ได้สั่งการให้งานหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม เข้มงวดกรณีที่ผู้โดยสารมาใช้บริการระบบขนส่งมวลชนให้ปฏิบัติตามนโยบาย เว้นระยะนั่ง หรือยืนห่างกัน อย่างน้อย 1 เมตร ตามนโยบาย Social Distancing อย่างเคร่งครัด กรมการขนส่งทางบก กําชับให้สํานักงานขนส่งทุกแห่ง ดําเนินการตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด อย่างเคร่งครัด โดยวันนี้ (10 พฤษภาคม 2563) สํานักงานขนส่งจังหวัดทั่วประเทศ ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด บูรณาการร่วมกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น จันทบุรี สุรินทร์ มุกดาหาร ปทุมธานี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา ชัยภูมิ ศรีสะเกษ เพชรบุรี นราธิวาส บุรีรัมย์ นครสวรรค์ เชียงราย นครปฐม ลําปาง ระยอง ขอนแก่น เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ อุบลราชธานี กระบี่ อํานาจเจริญ มหาสารคาม กาญจนบุรี แพร่ ลพบุรี ประจวบคีรีขันธ์ อุดรธานี ชลบุรี เลย ระนอง ตาก สงขลา ลําพูน ดําเนินการตรวจสอบรถโดยสารสาธารณะทุกประเภททั้งที่สถานีขนส่งผู้โดยสารและจุดตรวจคัดกรองของจังหวัด ต้องเว้นระยะนั่ง หรือยืนห่างกัน อย่างน้อย 1 เมตร ทั้งภายในรถโดยสาร และที่นั่งคอยภายในสถานีขนส่งผู้โดยสาร นอกจากนี้ ยังมีมาตรการคัดกรองผู้โดยสารทุกคนก่อนการเดินทาง หากตรวจพบผู้โดยสารที่มีอุณหภูมิสูง เกินกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ห้ามเดินทางโดยเด็ดขาด รวมทั้งให้ผู้โดยสารทุกคนกรอกข้อมูลคําถามสุขภาพ ตามแบบ ต.8-คค ที่ระบุจุดเดินทางที่ออกและจุดหมายปลายทาง ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เป็นประโยชน์ต่อการควบคุมโรคติดต่อ และต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าก่อนขึ้นรถโดยสารและตลอดการเดินทาง ในส่วนของการให้บริการประชาชน ที่สํานักงานขนส่งทั่วประเทศ ซึ่งได้มีการประกาศงดการดําเนินการด้านใบอนุญาตขับรถแล้วจนกว่าจะมีการประกาศยกเลิกสถานการณ์ แต่ยังคงให้บริการด้านทะเบียนและภาษีตามปกติ จึงได้กําชับให้มีมาตรการป้องกันทั้งประชาชนและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ทําความสะอาดฆ่าเชื้อภายในสํานักงานและพื้นที่ให้บริการประชาชน พร้อมประชาสัมพันธ์ให้ใช้บริการชําระภาษีรถประจําปีผ่านช่องทางออนไลน์ ที่ https://eservice.dlt.go.th ส่วนรถที่ไม่สามารถใช้บริการชําระภาษีประจําปีผ่านช่องทางออนไลน์ แนะนําใช้บริการเลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax) ชําระภาษีได้โดยไม่ต้องลงจากรถ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่สํานักงานขนส่งจังหวัดทุกจังหวัด ----------------------------------
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมการขนส่งทางบก ย้ำ!! รถโดยสารสาธารณะทุกประเภท เว้นระยะนั่ง หรือยืนห่างกัน อย่างน้อย 1 เมตร ตามนโยบาย Social Distancing ป้องกัน COVID-19 [กระทรวงคมนาคม] วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม 2563 กรมการขนส่งทางบก ย้ํา!! รถโดยสารสาธารณะทุกประเภท เว้นระยะนั่ง หรือยืนห่างกัน อย่างน้อย 1 เมตร ตามนโยบาย Social Distancing ป้องกัน COVID-19 [กระทรวงคมนาคม] กรมการขนส่งทางบก ย้ํา!! รถโดยสารสาธารณะทุกประเภท เว้นระยะนั่ง หรือยืนห่างกัน อย่างน้อย 1 เมตร ตามนโยบาย Social Distancing ป้องกัน COVID-19 นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ) ได้สั่งการให้งานหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม เข้มงวดกรณีที่ผู้โดยสารมาใช้บริการระบบขนส่งมวลชนให้ปฏิบัติตามนโยบาย เว้นระยะนั่ง หรือยืนห่างกัน อย่างน้อย 1 เมตร ตามนโยบาย Social Distancing อย่างเคร่งครัด กรมการขนส่งทางบก กําชับให้สํานักงานขนส่งทุกแห่ง ดําเนินการตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด อย่างเคร่งครัด โดยวันนี้ (10 พฤษภาคม 2563) สํานักงานขนส่งจังหวัดทั่วประเทศ ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด บูรณาการร่วมกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น จันทบุรี สุรินทร์ มุกดาหาร ปทุมธานี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา ชัยภูมิ ศรีสะเกษ เพชรบุรี นราธิวาส บุรีรัมย์ นครสวรรค์ เชียงราย นครปฐม ลําปาง ระยอง ขอนแก่น เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ อุบลราชธานี กระบี่ อํานาจเจริญ มหาสารคาม กาญจนบุรี แพร่ ลพบุรี ประจวบคีรีขันธ์ อุดรธานี ชลบุรี เลย ระนอง ตาก สงขลา ลําพูน ดําเนินการตรวจสอบรถโดยสารสาธารณะทุกประเภททั้งที่สถานีขนส่งผู้โดยสารและจุดตรวจคัดกรองของจังหวัด ต้องเว้นระยะนั่ง หรือยืนห่างกัน อย่างน้อย 1 เมตร ทั้งภายในรถโดยสาร และที่นั่งคอยภายในสถานีขนส่งผู้โดยสาร นอกจากนี้ ยังมีมาตรการคัดกรองผู้โดยสารทุกคนก่อนการเดินทาง หากตรวจพบผู้โดยสารที่มีอุณหภูมิสูง เกินกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ห้ามเดินทางโดยเด็ดขาด รวมทั้งให้ผู้โดยสารทุกคนกรอกข้อมูลคําถามสุขภาพ ตามแบบ ต.8-คค ที่ระบุจุดเดินทางที่ออกและจุดหมายปลายทาง ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เป็นประโยชน์ต่อการควบคุมโรคติดต่อ และต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าก่อนขึ้นรถโดยสารและตลอดการเดินทาง ในส่วนของการให้บริการประชาชน ที่สํานักงานขนส่งทั่วประเทศ ซึ่งได้มีการประกาศงดการดําเนินการด้านใบอนุญาตขับรถแล้วจนกว่าจะมีการประกาศยกเลิกสถานการณ์ แต่ยังคงให้บริการด้านทะเบียนและภาษีตามปกติ จึงได้กําชับให้มีมาตรการป้องกันทั้งประชาชนและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ทําความสะอาดฆ่าเชื้อภายในสํานักงานและพื้นที่ให้บริการประชาชน พร้อมประชาสัมพันธ์ให้ใช้บริการชําระภาษีรถประจําปีผ่านช่องทางออนไลน์ ที่ https://eservice.dlt.go.th ส่วนรถที่ไม่สามารถใช้บริการชําระภาษีประจําปีผ่านช่องทางออนไลน์ แนะนําใช้บริการเลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax) ชําระภาษีได้โดยไม่ต้องลงจากรถ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่สํานักงานขนส่งจังหวัดทุกจังหวัด ----------------------------------
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/30650
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ดีอี ชูแคมเปญ “อุตุฯ ยุคใหม่ ไม่ใช่ธรรมดา” เน้นภารกิจของกรมอุตุนิยมวิทยามีความสำคัญยิ่งต่อการเตือนภัย
วันจันทร์ที่ 9 กันยายน 2562 ดีอี ชูแคมเปญ “อุตุฯ ยุคใหม่ ไม่ใช่ธรรมดา” เน้นภารกิจของกรมอุตุนิยมวิทยามีความสําคัญยิ่งต่อการเตือนภัย ดีอี ชูแคมเปญ “อุตุฯ ยุคใหม่ ไม่ใช่ธรรมดา” เน้นภารกิจของกรมอุตุนิยมวิทยามีความสําคัญยิ่งต่อการเตือนภัย นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมแถลงการดําเนินงานตามภารกิจสําคัญของกรมอุตุนิยมวิทยา ในประเด็น “อุตุฯ ยุคใหม่ ไม่ใช่ธรรมดา” เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2562 ณ ศูนย์ปฏิบัติการพยากรณ์อากาศ ชั้น 11 อาคาร 50 ปีอุตุนิยมวิทยา โดยเปิดเผยว่า กรมอุตุนิยมวิทยานั้น เป้าหมายหลักคือ การตอบสนองต่อความต้องการของประเทศ สังคม และประชาชนโดยการตรวจ เฝ้าระวัง พยากรณ์อากาศ เตือนภัยธรรมชาติด้วยความถูกต้อง รวดเร็ว และทันเหตุการณ์ มุ่งสู่วิสัยทัศน์ “เป็นองค์กรสมรรถนะสูงด้านอุตุนิยมวิทยา เตือนภัยธรรมชาติ เพื่อคุณภาพและประโยชน์ของสังคม” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวย้ําอีกว่า ภารกิจของกรมอุตุนิยมวิทยามีความสําคัญยิ่งต่อการเตือนภัย มีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่จะนําไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ําและบริหารจัดการภัยธรรมชาติในสภาวะอากาศต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม มีระบบบูรณาการความร่วมมือในการเตือนภัยกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และมุ่งเน้นการสร้างประโยชน์ให้กับสังคม ในฐานะผู้บริหารของกระทรวงดีอีก็พร้อมให้การสนับสนุนทั้งงบประมาณและการอํานวยความสะดวกในการปฏิบัติภารกิจ ส่งเสริมการพัฒนางานอุตุนิยมวิทยาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลให้มีความพร้อมในการก้าวไปสู่อุตุนิยมวิทยา 4.0 ได้อย่างมั่นใจกรมอุตุนิยมวิทยา ********************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ดีอี ชูแคมเปญ “อุตุฯ ยุคใหม่ ไม่ใช่ธรรมดา” เน้นภารกิจของกรมอุตุนิยมวิทยามีความสำคัญยิ่งต่อการเตือนภัย วันจันทร์ที่ 9 กันยายน 2562 ดีอี ชูแคมเปญ “อุตุฯ ยุคใหม่ ไม่ใช่ธรรมดา” เน้นภารกิจของกรมอุตุนิยมวิทยามีความสําคัญยิ่งต่อการเตือนภัย ดีอี ชูแคมเปญ “อุตุฯ ยุคใหม่ ไม่ใช่ธรรมดา” เน้นภารกิจของกรมอุตุนิยมวิทยามีความสําคัญยิ่งต่อการเตือนภัย นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมแถลงการดําเนินงานตามภารกิจสําคัญของกรมอุตุนิยมวิทยา ในประเด็น “อุตุฯ ยุคใหม่ ไม่ใช่ธรรมดา” เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2562 ณ ศูนย์ปฏิบัติการพยากรณ์อากาศ ชั้น 11 อาคาร 50 ปีอุตุนิยมวิทยา โดยเปิดเผยว่า กรมอุตุนิยมวิทยานั้น เป้าหมายหลักคือ การตอบสนองต่อความต้องการของประเทศ สังคม และประชาชนโดยการตรวจ เฝ้าระวัง พยากรณ์อากาศ เตือนภัยธรรมชาติด้วยความถูกต้อง รวดเร็ว และทันเหตุการณ์ มุ่งสู่วิสัยทัศน์ “เป็นองค์กรสมรรถนะสูงด้านอุตุนิยมวิทยา เตือนภัยธรรมชาติ เพื่อคุณภาพและประโยชน์ของสังคม” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวย้ําอีกว่า ภารกิจของกรมอุตุนิยมวิทยามีความสําคัญยิ่งต่อการเตือนภัย มีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่จะนําไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ําและบริหารจัดการภัยธรรมชาติในสภาวะอากาศต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม มีระบบบูรณาการความร่วมมือในการเตือนภัยกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และมุ่งเน้นการสร้างประโยชน์ให้กับสังคม ในฐานะผู้บริหารของกระทรวงดีอีก็พร้อมให้การสนับสนุนทั้งงบประมาณและการอํานวยความสะดวกในการปฏิบัติภารกิจ ส่งเสริมการพัฒนางานอุตุนิยมวิทยาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลให้มีความพร้อมในการก้าวไปสู่อุตุนิยมวิทยา 4.0 ได้อย่างมั่นใจกรมอุตุนิยมวิทยา ********************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/22920
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พาณิชย์มั่นใจส่งออกปีนี้เดินหน้าได้ดี เพราะขยายสัดส่วนในตลาดใหม่ ๆ ได้
วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 พาณิชย์มั่นใจส่งออกปีนี้เดินหน้าได้ดี เพราะขยายสัดส่วนในตลาดใหม่ ๆ ได้ นางสาวชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า จากกรณีที่ตัวเลขส่งออกไทยล่าสุดเดือนมกราคม 2562 หดตัวร้อยละ 5.7 นั้น พบว่าเป็นไปในแนวทางเดียวกับหลายประเทศทั่วโลก แต่สัดส่วนการส่งออกไทยในหลายตลาดยังขยายตัว และมีแนวโน้มสูงขึ้นในตลาดใหม่ นอกจากนี้ หากสหรัฐฯ และจีนตกลงกันได้ จะลดความตึงเครียดในระบบการค้าโลกได้ จึงยังมั่นใจว่าการส่งออกจะขยายตัวได้ดีในช่วงเวลาที่เหลือของปี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ชี้แจงว่า การส่งออกไทยมีแนวโน้มชะลอตัวสอดคล้องกับสถานการณ์ส่งออกของหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย เป็นผลจากประเด็นข้อพิพาททางการค้า เศรษฐกิจประเทศใหญ่ชะลอตัว และปัจจัยภายในของบางประเทศเกิดใหม่ (Emerging Markets) แต่เมื่อดูเปรียบเทียบกับประเทศอื่นแล้วพบว่า สถานการณ์ส่งออกไทยปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 6.7 อยู่ในระดับกลางและมีสถานการณ์ที่ดีกว่าหลายประเทศ อาทิ เกาหลีใต้ (ขยายตัวร้อยละ 5.5) ไต้หวัน (ขยายตัวร้อยละ 4.8) ญี่ปุ่น (ขยายตัวร้อยละ 4.1) และฟิลิปปินส์(หดตัวร้อยละ 1.8) (ตามตาราง 1) นอกจากนี้แล้ว ไทยยังรักษาสัดส่วน หรือ market share ในประเทศต่าง ๆ ไว้ได้ เช่น สหรัฐฯ สหภาพยุโรป เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และไต้หวัน และมีแนวโน้มว่า จะขยายตัวในตลาดใหม่ ๆ โดยในตลาดญี่ปุ่น ขยายตัวได้ดีในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า และยานยนต์ ขณะที่ส่วนแบ่งตลาดของไทยในจีนลดลงเล็กน้อย เกิดจากกลุ่มสินค้ายางพาราที่จีนมีแนวโน้มหันไปนําเข้าจากกลุ่มประเทศ CLMV มากขึ้น นอกจากตลาดใหญ่แล้ว ยังพบว่าไทยมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นในตลาดศักยภาพ โดยเฉพาะ อินเดีย และรัสเซีย โดยในตลาดอินเดียส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.7 ในปี 2560 เพิ่มเป็นร้อยละ 1.9 ในปี 2561 เนื่องจากสินค้าไทยมีการทําตลาดในอินเดียมากขึ้น และอินเดียขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับสูง ทําให้มีความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น โดยสินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า (เครื่องปรับอากาศ โทรทัศน์ โทรศัพท์) เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก เครื่องสําอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เป็นต้น (ตามตาราง 2) รมช. พณ. กล่าวว่า ในด้านรายสินค้า พบว่า ไทยยังมีโอกาสส่งออกได้เพิ่ม โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอาหารของไทย โดยปี 2561 กลุ่มอาหารมีมูลค่าส่งออก 2.1 หมื่นล้านเหรียญหรือคิดเป็นร้อยละ 8.5 ของมูลค่าส่งออกรวม และขยายตัวร้อยละ 6.9 จากปีก่อน โดยสินค้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ผลไม้สดแช่แข็ง (+17.1%) ขยายตัวดีในตลาดจีนโดยเฉพาะทุเรียน รวมถึงผลไม้ตามฤดูกาลไก่แปรรูป (+10.2%) ขยายตัวสูงในตลาด ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และเกาหลีใต้ และตลาดใหม่ ๆ เช่น จีน ซึ่งเริ่มอนุญาตให้นําเข้าจากไทยตั้งแต่เดือนมีนาคม 61 เนื่องจากมีการผลิตในประเทศไม่เพียงเครื่องดื่ม (+13.8%) มีความต้องการสูงขึ้นในตลาด CLMV โดยเฉพาะเครื่องดื่มชูกําลัง ตามการเติบโตทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวสูง นอกจากนี้แล้ว ไทยมีโอกาสขยายมูลค่าส่งออกในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มที่สหรัฐฯ มีมาตรการกับจีน โดยพบว่าไทยมีมูลค่าส่งออกกลุ่มดังกล่าวไปสหรัฐฯ ปีละ 2.1 หมื่นล้านเหรียญ รวมถึงไทยมีศักยภาพในการส่งออกทดแทนจีนในหลายสินค้า ซึ่งหลังจากที่สหรัฐฯ เริ่มใช้มาตรการทางภาษีสินค้าเกษตร อุปโภคบริโภคและสินค้าเทคโนโลยี เมื่อ 24 กันยายน 2561 พบว่าไทยสามารถขยายมูลค่าส่งออกได้เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยานพาหนะ & ส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก เครื่องนุ่งห่ม เครื่องประดับ & เครื่องสําอาง อาหารปรุงแต่ง เครื่องดื่ม เป็นต้น รมช. พณ. กล่าวว่า ขณะนี้บรรยากาศความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีนเริ่มคลี่คลายลงบ้าง หลังจากสหรัฐฯ ออกมาประกาศว่า จะยังไม่ขึ้นภาษีสินค้าเกษตร อุปโภคบริโภค และสินค้าเทคโนโลยีหลายประเภทที่เกี่ยวเนื่องกับนโยบาย Made in China 2025 มูลค่ารวมกว่า 200,000 ล้านเหรียญฯ ตามที่กําหนดไว้แต่เดิมว่า จะขึ้นภาษีจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 25 ในวันที่ 1 มีนาคม ศกนี้ เพราะจีนได้แสดงท่าทีจะนําเข้าสินค้าเกษตรและสินค้าอื่น ๆ จากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ซึ่งหากสองฝ่ายตกลงกันได้ในรายละเอียด ก็จะทําให้การค้าโลกฟื้นตัวได้อีกครั้ง ส่งผลดีต่อการส่งออกไทยและโลก ในขณะนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังเดินหน้าการส่งเสริมการส่งออกและนําเข้าอย่างเต็มที่ โดยมีกิจกรรมทั้งการจัด Sourcing Forum ให้ผู้นําเข้ามาพบผู้ส่งออกไทย และจะมี mission ใหญ่ ๆ ตลอดทั้งปี รวมทั้งมีการปรับแนวทางการส่งเสริมการส่งออกให้มีความจําเพาะ (customized) มากขึ้น ซึ่งเชื่อว่า จะช่วยให้การส่งออกขยายตัวได้ดีในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2562 นี้
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พาณิชย์มั่นใจส่งออกปีนี้เดินหน้าได้ดี เพราะขยายสัดส่วนในตลาดใหม่ ๆ ได้ วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 พาณิชย์มั่นใจส่งออกปีนี้เดินหน้าได้ดี เพราะขยายสัดส่วนในตลาดใหม่ ๆ ได้ นางสาวชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า จากกรณีที่ตัวเลขส่งออกไทยล่าสุดเดือนมกราคม 2562 หดตัวร้อยละ 5.7 นั้น พบว่าเป็นไปในแนวทางเดียวกับหลายประเทศทั่วโลก แต่สัดส่วนการส่งออกไทยในหลายตลาดยังขยายตัว และมีแนวโน้มสูงขึ้นในตลาดใหม่ นอกจากนี้ หากสหรัฐฯ และจีนตกลงกันได้ จะลดความตึงเครียดในระบบการค้าโลกได้ จึงยังมั่นใจว่าการส่งออกจะขยายตัวได้ดีในช่วงเวลาที่เหลือของปี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ชี้แจงว่า การส่งออกไทยมีแนวโน้มชะลอตัวสอดคล้องกับสถานการณ์ส่งออกของหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย เป็นผลจากประเด็นข้อพิพาททางการค้า เศรษฐกิจประเทศใหญ่ชะลอตัว และปัจจัยภายในของบางประเทศเกิดใหม่ (Emerging Markets) แต่เมื่อดูเปรียบเทียบกับประเทศอื่นแล้วพบว่า สถานการณ์ส่งออกไทยปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 6.7 อยู่ในระดับกลางและมีสถานการณ์ที่ดีกว่าหลายประเทศ อาทิ เกาหลีใต้ (ขยายตัวร้อยละ 5.5) ไต้หวัน (ขยายตัวร้อยละ 4.8) ญี่ปุ่น (ขยายตัวร้อยละ 4.1) และฟิลิปปินส์(หดตัวร้อยละ 1.8) (ตามตาราง 1) นอกจากนี้แล้ว ไทยยังรักษาสัดส่วน หรือ market share ในประเทศต่าง ๆ ไว้ได้ เช่น สหรัฐฯ สหภาพยุโรป เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และไต้หวัน และมีแนวโน้มว่า จะขยายตัวในตลาดใหม่ ๆ โดยในตลาดญี่ปุ่น ขยายตัวได้ดีในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า และยานยนต์ ขณะที่ส่วนแบ่งตลาดของไทยในจีนลดลงเล็กน้อย เกิดจากกลุ่มสินค้ายางพาราที่จีนมีแนวโน้มหันไปนําเข้าจากกลุ่มประเทศ CLMV มากขึ้น นอกจากตลาดใหญ่แล้ว ยังพบว่าไทยมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นในตลาดศักยภาพ โดยเฉพาะ อินเดีย และรัสเซีย โดยในตลาดอินเดียส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.7 ในปี 2560 เพิ่มเป็นร้อยละ 1.9 ในปี 2561 เนื่องจากสินค้าไทยมีการทําตลาดในอินเดียมากขึ้น และอินเดียขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับสูง ทําให้มีความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น โดยสินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า (เครื่องปรับอากาศ โทรทัศน์ โทรศัพท์) เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก เครื่องสําอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เป็นต้น (ตามตาราง 2) รมช. พณ. กล่าวว่า ในด้านรายสินค้า พบว่า ไทยยังมีโอกาสส่งออกได้เพิ่ม โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอาหารของไทย โดยปี 2561 กลุ่มอาหารมีมูลค่าส่งออก 2.1 หมื่นล้านเหรียญหรือคิดเป็นร้อยละ 8.5 ของมูลค่าส่งออกรวม และขยายตัวร้อยละ 6.9 จากปีก่อน โดยสินค้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ผลไม้สดแช่แข็ง (+17.1%) ขยายตัวดีในตลาดจีนโดยเฉพาะทุเรียน รวมถึงผลไม้ตามฤดูกาลไก่แปรรูป (+10.2%) ขยายตัวสูงในตลาด ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และเกาหลีใต้ และตลาดใหม่ ๆ เช่น จีน ซึ่งเริ่มอนุญาตให้นําเข้าจากไทยตั้งแต่เดือนมีนาคม 61 เนื่องจากมีการผลิตในประเทศไม่เพียงเครื่องดื่ม (+13.8%) มีความต้องการสูงขึ้นในตลาด CLMV โดยเฉพาะเครื่องดื่มชูกําลัง ตามการเติบโตทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวสูง นอกจากนี้แล้ว ไทยมีโอกาสขยายมูลค่าส่งออกในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มที่สหรัฐฯ มีมาตรการกับจีน โดยพบว่าไทยมีมูลค่าส่งออกกลุ่มดังกล่าวไปสหรัฐฯ ปีละ 2.1 หมื่นล้านเหรียญ รวมถึงไทยมีศักยภาพในการส่งออกทดแทนจีนในหลายสินค้า ซึ่งหลังจากที่สหรัฐฯ เริ่มใช้มาตรการทางภาษีสินค้าเกษตร อุปโภคบริโภคและสินค้าเทคโนโลยี เมื่อ 24 กันยายน 2561 พบว่าไทยสามารถขยายมูลค่าส่งออกได้เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยานพาหนะ & ส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก เครื่องนุ่งห่ม เครื่องประดับ & เครื่องสําอาง อาหารปรุงแต่ง เครื่องดื่ม เป็นต้น รมช. พณ. กล่าวว่า ขณะนี้บรรยากาศความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีนเริ่มคลี่คลายลงบ้าง หลังจากสหรัฐฯ ออกมาประกาศว่า จะยังไม่ขึ้นภาษีสินค้าเกษตร อุปโภคบริโภค และสินค้าเทคโนโลยีหลายประเภทที่เกี่ยวเนื่องกับนโยบาย Made in China 2025 มูลค่ารวมกว่า 200,000 ล้านเหรียญฯ ตามที่กําหนดไว้แต่เดิมว่า จะขึ้นภาษีจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 25 ในวันที่ 1 มีนาคม ศกนี้ เพราะจีนได้แสดงท่าทีจะนําเข้าสินค้าเกษตรและสินค้าอื่น ๆ จากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ซึ่งหากสองฝ่ายตกลงกันได้ในรายละเอียด ก็จะทําให้การค้าโลกฟื้นตัวได้อีกครั้ง ส่งผลดีต่อการส่งออกไทยและโลก ในขณะนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังเดินหน้าการส่งเสริมการส่งออกและนําเข้าอย่างเต็มที่ โดยมีกิจกรรมทั้งการจัด Sourcing Forum ให้ผู้นําเข้ามาพบผู้ส่งออกไทย และจะมี mission ใหญ่ ๆ ตลอดทั้งปี รวมทั้งมีการปรับแนวทางการส่งเสริมการส่งออกให้มีความจําเพาะ (customized) มากขึ้น ซึ่งเชื่อว่า จะช่วยให้การส่งออกขยายตัวได้ดีในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2562 นี้
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/19044
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.พม. ตรวจเยี่ยมการพัฒนาชุมชนบ้านเอื้ออาทรรังสิต คลอง 9 จ.ปทุมธานี พร้อมชูเป็นชุมชนเข็มแข้งด้วยการบริหารงานอย่างมีส่วนร่วม
วันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน 2560 รมว.พม. ตรวจเยี่ยมการพัฒนาชุมชนบ้านเอื้ออาทรรังสิต คลอง 9 จ.ปทุมธานี พร้อมชูเป็นชุมชนเข็มแข้งด้วยการบริหารงานอย่างมีส่วนร่วม รมว.พม. ตรวจเยี่ยมการพัฒนาชุมชนบ้านเอื้ออาทรรังสิต คลอง 9 จ.ปทุมธานี พร้อมชูเป็นชุมชนเข็มแข้งด้วยการบริหารงานอย่างมีส่วนร่วม วันนี้ (29 มิ.ย. 60) เวลา 09.45 น. นายณรงค์ คงคํา โฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่าพลตํารวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.)ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการพัฒนาชุมชนบ้านเอื้ออาทรรังสิต คลอง 9 จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็ง มีการบริหารชุมชนโดยบูรณาการกระบวนการมีส่วนร่วมของชาวชุมชนและภาคีเครือข่าย ด้วยการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เครดิตยูเนี่ยนเอื้ออาทรรังสิต คลอง 9 และการจัดกิจกรรมตามแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมี ดร.ธัชพล กาญจนกูล ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ พร้อมคณะผู้บริหาร และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ ศูนย์ชุมชนบ้านเอื้ออาทรรังสิต คลอง 9 จังหวัดปทุมธานี พลตํารวจเอก อดุลย์กล่าวว่า โครงการบ้านเอื้ออาทรรังสิต คลอง 9 เป็นอีกหนึ่งโครงการคุณภาพของการเคหะแห่งชาติ (กคช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เพื่อให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัย ด้วยการจัดให้มีระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และสิ่งอํานวยความสะดวกแก่ผู้อยู่อาศัย พร้อมปรับปรุงและพัฒนาผู้อยู่อาศัยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประชาชนที่ต้องการมีเคหะเป็นของตนเอง ซึ่งโครงการดังกล่าวตั้งอยู่บน ถนนรังสิต – องครักษ์ ตําบลบึงสนั่น อําเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี โดยมีพื้นที่โครงการประมาณ 54 ไร่เศษ รูปแบบอาคารเป็นบ้านแถว 2 ชั้น ขนาดที่ดิน 16 ตารางวา จํานวน 1,360 หน่วย พร้อมด้วยระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และสิ่งอํานวยความสะดวกครบครัน อาทิ สวนพักผ่อน สนามเด็กเล่น สถานที่ออกกําลังกาย สนามฟุตซอล สนามเปตอง ลานตลาด และศูนย์ชุมชนที่เปิดให้ชาวชุมชนได้เข้ามาทํากิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน นอกจากนี้ ที่ตั้งโครงการติดถนนใหญ่ ใกล้สถานที่ราชการ และสถาบันการศึกษา ทําให้การคมนาคมสะดวกสบาย ปัจจุบันมีผู้เข้าอยู่อาศัยประมาณ 800 หน่วย โดยได้มอบโอนระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการให้อยู่ในความดูแลของเทศบาล เมืองสนั่นรักษ์แล้ว เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2559 พลตํารวจเอก อดุลย์กล่าวต่อไปว่า สําหรับโครงการดังกล่าว ทาง กคช. ได้ส่งเสริมให้ผู้อยู่อาศัยมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการชุมชนของตนเองให้เป็นชุมชนเข้มแข็งน่าอยู่อย่างยั่งยืน ทั้งด้านกายภาพ เศรษฐกิจ บริการและสังคม ซึ่งมีการบริหารจัดการชุมชนโดยการเลือกตั้งคณะกรรมการชุมชนจํานวน 15 คน และได้รับการรับรองจากเทศบาลเมืองสนั่นรักษ์ อีกทั้งมีการบริหารชุมชนโดยบูรณาการกระบวนการมีส่วนร่วมของชาวชุมชนและภาคีเครือข่าย การจัดตั้ง กลุ่มออมทรัพย์เครดิตยูเนี่ยนเอื้ออาทรรังสิต คลอง 9 เพื่อส่งเสริมการออมให้กับสมาชิกและการจัดกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่องตามแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง "ทั้งนี้ ชุมชนบ้านเอื้ออาทรรังสิต คลอง 9 มีการจัดตั้งกลุ่มต่างๆ ภายในชุมชน เช่น กลุ่มแอโรบิค กลุ่มศิลปะ มวยไทย กลุ่มกีฬาฟุตซอล กลุ่มผลิตภัณฑ์น้ํายาปลอดภัย กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มรักษ์สิ่งแวดล้อม กลุ่มบ้านเรือนไทย กลุ่มตํารวจชุมชน กลุ่มออมทรัพย์ และกลุ่มอาสาสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน เป็นต้น และมีการจัดกิจกรรมด้านการมีส่วนร่วมและการรวมกลุ่มทํากิจกรรมในโอกาสพิเศษต่างๆ เช่น กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ วันแม่แห่งชาติ วันพ่อแห่งชาติ วันสงกรานต์ โครงการอบรมฝึกอาชีพ โครงการอบรมการพัฒนาศักยภาพผู้นําชุมชน โครงการแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ต้านยาเสพติด และโครงการอบรมตามแผนโครงการส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะชุมชน เป็นต้น”พลตํารวจเอก อดุลย์กล่าวในตอนท้าย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.พม. ตรวจเยี่ยมการพัฒนาชุมชนบ้านเอื้ออาทรรังสิต คลอง 9 จ.ปทุมธานี พร้อมชูเป็นชุมชนเข็มแข้งด้วยการบริหารงานอย่างมีส่วนร่วม วันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน 2560 รมว.พม. ตรวจเยี่ยมการพัฒนาชุมชนบ้านเอื้ออาทรรังสิต คลอง 9 จ.ปทุมธานี พร้อมชูเป็นชุมชนเข็มแข้งด้วยการบริหารงานอย่างมีส่วนร่วม รมว.พม. ตรวจเยี่ยมการพัฒนาชุมชนบ้านเอื้ออาทรรังสิต คลอง 9 จ.ปทุมธานี พร้อมชูเป็นชุมชนเข็มแข้งด้วยการบริหารงานอย่างมีส่วนร่วม วันนี้ (29 มิ.ย. 60) เวลา 09.45 น. นายณรงค์ คงคํา โฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่าพลตํารวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.)ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการพัฒนาชุมชนบ้านเอื้ออาทรรังสิต คลอง 9 จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็ง มีการบริหารชุมชนโดยบูรณาการกระบวนการมีส่วนร่วมของชาวชุมชนและภาคีเครือข่าย ด้วยการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เครดิตยูเนี่ยนเอื้ออาทรรังสิต คลอง 9 และการจัดกิจกรรมตามแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมี ดร.ธัชพล กาญจนกูล ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ พร้อมคณะผู้บริหาร และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ ศูนย์ชุมชนบ้านเอื้ออาทรรังสิต คลอง 9 จังหวัดปทุมธานี พลตํารวจเอก อดุลย์กล่าวว่า โครงการบ้านเอื้ออาทรรังสิต คลอง 9 เป็นอีกหนึ่งโครงการคุณภาพของการเคหะแห่งชาติ (กคช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เพื่อให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัย ด้วยการจัดให้มีระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และสิ่งอํานวยความสะดวกแก่ผู้อยู่อาศัย พร้อมปรับปรุงและพัฒนาผู้อยู่อาศัยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประชาชนที่ต้องการมีเคหะเป็นของตนเอง ซึ่งโครงการดังกล่าวตั้งอยู่บน ถนนรังสิต – องครักษ์ ตําบลบึงสนั่น อําเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี โดยมีพื้นที่โครงการประมาณ 54 ไร่เศษ รูปแบบอาคารเป็นบ้านแถว 2 ชั้น ขนาดที่ดิน 16 ตารางวา จํานวน 1,360 หน่วย พร้อมด้วยระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และสิ่งอํานวยความสะดวกครบครัน อาทิ สวนพักผ่อน สนามเด็กเล่น สถานที่ออกกําลังกาย สนามฟุตซอล สนามเปตอง ลานตลาด และศูนย์ชุมชนที่เปิดให้ชาวชุมชนได้เข้ามาทํากิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน นอกจากนี้ ที่ตั้งโครงการติดถนนใหญ่ ใกล้สถานที่ราชการ และสถาบันการศึกษา ทําให้การคมนาคมสะดวกสบาย ปัจจุบันมีผู้เข้าอยู่อาศัยประมาณ 800 หน่วย โดยได้มอบโอนระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการให้อยู่ในความดูแลของเทศบาล เมืองสนั่นรักษ์แล้ว เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2559 พลตํารวจเอก อดุลย์กล่าวต่อไปว่า สําหรับโครงการดังกล่าว ทาง กคช. ได้ส่งเสริมให้ผู้อยู่อาศัยมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการชุมชนของตนเองให้เป็นชุมชนเข้มแข็งน่าอยู่อย่างยั่งยืน ทั้งด้านกายภาพ เศรษฐกิจ บริการและสังคม ซึ่งมีการบริหารจัดการชุมชนโดยการเลือกตั้งคณะกรรมการชุมชนจํานวน 15 คน และได้รับการรับรองจากเทศบาลเมืองสนั่นรักษ์ อีกทั้งมีการบริหารชุมชนโดยบูรณาการกระบวนการมีส่วนร่วมของชาวชุมชนและภาคีเครือข่าย การจัดตั้ง กลุ่มออมทรัพย์เครดิตยูเนี่ยนเอื้ออาทรรังสิต คลอง 9 เพื่อส่งเสริมการออมให้กับสมาชิกและการจัดกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่องตามแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง "ทั้งนี้ ชุมชนบ้านเอื้ออาทรรังสิต คลอง 9 มีการจัดตั้งกลุ่มต่างๆ ภายในชุมชน เช่น กลุ่มแอโรบิค กลุ่มศิลปะ มวยไทย กลุ่มกีฬาฟุตซอล กลุ่มผลิตภัณฑ์น้ํายาปลอดภัย กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มรักษ์สิ่งแวดล้อม กลุ่มบ้านเรือนไทย กลุ่มตํารวจชุมชน กลุ่มออมทรัพย์ และกลุ่มอาสาสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน เป็นต้น และมีการจัดกิจกรรมด้านการมีส่วนร่วมและการรวมกลุ่มทํากิจกรรมในโอกาสพิเศษต่างๆ เช่น กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ วันแม่แห่งชาติ วันพ่อแห่งชาติ วันสงกรานต์ โครงการอบรมฝึกอาชีพ โครงการอบรมการพัฒนาศักยภาพผู้นําชุมชน โครงการแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ต้านยาเสพติด และโครงการอบรมตามแผนโครงการส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะชุมชน เป็นต้น”พลตํารวจเอก อดุลย์กล่าวในตอนท้าย
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/4892
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สอวช. ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา ฉายภาพประเทศไทย 4 ระยะหลังเผชิญวิกฤตการณ์โควิด 19 พร้อมร่างประเด็นเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนประเทศหลังสถานการณ์คลี่คลาย
วันพุธที่ 27 พฤษภาคม 2563 สอวช. ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา ฉายภาพประเทศไทย 4 ระยะหลังเผชิญวิกฤตการณ์โควิด 19 พร้อมร่างประเด็นเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนประเทศหลังสถานการณ์คลี่คลาย สอวช. ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา ฉายภาพประเทศไทย 4 ระยะหลังเผชิญวิกฤตการณ์โควิด 19 พร้อมร่างประเด็นเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนประเทศหลังสถานการณ์คลี่คลาย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา จัดทําข้อมูลภาพประเทศไทย 4 ระยะภายหลังโควิด 19 พร้อมเสนอร่างประเด็นเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนประเทศหลังสถานการณ์คลี่คลาย สอวช. ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา จัดทําข้อมูลภาพประเทศไทย 4 ระยะภายหลังโควิด 19 โดยแบ่งออกเป็น ระยะที่ 1 หรือ Restriction (เดือนที่ 1 - 6) ระยะพยายามควบคุมการแพร่ระบาดของโลก ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในระยะนี้ และกําลังจะเข้าสู่ระยะที่ 2 หรือ Reopening (เดือนที่ 7 - 12) ระยะผ่อนคลายการควบคุมและเริ่มกลับสู่การประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม ระยะที่ 3 หรือ Recovery (เดือนที่ 13 - 18) ระยะการฟื้นตัวและปรับตัวภายหลังจากสถานการณ์คลี่คลาย และระยะที่ 4 หรือ Restructuring (เดือนที่ 19-อนาคต 5 ปีข้างหน้า) ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อํานวยการ สอวช. เปิดเผยว่า จากการหารือกับผู้ทรงคุณวุฒิทุกสัปดาห์เพื่อเตรียมความพร้อมในการฟื้นฟูประเทศหลังวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 สอวช. และมูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา จึงได้รวบรวมข้อมูลและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เพื่อร่างประเด็นเชิงยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้กับประเทศในการฟื้นฟูและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ซึ่งประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ คือ 1. Put Human Security First: ปรับเปลี่ยนจาก “เศรษฐกิจ” เป็นตัวตั้งไปสู่ “ความมั่นคงมนุษย์” เป็นตัวตั้ง ผ่านการสร้างความมั่นคง 4 ด้าน คือ ความมั่นคงทางด้านอาหาร รับประกันการเข้าถึงอาหารที่เพียงพอ กระจายอย่างทั่วถึง และราคาที่เหมาะสมตั้งแต่ระดับครัวเรือนชุมชนถึงระดับประเทศ ความมั่นคงทางสุขภาพ ยกระดับและเพิ่มศักยภาพของระบบสาธารณสุขและอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้มีอย่างเพียงพอ พร้อมทั้งส่งเสริมทักษะสุขภาพให้กับประชาชน ความมั่นคงทางพลังงาน จัดหาพลังงานให้มีอย่างเพียงพอ มุ่งเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนที่ยั่งยืน และเพิ่มประสิทธิภาพการบริโภคพลังงาน และความมั่นคงทางอาชีพ เสริมสร้างทักษะให้คนวัยทํางาน ลงทุนสร้างตําแหน่งงานใหม่รองรับอนาคต และออกแบบระบบตาข่ายทางสังคมใหม่ให้รองรับแรงงานอิสระและนอกระบบ 2. Moving Beyond GDP: ปรับเปลี่ยนจากมุ่งเน้นการเติบโตของ “GDP” ไปสู่ “Balanced Growth”กล่าวคือ สร้างและพัฒนาชุดตัวชี้วัดใหม่ให้กับประเทศที่คํานึงถึงการเติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน เช่น SDGs ตลอดจนผลักดัน การขับเคลื่อนนโยบาย BCG Economy (Bio-Circular-Green Economy) พัฒนาระบบนิเวศเพื่อเข้าสู่การค้าทางดิจิทัลและสังคมไร้เงินสด ในด้านอุตสาหกรรมมุ่งเน้นเรื่อง High Value, High Production, Job Creation และ Smart & Appropriate Technology มุ่งเน้นสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจท้องถิ่น และพัฒนาเครื่องยนต์ที่จะมาใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจอนาคต 3. Reinventing in Education and Human Capital : ยกระดับคุณภาพการศึกษาและทุนมนุษย์ โดยการเพิ่มคุณภาพการศึกษา กระจายทั่วถึง ปรับโมเดลการเรียนรู้รองรับอนาคต สร้างความเข้มแข็งให้มหาวิทยาลัย การเรียนการสอนผสมออนไลน์ ออฟไลน์และฝึกงาน การวิจัยและพัฒนา และการพัฒนาปัญญาให้ประเทศและชุมชน มุ่งให้เกิดการลงทุน Reskill, Upskill วัยทํางานให้ตอบโจทย์อนาคต รวมถึงขับเคลื่อนการเรียนรู้ตลอดชีวิต 4. Leaving No One Behind : แก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ําทุกมิติ ทั้งเรื่องการแก้ไขความยากจนรายบุคคล สร้างศักยภาพให้คนยากจน เปลี่ยนคนด้อยโอกาสเป็นคนได้โอกาส ปรับระบบสวัสดิการใหม่ให้ครอบคลุม ใช้ Big Data ปรับใช้ UBI (Universal Basic Income) และ Targeting Welfare ตามความเหมาะสม โดยบัตรประชาชนใบเดียวควรตรวจสอบได้ทุกสิทธิ ตลอดจนมีการพัฒนาระบบช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์ฉุกเฉิน และ 5. Create Open & Resilient Society : สร้างสังคมเปิดและยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ผ่านการมีระบบข้อมูลเปิดและรัฐบาลที่โปร่งใส เปิดโอกาสให้ใช้พลังภูมิปัญญาทั้งสังคมพัฒนาชาติผ่าน Open Collaboration Platform สร้างความเข้มแข็งให้ PPP รวมถึง Social enterprise, Civil Society, จิตอาสา รวมถึงเตรียมระบบบริหารจัดการวิกฤตที่มีประสิทธิภาพ ข้อมูลข่าวโดย : สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เผยแพร่ : จิรายุ รุจิพงษ์วาที ส่วนสื่อสารองค์กร กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834 Facebook : @MHESIThailand Call Center โทร.1313
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สอวช. ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา ฉายภาพประเทศไทย 4 ระยะหลังเผชิญวิกฤตการณ์โควิด 19 พร้อมร่างประเด็นเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนประเทศหลังสถานการณ์คลี่คลาย วันพุธที่ 27 พฤษภาคม 2563 สอวช. ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา ฉายภาพประเทศไทย 4 ระยะหลังเผชิญวิกฤตการณ์โควิด 19 พร้อมร่างประเด็นเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนประเทศหลังสถานการณ์คลี่คลาย สอวช. ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา ฉายภาพประเทศไทย 4 ระยะหลังเผชิญวิกฤตการณ์โควิด 19 พร้อมร่างประเด็นเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนประเทศหลังสถานการณ์คลี่คลาย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา จัดทําข้อมูลภาพประเทศไทย 4 ระยะภายหลังโควิด 19 พร้อมเสนอร่างประเด็นเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนประเทศหลังสถานการณ์คลี่คลาย สอวช. ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา จัดทําข้อมูลภาพประเทศไทย 4 ระยะภายหลังโควิด 19 โดยแบ่งออกเป็น ระยะที่ 1 หรือ Restriction (เดือนที่ 1 - 6) ระยะพยายามควบคุมการแพร่ระบาดของโลก ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในระยะนี้ และกําลังจะเข้าสู่ระยะที่ 2 หรือ Reopening (เดือนที่ 7 - 12) ระยะผ่อนคลายการควบคุมและเริ่มกลับสู่การประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม ระยะที่ 3 หรือ Recovery (เดือนที่ 13 - 18) ระยะการฟื้นตัวและปรับตัวภายหลังจากสถานการณ์คลี่คลาย และระยะที่ 4 หรือ Restructuring (เดือนที่ 19-อนาคต 5 ปีข้างหน้า) ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อํานวยการ สอวช. เปิดเผยว่า จากการหารือกับผู้ทรงคุณวุฒิทุกสัปดาห์เพื่อเตรียมความพร้อมในการฟื้นฟูประเทศหลังวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 สอวช. และมูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา จึงได้รวบรวมข้อมูลและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เพื่อร่างประเด็นเชิงยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้กับประเทศในการฟื้นฟูและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ซึ่งประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ คือ 1. Put Human Security First: ปรับเปลี่ยนจาก “เศรษฐกิจ” เป็นตัวตั้งไปสู่ “ความมั่นคงมนุษย์” เป็นตัวตั้ง ผ่านการสร้างความมั่นคง 4 ด้าน คือ ความมั่นคงทางด้านอาหาร รับประกันการเข้าถึงอาหารที่เพียงพอ กระจายอย่างทั่วถึง และราคาที่เหมาะสมตั้งแต่ระดับครัวเรือนชุมชนถึงระดับประเทศ ความมั่นคงทางสุขภาพ ยกระดับและเพิ่มศักยภาพของระบบสาธารณสุขและอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้มีอย่างเพียงพอ พร้อมทั้งส่งเสริมทักษะสุขภาพให้กับประชาชน ความมั่นคงทางพลังงาน จัดหาพลังงานให้มีอย่างเพียงพอ มุ่งเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนที่ยั่งยืน และเพิ่มประสิทธิภาพการบริโภคพลังงาน และความมั่นคงทางอาชีพ เสริมสร้างทักษะให้คนวัยทํางาน ลงทุนสร้างตําแหน่งงานใหม่รองรับอนาคต และออกแบบระบบตาข่ายทางสังคมใหม่ให้รองรับแรงงานอิสระและนอกระบบ 2. Moving Beyond GDP: ปรับเปลี่ยนจากมุ่งเน้นการเติบโตของ “GDP” ไปสู่ “Balanced Growth”กล่าวคือ สร้างและพัฒนาชุดตัวชี้วัดใหม่ให้กับประเทศที่คํานึงถึงการเติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน เช่น SDGs ตลอดจนผลักดัน การขับเคลื่อนนโยบาย BCG Economy (Bio-Circular-Green Economy) พัฒนาระบบนิเวศเพื่อเข้าสู่การค้าทางดิจิทัลและสังคมไร้เงินสด ในด้านอุตสาหกรรมมุ่งเน้นเรื่อง High Value, High Production, Job Creation และ Smart & Appropriate Technology มุ่งเน้นสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจท้องถิ่น และพัฒนาเครื่องยนต์ที่จะมาใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจอนาคต 3. Reinventing in Education and Human Capital : ยกระดับคุณภาพการศึกษาและทุนมนุษย์ โดยการเพิ่มคุณภาพการศึกษา กระจายทั่วถึง ปรับโมเดลการเรียนรู้รองรับอนาคต สร้างความเข้มแข็งให้มหาวิทยาลัย การเรียนการสอนผสมออนไลน์ ออฟไลน์และฝึกงาน การวิจัยและพัฒนา และการพัฒนาปัญญาให้ประเทศและชุมชน มุ่งให้เกิดการลงทุน Reskill, Upskill วัยทํางานให้ตอบโจทย์อนาคต รวมถึงขับเคลื่อนการเรียนรู้ตลอดชีวิต 4. Leaving No One Behind : แก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ําทุกมิติ ทั้งเรื่องการแก้ไขความยากจนรายบุคคล สร้างศักยภาพให้คนยากจน เปลี่ยนคนด้อยโอกาสเป็นคนได้โอกาส ปรับระบบสวัสดิการใหม่ให้ครอบคลุม ใช้ Big Data ปรับใช้ UBI (Universal Basic Income) และ Targeting Welfare ตามความเหมาะสม โดยบัตรประชาชนใบเดียวควรตรวจสอบได้ทุกสิทธิ ตลอดจนมีการพัฒนาระบบช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์ฉุกเฉิน และ 5. Create Open & Resilient Society : สร้างสังคมเปิดและยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ผ่านการมีระบบข้อมูลเปิดและรัฐบาลที่โปร่งใส เปิดโอกาสให้ใช้พลังภูมิปัญญาทั้งสังคมพัฒนาชาติผ่าน Open Collaboration Platform สร้างความเข้มแข็งให้ PPP รวมถึง Social enterprise, Civil Society, จิตอาสา รวมถึงเตรียมระบบบริหารจัดการวิกฤตที่มีประสิทธิภาพ ข้อมูลข่าวโดย : สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เผยแพร่ : จิรายุ รุจิพงษ์วาที ส่วนสื่อสารองค์กร กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834 Facebook : @MHESIThailand Call Center โทร.1313
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/31588
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-อภ.เพิ่มกำลังการผลิตอีก 50 เปอร์เซ็นต์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมียาใช้อย่างต่อเนื่อง พร้อมขอความร่วมมือโรงพยาบาลบริหารจัดการจัดสรรยาให้เหมาะสม [กระทรวงสาธารณสุข]
วันพุธที่ 15 เมษายน 2563 อภ.เพิ่มกําลังการผลิตอีก 50 เปอร์เซ็นต์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมียาใช้อย่างต่อเนื่อง พร้อมขอความร่วมมือโรงพยาบาลบริหารจัดการจัดสรรยาให้เหมาะสม [กระทรวงสาธารณสุข] อภ.เพิ่มกําลังการผลิตอีก 50 เปอร์เซ็นต์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมียาใช้อย่างต่อเนื่อง พร้อมขอความร่วมมือโรงพยาบาลบริหารจัดการจัดสรรยาให้เหมาะสม ดร.ภญ.มุกดาวรรณ ประกอบไวทยกิจ รองผู้อํานวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวว่า จากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลก รวมถึงประเทศที่เป็นผู้ผลิตวัตถุดิบของยา เช่น จีน อินเดีย อเมริกา และประเทศแถบยุโรป ซึ่งประเทศเหล่านั้นได้ใช้มาตรการปิดประเทศ ทําให้เกิดปัญหาในการจัดส่งวัตถุดิบยา บรรจุภัณฑ์ ประกอบกับหลายโรงพยาบาลเริ่มมีการใช้นโยบายจ่ายยาสําหรับโรคเรื้อรังล่วงหน้า 6 เดือน เพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล ลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จึงทําให้โรงพยาบาลมีการสํารองยามากกว่าปกติ ขณะเดียวกันต้องเพิ่มกําลังการผลิตในส่วนยาจําเป็นที่ต้องใช้รักษาโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ใน 5-6 รายการด้วย ซึ่งเป็นสถานการณ์กะทันหันที่องค์การฯ ไม่ได้คาดคิดไว้ก่อน ในช่วงแรกนั้นส่งผลกระทบต่อการผลิตและสํารองยาอยู่บ้างในยาบ้างรายการ ดร.ภญ.มุกดาวรรณกล่าวต่อว่า เดิมในภาวะปกตินั้นองค์การฯจะมีแผนการสั่งซื้อวัตถุดิบและอุปกรณ์ต่างๆสําหรับการผลิตไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย 6 เดือน ซึ่งอาจมีวัตถุดิบบางรายการต้องกํากับดูแลเป็นพิเศษ โดยจะมีการทยอยผลิตเป็นยาสําเร็จรูปสํารองไว้ในคลังในจํานวนที่ผู้ป่วยสามารถใช้ได้ 2-3 เดือนเป็นอย่างน้อย เมื่อเริ่มมีสถานการณ์โควิด-19 เข้ามา เมื่อปลายเดือนมกราคม 2563 องค์การฯได้มีการปรับแผนการผลิตมาอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นกลุ่มยาจําเป็นโรคเรื้อรังเป็นสําคัญ โดยเร่งให้มีการส่งมอบวัตถุดิบและอุปกรณ์การผลิตต่างๆเร็วขึ้น หากวัตถุดิบบริษัทไหนติดขัดเรื่องการส่งมอบ จะทําการจัดซื้อจากแหล่งวัตถุดิบแห่งใหม่ 2-3 แห่ง ที่ได้รับการตรวจรับรองคุณภาพแล้ว เพื่อนํามาใช้ในการผลิตได้ทันและเพียงพอต่อความต้องการ พร้อมทั้งได้ติดตั้งเครื่องบรรจุยาลงแผงอัตโนมัติความเร็วสูงจากประเทศเยอรมันอีกหลายเครื่อง ขณะเดียวกันได้มีแสวงหาแหล่งวัตถุดิบเพิ่มเติมอีกหลายแห่ง เช่น ยาซิมวาสแตติน (Simvastatin) ใช้ลดระดับคลอเรสเตอรอลชนิดไม่ดีและไตรกลีเซอไรด์ในหลอดเลือด ขณะนี้มีแหล่งวัตถุดิบจํานวน 5 ราย ในประเทศอินเดีย อภ.สามารถเพิ่มกําลังผลิต จาก 56 ล้านเม็ด/เดือน เป็น 62 ล้านเม็ด/เดือน ยาแอมโลดิพีน (Amlodipine) รักษาความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ ขณะนี้มีแหล่งวัตถุดิบ จํานวน 3 ราย ในประเทศอินเดีย อภ.เพิ่มกําลังผลิตจาก 50 ล้านเม็ด/เดือน เป็น 75 ล้านเม็ด/เดือน ในส่วนยาเมทฟอร์มิน (Metformin) ยาใช้รักษาโรคเบาหวาน อภ.สามารถเพิ่มกําลังผลิตจาก 75 ล้านเม็ด/เดือนเป็น106 ล้านเม็ด/เดือน ยาลอซาร์แทน (Losartan) ใช้ลดความดันโลหิตที่ออกฤทธิ์ทําให้หลอดเลือดขยายตัว ขณะนี้มีแหล่งวัตถุดิบ จํานวน 3 ราย ในประเทศจีน 1 รายและประเทศอินเดีย 2 ราย กําลังผลิตเป็น 27 ล้านเม็ด/เดือน ยาต้านไวรัสเอดส์ทั้ง 22 รายการ นั้นได้เพิ่มกําลังการผลิตทุกรายการด้วยแล้วเช่นกัน โดยในภาพรวมแล้วคาดว่าเดือนเมษายน องค์การฯจะสามารถเพิ่มกําลังการผลิตได้เฉลี่ย 30 เปอร์เซ็นต์ และตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไปจะเพิ่มกําลังการผลิตยาจําเป็นสําหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังให้ได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ รองผู้อํานวยการองค์การเภสัชกรรมกล่าวต่อไปว่า องค์การฯ ไม่นิ่งนอนใจต่อสถานการณ์ของวัตถุดิบที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ซึ่งยังไม่มีความแน่นอนว่าจะยุติหรือเบาบางลงเมื่อไร จึงได้ทําการหาแหล่งวัตถุดิบแหล่งใหม่สํารองเพิ่มเติมไว้อย่างต่อเนื่องแล้ว มั่นใจได้ว่า องค์การฯยังคงสามารถผลิตยาได้ตามความต้องการและคงราคายาไว้ตามเดิมแม้สถานการณ์ต่างๆจะไม่เอื้ออํานวยมากนัก และผู้ป่วยโรคเรื้อรังจะยังคงมียาใช้อย่างต่อเนื่อง พร้อมขอความร่วมมือโรงพยาบาลต่างๆ ช่วยบริหารจัดการและจัดสรรทยอยส่งยาให้ผู้ป่วยตามรอบการรักษา สอดคล้องกับปริมาณยาที่องค์การฯจัดส่งไปสํารองทุก1- 2 เดือน โดยจัดส่งยาให้ผู้ป่วยทางไปรษณีย์ ซึ่ง สปสช. ได้จัดงบชดเชยให้หน่วยบริการเพิ่มเติมในอัตราไม่เกิน 50 บาท/ครั้ง หรือโครงการรับยาใกล้บ้าน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยมียาใช้อย่างต่อเนื่องภายใต้สถานการณ์นี้
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-อภ.เพิ่มกำลังการผลิตอีก 50 เปอร์เซ็นต์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมียาใช้อย่างต่อเนื่อง พร้อมขอความร่วมมือโรงพยาบาลบริหารจัดการจัดสรรยาให้เหมาะสม [กระทรวงสาธารณสุข] วันพุธที่ 15 เมษายน 2563 อภ.เพิ่มกําลังการผลิตอีก 50 เปอร์เซ็นต์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมียาใช้อย่างต่อเนื่อง พร้อมขอความร่วมมือโรงพยาบาลบริหารจัดการจัดสรรยาให้เหมาะสม [กระทรวงสาธารณสุข] อภ.เพิ่มกําลังการผลิตอีก 50 เปอร์เซ็นต์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมียาใช้อย่างต่อเนื่อง พร้อมขอความร่วมมือโรงพยาบาลบริหารจัดการจัดสรรยาให้เหมาะสม ดร.ภญ.มุกดาวรรณ ประกอบไวทยกิจ รองผู้อํานวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวว่า จากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลก รวมถึงประเทศที่เป็นผู้ผลิตวัตถุดิบของยา เช่น จีน อินเดีย อเมริกา และประเทศแถบยุโรป ซึ่งประเทศเหล่านั้นได้ใช้มาตรการปิดประเทศ ทําให้เกิดปัญหาในการจัดส่งวัตถุดิบยา บรรจุภัณฑ์ ประกอบกับหลายโรงพยาบาลเริ่มมีการใช้นโยบายจ่ายยาสําหรับโรคเรื้อรังล่วงหน้า 6 เดือน เพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล ลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จึงทําให้โรงพยาบาลมีการสํารองยามากกว่าปกติ ขณะเดียวกันต้องเพิ่มกําลังการผลิตในส่วนยาจําเป็นที่ต้องใช้รักษาโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ใน 5-6 รายการด้วย ซึ่งเป็นสถานการณ์กะทันหันที่องค์การฯ ไม่ได้คาดคิดไว้ก่อน ในช่วงแรกนั้นส่งผลกระทบต่อการผลิตและสํารองยาอยู่บ้างในยาบ้างรายการ ดร.ภญ.มุกดาวรรณกล่าวต่อว่า เดิมในภาวะปกตินั้นองค์การฯจะมีแผนการสั่งซื้อวัตถุดิบและอุปกรณ์ต่างๆสําหรับการผลิตไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย 6 เดือน ซึ่งอาจมีวัตถุดิบบางรายการต้องกํากับดูแลเป็นพิเศษ โดยจะมีการทยอยผลิตเป็นยาสําเร็จรูปสํารองไว้ในคลังในจํานวนที่ผู้ป่วยสามารถใช้ได้ 2-3 เดือนเป็นอย่างน้อย เมื่อเริ่มมีสถานการณ์โควิด-19 เข้ามา เมื่อปลายเดือนมกราคม 2563 องค์การฯได้มีการปรับแผนการผลิตมาอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นกลุ่มยาจําเป็นโรคเรื้อรังเป็นสําคัญ โดยเร่งให้มีการส่งมอบวัตถุดิบและอุปกรณ์การผลิตต่างๆเร็วขึ้น หากวัตถุดิบบริษัทไหนติดขัดเรื่องการส่งมอบ จะทําการจัดซื้อจากแหล่งวัตถุดิบแห่งใหม่ 2-3 แห่ง ที่ได้รับการตรวจรับรองคุณภาพแล้ว เพื่อนํามาใช้ในการผลิตได้ทันและเพียงพอต่อความต้องการ พร้อมทั้งได้ติดตั้งเครื่องบรรจุยาลงแผงอัตโนมัติความเร็วสูงจากประเทศเยอรมันอีกหลายเครื่อง ขณะเดียวกันได้มีแสวงหาแหล่งวัตถุดิบเพิ่มเติมอีกหลายแห่ง เช่น ยาซิมวาสแตติน (Simvastatin) ใช้ลดระดับคลอเรสเตอรอลชนิดไม่ดีและไตรกลีเซอไรด์ในหลอดเลือด ขณะนี้มีแหล่งวัตถุดิบจํานวน 5 ราย ในประเทศอินเดีย อภ.สามารถเพิ่มกําลังผลิต จาก 56 ล้านเม็ด/เดือน เป็น 62 ล้านเม็ด/เดือน ยาแอมโลดิพีน (Amlodipine) รักษาความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ ขณะนี้มีแหล่งวัตถุดิบ จํานวน 3 ราย ในประเทศอินเดีย อภ.เพิ่มกําลังผลิตจาก 50 ล้านเม็ด/เดือน เป็น 75 ล้านเม็ด/เดือน ในส่วนยาเมทฟอร์มิน (Metformin) ยาใช้รักษาโรคเบาหวาน อภ.สามารถเพิ่มกําลังผลิตจาก 75 ล้านเม็ด/เดือนเป็น106 ล้านเม็ด/เดือน ยาลอซาร์แทน (Losartan) ใช้ลดความดันโลหิตที่ออกฤทธิ์ทําให้หลอดเลือดขยายตัว ขณะนี้มีแหล่งวัตถุดิบ จํานวน 3 ราย ในประเทศจีน 1 รายและประเทศอินเดีย 2 ราย กําลังผลิตเป็น 27 ล้านเม็ด/เดือน ยาต้านไวรัสเอดส์ทั้ง 22 รายการ นั้นได้เพิ่มกําลังการผลิตทุกรายการด้วยแล้วเช่นกัน โดยในภาพรวมแล้วคาดว่าเดือนเมษายน องค์การฯจะสามารถเพิ่มกําลังการผลิตได้เฉลี่ย 30 เปอร์เซ็นต์ และตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไปจะเพิ่มกําลังการผลิตยาจําเป็นสําหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังให้ได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ รองผู้อํานวยการองค์การเภสัชกรรมกล่าวต่อไปว่า องค์การฯ ไม่นิ่งนอนใจต่อสถานการณ์ของวัตถุดิบที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ซึ่งยังไม่มีความแน่นอนว่าจะยุติหรือเบาบางลงเมื่อไร จึงได้ทําการหาแหล่งวัตถุดิบแหล่งใหม่สํารองเพิ่มเติมไว้อย่างต่อเนื่องแล้ว มั่นใจได้ว่า องค์การฯยังคงสามารถผลิตยาได้ตามความต้องการและคงราคายาไว้ตามเดิมแม้สถานการณ์ต่างๆจะไม่เอื้ออํานวยมากนัก และผู้ป่วยโรคเรื้อรังจะยังคงมียาใช้อย่างต่อเนื่อง พร้อมขอความร่วมมือโรงพยาบาลต่างๆ ช่วยบริหารจัดการและจัดสรรทยอยส่งยาให้ผู้ป่วยตามรอบการรักษา สอดคล้องกับปริมาณยาที่องค์การฯจัดส่งไปสํารองทุก1- 2 เดือน โดยจัดส่งยาให้ผู้ป่วยทางไปรษณีย์ ซึ่ง สปสช. ได้จัดงบชดเชยให้หน่วยบริการเพิ่มเติมในอัตราไม่เกิน 50 บาท/ครั้ง หรือโครงการรับยาใกล้บ้าน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยมียาใช้อย่างต่อเนื่องภายใต้สถานการณ์นี้
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/29162
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีช่วยฯ สมชาย เยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชน สินค้าภายใต้ หมู่บ้าน CIV ชุมชนบางคล้า
วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน 2561 รัฐมนตรีช่วยฯ สมชาย เยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชน สินค้าภายใต้ หมู่บ้าน CIV ชุมชนบางคล้า นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่สวนมะม่วงผู้ใหญ่จักรกฤษณ์ และวิหากิจชุมชนแปรรูปผลผลิตการเกษตรอําเภอบางคล้า สวนเนรัญชลา อําเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ฉะเชิงเทรา : วันนี้ (21 พฤศจิกายน 2561) เวลา 13.00 น. นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายประกอบ วิวิธจินดา รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมรักษาราชการแทนผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่สวนมะม่วงผู้ใหญ่จักรกฤษณ์ และวิหากิจชุมชนแปรรูปผลผลิตการเกษตรอําเภอบางคล้า สวนเนรัญชลา อําเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา สําหรับสวนมะม่วงผู้ใหญ่จักรกฤษณ์ เป็นสวนที่ปลูกและจัดจําหน่ายมะม่วง หลายสายพันธุ์ อาทิเช่น มะม่วงน้ําดอกไม้สีทอง มะม่วงเขียวเสวย มะม่วงแรด มะม่วงมันเดือนเก้าฯ โดยขายให้ทั้งผู้บริโภคโดยตรง ขายส่งให้พ่อค้าคนกลาง และส่งให้กับวิสาหกิจชุมชนในการนําไปแปรรูปผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังได้รับการประสานกับสํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา เชื่อมโยงการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอีกด้วย ในส่วนของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตการเกษตร สวนเนรัญชลา ประกอบกิจการ แปรรูปมะม่วง เช่น มะม่วงกวน มะม่วงกวนชุบช็อคโกแลต ต้นมะม่วง และมะม่วงแช่อิ่ม โดยสํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา ร่วมกับ บริษัท อิมเพรสชั่นนิสต์ เอทานอล จํากัด (Big brother) ในการสนับสนุนเครื่องปิดผากระป๋อง เพื่อปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ให้สะดวกต่อการบริโภค จากนั้น รัฐมนตรีช่วยฯ สมชาย พร้อมคณะ ได้เยี่ยมชมกิจการหมู่บ้านน้ําตาลสด จําหน่ายผลิตภัณฑ์ น้ําตาลสด ขนมตาล โดยได้รับการสนับสนุนจากอุตสาหกรรมจังหวัด และบริษัท คาราบาวตะวันแดง จํากัด บริษัท เอชเอสแอล คาร์จอนส์ จํากัด บริษัท ซีพีเอฟ จํากัด และบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จํากัด (Big brother) สร้างห้องผลิตน้ําตาลสด เพื่อให้สินค้าและผลิตภัณฑ์มีคุณภาพ ในการขอรับรองมาตรฐาน อย. และ มผช. ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดําเนินการ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีช่วยฯ สมชาย เยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชน สินค้าภายใต้ หมู่บ้าน CIV ชุมชนบางคล้า วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน 2561 รัฐมนตรีช่วยฯ สมชาย เยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชน สินค้าภายใต้ หมู่บ้าน CIV ชุมชนบางคล้า นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่สวนมะม่วงผู้ใหญ่จักรกฤษณ์ และวิหากิจชุมชนแปรรูปผลผลิตการเกษตรอําเภอบางคล้า สวนเนรัญชลา อําเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ฉะเชิงเทรา : วันนี้ (21 พฤศจิกายน 2561) เวลา 13.00 น. นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายประกอบ วิวิธจินดา รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมรักษาราชการแทนผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่สวนมะม่วงผู้ใหญ่จักรกฤษณ์ และวิหากิจชุมชนแปรรูปผลผลิตการเกษตรอําเภอบางคล้า สวนเนรัญชลา อําเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา สําหรับสวนมะม่วงผู้ใหญ่จักรกฤษณ์ เป็นสวนที่ปลูกและจัดจําหน่ายมะม่วง หลายสายพันธุ์ อาทิเช่น มะม่วงน้ําดอกไม้สีทอง มะม่วงเขียวเสวย มะม่วงแรด มะม่วงมันเดือนเก้าฯ โดยขายให้ทั้งผู้บริโภคโดยตรง ขายส่งให้พ่อค้าคนกลาง และส่งให้กับวิสาหกิจชุมชนในการนําไปแปรรูปผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังได้รับการประสานกับสํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา เชื่อมโยงการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอีกด้วย ในส่วนของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตการเกษตร สวนเนรัญชลา ประกอบกิจการ แปรรูปมะม่วง เช่น มะม่วงกวน มะม่วงกวนชุบช็อคโกแลต ต้นมะม่วง และมะม่วงแช่อิ่ม โดยสํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา ร่วมกับ บริษัท อิมเพรสชั่นนิสต์ เอทานอล จํากัด (Big brother) ในการสนับสนุนเครื่องปิดผากระป๋อง เพื่อปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ให้สะดวกต่อการบริโภค จากนั้น รัฐมนตรีช่วยฯ สมชาย พร้อมคณะ ได้เยี่ยมชมกิจการหมู่บ้านน้ําตาลสด จําหน่ายผลิตภัณฑ์ น้ําตาลสด ขนมตาล โดยได้รับการสนับสนุนจากอุตสาหกรรมจังหวัด และบริษัท คาราบาวตะวันแดง จํากัด บริษัท เอชเอสแอล คาร์จอนส์ จํากัด บริษัท ซีพีเอฟ จํากัด และบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จํากัด (Big brother) สร้างห้องผลิตน้ําตาลสด เพื่อให้สินค้าและผลิตภัณฑ์มีคุณภาพ ในการขอรับรองมาตรฐาน อย. และ มผช. ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดําเนินการ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/16987
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะ ลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี
วันจันทร์ที่ 23 กันยายน 2562 นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะ ลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อตรวจติดตามความก้าวหน้าการดําเนินโครงการและการให้บริการ ด้านการคมนาคมขนส่งของอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี และตรวจติดตามสถานการณ์น้ําท่วมและเยี่ยมผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี วันนี้ (23 ก.ย.62) เวลา 08.30 น. นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะ ลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อตรวจติดตามความก้าวหน้าการดําเนินโครงการและการให้บริการ ด้านการคมนาคมขนส่งของอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี และตรวจติดตามสถานการณ์น้ําท่วมและเยี่ยมผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี โดยในเวลา 09.00น. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ประชุมติดตามการดําเนินงาน พร้อมรับฟังบรรยายสรุปแนวทางการพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี ณ ห้องประชุมท่าอากาศยานฯ และลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ณ บริเวณท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี ก่อนจะเดินทางไปติดตามสถานการณ์น้ําท่วมและเยี่ยมผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ พร้อมมอบถุงยังชีพ ณ บ้านบัวเทิง ตําบลท่าช้าง อําเภอสว่างวีระวงศ์ ต่อจากนั้น จะเดินทางไปยังบริเวณชุมชนแม่น้ํามูล เทศบาลตําบลพิบูลมังสาหาร พร้อมลงพื้นที่ตรวจติดตามความเสียหายด้านโครงสร้างพื้นฐาน และในช่วงบ่ายจะเดินทางต่อไปยัง วัดค้อทอง ตําบลค้อทอง อําเภอเขื่องใน เพื่อนําถุงยังชีพไปมอบแก่ผู้ประสบภัย ก่อนจะเดินทางกลับในเวลา 17.20 น.
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะ ลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี วันจันทร์ที่ 23 กันยายน 2562 นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะ ลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อตรวจติดตามความก้าวหน้าการดําเนินโครงการและการให้บริการ ด้านการคมนาคมขนส่งของอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี และตรวจติดตามสถานการณ์น้ําท่วมและเยี่ยมผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี วันนี้ (23 ก.ย.62) เวลา 08.30 น. นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะ ลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อตรวจติดตามความก้าวหน้าการดําเนินโครงการและการให้บริการ ด้านการคมนาคมขนส่งของอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี และตรวจติดตามสถานการณ์น้ําท่วมและเยี่ยมผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี โดยในเวลา 09.00น. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ประชุมติดตามการดําเนินงาน พร้อมรับฟังบรรยายสรุปแนวทางการพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี ณ ห้องประชุมท่าอากาศยานฯ และลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ณ บริเวณท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี ก่อนจะเดินทางไปติดตามสถานการณ์น้ําท่วมและเยี่ยมผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ พร้อมมอบถุงยังชีพ ณ บ้านบัวเทิง ตําบลท่าช้าง อําเภอสว่างวีระวงศ์ ต่อจากนั้น จะเดินทางไปยังบริเวณชุมชนแม่น้ํามูล เทศบาลตําบลพิบูลมังสาหาร พร้อมลงพื้นที่ตรวจติดตามความเสียหายด้านโครงสร้างพื้นฐาน และในช่วงบ่ายจะเดินทางต่อไปยัง วัดค้อทอง ตําบลค้อทอง อําเภอเขื่องใน เพื่อนําถุงยังชีพไปมอบแก่ผู้ประสบภัย ก่อนจะเดินทางกลับในเวลา 17.20 น.
