txt
stringlengths 202
53.1k
|
---|
# FIFA แถลงโต้ EA ประกาศนโยบายใหม่ ไม่ให้สิทธิบริษัทผูกขาดรายเดียวอีกแล้ว
ต่อเนื่องจากประเด็นข่าวเรื่องชื่อเกม EA FIFA ที่ EA เจรจากับ FIFA ไม่ลงตัว โดย EA เป็นฝ่ายออกมาเปิดเกมก่อนว่าอาจเปลี่ยนไปใช้ชื่อเกมอื่นแทน
คราวนี้ FIFA ออกมาโต้กลับบ้าง ออกแถลงการณ์ผ่านหน้าเว็บว่าจะปรับแนวทางด้านเกมและอีสปอร์ต (a new commercial positioning) โดยมองว่าควรเปิดกว้างให้บริษัทมากกว่า 1 รายครองสิทธิเพียงรายเดียว
FIFA บอกว่าตอนนี้มีบริษัทเทคโนโลยีหลายรายเข้ามาแข่งขันเพื่อชิงสิทธิต่างๆ ของ FIFA ซึ่งแนวทางขององค์กรจะเลือกบริษัทที่เหมาะสมในแต่ละด้าน (range of suitable parties) เพื่อให้มั่นใจว่า FIFA จะสร้างโอกาสในการเข้าถึงแฟนเกมได้สูงสุด
นอกจากนี้ FIFA ยังเปิดตัวแบรนด์อีสปอร์ตของตัวเองชื่อ FIFAe โดยมีการแข่งขันรายการต่างๆ ตามในคลิปด้วย
ท่าทีของ FIFA ชัดเจนว่าต้องการให้บริษัทอื่นได้สิทธิในชื่อแบรนด์และทัวร์นาเมนต์ของ FIFA ด้วย (สิทธิในชื่อนักกีฬาอยู่กับสมาคมผู้เล่นคือ FIFPRO ซึ่ง EA เพิ่งเซ็นสัญญาต่ออายุไปแล้ว) โอกาสที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดคือ EA น่าจะยังได้ทำตลาดเกมชื่อ FIFA ต่อในบางเวอร์ชัน แต่ FIFA ก็จะเซ็นสัญญากับบริษัทอื่นเพื่อมาคานอำนาจของ EA ด้วยเช่นกัน
ที่มา - FIFA, IGN, ภาพจาก FIFA |
# Minecraft ลง Game Pass for PC ทั้งสองเวอร์ชัน Java และ Bedrock
แนวทางของไมโครซอฟท์กับ Xbox Game Pass คือการนำเกมทั้งหมดของตัวเองมาให้เล่นบน Game Pass เพื่อสร้างคลังเกมขนาดใหญ่จูงใจผู้เล่น (เป็นเหตุผลว่าทำไมต้องไล่ซื้อค่ายเกมจำนวนมาก) แต่ที่ผ่านมา มีเกมของไมโครซอฟท์ที่ไม่เคยลง Game Pass มาก่อนคือเกมใหญ่ที่สุดอย่าง Minecraft
เมื่อคืนนี้ ไมโครซอฟท์ประกาศนำ Minecraft มาลง Game Pass for PC แล้ว แถมมาทั้งทียังมาพร้อมกัน 2 เวอร์ชันคือ Java Edition แบบดั้งเดิม และ Bedrock Edition เวอร์ชันใหม่ (ชื่อเดิมคือ Minecraft for Windows 10) ทั้งสองเวอร์ชันรองรับการเล่นแบบ cross play ร่วมกับแพลตฟอร์มอื่น
นอกจากนี้ Minecraft ยังประกาศอัพเดตใหญ่ของปีหน้า 2022 ชื่อ The Wild Update เน้นการสร้างป่า โดยมีบล็อคของใหม่คือ โคลน (mud) และต้นโกงกาง (mangrove swamp) รวมถึงสัตว์ตระกูลกบและลูกอ๊อด (frog/tadpole) ที่แฟนๆ เรียกร้องกันมานานด้วย
ที่มา - Xbox, Minecraft |
# NCC Group สร้างปัญญาประดิษฐ์ทำนายเลขสุ่มที่สร้างจาก xorshift128 ได้สำเร็จ
Mostafa Hassan นักวิจัยจาก NCC Group รายงานถึงการสร้างโมเดลปัญญาประดิษฐ์เพื่อทำนายผลจากตัวสร้างเลขสุ่มแบบ xorshift128 โดยอาศัยเพียงตัวเลขที่สุ่มออกมาสี่ตัวสุดท้ายเท่านั้น
xorshift128 เป็นตัวสร้างเลขสุ่มเทียม (pseudo random number generator - PRNG) ที่สร้างเลขที่ดูเหมือนสุ่มจากสถานะภายใน โดย PRNG ในกลุ่ม xorshift นั้นเป็นตัวสร้างเลขสุ่มที่ทำงานได้เร็ว วงจรหรือโค้ดเรียบง่ายไม่ซับซ้อน และเลขสุ่มที่ได้มีคุณภาพดีพอสมควร อย่างไรก็ดี xorshift ไม่ใช่ตัวสร้างเลขสุ่มสำหรับการเข้ารหัสลับ โดยมันไม่ทนทานต่อการทำนายตัวเลขสุ่มอยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมาก็มักมีนักพัฒนาเผลอใช้ตัวเลขเลขสุ่มเหล่านี้ในโค้ดรักษาความปลอดภัยที่ควรใช้ตัวสร้างเลขสุ่มสำหรับการเข้ารหัสอยู่เรื่อยๆ
โมเดลปัญญาประดิษฐ์ที่ Hassan ออกแบบมีขนาดเพียง 164,896 พารามิเตอร์เท่านั้น โมเดลสามารถทำนายค่าสุ่มจาก xorshift128 ได้ 100% Hassan ระบุว่าการที่ประสิทธิภาพของโมเดลสูงเช่นนี้เป็นเพราะค่าเอาต์พุตของ xorshift128 คาดเดาได้ (deterministic) อยู่แล้ว และการทำนายค่าเช่นนี้ไม่จำเป็นต้องใช้โมเดลปัญญาประดิษฐ์แต่สามารถสร้างสมการเพื่อทำนายค่าได้โดยตรง แม้ว่าคนทั่วไปดูค่าที่ได้แล้วจะดูเหมือนเลขสุ่มก็ตาม
ที่่มา - NCC Group |
# ตู้เย็นเล็ก Xbox Mini Fridge เปิดราคา 99.99 ดอลลาร์ เตรียมเปิดพรีออเดอร์แล้ว
ตู้เย็นเล็ก Xbox Mini Fridge ที่เปิดตัวเมื่อกลางปีนี้ ประกาศราคาขายแล้วที่ 99.99 ดอลลาร์ เริ่มเปิดรับพรีออเดอร์ในวันที่ 19 ตุลาคมนี้ และจะวางขายตามร้านค้าปลีกในประเทศต่างๆ ช่วงเดือนธันวาคม 2021
ตู้เย็น Xbox สร้างล้อตามมุขตู้เย็นยักษ์ Xbox Series X เมื่อปี 2020 โดยยังคงสัดส่วน 1:1 ตามต้นฉบับ สามารถใส่น้ำได้ 10 กระป๋อง มีช่องเสียบ USB ให้สามารถชาร์จอุปกรณ์อื่นๆ ต่อได้ด้วย
ไมโครซอฟท์บอกว่าในอดีตเคยมีคำพูดกันว่า “Xbox and Chill” (เปิด Xbox แล้วนั่งเล่นเกมสนุกๆ) แต่หลังจากตู้เย็นนี้วางขาย เราจะได้ความหมายว่า "เปิด Xbox แล้วกินน้ำเย็นๆ" สักที
ที่มา - Xbox |
# ซีอีโอ Square เผย กำลังศึกษาแนวทางสร้างระบบขุด Bitcoin ที่ใช้งานง่าย และมีประสิทธิภาพสูง
Jack Dorsey ซีอีโอ Square ได้ทวีตเผยว่า Square กำลังพิจารณาสร้างระบบขุดบิตคอยน์ โดยใช้ชิปเซตปรับแต่งและซอฟต์แวร์แบบโอเพ่นซอร์ส สำหรับผู้ใช้งานส่วนบุคคลและระดับองค์กร โดยโครงการนี้จะดำเนินงานในแบบเดียวกับฮาร์ดแวร์กระเป๋าเงินบิตคอยน์ ที่เขาเคยพูดถึงก่อนหน้านี้
Jack บอกว่าที่โครงการระบบขุดบิตคอยน์ยังมีสถานะต้องศึกษาพิจารณา เพราะว่าการออกแบบชิปเซตเองนั้นแพงและลงทุนสูงมาก แต่เป้าหมายที่เขาต้องการคือการสร้างระบบขุดที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในแง่การใช้พลังงาน ซึ่งทางออกน่าจะเป็นการออกแบบใหม่ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ทำงานประสานกัน
สุดท้ายเขาบอกว่าระบบขุดบิตคอยน์ที่อยากได้นั้น ควรให้ทุกคนเข้าถึงและใช้งานได้ง่าย เหมือนแค่ติดตั้งเสียบปลั๊กก็พอแล้ว เขาย้ำอีกรอบว่าโครงการนี้สถานะเป็นไอเดีย ที่ทีมงานกำลังศึกษาความเป็นไปได้อยู่ว่าจะออกมาในรูปแบบใด
ที่มา: Engadget |
# ไมโครซอฟท์รายงานการโจมตี DDoS เดือนสิงหาคม กินแบนด์วิดท์ถึง 2.4 เทราบิตต่อวินาที
ไมโครซอฟท์รายงานถึงการโจมตีแบบ DDoS ที่ Azure ต้องรับมือในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา พบว่ามีความรุนแรงสูงขึ้นมาก ช่วงที่หนักหนาที่สุดนั้นการโจมตีกินแบนด์วิดท์ไปถึง 2.4 เทราบิตต่อวินาที
การโจมตีครั้งนี้แบ่งเป็น 3 ระลอก ใช้แหล่งโจมตีประมาณ 70,000 เครื่องจากแถบเอเชีนแปซิฟิก เช่น มาเลเซีย, เวียดนาม, ไต้หวัน, ญี่ปุ่น, และจีน และยังมีชาติอื่นๆ ด้วย การโจมตีอาศัยเทคนิค UDP reflection หรือการปลอมไอพีต้นทางเป็นหมายเลขไอพีของเหยื่อ เพื่อให้เซิร์ฟเวอร์ตอบกลับไปหาเหยื่อด้วยข้อมูลขนาดใหญ่จนเต็มแบนด์วิดท์
ไมโครซอฟท์ไม่เปิดเผยว่าลูกค้ารายใดเป็นเป้าหมายของการโจมตีครั้งนี้ แต่ระบุว่าลูกค้าไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด
ที่มา - Azure Blog |
# Yanolja สตาร์ทอัพการเดินทางของเกาหลีใต้ ซื้อหุ้นอีคอมเมิร์ซ Interpark มูลค่าดีล 8.3 พันล้านบาท
Yanolja สตาร์ทอัพแพลตฟอร์มด้านการเดินทางของเกาหลีใต้ ประกาศบรรลุข้อตกลงเพื่อซื้อหุ้น 70% ใน Interpark เว็บอีคอมเมิร์ซในประเทศ ซึ่งแฟน K-Pop อาจจะคุ้นชื่อเนื่องจากมีบริการสั่งซีดีส่งต่างประเทศ โดยมีมูลค่าดีล 2.94 แสนล้านวอน หรือประมาณ 8,300 ล้านบาท
Yanolja ให้เหตุผลของการเข้าถือหุ้นใหญ่ว่า Interpark มีธุรกิจอีคอมเมิร์ซสำหรับลูกค้าต่างประเทศอยู่แล้ว ซึ่งจะช่วยให้บริษัทสามารถขยายตลาดออกไปได้ทั่วโลก โดยทั้งสองบริษัทจะตั้งบริษัทใหม่เพื่อโฟกัสอีคอมเมิร์ซสำหรับการท่องเที่ยว สินค้าดนตรี-บันเทิง สินค้าเกาหลี และหนังสือ
ผู้ลงทุนรายสำคัญใน Yanolja คือกองทุน Vision Fund ของ SoftBank ซึ่งลงทุนไป 2 ล้านล้านวอน เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ปีที่ผ่านมาบริษัทมีกำไรจากการดำเนินงาน 1.61 หมื่นล้านวอน แม้ได้รับผลกระทบจากโควิด 19
ที่มา: The Korea Times |
# แอปเปิลไล่พนักงานแกนนำกลุ่มเคลื่อนไหว #AppleToo ออกแล้ว
ก่อนหน้านี้ไม่นาน มีพนักงานแอปเปิลตั้งกลุ่ม #AppleToo เขียนจดหมายเปิดผนึกถึง Tim Cook ร้องเรียนปัญหาในที่ทำงานหลายอย่าง
ล่าสุดมีข้อมูลว่า Janneke Parrish พนักงานฝ่าย Apple Maps และแกนนำกลุ่ม #AppleToo ถูกไล่ออกจากบริษัทแล้ว
ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดเรื่องการไล่ออกมากนัก ตามข่าวบอกว่าสาเหตุคือเธอลบไฟล์บางไฟล์ออกจากโทรศัพท์ของบริษัทในระหว่างกระบวนการสอบสวน ไฟล์ที่ว่านี้ครอบคลุมถึงแอพ Robinhood, Pokemon Go, Google Drive แต่พนักงานบางส่วนก็ไม่เชื่อ และมองว่าสาเหตุจริงๆ มาจาก Janneke เคลื่อนไหวเพื่อรวมกลุ่มพนักงานมากกว่า
ที่มา - The Verge |
# Windows 11 เดินหน้าพัฒนาต่อ โชว์ภาพอีโมจิชุดใหม่ แต่ดันไม่ใช่อีโมจิ 3D ที่เคยสัญญาไว้
หลังเสร็จภารกิจออก Windows 11 ตัวจริง (GA) ไมโครซอฟท์ก็เดินหน้าพัฒนา Windows 11 ต่อภายใต้โครงการ Windows Insider และออก Preview Build 22478 ถือเป็นรุ่นพรีวิวตัวแรกของ Windows 11 เวอร์ชันถัดไป (ตอนนี้เปลี่ยนมาอัพเดตปีละครั้งแล้ว รอบหน้าเจอกันตุลาคม 2022)
ของใหม่ใน Build 22478 คืออีโมจิแบบใหม่ที่ปรับดีไซน์ตามแนวทาง Fluent Design ของ Windows 11 ซึ่งดูเผินๆ ก็น่ารัก สดใสสวยงามดี (อีโมจิชุดนี้จะเปิดให้กลุ่ม Insider ใช้งานก่อน แล้วจะปล่อยให้คนใช้ Windows 11 GA ผ่านอัพเดตรายเดือนในภายหลัง)
ปัญหาคือเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ทีมดีไซน์ของไมโครซอฟท์เคยโชว์ภาพอีโมจิชุดใหม่ที่เป็น 3D มาก่อนแล้ว ทำให้แฟนๆ ที่ตั้งตารอคอยอีโมจิแบบ 3D อยู่ต้องผิดหวังที่อีโมจิใหม่ของ Windows 11 ไม่ใช่แบบเดียวกัน ซึ่งไมโครซอฟท์ก็ไม่ได้อธิบายเหตุผลว่าทำไมถึงไม่เหมือนกัน
ที่มา - Microsoft |
# [ลือ] ซัมซุงเตรียมใช้ Exynos ในมือถือ 50-60% ที่จะขายปีหน้า, แก้ปัญหาความร้อนได้แล้ว
ที่ผ่านมา มือถือของซัมซุงใช้ชิปจากหลายค่าย ทั้ง Exynos ของซัมซุงเอง, Snapdragon ของ Qualcomm และชิปจาก MediaTek ในมือถือรุ่นล่างๆ หากคิดสัดส่วนมือถือซัมซุงที่ใช้ Exynos อาจมีเพียง 20% ของมือถือทั้งหมดเท่านั้น
ปีหน้าแนวทางของซัมซุงอาจเปลี่ยนไป เว็บไซต์ ET News ของเกาหลีใต้รายงานว่า ซัมซุงมีแผนเพิ่มสัดส่วนมือถือที่ใช้ Exynos มาเป็น 50-60% เลยทีเดียว
เหตุผลหลักๆ คงเป็นว่า ซัมซุงเตรียมคัมแบ็คอย่างยิ่งใหญ่กับ Exynos ของปี 2022 ที่จะใช้จีพียูจาก AMD บนชิปมือถือเป็นครั้งแรก และน่าจะทยอยใช้งานกับชิประดับรองๆ ตัวอื่นๆ ในระยะถัดไป
ET News ยังอ้างแหล่งข่าวในอุตสาหกรรมว่าซัมซุงแก้ปัญหาเรื่องประสิทธิภาพ 5G และปัญหาความร้อนของ Exynos ได้แล้วด้วย
ที่มา - ET News, ภาพจาก Samsung |
# Steam เพิ่มกฎห้ามเกมที่ซื้อขายคริปโตหรือ NFT, ฝั่ง Epic บอกเราเปิดกว้าง
Valve ปรับกฎเกณฑ์สำหรับเกมที่จะขึ้นขายบน Steam โดยห้ามแอพหรือเกมบล็อคเชนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายคริปโตหรือ NFT (Applications built on blockchain technology that issue or allow exchange of cryptocurrencies or NFTs)
กฎข้อนี้เพิ่งถูกเพิ่มเข้ามาอย่างเงียบๆ โดยผู้ที่พบเป็นรายแรกคือ SpacePirate Games สตูดิโอที่กำลังพัฒนาเกม NFT ชื่อ Age of Rust และโพสต์ถึงเรื่องนี้ลงทวิตเตอร์
เว็บไซต์ The Verge สอบถามเรื่องนี้ไปทาง Epic Games ว่ามีนโยบายอย่างไร คำตอบคือ Epic เปิดกว้างสำหรับเกมที่รองรับคริปโตหรือทรัพย์สินดิจิทัลผ่านบล็อกเชน ส่วนกรณีของ NFT นั้น Epic บอกว่าอาจมีข้อจำกัดหรือกฎเกณฑ์บ้าง แต่ก็ยินดีหารือกับนักพัฒนาเกมที่สนใจ
ที่มา - The Verge, VentureBeat |
# Animal Crossing: New Horizons ออกอัพเดตฟรีครั้งสุดท้าย พร้อมขาย DLC Happy Home Paradise สร้างเกาะบ้านพักตากอากาศ
Nintendo Direct ล่าสุด ได้ประกาศอัพเดตสำคัญของ Animal Crossing: New Horizons สองอย่างดังนี้
อัพเดตฟรี เวอร์ชัน 2.0
ในอัพเดต เวอร์ชัน 2.0 นี้ จะเป็นอัพเดตใหญ่แบบฟรีครั้งสุดท้าย มีของใหม่เพิ่มเติมหลายอย่าง อาทิ ร้านกาแฟของ Brewster, เดินทางสู่เกาะลึกลับกับ Kapp’n, กิจกรรมออกกำลังกายพร้อมกับคนในหมู่บ้าน ซึ่งสามารถออกกำลังกายตามได้ผ่าน Joy-Con, ปลูกผักปรุงอาหารด้วย Cooking Recipe, การตกแต่งบ้านแบบขั้นสูง, 12 เพลงใหม่จาก KK และอื่น ๆ
อัพเดตเวอร์ชัน 2.0 นี้ จะออกมาในวันที่ 5 พฤศจิกายน
Happy Home Paradise
นอกจากนี้ นินเทนโดยังออก DLC ภาคเสริมของ Animal Crossing: New Horizons ในชื่อ Happy Home Paradise โดยมีเนื้อเรื่องคือเราจะเดินทางไปทำงานที่หมู่เกาะหนึ่ง เพื่อบริหารจัดการสร้างบ้านพักตากอากาศสำหรับลูกค้า ให้ตรงตามความฝันที่ลูกค้าต้องการ สร้างสถานที่รวมกลุ่มเช่นโรงเรียน ร้านอาหาร รวมทั้งเรียนรู้เทคนิคการตกแต่งแบบใหม่ ๆ เช่น เคาน์เตอร์ต่างระดับ ฉากกั้นพื้นที่ การเช็ดขัดทำความสะอาดวัตถุ เพื่อนำกลับมาใช้ที่เกาะหมู่บ้านหลักได้ด้วย
ใน DLC นั้น เมื่อทำงานครบจบเรียบร้อย จะได้รับค่าแรงสำหรับซื้อไอเท็มหายาก ซึ่งสามารถนำกลับไปหมู่บ้านได้ด้วย
ภาคเสริม Happy Home Paradise ไม่ฟรี แต่ขายแยกในราคา 24.99 ดอลลาร์ สำหรับอเมริกา หรือ 2,500 เยน สำหรับญี่ปุ่น ส่วนลูกค้า Nintendo Switch Online ที่อัพเกรดเป็น Expansion Pack จะได้เล่นฟรีไม่ต้องจ่ายเพิ่ม ตัวเกมเปิดให้เล่นตั้งแต่ 5 พฤศจิกายน เป็นต้นไป
ที่มา: TechCrunch |
# Nintendo Switch Online Expansion Pack ประกาศราคา เริ่มต้น 49.99 ดอลลาร์ต่อปี ได้ DLC Animal Crossing ด้วย
นินเทนโดประกาศรายละเอียดเพิ่มเติมของบริการเสริม Nintendo Switch Online ที่มีของใหม่ Expansion Pack ซึ่งมีเกมจาก Nintendo 64 และ Mega Drive (SEGA Genesis) เพิ่มเข้ามา แต่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม ซึ่งประกาศไปเมื่อเดือนที่แล้ว
โดยนอกจาก Expansion Pack จะมีเกมจาก 2 เครื่องคอนโซลที่กล่าวมาข้างต้น นินเทนโดยังเพิ่ม DLC ของ Animal Crossing: New Horizons ชุด Happy Home Paradise ให้ได้เล่นกันอีกด้วย ซึ่ง DLC นี้นินเทนโดขายขาดในราคา 24.99 ดอลลาร์ แต่หากสมัคร Expansion Pack ก็ไม่ต้องจ่ายเพิ่ม
ราคาสมาชิกสำหรับ Nintendo Switch Online+Expansion Pack อยู่ที่ 49.99 ดอลลาร์ต่อปี (แบบปกติ 19.99 ดอลลาร์) และแบบ Family รวมตี้สูงสุด 8 บัญชีอยู่ที่ 79.99 ดอลลาร์ (แบบปกติ 34.99 ดอลลาร์) หากเป็นสมาชิกอยู่แล้วและต้องการสมัคร Expansion Pack นินเทนโดจะคิดราคาเพิ่มตามอัตราของระยะเวลาสมาชิกปัจจุบันที่เหลือ
Nintendo Switch Online+Expansion Pack จะเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม เป็นต้นไป
ที่มา: Nintendo Everything |
# WhatsApp รองรับการแบ็คอัพข้อความแชทเข้ารหัส End-to-End ขึ้นคลาวด์แล้ว
WhatsApp ประกาศรองรับการแบ็คอัพข้อความแชทที่เข้ารหัสแบบ end-toend ขึ้นคลาวด์ โดยรองรับทั้ง Google Drive และ iCloud
เดิมทีข้อความแบบเข้ารหัส end-to-end ของ WhatsApp ถูกเก็บอยู่ในเครื่องเท่านั้น จึงมีความเสี่ยงว่าข้อความอาจหายถ้าเครื่องพัง สูญหาย หรือเปลี่ยนเครื่อง ฟีเจอร์นี้จึงมาช่วยตอบโจทย์ผู้ใช้ WhatsApp ที่ใช้ข้อความแบบเข้ารหัสนั่นเอง
วิธีใช้งานให้เข้าหน้า Settings > Chats > Chat Backup > End-to-end Encrypted Backup โดยการปลดล็อครหัสของไฟล์แบ็คอัพ สามารถใช้ได้ทั้งรหัสผ่านหรือกุญแจดิจิทัล
คนที่สนใจสถาปัตยกรรมเบื้องหลังระบบแบ็คอัพ อ่านได้จาก Facebook Engineering Blog
ที่มา - Facebook |
# Qualcomm โพสต์แซะกูเกิลที่หันไปออกแบบชิป Tensor ของ Pixel 6 เอง
สัปดาห์หน้าเราจะเห็นกูเกิลเปิดตัว Pixel 6 ที่ใช้หน่วยประมวลผลออกแบบเอง Tensor ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เพราะมือถือตระกูล Pixel ใช้ชิป Snapdragon มาโดยตลอด
จะด้วยเหตุผลใดก็ไม่ทราบ บัญชีทวิตเตอร์ @snapdragon ออกมาโพสต์ถึงเรื่องนี้ โดยยกคำพูดลอยๆ ขึ้นว่า "We've decided to make our own smartphone SoC instead of using Snapdragon" พร้อมไอคอนธงแดง (red flag) ซึ่งทุกคนคงเดากันได้ว่าเป็นการแซะกูเกิลที่ออกไปทำชิปของตัวเอง แถมยังจับมือกับคู่แข่งคือซัมซุงอีกด้วย
ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดว่า Qualcomm โพสต์แบบนี้เพื่ออะไร และสายสัมพันธ์ของทั้งสองบริษัทจะเป็นอย่างไรในระยะยาว (เช่น Pixel 6a รุ่นราคาถูกจะใช้ Tensor หรือ Snapdragon)
ที่มา - Android Central |
# ผู้กำกับ Final Fantasy XIV ตอบคำถามเรื่องลง Xbox บอกพูดคุยกับไมโครซอฟท์อยู่
Final Fantasy XIV เป็นเกมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูงในช่วงหลัง แต่ด้วยข้อจำกัดด้านแพลตฟอร์มที่มีเฉพาะบนพีซี/แมค และ PlayStation ทำให้แฟนๆ เกมฝั่ง Xbox ถามหามาตลอดว่าจะได้เล่นหรือไม่
Naoki Yoshida ผู้กำกับของ FFXIV ไปออกรายการสัมภาษณ์ของช่อง Easy Allies และได้รับคำถามนี้เช่นกัน เขาจึงถือโอกาสบอกว่ายังพูดคุยกับไมโครซอฟท์อยู่ และการพูดคุยไปในทิศทางบวก แม้เขายังไม่สามารถบอกได้ว่าจะมีหรือไม่มีเกมเวอร์ชัน Xbox ก็ตาม และหวังว่าจะสามารถประกาศข่าวกับแฟนๆ ได้ในเร็วๆ นี้
เกม FFXIV มีภาคเสริมมาแล้วหลายภาค โดยภาคล่าสุดคือ Endwalker มีกำหนดวางขายในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2021
ที่มา - Windows Central |
# Ubuntu 21.10 ออกแล้ว แยก Firefox ออกเป็น snap, รองรับ WSL
Canonical ออก Ubuntu 21.10 Impish Indri ตัวจริง โดยรุ่นนี้มีส่วนหลักๆ ที่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ GNOME 40 ที่รองรับ gesture บน touchpad, แยก Firefox ออกเป็น snap ทำให้หลังจากนี้ Ubuntu ควรจะได้รับอัพเดตเบราว์เซอร์ตรงกันไม่ว่าระบบปฎิบัติการจะเป็นรุ่นใด, และการรองรับ WSL เต็มรูปแบบ รวมถึงแอปพลิเคชั่นเดสก์ทอปต่างๆ (หน้าจอเซ็ตอัพบน WSL มี GUI ให้)
แพ็กเกจที่อัพเดต เช่น PHP 8, GCC 11 ที่ใส่ฟีเจอร์วิเคราะห์ความปลอดภัยโค้ดเพิ่มเติม, และเคอร์เนล 5.13 ที่มี KFENCE สำหรับตรวจสอบการใช้หน่วยความจำผิดพลาด
เวอร์ชั่นนี้นับเป็นเวอร์ชั่นสุดท้าย ก่อนจะ Ubuntu 22.04 LTS จะออกปีหน้า หากใครเตรียมทดสอบแอปพลิเคชั่นเพื่อการใช้งานระยะยาวก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดี
ที่มา - Ubuntu |
# กูเกิลส่งคำเตือนให้ผู้ใช้ 50,000 ราย ผู้ตกเป็นเป้าของแฮกเกอร์ที่มีรัฐบาลหนุนหลัง โดยเฉพาะในอิหร่าน
ทีม Threat Analysis Group (TAG) ของกูเกิล เผยว่าได้ส่งคำเตือนไปยังผู้ใช้งานกว่า 50,000 ราย ผู้ซึ่งตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ด้วยวิธีฟิชชิ่งและฝังมัลแวร์
กูเกิลระบุว่าคนที่ได้รับคำเตือน ไม่ได้หมายความว่าบัญชีถูกแฮ็กไปแล้ว เพราะกูเกิลได้จัดการเพื่อหยุดการโจมตีบางอย่างไปแล้ว แต่เป็นการส่งคำเตือนให้รู้ว่าผู้ใช้งานนั้นๆ กำลังตกเป็นเป้าหมาย
โดยตัวเลขเป้าหมายโจมตีในปีนี้เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วเกือบ 33% ซึ่งที่ผ่านมา กลุ่มแฮกเกอร์ส่วนใหญ่มาจากรัสเซีย อย่างเช่นกลุ่ม Fancy Bear แต่ล่าสุดไม่ใช่แค่รัสเซีย แต่มีถึงราวๆ 50 ประเทศที่มีกลุ่มแฮกเกอร์ทำงานกันในแต่ละวัน
ตัวอย่างกลุ่มแฮกเกอร์ที่กูเกิลหยิบยกมาในครั้งนี้คือ APT35 จากอิหร่าน ที่ทำการฟิชชิ่งเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงเลือกตั้งสหรัฐฯ 2020 เป้าหมายคือบุคคลที่ทำหน้าที่หาเสียง หรือทำงานเป็นส่วนหนึ่งในแคมเปญหาเสียงเลือกตั้ง เพื่อทำการจารกรรมข้อมูลที่ส่งผลประโยชน์ต่อรัฐบาลอิหร่าน วิธีการคือ อัพโหลดแอป VPN ปลอมบน Google Play Store ซึีงฝังสปายแวร์ เอาข้อมูลจำพวก การโทร ข้อความ ผู้ติดต่อ โลเคชัน ซึ่งกูเกิลบอกว่าได้ลบแอปดังกล่าวทิ้งไปก่อนจะมีใครดาวน์โหลดมันไปใช้
APT35 ยังใช้ API Telegram ให้เป็นประโยชน์ด้วยการสร้างบอทแจ้งเตือนเมื่อผู้ใช้โหลดหน้าฟิชชิ่งหน้าใดหน้าหนึ่ง ทำให้กลุ่มแฮกเกอร์รู้ข้อมูลอุปกรณ์ได้เรียลไทม์ ซึ่งทางกูเกิลได้รายงานเรื่องนี้ไปยัง Telegram แล้ว
อีกวิธีของกลุ่ม APT35 คือการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่จัดการประชุม สัมมนาเพื่อทำการล้วงเอาข้อมูล เช่นอ้างว่าเป็นผู้จัดงานประชุม Munich Security and the Think-20 (T20) ในอิตาลีเพื่อจะส่งลิงค์ฟิชชิงให้เป้าหมายในอีเมลอีกต่อหนึ่ง
ที่มา - กูเกิล |
# ผู้ว่ารัฐมิสซูรีประกาศดำเนินคดีนักข่าวว่าแฮกเว็บ หลังนักข่าวพบว่ามีข้อมูลส่วนตัวในโค้ด HTML บนเว็บรัฐ
Mike Parson ผู้ว่ารัฐมิสซูรีกล่าวหานักข่าวของ St. Louis Post-Dispatch สำนักข่าวท้องถิ่นในรัฐ ว่าเป็นผู้แฮกเว็บ หลังนักข่าวพบว่าเว็บการฝ่ายการศึกษาระดับประถมและมัธยมของรัฐมีข้อมูลส่วนตัวของครูฝังอยู่ในโค้ด HTML จึงแจ้งผู้ดูแลก่อนจะรายงานช่องโหว่นี้ออกมาภายหลังจากผู้ดูแลแก้ไขแล้ว
ตัว Parson ระบุว่าผู้ใช้ไม่มีสิทธิ์ถอดรหัส (decode) โค้ดข้อมูลที่ฝังอยู่ใน HTML การเข้าถึงข้อมูลจึงเป็นการเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต และนักข่าวก็เข้าถึงข้อมูลครูอย่างน้อย 3 คน และตอนนี้ผู้ดูแลเว็บของรัฐได้ถอดหน้าเว็บดังกล่าวไปแล้ว
ประเด็นนี้ทำให้ Parson ถูกวิจารณ์อย่างหนักว่าไร้ความสามารถในด้านเทคโนโลยี ไม่เข้าใจว่าการดูซอร์สโค้ด HTML บนหน้าเว็บไม่ใช่การแฮกเว็บ แต่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะผู้พัฒนาไม่ตรวจสอบสิทธิ์บนฝั่งเซิร์ฟเวอร์ก่อนใส่ข้อมูลเข้าไปใน HTML ของหน้าเว็บเอง ทวีตของเขาถูกโควตไปเกือบ 6,000 ครั้งส่วนใหญ่เป็นการวิจารณ์ว่าการพยายามดำเนินคดีเช่นนี้ไม่สมเหตุสมผล
