txt
stringlengths 202
53.1k
|
---|
# หมดปัญหาวิดีโอคอลแล้วบ้านรก, แนะนำวิธีเปลี่ยนแบ็คกราวด์ตอนวิดีโอคอลบน Zoom
เชื่อว่าหนึ่งในปัญหาของการทำงานหรือเรียนที่บ้านและจำเป็นต้องวิดีโอคอล คือความเขินอายในแบ็คกราวด์เบื้องหลัง ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุจากรสนิยมส่วนตัวที่ไม่อยากให้ใครเห็นหรือความรกของบ้านก็ตาม
Zoom ผู้ให้บริการ Video Conference ที่ค่อนข้างได้รับความนิยมตอนนี้ มีหนึ่งฟีเจอร์ที่ค่อนข้างมีประโยชน์ในแง่นี้คือ Virtual Background ที่จะนำภาพหรือวิดีโอที่เราเลือกจะแสดงเป็นภาพพื้นหลังให้แทน เสมือนหนึ่งเราถ่ายวิดีโอโดยมีพื้นหลังเป็นกรีนสกรีน บทความนี้จะแนะนำการใช้ Zoom ที่ค่อนข้างง่ายอยู่แล้วและวิธีการเปิด Virtual Background ครับ
วิธีการเริ่มต้นใช้งาน Zoom จะไม่ค่อยยุ่งยาก แค่เข้าไปลงทะเบียนฟรี กรอกอีเมลที่ต้องการใช้ Zoom จะส่งลิงก์มาให้ทางอีเมลดังกล่าวเพื่อเปิดใช้งานบัญชีด้วยการตั้งพาสเวิร์ดและกรอกชื่อนามสกุล เสร็จแล้วจะได้ Personal Meeting ID มาสำหรับส่งให้คนอื่นเข้าร่วมวิดีโอคอล กรณีที่ไม่ได้ยิงปฏิทินนัดหมาย (schedule) เอาไว้
ลงทะเบียนเสร็จแล้ว Zoom จะมีลิงก์ให้ดาวน์โหลดตัวแอปมาติดตั้งบนเครื่อง การเริ่มวิดีโอคอลหรือนัดหมายจะทำได้ไม่ยาก เพราะอินเทอร์เฟสของ Zoom ค่อนข้างเข้าใจง่ายอยู่แล้ว
ขณะที่ตัวเลือกสำหรับ Virtual Background สามารถเข้าถึงได้ 2 ทาง คือเปิด Settings ของ Zoom ขึ้นมาที่ไอคอนฟันเฟืองขวาบน จะพบตัวเลือก Virtual Background ด้านซ้าย เมื่อกดเข้ามาจะพบภาพและวิดีโอดีฟอลต์ที่ Zoom มีเอาไว้ให้ หรือเราสามารถอัพโหลดรูปและวิดีโอของเราเองก็ได้ หรือจะเปิด Virtual Background จากตัวเลือกบริเวณด้านซ้ายล่างขณะวิดีโอคอลก็ได้เช่นกัน
Zoom แนะนำว่าควรเป็นภาพหรือวิดีโอที่ไม่ติดลิขสิทธิ์ ขณะที่สภาพแวดล้อมด้านหลัง Zoom ก็แนะนำว่าควรเป็นสีเดียวกันให้มากที่สุด รวมถึงแสงก็ไม่ควรสว่างไปแบบหน้าต่าง ขณะเดียวกันก็แนะนำซีพียูด้วยว่าไม่ควรต่ำกว่า Intel Gen 6 i5 Quad-Core หรือ Gen 4 i7 Quad Core (ดูรายละเอียดได้ที่นี่) ซึ่งก็ค่อนข้างเก่าพอสมควร คิดว่าแทบไม่น่าเหลือคนใช้แล้ว
ส่วนความสามารถพื้นฐานในการใช้งานของ Zoom แผนฟรีก็ค่อนข้างพร้อม อย่างการอัดหน้าจอเก็บไว้ให้ แชร์หน้าจอได้จากแหล่งอื่นหรือเปิดหน้าไวท์บอร์ดก็ได้ แชร์หน้าจอได้หลายหน้าจอพร้อมกัน รองรับผู้เข้าร่วมได้ 100 คน โดยหากเป็นการวิดีโอคอล 1:1 จะไม่จำกัดนาทีใช้งาน แต่หากเป็นกลุ่มจะจำกัด 40 นาทีต่อครั้ง แต่ไม่จำกัดจำนวนครั้ง (ครบ 40 นาทีต่อใหม่) |
# Tencent ไตรมาส 4/2019 รายได้รวมโต 25%, ผลกระทบ COVID-19 ทำให้คนใช้สื่อบันเทิงออนไลน์มากขึ้น
Tencent รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 4 ปี 2019 รายได้รวมเพิ่มขึ้น 25% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 15,161 ล้านดอลลาร์ มีกำไรสุทธิ 3,819 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 32%
ซีอีโอ Ma Huateng กล่าวว่าในปี 2019 ที่ผ่านมา Tencent ต่อยอดจากธุรกิจอินเทอร์เน็ตเน้นลูกค้าทั่วไป มาสู่ลูกค้าองค์กร ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดี WeChat เป็นแพลตฟอร์มที่เชื่อมต่อผู้ใช้งานในหลากหลายธุรกิจบริการมากขึ้น ส่วนตลาดเกมก็ประสบความสำเร็จในระดับโลกจากเกมอย่าง PUBG Mobile และ Call of Duty Mobile
Tencent ชี้แจงผลกระทบของบริษัทจากการระบาดของ COVID-19 ว่ากระทบกับรายได้ เนื่องจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ตลอดจนร้านค้าปิดให้บริการชั่วคราวจำนวนมาก อย่างไรก็ตามในช่วงที่ผ่านมาพบว่าทราฟิกการใช้งานด้านบันเทิง เช่น เกม วิดีโอ มีจำนวนสูงมากขึ้น
ที่มา: SCMP และ Tencent |
# Atlassian Cloud เปิดให้ใช้ Jira ขนาดทีมไม่เกิน 10 คนฟรี, Trello Business ให้สถาบันการศึกษาฟรี
Atlassian ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์จัดการโครงการไอทีเปิดบริการฟรีบน Atlassian Cloud เพิ่มเติมอีก 4 ชุด ได้แก่
Jira Software: ระบบจัดการโครงการ Kanban และ workflow ได้ฟรี 10 คน
Confluence: ระบบเก็บเอกสารภายในทีม ได้ฟรี 10 คน
Jira Service Desk: ระบบจัดการบริการไอที ให้ฟรีเมื่อใช้กับเจ้าหน้าที่ (agent) ไม่เกิน 3 คน
Jira Core: ระบบจัดการโครงการ ได้ฟรี 10 คน
บริการทั้งสี่ตัวเพิ่มเข้ามาจากก่อนหน้านี้ที่ Atlassian ให้บริการฟรีมาก่อน เช่น Trello, Bitbucket, หรือ Opsgenie
สำหรับสถาบันการศึกษา ทั้งโรงเรียนและมหาวิทยาลัยทาง Atlassian ก็จะให้บริการ Trello Business Class ฟรีหนึ่งปีเพื่อช่วยเหลือการเรียนทางไกลอีกช่องทาง
ที่มา - Atlassian |
# Facebook เพิ่มฟีเจอร์รวมข้อมูลไวรัส COVID-19 ปักด้านบนสุดของ News Feed
Facebook ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ Coronavirus (COVID-19) Information Center รวบรวมข้อมูลอัพเดตสถานการณ์ไวรัสโคโรนา และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น แนะนำวิธีปฏิบัติตัวด้านสุขภาพ
ฟีเจอร์นี้จะอยู่ที่ด้านบนสุดของ News Feed ให้เห็นกันชัดๆ ส่วนข้อมูลจะนำมาจากหน่วยงานภาครัฐในแต่ละประเทศ รวมถึงองค์กรระดับนานาชาติอย่าง World Health Organization (WHO)
ศูนย์ข้อมูลไวรัสโคโรนาจะเริ่มเปิดให้ผู้ใช้ Facebook ในฝรั่งเศส อิตาลี สเปน เยอรมนี สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ใช้งานภายใน 24 ชั่วโมงนี้ ส่วนประเทศอื่นๆ จะตามมาในระยะถัดไป
ที่มา - Facebook |
# สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ประกาศให้อ่านหนังสือเรียนฟรีทั้งหมด หนังสือ AI บางเล่มให้อ่านก่อนตีพิมพ์
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ประกาศมาตรการช่วยเหลือในภาวะโรค COVID-19 ระบาด โดยเปิดตำราเรียนกว่า 700 เล่มให้อ่านออนไลน์ฟรี
การอ่านออนไลน์นี้เปิดให้อ่านเฉพาะในเบราว์เซอร์เท่านั้น ไม่สามารถดาวน์โหลดได้ หนังสือสายคอมพิวเตอร์นั้นมี 25 เล่ม เล่มน่าสนใจ เช่น Machine Learning Refined, A Hands-On Introduction to Data Science, Mathematics for Machine Learning โดยสองเล่มสุดท้ายมีกำหนดตีพิมพ์เป็นเล่มเดือนเมษายนนี้
การอ่านไม่ต้องล็อกอินก็อ่านได้ทันที กำหนดเปิดให้อ่านฟรีถึงสิ้นเดือนพฤษภาคมนี้
ที่มา - Cambridge University Press |
# เครือข่ายโทรศัพท์มือถือในยุโรปส่งข้อมูลภาพรวมการเคลื่อนย้ายประชากรให้รัฐ ช่วยคุม COVID-19
เครือข่ายโทรศัพท์มือถือในยุโรปหลายค่ายเสนอมอบข้อมูลภาพรวมการเคลื่อนที่ประชากรให้ภาครัฐเพื่อใช้สำรวจความสำเร็จของนโยบายลดการเดินทางของประชาชนเพื่อต่อสู้กับโรค COVID-19 โดยตอนนี้หน่วยงานสุขภาพในอิตาลี, เยอรมัน, และออสเตรีย เริ่มได้รับข้อมูลแล้ว
เครือข่ายมอบข้อมูลที่ระบุตัวตนไม่ได้ และใช้สำหรับสำรวจจุดที่มีการรวมตัวกันมากๆ หรือมีการเคลื่อนย้ายสูง เพื่อดูผลลัพธ์ของการประกาศนโยบายกักตัวเท่านั้น
แนวทางนี้ต่างจากประเทศในเอเชีย เช่น ไต้หวัน, เกาหลีใต้, หรือจีน ที่ใช้ข้อมูลรายคนเพื่อติดตามเส้นทางการเดินทางของผู้ติดเชื้อทีละคน ไม่ว่าจะใช้สำหรับการหาผู้ร่วมเส้นทางให้เข้ามาตรวจเชื้อ หรือจะเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ติดเชื้อขัดคำสั่งกักตัว
ประเทศในยุโรปมีกฎหมาย GDPR ที่ค่อนข้างแรง อย่างไรก็ตามการแชร์ข้อมูลที่ระบุตัวตนไม่ได้หรือเป็นข้อมูลภาพรวมเช่นนี้ไม่ได้ผิดกฎหมายแต่อย่างใด
ที่มา - IT News |
# Gabe Newell เผย Artifact คือความผิดหวังครั้งใหญ่ แต่ถือว่าเป็นบทเรียนที่ได้เรียนรู้
หลังจากการประกาศยกเครื่องครั้งใหญ่ไปเมื่อปีก่อน ณ เวลานี้ ความเคลื่อนไหวของ Artifact การ์ดเกมจากโลก Dota 2 ของ Valve ก็ยังคงไม่มีความคืบหน้าเพิ่มเติม ล่าสุด IGN ได้สัมภาษณ์ Gabe Newell ถึงประเด็นนี้ โดย Gabe กล่าวว่า Artifact นั้นคือความผิดหวังครั้งใหญ่ แต่ก็ถือเป็นบทเรียนที่ควรค่าแก่การนำไปศึกษาต่อถึงความล้มเหลวเช่นกัน
Gabe อธิบายว่า พวกเขาคิดถึงสิ่งที่ต้องทำอยู่ตลอดเวลา ว่าจะพัฒนาตัวเองแบบใดได้บ้าง หรือ ความท้าทายใหม่ๆ จะมีอะไรได้บ้าง รวมถึงการวิเคราะห์และสำรวจถึงสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้วและหามุมมองใหม่ๆ จากมันว่าจะเปลี่ยนแปลงอย่างได้บ้างในอนาคต และเขาใช้เวลาครุ่นคิดถึง Arttifact และเหตุผลว่าทำไม Artifact ถึงล้มเหลว ซึ่งสิ่งนี้เป็นประโยชน์มากกว่าการคิดถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับวงการ ซึ่งข้อแรกช่วยให้พวกเขาตัดสินใจได้ดีขึ้นในอนาคต ส่วนข้อหลังนั้นมีประโยชน์น้อยกว่า
ที่มา: IGN |
# แนะนำโปรแกรม Video Call สำหรับประชุมเป็นกลุ่มในช่วง Work From Home
สัปดาห์นี้คนจำนวนมากทั่วโลกต้องเริ่มทำงานจากที่บ้าน หรือที่เราเรียกกันว่า Work From Home (WFH) ความท้าทายที่สุดคือการสนทนาแบบเห็นหน้าจะต้องถูกทดแทนด้วยการสื่อสารแบบอื่น เช่น แชท โทรศัพท์ วิดีโอ ซึ่งคนทำงานย่อมต้องปรับตัวทั้งในแง่เครื่องมือ (tools) วิถีการทำงาน (process) และวัฒนธรรมองค์กร (culture)
บทความนี้จะแนะนำตัวเครื่องมือ (tools) นั่นคือโซลูชันการประชุมออนไลน์แบบวิดีโอเป็นกลุ่มใหญ่ (video meeting) ที่ได้รับความนิยมในตลาด 6 ตัวมาให้เป็นตัวเลือกกัน
โปรแกรมที่คัดมาเสนอรอบนี้เกือบทั้งหมดฟรี หรือมีแพ็กเกจแบบฟรีให้ลองใช้งาน
Zoom
โปรแกรมประชุมออนไลน์ที่มาแรงแซงทุกค่ายในช่วงนี้ เพราะใช้ดีแล้วผู้ใช้บอกต่อ มาครบทั้งในแง่ฟีเจอร์ (รองรับการโทรเข้ามาประชุมจากโทรศัพท์ธรรมดา, ระบบ PIN code, แชร์หน้าจอ) ความลื่นไหลในการสนทนา และความง่ายในการใช้งาน
Zoom ก่อตั้งโดยอดีตทีมงาน Cisco Webex และโด่งดังจนขายหุ้น IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ไปเมื่อปี 2019 รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จาก รู้จัก Zoom ผู้ให้บริการ Video Conference มาแรงท่ามกลางกระแส work from home
ราคา รายละเอียด
รุ่นฟรี ประชุมได้พร้อมกันสูงสุด 100 คน, จำกัดการคุยวิดีโอกลุ่มครั้งละไม่เกิน 40 นาที
รุ่นเสียเงิน เริ่มต้นที่ 14.99 ดอลลาร์ ประชุมได้สูงสุด 100 คน, ปลดล็อคข้อจำกัด 40 นาที
Discord
แอพแชทยอดนิยมสำหรับเหล่าเกมเมอร์ ฟีเจอร์จัดเต็มทั้งแชท คุยเสียง วิดีโอ แชร์หน้าจอได้ วิดีโอคอลล์ได้พร้อมกันสูงสุด 10 คน รองรับแพลตฟอร์มหลากหลาย รวมถึงใช้งานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ด้วย
จุดเด่นอีกอย่างของ Discord คือราคาที่ฟรีตลอดไป เพราะโมเดลการทำเงินของ Discord คือการจ่ายเงินค่าสมาชิกรายเดือน (เรียกว่า Nitro) เพื่อเพิ่มฟีเจอร์บางอย่างสำหรับเกมเมอร์ (เช่น ใส่แอนิเมชันได้, ปรับแต่งโพรไฟล์ได้, อัพโหลดรูปได้เยอะขึ้น)
รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จาก แนะนำวิธีใช้ Discord ทำงานจากบ้าน ประชุมทางไกลแบบเห็นหน้า แชร์จอได้
ราคา ฟรี
Skype
ต้นฉบับของโปรแกรม video call ที่ทุกคนรู้จักกันดี แม้ช่วงหลังโดนแอพตัวอื่นเข้ามาแข่งขัน แต่ Skype ก็ยังมีฐานผู้ใช้งานจำนวนมาก แถมยังรองรับอุปกรณ์ทุกชนิดเท่าที่คนใช้กัน หรือจะคุยผ่านเว็บเบราว์เซอร์ก็ยังได้
จุดเด่นของ Skype คือราคาที่ฟรีตลอดไป เวอร์ชันฟรีสามารถคุยได้พร้อมกันสูงสุด 50 คนต่อห้อง, แชร์หน้าจอให้กันได้, บันทึกการสนทนาได้ ส่วนเวอร์ชันเสียเงินเน้นที่การโทรออกไปยังเบอร์โทรศัพท์ปกติ
ราคา ฟรี (เสียเงินเฉพาะการโทรไปยังเบอร์โทรศัพท์)
Google Hangout Meets
Hangout Meets เป็นฟีเจอร์หนึ่งของชุด G Suite สำหรับการประชุมออนไลน์ในตลาดลูกค้าองค์กร รองรับการประชุมขนาดใหญ่ 100 คน แถมยังเชื่อมต่อกับแอพในชุด G Suite เช่น พรีเซนต์ไฟล์จาก Google Slides ขึ้นจอในห้องประชุมได้ทันที, ลงนัดหมายใน Google Calendar แล้วมีลิงก์สำหรับนัดประชุมอัตโนมัติ
หากองค์กรใช้งาน G Suite อยู่แล้ว การคุยผ่าน Hangouts Meet เป็นทางเลือกที่เหมาะสมเพราะไม่ต้องจ่ายอะไรเพิ่ม ล่าสุดกูเกิลยังปลดล็อคฟีเจอร์ของ Hangouts Meet เวอร์ชัน Enterprise (ขยายเพดานห้องประชุมเป็น 250 คน, ไลฟ์สตรีมได้สูงสุด 100,000 คน, บันทึกการประชุมลง Google Drive ให้อัตโนมัติ) ให้กับลูกค้า G Suite ทุกรายไปจนถึงวันที่ 1 กรกฎาคม 2020 ด้วย
ราคา
ฟรี สำหรับคนที่มี G Suite อยู่แล้ว
ค่า G Suite ราคา 6 ดอลลาร์ต่อคนต่อเดือน (ตอนนี้ราคาไทยมีโปรโมชั่นเหลือ 4.2 ดอลลาร์)
Microsoft Teams
ฝั่งผู้ใช้ Microsoft 365 / Office 365 ก็มีโซลูชันสำหรับการสื่อสารภายในองค์กรคือ Microsoft Teams ที่ทำได้ทุกอย่าง ทั้งแชท โทร วิดีโอ แชร์หน้าจอ แชร์ไฟล์ รองรับการประชุมออนไลน์สูงสุด 10,000 คนต่อห้อง
จุดเด่นของ Microsoft Teams คือตอนนี้มีแพ็กเกจฟรีให้ใช้งาน (จำกัดความสามารถนิดหน่อย) และถ้าองค์กรใช้โซลูชัน Office 365 สำหรับงานเอกสารอยู่แล้ว (เช่น เอกสารอยู่บน OneDrive/SharePoints) ก็จะใช้งาน Microsoft Teams ได้สะดวกขึ้นมากๆ
ราคา รายละเอียด
ฟรี สำหรับคนที่มี Office 365 อยู่แล้ว ได้ฟีเจอร์เต็มรูปแบบ (ราคาเริ่มต้น 5 ดอลลาร์/คน/เดือน)
ฟรี สำหรับคนทั่วไป มีจำกัดฟีเจอร์บ้าง เช่น ประชุมกลุ่มใหญ่ไม่ได้ (ได้แต่แบบ 1:1) พื้นที่สตอเรจลดลง บันทึกการประชุมไม่ได้
Cisco Webex
Cisco Webex ถือเป็นต้นฉบับของโซลูชันการประชุมวิดีโอในองค์กร (ปัจจุบันใช้ชื่อ Webex Meetings) และภายหลังก็ขยายตัวมายังระบบแชทในองค์กรด้วย (ใช้ชื่อ Webex Teams)
ฟีเจอร์ของ Webex เรียกว่าครบถ้วนสำหรับลูกค้าองค์กร รองรับการประชุมสูงสุด 3,000 คนต่อห้อง และไลฟ์สตรีมสูงสุด 100,000 คน
ปัจจุบัน Webex มีแพ็กเกจรุ่นฟรี สำหรับการประชุมไม่เกิน 100 คน และไม่จำกัดความยาวในการประชุม (ต่างจาก Zoom ที่จำกัด 40 นาที)
ราคา รายละเอียด
ฟรี (จำกัดการประชุมไม่เกิน 100 คน)
รุ่นเสียเงินเริ่มต้นที่ 13.50 ดอลลาร์
ทางเลือกอื่นๆ
นอกจากโปรแกรมทั้ง 6 ตัวที่คัดมาแนะนำแล้ว ในท้องตลาดยังมีโปรแกรมอื่นๆ อีกมาก เช่น GoToMeeting ของ LogMeIn, join.me (ปัจจุบันเป็นของ LogMeIn เช่นกัน) ezTalks, BlueJeans เป็นต้น
แอพสื่อสารองค์กรหลายตัวก็มีฟีเจอร์วิดีโอคอลล์มาให้ (แม้ไม่เน้นมากนัก) เช่น Slack รุ่นเสียเงินก็รองรับการประชุมวิดีโอ (สูงสุด 15 คน), TeamViewer มีฟังก์ชันวิดีโอคอลล์ (สูงสุด 25 คน) |
# Android 11 ออกรุ่นทดสอบ Developer Preview 2
กูเกิลออก Android 11 รุ่นทดสอบ Developer Preview 2 ต่อเนื่องจากรุ่นพรีวิวตัวแรกเมื่อเดือนที่แล้ว ของใหม่ได้แก่
5G state API สำหรับให้แอพเช็คสถานะการเชื่อมต่อว่าเป็น 5G หรือไม่ เป็นการเชื่อมต่อแบบ New Radio หรือ Non-Standalone เป็นต้น
Hinge Angle API สำหรับเช็คสถานะของบานพับ เพื่อให้อุปกรณ์จอพับได้ (เช่น Galaxy Z Fold) สามารถปรับโหมดแอพตามองศาของบานพับได้ (วางราบ, ตั้งฉาก 90 องศา เป็นต้น)
Call Screening API มีความสามารถมากขึ้นหลายอย่าง เช่น แอพที่ช่วยบล็อคสายเข้าสามารถรายงานเหตุผลที่ตัดสายได้
Neural Networks API ปรับปรุงฟีเจอร์ด้านการควบคุมการเทรน AI บนมือถือ รองรับโมเดลแบบใหมๆ ควบคุมการทำงานของโมเดลได้ละเอียดขึ้น
Variable refresh rate แอพและเกมสามารถตั้งค่าเฟรมเรตที่ต้องการ (preferred frame rate) สำหรับอุปกรณ์รุ่นใหม่ๆ ที่ใช้จอรีเฟรชสูงกว่า 60Hz
Resume on reboot หลังอัพเดต OTA แล้วรีบูต แอพสามารถเข้าถึงสตอเรจที่เข้ารหัสไว้ได้ โดยที่ผู้ใช้ยังไม่ปลดล็อคเครื่อง ทำให้ผู้ใช้ได้เจอสถานะเดิมของเครื่องหลังรีบูตได้ทันที
Android 11 Developer Preview 2 ยังเหมาะสำหรับนักพัฒนาไว้ทดสอบ API ใหม่ๆ เท่านั้น ยังไม่เหมาะกับการใช้งานจริง (รุ่น Beta 1 จะออกเดือนหน้า) ตอนนี้ผู้ใช้ Pixel 2, 3, 3a, 4 สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้แล้ว
ที่มา - Android Developers |
# Chrome หยุดออกเวอร์ชันใหม่ชั่วคราว เพราะทีมต้องปรับตารางทำงานจากปัญหาไวรัส
กูเกิลประกาศพักการอัพเดตเวอร์ชันใหญ่ของ Chrome และ Chrome OS ชั่วคราว หลังพนักงานในทีมต้องปรับตารางการทำงานกันใหม่จากสถานการณ์ไวรัสระบาด
ปกติแล้ว Chrome/Chrome OS มีรอบการอัพเดตเวอร์ชันใหญ่ทุก 6 สัปดาห์ ตอนนี้กูเกิลจะหยุดพักการอัพเดตตามรอบอย่างไม่มีกำหนด เพื่อควบคุมคุณภาพของ Chrome ให้มีเสถียรภาพสูงสุด แทนการพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ที่อาจควบคุมคุณภาพไม่ได้ ส่วนการอัพเดตย่อยแก้บั๊กและความปลอดภัยจะยังดำเนินไปตามปกติ (แปลว่า Chrome รุ่นเสถียรจะหยุดที่เวอร์ชัน 80 ไปสักพักใหญ่ๆ มีอัพเดตแพตช์ของ Chrome 80 บ้าง)
ที่มา - Chromium |
# เปิดสเปก PS5 หมดเปลือก ซีพียู 8 คอร์ 3.5GHz, แรม 16GB, SSD NVMe 825GB PCIe 4.0
หลังจากปล่อยให้ Xbox Series X เปิดเผยสเปกนำไปก่อน วันนี้ Sony ก็มีงานแถลงเปิดตัว PS5 พร้อมเปิดเผยสเปกต่างๆ ในเชิงเทคนิคของตัวเครื่องแบบละเอียดเช่นกัน ซึ่งมีดังนี้
ซีพียูคัสตอม Zen 2 จำนวน 8 คอร์ คล็อคที่ 3.8GHz