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/23299
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ. ห่วง อ.หาดใหญ่ และอ.เมืองยะลา ค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน แนะประชาชนป้องกันตนเอง
วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน 2562 สธ. ห่วง อ.หาดใหญ่ และอ.เมืองยะลา ค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน แนะประชาชนป้องกันตนเอง กระทรวงสาธารณสุข ห่วงใยสุขภาพประชาชนในพื้นที่เสี่ยง โดยเฉพาะตําบลหาดใหญ่ อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และตําบลสะเตง อําเภอเมือง จังหวัดยะลา ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์หมอกควันในภาคใต้ ปริมาณค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน แนะประชาชนป้องกันตนเอง กระทรวงสาธารณสุข ห่วงใยสุขภาพประชาชนในพื้นที่เสี่ยง โดยเฉพาะตําบลหาดใหญ่ อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และตําบลสะเตง อําเภอเมือง จังหวัดยะลา ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์หมอกควันในภาคใต้ ปริมาณค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน แนะประชาชนป้องกันตนเอง งดกิจกรรมกลางแจ้ง หากจําเป็นต้องออกจากบ้านให้สวมหน้ากากอนามัย นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กในภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบจากหมอกควันจากเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ให้คําแนะนําเชิงรุกร่วมกับภาคีเครือข่ายในการป้องกันสุขภาพทั้งประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง พร้อมสนับสนุนหน้ากากอนามัย จํานวน 2,000 ชิ้นให้แก่ศูนย์อนามัยที่ 12 สําหรับสถานการณ์วันนี้ (19 กันยายน 2562 เวลา 06.00 น.) มีพื้นที่ 2 จุดที่ปริมาณค่าฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน เกินมาตรฐาน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ได้แก่ ตําบลหาดใหญ่ อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีค่าปริมาณฝุ่นละออง 65 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และตําบลสะเตง อําเภอเมือง จังหวัดยะลา มีค่าปริมาณฝุ่นละออง 56 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งอยู่ในระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ “ขอให้ประชาชนติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองในอากาศจากกรมควบคุมมลพิษ “แอพลิเคชั่น air4thai” หรือเฟซบุ๊กเพจ “คนรักอนามัย ใส่ใจอากาศ PM2.5” หลีกเลี่ยงการทํากิจกรรมหรือออกกําลังกายกลางแจ้ง หากจําเป็นต้องออกนอกบ้านให้สวมหน้ากากป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก และไม่ควรอยู่นอกบ้านเป็นเวลานาน สําหรับเด็กและผู้สูงอายุ หากไม่จําเป็นไม่ควรพาไปในพื้นที่ที่มีฝุ่นละอองเยอะ ทั้งนี้ ควรหมั่นสังเกตอาการที่อาจเกิดขึ้น หากมีอาการผิดปกติ เช่น ไอบ่อย หายใจลําบาก หายใจถี่ หรือวิงเวียนศีรษะ ให้รีบไปพบแพทย์ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422” นายแพทย์สุขุม กล่าว ทั้งนี้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนชาวภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบหมอกควันในภาคใต้ค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน ได้มอบหมายให้นายนายธนิตพล ไชยนันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่ อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในวันที่ 20 กันยายน 2562 เพื่อติดตามการช่วยเหลือประชาชนอย่างใกล้ชิด ************************************19 กันยายน 2562 ******************************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ. ห่วง อ.หาดใหญ่ และอ.เมืองยะลา ค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน แนะประชาชนป้องกันตนเอง วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน 2562 สธ. ห่วง อ.หาดใหญ่ และอ.เมืองยะลา ค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน แนะประชาชนป้องกันตนเอง กระทรวงสาธารณสุข ห่วงใยสุขภาพประชาชนในพื้นที่เสี่ยง โดยเฉพาะตําบลหาดใหญ่ อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และตําบลสะเตง อําเภอเมือง จังหวัดยะลา ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์หมอกควันในภาคใต้ ปริมาณค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน แนะประชาชนป้องกันตนเอง กระทรวงสาธารณสุข ห่วงใยสุขภาพประชาชนในพื้นที่เสี่ยง โดยเฉพาะตําบลหาดใหญ่ อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และตําบลสะเตง อําเภอเมือง จังหวัดยะลา ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์หมอกควันในภาคใต้ ปริมาณค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน แนะประชาชนป้องกันตนเอง งดกิจกรรมกลางแจ้ง หากจําเป็นต้องออกจากบ้านให้สวมหน้ากากอนามัย นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กในภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบจากหมอกควันจากเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ให้คําแนะนําเชิงรุกร่วมกับภาคีเครือข่ายในการป้องกันสุขภาพทั้งประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง พร้อมสนับสนุนหน้ากากอนามัย จํานวน 2,000 ชิ้นให้แก่ศูนย์อนามัยที่ 12 สําหรับสถานการณ์วันนี้ (19 กันยายน 2562 เวลา 06.00 น.) มีพื้นที่ 2 จุดที่ปริมาณค่าฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน เกินมาตรฐาน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ได้แก่ ตําบลหาดใหญ่ อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีค่าปริมาณฝุ่นละออง 65 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และตําบลสะเตง อําเภอเมือง จังหวัดยะลา มีค่าปริมาณฝุ่นละออง 56 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งอยู่ในระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ “ขอให้ประชาชนติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองในอากาศจากกรมควบคุมมลพิษ “แอพลิเคชั่น air4thai” หรือเฟซบุ๊กเพจ “คนรักอนามัย ใส่ใจอากาศ PM2.5” หลีกเลี่ยงการทํากิจกรรมหรือออกกําลังกายกลางแจ้ง หากจําเป็นต้องออกนอกบ้านให้สวมหน้ากากป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก และไม่ควรอยู่นอกบ้านเป็นเวลานาน สําหรับเด็กและผู้สูงอายุ หากไม่จําเป็นไม่ควรพาไปในพื้นที่ที่มีฝุ่นละอองเยอะ ทั้งนี้ ควรหมั่นสังเกตอาการที่อาจเกิดขึ้น หากมีอาการผิดปกติ เช่น ไอบ่อย หายใจลําบาก หายใจถี่ หรือวิงเวียนศีรษะ ให้รีบไปพบแพทย์ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422” นายแพทย์สุขุม กล่าว ทั้งนี้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนชาวภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบหมอกควันในภาคใต้ค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน ได้มอบหมายให้นายนายธนิตพล ไชยนันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่ อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในวันที่ 20 กันยายน 2562 เพื่อติดตามการช่วยเหลือประชาชนอย่างใกล้ชิด ************************************19 กันยายน 2562 ******************************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/23217
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ความร่วมมือ "การส่งเสริมเศรษฐกิจผู้ประกอบการในชุมชนท้องถิ่น" ปีที่ 2
วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม 2560 ความร่วมมือ "การส่งเสริมเศรษฐกิจผู้ประกอบการในชุมชนท้องถิ่น" ปีที่ 2 พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมเศรษฐกิจผู้ประกอบการในชุมชนท้องถิ่น ปีที่ 2 ภายใต้โครงการการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล โดยมีนายกฤตชัย อรุณรัตน์ เลขาธิการสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ร่วมลงนาม พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์กล่าวตอนหนึ่งว่า เป็นที่น่ายินดีที่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ได้มีการบูรณาการทํางานร่วมกันในครั้งนี้ ซึ่งสอดคล้องกับการทํางานตามแนวทางประชารัฐ และเป็นไปตามนโยบายสําคัญของรัฐบาลที่ต้องการจะขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีเพื่อให้ประเทศก้าวสู่ Digital THAILAND ที่มุ่งเน้นการพัฒนาระยะยาวอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการได้ร่วมขับเคลื่อนนโยบายDigital THAILANDอย่างเต็มกําลังโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาการเรียนรู้ และให้ความรู้เรื่องการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกับนักเรียนนักศึกษาและประชาชนผ่านโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม, การศึกษาทางไกลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ, การยกระดับภาษาอังกฤษผ่านแอพพลิเคชั่น Echo English รวมทั้งการจัดตั้งศูนย์ดิจิทัลชุมชนใน กศน.ตําบล 7,424 แห่งในทุกตําบลทั่วประเทศ เพื่อให้บริการความรู้แก่ประชาชน ทั้งข้อมูลการเข้าถึง การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการค้า เป็นต้น การดําเนินโครงการในปีที่ผ่านมา เป็นความร่วมมือระหว่าง 3 หน่วยงาน คือ ศธ. ดท. และดีแทคโดยได้จัดการอบรมให้ความรู้แก่ครู กศน.ตําบล จํานวน 9,080 คน โดยวิทยากรจากเครือข่ายเน็ตอาสาของดีแทคกว่า 500 คน เพื่อพัฒนาครู กศน. ให้เป็นวิทยากรแกนนําที่มีความรู้ความชํานาญด้านการใช้งานดิจิทัล และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการใช้สมาร์ทโฟน การค้าออนไลน์ การทําการตลาดดิจิทัลผ่านศูนย์ดิจิทัลชุมชนทั่วประเทศ จํานวน 7,424 แห่ง ให้กับประชาชนสามารถเข้าถึงกว่า 4 แสนคน ซึ่งในจํานวนนี้มีประชาชนประมาณ 42,000 คน ที่สามารถพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลสู่การเป็นผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์ได้สําเร็จ การดําเนินโครงการในปี 2560เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่มีการขยายความร่วมมือเพิ่มขึ้นกับอีก 2 กระทรวงคือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ เพื่อขยายความร่วมมือในการพัฒนาผู้ที่มีขีดความสามารถอยู่แล้ว ให้ได้รับการยกระดับการใช้ประโยชน์จากความรู้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการพัฒนาการค้าในเชิงธุรกิจต่อไป ซึ่งในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ ได้ให้แนวทางการดําเนินงานแก่สํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สํานักงาน กศน.) ในการเพิ่มระดับความเข้มข้นของเนื้อหาหลักสูตรและการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาธุรกิจชุมชนเข้าสู่การขยายเป็นร้านค้าออนไลน์ หรือเพจออนไลน์ ให้ได้ถึง 1 แสนร้านค้าพร้อมกับให้มีการวางโครงสร้างการบริหารงานของศูนย์ดิจิทัลชุมชนเพื่อให้เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อและศูนย์กลางข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดประโยชน์และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่ให้ได้มากที่สุด สุดท้ายนี้ขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่มีส่วนร่วมในการนําเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการศึกษาให้กับประชาชน ในการพัฒนาตนเอง พัฒนาอาชีพ ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิต ที่จะนําไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมเศรษฐกิจผู้ประกอบการในชุมชนท้องถิ่น เป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ โดยสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จํากัด (มหาชน) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ผู้ประกอบการรายใหม่ (Startup) ตลอดจนวิสาหกิจชุมชน ให้ได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลในการทําธุรกิจอีคอมเมิร์ซแบบครบวงจร และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการทําร้านค้าออนไลน์ โดยตั้งเป้าขยายการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลส่งเสริมการประกอบอาชีพและการตลาด "ร้านค้าออนไลน์" ให้กับกลุ่มเป้าหมายจํานวน 1 ล้านคน ซึ่งเพิ่มเป็น 3 เท่าจากเป้าหมายปี 2559 ผ่านศูนย์ดิจิทัลชุมชน 7,424 แห่ง และศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตร 882 แห่ง โดยดีแทคในฐานะภาคเอกชน ได้ให้การสนับสนุนและส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้อินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง ให้ประชาชนสามารถเชื่อมโยงข้อมูลและติดต่อกับลูกค้าในวงกว้างมากขึ้น พร้อมส่งทีมเน็ตอาสาลงไปยังพื้นที่เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถของประชาชนในการเชื่อมต่อโลกดิจิทัลสู่ชุมชน และจัดหลักสูตรการตลาดออนไลน์ สําหรับช่วยเหลือเกษตรกรรุ่นใหม่กว่า 5,000 คน อีกด้วย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ความร่วมมือ "การส่งเสริมเศรษฐกิจผู้ประกอบการในชุมชนท้องถิ่น" ปีที่ 2 วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม 2560 ความร่วมมือ "การส่งเสริมเศรษฐกิจผู้ประกอบการในชุมชนท้องถิ่น" ปีที่ 2 พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมเศรษฐกิจผู้ประกอบการในชุมชนท้องถิ่น ปีที่ 2 ภายใต้โครงการการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล โดยมีนายกฤตชัย อรุณรัตน์ เลขาธิการสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ร่วมลงนาม พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์กล่าวตอนหนึ่งว่า เป็นที่น่ายินดีที่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ได้มีการบูรณาการทํางานร่วมกันในครั้งนี้ ซึ่งสอดคล้องกับการทํางานตามแนวทางประชารัฐ และเป็นไปตามนโยบายสําคัญของรัฐบาลที่ต้องการจะขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีเพื่อให้ประเทศก้าวสู่ Digital THAILAND ที่มุ่งเน้นการพัฒนาระยะยาวอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการได้ร่วมขับเคลื่อนนโยบายDigital THAILANDอย่างเต็มกําลังโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาการเรียนรู้ และให้ความรู้เรื่องการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกับนักเรียนนักศึกษาและประชาชนผ่านโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม, การศึกษาทางไกลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ, การยกระดับภาษาอังกฤษผ่านแอพพลิเคชั่น Echo English รวมทั้งการจัดตั้งศูนย์ดิจิทัลชุมชนใน กศน.ตําบล 7,424 แห่งในทุกตําบลทั่วประเทศ เพื่อให้บริการความรู้แก่ประชาชน ทั้งข้อมูลการเข้าถึง การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการค้า เป็นต้น การดําเนินโครงการในปีที่ผ่านมา เป็นความร่วมมือระหว่าง 3 หน่วยงาน คือ ศธ. ดท. และดีแทคโดยได้จัดการอบรมให้ความรู้แก่ครู กศน.ตําบล จํานวน 9,080 คน โดยวิทยากรจากเครือข่ายเน็ตอาสาของดีแทคกว่า 500 คน เพื่อพัฒนาครู กศน. ให้เป็นวิทยากรแกนนําที่มีความรู้ความชํานาญด้านการใช้งานดิจิทัล และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการใช้สมาร์ทโฟน การค้าออนไลน์ การทําการตลาดดิจิทัลผ่านศูนย์ดิจิทัลชุมชนทั่วประเทศ จํานวน 7,424 แห่ง ให้กับประชาชนสามารถเข้าถึงกว่า 4 แสนคน ซึ่งในจํานวนนี้มีประชาชนประมาณ 42,000 คน ที่สามารถพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลสู่การเป็นผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์ได้สําเร็จ การดําเนินโครงการในปี 2560เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่มีการขยายความร่วมมือเพิ่มขึ้นกับอีก 2 กระทรวงคือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ เพื่อขยายความร่วมมือในการพัฒนาผู้ที่มีขีดความสามารถอยู่แล้ว ให้ได้รับการยกระดับการใช้ประโยชน์จากความรู้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการพัฒนาการค้าในเชิงธุรกิจต่อไป ซึ่งในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ ได้ให้แนวทางการดําเนินงานแก่สํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สํานักงาน กศน.) ในการเพิ่มระดับความเข้มข้นของเนื้อหาหลักสูตรและการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาธุรกิจชุมชนเข้าสู่การขยายเป็นร้านค้าออนไลน์ หรือเพจออนไลน์ ให้ได้ถึง 1 แสนร้านค้าพร้อมกับให้มีการวางโครงสร้างการบริหารงานของศูนย์ดิจิทัลชุมชนเพื่อให้เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อและศูนย์กลางข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดประโยชน์และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่ให้ได้มากที่สุด สุดท้ายนี้ขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่มีส่วนร่วมในการนําเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการศึกษาให้กับประชาชน ในการพัฒนาตนเอง พัฒนาอาชีพ ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิต ที่จะนําไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมเศรษฐกิจผู้ประกอบการในชุมชนท้องถิ่น เป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ โดยสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จํากัด (มหาชน) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ผู้ประกอบการรายใหม่ (Startup) ตลอดจนวิสาหกิจชุมชน ให้ได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลในการทําธุรกิจอีคอมเมิร์ซแบบครบวงจร และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการทําร้านค้าออนไลน์ โดยตั้งเป้าขยายการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลส่งเสริมการประกอบอาชีพและการตลาด "ร้านค้าออนไลน์" ให้กับกลุ่มเป้าหมายจํานวน 1 ล้านคน ซึ่งเพิ่มเป็น 3 เท่าจากเป้าหมายปี 2559 ผ่านศูนย์ดิจิทัลชุมชน 7,424 แห่ง และศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตร 882 แห่ง โดยดีแทคในฐานะภาคเอกชน ได้ให้การสนับสนุนและส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้อินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง ให้ประชาชนสามารถเชื่อมโยงข้อมูลและติดต่อกับลูกค้าในวงกว้างมากขึ้น พร้อมส่งทีมเน็ตอาสาลงไปยังพื้นที่เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถของประชาชนในการเชื่อมต่อโลกดิจิทัลสู่ชุมชน และจัดหลักสูตรการตลาดออนไลน์ สําหรับช่วยเหลือเกษตรกรรุ่นใหม่กว่า 5,000 คน อีกด้วย
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/2590
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดการเดินรถโดยสารประจำทางหมวด 1 จังหวัดขอนแก่น สาย 24 สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่นแห่งที่ 3 – ท่าอากาศยานขอนแก่น
วันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน 2560 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดการเดินรถโดยสารประจําทางหมวด 1 จังหวัดขอนแก่น สาย 24 สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่นแห่งที่ 3 – ท่าอากาศยานขอนแก่น และได้ร่วมการเดินรถรอบปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2560 ณ ท่าอากาศยานขอนแก่น นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมมีนโยบายในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง และสิ่งอํานวยความสะดวก เพื่อรองรับความต้องการและพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไป โดยพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมขนส่งให้มีความเชื่อมโยง การเปิดให้บริการขนส่งผู้โดยสารด้วยรถโดยสารประจําทางสายที่ 24 ระหว่างสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ 3 – ท่าอากาศยานขอนแก่น ถือเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมขนส่งตามนโยบายกระทรวงคมนาคม โดยการเชื่อมโยงการเดินทางของระบบการขนส่งสาธารณะที่มีอยู่ในพื้นที่ ทําให้ประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงได้อย่างต่อเนื่องและเป็นทางเลือกในการเดินทางของประชาชนจังหวัดขอนแก่นและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ที่จะได้ใช้บริการรถสาธารณะที่ได้มาตรฐาน มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย รถโดยสารประจําทางสายที่ 24 ระหว่างสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่นแห่งที่ 3 – ท่าอากาศยานขอนแก่น เป็นการให้บริการประชาชนในการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างท่าอากาศยานขอนแก่น สถานีขนส่งผู้โดยสารขอนแก่นทั้ง 3 แห่ง ศูนย์การค้า และชุมชนเมืองในตัวจังหวัด โดยบริษัท ขอนแก่นซิตี้บัส จํากัด ได้รับอนุญาตให้ทําการเดินรถโดยสารปรับอากาศ มีระบบติดตามตัวรถ (GPS) บริการ Wi-Fi ระบบกล้องวงจรปิดในตัวรถ สามารถสืบค้นตําแหน่งรถ และตัวตนของพนักงานขับรถที่ให้บริการได้
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดการเดินรถโดยสารประจำทางหมวด 1 จังหวัดขอนแก่น สาย 24 สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่นแห่งที่ 3 – ท่าอากาศยานขอนแก่น วันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน 2560 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดการเดินรถโดยสารประจําทางหมวด 1 จังหวัดขอนแก่น สาย 24 สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่นแห่งที่ 3 – ท่าอากาศยานขอนแก่น และได้ร่วมการเดินรถรอบปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2560 ณ ท่าอากาศยานขอนแก่น นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมมีนโยบายในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง และสิ่งอํานวยความสะดวก เพื่อรองรับความต้องการและพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไป โดยพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมขนส่งให้มีความเชื่อมโยง การเปิดให้บริการขนส่งผู้โดยสารด้วยรถโดยสารประจําทางสายที่ 24 ระหว่างสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ 3 – ท่าอากาศยานขอนแก่น ถือเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมขนส่งตามนโยบายกระทรวงคมนาคม โดยการเชื่อมโยงการเดินทางของระบบการขนส่งสาธารณะที่มีอยู่ในพื้นที่ ทําให้ประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงได้อย่างต่อเนื่องและเป็นทางเลือกในการเดินทางของประชาชนจังหวัดขอนแก่นและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ที่จะได้ใช้บริการรถสาธารณะที่ได้มาตรฐาน มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย รถโดยสารประจําทางสายที่ 24 ระหว่างสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่นแห่งที่ 3 – ท่าอากาศยานขอนแก่น เป็นการให้บริการประชาชนในการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างท่าอากาศยานขอนแก่น สถานีขนส่งผู้โดยสารขอนแก่นทั้ง 3 แห่ง ศูนย์การค้า และชุมชนเมืองในตัวจังหวัด โดยบริษัท ขอนแก่นซิตี้บัส จํากัด ได้รับอนุญาตให้ทําการเดินรถโดยสารปรับอากาศ มีระบบติดตามตัวรถ (GPS) บริการ Wi-Fi ระบบกล้องวงจรปิดในตัวรถ สามารถสืบค้นตําแหน่งรถ และตัวตนของพนักงานขับรถที่ให้บริการได้
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/3331
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“กฤษฎา” สั่งทุกหน่วยเร่งสานต่อเกษตรแปลงใหญ่ พร้อมตั้งชุดปฏิบัติการเกษตรประจำพื้นที่เกษตรเพื่อลงไปดูแลแนะนำช่วยเหลือเกษตรกร
วันจันทร์ที่ 15 มกราคม 2561 “กฤษฎา” สั่งทุกหน่วยเร่งสานต่อเกษตรแปลงใหญ่ พร้อมตั้งชุดปฏิบัติการเกษตรประจําพื้นที่เกษตรเพื่อลงไปดูแลแนะนําช่วยเหลือเกษตรกร “กฤษฎา” สั่งทุกหน่วยเร่งสานต่อเกษตรแปลงใหญ่ยึดตลาดนําผลิต พร้อมตั้งชุดปฏิบัติการเกษตรประจําพื้นที่เกษตรแปลงใหญ่เพื่อลงไปดูแลแนะนําช่วยเหลือเกษตรกรหนุนเกษตรกรร่วมโครงการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมใหม่เพื่อทดแทนการปลูกยาง นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงความก้าวหน้าการขับเคลื่อนนโยบายเกษตรแปลงใหญ่ระยะต่อไปได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงเกษตรฯและผู้บริหารทุกหน่วยงานกําหนดแนวทางการบริหารหรือนํานโยบายดังกล่าวข้างต้นไปดําเนินการในพื้นที่ให้ต่อเนื่องและเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรอย่างเป็นรูปธรรม ที่สําคัญได้ขอให้เพิ่มเติมโดยนําหลักคิดในเรื่องการตลาดนําการผลิตทางการเกษตรไปดําเนินการด้วย โดยกําหนดให้จัดประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัด (อ.พ.ก.)ที่มีรองผู้ว่าราการจังหวัดเป็นประธาน เพื่อมอบหมายให้คณะกรรมการอํานวยการขับเคลื่อนงานนโยบายสําคัญและการแก้ไขปัญหาภาคเกษตรระดับจังหวัด ซึ่งมีเกษตรจังหวัดเป็นหัวหน้าทีมนําไปปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยเร่งดําเนินการใน 3 ขั้นตอน คือ 1. สํารวจข้อมูลเกษตรแปลงใหญ่ขนาดตั้งแต่ จํานวน 50 ไร่ขึ้นไปทั้งในส่วนที่ได้ดําเนินการไปแล้ว และยังไม่มีแผนการผลิตและแผนการตลาดอย่างครบ มีจํานวนกี่แปลง ชนิดพืชหรือทําการเกษตรประเภทอะไรเป็นส่วนใหญ่ มีการรวมตัวกันจดทะเบียนกลุ่มหรือวิสาหกิจชุมชนหรือสมาชิกสหกรณ์การเกษตรแล้วหรือไม่อย่างไร 2.วิเคราะห์แผนการผลิต แผนการตลาดว่า มีปัญหาหรือจุดอ่อนในเรื่องอะไรที่เกินขีดความสามารถของหน่วยงานในพื้นที่ที่จะแก้ไขได้ และต้องการขอรับการสนับสนุนจากส่วนกลางในเรื่องอะไรบ้าง 3.ตั้งชุดปฎิบัติการเกษตร(ชป.กษ.)ประจําพื้นที่เกษตรแปลงใหญ่จากทุกหน่วยงานกษ.เพื่อลงไปดูแลแนะนําช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องต่างๆ เช่น การจัดหาแหล่งนํา้ การวิเคราะห์ตรวจคุณภาพดินเพื่อหาสารอาหารหรือแร่ธาตุในดิน การแนะนําเลือกพืชหรือสัตว์ให้เหมาะสมกับพื้นที่ หรือความต้องการของตลาด การเลี้ยงสัตว์น้ํา การดูแลป้องกันโรคพืช โรคสัตว์ แนะนําการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต ฯลฯ 2.ขอให้นําข้อมูลข้างต้นนําเสนอในที่ประชุมระหว่างคณะอนุกรรมการฯ จังหวัด (อ.พ.ก.) กับหน่วยงานรัฐและเอกชนด้านการตลาดซึ่งได้แก่พาณิชย์จังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด ธกส.หรือหน่วยราชการที่รับซื้อสินค้าการเกษตรไปใช้ในหน่วยงานเช่นโรงเรียน โรงพยาบาล หรือชมรมธนาคารจังหวัดหรือหอการค้าหรือสภาอุตสาหกรรมจังหวัดรวมทั้งบริษัทประชารัฐรักสามัคคีจังหวัดให้มาร่วมกันพิจารณารับซื้อผลผลิตจากกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่หรือร่วมวางแผนการตลาดให้แก่กลุ่มเกษตรกรหรืออาจให้มีการตกลงจับคู่ค้าขายกันตามพันธะสัญญาที่เป็นธรรมระหว่างกลุ่มเกษตรกรสมาชิกเกษตรแปลงใหญ่หรือวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์การเกษตรกับภาคเอกชนผู้ค้าปลีก ค้าส่งหรือส่งออกประเทศ บริษัท ห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้าตัวแทนจําหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภค หรือร้านค้าสะดวกซื้อซึ่งมีสาขาอยู่ในจังหวัดต่างๆ สําหรับพื้นที่ที่มีการปลูกยางพาราเป็นจํานวนมาก และมีปัญหาผลผลิตราคาตกต่ํานั้น กระทรวงเกษตรฯ จะเริ่มใช้มารการแก้ไขปัญหายางพารายางยั่งยืน โดยขอให้คณะอนุกรรมการฯ จังหวัด (อ.พ.ก.) มอบให้คณะกรรมการอํานวยการขับเคลื่อนงานนโยบายสําคัญและการแก้ไขปัญหาภาคเกษตรระดับจังหวัดเป็นหน่วยดําเนินการประชาสัมพันธ์เชิญชวนเกษตรกรชาวสวนยาง ที่มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมใหม่เพื่อทดแทนการปลูกยางซึ่งมีหลักการรองรับการพัฒนาอาชีพปลูกยางพารา คือ (1) การเปลี่ยนอาชีพจากการทําสวนยางมาทําเกษตรกรรมใหม่ ที่มีตลาดรองรับหรือมีโอกาสที่เกษตรกรจะรายได้มากกว่าการทําสวนยาง (2) เกษตรกรที่จะเข้ารวมโครงการต้องรวมตัวกันเป็นกลุ่มและมีสวนยางหรือแปลงยางติดกันหรือใกล้เคียงกันในตําบลหรือหมู่บ้านเดียวกัน โดยมีขนาดเนื้อที่รวมกันตั้งแต่ 50 ไร่ขึ้นไป คล้ายหลักการในโครงการเกษตรแปลงใหญ่ (3) สําหรับผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาเกษตรกรรมใหม่เพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพทําสวนยางมาทําเกษตรกรรมใหม่ ทางราชการจะรับผิดชอบดูแลสนับสนุนปัจจัยการผลิตและการตลาดรวมทั้งหาอาชีพเสริมในช่วงรอผลผลิตทางการเกษตรกรรมใหม่ที่จะขายได้ด้วย ขณะเดียวกัน จะต้องรวบรวมรายชื่อเกษตรกร และจํานวนพื้นที่แปลงสวนยางที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมใหม่ว่า แต่ละจังหวัดมีจํานวนพื้นที่แปลงใหญ่กี่แปลง แต่ละแปลงมีขนาดพื้นที่กี่ไร่ และกลุ่มเกษตรกรเจ้าสวนยางเหล่านั้นมีการจดทะเบียนกลุ่ม/วิสาหกิจหรือเป็นสมาชิกสหกรณ์หรือไม่ “ผมได้มอบหมายให้ ปลัดกระทรวงเกษตรฯ กําหนดมาตรการและวิธีการให้ ผต.กษ.ระดับกระทรวงและระดับกรม เป็นคณะทํางานตรวจแนะนําและติดตามการดําเนินการของจังหวัดประจําพื้นที่ทั้ง 76 จังหวัดว่า มีปัญหาและอุปสรรคในการดําเนินการของจังหวัดและอําเภออย่างไร หรือไม่ เพื่อรวบรวมรายงานให้คณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ทราบ ซึ่งผมหน้าที่เป็นประธานเพื่อจะนําข้อมูลทั้งหมดที่ได้รับมาประสานงานกับหน่วยงานรัฐและเอกชนในส่วนกลาง ที่จะได้ให้การสนับสนุนหรือแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้ถูกต้องต่อไป” นายกฤษฎา กล่าว กลุ่มโฆษกและวิเคราะห์ข่าว กองเกษตรสารนิเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร 02-2810859 แฟกซ์ 02-2822871 [email protected] www.moac.go.th www.facebook.com/kasetthai
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“กฤษฎา” สั่งทุกหน่วยเร่งสานต่อเกษตรแปลงใหญ่ พร้อมตั้งชุดปฏิบัติการเกษตรประจำพื้นที่เกษตรเพื่อลงไปดูแลแนะนำช่วยเหลือเกษตรกร วันจันทร์ที่ 15 มกราคม 2561 “กฤษฎา” สั่งทุกหน่วยเร่งสานต่อเกษตรแปลงใหญ่ พร้อมตั้งชุดปฏิบัติการเกษตรประจําพื้นที่เกษตรเพื่อลงไปดูแลแนะนําช่วยเหลือเกษตรกร “กฤษฎา” สั่งทุกหน่วยเร่งสานต่อเกษตรแปลงใหญ่ยึดตลาดนําผลิต พร้อมตั้งชุดปฏิบัติการเกษตรประจําพื้นที่เกษตรแปลงใหญ่เพื่อลงไปดูแลแนะนําช่วยเหลือเกษตรกรหนุนเกษตรกรร่วมโครงการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมใหม่เพื่อทดแทนการปลูกยาง นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงความก้าวหน้าการขับเคลื่อนนโยบายเกษตรแปลงใหญ่ระยะต่อไปได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงเกษตรฯและผู้บริหารทุกหน่วยงานกําหนดแนวทางการบริหารหรือนํานโยบายดังกล่าวข้างต้นไปดําเนินการในพื้นที่ให้ต่อเนื่องและเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรอย่างเป็นรูปธรรม ที่สําคัญได้ขอให้เพิ่มเติมโดยนําหลักคิดในเรื่องการตลาดนําการผลิตทางการเกษตรไปดําเนินการด้วย โดยกําหนดให้จัดประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัด (อ.พ.ก.)ที่มีรองผู้ว่าราการจังหวัดเป็นประธาน เพื่อมอบหมายให้คณะกรรมการอํานวยการขับเคลื่อนงานนโยบายสําคัญและการแก้ไขปัญหาภาคเกษตรระดับจังหวัด ซึ่งมีเกษตรจังหวัดเป็นหัวหน้าทีมนําไปปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยเร่งดําเนินการใน 3 ขั้นตอน คือ 1. สํารวจข้อมูลเกษตรแปลงใหญ่ขนาดตั้งแต่ จํานวน 50 ไร่ขึ้นไปทั้งในส่วนที่ได้ดําเนินการไปแล้ว และยังไม่มีแผนการผลิตและแผนการตลาดอย่างครบ มีจํานวนกี่แปลง ชนิดพืชหรือทําการเกษตรประเภทอะไรเป็นส่วนใหญ่ มีการรวมตัวกันจดทะเบียนกลุ่มหรือวิสาหกิจชุมชนหรือสมาชิกสหกรณ์การเกษตรแล้วหรือไม่อย่างไร 2.วิเคราะห์แผนการผลิต แผนการตลาดว่า มีปัญหาหรือจุดอ่อนในเรื่องอะไรที่เกินขีดความสามารถของหน่วยงานในพื้นที่ที่จะแก้ไขได้ และต้องการขอรับการสนับสนุนจากส่วนกลางในเรื่องอะไรบ้าง 3.ตั้งชุดปฎิบัติการเกษตร(ชป.กษ.)ประจําพื้นที่เกษตรแปลงใหญ่จากทุกหน่วยงานกษ.เพื่อลงไปดูแลแนะนําช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องต่างๆ เช่น การจัดหาแหล่งนํา้ การวิเคราะห์ตรวจคุณภาพดินเพื่อหาสารอาหารหรือแร่ธาตุในดิน การแนะนําเลือกพืชหรือสัตว์ให้เหมาะสมกับพื้นที่ หรือความต้องการของตลาด การเลี้ยงสัตว์น้ํา การดูแลป้องกันโรคพืช โรคสัตว์ แนะนําการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต ฯลฯ 2.ขอให้นําข้อมูลข้างต้นนําเสนอในที่ประชุมระหว่างคณะอนุกรรมการฯ จังหวัด (อ.พ.ก.) กับหน่วยงานรัฐและเอกชนด้านการตลาดซึ่งได้แก่พาณิชย์จังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด ธกส.หรือหน่วยราชการที่รับซื้อสินค้าการเกษตรไปใช้ในหน่วยงานเช่นโรงเรียน โรงพยาบาล หรือชมรมธนาคารจังหวัดหรือหอการค้าหรือสภาอุตสาหกรรมจังหวัดรวมทั้งบริษัทประชารัฐรักสามัคคีจังหวัดให้มาร่วมกันพิจารณารับซื้อผลผลิตจากกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่หรือร่วมวางแผนการตลาดให้แก่กลุ่มเกษตรกรหรืออาจให้มีการตกลงจับคู่ค้าขายกันตามพันธะสัญญาที่เป็นธรรมระหว่างกลุ่มเกษตรกรสมาชิกเกษตรแปลงใหญ่หรือวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์การเกษตรกับภาคเอกชนผู้ค้าปลีก ค้าส่งหรือส่งออกประเทศ บริษัท ห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้าตัวแทนจําหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภค หรือร้านค้าสะดวกซื้อซึ่งมีสาขาอยู่ในจังหวัดต่างๆ สําหรับพื้นที่ที่มีการปลูกยางพาราเป็นจํานวนมาก และมีปัญหาผลผลิตราคาตกต่ํานั้น กระทรวงเกษตรฯ จะเริ่มใช้มารการแก้ไขปัญหายางพารายางยั่งยืน โดยขอให้คณะอนุกรรมการฯ จังหวัด (อ.พ.ก.) มอบให้คณะกรรมการอํานวยการขับเคลื่อนงานนโยบายสําคัญและการแก้ไขปัญหาภาคเกษตรระดับจังหวัดเป็นหน่วยดําเนินการประชาสัมพันธ์เชิญชวนเกษตรกรชาวสวนยาง ที่มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมใหม่เพื่อทดแทนการปลูกยางซึ่งมีหลักการรองรับการพัฒนาอาชีพปลูกยางพารา คือ (1) การเปลี่ยนอาชีพจากการทําสวนยางมาทําเกษตรกรรมใหม่ ที่มีตลาดรองรับหรือมีโอกาสที่เกษตรกรจะรายได้มากกว่าการทําสวนยาง (2) เกษตรกรที่จะเข้ารวมโครงการต้องรวมตัวกันเป็นกลุ่มและมีสวนยางหรือแปลงยางติดกันหรือใกล้เคียงกันในตําบลหรือหมู่บ้านเดียวกัน โดยมีขนาดเนื้อที่รวมกันตั้งแต่ 50 ไร่ขึ้นไป คล้ายหลักการในโครงการเกษตรแปลงใหญ่ (3) สําหรับผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาเกษตรกรรมใหม่เพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพทําสวนยางมาทําเกษตรกรรมใหม่ ทางราชการจะรับผิดชอบดูแลสนับสนุนปัจจัยการผลิตและการตลาดรวมทั้งหาอาชีพเสริมในช่วงรอผลผลิตทางการเกษตรกรรมใหม่ที่จะขายได้ด้วย ขณะเดียวกัน จะต้องรวบรวมรายชื่อเกษตรกร และจํานวนพื้นที่แปลงสวนยางที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมใหม่ว่า แต่ละจังหวัดมีจํานวนพื้นที่แปลงใหญ่กี่แปลง แต่ละแปลงมีขนาดพื้นที่กี่ไร่ และกลุ่มเกษตรกรเจ้าสวนยางเหล่านั้นมีการจดทะเบียนกลุ่ม/วิสาหกิจหรือเป็นสมาชิกสหกรณ์หรือไม่ “ผมได้มอบหมายให้ ปลัดกระทรวงเกษตรฯ กําหนดมาตรการและวิธีการให้ ผต.กษ.ระดับกระทรวงและระดับกรม เป็นคณะทํางานตรวจแนะนําและติดตามการดําเนินการของจังหวัดประจําพื้นที่ทั้ง 76 จังหวัดว่า มีปัญหาและอุปสรรคในการดําเนินการของจังหวัดและอําเภออย่างไร หรือไม่ เพื่อรวบรวมรายงานให้คณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ทราบ ซึ่งผมหน้าที่เป็นประธานเพื่อจะนําข้อมูลทั้งหมดที่ได้รับมาประสานงานกับหน่วยงานรัฐและเอกชนในส่วนกลาง ที่จะได้ให้การสนับสนุนหรือแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้ถูกต้องต่อไป” นายกฤษฎา กล่าว กลุ่มโฆษกและวิเคราะห์ข่าว กองเกษตรสารนิเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร 02-2810859 แฟกซ์ 02-2822871 [email protected] www.moac.go.th www.facebook.com/kasetthai
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/9383
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ชี้แจงประเด็นปัญหาการให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์
วันจันทร์ที่ 2 เมษายน 2561 บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จํากัด ชี้แจงประเด็นปัญหาการให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จํากัด ชี้แจงประเด็นปัญหาการให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ วันที่ 2 เมษายน 2561 นายวิสุทธิ์ จันมณี กรรมการ และรักษาการกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จํากัด หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ชี้แจงประเด็นปัญหาการให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ตามที่ นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าฯ กทม. ฝ่ายโยธาและจราจร และอดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟสบุ๊ก ระบุว่าการให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ขณะนี้อยู่ในช่วงวิกฤต เพราะเหลือขบวนรถที่สามารถให้บริการประชาชนได้เพียง 5 ขบวน จาก 9 ขบวน (เสีย 4 ขบวน) ทําให้ผู้โดยสารต้องเสียเวลารอนาน และผู้โดยสารอาจไม่มีความปลอดภัยในการเดินทาง พร้อมตําหนิว่าสาเหตุสําคัญเกิดจากการซ่อมบํารุงรักษาที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน โดยเฉพาะไม่มีการซ่อมบํารุงใหญ่ (Overhaul) หลังจากวิ่งถึงระยะทางที่กําหนด นอกจากนี้มีการเปิดเผยว่า บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จํากัด มีการซ่อมบํารุงรักษาโดยนําอุปกรณ์ที่เสียไปซ่อมแถวคลองถมแทนการรออะไหล่จากต่างประเทศ ซึ่งหากการซ่อมบํารุงรักษายังคงดําเนินไปในลักษณะนี้ โอกาสที่รถไฟฟ้าเสียจะเกิดขึ้นอีกบ่อยครั้ง พร้อมตั้งคําถามว่าท้ายที่สุดจะเหลือรถไฟฟ้าที่วิ่งให้บริการประชาชนได้กี่ขบวน จึงเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี เร่งแก้ไขปัญหาในการบริหารภายในองค์กรดังกล่าวโดยทันที เพื่อความสะดวกสบาย และปลอดภัยของผู้โดยสาร การตรวจสอบข้อเท็จจริง รฟฟท. ได้ตรวจสอบข้อมูลแล้วขอชี้แจงดังนี้ ประเด็นที่ 1 การซ่อมบํารุงรักษาไม่เป็นไปตามมาตรฐาน โดยเฉพาะไม่มีการซ่อมบํารุงใหญ่ (Overhaul) หลังจากวิ่งถึงระยะที่กําหนด รฟฟท. ได้ดําเนินการซ่อมบํารุงอะไหล่สึกหรอบางส่วน (Partial Overhaul) ไปแล้ว เมื่อปี 2557 ที่ระยะ 1.2 ล้านกิโลเมตร และในปี 2559 ทาง รฟฟท. ได้มีการจ้างเหมาซ่อมบํารุงใหญ่ตามวาระ (วาระ 2.4 ล้านกิโลเมตร) ตามมาตรฐานสากล โดยรถไฟฟ้าทั้ง 9 ขบวนยังใช้งานไม่ถึง 2.4 ล้านกิโลเมตร และการดําเนินงานเป็นไปตามคู่มือการซ่อมบํารุงของบริษัท ซีเมนส์ เจ้าของระบบอย่างเคร่งครัด ปัจจุบันได้ดําเนินการซ่อมบํารุงใหญ่ไปแล้วจํานวน 6 ขบวน เหลืออีก 3 ขบวน ขณะนี้กําลังรออะไหล่ของเครื่องจ่ายลมหลัก (Main Air Compressor) ซึ่งจะได้รับภายในเดือน เม.ย. 61 , อะไหล่ของหม้อแปลงวัดกระแสไฟฟ้า (CT Current Transformer) และ อะไหล่ของอุปกรณ์ที่ทําหน้าที่ควบคุมการทํางานของมอเตอร์ไฟฟ้า (IGBT Insulated Gate Bipolar Transistor) ซึ่งจะได้รับภายในเดือน ก.ค. 61 โดยหลังจากที่ได้อะไหล่แล้วคาดว่าจะซ่อมบํารุงขบวนที่ 7 ได้เสร็จในช่วงปลายเดือนเม.ย. 61และทําให้สามารถให้บริการได้ครบทั้ง 7 ขบวน ส่วนขบวนที่ 8 คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงเดือน ก.ค. 61และแล้วเสร็จครบ 9 ขบวนเดือน ธ.ค. 61 ทั้งนี้ สาเหตุที่เกิดรถไฟฟ้าขัดข้องบ่อยครั้ง เนื่องจากการใช้งานหนักของขบวนรถ ทําให้อุปกรณ์ และอะไหล่ต่าง ๆ เกิดการเสื่อมคุณภาพเร็วกว่ากําหนด และในการนําขบวนรถไปให้บริการผู้โดยสาร รฟฟท. จะดูเรื่องความพร้อมของขบวนรถและการให้ความสําคัญกับความปลอดภัยของผู้โดยสารเป็นลําดับแรก ประเด็นที่ 2 นําอุปกรณ์ที่เสียไปซ่อมคลองถมแทนการหาอะไหล่จากต่างประเทศ รฟฟท. ไม่เคยนําอุปกรณ์ที่ชํารุดไปซ่อมบํารุงที่คลองถมตามที่มีการอ้างถึงแต่อย่างใด มีเพียงการจัดหาอะไหล่ทั่วไปที่มีภายในประเทศ ได้แก่ แหวนหรือปะเก็น สําหรับใช้งานในระบบที่ไม่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย โดยอุปกรณ์ในทุกระบบจะถูกส่งไปซ่อมบํารุงที่โรงงานผู้ผลิต หรือโรงงานที่มีประสบการณ์และมาตรฐานในการซ่อมบํารุงอุปกรณ์ประเภทดังกล่าว มาตรการป้องกันและแก้ไข รฟฟท.มีการประเมินความเสี่ยงของระบบตัวรถไฟฟ้าทุกระบบ ว่าอะไหล่ตัวใดที่เสียแล้วจะส่งผลกระทบต่อการให้บริการ และได้นําผลสรุปความเสี่ยงดังกล่าวนั้นมาทําการกําหนดลําดับการจัดซื้อจัดจ้าง และบางรายการก็ได้มีการจัดซื้อจัดจ้างเรียบร้อยแล้ว รฟฟท. ร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จัดขบวนรถดีเซลรางให้บริการเพื่อ เป็นทางเลือกและการอํานวยความสะดวกให้ผู้โดยสาร ช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า-เย็น เส้นทางระหว่างสถานีลาดกระบัง – สถานีกรุงเทพ (หัวลําโพง) ช่วงวันจันทร์-วันศุกร์ ------------------------------
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ชี้แจงประเด็นปัญหาการให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ วันจันทร์ที่ 2 เมษายน 2561 บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จํากัด ชี้แจงประเด็นปัญหาการให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จํากัด ชี้แจงประเด็นปัญหาการให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ วันที่ 2 เมษายน 2561 นายวิสุทธิ์ จันมณี กรรมการ และรักษาการกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จํากัด หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ชี้แจงประเด็นปัญหาการให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ตามที่ นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าฯ กทม. ฝ่ายโยธาและจราจร และอดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟสบุ๊ก ระบุว่าการให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ขณะนี้อยู่ในช่วงวิกฤต เพราะเหลือขบวนรถที่สามารถให้บริการประชาชนได้เพียง 5 ขบวน จาก 9 ขบวน (เสีย 4 ขบวน) ทําให้ผู้โดยสารต้องเสียเวลารอนาน และผู้โดยสารอาจไม่มีความปลอดภัยในการเดินทาง พร้อมตําหนิว่าสาเหตุสําคัญเกิดจากการซ่อมบํารุงรักษาที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน โดยเฉพาะไม่มีการซ่อมบํารุงใหญ่ (Overhaul) หลังจากวิ่งถึงระยะทางที่กําหนด นอกจากนี้มีการเปิดเผยว่า บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จํากัด มีการซ่อมบํารุงรักษาโดยนําอุปกรณ์ที่เสียไปซ่อมแถวคลองถมแทนการรออะไหล่จากต่างประเทศ ซึ่งหากการซ่อมบํารุงรักษายังคงดําเนินไปในลักษณะนี้ โอกาสที่รถไฟฟ้าเสียจะเกิดขึ้นอีกบ่อยครั้ง พร้อมตั้งคําถามว่าท้ายที่สุดจะเหลือรถไฟฟ้าที่วิ่งให้บริการประชาชนได้กี่ขบวน จึงเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี เร่งแก้ไขปัญหาในการบริหารภายในองค์กรดังกล่าวโดยทันที เพื่อความสะดวกสบาย และปลอดภัยของผู้โดยสาร การตรวจสอบข้อเท็จจริง รฟฟท. ได้ตรวจสอบข้อมูลแล้วขอชี้แจงดังนี้ ประเด็นที่ 1 การซ่อมบํารุงรักษาไม่เป็นไปตามมาตรฐาน โดยเฉพาะไม่มีการซ่อมบํารุงใหญ่ (Overhaul) หลังจากวิ่งถึงระยะที่กําหนด รฟฟท. ได้ดําเนินการซ่อมบํารุงอะไหล่สึกหรอบางส่วน (Partial Overhaul) ไปแล้ว เมื่อปี 2557 ที่ระยะ 1.2 ล้านกิโลเมตร และในปี 2559 ทาง รฟฟท. ได้มีการจ้างเหมาซ่อมบํารุงใหญ่ตามวาระ (วาระ 2.4 ล้านกิโลเมตร) ตามมาตรฐานสากล โดยรถไฟฟ้าทั้ง 9 ขบวนยังใช้งานไม่ถึง 2.4 ล้านกิโลเมตร และการดําเนินงานเป็นไปตามคู่มือการซ่อมบํารุงของบริษัท ซีเมนส์ เจ้าของระบบอย่างเคร่งครัด ปัจจุบันได้ดําเนินการซ่อมบํารุงใหญ่ไปแล้วจํานวน 6 ขบวน เหลืออีก 3 ขบวน ขณะนี้กําลังรออะไหล่ของเครื่องจ่ายลมหลัก (Main Air Compressor) ซึ่งจะได้รับภายในเดือน เม.ย. 61 , อะไหล่ของหม้อแปลงวัดกระแสไฟฟ้า (CT Current Transformer) และ อะไหล่ของอุปกรณ์ที่ทําหน้าที่ควบคุมการทํางานของมอเตอร์ไฟฟ้า (IGBT Insulated Gate Bipolar Transistor) ซึ่งจะได้รับภายในเดือน ก.ค. 61 โดยหลังจากที่ได้อะไหล่แล้วคาดว่าจะซ่อมบํารุงขบวนที่ 7 ได้เสร็จในช่วงปลายเดือนเม.ย. 61และทําให้สามารถให้บริการได้ครบทั้ง 7 ขบวน ส่วนขบวนที่ 8 คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงเดือน ก.ค. 61และแล้วเสร็จครบ 9 ขบวนเดือน ธ.ค. 61 ทั้งนี้ สาเหตุที่เกิดรถไฟฟ้าขัดข้องบ่อยครั้ง เนื่องจากการใช้งานหนักของขบวนรถ ทําให้อุปกรณ์ และอะไหล่ต่าง ๆ เกิดการเสื่อมคุณภาพเร็วกว่ากําหนด และในการนําขบวนรถไปให้บริการผู้โดยสาร รฟฟท. จะดูเรื่องความพร้อมของขบวนรถและการให้ความสําคัญกับความปลอดภัยของผู้โดยสารเป็นลําดับแรก ประเด็นที่ 2 นําอุปกรณ์ที่เสียไปซ่อมคลองถมแทนการหาอะไหล่จากต่างประเทศ รฟฟท. ไม่เคยนําอุปกรณ์ที่ชํารุดไปซ่อมบํารุงที่คลองถมตามที่มีการอ้างถึงแต่อย่างใด มีเพียงการจัดหาอะไหล่ทั่วไปที่มีภายในประเทศ ได้แก่ แหวนหรือปะเก็น สําหรับใช้งานในระบบที่ไม่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย โดยอุปกรณ์ในทุกระบบจะถูกส่งไปซ่อมบํารุงที่โรงงานผู้ผลิต หรือโรงงานที่มีประสบการณ์และมาตรฐานในการซ่อมบํารุงอุปกรณ์ประเภทดังกล่าว มาตรการป้องกันและแก้ไข รฟฟท.มีการประเมินความเสี่ยงของระบบตัวรถไฟฟ้าทุกระบบ ว่าอะไหล่ตัวใดที่เสียแล้วจะส่งผลกระทบต่อการให้บริการ และได้นําผลสรุปความเสี่ยงดังกล่าวนั้นมาทําการกําหนดลําดับการจัดซื้อจัดจ้าง และบางรายการก็ได้มีการจัดซื้อจัดจ้างเรียบร้อยแล้ว รฟฟท. ร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จัดขบวนรถดีเซลรางให้บริการเพื่อ เป็นทางเลือกและการอํานวยความสะดวกให้ผู้โดยสาร ช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า-เย็น เส้นทางระหว่างสถานีลาดกระบัง – สถานีกรุงเทพ (หัวลําโพง) ช่วงวันจันทร์-วันศุกร์ ------------------------------
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/11284
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สมาคมแม่บ้านกระทรวงแรงงานมอบทุนการศึกษาแก่บุตรบุคลากรกระทรวงแรงงาน ปี 2561
วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม 2561 สมาคมแม่บ้านกระทรวงแรงงานมอบทุนการศึกษาแก่บุตรบุคลากรกระทรวงแรงงาน ปี 2561 ปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายกสมาคมแม่บ้านกระทรวงแรงงาน มอบทุนการศึกษาแก่บุตรข้าราชการ ลูกจ้างประจํา และพนักงานราชการในสังกัดกระทรวงแรงงานของสมาคมแม่บ้านกระทรวงแรงงาน ประจําปี 2561 สร้างขวัญและกําลังใจ พร้อมช่วยเหลือแบ่งเบาภาระเจ้าหน้าที่ วันที่ 9 สิงหาคมคม 2561 นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย รศ.ดร.รัตนา จักกะพาก นายกสมาคมแม่บ้านกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีมอบทุนสนับสนุนการศึกษาของบุตรข้าราชการ ลูกจ้างประจํา และพนักงานราชการในสังกัดกระทรวงแรงงานของสมาคมแม่บ้านกระทรวงแรงงาน ประจําปี 2561 ณ ห้องประชุมจอมพล ป. พิบูลสงคราม ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน สําหรับปีนี้มีผู้เข้ารับทุนการศึกษาจากสมาคมแม่บ้านกระทรวงแรงงาน จํานวนทั้งสิ้น 183 ราย ซึ่งเป็นประเภททุนประจําปี 174 ราย แบ่งเป็นส่วนกลาง 68 ราย และส่วนภูมิภาค 106 ราย และทุนการศึกษาต่อเนื่อง 9 ราย แบ่งเป็นส่วนกลาง 3 ราย และส่วนภูมิภาค 6 ราย ได้แก่ ระดับประถมศึกษาทุนละ 3,000 บาท จํานวน 128 ราย ระดับมัธยมศึกษาทุนละ 4,000 บาท จํานวน 41 ราย และระดับอุดมศึกษา ทุนละ 6,000 บาท จํานวน 5 ราย และทุนการศึกษาต่อเนื่องเฉพาะระดับอุดมศึกษาทุนละ 30,000 บาทต่อภาคการศึกษา จํานวน 9 ราย รวมเป็นเงินสนับสนุนการศึกษาทั้งสิ้นจํานวน 848,000 บาท ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวเป็นความห่วงใยต่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงแรงงานที่มีรายได้น้อย สมาคมฯ จึงมีนโยบายให้ความช่วยเหลือเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งได้ดําเนินการมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจําทุกปีตั้งแต่ปี 2540 รวมทั้งได้มีการกําหนดหลักเกณฑ์การให้ทุนการศึกษา และมีการปรับปรุงเกณฑ์เพื่อให้มีความสอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันอีกด้วย ----------------------------------------------- กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ 9 สิงหาคม 2561 ชาญชัย ชาวหนองเพียร ภาพ/ข่าว
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สมาคมแม่บ้านกระทรวงแรงงานมอบทุนการศึกษาแก่บุตรบุคลากรกระทรวงแรงงาน ปี 2561 วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม 2561 สมาคมแม่บ้านกระทรวงแรงงานมอบทุนการศึกษาแก่บุตรบุคลากรกระทรวงแรงงาน ปี 2561 ปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายกสมาคมแม่บ้านกระทรวงแรงงาน มอบทุนการศึกษาแก่บุตรข้าราชการ ลูกจ้างประจํา และพนักงานราชการในสังกัดกระทรวงแรงงานของสมาคมแม่บ้านกระทรวงแรงงาน ประจําปี 2561 สร้างขวัญและกําลังใจ พร้อมช่วยเหลือแบ่งเบาภาระเจ้าหน้าที่ วันที่ 9 สิงหาคมคม 2561 นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย รศ.ดร.รัตนา จักกะพาก นายกสมาคมแม่บ้านกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีมอบทุนสนับสนุนการศึกษาของบุตรข้าราชการ ลูกจ้างประจํา และพนักงานราชการในสังกัดกระทรวงแรงงานของสมาคมแม่บ้านกระทรวงแรงงาน ประจําปี 2561 ณ ห้องประชุมจอมพล ป. พิบูลสงคราม ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน สําหรับปีนี้มีผู้เข้ารับทุนการศึกษาจากสมาคมแม่บ้านกระทรวงแรงงาน จํานวนทั้งสิ้น 183 ราย ซึ่งเป็นประเภททุนประจําปี 174 ราย แบ่งเป็นส่วนกลาง 68 ราย และส่วนภูมิภาค 106 ราย และทุนการศึกษาต่อเนื่อง 9 ราย แบ่งเป็นส่วนกลาง 3 ราย และส่วนภูมิภาค 6 ราย ได้แก่ ระดับประถมศึกษาทุนละ 3,000 บาท จํานวน 128 ราย ระดับมัธยมศึกษาทุนละ 4,000 บาท จํานวน 41 ราย และระดับอุดมศึกษา ทุนละ 6,000 บาท จํานวน 5 ราย และทุนการศึกษาต่อเนื่องเฉพาะระดับอุดมศึกษาทุนละ 30,000 บาทต่อภาคการศึกษา จํานวน 9 ราย รวมเป็นเงินสนับสนุนการศึกษาทั้งสิ้นจํานวน 848,000 บาท ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวเป็นความห่วงใยต่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงแรงงานที่มีรายได้น้อย สมาคมฯ จึงมีนโยบายให้ความช่วยเหลือเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งได้ดําเนินการมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจําทุกปีตั้งแต่ปี 2540 รวมทั้งได้มีการกําหนดหลักเกณฑ์การให้ทุนการศึกษา และมีการปรับปรุงเกณฑ์เพื่อให้มีความสอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันอีกด้วย ----------------------------------------------- กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ 9 สิงหาคม 2561 ชาญชัย ชาวหนองเพียร ภาพ/ข่าว
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/14493
สวัสดีครับ
พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน วันที่ 3 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็น “วันทหารผ่านศึก” เป็นวันที่ประชาชนคนไทย ทุกคนควรได้ระลึกถึงความเสียสละอันยิ่งใหญ่ของวีรชนใน “แนวหน้า” ที่พร้อมจะเสียสละไม่เพียงแค่ความสุขทางกาย แต่ยอมที่จะเสียสละได้ทั้งชีวิตและเลือดเนื้อ ทั้งนี้เพื่อปกป้องผืนแผ่นดิน อันเป็นที่รักของพวกเราทุกคน เพื่อให้ประชาชนได้มีที่อยู่ที่อาศัย ใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติสุขจนถึงทุกวันนี้ แม้เมื่อไม่มีภัยสงคราม แต่ยังคงมีข้าราชการพลเรือน ตํารวจ ทหาร อาสาสมัครอีกเป็นจํานวนมาก ที่ต้องทํางานนอนกลางดิน กินกลางทราย อยู่ท่ามกลางป่าเขา เพื่อจะปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาอธิปไตย ตามแนวชายแดน เฝ้าตรวจชายแดน ปฏิบัติภารกิจในพื้นที่เสี่ยงภัย ต้องห่างจากครอบครัวที่รัก จากสิ่งอํานวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อจะป้องกันประเทศ การรุกล้ําอธิปไตย และการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ซึ่งวันนี้ก็มีภัยอันตรายมากมาย ทั้งภัยคุกคามในรูปแบบเดิม และในรูปแบบใหม่ จากการกระทําผิดกฎหมาย การก่อความไม่สงบ และการป้องกันและปราบปราบยาเสพติด ขอให้ทุกคนได้ร่วมกันให้กําลังใจ ส่งคําอวยพร ให้พวกเขาปลอดภัย ผมขอเชิญชวนพวกเรา “แนวหลัง” ทุกคน ได้ร่วมกันแสดงออกถึงความมีน้ําใจ ตอบแทนความเสียสละ ด้วยการอุดหนุน “ดอกป๊อปปี้” ดอกไม้สีแดง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทหารผ่านศึก โดยการซื้อหรือการบริจาคทรัพย์ สําหรับการสงเคราะห์ทหารผ่านศึกที่ได้รับบาดเจ็บ รักษาตัว พิการ หรือเสียชีวิตในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อจะช่วยกันดูแลครอบครัวของเขาให้มีความสุขต่อไป เขาขาดหัวหน้าครอบครัว ขอให้ “ดอกป๊อปปี้” ได้มีการผลิบานอยู่ในใจทุกคน “สานใจแนวหลังสู่แนวหน้า” ร่วมกันทําให้แผ่นดินที่พวกเรา หรือพวกเขารักษาไว้ด้วยชีวิตนั้น เป็น “แผ่นดินแห่งความสุข – สันติ” ของประชาชนทุกคน สําหรับการปฏิรูปรูปแบบการทํางาน ในการร่วมมือกันสร้างชาติ ตามแนวทาง “ประชารัฐ” นั้น ผมเห็นว่าน่าจะเป็นการ “คืนความสุข” แก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ให้กับคนในชาติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปประเทศ และการวางรากฐานการพัฒนาในอนาคต วันนี้ผมขอหยิบยกตัวอย่างการดําเนินการแบบ “ประชารัฐ” ในพื้นที่ที่ผมได้เดินทางไปเยี่ยมเยือนด้วยตัวเองเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ทําให้เกิดความเข้มแข็งในระดับชุมชนและท้องถิ่น ที่สามารถจะเป็นแบบอย่างในการยืนบนลําแข้งของตนเองได้ ในระยะที่ 1 ดังนี้ ตําบลบึงปลาทู อําเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ได้เยี่ยมชมนิทรรศการต่าง ๆ อาทิเช่น การรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่ ในการทําการเพาะปลูกพืช ตามที่รัฐบาลได้ให้คําแนะนําไป แล้วได้เข้าถึงกองทุนต่าง ๆ ที่รัฐได้ส่งเสริมไป ทําให้เกิดช่องทางการรับการสนับสนุนนั้นสั้นลง แล้วตรงกับความต้องการของทั้งภาครัฐและภาคประชาชน เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งยั่งยืน สิ่งเหล่านี้ถ้าท่านเริ่มด้วยตัวเองได้ตามคําแนะนํา จะสะดวกแก่การบริหารจัดการของรัฐบาล และของท่านเองด้วยในการรวมกลุ่ม เช่น การใช้เครื่องมือทางการเกษตรร่วมกัน หรือการรวมกลุ่มกันเพาะปลูกพืชชนิดเดียวกัน และร่วมกันทําการแปรรูป สร้างนวัตกรรม ทําการตลาดร่วมกัน แบ่งปันกันก็มีอยู่ ส่วนแรกคือส่วนที่ต้องใช้ภายในพื้นที่ของตัวเอง ในกลุ่มของตัวเอง อันที่สองคือ ค้าขายในชุมชน หรือแปรรูปขั้นที่ 1 จากนั้นก็ไปส่งไประยะที่ 2 ส่งไปโรงงาน ส่งไปอะไรก็แล้วแต่ จะเกิดเศรษฐกิจเชื่อมโยงกันทั้งหมด เราได้เห็นความร่วมมือของภาครัฐ – เอกชน – ประชาชน ในพื้นที่ที่ผมไปเยี่ยมมา ได้ร่วมกันขับเคลื่อนตามนโยบายรัฐบาลตั้งแต่ กกร. ลงไปถึง กรอ. ลงถึงระดับชุมชน หมู่บ้าน สําหรับมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงภัยแล้งที่ผ่านมานั้น ได้มีการทํานาปรังสูงขึ้นถึง 268,000 ไร่ แต่หลังจากที่รัฐบาลได้ขอความร่วมมือในปีนี้จากพี่น้องเกษตรกร ให้ลดการปลูกข้าวนาปรังในปีนี้ เนื่องจากอาจจะมีความเสี่ยงต่อผลกระทบจากภัยแล้ง ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีในพื้นที่ นอกจากในเรื่องของการรวมแปลงแล้ว ก็มีเรื่องของการขอความร่วมมือของการทํานาปรัง ทําให้ปีนี้ พื้นที่ทํานาปรังที่ผมไปเยี่ยมมาลดลงเหลือเพียง 7,135 ไร่ โดยเกษตรกรส่วนใหญ่ปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชไร่และพืชผักอายุสั้นแทน เช่น ถั่วเขียว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พริก มะเขือ ถั่วฝักยาว แล้วใช้แหล่งน้ําจากบ่อบาดาลระดับตื้น สามารถทําให้มีรายได้ดี มีพ่อค้าคนกลางจากตลาดไทมารับซื้อถึงที่ มีการขยายพื้นที่การปลูกผักมากขึ้น แทนการทํานาปรังมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นตัวอย่างแห่งความสําเร็จของนโยบายประชารัฐของรัฐบาล อย่าไปฟังใครที่กล่าวหาว่ารัฐบาลไม่ช่วยเหลือเกษตรกร คือถ้าทําตรงกับนโยบาย ทําตามสิ่งที่เราแนะนํา ซึ่งได้เร็วขึ้นก็เกิดผลสัมฤทธิ์ หลายคนได้เล่าให้ผมฟังว่า รายได้เขาดีขึ้นมากกว่าทํานา แต่ข้อสําคัญคือรัฐบาลต้องควบคุมดูแลในเรื่องของปริมาณการปลูกและการตลาดให้ด้วย รวมทั้งสนับสนุนเครื่องมือ เครื่องใช้ในการนําเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มเติม และเพื่อจะแข่งขัน ลดราคากับภาคเอกชนที่ได้มีการให้เช่าเครื่องไม้เครื่องมือ เครื่องจักร แต่ราคาแพงในการไถ เก็บเกี่ยวต่าง ๆ รัฐบาลจะส่งเสริมเป็นแนวทางไว้ วันหน้าจะได้เดินหน้าไปได้ด้วยดี มั่นคง ทุกคนจะได้รวมตัวกันเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง หากพร้อมใจกันรับฟังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อาจจะยากในระยะแรก เพราะว่าเคยทํามาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย แต่ก็ขอให้เชื่อมั่นว่ารัฐบาลลงรายละเอียดทุกเรื่อง ไม่ได้คิดเพื่อจะทําให้ทุกอย่างผ่านพ้นไปง่าย ๆ ไม่ใช่ เพราะฉะนั้น ภาครัฐได้สนับสนุนเงินลงทุนผ่านสินเชื่อจากธนาคารเกษตรและสหกรณ์ เมล็ดพันธุ์พืช องค์ความรู้ในการปลูกพืชทดแทน การทําปุ๋ย การแปรรูปสินค้าเพิ่มมูลค่า แล้วมีภาคเอกชนมาร่วมสนับสนุนหลายบริษัทในการที่จะช่วยหาตลาด สร้างความเชื่อมโยงเพื่อรองรับสินค้าเกษตร แล้วไปแปรรูปด้วย ก็มีความหลากหลายมากขึ้น สําหรับในพื้นที่ที่ไปวันนั้น ผมได้ย้ําให้แต่คนในชุมชนได้ไปหาเรื่องราว ประวัติศาสตร์ที่สําคัญของชุมชน ที่เป็นอัตตาลักษณ์มาเชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ผลิตออกมา ทั้งนี้ เพื่อจะเพิ่มมูลค่าให้ผู้บริโภคสนใจเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละพื้นที่ที่ไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นผลผลิตต่าง ๆ อยากให้ทุกสินค้า ทุกรายการมีเรื่องราวความเป็นมาไม่ซ้ํากัน มีคุณค่า แล้วราคาจะสูงขึ้นเอง ผมเห็นตัวอย่างต่างประเทศเขาทําแบบนี้ด้วย เรื่องที่สอง โครงการฟื้นฟูสระเก็บน้ํา บ.หนองดู่ 400 ไร่ เป็นโครงการหนึ่งในพื้นที่จังหวัดชัยนาท ซึ่งเดิมผมให้รองนายกรัฐมนตรี ประวิทย์ฯ ไปตรวจเยี่ยมในพื้นที่ เพื่อติดตามความก้าวหน้าในพื้นที่ที่รับผิดชอบ พร้อมรับฟังปัญหาของประชาชนในพื้นที่ที่บริเวณบ้านห้วยมะโมง ซึ่งมีห้วยธรรมชาติที่ตื้นเขิน และใช้ประโยชน์เก็บกักน้ําอะไรไม่ได้มาก จึงเสนอโครงการขึ้นมา โดยผ่านท่านรองประวิทย์ฯ ก็ได้ใช้งบประมาณในส่วนที่รองนายกรัฐมนตรี สามารถนําไปแก้ปัญหาได้ส่วนหนึ่งในการก่อสร้าง แล้วมีชาวบ้านมาร่วมมือ มีภาคธุรกิจเอกชนมาซื้อพื้นที่ จัดหาพื้นที่เพิ่มเติมให้ ร่วมกันบริจาค ซึ่งทําให้สามารถสร้างอ่างเก็บน้ําเป็นผลสําเร็จ ภาครัฐได้เข้าไปสนับสนุนให้ วันนี้จึงมีน้ําเข้าไปเป็นจํานวนมากพอสมควร และสามารถเก็บน้ําในฤดูน้ําหลากได้ ซึ่งผมได้รับข้อมูลว่ามีน้ํามากมาย ก็ต้องระมัดระวัง จะได้ป้องกันเรื่องน้ําท่วมไปด้วย แล้วเก็บน้ําไว้ใช้เป็นแก้มลิงในห้วงฤดูแล้ง ฝนยังไม่มาแต่มีน้ําครึ่งหนึ่งแล้ว ความลึกประมาณ 4 เมตร ถึง 6 เมตร ถ้าหากว่าเรายกระดับประตูน้ําไหลเข้า-ออกให้สูงขึ้นอีก ก็จะสามารถเก็บน้ําได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นตัวอย่างของการนําข้อมูลรับฟังความคิดเห็นของประชาชนมา แล้วรัฐบาลก็มาพิจารณาว่าจะช่วยเหลืออะไรได้อย่างไร อันไหนที่เป็นประโยชน์ อันไหนที่จะต้องทําความเข้าใจ อาจจะต้องพึ่งพาในส่วนตรงอื่น เขาเรียกว่า การร่วมมือกันเป็น “ประชารัฐ” ไม่ใช่ว่าเฉพาะในพื้นที่ตัวเอง ต้องสร้างความเชื่อมโยงกับพื้นที่อื่น ๆ ด้วย บางครั้งไม่เหมาะสม ขุดอ่างน้ําตรงนี้ ต้องไปขุดที่อื่นแล้วทําระบบส่งน้ํามาที่นี่ขณะเดียวกัน จะได้เกิดผลประโยชน์ด้วยกันในภาพรวม ภาพกว้าง เพราะฉะนั้น การบริหารจัดการพื้นที่หรือที่ดิน หรือการใช้น้ํา ต้องร่วมมือกันทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน และเอกชน ผมเกรงว่าปัญหาการขาดน้ําจะทําให้มีผลกระทบกับเรื่องของการใช้ชีวิตประจําวันด้วย ถ้าเราใช้น้ําทําการเกษตรมากจนเกินไป ในขณะที่ต้นทุนน้ํามีจํากัด จะทําให้น้ําในเรื่องของการอุปโภค บริโภค การใช้น้ําประปาขาดแคลนเข้าไปอีก แล้วระบบน้ําที่จะต้องส่งลงมาให้ออกไปทะเล การผลักดันน้ําเค็มก็น้อยลงไป ไปไม่ถึงเพราะถูกดูดหมดแล้ว เพราะฉะนั้น ปัญหาของเราในเวลานี้คือการขอความร่วมมือไประยะเวลาหนึ่ง ถ้าปีหน้าน้ํามากขึ้น ฝนตกมากขึ้น ก็คงจะไม่เป็นปัญหาเหล่านี้ เพราะเราได้เตรียมระบบน้ํา การกักเก็บน้ํา ไว้มากมายพอสมควร ระยะที่ 1 เรื่องแผนบริหารจัดการน้ํา สําหรับที่ห้วยมะโมงนี้ ก็ทําให้พี่น้องประชาชนกว่า 900 ครัวเรือน ได้รับผลประโยชน์ รัฐสามารถประหยัดงบประมาณในการบรรเทาความเดือดร้อน เพราะถ้าเราต้องดูทั้งระบบในพื้นที่กว้าง ๆ นั้นไปไม่ไหว เพราะฉะนั้นต้องช่วยกัน อะไรอยู่ในเขตชลประทาน อะไรอยู่นอกเขต อะไรที่เป็นแหล่งเก็บน้ําตามธรรมชาติ อะไรที่ไปขุดเสริมเพิ่มในพื้นที่แล้วจัดระบบการบริหารจัดการน้ําในพื้นที่ได้โดยท้องถิ่นเอง โดยประชาชนเอง ก็ลดความขัดแย้ง เงินที่มีอยู่ก็จะได้เอาไปใช้พัฒนาด้านอื่น ๆ ได้อีก พัฒนาพื้นที่ พัฒนาให้ประชาชนมีความสุข ทั้งบ้านปลาทูและห้วยมะโมง ถือว่าเป็นตัวอย่างของการทํา “ประชารัฐ” เป็นความร่วมมือของทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ซึ่งจะเห็นถึงความร่วมมือระดับชาติลงไปถึงระดับชุมชน คือแกนตั้งที่ผมว่า จะเป็นกลจักรสําคัญ ข้างล่างก็ต้องไปทําแกนนอนให้ได้ ในการที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม ถ้าเราเข้มแข็งด้วยตัวเอง ยืนบนลําแข้งตัวเองได้แล้ว ไม่ต้องพึ่งพาใครมากนัก จนกระทั่งทําให้ระบบต่าง ๆ เสียหายไปทั้งหมด มีคนมาใช้ประโยชน์ จากความยากลําบากของพ่อแม่พี่น้อง ไปทําอย่างอื่นด้วย วันนี้รัฐบาลจําเป็นต้องลงทุนขนาดใหญ่ไปด้วย ขณะเดียวกันก็ต้องแก้ปัญหาเดิม ๆ อยู่ ซึ่งควรจะแก้ไปนานแล้ว แต่แก้ไม่ได้ เพราะว่าไม่ได้ดูทั้งระบบ วันนี้ได้นําทั้งระบบมาเป็นงานที่ยากพอสมควร งบประมาณสูง แต่เราจะจัดลําดับความเร่งด่วนในการทํางานให้ได้ในระยะที่ 1 ของเราในการปฏิรูปประเทศ สิ่งสําคัญที่เราต้องปฏิรูปไปพร้อมกันด้วยนอกจากท้องถิ่น นอกจากชุมชน นอกจากประชาชนแต่ละกลุ่ม แต่ละฝ่ายแล้ว สิ่งที่เป็นประเด็นสําคัญ ที่เป็นรายได้ประเทศในการพัฒนาประเทศในระยะต่อไป ในห้วงการเปลี่ยนแปลง ในเรื่องของเศรษฐกิจโลกในวันนี้ เราจะต้องเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้มากขึ้น โดยทําอย่างไรเราจะเป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุน หรือด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน การใช้การวิจัยและพัฒนาที่นําสู่การผลิตนวัตกรรมใหม่ของประเทศ เหล่านี้จะเป็นกุญแจสู่ความสําเร็จของเราในอนาคต ในส่วนของรัฐ ข้าราชการก็จําเป็นต้องสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกับประชาชนให้ได้ อย่าให้เขาต่อว่าได้ว่าไม่ดูแลเขา ไม่ร่วมมือ ไม่เมตตา ไม่รักเขา ท่านต้องแก้ไขตั้งแต่วันนี้ด้วยการบูรณาการ พบปะใกล้ชิดสม่ําเสมอ และขอขอบคุณข้าราชการที่ดี ๆ เสียสละมากมาย ทุ่มเท เหน็ดเหนื่อย ผมทราบดีและรัฐบาลขอเป็นกําลังใจให้ เรื่องของการสร้างชาติด้วยการปฏิรูปประเทศ ให้เจริญเติบโตอย่างก้าวกระโดด ทําไมต้องใช้คําว่า “ก้าวกระโดด” เพราะที่ผ่านมา ชะลอมานานแล้ว แทนที่จะทําไปด้วยความก้าวหน้าตามลําดับ ปรากฏว่า ต้องก้าวกระโดด ไม่อย่างนั้นไม่ทันเขา เพราะหยุดมานานแล้วในภาพรวม ในภาพของเศรษฐกิจมหาภาคด้วย สถานการณ์โลกวันนี้เต็มไปด้วยการแข็งขัน เพราะฉะนั้น รัฐบาลให้ความสําคัญในเรื่อง “การพัฒนาคนและชุมชน” ใช้หลักการตามแนวทางพระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระราชดํารัสว่า “ทุกอย่างต้องระเบิดจากข้างใน” คือหมายถึงต้องมุ่งพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้คนและครอบครัวในชุมชน ให้มีความพร้อมที่จะรับการพัฒนาก่อน ให้มีความอยาก มีความต้องการ อยากได้ แล้วอยากร่วมมือด้วย ไม่ใช่เรียกร้อง หรือไม่ใช่รัฐยัดเยียดความเจริญจากสังคมภายนอกเข้าไป ต้องนึกถึงว่าความสมดุลจะเกิดได้อย่างไร ถ้ารายได้เขาน้อย สิ่งที่เจริญเติบโตด้านเทคโนโลยีเขาก็ไม่มีโอกาสได้ใช้เพราะว่าราคาสูง วันนี้ต้องสร้างตั้งแต่ชุมชนหมู่บ้านขึ้นไป ไปจังหวัด กลุ่มจังหวัด ไปตลาดชายแดน ไปCLMV ไปประชาคมอื่นๆ วันนี้รัฐบาลใช้หลักการนี้ดําเนินการอยู่ตามแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แล้วก็ได้นําหลักการ “ประชารัฐ” เข้ามาเสริม เพื่อผสานความร่วมมือระหว่างกัน ทั้งประชาชนซึ่งเป็นผู้กําหนดความต้องการสํารวจความต้องการในพื้นที่ ขณะเดียวกัน รัฐบาลต้องดูในภาพรวมว่า แต่ละเรื่องนั้นมีความเกี่ยวพันเชื่อมโยงกับพื้นที่อื่นอย่างไร เขาถึงเรียกว่าการทํางานอย่างเป็นระบบ ดูตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง แล้วให้ทุกภาคส่วนมีความพร้อมของตนเอง ภาครัฐก็ง่ายที่จะไปร่วมมือ ไปส่งเสริม ทั้งด้านความรู้ วิชาการ เทคโนโลยี แหล่งเงินทุนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนสถาบันการศึกษาด้วย จะต้องเข้ามาดูแลในทุกกิจกรรมเพราะเป็นพื้นฐานของการเจริญเติบโต พื้นฐานของการพัฒนา ก็คือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ท่านต้องรู้กิจกรรมของทุกกลุ่มงาน ทุกกระทรวงด้วย เพราะการศึกษาเป็นบ่อเกิดของการสร้างสติปัญญา และผลิตคนออกมาให้ตรงกับความต้องการ สนับสนุนในทุกกิจกรรม ทุกกระทรวง รวมความไปถึงภาคเอกชน ธุรกิจด้วย ท่านต้องมองในมุมนี้ เพราะท่านมีตั้งหลายแท่งงานในการทํางาน ซึ่งผลิตคนออกมาแต่ละอย่าง เพื่อเหมาะสมกับกิจการหลาย ๆ อย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการใช้ความรู้ ในการเป็นครู ในการเกี่ยวกับเรื่องการท่องเที่ยว การบริการ Technician นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยพัฒนา นักคณิตศาสตร์ อะไรเหล่านี้ ซึ่งมีความหลากหลาย ถ้าท่านทําให้ทุกอย่างนั้นสามารถเป็นกลุ่ม ๆ ได้ จัดระเบียบได้ เตรียมคนได้ วางแผนว่าในปีนี้ถึงปี 2560 จะทําคนเหล่านี้ได้เท่าไร จะต่อยอดอย่างไร จะเอาใครมาเชื่อมโยง จะร่วมมือกับภาคเอกชนอย่างไร ธุรกิจอย่างไร เพื่อจะเติมคนเหล่านี้ให้ได้ ให้เร็ว วันนี้เราขาดตลาดแรงงาน เราขาดมากในทุกระดับ งานเรามากมายตอนนี้ เพราะมีคนจะมาลงทุนในประเทศไทยภายใน 2 ปีนี้ เป็นจํานวนมาก ผมเกรงว่าจะไม่ทัน เพราะฉะนั้นต้องร่วมมือกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน และทุกกระทรวง ถึงความต้องการของแรงงาน และอีกประการหนึ่งคือว่า ในเมื่อเรามีรายได้ดีขึ้น ในส่วนของแรงงานต่าง ๆ ก็ควรจะมีรายได้สูงขึ้น แต่การที่จะปรับรายได้สูงขึ้นพร้อมกันทั้งหมด ย่อมเป็นไปไม่ได้ คงจะต้องปรับตามฝีมือ ตามการรับรองฝีมือของกระทรวงแรงงานด้วย เพราะฉะนั้นขอให้ประชาชนทุกคน แรงงานทุกคน เข้าใจ ถ้าทุกคนรู้จักการพัฒนาตนเอง เข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ เขามีสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานในทุกพื้นที่ ผมได้สั่งการย้ําไปแล้วให้กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย และแล้วหน่วยงานต่าง ๆ ไปหารือกันให้ได้ว่าเราต้องการแรงงานในประเทศเท่าไร อย่างไร แรงงานต่างประเทศที่เข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้านเราเท่าไร แรงงานมีฝีมือเท่าไร เราจะส่งแรงงานประเภทใดไปบ้าง อันนี้ก็เข้าไปอยู่ในแผนของการเตรียมการ ที่ผ่านมาในเรื่องของการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งมีหลายอย่างด้วยกัน อันนี้เราก็จะสามารถเรียกว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ และรูปแบบของการทํางานร่วมกัน ทั้งข้าราชการ รัฐ ประชาชน และเอกชน ซึ่งเคยกล่าวไว้แล้วว่า เราจะต้องดําเนินการปฏิรูปครั้งสําคัญของประเทศ ภายใต้นโยบาย “Thailand Startup” หมายความว่า รุกไปข้างหน้า เริ่มต้นให้ดี ที่ยังไม่เข้มแข็งก็สตาร์ท ที่ยังไม่เกิดก็สตาร์ทขึ้นมา ที่สตาร์ไปแล้วก็ต้องสตาร์ทต่อ ไม่อย่างนั้นจะติดๆ ดับๆ มาตลอด ไปไม่ได้ ซึ่งแนวทางในการดําเนินการ มีดังนี้ 1. เรื่องการจัดตั้ง National Startup Center เพื่อจะเชื่อมโยงบัญชีนวัตกรรมที่มีอยู่ในแต่ละกระทรวงและจดทะเบียน เป็น Startup ทั้งหมด ส่งเสริมให้เหล่านี้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ทั้งจากธนาคารของรัฐและเอกชน มีกองทุนร่วมลงทุนให้เกิดความเข้มแข็ง สร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ด้วยกันเอง หรือสถาบันการศึกษาและมหาวิทยาลัยเป็นผู้สนับสนุนความรู้ต้องไปด้วยกันนะครับพี่จูงน้องนะ เราเคยสัญญาไว้ว่าเราจะ Strong together เพราะฉะนั้นจะต้องมีรายได้สูงขึ้นด้วยกัน มากน้อยก็ตามขีดความสามารถ ตามศักยภาพ รัฐบาลก็จะไปดูแลเพิ่มเติมให้ ถ้าใครยังไม่มีศักยภาพเพียงพอแต่ต้องการเงินเป็นไปไม่ได้ ท่านต้องพัฒนาเรียนรู้ก่อน สําหรับพี่ ๆ ก็จูงน้อง เพื่อนจูงเพื่อน ขนาดใหญ่ก็มาจูงขนาดกลาง ขนาดกลางจูงขนาดเล็ก อันนี้เป็นความเชื่อมโยงกัน 2. เรื่องที่สอง การนําภาคเกษตรเข้าสู่ระบบ ภาคการเกษตร วันนี้รายได้น้อย ผลผลิตทางการเกษตรมีราคาต่ําลง เป็นปัญหาของทุกประเทศในโลกนี้นะครับ เพราะฉะนั้นเราก็มีโครงการในเรื่องของการจัด “1 ตําบล 1 SME” ขึ้น เป็นระยะแรก เราต้องการปฏิรูปการเกษตรของประเทศให้มีมูลค่าสูงขึ้น เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ให้เข้าถึงแหล่งวิชาการ แก้ปัญหาเดิมๆ ที่มีอยู่ให้เกิดความยั่งยืน ด้วยการส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรมรายย่อยในแต่ละท้องถิ่น ผมต้องการให้เป็นก้าวแรกของพี่น้องเกษตรกร แต่ถ้าก้าวแรกไปมาก ๆ ได้ ก็ดีไม่เป็นไร ถ้าแข็งแรงอยู่แล้วก็มาร่วมกันทําต่อไป รัฐบาลก็ต้องพิจารณาหาทางสนับสนุนให้ตามขีดความสามารถที่มีอยู่ แล้วก็ขอความร่วมมือจาก บรรดานักธุรกิจต่าง ๆ เข้ามาร่วมด้วย วันนี้ต้องช่วยกันทั้งหมด เพราะฉะนั้น ก้าวแรกของผมคือ ต้องก้าวไปพร้อม ๆ กันหลายพวก หลายหน่วย หลายกลุ่ม ปัญหาคือความเข้าใจเกิดขึ้นหรือยัง การเจริญเติบโตจากภายในพร้อมหรือยัง ถ้ายังไม่พร้อม แล้วมีการบิดเบือน มีการพูดจาให้ร้ายกัน ต่อไปก็ไม่เกิดขึ้น พี่น้องเกษตรกร ประชาชนที่มีรายได้น้อยก็ลําบากอยู่แบบนี้ ผมสามารถพูดได้เลยว่า ถ้ายังทําแบบเดิมอยู่ก็จะจนอยู่แบบนี้ ถึงชั่วลูกชั่วหลาน วันข้างหน้าก็เป็นแบบนี้อีก ถ้าไม่ร่วมมือกับเราในวันนี้ ตามที่เราได้เตรียมการเรื่องของแผนการปฏิรูป วันนี้ระยะที่ 1 ท่านต้องเริ่มกับผมก่อน เราต้องพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพมากกว่าปริมาณ การผลิตคนก็ต้องมีคุณภาพ มากกว่าปริมาณเหมือนกัน การศึกษาเป็นข้อมูลที่ผมทราบอยู่แล้ว ผมก็ได้แจ้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการไปแล้ว เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนหน้าผมทั้งนั้น ผมก็พยายามแก้ แต่ยากพอสมควร เพราะเป็นระบบ เพราะฉะนั้น ขอให้เห็นใจด้วย รัฐบาล ข้าราชการก็พยายามจะดําเนินการอยู่ ขณะนี้เราจะทํายังไงให้นวัตกรรมไทย คือสิ่งใหม่ๆ ที่ผลิตออกมา คิดออกมาแล้วมีความเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย เกื้อกูลต่อการใช้วัตถุดิบในประเทศ แล้วไปสร้างแบรนด์ของ ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ของอาเซี่ยน แบรนด์ของสินค้าไทย ที่เราเรียกว่า Made in Thailand ต่อไปก็มี Made in ASEAN ด้วย เพราะเราเปิดประชาคมอาเซียนแล้ว เมื่อวานผมได้สั่งงานไปแล้วในวันก่อนที่มีการประชุม เรื่องการเตรียมการ และความก้าวหน้าในการเดินหน้าเข้าสู่ AEC นะครับ การเป็นประชาคมอาเซียนด้วย AEC คือเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจ สําหรับเรื่องประชาคมอาเซียนมีหลายเสาด้วยกัน เรื่องที่ 3 การส่งเสริมการสร้างผู้ประกอบการเทคโนโลยีใหม่ (Tech Startup) ได้มีการจับมือทุกฝ่าย ทั้งภาคอุตสาหกรรม เกษตร ดิจิทัล เทคโนโลยี และธุรกิจบริการ มาร่วมกันคิดและสร้างการเป็นเจ้าของธุรกิจนะครับที่ใช้นวัตกรรม ตั้งแต่ระดับเล็ก กลาง ใหญ่ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ จากการขายสินค้าและบริการที่เป็นทางเลือกใหม่ของตลาด ทั้งตลาดใน ตลาดนอก อะไรก็แล้วแต่ เป็นโอกาสในการที่จะขยายธุรกิจและเปิดตลาดใหม่ออกไปในวันข้างหน้าด้วย จะทําให้รายได้ประเทศสูงขึ้น เป็นการยกระดับขีดความสามารถของประเทศให้มีการแข่งขันได้มากขึ้น อย่างที่เรากําหนดไว้เป็นวาระของเราเหมือนกันในการเข้ามาในครั้งนี้ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า จุดเริ่มต้น คือ การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ จะเป็นกุญแจสู่ความสําเร็จ เป็นแผนที่นําทางในการที่จะนําพาประเทศชาติให้มีรายได้สูงขึ้น เข้าสู่ประเทศที่มีการผลิต มีการจําหน่ายออกไปภายนอก ในด้านอุตสาหกรรมที่เป็นประโยชน์กับประเทศไทย โดยเฉพาะด้านการเกษตร ประเทศเรา ขีดความสามารถเราสูงอยู่แล้วนะครับ ที่สําคัญคือการ บูรณาการทํางานแลกเปลี่ยนข้อมูล สร้างความร่วมมือ ให้ทุกอย่างนั้นเริ่มต้นมา ต่างคนต่างเริ่มต้นกัน ไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นเราเอาที่สําเร็จแล้วมารวมกันว่าได้ถึงแค่ไหน แล้วต้องกลับไปทําต่อก่อน ไม่เช่นนั้นจะไม่พัฒนา กี่ปี ๆ ก็อยู่ที่เก่า รอคนใหม่เขาทําขึ้นมา คนเก่าก็ไปไม่ออก ไปไม่เป็น เพราะฉะนั้น ผมว่าต้องทําแบบนี้ บางอย่างก็เอาสิ่งที่มีอยู่แล้วมาเรียนรู้ มาดู เราคิดเองได้ มีแบบให้ดูทุกเรื่อง อย่ากลัว อย่าไปละเมิดกฎหมายเขาแล้วกัน เพราะฉะนั้น เรื่องของกฎหมาย คือการให้ความสําคัญในเรื่องของการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา แต่ละประเทศเขาพยายามที่จะใช้กฎหมายนี้คุ้มครองผลประโยชน์ของเขาทั้งหมด เราก็ต้องเตรียมความพร้อมของเราด้วยในอนาคต เพราะนอกจากผลงานวิจัยและพัฒนาแล้ว เราได้นําออกมามากมายวันนี้ จะต้องไปเข้าสู่กระบวนการทําลิขสิทธิ์ ไม่อย่างนั้นวันหน้าก็ผลิตออกไปแล้วเราก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง คนที่เอาไปก็ได้ประโยชน์เราก็เสียหาย เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะต้องสร้างสรรค์สิ่งเหล่านี้ออกมา แล้วนําสู่กระบวนการกฎหมาย ซึ่งมีทั้งกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายในประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายประชาคมโลก พันธะสัญญาอีกหลายสิบฉบับ เพราะฉะนั้นเอามาเป็นปัจจัยในการพิจารณาในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ การเพิ่มมูลค่าสินค้าและการบริการ ทั้งอุตสาหกรรม เกษตรกรรม อันนี้น่าจะต้องไปด้วยกันได้ เพราะประเทศไทยเป็นประเทศผลิตสินค้า หรือผลิตผลที่มาจากเกษตรกรรมมีเป็นจํานวนมาก ที่เหลือ เช่น ข้าว ยาง อะไรเหล่านี้ เราสามารถเอาอุตสาหกรรม เกษตรอุตสาหกรรมเข้ามาช่วยได้ ก็จะเพิ่มรายได้ แล้วยึดโยงไปถึงชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน ถ้าเราไม่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็ไปไม่ได้ เพราะทั่วโลกเขาใช้แล้ว ผมได้ยินว่าในระยะเวลาอันใกล้ ปี สองปี หรืออีกไม่กี่ปีจะเป็นการปฏิวัติเศรษฐกิจโลกใหม่ไปสู่ระยะที่สี่ คือการที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการใช้หุ่นยนต์ ใช้อะไรต่าง ๆ เราก็ต้องเตรียมเหมือนกัน เพราะเป็นอุตสาหกรรม 1 ใน 5 ที่เรากําลังส่งเสริม เพื่อจะเตรียมการสู่อนาคต ขณะเดียวกัน ก็ต้องเตรียมการไว้ด้วยว่าทํายังไง ในเมื่อใช้เครื่องมือใช้เครื่องจักร ใช้หุ่นยนต์มากขึ้น คนก็จะไม่มีงานทํามากขึ้น เราคงต้องมีทั้งสองอย่าง เพราะเรายังคงต้องดูแลคนที่มีรายได้น้อย ซึ่งมีเป็นจํานวนมากขึ้นทุกวัน วันนี้เกือบ 70 ล้านแล้ว เพราะฉะนั้นเราจะทําเน้นในเรื่องของความทันสมัยอย่างเดียวก็ไม่ได้ ต้องดูแลคนที่มีรายได้น้อยด้วย ปัญหาคือเราจะดูแลเขาอย่างไร ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเขาอย่างไร ให้เขามีการเรียนรู้อย่างไร มีการพัฒนาตัวเองอย่างไร ถึงจะไม่มีปัญหาในอนาคต ไม่เช่นนั้นเราจะติดกับตัวเองเข้าไปอีก ถ้าเราไม่เริ่มทําในวันนี้ เรื่องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เราก็อย่าไปละเมิดเขา เขาก็ไม่ควรละเมิดเรา ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างทํา แต่อะไรที่ร่วมมือกันได้ก็ร่วมมือกันไป ถ้าแย่งกันทํา เลียนแบบกัน ขโมยเขามา แล้วทําเองไม่ได้ จะเสียความเป็นสุภาพบุรุษด้วย เราต้องรักษา การทําของเทียมเลียนแบบต่าง ๆ เสียหายหมด ผมได้เร่งให้เจ้าหน้าที่ไปจับกุมดําเนินคดีหมดแล้วในส่วนของของปลอม ทุกเรื่องเลย ปลอมได้หมด ไม่เข้าใจว่าทําไมถึงได้รับความนิยมสูงขนาดนั้น อย่าหลอกตัวเองใช้ของปลอม แสดงว่าปลอมทั้งตัว การดาวน์โหลดหนังก็ยังมีขึ้นอยู่ ยังมีอยู่ทุกอย่าง แอบทํากันหมด เจ้าหน้าที่ก็ต้องไม่ละเลย ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ทุจริต เพราะมีผลเสียหาย ของปลอมบางทีก็ทําให้สุขภาพเสียหาย ดูหนังก็อาจจะราคาถูก ไม่ต้องเดินทาง แต่หนังมองไม่เห็น ตาเสียหมดนะ เด็กๆ ก็ตาเสียหาย วันนี้เด็กตาเสียมากเหมือนกัน เพราะว่าดูจอคอมพิวเตอร์ ตัวเล็ก ต้องให้พักผ่อนบ้าง เล่นเกมส์ทั้งวัน ไม่ได้ จะทําให้ตาบอดในวันหน้า เราต้องคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของเขา ของเราด้วย เป็นเรื่องของความถูกต้องศีลธรรมอันดี แล้วยังสร้างในเรื่องของวินัยทางการค้าและการลงทุน วันนี้สถิติทุกอย่างถูกประเมินหมด ทุกประเทศในโลกที่อยู่ในระดับต้น ๆ จะถูกประเมิน เพราะจะต้องมาแข่งขันกัน ใครดี ใครไม่ดี ใครปลอม ใครไม่ปลอม ใครละเมิดกฎหมาย ซึ่งเป็นตัวที่จะสร้างความเชื่อมั่นในโลกใบนี้ในวันข้างหน้า และในวันนี้ด้วย วันข้างหน้าจะมากกว่านี้อีก กฎหมายจะเขียนมากขึ้น เพราะฉะนั้น การขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศย่อมส่งผลกระทบโดยตรง จะดีหรือไม่ดีก็อยู่ที่นี่ การขับเคลื่อน การพัฒนา สร้างความเข้มแข็ง ผมพูดหลายครั้งมาก ท่านคงจําได้บ้างไม่ได้บ้าง คนไทยต้องจํานาน ๆ อย่าจําสั้นๆ ไม่ชอบฟังอะไรยาว ๆ แล้วก็จําเล็กน้อย แล้วก็ลืม พยายามสร้างความเชื่อมโยงที่ต่อเนื่อง ผมก็ไม่ใช่เก่งอะไรมา เพียงแต่ว่าผมทําเองก็เลยจําได้ ถ้าคนไม่สนใจเลย จะรอรับประโยชน์อย่างเดียวจะจําอะไรไม่ได้เลย รอว่าเมื่อไรจะได้สตางค์เท่านั้น ผิด-ถูก ไม่ว่ากัน อันนี้ไม่ได้ เราต้องระมัดระวัง การที่เราจะกําหนดอะไรออกมาเอง คิดอะไรออกมาเอง แล้วทําโน่นได้ นี่ได้ ดูสัญญาเขาด้วย ดูกฎหมายระหว่างประเทศด้วย WTO FTO ข้อตกลงเจรจามากมายไปหมด ถ้าเราทําไม่ดี เราอาจจะถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร เรื่องที่เราเสียสิทธิ์ GSP บ้าง หรือภาษี 0% บ้าง เป็นเรื่องของประเทศเรา เป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ซึ่งถูกตัดภาษีตัวนี้ออกไป การให้สิทธิประโยชน์เหล่านี้ไป ไม่ใช่เพราะผมเข้ามา เพราะเรามีรายได้ต่อหัว รายได้ GDP สูง อยู่ระดับกลาง แต่เราต้องมาดูว่ากลางจริงหรือไม่จริง คนอยู่ตรงกลางจริง ๆ เท่าไร ข้างล่างเท่าไร วันนี้เกือบ 40 ล้าน รายได้น้อย มีเกษตรกร ประมาณ 30 อีก 10 เป็นผู้ประกอบอาชีพอื่น ๆ อาชีพรับจ้าง อิสระอะไรเหล่านี้ ทั้งหมดเกือบ 40 ล้าน วันนี้เรามี 67 ล้าน คิดเอาแล้วกันว่า คนจนเรามีมากหรือไม่ มากกว่า 50 หรือเปล่า 50% หรือไม่ ต้องช่วยกัน เรื่องทางการแพทย์ วิวัฒนาการของเรา ซึ่งน่าชื่นชม แพทย์เรา สาธารณะสุขเรา ถือว่าดีที่สุดในอาเซียนประเทศหนึ่งเหมือนกัน ไม่ใช่ดีที่สุดะ ไปได้เก่งกว่าเขามากก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราต้องภูมิใจในของเราเอง ไม่ต้องไปคุยโอ้อวดกับใคร วันนี้โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เป็นโรงพยาบาลทหารของกรมแพทย์ทหารบก ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตัวอย่างความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน ส่วนสถานศึกษาของจุฬาลงกรณ์ ก็ประสบความสําเร็จในการผ่าตัดใส่กระดูกเทียม ซึ่งผลิตจากโลหะไทเทเนียม ด้วยการพิมพ์ 3 มิติ ด้วยเครื่องซีทีสแกน เพื่อใส่ทดแทนกระดูกนิ้วหัวแม่มือ ที่ถูกทําลายจากมะเร็งเนื้องอกกระดูก ซึ่งน่าภูมิใจเพราะเป็นรายแรกของโลก เพราะฉะนั้น เป็นสิ่งที่เราจะต้องพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ ข้อสําคัญคือ บรรดาพ่อแม่ พี่น้องที่เป็นแรงงานที่ทํางานในโรงงาน ถูกเครื่องจักรกลตัดมือ ตัดนิ้ว ตัดแขน เหล่านี้ ต้องพัฒนาไปตรงโน้นด้วย ว่าวันหน้าจะทําอย่างไรให้เขามีความสมบูรณ์แข็งแรงเหมือนเดิมได้ จะได้ไปทํางานได้เหมือนเดิม แต่ปัญหาคือ ราคาค่ารักษาคงแพง จะทํายังไง ก็คงต้องมีการเริ่มต้น ขอฝากสถานพยาบาล กระทรวงสาธารณสุขไปดูด้วย อาจจะเป็นการนําร่องว่าเท่าไร เป็นลักษณะสาธารณกุศลไปก่อน อันนี้ถือว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของไทย ก็จะต้องจดสิทธิบัตรให้ได้โดยเร็ว เราจะช้าทุกทีไป ต้องรีบส่งไป แต่เขาจะให้เมื่อไร ถือว่าเราส่งไปแล้ว วันหน้าเขาจะได้ไม่มาบอกว่าเพิ่งส่ง เราต้องตามทุกเรื่อง ไม่ใช่สั่งไปแล้วไม่ตาม ไม่กํากับดูแล จัดตั้งไปแล้วไม่ควบคุม แล้วก็ไม่ใช้งาน ก็พังทุกอัน ระบบก็เสียหมดทุกอัน ทําอะไรก็แล้วแต่ ต้องมีกัน ถ้าเริ่มก็เริ่มเลย คือการจัดตั้ง จัดตั้งเสร็จก็ต้องควบคุม ควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ทํางานอย่างไร