ที่มา - Missouri Independent |
# เป็นทางการแล้ว TSMC ประกาศตั้งโรงงานผลิตชิปที่ญี่ปุ่น ผลิตที่ 22-28 นาโนเมตร
TSMC ยืนยันข่าวการตั้งโรงงานผลิตชิปที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว โดยซีอีโอ C.C. Wei แจ้งกับนักลงทุนว่าโรงงานใช้กระบวนการผลิตขนาด 22 และ 28 นาโนเมตร รองรับงานได้หลายประเภท เช่น เซ็นเซอร์ภาพหรือไมโครคอนโทรลเลอร์ การก่อสร้างจะเริ่มในปี 2022 และเดินสายผลิตจริงในปี 2024
TSMC ไม่ได้แจ้งตัวเลขมูลค่าของโรงงานนี้ (บอกแค่ว่าไม่ได้นับรวมในแผนลงทุนก้อนใหญ่ 1 แสนล้านดอลลาร์ที่ประกาศไปเมื่อต้นปี) และไม่ได้พูดถึงว่าเป็นการร่วมลงทุนกับโซนี่ตามที่เป็นข่าวด้วยหรือไม่ แต่ปกติแล้ว TSMC จะเป็นเจ้าของโรงงานเอง 100%
ทุกวันนี้ TSMC มีโรงงานผลิตชิปในไต้หวัน จีน สหรัฐอเมริกา (รายชื่อโรงงานทั้งหมด) ทำให้โรงงานในญี่ปุ่นเป็นประเทศที่สี่ แถมยังมีข่าวว่าสนใจตั้งโรงงานในเยอรมนีด้วยเช่นกัน
ที่มา - Nikkei Asia, ภาพโรงงานที่นานจิง จาก TSMC |
# Google Search บนมือถือ เพิ่มการเลื่อนหน้าจอลงไปยาวๆ ไม่ต้องกดหน้าถัดไป
Google Search บนมือถือเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ สามารถเลื่อนดูผลการค้นหาลงไปได้ยาวๆ โดยไม่ต้องกด See More เริ่มต้นเปิดใช้งานในสหรัฐฯ สามารถใช้งานได้ทั้งแอป Search และเว็บบราวเซอร์บนมือถือ ให้ประสบการณ์การใช้งานคล้ายการเลื่อนหน้าจอดู Instagram และ TikTok
กูเกิลระบุด้วยว่า พฤติกรรมคนค้นหา กดดูผลการค้นหาสูงสุดที่ 4 หน้า ก่อนจะกดเข้าไปยังเว็บไซต์ เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม
ที่มา - กูเกิล |
# Oneplus เผยรูปแรก OnePlus Watch Harry Potter Edition สายหนังสลักโลโก้ฮอกวอตส์
Oneplus โชว์รูปแรกของ OnePlus Watch รุ่นล่าสุดที่คอลแลบกับ Harry Potter จากรูปภาพมองเห็นเป็นสายหนัง สลักโลโก้ฮอกวอตส์ซึ่งถ้าดูจากข่าวลือข่าวหลุดมาก่อนหน้านี้พบว่าตัว OnePlus Watch Harry Potter Limited Edition มาพร้อมหน้าปัดลายฮอกวอตส์และบ้านทั้งสี่ของโรงเรียนด้วย
นอกจากนี้ยังมีคลิปแกะกล่องหลุดมาแล้ว ซึ่งตัวแพกเกจจิ้งนี้ถือว่าทำได้ดี สวยและมีการออกแบบที่เข้ากับโลกพ่อมดแม่มดมากจริงๆ OnePlus Watch Harry Potter Limited Edition นั้นถือเป็นรุ่นพิเศษที่คอลแลบกับแบรนด์อื่น โดยก่อนหน้านี้มีการเปิดตัว OnePlus Watch Cobalt Limited Edition และ OnePlus Watch Cyberpunk 2077 Limited Edition ไปแล้ว
ยังไม่มีรายละเอียดสำหรับสเปกเครื่อง
ที่มา - GizmoChina |
# Clubhouse เพิ่ม Music Mode รองรับการแสดงดนตรีสด ด้วยคุณภาพเสียงที่ดีขึ้น
Clubhouse ประกาศเพิ่ม Music Mode เพื่อให้ผู้จัดห้องสนทนา สามารถนำเสนอการแสดงดนตรีสดผ่าน Clubhouse ด้วยคุณภาพเสียงที่ดีมากขึ้น โดยใน Music Mode จะรองรับคุณภาพเสียงที่สูงขึ้น รวมไปถึงรองรับเสียงจากอุปกรณ์มืออาชีพ เช่น ไมโครโฟน USB ภายนอก หรือบอร์ดมิกซ์เสียง นอกจากนี้การตัดคลิปสั้นด้วย Clips ก็รองรับระบบเสียงสเตอริโอด้วยเช่นกัน
การเปิดใช้งาน Music Mode ทำได้โดยเลือกหัวข้อ Audio Quality สำหรับโฮสต์ของห้อง ส่วนผู้ฟังนั้นไม่ต้องทำอะไร
นอกจากนี้ Clubhouse ยังประกาศปรับปรุงระบบเสิร์ช โดยกล่องเสิร์ชจะปรากฏอยู่ที่ด้านบนสุดของแอปในทุกหน้า ทำให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้ในทุกที่
ทั้งสองฟีเจอร์ใหม่นี้จะเปิดให้ใช้งานกับ iOS ก่อน ส่วน Android จะเพิ่มมาในอนาคต
ที่มา: Clubhouse |
# Palm กลับมาอีกครั้ง เตรียมเปิดตัวหูฟังไร้สาย 26 ตุลาคมนี้
Palm กลับมาอีกครั้ง โดยได้ทวีตว่าจะเปิดตัวสินค้าใหม่ในวันที่ 26 ตุลาคมนี้ ซึ่งจากภาพคำใบ้ทั้งหมด น่าจะเป็นหูฟังอินเอียร์ไร้สาย
ปัจจุบัน Palm ซึ่งหลายคนมีภาพจำคือ PDA เป็นแบรนด์ที่มี TCL เป็นเจ้าของ เคยเปิดตัวสมาร์ทโฟนที่มีจุดขายคือหน้าจอเล็ก 3.3 นิ้ว เมื่อปี 2018 การตัดสินใจย้ายมาทำหูฟังไร้สายนี้จึงน่าสนใจว่าทิศทางของแบรนด์จะเป็นอย่างไรต่อไป
ปัจจุบัน TCL มีแบรนด์มือถือในมือได้แก่ Alcatel, BlackBerry และ Palm
ที่มา: Gizmodo |
# HTC เปิดตัว Vive Flow แว่น VR ขนาดเล็ก พับได้เหมือนแว่นตา น้ำหนักเบา ไม่มีแบตในตัว
HTC เปิดตัวแว่น VR รุ่นใหม่ Vive Flow ที่มีขนาดเล็กลงกว่าเดิมมาก หน้าตาเหมือนแว่นตาที่พับขาได้ พกพาสะดวก มีน้ำหนักเพียง 189 กรัม แลกกับการไม่มีแบตเตอรี่ในตัว ต้องต่อเชื่อมกับแหล่งพลังงานภายนอก (เช่น พาวเวอร์แบงค์ หรือจ่ายไฟจากพอร์ต USB ของโน้ตบุ๊ก)
HTC ออกตัวชัดว่าแว่น Vive Flow ไม่ได้เน้นเกมมิ่ง แต่เน้นการใช้งานเพื่อสุขภาพ (wellness) และการทำงาน (mind productivity) ตัวอย่างคือใช้เพื่อนั่งสมาธิ รับชมคอนเสิร์ตหรือภาพยนตร์ ทำงานแบบไม่มีคนรบกวนในโลกของ VR
HTC Vive Flow ยังไม่มีคอนโทรลเลอร์เหมือนกับแว่นตระกูล Vive อื่นๆ แต่ใช้สมาร์ทโฟนเป็นคอนโทรลเลอร์แทน (เชื่อมผ่าน Bluetooth) รองรับสมาร์ทโฟนที่เป็น Android P ขึ้นไป
สเปกของ HTC Vive Flow คือหน้าจอ 2.1" ความละเอียด 1600x1600 ต่อข้าง, มุมมอง 100 องศา, รีเฟรชเรต 75 Hz, ซีพียูไม่ระบุรุ่น, แรม 4GB, สตอเรจ 64GB, ระบบเสียง spatial audio ราคาขายอยู่ที่ 499 ดอลลาร์ (ประมาณ 17,000 บาท)
ที่มา - HTC |
# Apple ได้หัวหน้าซอฟต์แวร์ HomePod คนใหม่ หวังปรับปรุงคุณภาพสู้คู่แข่ง
Mark Gurman แห่ง Bloomberg รายงานว่า แอปเปิลได้หัวหน้าฝ่ายซอฟต์แวร์ HomePod คนใหม่คือ Afrooz Family มาแทนที่ Jason Harrison ที่ลาออกไปอยู่ Airbnb โดยหวังว่าการปรับปรุงด้านซอฟต์แวร์จะช่วยให้ HomePod เป็นสินค้าติดตลาดสู้กับคู่แข่งได้
Afrooz Family เคยทำงานอยู่ที่แอปเปิลช่วงปี 2012-2016 ได้ตำแหน่งวิศวกรรมระบบเสียง รวมทั้งเคยร่วมพัฒนา HomePod รุ่นแรก ก่อนจะลาออกไปทำสตาร์ทอัพ Syng ที่เน้นพัฒนาอุปกรณ์ลำโพงอัจฉริยะ แบบเน้นคุณภาพเสียง triphonic วางตำแหน่งราคาสูงถึง 1,800 ดอลลาร์ แต่ก็ประสบปัญหาทั้งการผลิตและการขายเนื่องจากราคา
HomePod เป็นสินค้าหนึ่งของแอปเปิลที่ไม่ได้รับความนิยมมากนัก รุ่นออริจินัลวางจุดขายที่คุณภาพเสียง ปีที่แล้วออก HomePod mini ที่ทำราคาถูกลงมาก และเลิกขาย HomePod รุ่นแรก
ที่มา: Bloomberg |
# Realme เปิดตัว TV Stick 4K รันระบบปฏิบัติการ Google TV ราคาราว 1,800 บาท
Realme เปิดตัวแท่งเสียบทีวี 4K Smart Google TV Stick ในประเทศอินเดีย เพื่อใช้งานระบบปฏิบัติการ Google TV ตัวใหม่ของกูเกิล รองรับ Chromecast ในตัวและสั่งงานด้วยเสียงผ่าน Google Assistant
สเปกฮาร์ดแวร์เป็นซีพียูควอดคอร์ Cortex-A35, แรม 2GB, สตอเรจ 8GB, รองรับการสตรีม 4K 60fps, ระบบภาพ HDR10+, HDMI 2.1 ใช้ร่วมกับรีโมททีวีของ Realme ผ่าน Bluetooth ได้ด้วย
ราคาขายในอินเดียคือ 3,999 รูปี (ประมาณ 1,800 บาท) ต้องรอดูกันว่า Realme ประเทศไทยจะนำเข้ามาขายด้วยหรือไม่
ที่มา - Realme, 9to5google |
# เผยเบื้องหลัง EA เจรจาต่ออายุชื่อ FIFA ไม่ลงตัว เพราะ FIFA เรียกเงินแพง
จากกรณี EA บอกเป็นนัย ปีหน้าอาจไม่ใช้ชื่อเกม FIFA ทำตลาดอีก ทุกคนอ่านแล้วคงเดากันได้ว่าเจรจาเรื่องเงินกับ FIFA ไม่ลงตัว
ล่าสุดเริ่มมีรายละเอียดของการเจรจาออกมาบ้างแล้ว โดย New York Times รายงานว่าสัญญาเดิมระหว่าง EA กับ FIFA มีอายุ 10 ปี จะสิ้นสุดในปี 2022 ซึ่งทั้งสองฝ่ายพยายามเจรจากันมานานกว่า 2 ปีแล้วแต่ไม่ได้ข้อยุติสักที ด้วยเหตุผลว่า FIFA เรียกค่าไลเซนส์สูงกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ต่อ 1 รอบฟุตบอลโลก (ทุก 4 ปี) นอกจากนี้ยังมีประเด็นอื่นๆ เช่น EA อยากได้สิทธิในการจัดทัวร์นาเมนต์เกม หรือของใหม่ๆ อย่างการออก NFT ด้วย แต่ FIFA อยากนำสิทธิตรงนี้ไปทำเงินกับหน่วยงานอื่นแทน
ตอนนี้ยังมีคนไปพบ EA จดเครื่องหมายการค้าชื่อต่างๆ บ้างแล้ว เช่น "EA Sports FC" ต้องรอดูว่าจะเป็นชื่อใหม่ของเกมหรือไม่
ที่มา - New York Times via Eurogamer |
# LinkedIn เวอร์ชันจีนจะปิดให้บริการในปีนี้ เตรียมออกแอปใหม่ สำหรับการค้นหางานอย่างเดียว
ไมโครซอฟท์ประกาศปิดให้บริการ LinkedIn เวอร์ชันในจีน โดยให้เหตุผลว่าแม้แพลตฟอร์มจะช่วยให้สมาชิกผู้ใช้งานในจีน สามารถค้นหางานและโอกาสใหม่ ๆ ได้ แต่ในมุมของการเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลนั้น มีความท้าทาย ต่อการปฏิบัติให้ได้ตามข้อกำหนดของทางการจีน ทำให้บริษัทตัดสินใจปิดบริการดังกล่าวภายในปีนี้
เนื่องจากไมโครซอฟท์ยังเห็นโอกาสในการให้บริการแพลตฟอร์มสำหรับค้นหางานในจีน บริษัทจึงเตรียมเปิดตัว InJobs แอปแยกตัวใหม่สำหรับการหางานโดยเฉพาะ ซึ่งตัดฟีเจอร์โซเชียลออกไป แอปนี้จะเปิดตัวภายในปีนี้
LinkedIn เริ่มให้บริการในเวอร์ชันสำหรับจีนโดยเฉพาะในปี 2014 ซึ่งมีการปรับให้เป็นไปตามข้อกำหนด ข้อมูลจาก Statista ระบุว่า LinkedIn ถือเป็นตลาดค้นหางานที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ในจีน
ที่มา: LinkedIn และ CNBC |
# Evan Sharp ผู้ร่วมก่อตั้ง Pinterest ลาออก เพื่อไปทำงานที่ LoveFrom สตูดิโอของ Jony Ive
Pinterest ประกาศว่า Evan Sharp ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ได้ลาออกจากตำแหน่งประจำคือหัวหน้าฝ่ายงานออกแบบ และความคิดสร้างสรรค์ โดยจะไปทำงานที่ LoveFrom สตูดิโองานออกแบบของ Jonathan Ive อดีตหัวหน้าฝ่ายออกแบบผลิตภัณฑ์แอปเปิล
Evan จะยังมีตำแหน่งบอร์ดบริหารของ Pinterest รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์ ผลิตภัณฑ์ การออกแบบ แบรนด์ และวัฒนธรรมองค์กรให้ Pinterest ต่อไป
Pinterest บอกว่าตำแหน่งของ Evan เป็นตำแหน่งพิเศษเฉพาะบุคคล จึงไม่มีการหาคนมาแทนที่ในตำแหน่งนี้ ส่วน Evan ให้เหตุผลที่ลาออกว่าเพื่อให้ตนเองได้เพิ่มพูนศักยภาพที่มีสูงสุด จึงตัดสินใจย้ายไปร่วมงานกับ Jony Ive
ที่มา: Pinterest และ TechCrunch |
# GitLab เข้าตลาดหุ้นวันแรก ได้ราคา IPO 77 ดอลลาร์ มูลค่าบริษัทกว่า 360,000 ล้านบาท
GitLab บริษัทซอฟต์แวร์จัดการซอร์สโค้ดแบบโอเพนซอร์สเข้าตลาดหุ้น Nasdaq เป็นวันแรกในเครื่องหมาย GTLB โดยราคา IPO อยู่ที่ 77 ดอลลาร์ หุ้นที่ขายระดมทุนทั้งหมด 10,400,000 หุ้น รวมเป็นเงินระดมทุน 800.8 ล้านดอลลาร์ มูลค่าบริษัทสูงกว่า 11,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 360,000 ล้านบาท
GitLab ทั้งมีทั้งบริการเก็บซอร์สโค้ดแบบคลาวด์ และแบบติดตั้งในศูนย์ข้อมูลของลูกค้าเอง รวมถึงซอฟต์แวร์แบบโอเพนซอร์สให้ใช้งานได้ฟรี ตัว GitLab มีฟีเจอร์หลายส่วนทั้งการเก็บซอร์สโค้ด การทำ CI/CD และการจัดการโครงการ
ผู้อ่าน Blognone อาจจะคุ้นๆ บริษัทนี้ในฐานะบริษัทที่เคยลบฐานข้อมูลโปรดักชั่นไปเมื่อปี 2017 แม้จะกู้ข้อมูลกลับมาได้ภายหลังก็ตาม (แถมถ่ายทอดสดการกู้ระบบ)
ที่มา - GitLab |
# [ข่าวลือ] NVIDIA จะออก GeForce 3050/3050 Ti สำหรับเดสก์ท็อป, 3080 แรม 12GB
เราเห็น NVIDIA เปิดตัว GeForce RTX 3050/3050 Ti สำหรับโน้ตบุ๊กมาได้สักพักใหญ่ๆ แต่การ์ดสำหรับเดสก์ท็อปยังไร้วี่แวว แม้มีข่าวลือมาตั้งแต่ปีที่แล้ว สาเหตุน่าจะมาจากข้อจำกัดซัพพลายเชน ทำให้ NVIDIA ตัดสินใจเลื่อนการ์ดรุ่นราคาต่ำออกไป หันไปผลิตการ์ดราคาแพงขายให้ทันก่อน
ล่าสุดเริ่มมีข่าวลือจากบัญชี @kopite7kimi ที่เคยมีประวัติปล่อยข่าวสาย NVIDIA แม่นยำมาหลายครั้ง ระบุว่าเราจะได้เห็น GeForce RTX 3050/3050 Ti กันในเร็วๆ นี้
RTX 3050 Ti ใช้ชิปรหัส GA106-150-A1 มีรุ่นแรม 6GB และ 12GB
RTX 3050 ใช้ชิปรหัส GA107-350-A1 คาดว่าจะมีแรม 4GB และ 8GB
การมาถึงของ GeForce RTX 3050/3050 Ti จะออกมาชนกับ Radeon RX 6600/6600 XT ตามลำดับ และการที่ฝั่ง GeForce มีแรมมากกว่า อาจกดดันให้ Radeon ต้องลดราคาลง
นอกจากนี้ยังมีข่าวลือของ GeForce RTX 3080 รุ่นแรม 12GB (รุ่นเดิมแรม 10GB) ออกมาด้วย ตอนนี้ยังไม่ชัดเจนว่าจะเป็นการวางขายคู่กัน หรือจะเลิกขายรุ่น 10GB เปลี่ยนมาขายรุ่นแรม 12GB แทน
ที่มา - Videocardz (1), Videocardz (2) via Notebookcheck |
# ระบบโอนเงินระหว่างธนาคารล่ม คาดจากปัญหาระบบ ITMX, พร้อมเพย์ยังได้
พบปัญหาระบบโอนเงินระหว่างธนาคารของธนาคารหลักๆ ของไทยหลายเจ้าไม่ว่าจะ ธ.กสิกรไทย, ธ.ไทยพาณิชย์, ธ.กรุงไทย, ธ.กรุงศรี, ธ.ออมสิน, TTB หรือธ.กรุงเทพ ไม่สามารถโอนเงินระหว่างกันและกันได้ ตอนนี้ยังไม่ทราบสาเหตุและยังไม่พบการประกาศของแต่ละธนาคาร
อย่างไรก็ตาม การโอนเงินถึงปลายทางที่เป็นธนาคารเดียวกันและการโอนผ่านพร้อมเพย์ยังสามารถทำได้ตามปกติ
เพิ่มเติม เบื้องต้นคาดว่าว่าระบบ ITMX มีปัญหา |
# โกงกันเยอะจนทนไม่ไหว Call of Duty เปิดตัว Ricochet ระบบต้านโกงที่ระดับเคอร์เนล
ปัญหาการโกงในเกมมัลติเพลเยอร์เป็นเรื่องร้ายแรงขึ้นเรื่อยๆ และส่งผลกระทบอย่างมากต่อชุมชนผู้เล่น (ที่ไม่ได้โกง) ล่าสุด Activision เปิดตัว Ricochet ระบบต่อต้านการโกงเกม (Anti-Cheat) ตัวใหม่ของเกมซีรีส์ Call of Duty
Ricochet ประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆ คือฝั่งเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ machine learning เข้ามาเรียนรู้พฤติกรรมผิดปกติของผู้เล่น และฝั่งไคลเอนต์ที่จะเป็นไดรเวอร์ติดตั้งในระดับเคอร์เนล (ลักษณะเดียวกับระบบต้านโกงของเกม Valorant ชื่อ Vanguard)
ไดรเวอร์ Ricochet จะบังคับใช้งานกับการเล่นเกม Call of Duty (ถ้าไม่ยอมติดตั้งจะเล่นเกมไม่ได้) โดยจะคอยเฝ้าระวังว่ามีโพรเซสอื่นๆ มายุ่งกับเกม Call of Duty หรือไม่
Activision สัญญาว่าเมื่อปิดเกมแล้วไดรเวอร์ตัวนี้จะปิดตามลงไปด้วย ไม่ได้ทำงานตลอดเวลา ไม่ยุ่งกับส่วนอื่นๆ ของระบบปฏิบัติการ สนใจเฉพาะ Call of Duty เท่านั้น
Ricochet จะถูกใช้งานในเกม Call of Duty: Warzone ก่อนเป็นลำดับแรก และจะตามด้วย Call of Duty: Vanguard ภายในปีนี้
ที่มา - Call of Duty |
# Canva เทมเพลตกราฟิกชื่อดัง เปิดตัว Canva Video Suite เครื่องมือตัดต่อวิดีโอ ใช้ฟรี
Canva เว็บเทมเพลตกราฟิกชื่อดัง กำลังก้าวเข้าสู่งานวิดีโอด้วยการเปิดตัว Canva Video Suite เครื่องมือปรับแต่งวิดีโอ ที่สามารถแบ่งวิดีโอออกเป็นชิ้นส่วนที่จัดการได้ง่าย และเร็วๆ นี้จะสามารถตัดต่อวิดีโอได้ด้วย
ตัวเครื่องมือยังสามารถจัดการเสียงได้ รวมถึงเทมเพลตวิดีโอ แอนิเมชัน และ transition ในรูปแบบต่างๆ เพื่อลดความซับซ้อนของการสร้างงานวิดีโอง่ายๆ ด้วยตัวเอง สร้างงานจำพวก TikTok Ads, YouTube Sets ได้ ผู้ใช้งานคนอื่นยังสามารถเข้ามาปรับแก้วิดีโอได้บนแพลตฟอร์ม โดยไม่ต้องทำการดาวน์โหลด อัพโหลดวิดีโอใหม่ซ้ำๆ
Rob Kawalsky หัวหน้าฝ่ายผลิตภัณฑ์ของ Canva อธิบายว่าความท้าทายในการสร้างซอฟต์แวร์วิดีโอคือ การปรับสมดุลความต้องการเครื่องมือที่ปรับแต่งวิดีโอได้ดี กับความเรียบง่ายในการใช้งาน นอกจากนี้ งานวิดีโอเริ่มมีความสำคัญมากขึ้นในการทำงานในองค์กรและการทำงานออนไลน์ แต่เครื่องมือที่มีในปัจจุบันนั้นยังใช้งานยาก มีราคาแพง และจำกัดการใช้งาน
ทาง Canva เผยการสำรวจคนทำงาน 1,300 คนในสหรัฐฯ พบว่า 80% ของคนทำงานในวงการการศึกษา และความรู้ต่างๆ ต้องใช้ทักษะเกี่ยวกับงานวิดีโอในระดับหนึ่ง แต่ 75% กล่าวว่าอุปสรรคที่พบบ่อยที่สุดคือกไม่สามารถเข้าถึงเครื่องมือที่เหมาะสม และอีก 75% กล่าวว่าพวกเขาไม่มีทักษะมากพอที่จะสร้างงานวิดีโอ
ตัว Canva Video Suite ใช้งานฟรี อัดหน้าจอได้ด้วย สามารถใช้งานได้ทั้งบนมือถือและเดสก์ทอป ส่วนคนที่สมัครพรีเมียมจะสามารถใช้งานแทร็กที่ไม่มีค่าลิขสิทธิ์ 27,000 รายการ
ที่มา - CNET, TechCrunch |
# Kbank ชวนเปลี่ยน Technology Disruption ให้เป็นโอกาส พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงใน 10 ปีข้างหน้า
ก่อนโควิด-19 เรามักจะพูดถึงการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอยู่เสมอ คนในวงการเทคโนโลยี นักธุรกิจและผู้ประกอบการ ต่างอยากรู้อยากเห็นและคาดการณ์เทรนด์เทคโนโลยีไว้ล่วงหน้า 10 ปี 20 ปี เพื่อที่จะได้ตั้งรับและปรับตัวได้ทัน ในแง่การลงทุนก็เช่นกัน นักลงทุนมองหาเทรนด์ธุรกิจใหม่ๆ เพื่อบริหารความมั่งคั่ง และมีแนวโน้มที่จะลงทุนในเมกะเทรนด์ หรือเทรนด์ที่จะมามีส่วนสำคัญในธุรกิจกระแสหลักในอนาคตอันใกล้
จนกระทั่งโควิด-19 ที่เร่งการเปลี่ยนแปลงที่ควรจะเกิดขึ้นภายใน 5 ปี 10 ปี ให้เกิดขึ้นได้ในระยะเวลา 2 ปี ได้เปลี่ยนมุมมองคนในวงการเทคโนโลยีและนักลงทุนไปอย่างสิ้นเชิง เราต้องจับตาดูความเลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเร็วระดับรายไตรมาสหรือรายเดือนเท่านั้น เพราะความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในอัตราเร่งกว่าเดิมและถี่กว่าเดิม
คุณกระทิง เรืองโรจน์ พูนผล ประธานกลุ่มกสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KTBG) คือหนึ่งในบุคคลที่ออกมาพูดเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอยู่เสมอ คุณกระทิงพูดอยู่หลายครั้งว่า เทรนด์ที่เกิดขึ้นแล้วคือการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือ Continuous Disruption ดังนั้นทักษะที่จำเป็นในระยะยาวทั้งกับคนในวงการเทคโนโลยีและนักลงทุน คือเรียนรู้ที่จะอยู่กับความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
ในงานสัมมนาออนไลน์ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน THE WISDOM The Symbol Of Your Vision: The Future of Digital Disruption and Investment ที่ธนาคารกสิกรไทยจัดสัมมนาแบบ Exclusive ให้แก่กลุ่มลูกค้า WISDOM คุณกระทิงได้มาแชร์เทรนด์การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งนอกจากเราต้องตั้งรับ Continuous Disruption แล้ว ยังมีเมกะเทรนด์ใหม่ๆ ที่น่าจะเกิดขึ้นใน 10-20 ปีมาแชร์ให้ฟังด้วย
พัฒนาการการเปลี่ยนแปลงของโลกก่อนปี 2030
คุณกระทิงเริ่มต้นให้ฟังว่า โลก 10-20 ปีข้างหน้าไม่ใช่แค่เปลี่ยนแปลงธรรมดา แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล มาพร้อมความท้าทายและโอกาส การจัดงาน THE WISDOM The Symbol Of Your Vision: The Future of Digital Disruption and Investment จึงมีเป้าหมายให้ลูกค้า WISDOM ได้รับแรงบันดาลใจดีๆ เพื่อวางแผนการลงทุน และมองเห็นอนาคตร่วมกันกับธนาคารกสิกรไทย
ในหัวข้อการบรรยาย Turning Digital Disruption into Opportunity หรือการปรับมุมมองเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีให้เป็นโอกาสนั้น คุณกระทิง ได้พาผู้ฟังนั่งไทม์แมชชีนแชร์เมกะเทรนด์ในอีก 10 ปีข้างหน้าหรือช่วงปี 2030 ว่าจะมีเทรนด์ไหนที่น่าจับตามอง และธุรกิจควรปรับตัวอย่างไรบ้าง
ช่วงปี 2016-2019 เคยคาดการณ์ไว้ว่าจะเกิดปรากฏการณ์ดิสรัปชันต่อกันแบบโดมิโน หรือการเปลี่ยนแปลงจากอุตสาหกรรมหนึ่งไปยังอีกอุตสาหกรรมหนึ่งนั้นไม่เป็นความจริงอีกต่อไป เพราะโควิด-19 มาเร่งการเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง และจะกลายเป็นยุคของ Continuous Disruption อย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว
ปี 2024-2025 จะเกิดการหักศอกของการเปลี่ยนแปลง หลังจากนั้นการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นอย่างก้าวกระโดดต่อเนื่องไปจนถึงปลายทศวรรษ ดังนั้นโลกในปี 2030 จะเป็นโลกเหนือจินตนาการของพวกเรา
ก่อนโควิด-19 การท่องเที่ยวและสื่อ ถูกดิสรัปชันมากกว่าอุตสาหกรรมอื่น ส่วนการศึกษา อาหาร สุขภาพ คืออุตสาหกรรมยังไม่เจอการดิสรัปชันเข้มข้นเท่า
แต่โควิด-19 ทำให้เกิดการดิสรัปชันพร้อมๆ กันในทุกอุตสาหกรรม จากเดิมการศึกษาและสุขภาพที่แทบไม่เจอดิสรัปชัน กลับต้องปรับตัวอย่างมหาศาลในยุคโควิด การรักษาทางการแพทย์ต้องเปลี่ยนมาเป็นการรักษาทางไกลหรือ Telemedicine เพื่อรักษาระยะห่างเรียกได้ว่า ทุกอุตสาหกรรมถูกปรับเปลี่ยนอย่างเท่าเทียม
ในยุคโควิด-19 พบว่าจับจ่ายใช้สอยออนไลน์โตขึ้น 16% ต่อเดือน อุตสาหกรรมอาหารโตขึ้น 74% ส่วนอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารหรือ Non-Food โตขึ้น 60%
ปัจจัยทั้งหมดนี้ส่งผลให้บริการส่งอาหาร เดลิเวอรี อีคอมเมิร์ซโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด ในปี 2020 จำนวนการจับจ่ายใช้สอยบนออนไลน์ในประเทศไทยโต 58% สิงคโปร์โตขึ้น 47% อินโดนีเซียโตขึ้น 15%
โควิด-19 ยังเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค ข้อมูลจากบริษัทวิจัยเรตติ้ง Nielsen และบริษัทที่ปรึกษาระดับโลก McKinsey มีการสำรวจความเห็นประชาชน พบว่าในประเทศจีนนั้น คนจีน 83% มองว่าการทำงานจากที่บ้านนั้นให้ประสิทธิภาพดี 81% มีการเรียนรู้ออนไลน์ทุกวัน คนอเมริกันที่ดูทีวีทุกวันเพิ่มขึ้นมา 30% และทำอาหารที่บ้านเพิ่มขึ้น 39%
ทั้งหมดทั้งมวลนี้ ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกเริ่มปรับเปลี่ยนจาก Lazy Economy หรือกลุ่มอุตสาหกรรมตอบโจทย์ความสะดวกสบาย กลายเป็น At Home Economy ที่ตอบโจทย์พฤติกรรมใหม่ที่คน Work-Play-Stay-Learn-Exercise at Home
ภาพจาก Unsplash โดย Mimi Thian