จีพียูคัสตอม RDNA 2 จำนวน 36 คอร์ (compute unit) สมรรถนะ 10.28 TFLOPS รองรับ Ray Tracing
แรม 16GB GDDR6 แบนด์วิธ 448GB/s
SSD NVMe แบบคัสตอม 825GB, ความเร็วการอ่าน I/O Throughput ที่ 5.5 GBps (raw data)
รองรับการต่อฮาร์ดดิสก์ภายนอก
รองรับการใส่ NVMe SSD บางรุ่น (ในคีย์โน้ตบอก M.2) ที่ความเร็วและสเปกถึงตามที่ Sony กำหนด
ตัวอ่านแผ่น 4K UHD Blu-ray
จีพียู Custom RDNA2 จะรองรับ ray tracing ที่ระดับฮาร์ดแวร์เช่นเดียวกับ Xbox Series X และถึงจะมี TFLOPS และจำนวน compute unit (CU) ที่น้อยกว่า แต่ Sony ก็บอกว่าประสิทธิภาพโดยรวม ไม่แย่แน่นอน
Sony ยังโชว์จุดเด่นเรื่อง SSD NVMe PCIe 4.0 ที่มีอัตรา I/O สูงถึง 5.5GB/s (raw data) ที่จะเปลี่ยนโลกการออกแบบเกม เพราะทำให้การโหลดฉากรอบตัวละคร หรือความเร็วที่ตัวละครเคลื่อนที่ไปได้ ไม่ต้องถูกจำกัดโดยเวลาในการอ่านข้อมูลฮาร์ดดิสก์แบบเดิมอีกต่อไป และจะรองรับการต่อฮาร์ดดิสก์ภายนอกแบบทั่วไป สำหรับเล่นเกม PS4 และรองรับการใส่ SSD NVMe PCIe 4.0 ในท้องตลาด แต่มีข้อแม้ว่าต้องเป็นรุ่นที่ความเร็วถึงตามที่ Sony กำหนด และได้รับการรับรองจาก Sony เท่านั้น
PS5 จะมาพร้อมฟังก์ชั่น ‘boost’ ที่ไม่เหมือนกับเทคโนโลยี boost คล็อคของ CPU คอมพิวเตอร์ หรือมือถือ ที่จะปรับคล็อคสปีดและอัตราการกินไฟตามการใช้งาน แต่เป็นการส่งไฟแบบปริมาณคงที่ แล้วใช้ชิปคอยอ่านค่าการประมวลผลของ CPU และ GPU พร้อมปรับคล็อคแบ่งไฟให้อย่างเหมาะสม ตามความหนักในการใช้งาน
นอกจากนี้ยังมีระบบเสียง 3D แบบเน็กซ์เจ็น บน Tempest Engine ที่ Sony คุยไว้ว่าจะสามารถสร้างเสียงของเม็ดฝนที่ตกกระทบรอบตัวละครได้แบบแยกเป็นเม็ดอย่างสมจริง โดยจะใช้ระบบ HRTF (Head-related Transfer Function) ที่จะเป็นการส่งคลื่นเสียงให้เข้ากับรูปทรงหูและศีรษะของผู้เล่นเพื่อสร้างเสียงรอบทิศทางที่สมจริงยิ่งขึ้น
ส่วนรายละเอียดอื่นๆ อย่างดีไซน์และหน้าตา Sony ยังคงอุบเอาไว้อยู่
ที่มา - Eurogamer |
# Google เปิดตัวเครื่องหมาย Works With Chromebook เพื่อการันตีอุปกรณ์เสริมที่ใช้งานร่วมกับ Chromebook
Google ประกาศเปิดตัวเครื่องหมาย Works With Chromebook โลโก้ใหม่สำหรับติดสินค้าที่ผ่านการทดสอบตามมาตรฐานจาก Google แล้วว่าใช้งานกับ Chromebook ได้
สำหรับแบรนด์สินค้าที่ติดเครื่องหมาย Works With Chromebook เช่น AbleNet, Anker, Belkin, Brydge, Cable Matters, Elecom, Hyper, Kensington, Logitech, Plugable, Satechi, StarTech และ Targus โดยตัวอย่างอุปกรณ์เสริมที่เริ่มทดสอบและให้เครื่องหมายก็มีตั้งแต่สายชาร์จ, สายเชื่อมต่อ และเมาส์
โดยในตอนเริ่มต้นสินค้าเหล่านี้จะวางขายในสหรัฐฯ, แคนาดา และญี่ปุ่นในร้านค้าชั้นนำอย่าง Amazon, Best Buy, Walmart และ Bic Camera ก่อน จากนั้นจึงจะทยอยวางจำหน่ายในประเทศอื่น ๆ ต่อไป
ที่มา - Google, Engadget
ภาพจาก Google |
# โฉมใหม่ Slack ใช้เมาส์ลากจัดกลุ่มห้องแชทได้ ทำข้อความดราฟท์ไ้ว้ก่อนส่งได้ด้วย
ผู้ใช้งาน Slack อาจเจอปัญหาต้องกวาดสายตาหลายครั้งกว่าจะหาห้องแชทที่ต้องการเข้าไปพูดคุยเจอ ล่าสุด Slack แก้ปัญหาตรงนี้แล้วโดยการให้ผู้ใช้สามารถจัดกลุ่มห้องแชทเป็นกลุ่มๆ ใช้เมาส์ลากห้องแชทไปจับกลุ่มรวมกันให้ตัวเองเข้าใจและหาง่ายขึ้น จากนั้นกดลูกศรชี้ลงเพื่อแสดงห้องต่างๆ ที่อยู่ในกลุ่มนั้น ทำให้แถบห้องแชทด้านซ้ายมือดูสะอาดตาขึ้น
Slack เวอร์ชั่นใหม่ย้ายช่องค้นหามาไว้ตรงกลางด้านบนสุดของหน้าจอ มีการเพิ่มเมนู Mentions & reactions ตรง sidebar ด้านซ้าย เพื่อดูว่ามีใครเมนชั่นหาเราบ้างได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ใหม่คือสามารถเขียนข้อความดราฟท์ไว้ก่อนได้ในช่องแชทโดยตรง ไม่ต้องไปเขียนไว้ที่อื่นแล้วค่อยมาวางในช่องแชท
Slack เวอร์ชั่นใหม่จะเริ่มใช้งานเฉพาะแอพบนเดสก์ทอปก่อน และเริ่มใช้งานเฉพาะเวอร์ชั่นเสียเงิน ก่อนจะขยายไปยังแอปมือถือต่อไป
ที่มา - The Verge |
# อิสราเอลผ่านกฎหมายเปิดทางรัฐเข้าถึงการใช้งานมือถือของคนติดโรค COVID-19 เพื่อตามหากลุ่มเสี่ยง
รัฐบาลอิสราเอลผ่านกฎหมายฉุกเฉิน เปิดทางให้รัฐสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของคนที่เป็นโรค COVID-19 และกลุ่มเสี่ยงผ่านการใช้งานโทรศัพท์ของพวกเขา และยังสามารถใช้ข้อมูลนั้นในการตามหาผู้ที่มาติดต่อกับคนเป็นโรค เพื่อให้เขากักตัวดูอาการลดโอกาสแพร่กระจายของโรค อย่างไรก็ตาม กฎหมายลักษณะนี้มีความรุกล้ำความเป็นส่วนตัวมาก และยังเป็นกฎลักษณะเดียวกันกับการสืบหาผู้ก่อการร้าย
BBC ระบุว่า อิสราเอลผ่านกฎหมายนี้เร่งด่วนชั่วข้ามคืน นายกรัฐมนตรีอิสราเอล Benjamin Netanyahu ระบุว่า รัฐบาลจะเพิ่มความสามารถในการค้นหาและกักกันผู้ที่ติดเชื้อ โดยเริ่มใช้เทคโนโลยีเพื่อค้นหาผู้ที่เคยติดต่อกับผู้ติดเชื้อ และจะแจ้งให้บุคคลเหล่านั้นทราบเพื่อกักตัวดูอาการเป็นเวลา 14 วัน และจะยกระดับการตรวจเชื้อให้เป็นวันละ 3,000 คน
อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความชัดเจนว่ารัฐจะใช้วิธีใดเพื่อเข้าถึงข้อมูลการใช้งานมือถือ ซึ่ง BBC ระบุว่า ผู้ให้บริการเครือข่ายจะเป็นคนรวบรวมข้อมูลพิกัด และข้อมูลการใช้งานอื่นๆ เพื่อแชร์ให้กับกระทรวงสาธารณสุขในการตามหากลุ่มเสี่ยงต่อไป
ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อเป็นโรค COVID-19 ในอิสราเอล 427 ราย ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต
Benjamin Netanyahu
ภาพจาก The Prime Minister of Israel
ที่มา - TechCrunch |
# Apple เปิดตัว MacBook Air ใหม่ เป็น Magic Keyboard, ซีพียู Intel 10th Gen ,เริ่มต้น 32,900 บาท
แอปเปิลเปิดตัว MacBook Air รุ่นใหม่ โดยมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญคือ การเปลี่ยนมาใช้คีย์บอร์ดแบบ scissor รุ่นแก้ไข Magic Keyboard ซึ่งเริ่มใช้มาตั้งแต่ MacBook Pro จอ 16 นิ้ว ของปีที่แล้ว
สำหรับสเปกอื่นของ MacBook Air รุ่นใหม่ มีดังนี้
หน้าจอ 13.3 นิ้ว Retina Display ความละเอียด 2560x1600 (227 ppi)
ซีพียูอินเทล 10th Gen เริ่มต้นที่ Core i3 (dual-core) อัพซีพียูได้สูงสุด Core i7 (quad-core)
สตอเรจ เริ่มต้น 256GB เพิ่มได้สูงสุด 2TB
แรม เริ่มต้น 8GB เพิ่มได้สูงสุด 16GB
กราฟิกการ์ด Intel Iris Plus
Thunderbolt 3 จำนวน 2 พอร์ต
รองรับ Touch ID
แบตเตอรี่ 49.9 วัตต์ รองรับการใช้งานอินเทอร์เน็ต 11 ชั่วโมง
น้ำหนัก 1.29 กิโลกรัม
MacBook Air รุ่นใหม่ ราคาเริ่มต้น 32,900 บาท มีตัวเลือก 3 สี ทอง สเปซเกรย์ และเงิน ในอเมริกาเปิดให้สั่งจองแล้วตั้งแต่วันนี้ ส่วนในไทยรอไปก่อน
ที่มา: แอปเปิล |
# แอปเปิลเปิดตัว iPad Pro ใหม่มีเซ็นเซอร์ LiDAR สำหรับวัดระยะลึกตื้น, รองรับ Trackpad
แอปเปิลเปิดตัว iPad Pro รุ่นใหม่แบบเงียบ ๆ การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือมาพร้อมเซ็นเซอร์ LiDAR (Light Detection and Ranging) แบบเดียวกับที่ใช้ในรถยนต์ไร้คนขับสำหรับระยะห่างระหว่างเซ็นเซอร์และวัตถุ เพื่อนำมาเสริมประสิทธิภาพของ AR ร่วมกับกล้องและเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว
ตัวอย่างการใช้งาน LiDAR กับแอป Measure คือสามารถวัดส่วนสูงคนได้รวดเร็ว โดยนักพัฒนาสามารถเข้าถึงเซ็นเซอร์นี้ได้ด้วย Scene Geometry API บน ARKit
การอัพเกรดอื่น ๆ ก็มีชิปเซ็ตที่เป็น A12Z Bionic มีซีพียู 8 แกนรองรับ Neural Engine และจีพียูอีก 8 แกน หน้าจอ Liquid Retina 120Hz มีสองขนาดเหมือนเดิมคือ 11 นิ้วและ 12.9 นิ้ว พร้อมไมโครโฟน 5 ตัวที่แอปเปิลบอกว่าคุณภาพระดับสตูดิโอและลำโพงอีก 4 ตัว ส่วนกล้องหลัง 2 ตัวเป็นกล้องเลนส์ไวด์ 12 ล้านพิกเซลและอัลตร้าไวด์ 10 ล้านพิกเซล
iPad Pro ใหม่มาพร้อม iPadOS 13.4 ที่รองรับ Trackpad ในตัวแล้ว นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์เสริมใหม่อย่าง Magic Keyboard รุ่นใหม่ที่มี Trackpad ในตัว รองรับการเชื่อมต่อด้วยแม่เหล็กกับ iPad Pro เป็นคีย์บอร์ดแบบฟูลไซส์พร้อมไฟ backlit ใช้กลไก scissor ที่มีระยะการกดที่ 1มม. ปรับมุมได้สูงสุด 130 องศา พร้อมพอร์ท USB-C สำหรับชาร์จไฟ ส่วน Apple Pencil ยังไม่มีรุ่นใหม่ออกมา
ราคาของ iPad Pro ขนาด 11 นิ้ว เริ่ม 27,900 บาทสำหรับรุ่น Wi-FI และ 32,900 บาทสำหรับรุ่นเซลลูลาร์ ส่วน 12.9 นิ้วเริ่มที่ 34,900 บาทสำหรับ Wi-Fi และ 39,900 บาทสำหรับเซลลูลาร์ ความจุเริ่มต้น 128GB ส่วนราคา Magic Keyboard รุ่น 11 นิ้วอยู่ที่ 299 เหรียญ (ราว 9,300 บาท) และ 12.5 นิ้วอยู่ที่ 349 เหรียญ (ราว 11,000 บาท) ขณะที่วันพรีออเดอร์และจำหน่ายในไทยก็ยังไม่ระบุ
ที่มา - แอปเปิล |
# นักแข่ง F1 ตัวจริง ลงประชันกับเกมเมอร์ใน eSports หลัง COVID-19 ทำงานแข่งล่ม
หลังจากที่การแข่งขันรถมากมายต้องถูกเลื่อน ยกเลิกจัด หรือจัดแบบไม่มีผู้เข้าชม ทั้งงาน Australian Grand Prix การแข่งขันเปิดฤดูกาลใหม่ของ F1 ที่จะถูกจัดเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ที่ถูกยกเลิก หลังมีสมาชิกทีม McLaren ติด COVID-19 และ Grand Prix of St. Petersburg งานเปิดฤดูกาล 2020 ของ IndyCar ก็ต้องจัดแบบไม่มีผู้เข้าชม ทำให้นักแข่งที่ควรจะได้ลงแข่ง รายได้หดหาย แถมแฟนๆ ก็ไม่ได้ดูเกมการแข่งที่เฝ้ารอมานาน
ช่วงนี้จึงเป็นโอกาสของทางผู้จัด eSports เจ้าต่างๆ ที่จะดึงตัวนักแข่งรถตัวจริง ไปร่วมการแข่งขัน eSports เพื่อดึงดูดผู้ชมที่รักความเร็วกันมากมาย ทั้งงาน All-Star Esports Battle ที่ The Race สื่อกีฬาแข่งรถออนไลน์เจ้าดัง จัดการแข่งขันในเกม rFactor 2 เกมแข่งรถสุดหิน ที่ได้ Max Verstappen นักแข่งรถ F1 ดาวรุ่ง และ Simon Pagenaud แชมป์ IndyCar คนดัง เข้าร่วมด้วย
All-Star Esports Battle
นอกจากนี้ยังมีการแข่งขัน “Not the Australian GP” ที่จัดโดย Veloce Esports แข่งกันในเกม F1 2019 ที่มีนักแข่งอย่าง Lando Norris, Esteban Gutierrez, และ Stoffel Vandoorne เข้าร่วม กับ การแข่งขัน NASCAR รายการ Replacements 100 ที่จัดโดย Podium eSports ในเกม iRacing ที่มี Dale Earnhardt Jr. นักแข่งรถ NASCAR ชื่อดัง ร่วมแข่งอีกด้วย
การแข่ง eSports ครั้งใหญ่ที่มีนักแข่งรถตัวจริงเข้าร่วม เรียกผู้ชมได้มากมายทั้งบน Youtube และ Twitch งาน All-Star Esports Battle มียอดเข้าชมกว่าห้าแสนวิวบน Youtube และ Not the Australian GP มีผู้เข้าชมกว่า 350,000 วิว และทั้งสองงาน ต่างก็ติดอันดับการแข่งเกมที่มียอดผู้ชมสูงสุดบน Twitch และ The Replacements 100 ที่ไม่ได้ถ่ายทอดบน Youtube ก็มีผู้เข้าชมกว่า 71,000 คน บน Twitch
Not the AUS GP
จากความสำเร็จครั้งนี้ และการแข่งรถที่ถูกเลื่อนไปจนไม่มีการแข่งเกิดขึ้นเลยในอีกสองสามสัปดาห์ข้างหน้า เราน่าจะได้เห็นนักแข่งอีกมาก มาเข้าร่วมในการแข่ง eSports ที่จะถูกจัดขึ้นแทน จนอาจกลายเป็นการจุดกระแสครั้งใหม่ของวงการเกมขับรถ eSports ก็เป็นได้
ที่มา Ars Technica |
# OnePlus เปลี่ยนโลโก้ใหม่ ปรับฟอนต์ยกแผง
OnePlus บริษัทมือถือนักฆ่าเรือธงสัญชาติจีน เปิดตัวโลโก้ และแท็กไลน์ “Never Settle” แบบใหม่ ที่มีการเปลี่ยนรูปลักษณ์ของเลข 1 เครื่องหมายบวกที่หนาขึ้น และใช้ฟ้อนต์ที่แตกต่างจากเดิม ซึ่ง Mats Hakansson ที่เป็น Global Creative Director ของ OnePlus กล่าวไว้ว่า
“นี่ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงตัวตน แต่เป็นการเสริมจิตวิญญาณที่แท้จริงของการ “Never Settle” การเปลี่ยนแปลงนี้ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของแบรนด์ อันเป็นที่นิยมในหมู่ทีมงานและผู้ใช้งานของเรา และยังเป็นการเพิ่มเติมความน่าตื่นเต้น และเพิ่มสมดุลไปในรูปลักษณ์ของแบรนด์อีกด้วย”
OnePlus ยังกล่าวว่าการเปลี่ยนรูปลักษณ์ครั้งนี้ ทำให้การเชื่อมโยงระหว่างตัวสัญลักษณ์ และเครื่องหมายการค้า ใกล้กันมากขึ้น ทำให้การนำไปใช้งานบนสื่อได้หลากหลายมากขึ้น และเป็นที่จดจำบนสื่อดิจิทัลได้ง่ายขึ้นด้วย และได้แสดงตัวอย่างอาร์ตเวิร์ค ที่มีการใช้โลโก้แบบใหม่ หลายรูปแบบด้วยกัน
OnePlus อาจมีการเปิดตัวมือถือรุ่นใหม่ ที่คาดการณ์ว่าจะเป็น OnePlus 8 และ OnePlus 8 Pro ในวันที่ 15 เมษายนนี้
ที่มา - XDA-Developers |
# Java 14 ออกแล้ว, เพิ่มฟีเจอร์ Records, เตรียมหยุดซัพพอร์ต Solaris/SPARC
Oracle ออก Java 14 ตามรอบการออกรุ่นใหญ่ทุก 6 เดือน ฟีเจอร์ใหม่ในรุ่นนี้เน้นที่เรื่องหน่วยความจำและ garbage collector (GC) หลายอย่าง เช่น การรองรับ NUMA-aware memory allocation บน G1 ที่เป็น GC ดีฟอลต์ในปัจจุบัน และการพอร์ต ZGC ซึ่งเป็น GC ตัวใหม่มายังวินโดวส์และแมค
ของใหม่อีกอย่างที่น่าสนใจคือ records เป็นฟีเจอร์ใหม่ของตัวภาษา Java ที่ให้เขียนซินแทกซ์ประกาศคลาสได้กระชับและปลอดภัยขึ้น (รายละเอียด), switch expression ที่เคยทดสอบใน Java 12/13 กลายเป็นฟีเจอร์มาตรฐานแล้ว
นอกจากนี้ยังเริ่มประกาศให้ Java บน Solaris/SPARC มีสถานะล้าสมัย (deprecated) เพื่อเตรียมถอดออกในอนาคต
สำหรับการใช้งานทั่วไป ยังคงแนะนำ Java 11 ที่เป็นรุ่น LTS ซัพพอร์ตนาน 8 ปี โดย LTS รุ่นหน้าคือ Java 17 ที่มีกำหนดออกช่วงปลายปีหน้า 2021
ที่มา - Oracle, Java.net |
# แนะนำวิธีใช้ Discord ทำงานจากบ้าน ประชุมทางไกลแบบเห็นหน้า แชร์จอได้
Discord เป็นแอปแชทฟรีที่สามารถสร้างเซิร์ฟเวอร์แบบต้องเชิญคนเข้าเท่านั้น สามารถสร้าง แชนแนลคุยเสียงหรือแชท แยกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ ได้ ถึงจะใช้เวอร์ชั่นฟรี ก็ไม่มีการจำกัดจำนวนข้อความในห้อง มีฟังก์ชั่น syntax highlighting สำหรับชาว developers แถมยังมีฟังก์ชั่นวิดีโอคอลได้สูงสุด 10 คน และแชร์จอให้คนอื่นดูได้ด้วย
Discord สามารถใช้งานผ่านบราวเซอร์ หรือดาวน์โหลดมาลงในเครื่องก็ได้ ใช้งานได้ทั้งบน Mac, Windows, Linux, Android และ iOS หลังจากดาวน์โหลด ก็สามารถสมัครผ่านในแอปได้เลย หรือถ้าใช้งานผ่านบราวเซอร์ ก็สามารถสมัครได้ผ่าน ลิงก์นี้ โดยใช้แค่อีเมล ตั้ง username และรหัสผ่านเท่านั้น
การใช้ฟังก์ชั่น Video Call และแชร์หน้าจอในแอปที่ทำได้พร้อมกัน ก็ทำได้ง่ายๆ แค่เข้าไปที่ user settings ไปที่แถบ voice & video
เลือกกล้องที่จะใช้
และก็สามารถ Test video ทดสอบภาพ จัดแต่งองค์ประกอบ ก่อนคุยจริงได้
สำหรับคนที่ใช้งานผ่านบราวเซอร์ อาจจะต้องกดอนุญาตให้บราวเซอร์เข้าใช้งานกล้องเว็บแคมก่อน
การเริ่มเปิดกล้อง แค่แชทไปหาเพื่อน หรือลากเพื่อนเข้ามาเป็นกรุ๊ป แล้วกดที่ไอค่อนรูปกล้อง
หน้าตาและฟังก์ชั่นต่างๆ ที่ใช้ตอนคอลได้
Video / Screen share swap ใช้สลับระหว่างกล้องเว็บแคม กับแชร์หน้าจอ ถ้าใช้หลายมอนิเตอร์ก็เลือกจอที่ต้องการแชร์ได้ หรือจะเลือกแชร์แบบเฉพาะโปรแกรมก็ได้
Expand Down กดเพื่อขยายหน้าจอวิดีโอลงมา
Video Marquee หน้าจอแสดงคนอื่นๆ ที่ไม่ได้เน้นเป็นจอใหญ่ไว้
User Setting ตรงนี้ใช้ Mute ไมค์ หรือตั้งค่าอื่นๆ ได้
Full Screen Toggle กดเพื่อขยายหน้าคอลให้เต็มจอ
ถ้าสลับไปหน้าแชทอื่น หรือ server อื่นขณะคอล หน้าจอคอลก็จะกลายเป็นจอเล็กแบบ picture-in-picture ที่เลื่อนไปมาได้โดยอัตโนมัติ และสามารถตั้งค่า รวมถึงกลับไปหน้าจอคอลได้จากหน้านี้
นอกจากนี้ ฟังก์ชั่นแชร์หน้าจอแบบเฉพาะหน้าต่างโปรแกรม ยังสามารถแชร์เสียงไปได้ด้วย ต่างจากบางแอปที่อาจจะแชร์ได้แค่ภาพ แค่ตั้งค่าให้แชร์เสียงได้ ตอนเลือกแชร์หน้าจอ ตามภาพด้านล่างนี้
ถ้าฟังก์ชั่นแชร์เสียงมีปัญหา ให้ลองใช้แก้ปัญหาตามด้านล่างนี้
เช็คว่า Antivirus บล็อกโปรแกรมอยู่หรือเปล่า
ลองตั้งค่าเสียงใน settings ตามวิธีนี้
ลองลบโปรแกรมแล้วลงใหม่อีกรอบ ตามวิธีนี้
ถือว่าเป็นอีกทางเลือกในการทำงานจากบ้านที่ดูเข้าท่าพอสมควร ได้ทั้งวิดีโอคอล แชร์จอ และแยกห้องได้แบบชัดเจน
ที่มา - Discord |
# SoftBank ส่งหนังสือถึงผู้ถือหุ้น WeWork อาจซื้อหุ้น 3 พันล้านเหรียญตามข้อตกลงไม่ได้
ปลายปีที่แล้ว WeWork และ SoftBank บรรลุข้อตกลงจะรับเงิน 9.5 พันล้านเหรียญ แบ่งเป็นเงินเพิ่มทุน 1.5 พันล้านเหรียญ, ซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิม 3 พันล้านเหรียญและให้กู้อีก 5 พันล้านเหรียญ
ล่าสุด SoftBank ส่งจดหมายหาผู้ถือหุ้น WeWork ระบุว่าอาจไม่สามารถซื้อหุ้นมูลค่า 3 พันล้านเหรียญตามที่ตกลงกันไว้ได้แล้ว เพราะ WeWork อาจจะถูกตรวจสอบจากหน่วยงานภาครัฐอย่าง SEC (กลต. สหรัฐ), กระทรวงยุติธรรมสหรัฐและมลรัฐนิวยอร์ค เกี่ยวกับการทำธุรกิจและการสื่อสารกับนักลงทุน
อย่างไรก็ตามดีลเดิมส่วนอื่นยังคงอยู่เช่นเดิมทั้งเงินเพิ่มทุน 1.5 พันล้านเหรียญและให้กู้ 5 พันล้านเหรียญ ขณะที่สถานการณ์ COVID-19 ยิ่งสะท้อนความอ่อนแอในโมเดลธุรกิจของ WeWork ให้เห็นอีกไม่น้อยเพราะลูกค้ารายเล็ก ๆ ที่เช่าพื้นที่ระยะสั้นทยอยหายไปแต่ค่าใช้จ่ายอย่างการเช่าที่และสิ่งปลูกสร้างยังคงอยู่
ที่มา - Wall Street Journal |