พันธะกิจ ภารกิจอย่างไร แล้วก็ใช้งานให้ตรงกับวัตถุประสงค์ ทั้งงบประมาณทั้งแผนงาน เพราะมีหลายหน่วยงานด้วยกัน ซ้ําซ้อนกันก็ไม่เกิดประโยชน์ ซ้ําซ้อนกันทางงบประมาณด้วย ข้อสําคัญต้องมีการประเมินผลตามระยะเวลา ความพึงพอใจของประชาชนเป็นหลักว่า สิ่งที่เราทําไปแล้วนั้นตรงกับความต้องการหรือไม่ ถ้าเขาไม่เข้าใจก็ต้องอธิบายให้เขา ถ้าไม่ใช่ก็ต่างคนต่างปล่อยกันไป แล้วทะเลาะกันอยู่ทุกวันนี่ อันไหนเขาต้องการก็ทําให้เขา อันไหนที่รัฐต้องไปทํา เพราะรัฐจะต้องทําในส่วนที่ต้องเชื่อมโยงกับพื้นที่อื่น ๆ ไม่ใช่พื้นที่ที่แต่ละท้องถิ่นเขามีอยู่แล้ว เขาได้อยู่แล้ว เขาทําอยู่แล้ว ถ้ารัฐไม่ไปเสริม เป็นการเชื่อมโยงระหว่างท้องถิ่นนี้กัน อําเภอนี้ อําเภอโน้น เรื่องน้ํา เรื่องต้นทาง กลางทาง ปลายทาง เรื่องการปลูกพืช การพัฒนาอะไรก็แล้วแต่ ไม่คิดแบบนี้ จะไปไม่ได้ ก็ซ้ําซ้อนกันหมด กลายเป็นรัฐต้องลงไปทําในสิ่งที่รัฐต้องการ ที่เขาว่ากันยังไง ประชาชนต้องการอะไรไม่สนใจ ไม่ได้ ก็แบ่งกันทําในส่วนนั้น ท้องถิ่นเขารู้กันอยู่แล้ว ให้เขาคิดมา วันนี้เรามีโครงการอะไรบ้าง โครงการ 5 ล้านแรกที่ให้ไปครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 เมื่อสัปดาห์ที่แล้วก็ให้กองทุนหมู่บ้านไปอีก ไม่เกิน 5 แสนบาท 7 หมื่นเก้าพันกว่าหมู่บ้าน อันนี้ไม่เกิน 5 แสน เขาก็ไปทําสิ่งของที่เกิดประโยชน์ในระยะยาว ไม่ใช่เอาไปแจกจ่าย ไปทําอะไรที่เพิ่มมูลค่า โรงสีขนาดเล็ก ลานตากมัน ที่เก็บน้ํา ถนนหนทาง ทางสัญจร คลังอาหาร ธนาคารอะไรต่าง ๆ ก็แล้วแต่ ธนาคารเมล็ดพันธุ์พืช ธนาคารผลิตผลการเกษตร ไปทํา จะต้องเสริมกัน ทั้ง 5 ล้าน กับ 5 แสนต้องไปด้วยกัน 5 แสนหลังนี่จะเร็ว เพราะอะไร ประชาชนคิดได้เลย ต้องการอะไรมีอยู่แล้ว อยู่ในความต้องการอยู่แล้ว ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย ข้าราชการก็ทําให้เร็ว ไม่อย่างนั้นประกาศไปแล้ว ก็ใช้ยาก ต้องเข้าใจระบบราชการด้วย บางอันยากเพราะขั้นตอนต้องเป็นอย่างนั้น แก้ไขอะไรไม่ได้ เพราะว่าแก้ไขก็จะนําไปสู่การไม่โปร่งใส เดิม ๆ อาจจะทํากันได้ง่าย ทําได้เร็ว เพราะไม่ค่อยตรวจ วันนี้ขอแสดงความยินดีในเรื่องของการ “การไม่ซื้อ ไม่ใช้ ไม่ขายของปลอม” เหล่านี้ หรือว่าขอความร่วมมือ ใครที่ทําอยู่แล้วคือไม่ซื้อ ไม่ขาย ไม่ใช้ ไม่อุดหนุน ผมว่านั่นแหละเป็นวิธีการที่ถูกต้อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านทรงพระราชทานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ได้ให้ทุกคนประหยัด ทรงรับสั่งความหมายก็คือว่า มีมากใช้มาก มีน้อยใช้น้อย คนมีน้อยก็ต้องระวังตัว มีภูมิคุ้มกัน มีเหตุมีผล มีความพอประมาณ คนมีมาก แต่ไปใช้ให้มากกว่าเดิมก็ต้องดูว่า เราจะใช้มากได้ถึงเมื่อไร เขาเรียกว่าต้องเตรียมภูมิคุ้มกัน ทั้งหมด ต้องเตรียม แล้วก็เอื้อเฟื้อ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน ถ้าไม่ใช้เงินกันเลยนะ รอรัฐบาลอย่างเดียว รอลดภาษี รอลดราคา มันก็ไปไม่ได้ ทั้งหมดประเทศไปไม่ได้ ภาคการผลิตก็ผลิตไม่ได้อย่างไร แล้วจะไปขายใคร แล้วเงินจะมาจากที่ไหน ภาษีจะมายังไง นี่คิดให้เป็นวงจรแบบนี้ ประชาชนก็ต้องเรียนรู้ อย่าให้เขามาบิดเบือน วันนี้เราต้องเป็นประเทศที่มีความน่าเชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สุดท้ายนี้ ผมขอเป็นตัวแทนปวงชนชาวไทย แสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับพระราชทาน “รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล” จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จํานวน 2 ท่าน 1 คือ สาขาการแพทย์นะครับ ได้แก่ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ มอร์ตัน เอ็ม มาวเวอร์ (Professor M. Mower) จากประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ร่วมคิดค้นเครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติชนิดฝังในร่างกาย (AICD: Automatic Implantable Cardioverter Defibrillator) และคิดค้นหลักการของเครื่องรักษาหัวใจ ด้วยวิธีให้จังหวะนะครับ (CRT: Cardiac Resynchronization Therapy) และ (2) สาขาการสาธารณสุข ได้แก่ เซอร์ไมเคิล กิเดียน มาร์มอต (Sir Michael Gideon Marmot) จาก สหราชอาณาจักร ด้วยผลงานการศึกษาวิจัยทางระบาดวิทยา ที่เน้นสร้างความเท่าเทียมกันทางสุขภาพ ทุกเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนา และฐานะทางสังคม จนนําไปสู่การกําหนดแนวทางปฏิบัติด้านสุขภาพและนโยบายสาธารณะของโลกนะครับ ซึ่งนับว่าทั้งสองท่าน ได้สร้างผลงานอันมีคุณค่าแก่มวลมนุษยชนโดยรวม ของโลกนี้นะครับ ขอยกย่องคุณงามความดี และความวิริยะอุตสาหะของทั้งสองท่าน ใช้เวลายาวนานกว่าจะประสบความสําเร็จในวันนี้ และขอเป็นกําลังใจให้กับนักวิจัยด้านการแพทย์ หรือด้านอื่นๆ ก็ตาม ทั้งของโลก และของไทย ของอาเซียน ในการที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ให้พร้อมที่จะเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม มวลมนุษยชาติ ให้กับโลกใบนี้ในอนาคต แล้วขณะเดียวกันต้องไม่ทําลายสิ่งแวดล้อมด้วย ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน วันที่ 3 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็น “วันทหารผ่านศึก” เป็นวันที่ประชาชนคนไทย ทุกคนควรได้ระลึกถึงความเสียสละอันยิ่งใหญ่ของวีรชนใน “แนวหน้า” ที่พร้อมจะเสียสละไม่เพียงแค่ความสุขทางกาย แต่ยอมที่จะเสียสละได้ทั้งชีวิตและเลือดเนื้อ ทั้งนี้เพื่อปกป้องผืนแผ่นดิน อันเป็นที่รักของพวกเราทุกคน เพื่อให้ประชาชนได้มีที่อยู่ที่อาศัย ใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติสุขจนถึงทุกวันนี้ แม้เมื่อไม่มีภัยสงคราม แต่ยังคงมีข้าราชการพลเรือน ตํารวจ ทหาร อาสาสมัครอีกเป็นจํานวนมาก ที่ต้องทํางานนอนกลางดิน กินกลางทราย อยู่ท่ามกลางป่าเขา เพื่อจะปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาอธิปไตย ตามแนวชายแดน เฝ้าตรวจชายแดน ปฏิบัติภารกิจในพื้นที่เสี่ยงภัย ต้องห่างจากครอบครัวที่รัก จากสิ่งอํานวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อจะป้องกันประเทศ การรุกล้ําอธิปไตย และการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ซึ่งวันนี้ก็มีภัยอันตรายมากมาย ทั้งภัยคุกคามในรูปแบบเดิม และในรูปแบบใหม่ จากการกระทําผิดกฎหมาย การก่อความไม่สงบ และการป้องกันและปราบปราบยาเสพติด ขอให้ทุกคนได้ร่วมกันให้กําลังใจ ส่งคําอวยพร ให้พวกเขาปลอดภัย ผมขอเชิญชวนพวกเรา “แนวหลัง” ทุกคน ได้ร่วมกันแสดงออกถึงความมีน้ําใจ ตอบแทนความเสียสละ ด้วยการอุดหนุน “ดอกป๊อปปี้” ดอกไม้สีแดง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทหารผ่านศึก โดยการซื้อหรือการบริจาคทรัพย์ สําหรับการสงเคราะห์ทหารผ่านศึกที่ได้รับบาดเจ็บ รักษาตัว พิการ หรือเสียชีวิตในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อจะช่วยกันดูแลครอบครัวของเขาให้มีความสุขต่อไป เขาขาดหัวหน้าครอบครัว ขอให้ “ดอกป๊อปปี้” ได้มีการผลิบานอยู่ในใจทุกคน “สานใจแนวหลังสู่แนวหน้า” ร่วมกันทําให้แผ่นดินที่พวกเรา หรือพวกเขารักษาไว้ด้วยชีวิตนั้น เป็น “แผ่นดินแห่งความสุข – สันติ” ของประชาชนทุกคน สําหรับการปฏิรูปรูปแบบการทํางาน ในการร่วมมือกันสร้างชาติ ตามแนวทาง “ประชารัฐ” นั้น ผมเห็นว่าน่าจะเป็นการ “คืนความสุข” แก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ให้กับคนในชาติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปประเทศ และการวางรากฐานการพัฒนาในอนาคต วันนี้ผมขอหยิบยกตัวอย่างการดําเนินการแบบ “ประชารัฐ” ในพื้นที่ที่ผมได้เดินทางไปเยี่ยมเยือนด้วยตัวเองเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ทําให้เกิดความเข้มแข็งในระดับชุมชนและท้องถิ่น ที่สามารถจะเป็นแบบอย่างในการยืนบนลําแข้งของตนเองได้ ในระยะที่ 1 ดังนี้ ตําบลบึงปลาทู อําเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ได้เยี่ยมชมนิทรรศการต่าง ๆ อาทิเช่น การรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่ ในการทําการเพาะปลูกพืช ตามที่รัฐบาลได้ให้คําแนะนําไป แล้วได้เข้าถึงกองทุนต่าง ๆ ที่รัฐได้ส่งเสริมไป ทําให้เกิดช่องทางการรับการสนับสนุนนั้นสั้นลง แล้วตรงกับความต้องการของทั้งภาครัฐและภาคประชาชน เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งยั่งยืน สิ่งเหล่านี้ถ้าท่านเริ่มด้วยตัวเองได้ตามคําแนะนํา จะสะดวกแก่การบริหารจัดการของรัฐบาล และของท่านเองด้วยในการรวมกลุ่ม เช่น การใช้เครื่องมือทางการเกษตรร่วมกัน หรือการรวมกลุ่มกันเพาะปลูกพืชชนิดเดียวกัน และร่วมกันทําการแปรรูป สร้างนวัตกรรม ทําการตลาดร่วมกัน แบ่งปันกันก็มีอยู่ ส่วนแรกคือส่วนที่ต้องใช้ภายในพื้นที่ของตัวเอง ในกลุ่มของตัวเอง อันที่สองคือ ค้าขายในชุมชน หรือแปรรูปขั้นที่ 1 จากนั้นก็ไปส่งไประยะที่ 2 ส่งไปโรงงาน ส่งไปอะไรก็แล้วแต่ จะเกิดเศรษฐกิจเชื่อมโยงกันทั้งหมด เราได้เห็นความร่วมมือของภาครัฐ – เอกชน – ประชาชน ในพื้นที่ที่ผมไปเยี่ยมมา ได้ร่วมกันขับเคลื่อนตามนโยบายรัฐบาลตั้งแต่ กกร. ลงไปถึง กรอ. ลงถึงระดับชุมชน หมู่บ้าน สําหรับมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงภัยแล้งที่ผ่านมานั้น ได้มีการทํานาปรังสูงขึ้นถึง 268,000 ไร่ แต่หลังจากที่รัฐบาลได้ขอความร่วมมือในปีนี้จากพี่น้องเกษตรกร ให้ลดการปลูกข้าวนาปรังในปีนี้ เนื่องจากอาจจะมีความเสี่ยงต่อผลกระทบจากภัยแล้ง ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีในพื้นที่ นอกจากในเรื่องของการรวมแปลงแล้ว ก็มีเรื่องของการขอความร่วมมือของการทํานาปรัง ทําให้ปีนี้ พื้นที่ทํานาปรังที่ผมไปเยี่ยมมาลดลงเหลือเพียง 7,135 ไร่ โดยเกษตรกรส่วนใหญ่ปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชไร่และพืชผักอายุสั้นแทน เช่น ถั่วเขียว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พริก มะเขือ ถั่วฝักยาว แล้วใช้แหล่งน้ําจากบ่อบาดาลระดับตื้น สามารถทําให้มีรายได้ดี มีพ่อค้าคนกลางจากตลาดไทมารับซื้อถึงที่ มีการขยายพื้นที่การปลูกผักมากขึ้น แทนการทํานาปรังมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นตัวอย่างแห่งความสําเร็จของนโยบายประชารัฐของรัฐบาล อย่าไปฟังใครที่กล่าวหาว่ารัฐบาลไม่ช่วยเหลือเกษตรกร คือถ้าทําตรงกับนโยบาย ทําตามสิ่งที่เราแนะนํา ซึ่งได้เร็วขึ้นก็เกิดผลสัมฤทธิ์ หลายคนได้เล่าให้ผมฟังว่า รายได้เขาดีขึ้นมากกว่าทํานา แต่ข้อสําคัญคือรัฐบาลต้องควบคุมดูแลในเรื่องของปริมาณการปลูกและการตลาดให้ด้วย รวมทั้งสนับสนุนเครื่องมือ เครื่องใช้ในการนําเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มเติม และเพื่อจะแข่งขัน ลดราคากับภาคเอกชนที่ได้มีการให้เช่าเครื่องไม้เครื่องมือ เครื่องจักร แต่ราคาแพงในการไถ เก็บเกี่ยวต่าง ๆ รัฐบาลจะส่งเสริมเป็นแนวทางไว้ วันหน้าจะได้เดินหน้าไปได้ด้วยดี มั่นคง ทุกคนจะได้รวมตัวกันเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง หากพร้อมใจกันรับฟังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อาจจะยากในระยะแรก เพราะว่าเคยทํามาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย แต่ก็ขอให้เชื่อมั่นว่ารัฐบาลลงรายละเอียดทุกเรื่อง ไม่ได้คิดเพื่อจะทําให้ทุกอย่างผ่านพ้นไปง่าย ๆ ไม่ใช่ เพราะฉะนั้น ภาครัฐได้สนับสนุนเงินลงทุนผ่านสินเชื่อจากธนาคารเกษตรและสหกรณ์ เมล็ดพันธุ์พืช องค์ความรู้ในการปลูกพืชทดแทน การทําปุ๋ย การแปรรูปสินค้าเพิ่มมูลค่า แล้วมีภาคเอกชนมาร่วมสนับสนุนหลายบริษัทในการที่จะช่วยหาตลาด สร้างความเชื่อมโยงเพื่อรองรับสินค้าเกษตร แล้วไปแปรรูปด้วย ก็มีความหลากหลายมากขึ้น สําหรับในพื้นที่ที่ไปวันนั้น ผมได้ย้ําให้แต่คนในชุมชนได้ไปหาเรื่องราว ประวัติศาสตร์ที่สําคัญของชุมชน ที่เป็นอัตตาลักษณ์มาเชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ผลิตออกมา ทั้งนี้ เพื่อจะเพิ่มมูลค่าให้ผู้บริโภคสนใจเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละพื้นที่ที่ไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นผลผลิตต่าง ๆ อยากให้ทุกสินค้า ทุกรายการมีเรื่องราวความเป็นมาไม่ซ้ํากัน มีคุณค่า แล้วราคาจะสูงขึ้นเอง ผมเห็นตัวอย่างต่างประเทศเขาทําแบบนี้ด้วย เรื่องที่สอง โครงการฟื้นฟูสระเก็บน้ํา บ.หนองดู่ 400 ไร่ เป็นโครงการหนึ่งในพื้นที่จังหวัดชัยนาท ซึ่งเดิมผมให้รองนายกรัฐมนตรี ประวิทย์ฯ ไปตรวจเยี่ยมในพื้นที่ เพื่อติดตามความก้าวหน้าในพื้นที่ที่รับผิดชอบ พร้อมรับฟังปัญหาของประชาชนในพื้นที่ที่บริเวณบ้านห้วยมะโมง ซึ่งมีห้วยธรรมชาติที่ตื้นเขิน และใช้ประโยชน์เก็บกักน้ําอะไรไม่ได้มาก จึงเสนอโครงการขึ้นมา โดยผ่านท่านรองประวิทย์ฯ ก็ได้ใช้งบประมาณในส่วนที่รองนายกรัฐมนตรี สามารถนําไปแก้ปัญหาได้ส่วนหนึ่งในการก่อสร้าง แล้วมีชาวบ้านมาร่วมมือ มีภาคธุรกิจเอกชนมาซื้อพื้นที่ จัดหาพื้นที่เพิ่มเติมให้ ร่วมกันบริจาค ซึ่งทําให้สามารถสร้างอ่างเก็บน้ําเป็นผลสําเร็จ ภาครัฐได้เข้าไปสนับสนุนให้ วันนี้จึงมีน้ําเข้าไปเป็นจํานวนมากพอสมควร และสามารถเก็บน้ําในฤดูน้ําหลากได้ ซึ่งผมได้รับข้อมูลว่ามีน้ํามากมาย ก็ต้องระมัดระวัง จะได้ป้องกันเรื่องน้ําท่วมไปด้วย แล้วเก็บน้ําไว้ใช้เป็นแก้มลิงในห้วงฤดูแล้ง ฝนยังไม่มาแต่มีน้ําครึ่งหนึ่งแล้ว ความลึกประมาณ 4 เมตร ถึง 6 เมตร ถ้าหากว่าเรายกระดับประตูน้ําไหลเข้า-ออกให้สูงขึ้นอีก ก็จะสามารถเก็บน้ําได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นตัวอย่างของการนําข้อมูลรับฟังความคิดเห็นของประชาชนมา แล้วรัฐบาลก็มาพิจารณาว่าจะช่วยเหลืออะไรได้อย่างไร อันไหนที่เป็นประโยชน์ อันไหนที่จะต้องทําความเข้าใจ อาจจะต้องพึ่งพาในส่วนตรงอื่น เขาเรียกว่า การร่วมมือกันเป็น “ประชารัฐ” ไม่ใช่ว่าเฉพาะในพื้นที่ตัวเอง ต้องสร้างความเชื่อมโยงกับพื้นที่อื่น ๆ ด้วย บางครั้งไม่เหมาะสม ขุดอ่างน้ําตรงนี้ ต้องไปขุดที่อื่นแล้วทําระบบส่งน้ํามาที่นี่ขณะเดียวกัน จะได้เกิดผลประโยชน์ด้วยกันในภาพรวม ภาพกว้าง เพราะฉะนั้น การบริหารจัดการพื้นที่หรือที่ดิน หรือการใช้น้ํา ต้องร่วมมือกันทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน และเอกชน ผมเกรงว่าปัญหาการขาดน้ําจะทําให้มีผลกระทบกับเรื่องของการใช้ชีวิตประจําวันด้วย ถ้าเราใช้น้ําทําการเกษตรมากจนเกินไป ในขณะที่ต้นทุนน้ํามีจํากัด จะทําให้น้ําในเรื่องของการอุปโภค บริโภค การใช้น้ําประปาขาดแคลนเข้าไปอีก แล้วระบบน้ําที่จะต้องส่งลงมาให้ออกไปทะเล การผลักดันน้ําเค็มก็น้อยลงไป ไปไม่ถึงเพราะถูกดูดหมดแล้ว เพราะฉะนั้น ปัญหาของเราในเวลานี้คือการขอความร่วมมือไประยะเวลาหนึ่ง ถ้าปีหน้าน้ํามากขึ้น ฝนตกมากขึ้น ก็คงจะไม่เป็นปัญหาเหล่านี้ เพราะเราได้เตรียมระบบน้ํา การกักเก็บน้ํา ไว้มากมายพอสมควร ระยะที่ 1 เรื่องแผนบริหารจัดการน้ํา สําหรับที่ห้วยมะโมงนี้ ก็ทําให้พี่น้องประชาชนกว่า 900 ครัวเรือน ได้รับผลประโยชน์ รัฐสามารถประหยัดงบประมาณในการบรรเทาความเดือดร้อน เพราะถ้าเราต้องดูทั้งระบบในพื้นที่กว้าง ๆ นั้นไปไม่ไหว เพราะฉะนั้นต้องช่วยกัน อะไรอยู่ในเขตชลประทาน อะไรอยู่นอกเขต อะไรที่เป็นแหล่งเก็บน้ําตามธรรมชาติ อะไรที่ไปขุดเสริมเพิ่มในพื้นที่แล้วจัดระบบการบริหารจัดการน้ําในพื้นที่ได้โดยท้องถิ่นเอง โดยประชาชนเอง ก็ลดความขัดแย้ง เงินที่มีอยู่ก็จะได้เอาไปใช้พัฒนาด้านอื่น ๆ ได้อีก พัฒนาพื้นที่ พัฒนาให้ประชาชนมีความสุข ทั้งบ้านปลาทูและห้วยมะโมง ถือว่าเป็นตัวอย่างของการทํา “ประชารัฐ” เป็นความร่วมมือของทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ซึ่งจะเห็นถึงความร่วมมือระดับชาติลงไปถึงระดับชุมชน คือแกนตั้งที่ผมว่า จะเป็นกลจักรสําคัญ ข้างล่างก็ต้องไปทําแกนนอนให้ได้ ในการที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม ถ้าเราเข้มแข็งด้วยตัวเอง ยืนบนลําแข้งตัวเองได้แล้ว ไม่ต้องพึ่งพาใครมากนัก จนกระทั่งทําให้ระบบต่าง ๆ เสียหายไปทั้งหมด มีคนมาใช้ประโยชน์ จากความยากลําบากของพ่อแม่พี่น้อง ไปทําอย่างอื่นด้วย วันนี้รัฐบาลจําเป็นต้องลงทุนขนาดใหญ่ไปด้วย ขณะเดียวกันก็ต้องแก้ปัญหาเดิม ๆ อยู่ ซึ่งควรจะแก้ไปนานแล้ว แต่แก้ไม่ได้ เพราะว่าไม่ได้ดูทั้งระบบ วันนี้ได้นําทั้งระบบมาเป็นงานที่ยากพอสมควร งบประมาณสูง แต่เราจะจัดลําดับความเร่งด่วนในการทํางานให้ได้ในระยะที่ 1 ของเราในการปฏิรูปประเทศ สิ่งสําคัญที่เราต้องปฏิรูปไปพร้อมกันด้วยนอกจากท้องถิ่น นอกจากชุมชน นอกจากประชาชนแต่ละกลุ่ม แต่ละฝ่ายแล้ว สิ่งที่เป็นประเด็นสําคัญ ที่เป็นรายได้ประเทศในการพัฒนาประเทศในระยะต่อไป ในห้วงการเปลี่ยนแปลง ในเรื่องของเศรษฐกิจโลกในวันนี้ เราจะต้องเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้มากขึ้น โดยทําอย่างไรเราจะเป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุน หรือด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน การใช้การวิจัยและพัฒนาที่นําสู่การผลิตนวัตกรรมใหม่ของประเทศ เหล่านี้จะเป็นกุญแจสู่ความสําเร็จของเราในอนาคต ในส่วนของรัฐ ข้าราชการก็จําเป็นต้องสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกับประชาชนให้ได้ อย่าให้เขาต่อว่าได้ว่าไม่ดูแลเขา ไม่ร่วมมือ ไม่เมตตา ไม่รักเขา ท่านต้องแก้ไขตั้งแต่วันนี้ด้วยการบูรณาการ พบปะใกล้ชิดสม่ําเสมอ และขอขอบคุณข้าราชการที่ดี ๆ เสียสละมากมาย ทุ่มเท เหน็ดเหนื่อย ผมทราบดีและรัฐบาลขอเป็นกําลังใจให้ เรื่องของการสร้างชาติด้วยการปฏิรูปประเทศ ให้เจริญเติบโตอย่างก้าวกระโดด ทําไมต้องใช้คําว่า “ก้าวกระโดด” เพราะที่ผ่านมา ชะลอมานานแล้ว แทนที่จะทําไปด้วยความก้าวหน้าตามลําดับ ปรากฏว่า ต้องก้าวกระโดด ไม่อย่างนั้นไม่ทันเขา เพราะหยุดมานานแล้วในภาพรวม ในภาพของเศรษฐกิจมหาภาคด้วย สถานการณ์โลกวันนี้เต็มไปด้วยการแข็งขัน เพราะฉะนั้น รัฐบาลให้ความสําคัญในเรื่อง “การพัฒนาคนและชุมชน” ใช้หลักการตามแนวทางพระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระราชดํารัสว่า “ทุกอย่างต้องระเบิดจากข้างใน” คือหมายถึงต้องมุ่งพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้คนและครอบครัวในชุมชน ให้มีความพร้อมที่จะรับการพัฒนาก่อน ให้มีความอยาก มีความต้องการ อยากได้ แล้วอยากร่วมมือด้วย ไม่ใช่เรียกร้อง หรือไม่ใช่รัฐยัดเยียดความเจริญจากสังคมภายนอกเข้าไป ต้องนึกถึงว่าความสมดุลจะเกิดได้อย่างไร ถ้ารายได้เขาน้อย สิ่งที่เจริญเติบโตด้านเทคโนโลยีเขาก็ไม่มีโอกาสได้ใช้เพราะว่าราคาสูง วันนี้ต้องสร้างตั้งแต่ชุมชนหมู่บ้านขึ้นไป ไปจังหวัด กลุ่มจังหวัด ไปตลาดชายแดน ไปCLMV ไปประชาคมอื่นๆ วันนี้รัฐบาลใช้หลักการนี้ดําเนินการอยู่ตามแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แล้วก็ได้นําหลักการ “ประชารัฐ” เข้ามาเสริม เพื่อผสานความร่วมมือระหว่างกัน ทั้งประชาชนซึ่งเป็นผู้กําหนดความต้องการสํารวจความต้องการในพื้นที่ ขณะเดียวกัน รัฐบาลต้องดูในภาพรวมว่า แต่ละเรื่องนั้นมีความเกี่ยวพันเชื่อมโยงกับพื้นที่อื่นอย่างไร เขาถึงเรียกว่าการทํางานอย่างเป็นระบบ ดูตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง แล้วให้ทุกภาคส่วนมีความพร้อมของตนเอง ภาครัฐก็ง่ายที่จะไปร่วมมือ ไปส่งเสริม ทั้งด้านความรู้ วิชาการ เทคโนโลยี แหล่งเงินทุนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนสถาบันการศึกษาด้วย จะต้องเข้ามาดูแลในทุกกิจกรรมเพราะเป็นพื้นฐานของการเจริญเติบโต พื้นฐานของการพัฒนา ก็คือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ท่านต้องรู้กิจกรรมของทุกกลุ่มงาน ทุกกระทรวงด้วย เพราะการศึกษาเป็นบ่อเกิดของการสร้างสติปัญญา และผลิตคนออกมาให้ตรงกับความต้องการ สนับสนุนในทุกกิจกรรม ทุกกระทรวง รวมความไปถึงภาคเอกชน ธุรกิจด้วย ท่านต้องมองในมุมนี้ เพราะท่านมีตั้งหลายแท่งงานในการทํางาน ซึ่งผลิตคนออกมาแต่ละอย่าง เพื่อเหมาะสมกับกิจการหลาย ๆ อย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการใช้ความรู้ ในการเป็นครู ในการเกี่ยวกับเรื่องการท่องเที่ยว การบริการ Technician นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยพัฒนา นักคณิตศาสตร์ อะไรเหล่านี้ ซึ่งมีความหลากหลาย ถ้าท่านทําให้ทุกอย่างนั้นสามารถเป็นกลุ่ม ๆ ได้ จัดระเบียบได้ เตรียมคนได้ วางแผนว่าในปีนี้ถึงปี 2560 จะทําคนเหล่านี้ได้เท่าไร จะต่อยอดอย่างไร จะเอาใครมาเชื่อมโยง จะร่วมมือกับภาคเอกชนอย่างไร ธุรกิจอย่างไร เพื่อจะเติมคนเหล่านี้ให้ได้ ให้เร็ว วันนี้เราขาดตลาดแรงงาน เราขาดมากในทุกระดับ งานเรามากมายตอนนี้ เพราะมีคนจะมาลงทุนในประเทศไทยภายใน 2 ปีนี้ เป็นจํานวนมาก ผมเกรงว่าจะไม่ทัน เพราะฉะนั้นต้องร่วมมือกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน และทุกกระทรวง ถึงความต้องการของแรงงาน และอีกประการหนึ่งคือว่า ในเมื่อเรามีรายได้ดีขึ้น ในส่วนของแรงงานต่าง ๆ ก็ควรจะมีรายได้สูงขึ้น แต่การที่จะปรับรายได้สูงขึ้นพร้อมกันทั้งหมด ย่อมเป็นไปไม่ได้ คงจะต้องปรับตามฝีมือ ตามการรับรองฝีมือของกระทรวงแรงงานด้วย เพราะฉะนั้นขอให้ประชาชนทุกคน แรงงานทุกคน เข้าใจ ถ้าทุกคนรู้จักการพัฒนาตนเอง เข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ เขามีสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานในทุกพื้นที่ ผมได้สั่งการย้ําไปแล้วให้กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย และแล้วหน่วยงานต่าง ๆ ไปหารือกันให้ได้ว่าเราต้องการแรงงานในประเทศเท่าไร อย่างไร แรงงานต่างประเทศที่เข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้านเราเท่าไร แรงงานมีฝีมือเท่าไร เราจะส่งแรงงานประเภทใดไปบ้าง อันนี้ก็เข้าไปอยู่ในแผนของการเตรียมการ ที่ผ่านมาในเรื่องของการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งมีหลายอย่างด้วยกัน อันนี้เราก็จะสามารถเรียกว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ และรูปแบบของการทํางานร่วมกัน ทั้งข้าราชการ รัฐ ประชาชน และเอกชน ซึ่งเคยกล่าวไว้แล้วว่า เราจะต้องดําเนินการปฏิรูปครั้งสําคัญของประเทศ ภายใต้นโยบาย “Thailand Startup” หมายความว่า รุกไปข้างหน้า เริ่มต้นให้ดี ที่ยังไม่เข้มแข็งก็สตาร์ท ที่ยังไม่เกิดก็สตาร์ทขึ้นมา ที่สตาร์ไปแล้วก็ต้องสตาร์ทต่อ ไม่อย่างนั้นจะติดๆ ดับๆ มาตลอด ไปไม่ได้ ซึ่งแนวทางในการดําเนินการ มีดังนี้ 1. เรื่องการจัดตั้ง National Startup Center เพื่อจะเชื่อมโยงบัญชีนวัตกรรมที่มีอยู่ในแต่ละกระทรวงและจดทะเบียน เป็น Startup ทั้งหมด ส่งเสริมให้เหล่านี้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ทั้งจากธนาคารของรัฐและเอกชน มีกองทุนร่วมลงทุนให้เกิดความเข้มแข็ง สร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ด้วยกันเอง หรือสถาบันการศึกษาและมหาวิทยาลัยเป็นผู้สนับสนุนความรู้ต้องไปด้วยกันนะครับพี่จูงน้องนะ เราเคยสัญญาไว้ว่าเราจะ Strong together เพราะฉะนั้นจะต้องมีรายได้สูงขึ้นด้วยกัน มากน้อยก็ตามขีดความสามารถ ตามศักยภาพ รัฐบาลก็จะไปดูแลเพิ่มเติมให้ ถ้าใครยังไม่มีศักยภาพเพียงพอแต่ต้องการเงินเป็นไปไม่ได้ ท่านต้องพัฒนาเรียนรู้ก่อน สําหรับพี่ ๆ ก็จูงน้อง เพื่อนจูงเพื่อน ขนาดใหญ่ก็มาจูงขนาดกลาง ขนาดกลางจูงขนาดเล็ก อันนี้เป็นความเชื่อมโยงกัน 2. เรื่องที่สอง การนําภาคเกษตรเข้าสู่ระบบ ภาคการเกษตร วันนี้รายได้น้อย ผลผลิตทางการเกษตรมีราคาต่ําลง เป็นปัญหาของทุกประเทศในโลกนี้นะครับ เพราะฉะนั้นเราก็มีโครงการในเรื่องของการจัด “1 ตําบล 1 SME” ขึ้น เป็นระยะแรก เราต้องการปฏิรูปการเกษตรของประเทศให้มีมูลค่าสูงขึ้น เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ให้เข้าถึงแหล่งวิชาการ แก้ปัญหาเดิมๆ ที่มีอยู่ให้เกิดความยั่งยืน ด้วยการส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรมรายย่อยในแต่ละท้องถิ่น ผมต้องการให้เป็นก้าวแรกของพี่น้องเกษตรกร แต่ถ้าก้าวแรกไปมาก ๆ ได้ ก็ดีไม่เป็นไร ถ้าแข็งแรงอยู่แล้วก็มาร่วมกันทําต่อไป รัฐบาลก็ต้องพิจารณาหาทางสนับสนุนให้ตามขีดความสามารถที่มีอยู่ แล้วก็ขอความร่วมมือจาก บรรดานักธุรกิจต่าง ๆ เข้ามาร่วมด้วย วันนี้ต้องช่วยกันทั้งหมด เพราะฉะนั้น ก้าวแรกของผมคือ ต้องก้าวไปพร้อม ๆ กันหลายพวก หลายหน่วย หลายกลุ่ม ปัญหาคือความเข้าใจเกิดขึ้นหรือยัง การเจริญเติบโตจากภายในพร้อมหรือยัง ถ้ายังไม่พร้อม แล้วมีการบิดเบือน มีการพูดจาให้ร้ายกัน ต่อไปก็ไม่เกิดขึ้น พี่น้องเกษตรกร ประชาชนที่มีรายได้น้อยก็ลําบากอยู่แบบนี้ ผมสามารถพูดได้เลยว่า ถ้ายังทําแบบเดิมอยู่ก็จะจนอยู่แบบนี้ ถึงชั่วลูกชั่วหลาน วันข้างหน้าก็เป็นแบบนี้อีก ถ้าไม่ร่วมมือกับเราในวันนี้ ตามที่เราได้เตรียมการเรื่องของแผนการปฏิรูป วันนี้ระยะที่ 1 ท่านต้องเริ่มกับผมก่อน เราต้องพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพมากกว่าปริมาณ การผลิตคนก็ต้องมีคุณภาพ มากกว่าปริมาณเหมือนกัน การศึกษาเป็นข้อมูลที่ผมทราบอยู่แล้ว ผมก็ได้แจ้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการไปแล้ว เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนหน้าผมทั้งนั้น ผมก็พยายามแก้ แต่ยากพอสมควร เพราะเป็นระบบ เพราะฉะนั้น ขอให้เห็นใจด้วย รัฐบาล ข้าราชการก็พยายามจะดําเนินการอยู่ ขณะนี้เราจะทํายังไงให้นวัตกรรมไทย คือสิ่งใหม่ๆ ที่ผลิตออกมา คิดออกมาแล้วมีความเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย เกื้อกูลต่อการใช้วัตถุดิบในประเทศ แล้วไปสร้างแบรนด์ของ ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ของอาเซี่ยน แบรนด์ของสินค้าไทย ที่เราเรียกว่า Made in Thailand ต่อไปก็มี Made in ASEAN ด้วย เพราะเราเปิดประชาคมอาเซียนแล้ว เมื่อวานผมได้สั่งงานไปแล้วในวันก่อนที่มีการประชุม เรื่องการเตรียมการ และความก้าวหน้าในการเดินหน้าเข้าสู่ AEC นะครับ การเป็นประชาคมอาเซียนด้วย AEC คือเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจ สําหรับเรื่องประชาคมอาเซียนมีหลายเสาด้วยกัน เรื่องที่ 3 การส่งเสริมการสร้างผู้ประกอบการเทคโนโลยีใหม่ (Tech Startup) ได้มีการจับมือทุกฝ่าย ทั้งภาคอุตสาหกรรม เกษตร ดิจิทัล เทคโนโลยี และธุรกิจบริการ มาร่วมกันคิดและสร้างการเป็นเจ้าของธุรกิจนะครับที่ใช้นวัตกรรม ตั้งแต่ระดับเล็ก กลาง ใหญ่ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ จากการขายสินค้าและบริการที่เป็นทางเลือกใหม่ของตลาด ทั้งตลาดใน ตลาดนอก อะไรก็แล้วแต่ เป็นโอกาสในการที่จะขยายธุรกิจและเปิดตลาดใหม่ออกไปในวันข้างหน้าด้วย จะทําให้รายได้ประเทศสูงขึ้น เป็นการยกระดับขีดความสามารถของประเทศให้มีการแข่งขันได้มากขึ้น อย่างที่เรากําหนดไว้เป็นวาระของเราเหมือนกันในการเข้ามาในครั้งนี้ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า จุดเริ่มต้น คือ การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ จะเป็นกุญแจสู่ความสําเร็จ เป็นแผนที่นําทางในการที่จะนําพาประเทศชาติให้มีรายได้สูงขึ้น เข้าสู่ประเทศที่มีการผลิต มีการจําหน่ายออกไปภายนอก ในด้านอุตสาหกรรมที่เป็นประโยชน์กับประเทศไทย โดยเฉพาะด้านการเกษตร ประเทศเรา ขีดความสามารถเราสูงอยู่แล้วนะครับ ที่สําคัญคือการ บูรณาการทํางานแลกเปลี่ยนข้อมูล สร้างความร่วมมือ ให้ทุกอย่างนั้นเริ่มต้นมา ต่างคนต่างเริ่มต้นกัน ไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นเราเอาที่สําเร็จแล้วมารวมกันว่าได้ถึงแค่ไหน แล้วต้องกลับไปทําต่อก่อน ไม่เช่นนั้นจะไม่พัฒนา กี่ปี ๆ ก็อยู่ที่เก่า รอคนใหม่เขาทําขึ้นมา คนเก่าก็ไปไม่ออก ไปไม่เป็น เพราะฉะนั้น ผมว่าต้องทําแบบนี้ บางอย่างก็เอาสิ่งที่มีอยู่แล้วมาเรียนรู้ มาดู เราคิดเองได้ มีแบบให้ดูทุกเรื่อง อย่ากลัว อย่าไปละเมิดกฎหมายเขาแล้วกัน เพราะฉะนั้น เรื่องของกฎหมาย คือการให้ความสําคัญในเรื่องของการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา แต่ละประเทศเขาพยายามที่จะใช้กฎหมายนี้คุ้มครองผลประโยชน์ของเขาทั้งหมด เราก็ต้องเตรียมความพร้อมของเราด้วยในอนาคต เพราะนอกจากผลงานวิจัยและพัฒนาแล้ว เราได้นําออกมามากมายวันนี้ จะต้องไปเข้าสู่กระบวนการทําลิขสิทธิ์ ไม่อย่างนั้นวันหน้าก็ผลิตออกไปแล้วเราก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง คนที่เอาไปก็ได้ประโยชน์เราก็เสียหาย เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะต้องสร้างสรรค์สิ่งเหล่านี้ออกมา แล้วนําสู่กระบวนการกฎหมาย ซึ่งมีทั้งกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายในประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายประชาคมโลก พันธะสัญญาอีกหลายสิบฉบับ เพราะฉะนั้นเอามาเป็นปัจจัยในการพิจารณาในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ การเพิ่มมูลค่าสินค้าและการบริการ ทั้งอุตสาหกรรม เกษตรกรรม อันนี้น่าจะต้องไปด้วยกันได้ เพราะประเทศไทยเป็นประเทศผลิตสินค้า หรือผลิตผลที่มาจากเกษตรกรรมมีเป็นจํานวนมาก ที่เหลือ เช่น ข้าว ยาง อะไรเหล่านี้ เราสามารถเอาอุตสาหกรรม เกษตรอุตสาหกรรมเข้ามาช่วยได้ ก็จะเพิ่มรายได้ แล้วยึดโยงไปถึงชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน ถ้าเราไม่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็ไปไม่ได้ เพราะทั่วโลกเขาใช้แล้ว ผมได้ยินว่าในระยะเวลาอันใกล้ ปี สองปี หรืออีกไม่กี่ปีจะเป็นการปฏิวัติเศรษฐกิจโลกใหม่ไปสู่ระยะที่สี่ คือการที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการใช้หุ่นยนต์ ใช้อะไรต่าง ๆ เราก็ต้องเตรียมเหมือนกัน เพราะเป็นอุตสาหกรรม 1 ใน 5 ที่เรากําลังส่งเสริม เพื่อจะเตรียมการสู่อนาคต ขณะเดียวกัน ก็ต้องเตรียมการไว้ด้วยว่าทํายังไง ในเมื่อใช้เครื่องมือใช้เครื่องจักร ใช้หุ่นยนต์มากขึ้น คนก็จะไม่มีงานทํามากขึ้น เราคงต้องมีทั้งสองอย่าง เพราะเรายังคงต้องดูแลคนที่มีรายได้น้อย ซึ่งมีเป็นจํานวนมากขึ้นทุกวัน วันนี้เกือบ 70 ล้านแล้ว เพราะฉะนั้นเราจะทําเน้นในเรื่องของความทันสมัยอย่างเดียวก็ไม่ได้ ต้องดูแลคนที่มีรายได้น้อยด้วย ปัญหาคือเราจะดูแลเขาอย่างไร ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเขาอย่างไร ให้เขามีการเรียนรู้อย่างไร มีการพัฒนาตัวเองอย่างไร ถึงจะไม่มีปัญหาในอนาคต ไม่เช่นนั้นเราจะติดกับตัวเองเข้าไปอีก ถ้าเราไม่เริ่มทําในวันนี้ เรื่องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เราก็อย่าไปละเมิดเขา เขาก็ไม่ควรละเมิดเรา ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างทํา แต่อะไรที่ร่วมมือกันได้ก็ร่วมมือกันไป ถ้าแย่งกันทํา เลียนแบบกัน ขโมยเขามา แล้วทําเองไม่ได้ จะเสียความเป็นสุภาพบุรุษด้วย เราต้องรักษา การทําของเทียมเลียนแบบต่าง ๆ เสียหายหมด ผมได้เร่งให้เจ้าหน้าที่ไปจับกุมดําเนินคดีหมดแล้วในส่วนของของปลอม ทุกเรื่องเลย ปลอมได้หมด ไม่เข้าใจว่าทําไมถึงได้รับความนิยมสูงขนาดนั้น อย่าหลอกตัวเองใช้ของปลอม แสดงว่าปลอมทั้งตัว การดาวน์โหลดหนังก็ยังมีขึ้นอยู่ ยังมีอยู่ทุกอย่าง แอบทํากันหมด เจ้าหน้าที่ก็ต้องไม่ละเลย ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ทุจริต เพราะมีผลเสียหาย ของปลอมบางทีก็ทําให้สุขภาพเสียหาย ดูหนังก็อาจจะราคาถูก ไม่ต้องเดินทาง แต่หนังมองไม่เห็น ตาเสียหมดนะ เด็กๆ ก็ตาเสียหาย วันนี้เด็กตาเสียมากเหมือนกัน เพราะว่าดูจอคอมพิวเตอร์ ตัวเล็ก ต้องให้พักผ่อนบ้าง เล่นเกมส์ทั้งวัน ไม่ได้ จะทําให้ตาบอดในวันหน้า เราต้องคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของเขา ของเราด้วย เป็นเรื่องของความถูกต้องศีลธรรมอันดี แล้วยังสร้างในเรื่องของวินัยทางการค้าและการลงทุน วันนี้สถิติทุกอย่างถูกประเมินหมด ทุกประเทศในโลกที่อยู่ในระดับต้น ๆ จะถูกประเมิน เพราะจะต้องมาแข่งขันกัน ใครดี ใครไม่ดี ใครปลอม ใครไม่ปลอม ใครละเมิดกฎหมาย ซึ่งเป็นตัวที่จะสร้างความเชื่อมั่นในโลกใบนี้ในวันข้างหน้า และในวันนี้ด้วย วันข้างหน้าจะมากกว่านี้อีก กฎหมายจะเขียนมากขึ้น เพราะฉะนั้น การขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศย่อมส่งผลกระทบโดยตรง จะดีหรือไม่ดีก็อยู่ที่นี่ การขับเคลื่อน การพัฒนา สร้างความเข้มแข็ง ผมพูดหลายครั้งมาก ท่านคงจําได้บ้างไม่ได้บ้าง คนไทยต้องจํานาน ๆ อย่าจําสั้นๆ ไม่ชอบฟังอะไรยาว ๆ แล้วก็จําเล็กน้อย แล้วก็ลืม พยายามสร้างความเชื่อมโยงที่ต่อเนื่อง ผมก็ไม่ใช่เก่งอะไรมา เพียงแต่ว่าผมทําเองก็เลยจําได้ ถ้าคนไม่สนใจเลย จะรอรับประโยชน์อย่างเดียวจะจําอะไรไม่ได้เลย รอว่าเมื่อไรจะได้สตางค์เท่านั้น ผิด-ถูก ไม่ว่ากัน อันนี้ไม่ได้ เราต้องระมัดระวัง การที่เราจะกําหนดอะไรออกมาเอง คิดอะไรออกมาเอง แล้วทําโน่นได้ นี่ได้ ดูสัญญาเขาด้วย ดูกฎหมายระหว่างประเทศด้วย WTO FTO ข้อตกลงเจรจามากมายไปหมด ถ้าเราทําไม่ดี เราอาจจะถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร เรื่องที่เราเสียสิทธิ์ GSP บ้าง หรือภาษี 0% บ้าง เป็นเรื่องของประเทศเรา เป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ซึ่งถูกตัดภาษีตัวนี้ออกไป การให้สิทธิประโยชน์เหล่านี้ไป ไม่ใช่เพราะผมเข้ามา เพราะเรามีรายได้ต่อหัว รายได้ GDP สูง อยู่ระดับกลาง แต่เราต้องมาดูว่ากลางจริงหรือไม่จริง คนอยู่ตรงกลางจริง ๆ เท่าไร ข้างล่างเท่าไร วันนี้เกือบ 40 ล้าน รายได้น้อย มีเกษตรกร ประมาณ 30 อีก 10 เป็นผู้ประกอบอาชีพอื่น ๆ อาชีพรับจ้าง อิสระอะไรเหล่านี้ ทั้งหมดเกือบ 40 ล้าน วันนี้เรามี 67 ล้าน คิดเอาแล้วกันว่า คนจนเรามีมากหรือไม่ มากกว่า 50 หรือเปล่า 50% หรือไม่ ต้องช่วยกัน เรื่องทางการแพทย์ วิวัฒนาการของเรา ซึ่งน่าชื่นชม แพทย์เรา สาธารณะสุขเรา ถือว่าดีที่สุดในอาเซียนประเทศหนึ่งเหมือนกัน ไม่ใช่ดีที่สุดะ ไปได้เก่งกว่าเขามากก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราต้องภูมิใจในของเราเอง ไม่ต้องไปคุยโอ้อวดกับใคร วันนี้โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เป็นโรงพยาบาลทหารของกรมแพทย์ทหารบก ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตัวอย่างความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน ส่วนสถานศึกษาของจุฬาลงกรณ์ ก็ประสบความสําเร็จในการผ่าตัดใส่กระดูกเทียม ซึ่งผลิตจากโลหะไทเทเนียม ด้วยการพิมพ์ 3 มิติ ด้วยเครื่องซีทีสแกน เพื่อใส่ทดแทนกระดูกนิ้วหัวแม่มือ ที่ถูกทําลายจากมะเร็งเนื้องอกกระดูก ซึ่งน่าภูมิใจเพราะเป็นรายแรกของโลก เพราะฉะนั้น เป็นสิ่งที่เราจะต้องพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ ข้อสําคัญคือ บรรดาพ่อแม่ พี่น้องที่เป็นแรงงานที่ทํางานในโรงงาน ถูกเครื่องจักรกลตัดมือ ตัดนิ้ว ตัดแขน เหล่านี้ ต้องพัฒนาไปตรงโน้นด้วย ว่าวันหน้าจะทําอย่างไรให้เขามีความสมบูรณ์แข็งแรงเหมือนเดิมได้ จะได้ไปทํางานได้เหมือนเดิม แต่ปัญหาคือ ราคาค่ารักษาคงแพง จะทํายังไง ก็คงต้องมีการเริ่มต้น ขอฝากสถานพยาบาล กระทรวงสาธารณสุขไปดูด้วย อาจจะเป็นการนําร่องว่าเท่าไร เป็นลักษณะสาธารณกุศลไปก่อน อันนี้ถือว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของไทย ก็จะต้องจดสิทธิบัตรให้ได้โดยเร็ว เราจะช้าทุกทีไป ต้องรีบส่งไป แต่เขาจะให้เมื่อไร ถือว่าเราส่งไปแล้ว วันหน้าเขาจะได้ไม่มาบอกว่าเพิ่งส่ง เราต้องตามทุกเรื่อง ไม่ใช่สั่งไปแล้วไม่ตาม ไม่กํากับดูแล จัดตั้งไปแล้วไม่ควบคุม แล้วก็ไม่ใช้งาน ก็พังทุกอัน ระบบก็เสียหมดทุกอัน ทําอะไรก็แล้วแต่ ต้องมีกัน ถ้าเริ่มก็เริ่มเลย คือการจัดตั้ง จัดตั้งเสร็จก็ต้องควบคุม ควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ทํางานอย่างไร พันธะกิจ ภารกิจอย่างไร แล้วก็ใช้งานให้ตรงกับวัตถุประสงค์ ทั้งงบประมาณทั้งแผนงาน เพราะมีหลายหน่วยงานด้วยกัน ซ้ําซ้อนกันก็ไม่เกิดประโยชน์ ซ้ําซ้อนกันทางงบประมาณด้วย ข้อสําคัญต้องมีการประเมินผลตามระยะเวลา ความพึงพอใจของประชาชนเป็นหลักว่า สิ่งที่เราทําไปแล้วนั้นตรงกับความต้องการหรือไม่ ถ้าเขาไม่เข้าใจก็ต้องอธิบายให้เขา ถ้าไม่ใช่ก็ต่างคนต่างปล่อยกันไป แล้วทะเลาะกันอยู่ทุกวันนี่ อันไหนเขาต้องการก็ทําให้เขา อันไหนที่รัฐต้องไปทํา เพราะรัฐจะต้องทําในส่วนที่ต้องเชื่อมโยงกับพื้นที่อื่น ๆ ไม่ใช่พื้นที่ที่แต่ละท้องถิ่นเขามีอยู่แล้ว เขาได้อยู่แล้ว เขาทําอยู่แล้ว ถ้ารัฐไม่ไปเสริม เป็นการเชื่อมโยงระหว่างท้องถิ่นนี้กัน อําเภอนี้ อําเภอโน้น เรื่องน้ํา เรื่องต้นทาง กลางทาง ปลายทาง เรื่องการปลูกพืช การพัฒนาอะไรก็แล้วแต่ ไม่คิดแบบนี้ จะไปไม่ได้ ก็ซ้ําซ้อนกันหมด กลายเป็นรัฐต้องลงไปทําในสิ่งที่รัฐต้องการ ที่เขาว่ากันยังไง ประชาชนต้องการอะไรไม่สนใจ ไม่ได้ ก็แบ่งกันทําในส่วนนั้น ท้องถิ่นเขารู้กันอยู่แล้ว ให้เขาคิดมา วันนี้เรามีโครงการอะไรบ้าง โครงการ 5 ล้านแรกที่ให้ไปครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 เมื่อสัปดาห์ที่แล้วก็ให้กองทุนหมู่บ้านไปอีก ไม่เกิน 5 แสนบาท 7 หมื่นเก้าพันกว่าหมู่บ้าน อันนี้ไม่เกิน 5 แสน เขาก็ไปทําสิ่งของที่เกิดประโยชน์ในระยะยาว ไม่ใช่เอาไปแจกจ่าย ไปทําอะไรที่เพิ่มมูลค่า โรงสีขนาดเล็ก ลานตากมัน ที่เก็บน้ํา ถนนหนทาง ทางสัญจร คลังอาหาร ธนาคารอะไรต่าง ๆ ก็แล้วแต่ ธนาคารเมล็ดพันธุ์พืช ธนาคารผลิตผลการเกษตร ไปทํา จะต้องเสริมกัน ทั้ง 5 ล้าน กับ 5 แสนต้องไปด้วยกัน 5 แสนหลังนี่จะเร็ว เพราะอะไร ประชาชนคิดได้เลย ต้องการอะไรมีอยู่แล้ว อยู่ในความต้องการอยู่แล้ว ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย ข้าราชการก็ทําให้เร็ว ไม่อย่างนั้นประกาศไปแล้ว ก็ใช้ยาก ต้องเข้าใจระบบราชการด้วย บางอันยากเพราะขั้นตอนต้องเป็นอย่างนั้น แก้ไขอะไรไม่ได้ เพราะว่าแก้ไขก็จะนําไปสู่การไม่โปร่งใส เดิม ๆ อาจจะทํากันได้ง่าย ทําได้เร็ว เพราะไม่ค่อยตรวจ วันนี้ขอแสดงความยินดีในเรื่องของการ “การไม่ซื้อ ไม่ใช้ ไม่ขายของปลอม” เหล่านี้ หรือว่าขอความร่วมมือ ใครที่ทําอยู่แล้วคือไม่ซื้อ ไม่ขาย ไม่ใช้ ไม่อุดหนุน ผมว่านั่นแหละเป็นวิธีการที่ถูกต้อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านทรงพระราชทานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ได้ให้ทุกคนประหยัด ทรงรับสั่งความหมายก็คือว่า มีมากใช้มาก มีน้อยใช้น้อย คนมีน้อยก็ต้องระวังตัว มีภูมิคุ้มกัน มีเหตุมีผล มีความพอประมาณ คนมีมาก แต่ไปใช้ให้มากกว่าเดิมก็ต้องดูว่า เราจะใช้มากได้ถึงเมื่อไร เขาเรียกว่าต้องเตรียมภูมิคุ้มกัน ทั้งหมด ต้องเตรียม แล้วก็เอื้อเฟื้อ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน ถ้าไม่ใช้เงินกันเลยนะ รอรัฐบาลอย่างเดียว รอลดภาษี รอลดราคา มันก็ไปไม่ได้ ทั้งหมดประเทศไปไม่ได้ ภาคการผลิตก็ผลิตไม่ได้อย่างไร แล้วจะไปขายใคร แล้วเงินจะมาจากที่ไหน ภาษีจะมายังไง นี่คิดให้เป็นวงจรแบบนี้ ประชาชนก็ต้องเรียนรู้ อย่าให้เขามาบิดเบือน วันนี้เราต้องเป็นประเทศที่มีความน่าเชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สุดท้ายนี้ ผมขอเป็นตัวแทนปวงชนชาวไทย แสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับพระราชทาน “รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล” จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จํานวน 2 ท่าน 1 คือ สาขาการแพทย์นะครับ ได้แก่ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ มอร์ตัน เอ็ม มาวเวอร์ (Professor M. Mower) จากประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ร่วมคิดค้นเครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติชนิดฝังในร่างกาย (AICD: Automatic Implantable Cardioverter Defibrillator) และคิดค้นหลักการของเครื่องรักษาหัวใจ ด้วยวิธีให้จังหวะนะครับ (CRT: Cardiac Resynchronization Therapy) และ (2) สาขาการสาธารณสุข ได้แก่ เซอร์ไมเคิล กิเดียน มาร์มอต (Sir Michael Gideon Marmot) จาก สหราชอาณาจักร ด้วยผลงานการศึกษาวิจัยทางระบาดวิทยา ที่เน้นสร้างความเท่าเทียมกันทางสุขภาพ ทุกเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนา และฐานะทางสังคม จนนําไปสู่การกําหนดแนวทางปฏิบัติด้านสุขภาพและนโยบายสาธารณะของโลกนะครับ ซึ่งนับว่าทั้งสองท่าน ได้สร้างผลงานอันมีคุณค่าแก่มวลมนุษยชนโดยรวม ของโลกนี้นะครับ ขอยกย่องคุณงามความดี และความวิริยะอุตสาหะของทั้งสองท่าน ใช้เวลายาวนานกว่าจะประสบความสําเร็จในวันนี้ และขอเป็นกําลังใจให้กับนักวิจัยด้านการแพทย์ หรือด้านอื่นๆ ก็ตาม ทั้งของโลก และของไทย ของอาเซียน ในการที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ให้พร้อมที่จะเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม มวลมนุษยชาติ ให้กับโลกใบนี้ในอนาคต แล้วขณะเดียวกันต้องไม่ทําลายสิ่งแวดล้อมด้วย ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดกระทรวงยุติธรรม ให้การต้อนรับผู้แทนสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชน แห่งสหประชาชาติ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม 2561 ปลัดกระทรวงยุติธรรม ให้การต้อนรับผู้แทนสํานักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชน แห่งสหประชาชาติ ประจําภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ให้การต้อนรับผู้แทนสํานักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ประจําภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในวันพฤหัสบดีที่​ ๑๘​ ตุลาคม​ ๒๕๖๑​ เวลา​ ๑๑.๓๐​ น.​ ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ​ ให้การต้อนรับ Ms.​Cynthia Veliko ผู้แทนสํานักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ประจําภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมคณะ ในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะและหารือข้อราชการในประเด็นเกี่ยวกับความร่วมมือด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการติดตามความคืบหน้าร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมาน และการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ. .... ณ ห้องรับรองกระทรวงยุติธรรม ชั้น ๒ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดกระทรวงยุติธรรม ให้การต้อนรับผู้แทนสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชน แห่งสหประชาชาติ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม 2561 ปลัดกระทรวงยุติธรรม ให้การต้อนรับผู้แทนสํานักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชน แห่งสหประชาชาติ ประจําภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ให้การต้อนรับผู้แทนสํานักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ประจําภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในวันพฤหัสบดีที่​ ๑๘​ ตุลาคม​ ๒๕๖๑​ เวลา​ ๑๑.๓๐​ น.​ ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ​ ให้การต้อนรับ Ms.​Cynthia Veliko ผู้แทนสํานักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ประจําภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมคณะ ในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะและหารือข้อราชการในประเด็นเกี่ยวกับความร่วมมือด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการติดตามความคืบหน้าร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมาน และการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ. .... ณ ห้องรับรองกระทรวงยุติธรรม ชั้น ๒ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/16165
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมศุลกากรชี้แจงเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัท เชฟรอน หลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี
วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม 2561 กรมศุลกากรชี้แจงเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัท เชฟรอน หลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี ตามที่ เว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์ (MGR Online) ได้มีการนําข้อความ เฟชบุ๊กของ น.ส. รสนา โตสิตระกูล เผยแพร่และมีการกล่าวถึงผู้บริหารกรมศุลกากรให้คําปรึกษาว่า การส่งน้ํามันไปใช้ที่แท่นขุดเจาะที่ไหล่ทวีปเป็นการส่งออก จึงไม่ต้องเสียภาษี ตามที่ เว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์ (MGR Online) ได้มีการนําข้อความ เฟชบุ๊กของ น.ส. รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานครและอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้านพลังงานมาเผยแพร่และมีการกล่าวถึงผู้บริหารกรมศุลกากรให้คําปรึกษาว่า การส่งน้ํามันไปใช้ที่แท่นขุดเจาะที่ไหล่ทวีปเป็นการส่งออก จึงไม่ต้องเสียภาษี แต่ในการปฏิบัติบริษัทเชฟรอน กลับใช้การสําแดงส่งออกเป็นเท็จ เพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีสรรพสามิต ทั้งนี้ เมื่อมีข้อสรุปว่า การส่งน้ํามันไปใช้ที่แท่นขุดเจาะ เป็นการใช้ในประเทศที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต ปรากฏว่ากรมสรรพสามิตไม่ดําเนินการปรับบริษัทเชฟรอน แต่เก็บเฉพาะภาษีสรรพสามิต ประมาณ 2,000 ล้านบาท เท่านั้น ซึ่งความผิดของบริษัทเชฟรอนที่หลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีและสําแดงการส่งออกเป็นเท็จ เป็นการกระทําความผิดต่อกฎหมาย พร้อมตั้งคําถามถึงกรมศุลกากรว่า มีการพิจารณาความผิดฐานสําแดงเท็จ หลีกเลี่ยงภาษีอากรหรือไม่ อย่างไร เพราะมีหลักฐานว่า บริษัทเชฟรอน ถูกจับน้ํามันเถื่อนที่ด่านสงขลา 1.6 ล้านลิตร นอกจากนี้ ในภายหลังกรมศุลกากรยังมีการยกเลิกใบขนสินค้าที่เป็นการสําแดงการส่งออกเป็นเท็จ เพื่อไม่ต้องปรับบริษัทเชฟรอน โดยให้จ่ายเฉพาะภาษีสรรพสามิตเท่านั้น ใช่หรือไม่ กรมศุลกากรจึงขอชี้แจงข่าวดังกล่าวที่เกี่ยวข้องใน 2 กรณี ดังนี้ 1. การส่งน้ํามันไปใช้ที่แท่นขุดเจาะที่ไหล่ทวีป ในคราวแรกบริษัท ปฏิบัติพิธีการศุลกากรส่งออกสินค้า แต่ต่อมา เมื่อมีความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 1886/2559 ว่า การส่งน้ํามันไปยังแท่นขุดเจาะเป็นการใช้ภายในประเทศ จึงต้องมีการยกเลิกใบขนสินค้า (ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามข้อสังเกตุของ สตง. ที่ให้ยกเลิกใบขนสินค้า) และเมื่อไม่ใช่การส่งออก จึงต้องชําระภาษีสรรพสามิต ดังนั้น เมื่อไม่ใช่การส่งออก เป็นการใช้ภายในประเทศ จึงไม่มีอากรศุลกากร และไม่มีความผิดฐานหลีกเลี่ยงอากร ไม่มีค่าปรับตามกฎหมายศุลกากร ส่วนการที่บริษัท ต้องเสียภาษีสรรพสามิตและเบี้ยปรับตามภาษีสรรพสามิตหรือไม่ อย่างไรนั้น เป็นเรื่องที่กรมสรรพสามิตซึ้งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบดําเนินการ 2. กรณีการจับน้ํามันเถื่อน 1.6 ล้านลิตร เจ้าหน้าที่ศุลกากรได้ตรวจยึดน้ํามันของกลางทั้งหมดจากเรือ supply boat ทั้ง 8 ลํา จํานวนน้ํามันทั้งหมด 1,680,975 ลิตร ภายในเขตทําเนียบท่าเรือนุมัติ ซึ่งยังอยู่ภายในเขตศุลกากร และบริษัท ได้มีคําร้องขอให้เปรียบเทียบงดการฟ้องร้องตามพระราชบัญญัติศุลกากร ยอมรับว่ามีการกระทําผิดฐานพยายามนําของที่ยังไม่ได้ผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักร ตามมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 และยินยอมยกของกลางน้ํามันไฮสปีดดีเซลให้เป็นของแผ่นดิน ตามเกณฑ์ระงับคดีของกรมศุลกากร เพื่อนําของกลางจําหน่ายเป็นรายได้ของรัฐ และนําส่งเป็นรายได้แผ่นดินแล้ว
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมศุลกากรชี้แจงเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัท เชฟรอน หลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม 2561 กรมศุลกากรชี้แจงเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัท เชฟรอน หลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี ตามที่ เว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์ (MGR Online) ได้มีการนําข้อความ เฟชบุ๊กของ น.ส. รสนา โตสิตระกูล เผยแพร่และมีการกล่าวถึงผู้บริหารกรมศุลกากรให้คําปรึกษาว่า การส่งน้ํามันไปใช้ที่แท่นขุดเจาะที่ไหล่ทวีปเป็นการส่งออก จึงไม่ต้องเสียภาษี ตามที่ เว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์ (MGR Online) ได้มีการนําข้อความ เฟชบุ๊กของ น.ส. รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานครและอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้านพลังงานมาเผยแพร่และมีการกล่าวถึงผู้บริหารกรมศุลกากรให้คําปรึกษาว่า การส่งน้ํามันไปใช้ที่แท่นขุดเจาะที่ไหล่ทวีปเป็นการส่งออก จึงไม่ต้องเสียภาษี แต่ในการปฏิบัติบริษัทเชฟรอน กลับใช้การสําแดงส่งออกเป็นเท็จ เพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีสรรพสามิต ทั้งนี้ เมื่อมีข้อสรุปว่า การส่งน้ํามันไปใช้ที่แท่นขุดเจาะ เป็นการใช้ในประเทศที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต ปรากฏว่ากรมสรรพสามิตไม่ดําเนินการปรับบริษัทเชฟรอน แต่เก็บเฉพาะภาษีสรรพสามิต ประมาณ 2,000 ล้านบาท เท่านั้น ซึ่งความผิดของบริษัทเชฟรอนที่หลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีและสําแดงการส่งออกเป็นเท็จ เป็นการกระทําความผิดต่อกฎหมาย พร้อมตั้งคําถามถึงกรมศุลกากรว่า มีการพิจารณาความผิดฐานสําแดงเท็จ หลีกเลี่ยงภาษีอากรหรือไม่ อย่างไร เพราะมีหลักฐานว่า บริษัทเชฟรอน ถูกจับน้ํามันเถื่อนที่ด่านสงขลา 1.6 ล้านลิตร นอกจากนี้ ในภายหลังกรมศุลกากรยังมีการยกเลิกใบขนสินค้าที่เป็นการสําแดงการส่งออกเป็นเท็จ เพื่อไม่ต้องปรับบริษัทเชฟรอน โดยให้จ่ายเฉพาะภาษีสรรพสามิตเท่านั้น ใช่หรือไม่ กรมศุลกากรจึงขอชี้แจงข่าวดังกล่าวที่เกี่ยวข้องใน 2 กรณี ดังนี้ 1. การส่งน้ํามันไปใช้ที่แท่นขุดเจาะที่ไหล่ทวีป ในคราวแรกบริษัท ปฏิบัติพิธีการศุลกากรส่งออกสินค้า แต่ต่อมา เมื่อมีความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 1886/2559 ว่า การส่งน้ํามันไปยังแท่นขุดเจาะเป็นการใช้ภายในประเทศ จึงต้องมีการยกเลิกใบขนสินค้า (ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามข้อสังเกตุของ สตง. ที่ให้ยกเลิกใบขนสินค้า) และเมื่อไม่ใช่การส่งออก จึงต้องชําระภาษีสรรพสามิต ดังนั้น เมื่อไม่ใช่การส่งออก เป็นการใช้ภายในประเทศ จึงไม่มีอากรศุลกากร และไม่มีความผิดฐานหลีกเลี่ยงอากร ไม่มีค่าปรับตามกฎหมายศุลกากร ส่วนการที่บริษัท ต้องเสียภาษีสรรพสามิตและเบี้ยปรับตามภาษีสรรพสามิตหรือไม่ อย่างไรนั้น เป็นเรื่องที่กรมสรรพสามิตซึ้งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบดําเนินการ 2. กรณีการจับน้ํามันเถื่อน 1.6 ล้านลิตร เจ้าหน้าที่ศุลกากรได้ตรวจยึดน้ํามันของกลางทั้งหมดจากเรือ supply boat ทั้ง 8 ลํา จํานวนน้ํามันทั้งหมด 1,680,975 ลิตร ภายในเขตทําเนียบท่าเรือนุมัติ ซึ่งยังอยู่ภายในเขตศุลกากร และบริษัท ได้มีคําร้องขอให้เปรียบเทียบงดการฟ้องร้องตามพระราชบัญญัติศุลกากร ยอมรับว่ามีการกระทําผิดฐานพยายามนําของที่ยังไม่ได้ผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักร ตามมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 และยินยอมยกของกลางน้ํามันไฮสปีดดีเซลให้เป็นของแผ่นดิน ตามเกณฑ์ระงับคดีของกรมศุลกากร เพื่อนําของกลางจําหน่ายเป็นรายได้ของรัฐ และนําส่งเป็นรายได้แผ่นดินแล้ว
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/14897
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมให้การต้อนรับ เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านประจำประเทศไทย
วันพุธที่ 20 มิถุนายน 2561 รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมให้การต้อนรับ เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอํานาจเต็มแห่งสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านประจําประเทศไทย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมให้การต้อนรับเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอํานาจเต็มแห่งสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านประจําประเทศไทย ในวันพุธที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๑.๐๐ น. ณ ห้องรับรองกระทรวงยุติธรรม ชั้น ๒ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้การต้อนรับ นายโมฮ์เซ็น โมฮัมมาดิ (H.E. Mr. Mohsen Mohammadi) เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอํานาจเต็มแห่งสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านประจําประเทศไทย พร้อมคณะ ที่ได้เข้าเยี่ยมคารวะเนื่องในโอกาสที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเข้ารับตําแหน่งใหม่
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมให้การต้อนรับ เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านประจำประเทศไทย วันพุธที่ 20 มิถุนายน 2561 รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมให้การต้อนรับ เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอํานาจเต็มแห่งสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านประจําประเทศไทย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมให้การต้อนรับเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอํานาจเต็มแห่งสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านประจําประเทศไทย ในวันพุธที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๑.๐๐ น. ณ ห้องรับรองกระทรวงยุติธรรม ชั้น ๒ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้การต้อนรับ นายโมฮ์เซ็น โมฮัมมาดิ (H.E. Mr. Mohsen Mohammadi) เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอํานาจเต็มแห่งสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านประจําประเทศไทย พร้อมคณะ ที่ได้เข้าเยี่ยมคารวะเนื่องในโอกาสที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเข้ารับตําแหน่งใหม่
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/13205
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รอง นรม.พล.อ.อ. ประจินฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายราศีไศล ครั้งที่ 1/2561
วันพุธที่ 18 เมษายน 2561 รอง นรม.พล.อ.อ. ประจินฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายราศีไศล ครั้งที่ 1/2561 รอง นรม.พล.อ.อ. ประจินฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายราศีไศล ครั้งที่ 1/2561 โดยที่ประชุมฯ มีมติเห็นชอบแผนการแก้ไขปัญหาโครงการฝายราศีไศล เพื่อบรรลุเป้าหมายภายในเวลา 3 เดือน วันนี้ (17 เมษายน 2561) เวลา 15.30 น. ณ ห้องประชุมคณะรัฐมนตรี (เดิม) ชั้น 2 สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทําเนียบรัฐบาล พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศล ครั้งที้ 1/2561 ซึ่งสรุปสาระสําคัญ ดังนี้ ที่ประชุมได้รับทราบรายงานผลการดําเนินการแก้ไขปัญหาโดยกรมชลประทาน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดร้อยเอ็ด ตามลําดับ ซึ่งสามารถแก้ไขผลกระทบให้ประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง โดยกรมชลประทานได้ทยอยทําการรังวัดที่ดินให้ประชาชนครอบคลุมทั้ง 3 จังหวัดดังกล่าวแล้ว พร้อมกันนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบผลการตรวจสอบพิสูจน์สิทธิ์ในที่ดินซึ่งผ่านการพิจารณาตามหลักเกณฑ์แล้ว พร้อมเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ จํานวน 17 แปลง ในอัตราไร่ละ 32,000 บาท รวมเป็นเงินกว่า 380,000 บาท นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบแผนการแก้ไขปัญหาโครงการฝายราศีไศล เพื่อบรรลุเป้าหมายภายในเวลา 3 เดือน ซึ่งจะเริ่มภายในวันที่ 17เดือนเมษายน 2561 และสิ้นสุดภายใน วันที่15เดือนกรกฏาคม 2561 เพื่อให้ประชาชนได้รับความช่วยเหลือรวดเร็วยิ่งขึ้นต่อไป ............................................. กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รอง นรม.พล.อ.อ. ประจินฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายราศีไศล ครั้งที่ 1/2561 วันพุธที่ 18 เมษายน 2561 รอง นรม.พล.อ.อ. ประจินฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายราศีไศล ครั้งที่ 1/2561 รอง นรม.พล.อ.อ. ประจินฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายราศีไศล ครั้งที่ 1/2561 โดยที่ประชุมฯ มีมติเห็นชอบแผนการแก้ไขปัญหาโครงการฝายราศีไศล เพื่อบรรลุเป้าหมายภายในเวลา 3 เดือน วันนี้ (17 เมษายน 2561) เวลา 15.30 น. ณ ห้องประชุมคณะรัฐมนตรี (เดิม) ชั้น 2 สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทําเนียบรัฐบาล พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศล ครั้งที้ 1/2561 ซึ่งสรุปสาระสําคัญ ดังนี้ ที่ประชุมได้รับทราบรายงานผลการดําเนินการแก้ไขปัญหาโดยกรมชลประทาน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดร้อยเอ็ด ตามลําดับ ซึ่งสามารถแก้ไขผลกระทบให้ประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง โดยกรมชลประทานได้ทยอยทําการรังวัดที่ดินให้ประชาชนครอบคลุมทั้ง 3 จังหวัดดังกล่าวแล้ว พร้อมกันนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบผลการตรวจสอบพิสูจน์สิทธิ์ในที่ดินซึ่งผ่านการพิจารณาตามหลักเกณฑ์แล้ว พร้อมเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ จํานวน 17 แปลง ในอัตราไร่ละ 32,000 บาท รวมเป็นเงินกว่า 380,000 บาท นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบแผนการแก้ไขปัญหาโครงการฝายราศีไศล เพื่อบรรลุเป้าหมายภายในเวลา 3 เดือน ซึ่งจะเริ่มภายในวันที่ 17เดือนเมษายน 2561 และสิ้นสุดภายใน วันที่15เดือนกรกฏาคม 2561 เพื่อให้ประชาชนได้รับความช่วยเหลือรวดเร็วยิ่งขึ้นต่อไป ............................................. กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/11550
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแซมเบีย เข้าเยี่ยมคำนับ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2561 รองประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแซมเบีย เข้าเยี่ยมคํานับ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เมื่อ 30 พ.ย.61 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. และ รมว.กห. ได้ให้การต้อนรับการเยี่ยมคํานับของ นาง Inonge Mutukwa Wina (อีนอเง มูทูควา วีนา) รองประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแซมเบีย ณ ศาลาว่าการกลาโหม ในโอกาสเดินทางมาเยือนไทย เมื่อ 30 พ.ย.61 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. และ รมว.กห. ได้ให้การต้อนรับการเยี่ยมคํานับของ นาง Inonge Mutukwa Wina (อีนอเง มูทูควา วีนา) รองประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแซมเบีย ณ ศาลาว่าการกลาโหม ในโอกาสเดินทางมาเยือนไทย นาง อีนอเง มูทูควา วีนา กล่าวชื่นชมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ถ่ายทอดสู่ความสําเร็จด้านการเกษตรและการขจัดความยากจน ที่สามารถเป็นต้นแบบของการจัดการผลิตอาหาร ให้ประชาชนในประเทศไม่ประสบกับปัญหาความอดอยาก พร้อมทั้งขอขอบคุณไทย ที่ให้การช่วยเหลือด้านการเกษตร การแปรรูปและการเพาะเลี้ยงสัตว์ที่ผ่านมา โดยแซมเบีย มีความประสงค์ขอความร่วมมือในการส่งนักศึกษาเข้ามาเรียนรู้ ด้านการเกษตร ด้านสาธารณสุขและการท่องเที่ยว เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้สู่การพัฒนาประเทศต่อไป พร้อมกันนี้ ยินดีที่จะร่วมมือด้านการค้า การลงทุนกับไทยมากขึ้น พล.อ.ประวิตร ได้แสดงความขอบคุณ พร้อมกล่าวว่า ไทยยินดีสนับสนุนด้านการศึกษา เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเกษตรกรรม เทคโนโลยีด้านการเกษตร การสาธารณสุข การท่องเที่ยว และพร้อมขยายความร่วมมือกับแซมเบียมากขึ้น ทั้งการค้าการลงทุนและการพัฒนาความร่วมมือด้านอื่นๆ ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บนความเท่าเทียมและผลประโยชน์ร่วมกัน
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแซมเบีย เข้าเยี่ยมคำนับ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2561 รองประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแซมเบีย เข้าเยี่ยมคํานับ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เมื่อ 30 พ.ย.61 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. และ รมว.กห. ได้ให้การต้อนรับการเยี่ยมคํานับของ นาง Inonge Mutukwa Wina (อีนอเง มูทูควา วีนา) รองประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแซมเบีย ณ ศาลาว่าการกลาโหม ในโอกาสเดินทางมาเยือนไทย เมื่อ 30 พ.ย.61 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. และ รมว.กห. ได้ให้การต้อนรับการเยี่ยมคํานับของ นาง Inonge Mutukwa Wina (อีนอเง มูทูควา วีนา) รองประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแซมเบีย ณ ศาลาว่าการกลาโหม ในโอกาสเดินทางมาเยือนไทย นาง อีนอเง มูทูควา วีนา กล่าวชื่นชมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ถ่ายทอดสู่ความสําเร็จด้านการเกษตรและการขจัดความยากจน ที่สามารถเป็นต้นแบบของการจัดการผลิตอาหาร ให้ประชาชนในประเทศไม่ประสบกับปัญหาความอดอยาก พร้อมทั้งขอขอบคุณไทย ที่ให้การช่วยเหลือด้านการเกษตร การแปรรูปและการเพาะเลี้ยงสัตว์ที่ผ่านมา โดยแซมเบีย มีความประสงค์ขอความร่วมมือในการส่งนักศึกษาเข้ามาเรียนรู้ ด้านการเกษตร ด้านสาธารณสุขและการท่องเที่ยว เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้สู่การพัฒนาประเทศต่อไป พร้อมกันนี้ ยินดีที่จะร่วมมือด้านการค้า การลงทุนกับไทยมากขึ้น พล.อ.ประวิตร ได้แสดงความขอบคุณ พร้อมกล่าวว่า ไทยยินดีสนับสนุนด้านการศึกษา เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเกษตรกรรม เทคโนโลยีด้านการเกษตร การสาธารณสุข การท่องเที่ยว และพร้อมขยายความร่วมมือกับแซมเบียมากขึ้น ทั้งการค้าการลงทุนและการพัฒนาความร่วมมือด้านอื่นๆ ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บนความเท่าเทียมและผลประโยชน์ร่วมกัน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/17230
รัฐบาลไทย-คปภ. เร่งช่วยเหลือด้านประกันภัยกรณี เพลิงไหม้ 17 หลังคาเรือน ในซอยตากสิน 23
วันอังคารที่ 18 สิงหาคม 2563 คปภ. เร่งช่วยเหลือด้านประกันภัยกรณี เพลิงไหม้ 17 หลังคาเรือน ในซอยตากสิน 23 • เร่งบูรณาการประกันภัยจ่ายค่าสินไหมทดแทนเยียวยาความเสียหายอย่างเป็นธรรม ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า จากกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้บ้านพักอาศัยประชาชนภายในซอยสมเด็จพระเจ้าตากสิน 23 ถนนพระเจ้าตากสิน แขวงสําเหร่ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เป็นเหตุให้มีบ้านพักอาศัยของประชาชนถูกไฟไหม้ 81 หลังคาเรือน เหตุเกิดเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2563 โดยเบื้องต้นได้สั่งการให้สายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ บูรณาการร่วมกับ สํานักงาน คปภ. เขตท่าพระ เร่งช่วยเหลือ และสํารวจความเสียหายอย่างเร่งด่วนผ่าน Platform การรายงานข้อมูลกรณีอุบัติภัยกลุ่มหรือรายใหญ่ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยได้มีการลงพื้นที่เพื่ออํานวยความสะดวกด้านประกันภัยให้กับประชาชนที่บ้านพักอาศัยถูกเพลิงไหม้ดังกล่าวแล้ว รวมทั้งติดตามและตรวจสอบข้อมูลด้วยว่าบ้านพักอาศัยที่ถูกเพลิงไหม้ทั้ง 81 หลังคาเรือน มีการทําประกันอัคคีภัยหรือประกันประเภทอื่นๆ ไว้หรือไม่ เพื่อใช้ระบประกันภัยช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม ทั้งนี้ ได้รับรายงานจากสํานักงาน คปภ. เขตท่าพระ ที่ได้ตรวจสอบข้อมูลการทําประกันภัยเบื้องต้น พบว่า มีการรับประกันภัย ดังนี้ 1. บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัย จํากัด (มหาชน) รับประกันภัยทรัพย์สินบ้านเลขที่ 1137/1-3 , 1137/46-50 , 1137/64-76 ซอยตากสิน 23 ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แขวงบุคคโล เขตธนบุรีกรุงเทพมหานคร ตามกรมธรรม์ความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน เลขที่ 001-MB-2019-0074325 (IAR) โดยมีนายพจน์ ตระกูลวรานนท์ เป็นผู้เอาประกันภัย กรมธรรม์เริ่มต้นความคุ้มครอง วันที่ 1 ธันวาคม 2562 สิ้นสุดวันที่ 1 ธันวาคม 2563 จํานวนเงินเอาประกันภัย 4,600,000 บาท ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย คือ สิ่งปลูกสร้าง (ไม่รวมฐานราก) บ้านเลขที่ 1137/7-19 , 1137/41-45 , 1137/55-58 ซอยตากสิน 23 ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ตามกรมธรรม์ความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน เลขที่ 001-MB-2019-0074326 (IAR) โดยมีนายพรชัย ตระกูลวรานนท์ เป็นผู้เอาประกันภัย กรมธรรม์เริ่มต้นความคุ้มครอง วันที่ 1 ธันวาคม 2562 สิ้นสุดวันที่ 1 ธันวาคม 2563 จํานวนเงินเอาประกันภัย 4,850,000 บาท ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย คือ สิ่งปลูกสร้าง (ไม่รวมฐานราก) บ้านเลขที่ 1137/4-6 , 1137/20-34 , 1137/51-57 ซอยตากสิน 23 ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ตามกรมธรรม์ความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน เลขที่ 001-MB-2019-0074327 (IAR) โดยมีนายสุรชัย ตระกูลวรานนท์ เป็นผู้เอาประกันภัย กรมธรรม์เริ่มต้นความคุ้มครองวันที่ 1 ธันวาคม 2562 สิ้นสุดวันที่ 1 ธันวาคม 2563 จํานวนเงินเอาประกันภัย 4,850,000 บาท ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย คือ สิ่งปลูกสร้าง (ไม่รวมฐานราก) 2. บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จํากัด (มหาชน) รับประกันภัยทรัพย์สิน บ้านเลขที่ 1137/28 ซอยตากสิน 23 ถนนตากสิน แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ตามกรมธรรม์ประกันภัยบ้านมิตรแท้ เลขที่ อฬ-HHS-6365691 โดยมี นางวาสนา อุตภิระ เป็นผู้เอาประกันภัย กรมธรรม์เริ่มต้นความคุ้มครองวันที่ 30 มีนาคม 2563 สิ้นสุดวันที่ 30 มีนาคม 2564 จํานวนเงินเอาประกันภัย 300,000 บาท ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย คือ สิ่งปลูกสร้าง (ไม่รวมฐานราก) รวมทั้งเฟอร์นิเจอร์และทรัพย์สินภายในอาคาร 3. บริษัท ธนชาตประกันภัย จํากัด (มหาชน) รับประกันภัยทรัพย์สิน บ้านเลขที่ 237 ซอยสมเด็จพระเจ้าตากสิน 23 แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ตามกรมธรรม์ประกันภัยพิทักษ์รักษ์บ้าน เลขที่ 001-20-5HHI-002119 โดยมี นางสาวนันทนา นิลเทศ เป็นผู้เอาประกันภัย กรมธรรม์เริ่มต้นคุ้มครองวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 สิ้นสุดวันที่ 3 กรกฎาคม 2564 จํานวนเงินเอาประกันภัย 500,000 บาท ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย คือ สิ่งปลูกสร้าง (ไม่รวมฐานราก) และทรัพย์สินภายในอาคาร 4. บริษัท แอกซ่าประกันภัย จํากัด (มหาชน) รับประกันภัยทรัพย์สิน บ้านเลขที่ 617 ซอยตากสิน 23 แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ตามกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย สําหรับที่อยู่อาศัย เลขที่ 2019-P1450190-PFF โดยมีนางซิวเกียง จุฑาวิตต์จรัส เป็นผู้เอาประกันภัย กรมธรรม์เริ่มต้นความคุ้มครองวันที่ 27 ตุลาคม 2562 สิ้นสุดวันที่ 27 ตุลาคม 2563 จํานวนเงินเอาประกันภัย 1,400,000 บาท ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย คือ สิ่งปลูกสร้าง (ไม่รวมฐานราก) จํานวนเงินเอาประกันภัย 1,000,000 บาท (2) เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่งติดตั้งตรึงตราและเครื่องใช้ภายในบ้าน จํานวนเงินเอาประกันภัย 400,000 บาท สถานที่เอาประกันภัยและที่ตั้งทรัพย์สิน 5. บริษัท สหมงคลประกันภัย จํากัด (มหาชน) รับประกันภัยความเสียหายของทรัพย์สินภายในสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 487 ซอยสันติ ถนนตากสิน 23 แขวงสําเหร่ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ตามกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัย เลขที่ F-BD20-1154-05016 โดยมีนายสุรชัย ภัทรเผดิม เป็นผู้เอาประกันภัย กรมธรรม์เริ่มต้นความคุ้มครองวันที่ 17 พฤษภาคม 2563 สิ้นสุดวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 จํานวนเงินเอาประกันภัย 400,000 บาท ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย คือ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่งติดตั้งตรึงตรา และของใช้ต่างๆ รวมสินค้าเบ็ดเตล็ดต่างๆ บ้านเลขที่ 489 ซอยสันติถนนตากสิน 23 แขวงสําเหร่ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ตามกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัย เลขที่ F-BD20-1896-07087 โดยมี นางสาวสมพร ดิเรกมหามงคล เป็นผู้เอาประกันภัย กรมธรรม์เริ่มต้นความคุ้มครองวันที่ 15 กรกฎาคม 2563 สิ้นสุดวันที่ 11 กรกฎาคม 2564 จํานวนเงินเอาประกันภัย 400,000 บาท ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย คือ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่งติดตั้งตรึงตราและของใช้ต่างๆ รวมสินค้าเบ็ดเตล็ดต่างๆ 6. บริษัท ไทยพัฒนาประกันภัย จํากัด (มหาชน) รับประกันภัยความเสียหายของทรัพย์สินภายในสิ่งปลูกสร้าง บ้านเลขที่ 271 ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ซอย 23 แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ตามกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัย เลขที่ FRB-111-6208-0086 โดยมี นางชโลธร แก้ววงษ์ล้อม เป็นผู้เอาประกันภัย กรมธรรม์เริ่มต้นความคุ้มครองวันที่ 14 สิงหาคม 2562 สิ้นสุดวันที่ 14 สิงหาคม 2563 จํานวนเงินเอาประกันภัย 600,000 บาท ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย คือ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่งติดตั้งตรึงตรา เครื่องใช้ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ บ้านเลขที่ 263 ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ซอย 23 แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ตามกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัย เลขที่ FRB-111-6209-6318 โดยมี นางสาวศุภาวดี วงศ์เดิมดี เป็นผู้เอาประกันภัย กรมธรรม์เริ่มต้นความคุ้มครองวันที่ 12 กันยายน 2562 สิ้นสุดวันที่ 12 กันยายน 2563 จํานวนเงินเอาประกันภัย 600,000 บาท ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย คือ เฟอร์นิเจอร์เครื่องตกแต่งติดตั้งตรึงตรา เครื่องใช้ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ บ้านเลขที่ 247 ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ซอย 23 แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ตามกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย สําหรับที่อยู่อาศัย เลขที่ FRB-111-6209-0316 โดยมี นางสาวศรัณย์รัช สกุลวงศ์ไพศาล เป็นผู้เอาประกันภัย กรมธรรม์เริ่มต้นความคุ้มครองวันที่ 12 กันยายน 2562 สิ้นสุดวันที่ 12 กันยายน 2563 จํานวนเงินเอาประกันภัย 600,000 บาท ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยคือ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่งติดตั้งตรึงตรา เครื่องใช้ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ สําหรับการติดตามเกี่ยวกับการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับบ้านพักอาศัยที่ถูกเพลิงไหม้และได้ทําประกันภัยไว้นั้น สํานักงาน คปภ.เขตท่าพระ ได้เข้าพบพนักงานสอบสวน สถานีตํารวจนครบาลสําเหร่ เพื่อขอทราบรายชื่อและที่อยู่ของผู้ประสบภัยทั้งหมด โดยได้รับแจ้งว่าจะรวบรวมข้อมูลและส่งให้สํานักงาน คปภ. เขตท่าพระในวันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม 2563 และเร่งประสานไปยังบริษัทประกันภัยเพื่อดําเนินการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เอาประกันภัยโดยเร็ว "สํานักงาน คปภ. ขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งกับประชาชนที่ประสบเหตุเพลิงไหม้ในครั้งนี้ และเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเช่นนี้เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาและทุกสถานที่ จึงควรให้ความสําคัญกับการทําประกันภัยเพื่อช่วยบริหารความเสี่ยงภัย และฝากเตือนประชาชนให้มั่นตรวจสอบสายไฟฟ้าภายในอาคาร บ้านพักอาศัย หากพบว่ามีการชํารุดควรเปลี่ยนใหม่เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ และควรทําประกันอัคคีภัยและประกันภัยอื่นๆ เพื่อที่ระบบประกันภัยจะได้เข้ามาช่วยบริหารความเสี่ยงและเยียวยาความสูญเสียต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันภัยสามารถสอบถามได้ที่ สายด่วน คปภ. 1186” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
รัฐบาลไทย-คปภ. เร่งช่วยเหลือด้านประกันภัยกรณี เพลิงไหม้ 17 หลังคาเรือน ในซอยตากสิน 23 วันอังคารที่ 18 สิงหาคม 2563 คปภ. เร่งช่วยเหลือด้านประกันภัยกรณี เพลิงไหม้ 17 หลังคาเรือน ในซอยตากสิน 23 • เร่งบูรณาการประกันภัยจ่ายค่าสินไหมทดแทนเยียวยาความเสียหายอย่างเป็นธรรม ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า จากกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้บ้านพักอาศัยประชาชนภายในซอยสมเด็จพระเจ้าตากสิน 23 ถนนพระเจ้าตากสิน แขวงสําเหร่ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เป็นเหตุให้มีบ้านพักอาศัยของประชาชนถูกไฟไหม้ 81 หลังคาเรือน เหตุเกิดเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2563 โดยเบื้องต้นได้สั่งการให้สายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ บูรณาการร่วมกับ สํานักงาน คปภ. เขตท่าพระ เร่งช่วยเหลือ และสํารวจความเสียหายอย่างเร่งด่วนผ่าน Platform การรายงานข้อมูลกรณีอุบัติภัยกลุ่มหรือรายใหญ่ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยได้มีการลงพื้นที่เพื่ออํานวยความสะดวกด้านประกันภัยให้กับประชาชนที่บ้านพักอาศัยถูกเพลิงไหม้ดังกล่าวแล้ว รวมทั้งติดตามและตรวจสอบข้อมูลด้วยว่าบ้านพักอาศัยที่ถูกเพลิงไหม้ทั้ง 81 หลังคาเรือน มีการทําประกันอัคคีภัยหรือประกันประเภทอื่นๆ ไว้หรือไม่ เพื่อใช้ระบประกันภัยช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม ทั้งนี้ ได้รับรายงานจากสํานักงาน คปภ. เขตท่าพระ ที่ได้ตรวจสอบข้อมูลการทําประกันภัยเบื้องต้น พบว่า มีการรับประกันภัย ดังนี้ 1. บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัย จํากัด (มหาชน) รับประกันภัยทรัพย์สินบ้านเลขที่ 1137/1-3 , 1137/46-50 , 1137/64-76 ซอยตากสิน 23 ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แขวงบุคคโล เขตธนบุรีกรุงเทพมหานคร ตามกรมธรรม์ความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน เลขที่ 001-MB-2019-0074325 (IAR) โดยมีนายพจน์ ตระกูลวรานนท์ เป็นผู้เอาประกันภัย กรมธรรม์เริ่มต้นความคุ้มครอง วันที่ 1 ธันวาคม 2562 สิ้นสุดวันที่ 1 ธันวาคม 2563 จํานวนเงินเอาประกันภัย 4,600,000 บาท ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย คือ สิ่งปลูกสร้าง (ไม่รวมฐานราก) บ้านเลขที่ 1137/7-19 , 1137/41-45 , 1137/55-58 ซอยตากสิน 23 ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ตามกรมธรรม์ความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน เลขที่ 001-MB-2019-0074326 (IAR) โดยมีนายพรชัย ตระกูลวรานนท์ เป็นผู้เอาประกันภัย กรมธรรม์เริ่มต้นความคุ้มครอง วันที่ 1 ธันวาคม 2562 สิ้นสุดวันที่ 1 ธันวาคม 2563 จํานวนเงินเอาประกันภัย 4,850,000 บาท ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย คือ สิ่งปลูกสร้าง (ไม่รวมฐานราก) บ้านเลขที่ 1137/4-6 , 1137/20-34 , 1137/51-57 ซอยตากสิน 23 ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ตามกรมธรรม์ความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน เลขที่ 001-MB-2019-0074327 (IAR) โดยมีนายสุรชัย ตระกูลวรานนท์ เป็นผู้เอาประกันภัย กรมธรรม์เริ่มต้นความคุ้มครองวันที่ 1 ธันวาคม 2562 สิ้นสุดวันที่ 1 ธันวาคม 2563 จํานวนเงินเอาประกันภัย 4,850,000 บาท ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย คือ สิ่งปลูกสร้าง (ไม่รวมฐานราก) 2. บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จํากัด (มหาชน) รับประกันภัยทรัพย์สิน บ้านเลขที่ 1137/28 ซอยตากสิน 23 ถนนตากสิน แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ตามกรมธรรม์ประกันภัยบ้านมิตรแท้ เลขที่ อฬ-HHS-6365691 โดยมี นางวาสนา อุตภิระ เป็นผู้เอาประกันภัย กรมธรรม์เริ่มต้นความคุ้มครองวันที่ 30 มีนาคม 2563 สิ้นสุดวันที่ 30 มีนาคม 2564 จํานวนเงินเอาประกันภัย 300,000 บาท ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย คือ สิ่งปลูกสร้าง (ไม่รวมฐานราก) รวมทั้งเฟอร์นิเจอร์และทรัพย์สินภายในอาคาร 3. บริษัท ธนชาตประกันภัย จํากัด (มหาชน) รับประกันภัยทรัพย์สิน บ้านเลขที่ 237 ซอยสมเด็จพระเจ้าตากสิน 23 แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ตามกรมธรรม์ประกันภัยพิทักษ์รักษ์บ้าน เลขที่ 001-20-5HHI-002119 โดยมี นางสาวนันทนา นิลเทศ เป็นผู้เอาประกันภัย กรมธรรม์เริ่มต้นคุ้มครองวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 สิ้นสุดวันที่ 3 กรกฎาคม 2564 จํานวนเงินเอาประกันภัย 500,000 บาท ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย คือ สิ่งปลูกสร้าง (ไม่รวมฐานราก) และทรัพย์สินภายในอาคาร 4. บริษัท แอกซ่าประกันภัย จํากัด (มหาชน) รับประกันภัยทรัพย์สิน บ้านเลขที่ 617 ซอยตากสิน 23 แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ตามกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย สําหรับที่อยู่อาศัย เลขที่ 2019-P1450190-PFF โดยมีนางซิวเกียง จุฑาวิตต์จรัส เป็นผู้เอาประกันภัย กรมธรรม์เริ่มต้นความคุ้มครองวันที่ 27 ตุลาคม 2562 สิ้นสุดวันที่ 27 ตุลาคม 2563 จํานวนเงินเอาประกันภัย 1,400,000 บาท ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย คือ สิ่งปลูกสร้าง (ไม่รวมฐานราก) จํานวนเงินเอาประกันภัย 1,000,000 บาท (2) เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่งติดตั้งตรึงตราและเครื่องใช้ภายในบ้าน จํานวนเงินเอาประกันภัย 400,000 บาท สถานที่เอาประกันภัยและที่ตั้งทรัพย์สิน 5. บริษัท สหมงคลประกันภัย จํากัด (มหาชน) รับประกันภัยความเสียหายของทรัพย์สินภายในสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 487 ซอยสันติ ถนนตากสิน 23 แขวงสําเหร่ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ตามกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัย เลขที่ F-BD20-1154-05016 โดยมีนายสุรชัย ภัทรเผดิม เป็นผู้เอาประกันภัย กรมธรรม์เริ่มต้นความคุ้มครองวันที่ 17 พฤษภาคม 2563 สิ้นสุดวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 จํานวนเงินเอาประกันภัย 400,000 บาท ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย คือ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่งติดตั้งตรึงตรา และของใช้ต่างๆ รวมสินค้าเบ็ดเตล็ดต่างๆ บ้านเลขที่ 489 ซอยสันติถนนตากสิน 23 แขวงสําเหร่ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ตามกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัย เลขที่ F-BD20-1896-07087 โดยมี นางสาวสมพร ดิเรกมหามงคล เป็นผู้เอาประกันภัย กรมธรรม์เริ่มต้นความคุ้มครองวันที่ 15 กรกฎาคม 2563 สิ้นสุดวันที่ 11 กรกฎาคม 2564 จํานวนเงินเอาประกันภัย 400,000 บาท ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย คือ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่งติดตั้งตรึงตราและของใช้ต่างๆ รวมสินค้าเบ็ดเตล็ดต่างๆ 6. บริษัท ไทยพัฒนาประกันภัย จํากัด (มหาชน) รับประกันภัยความเสียหายของทรัพย์สินภายในสิ่งปลูกสร้าง บ้านเลขที่ 271 ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ซอย 23 แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ตามกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัย เลขที่ FRB-111-6208-0086 โดยมี นางชโลธร แก้ววงษ์ล้อม เป็นผู้เอาประกันภัย กรมธรรม์เริ่มต้นความคุ้มครองวันที่ 14 สิงหาคม 2562 สิ้นสุดวันที่ 14 สิงหาคม 2563 จํานวนเงินเอาประกันภัย 600,000 บาท ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย คือ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่งติดตั้งตรึงตรา เครื่องใช้ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ บ้านเลขที่ 263 ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ซอย 23 แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ตามกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัย เลขที่ FRB-111-6209-6318 โดยมี นางสาวศุภาวดี วงศ์เดิมดี เป็นผู้เอาประกันภัย กรมธรรม์เริ่มต้นความคุ้มครองวันที่ 12 กันยายน 2562 สิ้นสุดวันที่ 12 กันยายน 2563 จํานวนเงินเอาประกันภัย 600,000 บาท ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย คือ เฟอร์นิเจอร์เครื่องตกแต่งติดตั้งตรึงตรา เครื่องใช้ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ บ้านเลขที่ 247 ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ซอย 23 แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ตามกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย สําหรับที่อยู่อาศัย เลขที่ FRB-111-6209-0316 โดยมี นางสาวศรัณย์รัช สกุลวงศ์ไพศาล เป็นผู้เอาประกันภัย กรมธรรม์เริ่มต้นความคุ้มครองวันที่ 12 กันยายน 2562 สิ้นสุดวันที่ 12 กันยายน 2563 จํานวนเงินเอาประกันภัย 600,000 บาท ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยคือ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่งติดตั้งตรึงตรา เครื่องใช้ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ สําหรับการติดตามเกี่ยวกับการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับบ้านพักอาศัยที่ถูกเพลิงไหม้และได้ทําประกันภัยไว้นั้น สํานักงาน คปภ.เขตท่าพระ ได้เข้าพบพนักงานสอบสวน สถานีตํารวจนครบาลสําเหร่ เพื่อขอทราบรายชื่อและที่อยู่ของผู้ประสบภัยทั้งหมด โดยได้รับแจ้งว่าจะรวบรวมข้อมูลและส่งให้สํานักงาน คปภ. เขตท่าพระในวันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม 2563 และเร่งประสานไปยังบริษัทประกันภัยเพื่อดําเนินการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เอาประกันภัยโดยเร็ว "สํานักงาน คปภ. ขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งกับประชาชนที่ประสบเหตุเพลิงไหม้ในครั้งนี้ และเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเช่นนี้เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาและทุกสถานที่ จึงควรให้ความสําคัญกับการทําประกันภัยเพื่อช่วยบริหารความเสี่ยงภัย และฝากเตือนประชาชนให้มั่นตรวจสอบสายไฟฟ้าภายในอาคาร บ้านพักอาศัย หากพบว่ามีการชํารุดควรเปลี่ยนใหม่เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ และควรทําประกันอัคคีภัยและประกันภัยอื่นๆ เพื่อที่ระบบประกันภัยจะได้เข้ามาช่วยบริหารความเสี่ยงและเยียวยาความสูญเสียต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันภัยสามารถสอบถามได้ที่ สายด่วน คปภ. 1186” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34282
