title
stringlengths 0
33.4k
| context
stringlengths 0
133k
| raw
stringlengths 39
133k
| url
stringlengths 0
53
|
---|---|---|---|
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สรรพากรดันกฎหมายเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มผู้ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ สร้างความเป็นธรรมและยกระดับระบบภาษีไทยทัดเทียมนานาชาติ | วันพุธที่ 10 มิถุนายน 2563
สรรพากรดันกฎหมายเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มผู้ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ สร้างความเป็นธรรมและยกระดับระบบภาษีไทยทัดเทียมนานาชาติ
ครม.มีมติเห็นชอบนําเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรฯ เพื่อจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มผู้ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ หรือแพลตฟอร์มจากต่างประเทศ ตามที่กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพากรเสนอ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบนําเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรฯ เพื่อจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มผู้ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ หรือแพลตฟอร์มจากต่างประเทศ ตามที่กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพากรเสนอ ช่วยสร้างความเป็นธรรมและยกระดับระบบภาษีไทยให้ทัดเทียมนานาชาติ
ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า “คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบส่งร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ (e-Service)) ให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ตามที่กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพากรเสนอ ในการจัดทําร่างกฎหมายดังกล่าวกรมสรรพากรได้นําผลการศึกษาขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ให้บริการ e-Service จากต่างประเทศ ที่มีข้อเสนอแนะให้ผู้ประกอบการต่างประเทศหรือดิจิทัลแพลตฟอร์มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและมีหน้าที่นําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่หน่วยงานจัดเก็บภาษี เป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพและดําเนินการได้มากที่สุด ปัจจุบันมีกว่า 60 ประเทศที่นําแนวทางของ OECD มาแก้ไขปัญหาการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีการให้บริการระหว่างประเทศ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ เป็นต้น”
ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวเพิ่มเติมว่า “ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรฯ กําหนดให้ผู้ให้บริการ e-Service จากต่างประเทศ หรือแพลตฟอร์มจากต่างประเทศ (เช่น การให้บริการดาวน์โหลดภาพยนตร์และสื่อบันเทิงต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต) ที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จากการให้บริการผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์แก่ลูกค้าในประเทศไทยที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่กรมสรรพากร เช่นเดียวกับแนวคิดของ OECD ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความง่ายและอํานวยความสะดวกในการชําระภาษีสําหรับผู้ใช้บริการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยผู้ให้บริการจากต่างประเทศทําหน้าที่นําส่งภาษีแทน ผ่านระบบบริการจดทะเบียนและชําระภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างง่าย (Simplified VAT)”
ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวสรุปว่า การปรับปรุงกฎหมายในครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบการในประเทศไทยกับผู้ประกอบการในต่างประเทศที่ให้บริการในประเทศไทย ทําให้การจัดเก็บภาษีมีความเหมาะสม สอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และยังเป็นการปรับปรุงกฎหมายภาษีไทยให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับแนวทางการจัดเก็บภาษีของนานาประเทศ และกรมสรรพากรคาดว่าการปรับปรุงกฎหมายในครั้งนี้จะช่วยทําให้จัดเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 3,000 ล้านบาท
กรมสรรพากร สํานักงานเลขานุการกรม ส่วนประชาสัมพันธ์
โทร. 0 2272 9529-30 โทรสาร 0 2617 3324
หรือศูนย์สารนิเทศสรรพากร 1161 (RD Intelligence Center) | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สรรพากรดันกฎหมายเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มผู้ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ สร้างความเป็นธรรมและยกระดับระบบภาษีไทยทัดเทียมนานาชาติ
วันพุธที่ 10 มิถุนายน 2563
สรรพากรดันกฎหมายเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มผู้ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ สร้างความเป็นธรรมและยกระดับระบบภาษีไทยทัดเทียมนานาชาติ
ครม.มีมติเห็นชอบนําเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรฯ เพื่อจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มผู้ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ หรือแพลตฟอร์มจากต่างประเทศ ตามที่กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพากรเสนอ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบนําเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรฯ เพื่อจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มผู้ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ หรือแพลตฟอร์มจากต่างประเทศ ตามที่กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพากรเสนอ ช่วยสร้างความเป็นธรรมและยกระดับระบบภาษีไทยให้ทัดเทียมนานาชาติ
ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า “คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบส่งร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ (e-Service)) ให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ตามที่กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพากรเสนอ ในการจัดทําร่างกฎหมายดังกล่าวกรมสรรพากรได้นําผลการศึกษาขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ให้บริการ e-Service จากต่างประเทศ ที่มีข้อเสนอแนะให้ผู้ประกอบการต่างประเทศหรือดิจิทัลแพลตฟอร์มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและมีหน้าที่นําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่หน่วยงานจัดเก็บภาษี เป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพและดําเนินการได้มากที่สุด ปัจจุบันมีกว่า 60 ประเทศที่นําแนวทางของ OECD มาแก้ไขปัญหาการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีการให้บริการระหว่างประเทศ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ เป็นต้น”
ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวเพิ่มเติมว่า “ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรฯ กําหนดให้ผู้ให้บริการ e-Service จากต่างประเทศ หรือแพลตฟอร์มจากต่างประเทศ (เช่น การให้บริการดาวน์โหลดภาพยนตร์และสื่อบันเทิงต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต) ที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จากการให้บริการผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์แก่ลูกค้าในประเทศไทยที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่กรมสรรพากร เช่นเดียวกับแนวคิดของ OECD ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความง่ายและอํานวยความสะดวกในการชําระภาษีสําหรับผู้ใช้บริการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยผู้ให้บริการจากต่างประเทศทําหน้าที่นําส่งภาษีแทน ผ่านระบบบริการจดทะเบียนและชําระภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างง่าย (Simplified VAT)”
ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวสรุปว่า การปรับปรุงกฎหมายในครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบการในประเทศไทยกับผู้ประกอบการในต่างประเทศที่ให้บริการในประเทศไทย ทําให้การจัดเก็บภาษีมีความเหมาะสม สอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และยังเป็นการปรับปรุงกฎหมายภาษีไทยให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับแนวทางการจัดเก็บภาษีของนานาประเทศ และกรมสรรพากรคาดว่าการปรับปรุงกฎหมายในครั้งนี้จะช่วยทําให้จัดเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 3,000 ล้านบาท
กรมสรรพากร สํานักงานเลขานุการกรม ส่วนประชาสัมพันธ์
โทร. 0 2272 9529-30 โทรสาร 0 2617 3324
หรือศูนย์สารนิเทศสรรพากร 1161 (RD Intelligence Center) | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/32136 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธพว.ผนึกภาครัฐ-เอกชนแอ่วเชียงใหม่จัด “SME D Services” ครั้งที่ 3 อุ้มเอสเอ็มอีธุรกิจท่องเที่ยวภาคเหนือเข้าถึงสินเชื่อพิเศษ“Extra Cash”ฟื้นฟูธุรกิจ [กระทรวงการคลัง] | วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน 2563
ธพว.ผนึกภาครัฐ-เอกชนแอ่วเชียงใหม่จัด “SME D Services” ครั้งที่ 3 อุ้มเอสเอ็มอีธุรกิจท่องเที่ยวภาคเหนือเข้าถึงสินเชื่อพิเศษ“Extra Cash”ฟื้นฟูธุรกิจ [กระทรวงการคลัง]
ธพว.ผนึกภาครัฐ-เอกชนแอ่วเชียงใหม่จัด “SME D Services” ครั้งที่ 3 อุ้มเอสเอ็มอีธุรกิจท่องเที่ยวภาคเหนือเข้าถึงสินเชื่อพิเศษ“Extra Cash”ฟื้นฟูธุรกิจ
ธพว.ผนึกกําลังภาครัฐและเอกชน ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จัด “SME D Services” ครั้งที่ 3 เร่งดูแลช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีท่องเที่ยวภาคเหนือที่ได้รับผลกระทบโควิด-19พาเข้าถึงแหล่งเงินทุนพิเศษ “สินเชื่อรายเล็ก Extra Cash” ดอกเบี้ยต่ํา ไม่ต้องใช้หลักประกัน นําไปใช้เสริมสภาพคล่อง ฟื้นฟูธุรกิจ
นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือSME D Bank เปิดเผยว่าธพว.ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ เพื่อการพัฒนา SMEs ไทย ดําเนินตามนโยบายของกระทรวงการคลัง เร่งเยียวยาฟื้นฟูประชาชนและภาคธุรกิจเอสเอ็มอีโดยเฉพาะธุรกิจการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ผ่านโครงการ “SME D Services”เสริมแกร่ง SMEs ท่องเที่ยวไทยจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3ในวันที่ 5 มิถุนายน 2563ณ ศาลาริมน้ํา ปางช้างแม่แตง อ.แม่แตง จังหวัดเชียงใหม่เพื่อให้คําปรึกษา ตลอดจนส่งเสริมเอสเอ็มอีท่องเที่ยว ในพื้นที่ภาคเหนือเข้าถึง“สินเชื่อรายเล็ก Extra Cash”มีจุดเด่นอัตราดอกเบี้ยพิเศษ และที่สําคัญไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ําประกัน ซึ่งธพว. ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ปล่อยกู้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีท่องเที่ยว นําไปใช้เสริมสภาพคล่อง ตลอดจนฟื้นฟูธุรกิจ
สําหรับการจัดโครงการ“SME D Services”ครั้งที่ 3 ณ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นความร่วมมือระหว่าง ธพว.และหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วยสํานักงานพาณิชย์ จังหวัดเชียงใหม่, กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, สภาอุตสาหกรรม (สอท.) จังหวัดเชียงใหม่, สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่
“ธพว.ทํางานเชิงรุก ด้วยการลงพื้นที่ช่วยเหลือเอสเอ็มอีในจังหวัดท่องเที่ยวสําคัญๆ ทั่วประเทศโดยที่ผ่านมาจัดงานที่กรุงเทพฯมาแล้ว2 ครั้ง ส่วนครั้งที่ 3 ได้เลือกจังหวัดเชียงใหม่ เพราะเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวภาคเหนือ มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีธุรกิจท่องเที่ยวอยู่จํานวนมากโดย ธพว. จะจัดโครงการนี้ในจังหวัดท่องเที่ยวหลักอื่นๆ ต่อเนื่องทั้งทางภาคตะวันออก อีสาน และใต้ นอกจากนั้น ยังส่งเจ้าหน้าที่สาขาทั่วประเทศเข้าพบกับตัวแทนผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวของแต่ละสมาคมอย่างใกล้ชิดเพื่อพาถึงเข้าถึงสินเชื่อรายเล็ก Extra Cashช่วยให้ธุรกิจเอสเอ็มอีท่องเที่ยวมีเงินทุนหมุนเวียน นํามาใช้เป็นทุนฟื้นฟูธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ” นางสาวนารถนารีกล่าว
ทั้งนี้ สินเชื่อรายเล็ก Extra Cash เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการจดทะเบียน “นิติบุคคล” ซึ่งมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี ใน 5 ธุรกิจท่องเที่ยว ได้แก่ 1.ธุรกิจทัวร์ บริษัทนําเที่ยว 2.ธุรกิจสปา 3.ธุรกิจขนส่งที่เกี่ยวเนื่อง (รถทัวร์ รถบัส รถตู้ รถแท็กซี่ เรือนําเที่ยว รถเช่า)4.โรงแรม ห้องพัก และ 5.ร้านอาหารระยะเวลาผ่อนนานสูงสุดถึง 5 ปี คิดอัตราดอกเบี้ยต่ําพิเศษช่วง 2 ปีแรก ร้อยละ 3 ต่อปี และปีที่ 3-5 ร้อยละ MLR+1 ต่อปีวงเงินกู้สูงสุด 3 ล้านบาทต่อรายและไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ําประกัน
สําหรับผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวทั่วไปที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของสมาคมต่างๆ ข้างต้น สามารถแจ้งความประสงค์ขอสินเชื่อรายเล็ก Extra Cash ได้เช่นกัน ผ่านช่องทางการยื่นกู้ออนไลน์ที่มีให้เลือกหลากหลายช่องทาง เช่นLINE Official Account:SME Development Bank,เว็บไซต์ของ ธพว. (www.smebank.co.th)และผ่านแอปพลิเคชัน “SME D Bank”ดาวน์โหลดได้ทั้งระบบ IOS และ Android เป็นต้น หลังจากเข้าสู่ระบบแล้ว เพียงกรอกรายละเอียดเบื้องต้น จากนั้น เจ้าหน้าที่สาขาธนาคารจะติดต่อกลับ เพื่อดําเนินการขั้นตอนต่อไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่Call Center 1357 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธพว.ผนึกภาครัฐ-เอกชนแอ่วเชียงใหม่จัด “SME D Services” ครั้งที่ 3 อุ้มเอสเอ็มอีธุรกิจท่องเที่ยวภาคเหนือเข้าถึงสินเชื่อพิเศษ“Extra Cash”ฟื้นฟูธุรกิจ [กระทรวงการคลัง]
วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน 2563
ธพว.ผนึกภาครัฐ-เอกชนแอ่วเชียงใหม่จัด “SME D Services” ครั้งที่ 3 อุ้มเอสเอ็มอีธุรกิจท่องเที่ยวภาคเหนือเข้าถึงสินเชื่อพิเศษ“Extra Cash”ฟื้นฟูธุรกิจ [กระทรวงการคลัง]
ธพว.ผนึกภาครัฐ-เอกชนแอ่วเชียงใหม่จัด “SME D Services” ครั้งที่ 3 อุ้มเอสเอ็มอีธุรกิจท่องเที่ยวภาคเหนือเข้าถึงสินเชื่อพิเศษ“Extra Cash”ฟื้นฟูธุรกิจ
ธพว.ผนึกกําลังภาครัฐและเอกชน ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จัด “SME D Services” ครั้งที่ 3 เร่งดูแลช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีท่องเที่ยวภาคเหนือที่ได้รับผลกระทบโควิด-19พาเข้าถึงแหล่งเงินทุนพิเศษ “สินเชื่อรายเล็ก Extra Cash” ดอกเบี้ยต่ํา ไม่ต้องใช้หลักประกัน นําไปใช้เสริมสภาพคล่อง ฟื้นฟูธุรกิจ
นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือSME D Bank เปิดเผยว่าธพว.ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ เพื่อการพัฒนา SMEs ไทย ดําเนินตามนโยบายของกระทรวงการคลัง เร่งเยียวยาฟื้นฟูประชาชนและภาคธุรกิจเอสเอ็มอีโดยเฉพาะธุรกิจการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ผ่านโครงการ “SME D Services”เสริมแกร่ง SMEs ท่องเที่ยวไทยจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3ในวันที่ 5 มิถุนายน 2563ณ ศาลาริมน้ํา ปางช้างแม่แตง อ.แม่แตง จังหวัดเชียงใหม่เพื่อให้คําปรึกษา ตลอดจนส่งเสริมเอสเอ็มอีท่องเที่ยว ในพื้นที่ภาคเหนือเข้าถึง“สินเชื่อรายเล็ก Extra Cash”มีจุดเด่นอัตราดอกเบี้ยพิเศษ และที่สําคัญไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ําประกัน ซึ่งธพว. ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ปล่อยกู้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีท่องเที่ยว นําไปใช้เสริมสภาพคล่อง ตลอดจนฟื้นฟูธุรกิจ
สําหรับการจัดโครงการ“SME D Services”ครั้งที่ 3 ณ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นความร่วมมือระหว่าง ธพว.และหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วยสํานักงานพาณิชย์ จังหวัดเชียงใหม่, กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, สภาอุตสาหกรรม (สอท.) จังหวัดเชียงใหม่, สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่
“ธพว.ทํางานเชิงรุก ด้วยการลงพื้นที่ช่วยเหลือเอสเอ็มอีในจังหวัดท่องเที่ยวสําคัญๆ ทั่วประเทศโดยที่ผ่านมาจัดงานที่กรุงเทพฯมาแล้ว2 ครั้ง ส่วนครั้งที่ 3 ได้เลือกจังหวัดเชียงใหม่ เพราะเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวภาคเหนือ มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีธุรกิจท่องเที่ยวอยู่จํานวนมากโดย ธพว. จะจัดโครงการนี้ในจังหวัดท่องเที่ยวหลักอื่นๆ ต่อเนื่องทั้งทางภาคตะวันออก อีสาน และใต้ นอกจากนั้น ยังส่งเจ้าหน้าที่สาขาทั่วประเทศเข้าพบกับตัวแทนผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวของแต่ละสมาคมอย่างใกล้ชิดเพื่อพาถึงเข้าถึงสินเชื่อรายเล็ก Extra Cashช่วยให้ธุรกิจเอสเอ็มอีท่องเที่ยวมีเงินทุนหมุนเวียน นํามาใช้เป็นทุนฟื้นฟูธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ” นางสาวนารถนารีกล่าว
ทั้งนี้ สินเชื่อรายเล็ก Extra Cash เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการจดทะเบียน “นิติบุคคล” ซึ่งมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี ใน 5 ธุรกิจท่องเที่ยว ได้แก่ 1.ธุรกิจทัวร์ บริษัทนําเที่ยว 2.ธุรกิจสปา 3.ธุรกิจขนส่งที่เกี่ยวเนื่อง (รถทัวร์ รถบัส รถตู้ รถแท็กซี่ เรือนําเที่ยว รถเช่า)4.โรงแรม ห้องพัก และ 5.ร้านอาหารระยะเวลาผ่อนนานสูงสุดถึง 5 ปี คิดอัตราดอกเบี้ยต่ําพิเศษช่วง 2 ปีแรก ร้อยละ 3 ต่อปี และปีที่ 3-5 ร้อยละ MLR+1 ต่อปีวงเงินกู้สูงสุด 3 ล้านบาทต่อรายและไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ําประกัน
สําหรับผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวทั่วไปที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของสมาคมต่างๆ ข้างต้น สามารถแจ้งความประสงค์ขอสินเชื่อรายเล็ก Extra Cash ได้เช่นกัน ผ่านช่องทางการยื่นกู้ออนไลน์ที่มีให้เลือกหลากหลายช่องทาง เช่นLINE Official Account:SME Development Bank,เว็บไซต์ของ ธพว. (www.smebank.co.th)และผ่านแอปพลิเคชัน “SME D Bank”ดาวน์โหลดได้ทั้งระบบ IOS และ Android เป็นต้น หลังจากเข้าสู่ระบบแล้ว เพียงกรอกรายละเอียดเบื้องต้น จากนั้น เจ้าหน้าที่สาขาธนาคารจะติดต่อกลับ เพื่อดําเนินการขั้นตอนต่อไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่Call Center 1357 | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/31979 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมช.มท.เปิดโครงการอบรมบุคลากรกรมที่ดิน “บริการดี ไม่มีทุจริต” ของสำนักงานที่ดินกรุงเทพฯ และสาขา ประจำปี พ.ศ.2560 ย้ำการทำงานยุคใหม่ต้องโปร่งใส - ไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการทำงาน | วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม 2560
รมช.มท.เปิดโครงการอบรมบุคลากรกรมที่ดิน “บริการดี ไม่มีทุจริต” ของสํานักงานที่ดินกรุงเทพฯ และสาขา ประจําปี พ.ศ.2560 ย้ําการทํางานยุคใหม่ต้องโปร่งใส - ไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการทํางาน
รมช.มท. ประธานเปิดโครงการอบรมบุคลากรกรมที่ดิน “บริการดี ไม่มีทุจริต” ของสํานักงานที่ดินกรุงเทพมหานครและสาขา ประจําปี พ.ศ. 2560 ย้ําการทํางานกรมที่ดินยุคใหม่ต้องโปร่งใส - ไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการทํางาน
วันนี้ (18 มี.ค.60) ณ สํานักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร อาคารสวนเจ้าเชตุ นายสุธี มากบุญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานเปิดโครงการอบรม “บริการดี ไม่มีทุจริต” ของสํานักงานที่ดินกรุงเทพมหานครและสาขา ประจําปี พ.ศ. 2560 ซึ่งกรมที่ดินจัดขึ้นเพื่อพัฒนาบุคลากรของสํานักงานที่ดินกรุงเทพมหานครและสาขา จํานวน 17 สาขา ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในแนวทางการให้บริการประชาชนนําไปสู่การปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนา จํานวน 600 คน
โอกาสนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มอบนโยบายในการบริการประชาชนให้แก่ผู้เข้ารับการอบรม โดยกล่าวว่า ปัจจุบันกระแสสังคมได้ให้ความสนใจการทํางานของกรมที่ดินโดยเฉพาะในเรื่องความโปร่งใส เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายในที่ดินของบุคคล มีความสําคัญทั้งทางด้านเศรษฐกิจและความมั่นคง ซึ่งที่ผ่านมาภายใต้การบริหารราชการของรัฐบาลได้ให้ความสําคัญและเน้นย้ําให้ทุกหน่วยงานมีมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบและมีการดําเนินการอย่างเป็นรูปธรรม
การจัดอบรมในครั้งนี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะทําให้นโยบายดังกล่าวประสบผลสําเร็จ เนื่องจากเป็นการเตรียมบุคลากรของกรมที่ดินเพื่อก้าวสู่กรมที่ดินยุคใหม่ที่มีการบริหารงานอย่างโปร่งใส ภายใต้หลัก “ธรรมาภิบาล” ดังนั้น บุคลากรของกรมที่ดินจึงต้องได้รับการฝึกอบรมให้มีความรู้ความเข้าใจทั้งด้านกฎหมาย เทคโนโลยี ความรอบคอบ รวดเร็ว สร้างทัศนคติ และสร้างค่านิยมที่ดีในเรื่องความซื่อสัตย์ สุจริต มีคุณธรรม มีความโปร่งใส ป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการทํางาน สามารถนําความรู้ไปใช้ปรับปรุงและพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสํานักงานที่ดินกรุงเทพมหานครและสาขาถือเป็นด่านหน้าที่จะสร้างความประทับใจให้กับประชาชนที่มาติดต่อขอรับการบริการ อีกทั้งในพื้นที่ของกรุงเทพมหานครยังเป็นพื้นที่ที่ดินมีราคาสูง ผู้ถือครองที่ดินมีความคาดหวังที่จะได้รับการตอบสนองการให้บริการที่ดี การที่กรมที่ดิน โดยสํานักงานที่ดินกรุงเทพมหานครและสาขาได้จัดให้มีการอบรมในวันนี้จึงถือได้ว่าการเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการบริหารจัดการภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ โดยใช้หลักธรรมาภิบาลและแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติสอดรับกับคําขวัญ 116 ปี ของกรมที่ดิน ที่ว่า “บริการดี ไม่มีทุจริต”
สุดท้าย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เน้นย้ําให้ชาวดินกรุงเทพฯ ได้ร่วมคิด ร่วมทํา ร่วมรับผิดชอบ ร่วมแก้ไขปัญหา และร่วมติดตามประมวลผล ประสานงาน ประสานใจ และประสานการปฏิบัติยกระดับการให้บริการประชาชนด้วยความซื่อสัตย์สุจริตมีความโปร่งใส ช่วยขจัดและลดปัญหาความทุกข์ร้อนของประชาชนอันจะส่งผลให้เกิดภาพลักษณ์และทัศนคติที่ดีต่อองค์กร เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนต่อไป.
ครั้งที่ 38/2560 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมช.มท.เปิดโครงการอบรมบุคลากรกรมที่ดิน “บริการดี ไม่มีทุจริต” ของสำนักงานที่ดินกรุงเทพฯ และสาขา ประจำปี พ.ศ.2560 ย้ำการทำงานยุคใหม่ต้องโปร่งใส - ไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการทำงาน
วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม 2560
รมช.มท.เปิดโครงการอบรมบุคลากรกรมที่ดิน “บริการดี ไม่มีทุจริต” ของสํานักงานที่ดินกรุงเทพฯ และสาขา ประจําปี พ.ศ.2560 ย้ําการทํางานยุคใหม่ต้องโปร่งใส - ไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการทํางาน
รมช.มท. ประธานเปิดโครงการอบรมบุคลากรกรมที่ดิน “บริการดี ไม่มีทุจริต” ของสํานักงานที่ดินกรุงเทพมหานครและสาขา ประจําปี พ.ศ. 2560 ย้ําการทํางานกรมที่ดินยุคใหม่ต้องโปร่งใส - ไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการทํางาน
วันนี้ (18 มี.ค.60) ณ สํานักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร อาคารสวนเจ้าเชตุ นายสุธี มากบุญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานเปิดโครงการอบรม “บริการดี ไม่มีทุจริต” ของสํานักงานที่ดินกรุงเทพมหานครและสาขา ประจําปี พ.ศ. 2560 ซึ่งกรมที่ดินจัดขึ้นเพื่อพัฒนาบุคลากรของสํานักงานที่ดินกรุงเทพมหานครและสาขา จํานวน 17 สาขา ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในแนวทางการให้บริการประชาชนนําไปสู่การปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนา จํานวน 600 คน
โอกาสนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มอบนโยบายในการบริการประชาชนให้แก่ผู้เข้ารับการอบรม โดยกล่าวว่า ปัจจุบันกระแสสังคมได้ให้ความสนใจการทํางานของกรมที่ดินโดยเฉพาะในเรื่องความโปร่งใส เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายในที่ดินของบุคคล มีความสําคัญทั้งทางด้านเศรษฐกิจและความมั่นคง ซึ่งที่ผ่านมาภายใต้การบริหารราชการของรัฐบาลได้ให้ความสําคัญและเน้นย้ําให้ทุกหน่วยงานมีมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบและมีการดําเนินการอย่างเป็นรูปธรรม
การจัดอบรมในครั้งนี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะทําให้นโยบายดังกล่าวประสบผลสําเร็จ เนื่องจากเป็นการเตรียมบุคลากรของกรมที่ดินเพื่อก้าวสู่กรมที่ดินยุคใหม่ที่มีการบริหารงานอย่างโปร่งใส ภายใต้หลัก “ธรรมาภิบาล” ดังนั้น บุคลากรของกรมที่ดินจึงต้องได้รับการฝึกอบรมให้มีความรู้ความเข้าใจทั้งด้านกฎหมาย เทคโนโลยี ความรอบคอบ รวดเร็ว สร้างทัศนคติ และสร้างค่านิยมที่ดีในเรื่องความซื่อสัตย์ สุจริต มีคุณธรรม มีความโปร่งใส ป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการทํางาน สามารถนําความรู้ไปใช้ปรับปรุงและพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสํานักงานที่ดินกรุงเทพมหานครและสาขาถือเป็นด่านหน้าที่จะสร้างความประทับใจให้กับประชาชนที่มาติดต่อขอรับการบริการ อีกทั้งในพื้นที่ของกรุงเทพมหานครยังเป็นพื้นที่ที่ดินมีราคาสูง ผู้ถือครองที่ดินมีความคาดหวังที่จะได้รับการตอบสนองการให้บริการที่ดี การที่กรมที่ดิน โดยสํานักงานที่ดินกรุงเทพมหานครและสาขาได้จัดให้มีการอบรมในวันนี้จึงถือได้ว่าการเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการบริหารจัดการภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ โดยใช้หลักธรรมาภิบาลและแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติสอดรับกับคําขวัญ 116 ปี ของกรมที่ดิน ที่ว่า “บริการดี ไม่มีทุจริต”
สุดท้าย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เน้นย้ําให้ชาวดินกรุงเทพฯ ได้ร่วมคิด ร่วมทํา ร่วมรับผิดชอบ ร่วมแก้ไขปัญหา และร่วมติดตามประมวลผล ประสานงาน ประสานใจ และประสานการปฏิบัติยกระดับการให้บริการประชาชนด้วยความซื่อสัตย์สุจริตมีความโปร่งใส ช่วยขจัดและลดปัญหาความทุกข์ร้อนของประชาชนอันจะส่งผลให้เกิดภาพลักษณ์และทัศนคติที่ดีต่อองค์กร เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนต่อไป.
ครั้งที่ 38/2560 | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/2479 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รอง นรม. พล.อ.อ. ประจินฯ เป็นประธานการประชุม เรื่อง กลไกการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย | วันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม 2560
รอง นรม. พล.อ.อ. ประจินฯ เป็นประธานการประชุม เรื่อง กลไกการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
รอง นรม. พล.อ.อ. ประจินฯ เป็นประธานการประชุม เรื่อง กลไกการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
วันนี้ (1 พฤษภาคม 2560) เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุม 2503 ตึกบัญชาการ 2 ชั้น 5 ทําเนียบรัฐบาล พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม เรื่อง กลไกการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย ร่วมกับคณะทํางานและตัวแทนทั้งจากหน่วยงานและกระทรวงต่าง ๆ เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย ซึ่งสรุปประเด็นสําคัญของการประชุม ดังนี้
ที่ประชุมได้รับทราบข้อเสนอแนะของในที่ประชุมในเรื่อง กลไกการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย ทั้งนี้ เนื่องจากการพัฒนาเด็กปฐมวัยจําเป็นต้องดําเนินการทั้งในด้านการปกป้องคุ้มครอง การดูแล การพัฒนา และการศึกษาซึ่งมีความจําเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญและกําลังคนจากในหลากหลายสาขา กระทรวง และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปัญหาในอดีตและในปัจจุบันคืองานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีการกระจายอยู่ในหลายภาคส่วนดังที่ทราบกันและมิได้มีสถานะเป็นงานหลักของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ขณะเดียวกันยังขาดวิธีการที่จะบูรณาการงานเหล่านั้นให้เป็นเอกภาพ สอดคล้อง และสนับสนุนซึ่งกันและกัน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกันในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีคุณภาพมากขึ้น
ทั้งนี้ ในประเทศที่ประสบความสําเร็จในการบูรณาการงานพัฒนาเด็กปฐมวัยนั้น มีปัจจัยความสําเร็จอยู่หลายประการด้วยกัน แต่ลักษณะที่มีความสําคัญอย่างมากก็คือ “รัฐบาลท้องถิ่น” ของในประเทศเหล่านั้นมีความเข้มแข็ง กล่าวคือ “รัฐบาลท้องถิ่น” มีความรู้ มีความเอาใจใส่ ในเรื่องการพัฒนาเด็กปฐมวัย มีสมรรถนะในการบริหาร และมีความโปร่งใสต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง การมี “รัฐบาลท้องถิ่น” ที่เข้มแข็งจึงเป็นปัจจัยสําคัญประการหนึ่งของการบูรณาการงานพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น
สําหรับประเทศไทยในปัจจุบันนี้ยังคงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งในการสร้าง “รัฐบาลท้องถิ่น” ได้อย่างทั่วถึงทั้งประเทศ ดังนั้น แนวทางที่เหมาะสมกับประเทศไทยในปัจจุบัน คือการมีหน่วยงานกลางที่มีคุณภาพสูง มีความโปร่งใสที่จะสามารถทําหน้าที่ในการบริหารการบูรณาการงานพัฒนาเด็กปฐมวัยของชาติให้เกิดประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ ดังนั้นคําว่า หน่วยงานหลักในการพัฒนาเด็กปฐมวัยในที่นี้จึงไม่ได้หมายถึงกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยเท่านั้น แต่ยังหมายถึงหน่วยงานกลางที่จะทําหน้าที่บริหารการบูรณาการงานพัฒนาเด็กปฐมวัยของชาติ โดยหน่วยงานกลางที่กําลังจะเกิดขึ้นนี้คือ “คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ (ก.พ.ป.)” โดยมีภารกิจและอํานาจหน้าที่ ได้แก่ (1) การประสานงานและบูรณาการการพัฒนาเด็กปฐมวัยระหว่างหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ และเอกชน (2) เสนอแนะและให้คําปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีในการพัฒนาเด็กปฐมวัย รวมถึงการเสนอให้มีการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างครบวงจร ตั้งแต่การวางแผนปฏิบัติการ เฝ้าระวัง ดูแล ปกป้อง คุ้มครอง และบริหารจัดการประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่เด็กปฐมวัยอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด (3) เสนอแนะคณะรัฐมนตรีให้มีการปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย (4) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการวิจัย การพัฒนาองค์ความรู้ และนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย (5) พิจารณารูปแบบที่เหมาะสมของหน่วยงานที่ทําหน้าที่เพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย (6) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ของ ก.พ.ป. และ (7) ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ตอนท้ายของการประชุมฯ ประธานได้กล่าวขอบคุณคณะทํางานและตัวแทนทุกภาคส่วนทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนที่ได้มาร่วมกันระดมความคิดเห็นพร้อมข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ให้การขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยของชาติให้มีความเป็นมาตรฐานครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อให้เด็กปฐมวัยของชาติเติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาชาติบ้านเมืองให้ก้าวหน้าต่อไปในอนาคต
****************************
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รอง นรม. พล.อ.อ. ประจินฯ เป็นประธานการประชุม เรื่อง กลไกการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
วันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม 2560
รอง นรม. พล.อ.อ. ประจินฯ เป็นประธานการประชุม เรื่อง กลไกการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
รอง นรม. พล.อ.อ. ประจินฯ เป็นประธานการประชุม เรื่อง กลไกการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
วันนี้ (1 พฤษภาคม 2560) เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุม 2503 ตึกบัญชาการ 2 ชั้น 5 ทําเนียบรัฐบาล พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม เรื่อง กลไกการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย ร่วมกับคณะทํางานและตัวแทนทั้งจากหน่วยงานและกระทรวงต่าง ๆ เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย ซึ่งสรุปประเด็นสําคัญของการประชุม ดังนี้
ที่ประชุมได้รับทราบข้อเสนอแนะของในที่ประชุมในเรื่อง กลไกการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย ทั้งนี้ เนื่องจากการพัฒนาเด็กปฐมวัยจําเป็นต้องดําเนินการทั้งในด้านการปกป้องคุ้มครอง การดูแล การพัฒนา และการศึกษาซึ่งมีความจําเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญและกําลังคนจากในหลากหลายสาขา กระทรวง และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปัญหาในอดีตและในปัจจุบันคืองานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีการกระจายอยู่ในหลายภาคส่วนดังที่ทราบกันและมิได้มีสถานะเป็นงานหลักของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ขณะเดียวกันยังขาดวิธีการที่จะบูรณาการงานเหล่านั้นให้เป็นเอกภาพ สอดคล้อง และสนับสนุนซึ่งกันและกัน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกันในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีคุณภาพมากขึ้น
ทั้งนี้ ในประเทศที่ประสบความสําเร็จในการบูรณาการงานพัฒนาเด็กปฐมวัยนั้น มีปัจจัยความสําเร็จอยู่หลายประการด้วยกัน แต่ลักษณะที่มีความสําคัญอย่างมากก็คือ “รัฐบาลท้องถิ่น” ของในประเทศเหล่านั้นมีความเข้มแข็ง กล่าวคือ “รัฐบาลท้องถิ่น” มีความรู้ มีความเอาใจใส่ ในเรื่องการพัฒนาเด็กปฐมวัย มีสมรรถนะในการบริหาร และมีความโปร่งใสต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง การมี “รัฐบาลท้องถิ่น” ที่เข้มแข็งจึงเป็นปัจจัยสําคัญประการหนึ่งของการบูรณาการงานพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น
สําหรับประเทศไทยในปัจจุบันนี้ยังคงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งในการสร้าง “รัฐบาลท้องถิ่น” ได้อย่างทั่วถึงทั้งประเทศ ดังนั้น แนวทางที่เหมาะสมกับประเทศไทยในปัจจุบัน คือการมีหน่วยงานกลางที่มีคุณภาพสูง มีความโปร่งใสที่จะสามารถทําหน้าที่ในการบริหารการบูรณาการงานพัฒนาเด็กปฐมวัยของชาติให้เกิดประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ ดังนั้นคําว่า หน่วยงานหลักในการพัฒนาเด็กปฐมวัยในที่นี้จึงไม่ได้หมายถึงกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยเท่านั้น แต่ยังหมายถึงหน่วยงานกลางที่จะทําหน้าที่บริหารการบูรณาการงานพัฒนาเด็กปฐมวัยของชาติ โดยหน่วยงานกลางที่กําลังจะเกิดขึ้นนี้คือ “คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ (ก.พ.ป.)” โดยมีภารกิจและอํานาจหน้าที่ ได้แก่ (1) การประสานงานและบูรณาการการพัฒนาเด็กปฐมวัยระหว่างหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ และเอกชน (2) เสนอแนะและให้คําปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีในการพัฒนาเด็กปฐมวัย รวมถึงการเสนอให้มีการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างครบวงจร ตั้งแต่การวางแผนปฏิบัติการ เฝ้าระวัง ดูแล ปกป้อง คุ้มครอง และบริหารจัดการประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่เด็กปฐมวัยอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด (3) เสนอแนะคณะรัฐมนตรีให้มีการปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย (4) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการวิจัย การพัฒนาองค์ความรู้ และนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย (5) พิจารณารูปแบบที่เหมาะสมของหน่วยงานที่ทําหน้าที่เพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย (6) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ของ ก.พ.ป. และ (7) ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ตอนท้ายของการประชุมฯ ประธานได้กล่าวขอบคุณคณะทํางานและตัวแทนทุกภาคส่วนทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนที่ได้มาร่วมกันระดมความคิดเห็นพร้อมข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ให้การขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยของชาติให้มีความเป็นมาตรฐานครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อให้เด็กปฐมวัยของชาติเติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาชาติบ้านเมืองให้ก้าวหน้าต่อไปในอนาคต
****************************
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/3418 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เทศกาลท่องเที่ยวเกาะสมุย ครั้งที่ 4 “Samui Festival 2019” | วันอังคารที่ 17 กันยายน 2562
เทศกาลท่องเที่ยวเกาะสมุย ครั้งที่ 4 “Samui Festival 2019”
“Samui Festival 2019” เพื่อส่งเสริมเผยแพร่ความเป็นสุราษฎร์ธานี เมืองคนดี วิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณี ศิลปะการแสดง อาหาร ตลอดจนส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ รู้จักและเข้าใจวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวสุราษฎร์ธานี
วันที่ 13 กันยายน 2562 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับคณะรัฐมนตรี โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานเทศกาลท่องเที่ยวเกาะสมุยครั้งที่ 4 “Samui Festival 2019” นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงานจังหวัดสุราษฎร์ธานี จับมือภาครัฐ ภาคเอกชน จัดงานเทศกาลท่องเที่ยวเกาะสมุย ครั้งที่ 4 “Samui Festival 2019” ระหว่างวันที่ 13-18 กันยายน 2562 เพื่อส่งเสริมเผยแพร่ความเป็นสุราษฎร์ธานี เมืองคนดี วิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณี ศิลปะการแสดง อาหาร ตลอดจนส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ รู้จักและเข้าใจวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวสุราษฎร์ธานี ส่งเสริมและกระตุ้นการท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีและใกล้เคียง
ทั้งนี้ การจัดงานสมุยเฟสติวัล 2019 ยังมีกิจกรรมการจัดงานที่กระจายทั่วทั้งเกาะ ทั้งเวทีท่าเทียบเรือหน้าทอน และเวทีพรุเฉวง มหกรรม OTOP ทั่วไทย หัตถกรรมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง ท่องเที่ยวชุมชน OTOP นวัตวิถี ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ขึ้นชื่อในแต่ละท้องถิ่น ให้ได้เลือกช้อป
ข้อมูลเพิ่มเติม : Facebook: Samui Festival
www.samuifestival.com | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เทศกาลท่องเที่ยวเกาะสมุย ครั้งที่ 4 “Samui Festival 2019”
วันอังคารที่ 17 กันยายน 2562
เทศกาลท่องเที่ยวเกาะสมุย ครั้งที่ 4 “Samui Festival 2019”
“Samui Festival 2019” เพื่อส่งเสริมเผยแพร่ความเป็นสุราษฎร์ธานี เมืองคนดี วิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณี ศิลปะการแสดง อาหาร ตลอดจนส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ รู้จักและเข้าใจวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวสุราษฎร์ธานี
วันที่ 13 กันยายน 2562 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับคณะรัฐมนตรี โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานเทศกาลท่องเที่ยวเกาะสมุยครั้งที่ 4 “Samui Festival 2019” นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงานจังหวัดสุราษฎร์ธานี จับมือภาครัฐ ภาคเอกชน จัดงานเทศกาลท่องเที่ยวเกาะสมุย ครั้งที่ 4 “Samui Festival 2019” ระหว่างวันที่ 13-18 กันยายน 2562 เพื่อส่งเสริมเผยแพร่ความเป็นสุราษฎร์ธานี เมืองคนดี วิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณี ศิลปะการแสดง อาหาร ตลอดจนส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ รู้จักและเข้าใจวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวสุราษฎร์ธานี ส่งเสริมและกระตุ้นการท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีและใกล้เคียง
ทั้งนี้ การจัดงานสมุยเฟสติวัล 2019 ยังมีกิจกรรมการจัดงานที่กระจายทั่วทั้งเกาะ ทั้งเวทีท่าเทียบเรือหน้าทอน และเวทีพรุเฉวง มหกรรม OTOP ทั่วไทย หัตถกรรมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง ท่องเที่ยวชุมชน OTOP นวัตวิถี ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ขึ้นชื่อในแต่ละท้องถิ่น ให้ได้เลือกช้อป
ข้อมูลเพิ่มเติม : Facebook: Samui Festival
www.samuifestival.com | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/23154 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีเป็นประธานสักขีพยานพิธีมอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในพื้นที่ทำกินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑ | วันจันทร์ที่ 21 มกราคม 2562
นายกรัฐมนตรีเป็นประธานสักขีพยานพิธีมอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทําประโยชน์หรืออยู่อาศัยในพื้นที่ทํากินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑
นายกรัฐมนตรีเป็นประธานสักขีพยานพิธีมอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทําประโยชน์หรืออยู่อาศัยในพื้นที่ทํากินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑
นายกรัฐมนตรีเป็นประธานสักขีพยานพิธีมอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทําประโยชน์หรืออยู่อาศัยในพื้นที่ทํากินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑
การอนุญาตให้เข้าทําประโยชน์หรืออยู่อาศัยภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เป็นนโยบายสําคัญของรัฐบาลที่ต้องการแก้ไขปัญหาราษฎร หรือชุมชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากการอยู่อาศัยและทํากินในที่ดินของรัฐเป็นระยะเวลานาน ปัญหาการไร้ที่ดินทํากินของเกษตรกร และปัญหาการขาดแคลนที่ดินทํากินของราษฎร เพื่อให้เกิดความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ําทางสังคม และสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของภาครัฐ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ได้ดําเนินโครงการจัดที่ดินทํากินให้ชุมชนขึ้นเพื่อ นําที่ดินของรัฐที่ราษฎรเข้าอยู่อาศัยและทํากินเป็นระยะเวลานาน มาจัดให้ชุมชนเข้าใช้ประโยชน์หรืออยู่อาศัยทํากินในลักษณะแปลงรวมไม่ให้กรรมสิทธิ์ โดยดําเนินงานนับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ จนถึงปัจจุบัน มีพื้นที่เป้าหมายดําเนินการใน ๗๐ จังหวัด ๘๘๔ พื้นที่ รวมเนื้อที่กว่า ๑.๓ ล้านไร่
สําหรับการลงพื้นที่เพื่อประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑ ครั้งนี้ที่จังหวัดเชียงใหม่และลําปาง ระหว่างวันที่ ๑๔ – ๑๕ มกราคม ๒๕๖๒ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้เป็นประธานสักขีพยานในพิธีมอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทําประโยชน์ ตามโครงการจัดที่ดินทํากินให้ชุมชน ณ ลานตลาดชุมชนบ้านหลุก ตําบลนาครัว อําเภอแม่ทะ จังหวัดลําปาง โดยมี พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้มอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทําประโยชน์ฯ แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด ๔ จังหวัด ได้แก่ ลําปาง เชียงใหม่ ลําพูน และแม่ฮ่องสอน รวม ๕ พื้นที่ เนื้อที่ ๒๘,๐๙๕ ไร่ รวมเป็นพื้นที่ที่ได้รับมอบหนังสืออนุญาตไปแล้ว ๕๗ จังหวัด ๑๔๐ พื้นที่ เนื้อที่ ๐.๔๗ ล้านไร่ ซึ่งสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ นายพุฒิพงศ์ สุรพฤกษ์ รองเลขาธิการ สผ. เข้าร่วมในพิธีพร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชน และสื่อมวลชน เข้าร่วมงานดังกล่าว จํานวนกว่า ๑,๕๐๐ คน | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีเป็นประธานสักขีพยานพิธีมอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในพื้นที่ทำกินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑
วันจันทร์ที่ 21 มกราคม 2562
นายกรัฐมนตรีเป็นประธานสักขีพยานพิธีมอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทําประโยชน์หรืออยู่อาศัยในพื้นที่ทํากินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑
นายกรัฐมนตรีเป็นประธานสักขีพยานพิธีมอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทําประโยชน์หรืออยู่อาศัยในพื้นที่ทํากินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑
นายกรัฐมนตรีเป็นประธานสักขีพยานพิธีมอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทําประโยชน์หรืออยู่อาศัยในพื้นที่ทํากินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑
การอนุญาตให้เข้าทําประโยชน์หรืออยู่อาศัยภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เป็นนโยบายสําคัญของรัฐบาลที่ต้องการแก้ไขปัญหาราษฎร หรือชุมชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากการอยู่อาศัยและทํากินในที่ดินของรัฐเป็นระยะเวลานาน ปัญหาการไร้ที่ดินทํากินของเกษตรกร และปัญหาการขาดแคลนที่ดินทํากินของราษฎร เพื่อให้เกิดความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ําทางสังคม และสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของภาครัฐ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ได้ดําเนินโครงการจัดที่ดินทํากินให้ชุมชนขึ้นเพื่อ นําที่ดินของรัฐที่ราษฎรเข้าอยู่อาศัยและทํากินเป็นระยะเวลานาน มาจัดให้ชุมชนเข้าใช้ประโยชน์หรืออยู่อาศัยทํากินในลักษณะแปลงรวมไม่ให้กรรมสิทธิ์ โดยดําเนินงานนับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ จนถึงปัจจุบัน มีพื้นที่เป้าหมายดําเนินการใน ๗๐ จังหวัด ๘๘๔ พื้นที่ รวมเนื้อที่กว่า ๑.๓ ล้านไร่
สําหรับการลงพื้นที่เพื่อประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑ ครั้งนี้ที่จังหวัดเชียงใหม่และลําปาง ระหว่างวันที่ ๑๔ – ๑๕ มกราคม ๒๕๖๒ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้เป็นประธานสักขีพยานในพิธีมอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทําประโยชน์ ตามโครงการจัดที่ดินทํากินให้ชุมชน ณ ลานตลาดชุมชนบ้านหลุก ตําบลนาครัว อําเภอแม่ทะ จังหวัดลําปาง โดยมี พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้มอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทําประโยชน์ฯ แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด ๔ จังหวัด ได้แก่ ลําปาง เชียงใหม่ ลําพูน และแม่ฮ่องสอน รวม ๕ พื้นที่ เนื้อที่ ๒๘,๐๙๕ ไร่ รวมเป็นพื้นที่ที่ได้รับมอบหนังสืออนุญาตไปแล้ว ๕๗ จังหวัด ๑๔๐ พื้นที่ เนื้อที่ ๐.๔๗ ล้านไร่ ซึ่งสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ นายพุฒิพงศ์ สุรพฤกษ์ รองเลขาธิการ สผ. เข้าร่วมในพิธีพร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชน และสื่อมวลชน เข้าร่วมงานดังกล่าว จํานวนกว่า ๑,๕๐๐ คน | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/18247 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเตรียมความพร้อมรองรับผู้โดยสารที่จะเดินทางเข้าประเทศไทยตามประกาศของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย | วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม 2563
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเตรียมความพร้อมรองรับผู้โดยสารที่จะเดินทางเข้าประเทศไทยตามประกาศของสํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จํากัด (มหาชน) กระทรวงคมนาคม เตรียมความพร้อมรองรับผู้โดยสารที่จะเดินทางเข้าประเทศไทยตามประกาศของสํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยโดยปฏิบัติตามมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
นาวาอากาศ โทสุธีรวัฒน์ สุวรรณวัฒน์ ผู้อํานวยการ ทสภ. กล่าวว่า ตามที่ กพท. ออกประกาศเรื่อง เงื่อนไขในการอนุญาตให้อากาศยานทําการบินเข้าออกประเทศไทย (ฉบับที่ 2) เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2563 ซึ่งกําหนดให้อากาศยานที่ขนส่งบุคคลสามารถทําการบินมายังท่าอากาศยานในประเทศไทย รวมทั้งบุคคลที่จะเดินทางเข้าประเทศไทยทางท่าอากาศยานต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในประกาศของ กพท. เท่านั้น ดังนั้น เพื่อให้การดําเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพตามแนวทางการปฏิบัติตามคําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 7/2563 วันที่ 30 มิถุนายน 2563 และข้อกําหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง ทสภ. ได้ประสานการทํางานกับกระทรวงสาธารณสุข หน่วยงานราชการ สายการบินและผู้ปฏิบัติงานภายใน ทสภ. เพื่อกําหนดแนวทางการปฏิบัติงานร่วมกันให้สอดคล้องกับแนวทางของรัฐบาล เช่น ตั้งจุดคัดกรองของด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ จัดเตรียมพื้นที่ตั้งห้องปฏิบัติการสําหรับการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยระบบการตรวจหาสารคัดหลั่งทางพันธุกรรม หรือ PCR ซึ่งมีความรวดเร็วและแม่นยําถึงร้อยละ 95 ที่สามารถทราบผลตรวจภายใน 90 นาที นอกจากนี้ ได้เตรียมพื้นที่บริเวณ Gate D3 และ D4 เพื่อเป็นห้องพักคอยสําหรับผู้โดยสารที่รอผลตรวจ ซึ่งห้องดังกล่าวได้ทําความสะอาดอย่างสม่ําเสมอ และจัดที่นั่งให้มีการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) รวมทั้งมีสิ่งอํานวยความสะดวกต่าง ๆ และจัดเจ้าหน้าที่ให้คําแนะนําการดําเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ การกรอกข้อมูลแบบฟอร์ม (ใบ ต.8) และการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน สําหรับผู้โดยสารคนไทยยังคงต้องผ่านกระบวนการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ตามมาตรการของรัฐและเข้ารับการกักตัวในสถานที่รัฐจัดเตรียมไว้ (State Quarantine) เป็นระยะเวลา 14 วัน เช่นเดิม
ทสภ. ให้ความสําคัญการปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยและด้านสาธารณสุข โดยเน้นย้ําการดูแลรักษาความสะอาดในทุกพื้นที่ภายในท่าอากาศยาน รวมทั้งบริเวณพื้นที่จุดสัมผัสต่าง ๆ เช่น ห้องน้ํา ลิฟต์ ทางเดินเลื่อน แบบ Deep Cleaning อย่างต่อเนื่องทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง และตั้งจุด Terminal Screening เพื่อตรวจคัดกรองอุณหภูมิร่างกายผู้ที่จะเข้ามาในอาคารผู้โดยสารทุกคน และขอความร่วมมือผู้โดยสารและผู้ใช้บริการทุกคนถือปฏิบัติตามวิถีชีวิตปกติรูปแบบใหม่ (New Normal) เมื่ออยู่ภายในอาคารผู้โดยสาร
และพื้นที่ท่าอากาศยานอย่างเคร่งครัดโดยการเว้นระยะห่างทางสังคมเพื่อลดความแออัดในพื้นที่ให้บริการ และกําหนดให้ผู้โดยสาร ผู้ใช้บริการ เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานทุกคนต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่อยู่ในอาคารผู้โดยสาร เพื่อช่วยยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด - 19
ทั้งนี้ จํานวนปริมาณผู้โดยสารเดือนมิถุนายน 2563 มีจํานวนผู้โดยสารทั้งสิ้น 187,000 คน แบ่งเป็น ผู้โดยสารภายในประเทศ 144,302 คน ผู้โดยสารระหว่างประเทศ 42,698 คน จํานวนเที่ยวบินทั้งสิ้น 5,044 เที่ยวบิน แบ่งเป็น เที่ยวบินภายในประเทศ 1,876 เที่ยวบิน และเที่ยวบินระหว่างประเทศ 3,168 เที่ยวบิน | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเตรียมความพร้อมรองรับผู้โดยสารที่จะเดินทางเข้าประเทศไทยตามประกาศของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม 2563
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเตรียมความพร้อมรองรับผู้โดยสารที่จะเดินทางเข้าประเทศไทยตามประกาศของสํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จํากัด (มหาชน) กระทรวงคมนาคม เตรียมความพร้อมรองรับผู้โดยสารที่จะเดินทางเข้าประเทศไทยตามประกาศของสํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยโดยปฏิบัติตามมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
นาวาอากาศ โทสุธีรวัฒน์ สุวรรณวัฒน์ ผู้อํานวยการ ทสภ. กล่าวว่า ตามที่ กพท. ออกประกาศเรื่อง เงื่อนไขในการอนุญาตให้อากาศยานทําการบินเข้าออกประเทศไทย (ฉบับที่ 2) เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2563 ซึ่งกําหนดให้อากาศยานที่ขนส่งบุคคลสามารถทําการบินมายังท่าอากาศยานในประเทศไทย รวมทั้งบุคคลที่จะเดินทางเข้าประเทศไทยทางท่าอากาศยานต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในประกาศของ กพท. เท่านั้น ดังนั้น เพื่อให้การดําเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพตามแนวทางการปฏิบัติตามคําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 7/2563 วันที่ 30 มิถุนายน 2563 และข้อกําหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง ทสภ. ได้ประสานการทํางานกับกระทรวงสาธารณสุข หน่วยงานราชการ สายการบินและผู้ปฏิบัติงานภายใน ทสภ. เพื่อกําหนดแนวทางการปฏิบัติงานร่วมกันให้สอดคล้องกับแนวทางของรัฐบาล เช่น ตั้งจุดคัดกรองของด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ จัดเตรียมพื้นที่ตั้งห้องปฏิบัติการสําหรับการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยระบบการตรวจหาสารคัดหลั่งทางพันธุกรรม หรือ PCR ซึ่งมีความรวดเร็วและแม่นยําถึงร้อยละ 95 ที่สามารถทราบผลตรวจภายใน 90 นาที นอกจากนี้ ได้เตรียมพื้นที่บริเวณ Gate D3 และ D4 เพื่อเป็นห้องพักคอยสําหรับผู้โดยสารที่รอผลตรวจ ซึ่งห้องดังกล่าวได้ทําความสะอาดอย่างสม่ําเสมอ และจัดที่นั่งให้มีการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) รวมทั้งมีสิ่งอํานวยความสะดวกต่าง ๆ และจัดเจ้าหน้าที่ให้คําแนะนําการดําเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ การกรอกข้อมูลแบบฟอร์ม (ใบ ต.8) และการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน สําหรับผู้โดยสารคนไทยยังคงต้องผ่านกระบวนการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ตามมาตรการของรัฐและเข้ารับการกักตัวในสถานที่รัฐจัดเตรียมไว้ (State Quarantine) เป็นระยะเวลา 14 วัน เช่นเดิม
ทสภ. ให้ความสําคัญการปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยและด้านสาธารณสุข โดยเน้นย้ําการดูแลรักษาความสะอาดในทุกพื้นที่ภายในท่าอากาศยาน รวมทั้งบริเวณพื้นที่จุดสัมผัสต่าง ๆ เช่น ห้องน้ํา ลิฟต์ ทางเดินเลื่อน แบบ Deep Cleaning อย่างต่อเนื่องทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง และตั้งจุด Terminal Screening เพื่อตรวจคัดกรองอุณหภูมิร่างกายผู้ที่จะเข้ามาในอาคารผู้โดยสารทุกคน และขอความร่วมมือผู้โดยสารและผู้ใช้บริการทุกคนถือปฏิบัติตามวิถีชีวิตปกติรูปแบบใหม่ (New Normal) เมื่ออยู่ภายในอาคารผู้โดยสาร
และพื้นที่ท่าอากาศยานอย่างเคร่งครัดโดยการเว้นระยะห่างทางสังคมเพื่อลดความแออัดในพื้นที่ให้บริการ และกําหนดให้ผู้โดยสาร ผู้ใช้บริการ เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานทุกคนต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่อยู่ในอาคารผู้โดยสาร เพื่อช่วยยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด - 19
ทั้งนี้ จํานวนปริมาณผู้โดยสารเดือนมิถุนายน 2563 มีจํานวนผู้โดยสารทั้งสิ้น 187,000 คน แบ่งเป็น ผู้โดยสารภายในประเทศ 144,302 คน ผู้โดยสารระหว่างประเทศ 42,698 คน จํานวนเที่ยวบินทั้งสิ้น 5,044 เที่ยวบิน แบ่งเป็น เที่ยวบินภายในประเทศ 1,876 เที่ยวบิน และเที่ยวบินระหว่างประเทศ 3,168 เที่ยวบิน | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/33245 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กสร.เผยสถานการณ์แรงงานสัมพันธ์ปี 62 ไม่รุนแรง | วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม 2563
กสร.เผยสถานการณ์แรงงานสัมพันธ์ปี 62 ไม่รุนแรง
กสร. เผยสถานการณ์แรงงานสัมพันธ์ปี 2562 ข้อเรียกร้อง ข้อพิพาทแรงงานลดลง ขณะที่การปิดงาน/หยุดงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ไม่รุนแรงอย่างที่กังวล สั่งการเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังสถานการณ์ พร้อมเร่งส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ทวิภาคีเพื่อป้องกันปัญหาในปีหน้า
นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่าในทุกปีนายจ้าง ลูกจ้างจะมีการแจ้งข้อเรียกร้องเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ซึ่งเป็นสิทธิตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ โดยในปี 2562 (1 ม.ค. – 31 ธ.ค.62) มีข้อเรียกร้องจํานวน 446 แห่ง ข้อพิพาทแรงงาน จํานวน 69 แห่ง ซึ่งลดลงจากปี 2561 ที่มีข้อเรียกร้อง จํานวน 471 แห่ง ข้อพิพาทแรงงาน จํานวน 82 แห่ง ทั้งนี้ เมื่อคิดอัตราการเกิดข้อพิพาทแรงงานต่อข้อเรียกร้องของปี 2562 อยู่ที่ร้อยละ 15.47 พบว่ามีอัตราลดลงเมื่อเทียบกับปี 2561 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 17.41 แสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายสามารถเจรจาตกลงกันเองในระบบทวิภาคีได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในปี 2562 พบว่า มีสถานประกอบกิจการที่นายจ้างปิดงาน จํานวน 3 แห่ง และมีทั้งนายจ้างปิดงานและลูกจ้างนัดหยุดงาน จํานวน 2 แห่ง ในขณะที่ปี 2561 มีเพียงนายจ้างปิดงาน จํานวน 1 แห่ง ซึ่งเป็นจํานวนที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย สาเหตุเนื่องจากสถานประกอบกิจการได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและประสบปัญหาด้านการเงิน ไม่สามารถจัดสิทธิประโยชน์ที่เป็นตัวเงินตามข้อเสนอของลูกจ้างได้ ในขณะที่ลูกจ้างมีความต้องการสิทธิประโยชน์มากกว่าหรือต้องไม่ต่ํากว่าปีที่ผ่านมา เพื่อนํามาใช้จ่ายในการดํารงชีพ จึงทําให้การเจรจาตกลงกันได้ยากขึ้น แต่ก็สามารถยุติได้โดยไม่ยืดเยื้อรุนแรงแต่อย่างใด
นายอภิญญา กล่าวต่อว่า ในปี 2563 มีปัจจัยหลายประการที่อาจส่งผลกระทบต่อสถานประกอบกิจการ เช่น ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว การแข่งขันทางการค้า ค่าเงินบาทที่แข็งค่า และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทําให้สถานประกอบกิจการต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการดําเนินธุรกิจและโครงสร้างการจ้างงาน ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อลูกจ้าง ทั้งนี้ กสร. ได้กําชับให้เจ้าหน้าที่ติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และส่งเสริมเชิงรุกให้นายจ้าง ลูกจ้าง ใช้ระบบทวิภาคีในการสื่อสารทําความเข้าใจ พูดคุย ปรึกษาหารือและแก้ไขปัญหาร่วมกัน เพื่อป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยดังกล่าว อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างแรงงานสัมพันธ์ที่ดี สร้างความสงบสุขด้านแรงงาน และเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศต่อไป | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กสร.เผยสถานการณ์แรงงานสัมพันธ์ปี 62 ไม่รุนแรง
วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม 2563
กสร.เผยสถานการณ์แรงงานสัมพันธ์ปี 62 ไม่รุนแรง
กสร. เผยสถานการณ์แรงงานสัมพันธ์ปี 2562 ข้อเรียกร้อง ข้อพิพาทแรงงานลดลง ขณะที่การปิดงาน/หยุดงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ไม่รุนแรงอย่างที่กังวล สั่งการเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังสถานการณ์ พร้อมเร่งส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ทวิภาคีเพื่อป้องกันปัญหาในปีหน้า
นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่าในทุกปีนายจ้าง ลูกจ้างจะมีการแจ้งข้อเรียกร้องเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ซึ่งเป็นสิทธิตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ โดยในปี 2562 (1 ม.ค. – 31 ธ.ค.62) มีข้อเรียกร้องจํานวน 446 แห่ง ข้อพิพาทแรงงาน จํานวน 69 แห่ง ซึ่งลดลงจากปี 2561 ที่มีข้อเรียกร้อง จํานวน 471 แห่ง ข้อพิพาทแรงงาน จํานวน 82 แห่ง ทั้งนี้ เมื่อคิดอัตราการเกิดข้อพิพาทแรงงานต่อข้อเรียกร้องของปี 2562 อยู่ที่ร้อยละ 15.47 พบว่ามีอัตราลดลงเมื่อเทียบกับปี 2561 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 17.41 แสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายสามารถเจรจาตกลงกันเองในระบบทวิภาคีได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในปี 2562 พบว่า มีสถานประกอบกิจการที่นายจ้างปิดงาน จํานวน 3 แห่ง และมีทั้งนายจ้างปิดงานและลูกจ้างนัดหยุดงาน จํานวน 2 แห่ง ในขณะที่ปี 2561 มีเพียงนายจ้างปิดงาน จํานวน 1 แห่ง ซึ่งเป็นจํานวนที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย สาเหตุเนื่องจากสถานประกอบกิจการได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและประสบปัญหาด้านการเงิน ไม่สามารถจัดสิทธิประโยชน์ที่เป็นตัวเงินตามข้อเสนอของลูกจ้างได้ ในขณะที่ลูกจ้างมีความต้องการสิทธิประโยชน์มากกว่าหรือต้องไม่ต่ํากว่าปีที่ผ่านมา เพื่อนํามาใช้จ่ายในการดํารงชีพ จึงทําให้การเจรจาตกลงกันได้ยากขึ้น แต่ก็สามารถยุติได้โดยไม่ยืดเยื้อรุนแรงแต่อย่างใด
นายอภิญญา กล่าวต่อว่า ในปี 2563 มีปัจจัยหลายประการที่อาจส่งผลกระทบต่อสถานประกอบกิจการ เช่น ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว การแข่งขันทางการค้า ค่าเงินบาทที่แข็งค่า และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทําให้สถานประกอบกิจการต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการดําเนินธุรกิจและโครงสร้างการจ้างงาน ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อลูกจ้าง ทั้งนี้ กสร. ได้กําชับให้เจ้าหน้าที่ติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และส่งเสริมเชิงรุกให้นายจ้าง ลูกจ้าง ใช้ระบบทวิภาคีในการสื่อสารทําความเข้าใจ พูดคุย ปรึกษาหารือและแก้ไขปัญหาร่วมกัน เพื่อป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยดังกล่าว อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างแรงงานสัมพันธ์ที่ดี สร้างความสงบสุขด้านแรงงาน และเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศต่อไป | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/25969 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 | วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563
รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจําวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563
1.สถานการณ์ ถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 ณ เวลา 08.00 น. 1. ผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรักษาในโรงพยาบาล 15 ราย กลับบ้านแล้ว 22 ราย รวมสะสม 37 ราย
2. ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม – 24 กุมภาพันธ์ 2
รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19)
ประจําวันที่25 กุมภาพันธ์ 2563
1.สถานการณ์ ถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 ณ เวลา 08.00 น.
1. ผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรักษาในโรงพยาบาล 15 ราย กลับบ้านแล้ว 22 ราย รวมสะสม 37 ราย
2. ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม – 24 กุมภาพันธ์ 2563 มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนต้องเฝ้าระวังสะสมทั้งหมด 1,580 ราย คัดกรองจากสนามบิน 70 ราย มารับการรักษา
ที่โรงพยาบาลเอง 1,510 ราย อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้วและอยู่ระหว่างติดตามอาการ 1,160 ราย ส่วนใหญ่เป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ยังคงรักษาในโรงพยาบาล 420 ราย
3. สถานการณ์ทั่วโลกใน 35 ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษ และ 1 เรือสําราญ ข้อมูลตั้งแต่ 5 มกราคม – 25 กุมภาพันธ์ 2563 (07.00 น.) พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจํานวน 80,087 ราย เสียชีวิต 2,699 ราย ส่วนประเทศจีนพบผู้ป่วย 77,658 ราย เสียชีวิต 2,663 ราย
2.สธ.พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่ม 2 ราย กลับบ้านได้อีก 1 ราย
กระทรวงสาธารณสุข พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาเพิ่ม 2 ราย และมีผู้ป่วยที่หายเป็นปกติ สามารถกลับบ้านได้อีก 1 ราย สรุปสถานการณ์ในประเทศไทยขณะนี้ มีผู้ป่วยยืนยันที่รักษาหายแล้ว 22 ราย ยังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 15 ราย รวมยอดผู้ป่วยสะสม 37 ราย
นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค นายแพทย์มรุต จิรเศรษฐสิริ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และนายแพทย์วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อํานวยการองค์การเภสัชกรรม แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ว่า วันนี้ มีข่าวดีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้เพิ่มอีก 1 ราย ที่จังหวัดกระบี่ เป็นนักท่องเที่ยวหญิงชาวจีนอายุ 32 ปี ซึ่งนักท่องเที่ยวรายนี้ได้เดินทางเข้าประเทศไทยก่อนที่ประเทศจีนจะปิดสนามบินอู่ฮั่น และวันนี้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการวิจัยยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรกับไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อศึกษาวิจัยประสิทธิผลของยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในการต้านเชื้อไวรัส ระหว่างกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และองค์การเภสัชกรรม
วันนี้ได้รับรายงาน ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการทั้ง 2 แห่ง(กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ได้ผลยืนยันพบผู้ป่วยเพิ่ม 2 ราย รายที่ 1 เป็นหญิงไทยอายุ 31 ปี อาชีพแม่บ้าน ขณะนี้รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลราชวิถี แพทย์ตรวจพบปอดอักเสบที่หาสาเหตุไม่ได้ แพทย์ได้ซักประวัติเพิ่มเติมพบประวัติสมาชิกในครอบครัวเดินทางกลับจากประเทศจีน รายที่ 2 เป็นชายไทยอายุ 29 ปี อาชีพทํางานสัมผัสใกล้ชิดนักท่องเที่ยวชาวจีน มาอาการด้วยอาการ ไข้ ไอ รับรักษาอยู่ที่สถาบันบําราศนราดูร ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ควบคุมโรคได้ทําการสอบสวนและเก็บตัวอย่างจากผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยทั้ง 2 ราย เพื่อส่งตรวจต่อไป และในบ่ายวันนี้จะนําข้อมูลผู้ป่วยและการสอบสวนโรคเบื้องต้นเข้าสู่การพิจารณาของคณะผู้เชี่ยวชาญ 3 ด้านต่อไปเพื่อพิจารณาโดยละเอียดอีกครั้งทําให้ขณะนี้ มีผู้ป่วยยืนยัน รวม 37 คน กลับบ้านได้ 22 คน คิดเป็นร้อยละ 60 ผู้ป่วยยืนยัน รักษาอยู่ที่โรงพยาบาล 15 คน
ทั้งนี้ การที่เราพบผู้ป่วยยืนยันเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากการที่กระทรวงสาธารณสุขปรับนิยามการเฝ้าระวังคัดกรองตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 โดยขยายพื้นที่ครอบคลุมประเทศเสี่ยงใหม่ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ จีน (ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน) และ 8 จังหวัดของไทย คือ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ เชียงราย สมุทรปราการ กระบี่ ภูเก็ต ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์
ประเทศไทยได้มีการคัดกรองผู้เดินทางจากทุกด่าน ทั้ง ด่านท่าอากาศยาน ด่านท่าเรือ ด่านพรมแดนทางบก และ จากสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง 3,141,879 คน (24 กุมภาพันธ์ 2563) รวมถึงการเฝ้าระวังที่โรงพยาบาลและชุมชน พบผู้อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง 1,580 คน กักตัวไว้ที่โรงพยาบาล 420 คน กลับบ้านได้ 1,160 คน
ทั้งนี้การประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นโรคติดต่ออันตราย อันดับ ที่ 14 เพื่อประโยชน์ต่อการดูแลประชาชน มีกฎหมายรองรับ ทําให้โรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ บุคลากรสามารถบังคับรับรักษา ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัว ประโยชน์ต่อสังคมทําให้ประชาชนรู้สถานการณ์โรคเร็ว ลดการแพร่ระบาดในวงกว้าง
ขอให้ประชาชนเลี่ยง เลื่อน การเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค หากเลี่ยงไม่ได้ขอให้ปฏิบัติตัวตามคําแนะนําของกระทรวงสาธารณสุข คือ หลีกเลี่ยงการไปในสถานที่ที่มีคนหนาแน่น สวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือ และเมื่อกลับมาจากประเทศเสี่ยงให้แยกตัวเองออกจากสมาชิกในครอบครัว สังเกตอาการตัวเอง 14 วันหากมีไข้ ไอ จาม ให้พบแพทย์ทันที
3.ข้อแนะนําประจําวันในการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ขอความร่วมมือประชาชนปฏิบัติตัวตามคําแนะนําของกระทรวงสาธารณสุข “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยน้ํา และสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลล้างมือ ไม่นํามือมาสัมผัสตา จมูก ปาก โดยไม่จําเป็น สวมหน้ากากอนามัยแบบผ้าที่สะอาดเมื่ออยู่ในสถานที่ที่มีคนอยู่รวมกันจํานวนมาก ผู้ป่วยและผู้ที่มีอาการ ไอ จาม ควรใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ สําหรับหน้ากากอนามัยประเภท N95 จะใช้ในเจ้าหน้าที่ที่ดูแลรักษาใกล้ชิดกับผู้ป่วย
4. คําแนะนําสําหรับประชาชน
4.1 ประชาชนที่มีประวัติเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ที่มีการรายงานพบผู้ป่วย หลังเดินทางกลับประเทศไทยภายใน 14 วัน ถ้ามีอาการไข้ เจ็บคอ มีอาการระบบทางเดินหายใจ เช่น น้ํามูกไอ เสมหะ หายใจเร็ว หอบให้สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ และรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที พร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทาง เนื่องจากมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนปอดบวม และมีอาการรุนแรง ถึงขั้นเสียชีวิตได้
4.2 ผู้ป่วยที่มีโรคประจําตัวให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปต่างประเทศที่มีการระบาดและหากจําเป็นต้องเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาด ขอให้หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย หลีกเลี่ยงไปท่องเที่ยวตลาดค้าสัตว์มีชีวิต การสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกับสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ที่ป่วย หรือตาย
4.3 ประชาชนทั่วไป ขอให้ดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศแปรปรวน ใช้มาตรการกินร้อนช้อนกลางล้างมือและสวมหน้ากากป้องกันโรคเวลาไอ จาม หลีกเลี่ยงอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการโรคระบบทางเดินหายใจ
******************** 25 กุมภาพันธ์ 2563 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563
วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563
รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจําวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563
1.สถานการณ์ ถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 ณ เวลา 08.00 น. 1. ผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรักษาในโรงพยาบาล 15 ราย กลับบ้านแล้ว 22 ราย รวมสะสม 37 ราย
2. ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม – 24 กุมภาพันธ์ 2
รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19)
ประจําวันที่25 กุมภาพันธ์ 2563
1.สถานการณ์ ถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 ณ เวลา 08.00 น.
1. ผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรักษาในโรงพยาบาล 15 ราย กลับบ้านแล้ว 22 ราย รวมสะสม 37 ราย
2. ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม – 24 กุมภาพันธ์ 2563 มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนต้องเฝ้าระวังสะสมทั้งหมด 1,580 ราย คัดกรองจากสนามบิน 70 ราย มารับการรักษา
ที่โรงพยาบาลเอง 1,510 ราย อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้วและอยู่ระหว่างติดตามอาการ 1,160 ราย ส่วนใหญ่เป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ยังคงรักษาในโรงพยาบาล 420 ราย
3. สถานการณ์ทั่วโลกใน 35 ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษ และ 1 เรือสําราญ ข้อมูลตั้งแต่ 5 มกราคม – 25 กุมภาพันธ์ 2563 (07.00 น.) พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจํานวน 80,087 ราย เสียชีวิต 2,699 ราย ส่วนประเทศจีนพบผู้ป่วย 77,658 ราย เสียชีวิต 2,663 ราย
2.สธ.พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่ม 2 ราย กลับบ้านได้อีก 1 ราย
กระทรวงสาธารณสุข พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาเพิ่ม 2 ราย และมีผู้ป่วยที่หายเป็นปกติ สามารถกลับบ้านได้อีก 1 ราย สรุปสถานการณ์ในประเทศไทยขณะนี้ มีผู้ป่วยยืนยันที่รักษาหายแล้ว 22 ราย ยังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 15 ราย รวมยอดผู้ป่วยสะสม 37 ราย
นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค นายแพทย์มรุต จิรเศรษฐสิริ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และนายแพทย์วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อํานวยการองค์การเภสัชกรรม แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ว่า วันนี้ มีข่าวดีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้เพิ่มอีก 1 ราย ที่จังหวัดกระบี่ เป็นนักท่องเที่ยวหญิงชาวจีนอายุ 32 ปี ซึ่งนักท่องเที่ยวรายนี้ได้เดินทางเข้าประเทศไทยก่อนที่ประเทศจีนจะปิดสนามบินอู่ฮั่น และวันนี้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการวิจัยยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรกับไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อศึกษาวิจัยประสิทธิผลของยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในการต้านเชื้อไวรัส ระหว่างกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และองค์การเภสัชกรรม
วันนี้ได้รับรายงาน ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการทั้ง 2 แห่ง(กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ได้ผลยืนยันพบผู้ป่วยเพิ่ม 2 ราย รายที่ 1 เป็นหญิงไทยอายุ 31 ปี อาชีพแม่บ้าน ขณะนี้รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลราชวิถี แพทย์ตรวจพบปอดอักเสบที่หาสาเหตุไม่ได้ แพทย์ได้ซักประวัติเพิ่มเติมพบประวัติสมาชิกในครอบครัวเดินทางกลับจากประเทศจีน รายที่ 2 เป็นชายไทยอายุ 29 ปี อาชีพทํางานสัมผัสใกล้ชิดนักท่องเที่ยวชาวจีน มาอาการด้วยอาการ ไข้ ไอ รับรักษาอยู่ที่สถาบันบําราศนราดูร ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ควบคุมโรคได้ทําการสอบสวนและเก็บตัวอย่างจากผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยทั้ง 2 ราย เพื่อส่งตรวจต่อไป และในบ่ายวันนี้จะนําข้อมูลผู้ป่วยและการสอบสวนโรคเบื้องต้นเข้าสู่การพิจารณาของคณะผู้เชี่ยวชาญ 3 ด้านต่อไปเพื่อพิจารณาโดยละเอียดอีกครั้งทําให้ขณะนี้ มีผู้ป่วยยืนยัน รวม 37 คน กลับบ้านได้ 22 คน คิดเป็นร้อยละ 60 ผู้ป่วยยืนยัน รักษาอยู่ที่โรงพยาบาล 15 คน
ทั้งนี้ การที่เราพบผู้ป่วยยืนยันเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากการที่กระทรวงสาธารณสุขปรับนิยามการเฝ้าระวังคัดกรองตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 โดยขยายพื้นที่ครอบคลุมประเทศเสี่ยงใหม่ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ จีน (ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน) และ 8 จังหวัดของไทย คือ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ เชียงราย สมุทรปราการ กระบี่ ภูเก็ต ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์
ประเทศไทยได้มีการคัดกรองผู้เดินทางจากทุกด่าน ทั้ง ด่านท่าอากาศยาน ด่านท่าเรือ ด่านพรมแดนทางบก และ จากสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง 3,141,879 คน (24 กุมภาพันธ์ 2563) รวมถึงการเฝ้าระวังที่โรงพยาบาลและชุมชน พบผู้อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง 1,580 คน กักตัวไว้ที่โรงพยาบาล 420 คน กลับบ้านได้ 1,160 คน
ทั้งนี้การประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นโรคติดต่ออันตราย อันดับ ที่ 14 เพื่อประโยชน์ต่อการดูแลประชาชน มีกฎหมายรองรับ ทําให้โรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ บุคลากรสามารถบังคับรับรักษา ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัว ประโยชน์ต่อสังคมทําให้ประชาชนรู้สถานการณ์โรคเร็ว ลดการแพร่ระบาดในวงกว้าง
ขอให้ประชาชนเลี่ยง เลื่อน การเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค หากเลี่ยงไม่ได้ขอให้ปฏิบัติตัวตามคําแนะนําของกระทรวงสาธารณสุข คือ หลีกเลี่ยงการไปในสถานที่ที่มีคนหนาแน่น สวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือ และเมื่อกลับมาจากประเทศเสี่ยงให้แยกตัวเองออกจากสมาชิกในครอบครัว สังเกตอาการตัวเอง 14 วันหากมีไข้ ไอ จาม ให้พบแพทย์ทันที
3.ข้อแนะนําประจําวันในการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ขอความร่วมมือประชาชนปฏิบัติตัวตามคําแนะนําของกระทรวงสาธารณสุข “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยน้ํา และสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลล้างมือ ไม่นํามือมาสัมผัสตา จมูก ปาก โดยไม่จําเป็น สวมหน้ากากอนามัยแบบผ้าที่สะอาดเมื่ออยู่ในสถานที่ที่มีคนอยู่รวมกันจํานวนมาก ผู้ป่วยและผู้ที่มีอาการ ไอ จาม ควรใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ สําหรับหน้ากากอนามัยประเภท N95 จะใช้ในเจ้าหน้าที่ที่ดูแลรักษาใกล้ชิดกับผู้ป่วย
4. คําแนะนําสําหรับประชาชน
4.1 ประชาชนที่มีประวัติเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ที่มีการรายงานพบผู้ป่วย หลังเดินทางกลับประเทศไทยภายใน 14 วัน ถ้ามีอาการไข้ เจ็บคอ มีอาการระบบทางเดินหายใจ เช่น น้ํามูกไอ เสมหะ หายใจเร็ว หอบให้สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ และรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที พร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทาง เนื่องจากมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนปอดบวม และมีอาการรุนแรง ถึงขั้นเสียชีวิตได้
4.2 ผู้ป่วยที่มีโรคประจําตัวให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปต่างประเทศที่มีการระบาดและหากจําเป็นต้องเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาด ขอให้หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย หลีกเลี่ยงไปท่องเที่ยวตลาดค้าสัตว์มีชีวิต การสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกับสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ที่ป่วย หรือตาย
4.3 ประชาชนทั่วไป ขอให้ดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศแปรปรวน ใช้มาตรการกินร้อนช้อนกลางล้างมือและสวมหน้ากากป้องกันโรคเวลาไอ จาม หลีกเลี่ยงอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการโรคระบบทางเดินหายใจ
******************** 25 กุมภาพันธ์ 2563 | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/26726 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.อุตฯ จัดงาน SEZ Talk ครั้งที่ 4 เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเข้าถึงผู้ประกอบการ และประชาชนในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร สร้างการรับรู้-กระตุ้นให้ประชาชน ส่วนราชการมี | วันพุธที่ 14 สิงหาคม 2562
ก.อุตฯ จัดงาน SEZ Talk ครั้งที่ 4 เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเข้าถึงผู้ประกอบการ และประชาชนในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร สร้างการรับรู้-กระตุ้นให้ประชาชน ส่วนราชการมี
สํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดงาน Special Economic Zones Talk หรือ SEZ Talk ครั้งที่ 4 ณ โรงแรมพลอยพาเลซ ภายใต้หัวข้อ “อนาคตจังหวัดมุกดาหารกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ”
จ.มุกดาหาร : 14 สิงหาคม 2562 – กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดงาน Special Economic Zones Talk หรือ SEZ Talk ครั้งที่ 4 ณ โรงแรมพลอยพาเลซ ภายใต้หัวข้อ “อนาคตจังหวัดมุกดาหารกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ” เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์โครงการให้เป็นที่รับทราบต่อกลุ่มผู้ประกอบการ นักลงทุน ประชาชน รวมทั้งภาคส่วนราชการในพื้นที่ และสร้างความรู้ความเข้าใจ การมีส่วนร่วมในการสร้างโอกาสสู่การพัฒนาไปพร้อมกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
โดยมีนายเอกภัทร วังสุวรรณ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงานเสวนา Special Economic Zones Talk (SEZ Talk) ครั้งที่ 4 ภายใต้หัวข้อ “อนาคตจังหวัดมุกดาหารกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ” พร้อมด้วย น.ส.สิริรัตน์ ไกรวณิช ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวศิน ศุภพิสุทธิ์ อุตสาหกรรมจังหวัดมุกดาหาร หัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ในจังหวัดมุกดาหารและพื้นที่ใกล้เคียงร่วมงาน และนายสุวิทย์ จันทร์หวร รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร ให้การต้อนรับ
นอกจากนี้ ได้มีการบรรยายในหัวข้อ “เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดมุกดาหาร โอกาสทองธุรกิจสําหรับทุกคน” ภาพรวมของโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ สิทธิประโยชน์และมาตรการส่งเสริมต่างๆจากทางภาครัฐ รวมไปถึงความก้าวหน้าของโครงการ ทิศทางการพัฒนาในอนาคตทั้งในด้านเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานในจังหวัด
จากนั้นเป็นการเสวนา SEZ Talk “เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร: Gate to the Future” โดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย นายสมยศ ชาญจึงถาวร ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดมุกดาหาร นายธนโชติ โชติบุณยศักดิ์ รองประธานหอการค้าจังหวัดมุกดาหาร นายศศิพงษา จันทรสาขา ที่ปรึกษาสมาคมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดมุกดาหาร และผู้อํานวยการวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร นายบูรณ์ อินธิรัตน์ อดีตอัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายการพาณิชย์) นายเติมทรัพย์ เตละกุล นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ รักษาราชการแทนผู้อํานวยการกองยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยการเสวนาได้สะท้อนแนวคิด แลกเปลี่ยนมุมมองจากทางภาครัฐและเอกชน ที่มีต่อเขตพัฒนาเศรษฐกิจ สะท้อนปัญหา และแนวทางในการแก้ไขพัฒนา ซึ่งต้องการให้ภาครัฐพิจารณาถึงความต้องการของประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะในภาคการเกษตร มีการศึกษาและเข้ามาจัดการโครงการอย่างจริงจัง มีการทําแผนแม่บทที่ชัดเจน มีทีมผู้เชี่ยวชาญเข้ามาบริหารจัดการ รวมทั้งเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ให้สมบูรณ์ เป็นโอกาสในการพัฒนาให้จังหวัดมุกดาหารก้าวไปสู่การเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษได้อย่างเต็มศักยภาพ | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.อุตฯ จัดงาน SEZ Talk ครั้งที่ 4 เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเข้าถึงผู้ประกอบการ และประชาชนในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร สร้างการรับรู้-กระตุ้นให้ประชาชน ส่วนราชการมี
วันพุธที่ 14 สิงหาคม 2562
ก.อุตฯ จัดงาน SEZ Talk ครั้งที่ 4 เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเข้าถึงผู้ประกอบการ และประชาชนในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร สร้างการรับรู้-กระตุ้นให้ประชาชน ส่วนราชการมี
สํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดงาน Special Economic Zones Talk หรือ SEZ Talk ครั้งที่ 4 ณ โรงแรมพลอยพาเลซ ภายใต้หัวข้อ “อนาคตจังหวัดมุกดาหารกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ”
จ.มุกดาหาร : 14 สิงหาคม 2562 – กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดงาน Special Economic Zones Talk หรือ SEZ Talk ครั้งที่ 4 ณ โรงแรมพลอยพาเลซ ภายใต้หัวข้อ “อนาคตจังหวัดมุกดาหารกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ” เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์โครงการให้เป็นที่รับทราบต่อกลุ่มผู้ประกอบการ นักลงทุน ประชาชน รวมทั้งภาคส่วนราชการในพื้นที่ และสร้างความรู้ความเข้าใจ การมีส่วนร่วมในการสร้างโอกาสสู่การพัฒนาไปพร้อมกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
โดยมีนายเอกภัทร วังสุวรรณ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงานเสวนา Special Economic Zones Talk (SEZ Talk) ครั้งที่ 4 ภายใต้หัวข้อ “อนาคตจังหวัดมุกดาหารกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ” พร้อมด้วย น.ส.สิริรัตน์ ไกรวณิช ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวศิน ศุภพิสุทธิ์ อุตสาหกรรมจังหวัดมุกดาหาร หัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ในจังหวัดมุกดาหารและพื้นที่ใกล้เคียงร่วมงาน และนายสุวิทย์ จันทร์หวร รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร ให้การต้อนรับ
นอกจากนี้ ได้มีการบรรยายในหัวข้อ “เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดมุกดาหาร โอกาสทองธุรกิจสําหรับทุกคน” ภาพรวมของโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ สิทธิประโยชน์และมาตรการส่งเสริมต่างๆจากทางภาครัฐ รวมไปถึงความก้าวหน้าของโครงการ ทิศทางการพัฒนาในอนาคตทั้งในด้านเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานในจังหวัด
จากนั้นเป็นการเสวนา SEZ Talk “เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร: Gate to the Future” โดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย นายสมยศ ชาญจึงถาวร ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดมุกดาหาร นายธนโชติ โชติบุณยศักดิ์ รองประธานหอการค้าจังหวัดมุกดาหาร นายศศิพงษา จันทรสาขา ที่ปรึกษาสมาคมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดมุกดาหาร และผู้อํานวยการวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร นายบูรณ์ อินธิรัตน์ อดีตอัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายการพาณิชย์) นายเติมทรัพย์ เตละกุล นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ รักษาราชการแทนผู้อํานวยการกองยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยการเสวนาได้สะท้อนแนวคิด แลกเปลี่ยนมุมมองจากทางภาครัฐและเอกชน ที่มีต่อเขตพัฒนาเศรษฐกิจ สะท้อนปัญหา และแนวทางในการแก้ไขพัฒนา ซึ่งต้องการให้ภาครัฐพิจารณาถึงความต้องการของประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะในภาคการเกษตร มีการศึกษาและเข้ามาจัดการโครงการอย่างจริงจัง มีการทําแผนแม่บทที่ชัดเจน มีทีมผู้เชี่ยวชาญเข้ามาบริหารจัดการ รวมทั้งเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ให้สมบูรณ์ เป็นโอกาสในการพัฒนาให้จังหวัดมุกดาหารก้าวไปสู่การเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษได้อย่างเต็มศักยภาพ | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/22228 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงยุติธรรม โดยกรมบังคับคดีลงพื้นที่บริการให้ความรู้และให้คำปรึกษาทางกฎหมายแก่ประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้ใหม่) | วันศุกร์ที่ 13 เมษายน 2561
กระทรวงยุติธรรม โดยกรมบังคับคดีลงพื้นที่บริการให้ความรู้และให้คําปรึกษาทางกฎหมายแก่ประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้ใหม่)
กรมบังคับคดีลงพื้นที่บริการให้ความรู้และให้คําปรึกษาทางกฎหมายแก่ประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้ใหม่)
เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๖๑ เวลา ๐๘.๓๐ น. นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี พร้อมด้วยนางสาวรัตนาวดี สมบูรณ์ รองอธิบดีกรมบังคับคดี คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดี ลงพื้นที่บริการให้ความรู้และให้คําปรึกษาทางกฎหมาย พร้อมนําเอกสารและคู่มือกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มอบให้แก่ประชาชนที่เดินทางกลับภูมิลําเนาในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อสร้างความรับรู้ทางกฎหมายให้กับพี่น้องประชาชนตามนโยบายรัฐบาลและนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้ใหม่) | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงยุติธรรม โดยกรมบังคับคดีลงพื้นที่บริการให้ความรู้และให้คำปรึกษาทางกฎหมายแก่ประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้ใหม่)
วันศุกร์ที่ 13 เมษายน 2561
กระทรวงยุติธรรม โดยกรมบังคับคดีลงพื้นที่บริการให้ความรู้และให้คําปรึกษาทางกฎหมายแก่ประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้ใหม่)
กรมบังคับคดีลงพื้นที่บริการให้ความรู้และให้คําปรึกษาทางกฎหมายแก่ประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้ใหม่)
เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๖๑ เวลา ๐๘.๓๐ น. นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี พร้อมด้วยนางสาวรัตนาวดี สมบูรณ์ รองอธิบดีกรมบังคับคดี คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดี ลงพื้นที่บริการให้ความรู้และให้คําปรึกษาทางกฎหมาย พร้อมนําเอกสารและคู่มือกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มอบให้แก่ประชาชนที่เดินทางกลับภูมิลําเนาในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อสร้างความรับรู้ทางกฎหมายให้กับพี่น้องประชาชนตามนโยบายรัฐบาลและนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้ใหม่) | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/11492 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การปรับปรุงกำหนดระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลธุรกรรมลักษณะเฉพาะ | วันอังคารที่ 24 ธันวาคม 2562
การปรับปรุงกําหนดระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลธุรกรรมลักษณะเฉพาะ
กฎกระทรวง ฉบับที่ 355 (พ.ศ.2562) ออกตามความในประมวลรัษฎากร เพื่อกําหนดรายการข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะที่ต้องรายงานและวิธีการรายงานได้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค.2562 เป็นต้นไป
กฎกระทรวง ฉบับที่ 355 (พ.ศ. 2562) ออกตามความในประมวลรัษฎากร เพื่อกําหนดรายการข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะที่ต้องรายงานและวิธีการรายงานได้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป โดยได้กําหนดวันในการเริ่มเก็บและรวบรวมข้อมูลการฝากหรือรับโอนของบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป โดยผู้มีหน้าที่รายงานข้อมูลต้องรายงานข้อมูลบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะของปี 2562 (ข้อมูลระหว่างวันที่ 24 – 31 ธันวาคม 2562) ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2563 โดยกฎกระทรวงดังกล่าวมีรายละเอียดการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะ (มีการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้งขึ้นไป หรือ มีการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้งและมียอดเงินรวมกันตั้งแต่ 2,000,000 บาทขึ้นไป) ที่ต้องรายงานและวิธีการรายงานตามกฎกระทรวงตามมาตรา 3 สัตตรสแห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้
1. กําหนดให้การจัดทํารายการข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะ ต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) เลขประจําตัวประชาชน หรือเลขทะเบียนนิติบุคคล
(2) ชื่อ-สกุล ของบุคคลธรรมดา หรือชื่อนิติบุคคล ที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะ
(3) จํานวนครั้งของการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกัน
(4) จํานวนเงินที่ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชี
(5) เลขที่บัญชีที่มีการฝากหรือรับโอนเงิน
(6) ข้อความอื่นที่อธิบดีกําหนด
2. กําหนดให้นําส่งข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะข้างต้นตามรูปแบบข้อมูล (Format) และมีฟิลด์ข้อมูล (Data Field) ตามที่อธิบดีประกาศกําหนด และอาจดําเนินการจัดทําและนําส่งเป็นภาษาอังกฤษ หรือด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
ศูนย์สารนิเทศสรรพากร (RD Intelligence Center)
โทร. 1161 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การปรับปรุงกำหนดระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลธุรกรรมลักษณะเฉพาะ
วันอังคารที่ 24 ธันวาคม 2562
การปรับปรุงกําหนดระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลธุรกรรมลักษณะเฉพาะ
กฎกระทรวง ฉบับที่ 355 (พ.ศ.2562) ออกตามความในประมวลรัษฎากร เพื่อกําหนดรายการข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะที่ต้องรายงานและวิธีการรายงานได้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค.2562 เป็นต้นไป
กฎกระทรวง ฉบับที่ 355 (พ.ศ. 2562) ออกตามความในประมวลรัษฎากร เพื่อกําหนดรายการข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะที่ต้องรายงานและวิธีการรายงานได้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป โดยได้กําหนดวันในการเริ่มเก็บและรวบรวมข้อมูลการฝากหรือรับโอนของบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป โดยผู้มีหน้าที่รายงานข้อมูลต้องรายงานข้อมูลบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะของปี 2562 (ข้อมูลระหว่างวันที่ 24 – 31 ธันวาคม 2562) ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2563 โดยกฎกระทรวงดังกล่าวมีรายละเอียดการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะ (มีการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้งขึ้นไป หรือ มีการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้งและมียอดเงินรวมกันตั้งแต่ 2,000,000 บาทขึ้นไป) ที่ต้องรายงานและวิธีการรายงานตามกฎกระทรวงตามมาตรา 3 สัตตรสแห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้
1. กําหนดให้การจัดทํารายการข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะ ต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) เลขประจําตัวประชาชน หรือเลขทะเบียนนิติบุคคล
(2) ชื่อ-สกุล ของบุคคลธรรมดา หรือชื่อนิติบุคคล ที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะ
(3) จํานวนครั้งของการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกัน
(4) จํานวนเงินที่ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชี
(5) เลขที่บัญชีที่มีการฝากหรือรับโอนเงิน
(6) ข้อความอื่นที่อธิบดีกําหนด
2. กําหนดให้นําส่งข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะข้างต้นตามรูปแบบข้อมูล (Format) และมีฟิลด์ข้อมูล (Data Field) ตามที่อธิบดีประกาศกําหนด และอาจดําเนินการจัดทําและนําส่งเป็นภาษาอังกฤษ หรือด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
ศูนย์สารนิเทศสรรพากร (RD Intelligence Center)
โทร. 1161 | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/25447 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่มเติม ภายใต้โครงการไทยนิยม ยั่งยืน | วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม 2561
พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่มเติม ภายใต้โครงการไทยนิยม ยั่งยืน
พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่มเติม ภายใต้โครงการไทยนิยม ยั่งยืน ในกลุ่มผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง และผู้ที่ไม่สามารถเดินทางมาลงทะเบียนได้ในปี 2560
นายนรินทร์ กัลยาณมิตร รองปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2561 กระทรวงการคลังได้จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่มเติมภายใต้โครงการไทยนิยม ยั่งยืน ในกลุ่มผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง และผู้ที่ไม่สามารถเดินทางมาลงทะเบียนได้ในปี 2560 ระหว่างสํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง สํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย กรมสรรพากร กรมบัญชีกลาง กรมการปกครอง กรมที่ดิน กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ สํานักงานประกันสังคม และกรุงเทพมหานคร เพื่อร่วมมือกันดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2561 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่มเติมภายใต้โครงการไทยนิยม ยั่งยืน ในกลุ่มผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง และผู้ที่ไม่สามารถเดินทางมาลงทะเบียนได้ในปี 2560 (การลงทะเบียนเพิ่มเติมฯ) โดยมีทีมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน (ทีมไทยนิยมฯ) เป็นแกนหลักในการลงพื้นที่เพื่อจัดเก็บข้อมูลประชาชนที่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีรายได้น้อยบางส่วนที่ยังไม่ได้เข้าร่วมโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐปี 2560 (โครงการลงทะเบียนฯ 2560) โดยเฉพาะผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้ที่ไม่สามารถเดินทางมาลงทะเบียนได้ในปี 2560 หลังจากนั้น ทีมไทยนิยมฯ บันทึกข้อมูลจากแบบฟอร์มลงทะเบียนของผู้ลงทะเบียนที่ผ่านกลไกประชาคมเข้าระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดทําโดยศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงการคลัง เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลไปยังฐานข้อมูลของกรมการปกครองและกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย ฐานข้อมูลของกรมสรรพากรและกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ฐานข้อมูลกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และฐานข้อมูลของสํานักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เพื่อนํามาประมวลผลผู้มีรายได้น้อยและนําไปใช้ในการจัดสวัสดิการที่เหมาะสมต่อไป นอกจากนี้ การลงทะเบียนเพิ่มเติมฯ ยังได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่รับฝากเงินของประชาชน เป็นต้น เพื่อให้มีการสอบทานข้อมูลที่จําเป็นต่อการดําเนินการการลงทะเบียนเพิ่มเติมฯ ต่อไป
กระทรวงการคลังจึงได้จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐปี 2560 ขึ้นเพื่อประสานความร่วมมือระหว่าง 11 หน่วยงานข้างต้น ในการดําเนินการการลงทะเบียนเพิ่มเติมฯ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่ การรับลงทะเบียน การจัดทําฐานข้อมูลของผู้ลงทะเบียน การตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนโดยใช้เกณฑ์คุณสมบัติเหมือนโครงการลงทะเบียนฯ 2560 และการประกาศชื่อผู้มีสิทธิ์ที่จะได้รับสวัสดิการแห่งรัฐ ให้สําเร็จลุล่วงได้อย่างราบรื่นภายในระยะเวลาที่กําหนด
นายนรินทร์ฯ กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของการประกาศผลการลงทะเบียน ทีมไทยนิยมฯ และกรมการปกครอง (สํานักบริหารการปกครองท้องที่) จะร่วมกันดําเนินการประกาศผลการลงทะเบียนให้ผู้ลงทะเบียนได้รับทราบ นอกจากนี้ ผู้ลงทะเบียนสามารถตรวจสอบผลการลงทะเบียนด้วยตัวเองได้ที่ www.epayment.go.th ทั้งนี้ วันประกาศผลการลงทะเบียน กระทรวงการคลังจะประกาศให้ทราบต่อไป
ดังนั้น การลงทะเบียนเพิ่มเติมฯ จะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้มีรายได้น้อยที่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติแต่ไม่ได้ลงทะเบียนในโครงการลงทะเบียนฯ 2560 โดยเฉพาะกลุ่มผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง และผู้ที่ไม่สามารถเดินทางมาลงทะเบียนได้ในปี 2560 ให้มีสิทธิได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและจะได้นําข้อมูลที่ได้รับจากการลงทะเบียนไปใช้ประโยชน์เพื่อจัดสวัสดิการแห่งรัฐที่เหมาะสมตลอดจนมีการติดตามและประเมินผลการดําเนินงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป
สํานักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3274 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่มเติม ภายใต้โครงการไทยนิยม ยั่งยืน
วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม 2561
พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่มเติม ภายใต้โครงการไทยนิยม ยั่งยืน
พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่มเติม ภายใต้โครงการไทยนิยม ยั่งยืน ในกลุ่มผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง และผู้ที่ไม่สามารถเดินทางมาลงทะเบียนได้ในปี 2560
นายนรินทร์ กัลยาณมิตร รองปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2561 กระทรวงการคลังได้จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่มเติมภายใต้โครงการไทยนิยม ยั่งยืน ในกลุ่มผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง และผู้ที่ไม่สามารถเดินทางมาลงทะเบียนได้ในปี 2560 ระหว่างสํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง สํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย กรมสรรพากร กรมบัญชีกลาง กรมการปกครอง กรมที่ดิน กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ สํานักงานประกันสังคม และกรุงเทพมหานคร เพื่อร่วมมือกันดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2561 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่มเติมภายใต้โครงการไทยนิยม ยั่งยืน ในกลุ่มผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง และผู้ที่ไม่สามารถเดินทางมาลงทะเบียนได้ในปี 2560 (การลงทะเบียนเพิ่มเติมฯ) โดยมีทีมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน (ทีมไทยนิยมฯ) เป็นแกนหลักในการลงพื้นที่เพื่อจัดเก็บข้อมูลประชาชนที่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีรายได้น้อยบางส่วนที่ยังไม่ได้เข้าร่วมโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐปี 2560 (โครงการลงทะเบียนฯ 2560) โดยเฉพาะผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้ที่ไม่สามารถเดินทางมาลงทะเบียนได้ในปี 2560 หลังจากนั้น ทีมไทยนิยมฯ บันทึกข้อมูลจากแบบฟอร์มลงทะเบียนของผู้ลงทะเบียนที่ผ่านกลไกประชาคมเข้าระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดทําโดยศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงการคลัง เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลไปยังฐานข้อมูลของกรมการปกครองและกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย ฐานข้อมูลของกรมสรรพากรและกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ฐานข้อมูลกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และฐานข้อมูลของสํานักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เพื่อนํามาประมวลผลผู้มีรายได้น้อยและนําไปใช้ในการจัดสวัสดิการที่เหมาะสมต่อไป นอกจากนี้ การลงทะเบียนเพิ่มเติมฯ ยังได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่รับฝากเงินของประชาชน เป็นต้น เพื่อให้มีการสอบทานข้อมูลที่จําเป็นต่อการดําเนินการการลงทะเบียนเพิ่มเติมฯ ต่อไป
กระทรวงการคลังจึงได้จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐปี 2560 ขึ้นเพื่อประสานความร่วมมือระหว่าง 11 หน่วยงานข้างต้น ในการดําเนินการการลงทะเบียนเพิ่มเติมฯ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่ การรับลงทะเบียน การจัดทําฐานข้อมูลของผู้ลงทะเบียน การตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนโดยใช้เกณฑ์คุณสมบัติเหมือนโครงการลงทะเบียนฯ 2560 และการประกาศชื่อผู้มีสิทธิ์ที่จะได้รับสวัสดิการแห่งรัฐ ให้สําเร็จลุล่วงได้อย่างราบรื่นภายในระยะเวลาที่กําหนด
นายนรินทร์ฯ กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของการประกาศผลการลงทะเบียน ทีมไทยนิยมฯ และกรมการปกครอง (สํานักบริหารการปกครองท้องที่) จะร่วมกันดําเนินการประกาศผลการลงทะเบียนให้ผู้ลงทะเบียนได้รับทราบ นอกจากนี้ ผู้ลงทะเบียนสามารถตรวจสอบผลการลงทะเบียนด้วยตัวเองได้ที่ www.epayment.go.th ทั้งนี้ วันประกาศผลการลงทะเบียน กระทรวงการคลังจะประกาศให้ทราบต่อไป
ดังนั้น การลงทะเบียนเพิ่มเติมฯ จะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้มีรายได้น้อยที่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติแต่ไม่ได้ลงทะเบียนในโครงการลงทะเบียนฯ 2560 โดยเฉพาะกลุ่มผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง และผู้ที่ไม่สามารถเดินทางมาลงทะเบียนได้ในปี 2560 ให้มีสิทธิได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและจะได้นําข้อมูลที่ได้รับจากการลงทะเบียนไปใช้ประโยชน์เพื่อจัดสวัสดิการแห่งรัฐที่เหมาะสมตลอดจนมีการติดตามและประเมินผลการดําเนินงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป
สํานักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3274 | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/13792 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผลสำเร็จโครงการเยียวยาเกษตรกรจากวิกฤตโควิค-19 | วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม 2563
ผลสําเร็จโครงการเยียวยาเกษตรกรจากวิกฤตโควิค-19
วันศุกร์ที 14 สิงหาคม 2563
Your browser does not support the audio element.
ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ
รัฐบาลพอใจผลการดําเนินงานโครงการเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยสามารถโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกร รายละ 5,000 บาทต่อเดือน ตั้งแต่เดือนพ.ค. – ก.ค. 63 รวมกว่า 7,740,000 ราย เป็นเงินราว 112 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 96.48 ซึ่งเกษตรกรร้อยละ 99 รู้สึกพึงพอใจในระดับมาก โดยนําเงินไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น ซื้อพันธุ์สัตว์ อาหารสัตว์ ปุ๋ย ซ่อมแซมโรงเรือน ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือน และใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของบุตรหลาน เป็นต้น ทั้งนี้ รัฐบาลจะเร่งพัฒนาระบบฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้เกษตรกรได้รับความช่วยเหลือได้อย่างถูกต้องรวดเร็วต่อไป
“รวมไทยสร้างชาติ” กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผลสำเร็จโครงการเยียวยาเกษตรกรจากวิกฤตโควิค-19
วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม 2563
ผลสําเร็จโครงการเยียวยาเกษตรกรจากวิกฤตโควิค-19
วันศุกร์ที 14 สิงหาคม 2563
Your browser does not support the audio element.
ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ครับ
รัฐบาลพอใจผลการดําเนินงานโครงการเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยสามารถโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกร รายละ 5,000 บาทต่อเดือน ตั้งแต่เดือนพ.ค. – ก.ค. 63 รวมกว่า 7,740,000 ราย เป็นเงินราว 112 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 96.48 ซึ่งเกษตรกรร้อยละ 99 รู้สึกพึงพอใจในระดับมาก โดยนําเงินไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น ซื้อพันธุ์สัตว์ อาหารสัตว์ ปุ๋ย ซ่อมแซมโรงเรือน ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือน และใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของบุตรหลาน เป็นต้น ทั้งนี้ รัฐบาลจะเร่งพัฒนาระบบฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้เกษตรกรได้รับความช่วยเหลือได้อย่างถูกต้องรวดเร็วต่อไป
“รวมไทยสร้างชาติ” กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/34183 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมหัวหน้าส่วนราชการและผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ครั้งที่ 3/2560 | วันศุกร์ที่ 1 กันยายน 2560
รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมหัวหน้าส่วนราชการและผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ครั้งที่ 3/2560
รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมหัวหน้าส่วนราชการและผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ครั้งที่ 3/2560
วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560 พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมหัวหน้าส่วนราชการและผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ครั้งที่ 3/2560 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา การกีฬาแห่งประเทศไทย
โดยมีวาระสําคัญ ได้แก่ การดําเนินการ "ปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน" หรือ Thailand Tourism Year 2018" ซึ่งจะมีการจัดแถลงข่าวอย่างเป็นทางการในวันที่ 8 ก.ย. 60 การเตรียมการสมโภชพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร การจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ (Moto GP) ความคืบหน้าโครงการเจ้าบ้านที่ดี ตลอดจนผลการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 2017 ณ ประเทศมาเลเซีย | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมหัวหน้าส่วนราชการและผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ครั้งที่ 3/2560
วันศุกร์ที่ 1 กันยายน 2560
รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมหัวหน้าส่วนราชการและผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ครั้งที่ 3/2560
รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมหัวหน้าส่วนราชการและผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ครั้งที่ 3/2560
วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560 พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมหัวหน้าส่วนราชการและผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ครั้งที่ 3/2560 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา การกีฬาแห่งประเทศไทย
โดยมีวาระสําคัญ ได้แก่ การดําเนินการ "ปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน" หรือ Thailand Tourism Year 2018" ซึ่งจะมีการจัดแถลงข่าวอย่างเป็นทางการในวันที่ 8 ก.ย. 60 การเตรียมการสมโภชพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร การจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ (Moto GP) ความคืบหน้าโครงการเจ้าบ้านที่ดี ตลอดจนผลการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 2017 ณ ประเทศมาเลเซีย | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/6353 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. มุ่งคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ พร้อมจับมือทุกภาคส่วน “ประชารัฐร่วมใจต้านภัยการค้ามนุษย์” | วันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม 2560
พม. มุ่งคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ พร้อมจับมือทุกภาคส่วน “ประชารัฐร่วมใจต้านภัยการค้ามนุษย์”
พม. มุ่งคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ พร้อมจับมือทุกภาคส่วน “ประชารัฐร่วมใจต้านภัยการค้ามนุษย์”
วันนี้ (18 ธ.ค. 60) เวลา 09.00 น. นายณรงค์ คงคํา โฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า นายพุฒิพัฒน์ เลิศเชาวสิทธิ์ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) กล่าวในงานประชุมนานาชาติ เพื่อรําลึกวันผู้ย้ายถิ่นสากล “เมื่อถูกบังคับให้ก้าวไปสู่ความไม่แน่นอน: การย้ายถิ่น ความปลอดภัย และความยุติธรรม” โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับองค์กรเครือข่าย เพื่อเป็นเวทีสําหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการและความคิดเห็นเพื่อให้เกิดความเข้าใจระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมทั้งจากสถาบันการศึกษา ภาครัฐ องค์กรเอกชน องค์การระหว่างประเทศ หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย และหน่วยงานภาคประชาสังคมจากประเทศสมาชิกอาเซียน เกี่ยวกับการโยกย้ายถิ่นฐาน โดยเฉพาะแรงงานที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ ณ ห้องประชุมออดิทอเรียม ชั้น 13 อาคารเกษม อุทยานิน (อาคารรัฐศาสตร์ 60 ปี) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
นายพุฒิพัฒน์ กล่าวว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในฐานะหน่วยประสานงานหลักในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และเจ้าภาพหลักในการให้ความคุ้มครองสวัสดิภาพแก่ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์อย่างเต็มที่ ทุกเพศ ทุกวัย และทุกเชื้อชาติ ตามหลักสิทธิมนุษยชน และไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งที่ผ่านมา กระทรวง พม. ได้บูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ภายใต้แนวคิด “ประชารัฐ ร่วมใจต้านภัยการค้ามนุษย์” อย่างต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้ รัฐบาลอยู่ระหว่างพิจารณายกร่างกฎหมาย เพื่อรองรับพิธีสารว่าด้วยการต่อต้านการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานโดยทางบก ทางทะเล และทางอากาศ เสริมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ ที่จัดตั้งในลักษณะองค์กรเพื่อป้องกันมิให้เกิดการแสวงประโยชน์ และเอารัดเอาเปรียบจากผู้โยกย้ายถิ่นฐานดังกล่าว
นายพุฒิพัฒน์ กล่าวต่อไปว่า กระทรวง พม. พร้อมขับเคลื่อนงานด้านการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในทุกรูปแบบให้หมดสิ้นไปจากประเทศไทย โดยธํารงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพราะผู้ที่กระทําความผิดฐานค้ามนุษย์ จะได้รับการลงโทษอย่างร้ายแรง โดยเฉพาะหากเป็นการกระทํากับเด็กที่อายุต่ํากว่า 18 ปี ซึ่งได้จัดทําสื่อประชาสัมพันธ์การต่อต้านการค้ามนุษย์เพื่อเผยแพร่บนเครื่องบิน หรือ Inflight VDO เป็นครั้งแรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ 7 ธันวาคมที่ผ่านมา เพื่อรณรงค์ให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวเมืองไทยที่มีวัฒนธรรมและสถานที่ท่องเที่ยวอันสวยงาม และลดอุปสงค์จากการแสวงประโยชน์ทางเพศโดยมิชอบจากภาคการท่องเที่ยว
“ทั้งนี้ รัฐบาล โดยกระทรวง พม. จะยังคงมุ่งมั่นดําเนินงานและให้การคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดยคํานึงถึงหลักมนุษยธรรม ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน เพื่อขับเคลื่อนงานด้านการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หากพบเห็นเบาะแสหรือเหตุการณ์การค้ามนุษย์ สามารถแจ้งได้ที่ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อการช่วยเหลือที่รวดเร็วและทันเหตุการณ์” นายพุฒิพัฒน์ กล่าวในตอนท้าย | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. มุ่งคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ พร้อมจับมือทุกภาคส่วน “ประชารัฐร่วมใจต้านภัยการค้ามนุษย์”
วันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม 2560
พม. มุ่งคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ พร้อมจับมือทุกภาคส่วน “ประชารัฐร่วมใจต้านภัยการค้ามนุษย์”
พม. มุ่งคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ พร้อมจับมือทุกภาคส่วน “ประชารัฐร่วมใจต้านภัยการค้ามนุษย์”
วันนี้ (18 ธ.ค. 60) เวลา 09.00 น. นายณรงค์ คงคํา โฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า นายพุฒิพัฒน์ เลิศเชาวสิทธิ์ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) กล่าวในงานประชุมนานาชาติ เพื่อรําลึกวันผู้ย้ายถิ่นสากล “เมื่อถูกบังคับให้ก้าวไปสู่ความไม่แน่นอน: การย้ายถิ่น ความปลอดภัย และความยุติธรรม” โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับองค์กรเครือข่าย เพื่อเป็นเวทีสําหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการและความคิดเห็นเพื่อให้เกิดความเข้าใจระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมทั้งจากสถาบันการศึกษา ภาครัฐ องค์กรเอกชน องค์การระหว่างประเทศ หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย และหน่วยงานภาคประชาสังคมจากประเทศสมาชิกอาเซียน เกี่ยวกับการโยกย้ายถิ่นฐาน โดยเฉพาะแรงงานที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ ณ ห้องประชุมออดิทอเรียม ชั้น 13 อาคารเกษม อุทยานิน (อาคารรัฐศาสตร์ 60 ปี) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
นายพุฒิพัฒน์ กล่าวว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในฐานะหน่วยประสานงานหลักในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และเจ้าภาพหลักในการให้ความคุ้มครองสวัสดิภาพแก่ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์อย่างเต็มที่ ทุกเพศ ทุกวัย และทุกเชื้อชาติ ตามหลักสิทธิมนุษยชน และไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งที่ผ่านมา กระทรวง พม. ได้บูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ภายใต้แนวคิด “ประชารัฐ ร่วมใจต้านภัยการค้ามนุษย์” อย่างต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้ รัฐบาลอยู่ระหว่างพิจารณายกร่างกฎหมาย เพื่อรองรับพิธีสารว่าด้วยการต่อต้านการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานโดยทางบก ทางทะเล และทางอากาศ เสริมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ ที่จัดตั้งในลักษณะองค์กรเพื่อป้องกันมิให้เกิดการแสวงประโยชน์ และเอารัดเอาเปรียบจากผู้โยกย้ายถิ่นฐานดังกล่าว
นายพุฒิพัฒน์ กล่าวต่อไปว่า กระทรวง พม. พร้อมขับเคลื่อนงานด้านการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในทุกรูปแบบให้หมดสิ้นไปจากประเทศไทย โดยธํารงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพราะผู้ที่กระทําความผิดฐานค้ามนุษย์ จะได้รับการลงโทษอย่างร้ายแรง โดยเฉพาะหากเป็นการกระทํากับเด็กที่อายุต่ํากว่า 18 ปี ซึ่งได้จัดทําสื่อประชาสัมพันธ์การต่อต้านการค้ามนุษย์เพื่อเผยแพร่บนเครื่องบิน หรือ Inflight VDO เป็นครั้งแรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ 7 ธันวาคมที่ผ่านมา เพื่อรณรงค์ให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวเมืองไทยที่มีวัฒนธรรมและสถานที่ท่องเที่ยวอันสวยงาม และลดอุปสงค์จากการแสวงประโยชน์ทางเพศโดยมิชอบจากภาคการท่องเที่ยว
“ทั้งนี้ รัฐบาล โดยกระทรวง พม. จะยังคงมุ่งมั่นดําเนินงานและให้การคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดยคํานึงถึงหลักมนุษยธรรม ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน เพื่อขับเคลื่อนงานด้านการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หากพบเห็นเบาะแสหรือเหตุการณ์การค้ามนุษย์ สามารถแจ้งได้ที่ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อการช่วยเหลือที่รวดเร็วและทันเหตุการณ์” นายพุฒิพัฒน์ กล่าวในตอนท้าย | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/8837 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ เยี่ยมชมต้นแบบศูนย์กลางการกระจายพัสดุของไปรษณีย์ที่ทันสมัยที่สุดของจีนในเมืองหนานจิง | วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน 2561
รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ เยี่ยมชมต้นแบบศูนย์กลางการกระจายพัสดุของไปรษณีย์ที่ทันสมัยที่สุดของจีนในเมืองหนานจิง
รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ
p.p1 {margin: 0.0px 0.0px 10.0px 0.0px; font: 16.0px Helvetica; -webkit-text-stroke: #000000}
p.p2 {margin: 0.0px 0.0px 10.0px 0.0px; font: 16.0px Helvetica; -webkit-text-stroke: #000000; min-height: 19.0px}
p.p3 {margin: 0.0px 0.0px 10.0px 0.0px; text-align: justify; font: 16.0px Helvetica; -webkit-text-stroke: #000000; min-height: 19.0px}
p.p4 {margin: 0.0px 0.0px 10.0px 0.0px; text-indent: 36.0px; font: 18.0px Helvetica; -webkit-text-stroke: #000000}
span.s1 {font-kerning: none}
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เยี่ยมชมศูนย์กลางการกระจายพัสดุที่ทันสมัยของไปรษณีย์จีนในเมืองหนานจิง ระหว่างเดินทางโรดโชว์ ที่นครปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้ กับคณะ
รองนายกรัฐมนตรี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ซึ่งเป็นศูนย์ที่ทันสมัยพร้อมรองรับการเติบโตมากที่สุดแห่งหนึ่งของจีน โดยกระจายสินค้ากว่า 700,000 ชิ้นต่อวัน สําหรับหนานจิงเป็นเมืองท่าสําคัญ มีท่าเรือขนส่งปิโตรเคมีที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน และเป็นท่าเรือน้ําจืดที่ใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศ มีสนามบินนานาชาติที่เป็นศูนย์กลางการขนส่งในประเทศ พร้อมกันนี้ภายในเมืองยังมีเครือข่ายเส้นทางรถไฟและถนนหนาแน่นเชื่อมโยงหนานจิงไปยังเมืองต่างๆ ในสามเหลี่ยมปากแม่น้ําแยงซีที่มีประชากรหนาแน่นและคึกคัก ดังนั้นหนานจิงจึงกลายเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าที่คึกคักที่สุดในจีน สําหรับเมืองหนานจิงเป็นเมืองหลวงของมณฑลเจียงซู ตั้งอยู่บนแม่น้ําแยงซีประมาณ 290 กิโลเมตร จากเซี่ยงไฮ้ หนานจิงกลายเป็นศูนย์กลางสําคัญของภูมิภาคในศตวรรษที่ 21
***************** | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ เยี่ยมชมต้นแบบศูนย์กลางการกระจายพัสดุของไปรษณีย์ที่ทันสมัยที่สุดของจีนในเมืองหนานจิง
วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน 2561
รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ เยี่ยมชมต้นแบบศูนย์กลางการกระจายพัสดุของไปรษณีย์ที่ทันสมัยที่สุดของจีนในเมืองหนานจิง
รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ
p.p1 {margin: 0.0px 0.0px 10.0px 0.0px; font: 16.0px Helvetica; -webkit-text-stroke: #000000}
p.p2 {margin: 0.0px 0.0px 10.0px 0.0px; font: 16.0px Helvetica; -webkit-text-stroke: #000000; min-height: 19.0px}
p.p3 {margin: 0.0px 0.0px 10.0px 0.0px; text-align: justify; font: 16.0px Helvetica; -webkit-text-stroke: #000000; min-height: 19.0px}
p.p4 {margin: 0.0px 0.0px 10.0px 0.0px; text-indent: 36.0px; font: 18.0px Helvetica; -webkit-text-stroke: #000000}
span.s1 {font-kerning: none}
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เยี่ยมชมศูนย์กลางการกระจายพัสดุที่ทันสมัยของไปรษณีย์จีนในเมืองหนานจิง ระหว่างเดินทางโรดโชว์ ที่นครปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้ กับคณะ
รองนายกรัฐมนตรี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ซึ่งเป็นศูนย์ที่ทันสมัยพร้อมรองรับการเติบโตมากที่สุดแห่งหนึ่งของจีน โดยกระจายสินค้ากว่า 700,000 ชิ้นต่อวัน สําหรับหนานจิงเป็นเมืองท่าสําคัญ มีท่าเรือขนส่งปิโตรเคมีที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน และเป็นท่าเรือน้ําจืดที่ใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศ มีสนามบินนานาชาติที่เป็นศูนย์กลางการขนส่งในประเทศ พร้อมกันนี้ภายในเมืองยังมีเครือข่ายเส้นทางรถไฟและถนนหนาแน่นเชื่อมโยงหนานจิงไปยังเมืองต่างๆ ในสามเหลี่ยมปากแม่น้ําแยงซีที่มีประชากรหนาแน่นและคึกคัก ดังนั้นหนานจิงจึงกลายเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าที่คึกคักที่สุดในจีน สําหรับเมืองหนานจิงเป็นเมืองหลวงของมณฑลเจียงซู ตั้งอยู่บนแม่น้ําแยงซีประมาณ 290 กิโลเมตร จากเซี่ยงไฮ้ หนานจิงกลายเป็นศูนย์กลางสําคัญของภูมิภาคในศตวรรษที่ 21
***************** | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/16635 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ควรซื้อชุดตรวจ Rapid test COVID-19 มาตรวจเองหรือไม่ ?? | วันพุธที่ 3 มิถุนายน 2563
ควรซื้อชุดตรวจ Rapid test COVID-19 มาตรวจเองหรือไม่ ??
ซื้อชุดตรวจ Rapid test COVID-19 มาตรวจเองหรือไม่ ??
Q :ควรซื้อชุดตรวจRapid test COVID-19มาตรวจเองหรือไม่??
A :ไม่ควร เพราะผลตรวจที่น่าเชื่อถือ ต้องทําในจุดบริการที่จัดไว้ และส่งตรวจในห้องปฏิบัติการที่ผ่านการรับรอง แต่ควรทําแบบประเมินความเสี่ยงก่อน เพื่อไม่ไปเพิ่มภาระของแพทย์ | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ควรซื้อชุดตรวจ Rapid test COVID-19 มาตรวจเองหรือไม่ ??
วันพุธที่ 3 มิถุนายน 2563
ควรซื้อชุดตรวจ Rapid test COVID-19 มาตรวจเองหรือไม่ ??
ซื้อชุดตรวจ Rapid test COVID-19 มาตรวจเองหรือไม่ ??
Q :ควรซื้อชุดตรวจRapid test COVID-19มาตรวจเองหรือไม่??
A :ไม่ควร เพราะผลตรวจที่น่าเชื่อถือ ต้องทําในจุดบริการที่จัดไว้ และส่งตรวจในห้องปฏิบัติการที่ผ่านการรับรอง แต่ควรทําแบบประเมินความเสี่ยงก่อน เพื่อไม่ไปเพิ่มภาระของแพทย์ | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/31886 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เร่งแก้ไขปัญหาการให้บริการ เพื่อสร้างความมั่นใจและความสะดวกสบาย | วันพุธที่ 11 เมษายน 2561
รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เร่งแก้ไขปัญหาการให้บริการ เพื่อสร้างความมั่นใจและความสะดวกสบาย
นายวิสุทธิ์ จันมณี กรรมการและรักษาการกรรมการผู้อํานวยการใหญ่บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จํากัด (รฟฟท.) กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า รฟฟท. ได้เร่งดําเนินการตามนโยบายของกระทรวงฯ ในการแก้ไขปัญหาการให้บริการประชาชน เพื่อสร้างความมั่นใจและความสะดวกสบายในการ ดังนี้
1. แผนระยะสั้น เร่งรัดงานซ่อมบํารุงรถไฟฟ้าให้แล้วเสร็จตามที่กําหนดไว้ โดยภายในเดือนเมษายน 2561 จะซ่อมบํารุงรถไฟฟ้าให้ใช้บริการได้ 7 ขบวน ซึ่งจะทําให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกสบายเพิ่มมากขึ้น เร่งรัดการจัดหาอะไหล่ตามที่ได้จัดซื้อให้ได้ครบถ้วน และร่วมมือกับการรถไฟแห่งประเทศไทย จัดขบวนรถดีเซลรางให้บริการประชาชนในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า – เย็น ระหว่างสถานีลาดกระบัง – กรุงเทพ (หัวลําโพง)
2. แผนระยะกลาง เตรียมดําเนินการซ่อมบํารุงขบวนรถให้ใช้งานได้ครบทั้ง 9 ขบวน ภายในเดือนธันวาคม 2561 และหารือกับบริษัท ซีเมนส์ จํากัด จัดหาอะไหล่ที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ ศึกษาการเช่าขบวนรถเพิ่มเติม พัฒนาปรับปรุงตู้สัมภาระของขบวนรถ Express Line จํานวน 4 ตู้ เพื่อรองรับจํานวนผู้โดยสารที่เพิ่มสูงขึ้น ติดตั้งแผงกั้นราวสแตนเลสกันตกบริเวณชานชาลา เพื่อความปลอดภัยในการใช้บริการของประชาชน และนําระบบบริหารจัดการคุณภาพ ISO 9001:2015มาใช้ในงานซ่อมบํารุง ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการประเมินผลและออกใบรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานภายนอก
3. แผนระยะยาว เตรียมทําแผนประเมินและสํารองอะไหล่ที่จําเป็นในการซ่อมบํารุงให้ได้ตามมาตรฐาน 100 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากการสั่งซื้ออะไหล่ในแต่ละครั้งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 9 – 10 เดือน จึงมีความจําเป็นต้องสํารองอะไหล่ให้เพียงพอต่อการใช้งาน เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการให้บริการ
สําหรับความปลอดภัยของขบวนรถนั้น รฟฟท. ขอยืนยันว่า ขบวนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ทุกขบวนมีความปลอดภัยในการให้บริการ เนื่องจาก รฟฟท. ทํางานอย่างใกล้ชิดกับบริษัท ซีเมนส์ จํากัด ซึ่งเป็นเจ้าของระบบรถไฟฟ้าในการดูแลรักษา ซ่อมบํารุง จัดหาอะไหล่ และการตรวจสอบความพร้อมของขบวนรถก่อนให้บริการทุกครั้ง | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เร่งแก้ไขปัญหาการให้บริการ เพื่อสร้างความมั่นใจและความสะดวกสบาย
วันพุธที่ 11 เมษายน 2561
รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เร่งแก้ไขปัญหาการให้บริการ เพื่อสร้างความมั่นใจและความสะดวกสบาย
นายวิสุทธิ์ จันมณี กรรมการและรักษาการกรรมการผู้อํานวยการใหญ่บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จํากัด (รฟฟท.) กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า รฟฟท. ได้เร่งดําเนินการตามนโยบายของกระทรวงฯ ในการแก้ไขปัญหาการให้บริการประชาชน เพื่อสร้างความมั่นใจและความสะดวกสบายในการ ดังนี้
1. แผนระยะสั้น เร่งรัดงานซ่อมบํารุงรถไฟฟ้าให้แล้วเสร็จตามที่กําหนดไว้ โดยภายในเดือนเมษายน 2561 จะซ่อมบํารุงรถไฟฟ้าให้ใช้บริการได้ 7 ขบวน ซึ่งจะทําให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกสบายเพิ่มมากขึ้น เร่งรัดการจัดหาอะไหล่ตามที่ได้จัดซื้อให้ได้ครบถ้วน และร่วมมือกับการรถไฟแห่งประเทศไทย จัดขบวนรถดีเซลรางให้บริการประชาชนในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า – เย็น ระหว่างสถานีลาดกระบัง – กรุงเทพ (หัวลําโพง)
2. แผนระยะกลาง เตรียมดําเนินการซ่อมบํารุงขบวนรถให้ใช้งานได้ครบทั้ง 9 ขบวน ภายในเดือนธันวาคม 2561 และหารือกับบริษัท ซีเมนส์ จํากัด จัดหาอะไหล่ที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ ศึกษาการเช่าขบวนรถเพิ่มเติม พัฒนาปรับปรุงตู้สัมภาระของขบวนรถ Express Line จํานวน 4 ตู้ เพื่อรองรับจํานวนผู้โดยสารที่เพิ่มสูงขึ้น ติดตั้งแผงกั้นราวสแตนเลสกันตกบริเวณชานชาลา เพื่อความปลอดภัยในการใช้บริการของประชาชน และนําระบบบริหารจัดการคุณภาพ ISO 9001:2015มาใช้ในงานซ่อมบํารุง ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการประเมินผลและออกใบรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานภายนอก
3. แผนระยะยาว เตรียมทําแผนประเมินและสํารองอะไหล่ที่จําเป็นในการซ่อมบํารุงให้ได้ตามมาตรฐาน 100 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากการสั่งซื้ออะไหล่ในแต่ละครั้งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 9 – 10 เดือน จึงมีความจําเป็นต้องสํารองอะไหล่ให้เพียงพอต่อการใช้งาน เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการให้บริการ
สําหรับความปลอดภัยของขบวนรถนั้น รฟฟท. ขอยืนยันว่า ขบวนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ทุกขบวนมีความปลอดภัยในการให้บริการ เนื่องจาก รฟฟท. ทํางานอย่างใกล้ชิดกับบริษัท ซีเมนส์ จํากัด ซึ่งเป็นเจ้าของระบบรถไฟฟ้าในการดูแลรักษา ซ่อมบํารุง จัดหาอะไหล่ และการตรวจสอบความพร้อมของขบวนรถก่อนให้บริการทุกครั้ง | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/11475 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. จับมือสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดประชุมเผยแพร่นโยบายยุทธศาสตร์ และมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 – 2564 | วันพฤหัสบดีที่ 12 ตุลาคม 2560
พม. จับมือสถาบันวิจัยและให้คําปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดประชุมเผยแพร่นโยบายยุทธศาสตร์ และมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 – 2564
พม. จับมือสถาบันวิจัยและให้คําปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดประชุมเผยแพร่นโยบายยุทธศาสตร์ และมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 – 2564 เพื่อนําไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อเนื่อง และยั่งยืน
วันนี้ (12 ต.ค. 60) เวลา 13.00 น.นายณรงค์ คงคํา โฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เปิดเผยว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ร่วมกับสถาบันวิจัยและให้คําปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดประชุมเผยแพร่นโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 - 2564 เพื่อนําไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีนางสุวรีย์ ใจหาญ รักษาการที่ปรึกษาวิชาการพัฒนาสังคมเป็นประธานการประชุม ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 100 คน ประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน และองค์การระหว่างประเทศ ณ ห้องมิ่งเมือง ชั้น 4 โรงแรมเดอะทวิน ทาวเวอร์ กรุงเทพฯ
นางสุวรีย์กล่าวว่า กระทรวง พม. โดยกองต่อต้านการค้ามนุษย์ สํานักงานปลัดกระทรวง พม. ร่วมกับสถาบันวิจัยและให้คําปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กําหนดจัดการประชุมครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ นโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560-2564 ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทุกภาคส่วนใช้เป็นแผนแม่บทในการขับเคลื่อนการดําเนินงานป้องกันและปราบปราม การค้ามนุษย์ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในทิศทางเดียวกัน โดยได้กําหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ที่มีวิสัยทัศน์ ที่ชัดเจน คือ "ประชารัฐร่วมใจ ประเทศไทยไร้การค้ามนุษย์” ซึ่งประกอบด้วย ยุทธศาสตร์และมาตรการ ที่ครอบคลุม 5 ด้านสําคัญ ตามหลักการ 5P ได้แก่ 1) ด้านการพัฒนากลไกเชิงนโยบายและการขับเคลื่อน (Policy) 2) ด้านการดําเนินคดี (Prosecution) 3) ด้านการคุ้มครองช่วยเหลือ (Protection) 4) ด้านการป้องกัน (Prevention) และ 5) ด้านการพัฒนาความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย (Partnership) เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความต่อเนื่องยั่งยืน และนําไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมในทิศทางเดียวกัน | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. จับมือสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดประชุมเผยแพร่นโยบายยุทธศาสตร์ และมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 – 2564
วันพฤหัสบดีที่ 12 ตุลาคม 2560
พม. จับมือสถาบันวิจัยและให้คําปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดประชุมเผยแพร่นโยบายยุทธศาสตร์ และมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 – 2564
พม. จับมือสถาบันวิจัยและให้คําปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดประชุมเผยแพร่นโยบายยุทธศาสตร์ และมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 – 2564 เพื่อนําไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อเนื่อง และยั่งยืน
วันนี้ (12 ต.ค. 60) เวลา 13.00 น.นายณรงค์ คงคํา โฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เปิดเผยว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ร่วมกับสถาบันวิจัยและให้คําปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดประชุมเผยแพร่นโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 - 2564 เพื่อนําไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีนางสุวรีย์ ใจหาญ รักษาการที่ปรึกษาวิชาการพัฒนาสังคมเป็นประธานการประชุม ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 100 คน ประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน และองค์การระหว่างประเทศ ณ ห้องมิ่งเมือง ชั้น 4 โรงแรมเดอะทวิน ทาวเวอร์ กรุงเทพฯ
นางสุวรีย์กล่าวว่า กระทรวง พม. โดยกองต่อต้านการค้ามนุษย์ สํานักงานปลัดกระทรวง พม. ร่วมกับสถาบันวิจัยและให้คําปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กําหนดจัดการประชุมครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ นโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560-2564 ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทุกภาคส่วนใช้เป็นแผนแม่บทในการขับเคลื่อนการดําเนินงานป้องกันและปราบปราม การค้ามนุษย์ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในทิศทางเดียวกัน โดยได้กําหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ที่มีวิสัยทัศน์ ที่ชัดเจน คือ "ประชารัฐร่วมใจ ประเทศไทยไร้การค้ามนุษย์” ซึ่งประกอบด้วย ยุทธศาสตร์และมาตรการ ที่ครอบคลุม 5 ด้านสําคัญ ตามหลักการ 5P ได้แก่ 1) ด้านการพัฒนากลไกเชิงนโยบายและการขับเคลื่อน (Policy) 2) ด้านการดําเนินคดี (Prosecution) 3) ด้านการคุ้มครองช่วยเหลือ (Protection) 4) ด้านการป้องกัน (Prevention) และ 5) ด้านการพัฒนาความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย (Partnership) เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความต่อเนื่องยั่งยืน และนําไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมในทิศทางเดียวกัน | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/7379 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.กำชับสถานพยาบาลในจังหวัดนครศรีธรรมราช เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉินหากเกิดภาวะน้ำท่วมฉับพลัน | วันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2560
สธ.กําชับสถานพยาบาลในจังหวัดนครศรีธรรมราช เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉินหากเกิดภาวะน้ําท่วมฉับพลัน
กระทรวงสาธารณสุข กําชับโรงพยาบาลในจังหวัดนครศรีธรรมราช เตรียมการป้องกันน้ําท่วมสถานพยาบาลและจัดบริการประชาชน หากเกิดฝนตกหนักและน้ําท่วมฉับพลัน
นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขในฐานะโฆษกกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ ว่า จากการที่กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ว่า จะมีฝนตกหนักที่ภาคใต้ในช่วงนี้ นายแพทย์เจษฎา โชคดํารงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้สั่งการให้สถานพยาบาลในจังหวัดนครศรีธรรมราช เตรียมป้องกันน้ําท่วมสถานพยาบาล เพื่อไม่ให้กระทบบริการผู้ป่วย โดยดําเนินการป้องกันน้ําท่วมโรงพยาบาล เช่น ทําความสะอาดรางน้ํา ท่อระบายน้ํา จัดเตรียมกระสอบทราย เครื่องสูบน้ํา สํารองน้ํามัน เป็นต้น สํารวจความแข็งแรงอาคารจอดรถ หลังคา ต้นไม้ใหญ่ ขนย้ายอุปกรณ์ทางการแพทย์ ยา-เวชภัณฑ์ ไว้ที่ปลอดภัย เตรียมการขนย้าย ส่งต่อผู้ป่วย สํารวจเส้นทาง และการบริการตรวจรักษานอกโรงพยาบาล กรณีน้ําท่วมโรงพยาบาลหรือท่วมเส้นทางเข้าออก และสํารองยาเวชภัณฑ์ ออกซิเจน เครื่องสํารองไฟฟ้า อาหารและน้ําสําหรับผู้ป่วย นอกจากนี้ให้สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาล เตรียมจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ และสํารวจกลุ่มเสี่ยงได้แก่ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ หญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด
นายแพทย์โอภาส กล่าวเพิ่มเติมว่า สําหรับโรงพยาบาลที่เคยมีปัญหาน้ําท่วมในช่วงที่ผ่านมา เช่นที่โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช โรงพยาบาลชะอวด โรงพยาบาลทุ่งสง โรงพยาบาลปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับรายงานว่า ขณะนี้ได้กั้นกระสอบทรายรอบๆ เพื่อกันน้ําท่วมไว้พร้อมแล้ว ทั้งนี้สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราชเปิดศูนย์ปฎิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อใช้ในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ หากประชาชนเจ็บป่วยฉุกเฉินโทร 1669 ได้ ตลอด 24 ชั่วโมง
********************* พฤศจิกายน 2560 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.กำชับสถานพยาบาลในจังหวัดนครศรีธรรมราช เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉินหากเกิดภาวะน้ำท่วมฉับพลัน
วันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2560
สธ.กําชับสถานพยาบาลในจังหวัดนครศรีธรรมราช เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉินหากเกิดภาวะน้ําท่วมฉับพลัน
กระทรวงสาธารณสุข กําชับโรงพยาบาลในจังหวัดนครศรีธรรมราช เตรียมการป้องกันน้ําท่วมสถานพยาบาลและจัดบริการประชาชน หากเกิดฝนตกหนักและน้ําท่วมฉับพลัน
นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขในฐานะโฆษกกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ ว่า จากการที่กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ว่า จะมีฝนตกหนักที่ภาคใต้ในช่วงนี้ นายแพทย์เจษฎา โชคดํารงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้สั่งการให้สถานพยาบาลในจังหวัดนครศรีธรรมราช เตรียมป้องกันน้ําท่วมสถานพยาบาล เพื่อไม่ให้กระทบบริการผู้ป่วย โดยดําเนินการป้องกันน้ําท่วมโรงพยาบาล เช่น ทําความสะอาดรางน้ํา ท่อระบายน้ํา จัดเตรียมกระสอบทราย เครื่องสูบน้ํา สํารองน้ํามัน เป็นต้น สํารวจความแข็งแรงอาคารจอดรถ หลังคา ต้นไม้ใหญ่ ขนย้ายอุปกรณ์ทางการแพทย์ ยา-เวชภัณฑ์ ไว้ที่ปลอดภัย เตรียมการขนย้าย ส่งต่อผู้ป่วย สํารวจเส้นทาง และการบริการตรวจรักษานอกโรงพยาบาล กรณีน้ําท่วมโรงพยาบาลหรือท่วมเส้นทางเข้าออก และสํารองยาเวชภัณฑ์ ออกซิเจน เครื่องสํารองไฟฟ้า อาหารและน้ําสําหรับผู้ป่วย นอกจากนี้ให้สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาล เตรียมจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ และสํารวจกลุ่มเสี่ยงได้แก่ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ หญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด
นายแพทย์โอภาส กล่าวเพิ่มเติมว่า สําหรับโรงพยาบาลที่เคยมีปัญหาน้ําท่วมในช่วงที่ผ่านมา เช่นที่โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช โรงพยาบาลชะอวด โรงพยาบาลทุ่งสง โรงพยาบาลปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับรายงานว่า ขณะนี้ได้กั้นกระสอบทรายรอบๆ เพื่อกันน้ําท่วมไว้พร้อมแล้ว ทั้งนี้สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราชเปิดศูนย์ปฎิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อใช้ในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ หากประชาชนเจ็บป่วยฉุกเฉินโทร 1669 ได้ ตลอด 24 ชั่วโมง
********************* พฤศจิกายน 2560 | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/7810 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กสร. รับมือโควิด-19 เปิดช่องออนไลน์ให้นายจ้างแจ้งใช้ม.75 | วันพุธที่ 1 เมษายน 2563
กสร. รับมือโควิด-19 เปิดช่องออนไลน์ให้นายจ้างแจ้งใช้ม.75
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ปรับระบบรองรับสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 อํานวยความสะดวกนายจ้าง แจ้งใช้มาตรา 75 ผ่านช่องทางออนไลน์
นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ขยายเป็นวงกว้าง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสถานประกอบกิจการบางแห่งทําให้ไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติเป็นเหตุให้ต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนชั่วคราวและจําเป็นต้องใช้มาตรา 75 ตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เพื่อประคับประคองกิจการให้สามารถดําเนินการต่อไปได้ ซึ่งการใช้มาตรา 75 นายจ้างจะต้องแจ้งต่อพนักงานตรวจแรงงานในพื้นที่และลูกจ้างเป็นหนังสือก่อนหยุดกิจการไม่น้อยกว่า 3 วันทํางาน เพื่อเป็นการอํานวยความสะดวกให้แก่นายจ้างในการแจ้งต่อพนักงานตรวจแรงงาน รวมทั้งลดความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อโรคในที่สาธารณะ กสร. จึงได้เปิดให้บริการแจ้งการใช้มาตรา 75 ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยสามารถดําเนินการได้ที่หน้าเว็บไซต์ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน www.labour.go.th
อธิบดีกสร. กล่าวต่อว่า สําหรับนายจ้าง ลูกจ้างที่มีข้อสงสัย หรือต้องการขอรับคําปรึกษานอกจากหมายเลขโทรศัพท์ สายด่วน 1506 กด 3 แล้ว ยังสามารถใช้บริการได้ที่ เว็บไซต์กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน www.labour.go.th, E-mail ([email protected]), Facebook กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (https://www.facebook.com/theDLPW/) | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กสร. รับมือโควิด-19 เปิดช่องออนไลน์ให้นายจ้างแจ้งใช้ม.75
วันพุธที่ 1 เมษายน 2563
กสร. รับมือโควิด-19 เปิดช่องออนไลน์ให้นายจ้างแจ้งใช้ม.75
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ปรับระบบรองรับสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 อํานวยความสะดวกนายจ้าง แจ้งใช้มาตรา 75 ผ่านช่องทางออนไลน์
นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ขยายเป็นวงกว้าง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสถานประกอบกิจการบางแห่งทําให้ไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติเป็นเหตุให้ต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนชั่วคราวและจําเป็นต้องใช้มาตรา 75 ตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เพื่อประคับประคองกิจการให้สามารถดําเนินการต่อไปได้ ซึ่งการใช้มาตรา 75 นายจ้างจะต้องแจ้งต่อพนักงานตรวจแรงงานในพื้นที่และลูกจ้างเป็นหนังสือก่อนหยุดกิจการไม่น้อยกว่า 3 วันทํางาน เพื่อเป็นการอํานวยความสะดวกให้แก่นายจ้างในการแจ้งต่อพนักงานตรวจแรงงาน รวมทั้งลดความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อโรคในที่สาธารณะ กสร. จึงได้เปิดให้บริการแจ้งการใช้มาตรา 75 ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยสามารถดําเนินการได้ที่หน้าเว็บไซต์ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน www.labour.go.th
อธิบดีกสร. กล่าวต่อว่า สําหรับนายจ้าง ลูกจ้างที่มีข้อสงสัย หรือต้องการขอรับคําปรึกษานอกจากหมายเลขโทรศัพท์ สายด่วน 1506 กด 3 แล้ว ยังสามารถใช้บริการได้ที่ เว็บไซต์กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน www.labour.go.th, E-mail ([email protected]), Facebook กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (https://www.facebook.com/theDLPW/) | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/28235 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีประชาสัมพันธ์วันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี 2563 พร้อมแนะเยาวชนรุ่นใหม่ใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง | วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม 2563
นายกรัฐมนตรีประชาสัมพันธ์วันภาษาไทยแห่งชาติ ประจําปี 2563 พร้อมแนะเยาวชนรุ่นใหม่ใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
นายกรัฐมนตรีประชาสัมพันธ์วันภาษาไทยแห่งชาติ ประจําปี 2563 พร้อมแนะเยาวชนรุ่นใหม่ใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
วันนี้ (14 ก.ค. 63) เวลา 08.45 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทําเนียบรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เยี่ยมชมนิทรรศการรณรงค์งานวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจําปี พ.ศ. 2563 โดยมีนาย อิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นําคณะนักเรียนและเยาวชนผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ที่มีความสามารถด้านการพูด การอ่าน การเขียน พ.ศ. 2563 เข้าพบนายกรัฐมนตรีเพื่อประชาสัมพันธ์งานวันภาษาไทยแห่งชาติวันที่ 29 ก.ค. 2563 ที่จะจัดขึ้น ณ อาคารวัฒนธรรมวิศิษฐ์ กระทรวงวัฒนธรรม ในรูปแบบชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) สรุปสาระสําคัญ ดังนี้
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีชมวิดิทัศน์ส่งเสริมการใช้ภาษาไทย นําแสดงโดยด.ญ. เรไร หรือ เจ้าของ Facebook Page “เรไรรายวัน” โดยนายกรัฐมนตรีชื่นชมพร้อมแนะว่า การเขียนหนังสือ จดบันทึก นอกจากจะช่วยฝึกคัดลายมือ ฝึกการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง ยังแสดงถ่ายทอด ความคิดเห็นผ่านตัวอักษร สะท้อนความเป็นตัวเราอีกด้วย พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ยังร่วมฟังการขับร้องบทอาขยาน “เด็กน้อย” โดยเยาวชนที่มีความสามารถด้านการพูด การอ่าน การเขียน พ.ศ. 2563 นายกรัฐมนตรีแนะให้นําข้อคิดจากบทอาขยานไปปฏิบัติในชีวิตจริง อาทิ ความพากเพียร ความขยัน ทั้งในด้านการเรียน และการทํางานในอนาคต เพื่อที่จะได้โตมาเป็นคนดี คนเก่ง ทําตามความฝันของตนเอง
ทั้งนี้ รัฐบาลได้กําหนดให้ทุกวันที่ 29 ก.ค. ของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ โดยกระทรวงวัฒนธรรมได้จัดแสดงรางวัลเชิดชูปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ผู้ใช้ภาษาถิ่นดีเด่น และผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย รางวัลในการประกวดโครงการเพชรในเพลง เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ และนิทรรศการหนังสือหายาก บทละครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 ในโอกาสนี้นายกรัฐมนตรีรับมอบหนังสือบทละครเรื่องอิเหนาจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมพร้อมกล่าวรณรงค์ให้เยาวชนรุ่นใหม่อ่านหนังสือในรูปแบบเล่ม ควบคู่ไปกับการอ่านหนังสือออนไลน์แบบ E-book ด้วย
......................
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีประชาสัมพันธ์วันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี 2563 พร้อมแนะเยาวชนรุ่นใหม่ใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม 2563
นายกรัฐมนตรีประชาสัมพันธ์วันภาษาไทยแห่งชาติ ประจําปี 2563 พร้อมแนะเยาวชนรุ่นใหม่ใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
นายกรัฐมนตรีประชาสัมพันธ์วันภาษาไทยแห่งชาติ ประจําปี 2563 พร้อมแนะเยาวชนรุ่นใหม่ใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
วันนี้ (14 ก.ค. 63) เวลา 08.45 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทําเนียบรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เยี่ยมชมนิทรรศการรณรงค์งานวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจําปี พ.ศ. 2563 โดยมีนาย อิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นําคณะนักเรียนและเยาวชนผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ที่มีความสามารถด้านการพูด การอ่าน การเขียน พ.ศ. 2563 เข้าพบนายกรัฐมนตรีเพื่อประชาสัมพันธ์งานวันภาษาไทยแห่งชาติวันที่ 29 ก.ค. 2563 ที่จะจัดขึ้น ณ อาคารวัฒนธรรมวิศิษฐ์ กระทรวงวัฒนธรรม ในรูปแบบชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) สรุปสาระสําคัญ ดังนี้
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีชมวิดิทัศน์ส่งเสริมการใช้ภาษาไทย นําแสดงโดยด.ญ. เรไร หรือ เจ้าของ Facebook Page “เรไรรายวัน” โดยนายกรัฐมนตรีชื่นชมพร้อมแนะว่า การเขียนหนังสือ จดบันทึก นอกจากจะช่วยฝึกคัดลายมือ ฝึกการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง ยังแสดงถ่ายทอด ความคิดเห็นผ่านตัวอักษร สะท้อนความเป็นตัวเราอีกด้วย พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ยังร่วมฟังการขับร้องบทอาขยาน “เด็กน้อย” โดยเยาวชนที่มีความสามารถด้านการพูด การอ่าน การเขียน พ.ศ. 2563 นายกรัฐมนตรีแนะให้นําข้อคิดจากบทอาขยานไปปฏิบัติในชีวิตจริง อาทิ ความพากเพียร ความขยัน ทั้งในด้านการเรียน และการทํางานในอนาคต เพื่อที่จะได้โตมาเป็นคนดี คนเก่ง ทําตามความฝันของตนเอง
ทั้งนี้ รัฐบาลได้กําหนดให้ทุกวันที่ 29 ก.ค. ของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ โดยกระทรวงวัฒนธรรมได้จัดแสดงรางวัลเชิดชูปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ผู้ใช้ภาษาถิ่นดีเด่น และผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย รางวัลในการประกวดโครงการเพชรในเพลง เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ และนิทรรศการหนังสือหายาก บทละครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 ในโอกาสนี้นายกรัฐมนตรีรับมอบหนังสือบทละครเรื่องอิเหนาจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมพร้อมกล่าวรณรงค์ให้เยาวชนรุ่นใหม่อ่านหนังสือในรูปแบบเล่ม ควบคู่ไปกับการอ่านหนังสือออนไลน์แบบ E-book ด้วย
......................
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/33355 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปล.กห. ให้การต้อนรับ ผชท.สาธารณรัฐเวียดนาม(วน.) และคณะ ในโอกาสที่จะครบวาระการปฏิบัติหน้าที่ | วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม 2561
ปล.กห. ให้การต้อนรับ ผชท.สาธารณรัฐเวียดนาม(วน.) และคณะ ในโอกาสที่จะครบวาระการปฏิบัติหน้าที่
เมื่อ 19 ก.ค.61 พล.อ.เทพพงศ์ ทิพยจันทร์ ปล.กห. ให้การต้อนรับ พ.อ. (พิเศษ) Nguyen Hong Diep (เหงียน โห่ง เดียบ) ผชท.สาธารณรัฐเวียดนาม(วน.)/กรุงเทพฯ และคณะ ณ ศาลาว่าการกลาโหม ในโอกาสที่จะครบวาระการปฏิบัติหน้าที่
เมื่อ 19 ก.ค.61 พล.อ.เทพพงศ์ ทิพยจันทร์ ปล.กห. ให้การต้อนรับ พ.อ. (พิเศษ) Nguyen Hong Diep (เหงียน โห่ง เดียบ) ผชท.สาธารณรัฐเวียดนาม(วน.)/กรุงเทพฯ และคณะ ณ ศาลาว่าการกลาโหม ในโอกาสที่จะครบวาระการปฏิบัติหน้าที่
พล.อ.เทพพงศ์ ทิพยจันทร์ ปล.กห. ได้กล่าวต้อนรับและแสดงความชื่นชมในผลการปฏิบัติหน้าที่ในไทยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาและชื่นชมความสัมพันธ์อันดี ระหว่างไทย-เวียดนาม ไม่ว่าจะเป็นทางการฑูต โดยเฉพาะด้านการทหารที่มีการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้นําและกําลังพลในทุกระดับ รวมถึงความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างกองทัพไทยและเวียดนาม
ซึ่ง พ.อ.Nguyen Hong Diep (เหงียน โห่ เดียบ) ผชท.ทหารสาธารณรัฐเวียดนามได้กล่าวขอบคุณสําหรับการต้อนรับและได้แนะนํา พ.อ.Phau Huu Thang (ฟาน หัว ทั้ง)ผชท.ทหารสาธารณรัฐเวียดนาม(วน.)/กรุงเทพฯ (ท่านใหม่) โดยกล่าวถึงความสัมพันธ์อันดีของทั้ง 2 ประเทศที่มีมาช้านาน
สําหรับระยะเวลา3 ปีที่ปฏิบัติหน้าที่ ขอขอบคุณ จนท. ไทยทุกท่านที่ช่วยสนับสนุนงานของกองทัพเวียดนามให้สําเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีและจะระลึกถึงบรรยากาศการทํางานที่ไทยตลอดไป นอกจากนี้ยังกล่าวถึงประเด็นในปี2562 ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ทางเวียดนามพร้อมให้การสนับสนุนความร่วมมือต่างๆที่จะผลักดันเพื่อให้เกิดความมั่นคงในภูมิภาคอาเซียน
หลังจากนั้น ปล.กห.ได้กล่าวต้อนรับผชท.ทหาร สาธารณรัฐเวียดนามท่านใหม่ที่จะเข้ารับหน้าที่ โดยในช่วงท้ายของการสนทนาทั้งสองฝ่ายได้แสดงออกถึงเจตนารมย์ร่วมกันในการรักษาความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศให้ยั่งยืนสืบไป | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปล.กห. ให้การต้อนรับ ผชท.สาธารณรัฐเวียดนาม(วน.) และคณะ ในโอกาสที่จะครบวาระการปฏิบัติหน้าที่
วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม 2561
ปล.กห. ให้การต้อนรับ ผชท.สาธารณรัฐเวียดนาม(วน.) และคณะ ในโอกาสที่จะครบวาระการปฏิบัติหน้าที่
เมื่อ 19 ก.ค.61 พล.อ.เทพพงศ์ ทิพยจันทร์ ปล.กห. ให้การต้อนรับ พ.อ. (พิเศษ) Nguyen Hong Diep (เหงียน โห่ง เดียบ) ผชท.สาธารณรัฐเวียดนาม(วน.)/กรุงเทพฯ และคณะ ณ ศาลาว่าการกลาโหม ในโอกาสที่จะครบวาระการปฏิบัติหน้าที่
เมื่อ 19 ก.ค.61 พล.อ.เทพพงศ์ ทิพยจันทร์ ปล.กห. ให้การต้อนรับ พ.อ. (พิเศษ) Nguyen Hong Diep (เหงียน โห่ง เดียบ) ผชท.สาธารณรัฐเวียดนาม(วน.)/กรุงเทพฯ และคณะ ณ ศาลาว่าการกลาโหม ในโอกาสที่จะครบวาระการปฏิบัติหน้าที่
พล.อ.เทพพงศ์ ทิพยจันทร์ ปล.กห. ได้กล่าวต้อนรับและแสดงความชื่นชมในผลการปฏิบัติหน้าที่ในไทยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาและชื่นชมความสัมพันธ์อันดี ระหว่างไทย-เวียดนาม ไม่ว่าจะเป็นทางการฑูต โดยเฉพาะด้านการทหารที่มีการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้นําและกําลังพลในทุกระดับ รวมถึงความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างกองทัพไทยและเวียดนาม
ซึ่ง พ.อ.Nguyen Hong Diep (เหงียน โห่ เดียบ) ผชท.ทหารสาธารณรัฐเวียดนามได้กล่าวขอบคุณสําหรับการต้อนรับและได้แนะนํา พ.อ.Phau Huu Thang (ฟาน หัว ทั้ง)ผชท.ทหารสาธารณรัฐเวียดนาม(วน.)/กรุงเทพฯ (ท่านใหม่) โดยกล่าวถึงความสัมพันธ์อันดีของทั้ง 2 ประเทศที่มีมาช้านาน
สําหรับระยะเวลา3 ปีที่ปฏิบัติหน้าที่ ขอขอบคุณ จนท. ไทยทุกท่านที่ช่วยสนับสนุนงานของกองทัพเวียดนามให้สําเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีและจะระลึกถึงบรรยากาศการทํางานที่ไทยตลอดไป นอกจากนี้ยังกล่าวถึงประเด็นในปี2562 ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ทางเวียดนามพร้อมให้การสนับสนุนความร่วมมือต่างๆที่จะผลักดันเพื่อให้เกิดความมั่นคงในภูมิภาคอาเซียน
หลังจากนั้น ปล.กห.ได้กล่าวต้อนรับผชท.ทหาร สาธารณรัฐเวียดนามท่านใหม่ที่จะเข้ารับหน้าที่ โดยในช่วงท้ายของการสนทนาทั้งสองฝ่ายได้แสดงออกถึงเจตนารมย์ร่วมกันในการรักษาความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศให้ยั่งยืนสืบไป | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/13961 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดกระทรวงยุติธรรม ร่วมพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๒ | วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม 2562
ปลัดกระทรวงยุติธรรม ร่วมพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจําปีพุทธศักราช ๒๕๖๒
ปลัดกระทรวงยุติธรรม ร่วมพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจําปีพุทธศักราช ๒๕๖๒
ในวันอาทิตย์ที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๒ เวลา ๒๐.๒๙ น. ณ บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
เป็นประธานในพิธีจุดเทียนชัยถวายพระพร และกล่าวนําถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจําปีพุทธศักราช ๒๕๖๒
โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม
พร้อมด้วย ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ ในสังกัดกระทรวงยุติธรรม เข้าร่วมในพิธี | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดกระทรวงยุติธรรม ร่วมพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๒
วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม 2562
ปลัดกระทรวงยุติธรรม ร่วมพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจําปีพุทธศักราช ๒๕๖๒
ปลัดกระทรวงยุติธรรม ร่วมพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจําปีพุทธศักราช ๒๕๖๒
ในวันอาทิตย์ที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๒ เวลา ๒๐.๒๙ น. ณ บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
เป็นประธานในพิธีจุดเทียนชัยถวายพระพร และกล่าวนําถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจําปีพุทธศักราช ๒๕๖๒
โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม
พร้อมด้วย ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ ในสังกัดกระทรวงยุติธรรม เข้าร่วมในพิธี | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/21846 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผลประชุม ก.ค.ศ. 14/2560 | วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน 2560
ผลประชุม ก.ค.ศ. 14/2560
ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 14/2560 เมื่อวันพุธที่ 20 กันยายน 2560 ณ ห้องประชุมสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดย นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุม
ข่าวสํานักงานรัฐมนตรี498/2560
ผลประชุม ก.ค.ศ.14/2560
ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 14/2560 เมื่อวันพุธที่ 20 กันยายน 2560 ณ ห้องประชุมสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดย นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุม และนายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. ในฐานะเลขานุการ ก.ค.ศ. ร่วมประชุม ซึ่งได้มีการพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่สําคัญ ดังนี้
•เห็นชอบหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งศึกษานิเทศก์สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)โดยสรุปสาระสําคัญได้ดังนี้
ผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกต้องมีคุณสมบัติดังนี้
-เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัด สพฐ.
- มีวุฒิไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือทางอื่นที่ ก.ค.ศ. กําหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งศึกษานิเทศก์
- ดํารงตําแหน่งครูมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี สําหรับผู้มีวุฒิปริญญาตรี และ 2 ปี สําหรับผู้มีวุฒิปริญญาโท ขึ้นไป หรือ
- ดํารงตําแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่า ได้แก่ เคยดํารงตําแหน่งอาจารย์ 1 ไม่น้อยกว่า 6 ปี สําหรับผู้มีวุฒิปริญญาตรี และ 4 ปี สําหรับผู้มีวุฒิปริญญาโทขึ้นไป หรือ เคยดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าอาจารย์ 2 รับเงินเดือนในระดับ 6
- มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบุคลากรทางการศึกษาอื่น (ศึกษานิเทศก์)
ผู้สมัครต้องเลือกสมัครเข้ารับการคัดเลือกในสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา หรือในสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เพียงแห่งเดียวเท่านั้นและต้องรับรองตนเองด้วยว่าในวันบรรจุและแต่งตั้งตนเองไม่ติดเงื่อนไขอื่นใดที่ ก.ค.ศ. กําหนด
ให้สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดําเนินการในการกําหนดวันและเวลาในการคัดเลือกดําเนินการและบริหารจัดการเกี่ยวกับการออกข้อสอบภาค ก และกําหนดตัวชี้วัด องค์ประกอบการประเมินและคะแนนการประเมิน ภาค ข ตามหลักสูตรที่ ก.ค.ศ. กําหนด
ให้คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) เป็นผู้ดําเนินการคัดเลือก
เกณฑ์การตัดสินผู้ได้รับการคัดเลือกต้องได้คะแนนภาค ก และภาค ข ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 50 และต้องได้คะแนนรวมทั้งสองภาค ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 60
ให้ศึกษาธิการจังหวัดเป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของ กศจ. โดยจะบรรจุและแต่งตั้งผู้ที่ได้รับการคัดเลือกที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรฐานตําแหน่งและผ่านการพัฒนาฯ เท่านั้น
ขึ้นบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือก 1 ปี นับแต่วันประกาศขึ้นบัญชี
•อนุมัติกําหนดตําแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่า เพื่อกําหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งรองศึกษาธิการจังหวัดได้แก่
ตําแหน่งข้าราชการครูและบุคลากร
ทางการศึกษา
ตําแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่า
1.1 ประเภทอํานวยการ ระดับต้น
- ตําแหน่งที่เทียบเท่ากับตําแหน่งประเภทอํานวยการ ระดับต้น ได้แก่
1) ผู้อํานวยการสถานศึกษา วิทยฐานะไม่ต่ํากว่าวิทยฐานะชํานาญการพิเศษ
2) ผู้อํานวยการ สช.อําเภอ วิทยฐานะไม่ต่ํากว่าวิทยฐานะชํานาญการพิเศษ
3) ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตําแหน่งประเภทอํานวยการ ระดับต้น
4) ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตําแหน่งที่ ก.พ. เทียบเท่ากับประเภทอํานวยการ ระดับต้น
1.2 รองผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา/รองผู้อํานวยการสํานักงาน กศน.จังหวัด/กทม. /รองผู้อํานวยการสํานักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด
- ไม่มีตําแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่จะกําหนดให้เทียบเท่ากับตําแหน่งต่าง ๆ ดังกล่าว
1.3 ประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการพิเศษ
- ตําแหน่งที่เทียบเท่ากับตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการพิเศษ ได้แก่
1) ครู วิทยฐานะไม่ต่ํากว่าวิทยฐานะชํานาญการพิเศษ
2) ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะไม่ต่ํากว่าวิทยฐานะชํานาญการพิเศษ
3) รองผู้อํานวยการสถานศึกษา วิทยฐานะไม่ต่ํากว่าวิทยฐานะชํานาญการพิเศษ
4) ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการพิเศษ
1.4 ประเภททั่วไป ระดับอาวุโส
-ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส
•เลือกอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านกฎหมาย ด้านการศึกษา และด้านการเงินการคลัง ด้านละ 1 คน อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จํานวน 3 คน เพื่อเสนอแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ.สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการดังนี้
- อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านกฎหมาย ด้านการศึกษา และด้านการเงินการคลังได้แก่นายวิวัฒน์แหวนหล่อ,นายกิตติรัตน์มังคละคีรี, นายวัชรินทร์จําปี และนางผานิตย์ มีสุนทร
-อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้แก่ว่าที่ร้อยตรี อานนท์สุขภาคกิจ,ว่าที่ร้อยตรี สมปอง วิมาโร และนายสมคิด เจ้ยชุม
นอกจากนี้ ได้รับทราบการเสนออนุกรรมการข้าราชการในสังกัดที่ดํารงตําแหน่งประเภทบริหาร หรือประเภทวิชาการ จํานวน 3 คน และอนุกรรมการผู้แทนสํานักงาน ก.ค.ศ. ซึ่งได้แก่ นายประเสริฐ บุญเรือง รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นายกฤตชัย อรุณรัตน์ เลขาธิการ กศน., นายพะโยม ชิณวงศ์ เลขาธิการ กช. และนายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ เลขาธิการ ก.ค.ศ.
•เลือกอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านกฎหมาย ด้านการศึกษา และด้านการเงินการคลัง ด้านละ 1 คน อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จํานวน 3 คน เพื่อเสนอแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ.สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาดังนี้
- อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านกฎหมาย ด้านการศึกษา และด้านการเงินการคลังได้แก่นายนนทพงศ์ ยอดทอง,นายทบทวนชํานาญค้า,นายอดิพลไผ่แสวง และนายเริงจิตร์ ลาภมีสม
-อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้แก่นายบุญลือ ทองเกตแก้ว,ว่าที่ร้อยตรี ชอบสมบุญเพ็ญ และนางผ่องพรรณจรัสจินดา
นอกจากนี้ ได้รับทราบการเสนออนุกรรมการข้าราชการในสังกัดที่ดํารงตําแหน่งประเภทบริหาร หรือประเภทวิชาการ จํานวน 3 คน และอนุกรรมการผู้แทนสํานักงาน ก.ค.ศ. ได้แก่ นายบุญส่ง จําปาโพธิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, นายสาโรจน์ ขอจ่วนเตี๋ยว ผอ.วิทยาลัย รักษาการในตําแหน่งที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาช่างอุตสาหกรรม, นายพรรษา ฉายกล้า ตําแหน่งครู วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ และนายยศพลเวณุโกเศศ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพัฒนาระบบบริหารงานบุคคล สํานักงาน ก.ค.ศ.
•อนุมัติจัดสรรคืนอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2560จํานวน 24,163 อัตราให้กับส่วนราชการต่าง ๆดังนี้
ที่
ส่วนราชการ
ตําแหน่ง
จํานวน(อัตรา)
1.
สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สถาบันวิทยาลัยชุมชน)
ครูผู้ช่วย
รวม
2.
สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
เจ้าหน้าที่บริหารการศึกษา
ศึกษานิเทศก์
บุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2)
รวม
3.
สํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ผู้อํานวยการสํานักงาน กศน.จังหวัด
รองผู้อํานวยการสํานักงาน กศน.จังหวัด
ผู้อํานวยการสถานศึกษา
รองผู้อํานวยการสถานศึกษา
ครูผู้ช่วย
ศึกษานิเทศก์
บุคลากรทางการศึกษาศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2)
รวม
4.
สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ผู้อํานวยการสถานศึกษา
รองผู้อํานวยการสถานศึกษา
ครูผู้ช่วย
รวม
5.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
รองผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ผู้อํานวยการสถานศึกษา
รองผู้อํานวยการสถานศึกษา
ครูผู้ช่วย
ศึกษานิเทศก์
บุคลากรทางการศึกษาศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2)
รวม
6.
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
รองผู้อํานวยการสถานศึกษา
อาจารย์
ครูผู้ช่วย
บุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2)
รวม
7.
สถาบันการพลศึกษา
อาจารย์
ครูผู้ช่วย
บุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2)
รวม
รวมทั้งสิ้น
ทั้งนี้ การอนุมัติจัดสรรคืนอัตราว่างของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จากผลการเกษียณอายุราชการ ให้ส่วนราชการดําเนินการเกลี่ยอัตรากําลังที่ได้รับการอนุมัติไปกําหนดตําแหน่งในหน่วยงานการศึกษาตามเงื่อนไขที่ คปร.กําหนดโดยเคร่งครัด ตําแหน่งที่กําหนดต้องมีจํานวนและประเภทตําแหน่งตามที่ ก.ค.ศ.กําหนด และให้กําหนดตําแหน่งในหน่วยงานการศึกษาที่มีอัตรากําลังไม่เกินกรอบอัตรากําลังหรือเกณฑ์มาตรฐานอัตรากําลังที่ ก.ค.ศ.กําหนดโดยให้ใช้อัตรากําลังได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560
ทั้งนี้ให้สํานักงาน กศน. สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กันอัตราตําแหน่งครูผู้ช่วยที่ได้รับจัดสรรคืน เพื่อรองรับการบรรจุบุคคลตามโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ตามมติ ครม.และที่ประชุมกระทรวงศึกษาธิการ ไม่เกินร้อยละ 25 ของอัตราตําแหน่งข้าราชการครูที่เกษียณอายุราชการในรอบ 10 ปี (ปี พ.ศ.2559-2568) โดยให้เป็นไปตามข้อตกลงของสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากับส่วนราชการนั้น ๆ และมอบหลักการให้สํานักงาน ก.ค.ศ. เสนอเรื่องการขอยกเว้นเงื่อนไขการจัดสรรคืนอัตราข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจากผลการเกษียณอายุราชการให้กับสถานศึกษาที่มีนักเรียนน้อยกว่า 250 คน ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ปกติ สังกัด สพฐ. เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 และเสนอ ก.ค.ศ. และ คปร.เพื่อพิจารณาต่อไป
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้อนุมัติจัดสรรคืนอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2560ให้สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จํานวน 1 อัตราได้แก่ ตําแหน่งผู้อํานวยการสํานักงานการศึกษาเอกชนอําเภอ
•เห็นชอบให้เสนอคณะกรรมการกําหนดเป้าหมายและนโยบายกําลังคนภาครัฐ (คปร.) เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณายกเว้นเงื่อนไขการจัดสรรคืนอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุราชการของข้าราชการครูเฉพาะสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 คืนให้กับโรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาสที่มีจํานวนนักเรียนน้อยกว่า 250 คนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ปกติแต่ประสบปัญหาการขาดแคลนอัตรากําลังครู จาก 41 เขตพื้นที่การศึกษา จํานวนทั้งสิ้น 1,008 แห่ง จํานวน 1,206 อัตรา
•เห็นชอบกําหนดแนวปฏิบัติในการดําเนินการที่เกี่ยวข้องสําหรับข้าราชการครูที่ไปช่วยปฏิบัติหน้าที่สอนในโรงเรียนวังไกลกังวลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้แก่
แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน ไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งเดิมในโรงเรียนหัวหิน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) เขต 10 เพื่อไปช่วยปฏิบัติหน้าที่สอนในโรงเรียนวังไกลกังวล
แนวปฏิบัติในการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตําแหน่งครูผู้ช่วย ไปบรรจุและแต่งตั้งในโรงเรียนหัวหิน สังกัด สพม. เขต 10 เพื่อไปช่วยปฏิบัติหน้าที่สอนในโรงเรียนวังไกลกังวล
แนวปฏิบัติในการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มสําหรับครูผู้ช่วยโรงเรียนหัวหิน สังกัด สพม. เขต 10 เพื่อไปช่วยปฏิบัติหน้าที่สอนในโรงเรียนวังไกลกังวล
แนวปฏิบัติการเบิกจ่ายเงินวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนหัวหิน สังกัด สพม. เขต 10 เพื่อไปช่วยปฏิบัติหน้าที่สอนในโรงเรียนวังไกลกังวล
แนวปฏิบัติการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ไปช่วยราชการในสถานศึกษาตามโครงการพระราชดําริ มีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ (สายงานการสอน)
ทั้งนี้ เห็นควรกําหนดเงื่อนไขในการใช้ตําแหน่งว่าง ดังนี้
ให้พิจารณากําหนดสัดส่วนเพื่อใช้ในการรับย้ายและการคัดเลือก ได้ตามความเหมาะสมและความจําเป็นของสถานศึกษา
การกําหนดวิชาเอกเพื่อใช้ในการรับย้ายและการคัดเลือก ให้พิจารณาตามความเหมาะสมและความจําเป็นของสถานศึกษา
ให้ใช้ตําแหน่งว่างพิจารณารับย้ายก่อน หากมีตําแหน่งว่างเหลือจากการรับย้าย ให้นําตําแหน่งดังกล่าวไปใช้ในการคัดเลือกได้
ผู้ได้รับการย้ายและผู้ที่ได้รับการคัดเลือกและรับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งครูผู้ช่วย โรงเรียนหัวหิน สังกัด สพม.เขต 10 เพื่อไปช่วยปฏิบัติหน้าที่สอนในโรงเรียนวังไกลกังวล จากจะขอไปดํารงตําแหน่งนอกสังกัดเดิม ต้องมีระยะเวลาปฏิบัติหน้าที่สอนอยู่ในโรงเรียนวังไกลกังวลเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี
ให้ใช้แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการย้าย ฯ นี้ เฉพาะการย้ายครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2560 เท่านั้น
•เห็นชอบให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ดํารงตําแหน่งครูผู้ช่วยหรือตําแหน่งครู ที่มีวิทยฐานะ เข้ารับการพัฒนาในหลักสูตรที่สถาบันคุรุพัฒนาให้การรับรองจํานวน 1,455 หลักสูตรประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2560 ใช้ได้กับทุกวิทยฐานะ ในช่วงเปลี่ยนผ่าน จนกว่า ก.ค.ศ. จะกําหนดเป็นอย่างอื่น
ดรุวรรณ บุญมาก, บัลลังก์ โรหิตเสถียร: สรุป/รายงาน
อิทธิพล รุ่งก่อน: ถ่ายภาพ | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผลประชุม ก.ค.ศ. 14/2560
วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน 2560
ผลประชุม ก.ค.ศ. 14/2560
ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 14/2560 เมื่อวันพุธที่ 20 กันยายน 2560 ณ ห้องประชุมสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดย นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุม
ข่าวสํานักงานรัฐมนตรี498/2560
ผลประชุม ก.ค.ศ.14/2560
ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 14/2560 เมื่อวันพุธที่ 20 กันยายน 2560 ณ ห้องประชุมสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดย นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุม และนายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. ในฐานะเลขานุการ ก.ค.ศ. ร่วมประชุม ซึ่งได้มีการพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่สําคัญ ดังนี้
•เห็นชอบหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งศึกษานิเทศก์สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)โดยสรุปสาระสําคัญได้ดังนี้
ผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกต้องมีคุณสมบัติดังนี้
-เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัด สพฐ.
- มีวุฒิไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือทางอื่นที่ ก.ค.ศ. กําหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งศึกษานิเทศก์
- ดํารงตําแหน่งครูมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี สําหรับผู้มีวุฒิปริญญาตรี และ 2 ปี สําหรับผู้มีวุฒิปริญญาโท ขึ้นไป หรือ
- ดํารงตําแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่า ได้แก่ เคยดํารงตําแหน่งอาจารย์ 1 ไม่น้อยกว่า 6 ปี สําหรับผู้มีวุฒิปริญญาตรี และ 4 ปี สําหรับผู้มีวุฒิปริญญาโทขึ้นไป หรือ เคยดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าอาจารย์ 2 รับเงินเดือนในระดับ 6
- มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบุคลากรทางการศึกษาอื่น (ศึกษานิเทศก์)
ผู้สมัครต้องเลือกสมัครเข้ารับการคัดเลือกในสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา หรือในสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เพียงแห่งเดียวเท่านั้นและต้องรับรองตนเองด้วยว่าในวันบรรจุและแต่งตั้งตนเองไม่ติดเงื่อนไขอื่นใดที่ ก.ค.ศ. กําหนด
ให้สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดําเนินการในการกําหนดวันและเวลาในการคัดเลือกดําเนินการและบริหารจัดการเกี่ยวกับการออกข้อสอบภาค ก และกําหนดตัวชี้วัด องค์ประกอบการประเมินและคะแนนการประเมิน ภาค ข ตามหลักสูตรที่ ก.ค.ศ. กําหนด
ให้คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) เป็นผู้ดําเนินการคัดเลือก
เกณฑ์การตัดสินผู้ได้รับการคัดเลือกต้องได้คะแนนภาค ก และภาค ข ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 50 และต้องได้คะแนนรวมทั้งสองภาค ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 60
ให้ศึกษาธิการจังหวัดเป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของ กศจ. โดยจะบรรจุและแต่งตั้งผู้ที่ได้รับการคัดเลือกที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรฐานตําแหน่งและผ่านการพัฒนาฯ เท่านั้น
ขึ้นบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือก 1 ปี นับแต่วันประกาศขึ้นบัญชี
•อนุมัติกําหนดตําแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่า เพื่อกําหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งรองศึกษาธิการจังหวัดได้แก่
ตําแหน่งข้าราชการครูและบุคลากร
ทางการศึกษา
ตําแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่า
1.1 ประเภทอํานวยการ ระดับต้น
- ตําแหน่งที่เทียบเท่ากับตําแหน่งประเภทอํานวยการ ระดับต้น ได้แก่
1) ผู้อํานวยการสถานศึกษา วิทยฐานะไม่ต่ํากว่าวิทยฐานะชํานาญการพิเศษ
2) ผู้อํานวยการ สช.อําเภอ วิทยฐานะไม่ต่ํากว่าวิทยฐานะชํานาญการพิเศษ
3) ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตําแหน่งประเภทอํานวยการ ระดับต้น
4) ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตําแหน่งที่ ก.พ. เทียบเท่ากับประเภทอํานวยการ ระดับต้น
1.2 รองผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา/รองผู้อํานวยการสํานักงาน กศน.จังหวัด/กทม. /รองผู้อํานวยการสํานักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด
- ไม่มีตําแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่จะกําหนดให้เทียบเท่ากับตําแหน่งต่าง ๆ ดังกล่าว
1.3 ประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการพิเศษ
- ตําแหน่งที่เทียบเท่ากับตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการพิเศษ ได้แก่
1) ครู วิทยฐานะไม่ต่ํากว่าวิทยฐานะชํานาญการพิเศษ
2) ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะไม่ต่ํากว่าวิทยฐานะชํานาญการพิเศษ
3) รองผู้อํานวยการสถานศึกษา วิทยฐานะไม่ต่ํากว่าวิทยฐานะชํานาญการพิเศษ
4) ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชํานาญการพิเศษ
1.4 ประเภททั่วไป ระดับอาวุโส
-ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส
•เลือกอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านกฎหมาย ด้านการศึกษา และด้านการเงินการคลัง ด้านละ 1 คน อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จํานวน 3 คน เพื่อเสนอแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ.สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการดังนี้
- อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านกฎหมาย ด้านการศึกษา และด้านการเงินการคลังได้แก่นายวิวัฒน์แหวนหล่อ,นายกิตติรัตน์มังคละคีรี, นายวัชรินทร์จําปี และนางผานิตย์ มีสุนทร
-อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้แก่ว่าที่ร้อยตรี อานนท์สุขภาคกิจ,ว่าที่ร้อยตรี สมปอง วิมาโร และนายสมคิด เจ้ยชุม
นอกจากนี้ ได้รับทราบการเสนออนุกรรมการข้าราชการในสังกัดที่ดํารงตําแหน่งประเภทบริหาร หรือประเภทวิชาการ จํานวน 3 คน และอนุกรรมการผู้แทนสํานักงาน ก.ค.ศ. ซึ่งได้แก่ นายประเสริฐ บุญเรือง รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นายกฤตชัย อรุณรัตน์ เลขาธิการ กศน., นายพะโยม ชิณวงศ์ เลขาธิการ กช. และนายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ เลขาธิการ ก.ค.ศ.
•เลือกอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านกฎหมาย ด้านการศึกษา และด้านการเงินการคลัง ด้านละ 1 คน อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จํานวน 3 คน เพื่อเสนอแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ.สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาดังนี้
- อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านกฎหมาย ด้านการศึกษา และด้านการเงินการคลังได้แก่นายนนทพงศ์ ยอดทอง,นายทบทวนชํานาญค้า,นายอดิพลไผ่แสวง และนายเริงจิตร์ ลาภมีสม
-อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้แก่นายบุญลือ ทองเกตแก้ว,ว่าที่ร้อยตรี ชอบสมบุญเพ็ญ และนางผ่องพรรณจรัสจินดา
นอกจากนี้ ได้รับทราบการเสนออนุกรรมการข้าราชการในสังกัดที่ดํารงตําแหน่งประเภทบริหาร หรือประเภทวิชาการ จํานวน 3 คน และอนุกรรมการผู้แทนสํานักงาน ก.ค.ศ. ได้แก่ นายบุญส่ง จําปาโพธิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, นายสาโรจน์ ขอจ่วนเตี๋ยว ผอ.วิทยาลัย รักษาการในตําแหน่งที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาช่างอุตสาหกรรม, นายพรรษา ฉายกล้า ตําแหน่งครู วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ และนายยศพลเวณุโกเศศ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพัฒนาระบบบริหารงานบุคคล สํานักงาน ก.ค.ศ.
•อนุมัติจัดสรรคืนอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2560จํานวน 24,163 อัตราให้กับส่วนราชการต่าง ๆดังนี้
ที่
ส่วนราชการ
ตําแหน่ง
จํานวน(อัตรา)
1.
สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สถาบันวิทยาลัยชุมชน)
ครูผู้ช่วย
รวม
2.
สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
เจ้าหน้าที่บริหารการศึกษา
ศึกษานิเทศก์
บุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2)
รวม
3.
สํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ผู้อํานวยการสํานักงาน กศน.จังหวัด
รองผู้อํานวยการสํานักงาน กศน.จังหวัด
ผู้อํานวยการสถานศึกษา
รองผู้อํานวยการสถานศึกษา
ครูผู้ช่วย
ศึกษานิเทศก์
บุคลากรทางการศึกษาศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2)
รวม
4.
สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ผู้อํานวยการสถานศึกษา
รองผู้อํานวยการสถานศึกษา
ครูผู้ช่วย
รวม
5.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
รองผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ผู้อํานวยการสถานศึกษา
รองผู้อํานวยการสถานศึกษา
ครูผู้ช่วย
ศึกษานิเทศก์
บุคลากรทางการศึกษาศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2)
รวม
6.
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
รองผู้อํานวยการสถานศึกษา
อาจารย์
ครูผู้ช่วย
บุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2)
รวม
7.
สถาบันการพลศึกษา
อาจารย์
ครูผู้ช่วย
บุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2)
รวม
รวมทั้งสิ้น
ทั้งนี้ การอนุมัติจัดสรรคืนอัตราว่างของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จากผลการเกษียณอายุราชการ ให้ส่วนราชการดําเนินการเกลี่ยอัตรากําลังที่ได้รับการอนุมัติไปกําหนดตําแหน่งในหน่วยงานการศึกษาตามเงื่อนไขที่ คปร.กําหนดโดยเคร่งครัด ตําแหน่งที่กําหนดต้องมีจํานวนและประเภทตําแหน่งตามที่ ก.ค.ศ.กําหนด และให้กําหนดตําแหน่งในหน่วยงานการศึกษาที่มีอัตรากําลังไม่เกินกรอบอัตรากําลังหรือเกณฑ์มาตรฐานอัตรากําลังที่ ก.ค.ศ.กําหนดโดยให้ใช้อัตรากําลังได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560
ทั้งนี้ให้สํานักงาน กศน. สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กันอัตราตําแหน่งครูผู้ช่วยที่ได้รับจัดสรรคืน เพื่อรองรับการบรรจุบุคคลตามโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ตามมติ ครม.และที่ประชุมกระทรวงศึกษาธิการ ไม่เกินร้อยละ 25 ของอัตราตําแหน่งข้าราชการครูที่เกษียณอายุราชการในรอบ 10 ปี (ปี พ.ศ.2559-2568) โดยให้เป็นไปตามข้อตกลงของสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากับส่วนราชการนั้น ๆ และมอบหลักการให้สํานักงาน ก.ค.ศ. เสนอเรื่องการขอยกเว้นเงื่อนไขการจัดสรรคืนอัตราข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจากผลการเกษียณอายุราชการให้กับสถานศึกษาที่มีนักเรียนน้อยกว่า 250 คน ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ปกติ สังกัด สพฐ. เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 และเสนอ ก.ค.ศ. และ คปร.เพื่อพิจารณาต่อไป
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้อนุมัติจัดสรรคืนอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2560ให้สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จํานวน 1 อัตราได้แก่ ตําแหน่งผู้อํานวยการสํานักงานการศึกษาเอกชนอําเภอ
•เห็นชอบให้เสนอคณะกรรมการกําหนดเป้าหมายและนโยบายกําลังคนภาครัฐ (คปร.) เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณายกเว้นเงื่อนไขการจัดสรรคืนอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุราชการของข้าราชการครูเฉพาะสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 คืนให้กับโรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาสที่มีจํานวนนักเรียนน้อยกว่า 250 คนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ปกติแต่ประสบปัญหาการขาดแคลนอัตรากําลังครู จาก 41 เขตพื้นที่การศึกษา จํานวนทั้งสิ้น 1,008 แห่ง จํานวน 1,206 อัตรา
•เห็นชอบกําหนดแนวปฏิบัติในการดําเนินการที่เกี่ยวข้องสําหรับข้าราชการครูที่ไปช่วยปฏิบัติหน้าที่สอนในโรงเรียนวังไกลกังวลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้แก่
แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน ไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งเดิมในโรงเรียนหัวหิน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) เขต 10 เพื่อไปช่วยปฏิบัติหน้าที่สอนในโรงเรียนวังไกลกังวล
แนวปฏิบัติในการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตําแหน่งครูผู้ช่วย ไปบรรจุและแต่งตั้งในโรงเรียนหัวหิน สังกัด สพม. เขต 10 เพื่อไปช่วยปฏิบัติหน้าที่สอนในโรงเรียนวังไกลกังวล
แนวปฏิบัติในการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มสําหรับครูผู้ช่วยโรงเรียนหัวหิน สังกัด สพม. เขต 10 เพื่อไปช่วยปฏิบัติหน้าที่สอนในโรงเรียนวังไกลกังวล
แนวปฏิบัติการเบิกจ่ายเงินวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนหัวหิน สังกัด สพม. เขต 10 เพื่อไปช่วยปฏิบัติหน้าที่สอนในโรงเรียนวังไกลกังวล
แนวปฏิบัติการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ไปช่วยราชการในสถานศึกษาตามโครงการพระราชดําริ มีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ (สายงานการสอน)
ทั้งนี้ เห็นควรกําหนดเงื่อนไขในการใช้ตําแหน่งว่าง ดังนี้
ให้พิจารณากําหนดสัดส่วนเพื่อใช้ในการรับย้ายและการคัดเลือก ได้ตามความเหมาะสมและความจําเป็นของสถานศึกษา
การกําหนดวิชาเอกเพื่อใช้ในการรับย้ายและการคัดเลือก ให้พิจารณาตามความเหมาะสมและความจําเป็นของสถานศึกษา
ให้ใช้ตําแหน่งว่างพิจารณารับย้ายก่อน หากมีตําแหน่งว่างเหลือจากการรับย้าย ให้นําตําแหน่งดังกล่าวไปใช้ในการคัดเลือกได้
ผู้ได้รับการย้ายและผู้ที่ได้รับการคัดเลือกและรับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งครูผู้ช่วย โรงเรียนหัวหิน สังกัด สพม.เขต 10 เพื่อไปช่วยปฏิบัติหน้าที่สอนในโรงเรียนวังไกลกังวล จากจะขอไปดํารงตําแหน่งนอกสังกัดเดิม ต้องมีระยะเวลาปฏิบัติหน้าที่สอนอยู่ในโรงเรียนวังไกลกังวลเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี
ให้ใช้แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการย้าย ฯ นี้ เฉพาะการย้ายครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2560 เท่านั้น
•เห็นชอบให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ดํารงตําแหน่งครูผู้ช่วยหรือตําแหน่งครู ที่มีวิทยฐานะ เข้ารับการพัฒนาในหลักสูตรที่สถาบันคุรุพัฒนาให้การรับรองจํานวน 1,455 หลักสูตรประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2560 ใช้ได้กับทุกวิทยฐานะ ในช่วงเปลี่ยนผ่าน จนกว่า ก.ค.ศ. จะกําหนดเป็นอย่างอื่น
ดรุวรรณ บุญมาก, บัลลังก์ โรหิตเสถียร: สรุป/รายงาน
อิทธิพล รุ่งก่อน: ถ่ายภาพ | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/6856 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงคมนาคมเร่งศึกษาจัดทำระบบจอดแล้วจรในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนใช้ระบบขนส่งมวลชนเพิ่มมากขึ้น | วันอังคารที่ 19 กันยายน 2560
กระทรวงคมนาคมเร่งศึกษาจัดทําระบบจอดแล้วจรในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนใช้ระบบขนส่งมวลชนเพิ่มมากขึ้น
สํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม ดําเนินโครงการศึกษาจัดทําระบบจอดแล้วจรในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อสร้างทางเลือกการเดินทางเข้าพื้นที่ศูนย์กลางเมืองที่มีความสะดวก ประหยัด และปลอดภัย ลดการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว
อํานวยความสะดวกในการเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนกับการเดินทางรูปแบบอื่น ๆ แก้ไขปัญหาการจราจร และส่งเสริมให้ประชาชนใช้บริการระบบขนส่งมวลชนเพิ่มมากขึ้น
นายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงคมนาคม เป็นประธานเปิดการสัมมนาและรับฟังความคิดเห็นโครงการศึกษาจัดทําระบบจอดแล้วจรในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2560 ณ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท โดยมี นายสุจินต์ ธยานุกุล ผู้อํานวยการกองจัดระบบการจราจรทางบก สนข. พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านอสังหาริมทรัพย์ เข้าร่วมการสัมมนาฯ
นายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ กล่าวว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบนโยบายให้กระทรวงคมนาคมเร่งแก้ไขปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และเมืองใหญ่ในภูมิภาคต่าง ๆ โดยให้พิจารณาความเชื่อมโยงของระบบขนส่งมวลชน รวมถึงการจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมสําหรับการจัดทําที่จอดรถเพื่อให้บริการในพื้นที่ที่การจราจรติดขัด ซึ่งกระทรวงฯ ได้มอบให้ สนข. ดําเนินการศึกษาจัดทําระบบจอดแล้วจรในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนใช้จุดจอดแล้วจรเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันมีจุดบริการจอดแล้วจรในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้แก่ บริเวณสถานีในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส 3 แห่ง ระบบรถไฟฟ้ามหานคร เส้นทางจากหัวลําโพง - บางซื่อ 12 แห่ง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิ้งก์ 6 แห่ง รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่ - เตาปูน 4 แห่ง และอยู่ระหว่างการก่อสร้างอาคารจอดรถบริเวณเส้นทางรถไฟฟ้าสายใหม่ 7 เส้นทาง เพื่อให้ประชาชนใช้บริการระบบขนส่งมวลชนเข้ามาพื้นที่ชั้นในแทนการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ช่วยลดความแออัดของปริมาณรถยนต์ ลดจํานวนที่จอดรถในอาคารสํานักงาน และลดมลพิษทางอากาศและเสียง รวมทั้งประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน
ทั้งนี้ สนข. มีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนจากปัจจุบัน 5% เป็น 15% ในปี 2564 โดยประเมินความต้องการจุดจอดแล้วจร จํานวน 30,000 ช่องจอด และเพิ่มเป็น 43,880 ช่องจอด ในปี 2574 หรือเพิ่มขึ้น 46.3% ซึ่งจากการศึกษาฯ ได้กําหนดแผนพัฒนาจุดจอดแล้วจร 41 จุด แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะเร่งด่วน ก่อสร้างภายใน 2 ปี (พ.ศ. 2561 - 2562) จํานวน 11 จุด 12,010 ช่องจอด ระยะกลาง ก่อสร้างเสร็จภายใน 3 - 5 ปี (พ.ศ. 2563 - 2565) จํานวน 25 จุด 21,860 ช่องจอด และระยะยาว ก่อสร้างแล้วเสร็จภายใน 6 - 12 ปี (พ.ศ. 2566 - 2572) จํานวน 5 จุด 3,611 ช่องจอด โดยกําหนดทางเลือกรูปแบบและองค์ประกอบของจุดจอดแล้วจร จํานวน 4 ทางเลือก ดังนี้
1. จุดจอดแล้วจรประเภทลานจอดแล้วจรโดยเฉพาะ (Exclusive P & R) ตําแหน่งที่ตั้งอยู่บริเวณชานเมือง ราคาที่ดินต่ํากว่า 40,000 บาท/ตารางวา การพัฒนาที่ดินและความหนาแน่นของการใช้ที่ดินโดยรอบอยู่ในระดับต่ํา ใช้เฉพาะจอดแล้วจรเท่านั้น
2. จุดจอดแล้วจรประเภทอาคารจอดแล้วจรโดยเฉพาะ (Exclusive P & R) ตําแหน่งที่ตั้งอยู่ใกล้เขตเมือง ราคาที่ดิน 40,000 - 60,000 บาท/ตารางวา การพัฒนาที่ดินและความหนาแน่นของการใช้ที่ดินโดยรอบอยู่ในระดับปานกลาง ใช้เฉพาะจอดแล้วจรเท่านั้น
3. จุดจอดแล้วจรประเภทใช้งานร่วมกับการจอดรถเพื่อวัตถุประสงค์อื่น (Multi - purpose P & R) ตําแหน่งที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้เขตเมือง ราคาที่ดินต่ํากว่า 60,000 บาท/ตารางวา การพัฒนาที่ดินและความหนาแน่นของการใช้ที่ดินโดยรอบอยู่ในระดับปานกลาง อนุญาตให้ผู้ใช้บริการเพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น การติดต่อธุระในพื้นที่ใกล้เคียงสามารถใช้งานได้ เป็นต้น
4. จุดจอดแล้วจรประเภทร่วมกับโครงการพัฒนาที่ดินเพื่อวัตถุประสงค์อื่น (Mixed - use Development) พื้นที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ตั้งอยู่ก่อนถึงพื้นที่ศูนย์กลางเมือง ตามเส้นทางถนนสายหลักที่มุ่งสู่ศูนย์กลางเมืองประสบปัญหาการจราจร ราคาที่ดินมากกว่า 45,000 บาท/ตารางวา
ทั้งนี้ สนข. ได้จัดสัมมนาและรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทุกภาคส่วนทั้งส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนร่วมกันเสนอข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และแนวคิดการพัฒนา เพื่อนํามาปรับปรุง แก้ไข และจัดทําแผนแม่บทการพัฒนาจุดจอดแล้วจรในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลให้มีความครบถ้วน สมบูรณ์ สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และสอดรับกับระบบขนส่งมวลชนทางรางที่จะแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการในปี 2572 ต่อไป | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงคมนาคมเร่งศึกษาจัดทำระบบจอดแล้วจรในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนใช้ระบบขนส่งมวลชนเพิ่มมากขึ้น
วันอังคารที่ 19 กันยายน 2560
กระทรวงคมนาคมเร่งศึกษาจัดทําระบบจอดแล้วจรในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนใช้ระบบขนส่งมวลชนเพิ่มมากขึ้น
สํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม ดําเนินโครงการศึกษาจัดทําระบบจอดแล้วจรในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อสร้างทางเลือกการเดินทางเข้าพื้นที่ศูนย์กลางเมืองที่มีความสะดวก ประหยัด และปลอดภัย ลดการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว
อํานวยความสะดวกในการเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนกับการเดินทางรูปแบบอื่น ๆ แก้ไขปัญหาการจราจร และส่งเสริมให้ประชาชนใช้บริการระบบขนส่งมวลชนเพิ่มมากขึ้น
นายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงคมนาคม เป็นประธานเปิดการสัมมนาและรับฟังความคิดเห็นโครงการศึกษาจัดทําระบบจอดแล้วจรในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2560 ณ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท โดยมี นายสุจินต์ ธยานุกุล ผู้อํานวยการกองจัดระบบการจราจรทางบก สนข. พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านอสังหาริมทรัพย์ เข้าร่วมการสัมมนาฯ
นายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ กล่าวว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบนโยบายให้กระทรวงคมนาคมเร่งแก้ไขปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และเมืองใหญ่ในภูมิภาคต่าง ๆ โดยให้พิจารณาความเชื่อมโยงของระบบขนส่งมวลชน รวมถึงการจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมสําหรับการจัดทําที่จอดรถเพื่อให้บริการในพื้นที่ที่การจราจรติดขัด ซึ่งกระทรวงฯ ได้มอบให้ สนข. ดําเนินการศึกษาจัดทําระบบจอดแล้วจรในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนใช้จุดจอดแล้วจรเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันมีจุดบริการจอดแล้วจรในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้แก่ บริเวณสถานีในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส 3 แห่ง ระบบรถไฟฟ้ามหานคร เส้นทางจากหัวลําโพง - บางซื่อ 12 แห่ง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิ้งก์ 6 แห่ง รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่ - เตาปูน 4 แห่ง และอยู่ระหว่างการก่อสร้างอาคารจอดรถบริเวณเส้นทางรถไฟฟ้าสายใหม่ 7 เส้นทาง เพื่อให้ประชาชนใช้บริการระบบขนส่งมวลชนเข้ามาพื้นที่ชั้นในแทนการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ช่วยลดความแออัดของปริมาณรถยนต์ ลดจํานวนที่จอดรถในอาคารสํานักงาน และลดมลพิษทางอากาศและเสียง รวมทั้งประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน
ทั้งนี้ สนข. มีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนจากปัจจุบัน 5% เป็น 15% ในปี 2564 โดยประเมินความต้องการจุดจอดแล้วจร จํานวน 30,000 ช่องจอด และเพิ่มเป็น 43,880 ช่องจอด ในปี 2574 หรือเพิ่มขึ้น 46.3% ซึ่งจากการศึกษาฯ ได้กําหนดแผนพัฒนาจุดจอดแล้วจร 41 จุด แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะเร่งด่วน ก่อสร้างภายใน 2 ปี (พ.ศ. 2561 - 2562) จํานวน 11 จุด 12,010 ช่องจอด ระยะกลาง ก่อสร้างเสร็จภายใน 3 - 5 ปี (พ.ศ. 2563 - 2565) จํานวน 25 จุด 21,860 ช่องจอด และระยะยาว ก่อสร้างแล้วเสร็จภายใน 6 - 12 ปี (พ.ศ. 2566 - 2572) จํานวน 5 จุด 3,611 ช่องจอด โดยกําหนดทางเลือกรูปแบบและองค์ประกอบของจุดจอดแล้วจร จํานวน 4 ทางเลือก ดังนี้
1. จุดจอดแล้วจรประเภทลานจอดแล้วจรโดยเฉพาะ (Exclusive P & R) ตําแหน่งที่ตั้งอยู่บริเวณชานเมือง ราคาที่ดินต่ํากว่า 40,000 บาท/ตารางวา การพัฒนาที่ดินและความหนาแน่นของการใช้ที่ดินโดยรอบอยู่ในระดับต่ํา ใช้เฉพาะจอดแล้วจรเท่านั้น
2. จุดจอดแล้วจรประเภทอาคารจอดแล้วจรโดยเฉพาะ (Exclusive P & R) ตําแหน่งที่ตั้งอยู่ใกล้เขตเมือง ราคาที่ดิน 40,000 - 60,000 บาท/ตารางวา การพัฒนาที่ดินและความหนาแน่นของการใช้ที่ดินโดยรอบอยู่ในระดับปานกลาง ใช้เฉพาะจอดแล้วจรเท่านั้น
3. จุดจอดแล้วจรประเภทใช้งานร่วมกับการจอดรถเพื่อวัตถุประสงค์อื่น (Multi - purpose P & R) ตําแหน่งที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้เขตเมือง ราคาที่ดินต่ํากว่า 60,000 บาท/ตารางวา การพัฒนาที่ดินและความหนาแน่นของการใช้ที่ดินโดยรอบอยู่ในระดับปานกลาง อนุญาตให้ผู้ใช้บริการเพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น การติดต่อธุระในพื้นที่ใกล้เคียงสามารถใช้งานได้ เป็นต้น
4. จุดจอดแล้วจรประเภทร่วมกับโครงการพัฒนาที่ดินเพื่อวัตถุประสงค์อื่น (Mixed - use Development) พื้นที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ตั้งอยู่ก่อนถึงพื้นที่ศูนย์กลางเมือง ตามเส้นทางถนนสายหลักที่มุ่งสู่ศูนย์กลางเมืองประสบปัญหาการจราจร ราคาที่ดินมากกว่า 45,000 บาท/ตารางวา
ทั้งนี้ สนข. ได้จัดสัมมนาและรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทุกภาคส่วนทั้งส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนร่วมกันเสนอข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และแนวคิดการพัฒนา เพื่อนํามาปรับปรุง แก้ไข และจัดทําแผนแม่บทการพัฒนาจุดจอดแล้วจรในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลให้มีความครบถ้วน สมบูรณ์ สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และสอดรับกับระบบขนส่งมวลชนทางรางที่จะแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการในปี 2572 ต่อไป | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/6796 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.คลัง ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการจ่ายเงินเยียวยาเกษตรกร พร้อมให้กำลังใจพี่น้องเกษตรกร | วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม 2563
รมว.คลัง ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการจ่ายเงินเยียวยาเกษตรกร พร้อมให้กําลังใจพี่น้องเกษตรกร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ลงพื้นที่จังหวัดนครปฐม ตรวจเยี่ยมการจ่ายเงินเยียวยาเกษตรกร 5,000 บาท (3 เดือน) โดย ณ 22 พ.ค. 63 ได้โอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรงแล้วกว่า 3.2 ล้านราย เป็นเงินกว่า 16,000 ล้านบาท
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ลงพื้นที่จังหวัดนครปฐม ตรวจเยี่ยมการจ่ายเงินเยียวยาเกษตรกร 5,000 บาท (3 เดือน) โดย ณ 22 พ.ค. 63 ได้โอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรงแล้วกว่า 3.2 ล้านราย เป็นเงินกว่า 16,000 ล้านบาท ซึ่งเกษตรกรสามารถตรวจสอบสถานะการโอนเงินเยียวยาและผลการโอนเงินผ่านเว็บไซต์ www.เยียวยาเกษตรกร.com สําหรับเกษตรกรในกลุ่ม 2 ธ.ก.ส. จะเร่งดําเนินการโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยเร็วต่อไป
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและประธานกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการจ่ายเงินเยียวยาเกษตรกรตามมาตรการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกร จากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 การพิทักษ์สิทธิ์และการรับเรื่องร้องทุกข์ตามมาตรการเราไม่ทิ้งของกระทรวงการคลัง พร้อมทั้งให้กําลังใจพี่น้องเกษตรกรและพบปะผู้ประกอบการ SMEs เกษตร โดยมีนายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการ ธ.ก.ส. ผู้บริหารและพนักงานให้การต้อนรับ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2563 ณ ธ.ก.ส. สาขานครชัยศรี อําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและประธานกรรมการ ธ.ก.ส. เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. ได้ดําเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ตามมติคณะรัฐมนตรี รายละ 15,000 บาท โดยจ่ายเดือนละ 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน (พ.ค. – ก.ค. 63) จํานวน 10 ล้านราย วงเงินงบประมาณจํานวน 150,000 ล้านบาท โดยเริ่มทยอยโอนเงินผ่าน ธ.ก.ส. ทุกสาขากว่า 1,200 สาขาทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา วันละประมาณ 1 ล้านราย โดย ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2563 ได้ดําเนินการจ่ายเงินแก่เกษตรกรในกลุ่มแรกหลังได้รับรายชื่อจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) และผ่านการตรวจความซ้ําซ้อนกับการให้ความช่วยเหลืออื่น ๆ ของรัฐ เช่น การเยียวยาผู้ประกอบอาชีพอิสระตามมาตรการเราไม่ทิ้งกันของกระทรวงการคลัง ข้าราชการบํานาญ ผู้รับสิทธิประกันสังคม หรือโครงการอื่น ๆ และสถานะผู้เสียชีวิต ไปแล้วจํานวน 3,222,952 ราย เป็นจํานวนเงิน 16,115 ล้านบาท โดยในส่วนของจังหวัดนครปฐม มีเกษตรกรที่ได้รับเงินเยียวยาแล้ว จํานวน 13,881 ราย เป็นจํานวนเงิน 69.4 ล้านบาท
ทั้งนี้ ยังมีเกษตรกรที่มีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยา แต่ยังไม่สามารถโอนเงินได้อีกจํานวนหนึ่ง ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ร้อยละ 97 ไม่พบบัญชีเงินฝาก จึงขอให้เกษตรกรผู้ได้รับสิทธิ์ ให้ตรวจสอบสิทธิ์และแจ้งเลขบัญชีรับโอนในเว็บไซต์ www.เยียวยาเกษตรกร.com โดยเร็ว ซึ่งเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563 กษ. ได้ส่งข้อมูลเกษตรกรกลุ่มที่ 1 รอบ 2 ให้ ธ.ก.ส. อีกจํานวน 3,519,434 ราย ซึ่งได้มีการวางแผนจ่ายตั้งแต่วันที่ 22-29 พฤษภาคม 2563 ต่อไป สําหรับเกษตรกรกลุ่มที่ 2 ที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรและการขึ้นทะเบียนใหม่เพิ่มเติม เมื่อได้รับรายชื่อจาก กษ. และผ่านการตรวจสอบความซ้ําซ้อนแล้ว ธ.ก.ส. จะเร่งดําเนินการโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยเร็วต่อไป และสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 02 555 0555
“รัฐบาลได้เร่งดําเนินการช่วยเหลือเกษตรกรและประชาชนกลุ่มต่าง ๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากสถานการณ์โควิด-19 อย่างเต็มที่ และหลังจากนี้ยังมีมาตรการเสริมอื่น ๆ ที่จะเข้าไปสนับสนุนการสร้างงาน สร้างรายได้ที่มั่นคง เพื่อนําไปสู่ การสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศต่อไป” นายอุตตมกล่าว | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.คลัง ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการจ่ายเงินเยียวยาเกษตรกร พร้อมให้กำลังใจพี่น้องเกษตรกร
วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม 2563
รมว.คลัง ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการจ่ายเงินเยียวยาเกษตรกร พร้อมให้กําลังใจพี่น้องเกษตรกร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ลงพื้นที่จังหวัดนครปฐม ตรวจเยี่ยมการจ่ายเงินเยียวยาเกษตรกร 5,000 บาท (3 เดือน) โดย ณ 22 พ.ค. 63 ได้โอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรงแล้วกว่า 3.2 ล้านราย เป็นเงินกว่า 16,000 ล้านบาท
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ลงพื้นที่จังหวัดนครปฐม ตรวจเยี่ยมการจ่ายเงินเยียวยาเกษตรกร 5,000 บาท (3 เดือน) โดย ณ 22 พ.ค. 63 ได้โอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรงแล้วกว่า 3.2 ล้านราย เป็นเงินกว่า 16,000 ล้านบาท ซึ่งเกษตรกรสามารถตรวจสอบสถานะการโอนเงินเยียวยาและผลการโอนเงินผ่านเว็บไซต์ www.เยียวยาเกษตรกร.com สําหรับเกษตรกรในกลุ่ม 2 ธ.ก.ส. จะเร่งดําเนินการโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยเร็วต่อไป
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและประธานกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการจ่ายเงินเยียวยาเกษตรกรตามมาตรการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกร จากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 การพิทักษ์สิทธิ์และการรับเรื่องร้องทุกข์ตามมาตรการเราไม่ทิ้งของกระทรวงการคลัง พร้อมทั้งให้กําลังใจพี่น้องเกษตรกรและพบปะผู้ประกอบการ SMEs เกษตร โดยมีนายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการ ธ.ก.ส. ผู้บริหารและพนักงานให้การต้อนรับ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2563 ณ ธ.ก.ส. สาขานครชัยศรี อําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและประธานกรรมการ ธ.ก.ส. เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. ได้ดําเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ตามมติคณะรัฐมนตรี รายละ 15,000 บาท โดยจ่ายเดือนละ 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน (พ.ค. – ก.ค. 63) จํานวน 10 ล้านราย วงเงินงบประมาณจํานวน 150,000 ล้านบาท โดยเริ่มทยอยโอนเงินผ่าน ธ.ก.ส. ทุกสาขากว่า 1,200 สาขาทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา วันละประมาณ 1 ล้านราย โดย ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2563 ได้ดําเนินการจ่ายเงินแก่เกษตรกรในกลุ่มแรกหลังได้รับรายชื่อจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) และผ่านการตรวจความซ้ําซ้อนกับการให้ความช่วยเหลืออื่น ๆ ของรัฐ เช่น การเยียวยาผู้ประกอบอาชีพอิสระตามมาตรการเราไม่ทิ้งกันของกระทรวงการคลัง ข้าราชการบํานาญ ผู้รับสิทธิประกันสังคม หรือโครงการอื่น ๆ และสถานะผู้เสียชีวิต ไปแล้วจํานวน 3,222,952 ราย เป็นจํานวนเงิน 16,115 ล้านบาท โดยในส่วนของจังหวัดนครปฐม มีเกษตรกรที่ได้รับเงินเยียวยาแล้ว จํานวน 13,881 ราย เป็นจํานวนเงิน 69.4 ล้านบาท
ทั้งนี้ ยังมีเกษตรกรที่มีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยา แต่ยังไม่สามารถโอนเงินได้อีกจํานวนหนึ่ง ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ร้อยละ 97 ไม่พบบัญชีเงินฝาก จึงขอให้เกษตรกรผู้ได้รับสิทธิ์ ให้ตรวจสอบสิทธิ์และแจ้งเลขบัญชีรับโอนในเว็บไซต์ www.เยียวยาเกษตรกร.com โดยเร็ว ซึ่งเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563 กษ. ได้ส่งข้อมูลเกษตรกรกลุ่มที่ 1 รอบ 2 ให้ ธ.ก.ส. อีกจํานวน 3,519,434 ราย ซึ่งได้มีการวางแผนจ่ายตั้งแต่วันที่ 22-29 พฤษภาคม 2563 ต่อไป สําหรับเกษตรกรกลุ่มที่ 2 ที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรและการขึ้นทะเบียนใหม่เพิ่มเติม เมื่อได้รับรายชื่อจาก กษ. และผ่านการตรวจสอบความซ้ําซ้อนแล้ว ธ.ก.ส. จะเร่งดําเนินการโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยเร็วต่อไป และสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 02 555 0555
“รัฐบาลได้เร่งดําเนินการช่วยเหลือเกษตรกรและประชาชนกลุ่มต่าง ๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากสถานการณ์โควิด-19 อย่างเต็มที่ และหลังจากนี้ยังมีมาตรการเสริมอื่น ๆ ที่จะเข้าไปสนับสนุนการสร้างงาน สร้างรายได้ที่มั่นคง เพื่อนําไปสู่ การสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศต่อไป” นายอุตตมกล่าว | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/31298 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ. ส่งทีมสุขภาพจิต เยียวยาจิตใจชาวมอร์แกนต่อเนื่อง 2- 4 เดือน | วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2562
สธ. ส่งทีมสุขภาพจิต เยียวยาจิตใจชาวมอร์แกนต่อเนื่อง 2- 4 เดือน
กระทรวงสาธารณสุข ส่งทีมสุขภาพจิต ดูแลเยียวยาจิตใจชาวมอร์แกนประสบอัคคีภัยที่หมู่เกาะสุรินทร์ ต่อเนื่อง 2 – 4 เดือน พร้อมตั้งโรงพยาบาลสนามให้บริการประชาชนและนักท่องเที่ยวที่หมู่เกาะสุรินทร์
กระทรวงสาธารณสุข ส่งทีมสุขภาพจิต ดูแลเยียวยาจิตใจชาวมอร์แกนประสบอัคคีภัยที่หมู่เกาะสุรินทร์ ต่อเนื่อง 2 – 4 เดือน พร้อมตั้งโรงพยาบาลสนามให้บริการประชาชนและนักท่องเที่ยวที่หมู่เกาะสุรินทร์
นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขและโฆษกกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ความคืบหน้าการช่วยเหลือด้านการแพทย์และสาธารณสุขเหตุการณ์เพลิงไหม้หมู่บ้านชาวมอร์แกน หมู่เกาะสุรินทร์ อําเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2562 ว่า นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้สั่งการให้สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงาเปิดศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (EOC) ที่อ.คุระบุรี ตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พร้อมส่งทีมปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ (Mini – MERT) ทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤติ (MCATT) และหน่วยสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ลงพื้นที่ให้การดูแลทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต สุขาภิบาลอาหาร การจัดการขยะ น้ําดื่มน้ําใช้ และวางระบบเฝ้าระวังโรคติดต่อที่สําคัญ โดยระดม แพทย์ พยาบาล สหวิชาชีพ ภายในจังหวัดหมุนเวียนไปดูแลอย่างต่อเนื่อง พร้อมสนับสนุนยาสามัญประจําบ้านจํานวน 500 ชุด
สําหรับการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ มีผู้มารับบริการทั้งหมด 83 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ต้องได้รับการทําแผลต่อเนื่อง และผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ยังไม่พบโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ทีมสุขภาพจิต ได้ออกเยี่ยมบ้านประเมินสภาพจิตใจผู้ประสบภัยทั้งหมด 237 คน โดยจะดูแลต่อเนื่อง 2 – 4 เดือน นอกจากนี้ ได้ตั้งโรงพยาบาลสนาม เพื่อบริการประชาชานในพื้นที่และนักท่องเที่ยว จัดทีมพยาบาลชุมชนเยี่ยมบ้านและทําฐานประชากรใหม่ ติดตามดูแลสุขภาพกลุ่มต่าง ๆ เช่น เด็กที่รับวัคซีน แม่หลังคลอด และผู้ที่ต้องทําแผลต่อเนื่องจัดเรือพยาบาล 3 ลําพร้อมส่งผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง
********************** 9 กุมภาพันธ์2562 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ. ส่งทีมสุขภาพจิต เยียวยาจิตใจชาวมอร์แกนต่อเนื่อง 2- 4 เดือน
วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2562
สธ. ส่งทีมสุขภาพจิต เยียวยาจิตใจชาวมอร์แกนต่อเนื่อง 2- 4 เดือน
กระทรวงสาธารณสุข ส่งทีมสุขภาพจิต ดูแลเยียวยาจิตใจชาวมอร์แกนประสบอัคคีภัยที่หมู่เกาะสุรินทร์ ต่อเนื่อง 2 – 4 เดือน พร้อมตั้งโรงพยาบาลสนามให้บริการประชาชนและนักท่องเที่ยวที่หมู่เกาะสุรินทร์
กระทรวงสาธารณสุข ส่งทีมสุขภาพจิต ดูแลเยียวยาจิตใจชาวมอร์แกนประสบอัคคีภัยที่หมู่เกาะสุรินทร์ ต่อเนื่อง 2 – 4 เดือน พร้อมตั้งโรงพยาบาลสนามให้บริการประชาชนและนักท่องเที่ยวที่หมู่เกาะสุรินทร์
นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขและโฆษกกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ความคืบหน้าการช่วยเหลือด้านการแพทย์และสาธารณสุขเหตุการณ์เพลิงไหม้หมู่บ้านชาวมอร์แกน หมู่เกาะสุรินทร์ อําเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2562 ว่า นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้สั่งการให้สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงาเปิดศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (EOC) ที่อ.คุระบุรี ตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พร้อมส่งทีมปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ (Mini – MERT) ทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤติ (MCATT) และหน่วยสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ลงพื้นที่ให้การดูแลทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต สุขาภิบาลอาหาร การจัดการขยะ น้ําดื่มน้ําใช้ และวางระบบเฝ้าระวังโรคติดต่อที่สําคัญ โดยระดม แพทย์ พยาบาล สหวิชาชีพ ภายในจังหวัดหมุนเวียนไปดูแลอย่างต่อเนื่อง พร้อมสนับสนุนยาสามัญประจําบ้านจํานวน 500 ชุด
สําหรับการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ มีผู้มารับบริการทั้งหมด 83 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ต้องได้รับการทําแผลต่อเนื่อง และผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ยังไม่พบโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ทีมสุขภาพจิต ได้ออกเยี่ยมบ้านประเมินสภาพจิตใจผู้ประสบภัยทั้งหมด 237 คน โดยจะดูแลต่อเนื่อง 2 – 4 เดือน นอกจากนี้ ได้ตั้งโรงพยาบาลสนาม เพื่อบริการประชาชานในพื้นที่และนักท่องเที่ยว จัดทีมพยาบาลชุมชนเยี่ยมบ้านและทําฐานประชากรใหม่ ติดตามดูแลสุขภาพกลุ่มต่าง ๆ เช่น เด็กที่รับวัคซีน แม่หลังคลอด และผู้ที่ต้องทําแผลต่อเนื่องจัดเรือพยาบาล 3 ลําพร้อมส่งผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง
********************** 9 กุมภาพันธ์2562 | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/18668 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ให้นโยบาย ทปอ. | วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560
ให้นโยบาย ทปอ.
