Book
int64 1
45
| Page
int64 1
842
| LineNumber
int64 1
54
| Text
stringlengths 1
133
|
---|---|---|---|
1 | 28 | 15 | เพิกถอนความตรึกอันเกี่ยวด้วยกาม การระงับความกลัดกลุ้มเพราะกาม พระผู้มีพระภาคตรัสบอก |
1 | 28 | 16 | ไว้แล้วโดยอเนกปริยาย มิใช่หรือ? |
1 | 28 | 17 | อาวุโส การกระทำของคุณนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส |
1 | 28 | 18 | หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของคุณนั่น เป็นไปเพื่อ |
1 | 28 | 19 | ความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใส |
1 | 28 | 20 | แล้ว. |
1 | 28 | 21 | ภิกษุเหล่านั้น ติเตียนภิกษุนั้นโดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ได้กราบทูลเนื้อความนั้นแด่ |
1 | 28 | 22 | พระผู้มีพระภาค. |
1 | 28 | 23 | ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติอนุบัญญัติ ๑ |
1 | 28 | 24 | [๒๒] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุเป็นมูลเค้านั้น |
1 | 28 | 25 | ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุนั้นว่า ดูกรภิกษุ ข่าวว่าเธอเสพเมถุนธรรม |
1 | 28 | 26 | ในลิงตัวเมีย จริงหรือ? |
1 | 29 | 1 | จริง พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุนั้นทูลสารภาพ? |
1 | 29 | 2 | พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ |
1 | 29 | 3 | ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ เธอบวชในธรรมวินัยอันเรากล่าวไว้ดี |
1 | 29 | 4 | อย่างนี้แล้ว ไฉนจึงไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิตเล่า. |
1 | 29 | 5 | ดูกรโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อคลายความกำหนัด ไม่ใช่ |
1 | 29 | 6 | เพื่อมีความกำหนัด เพื่อความพราก ไม่ใช่เพื่อความประกอบ เพื่อความไม่ถือมั่น ไม่ใช่เพื่อมี |
1 | 29 | 7 | ความถือมั่นมิใช่หรือ? เมื่อธรรมชื่อนั้น อันเราแสดงแล้วเพื่อคลายความกำหนัด เธอยังจักคิดเพื่อ |
1 | 29 | 8 | มีความกำหนัด เราแสดงเพื่อความพราก เธอยังจักคิดเพื่อความประกอบ เราแสดงเพื่อความ |
1 | 29 | 9 | ไม่ถือมั่น เธอยังจักคิดเพื่อมีความถือมั่น. |
1 | 29 | 10 | ดูกรโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อเป็นที่สำรอกแห่งราคะ เพื่อ |
1 | 29 | 11 | เป็นที่สร่างแห่งความเมา เพื่อเป็นที่ดับสูญแห่งความระหาย เพื่อเป็นที่หลุดถอนแห่งอาลัย |
1 | 29 | 12 | เพื่อเป็นที่เข้าไปตัดแห่งวัฏฏะ เพื่อเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา เพื่อเป็นที่สำรอกแห่งตัณหา เพื่อเป็นที่ |
1 | 29 | 13 | ดับแห่งตัณหา เพื่อออกไปจากตัณหาชื่อวานะ มิใช่หรือ? |
1 | 29 | 14 | ดูกรโมฆบุรุษ การละกาม การกำหนดรู้ความหมายในกาม การกำจัดความระหายในกาม |
1 | 29 | 15 | การเพิกถอนความตรึกอันเกี่ยวด้วยกาม การระงับความกลัดกลุ้มเพราะกาม เราบอกไว้แล้วโดย |
1 | 29 | 16 | อเนกปริยาย มิใช่หรือ? |
1 | 29 | 17 | ดูกรโมฆบุรุษ องค์กำเนิดอันเธอสอดเข้าในปากอสรพิษที่มีพิษร้าย ยังดีกว่า อันองค์ |
1 | 29 | 18 | กำเนิดที่เธอสอดเข้าในองค์กำเนิดของลิงตัวเมีย ไม่ดีเลย องค์กำเนิดอันเธอสอดเข้าในปากงูเห่า |
1 | 29 | 19 | ยังดีกว่า อันองค์กำเนิดที่สอดเข้าในองค์กำเนิดของลิงตัวเมีย ไม่ดีเลย องค์กำเนิดอันเธอสอด |
1 | 29 | 20 | เข้าในหลุมถ่านที่ไฟติดลุกโชน ยังดีกว่า อันองค์กำเนิดที่เธอสอดเข้าในองค์กำเนิดของลิงตัวเมีย |
1 | 29 | 21 | ไม่ดีเลย. |