# รู้จัก Zoom ผู้ให้บริการ Video Conference มาแรงท่ามกลางกระแส work from home
จากการระบาดของโรค COVID-19 ทั่วโลก ทำให้กระแสการทำงานจากที่บ้าน (work from home) ถูกนำมาใช้งานมากขึ้น หลายองค์กรต้องหาวิธีและเครื่องมือเพื่อมาตอบโจทย์รูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป
Zoom ผู้ให้บริการ Video Conference ที่เพิ่ง IPO เมื่อปีที่แล้ว เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่แนะนำค่อนข้างมาก ทั้งสำหรับการประชุมออนไลน์สำหรับองค์กรและการเรียนการสอนออนไลน์ แต่ทว่ายังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากนัก
บทความนี้จะพาไปรู้จัก Zoom และ Eric Yuan ผู้ก่อตั้งและซีอีโอกัน
Eric Yuan จากอดีตโปรแกรมเมอร์ WebEx สู่ผู้ก่อตั้ง Zoom
Eric Yuan เกิดที่มณฑลชานตงในจีน เรียนจบ ป.ตรี และ ป.โท ที่มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชานตง ก่อนจะย้ายมาอยู่สหรัฐ (เจ้าตัวเล่าว่ากว่าจะได้วีซ่าคือต้องขอถึง 9 ครั้ง) และทำงานกับ WebEx ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ประชุมออนไลน์ตั้งแต่ปี 1997 ก่อนถูก Cisco ซื้อในปี 2011 เขาทำงานจนเลื่อนตำแหน่งเป็นรองประธานฝ่ายวิศวกรรม (Corporate VP of Engineering) ดูแลโซลูชัน collaboration ในองค์กร
Yuan เล่าว่า WebEx ตอนนั้นปัญหาเยอะมาก เขาพยายามแก้ปัญหาด้วยการยกเครื่อง WebEx รวมถึงเอาคลาวด์โซลูชันมาใช้งานเบื้องหลัง แต่ติดปัญหาที่ Cisco ไม่เห็นด้วย เจ้าตัวพยายามอยู่หลายปีจนยอมแพ้และลาออกในปี 2011 มาตั้งบริษัท Zoom ของตัวเอง เขาใช้เวลา 2 ปีในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามที่ฝันไว้ จนสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2013
Zoom ตอนนั้นไม่ได้ต่างจากสตาร์ทอัพรายอื่นที่เกิดขึ้นในวงการ คือทำโซลูชันหรือเครื่องมือเพื่อแก้ปัญหาที่ผู้ใช้งานเจอจากบริการของบริษัทอื่น ๆ (ในที่นี้ก็คือ WebEx) โดยเฉพาะความรวดเร็วและความง่ายในการใช้งาน
Zoom ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายทั้งเรื่องความเสถียร ฟีเจอร์ และความสะดวก และเติบโตมาเรื่อย ๆ ก่อนเข้าขายหุ้น IPO เมื่อปีที่แล้ว ทำให้มูลค่ากิจการขึ้นไปถึงกว่า 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์
ภาพจาก Getty Image
Zoom vs WebEx
แม้ผู้ให้บริการประชุมออนไลน์ในตลาดมีอยู่หลายเจ้า แต่ WebEx ของ Cisco มักถูกนำมาเทียบกับ Zoom โดยตรงอยู่บ่อยครั้ง
เหตุผลส่วนหนึ่งเพราะบริการของ Zoom และ WebEx เป็นบริการประชุมออนไลน์แบบแยกเดี่ยว (standalone) ไม่พ่วงกับบริการอื่นแล้วขายเป็นชุดเหมือนกับ Google Hangouts หรือ Microsoft Teams/Skype
แม้จะไม่มีตัวเลขส่วนแบ่งตลาดระบบการประชุมทางไกลที่แน่ชัด แต่บริษัทวิจัยตลาดอย่าง Gartner ก็จัดให้ 2 เจ้านี้อยู่ในกลุ่มผู้นำ (Leader) บน Magic Quadrant ของ Meeting Solution (อีกรายในกลุ่มนี้คือ Microsoft)
ในแง่การใช้งานจริง เสียงตอบรับจากผู้ใช้งาน Zoom มักดูดีกว่าฝั่ง WebEx แม้ในแง่ฟีเจอร์จะไม่แตกต่างกันมากอย่างมีนัยสำคัญ แต่สิ่งที่ Zoom ได้รับคำชมมากกว่าคือเรื่องของ UX/UI ที่ Zoom เข้าใจได้ง่ายกว่า เริ่มใช้งานได้รวดเร็วกว่า ใช้งานได้ลื่นกว่า ความหน่วงเวลาประชุมต่ำและเสถียรกว่า WebEx
ในแง่ราคาทั้งสองเจ้าไม่แตกต่างกันมากและมีแพ็กเกจฟรีทั้งคู่ แต่ WebEx เหนือกว่าตรงที่ไม่จำกัดระยะเวลาในการประชุมในแผนฟรีแต่ Zoom จำกัดไว้ที่ 40 นาทีต่อครั้ง ส่วนแผนสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและกลาง WebEx จะถูกกว่าเล็กน้อย ส่วนระดับองค์กร (enterprise) Zoom จะถูกกว่าค่อนข้างมาก เลยเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่องค์กรใหญ่ ๆ มักเลือก Zoom มากกว่า WebEx
จากที่โตอยู่แล้วยิ่งโตแบบก้าวกระโดดจากไวรัส
เมื่อ work from home กลายเป็นนโยบายที่ถูกนำมาใช้งานเกือบทั่วโลกเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ Zoom ที่ค่อนข้างมีชื่อเสียงระดับหนึ่งอยู่แล้ว ถูกบอกต่อและแนะนำกันอย่างมาก ทั้งการใช้ทำงานและใช้สอนหนังสือ
ถ้าถามว่า Zoom โตแบบก้าวกระโดดแค่ไหนจากการแพร่ระบาดของไวรัส Bernstein Research บริษัทวิจัยตลาดเปิดเผยว่าจำนวนผู้ใช้ Zoom แบบ MAUs เพิ่มขึ้นเฉพาะปีนี้ (2 เดือนกว่า) อยู่ที่ 2.22 ล้านราย ขณะที่ปี 2019 ทั้งปี จำนวน MAUs ที่เพิ่มขึ้นอยู่ที่แค่ 1.99 ล้านรายเท่านั้น (แต่หากเทียบช่วงเวลาเดียวกันหรือก็คือช่วงต้นปีที่แล้ว MAUs ที่เพิ่มขึ้นมีแค่ 6.4 แสนคนเท่านั้น) ทำให้ตอนนี้ Zoom มี MAUs เฉลี่ยอยู่ที่ 12.92 ล้านคนแล้ว
ถึงแม้จำนวนผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นผู้ใช้ฟรี แต่นักวิเคราะห์ก็เชื่อว่า Zoom สามารถเปลี่ยนผู้ใช้ฟรีเหล่านี้ให้มาเป็นผู้ใช้งานแบบเสียเงินได้ไม่น้อย ด้านราคาหุ้นของ Zoom เมื่อเดือนที่แล้วพุ่งขึ้นถึง 40% จาก 76.30 ดอลลาร์เมื่อสิ้นเดือนมกราคมไปจบที่ 105 ดอลลาร์ตอนสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนตอนนี้อยู่ที่ราว 107 ดอลลาร์
อ้างอิง - Forbes (1 2), CNBC, Protocol |
# Amazon จัดส่งสินค้าสำคัญพวกของใช้, เวชภัณฑ์ก่อนสินค้าประเภทอื่น เพราะดีมานด์สูง
โรคระบาดและการบังคับกลายๆ ให้ทุกคนอยู่บ้านถือเป็นความท้าทายครั้งสำคัญของ Amazon และอีคอมเมิร์ซทุกเจ้า ล่าสุดทาง Amazon ออกกฎชั่วคราว จัดลำดับความสำคัญการส่งสินค้าใหม่ โดยจะจัดส่งสินค้าที่มีความต้องการสูงก่อน ดังนี้
ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก, ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ของใช้ในครัวเรือน, ผลิตภัณฑ์ดูแลความงาม ของใช้ส่วนตัว, ของชำ, สินค้าในภาคอุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์, อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง รวมถึงหนังสือด้วย โดยกฎใหม่จะบังคับใช้ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 5 เมษายน
โดยกฎใหม่นี้บังคับใช้กับโกดังจัดการสินค้าทั้งในสหรัฐฯ อังกฤษ และยุโรป รวมถึงผู้ชายบุคคลภายนอกด้วย โดย Amazon ระบุว่าสินค้านอกเหนือจากนี้จะปิดการจัดส่งชั่วคราว
ก่อนหน้านี้ Amazon ก็ประกาศจ้างคนเพิ่มเพื่อมาช่วยงานจัดการสินค้าและส่งของอีกแสนตำแหน่ง เพราะดีมานด์ช่วงนี้สูงขึ้นมากจริงๆ การออกมาตรการนี้มาช่วยให้พนักงานที่เหลืออยู่โฟกัสกับของที่จำเป็นต้องส่งก่อน ไม่รวมสินค้าประเภทอื่นที่อาจยังไม่มีความจำเป็นในตอนนี้
ที่มา - Amazon, Yahoo Finance |
# Discord ชวนเปิดห้องเรียนออนไลน์ แชร์จอได้ ไม่เกิน 50 คน ใช้ฟรี
Discord เป็นแอปแชทออนไลน์ฟรี ที่ใช้งานได้ทั้งบนคอม บนบราวเซอร์ และในมือถือ แท็บเล็ต ของทั้ง iOS และ Android มีระบบสร้างห้องแบบต้องถูกเชิญเข้ามาเท่านั้น ทั้งห้องแชทธรรมดา ห้องคุยเสียง หรือวิดีโอคอลได้สูงสุด 10 คน และมีฟังก์ชั่น Go Live แชร์หน้าจอให้คนอื่นดูได้ ที่ปกติจะแชร์ได้แค่กับ 10 คน แต่ไม่นานมานี้ Discord เพิ่งเพิ่มลิมิตให้เป็น 50 คนในช่วงวิกฤต COVID-19
ในช่วงกระแสทำงานจากที่บ้านแบบนี้ Discord จากที่เคยเป็นแอปพูดคุยที่ฮิตในหมู่เกมเมอร์ กลายเป็นอีกหนึ่งแอปที่น่าสนใจในการใช้งานเป็นห้องเรียนออนไลน์ ซึ่ง Discord เองก็ออกมาแนะนำวิธีการใช้เครื่องมือสำหรับการเรียนออนไลน์แล้วด้วย
Discord แนะนำให้ใช้ฟังก์ชั่นต่างๆ ให้เหมาะสมกับการเรียนได้ เช่น
ใช้ servers เหมือนเป็นห้องเรียนใหญ่ ที่สามารถส่งลิงก์เชิญนักเรียนเข้ามาได้
ใช้ channels แยกเป็นคลาสต่างๆ วิชาต่างๆ หรือแยกหัวข้อการพูดคุย
text channels หรือห้องแชทแบบพิมพ์ สามารถใช้เป็นห้องส่งไฟล์ ถกเนื้อหากันได้
voice channels สามารถใช้ร่วมกับฟังก์ชั่น Go Live เพื่อแชร์หน้าจอกับนักเรียน และคุยเสียงกันได้
ใครที่ใช้แอป Discord อยู่แล้ว สามารถดาวน์โหลด template ห้องเรียน ไปปรับแต่ง แล้วใช้ได้ทันที
ห้องเรียนเป็นแบบ invite only
หน้าตาของห้องเรียนจากใน template
การใช้ฟังก์ชั่น Go Live ทำการเรียนการสอน
ที่มา - Discord |
# โครงการ UBports เปลี่ยนชื่อ Unity 8 โครงการ GUI ลินุกซ์เป็น Lomiri
หากทุกท่านยังจำกันได้ โครงการ UBports ได้รับช่วงต่อการพัฒนา Ubuntu Touch และ Unity 8 ที่ Canonical ยุติการพัฒนาไปในปี 2017 ขณะนี้ โครงการ UBports ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อ Unity 8 รวมทั้งส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องเป็น Lomiri (อ่านว่า โล-มี-รี)
การเปลี่ยนชื่อครั้งนี้ไม่ได้มาจากแรงกดดันจาก Canonical หรือชุมชน Ubuntu แต่อย่างใด แต่มาจากความสับสนกับเอนจินเกม Unity และการ package Lomiri ไปยัง Debian และ Fedora ซึ่งการมีชื่อ Ubuntu ในส่วนประกอบต่างๆ อาจจะทำให้ดิสโทรไม่ยอมรับ package ดังกล่าว นอกจากนี้ ชื่อ Unity 8 ยังยาวเกินไปที่จะพูดบ่อยๆ ในการสนทนา
ส่วนประกอบต่างๆ ของ Lomiri ที่มีชื่อ Ubuntu หรือ Unity อยู่จะถูกเปลี่ยนชื่อให้เป็น Lomiri ยกเว้นบางส่วนที่ถูก package เข้าไปดิสโทรอื่นและมีการใช้งานในโครงการอื่นแล้ว สำหรับชื่อ Ubuntu Touch และส่วนประกอบอื่นที่ไม่มีชื่อ Unity หรือ Ubuntu จะยังอยู่เหมือนเดิม
ผู้ใช้โดยส่วนใหญ่จะไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนชื่อครั้งนี้ แต่ power user และนักพัฒนาบางส่วนอาจจะพบว่า API ภายในบางส่วนเปลี่ยนไป แต่ทางโครงการจะพยายามรักษาความเข้ากันได้ให้ได้มากที่สุด
ปัจจุบัน Ubuntu Touch มีผู้ใช้งานราว 5,000 คน (จากการประมาณการของผู้ก่อตั้งโครงการ UBports) โดยผู้ใช้ส่วนใหญ่อยู่ในยุโรป และยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ที่มา: UBports
ข้อมูลเปิดเผย: ผู้เขียนข่าวเป็นส่วนหนึ่งของทีมนักพัฒนาของ UBports แต่เขียนข่าวเป็นการส่วนตัว |
# Zoom บน Play Store โดนแห่รีวิว 1 ดาว อาจเกิดจากเด็กอยู่บ้านแล้วไม่อยากเรียนผ่านแอป
ปัญหา COVID-19 ทำให้การทำงานหรือเรียนจากที่บ้านถูกนำมาปรับใช้และ Zoom ผู้ให้บริการ Video Conferencing เป็นหนึ่งในแอปที่ถูกนำมาใช้งานค่อนข้างมากจากสารพัดข้อดี ทว่าล่าสุดคะแนนเรตติ้งบน Play Store ลดลงมาเหลือ 2.4 ดาวจากเดิมที่อยู่ราว ๆ 4.5
จากที่ไล่อ่านรีวิว ผู้ใช้ส่วนหนึ่งพบปัญหาในการใช้งานจริง ๆ อาจเกิดจากความหนาแน่นของจำนวนผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นพร้อมกัน อีกส่วนหนึ่งอาจเกิดจากเด็กนักเรียนมาแห่กดรีวิว 1 ดาว เพราะไม่พอใจที่ต้องเรียนทางไกลผ่านทางออนไลน์ หลังโรงเรียนปิดเพราะไวรัสระบาด คล้าย ๆ กับที่แอป Ding Talk ประสบในจีน
อย่างไรก็ตามคะแนนรีวิวบน iOS ของ Zoom ยังคงสูงอยู่ที่ 4.8 ก็ไม่แน่ใจว่าปัญหาที่ผู้ใช้แอนดรอยด์เจอ ผู้ใช้ iOS ไม่เจอ, แอปเปิลจัดการระงับการกดดาวน์โหวด หรือกลุ่มเด็กพร้อมใจกันกดดาวน์โหวดจริง ๆ
ที่มา - Play Store via Android Police |
# เฟซบุ๊กมีบั๊กปิดไม่ให้แชร์ข่าวลงหน้าฟีด ทั้งที่ไม่ผิดกฎแพลตฟอร์ม ไม่เข้าข่ายสแปม
ช่วงวันที่ผ่านมามีผู้ใช้งานเฟซบุ๊กพบว่ามีข้อผิดพลาดในการแชร์ข่าวสารลงในหน้าฟีด แชร์ข่าวจากสำนักข่าวและเว็บไซต์ข่าวไม่ได้ โดยเว็บไซต์ที่พบว่าแชร์ไม่ได้คือ Medium, Buzzfeed, USA Today, Business Insider, BuzzFeed, The Atlantic เป็นต้น โดยหน้าจอขึ้นคำเตือนว่าโพสต์ดังกล่าวผิดกฎ Community Standard
เนื้อหาข่าวที่แชร์ไม่ได้ มีทั้งข่าวที่เกี่ยวกับไวรัส และไม่เกี่ยวกับไวรัส จึงไม่แน่ใจว่าเนื้อหาดังกล่าวผิดกฎแพลตฟอร์มอย่างไร และข่าวที่แชรืก็ไม่ใช่ข่าวปลอมด้วย ซึ่งเฟซบุ๊กก็เป็นอีกแพลตฟอร์มที่ลดจำนวนคนคัดกรองเนื้อหาลง เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการทำงานที่บ้าน เช่นกันกับ YouTube และยังคงไม่ชัดเจนว่าข้อผิดพลาดดังกล่าวเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่คัดกรองลดลงหรือไม่
ล่าสุดเฟซบุ๊กกำลังแก้ปัญหา โดยบอกว่าเป็นบั๊กที่เกี่ยวกับระบบจัดการสแปม
ที่มา - TechCrunch, Business Insider |
# Adobe เปิดให้ลูกค้าสถาบันการศึกษาใช้งาน Creative Cloud ได้ฟรี ถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2020
Adobe ประกาศให้นักเรียน-นักศึกษา สามารถใช้งานโปรแกรมบน Creative Cloud ได้ฟรี เป็นการชั่วคราว จากเหตุ COVID-19 ที่ทำให้นักเรียน-นักศึกษาต้องอยู่บ้าน
ทั้งนี้สถาบันการศึกษาของผู้เรียนต้องสมัครเป็นลูกค้า Adobe ประเภท Education ส่วนสิทธิการใช้งานฟรีนั้นมีผลถึง 31 พฤษภาคม 2020 โดยไอดีที่อยู่ใต้การดูแลของบัญชีสถาบันการศึกษาจะสามารถใช้งานได้ฟรีทั้งหมดตามช่วงเวลาดังกล่าว จึงต้องตรวจสอบเพิ่มเติมกับสถาบันการศึกษาของตน
รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ Adobe |
# ทางการจีนยืนยัน ยารักษาไข้หวัดใหญ่ Avigan ของญี่ปุ่น ใช้ได้ผลกับ COVID-19
Zhang Xinmin ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยไบโอเทคแห่งชาติจีน แถลงข่าวเมื่อวานนี้ (17 มีนาคม) ระบุว่ายาต่อต้านไข้หวัดใหญ่ Favipiravir หรือชื่อการค้าแบรนด์ Avigan สามารถใช้รักษาไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ที่เป็นสาเหตุของโรค COVID-19 อย่างได้ผล จากการทดลองทางคลินิค (clinical trial) กับผู้ป่วยจำนวน 200 คนในอู่ฮั่นและเซินเจิ้น
ยาตัวนี้คิดค้นโดย Fujifilm Toyama Chemical บริษัทลูกในเครือ Fujifilm แบรนด์กล้องที่เรารู้จักกันดี มาตั้งแต่ปี 2014 และถูกใช้รักษาผู้ป่วยในญี่ปุ่นมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์แล้ว
บริษัทยา Zhejiang Hisun Pharmaceutical ของประเทศจีน เซ็นสัญญาสิทธิบัตรยาตัวนี้จาก Fujifilm มาตั้งแต่ปี 2016 และได้รับอนุญาตจากรัฐบาลจีนให้ผลิตยาแล้วเช่นกัน
หมายเหตุ: ยา Avigan เป็นข่าวมาสักระยะหนึ่งแล้ว อย่างไรก็ตาม บางประเทศอย่างเกาหลีใต้ "ยัง" ไม่แนะนำให้ใช้ยาตัวนี้ เพราะในอดีตเคยลองใช้แล้วมีผลข้างเคียง
ที่มา - Nikkei, Xinhua |
# GitHub Mobile ออกตัวจริง รีวิวโค้ดได้จากทุกที่
GitHub Mobile เปิดตัวตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว แต่เป็นรุ่นทดสอบที่ต้องสมัครเพื่อขอใช้งานในวงปิด วันนี้ทาง GitHub ก็ปล่อยตัวจริงให้ทุกคนใช้งานแล้วทั้ง iOS และ Android
ฟีเจอร์หลักของแอป คือ จัดการการแจ้งเตือนและ task ต่างๆ, ตอบคอมเมนต์, และการรีวิว pull request
ในช่วงทดสอบเบต้า กลุ่มผู้ทดสอบคอมเมนต์, รีวิว, และกดรับ pull request ผ่านแอปไปเกือบหนึ่งแสนรายการ แสดงให้เห็นว่าการใช้แอปน่าจะทำให้ GitHub เป็นชุมชนที่คึกคักขึ้น
ที่มา - GitHub |
# Google Translate เพิ่มฟีเจอร์ถอดเทปเสียงพูด รองรับภาษาไทย
กูเกิลประกาศเพิ่มฟีเจอร์ถอดเทปเสียงพูด (transcribe) ให้กับแอป Google Translate โดยก่อนหน้านี้มีเพียงฟีเจอร์แปลจากคำพูดเท่านั้น โดยรองรับ 8 ภาษา ได้แก่ อังกฤษ, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, ฮินดี, โปรตุเกส, รัสเซีย, สเปน, และไทย
ในโหมด transcribe ผู้ใช้จะสามารถพูดต่อเนื่องไปได้เรื่อยๆ โดยไม่ต้องกดอัดเสียงทีละประโยคอีกต่อไป คำพูดจะถูกถอดเสียงเป็นข้อความและแปลตามภาษาที่เราเลือกไว้ทันที
ก่อนหน้านี้กูเกิลเคยปล่อยฟีเจอร์ transcribe มาในแอป Recorder ที่ประมวลผลในโทรศัพท์ได้เลยแต่ก็ยังจำกัดเฉพาะโทรศัพท์ Pixel 2 ขึ้นไปเท่านั้น และรองรับเฉพาะภาษาอังกฤษ ส่วนฟีเจอร์ใน Google Translate นี้ไม่ได้จำกัดรุ่นโทรศัพท์แต่อย่างใด
กูเกิลจะปล่อยอัพเดตในไม่กี่วันข้างหน้า
ที่มา - Google Blog |
# ทีมวิจัยใช้ชิปสมองจำลองของอินเทล สร้างโมเดลตรวจจับกลิ่นแม้ฝึกเพียงไม่กี่ครั้ง
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย Cornell ร่วมมกับอินเทล สร้างโมเดลตรวจสอบหากลิ่นของสารเคมีอันตราย 10 ตัวบนชิป Loihi ที่จำลองการทำงานแบบสมองของมนุษย์
ความพิเศษของโมเดลนี้ คือการฝึกโมเดลสามารถทำได้แบบ "ทันที" นั่นคือชิปสามารถรับข้อมูลจากเซ็นเซอร์ที่รับสารที่ใช้ฝึกอย่างชัดเจนเพียงไม่กี่ครั้ง หลังจากนั้นโมเดลบนชิปยังคงสามารถตรวจสอบกลิ่นได้อย่างแม่นยำ แม้จะเจอสารเคมีเดิมในสภาพที่มีสัญญาณรบกวนสูง
สารเคมีที่ใช้ทดสอบกลิ่นรอบนี้ยังคงเป็นสารเคมีที่ตรวจสอบได้ง่าย เช่น อะซีโตน, แอมโมเนียร์, หรือมีเธน แต่ในอนาคตทีมวิจัยจะพัฒนาให้เข้าใจเช่นกลิ่นสตรอเบอรี่คนละพันธุ์ที่เคมีอาจจะต่างกันแต่ก็เป็นกลิ่นกลุ่มเดียวกัน
งานวิจัยตีพิมพ์ลงในวารสาร Nature Machine Intelligence
ที่มา - Intel |
# อินเทลออกแพ็กเกจช่วยพนักงานรับมือ COVID-19 จ่ายเงินพนักงานรายชั่วโมงเต็ม, ออกค่าพี่เลี้ยงเด็ก
อินเทลประกาศแนวทางรับมือกับโรค COVID-19 ในช่วงนี้ โดยให้พนักงานพยายามทำงานที่บ้านเท่าที่หน้าที่จะอำนวย และพนักงานที่ต้องเดินทางไปทำงานก็จะมีนโยบายทิ้งระยะห่างระหว่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการจำกัดคนในโรงอาหารหรือห้องประชุม โดยแนวทางนี้ก่อนหน้านี้ใช้เฉพาะสำนักงานอินเทลในจีนเท่านั้น