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบนโยบายในการประชุมสามัญที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ครั้งที่ 1/2560
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2560 ณ หอประชุมเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โดยมี ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในฐานะประธาน ทปอ., อธิการบดี และผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ เข้าร่วมประชุม
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการกล่าวว่า การหารือกับ ทปอ.ในครั้งนี้ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบเกี่ยวกับแนวทางการจัดตั้ง"กระทรวงอุดมศึกษา"ซึ่งเป็นการแยกสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ออกจากกระทรวงศึกษาธิการเพราะปัจจุบันมีโครงสร้างการบริหารงานที่ใหญ่เกินไป แม้ในเบื้องต้นคนส่วนใหญ่ในแวดวงอุดมศึกษาก็เห็นด้วยก็ตาม แต่จะมีการทําประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนร่วมจากหลากหลายกลุ่มด้วย อีกทั้งการจัดตั้งกระทรวงอุดมศึกษายังมีขั้นตอนอีกมาก ซึ่งจะเชื่อมโยงกับหลาย ๆ ด้าน อาทิ กฎหมาย งบประมาณ เป็นต้น
นอกจากนี้ ขอให้สถาบันอุดมศึกษารวบรวมข้อมูลตัวชี้วัดความสําเร็จในการจัดการศึกษา 4 ประการคือ1) จํานวนเด็กที่จบการศึกษาแล้วมีงานทํา2) จํานวนผู้เรียนที่ได้งานทําตรงตามสาขาที่เรียน3) จํานวนผู้เรียนตามโควตาที่ได้ทํางานในภูมิภาคหรือในพื้นที่ที่ให้โควตา4) ความพึงพอใจของนายจ้างหรือผู้ใช้บัณฑิต เพราะสิ่งเหล่านี้จะสะท้อนผลการจัดการศึกษา เนื่องจากในปัจจุบันมีสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งที่เปิดสอนหลักสูตรที่ไม่มีคุณภาพ เด็กจบมาแล้วไม่มีงานทํา จึงขอให้ ทปอ.ร่วมพิจารณาเรื่องนี้ด้วยว่าจะช่วยกันปิดหลักสูตรที่ไม่มีคุณภาพได้อย่างไรบ้าง ส่วนเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณนั้น ได้ขอให้สถาบันอุดมศึกษาพิจารณาตามความจําเป็น
ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธาน ทปอ. กล่าวว่า ทปอ. มีนโยบายสนับสนุนการดําเนินนโยบายด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษาไทยของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และจะนําแนวทางการสอบถามความพึงพอใจของนายจ้างในการใช้บัณฑิตที่จบการศึกษาไปปฏิบัติอย่างจริงจัง เพราะเป็นเรื่องสําคัญที่เราต้องได้ข้อมูลที่เป็นจริง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีผลต่อการจัดการเรียนการสอนและเป็นส่วนหนึ่งในการกําหนดอนาคตของชาติ
สําหรับแนวทางการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาแบบใหม่ได้รับความร่วมมือจากสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่าย ทปอ.จํานวน 30 แห่ง ในการร่วมกันพิจารณากระบวนการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อต้องการให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคมไทย ซึ่งจะเริ่มใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไป ด้วยหลักการ 3 ประการ คือ 1) นักเรียนควรอยู่ในห้องเรียนจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) นักเรียนแต่ละคนมีเพียง 1 สิทธิ์ ในการตอบรับในสาขาวิชาที่เลือก เพื่อความเสมอภาค 3) สถาบันอุดมศึกษาในเครือข่าย ทปอ.ทุกแห่งจะเข้าร่วมระบบ ClearingHouse เพื่อบริหาร 1 สิทธิ์ของนักเรียน
ทั้งนี้ การรับสมัครจะมีทั้งสิ้น 5 รอบได้แก่
รอบที่ 1 การรับด้วย Portfolio โดยไม่มีการสอบข้อเขียน:สําหรับนักเรียนทั่วไป นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ นักเรียนโควตา นักเรียนเครือข่าย ให้นักเรียนยื่นสมัครโดยตรงกับสถาบันอุดมศึกษา
รอบที่ 2 การรับแบบโควตาที่มีการสอบข้อเขียนหรือข้อสอบปฏิบัติ:โดยมีเงื่อนไขต่าง ๆ ระบุไว้ สําหรับนักเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่หรือโควตาของโรงเรียนในเครือข่าย และโครงการความสามารถพิเศษต่าง ๆ ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาจะประกาศเกณฑ์การสอบให้นักเรียนยื่นสมัครโดยตรงกับสถาบันอุดมศึกษาและเข้ารับการคัดเลือกตามเกณฑ์การสอบ
รอบที่ 3 การรับตรงร่วมกัน:สําหรับนักเรียนในโครงการกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) โครงการอื่น ๆ และนักเรียนทั่วไป โดย ทปอ.เป็นหน่วยกลางในการรับสมัคร นักเรียนสามารถเลือกได้ 4 สาขาวิชาโดยไม่เรียงลําดับ สถาบันอุดมศึกษาจัดให้มีการสอบกลางร่วมกันในเวลาเดียวกัน แต่ละสถาบันอุดมศึกษากําหนดเกณฑ์ที่เป็นอิสระของตนเอง
รอบที่ 4 การรับแบบ Admission:สําหรับนักเรียนทั่วไป โดย ทปอ.เป็นหน่วยกลางในการรับสมัคร นักเรียนสามารถเลือกสมัครได้ 4 สาขาวิชา แบบมีลําดับ โดยใช้เกณฑ์ค่าน้ําหนักตามที่ประกาศไว้ล่วงหน้า 3 ปี
รอบที่ 5 การรับตรงอิสระ:สถาบันอุดมศึกษารับโดยตรงด้วยวิธีการของสถาบันเอง เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนต่อ
การสอบคัดเลือกในแต่ละรอบเมื่อรับเสร็จจะทําการ Clearingกล่าวคือ นักเรียน 1 คน มี 1 สิทธิ์ในการยืนยันการเข้าศึกษาต่อในสาขาที่สอบได้ เมื่อยืนยันแล้วระบบจะตัดชื่อออกจากการมีสิทธิ์สมัครสอบรอบต่อไป หากต้องการสมัครสอบรอบต่อไปต้องสละสิทธิ์ก่อน แต่หากมีการลักไก่สมัครสอบครั้งต่อไปโดยไม่สละสิทธิ์และสอบได้จะถือเป็นโมฆะทันที
การเปลี่ยนแปลงระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาครั้งนี้ จะทําให้นักเรียนไม่ต้องวิ่งรอกสอบมีเวลาเตรียมความพร้อมสําหรับตนเองมากขึ้น ไม่เป็นภาระเรื่องค่าใช้จ่าย ลดความเครียดให้นักเรียนและผู้ปกครองได้อย่างแท้จริง สําหรับนักเรียนนักศึกษาหลักสูตรนานาชาติก็ต้องนําเข้าระบบ ClearingHouse ด้วยเช่นกัน ส่วนเด็กซิ่วก็สามารถเข้าสู่ระบบการคัดเลือกแบบใหม่นี้ได้เช่นกัน ส่วนกลางไม่ได้ปิดกั้น แต่ขอให้ศึกษาดี ๆ เนื่องจากมีบางสาขาวิชาที่เด็กต้องลาออกก่อนถ้าต้องการสมัครเข้ามหาวิทยาลัยใหม่
นอกจากนี้ ทปอ.จะชี้แจงรายละเอียดของแต่ละสาขาวิชาว่าจะเปิดรับนักศึกษาในรอบใดบ้างส่วนมหาวิทยาลัยราชภัฏเข้าร่วมระบบการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อแบบใหม่ในรอบ 1-3 และรอบ 5 และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลจะเข้าร่วมรอบ 1-3 ส่วนมหาวิทยาลัยเอกชนมีบางส่วนที่เข้าร่วมด้วยความสมัครใจ
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า นักเรียนที่ใช้วุฒิการศึกษาจากต่างประเทศ รวมทั้งที่จบหลักสูตรนานาชาติในประเทศไทย ซึ่งเมื่อก่อนต้องเทียบวุฒิในการสมัครเรียนต่อมหาวิทยาลัย ต่อไปนี้ไม่ต้องเทียบวุฒิ แต่ให้เป็นหน้าที่ของมหาวิทยาลัยในการกําหนดวุฒิที่ต้องการว่าจะรับนักศึกษาแบบใด ทั้งนี้ ให้ ทปอ. นํารายละเอียดการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาแบบใหม่ขึ้นเว็บไซต์ พร้อมคําถามหรือข้อสงสัยที่เด็กอยากรู้ และให้ชี้แจงคําตอบที่ชัดเจน เพื่อให้ระบบสอบคัดเลือกแบบใหม่นี้มีความกระจ่าง และนักเรียนจะได้เตรียมตัวแต่เนิ่น ๆ | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ให้นโยบาย ทปอ.
วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560
ให้นโยบาย ทปอ.
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบนโยบายในการประชุมสามัญที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ครั้งที่ 1/2560
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2560 ณ หอประชุมเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โดยมี ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในฐานะประธาน ทปอ., อธิการบดี และผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ เข้าร่วมประชุม
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการกล่าวว่า การหารือกับ ทปอ.ในครั้งนี้ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบเกี่ยวกับแนวทางการจัดตั้ง"กระทรวงอุดมศึกษา"ซึ่งเป็นการแยกสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ออกจากกระทรวงศึกษาธิการเพราะปัจจุบันมีโครงสร้างการบริหารงานที่ใหญ่เกินไป แม้ในเบื้องต้นคนส่วนใหญ่ในแวดวงอุดมศึกษาก็เห็นด้วยก็ตาม แต่จะมีการทําประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนร่วมจากหลากหลายกลุ่มด้วย อีกทั้งการจัดตั้งกระทรวงอุดมศึกษายังมีขั้นตอนอีกมาก ซึ่งจะเชื่อมโยงกับหลาย ๆ ด้าน อาทิ กฎหมาย งบประมาณ เป็นต้น
นอกจากนี้ ขอให้สถาบันอุดมศึกษารวบรวมข้อมูลตัวชี้วัดความสําเร็จในการจัดการศึกษา 4 ประการคือ1) จํานวนเด็กที่จบการศึกษาแล้วมีงานทํา2) จํานวนผู้เรียนที่ได้งานทําตรงตามสาขาที่เรียน3) จํานวนผู้เรียนตามโควตาที่ได้ทํางานในภูมิภาคหรือในพื้นที่ที่ให้โควตา4) ความพึงพอใจของนายจ้างหรือผู้ใช้บัณฑิต เพราะสิ่งเหล่านี้จะสะท้อนผลการจัดการศึกษา เนื่องจากในปัจจุบันมีสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งที่เปิดสอนหลักสูตรที่ไม่มีคุณภาพ เด็กจบมาแล้วไม่มีงานทํา จึงขอให้ ทปอ.ร่วมพิจารณาเรื่องนี้ด้วยว่าจะช่วยกันปิดหลักสูตรที่ไม่มีคุณภาพได้อย่างไรบ้าง ส่วนเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณนั้น ได้ขอให้สถาบันอุดมศึกษาพิจารณาตามความจําเป็น
ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธาน ทปอ. กล่าวว่า ทปอ. มีนโยบายสนับสนุนการดําเนินนโยบายด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษาไทยของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และจะนําแนวทางการสอบถามความพึงพอใจของนายจ้างในการใช้บัณฑิตที่จบการศึกษาไปปฏิบัติอย่างจริงจัง เพราะเป็นเรื่องสําคัญที่เราต้องได้ข้อมูลที่เป็นจริง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีผลต่อการจัดการเรียนการสอนและเป็นส่วนหนึ่งในการกําหนดอนาคตของชาติ
สําหรับแนวทางการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาแบบใหม่ได้รับความร่วมมือจากสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่าย ทปอ.จํานวน 30 แห่ง ในการร่วมกันพิจารณากระบวนการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อต้องการให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคมไทย ซึ่งจะเริ่มใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไป ด้วยหลักการ 3 ประการ คือ 1) นักเรียนควรอยู่ในห้องเรียนจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) นักเรียนแต่ละคนมีเพียง 1 สิทธิ์ ในการตอบรับในสาขาวิชาที่เลือก เพื่อความเสมอภาค 3) สถาบันอุดมศึกษาในเครือข่าย ทปอ.ทุกแห่งจะเข้าร่วมระบบ ClearingHouse เพื่อบริหาร 1 สิทธิ์ของนักเรียน
ทั้งนี้ การรับสมัครจะมีทั้งสิ้น 5 รอบได้แก่
รอบที่ 1 การรับด้วย Portfolio โดยไม่มีการสอบข้อเขียน:สําหรับนักเรียนทั่วไป นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ นักเรียนโควตา นักเรียนเครือข่าย ให้นักเรียนยื่นสมัครโดยตรงกับสถาบันอุดมศึกษา
รอบที่ 2 การรับแบบโควตาที่มีการสอบข้อเขียนหรือข้อสอบปฏิบัติ:โดยมีเงื่อนไขต่าง ๆ ระบุไว้ สําหรับนักเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่หรือโควตาของโรงเรียนในเครือข่าย และโครงการความสามารถพิเศษต่าง ๆ ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาจะประกาศเกณฑ์การสอบให้นักเรียนยื่นสมัครโดยตรงกับสถาบันอุดมศึกษาและเข้ารับการคัดเลือกตามเกณฑ์การสอบ
รอบที่ 3 การรับตรงร่วมกัน:สําหรับนักเรียนในโครงการกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) โครงการอื่น ๆ และนักเรียนทั่วไป โดย ทปอ.เป็นหน่วยกลางในการรับสมัคร นักเรียนสามารถเลือกได้ 4 สาขาวิชาโดยไม่เรียงลําดับ สถาบันอุดมศึกษาจัดให้มีการสอบกลางร่วมกันในเวลาเดียวกัน แต่ละสถาบันอุดมศึกษากําหนดเกณฑ์ที่เป็นอิสระของตนเอง
รอบที่ 4 การรับแบบ Admission:สําหรับนักเรียนทั่วไป โดย ทปอ.เป็นหน่วยกลางในการรับสมัคร นักเรียนสามารถเลือกสมัครได้ 4 สาขาวิชา แบบมีลําดับ โดยใช้เกณฑ์ค่าน้ําหนักตามที่ประกาศไว้ล่วงหน้า 3 ปี
รอบที่ 5 การรับตรงอิสระ:สถาบันอุดมศึกษารับโดยตรงด้วยวิธีการของสถาบันเอง เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนต่อ
การสอบคัดเลือกในแต่ละรอบเมื่อรับเสร็จจะทําการ Clearingกล่าวคือ นักเรียน 1 คน มี 1 สิทธิ์ในการยืนยันการเข้าศึกษาต่อในสาขาที่สอบได้ เมื่อยืนยันแล้วระบบจะตัดชื่อออกจากการมีสิทธิ์สมัครสอบรอบต่อไป หากต้องการสมัครสอบรอบต่อไปต้องสละสิทธิ์ก่อน แต่หากมีการลักไก่สมัครสอบครั้งต่อไปโดยไม่สละสิทธิ์และสอบได้จะถือเป็นโมฆะทันที
การเปลี่ยนแปลงระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาครั้งนี้ จะทําให้นักเรียนไม่ต้องวิ่งรอกสอบมีเวลาเตรียมความพร้อมสําหรับตนเองมากขึ้น ไม่เป็นภาระเรื่องค่าใช้จ่าย ลดความเครียดให้นักเรียนและผู้ปกครองได้อย่างแท้จริง สําหรับนักเรียนนักศึกษาหลักสูตรนานาชาติก็ต้องนําเข้าระบบ ClearingHouse ด้วยเช่นกัน ส่วนเด็กซิ่วก็สามารถเข้าสู่ระบบการคัดเลือกแบบใหม่นี้ได้เช่นกัน ส่วนกลางไม่ได้ปิดกั้น แต่ขอให้ศึกษาดี ๆ เนื่องจากมีบางสาขาวิชาที่เด็กต้องลาออกก่อนถ้าต้องการสมัครเข้ามหาวิทยาลัยใหม่
นอกจากนี้ ทปอ.จะชี้แจงรายละเอียดของแต่ละสาขาวิชาว่าจะเปิดรับนักศึกษาในรอบใดบ้างส่วนมหาวิทยาลัยราชภัฏเข้าร่วมระบบการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อแบบใหม่ในรอบ 1-3 และรอบ 5 และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลจะเข้าร่วมรอบ 1-3 ส่วนมหาวิทยาลัยเอกชนมีบางส่วนที่เข้าร่วมด้วยความสมัครใจ
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า นักเรียนที่ใช้วุฒิการศึกษาจากต่างประเทศ รวมทั้งที่จบหลักสูตรนานาชาติในประเทศไทย ซึ่งเมื่อก่อนต้องเทียบวุฒิในการสมัครเรียนต่อมหาวิทยาลัย ต่อไปนี้ไม่ต้องเทียบวุฒิ แต่ให้เป็นหน้าที่ของมหาวิทยาลัยในการกําหนดวุฒิที่ต้องการว่าจะรับนักศึกษาแบบใด ทั้งนี้ ให้ ทปอ. นํารายละเอียดการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาแบบใหม่ขึ้นเว็บไซต์ พร้อมคําถามหรือข้อสงสัยที่เด็กอยากรู้ และให้ชี้แจงคําตอบที่ชัดเจน เพื่อให้ระบบสอบคัดเลือกแบบใหม่นี้มีความกระจ่าง และนักเรียนจะได้เตรียมตัวแต่เนิ่น ๆ | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/1928 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมต.นร. ออมสินฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 3/2560 | วันพุธที่ 25 มกราคม 2560
รมต.นร. ออมสินฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สํานักนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 3/2560
นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สํานักนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 3/2560
วันนี้ (24 มกราคม 2560) เวลา 16.00 น. ณ ห้องประชุม 109 อาคารสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ทําเนียบรัฐบาล นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สํานักนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 3/2560
ภายหลังเลิกประชุมเวลาประมาณ 18.00 น. รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี มอบหมาย นายสมพาศ นิลพันธ์ รองปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีแถลงผลการประชุมฯ ว่า
ที่ประชุมมีมติเห็นชอบการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่บ้านเรือนได้รับความเสียหายจาก ปัญหาน้ําท่วมทางภาคใต้ โดยได้มีการแบ่งเกณฑ์การพิจาณาความเสียหายไว้ 3 ส่วน 1.บ้านเสียหายทั้งหลัง 2.บ้านเสียหายมาก 3.บ้านเสียหายน้อย ซึ่งทางกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ลงไปสํารวจพื้นที่ในทุกจังหวัดทางภาคใต้ที่ประสบภัยน้ําท่วมแล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 จนถึงปัจจุบันนี้ โดยได้สรุปยอดบ้านที่เสียหายทั้งหลัง จนถึงขณะอยู่ที่ 272 หลัง บ้านเสียหายมาก 645 หลัง และบ้านเสียหายเล็กน้อย 8,932 หลัง
พร้อมกันนี้ ในส่วนเกณฑ์การช่วยเหลือดังกล่าวนั้น ประชาชนที่ประสบปัญหาภัยน้ําท่วมที่บ้านเรือนเสียหายทั้งหลังประมาณ 60 - 100% รัฐบาลจะช่วยเหลือหลังละไม่เกิน 230,000 บาท ซึ่งจะเป็นค่าวัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการสร้างบ้าน ส่วนบ้านที่เสียหายมาก คือเสียหายประมาณ 30 - 60% รัฐบาลจะให้การช่วยเหลือไม่เกินหลังละ 70,000 บาท ส่วนบ้านที่เสียหายเล็กน้อยประมาณ 30% ลงมา รัฐบาลจะให้การช่วยเหลือไม่เกินหลังละ 15,000 บาท โดยงบประมาณให้ความช่วยเหลือดังกล่าวนั้น จะดําเนินการให้ความช่วยเหลือผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด ทั้งนี้ แบบบ้านที่จะสร้างใหม่ทั้งหลังให้ประชาชนที่เดือดร้อนนั้น จะใช้แบบบ้านของกรมโยธาธิการและผังเมือง ซึ่งเป็นมาตรฐานในการก่อสร้างเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนโดยเร่งด่วนต่อไป
*************************************
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมต.นร. ออมสินฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 3/2560
วันพุธที่ 25 มกราคม 2560
รมต.นร. ออมสินฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สํานักนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 3/2560
นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สํานักนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 3/2560
วันนี้ (24 มกราคม 2560) เวลา 16.00 น. ณ ห้องประชุม 109 อาคารสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ทําเนียบรัฐบาล นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สํานักนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 3/2560
ภายหลังเลิกประชุมเวลาประมาณ 18.00 น. รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี มอบหมาย นายสมพาศ นิลพันธ์ รองปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีแถลงผลการประชุมฯ ว่า
ที่ประชุมมีมติเห็นชอบการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่บ้านเรือนได้รับความเสียหายจาก ปัญหาน้ําท่วมทางภาคใต้ โดยได้มีการแบ่งเกณฑ์การพิจาณาความเสียหายไว้ 3 ส่วน 1.บ้านเสียหายทั้งหลัง 2.บ้านเสียหายมาก 3.บ้านเสียหายน้อย ซึ่งทางกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ลงไปสํารวจพื้นที่ในทุกจังหวัดทางภาคใต้ที่ประสบภัยน้ําท่วมแล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 จนถึงปัจจุบันนี้ โดยได้สรุปยอดบ้านที่เสียหายทั้งหลัง จนถึงขณะอยู่ที่ 272 หลัง บ้านเสียหายมาก 645 หลัง และบ้านเสียหายเล็กน้อย 8,932 หลัง
พร้อมกันนี้ ในส่วนเกณฑ์การช่วยเหลือดังกล่าวนั้น ประชาชนที่ประสบปัญหาภัยน้ําท่วมที่บ้านเรือนเสียหายทั้งหลังประมาณ 60 - 100% รัฐบาลจะช่วยเหลือหลังละไม่เกิน 230,000 บาท ซึ่งจะเป็นค่าวัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการสร้างบ้าน ส่วนบ้านที่เสียหายมาก คือเสียหายประมาณ 30 - 60% รัฐบาลจะให้การช่วยเหลือไม่เกินหลังละ 70,000 บาท ส่วนบ้านที่เสียหายเล็กน้อยประมาณ 30% ลงมา รัฐบาลจะให้การช่วยเหลือไม่เกินหลังละ 15,000 บาท โดยงบประมาณให้ความช่วยเหลือดังกล่าวนั้น จะดําเนินการให้ความช่วยเหลือผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด ทั้งนี้ แบบบ้านที่จะสร้างใหม่ทั้งหลังให้ประชาชนที่เดือดร้อนนั้น จะใช้แบบบ้านของกรมโยธาธิการและผังเมือง ซึ่งเป็นมาตรฐานในการก่อสร้างเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนโดยเร่งด่วนต่อไป
*************************************
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/1463 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ ห่วงใยปัญหาภัยแล้ง กำชับเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง และช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่ | วันอังคารที่ 31 ธันวาคม 2562
นายกฯ ห่วงใยปัญหาภัยแล้ง กําชับเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง และช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่
นายกฯ ห่วงใยปัญหาภัยแล้ง กําชับเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง และช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่
ศาสตราจารย์นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้รับรายงานจากศูนย์อํานวยการน้ําเฉพาะกิจ สํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ (สทนช.) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังคุณภาพน้ําในแม่น้ําสายหลัก 4 สาย ได้แก่ แม่น้ําเจ้าพระยา แม่กลอง ท่าจีน และแม่น้ําบางปะกง ว่าขณะนี้มีปริมาณน้ําอยู่ในเกณฑ์น้อย อาจได้รับผลกระทบจากน้ําทะเลหนุนสูง ส่งผลต่อคุณภาพน้ําใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร โดยขณะนี้ ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) การประปานครหลวง (กปน.) การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) กรมชลประทาน (ชป.) และสํานักงานทรัพยากรสิ่งแวดล้อมภาค (สสภ.) ในการเฝ้าระวังคุณภาพน้ําในแม่น้ําสายหลักทั้งสี่
ส่วนแม่น้ําโขง ปริมาณน้ําอยู่ในเกณฑ์น้อย ต่ํากว่าระดับน้ําต่ําสุดในปี 2535 และต่ํากว่าในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ระดับน้ําแม่น้ําโขง จ.เชียงราย และ จ.เลย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย คาดว่าจะมีแนวโน้มลดลงในอีก 2-3 วัน จ.หนองคาย จ.นครพนม จ.มุกดาหาร และ จ.อุบลราชธานี มีแนวโน้มลดลง ส่วนคุณภาพน้ํา ค่าความเค็มด้านอุปโภค บริโภค แม่น้ําเจ้าพระยา บริเวณตั้งแต่ปากแม่น้ําจนถึงสะพานพระนั่งเกล้า อ.เมือง จ.นนทบุรี สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน สถานีสําแล อ.เมือง จ.ปทุมธานี อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง ด้านการเกษตร แม่น้ําแม่กลอง และเพชรบุรี อยู่ในเกณฑ์ปกติ แม่น้ําท่าจีน บางปะกง อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง
นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ยังกําชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง หากพบพื้นที่ใดขาดแคลนน้ําให้เร่งออกแจกจ่ายน้ําให้แก่ประชาชน รวมทั้งยังได้ขุดบ่อและนําน้ําใต้ดินขึ้นมาใช้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน อย่างไรก็ตาม ขอความร่วมมือเกษตรกรให้เพาะปลูกหรืองดเว้นตามคําแนะนําของเจ้าหน้าที่ และขอความร่วมมือประชาชนทั่วไปร่วมกันใช้น้ําอย่างประหยัด | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ ห่วงใยปัญหาภัยแล้ง กำชับเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง และช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่
วันอังคารที่ 31 ธันวาคม 2562
นายกฯ ห่วงใยปัญหาภัยแล้ง กําชับเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง และช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่
นายกฯ ห่วงใยปัญหาภัยแล้ง กําชับเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง และช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่
ศาสตราจารย์นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้รับรายงานจากศูนย์อํานวยการน้ําเฉพาะกิจ สํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ (สทนช.) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังคุณภาพน้ําในแม่น้ําสายหลัก 4 สาย ได้แก่ แม่น้ําเจ้าพระยา แม่กลอง ท่าจีน และแม่น้ําบางปะกง ว่าขณะนี้มีปริมาณน้ําอยู่ในเกณฑ์น้อย อาจได้รับผลกระทบจากน้ําทะเลหนุนสูง ส่งผลต่อคุณภาพน้ําใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร โดยขณะนี้ ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) การประปานครหลวง (กปน.) การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) กรมชลประทาน (ชป.) และสํานักงานทรัพยากรสิ่งแวดล้อมภาค (สสภ.) ในการเฝ้าระวังคุณภาพน้ําในแม่น้ําสายหลักทั้งสี่
ส่วนแม่น้ําโขง ปริมาณน้ําอยู่ในเกณฑ์น้อย ต่ํากว่าระดับน้ําต่ําสุดในปี 2535 และต่ํากว่าในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ระดับน้ําแม่น้ําโขง จ.เชียงราย และ จ.เลย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย คาดว่าจะมีแนวโน้มลดลงในอีก 2-3 วัน จ.หนองคาย จ.นครพนม จ.มุกดาหาร และ จ.อุบลราชธานี มีแนวโน้มลดลง ส่วนคุณภาพน้ํา ค่าความเค็มด้านอุปโภค บริโภค แม่น้ําเจ้าพระยา บริเวณตั้งแต่ปากแม่น้ําจนถึงสะพานพระนั่งเกล้า อ.เมือง จ.นนทบุรี สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน สถานีสําแล อ.เมือง จ.ปทุมธานี อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง ด้านการเกษตร แม่น้ําแม่กลอง และเพชรบุรี อยู่ในเกณฑ์ปกติ แม่น้ําท่าจีน บางปะกง อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง
นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ยังกําชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง หากพบพื้นที่ใดขาดแคลนน้ําให้เร่งออกแจกจ่ายน้ําให้แก่ประชาชน รวมทั้งยังได้ขุดบ่อและนําน้ําใต้ดินขึ้นมาใช้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน อย่างไรก็ตาม ขอความร่วมมือเกษตรกรให้เพาะปลูกหรืองดเว้นตามคําแนะนําของเจ้าหน้าที่ และขอความร่วมมือประชาชนทั่วไปร่วมกันใช้น้ําอย่างประหยัด | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/25551 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรมและโฆษกกระทรวงยุติธรรม ร่วมรายการ “สถานีประชาชน” | วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม 2559
นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรมและโฆษกกระทรวงยุติธรรม ร่วมรายการ “สถานีประชาชน”
นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรมและโฆษกกระทรวงยุติธรรม ร่วมรายการ “สถานีประชาชน”
เมื่อวันพุธที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๙ เวลา ๑๔.๐๐ น.
นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรมและโฆษกกระทรวงยุติธรรม
พร้อมด้วยนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
นายธนากร จีนกลาง กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อ.โนนสุวรรณ จ.บุรีรัมย์
และนางหนูแดง ทองใบ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อ.โนนสุวรรณ จ.บุรีรัมย์
ร่วมรายการ “สถานีประชาชน”
ในประเด็น “ตรวจสอบงบประมาณอุดหนุน-แจกปุ๋ยฟรี อบจ.บุรีรัมย์”
ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
ดําเนินรายการโดย คุณอรอุมา เกษตรพืชผล | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรมและโฆษกกระทรวงยุติธรรม ร่วมรายการ “สถานีประชาชน”
วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม 2559
นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรมและโฆษกกระทรวงยุติธรรม ร่วมรายการ “สถานีประชาชน”
นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรมและโฆษกกระทรวงยุติธรรม ร่วมรายการ “สถานีประชาชน”
เมื่อวันพุธที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๙ เวลา ๑๔.๐๐ น.
นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรมและโฆษกกระทรวงยุติธรรม
พร้อมด้วยนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
นายธนากร จีนกลาง กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อ.โนนสุวรรณ จ.บุรีรัมย์
และนางหนูแดง ทองใบ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อ.โนนสุวรรณ จ.บุรีรัมย์
ร่วมรายการ “สถานีประชาชน”
ในประเด็น “ตรวจสอบงบประมาณอุดหนุน-แจกปุ๋ยฟรี อบจ.บุรีรัมย์”
ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
ดําเนินรายการโดย คุณอรอุมา เกษตรพืชผล | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/1037 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“กอช. แนะสมาชิกติดต่อผ่านระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ตามนโยบายรัฐบาล” | วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม 2563
“กอช. แนะสมาชิกติดต่อผ่านระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ตามนโยบายรัฐบาล”
กอช. ยกระดับอํานวยความสะดวก สร้างความมั่นใจให้บริการสมาชิก ผ่านระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) บริการไร้กังวลในการติดต่อสื่อสารอํานวยความสะดวกให้สมาชิก กอช. สอบถามข้อมูลหรือข่าวสารต่างๆ ได้หลากหลายช่องทาง
กองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. ยกระดับอํานวยความสะดวก สร้างความมั่นใจให้บริการสมาชิก ผ่านระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) บริการไร้กังวลในการติดต่อสื่อสารอํานวยความสะดวกให้สมาชิก กอช. สอบถามข้อมูลหรือข่าวสารต่างๆ ได้หลากหลายช่องทาง อาทิ เฟซบุ๊ก กอช. “กองทุนการออมแห่งชาติ – กอช.”, ไลน์ “@nsf.th”, อีเมล “[email protected]” และสายด่วนเงินออม โทร. 02-049-9000
นางสาวจารุลักษณ์ เรืองสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. เปิดเผยว่า กอช. ยกระดับอํานวยความสะดวก สร้างความมั่นใจให้บริการสมาชิก ผ่านระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) บริการไร้กังวลในการติดต่อสื่อสารอํานวยความสะดวกให้สมาชิก กอช. สอบถามข้อมูลหรือข่าวสารต่างๆ ได้หลากหลายช่องทาง โดยไม่ต้องออกจากบ้าน ตามนโยบายของรัฐบาล “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยสมาร์ทโฟนของท่าน อาทิ เฟซบุ๊ก กอช. “กองทุนการออมแห่งชาติ – กอช.”, ไลน์ “@nsf.th”, อีเมล “[email protected]” และสายด่วนเงินออม โทร.02-049-9000 ทั้งนี้ สมาชิก กอช. และผู้ที่สนใจ สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “กอช” เพื่อสมัครสมาชิก ดูข้อมูลบัญชีเงินออม และใช้ตรวจสอบสิทธิการสมัครสมาชิกได้ทั้งระบบ IOS และ Android หรือดูข้อมูลข่าวสารต่างๆ ของ กอช. ได้ทางเว็บไซต์ กอช. “www.nsf.or.th”
ทั้งนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563 เห็นชอบออกมาตรการในการป้องกันวิกฤตการณ์จากเชื้อไวรัสโควิด-19 และให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐทุกแห่ง เร่งดําเนินการตามมาตรการดังกล่าวนั้น กอช. ได้มีการดําเนินการวางแผนบริหารความต่อเนื่องขององค์กร (Business Continuity Plan: BCP) พิจารณาให้พนักงานบางส่วนปฏิบัติงานเหลื่อมเวลาทํางานไม่ต้องเดินทางพร้อมกัน หรือปฏิบัติงานที่บ้าน (Work from Home) เพื่อลดความแออัด ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
อย่างไรก็ตาม สมาชิก กอช. ไม่ต้องกังวลในการส่งเงินออมสะสม เนื่องด้วย กอช. เป็นการออมภาคสมัครใจ มีมากออมมาก มีน้อยออมน้อย ออมเงินเมื่อพร้อม สิทธิในการเป็นสมาชิกยังคงอยู่ เมื่อสมาชิกส่งเงินออมสะสมขั้นต่ํา 50 บาท สูงสุด 13,200 บาทต่อปี สมาชิกจะได้รับเงินสมทบจากรัฐตามช่วงอายุของสมาชิก ตามเงื่อนไขที่ พ.ร.บ. กอช. กําหนด
“คุณออม รัฐช่วยออม คุณได้บํานาญ” | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“กอช. แนะสมาชิกติดต่อผ่านระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ตามนโยบายรัฐบาล”
วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม 2563
“กอช. แนะสมาชิกติดต่อผ่านระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ตามนโยบายรัฐบาล”
กอช. ยกระดับอํานวยความสะดวก สร้างความมั่นใจให้บริการสมาชิก ผ่านระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) บริการไร้กังวลในการติดต่อสื่อสารอํานวยความสะดวกให้สมาชิก กอช. สอบถามข้อมูลหรือข่าวสารต่างๆ ได้หลากหลายช่องทาง
กองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. ยกระดับอํานวยความสะดวก สร้างความมั่นใจให้บริการสมาชิก ผ่านระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) บริการไร้กังวลในการติดต่อสื่อสารอํานวยความสะดวกให้สมาชิก กอช. สอบถามข้อมูลหรือข่าวสารต่างๆ ได้หลากหลายช่องทาง อาทิ เฟซบุ๊ก กอช. “กองทุนการออมแห่งชาติ – กอช.”, ไลน์ “@nsf.th”, อีเมล “[email protected]” และสายด่วนเงินออม โทร. 02-049-9000
นางสาวจารุลักษณ์ เรืองสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. เปิดเผยว่า กอช. ยกระดับอํานวยความสะดวก สร้างความมั่นใจให้บริการสมาชิก ผ่านระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) บริการไร้กังวลในการติดต่อสื่อสารอํานวยความสะดวกให้สมาชิก กอช. สอบถามข้อมูลหรือข่าวสารต่างๆ ได้หลากหลายช่องทาง โดยไม่ต้องออกจากบ้าน ตามนโยบายของรัฐบาล “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยสมาร์ทโฟนของท่าน อาทิ เฟซบุ๊ก กอช. “กองทุนการออมแห่งชาติ – กอช.”, ไลน์ “@nsf.th”, อีเมล “[email protected]” และสายด่วนเงินออม โทร.02-049-9000 ทั้งนี้ สมาชิก กอช. และผู้ที่สนใจ สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “กอช” เพื่อสมัครสมาชิก ดูข้อมูลบัญชีเงินออม และใช้ตรวจสอบสิทธิการสมัครสมาชิกได้ทั้งระบบ IOS และ Android หรือดูข้อมูลข่าวสารต่างๆ ของ กอช. ได้ทางเว็บไซต์ กอช. “www.nsf.or.th”
ทั้งนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563 เห็นชอบออกมาตรการในการป้องกันวิกฤตการณ์จากเชื้อไวรัสโควิด-19 และให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐทุกแห่ง เร่งดําเนินการตามมาตรการดังกล่าวนั้น กอช. ได้มีการดําเนินการวางแผนบริหารความต่อเนื่องขององค์กร (Business Continuity Plan: BCP) พิจารณาให้พนักงานบางส่วนปฏิบัติงานเหลื่อมเวลาทํางานไม่ต้องเดินทางพร้อมกัน หรือปฏิบัติงานที่บ้าน (Work from Home) เพื่อลดความแออัด ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
อย่างไรก็ตาม สมาชิก กอช. ไม่ต้องกังวลในการส่งเงินออมสะสม เนื่องด้วย กอช. เป็นการออมภาคสมัครใจ มีมากออมมาก มีน้อยออมน้อย ออมเงินเมื่อพร้อม สิทธิในการเป็นสมาชิกยังคงอยู่ เมื่อสมาชิกส่งเงินออมสะสมขั้นต่ํา 50 บาท สูงสุด 13,200 บาทต่อปี สมาชิกจะได้รับเงินสมทบจากรัฐตามช่วงอายุของสมาชิก ตามเงื่อนไขที่ พ.ร.บ. กอช. กําหนด
“คุณออม รัฐช่วยออม คุณได้บํานาญ” | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/28104 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กสร.ปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำลดภาระหนี้ลูกจ้าง พนักงานรัฐวิสาหกิจ | วันจันทร์ที่ 15 มกราคม 2561
กสร.ปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ําลดภาระหนี้ลูกจ้าง พนักงานรัฐวิสาหกิจ
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เปิดโอกาสผู้ใช้แรงงานรายได้น้อยเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อใช้ปลดเปลื้องหนี้สินนอกระบบ พร้อมพัฒนารายได้ตนเองและครอบครัว จัดโครงการเงินกู้เพื่อวิถีแห่งคุณภาพชีวิตที่ดีตามศาสตร์พระราชา ปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ําผ่านสหกรณ์ออมทรัพย์ใน
นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน ได้มีมติเห็นชอบให้กองทุนฯ จัดทําโครงการเงินกู้เพื่อวิถีแห่งคุณภาพชีวิตที่ดีตามศาสตร์พระราชา เปิดโอกาสให้สหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบกิจการและรัฐวิสาหกิจกู้ยืมเงินผ่านกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงานในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี และนําไปให้ลูกจ้าง พนักงานที่เป็นสมาชิกกู้ในอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบกิจการและรัฐวิสาหกิจที่มีรายได้น้อย (รายได้ต่อเดือนไม่เกิน 35,000 บาท) สามารถเข้าถึงบริการของกองทุนฯ และนําไปใช้ปลดเปลื้องหนี้สินนอกระบบ หนี้บัตรเครดิต ตลอดจนนําไปพัฒนารายได้ของตนเองและครอบครัว
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวต่อไปว่า โครงการเงินกู้เพื่อวิถีแห่งคุณภาพชีวิตที่ดีตามศาสตร์พระราชาการ มีงบประมาณในการดําเนินการ 50 ล้านบาท ปล่อยกู้ให้สหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบกิจการหรือสหกรณ์ออมทรัพย์ในรัฐวิสาหกิจสูงสุด ไม่เกินสหกรณ์ละ 10 ล้านบาท สหกรณ์ออมทรัพย์ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถยื่นคําขอกู้เงินจากกองทุนฯ พร้อมรายละเอียดโครงการและหลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้องได้ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2561 เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2561 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองสวัสดิการแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 6774 หรือ 0 2246 0383 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กสร.ปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำลดภาระหนี้ลูกจ้าง พนักงานรัฐวิสาหกิจ
วันจันทร์ที่ 15 มกราคม 2561
กสร.ปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ําลดภาระหนี้ลูกจ้าง พนักงานรัฐวิสาหกิจ
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เปิดโอกาสผู้ใช้แรงงานรายได้น้อยเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อใช้ปลดเปลื้องหนี้สินนอกระบบ พร้อมพัฒนารายได้ตนเองและครอบครัว จัดโครงการเงินกู้เพื่อวิถีแห่งคุณภาพชีวิตที่ดีตามศาสตร์พระราชา ปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ําผ่านสหกรณ์ออมทรัพย์ใน
นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน ได้มีมติเห็นชอบให้กองทุนฯ จัดทําโครงการเงินกู้เพื่อวิถีแห่งคุณภาพชีวิตที่ดีตามศาสตร์พระราชา เปิดโอกาสให้สหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบกิจการและรัฐวิสาหกิจกู้ยืมเงินผ่านกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงานในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี และนําไปให้ลูกจ้าง พนักงานที่เป็นสมาชิกกู้ในอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบกิจการและรัฐวิสาหกิจที่มีรายได้น้อย (รายได้ต่อเดือนไม่เกิน 35,000 บาท) สามารถเข้าถึงบริการของกองทุนฯ และนําไปใช้ปลดเปลื้องหนี้สินนอกระบบ หนี้บัตรเครดิต ตลอดจนนําไปพัฒนารายได้ของตนเองและครอบครัว
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวต่อไปว่า โครงการเงินกู้เพื่อวิถีแห่งคุณภาพชีวิตที่ดีตามศาสตร์พระราชาการ มีงบประมาณในการดําเนินการ 50 ล้านบาท ปล่อยกู้ให้สหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบกิจการหรือสหกรณ์ออมทรัพย์ในรัฐวิสาหกิจสูงสุด ไม่เกินสหกรณ์ละ 10 ล้านบาท สหกรณ์ออมทรัพย์ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถยื่นคําขอกู้เงินจากกองทุนฯ พร้อมรายละเอียดโครงการและหลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้องได้ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2561 เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2561 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองสวัสดิการแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 6774 หรือ 0 2246 0383 | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/9379 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ประธานกรรมการด้านกิจการการค้าและการลงทุนของบริษัท Airbus เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี | วันพุธที่ 8 มีนาคม 2560
ประธานกรรมการด้านกิจการการค้าและการลงทุนของบริษัท Airbus เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการด้านกิจการการค้าและการลงทุนของบริษัท Airbus เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี
วันนี้ (8 มี.ค. 2560) เวลา 13.30 น. นายฟาบริซ เบรฌิเยร์ (Fabrice Brégier) ประธานกรรมการด้านกิจการการค้าและการลงทุนของบริษัท Airbus เข้าเยี่ยมคารวะพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ณ ห้องสีม่วง ทําเนียบรัฐบาล ภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ พลโท วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวสรุปสาระสําคัญการหารือดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวต้อนรับการมาเยือนไทยของประธานกรรมการด้านกิจการการค้าและการลงทุนของบริษัท Airbus ในครั้งนี้ พร้อมยินดีที่ประธานฯ ได้ไปบรรยายพิเศษที่กระทรวงการต่างประเทศ ในหัวข้อ “Airbus Vision for Aviation in the Region and Thailand's Role” รวมทั้งเมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ไทยเพิ่งจัดงาน “Opportunity Thailand 2017” ไป ซึ่งครั้งนั้นประธาน ประจําภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกของ Airbus ก็ได้ร่วมบรรยายเกี่ยวกับโครงการประเทศไทย 4.0 ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
นายกรัฐมนตรียังได้ชี้แจงถึงสถานการณ์ทางการเมืองของไทยว่า ตั้งแต่รัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศ ได้แก้ไขปัญหาเร่งด่วนและอุปสรรคในด้านต่าง ๆ เพื่อวางรากฐานในการพัฒนาประเทศและระบบประชาธิปไตยที่ยั่งยืน รัฐบาลได้มีการเสนอแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้ได้มาตรฐานสากล จึงขอให้บริษัทฯ มั่นใจว่า ประเทศไทยจะกลับไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย และนโยบายต่าง ๆ ที่รัฐบาลชุดนี้ได้วางรากฐานไว้จะยังคงดําเนินไป ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่จะกําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือเรื่องนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย นายกรัฐมนตรีกล่าวว่ารัฐบาลให้ความสําคัญต่อการวางระบบโครงสร้างพื้นฐานโครงข่ายด้านคมนาคมทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และยังมีโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก โดยภายใต้โครงการดังกล่าวจะมีการพัฒนาและขยายท่าอากาศยานอู่ตะเภาเพื่อให้รองรับผู้โดยสารได้มากขึ้น มีการสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน รวมทั้งศูนย์ซ่อมบํารุงอากาศยานด้วย นายกรัฐมนตรีจึงยินดีหากบริษัทฯจะเข้ามาลงทุนในโครงการดังกล่าว
ประธานกรรมการด้านกิจการการค้าและการลงทุนของบริษัท Airbus กล่าวว่า บริษัทฯ ได้มีความร่วมมือกับประเทศไทยมาโดยตลอด โดยประเทศไทยได้สั่งซื้อเครื่องบินของบริษัทฯทั้งในเชิงพาณิชย์และทหารมาอย่างต่อเนื่อง บริษัทฯยังยินดีที่รัฐบาลไทยให้ความสําคัญกับนโยบายประเทศไทย 4.0 โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอากาศยานและการบิน ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรม New S-Curve ของไทย สอดคล้องกับแนวทางของ บริษัทฯ ซึ่งมองว่าอุตสาหกรรมนี้มีความสําคัญมากในปัจจุบันและจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างมาก | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ประธานกรรมการด้านกิจการการค้าและการลงทุนของบริษัท Airbus เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี
วันพุธที่ 8 มีนาคม 2560
ประธานกรรมการด้านกิจการการค้าและการลงทุนของบริษัท Airbus เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการด้านกิจการการค้าและการลงทุนของบริษัท Airbus เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี
วันนี้ (8 มี.ค. 2560) เวลา 13.30 น. นายฟาบริซ เบรฌิเยร์ (Fabrice Brégier) ประธานกรรมการด้านกิจการการค้าและการลงทุนของบริษัท Airbus เข้าเยี่ยมคารวะพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ณ ห้องสีม่วง ทําเนียบรัฐบาล ภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ พลโท วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวสรุปสาระสําคัญการหารือดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวต้อนรับการมาเยือนไทยของประธานกรรมการด้านกิจการการค้าและการลงทุนของบริษัท Airbus ในครั้งนี้ พร้อมยินดีที่ประธานฯ ได้ไปบรรยายพิเศษที่กระทรวงการต่างประเทศ ในหัวข้อ “Airbus Vision for Aviation in the Region and Thailand's Role” รวมทั้งเมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ไทยเพิ่งจัดงาน “Opportunity Thailand 2017” ไป ซึ่งครั้งนั้นประธาน ประจําภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกของ Airbus ก็ได้ร่วมบรรยายเกี่ยวกับโครงการประเทศไทย 4.0 ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
นายกรัฐมนตรียังได้ชี้แจงถึงสถานการณ์ทางการเมืองของไทยว่า ตั้งแต่รัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศ ได้แก้ไขปัญหาเร่งด่วนและอุปสรรคในด้านต่าง ๆ เพื่อวางรากฐานในการพัฒนาประเทศและระบบประชาธิปไตยที่ยั่งยืน รัฐบาลได้มีการเสนอแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้ได้มาตรฐานสากล จึงขอให้บริษัทฯ มั่นใจว่า ประเทศไทยจะกลับไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย และนโยบายต่าง ๆ ที่รัฐบาลชุดนี้ได้วางรากฐานไว้จะยังคงดําเนินไป ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่จะกําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือเรื่องนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย นายกรัฐมนตรีกล่าวว่ารัฐบาลให้ความสําคัญต่อการวางระบบโครงสร้างพื้นฐานโครงข่ายด้านคมนาคมทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และยังมีโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก โดยภายใต้โครงการดังกล่าวจะมีการพัฒนาและขยายท่าอากาศยานอู่ตะเภาเพื่อให้รองรับผู้โดยสารได้มากขึ้น มีการสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน รวมทั้งศูนย์ซ่อมบํารุงอากาศยานด้วย นายกรัฐมนตรีจึงยินดีหากบริษัทฯจะเข้ามาลงทุนในโครงการดังกล่าว
ประธานกรรมการด้านกิจการการค้าและการลงทุนของบริษัท Airbus กล่าวว่า บริษัทฯ ได้มีความร่วมมือกับประเทศไทยมาโดยตลอด โดยประเทศไทยได้สั่งซื้อเครื่องบินของบริษัทฯทั้งในเชิงพาณิชย์และทหารมาอย่างต่อเนื่อง บริษัทฯยังยินดีที่รัฐบาลไทยให้ความสําคัญกับนโยบายประเทศไทย 4.0 โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอากาศยานและการบิน ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรม New S-Curve ของไทย สอดคล้องกับแนวทางของ บริษัทฯ ซึ่งมองว่าอุตสาหกรรมนี้มีความสําคัญมากในปัจจุบันและจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างมาก | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/2261 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผลการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ระหว่างวันที่ 15 – 21 กุมภาพันธ์ 2562 พบการกระทำผิด จำนวน 629 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 6.87 ล้านบาท | วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2562
ผลการปราบปรามผู้กระทําผิดกฎหมายสรรพสามิต ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ระหว่างวันที่ 15 – 21 กุมภาพันธ์ 2562 พบการกระทําผิด จํานวน 629 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 6.87 ล้านบาท
กรมสรรพสามิตดําเนินมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและปราบปรามสินค้า ผิดกฎหมายสรรพสามิต เพื่อสร้างความเป็นธรรม โปร่งใส และความมั่นใจให้แก่ผู้ประกอบการที่เสียภาษีโดยสุจริต
นายณัฐกร อุเทนสุต ผู้อํานวยการสํานักแผนภาษี ในฐานะรองโฆษกกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ได้ดําเนินงานตามมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและปราบปรามผู้กระทําผิดกฎหมายสรรพสามิตตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 และจูงใจผู้ที่อยู่นอกระบบให้เข้ามาสู่ระบบภาษี ซึ่งที่ผ่านมากรมสรรพสามิตได้จัดทําแผนเฉพาะกิจปราบปรามผู้กระทําผิดกฎหมายสรรพสามิตโดยระดมกําลังเจ้าหน้าที่ชุดเฉพาะกิจจากสํานักตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม และเจ้าหน้าที่สรรพสามิตพื้นที่ทั่วประเทศพร้อมสนธิกําลังกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันตรวจสอบและปราบปรามการกระทําผิดกฎหมายสรรพสามิต ตามพื้นที่เป้าหมายที่คาดว่าอาจมีการกระทําผิด เพื่อสร้างความเป็นธรรม โปร่งใส และความมั่นใจให้แก่ผู้ประกอบการ ที่เสียภาษีโดยสุจริต และเพื่อเป็นมาตรการเสริมทางอ้อมในการดูแลสุขภาพของผู้บริโภคให้บริโภคสินค้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากการบริโภคสินค้าที่หลีกเลี่ยงภาษีจะเป็นอันตรายและส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าสินค้าโดยทั่วไป
จากผลการตรวจค้นและจับกุมผู้กระทําผิดกฎหมายสรรพสามิตตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 โดยผลการปราบปรามผู้กระทําผิดกฎหมายสรรพสามิตทั่วประเทศ ปีงบประมาณ 2562 (ระหว่างวันที่ 15 – 21 กุมภาพันธ์ 2562) พบว่ามีการกระทําผิด จํานวน 629 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 6.87 ล้านบาท โดยแยกเป็น
- สุรา จํานวน 350 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 2.88 ล้านบาท
- ยาสูบ จํานวน 167 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 2.82 ล้านบาท
- ไพ่ จํานวน 40 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 0.06 ล้านบาท
- น้ํามันและผลิตภัณฑ์น้ํามัน จํานวน 23 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 0.57 ล้านบาท
- รถจักรยานยนต์ จํานวน 28 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ จํานวน 0.46 ล้านบาท
- สินค้าอื่น ๆ จํานวน 21 คดี รวมเป็นเงินค่าปรับ 0.08 ล้านบาท
โดยมีของกลางแยกเป็นน้ําสุรา จํานวน 5,023.460 ลิตร ยาสูบ จํานวน 4,153 ซอง ไพ่ จํานวน 349 สํารับ น้ํามันและผลิตภัณฑ์น้ํามัน จํานวน 13,778.000 ลิตร รถจักรยานยนต์ จํานวน 28 คัน
“หากประชาชนท่านใดทราบเบาะแสการกระทําความผิดเกี่ยวกับสินค้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตสามารถแจ้งโดยตรงได้ที่กรมสรรพสามิต หรือสํานักงานสรรพสามิตพื้นที่ทุกแห่งทั่วประเทศ หรือ Call center 1713 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่ www.excise.go.th ซึ่งกรมสรรพสามิตจะปกปิดข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแสเป็นความลับ และจะมอบสินบนนําจับให้ ภายหลังจากคดีเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว”
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สํานักงานเลขานุการกรม กรมสรรพสามิต
โทร/โทรสาร 0 2241 4778 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผลการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ระหว่างวันที่ 15 – 21 กุมภาพันธ์ 2562 พบการกระทำผิด จำนวน 629 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 6.87 ล้านบาท
วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2562
ผลการปราบปรามผู้กระทําผิดกฎหมายสรรพสามิต ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ระหว่างวันที่ 15 – 21 กุมภาพันธ์ 2562 พบการกระทําผิด จํานวน 629 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 6.87 ล้านบาท
กรมสรรพสามิตดําเนินมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและปราบปรามสินค้า ผิดกฎหมายสรรพสามิต เพื่อสร้างความเป็นธรรม โปร่งใส และความมั่นใจให้แก่ผู้ประกอบการที่เสียภาษีโดยสุจริต
นายณัฐกร อุเทนสุต ผู้อํานวยการสํานักแผนภาษี ในฐานะรองโฆษกกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ได้ดําเนินงานตามมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและปราบปรามผู้กระทําผิดกฎหมายสรรพสามิตตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 และจูงใจผู้ที่อยู่นอกระบบให้เข้ามาสู่ระบบภาษี ซึ่งที่ผ่านมากรมสรรพสามิตได้จัดทําแผนเฉพาะกิจปราบปรามผู้กระทําผิดกฎหมายสรรพสามิตโดยระดมกําลังเจ้าหน้าที่ชุดเฉพาะกิจจากสํานักตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม และเจ้าหน้าที่สรรพสามิตพื้นที่ทั่วประเทศพร้อมสนธิกําลังกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันตรวจสอบและปราบปรามการกระทําผิดกฎหมายสรรพสามิต ตามพื้นที่เป้าหมายที่คาดว่าอาจมีการกระทําผิด เพื่อสร้างความเป็นธรรม โปร่งใส และความมั่นใจให้แก่ผู้ประกอบการ ที่เสียภาษีโดยสุจริต และเพื่อเป็นมาตรการเสริมทางอ้อมในการดูแลสุขภาพของผู้บริโภคให้บริโภคสินค้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากการบริโภคสินค้าที่หลีกเลี่ยงภาษีจะเป็นอันตรายและส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าสินค้าโดยทั่วไป
จากผลการตรวจค้นและจับกุมผู้กระทําผิดกฎหมายสรรพสามิตตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 โดยผลการปราบปรามผู้กระทําผิดกฎหมายสรรพสามิตทั่วประเทศ ปีงบประมาณ 2562 (ระหว่างวันที่ 15 – 21 กุมภาพันธ์ 2562) พบว่ามีการกระทําผิด จํานวน 629 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 6.87 ล้านบาท โดยแยกเป็น
- สุรา จํานวน 350 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 2.88 ล้านบาท
- ยาสูบ จํานวน 167 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 2.82 ล้านบาท
- ไพ่ จํานวน 40 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 0.06 ล้านบาท
- น้ํามันและผลิตภัณฑ์น้ํามัน จํานวน 23 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 0.57 ล้านบาท
- รถจักรยานยนต์ จํานวน 28 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ จํานวน 0.46 ล้านบาท
- สินค้าอื่น ๆ จํานวน 21 คดี รวมเป็นเงินค่าปรับ 0.08 ล้านบาท
โดยมีของกลางแยกเป็นน้ําสุรา จํานวน 5,023.460 ลิตร ยาสูบ จํานวน 4,153 ซอง ไพ่ จํานวน 349 สํารับ น้ํามันและผลิตภัณฑ์น้ํามัน จํานวน 13,778.000 ลิตร รถจักรยานยนต์ จํานวน 28 คัน
“หากประชาชนท่านใดทราบเบาะแสการกระทําความผิดเกี่ยวกับสินค้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตสามารถแจ้งโดยตรงได้ที่กรมสรรพสามิต หรือสํานักงานสรรพสามิตพื้นที่ทุกแห่งทั่วประเทศ หรือ Call center 1713 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่ www.excise.go.th ซึ่งกรมสรรพสามิตจะปกปิดข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแสเป็นความลับ และจะมอบสินบนนําจับให้ ภายหลังจากคดีเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว”
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สํานักงานเลขานุการกรม กรมสรรพสามิต
โทร/โทรสาร 0 2241 4778 | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/18946 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เกษตรฯ กำหนดแนวทางบริหารจัดการผลไม้ ปี 2563 ต้องมีข้อมูลการผลิตที่ชัดเจน | วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563
เกษตรฯ กําหนดแนวทางบริหารจัดการผลไม้ ปี 2563 ต้องมีข้อมูลการผลิตที่ชัดเจน
เกษตรฯ กําหนดแนวทางบริหารจัดการผลไม้ ปี 2563 ต้องมีข้อมูลการผลิตที่ชัดเจน เพื่อเชื่อมโยงกับตลาดผู้ซื้อได้อย่างเหมาะสมมุ่งเป้าเกษตรกรขายได้ไม่ต่ํากว่าทุนพร้อมบวกกําไรเพิ่ม 30%
นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังได้รับมอบหมายจากนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ครั้งที่ 1/2563 ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 134-135 โดยมีนายเข้มแข็ง ยุติธรรมดํารง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ในฐานะคณะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการฯ นายทวี มาสขาว รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เข้าร่วมประชุมด้วยว่า ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบแนวทางบริหารจัดการผลไม้ ปี 2563 โดยมุ่งเน้นว่าจะต้องมีข้อมูลการผลิตที่ชัดเจน เพื่อเชื่อมโยงกับตลาดผู้ซื้อได้อย่างเหมาะสมเพื่อให้จังหวัดสามารถบริหารจัดการผลไม้แบบเบ็ดเสร็จด้วยตัวเอง มีหลักการทํางาน คือ 1) การบริหารจัดการเชิงคุณภาพ โดยจัดทําแผนบริหารจัดการผลไม้ในพื้นที่ซึ่งมีคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) เป็นแกนหลักทั้งการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการพัฒนาคุณภาพผลไม้ทั้งในและนอกฤดู การส่งเสริมการผลิตตามมาตรฐาน GAP และการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตตามมาตรฐานสินค้าเกษตรด้านไม้ผลและ 2) การบริหารจัดการเชิงปริมาณ ปรับสมดุลข้อมูลของอุปสงค์และอุปทานโดยกระทรวงเกษตรฯ ชี้เป้าการผลิตให้ชัดเจน โดยจัดทําข้อมูลประมาณการผลผลิต (Supply) ส่วนกระทรวงพาณิชย์เชื่อมโยงและหาตลาดรองรับผลผลิต โดยจัดทําข้อมูลความต้องการทางการตลาด (Demand)ตลอดจน คพจ. ปรับสมดุลข้อมูลของอุปทานและอุปสงค์และจัดเตรียมแผนเผชิญเหตุรองรับปริมาณผลผลิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ผลผลิตออกมาก ซึ่งมุ่งหวังให้เกษตรกรยังสามารถขายผลผลิตได้ในราคาที่เป็นธรรม มีราคามาตรฐานที่เกษตรกรขายได้ไม่ต่ํากว่า ต้นทุน + กําไร 30%มาตรการจะจัดทําเป็นแผนบริหารจัดการเชิงรุก มีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับผิดชอบด้านการผลิตให้ได้คุณภาพมาตรฐาน GAP, มกษ. สถานประกอบการ (ล้ง) ผ่านการรับรอง GMP และกระทรวงพาณิชย์รับผิดชอบด้านการตลาด การกระจายผลผลิตออกนอกพื้นที่ให้มีความคล่องตัว การผลักดันการส่งออก การเปิดตลาดต่างประเทศแห่งใหม่ เช่น อินเดีย ส่งเสริมการจําหน่ายผลผลิตผ่านช่องทางสมัยใหม่ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ 3. การบริหารจัดการผลผลิตส่วนเกิน ทั้งกลไกปกติ และมีการจัดทําแผนเผชิญเหตุกรณีเกิดผลผลิตส่วนเกินในช่วง peak โดยเฉพาะทุเรียนต้องเตรียมแผนรองรับการส่งออกไปจีน ซึ่งเกิดปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา จะต้องวางแผนการกระจายผลผลิตทั้งในและต่างประเทศ การเพิ่มมูลค่าผลผลิต เช่น การแปรรูป การแช่แข็ง รวมถึงประชาสัมพันธ์กระตุ้นการบริโภคในแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ จนสิ้นสุดฤดูกาล
นายอลงกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ประชุมยังได้มีการรายงานคาดการณ์ข้อมูลไม้ผลเศรษฐกิจภาคเหนือ ปี 2563 ณ วันที่ 24 ม.ค.63 ดังนี้ ลําไยในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือ มีผลผลิตรวม 699,815 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2562 จํานวน ตัน หรือร้อยละ โดยแยกเป็นลําไยในฤดู 439,850 ตัน ลําไยนอกฤดู 259,965 ตัน ผลผลิตออกสู่ตลาดมากสุดในเดือน ส.ค. ส่วนลิ้นจี่มีผลผลิตรวม 33,873 ตันเพิ่มขึ้นจากปี 2562 จํานวน11,783 ตัน หรือร้อยละ 53.34 ผลผลิตออกสู่ตลาดมากสุดในเดือน พ.ค. สําหรับการคาดการณ์ข้อมูลไม้ผลเศรษฐกิจภาคตะวันออกปี 63 (ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง)ผลผลิตทุเรียนรวม 599,708 ตันเพิ่มขึ้นจากปี 2562จํานวน104,165 ตัน หรือ ร้อยละ 21.02 ผลผลิตมังคุดรวม 204,745 ตัน เพิ่มขึ้น 25,135 ตัน หรือร้อยละ 13.99 ผลผลิตเงาะรวม 224,390 ตัน เพิ่มขึ้น 33,301 ตัน หรือร้อยละ 17.43 และผลผลิตลองกองรวม 24,173 เพิ่มขึ้น 3,880 ตัน หรือร้อยละ 19.12 โดยทุเรียนจะออกมากช่วงเดือน เม.ย.ต่อเนื่องถึงพ.ค.63 ซึ่งจะมีผลผลิตเพิ่มขึ้นทุกชนิด เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออํานวยและราคาดี จูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษาดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ ยังได้เตรียมการจัดทําแผนปฏิบัติการด้านพัฒนาผลไม้ไทย พ.ศ. 2564 – 2570เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2565 – 2570) มีสาระสําคัญของ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ พ.ศ. 2565 – 2570 ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 เพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการผลไม้ในการผลิตและยกระดับมาตรฐานสินค้าไม้ผลยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการตลาดไม้ผลด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างความเข้มแข็งและความเสมอภาคให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรไม้ผล และยุทธศาสตร์ที่ 4 บริหารจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในการผลิตผลไม้ครบวงจร
โทร 02-2810859 แฟกซ์ 02-2822871
[email protected]
www.moac.go.th
www.facebook.com/kasetthai | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เกษตรฯ กำหนดแนวทางบริหารจัดการผลไม้ ปี 2563 ต้องมีข้อมูลการผลิตที่ชัดเจน
วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563
เกษตรฯ กําหนดแนวทางบริหารจัดการผลไม้ ปี 2563 ต้องมีข้อมูลการผลิตที่ชัดเจน
เกษตรฯ กําหนดแนวทางบริหารจัดการผลไม้ ปี 2563 ต้องมีข้อมูลการผลิตที่ชัดเจน เพื่อเชื่อมโยงกับตลาดผู้ซื้อได้อย่างเหมาะสมมุ่งเป้าเกษตรกรขายได้ไม่ต่ํากว่าทุนพร้อมบวกกําไรเพิ่ม 30%
นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังได้รับมอบหมายจากนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ครั้งที่ 1/2563 ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 134-135 โดยมีนายเข้มแข็ง ยุติธรรมดํารง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ในฐานะคณะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการฯ นายทวี มาสขาว รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เข้าร่วมประชุมด้วยว่า ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบแนวทางบริหารจัดการผลไม้ ปี 2563 โดยมุ่งเน้นว่าจะต้องมีข้อมูลการผลิตที่ชัดเจน เพื่อเชื่อมโยงกับตลาดผู้ซื้อได้อย่างเหมาะสมเพื่อให้จังหวัดสามารถบริหารจัดการผลไม้แบบเบ็ดเสร็จด้วยตัวเอง มีหลักการทํางาน คือ 1) การบริหารจัดการเชิงคุณภาพ โดยจัดทําแผนบริหารจัดการผลไม้ในพื้นที่ซึ่งมีคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) เป็นแกนหลักทั้งการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการพัฒนาคุณภาพผลไม้ทั้งในและนอกฤดู การส่งเสริมการผลิตตามมาตรฐาน GAP และการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตตามมาตรฐานสินค้าเกษตรด้านไม้ผลและ 2) การบริหารจัดการเชิงปริมาณ ปรับสมดุลข้อมูลของอุปสงค์และอุปทานโดยกระทรวงเกษตรฯ ชี้เป้าการผลิตให้ชัดเจน โดยจัดทําข้อมูลประมาณการผลผลิต (Supply) ส่วนกระทรวงพาณิชย์เชื่อมโยงและหาตลาดรองรับผลผลิต โดยจัดทําข้อมูลความต้องการทางการตลาด (Demand)ตลอดจน คพจ. ปรับสมดุลข้อมูลของอุปทานและอุปสงค์และจัดเตรียมแผนเผชิญเหตุรองรับปริมาณผลผลิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ผลผลิตออกมาก ซึ่งมุ่งหวังให้เกษตรกรยังสามารถขายผลผลิตได้ในราคาที่เป็นธรรม มีราคามาตรฐานที่เกษตรกรขายได้ไม่ต่ํากว่า ต้นทุน + กําไร 30%มาตรการจะจัดทําเป็นแผนบริหารจัดการเชิงรุก มีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับผิดชอบด้านการผลิตให้ได้คุณภาพมาตรฐาน GAP, มกษ. สถานประกอบการ (ล้ง) ผ่านการรับรอง GMP และกระทรวงพาณิชย์รับผิดชอบด้านการตลาด การกระจายผลผลิตออกนอกพื้นที่ให้มีความคล่องตัว การผลักดันการส่งออก การเปิดตลาดต่างประเทศแห่งใหม่ เช่น อินเดีย ส่งเสริมการจําหน่ายผลผลิตผ่านช่องทางสมัยใหม่ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ 3. การบริหารจัดการผลผลิตส่วนเกิน ทั้งกลไกปกติ และมีการจัดทําแผนเผชิญเหตุกรณีเกิดผลผลิตส่วนเกินในช่วง peak โดยเฉพาะทุเรียนต้องเตรียมแผนรองรับการส่งออกไปจีน ซึ่งเกิดปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา จะต้องวางแผนการกระจายผลผลิตทั้งในและต่างประเทศ การเพิ่มมูลค่าผลผลิต เช่น การแปรรูป การแช่แข็ง รวมถึงประชาสัมพันธ์กระตุ้นการบริโภคในแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ จนสิ้นสุดฤดูกาล
นายอลงกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ประชุมยังได้มีการรายงานคาดการณ์ข้อมูลไม้ผลเศรษฐกิจภาคเหนือ ปี 2563 ณ วันที่ 24 ม.ค.63 ดังนี้ ลําไยในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือ มีผลผลิตรวม 699,815 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2562 จํานวน ตัน หรือร้อยละ โดยแยกเป็นลําไยในฤดู 439,850 ตัน ลําไยนอกฤดู 259,965 ตัน ผลผลิตออกสู่ตลาดมากสุดในเดือน ส.ค. ส่วนลิ้นจี่มีผลผลิตรวม 33,873 ตันเพิ่มขึ้นจากปี 2562 จํานวน11,783 ตัน หรือร้อยละ 53.34 ผลผลิตออกสู่ตลาดมากสุดในเดือน พ.ค. สําหรับการคาดการณ์ข้อมูลไม้ผลเศรษฐกิจภาคตะวันออกปี 63 (ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง)ผลผลิตทุเรียนรวม 599,708 ตันเพิ่มขึ้นจากปี 2562จํานวน104,165 ตัน หรือ ร้อยละ 21.02 ผลผลิตมังคุดรวม 204,745 ตัน เพิ่มขึ้น 25,135 ตัน หรือร้อยละ 13.99 ผลผลิตเงาะรวม 224,390 ตัน เพิ่มขึ้น 33,301 ตัน หรือร้อยละ 17.43 และผลผลิตลองกองรวม 24,173 เพิ่มขึ้น 3,880 ตัน หรือร้อยละ 19.12 โดยทุเรียนจะออกมากช่วงเดือน เม.ย.ต่อเนื่องถึงพ.ค.63 ซึ่งจะมีผลผลิตเพิ่มขึ้นทุกชนิด เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออํานวยและราคาดี จูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษาดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ ยังได้เตรียมการจัดทําแผนปฏิบัติการด้านพัฒนาผลไม้ไทย พ.ศ. 2564 – 2570เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2565 – 2570) มีสาระสําคัญของ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ พ.ศ. 2565 – 2570 ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 เพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการผลไม้ในการผลิตและยกระดับมาตรฐานสินค้าไม้ผลยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการตลาดไม้ผลด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างความเข้มแข็งและความเสมอภาคให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรไม้ผล และยุทธศาสตร์ที่ 4 บริหารจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในการผลิตผลไม้ครบวงจร
โทร 02-2810859 แฟกซ์ 02-2822871
[email protected]
www.moac.go.th
www.facebook.com/kasetthai | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/26315 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-งานแสดงนวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยจังหวัดชายแดนภาคใต้ | วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม 2561
งานแสดงนวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยจังหวัดชายแดนภาคใต้
กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) รุกยกระดับการใช้ภาษาไทยในพื้นที่ชายแดนใต้ให้มีคุณภาพ จัดงานแสดงนวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่างวันที่ 8-9 พ.ค.2561 ซึ่งเป็นผลงานมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะการพูด-ฟัง-อ่าน-เขียนที่ดีขึ้น
กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)รุกยกระดับการใช้ภาษาไทยในพื้นที่ชายแดนใต้ให้มีคุณภาพ จัดงานแสดงนวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่างวันที่8-9พ.ค.2561ซึ่งเป็นผลงานมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะการพูด-ฟัง-อ่าน-เขียนที่ดีขึ้น ใช้ในการแสวงหาความรู้วิชาอื่น ๆ ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เด็กใช้ภาษาไทยในชั้นเรียนและสื่อสารในชีวิตประจําวันได้อย่างต่อเนื่อง
วันนี้ (9พฤษภาคม2561) ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่ จ.สงขลา,พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการและหัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นประธานเปิด "งานแสดงนวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยจังหวัดชายแดนภาคใต้" โดยมีผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาเข้าร่วมกว่า1,200คน
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้เป็นสิ่งสร้างสรรค์ความดีงามต่อสังคม ซึ่งเป็นไปตามหลักแนวคิด "ไทยนิยม ยั่งยืน" ของรัฐบาลที่มองว่า การทํางานส่วนใดเป็นสิ่งที่ดีงาม ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของไทยนิยม ยั่งยืนทั้งสิ้น การได้มาเปิดงาน มอบเกียรติบัตร และโล่รางวัลให้ผู้ที่ทําคุณงามความดีในครั้งนี้ จึงเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมและเป็นหนึ่งเรื่องที่สําคัญต่อโครงการไทยนิยม ยั่งยืน เป็นอย่างมาก
ช่วง3ปีที่ผ่านมาการทํางานของกระทรวงศึกษาธิการมีการพัฒนาด้านต่าง ๆ ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การศึกษาเป็นพื้นฐานสําคัญต่อความเจริญก้าวหน้า และนําไปสู่ความสันติสุขให้เกิดขึ้นในพื้นที่อย่างยั่งยืน แม้การทํางานจะพบปัญหาอุปสรรคอยู่บ้าง แต่ตลอด3ปีที่ผ่านมาก็มีพัฒนาการที่ดีสิ่งที่เห็นเป็นตัวชี้วัดได้ชัดเจนคือ ทุกฝ่ายได้ทํางานตามยุทธศาสตร์ที่ได้กําหนดไว้เป็นอย่างดีที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ20ปี(พ.ศ.2560-2579) ทั้ง6ด้าน, มีการดําเนินการตามยุทธศาสตร์การศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) อาทิ การพัฒนาคนทุกช่วงวัย การสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาให้เกิดขึ้นในพื้นที่ ซึ่งมีหลายโครงการ เช่น ห้องเรียนกีฬา ดนตรีศิลปะ ฯลฯ
ในเรื่องของการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยในพื้นที่ จชต.จากการเยี่ยมชมนิทรรศการความก้าวหน้าในวันนี้ ทําให้เห็นพัฒนาการ นวัตกรรม ครูแกนนํา รวมทั้งBest Practicesจํานวนมาก แม้แต่การจัดตั้ง"ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย จังหวัดชายแดนภาคใต้"ที่เกิดขึ้นอย่างมีโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจน อยู่ภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ (ส่วนหน้า) ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการเป็นอย่างดีจากสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ก็ทําให้เป็นหน่วยงานสําคัญในการขับเคลื่อนงานด้านนี้ ที่เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อันจะก่อให้เกิดความมั่นคง เข้มแข็ง ยิ่งขึ้นต่อไป
อย่างไรก็ตาม ปัญหาการเรียนการสอนภาษาไทยในพื้นที่ จชต.ยังคงมีอยู่ก็ต้องมาวางแผนแก้ไขไปทีละส่วน ๆ ในระยะแรกจึงได้เน้นไปที่การแก้ปัญหาสําหรับเด็ก ป.1แต่ระยะต่อมาก็ขยายไปที่เด็ก ป.1-3เน้นให้มีทักษะภาษาไทยครบทั้ง4ด้าน คือการพูด การฟัง การอ่าน การเขียน รวมทั้งแยกแยะปัญหาต่าง ๆ ให้ชัดเจน ให้สถานศึกษามีการติดตามนักเรียนเป็นรายบุคคล
"อีกสิ่งที่เป็นความภูมิใจ คือ การวางแผนของศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย จชต.ที่ได้กําหนดเป้าหมายตามแผนพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย ระยะ4ปี (พ.ศ.2560-2564)เพื่อมุ่งหวังยกระดับการใช้ภาษาไทยให้มีคุณภาพและแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้ลดลง เช่น อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่อง โดยในปีแรก (ภายในปี2561) วางเป้าหมายที่จะแก้ปัญหาให้ลดลงครึ่งหนึ่ง, ปีที่สองเหลือปัญหา30%, ปีที่สามเหลือ15%และปี2564ปัญหานั้น ๆ ต้องหมดไป
นอกจากนี้ ได้เน้นย้ําให้มีการทํางานเชิงบูรณาการร่วมกันกับทุกหน่วยงาน เพราะภาษาไทยสําคัญมาก หากเด็กเรียนแล้วเข้าใจ ก็จะเกิดความเข้าใจในการไปเรียนวิชาต่าง ๆ รวมทั้งใช้ในการสื่อสารในชีวิตประจําวัน ตลอดจนใช้ในการทํางาน หรือเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นต่อไป แต่ก็ต้องไม่ทิ้งภาษาถิ่น เพราะเป็นชีวิตประจําวัน" พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าว
อีกเรื่องซึ่ง รมช.ศึกษาธิการได้เน้นย้ําคือ การทํางานเพื่อให้เกิดคุณภาพในห้วงต่อ ๆ ไป จะต้องครอบคลุมและมีความทั่วถึงกับกลุ่มเป้าหมาย ทั้งเด็กนักเรียนในระบบ ผู้ที่อยู่นอกระบบการศึกษาและการศึกษาตามอัธยาศัย ตลอดจนประชาชน โดยบูรณาการร่วมกันระหว่างครู สพฐ., ครูเอกชน, ครู ตชด. ตลอดจนครู กศน. ซึ่งอยู่ในพื้นที่ทั้งในระดับตําบลและระดับชุมชนอยู่แล้ว ก็จะได้ช่วยเสริมให้การทํางานมีความสมบูรณ์
โอกาสนี้ พล.อ.สุรเชษฐ์ ได้ให้ข้อคิดในการทํางานด้วยว่า ขอให้นํานวัตกรรม แนวคิด ภูมิปัญญาต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนที่เหมาะสมให้ได้ และในการทํางานขอให้เน้น5ร. คือ "ริเริ่ม รวดเร็ว รอบคอบ รอบด้าน และเรียบร้อย" ด้วยการทํางานเชิงบูรณาการ และกลไกประชารัฐ คือ เกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อส่งผลให้เกิดคุณภาพการศึกษาในพื้นที่อย่างเข้มแข็งต่อไป
นายศรีชัย พรประชาธรรม ผู้อํานวยการศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้กล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่า การเรียนการสอนภาษาไทยจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ดําเนินการตามแผนการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยระยะ 4 ปี พ.ศ.2561-2564 ภายใต้วิสัยทัศน์ "การยกระดับการใช้ภาษาไทยให้มีคุณภาพ มุ่งเน้นการพูด การฟัง การอ่าน การเขียน และใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาเป็นต้นไป เพื่อการดํารงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข"
โดยมีพันธกิจในการพัฒนานักเรียนและครูผู้สอนทุกสังกัด ให้มีทักษะในการสอนภาษาไทยในชั้นเรียน ส่งเสริมให้เด็กตั้งแต่ก่อนประถมศึกษาได้ใช้ภาษาไทยในชั้นเรียนและชีวิตประจําวันอย่างต่อเนื่อง มีการใช้ภาษาไทยเป็นเครื่องมือของการติดต่อสื่อสารและแสวงหาความรู้ที่มีประสิทธิภาพ โดยมียุทธศาสตร์ 4 ข้อ ประกอบด้วย เกิดการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามมาตรฐานของหลักสูตรแกนกลางการส่งเสริมการใช้ภาษาไทย ทั้งการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ตั้งแต่ระดับความประถมศึกษาในทุกสังกัดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดกระบวนการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ มีวัฒนธรรมสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม พัฒนาครูผู้สอนให้ตรงกับความต้องการ และสภาพปัญหาที่พบ ให้สามารถสอน ทั้งการพูด การฟัง การอ่าน การเขียนได้อย่างต่อเนื่อง และจัดระบบบริหารจัดการพัฒนาคุณภาพภาษาไทยในระบบและนอกระบบโรงเรียนให้เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในพื้นที่
โดยมีเป้าหมายโรงเรียนทุกสังกัดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 4,298 แห่ง แบ่งเป็นสังกัด สพป. 1,196 แห่ง สพม. 68 แห่ง ตชด. 17 แห่ง เอกชนสามัญ 182 แห่ง ศาสนาคู่สามัญ 196 แห่ง สอนศาสนาอย่างเดียว 59 แห่ง สถาบันศึกษาปอเนาะ 477 แห่ง และตาดีกา 2,103 แห่ง ตลอดจนห้องสมุดประชาชนประจําอําเภอใน 37 อําเภอ
ภายหลังพิธีเปิด พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ ได้มอบโล่รางวัลและเกียรติบัตร คือ โล่รางวัลครูดีศรีสงขลา10รางวัล, เกียรติบัตรพร้อมทุนการศึกษาการเขียนเรียงความดีเด่น17คน, โล่รางวัลนวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาไทย2รางวัล โดยมีผู้บริหารและวิทยากรจากกระทรวงศึกษาธิการร่วมให้เกียรติในพิธี อาทิ พล.ต.ต.ธัมมศักดิ์ วาสะศิริ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายปราโมทย์ แก้วสุข ที่ปรึกษาสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,นายศรีชัย พรประชาธรรม รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาปฏิบัติหน้าที่ผู้อํานวยการศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้, นายชลํา อรรถธรรม รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (ประธานปิด), น.ส.ดวงใจ บุญยภาส ผู้อํานวยการสถาบันภาษาไทย สพฐ., นางเกศทิพย์ ศุภวานิช ผู้อํานวยการสํานักพัฒนาครุและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สพฐ., นายประสิทธิ์ หนูกุ้ง หัวหน้าศูนย์ภาษาไทย จชต. เป็นต้น
Written byนวรัตน์ รามสูต, บัลลังก์ โรหิตเสถียร
Photoปกรณ์ เรืองยิ่ง,นวรัตน์ รามสูต
Editorบัลลังก์ โรหิตเสถียร | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-งานแสดงนวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยจังหวัดชายแดนภาคใต้
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม 2561
งานแสดงนวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยจังหวัดชายแดนภาคใต้
กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) รุกยกระดับการใช้ภาษาไทยในพื้นที่ชายแดนใต้ให้มีคุณภาพ จัดงานแสดงนวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่างวันที่ 8-9 พ.ค.2561 ซึ่งเป็นผลงานมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะการพูด-ฟัง-อ่าน-เขียนที่ดีขึ้น
กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)รุกยกระดับการใช้ภาษาไทยในพื้นที่ชายแดนใต้ให้มีคุณภาพ จัดงานแสดงนวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่างวันที่8-9พ.ค.2561ซึ่งเป็นผลงานมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะการพูด-ฟัง-อ่าน-เขียนที่ดีขึ้น ใช้ในการแสวงหาความรู้วิชาอื่น ๆ ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เด็กใช้ภาษาไทยในชั้นเรียนและสื่อสารในชีวิตประจําวันได้อย่างต่อเนื่อง
วันนี้ (9พฤษภาคม2561) ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่ จ.สงขลา,พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการและหัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นประธานเปิด "งานแสดงนวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยจังหวัดชายแดนภาคใต้" โดยมีผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาเข้าร่วมกว่า1,200คน
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้เป็นสิ่งสร้างสรรค์ความดีงามต่อสังคม ซึ่งเป็นไปตามหลักแนวคิด "ไทยนิยม ยั่งยืน" ของรัฐบาลที่มองว่า การทํางานส่วนใดเป็นสิ่งที่ดีงาม ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของไทยนิยม ยั่งยืนทั้งสิ้น การได้มาเปิดงาน มอบเกียรติบัตร และโล่รางวัลให้ผู้ที่ทําคุณงามความดีในครั้งนี้ จึงเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมและเป็นหนึ่งเรื่องที่สําคัญต่อโครงการไทยนิยม ยั่งยืน เป็นอย่างมาก
ช่วง3ปีที่ผ่านมาการทํางานของกระทรวงศึกษาธิการมีการพัฒนาด้านต่าง ๆ ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การศึกษาเป็นพื้นฐานสําคัญต่อความเจริญก้าวหน้า และนําไปสู่ความสันติสุขให้เกิดขึ้นในพื้นที่อย่างยั่งยืน แม้การทํางานจะพบปัญหาอุปสรรคอยู่บ้าง แต่ตลอด3ปีที่ผ่านมาก็มีพัฒนาการที่ดีสิ่งที่เห็นเป็นตัวชี้วัดได้ชัดเจนคือ ทุกฝ่ายได้ทํางานตามยุทธศาสตร์ที่ได้กําหนดไว้เป็นอย่างดีที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ20ปี(พ.ศ.2560-2579) ทั้ง6ด้าน, มีการดําเนินการตามยุทธศาสตร์การศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) อาทิ การพัฒนาคนทุกช่วงวัย การสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาให้เกิดขึ้นในพื้นที่ ซึ่งมีหลายโครงการ เช่น ห้องเรียนกีฬา ดนตรีศิลปะ ฯลฯ
ในเรื่องของการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยในพื้นที่ จชต.จากการเยี่ยมชมนิทรรศการความก้าวหน้าในวันนี้ ทําให้เห็นพัฒนาการ นวัตกรรม ครูแกนนํา รวมทั้งBest Practicesจํานวนมาก แม้แต่การจัดตั้ง"ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย จังหวัดชายแดนภาคใต้"ที่เกิดขึ้นอย่างมีโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจน อยู่ภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ (ส่วนหน้า) ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการเป็นอย่างดีจากสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ก็ทําให้เป็นหน่วยงานสําคัญในการขับเคลื่อนงานด้านนี้ ที่เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อันจะก่อให้เกิดความมั่นคง เข้มแข็ง ยิ่งขึ้นต่อไป
อย่างไรก็ตาม ปัญหาการเรียนการสอนภาษาไทยในพื้นที่ จชต.ยังคงมีอยู่ก็ต้องมาวางแผนแก้ไขไปทีละส่วน ๆ ในระยะแรกจึงได้เน้นไปที่การแก้ปัญหาสําหรับเด็ก ป.1แต่ระยะต่อมาก็ขยายไปที่เด็ก ป.1-3เน้นให้มีทักษะภาษาไทยครบทั้ง4ด้าน คือการพูด การฟัง การอ่าน การเขียน รวมทั้งแยกแยะปัญหาต่าง ๆ ให้ชัดเจน ให้สถานศึกษามีการติดตามนักเรียนเป็นรายบุคคล
"อีกสิ่งที่เป็นความภูมิใจ คือ การวางแผนของศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย จชต.ที่ได้กําหนดเป้าหมายตามแผนพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย ระยะ4ปี (พ.ศ.2560-2564)เพื่อมุ่งหวังยกระดับการใช้ภาษาไทยให้มีคุณภาพและแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้ลดลง เช่น อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่อง โดยในปีแรก (ภายในปี2561) วางเป้าหมายที่จะแก้ปัญหาให้ลดลงครึ่งหนึ่ง, ปีที่สองเหลือปัญหา30%, ปีที่สามเหลือ15%และปี2564ปัญหานั้น ๆ ต้องหมดไป
นอกจากนี้ ได้เน้นย้ําให้มีการทํางานเชิงบูรณาการร่วมกันกับทุกหน่วยงาน เพราะภาษาไทยสําคัญมาก หากเด็กเรียนแล้วเข้าใจ ก็จะเกิดความเข้าใจในการไปเรียนวิชาต่าง ๆ รวมทั้งใช้ในการสื่อสารในชีวิตประจําวัน ตลอดจนใช้ในการทํางาน หรือเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นต่อไป แต่ก็ต้องไม่ทิ้งภาษาถิ่น เพราะเป็นชีวิตประจําวัน" พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าว
อีกเรื่องซึ่ง รมช.ศึกษาธิการได้เน้นย้ําคือ การทํางานเพื่อให้เกิดคุณภาพในห้วงต่อ ๆ ไป จะต้องครอบคลุมและมีความทั่วถึงกับกลุ่มเป้าหมาย ทั้งเด็กนักเรียนในระบบ ผู้ที่อยู่นอกระบบการศึกษาและการศึกษาตามอัธยาศัย ตลอดจนประชาชน โดยบูรณาการร่วมกันระหว่างครู สพฐ., ครูเอกชน, ครู ตชด. ตลอดจนครู กศน. ซึ่งอยู่ในพื้นที่ทั้งในระดับตําบลและระดับชุมชนอยู่แล้ว ก็จะได้ช่วยเสริมให้การทํางานมีความสมบูรณ์
โอกาสนี้ พล.อ.สุรเชษฐ์ ได้ให้ข้อคิดในการทํางานด้วยว่า ขอให้นํานวัตกรรม แนวคิด ภูมิปัญญาต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนที่เหมาะสมให้ได้ และในการทํางานขอให้เน้น5ร. คือ "ริเริ่ม รวดเร็ว รอบคอบ รอบด้าน และเรียบร้อย" ด้วยการทํางานเชิงบูรณาการ และกลไกประชารัฐ คือ เกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อส่งผลให้เกิดคุณภาพการศึกษาในพื้นที่อย่างเข้มแข็งต่อไป
นายศรีชัย พรประชาธรรม ผู้อํานวยการศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้กล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่า การเรียนการสอนภาษาไทยจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ดําเนินการตามแผนการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยระยะ 4 ปี พ.ศ.2561-2564 ภายใต้วิสัยทัศน์ "การยกระดับการใช้ภาษาไทยให้มีคุณภาพ มุ่งเน้นการพูด การฟัง การอ่าน การเขียน และใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาเป็นต้นไป เพื่อการดํารงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข"
โดยมีพันธกิจในการพัฒนานักเรียนและครูผู้สอนทุกสังกัด ให้มีทักษะในการสอนภาษาไทยในชั้นเรียน ส่งเสริมให้เด็กตั้งแต่ก่อนประถมศึกษาได้ใช้ภาษาไทยในชั้นเรียนและชีวิตประจําวันอย่างต่อเนื่อง มีการใช้ภาษาไทยเป็นเครื่องมือของการติดต่อสื่อสารและแสวงหาความรู้ที่มีประสิทธิภาพ โดยมียุทธศาสตร์ 4 ข้อ ประกอบด้วย เกิดการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามมาตรฐานของหลักสูตรแกนกลางการส่งเสริมการใช้ภาษาไทย ทั้งการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ตั้งแต่ระดับความประถมศึกษาในทุกสังกัดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดกระบวนการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ มีวัฒนธรรมสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม พัฒนาครูผู้สอนให้ตรงกับความต้องการ และสภาพปัญหาที่พบ ให้สามารถสอน ทั้งการพูด การฟัง การอ่าน การเขียนได้อย่างต่อเนื่อง และจัดระบบบริหารจัดการพัฒนาคุณภาพภาษาไทยในระบบและนอกระบบโรงเรียนให้เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในพื้นที่
โดยมีเป้าหมายโรงเรียนทุกสังกัดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 4,298 แห่ง แบ่งเป็นสังกัด สพป. 1,196 แห่ง สพม. 68 แห่ง ตชด. 17 แห่ง เอกชนสามัญ 182 แห่ง ศาสนาคู่สามัญ 196 แห่ง สอนศาสนาอย่างเดียว 59 แห่ง สถาบันศึกษาปอเนาะ 477 แห่ง และตาดีกา 2,103 แห่ง ตลอดจนห้องสมุดประชาชนประจําอําเภอใน 37 อําเภอ
ภายหลังพิธีเปิด พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ ได้มอบโล่รางวัลและเกียรติบัตร คือ โล่รางวัลครูดีศรีสงขลา10รางวัล, เกียรติบัตรพร้อมทุนการศึกษาการเขียนเรียงความดีเด่น17คน, โล่รางวัลนวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาไทย2รางวัล โดยมีผู้บริหารและวิทยากรจากกระทรวงศึกษาธิการร่วมให้เกียรติในพิธี อาทิ พล.ต.ต.ธัมมศักดิ์ วาสะศิริ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายปราโมทย์ แก้วสุข ที่ปรึกษาสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,นายศรีชัย พรประชาธรรม รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาปฏิบัติหน้าที่ผู้อํานวยการศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้, นายชลํา อรรถธรรม รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (ประธานปิด), น.ส.ดวงใจ บุญยภาส ผู้อํานวยการสถาบันภาษาไทย สพฐ., นางเกศทิพย์ ศุภวานิช ผู้อํานวยการสํานักพัฒนาครุและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สพฐ., นายประสิทธิ์ หนูกุ้ง หัวหน้าศูนย์ภาษาไทย จชต. เป็นต้น
Written byนวรัตน์ รามสูต, บัลลังก์ โรหิตเสถียร
Photoปกรณ์ เรืองยิ่ง,นวรัตน์ รามสูต
Editorบัลลังก์ โรหิตเสถียร | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/12112 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผลการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ระหว่างวันที่ 22 - 28 มิถุนายน 2561 พบการกระทำผิด จำนวน 449 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 6.42 ล้านบาท | วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน 2561
ผลการปราบปรามผู้กระทําผิดกฎหมายสรรพสามิต ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ระหว่างวันที่ 22 - 28 มิถุนายน 2561 พบการกระทําผิด จํานวน 449 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 6.42 ล้านบาท
กรมสรรพสามิตดําเนินมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและปราบปรามสินค้าผิดกฎหมายสรรพสามิต เพื่อสร้างความเป็นธรรม โปร่งใส และความมั่นใจให้แก่ผู้ประกอบการที่เสียภาษีโดยสุจริต
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ได้ดําเนินงานตามมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและปราบปรามผู้กระทําผิดกฎหมายสรรพสามิตตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 และจูงใจผู้ที่อยู่นอกระบบให้เข้ามาสู่ระบบภาษี ซึ่งที่ผ่านมากรมสรรพสามิตได้จัดทําแผนเฉพาะกิจปราบปรามผู้กระทําผิดกฎหมายสรรพสามิตโดยระดมกําลังเจ้าหน้าที่ชุดเฉพาะกิจจากสํานักตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม และเจ้าหน้าที่สรรพสามิตพื้นที่ทั่วประเทศ พร้อมสนธิกําลังกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันตรวจสอบและปราบปรามการกระทําผิดกฎหมายสรรพสามิตตามพื้นที่เป้าหมายที่คาดว่าอาจมีการกระทําผิด เพื่อสร้างความเป็นธรรม โปร่งใส และความมั่นใจให้แก่ผู้ประกอบการที่เสียภาษีโดยสุจริต และเพื่อเป็นมาตรการเสริมทางอ้อมในการดูแลสุขภาพของผู้บริโภคให้บริโภคสินค้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากการบริโภคสินค้าที่หลีกเลี่ยงภาษีจะเป็นอันตรายและส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าสินค้าโดยทั่วไป
จากผลการตรวจค้นและจับกุมผู้กระทําผิดกฎหมายสรรพสามิตตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 โดยผลการปราบปรามผู้กระทําผิดกฎหมายสรรพสามิตทั่วประเทศ ปีงบประมาณ 2561 (ระหว่างวันที่ 22 – 28 มิถุนายน 2561) พบว่ามีการกระทําผิด จํานวน 449 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 6.42 ล้านบาท โดยแยกเป็น - สุรา จํานวน 244 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 1.91 ล้านบาท
- ยาสูบ จํานวน 110 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 2.49 ล้านบาท
- ไพ่ จํานวน 14 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 0.31 ล้านบาท
- น้ํามันและผลิตภัณฑ์น้ํามัน จํานวน 39 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 0.42 ล้านบาท
- น้ําหอม จํานวน 2 คดี คิดเป็นค่าปรับ 0.03 ล้านบาท
- รถจักรยานยนต์ จํานวน 26 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ จํานวน 0.46 ล้านบาท
- สินค้าอื่น ๆ จํานวน 14 คดี รวมเป็นเงินค่าปรับ 0.81 ล้านบาท
โดยมีของกลางแยกเป็นน้ําสุรา จํานวน 676.285 ลิตร ยาสูบ จํานวน 2,730 ซอง ไพ่ จํานวน 1,351 สํารับ น้ํามันและผลิตภัณฑ์น้ํามัน จํานวน 22,720 ลิตร น้ําหอม จํานวน 78 ขวด รถจักรยานยนต์ จํานวน 29 คัน
“หากประชาชนท่านใดทราบเบาะแสการกระทําความผิดเกี่ยวกับสินค้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตสามารถแจ้งโดยตรงได้ที่กรมสรรพสามิต หรือสํานักงานสรรพสามิตพื้นที่ทุกแห่งทั่วประเทศ หรือ Call center 1713 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่ www.excise.go.th หรือแจ้งที่ตู้ ป.ณ. 10 เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 ซึ่งกรมสรรพสามิตจะปกปิดข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแสเป็นความลับ และจะมอบสินบนนําจับให้ ภายหลังจากคดีเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว”
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สํานักงานเลขานุการกรม กรมสรรพสามิต โทร/โทรสาร 0 2241 4778 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผลการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ระหว่างวันที่ 22 - 28 มิถุนายน 2561 พบการกระทำผิด จำนวน 449 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 6.42 ล้านบาท
วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน 2561
ผลการปราบปรามผู้กระทําผิดกฎหมายสรรพสามิต ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ระหว่างวันที่ 22 - 28 มิถุนายน 2561 พบการกระทําผิด จํานวน 449 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 6.42 ล้านบาท
กรมสรรพสามิตดําเนินมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและปราบปรามสินค้าผิดกฎหมายสรรพสามิต เพื่อสร้างความเป็นธรรม โปร่งใส และความมั่นใจให้แก่ผู้ประกอบการที่เสียภาษีโดยสุจริต
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ได้ดําเนินงานตามมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและปราบปรามผู้กระทําผิดกฎหมายสรรพสามิตตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 และจูงใจผู้ที่อยู่นอกระบบให้เข้ามาสู่ระบบภาษี ซึ่งที่ผ่านมากรมสรรพสามิตได้จัดทําแผนเฉพาะกิจปราบปรามผู้กระทําผิดกฎหมายสรรพสามิตโดยระดมกําลังเจ้าหน้าที่ชุดเฉพาะกิจจากสํานักตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม และเจ้าหน้าที่สรรพสามิตพื้นที่ทั่วประเทศ พร้อมสนธิกําลังกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันตรวจสอบและปราบปรามการกระทําผิดกฎหมายสรรพสามิตตามพื้นที่เป้าหมายที่คาดว่าอาจมีการกระทําผิด เพื่อสร้างความเป็นธรรม โปร่งใส และความมั่นใจให้แก่ผู้ประกอบการที่เสียภาษีโดยสุจริต และเพื่อเป็นมาตรการเสริมทางอ้อมในการดูแลสุขภาพของผู้บริโภคให้บริโภคสินค้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากการบริโภคสินค้าที่หลีกเลี่ยงภาษีจะเป็นอันตรายและส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าสินค้าโดยทั่วไป
จากผลการตรวจค้นและจับกุมผู้กระทําผิดกฎหมายสรรพสามิตตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 โดยผลการปราบปรามผู้กระทําผิดกฎหมายสรรพสามิตทั่วประเทศ ปีงบประมาณ 2561 (ระหว่างวันที่ 22 – 28 มิถุนายน 2561) พบว่ามีการกระทําผิด จํานวน 449 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 6.42 ล้านบาท โดยแยกเป็น - สุรา จํานวน 244 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 1.91 ล้านบาท
- ยาสูบ จํานวน 110 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 2.49 ล้านบาท
- ไพ่ จํานวน 14 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 0.31 ล้านบาท
- น้ํามันและผลิตภัณฑ์น้ํามัน จํานวน 39 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 0.42 ล้านบาท
- น้ําหอม จํานวน 2 คดี คิดเป็นค่าปรับ 0.03 ล้านบาท
- รถจักรยานยนต์ จํานวน 26 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ จํานวน 0.46 ล้านบาท
- สินค้าอื่น ๆ จํานวน 14 คดี รวมเป็นเงินค่าปรับ 0.81 ล้านบาท
โดยมีของกลางแยกเป็นน้ําสุรา จํานวน 676.285 ลิตร ยาสูบ จํานวน 2,730 ซอง ไพ่ จํานวน 1,351 สํารับ น้ํามันและผลิตภัณฑ์น้ํามัน จํานวน 22,720 ลิตร น้ําหอม จํานวน 78 ขวด รถจักรยานยนต์ จํานวน 29 คัน
“หากประชาชนท่านใดทราบเบาะแสการกระทําความผิดเกี่ยวกับสินค้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตสามารถแจ้งโดยตรงได้ที่กรมสรรพสามิต หรือสํานักงานสรรพสามิตพื้นที่ทุกแห่งทั่วประเทศ หรือ Call center 1713 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่ www.excise.go.th หรือแจ้งที่ตู้ ป.ณ. 10 เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 ซึ่งกรมสรรพสามิตจะปกปิดข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแสเป็นความลับ และจะมอบสินบนนําจับให้ ภายหลังจากคดีเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว”
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สํานักงานเลขานุการกรม กรมสรรพสามิต โทร/โทรสาร 0 2241 4778 | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/13455 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมช.มท.เป็นประธานพิธีปิดศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2561 กำชับดำเนินมาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนตลอดทั้งปี เน้นสร้างจิตสำนึกและวินัยจราจรพร้อม | วันศุกร์ที่ 5 มกราคม 2561
รมช.มท.เป็นประธานพิธีปิดศูนย์อํานวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2561 กําชับดําเนินมาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนตลอดทั้งปี เน้นสร้างจิตสํานึกและวินัยจราจรพร้อม
รมช.มท.เป็นประธานพิธีปิดศูนย์อํานวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2561 กําชับดําเนินมาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนตลอดทั้งปี เน้นสร้างจิตสํานึกและวินัยจราจรพร้อมประสานจังหวัดถอดบทเรียนระดับพื้นที่
วันนี้ 4 มกราคม 60 เวลา 10.30 น. ณ ห้องประชุม 1 อาคาร 3 ชั้น 5 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นายสุธี มากบุญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานพิธีปิดศูนย์อํานวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2561 พร้อมแถลงสรุปผลการดําเนินงานในช่วงระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2560 - 3 มกราคม 2561 ที่ผ่านมาของการรณรงค์ในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ภายใต้แนวคิด "ขับรถมีน้ําใจ รักษาวินัยจราจร" เพื่อดูแลความปลอดภัยและอํานวยความสะดวกในการเดินทางให้กับพี่น้องประชาชนใน ช่วงเทศกาลปีใหม่
นายสุธี มากบุญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะประธานสรุปผลการดําเนินงานของศูนย์ฯ เปิดเผยว่า รัฐบาลได้ให้ความสําคัญและมีเจตนารมณ์มุ่งหวังที่จะลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนน และได้มอบหมายให้ทุกฝ่ายเตรียมพร้อมในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลปีใหม่ และจากการดําเนินงานของศูนย์อํานวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) ซึ่งได้มีการบูรณาการการทํางานร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย ทั้งระดับจังหวัด อําเภอ และกรุงเทพมหานคร ตลอดจนเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทั้งภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่น ท้องที่ กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นําชุมชน ภาคีเครือข่าย มูลนิธิ อาสาสมัครต่างๆ รวมถึงภาคประชาสังคม โดยได้ดําเนินการตามแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนอย่างเข้มข้นและจริงจัง ซึ่งได้รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนนจากผลการดําเนินงานในช่วง 7 วัน (28 ธ.ค.60-3 ม.ค.61) เกิดอุบัติเหตุรวม 3,841 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตรวม 423 ราย มีผู้บาดเจ็บรวม 4,005 ราย จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต (ตายเป็นศูนย์) มี 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยนาท นครนายก นราธิวาส น่าน ยะลา ระนอง และหนองบัวลําภู จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี 139 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ นครราชสีมา 17 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ อุดรธานี 145 ราย สาเหตุที่ทําให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เมาสุรา ร้อยละ 43.66 ขับรถเร็วเกินกําหนด ร้อยละ 25.23 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 78.91 รถปิคอัพ ร้อยละ 6.84 ส่วนใหญ่เกิดอุบัติเหตุในเส้นทางตรง ร้อยละ 66.21 บนถนนทางหลวง ร้อยละ 40.54 ถนนในอบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 34.29 และช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01 - 20.01 น.ร้อยละ 28.22
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยได้กล่าวเพิ่มเติมว่าสําหรับภาพรวมสถิติในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2561 พบว่า จํานวนการเกิดอุบัติเหตุ ผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บ มีจํานวนลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันจากปีใหม่ที่ผ่านมา ในขณะที่การเดินทางของพี่น้องประชาชนเพิ่มมากขึ้น แสดงให้เห็นว่า มาตรการลดอุบัติเหตุทางถนนที่ภาครัฐกําหนด มีประสิทธิภาพ ทั้งการจัดตั้งจุดตรวจการเพิ่มความเข้มข้นของด่านชุมชนและการกวดขันวินัยจราจรรวมถึงความร่วมมือในการใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัยของพี่น้องประชาชน ทั้งนี้ รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนนโดยได้ให้ความสําคัญกับการสร้างความปลอดภัยทางถนนอย่างยั่งยืนโดยได้กําชับให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการสร้างความปลอดภัยในการดําเนินงาน อย่างจริงจังและต่อเนื่องเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการปัญหาอุบัติเหตุทางถนนและลดปัจจัยเสี่ยงที่ครอบคลุม ทั้ง คน รถ ถนนและสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ขับขี่ทางการเมาแล้วขับการขับรถเร็ว และการไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัยควบคู่กับการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังรวมทั้งเร่งสร้างวินัยจราจรและวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนในสังคมไทยภายใต้การประสานพลัง ประชารัฐเพื่อให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมขับเคลื่อนการสร้างการสัญจรอย่างปลอดภัย ทั้งนี้สพฐ. ขอขอบคุณหน่วยงานทุกภาคส่วนเครือข่ายอาสาสมัครกลุ่มจิตอาสาและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอํานวยความสะดวกและสร้างความปลอดภัยแก่พี่น้องประชาชนในการเดินทางด้วยความทุ่มเทเสียสละอันเป็นผลให้ภาพรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนนลดลง
ทั้งนี้ สําหรับการลดอุบัติเหตุทางถนนในระยะยาว ได้เน้นย้ําให้ทุกภาคส่วนได้ใช้กลไกของศูนย์อํานวยการความปลอดภัยทางถนนที่มีทั้งในระดับจังหวัด อําเภอ และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อร่วมดําเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อมุ่งลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนให้ครอบคลุมในทุกมิติ โดยมีการบูรณาการการทํางานร่วมกัน เน้นการใช้มาตรการทางด้านสังคมและชุมชนในการสร้างความปลอดภัยทางถนนในระดับพื้นที่/ชุมชน เพื่อเสริมสร้างกลไกการลดอุบัติเหตุทางถนนให้เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งเร่งรณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และความตระหนักให้เกิดจิตสํานึกด้านความปลอดภัยทางถนนเชิงรุกที่ครอบคลุมทุกช่องทางสื่อเพื่อร่วมกันสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนต่อไป.