มาเจาะที่เทคโนโลยีกันบ้าง ปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีศักดิ์สิทธิ์สามอย่างคือ AI, Blockchain, Quantum Computing
ในแง่ AI เราจะเห็นพัฒนาการจากการทำงานซ้ำๆ เป็นรูทีนแทนมนุษย์ได้ มาสู่การทำงานที่ไม่ใช่รูทีนแล้ว ยกตัวอย่างเทคโนโลยี NLP หรือ Natural Language Processing ที่ทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อความและเสียง จะพัฒนาการมาเป็นการสร้างข้อความและเสียง และจะสามารถเข้าใจภาษาสีหน้าและการแสดงท่าทางของมนุษย์ และสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วก็คือ AI Influencer อย่างน้องไอรีนและ Rozy ที่รับงานจริง สร้างรายได้จริง
ดังนั้น แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นคือ อุตสาหกรรมต่างๆ จะนำ AI ไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเองมากขึ้น และยิ่งเร็วกว่าเดิมเมื่อเกิดโควิด-19 ซึ่งก่อให้เกิดข้อมูลมหาศาลทั้งข้อมูลการจับจ่ายใช้สอยออนไลน์ ข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค ทุกอย่างเป็นอาหารชั้นดีให้ AI ได้ทั้งสิ้น
เมกะเทรนด์มาแรงในโลกอนาคต ทางเลือกใหม่นักลงทุน
อุตสาหกรรมหนึ่งที่คุณกระทิงยกตัวอย่างว่าสามารถถูกดิสรัปชันได้เสมอคือตลาดอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์ มูลค่า 1.7 ล้านล้านดอลลาร์ เนื่องจากอาหารกลุ่มนี้ใช้น้ำ, พื้นที่ และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศมาก ดังนั้นเทรนด์ที่จะเข้ามาดิสรัปชันคือ อาหารที่ทำจากพืชหรือ Plant Based ที่ใช้น้ำ และพื้นที่รวมถึงการปล่อยก๊าซน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ
ดังนั้นเราจึงเริ่มมองเห็นร้านอาหารทั้งเชนใหญ่ และรายย่อย เพิ่มทางเลือกอาหารจากพืชเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในร้าน เพราะลูกค้ามีความตระหนักเรื่อง Climate Change ข้อมูลจากบริษัท Data Bridge คาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดอาหาร Plant Based จะโตได้ถึง 143 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2027
Photo: Shutterstock
อุตสาหกรรมรถยนต์ก็เช่นกัน เรามองเห็นเทรนด์รถ EV กันมาสักพักแล้ว มีการคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรม EV จะมีมูลค่าเป็น 2.5 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2027 และโลกปี 2030-2040 ที่เราพอจะจินตนาการได้ในตอนนี้คือ เป็นโลกที่ขับเคลื่อนด้วยยานพาหนะ EV และรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง
ในอุตสาหกรรมรีเทลหรือค้าปลีกนั้น ถูกดิสรัปชันจากอีคอมเมิร์ซมาก่อนยุคโควิด-19 แต่คุณกระทิงยืนยันว่าร้านค้าออฟไลน์นั้น ยังจำเป็นกับชีวิตคน แต่ร้านค้าต้องปรับเปลี่ยนตัวเองใหม่ที่สามารถสร้าง Engagement กับคนได้ ยกตัวอย่างเช่นร้านขายเสื้อผ้าโยคะ เปิดพื้นที่ให้คนมาฝึกโยคะ ฝึกนั่งสมาธิ หรือร้านกาแฟที่เปิดพื้นที่ให้คนมาร่วมพูดคุยกัน เป็นอีกเทรนด์ที่ชื่อว่า Community is the New Retail ปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้าถึงลูกค้ามากขึ้น
อนาคตยังมาพร้อมเทรนด์ธุรกิจใหม่ๆ อีกมาก ทั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ ซึ่งจะเป็นกลุ่มบุคคลที่พร้อมจ่ายและยอมจ่ายเพื่อสินค้าและบริการที่มาตอบโจทย์พฤติกรรมของตนเอง หรือ Silver Friendly นอกจากนี้ยังมีธุรกิจการศึกษาหรือ EdTech ที่คนหันมารีสกิลและเรียนรู้สิ่งใหม่เพื่อพัฒนาตัวเองให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
Asia Partner คาดการณ์ธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้ว่าจะสามารถเข้าสู่ยุคทอง คาดว่าจะมีสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นได้มากกว่า 20 เจ้าภายในปี 2029 เนื่องจากการปรับตัวเข้าสู่ดิจิทัลเริ่มอิ่มตัวและ Mature โดยเฉพาะในสิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย
เมกะเทรนด์ในโลกการเงินการลงทุน
ภาคการเงินถือเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องปรับตัวเปลี่ยนแปลงมาตลอด ซึ่งในกระแสการเปลี่ยนแปลงยังมาพร้อมโอกาสและเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง DeFi หรือ Decentralized Finance และ Blockchain ที่จะสร้างนวัตกรรมการเงินใหม่ และจะส่งผลกระทบต่อระบบการเงิน การธนาคารได้อย่างที่ยังจินตนาการได้ยาก เพราะเรายังอยู่ในจุดเริ่มต้นของการดิสรัปชันในเวฟที่สองของโลกการเงินเท่านั้น
ในงานสัมมนายังมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนอีกสามท่านมาเสวนาร่วมกันในหัวข้อ Unlocking a New Era of Investment คือ
คุณชลเดช เขมะรัตนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มโรโบเวลธ์ นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย
คุณจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและ Group CEO บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์
คุณกานต์นิธิ ทองธนากุล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุน Merkle Capital ผู้ก่อตั้งเพจ Kim DeFi Daddy และ Bitcoin Addict Thailand
คุณชลเดช บอกว่า โควิด-19 เป็นยุคทองของธุรกิจเทคโนโลยี และอีกปรากฏการณ์ที่น่าสนใจคือ จำนวนนักลงทุนเพิ่มขึ้น เดือน ม.ค. ปี 2020 มีนักลงทุนหุ้นไทย 1.2 ล้านคน แต่ข้อมูลล่าสุดเดือน ส.ค. ปี 2021 เพิ่มขึ้นเป็น 2.0 ล้านคน
โควิดทำให้หลายคนรู้ว่าการลงทุนเป็นเรื่องจำเป็น เงินในกระเป๋ามนุษย์เงินเดือน (ที่ยังได้เงินเดือนเต็ม) มีมากขึ้น ทำให้เขาเลือกที่จะเอาเงินมาลงทุน นอกจากนี้ยังมีข่าวสาร เพจ เว็บไซต์ช่วยให้นักลงทุนรายย่อยเข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุน
ด้านการลงทุนในเทรนด์ใหม่อย่างบิทคอยน์และ DeFi นั้น คุณกานต์นิธิ ระบุว่า ธรรมชาติของการลงทุนต้องพึ่งพาตัวกลางให้บริหารสินทรัพย์เราได้ดี แต่ DeFi มาช่วยแก้ไขเรื่องความเชื่อใจกันระหว่างนักลงทุนและตัวกลางโดยอาศัย Blockchain เป็นตัวขับเคลื่อน หรือสามารถสรุปได้ง่ายๆ ว่า DeFi เป็นการจำลองระบบการเงินที่เราคุ้นเคยมาอยู่บน Blockchain นั่นเอง
การตระหนักถึงความเสี่ยงเป็นเรื่องสำคัญ การลงทุนมีความเสี่ยง จึงต้องเลือกแพลตฟอร์มที่ให้บริการลงทุน DeFi ดีๆ ต้องตรวจสอบผู้ให้บริการแพลตฟอร์มว่าเป็นใคร เปิดแพลตฟอร์มมาเป็นระยะเวลาเท่าไร หรือสมมติว่าเป็นธนาคารกสิกรไทยมาเปิดแพลตฟอร์ม ก็ถือว่าน่าเชื่อถือ เป็นธนาคารที่ให้บริการจริง มีตัวตน
บริษัท คิวบิกซ์ (Kubix) ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลผ่านบล็อกเชน ก่อตั้งโดย KBTG
ด้านการลงทุนที่มาแรงอย่างบิทคอยน์ คุณจิรายุสระบุว่า คนเริ่มเข้าใจกันมากขึ้นว่า Crypto Currency เป็น Internet Protocol ไม่ใช่อากาศ ปัจจุบันมีลูกค้าบนบิทคับ ล้านบัญชี นอกจากนักลงทุนแล้วยังมีบริษัทมาเปิดบัญชีกับเรามากขึ้นเพื่ออยากมาอยากให้ Crypto Currency มาเป็นอีกสินทรัพย์ของบริษัท แต่การเข้าสู่โลก Crypto Currency นั้น คุณจิรายุส แนะนำว่าควรศึกษาและทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้เสียก่อน เริ่มทำให้เป็นแล้วค่อยเพิ่มจำนวน
สรุป
ถือเป็นงานสัมมนาที่เข้มข้น และอัดแน่นด้วยเนื้อหาที่มีประโยชน์ต่อกลุ่มลูกค้า WISDOM ของธนาคารกสิกรไทยและคนทั่วไปที่อยากรู้อยากเห็นโลกอนาคตว่าจะเดินไปในทิศทางไหน ธุรกิจและคนทำงานต้องปรับตัวอย่างไรบ้าง
ซึ่งคุณกระทิงทิ้งท้ายในงานสัมมนาไว้อย่างน่าสนใจว่า ธุรกิจตอนนี้มีทางเลือกแค่สองทาง คือ Innovate or Die ที่สามารถเริ่มต้นได้ด้วยการสร้าง Empathy ทั้งกับลูกค้าและกับพนักงาน ฟัง เรียนรู้ และการทำงานร่วมกันให้เกิดขึ้นในองค์กร
วิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อทุกคน เป็นวิกฤตแห่งศตวรรษ ดังนั้นองค์กรที่สามารถผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้ถือเป็น Team of the Century ที่พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงแบบ Continuous Disruption ที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในอีก 10-20 ปีข้างหน้า |
# [ไม่ยืนยัน] Netflix ลงทุนใน Squid Game 21 ล้านเหรียญ ถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับ Stranger Things, The Crown
Squid Game ใน Netflix ดังมากจนสร้างปรากฏการณ์ใหม่ ล่าสุดมีรายงานจาก Bloomberg ไปเจาะงบลงทุนในซีรีส์เรื่องนี้ ได้รับรายงานมาว่า Netflix ลงทุน 21.4 ล้านเหรียญ ซึ่งถือว่ายังน้อยเมื่อเทียบกับซีรีส์เรื่องอื่นที่ประสบความสำเร็จเช่นกันบน Netflix อย่าง Stranger Things และ The Crown
เท่ากับว่า Squid Game ลงทุนตกตอนละ 2.4 ล้านเหรียญ เทียบกับ Stranger Things ตกตอนละ 8 ล้านเหรียญ และ The Crown ตอนละ 10 ล้านเหรียญ
ส่วนซีรีส์ค่ายคู่แข่งอย่าง Disney+ เช่นเรื่อง WandaVision และ The Falcon and the Winter Soldier ใช้เม็ดเงินลงทุนก้อนใหญ่กว่า ข้อมูลจาก Hollywood Reporter ระบุในปี 2019 ว่าใช้เงินลงทุนตอนละราวๆ 25 ล้านเหรียญ ส่วน Star Wars และ The Mandalorian ใช้งบลงทุนตกตอนละ 15 ล้านเหรียญ
มาที่ค่าย Amazon กันบ้าง Hollywood Reporter รายงานว่าบริษัทลงทุนถึง 465 ล้านดอลลาร์สำหรับซีซันแรกของซีรีส์เรื่อง "Lord of the Rings" ที่กำลังจะออกฉาย ในจำนวนนี้มี 250 ล้านดอลลาร์ที่ใช้ไปกับค่าใช้จ่ายด้านลิขสิทธิ์
ที่มา - Business Insider |
# ไมโครซอฟท์อธิบายเบื้องหลัง ไฟล์อัพเดต Windows 11 มีขนาดเล็กลง 40% โหลดเร็วขึ้น
ไมโครซอฟท์เขียนอธิบายเบื้องหลังการปรับไฟล์อัพเดตรายเดือน (quality update) ของ Windows 11 ให้มีขนาดเล็กลง 40% ผลคือดาวน์โหลดเร็วขึ้น แต่ยังอัพเดตได้ตามปกติเหมือนเดิม
จุดเปลี่ยนที่ทำให้ไฟล์เล็กลงเป็นวิธีการทำ delta ที่หาความแตกต่างระหว่างไฟล์สองเวอร์ชัน ไมโครซอฟท์เริ่มใช้ไฟล์อัพเดตแบบ delta มาตั้งแต่ Windows 10 v1809 แต่การทำ delta ต้องทำทั้งสองขา คือขาไปข้างหน้า (ไฟล์เก่า -> ใหม่) และขากลับ (ไฟล์ใหม่ -> เก่า) ใช้ในกรณี rollback
ถึงแม้ความแตกต่างของไฟล์สองเวอร์ชันจะเหมือนกัน แต่การทำ delta ขาไปและขากลับนั้นแตกต่างกัน (ดูภาพประกอบ) ทำให้ไฟล์อัพเดตของไมโครซอฟท์ต้องเก็บ delta ทั้งสองขา (bidirectional)
ไมโครซอฟท์จึงปรับวิธีการทำ delta ใหม่ แทนที่จะเปรียบเทียบไฟล์เก่า-ใหม่สองขาแบบเดิม เปลี่ยนมาเป็นตอนทำ delta ขาไป จะจดความเปลี่ยนแปลงเก็บไว้สำหรับการทำ reverse delta ด้วย (ใช้ชื่อเรียกว่า reverse mapping)
สิ่งที่ไมโครซอฟท์พบคือการจดขั้นตอนเพื่อทำ reverse mapping มีเนื้อหาไฟล์ไม่ต่างจาก forward delta มากนัก ในขณะที่ประสิทธิภาพของการ apply patch ไม่ต่างจาก reverse delta แบบปกติ
ในการทำแพตช์จริงๆ จะเป็นการเปลี่ยนแปลงไฟล์ assembly ตามภาพ โดยใช้เอนจิน MSDelta หาความเปลี่ยนแปลงระหว่างไฟล์สองเวอร์ชัน
สิ่งที่ไมโครซอฟท์ทำคือส่งเฉพาะไฟล์ forward delta ไปกับไฟล์อัพเดต (ทำให้ขนาดลดลงไป 40%) แล้วให้เครื่องปลายทาง apply patch พร้อมสร้าง reverse delta mapping เก็บเอาไว้เผื่อว่าจะต้อง rollback กลับไปยังสถานะเดิม
ที่มา - Microsoft via ZDNet |
# Google Cloud เปิดบริการ Prometheus ให้ลูกค้าทดสอบวงปิด
กูเกิลเปิดบริการ Google Cloud Managed Service for Prometheus บริการ Prometheus ที่ลูกค้าไม่ต้องดูแลเซิร์ฟเวอร์ด้วยตัวเองในแบบพรีวิว โดยผู้สนใจต้องกรอกแบบฟอร์มขอทดลองใช้งาน
Prometheus เป็นระบบเก็บมาตรวัดค่าในระบบ (metric) ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากโครงการ Borgmon ของกูเกิลเอง ทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถเก็บมาตรวัดค่าต่างๆ และคิวรีตามมุมมองที่หลากหลายผ่านภาษาคิวรี PromQL รวมถึงการตั้งแจ้งเตือนได้อย่างละเอียด ทุกวันนี้ Prometheus แทบจะเป็นมาตรฐานหลักในการเก็บค่ามาตรวัดต่างๆ ใน Kubernetes (ซึ่ง Kubernetes ก็สร้างมาจากแนวคิดของระบบ Borg ที่ใช้ภายในกูเกิลเหมือนกัน)
บริการคู่แข่งอย่าง AWS เปิดพรีวิวบริการ Prometheus ตั้งแต่ปีที่แล้ว และเข้าสถานะ GA เมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา
ที่มา - Google Cloud
ภาพหน้าจอ Grafana ระบบ dashboard ที่มักใช้งานคู่กับ Prometheus |
# แอปเปิลไม่ให้เครดิตนักวิจัยรายงานช่องโหว่ iOS หลังจากแก้ไขล่าช้ากว่าครึ่งปี
Denis Tokarev เคยออกมาเปิดเผยช่องโหว่ 3 รายการของ iOS ที่ทำให้แอปสามารถอ่านข้อมูลผู้ใช้ได้แม้ไม่ได้รับอนุญาต โดยเขาระบุว่าได้แจ้งแอปเปิลไปล่วงหน้าถึงครึ่งปีแต่แอปเปิลก็ไม่ยอมแพตช์ ล่าสุดใน iOS 15.0.2 นั้นแอปเปิลแพตช์ช่องโหว่ทั้งหมดแล้ว แต่กลับไม่ยอมให้เครดิต Tokarev ในรายงานอัพเดตครั้งนี้
Tokarev เปิดเผยอีเมลที่ได้รับจากแอปเปิลขออภัยในความไม่สะดวกที่ไม่ได้ให้เครดิตเขาในแพตช์ล่าสุด แต่จะใส่เครดิตในอัพเดตหน้าแทน
ปัญหาในการประสานงานระหว่างแอปเปิลและนักวิจัยเป็นปัญหาต่อเนื่อง ที่ผ่านมามีนักวิจัยบ่นกันเรื่อยๆ ว่าแอปเปิลไม่ตอบอีเมล, ได้รางวัลรายงานช่องโหว่ไม่ครบตามเกณฑ์ที่ประกาศไว้, หรือบางครั้งก็ตอบสนองต่อรายงานล่าช้าหลายเดือนเหมือนกรณีของ Tokarev
ที่มา - Bleeping Computer |
# NYT เผย Facebook จัดพูดคุยนโยบายในที่ปิดมากขึ้น เพราะเริ่มคุมเอกสารหลุดไม่ไหวแล้ว
จากเหตุ Frances Haugen อดีตพนักงานเปิดเผยเอกสารภายในหลายพันหน้าต่อหน่วยงานกำกับดูแล ฝ่ายนิติบัญญัติ และผู้สื่อข่าว หรือที่เรารู้จักเอกสารดังกล่าวในชื่อว่า Facebook Files นั้น ล่าสุด Facebook เตรียมรับมือด้วยการประกาศกับพนักงานว่า จะเริ่มทำให้กลุ่มสนทนาออนไลน์บางหัวข้อจัดขึ้นในที่ปิดหรือเป็นส่วนตัวมากขึ้น เพื่อลดการรั่วไหลของข้อมูลและเอกสาร
ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมของ Facebook คนหนึ่งเขียนในประกาศซึ่งได้รับการตรวจสอบโดย The New York Times แล้ว ระบุว่า อย่างที่ทุกคนเห็น มีเอกสารภายในของ Facebook รั่วไหลมากขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้เป็นตัวแทนของความซับซ้อนต่างๆ ใน Facebook และมันถูกตีความนอกบริบท นำไปสู่ความเข้าใจผิดต่อมุมมองคนภายนอก
Andy Stone โฆษก Facebook ระบุในแถลงการณ์ว่า ข้อมูลรั่วไหลทำให้ทีมงานทำงานร่วมกันได้ยากขึ้น พนักงานที่ทำงานในเรื่องละเอียดอ่อนเจอความเสี่ยงจากภายนอก นำไปสู่การบิดเบือนและทำให้เข้าใจผิด
จากนโยบายใหม่นี้ มีพนักงานบางรายระบุกับ The New York Times มีบางคนที่สนับสนุนนโยบายใหม่ ในขณะที่คนอื่นๆ ไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการลดทอนความโปร่งใส การกีดกันพนักงานที่ทำงานอุทิศตนเพื่อความมั่นคงของ Facebook ออกจากการพูดคุย จะยิ่งส่งผลเสียต่อตัว Facebook เอง นอกจากนี้ยังมีการตั้งข้อสังเกตว่า นโยบายใหม่นี้จะนำไปสู่เอกสารหลุดที่เพิ่มขึ้นหรือไม่
ที่มา - The New York Times |
# กูเกิลเปิดตัว Anthos for Virtual Machines ใช้จัดการ VM ควบคู่คอนเทนเนอร์
กูเกิลเปิดตัว Anthos ชุดซอฟต์แวร์จัดการคอนเทนเนอร์บน Kubernetes ข้ามคลาวด์มาตั้งแต่ปี 2019 โดยที่ผ่านมาเน้นเฉพาะงานที่รันในคอนเทนเนอร์เท่านั้น
แต่เมื่อกระแสคอนเทนเนอร์ในโลกใหม่เริ่มมาเชื่อมกับ virtual machine (VM) ของโลกเก่า ทำให้ลูกค้าองค์กรเริ่มต้องจัดการทั้งคอนเทนเนอร์และ VM ไปพร้อมกัน ทำให้กูเกิลขยายความสามารถของ Anthos มาสู่ VM ด้วยเช่นกัน รองรับ VM ที่รันอยู่ใน VMware vSphere ที่เป็นมาตรฐานของตลาดอยู่แล้ว (คู่แข่ง Red Hat OpenShift มีฟีเจอร์นี้มาก่อนแล้ว อิงจากโครงการ KubeVirt เหมือนกัน)
ในอีกทาง VMware ในฐานะเจ้าพ่อแห่ง VM ก็เริ่มบุกเข้ามาในตลาดคอนเทนเนอร์ด้วยซอฟต์แวร์ตระกูล Tanzu เช่นกัน
นอกจากนี้ กูเกิลยังประกาศออก Anthos Multi-Cloud API ที่ช่วยให้จัดการคลัสเตอร์บน AWS และ Azure ได้ง่ายขึ้น สั่งงานได้จากคอมมานด์ไลน์ของ Google Cloud Console ได้เลย กำหนดออกในช่วงไตรมาส 4 ปี 2021
ที่มา - Google |
# ไม่เหมือนที่คุยไว้ พีซีเก่าตกสเปกที่ติดตั้ง Windows 11 ยังได้อัพเดตตามปกติ
ก่อนหน้านี้ไมโครซอฟท์ประกาศไว้ว่า Windows 11 สามารถติดตั้งในเครื่องตกสเปกขั้นต่ำได้ แต่จะไม่ได้อัพเดต รวมถึงแพตช์-ไดรเวอร์ แต่ในการอัพเดตครั้งแรกของ Windows 11 เมื่อวานนี้ ผู้ที่ติดตั้งบนเครื่องตกสเปกพบว่าก็ยังได้อัพเดตอยู่
ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลว่าเกณฑ์เรื่องการปล่อยอัพเดตของไมโครซอฟท์เป็นอย่างไรกันแน่ และน่าจะเป็นไปได้สูงว่าไมโครซอฟท์ยัง "ใจดี" ในช่วงแรกๆ นี้อยู่ จึงไม่ได้สนใจตรวจเช็คปัจจัยนี้ ปล่อยอัพเดตให้เครื่องที่เป็น Windows 11 ทั้งหมด
ที่มา - MSpoweruser |
# WSJ รายงาน แอปเปิลกำลังหาทางทำ AirPods เป็นอุปกรณ์เพื่อสุขภาพ วัดอุณหภูมิ จับท่าทางได้
Wall Street Journal รายงานโดยอ้างอิงจากเอกสารภายในระบุว่า ตอนนี้แอปเปิลกำลังพัฒนาการใช้งานหูฟัง AirPods ขึ้นอีกขั้น ให้เป็นอุปกรณ์เพื่อสุขภาพ เพิ่มเซนเซอร์การจับท่าทางเพื่อให้เราอยู่ในท่าทางที่ถูกต้อง และในตัวโปรโตไทป์ยังเพิ่มการวัดอุณหภูมิร่างกายได้ด้วย
เนื่องจากเป็นประเด็นด้านสุขภาพ ความสามารถเพื่อสุขภาพใหม่ใน AirPods ต้องผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานสุขภาพต่างๆ ซึ่งต้องใช้เวลา เพราะหูฟังของ Bose ยังต้องใช้เวลานานมากกว่าจะขายเครื่องช่วยฟัง SoundControl ที่ผ่านการรับรองโดย FDA ได้
นอกจากประเด็นกฎหมายสุขภาพแล้ว ยังมีข้อจำกัดทางเทคนิค เพราะ AirPods Pro มีระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรี 4.5 ชั่วโมงเมื่อเปิดระบบตัดเสียงรบกวนรอบข้าง และ 3.5 ชั่วโมง สำหรับการคุยโทรศัพท์ ซึ่งอาจไม่เอื้อต่อการใช้งานเพื่อสุขภาพที่ต้องใส่ตลอดเป็นระยะเวลานานๆ
การเบนเข็มไปยังสายสุขภาพนั้นเป็นที่เข้าใจได้ เพราะสุขภาพคือจุดขายสำคัญในยุคนี้ ก่อนหน้านี้ในงาน WWDC เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา แอปเปิลประกาศฟีเจอร์ใหม่ Conversation Boost ของ AirPods Pro ที่สามารถใช้ไมโครโฟนช่วยจับและขยายเสียงพูดของคนที่อยู่ตรงหน้าพร้อมตัดเสียงรบกวนอื่นๆ ได้ ซึ่งมีความใกล้เคียงกับเครื่องช่วยฟัง
ที่มา - Engadget |
# Blue Origin ส่งคนแตะขอบอวกาศรอบที่ 2 สำเร็จ Captain Kirk ได้ไปอวกาศแล้ว
เมื่อเดือนกรกฎาคม Blue Origin บริษัทอวกาศของ Jeff Bezos ทำภารกิจส่งมนุษย์ 4 คน (รวม Jeff และน้องชาย) ขึ้นไปสัมผัสขอบอวกาศที่ระดับ 107 กิโลเมตร ได้สำเร็จ
เมื่อคืนนี้ Blue Origin ทำภารกิจรอบที่สองในลักษณะเดียวกัน ใช้จรวด New Shepard ส่งมนุษย์ 4 คนขึ้นไปสูง 107 กิโลเมตรและกลับมาสู่ผิวโลกได้อย่างราบรื่น
ในบรรดาผู้โดยสารทั้ง 4 คน คนที่ดังที่สุดคือ William Shatner นักแสดงผู้สวมบทเป็น Captain James T. Kirk ตัวเอกในซีรีส์ Star Trek ภาคแรก ได้ขึ้นไปสัมผัสอวกาศจริงๆ ในวัย 90 ปี ทำให้เขาสร้างสถิติเป็นผู้มีอายุสูงสุดที่ได้ขึ้นสู่อวกาศด้วย (Shatner ได้ขึ้นจรวดในฐานะแขกของ Jeff Bezos)
ผู้โดยสารชุดที่สองของ Blue Origin (Shatner คือคนที่สองจากซ้าย) ผู้โดยสารคนอื่นคือ Chris Boshuizen ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทดาวเทียม Planet Labs และ Glen de Vries ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทซอฟต์แวร์การแพทย์ Medidata Solutions ซึ่งทั้งสองคนนี้จ่ายเงิน ส่วนคนสุดท้าย (ที่เป็นผู้หญิง) คือ Audrey Powers ผู้บริหารของ Blue Origin เอง
Shatner ให้สัมภาษณ์หลังลงจากจรวดว่า "อวกาศไม่เหมือนกับที่ใครๆ เคยพูดเอาไว้เลย"
Blue Origin ยังจะมีภารกิจส่งมนุษย์ขึ้นขอบอวกาศอีก 1 ครั้งในปี 2021 โดยรอบนี้จะมีผู้โดยสาร 6 คน
ที่มา - Blue Origin, Ars Technica |
# Apple ขยายเวลาโครงการเปลี่ยน AirPods Pro ที่เจอปัญหาเสียงช็อต หรือ ANC ไม่ทำงาน ออกไปเป็น 3 ปี
เมื่อปีที่แล้ว แอปเปิลประกาศโครงการเปลี่ยน AirPods Pro ใหม่ให้ สำหรับหูฟังข้างที่มีปัญหาเสียงช็อต หรือ หูฟังที่มีปัญหาการตัดเสียงรบกวน ซึ่งกำหนดระยะเวลาไว้ว่าโปรแกรมนี้ครอบคลุมเวลา 2 ปี นับจากวันที่ซื้อ AirPods Pro แต่ล่าสุดแอปเปิลขยายเวลาโครงการนี้แล้ว
ในหน้าสนับสนุนของโครงการนี้ แอปเปิลแก้ไขข้อความว่าโปรแกรมนี้จะครอบคลุม AirPods Pro ที่ได้รับผลกระทบเป็นเวลา 3 ปี นับจากการจำหน่ายปลีกครั้งแรก ฉะนั้นผู้ซื้อที่พบปัญหา แอปเปิลได้ขยายให้เปลี่ยนได้จนถึงตุลาคมปี 2023 (หากซื้อตุลาคม 2020) นั่นเอง
โครงการนี้มีผลเฉพาะกับ AirPods Pro เท่านั้น ไม่รวมหูฟัง AirPods และ AirPods Max
ที่มา: MacRumors |
# Instagram เพิ่มการตั้งเวลาไลฟ์ได้ล่วงหน้า 90 วัน และ Practice Mode ทดสอบไมค์ก่อนไลฟ์ได้
Instagram เพิ่มความสามารถใหม่สองอย่าง อย่างแรกคือครีเอเตอร์สามารถตั้งเวลาไลฟ์ล่วงหน้าได้สูงสุด 90 วัน เป็นการเตือนตัวเองหากมีอีเว้นท์ที่ต้องทำการไลฟ์ในอนาคต นอกจากนี้ครีเอเตอร์ยังแชร์ไลฟ์ที่ตั้งเวลาไว้ล่วงหน้าบนหน้าฟีดและ Stories ได้ แฟนคลับผู้ติดตามของครีเอเตอร์สามารถตั้งเป็น reminder เพื่อไม่ให้พลาดการดูไลฟ์ครั้งนั้นด้วย
