|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
14,0009,001,ในทางที่ละเอียดกว่านั้น ย่อมกำหนดรู้ได้ด้วยความแปรใน
|
|
14,0009,002,ระหว่างเกิดและดับ ได้ในบาลีว่า :-
|
|
14,0009,003,<B>อจฺเจนฺติ กาลา ตรยนฺติ รตฺติโย
|
|
14,0009,004,วโยคุณา อนุปฺพฺพํ ชหนฺติ.</B><SUP>๑</SUP>
|
|
14,0009,005,กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป.
|
|
14,0009,006,ระยะกาลในระหว่างเกิดและดับนั้น ท่านปันเป็น ๓ ปูน เรียก
|
|
14,0009,007,ว่าวัย ปูนต้นเรียกปฐมวัย ปูนกลางเรียกมัชฌิมวัย ปูนหลังเรียก
|
|
14,0009,008,ปัจฉิมวัย. ท่านแบ่งวัยละเท่า ๆ กัน เอา ๑๐๐ ปีเป็นเกณฑ์ ด้วยเพ่ง
|
|
14,0009,009,สังขาร คือ มนุษย์. คงกำหนดด้วยอาการแห่งความแปรนั้นเอง แต่
|
|
14,0009,010,แบ่งระยะเท่า ๆ กันนั้น น่าจะไม่ถูกแก่ความเป็นจริง. อาการแปร
|
|
14,0009,011,แห่งสังขาร ในเบื้องต้น แปรมาฝ่ายเจริญ พึงเห็นในระยะตั้งแต่
|
|
14,0009,012,เกิดจนเป็นหนุ่มเต็มที่ ในระหว่างนี้ รูปกายเติบขึ้น ๆ นามกาย คือ
|
|
14,0009,013,จิตเจตสิกว่องไวขึ้น ระยะนี้จัดเป็นปฐมวัย มีระยะไม่เกิน ๒๕ ปี
|
|
14,0009,014,ประเพณีกำหนดอายุ ๒๕ เป็นอภิลักขิตกาลคราวหนึ่ง น่าได้แก่
|
|
14,0009,015,เต็มปฐมวัย แต่นั้น สังขารหยุดเจริญ แต่ขยายตัว พึงเห็นเช่น
|
|
14,0009,016,รูปกายผึ่งผายออก นามกายหนักแน่นเข้า เช่น มีสติรู้จักเหนี่ยวรั้ง
|
|
14,0009,017,ตั้งอยู่ในความไม่เลินเล่อ ระยะนี้จัดเป็นมัชฌิมวัย มีระยะอยู่ใน ๕๐ ปี
|
|
14,0009,018,ประเพณีกำหนดอายุ ๕๐ เป็นอภิลักขิตกาลอีกคราวหนึ่ง น่าได้
|
|
14,0009,019,แก่เต็มมัชฌิมวัย แต่นั้น สังขารทรุดโทรมลงไปจนปรากฏ รูปกาย
|
|
14,0009,020,หง่อมและชำรุด นามกายเงื่องและเลือนเข้าทุกที ระยะนี้จัดเป็น
|
|
|