นอกจากแนวทางการทำงานแล้ว อินเทลยังออกมาตรการช่วยเหลือพนักงาน โดยพนักงานที่เคยได้ค่าจ้างรายชั่วโมงไม่ว่าจะเป็นพนักงานอินเทลเองหรือพันธมิตรภายนอก จะได้รับค่าจ้างเต็มไปอย่างน้อยอีกสองเดือน ส่วนพนักงานที่มีลูกหรือพ่อแม่สูงอายุแล้วโรงเรียนหรือบ้านพักคนชราปิด ทางอินเทลจะเปิดให้เบิกค่าผู้ดูแลได้ 15 วัน
แนวทางของอินเทลคล้ายกับของไมโครซอฟท์ก่อนหน้านี้มีขยายความช่วยเหลือไปยังพนักงานรายชั่วโมงเหมือนกัน
ที่มา - Intel |
# SRE ต้องดูทุกอย่าง กูเกิลเล่าประสบการณ์ดูแลศูนย์ข้อมูลพบเซิร์ฟเวอร์ "ล้อแตก"
Steve McGhee วิศวกรตำแหน่ง Solutions Architect เล่าถึงการทำงานของตำแหน่งงาน site reliability engineering (SRE) ใน Google Cloud โดยเล่าถึงเหตุการณ์เซิร์ฟเวอร์ load balancer หรือ GFE (Google front end) เริ่มทำงานผิดพลาด ทำให้ SRE ที่เข้าเวรได้รับการแจ้งเตือน
SRE ที่เข้าเวรดึงทราฟิกทั้งหมดออกจากเซิร์ฟเวอร์ที่มีปัญหาทันที จากนั้นไล่ตรวจสาเหตุตั้งแต่เน็ตเวิร์คไปจนถึงตัวเซิร์ฟเวอร์ พบข้อความแจ้งเตือนว่าเครื่องร้อนผิดปกติ ทำให้ซีพียูลดสัญญาณนาฬิกาลงเพื่อลดความร้อน เมื่อไล่ตรวจสอบกลุ่มเครื่องที่มีปัญหาพบว่าทั้งหมดอยู่ในตู้เดียวกัน ไม่มีปัญหากับเครื่องอื่น เมื่อไม่มีอะไรให้ตรวจสอบแล้ว SRE ก็แจ้งไปยังทีมจัดการฮาร์ดแวร์ ที่ส่งคนไปตรวจสอบเครื่อง และพบว่าตู้เซิร์ฟเวอร์ที่อัดเซิร์ฟเวอร์อยู่เต็มนั้น "ล้อแตก" จนทำให้เครื่องเอียง และระบบหล่อเย็นด้วยของเหลวไม่ทำงาน
ทีมฮาร์ดแวร์ซ่อมล้อและนำเซิร์ฟเวอร์กลับที่เดิม แต่งานของ SRE ยังคงทำต่อไปด้วยการตั้งคำว่าถามว่าปัญหานี้เกิดได้อย่างไร และแก้ไขได้อย่างไรบ้าง ทีมงานวิเคราะห์ว่ามีล้อที่มีความเสี่ยงแบบเดียวกันอยู่จำนวนเท่าใด และหลังจากนั้นก็ตัดสินใจส่งล้อชุดใหม่ออกไปซ่อมตู้เซิร์ฟเวอร์ทั้งหมดก่อนเกิดปัญหาอีก
McGhee สรุปแนวทางของ SRE ว่า "เหตุการณ์ที่ก่อปัญหาควรเป็นเหตุการณ์ใหม่" เสมอ ปัญหาทุกอย่างไม่ควรเป็นปัญหาที่เกิดซ้ำ และระบบตรวจสอบที่ครอบคลุม มีการความรับผิดชอบต่อปัญหาทำให้ศูนย์ข้อมูลมีเสถียรภาพมากขึ้น
ที่มา - Google Cloud Blog |
# WhatsApp เริ่มทดสอบระบบข้อความทำลายตัวเองสำหรับแชทระหว่างบุคคล
WhatsApp เริ่มทดสอบระบบข้อความทำลายตัวเองมาตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว ซึ่งก่อนหน้านี้เริ่มทดสอบกับข้อความแบบกลุ่มก่อน แต่ตอนนี้ WhatsApp เริ่มทดสอบฟีเจอร์นี้กับแชทแบบคนต่อคนแล้ว
ในช่วงเบต้า ผู้ใช้จะต้องสร้างห้องแชทลับขึ้นมาใหม่กับคนที่ต้องการคุย และจะต้องตั้งเวลาว่าจะให้แชทนี้อยู่นานเท่าไร (ตอนนี้กำหนดได้ 1 ชั่วโมง, 1 วัน, 1 สัปดาห์, 1 เดือน, 1 ปี หรือไม่ทำลายตัวเองเลย ให้ข้อความคงอยู่ตลอดไป) ซึ่งการตั้งค่านี้จะมีผลกับข้อความทั้งหมดที่ส่งผ่านห้องนั้น ๆ ไม่สามารถตั้งเป็นรายข้อความได้
ตอนนี้ฟีเจอร์นี้อยู่ระหว่างการทดสอบซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ และยังไม่มีรายงานว่า WhatsApp จะปล่อยฟีเจอร์นี้เป็นเวอร์ชันจริงเมื่อไร
ที่มา - WABetaInfo, The Next Web |
# Story of Seasons: Friends of Mineral Town ภาษาอังกฤษเตรียมขาย 10 กรกฎาคมนี้
ก่อนหน้านี้ Marvelous Games สตูดิโอที่เคยพัฒนา Harvest Moon ได้เปิดตัว Story of Seasons: Friends of Mineral Town ในเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่นบน Nintendo Switch ซึ่งก็มีเสียงเรียกร้องมานานให้ทำภาคภาษาอังกฤษ
ล่าสุดทางสตูดิโอได้ประกาศเปิดตัว Story of Seasons: Friends of Mineral Town ภาคภาษาอังกฤษแล้ว โดยมีตัวเลือกภาษาฝรั่งเศส, เยอรมนีและสเปนเข้ามาด้วย และจะจำหน่ายในวันที่ 10 กรกฎาคมนี้
Story of Seasons: Friends of Mineral Town เป็นเกมที่ถูกรีเมคจากเวอร์ชัน Gameboy Advance ที่เป็นเหมือนการยกเกม Harvest Moon: Back to Nature หนึ่งในภาคที่ดีที่สุดตลอดกาลของ Harvest Moon มาทำใหม่ เป็นสาเหตุให้เกิดกระแสเรียกร้องเวอร์ชันภาษาอังกฤษค่อนข้างมากด้วย
ที่มา - Marvelous Games |
# Uber ปิดบริการแชร์รถคันเดียวกันในสหรัฐฯและแคนาดาชั่วคราว ลดความเสี่ยงโรค COVID-19
Uber มีบริการ Uber Pool หรือการที่ระบบจับคู่ผู้โดยสารที่เรียกรถทางเดียวกันไปด้วยกันให้ ถือว่าประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้นสำหรับผู้โดยสาร แต่คงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนักในช่วงโรคระบาด ล่าสุด Uber ประกาศระงับการใช้งาน Uber Pool ในสหรัฐฯและแคนาดาชั่วคราว บริการเรียกรถปกติ และ Uber Eats ยังคงให้บริการตามปกติ
ด้าน Lyft บริการเรียกรถที่มีทางเลือกแชร์รถคันเดียวกันด้วยนั้น ยังไม่มีมาตรการอะไรออกมา
ที่มา - Mashable |
# นักระบาดวิทยานำความรู้จากการวิจัยโรคระบาดในเกม WoW มาปรับใช้ สู้ COVID-19
ปี 2005 ได้เกิดเหตุการณ์ที่เหมือนกับโรคระบาดในเกม World of Warcraft ที่เกิดมาจากบั๊กของสถานะ Corrupted Blood หรือสถานะติดเชื้อในกระแสเลือด ที่เป็น debuff ติดจากการตีบอสใน raid ที่มีชื่อว่า Zul'Gurub หลุดออกมาในเมือง และสามารถติดต่อจากผูุ้เล่นหรือสัตว์เลี้ยงไปยังผู้เล่นคนอื่นได้ ทำให้เชื้อนี้แพร่ระบาดไปในวงกว้างและทำให้ผู้เล่นเลเวลน้อยๆ ตายได้อย่างรวดเร็ว จนมีซากกระดูกกองเต็มเมืองไปหมด
ที่น่าสนใจจากเหตุการณ์นั้นคือก่อนที่ GM จะแก้บั๊ก ได้มีการกักกันตัวผู้เล่นที่ติดสถานะ Corrupted Blood ออกจากผู้เล่นคนอื่น (quarantine) แต่ก็ไม่แคล้วมีคนที่ไม่แคร์โลก ออกมาจากสถานกักกันและเดินแพร่เชื้อหรือสถานะผิดปกติจนทำให้สถานการณ์เลวร้ายขึ้นเรื่อยๆ และไม่สามารถหยุดการระบาดได้ จนเป็นเหตุผลในท้ายที่สุดต้องมีการรีเซ็ตเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมด สถานการณ์ถึงจะกลับสู่ปกติ
ภาพจาก Blizzard
พฤติกรรมในช่วงที่เกิดโรคระบาดข้างต้นถูกนำไปศึกษาต่อเป็นจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือ Dr. Eric Lofgren และ Dr. Nina Fefferman นักวิจัยโรคระบาดได้เขียนงานวิจัยเปรียบเทียบพฤติกรรมระบาดในเกม และโลกความจริง เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมมนุษย์และนำมาปรับใช้ในการรับมือกับโรคระบาดในอนาคต
ปัจจุบัน Dr. Eric Lofgren ทำงานอยู่ที่ Washington State University หนึ่งในรัฐที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 หนักที่สุดในสหรัฐอเมริกา และเขากล่าวว่าประสบการณ์ในการวิจัยเหตุการณ์ Corrupted Blood เป็นประโยชน์ต่อการจัดการกับ COVID-19 เป็นอย่างมาก ทั้งในด้านการทำความเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ อาทิพฤติกรรม ‘griefing’ หรือการตั้งใจป่วนเกม ที่มีผู้เล่นตั้งใจนำโรคนี้ไปติดคนในเมืองอื่นๆ และนำมาเทียบกับพฤติกรรมของมนุษย์ ที่อาจมีทั้งการตั้งใจให้โรคไปติดคนอื่น หรือเพียงแค่ไม่สนใจเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตตัวเอง และรับมือกับกลุ่มคนเหล่านี้ได้ดีขึ้น
ส่วน Dr. Nina Fefferman ผู้เขียนร่วมของงานวิจัย ที่ทำงานอยู่ ณ University of Tennessee ในปัจจุบันก็กล่าวว่างานวิจัยที่เธอเคยร่วมทำ มีส่วนสำคัญมากในการช่วยทำความเข้าใจในด้านผลกระทบต่อสังคมที่เกิดต่อการระบาดเช่นเดียวกัน จากการศึกษาการพูดคุยในช่องแชท ในช่วงเหตุการณ์ Corrupted Blood และนำมาเปรียบเทียบกับการกระจ่ายข่าวสารทางโซเชียลมีเดีย และการตัดสินใจของคนหมู่มาก ในเหตุการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 ในปัจจุบัน
Dr. Eric Lofgren ภาพจาก Washington State University | Dr. Nina Fefferman ภาพจาก The University of Tennessee
World of Warcraft Classic จะนำภารกิจ Raid ที่มีชื่อว่า Zul'Gurub ต้นตอของการระบาด Corrupted Blood กลับมาให้เล่นกันในอัปเดตใหม่เดือนเมษายนนี้
ที่มา - PC Gamer |
# Tencent ให้ใช้ Tencent Cloud Meeting ฟรี ประชุมออนไลน์รองรับสูงสุด 300 คน
Tencent มีโซลูชั่น Tencent Cloud Meeting เป็นบริการประชุมออนไลน์สำหรับใช้งานในองค์กร โดยทางบริษัทเปิดให้ใช้งานฟรีในช่วงโรค COVID-19 ระบาด และหลายบริษัทเริ่มออกมาตรการทำงานจากที่บ้าน
Tencent ระบุว่า Tencent Cloud Meeting สามารถครอบคลุมระยะเวลาการประชุมได้นานสูงสุด 9,999 นาที รองรับผู้เข้าประชุมได้มากสุด 300 คน เชื่อมต่อกับปฏิทินสำหรับจัดตารางงาน และเชื่อมต่อไปยังมือถือได้ ระบบเสียงมี AI ช่วยจัดการให้เสียงคมชัด ลดเสียงรบกวนและเสียงพิมพ์แป้นคีย์บอดร์ดด้วย
ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึง Tencent Cloud Meeting ได้หลากหลายอุปกรณ์ทั้งคอมพิวเตอร์ มือถือ แท็บเล็ต ในระบบปฏิบัติการใดก็ได้ ทั้ง iOS, macOS, Andriod, Windows ใช้เบอร์มือถือเพื่อลงทะเบียนใช้งานได้ หรือสแกน QR Code ผ่าน WeChat เพื่อเข้าใช้งานก็ได้
ภาพจาก Tencent
ที่มา - ข่าวประชาสัมพันธ์ |
# Rancher ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ Kubernetes ระดมทุนเพิ่มอีก 40 ล้านดอลลาร์
Rancher Labs บริษัทผู้พัฒนาดิสโทร Kubernetes ประกาศรับทุนรอบที่ 4 (series D) รวมมูลค่า 40 ล้านดอลลาร์ รวมทุนทั้งหมดที่ได้มา 95 ล้านดอลลาร์
Rancher นับเป็นผู้ผลิตซอฟต์แวร์ Kubernetes ที่โดดเด่นขึ้นมาในช่วงหลัง Rancher Kubernetes นั้นมีจำนวนการกด star บน GitHub ถึง 13,800 ครั้ง มากกว่าโครงการ OKD ของ Red Hat เกือบเท่าตัว และยังมี k3s ที่เป็นดิสโทรขนาดเล็ก ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน การกดดาวมากถึง 11,900 ครั้ง ในแง่รายได้ Rancher กำลังเติบโตสูงโดยปีที่แล้วรายได้เพิ่มขึ้น 169%
ผู้ลงทุนหลักคือ Telstra Ventures บริษัทลงทุนของ Telstra เครือข่ายโทรศัพท์มือถือในออสเตรเลีย โดย Rancher ระบุว่า Kubernetes จะเป็นบริการสำคัญของ 5G เช่นโครงการจัดการเครือข่าย ONAP ก็ติดตั้งบน Rancher เป็นมาตรฐาน
ทาง Rancher ระบุว่าเงินที่ได้จะนำไปใช้ขยายตลาดทั้งเปิดตลาดในอุตสาหกรรมใหม่ๆ และขยายไปยังประเทศใหม่ๆ เพิ่มเติม
ที่มา - Rancher |
# AIS/AIS Fibre ออกแพ็ก work from home ใช้ Office 365, Zoom ไม่เสียดาต้า
AIS และ AIS Fibre ออกแพ็กเก็จ Working From Home สำหรับผู้ใช้ทั่วไปและองค์กรสำหรับช่วงปรับตัวแก้ปัญหาการแพร่กระจายของไวรัสช่วงนี้ โดยทุกแพกเกจที่เป็น 4G/5G สามารถใช้งาน Office 365 และ Zoom ได้โดยไม่เสียดาต้า
นอกจากนี้ AIS ยังร่วมมือกับไมโครซอฟท์ประเทศไทย ให้ทดลองใช้ Office 365 แผน E1 ฟรี 6 เดือนด้วย ส่วนแพ็กเกจ AIS ใหม่มีดังนี้
แพ็กเกจ Unlimited Work Anywhere แพ็กเกจ on-top จากแพ็กปกติ อยู่ได้นาน 3 เดือนหลังสมัคร (สมัครได้ถึงมิถุนายนนี้)
Unlimited Work Anywhere ใช้งาน Office 365 และ Zoom ไม่เสียดาต้า 99 บาทต่อเดือน
Unlimited Next G Max Speed 50 GB แพ็กเกจรายเดือน 449 บาท ใช้เน็ตได้ 50GB ต่อเดือน ใช้งาน Office 365 และ Zoom ไม่เสียดาต้า
5G/4G Fixed Wireless Access เปลี่ยนบ้านให้เป็นโฮมออฟฟิศ
5G Home Broadband แพ็กเกจ 559 บาท ใช้เน็ต 5G สูงสุด 50GB และ 4G สูงสุด 100GB จากนั้นใช้เน็ตต่อเนื่องไม่อั้นที่ความเร็ว 10 Mbps ใช้งาน Office 365 และ Zoom ไม่เสียดาต้า พร้อมเราเตอร์ รองรับทั้งเครือข่าย 5G และ 4G ในราคาพิเศษ 8,900 บาท (จากปกติ 12,900 บาท)
4G Home Broadband แพ็กเกจเหมาจ่าย 2,990 บาท/ปี (จากปกติ 4,990 บาท) ใช้เน็ตไม่จำกัดความเร็วได้ 50GB ในเดือนแรกและใช้เน็ตต่อเนื่องที่ความเร็ว 4Mbps นาน 1 ปี ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
Fibre Working from Home เปลี่ยนบ้านให้เป็นโฮมออฟฟิศความเร็วสูง
สำหรับลูกค้า AIS Fibre แพ็กเกจ 699 บาทขึ้นไป สามารถสมัคร Speed Boost ราคา 99 บาท เพิ่มสปีดเป็น 1 Gbps / 200 Mbps
สำหรับลูกค้า AIS Fibre แพ็กเกจต่ำกว่า 699 บาท สามารถสมัคร Speed Boost 59 บาท เพิ่มสปีดเป็น 300 Mbps / 300 Mbps
นอกจากนี้ยังมีโซลูชัน Virtual Desktop Infrastructure สำหรับพนักงานออฟฟิศสามารถรีโมทเข้าแอปและเครือข่ายในองค์กรได้ทุกที่และ Corporate Internet Bandwidth on Demand ปรับสปีดและแบนด์วิธองค์กรได้ตามต้องการ
แพ็กเกจทั้งหมดยังไม่ได้เปิดให้ซื้อตอนนี้ แต่หากสนใจสามารถดูรายละเอียดและลงทะเบียนก่อนได้ที่นี่
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์ |
# Capcom เตรียมปล่อยเดโม Resident Evil 3 Remake วันที่ 19 มีนาคมนี้ ไม่จำกัดเวลา
Capcom ประกาศวันปล่อยเดโมของ Resident Evil 3 Remake แล้วเป็นวันที่ 19 มีนาคมนี้ทั้งบน Xbox One, PlayStation 4 และพีซี โดยทาง Capcom ยืนยันว่าเดโมจะไม่มีการจำกัดเวลา สามารถเล่นได้กี่ครั้งก็ได้ นอกจากนี้ยังประกาศเปิดโอเพนเบต้าของ Resident Evil Resistance วันที่ 27 มีนาคมนี้
Resident Evil 3 Remake วางขายจริง 4 เมษายนนี้
ที่มา - Capcom |
# AMD ท้าชน Intel ออก Ryzen 9 4900H และ 4900HS สำหรับโน้ตบุ๊คเกมมิ่ง
AMD เปิดตัว CPU สถาปัตยกรรม Zen 2 (7 นาโนเมตร) อีกสองรุ่นคือ Ryzen 9 4900H และ Ryzen 9 4900 HS เพื่อมาท้าชน Intel ในตลาดโน้ตบุ๊คเกมมิ่ง โดยพุ่งเป้าชนกับ CPU ตระกูล Core i9
Ryzen 9 4900H มี 8 แกน 16 เธร็ด คล็อคพื้นฐาน 3.3GHz เร่งสูงสุดได้ 4.4GHz กับแคช 12MB อัตรา TDP อยู่ที่ 45W และคล็อคกราฟฟิกที่ 1750MHz เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับ Ryzen รหัส 4900H อีกสองรุ่น จะเป็นดังนี้
Ryzen 9 4900H: 8-core/16-thread, 4.4 / 3.3GHz, 12MB, 1750MHz, 45W TDP
Ryzen 7 4800H: 8-core/16-thread, 4.2 / 2.9GHz, 12MB, 1600MHz, 45W TDP
Ryzen 5 4600H: 6-core/12-thread, 4.0 / 3.0GHz, 11MB, 1500MHz, 45W TDP
ส่วน Ryzen 9 4900HS เป็นชิปที่สร้างขึ้นมาเพื่อโน้ตบุ๊คที่สร้างตาม HS Design Standard ของ AMD หรือเป็นโน้ตบุ๊คแบบบางเบา หนาไม่เกิน 20 มิลลเมตร เช่น Asus ROG Zephyrus G14 ก็เป็นหนึ่งในโน้ตบุ๊คที่สร้างตามมาตรฐานนี้
ภาพจาก AMD
Ryzen 9 4900HS จะมี 8 แกน 16 เธร็ด คล็อคพื้นฐาน 3.0GHz เร่งสูงสุดได้ 4.3GHz แคช 12MB คล็อคกราฟฟิกที่ 1750MHz และอัตรา TDP ที่ 35W เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับ รหัส 4900HS อีกสองรุ่น ก็จะเป็นดังนี้
Ryzen 9 4900HS: 8-core/16-thread, 4.3 / 3.0GHz, 12MB, 1750MHz, 35W TDP
Ryzen 7 4800HS: 8-core/16-thread, 4.2 / 2.9GHz, 12MB, 1600MHz, 35W TDP
Ryzen 5 4600HS: 6-core/12-thread, 4.0 / 3.0GHz, 11MB, 1500MHz, 35W TDP
ชิปใหม่ทั้งสองตัวจะมาพร้อมกับเทคโนโลยี SmartShift ปรับการให้พลังงานในส่วนกราฟฟิก และตัวประมวลผลหลักโดยอัตโนมัติตามความต้องการของเกมที่เล่น
ภาพจาก AMD
AMD ยังไม่ได้ปล่อยชิปใหม่นี้ออกมาให้สื่อแต่ละเจ้าได้ทำการทดสอบกัน แต่อ้างว่า Ryzen 9 4900HS ทำคะแนนการทดสอบแบบ multi-threaded บน Cinebench R20 ได้ดีกว่า Core i9-9880H ถึง 28 เปอร์เซ็นต์ และสามารถเล่นเกมเช่น Far Cry 5, Rise of The Tomb Raider และ League of Legends ได้มากกว่า 60 เฟรมต่อวินาที เมื่ออยู่บนโน้ตบุ๊คที่มีการ์ดจอ RTX 2060 Max-Q
ในงานเปิดตัว AMD แถลงว่าโน้ตบุ๊คที่ใช้ชิป Ryzen 9 ทั้งสองตัว จะเริ่มวางขายในช่วงฤดูใบไม้ผลิปีนี้ (ปลายเดือนมีนาคมถึงปลายเดือนมิถุนายน) แต่ยังไม่แจ้งวันที่ชัดเจน
ที่มา - Gizmodo |
# ข้อมูลใหม่ iPhone รุ่นราคาประหยัด จะออกมา 2 ขนาดหน้าจอ เรียก iPhone 9 และ iPhone 9 Plus
เว็บ 9to5Mac อ้างข้อมูลจากรายละเอียดในโค้ดของ iOS 14 พบว่าแอปเปิลมี iPhone รุ่นที่ชูจุดขายราคาถูก โดยจะออกมาสองรุ่นคือ iPhone 9 และ iPhone 9 Plus เพื่อเป็นรุ่นถัดจาก iPhone 8 และ iPhone 8 Plus
ข้อมูลก่อนหน้านี้ระบุว่า iPhone รุ่นดังกล่าว ซึ่งเรียกว่า iPhone SE2 จะมีขนาดหน้าจอ 4.7 นิ้ว ขนาดเดียว ใช้การออกแบบเหมือน iPhone 8 แต่ข้อมูลใหม่นี้บอกว่าจะมี iPhone 9 Plus หน้าจอ 5.5 นิ้ว ออกมาคู่กันด้วย ส่วนถึงเวลาจริงแอปเปิลจะใช้ชื่อใดทำการตลาดก็ต้องรอดูกันอีกที
ส่วนข้อมูลสเป็กนั้นไม่มีอะไรใหม่ iPhone 9 และ iPhone 9 Plus จะใช้ชิป A13 Bionic แบบเดียวกับ iPhone 11 รองรับการทำงาน Touch ID จึงอาจถูกใจคนที่ใช้ iPhone 6 และ iPhone 7 ในการเลือกอัพเกรด
ที่มา: 9to5Mac |
# Star Wars: Battlefront 2 แจก XP คูณ 2 ตลอดช่วงกักตัวอยู่บ้านเพราะ COVID-19
หลังจากที่มีคนเล่นมุกในเว็บไซต์ Reddit ว่าในช่วงกักตัวอยู่บ้าน บริษัทเกมออนไลน์ทั้งหลาย น่าจะแจก XP คูณ 2 ทุกวันไปเลย คนจะได้เล่นเกมกันได้ไม่เบื่อ ก็มีเสียงตอบรับจากทีมผู้พัฒนา Star Wars: Battlefront 2 ที่ตัดสินใจเพิ่มค่า XP เป็น 2 เท่า จนถึงวันที่ 27 มีนาคม และหลังจากนั้นก็จะเพิ่มค่า XP เป็น 3 เท่า ในช่วงสุดสัปดาห์
Ben Walke ผู้ดูแลชุมชนผู้เล่นของเกมนี้ ได้กล่าวบนทวิตเตอร์ว่า “ยังไงก็ต้องมีคนติดอยู่บ้านอยู่แล้ว เราคงไปเปลี่ยนโลกไม่ได้ แต่เราทำให้การเล่นเกมของพวกเขาสนุกขึ้นได้”
หลังจาก Star Wars: Battlefront 2 ออกมาประกาศเรื่องนี้ ก็เริ่มมีเกมเมอร์ที่อยากให้เกมอื่นเช่น Fortnite และ Call of Duty เพิ่มค่า XP เป็นสองเท่า ในช่วงกักตัวอยู่บ้านเช่นเดียวกัน