ครั้งที่ 2/2561
กองสารนิเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
โทร 0-22224131-2 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมช.มท.เป็นประธานพิธีปิดศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2561 กำชับดำเนินมาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนตลอดทั้งปี เน้นสร้างจิตสำนึกและวินัยจราจรพร้อม
วันศุกร์ที่ 5 มกราคม 2561
รมช.มท.เป็นประธานพิธีปิดศูนย์อํานวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2561 กําชับดําเนินมาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนตลอดทั้งปี เน้นสร้างจิตสํานึกและวินัยจราจรพร้อม
รมช.มท.เป็นประธานพิธีปิดศูนย์อํานวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2561 กําชับดําเนินมาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนตลอดทั้งปี เน้นสร้างจิตสํานึกและวินัยจราจรพร้อมประสานจังหวัดถอดบทเรียนระดับพื้นที่
วันนี้ 4 มกราคม 60 เวลา 10.30 น. ณ ห้องประชุม 1 อาคาร 3 ชั้น 5 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นายสุธี มากบุญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานพิธีปิดศูนย์อํานวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2561 พร้อมแถลงสรุปผลการดําเนินงานในช่วงระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2560 - 3 มกราคม 2561 ที่ผ่านมาของการรณรงค์ในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ภายใต้แนวคิด "ขับรถมีน้ําใจ รักษาวินัยจราจร" เพื่อดูแลความปลอดภัยและอํานวยความสะดวกในการเดินทางให้กับพี่น้องประชาชนใน ช่วงเทศกาลปีใหม่
นายสุธี มากบุญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะประธานสรุปผลการดําเนินงานของศูนย์ฯ เปิดเผยว่า รัฐบาลได้ให้ความสําคัญและมีเจตนารมณ์มุ่งหวังที่จะลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนน และได้มอบหมายให้ทุกฝ่ายเตรียมพร้อมในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลปีใหม่ และจากการดําเนินงานของศูนย์อํานวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) ซึ่งได้มีการบูรณาการการทํางานร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย ทั้งระดับจังหวัด อําเภอ และกรุงเทพมหานคร ตลอดจนเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทั้งภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่น ท้องที่ กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นําชุมชน ภาคีเครือข่าย มูลนิธิ อาสาสมัครต่างๆ รวมถึงภาคประชาสังคม โดยได้ดําเนินการตามแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนอย่างเข้มข้นและจริงจัง ซึ่งได้รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนนจากผลการดําเนินงานในช่วง 7 วัน (28 ธ.ค.60-3 ม.ค.61) เกิดอุบัติเหตุรวม 3,841 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตรวม 423 ราย มีผู้บาดเจ็บรวม 4,005 ราย จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต (ตายเป็นศูนย์) มี 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยนาท นครนายก นราธิวาส น่าน ยะลา ระนอง และหนองบัวลําภู จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี 139 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ นครราชสีมา 17 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ อุดรธานี 145 ราย สาเหตุที่ทําให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เมาสุรา ร้อยละ 43.66 ขับรถเร็วเกินกําหนด ร้อยละ 25.23 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 78.91 รถปิคอัพ ร้อยละ 6.84 ส่วนใหญ่เกิดอุบัติเหตุในเส้นทางตรง ร้อยละ 66.21 บนถนนทางหลวง ร้อยละ 40.54 ถนนในอบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 34.29 และช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01 - 20.01 น.ร้อยละ 28.22
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยได้กล่าวเพิ่มเติมว่าสําหรับภาพรวมสถิติในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2561 พบว่า จํานวนการเกิดอุบัติเหตุ ผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บ มีจํานวนลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันจากปีใหม่ที่ผ่านมา ในขณะที่การเดินทางของพี่น้องประชาชนเพิ่มมากขึ้น แสดงให้เห็นว่า มาตรการลดอุบัติเหตุทางถนนที่ภาครัฐกําหนด มีประสิทธิภาพ ทั้งการจัดตั้งจุดตรวจการเพิ่มความเข้มข้นของด่านชุมชนและการกวดขันวินัยจราจรรวมถึงความร่วมมือในการใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัยของพี่น้องประชาชน ทั้งนี้ รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนนโดยได้ให้ความสําคัญกับการสร้างความปลอดภัยทางถนนอย่างยั่งยืนโดยได้กําชับให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการสร้างความปลอดภัยในการดําเนินงาน อย่างจริงจังและต่อเนื่องเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการปัญหาอุบัติเหตุทางถนนและลดปัจจัยเสี่ยงที่ครอบคลุม ทั้ง คน รถ ถนนและสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ขับขี่ทางการเมาแล้วขับการขับรถเร็ว และการไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัยควบคู่กับการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังรวมทั้งเร่งสร้างวินัยจราจรและวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนในสังคมไทยภายใต้การประสานพลัง ประชารัฐเพื่อให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมขับเคลื่อนการสร้างการสัญจรอย่างปลอดภัย ทั้งนี้สพฐ. ขอขอบคุณหน่วยงานทุกภาคส่วนเครือข่ายอาสาสมัครกลุ่มจิตอาสาและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอํานวยความสะดวกและสร้างความปลอดภัยแก่พี่น้องประชาชนในการเดินทางด้วยความทุ่มเทเสียสละอันเป็นผลให้ภาพรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนนลดลง
ทั้งนี้ สําหรับการลดอุบัติเหตุทางถนนในระยะยาว ได้เน้นย้ําให้ทุกภาคส่วนได้ใช้กลไกของศูนย์อํานวยการความปลอดภัยทางถนนที่มีทั้งในระดับจังหวัด อําเภอ และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อร่วมดําเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อมุ่งลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนให้ครอบคลุมในทุกมิติ โดยมีการบูรณาการการทํางานร่วมกัน เน้นการใช้มาตรการทางด้านสังคมและชุมชนในการสร้างความปลอดภัยทางถนนในระดับพื้นที่/ชุมชน เพื่อเสริมสร้างกลไกการลดอุบัติเหตุทางถนนให้เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งเร่งรณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และความตระหนักให้เกิดจิตสํานึกด้านความปลอดภัยทางถนนเชิงรุกที่ครอบคลุมทุกช่องทางสื่อเพื่อร่วมกันสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนต่อไป.
ครั้งที่ 2/2561
กองสารนิเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
โทร 0-22224131-2 | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/9189 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กิจกรรม Co-Design Workshop และนำเสนอแนวคิดพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ Co-design Supply chain | วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2560
กิจกรรม Co-Design Workshop และนําเสนอแนวคิดพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ Co-design Supply chain
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) สํานักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ จัดกิจกรรม Co-Design Workshop
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560 กระทรวงอุตสาหกรรม โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) สํานักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ จัดกิจกรรม Co-Design Workshop และนําเสนอแนวคิดพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ Co-design Supply chain ในกิจกรรมสร้างนักออกแบบ Innoneering Designers ยุคใหม่ ภายใต้โครงการยกระดับผลิตภัณฑ์ SMEs สู่ตลาดโลก (Global Reach) โดยมี ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อํานวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กล่าวต้อนรับ ณ ห้องแชมเบอร์ ชั้น B โรงแรม S31 สุขุมวิท 31
โดยกิจกรรมดังกล่าวได้มีการเชื่อมโยงตั้งแต่ต้นน้ํา กลางน้ํา ปลายน้ํา คือ ผู้ประกอบการ ผู้ผลิต นักออกแบบ เพื่อร่วมสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์รวมทั้งหมด 35 ราย ซึ่งได้มีการแบ่งกลุ่มนําเสนอแนวคิดผลิตภัณฑ์ต้นแบบเป็น 10 กลุ่ม จากนั้นจะพัฒนาเข้าสู่กระบวนการผลิตจริงและนําไปจัดแสดงผลงานในพื้นที่ค้าปลีกเพื่อทดสอบตลาด และเตรียมความพร้อมต่อยอดสู่การขายจริง | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กิจกรรม Co-Design Workshop และนำเสนอแนวคิดพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ Co-design Supply chain
วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2560
กิจกรรม Co-Design Workshop และนําเสนอแนวคิดพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ Co-design Supply chain
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) สํานักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ จัดกิจกรรม Co-Design Workshop
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560 กระทรวงอุตสาหกรรม โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) สํานักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ จัดกิจกรรม Co-Design Workshop และนําเสนอแนวคิดพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ Co-design Supply chain ในกิจกรรมสร้างนักออกแบบ Innoneering Designers ยุคใหม่ ภายใต้โครงการยกระดับผลิตภัณฑ์ SMEs สู่ตลาดโลก (Global Reach) โดยมี ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อํานวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กล่าวต้อนรับ ณ ห้องแชมเบอร์ ชั้น B โรงแรม S31 สุขุมวิท 31
โดยกิจกรรมดังกล่าวได้มีการเชื่อมโยงตั้งแต่ต้นน้ํา กลางน้ํา ปลายน้ํา คือ ผู้ประกอบการ ผู้ผลิต นักออกแบบ เพื่อร่วมสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์รวมทั้งหมด 35 ราย ซึ่งได้มีการแบ่งกลุ่มนําเสนอแนวคิดผลิตภัณฑ์ต้นแบบเป็น 10 กลุ่ม จากนั้นจะพัฒนาเข้าสู่กระบวนการผลิตจริงและนําไปจัดแสดงผลงานในพื้นที่ค้าปลีกเพื่อทดสอบตลาด และเตรียมความพร้อมต่อยอดสู่การขายจริง | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/1686 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สสว.พร้อมเป็นเจ้าภาพจัดงานตลาดคลองผดุงกรุงเกษม ภายใต้ชื่องาน “รวมสุดยอด สินค้าดี เอสเอ็มอีทั่วถิ่นไทย” ระหว่างวันที่ 6 -27 กันยายน 2560 ณ ตลาดคลองผดุงฯ ข้างทำเนียบรัฐบาล | วันอังคารที่ 5 กันยายน 2560
สสว.พร้อมเป็นเจ้าภาพจัดงานตลาดคลองผดุงกรุงเกษม ภายใต้ชื่องาน “รวมสุดยอด สินค้าดี เอสเอ็มอีทั่วถิ่นไทย” ระหว่างวันที่ 6 -27 กันยายน 2560 ณ ตลาดคลองผดุงฯ ข้างทําเนียบรัฐบาล
สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เป็นเจ้าภาพจัดงานตลาดคลองผดุงกรุงเกษม เพื่อเป็นพื้นที่ในการสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อยได้จําหน่ายสินค้ามีคุณภาพสู่ประชาชนในราคายุติธรรม
วันนี้ (5 กันยายน 2560) ณ ตึกนารีสโมสร ทําเนียบรัฐบาล นางสาวเรณู ตังคจิวางกูร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ในฐานะประธานกรรมการดําเนินโครงการตลาดคลองผดุงกรุงเกษม พร้อมด้วย นางสาลินี วังตาล ผู้อํานวยการสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) แถลงข่าวเปิดงานตลาดคลองผดุงกรุงเกษม ภายใต้ชื่องาน “รวมสุดยอด สินค้าดี เอสเอ็มอีทั่วถิ่นไทย” เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยว สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน และสร้างรายได้ให้กับประชาชน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 - 27 กันยายน 2560 เวลา10.00-19.00 น. ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์
โอกาสนี้ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง แถลงว่า ตลาดคลองผดุงกรุงเกษมเป็นตลาดที่เกิดจากสานพลังประชารัฐ ในการรวมพลังทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชนที่ร่วมมือ ร่วมใจกันเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงกัน เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในการบริหารจัดการตลาดให้เกิดประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน สร้างสายสัมพันธ์อันดีระหว่างคนในเมืองและคนชนบท เนื่องจากเป็นตลาดที่เปิดโอกาสให้คนกรุงเทพฯ และปริมณฑล ได้อุดหนุนสินค้าจากเกษตรกร วิสาหกิจชุมชนทั่วประเทศโดยตรงในราคายุติธรรม ถือเป็นการช่วยเหลือเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน พร้อมรวบรวมอรรถรสทุกด้านไว้ในที่เดียว ทั้งในเรื่องของการซื้อสินค้า การเสริมความรู้จากกิจกรรมต่าง ๆ ความสุขจากกิจกรรมดนตรีและการแสดง นับเป็นตลาดต้นแบบที่พร้อมขยายผลสู่ชุมชน
จากนั้น ผู้อํานวยการสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) แถลงเพิ่มเติมว่า ตามที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีดําริให้ดําเนินงานโครงการตลาดนัดสินค้าชุมชนข้างทําเนียบรัฐบาล ริมคลองผดุงกรุงเกษม ภายใต้ชื่อ “ตลาดคลองผดุงกรุงเกษม” เพื่อสร้างโอกาสให้เกษตรกร และผู้ประกอบการรายย่อยได้มีแหล่งจําหน่ายสินค้าเป็นตลาดต้นแบบที่ถือได้ว่าเป็นการขยายผลสู่ตลาดนัดชุมชน 4.0 โดยมุ่งหวังให้เป็นพื้นที่การสร้างรายได้ ให้แก่ผู้ประกอบการได้จําหน่ายสินค้าคุณภาพ สู่ผู้ปริโภคโดยตรงในราคายุติธรรม สร้างทางเลือกในการเข้าถึงบริการของภาครัฐและมีการบูรณาการหน่วยงานในการขับเคลื่อนโครงการฯ ซึ่งครั้งนี้ได้มอบหมายให้ สสว. มาเจ้าภาพในการจัดแสดงสินค้าและจําหน่ายสินค้า “รวมสุดยอด สินค้าดี เอสเอ็มอีทั่วถิ่นไทย” ในครั้งนี้ ด้วยความร่วมมือของสํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ ภายในงานได้มีการคัดสรรสินค้าคุณภาพดีจาก SME ทั่วประเทศที่ผ่านการบ่มเพราะ พัฒนาภายใต้โครงการต่าง ๆ ของ สสว. มาจําหน่าย อาทิ โครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (Start Up) โดยเน้นเกษตรกรและผู้ประกอบการสินค้ารายย่อย อาทิ โครงการ Strong & Regular level กลุ่มผู้ประกอบการและมีศักยภาพและสินค้าสอดคล้องกับความต้องการของตลาด / Turn around กลุ่มที่ได้รับการปรับแผนธุรกิจและเงินกู้ปลอดดอกเบี้ยเพื่อเสริมสภาพคล่องของธุรกิจ รวมทั้งสินค้าวิสาหกิจชุมชนต่าง ๆ จากทั่วประเทศที่จําหน่ายในร้านประชารัฐสุขใจ Shop ในสถานีบริการน้ํามัน ปตท. ทั่วประเทศเพื่อเปิดโอกาสทางการตลาดในการสร้างรายได้ สร้างอาชีพ เชื่อมโยงการตลาดจากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภคโดยตรง จํานวน 300 ร้านค้า ระหว่างวันที่ 6 -27 กันยายน 2560 โดยงานจะจัดเป็น 2 รอบรอบละ 11 วัน ครั้งละ 150 ร้านค้า ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่ม เครื่องสําอางและความงาม แฟชั่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ ของตกแต่งบ้าน ของใช้ และสินค้าเกษตร และยังมีสินค้าวิสาหกิจชุมชนในแต่ละท้องถิ่นมาจัดจําหน่ายในร้านประชารัฐสุขใจ Shop และพื้นที่พิเศษ คือตลาดร่วมใจ ช่วยภัยน้ําท่วม เพื่อให้ผู้เยี่ยมชมตลาดได้แบ่งปันน้ําใจโดยอุดหนุนสินค้าจากผู้ประสบอุทกภัย
นอกจากนี้ สสว. ยังได้จัดโซนสําหรับให้บริการแก่ SME คือศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร (OSS) เพื่อให้บริการคําปรึกษาและรับคําขอสินเชื่อเพื่อ SME ไม่เกิน 1 ล้านบาท และ Micro SME ไม่เกิน 200,000 บาท ปลอดดอกเบี้ย และเพื่อเป็นการช่วยขยายตลาด E Commerce ผู้ประกอบการสามารถนําผลิตภัณฑ์มา ณ พื้นที่สตูดิโอให้บริการถ่ายภาพสินค้าพร้อมนําขึ้นจําหน่ายบน E – Marketplace อีกทั้ง ภายในงาน บริษัท ห้องปฏิบัติการ (ประเทศไทย) จํากัด ให้บริการแจกคูปองตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการมูลค่า 5,000 บาท เพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้าจากแล็บประชารัฐ ให้สามารถแข่งขันตอบรับกับการเป็นอุตสาหกรรม Thailand 4.0 ของรัฐบาล
ตอนท้าย รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ได้กล่าวเชิญชวนพี่น้อง ประชาชนมาเที่ยว ชม ชิม ช้อป “รวมสุดยอด สินค้าดี เอสเอ็มอีทั่วถิ่นไทย” เพื่อร่วมสร้างกําลังใจและอุดหนุนสินค้าพี่น้องเกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อยมาจําหน่ายแก่ชาวกรุงเทพมหานครและปริมนฑล ระหว่างวันที่ 6 – 27 กันยายน 2560 เวลา 10.00-19.00 น. ณ ตลาดคลองผดุงกรุงเกษม ข้างทําเนียบรัฐบาล
..............................................................
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สสว.พร้อมเป็นเจ้าภาพจัดงานตลาดคลองผดุงกรุงเกษม ภายใต้ชื่องาน “รวมสุดยอด สินค้าดี เอสเอ็มอีทั่วถิ่นไทย” ระหว่างวันที่ 6 -27 กันยายน 2560 ณ ตลาดคลองผดุงฯ ข้างทำเนียบรัฐบาล
วันอังคารที่ 5 กันยายน 2560
สสว.พร้อมเป็นเจ้าภาพจัดงานตลาดคลองผดุงกรุงเกษม ภายใต้ชื่องาน “รวมสุดยอด สินค้าดี เอสเอ็มอีทั่วถิ่นไทย” ระหว่างวันที่ 6 -27 กันยายน 2560 ณ ตลาดคลองผดุงฯ ข้างทําเนียบรัฐบาล
สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เป็นเจ้าภาพจัดงานตลาดคลองผดุงกรุงเกษม เพื่อเป็นพื้นที่ในการสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อยได้จําหน่ายสินค้ามีคุณภาพสู่ประชาชนในราคายุติธรรม
วันนี้ (5 กันยายน 2560) ณ ตึกนารีสโมสร ทําเนียบรัฐบาล นางสาวเรณู ตังคจิวางกูร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ในฐานะประธานกรรมการดําเนินโครงการตลาดคลองผดุงกรุงเกษม พร้อมด้วย นางสาลินี วังตาล ผู้อํานวยการสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) แถลงข่าวเปิดงานตลาดคลองผดุงกรุงเกษม ภายใต้ชื่องาน “รวมสุดยอด สินค้าดี เอสเอ็มอีทั่วถิ่นไทย” เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยว สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน และสร้างรายได้ให้กับประชาชน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 - 27 กันยายน 2560 เวลา10.00-19.00 น. ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์
โอกาสนี้ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง แถลงว่า ตลาดคลองผดุงกรุงเกษมเป็นตลาดที่เกิดจากสานพลังประชารัฐ ในการรวมพลังทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชนที่ร่วมมือ ร่วมใจกันเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงกัน เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในการบริหารจัดการตลาดให้เกิดประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน สร้างสายสัมพันธ์อันดีระหว่างคนในเมืองและคนชนบท เนื่องจากเป็นตลาดที่เปิดโอกาสให้คนกรุงเทพฯ และปริมณฑล ได้อุดหนุนสินค้าจากเกษตรกร วิสาหกิจชุมชนทั่วประเทศโดยตรงในราคายุติธรรม ถือเป็นการช่วยเหลือเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน พร้อมรวบรวมอรรถรสทุกด้านไว้ในที่เดียว ทั้งในเรื่องของการซื้อสินค้า การเสริมความรู้จากกิจกรรมต่าง ๆ ความสุขจากกิจกรรมดนตรีและการแสดง นับเป็นตลาดต้นแบบที่พร้อมขยายผลสู่ชุมชน
จากนั้น ผู้อํานวยการสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) แถลงเพิ่มเติมว่า ตามที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีดําริให้ดําเนินงานโครงการตลาดนัดสินค้าชุมชนข้างทําเนียบรัฐบาล ริมคลองผดุงกรุงเกษม ภายใต้ชื่อ “ตลาดคลองผดุงกรุงเกษม” เพื่อสร้างโอกาสให้เกษตรกร และผู้ประกอบการรายย่อยได้มีแหล่งจําหน่ายสินค้าเป็นตลาดต้นแบบที่ถือได้ว่าเป็นการขยายผลสู่ตลาดนัดชุมชน 4.0 โดยมุ่งหวังให้เป็นพื้นที่การสร้างรายได้ ให้แก่ผู้ประกอบการได้จําหน่ายสินค้าคุณภาพ สู่ผู้ปริโภคโดยตรงในราคายุติธรรม สร้างทางเลือกในการเข้าถึงบริการของภาครัฐและมีการบูรณาการหน่วยงานในการขับเคลื่อนโครงการฯ ซึ่งครั้งนี้ได้มอบหมายให้ สสว. มาเจ้าภาพในการจัดแสดงสินค้าและจําหน่ายสินค้า “รวมสุดยอด สินค้าดี เอสเอ็มอีทั่วถิ่นไทย” ในครั้งนี้ ด้วยความร่วมมือของสํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ ภายในงานได้มีการคัดสรรสินค้าคุณภาพดีจาก SME ทั่วประเทศที่ผ่านการบ่มเพราะ พัฒนาภายใต้โครงการต่าง ๆ ของ สสว. มาจําหน่าย อาทิ โครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (Start Up) โดยเน้นเกษตรกรและผู้ประกอบการสินค้ารายย่อย อาทิ โครงการ Strong & Regular level กลุ่มผู้ประกอบการและมีศักยภาพและสินค้าสอดคล้องกับความต้องการของตลาด / Turn around กลุ่มที่ได้รับการปรับแผนธุรกิจและเงินกู้ปลอดดอกเบี้ยเพื่อเสริมสภาพคล่องของธุรกิจ รวมทั้งสินค้าวิสาหกิจชุมชนต่าง ๆ จากทั่วประเทศที่จําหน่ายในร้านประชารัฐสุขใจ Shop ในสถานีบริการน้ํามัน ปตท. ทั่วประเทศเพื่อเปิดโอกาสทางการตลาดในการสร้างรายได้ สร้างอาชีพ เชื่อมโยงการตลาดจากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภคโดยตรง จํานวน 300 ร้านค้า ระหว่างวันที่ 6 -27 กันยายน 2560 โดยงานจะจัดเป็น 2 รอบรอบละ 11 วัน ครั้งละ 150 ร้านค้า ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่ม เครื่องสําอางและความงาม แฟชั่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ ของตกแต่งบ้าน ของใช้ และสินค้าเกษตร และยังมีสินค้าวิสาหกิจชุมชนในแต่ละท้องถิ่นมาจัดจําหน่ายในร้านประชารัฐสุขใจ Shop และพื้นที่พิเศษ คือตลาดร่วมใจ ช่วยภัยน้ําท่วม เพื่อให้ผู้เยี่ยมชมตลาดได้แบ่งปันน้ําใจโดยอุดหนุนสินค้าจากผู้ประสบอุทกภัย
นอกจากนี้ สสว. ยังได้จัดโซนสําหรับให้บริการแก่ SME คือศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร (OSS) เพื่อให้บริการคําปรึกษาและรับคําขอสินเชื่อเพื่อ SME ไม่เกิน 1 ล้านบาท และ Micro SME ไม่เกิน 200,000 บาท ปลอดดอกเบี้ย และเพื่อเป็นการช่วยขยายตลาด E Commerce ผู้ประกอบการสามารถนําผลิตภัณฑ์มา ณ พื้นที่สตูดิโอให้บริการถ่ายภาพสินค้าพร้อมนําขึ้นจําหน่ายบน E – Marketplace อีกทั้ง ภายในงาน บริษัท ห้องปฏิบัติการ (ประเทศไทย) จํากัด ให้บริการแจกคูปองตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการมูลค่า 5,000 บาท เพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้าจากแล็บประชารัฐ ให้สามารถแข่งขันตอบรับกับการเป็นอุตสาหกรรม Thailand 4.0 ของรัฐบาล
ตอนท้าย รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ได้กล่าวเชิญชวนพี่น้อง ประชาชนมาเที่ยว ชม ชิม ช้อป “รวมสุดยอด สินค้าดี เอสเอ็มอีทั่วถิ่นไทย” เพื่อร่วมสร้างกําลังใจและอุดหนุนสินค้าพี่น้องเกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อยมาจําหน่ายแก่ชาวกรุงเทพมหานครและปริมนฑล ระหว่างวันที่ 6 – 27 กันยายน 2560 เวลา 10.00-19.00 น. ณ ตลาดคลองผดุงกรุงเกษม ข้างทําเนียบรัฐบาล
..............................................................
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/6441 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คณะนักธุรกิจจีนกว่า 400 รายเยือนไทย บีโอไอเตรียมจัดสัมมนาแจงนโยบายและโอกาสการลงทุน | วันพุธที่ 22 สิงหาคม 2561
คณะนักธุรกิจจีนกว่า 400 รายเยือนไทย บีโอไอเตรียมจัดสัมมนาแจงนโยบายและโอกาสการลงทุน
บีโอไอเตรียมงานใหญ่ในโอกาสมนตรีแห่งรัฐ สาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมคณะนักธุรกิจกว่า 400 รายเยือนไทย โดยมีรองนายกฯ สมคิด และหน่วยงานภาครัฐไทย ร่วมสร้างความมั่นใจการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0
นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่าวันที่ 24 สิงหาคม 2561 นี้ บีโอไอ จะร่วมกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ กระทรวงพาณิชย์ สํานักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(สกพอ.)และองค์กรส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (China Council for The Promotion of International Trade) หรือ CCPIT จัดงานสัมมนาใหญ่ เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและการลงทุนระหว่างไทย-จีน ในหัวข้อ “Thailand - China Business Forum 2018: Comprehensive Strategic Partnership through the Belt and Road Initiative and the EEC” ในโอกาสที่ นายหวัง หย่ง มนตรีแห่งรัฐ สาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารจากหน่วยงานราชการของจีน มีกําหนดเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 6 พร้อมทั้งนําคณะนักธุรกิจจีน จํานวนกว่า 400 ราย จากหลายสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมาย อาทิ โครงสร้างพื้นฐาน เศรษฐกิจดิจิทัล ยานยนต์ และพลังงาน เป็นต้น ทั้งรายใหญ่และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เดินทางมาศึกษาลู่ทางด้านการค้าและการลงทุนในประเทศไทยด้วย
การสัมมนาในช่วงเช้าจะเป็นเวทีในการกระชับความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจการลงทุนระหว่างไทย-จีน ซึ่งเน้นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการขับเคลื่อนประเทศตามนโยบาย “ประเทศไทย 4.0” การปรับปรุงสภาพแวดล้อมการลงทุน โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ และมาตรการสิทธิประโยชน์การลงทุน โดยมีการกล่าวปาฐกถาพิเศษจากนายหวัง หย่ง มนตรีแห่งรัฐ สาธารณรัฐประชาชนจีน และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งการบรรยายของรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจและผู้บริหารระดับสูงจากรัฐบาลไทย
นอกจากนี้ บีโอไอยังจัดให้มีเวทีเสวนาโดยเชิญนักลงทุนจีนที่ได้มาลงทุนในประเทศไทยแล้ว ร่วมให้ข้อมูลและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการลงทุนในไทย ให้แก่นักลงทุนจีนที่สนใจลงทุนโดยเฉพาะการลงทุนในพื้นที่อีอีซี
สําหรับในช่วงบ่าย กระทรวงพาณิชย์จะจัดให้มีการจับคู่ธุรกิจระหว่างภาคเอกชนไทย-จีน รวมถึงพิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) เพื่อความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ระหว่างหน่วยงานของไทยและจีน อาทิ บีโอไอ กับ CCPIT และสํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) กับ หน่วยงานดูแลและพัฒนาโครงการอวกาศของจีน (China National Space Administration: CNSA) เป็นต้น
“การจัดงานสัมมนาครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งงานใหญ่ของประเทศ โดยเป็นโอกาสอันดีในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายทางเศรษฐกิจที่สําคัญของรัฐบาลและสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนของไทย รวมทั้งเพื่อตอกย้ําความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนจากประเทศจีน ซึ่งเป็นนักลงทุนกลุ่มเป้าหมายให้เห็นถึงศักยภาพของประเทศไทยในการเป็นแหล่งรองรับการลงทุน และเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมที่สําคัญของภูมิภาค” นางสาวดวงใจ กล่าว
จีนเป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมายสําคัญในการชักจูงการลงทุน โดยบีโอไอ มีสํานักงานเศรษฐกิจการลงทุนประจําใน 3 เมืองใหญ่ ได้แก่ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และกวางโจว ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การลงทุนของจีนได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และมีบริษัทจีนจํานวนมากที่เป็นเป้าหมายในการชักจูงการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ของรัฐบาล หากพิจารณาจากสถิติการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในช่วงหกเดือนแรกของปีนี้ จีนเป็นนักลงทุนจากต่างประเทศในไทยอันดับห้า
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คณะนักธุรกิจจีนกว่า 400 รายเยือนไทย บีโอไอเตรียมจัดสัมมนาแจงนโยบายและโอกาสการลงทุน
วันพุธที่ 22 สิงหาคม 2561
คณะนักธุรกิจจีนกว่า 400 รายเยือนไทย บีโอไอเตรียมจัดสัมมนาแจงนโยบายและโอกาสการลงทุน
บีโอไอเตรียมงานใหญ่ในโอกาสมนตรีแห่งรัฐ สาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมคณะนักธุรกิจกว่า 400 รายเยือนไทย โดยมีรองนายกฯ สมคิด และหน่วยงานภาครัฐไทย ร่วมสร้างความมั่นใจการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0
นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่าวันที่ 24 สิงหาคม 2561 นี้ บีโอไอ จะร่วมกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ กระทรวงพาณิชย์ สํานักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(สกพอ.)และองค์กรส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (China Council for The Promotion of International Trade) หรือ CCPIT จัดงานสัมมนาใหญ่ เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและการลงทุนระหว่างไทย-จีน ในหัวข้อ “Thailand - China Business Forum 2018: Comprehensive Strategic Partnership through the Belt and Road Initiative and the EEC” ในโอกาสที่ นายหวัง หย่ง มนตรีแห่งรัฐ สาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารจากหน่วยงานราชการของจีน มีกําหนดเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 6 พร้อมทั้งนําคณะนักธุรกิจจีน จํานวนกว่า 400 ราย จากหลายสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมาย อาทิ โครงสร้างพื้นฐาน เศรษฐกิจดิจิทัล ยานยนต์ และพลังงาน เป็นต้น ทั้งรายใหญ่และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เดินทางมาศึกษาลู่ทางด้านการค้าและการลงทุนในประเทศไทยด้วย
การสัมมนาในช่วงเช้าจะเป็นเวทีในการกระชับความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจการลงทุนระหว่างไทย-จีน ซึ่งเน้นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการขับเคลื่อนประเทศตามนโยบาย “ประเทศไทย 4.0” การปรับปรุงสภาพแวดล้อมการลงทุน โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ และมาตรการสิทธิประโยชน์การลงทุน โดยมีการกล่าวปาฐกถาพิเศษจากนายหวัง หย่ง มนตรีแห่งรัฐ สาธารณรัฐประชาชนจีน และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งการบรรยายของรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจและผู้บริหารระดับสูงจากรัฐบาลไทย
นอกจากนี้ บีโอไอยังจัดให้มีเวทีเสวนาโดยเชิญนักลงทุนจีนที่ได้มาลงทุนในประเทศไทยแล้ว ร่วมให้ข้อมูลและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการลงทุนในไทย ให้แก่นักลงทุนจีนที่สนใจลงทุนโดยเฉพาะการลงทุนในพื้นที่อีอีซี
สําหรับในช่วงบ่าย กระทรวงพาณิชย์จะจัดให้มีการจับคู่ธุรกิจระหว่างภาคเอกชนไทย-จีน รวมถึงพิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) เพื่อความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ระหว่างหน่วยงานของไทยและจีน อาทิ บีโอไอ กับ CCPIT และสํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) กับ หน่วยงานดูแลและพัฒนาโครงการอวกาศของจีน (China National Space Administration: CNSA) เป็นต้น
“การจัดงานสัมมนาครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งงานใหญ่ของประเทศ โดยเป็นโอกาสอันดีในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายทางเศรษฐกิจที่สําคัญของรัฐบาลและสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนของไทย รวมทั้งเพื่อตอกย้ําความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนจากประเทศจีน ซึ่งเป็นนักลงทุนกลุ่มเป้าหมายให้เห็นถึงศักยภาพของประเทศไทยในการเป็นแหล่งรองรับการลงทุน และเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมที่สําคัญของภูมิภาค” นางสาวดวงใจ กล่าว
จีนเป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมายสําคัญในการชักจูงการลงทุน โดยบีโอไอ มีสํานักงานเศรษฐกิจการลงทุนประจําใน 3 เมืองใหญ่ ได้แก่ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และกวางโจว ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การลงทุนของจีนได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และมีบริษัทจีนจํานวนมากที่เป็นเป้าหมายในการชักจูงการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ของรัฐบาล หากพิจารณาจากสถิติการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในช่วงหกเดือนแรกของปีนี้ จีนเป็นนักลงทุนจากต่างประเทศในไทยอันดับห้า
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/14811 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรุงไทยจัดเต็ม “สินเชื่อ SME โปรดี บัญชีเดียว” ดอกเบี้ยเริ่มต้นที่ 3% ต่อปี | วันอังคารที่ 21 มกราคม 2563
กรุงไทยจัดเต็ม “สินเชื่อ SME โปรดี บัญชีเดียว” ดอกเบี้ยเริ่มต้นที่ 3% ต่อปี
ธ.กรุงไทยสนับสนุนมาตรการบัญชีเดียวของกรมสรรพากร ออกผลิตภัณฑ์ “สินเชื่อ SME โปรดี บัญชีเดียว” ให้สินเชื่อพิเศษกับผู้ประกอบการ SME ที่จัดทําบัญชีชุดเดียว และผ่านเกณฑ์พิจารณาตามกรมสรรพากรกําหนด ดอกเบี้ยเริ่มต้นที่ 3% ต่อปี วงเงินกู้สูงสุดรายละ 20 ลบ.
ธนาคารกรุงไทยสนับสนุนมาตรการบัญชีเดียวของกรมสรรพากร ออกผลิตภัณฑ์ “สินเชื่อ SME โปรดี บัญชีเดียว” ให้สินเชื่อพิเศษกับผู้ประกอบการ SME ที่จัดทําบัญชีชุดเดียว และผ่านเกณฑ์การพิจารณาตามที่กรมสรรพากรกําหนด ด้วยดอกเบี้ยเริ่มต้นที่ 3% ต่อปี วงเงินกู้สูงสุดรายละ 20 ล้านบาท ยื่นขอสินเชื่อได้ถึง 30 ธันวาคม 2563
นายวีระพงศ์ ศุภเศรษฐ์ศักดิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจขนาดกลาง ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ธนาคารให้ความร่วมมือกับกรมสรรพากรอย่างเต็มที่ ในการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SME จัดทําบัญชีให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ โดยได้ออกผลิตภัณฑ์ “สินเชื่อ SME โปรดี บัญชีเดียว” สําหรับผู้ประกอบการ SME จํานวนกว่า 24,000 ราย ที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาของกรมสรรพากร ซึ่งได้ลงทะเบียนยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มฯ และได้ปรับปรุงงบการเงินแบบ ภงด. 50 และแบบอื่นๆ ให้ถูกต้องสะท้อนภาพที่แท้จริงของกิจการ โดยผู้ประกอบการที่มียอดขายตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไป จะได้รับวงเงินสินเชื่อพิเศษรายละไม่เกิน 20 ล้านบาท ด้วยอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นเพียง 3% ต่อปี และยังสามารถเลือกใช้ บสย. ค้ําประกันได้ โดยฟรีค่าธรรมเนียมค้ําประกัน บสย. ใน 2 ปีแรก
นอกจากนี้ สําหรับผู้ประกอบการ SME ที่มีความประสงค์ใช้งบสรรพากรในการพิจารณาสินเชื่อ ธนาคารยังมีผลิตภัณฑ์ “สินเชื่อกรุงไทย SME บัญชีเดียว” อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 4% ต่อปี โดยสามารถกู้ได้สูงสุด 3 เท่าของหลักประกัน ผ่อนนานสูงสุด 7 ปี ฟรีค่าธรรมเนียม บสย. ค้ําประกัน 4 ปีแรก และสินเชื่อ SME อีก 10 ประเภท ให้เลือกใช้ตามความต้องการที่หลากหลายของธุรกิจ ในอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 4% ต่อปีเช่นเดียวกัน ภายใต้แคมเปญ “กรุงไทย SME เคียงข้างธุรกิจคุณ”
ธนาคารกรุงไทย พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการ SME ซึ่งเป็นกลไกสําคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน รวมทั้งเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินให้เติบโตอย่างมั่นคง ผู้ประกอบการที่สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ Krungthai Call Center 02-111-1111 ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา สํานักงานธุรกิจทั่วประเทศ หรือกรอกข้อมูลเพื่อให้ธนาคารติดต่อกลับที่เว็บไซต์ www.ktb.co.th
ฝ่ายกลยุทธ์การตลาด
โทร. 02 208 4174-7 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรุงไทยจัดเต็ม “สินเชื่อ SME โปรดี บัญชีเดียว” ดอกเบี้ยเริ่มต้นที่ 3% ต่อปี
วันอังคารที่ 21 มกราคม 2563
กรุงไทยจัดเต็ม “สินเชื่อ SME โปรดี บัญชีเดียว” ดอกเบี้ยเริ่มต้นที่ 3% ต่อปี
ธ.กรุงไทยสนับสนุนมาตรการบัญชีเดียวของกรมสรรพากร ออกผลิตภัณฑ์ “สินเชื่อ SME โปรดี บัญชีเดียว” ให้สินเชื่อพิเศษกับผู้ประกอบการ SME ที่จัดทําบัญชีชุดเดียว และผ่านเกณฑ์พิจารณาตามกรมสรรพากรกําหนด ดอกเบี้ยเริ่มต้นที่ 3% ต่อปี วงเงินกู้สูงสุดรายละ 20 ลบ.
