content
stringlengths 2
11.3k
| url
stringlengths 26
27
| title
stringlengths 3
125
|
---|---|---|
นักดาราศาสตร์สนใจศึกษาดวงอาทิตย์มาเป็นระยะเวลากว่า 400 ปีแล้ว ถึงคราวที่นาซาจะไปสำรวจท่านประธานของระบบสุริยะเสียที
ชื่อของภารกิจยานสำรวจดวงอาทิตย์ในครั้งนี้ มีชื่อว่า Solar Probe+ (โซลาร์โพรบพลัส) ตัวยานถูกออกแบบให้ทนต่อความร้อนจากดวงอาทิตย์ เพื่อที่จะสามารถพุ่งลงไปสำรวจชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ โดยจะเก็บตัวอย่างของลมสุริยะ และตรวจวัดสนามแม่เหล็กภายในชั้นบรรยากาศ นาซาวางแผนจะปล่อยยานลำนี้ในช่วงปี 2015 และจะสำเร็จภารกิจภายใน 7 ปีให้หลัง นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า Solar Probe+ จะช่วยแก้ข้อสงสัยสำคัญสองประการของนักดาราฟิสิกส์ นั่นคืออุณหภูิมิที่สูงมากของชั้นโคโรนา และปริศนาเรื่องการเร่งความเร็วของลมสุริยะ นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์หวังว่าจะมีการค้นพบใหม่ๆ ในระหว่างการเดินทางอีกด้วย
ห้องวิจัยฟิสิกส์ประยุกต์ (Applied Physics Lab) ของมหาวิทยาลัย John Hopkin จะเป็นผู้ออกแบบตัวยาน ซึ่งห้องวิจัยนี้ เคยมีประสบการณ์ในการออกแบบยานสำรวจดวงอาทิตย์
ในขั้นตอนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ Solar Probe+ จะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 7 ล้านกิโลเมตร หรือประมาณ 9 เท่าของรัศมีดวงอาิทิตย์ โล่ห์กันความร้อนซึ่งสร้างจากวัสดุผสมคาร์บอน จะต้องทนอุณหภูมิที่สูงกว่า 1,400 องศาเซลเซียส และต้องทนต่อการระเบิดของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งไม่มียานสำรวจดวงอาทิตย์ลำไหนเคยเจอมาก่อน
ที่มา - ScienceDaily
» Mr.JoH's blog
73 reads | https://jusci.net/node/659 | นาซาวางแผนไปเยี่ยมดวงอาทิตย์อีกครั้ง |
อะไรทำให้มนุษย์เรามีความแตกต่างจากลิงชิมแปนซี ? นักวิัจัยจาก European Molecular Biology Laboratory’s European Bioinformatics Institute (EMBL-EBI) ได้เข้าใกล้คำตอบดังกล่าวมากยิ่งขึ้น หลังจากที่มีการค้นพบข้อผิดพลาด ของเครื่องมือที่ใช้ในการเปรียบเทียบลำดับของรหัสพันธุกรรม เพื่อหาความสัมพันธุ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน และได้พัฒนาเครื่องมือตัวใหม่ ซึ่งแก้ไขข้อผิดพลาด และเพิ่มความเข้าใจในทฤษฏีวิวัฒนาการมากยิ่งขึ้น
เนื่องจากการวิวัฒนาการเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ทำให้นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถศึกษาโดยการสังเกตได้โดยตรง และก็เป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้ต้องเรียนรู้กลไกการวิวัฒนาการ และความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด โดยอาศัยการการเปรียบเทียบรหัสพันธุกรรม
การเปลี่ยนของรหัสพันธุกรรมเพียงไม่กี่ตัว ก็สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ไปจนถึงรุ่นลูกหลานได้ รหัสพันธุกรรมสามารถถูกแทนที่, สูญหาย, หรือถูกเพิ่มลงไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ทำให้โครงสร้างและการทำงาน ของยีนและโปรตีนเปลี่ยนแปลงไป และก่อให้เกิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ๆ ขึ้นมาบนโลก การเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เป็นการเปิดเผยความเข้าใจในวิวัฒนาการ
การเปรียบเทียบหลายลำดับ เริ่มต้นโดยการเรียงตำแหน่งของลำดับพันธุกรรม ลำดับของรหัสพันธุกรรมที่มีบรรพบุรุษร่วมกัน จะมีตัวอักษรเหมือนกัน ในขณะที่ลำดับที่มีการเพิ่มหรือสูญหาย จะถูกทำเครื่องหมายเป็นช่องว่าง กระบวนการเปรียบเทียบจะใช้พลังในการคำนวนสูงมาก การเปรียบเทียบจะเกิดข้อผิดพลาดขึ้น เมื่อมีลำดับพันธุกรรมที่ใช้เปรียบเทียบเกิดมีการเพิ่ม ในขณะที่ลำดับพันธุกรรมอีกอันเกิดมีการสูญหาย วิธีการแบบเดิมไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ และำนำไปสู่ข้อบกพร่องในการเข้าใจทฤษฏีวิวัฒนาการ
วิธีการแก้ปัญหาดังกล่าว นักวิจัยได้ใช้วิธีการ นำรหัสพันธุกรรมที่มีปัญหา ไปเปรียบเทียบกับสิ่งมีชีวิตที่มีรหัสพันธุกรรมใกล้เคียงกัน เช่น ถ้ากำลังเปรียบเทียบรหัสพันธุกรรมระหว่างมนุษย์กับลิงชิมแปนซีอยู่ แล้วเจอลำดับที่ไม่สามารถตัดสินได้ว่ามีการเพิ่มหรือสูญหาย เครื่องมือที่ได้รับการพัฒนามาใหม่ ก็จะไปเรียกข้อมูลที่เหมือนกันของสิ่งมีชีวิตที่ใกล้เคียงที่สุด เช่น กอริลลาหรือค่าง ถ้าเกิดมีช่องว่างเหมือนกับลิงชิมแพนซี ก็แสดงว่ารหัสพันธุกรรมของมนุษย์มีการเพิ่มขึ้นมา
ผลจากวิธีการใหม่ ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทราบว่า การเพิมของรหัสพันธุกรรมมีโอกาสเกิดขึ้นได้มากกว่าที่เคยคิดไว้ ในขณะที่การสูญหายของรหัสพันธุกรรมก็มีค่ามากเกินไปจากวิธีแบบเก่า
ที่มา - EurekAlert
» Mr.JoH's blog
220 reads | https://jusci.net/node/660 | แก้ข้อผิดพลาดของคอมพิวเตอร์ทำให้เข้าใจทฤษฏีวิวัฒนาการได้ดีขึ้น |
44
voted
ภาพก้อนวัตถุสีขาวที่ได้จากยานสำรวจดาวอังคาร “ฟีนิกซ์” เป็นที่ถกเถียงกันว่าเป็นอะไรกันแน่ บางคนบอกว่าน่าจะเป็นเกลือ บางคนบอกว่าน่าจะเป็นน้ำแข็ง วันนี้ได้รับคำตอบแล้ว
ข้อความทวิตเตอร์ของฟีนิกซ์ ซึ่งถูกส่งออกมาเมื่อประมาณ 7 โมงเช้า (เวลาประเทศไทย)ได้ประกาศการค้นพบน้ำแข็งบนดาวอังคาร โดยมีข้อความดังนี้
Are you ready to celebrate? Well, get ready: We have ICE!!!!! Yes, ICE, WATER ICE on Mars! w00t!!! Best day ever!!
รายงานอย่างเป็นทางการของนาซา รายงานว่า วัตถุสีขาวที่คิดว่าเป็นเหลือ ตอนนี้ได้ระเหิดหายไปแล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นว่าวัตถุดังกล่าวต้องเป็นน้ำแข็งแน่ๆ ไม่ใช่เกลือ (เกลือไม่สามารถระเหิดได้)
การค้นพบน้ำบนดาวอังคาร สร้างความหวังให้แน่นักวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก เนื่องจากในอนาคต เราอาจสามารถเดินทางไปยังดาวอังคาร โดยสามารถลดภาระการบรรทุกน้ำลงไปได้ นอกจากนี้อาจมีโอกาสที่จะเจอสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำอีกด้วย
ที่มา - Mar Pheonix Tweet
» Mr.JoH's blog
151 reads | https://jusci.net/node/661 | นาซาได้เฮ ฟินิกซ์พบน้ำบนดาวอังคาร |
หนังสือสามารถเก็บตัวอักษรที่ถูกพิมพ์หรือเขียนเอาไว้ได้ ก็เพราะอะตอมของของแข็งไม่สามารถเคลื่อนที่ได้มากนัก ซึ่งทำให้ตัวอักษรและรูปภาพสามารถคงอยู่ได้นานนับศตวรรษ แต่การพยายามเก็บรูปภาพหรือตัวอักษรไว้ในตัวกลางที่เป็นแก๊ส ทำได้ลำบากมาก เนื่องจากอะตอมสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ
แต่ไม่มีสิ่งใดยากเกินความพยายาม เมื่อนักฟิสิกส์จาก Technion-Israel Institute of Technology ร่วมมือกัีบ Weizmann Institute of Science ประเทศอิสราเอล ได้ทำการสาธิตวิธีเก็บภาพไว้ในกลุ่มไอของอะตอม ซึ่งวิธีการดังกล่าว ตั้งอยู่บนคุณสมบัติพื้นฐานของแม่เหล็กไฟฟ้าและความโปร่งแสง นักวิจัยสามารถเก็บรูปภาพที่มีความซับซ้อน ไว้ได้เป็นเวลาประมาณ 30 มิลลิวินาที ในกลุ่มแก๊สของธาตุ รูบิเดียม (Rubidium) และเพื่อให้คุณภาพที่ดีกว่าเดิม นักวิจัยยังพัฒนา วิธีการลดผลกระทบจากการกระจายของอะตอมในแก๊สอีกด้วย
ในขั้นตอนแรก นักวิจัยจต้องทำการเก็บรูปภาพที่ต้องการไว้ในลำแสง เมื่อลำแสงไปกระทบอะตอมของแก๊ส จะทำให้เกิดการดูดซึมและกระตุ้นอะตอม แต่เมื่อลำแสงที่สองถูกฉายไปที่แก๊สดังกล่าว จะทำให้อะตอมอยู่ในสถานะพิเศษ ทำให้ลำแสงแรกผ่านกลุ่มของแก๊สไป จากกหลักการทำงานดังกล่าว เมื่อหยุดฉายลำแสงที่สอง ลำแสงแรกก็จะหยุดและถูกเก็บไว้อย่างชั่วคราวในกลุ่มไอ และเมื่อมีการฉายลำแสงที่สองอีกครั้ง ลำแสงแรกก็จะได้คืนกลับมา
ประโยชน์ของเทคนิคดังกล่าว สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุปกรณ์สารสนเทศแบบควอนตัม, หน่วยความจำแบบควอนตัม เป็นต้น
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
121 reads | https://jusci.net/node/662 | นักฟิสิกส์เก็บรูปภาพไว้ในแก๊ส |
เหตุการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง ที่ปรากฏอยู่ในมหากพย์ชื่อดังของกรีก โอดิสซีย์ ช่วยใหันักดาราศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถระบุถึงช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ ในการล่มสลายของกรุงทอย รายงานในเอกสารรวมเล่มของ National Academy of Sciences
นักประวัติศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญวัฒนธรรมกรีก ได้ถกเถียงกันมาเป็นเวลานานนับศตวรรษ ถึงเหตุการณ์สุริยุปราคาที่เกิดขึ้นในในโอดิสซีย์ ว่าเกิดขึ้นจริงหรือไม่ เนื่องจากไม่สามารถหาหลักฐานอ้างอิงทางประวัติศาสตร์อื่นๆ มาอ้างอิงยืนยันได้
แต่จากการศึกษาของนักดาราศาสตร์สองคน Marcelo Magnasco จากมหาวิทยาลัย Rockefeller และ Constantino Baikouzis จาก Observatorio Astronomico อาร์เจนตินา ได้อาศัยเหตุการณ์ทางดาราศาสตร์ 4 เหตุการณ์ ที่ถูกมองข้ามในมหากาพย์เรื่องนี้ ซึ่งสามารถทำให้ความขัดแย้งเรื่องเวลาหมดสิ้นไป
หลังจากที่โอดิซุสเสร็จสิ้นสงครามจากเมืองทรอย และพยายามไปฆ่ากลุ่มคนพาล ซึ่งพยายามฟ้องร้องขอแต่งงานกับพีเนโลป ภรรยาของเขา ในระหว่างการกลับบ้านก็ได้เกิดเหตุการณ์ดต่างๆ คือ
จันทร์เต็มดวงก่อนวันที่โอดิซุสเดินทางกลับ ซึ่งเป็นเงื่อนไขในการเกิดสุริยุปราคา
6 วันก่อนการสังหารหมู่ ดาวศุกร์ส่องสว่างและอยู่สูงจากขอบฟ้า
29 วันหลังจากนั้น กลุ่มดาวลูกไก่และกลุ่มดาววัวสามารถมองเห็นได้ในช่วงดวงอาทิตย์ตก
สุดท้าย 33 วันหลังจากการสังหารหมู่ ดาวพุธอยู่สูงจากขอบฟ้าและอยูทางทิศตะวันตกเมื่อสุดวงโคจร
เหตุการณ์ทั้งสี่เหตุการณ์ ไม่สามารถเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันได้ นักดาราศาสตร์เลยมองไปในช่วงเวลา 100 ปี ของการเสื่อมสลายของเมืองทรอย เพื่อหาลำดับเหตุการณ์ที่ตรงตามหากาพย์ ซึ่งมีเพียงวันเดียวเท่านั้นที่ตรงกับข้อมูลที่มีอยู่ นั่นคือวันที่ 16 เมษายน 1178 ปีก่อนคริศต์ศักราช
วันเวลาดดังกล่าว ช่วยให้นักประวัติศาสตร์สามารถระบุช่วงเวลา การล่มสลายของเมืองทรอย ซึ่งทำให้เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในมหากาพย์ทั้งสองอย่าง โอดีสซีย์ และ อีเลียด สามารถระบุช่วงเวลาที่ถูกต้องได้
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยทั้งสองได้ย้ำเตือนว่า ความน่าเชื่อถือมาจากเนื้อเรื่องในมหากาพย์เอง และข้อสรุปที่ได้ก็ค่อนข้างจะเป็นสมมุติฐานค่อนข้างมาก
เนื่องจากผมไม่เคยอ่านทั้ง โอดีสซีย์ และ อีเลียด ถ้าหากมีข้อผิดพลาดเรื่องไหน ก็ขออภัยด้วยครับ
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
196 reads | https://jusci.net/node/663 | นักดาราศาสตร์ช่วยไขประวัติศาสตร์ของมหากาพย์โอดิสซีย์ |
รัฐบาลของเยอรมันนีและกลุ่มอุตสาหกรรม รวมถึงผู้ผลิตรถยนต์ยี่ห้อดังอย่าง โฟล์คสวาเกน ได้ประกาศสนับสนุนโครงการที่จะกระตุ้นการพัฒนายานพาหนะไฮบริด ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าเดิม
Sigmar Gabriel รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อม ได้อนุมัติงบประมาณจำนวน 15 ล้านยูโร ในโครงการที่มีระยะเวลา 4 ปี สำหรับต้นแบบที่สามารถชาร์จแบตเตอรี โดยใช้พลังงานที่สามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ เช่น พลังงานลมหรือพลังงานแสงอาทิตย์ และมีเป้าหมายรอง ในการปรับปรุงแบตเตอรีให้มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
สำหรับโฟล์คสวาเกน วางแผนที่จะเปิดเผยต้นแบบของรถกอล์ฟ "Twin Drive" ซึ่งเป็นรถแบบไฮบริด นอกจากนี้กลุ่มพลังงานอย่าง EON ยังเข้าร่วมในโครงการนี้อีกด้วย
Ferdinand Dudenhoeffer ผู้เชี่ยวชาญในวงการอุตสาหกรรมรถยนต์ของเยอรมัน ได้ทำนายว่า ในปี 2025 รถยนต์ทั้งหมดที่จำหน่ายในยุโรป จะเป็นรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งหมด
แล้วโครงการของไทยล่ะ เมื่อไหร่จะได้เกิด ?
ที่มา - Physorg | https://jusci.net/node/664 | เยอรมันนีออกโครงการสนับสนุนยานพาหนะไฮบริด |
“อยากเพิ่มเสียงของดีวีดีน่ะเหรอ กรอกตาขึ้นบนสิ, อยากจะเปิดคอมพิวเตอร์น่ะเหรอ กรอกตาไปทางซ้ายสิ” ข้อความข้างต้นอาจจะยังไม่เป็นจริงในปัจจุบัน แต่บริษัทมือถือชั้นนำของญี่ปุ่น อาจทำให้มันเป็นจริงได้ในอนาคตอันใกล้นี้
นักวิจัยจาก NTT DoCoMo บริษัทมือถือชั้นนำของญี่ปุ่น ได้สาธิตการใช้อุปกรณ์ที่สวมอยู่บนศีรษะของผู้ใช้งาน ซึ่งสามารถตรวจจับการการเคลื่อนไหวของลูกตา ให้อยู่ในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า นอกจากนี้ยังมีการสาธิตเทคโนโลยีอื่นๆ ซึ่งใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในการควบคุมการใช้งานของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอีกด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม หัวหน้านักวิจัยยังไม่สามารถบอได้ว่าอุปกรณ์ดังกล่าว สามารถจะวางขายตามท้องตลาดได้เมื่อไหร่
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
98 reads | https://jusci.net/node/665 | ญี่ปุ่นพัฒนาระบบควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยสายตา |
11
voted
นักวิจัยจามหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของการดื่มกาแฟและ GGT ซีรัม กับความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งตับ โดยนักวิจัยได้ศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างชาวฟินแลนด์จำนวนกว่า 60,323 คน และมีอายุระหว่าง 25 ถึง 74 ปี ไม่มีประวัติการเป็นมะเร็ง โดยทำการสำรวจตั้งแต่ปี 1972 และ ปี 2002 ถึงปี 2006
ผู้เข้ารับการทดสอบ จะต้องตอบคำถามว่าดื่มกาแฟวันละกี่แก้ว โดยจะแบ่งตั้งแต่ 0-1 แก้ว, 2-3 แก้ว, 4-5 แก้ว, 6-7 แก้ว และ 8 แก้วหรือมากกว่า ซึ่งหลังจากการติดตามผลค่ามัธยฐานเป็นเวลา 19.3 ปี พบว่าผู้เข้าร่วมทดสอบเพียงแค่ 128 คน เท่านั้นที่เป็นมะเร็งตับ
นักวิจัยพบความสัมพันธ์แบบผกผัน ระหว่างปริมาณการดื่มกาแฟและโอกาสที่จะเกิดมะเร็งตับแบบปฐมภูมิ (คือมะเร็งที่ไม่ได้แพร่มาจากส่วนอื่น)โดยมีอัตราส่วนความเสี่ยงหลายตัวแปรของผู้ที่ดื่มกาแฟมากกว่า โดยมีรูปแบบของข้อมูลคือ 1.00, ถึง .66, ถึง .44, ถึัง .38, ถึง .32 ตามลำดับ ซึ่งกลไกความสัมพันธ์ดังกล่าว ยังคงสร้างปริศนาให้แก่นักวิทยาศาสตร์มาจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนี้ นักวิจัยยังค้นพบอีกว่า ปริมาณ GGT ซีรัม จะมีความสัมพันธ์กับโอกาสในการเป็นมะเร็ง ยิ่งปริมาณ GGT สูง ก็จะมีโอกาสเป็นมะเร็งมากขึ้น แต่สำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟ โอกาสในการเป็นมะเร็งตับจะลดลง ไม่ว่าจะมีปริมาณ GGT สูงขึ้นหรือไม่ก็ตาม ซึ่งเป็นเหตุผลในการพิสูจน์ว่า การดื่มกาแฟสามารถช่วยลดการเป็นมะเร็งตับได้จริง
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
17 reads | https://jusci.net/node/668 | ดื่มกาแฟลดโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ |
ผลการวิเคราะห์ดินที่ยานสำรวจดาวอังคาร "ฟีนิกซ์" ขุดได้ นักวิทยาศาสตร์พบว่า ดินดังกล่าวมีส่วนประกอบของสารจำพวก แมกนีเซียม, โซเดียม, โพแทสเซียม และสารประกอบของคลอรีน โดยมีค่า pH อยู่ที่ประมาณ 8 ซึ่งจากคุณสมบัติของดินที่วิเคราะห์ได้ ทำให้สามารถนำดินจากดาวอังคารมาใช้ปลูกพืชบนโลกได้ (ในข่าวยกตัวอย่างแอสพารากัส) แต่เนื่องด้วยสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมของดาวอังคาร ทำให้การปลูกพืชบนดาวอังคาร ก็ยังคงต้องรอต่อไป
ที่มา - เรียบเรียงจาก MarPhoenix Tweet | https://jusci.net/node/669 | ผลการวิเคราะห์ดินของฟินิกซ์บางส่วน |
งานวิจัยเรื่องพฤติกรรมรักร่วมเพศ จากมหาวิทยาลัย Queen Mary และ Karolinska Instituet ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Archives of Sexual Behavior ได้บ่งชี้อย่างชัดเจนว่าพฤติกรรมรักร่วมเพศ นั้นเกิดมาจากปัจจัยทางด้านพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม รวมถึงกระบวนการพัฒนาทางชีววิทยา เช่นการมีฮอร์โมนที่แตกต่างออกไประหว่างอยู่ในครรภ์