ที่มา - Kotaku |
# เปิดตัวจอยใหม่ Xbox Series X จับถนัดมือขึ้น แต่ใช้ถ่าน AA เหมือนเดิม
หลังจากที่ Xbox Series X เปิดตัวสเปกเครื่องแบบเต็มไปเมื่อวาน ก็มีบทความเปิดเผยรูปลักษณ์ใหม่ ของคอนโทรลเลอร์ที่จะมาพร้อมกับตัวเครื่องตามมาบนเว็บไซต์ของ Xbox โดยเป็นบทสัมภาษณ์ของ Ryan Whitaker นักออกแบบอาวุโสของ Xbox
ในบทความ Ryan ได้พูดถึงว่าจอยใหม่ตัวนี้ ถูกออกแบบมาเพื่อให้จับถนัดมือผู้เล่นมากขึ้น โดยเขาใช้มือของเด็กอายุ 8 ขวบ เป็นพื้นฐานในการออกแบบ แต่ก็ต้องเป็นดีไซน์ที่ผู้ใหญ่สามารถจับได้ถนัดมือเช่นกัน โดยเขาใช้การปรับด้ามจับให้เข้ารูปมากขึ้น ปรับปุ่มบนหัวไหล่ (LB, RB) ของตัวจอยให้กลมขึ้น และปรับลดขนาดของปุ่มและเพิ่มความโค้งมนของปุ่ม triggers (LT, RT) มากขึ้น
นอกจากนี้ ยังมีการปรับปุ่ม D-pad ให้เป็นดีไซน์คล้ายกับบนจอยแบบ Elite โดยจะให้ความแม่นยำทั้งการกดแบบสี่ทิศทาง บน ล่าง ซ้าย ขวา การกดปุ่มแนวทแยง และการลากนิ้ว เช่นการกดท่าต่างๆ ในเกมต่อสู้ พร้อมกับมีรอยบุ๋มตรงกลาง ให้ผู้เล่นได้มีที่วางนิ้วในขณะที่ไม่ได้กดปุ่ม และยังเพิ่มปุ่ม Share เข้ามา เพื่อให้ผู้เล่นอัดวิดีโอ หรือถ่ายรูปหน้าจอเพื่อนำไปแชร์ในช่องทางโซเชียลได้ง่ายขึ้น
ตัวจอยใช้เทคโนโลยี Bluetooth LE ในการเชื่อมต่อ มีระบบ Dynamic Latency Input ที่จะส่งสัญญาณที่ตัวจอย ในระดับความถี่เดียวกับสัญญาณภาพเพื่อลด latency ในการควบคุมได้หลายมิลลิวินาที (ms) และมีช่องชาร์จแบบ USB-C
ถึงแม้จะมีช่องชาร์จ USB-C อย่างที่กล่าว ตัวจอยก็ยังใช้ถ่าน AA สองก้อน เป็นหลักอยู่ แต่ผู้เล่นจะสามารถซื้อเซ็ตแบตเตอรี่แบบชาร์จ พร้อมอุปกรณ์ชาร์จภายนอกในชุด Play & Charge Kit ของ Xbox หรือจะใช้ถ่านชาร์จ AA ทั่วไปก็ได้
โดยวิธีนี้ มีเกมเมอร์หลายคนมองว่าล้าหลัง แต่เกมเมอร์บางส่วนก็มองว่าเป็นวิธีที่ดีกว่าการต้องส่งจอยเข้าศูนย์ทุกครั้งที่แบตเตอรี่เสื่อมแบบใน PS4 และการที่มีแบตเตอรี่สำรอง ที่พร้อมหยิบมาเปลี่ยนได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องรอเอาจอยไปชาร์จใหม่ ก็อาจจะสะดวกสบายกว่าเช่นกัน
Xbox Series X ยังไม่มีวันวางจำหน่ายที่แน่นอน หลายสำนักคาดการณ์ว่าอาจจะเป็นช่วงปลายปี 2020 แต่เนื่องจากวิกฤต COVID-19 อาจทำให้วันวางจำหน่ายเปลี่ยนแปลงได้ ต้องติดตามกันต่อไป
ที่มา - Xbox, Game Rant |
# คนแห่ซื้อของออนไลน์กักตุน ห้างออสเตรเลียจำกัดให้ส่งสินค้าเฉพาะพื้นที่ห่างไกลเท่านั้น
Coles เชนห้างในออสเตรเลียเจอปัญหาคนสั่งของจากออนไลน์เพื่อกักตุนของเยอะเกินไป ทางห้างจึงแก้ปัญหาด้วยการจำกัดการส่งของเฉพาะคนที่อยู่ไกลเท่านั้น
Coles ยกเลิกการส่งของผ่านบริการส่งของ Uber Eats และยกเลิกการสั่งของออนไลน์ชั่วคราว และจะใช้รถตู้ในเครือข่ายของห้างส่งของให้คนที่อยู่ไกลจากพื้นที่และคนที่มีความต้องการสินค้าจริงๆ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุเรื่องปริมาณสินค้าในห้างลดลงด้วย ก่อนหน้านี้ทางห้างก็จำกัดจำนวนการซื้อออนไลน์ต่อคน ในสินค้าสำคัญอย่างพวกทิชชู่ แป้งพาสต้า ไข่ เจลล้างมือ
ที่มา - IT News, Coles |
# Storage Made Simple with IBM FlashSystem
ลูกค้าองค์กรแต่ละที่มีการเก็บข้อมูลที่แตกต่างกัน ใช้แอปพลิเคชั่นที่แตกต่างกัน ทำให้ต้องการสตอเรจที่แตกต่างกันในเรื่องความเร็ว ขนาดข้อมูล การเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ฟีชเจอร์ฟังก์ชั่นและความทนทาน
องค์กรส่วนใหญ่ใช้สตอเรจต่างรุ่นต่างแบรนด์ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานข้อมูล ทำให้เกิดความซับซ้อนในการใช้งาน เช่น
มีฟังก์ชั่นที่ใช้งานในแต่ละเครื่องก็แตกต่างกันไป
การบริหารจัดการและวิธีแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกัน
API ที่ใช้และการกำหนดนโนบายการทำงานที่แตกต่างกัน
การเชื่อมต่อคลาวด์และ Container, VMware ด้วยวิธีที่แตกต่างกัน
สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความซับซ้อนและเพิ่มค่าใช้จ่าย และลดประสิทธิภาพการบริหารจัดการสตอเรจ
“Everything should be made as simple as possible, but not simpler.” Albert Einstein
IBM ใช้แนวทางที่แตกต่างโดยทำให้ IBM FlashSystem เป็นสตอเรจแพลตฟอร์มเดียว สร้างมาเพื่อลดความซับซ้อนของโครงสร้างพื้นฐานสตอเรจ ลดความซับซ้อนในการใช้งาน ดูแลระบบ และลดค่าใช้จ่าย ในขณะที่ยังคงความเป็นเอ็นเตอร์ไพรสสตอเรจ และมีคุณสมบัติเด่น 6 ประการดังนี้
Single approach to extraordinary data availability ไอบีเอ็ม FlashSystem มีทนทานระดับ 99.9999% และรองรับการสำรองข้อมูลระหว่างไซต์ได้ถึง 3 โซต์ และทำ airgap snapshot เพื่อลดความเสี่ยง malware และการโจมตีทางไซเบอร์
ใช้ APIs ในการสนับสนุนการทำงานแบบ Virtualization, Containerization และไฮบริดคลาวด์
สามารถทำ Data Encryption ได้จาก GUI ของเครื่อง ลดความยุ่งยากและค่าใช้จ่ายในการปกป้องข้อมูล
FlashSystem มี Storage Insight เป็น AI ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลการใช้งานเชิงลึก แนะนำปรับแต่งการใช้งานเพื่อการทำงานที่ดีที่สุด รวมถึงทำให้แก้ไขปัญหาได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
FlashSystem ใหม่คือ software defined storage ซึ่งใช้ Spectrum Virtualize เป็นซอฟแวร์จัดการระบบตั้งแต่รุ่นเล็กถึงรุ่นใหญ่ ช่วยห้จัดการข้อมูลง่ายขึ้น ไม่ยุ่งยาก ย้ายข้อมูลข้ามเครื่องหรือไปยังคลาวด์ก็ทำได้ง่าย ลดเวลาในการเรียนรู้ และดูแลเครื่อง มีฟังก์ชั่นทำงานหลากหลายเหมาะกับการใช้งาน
มี Data Deduction สูงสุดถึง 5เท่า เช่น Inline compression, deduplication และอื่นๆ โดยมีการรับประกันการทำงานอีกด้วย
พบกับ IBM new FlashSystem Family ได้ตั้งแต่วันนี้ !!!
โปรโมชันใหม่ !!
ฟรี! Oracle Database and SAP Performance Assessment จาก IBM
IBM ช่วยคุณได้ ด้วยการทำ Oracle Database และ SAP Performance Assessment เพื่อประเมินการทำงานของระบบ และทราบถึงสาเหตุที่ทำให้ระบบทำงานช้ารวมถึงแนะนำวิธีการแก้ไข
สำหรับองค์กรที่ใช้ Oracle Database, SAP และ SAP HANA
ถ้าคุณใช้งาน Oracle Database แล้วระบบทำงานช้า
ทำ Report ใช้เวลานานหลายชั่วโมง
ทำการปิดวัน (Day End) ไม่เคยทัน
ต้องการเพิ่มความเร็วระบบ ERP เช่น SAP แต่ยังไม่พร้อมจะไป SAP HANA
ใช้ SAP HANA แต่ระบบยังทำงานช้าอยู่
IBM ช่วยคุณได้ ด้วยการทำ Oracle Database และ SAP Performance Assessment เพื่อประเมินการทำงานของระบบ และทราบถึงสาเหตุที่ทำให้ระบบทำงานช้ารวมถึงแนะนำวิธีการแก้ไข
วันนี้ถึง 30 พฤษภาคม 2563 : ติดต่อสอบถาม บริษัท คอมพิวเตอร์ยูเนี่ยน จำกัด
โทร 02-311-6881 #7151, 7156 l Email : [email protected] |
# Visual Studio 2019 เวอร์ชัน 16.5: แปลง if เป็น switch อัตโนมัติ, Xamarin Hot Reload
นอกจาก .NET 5 Preview 1 วันนี้ไมโครซอฟท์ปล่อยของสายนักพัฒนามาหลายตัว ของใหญ่อีกตัวที่ออกมาคือ Visual Studio 2019 version 16.5 ซึ่งเป็นรุ่นอัพเดตย่อยตัวที่ 5 ของ VS2019 (ไมโครซอฟท์ออกรุ่นย่อยทุก 3-4 เดือน)
ของใหม่ในเวอร์ชันนี้ได้แก่
Xamarin.Forms รองรับการทำ Hot Reload แก้หน้า UI XAML ไม่ต้องคอมไพล์ใหม่ทุกครั้งแล้ว เห็นการเปลี่ยนแปลงทันที
Xamarin เพิ่มฟีเจอร์ Android Apply Changes แบบเดียวกันแต่เป็นบน Android
Xamarin Hot Restart สั่งรีสตาร์ตแอพ iOS แบบรวดเร็ว
เพิ่มเมนูลัดสำหรับแปลง if เป็น switch ให้อัตโนมัติ
Intellisense เพิ่มตัวช่วยเติมชื่อเมธอดที่ไม่ได้อิมพอร์ตเข้ามา (unimported namespaces)
เพิ่มเมนูลัด Simplify Interpolation สำหรับทำ string interpolation refactoring
รองรับการดีบั๊กโพรเซสใน Docker Windows (ของเดิมรองรับแค่ Docker Linux)
รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านใน Visual Studio Blog, Xamarin |
# จากมาตรการทำงานที่บ้าน YouTube ลดจำนวนคนคัดกรองเนื้อหา ใช้ระบบอัตโนมัติทำแทนมากขึ้น
จากมาตรการทำงานที่บ้านลดความเสี่ยงติดเชื้อจากโรคระบาด YouTube ก็ได้ประกาศลดจำนวนคนที่ต้องเข้ามาออฟฟิศเพื่อทำหน้าที่คัดกรองเนื้อหา และใช้ระบบอัตโนมัติในการคัดกรองและลบเนื้อหานั้นแทนคนมากขึ้น
YouTube ระบุว่าระบบอัตโนมัติไม่ได้ทำงานสมบูรณ์แบบ และอาจมีบางเนื้อหาที่ถูกลบออกไปทั้งที่ไม่ได้ผิดกฎแพลตฟอร์ม ครีเอเตอร์และผู้ที่ได้รับผลกระทบสามารถเขียนคำร้องมาที่แดชบอร์ดหลังบ้านในช่องของตัวเอง
YouTube ยังบอกด้วยว่า จากมาตรการทำงานที่บ้าน ทำให้การใช้งานบางส่วนติดขัดล่าช้า เช่น ผู้ลงโฆษณาอาจเจอความล่าช้าในการตอบกลับจากทีมสนับสนุน
ภาพจาก Google
ที่มา - YouTube blog, Google blog |
# Amazon จ้างคนเพิ่มอีกแสนคนเสริมทัพงานเดลิเวอรี่ เพิ่มค่าแรงต่อชั่วโมงให้พนักงานเดิมด้วย
Amazon เพิ่งประกาศให้พนักงานออฟฟิศสามารถทำงานจากที่บ้านได้ แต่ความกดดันไปเพิ่มขึ้นที่ฝ่ายจัดการสินค้าและโลจิสติกส์ ที่ต้องส่งของเพิ่มขึ้นในช่วงโรคระบาดนี้ พนักงานต้องทำงานหนักขึ้นเพราะมีดีมานด์เพิ่มขึ้น ล่าสุด Amazon แก้ปัญหาด้วยการจ้างคนเพิ่มอีกแสนตำแหน่ง ทั้งเต็มเวลาและพาร์ทไทม์เพื่อมาเสริมทัพที่ศูนย์จัดการสินค้าทั่วสหรัฐฯ
นอกจากนี้ Amazon ยังเพิ่มค่าแรงต่อชั่วโมงให้กับพนักงานในสหรัฐฯอีก 2 ดอลลาร์ตลอดเดือนเมษายน (รายได้ปกติต่อชั่วโมงคือ 15 ดอลลาร์) เนื่องจากเป็นกลุ่มคนที่ทำงานหนักในช่วงนี้ และยังเพิ่มค่าแรงต่อชั่วโมในอังกฤษ 2 ปอนด์ และในยุโรปอีก 2 ยูโรด้วย
Amazon บอกด้วยว่า ช่วงนี้มีคนทำงานที่ได้รับผลกระทบไม่ว่าจะเป็น คนทำงานร้านอาหาร การท่องเที่ยวที่สูญเสียรายได้ในช่วงนี้ Amazon จึงยินดีต้อนรับบุคคลเหล่านี้ให้มาทำงานด้วยกันจนกว่านายจ้างของพวกเขาจะเรียกกลับไปทำงานตามปกติ
ที่มา - Amazon |
# .NET 5 ออกรุ่น Preview 1 ก้าวแรกของการรวมจักรวาล .NET เป็นหนึ่งเดียว
ไมโครซอฟท์ออก .NET 5 Preview 1 พรีวิวตัวแรกของ .NET 5 ที่มีกำหนดออกช่วงปลายปีนี้ (อธิบายความแตกต่าง .NET Framework, .NET Core, .NET 5)
แกนกลางสำคัญของ .NET 5 คือการหลอมรวม .NET ทั้งสามตัวย่อย (.NET Framework, .NET Core, Xamarin) เป็นตัวเดียว โดยจะอิงจาก Base Class Library (BCL) ของ .NET Core เป็นหลัก ตอนนี้ .NET Framework และ .NET Core ใช้ BCL ตัวเดียวกันแล้ว ยังเหลือ Xamarin ที่ยังใช้ BCL เวอร์ชันของตัวเองอยู่ และจะทยอยย้ายตามมา
การรวม Xamarin เข้ามาใน .NET 5 ทำให้การเขียน .NET เป็นแอพมือถือ Android/iOS ทำได้ทันที ถึงแม้ไม่ใช่ของใหม่เพราะ Xamarin ทำได้มานานแล้ว แต่ก็ถือเป็นของใหม่ในชุดพัฒนา .NET ที่ทำเรื่องนี้ได้เป็นครั้งแรก
ของใหม่อีกอย่างใน .NET 5 คือการยกเครื่อง regular expression (regex) ใหม่ ทำให้ประสิทธิภาพดีขึ้น 3-6 เท่าหรือมากกว่านั้น
.NET 5 Preview 1 ยังรองรับสถาปัตยกรรม Windows ARM64 เป็นครั้งแรก (สำหรับอุปกรณ์อย่าง Surface Pro X) และไมโครซอฟท์ประกาศว่าจะ backport ฟีเจอร์นี้กลับไปยัง .NET Core 3.1 เวอร์ชันเสถียรในปัจจุบันอีกด้วย
ที่มา - Microsoft |
# แทนที่จะเลื่อนฉาย Universal Pictures เป็นค่ายหนังแรกที่เอาหนังโรงมาปล่อยเช่าออนไลน์ทันที
จากโรคระบาดทำให้โรงหนังต้องปิดชั่วคราว กระทบหนังดังหลายเรื่องที่จ่อคิวลงฉาย ทำให้ต้องเลื่อนฉายกันระนาว ไม่ว่าจะเป็น Mulan, Quiet Place2, Fast & Furious 9, The New Mutants เป็นต้น ชวนให้ขบคิดว่าทั้งโรงหนังและค่ายหนังเองจะปรับตัวอย่างไรต่อสถานการณ์นี้
Universal Pictures แก้เกมด้วยการเอาหนังที่ตั้งใจฉายในโรง มาให้ดูทางออนไลน์เสียเลย ไม่ว่าจะเป็น The Invisible Man และ The Hunt และมีแผนจะปล่อยหนังแอนิเมชั่น Trolls World Tour ลงออนไลน์ด้วย โดยช่องทางที่คาดว่าจะปล่อยคือ iTunes และ Amazon มีค่าเช่าดูต่อเรื่อง 19.99 ดอลลาร์ หรือราว 642 บาท ถือว่าราคาสูงกว่าค่าเฉลี่ยราคาตั๋วหนังในสหรัฐฯ ส่วนถ้าโรงหนังใดยังเปิดให้บริการ ทางค่ายหนังก็จะยังคงให้หนังฉายในโรงตามปกติ
Jeff Shell ซีอีโอ NBCUniversal บอกว่า แทนที่จะเลื่อนฉาย ก็นำหนังมาให้คนดูในทางเลือกที่คนดูเข้าถึงได้
ที่มา - Quartz |
# IGN ประเมินต้นทุน Xbox Series X ทะลุ 1,000 ดอลลาร์, ราคาขายอาจเกิน 600 ดอลลาร์
ตอนนี้เรารู้สเปกของ Xbox Series X อย่างละเอียดกันแล้ว ข้อมูลสำคัญที่เหลืออยู่คงมีแค่วันวางขายและราคา
เว็บเกม IGN ลองประเมินต้นทุนฮาร์ดแวร์ของ Xbox Series X จากชิ้นส่วนที่เปิดเผยออกมา เทียบเคียงกับราคาฮาร์ดแวร์ใกล้เคียงกันในตลาด พบว่าต้นทุนโดยรวมพุ่งทะลุเกิน 1,000 ดอลลาร์ไปแล้ว (แค่ซีพียูราว 300 ดอลลาร์, จีพียู 400 ดอลลาร์ ยังไม่รวมค่าเมนบอร์ด พาวเวอร์ซัพพลาย และชิ้นส่วนอื่นๆ)
IGN ระบุว่าไมโครซอฟท์สั่งซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก ย่อมได้ราคาต้นทุนถูกกว่า และการใช้ชิ้นส่วนคัสตอมก็ช่วยลดต้นทุนของสิ่งที่ไม่จำเป็นไปได้มาก แต่จากต้นทุนที่แพงขนาดนี้ การตั้งราคาที่ 600 ดอลลาร์ก็เริ่มเป็นไปได้แล้ว ถือว่าท้าทายเมื่อกำแพงราคาของคอนโซลอยู่ที่ 399-499 ดอลลาร์เท่านั้น (คอนโซลที่เปิดตัวแพงที่สุดคือ PS3 ที่ 599 ดอลลาร์)
ที่มา - IGN |
# ไมโครซอฟท์เผยตัวเลขอุปกรณ์ Windows 10 ทะลุหลัก 1 พันล้านชิ้นได้แล้ว
ในที่สุด ตัวเลขอุปกรณ์ที่ใช้งาน Windows 10 ก็สามารถแตะหลัก 1 พันล้านชิ้นได้สำเร็จ หลังผ่านหลัก 900 ล้านชิ้นในเดือนกันยายน 2019
ตัวเลขของไมโครซอฟท์เป็น active device คือต้องมีการใช้งานจริง และนับรวมอุปกรณ์ทุกอย่างที่ใช้ Windows 10 ซึ่งไม่จำกัดแค่พีซี แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน แต่ยังรวมถึงอุปกรณ์ IoT, Mixed Reality, Surface Hub และ Xbox ด้วย
ไมโครซอฟท์ยังให้ข้อมูลของผู้ทดสอบ Windows Insiders ว่าอยู่ที่ 17.8 ล้านคน
ที่มา - Microsoft |
# Jack Ma เปิดบัญชีทวิตเตอร์แล้ว โพสต์แรกโชว์รูปส่งหน้ากากอนามัย 1 ล้านชิ้นไปอเมริกา
Jack Ma ผู้ก่อตั้งและอดีตซีอีโอของ Alibaba เปิดบัญชี Twitter ของตัวเองแล้ว (@JackMa มีป้าย verified เรียบร้อย)
ข้อความทวีตแรกของเขาเป็นภาพสินค้าที่กำลังขนส่งทางเครื่องบินจากเซี่ยงไฮ้ไปยังสหรัฐอเมริกา ข้างในมีหน้ากากอนามัย 1 ล้านชิ้น และชุดทดสอบไวรัส 5 แสนชุด ตามที่ Jack Ma เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ว่ามูลนิธิ Jack Ma Foundation และ Alibaba Foundation ยินดีช่วยแบ่งปันสินค้าที่ขาดแคลนจากจีน ไปยังประเทศต่างๆ
Jack Ma ยังประกาศบริจาคหน้ากาก 1 แสนชิ้น, ชุดทดสอบ 2 หมื่นชุด, ชุดสวมใส่เพื่อป้องกันตัวให้บุคลากรด้านการแพทย์ 1 พันชุด ให้กับแต่ละประเทศในแอฟริกาจำนวน 54 ประเทศด้วย |
# เตรียมพร้อมรับวิกฤติ กลุ่มนักออกแบบฮาร์ดแวร์รวมตัวออกแบบเครื่องช่วยหายใจโอเพนซอร์สราคาถูก
วิกฤติจากโรค COVID-19 นั้นความน่ากังวลสำคัญคือเมื่อผู้ป่วยมีอาการหนัก ผู้ป่วยมักต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ (ventilator) หรือเครื่องช่วยพยุงการทำงานของปอดหรือเครื่องเอคโม (ECMO) ซึ่งเครื่องเหล่านี้มีจำนวนจำกัดโดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาหรือในสหรัฐฯ เองก็มีความกังว่าเครื่องจะไม่พอหากโรค COVID-19 ระบาดมาจริงๆ ตอนนี้ก็เริ่มมีกลุ่มนักออกแบบฮาร์ดแวร์มาช่วยกันออกแบบเครื่องช่วยหายใจจากเครื่องช่วยหายใจแบบมือบีบ (Ambu bag) กันแล้ว
กลุ่ม Open Source COVID19 Medical Supplies บนเฟซบุ๊กมีผู้ร่วมกว่า 6,000 คน โดยออกแบบเครื่องจาก Ambu bag ที่เน้นชิ้นส่วนเพิ่มเติมที่สามารถใช้เครื่องพิมพ์สามมิติพิมพ์มาประกอบได้ โดยโครงการอื่นๆ ก่อนหน้านี้มักมีข้อดีและข้อด้อยต่างกันไป เช่นการออกแบบบางรุ่นไม่เสถียรพอ ขณะที่บางรุ่นต้องใช้วัสดุในการประกอบหลายชนิดไม่เหมาะต่อการรีบผลิต
โครงการรวบรวมเอกสารอยู่บน GitLab ตั้งเป้าว่าจะออกแบบเครื่องที่มีต้นทุนต่ำกว่า 100 ดอลลาร์
อย่างไรก็ดี Trevor Smale ผู้ดูแลเอกสารโครงการระบุว่าได้รับเสียงตอบรับจากพยาบาลว่าการช่วยหายใจไม่ใช่จุดยากที่สุด แต่มีจุดอื่นๆ เช่น การดมยาผู้ป่วยระหว่างที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ, ไปจนถึงการดูแลผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจซึ่งต้องการผู้เชี่ยวชาญอยู่ดี
ที่มา - No Tech Magazine |
# TensorFlow ออกใบรับรองนักพัฒนา สอบออนไลน์ 5 ชั่วโมง ค่าสอบ 100 ดอลลาร์
โครงการ TensorFlow เปิดตัว TensorFlow Developer Certificate ใบรับรองความสามารถของนักพัฒนาว่าสามารถทำงานกับโมเดลแบบต่างๆ ได้ครอบคลุม
นักพัฒนาที่จะสอบผ่านใบรับรองได้ต้องผ่านการทดสอบ 5 หมวดได้แก่ การสร้างโมเดลพื้นฐาน, การสร้างโมเดลจากชุดข้อมูล, โมเดล convolutional neural network (CNN) สำหรับการวิเคราะห์ภาพ, การทำ NLP จัดหมวดหมู่ข้อความ, และการสร้างโมเดลแบบ sequence เพื่อวิเคราะห์ชุดข้อมูลตัวเลข