ฟีเจอร์ต่อมาที่ Instagram เตรียมเปิดใช้งานในอนาคตคือ Practice Mode เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ครีเอเตอร์ไลฟ์คุยกับแขกรับเชิญที่มาไลฟ์ด้วยกันได้ล่วงหน้าก่อนจะไลฟ์จริง เพื่อเป็นการทดสอบระบบเสียงและภาพ
ที่มา - Engadget |
# ไมโครซอฟท์ออก Patch Tuesday ตุลาคม 2021 ให้ทั้ง Windows 10 และ Windows 11
ไมโครซอฟท์ออก Patch Tuesday ประจำรอบเดือนตุลาคม 2021 (หมายเลขแพตช์ KB5006670) ความพิเศษของรอบนี้คือ Windows 11 จะได้อัพเดตแพตช์เป็นครั้งแรกด้วย (ออก 5 ตุลาคม ได้แพตช์รอบ 12 ตุลาคมพอดี)
นอกจากการอัพเดตความปลอดภัย (ที่ได้ทั้ง Windows 10 และ Windows 11) สิ่งที่ปรับปรุงในแพตช์ของ Windows 11 คือแก้บั๊กซอฟต์แวร์เครือข่าย Intel Killer และ SmartByte ส่วนการแก้บั๊กประสิทธิภาพของซีพียู AMD ยังไม่มาในแพตช์รอบนี้
ที่มา - OnMSFT |
# ลองเล่นฟีเจอร์ Safe Access และ Threat Prevention ในเราท์เตอร์ Synology RT2600ac
ผู้อ่าน Blognone น่าจะรู้จัก Synology ในฐานะแบรนด์ NAS เป็นหลัก แต่สินค้าอีกกลุ่มหนึ่งของบริษัทคือเราท์เตอร์ที่มีฟีเจอร์สำหรับองค์กรขนาดเล็กหรือ SME มาด้วยทำให้สามารถใช้งานหลายๆ ด้านได้เหนือกว่าเราท์เตอร์ตามบ้าน เช่น การทำ VPN ข้ามสาขาหรือสำหรับพนักงาน, การจัดการผู้ใช้ที่ซับซ้อนขึ้นสำหรับร้านค้าที่จะให้บริการลูกค้า, และฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยที่อาศัยเราท์เตอร์เข้าไปดูแลความปลอดภัยของไคลเอนต์ โดยบทความนี้ผมทดสอบฟีเจอร์หลักสองส่วนของ RT2600ac คือ Safe Access และ Theat Prevention
ข้อมูลเปิดเผย: Blognone ได้รับอุปกรณ์จาก Synology เพื่อการทดสอบครั้งนี้
Safe Access ควมคุมการใช้งานสำหรับพนักงานและเด็ก
Safe Access เป็นชื่อแอปพลิเคชั่นในเราท์เตอร์ของ Synology ที่โดยทั่วไปคงเรียกกันว่าฟีเจอร์ parental control เนื่องจากมักใช้งานสำหรับผู้ปกครองไว้ดูแลการใช้งานของลูกหลานในความปกครอง แต่ Safe Access เปิดให้ใช้งานกับพนักงานในบริษัท หรือการให้บริการลูกค้าได้
ตัว Safe Access เป็นการฟิลเตอร์เว็บที่ผู้ใช้ในเครือข่ายเข้าใช้งานผ่านทาง DNS จากเราท์เตอร์ โดย Synology จะเป็นผู้ดูแลรายชื่อโดเมนว่าโดเมนใดเข้าข่ายเนื้อหาประเภทใดบ้าง แบ่งกลุ่มเนื้อหาที่ต้องจับตามอง 18 แบบ เช่น การพนัน, การแฮกข้อมูล, เนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่, หรือแม้แต่การโฆษณา (เคยมีคนแกะฐานข้อมูลออกมาเราท์เตอร์ แต่ก็เป็นข้อมูลเก่าหลายปีแล้ว)
ข้อจำกัดสำคัญของ Safe Access คือมันไม่สามารถจำกัดการเข้าถึงได้ หากผู้ใช้เปิดฟีเจอร์ DNS over HTTPS (DoH) บนเบราว์เซอร์หรือระบบปฎิบัติการซึ่งทำให้เบราว์เซอร์ข้ามไม่ใช้งาน DNS จากเราท์เตอร์ ดังนั้นผู้ปกครองอาจจะต้องดูว่าลูกหลานของตัวเองเริ่มลองเล่นฟีเจอร์เหล่านี้เป็นหรือยัง และอาจจะต้องเซ็ตอัพไฟร์วอลลในตัวเราท์เตอร์เพื่อแบน DoH ด้วยตัวเองซึ่งยุ่งยากขึ้นพอสมควร และอาจจะไม่สามารถบล็อคได้ทั้งหมดเพราะการบล็อค DoH นั้นต้องบล็อคพอร์ต 443 เป็นรายไอพีเท่านั้น
เราสามารถกำหนดเงื่อนไขการจำกัดประเภทการใช้งานได้ เช่น กำหนดรายเครื่องโดยดูจาก MAC address (สามารถรวมกลุ่มหลาย MAC เข้าเป็นผู้ใช้คนเดียวกันได้), กำหนดเงื่อนไขสำหรับทั้งเน็ตเวิร์ค, และกำหนดเงื่อนไขสำหรับเน็ตเวิร์ควงสำหรับแขก (guest network) แยกออกไป และหากระบบบล็อคทำงานผิดพลาด Safe Access ก็มีหน้าเว็บสำหรับขออนุญาตเข้าถึงเป็นครั้งๆ ไปได้ด้วย
นโยบายใน Safe Access สามารถตั้งให้เปลี่ยนไปตามเวลา เช่น ช่วงพักเปิดให้พนักงานเข้าเว็บเพื่อความบันเทิงได้ ก็นับว่าครอบคลุมการใช้งานกรณีส่วนใหญ่ สำหรับผู้ใช้ในบ้านที่ใช้งานส่วนตัวการเปิดฟีเจอร์ Safe Access เพื่อใช้บล็อคโฆษณาหรือบล็อคเว็บมัลแวร์ทั้งหลายก็ยังนับว่ามีประโยชน์ และง่ายกว่าการเซ็ตอัพ Pi Hole ใช้เองในบ้านค่อนข้างมาก
Threat Prevention บริการ IPS ในเราท์เตอร์ในบ้าน
ฟีเจอร์ความปลอดภัยอีกตัวหนึ่งของ RT2600ac คือ Threat Prevention ที่เป็นระบบสแกนข้อมูลที่วิ่งผ่านเน็ตเวิร์ค ชนิด deep packet inspection ทำให้สามารถดูข้อมูลภายในได้อย่างละเอียด
ฐานข้อมูลกฎการตรวจทราฟิกของฟีเจอร์ Threat Prevention นั้นมาจากฐานข้อมูล Emerging Threats ชุด ET Open และมีตัวเลือกสำหรับการใช้ฐานข้อมูล ET Pro ได้ โดยหน้าจอคอนฟิกมีช่องให้ใส่โค้ดเพื่ออัพเดตเป็น ET Pro ได้อัตโนมัติ ระบบตรวจจับภัยสามารถคอนฟิกจากชุดของกฎต่างๆ ได้ว่า ต้องการให้ทำอะไรบ้าง เช่น แจ้งเตือนเท่านั้น, บล็อคทราฟิกไปเลย, หรือแม้แต่อีเมลแจ้งเตือนผู้ดูแลระบบ
กฎการตรวจสอบข้อมูล ET Open ที่ใส่มานั้นหากจะใช้งานจริงคงต้องปรับแต่งพอสมควรเพราะการใช้งานมีการรายงานแบบ false positive ว่ามีการโจมตีค่อนข้างมาก เช่น การทำ NAT Traversal ซึ่งมีการใช้งานบ่อยๆ ในแอปพลิเคชั่นโทรศัพท์หรือประชุมวิดีโอก็ถูกรายงานมีการพยายามเข้าถึงสิทธิ์ระดับผู้ใช้ (Attempted User Privilege Gain) และยังรายงานเป็นภัยระดับสูง หรือภัยระดับกลางหรือต่ำจำนวนมากก็มีรายงานเพียงเพราะเข้าถึงโดเมน TLD ที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมและมีการส่งสแปมบ่อยสักหน่อย หากใช้งานจริงคงต้องปรับแต่งเพื่อปิดการแจ้งเตือนเหล่านี้ออกเสีย
ความสามารถของ Threat Prevention ที่เห็นได้ชัดคือมันสามารถตรวจสอบการใช้งานโดเมนต่างๆ ได้จากข้อมูลใน SNI ทำให้รู้ถึงโดเมนที่กำลังเข้าใช้งานได้แม้จะเปิด DoH ก็ตามที น่าเสียดายที่ความสามารถนี้ไม่ได้ทำงานร่วมกับฟีเจอร์ Safe Access เพื่อช่วยบล็อคเว็บตามนโยบายของ Safe Access แต่อย่างใด
การปรับแต่งกฎทำได้เฉพาะการปรับนโยบายสำหรับกฎไฟร์วอลล์แต่ละหมวดเท่านั้น ไม่สามารถเพิ่มกฎด้วยตัวเองโดยตรง ฟีเจอร์อีกส่วนหนึ่งที่ขาดไปคือการทำ SSL Inspection สำหรับการตรวจสอบทราฟิกเข้ารหัส ทำให้การใช้งานในยุคที่เว็บในอินเทอร์เน็ตส่วนมากเข้ารหัสแทบทั้งสิ้นทำให้ Threat Prevention มีประโยชน์จำกัดอยู่เฉพาะบริการภายในที่ไม่เข้ารหัสเป็นหลัก
สรุป
ฟีเจอร์ Safe Access และ Threat Prevention นับว่าช่วยให้คนทั่วไปใช้งานใช้งานฟีเจอร์ที่เคยเข้าถึงได้ยากได้สะดวกขึ้นมาก การใช้งาน Safe Access นั้นนับว่ามีประโยชน์ค่อนข้างมากไม่ว่าจะเป็นการใช้งานส่วนตัวสำหรับบล็อคโฆษณา หรือใช้งานในบ้านสำหรับควบคุมการใช้งานสำหรับเด็ก ไปจนถึงการใช้งานในออฟฟิศขนาดเล็ก แต่ Threat Prevention นั้นการใช้งานจะจำกัดกว่า การใช้งานในตอนนี้คงเป็นการป้องกันเซิร์ฟเวอร์ในองค์กรที่ยังเปิดใช้เชื่อมต่อแบบไม่เข้ารหัส หากในอนาคต Synology รองรับฟีเจอร์เช่น reverse proxy และทำ SSL Inspection ได้ก็น่าจะทำให้ฟีเจอร์นี้น่าสนใจขึ้นมาก |
# กูเกิลเปิด Google Earth Engine ระบบวิเคราะห์ข้อมูล Geospatial ให้ใช้งานเชิงพาณิชย์
ชาว Blognone คงรู้จัก Google Earth กันอยู่แล้วไม่ต้องแนะนำอะไรมาก แต่จริงๆ แล้วกูเกิลมีผลิตภัณฑ์อีกตัวชื่อ Google Earth Engine เป็นการรวมภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูง และฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ (geospatial) อีกมหาศาล 50 petabyte ที่เปิดให้นักวิจัย-นักวิทยาศาสตร์ สามารถใช้งานได้ฟรีมานานแล้ว (ตัวอย่างคือ ภาพ Timelapse แสดงการเปลี่ยนแปลงของผิวโลกตามช่วงเวลา)
ล่าสุดกูเกิลเปิด Google Earth Engine ให้เช่าใช้งานในเชิงพาณิชย์ได้แล้ว โดยถือเป็นบริการหนึ่งของ Google Cloud Platform ตัวอย่างบริษัทที่นำไปใช้แล้วคือ Unilever ใช้วางแผนซัพพลายเชนของการปลูกปาล์มน้ำมันที่ไม่ทำลายป่า
กูเกิลยังไม่เปิดเผยราคาของ Google Earth Engine และผู้ที่สนใจใช้งานช่วงแรกต้องลงทะเบียนเพื่อรอให้กูเกิลส่งคำเชิญก่อน
ที่มา - Google |
# ย้อนอดีต 30 ปี วทท. 2.0 จุดกำเนิดมาตรฐานกลางภาษาไทยบนคอมพิวเตอร์
การใช้งานภาษาไทยบนคอมพิวเตอร์มีมานาน 54 ปีแล้ว แต่ในยุคแรกเริ่มเป็นต่างคนต่างทำ ข้อมูลภาษาไทย (คำในแง่เทคนิคคือ รหัสอักขระภาษาไทย) ในคอมพิวเตอร์แต่ละระบบไม่สามารถอ่านข้ามกันได้ง่ายนัก
ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้โพสต์เล่าเบื้องหลังการแก้ปัญหาข้างต้น และวางมาตรฐานภาษาไทยเป็นมาตรฐานกลางให้ทุกฝ่ายใช้งานร่วมกันได้
งานเรื่องการพัฒนามาตรฐานอักขระภาษาไทยเริ่มในปี 2527 โดย ดร.ทวีศักดิ์ สำรวจรหัสอักขระที่ใช้กันในสมัยนั้น และพบว่ามีรหัสอักขระถึง 35 แบบ ทำให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กำหนดมาตรฐานกลาง (แบบไม่บังคับให้ใช้) ขึ้นมาในปี 2529
หลังจากนั้นเพียงหนึ่งปี ผู้ขายคอมพิวเตอร์ในไทยก็รองรับมาตรฐานของ สมอ. แต่ยังขาดมาตรฐานเรื่องแป้นพิมพ์ หรือวิธีการแก้ไขข้อความบนจอ ฯลฯ ทำให้กลุ่มผู้ขายคอมพิวเตอร์ภาคเอกชน ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ก่อตั้งกลุ่ม Thai Application Programming Interface หรือ TAPIC (Thai API Consortium) ขึ้นมา
ผลงานของกลุ่ม TAPIC คือข้อกำหนด วทท. 2.0 “อักขรวิธีสำหรับภาษาไทยสำหรับคอมพิวเตอร์” ที่ตีพิมพ์อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม 2534 (วทท ย่อมาจาก "วิ่งทุกที่") ซึ่งกลายเป็นมาตรฐานกลางที่อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์นำไปใช้งานจนถึงปัจจุบัน (เริ่มใช้ใน MS-DOS 6.0 เป็นต้นมา)
ตัวเอกสาร วทท. 2.0 ฉบับเต็มสามารถดาวน์โหลดได้จากหน้าเว็บของ สวทช. |
# [ไม่ยืนยัน] Apple สั่งลดการผลิต iPhone 13 ปีนี้ลงถึง 10 ล้านเครื่อง เนื่องจากปัญหาชิปขาดแคลน
Bloomberg รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง เผยว่าแอปเปิลได้ลดคำสั่งการผลิต iPhone 13 ลง เนื่องจากมีปัญหาชิปขาดแคลน ที่ผู้ผลิตไม่สามารถส่งมอบได้ในจำนวนที่ต้องการตามแผนการผลิตแรก
ตัวเลข iPhone 13 ที่ลดกำลังการผลิตลงนั้น ระบุว่าอาจสูงสุดถึง 10 ล้านเครื่อง สำหรับการผลิตในปี 2021 โดยเป็นข้อมูลจากผู้ผลิตชิ้นส่วนอื่นที่ไม่เกี่ยวกับชิป ซึ่งถูกลดคำสั่งซื้อตามด้วยนั่นเอง ทั้งนี้ Bloomberg ระบุชื่อของ Broadcom และ Texas Instruments ว่าเป็นซัพพลายเออร์ที่ส่งมอบชิปไม่ได้ตามที่แอปเปิลต้องการ
ก่อนหน้านี้แอปเปิลเคยระบุในช่วงแถลงผลประกอบการไตรมาสที่ผ่านมา ว่าปัญหาชิปขาดแคลนยังส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้า แต่เป็นไลน์สินค้ารุ่นเก่ามากกว่า
ที่มา: 9to5Mac |
# Netflix เผย Squid Game เป็นซีรี่ส์ที่มีคนดูมากที่สุดในช่วงเปิดตัว เท่าที่เคยมีมาบนแพลตฟอร์ม
ก่อนหน้านี้ซีอีโอร่วมของ Netflix บอกว่าว่า Squid Game ซึ่งเป็นซีรีส์จากเกาหลีนั้น อาจเป็นซีรีส์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด ล่าสุด Netflix เปิดเผยสถิติตัวเลขอย่างเป็นทางการแล้ว
โดยบัญชี Twitter ของ Netflix บอกว่าจำนวนผู้ชมซีรี่ส์แนวแข่งขันเอาชีวิตรอดนี้ มีจำนวนผู้ชม 111 ล้านคนแล้ว ซึ่งเป็นตัวเลขสูงที่สุดในช่วงซีรี่ส์เพิ่งเปิดตัวที่เคยมีมาของ Netflix ทั้งนี้ Netflix จะวัดตัวเลขดังกล่าว โดยดูจากจำนวนผู้ชมใน 28 วันแรก และรับชมอย่างน้อย 2 นาที
สถิติสูงสุดที่ Netflix เคยรายงานก่อนหน้านี้คือ Bridgerton ซีซั่น 1 จำนวนผู้ชม 82 ล้านคน
ที่มา: IGN |
# Google Cloud เปิดตัว Cortex Framework เทมเพลตกลางสำหรับขึ้นระบบ SAP บนคลาวด์ให้เร็ว
กูเกิลค่อนข้างมีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับ SAP (อาจเป็นเพราะมีคู่แข่งร่วมกันคือ Oracle) ทำให้งาน Google Cloud Next ช่วงหลังๆ ทั้งสองบริษัทมักมีประกาศความร่วมมือกันเป็นประจำ
ของใหม่ในปี 2021 คือ Google Cloud Cortex Framework เป็นเทมเพลตของการขึ้นระบบ SAP บน Google Cloud แยกตามการใช้งานในแต่ละอุตสาหกรรม เพื่อให้ลูกค้าองค์กรขึ้นระบบและดีพลอยโซลูชันได้เร็วขึ้น แก้ปัญหาเรื่องการพัฒนาระบบ SAP ในองค์กรที่ใช้เวลานานและต้นทุนสูง
Google Cloud Cortex Framework จะพัฒนาอยู่บนระบบของ Google Cloud Platform และ SAP (ตัวอย่างคือใช้ BigQuery ของกูเกิลในการดึงข้อมูล) เป็นแกนกลาง พ่วงด้วยเทคโนโลยีเสริมจากพาร์ทเนอร์และบริษัทรับพัฒนาระบบไอทีรายใหญ่ๆ ของโลก เช่น Accenture, Infosys, ATOS, Deloitte, HCL, PwC จะนำเฟรมเวิร์คตรงกลางนี้ไปพัฒนาต่อให้ลูกค้าแต่ละรายอีกที ไม่ต้องมาพัฒนาระบบใหม่ตั้งแต่ศูนย์เพราะ Google-SAP ทำตรงกลางไว้ให้แล้ว
ที่มา - Google |
# Google TV เพิ่มฟีเจอร์ Multi-profile ล็อกอินหลายบัญชีในเครื่องเดียวกัน
กูเกิลประกาศเพิ่มฟีเจอร์ multi-profile ให้ Google TV ผู้ใช้สามารถล็อกอินบัญชี Google Account หลายบัญชีในสมาร์ททีวีที่เป็น Google TV หรือทีวีที่ต่อเชื่อมผ่าน Chromecast with Google TV
การแยกบัญชีล็อกอินจะช่วยเรื่อง personalization และ recommendation แนะนำรายการที่แต่ละคนในครอบครัวชอบ (ลักษณะเดียวกับ multi-profile ของ Netflix) รวมถึงการซิงก์แอพและข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคนข้ามเครื่องให้อัตโนมัติ และการทำ kids profile สำหรับเด็กๆ ด้วย
ในการอัพเดตนี้ยังเพิ่มฟีเจอร์ให้ ambient mode ที่แสดงข้อมูลต่างๆ บนจอทีวีช่วงที่ไม่ใช้งาน (idle) เช่น สภาพอากาศ ข่าวสาร ผลกีฬา จากเดิมที่แสดงเฉพาะภาพถ่ายจาก Google Photos เพียงอย่างเดียว
ที่มา - Google |
# ซัมซุงประกาศงานแถลงข่าว Galaxy Unpacked Part 2 วันที่ 20 ตุลาคม 2021
ซัมซุงประกาศจัดงานแถลงข่าว Galaxy Unpacked Part 2 ในวันที่ 20 ตุลาคมนี้ โดยยังไม่ระบุว่าจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใด บอกแค่เพียงว่า "new experiences for self-expression through technology"
ในคลิปประกาศข่าวของงานเป็นรูปกล่องที่ครอบไอคอนบริการต่างๆ ของซัมซุง เช่น Samsung Health, SmartThings รวมถึงไอคอนแอพกล้อง เพลง วิดีโอ ทำให้สื่อหลายเจ้าคาดว่าน่าจะหมายถึง One UI 4.0 ที่อิงอยู่บน Android 12
สินค้าของซัมซุงที่มีข่าวหลุดออกมาในปีนี้ แต่ยังไม่เปิดตัวอย่างเป็นทางการคือ Galaxy S21 FE ส่วนสินค้าอีกตัวที่เป็นไปได้คือ Galaxy Tab S8
ที่มา - Samsung, 9to5google |
# Coinbase เตรียมเปิดบริการซื้อขายแลกเปลี่ยน NFT ภายในปีนี้
Coinbase เว็บไซต์ซื้อขายแลกเปลี่ยนคริปโตรายใหญ่เตรียมเข้าสู่วงการ NFT ด้วยการเปิดตัวบริการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าด้วย NFT เพื่อเข้ามาแข่งขันในตลาดที่กำลังเติบโตกับผู้เล่นรายสำคัญในตลาดอย่าง OpenSea
สำหรับ Coinbase NFT จะมีฟีเจอร์หลักคือระบบอินเตอร์เฟสที่เป็นมิตรต่อผู้ใช้ ตอนเริ่มต้นจะรองรับ ERC-721 และ ERC-1155 พร้อมซัพพอร์ต multi-chain ในอนาคต ฟีเจอร์หลักจะเป็นการซื้อขายงาน มีโปรไฟล์ที่โชว์ NFT ทั้งหมดในที่เดียว และจะมีฟีเจอร์ด้าน social เข้ามาเพิ่มเติม
Coinbase NFT เตรียมเปิดใช้งานภายในปีนี้ แต่สำหรับใครที่สนใจเข้าใช้งานแบบ early access สามารถเข้าไปกรอกอีเมลรอที่หน้าเว็บ waitlist ได้เลย
ที่มา - Coinbase, TechCrunch |
# Pixel 6 จะการันตีอัพเดตแพตช์นาน 5 ปี, ราคาหลุดเริ่มต้นที่ 649 ยูโร
ข้อมูลหลุดเพิ่มเติมของ Pixel 6 ที่มาจากเว็บไซต์ Carphone Warehouse นอกจากประเด็นเรื่องกล้อง 50MP และฟีเจอร์ Magic Eraser ลบคนออกจากรูปภาพ ยังมีข้อความตัวเล็กๆ ระบุว่า Pixel 6 การันตีการอัพเดตแพตช์ความปลอดภัยนาน 5 ปี ซึ่งเพิ่มขึ้นจากตัวเลข 3 ปีของ Pixel ในปัจจุบัน (ในเอกสารไม่ได้พูดถึงการอัพเกรด OS แต่อย่างใด)
ตัวเลขนี้จะทำให้ Pixel 6 เป็นมือถือ Android ที่อัพเดตนานที่สุด (แชมป์ปัจจุบันคือซัมซุง การันตีอัพเดตแพตช์ 4 ปี) แม้อาจยังไม่นานเท่ากับ iPhone ที่แอปเปิลยังอัพเดตให้ประมาณ 7 ปี (iPhone 6S)
เว็บไซต์ Ars Technica วิเคราะห์ว่าเหตุผลหลักๆ มาจากชิป Tensor ที่กูเกิลออกแบบคัสตอมเอง ทำให้สามารถซัพพอร์ตซีพียูได้นานกว่าชิป Qualcomm ซึ่งมีปัญหาเรื่องระยะเวลาซัพพอร์ตมายาวนาน นอกจากนี้ Android 12 ยังแก้ปัญหาเรื่องเคอร์เนลของ Android ที่มีหลายเวอร์ชันแยกย่อย มาใช้เคอร์เนลกลาง GKI เพียงตัวเดียว ก็ช่วยให้การซัพพอร์ตทำได้ง่ายขึ้นมาก
นอกจากนี้ยังมีราคาหลุดของ Pixel 6 ในยุโรปคือ รุ่นปกติ 649 ยูโร และรุ่น Pro 899 ยูโร ซึ่งคาดว่าจะแปลงกลับเป็นดอลลาร์ที่ 749 และ 1,039 ดอลลาร์ตามลำดับ
ที่มา - Ars Technica |
# 1Password ออกเครื่องมือใหม่ สร้างลิงก์โดยเฉพาะสำหรับการแชร์รหัสผ่าน
1Password เปิดตัวเครื่องมือใหม่ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถแชร์ vault กับคนอื่น โดยเฉพาะกับคนที่ไม่ได้ใช้ 1Password ได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น
เครื่องมือดังกล่าวตั้งชื่อว่า Psst! ย่อมาจาก Password secure sharing tool ซึ่งจะสร้างลิงก์สำหรับเข้าถึงบริการต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ใน 1Password ลิงก์มีอายุ 7 วัน เป็นค่าเริ่มต้น แต่ผู้ใช้งานสามารถกำหนดระยะเวลาที่ต้องการได้เอง รวมทั้งเลือกกำหนดสิทธิเข้าถึงลิงก์ทั้งแบบระบุอีเมลผู้รับ หรือแบบสร้างลิงก์ทั่วไปขึ้นมา
1Password ให้ข้อดีของระบบจัดการรหัสผ่านนี้ ว่าทำให้เจ้าของบัญชีสามารถควบคุมจัดการ ดูรายงานการเข้าถึงบัญชีตามสิทธิที่ให้ได้ละเอียดชัดเจน และควบคุมระยะเวลาได้มากขึ้น แทนที่การแชร์รหัสผ่านกันแบบตรง ๆ
ที่มา: 1Password |
# Apple ประกาศจัดอีเวนต์ "Unleashed" วันที่ 18 ตุลาคมนี้ คาดเปิดตัว MacBook Pro 14 และ 16 นิ้ว
Apple ประกาศจัดงานอีเวนต์ออนไลน์วันที่ 18 ตุลาคมนี้อย่างเป็นทางการ งานคราวนี้มีชื่ออีเวนต์ว่า "Unleashed" เวลา 10.00 น. ตามเวลาแปซิฟิก หรือเที่ยงคืนก่อนถึงเช้าวันอังคารในบ้านเรา
อุปกรณ์ที่คาดว่าจะเปิดตัวคราวนี้คือ MacBook Pro ขนาด 14 นิ้ว และ 16 นิ้ว ที่ลือกันว่าจะมาพร้อมชิป M1X รุ่นอัปเกรดจาก M1 ที่อาจมาพร้อมแรม 32GB ซะที
นอกจากนี้ Apple ยังน่าจะเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับวันปล่อยอัพเดต macOS Monterey ส่วนจะมีอุปกรณ์อื่น เช่น AirPods Gen 3 ที่เคยมีข่าวลือว่าจะเปิดตัวพร้อม iPhone 13 แต่เงียบหายไปหรือไม่ คงต้องรอติดตามวันงานจริง
ที่มา - @Greg Joswiak, Apple SVP Marketing |
# Amazon ประกาศแนวทางกลับเข้าทำงานออฟฟิศ ให้แต่ละทีมกำหนดนโยบายเอง
Andy Jassy ซีอีโอ Amazon ได้เผยแพร่ข้อความภายใน เกี่ยวกับนโยบายการกลับเข้ามาทำงานในสำนักงาน ว่าให้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้จัดการแต่ละคน ว่าจะกำหนดให้พนักงานต้องเข้าสำนักงานบ่อยแค่ไหน โดยบริษัทมีแผนเปิดสำนักงานในปีหน้า
ในรายละเอียดนั้น Jassy บอกว่าเขาคาดว่าแต่ละทีมจะมีมุมมองเรื่องนี้ต่างกันออกไป อาจมีทั้งที่ต้องการทำงานแบบรีโมททั้งหมดต่อไป แบบผสมผสาน และแบบที่อยากให้เข้าสำนักงานมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ บริษัทจะไม่กำหนดแนวทางว่าต้องกี่วันและวันใดบ้าง โดยให้ระดับผู้อำนวยการฝ่ายตัดสินใจร่วมกับหัวหน้าทีม
ก่อนหน้านี้มีข่าวว่า Amazon กำหนดแผนการกลับมาทำงานสำนักงาน ว่าจะเป็นแบบเข้าสำนักงาน 3 วัน และรีโมท 2 วัน แต่ตอนนี้เปลี่ยนแผนเนื่องจากมองว่า สูตร ๆ เดียวอาจไม่เหมาะกับทุกทีมไปทั้งหมด
ที่มา: CNBC |
# ขายพ่วงยกชุด กูเกิลเปิดตัวชุด Work Safer ยกชุดตั้งแต่โทรศัพท์, Chromebook, การล็อกอินเว็บภายใน
กูเกิลรวมสินค้าและบริการกลุ่มรองรับการทำงานนอกสำนักงานเข้าด้วยกันในชื่อชุด Work Safer สำหรับการป้องกันเน็ตเวิร์คองค์กรแม้จะเชื่อมต่อจากเครื่องของพนักงานที่อยู่ภายนอก
ชุด Work Safer ประกอบด้วยโทรศัพท์ Pixel พร้อมบริการ Android Enterprise, Chromebook และ Chrome Enterprise Upgrade, กุญแจยืนยันตัวตน Titan, บริการ reCAPTCHA Enterprise สำหรับการป้องกันบอต, บริการเก็บล็อก Chronicle, ระบบควบคุมการเข้าถึงบริการภายใน BeyondCorp Enterprise
นอกจากบริการของกูเกิลเองแล้ว Work Safer ยังเชื่อมกับบริการตรวจสอบความปลอดภัยในเครื่องปลายทาง (end point) โดยตอนนี้มีบริษัทร่วมด้วยแล้วคือ CrowdStrike และ Palo Alto Networks
ที่มา - Google |
# มาอีกราย อดีตนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลที่โดน Facebook ไล่ออก ยินดีให้การกับสภาคองเกรส
ก่อนหน้านี้เราเห็นข่าว Frances Haugen อดีตพนักงาน Facebook ที่ออกมาแฉบริษัท โดยไปให้การกับสภาคองเกรส จนเป็นข่าวใหญ่กันมาแล้ว
ล่าสุดมีอดีตพนักงานอีกคนคือ Sophie Zhang อดีตนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลที่เคยทำงานกับ Facebook มานาน 3 ปี และถูกบริษัทไล่ออกเมื่อปีที่แล้ว เพราะเธอเขียนบันทึกภายในวิจารณ์บริษัทว่าไม่พยายามแก้ปัญหาข่าวปลอมและความเกลียดชังเท่าที่ควร โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา ปัจจุบัน Facebook มีผู้ใช้ในสหรัฐและแคนาดาเพียง 10% แต่กลับได้ความสนใจของ Facebook มากที่สุด
Zhang บอกว่ามอบข้อมูลให้กับหน่วยงานภาครัฐแห่งหนึ่งแล้ว (ไม่ระบุชื่อหน่วยงาน) และยินดีไปให้การกับสภาคองเกรส
ที่มา - CNN |
# กูเกิลเปิดตัว Google Distributed Cloud บริการคลาวด์นอกศูนย์ข้อมูลกูเกิล
ที่งาน Google Cloud Next ‘21 ปีนี้กูเกิลประกาศเปิดบริการชุดใหม่ Google Distributed Cloud ชุดบริการคลาวด์ที่ให้บริการจากนอกศูนย์ข้อมูลของกูเกิลเอง ทำให้สามารถเรียกใช้บริการคลาวด์บางส่วนที่ใกล้ผู้ใช้มากกว่าเดิม โดยกูเกิลเตรียมตัวเลือกไว้ 4 รูปแบบได้แก่