ทีมวิจัยได้สำรวจกลุ่มคู่แฝดทั้งหมด 3,286 คู่ (7,652 คน)ซึ่งมีทั้งแฝดแท้และแฝดเทียม โดยกลุ่มตัวอย่างมีอายุระหว่าง 20-47 ปี ทั้งนี้เพื่อดูความแตกต่างทางพันธุกรรมและสภาพแวดล้อมในการเลี้ยงดู ซึ่งผลจากการเปรียบเทียบระหว่างแฝดแท้และแฝดเทียมให้ผลปรากฏว่า พันธุกรรมนั้นมีผลในบางส่วน
กลุ่มตัวอย่างจะได้รับการถามถึงจำนวนคู่นอน ทั้งต่างเพศและเพศเดียวกันที่เคยมีมา ผลที่ได้ปรากฏว่า 35% ของชายที่เคยมีคู่นอนเป็นเพศเดียวกัน มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม และ 64% นั้นมาจากสภาพแวดล้อม (ไม่เกี่ยข้องกับสังคม, ทัศนะคติ หรือการเลี้ยงดู) หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ สาเหตุที่ทำให้ผู้ชายรักเพศเดียวกัน นั้นมีหลายหนทาง ไม่ใช่แต่เพียงหนทางใดหนทางหนึ่ง
แต่สำหรับเพศหญิง ผลที่ได้นั้นต่างออกไปพอสมควร 18% นั้นเกิดมาจากพันธุกรรม 64% เกิดจากสภาพแวดล้อมที่ไม่ได้ใช้ร่วมกัน และ 16% เกิดจากสภาพแวดล้อมเดียวกัน (ครอบครัว, สังคม)
นักวิจัยสรุปผลที่ได้ว่า ในเพศหญิง ปัจจัยด้านพันธุกรรมและครอบครัวนั้นมีผลพอๆ กัน โดยที่สภาพแวดล้อมอื่นๆ นั้นมีผลมากที่สุด ส่วนในเพศชาย สภาพครอบครัวหรือการเลี้ยงดูแทบจะไม่มีผลกระทบเลย แต่เกิดจากพันธุกรรมและสภาพแวดล้อมทางชีววิทยามากกว่า
แต่อย่างไรก็ตาม นักวิจัยได้เตือนว่า งานวิจัยชิ้นนี้ยังไม่ใช่ข้อสรุปที่แน่นอนสำหรับพฤติกรรมรักร่วมเพศ เนื่องจากความแตกต่างระหว่างชายหญิงเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศ
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
151 reads | https://jusci.net/node/670 | พฤติกรรมรักร่วมเพศมีสาเหตุเพราะพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม |
งานวิจัยเรื่อง “The Natural Order of Event: How Speaker of Different Language Represent Events Nonverbally” ซึ่งนำเสนอในเอกสารรวมเล่ม ในการประชุม National Academy of Sciences ได้นำเสนอผลการวิจัย ว่าในการใช้ท่าทางในการสื่อสาร ไม่ว่าภาษาใดชนชาติใด ก็จะมีลำดับของคำที่ใช้และไวยากรณ์ที่เหมือนกัน
ทีมนักวิจัย ได้ทำการทดสอบผู้พูดจำนวน 40 คน จากภาษาที่แตกต่างกัน ได้แก่ อังกฤษ, จีนแมนดาริน, สเปน และตุรกี ผู้ที่ถูกทดสอบจะต้องดูวีดีโอลำดับเหตุการณ์แบบง่ายๆ และให้ผู้ที่ถูกทดสอบจะต้องอธิบายการกระทำในวีดีโอโดยใช้ภาษาพูด แล้วตามด้วยการใช้ท่าทางในการอธิบาย นอกจากนี้ยังมีแผ่นใสที่มีรูปในเหตุการณ์ประกอบด้วย โดยเหตุการณ์ในวีดีโอคือ ผู้หญิงโบกมือ, เป็ดเดินไปยังรถเข็น, ผู้หญิงขันน็อต และ เด็กผู้หญิงเอาดอกไม้ให้ผู้ชาย
เมื่อนักวิจัยให้ผู้ร่วมทดสอบอธิบายลำดับเหตุการณ์ในวีดีโอ ผู้ร่วมทดสอบที่พูดภาษา อังกฤษ, จีน, สเปน จะอธิบายโดยใช้ ประธาน, กริยา และ กรรม (ผู้หญิงขันน๊อต) ตามลำดับ ในขณะคนที่พูดภาษาตุรกี จะอธิบายโดยใช้ ประธาน, กรรม, กริยา (ผู้หญิงน็อตขัน) ตามลำดับ
แต่เมื่อให้ผู้ร่วมทดสอบแต่ละคน อธิบายเหตุการณ์ในวีดีโอเดียวกัน โดยให้ใช้มือเพียงอย่างเดียวในการอธิบาย ผู้ร่วมทดสอบทุกคนจะอธิบายโดยใช้ ประธาน, กรรม, กริยา (ผู้หญิงน็อตขัน) และเมื่อนักวิจัยให้อธิบายโดยการนำแผ่นใสมาประกอบกันเป็นเรื่องราว ผู้คนส่วนมากก็มีแนวโน้มที่จะอธิบายอยู่ในรูป ประธาน, กรรม, กริยา เหมือนกัน
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
14 reads | https://jusci.net/node/672 | เมื่อพูดกันด้วยมือ ไวยากรณ์ภาษาไหนก็เหมือนกัน |
6
voted
ผลจากการศึกษาชิ้นล่าสุดโดยนักวิทยาศาสตร์จาก Oklahoma Medical Research Foundation ได้ค้นพบว่า การดื่มกาแฟทุกวัน อาจะช่วยป้องกันอาการของโรค มัลติเพิล สเกลอโรซิส (Multiple Scierosis หรือ MS)
นักวิจัยพบว่า หากให้คาเฟอีนกับหนู ปริมาณเทียบเท่ากับกาแฟขนาด 6-8 แก้วต่อวัน จะทำให้หนูทดลองไม่เกิดอาการของโรคแต่อย่างใด การค้นพบดังกล่าวอาจเป็นหนทางใหม่ ในการป้องกันและรักษาอาการของโรคดังกล่าวได้
อย่างไรก็ตามหัวหน้าทีมวิจัยออกมาเตือนว่า งานวิจัยชิ้นนี้ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น นักวิจัยยังต้องการข้อมูลอีกมาก เช่น ข้อมูลของปริมาณคาเฟอีนที่ร่างกายได้รับกับผลกระทบต่อโรค เป็นต้น
สำหรับใครที่สงสัยว่าเจ้าโรค มัลติเพิล สเกลอโรซิส มันคืออะไร สามารถไปดูข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ เอ็มเอสไทย
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
8 reads | https://jusci.net/node/673 | ดื่มกาแฟช่วยป้องกันโรค Multiple scierosis |
ยานสำรวจดาวอังคาร “ฟีนิกซ์” ได้ทำการขุดหลุม “สโนว์ ไวท์” เพิ่มเติม และขุดชิ้นส่วนของดิน ที่มีน้ำแข็งเป็นส่วนประกอบขึ้นมาวิเคราะห์ เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา นับเป็นภารกิจวันที่ 33 (เวลาของดาวอังคาร) นักวิทยาศาสตร์ได้ออกมาบอกว่า ชิ้นส่วนที่ขุดได้นี้ค่อนข้างจะสมบูรณ์เพียงพอที่จะนำมาวิเคราะห์ ด้วยเครื่องมือบนตัวยาน
ฟีนิกซ์ ได้ใช้ใบมีดที่ติดอยู่บนแขนกลของตัวยาน ได้แบ่งชั้นน้ำแข็งซึ่งถูกปกคลุมไปด้วยดินออกเป็น 50 ส่วน มีขนาดประมาณ 10 ถึง 20 ลูกบาศก์เซนติเมตร (ปริมาตรประมาณ 2-4 ช้อนชา) มีความลึกประมาณ 2 มิลลิเมตร
ชิ้นส่วนน้ำแข็งที่ได้ จะถูกนำไปวิเคราะห์ด้วย Themal and Evolved-Gas Analyzer (TEGA) เครื่องมือดังกล่าวเป็นเตาอบขนาดเล็ก ซึ่งสามารถวิเคราะห์ส่วนประกอบต่างๆ ได้ และที่สำคัญคือ สามารถบอกจุดหลอมเหลวของน้ำแข็งได้
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
101 reads | https://jusci.net/node/674 | ฟินิกซ์ขุดน้ำแข็งบนดาวอังคารขึ้นมาวิเคราะห์ |
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย (University of Pensylvania) ได้สร้างอุปกรณ์เก็บข้อมูล ที่อยู่บนพื้นฐานของลวดนาโน (Nanowire) ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลเป็นจำนวนบิตได้มากกว่าหน่วยความจำแบบทั่วไป แทนที่จะเก็บข้อมูลอยู่ในรูปของ “0”, “1” ก็จะสามารถเก็บได้เป็น “0”, “1” และ “2” ความสามารถดังกล่าว นำไปสู่การพัฒนาอุปกรณ์เก็บข้อมูลรุ่นถัดไป ซึ่งมีความจุของข้อมูลสูงกว่าเดิม
ลวดนาโนที่ทางทีมวิจัยนำมาใช้ มีลักษณะโครงสร้างคล้ายกับสาย โคแอ็กเชียล (Coaxial) โดยส่วนของแกนทำด้วยสารประกอบระหว่าง เจอร์เมเนียม, เงิน, เทลลูเรียม หรือ Ge2Sb2Te5 ในขณะที่ส่วนนอกสร้างมาจาก เจอร์มันเนียม เทลลูไรด์ หรือ GeTe
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงความร้อนให้กับลวดนาโน ส่วนของแกนและเปลือกจะเปลี่ยนจากผลึก กลายเป็นรูปร่างที่ไม่แน่นอน ซึ่งสองสถานะนี้จะมีความต้านทานไฟฟ้าที่แตกต่างกัน ความต้านทานไฟฟ้าต่ำเมื่อแก่นและเปลือกอยู่ในสภาวะเป็นผลึก และจะมีความต้านทานสูงเมื่อทั้งแก่นและเปลือกอยู่ในสภาวะไร้รูปร่าง (Amorphous) ซึ่งจะนำมาใช้แทนค่าบิต 0 และ 1
บิตที่สามจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ แกนมีสถานะเป็นผลึกและเปลือกมีสภาวะไร้รูปร่าง (หรือกลับกัน) ซึ่งให้ค่าความต้านทานที่ต่างออกไป
นอกจากความจุที่เพิ่มสูงขึ้นแล้ว การใช้ลวดนาโนสามารถช่วยลดขนาดของอุปกรณ์ลงได้ และการผลิตหน่วยความจำสามารถทำได้มากขึ้น เนื่องมาจากขนาดที่เล็กลงนั่นเอง
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
271 reads | https://jusci.net/node/675 | ลวดนาโนช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของหน่วยเก็บข้อมูล |
ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ถือได้ว่าเกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้งมากที่สุดในโลก เพื่อลดความสูญเสียที่เกิดจากแผ่นดินไหว ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ญี่ปุ่นตัดสินใจปรับปรุงประสิทธิภาพในการตรวจจับแผ่นดินไหวให้ดีกว่าเดิม
ระบบใหม่ที่ได้รับการปรับปรุง จะถูกติดตั้งใต้ท้องมหาสมุทร โดยมีความลึกประมาณ 1,000 ถึง 2,000 เมตร เพื่อที่จะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการสั่นไหวของแผ่นเปลือกโลกในบริเวณนั้น ข้อมูลที่เก็บได้ จะถูกส่งผ่านสายเคเบิลใยแก้วความเร็วสูง จากใต้ท้องมหาสมุทร ไปยังสถานีที่อยู่บนพื้นดิน
ระบบสายเคเบิลดังกล่าว จะเชื่อมโยงเข้ากับอุปกรณ์ตรวจวัดแผ่นดินไหวจำนวน 5 ตัว และอุปกรณ์ตรวจวัดคลื่นสึนามิอีก 3 ตัว โดยมีบริษัท NEC เป็นผู้ทำสัญญา
หลังจากที่ระบบถูกติดตั้งเสร็จเรียบร้อย ญี่ปุ่นก็จะมีอุปกรณ์ตรวจจับแผ่นดินไหวใต้ท้องทะเลถึง 9 ตัว และอุปกรณ์ตรวจจับคลื่นสึนามิอีก 4 ตัว การติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมนี้ ทำให้กรมอุตุนิยมวิทยาของญี่ปุ่น สามารถเก็บข้อมูลของแผ่นดินไหวใต้มหาสมุทรได้ดียิ่งขึ้น
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
128 reads | https://jusci.net/node/676 | ญี่ปุ่นปรับปรุงระบบติดตามแผ่นดินไหว |
ผู้เชี่ยวชาญระดับสูงเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของยูเอ็น Yvo de Boer ได้ให้สัมภาษณ์ถึงวิกฤติการน้ำมันแพง ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันว่า มีผลดีต่อสิ่งแวดล้อม
Yvo de Boer ได้ให้ัสัมภาษณ์กับ AFP ว่า ราคาน้ำมันแพง ทำให้ยุโรปและอเมริการลดปริมาณการใช้น้ำมันลง นอกจากนี้ ยังเป็นการเร่งการพัฒนาพลังงานทางเลือก โดยเฉพาะการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ Yvo de Boer ยังให้ความเห็นเพิ่มเติมอีกว่า ราคาน้ำมันแพง ทำให้การสกัดน้ำมันจากแหล่งน้ำมันที่ทำได้ยาก เช่น หินน้ำมัน มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งการนำพลังงานจากแหล่งดังกล่าวเป็นเรื่องที่น่ากังวล เนื่องจากจะเป็นการเพิ่มมลภาวะให้กับโลกมากยิ่งขึ้น
ถึงแม้จะพูดความจริง แต่สิ่งที่พูดคงไปขัดหูใครหลายๆ คน
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
98 reads | https://jusci.net/node/677 | ผู้เชี่ยวชาญยูเอ็นมองโลกในแง่ดี ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงมีส่วนช่วยลดโลกร้อน |
เชื้อเพลิงชีวภาพ ทำให้ราคาอาหารทั่วโลกสูงขึ้นกว่า 75% ตามรายงานที่ไม่ได้รับการเปิดเผยของธนาคารโลก ข่าวดังกล่าวตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์การ์เดียน เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา
หนังสือพิมพ์การ์เดียนกล่าวว่า รายงานฉบับดังกล่าวเสร็จสมบูรณ์ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา แต่ไม่ได้ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ เพื่อต้องการไม่ให้รัฐบาลสหรัฐเสียหน้า เนื่องจากเคยพูดไว้ว่า เชื้อเพลิงชีวภาพทำให้ราคาอาหารเพิ่มขึ้นเพียง 3%
รายงานฉบับนี้กล่าวว่า การเติบโตอย่างรวดเร็วของประเทศที่กำลังพัฒนา ไม่ได้เป็นการเพิ่มบริโภคพืชที่ใช้เป็นอาหารแต่อย่างใด และไม่ได้องค์ประกอบหลักในการเพิ่มของราคาอาหารด้วย นอกจากนี้ความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นในประเทศออสเตรเลีย ก็ไม่ได้มีผลกระทบอะไรมากมายนัก
ในทางตรงข้าม สหภาพยุโรปและสหรัฐต่างหากที่เป็นปัจจัยทำให้ราคาของอาหารสูงขึ้น โดยเฉพาะสภาพยุโรป ซึ่งมีการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพสูงขึ้นกว่า 10% ในปี 2020
เฉพาะประเทศอังกฤษเพียงประเทศเดียว น้ำมันทุกชนิดที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพ มีอัตราการใช้งานสูงขึ้นกว่า 2.5% ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา
นอกจากนี้ รายงานฉบับนี้ยังให้ความเห็นที่น่าสนใจว่า ถ้าไม่มีการเพิ่มการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพทั่วโลก ปริมาณข้าวโพดและข้าวสาลีที่สะสมอยู่ก็น่าจะมีเพียงพอ และราคาที่สูงขึ้นจากปัจจัยอื่นก็อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง
ความต้องการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพยังบิดเบือนราคาตลาด ราคาที่สูงขึ้นของพืชพลังงาน ทำให้เกษตรกรหันมาสนใจปลูกพืชพลังงาน แทนพืชที่ใช้ในการบริโภค
แต่อย่างไรก็ตาม การแปรรูปน้ำตาลอ้อยเป็นเอทานอลของบราซิล กลับไม่ได้ส่งผลกระทบต่อราคาอาหารมากนัก
ในรายงานยังบอกอีกว่า ค่าวัสดุเชื้อเพลิงและปุ๋ยที่เพิ่มขึ้น มีส่วนเพิ่มราคาอาหารเพียง 15% เท่านั้น ในขณะที่เชื้อเพลิงชีวภาพ มีส่วนทำให้ราคาอาหารเพิ่มกว่า 75%
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
178 reads | https://jusci.net/node/678 | รายงานจากธนาคารโลกเผย อาหารแพงเพราะเชื้อเพลิงชีวภาพ |
นักวิจัยชาวสวิสเซอแลนด์ พบว่าในการผ่าตัดปลูกถ่ายเนื้อเยื่อ 200,000 ครั้ง โอกาสที่จะล้มเหลวเพิ่มขึ้น 8% เมื่อมีการผ่าตัดเปลี่ยนไตในผู้หญิง โดยไตที่ได้รับบริจาคนั้นมาจากผู้ชาย
นักเขียนในนิตยสารทางการแพทย์ The Lancet กล่าวว่า ในอนาคต การปลูกถ่ายอวัยวะควรทำในคนเพศเดียวกัน
แนวคิดเรื่อง “เพศ” ของผู้บริจาคเนื้อเยื่อ ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของผู้ได้รับบริจาค ไม่ใช่เรื่องใหม่
ในการปลูกถ่าย stem cell ผู้ชายที่ได้รับเซลล์มาจากผู้หญิง ก็จะมีความเสี่ยงในการปฏิเสธเนื้อเยื่อของผู้บริจาค (graft-versus-host disease)
อย่างไรก็ตาม ยังมีการถกเถียงถึงประเด็นเรื่อง เพศ ที่ส่งผลต่อการปลูกถ่ายอวัยวะ นี้อย่างหลากหลาย สามารถติดตามอ่านได้ใน BBC Health
» chobits_nizzy's blog
128 reads | https://jusci.net/node/679 | เพศมีผลกระทบต่อการปลูกถ่ายอวัยวะ |
US Media รายงานว่า ชายชาวอเมริกันนายหนึ่งให้กำเนิดลูกสาว
ชายคนนี้ชื่อ Thomas Beatie อายุ 34 ปี เกิดมาเป็นหญิง แต่ภายหลังได้ทำการผ่าตัดแปลงเพศเป็นผู้ชาย โดยทำการผ่าตัดเต้านมออก แต่ยังเก็บเครื่องในไว้(อันได้แก่ มดลูก และอวัยวะที่อยู่ในระบบสืบพันธุ์เพศหญิงทั้งมวล)ให้กำเนิดลูกสาวเรียบร้อยแล้ว
ขณะนี้ นายBeatie และลูกสาวกำลังมีความสุขอยู่ในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งที่เมือง Bend ใน Oregon
ชายชาวมะกันรายนี้ท้องจากการใช้น้ำอสุจิ จากการบริจาคโดยบุคคลผู้ไม่ประสงค์ออกนาม และให้กำเนิดลูกสาวด้วยการคลอดแบบธรรมชาติ
การมีลูกเป็นความใฝ่ฝันของ Beatie ดังเช่นที่เค้าเคยพูดว่า “ผมเลือกที่จะเก็บอวัยวะสืบพันธุ์ของผมไว้ เพราะผมต้องการมีลูกในสักวันหนึ่ง”
นอกจากนี้ นาย Beatie บอกกับนิตยสาร People ว่า เค้าเริ่มมีชีวิตแบบผู้ชายและ แปลงเพศขณะอายุ 20 ปี อย่างไรก็ตามขณะนี้ Beatie แต่งงานมานาน 5 ปีแล้วและภรรยาของเค้าชื่อ Nancy
ที่มา - BBC Health
ข่าวเกี่ยวกับBeatieก่อนหน้านี้
ชายชาวมะกันท้อง “ปาฏิหาริย์”
ผู้ชายบอกว่า “ตั้งท้อง”
» chobits_nizzy's blog
109 reads | https://jusci.net/node/680 | ผู้ชายก็ท้องได้ |
การเพิ่มขึ้นของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ เป็นปัญหาใหญ่สำหรับนักวิทยาศาสตร์และมนุษย์ทั่วไป แต่นักวิจัยจากเยอรมัน สามารถพิสูจน์ได้ว่าปริมาณก๊าซที่เพิ่มขึ้นนี้ กลายเป็นผลดีต่อพืช
ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผลิตผลจากข้าวบาร์เลย์, ธัญพืช และข้าวสาลี เพิ่มขึ้นกว่า 10%
นักวิจัยได้ทำการสังเกตพืชดังกล่าวในแปลงทดลอง โดยมีความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 550 ส่วนใน 1 ล้านส่วน ซึ่งเป็นความเข้มข้นที่น่าจะมีในชั้นบรรยากาศในปี 2050
ท่ามกลางกระแสโลกร้อนที่กำลังเชี่ยวกราก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ดูเหมือนจะรับบทผู้ร้ายตัวสำคัญของปรากฏการณ์นี้ ซึ่งนักวิจัยได้ออกตัวว่า งานวิจัยชิ้นนี้ไม่ได้ตั้งใจจะคัดค้าน เรื่องการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แต่อย่างไร เพียงแค่เป็นการศึกษาผลกระทบเพียงเท่านั้น
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
101 reads | https://jusci.net/node/681 | CO2 ร้ายกับคน ร้ายกับโลก แต่ดีกับพืช |
96
voted
บริษัทผลิตรถยนต์ชื่อดังของสหรัฐ General Motors ประกาศจะติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ บนหลังคาของโรงงานที่ซาราโกซาประเทศสเปน ซึ่งหลังจากการติดตั้ง จะทำให้โรงงานดังกล่าว กลายเป็นการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