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.พม. รับมอบเงินและสิ่งของบริจาค พร้อมส่งมอบให้ถึงมือกลุ่มเป้าหมายที่เดือดร้อนจากโรคโควิด-19 โดยเร็วที่สุด
วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม 2563 รมว.พม. รับมอบเงินและสิ่งของบริจาค พร้อมส่งมอบให้ถึงมือกลุ่มเป้าหมายที่เดือดร้อนจากโรคโควิด-19 โดยเร็วที่สุด รมว.พม. รับมอบเงินและสิ่งของบริจาค พร้อมส่งมอบให้ถึงมือกลุ่มเป้าหมายที่เดือดร้อนจากโรคโควิด-19 โดยเร็วที่สุด วันนี้ (25 พ.ค. 63) เวลา 13.30 น. ที่บริเวณโถงชั้น 1 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว ถนนกรุงเกษม กรุงเทพฯ นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) รับมอบของบริจาคจากองค์การภาคส่วนต่างๆ รวมทั้งภาคประชาชน ได้แก่ 1. บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) โดย นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริจาคถุงยังชีพ 1,000 ชุด 2. สมาคมนักเรียนเก่าเตรียมอุดมศึกษา ในพระบรมราชูปถัมภ์ และคณะกรรมการบริหารสมาคมวาระปี 2562-2563 โดย นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี บริจาคข้าวกล่อง 1,000 กล่อง ข้าวสาร 2,000 กิโลกรัม และเส้นหมี่ขาว 400 ห่อ 3. คณะนักศึกษาหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ. 62) โดยนายวิวัฒน์ กว้างคณานุรักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซฟเฟอร์ทิลลิตี้ เซ็นเตอร์ จํากัด บริจาคเงิน 100,000 บาท กลุ่ม Lady NDC 62 (วปอ.62) มอบถุงยังชีพ 140 ถุง ข้าวสาร 200 ถุง และน้ํามันพืช 4 ลัง และนายประวิทย์ ยอดวานิช กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสรีชัยยุทธภัณฑ์ จํากัด บริจาคถุงยังชีพ 20 ชุด 4. นางสาวรพีพร ตันตระกูล (ลูกพีช The voice) บริจาคหน้ากากแบบซักได้และหน้ากากอนามัยสําหรับผ่าตัด 3,048 ชิ้น แอลกอฮอล์ 150 มล. 10 ขวด และ 5. คุณจักรพงศ์ ทองสกุล BRISUTHI บริษัท บริสุทธิ์ 888 จํากัด บริจาคข้าวกล่อง 210 กล่อง และน้ําดื่ม 220 ขวด เพื่อนําไปจัดทําถุงยังชีพสําหรับส่งมอบให้กับกลุ่มเป้าหมายและประชาชนที่เดือดร้อนจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ภายใต้โครงการ พม. ห่วงใย สู้ภัยโควิด ของศูนย์รับบริจาคกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) นายจุติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้ ขอขอบคุณองค์การภาคส่วนต่างๆ รวมทั้งภาคประชาชน ที่ได้มอบสิ่งของมาบริจาคในวันนี้ ซึ่งกระทรวง พม. จะเร่งนําไปมอบให้ถึงมือประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนโดยเร็วที่สุด เพื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค และขอเชิญชวนทุกคนร่วมกันบริจาคเงินและสิ่งของ เพื่อช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เดือดร้อนและอยู่ในภาวะยากลําบากจากโรคโควิด-19 ได้ที่ ศูนย์รับบริจาคกระทรวง พม. บริเวณชั้น 2 อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวง พม. และโทรศัพท์ 0 2659 6476 หรือติดต่อศูนย์ช่วยเหลือสังคม ผ่านสายด่วน พม. โทร. 1300 บริการฟรี 24 ชั่วโมง
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.พม. รับมอบเงินและสิ่งของบริจาค พร้อมส่งมอบให้ถึงมือกลุ่มเป้าหมายที่เดือดร้อนจากโรคโควิด-19 โดยเร็วที่สุด วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม 2563 รมว.พม. รับมอบเงินและสิ่งของบริจาค พร้อมส่งมอบให้ถึงมือกลุ่มเป้าหมายที่เดือดร้อนจากโรคโควิด-19 โดยเร็วที่สุด รมว.พม. รับมอบเงินและสิ่งของบริจาค พร้อมส่งมอบให้ถึงมือกลุ่มเป้าหมายที่เดือดร้อนจากโรคโควิด-19 โดยเร็วที่สุด วันนี้ (25 พ.ค. 63) เวลา 13.30 น. ที่บริเวณโถงชั้น 1 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว ถนนกรุงเกษม กรุงเทพฯ นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) รับมอบของบริจาคจากองค์การภาคส่วนต่างๆ รวมทั้งภาคประชาชน ได้แก่ 1. บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) โดย นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริจาคถุงยังชีพ 1,000 ชุด 2. สมาคมนักเรียนเก่าเตรียมอุดมศึกษา ในพระบรมราชูปถัมภ์ และคณะกรรมการบริหารสมาคมวาระปี 2562-2563 โดย นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี บริจาคข้าวกล่อง 1,000 กล่อง ข้าวสาร 2,000 กิโลกรัม และเส้นหมี่ขาว 400 ห่อ 3. คณะนักศึกษาหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ. 62) โดยนายวิวัฒน์ กว้างคณานุรักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซฟเฟอร์ทิลลิตี้ เซ็นเตอร์ จํากัด บริจาคเงิน 100,000 บาท กลุ่ม Lady NDC 62 (วปอ.62) มอบถุงยังชีพ 140 ถุง ข้าวสาร 200 ถุง และน้ํามันพืช 4 ลัง และนายประวิทย์ ยอดวานิช กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสรีชัยยุทธภัณฑ์ จํากัด บริจาคถุงยังชีพ 20 ชุด 4. นางสาวรพีพร ตันตระกูล (ลูกพีช The voice) บริจาคหน้ากากแบบซักได้และหน้ากากอนามัยสําหรับผ่าตัด 3,048 ชิ้น แอลกอฮอล์ 150 มล. 10 ขวด และ 5. คุณจักรพงศ์ ทองสกุล BRISUTHI บริษัท บริสุทธิ์ 888 จํากัด บริจาคข้าวกล่อง 210 กล่อง และน้ําดื่ม 220 ขวด เพื่อนําไปจัดทําถุงยังชีพสําหรับส่งมอบให้กับกลุ่มเป้าหมายและประชาชนที่เดือดร้อนจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ภายใต้โครงการ พม. ห่วงใย สู้ภัยโควิด ของศูนย์รับบริจาคกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) นายจุติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้ ขอขอบคุณองค์การภาคส่วนต่างๆ รวมทั้งภาคประชาชน ที่ได้มอบสิ่งของมาบริจาคในวันนี้ ซึ่งกระทรวง พม. จะเร่งนําไปมอบให้ถึงมือประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนโดยเร็วที่สุด เพื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค และขอเชิญชวนทุกคนร่วมกันบริจาคเงินและสิ่งของ เพื่อช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เดือดร้อนและอยู่ในภาวะยากลําบากจากโรคโควิด-19 ได้ที่ ศูนย์รับบริจาคกระทรวง พม. บริเวณชั้น 2 อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวง พม. และโทรศัพท์ 0 2659 6476 หรือติดต่อศูนย์ช่วยเหลือสังคม ผ่านสายด่วน พม. โทร. 1300 บริการฟรี 24 ชั่วโมง
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/31452
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​รมช.มนัญญา ชูอุปกรณ์จราจร ยกระดับเกษตรกรสวนยาง หนุนสร้างคุณภาพน้ำยางพารา เยี่ยมชมสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านสะท้อน จ.จันทบุรี
วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน 2563 ​รมช.มนัญญา ชูอุปกรณ์จราจร ยกระดับเกษตรกรสวนยาง หนุนสร้างคุณภาพน้ํายางพารา เยี่ยมชมสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านสะท้อน จ.จันทบุรี ​รมช.มนัญญา ชูอุปกรณ์จราจร ยกระดับเกษตรกรสวนยาง หนุนสร้างคุณภาพน้ํายางพารา เยี่ยมชมสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านสะท้อน จ.จันทบุรี นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานในพิธีเปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดองค์ความรู้และการสาธิตการผลิตหลักนําทางยางธรรมชาติ และการผลิตแผ่นยางธรรมชาติครอบกําแพงคอนกรีต ของสถาบันเกษตรกร พร้อมด้วย คณะที่ปรึกษา และนายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ รวมทั้งข้าราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่มอบนโยบายและตรวจเยี่ยมผลการดําเนินงานสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านสะท้อน จํากัด ต.จันทเขลม อ.เขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ เปิดเผยภายหลังการเปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดองค์ความรู้และการสาธิตการผลิตหลักนําทางยางธรรมชาติ และการผลิตแผ่นยางธรรมชาติครอบกําแพงคอนกรีตว่า ตามนโยบายส่งเสริมให้มีการใช้ยางพาราในภาครัฐเพิ่มขึ้น สําหรับ ปี2563 กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท กําหนดแผนใช้เสาหลักนําทางยางธรรมชาติ จํานวน 289,635 ต้น เพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราของเกษตรกรปริมาณ 34,481 ตัน โดยคาดว่าจะส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 71%" ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มุ่งเน้นให้เกษตรกรยึดหลักการตลาดนําการผลิตเพื่อแก้ไขปัญหาสินค้าล้นตลาดและ ราคาสินค้าเกษตรตกต่ํา ปฏิรูปภาคการเกษตร โดยส่งเสริมการผลิตควบคู่กับการขยายช่องทางการตลาด ซึ่งสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านสะท้อน จํากัดได้ให้ความสําคัญ กับการประกอบอาชีพของสมาชิกสหกรณ์ฯ โดยมีการส่งเสริมให้สมาชิกวางแผนการผลิตควบคู่กับการวางแผน การตลาด และพัฒนาการแปรรูปผลผลิตน้ายางพารา เพื่อเพิ่มมูลค่า ภายใต้การกับกับดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดําเนินการช่วยเหลือสถาบันเกษตรกร ในการด้านพัฒนาเครื่องมือ อุปกรณ์ การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต และการลงทุนเพิ่มกําลังการผลิต "ซึ่งเชื่อมั่นว่า สถาบันเกษตรกรจะมีศักยภาพผลิตหลักนําทางยางธรรมชาติ ทั้งนี้เพื่อติดตามความก้าวหน้าโครงการส่งเสริมการใช้ยางพาราของภาครัฐตามนโยบายรัฐบาล พร้อมทั้งเปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดองค์ความรู้และสาธิตการผลิตหลักนําทางยางธรรมชาติและการผลิตแผ่นยางธรรมชาติครอบกําแพงคอนกรีตของสถาบันเกษตรกร ซึ่งโครงการการส่งเสริมการใช้ยางพาราในหน่วยงานรัฐบาล จัดขึ้นเพื่อชี้แจงนโยบายการส่งเสริมการใช้ยางพาราในภาครัฐให้กับสถาบันเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ และถ่ายทอดองค์ความรู้และสาธิตการผลิตหลักนําทางยางธรรมชาติครอบกําแพงคอนกรีต (Rubber Guide Post : RGP) รวมทั้งเพื่อวางแผนการผลิตให้เป็นไปตามปริมาณและมาตรฐานตามที่กระทรวงคมนาคมกําหนด โดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงคมนาคม จะดําเนินการซื้อน้ํายางพาราจากเกษตรกรชาวสวนยางผ่านสหกรณ์การเกษตร เพื่อร่วมมือในการนําอุปกรณ์ทางด้านการจราจรและอํานวยความปลอดภัยทางถนนที่ผลิตจากยางพารา ได้แก่ แผ่นยางธรรมชาติครอบกําแพงคอนกรีต (Rubber Fender Barrier : RFB) และหลักนําทางจากยางธรรมชาติ (Rubber Guide Post : RGP) สําหรับนําไปใช้ประโยชน์เป็นอุปกรณ์ทางด้านการจราจรและอํานวยความปลอดภัยในหน่วยงานของกระทรวงคมนาคม เพื่อยกระดับความปลอดภัยทางถนน และส่งเสริมสนับสนุนเกษตรกรชาวสวนยางโดยตรง ซึ่งมีระยะเวลาดําเนินการ 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2563 – 11 มิถุนายน 2568 ซึ่งโครงการฯ ดังกล่าวนอกจากจะลดความสูญเสีย ช่วยสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินบนท้องถนน และยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยางพารา กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก สร้างรายได้และอาชีพอย่างมั่นคงและยั่งยืน
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​รมช.มนัญญา ชูอุปกรณ์จราจร ยกระดับเกษตรกรสวนยาง หนุนสร้างคุณภาพน้ำยางพารา เยี่ยมชมสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านสะท้อน จ.จันทบุรี วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน 2563 ​รมช.มนัญญา ชูอุปกรณ์จราจร ยกระดับเกษตรกรสวนยาง หนุนสร้างคุณภาพน้ํายางพารา เยี่ยมชมสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านสะท้อน จ.จันทบุรี ​รมช.มนัญญา ชูอุปกรณ์จราจร ยกระดับเกษตรกรสวนยาง หนุนสร้างคุณภาพน้ํายางพารา เยี่ยมชมสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านสะท้อน จ.จันทบุรี นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานในพิธีเปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดองค์ความรู้และการสาธิตการผลิตหลักนําทางยางธรรมชาติ และการผลิตแผ่นยางธรรมชาติครอบกําแพงคอนกรีต ของสถาบันเกษตรกร พร้อมด้วย คณะที่ปรึกษา และนายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ รวมทั้งข้าราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่มอบนโยบายและตรวจเยี่ยมผลการดําเนินงานสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านสะท้อน จํากัด ต.จันทเขลม อ.เขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ เปิดเผยภายหลังการเปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดองค์ความรู้และการสาธิตการผลิตหลักนําทางยางธรรมชาติ และการผลิตแผ่นยางธรรมชาติครอบกําแพงคอนกรีตว่า ตามนโยบายส่งเสริมให้มีการใช้ยางพาราในภาครัฐเพิ่มขึ้น สําหรับ ปี2563 กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท กําหนดแผนใช้เสาหลักนําทางยางธรรมชาติ จํานวน 289,635 ต้น เพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราของเกษตรกรปริมาณ 34,481 ตัน โดยคาดว่าจะส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 71%" ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มุ่งเน้นให้เกษตรกรยึดหลักการตลาดนําการผลิตเพื่อแก้ไขปัญหาสินค้าล้นตลาดและ ราคาสินค้าเกษตรตกต่ํา ปฏิรูปภาคการเกษตร โดยส่งเสริมการผลิตควบคู่กับการขยายช่องทางการตลาด ซึ่งสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านสะท้อน จํากัดได้ให้ความสําคัญ กับการประกอบอาชีพของสมาชิกสหกรณ์ฯ โดยมีการส่งเสริมให้สมาชิกวางแผนการผลิตควบคู่กับการวางแผน การตลาด และพัฒนาการแปรรูปผลผลิตน้ายางพารา เพื่อเพิ่มมูลค่า ภายใต้การกับกับดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดําเนินการช่วยเหลือสถาบันเกษตรกร ในการด้านพัฒนาเครื่องมือ อุปกรณ์ การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต และการลงทุนเพิ่มกําลังการผลิต "ซึ่งเชื่อมั่นว่า สถาบันเกษตรกรจะมีศักยภาพผลิตหลักนําทางยางธรรมชาติ ทั้งนี้เพื่อติดตามความก้าวหน้าโครงการส่งเสริมการใช้ยางพาราของภาครัฐตามนโยบายรัฐบาล พร้อมทั้งเปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดองค์ความรู้และสาธิตการผลิตหลักนําทางยางธรรมชาติและการผลิตแผ่นยางธรรมชาติครอบกําแพงคอนกรีตของสถาบันเกษตรกร ซึ่งโครงการการส่งเสริมการใช้ยางพาราในหน่วยงานรัฐบาล จัดขึ้นเพื่อชี้แจงนโยบายการส่งเสริมการใช้ยางพาราในภาครัฐให้กับสถาบันเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ และถ่ายทอดองค์ความรู้และสาธิตการผลิตหลักนําทางยางธรรมชาติครอบกําแพงคอนกรีต (Rubber Guide Post : RGP) รวมทั้งเพื่อวางแผนการผลิตให้เป็นไปตามปริมาณและมาตรฐานตามที่กระทรวงคมนาคมกําหนด โดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงคมนาคม จะดําเนินการซื้อน้ํายางพาราจากเกษตรกรชาวสวนยางผ่านสหกรณ์การเกษตร เพื่อร่วมมือในการนําอุปกรณ์ทางด้านการจราจรและอํานวยความปลอดภัยทางถนนที่ผลิตจากยางพารา ได้แก่ แผ่นยางธรรมชาติครอบกําแพงคอนกรีต (Rubber Fender Barrier : RFB) และหลักนําทางจากยางธรรมชาติ (Rubber Guide Post : RGP) สําหรับนําไปใช้ประโยชน์เป็นอุปกรณ์ทางด้านการจราจรและอํานวยความปลอดภัยในหน่วยงานของกระทรวงคมนาคม เพื่อยกระดับความปลอดภัยทางถนน และส่งเสริมสนับสนุนเกษตรกรชาวสวนยางโดยตรง ซึ่งมีระยะเวลาดําเนินการ 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2563 – 11 มิถุนายน 2568 ซึ่งโครงการฯ ดังกล่าวนอกจากจะลดความสูญเสีย ช่วยสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินบนท้องถนน และยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยางพารา กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก สร้างรายได้และอาชีพอย่างมั่นคงและยั่งยืน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/32467
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คณะสภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา-อาเซียน (US-ASEAN Business Council: USABC) เข้าเยี่ยมคารวะและหารือกับ รมว.คลัง
วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2562 คณะสภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา-อาเซียน (US-ASEAN Business Council: USABC) เข้าเยี่ยมคารวะและหารือกับ รมว.คลัง รมว.คลังได้ให้การต้อนรับและประชุมหารือร่วมกับคณะสภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา-อาเซียน (US-ASEAN Business Council: USABC) จํานวน 107 ราย จาก 46 บริษัทชั้นนําของสหรัฐอเมริกา นายลวรณ แสงสนิท ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ได้เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2562 ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ให้การต้อนรับและประชุมหารือร่วมกับคณะสภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา-อาเซียน (US-ASEAN Business Council: USABC) จํานวน 107 ราย จาก 46 บริษัทชั้นนําของสหรัฐอเมริกา นําโดยนาย Alexander Feldman ประธานและผู้บริหารของ USABC ในโอกาสเยือนประเทศไทย โดยมีประเด็นหารือเกี่ยวกับภาพรวมเศรษฐกิจไทย นโยบายและมาตรการของกระทรวงการคลังในด้านต่าง ๆ อาทิ การให้บริการด้านการเงิน ภาษีอากร เศรษฐกิจดิจิทัล และการส่งเสริมลู่ทางการค้าการลงทุน เป็นต้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ชี้แจงคณะ USABC ถึงสถานการณ์และแนวโน้มเศรษฐกิจไทยว่า ในปี 2561 เศรษฐกิจไทยมีอัตราการเจริญเติบโตที่ร้อยละ 4.1 สูงสุดในรอบ 6 ปี อย่างไรก็ตาม ในปี 2562 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลงจากปีก่อนหน้า จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและภาวะตึงเครียดทางการค้า ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้สร้างความเชื่อมั่นต่อคณะ USABC ว่า พื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังคงแข็งแกร่งและสามารถรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ดี ซึ่งขณะนี้กําลังเตรียมมาตรการเศรษฐกิจด้านต่าง ๆ อย่างเร่งด่วน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศให้สามารถเดินหน้าอย่างต่อเนื่องต่อไป โดยในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับความเชื่อมั่นจากสถาบันระหว่างประเทศต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อ อาทิ Fitch Ratings และ Moody’s ที่ได้ปรับมุมมองความน่าเชื่อถือของเศรษฐกิจไทยให้ดีขึ้น นอกจากนี้ World Economic Forum ได้ปรับเพิ่มอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยให้ดีขึ้นเป็นอันดับที่ 38 จาก 140 ประเทศ และ Institute for Management Development (IMD) ได้ปรับเพิ่มดัชนีขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทยปี 2562 เป็นอันดับที่ 25 จากอันดับที่ 30 ในปีก่อนหน้า เช่นเดียวกับธนาคารโลกได้จัดอันดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจของประเทศไทยให้อยู่ในอันดับ 3 เมื่อเทียบกับสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ เป็นต้น นอกจากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ชี้แจงคณะ USABC ถึงความคืบหน้าของกระทรวงการคลังในการสนับสนุนการอํานวยความสะดวกทางการค้า ส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ รวมทั้งชักชวนให้คณะ USABC ขยายการลงทุนในประเทศไทย โดยเฉพาะในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้ความสําคัญต่อการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งในด้านกายภาพและด้านดิจิทัล รวมถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสําคัญในการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย โดยได้เชิญชวนให้บริษัทสมาชิก USABC มาร่วมกับกระทรวงการคลังและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการประกอบธุรกิจของภาคเอกชนและช่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคมในประเทศไทย ซึ่งจะสามารถเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านและสมาชิกอาเซียนได้ ทั้งนี้ การพบปะกับกลุ่มนักธุรกิจ USABC นั้น เป็นโอกาสอันดีที่ได้หารือร่วมกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลทางเศรษฐกิจและการดําเนินธุรกิจที่เป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย อีกทั้งเป็นการเพิ่มศักยภาพการค้าการลงทุนระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกาต่อไป สํานักนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3617
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คณะสภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา-อาเซียน (US-ASEAN Business Council: USABC) เข้าเยี่ยมคารวะและหารือกับ รมว.คลัง วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2562 คณะสภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา-อาเซียน (US-ASEAN Business Council: USABC) เข้าเยี่ยมคารวะและหารือกับ รมว.คลัง รมว.คลังได้ให้การต้อนรับและประชุมหารือร่วมกับคณะสภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา-อาเซียน (US-ASEAN Business Council: USABC) จํานวน 107 ราย จาก 46 บริษัทชั้นนําของสหรัฐอเมริกา นายลวรณ แสงสนิท ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ได้เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2562 ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ให้การต้อนรับและประชุมหารือร่วมกับคณะสภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา-อาเซียน (US-ASEAN Business Council: USABC) จํานวน 107 ราย จาก 46 บริษัทชั้นนําของสหรัฐอเมริกา นําโดยนาย Alexander Feldman ประธานและผู้บริหารของ USABC ในโอกาสเยือนประเทศไทย โดยมีประเด็นหารือเกี่ยวกับภาพรวมเศรษฐกิจไทย นโยบายและมาตรการของกระทรวงการคลังในด้านต่าง ๆ อาทิ การให้บริการด้านการเงิน ภาษีอากร เศรษฐกิจดิจิทัล และการส่งเสริมลู่ทางการค้าการลงทุน เป็นต้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ชี้แจงคณะ USABC ถึงสถานการณ์และแนวโน้มเศรษฐกิจไทยว่า ในปี 2561 เศรษฐกิจไทยมีอัตราการเจริญเติบโตที่ร้อยละ 4.1 สูงสุดในรอบ 6 ปี อย่างไรก็ตาม ในปี 2562 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลงจากปีก่อนหน้า จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและภาวะตึงเครียดทางการค้า ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้สร้างความเชื่อมั่นต่อคณะ USABC ว่า พื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังคงแข็งแกร่งและสามารถรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ดี ซึ่งขณะนี้กําลังเตรียมมาตรการเศรษฐกิจด้านต่าง ๆ อย่างเร่งด่วน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศให้สามารถเดินหน้าอย่างต่อเนื่องต่อไป โดยในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับความเชื่อมั่นจากสถาบันระหว่างประเทศต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อ อาทิ Fitch Ratings และ Moody’s ที่ได้ปรับมุมมองความน่าเชื่อถือของเศรษฐกิจไทยให้ดีขึ้น นอกจากนี้ World Economic Forum ได้ปรับเพิ่มอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยให้ดีขึ้นเป็นอันดับที่ 38 จาก 140 ประเทศ และ Institute for Management Development (IMD) ได้ปรับเพิ่มดัชนีขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทยปี 2562 เป็นอันดับที่ 25 จากอันดับที่ 30 ในปีก่อนหน้า เช่นเดียวกับธนาคารโลกได้จัดอันดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจของประเทศไทยให้อยู่ในอันดับ 3 เมื่อเทียบกับสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ เป็นต้น นอกจากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ชี้แจงคณะ USABC ถึงความคืบหน้าของกระทรวงการคลังในการสนับสนุนการอํานวยความสะดวกทางการค้า ส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ รวมทั้งชักชวนให้คณะ USABC ขยายการลงทุนในประเทศไทย โดยเฉพาะในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้ความสําคัญต่อการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งในด้านกายภาพและด้านดิจิทัล รวมถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสําคัญในการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย โดยได้เชิญชวนให้บริษัทสมาชิก USABC มาร่วมกับกระทรวงการคลังและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการประกอบธุรกิจของภาคเอกชนและช่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคมในประเทศไทย ซึ่งจะสามารถเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านและสมาชิกอาเซียนได้ ทั้งนี้ การพบปะกับกลุ่มนักธุรกิจ USABC นั้น เป็นโอกาสอันดีที่ได้หารือร่วมกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลทางเศรษฐกิจและการดําเนินธุรกิจที่เป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย อีกทั้งเป็นการเพิ่มศักยภาพการค้าการลงทุนระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกาต่อไป สํานักนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3617
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/22269
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“ดีอี” นำพันธมิตร 5G ทุกภาคส่วนลงพื้นที่จริง 5G Testbed ในพื้นที่อีอีซี
วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม 2561 “ดีอี” นําพันธมิตร 5G ทุกภาคส่วนลงพื้นที่จริง 5G Testbed ในพื้นที่อีอีซี “ดีอี” p.p1 {margin: 0.0px 0.0px 12.0px 0.0px; text-indent: 36.0px; font: 16.0px Helvetica; -webkit-text-stroke: #000000} p.p2 {margin: 0.0px 0.0px 12.0px 0.0px; text-indent: 36.0px; font: 16.0px Helvetica; -webkit-text-stroke: #000000; min-height: 19.0px} p.p3 {margin: 0.0px 0.0px 12.0px 0.0px; text-align: center; text-indent: 36.0px; font: 16.0px Helvetica; -webkit-text-stroke: #000000} span.s1 {font-kerning: none} กระทรวงดิจิทัลฯ นําพันธมิตรทั้งบริษัทสื่อสารและบริการอินเทอร์เน็ต ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคม ผู้ผลิตชิปเซ็ท 5G กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และ กสทช. ลงพื้นที่จริงของสนามทดสอบ 5G (5G Testbed) สมบูรณ์แบบ ในพื้นที่อีอีซี ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา สร้างความร่วมมือในรูปแบบ 5G Integration ประกาศความพร้อมเดินหน้าการทดสอบ เริ่ม มกราคม 2562 นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวว่า “จากการที่กระทรวงร่วมกับ กสทช. ได้นําภาคเอกชน ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ 5G รายสําคัญของโลก ได้แก่ หัวเว่ย อีริคสัน โนเกีย และ Dassault Systèmes ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มสําหรับเทคโนโลยี 3 มิติจากฝรั่งเศส เข้าเยี่ยมชมพื้นที่ โดยผู้ผลิตอุปกรณ์ทุกรายได้คัดเลือกจุด ที่จะนําอุปกรณ์ของตัวเองเข้ามาติดตั้งสําหรับการทดสอบการใช้งาน 5G (Use Cases) อาทิ Tele Medicine, Smart Manufacturing, Smart Bus ตลอดจน Autonomous Vehicle เป็นต้น จะทยอยดําเนินการตั้งแต่มกราคม 2562 เป็นต้นไป และเพื่อให้เป็นการบูรณาการทํางานร่วมกัน ในรูปแบบ 5G Integration อย่างสมบูรณ์แบบ จึงได้นําผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายหลักของไทย ได้แก่ AIS , DTAC , True , TOT และ CAT พร้อมกับ Intel ผู้ผลิตชิปเซ็ตชั้นนํา และ ZTE อีกหนึ่งผู้ผลิตอุปกรณ์ 5G รายสําคัญ ลงพื้นที่จริงเพื่อการพัฒนาสนามทดสอบ 5G (5G Testbed) สมบูรณ์แบบที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา” “กระทรวงดิจิทัลฯ มีบทบาทการเป็นผู้อํานวยความสะดวกให้กับการทดสอบการใช้ประโยชน์จาก 5G ทั้งในเรื่องการจัดเตรียมสถานที่เพื่อเป็นศูนย์ทดสอบ การเป็นผู้รับรองอุปกรณ์ที่จะนําเข้ามาติดตั้งว่าเป็นไปเพื่อกการวิจัยและพัฒนา (R&D) เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถนําอุปกรณ์เข้ามาได้โดยสะดวก ล่าสุด ยังประสานงานกับสํานักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ เพื่อให้ทําเรื่องขอรับการจัดสรรคลื่นความถี่ที่จะนํามาใช้ใน 5G Testbed แห่งนี้ จากสํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ซึ่งจะเป็นหน่วยงานจัดสรรคลื่นทดสอบ โดยขอไป 2 ย่านความถี่ ได้แก่ ย่าน 3.5 GHz และ 26 GHz ตามที่เอกชนเสนอความต้องการมา” ดร.พิเชฐ กล่าว ดร.พิเชฐ กล่าวเสริมว่า โครงการทดสอบการใช้งาน 5G เปิดกว้างสําหรับผู้สนใจที่จะเข้ามาร่วมพัฒนาการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ ระหว่างรอ 5G ระดับสากลจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) ซึ่งประกาศมาว่าจะสมบูรณ์ในปี 2563 ดังนั้น จึงตั้งเป้าหมายว่า การจัดตั้งศูนย์ทดสอบนี้จะช่วยเตรียมความพร้อมเมื่อถึงเวลาการใช้จริงในอนาคต อันจะทําให้เกิดการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และไม่ซ้ําซ้อน รวมทั้งสร้างความตื่นตัวให้กับผู้ที่มีความประสงค์จะใช้ประโยชน์อีกด้วย ปัจจุบันเอกชนที่แสดงความสนใจเข้ามาแล้ว แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1.ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ คือกลุ่มการจัดหาและให้บริการ และ 2.ผู้ผลิตอุปกรณ์ ซึ่งก็คือกลุ่มที่จะขายอุปกรณ์สําหรับการติดตั้งโครงข่ายให้บริการ จากการที่ภาครัฐและเอกชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการลงพื้นที่เพื่อผลักดันเพื่อให้เกิดความพร้อมสําหรับเทคโนโลยี 5G สําหรับประเทศไทย ทั้งนี้ 5G จะมีความเร็วในการรับส่งข้อมูล ดีกว่า 4G ถึง 20 เท่า มีความล่าช้าของการรับส่งข้อมูลต่ํามาก (Latency time) ดีกว่า 4G ถึง 10 เท่า ในขณะเดียวกันสามารถรองรับอุปกรณ์สื่อสารได้ถึง 1 ล้านอุปกรณ์ต่อพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร ซึ่งจะรองรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เมืองอัจฉริยะ และการใช้ชีวิตยุคใหม่ ตลอดจนการช่วยสร้างนวัตกรรมอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2561 นายพันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานการประชุมคณะทํางานเตรียมการและทดสอบเทคโนโลยี 5G โดยได้หารือกับคณะทํางานฯ ซึ่งประกอบด้วย สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้ประกอบการโทรคมนาคม ผู้ผลิตอุปกรณ์ สํานักงาน กสทช. สํานักงาน EEC ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นต้น โดยในการประชุม ได้สรุปถึงแนวทางความร่วมมือที่สําคัญ ดังนี้ (1) ร่วมดําเนินการทดสอบเทคโนโลยี 5G ในภาคสนาม (Field trials) ที่รองรับการทดสอบแบบ end to end และการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกัน บนหลักการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน มีการเปิดรับผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม ผู้ผลิตอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่หลากหลาย เพื่อร่วมกันทดสอบใช้งาน (Use Cases) ที่เหมาะสมและคาดว่าจะมีการนํามาใช้ประโยชน์ในประเทศไทย โดยเร็ว อาทิ การทดสอบ 5G สําหรับการใช้ในภาคอุตสาหกรรม ด้านสุขภาพ และการขนส่ง เป็นต้น (2) สนับสนุนการพัฒนาศูนย์การทดสอบเทคโนโลยี 5G (Testbed) ในพื้นที่ EEC ทั้งในรูปแบบการร่วมทดสอบ ความร่วมมือในการศึกษาวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G การจัดกิจกรรมทางวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้ ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรด้านต่างๆ เพื่อสนับสนุนการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี 5G สําหรับประเทศไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา มีสถานที่ตั้งโครงสร้าง 5G มีห้องปฏิบัติการ และมีบุคลากรทั้งอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา และเป็นสถานที่ตั้งใน EEC ที่เหมาะสมในการทดสอบ 5G ครั้งใหญ่นี้ ********************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“ดีอี” นำพันธมิตร 5G ทุกภาคส่วนลงพื้นที่จริง 5G Testbed ในพื้นที่อีอีซี วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม 2561 “ดีอี” นําพันธมิตร 5G ทุกภาคส่วนลงพื้นที่จริง 5G Testbed ในพื้นที่อีอีซี “ดีอี” p.p1 {margin: 0.0px 0.0px 12.0px 0.0px; text-indent: 36.0px; font: 16.0px Helvetica; -webkit-text-stroke: #000000} p.p2 {margin: 0.0px 0.0px 12.0px 0.0px; text-indent: 36.0px; font: 16.0px Helvetica; -webkit-text-stroke: #000000; min-height: 19.0px} p.p3 {margin: 0.0px 0.0px 12.0px 0.0px; text-align: center; text-indent: 36.0px; font: 16.0px Helvetica; -webkit-text-stroke: #000000} span.s1 {font-kerning: none} กระทรวงดิจิทัลฯ นําพันธมิตรทั้งบริษัทสื่อสารและบริการอินเทอร์เน็ต ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคม ผู้ผลิตชิปเซ็ท 5G กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และ กสทช. ลงพื้นที่จริงของสนามทดสอบ 5G (5G Testbed) สมบูรณ์แบบ ในพื้นที่อีอีซี ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา สร้างความร่วมมือในรูปแบบ 5G Integration ประกาศความพร้อมเดินหน้าการทดสอบ เริ่ม มกราคม 2562 นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวว่า “จากการที่กระทรวงร่วมกับ กสทช. ได้นําภาคเอกชน ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ 5G รายสําคัญของโลก ได้แก่ หัวเว่ย อีริคสัน โนเกีย และ Dassault Systèmes ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มสําหรับเทคโนโลยี 3 มิติจากฝรั่งเศส เข้าเยี่ยมชมพื้นที่ โดยผู้ผลิตอุปกรณ์ทุกรายได้คัดเลือกจุด ที่จะนําอุปกรณ์ของตัวเองเข้ามาติดตั้งสําหรับการทดสอบการใช้งาน 5G (Use Cases) อาทิ Tele Medicine, Smart Manufacturing, Smart Bus ตลอดจน Autonomous Vehicle เป็นต้น จะทยอยดําเนินการตั้งแต่มกราคม 2562 เป็นต้นไป และเพื่อให้เป็นการบูรณาการทํางานร่วมกัน ในรูปแบบ 5G Integration อย่างสมบูรณ์แบบ จึงได้นําผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายหลักของไทย ได้แก่ AIS , DTAC , True , TOT และ CAT พร้อมกับ Intel ผู้ผลิตชิปเซ็ตชั้นนํา และ ZTE อีกหนึ่งผู้ผลิตอุปกรณ์ 5G รายสําคัญ ลงพื้นที่จริงเพื่อการพัฒนาสนามทดสอบ 5G (5G Testbed) สมบูรณ์แบบที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา” “กระทรวงดิจิทัลฯ มีบทบาทการเป็นผู้อํานวยความสะดวกให้กับการทดสอบการใช้ประโยชน์จาก 5G ทั้งในเรื่องการจัดเตรียมสถานที่เพื่อเป็นศูนย์ทดสอบ การเป็นผู้รับรองอุปกรณ์ที่จะนําเข้ามาติดตั้งว่าเป็นไปเพื่อกการวิจัยและพัฒนา (R&D) เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถนําอุปกรณ์เข้ามาได้โดยสะดวก ล่าสุด ยังประสานงานกับสํานักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ เพื่อให้ทําเรื่องขอรับการจัดสรรคลื่นความถี่ที่จะนํามาใช้ใน 5G Testbed แห่งนี้ จากสํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ซึ่งจะเป็นหน่วยงานจัดสรรคลื่นทดสอบ โดยขอไป 2 ย่านความถี่ ได้แก่ ย่าน 3.5 GHz และ 26 GHz ตามที่เอกชนเสนอความต้องการมา” ดร.พิเชฐ กล่าว ดร.พิเชฐ กล่าวเสริมว่า โครงการทดสอบการใช้งาน 5G เปิดกว้างสําหรับผู้สนใจที่จะเข้ามาร่วมพัฒนาการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ ระหว่างรอ 5G ระดับสากลจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) ซึ่งประกาศมาว่าจะสมบูรณ์ในปี 2563 ดังนั้น จึงตั้งเป้าหมายว่า การจัดตั้งศูนย์ทดสอบนี้จะช่วยเตรียมความพร้อมเมื่อถึงเวลาการใช้จริงในอนาคต อันจะทําให้เกิดการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และไม่ซ้ําซ้อน รวมทั้งสร้างความตื่นตัวให้กับผู้ที่มีความประสงค์จะใช้ประโยชน์อีกด้วย ปัจจุบันเอกชนที่แสดงความสนใจเข้ามาแล้ว แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1.ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ คือกลุ่มการจัดหาและให้บริการ และ 2.ผู้ผลิตอุปกรณ์ ซึ่งก็คือกลุ่มที่จะขายอุปกรณ์สําหรับการติดตั้งโครงข่ายให้บริการ จากการที่ภาครัฐและเอกชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการลงพื้นที่เพื่อผลักดันเพื่อให้เกิดความพร้อมสําหรับเทคโนโลยี 5G สําหรับประเทศไทย ทั้งนี้ 5G จะมีความเร็วในการรับส่งข้อมูล ดีกว่า 4G ถึง 20 เท่า มีความล่าช้าของการรับส่งข้อมูลต่ํามาก (Latency time) ดีกว่า 4G ถึง 10 เท่า ในขณะเดียวกันสามารถรองรับอุปกรณ์สื่อสารได้ถึง 1 ล้านอุปกรณ์ต่อพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร ซึ่งจะรองรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เมืองอัจฉริยะ และการใช้ชีวิตยุคใหม่ ตลอดจนการช่วยสร้างนวัตกรรมอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2561 นายพันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานการประชุมคณะทํางานเตรียมการและทดสอบเทคโนโลยี 5G โดยได้หารือกับคณะทํางานฯ ซึ่งประกอบด้วย สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้ประกอบการโทรคมนาคม ผู้ผลิตอุปกรณ์ สํานักงาน กสทช. สํานักงาน EEC ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นต้น โดยในการประชุม ได้สรุปถึงแนวทางความร่วมมือที่สําคัญ ดังนี้ (1) ร่วมดําเนินการทดสอบเทคโนโลยี 5G ในภาคสนาม (Field trials) ที่รองรับการทดสอบแบบ end to end และการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกัน บนหลักการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน มีการเปิดรับผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม ผู้ผลิตอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่หลากหลาย เพื่อร่วมกันทดสอบใช้งาน (Use Cases) ที่เหมาะสมและคาดว่าจะมีการนํามาใช้ประโยชน์ในประเทศไทย โดยเร็ว อาทิ การทดสอบ 5G สําหรับการใช้ในภาคอุตสาหกรรม ด้านสุขภาพ และการขนส่ง เป็นต้น (2) สนับสนุนการพัฒนาศูนย์การทดสอบเทคโนโลยี 5G (Testbed) ในพื้นที่ EEC ทั้งในรูปแบบการร่วมทดสอบ ความร่วมมือในการศึกษาวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G การจัดกิจกรรมทางวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้ ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรด้านต่างๆ เพื่อสนับสนุนการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี 5G สําหรับประเทศไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา มีสถานที่ตั้งโครงสร้าง 5G มีห้องปฏิบัติการ และมีบุคลากรทั้งอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา และเป็นสถานที่ตั้งใน EEC ที่เหมาะสมในการทดสอบ 5G ครั้งใหญ่นี้ ********************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/17712
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผลการประชุมคณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2560
วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม 2560 ผลการประชุมคณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2560 พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2560 วันนี้ (10 มีนาคม 2560) เวลา 09.00 น.ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2560 ที่ประชุมรับทราบร่างพระราชบัญญัติสุขภาพจิต (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 อาทิ การแก้ไขเพิ่มเติมสิทธิผู้ป่วยให้ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ การกําหนดให้การเผยแพร่ข้อมูลใด ๆ ในสื่อทุกประเภทต้องไม่ทําให้เกิดความรังเกียจเดียดฉันท์ หรือความเสียหายแก่จิตใจ การกําหนดเกี่ยวกับการให้ความยินยอมในการบําบัดรักษาทางกาย การกําหนดให้ผู้รับดูแลผู้ป่วยมีสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เป็นต้น พร้อมกันนี้ ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าการดําเนินงานตามนโยบายภายใต้พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 ซึ่งกรมสุขภาพจิตได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการนําส่งผู้ป่วยจิตเวชเข้าสู่กระบวนการบําบัดรักษา รวมทั้งการผลักดันให้เกิดความเท่าเทียมกันของสิทธิในการบําบัดรักษาผู้ป่วย ซึ่งในปัจจุบันสํานักงานประกันสังคมได้มีการดําเนินการแก้ไขปัญหาในเรื่องการลดช่องว่างการใช้สิทธิประกันสังคมของผู้พิการ ได้แก่ การคุ้มครองกรณีการฆ่าตัวตายช่องว่างการใช้สิทธิ (ระหว่างการรอเปลี่ยนสิทธิสามารถใช้สิทธิเดิมได้) กรณีต้องสํารองจ่ายก่อน การให้โรงพยาบาลจิตเวช เข้ามาเป็นหน่วยบริการที่รองรับการให้บริการทางจิตเวช (Sub Contract) ร่วมกับโรงพยาบาลประกันสังคม (โรงพยาบาลที่ผู้ประกันตนเลือกสามารถส่งตัวไปยังโรงพยาบาลจิตเวชได้) ทั้งนี้พบว่าปัญหายังคงอยู่ คือความแต่งต่างของยาที่ผู้ป่วยได้รับตลอดจนการกลับสู่สังคมของผู้ป่วยที่ไม่มีญาติซึ่งได้รับการบําบัดรักษา การส่งเสริมสุขภาพจิต การป้องกันปัญหาด้านสุขภาพจิตและจิตเวช เช่น จัดทําแผนยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริม ป้องกัน ในแผนยุทธศาสตร์สุขภาพจิตแห่งชาติ 20 ปี จัดทําสื่อในรูปแบบสารคดีสั้น ชุด “ดูแลฟื้นฟูคืนสู่สังคมเดียวกันของผู้ป่วยจิตเวช” ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ และ การขับเคลื่อนการดําเนินงานตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 ระดับจังหวัด นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีการพิจารณาแผนการดําเนินงานจัดทํานโยบายและยุทธศาสตร์สุขภาพจิตแห่งชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) อีกด้วย ................................................. กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผลการประชุมคณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2560 วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม 2560 ผลการประชุมคณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2560 พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2560 วันนี้ (10 มีนาคม 2560) เวลา 09.00 น.ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2560 ที่ประชุมรับทราบร่างพระราชบัญญัติสุขภาพจิต (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 อาทิ การแก้ไขเพิ่มเติมสิทธิผู้ป่วยให้ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ การกําหนดให้การเผยแพร่ข้อมูลใด ๆ ในสื่อทุกประเภทต้องไม่ทําให้เกิดความรังเกียจเดียดฉันท์ หรือความเสียหายแก่จิตใจ การกําหนดเกี่ยวกับการให้ความยินยอมในการบําบัดรักษาทางกาย การกําหนดให้ผู้รับดูแลผู้ป่วยมีสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เป็นต้น พร้อมกันนี้ ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าการดําเนินงานตามนโยบายภายใต้พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 ซึ่งกรมสุขภาพจิตได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการนําส่งผู้ป่วยจิตเวชเข้าสู่กระบวนการบําบัดรักษา รวมทั้งการผลักดันให้เกิดความเท่าเทียมกันของสิทธิในการบําบัดรักษาผู้ป่วย ซึ่งในปัจจุบันสํานักงานประกันสังคมได้มีการดําเนินการแก้ไขปัญหาในเรื่องการลดช่องว่างการใช้สิทธิประกันสังคมของผู้พิการ ได้แก่ การคุ้มครองกรณีการฆ่าตัวตายช่องว่างการใช้สิทธิ (ระหว่างการรอเปลี่ยนสิทธิสามารถใช้สิทธิเดิมได้) กรณีต้องสํารองจ่ายก่อน การให้โรงพยาบาลจิตเวช เข้ามาเป็นหน่วยบริการที่รองรับการให้บริการทางจิตเวช (Sub Contract) ร่วมกับโรงพยาบาลประกันสังคม (โรงพยาบาลที่ผู้ประกันตนเลือกสามารถส่งตัวไปยังโรงพยาบาลจิตเวชได้) ทั้งนี้พบว่าปัญหายังคงอยู่ คือความแต่งต่างของยาที่ผู้ป่วยได้รับตลอดจนการกลับสู่สังคมของผู้ป่วยที่ไม่มีญาติซึ่งได้รับการบําบัดรักษา การส่งเสริมสุขภาพจิต การป้องกันปัญหาด้านสุขภาพจิตและจิตเวช เช่น จัดทําแผนยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริม ป้องกัน ในแผนยุทธศาสตร์สุขภาพจิตแห่งชาติ 20 ปี จัดทําสื่อในรูปแบบสารคดีสั้น ชุด “ดูแลฟื้นฟูคืนสู่สังคมเดียวกันของผู้ป่วยจิตเวช” ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ และ การขับเคลื่อนการดําเนินงานตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 ระดับจังหวัด นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีการพิจารณาแผนการดําเนินงานจัดทํานโยบายและยุทธศาสตร์สุขภาพจิตแห่งชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) อีกด้วย ................................................. กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/2310
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-‘หม่อมเต่า’ ตั้งวอร์รูมศูนย์ปฏิบัติการรองรับผลกระทบโควิด – 19 บูรณาการทุกภาคส่วนอย่างมีเอกภาพ
วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม 2563 ‘หม่อมเต่า’ ตั้งวอร์รูมศูนย์ปฏิบัติการรองรับผลกระทบโควิด – 19 บูรณาการทุกภาคส่วนอย่างมีเอกภาพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการรองรับสถานการณ์การว่างงาน จากผลกระทบสภาวะโรคระบาด โควิด -19 ของกระทรวงแรงงาน ณ ห้องแสงสิงแก้ว ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน อํานาจหน้าที่ประสานติดตามข้อมูลสถานการณ์แรงงานทั้งในและต่างประเทศ สร้างเ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการรองรับสถานการณ์การว่างงาน จากผลกระทบสภาวะโรคระบาด โควิด -19 ของกระทรวงแรงงาน ณ ห้องแสงสิงแก้ว ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน อํานาจหน้าที่ประสานติดตามข้อมูลสถานการณ์แรงงานทั้งในและต่างประเทศ สร้างเอกภาพ ความเชื่อมั่นแก่สาธารณชน เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2563 หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการแถลงข่าวจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการรองรับสถานการณ์การว่างงาน จากผลกระทบสภาวะโรคระบาด โควิด -19 ของกระทรวงแรงงาน ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร สําหรับศูนย์ข้อมูลฯ ดังกล่าว จัดตั้งขึ้น ณ ห้องแสงสิงแก้ว ศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงแรงงาน (War Room) ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน ตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี โดยศูนย์ฯ มีหน้าที่และอํานาจในการรวบรวมและประสานข้อมูลจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และสํานักงานแรงงานไทยในต่างประเทศ ทั้ง 13 แห่ง และหน่วยงานอื่นของภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง สํารวจฐานข้อมูลสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบ อาทิ ผู้ประกอบการสายการบิน ธุรกิจบริการด้านการท่องเที่ยว โรงแรม ที่พัก เป็นต้น วางมาตรการในการช่วยเหลือ ผู้ประกอบการ นายจ้าง ลูกจ้าง เช่น หาตําแหน่งงานว่าง พัฒนาทักษะฝีมือ ให้สิทธิประโยชน์ และการคุ้มครอง ตามกฎหมายแรงงาน ประสานข้อมูลที่เกี่ยวข้องของกระทรวงแรงงาน กับหน่วยงานภาครัฐ รัฐบาล ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี (PMOC) สํานักโฆษก เป็นต้น ม.ร.ว.จัตุมงคลฯ ยังกล่าวถึง มาตรการป้องกันและเยียวยาลดผลกระทบของกระทรวงแรงงานในการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ของกระทรวงแรงงาน ในส่วนของแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคโควิด -19 กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางานและกรมพัฒนาฝีมือแรงงานสอนทําหน้ากากอนามัยและเจลล้างมือแก่ผู้ใช้แรงงานและประชาชนทั่วไป ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้ผู้ใช้แรงงานและประชาชนทั่วไปรู้จักวิธีการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด -19 ทั้งในและนอกประเทศ สํานักงานประกันสังคมแจ้งให้ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมสามารถเข้ารับการตรวจสุขภาพได้ที่โรงพยาบาลตามสิทธิโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานร่วมมือกับสถานประกอบการ/นายจ้าง เพื่อสํารวจลูกจ้าง หากพบว่ามีการเจ็บป่วยจะต้องประสานส่งต่อเพื่อเข้ารับการรักษาในทันที และด่านตรวจคนหางาน กรมการการจัดหางาน ณ สนามบินดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิ บูรณาการความร่วมมือกับสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) และกระทรวงสาธารณสุข เพื่อคัดกรองแรงงานไทยที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ ส่วนมาตรการในการลดผลกระทบในระยะต่อไป กระทรวงแรงงาน จัดหางาน ตําแหน่งงานว่าง 81,562 อัตรา และจ้างบัณฑิตจบใหม่มาเป็นผู้ประสานงานโครงการของกระทรวงแรงงานในระดับพื้นที่ ฝึกอาชีพและจ้างงานเร่งด่วน เป้าหมายรวม 16,790 คน ปี 63 คงเหลือ งบประมาณ 30.89 ล้านบาท จํานวน 863 หลักสูตร ส่งเสริมให้สถานประกอบการพัฒนาฝีมือแรงงานพนักงาน ตาม พ.ร.บ.ฯ โดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี เงินกู้และเงินอุดหนุนจากกองทุนฯ “กระทรวงแรงงาน เราขอสัญญาว่า เราจะดูแลแรงงานไทยทุกคน โดยใครอยากทํางาน ผมจะหางานให้ทํา ใครอยากมีฝีมือ ผมจะฝึกทักษะฝีมือให้ สิทธิประโยชน์พึงได้ จะต้องได้รับ แรงงานทุกคน ต้องได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย” รมว.แรงงาน กล่าวในท้ายสุด
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-‘หม่อมเต่า’ ตั้งวอร์รูมศูนย์ปฏิบัติการรองรับผลกระทบโควิด – 19 บูรณาการทุกภาคส่วนอย่างมีเอกภาพ วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม 2563 ‘หม่อมเต่า’ ตั้งวอร์รูมศูนย์ปฏิบัติการรองรับผลกระทบโควิด – 19 บูรณาการทุกภาคส่วนอย่างมีเอกภาพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการรองรับสถานการณ์การว่างงาน จากผลกระทบสภาวะโรคระบาด โควิด -19 ของกระทรวงแรงงาน ณ ห้องแสงสิงแก้ว ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน อํานาจหน้าที่ประสานติดตามข้อมูลสถานการณ์แรงงานทั้งในและต่างประเทศ สร้างเ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการรองรับสถานการณ์การว่างงาน จากผลกระทบสภาวะโรคระบาด โควิด -19 ของกระทรวงแรงงาน ณ ห้องแสงสิงแก้ว ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน อํานาจหน้าที่ประสานติดตามข้อมูลสถานการณ์แรงงานทั้งในและต่างประเทศ สร้างเอกภาพ ความเชื่อมั่นแก่สาธารณชน เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2563 หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการแถลงข่าวจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการรองรับสถานการณ์การว่างงาน จากผลกระทบสภาวะโรคระบาด โควิด -19 ของกระทรวงแรงงาน ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร สําหรับศูนย์ข้อมูลฯ ดังกล่าว จัดตั้งขึ้น ณ ห้องแสงสิงแก้ว ศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงแรงงาน (War Room) ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน ตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี โดยศูนย์ฯ มีหน้าที่และอํานาจในการรวบรวมและประสานข้อมูลจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และสํานักงานแรงงานไทยในต่างประเทศ ทั้ง 13 แห่ง และหน่วยงานอื่นของภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง สํารวจฐานข้อมูลสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบ อาทิ ผู้ประกอบการสายการบิน ธุรกิจบริการด้านการท่องเที่ยว โรงแรม ที่พัก เป็นต้น วางมาตรการในการช่วยเหลือ ผู้ประกอบการ นายจ้าง ลูกจ้าง เช่น หาตําแหน่งงานว่าง พัฒนาทักษะฝีมือ ให้สิทธิประโยชน์ และการคุ้มครอง ตามกฎหมายแรงงาน ประสานข้อมูลที่เกี่ยวข้องของกระทรวงแรงงาน กับหน่วยงานภาครัฐ รัฐบาล ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี (PMOC) สํานักโฆษก เป็นต้น ม.ร.ว.จัตุมงคลฯ ยังกล่าวถึง มาตรการป้องกันและเยียวยาลดผลกระทบของกระทรวงแรงงานในการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ของกระทรวงแรงงาน ในส่วนของแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคโควิด -19 กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางานและกรมพัฒนาฝีมือแรงงานสอนทําหน้ากากอนามัยและเจลล้างมือแก่ผู้ใช้แรงงานและประชาชนทั่วไป ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้ผู้ใช้แรงงานและประชาชนทั่วไปรู้จักวิธีการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด -19 ทั้งในและนอกประเทศ สํานักงานประกันสังคมแจ้งให้ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมสามารถเข้ารับการตรวจสุขภาพได้ที่โรงพยาบาลตามสิทธิโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานร่วมมือกับสถานประกอบการ/นายจ้าง เพื่อสํารวจลูกจ้าง หากพบว่ามีการเจ็บป่วยจะต้องประสานส่งต่อเพื่อเข้ารับการรักษาในทันที และด่านตรวจคนหางาน กรมการการจัดหางาน ณ สนามบินดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิ บูรณาการความร่วมมือกับสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) และกระทรวงสาธารณสุข เพื่อคัดกรองแรงงานไทยที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ ส่วนมาตรการในการลดผลกระทบในระยะต่อไป กระทรวงแรงงาน จัดหางาน ตําแหน่งงานว่าง 81,562 อัตรา และจ้างบัณฑิตจบใหม่มาเป็นผู้ประสานงานโครงการของกระทรวงแรงงานในระดับพื้นที่ ฝึกอาชีพและจ้างงานเร่งด่วน เป้าหมายรวม 16,790 คน ปี 63 คงเหลือ งบประมาณ 30.89 ล้านบาท จํานวน 863 หลักสูตร ส่งเสริมให้สถานประกอบการพัฒนาฝีมือแรงงานพนักงาน ตาม พ.ร.บ.ฯ โดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี เงินกู้และเงินอุดหนุนจากกองทุนฯ “กระทรวงแรงงาน เราขอสัญญาว่า เราจะดูแลแรงงานไทยทุกคน โดยใครอยากทํางาน ผมจะหางานให้ทํา ใครอยากมีฝีมือ ผมจะฝึกทักษะฝีมือให้ สิทธิประโยชน์พึงได้ จะต้องได้รับ แรงงานทุกคน ต้องได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย” รมว.แรงงาน กล่าวในท้ายสุด
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/27011
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ยกระดับความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
วันอังคารที่ 1 ตุลาคม 2562 ยกระดับความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน 2562 ​ Your browser does not support the audio element. ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลยกระดับความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านให้เป็น อสม. หมอประจําบ้าน ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารและระบบการแพทย์ทางไกลเพื่อบริการสาธารณสุขในชุมชน เพิ่มบทบาท อสม. ช่วยลดโรคและปัญหาสุขภาพ ลดความแออัดและการพึ่งพาโรงพยาบาล โดยได้อบรมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือ ครู ก เพื่อให้นําความรู้ไปถ่ายทอดแก่ อสม. ในพื้นที่รับผิดชอบ ประกอบด้วย การสร้างอาสาสมัครประจําครอบครัว การเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่ การส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและแก้ไขปัญหาสุขภาพที่สําคัญ ภูมิปัญญาไทย สมุนไพรไทย และการใช้กัญชาทางการแพทย์ เทคโนโลยีการสื่อสารทางการแพทย์ โทรเวชกรรมและแอปพลิเคชันด้านสาธารณสุข และผู้นําการสร้างสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ร่วมเดินหน้าประเทศไทย กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ยกระดับความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน วันอังคารที่ 1 ตุลาคม 2562 ยกระดับความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน 2562 ​ Your browser does not support the audio element. ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลยกระดับความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านให้เป็น อสม. หมอประจําบ้าน ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารและระบบการแพทย์ทางไกลเพื่อบริการสาธารณสุขในชุมชน เพิ่มบทบาท อสม. ช่วยลดโรคและปัญหาสุขภาพ ลดความแออัดและการพึ่งพาโรงพยาบาล โดยได้อบรมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือ ครู ก เพื่อให้นําความรู้ไปถ่ายทอดแก่ อสม. ในพื้นที่รับผิดชอบ ประกอบด้วย การสร้างอาสาสมัครประจําครอบครัว การเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่ การส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและแก้ไขปัญหาสุขภาพที่สําคัญ ภูมิปัญญาไทย สมุนไพรไทย และการใช้กัญชาทางการแพทย์ เทคโนโลยีการสื่อสารทางการแพทย์ โทรเวชกรรมและแอปพลิเคชันด้านสาธารณสุข และผู้นําการสร้างสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ร่วมเดินหน้าประเทศไทย กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/23495
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) ประจำวันที่ 20 มีนาคม 2563
วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) ประจําวันที่ 20 มีนาคม 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) ประจําวันที่ 20 มีนาคม 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019(COVID-19) ประจําวันที่20 มีนาคม 2563 1. สถานการณ์ ถึงวันที่20 มีนาคม 2563 ณ เวลา 08.00 น. 1. ผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรักษาในโรงพยาบาล 278 ราย กลับบ้านแล้ว 43 ราย เสียชีวิต 1 ราย รวมสะสม 322 ราย 2. ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม – 19 มีนาคม 2563 มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนต้องเฝ้าระวังสะสมทั้งหมด 8,729 ราย คัดกรองจากทุกด่าน 325 ราย มารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอง 8,404 ราย อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้วและอยู่ระหว่างติดตามอาการ 5,404 ราย ส่วนใหญ่เป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ยังคงรักษาในโรงพยาบาล 3,325 ราย 3. สถานการณ์ทั่วโลกใน 175 ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษ 1 เรือสําราญ ข้อมูลตั้งแต่ 5 มกราคม – 20มีนาคม 2563 (07.00 น.) พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจํานวน 236,054 ราย เสียชีวิต 9,817 ราย ส่วนประเทศจีนพบผู้ป่วย 80,928 ราย เสียชีวิต 7,263 ราย 2.สธ.เผยพบผู้ติดเชื้อโคโรนา2019 ใหม่เพิ่ม 50 ราย กลับบ้าน1 ราย กระทรวงสาธารณสุขเผยพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่ม 50 ราย กลับบ้าน 1 ราย เป็นชายชาวฝรั่งเศส ขอให้ผู้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงที่พบผู้ป่วยจํานวนมาก งดเดินทางกลับภูมิลําเนา ให้กักกันตัวเองที่พักหรือที่บ้านอย่างเคร่งครัด ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค และคณะแถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ว่า วันนี้มีผู้ป่วยกลับบ้านได้ 1 ราย เป็นชายชาวฝรั่งเศส อายุ 36 ปี จากสถาบันโรคทรวงอก และมีผู้ป่วยยืนยันเพิ่ม 50 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่มดังนี้ กลุ่มที่ 1ผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วย หรือเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่พบผู้ป่วยก่อนหน้านี้ จํานวน 41 ราย ได้แก่ สนามมวย 18 ราย ,สถานบันเทิง 5 ราย ,สัมผัสกับผู้ป่วยที่มีรายงานมาแล้ว 12 ราย และกลุ่มที่เข้าร่วมพิธีทางศาสนาในประเทศมาเลเซีย 6 ราย กลุ่มที่ 2ผู้ป่วยรายใหม่ จํานวน 9 ราย ได้แก่ กลุ่มเดินทางกลับจากต่างประเทศ 4 ราย,กลุ่มที่ทํางานหรืออาศัยในสถานที่แออัดต้องใกล้ชิดคนจํานวนมากหรือเกี่ยวข้องกับชาวต่างชาติ 2 ราย และรอผลสอบสวนโรคเพิ่มเติม 3 ราย นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มสนามมวยและกลุ่มที่เข้าร่วมพิธีทางศาสนาในประเทศมาเลเซีย ได้ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการแล้ว แต่ยังรอสอบสวนโรคเพิ่มเติม อีก 118 ราย ทําให้ขณะนี้พบผู้ป่วยกระจายไปใน 24 จังหวัดทั่วประเทศ พบผู้ป่วยมากที่สุดที่ กรุงเทพมหานคร รองลงมา สมุทรปราการ, เชียงใหม่, ปัตตานี โดยสรุปวันนี้ มีผู้ป่วยกลับบ้านแล้ว 43 ราย ยังรักษาในโรงพยาบาล 278 ราย อาการหนัก 3 ราย เสียชีวิต 1 ราย รวมสะสม 322 ราย ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขยังพบผู้ป่วยซึ่งเป็นผู้สัมผัสกับกลุ่มสนามมวย และกลุ่มสถานบันเทิงอย่างต่อเนื่อง คาดว่ามีผู้สัมผัสจํานวนหลายคน อาจจะเริ่มทยอยป่วยภายใน 14 วัน ที่สําคัญกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้ที่ไม่กักกันตัวเองดีพอจะนําเชื้อไปติดบุคคลอื่นรอบข้างอีกเป็นจํานวนมาก เป็นการเพิ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูงอีกรุ่นหนึ่ง (Generation) และต้องเฝ้าระวังกลุ่มนี้ไปอีก 14 วัน และจะเกิดการถ่ายทอดเชื้อจากรุ่นสู่รุ่น ขยายเป็นวงกว้าง จากการไม่ปฏิบัติตามคําแนะนําของกระทรวงสาธารณสุข ดังนั้น ขอให้ผู้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงที่พบผู้ป่วยจํานวนมากในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด ได้แก่ สนามมวย และ สถานบันเทิง (พนักงาน เจ้าหน้าที่ คนเที่ยว ผู้ชม) งดเดินทางกลับภูมิลําเนา ให้กักกันตัวเองที่พักหรือที่บ้านอย่างเคร่งครัด งดทํางานหรือทํางานอยู่ที่บ้าน งดร่วมกิจกรรมทางสังคม ไม่อยู่ใกล้ชิดผู้อื่น เว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร แยกของใช้ แยกสํารับอาหาร หากยังไม่มีอาการ ไข้ ไอ มีน้ํามูก เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ยังไม่ต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อ เนื่องจากหากยังไม่มีอาการป่วยโอกาสตรวจพบเชื้อจะน้อยและการตรวจไม่พบเชื้อในช่วงวันแรกๆ ที่สัมผัสผู้ป่วย ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ป่วย 3. คําแนะนําสําหรับประชาชน ขอความร่วมมือประชาชนทุกคน ตื่นตัว และรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจนติดตามสถานการณ์และข้อมูลข่าวสารได้ที่เว็บไซต์ https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia /และ “ไทยรู้ สู้โควิด” ทาง Twitter, Facebook, Line official, TikTok และChatBot 1422 ทาง ID : @COVID-19 หรือสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง อย่าเชื่อข่าวลือจากทุกทาง “เช็คก่อนแชร์” ตรวจสอบข่าวลวงได้ที่www.antifakenewscenter.com
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) ประจำวันที่ 20 มีนาคม 2563 วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) ประจําวันที่ 20 มีนาคม 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) ประจําวันที่ 20 มีนาคม 2563 รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019(COVID-19) ประจําวันที่20 มีนาคม 2563 1. สถานการณ์ ถึงวันที่20 มีนาคม 2563 ณ เวลา 08.00 น. 1. ผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรักษาในโรงพยาบาล 278 ราย กลับบ้านแล้ว 43 ราย เสียชีวิต 1 ราย รวมสะสม 322 ราย 2. ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม – 19 มีนาคม 2563 มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนต้องเฝ้าระวังสะสมทั้งหมด 8,729 ราย คัดกรองจากทุกด่าน 325 ราย มารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอง 8,404 ราย อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้วและอยู่ระหว่างติดตามอาการ 5,404 ราย ส่วนใหญ่เป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ยังคงรักษาในโรงพยาบาล 3,325 ราย 3. สถานการณ์ทั่วโลกใน 175 ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษ 1 เรือสําราญ ข้อมูลตั้งแต่ 5 มกราคม – 20มีนาคม 2563 (07.00 น.) พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจํานวน 236,054 ราย เสียชีวิต 9,817 ราย ส่วนประเทศจีนพบผู้ป่วย 80,928 ราย เสียชีวิต 7,263 ราย 2.สธ.เผยพบผู้ติดเชื้อโคโรนา2019 ใหม่เพิ่ม 50 ราย กลับบ้าน1 ราย กระทรวงสาธารณสุขเผยพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่ม 50 ราย กลับบ้าน 1 ราย เป็นชายชาวฝรั่งเศส ขอให้ผู้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงที่พบผู้ป่วยจํานวนมาก งดเดินทางกลับภูมิลําเนา ให้กักกันตัวเองที่พักหรือที่บ้านอย่างเคร่งครัด ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค และคณะแถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ว่า วันนี้มีผู้ป่วยกลับบ้านได้ 1 ราย เป็นชายชาวฝรั่งเศส อายุ 36 ปี จากสถาบันโรคทรวงอก และมีผู้ป่วยยืนยันเพิ่ม 50 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่มดังนี้ กลุ่มที่ 1ผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วย หรือเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่พบผู้ป่วยก่อนหน้านี้ จํานวน 41 ราย ได้แก่ สนามมวย 18 ราย ,สถานบันเทิง 5 ราย ,สัมผัสกับผู้ป่วยที่มีรายงานมาแล้ว 12 ราย และกลุ่มที่เข้าร่วมพิธีทางศาสนาในประเทศมาเลเซีย 6 ราย กลุ่มที่ 2ผู้ป่วยรายใหม่ จํานวน 9 ราย ได้แก่ กลุ่มเดินทางกลับจากต่างประเทศ 4 ราย,กลุ่มที่ทํางานหรืออาศัยในสถานที่แออัดต้องใกล้ชิดคนจํานวนมากหรือเกี่ยวข้องกับชาวต่างชาติ 2 ราย และรอผลสอบสวนโรคเพิ่มเติม 3 ราย นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มสนามมวยและกลุ่มที่เข้าร่วมพิธีทางศาสนาในประเทศมาเลเซีย ได้ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการแล้ว แต่ยังรอสอบสวนโรคเพิ่มเติม อีก 118 ราย ทําให้ขณะนี้พบผู้ป่วยกระจายไปใน 24 จังหวัดทั่วประเทศ พบผู้ป่วยมากที่สุดที่ กรุงเทพมหานคร รองลงมา สมุทรปราการ, เชียงใหม่, ปัตตานี โดยสรุปวันนี้ มีผู้ป่วยกลับบ้านแล้ว 43 ราย ยังรักษาในโรงพยาบาล 278 ราย อาการหนัก 3 ราย เสียชีวิต 1 ราย รวมสะสม 322 ราย ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขยังพบผู้ป่วยซึ่งเป็นผู้สัมผัสกับกลุ่มสนามมวย และกลุ่มสถานบันเทิงอย่างต่อเนื่อง คาดว่ามีผู้สัมผัสจํานวนหลายคน อาจจะเริ่มทยอยป่วยภายใน 14 วัน ที่สําคัญกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้ที่ไม่กักกันตัวเองดีพอจะนําเชื้อไปติดบุคคลอื่นรอบข้างอีกเป็นจํานวนมาก เป็นการเพิ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูงอีกรุ่นหนึ่ง (Generation) และต้องเฝ้าระวังกลุ่มนี้ไปอีก 14 วัน และจะเกิดการถ่ายทอดเชื้อจากรุ่นสู่รุ่น ขยายเป็นวงกว้าง จากการไม่ปฏิบัติตามคําแนะนําของกระทรวงสาธารณสุข ดังนั้น ขอให้ผู้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงที่พบผู้ป่วยจํานวนมากในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด ได้แก่ สนามมวย และ สถานบันเทิง (พนักงาน เจ้าหน้าที่ คนเที่ยว ผู้ชม) งดเดินทางกลับภูมิลําเนา ให้กักกันตัวเองที่พักหรือที่บ้านอย่างเคร่งครัด งดทํางานหรือทํางานอยู่ที่บ้าน งดร่วมกิจกรรมทางสังคม ไม่อยู่ใกล้ชิดผู้อื่น เว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร แยกของใช้ แยกสํารับอาหาร หากยังไม่มีอาการ ไข้ ไอ มีน้ํามูก เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ยังไม่ต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อ เนื่องจากหากยังไม่มีอาการป่วยโอกาสตรวจพบเชื้อจะน้อยและการตรวจไม่พบเชื้อในช่วงวันแรกๆ ที่สัมผัสผู้ป่วย ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ป่วย 3. คําแนะนําสําหรับประชาชน ขอความร่วมมือประชาชนทุกคน ตื่นตัว และรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจนติดตามสถานการณ์และข้อมูลข่าวสารได้ที่เว็บไซต์ https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia /และ “ไทยรู้ สู้โควิด” ทาง Twitter, Facebook, Line official, TikTok และChatBot 1422 ทาง ID : @COVID-19 หรือสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง อย่าเชื่อข่าวลือจากทุกทาง “เช็คก่อนแชร์” ตรวจสอบข่าวลวงได้ที่www.antifakenewscenter.com
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/27567
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองปลัดฯ สุรพล ร่วมรายการสถานีประชาชน ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
วันอังคารที่ 8 มกราคม 2562 รองปลัดฯ สุรพล ร่วมรายการสถานีประชาชน ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส นายสุรพล ชามาตย์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมรายการสถานีประชาชน ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เพื่อชี้แจงและไขข้อสงสัยให้แก่ชาวบ้าน อําเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กรณีการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานคัดแยกขยะของบริษัท ฮีดากา เมทัล เทรด จํากัด วันนี้ (8 มกราคม 2562) นายสุรพล ชามาตย์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายอานันท์ ฟักสังข์ อุตสาหกรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และนายธัญญะ บรรเลงจิต วิศวกรชํานาญการพิเศษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ร่วมรายการสถานีประชาชน ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เพื่อชี้แจงและไขข้อสงสัยให้แก่ชาวบ้าน อําเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กรณีการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานคัดแยกขยะของบริษัท ฮีดากา เมทัล เทรด จํากัด และการทําประชาพิจารณ์การจัดตั้งโรงงาน
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองปลัดฯ สุรพล ร่วมรายการสถานีประชาชน ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส วันอังคารที่ 8 มกราคม 2562 รองปลัดฯ สุรพล ร่วมรายการสถานีประชาชน ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส นายสุรพล ชามาตย์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมรายการสถานีประชาชน ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เพื่อชี้แจงและไขข้อสงสัยให้แก่ชาวบ้าน อําเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กรณีการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานคัดแยกขยะของบริษัท ฮีดากา เมทัล เทรด จํากัด วันนี้ (8 มกราคม 2562) นายสุรพล ชามาตย์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายอานันท์ ฟักสังข์ อุตสาหกรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และนายธัญญะ บรรเลงจิต วิศวกรชํานาญการพิเศษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ร่วมรายการสถานีประชาชน ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เพื่อชี้แจงและไขข้อสงสัยให้แก่ชาวบ้าน อําเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กรณีการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานคัดแยกขยะของบริษัท ฮีดากา เมทัล เทรด จํากัด และการทําประชาพิจารณ์การจัดตั้งโรงงาน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/17994
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รอง นรม. ฉัตรชัย กำชับหน่วยงานจ่ายเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ปี 61 ไม่ให้หยุดชะงัก พร้อมเตรียมถ่ายโอนสภาเด็กฯ สู่ท้องถิ่น
วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561 รอง นรม. ฉัตรชัย กําชับหน่วยงานจ่ายเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ปี 61 ไม่ให้หยุดชะงัก พร้อมเตรียมถ่ายโอนสภาเด็กฯ สู่ท้องถิ่น รอง นรม. ฉัตรชัย กําชับหน่วยงานจ่ายเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ปี 61 ไม่ให้หยุดชะงัก พร้อมเตรียมถ่ายโอนสภาเด็กฯ สู่ท้องถิ่น เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 61 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมคณะรัฐมนตรี ชั้น 2 สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทําเนียบรัฐบาล กรุงเทพฯพลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนา เด็กและเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2561 โดยมีพลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.)คณะผู้บริหารกระทรวง พม. และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม พลเอก อนันตพรเปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติครั้งนี้ เป็นการประชุมครั้งแรกของปี 2561 และมีการพิจารณาประเด็นสําคัญในเรื่องการดําเนินโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดู เด็กแรกเกิด โดยที่ประชุมมีข้อเสนอแนะในเรื่องการดําเนินโครงการฯ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจกระทรวง พม. โดยกรมกิจการเด็ก และเยาวชน (ดย.) ควรดําเนินการประชาสัมพันธ์หลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการฯ ให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึงมากขึ้น และเรื่องการเบิกจ่ายเงินให้ทันและไม่หยุดชะงัก ควรปรับฐานการขอรับงบประมาณให้ตรงกับข้อมูลที่มีผู้มาลงทะเบียน และวางแผนกระบวนการทํางานให้ชัดเจน โดยขอให้ประสานการดําเนินงานกับสํานักงบประมาณ สําหรับการพิจารณาเรื่องแผนการถ่ายโอนภารกิจสภาเด็กและเยาวชน ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการของการถ่ายโอน ภารกิจดังกล่าวให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และมอบหมาย ดย. ดําเนินการทบทวนและเตรียมความพร้อม ในการถ่ายโอนภารกิจต่อไป โดยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมทั้งสภาเด็กและเยาวชน เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษา และเตรียมความพร้อม ก่อนนําเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป นอกจากนี้ ที่ประชุมมีข้อเสนอแนะในการดําเนินงานของสภาเด็กและเยาวชนในทุกระดับทั่วประเทศ ทั้งในระดับตําบล เทศบาล อําเภอ เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัด ดังนี้ 1. ควรผลักดันให้สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทยมุ่งสู่ระดับอาเซียน และเตรียมความพร้อมในการพัฒนาศักยภาพสภาเด็กและเยาวชนในการสนับสนุนให้เป็นผู้นําในเวทีระดับอาเซียน 2. ควรเร่งรัดการดําเนินงานสนับสนุนงบประมาณให้แก่สภาเด็กและเยาวชนทุกระดับ โดยต้องมีกระบวนงานชัดเจน ตรวจสอบได้ และควรมีที่ปรึกษาสภาเด็กและเยาวชนในทุกระดับ และ 3. ควรดําเนินการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาเด็ก และเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 เพื่อส่งเสริมการจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนในทุกระดับและครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รอง นรม. ฉัตรชัย กำชับหน่วยงานจ่ายเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ปี 61 ไม่ให้หยุดชะงัก พร้อมเตรียมถ่ายโอนสภาเด็กฯ สู่ท้องถิ่น วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561 รอง นรม. ฉัตรชัย กําชับหน่วยงานจ่ายเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ปี 61 ไม่ให้หยุดชะงัก พร้อมเตรียมถ่ายโอนสภาเด็กฯ สู่ท้องถิ่น รอง นรม. ฉัตรชัย กําชับหน่วยงานจ่ายเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ปี 61 ไม่ให้หยุดชะงัก พร้อมเตรียมถ่ายโอนสภาเด็กฯ สู่ท้องถิ่น เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 61 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมคณะรัฐมนตรี ชั้น 2 สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทําเนียบรัฐบาล กรุงเทพฯพลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนา เด็กและเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2561 โดยมีพลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.)คณะผู้บริหารกระทรวง พม. และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม พลเอก อนันตพรเปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติครั้งนี้ เป็นการประชุมครั้งแรกของปี 2561 และมีการพิจารณาประเด็นสําคัญในเรื่องการดําเนินโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดู เด็กแรกเกิด โดยที่ประชุมมีข้อเสนอแนะในเรื่องการดําเนินโครงการฯ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจกระทรวง พม. โดยกรมกิจการเด็ก และเยาวชน (ดย.) ควรดําเนินการประชาสัมพันธ์หลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการฯ ให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึงมากขึ้น และเรื่องการเบิกจ่ายเงินให้ทันและไม่หยุดชะงัก ควรปรับฐานการขอรับงบประมาณให้ตรงกับข้อมูลที่มีผู้มาลงทะเบียน และวางแผนกระบวนการทํางานให้ชัดเจน โดยขอให้ประสานการดําเนินงานกับสํานักงบประมาณ สําหรับการพิจารณาเรื่องแผนการถ่ายโอนภารกิจสภาเด็กและเยาวชน ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการของการถ่ายโอน ภารกิจดังกล่าวให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และมอบหมาย ดย. ดําเนินการทบทวนและเตรียมความพร้อม ในการถ่ายโอนภารกิจต่อไป โดยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมทั้งสภาเด็กและเยาวชน เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษา และเตรียมความพร้อม ก่อนนําเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป นอกจากนี้ ที่ประชุมมีข้อเสนอแนะในการดําเนินงานของสภาเด็กและเยาวชนในทุกระดับทั่วประเทศ ทั้งในระดับตําบล เทศบาล อําเภอ เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัด ดังนี้ 1. ควรผลักดันให้สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทยมุ่งสู่ระดับอาเซียน และเตรียมความพร้อมในการพัฒนาศักยภาพสภาเด็กและเยาวชนในการสนับสนุนให้เป็นผู้นําในเวทีระดับอาเซียน 2. ควรเร่งรัดการดําเนินงานสนับสนุนงบประมาณให้แก่สภาเด็กและเยาวชนทุกระดับ โดยต้องมีกระบวนงานชัดเจน ตรวจสอบได้ และควรมีที่ปรึกษาสภาเด็กและเยาวชนในทุกระดับ และ 3. ควรดําเนินการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาเด็ก และเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 เพื่อส่งเสริมการจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนในทุกระดับและครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/9800
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.ดีอีเอส ย้ำพร้อมพัฒนา 5G ให้เกิดขึ้นเร็วที่สุด
วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 รมว.ดีอีเอส ย้ําพร้อมพัฒนา 5G ให้เกิดขึ้นเร็วที่สุด รมว.ดีอีเอส ย้ําพร้อมพัฒนา 5G ให้เกิดขึ้นเร็วที่สุด นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดอบรมหลักสูตร Digital Transformation CEO รุ่น 2 และกล่าวปาฐกถาในหัวข้อ Digital Transformation for CEO 2020: ผู้นํายุคดิจิทัล 2020 โดยกล่าวว่า มีหลายคนถามทําไม 5G ประเทศไทยเพิ่งประมูล เพราะ 5G ไม่ใช่โทรศัพท์มือถือ แบบ 3G 4G ในอดีต แต่เป็น network ที่จะรองรับทั้ง AI IoT Robotics จะมีส่วนในการปฏิวัติปฏิรูปชีวิตประจําวันทุกเรื่อง การรักษาพยาบาล การศึกษา คมนาคม ทุกอย่างต้องมี 5G เป็นเน็ตเวิร์ครองรับ นั่นเป็นเหตุผลที่เวลาชวนทุกคนมาลงทุน ประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่ประมูล 5G แล้ว และจากนี้ไปต้องพัฒนา 5G ให้เกิดขึ้นเร็วที่สุด ภายในปีนี้ ผมเชื่อว่าได้เห็นเกิดขึ้นแน่นอน หลายประเทศใช้แล้ว เช่น เกาหลี อเมริกา ภูมิภาคเรายังไม่มีใครใช้ การที่เราประมูลและผลักดันให้เกิด 5G การเอาเงินเข้าประเทศก็เรื่องหนึ่ง แต่ระบบ 5G จริงๆ มีเรื่องการรักษาพยาบาล คมนาคม การใช้ประโยชน์ ข้อมูลข่าวสาร หากใครจับ trend นี้ได้ ต่อไปมีงานทําแน่นอน ซึ่งผมเป็นคนผลักดันให้ CAT และ TOT ประมูล5G แข่งกับเอกชนเอง เหตุผลคือผมมองแล้วว่า 5G ไม่ใช่โทรศัพท์มือถือ และหากเราจะเอา 5G มาใช้ประโยชน์ด้านสังคม ให้คนแก่คนเฒ่าได้ใช้ และทุกครั้งต้องไปจ่าย operator ก็จะสิ้นเปลืองเงิน แต่หากมี 5G ของรัฐวิสาหกิจ สองหน่วยงานนี้สามารถทําแบบไม่เอากําไร เพื่อช่วยคนแก่ คนจน ภาคการเกษตร การศึกษา การรักษาพยาบาล การคมนาคม ทําทุกเรื่องที่เป็นการช่วยสังคมได้ นั่นคือสิ่งที่ผมมองเห็นว่า CAT และ TOT ต้องประมูลสู้ มีอีกหลายเรื่อง ที่กระทรวงทํา เราพยายามทําแบบใหม่ ทําเชิงรุก รับฟังพี่น้องประชาชนให้มาก และนํามาสู่การปฏิบัติ เราพยายามจะเลิกทําแบบ top down รูปแบบการทํางานจะเปลี่ยนรูปแบบใหม่ รับฟังความคิดเห็นเอกชนให้เยอะ รัฐต้องเป็นผู้สนับสนุนที่ดี ไม่ใช่สร้างกําแพงให้เอกชนสิ่งข้ามรั้วก่อนจะไปแข่งกับเอกชน เราต้องทลายกําแพงของรัฐเอง เพื่อสนับสนุนเอกชน ให้โตให้ได้ ****************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.ดีอีเอส ย้ำพร้อมพัฒนา 5G ให้เกิดขึ้นเร็วที่สุด วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 รมว.ดีอีเอส ย้ําพร้อมพัฒนา 5G ให้เกิดขึ้นเร็วที่สุด รมว.ดีอีเอส ย้ําพร้อมพัฒนา 5G ให้เกิดขึ้นเร็วที่สุด นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดอบรมหลักสูตร Digital Transformation CEO รุ่น 2 และกล่าวปาฐกถาในหัวข้อ Digital Transformation for CEO 2020: ผู้นํายุคดิจิทัล 2020 โดยกล่าวว่า มีหลายคนถามทําไม 5G ประเทศไทยเพิ่งประมูล เพราะ 5G ไม่ใช่โทรศัพท์มือถือ แบบ 3G 4G ในอดีต แต่เป็น network ที่จะรองรับทั้ง AI IoT Robotics จะมีส่วนในการปฏิวัติปฏิรูปชีวิตประจําวันทุกเรื่อง การรักษาพยาบาล การศึกษา คมนาคม ทุกอย่างต้องมี 5G เป็นเน็ตเวิร์ครองรับ นั่นเป็นเหตุผลที่เวลาชวนทุกคนมาลงทุน ประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่ประมูล 5G แล้ว และจากนี้ไปต้องพัฒนา 5G ให้เกิดขึ้นเร็วที่สุด ภายในปีนี้ ผมเชื่อว่าได้เห็นเกิดขึ้นแน่นอน หลายประเทศใช้แล้ว เช่น เกาหลี อเมริกา ภูมิภาคเรายังไม่มีใครใช้ การที่เราประมูลและผลักดันให้เกิด 5G การเอาเงินเข้าประเทศก็เรื่องหนึ่ง แต่ระบบ 5G จริงๆ มีเรื่องการรักษาพยาบาล คมนาคม การใช้ประโยชน์ ข้อมูลข่าวสาร หากใครจับ trend นี้ได้ ต่อไปมีงานทําแน่นอน ซึ่งผมเป็นคนผลักดันให้ CAT และ TOT ประมูล5G แข่งกับเอกชนเอง เหตุผลคือผมมองแล้วว่า 5G ไม่ใช่โทรศัพท์มือถือ และหากเราจะเอา 5G มาใช้ประโยชน์ด้านสังคม ให้คนแก่คนเฒ่าได้ใช้ และทุกครั้งต้องไปจ่าย operator ก็จะสิ้นเปลืองเงิน แต่หากมี 5G ของรัฐวิสาหกิจ สองหน่วยงานนี้สามารถทําแบบไม่เอากําไร เพื่อช่วยคนแก่ คนจน ภาคการเกษตร การศึกษา การรักษาพยาบาล การคมนาคม ทําทุกเรื่องที่เป็นการช่วยสังคมได้ นั่นคือสิ่งที่ผมมองเห็นว่า CAT และ TOT ต้องประมูลสู้ มีอีกหลายเรื่อง ที่กระทรวงทํา เราพยายามทําแบบใหม่ ทําเชิงรุก รับฟังพี่น้องประชาชนให้มาก และนํามาสู่การปฏิบัติ เราพยายามจะเลิกทําแบบ top down รูปแบบการทํางานจะเปลี่ยนรูปแบบใหม่ รับฟังความคิดเห็นเอกชนให้เยอะ รัฐต้องเป็นผู้สนับสนุนที่ดี ไม่ใช่สร้างกําแพงให้เอกชนสิ่งข้ามรั้วก่อนจะไปแข่งกับเอกชน เราต้องทลายกําแพงของรัฐเอง เพื่อสนับสนุนเอกชน ให้โตให้ได้ ****************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/26690
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมช.ศธ."พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์" ลงพื้นที่ ครม.สัญจร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ที่จังหวัดอุบลราชธานี
วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม 2561 รมช.ศธ."พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์" ลงพื้นที่ ครม.สัญจร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ที่จังหวัดอุบลราชธานี พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อติดตามการดําเนินงานของศูนย์เรียนรวมโรงเรียนบ้านยางน้อย (พรหมพิทยา) 23กรกฎาคม 2561 -พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการพร้อมด้วย พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อติดตามการดําเนินงานของศูนย์เรียนรวมโรงเรียนบ้านยางน้อย (พรหมพิทยา) และประชุมติดตามความก้าวหน้าการดําเนินงานของศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากําลังคนอาชีวศึกษา17ศูนย์ใน6ภาคทั่วประเทศ รวมทั้งเปิดศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากําลังคนอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง2ณ วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานีซึ่งเป็นภารกิจการลงพื้นที่ติดตามการดําเนินงานตามนโยบายรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่5/2561 (กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง2) 1.ติดตามการดําเนินงานของศูนย์เรียนรวม โรงเรียนบ้านยางน้อย (พรหมพิทยา) อ.เขื่องใน เวลา9.30น. พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศธ. เป็นประธานการประชุมติดตามการดําเนินงานของศูนย์เรียนรวมโรงเรียนบ้านยางน้อย (พรหมพิทยา) โดยมี น.ส.นิธินันท์ ศรีบุษยาสิทธิ์ ผอ.โรงเรียนบ้านยางน้อยฯ รวมทั้งผู้บริหารโรงเรียน-คณะครูจากศูนย์เรียนรวมทั้ง5แห่ง, พระครูสุขุมวรรโณภาส เจ้าคณะตําบลหัวดอนฯ, นายขวัญเรือน แสบงบาล รองผอ.สพป.อุบลราชธานี เขต1รวมทั้งผู้บริหารและข้าราชการทุกสังกัดในพื้นที่เข้าร่วม พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์กล่าวว่า ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามงานการดําเนินงานของโรงเรียนบ้านยางน้อย (พรหมพิทยา) ซึ่งเป็นต้นแบบโรงเรียนคุณธรรมนําวิชาการเฉลิมพระเกียรติ ของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่มาจากความร่วมมือของชุมชนเข้ามาช่วยบริหารจัดการในรูปแบบ "บวร" หรือ "บ้านวัดโรงเรียน" เพื่อร่วมแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจํานวนนักเรียนตั้งแต่60คนลงมา โดยใช้รูปแบบวิธีการเคลื่อนย้ายครูและนักเรียนจากโรงเรียนขนาดเล็กอีก4โรงเรียนมาเรียนรวมกันในโรงเรียนบ้านยางน้อย คือ บ้านโนนใหญ่ บ้านพับ บ้านก่อ และบ้านท่าวารี ต่อมาในปีการศึกษา2561คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้โรงเรียนดังกล่าวเข้าร่วมโครงการ "โรงเรียนประชารัฐจังหวัดอุบลราชธานี (โรงเรียนประจําพักนอน)" เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับนักเรียนที่ผู้ปกครองมีรายได้น้อย อยู่ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร โดยมีนักเรียนประจําพักนอน ตั้งแต่ชั้น ป.1-ม.3จํานวนทั้งสิ้น29คน การลงพื้นที่ติดตามครั้งนี้ จึงเป็นการติดตามการขับเคลื่อนงานตามนโยบายรัฐบาล (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี) ที่ต้องการให้โรงเรียนดังกล่าวเป็นต้นแบบการบริหารจัดการในรูปแบบ "บวร" และการรวมโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนประจําพักนอน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดีมีคุณธรรมนําวิชาการ ภายในปี2562ตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียน ในการนี้ ได้ขอให้ผู้แทนหน่วยงานต่าง ๆ จากกระทรวงศึกษาธิการให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ: น.ส.นิธินันท์ ศรีบุษยาสิทธิ์ ผอ.โรงเรียนบ้านยางน้อยฯกล่าวว่า ปัจจุบันโรงเรียนมีภารกิจจัดการศึกษาใน4รูปแบบ คือ การเป็นศูนย์เรียนรวมโรงเรียนประจําพักนอน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาฯ และโรงเรียนคุณธรรมนําวิชาการเฉลิมพระเกียรติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเป็นต้นแบบโรงเรียนประจําพักนอนเพื่อช่วยเด็กด้อยโอกาสในพื้นที่ให้มี "3ท" คือ ทักษะวิชาการ ทักษะอาชีพ และทักษะชีวิตรวมทั้งการเป็นศูนย์เรียนรวมที่ควบรวมผู้บริหาร ครู ทรัพยากร5โรงเรียนใกล้เคียงไว้ด้วยกัน ถือเป็นการแก้ปัญหาได้ดีมาก แต่ในขณะเดียวกันจําเป็นต้องมีการวางแผนบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรด้านต่าง ๆ ร่วมกันให้มีประสิทธิภาพ ทั้งจํานวนบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ รวมถึงควรจัดระบบการสรรหาผู้บริหารและครูที่เป็นมืออาชีพ มีความพร้อมที่จะทํางานหนัก เพราะภาระในโรงเรียนค่อนข้างหนักมากจากการที่ดําเนินงานในหลายรูปแบบ ดังนั้น หากส่วนกลางช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าหรือสนับสนุนสวัสดิการด้านต่าง ๆ แก่ข้าราชการและครูอัตราจ้างเพิ่มเติมกว่าโรงเรียนปกติ เช่น เพิ่มค่าตอบแทน จัดให้มีอัตราครูพักประจํา ฯลฯ ก็จะช่วยให้โรงเรียนบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น น.ส.อุษณีย์ ธโนศวรรย์ รองเลขาธิการ กพฐ.กล่าวว่า รูปแบบการบริหารจัดการของศูนย์เรียนรวมแห่งนี้ ถือเป็นนวัตกรรมการแก้ปัญหาที่สามารถนํานักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กมาเรียนรวมกัน ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ และทรัพยากรต่าง ๆ ได้ ซึ่งองค์ความรู้ในการบริหารจัดการถือเป็นเรื่องสําคัญสูงสุดที่หลายหน่วยงานต้องเข้ามาช่วยกันคิดและร่วมวางแผนบริหารจัดการ นายกฤตชัย อรุณรัตน์ เลขาธิการ กศน.กล่าวถึงรูปแบบการสรรหาผู้บริหารมืออาชีพ อาจทําในรูปแบบ "กลุ่มโรงเรียน" ที่สํานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติเคยดําเนินการมาก่อนในอดีต หรืออาจหมุนเวียนผู้บริหาร5โรงเรียนในการบริหารจัดการร่วมกัน ส่วนการประเมินสถานศึกษานั้นไม่ควรต่างคนต่างประเมิน ทั้งนี้ สํานักงาน กศน.พร้อมจะสนับสนุนสื่อติวฟรีเติมเต็มความรู้ มาช่วยสอนเสริมร่วมกับระบบDLIT/DLTV นายบุญส่ง จําปาโพธิ์ รองเลขาธิการ กอศ.กล่าวว่า อาชีวะกําลังเตรียมคนเข้าสู่ตลาดงานในพื้นที่ ซึ่งศูนย์เรียนรวมจะมีส่วนสนับสนุนการดําเนินงานด้านนี้ที่ถือเป็นนโยบายสําคัญของรัฐบาล นายเฉลิมชนม์ แน่นหนา ที่ปรึกษาด้านระบบการศึกษา สกศ.กล่าวว่า การเป็นศูนย์เรียนรวม สกศ.เคยมีการวิจัยมาแล้ว และพร้อมจะผลักดันรูปแบบบริหารจัดการให้เป็นโรงเรียนนิติบุคคลประเภทกลุ่ม เพื่อความมีอิสระในการบริหารจัดการร่วมกันให้มากขึ้น มีการจัดระบบบริหารงบประมาณแบบใหม่ เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ํา และช่วยเสริมสร้างความสามารถของผู้บริหารโรงเรียน น.ส.ชฎารัตน์ สิงหเดชากุล ผู้ช่วยเลขาธิการ กกอ.กล่าวว่า เห็นด้วยกับการเป็นบ้าน-วัด-โรงเรียน เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อปลูกฝังคุณธรรมของผู้เรียนในอนาคต โดยการอุดมศึกษาพร้อมสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยในพื้นที่ เช่น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เข้ามาช่วยส่งเสริมโดยเป็นมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงในวิชาการด้านต่าง ๆ เช่นSTEMภาษาอังกฤษ ทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่21 นายชาย มะลิลา และนายยศพล เวณุโกเศศ รองเลขาธิการ ก.ค.ศ.กล่าวโดยรวมถึงภาระงานของครูและผู้บริหารโรงเรียนนี้มีมากกว่าโรงเรียนปกติทั่วไป จึงเห็นว่าควรมีค่าตอบแทนมากกว่าครูทั่วไป หรือลูกจ้างควรได้รับสิทธิ์ในการสอบเข้าเป็นข้าราชการครูได้มากกว่า ซึ่งกรณีที่มีการให้สิทธิ์ต่างๆ เหล่านี้เพิ่มเติม ต้องนําเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา สําหรับกรอบอัตรากําลังของศูนย์เรียนรวมที่ต้องการเพิ่มนั้น ควรจะพิจารณากรอบอัตรากําลังในรูปแบบการศึกษาพิเศษ นายประยูร หรั่งทรัพย์ ผชช.เฉพาะด้านส่งเสริมมาตรฐานการศึกษา สช.กล่าวว่า การศึกษาเอกชนนอกระบบ มีการจัดกิจกรรมเสริมทักษะและความถนัดเพิ่มเติมให้แก่ผู้เรียนหลายด้าน เช่น ช่างประปา ช่างรองเท้า โดยจัดหลักสูตรให้ผู้เรียนปีละ80ชั่วโมง สช.พร้อมจะสนับสนุนด้านนี้ให้แก่ศูนย์เรียนรวม เพื่อให้เด็กที่จบออกไปมีอาชีพติดตัว นายธนุ วงศ์จินดา ผอ.สํานักนโยบายและแผน สพฐ.กล่าวว่า แม้5โรงเรียนรวมกลุ่มเป็นศูนย์เรียนรวม แต่ความเป็นนิติบุคคลแต่ละแห่งยังมีอยู่ รวมทั้งการประเมินสถานศึกษาแต่ละแห่งด้วย ซึ่งต้องให้คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดพิจารณา รวมทั้งการจัดสรรและโอนงบประมาณยังคงโอนไปที่โรงเรียนแต่ละแห่ง แต่หากมีการควบหรือยุบรวมกันได้จะสะดวกต่อการบริหารงบประมาณมาก สําหรับการโอนงบประมาณให้แก่โรงเรียนของศูนย์เรียนรวมนั้น สพฐ.ได้จัดสรรงบประมาณค่าสาธารณูปโภค ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าอาหารรวมมื้อเช้าเย็นมาให้เรียบร้อยแล้ว พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษา รมช.ศธ.กล่าวว่า ฝากให้พิจารณาหลักเกณฑ์และวิธีการในการคัดเลือกผู้บริหารของศูนย์เรียนรวมให้เกิดการยอมรับกัน เพื่อร่วมใจกันของการบริหารจัดการ พ.อ.ขจรศักดิ์ ไทยประยูร คณะทํางาน รมช.ศธ.กล่าวว่า การเรียนรวมของ5โรงเรียน ระยะสั้นอาจเป็นไปในรูปแบบบอร์ดมาสร้างกติกาและหารือร่วมกัน มีเจ้าภาพเข้ามาดูแลชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนในการบริหารจัดการ ในช่วงท้าย พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวสรุปว่า จากการที่ได้รับฟังและประชุมร่วมกัน ต้องขอชื่นชมบุคลากรของโรงเรียนและศูนย์เรียนรวมที่มีความอดทน เสียสละในการดําเนินการตามนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการให้โรงเรียนมีความร่วมมือกับท้องถิ่นและภาคเอกชน ทั้งในรูปแบบความร่วมมือ "บวร" และโรงเรียนประชารัฐ (โรงเรียนประจําพักนอน) อันจะช่วยสร้างโอกาสและความเสมอภาคแก่เด็กด้อยโอกาส อย่างไรก็ตาม โรงเรียนยังคงมีปัญหาความต้องการในหลายด้าน เช่น งบประมาณ บุคลากร อาคารสถานที่ บ้านพักนักเรียน ถังเก็บน้ํา ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ฯลฯ จึงขอให้หน่วยงานในส่วนกลางร่วมกันส่งเสริม สนับสนุน และวางแผนพัฒนาศูนย์เรียนรวมโรงเรียนบ้านยางน้อยอย่างใกล้ชิด กําหนดแผนการแก้ไขปัญหาและพัฒนาให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมภายใน1เดือน 2.ประชุมติดตามความก้าวหน้าการดําเนินงานของศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากําลังคนอาชีวศึกษา17ศูนย์ใน6ภาคทั่วประเทศ ที่วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี อ.เมืองอุบลราชธานี พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์กล่าวภายหลังการประชุมว่า การจัดตั้งศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากําลังคนอาชีวศึกษาริเริ่มจากข้อสั่งการของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในการวางแผนผลิตและพัฒนากําลังคนด้านอาชีวศึกษาในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจึงได้ริเริ่มจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวในพื้นที่ EEC (ภาคตะวันออก ปัจจุบันศูนย์หลักตั้งอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคบางแสน จ.ชลบุรี) ก่อนเป็นลําดับแรก และได้ขยายไปยังเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ภาคใต้ชายแดน ศูนย์หลักตั้งอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกปัตตานี) จนประสบความสําเร็จ จากนั้นจึงขยายไปยังภาคอื่น ๆ คือ ภาคเหนือ (ศูนย์หลักตั้งอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(ศูนย์หลักตั้งอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด)ภาคกลาง(ศูนย์หลักตั้งอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ)และภาคใต้(ศูนย์หลักตั้งอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต) สําหรับการประชุมติดตามความก้าวหน้าในครั้งนี้ได้รับฟังความก้าวหน้าจากผู้แทนศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากําลังคนอาชีวศึกษา17ศูนย์ทั่วประเทศ ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ แต่ต้องการให้ดูรายละเอียดมากขึ้นเพื่อนําไปสู่การวางแผนการผลิตกําลังคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศอย่างแท้จริง ส่งผลให้เกิดความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ในกลไกประชารัฐและทวิภาคีโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดทําระบบฐานข้อมูลกลาง (BigDataSystem) ที่ต้องการให้ไปปรับปรุงและจัดระเบียบข้อมูลระบบให้เกิดความเข้มแข็งบนพื้นฐานที่แน่นขึ้น สรุปรวมเป็นฐานข้อมูลภาพรวมของการวางแผนกําลังคนอาชีวศึกษาระดับประเทศ เพื่อนําเสนอเป็นรายงานให้คณะรัฐมนตรีรับทราบในโอกาสต่อไป โดยขอให้ดําเนินการเสร็จสิ้นภายใน1เดือน สิ่งสําคัญอีกเรื่องคือให้อาชีวะประเมินสถานศึกษาทั่วประเทศทั้งระดับดีเยี่ยม พอใช้ หรือปรับปรุง เพื่อวางแผนพัฒนายกระดับสถานศึกษากลุ่มที่ต้องปรับปรุงให้มีคุณภาพสูงขึ้น อันจะส่งผลถึงสมรรถนะของผู้เรียนอาชีวศึกษาในภาพรวมของประเทศต่อไป จากนั้น พล.อ.สุรเชษฐ์ เป็นประธานเปิดศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากําลังคนอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง2(NEEC) ณ วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี Writtenbyบัลลังก์ โรหิตเสถียร Photo Creditสุรัตน์ ภู่สุวรรณ, ปกรณ์ เรืองยิ่ง Editorบัลลังก์ โรหิตเสถียร
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมช.ศธ."พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์" ลงพื้นที่ ครม.สัญจร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ที่จังหวัดอุบลราชธานี วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม 2561 รมช.ศธ."พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์" ลงพื้นที่ ครม.สัญจร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ที่จังหวัดอุบลราชธานี พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อติดตามการดําเนินงานของศูนย์เรียนรวมโรงเรียนบ้านยางน้อย (พรหมพิทยา) 23กรกฎาคม 2561 -พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการพร้อมด้วย พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อติดตามการดําเนินงานของศูนย์เรียนรวมโรงเรียนบ้านยางน้อย (พรหมพิทยา) และประชุมติดตามความก้าวหน้าการดําเนินงานของศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากําลังคนอาชีวศึกษา17ศูนย์ใน6ภาคทั่วประเทศ รวมทั้งเปิดศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากําลังคนอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง2ณ วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานีซึ่งเป็นภารกิจการลงพื้นที่ติดตามการดําเนินงานตามนโยบายรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่5/2561 (กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง2) 1.ติดตามการดําเนินงานของศูนย์เรียนรวม โรงเรียนบ้านยางน้อย (พรหมพิทยา) อ.เขื่องใน เวลา9.30น. พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศธ. เป็นประธานการประชุมติดตามการดําเนินงานของศูนย์เรียนรวมโรงเรียนบ้านยางน้อย (พรหมพิทยา) โดยมี น.ส.นิธินันท์ ศรีบุษยาสิทธิ์ ผอ.โรงเรียนบ้านยางน้อยฯ รวมทั้งผู้บริหารโรงเรียน-คณะครูจากศูนย์เรียนรวมทั้ง5แห่ง, พระครูสุขุมวรรโณภาส เจ้าคณะตําบลหัวดอนฯ, นายขวัญเรือน แสบงบาล รองผอ.สพป.อุบลราชธานี เขต1รวมทั้งผู้บริหารและข้าราชการทุกสังกัดในพื้นที่เข้าร่วม พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์กล่าวว่า ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามงานการดําเนินงานของโรงเรียนบ้านยางน้อย (พรหมพิทยา) ซึ่งเป็นต้นแบบโรงเรียนคุณธรรมนําวิชาการเฉลิมพระเกียรติ ของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่มาจากความร่วมมือของชุมชนเข้ามาช่วยบริหารจัดการในรูปแบบ "บวร" หรือ "บ้านวัดโรงเรียน" เพื่อร่วมแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจํานวนนักเรียนตั้งแต่60คนลงมา โดยใช้รูปแบบวิธีการเคลื่อนย้ายครูและนักเรียนจากโรงเรียนขนาดเล็กอีก4โรงเรียนมาเรียนรวมกันในโรงเรียนบ้านยางน้อย คือ บ้านโนนใหญ่ บ้านพับ บ้านก่อ และบ้านท่าวารี ต่อมาในปีการศึกษา2561คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้โรงเรียนดังกล่าวเข้าร่วมโครงการ "โรงเรียนประชารัฐจังหวัดอุบลราชธานี (โรงเรียนประจําพักนอน)" เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับนักเรียนที่ผู้ปกครองมีรายได้น้อย อยู่ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร โดยมีนักเรียนประจําพักนอน ตั้งแต่ชั้น ป.1-ม.3จํานวนทั้งสิ้น29คน การลงพื้นที่ติดตามครั้งนี้ จึงเป็นการติดตามการขับเคลื่อนงานตามนโยบายรัฐบาล (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี) ที่ต้องการให้โรงเรียนดังกล่าวเป็นต้นแบบการบริหารจัดการในรูปแบบ "บวร" และการรวมโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนประจําพักนอน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดีมีคุณธรรมนําวิชาการ ภายในปี2562ตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียน ในการนี้ ได้ขอให้ผู้แทนหน่วยงานต่าง ๆ จากกระทรวงศึกษาธิการให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ: น.ส.นิธินันท์ ศรีบุษยาสิทธิ์ ผอ.โรงเรียนบ้านยางน้อยฯกล่าวว่า ปัจจุบันโรงเรียนมีภารกิจจัดการศึกษาใน4รูปแบบ คือ การเป็นศูนย์เรียนรวมโรงเรียนประจําพักนอน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาฯ และโรงเรียนคุณธรรมนําวิชาการเฉลิมพระเกียรติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเป็นต้นแบบโรงเรียนประจําพักนอนเพื่อช่วยเด็กด้อยโอกาสในพื้นที่ให้มี "3ท" คือ ทักษะวิชาการ ทักษะอาชีพ และทักษะชีวิตรวมทั้งการเป็นศูนย์เรียนรวมที่ควบรวมผู้บริหาร ครู ทรัพยากร5โรงเรียนใกล้เคียงไว้ด้วยกัน ถือเป็นการแก้ปัญหาได้ดีมาก แต่ในขณะเดียวกันจําเป็นต้องมีการวางแผนบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรด้านต่าง ๆ ร่วมกันให้มีประสิทธิภาพ ทั้งจํานวนบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ รวมถึงควรจัดระบบการสรรหาผู้บริหารและครูที่เป็นมืออาชีพ มีความพร้อมที่จะทํางานหนัก เพราะภาระในโรงเรียนค่อนข้างหนักมากจากการที่ดําเนินงานในหลายรูปแบบ ดังนั้น หากส่วนกลางช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าหรือสนับสนุนสวัสดิการด้านต่าง ๆ แก่ข้าราชการและครูอัตราจ้างเพิ่มเติมกว่าโรงเรียนปกติ เช่น เพิ่มค่าตอบแทน จัดให้มีอัตราครูพักประจํา ฯลฯ ก็จะช่วยให้โรงเรียนบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น น.ส.อุษณีย์ ธโนศวรรย์ รองเลขาธิการ กพฐ.กล่าวว่า รูปแบบการบริหารจัดการของศูนย์เรียนรวมแห่งนี้ ถือเป็นนวัตกรรมการแก้ปัญหาที่สามารถนํานักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กมาเรียนรวมกัน ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ และทรัพยากรต่าง ๆ ได้ ซึ่งองค์ความรู้ในการบริหารจัดการถือเป็นเรื่องสําคัญสูงสุดที่หลายหน่วยงานต้องเข้ามาช่วยกันคิดและร่วมวางแผนบริหารจัดการ นายกฤตชัย อรุณรัตน์ เลขาธิการ กศน.กล่าวถึงรูปแบบการสรรหาผู้บริหารมืออาชีพ อาจทําในรูปแบบ "กลุ่มโรงเรียน" ที่สํานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติเคยดําเนินการมาก่อนในอดีต หรืออาจหมุนเวียนผู้บริหาร5โรงเรียนในการบริหารจัดการร่วมกัน ส่วนการประเมินสถานศึกษานั้นไม่ควรต่างคนต่างประเมิน ทั้งนี้ สํานักงาน กศน.พร้อมจะสนับสนุนสื่อติวฟรีเติมเต็มความรู้ มาช่วยสอนเสริมร่วมกับระบบDLIT/DLTV นายบุญส่ง จําปาโพธิ์ รองเลขาธิการ กอศ.กล่าวว่า อาชีวะกําลังเตรียมคนเข้าสู่ตลาดงานในพื้นที่ ซึ่งศูนย์เรียนรวมจะมีส่วนสนับสนุนการดําเนินงานด้านนี้ที่ถือเป็นนโยบายสําคัญของรัฐบาล นายเฉลิมชนม์ แน่นหนา ที่ปรึกษาด้านระบบการศึกษา สกศ.กล่าวว่า การเป็นศูนย์เรียนรวม สกศ.เคยมีการวิจัยมาแล้ว และพร้อมจะผลักดันรูปแบบบริหารจัดการให้เป็นโรงเรียนนิติบุคคลประเภทกลุ่ม เพื่อความมีอิสระในการบริหารจัดการร่วมกันให้มากขึ้น มีการจัดระบบบริหารงบประมาณแบบใหม่ เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ํา และช่วยเสริมสร้างความสามารถของผู้บริหารโรงเรียน น.ส.ชฎารัตน์ สิงหเดชากุล ผู้ช่วยเลขาธิการ กกอ.กล่าวว่า เห็นด้วยกับการเป็นบ้าน-วัด-โรงเรียน เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อปลูกฝังคุณธรรมของผู้เรียนในอนาคต โดยการอุดมศึกษาพร้อมสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยในพื้นที่ เช่น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เข้ามาช่วยส่งเสริมโดยเป็นมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงในวิชาการด้านต่าง ๆ เช่นSTEMภาษาอังกฤษ ทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่21 นายชาย มะลิลา และนายยศพล เวณุโกเศศ รองเลขาธิการ ก.ค.ศ.กล่าวโดยรวมถึงภาระงานของครูและผู้บริหารโรงเรียนนี้มีมากกว่าโรงเรียนปกติทั่วไป จึงเห็นว่าควรมีค่าตอบแทนมากกว่าครูทั่วไป หรือลูกจ้างควรได้รับสิทธิ์ในการสอบเข้าเป็นข้าราชการครูได้มากกว่า ซึ่งกรณีที่มีการให้สิทธิ์ต่างๆ เหล่านี้เพิ่มเติม ต้องนําเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา สําหรับกรอบอัตรากําลังของศูนย์เรียนรวมที่ต้องการเพิ่มนั้น ควรจะพิจารณากรอบอัตรากําลังในรูปแบบการศึกษาพิเศษ นายประยูร หรั่งทรัพย์ ผชช.เฉพาะด้านส่งเสริมมาตรฐานการศึกษา สช.กล่าวว่า การศึกษาเอกชนนอกระบบ มีการจัดกิจกรรมเสริมทักษะและความถนัดเพิ่มเติมให้แก่ผู้เรียนหลายด้าน เช่น ช่างประปา ช่างรองเท้า โดยจัดหลักสูตรให้ผู้เรียนปีละ80ชั่วโมง สช.พร้อมจะสนับสนุนด้านนี้ให้แก่ศูนย์เรียนรวม เพื่อให้เด็กที่จบออกไปมีอาชีพติดตัว นายธนุ วงศ์จินดา ผอ.สํานักนโยบายและแผน สพฐ.กล่าวว่า แม้5โรงเรียนรวมกลุ่มเป็นศูนย์เรียนรวม แต่ความเป็นนิติบุคคลแต่ละแห่งยังมีอยู่ รวมทั้งการประเมินสถานศึกษาแต่ละแห่งด้วย ซึ่งต้องให้คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดพิจารณา รวมทั้งการจัดสรรและโอนงบประมาณยังคงโอนไปที่โรงเรียนแต่ละแห่ง แต่หากมีการควบหรือยุบรวมกันได้จะสะดวกต่อการบริหารงบประมาณมาก สําหรับการโอนงบประมาณให้แก่โรงเรียนของศูนย์เรียนรวมนั้น สพฐ.ได้จัดสรรงบประมาณค่าสาธารณูปโภค ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าอาหารรวมมื้อเช้าเย็นมาให้เรียบร้อยแล้ว พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษา รมช.ศธ.กล่าวว่า ฝากให้พิจารณาหลักเกณฑ์และวิธีการในการคัดเลือกผู้บริหารของศูนย์เรียนรวมให้เกิดการยอมรับกัน เพื่อร่วมใจกันของการบริหารจัดการ พ.อ.ขจรศักดิ์ ไทยประยูร คณะทํางาน รมช.ศธ.กล่าวว่า การเรียนรวมของ5โรงเรียน ระยะสั้นอาจเป็นไปในรูปแบบบอร์ดมาสร้างกติกาและหารือร่วมกัน มีเจ้าภาพเข้ามาดูแลชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนในการบริหารจัดการ ในช่วงท้าย พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวสรุปว่า จากการที่ได้รับฟังและประชุมร่วมกัน ต้องขอชื่นชมบุคลากรของโรงเรียนและศูนย์เรียนรวมที่มีความอดทน เสียสละในการดําเนินการตามนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการให้โรงเรียนมีความร่วมมือกับท้องถิ่นและภาคเอกชน ทั้งในรูปแบบความร่วมมือ "บวร" และโรงเรียนประชารัฐ (โรงเรียนประจําพักนอน) อันจะช่วยสร้างโอกาสและความเสมอภาคแก่เด็กด้อยโอกาส อย่างไรก็ตาม โรงเรียนยังคงมีปัญหาความต้องการในหลายด้าน เช่น งบประมาณ บุคลากร อาคารสถานที่ บ้านพักนักเรียน ถังเก็บน้ํา ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ฯลฯ จึงขอให้หน่วยงานในส่วนกลางร่วมกันส่งเสริม สนับสนุน และวางแผนพัฒนาศูนย์เรียนรวมโรงเรียนบ้านยางน้อยอย่างใกล้ชิด กําหนดแผนการแก้ไขปัญหาและพัฒนาให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมภายใน1เดือน 2.ประชุมติดตามความก้าวหน้าการดําเนินงานของศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากําลังคนอาชีวศึกษา17ศูนย์ใน6ภาคทั่วประเทศ ที่วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี อ.เมืองอุบลราชธานี พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์กล่าวภายหลังการประชุมว่า การจัดตั้งศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากําลังคนอาชีวศึกษาริเริ่มจากข้อสั่งการของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในการวางแผนผลิตและพัฒนากําลังคนด้านอาชีวศึกษาในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจึงได้ริเริ่มจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวในพื้นที่ EEC (ภาคตะวันออก ปัจจุบันศูนย์หลักตั้งอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคบางแสน จ.ชลบุรี) ก่อนเป็นลําดับแรก และได้ขยายไปยังเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ภาคใต้ชายแดน ศูนย์หลักตั้งอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกปัตตานี) จนประสบความสําเร็จ จากนั้นจึงขยายไปยังภาคอื่น ๆ คือ ภาคเหนือ (ศูนย์หลักตั้งอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(ศูนย์หลักตั้งอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด)ภาคกลาง(ศูนย์หลักตั้งอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ)และภาคใต้(ศูนย์หลักตั้งอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต) สําหรับการประชุมติดตามความก้าวหน้าในครั้งนี้ได้รับฟังความก้าวหน้าจากผู้แทนศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากําลังคนอาชีวศึกษา17ศูนย์ทั่วประเทศ ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ แต่ต้องการให้ดูรายละเอียดมากขึ้นเพื่อนําไปสู่การวางแผนการผลิตกําลังคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศอย่างแท้จริง ส่งผลให้เกิดความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ในกลไกประชารัฐและทวิภาคีโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดทําระบบฐานข้อมูลกลาง (BigDataSystem) ที่ต้องการให้ไปปรับปรุงและจัดระเบียบข้อมูลระบบให้เกิดความเข้มแข็งบนพื้นฐานที่แน่นขึ้น สรุปรวมเป็นฐานข้อมูลภาพรวมของการวางแผนกําลังคนอาชีวศึกษาระดับประเทศ เพื่อนําเสนอเป็นรายงานให้คณะรัฐมนตรีรับทราบในโอกาสต่อไป โดยขอให้ดําเนินการเสร็จสิ้นภายใน1เดือน สิ่งสําคัญอีกเรื่องคือให้อาชีวะประเมินสถานศึกษาทั่วประเทศทั้งระดับดีเยี่ยม พอใช้ หรือปรับปรุง เพื่อวางแผนพัฒนายกระดับสถานศึกษากลุ่มที่ต้องปรับปรุงให้มีคุณภาพสูงขึ้น อันจะส่งผลถึงสมรรถนะของผู้เรียนอาชีวศึกษาในภาพรวมของประเทศต่อไป จากนั้น พล.อ.สุรเชษฐ์ เป็นประธานเปิดศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากําลังคนอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง2(NEEC) ณ วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี Writtenbyบัลลังก์ โรหิตเสถียร Photo Creditสุรัตน์ ภู่สุวรรณ, ปกรณ์ เรืองยิ่ง Editorบัลลังก์ โรหิตเสถียร
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/14073
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาล พร้อมช่วยเหลือประชาชนและกลุ่มเกษตรกรจากหนี้นอกระบบ โดยให้เห็นผลชัดเจนภายใน 1 เดือน
วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม 2561 รัฐบาล พร้อมช่วยเหลือประชาชนและกลุ่มเกษตรกรจากหนี้นอกระบบ โดยให้เห็นผลชัดเจนภายใน 1 เดือน รัฐบาล พร้อมช่วยเหลือประชาชนและกลุ่มเกษตรกรจากหนี้นอกระบบ โดยให้เห็นผลชัดเจนภายใน 1 เดือน วันนี้ (28 พ.ค. 61) เวลา 14.00 น. ณ ศูนย์แถลงข่าว ตึกนารีสโมสร ทําเนียบรัฐบาล ภายหลังจากเลิกการประชุมคณะรัฐมนตรี พลโท สรรเสริญ แก้วกําเนิด โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีแถลงข่าว สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ดังนี้ ประเด็น เรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความห่วงใย โดยมอบให้ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ดําเนินการเรื่องดังกล่าวโดยเร็ว ซึ่ง รองนายกรัฐมนตรีได้วางแนวทางการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน จากเดิมกําหนดไว้ 6 เดือน โดยมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด พร้อมด้วยส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและเจ้าหน้าที่ คสช. พร้อม กอ.รมน. จังหวัด จัดเตรียมข้อมูลผู้ที่เป็นหนี้นอกระบบทั้งข้อมูลเก่าและข้อมูลใหม่ในการให้ความช่วยเหลือ ซึ่งมีทั้งประชาชนทั่วไปและกลุ่มเกษตรกรที่ไปยืมเงินนอกระบบจากกลุ่มโรงสี โดยพบข้อเท็จจริงว่า มีการรวมหักเงินพร้อมกันทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเงินก้อนเดียวกัน โดยต้องจ่ายเงินเป็นรายเดือน ดังนั้น เพื่อให้การแก้ไขปัญหาดังกล่าวดียิ่งขึ้น จึงเห็นควรให้เจ้าหน้าที่ฯ ไปช่วยเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยให้เก็บเงินคืนแก่โรงสีอย่างเหมาะสมและสมเหตุสมผล โดยนําเข้าสู่ระบบที่ถูกต้อง เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรสามารถดํารงชีพอยู่ได้ และมีเงินเหลือพอไปต่อยอดเพื่องลงทุนทําการเกษตรในคราวต่อไป อีกทั้งมีโอกาสพัฒนาคุณภาพชีวิตของครอบครัวไปด้วยในคราวเดียวกัน ประเด็น เรื่องการจ้างพนักงานจ้างเหมาจากเงินนอกงบประมาณ โดยเรื่องนี้ ทางตัวแทนกระทรวงการคลังได้ชี้แจงต่อที่ประชุมคณรัฐมนตรีว่า กรณีหน่วยงานใด มีความประสงค์จะรับพนักงานจ้างเหมาจากเงินนอกงบประมาณ สามารถดําเนินการได้โดยต้องทําความตกลงกับกระทรวงการคลังก่อน ทั้งนี้ สืบเนื่องจากที่ผ่านมานั้น มีหลายหน่วยงานที่มีการจ้างพนักงานจ้างเหมาหรือลูกจ้างชั่วคราว จากเงินนอกงบประมาณ โดยไม่ได้ทําความตกลงหรือแจ้งให้กระทรวงการคลังทราบก่อนดําเนินการ ซึ่งส่งผลทําให้เกิดปัญหาด้านการจัดระเบียบการรับพนักงานฯ เข้าทํางานของหน่วยงานราชการที่มีผลกระทบต่อการบริหารจัดการกําลังคนภาครัฐในภาพรวม อย่างไรก็ตาม สําหรับหน่วยงานราชการที่รับสมัครพนักงานจ้างเหมาหรือลูกจ้างชั่วคราวจากเงินนอกงบประมาณเข้าไปทํางานแล้วก็ให้ทํางานต่อไปจนหมดสัญญาจ้าง จากนั้นให้ยุบเลิกตําแหน่งไปด้วย แต่หากจําเป็นจะต้องจ้างพนักงานดังกล่าวต่อไปหลังจากหมดสัญญาจ้างแล้ว ต้องทําความตกลงกับกระทรวงการคลังก่อน ทั้งนี้จะมีหนังสือเวียนให้ทุกหน่วยงานราชการถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดตามระเบียบฯ ต่อไป ................................................................................ กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาล พร้อมช่วยเหลือประชาชนและกลุ่มเกษตรกรจากหนี้นอกระบบ โดยให้เห็นผลชัดเจนภายใน 1 เดือน วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม 2561 รัฐบาล พร้อมช่วยเหลือประชาชนและกลุ่มเกษตรกรจากหนี้นอกระบบ โดยให้เห็นผลชัดเจนภายใน 1 เดือน รัฐบาล พร้อมช่วยเหลือประชาชนและกลุ่มเกษตรกรจากหนี้นอกระบบ โดยให้เห็นผลชัดเจนภายใน 1 เดือน วันนี้ (28 พ.ค. 61) เวลา 14.00 น. ณ ศูนย์แถลงข่าว ตึกนารีสโมสร ทําเนียบรัฐบาล ภายหลังจากเลิกการประชุมคณะรัฐมนตรี พลโท สรรเสริญ แก้วกําเนิด โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีแถลงข่าว สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ดังนี้ ประเด็น เรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความห่วงใย โดยมอบให้ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ดําเนินการเรื่องดังกล่าวโดยเร็ว ซึ่ง รองนายกรัฐมนตรีได้วางแนวทางการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน จากเดิมกําหนดไว้ 6 เดือน โดยมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด พร้อมด้วยส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและเจ้าหน้าที่ คสช. พร้อม กอ.รมน. จังหวัด จัดเตรียมข้อมูลผู้ที่เป็นหนี้นอกระบบทั้งข้อมูลเก่าและข้อมูลใหม่ในการให้ความช่วยเหลือ ซึ่งมีทั้งประชาชนทั่วไปและกลุ่มเกษตรกรที่ไปยืมเงินนอกระบบจากกลุ่มโรงสี โดยพบข้อเท็จจริงว่า มีการรวมหักเงินพร้อมกันทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเงินก้อนเดียวกัน โดยต้องจ่ายเงินเป็นรายเดือน ดังนั้น เพื่อให้การแก้ไขปัญหาดังกล่าวดียิ่งขึ้น จึงเห็นควรให้เจ้าหน้าที่ฯ ไปช่วยเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยให้เก็บเงินคืนแก่โรงสีอย่างเหมาะสมและสมเหตุสมผล โดยนําเข้าสู่ระบบที่ถูกต้อง เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรสามารถดํารงชีพอยู่ได้ และมีเงินเหลือพอไปต่อยอดเพื่องลงทุนทําการเกษตรในคราวต่อไป อีกทั้งมีโอกาสพัฒนาคุณภาพชีวิตของครอบครัวไปด้วยในคราวเดียวกัน ประเด็น เรื่องการจ้างพนักงานจ้างเหมาจากเงินนอกงบประมาณ โดยเรื่องนี้ ทางตัวแทนกระทรวงการคลังได้ชี้แจงต่อที่ประชุมคณรัฐมนตรีว่า กรณีหน่วยงานใด มีความประสงค์จะรับพนักงานจ้างเหมาจากเงินนอกงบประมาณ สามารถดําเนินการได้โดยต้องทําความตกลงกับกระทรวงการคลังก่อน ทั้งนี้ สืบเนื่องจากที่ผ่านมานั้น มีหลายหน่วยงานที่มีการจ้างพนักงานจ้างเหมาหรือลูกจ้างชั่วคราว จากเงินนอกงบประมาณ โดยไม่ได้ทําความตกลงหรือแจ้งให้กระทรวงการคลังทราบก่อนดําเนินการ ซึ่งส่งผลทําให้เกิดปัญหาด้านการจัดระเบียบการรับพนักงานฯ เข้าทํางานของหน่วยงานราชการที่มีผลกระทบต่อการบริหารจัดการกําลังคนภาครัฐในภาพรวม อย่างไรก็ตาม สําหรับหน่วยงานราชการที่รับสมัครพนักงานจ้างเหมาหรือลูกจ้างชั่วคราวจากเงินนอกงบประมาณเข้าไปทํางานแล้วก็ให้ทํางานต่อไปจนหมดสัญญาจ้าง จากนั้นให้ยุบเลิกตําแหน่งไปด้วย แต่หากจําเป็นจะต้องจ้างพนักงานดังกล่าวต่อไปหลังจากหมดสัญญาจ้างแล้ว ต้องทําความตกลงกับกระทรวงการคลังก่อน ทั้งนี้จะมีหนังสือเวียนให้ทุกหน่วยงานราชการถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดตามระเบียบฯ ต่อไป ................................................................................ กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/12606
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไทยผลิตชุด PPE รุ่น “เราสู้” ใช้เองประหยัด 1 หมื่นล้านบาท [กระทรวงสาธารณสุข]
วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม 2563 ไทยผลิตชุด PPE รุ่น “เราสู้” ใช้เองประหยัด 1 หมื่นล้านบาท [กระทรวงสาธารณสุข] ไทยผลิตชุด PPE รุ่น “เราสู้” ใช้เองประหยัด 1 หมื่นล้านบาท “อนุทิน” เปิดตัวชุด PPE (Isolation Gown) รุ่น “เราสู้” นวัตกรรมฝีมือคนไทยและความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนในอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย ผ่านการรับรองจากอย. และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แล้ว ใช้ซ้ําได้ถึง 20 ครั้ง ช่วยประหยัดงบประมาณจัดซื้อกว่า 1 หมื่นล้านบาท เตรียมจัดส่งล็อตแรก 44,000 ชุด ภายในพ.ค.นี้ วันนี้ (8 พฤษภาคม 2563) ที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดีและน่าภูมิใจที่ขณะนี้ประเทศไทยสามารถสร้างนวัตกรรมชุด PPE (Isolation Gown) รุ่น “เราสู้” ขึ้นมาใช้ได้เอง เป็นความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา, องค์การเภสัชกรรม, กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, กรมวิทยาศาสตร์บริการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม, สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ผู้ประกอบการภาคเอกชน 13 แห่ง จากเดิมในช่วงแรกของการระบาดมีความกดดันอย่างมาก ใช้ความพยายามทุกด้านเพื่อจัดหาชุด PPE อุปกรณ์ป้องกันทางการแพทย์ เวชภัณฑ์ ให้เพียงพอเพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 นายอนุทินกล่าวต่อว่า ผู้บริหารทุกคนในกระทรวงสาธารณสุข ใจสู้ มีความเป็นเอกภาพ จึงหาวิธีบริหารจัดการให้ผ่านอุปสรรคทุกอย่างให้ได้ เดิมคาดการณ์ว่าจะต้องใช้ชุด PPE ถึง 20 ล้านชุดเพื่อรับมือการระบาดของโควิด 19 มาวันนี้สามารถผลิตชุด PPE รุ่น “เราสู้” ขึ้นมาเอง ประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อจากต่างประเทศได้ถึง 10,000 ล้านบาท เงินที่ประหยัดได้เทียบกับการมีงบประมาณที่จะนําไปสร้างโรงงานผลิตวัคซีน อีกทั้งชุดที่ผลิตขึ้นใช้ซ้ําได้ถึง 20 ครั้ง ถ้าผลิต 10,000 ชุดจะทดแทนการใช้จํานวน 200,000 ชุดจากการนําเข้า จึงขอให้มั่นใจเพราะผ่านการรับรองมาตรฐานจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ อย. แล้ว นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า นวัตกรรมนี้แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือกันเพื่อก้าวข้ามอุปสรรคในการผลิตชุด PPE และยังสะท้อนให้เห็นความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมการแพทย์ในประเทศไทย ที่เป็นก้าวแรกสู่การเริ่มต้นผลิตอุปกรณ์การแพทย์ที่มีมาตรฐาน ใช้เอง และมีความพร้อมรองรับการใช้งานได้อย่างเพียงพอ ส่งผลให้ขวัญและกําลังใจในการทําหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ด่านหน้าดีขึ้นไปด้วย การสู้ศึกโควิด 19 มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นพ.โสภณ เมฆธน ประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวว่า ชุด PPE (Isolation Gown) รุ่น “เราสู้” มีการทดสอบมาตรฐาน 3 เรื่องสําคัญ ประกอบด้วย 1.เนื้อผ้า ต้องทนแรงดันน้ําได้ในระดับ 2 ระบายอากาศได้ดีและกันน้ําได้ด้วย ซึ่งได้ทดสอบจนผ่านมาตรฐาน 2.ตะเข็บรอยต่อ ซึ่งได้ทดสอบหลากหลายรูปแบบจนผ่านมาตรฐาน และ 3.การซักฆ่าเชื้อทําความสะอาดและใช้ซ้ําให้ได้ 20 ครั้ง จนมาวันนี้ อภ.ได้ลงจัดจ้าง 13 บริษัท ดําเนินการผลิตและจัดส่งจํานวน 44,000 ชุดภายในเดือนพฤษภาคมนี้ ในราคาชุดละ 500 บาท เมื่อคิดเฉลี่ยการใช้งานต่อชุดใช้ได้ 20 ครั้ง เฉลี่ยค่าใช้จ่ายต่อครั้งอยู่ที่ 25 บาท หากซื้อจากต่างประเทศเฉลี่ยการใช้ต่อครั้ง 100 บาท นอกจากจะลดการใช้แล้วยังช่วยลดปริมาณขยะ เงินไม่รั่วไหลไปต่างประเทศและยังช่วยให้เกิดการจ้างงานในประเทศตามมาอีกด้วย *********************************** 8 พฤษภาคม 2563 *****************************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไทยผลิตชุด PPE รุ่น “เราสู้” ใช้เองประหยัด 1 หมื่นล้านบาท [กระทรวงสาธารณสุข] วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม 2563 ไทยผลิตชุด PPE รุ่น “เราสู้” ใช้เองประหยัด 1 หมื่นล้านบาท [กระทรวงสาธารณสุข] ไทยผลิตชุด PPE รุ่น “เราสู้” ใช้เองประหยัด 1 หมื่นล้านบาท “อนุทิน” เปิดตัวชุด PPE (Isolation Gown) รุ่น “เราสู้” นวัตกรรมฝีมือคนไทยและความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนในอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย ผ่านการรับรองจากอย. และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แล้ว ใช้ซ้ําได้ถึง 20 ครั้ง ช่วยประหยัดงบประมาณจัดซื้อกว่า 1 หมื่นล้านบาท เตรียมจัดส่งล็อตแรก 44,000 ชุด ภายในพ.ค.นี้ วันนี้ (8 พฤษภาคม 2563) ที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดีและน่าภูมิใจที่ขณะนี้ประเทศไทยสามารถสร้างนวัตกรรมชุด PPE (Isolation Gown) รุ่น “เราสู้” ขึ้นมาใช้ได้เอง เป็นความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา, องค์การเภสัชกรรม, กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, กรมวิทยาศาสตร์บริการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม, สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ผู้ประกอบการภาคเอกชน 13 แห่ง จากเดิมในช่วงแรกของการระบาดมีความกดดันอย่างมาก ใช้ความพยายามทุกด้านเพื่อจัดหาชุด PPE อุปกรณ์ป้องกันทางการแพทย์ เวชภัณฑ์ ให้เพียงพอเพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 นายอนุทินกล่าวต่อว่า ผู้บริหารทุกคนในกระทรวงสาธารณสุข ใจสู้ มีความเป็นเอกภาพ จึงหาวิธีบริหารจัดการให้ผ่านอุปสรรคทุกอย่างให้ได้ เดิมคาดการณ์ว่าจะต้องใช้ชุด PPE ถึง 20 ล้านชุดเพื่อรับมือการระบาดของโควิด 19 มาวันนี้สามารถผลิตชุด PPE รุ่น “เราสู้” ขึ้นมาเอง ประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อจากต่างประเทศได้ถึง 10,000 ล้านบาท เงินที่ประหยัดได้เทียบกับการมีงบประมาณที่จะนําไปสร้างโรงงานผลิตวัคซีน อีกทั้งชุดที่ผลิตขึ้นใช้ซ้ําได้ถึง 20 ครั้ง ถ้าผลิต 10,000 ชุดจะทดแทนการใช้จํานวน 200,000 ชุดจากการนําเข้า จึงขอให้มั่นใจเพราะผ่านการรับรองมาตรฐานจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ อย. แล้ว นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า นวัตกรรมนี้แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือกันเพื่อก้าวข้ามอุปสรรคในการผลิตชุด PPE และยังสะท้อนให้เห็นความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมการแพทย์ในประเทศไทย ที่เป็นก้าวแรกสู่การเริ่มต้นผลิตอุปกรณ์การแพทย์ที่มีมาตรฐาน ใช้เอง และมีความพร้อมรองรับการใช้งานได้อย่างเพียงพอ ส่งผลให้ขวัญและกําลังใจในการทําหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ด่านหน้าดีขึ้นไปด้วย การสู้ศึกโควิด 19 มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นพ.โสภณ เมฆธน ประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวว่า ชุด PPE (Isolation Gown) รุ่น “เราสู้” มีการทดสอบมาตรฐาน 3 เรื่องสําคัญ ประกอบด้วย 1.เนื้อผ้า ต้องทนแรงดันน้ําได้ในระดับ 2 ระบายอากาศได้ดีและกันน้ําได้ด้วย ซึ่งได้ทดสอบจนผ่านมาตรฐาน 2.ตะเข็บรอยต่อ ซึ่งได้ทดสอบหลากหลายรูปแบบจนผ่านมาตรฐาน และ 3.การซักฆ่าเชื้อทําความสะอาดและใช้ซ้ําให้ได้ 20 ครั้ง จนมาวันนี้ อภ.ได้ลงจัดจ้าง 13 บริษัท ดําเนินการผลิตและจัดส่งจํานวน 44,000 ชุดภายในเดือนพฤษภาคมนี้ ในราคาชุดละ 500 บาท เมื่อคิดเฉลี่ยการใช้งานต่อชุดใช้ได้ 20 ครั้ง เฉลี่ยค่าใช้จ่ายต่อครั้งอยู่ที่ 25 บาท หากซื้อจากต่างประเทศเฉลี่ยการใช้ต่อครั้ง 100 บาท นอกจากจะลดการใช้แล้วยังช่วยลดปริมาณขยะ เงินไม่รั่วไหลไปต่างประเทศและยังช่วยให้เกิดการจ้างงานในประเทศตามมาอีกด้วย *********************************** 8 พฤษภาคม 2563 *****************************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/30551
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นรม. สนับสนุนการจัดกิจกรรมการจำหน่าย “เข็มวันอานันทมหิดล” ประจำปี 2560 ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันอังคารที่ 25 กรกฎาคม 2560 นรม. สนับสนุนการจัดกิจกรรมการจําหน่าย “เข็มวันอานันทมหิดล” ประจําปี 2560 ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นรม. สนับสนุนการจัดกิจกรรมการจําหน่าย “เข็มวันอานันทมหิดล” ประจําปี 2560 ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันนี้ (25 กรกฎาคม 2560) เวลา 8.45 น. ณ บริเวณห้องโถงกลาง ชั้น 1 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี นายแพทย์พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันทน์ รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นําคณะนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาพบ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อประชาสัมพันธ์การจําหน่ายเข็มวันอานันทมหิดล ประจําปี 2560 ภายใต้แนวคิด “70 ปีแห่งการให้ที่ยิ่งใหญ่ น้ําใจ...สร้างกุศล” เนื่องในโอกาสปี พ.ศ.2560 ครบรอบ 70 ปี แห่งการก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โอกาสนี้ รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิตคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวรายงานว่า “เข็มวันอานันทมหิดล” จัดทําขึ้นเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งตรงกับวันที่ 9 มิถุนายน เพื่อเฉลิมพระเกียรติที่ทรงเป็นผู้พระราชทานกําเนิด “แพทย์จุฬา” ตามพระราชปรารภ ที่ทรงต้องการให้ผลิตแพทย์เพิ่มให้เพียงพอที่จะช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เข็มวันอานันทมหิดลได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญภาพ “พระบรมราชานุสาวรีย์” พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 ประทับนั่งเหนือพระเก้าอี้ ตามแบบพระบรมราชานุสาวรีย์จริง ที่ประดิษฐานบริเวณลานด้านหน้าอาคาร “อปร” คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โดยมีตราพระเกี้ยว เป็นสัญลักษณ์แทนคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งได้ก่อกําเนิดขึ้นตามพระราชปรารภของพระองค์ โดยที่ฐานของเข็มกลัดเป็นรูปพวงมาลา อันเป็นการแสดงความน้อมรําลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ เนื่องในวันอานันทมหิดล ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตของพระองค์ นอกจากนี้พวงมาลายังประดับด้วย “ดอกกุหลาบสีฟ้า” ซึ่งตรงกับสีของวันอานันทมหิดลในปี 2560 ในปีนี้ที่ตรงกับ “วันศุกร์” ด้านล่างของพวงมาลา มีข้อความ “วันอานันทมหิดล ๒๕๖๐” ด้านหน้าของพวงมาลามีอักษรคําว่า “วันอานันทมหิดล 2560” และด้านหลังมีอักษรคําว่า “9 มิถุนายน 2560 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” และตราสัญลักษณ์ “70 ปี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ที่จัดทําขึ้นพิเศษ เนื่องในโอกาสปี พ.ศ. 2560 นี้ครบรอบ 70 ปี แห่งการก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย สําหรับประชาชนที่สนใจสามารถร่วมบริจาคได้ที่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และตามสถานที่ต่าง ๆ กว่า 300 แห่งที่มีนิสิตแพทย์จุฬาลงกรณ์ฯ ออกไปรับบริจาค ส่วนต่างจังหวัดบริจาคได้ที่สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลประจําจังหวัด และองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั่วประเทศ ระหว่างเดือนมิถุนายน - สิงหาคมนี้ โดยบริจาคครบ 100 บาท จะได้รับมอบเข็มวันอานันทมหิดลเป็นที่ระลึก ซึ่งเงินบริจาคจะนําไปสนับสนุน “มูลนิธิอานันทมหิดล” และ “มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก” สภากาชาดไทย รวมทั้งยังนําไปช่วยเหลือ “พระภิกษุอาพาธ และ ผู้ป่วยยากไร้” ที่มารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยอีกด้วย จากนั้น นายสิรวิชญ์ พนาวร นิสิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ติดเข็มวันอานันทมหิดลแก่นายกรัฐมนตรี โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณพร้อมยินดีให้การสนับสนุนกิจกรรมการจําหน่ายเข็มวันอานันทมหิดลของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกทั้งได้อวยพรขอให้ประสบความสําเร็จอย่างที่ตั้งใจและตรงตามเจตนารมณ์ที่มุ่งหมายไว้ทุกประการ ******************************** กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นรม. สนับสนุนการจัดกิจกรรมการจำหน่าย “เข็มวันอานันทมหิดล” ประจำปี 2560 ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันอังคารที่ 25 กรกฎาคม 2560 นรม. สนับสนุนการจัดกิจกรรมการจําหน่าย “เข็มวันอานันทมหิดล” ประจําปี 2560 ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นรม. สนับสนุนการจัดกิจกรรมการจําหน่าย “เข็มวันอานันทมหิดล” ประจําปี 2560 ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันนี้ (25 กรกฎาคม 2560) เวลา 8.45 น. ณ บริเวณห้องโถงกลาง ชั้น 1 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี นายแพทย์พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันทน์ รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นําคณะนิสิตแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาพบ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อประชาสัมพันธ์การจําหน่ายเข็มวันอานันทมหิดล ประจําปี 2560 ภายใต้แนวคิด “70 ปีแห่งการให้ที่ยิ่งใหญ่ น้ําใจ...สร้างกุศล” เนื่องในโอกาสปี พ.ศ.2560 ครบรอบ 70 ปี แห่งการก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โอกาสนี้ รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิตคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวรายงานว่า “เข็มวันอานันทมหิดล” จัดทําขึ้นเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งตรงกับวันที่ 9 มิถุนายน เพื่อเฉลิมพระเกียรติที่ทรงเป็นผู้พระราชทานกําเนิด “แพทย์จุฬา” ตามพระราชปรารภ ที่ทรงต้องการให้ผลิตแพทย์เพิ่มให้เพียงพอที่จะช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เข็มวันอานันทมหิดลได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญภาพ “พระบรมราชานุสาวรีย์” พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 ประทับนั่งเหนือพระเก้าอี้ ตามแบบพระบรมราชานุสาวรีย์จริง ที่ประดิษฐานบริเวณลานด้านหน้าอาคาร “อปร” คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โดยมีตราพระเกี้ยว เป็นสัญลักษณ์แทนคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งได้ก่อกําเนิดขึ้นตามพระราชปรารภของพระองค์ โดยที่ฐานของเข็มกลัดเป็นรูปพวงมาลา อันเป็นการแสดงความน้อมรําลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ เนื่องในวันอานันทมหิดล ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตของพระองค์ นอกจากนี้พวงมาลายังประดับด้วย “ดอกกุหลาบสีฟ้า” ซึ่งตรงกับสีของวันอานันทมหิดลในปี 2560 ในปีนี้ที่ตรงกับ “วันศุกร์” ด้านล่างของพวงมาลา มีข้อความ “วันอานันทมหิดล ๒๕๖๐” ด้านหน้าของพวงมาลามีอักษรคําว่า “วันอานันทมหิดล 2560” และด้านหลังมีอักษรคําว่า “9 มิถุนายน 2560 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” และตราสัญลักษณ์ “70 ปี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ที่จัดทําขึ้นพิเศษ เนื่องในโอกาสปี พ.ศ. 2560 นี้ครบรอบ 70 ปี แห่งการก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย สําหรับประชาชนที่สนใจสามารถร่วมบริจาคได้ที่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และตามสถานที่ต่าง ๆ กว่า 300 แห่งที่มีนิสิตแพทย์จุฬาลงกรณ์ฯ ออกไปรับบริจาค ส่วนต่างจังหวัดบริจาคได้ที่สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลประจําจังหวัด และองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั่วประเทศ ระหว่างเดือนมิถุนายน - สิงหาคมนี้ โดยบริจาคครบ 100 บาท จะได้รับมอบเข็มวันอานันทมหิดลเป็นที่ระลึก ซึ่งเงินบริจาคจะนําไปสนับสนุน “มูลนิธิอานันทมหิดล” และ “มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก” สภากาชาดไทย รวมทั้งยังนําไปช่วยเหลือ “พระภิกษุอาพาธ และ ผู้ป่วยยากไร้” ที่มารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยอีกด้วย จากนั้น นายสิรวิชญ์ พนาวร นิสิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ติดเข็มวันอานันทมหิดลแก่นายกรัฐมนตรี โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณพร้อมยินดีให้การสนับสนุนกิจกรรมการจําหน่ายเข็มวันอานันทมหิดลของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกทั้งได้อวยพรขอให้ประสบความสําเร็จอย่างที่ตั้งใจและตรงตามเจตนารมณ์ที่มุ่งหมายไว้ทุกประการ ******************************** กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/5447
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.อุตฯ เปิดงานพร้อมกล่าวปาฐกถาในงาน “Go Thailand : ลงทุนเพื่ออนาคต”
วันพุธที่ 14 มีนาคม 2561 ก.อุตฯ เปิดงานพร้อมกล่าวปาฐกถาในงาน “Go Thailand : ลงทุนเพื่ออนาคต” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงานพร้อมกล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “Go Thailand : ลงทุนเพื่ออนาคต” ณ ห้องบอลรูม ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิต์ วันนี้ (14 มีนาคม 2561) นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงานพร้อมกล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “Go Thailand : ลงทุนเพื่ออนาคต” โดยมีนายบากบั่น บุญเลิศ บรรณาธิการอํานวยการและรักษาการประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท ฐานเศรษฐกิจ มัลติมีเดีย จํากัด กล่าวรายงาน และมีนายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก และนายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมเป็นเกียรติ ณ ห้องบอลรูม ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิต์ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้กล่าวตอนหนึ่งว่า "วันนี้เราต้องก้าวไปข้างหน้า และสร้างโอกาสให้ทุกภาคส่วน เพื่อให้สังคมก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน นาทีนี้อาเซียนกําลังถูกจับตามองจากนักลงทุนทั่วโลก และไทยยังถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศน่าลงทุนอันดับ 8 ของโลก ซึ่งรัฐบาลกําลังทําให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาด้านอื่นต่อไป"
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.อุตฯ เปิดงานพร้อมกล่าวปาฐกถาในงาน “Go Thailand : ลงทุนเพื่ออนาคต” วันพุธที่ 14 มีนาคม 2561 ก.อุตฯ เปิดงานพร้อมกล่าวปาฐกถาในงาน “Go Thailand : ลงทุนเพื่ออนาคต” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงานพร้อมกล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “Go Thailand : ลงทุนเพื่ออนาคต” ณ ห้องบอลรูม ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิต์ วันนี้ (14 มีนาคม 2561) นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงานพร้อมกล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “Go Thailand : ลงทุนเพื่ออนาคต” โดยมีนายบากบั่น บุญเลิศ บรรณาธิการอํานวยการและรักษาการประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท ฐานเศรษฐกิจ มัลติมีเดีย จํากัด กล่าวรายงาน และมีนายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก และนายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมเป็นเกียรติ ณ ห้องบอลรูม ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิต์ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้กล่าวตอนหนึ่งว่า "วันนี้เราต้องก้าวไปข้างหน้า และสร้างโอกาสให้ทุกภาคส่วน เพื่อให้สังคมก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน นาทีนี้อาเซียนกําลังถูกจับตามองจากนักลงทุนทั่วโลก และไทยยังถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศน่าลงทุนอันดับ 8 ของโลก ซึ่งรัฐบาลกําลังทําให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาด้านอื่นต่อไป"
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/10759
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลื้ม ทูต WTO ของไทยผงาดขึ้นนั่งประธานองค์กรระงับข้อพิพาท WTO
วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม 2561 ปลื้ม ทูต WTO ของไทยผงาดขึ้นนั่งประธานองค์กรระงับข้อพิพาท WTO นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า นางสาวสุนันทา กังวาลกุลกิจ เอกอัครราชทูตคณะผู้แทนถาวรไทยประจําองค์การการค้าโลก (WTO) และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ณ นครเจนีวา ได้รับเสียงสนับสนุนอย่างเป็นเอกฉันท์จากสมาชิก WTO 164 ประเทศ ในที่ประชุมคณะมนตรีใหญ่ WTO เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2561 ให้ดํารงตําแหน่งประธานองค์กรระงับข้อพิพาท (Dispute Settlement Body: DSB) นับเป็นคนไทยคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้รับเกียรติให้ทําหน้าที่ดังกล่าวตั้งแต่มีการก่อตั้ง WTO เมื่อปี 2538 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเชื่อถือและความไว้วางใจของนานาชาติที่มีต่อประเทศไทย ให้รับบทผู้นําของประเทศสมาชิกในเรื่องการระงับข้อพิพาททางการค้าที่เป็นภารกิจสําคัญหลักของ WTO ในขณะนี้ ความสําเร็จของ WTO ในการเป็นองค์กรแถวหน้าด้านการค้าระหว่างประเทศนั้น เกิดจากการมีกฎกติกาทางการค้าที่ใช้บังคับกับสมาชิกทุกประเทศอย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ โดยประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าที่ขัดกับกฎเกณฑ์ WTO สามารถยื่นฟ้องผ่านกลไกการระงับข้อพิพาท ซึ่งจะแต่งตั้งผู้พิพากษาที่มีความเป็นอิสระเข้ามาทําหน้าที่ตัดสินคดี รวมถึงมีขั้นตอน กรอบเวลา และบทลงโทษที่ชัดเจน จึงทําให้ที่ผ่านมากลไกการระงับข้อพิพาท WTO ประสบความสําเร็จอย่างมากในการกํากับดูแลกฎกติกาการค้าระหว่างประเทศ และถูกนําไปใช้เป็นบรรทัดฐานในเวทีการค้ากรอบอื่น ๆ ทั่วโลก แม้ตัวองค์กรระงับข้อพิพาทซึ่งประกอบด้วยสมาชิก WTO ทั้งหมดจะไม่ได้ทําหน้าที่วินิจฉัยคดีโดยตรง แต่ก็มีหน้าที่สําคัญในการแต่งตั้งผู้พิพากษาคนกลาง รวมถึงมีอํานาจรับรองผลคําตัดสิน ตรวจสอบดูแลการปฏิบัติตามคําตัดสิน ตลอดจนอนุมัติการใช้มาตรการตอบโต้ทางการค้าหากประเทศที่แพ้คดีไม่เลิกใช้มาตรการที่ผิดกฎกติกาการค้า WTO ทั้งนี้ การตัดสินใจใด ๆ ขององค์กรระงับข้อพิพาทจะต้องเป็นฉันทามติ ดังนั้น ประธานที่ต้องยึดหลักความเป็นกลางจึงมีบทบาทสําคัญในการช่วยให้สมาชิกได้ข้อสรุปที่ทุกฝ่ายสามารถเห็นชอบร่วมกัน และทําให้การดําเนินงานของกระบวนการระงับข้อพิพาทเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ความท้าทายและเป็นประเด็นร้อนในขณะนี้ คือ การแต่งตั้งสมาชิกองค์กรอุทธรณ์ (Appellate Body) ที่ว่างลง 3 ตําแหน่ง จากทั้งหมด 7 ตําแหน่ง ซึ่งปัจจุบันกระบวนการคัดเลือกต้องหยุดชะงักและไม่สามารถเริ่มต้นขึ้นได้ เนื่องจากถูกคัดค้านโดยสหรัฐฯ ที่มีท่าทีต่อต้าน WTO และระบบการค้าพหุภาคี ทําให้การพิจารณากรณีพิพาททางการค้าต้องล่าช้าออกไป นับว่าเป็นเรื่องสําคัญต้องดําเนินการเพื่อหาทางออกในเรื่องนี้ การเข้ารับตําแหน่งในครั้งนี้ ถือว่ามีความสําคัญมาก เพราะตามแนวทางปฏิบัติของ WTO ประธาน องค์กรระงับข้อพิพาทจะก้าวขึ้นดํารงตําแหน่งประธานคณะมนตรีใหญ่ WTO ในปี 2562 ซึ่งเป็นองค์กรระดับสูงสุดของ WTO ในการกํากับดูแลภาพรวมการดําเนินงานของประเทศสมาชิก และเป็นปีที่จะมีการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก ครั้งที่ 12 (MC12) ที่จะมีบทบาทเป็นผู้นําในการขับเคลื่อนให้การเจรจามีความคืบหน้า และให้กระบวนการทํางานสามารถเดินหน้าต่อไปได้ เพื่อให้สมาชิกมั่นใจว่า WTO ยังเป็นองค์กรที่กํากับดูแล และสร้างความเป็นธรรมทางการค้าระหว่างประเทศ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลื้ม ทูต WTO ของไทยผงาดขึ้นนั่งประธานองค์กรระงับข้อพิพาท WTO วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม 2561 ปลื้ม ทูต WTO ของไทยผงาดขึ้นนั่งประธานองค์กรระงับข้อพิพาท WTO นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า นางสาวสุนันทา กังวาลกุลกิจ เอกอัครราชทูตคณะผู้แทนถาวรไทยประจําองค์การการค้าโลก (WTO) และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ณ นครเจนีวา ได้รับเสียงสนับสนุนอย่างเป็นเอกฉันท์จากสมาชิก WTO 164 ประเทศ ในที่ประชุมคณะมนตรีใหญ่ WTO เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2561 ให้ดํารงตําแหน่งประธานองค์กรระงับข้อพิพาท (Dispute Settlement Body: DSB) นับเป็นคนไทยคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้รับเกียรติให้ทําหน้าที่ดังกล่าวตั้งแต่มีการก่อตั้ง WTO เมื่อปี 2538 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเชื่อถือและความไว้วางใจของนานาชาติที่มีต่อประเทศไทย ให้รับบทผู้นําของประเทศสมาชิกในเรื่องการระงับข้อพิพาททางการค้าที่เป็นภารกิจสําคัญหลักของ WTO ในขณะนี้ ความสําเร็จของ WTO ในการเป็นองค์กรแถวหน้าด้านการค้าระหว่างประเทศนั้น เกิดจากการมีกฎกติกาทางการค้าที่ใช้บังคับกับสมาชิกทุกประเทศอย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ โดยประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าที่ขัดกับกฎเกณฑ์ WTO สามารถยื่นฟ้องผ่านกลไกการระงับข้อพิพาท ซึ่งจะแต่งตั้งผู้พิพากษาที่มีความเป็นอิสระเข้ามาทําหน้าที่ตัดสินคดี รวมถึงมีขั้นตอน กรอบเวลา และบทลงโทษที่ชัดเจน จึงทําให้ที่ผ่านมากลไกการระงับข้อพิพาท WTO ประสบความสําเร็จอย่างมากในการกํากับดูแลกฎกติกาการค้าระหว่างประเทศ และถูกนําไปใช้เป็นบรรทัดฐานในเวทีการค้ากรอบอื่น ๆ ทั่วโลก แม้ตัวองค์กรระงับข้อพิพาทซึ่งประกอบด้วยสมาชิก WTO ทั้งหมดจะไม่ได้ทําหน้าที่วินิจฉัยคดีโดยตรง แต่ก็มีหน้าที่สําคัญในการแต่งตั้งผู้พิพากษาคนกลาง รวมถึงมีอํานาจรับรองผลคําตัดสิน ตรวจสอบดูแลการปฏิบัติตามคําตัดสิน ตลอดจนอนุมัติการใช้มาตรการตอบโต้ทางการค้าหากประเทศที่แพ้คดีไม่เลิกใช้มาตรการที่ผิดกฎกติกาการค้า WTO ทั้งนี้ การตัดสินใจใด ๆ ขององค์กรระงับข้อพิพาทจะต้องเป็นฉันทามติ ดังนั้น ประธานที่ต้องยึดหลักความเป็นกลางจึงมีบทบาทสําคัญในการช่วยให้สมาชิกได้ข้อสรุปที่ทุกฝ่ายสามารถเห็นชอบร่วมกัน และทําให้การดําเนินงานของกระบวนการระงับข้อพิพาทเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ความท้าทายและเป็นประเด็นร้อนในขณะนี้ คือ การแต่งตั้งสมาชิกองค์กรอุทธรณ์ (Appellate Body) ที่ว่างลง 3 ตําแหน่ง จากทั้งหมด 7 ตําแหน่ง ซึ่งปัจจุบันกระบวนการคัดเลือกต้องหยุดชะงักและไม่สามารถเริ่มต้นขึ้นได้ เนื่องจากถูกคัดค้านโดยสหรัฐฯ ที่มีท่าทีต่อต้าน WTO และระบบการค้าพหุภาคี ทําให้การพิจารณากรณีพิพาททางการค้าต้องล่าช้าออกไป นับว่าเป็นเรื่องสําคัญต้องดําเนินการเพื่อหาทางออกในเรื่องนี้ การเข้ารับตําแหน่งในครั้งนี้ ถือว่ามีความสําคัญมาก เพราะตามแนวทางปฏิบัติของ WTO ประธาน องค์กรระงับข้อพิพาทจะก้าวขึ้นดํารงตําแหน่งประธานคณะมนตรีใหญ่ WTO ในปี 2562 ซึ่งเป็นองค์กรระดับสูงสุดของ WTO ในการกํากับดูแลภาพรวมการดําเนินงานของประเทศสมาชิก และเป็นปีที่จะมีการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก ครั้งที่ 12 (MC12) ที่จะมีบทบาทเป็นผู้นําในการขับเคลื่อนให้การเจรจามีความคืบหน้า และให้กระบวนการทํางานสามารถเดินหน้าต่อไปได้ เพื่อให้สมาชิกมั่นใจว่า WTO ยังเป็นองค์กรที่กํากับดูแล และสร้างความเป็นธรรมทางการค้าระหว่างประเทศ
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/10865
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​เปิดตัวงาน Thailand Industry Expo 2018 "เปลี่ยนเพื่อปรับ...ยกระดับอุตสาหกรรมไทย
วันพุธที่ 2 พฤษภาคม 2561 ​เปิดตัวงาน Thailand Industry Expo 2018 "เปลี่ยนเพื่อปรับ...ยกระดับอุตสาหกรรมไทย ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในกิจกรรมเปิดตัวงาน Thailand Industry Expo 2018 ณ ห้องบอลรูม 1 โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ วันนี้ (2 พฤษภาคม 2561) นายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในกิจกรรมเปิดตัวงาน Thailand Industry Expo 2018 (Thailand Industry Expo 2018 Exhibitor Meeting) พร้อมเสวนา Thailand Industry Expo กับการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทย โดยมีนายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมเสวนา นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้สนับสนุนจากภาครัฐ ภาคเอกชน ร่วมงาน ณ ห้องบอลรูม 1 โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ การจัดงาน Thailand Industry Expo 2018 กําหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 2-5 สิงหาคม 2561 ณ ชาเลนเจอร์ 2-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ภายใต้แนวคิด "CHANGE to SHIFT" เปลี่ยนเพื่อปรับ...ยกระดับอุตสาหกรรมไทย ทั้งนี้ เพื่อสะท้อนถึงความสําคัญที่ภาคอุตสาหกรรมไทยต้องมีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงเพื่อการยกระดับและก้าวสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 โดยงานดังกล่าวจะเป็นเวทีในการส่งเสริมและสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายอุตสาหกรรม 4.0 ตามทิศทางการพัฒนาประเทศสู่ประเทศไทย 4.0 ขยายความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และภาคประชาชน ในการยกระดับอุตสาหกรรมทั้งระบบและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งเผยแพร่ความรู้ที่เกี่ยงเนื่องกับการยกระดับอุตสาหกรรมไทยแก่ผู้ประกอบการ นักศึกษา และประชาชนที่สนใจ ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 5 ส่วน ดังนี้ 1. งานประชุมสัมมนาแสดงวิสัยทัศน์และทิศทางการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทย หรือ Thailand Global Industry Outlook 2018 โดยกลุ่มผู้นําทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน 2. นิทรรศการ AGRO-INNO SHIFT ซึ่งเป็นงานที่รวบรวมนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่นําสมัย จากกลุ่มผู้ประกอบการในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งการจัดเวทีให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยงานนิทรรศการจะเน้นอุตสาหกรรมกลุ่มอาหาร กลุ่มเกษตรแปรรูป และกลุ่มฐานชีวภาพ 3. นิทรรศการ MANUFACTURE-INNO SHIFT โดยเน้นอุตสาหกรรมกลุ่มยานยนต์ กลุ่มหุ่นยนต์ กลุ่มดิจิทัลและกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม 4.0 4. นิทรรศการ SERVICE-INNO SHIFT โดยเน้นอุตสาหกรรมกลุ่มการแพทย์ กลุ่มบริการทางการเงิน กลุ่มโลจิสติกส์ กลุ่มบริการ และกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 5. งานแสดงสินค้าและบริการ Thailand Industry Premium Outlet 2018 คัดสรรสินค้าและบริการคุณภาพมาตรฐานสากลจากผู้ประกอบไทยทั่วประเทศมาจัดแสดงเพื่อเปิดโอกาสและขยายช่องทางการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการไทยที่มีศักยภาพ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​เปิดตัวงาน Thailand Industry Expo 2018 "เปลี่ยนเพื่อปรับ...ยกระดับอุตสาหกรรมไทย วันพุธที่ 2 พฤษภาคม 2561 ​เปิดตัวงาน Thailand Industry Expo 2018 "เปลี่ยนเพื่อปรับ...ยกระดับอุตสาหกรรมไทย ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในกิจกรรมเปิดตัวงาน Thailand Industry Expo 2018 ณ ห้องบอลรูม 1 โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ วันนี้ (2 พฤษภาคม 2561) นายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในกิจกรรมเปิดตัวงาน Thailand Industry Expo 2018 (Thailand Industry Expo 2018 Exhibitor Meeting) พร้อมเสวนา Thailand Industry Expo กับการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทย โดยมีนายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมเสวนา นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้สนับสนุนจากภาครัฐ ภาคเอกชน ร่วมงาน ณ ห้องบอลรูม 1 โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ การจัดงาน Thailand Industry Expo 2018 กําหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 2-5 สิงหาคม 2561 ณ ชาเลนเจอร์ 2-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ภายใต้แนวคิด "CHANGE to SHIFT" เปลี่ยนเพื่อปรับ...ยกระดับอุตสาหกรรมไทย ทั้งนี้ เพื่อสะท้อนถึงความสําคัญที่ภาคอุตสาหกรรมไทยต้องมีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงเพื่อการยกระดับและก้าวสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 โดยงานดังกล่าวจะเป็นเวทีในการส่งเสริมและสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายอุตสาหกรรม 4.0 ตามทิศทางการพัฒนาประเทศสู่ประเทศไทย 4.0 ขยายความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และภาคประชาชน ในการยกระดับอุตสาหกรรมทั้งระบบและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งเผยแพร่ความรู้ที่เกี่ยงเนื่องกับการยกระดับอุตสาหกรรมไทยแก่ผู้ประกอบการ นักศึกษา และประชาชนที่สนใจ ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 5 ส่วน ดังนี้ 1. งานประชุมสัมมนาแสดงวิสัยทัศน์และทิศทางการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทย หรือ Thailand Global Industry Outlook 2018 โดยกลุ่มผู้นําทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน 2. นิทรรศการ AGRO-INNO SHIFT ซึ่งเป็นงานที่รวบรวมนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่นําสมัย จากกลุ่มผู้ประกอบการในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งการจัดเวทีให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยงานนิทรรศการจะเน้นอุตสาหกรรมกลุ่มอาหาร กลุ่มเกษตรแปรรูป และกลุ่มฐานชีวภาพ 3. นิทรรศการ MANUFACTURE-INNO SHIFT โดยเน้นอุตสาหกรรมกลุ่มยานยนต์ กลุ่มหุ่นยนต์ กลุ่มดิจิทัลและกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม 4.0 4. นิทรรศการ SERVICE-INNO SHIFT โดยเน้นอุตสาหกรรมกลุ่มการแพทย์ กลุ่มบริการทางการเงิน กลุ่มโลจิสติกส์ กลุ่มบริการ และกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 5. งานแสดงสินค้าและบริการ Thailand Industry Premium Outlet 2018 คัดสรรสินค้าและบริการคุณภาพมาตรฐานสากลจากผู้ประกอบไทยทั่วประเทศมาจัดแสดงเพื่อเปิดโอกาสและขยายช่องทางการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการไทยที่มีศักยภาพ
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/11919
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลจัดระเบียบขอทาน ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต
วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม 2560 รัฐบาลจัดระเบียบขอทาน ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต รัฐบาลเร่งจัดระเบียบขอทานเพื่อลดความเหลื่อมล้ําในสังคม โดยจัดตั้งกองอํานวยการแก้ไขปัญหาคนไร้ที่พึ่งและขอทาน พร้อมจัดชุดปฏิบัติการลงพื้นที่อย่างเข้มข้น ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลเร่งจัดระเบียบขอทานเพื่อลดความเหลื่อมล้ําในสังคม โดยจัดตั้งกองอํานวยการแก้ไขปัญหาคนไร้ที่พึ่งและขอทาน พร้อมจัดชุดปฏิบัติการลงพื้นที่อย่างเข้มข้น โดยจะนําคนขอทานคนไทยและคนไร้ที่พึ่งเข้ารับการบําบัดฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ เพื่อให้ความช่วยเหลืออย่างตรงจุด เสริมสร้างความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ ให้สามารถหารายได้เลี้ยงตนเองและกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ หากเป็นผู้ป่วยจิตเวชจะนําส่งสถานพยาบาลเฉพาะทาง ส่วนขอทานต่างด้าวจะถูกส่งกลับประเทศต้นทาง นอกจากนี้ จะเข้มงวดเป็นพิเศษกับกลุ่มขอทานเด็ก ซึ่งอาจเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ ทั้งนี้ รัฐบาลขอให้ประชาชนร่วมกันเป็นหูเป็นตา หากพบเห็นขอทานหรือคนไร้ที่พึ่ง สามารถแจ้งศูนย์ช่วยเหลือสังคม โทร.1300 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ร่วมเดินหน้าประเทศไทย กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลจัดระเบียบขอทาน ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม 2560 รัฐบาลจัดระเบียบขอทาน ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต รัฐบาลเร่งจัดระเบียบขอทานเพื่อลดความเหลื่อมล้ําในสังคม โดยจัดตั้งกองอํานวยการแก้ไขปัญหาคนไร้ที่พึ่งและขอทาน พร้อมจัดชุดปฏิบัติการลงพื้นที่อย่างเข้มข้น ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ รัฐบาลเร่งจัดระเบียบขอทานเพื่อลดความเหลื่อมล้ําในสังคม โดยจัดตั้งกองอํานวยการแก้ไขปัญหาคนไร้ที่พึ่งและขอทาน พร้อมจัดชุดปฏิบัติการลงพื้นที่อย่างเข้มข้น โดยจะนําคนขอทานคนไทยและคนไร้ที่พึ่งเข้ารับการบําบัดฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ เพื่อให้ความช่วยเหลืออย่างตรงจุด เสริมสร้างความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ ให้สามารถหารายได้เลี้ยงตนเองและกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ หากเป็นผู้ป่วยจิตเวชจะนําส่งสถานพยาบาลเฉพาะทาง ส่วนขอทานต่างด้าวจะถูกส่งกลับประเทศต้นทาง นอกจากนี้ จะเข้มงวดเป็นพิเศษกับกลุ่มขอทานเด็ก ซึ่งอาจเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ ทั้งนี้ รัฐบาลขอให้ประชาชนร่วมกันเป็นหูเป็นตา หากพบเห็นขอทานหรือคนไร้ที่พึ่ง สามารถแจ้งศูนย์ช่วยเหลือสังคม โทร.1300 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ร่วมเดินหน้าประเทศไทย กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/2498
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงยุติธรรม ร่วมงานมหกรรม Thailand Social Expo ๒๐๑๘
วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม 2561 กระทรวงยุติธรรม ร่วมงานมหกรรม Thailand Social Expo ๒๐๑๘ กระทรวงยุติธรรม ร่วมงานมหกรรม Thailand Social Expo ๒๐๑๘ ในวันศุกร์ที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๓๐ น. ณ ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค Exhibibition Hall ๕-๘ เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานมหกรรม Thailand Social Expo 2018 ซึ่งจัดโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยมีนายนิมิต ทัพวนานต์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงยุติธรรม และนางสาวรวิวรรณ์ ศรีวนารมย์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วยผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรม เข้าร่วมฯ ซึ่งนับเป็นงานมหกรรมด้านสังคมครั้งแรกของประเทศไทย ที่จัดแสดงงานด้านสังคมของรัฐบาล ในการลดความเหลื่อมล้ําของสังคม และการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สําหรับประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน สตรี ครอบครัว ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส ให้มีความมั่นคงในการดํารงชีวิตด้วยคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกันในสังคม ภายในงานมีการแสดงผลงานทางวิชาการด้านสังคมของรัฐบาล ผลงานนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางสังคม ผลการคิดค้นและการดําเนินงานสําคัญในด้านสังคมของไทยและอาเซียน การประชุมเสวนาวิชาการ เป็นต้น ในโอกาสนี้ กระทรวงยุติธรรม ได้จัดบูธนิทรรศการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์บทบาท ภารกิจ และเอกสารความรู้ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดําเนินงานด้านยุติธรรม ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงงานบริการของรัฐ ที่มุ่งพัฒนาและส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการของรัฐได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงยุติธรรม ร่วมงานมหกรรม Thailand Social Expo ๒๐๑๘ วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม 2561 กระทรวงยุติธรรม ร่วมงานมหกรรม Thailand Social Expo ๒๐๑๘ กระทรวงยุติธรรม ร่วมงานมหกรรม Thailand Social Expo ๒๐๑๘ ในวันศุกร์ที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๓๐ น. ณ ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค Exhibibition Hall ๕-๘ เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานมหกรรม Thailand Social Expo 2018 ซึ่งจัดโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยมีนายนิมิต ทัพวนานต์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงยุติธรรม และนางสาวรวิวรรณ์ ศรีวนารมย์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วยผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรม เข้าร่วมฯ ซึ่งนับเป็นงานมหกรรมด้านสังคมครั้งแรกของประเทศไทย ที่จัดแสดงงานด้านสังคมของรัฐบาล ในการลดความเหลื่อมล้ําของสังคม และการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สําหรับประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน สตรี ครอบครัว ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส ให้มีความมั่นคงในการดํารงชีวิตด้วยคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกันในสังคม ภายในงานมีการแสดงผลงานทางวิชาการด้านสังคมของรัฐบาล ผลงานนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางสังคม ผลการคิดค้นและการดําเนินงานสําคัญในด้านสังคมของไทยและอาเซียน การประชุมเสวนาวิชาการ เป็นต้น ในโอกาสนี้ กระทรวงยุติธรรม ได้จัดบูธนิทรรศการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์บทบาท ภารกิจ และเอกสารความรู้ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดําเนินงานด้านยุติธรรม ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงงานบริการของรัฐ ที่มุ่งพัฒนาและส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการของรัฐได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/14368
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ครม.อนุมัติแต่งตั้งเลขาธิการ กช. และบอร์ด สสวท.
