|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
06,0015,001,อนึ่ง อาบัตินั้นเป็นโทษทางโลก คือคนสามัญที่มิใช่ภิกษุทำ
|
|
06,0015,002,เข้าก็เป็นความผิดความเสี่ยเหมือนกันก็มี เช่นทำโจรกรรม และฆ่า
|
|
06,0015,003,มนุษย์ ตลอดลงมาถึงโทษที่เบา เช่นทุบตีกัน ด่ากัน นี้เรียกโลก-
|
|
06,0015,004,วัชชะ. ที่เป็นโทษทางพระบัญญัติ คือคนสามัญทำเข้าไม่เป็นความ
|
|
06,0015,005,ผิดความเสีย เป็นผิดเฉพาะแก่ภิกษุโดยฐานละเมิดพระบัญญัติก็มี
|
|
06,0015,006,เช่นขุดดินและฉันอาหารในเวลาวิกาลเป็นต้น คนชาวบ้านทำ ไม่มี
|
|
06,0015,007,ความผิดความเสีย นี้เรียกปัณณัตติวัชชะ. อธิบายนี้ตามความเข้าใจ
|
|
06,0015,008,ของข้าพเจ้า. ส่วนในอรรถกถาพระวินัยท่านพรรณนาว่า อาบัติที่
|
|
06,0015,009,เป็นโลกวัชชะนั้น ได้แก่อาบัติที่ต้องในเวลามีจิตเป็นอกุศล ท่าน
|
|
06,0015,010,"ยกการดื่มสุรา ด้วยรู้ว่าเป็นสุราเป็นตัวอย่าง, อาบัติที่เป็นปัณณัตติ-"
|
|
06,0015,011,วัชชะนั้น ได้แก่อาบัติที่ต้องในเวลามีจิตเป็นกุศล ท่านมิได้ยก
|
|
06,0015,012,ตัวอย่างขึ้นไว้ แต่พึงเห็นเช่นเก็บดอกไม้เพื่อจะบูชาพระ. ใคร่ครวญดี
|
|
06,0015,013,ความก็ลงรอยกัน การใดคนสามัญทำลงแล้วเป็นความผิดความเสีย
|
|
06,0015,014,การนั้นเขาคงถือกันว่าเป็นชั่ว ส่วนการใดคนสามัญทำลงแล้ว ไม่เป็น
|
|
06,0015,015,ความผิดความเสีย การนั้นเขาไม่ถือกันว่าชั่วสำหรับคนทั่วไป เป็นแต่
|
|
06,0015,016,ท่านพรรณนาไว้ไม่ชัดเจนเท่านั้น. ข้าพเจ้าขอแนะนำเพื่อนสหธรรมิก
|
|
06,0015,017,ไว้ว่า อาบัติที่เป็นโลกวัชชะนั้น ล่วงเข้าแล้วยังความเสียหายให้เกิดมาก
|
|
06,0015,018,แม้ทำคืนแล้ว ความเสียนั้นก็ยังเป็นเหมือนแผลเป็นติดอยู่ ไม่หายได้ง่าย
|
|
06,0015,019,ควรประหยัดให้มาก อย่าล่วงง่าย ๆ. ฝ่ายอาบัติที่เป็นปัณณัตติวัชชะนั้น
|
|
06,0015,020,เหล่าใดที่พวกภิกษุยังถือเป็นกวดขัน ล่วงอาบัติเหล่านั้นเข้าแล้ว
|
|
06,0015,021,มีความเสียได้เหมือนกัน เหล่าใดไม่ได้ถือเป็นจริงจัง เพราะกาลสมัย
|
|
|