พลังงานที่ได้จากแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา จะมีประมาณ 10 เมกะวัตต์ นอกจากจะใช้ในโรงงานผลิตแล้ว ยังสามารถส่งขายผ่านทางระบบพาวเวอร์กริดได้อีกด้วย
GM ยังวางแผนที่จะติดตั้งโซลาร์เซลล์ในลักษณะเดียวกันนี้ ในโรงงานอื่นๆ หากผลที่ได้รับจากโรงงานในซาราโกซาประสบความสำเร็จ
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
167 reads | https://jusci.net/node/682 | GM สร้างโรงงานพลังงานแสงอาทิตย์ |
93
voted
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Northeastern ได้ตีพิมพ์งานวิจัยซึ่งก่อให้เกิดการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่ในสาขานาโนโฟโตนิก ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับแสงในระดับของนาโน
นักวิจัยได้ใช้ประโยชน์จากกระบวนการพิมพ์ในระดับนาโน (Nanolithorgraphy), กระบวนการผลิตแผงวงจรในระดับอุตสาหกรรม ทำให้สามารถสร้างเลส์เว้ารวมแสงในระดับนาโน ที่ทำงานในคลืนความถี่อินฟราเรด สามารถนำไปใช้ในการสื่อสารเชิงแสง หรือการทำวงจรที่ใช้แสงในการสื่อสารแทนการใช้ไฟฟ้า เป็นการช่วยเพิ่มความสามารถในการเก็บข้อมูล และสามารถนำไปสร้างตัวรับภาพ คุณภาพสูงและละเอียดมากกว่าเดิม
Sri Sidhar หัวหน้าทีมวิจัย ได้อธิบายถึงการนำงานวิจัยชิ้นนี้ไปใช้ว่า สามารถนำไปปรับปรุงคุณภาพของเซนเซอร์ที่ใช้รับภาพในปัจจุบัน ให้มีความไวที่มากขึ้น, มีการรับกวนน้อยลง และสามารถผสานอุปกรณ์ที่ใช้แสงกับอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าให้อยู่ในชิปตัวเดียวกัน ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์จากทั้งแสงและอิเล็กตรอน เป็นการเพิ่มคุณภาพของตัววงจร ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด
ที่มา - Phyorg
» Mr.JoH's blog
127 reads | https://jusci.net/node/683 | การวิจัยด้านนาโนช่วยปรับปรุงอนาคตของตัวรับภาพดิจิตอล |
ราคาน้ำมันที่แพงขึ้น ทำเอาหลายคนบ่นไปตามๆ กัน แต่ในความโชคร้ายก็ยังมีโชคดีแฝงอยู่ เมื่อราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นอาจมีประโยชน์มากกว่าที่คิด เนื่องมาจากทำให้การตายที่เกิดจากอุบัติเหตุน้อยลง
นักวิจัยจาก University of Alabama at Birmingham ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลการตายจากยานพาหนะ เปรียบเทียบกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น พบว่าอัตราการตายลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากผู้ขับขี่ยวดยานขับกันช้าลงและขับน้อยลง ถ้าราคาน้ำมันยังคงอยู่ที่ 4 เหรียญต่อแกลลอนหรือสูงกว่าในปีนี้ อัตราการตายจาอุบัติเหตุการจราจรจะลดลงน้อยกว่า 1,000 รายต่อเดือน
หลายคนอาจนึกเถียงในใจว่า น้ำมันแพง คนขับรถน้อยลง ยอดการตายมันต้องลดงอยู่แล้ว แต่นักวิจัยได้แสดงตัวเลขเป็นเปอร์เซ็นต์ ระหว่างความสัมพันธ์ของราคำน้ำมันที่สูงขึ้น กับ เปอร์เซ็นต์การตายที่ลดลง โดยทุกๆ 10% ของราคาน้ำมันที่สูงขึ้น อัตราการตายจะลดลง 2.3% และตัวเลขนี้จะมีผลมากขึ้นสำหรับผู้ขับขึ่ที่เป็นวัยรุ่น
ในงานวิจัยจะมีข้อมูลราคาน้ำมันและอัตราการตาย ตั้งแต่ปี 1985 จนถึงปี 2006
น่าจะมีนักวิจัยไทยลองทำงานวิจัยแบบนี้ดูบ้างนะครับ
ที่มา - EurekAlert
» Mr.JoH's blog
126 reads | https://jusci.net/node/684 | น้ำมันแพงก็มีแง่บวกนะ ? |
นักวิทยศาสตร์จาก Georgia Tech ได้พัฒนาวิธีการรักษามะเร็งแนวใหม่ โดยการใช้อนุภาคนาโนที่มีคุณสมบัติของแม่เหล็ก ในการจับเซลล์มะเร็งและนำพาออกไปนอกร่างกาย วิธีการนี้ประสบความสำเร็จในระดับห้องปฏิบัติการ และกำลังจะมีการทดสอบในระดับที่สูงขึ้น งานวิจัยชิ้นนี้ตีพิมพ์ใน Journal of the American Chemical Society
นักวิจัยเริ่มทำการทดสอบวิธีการรักษานี้ในหนู หลังจากที่ให้เซลล์มะเร็งในหนู ซึ่งเมื่อนักวิจัยใช้คุณสมบัติของแม่เหล็กในการบังคับให้อนุภาคนาโนดึงเซลล์มะเร็งออกมาบริเวณช่องท้องได้สำเร็จ
นักวิจัยกล่าวว่า ถ้าวิธีการนี้ผ่านการทดสอบในคน ก็จะถือเป็นความหวังใหม่ในการรักษามะเร็ง แทนการใช้แอนติบอดี้ในการรักษาเพียงลำพัง
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
56 reads | https://jusci.net/node/688 | ใช้อนุภาคนาโนในการรักษามะเร็ง |
เชื่อว่าหลายคนในที่นี้มีการทำงบประมาณประจำตัว แต่ที่ผ่านมามีงานวิจัยน้อยมาก ว่าควรทำงบประมาณอย่างไรที่จะให้ผลลัพธ์ได้ดีที่สุด
ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน Journal of Consumer Research พบว่าคนที่ทำงบประมาณเป็นรายปี จะมีความถูกต้องมากกว่าคนที่ทำงบประมาณเป็นรายเดือน นอกจากนี้นักวิจัยยังพบว่า คนที่มีความเข้าใจในงบประมาณที่ตัวเองทำ จะส่งผลต่อความแม่นยำของงบประมาณอีกด้วย
ในระหว่างการศึกษา นักวิจัยได้ถามอาสาสมัครถึงแหล่งที่มาของรายรับ เพื่อที่จะคำนวนงบประมาณให้พอเพียงสำหรับปีถัดไปและเดือนถัดไป นอกจากนี้ยังสอบถามถึงความยากในการจัดทำงบประมาณ และบอกถึงส่วนที่ยากที่สุดในการจัดทำ
นักวิจัยเชื่อว่าสาเหตุที่การทำงบประมาณรายปีมีความถูกต้องมากกว่า เพราะว่าคนที่ทำงบประมาณรายเดือนมักจะมีความมั่นใจเกินกว่าปกติ เมื่อทำการเปรียบเทียบงบประมาณรายเดือน
นักวิจัยเชื่อว่า วิธีที่ดีที่สุดในการทำงบประมาณ คือการทำงบประมาณรายปีแล้วค่อยแบ่งออกเป็น 12 ส่วน นอกจากนี้ยังแนะนำอีกว่าในระหว่างการทำงบประมาณ ไม่ควรให้มีสิ่งใดมารบกวน เพื่อเพิ่มความแม่นยำ
ที่มา - EurekAlert
» Mr.JoH's blog
113 reads | https://jusci.net/node/689 | งบประมาณรายปีดีกว่ารายเดือน |
นักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัยจากองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ NASA จากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการวิจัยกระบวนการสร้างคอนกรีต จากดิน และหิน ซึ่งได้จำลองมาจากลักษณะของตัวอย่างดินจากดวงจันทร์ (Lunar regolith) ผสมกับกาวอิพ๊อกซี่ และเติมคาร์บอนนาโนทูป (Carbon nanotube) โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การลดการใช้ทรัพยากรจากโลก เนื่องจากการขนส่งวัสดุจากผิวโลก ขึ้นไปยังอวกาศนั้นใช้ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง หากสามารถใช้ทรัพยากรจากดวงจันทร์หรือที่อื่นๆได้ ซึ่งจะประหยัดต้นทุนในการขนส่งได้มาก
Peter Chen นักฟิสิกส์ได้คำนวณว่า การสร้างกระจกกล้องโทรทรรศน์ให้มีขนาดใหญ่ เท่ากับกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิ้ล นั้นใช้ปริมาณกาวอิพ๊อกซี่ เพียง 60 กิโลกรัม คาร์บอนนาโนทูป 1.3 กิโลกรัม และ ใช้อะลูมิเนียมเป็นสารเคลือบผิวกระจกเพียง 1 กรัมเท่านั้น
ที่มา - SPACE.com
» Explorinex's blog
104 reads | https://jusci.net/node/690 | กระจกกล้องโทรทรรศน์จากดินดวงจันทร์ |
นักวิจัยได้ใช้ประโยชน์จากแบคทีเรียต่างกันสองชนิดมารวมกัน เพื่อสร้างไฮโดรเจนในเครื่อง bioreactor ซึ่งแบคทีเรียชนิดหนึ่งจะเป็นตัวสร้างให้แบคทีเรียอีกชนิด นอกจากนี้ เอนไซม์ที่เหลืออยู่ยังสามารถใช้ในกำจัดเศษโลหะ ที่หลงเหลือจากการทำปฏิกิริยาของตัวเร่งปฏิกิริยา ซึ่งเป็นองค์ประกอบของรถยนต์ที่ใช้เซลล์เชื้อเพลิง ในการเปลี่ยนจากไฮโดรเจนให้กลายเป็นพลังงาน
ในแต่ละวันประเทศอังกฤษมีการทิ้งเศษอาหารกว่า 7 ล้านตันต่อปี ซึ่งส่วนมากของเศษอาหารเหล่านี้จะนำไปสุ่การฝังกลบ ซึ่งก่อให้เกิดก๊าซจำพวกมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจก จากความรู้ในการผลิตไฮโดรจนจากสารชีวภาพ ทำให้เศษอาหารเหล่านี้สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานอันมีค่าได้
เมื่ออยู่ในภาวะปราศจากออกซิเจน แบคทีเรียบางจำพวกเช่น fermentative จะใช้คาร์โบไฮเดรตเ่ช่นน้ำตาล ในการสร้างไฮโดรเจนและกรด ส่วนแบคทีเรียชนิดอื่นเช่น purple ใช้แสงในการสร้างพลังงานและสร้างไฮโดรเจน เพื่อใช้ในการย่อยสลายโมเลกุล เช่นกรด ซึ่งคุณสมบัติของแบคทีเรียทั้ืงสองประเภทนี้ สามารถนำมาใช้ร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ โดยแบคทีเีรีย purple จะใช้กรดที่ได้จากการผลิตของแบคทีเรีย fermentation
เมื่อนำแบคทีเรียสองชนิดนี้มาใช้ร่วมกัน ทำให้สามารถผลิตไฮโดรเจนได้มากกว่าการใช้แบคทีเรียตัวเดียวโดดๆ ซึ่งความท้าทายในการผลิตระดับใหญ่ก็คือ การออกแบบ photobioreactor ทีมีราคาถูกในการสร้างและสามารถเก็บแสงได้จากพื้นที่จำนวนมาก ปัญหาต่อมาก็คือกระบวนการเชื่อมต่อ เข้ากับระบบป้อนน้ำตาลที่มีความน่าเชื่อถือ
ด้วยวิธีการนี้ ทำให้สามารถสร้างไฮโดรจนได้จากของเหลือจากการเกษตร เช่น ซังข้าวโพดหรือแกลบ แทนการนำไปฝังกลบซึ่งเป็นการทำลายสภาพแวดล้อม
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
143 reads | https://jusci.net/node/691 | เชื้อเพลิงจากเศษอาหาร |
ผู้ที่ดูแลด้านความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ของฝรั่งเศส ออกมาเปิดเผยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า ท่อเชื้อเพลิงสำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในทางตะวันออกเฉียใต้ของฝรั่งเศส ได้เกิดรั่วไหลขึ้น ทำให้มีกัมมันตภาพรังสีรั่วไหลออกมาบางส่วน แต่ไม่มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม
ผู้ที่อยู่อาศัยในเขต Vaucluse ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส ได้รับคำเตือนไม่ให้ดื่มน้ำหรือรับประทานปลาที่ได้จากแม่น้ำ หลังจากที่ยูเรเนียมเหลวได้รั่วออกมา ณ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Tricastin
จากการทดสอบในเบื้องต้น แสดงให้เห็นว่า การรั่วไหลครั้งนี้ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพราะว่าปริมาณยูเรเนียมที่รั่วไหลออกมามีน้อยมาก เพียงไม่กี่กรัมเท่านั้น และไม่ได้มีการสัมผัสกับพื้นดินหรือน้ำแต่อย่างใด
หลังจากเกิดการั่วไหล ทางฝรั่งเศสได้เปลี่ยนตัวผู้ควบคุมออก และสั่งให้มีการสอบสวนเป็นการภายใน ว่าเกิดเหตุผิดพลาดอะไรขึ้น เพื่อที่จะได้ปรับปรุงและแก้ไขต่อไป
อย่างไรก็ตาม ทางฝรั่งเศสจะมีการตรวจสอบการปนเปื้อนอย่างละเอียดอีกครั้ง เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่า ไม่มีการปนเปื้อนของกัมมันตภาพรังสีหลงเหลืออยู๋จริงๆ ซึ่งในระหว่างนี้ บรรรดาสระว่ายน้ำและการชลประทานจะถูกห้ามเป็นการชั่วคราว
การรั่วไหลครั้งนี้อยู๋ในระดับที่หนึ่ง จากระดับทั้งหมดที่มีเจ็ดระดับ ในการเกิดอุบัติเหตุทางด้านนิวเคลียร์
ที่มา - [Physorg(http://www.physorg.com/news135583648.html)
» Mr.JoH's blog
90 reads | https://jusci.net/node/692 | โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มียูเรเนียมรั่วไหล |
วิธีหยุดการทำงานของยีนในระดับห้องปฏิบัติการ ได้รับการยอมรับมาเป็นเวลานับ 10 ปีแล้ว โดยการใช้เทคนิคที่เรียกว่า RNA interference ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์เป็นเครื่องมือรักษาโรคได้อย่างหลากหลาย เพียงแต่ต้องนำมาปรับใช้กับมนุษย์ให้ได้เท่านั้น
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Emory ได้ค้นพบว่ายาปฏิชีวนะที่ชื่อ fluoroquinolones สามารถทำ RNA interference ไำด้อย่างมีประสิทธิภาพในห้องทดลอง และยังสามารถลดผลข้างเคียงอย่างอื่นได้ ผลลัพธ์ที่ได้ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Biotechnology
นักวิจัยกล่าวว่า fluoroquinolones ไม่เคยมีรายงานถึงคุณสมบัตินี้มาก่อน และจุดเด่นที่สำคัญอีกอย่างก็คือ ยาตัวนี้มีใช้กันอย่างแพร่หลายมายาวนาน ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่ามันปลอดภัย
enoxacin ใช้กันแพร่หลายในการรักษาโรคหนองในและโรคติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ รวมถึงกลุ่มของสารประกอบเช่น ciprofloxacin มีประสิทธิภาพมากในการเพิ่มความสามารถ RNA interference ซึ่งสารที่มีผลต่อ RNA interference กับสารที่ออกฤทธิ์ในการยับยั้ืงแบคทีเรียเป็นคนละส่วนกัน
อุปสรรคสำคัญในการทำ RNA interference กับมนุษย์ ก็คือความเป็นพิษ และการจำเพาะเจาะจงเป้าหมาย และได้รับ RNA ถูกที่ในร่างกาย ซึ่งถ้านักวิจัยสามารถปรับปรุงปริมาณของ RNA ที่ให้ และลดปริมาณยาที่ใช้ลง ก็จะทำให้สามารถติดตามทั้งเป้าหมายและความเป็นพิษได้
งานวิจัยบางชิ้น พบว่าการฉีด RNA เข้าไปในร่างกาย แทนที่จะไปหยุดการทำงานของยีนที่ต้องการ กลับกลายเป็นการกระตุ้นการตอบสนองต่อไวรัสแทน
Andrew Fire และ Craig Mello ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ ในปี 2006 จากการค้นพบว่า ชิ้นส่วนของ RNA เมื่อใส่เข้าไปในเซลล์ สามารถหยุดการทำงานของยีน วิธีการนำ RNA สัีงเคราะห์เข้าไปบังคับกลไกภายในเซลล์ มีชื่อเรียกว่า RNA-induced silencing complex หรือเรียกกันว่า RISC
การติดตามการทำงานของ RISC ทำได้โดยการใส่ยีนที่มีโปรตีนที่สามารถเรืองแสงในเซลล์ และเติมชิ้่นส่วนของ RNA ลงไป
นักวิจัยพบว่า enoxacin สามารถเพิ่มความสามารถในการหยุดการทำงานของยีนเป็น 10 เท่า ของเซลล์ที่เพาะเลี้ยง และเป็น 3 เท่า ในหนูทดลอง ซึ่งดูเหมือนกว่า enoxacin จะไปจับอย่างแน่นหนากับ RISC ซึ่งมีการเรียกโปรตีนส่วนนั้นว่า TRBP
» Mr.JoH's blog
125 reads | https://jusci.net/node/693 | หยุดการทำงานของยีน ด้วยยาปฏิชีวนะ |
38
voted
Ron Li นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Ohio State ผู้ซึ่งเคยพัฒนาระบบนำร่องของยานสำรวจดาวอังคาร กำลังพยายามพัฒนาระบบค้นหาเส้นทางสำหรับมนุษย์บนดวงจันทร์
นาซามีแผนจะส่งมนุษย์กลับไปบนดวงจันทร์อีกครั้งภายในปี 2020 นักบินอวกาศไม่สามารถใช้ระบบ GPS ในการค้นหาเส้นทางรอบๆ เนื่องจากบนดวงจันทร์ไม่มีดาวเทียมสำหรับใช้ส่งสัญญาณ
Li ได้รับเงินสนับสนุนจากนาซาเป็นจำนวน 1.2 ล้านดอลลาร์ในระยะเวลา 3 ปี เพื่อพัฒนาระบบนำทางซึ่งให้ความรู้สึกเหมือนระบบ GPS แต่ใช้สัญญาณจากเซนเซอร์ที่อยู่บนดวงจันทร์, ไฟสัญญาณ, กล้องวีดีโอสามมิติ ในการระบุตำแหน่ง
คนโดยทั่วไป จะใช้สภาพภูมิประเทศ เช่น ขนาดของตึกหรือภูเขาในการเปรียบเทียบระยะทาง แต่บนดวงจันทร์ไม่มีสภาพภูมิประเทศดังกล่าว ทำให้นักบินอวกาศหลงทาง หรือประมาณระยะทางผิดไป ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่ง
Li ได้อธิบายระบบการทำงานของเขา เริ่มจากการนำภาพถ่ายจากดาวเทียมมารวมเข้ากับภาพที่ได้จากพื้นผิว เพื่อนำมาสร้างเป็นแผนที่ของดวงจันทร์, เซนเซอร์ตรวจจับการเคลือนไหวที่ติดตั้งอยู่บนพาหนะและบนนักบินอวกาศ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถคำนวนตำแหน่งที่อยู่ในปัจจุบัน, สัญญาณจากยานบนดวงจันทร์และสถานีที่ตังอยู่ จะช่วยให้นักบินอวกาศรู้ตำแหน่งรอบๆ ตัว ซึ่งนักวิจัยได้ตั้งชื่อให้กับระบบดังกล่าวว่า Lunar Astronaut Spatial Orientation and Information System (LAOIS)
ที่มา - EurekAlert
» Mr.JoH's blog
54 reads | https://jusci.net/node/694 | นักวิจัยพัฒนาระบบนำทางบนดวงจันทร์ |
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University) ได้ประสบความสำเร็จในการพิสูจน์ว่า กราฟีน (Graphene) ซึ่งเป็นวัสดุที่มีส่วนประกอบของคาร์บอน เป็นวัสดุที่แข็งแรงที่สุดเท่าที่เคยมีการวัดกันมา
กราฟีน เป็นวัสดุที่คาดหวังกันว่าจะใช้ในการพัฒนาอุปกรณ์ระดับนาโน มันประกอบไปด้วยชั้นอะตอมของแกรไฟต์ เรียงกันในรูปทรงหกเหลี่ยมคล้ายรวงผึ้ง เมื่อนำมาม้วนจะได้ท่อในระดับนาโน
จนถึงปัจจุบัน การประมาณความแข็งแรงและความยืดหยุ่น จะตั้งอยู่บนแบบจำลองในคอมพิวเตอร์ การวัดในห้องปฏิบัติการจริงๆ ยังไม่สามารถทำได้ เนื่องจากอุปสรรคสำคัญสองประการ นั่นคือ ความซับซ้อนและข้อจำกัดทางเชิงกล และความยากในการทำตัวอย่างให้เล็กพอที่จะเป็นอิสระจากข้อบกพร่อง
นักวิจัยทำการคัดเลือกกราฟีนมาจำนวนหนึ่ง โดยเฉพาะทีมีอะตอมเดี่ยวอยู่บนพื้นผิวจากผลึกกราฟีนขนาดใหญ่ และทำการวางเหนือรูทรงกลมขนาดเล็กที่เกิดจากการสลักซิลิคอน เพื่อที่จะสร้างฟีล์มที่มีความหนาเพียงหนึ่งอะตอม กราฟีนติดอยู่กับซิลิคอนเพราะว่าแรงดึงดูดระหว่างอะตอม
นักวิจัยทำการทดสอบความแข็งแรง โดยการผลักปลายสุดของอะตอมด้วยรัศมีเล็กมากๆ ชิ้นส่วนของตัวอย่างที่ขาด ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถทดสอบได้ทั้งคุณสมบัติความยืดหยุ่น และคุณสมบัติในการแตกหัก นักวิทยาศาสตร์เก็บค่าการทดลอง 67 ตัวอย่าง จากแผ่นฟีล์มต่างกัน 23 แผ่น