กระบวนการสอบเป็นการสอบออนไลน์ โดยต้องติดตั้ง PyChard IDE และติดตั้งปลั๊กอินสำหรับการสอบ จากนั้นล็อกอินเข้าไปสอบโดยมีเวลาทำข้อสอบ 5 ชั่วโมง สำหรับการเตรียมสอบทาง TensorFlow แนะนำให้ลงเรียนวิชา TensorFlow in Practice
ค่าสอบ 100 ดอลลาร์ สมัครได้แล้ววันนี้
ที่มา - TensorFlow |
# GitHub ประกาศเข้าซื้อ npm สร้างสภาพแวดล้อมสำหรับนักพัฒนาที่ปลอดภัย
GitHub ประกาศว่าลงนามข้อตกลงเข้าซื้อกับ npm เรียบร้อยแล้ว โดยสัญญาว่าบริการ npm จะฟรีตลอดไป แต่จะมีการปรับปรุง 3 ด้านได้แก่
โครงสร้างพื้นฐาน ให้เพียงพอต่อการเติบโตของชุมชนผู้ใช้งาน ให้ทำงานได้เร็ว, เสถียร, และรองรับการเติบโตได้
พัฒนาประสบการณ์การใช้งาน โดยเริ่มจากคำสั่ง npm เวอร์ชั่น 7 ที่จะโอเพนซอร์สต่อไป แต่จะมีฟีเจอร์ เช่น Workspaces และรองรับการยืนยันตัวตนหลายขั้นตอน
ทำงานร่วมกับชุมชน โดยรับฟังความเห็นนักพัฒนาว่าจะต้องการให้ปรับปรุงอะไรบ้าง
นอกจากทั้งสามด้านแล้ว GitHub ยังระบุว่าการรวม npm เข้ามาจะทำให้โครงสร้างความมั่นคงปลอดภัยของโลกซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สดีขึ้นจากการที่สามารถตรวจสอบได้ว่าแพ็กเกจเวอร์ชั่นใดมาจากโค้ดส่วนใด และยังใช้ความสามารถของ GitHub Security Lab ในการตรวจสอบความปลอดภัยได้
สำหรับลูกค้าเสียเงิน ทาง GitHub เตรียมย้ายลูกค้าไปยัง GitHub Packages หลังเชื่อมต่อระบบกันสมบูรณ์ โดยตัว npm จะเหลือแต่แพ็กเกจสาธารณะเป็นหลัก
ที่มา - GitHub |
# SpaceX ยกเลิกภารกิจ Starlink วินาทีที่กำลังจุดระเบิด หลังเซ็นเซอร์พบความผิดพลาด
SpaceX เมื่อวานนี้มีภารกิจนำส่งดาวเทียม Starlink อีก 60 ดวงที่ใกล้จะเริ่มให้บริการได้ แต่เมื่อกำลังนับถอยหลังถึงวินาทีที่ศูนย์ ระบบก็ยกเลิกอัตโนมัติ หลังจากคอมพิวเตอร์พบความผิดปกติของข้อมูล
ภารกิจนี้เป็นการใช้ จรวจ Falcon 9 ครั้งที่ 5 และยังใช้ปลอกหุ้มสัมภาระ (fairing) ที่กู้มาได้ก่อนหน้านี้ ทำให้มีชิ้นส่วนใหม่เพียงจรวดขั้นที่สองที่มีเครื่องยนต์ Merlin หนึ่งเครื่องเท่านั้น โดยตัวจรวดขั้นที่หนึ่งนั้น SpaceX ตั้งเป้าจะใช้งานซ้ำประมาณ 10 ครั้งก่อนปลดระวาง
ทาง SpaceX แจ้งว่าระบบยกเลิกเพราะข้อมูลเซ็นเซอร์ไม่ตรงกับระบบ (out of family data)
ที่มา - ArsTechnica |
# ทนคนใช้เยอะไม่ไหว? Microsoft Teams มีปัญหากับผู้ใช้บางส่วน
ผู้ใช้จำนวนมากรายงานว่า Microsoft Teams เริ่มทำงานได้ช้าและบางครั้งก็ใช้งานไม่ได้ในหลายพื้นที่ โดยล่าสุดทีมงานไมโครซอฟท์ @MicrosoftTeams ตอบรับว่ากำลังสอบสวน
ก่อนหน้านี้ไมโครซอฟท์เพิ่งเปิดให้ทดสอบ Office 365 ฟรีนาน 6 เดือน โดยกระแสการทำงานจากที่บ้านน่าจะทำให้บริการ Microsoft Teams กลายเป็นส่วนสำคัญ เพราะมีทั้งบริการแชตและประชุมวิดีโอ
ผมทดสอบใช้งานผ่านแอปยังคงทำงานได้ดี แต่เว็บก็ล็อกอินไม่ได้แล้ว
ที่มา - TechCrunch |
# ProtonMail เตรียมใช้ alternative routing เพื่อหลบหลีกการบล็อคเว็บไซต์ในบางประเทศ
Proton ผู้ให้บริการอีเมลเข้ารหัสและภายหลังเริ่มขยับขยายไปทำบริการเข้ารหัสอื่น ๆ ประกาศเตรียมใช้ระบบ alternative routing เพื่อหลีกเลี่ยงการบล็อคเว็บไซต์ในหลาย ๆ ประเทศ
ระบบ alternative routing ของ Proton จะเปิดใช้งานอัตโนมัติเฉพาะแอปเท่านั้น ทั้ง ProtonMail และ ProtonVPN (ไม่สามารถใช้งานกับเบราว์เซอร์บนเดสก์ท็อปได้) ซึ่งปกติแล้วผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องใช้ระบบนี้ แต่ผู้ใช้ที่อยู่ภายใต้สถานการณ์ถูกบล็อค ระบบของ ProtonMail จะหาเส้นทางอื่นในการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์โดยอัตโนมัติ
อย่างไรก็ดี alternative routing ก็ยังมีข้อเสียบางอย่าง คือระบบนี้จะผูกกับโครงสร้างพื้นฐานของบริษัทอื่น ๆ อย่างเช่น Amazon, Cloudflare หรือ Google ซึ่งบริษัทที่เป็นเจ้าของระบบสามารถเก็บข้อมูลผู้ใช้ได้ในระดับหนึ่ง เช่น ไอพีแอดเดรส และข้อมูลที่พบว่าเป็นการเชื่อมต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์ของ Proton (แต่ไม่เห็นข้อมูลที่เข้ารหัสอยู่) ดังนั้น Proton จึงใส่ปุ่มปิดฟีเจอร์นี้ไว้ให้ในการตั้งค่าเผื่อว่าหากผู้ใช้ไม่ต้องการใช้งานก็สามารถกดปิดได้
Proton ระบุว่าตอนนี้กำลังพัฒนาระบบต่อต้านการเซนเซอร์อีกหลายอย่าง ซึ่งจะทยอยเปิดให้ใช้งานต่อไป
ที่มา - VentureBeat, ProtonMail |
# เผยสเปกละเอียด Xbox Series X ซีพียู 8 คอร์ 3.8GHz, แรม 16GB, SSD NVMe 1TB
หลังจากทยอยปล่อยข้อมูลตรงนั้นนิดตรงนี้หน่อยมานาน ในที่สุดไมโครซอฟท์เผยสเปกละเอียดของ Xbox Series X อย่างเป็นทางการ
ซีพียู Custom Zen 2 จำนวน 8 คอร์ คล็อคที่ 3.8GHz
จีพียู Custom RDNA 2 จำนวน 52 คอร์ (compute unit) สมรรถนะ 12 TFLOPS
แรม 16GB GDDR6 แยกชนิดเป็นแบนด์วิดท์ 560 GBps จำนวน 10GB และ 336GBps อีก 6GB
สตอเรจ SSD NVMe แบบคัสตอม 1TB, ความเร็วการอ่าน I/O Throughput ที่ 2.4 GBps (raw data)
รองรับการ์ดหน่วยความจำ Expansion Card ชนิดพิเศษ 1TB (ต้องเท่ากับสตอเรจภายในเครื่อง)
รองรับการต่อฮาร์ดดิสก์ภายนอกผ่าน USB 3.2
ตัวอ่านแผ่น 4K UHD Blu-ray
ไมโครซอฟท์ตั้งเป้าว่า Xbox Series X จะสามารถเล่นเกมที่ความละเอียด 4K เฟรมเรต 60 FPS ได้ดี และจะขยายขึ้นไปได้ถึง 120 FPS ถ้าทำได้
ไมโครซอฟท์เคยประกาศมาแล้วว่าจีพียู RDNA 2 ตัวนี้รองรับ ray tracing ที่ระดับฮาร์ดแวร์ รอบนี้เลยมีเดโม Minecraft เวอร์ชัน ray tracing มาให้ดูกันด้วย
รายละเอียดของฮาร์ดแวร์ Xbox Series X ยังมีประเด็นย่อยๆ อีกหลายเรื่อง ที่จะทยอยตามมาเขียนถึงครับ
ที่มา - Xbox |
# TikTok จะเลิกสกรีนคอนเทนต์ต่างชาติโดยใช้คนจีนเพื่อสร้างความมั่นใจว่ารัฐบาลจีนไม่ได้คุมเนื้อหาบนแพลตฟอร์ม
TikTok เตรียมปรับนโยบายการสกรีนคอนเทนต์ใหม่ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้ใช้ทั่วโลกมั่นใจว่ารัฐบาลจีนไม่ได้ควบคุมแอป TikTok นอกอาณาเขตของประเทศจีน ซึ่ง TikTok จะเลิกสกรีนคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มที่เกิดขึ้นนอกประเทศจีนโดยคนจีน และย้ายงานสกรีนคอนเทนต์ต่างประเทศออกจากจีนให้คนชาติอื่นทำแทน
การปรับนโยบายนี้ตามทฤษฎีแล้วจะลดโอกาสที่แพลตฟอร์มจะเซนเซอร์คอนเทนต์การเมืองหรือแนวคิดตามคำสั่งของรัฐบาลจีน รวมถึงการใช้คนต่างชาติซึ่งมีความหลากหลายก็น่าจะช่วยให้การสกรีนคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นโยบายนี้จะมีผลภายในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า โดยหลังการปรับเปลี่ยนนโยบายนี้จะส่งผลทำให้พนักงานคนจีนที่มีหน้าที่สกรีนคอนเทนต์ของ TikTok ตกงานมากกว่า 100 คน โดยพนักงานกลุ่มนี้จะต้องไปหางานใหม่ภายใต้บริษัทแม่ Bytedance หรือลาออก
ที่มา - Engadget, WSJ
ภาพจาก TikTok |
# CSL พร้อมให้คำปรึกษา และตอบโจทย์การชำระค่าบริการคลาวด์ AWS ให้เป็นเรื่องง่าย
AWS บริการระบบคลาวด์ ที่ตอบโจทย์กับสายงานไอทีในยุคดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น CSL พร้อมช่วยให้คำปรึกษา และการชำระค่าบริการเป็นเรื่องง่าย ๆ โดยสามารถชำระค่าบริการภายในประเทศผ่านระบบบิลได้แล้ววันนี้
ระบบคลาวด์เป็นเรื่องง่ายๆ ด้วย AWS ทั้งการเปิดเครื่อง การติดตั้งแอพพลิเคชั่น รองรับการใช้งานที่หลากหลาย ครอบคลุมบริการที่มีอยู่ในระบบคลาวด์ มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน ผู้ใช้สามารถปรับ เพิ่ม ลด ทรัพยากรได้อย่างรวดเร็ว (Elastic Scaling) สามารถสั่งใช้บริการ พร้อมปรับแต่งบริการต่าง ๆได้ด้วยตนเองผ่านหน้าจอคอนโซล ระบบไหนที่ไม่มีการใช้งานสามารถปิดเครื่องไป ค่าใช้จ่ายเป็นแบบจ่ายตามการใช้งานจริง เรียกได้ว่าตอบโจทย์ธุรกิจยุคใหม่ได้เป็นอย่างดี ซึ่งการใช้งานทั้งหมดไม่จำเป็นจะต้องทำสัญญาระยะยาว
การชำระเงินของ AWS จำเป็นจะต้องผูกบัตรเครดิตกับระบบ ซึ่งจะเกิดความยุ่งยากกับผู้ใช้งาน ปัญหาเหล่านี้ทาง CSL ช่วยคุณได้ด้วยบริการออกบิล พร้อมออกใบกำกับภาษีในนามนิติบุคคลให้องค์กรในแต่ละเดือน ซึ่งสามารถตรวจสอบค่าใช้บริการได้เองผ่านหน้าระบบ portal ของ AWS เช่นเดิม ในแต่ละเดือนทาง CSL จะมีบิลเรียกเก็บค่าบริการรายเดือน โดยสรุปยอดค่าใช้บริการตามที่ AWS แจ้งในแต่ละเดือน อีกทั้งยังให้คำปรึกษาในการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายของโครงการต่างๆ เพื่อให้ได้ระบบที่หลากหลายบน platform ของ AWS ตามที่ต้องการ อาทิ SAP, Database, web server, FTP server ในค่าบริการที่คุ้มค่ามากที่สุด โดยเริ่มจากพิจารณาระบบคลาวด์ มี resource ปริมาณเท่าใด ระยะเวลาของโครงการ ผู้เข้าใช้งาน พร้อมการขยายตัวในอนาคตของโครงการนั้นๆ และที่สำคัญที่สุดคืองบประมาณในแต่ละโครงการ
ในการใช้ระบบคลาวด์ AWS ที่ตอบโจทย์และมีประสิทธิภาพสูงสุด จำเป็นจะต้องมีการวางแผนการใช้งานอย่างเข้าใจผู้ใช้บริการในทุก ๆ ด้าน ซึ่งเราทีมงาน CSL มีความพร้อม ด้วยประสบการณ์กว่า 15 ปี ในการให้บริการคลาวด์ จึงทำให้มั่นใจได้ว่า เราเข้าใจพร้อมให้คำปรึกษาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ ประเมินงบประมาณ จนให้องค์กรคุณเริ่มโครงการได้อย่างราบรื่น คุณสมบัติของ AWS ที่มาพร้อมกับแอพพลิเคชั่นต่างๆ ช่วยให้คุณเลือกใช้งานได้อย่างครบครัน
หากคุณพร้อมที่จะเริ่มใช้บริการคลาวด์ทาง CSL ยินดีให้คำปรึกษา สนใจบริการติดต่อสอบถามได้ที่ อีเมล [email protected] หรือโทร 02-263-8185 |
# นักวิเคราะห์คาด PS5 และ Xbox Series X อาจเลื่อนวันวางจำหน่ายเพราะวิกฤต COVID-19
รายงานนี้มาจาก DFC Intelligence บริษัทวิจัยอุตสาหกรรมเกม ที่เปิดเผยผลข้อมูลว่า “มีความเป็นไปได้สูง” ที่ PS5 และ Xbox Series X จะผลิตไม่ทันเปิดตัวและวางจำหน่ายภายในปี 2020 เนื่องจากผลกระทบของ COVID-19 และหากเปิดตัวและวางขายทันในปี 2020 ก็อาจมีจำนวนเครื่องที่วางจำหน่ายน้อยกว่าที่ต้องการ และอาจต้องวางขาย ในราคาที่แพงกว่าปกติ
DFC Intelligence ระบุว่าเครื่องเกมทั้งสองรุ่นนี้ จะมีกระแสเปิดตัวที่ดี และมีความต้องการซื้อของผู้บริโภค ที่มากขึ้นเป็นประวัติการณ์ จากการเติบโตของวงการเกมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ก็คงต้องทำใจรอการเลื่อน หรือเตรียมจ่ายเงินเพิ่มให้พร้อมไว้ได้เลย เพราะถึงแม้สถานการณ์จะคลี่คลายภายในอีกไม่กี่สัปดาห์นี้ ทว่าความสามารถของภาคการผลิตในการผลิตเครื่องเกมรุ่นใหม่ ก็ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงไปแล้ว
ที่มา - Game Rant |
# The Division 2 ลง Stadia 17 มีนาคมนี้ เกมแรกที่เล่น crossplay กับพีซีได้
แม้บน Stadia แพลตฟอร์มเกมแบบสตรีมมิ่งของ Google จะมีเกมที่เล่นออนไลน์อย่าง Destiny 2, Borderlands 3 และ Ghost Recon Breakpoint อยู่ แต่ก่อนหน้านี้ เกมทั้งหมดจะสามารถเล่นออนไลน์ได้กับผู้เล่นเฉพาะบน Stadia เท่านั้น แต่เกม The Division 2 จาก Ubisoft ที่จะปล่อยลง Stadia ในวันที่ 17 มีนาคมนี้ จะเป็นเกมแรก ที่สามารถเล่นข้ามแพลตฟอร์ม (crossplay) ไปเจอกับผู้เล่นบนพีซีได้
นอกจากนี้ Ubisoft ยังพูดถึงอนาคตของวงการเกม ว่า ในหมู่ผู้ให้บริการสตรีมมิ่ง ทั้ง Stadia, Geforce Now และ xCloud โดยกล่าวว่า การพัฒนาเกมบน Stadia นั้น ยากที่สุด เพราะเหมือนต้องสร้างเกมเวอร์ชั่นเฉพาะของแพลตฟอร์ม แยกออกมาใหม่ ในขณะที่เกมบน xCloud ก็ใช้เกมเวอร์ชั่นของ Xbox และ บน Geforce Now ก็เป็นเกมเวอร์ชั่น PC เหมือนปกติ
Ubisoft กล่าวว่า บริษัทยังคงสนับสนุนบริการ Geforce Now อยู่ ถึงแม้ว่าอีกหลายบริษัท เช่น Bethesda และ 2K Games จะถอนตัวออกไปภายในช่วงเดือนที่ผ่านมา
ที่มา - Gamespot |
# work from home ไม่ง่าย แม้แต่กับบริษัทไอทีในซิลิคอนวัลเล่ย์ ติดปัญหาข้อมูลอ่อนไหว, ความลับบริษัท
work from home กลายเป็นประเด็นที่สังคมพูดถึงกันมากในช่วงโรคระบาด แต่กลายเป็นว่าชีวิตจริงไม่ง่ายขนาดนั้นแม้แต่กับบริษัทไอทีในซิลิคอนวัลเล่ย์ก็ตาม The Wall Street Journal ไปสัมภาษณ์บุคลากรในบริษัทเหล่านั้นที่ออกนโยบายทำงานที่บ้านมา พบว่าไม่สามารถปฏิบัติตามได้ ติดปัญหาด้าน security, ข้อมูลอ่อนไหวของผู้ใช้งานทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลนั้นไปทำงานที่บ้านได้, ตัวพนักงานไม่มีอุปกรณ์ส่วนตัวที่จะทำงานจากที่บ้านได้
ยกตัวอย่างเช่น เฟซบุ๊ก ที่ออกนโยบายให้พนักงานทำงานที่บ้าน แต่ไม่สามารถใช้ได้กับทุกคน เพราะต้องมีเจ้าหน้าที่อยู่ที่สำนักงานเพื่อดูแลงานบางอย่าง เช่นการดูแลข้อมูลวิดีโอหรือภาพที่เกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดเด็กหรือสื่อลามก ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องอ่อนไหวเกินกว่าที่จะดำเนินการผ่านการทำงานระยะไกล
การออกนโยบายทำงานที่บ้านอย่างทันทีทันใดก็ทำให้เกิดปัญหาเช่นกัน แต่พนักงานบางคนก็ต้องใช้อุปกรณ์เยอะในการทำงาน ผลปรากฏว่า พนักงานกูเกิลก็ต้องเข้ามาที่ออฟฟิศในวันหยุดเพื่อนำอุปกรณ์กลับ เพราะไม่รู้ว่าต้องทำงานที่บ้านถึงเมื่อไร ในขณะที่ปริมาณงานและกำหนดส่งงานยังต้องมีอยู่ ไม่ได้ลดลง Yelp ถึงกับลงทุนเป็นล้านดอลลาร์เพื่อซื้ออุปกรณ์พีซีให้พนักงานคนละเครื่องสำหรับคนที่ไม่มีอุปกรณ์ของตัวเองใช้
ก่อนหน้านี้ก็มีประเด็นแอปเปิล ที่พนักงานบ่นว่าการทำงานที่บ้านนั้นทำได้ยาก เพราะความเร็วอินเทอร์เน็ตที่บ้านไม่พอ ความสับสนว่าตัวเองทำอะไรได้หรือไม่ได้บ้าง บางคนก็เข้าระบบภายในของบริษัทจากบ้านไม่ได้ เพราะนโยบายป้องกันความลับรั่วไหล
ก่อนหน้านี้ Amazon ก็ให้พนักงานออฟฟิศทำงานที่บ้าน แต่ธุรกิจของ Amazon ขึ้นอยู่กับการสั่งสินค้าออนไลน์ การขนส่ง จึงมีพนักงานจำนวนมากที่ไม่สามารถทำงานจากที่บ้านได้ อีกทั้งยังต้องเจอความท้าทายเรื่องปริมาณการสั่งสินค้าเพิ่มขึ้น ไหนจะความเสี่ยงของตัวเองในช่วงโรคระบาดอีก
ที่มา - The Wall Street Journal ,Vice |
# ผลจาก COVID-19 สตรีมมิ่งและบริษัทรายการทีวีรายใหญ่ต้องพักการถ่ายทำไปก่อน
โรคระบาดส่งผลกระทบต่อวงการบันเทิงเช่นกัน โดย Netflix รวมถึงสตูดิโอถ่ายทำและรายการทีวีต่างๆ ในสหรัฐฯ ต้องพักการถ่ายทำในช่วงนี้ไปก่อน เพื่อความปลอดภัยของทีมงาน เนื้อหากระทบทุกประเภท ทั้งหนัง ซีรีส์ รายการทีวี
โดย Netflix พักถ่ายทำเป็นเวลา 2 สัปดาห์ โดยเรื่องที่ถ่ายทำอยู่แล้วได้รับผลกระทบคือ ซีรีส์เรือธง Stranger Things รวมถึง Grace and Frankie ด้านบริษัทอื่นที่พักถ่ายทำมี Disney TV Studios พักการถ่ายทำถึง 16 เรื่อง และ Apple ก็พักการถ่ายทำคอนเทนต์ในสตรีมมิ่งของตัวเองที่เพิ่งเปิดตัวไม่นานอย่าง The Morning Show, Foundation, See, Lisey's Story, Servant และ For All Mankind ด้าน Warner Bros. Television Group ก็พักถ่ายทำ กระทบเนื้อหาที่ถ่ายทำอยู่ราว 70 เรื่อง นอกจากนี้ยังมี NBCUniversal ที่พักการถ่ายทำ ส่งผลกระทบเนื้อหาราว 35 เรื่อง
บริษัทใหญ่รายอื่นที่พักการถ่ายทำคือ WarnerMedia เจ้าของสตรีมมิ่ง HBO Max และยังมี AMC, ABC, Paramount TV Studios, Showtime เป็นต้น
ที่มา - Hollywood Reporter |
# [Dota 2] Valve ตัดสินใจยกเลิกรายการ Minor-Major ที่สี่ของ DPC 2019-2020 แล้ว
ผลกระทบจากการระบาดของโรค COVID-19 ยังคงส่งผลอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดถึงคราวของ Dota 2 แล้ว เมื่อ Valve ตัดสินใจแถลงผ่าน Twitter ว่าหลังจากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว พวกเขาได้ตัดสินใจยกเลิกการแข่งขันรายการ Minor-Major ที่ 4 ของ Dota Pro Circuit 2019-2020 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
นอกจากนี้ Valve ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า พวกเขาจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและตัดสินใจต่อไปว่าจะจัดการแข่งขันรายการ Minor-Major ที่ 5 ซึ่งเป็นรายการสุดท้ายของฤดูกาลนี้อย่างไร
ก่อนการประกาศในครั้งนี้ ก็มีทัวร์นาเมนต์ของ Dota 2 ที่ได้ผลกระทบไปก่อนหน้าแล้วเช่นกัน อย่าง ESL One Los Angeles 2020 ซึ่งเป็นรายการระดับ Major ที่ 3 ของฤดูกาลซึ่งจะต้องแข่งขันกันในวันที่ 15-22 มีนาคมนี้ ก็ได้ถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด
ที่มา: Twitter: Dota 2 |
# อยู่บ้านไม่ทำงาน? Steam ทำลายกำแพง คนเล่นพร้อมกันเกิน 20 ล้านคนแล้ว
หลังจากที่เมื่อวาน Steam ทำสถิติ คนเล่นเกือบ 20 ล้านคน ทำสถิติที่ผู้เล่นพร้อมกัน (concurrent player) สูงสุด ที่ 19,728,027 ถัดมาในวันนี้ ยอดผู้เล่นพร้อมกันสูงสุดก็ได้ทำลายสถิติ ขึ้นไปแตะ ที่ตัวเลข 20,313,476 คนเป็นที่เรียบร้อย โดยเกมที่ถูกเล่นมากที่สุดสามอันดับก็ยังเป็น Counter Strike: Global Offensive (ที่คนเล่นในประเทศจีนเยอะมาก) DOTA2 และ PUBG ตามลำดับ
น่าสนใจว่าการถูกกักตัว หรือการที่ผู้คนทำงานจากบ้านมากขึ้น ได้ทำให้ธุรกิจบางอย่าง เช่นร้านอาหาร โรงหนัง สถานบันเทิง หรืออีเว้นต์ ประสบปัญหา แต่ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้ยอดการใช้งานของแอปต่างๆ เช่นแอปเล่นเกม หรือสตรีมมิ่ง เพิ่มขึ้นอย่างมาก