1 | 29 | 22 | ข้อที่เราว่าดีนั้น เพราะเหตุไร? |
1 | 29 | 23 | เพราะบุคคลผู้สอดองค์กำเนิดเข้าในปากอสรพิษเป็นต้นนั้น พึงถึงความตาย หรือความ |
1 | 29 | 24 | ทุกข์เพียงแค่ตาย ซึ่งมีการกระทำนั้นเป็นเหตุ และเพราะการกระทำนั้นเป็นปัจจัย เบื้องหน้าแต่ |
1 | 29 | 25 | แตกกายตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนบุคคลผู้ทำการสอดองค์กำเนิดเข้า |
1 | 29 | 26 | ในองค์กำเนิดของลิงตัวเมียนั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต |
1 | 29 | 27 | นรก ซึ่งมีการกระทำนี้เป็นเหตุ. |
1 | 30 | 1 | ดูกรโมฆบุรุษ เมื่อการกระทำนั้นมีโทษอยู่ เธอยังชื่อว่าได้ต้องอสัทธรรม อันเป็นเรื่อง |
1 | 30 | 2 | ของชาวบ้าน เป็นมรรยาทของคนชั้นต่ำ อันชั่วหยาบ มีน้ำเป็นที่สุด มีในที่ลับ เป็นของคนคู่ |
1 | 30 | 3 | อันคนคู่พึงร่วมกันเป็นไป การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ |
1 | 30 | 4 | เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว... ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอ |
1 | 30 | 5 | พึงยกสิขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:- |
1 | 30 | 6 | พระอนุบัญญัติ ๑ |
1 | 30 | 7 | ๑. อนึ่ง ภิกษุใดเสพเมถุนธรรมโดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย เป็น |
1 | 30 | 8 | ปาราชิก หาสังวาสมิได้. |
1 | 30 | 9 | ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลายด้วยประการ |
1 | 30 | 10 | ฉะนี้. |
1 | 30 | 11 | เรื่องลิงตัวเมีย ๒ จบ. |
1 | 30 | 12 | เรื่องภิกษุวัชชีบุตร |
1 | 30 | 13 | [๒๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุวัชชีบุตรชาวพระนครเวสาลีหลายรูป ฉันอาหารพอแก่ |
1 | 30 | 14 | ความต้องการ จำวัดพอแก่ความต้องการ สรงน้ำพอแก่ความต้องการ ครั้นแล้วทำในใจ |
1 | 30 | 15 | โดยไม่แยบคาย ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง ได้เสพเมถุนธรรม สมัยอื่น |
1 | 30 | 16 | วัชชีบุตรพวกนั้น ถูกความพินาศแห่งญาติกระทบแล้วบ้าง ถูกความวอดวายแห่งโภคะพะพาน |
1 | 30 | 17 | แล้วบ้าง ถูกความเสื่อมคือโรคเบียดเบียนแล้วบ้าง จึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ แล้วกล่าว |
1 | 30 | 18 | อย่างนี้ว่า ท่านพระอานนท์ เจ้าข้า พวกกระผมไม่ใช่เป็นคนติเตียนพระพุทธเจ้า ไม่ใช่เป็นคน |
1 | 30 | 19 | ติเตียนพระธรรม ไม่ใช่เป็นคนติเตียนพระสงฆ์ พวกกระผมเป็นคนติเตียนตน ไม่ใช่เป็นคน |
1 | 30 | 20 | ติเตียนคนอื่น พวกกระผมซึ่งบวชในพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีอย่างนี้แล้ว ไม่ |
1 | 30 | 21 | สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิตนั้นแหละ เป็นคนไม่มีวาสนา เป็น |
1 | 30 | 22 | คนมีบุญน้อย ท่านพระอานนท์เจ้าข้า แม้บัดนี้ ถ้าพวกกระผมพึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบท |
1 | 30 | 23 | ในสำนักพระผู้มีพระภาค แม้บัดนี้พวกกระผมจะพึงเป็นผู้เห็นแจ้งซึ่งกุศลธรรม หมั่นประกอบ |
1 | 30 | 24 | ความเพียรในการเจริญโพธิปักขิยธรรมอยู่ตลอดเบื้องต้นแห่งราตรีและเบื้องปลายแห่งราตรี ท่าน |
1 | 30 | 25 | #๑ ต้องการพิสดารพึงดูหน้า ๓๑ บรรทัดที่ ๒๔ ๒ โดยมากปรากฏว่า มักกฏีสิกขาบท |
1 | 31 | 1 | พระอานนท์เจ้าข้า พวกกระผมขอโอกาส ขอท่านได้โปรดกรุณากราบทูลความข้อนี้ แด่พระผู้มี |
1 | 31 | 2 | พระภาค. |
1 | 31 | 3 | ได้ จ้ะ ท่านพระอานนท์รับคำของพวกวัชชีบุตรชาวพระนครเวสาลี แล้วเข้าเฝ้าพระผู้มี |
