|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
23,0032,001,เพียงบำเพ็ญอามิสทานเท่านั้น แม้จะมากมายสักปานใด ก็ไม่สามารถ
|
|
23,0032,002,บรรลุอมตธรรมได้ ผู้รู้ให้ธรรมทานนั้น อาจทำตนและบุคคลผู้สดับ
|
|
23,0032,003,รับปฏิบัติตามให้ถึงอมตธรรมได้ ให้ธรรมจึงชื่อว่าชำนะซึ่งการให้
|
|
23,0032,004,ทั้งปวง คือธรรมทานประเสริฐกว่าอามิสทาน.
|
|
23,0032,005,๕๙. สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ. [ ๑๓๒ ]
|
|
23,0032,006,รสแห่งธรรม ย่อมชำนะรสทั้งปวง.
|
|
23,0032,007,รสแห่งธรรมนั้นเป็นอย่างไร ผู้ปฏิบัติตามย่อมรู้ได้ เพราะผู้
|
|
23,0032,008,ปฏิบัติตามชื่อว่าได้ดื่มรสแห่งธรรม ข้อปฏิบัติมีหลายประเภท ย่นลงก็
|
|
23,0032,009,อย่างต่ำอย่างกลางอย่างสูง ปฏิบัติได้อย่างใด ก็ได้ดื่มรสแห่งธรรมอย่าง
|
|
23,0032,010,นั้น. รสแห่งธรรมอย่างสูงสุดท่านกล่าวว่าได้แก่วิมุตติ. รสทั้งปวง คือรส
|
|
23,0032,011,อาหารของมนุษย์ทั้งปวง หรืออาหารทิพย์ของเทพดาทั้งปวง รสเหล่านี้
|
|
23,0032,012,ให้สำเร็จกิจบำรุงเลี้ยงร่างกายให้เป็นไปในชาตินี้เท่านั้น ส่วนรสคือ
|
|
23,0032,013,วิมุตติให้บุคคลผู้ดื่มได้เสวยบรมสุข อันพ้นจากสุขที่จะพึงได้เพียงใน
|
|
23,0032,014,ชาตินี้หรือในชาติหน้า. รสแห่งธรรมจึงชำนะซึ่งรสทั้งปวง คือธรรมรส
|
|
23,0032,015,ประเสริฐกว่าสรรพรส.
|
|
23,0032,016,๖๐. สพฺพรตึ ธมฺรติ ชินาติ. [ ๑๓๓ ]
|
|
23,0032,017,ความยินดีในธรรม ย่อมชำนะความยินดีทั้งปวง.
|
|
23,0032,018,ธรรมในที่นี้ประสงค์ทั่วไป ตั้งแต่อย่างต่ำจนถึงอย่างสูงสุดคือ
|
|
23,0032,019,วิมุตติ. ยินดีในความประสงค์ปฏิบัติได้แล้วด้วย. เมื่อปฏิบัติได้ แม้
|
|
|