การพิสุจน์ดังกล่าว ทำให้กราฟีนมีความโดดเด่นและนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย เช่น ในทางทหาร อาจนำไปทำเป็นวัสดุสำหรับปีกเครื่องบิน ซึ่งต้องเผชิยกับสภาวะสุดขั้ว เป้นต้น
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
62 reads | https://jusci.net/node/695 | นักวิทยาศาสตร์พิสูจน์แล้ว่ากราฟีนเป็นวัสดุที่แข็งที่สุดในโลก |
ตัวอย่างของดินที่เต็มไปด้วยน้ำแข็ง ที่ถูกเก็บโดยแขนกลของยานสำรวจดาวอังคาร "ฟินิกซ์" ไม่สามารถทำการวิเคราะห์ได้ เนื่องจากตัวอย่างติดอยู่กับอุปกรณ์ที่ใช้ตัก ทำให้ไม่สามารถหย่อนตัวอย่างลงไปในเครื่องมือวิเคราะห์ได้
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา แขนกลของยานได้ขุดตัวอย่างจำนวน 3 ลูกบาศก์เซนติเมตร และยกไปเหนือเตาอบซึ่งถูกออกแบบให้อบตัวอย่างเพื่อการวิเคราะห์ ซึ่งจากรายงานอย่างเป็นทางการ พบว่าตัวแขนกลได้ทำการเทตัวอย่างลงไปแล้ว
แต่จากเครื่องมือวัดซึ่งมีชื่อเรียกว่า Thermal and Evolve-Gas Analyzer พบว่ามีปริมาณตัวอย่างไม่เพียงพอ สำหรับการวิเคราะห์และประตูของเตาอบก็ไม่สามารถปิดได้
การลัดวงจรที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีสาเหตุจากการเขย่าตัวแขนกลเพื่อให้ตัวอย่างก่อนน้าตกลงไปในเตาอบ ซึ่งทำให้นักวิทยาศาสตร์เป็นกังวลว่าอาจเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นอีกครั้ง แต่อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ดังกล่าวก็ไม่ได้เกิดขึ้นแต่อย่างไร
ที่มา - Physorg | https://jusci.net/node/696 | ฟินิกซ์พบปัญหาในการวิเคราะห์ตัวอย่าง |
นักวิจัยจาก California Institute of Technology ได้ทำให้ความฝันในนินายวิทยาศาสตร์กลายเป้นความจริง เมื่อสามารถพัฒนากล้องจุลทรรศน์ความละเอียดสูง โดยมีขนาดเล็กเพียงหัวแม่มือ กล้องจุลทรรศน์จิ๋วตัวนี้สามารถทำงานได้โดยไม่ใช้เลนส์ แต่ก็มีกำลังขยายเทียบเท่า กล้องจุลทรรศน์คุณภาพสูงที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ซึ่งสามารถนำไปใช้งานในภาคสนาม เช่น การวิเคราะห์ตัวอย่างเลือดของโรคมาเลเลีย โดยคาดว่าสามารถผลิตเป็นปริมาณมากด้วยราคาเพียง 10 เหรียญ
นักวิจัยกล่าวว่า หลักการพื้นฐานของกล้องจุลทรรศน์ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเลย นับตั้งแต่ยุคเริ่มแรกที่มีการสร้างกันมา ทำให้มันยากที่จะย่อส่วนกล้องจุลทรรศน์ให้เล็กลงได้ แต่กล้องจุลทรรศน์จิ๋วตัวใหม่นี้ ถูกออกแบบมาด้วยวิธีการที่แตกต่างออกไป ทำให้มันไม่ต้องใฃ้เลนส์และอุปกรณ์ทางแสงที่เทอะทะอีกต่อไป
ชั้นของโลหะจะถูกปกคลุมด้วย CCD (เป็นชนิดเดียวกับที่ใช้ในกล้องถ่ายรูปดิจิตอล) หลังจากนั้น รูที่มีขนาดเล็กเพียงหนึ่งในสิบล้านเมตร จำนวนมากจะถูกกดเข้าไปสู่ตัวโลหะ รูแต่ละรูจะทำหน้าที่รับผิดชอบแต่ละพิกเซล แต่ละช่องซึ่งมีของไหลขนาดเล็กอยู่ ซึ่งของเหลวดังกล่าวจะมีตัวอย่างอยู่จะถูกทำการวิเคราะห์ ชิปทั้งหมดจะใช้แสงสว่างจากข้างบน ซึ่งเพียงแค่แสงอาทิตย์ก็เพียงพอแล้ว
เมื่อตัวอย่างถูกใส่เข้าไป มันจะไหลด้วยแรงโน้มถ่วงหรือถูกดึงดูดโดยประจุไฟฟ้า ในแนวนอนข้ามรูจำนวนมาก ซึ่งแต่ละวัตถุจะทำให้แสงไม่สามารถผ่านไปได้ ทำให้เกิดชุดของภาพต่อเนื่องหลายภาพ ประกอบด้วยแสงและเงา ซึ่งมีหลักการเหมือนกับกล้องรูเข็ม
ในขณะนี้นักวิจัย กำลังเจรจากกับบริษัทเพื่อนำไปสู่การผลิตเป็นจำนวนมาก ซึ่งถ้าหากมีราคาเหมาะสมและไม่แพงจนเกินไป ก็จะเป็นประโยชน์ต่องานจำนวนมาก เช่น งานสาธารสุขในพื้นที่ห่างไกล เป็นต้น
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
165 reads | https://jusci.net/node/697 | กล้องจุลทรรศน์ขนาดเท่าหัวแม่มือ |
นักวิทยาศาสตร์ของนาซาได้ออกมาประกาศเมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา ถึงการตัดสินใจขยายภารกิจของยานสำรวจดาวอังคาร “ฟีนิกซ์” ไปจนถึงปลายเดือนกันยายน
Michael Meyer หัวหน้านักวิทยศาสตร์ของโครงการสำรวจดาวอังคารได้บอกกับผู้สื่อข่าวว่า ภารกิจขั้นต่ำสุดของยานประสบความสำเร็จงดงาม ในขณะที่ภารกิจทั้งหมดถือได้ว่าประสบความสำเร็จ
ฟินิกซ์ เริ่มทำการขุดตัวอย่างดินจากดาวอังคาร หลังจากเริ่มลงจอดบริเวณขั้วเหนือของดาวอังคาร เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคมที่ผ่านมา และทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้รู้ว่า วัตถุสีขาวที่เจอนั้นเป็นน้ำแข็ง เมื่อเดือนมิถุนายน
Peter Smith นักวิทยาศาสตร์จาก University of Arizona บอกว่า การวิเคราะห์ก้อนน้ำแข็งดังกล่าว จะทำให้รู้ว่ามันเคยถูกหลอมเหลวหรือไม่ หรือเป็นน้ำแข็งอย่างนั้นมาตั้งแต่ครั้งโบราณ ซึ่งถ้ามันหลอมเหลวเป็นช่วงเวลา แสดงว่าบริเวณดังกล่าวสามารถใช้เป็นแหล่งกำเนิดของสิ่งมีชีวิตได้ เพราะว่ามีน้ำซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สุด
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
91 reads | https://jusci.net/node/698 | นาซาตัดสินใจขยายเวลาภารกิจของยาน "ฟินิกซ์" |
ปัจจุบันพลังงานจากแสงอาทิตย์เริ่มเข้ามามีบทบาทต่อมนุษย์มากขึ้น จากเดิมที่ถูกมองว่าเป็นแหล่งพลังงานทางเลือก เริ่มกลายมาเป็นพลังงานกระแสหลักที่สำคัญ แต่อุปสรรคที่สำคัญก็คือ ทำอย่างไรให้สามารถใช้งานพลังงานแสงอาทิตย์ได้ตลอดเวลา แม้ในเวลาที่ไม่มีแสงอาทิตย์เลย
จนถึงปัจจุบัน พลังงานแสงอาทิตย์ยังสามารถใช้ได้เฉพาะช่วงเวลากลางวันเท่านั้น เพราะว่าการเก็บพลังงานที่ได้จากแสงอาทิตย์เพื่อใช้ในภายหลังนั้น มีราคาแพงและไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
นักวิจัยจาก MIT ได้ประกาศความสำเร็จในการพัฒนากระบวนการ สำหรับเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ใช้งาน ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง, ราคาไม่แพง และไม่ยุ่งยากซับซ้อน
ด้วยการได้รับแรงบันดาลใจจากกระบวนการสังเคราะห์แสง นักวิจัยได้ทำการพัฒนากระบวนการที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งสามารถทำให้พลังงานจากดวงอาทิตย์ ทำการแยกน้ำออกเป็นก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซออกซิเจน หลังจากนั้นไฮโดรเจนและออกซิเจน สามารถรวมตัวกันในเซลล์เชื้อเพลิง เพื่อสร้างกระแสไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตอนกลางวันหรือตอนกลางคืน
กุญแจสำคัญที่ทำให้กระบวนการที่ฟังดูเหมือนเป็นนิยายวิทยาศาสตร์ สามารถเกิดขึ้นได้จริง ก็คือการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา ซึ่งสามารถสร้างก๊าซออกซิเจนจากน้ำ ตัวเร่งปฏิกิริยาตัวอื่นจะสร้างก๊าซไฮโดรเจน ตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดใหม่นี้สร้างขึ้นจาก โคบอลต์, ฟอสฟอรัส และอิเล็กโทรด วางอยู่ในน้ำ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานอื่นป้อนให้กับอิเล็กโทรด โคบอลต์และฟอสฟอรัสที่อยู่บนอิเล็กโทรด จะผลิตออกซิเจนออกมา และด้วยการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาตัวอื่นร่วมด้วย เช่น แพลตินัม ทำให้สามารถสร้างไฮโดรเจนจากน้ำได้ ซึ่งกระบวนการนี้เป็นการเลียนแบบ กระบวนการแยกน้ำซึ่งเกิดขึ้นในการสังเคราะห์แสง
ตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดใหม่นี้ สามารถทำงานได้ที่อุณภูมิห้อง ในน้ำที่มีค่า pH เป็นกลาง และง่ายในการติดตั้ง
แสงอาทิตย์ถือเป็นแหล่งพลังงานที่ยอดเยี่ยมในการแก้ปัญหาพลังงานโลก ในระยะเวลาเพียงหนึ่งชั่วโมง แสงอาทิตย์สามารถให้พลังงาน เทียบเท่ากับพลังงานที่มนุษย์ใช้กันทั้งหมดในระยะเวลาเพียงหนึ่งปี
James Barber ผู้ำเชี่ยวชาญในการศึกษากระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช ได้ให้ความเห็นว่า กระบวนการที่พัฒนาขึ้นมาใหม่นี้ ถือเป็นก้าวกระโดดในการสร้างพลังงานสะอาดในปริมาณมาก และถือเป็นเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ
Ernst Chain ศาสตราจารย์ด้านชีวเคมีของ Imperial College มีความเห็นว่า การค้นพบครั้งนี้เป็นการเปิดประตูไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ สำหรับการผลิตพลังงาน, ลดการใช้งานเชื้อเพลิงฟอสซิล และช่วยแก้ปัญหาโลกร้อน
กระบวนการแยกน้ำด้วยไฟฟ้าที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ไม่เหมาะสมหรับกระบวนการสังเคราะห์แสงเทียม เนื่องจากมีราคาแพง, มีขั้นตอนยุ่งยาก และต้องการสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
อย่างไรก็ตาม กระบวนการนี้ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น ซึ่งยังต้องใช้ความรู้ทางวิศวกรรมอีกมากมาก ในการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ทางนักวิจัยหวังว่าในอนาคต บ้านเรือนแต่ละหลังจะใช้พลังงานในตอนกลางวันที่มาจากแสงอาทิตย์ ในขณะที่พลังงานแสงอาิทิตย์ที่เหลือจะถูกนำไปใช้ในการแยก ไฮโดรเจนและออกซิเจนออกจาำกน้ำ เพื่อที่จะนำมาป้อนให้กับเซลล์เชื้อเพลิงในเวลากลางคืน
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
119 reads | https://jusci.net/node/699 | MIT พัฒนาวิธีการแยกน้ำในราคาถูก เป็นความหวังในการพัฒนาพลังงานสะอาดที่ไม่มีวันหมด |
ชื่อหัวข้อคงไม่เป็นการกล่าวเกินจริงไปเท่าไหร่นัก หากพิจารณาจำนวนเอกสารของนักวิทยาศาสตร์ชาวจีน ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ
วิทยาศาสตร์นาโน, การคำนวนเชิงควอนตัม และตัวนำยิ่งยวดที่อุณหภูมิสูง ทั้งสามอย่างนี้ถือเป็นงานวิจัยที่เป็นจุดเปลี่ยนในวงการฟิสิกส์ และมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเช่นในงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์นาโน อย่างน้อยจะต้องมีนักวิทยาศาสตร์จากจีนเป็นผู้แต่งร่วม นับเป็นสิบเท่าตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา และเพิ่มขึ้นกว่า 10,500 หัวข้อ ในปี 2007
ตอนนี้จีนสามารถไล่ทันอังกฤษและเยอรมัน ในด้านจำนวนของเอกสารที่ได้รับการตีพิมพ์ และเริ่มเบียดสหรัฐมาติดๆ ถ้าเกิดผลลัพธ์ยังเพิ่มขึ้นแบบนี้ไปเรื่อยๆ จะทำให้หัวข้อทั้งหมดชนะสหรัฐได้ในปี 2012
นอกจากจำนวนเอกสารที่ใช้เป็นตัวชี้ชัดแล้ว ความสามารถในการเป็นผู้นำทางด้านวิทยาศาสตร์ของจีน ยังถูกแสดงให้เห็นในอีกหลายกรณี ในเดือนมีนาคมปีนี้ นักวิทยาศาสตร์จากญี่ปุ่น ประสบความสำเร็จในการพัฒนา ตัวนำยิ่งยวดที่มีส่วนผสมของเหล็กที่อุณหภูมิต่ำกว่า 26 เคลวิน หลังจากนั้นเพียงแค่หนึ่งเดือน นักวิทยาศาสตร์จากจีนก็ประสบความสำเร็จในการต่อยอดงานวิจัยเดียวกัน โดยสามารถเพิ่มอุณหภูมิไปได้ถึง 52 เคลวิน
สงสัยวิธีการ C&D ของจีนจะใช้ได้ผลจริงๆ
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
89 reads | https://jusci.net/node/700 | จีนจะกลายเป็นมหาอำนาจทางฟิสิกส์ |
บริษัท SpaceX เป็นบริษัทเอกชนที่จัดตั้งขึ้นโดยมีเป้าหมายคือ ปรับปรุงราคาและความน่าเชื่อถือในการเข้าสุ่อวกาศ ซึ่งบริษัทนี้เป็นบริษัทเอกชน ก่อตั้งขึ้นโดย Elon Musk
วิศวกรของ SpaceX กำลังทำการสอบสวนสาเหตุที่ทำให้ Falcon 1 ซึ่งเป็นจรวดราคาถูก ที่ถูกพัฒนาโดยบริษัทแห่งหนึ่งในแคลิฟอร์เนีย ประสบความล้มเหลวในการส่ง
Elon Musk ได้บอกกับผู้สื่อข่าวว่า ปัญหาเกิดจากจรวดสองท่อนที่ควรจะแยกออกจากกันเมื่อถึงจุดที่กำหนด กลับไม่ยอมแยก หลังจากที่ปล่อยออกจากฐานปล่อย
SpaceX กำลังทำการพัฒนาจรวดที่ใช้เครื่องยนต์เดี่ยวซึ่งก็คือ Falcon 1,จรวด 9 เครื่องยนต์ที่มีชื่อว่า Falcon 9, จรวดที่มี 27 เครื่องยนต์ Heavy Falcon และแคปซูลที่สามารถบรรจุผู้โดยสารได้ 6 คน Dragon เพื่อที่จะใช้สำหรับบินไปสู่สถานีอวกาศนานาชาติ หลังจากที่กระสวยอวกาศทั้งหมดของสหรัฐจะปลดระวางในปี 2010
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
133 reads | https://jusci.net/node/701 | จรวดของบริษัท SpaceX ประสบความล้มเหลวในการปล่อย |
ต่อไปนี้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านไวน์อาจจะต้องตกยุค เมื่อนักวิทยาศาสตร์จากยุโรป ได้ทำการพัฒนาลิ้นอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมา ซึ่งสามารถบอกชนิดขององุ่นที่ใช้ในการทำไวน์ ได้อย่างแม่นยำ เพีงแค่กดปุ่มๆ เดียว
ลิ้นอิเล็กทรอนิกส์ชนิดนี้ ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ทดสอบคุณภาพของไวน์ในการผลิต อุปกรณ์ชิ้นนี้สร้างจากเซนเซอร์จำนวน 6 ตัว ซึ่งสามารถตรวจจับคุณลักษณะของไวน์แต่ละชนิดได้ เช่น ความเป็นกรด, น้ำตาล และปริมาณแอลกอฮอล และจากคุณสมบัติดังกล่าว ทำให้มันสามารถวัดอายุและประเภทของไวน์ได้
ลิ้นอิเล็กทรอนิกส์อันนี้ ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยนักวิทยาศาสตร์จาก Barcelona Institute of Microelectronics ประเทศสเปน
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
66 reads | https://jusci.net/node/702 | นักชิมไวน์อาจจะต้องตกงาน เมื่อมีลิ้นอิเล็กทรอนิกส์มาทดแทน |
CERN ได้ประกาศเมื่อวันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมา ในการที่จะเริ่มเดินเครื่องเร่งอนุภาค Large Hadron Collider (LHC) ในวันที่ 10 กันยายน หลังจากได้ข้อสรุปในการเดินเครื่องเล่นอนุภาคตัวใหม่ ซึ่งจะมีการถ่ายทอดการเดินเครื่องผ่านทางโทรทัศน์ Eurovision อีกด้วย
เครื่อง LHC ถือเป็นเึครื่องเร่งอนุภาคที่ทรงพลังมากที่สุดในโลก สามารถสร้างลำแสงอิเล็กตรอนที่มีพลังงานมากกว่าเดิม 7 เท่า และมีความเข้มของแสงมากกว่า 30 เท่า หากสามารถเดินเครื่องไปจนเต็มประสิทธิภาพภายในปี 2010
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
102 reads | https://jusci.net/node/703 | CERN ประกาศเดินเครื่อง LHC |
นักวิจัยจากสหรัฐได้รายงานถึงการพัฒนาบอลลูน ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก สร้างจากโครงสร้างของกราไฟท์เพียงชั้นเดียว มีความหนาเพียง 1 อะตอม ซึ่งทำให้โมเลกุลของอากาศไม่สามารถซึมผ่านได้ รวมถึงโมเลกุลของฮีเลียมอีกด้วย
บอลลูนอันนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเซนเซอร์, เครื่องกรอง หรือแม้กระทั่งการเก็บภาพของวัสดุในระดับอะตอม
กราฟีน ซึ่งเป็นกราไฟท์ที่มีโครงสร้างเพียงชั้นเดียว มีความเหมาะสมทั้งทางด้านความเสถียรและคุณสมบัติในการนำไฟฟ้า นักวิจัยต้องการหาทำตอบว่าเมมเบรนในระดับอะตอม น่าจะสามารถป้องกันไม่ให้โมเลกุลของก๊าซรั่วไหลออกไปได้ และน่าจะง่ายต่อการรวมเข้าไว้ในอุปกรณ์อื่นๆ
จากข้อมูลที่ได้แสดงให้เห็นว่า กราฟีนเมมเบรนสามารถป้องกัน ไม่ให้แม้กระทั่งโมเลกุลของก๊าซขนาดเล็กสุดซึมผ่านได้ นอกจากนี้ยังสามารถรวมเข้ากับโครงสร้างขนาดเล็กได้เป็นอย่างดี
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
168 reads | https://jusci.net/node/704 | นักวิทยาศาสตร์พัฒนาบอลลูนที่บางที่สุดในโลก |
นักศึกษามหาวิทยาลัยเดร็กเซล (Drexel University) ได้ทำการพัฒนาตัวควบคุมเกมแบบใหม่ ที่ไม่ต้องมีการเคลื่อนไหวหรือใช้มือในการควบคุม แต่ใช้จิตใจในการควบคุมแทน
อุปกรณ์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นที่คาดหัว ซึ่งประกอบด้วยเซนเซอร์ที่ทำการวัดกิจกรรมของสมอง โดยการส่งคลื่นแสงที่มีความถี่ใกล้เคียงรังสีอินฟราเรดเข้าไปในกะโหลกศีรษะ และทำการวัดความเข้มของแสงที่สะท้อนกลับมา ระดับของออกซิเจนสัมพันธ์กับกิจกรรมของสมองจะถูกบันทึกไว้ อุปกรณ์ชิ้นนี้ตอนแรกถูกพัฒนาโดวิศวกรชีวการแพทย์ของมหาวิทยาลัย เพื่อใช้ในการติดตามสมองของคนไข้ที่อยู่ในภาวะได้ความรู้สึก ซึงจากอุปกรณ์ในการช่วยเหลือคนไข้ ได้ถูกพัฒนากลายมาเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เล่นประกอบเกม Lazybrains
ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมด้วยสมองส่วนมากจะอยู่ในรูปแบบซอฟต์แวร์ทางการแพทย์ เกม Lazybrains สามารถช่วยเด็กที่มีสมาธิสั้น สามารถพุ่งความสนใจไปในตัวเกมได้ ทางผู้พัฒนาหวังว่าอุปกรณ์ชิ้นนี้จะสามารถใช้งานได้ง่าย เหมือนกับอุปกรณ์ควบคุมของเครื่องเล่นเกม Wii ในอนาคต
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