ศูนย์ข้อมูล edge ของกูเกิลที่มีถึง 140 แห่งทั่วโลก มากกว่าศูนย์ข้อมูลเฉพาะสำหรับคลาวด์โดยตรงมาก
ศูนย์ข้อมูลของเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ เพื่อดึงศักยภาพของ 5G/LTE เข้ามา ด้วยการนำเซิร์ฟเวอร์ไปวางที่ปลายทางก่อนเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ไร้สาย
ศูนย์ข้อมูล edge ของลูกค้าเอง เช่น ร้านค้าปลีก, โรงงาน
ศูนย์ข้อมูลของลูกค้า สำหรับลูกค้าที่มีศูนย์ข้อมูลของตัวเองและมีเงื่อนไขต้องใช้งานต่อไป
บริการนี้สร้างบน Anthos ที่กูเกิลเปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2019 ตัวฮาร์ดแวร์จะจัดการโดยกูเกิลเอง ตอนนี้มีบริการออกมาแล้วสองตัว ได้แก่ Google Distributed Cloud Edge และ Google Distributed Cloud Hosted
Google Distributed Cloud Edge เป็นเซิร์ฟเวอร์พร้อมบริการเครือข่ายในตัว สำหรับการตั้งเครือข่าย 5G แบบส่วนตัวเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ในโรงงานแล้วประมวลผลข้อมูลเช่นวิเคราะห์ภาพด้วยปัญญาประดิษฐ์ได้ในตัว
Google Distributed Cloud Hosted เปิดให้ลูกค้ารันคลาวด์ด้วยตัวเองหรือใช้บริการผ่านผู้ให้บริการคลาวด์ท้องถิ่น โดยโครงสร้างทั้งหมดไม่ต้องเชื่อมต่อกับกูเกิลแต่อย่างใด สำหรับผู้ให้บริการท้องถิ่นตอนนี้กูเกิลประกาศว่า T-Systems จะให้บริการในเยอรมัน และ OVHcloud ให้บริการในฝรั่งเศส บริการนี้พร้อมให้บริการระดับพรีวิวภายในต้นปี 2022
ที่มา - Google Cloud Next ‘21 |
# Apex Legends ถูกรุมถล่มรีวิวใน Steam หลังผู้เล่นเจอปัญหาเซิร์ฟเวอร์เรื้อรัง
เกม Apex Legends เป็นเกมยิงแนว Battle Royale ของ Respawn ผู้สร้าง Titanfall และเป็นหนึ่งในเกมที่เป็นกำลังสำคัญในเครื่องจักรผลิตเงินของ EA แต่ช่วงหลังๆ ผู้เล่นประสบปัญหากับระบบเซิร์ฟเวอร์มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งปัญหาหลุด แลค ค้าง ยังไม่นับปัญหาการโกงเกมที่ยังจัดการได้ไม่หมดเสียที
ล่าสุดผู้เล่น Apex Legends ใน Steam เข้าไปรุมถล่มรีวิวแย่ๆ พร้อมกับคำรีวิวที่วิจารณ์คุณภาพของเซิร์ฟเวอร์อย่างล้นหลาม ทำให้คะแนนรวมบทวิจารณ์ล่าสุดอยู่ในระดับ “Mixed” จากบทวิจารณ์ทั้งหมดที่อยู่ในระดับ “Very Positive” หรือแง่บวกเป็นอย่างมาก ซึ่งถึงจะไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องนัก แต่ก็คงเป็นเพียงอีกช่องทางหนึ่งที่ผู้เล่นที่เหลืออดอยากส่งเสียงให้ทีมพัฒนาได้ยิน
คงต้องติดตามกันต่อว่า EA และ Respawn จะเร่งปรับปรุงเซิร์ฟเวอร์เกมในเร็วๆ นี้ และดึงคะแนนกลับมาในแง่บวกได้หรือไม่
ที่มา - Steam |
# เป็นสตรีมเมอร์มันเหนื่อย Twitch จ่ายเงินให้สตรีมเมอร์มากขึ้น แต่เกินครึ่งยังกระจุกอยู่กับสตรีมเมอร์แค่ 1%
หลังมีข้อมูลหลุดมาจาก Twitch กว่า 100GB ซึ่งในนั้นมีข้อมูลรายได้ของเหล่าสตรีมเมอร์ด้วย โดยเป็นข้อมูลตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี 2019 จนถึงเดือนกันยายน ปี 2021
เว็บไซต์ The Wall Street Journal (WSJ) ได้นำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ พบว่า Twitch จ่ายเงินรวมให้สตรีมเมอร์ไปแล้วถึง 889 ล้านดอลลาร์ ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกันยายนของปี 2021 เทียบกับ 517 ล้านในช่วงเดียวกันเมื่อปี 2020
ข้อมูลรายจ่ายแต่ละเดือนพบว่า Twitch จ่ายเงินให้สตรีมเมอร์เพิ่มขึ้นมากในช่วงสองปีนี้ โดยเริ่มพุ่งสูงช่วงการระบาดของไวรัส COVID-19 จาก 37.02 ล้านดอลลาร์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2020 เป็น 91.62 ล้านดอลลาร์ ในเดือนธันวาคม 2020 และหลังจากนั้นก็จ่ายเงินให้สตรีมเมอร์ตั้งแต่ 88-110 ล้านดอลลาร์ต่อเดือนจนถึงเดือนกันยายน 2021
ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าเงินที่ Twitch จ่ายให้สตรีมเมอร์กว่า 896,261 บัญชี รวม 889 ล้านดอลลาร์ในปีนี้ กระจุกตัวอยู่กับสตรีมเมอร์เพียง 1% ถึง 529 ล้านดอลลาร์ โดยอยู่กับสตรีมเมอร์ที่ทำรายได้สูงสุด 100 ลำดับแรก รวม 82 ล้านดอลลาร์ อีก 900 ลำดับถัดมาอีก 138 ล้านดอลลาร์ และที่เหลือที่เหลือใน 1% อีก 302 ล้านดอลลาร์
WSJ ระบุว่าผู้ได้รับรายได้สูงสุดในปีนี้ได้เงินไปแล้วกว่า 5 ล้านดอลลาร์ ส่วนสตรีมเมอร์กว่า 3 ใน 4 ที่มีรายได้ของปีนี้ ทำรายได้รวมไม่ถึง 120 ดอลลาร์ และกว่าครึ่งไม่ถึง 28 ดอลลาร์ (Twitch จะให้ถอนเงินได้เมื่อรายได้ถึง 100 ดอลลาร์) ถือว่าสตรีมเมอร์ทั่วไปยังห่างไกลคำว่ารวยอยู่มาก เมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนรายปีของสหรัฐฯ ที่อยู่ที่ 67,521 ดอลลาร์ แต่สตรีมเมอร์ระดับท็อปๆ ก็ทำเงินได้ไม่น้อย
อย่างไรก็ตาม หากเทรนด์นี้ขยับขึ้นไปเรื่อยๆ มีความเป็นไปได้ว่ารายได้ของสตรีมเมอร์ทั่วไปอาจเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน และสตรีมเมอร์ทั่วไปส่วนใหญ่สตรีมเกมเป็นอาชีพเสริมเท่านั้น การนำไปเทียบกับรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยอาจไม่แสดงภาพรวมทั้งหมดได้ดีนัก
ที่มา - WSJ |
# จัดการข้อมูลสำรองอย่างเต็มรูปแบบด้วย Veeam Backup for Microsoft 365 จาก CSL
สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้พนักงานในองค์กรทั้งรัฐบาลและเอกชน ต้องทำงานที่บ้านเพื่อความปลอดภัย แพลตฟอร์มหลักๆ ที่ใช้กันก็หนีไม่พ้น Microsoft 365 บริการคลาวด์ของ Microsoft เพราะรวมเครื่องมือการทำงานที่จะช่วยให้พนักงานทำงานประสานกันได้อย่างราบรื่นแม้ไม่ได้เข้าไปทำงานที่สำนักงาน เครื่องมือของ Microsoft 365 มี หลากหลายตั้งแต่ อีเมล การประชุมออนไลน์ผ่าน Microsoft Teams หรือการเก็บข้อมูลบนOneDive และ อื่นๆเห็นได้จากสถิติผู้ใช้ที่เติบโตขึ้นถึงร้อยละ 22 ในปีที่ผ่านมา และในตอนนี้มีผู้ใช้ทั่วโลกเกิน 50 ล้านคน
ในขณะเดียวกัน WFH อาจกลายเป็นช่องโหว่ขนาดใหญ่ของความปลอดภัย โดยเฉพาะเรื่องข้อมูลสูญหาย ยิ่งเราอยู่ในยุคที่ข้อมูลองค์กรมีค่ามหาศาลเช่นนี้ การสำรองข้อมูลจึงเป็นนโยบายหลักขององค์กรที่ต้องทำ เพราะเหตุที่อาจทำให้เกิดข้อมูลสูญหายที่อาจเกิดขึ้นได้เช่น
การเผลอลบ ข้อมูลโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือการลบข้อมูลเนื่องจากพนักงานคนนั้นลาออกโดยกด Permanent Delete
การลบข้อมูลตามเงื่อนไขระยะเวลา (นโยบายบริษัทกำหนดให้เก็บข้อมูล 1 ปี 2 ปี)
ข้อมูลสูญหายจาก Ransomware ซึ่งมาพร้อมกับเทรนด์ BYOD (Bring Your Own Device) พนักงานองค์กรบางรายใช้งานอุปกรณ์ของตนเอง ไม่ได้อัพเดตแพตช์ ป้องกันมัลแวร์เหมือนอุปกรณ์ขององค์กรชิ้นอื่นๆ
ข้อมูลสูญหาย จากการถ่ายโอนข้อมูลให้พนักงานใหม่
ทั้งนี้เมื่อการทำงานผ่านแพลตฟอร์ม Microsoft 365 ถูกใช้เป็นช่องทางหลักในการดำเนินกิจกรรมในองค์กร การสำรองข้อมูล (Backup) จึงควรต้องครอบคลุมข้อมูลที่ถูกส่งผ่าน Tool ต่างๆของ Microsoft 365 ด้วย ดังเช่นแนวโน้มของการใช้งาน Microsoft Teams ในช่วง WFH พบว่ามีผู้ใช้งานสูงขึ้น 50% โดยในเวลาเพียง 6 เดือน มียอดผู้ใช้งานรายวัน 115 ล้านราย ซึ่งในการประชุมแต่ละครั้งจะมีการรับส่งข้อมูลสำคัญกันใน Teams ตลอดเวลา
Veeam Backup for Microsoft 365 ตัวช่วยสำรองข้อมูล ทั้งช่วยเก็บและกู้คืนได้อย่างทันท่วงที
โดยทั่วไปแล้ว บริการคลาวด์แม้มีบริการดูแล สำรองข้อมูล เป็นอย่างดีแล้ว แต่ก็มีข้อจำกัดเรื่องการปรับแต่งเงื่อนไขการเก็บข้อมูลไม่ได้มากนัก หรือไม่มีเครื่องมือช่วยเหลือสำหรับการกู้ข้อมูลอย่างรวดเร็ว ทำให้องค์กรพบกับความลำบากกับการจัดการข้อมูลสำรองที่มีความซับซ้อนขึ้น ทั้งการวางนโยบายสำรองข้อมูลให้เป็นไปตามเวลาและเงื่อนไขที่กำหนด หรือการกู้ข้อมูลกลับมาใช้งานเมื่อถูกร้องขอทำได้ช้าไม่ทันการใช้งาน
จากการศึกษาของ Veeam พบว่า องค์กรจะรู้ตัวว่าข้อมูลสูญหายหลังจากเกิดเหตุไปแล้วเฉลี่ย 140 วัน การใช้ระบบป้องกันข้อมูลสูญหายที่มากับ Microsoft 365 เพียงอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอต่อการจัดการข้อมูลในองค์กรจำนวนมาก และอาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงเรื่องข้อมูลสูญหายไปได้ในโดยไม่มีโอกาสกู้คืนได้ทันเวลา
Veeam Backup for Microsoft 365 มีฟีเจอร์ที่สนับสนุนการทำงานร่วมกันแม้พนักงานอยู่นอกสำนักงาน จัดการข้อมูลสำรองอย่างเต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น
สำรองข้อมูลอีเมลจาก Exchange ได้ทั้งบน Microsoft 365 และการติดตั้งแบบ On-Premise
สำรองข้อมูลได้จากทั้ง SharePoint และ OneDrive
รองรับ Microsoft Teams ในตัว มาพร้อมหน้าจอ GUI สามารถค้นหาข้อมูลเฉพาะใน Teams ได้
ใช้งานกับระบบสตอเรจได้หลากหลาย จากผู้ให้บริการคลาวด์หลายราย ช่วยลดค่าใช้จ่าย เพิ่มทางเลือกให้องค์กรในระยะยาว
มาพร้อมกับเครื่องมือค้นหาข้อมูล ช่วยให้ดึงข้อมูลสำรองกลับมาใช้งานได้ทันท่วงที โดยไม่ต้องค้นตามเวลาแบบเดิมๆ
ขยายระบบตามการใช้งานขององค์กรได้ตลอดเวลา
ฟีเจอร์เหล่านี้ช่วยให้องค์กรสามารถกำหนดเงื่อนไขการสำรองไฟล์ได้ตามต้องการ สามารถค้นหาไฟล์ต่างๆ เพื่อกู้กลับขึ้นมาเมื่อผู้ใช้ร้องขอได้อย่างรวดเร็ว สามารถสำรองข้อมูลอย่างละเอียด เช่น การโอนอีเมลจากพนักงานที่ลาออกไปยังบัญชีของพนักงานที่มารับงานต่อ โดยยังสามารถใช้งานจากแอปพลิเคชันต่างๆ ในบริการ Microsoft 365 ได้เหมือนเดิม
ดูแลข้อมูลที่สำคัญขององค์กรอย่างเต็มรูปแบบ เลือกบริการ Veeam Backup for Microsoft 365 และ Backup as a Service จาก CSL
ดูแลข้อมูลการทำงานบนแพลตฟอร์ม Microsoft 365 ด้วยบริการ Veeam Backup for Microsoft 365 และดูแลข้อมูลขององค์กรแบบเต็มรูปแบบขึ้นอีกขั้น ด้วยบริการ Backup as a Service บริการดูแล จัดเก็บ สำรองข้อมูลแบบครบวงจร โดยผ่าน Veeam Backup Software จาก CSL และ AIS Business บริการซึ่งเกิดจากความร่วมมือมาอย่างยาวนานกับ Veeam พันธมิตรทีมีความเชียวชาญเรื่องโซลูชันการดูแลข้อมูลที่มีชื่อเสียงระดับโลก
ให้บริการที่มีความยืดหยุ่นเพราะออกแบบบริการมาหลากหลายให้ตอบโจทย์ เหมาะความต้องการขององค์กรที่แตกต่างกันไป ทั้งความต้องการสำรองข้อมูลภายในศูนย์ข้อมูลภายในองค์กรเอง หรือสำรองข้อมูลมายังศูนย์ข้อมูลมาตรฐานสากลของ CSL และ AIS พร้อมการให้บริการแบบจ่ายตามปริมาณการใช้งานจริง (Pay per use)ทำให้สะดวกและคุ้มค่า เพื่อให้องค์กรมั่นใจได้ว่าจะสามารถดูแล สำรองข้อมูล กู้คืน และนำข้อมูลกลับมาใช้ได้อย่างคล่องตัว แม้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด พร้อมกันนี้ CSL และ AIS Business ยังมีบริการแบบครบวงจรอื่นๆ อีกมากมายเพื่อช่วยให้องค์กรสามารถก้าวผ่านทุกข้อจำกัดเรื่องเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Veeam Backup for Microsoft 365 จาก CSL ได้ที่ https://www.csl.co.th/Web/Promotion-Detail.aspx?c=50
CSL พาร์ทเนอร์ที่ช่วยตอบโจทย์ทุกเรื่อง IT ที่คุณมั่นใจ
"Your Trusted Smart Digital Partner"
ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจกับ CSL
Email : [email protected]
Web : https://www.csl.co.th/ |
# แอปเปิลยื่นทุเลาคำสั่งเปิดให้แอปรับเงินโดยตรงจากคดี Epic ระบุหากเปิดผู้ใช้จ่ายเงินภายนอกจะอันตรายต่อผู้ใช้
แอปเปิลส่งคำร้องไปยังศาลแคลิฟอร์เนีย ขอให้ระงับคำสั่งศาลที่ให้แอปเปิลเปิดทางให้นักพัฒนาวางลิงก์สำหรับจ่ายเงินภายนอกระบบ In-App Purchase (IAP) ออกไปก่อน จนกว่ากระบวนการอุทธรณ์จะสิ้นสุด แม้ว่าหลังศาลพิพากษาแอปเปิลจะประกาศว่าชนะคดีก็ตาม
คำสั่งศาลขีดเส้นตายให้แอปเปิลต้องอนุญาตให้นักพัฒนาวางลิงก์ออกไปยังระบบจ่ายเงินภายนอกเพื่อเก็บเงินจากผู้ใช้โดยตรง ไม่ต้องผ่าน IAP ที่มีค่าธรรมเนียมถึง 30% แอปเปิลระบุว่าการเปิดระบบเช่นนี้สร้างความเสี่ยงให้กับผู้ใช้ เพราะผู้ใช้อาจจะเชื่อใจความปลอดภัยของแอปเปิลและกรอกข้อมูลโดยไม่ระมัดระวัง
ที่ผ่านมาแอปเปิลบังคับแอปห้ามรับเงินผ่านระบบภายนอกกับแอปบางประเภทเท่านั้น ผู้ใช้แอปใน iOS กรอกหมายเลขบัตรเครดิตตรงในแอปจำนวนมาก เช่น แอปอีคอมเมิร์ช หรือบริการ e-Wallet หลายประเภท
คำสั่งศาลมีเส้นตายวันที่ 9 ธันวาคมนี้ ที่แอปเปิลต้องเปิดให้นักพัฒนาแสดงระบบจ่ายเงินภายนอกให้ผู้ใช้ได้
ที่มา - ArsTechnica |
# ไมโครซอฟท์สาธิตการแฮ็กเครื่อง Windows 11 ที่ไม่เปิด TPM, Secure Boot และ VBS
จากประเด็นเรื่องสเปกขั้นต่ำของ Windows 11 ที่ต้องการชิป TPM 2.0 และซีพียูที่รองรับ Virtualization-Based Security (VBS) ทำให้เครื่องพีซีจำนวนมากไม่ผ่านเกณฑ์ และนำไปสู่คำถามว่าทำไมไมโครซอฟท์ถึงต้องกำหนดฟีเจอร์เหล่านี้ไว้ในสเปกขั้นต่ำ
ล่าสุดไมโครซอฟท์ออกมาอธิบายเรื่องนี้ผ่านคลิป โดย Dave Weston หัวหน้าทีมเจาะระบบของไมโครซอฟท์ ("hacker-in-chief") เป็นคนมาสาธิตการเจาะพีซี Windows 11 ที่ไม่เปิด TPM, Secure Boot และไม่มี VBS ให้ดูด้วยตัวเอง
เดโมของ Weston มีอยู่ 2 ตัวคือ
เจาะเครื่องที่เปิด RDP จากระยะไกลด้วยวิธี brute force เดารหัสผ่าน เมื่อเข้ามาได้แล้วสามารถทำอะไรกับเครื่องก็ได้ เช่น การเขียน Master Boot Record (MBR) เพราะเครื่องไม่มี TPM/Secure Boot ป้องกันที่ระดับฮาร์ดแวร์
เจาะเครื่องที่เข้าถึงได้ทางกายภาพ โดยสามารถปลอมข้อมูล biometric ลายนิ้วมือได้ (เขาใช้เยลลี่ Gummy Bear สแกนแทนนิ้วมือ) เพื่อล็อกอินไปควบคุมเครื่องได้ เพราะไม่ได้เปิด VBS
จากนั้น Weston ก็อธิบายว่าฟีเจอร์ความปลอดภัยทั้ง 3 ตัวคือ TPM, Secure Boot และ VBS ทำงานร่วมกันแล้วสามารถช่วยป้องกันการโจมตีลักษณะนี้ได้ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม Windows 11 ถึงกำหนดว่าต้องมีฟีเจอร์ทั้งสามอย่างนี้
ที่มา - NeoWin |
# [ไม่ยืนยัน] Netflix กีดกันพนักงานที่วิจารณ์โชว์เหยียดเพศของ Dave Chappelle ไม่ให้เข้าประชุมในองค์กร
ดราม่ารอบใหม่เกิดขึ้นที่ Netflix เมื่อ The Closer รายการสแตนด์อัพคอเมดี้ของ Dave Chappelle มีการพูดโจมตีชุมชน LGBTQ จนพนักงานใน Netflix เองก็ทนไม่ได้ ออกมาโพสต์วิจารณ์ Chappelle ในทวิตเตอร์จนเป็นไวรัล
พนักงานคนดังกล่าวคือ Terra Field เป็นวิศวกรและเป็นหญิงข้ามเพศด้วย ล่าสุดมีรายงานว่า Field และพนักงานอีกสองรายถูกระงับไม่ให้เข้าร่วมประชุมในองค์กร ซึ่งคาดว่ามาจากการที่เธอวิจารณ์ Chappelle
อย่างไรก็ตามแหล่งข่าวอีกรายบอกว่า การประชุมรายไตรมาสดังกล่าวมีไว้สำหรับกรรมการหรือรองประธานเท่านั้น ไม่ใช่เพราะทวีตของ Field ด้านโฆษกของ Netflix ก็ออกมาปฏิเสธว่าไม่จริง พร้อมบอกว่าเราสนับสนุนการแสดงความคิดเห็นของพนักงานอยู่เสมอ
ในรายการนั้น Chappelle ได้ล้อเลียนแนวคิดเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศและระบุว่าตัวเองเป็น "team TERF" พูดถึงถึงสตรีนิยมหัวรุนแรงที่กีดกันข้ามเพศ ซึ่งนอกจาก Terra Field แล้ว ยังมีหน่วยงานสนับสนุนความหลากหลายทางเพศออกมาโจมตี Dave Chappelle ด้วย ไม่ว่าจะเป็น GLAAD และ National Black Justice Coalition
นอกจากนี้ยังมีบันทึกข้อความภายในด้วยว่า Ted Sarandos ผู้ร่วมก่อตั้ง Netflix ให้การปกป้อง Dave Chappelle โดยบอกว่าเขาเป็นหนึ่งในนักแสดงตลกที่โด่งดังที่สุดในปัจจุบัน และเรามีข้อตกลงกับเขามาอย่างยาวนาน และเราทำงานเพื่อจะสนับสนุนการสร้างงานและความครีเอทีฟของพวกเขา นอกจากนี้ยังมีรายการอื่นที่มีคนเชื่อว่ามีเนื้อหาอันตรายอย่าง Cuties, 365 Days, 13 Reasons Why หรือ My Unorthodox Life ที่ยังอยู่บนแพลตฟอร์มได้
Sarandos บอกว่า หลายคนอาจมีคำถามว่าเราตีเส้นขอบเขตความเกลียดชังของเนื้อหาไว้ตรงไหน แต่เชื่อว่า The Closer ไม่ได้ข้ามเส้นเรื่องความเกลียดชัง และความรุนแรง
ที่มา - The Hollywood Reporter |
# ซัมซุงปล่อยวิดีโอตัวใหม่ โชว์ความถึกทนของฝาพับ Galaxy Z Fold 3 และ Z Flip 3
ซัมซุงเผยวิดีโอตัวใหม่แสดงการทดสอบความถึกทนของมือถือ Samsung Galaxy Z Fold 3 และ Z Flip 3 เป็นการทดสอบ 4 อย่าง คือ การทดสอบให้อุปกรณ์อยู่ในอุณหภูมิในตู้กระจก การทดสอบใช้งานใต้น้ำ การทดสอบใช้แขนหุ่นยนต์ใช้ปากกา S Pen ขีดเขียนบนหน้าจอ และการทดสอบเปิดปิดฝาพับมือถือทั้งสองรุ่น
ไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าเพราะเหตุใด ซัมซุงถึงปล่อยวิดีโอมาตอนนี้ทั้งที่มือถือเปิดตัวไปตั้งแต่เดือนสิงหาคมแล้ว คาดว่าเป็นความพยายามของบริษัทที่จะบรรเทาความกลัวจากรายงานล่าสุดเกี่ยวกับรอยแตกบนหน้าจอ Galaxy Z Flip 3
ที่ผ่านมาผู้ใช้งานมือถือแสดงปัญหาจากการใช้งานบน Reddit อยู่บ้าง ผู้ใช้รายหนึ่งบอกว่าจอโทรศัพท์แตกภายใน 24 ชั่วโมง ส่วน Michael Fisher (หรือที่รู้จักในชื่อ MrMobile) กล่าวว่าเขาเห็นรอยแตกเล็กๆ บนบานพับบน Z Fold 2
ที่มา - The Verge |
# WeChat ถูกจับได้ว่าสแกนแกลลอรีของผู้ใช้แม้ทำงานอยู่เบื้องหลัง บริษัทระบุเวอร์ชั่นหน้าเลิกแล้ว
ยูสเซอร์ Hackl0us ออกมาแฉแอป WeChat บน Weibo ระบุว่าแอปคอยสแกนแกลลอรีของผู้ใช้อยู่เรื่อยๆ ทุกสองสามชั่วโมงแม้ทำงานเป็นเบื้องหลัง โดยเขาค้นพบพฤติกรรมนี้ของแอป จากฟีเจอร์ Record App Activity บน iOS 15 ที่เพิ่งปล่อยบน iPhone เมื่อเดือนที่ผ่านมา
ตัวแทน WeChat ออกมาระบุว่าแอปคอยสแกนภาพของผู้ใช้เรื่อยๆ จริง แต่เป็นไปเพื่อหารูปภาพใหม่ที่เพิ่มเข้ามาและช่วยให้ผู้ใช้ส่งรูปภาพได้เร็วยิ่งขึ้น ยืนยันว่าแอปจะไม่เข้าถึง บันทึก หรืออัปโหลดรูปภาพของผู้ใช้หากไม่ได้รับอนุญาต และจะยกเลิกฟีเจอร์นี้ในเวอร์ชั่นหน้า
ประเทศจีนกำลังคุมเข้มด้านกฎหมายข้อมูลและความเป็นส่วนตัวมากขึ้น เพื่อกดดันบริษัทบิ๊กเทคต่างๆ โดยเพิ่งบังคับใช้กฎหมายความปลอดภัยของข้อมูลชุดใหม่ไปเมื่อเดือนก่อน ทำให้แอปต่างๆ ไม่สามารถเก็บข้อมูลผู้ใช้ชาวจีนไว้นอกประเทศได้โดยไม่ได้รับอนุญาต
นอกจากนี้ยังเตรียมบังคับใช้กฎหมายป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล ที่เข้มข้นขึ้น และทำให้บริษัทต่างๆ เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ได้ยากขึ้นวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งคงต้องติดตามต่อว่าจะส่งผลอย่างไร
ที่มา - SCMP |
# Facebook แบนนักพัฒนาสร้างส่วนขยาย Chrome ที่สามารถ unfollow เพจและเพื่อนได้ในรวดเดียว
Louis Barclay นักพัฒนาชาวอังกฤษผู้พัฒนา Unfollow Everything ส่วนขยายบราวเซอร์ที่ให้ผู้ใช้งาน Facebook สามารถกด unfollow เพจและเพื่อนได้อัตโนมัติ ทำให้หน้าฟีดของ Facebook เป็นหน้าว่างเปล่าได้ เป้าหมายของเครื่องมือตัวนี้คือทำให้หน้าฟีดนั้นดีต่อสุขภาพใจของผู้ใช้งาน
ตัวส่วนขยาย Unfollow Everything เปิดใช้งานบน Chrome เมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2020 โดยมีนักวิจัยจาก University of Neuchâtel in Switzerland ที่อยากศึกษาว่าถ้าไม่มี News Feed บน Facebook แล้วจะส่งผลต่อความสุขของผู้ใช้งานในทางใดบ้าง รวมถึงระยะเวลาที่ผู้คนใช้ไปกับการเล่น Facebook ด้วย
จนกระทั่งในเดือนกรกฎาคมปีนี้ ทีมทนายความของ Facebook ส่งจดหมายมาหา Barclay เนื้อหามีคำเตือนว่าให้ถอดส่วนขยายออก เนื่องจากมันไปละเมิดกฎและกฎทางเครื่องหมายทางการค้าของ Facebook และสนับสนุนให้ผู้อื่นฝ่าฝืนกฎของ Facebook พร้อมบอกด้วยว่าบัญชี Facebook และ Instagram ของ Barclay จะถูกระงับการใช้งาน
Barclay กล่าวด้วยว่า Unfollow Everything มีผู้ใช้งานเพียง 2,500 รายต่อสัปดาห์และดาวน์โหลด 10,000 ครั้ง จนถึงตอนนี้ Facebook ยังไม่ออกมาบอกอะไร
ตอนนี้ Facebook กำลังเจอปัญหาระลอกใหม่ จากการที่ Frances Haugen อดีตผู้จัดการผลิตภัณฑ์ใน Facebook แฉ Facebook ว่าส่งเสริมให้มี Hate Speech เพราะไม่อยากให้ Engagement ตก จนล่าสุด Haugen จะเข้าพูดคุยกับ Oversight Board บอร์ดอิสระที่กำกับดูแลเนื้อหาบนแพลตฟอร์มแล้ว
ที่มา - Business Insider |
# AIS เริ่มเปิดใช้ VoNR โทรเสียงบนเครือข่าย 5G SA รายแรกในไทย, มือถือที่รองรับคือ S21
เครือข่ายยุคก่อนอย่าง 3G ใช้วิธีแยกช่องสัญญาณเสียงและข้อมูลจากกัน แต่พอยุค 4G เป็นต้นมา เทคโนโลยีเครือข่ายเปลี่ยนมาส่งสัญญาณแบบข้อมูลทั้งหมด ทำให้เราเห็นการโทรด้วยเสียงบนเครือข่าย 4G อย่าง VoLTE (Voice over LTE) แบบที่คุ้นเคยกัน
พอมาเป็นยุค 5G ก็มีเทคโนโลยีลักษณะเดียวกัน กรณีของเครือข่าย 5G ยังแบ่งย่อยเป็น 5G แบบ Non-Standalone (NSA) ที่อิงอยู่บนอุปกรณ์และวิธีส่งสัญญาณของ 4G เดิมบางส่วน และ 5G แบบ Standalone (SA) ที่ใช้อุปกรณ์ของใหม่แยกจาก 4G เลย
ล่าสุด AIS ประกาศเปิดใช้ระบบโทรเสียงแบบ Voice over 5G New Radio (VoNR) ที่ส่งผ่านช่องทาง 5G SA เป็นรายแรกของไทยแล้ว อุปกรณ์ที่รองรับในตอนนี้ยังมีเฉพาะ Galaxy S21 Ultra, S21+ และ S21 เพราะต้องให้เฟิร์มแวร์ฝั่งมือถือรองรับด้วย ข้อดีของ VoNR คือเวลาเรียกเข้ารับสายเร็วกว่าเดิม และปรับปรุงคุณภาพเสียงให้ดีขึ้นด้วย
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์ AIS |
# เนื้อหอมกว่าใคร TSMC กำลังหารือโซนี่ เตรียมตั้งโรงงานผลิตชิปที่ญี่ปุ่น
ท่ามกลางวิกฤตชิปขาดตลาดยาวนาน บริษัทที่โดดเด่นที่สุดในตอนนี้ย่อมเป็น TSMC (Taiwan Semiconductor Manufacturing Co.) ในฐานะโรงงานผลิตชิปที่ใหญ่ที่สุดในทำให้หลายๆ ประเทศเชิญชวนให้ TSMC ไปตั้งโรงงานในแผ่นดินของตัวเอง