ที่มา - Kotaku |
# อยู่บ้านก็ว่าง บอลก็ไม่เตะ, FM20 มียอดผู้เล่นทำสถิติพร้อมกันเกือบแสนคน
ในช่วงที่ทั่วโลกกระตุ้นให้เก็บตัวอยู่ในบ้านเป็นหลัก รวมถึงทำงานที่บ้าน ทำให้เกิดสถิติต่าง ๆ ออกมาโดยเฉพาะในวงการเกม ล่าสุดก็ Football Manager ที่ทำสถิติใหม่ มีผู้เล่นพร้อมกันล่าสุดที่ 89,864 คนแล้ว
เปรียบเทียบกับจำนวนผู้เล่นพร้อมกันเฉลี่ยจาก Steam Charts จะอยู่ที่ราว 5-6 หมื่นคนเท่านั้น และคาดว่าด้วยสถานการณ์ตอนนี้ จำนวนผู้เล่นพร้อมกันน่าจะเกิน 100,000 คนเร็ว ๆ นี้
ที่มา - @milesSI |
# Airbnb ผลประกอบการไตรมาส 4/2019 ขาดทุนเพิ่มมากขึ้น
Airbnb รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 4 ปี 2019 ให้กับผู้ที่ลงทุนในบริษัท รายได้รวมเพิ่มขึ้น 32% เป็นราว 1,100 ล้านดอลลาร์ แต่ขาดทุนสุทธิมากขึ้นเป็น 276.4 ล้านดอลลาร์ เทียบกับไตรมาสเดียวกันในปี 2018 ซึ่งขาดทุน 143.7 ล้านดอลลาร์
ผลประกอบการไตรมาสที่ 4 ซึ่งขาดทุนมากขึ้น บวกกับปัญหา COVID-19 ที่กระทบต่อรายได้ของ Airbnb อย่างแน่นอนตอนนี้ อาจส่งผลต่อไอพีโอที่บริษัทคาดว่าจะเข้าตลาดหุ้นในปีนี้
ที่ผ่านมา Airbnb เป็นสตาร์ทอัพมูลค่ากิจการสูงที่ผลประกอบการมีกำไรมาโดยตลอด ในปี 2017-2018 แต่ในปี 2019 ผลประกอบการบริษัทเริ่มขาดทุน เนื่องจากเพิ่มค่าใช้จ่ายการตลาด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในแผนไอพีโอนั่นเอง
ที่มา: The Strait Times |
# Monster Hunter World: Iceborne ทำยอดขายได้ 5 ล้านชุดแล้ว
หลังวางจำหน่ายได้ราว ๆ ครึ่งปี (บนคอนโซลจำหน่ายเดือนกันยายน บนพีซีเดือนมกราคม) Monster Hunter World: Iceborne สามารถทำยอดขายไปได้แล้ว 5 ล้านชุดทั่วโลก
ขณะที่ Monster Hunter World ที่เป็นเกมขายดีที่สุดของ Capcom ทำยอดขายทั่วโลกไปได้แล้วถึง 62 ล้านชุด โดยจุดเด่นของเกมนี้ไม่ใช่แค่ความเป็นเกมโอเพนเวิลด์ที่มีรายละเอียดและรูปแบบการต่อสู้ค่อนข้างเยอะอย่างเดียว แต่ Capcom ยังมีอัพเดตอีเวนท์ เควสและมอนสเตอร์ให้เรื่อย ๆ ด้วย
ที่มา - Eurogamer |
# ไมโครซอฟท์เผย จะอัพเดตเคอร์เนลลินุกซ์ของ WSL 2 ผ่าน Windows Update
ไมโครซอฟท์ประกาศว่าฟีเจอร์ Windows Subsystem for Linux 2 (WSL 2) ที่เปิดตัวช่วงกลางปี 2019 และพัฒนามานานเกือบปี จะเสร็จสมบูรณ์และเข้าสถานะ GA (generally available) ใน Windows 10 เวอร์ชันหน้า v2004 ที่จะออกช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมนี้
จุดเด่นของ WSL2 คือมีเคอร์เนลลินุกซ์จริงๆ รันอยู่ข้างในวินโดวส์ (ซ้อนอยู่ด้วย VM เพื่อความปลอดภัย) ทำให้โปรแกรมบนลินุกซ์สามารถรันบน WSL2 ได้ตรงๆ ต่างจาก WSL1 ที่เป็นการจำลองเคอร์เนลลินุกซ์บนเคอร์เนลวินโดวส์ ผลคือประสิทธิภาพดีขึ้นมาก และรองรับโปรแกรมเพิ่มขึ้น เช่น Docker ที่สามารถรันบน Windows 10 Home ได้แล้ว
ไมโครซอฟท์บอกว่าหลัง WSL2 เข้าสถานะ GA แล้ว จะอัพเดตเคอร์เนลลินุกซ์เวอร์ชันใหม่ผ่าน Windows Update ดังเช่นซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์ตัวอื่นๆ ทำให้เราได้ใช้งานเคอร์เนลเวอร์ชันใหม่ตลอดเวลา โดยที่ไม่ต้องลงแรงอะไรเป็นพิเศษ
ที่มา - Microsoft |
# เตรียมพอร์ทอีกเกม? Naughty Dog หากราฟิคโปรแกรมเมอร์ต้องมี ปสก. DirectX 12, NVIDIA CUDA
Naughty Dog สตูดิโออินเฮ้าส์ของ PlayStation ประกาศเปิดรับ Graphics Programmer สำหรับเกม The Last of Us Part II ที่น่าสนใจคือทักษะที่ระบุเอาไว้คือต้องมีความรู้สถาปัตยกรรม GPU โดยยก Nvidia CUDA ขึ้นมา (AMD เข้าใจได้เพราะ PS4/PS5 ใช้ AMD) รวมถึงมีประสบการณ์กับกราฟิค API อย่าง DirectX12 ด้วย
ในแง่การประกาศหางาน ทักษะข้างต้นอาจเป็นไปได้ว่าเป็นการระบุเอาไว้กว้าง ๆ แต่การที่ The Last of Us Part II ใกล้เสร็จเต็มที แต่หน้าประกาศหางานนี้ยังคงอยู่บนเว็บ Naughty Dog (ไม่แน่ใจว่าเพิ่งขึ้นหรือขึ้นนานมาแล้วแค่ไหน) และการพอร์ทเกมเอ็กคลูซีฟก่อนหน้าอย่าง Horizon Zero Dawn ขึ้นพีซี ก็ทำให้อดคิดไม่ได้เหมือนกันว่าหรือ PlayStation มีแผนจะพอร์ทอีกเกม
ทั้งนี้หลังมีการประกาศวางขาย Horizon Zero Dawn บนพีซี มีแฟนเกมรายหนึ่งโพสต์คลิปทำลาย PS4 เพื่อแสดงความไม่พอใจด้วย หากการพอร์ท The Last of Us ที่เป็นเกมแห่งทศวรรษบนบอร์ด PlayStation เกิดขึ้นจริง สตูดิโอโซนีอาจโดนเผาก็เป็นได้
ที่มา - Naughty Dog |
# พนักงาน Apple บ่น นโยบายรักษาความลับบริษัท ทำให้ทำงานจากบ้านได้ยาก
ภาวะ COVID-19 ระบาด ทำให้หลายบริษัทใน Silicon Valley เริ่มให้พนักงานทำงานจากบ้านกันแล้ว รวมไปถึง Apple ด้วย ซึ่งก็พบปัญหา ไม่ต่างจากบริษัทในไทยหลายๆ บริษัท โดยพนักงาน Apple ก็พบปัญหาเช่น ความเร็วอินเทอร์เน็ตที่บ้านไม่พอ ความสับสนว่าตัวเองทำอะไรได้หรือไม่ได้บ้าง บางคนก็เข้าระบบภายในของบริษัทจากบ้านไม่ได้ เพราะนโยบายป้องกันความลับรั่วไหลของ Apple ที่แน่นหนา
วิศวกรหลายๆ คนก็ตัดสินใจมาทำงานที่สำนักงานใหญ่เป็นปกติ เพราะ Apple มีนโยบายห้ามนำผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่ได้วางจำหน่าย ออกไปจากสำนักงาน แต่พนักงานบางคนกล่าวว่าบางนโยบาย ก็เริ่มมีการปรับให้เหมาะสมกับสภาวะใหม่มากขึ้นแล้ว และพนักงานอีกคนก็กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่สุด คือการ “ลดความหนาแน่น(ของกลุ่มคนที่มาทำงาน)” และเน้นย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการลดการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ในสภาวะโรคระบาด
ปัจจุบัน Apple มีนโยบายรับมือกับ COVID-19 หลายประการด้วยกัน ทั้งเข้มงวดในการคัดกรองแอปเกี่ยวกับ COVID-19 ที่ขึ้น App Store, ประกาศปิด Apple Store ทุกสาขานอกจีนแผ่นดินใหญ่จนถึง 27 มีนาคม, ประกาศจัด WWDC 2020 แบบออนไลน์ แต่เริ่มกลับมาเปิด Apple Store ในจีนแล้ว
ที่มา MacRumors |
# กูเกิลแสดงผล Do the Five หรือ 5 ขั้นป้องกันไวรัสในหน้าค้นหา เมื่อค้นคำว่า coronavirus tips
กูเกิลแสดงผล 5 ขั้นตอนพื้นฐาน หรือ Do the Five ในการป้องกันตัวเองจากโรค COVID-19 ระบาด เมื่อผู้ใช้ค้นคำว่า coronavirus tips โดย 5 ขั้นนั้นประกอบด้วย ล้างมือ ใช้ศอกแทนการใช้มือจับโดยตรง เลี่ยงการจับใบหน้า อยู่ห่างจากคนอื่นอย่างน้อย 1 เมตร และเลี่ยงการออกนอกบ้าน
เมื่อกดเข้าไปที่ลองค์ใต้แคมเปญ Do the Five จะเข้าถึงเว็บไซต์ WHO องค์การอนามัยโลกโดยตรง แสดงข้อมูลละเอียดขึ้นว่า การล้างมือบ่อยๆ ช่วยป้องกันเราจากไวรัสได้อย่างไรบ้าง คำแนะนำทางสุขภาพ และความเชื่อผิดๆ ที่เกิดขึ้น และถ้าค้นคำว่า coronavirus ใน YouTube ระบบจะแสดงผลของ WHO ขึ้นมาไว้ด้านบนสุด เพื่อลดการเข้าถึงข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง
ทางกูเกิลระบุด้วยว่า ตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างลบข้อมูลไม่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคระบาด COVID-19 ออกจากแพลตฟอร์มในเครือ ทั้ง YouTube, Google Maps รวมถึงพื้นที่โฆษณาด้วย
ที่มา - Google Blog |
# องค์กรข่าวสร้าง Uncensored Library ใน Minecraft ให้อ่านข่าวที่รัฐบาลหลายประเทศเซนเซอร์
Minecraft ไม่เพียงแค่เป็นพื้นที่ปลดปล่อยจินตนาการของเกมเมอร์ทุกวัย แต่ยังเป็นพื้นที่แสดงความเสรีทางข้อมูลข่าวสาร โดยองค์กรด้านข่าวสารไม่แสวงหาผลกำไร Reporters Without Borders ร่วมกับสตูดิโอดีไซน์ BlockWorks สร้าง Uncensored Library ในเกม Minecraft เป็นห้องสมุดดิจิทัลไว้เก็บบทความที่ถูกเซนเซอร์โดยรัฐบาลบางประเทศ เช่น เวียดนาม เม็กซิโก รัสเซีย ซาอุดิอาระเบีย ที่ไม่อยากให้ประชาชนของตัวเองได้เห็นข้อมูลเหล่านี้
สาเหตุที่ Reporters Without Borders เลือก Minecraft เพราะเป็นที่นิยมใช้งานไม่เว้นแม้แต่ประเทศที่มีการจำกัดข้อมูลข่าวสาร และยังเป็นแพลตฟอร์มที่ไม่ถูกจับตามองโดยรัฐบาล
ตัวอย่างบทความที่ผู้ใช้จะได้เห็นคือ บทความของนักข่าว Washington Post คือ Jamal Khashoggi นักข่าวที่เขียนข่าววิจารณ์ราขวงศ์ซาอุดิอาระเบีย และเขาก็ถูกฆาตกรรมอย่างโหดเหี้ยมด้วย
ผู้เล่นสามารถเข้าถึง Uncensored Library ได้ผ่านแอดเดรส visit.uncensoredlibrary.com
ที่มา - CNET |
# แอปเปิลให้ผู้ใช้ Apple Card เว้นชำระได้ 1 งวด คลายความขัดสนช่วงโรคระบาด
แอปเปิลได้ส่งอีเมลแจ้งลูกค้าผู้ใช้งาน Apple Card ว่า ลูกค้าสามารถเว้นชำระค่างวดเดือนมีนาคมได้ ไม่ต้องเสียค่าปรับค่าเสียหายใดเพิ่มเติม โดยแอปเปิลระบุในอีเมลว่า เข้าใจว่าสถานการณ์โรค COVID-19 ระบาดนั้นเป็นความท้าทายสำหรับทุกคน และลูกค้าบางคนอาจมีปัญหาในการชำระเงินรายเดือน โดย Apple Card มุ่งมั่นที่จะช่วยให้คุณมีสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้น
ในการดำเนินการ ผู้ใช้งานต้องคลิกลิงค์ที่มาพร้อมกับอีเมลแจ้งลูกค้า เพื่อเชื่อมต่อกับฝ่ายบริการลูกค้าของแอปเปิลและทำการลงทะเบียนในโปรแกรมความช่วยเหลือลูกค้า
ที่มา - CNET |
# อนุทินโพส Instagram ระบุไม่เคยเล่นทวิตเตอร์
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข โพสอินสตาแกรมระบุว่าตอนนี้เหลือบัญชีโซเชียลเพียงช่องทางเดียวและไม่เคยเล่นทวิตเตอร์
สัปดาห์ที่ผ่านมาบัญชี @anutin_c ระบุตัวว่าเป็นหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย เปิดมาได้เพียงวันเดียวแล้วปิดไป โดยมีนักข่าวบางส่วนระบุว่าทีมงานยืนยันว่าเป็นบัญชีจริง เช่น Saksith Saiyasombut นักข่าวจาก Channel News Asia หรือ Tanakorn Wongpanya จาก THE STANDARD โดยระบุตรงกันว่าทีมงานเป็นผู้ทำให้
เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา อนุทินเพิ่งปิดบัญชีเฟซบุ๊กไปหลังจากใช้สื่อสารกับประชาชนมาเป็นเวลานาน โดยลบบัญชีหลังจากโพสประกาศกักตัว 14 วันจาก 9 ประเทศ โดยโพสภาพคำสั่งพร้อมลายเซ็น แต่หลังจากนั้นก็มีการแก้ไขลดจำนวนประเทศแล้วให้สัมภาษณ์นักข่าวว่ายังไม่ได้เซ็น โดยไม่ทราบว่าออกไปได้อย่างไร
เขาระบุว่าอินสตาแกรมนี้จะลงเรื่องส่วนตัวไม่ลงเรื่องงาน
ที่มา - Instagram: anutin_charnvirakul |
# Amazon แบนแม่ค้ารายย่อยขายเจลล้างมือโก่งราคา ผู้ขายบางรายมีสต๊อกค้างนับหมื่นขวด
หลังสหรัฐอเมริกาประกาศภาวะฉุกเฉินเรื่อง COVID-19 ก็มีคนหัวใสจำนวนมาก รีบออกไปกว้านซื้อสินค้าที่เกี่ยวข้อง เช่น เจลล้างมือ กระดาษเช็ดที่ต้านแบคทีเรีย เพื่อนำมาขายต่อบนอินเทอร์เน็ตในราคาแพงขึ้น
แต่หลังจากนั้นไม่นาน แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซทั้ง Amazon และ eBay ก็ประกาศนโยบายไม่ให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ขายสินค้าเหล่านี้ และถอดรายการสินค้าของผู้ขายบางรายออกจากระบบ (ตัวเลขคร่าวๆ คือถอดสินค้าหลายแสนชิ้น และปิดบัญชีของผู้ขายนับพันราย)
The New York Times รายงานเรื่องนี้ โดยพบว่ามีพ่อค้าแม่ค้าที่มีสินค้าค้างสต๊อกจำนวนมาก แต่กลับไม่มีช่องทางขายออกไป (ผู้ขายรายหนึ่งมีเจลล้างมือในสต๊อกถึง 17,700 ขวด ผู้ขายอีกรายมีกระดาษค้างอยู่ 500 ห่อ) ซึ่งตรงนี้ถือเป็นช่องว่างทางกฎหมายที่ไม่ชัดเจนนัก เพราะกฎหมายด้านการค้าของสหรัฐอเมริกาแตกต่างกันในแต่ละรัฐ และบางรัฐก็ไม่มีกฎหมายเรื่องการควบคุมราคาด้วยซ้ำ
ที่มา - The New York Times |
# แอปเปิลเข้มงวด คัดกรองแอพเกี่ยวกับ COVID-19 ขึ้น App Store ป้องกันข้อมูลผิดๆ
แอปเปิลประกาศมาตรการเข้มงวดในการคัดกรองแอพที่เกี่ยวกับ COVID-19 ก่อนขึ้น App Store เพื่อป้องกันปัญหาความน่าเชื่อถือของข้อมูล
แอพที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 จะต้องมาจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ เช่น หน่วยงานภาครัฐ, NGO ด้านสุขภาพ, บริษัทที่มีชื่อเสียงด้านสุขภาพ, สถาบันการแพทย์ หรือสถาบันการศึกษาเท่านั้น โดยแอปเปิลแนะนำว่าหากจ้างบริษัทซอฟต์แวร์พัฒนาแอพ ก็ควรส่งแอพเข้ามาในชื่อของหน่วยงานนั้นๆ แทน ซึ่งแอปเปิลจะยกเว้นค่าธรรมเนียม Apple Developer Program ให้สำหรับหน่วยงานเหล่านี้
เกมและแอพหมวดบันเทิงที่เกี่ยวกับ COVID-19 จะไม่อนุญาตให้ขึ้น App Store ทุกกรณี
ที่มา - Apple Developer |
# Verily บริษัทลูกกูเกิล กำลังพัฒนาชุดตรวจไวรัส, เว็บไซต์สำหรับคนอยากตรวจ COVID-19
Verily บริษัทด้าน life science ในเครือ Alphabet ระบุว่ากำลังพัฒนาชุดทดสอบ COVID-19 สำหรับคนทั่วไป สถานะตอนนี้อยู่ในช่วงเริ่มต้นพัฒนา และจะเริ่มทดสอบกับประชาชนในเขต Bay Area ก่อน โดยยังไม่ระบุช่วงเวลา
นอกจากข่าวอย่างเป็นทางการของ Verily เองแล้ว ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐอเมริกา ยังให้ข้อมูลว่า Verily กำลังพัฒนาเว็บไซต์ที่ให้ชาวอเมริกันสามารถเช็คได้ว่า หากต้องการตรวจ COVID-19 จะไปใช้บริการที่ไหนได้บ้าง โดยเว็บไซต์จะเปิดให้บริการในวันจันทร์นี้ (16 มีนาคม) ตามเวลาสหรัฐ
เว็บไซต์นี้จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการหาจุดตรวจ จากนั้นผลตรวจจะถูกส่งไปยังห้องแล็บ และรายงานผลกลับมาให้เช็คได้ผ่านเว็บไซต์แห่งนี้
ที่มา - Vox |
# ผู้ผลิตเครื่อง PCR แบบโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ เตรียมออกชุดตรวจ COVID-19 ชุดละไม่เกิน 500 บาท
Chai ผู้ผลิตเครื่อง qPCR (quantitative polymerase chain reaction) สำหรับตรวจโรคแบบโอเพนซอร์ส (เฉพาะซอฟต์แวร์) เตรียมออกชุดตรวจ COVID-19 ตั้งเป้าชุดตรวจที่ราคา 10-15 ดอลลาร์
เครื่อง Chai qPCR เริ่มวางขายมาตั้งแต่ปี 2014 โดยเป็นเครื่องขนาดพกพาที่ใช้บอร์ด BeagleBoard เป็นฐานหลัก น้ำหนักรวม 4 กิโลกรัม สามารถตรวจหาเชื้อ SARS-CoV-2 ได้ในหนึ่งชั่วโมง
แม้ชุดตรวจจะราคา 10-15 ดอลลาร์ แต่เครื่อง Chai qPCR เองราคาเริ่มต้น 4,499 ดอลลาร์ และยังไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานทางการแพทย์ แต่สามารถใช้เพื่องานวิจัยและการสำรวจส่วนตัว เช่น ตรวจสอบตามบ้านหรือจุดเสี่ยงต่างๆ ได้
ที่มา - BeagleBoard, ChaiBIO.com |
# [COVID-19] ISP สหรัฐไม่ตัดเน็ตหากจ่ายบิลช้า, T-Mobile ให้ลูกค้าทุกคนใช้เน็ตไม่จำกัด
ผู้ให้บริการโทรคมนาคมในสหรัฐอเมริกา ประกาศสนับสนุนโครงการ Keep Americans Connected Pledge ที่ริเริ่มโดย FCC (กสทช. สหรัฐ) เพื่อให้คนอเมริกันสามารถสื่อสารกันต่อไปได้ไม่สะดุด ในช่วงระบาดของโรค COVID-19 จนทำให้คนจำนวนมากต้องทำงานจากที่บ้าน
มาตรการของ Keep Americans Connected มีด้วยกัน 3 ข้อคือ
ไม่ตัดเน็ตหรือระงับบริการ หากลูกค้าไม่ได้จ่ายบิลในช่วง 60 วันข้างหน้า
ไม่คิดค่าปรับที่จ่ายบิลช้า
เปิด Wi-Fi hotspot ให้ทุกคนใช้ฟรี
ตอนนี้ผู้ให้บริการรายใหญ่ทั้ง 4 ของสหรัฐคือ AT&T, Verizon, T-Mobile, Sprint ประกาศสนับสนุนมาตรการทั้ง 3 ข้อแล้ว
กรณีของ T-Mobile ยังทำมากกว่านั้นคือประกาศว่าลูกค้าทั้งหมดของ T-Mobile จะได้ปริมาณเน็ตไม่จำกัด (unlimited smartphone data) บนสมาร์ทโฟน และให้ปริมาณเน็ต hotspot เพิ่มอีก 20GB ในช่วง 60 วันนี้
ที่มา - FCC, T-Mobile, Android Police
ภาพจาก T-Mobile |
# อยู่บ้านดูหนัง Disney นำ Frozen 2, The Rise of Skywalker มาลงออนไลน์ก่อนกำหนด
Disney นำภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ช่วงปลายปี 2019 สองเรื่องคือ Frozen 2 และ Star Wars: The Rise of Skywalker มาฉายบนแพลตฟอร์มดิจิทัลเร็วกว่ากำหนดเดิม
Frozen 2 เริ่มมาขาย/ให้เช่าบนแพลตฟอร์มดูหนังออนไลน์อย่าง Apple TV, Google Play, Amazon มาได้สักพักแล้ว ล่าสุดเปิดให้ชมฟรีบน Disney+ บริการสตรีมมิ่งของ Disney เอง เร็วกว่ากำหนดเดิมถึง 3 เดือน (กำหนดเดิมคือ 26 มิถุนายน)
ส่วน Star Wars: The Rise of Skywalker ก็นำมาขายบน Apple TV, Google Play, Amazon แล้วเช่นกัน เร็วกว่ากำหนดเดิม 17 มีนาคมเล็กน้อย
Disney อธิบายเหตุผลที่ดัน Frozen 2 มาฉายเร็วกว่ากำหนดว่า ต้องการให้ครอบครัวมีความสุขในช่วงเวลาที่ท้าทายอย่างตอนนี้
ที่มา - Polygon |
# Airbnb ประกาศฟรีค่าธรรมเนียมยกเลิกที่พักทั่วโลก ในช่วง COVID-19 ระบาด
Airbnb ออกนโยบายเป็นกรณีพิเศษสำหรับสถานการณ์ไม่ปกติ (Extenuating Circumstances) ให้เจ้าของบ้านและผู้เช่าสามารถยกเลิกการจองที่พัก โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมหรือโดนค่าปรับใดๆ
นโยบายนี้มีผลต่อการจองที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 14 มีนาคม 2020 และการเข้าพักระหว่างวันที่ 14 มีนาคม-14 เมษายน 2020 กับที่พักของ Airbnb ทั่วโลก ยกเว้นประเทศจีนที่สถานการณ์เริ่มคลี่คลายแล้ว และจะกลับไปใช้นโยบายเดิมในวันที่ 1 เมษายน
รายละเอียดเรื่องนโยบายของ Airbnb ต่อสถานการณ์ COVID-19
ที่มา - Airbnb |
# อยู่บ้านไม่มีอะไรทำ Steam ทำลายสถิติผู้เล่นสูงสุด เกือบ 20 ล้านคนพร้อมกัน
เมื่อคืนนี้ Steam ทำสถิติผู้เล่นพร้อมกัน (concurrent users) ที่ 19,728,027 คน หรืออีกนิดเดียวก็ 20 ล้านคน เพิ่มขึ้นสูงจากวันก่อนหน้าที่ทำไว้เกือบ 18 ล้านคน (สถิติเดิมคือ 18.8 ล้านคนในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2020)