139 reads | https://jusci.net/node/705 | นักศึกษาสหรัฐพัฒนาระบบควบคุมเกมผ่านสมอง |
เมื่อวันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา (เวลาแปซิฟิก) ยานสำรวจดาวเสาร์ “แคสสินี” ได้เริ่มส่งข้อมูลกลับมาสู่โลก หลังจากได้บินเฉียดดวงจันทร์เอนเซลาดัส (Enceladus) ในระยะห่างจากพื้นผิวเพียง 50 กิโลเมตร
สัญญาณที่ส่งมาของยานแคสสินี ถูกรับโดยเครือข่าวสำรวจอวกาศห้วงลึก (Deep Sapce Network) ในประเทศออสเตรเลีย และได้ถ่ายทอดสัญญาณต่อไปยังศูนย์ควบคุมภาระกิจที่นาซา
การบินเฉียดในระยะใกล้นี้เริ่มขึ้นเมื่อเวลา 15.21 (เวลาแปซิฟิก) ด้วยความเร็ว 17.7 กิโลเมตรต่อวินาที โดยในระหว่างการบินเฉียด ต้วกล้องและอุปกรณ์ภายในยานได้พุ่งเป้าไปยังขั้วใต้ของดาว ซึ่งเป็นบริเวณที่นักวิทยาศาสตร์สนใจ เพราะมีน้ำและไอน้ำออกมาจากรอยแยกบนผิวดาว
นักวิทยาศาสตร์มีแผนจะให้ยานแคสสินี บินเฉียดดวงจันทร์เอนเซลาดัสอีกครั้งในเดือนตุลาคม โดยมีระยะห่างเพียง 25 กิโลเมตรจากพื้นผิว
ที่มา - ScienceDaily
» Mr.JoH's blog
147 reads | https://jusci.net/node/706 | แคสสินีเริ่มส่งข้อมูลของดวงจันทร์เอนเซลาดัสกลับโลก |
นักวิทยาศาสตร์จากห้องวิจัยพลังงานทดแทนของกระทรวงพลังงานสหรัฐ (National Renewable Energy Laboratory) ได้สร้างประวัติศาสตร์ใหม่ โดยการพัฒนาโซลาร์เซลล์ที่มีประสิทธิภาพสูงถึง 40.8% ในการเปลี่ยนจากแสงเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นตัวเลขที่ได้รับการยืนยันว่าสูงที่สุดในปัจจุบัน
โซลาร์เซลล์อันนี้เป็นแบบชนิด tripple-junction ซึ่งถูกออกแบบและผลิตโดยนักวิจัยจาก NREL ประสิทธิภาพ 40.8% นั้นได้วัดมาจากแสงอาทิตย์ที่มีความเทียบเท่าดวงอาทิตย์ 326 ดวง ซึ่งคาดกันว่าเซลล์ชนิดนี้จะถูกนำไปใช้ในดาวเทียม หรือใช้ในการผลิตพลังงานโดยการนำเซลล์มาต่อกัน แล้วใช้เลนส์หรือกระจกในการรวมแสงให้ตกไปยังโซลาร์เซลล์
แทนที่จะใช้เยอมาเนียมเป็นจุดเชื่อมต่อด้านล่างของตัวอุปกรณ์ นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการออกแบบใหม่ โดยการใช้องค์ประกอบของแกลเลียม, อินเดียม, ฟอสฟอรัส, แกลเลียมอาร์เซไนด์ และอินเดียมอาร์เซไนด์ ในการแบ่งสเปกตรัมของแสงอาทิตย์ออกเป็น 3 ส่วน ซึ่งจะถูกดูดซับโดยแต่ละชั้นของเซลล์
โซลาร์เซลล์ที่ได้มีน้ำหนักเบาและบาง นอกจากนี้ยังมีข้อดีในเรื่องของประสิทธิภาพ, การออกแบบ, การทำงาน และราคาที่ไม่สูงจนเกินไป
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
217 reads | https://jusci.net/node/707 | สหรัฐประสบความสำเร็จในการพัฒนาโซลาเซลล์ประสิทธิภาพกว่า 40% |
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา Jusci.net ได้คำความตกลงกับ ทาง Blognone ในการร่วมมือผลักดันข่าววิทยาศาสตร์ โดยในช่วงแรกความเปลี่ยนแปลงของทั้งสองเว็บคงมีไม่มากนัก แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คือ
Jusci.net จะเป็นหน้าเว็บข่าววิทยาศาสตร์อย่างเป็นทางการของ Blognone
ในอนาคต ผู้ใช้ทั้งหมดสามารถ login เพียงแค่ที่เดียวเพื่อเข้าทั้งสองเว็บ โดยไม่ต้องมีล็อกอินแยกแต่ละเว็บ
อาจมีกาคัดลอก หรือย้ายข่าววิทยาศาสตร์ทั้งหมดของ Blognone มาไว้ยัง Jusci.net
Blognone เป็นเว็บข่าวไอทีอิสระ ที่มีชุมชนเข้มแข็ง ก่อตั้งโดย lew และ mk การร่วมมือกันในครั้งนี้ น่าจะช่วยผลักดันข่าววิทยาศาสตร์ให้เห็นที่นิยมมากขึ้น
สำหรับใครที่มีความเห็น หรืออยากเสนอแนะรูปแบบหรือฟีเจอร์ที่ต้องการ สามารถให้ความเห็นได้ที่ข่าว Blognone Science รวมกับ Jusci.net ครับ
» Mr.JoH's blog
256 reads | https://jusci.net/node/708 | Jusci.net ประกาศร่วมมือกับ Blognone |
นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จ ของยานแคสสินี เมื่อยานลำนี้สามารถระบุตำแหน่ง ของแหล่งกำเนิดพวยก๊าซที่เต็มไปด้วยน้ำแข็ง บนพื้นผิวของดวงจัทนทร์เอนเซลาดัส
รูปภาพล่าสุดที่ได้จากยานแคสสินี เผยให้เห็นรายละเอียดที่ชัดเจน ของรอยแตกที่นักวิทยาศาสตร์เรียกกันว่า ลายพาดกลอน เป็นบริเวณที่มีก๊าซพวยพุ่งออกมา รอยแตกดังกล่าวมีความลึก 300 เมตร ข้างในมีรูปทรงคล้ายตัว V
เป้าหมายที่สำคัญอันหนึ่ง ของการบินเฉียดดวงจันทร์เอนเซลาดัสในระยะใกล้ ของยานแคสสินี เพื่อต้องการหาตำแหน่งในรอยแตกของพื้นผิวดาว ที่ปลดปล่อยพวยก๊าซออกมา และค้นหาร่องรอยของสารอินทรีย์ ซึ่งตอนนี้นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษา ลักษณะและความรุนแรงของกระบวนการนี้ และผลกระทบต่อพื้นที่โดยรอบ รูปภาพที่ได้ร่วมกับข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์วัดอื่นๆ บนตัวยาน อาจจะสามารถ ตอบคำถามที่ว่า มีแหล่งน้ำอยู่ข้างใต้พื้นผิวของดาวหรือไม่
การถ่ายภาพพื้นผิวของดวงจันทร์เอนเซลาดัส ในระยะใกล้ไม่ใช่ใช่เรื่องง่าย เปรียบได้กับ การพยายามถ่ายภาพ ป้ายโฆษณาริมถนน ด้วยเลนส์เทเลโฟโต้ บนรถที่ขับด้วยความเร็วสูง ในมุมมองของยานแคสสินี ดวงจันทร์เอนเซลาดัส ก็เปรียบเสมือนเส้น ที่วิ่งผ่านท้องฟ้าไปอย่างรวดเร็ว วิธีการที่ดีที่สุดก็คือ ให้ยานแคสสินีอยู่ไกลจากดวงจันทร์เอนเซลาดัสพอสมควร แล้วหมุนยานและกล้อง ให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ในทิศทางที่คาดไว้แล้ว
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
274 reads | https://jusci.net/node/710 | แคสสินี พบแหล่งกำเนิดพวยก๊าซบนดวงจันทร์เอนเซลาดัส |
แฟร์มาต์
เกาส์
ออยเลอร์
จาโคบี
รามานุจัน
จี.เอช.ฮาร์ดี
แอนดรูว์ ไวลส์
» 152 reads | https://jusci.net/node/711 | นักคณิตศาสตร์ |
ดาวเทียมสำรวจดวงจันทร์ของจีน ซึ่งโคจรรอบดวงจันทร์มาเป็นเวลากว่า 9 เดือน สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาที่ไม่มีพลังงานจากแสงอาทิตย์มาได้
นักวิทยาศาสตร์ของจีน ได้ทำการปรับเปลี่ยนวงโคจรของดาวเทียม ฉางอี้ 1 (Chang’e ถ้าอ่านผิดก็ขออภัยด้วยครับ) และปิดการทำงาน ของอุปกรณ์บางส่วนเป็นการชั่วคราว ก่อนที่จะสูญเสียการติดต่อ เป็นเวลา 3 ชั่วโมง
สุริยุปราคาเกิดขึ้นตั้งแต่ 15.35 จนถึง 18.44 (เวลาประเทศจีน) ซึ่งถ้าคำนวนจากวงโคจรเดิม ฉางอี้ 1จะอยู่ในเงามืดเป็นเวลา 220 นาที แต่เมื่อปรับวงโคจรใหม่ ทำให้เวลาที่มันอยู๋ในเงามืดเหลือเพียง 168 นาที
ฉางอี้ 1 เป็นส่วนหนึ่งในสามของภารกิจสำรวจดวงจันทร์ของจีน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการลงจอดบนดวงจันทร์ ปล่อยยานสำรวจ เพื่อนำตัวอย่างดินและหินกลับมา ภายในปี 2017
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
356 reads | https://jusci.net/node/712 | ดาวเทียมจีน รอดพ้นจากสุริยุปราคา |
ความฝันที่จะทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถยืดหยุ่นได้นั้นมีมานานมากแล้ว โดยที่มามีความหวังที่จะทำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สวมใส่หรือโค้งงอไปกับการตคิดตั้งแบบต่างๆ แต่ที่ผ่านมาเทคโนโลยียางนำไฟฟ้านั้นมีค่าความนำไฟฟ้าเพียง 10S/cm และสามารถยืดได้เพียง 1.1 เท่าตัวเท่านั้น
แต่งานวิจัยล่าสุดจากมหาวิทยาลัยโตเกียวแสดงการค้นพบใหม่ที่สร้างวัสดุที่สามารถยืดได้ถึง 2.34 เท่าตัวและยังมีค่าความนำไฟฟ้าถึง 57S/cm
วัสดุแบบใหม่นี้มีส่วนประกอบหลักเป็น single wall carbon nanotubes (SWNTs), สารละลายไอออน, และเรซินแบบยืดหยุ่น โดยตัว SWNT นี้เป็นส่วนประกอบหลักที่ทำให้วัสดุมีความยืดหยุดเป็นอย่างดีและนำไฟฟ้า โดยทีมงานวิจัยเชื่อว่าสายใยของ Carbon Nanotube นี้พันกันอย่างยุ่งเหยิงในวัสดุและเมื่อถูกยืดออกแล้วจึงเรียงตัวเป็นเส้น ทำให้ค่าความนำไฟฟ้าไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป
ที่มา - Tech-On
» lew's blog
277 reads | https://jusci.net/node/713 | มหาวิทยาลัยโตเกียวประกาศความสำเร็จในการผลิตยางนำไฟฟ้า |
แสงไม่สามารถส่องผ่านวัถถุทึบแสง ไม่ว่ามันจะมีความบางแค่ไหนก็ตาม แต่อย่างไรก็ตาม นักฟิสิกส์ได้แสดงให้เห็นว่า ถ้ามีการจัดรูปแบบของคลื่นแสงดีๆ แล้วให้ผ่านไปยังช่องเล็กๆ ที่กระจายอยู่ในวัตถุ ก็จะทำให้แสงสามารถส่องผ่านได้
วัตถุเช่น กระดาษ, ผ้าใบ และนม ถูกจัดให้เป็นวัตถุทึบแสง เนื่องมาจากคุณสมบัติที่ทำให้แสงกระจาย เมื่อแสงเดินทางมากระทบ ก็จะทำให้หักเหไปในทุกทิศทาง
แต่ในทางทฤษฏี มีการคาดหมายกันว่า ในเนื้อวัตถุจะมีช่องขนาดเล็กๆ พอให้แสงสามารถผ่านไปได้ ในปี 1980 นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ทฤษฏีเมทริกซ์แบบสุ่ม (random matrix theory) แสงให้เห็นว่า ยิ่งวัตถุมีความหนาก็จะมีช่องดังกล่าวน้อยลง แต่ทว่า แม้กระทั่งวัตถุที่หนาที่สุด ก็ยังมีช่องดังกล่าวอยู่
Allard Mosk และ Ivo Vellekoop สองนักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัย Twente ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้แสดงให้เห็นวิธีหาช่องดังกล่าว และสาธิตวิธีการควบคุมรูปทรงาของแสง ที่ทำให้สามารผ่านช่องดังกล่าวได้
ในการทดลองนี้ นักฟิสิกส์ได้ทำการโฟกัสลำแสงเลเซอร์ ไปยังชั้นทึบแสงของ white zinc oxide (เป็นวัสดุที่จิตรกรใช้กัน) และทำการวัดแสงที่ปรากฏออกมาจากอีกด้าน และใช้ข้อมูลที่ได้ในการควบคุมรูปทรงของแสง โดยการป้อนข้อมูลกลับไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์
ในการที่จะเปลี่ยนรูปทรงของแสง นักฟิสิกส์ทำให้คลื่นแสงบางส่วนเดินทางช้าลง โดยการใช้ผลึกเหลว ทำให้เกิดการแทรกสอดกับแสงส่วนอื่น และในที่สุด ทำให้ปริมาณแสงที่ตกกระทบกับตัวกล้องเพิ่มมากถึง 44% เมื่อเทียบกับแสงที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนรูปทรงในตอนแรก
เมื่อนักฟิสิกส์เพิ่มความหนาของวัตถุให้หนามากขึ้น แสงก็สามารถส่งผ่านได้เหมือนเดิม ซึ่งจากการคำนวน 2 ใน 3 ของแสงสามารถผ่านไปได้ ซึ่งตรงกับทฤษฏีที่ได้คาดการณ์ไว้
ผลที่ได้จากการทดลองนี้ สามารถนำไปประยุกต์กับงานได้หลากหลายสาขา เช่นในทางการแพทย์, การผลิตชิป และในอนาคต นักวิจัยยังสามารถนำไปสู่ การเข้าใจคลื่นวิทยุได้ดียิ่งขึ้น
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
348 reads | https://jusci.net/node/714 | นักฟิสิกส์ส่งผ่านแสง ผ่านวัตถุทึบแสง |
โครงการ Ares 1 เป็นโครงการยานอวกาศในยุคหน้าที่เตรียมการไว้เพื่อการส่งมนุษย์ไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ และเตรียมการไปยังดาวอังคารในอนาคต ล่าสุดทางนาซ่าได้แถลงข่าวถึงเทคโนโลยีใหม่ที่จะช่วยแก้ปัญหาการสั่นไหวจากแรงขับของจรวด (thrust oscillation) ด้วยการติดสปริงระหว่างจรวดส่วนที่หนึ่งกับส่วนที่สอง
การสั่นไหวนี้เกิดจากการใช้เชื้อเพลิงแข็งในจรวดส่งไปตามท่อส่งเชื้อเพลิงทำให้เกิดปรากฏการณ์แบบเดียวกับเครื่องดนตรีแบบเป่าทำให้เกิดความสั่นพ้องที่ความถี่ประมาณ 12 ถึง 14 เฮิร์ต ทำให้นักบินทำงานได้ลำบาก ที่แย่กว่านั้นคืออาจจะทำให้นักบินบาดเจ็บหรืออุปกรณ์เสียหายได้
ระบบนี้มีข้อเสียคือนักบินจะต้องพบกับแรงกดดันที่สูงกว่าเดิมเป็น 5 ถึง 6 แรงจี หรือสองเท่าตัวของแรงกดดันบนกระสวยอวกาศปรกติ
ที่มา - USA Today
» lew's blog
34 reads | https://jusci.net/node/715 | นาซ่าใส่โช้คอัพกันกระเทือนให้ Ares 1 |
48
voted
เช็คอายุกันสักหน่อยสำหรับใครที่เคยท่องว่าลิ้นคนเรารับรสได้สี่รสคือ หวาน, เค็ม, เปรี้ยว, และขม (เผ็ดนั้นไม่ใช่รสชาติ แต่เป็นการสัมผัสความเป็นกรดของอาหาร) ช่วงประมาณสิบปีก่อนหน้านี้เรารู้จักรสชาติที่ห้าคือ “รสอร่อย” ที่ได้จากผงชูรส แต่วันนี้นักวิทยาศาสตร์พบว่ายังมีอีกรสชาติหนึ่งที่ถูกมองข้ามไปคือ “รสแคลเซียม”
ไม่ต้องอธิบายมากว่ารสชาตินี้เกิดจากการที่ลิ้นไปสัมผัสกับแคลเซียม โดยตัวรับแคลเซียมหรือ CaSR ที่พบในต่อพาราไทรอยด์อยู่ก่อนหน้านี้แล้ว และส่วนประกอบของตัวรับรสหวาน T1R3 ก็สามารถรับรสแคมเซียมนี้ได้เช่นกัน
งานวิจัยนี้ทำขึ้นด้วยความตั้งใจที่จะหาทางแก้ไขอาการเกลียดการบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมที่นำไปสู่อาการขาดสารอาหารในที่สุด
ที่มา - PhysOrg
» lew's blog
352 reads | https://jusci.net/node/716 | รสชาติที่หก "รสแคลเซียม" |
รัฐบาลอิหร่านประกาศเป้าหมายในโครงการพัฒนาด้านอวกาศของตนเองว่ามีแผนที่จะส่งมนุษย์ขึ้นไปสู่อวกาศ แม้เทคโนโลยีล่าสุดของอิหร่านนั้นยังไม่สามารถส่งแม้แต่ดาวเทียมไปยังอวกาศได้จริงๆ ก็ตาม
แผนการส่งมนุษย์ขึ้นไปยังอวกาศครั้งนี้เป็นแผนการยาวนานสิบปี และอิหร่านเตรียมการที่จะเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีอวกาศยานในภูมิภาคตะวันออกกลางภายในปี 2021 นี้
ทางการอิหร่านอ้างว่าประสบความสำเร็จในการส่งดาวเทียมไปโคจรบนวงโคจร Leo เป็นเวลา 24 ชั่วโมง แต่ไม่มีใครตรวจจับดาวเทียมดังกล่าวได้นอกจากเกาหลีเหนือ ทำให้หลายๆ คนเชื่อกันว่าเป็นเพียงการปล่อยข่าวลือหลังจากที่การส่งดาวเทียมประสบความล้มเหลวอีกครั้งเท่านั้น
ที่มา - YNet News
» lew's blog
15 reads | https://jusci.net/node/717 | อิหร่านตั้งเป้าส่งคนสู่อวกาศ |
งานวิจัยชิ้นล่าสุด ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาววิชาการ BMC Cancer ได้ระบุว่า การคิดในเชิงบวกและมีความสุข เป็นบทบาทสำคัญในการป้องกันโรคมะเร็งเต้านม ซึ่งตรงกันข้ามกับปัจจัยเสี่ยง อย่างเช่น การสูญเสียพ่อแม่, การหย่าร้าง, หรือการสูญเสียคู่ครอง ซึ่งล้วนแต่เพิ่มความเสี่ยง ในการเกิดมะเร็งเต้านมในเพศหญิงมากขึ้น
Ronit Peled จากคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัย Ben-Gurion ประเทศอิสราเอล โดยการสอบถามข้อมูลผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมจำนวน 255 คน และผู้หญิงที่ไม่ได้เป็นมะเร็งเต้านมอีก 367 คน โดยกลุ่มตัวอย่างจะได้รับคำถามเกี่ยวกับประสบการณ์ และประเมินผลเกี่ยวกับระดับความสุข, การมองโลกในแง่ดี, ความวิตกกังวล, และความเครียด เพื่อที่จะให้คำแนะนำ ซึ่งกลุ่มผู้หญิงที่มีปัจจัยด้านลบ จะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง
จากข้อมูลที่ได้ ทำให้นักวิจัยสามารถสรุปได้ว่า อารมณ์ความรู้สึก, การมองโลกในแง่ดี, แสดงบทบาทในแง่บวกต่อการป้องกันมะเร็งเต้านม ซึ่งนักวิจัยคาดว่า เนื่องมาจากระบบประสาทส่วนกลาง, ฮอร์โมน, และระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งทั้งหมดนี้ยังไม่เป็นที่เข้าใจแน่ชัด
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
220 reads | https://jusci.net/node/718 | คิดในเชิงบวก ช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม |
นักวิทยาศาสตร์ของญี่ปุ่น ให้ความสนใจศึกษาโครงสร้างของวิหารพาเธนอน หลังจากที่พบว่ามันสามารถคงทนอยู๋มาได้นานกว่า 2,500 ปี โดยไม่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวเลย
วิหารพาเธนอน สามารถทนต่อแผ่นดินไหวได้ค่อนข้างมาก ซึ่งเหมือนกับวิหารโบราณของชาวกรีกทั่วไป นั่นแสดงให้เห็นว่า ชาวกรีกโบราณ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของแผ่นดินไหว และมีความรู้ในการก่อสร้างค่อนข้างมาก
ทั้งญี่ปุ่นและกรีซ ตั้งอยู่บริเวณที่แผ่นเปลือกโลกยังมีพลังอยู่ ทำให้เกิดแผ่นดินไหวค่อนข้างบ่อย นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า มีองค์ประกอบบางอย่างที่เหมือนกัน ระหว่างวิหารของชาวกรีก และอนุสาวรีย์ของชาวญี่ปุ่น
วิหารพาเธนอน ผ่านร้อนผ่านหนาวมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหว เมื่อ 373 ปีก่อนคริศตกาล ซึ่งทำลายเมือง Elike ทั้งเมือง, แผ่นดินไหวครั้งใหญ๋ เมื่อ 226 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งได้ทำลาย โคลอสซัส ที่เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ และครั้งล่าสุด เมื่อปี 1999 ซึ่งมีแผ่นดินไหวขนาด 5.9 ริคเตอร์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 143 คน โดยโครงสร้างบางส่วนเสียหายเล็กน้อย แต่ก็ไม่ได้ทำลายโครงสร้างหลักแต่อย่างไร
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
295 reads | https://jusci.net/node/719 | ญี่ปุ่นเตรียมศึกษาวิหารพาเธนอน รับมือแผ่นดินไหว |
ผู้คนโดยทั่วไป มีแนวโน้มที่จะเห็นใจ เพื่อนหรือคนรักที่ประสบชะตากรรมเลวร้ายมากกว่าปกติ ผลจากการศึกษา ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Consumer Research