ประเทศล่าสุดที่กำลังจะชวน TSMC มาอยู่ด้วยสำเร็จคือญี่ปุ่น ที่ TSMC กำลังหารือกับ Sony Group เพื่อตั้งโรงงานผลิตชิปมูลค่า 7 พันล้านดอลลาร์ที่จังหวัดคุมาโมโต้ ตอนนี้ยังไม่มีข่าวประกาศอย่างเป็นทางการ แต่คาดว่าน่าจะเริ่มเดินสายการผลิตได้ในปี 2024
แม้ยังเป็นโรงงานที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 20 นาโนเมตร แต่ก็จะตอบโจทย์อุตสาหกรรมรถยนต์และการผลิต ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ชิปขนาดเล็กที่สุด แต่ประสบปัญหาขาดแคลนชิปจนต้องหยุดสายการผลิตกันบ้างแล้ว
ที่ผ่านมา TSMC มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยโตเกียวตั้งแต่ปี 2019 และเมื่อต้นปีนี้ก็ประกาศตั้งศูนย์วิจัยที่เมือง Tsukuba ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับโตเกียว เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีด้านการผลิตชิปแบบ 3D เรียงวงจรซ้อนทับกันเป็นชั้นๆ
ที่มา - Nikkei, Reuters |
# Twitter เพิ่มเครื่องมือให้ลบผู้ติดตาม โดยไม่ต้องบล็อค บนเวอร์ชันเว็บ
Twitter ประกาศปล่อยเครื่องมือสำหรับลบผู้ติดตาม โดยไม่ต้องบล็อค (remove followers) บนเวอร์ชันเว็บแล้ว
วิธีการคือเข้าไปที่ "ผู้ติดตาม" (follower) ในหน้าโปรไฟล์ กดที่ปุ่ม 3 จุดหลังผู้ติดตามและเลือก "ลบผู้ติดตามรายนี้" (remove this follower)
ที่มา - @TwitterSafety |
# Frances Haugen ที่แฉ Facebook เตรียมพูดคุยกับ Oversight Board ยืนยันบริษัทโกหกบอร์ดหลายครั้ง
Frances Haugen ที่ออกมาแฉ Facebook ว่าสนใจแต่ผลประโยชน์และสนับสนุน Hate Speech ล่าสุด Oversight Board บอร์ดอิสระที่กำกับดูแลเนื้อหาบนแพลตฟอร์มเรียก Frances Haugen เพื่อเข้าไปพูดคุยเรื่องนี้แล้ว
Haugen ทวีตว่า ได้ตอบรับคำเชิญ Oversight Board เรียบร้อย หลังบอร์ดโพสต์บนเว็บไซต์ ว่าได้ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับการกำกับดูแลคอนเทนต์ของ Facebook หลัง Haugen ออกมาแฉ ซึ่งทางบอร์ดต้องการพูดคุยกับ Haugen เพิ่มเติม
Haugen ระบุด้วยว่า Facebook โกหกบอร์ดหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งเจ้าตัวก็รอคอยการเปิดเผยความจริงให้กับบอร์ดอยู่
ที่มา - @FrancesHaugen
*Frances Haugen ออกมาแฉ Facebook ในรายการ 60 Minutes |
# [Canalys] ตลาดพีซีไตรมาส 3/2021 ภาพรวมเติบโต 5% แม้กระทบจากปัญหาซัพพลายเชน
บริษัทวิจัยตลาด Canalys รายงานภาพรวมตลาดพีซีในไตรมาสที่ 3 ปี 2021 เติบโต 5% เทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2020 จำนวนส่งมอบทั้งเดสก์ท็อป-โน้ตบุ๊ก-เวิร์กสเตชันรวม 84.1 ล้านเครื่อง แบ่งเป็นโน้ตบุ๊ก 67.4 ล้านเครื่อง และเดสก์ท็อป 16.6 ล้านเครื่อง
Canalys บอกว่า แม้อัตราการเติบโตจะลดลง แต่จำนวนส่งมอบรวมยังอยู่ในระดับที่สูง เพราะไตรมาส 3 ปี 2020 จำนวนส่งมอบพีซีก็สูงมากทำสถิติเช่นกัน ส่วนความท้าทายของผู้ผลิตพีซียังคงเป็นปัญหาซัพพลายเชน โดยเฉพาะจากการระบาดของโควิด 19 ในเอเชีย ซึ่งมองว่าปัญหานี้จะดีขึ้นในช่วงปี 2022
ส่วนแบ่งตลาด 5 อันดับแรก ยังคงเดิมคือ Lenovo, HP, Dell, Apple และ Acer ตามลำดับ ทุกรายมีจำนวนส่งมอบเพิ่มขึ้นยกเว้น HP ที่ลดลงเนื่องจาก Chromebook
ที่มา: Canalys |
# Instagram ทดสอบแจ้งเตือนภายในแอป หากระบบขัดข้อง จะได้ทราบว่าไม่ได้มีปัญหาอยู่คนเดียว
Instagram ประกาศทดสอบการแจ้งเตือนผู้ใช้งาน หากระบบมีปัญหา โดยจะแสดงข้อมูลในหน้า Activity Feed ที่เป็นการแจ้งเตือนภายในแอป เริ่มทดสอบกับผู้ใช้ในอเมริกาจำนวนน้อยเพื่อศึกษาข้อมูล และหากได้ผลที่ดีก็จะขยายไปยังผู้ใช้วงกว้างต่อไป
ทั้งนี้ Instagram บอกว่าเวลาระบบเกิดปัญหาใด ๆ ผู้ใช้งานจะมีความสับสนมาก และอาจสงสัยว่าปัญหานี้เกิดขึ้นเฉพาะกับเขาหรือไม่ แบบที่ Instagram ล่มหลายชั่วโมงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว Instagram จึงต้องการให้ข้อมูลเพื่อสร้างความชัดเจนมากขึ้น
นอกจากนี้ Instagram ยังเพิ่มเครื่องมือใหม่ Account Status เพื่อแสดงสถานะบัญชีผู้ใช้ รวมถึงให้รายละเอียดโพสต์ที่มีปัญหา ซึ่งตัวโพสต์อาจถูกลบ หรือส่งผลให้บัญชีถูกระงับการใช้งานได้
ที่มา: Instagram |
# Apple อัพเดต iOS 15.0.2 แก้ไขบั๊กและช่องโหว่ความปลอดภัยหลายรายการ
แอปเปิลออกอัพเดตย่อยของระบบปฏิบัติการ iOS 15.0.2 ซึ่งเป็นอัพเดตต่อจาก iOS 15.0.1 ที่ออกมาเมื่อต้นเดือน โดยสามารถอัพเดตแบบ OTA ได้ที่ Settings > General > Software Update
ในอัพเดตนี้เป็นการแก้ไขบั๊กสำคัฐที่มีการรายงานก่อนหน้า เมื่อผู้ใช้เซฟรูปจาก Message ไว้ใน Photo Library รูปอาจถูกลบตามเมื่อผู้ใช้งานลบข้อความนั้น ส่วนรายการแก้ไขอื่น มีดังนี้
แก้ไขปัญหาใช้ Find My ไม่ได้ เมื่อใช้ iPhone กับเคสหนังแบบกระเป๋าสตางค์ (Leather Wallet)
แก้ไขปัญหา AirTag อาจไม่แสดงใน Find My
แก้ไขปัญหา CarPlay อาจเล่นเพลงไม่ได้
แก้ไขปัญหา restore หรืออัพเดตไม่ได้ หากใช้ Finder หรือ iTunes กับ iPhone 13
ส่วนอัพเดตของ iPadOS 15.0.2 ได้แก้ไขบั๊กเหมือน iOS 15.0.2 เพิ่มเติมคือปัญหา restore ข้อมูลก็เกิดกับ iPad mini 6 เช่นกัน รวมทั้งแก้ไขช่องโหว่ระดับเคอร์เนลด้วย
นอกจากนี้แอปเปิลยังมีอัพเดต watchOS 8.0.1 ออกมา แก้ปัญหาแถบสถานะการอัพเดตซอฟต์แวร์อาจไม่แสดงผล
ที่มา: MacRumors [1], [2] |
# ไมโครซอฟท์ปล่อย WSL เข้าหน้า Store อัพเดตแยกจากวินโดวส์ เฉพาะบน Windows 11
ไมโครซอฟท์แยก Windows Subsystem for Linux (WSL) บน Windows 11 ออกเป็นแอปพลิเคชั่นแยกแทนที่จะเป็นฟีเจอร์ของวินโดวส์เหมือนเคย ทำให้กระบวนการอัพเกรด WSL แยกออกจากวินโดวส์ ตอนนี้ผู้ใช้สามารถใช้เวอร์ชั่นพรีวิวได้โดยไม่ต้องเลือก Windows Insider ไปทั้งหมด
เวอร์ชั่นพรีวิวตอนนี้มีฟีเจอร์เพิ่มมาหลายอย่าง เช่น WSLg สำหรับใช้งานแอป GUI, รองรับดิสก์จากลินุกซ์ รวมถึงไฟล์ VHD จากอิมเมจ, ใช้ชิปกราฟิกสำหรับรันงานปัญญาประดิษฐ์ได้, และอัพเดตเคอร์เนลเป็นเวอร์ชั่น 5.10.60.1
ตอนนี้ไมโครซอฟท์ยังไม่ปล่อยอัพเดต Windows 11 ให้ทุกคน คนที่ได้รับแล้วก็สามารถติดตั้งใช้งานได้ทันที หากมี WSL อยู่ในเครื่องอยู่แล้ว เวอร์ชั่นจาก Store จะถูกใช้งานเป็นตัวหลักก่อนเสมอ
ที่มา - Windows Command Line Blog |
# Airbus ทดสอบยานบินไร้คนขับใช้พลังงานแสงอาทิตย์บินนาน 18 วัน
Aisbus ประกาศความสำเร็จในการทดสอบยานบิน Airbus Zephyr S ยานบินไร้คนขับที่สามารถบินในชั้นบรรยากาศได้นานถึง 18 วันต่อเนื่องโดยอาศัยพลังงานแสงอาทิตย์ โดยการทดสอบนี้ยาน Zephyr ติดตั้งกล้อง Optical Advanced Earth Observation system for Zephyr (OPAZ) ไปด้วย เพื่อทดสอบการสำรวจสภาพบนพื้นดิน
Jana Rosenmann หัวหน้าฝ่ายยานบินไร้คนขับของ Airbus ระบุว่า Airbus คาดหวังจะสร้างยานบินที่บินได้ต่อเนื่องระดับเดือน โดยมั่นใจว่าน่าจะบินได้นานถึง 3 เดือน และอาจจะถึง 6 เดือนในอนาคต
การใช้งานยาน Zephyr สามารถใช้งานได้ทั้งการทหาร เช่น การติดกล้องตรวจการเพื่อบินสำรวจต่อเนื่อง หรือการใช้งานพลเรือน เช่น การบินสำรวจพื้นที่ภัยพิบัติ หรือให้บริการอินเทอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกล ข้อจำกัดของ Zephyr คือมันไม่สามารถใช้งานในพื้นที่ห้ามบินได้เหมือนดาวเทียม และต้องใช้น่านฟ้าร่วมกับเครื่องบินพาณิชย์
ที่มา - Airbus, E&T |
# นักวิจัยเสนอทดสอบการประมวลผลข้อมูลแบบไม่ต้องถอดรหัส พบใช้ทำวิจัยทางการแพทย์ได้
ทีมวิจัยจาก École polytechnique fédérale de Lausanne (EPFL) สวิสเซอร์แลนด์รายงานถึงการใช้เทคนิคการประมวลผลข้อมูลโดยไม่ต้องถอดรหัส (homomorphic encryption) ที่สามารถนำมาใช้ทำวิจัยทางการแพทย์ได้โดยไม่ต้องส่งมอบข้อมูลดิบให้กับนักวิจัย เปิดทางให้นักวิจัยทำวิจัยได้มากขึ้นโดยยังรับประกันความเป็นส่วนตัวคนไข้ได้
ทีมวิจัยเสนอแนวทาง FAMHE (federated analytics multiparty homomorphic encryption) โดยเทคนิค MHE เป็นกระบวนการเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดในระบบจะถอดรหัสข้อมูลได้ทั้งหมดแต่ผู้ที่อยู่ในเครือข่ายต้องตกลงร่วมกันว่าจะยอมเปิดเผยข้อมูลส่วนใด การทดสอบเทคนิค FAMHE ครั้งนี้อาศัยการทำซ้ำงานวิจัยที่เคยมีการรายงานก่อนหน้านี้
การทดลองแรกเป็นการทดลองประสิทธิภาพของการรักษา (Kaplan–Meier survival analysis) จากงานวิจัยการรักษา immune checkpoint inhibitor (ICI) ในผู้ป่วยมะเร็ง ในการทดสอบข้อมูลถูกแยกออกเป็น 3 ชุด แล้วทดลองรันผลด้วย FAMHE ที่ผู้วิจัยไม่เห็นข้อมูลดิบ พบว่าได้ผลเหมือนกับการคำนวณแบบเดิมๆ โดยประสิทธิภาพไม่ลดลงนัก และเมื่อแบ่งชุดข้อมูลออกเป็นชุดข้อมูลย่อยๆ จำนวนมากกระบวนการคำนวณก็ช้าลงเพราะเสียเวลาไปกับการสื่อสารแลกเปลี่ยนกุญแจจำนวนมาก
การทดสอบที่สองเป็นการวิเคราะห์ยีนเพราะหากยีนที่มีผลแต่ลักษณะของร่างกายเช่นโรคทางพันธุกรรม โดยชุดข้อมูล GWAS เก็บข้อมูลพันธุกรรมของกลุ่มผู้ป่วย 1,857 คน หาผลของยีนต่างๆ กับอัตรา viral load ในคนไข้ HIV-1 โดยแยกข้อมูลออกเป็น 12 ชุดแล้วรัน FAMHE ได้ผลใกล้เคียงกับการรันตามปกติ
จุดเด่นของการทำวิจัยด้วยกระบวนการประมวลผลข้อมูลแบบ homomorphic encryption เช่นนี้คือการส่งต่อข้อมูลสามารถถือว่าเป็นข้อมูลที่ระบุตัวตนไม่ได้แล้ว ตามแนวทางกำหมาย GDPR ของสหภาพยุโรป ทำให้กระบวนการทำวิจัยและการขออนุญาตเพื่อทำวิจัยใหม่ๆ ในอนาคตน่าจะทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เพราะหน่วยงานผู้ดูแลข้อมูลสามารถยืนยันได้ว่านักวิจัยกำลังคิวรีข้อมูลที่ระบุตัวตนไม่ได้ แม้การประมวลผลจะช้าเป็นอย่างยิ่งแต่ก็อาจจะดีกว่าการขออนุญาตเข้าถึงข้อมูลดิบ และความยุ่งยากในการวางขั้นตอนดูแลข้อมูล
ที่มา - Nature Communication
ภาพกระบวนการ FAMHE 1) ผู้วิจัยส่งคำสั่งคิวรีข้อมูลไปยังหน่วยงานผู้ถือข้อมูล 2) แต่ละหน่วยงานคิวรีข้อมูลในฐานข้อมูลตัวเอง แล้วเข้ารหัสผลด้วย public key ของระบบ 3) แต่ละหน่วยงานแลกเปลี่ยนผลและรวมผลลัพธ์ (aggregate) เข้าด้วยกัน 4) เปลี่ยนกุญแจเข้ารหัสผลลัพธ์เป็นกุญแจของผู้วิจัย 5) ผู้วิจัยถอดรหัสผลการคิวรีข้อมูล |
# HyperX ขายหูฟังเกมมิ่งได้ครบ 20 ล้านชุดแล้ว ใช้เวลา 7 ปีนับตั้งแต่เริ่มทำหูฟัง
HyperX แบรนด์อุปกรณ์เสริมสายเกมมิ่ง (ปัจจุบันเป็นบริษัทลูกของ HP ที่ซื้อต่อจาก Kingston) ประกาศความสำเร็จของการขายหูฟังครบ 20 ล้านชุด นับตั้งแต่ขายหูฟังครั้งแรกในปี 2014
แบรนด์ HyperX เริ่มต้นครั้งแรกในปี 2002 ในฐานะแบรนด์ย่อยของ Kingston โดยเริ่มจากสินค้ากลุ่มหน่วยความจำและสตอเรจ จากนั้นค่อยๆ ขยายมาเป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับเกมเมอร์ ส่วนการขายกิจการให้ HP นั้นขายมาเฉพาะธุรกิจอุปกรณ์เสริมและตัวแบรนด์ HyperX ส่วนแรมและสตอเรจจะเปลี่ยนไปใช้แบรนด์อื่นแทน
หูฟังเกมมิ่งถือเป็นสินค้ายอดนิยมของ HyperX โดยทำตลาดด้วยซีรีส์ HyperX Cloud ที่มีหลากหลายรุ่นย่อย แต่บริษัทเองก็มีสินค้าเกมมิ่งอย่างอื่น เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ ไมโครโฟน
ที่มา - VentureBeat |
# FBI ล่อซื้อความลับเรือดำน้ำนิวเคลียร์จากเจ้าหน้าที่กองทัพเรือ ส่งมอบทางการ์ด SD ในแซนด์วิช
FBI จับกุม Jonathan Toebbe วิศวกรนิวเคลียร์ประจำกองทัพเรือสหรัฐฯ พร้อมภรรยา หลังทั้งสองถูกล่อซื้อข้อมูลความลับ โดยเจ้าหน้าที่ FBI เองปลอมตัวเป็นสายลับต่างชาติติดต่อขอซื้อข้อมูล
กระบวนการล่อซื้ออาศัยอีเมลเข้ารหัส โดยมีการติดต่อล่วงหน้าหลายเดือน และเมื่อกลางปีที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ FBI ก็โอนเงินคริปโต 10,000 ดอลลาร์ให้กับ Jonathan เป็นเงินมัดจำ แล้วนัดรับข้อมูล จากนั้นทั้ง Jonathan และภรรยาก็นำข้อมูลใส่การ์ด SD ยัดใส่ในแซนด์วิชเนยถั่ว แล้วนำไปวางที่จุดนัดหมาย ทั้งสองได้รับเงินคริปโตจากการส่งมอบอีก 20,000 ดอลลาร์ เพื่อส่งกุญแจถอดรหัสข้อมูลในการ์ด หลังจากนั้นทั้งสองก็ขายข้อมูลอีกรอบมูลค่า 70,000 ดอลลาร์โดยซ่อนในหมากฝรั่ง
ทั้งสองถูกจับกุมระหว่างการส่งมอบข้อมูลรอบที่สาม หลังจากสองรอบแรกเจ้าหน้าที่ยืนยันว่าข้อมูลที่ได้รับเป็นข้อมูลเตาปฎิกรณ์นิวเคลียร์จริง
ที่มา - Justice.gov
ภาพโดย LuckyLife11 |
# Firefox มีโฆษณาในแถบ Address Bar แล้ว แต่ยังสามารถปิดได้
ของใหม่ใน Firefox 93 ที่เริ่มทดสอบกับผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกาคือ Firefox Suggest หรืออธิบายง่ายๆ ว่าเป็นโฆษณาในแถบ Address Bar ของ Firefox
ปกติแล้วเวลาเราพิมพ์คำค้นในช่อง Address Bar โดยยังไม่กด enter จะเห็นคำแนะนำจาก Firefox (อิงจากประวัติการท่องเว็บของเราเอง) หรือเอนจินค้นหาที่เลือก (เช่น Google)
สิ่งที่เพิ่มเข้ามาคือ Firefox Suggest จะเพิ่มตัวเลือกแนะนำจากพาร์ทเนอร์ (จากภาพตัวอย่างคือ Lonely Planet) และ Wikipedia (ส่วนนี้ Firefox ไม่ได้เงิน) เข้ามาด้วย
Mozilla บอกว่าผู้ใช้สามารถเลือก opt-in ส่งข้อมูลคำค้นและพิกัดเมืองที่อาศัยให้ Mozilla เพิ่มเติมเพื่อให้คำแนะนำแม่นยำกว่าเดิม (Contextual Suggestions) ข้อมูลนี้จะวิ่งผ่านพร็อกซีของ Mozilla ไปยังบริษัทโฆษณาชื่อ adMarketplace เพื่อเลือกโฆษณาที่เหมาะสมกับผู้ใช้ต่อไป
ฟีเจอร์ Firefox Suggest สามารถปิดได้อย่างถาวรในหน้า Settings
ที่มา - Mozilla |
# KTC ผิดพลาด ส่งข้อความแจ้งตัดเงินลูกค้า
วันนี้ช่วงเวลาประมาณ 9.30 น. ผมเห็นเพื่อนหลายคนโพสท์บนเฟสบุคว่าได้รับข้อความแจ้งตัดเงินจาก KTC เป็นการจ่ายเงินกับผู้ให้บริการสั่ง/ส่งอาหาร ผมได้ลองเข้าไปตรวจสอบในเฟสบุคเพจของ KTC ในส่วนคอมเมนท์ มีคนเจอเหตุการณ์เหมือนกันหลายคน โดยมียอดและผู้ให้บริการต่างกันออกไป
ทั้งนี้ในเวลาประมาณ 10:38 น. ทางเฟสบุคเพจของ KTC ได้มีการโพสท์ขออภัยแล้ว ยังไม่ได้ยืนยันว่ามีการตัดเงินเกิดขึ้นจริงหรือไม่ แต่บอกว่ากำลังแก้ไขและตรวจสอบอยู่ และระบบไม่ได้ถูกแฮกแต่อย่างใด
ที่มา: เฟสบุคเพจ KTC Real Privileges, Twitter: KTC Privilege |
# [หลุด] Pixel Pass เหมาจ่ายรายเดือน ได้ทั้งมือถือ Pixel, Google One, YouTube Premium
เป็นธรรมดาของกูเกิลที่ยิ่งใกล้วันเปิดตัว Pixel ก็ยิ่งมีข่าวหลุดออกมาเรื่อยๆ คราวนี้เป็นบริการใหม่ชื่อ Pixel Pass ที่ให้ลูกค้าจ่ายค่ารายเดือนก้อนเดียวแล้วได้ทั้งสมาร์ทโฟน Pixel และบริการของกูเกิลอื่นๆ อีกหลายตัว
ข่าวหลุดรอบนี้มาจาก M. Brandon Lee ที่ได้สไลด์ภายในของกูเกิลมา ระบุว่ากำลังจะมีโครงการ Pixel Pass โดยเมื่อลูกค้าสมัครก็จะได้เครื่อง Pixel ที่อัพเกรดให้ทุกปีที่ออกรุ่นใหม่ พร้อมบริการอื่นๆ ดังนี้
Google One บริการคลาวด์แบ็คอัพ
YouTube Premium ดู YouTube และฟังเพลงแบบไม่มีโฆษณา
Play Pass เหมาเล่นเกมและแอพต่างๆ บน Play Store ได้ไม่จำกัด
Google Fi บริการเครือข่ายมือถือของกูเกิลในสหรัฐอเมริกา (เป็น MVNO ใช้เครือข่ายของ T-Mobile)
ทั้งนี้ยังไม่มีข้อมูลว่าราคาต่อเดือนจะอยู่ที่เท่าใด และยังไม่แน่ชัดว่าจะเปิดตัวพร้อม Pixel 6 ในวันที่ 19 ตุลาคมนี้เลยหรือไม่ แต่ก็คงมีเฉพาะในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น
ที่มา - Android Authority |
# Cloudflare เผยสถิติ คนทั้งโลกใช้เน็ตจากอุปกรณ์พกพา 52% ประเทศไทยใช้ 65%
Cloudflare สรุปสถิติการใช้งานอินเทอร์เน็ตของทั้งโลก โดยสนใจประเด็นเรื่องอุปกรณ์ Mobile vs Desktop
ค่าเฉลี่ยของทั้งโลกคือประมาณครึ่งต่อครึ่ง Mobile 52% vs Desktop 48%
ประเทศที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือสูงสุดคือ ซูดานและเยเมนเท่ากันที่ 83% ตามด้วยซีเรีย 82%
ประเทศที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือน้อยที่สุดคือ วาติกัน 13% และประเทศขนาดเล็กหรือประเทศที่เป็นเกาะเล็กๆ
Cloudflare บอกว่า คะแนนของวาติกันอาจเพี้ยนเพราะใช้โครงข่ายมือถือของอิตาลี ซึ่งเป็นประเทศที่มีอัตราการใช้งานมือถือสูงมากในยุโรป (57%)
ภูมิภาคที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือสูงสุดคือ แอฟริกา ตะวันออกกลาง และเอเชีย
ตัวเลขของประเทศไทยใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ 65% ใกล้เคียงกับเพื่อนบ้านคือเวียดนาม 64% มาเลเซีย 64% อินโดนีเซีย 68%
หน้าสถิติอื่นๆ ของประเทศไทย
ที่มา - Cloudflare |
# ส่องสถาปัตยกรรมเงินดิจิทัลธนาคารกลางฮ่องกง กับกระบวนการออกแบบที่ยังต้องหาคำตอบ
เงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (central bank digital currency - CBDC) เป็นข่าวอย่างต่อเนื่องนับแต่ธนาคารกลางของจีนผลักดันหยวนดิจิทัล และทดลองไปแล้วหลายต่อหลายครั้ง ธนาคารกลางของชาติต่างๆ ทั่วโลกเริ่มเข้ามาศึกษาความเป็นไปได้ และประโยชน์ของการสร้าง CBDC ขึ้นมา แม้จะมีเอกสารจำนวนมากแต่ก็มักเป็นการกำหนดกรอบการออกแบบคร่าวๆ ของ CBDC เท่านั้น ที่ผ่านมามีการเปิดเผยน้อยมากว่า CBDC มีการทำงานภายในเป็นอย่างไร แต่สัปดาห์ที่ผ่านมาธนาคารกลางฮ่องกง (Hong Kong Monetary Authority - HKMA) ก็ออกรายงานด้านเทคนิคของ e-HKD เงินฮ่องกงดอลลาร์แบบดิจิทัล โดยเอกสารระบุถึงทางเลือกต่างๆ ของการออกแบบ CBDC ที่ธนาคารกลางจะต้องเลือกก่อนใช้งานจริง
ตัวเลือกตัวแรกที่ HKMA เลือกคือรูปแบบของการบันทึกบัญชีที่โลกเงินดิจิทัลมี 2 รูปแบบ คือ
แบบดุลบัญชี (account balance) ที่ใช้งานใน Hyperledger Fabric และ Enterprise Ethereum
แบบเงินคงเหลือ (unspent transaction output - UTXO) ที่ใช้ใน Corda
โดยทั่วไปแล้วความปลอดภัยของทั้งสองแบบไม่ต่างกันนัก หากโหนดยืนยันรายการ (validating node) กลายเป็นผู้ร้ายเสียเองก็จะเปิดทางให้คนร้ายใช้เงินเกินที่มี (double spending) ได้ แต่ HKMA ระบุว่ารูปแบบ UTXO นั้นสามารถตรวจพบการจ่ายเงินเกินได้ง่ายกว่า หากเปิด ledger ให้ทุกคนช่วยตรวจสอบ
ระบบ CDBC ในภาพรวมนั้นจะถูกแบ่งออกเป็นสองชั้น (2-tier) สำหรับธนาคารกลางออกเงินให้กับธนาคาร และธนาคารนำ CDBC ไปให้ผู้ใช้รายย่อยใช้งาน โดยไม่ว่าจะใช้รูปแบบการบันทึกบัญชีอย่างไร ก็ต้องมีกระบวนการให้แน่ใจว่าธนาคารวางเงินในบัญชีผู้ใช้เท่ากับเงินที่มี เอกสารของ HKMA แสดงให้เห็นว่าการบันทึกแบบ UTXO ทำให้การตรวจสอบเงินข้ามวงระหว่างธนาคารและวงสำหรับรายย่อยนั้นทำได้ง่าย เพราะผู้ใช้รายย่อยสามารถตรวจสอบที่มาของเงินจาก UTXO ที่ออกโดยธนาคารกลางได้ แต่ไม่ว่าระบบการเก็บข้อมูลใน ledger จะเป็นอย่างไร ผู้ใช้รายย่อยจะเห็นตัวเลขในบัญชีเหมือนธนาคารทุกวันนี้
ตัวเลือกต่อมาที่ HKMA ต้องเลือกคือกระบวนการเก็บข้อมูลของธนาคาร ว่าธนาคารจะเก็บข้อมูลทั้งหมด โดยหากธนาคารทุกแห่งเห็นข้อมูลบัญชีทั้งหมดก็จะสามารถไล่ดูว่าเงินของผู้ใช้ใดมาจากบัญชีใดบ้าง แม้บัญชีนั้นจะไม่ใช่ลูกค้าของธนาคารเลยก็ตามที อย่างไรก็ดีการออกแบบอาจจะเลือกให้ข้อมูลภาพรวมอยู่ที่ validator เท่านั้น และข้อมูลที่ธนาคารเห็นจะมองเห็นเพียงแค่บัญชีของลูกค้าตนเองเท่านั้น
ตัวเลือกการใช้กุญแจสาธารณะ เป็นตัวเลือกสำคัญในการรักษาความเป็นส่วนตัวของระบบ CBDC อีกเช่นกัน แม้ธนาคารกลางจะไม่เห็นข้อมูลระบุตัวตนของผู้ใช้ แต่ก็สามารถมองเห็นรายการโอนเงินทั้งหมดได้ หากในวันหนึ่งสามารถเชื่อมโยงระหว่างหมายเลขบัญชีกับตัวตนของเจ้าของบัญชีได้ก็จะทำให้เปิดเผยรูปแบบการใช้จ่ายได้ ทาง HKMA เสนอแนวทางเปลี่ยนกุญแจสาธารณะไปเรื่อยๆ ได้ โดยเข้าของบัญชีอาจจะเปิดบัญชีใหม่ที่ใช้กุญแจสาธารณะใหม่ได้อิสระ และโอนไปมาระหว่างบัญชีของตัวเองได้ ทำให้ในฐานข้อมูลที่ธนาคารกลางมองเห็นนั้นจะแยกไม่ออกระหว่างรายการโอนเงินระหว่างบุคคลและการโอนเงินของตัวเอง รวมถึงผู้ใช้สามารถสร้างกุญแจสาธารณะใหม่เพื่อรับโอนเงินจากบุคคลอื่นได้เรื่อยๆ เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวในการรับเงิน ในกรณีที่มีคดีความและต้องการสอบสวนเส้นทางทางการเงิน ธนาคารที่ให้บริการก็ยังสามารถเปิดเผยตัวตนผู้ใช้และกุญแจสาธารณะที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้
เอกสาร e-HKD ของ HKMA ครั้งนี้แม้จะมีรายละเอียดการออกแบบมากกว่าเงินดิจิทัลของธนาคารกลางแห่งอื่นๆ แต่ก็ยังเป็นการตั้งคำถามต่อการออกแบบเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง แม้จะมีการทดสอบในวงจำกัดกันเรื่อยๆ แล้ว แต่การออกแบบที่ยังมีจุดที่ต้องตัดสินใจอีกหลายจุดก็น่าจะทำให้เงินดิจิทัลเหล่านี้มีการปรับเปลี่ยนไปอีกมากก่อนจะที่จะใช้งานจริงเป็นวงกว้างในอนาคต |
# Facebook ระบุเตรียมปรับหน้า feed แสดงเนื้อหาจากเพื่อนมากขึ้น เพิ่มตัวเลือกการควบคุมให้ผู้ปกครอง
Nick Clegg รองผู้บริหาร Facebook ฝ่าย global affairs and communications และอดีตรองนายกอังกฤษพูดในการให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว CNN หลังถูกอดีตผู้จัดการผลิตภัณฑ์มาแฉ ว่า Facebook สนใจแต่ engagement เหนือผลกระทบอื่นๆ ต่อสังคม
ในตอนหนึ่ง Clegg ระบุถึงการเตรียมปรับปรุงบริการให้เป็นมิตรกับสุขภาพจิตของวัยรุ่นมากขึ้น โดยจะปรับคอนเทนต์ให้แสดงคอนเทนต์จากเพื่อนที่อยู่บนแพลตฟอร์มมากขึ้น ตามแนวทางใหม่คือ “เพื่อนมากขึ้น การเมืองน้อยลง” ("more friends, less politics.")