1 | 31 | 4 | พระภาค กราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ. |
1 | 31 | 5 | พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ การที่ตถาคตจะพึงถอนปาราชิกสิกขาบทที่บัญญัติ |
1 | 31 | 6 | แล้วแก่สาวกทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งพวกวัชชีหรือพวกวัชชีบุตรนั้น ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส. |
1 | 31 | 7 | ทรงบัญญัติอนุบัญญัติ ๒ |
1 | 31 | 8 | [๒๔] ครั้งนั้นพระองค์ทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นมูลเค้านั้น ในเพราะเหตุ |
1 | 31 | 9 | แรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดแลเป็นภิกษุ ไม่บอกคืน |
1 | 31 | 10 | สิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง เสพเมถุนธรรม ผู้นั้นมาแล้ว สงฆ์ไม่พึงอุปสมบทให้ |
1 | 31 | 11 | ส่วนผู้ใดแล เป็นภิกษุ บอกคืนสิกขา ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง แล้วเสพเมถุนธรรม |
1 | 31 | 12 | ผู้นั้นมาแล้ว สงฆ์พึงอุปสมบทให้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง |
1 | 31 | 13 | อย่างนี้ ว่าดังนี้:- |
1 | 31 | 14 | พระอนุบัญญัติ ๒ |
1 | 31 | 15 | ๑. อนึ่ง ภิกษุใด ถึงพร้อมซึ่งสิกขาบทและสาชีพของภิกษุทั้งหลายแล้ว ไม่ |
1 | 31 | 16 | บอกคืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง เสพเมถุนธรรม โดยที่สุดแม้ในสัตว์ |
1 | 31 | 17 | ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นปาราชิก หาสังวาส มิได้. |
1 | 31 | 18 | สิกขาบทวิภังค์ |
1 | 31 | 19 | [๒๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติ |
1 | 31 | 20 | อย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด |
1 | 31 | 21 | เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง ... ใด. |
1 | 31 | 22 | [๒๖] บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ |
1 | 31 | 23 | เพราะอรรถว่าประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า |
1 | 31 | 24 | ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า |
1 | 32 | 1 | ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็น |
1 | 32 | 2 | ผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่ามีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นพระเสขะ ชื่อว่า |
1 | 32 | 3 | ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกัน |
1 | 32 | 4 | อุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์ |
1 | 32 | 5 | พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะนี้ ชื่อว่า ภิกษุ |
1 | 32 | 6 | ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. |
1 | 32 | 7 | [๒๗] บทว่า สิกขา ได้แก่สิกขา ๓ ประการคือ อธิสีลสิขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญา- |
1 | 32 | 8 | สิกขา บรรดาสิกขา ๓ ประการเหล่านั้น อธิสีลสิกขานี้ ชื่อว่า สิกขา ที่ทรงประสงค์ใน |
1 | 32 | 9 | อรรถนี้. |
1 | 32 | 10 | [๒๘] ชื่อว่า สาชีพ อธิบายว่า สิกขาบทใด ที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ สิกขาบท |
1 | 32 | 11 | นั้น ชื่อว่า สาชีพ ภิกษุศึกษาในสาชีพนั้น เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า ถึงพร้อมซึ่งสาชีพ. |
1 | 32 | 12 | [๒๙] คำว่า ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง ทรงอธิบายไว้ว่า |