นักวิจัยได้ทำการทดลอง โดยทำการสอบถามคนแปลกหน้าบริเวณสถานีรถไฟ เกี่ยวกับความรู้สึกต่อ โรคอัลไซเมอร์, มะเร็งเต้านม, และการถูกไล่ออกจากงาน นักวิจัยพบว่า ผู้คนที่มีคนใล้กตัวผ่านประสบการณ์ดังกล่าวมาก่อน มีแนวโน้มที่จะเห็นใจผู้ที่ตกอยู่ในภาวะเดียวกันมากกว่าปกติ แต่สำหรับภาวะอื่นๆ ความเห็นใจก็ไม่ได้มีเพิ่มมากขึ้น
การทดลองอันต่อมา นักวิจัยได้สร้างเหตุการณ์สมมุติ โดยให้คนที่เป็นเพื่อนกันทำเงินจำนวน 10 เหรียญหายไป และต้องการความช่วยเหลือ หลังจากผู้ที่ทำการทดลองเป็นเพื่อนกัน พวกเขามีโอกาสที่จะบริจาคเงินให้กับผู้ที่ทำเงินหาย มากกว่าปกติ
นักวิจัยได้ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมว่า ความเห็นใจไม่ได้เพิ่มขึ้นในทุกกรณี จะเกิดขึ้นเฉพาะผุ้ที่ประสบสภาวะเดียวกันเท่านั้น ซึ่งจากงานวิจัยที่ได้ องค์กรการกุศลสามารถนำไปใช้เป็นกลยุทธ์ ในการเพิ่มเงินบริจาคได้
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
181 reads | https://jusci.net/node/720 | ความสัมพันธ์ส่วนตัว มีผลต่อการบริจาค |
ถ้าใครเคยดูสารคดีโลกร้อนหลายๆ เรื่องจะพบฉากหมีขั้วโลกกำลังว่ายน้ำอยู่เดียวดายท่ามกลางทะเลอันว่างเปล่า เพื่อแสดงว่าปัญหาโลกร้อนกำลังทำให้น้ำแข็งละลายเร็วขึ้นจนเป็นปัญหา
จริงๆ แล้วการที่หมีขั้วโลกไปว่ายน้ำอยู่กลางทะเลไม่ใช่เรื่องแปลกนัก แต่การสำรวจล่าสุดตัวเลขจำนวนหมีที่ว่ายน้ำอยู่กลางทะเลนั้นสูงถึงสิบตัว และตัวเลขนี้ดูเหมือนกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นับแต่ปี 2004 เป็นต้นมา
แม้ว่าหมีขั้วโลกจะสามารถว่ายน้ำอยู่กลางทะเลได้นับสิบไมล์ก็ตาม แต่การว่ายน้ำก็ทำให้หมีต้องเหนื่อยล้ากว่าปรกติ และอาจจะมีปัญหาต่อการอยู่รอดและการมีลูกของหมีที่ตั้งท้องได้
ทีมงานวิจัยยังไม่ยืนยันว่าหมีขั้วโลกนั้นประสบภัยจากโลกร้อนหรือไม่ โดยหมีทุกตัวที่พบในทะเลนั้นยังดูมีสุขภาพที่ดี
ที่มา - NY Times
» lew's blog
286 reads | https://jusci.net/node/721 | พบหมีขั้วโลกว่ายน้ำมากกว่าปรกติ |
ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงในปัจจุบัน ทำให้ปริมาณการใช้ไบโอดีเซลเพื่มขึ้นไปด้วย ซึ่งในการผลิตไบโอดีเซล ทำให้กรีเซอรอลซึ่งเป็นของเหลือจากกระบวนการผลิต มีปริมาณสูงมากขึ้นไปด้วย ทำให้ราคากรีเซอรอลในท้องตลาดต่ำลง การเพิ่มขึ้นของไบโอดีเซลในช่วงหลายปีที่ผ่านมาก ทำให้ตลาดไม่สามารถลองรับปริมาณกรีเซอรอลที่มีอยู่ได้ต่อไป
นักวิจัยได้คิดวิธีแก้ปัญหาดังกล่าว โดยการนำกรีเซอรอล มาใช้ในการผลิตกรดไขมัน โอเมกา 3 โดยการนำกรีเซอรอลมาใช้เป็นแหล่งคาร์บอนแก่ microalgae ซึ่งจะผลิตกรดไขมัน โอเมกา 3 ออกมา และจากความไม่บริสุทธิ์ที่ได้ของกรีเซอรอล ทำให้มันเหมาะกับการนำมาใช้เลี้ยงสาหร่าย และจากการการวิคราะห์ทางเคมี พบว่าสาหร่ายที่เลี้ยงด้วยกรีเซอรอล มีคุณภาพเดียวกับสาหร่ายที่เพาะเลี้ยงโดยทั่วไป
หลังจากที่สาหร่ายโต นักวิจัยสามารถนำไปเป็นอาหารสัตว์ ซึ่งเป็นการเลียนแบบกระบวนการธรรมชาติในปลา ซึ่งเมื่อปลากินสาหร่ายเข้าไปจะเก็บองค์ประกอบ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์ไว้ในตัวปลา เมื่อมนุษย์กินปลากเข้าไป จึงทำให้ได้รับกรดไขมันโอเมกา 3 ไปด้วย นำมันที่ได้จากปลามีราคาไม่แพง แต่มีรสชาติที่ไม่ถูกปากคนทั่วไป
ในตอนนี้นักวิจ้ย พยายามที่จะใช้สาหร่ายเป็นอาหารให้กับไก่ ซึ่งในขณะนี้นักวิจัย ยังไม่แน่ใจว่าคุณสมบัติของกรดไขมันโอเมกา 3 จะมีการเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ เมื่อเกิดกระบวนการอ็อกซิเดชัน
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
156 reads | https://jusci.net/node/722 | ของเหลือจากไบโอดีเซล กลายมาเป็นกรดไขมันเพื่อสุขภาพ |
ขนมขบเคี้ยวในปัจจุบัน มักจะมีให้เราเลือกหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นห่อเล็ก ห่อใหญ่ หลายคนเชื่อว่า การกินขนมห่อเล็กๆ น่าจะมีส่วนช่วยในการลดความอ้วนมากกว่า เพราะว่ามันมีปริมาณน้อย
แต่งานวิจัยล่าสุด ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Consumer Research อาจทำให้ความเชื่อเหล่านี้ต้องสั่นคลอน เพราะว่า คนที่กินขนมที่ให้พลังงานสูงห่อเล็กๆ จะทำให้ปริมาณการกินโดยรวมเพิ่มสูงขึ้น
นักวิจัยพบว่า ขนมห่อใหญ่ๆ จะทำให้คนกินมีความกังวลว่าจะกินในปริมาณมากเกินไป และจะพยายามกินให้น้อยลง ในขณะที่ขนมห่อเล็กๆ จะทำให้คนกินไม่รู้สึกกดดัน ซึ่งทำให้ไม่ระวังการกินที่เกินพอดี
แต่ซื้อขนมห่อใหญ่มา กินไม่หมดเนี่ยเสียดายนะ
ที่มา - Eurekalert
» Mr.JoH's blog
306 reads | https://jusci.net/node/723 | อย่าไว้ใจขนมห่อเล็กๆ มันทำให้คุณอ้วนได้ ! |
ความพยายามสร้างเครื่องบินแบบไร้มนุษย์ที่บินได้เองเป็นเวลานานๆ เป็นความฝันของวงการการบินที่ยิ่งใหญ่มากในช่วงห้าถึงสิบปีมานี้ ด้วยความฝันถึงการประยุกต์ใช้งานหลายๆ อย่างไม่ว่าจะเป็นการสำรวจอากาศ หรือการใช้งานเพื่อการสื่อสารแทนดาวเทียมที่ค่าขนส่งสูง และซ่อมบำรุงแทบไม่ได้
และแถลงการล่าสุดจากบริษัท QinetiQ ก็แสดงความสำเร็จสำหรับวงการนี้อย่างไม่เป็นทางการอีกครั้ง ด้วยการประกาศความสำเร็จในการส่งเครื่องบินแบบไร้มนุษย์ไปบินวนในอากาศได้ถึงสามวันครึ่ง หรือ 82 ชั่วโมง 37 นาที เทียบกับสถิติเดิมที่ 54 ชั่วโมง
เครื่องบิน Zephyr นี้สามารถขึ้นบินโดยไม่ต้องการรันเวย์แบบเครื่องบินอื่นๆ โดยการส่งเครื่องขึ้นสามารถทำได้ด้วยคน ระดับที่บินปรกติอยู่ที่ประมาณ 60,000 ฟุต การบินทั้งหมดควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติ และข้อมูลช่วยเหลือผ่านดาวเทียม
ผมเคยดูสารคดี เห็นว่าถ้าเครื่องบินแบบนี้เริ่มบินได้เกินหนึ่งสัปดาห์ ก็เริ่มคุ้มค่าที่จะนำมาใช้แทนดาวเทียมกันในหลายๆ งานแล้ว
ที่มา - QintetQ
» lew's blog
104 reads | https://jusci.net/node/724 | สถิติใหม่ของเครื่องบินแบบไร้มนุษย์ |
เมื่อวันศุกร์ที่แล้วองค์การนาซ่ามีกำหนดการปล่อยจรวดเพื่อทดสอบทางวิทยาศาสตร์ในระดับต่ำกว่าวงโคจร แต่หลังจากการปล่อยตัวไป 27 วินาที ความผิดปรกติก็เกิดขึ้นจนเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยต้องตัดสินใจกดปุ่มทำลายตัวเองเพื่อไม่ให้จรวดไปตกใส่ประชาชนหากบังคับทิศทางไม่ได้
จรวดดังกล่าวผลิตโดยบริษัท ATK ทำให้ทั้งทาง ATK และนาซ่าต้องออกมาประกาศร่วมกันว่าได้มีการจัดตั้งทีมงานเพื่อหาสาเหตุของความผิดพลาดดังกล่าวแล้ว
ที่มา - NASA
แถมวีดีโอการปล่อยจรวดให้ดูกันอีกหน่อย
» lew's blog
102 reads | https://jusci.net/node/725 | นาซ่าแถลงข่าวตรวจสอบสาเหตุความผิดปรกติในการปล่อยจรวดครั้งล่าสุด |
แผ่น CD-R ที่บ้านเราอาจจะใช้ได้ไม่เกินสัปดาห์ จนเรากังวลว่าอนาคตเมื่ออารยธรรมของเราสูญสลายไป จะมีใครบ้างที่เข้าใจความเป็นไปของคนยุคนี้
โครงการ Long Now เป็นโครงการที่ตั้งขึ้นมาเพื่อตอบคำถามนี้โดยเฉพาะเพื่อรักษาข้อมูลไว้ให้คนในอีกหมื่นปีข้างหน้าได้รับรู้ว่าโลกในศตวรรษที่ 20 นั้นมีความเป็นอยู่กันอย่างไร และผลพวงจากโครงการนี้ชิ้นล่าสุดคือ Rosetta Disk ที่ใช้เก็บข้อมูลด้านภาษาเพื่อคนในยุคหน้าโดยเฉพาะ
ตัวแผ่น Rosetta Disk นั้นด้านหนึ่งเป็นตัวอักษรขนาดใหญ่ที่เล็กลงเรื่อยๆ เป็นก้นหอย เพื่อชี้นำให้ผู้ที่พบเจอมันในอนาคตได้สังเกตว่าต้องขยายลวดลายบนตัวมันถึงจะอ่านได้ โดยตัวเอกสารแต่ละหน้านั้นจะมีความกว้างประมาณครึ่งมิลลิเมตร และต้องใช้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายห้าร้อยเท่าจึงสามารถอ่านออกได้
เอกสารทั้งหมดมีรวมแล้ว 15,000 หน้ากระดาษ โดยครึ่งบนจะเป็นเอกสารทางภาษาศาสตร์อธิบายถึงการใช้งานของภาษาต่างๆ ไว้กว่า 2,500 ภาษาทั่วโลก อีกด้านเป็นเอกสารด้านภาษาและเอกสารอื่นๆ เช่นพระคัมภีร์ไบเบิลในส่วนของปฐมกาล และเอกสารคำประกาศสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ
เอกสารทั้งหมดต้องการเพียงกล้องจุลทรรศน์โดยไม่ต้องการตีความเอกสารในรูปแบบอื่นๆ ทำให้ไม่ต้องกังวลกับฟอร์แมตเอกสารที่เปลี่ยนไปในอนาคต
Rosetta Disk นั้นตั้งชื่อเลียนแบบมาจาก Rosetta Stone ก้อนหินที่บันทึกกฎหมายของอียิปต์ไว้สามภาษาในแผ่นเดียว ทำให้โลกปัจจุบันเข้าใจภาษาโบราณได้ดีขึ้นเป็นอย่างมาก
ที่มา - Rosetta Disk
» lew's blog
132 reads | https://jusci.net/node/726 | โครงการ Long Now สร้างแผ่นบันทึกเอกสารเพื่ออนาคตอีกสองพันปี |
สองบริษัทยักษ์ใหญ่ในญี่ปุ่นคือ มิตซูบิชิและซันโยกำลังเตรียมการเพิ่มกำลังผลิตโซลาร์เซลล์แบบฟิล์มบางกันขนานใหญ่ โดยทางด้านมิตซูบิชิเองมีโครงการ PV ที่ไม่ระบุมูลค่า และทางซันโยนั้นประกาศว่ากำลังลงทุนในศูนย์พัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ขั้นสูงแห่งใหม่เป็นเงินกว่า 70 ล้านดอลลาร์
ทั้งสองบริษัทมีทางมุ่งหน้าไปทางเดียวกันคือการพัฒนาโซลาร์เซลล์แบบฟิล์มบางที่ผลิตเป็นปริมาณมากๆ ได้ง่ายกว่า โดยเทคโนโลยีของทางมิตซูบิชินั้นขณะนี้มีประสิทธิภาพอยู่ที่ร้อยละ 3.4 ส่วนยอดขายของวัสดุที่เกี่ยวกับโซลาร์เซลล์นั้นอยู่ที่ 18 ล้านดอลลาร์ต่อปี โดยมิตซูบิชิเชื่อว่าจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของโซลาร์เซลล์ของตนให้ไปอยู่ที่ร้อยละ 7 ได้ภายในปี 2010
ทางด้านซันโยนั้นลงทุนอย่างหนักด้วยการหยุดการพัฒนาเทคโนโลยีบางตัวเช่น OLED เพื่อนำวิศวกรไปทุ่มเทกับเทคโนโลยีโซลาร์เซลล์กันเลยทีเดียว โดยก่อนหน้านี้ทางซันโยเพิ่งสามารถสร้างโซลาร์เซลล์ประสิทธิภาพร้อยละ 22.3 ไปได้ แต่เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีแบบ HIT จึงยังมีราคาค่อนข้างแพง สำหรับโซลาร์เซลล์แบบฟิล์มบางนั้นทางซันโยตั้งเป้าประสิทธิภาพไว้ที่ร้อยละ 12
ที่มา - Renewable Energy World
» lew's blog
120 reads | https://jusci.net/node/727 | ญี่ปุ่นลงทุนขนานใหญ่ในโรงงานโซลาร์เซลล์แบบฟิล์มบาง |
หนึ่งในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในยุคนี้ โดยเฉพาะในกลุ่มศริสตชนแล้วคงหนีไม่พ้น Dead Sea Scrolls ม้วนหนังสือโบราณที่ค้นพบโดยบังเอิญในถ้ำแถบเวสต์แบงค์ เอกสารโบราณรวมถึงคัมภีร์ของศาสนายิวจำนวนมากที่ค้นพบนี้ มีสภาพที่สมบูรณ์กว่าที่เคยค้นพบในที่อื่นๆ หลายฉบับถูกนับเป็นเอกสารสำเนาที่เก่าแก่ที่สุดนับแต่มีการศึกษากันมา
ล่าสุดทาง Israeli Antiquities Authority เตรียมการถ่ายภาพเอกสารทั้งหมดและนำขึ้นเผยแพร่สู่สาธารณชนทางอินเทอร์เน็ตแล้ว โดยก่อนหน้านี้จะมีเพียงนักวิชาการกลุ่มเล็กๆ เท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงเอกสารเหล่านี้โดยตรง เนื่องจากตัวเอกสารมีความบอบบางมากจนแตกหักเสียหายได้อย่างง่ายดาย
การถ่ายภาพในครั้งนี้จะใช้เทคโนโลยีภาพถ่ายจากทางนาซ่า เพื่อเก็บรายละเอียดที่เสียไปตามกาลเวลาให้กลับคืนมาให้มากที่สุด
ที่มา - Google News (AP)
» lew's blog
160 reads | https://jusci.net/node/728 | อิสราเอลเตรียมปล่อยภาพถ่าย Dead Sea Scrolls ทางอินเทอร์เน็ต |
มหาวิทยาลัย Purdue ได้มีคำสั่งลงโทษดร. Rusi P. Taleyarkhan ด้วยการลดเงินเดือนลง 25,000 ดอลลาร์ต่อปี, ถอนชื่อออกจากการเป็นศาสตราจารย์ และสั่งห้ามเป็นที่ปรึกษาแก่นักศึกษาอีกสามปี จากการนำเสนอผลงานวิจัยที่มีแนวโน้มว่าจะมีการบิดเบือนผล
ดร. Taleyarkhan ได้เริ่มตีพิมพ์ผลงานวิจัยเมื่อปี 2002 ในการทำวิจัยร่วมกับ Oak Ridge National Laboratory โดยใช้คลื่นเสียงกระตุ้นให้อะตอมไฮโดรเจนมารวมตัวกันจนได้พลังงานออกมา โดยหลังจากนั้นมาหลายปียังไม่มีห้องวิจัยใดสามารถทำวิจัยนี้ซ้ำขึ้นมาได้
ยิ่งกว่านั้นดร. Taleyarkhan ยังเข้าไปมีส่วนพัวพันกับงานวิจัยที่ช่วยยืนยันผลงานวิจัยเดิมของตนเอง ด้วยการเข้าไปดูแลงานวิจัยของนักวิจัยในระดับ post-doctoral ตลอดจนมีเข้าไปมีส่วนในการเขียนรายงานออกมา โดยรายงานฉบับนั้นมีชื่อของนักศึกษาบางคนที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในงานวิจัยเข้าเป็นชื่อผู้ร่วมวิจัยด้วย
ดร. Taleyarkhan กำลังอยู่ระหว่างการตัดสินใจว่าจะยื่นฟ้องต่อศาลต่อสู้คำตัดสินนี้ หรือจะยอมรับผลการตัดสินต่อไป
ที่มา - NY Times
» lew's blog
147 reads | https://jusci.net/node/729 | นักวิจัยด้านพลังงานถูกลงโทษจากมหาวิทยาลัยจากการทำวิจัยไม่ซื่อตรง |
เลข Mersenne Prime คือจำนวนเฉพาะที่สามารถเขียนด้วยสมการ 2n-1 ได้ (เช่น 3 7 31) โดยก่อนหน้านี้มีการค้นพบ Mersene Prime ไปแล้ว 44 ตัว ช่วงหลังจากปี 1996 เป็นต้นมาได้เกิดโครงการ Great Internet Mersenne Prime Search (GIMPS) ซึ่งใช้การประมวลผลแบบกระจายช่วยคำนวณหาว่า ตัวเลขใดเป็น Mersenne Prime บ้าง
ล่าสุดเมื่อวันที่ 23 สิงหาคมที่ผ่านมา ทางโครงการ GIMPS ได้ค้นพบตัวเลข Mersenne Prime ตัวที่ 45 แล้ว เห็นว่ามีความยาวถึง 10 ล้านหลัก!!! คงนำมาลงในข่าวกันลำบากนะครับ ส่วนการตรวจสอบยืนยันว่าเป็นจำนวณเฉพาะจริง ก็คงต้องทำตามกระบวนการกันต่อไป
ที่มา - Slashdot
» mk's blog
260 reads | https://jusci.net/node/730 | พบเลข Mersenne Prime ตัวที่ 45 |
นักวิทยาศาสตร์แสดงความกังวลอัตราการลดลงของน้ำแข็งบริเวณทวีปอาร์กติกในปีนี้ว่ากำลังลดลงอย่างรวดเร็วจนมีแนวโน้มที่จะต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
ในปีที่แล้วน้ำแข็งลดลงต่ำสุดอยู่ที่ 4.13 ล้านตารางกิโลเมตรในช่วงกลางเดือนกันยายน ปีนี้ปริมาณน้ำแข็งมีอัตราการลดลงในช่วงเดือนที่ผ่านมาค่อนข้างเร็วมาก เมื่อคำนวณตามแน้วโน้มนี้แล้วในปีนี้น้ำแข็งอาจจะกำลังลดลงต่ำสุด
มีการวัดพื้นที่น้ำแข็งบริเวณทวีปอาร์กติกเป็นครั้งแรกในปี 1980 โดยในปีนั้นปริมาณน้ำแข็งต่ำสุดมีมากถึง 7.8 ล้านตารางกิโลเมตร
นักวิทยาศาสตร์คาดว่าหากยังเป็นเช่นนี้ต่อไป ทวีปอาร์กติกอาจจะมีหน้าร้อนที่ไม่มีน้ำแข็งเลยในปี 2080 โดยมีบางกลุ่มเชื่อว่าเหตุการณ์นี้อาจจะเกิดขึ้นภายใน 30 ปีข้างหน้าเท่านั้น
ที่มา - PhysOrg, BBC
» lew's blog
216 reads | https://jusci.net/node/731 | น้ำแข็งทวีปอาร์กติกอาจจะลดลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในปีนี้ |
นักชีวเคมีโดยส่วนมาก มีความเชื่อกันว่า การเคลื่อนที่ของโปรตีนเป็นไปแบบสุ่ม เราไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนที่ของมันได้
แต่ Robert Jernigan นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยไอโอว่าสเตท ได้แสดงผลการศึกษาที่ทำมาเป็นเวลากว่า 10 ปี พบว่า โปรตีนไม่เพียงแต่สามารถควบคุมการเคลื่อนที่ได้ แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของความสามารถของมันเอง
นักวิจัยได้ใช้โปรตีนของเชื้อไวรัส HIV เป็นตัวอย่างในการศึกษา โดยสร้างแบบจำลองอย่างง่ายขึ้นมา และทดสอบว่ามันเคลื่อนตำแหน่งไปอย่างไร จากผลการทดลองจริง พบว่าความสามารถในการเคลื่อนที่ จำเป็นต่อความสามารถในการทำงาน และการเคลื่อนที่จากการทดลองจริง ก็เป็นไปตามแบบจำลองที่ทำนายไว้
นักวิจัยเชื่อว่า งานวิจัยชิ้นนี้น่าจะเป็นก้าวแรก ของการทำความเข้าใจพฤติกรรมของเซลล์และโปรตีนได้ดียิ่งขึ้น
ที่มา - EurekAlert
» Mr.JoH's blog
168 reads | https://jusci.net/node/732 | โปรตีน สามารถควบคุมการเคลื่อนที่ได้ |
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของแคนาดา ออกมาประกาศยอดผู้เสียชีวิตล่าสุด จากเหตุการณ์เนื้อสัตว์ของบริษัท Maple Leaf Foods ถูกปนเปื้อนโดยแบคทีเรีย listeria monocytogenes ซึ่งขณะนี้มีผู้เสียชีวิตกว่า 15 คน
ผู้หญิงชราวัย 89 ปี คือเหยื่อรายแรกของเหตุการณ์ดังกล่าว หลังจากถูกนำส่งโรงพยาบาลเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ด้วยอาการไข้สูง, ร่างกายอ่อนแออย่างรุนแรง, หายใจลำบาก ในที่สุดก็หมดสติในคืนนั้น
Michael McCain ประธานของบริษัท Maple Leaf Foods ได้สั่งปิดโรงงานบริเวณพื้นที่เมืองโตรอนโต ซึ่งเชื่อว่ามีการปนเปื้อนมาจากบริเวณนี้ จนกว่าการสืบสวนจะเสร็จสิ้น
อาหารที่ถูกปนเปื้อนโดยเชื้อแบคทีเรีย listeria monocytogenes ไม่สามารถมองเห็นหรือมีกลิ่นเตือน แต่การกินอาหารที่มีการปนเปื้อน จะทำให้เกิดไข้สูง, ปวดหัวอย่างรุนแรง และมีอาการคลื่นไส้
มันจะเป็นการก่อการร้ายรึเปล่า ?