Clegg ระบุว่า Facebook มีแผนขยับให้วัยรุ่นออกห่างจากคอนเทนต์ที่อาจไม่ดีต่อสุขภาพจิตมากนัก เตรียมเพิ่มตัวเลือกให้ผู้ปกครองสามารถควบคุมดูแลพฤติกรรมของบุตรหลานได้มากขึ้น เตรียมปรับระบบเพื่อปรับปรุงการที่วัยรุ่นได้เห็นเนื้อหาเดิมซ้ำๆ และเตรียมเพิ่มระบบแจ้งเตือนให้วัยรุ่นไปพักบ้าง หากเล่น Instagram นานเกินไป
Facebook เคยปรับปรุงหน้า Feed คล้ายกันมาแล้วหลายครั้ง เช่นในปี 2015 ที่ปรับลดเนื้อหาจากเพจให้ผู้ใช้เห็นเนื้อหาจากเพื่อนมากขึ้น และในปี 2018 ที่ลดเนื้อหาจากเพจอีกครั้ง คล้ายคลึงกัน แต่มีการปรับเรื่องประเด็นและอื่นๆ ร่วมด้วย
ยังไม่แน่ชัดว่าการปรับปรุงครั้งนี้จะมีอะไรบ้าง เพราะบางครั้ง Facebook ก็ทำการปรับปรุงอัลกอริทึ่มหลังบ้านแบบเงียบๆ เพื่อปรับการมองเห็นคอนเทนต์ แต่คงปฏิเสธว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเนื้อหาของ Facebook ไม่ได้มีแค่กลุ่มวัยรุ่นเท่านั้น คงต้องติดตามต่อไปว่า Facebook จะมีมาตรการปรับปรุงอื่นๆ อีกหรือไม่และผลจะเป็นอย่างไร
ที่มา - CNET |
# กลับสู่ยุค RSS - Chrome Android เพิ่มปุ่ม Follow ไว้ติดตามอัพเดตของเว็บที่สนใจ
Chrome Android เพิ่มปุ่ม Follow เพื่อติดตามเว็บไซต์ (ผ่าน RSS ที่ถูก Chrome ทอดทิ้งไปนานแล้ว) ตามที่เคยโชว์ตอนงาน Google I/O เมื่อเดือนพฤษภาคม
ผู้ใช้ต้องติดตั้ง Chrome 94 ขึ้นไป โดยกูเกิลบอกว่าเริ่มทยอยปล่อยให้ผู้ใช้บางกลุ่มแล้ว (คนที่ยังไม่เห็น สามารถเข้าหน้า chrome://flags แล้วเปิดใช้ฟีเจอร์ web feed เองได้) วิธีใช้งานคือเข้าหน้าเว็บข่าวหรือคอนเทนต์ต่างๆ แล้วในเมนู Chrome ด้านล่างสุดจะมีปุ่ม Follow เพิ่มขึ้นมา
หากเรากด Follow แล้ว การใช้งานคือในหน้า New Tab จะมีแท็บชื่อ Following ที่แสดงเนื้อหาอัพเดตของเว็บไซต์ที่เรากดติดตามไว้ เพิ่มเข้ามาจากการแนะนำข่าวตามปกติ Discover ของ Chrome ที่มีอยู่แล้ว ฟีเจอร์นี้จะตามมาใน Chrome for iOS ในอนาคต
ข่าวหน้า Google Reaer คืนชีพ...
ที่มา - Engadget |
# GOG ยอมถอดเกม Hitman GoTY หลังโดนผู้เล่นรีวิวถล่มเพราะบังคับต่อเน็ต
เกิดประเด็นดราม่าบนร้านขายแบบ GOG (ในเครือ CD Projekt) ที่ชูจุดเด่นเรื่องการขายเกมแบบไม่ติด DRM ใดๆ
ปัญหาเกิดเมื่อเกมนักฆ่า Hitman - Game of The Year Edition ของบริษัท IO Interactive จากเดนมาร์ก (เกมหลักออกปี 2016 แต่เวอร์ชัน GoTY ออกขายปี 2018) เพิ่งนำมาขายบน GOG ในเดือนกันยายนที่ผ่านมาโดยประกาศว่าเป็นเกมเวอร์ชันไร้ DRM และไม่ต้องต่อเน็ตเพื่อเล่นเกม
ปรากฎว่าเนื้อหาเสริมและฟีเจอร์บางส่วนของเกมบังคับต้องต่อเน็ตระหว่างเล่นด้วย (ตัวเนื้อหาหลักไม่ต้อง) ทำให้ผู้ซื้อเกมบน GOG รุมรีวิวถล่มเกมนี้จนได้คะแนนเฉลี่ยเพียง 1.4 ดาวจากคะแนนเต็ม 5 ดาวเท่านั้น
ตอนแรก GOG พยายามสยบเสียงวิจารณ์โดยประกาศให้คืนเงินได้ แต่เรื่องก็ยังไม่จบ เพราะ GOG ประกาศไล่ลบรีวิวที่ตั้งใจให้คะแนนน้อย (review bomb) ยิ่งทำให้ชุมชนผู้เล่นโกรธมากขึ้นไปอีก (ผู้เล่นไม่ได้โกรธนักพัฒนา Hitman แต่โกรธ GOG ที่นำมาขาย) จนสุดท้าย GOG ต้องยอมแพ้ ประกาศถอดเกม Hitman GoTY ออกจากหน้าร้าน และขอโทษแฟนๆ ที่นำเกมเวอร์ชันบังคับต่อเน็ตมาขาย
ที่มา - GOG, Eurogamer |
# จดโน้ตจนได้ดี Notion มีผู้ใช้ 20 ล้านคน มูลค่าบริษัทแตะ 1 หมื่นล้านดอลลาร์แล้ว
Notion Labs บริษัทผู้พัฒนาแอพจดโน้ต Notion ระดมทุนเพิ่มอีก 275 ล้านดอลลาร์ ทำให้มูลค่าบริษัทตอนนี้แตะ 1 หมื่นล้านดอลลาร์แล้ว (เพิ่มขึ้นจาก 2 พันล้านดอลลาร์ในการระดมทุนรอบเดือนเมษายนปีนี้)
Notion เป็นแอพจดโน้ต ที่มีฟีเจอร์จัดการเอกสารขั้นสูง เช่น การใช้ตารางแบบสเปรดชีต ปฏิทิน การลิงก์ข้ามโน้ต จนหลายคนนำไปใช้เป็นโปรแกรมจัดการงานภายในทีม (ใช้แทนได้ทั้ง Wiki, Asana/Trello หรือแม้แต่ Office/Google Docs) โปรแกรมยังมีเทมเพลตเป็นจำนวนมากรองรับการจดโน้ตทุกรูปแบบ
Notion ได้ประโยชน์อย่างมากจากช่วง work from home ในปี 2020 ทำให้มีผู้ใช้เพิ่มถึง 4 เท่าตัว (ปัจจุบันมีผู้ใช้งาน 20 ล้านคน) และได้รับความนิยมในหมู่คนรุ่นใหม่ Gen Z ที่ชอบอินเทอร์เฟซแบบ minimalist จนกลายเป็นไวรัลใน TikTok
ที่มา - Forbes |
# [หลุด] Pixel 6 กล้องหลัก 50MP, ฟีเจอร์ Magic Eraser ใช้ AI ลบคนออกจากภาพได้เลย
มีเอกสารหลุดของ Pixel 6 บนเว็บไซต์ร้านขายมือถือ Carphone Warehouse ทำให้เรารู้ข้อมูลของ Pixel เพิ่มเติมอีกพอสมควร ดังนี้
กล้องหลักใช้เซ็นเซอร์ขนาด 50MP ใหญ่ขึ้นจาก Pixel 5 และเก็บแสงได้มากขึ้น 150%
Pixel 6 Pro ใช้กล้องรองคือ 12MP ultrawide และ 48MP tele ซูม 4X (Pixel 6 รุ่นธรรมดาไม่มี tele)
Pixel 6 Pro ได้กล้องหน้า ultrawide มุมมอง 94 องศา
มีฟีเจอร์ Magic Eraser ลบคนหรือวัตถุออกจากในรูปได้เลย (ดูรูปประกอบ), Face Deblur แก้หน้าเบลอ, Motion Mode ถ่ายแล้วยังเห็นการเคลื่อนไหวบางจุดเพื่อให้ภาพสวยขึ้น
Pixel 6 Pro ได้หน้าจอ 120Hz LTPO ปรับอัตรารีเฟรชเหลือ 10Hz เพื่อประหยัดแบตได้, Pixel 6 ได้จอรีเฟรชสูงแต่ไม่บอกตัวเลข คาดว่า 90Hz
ที่มา - 9to5google, Tom's Guide |
# รองโฆษก ตร. เตือนพฤติกรรมเลียนแบบ Squid Game ขอผู้ปกครองแนะนำเยาวชนอย่างใกล้ชิด
จากกระแสความดังทะลุฟ้าของซีรีส์เกาหลี Squid Game ล่าสุด รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ออกเตือนเยาวชน เกรงว่าจะมีพฤติกรรมเลียนแบบความรุนแรงในซีรีส์ ขอให้ผู้ปกครองให้ความดูแลและแนะนำอย่างใกล้ชิด
วันที่ 10 ตุลาคม พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า ปัจจุบันที่ยังอยู่ในช่วงโควิด-19 ประชาชนต้องอยู่บ้าน และมีการใช้สื่อสังคมออนไลน์กันมากขึ้น รวมถึงเด็กและเยาวชนที่ต้องเรียนออนไลน์อยู่ที่บ้าน การรับชมซีรีส์ แต่ก็มีซีรีส์ หรือภาพยนตร์บางเรื่อง ที่มีการนำเสนอเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะพฤติกรรมความรุนแรง อย่างเช่นซีรีส์ที่ได้รับความนิยมอย่างเรื่อง Squid Game ซึ่งถูกจัดอยู่ในซีรีส์สำหรับกลุ่มผู้ชมที่อายุ 18 ปีขึ้นไป มีการนำเสนอเนื้อหา ภาพ เสียง และพฤติกรรมรุนแรง ทั้งฉากการทำร้ายร่างกายผู้อื่น ฉากการผ่าศพ ฉากการฆ่าผู้อื่นอย่างชัดเจน เพื่อแก่งแย่งแข่งขันและเอาตัวรอด
พ.ต.อ.กฤษณะ กล่าวต่อว่า เรื่องนี้อาจส่งผลให้เกิดการเลียนแบบ หรืออาจส่งผลให้ผู้ชมเกิดความคิดจินตนาการว่าตนอยู่ในสถานการณ์เดียวกับในซีรีส์ จนอาจเกิดเป็นอาชญากรรมที่ส่งผลต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของผู้อื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก หรือเยาวชน ผู้ปกครองจึงต้องคอยควบคุมดูแลการใช้สื่อสังคมออนไลน์ การรับชมสื่อต่างๆ และคอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและเลือกรับสื่อต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
ภาพจาก trailer Squid Game
ที่มา - มติชน |
# รีวิว Windows 11 เมื่อวินโดวส์ต้องปรับตัวตามกระแส OS ฝั่งมือถือ ควรอัพเกรดหรือยัง?
Windows 11 เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2021 ชาว Blognone หลายคนอาจติดตั้งและใช้งานกันแล้ว บางคนอาจลองใช้มาตั้งแต่ยุค Insider ในขณะที่อีกหลายคนไม่สามารถอัพเกรดได้เพราะถูกทิ้งไว้กลางทาง
รีวิวนี้น่าจะช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่า ควรจะเอาอย่างไรกับ Windows 11 ดี อัพเกรดเลยวันนี้ รอไปก่อนค่อยอัพเกรด หรือหยุดอยู่กับ Windows 10
เมื่อ Windows 10 ไม่ใช่วินโดวส์เวอร์ชันสุดท้าย
Windows 10 เปิดตัวในปี 2015 โดยเปลี่ยนมาใช้แนวทาง Windows as a Service ออกฟีเจอร์ใหม่เรื่อยๆ ปีละสองครั้ง พลิกแนวทางของระบบปฏิบัติการตระกูลวินโดวส์ที่ออกอัพเดตใหญ่เวอร์ชันใหม่ทุกประมาณ 3 ปี (Vista-7-8 ออกห่างกัน 3 ปี)
ก่อนหน้านี้ทุกคนเชื่อกันว่า Windows 10 จะเป็นวินโดวส์เวอร์ชันสุดท้าย เพราะไมโครซอฟท์จะออกอัพเดตย่อยไปเรื่อยๆ แต่สุดท้ายเราก็ได้พบกับ Windows 11 แบบเหนือความคาดหมาย อย่างไรก็ตาม ด้วยการเปลี่ยนแปลงภายในที่ไม่เยอะนัก (ยกเว้น UI) เราอาจมองว่า Windows 11 เปรียบเสมือนอัพเดตใหญ่ (Feature Release) อีกตัวหนึ่งของ Windows 10 ที่มีของใหม่เยอะหน่อย หรือถ้านับเป็นเลขเวอร์ชัน ก็อาจเป็น Windows 10.5 ก็ได้เช่นกัน
หากธีมหลักของ Windows 10 คือ "การกลับสู่เดสก์ท็อป" หลังจากไปหลงทางในโลกแท็บเล็ตกับ Windows 8 อยู่หลายปี
ธีมหลักของ Windows 11 สามารถนิยามได้สั้นๆ ว่าไมโครซอฟท์ได้รับอิทธิพลจาก OS ใหม่ๆ โดยเฉพาะสมาร์ทโฟน ทำให้ต้องปรับหน้าตาของ Windows 11 ไปในทิศทางดังกล่าว เพื่อจับกลุ่มผู้ใช้งานรุ่นใหม่ที่เติบโตมากับยุคสมาร์ทโฟนให้มากขึ้น
แต่นั่นเป็นแค่การเปลี่ยนแปลงภายนอกเท่านั้น เพราะตัวแกนหลักของ Windows 11 ยังเป็นแกนเดียวกับ Windows 10 เหมือนเดิม ยังให้ความรู้สึกแบบเดิมๆ ไม่ต่างอะไรจาก Windows 10 มากนัก
Hardware & Upgrading Process
ดราม่าสเปกขั้นต่ำของ Windows 11
ประเด็นที่ร้อนแรงที่สุดของ Windows 11 และได้รับความสนใจยิ่งกว่าตัวระบบปฏิบัติการเองเสียอีก คือ ข้อกำหนดสเปกฮาร์ดแวร์ขั้นต่ำที่สร้างการถกเถียงอย่างมาก (สเปกละเอียด)
Blognone เคยลงข่าวเรื่องสเปกขั้นต่ำของ Windows 11 ไปแล้วหลายครั้ง ถ้าให้สรุปแบบสั้นๆ จุดที่เป็นประเด็นมากๆ มีอยู่ 2 เรื่องคือ
ซีพียูที่รองรับ ต้องเป็น Intel 8th Gen ขึ้นไป (7th Gen ได้บางรุ่น) หรือ AMD Ryzen 2nd Gen ขึ้นไป
ต้องมีชิป TPM 2.0 ด้วยเหตุผลเรื่องฟีเจอร์ความปลอดภัย
สเปกทั้งสองข้อนี้ทำให้มีพีซีจำนวนมากที่ไม่สามารถไปต่อกับ Windows 11 ได้ (อย่างเป็นทางการ) และการที่พีซีเหล่านี้มีอายุไม่มากนัก (ผมมีโน้ตบุ๊กที่เป็น Core i7-7700HQ อายุ 4 ปีกว่าๆ ก็ไม่ได้ไปต่อ แม้มีชิป TPM 2.0 ก็ตาม) จึงไม่น่าแปลกใจที่รอบนี้ไมโครซอฟท์ถูกผู้ใช้วิจารณ์อย่างหนัก เพราะถือเป็นการฉีกธรรมเนียมเดิมๆ ของไมโครซอฟท์ในฐานะ "เจ้าพ่อแห่งความเข้ากันได้" ที่ลากยาวพีซีเก่าๆ มาได้ตลอดมาหลายสิบปี
แต่ถูกถล่มหนักแค่ไหน ไมโครซอฟท์ดูแน่วแน่ไม่เปลี่ยนใจในเรื่องนี้ ไม่ยอมผ่อนปรนเรื่องซีพียูหรือ TPM ดังนั้น ทางออกของคนที่ใช้พีซีที่สเปกไม่ถึงเกณฑ์ คงมีแค่เพียงอยู่กับ Windows 10 ต่อไป ซึ่งจะซัพพอร์ตนานถึงปี 2025 หรืออีก 4 ปีถัดจากนี้
การอัพเกรดที่ราบรื่น
หากเราก้าวผ่านเรื่องสเปกขั้นต่ำได้แล้ว พีซีที่ผ่านเกณฑ์สามารถอัพเกรดเป็น Windows 11 ได้แล้ววันนี้ สำหรับผู้ใช้ตามบ้าน มีวิธีอัพเกรด 2 วิธีหลักๆ คือ รอให้ไมโครซอฟท์ปล่อยอัพเดตผ่าน Windows Update ซึ่งไม่รู้ว่าจะมาเมื่อไร รอกันไปเรื่อยๆ กับการอัพเกรดเองแบบแมนนวล ที่มีอีก 2 วิธีย่อยคือ ดาวน์โหลดโปรแกรม Installation Assistant มาติดตั้งบน Windows 10 แล้วอัพเกรดตรงๆ หรือดาวน์โหลดไฟล์ ISO มาติดตั้งผ่านแฟลชไดรฟ์ (ดาวน์โหลดได้จากหน้า Windows 11 Download)
ผมเลือกใช้วิธีแรกคือดาวน์โหลด Installation Assistant มาติดตั้งบนโน้ตบุ๊ก Lenovo ThinkPad Nano ที่ซีพียูเป็น Intel Gen 11 ซึ่งอัพเกรดได้ผ่านฉลุย
อย่างที่กล่าวไปแล้วตอนต้นว่าไส้ในของ Windows 11 ก็คือ Windows 10 นั่นเอง ดังนั้นกระบวนการอัพเกรดเครื่องจึงแทบไม่ต่างอะไรจากการอัพเดตใหญ่ (Feature Release) ของ Windows 10 ที่ออกปีละสองรอบอยู่แล้ว นั่นคือเปิดแอพช่วยอัพเกรด รอดาวน์โหลดและติดตั้งไฟล์เล็กน้อย รีสตาร์ตเครื่องสองรอบก็ได้เจอกับ Windows 11 ที่ยังมีข้อมูลเดิมของเราอยู่อย่างครบถ้วน
หน้าตาใหม่ของ Windows 11
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดของ Windows 11 คือการเปลี่ยนส่วนติดต่อผู้ใช้ (ในที่นี้คือ shell) ของ Windows 10 ให้ทันสมัยขึ้น
เท่าที่ลองใช้มา ธีมการออกแบบ Windows 11 ของไมโครซอฟท์มีอยู่ 2 แนวทางควบคู่กันไป ได้แก่ ออกแบบให้หน้าตาสวยขึ้น (beautified) และออกแบบให้การใช้งานเรียบง่ายขึ้น (simplified)
คำว่าหน้าตาสวยขึ้น ต้องย้อนไปถึงแนวทาง Fluent Design ที่ไมโครซอฟท์เริ่มทำมาสักพักใหญ่ๆ แล้ว มันคือการอัพเกรดระบบการออกแบบ (design system) ครั้งใหญ่ของไมโครซอฟท์นับตั้งแต่ Windows 8 (2012) ที่ใช้แนวทาง Metro ไอคอนแบนราบบนพื้นสีเดียว ก่อนที่ทยอยมาเป็น Fluet Design ที่เน้นแสงเงามากขึ้นใน Windows 10 รุ่นหลังๆ และโตเต็มวัยใน Windows 11 (2021) กระบวนการทั้งหมดกินเวลานาน 9 ปี การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้มีผลแค่วินโดวส์ แต่ยังรวมถึงแอพอื่นของไมโครซอฟท์แทบทุกตัวด้วย
คนที่ใช้ Windows 10 ช่วงหลังๆ น่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของทิศทางการดีไซน์อยู่แล้ว เช่น การเปลี่ยนไอคอนในช่วงหลัง พอมาถึง Windows 11 ต้องเรียกว่านี่คือภาพฝันของไมโครซอฟท์ที่เป็นจริง เราเห็นระบบปฏิบัติการที่ขอบโค้งมน เน้นแสงเงา พื้นหลังโปร่งแสงมากขึ้น ซึ่งกลับไปคล้ายยุค Windows Vista/7 แต่ก็ไม่เหมือนกันซะทีเดียว
เมนูคลิกขวาของ Windows 11 ขอบมน และโปร่งแสง
สิ่งที่สัมผัสได้คือ Windows 11 ใช้ดีไซน์ออกแนว "การ์ตูน" ที่ไอคอนสีสันสดใส มีแอนิเมชันและภาพเคลื่อนไหวมากกว่าสไตล์ของ Vista/7 ที่เน้นความสมจริง (ของบางอย่างดูในรูปนิ่งๆ อาจดูไม่ออกนัก ต้องไปลองใช้ ลองสัมผัสดูจริงๆ)
คลิปอธิบายการออกแบบแอนิเมชันของ Windows 11
อีกสิ่งที่ไมโครซอฟท์ทำได้ดีขึ้นมากคือ Dark Mode ที่เดิมทีใส่เข้ามาแบบไม่ค่อยสมบูรณ์นักใน Windows 10 ตอนนี้ก็ทำได้ดีขึ้น มีศักดิ์ฐานะเกือบใกล้เคียงกับ Light Mode แล้ว (ฝั่งธุรกิจจะได้ Dark Mode มาเป็นดีฟอลต์ด้วยซ้ำ) จะมีข้อยกเว้นคือแอพเก่าๆ ที่สืบทอดมาจากในอดีตเท่านั้นที่ยังเป็นสีโทนสว่างอยู่เหมือนเดิม เช่น Notepad
Dark Mode ของ Windows 11
ภาพรวมเรื่องสไตล์ของ Windows 11 ต้องยอมรับว่าน่าประทับใจ เมื่อทิศทางการออกแบบชัดเจนว่าจะไปอย่างไร และไมโครซอฟท์ใช้เวลานานพอสมควรกับการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ ผลจึงออกมาเป็นว่า Windows 11 นั้น "สวยขึ้น" จาก Windows 10 อย่างเห็นได้ชัด แต่ในแง่การใช้งานก็ยังไม่ได้แตกต่างถึงขนาดผิดแผกจนใช้ไม่ลง ยังให้ความรู้สึกคล้ายคลึงกับ Windows 10 อยู่พอสมควร
Start Menu & Taskbar
ธีมหลักอันที่สองของ Windows 11 คือเรียบง่ายขึ้น (simplified) ตรงนี้ชัดเจนว่าไมโครซอฟท์ได้อิทธิพลอย่างมากจากระบบปฏิบัติการใหม่ๆ โดยเฉพาะระบบปฏิบัติการมือถือ (Android/iOS) และระบบปฏิบัติการเดสก์ท็อปยุคใหม่ (Chrome OS)
ผมคิดว่าปัจจัยหลักที่ผลักดันให้ไมโครซอฟท์หันมาทางนี้คือ demographic ของผู้ใช้งานรุ่นใหม่ๆ ที่เติบโตมากับสมาร์ทโฟน เกิดมาก็เจอสมาร์ทโฟนแล้ว มีวิธีคิดที่ต่างไปจาก demographic กลุ่มที่เติบโตมากับพีซี มีความคาดหวังแตกต่างกันไป
ผู้ใช้กลุ่มใหม่นี้มีความคุ้นเคยกับ OS บนมือถือที่มีไอคอน มี launcher มีแถบแจ้งเตือน มี widget แสดงผลข้อมูลโดยไม่ต้องเปิดแอพก่อน ปัจจัยเหล่านี้ส่งอิทธิพลต่อไมโครซอฟท์อย่างชัดเจน ในการออกแบบ Start Menu และ Taskbar แบบใหม่ที่เรียบง่ายขึ้นมากเพื่อเอาใจคนรุ่นใหม่ แต่กลับตัดฟีเจอร์เดิมๆ ออกไปเกือบหมด (อย่างตั้งใจ) จนทำให้ฐานผู้ใช้ยุคเก่าไม่พอใจ
Start Menu
สิ่งแรกที่ผู้ใช้ Windows 11 ประสบพบเจอเมื่อบูตเครื่องมาครั้งแรกคือ Taskbar แบบใหม่ที่จัดไอคอนอยู่ตรงกลาง และ Start Menu ที่เปิดขึ้นมาอยู่ตรงกลาง ไม่ได้ชิดซ้ายเหมือนที่ทำมาตลอดหลายสิบปี น่าจะทำให้หลายๆ คนประหลาดใจหรือบางคนอาจถึงขั้นช็อคไปเลย
ไมโครซอฟท์ไม่ได้อธิบายเหตุผลเรื่องการจัดชิดกลางชัดเจนนัก แต่ถ้าย้อนดูประวัติของ Windows 11 ว่ามีส่วนที่พัฒนาเป็น Windows 10X ก่อนยกเลิกไปแล้วนำฟีเจอร์มารวมกันแทน ตัว Start Menu ของ Windows 11 เหมือนกับของ Windows 10X ที่หลุดออกมาทุกประการ ซึ่งการเกิดขึ้นของ Windows 10X ก็เพื่ออุปกรณ์รูปแบบใหม่ๆ อย่างแท็บเล็ตสองจอ Surface Neo (ที่ตอนนี้ยังไม่รู้ชะตากรรม) และโน้ตบุ๊กราคาถูกที่ออกมาสู้กับ Chrome OS ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจว่า Start Menu ของ Windows 11 ได้รับอิทธิพลมาจาก Chrome OS นั่นเอง
หน้าจอ Launcher ของ Chrome OS
Start Menu ใหม่ของ Windows 11 ถือว่าเรียบง่ายกว่าเดิมมาก ตัดฟีเจอร์เดิมในอดีตทิ้งไปเกือบหมด เมื่อเราคลิกปุ่ม Start เราจะเห็นเมนูที่ประกอบด้วย 2 ส่วนเท่านั้น คือ แอพที่ปักหมุดไว้ (Pinned) และไฟล์ล่าสุดที่ใช้งานหรือใช่บ่อย (Recommended) ที่หัวของเมนูมีช่องค้นหา (Search) และแถบล่างของเมนูมีเพียงไอคอนโพรไฟล์ของผู้ใช้กับปุ่มปิดเครื่อง
Start Menu ของ Windows 11 แบบชัดๆ
ถ้าเทียบกับ Start Menu ของ Windows 10 แล้ว สิ่งที่หายไปเลยถือรายการแอพทั้งหมดในเครื่อง (ต้องกด All Apps ก่อนหนึ่งที) รวมถึงปุ่มช็อตคัตต่างๆ เช่น เรียก Settings หรือโฟลเดอร์ Documents/Downloads ไม่สามารถทำได้อีกแล้ว (ต้องกด Settings จากในรายการแอพเท่านั้น ซึ่งเหมือนกับ OS มือถือ) นี่ยังไม่รวมถึงฟีเจอร์ Live Tiles ที่ชะตาขาด ถูกถอดออกไปถาวร (ซึ่งก็เข้าใจได้เพราะไม่ค่อยมีคนใช้มากนักอยู่แล้ว)
Start Menu ตอนกด All Apps หน้าตาเหมือนเดิม
ผมคิดว่าโฟลว์การทำงานของผู้ใช้ Windows ส่วนใหญ่ที่มักปักไอคอนแอพที่ใช้บ่อยๆ ไว้บน Taskbar หรือปักไว้ในเมนู Start คงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก ผู้ใช้ที่กด Start แล้วพิมพ์ชื่อแอพเพื่อเรียกใช้งานก็คงทำงานได้เหมือนเดิม แต่คนที่ขัดใจคงเป็นคนที่เปิด Start Menu แล้วมา "ไล่หา" รายการแอพที่ต้องการจากชื่อแอพ ก็จะทำได้ยากขึ้นพอสมควร
ส่วนแถบรายการไฟล์หรือแอพที่เพิ่งติดตั้งใหม่ (Recommended) เอาเข้าจริงก็ไม่ใช่ของใหม่ใน Windows 11 เพราะมีมาตั้งแต่ยุคของ Windows 95 (ส่วนของ Recent) และถูกถอดออกไปใน Start Menu ยุคหลัง การกลับมาของรายการไฟล์คงมีไว้เพื่อเอาใจผู้ใช้ยุคใหม่ๆ อีกเหมือนกัน เพราะผู้ใช้ที่เติบโตมากับยุค Mobile OS อาจไม่มีความคุ้นเคยกับการเก็บไฟล์ในระบบโฟลเดอร์ที่ซับซ้อนมากนัก ไมโครซอฟท์น่าจะพยายามหาวิธีให้เข้าถึง "ไฟล์ที่ใช้บ่อยๆ" หรือ "งานที่ทำทิ้งไว้" ได้ง่ายขึ้น
Taskbar
Taskbar คือบริเวณจุดที่โดนตัดฟีเจอร์ออกไปมากที่สุดแล้ว เราสามารถตั้งค่า Taskbar ได้เพียงจัดไอคอนชิดกลาง (แบบใหม่) หรือชิดซ้าย (แบบเก่า) และเลือกซ่อน Taskbar เพียง 2 อย่างเท่านั้น ไม่สามารถทำอย่างอื่นได้เลย ไม่ว่าจะเป็นย้ายตำแหน่งไปไว้ด้านบน, ปรับขนาดให้ใหญ่ขึ้นหรือเล็กลง, เลือกแสดงไอคอนหน้าต่างแบบรวมหรือแยก (combined) ฯลฯ ฟีเจอร์ทั้งหมดที่ผู้ใช้วินโดวส์คุ้นเคยกันมานานนับสิบปี ถูกตัดออกเหี้ยน