วันพุธที่ 19 กันยายน 2561 ครม.อนุมัติแต่งตั้งเลขาธิการ กช. และบอร์ด สสวท. สรุปมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2561 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา คือ อนุมัติแต่งตั้งนายชลํา อรรถธรรม ให้ดํารงตําแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สรุปมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2561 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา คือ อนุมัติแต่งตั้งนายชลํา อรรถธรรม ให้ดํารงตําแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) อนุมัติการแต่งตั้งข้าราชการให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้ง นายชลํา อรรถธรรม รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ให้ดํารงตําแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (เลขาธิการ กช.) สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สํานักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตําแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ นายชลํา อรรถธรรม ทําหน้าที่ โฆษกกระทรวงศึกษาธิการ อีกตําแหน่งหนึ่งด้วย อนุมัติการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ สสวท. คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) แทนผู้ที่จะครบวาระ ดังนี้ ประธานกรรมการ 1. นายประสาท สืบค้า กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย 2. นายศรัณย์ โปษยะจินดา 3. นายยืน ภู่วรวรรณ 4. นายไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ 5. นายพินิติ รตะนานุกูล 6. คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ 7. นายไพฑูรย์ ขัมภรัตน์ 8. นายสมบูรณ์ ม่วงกล่ํา 9. นายสัมพันธ์ ศิลปนาฎ 10. นางเอมอร สุมามาลย์ ครูผู้สอนด้านคณิตศาสตร์ ภาคเหนือ 11. นายวิฑูรย์ สืบโมรา ครูผู้สอนด้านวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12. นายเจษฎา เนตรสว่างวิชา ครูผู้สอนด้านวิทยาศาสตร์ ภาคกลาง 13. นายอํานาจ มณีดุลย์ ครูผู้สอนด้านวิทยาศาสตร์ ภาคใต้ ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2561 เป็นต้นไป Rewriter/Editor บัลลังก์ โรหิตเสถียร
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ครม.อนุมัติแต่งตั้งเลขาธิการ กช. และบอร์ด สสวท. วันพุธที่ 19 กันยายน 2561 ครม.อนุมัติแต่งตั้งเลขาธิการ กช. และบอร์ด สสวท. สรุปมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2561 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา คือ อนุมัติแต่งตั้งนายชลํา อรรถธรรม ให้ดํารงตําแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สรุปมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2561 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา คือ อนุมัติแต่งตั้งนายชลํา อรรถธรรม ให้ดํารงตําแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) อนุมัติการแต่งตั้งข้าราชการให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้ง นายชลํา อรรถธรรม รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ให้ดํารงตําแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (เลขาธิการ กช.) สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สํานักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตําแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ นายชลํา อรรถธรรม ทําหน้าที่ โฆษกกระทรวงศึกษาธิการ อีกตําแหน่งหนึ่งด้วย อนุมัติการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ สสวท. คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) แทนผู้ที่จะครบวาระ ดังนี้ ประธานกรรมการ 1. นายประสาท สืบค้า กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย 2. นายศรัณย์ โปษยะจินดา 3. นายยืน ภู่วรวรรณ 4. นายไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ 5. นายพินิติ รตะนานุกูล 6. คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ 7. นายไพฑูรย์ ขัมภรัตน์ 8. นายสมบูรณ์ ม่วงกล่ํา 9. นายสัมพันธ์ ศิลปนาฎ 10. นางเอมอร สุมามาลย์ ครูผู้สอนด้านคณิตศาสตร์ ภาคเหนือ 11. นายวิฑูรย์ สืบโมรา ครูผู้สอนด้านวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12. นายเจษฎา เนตรสว่างวิชา ครูผู้สอนด้านวิทยาศาสตร์ ภาคกลาง 13. นายอํานาจ มณีดุลย์ ครูผู้สอนด้านวิทยาศาสตร์ ภาคใต้ ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2561 เป็นต้นไป Rewriter/Editor บัลลังก์ โรหิตเสถียร
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/15498
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ตัวแทนเครือข่ายหนี้สินชาวนาพร้อมใจตบเท้าบุก ก.เกษตรฯ ให้กำลังใจรัฐมนตรีเกษตรฯ
วันพุธที่ 26 กรกฎาคม 2560 ตัวแทนเครือข่ายหนี้สินชาวนาพร้อมใจตบเท้าบุก ก.เกษตรฯ ให้กําลังใจรัฐมนตรีเกษตรฯ ตัวแทนเครือข่ายหนี้สินชาวนาพร้อมใจตบเท้าบุก ก.เกษตรฯ ให้กําลังใจรัฐมนตรีเกษตรฯ เดินหน้าบอร์ดกฟก.เฉพาะกิจ เร่งแก้ไขปัญหาหนี้สิน “บิ๊กฉัตร” รับปากเตรียมเสนองบ 3,000 ล้านแก้หนี้เกษตรกรให้แล้วเสร็จตามกรอบ 180 วัน พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจ เปิดเผยในโอกาสให้เครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย (คนท.) เข้าพบว่า ตามที่มีคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 26/2560 เรื่องการแก้ปัญหาการดําเนินงานของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และได้มีการตั้งคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจขึ้น แทนคณะกรรมการชุดเดิมเพื่อแก้ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ที่ผ่านมามองเห็นปัญหาภาคการเกษตรของไทย ซึ่งจากการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเกษตรกรพบว่ายังมีปัญหาความเดือดร้อน ยากจน ปลูกพืชแล้วจน ต้นทุนแพงทําให้ ไม่มีกําไร จึงต้องกู้เงินมาทําเกษตร ซึ่งไม่ได้รับการแก้ไขมานานหลายปีเนื่องจากไม่มีแผนแก้ไขอย่างยั่งยืน วันนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดําเนินการแก้ไขปัญหาหลายเรื่องไปพร้อม ๆ กัน เช่น โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวไม่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการปศุสัตว์โคบาลบูรพาในพื้นที่ จ.สระแก้วเพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ดีขึ้น “ปัญหาเหล่านี้สะสมมานานจนเกิดเป็นปัญหาหนี้สินของเกษตรกร ซึ่งเป้าหมายตลอดเวลา 2 ปีที่ดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรที่ผ่านมามีนโยบายสําคัญที่ต้องการทําให้เกิด 3 ข้อ คือ 1. เกษตรกรมีความภูมิใจในอาชีพ 2. เกษตรกรมีรายได้เพียงพอต่อการทําเกษตร และ 3.เกษตรกรใช้ชีวิตพอเพียงตามแนวทางของรัชกาลที่ 9 เพื่อให้อยู่อย่างมีความสุขทั้งนี้ ตั้งใจที่จะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่เกษตร ซึ่งต้องใช้เวลาและความร่วมมือจากเกษตรกรต้องสร้างความมั่นใจ แก้ปัญหาความจนให้ได้รวมทั้งเจ้าหน้าที่ต้องมีความอดทนเพื่อทําในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร อย่างไรก็ตามได้ให้คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจเร่งเข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรที่เดือดร้อนทันที ตรวจสอบข้อมูลคุณสมบัติให้ถูกต้อง เพื่อให้เกิดความยุติธรรม โปร่งใส และยืนยันว่าจะเดินหน้าเรื่องนี้ให้เร็วสุดตามขั้นตอนสําหรับงบกรอบวงเงิน 3,000 ล้านบาท เพื่อนํามาแก้ไขปัญหากองทุนฟื้นฟูนั้น โดยมีแผนที่จะเสนองบประมาณดังกล่าวจากรัฐบาล ซึ่งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ได้รับปากแล้วว่ามีงบ3,000 ล้านบาทแน่นอน” สําหรับความก้าวหน้าการดําเนินงานของ คณะกรรมการ กฟก. เฉพาะกิจ แบ่งเป็น 1. การกําหนดหลักเกณฑ์การจัดการหนี้ของเกษตรกร โดยคณะอนุกรรมการจัดทาหลักเกณฑ์ การจัดการหนี้ของเกษตรกร กรณีเร่งด่วน โดยมีปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ได้เร่งจัดทําหลักเกณฑ์ และข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร ให้แล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคมนี้ 2. การกลั่นกรอง ตรวจสอบและยืนยันข้อมูลหนี้สินเกษตรกร โดยคณะอนุกรรมการกลั่นกรอง ตรวจสอบ และยืนยันข้อมูลหนี้สินเกษตรกร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน เพื่อตรวจสอบข้อมูล คัดกรอง ยืนยันข้อมูลหนี้สินเกษตรกร เพื่อนามา จัดกลุ่ม และบริหารจัดการให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาหนี้สินต่อไป คาดว่าจะดาเนินการตรวจสอบข้อมูล ให้แล้วเสร็จ ประมาณเดือนสิงหาคม 2560 3. การปรับปรุงโครงสร้างและกฎหมายของ กฟก. โดยคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงสร้างและกฎหมายของ กฟก. โดยมีปลัดสานักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดยมีกรอบเวลาจัดทําข้อเสนอแนวทางการปรับปรุงโครงสร้าง การพัฒนาการดาเนินงาน และการปรับแก้ไขกฎหมายของ กฟก. ภายในเดือนกันยายน 2560 4. การตรวจสอบ กลั่นกรองการใช้จ่ายงบประมาณของ กฟก. โดยคณะอนุกรรมการกลั่นกรองงบประมาณประจาปี 2560 และ 2561 ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ซึ่งจะพิจารณากลั่นกรองเสนอความเห็นเกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณประจาปี 2560 ต่อคณะกรรมการ กฟก. เฉพาะกิจ และการเสนอของบประมาณรายจ่ายประจาปี 2561 และ 5. การฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยคณะอนุกรรมการด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ที่มีนางสาวชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ในการจัดทํากรอบแนวทางการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร หลักเกณฑ์การพิจารณาอนุมัติแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และการใช้จ่ายงบประมาณด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ประจําปี 2560 และ 2561 ด้านนายชรินทร์ ดวงดารา ที่ปรึกษาเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย (คนท.)กล่าวว่า การเดินทางมาในวันนี้ เพื่อมาขอบคุณพลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจที่ทํางานแก้ไขปัญหามาตลอดระยะเวลา 60 วัน หลังจากมีการแต่งตั้งบอร์ด เป็นการทํางานที่เดินมาถูกทางแล้ว เนื่องจากมีการเข้าตรวจสอบข้อมูลเกษตรกรครบถ้วนเป็นครั้งแรกที่มีการสํารวจข้อมูลได้รอบด้าน เพราะที่ผ่านมาไม่เคยมีใครทํามาก่อน แม้จะยังมีความกังวลในกรอบระยะเวลาการทํางานของคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจ 180 วัน ที่อาจจะมีระยะเวลาที่สั้นไปในการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรได้แล้วเสร็จจึงได้เสนอรัฐมนตรีเกษตรฯ ขอขยายระยะเวลาการปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯ ชุดดังกล่าวให้มีความต่อเนื่องมากขึ้นด้วย นอกจากนี้ ยังขอสนับสนุนแนวทางเกษตรแปลงใหญ่ ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางของกองทุนฟื้นฟูฯ อยู่แล้ว หากต่างคนต่างทําก็ไม่รอด กระทรวงเกษตรฯ มีเครื่องมือมีกองทุน และสหกรณ์การเกษตรที่รองรับนโยบายเพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรมได้อย่างไรก็ตามกองทุนฟื้นฟูฯ ไม่เพียงแต่แก้ไขการจัดการหนี้เท่านั้น แต่อยากให้ปฏิรูปด้านการฟื้นฟูและด้านการบริหารจัดการด้วย เนื่องจากที่ผ่านมายังไม่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งขอให้พลเอกฉัตรชัย ดํารงตําแหน่งต่อไปเพื่อเดินหน้าแก้ไขปัญหา หากมีการปรับเปลี่ยนผู้บริหารอาจทําให้เสียเวลา เพราะความเดือดร้อนของเกษตรกรรอไม่ได้ กลุ่มโฆษกและวิเคราะห์ข่าว กองเกษตรสารนิเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสกรณ์ โทร 02-2810859 แฟกซ์ 02-2822871 [email protected] [email protected] www.moac.go.th www.facebook.com/kasetthai
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ตัวแทนเครือข่ายหนี้สินชาวนาพร้อมใจตบเท้าบุก ก.เกษตรฯ ให้กำลังใจรัฐมนตรีเกษตรฯ วันพุธที่ 26 กรกฎาคม 2560 ตัวแทนเครือข่ายหนี้สินชาวนาพร้อมใจตบเท้าบุก ก.เกษตรฯ ให้กําลังใจรัฐมนตรีเกษตรฯ ตัวแทนเครือข่ายหนี้สินชาวนาพร้อมใจตบเท้าบุก ก.เกษตรฯ ให้กําลังใจรัฐมนตรีเกษตรฯ เดินหน้าบอร์ดกฟก.เฉพาะกิจ เร่งแก้ไขปัญหาหนี้สิน “บิ๊กฉัตร” รับปากเตรียมเสนองบ 3,000 ล้านแก้หนี้เกษตรกรให้แล้วเสร็จตามกรอบ 180 วัน พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจ เปิดเผยในโอกาสให้เครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย (คนท.) เข้าพบว่า ตามที่มีคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 26/2560 เรื่องการแก้ปัญหาการดําเนินงานของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และได้มีการตั้งคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจขึ้น แทนคณะกรรมการชุดเดิมเพื่อแก้ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ที่ผ่านมามองเห็นปัญหาภาคการเกษตรของไทย ซึ่งจากการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเกษตรกรพบว่ายังมีปัญหาความเดือดร้อน ยากจน ปลูกพืชแล้วจน ต้นทุนแพงทําให้ ไม่มีกําไร จึงต้องกู้เงินมาทําเกษตร ซึ่งไม่ได้รับการแก้ไขมานานหลายปีเนื่องจากไม่มีแผนแก้ไขอย่างยั่งยืน วันนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดําเนินการแก้ไขปัญหาหลายเรื่องไปพร้อม ๆ กัน เช่น โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวไม่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการปศุสัตว์โคบาลบูรพาในพื้นที่ จ.สระแก้วเพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ดีขึ้น “ปัญหาเหล่านี้สะสมมานานจนเกิดเป็นปัญหาหนี้สินของเกษตรกร ซึ่งเป้าหมายตลอดเวลา 2 ปีที่ดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรที่ผ่านมามีนโยบายสําคัญที่ต้องการทําให้เกิด 3 ข้อ คือ 1. เกษตรกรมีความภูมิใจในอาชีพ 2. เกษตรกรมีรายได้เพียงพอต่อการทําเกษตร และ 3.เกษตรกรใช้ชีวิตพอเพียงตามแนวทางของรัชกาลที่ 9 เพื่อให้อยู่อย่างมีความสุขทั้งนี้ ตั้งใจที่จะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่เกษตร ซึ่งต้องใช้เวลาและความร่วมมือจากเกษตรกรต้องสร้างความมั่นใจ แก้ปัญหาความจนให้ได้รวมทั้งเจ้าหน้าที่ต้องมีความอดทนเพื่อทําในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร อย่างไรก็ตามได้ให้คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจเร่งเข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรที่เดือดร้อนทันที ตรวจสอบข้อมูลคุณสมบัติให้ถูกต้อง เพื่อให้เกิดความยุติธรรม โปร่งใส และยืนยันว่าจะเดินหน้าเรื่องนี้ให้เร็วสุดตามขั้นตอนสําหรับงบกรอบวงเงิน 3,000 ล้านบาท เพื่อนํามาแก้ไขปัญหากองทุนฟื้นฟูนั้น โดยมีแผนที่จะเสนองบประมาณดังกล่าวจากรัฐบาล ซึ่งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ได้รับปากแล้วว่ามีงบ3,000 ล้านบาทแน่นอน” สําหรับความก้าวหน้าการดําเนินงานของ คณะกรรมการ กฟก. เฉพาะกิจ แบ่งเป็น 1. การกําหนดหลักเกณฑ์การจัดการหนี้ของเกษตรกร โดยคณะอนุกรรมการจัดทาหลักเกณฑ์ การจัดการหนี้ของเกษตรกร กรณีเร่งด่วน โดยมีปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ได้เร่งจัดทําหลักเกณฑ์ และข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร ให้แล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคมนี้ 2. การกลั่นกรอง ตรวจสอบและยืนยันข้อมูลหนี้สินเกษตรกร โดยคณะอนุกรรมการกลั่นกรอง ตรวจสอบ และยืนยันข้อมูลหนี้สินเกษตรกร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน เพื่อตรวจสอบข้อมูล คัดกรอง ยืนยันข้อมูลหนี้สินเกษตรกร เพื่อนามา จัดกลุ่ม และบริหารจัดการให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาหนี้สินต่อไป คาดว่าจะดาเนินการตรวจสอบข้อมูล ให้แล้วเสร็จ ประมาณเดือนสิงหาคม 2560 3. การปรับปรุงโครงสร้างและกฎหมายของ กฟก. โดยคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงสร้างและกฎหมายของ กฟก. โดยมีปลัดสานักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดยมีกรอบเวลาจัดทําข้อเสนอแนวทางการปรับปรุงโครงสร้าง การพัฒนาการดาเนินงาน และการปรับแก้ไขกฎหมายของ กฟก. ภายในเดือนกันยายน 2560 4. การตรวจสอบ กลั่นกรองการใช้จ่ายงบประมาณของ กฟก. โดยคณะอนุกรรมการกลั่นกรองงบประมาณประจาปี 2560 และ 2561 ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ซึ่งจะพิจารณากลั่นกรองเสนอความเห็นเกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณประจาปี 2560 ต่อคณะกรรมการ กฟก. เฉพาะกิจ และการเสนอของบประมาณรายจ่ายประจาปี 2561 และ 5. การฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยคณะอนุกรรมการด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ที่มีนางสาวชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ในการจัดทํากรอบแนวทางการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร หลักเกณฑ์การพิจารณาอนุมัติแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และการใช้จ่ายงบประมาณด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ประจําปี 2560 และ 2561 ด้านนายชรินทร์ ดวงดารา ที่ปรึกษาเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย (คนท.)กล่าวว่า การเดินทางมาในวันนี้ เพื่อมาขอบคุณพลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจที่ทํางานแก้ไขปัญหามาตลอดระยะเวลา 60 วัน หลังจากมีการแต่งตั้งบอร์ด เป็นการทํางานที่เดินมาถูกทางแล้ว เนื่องจากมีการเข้าตรวจสอบข้อมูลเกษตรกรครบถ้วนเป็นครั้งแรกที่มีการสํารวจข้อมูลได้รอบด้าน เพราะที่ผ่านมาไม่เคยมีใครทํามาก่อน แม้จะยังมีความกังวลในกรอบระยะเวลาการทํางานของคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจ 180 วัน ที่อาจจะมีระยะเวลาที่สั้นไปในการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรได้แล้วเสร็จจึงได้เสนอรัฐมนตรีเกษตรฯ ขอขยายระยะเวลาการปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯ ชุดดังกล่าวให้มีความต่อเนื่องมากขึ้นด้วย นอกจากนี้ ยังขอสนับสนุนแนวทางเกษตรแปลงใหญ่ ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางของกองทุนฟื้นฟูฯ อยู่แล้ว หากต่างคนต่างทําก็ไม่รอด กระทรวงเกษตรฯ มีเครื่องมือมีกองทุน และสหกรณ์การเกษตรที่รองรับนโยบายเพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรมได้อย่างไรก็ตามกองทุนฟื้นฟูฯ ไม่เพียงแต่แก้ไขการจัดการหนี้เท่านั้น แต่อยากให้ปฏิรูปด้านการฟื้นฟูและด้านการบริหารจัดการด้วย เนื่องจากที่ผ่านมายังไม่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งขอให้พลเอกฉัตรชัย ดํารงตําแหน่งต่อไปเพื่อเดินหน้าแก้ไขปัญหา หากมีการปรับเปลี่ยนผู้บริหารอาจทําให้เสียเวลา เพราะความเดือดร้อนของเกษตรกรรอไม่ได้ กลุ่มโฆษกและวิเคราะห์ข่าว กองเกษตรสารนิเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสกรณ์ โทร 02-2810859 แฟกซ์ 02-2822871 [email protected] [email protected] www.moac.go.th www.facebook.com/kasetthai
http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/5493
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 15 เมษายน 2563
วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน 2563 สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 15 เมษายน 2563 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีผ่านระบบ Video Conference ซึ่งสรุปสาระสําคัญดังนี้ http://www.thaigov.go.th (โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง) วันนี้ (15 เมษายน 2563) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีผ่านระบบ Video Conference ซึ่งสรุปสาระสําคัญดังนี้ กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคให้แก่ สภากาชาดไทย) 2. เรื่อง ร่างระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... 3. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การจัดตั้งสํานักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ) 4. เรื่อง ร่างประกาศสํานักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดจํานวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจําปี พ.ศ. .... 5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศ สําหรับดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยและดอกเบี้ยพันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน) 6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 7. เรื่อง ร่างระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ําตาลทราย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนอ้อยและน้ําตาลทรายเพื่อใช้ในการดําเนินการ ตามวัตถุประสงค์ของกองทุนอ้อยและน้ําตาลทราย พ.ศ. .... 8. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ ย่อยสลายได้เองทางชีวภาพ) เศรษฐกิจ - สังคม 9. เรื่อง ขอสิทธิพิเศษลดหย่อนค่ากระแสไฟฟ้าให้แก่ทหารผ่านศึก 10. เรื่อง ขอความเห็นชอบในหลักการการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาหลัก – ลํารู่ บางส่วน เพื่อดําเนินการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ําคลองลํารูใหญ่ จังหวัดพังงา 11. เรื่อง ขอความเห็นชอบการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 12. เรื่อง โครงการเพื่อการพัฒนาปี 2562 ของการประปาส่วนภูมิภาค 13. เรื่อง โครงการเพื่อการพัฒนาปี 2563 ของการประปาส่วนภูมิภาค 14. เรื่อง รายงานผลการดําเนินงานโครงการส่งเสริมความรู้ให้กับ SMEs ในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ตามมาตรการเพิ่มขีดความสามารถและส่งเสริมความรู้ให้กับ SMEs ในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน 15. เรื่อง ร่างแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563-2565) 16. เรื่อง ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2563 เรื่อง การผ่อนปรนการดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 17. เรื่อง การปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อรองรับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 18. เรื่อง การเพิ่มอัตราข้าราชการตั้งใหม่ และมาตรการเพิ่มสิทธิประโยชน์อื่นสําหรับบุคลากรกระทรวงสาธารณสุขรองรับภาวะฉุกเฉินในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 19. เรื่อง รายงานผลการดําเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ประจําปี 2562 ต่างประเทศ 20. เรื่อง การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) สําหรับโครงการพัฒนาและปรับปรุงระบบสารสนเทศของ สปป.ลาว เพื่อเชื่อมโยงกับระบบ ASEAN Single Window 21. เรื่อง การรับรองขอบเขตอํานาจหน้าที่สภาการเทคนิคอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมแห่งอาเซียน (Ad-referendum Adoption of the Term of Reference of the ASEAN TVET Council) 22. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์สําหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน และการประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม สมัยพิเศษ ว่าด้วยโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) แต่งตั้ง 23. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สํานักข่าวกรองแห่งชาติ) 24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) 25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงมหาดไทย) 26. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสํานักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 27. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสํานักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร 28. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการการประปานครหลวง 29. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการสภาการศึกษา แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการศึกษาที่พ้นจากตําแหน่งก่อนครบวาระ 30. เรื่อง คําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ 112/2563 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกํากับดูแล ด้านผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ******************* สํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396 กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคให้แก่สภากาชาดไทย) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดําเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสํานักงบประมาณไปพิจารณาดําเนินการต่อไป กค. เสนอว่า 1. สภากาชาดไทยเป็นองค์กรสาธารณกุศลเพื่อมนุษยธรรมตามหลักการกาชาดสากลมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาพยาบาลผู้ป่วย บาดเจ็บบรรเทาทุกข์ในเหตุการณ์สาธารณภัย โดยไม่เลือกเชื้อชาติ สัญชาติ ลัทธิ ศาสนา โดยถือกําเนิดเมื่อปี พ.ศ. 2436 การดําเนินงานสภากาชาดไทยมีสํานักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาด ทําหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงานการดําเนินกิจการเหล่ากาชาดจังหวัด และกิ่งกาชาดอําเภอ ให้สามารถสนับสนุนภารกิจของสภากาชาดไทยอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักรในนามของ “เหล่ากาชาดจังหวัด” ซึ่งมีหน้าที่บรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัย และราษฎรที่ยากจนในท้องถิ่นทุรกันดาร ตลอดจนสนับสนุนและส่งเสริมกิจการอนุกาชาด อาสากาชาด บริการโลหิต และบริการดวงตา 2. โดยการดําเนินกิจการของสภากาชาดไทยมีแหล่งเงินทุนประกอบด้วย เงินจัดสรรให้โดยตรงจากงบประมาณรายจ่ายประจําปี เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้ ค่าบํารุง ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือรายได้จากการดําเนินการ รวมถึงดอกผลของเงินหรือรายได้จากทรัพย์สินของสภากาชาดไทย และโดยที่มาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยสภากาชาดไทย พ.ศ. 2461 บัญญัติให้สภากาชาดไทยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กรรมการสภากาชาดไทยจัดการเรี่ยไรในหนทางต่าง ๆ ที่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อรับเงินมาเป็นทุนดําเนินกิจการของสภากาชาดไทย 3. ดังนั้น เพื่อช่วยส่งเสริมให้มีการบริจาคให้แก่สภากาชาดไทยซึ่งเป็นหน่วยงานองค์กรสาธารณกุศลตามหลักการกาชาดสากล อันจะช่วยในการดําเนินงานของสภากาชาดไทย ซึ่งมีภารกิจด้านบริการทางการแพทย์และสุขอนามัยของประชาชนเป็นหลักสําคัญ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมสุขภาพอนามัยและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น เห็นควรกําหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อจูงใจให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการบริจาคเพื่อสนับสนุนการดําเนินงานของสภากาชาดไทย จึงเห็นควรยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ให้แก่บุคคลธรรมดา บริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสําหรับการบริจาคเงิน หรือทรัพย์สินให้แก่สภากาชาดไทย ทั้งนี้ มาตรการภาษีดังกล่าวสําหรับการบริจาคเงินหรือทรัพย์สินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ของกรมสรรพากรให้แก่สภากาชาดไทย ที่ได้กระทําตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 กค. จึงได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้ขึ้น 4. กค. ได้ดําเนินการจัดทําประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยรายงานว่ามาตรการทางภาษีดังกล่าวส่งผลให้ภาครัฐจัดเก็บภาษีลดลงตลอดระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์ประมาณ 180 ล้านบาท แต่มีประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ดังนี้ 4.1 ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมสนับสนุนการให้บริการสภากาชาดไทย ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพด้านการสาธารณสุขของประเทศให้ดีขึ้น และลดงบประมาณของรัฐ 4.2 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านการเงินของสภากาชาดไทย เพื่อนําไปใช้สนับสนุนบริการด้านสาธารณสุขให้เกิดความทั่วถึง และประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น 4.3 ประชาชนได้รับบริการด้านสาธารณสุขที่มีคุณภาพเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกาชาดสากล 4.4 ช่วยลดภาระการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลในด้านสาธารณสุข จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาเพื่อดําเนินการ สาระสําคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา 1. บุคคลธรรมดาที่บริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่สภากาชาดไทย สามารถหักลดหย่อนได้เป็นจํานวน 2 เท่าของจํานวนเงินที่บริจาค แต่เมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาสําหรับโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว 2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่บริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่สภากาชาดไทย สามารถหักรายจ่ายได้ 2 เท่าของรายจ่ายที่บริจาค ไม่ว่าจะได้จ่ายเป็นเงินหรือทรัพย์สิน แต่เมื่อรวมกับรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาสําหรับโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบ และรายจ่ายที่ได้จ่ายใน การจัดสร้างและการบํารุงรักษาสนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ หรือสนามกีฬาของเอกชนที่เปิดให้ประชาชนใช้เป็นการทั่วไปโดยไม่เก็บค่าบริการใด ๆ หรือสนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ หรือสนามกีฬาของทางราชการแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของกําไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ และรายจ่าย เพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬา 3. เงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สินหรือขายสินค้าหรือการกระทําตราสารที่มาจากการบริจาคให้แก่สภากาชาดไทยของบุคคลธรรมดา และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กําหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน หรือการขายสินค้า หรือสําหรับการกระทําตราสารอันเนื่องมาจากการบริจาคให้แก่สภากาชาดไทย โดยผู้โอนจะต้องไม่นําต้นทุนของทรัพย์สินหรือสินค้าซึ่งได้รับยกเว้นภาษีดังกล่าวมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล 4. ช่องทางการบริจาคที่ได้รับการยกเว้นรัษฎากร การบริจาคผ่านระบบอิเล็อทรอนิกส์ (e-Donation) ของกรมสรรพากร 5. ระยะเวลา สําหรับการบริจาคที่ได้กระทําตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 2. เรื่อง ร่างระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้ 1. เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยพิจารณาในประเด็นตามข้อสังเกตของสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และให้รับความเห็นของสํานักงาน ก.พ. และสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดําเนินการต่อไปได้ 2. ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สํานักงาน ก.พ. และสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคไปพิจารณาดําเนินการต่อไปด้วย คค. เสนอว่า 1. คค. โดยสํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... ร่วมกับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงมหาดไทย สํานักงาน ก.พ.ร. สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สํานักงบประมาณ ธนาคารแห่งประเทศไทย และคณะอนุกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรี (คกอ.) (คณะพิเศษ) ตามคําสั่งของรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) แล้วเห็นว่า ปัจจุบันนี้ยังไม่มีกฎหมายและหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุม กํากับ ดูแลและบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมให้สามารถใช้เชื่อมต่อในระบบการขนส่งมวลชนในทุกรูปแบบ ทั้งทางบก ทางราง ทางน้ํา และทางอากาศได้โดยตรง ดังนั้นจึงจําเป็นต้องจัดทําร่างพระราชบัญญัติฯ ต่อไป แต่เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบัน นวัตกรรมเทคโนโลยีระบบตั๋วร่วมและระบบการชําระเงินมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ประกอบกับจํานวนผู้ประกอบการขนส่งมวลชนทางรางกําลังจะเพิ่มขึ้นอีกหลายราย ทั้งในเขตกรุงเทพฯ จังหวัดปริมณฑล และเมืองหลักในภูมิภาค จึงจะทําให้การควบคุม กํากับ ดูแลและบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมเป็นไปอย่างยากลําบาก หากยังไม่มีหรือการออกกฎหมายพระราชบัญญัติในการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมล่าช้า ในระยะเริ่มแรกจึงเห็นสมควรจัดทําเป็นร่างระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... ขึ้นก่อน เพื่อให้มีกฎหมายและหน่วยงานกํากับดูแลการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมได้โดยเร็ว ซึ่งร่างระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีฯ เป็นเพียงมาตรการทางการบริหาร กํากับ ดูแลระบบตั๋วร่วม ใช้ได้เฉพาะกับผู้ประกอบการขนส่งที่เป็นหน่วยงานภาครัฐเท่านั้น ในอนาคตหากจะให้สามารถนําไปใช้กับผู้ประกอบการขนส่งทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งหมดจําเป็นต้องมีการจัดทําเป็นร่างพระราชบัญญัติต่อไป ซึ่งจะสามารถใช้บังคับกับผู้ประกอบการขนส่งทั้งภาครัฐและเอกชนได้ 2. ระบบตั๋วร่วมนี้เป็นไปตามนโยบายการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและนโยบายการลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน ของ คค. ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาการดํารงชีวิตของประชาชนโดยการจัดการระบบการขนส่งสาธารณะผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลของรัฐบาล ซึ่งการกําหนดนโยบายดังกล่าว คค. ได้จัดให้มีการศึกษาและจัดทําแผนการใช้บัตรโดยสารเชื่อมโยงรถไฟฟ้าทุกระบบ เช่น Common Ticket สามารถให้บริการได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่ออํานวยความสะดวกให้แก่ประชาชน และมีการพัฒนาการให้บริการรถโดยสารประจําทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และรถร่วมบริการให้เป็นรถโดยสารปรับอากาศทั้งระบบ และมีการจัดเก็บค่าโดยสารเป็นระบบบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Ticket) หรือระบบตั๋วร่วม รวมทั้งมีราคาค่าโดยสารที่เหมาะสม ทั้งนี้ต้องไม่มีผลกระทบต่องบประมาณภาครัฐ โดยมีการบริหารจัดการที่เป็นระบบ ไม่จัดเส้นทางเดินรถที่ซ้ําซ้อน และศึกษาแนวทางการปรับลดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าโดยต้องไม่เป็นภาระต่องบประมาณภาครัฐ 3. คค. โดยสํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ได้ดําเนินการออกแบบและพัฒนาระบบตั๋วร่วมแล้วเสร็จ พร้อมที่จะบูรณาการการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนในทุกรูปแบบ โดยผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนอาจจะต้องมีการปรับปรุงระบบจัดเก็บรายได้ และระบบการเชื่อมต่อข้อมูลเพื่อให้สามารถใช้งานในระบบตั๋วร่วมได้ สําหรับระบบขนส่งมวลชนที่อยู่ระหว่างดําเนินการก่อสร้างและอยู่ในแผนของ คค. จะต้องดําเนินการจัดทําระบบตามมาตรฐานระบบตั๋วร่วมที่กําหนดไว้ แต่การที่จะดําเนินการให้เกิดการบูรณาการเชื่อมต่อระบบตั๋วร่วมในระบบขนส่งมวลชนได้นั้น ตัองได้รับความร่วมมือจากผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนในการเข้าร่วมให้บริการระบบตั๋วร่วมและกําหนดอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม ซึ่งต้องอาศัยกลไกด้านกฎหมายในการกําหนดกรอบแนวทางการดําเนินงานและขอบเขตความร่วมมือการให้บริการระบบตั๋วร่วม รวมถึงหลักเกณฑ์การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมและสร้างเครื่องมือในการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้ระบบตั๋วร่วม โดยจะต้องมีหน่วยงานที่รับผิดชอบการดําเนินการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมอย่างชัดเจนทั้งในระดับนโยบาย ระดับกํากับดูแล และระดับปฏิบัติการ จึงจําเป็นจะต้องมีกฎหมายการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมและเพื่อให้มีการดําเนินการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมโดยเร็ว ทันต่อการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่กําลังจะเกิดขึ้น ดังนั้น จึงได้มีการยกร่างระเบียบในเรื่องนี้ขึ้น เพื่อกําหนดมาตรการทางการบริหาร กํากับ ดูแลระบบตั๋วร่วม โดยให้มีคณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วมและหน่วยงานระดับปฏิบัติการ เพื่อให้การบริหารงานระบบตั๋วร่วมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้เสนอร่างระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... มาเพื่อดําเนินการ สาระสําคัญของร่างระเบียบ 1. กําหนดให้มีการบริหารจัดการบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์หรือบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่ทั้งหมดด้วยระบบตั๋วร่วม 2. กําหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วม (คนต.) มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน และผู้อํานวยการสํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรเป็นกรรมการและเลขานุการ มีอํานาจหน้าที่กําหนดนโยบายการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม กําหนดมาตรการ หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและข้อกําหนดต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมและการใช้ตั๋วร่วม รวมทั้งเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางที่เกี่ยวข้องกับระบบตั๋วร่วมต่อคณะรัฐมนตรี และมอบหมายหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องดําเนินการตามที่ คนต. มอบหมาย รวมถึงแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือดําเนินการตามที่ คนต. ได้มอบหมาย 3. กําหนดให้สํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรเป็นหน่วยงานกํากับดูแลการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม มีหน้าที่กํากับดูแล ติดตาม และประเมินผลการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม และการดําเนินงานของผู้บริหารจัดการระบบตั๋วร่วมและผู้ให้บริการภาคขนส่งให้เป็นไปตามมาตรฐาน แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและรายงานต่อ คนต. เสนอแนะนโยบายในการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมและมาตรฐานหรือมาตรการการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม แนวทางการเชื่อมต่อระบบและแผนพัฒนาระบบตั๋วร่วมต่อ คนต. รวบรวมข้อมูลอัตราค่าโดยสาร ศึกษา วิเคราะห์ผลกระทบ และเสนอแนะกลไกหรือแนวทางการเจรจาตกลงในการกําหนดโครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วม 4. กําหนดให้มีผู้บริหารจัดการระบบตั๋วร่วม มีอํานาจหน้าที่บริหารจัดการและบํารุงรักษาระบบตั๋วร่วม บริหารศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง รวมถึงกํากับดูแลให้การดําเนินงานในการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมมีประสิทธิภาพ ตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบตั๋วร่วมของผู้ออกและจําหน่ายตั๋วร่วมรายอื่น ให้เป็นไปตามมาตรฐานตามข้อบังคับของคณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วม เพื่อให้ตั๋วร่วมทั้งหมดมีมาตรฐานเดียวกันและสามารถเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้ ควบคุมดูแลผู้ให้บริการภาคขนส่งเพื่อให้การดําเนินงานในการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีหน้าที่รายงานต่อหน่วยงานกํากับดูแลการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม เมื่อผู้ให้บริการภาคขนส่งไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน มาตรการ หลักเกณฑ์ เงื่อนไข หรือข้อกําหนดใด ๆ ที่กําหนดไว้ในระเบียบหรือประกาศของ คนต. รวมทั้งจัดเก็บข้อมูลในการใช้บริการระบบตั๋วร่วมหรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระบบขนส่งและนอกระบบภาคขนส่งและการจัดส่งข้อมูลการใช้ตั๋วร่วม การชําระเงิน และค่าใช้จ่ายอื่นใดให้แก่ธนาคารเพื่อการบริหารจัดการรายได้ พร้อมกับรวบรวมข้อมูลและประมวลผลข้อมูลเพื่อรายงานต่อหน่วยงานกํากับดูแลการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมและ คนต. 3. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การจัดตั้งสํานักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การจัดตั้งสํานักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ) ที่สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป โดยให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่า ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ตราขึ้นเพื่อดําเนินการตาม หมวด 16 การปฏิรูปประเทศของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปดําเนินการจัดทําร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของสํานักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติต่อไป สาระสําคัญของร่างพระราชบัญญัติ 1. กําหนดให้สํานักนายกรัฐมนตรีมีอํานาจหน้าที่ในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ รวมทั้งกําหนดให้สํานักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเป็นส่วนราชการระดับกรมในสํานักนายกรัฐมนตรีที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี 2. แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติว่าด้วยการโอนบรรดาอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการและผู้ปฏิบัติงานตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง และมติคณะรัฐมนตรี รวมทั้งกิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกองแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ สํานักงานปลัดกระทรวง ทส. และกองบริหารจัดการที่ดิน สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทส. เฉพาะในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับงานตามภารกิจของคณะกรรมการจัดที่ดิน ไปเป็นของสํานักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ สํานักนายกรัฐมนตรี 3. แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติว่าด้วยการโอนบรรดาอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการและผู้ปฏิบัติงานตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง และมติคณะรัฐมนตรี รวมทั้งกิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ และอัตรากําลังของกองบริหารจัดการที่ดิน สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทส. เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับงานตามภารกิจของคณะกรรมการจัดที่ดิน ไปเป็นของกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย 4. เรื่อง ร่างประกาศสํานักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดจํานวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจําปี พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศสํานักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดจํานวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจําปี พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ดําเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของสํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติไปพิจารณาดําเนินการต่อไป มท. เสนอว่า 1. ในปัจจุบันการเข้ามาอยู่ในประเทศไทยของชาวต่างชาตินับได้ว่ามีความสําคัญต่อสังคมไทยโดยมีเหตุผลที่ต้องการเข้ามามีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทยหลายประการ เช่น เข้ามาเพื่อทํางาน เพื่อการลงทุน เพื่ออยู่กับครอบครัว คู่สมรส หรือบุตรที่อยู่ในประเทศไทย การสนับสนุนชาวต่างชาติที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาดําเนินธุรกิจหรือลงทุนในประเทศไทย เป็นการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยได้ประการหนึ่ง ทําให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังต้องการการลงทุนจากต่างประเทศ ดังนั้น เพื่อเป็นการดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศไทย และสร้างความเชื่อมั่นให้กับชาวต่างชาติที่ต้องการเข้ามาลงทุน อีกทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ครอบครัวมีความมั่นคงและอบอุ่น การให้ถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรแก่คนต่างด้าวจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับชาวต่างชาติที่ต้องการเข้ามาอยู่ในประเทศไทยได้อย่างปลอดภัยและสะดวกสบาย 2. โดยที่มาตรา 40 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีมีอํานาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา กําหนดจํานวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรเป็นรายปี แต่มิให้เกินประเทศละ 100 คนต่อปี และสําหรับคนต่างด้าวไร้สัญชาติมิให้เกิน 50 คนต่อปี และมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่บัญญัติให้คนต่างด้าวจะเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรมิได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองและด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ประกอบกับมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 ที่บัญญัติให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น มท. จึงเห็นควรประกาศกําหนดจํานวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจําปี พ.ศ. 2563 3. คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองได้ประชุมเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2562 มีมติเห็นชอบร่างประกาศสํานักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวแล้ว สาระสําคัญของร่างประกาศสํานักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทย กําหนดให้คนต่างด้าวที่มีสัญชาติของแต่ละประเทศซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจําปี พ.ศ. 2563 มีจํานวนประเทศละไม่เกิน 100 คน และคนต่างด้าวไร้สัญชาติมีจํานวนไม่เกิน 50 คน 5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศ สําหรับดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยและดอกเบี้ยพันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ดําเนินการต่อไปได้ สาระสําคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา เป็นการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือดอกเบี้ยพันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เพื่อให้มาตรการภาษีในเรื่องนี้ตามคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 17/2561 เรื่อง การยกเว้นภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรบางกรณี ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2561 เป็นมาตรการระยะยาว 6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดําเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงบประมาณ สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ไปพิจารณาดําเนินการต่อไปด้วย กค. เสนอว่า 1. เนื่องด้วยกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีสาระสําคัญเป็นการกําหนดขอบเขต ประเภทของหลักทรัพย์ และสัดส่วนในการนําเงินของกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (กบข.) ไปลงทุนหาผลประโยชน์ โดยในส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์ในต่างประเทศ ให้นําเงินไปลงทุนได้ไม่เกินร้อยละ 30 2. โดยที่สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการลงทุนที่เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับการกําหนดสัดส่วนในการนําเงินของ กบข. ไปลงทุนหาผลประโยชน์ตามที่กําหนดในปัจจุบัน ทําให้มีการลงทุนที่กระจุกตัวอยู่ในตราสารหนี้ไทย และขาดการกระจายความเสี่ยงที่ดี ดังนั้น จึงมีความจําเป็นต้องแก้ไขกฎกระทรวงตามข้อ 1. เพื่อปรับเพดานสัดส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์ในต่างประเทศ จากเดิมไม่เกินร้อยละ 30 เป็นไม่เกินร้อยละ 40 ซึ่งจะช่วยเพิ่มเป้าหมายผลตอบแทนระยะยาวให้แก่สมาชิก กบข. และสร้างความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการกองทุน รวมทั้งยังสามารถช่วยลดแรงกดดันของค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมา 3. การแก้ไขกฎกระทรวงฯ เพื่อปรับเพดานสัดส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์ในต่างประเทศนั้นยังสามารถขยายเพดานการลงทุนของ กบข. ได้ เนื่องจากยังอยู่ในกรอบการลงทุนตามมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 ที่กําหนดให้วงเงินของกองทุนต้องลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 และสินทรัพย์อื่นได้ไม่เกินร้อยละ 40 จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาเพื่อดําเนินการ สาระสําคัญของร่างกฎกระทรวง กําหนดให้การลงทุนในหลักทรัพย์ในต่างประเทศได้ไม่เกินร้อยละ 40 7. เรื่อง ร่างระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ําตาลทราย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนอ้อยและน้ําตาลทรายเพื่อใช้ในการดําเนินการตามวัตถุประสงค์ของกองทุนอ้อยและน้ําตาลทราย พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ําตาลทราย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนอ้อยและน้ําตาลทรายเพื่อใช้ในการดําเนินการตามวัตถุประสงค์ของกองทุนอ้อยและน้ําตาลทราย พ.ศ. .... ที่คณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้ดําเนินการต่อไปได้ สาระสําคัญของร่างระเบียบ 1. การยกเลิกระเบียบฉบับเดิม ยกเลิกระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ําตาลทราย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2543 ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดเก็บเงินจากการจําหน่ายน้ําตาลทรายขาวบริสุทธิ์ น้ําตาลทรายขาว และน้ําตาลทรายสีรําภายในราชอาณาจักร เข้ากองทุนอ้อยและน้ําตาลทราย และระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ําตาลทรายว่าด้วย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดเก็บเงินจากการจําหน่ายน้ําตาลทรายขาวบริสุทธิ์ น้ําตาลทรายขาว และน้ําตาลทรายสีรําภายในราชอาณาจักร เข้ากองทุนอ้อยและน้ําตาลทราย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2547 2. ผลใช้บังคับ กําหนดให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2561 เป็นต้นไป 3. หลักเกณฑ์การนําส่งเงินเข้ากองทุนอ้อยและน้ําตาลทรายของโรงงานอ้อยและน้ําตาลทราย กําหนดให้โรงงานอ้อยและน้ําตาลทรายนําส่งเงินเข้ากองทุนอ้อยและน้ําตาลโดยคํานวณจากปริมาณอ้อยที่ชาวไร่อ้อยส่งให้แก่โรงงานในแต่ละฤดูการผลิตอัตรายี่สิบบาทต่อหนึ่งตันอ้อย โดยแบ่งชําระเป็น 4 งวด ดังนี้ (1) งวดที่ 1 ภายในเดือนมิถุนายน (2) งวดที่ 2 ภายในเดือนสิงหาคม (3) งวดที่ 3 ภายในเดือนตุลาคม (4) งวดที่ 4 ภายในเดือนธันวาคม เงินที่กองทุนอ้อยและน้ําตาลทรายได้รับ ให้ตกเป็นของกองทุนอ้อยและน้ําตาลทรายตามมาตรา 27 (8) แห่งพระราชบัญญัติอ้อยและน้ําตาลทราย พ.ศ. 2527 4. กรณีโรงงานไม่นําส่งเงินเข้ากองทุนอ้อยและน้ําตาลทราย กรณีโรงงานไม่นําส่งเงินเข้ากองทุนอ้อยและน้ําตาลทรายภายในระยะเวลาที่กําหนด ให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี นับแต่วันถัดจากวันที่ครบกําหนดชําระจนกว่าจะได้ทําการชําระเสร็จสิ้น 5. บทเฉพาะกาล โรงานที่ยังมิได้นําส่งเงินเข้ากองทุนอ้อยและน้ําตาลทราย สําหรับฤดูการผลิต ปี 2560/2561 ให้ดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) งวดก่อนวันที่ 15 มกราคม 2561 ให้นําส่งเงินตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ําตาลทราย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2543ฯ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ระเบียบนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา (2) งวดตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2561 ให้นําส่งเงินตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ระเบียบนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา โรงงานซึ่งได้นําส่งเงินเข้ากองทุนอ้อยและน้ําตาลทรายสําหรับฤดูการผลิต ปี 2560/61 งวดตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2561 โดยเป็นการนําส่งเงินตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ตามระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ําตาลทราย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2543ฯ ให้โรงงานนั้นมีหน้าที่นําส่งเงินเพิ่มให้ครบตามจํานวนที่กําหนดไว้ตามระเบียบนี้ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ระเบียบนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้โรงงานนําส่งเงินเข้ากองทุนอ้อยและน้ําตาลทรายตามระเบียบนี้ สําหรับฤดูการผลิตปี 2561/2562 งวดก่อนระเบียบนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ระเบียบนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 8. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้เองทางชีวภาพ) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้เองทางชีวภาพ) ที่สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ดําเนินการต่อไปได้ กค. เสนอว่า การดําเนินการตามมาตรการนี้คาดว่าจะก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐและประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ดังนี้ 1. ประมาณการสูญเสียรายได้ โดยการกําหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีนี้จะทําให้ภาครัฐสูญเสียรายได้ในปี 2562 ถึง 2564 ประมาณปีละ 450 ล้านบาท 2. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ จะช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ และช่วยลดงบประมาณของภาครัฐในการกําจัดขยะพลาสติกตกค้าง โดยคาดว่าผู้ประกอบการจะเปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 ต่อปี ของปริมาณการผลิตพลาสติกทั้งหมดจํานวนปีละ 431,800 ตัน และเพิ่มทางเลือกของการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้ทดแทนพลาสติกที่สลายตัวไม่ได้ทางชีวภาพ อันจะช่วยส่งเสริมให้บรรลุเป้าประสงค์ในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็น Bio Hub of ASEAN จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้เองทางชีวภาพ) มาเพื่อดําเนินการ สาระสําคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา กําหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสําหรับเงินได้เป็นจํานวนร้อยละยี่สิบห้าของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพตามประเภทที่อธิบดีประกาศกําหนด และได้รับการรับรองผลิตภัณฑ์จากสํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สําหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 เศรษฐกิจ - สังคม 9. เรื่อง ขอสิทธิพิเศษลดหย่อนค่ากระแสไฟฟ้าให้แก่ทหารผ่านศึก คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการตามที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเสนอ ให้สิทธิพิเศษลดหย่อนค่ากระแสไฟฟ้าแก่ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 หรือเหรียญราชการชายแดน หรือเหรียญอื่นที่เทียบเท่า ที่มีคุณสมบัติเป็นทหารผ่านศึกและได้รับบัตรประจําตัวทหารผ่านศึกนอกประจําการ บัตรชั้นที่ 3 แล้วเท่านั้น จํานวน 102,000 ราย ได้รับสิทธิพิเศษลดหย่อนค่ากระแสไฟฟ้าโดยการจัดกลุ่มผู้มีสิทธิ ดังนี้ 1. กลุ่มผู้ถือบัตรชั้นที่ 3 ที่มีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี จํานวน 41,177 ราย ให้ได้รับสิทธิพิเศษลดหย่อนค่ากระแสไฟฟ้า รายละ 45 หน่วยต่อเดือน 2. กลุ่มผู้ถือบัตรชั้นที่ 3 ที่มีรายได้เกิน 100,000 บาทต่อปี จํานวน 60,823 ราย ให้ได้รับสิทธิพิเศษลดหย่อนค่ากระแสไฟฟ้า รายละ 40 หน่วยต่อเดือน ทั้งนี้ การให้สิทธิพิเศษดังกล่าวควรมีการตรวจสอบจํานวนผู้มีสิทธิให้มีความถูกต้องชัดเจนตามจํานวนที่มีอยู่จริง และไม่ซ้ําซ้อนกับผู้มีสิทธิตามมาตรการหรือโครงการสวัสดิการอื่นของรัฐ สําหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ให้กระทรวงกลาโหมพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงาน และแผนการใช้จ่ายงบประมาณขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก (อผศ.) มาดําเนินการเพื่อการดังกล่าว หากไม่เพียงพอ ให้นําเงินนอกงบประมาณมาสมทบ สําหรับค่าใช้จ่ายในปีต่อ ๆ ไป ให้พิจารณาใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณเป็นลําดับแรก และหากไม่เพียงพอ เห็นควรให้เสนอขอจากงบประมาณรายจ่ายประจําปีขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกที่จะได้รับอุดหนุนจากรัฐบาล ตามความเห็นของสํานักงบประมาณ (สงป.) สาระสําคัญของเรื่อง กระทรวงกลาโหม (กห.) รายงานว่า 1. ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 นั้น กห. (อผศ.) ได้พิจารณาดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีและความเห็นของ สงป. โดยพิจารณาประเภทการสงเคราะห์ตามสิทธิที่พึงได้รับลดหลั่นตามชั้นบัตร เช่นเดียวกับแนวทางการให้การสงเคราะห์ประเภทอื่น ๆ เพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ําซึ่งสิทธิที่พึงจะได้รับจะมีสัดส่วนที่แตกต่างกันตามประเภทการสงเคราะห์และพิจารณา การจัดลําดับ หรือกลุ่มผู้ถือบัตรตามฐานรายได้ที่ได้รับในการให้สิทธิพิเศษ ซึ่งในการประชุมสภาทหารผ่านศึก ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2563 ได้มีมติเห็นชอบการขอสิทธิพิเศษลดหย่อนค่ากระแสไฟฟ้าให้แก่ทหารผ่านศึกกลุ่มถือบัตรชั้นที่ 3 สรุปได้ ดังนี้ 1.1 กลุ่มผู้ถือบัตรชั้นที่ 3 ที่มีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี จํานวน 41,177 ราย ให้ได้รับสิทธิพิเศษลดหย่อนค่ากระแสไฟฟ้า รายละ 45 หน่วยต่อเดือน ใช้งบประมาณจํานวน 74.27 ล้านบาทต่อปี 1.2 กลุ่มผู้ถือบัตรชั้นที่ 3 ที่มีรายได้เกิน 100,000 บาทต่อปี จํานวน 60,823 ราย ให้ได้รับสิทธิพิเศษลดหย่อนค่ากระแสไฟฟ้า รายละ 40 หน่วยต่อเดือน ใช้งบประมาณจํานวน 97.51 ล้านบาทต่อปี รวมงบประมาณที่ต้องใช้เป็นเงินจํานวน 171.78 ล้านบาทต่อปี และให้นําเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป 2. รายละเอียดในการดําเนินการสรุปได้ ดังนี้ ขั้นตอนในการดําเนินการ 1) เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้สิทธิพิเศษลดหย่อนค่ากระแสไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว ทหารผ่าน ศึกฯ จะต้องยื่นคําร้องขอหนังสือรับรองการเป็นทหารผ่านศึกจาก อผศ. ก่อน เพื่อยืนยันว่าเป็นผู้มีสิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีจริง 2) จากนั้นทหารผ่านศึกฯ จึงนําหนังสือรับรองดังกล่าวไปแสดงกับการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) 3) เมื่อ กฟน. หรือ กฟภ. ได้รับหนังสือรับรองแล้ว จึงจะให้สิทธิพิเศษลดหย่อนค่ากระแสไฟฟ้าตามมติคณะรัฐมนตรีต่อไป 4) สําหรับการเรียกชําระเงินค่าชดเชยส่วนลดหย่อนค่ากระแสไฟฟ้านั้น กฟน. หรือ กฟภ. จะมีหนังสือเรียกเก็บจาก อผศ. ในแต่ละเดือน ประโยชน์ที่จะได้รับ 1) ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัวของทหารผ่านศึกฯ อันเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพชีวิต 2) ทําให้ทหารผ่านศึกฯ ได้ตระหนักถึงเจตนารมณ์ของรัฐบาลที่ให้ความสําคัญแก่ทหารผ่านศึกผู้ที่เคยกระทําคุณงามความดีเพื่อปกป้องอธิปไตยและความสงบเรียบร้อยของประเทศมาแล้ว 3) ส่งเสริมให้สังคมได้มีส่วนร่วมในการยกย่องและเชิดชูเกียรติแก่ทหารผ่านศึก หมายเหตุ อผศ. แบ่งประเภทบัตรประจําตัวทหารผ่านศึกฯ เป็น 4 ชั้นบัตร ดังนี้ บัตรชั้นที่ 1 ออกให้แก่ ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีด้วยความกล้าหาญ เหรียญดุษฎีมาลาเข็มกล้าหาญ หรือเหรียญกล้าหาญ ทหารผ่านศึกฯ ที่พิการทุพพลภาพจากการปฏิบัติหน้าที่ และครอบครัวทหารผ่านศึก บัตรชั้นที่ 1 (ครอบครัวของทหารที่เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่) บัตรชั้นที่ 2 ออกให้แก่ ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เหรียญพิทักษ์เสรีชนชั้นที่ 1 เหรียญงานพระราชสงครามในทวีปยุโรป หรือเหรียญอื่นที่เทียบเท่า บัตรชั้นที่ 3 ออกให้แก่ ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เหรียญราชการเขตภายใน เหรียญราชการชายแดน เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 หรือเหรียญอื่นที่เทียบเท่า และต้องมีระยะเวลาการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 8 เดือน บัตรชั้นที่ 4 ออกให้แก่ ผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานเหรียญใด ๆ และต้องมีระยะเวลาการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 8 เดือน ซึ่งปัจจุบันมีทหารผ่านศึกฯ จํานวนประมาณ 646,674 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2562) 10. เรื่อง ขอความเห็นชอบในหลักการการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาหลัก – ลํารู่ บางส่วน เพื่อดําเนินการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ําคลองลํารูใหญ่ จังหวัดพังงา คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้ 1. เห็นชอบในหลักการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติเพื่อก่อสร้างโครงการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดําเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ให้เร่งดําเนินโครงการดังกล่าวให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กําหนดไว้ด้วย 2. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน) ดําเนินการให้เป็นไปตามความเห็นของสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการทรัพยากรน้ําแห่งชาติ และให้รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและกระทรวงมหาดไทยไปพิจารณาดําเนินการต่อไปด้วย 3. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดําเนินการให้เป็นไปตามความเห็นของสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อไป สาระสําคัญของเรื่อง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทาน ได้จัดทําโครงการอ่างเก็บน้ําคลองลํารูใหญ่ จังหวัดพังงา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) แก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ําสําหรับอุปโภค – บริโภค การเกษตรกรรม 2) สนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวบริเวณเขาหลักของอําเภอท้ายเหมือง อําเภอตะกั่วป่า และอําเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา และ 3) เพื่อภารกิจเสริมความมั่นคงด้านน้ําของฐานทัพเรือพังงา รวมทั้งการบรรเทาอุทกภัยทางด้านท้ายน้ําที่จะเกิดขึ้นในฤดูน้ําหลาก โดยมีระยะเวลาการดําเนินโครงการ 4 ปี (ปี 2564 - 2567) วงเงินงบประมาณ 659 ล้านบาท โดยพื้นที่ของโครงการ จํานวน 1,250 ไร่ อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาหลัก – ลํารู่ ในท้องที่บ้านลํารู ตําบลลําแก่น อําเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ทั้งหมด กรมชลประทานจึงได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเพื่อขอใช้พื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาหลัก – ลํารู่ โดยได้มีหนังสือขออนุญาตเข้าทําประโยชน์ภายในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแล้ว และคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้เห็นชอบในหลักการการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติเขาหลัก – ลํารู่ เนื้อที่ 1,250 ไร่ ด้วยแล้ว โดยให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมชลประทานพิจารณาดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมชลประทานจะต้องควบคุมไม่ให้มีผู้ประกอบการแพ และบุคคลใด ๆ เข้าไปครอบครองพื้นที่น้ําและพื้นที่ขอบอ่างเก็บน้ําโดยเด็ดขาด ในการออกแบบและก่อสร้างเส้นทางเพื่อเข้าไปบริเวณก่อสร้างอ่างเก็บน้ํา กรมชลประทานจะต้องดําเนินการด้วยความระมัดระวังไม่ให้เกิดการทําลายหรือสร้างผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและให้ดําเนินการเฉพาะในส่วนพื้นที่ที่ได้รับอนุมัติให้เพิกถอนออกจากอุทยานแห่งชาติเท่านั้น ภายหลังจากการก่อสร้างอ่างเก็บน้ําแล้วเสร็จ ให้กรมชลประทานส่งมอบคืนพื้นที่ดังกล่าวให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อกําหนดเป็นอุทยานแห่งชาติอีกครั้งโดยเร็ว เป็นต้น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เห็นชอบด้วยแล้ว 11. เรื่อง ขอความเห็นชอบการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จําหน่ายที่ดิน ซึ่งเป็นที่ตั้งสถานีไฟฟ้าย่อยเชียงใหม่ 2 (บางส่วน) ของ กฟผ. แปลงโฉนดที่ดินเลขที่ 1 3 2 3 4 ท้องที่ตําบลป่าตัน อําเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ประมาณ 0-3-30 ไร่ ให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ในราคาที่ดิน ตารางวาละ 57,000 บาท เป็นเงินประมาณ 18,810,000 บาท หรือตามเนื้อที่ที่อาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงหลักจากทําการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว ราคาสิ่งปลูกสร้างเป็นเงิน 833,530 บาท ค่าจ้างบริษัทเอกชนประเมินมูลค่าที่ดินเป็นเงิน 37,985 บาท และค่าดําเนินการเป็นเงินประมาณ 3,936,303 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 23,617,818 บาท โดยมีเงื่อนไขว่า กฟภ. ต้องเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในแปลงที่ดินที่จะขาย ค่าอากรแสตมป์ ค่าภาษีเงินได้ ค่าภาษีส่วนท้องถิ่น ตลอดจนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เองทั้งสิ้น สาระสําคัญของเรื่อง พน. รายงานว่า 1. กฟภ. มีความประสงค์ขอแบ่งซื้อที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งสถานีไฟฟ้าย่อยเชียงใหม่ 2 ของ กฟผ. ซึ่งปรากฏตามหลักฐานโฉนดที่ดินเลขที่ 13234 ตําบลป่าตัน อําเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ประมาณ 0-3-30 ไร่ เพื่อใช้เป็นทางเข้า – ออก ของสายส่งไฟฟ้าแรงสูงขนาด 115 กิโลโวลต์ จากสถานีไฟฟ้าเชียงใหม่ 2 จังหวัดเชียงใหม่ ของ กฟภ. ไปยังถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ลําปาง – เชียงใหม่ สําหรับจําหน่ายให้ประชาชนในพื้นที่ โดย กฟผ. ได้ตรวจสอบสภาพพื้นที่ดังกล่าว พบว่าปัจจุบัน กฟผ. ใช้เป็นลานเก็บอะไหล่ (Spare parts) และเป็นถนนคอนกรีตทางเข้าลานเก็บอะไหล่ 2. กฟผ. ได้พิจารณากําหนดราคาที่ดิน ราคาสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในพื้นที่ที่จะขายและค่าใช้จ่ายในการดําเนินการ รายละเอียดดังนี้ รายการ จํานวนเงิน (บาท) ที่มาของราคา 1. ราคาที่ดิน เนื้อที่ประมาณ 0-3-30 ไร่ ตารางวาละ 57,000 บาท กฟผ. ได้ว่าจ้างบริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียล เอสเตท แอฟแฟร์ส จํากัด ประเมินมูลค่าที่ดิน เนื่องจากเป็นสถาบันวิชาชีพที่มีมาตรฐาน มีความเป็นกลางและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป 2. ราคาประเมินสิ่งปลูกสร้างที่ปรากฏบนที่ดินที่ กฟผ. พิจารณาแบ่งขาย กฟผ. ประเมินราคาสิ่งปลูกสร้างตามหลักเกณฑ์ในบัญชีราคากลางอาคารโรงเรือน และสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2559 ของ กฟผ. 3. ค่าจ้างบริษัทเอกชนประเมินมูลค่าที่ดิน - 4. ค่าดําเนินการร้อยละ 20 ของต้นทุน [(ลําดับที่ 1 + 2 + 3) x ร้อยละ 20] ความเห็นกระทรวงการคลังประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี กรณี กฟผ. ขอความเห็นชอบการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์อันมีราคาเกิน 10 ล้านบาท รวม 3. กฟผ. ได้แจ้งราคาแบ่งขายที่ดินให้ กฟภ. รวมเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 23,617,818 บาท โดยมีเงื่อนไขให้ กฟภ. เป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง และค่าภาษีทุกประเภทที่ต้องชําระ ณ สํานักงานที่ดินเพื่อพิจารณา ซึ่งต่อมา กฟภ. แจ้งตอบรับราคาและตอบตกลงแบ่งซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของสถานีไฟฟ้าย่อยเชียงใหม่ 2 ของ กฟผ. ตามราคาและเงื่อนไขที่ กฟผ. ได้แจ้ง 4. คณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในคราวประชุมครั้งที่ 12/2561 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2561 พิจารณาแล้วเห็นว่า การขายที่ดินในครั้งนี้คํานึงถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับและไม่ส่งผลกระทบต่อการดําเนินงานของ กฟผ. ทั้งในปัจจุบันและอนาคต จึงมีมติอนุมัติให้ขายที่ดินที่เป็นที่ตั้งสถานีไฟฟ้าย่อยเชียงใหม่ 2 (บางส่วน) จากโฉนดที่ดินเลขที่ 13234 ท้องที่ตําบลป่าตัน อําเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ประมาณ 0-3-30 ไร่ ให้แก่ กฟภ. ในราคาที่ดินตารางวาละ 57,000 บาท เป็นเงินประมาณ 18,810,000 บาท หรือตามเนื้อที่ที่อาจจะเพิ่มขึ้น/ลดลง หลักจากทําการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว ราคาค่าสิ่งปลูกสร้างเป็นเงิน 833,530 บาท ค่าจ้างบริษัทเอกชนประเมินมูลค่าที่ดินเป็นเงิน 37,985 บาท และค่าดําเนินการเป็นเงินประมาณ 3,936,303 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 23,617,818 บาท โดยมีเงื่อนไขว่า กฟภ. ต้องเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในแปลงที่ดินที่จะขาย ค่าอากรแสตมป์ ค่าภาษีเงินได้ ค่าภาษีส่วนท้องถิ่น ตลอดจนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เองทั้งสิ้น ทั้งนี้ ให้นําเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป 12. เรื่อง โครงการเพื่อการพัฒนาปี 2562 ของการประปาส่วนภูมิภาค คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอให้การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ดําเนินโครงการเพื่อการพัฒนาปี 2562 ของ กปภ. จํานวน 5 โครงการ วงเงินรวมทั้งสิ้น 2,121.144 ล้านบาท ดังนี้ หน่วย : ล้านบาท โครงการ แหล่งเงิน การบริหารจัดการลดน้ําสูญเสีย รวม เงินอุดหนุน เงินกู้ในประเทศ เงินรายได้ กปภ. โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยาย (แผนงานก่อสร้างปรับปรุงขยาย และแผนการบริหารจัดการลดน้ําสูญเสีย) 1. สาขาเลย 244.349 81.449 88.887 414.685 2. สาขาชัยนาท – (หันคา) 293.020 97.674 80.073 470.767 3. สาขาสุไหงโก-ลก-(ตากใบ) (เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนราธิวาส) 222.449 74.149 76.000 372.598 4. สาขานครนายก 465.000 155.000 225.889 845.889 โครงการก่อสร้างปรับปรุงกิจการประปาภายหลังรับโอน 5. สาขาสิงห์บุรี (ท่าวุ้ง) 12.904 4.301 - 17.205 รวม 1,237.722 412.573 470.849 2,121.144 สาระสําคัญของเรื่อง กระทรวงมหาดไทย โดยการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ได้เสนอขอความเห็นชอบให้ กปภ. ดําเนินโครงการเพื่อการพัฒนาปี 2562 จํานวน 5 โครงการ โดยในการดําเนินโครงการฯ จะมีการก่อสร้างวางท่อส่งน้ํา ท่อจ่ายน้ํา ปรับปรุงเส้นท่อที่ชํารุดและวางท่อใหม่ในเขตจ่ายน้ําต่าง ๆ และพื้นที่ข้างเคียง ความยาวรวมทั้งสิ้นประมาณ 962.3 กิโลเมตร และมีระบบผลิตน้ําประปาเพิ่มขึ้น โดยมีเป้าหมายกําลังผลิต เพิ่มขึ้นอีก 67,200 ลูกบาศก์เมตร/วัน และสามารถให้บริการผู้ใช้น้ํา เพิ่มขึ้นอีก 46,728 ราย ทั้งนี้ โครงการมีวงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 2,121.144 ล้านบาท ประกอบด้วย เงินอุดหนุน 1,237.722 ล้านบาท เงินกู้ในประเทศ 412.573 ล้านบาท และเงินรายได้ของ กปภ. 470.849 ล้านบาท เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบผลิต ระบบส่งน้ํา และระบบจ่ายน้ําประปาในพื้นที่ที่ประสบปัญหาให้สามารถบริการน้ําประปาแก่ประชาชนได้เพิ่มขึ้นในอนาคตอย่างพอเพียง เพื่อกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค รวมถึงเพื่อบริหารจัดการลดน้ําสูญเสียในระบบผลิต – จ่ายให้เป็นไปตามเป้าหมายและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ 13. เรื่อง โครงการเพื่อการพัฒนาปี 2563 ของการประปาส่วนภูมิภาค คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการโครงการเพื่อการพัฒนาปี 2563 ของการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) จํานวนรวมทั้งสิ้น 9 โครงการ (ประกอบด้วยแผนงานโครงการก่อสร้างปรับปรุงขยาย กปภ. จํานวน 8 โครงการ และแผนงานโครงการก่อสร้างปรับปรุงกิจการประปา จํานวน 1 โครงการ) วงเงินรวมทั้งสิ้น 9,629.991 ล้านบาท ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ ทั้งนี้ ในส่วนของเงินกู้ในประเทศ ให้ มท. (กปภ.) ดําเนินการตามความเห็นของ กค. รวมทั้งให้ มท. (กปภ.) รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาดําเนินการต่อไปด้วย หน่วย : ล้านบาท แผนงาน/โครงการ แหล่งเงิน แผนการบริหาร จัดการลดน้ําสูญเสีย รวม เงินอุดหนุน เงินกู้ในประเทศ เงินรายได้ กปภ. 1. แผนงานโครงการก่อสร้างปรับปรุงขยาย กปภ. 1.1 สาขาพัทยา – แหลมฉบัง – ศรีราชา [รองรับโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก [Eastern Economic Corridor : (EEC)] 1,125.000 375.000 348.979 1,848.979 1.2 สาขาชลบุรี – พนัสนิคม – (พานทอง) – (ท่าบุญมี) ระยะที่ 2 (รองรับ EEC) 1,275.000 425.000 426.028 2,126.028 1.3 สาขาเชียงใหม่ – แม่ริม – สันกําแพง 2,403.554 801.184 1,021.502 4,226.240 1.4 สาขายโสธร 240.013 80.004 79.815 399.832 1.5 สาขานาทวี (รองรับเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมแห่งอนาคต) 232.043 77.347 39.000 348.390 1.6 สาขาภูเขียว – (บ้านเป้า) 97.744 32.582 32.270 162.596 1.7 สาขาจัตุรัส 90.724 30.241 40.142 161.107 1.8 สาขาปราจีนบุรี (ประจันตคาม) – (ศรีมหาโพธิ์) 210.086 70.029 51.855 331.970 2. แผนงานโครงการก่อสร้างปรับปรุงกิจการประปาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กปภ. สาขาตราด [องค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.) เกาะกูด] 18.637 6.212 - 24.849 รวม 5,692.801 (ร้อยละ 59.115) 1,897.599 (ร้อยละ 19.705) 2,039.591 (ร้อยละ 21.179) 9,629.991 (ร้อยละ 100) สาระสําคัญของเรื่อง กระทรวงมหาดไทย (มท.) โดยการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ได้เสนอขอความเห็นชอบให้ กปภ. ดําเนินโครงการเพื่อการพัฒนาปี 2563 ของ กปภ. จํานวน 9 โครงการ วงเงินรวมทั้งสิ้น 9,629.991 ล้านบาท โดยในการดําเนินโครงการฯ จะมีการดําเนินการปรับปรุงระบบประปาทั้งระบบ (ระบบน้ําดิบ ระบบผลิต ระบบจ่ายน้ํา และระบบอื่น ๆ) เพื่อตอบสนองความต้องการใช้น้ําเพิ่มขึ้น ปรับปรุงการให้บริการ และแก้ไขปัญหาอื่น ๆ ไปพร้อมกัน และมีแผนบริหารจัดการลดน้ําสูญเสีย ประกอบด้วยกิจกรรมหลักคือ การบริหารจัดการแรงดัน การซ่อมท่อที่รวดเร็ว การสํารวจหาน้ําสูญเสียเชิงรุก การบริหารจัดการมาตรวัดน้ํา และให้ความสําคัญกับการปรับปรุงเส้นท่อซึ่งเป็นสาเหตุหลักของน้ําสูญเสียทั้งหมด ทั้งนี้ โครงการมีวงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 9,629.991 ล้านบาท ประกอบด้วย เงินอุดหนุน 5,692.801 ล้านบาท เงินกู้ในประเทศ 1,897.599 ล้านบาท และเงินรายได้ของ กปภ. 2,039.591 ล้านบาท 14. เรื่อง รายงานผลการดําเนินงานโครงการส่งเสริมความรู้ให้กับ SMEs ในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ตามมาตรการเพิ่มขีดความสามารถและส่งเสริมความรู้ให้กับ SMEs ในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เสนอ รายงานผลการดําเนินงานโครงการส่งเสริมความรู้ให้กับ SMEs ในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นการรายงานผลการดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (26 กันยายน 2560) ที่เห็นชอบมาตรการเพิ่มขีดความสามารถและส่งเสริมความรู้ให้กับ SMEs ในการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และให้รายงานผลให้คณะรัฐมนตรีทราบ ซึ่งต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (25 ธันวาคม 2561) รับทราบมาตรการเพิ่มขีดความสามารถฯ ในระยะแรก และเห็นชอบมาตรการเพิ่มขีดความสามารถฯ ในระยะต่อไป ทั้งนี้ สามารถสรุปสาระสําคัญของการดําเนินโครงการได้ ดังนี้ 1. ผลการดําเนินโครงการส่งเสริมความรู้ให้กับ SMEs ในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน 1.1 ผลการดําเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 1.1.1 ผลการดําเนินงาน รายละเอียด ระยะที่ 1 (ต.ค.60- ก.ย. 61) ระยะที่ 2 (พ.ย. 61-ธ.ค. 62) รวม ผู้ประกอบการ SMEs เข้ารับการอบรม 2,683 ราย 1,630 ราย 4,313 ราย ผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับสิทธิซื้อ FX Option 2,269 ราย 1,445 ราย 3,714 ราย ผู้ประกอบการ SMEs ใช้สิทธิซื้อ FX Option 618 ราย 565 ราย 1,183 ราย จํานวนสัญญา FX Option 1,569 สัญญา 2,356 สัญญา 3,925 สัญญา มูลค่าสัญญา FX Option 55.03 ล้านเหรียญสหรัฐ 65.20 ล้านเหรียญสหรัฐ 120.23 ล้านเหรียญสหรัฐ ค่า Premium 16.06 ล้านบาท 22.05 ล้านบาท 38.11 ล้านบาท หมายเหตุ : 1) FX Option หรือสัญญาสิทธิของเงินตราต่างประเทศ คือ สัญญาที่ผู้ขายสิทธิให้สิทธิแก่ผู้ซื้อสิทธิในการซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศ ณ เวลาในอนาคต ตามสกุลเงิน จํานวนเงิน และอัตราแลกเปลี่ยนที่กําหนดไว้ในสัญญา 2) ค่า Premium หมายถึง วงเงินสําหรับใช้เป็นค่าธรรมเนียม 1.1.2 ผลการใช้จ่ายงบประมาณ กิจกรรม จํานวนเงิน (ล้านบาท) สนับสนุนเงินช่วยเหลืออุดหนุน สําหรับเป็นวงเงินค่าธรรมเนียม FX Option 34.48 สนับสนุนการอบรมให้ความรู้แก่ SMEs 4.28 สนับสนุนการประชาสัมพันธ์โครงการ 1.83 รวม 40.59 1.2 ปัญหาและอุปสรรคในการดําเนินงาน 1.2.1 ผู้ประกอบการบางส่วนไม่เห็นถึงความจําเป็นในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากมูลค่าส่งออก – นําเข้ายังไม่มาก หรือใช้เงินตราสกุลอื่นที่ไม่ใช่ดอลลาร์สหรัฐ (USD) และมีพฤติกรรมการเก็งกําไรอัตราแลกเปลี่ยน 1.2.2 ผู้ประกอบการบางส่วนยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับบริการ FX Option แม้ผ่านการอบรมแล้ว 1.2.3 พนักงานสาขาของธนาคารบางส่วนขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ จึงไม่สามารถให้คําแนะนําลูกค้าได้ 1.2.4 การประชาสัมพันธ์โครงการแบบเชิงรุกยังไม่ทั่วถึงและตรงกลุ่มเป้าหมาย 1.2.5 การอบรมด้วยระบบ e-Learning ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร ซึ่งตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน -30 กันยายน 2562 มีผู้เข้าเรียนจํานวน 389 ราย จากเป้าหมาย 2,000 ราย 2. การดําเนินการในระยะต่อไป : โครงการส่งเสริมความรู้ด้านบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและสนับสนุน SME ที่ทําการค้าระหว่างประเทศ วงเงิน 450 ล้านบาท เนื่องจากการดําเนินการโครงการส่งเสริมความรู้ให้กับ SMEsฯ (ตามข้อ 1) ไม่ได้รับความสนใจจากผู้ประอบการ SMEs มากนัก ดังนั้น คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 จึงได้มีมติอนุมัติและเห็นชอบการจัดสรรเงินกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามมาตรา 34 (3) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 เพื่อใช้จ่ายในการดําเนินงานโครงการส่งเสริมความรู้ด้านบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและสนับสุนน SME ที่ทําการค้าระหว่างประเทศ วงเงินงบประมาณ 450 ล้านบาท รวมทั้งอนุมัติแผนการดําเนินงานโครงการส่งเสริมความรู้ด้านบริหารความเสี่ยงฯ วงเงินงบประมาณ 225 ล้านบาท ทั้งนี้ โครงการส่งเสริมความรู้ด้านบริหารความเสี่ยงฯ แบ่งเป็น 2 ระยะ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 2.1 ระยะที่ 1 โครงการส่งเสริมความรู้ด้านบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและสนับสนุน SME ที่ทําการค้าระหว่างประเทศ วงเงิน 225 ล้านบาท 2.2 ระยะที่ 2 หลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ประกอบธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ โดยในเบื้องต้นกําหนดไว้ 2 แนวทาง คือ แนวทางที่ 1 อุดหนุนไม่เกิน 100,000 บาทต่อราย (ค่าธรรมเนียม FX Option 80,000 บาท และค่าธรรมเนียมการค้าระหว่างประเทศ 20,000 บาท) แนวทางที่ 2 อุดหนุนไม่เกิน 100,000 บาทต่อราย (ค่าธรรมเนียม FX Option/เงินสนับสนุนสิทธิ Forward Contract 80,000 บาท และค่าธรรมเนียมการค้าระหว่างประเทศ 20,000 บาท) ทั้งนี้ หากโครงการระยะที่ 1 ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการ SMEs และสามารถดําเนินงานได้เร็วกว่าแผนงานที่กําหนดไว้ หรือหากเห็นว่าสถานการณ์ค่าเงินมีความผันผวนสูงและจําเป็นต้องเร่งดําเนินการ ธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทยจะร่วมกันพิจารณาขออนุมัติดําเนินการโครงการในระยะที่ 2 ต่อไป 2.3 งบประมาณในการดําเนินโครงการส่งเสริมความรู้ด้านบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและสนับสนุน SME ที่ทําการค้าระหว่างประเทศ วงเงินงบประมาณ 450 ล้านบาท เป็นการนําเงินที่เหลือตามมติคณะรัฐมนตรี (26 กันยายน 2560) ที่เห็นชอบให้สํานักงบประมาณ (สงป.) จัดสรรงบประมาณจากงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจภายในประเทศให้แก่ สสว. เพื่อดําเนินการตามมาตรการเพิ่มขีดความสามารถและส่งเสริมความรู้ให้กับ SMEs ในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน กรอบวงเงิน 500 ล้านบาท ซึ่งมีผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณในการดําเนินงาน รวม 40,586,589.70 บาท มีเงินคงเหลือจํานวน 459,413,410.29 บาท โดยมีดอกผลที่เกิดขึ้นจํานวน 254,031.26 บาท ดังนั้น จึงมีเงินคงเหลือเข้ากองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจํานวน 459,667,441.55 บาท [ทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรา 32 (2) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 ที่บัญญัติให้ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เรียกว่า “กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม” ประกอบด้วย เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้จากงบประมาณรายจ่ายประจําปี] 15. เรื่อง ร่างแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563-2565) คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563-2565) ตามที่สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์หารมหาชน) เสนอ และให้สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) รับความเห็นและข้อเสนอของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดําเนินการต่อไปด้วย สาระสําคัญของเรื่อง สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (สศส.) เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563-2565) ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแล้วในคราวประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2563 โดยมีมติเห็นชอบและให้ สศส. รับความเห็นของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดําเนินการต่อไป เช่น ควรมีแผนงาน/โครงการที่เป็น Quick win ในรูปแบบของ Service Center เพื่อช่วยกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ควรเน้นการส่งเสริมเรื่อง Design Thinking ให้เข้าไปอยู่ในทุกระบบความคิดในองค์กรต่าง ๆ ควรให้มีสถาบันการศึกษาในพื้นที่ร่วมเป็นหน่วยงานขับเคลื่อนกลุ่มอุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ควรพิจารณาแนวทางการปรับปรุงกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าการลงทุนของภาคเอกชนที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ ทั้งนี้ สามารถสรุปสาระสําคัญของร่างแผนดังกล่าวได้ ดังนี้ วิสัยทัศน์ ประเทศไทยเป็นแหล่งอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และนวัตกรรมของโลก เป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 4 ช่วง ช่วงแรก มีระยะ 3 ปี โดยมีเป้าหมายเพิ่มอัตราการขยายตัวของสินค้าและบริการสร้างสรรค์ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 5 และประเทศไทยมีเมืองที่ได้รับการคัดเลือกและประกาศให้เป็นเมืองสร้างสรรค์จาก UNESCO 1 เมือง ส่วนช่วงที่ 2-4 มีระยะช่วงละ 5 ปี ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างและส่งเสริมการจัดการองค์ความรู้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ กลยุทธ์ สร้างฐานข้อมูลเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อการตัดสินใจเชิงนโยบายและเพื่อให้ผู้ประกอบการใช้ในการต่อยอดเชิงธุรกิจ และเผยแพร่การใช้งานฐานข้อมูลและองค์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี แนวทางในการดําเนินงาน รวบรวมและจัดทําฐานข้อมูลเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง และเผยแพร่องค์ความรู้พร้อมทั้งอํานวยความสะดวกในการเข้าถึงฐานข้อมูลให้แก่ผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไปที่สนใจเพื่อนําไปสู่การเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการในเชิงพาณิชย์ ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยกระดับทักษะและความสามารถบุคลากรในธุรกิจสร้างสรรค์และกระตุ้นกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ กลยุทธ์ พัฒนาและส่งเสริมการเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรและแรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ให้มีกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม รวมทั้ง สร้างและยกระดับมาตรฐานวิชาชีพในกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ แนวทางในการดําเนินงาน สร้างทรัพยากรมนุษย์และวางรากฐานการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รวมถึงส่งเสริมการพัฒนาทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ในกลุ่มทักษะฝีมือแรงงานโดยร่วมกับภาคการศึกษาในการพัฒนาหลักสูตรและส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาบุคลากร ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยกระดับความสามารถในการดําเนินธุรกิจและสนับสนุนการขยายตัวของธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กลยุทธ์ เพิ่มความสามารถและทักษะในการดําเนินธุรกิจแก่ผู้ประกอบการ รวมทั้งสนับสนุนทางด้านเงินทุนสําหรับธุรกิจสร้างสรรค์และส่งเสริมด้านการตลาด ตลอดจนผลักดันกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายให้นําความคิดสร้างสรรค์ไปใช้ยกระดับสินค้าและบริการให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีสากล แนวทางในการดําเนินงาน พัฒนาช่องทางการอํานวยความสะดวกในการดําเนินธุรกิจ และจัดทํามาตรการด้านการเงินและสิทธิพิเศษทางภาษีเพื่อจูงใจให้เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ รวมทั้งส่งเสริมและประชาสัมพันธ์แบรนด์ไทย ให้เกิดการรับรู้และยอมรับทั้งในและต่างประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาเมืองและระบบนิเวศสร้างสรรค์ และส่งเสริมให้ภาครัฐให้ความสําคัญกับแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ กลยุทธ์ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จําเป็นต่อการพัฒนาธุรกิจสร้างสรรค์และการต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ให้เป็นรูปธรรม รวมทั้งปรับปรุงกฎระเบียบด้านทรัพย์สินทางปัญญาและส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ในการให้บริการของหน่วยานภาครัฐ แนวทางในการดําเนินงาน พัฒนาย่านสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยส่งเสริมให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานและการอํานวยความสะดวกเพื่อเป็นแรงจูงใจในการย้ายถิ่นฐาน/พํานัก และสร้างการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมความเป็นเมืองและย่านสร้างสรรค์ของชุมชนและท้องถิ่น 16. เรื่อง ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2563 เรื่อง การผ่อนปรนการดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2563 เรื่อง การผ่อนปรนการดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งเห็นชอบให้ทุกหน่วยงานดําเนินการทุกขั้นตอนให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เป็นวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 โดยให้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงแรงงานไปดําเนินการแก้ไขเงื่อนเวลาในร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศกระทรวงแรงงานที่ผ่านการตรวจพิจารณาของคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีคณะที่ 4 แล้ว จากเดิมวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เป็นวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ต่อไปได้ กระทรวงแรงงานรายงานว่า 1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ 2563 ให้ความเห็นชอบ การผ่อนปรนแนวทางการบริหารจัดการการทํางานของแรงงานต่างด้าว ปี 2562 – 2563 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 โดยให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งนายจ้างหรือผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานได้ยื่นบัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวต่อกระทรวงแรงงานผ่านเจ้าหน้าที่หรือผ่านระบบออนไลน์ ภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 แต่ไม่สามารถขอตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปเพื่อการทํางานได้ทันภายในกําหนดเวลา รวมถึงผู้ติดตาม อยู่ในราชอาณาจักรและทํางานไปพลางก่อนได้ โดยใช้บัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว (Name List) และใบอนุญาตทํางานฉบับเดิม โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าวจนกว่าจะไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนเพื่อดําเนินการตามขั้นตอนที่กําหนดไว้ในมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ให้แล้วเสร็จ และให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน ออกประกาศที่เกี่ยวข้อง 2. แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว เมียนมา) ซึ่งได้รับการผ่อนปรนการดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2563 ต้องดําเนินการตามขั้นตอนที่กําหนดไว้ในมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ให้ครบทุกขั้นตอนภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 มิฉะนั้น การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นอันสิ้นสุด 3. ภายหลังจากการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 จนถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2563 และการออกข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ดังกล่าว ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด โดยคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดและคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ใช้อํานาจตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 พิจารณาจํากัดการเคลื่อนย้ายบุคคล และการงดกิจกรรมที่มีการชุมนุมชน เพื่อควบคุมมิให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ระบาดแพร่ออกไปเป็นวงกว้าง 4. กระทรวงแรงงานได้ตรวจสอบข้อมูลนายจ้างหรือผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานที่ได้ยื่นบัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวต่อกระทรวงแรงงานผ่านเจ้าหน้าที่หรือผ่านระบบออนไลน์ภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 แล้ว ปรากฏว่า มีแรงงานต่างด้าวคงเหลือที่จะต้องดําเนินการตามขั้นตอนที่กําหนดไว้ในมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 จํานวน 555,993 ราย 5. สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในปัจจุบันไม่คลี่คลายลงหรือเข้าสู่สภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว หรือหากสภาวะการแพร่ระบาดของโรคคลี่คลายลงแล้ว แต่ประชาชนยังต้องเว้นระยะนั่งหรือยืนห่างกัน (Social Distancing) เพื่อป้องกันการกลับมาติดโรคจึงไม่ควรที่จะเร่งรีบเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวจํานวนมากเพื่อดําเนินการตามขั้นตอนที่กําหนดไว้ในมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562 สาระสําคัญ 1. ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2563 เรื่อง การผ่อนปรนการดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 จากเดิมให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เป็นวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 2. ทบทวนระยะเวลาการผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวและผู้ติดตาม อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวได้ต่อไป จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 และให้ยกเว้นค่าเปรียบเทียบปรับการอยู่เกินกําหนด (Overstay) รวมถึงการยกเว้นการปฏิบัติตามคําสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ 1/2558 เรื่อง การไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาในราชอาณาจักร สั่ง ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 3. ทบทวนระยะเวลาการผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวที่การอนุญาตทํางานสิ้นสุดสามารถทํางานไปพลางก่อนได้จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 และใช้บัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวที่กรมการจัดหางานออกให้และใบอนุญาตทํางานฉบับเดิมไปพลางก่อน 4. ให้ส่วนราชการที่มีหน้าที่ตามที่กําหนดไว้ในมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562 และนายจ้างหรือผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางาน ถือปฏิบัติตามมาตรการที่ส่วนราชการประกาศกําหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน และที่ประกาศเพิ่มเติมอย่างเคร่งครัด เช่น การโดยสารยานพาหนะต้องเป็นไปตามจํานวนที่ทางราชการกําหนด การจํากัดจํานวนและปรับระยะเวลาการปฏิบัติงาน การเว้นระยะนั่งหรือยืนห่างกันอย่างน้อยหนึ่งเมตร (Social Distancing) เพื่อป้องกันการติดต่อสัมผัสหรือแพร่เชื้อโรคทางละอองฝอย หรือการให้บริการด้วยการสื่อสารแบบดิจิทัล เป็นต้น 5. การบริหารจัดการเพิ่มเติมจากขั้นตอนที่กําหนดไว้ในมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ดังนี้ (1) กระทรวงแรงงานจะจัดระบบนัดหมายให้แรงงานต่างด้าวเข้ารับการตรวจสุขภาพในโรงพยาบาลของรัฐ เพื่อให้บริการตรวจสุขภาพเป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพ (2) เมื่อแรงงานต่างด้าวได้รับใบรับรองผลการตรวจสุขภาพแล้ว สามารถยื่นขอรับใบอนุญาตทํางานผ่านทางระบบออนไลน์ (https://e-workpermit.doe.go.th/) (3) นายจ้างหรือผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานต้องพาแรงงานต่างด้าวไปจัดเก็บข้อมูลชีวภาพและอัตลักษณ์บุคคล (Biometrics Data) ณ ที่ทําการตรวจคนเข้าเมือง และจัดเก็บลายนิ้วมือ ณ ศูนย์บริการงานทะเบียนภาค สาขาจังหวัด หรือสํานักงานเขตของกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีระบบออนไลน์รองรับ ทั้งนี้ การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2563 เรื่อง การผ่อนปรนการดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 เป็นการควบคุมมิให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) แพร่ระบาดออกไปเป็นวงกว้าง ในสถานที่ที่มีประชาชนมาใช้บริการเป็นจํานวนมากส่งเสริมให้การแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ยุติลงได้โดยเร็วและป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้น เสริมสร้าง ความมั่นคงด้านสาธารณสุขของประเทศโดยรวมซึ่งสอดคล้องกับมาตรการเร่งด่วนในการป้องกันวิกฤตการณ์จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2563 แรงงานต่างด้าวซึ่งนายจ้างหรือผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานได้ยื่นบัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวต่อกระทรวงแรงงานผ่านเจ้าหน้าที่หรือผ่านระบบออนไลน์ไว้แล้วภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 แต่ไม่สามารถดําเนินการตามขั้นตอนที่กําหนดไว้ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ได้ ในช่วงระยะเวลาที่เกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ยังคงเป็นแรงงานต่างด้าวที่สามารถอยู่ในราชอาณาจักรและทํางานต่อไปได้ในกิจการที่ขาดแคลนแรงงาน 17. เรื่อง การปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อรองรับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สํานักงบประมาณเสนอการปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อรองรับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ดังนี้ 1. รายจ่ายประจํา ในทุกงบรายจ่ายที่ไม่มีข้อผูกพันหรือสามารถชะลอข้อผูกพันได้ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายในการสัมมนา การฝึกอบรม การประชาสัมพันธ์ การจ้างที่ปรึกษา และค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างประเทศ รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องต่าง ๆ อาทิ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก และค่าพาหนะ และการดําเนินกิจกรรม (Event) ที่มีการจ้างผู้จัดกิจกรรม (Organizer) หรือดําเนินการเอง ให้พิจารณาทบทวนวงเงินงบประมาณลง ร้อยละ 25 2. รายจ่ายลงทุน ในทุกงบรายจ่ายที่ไม่มีข้อผูกพัน (รายการปีเดียว) ที่เป็นครุภัณฑ์ทดแทนหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานที่สามารถชะลอการดําเนินงานได้ ให้พิจารณาทบทวนวงเงินงบประมาณลง ร้อยละ 50 3. รายการและงบประมาณที่หน่วยรับงบประมาณพิจารณาแล้วเห็นว่าสามารถชะลอการดําเนินการได้ โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อราชการ ตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการบรรเทาหรือแก้ไขผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้หน่วยรับงบประมาณเสนอการปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณฯ ตามแนวทางการปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เสนอคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด เพื่อให้ความเห็นชอบและส่งข้อเสนอการปรับปรุงให้สํานักงบประมาณ ภายในวันที่ 22 เมษายน 2563 18. เรื่อง การเพิ่มอัตราข้าราชการตั้งใหม่ และมาตรการเพิ่มสิทธิประโยชน์อื่นสําหรับบุคลากรกระทรวงสาธารณสุขรองรับภาวะฉุกเฉินในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามมติคณะกรรมการกําหนดเป้าหมายและนโยบายกําลังคนภาครัฐ (คปร.) ในการประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2563 ตามที่คณะกรรมการกําหนดเป้าหมายและนโยบายกําลังคนภาครัฐ เสนอ ดังนี้ คปร. ในการประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2563 ได้พิจารณาเรื่อง การขอเพิ่มอัตราข้าราชการตั้งใหม่ และมาตรการเพิ่มสิทธิประโยชน์อื่น สําหรับบุคลากรกระทรวงสาธารณสุข รองรับภาวะฉุกเฉินในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 แล้ว มีมติดังนี้ 1) การจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่เพื่อบรรจุบุคลากรในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (พนักงานราชการ พนักงานกระทรวงสาธารณสุข หรือลูกจ้างชั่วคราว) ที่ปฏิบัติงานด่านหน้าในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จํานวน 24 สายงาน รวมทั้งสิ้น 38,105 อัตรา 1.1) เห็นชอบให้จัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ รวม 38,105 อัตรา เพื่อบรรจุบุคคลดังกล่าวเข้ารับราชการให้ตรงตามตําแหน่งงานที่จ้างอยู่เดิม อย่างไรก็ดี หากภายหลังบริบทของงานเปลี่ยนแปลงไป ให้กระทรวงสาธารณสุขเสนอ อ.ก.พ. กระทรวงสาธารณสุข ปรับเปลี่ยนสายงานของอัตราข้าราชการตั้งใหม่ที่จะจัดสรรเป็นสายงานบริการทางการแพทย์อื่น ๆ ได้ตามความจําเป็น แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินจํานวนกรอบอัตรากําลังตามที่ คปร. กําหนด และจะต้องสอดคล้องกับแผนปฏิรูปกําลังคนและภารกิจบริการด้านสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข โดยให้บรรจุในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่มีวุฒิคัดเลือกก่อนกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่จะต้องสอบแข่งขัน และถือว่าอัตราข้าราชการตั้งใหม่ครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการบรรจุบุคลากรตามแผนปฏิรูปกําลังคนฯ ด้วย 1.2) เห็นชอบให้กําหนดเงื่อนไขว่าเมื่อบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุขได้รับการบรรจุเข้ารับราชการในตําแหน่งที่ได้รับจัดสรรแล้ว ให้ยุบเลิกตําแหน่งพนักงานราชการ พนักงานกระทรวงสาธารณสุข หรือลูกจ้างชั่วคราวตามจํานวนที่ได้บรรจุบุคคลเข้ารับราชการและให้กระทรวงสาธารณสุขปรับรูปแบบการจ้างพนักงานกระทรวงสาธารณสุขโดยเน้นเฉพาะการจ้างงานสนับสนุนทั่วไปเท่านั้น และให้กระทรวงสาธารณสุขรายงานผลการดําเนินการเกี่ยวกับการเปลี่ยนสายงาน การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ ตลอดจนการยุบเลิกตําแหน่งที่จ้างงานด้วยรูปแบบอื่นให้ คปร. ทราบด้วย 1.3) เห็นชอบให้ อ.ก.พ. กระทรวงสาธารณสุข แบ่งการกําหนดตําแหน่งอัตราข้าราชการตั้งใหม่เป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ให้กําหนดตําแหน่งเพื่อรองรับการบรรจุกลุ่มบุคลากรที่ให้บริการในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยตรง รวม 25,051 อัตรา ภายในเดือนพฤษภาคม 2563 ระยะที่ 2 ให้กําหนดตําแหน่งเพื่อรองรับการบรรจุกลุ่มบุคลากรที่สนับสนุนการให้บริการในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวม 5,616 อัตรา ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563 เป็นต้นไป ระยะที่ 3 ให้กําหนดตําแหน่งเพื่อรองรับการบรรจุกลุ่มบุคลากรที่ให้บริการหรือสนับสนุนการให้บริการในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลหรือสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ รวม 7,438 อัตรา ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดําเนินการ โอนเงินงบประมาณเหลือจ่ายประจําปีและเงินนอกงบประมาณของกระทรวงสาธารณสุขมาตั้งจ่ายเป็นเงินเดือนและค่าตอบแทนของบุคลากรที่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการดังกล่าวตามจํานวนวงเงินงบประมาณงบบุคลากรที่จะใช้ เพื่อลดการขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายเงินงบกลาง ตามที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเสนอต่อที่ประชุม 2) การจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่เพื่อบรรจุนักศึกษาผู้สําเร็จการศึกษา ในปี พ.ศ. 2563 จํานวน 5 สายงาน รวมทั้งสิ้น 7,579 อัตรา 2.1) ตําแหน่งนายแพทย์และทันตแพทย์ เห็นชอบให้จัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ตําแหน่งนายแพทย์และทันตแพทย์ให้กับสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข เพื่อรองรับการบรรจุนักศึกษาวิชาแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์ ที่เป็นนักศึกษาคู่สัญญากับกระทรวงสาธารณสุขและสําเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2563 รวม 2,792 อัตรา โดยเป็นตําแหน่งนายแพทย์ จํานวน 2,157 อัตรา และตําแหน่งทันตแพทย์ จํานวน 635 อัตรา และให้นําจํานวนอัตราข้าราชการตําแหน่งนายแพทย์ที่ได้รับจัดสรรตามข้อ 1) มานับรวมเป็นส่วนหนึ่งของจํานวนตําแหน่งนายแพทย์ตามเป้าหมาย ที่กําหนดในแผนปฏิรูปกําลังคนและภารกิจบริการด้านสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ซึ่ง คปร. จะจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ตําแหน่งนายแพทย์และตําแหน่งทันตแพทย์ให้เป็นปีสุดท้ายด้วย ทั้งนี้ หากกระทรวงสาธารณสุขพิจารณาแล้วเห็นว่าจําเป็นต้องบรรจุนักศึกษาคู่สัญญาของนักศึกษาวิชาแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์เป็นข้าราชการต่อไป ให้กระทรวงสาธารณสุขทบทวนความต้องการอัตรากําลัง และแสดงความจําเป็นพร้อมกับแผนการใช้ประโยชน์ว่าจะใช้ตําแหน่งดังกล่าวในการปฏิบัติภารกิจตามแผนงานหรือยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างไร เพื่อให้ คปร. พิจารณาต่อไป 2.2) ตําแหน่งเภสัชกร เห็นชอบให้กระทรวงสาธารณสุขบรรจุนักศึกษาวิชาเภสัชศาสตร์ที่เป็นนักศึกษาคู่สัญญาของกระทรวงสาธารณสุขเป็นพนักงานราชการแทนการบรรจุเป็นข้าราชการตามมติ อ.ก.พ.กระทรวงสาธารณสุข ในการประชุมครั้งที่ 9/2562 เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2562 และให้นําจํานวนอัตราข้าราชการตําแหน่งเภสัชกรที่ได้รับจัดสรรตามข้อ 1) มานับรวมเป็นส่วนหนึ่งของจํานวนตําแหน่งเภสัชกรตามเป้าหมายที่กําหนดในแผนปฏิรูปกําลังคนและภารกิจบริการด้านสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยยังไม่จัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ตามที่ขอ 2.3) ตําแหน่งพยาบาลวิชาชีพและนักวิชาการสาธารณสุข เห็นชอบให้กระทรวงสาธารณสุขพิจารณาทบทวนเหตุผลความจําเป็นของภารกิจ จัดทําแผนกําลังคนรองรับและแสดงความสอดคล้องกับแผนปฏิรูปกําลังคนฯ เพื่อให้อัตราข้าราชการที่จะขอตั้งใหม่มีความชัดเจนทั้งภารกิจและหน่วยงานที่จะปฏิบัติ รวมถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ โดยจะต้องไม่ซ้ําซ้อนกับอัตรากําลังที่ได้รับจัดสรรและหากมีความจําเป็นให้จัดทํารายละเอียดเสนอ คปร. ในโอกาสต่อไป 3) การคัดเลือกบรรจุบุคคลซึ่งมิได้สําเร็จการศึกษาในวุฒิที่ ก.พ. กําหนดให้คัดเลือกบรรจุเข้ารับราชการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1004/ว 17 ลงวันที่ 19 กันยายน 2562 เห็นชอบให้สํานักงาน ก.พ. พิจารณาดําเนินการตามมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 เพื่อคัดเลือกบรรจุบุคลากรในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งเป็นกรณีที่มีเหตุพิเศษเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งโดยไม่ต้องดําเนินการสอบแข่งขัน ทั้งนี้ ให้หารือร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขเพื่อกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการดําเนินการคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการให้สอดคล้องกับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์ของผู้ที่จะบรรจุเข้ารับราชการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. และคณะรัฐมนตรีกําหนดไว้เดิม ตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1008.1/154 ลงวันที่ 6 มิถุนายน 2556 และ ที่ นร 1012.2/235 ลงวันที่ 16 ตุลาคม 2560 แล้วแต่กรณี 4) การขอสนับสนุนเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสําหรับบุคลากรกระทรวงสาธารณสุข เห็นชอบให้บุคลากรสาธารณสุขผู้ปฏิบัติงานในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้รับเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนในอัตรา ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ผู้ปฏิบัติงานโดยตรง ให้ได้รับในอัตราเดือนละ 1,500 บาท กลุ่มที่ 2 ผู้ปฏิบัติงานสนับสนุน ให้ได้รับในอัตราเดือนละ 1,000 บาท ประมาณการงบประมาณที่จะต้องใช้สําหรับการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษรายเดือน เป็นระยะเวลา 7 เดือน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2,746,397,500 บาท สําหรับหลักเกณฑ์การได้รับเงินเพิ่มพิเศษสําหรับบุคลากรสาธารณสุข ให้กระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) จัดทําระเบียบหรือหลักเกณฑ์เพื่อรองรับการเบิกจ่ายเงินเพิ่มพิเศษ โดยอาจกําหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเพิ่มพิเศษให้สอดคล้องกับกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินอื่นที่กําหนดให้จ่ายเป็นรายเดือน ทั้งนี้ ให้นําหลักเกณฑ์ตามข้อนี้ไปใช้บังคับโดยอนุโลมกับข้าราชการทหาร ข้าราชการตํารวจ ข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัยในสถานพยาบาลสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น และบุคลากรภาครัฐอื่น ที่ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในสถานการณ์เช่นเดียวกันนี้ 5) การจัดสรรโควตาพิเศษความดีความชอบพิเศษสําหรับบุคลากรสาธารณสุข เห็นชอบให้บุคลากรสาธารณสุขผู้ปฏิบัติงานในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้รับการเลื่อนเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษ ดังนี้ 5.1) ระบบการเลื่อนเงินเดือนแบบร้อยละ ให้ผู้ปฏิบัติงานทั้งกลุ่มผู้ปฏิบัติงานโดยตรงและกลุ่มผู้ปฏิบัติงานสนับสนุน ได้รับการเลื่อนเงินเดือนเพิ่มขึ้นจากการเลื่อนเงินเดือนปกติอีกร้อยละ 1 ของฐานในการคํานวณต่อรอบการประเมิน ทั้งนี้ เมื่อรวมการเลื่อนเงินเดือนกรณีปกติกับการเลื่อนเงินเดือนกรณีพิเศษแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละ 6 ของฐานในการคํานวณ 5.2) ระบบการเลื่อนเงินเดือนแบบขั้น ให้ผู้ปฏิบัติงานทั้งกลุ่มผู้ปฏิบัติงานโดยตรงและกลุ่มผู้ปฏิบัติงานสนับสนุนได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนทั้งกรณีปกติและกรณีพิเศษนอกเหนือโควตาปกติ รวมทั้งปีไม่เกิน 2 ขั้น โดยไม่นับรวมอยู่ในโควตาการเลื่อนขั้นเงินเดือนของผู้มีผลงานดีเด่น ร้อยละ 15 ของจํานวนผู้ปฏิบัติงานในรอบการประเมิน ประมาณการงบประมาณที่จะต้องใช้สําหรับการเลื่อนเงินเดือนกรณีพิเศษ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2,023,270,920 บาท สําหรับหลักเกณฑ์การเลื่อนเงินเดือนกรณีพิเศษนอกเหนือโควตาปกติให้สํานักงาน ก.พ. แจ้งแนวทางปฏิบัติเพื่อให้กระทรวงสาธารณสุขดําเนินการ โดยนําหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการพิจารณาบําเหน็จความชอบกรณีพิเศษนอกเหนือโควตาปกติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2552 และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องมาใช้โดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้นําหลักเกณฑ์ตามข้อนี้ ไปใช้บังคับโดยอนุโลมกับข้าราชการทหาร ข้าราชการตํารวจ ข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัยในสถานพยาบาลสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น และบุคลากรภาครัฐอื่น ที่ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในสถานการณ์เช่นเดียวกันนี้ 6) การเพิ่มอายุราชการเพิ่มทวีคูณในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉินสําหรับบุคลากรสาธารณสุข มีมติรับทราบตามที่กระทรวงการคลังชี้แจงว่า กรณีการขอเพิ่มอายุราชการทวีคูณในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉินสําหรับบุคลากรสาธารณสุขเนื่องจากการนับเวลาราชการเป็นทวีคูณของข้าราชการเป็นไปตามพระราชบัญญัติบําเหน็จบํานาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 มาตรา 24 ซึ่งบัญญัติไว้โดยสรุปว่า ข้าราชการสามารถนับเวลาราชการเป็นทวีคูณได้ 2 กรณี ได้แก่ (1) ผู้ซึ่งกระทําหน้าที่ตามที่กระทรวงกลาโหมกําหนด ในระหว่างเวลาที่มีการรบหรือการสงครามหรือมีการปราบปรามจลาจล หรือในระหว่างเวลาที่มีพระบรมราชโองการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือในระหว่างเวลาที่สั่งให้เป็นนักดําเรือดําน้ํา และ (2) ในกรณีที่มีการประกาศกฎอัยการศึก ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีอํานาจพิจารณาให้ข้าราชการซึ่งประจําปฏิบัติหน้าที่อยู่ในเขตที่ได้มีการประกาศกฎอัยการศึกนั้น ได้รับการนับเวลาราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างนั้นเป็นทวีคูณได้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกําหนด ดังนั้น การนับเวลาราชการเป็นทวีคูณสําหรับบุคลากรสาธารณสุข จึงต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว 7) การลดดอกเบี้ยเงินกู้ส่วนบุคคลกรุงไทยธนวัฏ/ธนาคารออมสิน ระยะเวลา 1 ปี สําหรับบุคลากรสาธารณสุข มีมติรับทราบมาตรการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้กับข้าราชการและบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุขของธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) และธนาคารออมสิน อย่างไรก็ดี ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) และธนาคารออมสินอยู่ระหว่างการพิจารณาขยายมาตรการเดิม หรือกําหนดมาตรการอื่นเพิ่มเติม ซึ่งจะแจ้งให้กระทรวงสาธารณสุขและสํานักงาน ก.พ. ทราบต่อไป 8) การปรับอัตราจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ให้บริการสาธารณสุขตามข้อ 6 ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ให้บริการสาธารณสุขที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุข พ.ศ. 2561 กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 จํานวน 2 เท่าจากอัตราเดิม มีมติรับทราบตามความเห็นของกระทรวงการคลังว่า กรณีนี้เป็นการช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ให้บริการสาธารณสุขกรณีติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 ดังนั้น จึงเห็นสมควรที่คณะรัฐมนตรีจะให้ความเห็นชอบในหลักการตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทํารายละเอียดข้อมูลพร้อมกับการขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีแล้ว 19. เรื่อง รายงานผลการดําเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ประจําปี 2562 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอรายงานผลการดําเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ประจําปี 2562 ซึ่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ในคราวประชุมฯ ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2563 ได้เห็นชอบในหลักการร่างรายงานฯ ประจําปี 2562 ทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2563 คณะอนุกรรมการกํากับและติดตามการดําเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พม. ได้เห็นชอบร่างรายงานฯ ที่หน่วยงานต่าง ๆ ได้แก้ไขและเพิ่มเติมตามความเห็นของคณะกรรมการฯ โดยเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 กระทรวงการต่างประเทศได้นําส่งรายงานฯ ฉบับภาษาอังกฤษให้สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจําประเทศไทยแล้ว ซึ่งรายงานฯ มีสาระสําคัญ สรุปได้ ดังนี้ เรื่อง สาระสําคัญ 1. การจัดสรรงบประมาณ มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อดําเนินการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ทั้งระบบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.53 รวม 3,806.82 ล้านบาท จากปี 2561 ที่มีจํานวน 3,641.98 ล้านบาท 2. การสืบสวนปราบปรามคดีค้ามนุษย์ ได้สืบสวนปราบปรามคดีค้ามนุษย์ 288 คดี จําแนกเป็น การแสวงหาประโยชน์ทางเพศ (การแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี การผลิตหรือเผยแพร่วัตถุหรือสื่อลามก และการแสดงหาประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น) 185 คดี การนําคนมาขอทาน 9 คดี การบังคับใช้แรงงาน (แรงงานทั่วไป แรงงานในภาคประมง เอาคนลงเป็นทาส และการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคลไม่ว่าบุคคลนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม) 94 คดี โดยจับกุมผู้ต้องหา 555 คน (ชาย 330 คน หญิง 225 คน) สัญชาติไทย 402 คน เมียนมา 120 คน กัมพูชา 4 คน ลาว 6 คน และอื่น ๆ 23 คน รวมทั้งช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ 1,821 คน (ชาย 1,158 คน หญิง 663 คน) สัญชาติไทย 251 คน เมียนมา 1,306 คน กัมพูชา 96 คน ลาว 38 คน และอื่น ๆ 130 คน 3. สถิติการดําเนินคดีชั้นพนักงานสอบสวนชั้นพนักงานอัยการและชั้นศาล ดําเนินคดีชั้นพนักงานสอบสวน 288 คดี อยู่ระหว่างการสอบสวน 39 คดี สอบสวนเสร็จสิ้น 249 คดี และมีความเห็นควรสั่งฟ้องทั้งหมด 249 คดี ชั้นพนักงานอัยการ 364 คดี ดําเนินการแล้วเสร็จ 351 คดี และชั้นศาล 396 คดี พิพากษาเสร็จสิ้น 283 คดี และมีคําพิพากษาให้จําเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย 54,180,366 บาท 4. มาตรการลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ ใช้มาตรการลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์อย่างต่อเนื่องและจริงจัง และทําให้จํานวนเจ้าหน้าที่ดังกล่าวลดลงอย่างชัดเจน โดยในปี 2562 มีการชี้มูลความผิดและมีความเห็นสั่งฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐ 4 คน ที่ถูกกล่าวหาว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์เมื่อปี 2560 รวมทั้งตัดสินจําคุกเจ้าหน้าที่รัฐ 6 คน ที่ถูกดําเนินคดีระหว่างปี 2558-2561 ในฐานความผิดที่เกี่ยวข้องระวางโทษตั้งแต่ 34-225 ปี 5. การคุ้มครองและการเยียวยาผู้เสียหาย - ผู้เสียหายเลือกเข้ารับการคุ้มครองในสถานคุ้มครองของรัฐและเอกชน 1,560 คน (ร้อยละ 85.67) ของผู้เสียหายในคดีค้ามนุษย์ 1,821 คน สําหรับผู้เสียหาย 261 คน (ร้อยละ 14.33) ไม่ประสงค์เข้ารับการคุ้มครองในสถานคุ้มครองของรัฐและเอกชน แต่ได้รับการคุ้มครองตามสิทธิอื่น ๆ ที่พึงได้รับ นอกจากนี้ รัฐบาลได้จ่ายเงินชดเชยเยียวยาให้แก่ผู้เสียหายจากกองทุน เพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ 11.87 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 93 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2561 ซึ่งจ่ายไป 6.15 ล้านบาท - ผู้เสียหายสามารถเดินทางออกไปภายนอกสถานคุ้มครอง เช่น ไปเรียน ไปทํางาน หรือออกไปร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เมื่อไม่ต้องมีความกังวลเรื่องความปลอดภัย โดยได้จัดทําบัตรประจําตัวและอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว โดยผู้เสียหายต่างชาติ 1,222 คน (ร้อยละ 85.7) - กําหนดให้นายจ้างใช้สัญญาจ้าง 3 ภาษา ไว้ในฉบับเดียวกัน (ภาษาของแรงงานต่างด้าว ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ) เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการต่อใบอนุญาตทํางานของแรงงานต่างด้าว ซึ่งจะทําให้แรงงานต่างด้าวทุกคนได้รับการคุ้มครองแรงงานต่างด้าวให้ได้รับค่าจ้างและสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย 6. การจัดทําแอปพลิเคชัน (Mobile Application) จัดทําแอปพลิเคชัน (Mobile Application) ชื่อ “PROTECT-U” เพื่อเพิ่มช่องทางสําหรับผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ให้เข้าถึงบริการการช่วยเหลือคุ้มครอง รวมทั้งเป็นช่องทางให้ประชาชนสามารถแจ้งเบาะแสเมื่อพบเหตุค้ามนุษย์ เพื่อช่วยเหลือและคุ้มครองผู้เสียหายได้อย่างรวดเร็วขึ้น 7. การเพิ่มประสิทธิภาพเจ้าหน้าที่บังคับใช้ กฎหมาย การเพิ่มประสิทธิภาพเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย เช่น พนักงานตรวจแรงงานให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย ทีมสหวิชาชีพ และผู้ปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ทั่วประเทศ เกี่ยวกับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติมให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องในการดําเนินคดีและตัดสินโทษผู้ค้ามนุษย์ด้านแรงงาน รวมทั้งคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ต่างประเทศ 20. เรื่อง การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) สําหรับโครงการพัฒนาและปรับปรุงระบบสารสนเทศของ สปป.ลาว เพื่อเชื่อมโยงกับระบบ ASEAN Single Window คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้สํานักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) ดําเนินการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) สําหรับโครงการพัฒนาและปรับปรุงระบบสารสนเทศของ สปป.ลาว เพื่อเชื่อมโยงกับระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน (ASEAN Single Window: ASW) (โครงการพัฒนาระบบฯ) ในรูปแบบเงินให้เปล่าทั้งจํานวน วงเงินรวม 18,820,805.12 บาท โดยใช้เงินสะสมของ สพพ. ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ โครงการพัฒนาและปรับปรุงระบบสารสนเทศของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เพื่อเชื่อมโยงกับระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว (ASEAN Single Window: ASW) (โครงการพัฒนาระบบฯ) มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบ ASW ให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งขอบเขตการดําเนินงานนั้น จะเป็นการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ 3 ระบบ ได้แก่ 1.) การพัฒนาระบบ National Single Window - Routing Platform (NSW - RP) เพื่อส่งผ่านข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ ASEAN Trade in Goods Agreement (ATIGA e - Form D) กับประเทศสมาชิกอาเซียน 2.) การพัฒนาโปรแกรมใบรับรองแหล่งกําเนิดสินค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate of Origin: e - CO) ให้สามารถส่งข้อมูล ATIGA e - Form D รวมถึงรับข้อมูลตอบกลับจากประเทศสมาชิกอาเซียนผ่าน ASW 3.) การพัฒนาโปรแกรมการดูข้อมูล e - CO ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ NSW - RP ให้สามารถรับข้อมูล ATIGA e - Form D จากต่างประเทศเพื่ออํานวยความสะดวกให้กับเจ้าหน้าที่ในการค้นหาข้อมูลจาก ATIGA e –Form D ที่ประชุมคณะกรรมการ สพพ. ครั้งที่ 12/2562 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 มีมติให้ สพพ. ดําเนินการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ สปป.ลาว วงเงินรวม 18,820,805.12 บาท โดยใช้เงินสะสมของหน่วยงานในรูปแบบของเงินให้เปล่าทั้งจํานวน 21. เรื่อง การรับรองขอบเขตอํานาจหน้าที่สภาการเทคนิคอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมแห่งอาเซียน(Ad-referendum Adoption of the Term of Reference of the ASEAN TVET Council) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างขอบเขตอํานาจหน้าที่ (TOR) ของ ASEAN TVET Council (ATC) เพื่อการรับรองของรัฐมนตรีศึกษาอาเซียน (ASEAN Education Ministers Meeting: ASED) และรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน (ASEAN Labour Ministers Meeting: ALMM) และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานลงนามในหนังสือเห็นชอบ/รับรอง (Adoption) ขอบเขตอํานาจหน้าที่สภาการเทคนิคอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมแห่งอาเซียน (Term of Reference of the ASEAN TVET Council) ทั้งนี้ ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์อยู่ระหว่างนําเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้ความเห็นชอบ (Endorsement) ขอบเขตอํานาจหน้าที่สภาการเทคนิคอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมแห่งอาเซียน และเห็นชอบให้กระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะ SOMED และกระทรวงแรงงาน ในฐานะ SLOM เสนอชื่อผู้แทนระดับอาวุโสของไทยเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการในสภาการเทคนิคอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมแห่งอาเซียน ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ สาระสําคัญของขอบข่ายอํานาจหน้าที่ ดังนี้ หน้าที่ 1) ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการอาชีวศึกษาและการดําเนินการที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม 2) อํานวยความสะดวกในการเรียนรู้ผ่านการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีด้านการอาชีวศึกษา 3) พัฒนาแผนปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการเรียนรู้และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการอาชีวศึกษา 4) สนับสนุนการบริหารองค์ความรู้ด้านการอาชีวศึกษาผ่านการวิจัย การศึกษา และการจัดทําสื่อสิ่งพิมพ์ให้ความรู้ต่างๆ กิจกรรมหลัก 1) จัดการแข่งขัน/กิจกรรมพัฒนาทักษะ 2) วิจัยและพัฒนาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการอาชีวศึกษาและฝึกอบรม 3) ส่งเสริมการพัฒนาภาพลักษณ์การอาชีวศึกษา 4) พัฒนาศักยภาพผู้เรียนและบุคลากรทางการศึกษา 5) เสริมสร้างระบบการประกันสุขภาพ และ 6) แลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาการอาชีวศึกษาและฝึกอบรม กลไกการดําเนินงาน 1) สมาชิกประกอบด้วยผู้แทนจากสาขาความร่วมมืออาเซียนด้านเศรษฐกิจ การศึกษา แรงงาน ธุรกิจ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สําหรับประเทศไทย ประกอบด้วยผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนกระทรวงแรงงาน และผู้แทนกระทรวงพาณิชย์/กระทรวงอุตสาหกรรม 2) กําหนดให้มีการประชุมปีละไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง 3) เจ้าภาพจัดการประชุมรับผิดชอบงบประมาณสําหรับการจัดประชุม และให้แต่ละประเทศรับผิดชอบค่าเดินทางเข้าร่วมการประชุม (cost-sharing basis) 22. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์สําหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน และการประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม สมัยพิเศษ ว่าด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาของการประชุมสุดยอดอาเซียน สมัยพิเศษ ว่าด้วยโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม สมัยพิเศษ ว่าด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยหากมีความจําเป็นต้องแก้ไขเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสําคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศดําเนินการได้ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก และให้นายกรัฐมนตรี หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ร่วมรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์ทั้งสองฉบับ สําหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน และการประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม สมัยพิเศษ ว่าด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ สาระสําคัญ ร่างปฏิญญาของการประชุมสุดยอดอาเซียน สมัยพิเศษ ว่าด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) มีสาระสําคัญแสดงความห่วงกังวลต่อสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้เป็นการระบาดใหญ่ระดับโลก ที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน และการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของทุกประเทศ โดยได้แสดงเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะเสริมสร้างความร่วมมือด้านสาธารณสุขเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดและคุ้มครองประชาชนผ่านการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างทันท่วงที การสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องแก่ประชาชน ประสานการดําเนินมาตรการของประเทศสมาชิกในด้านการรักษา การวิจัย การพัฒนาวัคซีนและยาต้านไวรัส การสร้างความปลอดภัยให้แก่บุคลากรสาธารณสุข ย้ําความสําคัญของการจัดหายา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่เพียงพอ โดยพิจารณาความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายคลังเก็บสิ่งของเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของอาเซียน สําหรับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข และสนับสนุนบทบาทของศูนย์แพทย์ทหารอาเซียน อีกทั้งสนับสนุนการนําเงินกองทุนความร่วมมือต่างๆ ของอาเซียนที่มีอยู่มาจัดสรรสําหรับการรับมือโควิด-19 ซึ่งรวมถึงข้อเสนอการจัดตั้งกองทุนอาเซียนเพื่อรับมือกับโควิด-19 ของไทย การรักษาบูรณาการทางเศรษฐกิจและห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาค รวมทั้งการกําหนดแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังวิกฤต ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม สมัยพิเศษ ว่าด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองของผู้นําประเทศอาเซียนบวกสาม เพื่อร่วมกันส่งเสริมความร่วมมือและการสนับสนุนซึ่งกันและกันในการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และรองรับผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการเตรียมความพร้อมสําหรับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขและด้านอื่นๆ ในอนาคต โดยได้ระบุถึงการเสริมสร้างขีดความสามารถในการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข การจัดตั้งกองทุนอาเซียนเพื่อรับมือกับโควิด-19 การจัดตั้งคลังสํารองอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จําเป็นของภูมิภาค การวิจัยเพื่อพัฒนาวัคซีนและยาต้านไวรัส การช่วยเหลือคนชาติของประเทศอาเซียนบวกสาม การให้ข้อมูลข่าวสารที่โปร่งใสและถูกต้อง การรับมือกับข่าวปลอม และมาตรการทางการเงินต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งการใช้มาตรการริเริ่มเชียงใหม่พหุภาคี เพื่อส่งเสริมเสถียรภาพทางการเงินในภูมิภาค เป็นต้น แต่งตั้ง 23. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สํานักข่าวกรองแห่งชาติ) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สํานักข่าวกรองแห่งชาติเสนอแต่งตั้ง นายศรายุธ ทองกูล นักการข่าวเชี่ยวชาญ กลุ่มงานที่ปรึกษา สํานักข่าวกรองแห่งชาติ ให้ดํารงตําแหน่ง ที่ปรึกษาด้านข่าวกรองความมั่นคงและสถาบันหลัก (นักการข่าวทรงคุณวุฒิ) กลุ่มงานที่ปรึกษา สํานักข่าวกรองแห่งชาติ สํานักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2562 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้งนายพีรพันธ์ คอทอง ผู้ช่วยปลัดกระทรวง สํานักงานปลัดกระทรวง ให้ดํารงตําแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตําแหน่งที่ว่าง 25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงมหาดไทย) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทยให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง จํานวน 3 ราย ดังนี้ 1. ให้นายกอบชัย บุญอรณะ พ้นจากตําแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดเพชรบุรี สํานักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอองระดับสูง) จังหวัดชัยภูมิ สํานักงานปลัดกระทรวง 2. ให้นายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ พ้นจากตําแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดภูเก็ต สํานักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอองระดับสูง) จังหวัดเพชรบุรี สํานักงานปลัดกระทรวง 3. ให้นายณรงค์ วุ่นซิ้ว พ้นจากตําแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดชัยภูมิ สํานักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอองระดับสูง) จังหวัดภูเก็ต สํานักงานปลัดกระทรวง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 26. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสํานักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสํานักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวม 6 คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดํารงตําแหน่งครบวาระสี่ปี เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2560 ดังนี้ 1. นายวีระชัย นาควิบูลย์วงศ์ ประธานกรรมการ 2. นายสุวรรณ บูราพรนุสรณ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์) 3. นางอุษา กลิ่นหอม กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการเกษตร) 4. นายธีระ พุ่มเสนาะ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการบริหารจัดการ) 5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทวี วัชระเกียรติศักดิ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการวิจัยและกระบวนการเรียนรู้) 6. นายเสถียร ใจคํา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการพัฒนาชุมชนและเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียง) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2563 เป็นต้นไป 27. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสํานักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสํานักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร ชุดใหม่ รวม 6 คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิม ได้ดํารงตําแหน่งครบวาระสามปี เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2563 ดังนี้ 1. นายชวลิต ชูขจร ประธานกรรมการ 2. นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการเกษตร) 3. นางสาวสุกัญญา ธีระกูรณ์เลิศ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านวิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี/นวัตกรรม) 4. นายสุพัฒน์ เอี้ยวฉาย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการพาณิชย์/อุตสาหกรรม) 5. นางจิราวรรณ แย้มประยูร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการบริหาร/การเงิน) 6. นายสรรเสริญ อัจจุตมานัส กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการกฎหมาย) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2563 เป็นต้นไป 28. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการการประปานครหลวง คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการการประปานครหลวง จํานวน 4 คน แทนกรรมการเดิมที่พ้นจากตําแหน่งเนื่องจากมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์และลาออก ดังนี้ 1. นายจําเริญ โพธิยอด (ผู้แทนกระทรวงการคลัง) กรรมการ 2. พลเอก สิงห์ทอง หมีทอง กรรมการ 3. นายวรายุทธ เย็นบํารุง กรรมการ 4. นายชัยทัต แซ่ตั้ง กรรมการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2563 เป็นต้นไป และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งแทนอยู่ในตําแหน่งได้เพียงเท่ากําหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน 29. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการสภาการศึกษา แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาที่พ้นจากตําแหน่งก่อนครบวาระ คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอ ดังนี้ 1. รับทราบกรณี นายสุภกร บัวสาย พ้นจากตําแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาในคณะกรรมการสภาการศึกษา เนื่องจากลาออก 2. เห็นชอบแต่งตั้ง นายนิติ นาชิต เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาในคณะกรรมการสภาการศึกษา แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่พ้นจากตําแหน่งก่อนครบวาระ (ตามข้อ 1.) โดยให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งแทน อยู่ในตําแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2563 เป็นต้นไป และในครั้งต่อ ๆ ไปให้กระทรวงศึกษาธิการดําเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสภาการศึกษาให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกําหนดไว้อย่างเคร่งครัดด้วย ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 (เรื่อง การดําเนินการแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาตามกฎหมาย) 30. เรื่อง คําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ 112/2563 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกํากับดูแลด้านผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ 112/2563 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกํากับดูแลด้านผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ส่งผลกระทบต่อประชาชนและภาคธุรกิจในทุกพื้นที่ของประเทศ ทั้งในด้านการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายและหนี้สิ้น การขาดรายได้ การถูกเลิกจ้าง และการปิดกิจการชั่วคราว ส่งผลให้อุปสงค์ภายในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนมีแนวโน้มหดตัวลงอย่างรุนแรง รัฐบาลจึงได้จัดให้มีมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อเศรษฐกิจไทย ทั้งทางตรงและทางอ้อม ระยะที่ 1 – 3 เพื่อช่วยเหลือเยียวยาและบรรเทาผลกระทบให้กับประชาชนและผู้ประกอบการธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะมาตรการชดเชยรายได้แก่แรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมหรือผู้ได้รับผลกระทบอื่น ๆ ของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายหลากหลายอาชีพทั่วประเทศ ดังนั้น เพื่อให้การจัดทํามาตรการช่วยเหลือและเยียวยาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ตลอดจนให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการช่วยเหลือเยียวยาอย่างทั่วถึง เป็นธรรม โดยเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 (6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จึงแต่งตั้งคณะกรรมการกํากับดูแลด้านผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยมีองค์ประกอบ หน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้ 1. องค์ประกอบ 1.1 ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ 1.2 ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี กรรมการ 1.3 ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรรมการ 1.4 ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรรมการ 1.5 ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ 1.6 ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กรรมการ 1.7 ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ 1.8 ปลัดกระทรวงแรงงาน กรรมการ 1.9 ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการ 1.10 ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ 1.11 ผู้แทนสํานักงานตํารวจแห่งชาติ กรรมการ 1.12 ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง กรรมการและเลขานุการ 2. หน้าที่และอํานาจ 2.1 ติดตาม รวบรวม และบูรณาการข้อมูลเกี่ยวกับผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ โรคโควิด-19 รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน 2.2 ตรวจสอบการให้ความช่วยเหลือและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ โรคโควิด-19 ตามมาตรการของรัฐต่าง ๆ 2.3 นําผลการดําเนินการตามข้อ 2.1 และ 2.2 มาวิเคราะห์และจัดทําข้อเสนอแนะเพื่อให้ การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีความครอบคลุม ทั่วถึงและเป็นธรรม 2.4 กํากับดูแลและตรวจสอบการดําเนินมาตรการชดเชยรายได้ฯ ให้เป็นไปตามแผนงานและเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส รวมทั้งเสนอแนะกลไกและขั้นตอนการดําเนินงานที่กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงการช่วยเหลือเยียวยาได้อย่างแท้จริง ต่อนายกรัฐมนตรี หรือศูนย์ปฏิบัติการด้านมาตรการป้องกันและช่วยเหลือประชาชน ตามคําสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 6/2563 เรื่อง การจัดโครงการสร้างของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ลงวันที่ 27 มีนาคม 2563 2.5 ให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรที่เกี่ยวข้องชี้แจงข้อเท็จจริงและรายงานข้อมูล รวมทั้งจัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อคณะกรรมการ 2.6 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทํางาน หรือบุคคล เพื่อช่วยปฏิบัติงานได้ตามความจําเป็นและเหมาะสม 2.7 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย สําหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมหรือค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่จําเป็นต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทํางาน หรือบุคคลที่แต่งตั้งตามคําสั่งนี้ ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 หรือตามระเบียบทางราชการ แล้วแต่กรณี โดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณของสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป .............. (โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 15 เมษายน 2563 วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน 2563 สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 15 เมษายน 2563 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีผ่านระบบ Video Conference ซึ่งสรุปสาระสําคัญดังนี้ http://www.thaigov.go.th (โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง) วันนี้ (15 เมษายน 2563) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีผ่านระบบ Video Conference ซึ่งสรุปสาระสําคัญดังนี้ กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคให้แก่ สภากาชาดไทย) 2. เรื่อง ร่างระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... 3. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การจัดตั้งสํานักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ) 4. เรื่อง ร่างประกาศสํานักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดจํานวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจําปี พ.ศ. .... 5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศ สําหรับดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยและดอกเบี้ยพันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน) 6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 7. เรื่อง ร่างระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ําตาลทราย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนอ้อยและน้ําตาลทรายเพื่อใช้ในการดําเนินการ ตามวัตถุประสงค์ของกองทุนอ้อยและน้ําตาลทราย พ.ศ. .... 8. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ ย่อยสลายได้เองทางชีวภาพ) เศรษฐกิจ - สังคม 9. เรื่อง ขอสิทธิพิเศษลดหย่อนค่ากระแสไฟฟ้าให้แก่ทหารผ่านศึก 10. เรื่อง ขอความเห็นชอบในหลักการการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาหลัก – ลํารู่ บางส่วน เพื่อดําเนินการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ําคลองลํารูใหญ่ จังหวัดพังงา 11. เรื่อง ขอความเห็นชอบการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 12. เรื่อง โครงการเพื่อการพัฒนาปี 2562 ของการประปาส่วนภูมิภาค 13. เรื่อง โครงการเพื่อการพัฒนาปี 2563 ของการประปาส่วนภูมิภาค 14. เรื่อง รายงานผลการดําเนินงานโครงการส่งเสริมความรู้ให้กับ SMEs ในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ตามมาตรการเพิ่มขีดความสามารถและส่งเสริมความรู้ให้กับ SMEs ในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน 15. เรื่อง ร่างแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563-2565) 16. เรื่อง ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2563 เรื่อง การผ่อนปรนการดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 17. เรื่อง การปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อรองรับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 18. เรื่อง การเพิ่มอัตราข้าราชการตั้งใหม่ และมาตรการเพิ่มสิทธิประโยชน์อื่นสําหรับบุคลากรกระทรวงสาธารณสุขรองรับภาวะฉุกเฉินในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 19. เรื่อง รายงานผลการดําเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ประจําปี 2562 ต่างประเทศ 20. เรื่อง การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) สําหรับโครงการพัฒนาและปรับปรุงระบบสารสนเทศของ สปป.ลาว เพื่อเชื่อมโยงกับระบบ ASEAN Single Window 21. เรื่อง การรับรองขอบเขตอํานาจหน้าที่สภาการเทคนิคอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมแห่งอาเซียน (Ad-referendum Adoption of the Term of Reference of the ASEAN TVET Council) 22. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์สําหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน และการประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม สมัยพิเศษ ว่าด้วยโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) แต่งตั้ง 23. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สํานักข่าวกรองแห่งชาติ) 24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) 25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงมหาดไทย) 26. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสํานักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 27. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสํานักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร 28. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการการประปานครหลวง 29. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการสภาการศึกษา แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการศึกษาที่พ้นจากตําแหน่งก่อนครบวาระ 30. เรื่อง คําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ 112/2563 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกํากับดูแล ด้านผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ******************* สํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396 กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคให้แก่สภากาชาดไทย) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดําเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสํานักงบประมาณไปพิจารณาดําเนินการต่อไป กค. เสนอว่า 1. สภากาชาดไทยเป็นองค์กรสาธารณกุศลเพื่อมนุษยธรรมตามหลักการกาชาดสากลมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาพยาบาลผู้ป่วย บาดเจ็บบรรเทาทุกข์ในเหตุการณ์สาธารณภัย โดยไม่เลือกเชื้อชาติ สัญชาติ ลัทธิ ศาสนา โดยถือกําเนิดเมื่อปี พ.ศ. 2436 การดําเนินงานสภากาชาดไทยมีสํานักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาด ทําหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงานการดําเนินกิจการเหล่ากาชาดจังหวัด และกิ่งกาชาดอําเภอ ให้สามารถสนับสนุนภารกิจของสภากาชาดไทยอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักรในนามของ “เหล่ากาชาดจังหวัด” ซึ่งมีหน้าที่บรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัย และราษฎรที่ยากจนในท้องถิ่นทุรกันดาร ตลอดจนสนับสนุนและส่งเสริมกิจการอนุกาชาด อาสากาชาด บริการโลหิต และบริการดวงตา 2. โดยการดําเนินกิจการของสภากาชาดไทยมีแหล่งเงินทุนประกอบด้วย เงินจัดสรรให้โดยตรงจากงบประมาณรายจ่ายประจําปี เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้ ค่าบํารุง ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือรายได้จากการดําเนินการ รวมถึงดอกผลของเงินหรือรายได้จากทรัพย์สินของสภากาชาดไทย และโดยที่มาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยสภากาชาดไทย พ.ศ. 2461 บัญญัติให้สภากาชาดไทยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กรรมการสภากาชาดไทยจัดการเรี่ยไรในหนทางต่าง ๆ ที่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อรับเงินมาเป็นทุนดําเนินกิจการของสภากาชาดไทย 3. ดังนั้น เพื่อช่วยส่งเสริมให้มีการบริจาคให้แก่สภากาชาดไทยซึ่งเป็นหน่วยงานองค์กรสาธารณกุศลตามหลักการกาชาดสากล อันจะช่วยในการดําเนินงานของสภากาชาดไทย ซึ่งมีภารกิจด้านบริการทางการแพทย์และสุขอนามัยของประชาชนเป็นหลักสําคัญ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมสุขภาพอนามัยและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น เห็นควรกําหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อจูงใจให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการบริจาคเพื่อสนับสนุนการดําเนินงานของสภากาชาดไทย จึงเห็นควรยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ให้แก่บุคคลธรรมดา บริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสําหรับการบริจาคเงิน หรือทรัพย์สินให้แก่สภากาชาดไทย ทั้งนี้ มาตรการภาษีดังกล่าวสําหรับการบริจาคเงินหรือทรัพย์สินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ของกรมสรรพากรให้แก่สภากาชาดไทย ที่ได้กระทําตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 กค. จึงได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้ขึ้น 4. กค. ได้ดําเนินการจัดทําประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยรายงานว่ามาตรการทางภาษีดังกล่าวส่งผลให้ภาครัฐจัดเก็บภาษีลดลงตลอดระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์ประมาณ 180 ล้านบาท แต่มีประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ดังนี้ 4.1 ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมสนับสนุนการให้บริการสภากาชาดไทย ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพด้านการสาธารณสุขของประเทศให้ดีขึ้น และลดงบประมาณของรัฐ 4.2 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านการเงินของสภากาชาดไทย เพื่อนําไปใช้สนับสนุนบริการด้านสาธารณสุขให้เกิดความทั่วถึง และประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น 4.3 ประชาชนได้รับบริการด้านสาธารณสุขที่มีคุณภาพเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกาชาดสากล 4.4 ช่วยลดภาระการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลในด้านสาธารณสุข จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาเพื่อดําเนินการ สาระสําคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา 1. บุคคลธรรมดาที่บริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่สภากาชาดไทย สามารถหักลดหย่อนได้เป็นจํานวน 2 เท่าของจํานวนเงินที่บริจาค แต่เมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาสําหรับโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว 2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่บริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่สภากาชาดไทย สามารถหักรายจ่ายได้ 2 เท่าของรายจ่ายที่บริจาค ไม่ว่าจะได้จ่ายเป็นเงินหรือทรัพย์สิน แต่เมื่อรวมกับรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาสําหรับโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบ และรายจ่ายที่ได้จ่ายใน การจัดสร้างและการบํารุงรักษาสนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ หรือสนามกีฬาของเอกชนที่เปิดให้ประชาชนใช้เป็นการทั่วไปโดยไม่เก็บค่าบริการใด ๆ หรือสนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ หรือสนามกีฬาของทางราชการแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของกําไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ และรายจ่าย เพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬา 3. เงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สินหรือขายสินค้าหรือการกระทําตราสารที่มาจากการบริจาคให้แก่สภากาชาดไทยของบุคคลธรรมดา และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กําหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สําหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน หรือการขายสินค้า หรือสําหรับการกระทําตราสารอันเนื่องมาจากการบริจาคให้แก่สภากาชาดไทย โดยผู้โอนจะต้องไม่นําต้นทุนของทรัพย์สินหรือสินค้าซึ่งได้รับยกเว้นภาษีดังกล่าวมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล 4. ช่องทางการบริจาคที่ได้รับการยกเว้นรัษฎากร การบริจาคผ่านระบบอิเล็อทรอนิกส์ (e-Donation) ของกรมสรรพากร 5. ระยะเวลา สําหรับการบริจาคที่ได้กระทําตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 2. เรื่อง ร่างระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้ 1. เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยพิจารณาในประเด็นตามข้อสังเกตของสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และให้รับความเห็นของสํานักงาน ก.พ. และสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดําเนินการต่อไปได้ 2. ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สํานักงาน ก.พ. และสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคไปพิจารณาดําเนินการต่อไปด้วย คค. เสนอว่า 1. คค. โดยสํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... ร่วมกับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงมหาดไทย สํานักงาน ก.พ.ร. สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สํานักงบประมาณ ธนาคารแห่งประเทศไทย และคณะอนุกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรี (คกอ.) (คณะพิเศษ) ตามคําสั่งของรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) แล้วเห็นว่า ปัจจุบันนี้ยังไม่มีกฎหมายและหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุม กํากับ ดูแลและบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมให้สามารถใช้เชื่อมต่อในระบบการขนส่งมวลชนในทุกรูปแบบ ทั้งทางบก ทางราง ทางน้ํา และทางอากาศได้โดยตรง ดังนั้นจึงจําเป็นต้องจัดทําร่างพระราชบัญญัติฯ ต่อไป แต่เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบัน นวัตกรรมเทคโนโลยีระบบตั๋วร่วมและระบบการชําระเงินมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ประกอบกับจํานวนผู้ประกอบการขนส่งมวลชนทางรางกําลังจะเพิ่มขึ้นอีกหลายราย ทั้งในเขตกรุงเทพฯ จังหวัดปริมณฑล และเมืองหลักในภูมิภาค จึงจะทําให้การควบคุม กํากับ ดูแลและบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมเป็นไปอย่างยากลําบาก หากยังไม่มีหรือการออกกฎหมายพระราชบัญญัติในการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมล่าช้า ในระยะเริ่มแรกจึงเห็นสมควรจัดทําเป็นร่างระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... ขึ้นก่อน เพื่อให้มีกฎหมายและหน่วยงานกํากับดูแลการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมได้โดยเร็ว ซึ่งร่างระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีฯ เป็นเพียงมาตรการทางการบริหาร กํากับ ดูแลระบบตั๋วร่วม ใช้ได้เฉพาะกับผู้ประกอบการขนส่งที่เป็นหน่วยงานภาครัฐเท่านั้น ในอนาคตหากจะให้สามารถนําไปใช้กับผู้ประกอบการขนส่งทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งหมดจําเป็นต้องมีการจัดทําเป็นร่างพระราชบัญญัติต่อไป ซึ่งจะสามารถใช้บังคับกับผู้ประกอบการขนส่งทั้งภาครัฐและเอกชนได้ 2. ระบบตั๋วร่วมนี้เป็นไปตามนโยบายการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและนโยบายการลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน ของ คค. ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาการดํารงชีวิตของประชาชนโดยการจัดการระบบการขนส่งสาธารณะผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลของรัฐบาล ซึ่งการกําหนดนโยบายดังกล่าว คค. ได้จัดให้มีการศึกษาและจัดทําแผนการใช้บัตรโดยสารเชื่อมโยงรถไฟฟ้าทุกระบบ เช่น Common Ticket สามารถให้บริการได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่ออํานวยความสะดวกให้แก่ประชาชน และมีการพัฒนาการให้บริการรถโดยสารประจําทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และรถร่วมบริการให้เป็นรถโดยสารปรับอากาศทั้งระบบ และมีการจัดเก็บค่าโดยสารเป็นระบบบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Ticket) หรือระบบตั๋วร่วม รวมทั้งมีราคาค่าโดยสารที่เหมาะสม ทั้งนี้ต้องไม่มีผลกระทบต่องบประมาณภาครัฐ โดยมีการบริหารจัดการที่เป็นระบบ ไม่จัดเส้นทางเดินรถที่ซ้ําซ้อน และศึกษาแนวทางการปรับลดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าโดยต้องไม่เป็นภาระต่องบประมาณภาครัฐ 3. คค. โดยสํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ได้ดําเนินการออกแบบและพัฒนาระบบตั๋วร่วมแล้วเสร็จ พร้อมที่จะบูรณาการการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนในทุกรูปแบบ โดยผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนอาจจะต้องมีการปรับปรุงระบบจัดเก็บรายได้ และระบบการเชื่อมต่อข้อมูลเพื่อให้สามารถใช้งานในระบบตั๋วร่วมได้ สําหรับระบบขนส่งมวลชนที่อยู่ระหว่างดําเนินการก่อสร้างและอยู่ในแผนของ คค. จะต้องดําเนินการจัดทําระบบตามมาตรฐานระบบตั๋วร่วมที่กําหนดไว้ แต่การที่จะดําเนินการให้เกิดการบูรณาการเชื่อมต่อระบบตั๋วร่วมในระบบขนส่งมวลชนได้นั้น ตัองได้รับความร่วมมือจากผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนในการเข้าร่วมให้บริการระบบตั๋วร่วมและกําหนดอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม ซึ่งต้องอาศัยกลไกด้านกฎหมายในการกําหนดกรอบแนวทางการดําเนินงานและขอบเขตความร่วมมือการให้บริการระบบตั๋วร่วม รวมถึงหลักเกณฑ์การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมและสร้างเครื่องมือในการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้ระบบตั๋วร่วม โดยจะต้องมีหน่วยงานที่รับผิดชอบการดําเนินการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมอย่างชัดเจนทั้งในระดับนโยบาย ระดับกํากับดูแล และระดับปฏิบัติการ จึงจําเป็นจะต้องมีกฎหมายการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมและเพื่อให้มีการดําเนินการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมโดยเร็ว ทันต่อการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่กําลังจะเกิดขึ้น ดังนั้น จึงได้มีการยกร่างระเบียบในเรื่องนี้ขึ้น เพื่อกําหนดมาตรการทางการบริหาร กํากับ ดูแลระบบตั๋วร่วม โดยให้มีคณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วมและหน่วยงานระดับปฏิบัติการ เพื่อให้การบริหารงานระบบตั๋วร่วมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้เสนอร่างระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... มาเพื่อดําเนินการ สาระสําคัญของร่างระเบียบ 1. กําหนดให้มีการบริหารจัดการบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์หรือบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่ทั้งหมดด้วยระบบตั๋วร่วม 2. กําหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วม (คนต.) มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน และผู้อํานวยการสํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรเป็นกรรมการและเลขานุการ มีอํานาจหน้าที่กําหนดนโยบายการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม กําหนดมาตรการ หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและข้อกําหนดต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมและการใช้ตั๋วร่วม รวมทั้งเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางที่เกี่ยวข้องกับระบบตั๋วร่วมต่อคณะรัฐมนตรี และมอบหมายหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องดําเนินการตามที่ คนต. มอบหมาย รวมถึงแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือดําเนินการตามที่ คนต. ได้มอบหมาย 3. กําหนดให้สํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรเป็นหน่วยงานกํากับดูแลการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม มีหน้าที่กํากับดูแล ติดตาม และประเมินผลการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม และการดําเนินงานของผู้บริหารจัดการระบบตั๋วร่วมและผู้ให้บริการภาคขนส่งให้เป็นไปตามมาตรฐาน แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและรายงานต่อ คนต. เสนอแนะนโยบายในการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมและมาตรฐานหรือมาตรการการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม แนวทางการเชื่อมต่อระบบและแผนพัฒนาระบบตั๋วร่วมต่อ คนต. รวบรวมข้อมูลอัตราค่าโดยสาร ศึกษา วิเคราะห์ผลกระทบ และเสนอแนะกลไกหรือแนวทางการเจรจาตกลงในการกําหนดโครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วม 4. กําหนดให้มีผู้บริหารจัดการระบบตั๋วร่วม มีอํานาจหน้าที่บริหารจัดการและบํารุงรักษาระบบตั๋วร่วม บริหารศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง รวมถึงกํากับดูแลให้การดําเนินงานในการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมมีประสิทธิภาพ ตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบตั๋วร่วมของผู้ออกและจําหน่ายตั๋วร่วมรายอื่น ให้เป็นไปตามมาตรฐานตามข้อบังคับของคณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วม เพื่อให้ตั๋วร่วมทั้งหมดมีมาตรฐานเดียวกันและสามารถเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้ ควบคุมดูแลผู้ให้บริการภาคขนส่งเพื่อให้การดําเนินงานในการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีหน้าที่รายงานต่อหน่วยงานกํากับดูแลการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม เมื่อผู้ให้บริการภาคขนส่งไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน มาตรการ หลักเกณฑ์ เงื่อนไข หรือข้อกําหนดใด ๆ ที่กําหนดไว้ในระเบียบหรือประกาศของ คนต. รวมทั้งจัดเก็บข้อมูลในการใช้บริการระบบตั๋วร่วมหรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระบบขนส่งและนอกระบบภาคขนส่งและการจัดส่งข้อมูลการใช้ตั๋วร่วม การชําระเงิน และค่าใช้จ่ายอื่นใดให้แก่ธนาคารเพื่อการบริหารจัดการรายได้ พร้อมกับรวบรวมข้อมูลและประมวลผลข้อมูลเพื่อรายงานต่อหน่วยงานกํากับดูแลการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมและ คนต. 3. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การจัดตั้งสํานักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การจัดตั้งสํานักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ) ที่สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป โดยให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่า ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ตราขึ้นเพื่อดําเนินการตาม หมวด 16 การปฏิรูปประเทศของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปดําเนินการจัดทําร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของสํานักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติต่อไป สาระสําคัญของร่างพระราชบัญญัติ 1. กําหนดให้สํานักนายกรัฐมนตรีมีอํานาจหน้าที่ในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ รวมทั้งกําหนดให้สํานักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเป็นส่วนราชการระดับกรมในสํานักนายกรัฐมนตรีที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี 2. แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติว่าด้วยการโอนบรรดาอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการและผู้ปฏิบัติงานตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง และมติคณะรัฐมนตรี รวมทั้งกิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากําลังของกองแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ สํานักงานปลัดกระทรวง ทส. และกองบริหารจัดการที่ดิน สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทส. เฉพาะในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับงานตามภารกิจของคณะกรรมการจัดที่ดิน ไปเป็นของสํานักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ สํานักนายกรัฐมนตรี 3. แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติว่าด้วยการโอนบรรดาอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการและผู้ปฏิบัติงานตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง และมติคณะรัฐมนตรี รวมทั้งกิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ และอัตรากําลังของกองบริหารจัดการที่ดิน สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทส. เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับงานตามภารกิจของคณะกรรมการจัดที่ดิน ไปเป็นของกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย 4. เรื่อง ร่างประกาศสํานักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดจํานวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจําปี พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศสํานักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดจํานวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจําปี พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ดําเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของสํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติไปพิจารณาดําเนินการต่อไป มท. เสนอว่า 1. ในปัจจุบันการเข้ามาอยู่ในประเทศไทยของชาวต่างชาตินับได้ว่ามีความสําคัญต่อสังคมไทยโดยมีเหตุผลที่ต้องการเข้ามามีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทยหลายประการ เช่น เข้ามาเพื่อทํางาน เพื่อการลงทุน เพื่ออยู่กับครอบครัว คู่สมรส หรือบุตรที่อยู่ในประเทศไทย การสนับสนุนชาวต่างชาติที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาดําเนินธุรกิจหรือลงทุนในประเทศไทย เป็นการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยได้ประการหนึ่ง ทําให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังต้องการการลงทุนจากต่างประเทศ ดังนั้น เพื่อเป็นการดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศไทย และสร้างความเชื่อมั่นให้กับชาวต่างชาติที่ต้องการเข้ามาลงทุน อีกทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ครอบครัวมีความมั่นคงและอบอุ่น การให้ถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรแก่คนต่างด้าวจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับชาวต่างชาติที่ต้องการเข้ามาอยู่ในประเทศไทยได้อย่างปลอดภัยและสะดวกสบาย 2. โดยที่มาตรา 40 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีมีอํานาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา กําหนดจํานวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรเป็นรายปี แต่มิให้เกินประเทศละ 100 คนต่อปี และสําหรับคนต่างด้าวไร้สัญชาติมิให้เกิน 50 คนต่อปี และมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่บัญญัติให้คนต่างด้าวจะเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรมิได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองและด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ประกอบกับมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 ที่บัญญัติให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น มท. จึงเห็นควรประกาศกําหนดจํานวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจําปี พ.ศ. 2563 3. คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองได้ประชุมเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2562 มีมติเห็นชอบร่างประกาศสํานักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวแล้ว สาระสําคัญของร่างประกาศสํานักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทย กําหนดให้คนต่างด้าวที่มีสัญชาติของแต่ละประเทศซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจําปี พ.ศ. 2563 มีจํานวนประเทศละไม่เกิน 100 คน และคนต่างด้าวไร้สัญชาติมีจํานวนไม่เกิน 50 คน 5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศ สําหรับดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยและดอกเบี้ยพันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ดําเนินการต่อไปได้ สาระสําคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา เป็นการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย สําหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือดอกเบี้ยพันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เพื่อให้มาตรการภาษีในเรื่องนี้ตามคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 17/2561 เรื่อง การยกเว้นภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรบางกรณี ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2561 เป็นมาตรการระยะยาว 6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดําเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงบประมาณ สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ไปพิจารณาดําเนินการต่อไปด้วย กค. เสนอว่า 1. เนื่องด้วยกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีสาระสําคัญเป็นการกําหนดขอบเขต ประเภทของหลักทรัพย์ และสัดส่วนในการนําเงินของกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (กบข.) ไปลงทุนหาผลประโยชน์ โดยในส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์ในต่างประเทศ ให้นําเงินไปลงทุนได้ไม่เกินร้อยละ 30 2. โดยที่สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการลงทุนที่เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับการกําหนดสัดส่วนในการนําเงินของ กบข. ไปลงทุนหาผลประโยชน์ตามที่กําหนดในปัจจุบัน ทําให้มีการลงทุนที่กระจุกตัวอยู่ในตราสารหนี้ไทย และขาดการกระจายความเสี่ยงที่ดี ดังนั้น จึงมีความจําเป็นต้องแก้ไขกฎกระทรวงตามข้อ 1. เพื่อปรับเพดานสัดส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์ในต่างประเทศ จากเดิมไม่เกินร้อยละ 30 เป็นไม่เกินร้อยละ 40 ซึ่งจะช่วยเพิ่มเป้าหมายผลตอบแทนระยะยาวให้แก่สมาชิก กบข. และสร้างความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการกองทุน รวมทั้งยังสามารถช่วยลดแรงกดดันของค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมา 3. การแก้ไขกฎกระทรวงฯ เพื่อปรับเพดานสัดส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์ในต่างประเทศนั้นยังสามารถขยายเพดานการลงทุนของ กบข. ได้ เนื่องจากยังอยู่ในกรอบการลงทุนตามมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 ที่กําหนดให้วงเงินของกองทุนต้องลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 และสินทรัพย์อื่นได้ไม่เกินร้อยละ 40 จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาเพื่อดําเนินการ สาระสําคัญของร่างกฎกระทรวง กําหนดให้การลงทุนในหลักทรัพย์ในต่างประเทศได้ไม่เกินร้อยละ 40 7. เรื่อง ร่างระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ําตาลทราย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนอ้อยและน้ําตาลทรายเพื่อใช้ในการดําเนินการตามวัตถุประสงค์ของกองทุนอ้อยและน้ําตาลทราย พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ําตาลทราย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนอ้อยและน้ําตาลทรายเพื่อใช้ในการดําเนินการตามวัตถุประสงค์ของกองทุนอ้อยและน้ําตาลทราย พ.ศ. .... ที่คณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้ดําเนินการต่อไปได้ สาระสําคัญของร่างระเบียบ 1. การยกเลิกระเบียบฉบับเดิม ยกเลิกระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ําตาลทราย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2543 ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดเก็บเงินจากการจําหน่ายน้ําตาลทรายขาวบริสุทธิ์ น้ําตาลทรายขาว และน้ําตาลทรายสีรําภายในราชอาณาจักร เข้ากองทุนอ้อยและน้ําตาลทราย และระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ําตาลทรายว่าด้วย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดเก็บเงินจากการจําหน่ายน้ําตาลทรายขาวบริสุทธิ์ น้ําตาลทรายขาว และน้ําตาลทรายสีรําภายในราชอาณาจักร เข้ากองทุนอ้อยและน้ําตาลทราย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2547 2. ผลใช้บังคับ กําหนดให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2561 เป็นต้นไป 3. หลักเกณฑ์การนําส่งเงินเข้ากองทุนอ้อยและน้ําตาลทรายของโรงงานอ้อยและน้ําตาลทราย กําหนดให้โรงงานอ้อยและน้ําตาลทรายนําส่งเงินเข้ากองทุนอ้อยและน้ําตาลโดยคํานวณจากปริมาณอ้อยที่ชาวไร่อ้อยส่งให้แก่โรงงานในแต่ละฤดูการผลิตอัตรายี่สิบบาทต่อหนึ่งตันอ้อย โดยแบ่งชําระเป็น 4 งวด ดังนี้ (1) งวดที่ 1 ภายในเดือนมิถุนายน (2) งวดที่ 2 ภายในเดือนสิงหาคม (3) งวดที่ 3 ภายในเดือนตุลาคม (4) งวดที่ 4 ภายในเดือนธันวาคม เงินที่กองทุนอ้อยและน้ําตาลทรายได้รับ ให้ตกเป็นของกองทุนอ้อยและน้ําตาลทรายตามมาตรา 27 (8) แห่งพระราชบัญญัติอ้อยและน้ําตาลทราย พ.ศ. 2527 4. กรณีโรงงานไม่นําส่งเงินเข้ากองทุนอ้อยและน้ําตาลทราย กรณีโรงงานไม่นําส่งเงินเข้ากองทุนอ้อยและน้ําตาลทรายภายในระยะเวลาที่กําหนด ให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี นับแต่วันถัดจากวันที่ครบกําหนดชําระจนกว่าจะได้ทําการชําระเสร็จสิ้น 5. บทเฉพาะกาล โรงานที่ยังมิได้นําส่งเงินเข้ากองทุนอ้อยและน้ําตาลทราย สําหรับฤดูการผลิต ปี 2560/2561 ให้ดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) งวดก่อนวันที่ 15 มกราคม 2561 ให้นําส่งเงินตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ําตาลทราย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2543ฯ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ระเบียบนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา (2) งวดตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2561 ให้นําส่งเงินตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ระเบียบนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา โรงงานซึ่งได้นําส่งเงินเข้ากองทุนอ้อยและน้ําตาลทรายสําหรับฤดูการผลิต ปี 2560/61 งวดตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2561 โดยเป็นการนําส่งเงินตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ตามระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ําตาลทราย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2543ฯ ให้โรงงานนั้นมีหน้าที่นําส่งเงินเพิ่มให้ครบตามจํานวนที่กําหนดไว้ตามระเบียบนี้ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ระเบียบนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้โรงงานนําส่งเงินเข้ากองทุนอ้อยและน้ําตาลทรายตามระเบียบนี้ สําหรับฤดูการผลิตปี 2561/2562 งวดก่อนระเบียบนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ระเบียบนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 8. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้เองทางชีวภาพ) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้เองทางชีวภาพ) ที่สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ดําเนินการต่อไปได้ กค. เสนอว่า การดําเนินการตามมาตรการนี้คาดว่าจะก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐและประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ดังนี้ 1. ประมาณการสูญเสียรายได้ โดยการกําหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีนี้จะทําให้ภาครัฐสูญเสียรายได้ในปี 2562 ถึง 2564 ประมาณปีละ 450 ล้านบาท 2. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ จะช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ และช่วยลดงบประมาณของภาครัฐในการกําจัดขยะพลาสติกตกค้าง โดยคาดว่าผู้ประกอบการจะเปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 ต่อปี ของปริมาณการผลิตพลาสติกทั้งหมดจํานวนปีละ 431,800 ตัน และเพิ่มทางเลือกของการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้ทดแทนพลาสติกที่สลายตัวไม่ได้ทางชีวภาพ อันจะช่วยส่งเสริมให้บรรลุเป้าประสงค์ในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็น Bio Hub of ASEAN จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้เองทางชีวภาพ) มาเพื่อดําเนินการ สาระสําคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา กําหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสําหรับเงินได้เป็นจํานวนร้อยละยี่สิบห้าของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพตามประเภทที่อธิบดีประกาศกําหนด และได้รับการรับรองผลิตภัณฑ์จากสํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สําหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 เศรษฐกิจ - สังคม 9. เรื่อง ขอสิทธิพิเศษลดหย่อนค่ากระแสไฟฟ้าให้แก่ทหารผ่านศึก คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการตามที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเสนอ ให้สิทธิพิเศษลดหย่อนค่ากระแสไฟฟ้าแก่ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 หรือเหรียญราชการชายแดน หรือเหรียญอื่นที่เทียบเท่า ที่มีคุณสมบัติเป็นทหารผ่านศึกและได้รับบัตรประจําตัวทหารผ่านศึกนอกประจําการ บัตรชั้นที่ 3 แล้วเท่านั้น จํานวน 102,000 ราย ได้รับสิทธิพิเศษลดหย่อนค่ากระแสไฟฟ้าโดยการจัดกลุ่มผู้มีสิทธิ ดังนี้ 1. กลุ่มผู้ถือบัตรชั้นที่ 3 ที่มีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี จํานวน 41,177 ราย ให้ได้รับสิทธิพิเศษลดหย่อนค่ากระแสไฟฟ้า รายละ 45 หน่วยต่อเดือน 2. กลุ่มผู้ถือบัตรชั้นที่ 3 ที่มีรายได้เกิน 100,000 บาทต่อปี จํานวน 60,823 ราย ให้ได้รับสิทธิพิเศษลดหย่อนค่ากระแสไฟฟ้า รายละ 40 หน่วยต่อเดือน ทั้งนี้ การให้สิทธิพิเศษดังกล่าวควรมีการตรวจสอบจํานวนผู้มีสิทธิให้มีความถูกต้องชัดเจนตามจํานวนที่มีอยู่จริง และไม่ซ้ําซ้อนกับผู้มีสิทธิตามมาตรการหรือโครงการสวัสดิการอื่นของรัฐ สําหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ให้กระทรวงกลาโหมพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงาน และแผนการใช้จ่ายงบประมาณขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก (อผศ.) มาดําเนินการเพื่อการดังกล่าว หากไม่เพียงพอ ให้นําเงินนอกงบประมาณมาสมทบ สําหรับค่าใช้จ่ายในปีต่อ ๆ ไป ให้พิจารณาใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณเป็นลําดับแรก และหากไม่เพียงพอ เห็นควรให้เสนอขอจากงบประมาณรายจ่ายประจําปีขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกที่จะได้รับอุดหนุนจากรัฐบาล ตามความเห็นของสํานักงบประมาณ (สงป.) สาระสําคัญของเรื่อง กระทรวงกลาโหม (กห.) รายงานว่า 1. ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 นั้น กห. (อผศ.) ได้พิจารณาดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีและความเห็นของ สงป. โดยพิจารณาประเภทการสงเคราะห์ตามสิทธิที่พึงได้รับลดหลั่นตามชั้นบัตร เช่นเดียวกับแนวทางการให้การสงเคราะห์ประเภทอื่น ๆ เพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ําซึ่งสิทธิที่พึงจะได้รับจะมีสัดส่วนที่แตกต่างกันตามประเภทการสงเคราะห์และพิจารณา การจัดลําดับ หรือกลุ่มผู้ถือบัตรตามฐานรายได้ที่ได้รับในการให้สิทธิพิเศษ ซึ่งในการประชุมสภาทหารผ่านศึก ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2563 ได้มีมติเห็นชอบการขอสิทธิพิเศษลดหย่อนค่ากระแสไฟฟ้าให้แก่ทหารผ่านศึกกลุ่มถือบัตรชั้นที่ 3 สรุปได้ ดังนี้ 1.1 กลุ่มผู้ถือบัตรชั้นที่ 3 ที่มีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี จํานวน 41,177 ราย ให้ได้รับสิทธิพิเศษลดหย่อนค่ากระแสไฟฟ้า รายละ 45 หน่วยต่อเดือน ใช้งบประมาณจํานวน 74.27 ล้านบาทต่อปี 1.2 กลุ่มผู้ถือบัตรชั้นที่ 3 ที่มีรายได้เกิน 100,000 บาทต่อปี จํานวน 60,823 ราย ให้ได้รับสิทธิพิเศษลดหย่อนค่ากระแสไฟฟ้า รายละ 40 หน่วยต่อเดือน ใช้งบประมาณจํานวน 97.51 ล้านบาทต่อปี รวมงบประมาณที่ต้องใช้เป็นเงินจํานวน 171.78 ล้านบาทต่อปี และให้นําเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป 2. รายละเอียดในการดําเนินการสรุปได้ ดังนี้ ขั้นตอนในการดําเนินการ 1) เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้สิทธิพิเศษลดหย่อนค่ากระแสไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว ทหารผ่าน ศึกฯ จะต้องยื่นคําร้องขอหนังสือรับรองการเป็นทหารผ่านศึกจาก อผศ. ก่อน เพื่อยืนยันว่าเป็นผู้มีสิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีจริง 2) จากนั้นทหารผ่านศึกฯ จึงนําหนังสือรับรองดังกล่าวไปแสดงกับการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) 3) เมื่อ กฟน. หรือ กฟภ. ได้รับหนังสือรับรองแล้ว จึงจะให้สิทธิพิเศษลดหย่อนค่ากระแสไฟฟ้าตามมติคณะรัฐมนตรีต่อไป 4) สําหรับการเรียกชําระเงินค่าชดเชยส่วนลดหย่อนค่ากระแสไฟฟ้านั้น กฟน. หรือ กฟภ. จะมีหนังสือเรียกเก็บจาก อผศ. ในแต่ละเดือน ประโยชน์ที่จะได้รับ 1) ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัวของทหารผ่านศึกฯ อันเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพชีวิต 2) ทําให้ทหารผ่านศึกฯ ได้ตระหนักถึงเจตนารมณ์ของรัฐบาลที่ให้ความสําคัญแก่ทหารผ่านศึกผู้ที่เคยกระทําคุณงามความดีเพื่อปกป้องอธิปไตยและความสงบเรียบร้อยของประเทศมาแล้ว 3) ส่งเสริมให้สังคมได้มีส่วนร่วมในการยกย่องและเชิดชูเกียรติแก่ทหารผ่านศึก หมายเหตุ อผศ. แบ่งประเภทบัตรประจําตัวทหารผ่านศึกฯ เป็น 4 ชั้นบัตร ดังนี้ บัตรชั้นที่ 1 ออกให้แก่ ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีด้วยความกล้าหาญ เหรียญดุษฎีมาลาเข็มกล้าหาญ หรือเหรียญกล้าหาญ ทหารผ่านศึกฯ ที่พิการทุพพลภาพจากการปฏิบัติหน้าที่ และครอบครัวทหารผ่านศึก บัตรชั้นที่ 1 (ครอบครัวของทหารที่เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่) บัตรชั้นที่ 2 ออกให้แก่ ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เหรียญพิทักษ์เสรีชนชั้นที่ 1 เหรียญงานพระราชสงครามในทวีปยุโรป หรือเหรียญอื่นที่เทียบเท่า บัตรชั้นที่ 3 ออกให้แก่ ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เหรียญราชการเขตภายใน เหรียญราชการชายแดน เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 หรือเหรียญอื่นที่เทียบเท่า และต้องมีระยะเวลาการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 8 เดือน บัตรชั้นที่ 4 ออกให้แก่ ผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานเหรียญใด ๆ และต้องมีระยะเวลาการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 8 เดือน ซึ่งปัจจุบันมีทหารผ่านศึกฯ จํานวนประมาณ 646,674 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2562) 10. เรื่อง ขอความเห็นชอบในหลักการการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาหลัก – ลํารู่ บางส่วน เพื่อดําเนินการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ําคลองลํารูใหญ่ จังหวัดพังงา คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้ 1. เห็นชอบในหลักการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติเพื่อก่อสร้างโครงการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดําเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ให้เร่งดําเนินโครงการดังกล่าวให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กําหนดไว้ด้วย 2. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน) ดําเนินการให้เป็นไปตามความเห็นของสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการทรัพยากรน้ําแห่งชาติ และให้รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและกระทรวงมหาดไทยไปพิจารณาดําเนินการต่อไปด้วย 3. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดําเนินการให้เป็นไปตามความเห็นของสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อไป สาระสําคัญของเรื่อง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทาน ได้จัดทําโครงการอ่างเก็บน้ําคลองลํารูใหญ่ จังหวัดพังงา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) แก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ําสําหรับอุปโภค – บริโภค การเกษตรกรรม 2) สนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวบริเวณเขาหลักของอําเภอท้ายเหมือง อําเภอตะกั่วป่า และอําเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา และ 3) เพื่อภารกิจเสริมความมั่นคงด้านน้ําของฐานทัพเรือพังงา รวมทั้งการบรรเทาอุทกภัยทางด้านท้ายน้ําที่จะเกิดขึ้นในฤดูน้ําหลาก โดยมีระยะเวลาการดําเนินโครงการ 4 ปี (ปี 2564 - 2567) วงเงินงบประมาณ 659 ล้านบาท โดยพื้นที่ของโครงการ จํานวน 1,250 ไร่ อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาหลัก – ลํารู่ ในท้องที่บ้านลํารู ตําบลลําแก่น อําเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ทั้งหมด กรมชลประทานจึงได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเพื่อขอใช้พื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาหลัก – ลํารู่ โดยได้มีหนังสือขออนุญาตเข้าทําประโยชน์ภายในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแล้ว และคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้เห็นชอบในหลักการการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติเขาหลัก – ลํารู่ เนื้อที่ 1,250 ไร่ ด้วยแล้ว โดยให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมชลประทานพิจารณาดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมชลประทานจะต้องควบคุมไม่ให้มีผู้ประกอบการแพ และบุคคลใด ๆ เข้าไปครอบครองพื้นที่น้ําและพื้นที่ขอบอ่างเก็บน้ําโดยเด็ดขาด ในการออกแบบและก่อสร้างเส้นทางเพื่อเข้าไปบริเวณก่อสร้างอ่างเก็บน้ํา กรมชลประทานจะต้องดําเนินการด้วยความระมัดระวังไม่ให้เกิดการทําลายหรือสร้างผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและให้ดําเนินการเฉพาะในส่วนพื้นที่ที่ได้รับอนุมัติให้เพิกถอนออกจากอุทยานแห่งชาติเท่านั้น ภายหลังจากการก่อสร้างอ่างเก็บน้ําแล้วเสร็จ ให้กรมชลประทานส่งมอบคืนพื้นที่ดังกล่าวให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อกําหนดเป็นอุทยานแห่งชาติอีกครั้งโดยเร็ว เป็นต้น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เห็นชอบด้วยแล้ว 11. เรื่อง ขอความเห็นชอบการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จําหน่ายที่ดิน ซึ่งเป็นที่ตั้งสถานีไฟฟ้าย่อยเชียงใหม่ 2 (บางส่วน) ของ กฟผ. แปลงโฉนดที่ดินเลขที่ 1 3 2 3 4 ท้องที่ตําบลป่าตัน อําเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ประมาณ 0-3-30 ไร่ ให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ในราคาที่ดิน ตารางวาละ 57,000 บาท เป็นเงินประมาณ 18,810,000 บาท หรือตามเนื้อที่ที่อาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงหลักจากทําการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว ราคาสิ่งปลูกสร้างเป็นเงิน 833,530 บาท ค่าจ้างบริษัทเอกชนประเมินมูลค่าที่ดินเป็นเงิน 37,985 บาท และค่าดําเนินการเป็นเงินประมาณ 3,936,303 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 23,617,818 บาท โดยมีเงื่อนไขว่า กฟภ. ต้องเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในแปลงที่ดินที่จะขาย ค่าอากรแสตมป์ ค่าภาษีเงินได้ ค่าภาษีส่วนท้องถิ่น ตลอดจนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เองทั้งสิ้น สาระสําคัญของเรื่อง พน. รายงานว่า 1. กฟภ. มีความประสงค์ขอแบ่งซื้อที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งสถานีไฟฟ้าย่อยเชียงใหม่ 2 ของ กฟผ. ซึ่งปรากฏตามหลักฐานโฉนดที่ดินเลขที่ 13234 ตําบลป่าตัน อําเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ประมาณ 0-3-30 ไร่ เพื่อใช้เป็นทางเข้า – ออก ของสายส่งไฟฟ้าแรงสูงขนาด 115 กิโลโวลต์ จากสถานีไฟฟ้าเชียงใหม่ 2 จังหวัดเชียงใหม่ ของ กฟภ. ไปยังถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ลําปาง – เชียงใหม่ สําหรับจําหน่ายให้ประชาชนในพื้นที่ โดย กฟผ. ได้ตรวจสอบสภาพพื้นที่ดังกล่าว พบว่าปัจจุบัน กฟผ. ใช้เป็นลานเก็บอะไหล่ (Spare parts) และเป็นถนนคอนกรีตทางเข้าลานเก็บอะไหล่ 2. กฟผ. ได้พิจารณากําหนดราคาที่ดิน ราคาสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในพื้นที่ที่จะขายและค่าใช้จ่ายในการดําเนินการ รายละเอียดดังนี้ รายการ จํานวนเงิน (บาท) ที่มาของราคา 1. ราคาที่ดิน เนื้อที่ประมาณ 0-3-30 ไร่ ตารางวาละ 57,000 บาท กฟผ. ได้ว่าจ้างบริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียล เอสเตท แอฟแฟร์ส จํากัด ประเมินมูลค่าที่ดิน เนื่องจากเป็นสถาบันวิชาชีพที่มีมาตรฐาน มีความเป็นกลางและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป 2. ราคาประเมินสิ่งปลูกสร้างที่ปรากฏบนที่ดินที่ กฟผ. พิจารณาแบ่งขาย กฟผ. ประเมินราคาสิ่งปลูกสร้างตามหลักเกณฑ์ในบัญชีราคากลางอาคารโรงเรือน และสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2559 ของ กฟผ. 3. ค่าจ้างบริษัทเอกชนประเมินมูลค่าที่ดิน - 4. ค่าดําเนินการร้อยละ 20 ของต้นทุน [(ลําดับที่ 1 + 2 + 3) x ร้อยละ 20] ความเห็นกระทรวงการคลังประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี กรณี กฟผ. ขอความเห็นชอบการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์อันมีราคาเกิน 10 ล้านบาท รวม 3. กฟผ. ได้แจ้งราคาแบ่งขายที่ดินให้ กฟภ. รวมเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 23,617,818 บาท โดยมีเงื่อนไขให้ กฟภ. เป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง และค่าภาษีทุกประเภทที่ต้องชําระ ณ สํานักงานที่ดินเพื่อพิจารณา ซึ่งต่อมา กฟภ. แจ้งตอบรับราคาและตอบตกลงแบ่งซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของสถานีไฟฟ้าย่อยเชียงใหม่ 2 ของ กฟผ. ตามราคาและเงื่อนไขที่ กฟผ. ได้แจ้ง 4. คณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในคราวประชุมครั้งที่ 12/2561 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2561 พิจารณาแล้วเห็นว่า การขายที่ดินในครั้งนี้คํานึงถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับและไม่ส่งผลกระทบต่อการดําเนินงานของ กฟผ. ทั้งในปัจจุบันและอนาคต จึงมีมติอนุมัติให้ขายที่ดินที่เป็นที่ตั้งสถานีไฟฟ้าย่อยเชียงใหม่ 2 (บางส่วน) จากโฉนดที่ดินเลขที่ 13234 ท้องที่ตําบลป่าตัน อําเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ประมาณ 0-3-30 ไร่ ให้แก่ กฟภ. ในราคาที่ดินตารางวาละ 57,000 บาท เป็นเงินประมาณ 18,810,000 บาท หรือตามเนื้อที่ที่อาจจะเพิ่มขึ้น/ลดลง หลักจากทําการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว ราคาค่าสิ่งปลูกสร้างเป็นเงิน 833,530 บาท ค่าจ้างบริษัทเอกชนประเมินมูลค่าที่ดินเป็นเงิน 37,985 บาท และค่าดําเนินการเป็นเงินประมาณ 3,936,303 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 23,617,818 บาท โดยมีเงื่อนไขว่า กฟภ. ต้องเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในแปลงที่ดินที่จะขาย ค่าอากรแสตมป์ ค่าภาษีเงินได้ ค่าภาษีส่วนท้องถิ่น ตลอดจนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เองทั้งสิ้น ทั้งนี้ ให้นําเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป 12. เรื่อง โครงการเพื่อการพัฒนาปี 2562 ของการประปาส่วนภูมิภาค คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอให้การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ดําเนินโครงการเพื่อการพัฒนาปี 2562 ของ กปภ. จํานวน 5 โครงการ วงเงินรวมทั้งสิ้น 2,121.144 ล้านบาท ดังนี้ หน่วย : ล้านบาท โครงการ แหล่งเงิน การบริหารจัดการลดน้ําสูญเสีย รวม เงินอุดหนุน เงินกู้ในประเทศ เงินรายได้ กปภ. โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยาย (แผนงานก่อสร้างปรับปรุงขยาย และแผนการบริหารจัดการลดน้ําสูญเสีย) 1. สาขาเลย 244.349 81.449 88.887 414.685 2. สาขาชัยนาท – (หันคา) 293.020 97.674 80.073 470.767 3. สาขาสุไหงโก-ลก-(ตากใบ) (เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนราธิวาส) 222.449 74.149 76.000 372.598 4. สาขานครนายก 465.000 155.000 225.889 845.889 โครงการก่อสร้างปรับปรุงกิจการประปาภายหลังรับโอน 5. สาขาสิงห์บุรี (ท่าวุ้ง) 12.904 4.301 - 17.205 รวม 1,237.722 412.573 470.849 2,121.144 สาระสําคัญของเรื่อง กระทรวงมหาดไทย โดยการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ได้เสนอขอความเห็นชอบให้ กปภ. ดําเนินโครงการเพื่อการพัฒนาปี 2562 จํานวน 5 โครงการ โดยในการดําเนินโครงการฯ จะมีการก่อสร้างวางท่อส่งน้ํา ท่อจ่ายน้ํา ปรับปรุงเส้นท่อที่ชํารุดและวางท่อใหม่ในเขตจ่ายน้ําต่าง ๆ และพื้นที่ข้างเคียง ความยาวรวมทั้งสิ้นประมาณ 962.3 กิโลเมตร และมีระบบผลิตน้ําประปาเพิ่มขึ้น โดยมีเป้าหมายกําลังผลิต เพิ่มขึ้นอีก 67,200 ลูกบาศก์เมตร/วัน และสามารถให้บริการผู้ใช้น้ํา เพิ่มขึ้นอีก 46,728 ราย ทั้งนี้ โครงการมีวงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 2,121.144 ล้านบาท ประกอบด้วย เงินอุดหนุน 1,237.722 ล้านบาท เงินกู้ในประเทศ 412.573 ล้านบาท และเงินรายได้ของ กปภ. 470.849 ล้านบาท เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบผลิต ระบบส่งน้ํา และระบบจ่ายน้ําประปาในพื้นที่ที่ประสบปัญหาให้สามารถบริการน้ําประปาแก่ประชาชนได้เพิ่มขึ้นในอนาคตอย่างพอเพียง เพื่อกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค รวมถึงเพื่อบริหารจัดการลดน้ําสูญเสียในระบบผลิต – จ่ายให้เป็นไปตามเป้าหมายและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ 13. เรื่อง โครงการเพื่อการพัฒนาปี 2563 ของการประปาส่วนภูมิภาค คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการโครงการเพื่อการพัฒนาปี 2563 ของการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) จํานวนรวมทั้งสิ้น 9 โครงการ (ประกอบด้วยแผนงานโครงการก่อสร้างปรับปรุงขยาย กปภ. จํานวน 8 โครงการ และแผนงานโครงการก่อสร้างปรับปรุงกิจการประปา จํานวน 1 โครงการ) วงเงินรวมทั้งสิ้น 9,629.991 ล้านบาท ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ ทั้งนี้ ในส่วนของเงินกู้ในประเทศ ให้ มท. (กปภ.) ดําเนินการตามความเห็นของ กค. รวมทั้งให้ มท. (กปภ.) รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาดําเนินการต่อไปด้วย หน่วย : ล้านบาท แผนงาน/โครงการ แหล่งเงิน แผนการบริหาร จัดการลดน้ําสูญเสีย รวม เงินอุดหนุน เงินกู้ในประเทศ เงินรายได้ กปภ. 1. แผนงานโครงการก่อสร้างปรับปรุงขยาย กปภ. 1.1 สาขาพัทยา – แหลมฉบัง – ศรีราชา [รองรับโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก [Eastern Economic Corridor : (EEC)] 1,125.000 375.000 348.979 1,848.979 1.2 สาขาชลบุรี – พนัสนิคม – (พานทอง) – (ท่าบุญมี) ระยะที่ 2 (รองรับ EEC) 1,275.000 425.000 426.028 2,126.028 1.3 สาขาเชียงใหม่ – แม่ริม – สันกําแพง 2,403.554 801.184 1,021.502 4,226.240 1.4 สาขายโสธร 240.013 80.004 79.815 399.832 1.5 สาขานาทวี (รองรับเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมแห่งอนาคต) 232.043 77.347 39.000 348.390 1.6 สาขาภูเขียว – (บ้านเป้า) 97.744 32.582 32.270 162.596 1.7 สาขาจัตุรัส 90.724 30.241 40.142 161.107 1.8 สาขาปราจีนบุรี (ประจันตคาม) – (ศรีมหาโพธิ์) 210.086 70.029 51.855 331.970 2. แผนงานโครงการก่อสร้างปรับปรุงกิจการประปาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กปภ. สาขาตราด [องค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.) เกาะกูด] 18.637 6.212 - 24.849 รวม 5,692.801 (ร้อยละ 59.115) 1,897.599 (ร้อยละ 19.705) 2,039.591 (ร้อยละ 21.179) 9,629.991 (ร้อยละ 100) สาระสําคัญของเรื่อง กระทรวงมหาดไทย (มท.) โดยการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ได้เสนอขอความเห็นชอบให้ กปภ. ดําเนินโครงการเพื่อการพัฒนาปี 2563 ของ กปภ. จํานวน 9 โครงการ วงเงินรวมทั้งสิ้น 9,629.991 ล้านบาท โดยในการดําเนินโครงการฯ จะมีการดําเนินการปรับปรุงระบบประปาทั้งระบบ (ระบบน้ําดิบ ระบบผลิต ระบบจ่ายน้ํา และระบบอื่น ๆ) เพื่อตอบสนองความต้องการใช้น้ําเพิ่มขึ้น ปรับปรุงการให้บริการ และแก้ไขปัญหาอื่น ๆ ไปพร้อมกัน และมีแผนบริหารจัดการลดน้ําสูญเสีย ประกอบด้วยกิจกรรมหลักคือ การบริหารจัดการแรงดัน การซ่อมท่อที่รวดเร็ว การสํารวจหาน้ําสูญเสียเชิงรุก การบริหารจัดการมาตรวัดน้ํา และให้ความสําคัญกับการปรับปรุงเส้นท่อซึ่งเป็นสาเหตุหลักของน้ําสูญเสียทั้งหมด ทั้งนี้ โครงการมีวงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 9,629.991 ล้านบาท ประกอบด้วย เงินอุดหนุน 5,692.801 ล้านบาท เงินกู้ในประเทศ 1,897.599 ล้านบาท และเงินรายได้ของ กปภ. 2,039.591 ล้านบาท 14. เรื่อง รายงานผลการดําเนินงานโครงการส่งเสริมความรู้ให้กับ SMEs ในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ตามมาตรการเพิ่มขีดความสามารถและส่งเสริมความรู้ให้กับ SMEs ในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เสนอ รายงานผลการดําเนินงานโครงการส่งเสริมความรู้ให้กับ SMEs ในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นการรายงานผลการดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (26 กันยายน 2560) ที่เห็นชอบมาตรการเพิ่มขีดความสามารถและส่งเสริมความรู้ให้กับ SMEs ในการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และให้รายงานผลให้คณะรัฐมนตรีทราบ ซึ่งต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (25 ธันวาคม 2561) รับทราบมาตรการเพิ่มขีดความสามารถฯ ในระยะแรก และเห็นชอบมาตรการเพิ่มขีดความสามารถฯ ในระยะต่อไป ทั้งนี้ สามารถสรุปสาระสําคัญของการดําเนินโครงการได้ ดังนี้ 1. ผลการดําเนินโครงการส่งเสริมความรู้ให้กับ SMEs ในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน 1.1 ผลการดําเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 1.1.1 ผลการดําเนินงาน รายละเอียด ระยะที่ 1 (ต.ค.60- ก.ย. 61) ระยะที่ 2 (พ.ย. 61-ธ.ค. 62) รวม ผู้ประกอบการ SMEs เข้ารับการอบรม 2,683 ราย 1,630 ราย 4,313 ราย ผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับสิทธิซื้อ FX Option 2,269 ราย 1,445 ราย 3,714 ราย ผู้ประกอบการ SMEs ใช้สิทธิซื้อ FX Option 618 ราย 565 ราย 1,183 ราย จํานวนสัญญา FX Option 1,569 สัญญา 2,356 สัญญา 3,925 สัญญา มูลค่าสัญญา FX Option 55.03 ล้านเหรียญสหรัฐ 65.20 ล้านเหรียญสหรัฐ 120.23 ล้านเหรียญสหรัฐ ค่า Premium 16.06 ล้านบาท 22.05 ล้านบาท 38.11 ล้านบาท หมายเหตุ : 1) FX Option หรือสัญญาสิทธิของเงินตราต่างประเทศ คือ สัญญาที่ผู้ขายสิทธิให้สิทธิแก่ผู้ซื้อสิทธิในการซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศ ณ เวลาในอนาคต ตามสกุลเงิน จํานวนเงิน และอัตราแลกเปลี่ยนที่กําหนดไว้ในสัญญา 2) ค่า Premium หมายถึง วงเงินสําหรับใช้เป็นค่าธรรมเนียม 1.1.2 ผลการใช้จ่ายงบประมาณ กิจกรรม จํานวนเงิน (ล้านบาท) สนับสนุนเงินช่วยเหลืออุดหนุน สําหรับเป็นวงเงินค่าธรรมเนียม FX Option 34.48 สนับสนุนการอบรมให้ความรู้แก่ SMEs 4.28 สนับสนุนการประชาสัมพันธ์โครงการ 1.83 รวม 40.59 1.2 ปัญหาและอุปสรรคในการดําเนินงาน 1.2.1 ผู้ประกอบการบางส่วนไม่เห็นถึงความจําเป็นในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากมูลค่าส่งออก – นําเข้ายังไม่มาก หรือใช้เงินตราสกุลอื่นที่ไม่ใช่ดอลลาร์สหรัฐ (USD) และมีพฤติกรรมการเก็งกําไรอัตราแลกเปลี่ยน 1.2.2 ผู้ประกอบการบางส่วนยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับบริการ FX Option แม้ผ่านการอบรมแล้ว 1.2.3 พนักงานสาขาของธนาคารบางส่วนขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ จึงไม่สามารถให้คําแนะนําลูกค้าได้ 1.2.4 การประชาสัมพันธ์โครงการแบบเชิงรุกยังไม่ทั่วถึงและตรงกลุ่มเป้าหมาย 1.2.5 การอบรมด้วยระบบ e-Learning ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร ซึ่งตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน -30 กันยายน 2562 มีผู้เข้าเรียนจํานวน 389 ราย จากเป้าหมาย 2,000 ราย 2. การดําเนินการในระยะต่อไป : โครงการส่งเสริมความรู้ด้านบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและสนับสนุน SME ที่ทําการค้าระหว่างประเทศ วงเงิน 450 ล้านบาท เนื่องจากการดําเนินการโครงการส่งเสริมความรู้ให้กับ SMEsฯ (ตามข้อ 1) ไม่ได้รับความสนใจจากผู้ประอบการ SMEs มากนัก ดังนั้น คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 จึงได้มีมติอนุมัติและเห็นชอบการจัดสรรเงินกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามมาตรา 34 (3) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 เพื่อใช้จ่ายในการดําเนินงานโครงการส่งเสริมความรู้ด้านบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและสนับสุนน SME ที่ทําการค้าระหว่างประเทศ วงเงินงบประมาณ 450 ล้านบาท รวมทั้งอนุมัติแผนการดําเนินงานโครงการส่งเสริมความรู้ด้านบริหารความเสี่ยงฯ วงเงินงบประมาณ 225 ล้านบาท ทั้งนี้ โครงการส่งเสริมความรู้ด้านบริหารความเสี่ยงฯ แบ่งเป็น 2 ระยะ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 2.1 ระยะที่ 1 โครงการส่งเสริมความรู้ด้านบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและสนับสนุน SME ที่ทําการค้าระหว่างประเทศ วงเงิน 225 ล้านบาท 2.2 ระยะที่ 2 หลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ประกอบธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ โดยในเบื้องต้นกําหนดไว้ 2 แนวทาง คือ แนวทางที่ 1 อุดหนุนไม่เกิน 100,000 บาทต่อราย (ค่าธรรมเนียม FX Option 80,000 บาท และค่าธรรมเนียมการค้าระหว่างประเทศ 20,000 บาท) แนวทางที่ 2 อุดหนุนไม่เกิน 100,000 บาทต่อราย (ค่าธรรมเนียม FX Option/เงินสนับสนุนสิทธิ Forward Contract 80,000 บาท และค่าธรรมเนียมการค้าระหว่างประเทศ 20,000 บาท) ทั้งนี้ หากโครงการระยะที่ 1 ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการ SMEs และสามารถดําเนินงานได้เร็วกว่าแผนงานที่กําหนดไว้ หรือหากเห็นว่าสถานการณ์ค่าเงินมีความผันผวนสูงและจําเป็นต้องเร่งดําเนินการ ธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทยจะร่วมกันพิจารณาขออนุมัติดําเนินการโครงการในระยะที่ 2 ต่อไป 2.3 งบประมาณในการดําเนินโครงการส่งเสริมความรู้ด้านบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและสนับสนุน SME ที่ทําการค้าระหว่างประเทศ วงเงินงบประมาณ 450 ล้านบาท เป็นการนําเงินที่เหลือตามมติคณะรัฐมนตรี (26 กันยายน 2560) ที่เห็นชอบให้สํานักงบประมาณ (สงป.) จัดสรรงบประมาณจากงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจภายในประเทศให้แก่ สสว. เพื่อดําเนินการตามมาตรการเพิ่มขีดความสามารถและส่งเสริมความรู้ให้กับ SMEs ในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน กรอบวงเงิน 500 ล้านบาท ซึ่งมีผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณในการดําเนินงาน รวม 40,586,589.70 บาท มีเงินคงเหลือจํานวน 459,413,410.29 บาท โดยมีดอกผลที่เกิดขึ้นจํานวน 254,031.26 บาท ดังนั้น จึงมีเงินคงเหลือเข้ากองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจํานวน 459,667,441.55 บาท [ทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรา 32 (2) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 ที่บัญญัติให้ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เรียกว่า “กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม” ประกอบด้วย เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้จากงบประมาณรายจ่ายประจําปี] 15. เรื่อง ร่างแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563-2565) คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563-2565) ตามที่สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์หารมหาชน) เสนอ และให้สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) รับความเห็นและข้อเสนอของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดําเนินการต่อไปด้วย สาระสําคัญของเรื่อง สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (สศส.) เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563-2565) ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแล้วในคราวประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2563 โดยมีมติเห็นชอบและให้ สศส. รับความเห็นของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดําเนินการต่อไป เช่น ควรมีแผนงาน/โครงการที่เป็น Quick win ในรูปแบบของ Service Center เพื่อช่วยกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ควรเน้นการส่งเสริมเรื่อง Design Thinking ให้เข้าไปอยู่ในทุกระบบความคิดในองค์กรต่าง ๆ ควรให้มีสถาบันการศึกษาในพื้นที่ร่วมเป็นหน่วยงานขับเคลื่อนกลุ่มอุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ควรพิจารณาแนวทางการปรับปรุงกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าการลงทุนของภาคเอกชนที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ ทั้งนี้ สามารถสรุปสาระสําคัญของร่างแผนดังกล่าวได้ ดังนี้ วิสัยทัศน์ ประเทศไทยเป็นแหล่งอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และนวัตกรรมของโลก เป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 4 ช่วง ช่วงแรก มีระยะ 3 ปี โดยมีเป้าหมายเพิ่มอัตราการขยายตัวของสินค้าและบริการสร้างสรรค์ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 5 และประเทศไทยมีเมืองที่ได้รับการคัดเลือกและประกาศให้เป็นเมืองสร้างสรรค์จาก UNESCO 1 เมือง ส่วนช่วงที่ 2-4 มีระยะช่วงละ 5 ปี ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างและส่งเสริมการจัดการองค์ความรู้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ กลยุทธ์ สร้างฐานข้อมูลเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อการตัดสินใจเชิงนโยบายและเพื่อให้ผู้ประกอบการใช้ในการต่อยอดเชิงธุรกิจ และเผยแพร่การใช้งานฐานข้อมูลและองค์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี แนวทางในการดําเนินงาน รวบรวมและจัดทําฐานข้อมูลเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง และเผยแพร่องค์ความรู้พร้อมทั้งอํานวยความสะดวกในการเข้าถึงฐานข้อมูลให้แก่ผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไปที่สนใจเพื่อนําไปสู่การเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการในเชิงพาณิชย์ ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยกระดับทักษะและความสามารถบุคลากรในธุรกิจสร้างสรรค์และกระตุ้นกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ กลยุทธ์ พัฒนาและส่งเสริมการเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรและแรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ให้มีกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม รวมทั้ง สร้างและยกระดับมาตรฐานวิชาชีพในกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ แนวทางในการดําเนินงาน สร้างทรัพยากรมนุษย์และวางรากฐานการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รวมถึงส่งเสริมการพัฒนาทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ในกลุ่มทักษะฝีมือแรงงานโดยร่วมกับภาคการศึกษาในการพัฒนาหลักสูตรและส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาบุคลากร ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยกระดับความสามารถในการดําเนินธุรกิจและสนับสนุนการขยายตัวของธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กลยุทธ์ เพิ่มความสามารถและทักษะในการดําเนินธุรกิจแก่ผู้ประกอบการ รวมทั้งสนับสนุนทางด้านเงินทุนสําหรับธุรกิจสร้างสรรค์และส่งเสริมด้านการตลาด ตลอดจนผลักดันกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายให้นําความคิดสร้างสรรค์ไปใช้ยกระดับสินค้าและบริการให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีสากล แนวทางในการดําเนินงาน พัฒนาช่องทางการอํานวยความสะดวกในการดําเนินธุรกิจ และจัดทํามาตรการด้านการเงินและสิทธิพิเศษทางภาษีเพื่อจูงใจให้เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ รวมทั้งส่งเสริมและประชาสัมพันธ์แบรนด์ไทย ให้เกิดการรับรู้และยอมรับทั้งในและต่างประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาเมืองและระบบนิเวศสร้างสรรค์ และส่งเสริมให้ภาครัฐให้ความสําคัญกับแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ กลยุทธ์ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จําเป็นต่อการพัฒนาธุรกิจสร้างสรรค์และการต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ให้เป็นรูปธรรม รวมทั้งปรับปรุงกฎระเบียบด้านทรัพย์สินทางปัญญาและส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ในการให้บริการของหน่วยานภาครัฐ แนวทางในการดําเนินงาน พัฒนาย่านสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยส่งเสริมให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานและการอํานวยความสะดวกเพื่อเป็นแรงจูงใจในการย้ายถิ่นฐาน/พํานัก และสร้างการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมความเป็นเมืองและย่านสร้างสรรค์ของชุมชนและท้องถิ่น 16. เรื่อง ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2563 เรื่อง การผ่อนปรนการดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2563 เรื่อง การผ่อนปรนการดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งเห็นชอบให้ทุกหน่วยงานดําเนินการทุกขั้นตอนให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เป็นวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 โดยให้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงแรงงานไปดําเนินการแก้ไขเงื่อนเวลาในร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศกระทรวงแรงงานที่ผ่านการตรวจพิจารณาของคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีคณะที่ 4 แล้ว จากเดิมวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เป็นวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ต่อไปได้ กระทรวงแรงงานรายงานว่า 1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ 2563 ให้ความเห็นชอบ การผ่อนปรนแนวทางการบริหารจัดการการทํางานของแรงงานต่างด้าว ปี 2562 – 2563 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 โดยให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งนายจ้างหรือผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานได้ยื่นบัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวต่อกระทรวงแรงงานผ่านเจ้าหน้าที่หรือผ่านระบบออนไลน์ ภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 แต่ไม่สามารถขอตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปเพื่อการทํางานได้ทันภายในกําหนดเวลา รวมถึงผู้ติดตาม อยู่ในราชอาณาจักรและทํางานไปพลางก่อนได้ โดยใช้บัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว (Name List) และใบอนุญาตทํางานฉบับเดิม โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าวจนกว่าจะไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนเพื่อดําเนินการตามขั้นตอนที่กําหนดไว้ในมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ให้แล้วเสร็จ และให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน ออกประกาศที่เกี่ยวข้อง 2. แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว เมียนมา) ซึ่งได้รับการผ่อนปรนการดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2563 ต้องดําเนินการตามขั้นตอนที่กําหนดไว้ในมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ให้ครบทุกขั้นตอนภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 มิฉะนั้น การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นอันสิ้นสุด 3. ภายหลังจากการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 จนถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2563 และการออกข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ดังกล่าว ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด โดยคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดและคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ใช้อํานาจตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 พิจารณาจํากัดการเคลื่อนย้ายบุคคล และการงดกิจกรรมที่มีการชุมนุมชน เพื่อควบคุมมิให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ระบาดแพร่ออกไปเป็นวงกว้าง 4. กระทรวงแรงงานได้ตรวจสอบข้อมูลนายจ้างหรือผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานที่ได้ยื่นบัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวต่อกระทรวงแรงงานผ่านเจ้าหน้าที่หรือผ่านระบบออนไลน์ภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 แล้ว ปรากฏว่า มีแรงงานต่างด้าวคงเหลือที่จะต้องดําเนินการตามขั้นตอนที่กําหนดไว้ในมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 จํานวน 555,993 ราย 5. สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในปัจจุบันไม่คลี่คลายลงหรือเข้าสู่สภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว หรือหากสภาวะการแพร่ระบาดของโรคคลี่คลายลงแล้ว แต่ประชาชนยังต้องเว้นระยะนั่งหรือยืนห่างกัน (Social Distancing) เพื่อป้องกันการกลับมาติดโรคจึงไม่ควรที่จะเร่งรีบเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวจํานวนมากเพื่อดําเนินการตามขั้นตอนที่กําหนดไว้ในมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562 สาระสําคัญ 1. ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2563 เรื่อง การผ่อนปรนการดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 จากเดิมให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เป็นวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 2. ทบทวนระยะเวลาการผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวและผู้ติดตาม อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวได้ต่อไป จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 และให้ยกเว้นค่าเปรียบเทียบปรับการอยู่เกินกําหนด (Overstay) รวมถึงการยกเว้นการปฏิบัติตามคําสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ 1/2558 เรื่อง การไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาในราชอาณาจักร สั่ง ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 3. ทบทวนระยะเวลาการผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวที่การอนุญาตทํางานสิ้นสุดสามารถทํางานไปพลางก่อนได้จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 และใช้บัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวที่กรมการจัดหางานออกให้และใบอนุญาตทํางานฉบับเดิมไปพลางก่อน 4. ให้ส่วนราชการที่มีหน้าที่ตามที่กําหนดไว้ในมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562 และนายจ้างหรือผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางาน ถือปฏิบัติตามมาตรการที่ส่วนราชการประกาศกําหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน และที่ประกาศเพิ่มเติมอย่างเคร่งครัด เช่น การโดยสารยานพาหนะต้องเป็นไปตามจํานวนที่ทางราชการกําหนด การจํากัดจํานวนและปรับระยะเวลาการปฏิบัติงาน การเว้นระยะนั่งหรือยืนห่างกันอย่างน้อยหนึ่งเมตร (Social Distancing) เพื่อป้องกันการติดต่อสัมผัสหรือแพร่เชื้อโรคทางละอองฝอย หรือการให้บริการด้วยการสื่อสารแบบดิจิทัล เป็นต้น 5. การบริหารจัดการเพิ่มเติมจากขั้นตอนที่กําหนดไว้ในมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ดังนี้ (1) กระทรวงแรงงานจะจัดระบบนัดหมายให้แรงงานต่างด้าวเข้ารับการตรวจสุขภาพในโรงพยาบาลของรัฐ เพื่อให้บริการตรวจสุขภาพเป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพ (2) เมื่อแรงงานต่างด้าวได้รับใบรับรองผลการตรวจสุขภาพแล้ว สามารถยื่นขอรับใบอนุญาตทํางานผ่านทางระบบออนไลน์ (https://e-workpermit.doe.go.th/) (3) นายจ้างหรือผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานต้องพาแรงงานต่างด้าวไปจัดเก็บข้อมูลชีวภาพและอัตลักษณ์บุคคล (Biometrics Data) ณ ที่ทําการตรวจคนเข้าเมือง และจัดเก็บลายนิ้วมือ ณ ศูนย์บริการงานทะเบียนภาค สาขาจังหวัด หรือสํานักงานเขตของกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีระบบออนไลน์รองรับ ทั้งนี้ การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2563 เรื่อง การผ่อนปรนการดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 เป็นการควบคุมมิให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) แพร่ระบาดออกไปเป็นวงกว้าง ในสถานที่ที่มีประชาชนมาใช้บริการเป็นจํานวนมากส่งเสริมให้การแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ยุติลงได้โดยเร็วและป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้น เสริมสร้าง ความมั่นคงด้านสาธารณสุขของประเทศโดยรวมซึ่งสอดคล้องกับมาตรการเร่งด่วนในการป้องกันวิกฤตการณ์จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2563 แรงงานต่างด้าวซึ่งนายจ้างหรือผู้รับอนุญาตให้นําคนต่างด้าวมาทํางานได้ยื่นบัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวต่อกระทรวงแรงงานผ่านเจ้าหน้าที่หรือผ่านระบบออนไลน์ไว้แล้วภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 แต่ไม่สามารถดําเนินการตามขั้นตอนที่กําหนดไว้ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ได้ ในช่วงระยะเวลาที่เกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ยังคงเป็นแรงงานต่างด้าวที่สามารถอยู่ในราชอาณาจักรและทํางานต่อไปได้ในกิจการที่ขาดแคลนแรงงาน 17. เรื่อง การปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อรองรับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สํานักงบประมาณเสนอการปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อรองรับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ดังนี้ 1. รายจ่ายประจํา ในทุกงบรายจ่ายที่ไม่มีข้อผูกพันหรือสามารถชะลอข้อผูกพันได้ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายในการสัมมนา การฝึกอบรม การประชาสัมพันธ์ การจ้างที่ปรึกษา และค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างประเทศ รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องต่าง ๆ อาทิ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก และค่าพาหนะ และการดําเนินกิจกรรม (Event) ที่มีการจ้างผู้จัดกิจกรรม (Organizer) หรือดําเนินการเอง ให้พิจารณาทบทวนวงเงินงบประมาณลง ร้อยละ 25 2. รายจ่ายลงทุน ในทุกงบรายจ่ายที่ไม่มีข้อผูกพัน (รายการปีเดียว) ที่เป็นครุภัณฑ์ทดแทนหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานที่สามารถชะลอการดําเนินงานได้ ให้พิจารณาทบทวนวงเงินงบประมาณลง ร้อยละ 50 3. รายการและงบประมาณที่หน่วยรับงบประมาณพิจารณาแล้วเห็นว่าสามารถชะลอการดําเนินการได้ โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อราชการ ตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการบรรเทาหรือแก้ไขผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้หน่วยรับงบประมาณเสนอการปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณฯ ตามแนวทางการปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เสนอคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด เพื่อให้ความเห็นชอบและส่งข้อเสนอการปรับปรุงให้สํานักงบประมาณ ภายในวันที่ 22 เมษายน 2563 18. เรื่อง การเพิ่มอัตราข้าราชการตั้งใหม่ และมาตรการเพิ่มสิทธิประโยชน์อื่นสําหรับบุคลากรกระทรวงสาธารณสุขรองรับภาวะฉุกเฉินในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามมติคณะกรรมการกําหนดเป้าหมายและนโยบายกําลังคนภาครัฐ (คปร.) ในการประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2563 ตามที่คณะกรรมการกําหนดเป้าหมายและนโยบายกําลังคนภาครัฐ เสนอ ดังนี้ คปร. ในการประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2563 ได้พิจารณาเรื่อง การขอเพิ่มอัตราข้าราชการตั้งใหม่ และมาตรการเพิ่มสิทธิประโยชน์อื่น สําหรับบุคลากรกระทรวงสาธารณสุข รองรับภาวะฉุกเฉินในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 แล้ว มีมติดังนี้ 1) การจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่เพื่อบรรจุบุคลากรในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (พนักงานราชการ พนักงานกระทรวงสาธารณสุข หรือลูกจ้างชั่วคราว) ที่ปฏิบัติงานด่านหน้าในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จํานวน 24 สายงาน รวมทั้งสิ้น 38,105 อัตรา 1.1) เห็นชอบให้จัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ รวม 38,105 อัตรา เพื่อบรรจุบุคคลดังกล่าวเข้ารับราชการให้ตรงตามตําแหน่งงานที่จ้างอยู่เดิม อย่างไรก็ดี หากภายหลังบริบทของงานเปลี่ยนแปลงไป ให้กระทรวงสาธารณสุขเสนอ อ.ก.พ. กระทรวงสาธารณสุข ปรับเปลี่ยนสายงานของอัตราข้าราชการตั้งใหม่ที่จะจัดสรรเป็นสายงานบริการทางการแพทย์อื่น ๆ ได้ตามความจําเป็น แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินจํานวนกรอบอัตรากําลังตามที่ คปร. กําหนด และจะต้องสอดคล้องกับแผนปฏิรูปกําลังคนและภารกิจบริการด้านสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข โดยให้บรรจุในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่มีวุฒิคัดเลือกก่อนกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่จะต้องสอบแข่งขัน และถือว่าอัตราข้าราชการตั้งใหม่ครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการบรรจุบุคลากรตามแผนปฏิรูปกําลังคนฯ ด้วย 1.2) เห็นชอบให้กําหนดเงื่อนไขว่าเมื่อบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุขได้รับการบรรจุเข้ารับราชการในตําแหน่งที่ได้รับจัดสรรแล้ว ให้ยุบเลิกตําแหน่งพนักงานราชการ พนักงานกระทรวงสาธารณสุข หรือลูกจ้างชั่วคราวตามจํานวนที่ได้บรรจุบุคคลเข้ารับราชการและให้กระทรวงสาธารณสุขปรับรูปแบบการจ้างพนักงานกระทรวงสาธารณสุขโดยเน้นเฉพาะการจ้างงานสนับสนุนทั่วไปเท่านั้น และให้กระทรวงสาธารณสุขรายงานผลการดําเนินการเกี่ยวกับการเปลี่ยนสายงาน การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ ตลอดจนการยุบเลิกตําแหน่งที่จ้างงานด้วยรูปแบบอื่นให้ คปร. ทราบด้วย 1.3) เห็นชอบให้ อ.ก.พ. กระทรวงสาธารณสุข แบ่งการกําหนดตําแหน่งอัตราข้าราชการตั้งใหม่เป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ให้กําหนดตําแหน่งเพื่อรองรับการบรรจุกลุ่มบุคลากรที่ให้บริการในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยตรง รวม 25,051 อัตรา ภายในเดือนพฤษภาคม 2563 ระยะที่ 2 ให้กําหนดตําแหน่งเพื่อรองรับการบรรจุกลุ่มบุคลากรที่สนับสนุนการให้บริการในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวม 5,616 อัตรา ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563 เป็นต้นไป ระยะที่ 3 ให้กําหนดตําแหน่งเพื่อรองรับการบรรจุกลุ่มบุคลากรที่ให้บริการหรือสนับสนุนการให้บริการในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลหรือสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ รวม 7,438 อัตรา ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดําเนินการ โอนเงินงบประมาณเหลือจ่ายประจําปีและเงินนอกงบประมาณของกระทรวงสาธารณสุขมาตั้งจ่ายเป็นเงินเดือนและค่าตอบแทนของบุคลากรที่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการดังกล่าวตามจํานวนวงเงินงบประมาณงบบุคลากรที่จะใช้ เพื่อลดการขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายเงินงบกลาง ตามที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเสนอต่อที่ประชุม 2) การจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่เพื่อบรรจุนักศึกษาผู้สําเร็จการศึกษา ในปี พ.ศ. 2563 จํานวน 5 สายงาน รวมทั้งสิ้น 7,579 อัตรา 2.1) ตําแหน่งนายแพทย์และทันตแพทย์ เห็นชอบให้จัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ตําแหน่งนายแพทย์และทันตแพทย์ให้กับสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข เพื่อรองรับการบรรจุนักศึกษาวิชาแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์ ที่เป็นนักศึกษาคู่สัญญากับกระทรวงสาธารณสุขและสําเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2563 รวม 2,792 อัตรา โดยเป็นตําแหน่งนายแพทย์ จํานวน 2,157 อัตรา และตําแหน่งทันตแพทย์ จํานวน 635 อัตรา และให้นําจํานวนอัตราข้าราชการตําแหน่งนายแพทย์ที่ได้รับจัดสรรตามข้อ 1) มานับรวมเป็นส่วนหนึ่งของจํานวนตําแหน่งนายแพทย์ตามเป้าหมาย ที่กําหนดในแผนปฏิรูปกําลังคนและภารกิจบริการด้านสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ซึ่ง คปร. จะจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ตําแหน่งนายแพทย์และตําแหน่งทันตแพทย์ให้เป็นปีสุดท้ายด้วย ทั้งนี้ หากกระทรวงสาธารณสุขพิจารณาแล้วเห็นว่าจําเป็นต้องบรรจุนักศึกษาคู่สัญญาของนักศึกษาวิชาแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์เป็นข้าราชการต่อไป ให้กระทรวงสาธารณสุขทบทวนความต้องการอัตรากําลัง และแสดงความจําเป็นพร้อมกับแผนการใช้ประโยชน์ว่าจะใช้ตําแหน่งดังกล่าวในการปฏิบัติภารกิจตามแผนงานหรือยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างไร เพื่อให้ คปร. พิจารณาต่อไป 2.2) ตําแหน่งเภสัชกร เห็นชอบให้กระทรวงสาธารณสุขบรรจุนักศึกษาวิชาเภสัชศาสตร์ที่เป็นนักศึกษาคู่สัญญาของกระทรวงสาธารณสุขเป็นพนักงานราชการแทนการบรรจุเป็นข้าราชการตามมติ อ.ก.พ.กระทรวงสาธารณสุข ในการประชุมครั้งที่ 9/2562 เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2562 และให้นําจํานวนอัตราข้าราชการตําแหน่งเภสัชกรที่ได้รับจัดสรรตามข้อ 1) มานับรวมเป็นส่วนหนึ่งของจํานวนตําแหน่งเภสัชกรตามเป้าหมายที่กําหนดในแผนปฏิรูปกําลังคนและภารกิจบริการด้านสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยยังไม่จัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ตามที่ขอ 2.3) ตําแหน่งพยาบาลวิชาชีพและนักวิชาการสาธารณสุข เห็นชอบให้กระทรวงสาธารณสุขพิจารณาทบทวนเหตุผลความจําเป็นของภารกิจ จัดทําแผนกําลังคนรองรับและแสดงความสอดคล้องกับแผนปฏิรูปกําลังคนฯ เพื่อให้อัตราข้าราชการที่จะขอตั้งใหม่มีความชัดเจนทั้งภารกิจและหน่วยงานที่จะปฏิบัติ รวมถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ โดยจะต้องไม่ซ้ําซ้อนกับอัตรากําลังที่ได้รับจัดสรรและหากมีความจําเป็นให้จัดทํารายละเอียดเสนอ คปร. ในโอกาสต่อไป 3) การคัดเลือกบรรจุบุคคลซึ่งมิได้สําเร็จการศึกษาในวุฒิที่ ก.พ. กําหนดให้คัดเลือกบรรจุเข้ารับราชการตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1004/ว 17 ลงวันที่ 19 กันยายน 2562 เห็นชอบให้สํานักงาน ก.พ. พิจารณาดําเนินการตามมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 เพื่อคัดเลือกบรรจุบุคลากรในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งเป็นกรณีที่มีเหตุพิเศษเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งโดยไม่ต้องดําเนินการสอบแข่งขัน ทั้งนี้ ให้หารือร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขเพื่อกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการดําเนินการคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการให้สอดคล้องกับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์ของผู้ที่จะบรรจุเข้ารับราชการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. และคณะรัฐมนตรีกําหนดไว้เดิม ตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1008.1/154 ลงวันที่ 6 มิถุนายน 2556 และ ที่ นร 1012.2/235 ลงวันที่ 16 ตุลาคม 2560 แล้วแต่กรณี 4) การขอสนับสนุนเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสําหรับบุคลากรกระทรวงสาธารณสุข เห็นชอบให้บุคลากรสาธารณสุขผู้ปฏิบัติงานในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้รับเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนในอัตรา ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ผู้ปฏิบัติงานโดยตรง ให้ได้รับในอัตราเดือนละ 1,500 บาท กลุ่มที่ 2 ผู้ปฏิบัติงานสนับสนุน ให้ได้รับในอัตราเดือนละ 1,000 บาท ประมาณการงบประมาณที่จะต้องใช้สําหรับการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษรายเดือน เป็นระยะเวลา 7 เดือน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2,746,397,500 บาท สําหรับหลักเกณฑ์การได้รับเงินเพิ่มพิเศษสําหรับบุคลากรสาธารณสุข ให้กระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) จัดทําระเบียบหรือหลักเกณฑ์เพื่อรองรับการเบิกจ่ายเงินเพิ่มพิเศษ โดยอาจกําหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเพิ่มพิเศษให้สอดคล้องกับกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินอื่นที่กําหนดให้จ่ายเป็นรายเดือน ทั้งนี้ ให้นําหลักเกณฑ์ตามข้อนี้ไปใช้บังคับโดยอนุโลมกับข้าราชการทหาร ข้าราชการตํารวจ ข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัยในสถานพยาบาลสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น และบุคลากรภาครัฐอื่น ที่ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในสถานการณ์เช่นเดียวกันนี้ 5) การจัดสรรโควตาพิเศษความดีความชอบพิเศษสําหรับบุคลากรสาธารณสุข เห็นชอบให้บุคลากรสาธารณสุขผู้ปฏิบัติงานในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้รับการเลื่อนเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษ ดังนี้ 5.1) ระบบการเลื่อนเงินเดือนแบบร้อยละ ให้ผู้ปฏิบัติงานทั้งกลุ่มผู้ปฏิบัติงานโดยตรงและกลุ่มผู้ปฏิบัติงานสนับสนุน ได้รับการเลื่อนเงินเดือนเพิ่มขึ้นจากการเลื่อนเงินเดือนปกติอีกร้อยละ 1 ของฐานในการคํานวณต่อรอบการประเมิน ทั้งนี้ เมื่อรวมการเลื่อนเงินเดือนกรณีปกติกับการเลื่อนเงินเดือนกรณีพิเศษแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละ 6 ของฐานในการคํานวณ 5.2) ระบบการเลื่อนเงินเดือนแบบขั้น ให้ผู้ปฏิบัติงานทั้งกลุ่มผู้ปฏิบัติงานโดยตรงและกลุ่มผู้ปฏิบัติงานสนับสนุนได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนทั้งกรณีปกติและกรณีพิเศษนอกเหนือโควตาปกติ รวมทั้งปีไม่เกิน 2 ขั้น โดยไม่นับรวมอยู่ในโควตาการเลื่อนขั้นเงินเดือนของผู้มีผลงานดีเด่น ร้อยละ 15 ของจํานวนผู้ปฏิบัติงานในรอบการประเมิน ประมาณการงบประมาณที่จะต้องใช้สําหรับการเลื่อนเงินเดือนกรณีพิเศษ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2,023,270,920 บาท สําหรับหลักเกณฑ์การเลื่อนเงินเดือนกรณีพิเศษนอกเหนือโควตาปกติให้สํานักงาน ก.พ. แจ้งแนวทางปฏิบัติเพื่อให้กระทรวงสาธารณสุขดําเนินการ โดยนําหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการพิจารณาบําเหน็จความชอบกรณีพิเศษนอกเหนือโควตาปกติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2552 และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องมาใช้โดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้นําหลักเกณฑ์ตามข้อนี้ ไปใช้บังคับโดยอนุโลมกับข้าราชการทหาร ข้าราชการตํารวจ ข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัยในสถานพยาบาลสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น และบุคลากรภาครัฐอื่น ที่ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในสถานการณ์เช่นเดียวกันนี้ 6) การเพิ่มอายุราชการเพิ่มทวีคูณในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉินสําหรับบุคลากรสาธารณสุข มีมติรับทราบตามที่กระทรวงการคลังชี้แจงว่า กรณีการขอเพิ่มอายุราชการทวีคูณในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉินสําหรับบุคลากรสาธารณสุขเนื่องจากการนับเวลาราชการเป็นทวีคูณของข้าราชการเป็นไปตามพระราชบัญญัติบําเหน็จบํานาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 มาตรา 24 ซึ่งบัญญัติไว้โดยสรุปว่า ข้าราชการสามารถนับเวลาราชการเป็นทวีคูณได้ 2 กรณี ได้แก่ (1) ผู้ซึ่งกระทําหน้าที่ตามที่กระทรวงกลาโหมกําหนด ในระหว่างเวลาที่มีการรบหรือการสงครามหรือมีการปราบปรามจลาจล หรือในระหว่างเวลาที่มีพระบรมราชโองการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือในระหว่างเวลาที่สั่งให้เป็นนักดําเรือดําน้ํา และ (2) ในกรณีที่มีการประกาศกฎอัยการศึก ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีอํานาจพิจารณาให้ข้าราชการซึ่งประจําปฏิบัติหน้าที่อยู่ในเขตที่ได้มีการประกาศกฎอัยการศึกนั้น ได้รับการนับเวลาราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างนั้นเป็นทวีคูณได้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกําหนด ดังนั้น การนับเวลาราชการเป็นทวีคูณสําหรับบุคลากรสาธารณสุข จึงต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว 7) การลดดอกเบี้ยเงินกู้ส่วนบุคคลกรุงไทยธนวัฏ/ธนาคารออมสิน ระยะเวลา 1 ปี สําหรับบุคลากรสาธารณสุข มีมติรับทราบมาตรการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้กับข้าราชการและบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุขของธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) และธนาคารออมสิน อย่างไรก็ดี ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) และธนาคารออมสินอยู่ระหว่างการพิจารณาขยายมาตรการเดิม หรือกําหนดมาตรการอื่นเพิ่มเติม ซึ่งจะแจ้งให้กระทรวงสาธารณสุขและสํานักงาน ก.พ. ทราบต่อไป 8) การปรับอัตราจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ให้บริการสาธารณสุขตามข้อ 6 ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ให้บริการสาธารณสุขที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุข พ.ศ. 2561 กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 จํานวน 2 เท่าจากอัตราเดิม มีมติรับทราบตามความเห็นของกระทรวงการคลังว่า กรณีนี้เป็นการช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ให้บริการสาธารณสุขกรณีติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 ดังนั้น จึงเห็นสมควรที่คณะรัฐมนตรีจะให้ความเห็นชอบในหลักการตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทํารายละเอียดข้อมูลพร้อมกับการขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีแล้ว 19. เรื่อง รายงานผลการดําเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ประจําปี 2562 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอรายงานผลการดําเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ประจําปี 2562 ซึ่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ในคราวประชุมฯ ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2563 ได้เห็นชอบในหลักการร่างรายงานฯ ประจําปี 2562 ทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2563 คณะอนุกรรมการกํากับและติดตามการดําเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พม. ได้เห็นชอบร่างรายงานฯ ที่หน่วยงานต่าง ๆ ได้แก้ไขและเพิ่มเติมตามความเห็นของคณะกรรมการฯ โดยเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 กระทรวงการต่างประเทศได้นําส่งรายงานฯ ฉบับภาษาอังกฤษให้สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจําประเทศไทยแล้ว ซึ่งรายงานฯ มีสาระสําคัญ สรุปได้ ดังนี้ เรื่อง สาระสําคัญ 1. การจัดสรรงบประมาณ มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อดําเนินการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ทั้งระบบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.53 รวม 3,806.82 ล้านบาท จากปี 2561 ที่มีจํานวน 3,641.98 ล้านบาท 2. การสืบสวนปราบปรามคดีค้ามนุษย์ ได้สืบสวนปราบปรามคดีค้ามนุษย์ 288 คดี จําแนกเป็น การแสวงหาประโยชน์ทางเพศ (การแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี การผลิตหรือเผยแพร่วัตถุหรือสื่อลามก และการแสดงหาประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น) 185 คดี การนําคนมาขอทาน 9 คดี การบังคับใช้แรงงาน (แรงงานทั่วไป แรงงานในภาคประมง เอาคนลงเป็นทาส และการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคลไม่ว่าบุคคลนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม) 94 คดี โดยจับกุมผู้ต้องหา 555 คน (ชาย 330 คน หญิง 225 คน) สัญชาติไทย 402 คน เมียนมา 120 คน กัมพูชา 4 คน ลาว 6 คน และอื่น ๆ 23 คน รวมทั้งช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ 1,821 คน (ชาย 1,158 คน หญิง 663 คน) สัญชาติไทย 251 คน เมียนมา 1,306 คน กัมพูชา 96 คน ลาว 38 คน และอื่น ๆ 130 คน 3. สถิติการดําเนินคดีชั้นพนักงานสอบสวนชั้นพนักงานอัยการและชั้นศาล ดําเนินคดีชั้นพนักงานสอบสวน 288 คดี อยู่ระหว่างการสอบสวน 39 คดี สอบสวนเสร็จสิ้น 249 คดี และมีความเห็นควรสั่งฟ้องทั้งหมด 249 คดี ชั้นพนักงานอัยการ 364 คดี ดําเนินการแล้วเสร็จ 351 คดี และชั้นศาล 396 คดี พิพากษาเสร็จสิ้น 283 คดี และมีคําพิพากษาให้จําเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย 54,180,366 บาท 4. มาตรการลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ ใช้มาตรการลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์อย่างต่อเนื่องและจริงจัง และทําให้จํานวนเจ้าหน้าที่ดังกล่าวลดลงอย่างชัดเจน โดยในปี 2562 มีการชี้มูลความผิดและมีความเห็นสั่งฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐ 4 คน ที่ถูกกล่าวหาว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์เมื่อปี 2560 รวมทั้งตัดสินจําคุกเจ้าหน้าที่รัฐ 6 คน ที่ถูกดําเนินคดีระหว่างปี 2558-2561 ในฐานความผิดที่เกี่ยวข้องระวางโทษตั้งแต่ 34-225 ปี 5. การคุ้มครองและการเยียวยาผู้เสียหาย - ผู้เสียหายเลือกเข้ารับการคุ้มครองในสถานคุ้มครองของรัฐและเอกชน 1,560 คน (ร้อยละ 85.67) ของผู้เสียหายในคดีค้ามนุษย์ 1,821 คน สําหรับผู้เสียหาย 261 คน (ร้อยละ 14.33) ไม่ประสงค์เข้ารับการคุ้มครองในสถานคุ้มครองของรัฐและเอกชน แต่ได้รับการคุ้มครองตามสิทธิอื่น ๆ ที่พึงได้รับ นอกจากนี้ รัฐบาลได้จ่ายเงินชดเชยเยียวยาให้แก่ผู้เสียหายจากกองทุน เพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ 11.87 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 93 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2561 ซึ่งจ่ายไป 6.15 ล้านบาท - ผู้เสียหายสามารถเดินทางออกไปภายนอกสถานคุ้มครอง เช่น ไปเรียน ไปทํางาน หรือออกไปร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เมื่อไม่ต้องมีความกังวลเรื่องความปลอดภัย โดยได้จัดทําบัตรประจําตัวและอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว โดยผู้เสียหายต่างชาติ 1,222 คน (ร้อยละ 85.7) - กําหนดให้นายจ้างใช้สัญญาจ้าง 3 ภาษา ไว้ในฉบับเดียวกัน (ภาษาของแรงงานต่างด้าว ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ) เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการต่อใบอนุญาตทํางานของแรงงานต่างด้าว ซึ่งจะทําให้แรงงานต่างด้าวทุกคนได้รับการคุ้มครองแรงงานต่างด้าวให้ได้รับค่าจ้างและสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย 6. การจัดทําแอปพลิเคชัน (Mobile Application) จัดทําแอปพลิเคชัน (Mobile Application) ชื่อ “PROTECT-U” เพื่อเพิ่มช่องทางสําหรับผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ให้เข้าถึงบริการการช่วยเหลือคุ้มครอง รวมทั้งเป็นช่องทางให้ประชาชนสามารถแจ้งเบาะแสเมื่อพบเหตุค้ามนุษย์ เพื่อช่วยเหลือและคุ้มครองผู้เสียหายได้อย่างรวดเร็วขึ้น 7. การเพิ่มประสิทธิภาพเจ้าหน้าที่บังคับใช้ กฎหมาย การเพิ่มประสิทธิภาพเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย เช่น พนักงานตรวจแรงงานให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย ทีมสหวิชาชีพ และผู้ปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ทั่วประเทศ เกี่ยวกับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติมให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องในการดําเนินคดีและตัดสินโทษผู้ค้ามนุษย์ด้านแรงงาน รวมทั้งคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ต่างประเทศ 20. เรื่อง การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) สําหรับโครงการพัฒนาและปรับปรุงระบบสารสนเทศของ สปป.ลาว เพื่อเชื่อมโยงกับระบบ ASEAN Single Window คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้สํานักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) ดําเนินการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) สําหรับโครงการพัฒนาและปรับปรุงระบบสารสนเทศของ สปป.ลาว เพื่อเชื่อมโยงกับระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน (ASEAN Single Window: ASW) (โครงการพัฒนาระบบฯ) ในรูปแบบเงินให้เปล่าทั้งจํานวน วงเงินรวม 18,820,805.12 บาท โดยใช้เงินสะสมของ สพพ. ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ โครงการพัฒนาและปรับปรุงระบบสารสนเทศของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เพื่อเชื่อมโยงกับระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว (ASEAN Single Window: ASW) (โครงการพัฒนาระบบฯ) มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบ ASW ให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งขอบเขตการดําเนินงานนั้น จะเป็นการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ 3 ระบบ ได้แก่ 1.) การพัฒนาระบบ National Single Window - Routing Platform (NSW - RP) เพื่อส่งผ่านข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ ASEAN Trade in Goods Agreement (ATIGA e - Form D) กับประเทศสมาชิกอาเซียน 2.) การพัฒนาโปรแกรมใบรับรองแหล่งกําเนิดสินค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate of Origin: e - CO) ให้สามารถส่งข้อมูล ATIGA e - Form D รวมถึงรับข้อมูลตอบกลับจากประเทศสมาชิกอาเซียนผ่าน ASW 3.) การพัฒนาโปรแกรมการดูข้อมูล e - CO ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ NSW - RP ให้สามารถรับข้อมูล ATIGA e - Form D จากต่างประเทศเพื่ออํานวยความสะดวกให้กับเจ้าหน้าที่ในการค้นหาข้อมูลจาก ATIGA e –Form D ที่ประชุมคณะกรรมการ สพพ. ครั้งที่ 12/2562 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 มีมติให้ สพพ. ดําเนินการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ สปป.ลาว วงเงินรวม 18,820,805.12 บาท โดยใช้เงินสะสมของหน่วยงานในรูปแบบของเงินให้เปล่าทั้งจํานวน 21. เรื่อง การรับรองขอบเขตอํานาจหน้าที่สภาการเทคนิคอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมแห่งอาเซียน(Ad-referendum Adoption of the Term of Reference of the ASEAN TVET Council) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างขอบเขตอํานาจหน้าที่ (TOR) ของ ASEAN TVET Council (ATC) เพื่อการรับรองของรัฐมนตรีศึกษาอาเซียน (ASEAN Education Ministers Meeting: ASED) และรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน (ASEAN Labour Ministers Meeting: ALMM) และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานลงนามในหนังสือเห็นชอบ/รับรอง (Adoption) ขอบเขตอํานาจหน้าที่สภาการเทคนิคอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมแห่งอาเซียน (Term of Reference of the ASEAN TVET Council) ทั้งนี้ ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์อยู่ระหว่างนําเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้ความเห็นชอบ (Endorsement) ขอบเขตอํานาจหน้าที่สภาการเทคนิคอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมแห่งอาเซียน และเห็นชอบให้กระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะ SOMED และกระทรวงแรงงาน ในฐานะ SLOM เสนอชื่อผู้แทนระดับอาวุโสของไทยเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการในสภาการเทคนิคอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมแห่งอาเซียน ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ สาระสําคัญของขอบข่ายอํานาจหน้าที่ ดังนี้ หน้าที่ 1) ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการอาชีวศึกษาและการดําเนินการที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม 2) อํานวยความสะดวกในการเรียนรู้ผ่านการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีด้านการอาชีวศึกษา 3) พัฒนาแผนปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการเรียนรู้และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการอาชีวศึกษา 4) สนับสนุนการบริหารองค์ความรู้ด้านการอาชีวศึกษาผ่านการวิจัย การศึกษา และการจัดทําสื่อสิ่งพิมพ์ให้ความรู้ต่างๆ กิจกรรมหลัก 1) จัดการแข่งขัน/กิจกรรมพัฒนาทักษะ 2) วิจัยและพัฒนาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการอาชีวศึกษาและฝึกอบรม 3) ส่งเสริมการพัฒนาภาพลักษณ์การอาชีวศึกษา 4) พัฒนาศักยภาพผู้เรียนและบุคลากรทางการศึกษา 5) เสริมสร้างระบบการประกันสุขภาพ และ 6) แลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาการอาชีวศึกษาและฝึกอบรม กลไกการดําเนินงาน 1) สมาชิกประกอบด้วยผู้แทนจากสาขาความร่วมมืออาเซียนด้านเศรษฐกิจ การศึกษา แรงงาน ธุรกิจ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สําหรับประเทศไทย ประกอบด้วยผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนกระทรวงแรงงาน และผู้แทนกระทรวงพาณิชย์/กระทรวงอุตสาหกรรม 2) กําหนดให้มีการประชุมปีละไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง 3) เจ้าภาพจัดการประชุมรับผิดชอบงบประมาณสําหรับการจัดประชุม และให้แต่ละประเทศรับผิดชอบค่าเดินทางเข้าร่วมการประชุม (cost-sharing basis) 22. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์สําหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน และการประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม สมัยพิเศษ ว่าด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาของการประชุมสุดยอดอาเซียน สมัยพิเศษ ว่าด้วยโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม สมัยพิเศษ ว่าด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยหากมีความจําเป็นต้องแก้ไขเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสําคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศดําเนินการได้ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก และให้นายกรัฐมนตรี หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ร่วมรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์ทั้งสองฉบับ สําหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน และการประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม สมัยพิเศษ ว่าด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ สาระสําคัญ ร่างปฏิญญาของการประชุมสุดยอดอาเซียน สมัยพิเศษ ว่าด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) มีสาระสําคัญแสดงความห่วงกังวลต่อสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้เป็นการระบาดใหญ่ระดับโลก ที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน และการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของทุกประเทศ โดยได้แสดงเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะเสริมสร้างความร่วมมือด้านสาธารณสุขเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดและคุ้มครองประชาชนผ่านการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างทันท่วงที การสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องแก่ประชาชน ประสานการดําเนินมาตรการของประเทศสมาชิกในด้านการรักษา การวิจัย การพัฒนาวัคซีนและยาต้านไวรัส การสร้างความปลอดภัยให้แก่บุคลากรสาธารณสุข ย้ําความสําคัญของการจัดหายา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่เพียงพอ โดยพิจารณาความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายคลังเก็บสิ่งของเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของอาเซียน สําหรับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข และสนับสนุนบทบาทของศูนย์แพทย์ทหารอาเซียน อีกทั้งสนับสนุนการนําเงินกองทุนความร่วมมือต่างๆ ของอาเซียนที่มีอยู่มาจัดสรรสําหรับการรับมือโควิด-19 ซึ่งรวมถึงข้อเสนอการจัดตั้งกองทุนอาเซียนเพื่อรับมือกับโควิด-19 ของไทย การรักษาบูรณาการทางเศรษฐกิจและห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาค รวมทั้งการกําหนดแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังวิกฤต ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม สมัยพิเศษ ว่าด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองของผู้นําประเทศอาเซียนบวกสาม เพื่อร่วมกันส่งเสริมความร่วมมือและการสนับสนุนซึ่งกันและกันในการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และรองรับผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการเตรียมความพร้อมสําหรับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขและด้านอื่นๆ ในอนาคต โดยได้ระบุถึงการเสริมสร้างขีดความสามารถในการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข การจัดตั้งกองทุนอาเซียนเพื่อรับมือกับโควิด-19 การจัดตั้งคลังสํารองอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จําเป็นของภูมิภาค การวิจัยเพื่อพัฒนาวัคซีนและยาต้านไวรัส การช่วยเหลือคนชาติของประเทศอาเซียนบวกสาม การให้ข้อมูลข่าวสารที่โปร่งใสและถูกต้อง การรับมือกับข่าวปลอม และมาตรการทางการเงินต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งการใช้มาตรการริเริ่มเชียงใหม่พหุภาคี เพื่อส่งเสริมเสถียรภาพทางการเงินในภูมิภาค เป็นต้น แต่งตั้ง 23. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สํานักข่าวกรองแห่งชาติ) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สํานักข่าวกรองแห่งชาติเสนอแต่งตั้ง นายศรายุธ ทองกูล นักการข่าวเชี่ยวชาญ กลุ่มงานที่ปรึกษา สํานักข่าวกรองแห่งชาติ ให้ดํารงตําแหน่ง ที่ปรึกษาด้านข่าวกรองความมั่นคงและสถาบันหลัก (นักการข่าวทรงคุณวุฒิ) กลุ่มงานที่ปรึกษา สํานักข่าวกรองแห่งชาติ สํานักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2562 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้งนายพีรพันธ์ คอทอง ผู้ช่วยปลัดกระทรวง สํานักงานปลัดกระทรวง ให้ดํารงตําแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตําแหน่งที่ว่าง 25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงมหาดไทย) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทยให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง จํานวน 3 ราย ดังนี้ 1. ให้นายกอบชัย บุญอรณะ พ้นจากตําแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดเพชรบุรี สํานักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอองระดับสูง) จังหวัดชัยภูมิ สํานักงานปลัดกระทรวง 2. ให้นายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ พ้นจากตําแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดภูเก็ต สํานักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอองระดับสูง) จังหวัดเพชรบุรี สํานักงานปลัดกระทรวง 3. ให้นายณรงค์ วุ่นซิ้ว พ้นจากตําแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดชัยภูมิ สํานักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอองระดับสูง) จังหวัดภูเก็ต สํานักงานปลัดกระทรวง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 26. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสํานักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสํานักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวม 6 คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดํารงตําแหน่งครบวาระสี่ปี เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2560 ดังนี้ 1. นายวีระชัย นาควิบูลย์วงศ์ ประธานกรรมการ 2. นายสุวรรณ บูราพรนุสรณ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์) 3. นางอุษา กลิ่นหอม กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการเกษตร) 4. นายธีระ พุ่มเสนาะ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการบริหารจัดการ) 5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทวี วัชระเกียรติศักดิ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการวิจัยและกระบวนการเรียนรู้) 6. นายเสถียร ใจคํา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการพัฒนาชุมชนและเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียง) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2563 เป็นต้นไป 27. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสํานักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสํานักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร ชุดใหม่ รวม 6 คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิม ได้ดํารงตําแหน่งครบวาระสามปี เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2563 ดังนี้ 1. นายชวลิต ชูขจร ประธานกรรมการ 2. นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการเกษตร) 3. นางสาวสุกัญญา ธีระกูรณ์เลิศ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านวิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี/นวัตกรรม) 4. นายสุพัฒน์ เอี้ยวฉาย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการพาณิชย์/อุตสาหกรรม) 5. นางจิราวรรณ แย้มประยูร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการบริหาร/การเงิน) 6. นายสรรเสริญ อัจจุตมานัส กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการกฎหมาย) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2563 เป็นต้นไป 28. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการการประปานครหลวง คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการการประปานครหลวง จํานวน 4 คน แทนกรรมการเดิมที่พ้นจากตําแหน่งเนื่องจากมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์และลาออก ดังนี้ 1. นายจําเริญ โพธิยอด (ผู้แทนกระทรวงการคลัง) กรรมการ 2. พลเอก สิงห์ทอง หมีทอง กรรมการ 3. นายวรายุทธ เย็นบํารุง กรรมการ 4. นายชัยทัต แซ่ตั้ง กรรมการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2563 เป็นต้นไป และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งแทนอยู่ในตําแหน่งได้เพียงเท่ากําหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน 29. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการสภาการศึกษา แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาที่พ้นจากตําแหน่งก่อนครบวาระ คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอ ดังนี้ 1. รับทราบกรณี นายสุภกร บัวสาย พ้นจากตําแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาในคณะกรรมการสภาการศึกษา เนื่องจากลาออก 2. เห็นชอบแต่งตั้ง นายนิติ นาชิต เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาในคณะกรรมการสภาการศึกษา แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่พ้นจากตําแหน่งก่อนครบวาระ (ตามข้อ 1.) โดยให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งแทน อยู่ในตําแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2563 เป็นต้นไป และในครั้งต่อ ๆ ไปให้กระทรวงศึกษาธิการดําเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสภาการศึกษาให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกําหนดไว้อย่างเคร่งครัดด้วย ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 (เรื่อง การดําเนินการแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาตามกฎหมาย) 30. เรื่อง คําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ 112/2563 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกํากับดูแลด้านผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ 112/2563 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกํากับดูแลด้านผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ส่งผลกระทบต่อประชาชนและภาคธุรกิจในทุกพื้นที่ของประเทศ ทั้งในด้านการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายและหนี้สิ้น การขาดรายได้ การถูกเลิกจ้าง และการปิดกิจการชั่วคราว ส่งผลให้อุปสงค์ภายในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนมีแนวโน้มหดตัวลงอย่างรุนแรง รัฐบาลจึงได้จัดให้มีมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อเศรษฐกิจไทย ทั้งทางตรงและทางอ้อม ระยะที่ 1 – 3 เพื่อช่วยเหลือเยียวยาและบรรเทาผลกระทบให้กับประชาชนและผู้ประกอบการธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะมาตรการชดเชยรายได้แก่แรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมหรือผู้ได้รับผลกระทบอื่น ๆ ของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายหลากหลายอาชีพทั่วประเทศ ดังนั้น เพื่อให้การจัดทํามาตรการช่วยเหลือและเยียวยาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ตลอดจนให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการช่วยเหลือเยียวยาอย่างทั่วถึง เป็นธรรม โดยเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 (6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จึงแต่งตั้งคณะกรรมการกํากับดูแลด้านผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยมีองค์ประกอบ หน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้ 1. องค์ประกอบ 1.1 ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ 1.2 ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี กรรมการ 1.3 ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรรมการ 1.4 ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรรมการ 1.5 ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ 1.6 ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กรรมการ 1.7 ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ 1.8 ปลัดกระทรวงแรงงาน กรรมการ 1.9 ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการ 1.10 ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ 1.11 ผู้แทนสํานักงานตํารวจแห่งชาติ กรรมการ 1.12 ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง กรรมการและเลขานุการ 2. หน้าที่และอํานาจ 2.1 ติดตาม รวบรวม และบูรณาการข้อมูลเกี่ยวกับผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ โรคโควิด-19 รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน 2.2 ตรวจสอบการให้ความช่วยเหลือและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ โรคโควิด-19 ตามมาตรการของรัฐต่าง ๆ 2.3 นําผลการดําเนินการตามข้อ 2.1 และ 2.2 มาวิเคราะห์และจัดทําข้อเสนอแนะเพื่อให้ การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีความครอบคลุม ทั่วถึงและเป็นธรรม 2.4 กํากับดูแลและตรวจสอบการดําเนินมาตรการชดเชยรายได้ฯ ให้เป็นไปตามแผนงานและเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส รวมทั้งเสนอแนะกลไกและขั้นตอนการดําเนินงานที่กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงการช่วยเหลือเยียวยาได้อย่างแท้จริง ต่อนายกรัฐมนตรี หรือศูนย์ปฏิบัติการด้านมาตรการป้องกันและช่วยเหลือประชาชน ตามคําสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 6/2563 เรื่อง การจัดโครงการสร้างของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ลงวันที่ 27 มีนาคม 2563 2.5 ให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรที่เกี่ยวข้องชี้แจงข้อเท็จจริงและรายงานข้อมูล รวมทั้งจัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อคณะกรรมการ 2.6 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทํางาน หรือบุคคล เพื่อช่วยปฏิบัติงานได้ตามความจําเป็นและเหมาะสม 2.7 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย สําหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมหรือค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่จําเป็นต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทํางาน หรือบุคคลที่แต่งตั้งตามคําสั่งนี้ ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 หรือตามระเบียบทางราชการ แล้วแต่กรณี โดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณของสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป .............. (โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/29124