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
144 reads | https://jusci.net/node/733 | ยอดผู้เสียชีวิตจากเนื้อสัตว์ปนเปื้อน ในแคนาดา พุ่งไปที่ 15 ศพ ! |
นักวิจัยจาสวีเดน ได้รายงานว่า พบก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวการที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก ได้ไหลออกมาจากก้นทะเลไซบีเรีย
นักวิจัยพบระดับของมีเทนเหนือพื้นน้ำมากผิดปกติ และมีปริมาณมากยิ่งขึ้นเมื่อลึกลงไป ซึ่งแสดงให้เห็นชัดเจน ว่าแหล่งกำเนิดจะต้องอยู่ที่ก้นทะเล
นักวิทยาศาสตร์กลัวว่า ภาวะโลกร้อนจะเป็นสาเหตุทำให้พื้นน้ำแข็งของไซบีเรีย ทำการปล่อยก๊าซมีเทนออกมาสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้น ซึ่งตอนนี้ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน สามารถเห็นได้ทั่วไปในบริเวณใกล้ขั้วโลกเหนือ
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
394 reads | https://jusci.net/node/734 | ก๊าซมีเทนซึมจากก้นทะเลไซบีเรีย |
หนึ่งสุดยอดรถประหยัดพลังงานที่หลายๆ คนกำลังรอในวันนี้คงหนีไม่พ้น Plug in Prius รถแบบไฮบริดที่สามารถทำงานจากไฟฟ้าในบ้านได้โดยไม่ต้องพึ่งน้ำมันแม้แต่น้อย โดยกำหนดการเดิมของ Prius รุ่นใหม่นี้จะเริ่มเปิดตัวประมาณปี 2010
แต่เมื่อวานนี้ทาง Irv Miller รองประธานฝ่ายสื่อสารของโตโยต้าก็ออกมาระบุว่าบริษัทกำลังเร่งการเปิดตัวให้เร็วขึ้นกว่ากำหนดการเดิมอีกหนึ่งปี โดยภายในต้นปี 2009 จะมีรถ Plug in Prius หลายร้อยคันให้กับลูกค้าเชิงแบบองค์กร
แม้จะเป็นการเปิดตัวแบบจำกัด แต่โอกาสที่ชาวอเมริกันจะได้ลองขับรถรุ่นใหม่ที่ว่ากันว่ามีประสิทธิภาพสูงถึง 80 กิโลเมตรต่อน้ำมันหนึ่งลิตรก็มีมากขึ้นจนไม่ยากเกินความพยายามไปนัก
ที่ผ่านมาทางโตโยต้าได้เชิญนักข่าวหลายสำนักไปทำข่าวเรื่องของ Prius รุ่นใหม่นี้อยู่เนืองๆ โดยทาง Popular Mechanics ได้ชี้ประเด็นว่าระบบแบตเตอรี่ในรุ่นทดสอบนั้นยังไม่สมบูรณ์นัก เพราะมีน้ำหนักถึงหนึ่งร้อยกิโลกรัม ขณะที่สามารถจ่ายไฟเพื่อเดินทางได้เพียง 12 กิโลเมตร และทำความเร็วได้ไม่เกิน 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมงก่อนที่จะใช้งานน้ำมัน แต่ทางโตโยต้าก็ระบุว่ารถทดสอบนั้นใช้แบตเตอรี่แบบ NiMH แต่ตัวจริงที่จะวางขายนั้นน่าจะใช้แบตเตอรี่แบบ LiOn ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า
ที่มา - Toyota Blog, Popular Mechanics
» lew's blog
383 reads | https://jusci.net/node/735 | โตโยต้าเตรียมเปิดตัว Plug in Prius ต้นปีหน้า |
นักวิจัยจากญีปุ่นพบว่า ผู้หญิงที่กินกาแฟเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งมดลูกน้อยกว่าปกติ จากการศึกษาผู้หญิงญี่ปุ่นจำนวนกว่า 54,000 คน อายุตั้งแต่ 40 ถึง 69 ปี เป็นเวลากว่า 15 ปี พบว่ามีเพียง 117 คนเท่านั้น ที่เป็นมะเร็งมดลูก
นักวิจัยได้ทำการแบ่งกลุ่มของผู้หญิงออกเป็น 4 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ดื่มกาแฟมากกว่า 3 แก้วต่อวัน จะมีโอกาสเสี่ยงน้อยกว่าผู้ที่ดื่มน้อยกว่าสองแก้วต่อสัปดาห์ กว่า 60%
สาเหตุที่กาแฟมีส่วนช่วยลดมะเร็งมดลูก นักวิจัยคาดว่าเป็นเพราะ กาแฟมีผลไปลดระดับอินซูลิน ซึ่งเป็นไปได้ที่จะมีส่วนช่วยระงับ การพัฒนาเซลล์มะเร็งมดลูก
ที่มา - Phsyorg
» Mr.JoH's blog
314 reads | https://jusci.net/node/736 | กินกาแฟมาก มีโอกาสเป็นมะเร็งน้อยลง |
มีรายงานถึงคำสั่งให้มีการตรวจสอบถึงความเป็นไปได้ที่จะยืดอายุการใช้งานกระสวยอวกาศของสหรัฐฯ ออกไปจนถึงปี 2015 แทนที่จะปลดประจำการไปในปี 2010 ตามกำหนดการเดิม
กระสวยอวกาศของสหรัฐฯ รุ่นใหม่ที่มีชื่อว่า Orion นั้นคาดกันว่าจะเริ่มปฎิบัติภารกิจได้ในปี 2014 ตามแผนการเดิมนั้นสหรัฐฯ จะใช้จรวดของรัสเซียไปในระหว่างนี้ แต่ความตึงเครียดหลังการบุกจอร์เจียก็ทำให้สหรัฐฯ ต้องหาทางเลือกอื่นๆ เพิ่มเติม
นาซ่ายืนยันว่ายังไม่มีการเปลี่ยนแปลงแผนการใดๆ โดยการศึกษาดังกล่าวเป็นการเพิ่มทางเลือกในการตัดสินใจเท่านั้น
ที่มา - Orlando Sentinel
» lew's blog
232 reads | https://jusci.net/node/738 | นาซ่ากำลังพิจารณายืดอายุกระสวยอวกาศไปจนถึงปี 2015 |
บ้านเราภาคการเกษตรกับอุตสาหกรรมคงเป็นคงละเรื่องที่รวมกันไม่ได้ แต่ที่ญี่ปุ่นที่มีพื้นที่การเกษตรเพียงร้อยละ 12 ของพื้นที่ทั้งประเทศ และมีแรงงานในภาคการเกษตรเพียงร้อยละ 4.6 ทำให้ญี่ปุ่นผลักดักประสิทธิภาพการผลิตในเชิงการเกษตรได้อย่างต่อเนื่องตลอดมาจนเป็นประเทศที่ครองแชมป์ในด้านผลผลิตต่อพื้นที่มายาวนาน
เรื่องน่าสนใจในวันนี้คือการเปิดโรงงานของบริษัท Fairy Angel ที่อ้างว่าเป็นโรงงานผลิต “พืช” ที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้เปิดตัวไปแล้วเมื่อวันที่ 29 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยโรงงานแห่งนี้ใช้ที่ดินทั้งหมด 13,229 ตารางเมตรและคาดว่าเมื่อเดินหน้าเต็มกำลังการผลิตแล้วจะให้กำลังผลิตเป็นต้นพืชประมาณสามล้านต้นต่อปี
พืชทั้งหมดจะถูกปลูกในห้องไร้เชื้อที่ได้รับการควบคุมทุกอย่างนับแต่แสงสว่าง, อุณภูมิ, ความชื้น, และแร่ธาตุในดิน ทำให้ระยะเวลาที่ใช้ในการเพาะปลูกลดลงเหลือเพียงครึ่งเดียวจากการเกษตรแบบปรกติ โดยนับเวลาจากการเพาะเมล็ดใช้เวลาประมาณ 35 ถึง 50 วันจึงส่งเข้าสู่ตลาดได้
ที่มา - Tech-On
» lew's blog
303 reads | https://jusci.net/node/739 | เมื่อการเกษตรกับอุตสาหกรรมมารวมกัน |
จากความหวั่นวิตก ว่า LHC (Large Hadron Collider) จะสร้าง หลุมดำจิ๋ว (micro black hole) จนกลืนกินแม้กระทั่งโลกของเรา นักฟิสิกส์ 2 คนคือ Steven Giddings จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และ Michelangelo Mangano จาก CERN ได้เปิดเผย หลังจากไปสังเกตการณ์การเดินเครื่อง LHC เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ที่ผ่านมาก็ไม่พบวี่แววของ หลุมดำจิ๋ว เกิดขึ้นแต่อย่างใด
นอกจากนั้นพวกเขายังได้ตีพิมพ์ผลงานอธิบายถึงความเป็นไปได้นี้ ผ่านทาง วารสาร Physical Review D เมื่อวันที่ 18 สิงหาคมที่ผ่านมา ว่าแม้จะพิจารณาในกรณีที่สุดขั้วแล้วก็ตาม LHC ก็ไม่สามารถจะสร้างหลุมดำที่เสถียรเพียงพอที่จะทำลายล้างโลกได้
ในความเป็นจริงแล้ว LHC สามารถก่อกำเนิดหลุมดำจิ๋วได้ แต่มันจะไม่เสถียรอย่างมากและจะสลายหายไปภายในเวลาที่รวดเร็ว เนื่องด้วยปรากฎการณ์ การแผ่รังสีแบบฮอว์คิ้ง (Hawking’s Radiation)
นอกจากนั้น ทั้งคู่ยังกล่าวอีกว่า จริงๆแล้วพลังงานจากการเร่งอนุภาคมาชนกันของ LHC นั้นสามารถพบได้ทั่วไป เช่น ปรากฎการณ์ที่ รังสีคอสมิก จากอวกาศพุ่งเข้าปะทะกับชั้นบรรยากาศของโลก นั้นก็ให้พลังงานในช่วงเดียวกับที่ LHC ทำได้ ซึ่งถ้าพลังงานขนาดนั้นทำให้เกิดหลุมดำที่จะ กลืนกินโลกเราได้ เราก็คงไม่มีชีวิตอยู่กันมาจนถึงปัจจุบันนี้
อีกทั้ง ทั้งคู่ยังได้ลองทำการคำนวณต่อไปอีกว่า หากเกิดหลุมดำจิ๋วที่เสถียร ขึ้นจริง ไม่ว่าจะในชั้นบรรยากาศ หรือ ที่ LHC มันก็ต้องใช้เวลานานมากในการสะสมมวลจนเริ่มทำอันตรายต่อโลก จากการคำนวณพบว่าใช้เวลามากกว่าอายุขัยของดวงอาทิตย์ของเราซะอีก เพราะฉะนั้นไม่ต้องเป็นห่วง
ที่มา - Physorg
Citation - Phys. Rev. D 78, 035009 (2008) ผลงานที่ทั้งคู่ตีพิมพ์ครับผม
» Europa's blog
1241 reads | https://jusci.net/node/740 | ปลอดภัย !!! ไม่มีหลุมดำเกิดขึ้น ที่ LHC |
งานวิจัยฉบับใหม่ ที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร British Journal of Nutrition บอกว่า การบริโภคอาหารที่มีโปรตีนคุณภาพสูงในตอนเช้า จะทำให้รู้สึกมีพลังตลอดทั้งวัน
จากผลการวิจัย ทำให้นักวิจัยสามารถสรุปได้ว่า เมื่อกลุ่มตัวอย่างบริโภคโปรตีนที่มีคุณภาพสูง อย่างเช่น ไข่, เบคอน เป็นอาหารเช้า จะทำให้รู้สึกอิ่มได้ยาวนานตลอดวัน เมื่อเปรียบกับการบริโภคในมื้อเย็นหรือกลางวัน
นอกจากนี้ การเพิ่มปริมาณโปรตีนที่บริโภคในตอนเช้า ยังช่วยทำให้ผุ้ที่ต้องการลดน้ำหนัก สามารถควบคุมน้ำหนักของตัวเองได้ดีขึ้น
ที่มา - EurekaAlert
» Mr.JoH's blog
454 reads | https://jusci.net/node/741 | บริโภคโปรตีนในตอนเช้า มีส่วนช่วยลดน้ำหนัก |
ต้องยอมรับว่ารถไฮบริดนั้นโตโยต้ากำลังนำในตลาดนี้อย่างต่อเนื่องด้วย Prius และฮอนด้าเองกำลังไล่ตามมาอย่างสุดแรง แต่หมายเลขสามอย่างนิสสันนั้นก็ประกาศพัฒนารถ Plug-in Hybrid ที่สามารถวิ่งได้ด้วยพลังงานไฟฟ้าในบ้านและสามารถเปลี่ยนไปใช้พลังงานจากน้ำมันได้เมื่อจำเป็น
ส่วนรถยนต์แบบไฮบริดนั้นทางนิสสันคาดว่าจะวางตลาได้ในปี 2010
ที่มา - PhysOrg
» lew's blog
184 reads | https://jusci.net/node/742 | นิสสันเตรียมพัฒนา Plug-in Hybrid |
นาซาได้ออกมาประกาศ จัดตั้งทุนวิยหลังปริญญาเอก คาร์ล ซาแกน โดยเน้นไปยังการสำรวจ ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ นอกระบบสุริยะ รวมถึงความเป็นไปได้ของการมีสิ่งมีชีวิตบนดาวเคราะห์ดวงอื่น
จำนวนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะได้รับการค้นพบมากขึ้นทุกวัน ในขณะนี้มีดาวเคราะห์มากกว่า 300 ดวงที่ได้รับการค้นพบแล้ว ซึ่งก่อนหน้านั้นนานนับทศวรรษ คาร์ล ซาแกน ได้ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ ในการค้นหาสิ่งมีชีวิตที่อยู่บนดาวเคราะห์เหล่านั้น
สำหรับผู้ที่ได้รับทุนวิจัยนี้ จะได้เงินทุนในการวิจัยประมาณ 60,000 เหรียญสหรัฐต่อปี เป็นเวลา 3 ปี โดยหัวข้อการวิจัยจะมีตั้งแต่ เทคนิคการการหาดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ที่มีแสงจ้า ไปจนถึง การค้นหาองค์ประกอบที่จำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต บนดาวเคราะห์ดวงอื่น
นอกจากนี้ ทุนวิจัยคาร์ล ซาแกน ยังจะได้ร่วมมือกับทุนวิจัยอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ทุนวิจัยไอน์สไตน์ สำหรับการวิจัยฟิสิกส์ของจักรวาล และทุนวิจัยฮับเบิลสำหรับจุดกำเนิดของจักรวาล
คาร์ล ซาแกน เป็นนักดาราศาสตร์และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักกันมากจาก Contact (นิยาย), Cosmos (ทีวีซีรีย์และหนังสือ) และมีผลงานโดดเด่นอีกมากมาย
ไม่อยากจะบอกเลยว่า ชอบเรื่อง Contact มาก ดูเป็นรอบที่ร้อยได้แล้วมั้ง
ที่มา -Physorg
รายละเอียดเพิ่มเติม NASA’s Sagan Fellowships
» Mr.JoH's blog
176 reads | https://jusci.net/node/743 | ทุนวิจัยคาร์ล ซาแกน สำหรับการศึกษาโลกต่างดาว |
ดาวเทียม Rosetta ขององค์การอวกาศแห่งสหภาพยุโรปประสบความสำเร็จในการเดินทางสำรวจอุกาบาต Stiens ในวงแหวนระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสที่อยู่ห่างจากโลกไป 250 ล้านไมล์ แต่หลังจากดาวเทียมผ่านอุกาบาตในระยะ 500 ไมล์แล้ว กล้องความละเอียดสูงกลับหยุดทำงานลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
สาเหตุการของความผิดพลาดนี้อาจจะเกิดบั๊กของซอฟต์แวร์ โดยทีมงานจะตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงต่อไป
อย่างไรก็ตามภาพจากกล้องอีกตัวที่ทำงานในมุมกว้างยังคงใช้งานได้ และข้อมูลที่ได้มาก็เป็นประโยชน์ในเชิงวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก
อุกาบาต Stiens เป็นเป้าหมายแรกของดาวเทียม Rosetta ส่วนเป้าหมายต่อไปนั้นคือดาวหาง 67/P Churyumov-Gerasimenko ที่ดาวเทียมดวงนี้จะเข้าไปใกล้ได้ในปี 2014
ข้อมูลที่ได้จากดาวเทียมได้ถูกส่งไปยังมหาวิทยาลัยในเยอรมันและอิตาลีเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลแล้ว
ที่มา - Google News
» lew's blog
278 reads | https://jusci.net/node/744 | กล้องในดาวเทียมของยุโรปหยุดทำงานเมื่อผ่านอุกาบาต |
ความต้องการใช้พลังงานของโลกเพิ่มสูงขึ้นทุกวัน แหล่งพลังงานหลากหลายแหล่งได้ถูกนำมาใช้ พลังงานจากแสงอาทิตย์กำลังเป็นที่จับตามอง เนื่องจากเป็นพลังงานที่สะอาด และใช้ได้ไม่มีวันหมด
Daniel Lincot ประธานในการประชุม European Photovolaic Solar Energy ที่จัดขึ้นที่เมืองวาเลนเซีย ประเทศสเปน ได้กล่าวว่า “พลังงานแสงอาทิตย์ สามารถติดตั้งและใช้งานได้ทั่วโลก รวมถึงในมหาสมุทร และน่าจะตอบสนอง ความต้องการพลังงานของทั้งโลกได้”
ปัจจุบันนี้ ทั่วโลกมีการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ เป็นพื้นที่กว่า 40 ตารางกิโลเมตร ซึ่งคาดว่าในปี 2020 พื้นที่เหล่านี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 1,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งคิดเป็น 3% ของความต้องการใช้พลังงานของสภาพยุโรป ในตอนนั้น
ประเทศที่เป็นผู้นำในการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ได้แก่ประเทศเยอรมัน ซึ่งนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้กว่า 4,000 เมกะวัตต์ ในขณะที่สเปนตามมาเป็นอันดับสอง ด้วยปริมาณการใช้ 600 เมกะวัตต์
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
172 reads | https://jusci.net/node/745 | อนาคตของพลังงานแสงอาทิตย์ |
รายงานสด LHC ผ่านทาง Twitter
http://twitter.com/jusci
Popular Tags | https://jusci.net/node/746 | Page not found |
13
voted
โซลาร์เซลลแบบที่ใช้กันในทุกวันนี้มักเป็นแบบ polycrystsalline-siligon โดยมักมีความหนาอยู่ที่ 180 ไมโครเมตร แต่ด้วยเทคโนโลยีแบบใหม่ จึงมีความพยายามที่จะผลิตโซลาร์เซลล์ที่บางกว่าเดิมให้เหลือ 100 ไมโครเมตร
ทางมิตซูบิชิได้ประกาศในงานว่าโซลาร์เซลล์แบบบางนี้สามารถทำประสิทธิภาพได้ถึงร้อยละ 17.4 แล้ว และส่วนโซลาร์เซลล์แบบ 180 ไมโครเมตรนั้นก็สามารถดึงประสิทธิภาพขึ้นไปถึงร้อยละ 18.6 ด้วยเทคนิคการเรียงเซลล์แบบรังผึ้งเพื่อลดแสงสะท้อนที่จะลดประสิทธิภาพของเซลล์ลง
โปสเตอร์งานวิจัยทั้งสองชิ้นแสดงอยู่ที่งาน EU PVSEC
ที่มา - Tech-On
» lew's blog
160 reads | https://jusci.net/node/747 | มิตซูบิชินำเสนอผลงานพัฒนาประสิทธิภาพโซลาร์เซลล์ |
พยาบาล
นักศึกษา
ว่ายน้ำ
เมด
ช็อป
โปร่งใส
» 427 reads | https://jusci.net/node/748 | ชุด |
เป็นรายงานที่ตีพิมพ์ใน Psychosomatic Medicine โดยทีมวิจัยจาก Quebec ครับ กลุ่มตัวอย่างน้อยไปหน่อยแค่ 14 คน ถือเป็นการวิจัยชั้นต้นละกัน
ขั้นตอนการวิจัยคือคัดคนที่มีมวลกายมาตรฐานมากลุ่มหนึ่ง ให้ข้าวเช้ากินเท่ากัน จากนั้นให้เลือกทำกิจกรรมสามอย่างสลับๆ กันไปในแต่ละวัน ได้แก่ นั่งพักเฉยๆ บนเก้าอี้, อ่านและคัดย่อบทความ, ทำแบบทดสอบด้านจิตใจในคอมพิวเตอร์ (จะเห็นว่าดีกรีการใช้สมองต่างกัน)
เมื่อทำเสร็จจะสอบถามว่าผู้ร่วมทดลอง “หิว” ขนาดไหน และให้กินมื้อเที่ยงเป็นบุฟเฟ่ต์โดยวัดปริมาณอาหารที่ตักไว้ด้วย ผลสรุปว่า
คนที่อ่านและคัดย่อบทความ กินเยอะกว่าคนที่นั่งเฉยๆ 848 กิโลจูล
คนที่ทำแบบทดสอบบนคอมพิวเตอร์ กินเยอะกว่าคนที่นั่งเฉยๆ 1057 กิโลจูล
นั่นคือใช้สมองเยอะกว่าก็หิวง่ายกว่านั่นเอง ต่อไปนี้เรามีข้ออ้างในการกินมาม่าตอนดึกๆ แล้ว
ที่มา - Ars Technica
» mk's blog
338 reads | https://jusci.net/node/749 | นักวิจัยพบ "คิดมาก กินเยอะ" |
ทางการจีนกำลังเตรียมการส่งมนุษย์อวกาศขึ้นไปยังวงโคจรหลังจากประสบความสำเร็จมาแล้วสองครั้งในปี 2003 และ 2005 ในช่วงวันที่ 25 ถึง 30 ที่จะถึงนี้ทางการจีนก็ประกาศอย่างเป็นทางการว่าจะมีการส่งมนุษย์อวกาศขึ้นไปยังวงโคจรอีกครั้งเพื่อทำ space walk ครั้งแรกของชาวจีน
แม้จะมีการแสดงความสำเร็จของชาวจีนในแง่อวกาศในพิธีเปิดโอลิมปิกที่ผ่านมาเป็นมนุษย์อวกาศกำลังล่องลอยอยู่ในอวกาศ แต่ในภารกิจสองครั้งแรกนั้น ยังไม่เคยมีชาวจีนได้ใส่ชุดอวกาศออไปท่องอวกาศอย่างนั้นมาก่อน
ภารกิจครั้งนี้จีนจะใช้จรวด Long-March II-F พร้อมตัวยานอวกาศ Shenzhou ที่เป็นรุ่นปรับปรุงของยานโซยุซจากรัสเซียนั่นเอง
ทางการจีนระบุว่าจะมีชุดอวกาศสองรุ่นถูกส่งขึ้นไปพร้อมๆ กันในภารกิจนี้ คือชุดของทางรัสเซียและทางจีนเอง โดยไม่มีการให้เหตุผลที่ชัดเจนว่าทำไมจึงต้องส่งไปสองรุ่นพร้อมๆ กัน
พร้อมๆ กับการทำ space walk ภารกิจนี้จะมีการปล่อยดาวเทียมไปพร้อมๆ กันอีกด้วย
ที่มา - BBC
» lew's blog
219 reads | https://jusci.net/node/750 | จีนเตรียมส่งมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศเป็นครั้งที่สาม เตรียมทำ space walk ครั้งแรก |
ในรถรุ่นหรูๆ นั้นคงเป็นเรื่องปรกติที่จะมีการโชว์ “ความเงียบ” ที่ทำให้ผู้ขับรู้สึกดีกับรถที่ตนใช้มากกว่าปรกติ แต่สำหรับ Toyota Crown Hybrid นั้นอาจจะทำให้คู่แข่งหลายๆ รายต้องลำบากสักหน่อย เพราะโตโยต้าใช้การลดเสียงรบกวนแบบใช้พลังงาน (Active noise cancellation) เพื่อลดเสียงรบกวนในรถกันเลยทีเดียว
เทคโนโลยีแบบนี้เราคงเห็นได้บ่อยๆ ในหูฟังราคาแพงหลายๆ รุ่น โดยอาศัยไมโครโฟนที่อยู่ใกล้ๆ กับตัวผู้ฟังมาดักเสียงรบกวนที่กำลังเข้ามา แล้วให้ลำโพงปล่อยคลื่นเสียงในทางตรงกันข้ามเพื่อลดเสียงรบกวนให้ต่ำลง
โตโยต้าใช้มากกว่าไมโครโฟนตามปรกติ โดยยังมีการคำนวณรอบเครื่องยนต์ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดเสียงรบกวนหลักของรถมาใช้ในการสร้างเสียงหักล้าง ทำให้ลดเสียงรบกวนลงไปได้ถึง 10dB ทีเดียว
อย่าทำดีเกินไปจนคันหลังบีบแตรแล้วไม่ได้ยินแล้วกัน
ที่มา - Tech-On
» lew's blog
298 reads | https://jusci.net/node/751 | โตโยต้าเปิดตัวระบบลดเสียงรบกวนภายในรถ |
รายงานสด LHC ผ่านทาง Twitter
http://twitter.com/jusci
Popular Tags | https://jusci.net/node/752 | Page not found |
ความพยายามล่าสุดของสถาบันวัสดุศาสตร์แห่งชาติของญี่ปุ่นได้ประสบความสำเร็จกับการใช้สารโบรอนไนไตรด์มาใช้สร้างโซลาร์เซลล์ ทำให้ได้เซลล์ที่มีความใสต่อแสงที่ตามองเห็น แต่ยังสามารถผลิตไฟฟ้าไปได้พร้อมๆ กัน
ความยากของกระบวนการนี้คือการโดปสารกึ่งตัวนำลงไปในโบรอนที่ล้มเหลวมาก่อนหน้านี้ จนมีการนำกระบวนการ “laser mixing/plasma CVD” เข้ามาใช้งานจนประสบความสำเร็จ
เซลล์ที่ได้จากกระบวนการนี้มีประสิทธิภาพเพียงร้อยละสอง นับว่าห่างไกลจากเซลล์แบบทึบแสงไปหลายช่วงตัว แต่หากพัฒนายิ่งขึ้นไป พื้นที่ที่ติดตั้งเซลล์แบบนี้ได้จะกว้างไกลกว่าเดิม เพราะสามารถติดตั้งได้ทั้งอาคาร โดยไม่ต้องกังวลเรื่องของแสงสว่างภายใน
แต่ระหว่างนี้งานวิจัยนี้ก็เตรียมการวางตลาดแล้วสำหรับงานที่ต้องการโซลาร์เซลล์ความทนทานสูงเป็นพิเศษ เช่นโครงการทางอวกาศ และการสำรวจในพื้นที่พิเศษต่างๆ
ที่มา - Tech-On
» lew's blog
395 reads | https://jusci.net/node/754 | ญี่ปุ่นประกาศความสำเร็จในการสร้างโซลาร์เซลล์แบบใส |
เท่าที่ดูมาผมว่าอันนี้ดีสุดแล้วนะครับ มีใครมีอันอื่นมาแชร์กันบ้างไหม?
‹ โลโก้
» 63 reads | https://jusci.net/node/755 | วีดีโออธิบาย LHC |
Chayya Lal วัยรุ่นสาวชาวอินเดียกินยาฆ่าตัวตายเนื่องจากกลัวว่าจะเกิดหลุมดำจากเครื่อง Large Hadron Collider
เธอถูกพบหลังทานยาไม่ทราบชนิดเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา หลังจากนำส่งโรงพยาบาลแล้ว แพทย์ไม่สามารถช่วยชีวิตเธอไว้ได้
Chayya วิตกกังวลว่าจะเกิดหลุมดำหลังจากที่ได้ชมข่าวจากโทรทัศน์ โดยได้แสดงความกังวลกับครอบครัวหลายครั้ง ทางครอบครัวของเธอพยาบามเบี่ยงความสนใจของเธอไปทางอื่นแต่ไม่สำเร็จ
ไม่รู้ว่าจะโทษ LHC หรือโทษรายการโทรทัศน์ดี?
