dhamma-scholar-book / 13 /130037.csv
uisp's picture
init upload
c5b6280
raw
history blame
3.7 kB
Book,Page,LineNumber,Text
13,0037,001,อันเป็นของทรงอนุญาตแล้วนั้น ใช้ในที่ทั่วไปไม่ได้ ไม่เจ็บเท้า ห้าม
13,0037,002,ไม่ให้สวมเข้าบ้าน เป็นอาคันตุกะเข้าไปในวัดอื่นก็ให้ถอด ในอาราม
13,0037,003,อันไม่ใช่ที่ต้องห้าม ในป่าสวมได้. ฝ่าเท้าบางเหยียบพื้นแข็งไม่ได้
13,0037,004,เหยียบเข้าเจ็บ หรือในฤดูร้อน พื้นร้อน เหยียบเท้าพอง สวม
13,0037,005,"เข้าบ้านได้ เข้าวัดได้, ในฤดูฝน ไปในที่ฉำแฉะ ภิกษุผู้อาพาธเป็น"
13,0037,006,โรคกระษัย สวมเพื่อกันเท้าเย็นก็ได้.
13,0037,007,ส่วนบริขารอื่น พระอรรถกถาจารย์ชี้ชนิดไว้ว่า อย่างนั้นควร
13,0037,008,อย่างนั้นไม่ควร ดังมีแจ้งในบริขารกถาแห่งบุพพสิกขาวัณณนา
13,0037,009,ฟังฟั่นเฝือเสียจริง ๆ ยากที่จะกำหนดให้เข้าใจ. ผู้ศึกษาพระวินัย
13,0037,010,พึงเข้าใจต้นเค้าดังนี้ : ภิกษุย่อมนิยมใช้สอยบริขารที่เป็นของปอน
13,0037,011,หรือของเรียบ ๆ ไม่ใช้ของดีที่เขากำลังตื่นกันในสมัย อันพึงจะเรียก
13,0037,012,ว่าของโอ่โถง ความประพฤติปอนของภิกษุนี้ ย่อมนำให้เกิดความ
13,0037,013,เลื่อมใสแก่คนบางเหล่า ที่เรียกว่าพวกลูขประมาณ แปลว่า มีของ
13,0037,014,ปอนเป็นประมาณ มีของปอนเป็นเหตุนับถือ. ศิลปะ คือความคิด
13,0037,015,และฝีมือทำพัสดุสำหรับใช้สอยของมนุษย์ ย่อมเจริญขึ้นโดยลำดับ
13,0037,016,กาล. ของที่ประณีตในสมัยหนึ่ง ย่อมกลับเลวในสมัยอื่น.
13,0037,017,ของที่พระอรรถกถาจารย์พรรณนาไว้ว่าเป็นของดีในครั้งนั้น มาใน
13,0037,018,บัดนี้ กลับเป็นของสามัญหรือของเลวก็มี จะหาของที่ท่านว่าเป็น
13,0037,019,สมณสารูปเกือบไม่ค่อยได้ เหตุนั้น พึงเข้าใจว่า ท่านก็พรรณนา
13,0037,020,ตามสมัยของท่าน. ภิกษุผู้เคร่งไม่นึกถึงกาลเทศะ ปรารถนาเพียง