คลิกขวาที่ Task Bar แล้วเหลือแค่นี้จริงๆ
ส่วนของ System Tray ด้านขวามือก็ถูกปรับเปลี่ยนไปพอสมควรเช่นกัน เดิมทีไอคอนใน System Tray ทุกตัวแยกจากกันอย่างอิสระ กดคลิกขวาแล้วมีเมนูของตัวเองขึ้นมาให้ดูข้อมูลหรือตั้งค่า
ใน Windows 11 ไมโครซอฟท์จัดกลุ่มไอคอนใหม่เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ แบตเตอรี่-อินเทอร์เน็ต-เสียง กลายเป็นก้อนเดียวกัน กดแล้วมีเมนูป๊อปอัพขึ้นมาจัดการอินเทอร์เน็ต ความสว่างหน้าจอ ระดับเสียง ฯลฯ เห็นทุกอย่างพร้อมกันแทน (ย้ายมาจากแถบแจ้งเตือนของ Windows 10 และปรับหน้าตาใหม่)
กลุ่มที่สองคือ นาฬิกาและการแจ้งเตือน ที่เดิมทีแยกกัน ตอนนี้ก็กลายมาเป็นส่วนเดียวกัน กดแล้วป๊อปอัพด้านขวาจะรวมปฏิทินกับการแจ้งเตือนเข้าไว้ด้วยกัน
ความน่าเศร้าของ Taskbar ใหม่คือ ไม่สามารถแสดงนาฬิกาบน Taskbar ทุกอันได้หากต่อจอมอนิเตอร์ที่สองเข้ามา ของ Windows 10 นั้นนาฬิกาจะถูกแสดงบน Taskbar ของทุกหน้าจอ แต่พอเป็น Windows 11 แสดงเฉพาะบน Taskbar ของจอหลักเท่านั้น ตั้งค่าตรงนี้ไม่ได้ด้วย
ภาพรวมของ Taskbar ใน Windows 11 เห็นได้ชัดว่าไมโครซอฟท์ตัดของออกไปเยอะมาก เป้าหมายคงเป็นเรื่องความเรียบง่าย อยากให้เหมือน Android หรือ Chrome OS แต่ก็คิดว่าตัดออกมากเกินไป (หรือทำใส่กลับคืนมาไม่ทัน) จนทำให้ความสามารถในการปรับแต่งที่เคยเป็นจุดเด่น ด้อยลงไปมากจนน่าหงุดหงิดพอสมควร ในฐานะผู้ใช้คงได้แต่หวังว่าไมโครซอฟท์จะนำบางอย่างกลับคืนมาในอัพเดตใหญ่ครั้งหน้าของ Windows 11
Widgets
ไมโครซอฟท์ไม่ใช่หน้าใหม่ของการทำ widget มาใส่ระบบปฏิบัติการ ถ้าย้อนไปไกลที่สุดน่าจะเป็น Active Desktop ในยุค Internet Explorer 4 ด้วยซ้ำ แต่ที่คนจดจำกันได้น่าจะเป็น widget ของ Windows Vista (2006) ที่อยู่ในแถบ sidebar ด้านขวามือของเดสก์ท็อป (ยุคนั้นเรียก gadget) ที่ค่อยๆ เริ่มถูกถอดออกไปในยุค Windows 7 และเปลี่ยนมาเป็นระบบ Live Tiles แทนในยุค Windows 8
พอมาถึงยุค Windows 10 ช่วงหลังๆ ระบบ widget ถูกนำกลับมาในแถบ News & Interests ที่ด้านขวามือของ Taskbar ซึ่งกลายร่างมาเป็น widget แทนใน Windows 11
Widgets ของ Windows 11 จะไม่ถูกแสดงบนเดสก์ท็อป แต่จะอยู่ในแถบ sidebar ด้านซ้ายมือ ซึ่งกดเรียกขึ้นมาได้จากปุ่ม Widgets ที่อยู่ข้างกับปุ่ม Start หรือช็อตคัตใหม่ Win+W
ปัจจุบันยังมี widget ให้เลือกไม่เยอะมากนัก ที่ไมโครซอฟท์เตรียมมาให้ได้แก่ News รวมข่าวสาร (ข่าวจะอยู่ล่างสุด ถอดออกไม่ได้), Weather สภาพอากาศ, Stock Watchlist ดูราคาหุ้น, Sports ดูผลกีฬา, Esports ดูผลกีฬาอีสปอร์ต, Entertainment แนะนำหนังใหม่, Traffic สภาพจราจรแถวบ้าน
นอกจากนี้ยังมี widget กลุ่มที่ซิงก์กับบัญชีของเราบนแอพไมโครซอฟท์เอง เช่น Photos ซิงก์จาก OneDrive, To Do ซิงก์จาก Microsoft To Do และปฏิทินที่ซิงก์จาก Outlook เป็นต้น ตอนนี้ไมโครซอฟท์ยังไม่สามารถเปิดให้นักพัฒนาสร้าง widget เองได้ แปลว่าคนที่ใช้แอพตัวอื่นๆ อย่าง Google Calendar, Google Photos ยังไม่สามารถใช้ประโยชน์จากระบบ widget แบบใหม่ได้
ณ ตอนนี้ยังถือว่า widget ของ Windows 11 ยังไม่มีประโยชน์มากนัก เพราะจำนวน widget ยังมีน้อยและไม่หลากหลาย อีกทั้งการที่มันไม่ถูกแสดงตลอดเวลา นำมาวางไว้บนเดสก์ท็อปไม่ได้ ก็น่าจะทำให้หลายๆ คนที่ใช้ Windows 11 อาจไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่ามีฟีเจอร์นี้อยู่
Desktop & Window Management
นอกจากเรื่อง Start Menu และ Taskbar แล้ว การเปลี่ยนหน้าตา (shell) ของ Windows 11 ยังครอบคลุมในส่วนเดสก์ท็อปและการจัดการหน้าต่างด้วย
Snap Layout
ที่ผ่านมา Windows มีฟีเจอร์จัดระเบียบหน้าต่างชื่อ Aero Snap มาตั้งแต่ยุค Windows 7 โดยผู้ใช้งานสามารถลากขอบไตเติลหน้าต่างชิดขอบซ้าย-บน-ขวา เพื่อจัดหน้าต่างให้เรียงกันได้ (กรณีลากขึ้นบนจะเป็นการขยายเต็มจอหรือ maximize) หรือจะใช้ปุ่มลัด Win + ลูกศรในทิศทางต่างๆ ก็ได้
แต่ผู้ใช้ทั่วไปที่ไม่ใช่ power users อาจไม่รู้จักฟีเจอร์ Aero Snap (ภายหลังชื่อ Snap เฉยๆ) กันมากเท่าที่ควร ด้วยเหตุผลว่าต้องเห็นคนใช้งานฟีเจอร์นี้ก่อนถึงรู้ว่าทำงานอย่างไร
Windows 11 จึงพัฒนาเรื่องนี้ไปอีกขั้นด้วย Snap Layout ที่เห็นวิธีการจัดหน้าต่างชัดเจนขึ้น วิธีใช้งานง่ายมาก เพียงแค่เรานำเคอร์เซอร์ไปชี้ที่ปุ่มขยายหน้าต่าง (maximize/restore) จะเห็นเมนูป๊อปอัพให้เราจัดหน้าต่างแบบที่ต้องการโผล่ขึ้นมา เราแค่เลือกว่าจะจัดแบบไหน หน้าต่างนั้นจะถูกจัดเข้าชุดทันที และ OS จะถามว่าจะเลือกหน้าต่างไหนมาเข้าให้ครบชุด
การเลือกหน้าต่างของ Snap Layout มีทั้งแบบ 2 หน้าต่างจัดครึ่งซ้ายขวา, แบบ 3 หน้าต่าง, แบบ 4 หน้าต่าง และถ้าใช้กับจอขนาดใหญ่ๆ จะมีแบบ 3 หน้าต่างหารแบ่งจอแบบเท่ากันด้วย
Snap Layout ถือเป็นฟีเจอร์ที่ดีที่สุดของ Windows 11 ในสายตาผมแล้ว เพราะมีประโยชน์จริง ใช้ง่าย เห็นชัด ตรงไปตรงมา เวิร์คสำหรับทั้งผู้ใช้ใหม่ที่ไม่เคยรู้จัก Snap มาก่อน และผู้ใช้เก่าที่คุ้นเคยกับ Snap อยู่แล้วก็สามารถใช้งานต่อได้อย่างเป็นธรรมชาติ
Task View
Windows 10 มีวิธีการสลับหน้าต่างอยู่ 2 แบบคือ Alt+Tab ของเดิมที่สืบทอดกันมานาน และ Win+Tab ของใหม่ที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Task View
การเปลี่ยนแปลงใน Windows 11 คือถอดฟีเจอร์ Timeline ของ Task View ที่ใส่เข้ามาในอัพเดตปี 2018 คงเป็นด้วยเหตุผลว่าคนใช้น้อย และหันมาเน้นที่เรื่อง Virtual Desktop มากขึ้น
Virtual Desktop เป็นฟีเจอร์ที่มีตั้งแต่ Windows 10 แต่ก็ไม่ค่อยมีคนรู้จักมากนัก อาจเป็นเพราะความสามารถที่ค่อนข้างจำกัดในระดับหนึ่ง พอมาถึงยุค Windows 11 ก็เน้นตรงนี้มากขึ้น ในหน้าจอ Task View จะเห็นรายการ Virtual Desktop แบบชัดๆ (ของเดิมถ้ามีเดสก์ท็อปเดียวจะไม่โชว์รายการ) สามารถเปลี่ยนพื้นหลังของแต่ละเดสก์ท็อปให้ต่างกันได้
ส่วนหน้าจอ Alt+Tab เดิมยังหน้าตาเหมือนเดิม แต่ปรับให้พื้นหลังเบลอกว่าเดิมมาก ส่วนตัวแล้วผมไม่ชอบนัก เพราะรู้สึกว่าบดบังสายตามากเกินไป ชอบแบบของ Windows 10 มากกว่า
Multi-monitor
ของใหม่อีกอย่างที่น่าสนใจคือ การจัดการหน้าต่างบนจอมอนิเตอร์หลายจอให้ดีขึ้น สามารถจดจำตำแหน่งของหน้าต่างไว้ได้แม้จอดับไป ฟีเจอร์นี้อยู่ในหน้า Settings > Display ที่สามารถตั้งค่าการทำงานแบบหลายจอได้ละเอียดขึ้น (อีกหน่อย) เช่น ให้จำตำแหน่งหน้าต่าง หรือให้ย่อหน้าต่างลงหากจอที่หน้าต่างนั้นอยู่ถูกถอดออก
Settings
สิ่งที่ผู้ใช้ Windows เจ็บปวดมานานตั้งแต่ยุค Windows 8 คือการมีโปรแกรมตั้งค่า 2 ตัว คือ Control Panel เดิม และ Settings ตัวใหม่ที่ทำไม่เสร็จสักที จึงต้องสลับไปมาระหว่างโปรแกรมตั้งค่าสองตัวนี้อยู่เรื่อยๆ
ข่าวดีของ Windows 11 คือโปรแกรม Settings พัฒนาขึ้นจากเดิมมาก เปลี่ยนมาใช้อินเทอร์เฟซแบบ 2-pane ด้านซ้ายมือมีหมวดหมู่การตั้งค่าให้เลือกง่ายๆ ไม่ได้เป็นไอคอนล้วนแล้วต้องกด Back ถอยหลังเหมือนกับ Settings ของ Windows 10 อีกทั้งรองรับ Dark Mode สวยงามกว่าเดิม
อินเทอร์เฟซหลายจุดของ Settings ก็ปรับปรุงให้พัฒนาขึ้น สวยขึ้น ใช้ที่ว่างให้เป็นประโยชน์มากขึ้น การออกแบบหน้าจอ Settings ใช้วิธีแสดงทุกหมวดย่อยพร้อมกันหมด ไม่ได้แยกหน้าจอแบบของ Windows 10 อีก ใช้พื้นที่ด้านบนสุดของหน้าต่างได้มีประโยชน์มากขึ้น
แต่ข่าวร้ายคือ การเปลี่ยนผ่านสู่ Settings ก็ยังไม่สมบูรณ์อยู่ดี หลายอย่างก็ยังต้องทำผ่านหน้าต่างของ Control Panel เหมือนเดิมอยู่ เช่น การตั้งค่าเมาส์แบบละเอียด ที่เป็นหน้าต่างสืบทอดกันมาตั้งแต่ยุค Windows 9x และดูผิดแผกมากเมื่อต้องมาอยู่ร่วมกับธีมใหม่ของ Windows 11 โดยเฉพาะเวลาเป็น Dark Mode
Apps
นอกจากตัว OS ที่เปลี่ยนแปลงอย่างมากในส่วนของ shell แล้ว ไมโครซอฟท์ยังอัพเดตแอพที่มาพร้อม OS อีกหลายๆ ตัวให้เข้าชุดดีไซน์ใหม่ด้วย ขอยกตัวอย่างมาเพียงบางส่วน
File Explorer
File Explorer หรือ Windows Explorer เดิม มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด เพราะปรับดีไซน์ใหม่ เลิกใช้แถบ Ribbon เปลี่ยนมาใช้แถบเครื่องมือแบบแถวเดียว เปลี่ยนไอคอนโฟลเดอร์ใหม่ที่สีสันสดใสกว่าเดิม และรองรับ Dark Mode แล้วสักที
แต่นอกจากหน้าตาแล้ว ในแง่การใช้งาน มันก็ยังเป็น File Explorer ตัวเดิมที่ฟีเจอร์เท่าเดิมทุกประการ ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับฟีเจอร์หรือการใช้งาน (เช่น ระบบแท็บที่เรียกร้องกันมานาน) แต่อย่างใด
การปรับอินเทอร์เฟซใหม่ยังมี "ต้นทุน" ในแง่ของความสามารถที่ลดลงบ้าง เช่น เมนูคลิกขวาแบบใหม่สวยงามขึ้น แต่ของบางอย่างหายไป ตัวอย่างคือเราไม่สามารถคลิกขวาที่ไฟล์ฟอนต์แล้วเลือกติดตั้งฟอนต์ (Install) แบบตรงๆ ได้อีกแล้ว ต้องเลือก Show more options ครั้งหนึ่งก่อนเพื่อเปิดเมนูคลิกขวาแบบเก่ากลับคืนมา
Photos
Photos แอพดูรูปภาพ ได้รับการปรับโฉมเช่นกัน โดยเปลี่ยนทูลบาร์ด้านบนมาเป็นแบบลอยทับรูป และด้านล่างเพิ่มแถบ carousel แสดงภาพตัวอย่างในโฟลเดอร์เดียวกันเข้ามา แต่ในแง่ฟังก์ชันก็ไม่มีอะไรใหม่เช่นกัน
Paint
Paint ตัวใหม่ถูกเปลี่ยนหน้าตาครั้งแรกในรอบหลายปี แต่นอกจากปรับดีไซน์ให้โค้งมนกว่าเดิม ก็ไม่มีฟีเจอร์ใหม่
Chats
นอกจากการปรับปรุงหน้าตาของแอพเดิมๆ แล้ว สิ่งที่เพิ่มเข้ามาใน Windows 11 แบบจับยัดคือฟีเจอร์การแชทผ่าน Microsoft Teams ได้จากตัวระบบปฏิบัติการเลย ฟีเจอร์นี้มาแทน Meet Now เดิมของ Windows 10 ที่เป็น Skype แสดงให้เห็นชัดว่าไมโครซอฟท์ให้ความสำคัญกับ Teams มากๆ (แม้ยืนยันสุดตัวว่า Skype ยังไม่ตาย)
ปัญหาคือ Teams เป็นที่ยอมรับในการใช้งานภาคธุรกิจจริงๆ แต่การใช้งานฝั่งคอนซูเมอร์ยังจำกัดมากๆ (มีคอนซูเมอร์คนไหนใช้งาน Teams กันบ้างนะ) ทำให้ฟีเจอร์การแชทผ่าน Teams เป็นสิ่งที่ผมก็ไม่รู้จะทดสอบอย่างไร เนื่องจากไม่รู้จะคุยกับใครเช่นกัน (และคนอื่นๆ ส่วนใหญ่ก็น่าจะเป็นแบบเดียวกัน)
Windows Terminal
เป็นสิ่งที่ผู้ใช้ทั่วไปอาจไม่ได้ใช้บ่อยนัก แต่ Windows 11 ได้ผนวกแอพ Windows Terminal ที่ก่อนหน้านี้เปิดให้ดาวน์โหลดแยกต่างหาก เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของตัว OS
การมาถึงของ Windows Terminal ทำให้เรามีแอพเทอร์มินัลตัวใหม่ที่ทันสมัยขึ้นมาก สามารถใช้งานกับ shell ได้หลากหลาย เช่น PowerShell, Command Prompt เดิม (ซึ่งแอพตัวเดิมก็ยังอยู่) หรือแม้แต่ Azure Cloud Shell ถ้าจำเป็นต้องใช้งาน
Microsoft Store
ไมโครซอฟท์เริ่มนำแนวคิด Store มาใช้ครั้งแรกกับ Windows 8 ในปี 2012 โดยได้อิทธิพลมาจาก Windows Phone/Mobile และหวังจะให้เป็นสโตร์เดียวสำหรับทุกอย่าง
ตลอดเวลาเกือบสิบปี เราคงพูดกันได้เต็มปากว่า Microsoft Store ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะแผนการ UWP ของไมโครซอฟท์พังพินาศตาม Windows Phone ไปก่อนหน้านี้ เมื่อแอพสาย UWP เข็นไม่ขึ้น จึงไม่มีเหตุผลอะไรมากนักที่ผู้ใช้จำเป็นต้องมาใช้งาน Microsoft Store
การเปลี่ยนแปลงใน Windows 11 พยายามแก้ปัญหาข้างต้นด้วยวิธีการหลายอย่าง ตั้งแต่การปรับหน้าตาใหม่ให้สวยขึ้น ทำงานได้รวดเร็วมากขึ้น (ซึ่งไมโครซอฟท์ก็ทำได้จริงๆ ไม่รู้ก่อนหน้านี้ไปทำอะไรมาตั้งนาน)
สิ่งที่สองที่ไมโครซอฟท์ทำคือเปิดกว้างให้แอพสาย x86 เดิมขึ้นมาอยู่บน Microsoft Store ได้มากขึ้น ตัวอย่างแอพใหม่ๆ ที่ขึ้นมาบน Microsoft Store ของ Windows 11 ได้แก่ Disney+, Discord, TikTok, Zoom, Adobe Acrobat Reader DC, CorelDRAW หรือแม้กระทั่งเบราว์เซอร์ Opera ที่ถือเป็นคู่แข่งของ Edge (Firefox ประกาศแล้วว่ากำลังจะมา) ถือว่าไมโครซอฟท์ทำผลงานได้ดีขึ้นในแง่ความหลากหลายของแอพบน Store และต้องรอดูว่าในระยะยาวจะพัฒนาขึ้นอีกแค่ไหน จะมีแอพของฝั่งกูเกิล (เช่น YouTube หรือ Chrome) เพิ่มเข้ามาด้วยหรือไม่
ความพยายามอย่างที่สามที่สร้างเสียงฮือฮาตอนประกาศ แต่ยังไม่พร้อมเริ่มใช้งานจริงๆ คือแนวคิด "สโตร์ซ้อนสโตร์" เปิดให้ร้านขายแอพอื่นๆ มาแทรกตัวอยู่ใน Microsoft Store ได้อีกที ซึ่งต้องถือว่าไมโครซอฟท์ใจป้ำสุดๆ แล้ว ตอนนี้มีสโตร์เข้าร่วมแล้ว 2 รายคือ Amazon Appstore (Android) และ Epic Games (Games) ต้องรอดูเช่นกันว่าพอของจริงมาแล้วจะเวิร์คขนาดไหน ถ้าสองรายนี้ประสบความสำเร็จ เราอาจเห็นสโตร์อื่นๆ (เช่น GOG หรือแม้แต่ Steam) ตามมาอีกเช่นกัน
Bugs & Updates
เท่าที่ลองใช้งานมาเกือบสัปดาห์ ผมเจอบั๊กอยู่บ้างประปราย เช่น การต่อจอนอกแล้วไอคอนบน Taskbar หายไป หรือบั๊กตอนสลับภาษาไทย-อังกฤษที่มีป๊อปอัพเลือกภาษาโผล่ขึ้นมา ส่วนบั๊กที่เป็นข่าวก็มีเรื่องประสิทธิภาพกับซีพียู AMD ตรงนี้คงเป็นเรื่องปกติของระบบปฏิบัติการออกใหม่
บั๊กไอคอนบน Taskbar หายเมื่อต่อจอนอก
นอกจากบั๊กแล้ว จากการใช้งานยังเห็นความไม่สมบูรณ์ของ Windows 11 ในหลายๆ จุด โดยเฉพาะอินเทอร์เฟซใหม่ที่ยังทำไม่เสร็จ ทำไม่ทัน โดยเฉพาะการใช้งานบน Dark Mode ที่มีความบกพร่องอยู่พอสมควร (แต่ดีขึ้นจาก Windows 10) พวกนี้คงต้องรอการแก้ไขจากไมโครซอฟท์ในลำดับต่อไป
ในยุคของ Windows 10 เราคุ้นเคยกับการออกรุ่นใหญ่ (Feature Update) ปีละสองครั้ง แต่พอมาเป็น Windows 11 ไมโครซอฟท์เปลี่ยนนโยบายมาเป็นปีละครั้งแทน โดยจะออกช่วงครึ่งหลังของทุกปี (เราคงพอประมาณได้คร่าวๆ ว่าทุกเดือนตุลาคม) เท่ากับว่าอัพเดตแรกของ Windows 11 จะมาในช่วงเดือนตุลาคม 2022 อีกประมาณหนึ่งปีถัดจากนี้
บทสรุป: ควรต้องอัพเกรดหรือยัง
ประสบการณ์ใช้งาน Windows 11 โดยรวมต้องถือว่าค่อนข้างน่าพอใจ ไม่มีอะไรแย่จนรับไม่ได้ ระบบปฏิบัติการเป็นแกนเดียวกับ Windows 10 ไม่มีปัญหาเรื่องเสถียรภาพและความเข้ากันได้กับแอพเดิมๆ (ถ้าฮาร์ดแวร์ผ่านเกณฑ์และสามารถติดตั้งได้)
แต่ Windows 11 ก็ไม่ได้มีอะไรใหม่ว้าวมากจนรู้สึกว่าต้องอัพเกรดทันทีเช่นกัน เพราะของใหม่เกือบทั้งหมดเป็นเรื่องส่วนติดต่อผู้ใช้ล้วนๆ มันเป็นการแสดงให้เห็นว่าไมโครซอฟท์กำลังต้องการก้าวไปสู่ทิศทางใหม่ ที่ได้อิทธิพลจาก OS ของอุปกรณ์พกพามากขึ้น
Windows 11 รุ่นแรกยังเป็นก้าวแรกในทิศทางใหม่ที่ว่านี้ แถมยังเป็นก้าวที่ไม่ค่อยสมบูรณ์เต็มที่นัก ยังมีจุดที่ยังขาดๆ อีกหลายจุด ดังนั้นถ้าไม่ได้เป็นคนที่สนใจของใหม่ที่สุดเสมอ แนะนำให้รออัพเกรดในปีหน้า 2022 เมื่อออกอัพเดตใหญ่ตัวแรกแล้วน่าจะดีที่สุดครับ |
# Eidos-Montreal ประกาศนโยบายทำงานสัปดาห์ละ 4 วัน ไม่เพิ่มชั่วโมง ไม่ลดเงินเดือน
Eidos-Montreal สตูดิโอหลักของ Eidos ในแคนาดา (ปัจจุบันเป็นบริษัทลูกของ Square Enix Europe) เป็นสตูดิโอเกมใหญ่รายแรกที่ประกาศนโยบายทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ (4-day work week)
Eidos-Montreal เป็นหนึ่งในสองสตูดิโอแบรนด์ Eidos (อีกแห่งคือ Eidos-Shanghai) และเป็นผู้รับผิดชอบพัฒนาเกมดังๆ อย่างซีรีส์ Deus Ex ภาคหลังๆ, Shadow of the Tomb Raider และล่าสุดคือ Marvel's Guardians of the Galaxy
บริษัทระบุว่าเริ่มใช้นโยบายทำงาน 4 วัน (หยุดทุกวันศุกร์) เพื่อให้พนักงานทำงานอย่างมีคุณภาพมากขึ้น การหยุดวันศุกร์เพิ่มไม่ได้เพิ่มจำนวนชั่วโมงในวันอื่น เพราะจำนวนการทำงานรวมลดลงจาก 40 ชั่วโมงเหลือ 32 ชั่วโมง และพนักงานทุกคนยังได้เงินเดือนเท่าเดิม
Eidos-Montreal บอกว่าถ้าลดจำนวนการทำงานลง แต่การทำงานมีคุณภาพมากขึ้น ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อผลลัพธ์แต่อย่างใด บริษัทยังพยายามลดระยะเวลาการประชุมลงจาก 1 ชั่วโมงเหลือเพียง 30 นาทีด้วย
ที่มา - Eidos-Montreal, VentureBeat |
# Epic Games แจกฟรีเกม PC Building Simulator มีคนกดรับสิทธิแล้ว 4 ล้านคน
Epic Games แจกฟรีเกมประกอบพีซี PC Building Simulator เกาะกระแสประกอบพีซีที่กำลังกลับมาแรงในช่วงหลัง เกมมีราคาเต็มตอนเปิดตัว 14.99 ยูโร (ราคาไทย 269 บาท) แจกถึงวันที่ 14 ตุลาคมนี้ กดรับสิทธิได้จาก Epic Games
หลังแจกเกมได้ไม่กี่วัน Epic Games ก็ประกาศว่ามีคนรับสิทธิเกมฟรีไปแล้ว 4 ล้านคน พร้อมทั้งนำเสนอขายชุด DLC ในราคาลดพิเศษ ซึ่งเป็นโมเดลธุรกิจของเกมที่มาแจกฟรีบน Epic Games ช่วงหลังคือ แจกเกมหลักฟรีเพื่อสร้างฐานผู้เล่น และหวังให้ผู้เล่นติดใจซื้อ DLC ต่อ
เกม PC Building Simulator พัฒนาโดย The Irregular Corporation ออกขายครั้งแรกในเดือนมกราคม 2019 โดยจับมือกับแบรนด์ฮาร์ดแวร์หลายราย เช่น ASRock, ASUS, Colorful, Cooler Master, Corsair, EVGA, Gigabyte, MSI นำสินค้าจริงๆ มาให้ประกอบกันเป็นพีซีในเกม แถมประกอบเสร็จแล้วยังสามารถนำไปเบนช์มาร์คกับ 3DMark ได้ด้วย
ที่มา - Eurogamer |
# Rockstar รีมาสเตอร์ GTA III, Vice City, San Andreas อัพเกรดกราฟิกและเกมเพลย์
Rockstar ประกาศรีมาสเตอร์เกม GTA ภาคเก่า 3 ภาค คือ Grand Theft Auto III , Grand Theft Auto: Vice City, Grand Theft Auto: San Andreas ในชื่อชุด Grand Theft Auto: The Trilogy – The Definitive ตรงตามข่าวลือก่อนหน้านี้
เกมชุดนี้จะลงสารพัดเครื่องในจักรวาลคือ PS4, PS5, Xbox One, Xbox Series X|S, Switch, PC มีกำหนดออกในเร็วๆ นี้ (รวมถึงยังมีเวอร์ชัน iOS และ Android ที่จะตามมาในปี 2022)
Rockstar บอกว่าการรีมาสเตอร์ครั้งนี้เป็นการฉลองครบ 20 ปีเกม GTA III ที่วางขายในเดือนตุลาคม 2001 และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของยุคทองซีรีส์ GTA โดยการรีมาสเตอร์จะมีทั้งการยกระดับกราฟิก และปรับปรุงเกมเพลย์ในบางจุด แต่ยังไม่บอกรายละเอียด และยังไม่โชว์ภาพหน้าตาของเกมเวอร์ชันรีมาสเตอร์ออกมาให้เห็นกัน
นอกจากนี้ Rockstar ยังจะถอดเกม GTA ทั้งสามภาคข้างต้นออกจากร้านดิจิทัลในเร็วๆ นี้ เพื่อนำเวอร์ชันรีมาสเตอร์มาขายแทน ดังนั้นใครที่อยากซื้อเกมเวอร์ชันเก่ามาเก็บสะสมไว้ก็ต้องรีบซื้อกันในช่วงนี้แล้ว
ที่มา - Rockstar |
Subsets and Splits
No community queries yet
The top public SQL queries from the community will appear here once available.