ที่มา - PhysOrg
» lew's blog
327 reads | https://jusci.net/node/756 | วัยรุ่นอินเดียฆ่าตัวตายเพราะกลัวหลุมดำจาก LHC |
บทความนี้เป็นตอนจบของซีรีย์ เครื่องเร่งอนุภาค LHC กุญแจไขความลับของจักรวาล โดยจะเป็นการสรุป, ข้อคิดเห็น และผลที่ได้รับ จากการเดินเครื่องเมื่อวันที่ 10 กันยายน
10 กันยายน CERN ทดลองอะไรไปบ้าง
การทดลองในวันที่ 10 กันยายนที่ผ่านมา เป็นการทดลองยิงลำแสงโปรตอน ผ่านสถานีวัดต่างๆ เป็นวงกลมให้ครบรอบครับ ไม่ได้มีการชนกันของอนุภาค ตามที่เป็นข่าวก่อนหน้านี้ โดยยิงลำแสงโปรตอนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา และทิศทางตามเข็มนาฬิกา เพื่อเป็นการทดสอบความพร้อมของเครื่องยิงอนุภาค แลทำการปรับแต่งให้เหมาะสม ก่อนที่จะมีการยิงให้ชนกันจริงๆ
หากใครได้ดูการถ่ายทอดสดของ CERN จะเห็นได้ว่าการยิงอนุภาค ยังไม่สามารถทำได้ราบรื่น การยิงลำแสงแรก ในทิศทางตามเข็มนาฬิกา มีปัญหาเมื่อเคลื่อนที่ไปได้เพียง 1/8 ของวงรอบ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ของ CERN ต้องทำการแก้ปัญหาอยู่หลายครั้ง จนทำให้ลำแสงแรกสามารถยิงได้ครบรอบ
สำหรับการยิงลำแสงที่สอง ซึ่งเป็นการยิงในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา ประสบความสำเร็จด้วยดี ไม่มีปัญหาติดขัดเหมือนลำแสงแรก
ครบรอบ…..แล้วไงต่อ ?
สำหรับคนทั่วไป การยิงลำแสงให้ครบรอบ อาจจะดูไม่สำคัญเหมือนกับมีการชนกันของอนุภาค (ซึ่งกลัวกันว่าจะทำให้เกิดหลุมดำ :P) แต่สำหรับนักวิทยาศาสตร์ของ CERN เมื่อลำแสงวิ่งได้ครบรอบ ถือเป็นวินาทีประวัติศาสตร์เลยก็ว่าได้ เนื่องจาก LHC ยังไม่เคยเร่งลำแสงให้ครบรอบได้มาก่อน ผมขอยกตัวอย่างข้อความ ในเว็บไซต์ของ CERN มาให้ดู
“ This historic event make a key moment in the transition from over two decades of preparation on a new era of scientific discovery”
หลังจากประสบความสำเร็จในเบื้องต้น นักวิทยาศาสตร์ของ CERN ยังต้องมีภาระกิจอีกมาก ในการนำข้อมูลที่ได้จากการทดลองในวันนี้ มาใช้ในการปรับแต่งเครื่องเร่งอนุภาค ให้สามารถทำงานได้ตามที่คาดหวังไว้ ซึ่งคงต้องใช้เวลาอีกหลายเดือน กว่าที่นักวิทยาศาสตร์ จะทำการทดลองการชนกันของอนุภาคจริงๆ
ความคิดเห็นของนักวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
Lyn Evans, LHC project leader
“มันเป็นช่วงเวลาที่น่ามหัศจรรย์, เราสามารถมองไปยังอนาคต ซึ่งจะเป็นยุคใหม่ ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ”
Pier Oddone, Director of the US Fermilab
“ความสำเร็จของเครื่องเร่งอนุภาค LHC เป็นการปฏิวัตวงการฟิสิกส์อนุภาค”
Vinod C. Sahni, Director of India’s Raja Ramanna Centre for Advance Technology
“มันเป็นช่วงเวลาที่น่าหลงไหล และเป็นประสบการณ์ที่มีคุณค่าสำหรับเรา”
Nigel S. Lockyer, Director of Canada’s TRIUMF laboratory
“มันเป็นการเดินทางเพียงสั้นๆ ของโปรตอน แต่เป็นการก้าวกระโดดครั้งใหญ่ของมนุษยชาติ”
คำถามที่น่าสนใจ
ทดลองไปทำไม, เพื่ออะไร, ได้อะไร, เอาไปใช้อะไรต่อ, สำคัญอย่างไร, ยิ่งใหญ่อย่างไร คำถามเหล่านี้เป็นคำถามที่พบบ่อย สำหรับคนทั่วไป ที่สนใจเรื่อง LHC แต่ไม่ได้เรียนมาทางสายวิทยาศาสตร์ ซึ่งการตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้ทั้งหมด คงไม่สามารถเขียนอธิบายได้ในบทความแค่ไม่กี่บทความ แต่ผมจะลองพยายามอธิบายเท่าที่ทำได้ครับ
การทดลองเครื่องเร่องอนุภาค LHC ของ CERN พูดให้เข้าใจได้ง่ายที่สุด ก็คือ การนำอนุภาคชนิดเดียวกันสองตัว มาวิ่งด้วยความเร็วเกือบเท่าแสง แล้วให้มันชนกัน แล้วนักวิทยาศาสตร์ก็จะคอยเก็บข้อมูลที่ได้จากการชนกัน ว่าเป็นไปตามทฤษฏีที่ตั้งไว้หรือเปล่า ถ้าใช่ ก็แสดงว่าทฤษฏีนั้นถูกต้อง แต่ถ้าไม่ใช่ ก็แสดงว่าทฤษฏีดังกล่าว ยังไม่มีความสมบูรณ์ นักวิทยาศาสตร์ก็ต้องปรับปรุงทฤษฏีให้ถูกต้องต่อไป
สำหรับคำถามที่ว่า มีประโยชน์อย่างไร, เอาไปใช้อะไรต่อ คงยังไม่สามารถตอบได้ในเร็วๆ นี้ เพราะการทดลองของ CERN เป็นการทดลองของวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ ซึ่งคงใช้เวลาอีกหลายปี กว่าจะนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์
ผลกระทบต่อสังคมไทย
การทดลองและทำการถ่ายทอดสด การเดินเครื่องเร่งอนุภาค LHC ของ CERN ทำให้สังคมไทย เกิดความตื่นตัวในเรื่องนี้มากพอสมควร นับเป็นครั้งแรกก็ว่าได้ ที่การทดลองทางวิทยาศาสตร์ ถูกถ่ายทอดผ่านทางทีวีของไทย (ถึงแม้จะถ่ายทอดสั้นๆ ก็ตาม) ส่วนบนสังคมอินเตอร์เน็ต มีการพูดถึงเรื่อง LHC กันอย่างกว้างขวาง ทาง jusci.net เอง ก็มีคนเข้ามาดูมากเป็นประวัติการณ์ (ได้ข่าวว่าเว็บเพื่อนบ้านอย่าง foosci ก็ไม่ต่างกัน)
สิ่งที่สำคัญหลังจากนี้ เราจะทำอย่างไรให้ความสนใจในเรื่องนี้ไม่จางหายไปตามกาลเวลา ถ้าหากเราสามารถใช้จังหวะนี้ กระตุ้นให้เยาวชนมีความสนใจ ไม่แน่ว่าในอนาคตอีกซัก 20 ปีข้างหน้า เราอาจจะมีนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล คนแรกของไทยก็เป็นได้ ^_^
» Mr.JoH's blog
571 reads | https://jusci.net/node/757 | เครื่องเร่งอนุภาค LHC กุญแจไขความลับของจักรวาล (2) |
9
voted
Peter Higgs นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้ซึ่งถูกนำชื่อไปตั้งให้กับอนุภาคพระเจ้า Higgs Boson เชื่อว่าอนุภาคดังกล่าว จะต้องถูกค้นพบโดยเครื่องเร่งอนุภาคที่ใหญ่ที่สุดในโลก หรือเครื่อง LHC อย่างแน่นอน
“มันน่าจะเป็นไปได้” คำพูดของศาสตราจารย์ Peter Higgs ซึ่งกล่าวขึ้นในไม่กี่ชั่วโมง หลังจากที่เครื่องเร่งอนุภาค LHC ได้เริ่มเดินเครื่อง
“ถ้าเกิดเราไม่เจออะไร ก็แสดงว่าเราไม่สามารถเข้าใจ แรงอันตรกิริยาแบบอ่อน และแรงแม่เหล็กไฟฟ้า ในแบบที่เราเช้าใจ ได้อีกต่อไป”
นักฟิสิกส์มีความสงสัยมายาวนาน ว่าอนุภาคมีมวลได้อย่างไร ในปี 1964 Peter Higgs ได้เสนอแนวคิดที่ว่า มีสนามบางอย่าง ซึ่งทำหน้าที่เหมือนมีความหนืด ซึ่งเมืออนุภาควิ่งผ่านสนามนี้ ก็จะเกิดมวล เนื่องจากต้องวิ่งผ่านตัวกลาง ซึ่งทฤษฏีนี้ได้รับการขนานนามว่า Higgs Boson หรือที่คนทั่วไปเรียกกันว่า อนุภาคพระเจ้า ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของเครื่องเร่งอนุภาค LHC
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
301 reads | https://jusci.net/node/758 | Peter Higgs มั่นใจ LHC ต้องเจออนุภาคพระเจ้าแน่นอน ! |
9
voted
นาซาได้เลื่อนการส่งยานบรรทุกสัมภาระ ไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ หลังจากที่พายุเฮอริเคน Ike ได้ถล่มเท็กซัส ซึ่งทำให้สถานีควบคุมการบินที่ฮุสตัน ต้องหยุดการทำงานชั่วคราว
ยานขนส่งสัมภาระของรัสเซีย “โปรเกรส” ได้รับการปล่อยขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันพฤสัสที่ผ่านมา ซึ่งมันได้บรรทุกสัมภาระหนักกว่า 2 ตัน สำหรับนักบินอวกาศชาวรัสเซีย ที่ประจำการอยู่บนสถานีอวกาศ
แต่อย่างไรก็ตาม ทางรัสเซียและสหรัฐ ได้เลื่อนกำหนดการเชื่อมต่อจากเดิมวันเสาร์ที่จะถึงนี้ ไปเป็นวันพุธ ซึ่งเจ้าหน้าที่คาดว่า ช่วงเวลาดังกล่าว พายุเฮอริเคน Ike คงจะผ่านพ้นไปแล้ว
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
162 reads | https://jusci.net/node/759 | นาซาเลื่อนการขนส่งสัมภาระ ไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ |
ช่วงปีที่แล้วบ้านเราคงมีกระแสการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกกันไปบ้างแล้ว โดยวัคซีนดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า Gardasil ช่วยป้องกันไวรัส HPV ซึ่งเป็นต้นเหตุของมะเร็งปากมดลูกถึงร้อยละ 70
หลังจากได้รับการรับรองไปเมื่อปี 2006 ตอนนี้งานวิจัยล่าสุดก็ทำให้ FDA หรือองค์การอาหารและยาของสหรัฐประกาศรับรองการใช้วัคซีนตัวนี้เพื่อป้องกันมะเร็งบริเวณช่องคลอดและปากช่องคลอดแล้ว
การทดลองเป็นการเฝ้าสังเกตกลุ่มตัวอย่าง 15,000 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับ Gardasil และกลุ่มที่ไม่ได้รับ กลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนนั้นมีรายงานว่าพบอาการเริ่มต้นของมะเร็งบริเวณปากช่องคลอดทั้งหมดสิบคน และอีกเก้าคนพบอาการแบบเดียวกันที่บริเวณช่องคลอด ส่วนกลุ่มที่ได้รับวัคซีนนั้นไม่พบอาการเลย
ผมไม่แน่ใจว่ามะเร็งชนิดนี้ในบ้านเรามีมากแค่ไหน แต่ในสหรัฐฯ มะเร็งปากมดลูกนั้นระบาดกว่ามะเร็งปากช่องคลอด และมะเร็งช่องคลอดรวมกันถึงสองเท่าตัว
ที่มา - PhysOrg
» lew's blog
172 reads | https://jusci.net/node/760 | อย. สหรัฐฯ รับรองวัคซีนป้องกันมะเร็งช่องคลอดและปากช่องคลอด |
มีข้อถกเถียงกันมานานในประเด็นของป่าไม้กับคาร์บอนในอากาศว่าป่านั้นเป็นแหล่งเก็บกักคาร์บอนเสมอไปหรือไม่ โดยเฉพาะในป่าที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปซึ่งจะมีกระบวนการย่อยสลายทำให้มีการปล่อยคาร์บอนออกมาด้วย
แต่งานวิจัยล่าสุดจากวารสาร Nature ก็ยืนยีนว่าพื้นที่ป่าแม้จะมีอายุมากก็ยังคงเป็นแหล่งเก็บกักคาร์บอนที่ดี โดยแม้ว่าป่าบางแห่งจะมีการปล่อยคาร์บอนออกมาบ้าง แต่ทีมวิจัยพบว่าโอกาสที่ป่าอายุ 60 ปีจะปล่อยคาร์บอนออกมานั้นมีเพียงร้อยละ 20 และแม้ตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นตามอายุป่า แต่ป่าอายุ 300 ปี ก็ยังมีโอกาสที่จะปล่อยคาร์บอนเพียงร้อยละ 35 เท่านั้น และโดยเฉลี่ยแล้วป่าอายุเกิน 15 ปีจะดูดซับเอาคาร์บอนไปเก็บไว้ปีละ 2.4 ตันต่อหนึ่งหมื่นตารางเมตร
ประเด็นที่น่ากังวลสักหน่อยคือป่าอายุมากๆ นั้นจะมีคาร์บอนเก็บอยู่สูงมาก หากเกิดไฟป่าขึ้นมาแล้วคาร์บอนทั้งหมดถูกปล่อยออกมาก็จะเป็นปัญหาใหญ่
ปริมาณคาร์บอนในอากาศมีผลโดยตรงต่อสภาวะโลกร้อน การลดโลกร้อนในทุกวันนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ และดูซับที่มีอยู่กลับลงมาบนโลกเป็นหลัก
ที่มา - ArsTechnica
» lew's blog
178 reads | https://jusci.net/node/761 | ป่าอายุมากยังคงเป็นแหล่งเก็บกักคาร์บอนที่ดี |
เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ นายบัน คี-มูน ได้ตกลงที่จะช่วยประชาสัมพันธ์พลังงานทางเลือก โดยการไปทำงานโดยใช้รถแท็กซี่พลังงานแสงอาทิตย์
นายบัน คี-มูน ได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวที่สำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ ว่าการที่เขาใช้รถแท็กซี่พลังงานแสงอาทิตย์ไปทำงาน จะเป็นการส่งข้อความไปยังผู้คนทั่วโลก ว่าสามารถใช้งานได้จริง
รถแท็กซี่พลังงานแสงอาทิตย์คันนี้ เป็นผลงานของวิศวกรชาวสวิสเซอร์แลนด์ Louis Palmer ซึ่งได้นำรถคันนี้ออกเดินทางไปทั่วโลก รวมถึงการประชุมเรื่องปัญหาโลกร้อน ที่บาหลี อินโดนีเซีย เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมาด้วย
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
154 reads | https://jusci.net/node/762 | เลขาธิการยูเอ็น ไปทำงานด้วยรถพลังงานแสงอาทิตย์ |
นาซ่าเปิดโครงการ MAVEN ซึ่งเป็นดาวเทียมสำรวจดาวอังคารที่จะเดินทางไปโคจรรอบดาวอังคารในปี 2014 โดยหวังว่าโครงการนี้จะเปิดความรู้ใหม่เกี่ยวกับสภาพอากาศบนดาวอังคารได้
ดาวอังคารเคยเป็นดาวที่มีชั้นบรรยากาศและน้ำคล้ายกับโลก แต่ทุกวันนี้สาเหตุที่ชั้นบรรยากาศหายไปยังคงเป็นปริศนา
วงโคจรของดาวเทียม MAVEN จะอยู่ระหว่าง 90 ถึง 3,870 ไมล์เหนือพื้นผิวดาวอังคาร และยังสามารถกดวงโคจรลงเหลือ 80 ไมล์ เพื่อเข้าไปสำรวจในชั้นบรรยากาศระดับสูงของดาวอังคารได้
นอกจากเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์แล้ว MAVEN จะติดตั้งกล้องโทรทรรศ์ที่ประสิทธิภาพสูงที่สุดเท่าที่เคยมีการส่งออกไปนอกวงโคจรโลกอีกด้วย
ที่มา - NASA
» lew's blog
158 reads | https://jusci.net/node/763 | นาซ่าเตรียมเดินทางไปยังดาวอังคารอีกครั้ง |
ข่าวนี้สำหรับคนที่มีลูกสาว และมีเพื่อนบ้านที่มีสภาพความเป็นอยู่ไม่ดี อาจจะต้องให้คำแนะนำกับลูกสาวมากขึ้นเป็นพิเศษ เมื่อนักวิจัยจากแคนาดาได้ออกมาเตือนว่า เด็กผู้หญิงที่อาศัยอยู๋ในบริเวณที่เพื่อนบ้านมีความเป็นอยู่ไม่ดี มีโอกาสเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร กับเด็กผู้ชายที่มีอายุมากกว่า งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Child Development
นักวิจัยพบว่า เด็กผู้หญิงวัยรุ่นที่มีปัญหามาก่อนแล้ว เมื่อมาอาศัยอยู่กับเพื่อนบ้านที่มีสภาพแวดล้อมไม่ดี มีโอกาสที่จะมีเพศสัมพันธ์กับเด็กผู้ชายที่มีอายุมากกว่าประมาณ 3 ปี โดยนักวิจัยได้ใช้กลุ่มตัวอย่างประมาณ 2,596 คน อายุตั้งแต่ 12 ถึง 15 ปี
อย่างไรก็ตาม เด็กผู้ชายกลับไม่พบปัญหาเดียวกับเด็กผู้หญิง ปัจจัยที่มีผลกับเด็กผู้ชายมากว่า ก็คือสภาพแวดล้อมภายในครอบครัว และปัญหาส่วนตัวซึ่งจะมีผลกระทบมากกว่า
อีกหน่อยใครมีลูกสาว แค่ไว้หนวดอย่างเดียวไม่พอ สงสัยต้องย้ายบ้านหนีด้วย
ที่มา - Eurekalert
» Mr.JoH's blog
190 reads | https://jusci.net/node/764 | เพื่อนบ้านมีผลต่อเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร |
นักวิทยาศาสตร์และวิศวกร จากมหาวิทยาลัยเท็กซัส ได้ประสบความสำเร็จ ในการใช้ กราฟีน (Graphene) ซึ่งเป็นโครงสร้างของคาร์บอนที่หน้าเพียง 1 อะตอม ในการใช้เก็บประจุไฟฟ้าใน ultracapacitor ซึ่งอาจเป็นการเปิดทาง ให้นำไปใช้ในการติดตั้งในระบบของพลังงานที่สามารถนำมาใช้ใหม่ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ หรือ พลังงานลม
วิธีการเก็บพลังงานไฟ้ากลับมาใช้ใหม่ ในปัจจุบันมี 2 วิธี นั่นก็คือ การใช้แบตเตอรี หรือการใช้ ultracapacitor ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก
การใช้งาน ultracapacitor ในปัจจุบัน สามารถนำไปใช้เป็นแหล่งพลังงานหลักได้โดยตรง หรือสามารถใช้งานร่วมกับแบตเตอรีหรือเซลล์เชื้อเพลิง ข้อดีของมันที่เหนือกว่าอุปกรณ์เก็บไฟฟ้าแบบเดิมๆ ก็คือ มีความสามารถจ่ายกำลังได้สูงกว่า, มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า, สามารถใช้งานที่อุณหภูมิหลากหลาย, เบากว่า และมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาต่ำกว่า
จากการศึกษาของนักวิจัย ultracapacitor ที่พัฒนามาจากกราฟีน มีความสามารถในการเก็บประจุไฟฟ้าต่อน้ำหนัก มากกว่า ultracapacitor ชนิดอื่นๆ และนักวิจัยคาดการว่า มันจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้มากกว่านี้อีก 2 เท่า
ที่มา -EurekAlert
» Mr.JoH's blog
168 reads | https://jusci.net/node/765 | วัสดุใหม่ ในการเก็บพลังงานไฟฟ้า |
จากข่าวเก่า ตอนนี้ทางรัฐบาลจีน ได้เปิดตัวชื่อของมนุษย์อวกาศ ที่จะปฏิบัติภารกิจ space walk ครั้งแรกของจีน
Zhai Zhigang นักบินขับไล่วัย 42 ปี จะรับหน้าที่ทำ space walk เป็นเวลา 40 นาที โดยนักบินอวกาศ 2 คนที่เหลือ จะทำหน้าที่ควบคุมยาน ซึ่งภารกิจทั้งหมดจะใช้เวลา 68 ชั่วโมง
ยานอวกาศจะถูกปล่อยออกไปในวันที่ 25 กันยายน และจะกลับสู่โลกในเขตมองโกเลียชั้นใน ในวันที่ 28 กันยายน
ที่มา - Physorg
» Mr.JoH's blog
98 reads | https://jusci.net/node/766 | จีนเลือกนักบินขับไล่ สำหรับการทำ space walk |
แม้จะมีความเชื่อกันมานานว่าพลาสติกที่ใช้บรรจุเครื่องดื่มและทำขวดนมเด็กที่เรียกว่า Bisphenol A หรือ BPA อาจจะมีผลต่อสุขภาพ แต่ก่อนหน้านี้งานวิจัยที่ยืนยันเรื่องนี้ได้ดีที่สุดยังคงเป็นงานวิจัยในสัตว์
แต่งานวิจัยล่าสุดใน Journal of the American Medical Association ได้มีการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 1,455 คน แล้วพบว่ากลุ่มที่มีอัตราการสัมผัสกับ BPA มากที่สุดร้อยละ 25 นั้นมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและเบาหวานสูงกว่ากลุ่มที่สัมผัสกับ BPA น้อยที่สุดถึงสองเท่าตัว
อย่างไรก็ตามควรระวังว่างานวิจัยนี้ไม่สามารถสรุปได้ว่า BPA เป็นต้นเหตุของโรคหัวใจและเบาหวาน โดยในประเด็นนี้คงต้องทำการวิจัยเพิ่มเติมอีกมาก
BPA มีการผลิตทั่วโลกอยู่ที่ประมาณสามล้านตันในปี 2003 โดยร้อยละ 72 ของจำนวนนี้เป็นการผลิตเพื่อนำไปผลิต Polycarbonate เพื่อขึ้นรูปเป็นภาชนะต่อไป
ที่มา - Reuters
» lew's blog
234 reads | https://jusci.net/node/767 | พบความเชื่อมโยงระหว่างภาชนะพลาสติกกับโรคบางโรค |