เหตุผลสำคัญคงหนีไม่พ้นการกักตัวอยู่บ้านของคนจำนวนมากทั่วโลก เมื่อไม่มีอะไรทำ การเล่นเกมก็ดูตอบโจทย์มากที่สุด ส่วนเกมยอดนิยมอันดับหนึ่งคือ Counter-Strike: Global Offensive ที่มีผู้เล่นพร้อมกันมากกว่า 1 ล้านคน ตามด้วย Dota 2 เกือบ 7 แสนคน และ PUBG ประมาณ 5 แสนคน
ที่มา - Steam, IGN |
# เกม Black Mesa โปรเจกต์รีเมค Half-Life โดยแฟนเกม, ออกจากสถานะ Early Access แล้ว
ข่าวดีสำหรับแฟนเกม Half-Life ซึ่งอาจจะคิดถึงบรรยากาศการต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอดใน Black Mesa ศูนย์วิจัยลับสุดยอดของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา สถานที่ที่เป็นต้นกำเนิดของเหตุการณ์ทุกอย่างในจักรวาลของเกม
เมื่อทีมพัฒนา Crowbar Collective ได้ออก Black Mesa เวอร์ชัน 1.0 เกมซึ่งเป็นการรีเมค Half-Life ภาคแรกเป็นที่เรียบร้อย หลังจากที่ใช้เวลาพัฒนาเกมมาถึง 8 ปี นับจากการเปิดตัวครั้งแรกในฐานะ mod ที่พัฒนาโดยแฟนเกม ซึ่งในขณะนั้นเปิดให้ดาวน์โหลดไปเล่นได้ฟรีหากผู้เล่นมีเกม Half-Life 2 ติดตั้งอยู่แล้ว
และแม้ว่า Black Mesa จะเป็นผลงานที่ได้รับการพัฒนาโดยทีมงานอาสาซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของแฟนเกม ตัวเกมเวอร์ชัน mod ก็ยังได้รับคำชมอย่างล้นหลามมาตั้งแต่ช่วงต้นๆ ของการพัฒนา จนในปี 2015 ทางทีมก็ได้รับอนุญาตจาก Valve ค่ายเกมที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ภาคต้นฉบับให้สามารถวางขายในฐานะเกมตัวเต็ม (standalone) อย่างเป็นทางการ และได้เริ่มวางขายแบบ Early Access บนหน้าร้าน Steam ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ภาพจาก Crowbar Collective
การมาถึง Black Mesa เวอร์ชัน 1.0 ทำให้ตอนนี้ตัวเกมอยู่ในสถานะเสร็จสมบูรณ์ ส่วนของใหม่ที่ผู้เล่นจะได้รับก็ไม่ใช่เพียงแค่การอัพเกรดภาพกราฟฟิกไปใช้ Source Engine เวอร์ชันปรับปรุงจาก Half-Life 2 เท่านั้น ทาง Crowbar Collective ยังได้ปรับปรุงระบบการเล่น, ความฉลาดของ AI ศัตรู, ออกแบบฉากบางส่วนใหม่ ตลอดจนยังได้เพิ่มเนื้อหาในช่วงท้ายของเกม (ฉาก Xen ที่แฟนเกมส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่าภาคต้นฉบับทำได้ไม่ดีเท่าไหร่นัก) ให้อีกด้วย
สำหรับผู้ที่ไม่เคยเล่น Half-life ภาคแรก (1998) เป็นเกมเดินหน้ายิงเกมแรกๆ ที่ใช้เทคนิคการเล่าเรื่องผ่านการวางสคริปต์เหตุการณ์ซึ่งได้รับการออกแบบมาอย่างดี จนเป็นนวัตกรรมที่ส่งผลให้ Half-Life เป็นที่ชื่นชอบอย่างมากในสมัยนั้น
ผู้เล่นจะได้รับบทเป็น Gordon Freeman นักฟิสิกส์ผู้เผชิญหน้ากับการบุกรุกของเอเลี่ยน ซึ่งมีต้นตอมาจากความผิดพลาดของการทดลองในศูนย์วิจัย Black Mesa ทำให้ Gordon ต้องต่อสู้, เอาตัวรอด ร่วมมือกับผู้รอดชีวิตเพื่อหยุดยั้งการรุกรานของเอเลี่ยน
ที่มา - The Verge, Steam Community (1, 2) |
# Apple ประกาศปิด Apple Store ทุกสาขานอกจีนแผ่นดินใหญ่ จนถึงวันที่ 27 มีนาคม
แอปเปิลประกาศปิดร้านค้า Apple Store ทุกสาขานอกจีนแผ่นดินใหญ่ มีผลตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 27 มีนาคม 2020 ซึ่งรวมทั้งสาขาไอคอนสยาม ประเทศไทย เนื่องจากปัญหาการระบาดของ COVID-19 โดยพนักงานที่ได้รับค่าจ้างเป็นรายชั่วโมง จะยังได้รับค่าจ้างดังเช่นการทำงานปกติ
ทั้งนี้แอปเปิลยังประกาศบริจาคเงิน 15 ล้านดอลลาร์ เพื่อต่อสู้กับ COVID-19 ทั่วโลก ทั้งเพื่อรักษาผู้เจ็บป่วย และช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจและชุมชนจากการแพร่ระบาดนี้
แอปเปิลแนะนำให้ลูกค้าที่ต้องการซื้อสินค้า เปลี่ยนไปสั่งสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ส่วนการสนับสนุนให้ดาวน์โหลดแอป Apple Store หรือไปที่ support.apple.com
ที่มา: แอปเปิล |
# สหรัฐฯ อนุญาตให้เอาน้ำยาล้างมือขนาด 350ml ขึ้นเครื่องบินได้แล้ว
Transportation and Security Administration (TSA) หน่วยงานควบคุมความปลอดภัยการบินเปลี่ยนกฎการนำของเหลวขึ้นเครื่องบินจากเดิมอนุญาตขวดละไม่เกิน 3.4 ออนซ์ หรือประมาณ 100 มิลลิลิตร โดยหากเป็นน้ำยาล้างมือจะอนุญาตให้นำขวดขนาด 12 ออนซ์ หรือ 350 มิลลิลิตรขึ้นเครื่องได้
อย่างไรก็ดี น้ำยาล้างมือขวดขนาดใหญ่กว่าปกติจะถูกแยกตรวจเป็นพิเศษ และทาง TSA เตือนว่าหากพกขวดใหญ่การตรวจความปลอดภัยก่อนขึ้นเครื่องอาจจะช้าลง
ที่มา - The Washington Post
ภาพเจลล้างมือจาก Dettol India |
# GitLab แบ่งปันประสบการณ์ให้พนักงานทำงานที่บ้าน ไม่ใช่แค่การทำงานทางไกล แต่แนวคิดต้องเปลี่ยนไป
เหตุการณ์โรค COVID-19 น่าจะทำให้องค์กรจำนวนมากต้องปรับตัวอนุญาตให้พนักงานทำงานที่บ้านกันเป็นวงกว้าง บริษัทที่ให้บริการเครื่องมือออนไลน์จำนวนมากก็พากันออกโปรโมชั่นพิเศษเพื่อให้เข้าถึงเครื่องมือได้ง่ายขึ้น เช่น Office 365, Google Hangout Meet, Zoom, หรือ WebEx แต่บริษัทเทคโนโลยีอย่าง GitLab นั้น แชร์ประสบการณ์การทำงานร่วมกันระหว่างพนักงาน 1,200 คน ที่กระจายอยู่ 65 ประเทศทั่วโลก มาตั้งแต่ปี 2016
GitLab เป็นบริษัทที่ทำงานระยะไกลเต็มรูปแบบ (all-remote company) โดยระบุว่าการปรับบริษัทเป็นบริษัทที่ทำงานระยะไกลได้จะเป็นเรื่องยากในช่วงแรก แต่ในระยะยาวจะทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพดีกว่าการทำงานในสำนักงานเสียอีก
จุดเสียสำคัญของการทำงานระยะไกล คือพนักงานไม่สามารถสื่อสารกันอย่างไม่เป็นทางการเป็นระยะได้ ตัว GitLab ออกแบบกระบวนการสื่อสารให้ไม่เป็นทางการอย่างจงใจ และให้เวลากับการสร้างความสัมพันธ์ในที่ทำงาน ทำให้พนักงานด้วยกันสามารถคุยกันได้แม้ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับงานก็ตาม โดยรูปแบบมีหลากหลาย ทั้งการพบปะกันทั้งบริษัทเป็นระยะ หรือการออกค่าเดินทางให้พนักงานไปเจอหน้าเพื่อนร่วมงานในบริษัทปีละสองครั้ง ครั้งละ 150 ดอลลาร์ หรือหากไปร่วมงานสำคัญ เช่น งานแต่งงานก็เบิกได้ถึง 300 ดอลลาร์
แนวทางการทำงานระยะไกลทำให้บริษัทต้องทำเอกสารทั้งหมดให้ชัดเจน คู่มือพนักงานของ GitLab นั้นเข้าดูจากเว็บได้โดยไม่ต้องล็อกอิน, แต่ละทีมจะมี OKR ของตัวเองที่ชัดเจน และคนอื่นมองเห็นได้ทั้งบริษัท, การประชุมแต่ละครั้งแทนที่จะเขียนลงกระดานก็เป็นการแก้เอกสารลงบน Google Doc ทั้งหมด การสื่อสารเป็นแบบ asynchornous แปลว่าคนที่มาเห็นการประชุมภายหลังก็สามารถติดตามได้ว่ามีการพูดคุยอะไรบ้าง
ข้อมูลส่วนส่วนมากของ GitLab เปิดเผยให้กว้างกว่าที่จำเป็น เป็นแนวทางตรงข้ามกับแนวทางรู้เท่าที่ต้องรู้ (need-to-know) เช่น แนวทางการคำนวณค่าจ้างนั้นก็มีเอกสารบอกไว้ชัดเจน ให้สาธารณะรับรู้
อย่างไรก็ดี การทำงานระยะไกลนั้นมีอุปสรรคที่ควรระวัง โดยเฉพาะกับพนักงานที่เริ่มต้นงานใหม่ จะไม่มีพี่เลี้ยงมาช่วยดูแลเหมือนในสำนักงาน และพนักงานที่ไม่เคยทำงานที่บ้านอาจจะรู้สึกเหงา ยิ่งการทำงานคนละประเทศอาจจะทำให้การประชุมคนละช่วงเวลากินเวลาส่วนตัวพนักงานบางคนไป สำหรับบริษัทเองแล้ว ยังต้องระวังว่ากระบวนการของบริษัทจะไปขัดกับกฎหมายแรงงานในประเทศต่างๆ ที่พนักงานอยู่
บริษัทเทคโนโลยีอีกบริษัทที่พนักงานกระจายกันไปทั่วโลก คือ Automattic ผู้พัฒนา Wordpress
ที่มา - GitLab |
# รัฐมนตรีดิจิทัลไต้หวันลงมือแก้โค้ดพร้อมสร้าง pull request ให้เว็บรายงานสถานการณ์ COVID-19 ของญี่ปุ่น
ในช่วงที่มีการระบาดของโรค COVID-19 รัฐบาลกรุงโตเกียวได้เปิดเว็บ COVID-19 Task Force ขึ้นมาพร้อมปล่อยซอร์สโค้ดลง GitHub เพื่อเป็นเว็บสำหรับรายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อในแง่มุมต่างๆ
ต่อมาเมื่อวันที่ 8 มีนาคม Audrey Tang รัฐมนตรีดิจิทัลของไต้หวันได้ช่วยแก้โค้ดของเว็บไซต์ดังกล่าวในส่วนของเมนูเปลี่ยนภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน (zh-TW) โดยเปลี่ยนจากตัวอักษร 体 เป็นอักษร 體 ที่เหมาะสมกว่า จากนั้นเธอได้สร้าง pull request เพื่อให้ผู้ดูแลโปรเจ็คได้เข้ามารีวิว ซึ่งผู้รีวิวโค้ดสองคนได้ยอมรับการแก้ไขนี้พร้อมคอมเมนต์ขอบคุณ และ merge เข้าโค้ดหลักแล้ว
หลังการช่วยแก้ไขโค้ดดังกล่าว ได้มีผู้ใช้ GitHub เข้ามาร่วมแสดงความขอบคุณกว่าพันคน
ทั้งนี้ Tang ใช้งาน GitHub มานานแล้วในชื่อ audreyt โดยมีส่วนร่วมกับโครงการต่างๆ อยู่เสมอ โครงการหลักที่เธอดูแลคือ mask-static ที่เป็น Progressive Web App สำหรับแสดงจุดที่มีหน้ากากอนามัยขาย
Audrey Tang เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีดิจิทัลของไต้หวันเมื่อเดือนตุลาคมปี 2016 แบบเป็น "รัฐมนตรีลอย" (Minister without Portfolio) คือไม่ได้ประจำอยู่ในกระทรวงใด แต่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เฉพาะบางอย่าง โดย Tang ได้รับมอบหมายให้ดูแลการสื่อสารด้านนโยบายรัฐบาลและจัดการข้อมูลที่รัฐบาลปล่อยออกมาเพื่อให้สื่อสารกับประชาชนในช่องทางดิจิทัล
แบ็คกราวด์ของ Tang นั้นน่าสนใจ ก่อนมาเป็นรัฐมนตรีเธอเป็นโปรแกรมเมอร์มาโดยตลอด เธอเริ่มหัดเขียนภาษา Perl ตั้งแต่อายุ 12 และลาออกจากโรงเรียนมัธยมเพราะปรับตัวไม่ได้ ต่อมาก็ทำงานเป็นโปรแกรมเมอร์ให้หลายบริษัทตั้งแต่อายุ 19 และเคยทำงานใน Silicon Valley ด้วย นอกจากนี้ในปี 2005 เธอก็เริ่มแสดงออกว่าต้องการเปลี่ยนเป็นเพศหญิงโดยการเปลี่ยนชื่อ และเธอยังเป็นบุคคลข้ามเพศคนแรกในคณะรัฐมนตรีของไต้หวันด้วย
ที่มา - GitHub, Wikipedia |
# บริษัทเรือสำราญ Princess Cruise ประกาศข้อมูลรั่วไหล กระทบพนักงาน, ลูกเรือ, แขกที่ใช้บริการ
Princess Cruises บริษัทเดินเรือสำราญได้ออกแถลงการณ์เรื่องข้อมูลส่วนตัวรั่วไหล โดยทางบริษัทระบุว่าในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมปีที่แล้วทางบริษัทได้ตรวจพบกิจกรรมที่น่าสงสัยบนระบบเครือข่ายจึงเริ่มสืบสวนผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว
ทางบริษัทเรือสำราญระบุว่า 11 เมษายนถึง 23 กรกฎาคมปีที่แล้ว ทางบริษัทตรวจพบผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าถึงบัญชีอีเมลของพนักงานบริษัทบางคนที่มีข้อมูลส่วนตัวหลาย ๆ อย่าง ตั้งแต่ข้อมูลของพนักงาน, ลูกเรือ และแขกที่เข้าพัก
สำหรับข้อมูลที่ได้รับผลกระทบในการรั่วไหลครั้งนี้ ก็มีตั้งแต่ชื่อ, ที่อยู่, Social Security Number, เลขพาสปอร์ต, เลขใบขับขี่, เลขบัตรเครดิต และข้อมูลบัญชีด้านการเงิน ไปจนถึงข้อมูลด้านสุขภาพ ซึ่งทาง Princess Cruise ยังไม่พบหลักฐานการใช้ข้อมูลเหล่านี้ในทางที่ผิดที่ส่งผลถึงผู้ได้รับผลกระทบแต่ละคน และเป็นข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลเจาะจง (not specific)
ตอนนี้ Princess Cruise ได้รายงานให้ทางการรับทราบแล้ว รวมถึงทางบริษัทได้เริ่มทบทวนรวมถึงปรับเปลี่ยนนโยบายและกระบวนการเกี่ยวกับความปลอดภัยของบริษัทเพื่อป้องกันเหตุการณ์ในอนาคต
ที่มา - Princess
ภาพจาก Princess |
# BYD จากรถไฟฟ้า สู่โรงงานผลิตหน้ากากอนามัยใหญ่ที่สุดในโลก กำลังผลิต 5 ล้านชิ้น/วัน
เรารู้จัก BYD ในฐานะบริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่และรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ของจีน แต่ล่าสุด BYD หันมาทุ่มกำลังผลิตหน้ากากอนามัยแทน โดยโรงงานผลิตหน้ากากของ BYD มีกำลังผลิตหน้ากาก 5 ล้านชิ้นต่อวัน และสารป้องกันการติดเชื้อ (disinfectant) 3 แสนขวดต่อวัน ถือเป็นโรงงานที่มีกำลังผลิตหน้ากากสูงที่สุดของโลก
BYD เริ่มปรับโรงงานของตัวเองในเซินเจิ้นเป็นโรงงานผลิตหน้ากากอนามัย ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมกราคม และเริ่มเดินสายการผลิตตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์
สิ่งที่น่าสนใจคือการปรับโรงงานและสายการผลิตของ BYD ทำได้เร็วมาก โดยใช้เวลาวิจัยและปรับสายการผลิตเป็นหน้ากากอนามัยได้ภายใน 7 วัน (จากปกติ 15-30 วัน) และใช้เวลาวิจัยน้ำยาล้างมือเกรดการแพทย์ภายใน 6 วัน เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เกิดจากทีมพิเศษ (special task force) ที่มีพนักงานกว่า 3 พันคนเข้าร่วม
BYD ยังเดินหน้าขยายสายการผลิตหน้ากากอนามัย โดยเพิ่มจำนวนเครื่องจักรได้วันละ 5-10 เครื่อง คิดเป็นปริมาณหน้ากากวันละ 3-5 แสนชิ้น
ที่มา - BYD |
# Apple ประกาศจะจัดงานใหญ่ประจำปี WWDC 2020 ในรูปแบบออนไลน์เช่นกัน
แอปเปิลประกาศว่างานสัมมนานักพัฒนาประจำปีนี้ หรือ WWDC 2020 ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน จะเปลี่ยนรูปแบบเป็นออนไลน์ทั้งหมด เนื่องจากปัญหาการระบาดของ COVID-19
ทั้งนี้แอปเปิลระบุว่า เนื้อหาการนำเสนอออนไลน์นั้นจะเป็นรูปแบบและให้ประสบการณ์ใหม่ทั้งหมด โดยจะมีการเปิดตัวทั้ง iOS, iPadOS, macOS, watchOS และ tvOS เวอร์ชันใหม่ ด้าน Craig Federighi หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรมซอฟต์แวร์ของแอปเปิลบอกใบ้ว่า เนื้อหาที่จะนำเสนอใน WWDC 2020 เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีใหม่ที่แอปเปิลกำลังพัฒนาอยู่ ซึ่งจะต้องออกมายิ่งใหญ่มาก
ตามปกติแอปเปิลจะจัดงาน WWDC ที่เมือง San Jose ซึ่งการยกเลิกและเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบออนไลน์นั้น ย่อมทำให้เมืองขาดโอกาสทางรายได้ แอปเปิลจึงประกาศมอบเงิน 1 ล้านดอลลาร์ ให้กับองค์กรท้องถิ่นเพื่อชดเชยความเสียหายอีกด้วย
แอปเปิลจะประกาศรายละเอียดและกำหนดการต่าง ๆ ของ WWDC 2020 ในรูปแบบออนไลน์ เร็ว ๆ นี้
ที่มา: แอปเปิล |
# Bill Gates ลาออกจากกรรมการบอร์ดบริหาร Microsoft แล้ว เพื่อโฟกัสกับงานมูลนิธิมากขึ้น
ไมโครซอฟท์ประกาศการเปลี่ยนแปลงในบอร์ดบริหารของบริษัทวันนี้ โดย บิลล์ เกตส์ ผู้ก่อตั้งและอดีตซีอีโอไมโครซอฟท์ ได้ลาออกจากเป็นกรรมการบอร์ดบริหาร เพื่อจะใช้เวลามากขึ้นกับงานการกุศลของมูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์ (Bill & Melinda Gates Foundation) ที่สนับสนุนโครงการด้านสุขภาพ, การศึกษา และภาวะโลกร้อน
ทั้งนี้ บิลล์ เกตส์ ยังมีอีกตำแหน่งเดียวที่เหลือในไมโครซอฟท์ คือการเป็นผู้ให้คำแนะนำด้านเทคโนโลยี (Technology Advisor) โดยตรงกับซีอีโอ Satya Nadella และผู้บริหารระดับสูงคนอื่น
บิลล์ เกตส์ ลาออกจากซีอีโอไมโครซอฟท์เมื่อปี 2000 และประกาศวางมือจากการงานประจำที่ไมโครซอฟท์เมื่อปี 2008 แต่ยังคงตำแหน่งประธานบอร์ดบริหาร ซึ่งต่อมาเขาก็ลาออกจากการเป็นประธานบอร์ดในปี 2014
ข้อมูลจาก FactSet ระบุว่าปัจจุบัน บิลล์ เกตส์ ถือหุ้นไมโครซอฟท์อยู่ 1.36% ของหุ้นทั้งหมด
ที่มา: ไมโครซอฟท์ และ CNBC |
# แอพ Your Phone รองรับการ Copy/Paste ข้ามอุปกรณ์ ระหว่างพีซีกับสมาร์ทโฟน
ไมโครซอฟท์ออก Windows 10 Insider Preview Build 19582 ให้ผู้ทดสอบกลุ่ม Fast Ring โดยการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจอยู่ที่แอพ Your Phone
Your Phone เวอร์ชันใหม่รองรับมือถือเรือธงรุ่นใหม่ของซัมซุงแล้ว ทั้ง Galaxy S20 และ Galaxy Z Flip (ไมโครซอฟท์เป็นพาร์ทเนอร์ที่ขึ้นเวทีงานแถลงของซัมซุง) แถมมาพร้อมฟีเจอร์ใหม่ cross-device copy and paste ที่เราสามารถกด Ctrl+C บนพีซี แล้วไปสั่ง Paste บนมือถือได้ (หรือจะกลับทิศกันก็ได้)
ฟีเจอร์นี้สามารถใช้ได้กับ Galaxy S20/S20+/S20 Ultra และ Galaxy Z Flip เท่านั้น นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์อีกตัวที่ประกาศมาก่อนหน้านี้แล้วคือ รองรับการส่งข้อความ RCS จากพีซีด้วย
ที่มา - Microsoft |
# Adobe ไตรมาสล่าสุด รายได้ทำสถิติใหม่อีกครั้ง ทะลุ 3,000 ล้านดอลลาร์
Adobe รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 1 ตามปีการเงินบริษัท 2020 สิ้นสุดวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2020 รายได้รวมยังคงทำสถิติใหม่สูงสุดต่ออีกไตรมาส โดยเพิ่มขึ้น 19% จากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนเป็น 3,091 ล้านดอลลาร์ และมีกำไรสุทธิ 955 ล้านดอลลาร์
ผลประกอบการไตรมาสนี้ Adobe ระบุว่า ได้บันทึกค่าใช้จ่ายจากการยกเลิกงาน Adobe Summit เนื่องจากปัญหา COVID-19 ไปแล้ว
รายได้จากกลุ่ม Digital Media เติบโต 22% เป็น 2,170 ล้านดอลลาร์ ถ้าดูเฉพาะผลิตภัณฑ์ตระกูล Creative รายได้เพิ่มขึ้นเป็น 1,820 ล้านดอลลาร์ ส่วน Document Cloud อยู่ที่ 351 ล้านดอลลาร์
ซีอีโอ Shantanu Narayen กล่าวว่าไตรมาสนี้เป็นครั้งแรกที่ Adobe มีรายได้รวมทะลุ 3 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่สถานการณ์ COVID-19 นั้น เขากล่าวว่าบริษัทจะทำให้พนักงานมั่นใจว่ามีความปลอดภัย โดยยังส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าได้ รวมทั้งโฟกัสยังอยู่ที่แผนงานระยะยาวต่อไป
ที่มา: Adobe |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.