ธนาคารกรุงไทยสนับสนุนมาตรการบัญชีเดียวของกรมสรรพากร ออกผลิตภัณฑ์ “สินเชื่อ SME โปรดี บัญชีเดียว” ให้สินเชื่อพิเศษกับผู้ประกอบการ SME ที่จัดทําบัญชีชุดเดียว และผ่านเกณฑ์การพิจารณาตามที่กรมสรรพากรกําหนด ด้วยดอกเบี้ยเริ่มต้นที่ 3% ต่อปี วงเงินกู้สูงสุดรายละ 20 ล้านบาท ยื่นขอสินเชื่อได้ถึง 30 ธันวาคม 2563
นายวีระพงศ์ ศุภเศรษฐ์ศักดิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจขนาดกลาง ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ธนาคารให้ความร่วมมือกับกรมสรรพากรอย่างเต็มที่ ในการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SME จัดทําบัญชีให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ โดยได้ออกผลิตภัณฑ์ “สินเชื่อ SME โปรดี บัญชีเดียว” สําหรับผู้ประกอบการ SME จํานวนกว่า 24,000 ราย ที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาของกรมสรรพากร ซึ่งได้ลงทะเบียนยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มฯ และได้ปรับปรุงงบการเงินแบบ ภงด. 50 และแบบอื่นๆ ให้ถูกต้องสะท้อนภาพที่แท้จริงของกิจการ โดยผู้ประกอบการที่มียอดขายตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไป จะได้รับวงเงินสินเชื่อพิเศษรายละไม่เกิน 20 ล้านบาท ด้วยอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นเพียง 3% ต่อปี และยังสามารถเลือกใช้ บสย. ค้ําประกันได้ โดยฟรีค่าธรรมเนียมค้ําประกัน บสย. ใน 2 ปีแรก
นอกจากนี้ สําหรับผู้ประกอบการ SME ที่มีความประสงค์ใช้งบสรรพากรในการพิจารณาสินเชื่อ ธนาคารยังมีผลิตภัณฑ์ “สินเชื่อกรุงไทย SME บัญชีเดียว” อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 4% ต่อปี โดยสามารถกู้ได้สูงสุด 3 เท่าของหลักประกัน ผ่อนนานสูงสุด 7 ปี ฟรีค่าธรรมเนียม บสย. ค้ําประกัน 4 ปีแรก และสินเชื่อ SME อีก 10 ประเภท ให้เลือกใช้ตามความต้องการที่หลากหลายของธุรกิจ ในอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 4% ต่อปีเช่นเดียวกัน ภายใต้แคมเปญ “กรุงไทย SME เคียงข้างธุรกิจคุณ”
ธนาคารกรุงไทย พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการ SME ซึ่งเป็นกลไกสําคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน รวมทั้งเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินให้เติบโตอย่างมั่นคง ผู้ประกอบการที่สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ Krungthai Call Center 02-111-1111 ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา สํานักงานธุรกิจทั่วประเทศ หรือกรอกข้อมูลเพื่อให้ธนาคารติดต่อกลับที่เว็บไซต์ www.ktb.co.th
ฝ่ายกลยุทธ์การตลาด
โทร. 02 208 4174-7 | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/25959 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนายกฯ วิษณุ เป็นประธานกิจกรรมอาสาพัฒนาปรับภูมิทัศน์ ทำความสะอาดบริเวณเส้นทางรถไฟ ถวายพระราชกุศลและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสวรรคต รัชกาลที่ 5 | วันพุธที่ 23 ตุลาคม 2562
รองนายกฯ วิษณุ เป็นประธานกิจกรรมอาสาพัฒนาปรับภูมิทัศน์ ทําความสะอาดบริเวณเส้นทางรถไฟ ถวายพระราชกุศลและน้อมรําลึกในพระมหากรุณาธิคุณเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสวรรคต รัชกาลที่ 5
รองนายกฯ วิษณุ เป็นประธานกิจกรรมอาสาพัฒนาปรับภูมิทัศน์ ทําความสะอาดบริเวณเส้นทางรถไฟ ถวายพระราชกุศลและน้อมรําลึกในพระมหากรุณาธิคุณเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
วันนี้ (23 ตุลาคม 2562) เวลา 10.30 น. ณ บริเวณสถานีรถไฟหัวลําโพง กรุงเทพมหานคร นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกิจกรรมอาสาพัฒนาปรับภูมิทัศน์ ทําความสะอาดบริเวณเส้นทางรถไฟ ถวายพระราชกุศลและน้อมรําลึกในพระมหากรุณาธิคุณเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย คณะรัฐมนตรีและคู่สมรส ผู้บริหารศูนย์อํานวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน 904 วปร. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและภริยา หัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวงและเทียบเท่า ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประทศไทย หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชนจิตอาสาเราทําความดีด้วยหัวใจและประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
โอกาสนี้ รองนายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความสํานึก ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณความว่า
ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ผู้แทนนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรี ข้าราชการทุกหมู่เหล่า และประชาชนจิตอาสาที่พร้อมใจกันมาร่วมชุมนุม ณ บริเวณพื้นที่การจัดกิจกรรมจิตอาสาในวันนี้
นับแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ปวงพสกนิกรใต้ร่มพระบารมี ต่างประจักษ์ชัดแจ้งในพระเกียรติคุณ พระราชกรณียกิจนานัปการที่ได้ทรงปฏิบัติบําเพ็ญ เพื่อประโยชน์อย่างอเนกอนันต์แก่ประเทศชาติ ทรงวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคง สู่ความทันสมัย ทัดเทียมนานาอารยประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทรงนํานวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามาปรับใช้ในการพัฒนาประเทศในทุกด้าน ทั้งกิจการไปรษณีย์ โทรเลข การไฟฟ้า การประปา ตลอดจน ทรงมีสายพระเนตรอันกว้างไกล ทรงเล็งเห็นว่าระบบการขนส่งทางรางจะมีคุณูปการต่อการขนส่งภายในประเทศในอนาคต จึงมีพระราชดําริให้สร้างทางรถไฟขึ้น ก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าแก่กิจการรถไฟและบังเกิดคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและพสกนิกรจวบจนปัจจุบัน
ในวาระนี้ รัฐบาลขอน้อมนําแนวทางจิตอาสาพระราชทาน “โครงการจิตอาสาพระราชทาน 904 วปร.” มาเพื่อจัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาปรับภูมิทัศน์ ทําความสะอาดบริเวณเส้นทางรถไฟ เพื่อให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าได้มีส่วนร่วมในการบําเพ็ญสาธารณประโยชน์ และสร้างจิตสํานึกในการดูแลรักษาพื้นที่บริเวณเส้นทางรถไฟ เพื่อถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงมีคุณูปการต่อกิจการรถไฟไทย ด้วยสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้นี้ ปวงข้าพระพุทธเจ้า ขอพระราชทานถวายพระพรชัยมงคล ขออัญเชิญคุณพระศรีรัตนตรัย และอํานาจสรรพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากล โปรดอภิบาลประทานพรให้ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ทรงพระเจริญด้วยจตุรพิธพรชัย ทรงพระเกษมสําราญ พระเกียรติคุณแผ่ไพศาลไปทั่วทุกทิศานุทิศ
สถิตเป็นมิ่งขวัญปกเกล้าเหล่าพสกนิกรชาวไทยตราบกาลนาน เทอญ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
จากนั้น รองนายกรัฐมนตรี ทํากิจกรรมอาสาทาสีรั้วและเยี่ยมชมการจัดระเบียบสายสื่อสารและสายไฟฟ้าบริเวณหน้าสถานี บวงสรวงอนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวง จากนั้น ทํากิจกรรมทําความสะอาดตู้รถไฟบริเวณชานชาลาก่อนเดินทางกลับ
--------------------------
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนายกฯ วิษณุ เป็นประธานกิจกรรมอาสาพัฒนาปรับภูมิทัศน์ ทำความสะอาดบริเวณเส้นทางรถไฟ ถวายพระราชกุศลและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสวรรคต รัชกาลที่ 5
วันพุธที่ 23 ตุลาคม 2562
รองนายกฯ วิษณุ เป็นประธานกิจกรรมอาสาพัฒนาปรับภูมิทัศน์ ทําความสะอาดบริเวณเส้นทางรถไฟ ถวายพระราชกุศลและน้อมรําลึกในพระมหากรุณาธิคุณเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสวรรคต รัชกาลที่ 5
รองนายกฯ วิษณุ เป็นประธานกิจกรรมอาสาพัฒนาปรับภูมิทัศน์ ทําความสะอาดบริเวณเส้นทางรถไฟ ถวายพระราชกุศลและน้อมรําลึกในพระมหากรุณาธิคุณเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
วันนี้ (23 ตุลาคม 2562) เวลา 10.30 น. ณ บริเวณสถานีรถไฟหัวลําโพง กรุงเทพมหานคร นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกิจกรรมอาสาพัฒนาปรับภูมิทัศน์ ทําความสะอาดบริเวณเส้นทางรถไฟ ถวายพระราชกุศลและน้อมรําลึกในพระมหากรุณาธิคุณเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย คณะรัฐมนตรีและคู่สมรส ผู้บริหารศูนย์อํานวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน 904 วปร. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและภริยา หัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวงและเทียบเท่า ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประทศไทย หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชนจิตอาสาเราทําความดีด้วยหัวใจและประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
โอกาสนี้ รองนายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความสํานึก ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณความว่า
ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ผู้แทนนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรี ข้าราชการทุกหมู่เหล่า และประชาชนจิตอาสาที่พร้อมใจกันมาร่วมชุมนุม ณ บริเวณพื้นที่การจัดกิจกรรมจิตอาสาในวันนี้
นับแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ปวงพสกนิกรใต้ร่มพระบารมี ต่างประจักษ์ชัดแจ้งในพระเกียรติคุณ พระราชกรณียกิจนานัปการที่ได้ทรงปฏิบัติบําเพ็ญ เพื่อประโยชน์อย่างอเนกอนันต์แก่ประเทศชาติ ทรงวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคง สู่ความทันสมัย ทัดเทียมนานาอารยประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทรงนํานวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามาปรับใช้ในการพัฒนาประเทศในทุกด้าน ทั้งกิจการไปรษณีย์ โทรเลข การไฟฟ้า การประปา ตลอดจน ทรงมีสายพระเนตรอันกว้างไกล ทรงเล็งเห็นว่าระบบการขนส่งทางรางจะมีคุณูปการต่อการขนส่งภายในประเทศในอนาคต จึงมีพระราชดําริให้สร้างทางรถไฟขึ้น ก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าแก่กิจการรถไฟและบังเกิดคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและพสกนิกรจวบจนปัจจุบัน
ในวาระนี้ รัฐบาลขอน้อมนําแนวทางจิตอาสาพระราชทาน “โครงการจิตอาสาพระราชทาน 904 วปร.” มาเพื่อจัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาปรับภูมิทัศน์ ทําความสะอาดบริเวณเส้นทางรถไฟ เพื่อให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าได้มีส่วนร่วมในการบําเพ็ญสาธารณประโยชน์ และสร้างจิตสํานึกในการดูแลรักษาพื้นที่บริเวณเส้นทางรถไฟ เพื่อถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงมีคุณูปการต่อกิจการรถไฟไทย ด้วยสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้นี้ ปวงข้าพระพุทธเจ้า ขอพระราชทานถวายพระพรชัยมงคล ขออัญเชิญคุณพระศรีรัตนตรัย และอํานาจสรรพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากล โปรดอภิบาลประทานพรให้ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ทรงพระเจริญด้วยจตุรพิธพรชัย ทรงพระเกษมสําราญ พระเกียรติคุณแผ่ไพศาลไปทั่วทุกทิศานุทิศ
สถิตเป็นมิ่งขวัญปกเกล้าเหล่าพสกนิกรชาวไทยตราบกาลนาน เทอญ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
จากนั้น รองนายกรัฐมนตรี ทํากิจกรรมอาสาทาสีรั้วและเยี่ยมชมการจัดระเบียบสายสื่อสารและสายไฟฟ้าบริเวณหน้าสถานี บวงสรวงอนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวง จากนั้น ทํากิจกรรมทําความสะอาดตู้รถไฟบริเวณชานชาลาก่อนเดินทางกลับ
--------------------------
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/24007 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองปลัดฯ ภานุวัฒน์ รับฟังเสียงสะท้อนของ SMEs ภาคอุตสาหกรรมสนับสนุนซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส Covid-19 [กระทรวงอุตสาหกรรม] | วันพุธที่ 29 เมษายน 2563
รองปลัดฯ ภานุวัฒน์ รับฟังเสียงสะท้อนของ SMEs ภาคอุตสาหกรรมสนับสนุนซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส Covid-19 [กระทรวงอุตสาหกรรม]
รองปลัดฯ ภานุวัฒน์ รับฟังเสียงสะท้อนของ SMEs ภาคอุตสาหกรรมสนับสนุนซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส Covid-19
วันที่ 28 เมษายน 2563 นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้นายเกียรติศักดิ์ จิระขจรวงศ์ นายกสมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย หรือ ไทยซับคอน พร้อมคณะกรรมการบริหารสมาคม เข้าพบ ณ ห้องประชุม อก. 2 ชั้น 3 อาคารสํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม สมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย เป็นองค์กรที่เกิดจากการรวมกลุ่มของผู้ผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมสนับสนุนของไทย มีจํานวนสมาชิกมากกว่า 500 บริษัท แต่เนื่องจากการระบาดของไวรัส Covid-19 ทําให้สมาชิกได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการหยุดคําสั่งซื้อ ยกเลิกการผลิต ต้องแบกรับภาระค่าแรงงาน โดยที่ยังไม่ปลดคนงาน ทําให้เกิดภาวะเงินสดขาดสภาพคล่องรุนแรงถึงขั้นไม่มีรายรับเลย แต่ทั้งนี้สมาชิกได้พยายามปรับตัวเพื่อต่อสู้วิกฤตนี้ โดยขอความเห็นใจจากภาครัฐเร่งพิจารณามาตรการช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ เพื่อต่อลมหายใจให้ภาคอุตสาหกรรมสนับสนุน โดยเฉพาะบริษัทผู้ผลิต SMEs สามารถประคับประคองกิจการตนเองอยู่ได้จนกว่าการระบาดของไวรัส Covid-19 ผ่านพ้นไป โดยภายหลังการหารือ รองปลัดฯ ภานุวัฒน์ ได้เสนอแนะให้สมาคมจัดทํารายละเอียดประเด็นปัญหา และยื่นข้อเสนอต่าง ๆ มายังกระทรวงอุตสาหกรรมต่อไป | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองปลัดฯ ภานุวัฒน์ รับฟังเสียงสะท้อนของ SMEs ภาคอุตสาหกรรมสนับสนุนซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส Covid-19 [กระทรวงอุตสาหกรรม]
วันพุธที่ 29 เมษายน 2563
รองปลัดฯ ภานุวัฒน์ รับฟังเสียงสะท้อนของ SMEs ภาคอุตสาหกรรมสนับสนุนซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส Covid-19 [กระทรวงอุตสาหกรรม]
รองปลัดฯ ภานุวัฒน์ รับฟังเสียงสะท้อนของ SMEs ภาคอุตสาหกรรมสนับสนุนซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส Covid-19
วันที่ 28 เมษายน 2563 นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้นายเกียรติศักดิ์ จิระขจรวงศ์ นายกสมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย หรือ ไทยซับคอน พร้อมคณะกรรมการบริหารสมาคม เข้าพบ ณ ห้องประชุม อก. 2 ชั้น 3 อาคารสํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม สมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย เป็นองค์กรที่เกิดจากการรวมกลุ่มของผู้ผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมสนับสนุนของไทย มีจํานวนสมาชิกมากกว่า 500 บริษัท แต่เนื่องจากการระบาดของไวรัส Covid-19 ทําให้สมาชิกได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการหยุดคําสั่งซื้อ ยกเลิกการผลิต ต้องแบกรับภาระค่าแรงงาน โดยที่ยังไม่ปลดคนงาน ทําให้เกิดภาวะเงินสดขาดสภาพคล่องรุนแรงถึงขั้นไม่มีรายรับเลย แต่ทั้งนี้สมาชิกได้พยายามปรับตัวเพื่อต่อสู้วิกฤตนี้ โดยขอความเห็นใจจากภาครัฐเร่งพิจารณามาตรการช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ เพื่อต่อลมหายใจให้ภาคอุตสาหกรรมสนับสนุน โดยเฉพาะบริษัทผู้ผลิต SMEs สามารถประคับประคองกิจการตนเองอยู่ได้จนกว่าการระบาดของไวรัส Covid-19 ผ่านพ้นไป โดยภายหลังการหารือ รองปลัดฯ ภานุวัฒน์ ได้เสนอแนะให้สมาคมจัดทํารายละเอียดประเด็นปัญหา และยื่นข้อเสนอต่าง ๆ มายังกระทรวงอุตสาหกรรมต่อไป | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/29970 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 8 มิถุนายน 2563 | วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน 2563
รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจําวันที่ 8 มิถุนายน 2563
สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยวันนี้ มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 7 ราย เป็นคนไทยที่เดินทางกลับจากต่างประเทศและเข้ารับการเฝ้าระวังในสถานที่รัฐจัดให้ (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 4 ราย, ปากีสถาน 2 ราย, สหรัฐอเมริกา 1 ราย) มีผู้ป่วยกลับบ้านได้
รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19)
ประจําวันที่8 มิถุนายน 2563
สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยวันนี้ มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 7 ราย เป็นคนไทยที่เดินทางกลับจากต่างประเทศและเข้ารับการเฝ้าระวังในสถานที่รัฐจัดให้ (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 4 ราย, ปากีสถาน 2 ราย, สหรัฐอเมริกา 1 ราย) มีผู้ป่วยกลับบ้านได้ 1 ราย ยอดผู้ป่วยกลับบ้านสะสม 2,973 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 95.32 ของผู้ป่วยทั้งหมด มีผู้ป่วยที่ยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 88 ราย หรือร้อยละ 2.82 ของผู้ป่วยทั้งหมด ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม รวมผู้เสียชีวิตสะสม 58 ราย ผู้ป่วยสะสมทั้งสิ้น 3,119 ราย
สถานการณ์ผู้ติดเชื้อในประเทศไทยในช่วง 14 วัน ที่ผ่านมา พบผู้ติดเชื้อรายใหม่จํานวน 77 ราย ซึ่งทุกราย (100%) เป็นคนไทยที่เดินทางกลับจากต่างประเทศและตรวจพบขณะรับการกักตัวในสถานที่รัฐจัดให้ อย่างไรก็ตามการไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อในประเทศไม่ได้สรุปว่าจะไม่มีผู้ติดเชื้อปะปนอยู่ในชุมชน เนื่องจากในระยะหลังมีการค้นพบผู้ที่ไม่แสดงอาการป่วย เช่น ไข้ ไอ เจ็บคอ อาการระบบทางเดินหายใจ เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการป้องกันตนเองยังเป็นสิ่งสําคัญและต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การสวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า เว้นระยะห่าง หมั่นล้างมือ ไม่สวมเฟซชิลด์โดยไม่สวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า หลีกเลี่ยงการนํามือมาสัมผัสใบหน้า ตา จมูก ปาก
นอกจากนี้ การรวมกลุ่ม หรือจัดกิจกรรมที่มีคนรวมตัวกันจํานวนมาก ยังมีความเสี่ยงที่อาจเกิดการแพร่เชื้อระหว่างกันได้ จึงขอความร่วมมือจากเจ้าของกิจการ ผู้ให้บริการอาคารสถานที่ พิจารณาความเหมาะสมของกิจกรรมที่จะจัดขึ้น เพื่อความปลอดภัยของทุกคนและปฏิบัติตามมาตรการหลัก 5 ข้อ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโควิด 19 อย่างเคร่งครัด ได้แก่ 1. ทําความสะอาดพื้นที่ จุดที่มีผู้สัมผัสบ่อยๆ และกําจัดขยะมูลฝอยทุกวัน 2. ให้ผู้ประกอบการ พนักงานบริการ ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า 3. จัดให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่/แอลกอฮอล์เจล/น้ํายาฆ่าเชื้อโรค 4. บริหารจัดการพื้นที่ให้เว้นระยะห่างระหว่างโต๊ะ/ที่นั่ง/การเดิน อย่างน้อย 1 เมตร 5. ควบคุมจํานวนผู้ใช้บริการไม่ให้แออัด
***************************
****************************** 8 มิถุนายน 2563 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 8 มิถุนายน 2563
วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน 2563
รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจําวันที่ 8 มิถุนายน 2563
สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยวันนี้ มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 7 ราย เป็นคนไทยที่เดินทางกลับจากต่างประเทศและเข้ารับการเฝ้าระวังในสถานที่รัฐจัดให้ (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 4 ราย, ปากีสถาน 2 ราย, สหรัฐอเมริกา 1 ราย) มีผู้ป่วยกลับบ้านได้
รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19)
ประจําวันที่8 มิถุนายน 2563
สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยวันนี้ มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 7 ราย เป็นคนไทยที่เดินทางกลับจากต่างประเทศและเข้ารับการเฝ้าระวังในสถานที่รัฐจัดให้ (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 4 ราย, ปากีสถาน 2 ราย, สหรัฐอเมริกา 1 ราย) มีผู้ป่วยกลับบ้านได้ 1 ราย ยอดผู้ป่วยกลับบ้านสะสม 2,973 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 95.32 ของผู้ป่วยทั้งหมด มีผู้ป่วยที่ยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 88 ราย หรือร้อยละ 2.82 ของผู้ป่วยทั้งหมด ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม รวมผู้เสียชีวิตสะสม 58 ราย ผู้ป่วยสะสมทั้งสิ้น 3,119 ราย
สถานการณ์ผู้ติดเชื้อในประเทศไทยในช่วง 14 วัน ที่ผ่านมา พบผู้ติดเชื้อรายใหม่จํานวน 77 ราย ซึ่งทุกราย (100%) เป็นคนไทยที่เดินทางกลับจากต่างประเทศและตรวจพบขณะรับการกักตัวในสถานที่รัฐจัดให้ อย่างไรก็ตามการไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อในประเทศไม่ได้สรุปว่าจะไม่มีผู้ติดเชื้อปะปนอยู่ในชุมชน เนื่องจากในระยะหลังมีการค้นพบผู้ที่ไม่แสดงอาการป่วย เช่น ไข้ ไอ เจ็บคอ อาการระบบทางเดินหายใจ เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการป้องกันตนเองยังเป็นสิ่งสําคัญและต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การสวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า เว้นระยะห่าง หมั่นล้างมือ ไม่สวมเฟซชิลด์โดยไม่สวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า หลีกเลี่ยงการนํามือมาสัมผัสใบหน้า ตา จมูก ปาก
นอกจากนี้ การรวมกลุ่ม หรือจัดกิจกรรมที่มีคนรวมตัวกันจํานวนมาก ยังมีความเสี่ยงที่อาจเกิดการแพร่เชื้อระหว่างกันได้ จึงขอความร่วมมือจากเจ้าของกิจการ ผู้ให้บริการอาคารสถานที่ พิจารณาความเหมาะสมของกิจกรรมที่จะจัดขึ้น เพื่อความปลอดภัยของทุกคนและปฏิบัติตามมาตรการหลัก 5 ข้อ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโควิด 19 อย่างเคร่งครัด ได้แก่ 1. ทําความสะอาดพื้นที่ จุดที่มีผู้สัมผัสบ่อยๆ และกําจัดขยะมูลฝอยทุกวัน 2. ให้ผู้ประกอบการ พนักงานบริการ ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า 3. จัดให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่/แอลกอฮอล์เจล/น้ํายาฆ่าเชื้อโรค 4. บริหารจัดการพื้นที่ให้เว้นระยะห่างระหว่างโต๊ะ/ที่นั่ง/การเดิน อย่างน้อย 1 เมตร 5. ควบคุมจํานวนผู้ใช้บริการไม่ให้แออัด
***************************
****************************** 8 มิถุนายน 2563 | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/32063 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม นำทีมข้าราชการและเจ้าหน้าที่ บริการอาหาร ณ จุดบริการประชาชนของรัฐบาลโดยกระทรวงอุตสาหกรรม | วันพุธที่ 4 มกราคม 2560
ผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม นําทีมข้าราชการและเจ้าหน้าที่ บริการอาหาร ณ จุดบริการประชาชนของรัฐบาลโดยกระทรวงอุตสาหกรรม
ผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม นําทีมข้าราชการและเจ้าหน้าที่ บริการอาหาร ณ จุดบริการประชาชนของรัฐบาลโดยกระทรวงอุตสาหกรรม
รัฐบาลโดยกระทรวงอุตสาหกรรม จัดจุดให้บริการอํานวยความสะดวกแก่ประชาชนบริเวณท้องสนามหลวง จุดบริการที่ 6 หน้าโรงละครแห่งชาติ รอบที่ 1 (07.30 น.) วันที่ 2 มกราคม 2560 นําทีมโดย นายสุธน นิคมเขต ผู้อํานวยการกองตรวจการมาตรฐาน 2 นายธนะ อัลภาชน์ ผู้อํานวยการศูนย์สารสนเทศและการสื่อสาร นายวิโรจน์ โรจน์วัฒนชัย ผู้อํานวยการสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย นางกรวิกา อมรโชติ หัวหน้าสํานักผู้อํานวยการ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และ เจ้าหน้าที่สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย บริการอาหารและเครื่องดื่ม แจกจ่ายแก่ทหาร ตํารวจ เจ้าหน้าที่ อาสาสมัคร เจ้าหน้าที่ขนส่งมวลชน และประชาชนที่มาร่วมถวายพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยหน่วยงานหลัก คือ สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยอํานวยการ | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม นำทีมข้าราชการและเจ้าหน้าที่ บริการอาหาร ณ จุดบริการประชาชนของรัฐบาลโดยกระทรวงอุตสาหกรรม
วันพุธที่ 4 มกราคม 2560
ผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม นําทีมข้าราชการและเจ้าหน้าที่ บริการอาหาร ณ จุดบริการประชาชนของรัฐบาลโดยกระทรวงอุตสาหกรรม
ผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม นําทีมข้าราชการและเจ้าหน้าที่ บริการอาหาร ณ จุดบริการประชาชนของรัฐบาลโดยกระทรวงอุตสาหกรรม
รัฐบาลโดยกระทรวงอุตสาหกรรม จัดจุดให้บริการอํานวยความสะดวกแก่ประชาชนบริเวณท้องสนามหลวง จุดบริการที่ 6 หน้าโรงละครแห่งชาติ รอบที่ 1 (07.30 น.) วันที่ 2 มกราคม 2560 นําทีมโดย นายสุธน นิคมเขต ผู้อํานวยการกองตรวจการมาตรฐาน 2 นายธนะ อัลภาชน์ ผู้อํานวยการศูนย์สารสนเทศและการสื่อสาร นายวิโรจน์ โรจน์วัฒนชัย ผู้อํานวยการสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย นางกรวิกา อมรโชติ หัวหน้าสํานักผู้อํานวยการ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และ เจ้าหน้าที่สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย บริการอาหารและเครื่องดื่ม แจกจ่ายแก่ทหาร ตํารวจ เจ้าหน้าที่ อาสาสมัคร เจ้าหน้าที่ขนส่งมวลชน และประชาชนที่มาร่วมถวายพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยหน่วยงานหลัก คือ สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยอํานวยการ | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/1182 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-EDU Digital 2019 ภาคใต้ | วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม 2562
EDU Digital 2019 ภาคใต้
สพฐ.ขับเคลื่อนการศึกษาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ภายใต้ชื่อ EDU Digital 2019 ภาคใต้ เพื่อเตรียมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา รับมือกับความก้าวหน้าเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งแนวทางบริหารจัดการศึกษาและการเรียนรู้รูปแบบใหม่
สพฐ.ขับเคลื่อนการศึกษาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ภายใต้ชื่อEDU Digital 2019ภาคใต้ เพื่อเตรียมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา รับมือกับความก้าวหน้าเทคโนโลยีดิจิทัลทั้งแนวทางบริหารจัดการศึกษาและการเรียนรู้รูปแบบใหม่ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล "Thailand 4.0"เพื่อพลังที่จะนําเทคโนโลยีไปลดทอนความเหลื่อมล้ํา และยกระดับคุณภาพทางการศึกษาให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
วันนี้ (9มีนาคม2562) พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการ "EDUDigital 2019" การขับเคลื่อนการศึกษาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ภาคใต้ณ โรงแรมบรรจงบุรี อําเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยมีครูและบุคลากรทางการศึกษาเข้าร่วมงานกว่า500 คน
พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุลกล่าวในพิธีเปิดตอนหนึ่งว่า เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจําวันของเรามากยิ่งขึ้น อุปกรณ์นวัตกรรมที่ทันสมัยมีราคาสูงขึ้นตามลําดับ เราจึงควรใช้เทคโนโลยีดิจิทัลนั้น ๆ ให้คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป เช่นSmartphoneนอกจากจะใช้เป็นมือถือเพื่อโทรติดต่อหรือส่งข้อความแล้ว ยังมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่หลากหลาย เช่น นาฬิกาปลุก อุปกรณ์นําทาง การทําธุรกรรมทางการเงินผ่านมือถือ (Mobile Banking) ฯลฯ นอกจากนี้ ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง คํานึงถึงฐานะทางเศรษฐกิจภายในครอบครัว รวมทั้งปัญหาภัยคุกคามต่าง ๆที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานด้วย
รัฐบาลปัจจุบันได้นําเทคโนโลยีและดิจิทัล มาเป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศพร้อมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งความรู้อย่างเสมอภาคและทั่วถึง ตลอดจนร่วมสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีและ Social Media อย่างสร้างสรรค์ โดยได้กําหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ20ปีข้อที่ 3"ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์" โดยปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21, การใช้ Digital Platform ในการเรียนรู้อย่างมีคุณธรรม ทั้งยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติข้อที่ 6"ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ" ที่จะมีการนํานวัตกรรม เทคโนโลยี ข้อมูลขนาดใหญ่ มาประยุกต์ใช้ให้เชื่อมโยงกับการจัดการศึกษาอย่างสมดุล
ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)ได้นําเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการศึกษาในช่วงระยะเวลา4ปีกว่าที่ผ่านมา โดยรมช.ศธ.(พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์)ได้มีนโยบายให้นําระบบDLTVมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพในโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศ และDLITในโรงเรียนขนาดกลาง เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ําทางการศึกษา หรือการพัฒนาแอพพลิเคชั่นEcho Englishซึ่งถือเป็นนโยบายสําคัญที่รมว.ศธ.(นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์)ต้องการให้ประชาชน นักเรียนนักศึกษาสามารถใช้แอพดังกล่าวเพื่อเรียนรู้ทักษะภาษาอังกฤษ ผ่านมือถือได้ฟรีทุกที่ทุกเวลา
สําหรับการจัดงานEDUDigital 2019ภาคใต้ในครั้งนี้เป็นงานสําคัญที่ ศธ.ต้องการให้ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน ก้าวทันต่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา จึงได้จัดงานดังกล่าวใน6ภาค ซึ่งภาคใต้เป็นครั้งสุดท้ายในการจัดงานภายใต้EDUDigital2019โดยคาดหวังที่จะให้มีการนําเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าสู่ห้องเรียน พร้อมทั้งให้กลุ่มเป้าหมายทั้ง2ระดับ คือกลุ่มผู้บริหารทั้งส่วนกลางและภูมิภาคได้รับรู้ความก้าวหน้าและตามทันเทคโนโลยี สามารถเลือกเทคโนโลยี แอพพลิเคชั่น ข้อมูลต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนตัดสินใจในการบริหารจัดการหน่วยงานได้ส่วนกลุ่มครูผู้สอนเพื่อนําไปใช้ในการเรียนการสอนในห้องเรียนตามความเหมาะสม เช่นSmart Classroomรวมทั้งการให้ความรู้แก่นักเรียนในการรู้เท่าทันสื่อ หรือการแชร์ข้อมูลข่าวสารผ่านSocial Mediaซึ่งจะเห็นได้ว่าปัจจุบันมีกรณี "ประชาทัณฑ์โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ" อยู่หลายครั้ง เพราะบางครั้งเราอาจจะใส่ความรู้สึกหรือกระหน่ําความคิดเห็นมากจนเกินไป
พล.อ.สุทัศน์ กล่าวด้วยว่า หวังว่าการจัดงานครั้งนี้จะช่วยทําให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีส่วนสําคัญทําให้ประเทศไทยก้าวไปสู่ประเทศไทย4.0ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม ซึ่งจะช่วยนําพาประเทศและสังคมไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ต่อไป
นายสมเกียรติ สรรคพงษ์ ผอ.สํานักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สพฐ.กล่าวถึงการจัดงานครั้งนี้ว่าสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดการประชุมวิชาการการขับเคลื่อนการศึกษาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล “EDU Digital 2019” โดยเริ่มต้นในภาคใต้ชายแดน ซึ่งมีเสียงตอบรับที่ดีมากจากประชาชนที่เข้าร่วมงาน จึงได้ขยายการจัดงานให้ครบ 6 ภาค เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาทั่วประเทศ มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีในการบูรณาการจัดการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลาย ที่สําคัญเป็นการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อรับมือความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรได้มีแนวทางการบริหารจัดการศึกษาและการเรียนรู้รูปแบบใหม่ ตอบสนองความต้องการในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลกําลังเปลี่ยนแปลงอนาคต
โดยกําหนดกรอบหัวข้อหลักสูตรการประชุมที่สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการเร่งสร้างการรับรู้ให้ประชาชนตระหนักถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี การบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลในห้องเรียน และวางแผนดําเนินงานภายใต้นโยบายThailand 4.0และเกิดเครือข่ายในการนําเทคโนโลยีไปลดทอนความเหลื่อมล้ํา และยกระดับคุณภาพทางการศึกษาให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
สําหรับการจัดงานภาคใต้ที่สุราษฎร์ธานีจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-10 มีนาคม2562ณ โรงแรมบรรจงบุรี จ.สุราษฎร์ธานีโดยสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) เขต11มีครูและผู้บริหารโรงเรียนเข้าร่วมกว่า500คนถือเป็นการรวมพลังครั้งยิ่งใหญ่ของการนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการจัดการศึกษา เป็นการพัฒนาบุคลากรด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เตรียมความพร้อมเพื่อจัดการเรียนรู้รูปแบบใหม่ รองรับการเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของภาคใต้มีเนื้อหาการประชุมที่น่าสนใจ เช่น กระบวนการสร้างนวัตกรรมแบบ Google เพื่อพัฒนาการศึกษา, Digi Classroom ชั้นเรียนอัจฉริยะ, วิทยาการคํานวณกับจุดเริ่มต้นสู่การเปลี่ยนแปลง, ห้องเรียน 4.0 สอนให้เป็น เน้นให้คิด ผลิตนวัตกรรมด้วย Digital Technology, การป้องกันตัวให้ปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสวนา 5 กลุ่มที่น่าสนใจ คือ ทะลายความเหลื่อมล้ําและเปิดโลกการเรียนรู้สู่โลกกว้างด้วยโลกเสมือนจริง (AR & VR), เพิ่มทักษะการคิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหาอย่างมีระบบ, เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้, การเรียนรู้ในห้องเรียนแห่งอนาคต และการบูรณาการศาสตร์วิชาเพื่อเสริมทักษะที่จําเป็นสําหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
นายสมชาย รองเหลือ ผอ.สพม.เขต11กล่าวเพิ่มเติมถึงการจัดงานEDU Digital 2019ภาคใต้ ว่า สพม.เขต11ได้นําข้อสั่งการมาสู่การปฏิบัติได้อย่างครบถ้วน ทั้งการนําเสนอผลงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของโรงเรียน ครู และนักเรียน มานําเสนอเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีตัวอย่างของการนําไปใช้และต่อยอด จนไปถึงผลงานที่ต้องใช้ทักษะขั้นสูงที่จะต้องนําความรู้เกี่ยวกับSTEMมาผสมผสานเป็นผลงานและองค์ความรู้ที่อยู่ในงานEDU Digital 2019นี้เกือบทั้งหมดเกิดขึ้นจากความคิดและการสร้างสรรค์โดยบุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการ
ซึ่งในพิธีเปิดครั้งนี้มีผู้บริหารเข้าร่วมจํานวนมาก เช่น นางแจ่มจิตร์ พูลสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม, ศึกษาธิการจังหวัด, ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา, ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนจากจังหวัดต่าง ๆ ในภาคใต้ ตลอดจนคณะวิทยากรชั้นนําจากภาครัฐและเอกชน
Written byบัลลังก์ โรหิตเสถียร
Photo Creditปกรณ์ เรืองยิ่ง, อธิชนม์ สลางสิงห์
Rewriter/Editorบัลลังก์ โรหิตเสถียร | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-EDU Digital 2019 ภาคใต้
วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม 2562
EDU Digital 2019 ภาคใต้
สพฐ.ขับเคลื่อนการศึกษาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ภายใต้ชื่อ EDU Digital 2019 ภาคใต้ เพื่อเตรียมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา รับมือกับความก้าวหน้าเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งแนวทางบริหารจัดการศึกษาและการเรียนรู้รูปแบบใหม่
สพฐ.ขับเคลื่อนการศึกษาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ภายใต้ชื่อEDU Digital 2019ภาคใต้ เพื่อเตรียมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา รับมือกับความก้าวหน้าเทคโนโลยีดิจิทัลทั้งแนวทางบริหารจัดการศึกษาและการเรียนรู้รูปแบบใหม่ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล "Thailand 4.0"เพื่อพลังที่จะนําเทคโนโลยีไปลดทอนความเหลื่อมล้ํา และยกระดับคุณภาพทางการศึกษาให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
วันนี้ (9มีนาคม2562) พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการ "EDUDigital 2019" การขับเคลื่อนการศึกษาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ภาคใต้ณ โรงแรมบรรจงบุรี อําเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยมีครูและบุคลากรทางการศึกษาเข้าร่วมงานกว่า500 คน
พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุลกล่าวในพิธีเปิดตอนหนึ่งว่า เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจําวันของเรามากยิ่งขึ้น อุปกรณ์นวัตกรรมที่ทันสมัยมีราคาสูงขึ้นตามลําดับ เราจึงควรใช้เทคโนโลยีดิจิทัลนั้น ๆ ให้คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป เช่นSmartphoneนอกจากจะใช้เป็นมือถือเพื่อโทรติดต่อหรือส่งข้อความแล้ว ยังมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่หลากหลาย เช่น นาฬิกาปลุก อุปกรณ์นําทาง การทําธุรกรรมทางการเงินผ่านมือถือ (Mobile Banking) ฯลฯ นอกจากนี้ ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง คํานึงถึงฐานะทางเศรษฐกิจภายในครอบครัว รวมทั้งปัญหาภัยคุกคามต่าง ๆที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานด้วย
รัฐบาลปัจจุบันได้นําเทคโนโลยีและดิจิทัล มาเป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศพร้อมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งความรู้อย่างเสมอภาคและทั่วถึง ตลอดจนร่วมสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีและ Social Media อย่างสร้างสรรค์ โดยได้กําหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ20ปีข้อที่ 3"ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์" โดยปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21, การใช้ Digital Platform ในการเรียนรู้อย่างมีคุณธรรม ทั้งยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติข้อที่ 6"ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ" ที่จะมีการนํานวัตกรรม เทคโนโลยี ข้อมูลขนาดใหญ่ มาประยุกต์ใช้ให้เชื่อมโยงกับการจัดการศึกษาอย่างสมดุล
ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)ได้นําเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการศึกษาในช่วงระยะเวลา4ปีกว่าที่ผ่านมา โดยรมช.ศธ.(พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์)ได้มีนโยบายให้นําระบบDLTVมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพในโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศ และDLITในโรงเรียนขนาดกลาง เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ําทางการศึกษา หรือการพัฒนาแอพพลิเคชั่นEcho Englishซึ่งถือเป็นนโยบายสําคัญที่รมว.ศธ.(นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์)ต้องการให้ประชาชน นักเรียนนักศึกษาสามารถใช้แอพดังกล่าวเพื่อเรียนรู้ทักษะภาษาอังกฤษ ผ่านมือถือได้ฟรีทุกที่ทุกเวลา
สําหรับการจัดงานEDUDigital 2019ภาคใต้ในครั้งนี้เป็นงานสําคัญที่ ศธ.ต้องการให้ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน ก้าวทันต่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา จึงได้จัดงานดังกล่าวใน6ภาค ซึ่งภาคใต้เป็นครั้งสุดท้ายในการจัดงานภายใต้EDUDigital2019โดยคาดหวังที่จะให้มีการนําเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าสู่ห้องเรียน พร้อมทั้งให้กลุ่มเป้าหมายทั้ง2ระดับ คือกลุ่มผู้บริหารทั้งส่วนกลางและภูมิภาคได้รับรู้ความก้าวหน้าและตามทันเทคโนโลยี สามารถเลือกเทคโนโลยี แอพพลิเคชั่น ข้อมูลต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนตัดสินใจในการบริหารจัดการหน่วยงานได้ส่วนกลุ่มครูผู้สอนเพื่อนําไปใช้ในการเรียนการสอนในห้องเรียนตามความเหมาะสม เช่นSmart Classroomรวมทั้งการให้ความรู้แก่นักเรียนในการรู้เท่าทันสื่อ หรือการแชร์ข้อมูลข่าวสารผ่านSocial Mediaซึ่งจะเห็นได้ว่าปัจจุบันมีกรณี "ประชาทัณฑ์โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ" อยู่หลายครั้ง เพราะบางครั้งเราอาจจะใส่ความรู้สึกหรือกระหน่ําความคิดเห็นมากจนเกินไป
พล.อ.สุทัศน์ กล่าวด้วยว่า หวังว่าการจัดงานครั้งนี้จะช่วยทําให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีส่วนสําคัญทําให้ประเทศไทยก้าวไปสู่ประเทศไทย4.0ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม ซึ่งจะช่วยนําพาประเทศและสังคมไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ต่อไป
นายสมเกียรติ สรรคพงษ์ ผอ.สํานักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สพฐ.กล่าวถึงการจัดงานครั้งนี้ว่าสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดการประชุมวิชาการการขับเคลื่อนการศึกษาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล “EDU Digital 2019” โดยเริ่มต้นในภาคใต้ชายแดน ซึ่งมีเสียงตอบรับที่ดีมากจากประชาชนที่เข้าร่วมงาน จึงได้ขยายการจัดงานให้ครบ 6 ภาค เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาทั่วประเทศ มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีในการบูรณาการจัดการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลาย ที่สําคัญเป็นการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อรับมือความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรได้มีแนวทางการบริหารจัดการศึกษาและการเรียนรู้รูปแบบใหม่ ตอบสนองความต้องการในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลกําลังเปลี่ยนแปลงอนาคต
โดยกําหนดกรอบหัวข้อหลักสูตรการประชุมที่สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการเร่งสร้างการรับรู้ให้ประชาชนตระหนักถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี การบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลในห้องเรียน และวางแผนดําเนินงานภายใต้นโยบายThailand 4.0และเกิดเครือข่ายในการนําเทคโนโลยีไปลดทอนความเหลื่อมล้ํา และยกระดับคุณภาพทางการศึกษาให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
สําหรับการจัดงานภาคใต้ที่สุราษฎร์ธานีจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-10 มีนาคม2562ณ โรงแรมบรรจงบุรี จ.สุราษฎร์ธานีโดยสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) เขต11มีครูและผู้บริหารโรงเรียนเข้าร่วมกว่า500คนถือเป็นการรวมพลังครั้งยิ่งใหญ่ของการนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการจัดการศึกษา เป็นการพัฒนาบุคลากรด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เตรียมความพร้อมเพื่อจัดการเรียนรู้รูปแบบใหม่ รองรับการเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของภาคใต้มีเนื้อหาการประชุมที่น่าสนใจ เช่น กระบวนการสร้างนวัตกรรมแบบ Google เพื่อพัฒนาการศึกษา, Digi Classroom ชั้นเรียนอัจฉริยะ, วิทยาการคํานวณกับจุดเริ่มต้นสู่การเปลี่ยนแปลง, ห้องเรียน 4.0 สอนให้เป็น เน้นให้คิด ผลิตนวัตกรรมด้วย Digital Technology, การป้องกันตัวให้ปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสวนา 5 กลุ่มที่น่าสนใจ คือ ทะลายความเหลื่อมล้ําและเปิดโลกการเรียนรู้สู่โลกกว้างด้วยโลกเสมือนจริง (AR & VR), เพิ่มทักษะการคิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหาอย่างมีระบบ, เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้, การเรียนรู้ในห้องเรียนแห่งอนาคต และการบูรณาการศาสตร์วิชาเพื่อเสริมทักษะที่จําเป็นสําหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
นายสมชาย รองเหลือ ผอ.สพม.เขต11กล่าวเพิ่มเติมถึงการจัดงานEDU Digital 2019ภาคใต้ ว่า สพม.เขต11ได้นําข้อสั่งการมาสู่การปฏิบัติได้อย่างครบถ้วน ทั้งการนําเสนอผลงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของโรงเรียน ครู และนักเรียน มานําเสนอเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีตัวอย่างของการนําไปใช้และต่อยอด จนไปถึงผลงานที่ต้องใช้ทักษะขั้นสูงที่จะต้องนําความรู้เกี่ยวกับSTEMมาผสมผสานเป็นผลงานและองค์ความรู้ที่อยู่ในงานEDU Digital 2019นี้เกือบทั้งหมดเกิดขึ้นจากความคิดและการสร้างสรรค์โดยบุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการ
ซึ่งในพิธีเปิดครั้งนี้มีผู้บริหารเข้าร่วมจํานวนมาก เช่น นางแจ่มจิตร์ พูลสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม, ศึกษาธิการจังหวัด, ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา, ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนจากจังหวัดต่าง ๆ ในภาคใต้ ตลอดจนคณะวิทยากรชั้นนําจากภาครัฐและเอกชน
Written byบัลลังก์ โรหิตเสถียร
Photo Creditปกรณ์ เรืองยิ่ง, อธิชนม์ สลางสิงห์
Rewriter/Editorบัลลังก์ โรหิตเสถียร | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/19248 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลผลักดันโครงการตลาดต้องชม ครบ 76 จังหวัดและ กทม. บางแห่งสร้างรายได้ถึง 5 แสนบาทต่อวัน เน้นชูเอกลักษณ์ชุมชนส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ตั้งเป้าผุดตลาดชม ชิม ช้อป 231 แห่งทั่วประเทศ | วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน 2559
รัฐบาลผลักดันโครงการตลาดต้องชม ครบ 76 จังหวัดและ กทม. บางแห่งสร้างรายได้ถึง 5 แสนบาทต่อวัน เน้นชูเอกลักษณ์ชุมชนส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ตั้งเป้าผุดตลาดชม ชิม ช้อป 231 แห่งทั่วประเทศ
รัฐบาลผลักดันโครงการตลาดต้องชม ครบ 76 จังหวัดและ กทม. บางแห่งสร้างรายได้ถึง 5 แสนบาทต่อวัน เน้นชูเอกลักษณ์ชุมชนส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ตั้งเป้าผุดตลาดชม ชิม ช้อป 231 แห่งทั่วประเทศ ภายในปี 61
พลโท สรรเสริญ แก้วกําเนิด โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลใช้กลไกประชารัฐผลักดันการเปิดตลาดชุมชน ภายใต้โครงการตลาดต้องชม ตามนโยบายของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการส่งเสริมให้คนในท้องถิ่นมีรายได้จากการจําหน่ายสินค้าที่มีเอกลักษณ์ของชุมชน ได้ครบทุกจังหวัดและ กทม. ตามเป้าหมายจํานวน 77 แห่งในปีแรกแล้ว สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนหลักแสนบาทโดยตลาดบางแห่งสามารถสร้างรายได้ราว 4 – 5 แสนบาทต่อวัน ส่งผลให้พี่น้องประชาชนที่ผลิตสินค้ามาจําหน่ายบางครัวเรือนมีรายได้ 5 - 6 พันบาทต่อวัน
“ตลาดต้องชม เป็นตลาดชุมชนที่มีการซื้อขายสินค้าท้องถิ่นคุณภาพดี ในราคาที่เป็นธรรม และยังคงรักษาอัตลักษณ์ของชุมชนไว้ โดยมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ตลาดให้สวยงาม เป็นระเบียบ ช่วยดึงดูดคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวเข้ามาจับจ่ายใช้สอย ทั้งสินค้าเกษตร หัตถกรรม โอท็อป และสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ตลาดเซราะกราว จ.บุรีรัมย์ ตลาดนาวง จ.นครศรีธรรมราช กาดข่วงเมืองน่าน จ.น่าน ตลาดน้ําลําพญา จ.นครปฐม เป็นต้น”
พลโท สรรเสริญ กล่าวต่อว่า นายกรัฐมนตรีฝากขอบคุณ พณ ที่เป็นหลักสนับสนุนให้เกิดตลาดนี้ขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรม โดยเน้นย้ําว่า ตลาดต้องชมจะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจระดับฐานราก โดยเป็นจุดเชื่อมโยงและกระจายผลผลิตอย่างทั่วถึง ทําให้เกิดการค้าขายและการท่องเที่ยวไปพร้อม ๆ กัน คนในชุมชนจึงมีอาชีพ และมีรายได้ นําไปเลี้ยงดูตนเองและครอบครัว
“ในอนาคต พณ.จะร่วมมือกับ ททท. ผลักดันให้ตลาดต้องชมเป็นแหล่งท่องเที่ยวสําคัญที่ทุกคนรู้จัก และเป็นแหล่งชม ชิม ช้อป ของพี่น้องประชาชนและนักท่องเที่ยว ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดําเนินโครงการตลาดต้องชมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่พ่อค้า แม่ค้า ผู้บริโภค และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน โดยรัฐบาลตั้งเป้าเพิ่มตลาดต้องชมให้ครบจังหวัดละ 3 แห่ง รวมเป็น 231 แห่งทั่วประเทศ ภายในปี 2561” | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลผลักดันโครงการตลาดต้องชม ครบ 76 จังหวัดและ กทม. บางแห่งสร้างรายได้ถึง 5 แสนบาทต่อวัน เน้นชูเอกลักษณ์ชุมชนส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ตั้งเป้าผุดตลาดชม ชิม ช้อป 231 แห่งทั่วประเทศ
วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน 2559
รัฐบาลผลักดันโครงการตลาดต้องชม ครบ 76 จังหวัดและ กทม. บางแห่งสร้างรายได้ถึง 5 แสนบาทต่อวัน เน้นชูเอกลักษณ์ชุมชนส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ตั้งเป้าผุดตลาดชม ชิม ช้อป 231 แห่งทั่วประเทศ
รัฐบาลผลักดันโครงการตลาดต้องชม ครบ 76 จังหวัดและ กทม. บางแห่งสร้างรายได้ถึง 5 แสนบาทต่อวัน เน้นชูเอกลักษณ์ชุมชนส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ตั้งเป้าผุดตลาดชม ชิม ช้อป 231 แห่งทั่วประเทศ ภายในปี 61
พลโท สรรเสริญ แก้วกําเนิด โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลใช้กลไกประชารัฐผลักดันการเปิดตลาดชุมชน ภายใต้โครงการตลาดต้องชม ตามนโยบายของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการส่งเสริมให้คนในท้องถิ่นมีรายได้จากการจําหน่ายสินค้าที่มีเอกลักษณ์ของชุมชน ได้ครบทุกจังหวัดและ กทม. ตามเป้าหมายจํานวน 77 แห่งในปีแรกแล้ว สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนหลักแสนบาทโดยตลาดบางแห่งสามารถสร้างรายได้ราว 4 – 5 แสนบาทต่อวัน ส่งผลให้พี่น้องประชาชนที่ผลิตสินค้ามาจําหน่ายบางครัวเรือนมีรายได้ 5 - 6 พันบาทต่อวัน
“ตลาดต้องชม เป็นตลาดชุมชนที่มีการซื้อขายสินค้าท้องถิ่นคุณภาพดี ในราคาที่เป็นธรรม และยังคงรักษาอัตลักษณ์ของชุมชนไว้ โดยมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ตลาดให้สวยงาม เป็นระเบียบ ช่วยดึงดูดคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวเข้ามาจับจ่ายใช้สอย ทั้งสินค้าเกษตร หัตถกรรม โอท็อป และสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ตลาดเซราะกราว จ.บุรีรัมย์ ตลาดนาวง จ.นครศรีธรรมราช กาดข่วงเมืองน่าน จ.น่าน ตลาดน้ําลําพญา จ.นครปฐม เป็นต้น”
พลโท สรรเสริญ กล่าวต่อว่า นายกรัฐมนตรีฝากขอบคุณ พณ ที่เป็นหลักสนับสนุนให้เกิดตลาดนี้ขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรม โดยเน้นย้ําว่า ตลาดต้องชมจะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจระดับฐานราก โดยเป็นจุดเชื่อมโยงและกระจายผลผลิตอย่างทั่วถึง ทําให้เกิดการค้าขายและการท่องเที่ยวไปพร้อม ๆ กัน คนในชุมชนจึงมีอาชีพ และมีรายได้ นําไปเลี้ยงดูตนเองและครอบครัว
“ในอนาคต พณ.จะร่วมมือกับ ททท. ผลักดันให้ตลาดต้องชมเป็นแหล่งท่องเที่ยวสําคัญที่ทุกคนรู้จัก และเป็นแหล่งชม ชิม ช้อป ของพี่น้องประชาชนและนักท่องเที่ยว ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดําเนินโครงการตลาดต้องชมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่พ่อค้า แม่ค้า ผู้บริโภค และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน โดยรัฐบาลตั้งเป้าเพิ่มตลาดต้องชมให้ครบจังหวัดละ 3 แห่ง รวมเป็น 231 แห่งทั่วประเทศ ภายในปี 2561” | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/523 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สิชล ต้นแบบ รพ.พึ่งตนเอง เพิ่มรักษาโรคเฉพาะทางอำนวยความสะดวกสร้างรายได้ | วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน 2562
สิชล ต้นแบบ รพ.พึ่งตนเอง เพิ่มรักษาโรคเฉพาะทางอํานวยความสะดวกสร้างรายได้
โรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ต้นแบบโรงพยาบาลพึ่งพาตนเอง จัดบริการรักษาโรคเฉพาะทาง เตียงพิเศษหลายระดับสร้างรายได้เข้าโรงพยาบาล ลดภาระค่าเดินทาง ลดความแออัดโรงพยาบาลใหญ่
วันนี้ (5 พฤศจิกายน 2562) ที่โรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมให้กําลังใจการดําเนินงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน ว่า ขอชื่นชมการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลสิชล ที่เติบโตมาอย่างต่อเนื่อง จนเป็นต้นแบบของโรงพยาบาลที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ด้วยระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ สามารถต่อยอดใช้พื้นที่ที่มีอยู่เสริมสร้างสิ่งแวดล้อมให้เกิดความสะดวกสบาย (Comfortable hospital) และสร้างรายได้เข้าสู่โรงพยาบาล อาทิ บริการเตียงพิเศษหลายระดับเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ ประมาณ 150 เตียง บริการห้องพักสําหรับญาติ ให้การรักษาในหลายกลุ่มโรคเฉพาะทาง อาทิ จักษุ ทันตกรรม รังสีวินิจฉัย เวชกรรมฟื้นฟู ไตเทียม แพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ซึ่งช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปรักษาและลดความแออัด ของโรงพยาบาลขนาดใหญ่ได้ เช่น ไปโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ที่มีระยะห่าง ประมาณ 74 กิโลเมตร ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาเดินทางกว่า 1 ชั่วโมง
ทั้งนี้ โรงพยาบาลสิชล เป็นโรงพยาบาลทั่วไป ขนาด 300 เตียงให้บริการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมแก่ประชาชนในเขตอําเภอสิชล และในเขตรอยต่ออําเภอขนอม อําเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช อําเภอดอนสัก อําเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
*************************************** 5 พฤศจิกายน 2562 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สิชล ต้นแบบ รพ.พึ่งตนเอง เพิ่มรักษาโรคเฉพาะทางอำนวยความสะดวกสร้างรายได้
วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน 2562
สิชล ต้นแบบ รพ.พึ่งตนเอง เพิ่มรักษาโรคเฉพาะทางอํานวยความสะดวกสร้างรายได้
โรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ต้นแบบโรงพยาบาลพึ่งพาตนเอง จัดบริการรักษาโรคเฉพาะทาง เตียงพิเศษหลายระดับสร้างรายได้เข้าโรงพยาบาล ลดภาระค่าเดินทาง ลดความแออัดโรงพยาบาลใหญ่
วันนี้ (5 พฤศจิกายน 2562) ที่โรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมให้กําลังใจการดําเนินงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน ว่า ขอชื่นชมการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลสิชล ที่เติบโตมาอย่างต่อเนื่อง จนเป็นต้นแบบของโรงพยาบาลที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ด้วยระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ สามารถต่อยอดใช้พื้นที่ที่มีอยู่เสริมสร้างสิ่งแวดล้อมให้เกิดความสะดวกสบาย (Comfortable hospital) และสร้างรายได้เข้าสู่โรงพยาบาล อาทิ บริการเตียงพิเศษหลายระดับเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ ประมาณ 150 เตียง บริการห้องพักสําหรับญาติ ให้การรักษาในหลายกลุ่มโรคเฉพาะทาง อาทิ จักษุ ทันตกรรม รังสีวินิจฉัย เวชกรรมฟื้นฟู ไตเทียม แพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ซึ่งช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปรักษาและลดความแออัด ของโรงพยาบาลขนาดใหญ่ได้ เช่น ไปโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ที่มีระยะห่าง ประมาณ 74 กิโลเมตร ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาเดินทางกว่า 1 ชั่วโมง
ทั้งนี้ โรงพยาบาลสิชล เป็นโรงพยาบาลทั่วไป ขนาด 300 เตียงให้บริการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมแก่ประชาชนในเขตอําเภอสิชล และในเขตรอยต่ออําเภอขนอม อําเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช อําเภอดอนสัก อําเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
*************************************** 5 พฤศจิกายน 2562 | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/24335 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ ย้ำรัฐบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายตามความต้องการ ปชช. เผย 1 ปี เงินหมุนเวียนร้านธงฟ้า 4.9 หมื่นล้าน ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน | วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน 2561
นายกฯ ย้ํารัฐบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายตามความต้องการ ปชช. เผย 1 ปี เงินหมุนเวียนร้านธงฟ้า 4.9 หมื่นล้าน ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน
นายกฯ ย้ํารัฐบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายตามความต้องการ ปชช. เผย 1 ปี เงินหมุนเวียนร้านธงฟ้า 4.9 หมื่นล้าน ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน
วันที่ 25 พฤศจิกายน 2561 นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่เพิ่งออกมาล่าสุด ว่า ทั้งหมดมาจากความต้องการของผู้มีรายได้น้อยที่ได้สํารวจเมื่อเดือน ก.ค. - ส.ค.60 ซึ่งส่วนใหญ่อยากให้ช่วยเหลือค่าสาธารณูปโภคพื้นฐาน คือ ค่าน้ําค่าไฟ เป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ช่วยเหลือค่าสินค้าที่จําเป็น ค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายเพื่อดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ จึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลวางแผนเตรียมการมานานแล้ว
ก่อนหน้านี้ ผู้มีรายได้น้อยได้รับการช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านต่าง ๆ โดยตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 60 - 22 พ.ย. 61 รัฐบาลได้สนุบสนุนค่าใช้จ่ายรวม 49,879.4 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าสินค้าอุปโภคบริโภคในร้านธงฟ้าประชารัฐ 47,209 ล้านบาท ร้านค้าก๊าซหุงต้ม 79.8 ล้านบาท รถ บขส. 137.2 ล้านบาท รถไฟ จํานวน 263.5 ล้านบาท รถไฟฟ้า 17.4 ล้านบาท และโอนเงินเข้า กระเป๋า e-money ตามมาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิต 2,172.5 ล้านบาท
โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้รับรายงานว่า ขณะนี้มีร้านธงฟ้าประชารัฐกระจายอยู่ทั่วประเทศราว 50,000 ร้าน จากเป้าหมาย 100,000 ร้าน ซึ่งกว่าร้อยละ 50 เป็นสินค้าที่ผลิตในชุมชนและสินค้าเกษตรในพื้นที่ โดยสินค้าที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ ข้าวสาร กะปิ น้ําปลา และอาหารแปรรูป ไม่ใช่สินค้าที่มาจากบริษัทขนาดใหญ่เท่านั้น
"นายกฯ ย้ําว่า นอกจากผู้มีรายได้น้อยจะได้บรรเทาภาระค่าใช้จ่ายโดยตรงแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อร้านค้าปลีกขนาดเล็กในชุมชนท้องถิ่น และร้านค้ารายย่อย เช่น แผงจําหน่ายอาหารหรือรถเร่ ที่เข้าร่วมโครงการด้วย" | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ ย้ำรัฐบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายตามความต้องการ ปชช. เผย 1 ปี เงินหมุนเวียนร้านธงฟ้า 4.9 หมื่นล้าน ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน
วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน 2561
นายกฯ ย้ํารัฐบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายตามความต้องการ ปชช. เผย 1 ปี เงินหมุนเวียนร้านธงฟ้า 4.9 หมื่นล้าน ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน
นายกฯ ย้ํารัฐบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายตามความต้องการ ปชช. เผย 1 ปี เงินหมุนเวียนร้านธงฟ้า 4.9 หมื่นล้าน ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน
วันที่ 25 พฤศจิกายน 2561 นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่เพิ่งออกมาล่าสุด ว่า ทั้งหมดมาจากความต้องการของผู้มีรายได้น้อยที่ได้สํารวจเมื่อเดือน ก.ค. - ส.ค.60 ซึ่งส่วนใหญ่อยากให้ช่วยเหลือค่าสาธารณูปโภคพื้นฐาน คือ ค่าน้ําค่าไฟ เป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ช่วยเหลือค่าสินค้าที่จําเป็น ค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายเพื่อดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ จึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลวางแผนเตรียมการมานานแล้ว
ก่อนหน้านี้ ผู้มีรายได้น้อยได้รับการช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านต่าง ๆ โดยตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 60 - 22 พ.ย. 61 รัฐบาลได้สนุบสนุนค่าใช้จ่ายรวม 49,879.4 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าสินค้าอุปโภคบริโภคในร้านธงฟ้าประชารัฐ 47,209 ล้านบาท ร้านค้าก๊าซหุงต้ม 79.8 ล้านบาท รถ บขส. 137.2 ล้านบาท รถไฟ จํานวน 263.5 ล้านบาท รถไฟฟ้า 17.4 ล้านบาท และโอนเงินเข้า กระเป๋า e-money ตามมาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิต 2,172.5 ล้านบาท
โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้รับรายงานว่า ขณะนี้มีร้านธงฟ้าประชารัฐกระจายอยู่ทั่วประเทศราว 50,000 ร้าน จากเป้าหมาย 100,000 ร้าน ซึ่งกว่าร้อยละ 50 เป็นสินค้าที่ผลิตในชุมชนและสินค้าเกษตรในพื้นที่ โดยสินค้าที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ ข้าวสาร กะปิ น้ําปลา และอาหารแปรรูป ไม่ใช่สินค้าที่มาจากบริษัทขนาดใหญ่เท่านั้น
"นายกฯ ย้ําว่า นอกจากผู้มีรายได้น้อยจะได้บรรเทาภาระค่าใช้จ่ายโดยตรงแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อร้านค้าปลีกขนาดเล็กในชุมชนท้องถิ่น และร้านค้ารายย่อย เช่น แผงจําหน่ายอาหารหรือรถเร่ ที่เข้าร่วมโครงการด้วย" | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/17055 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมควบคุมโรค มอบหมายหน่วยงานในสังกัด สอบสวนรายละเอียดเพิ่มเติม กรณีพบแรงงานชาวเมียนมาร์ติดเชื้อโควิด 19 ภายหลังเดินทางกลับจากไทย [กระทรวงสาธารณสุข] | วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน 2563
กรมควบคุมโรค มอบหมายหน่วยงานในสังกัด สอบสวนรายละเอียดเพิ่มเติม กรณีพบแรงงานชาวเมียนมาร์ติดเชื้อโควิด 19 ภายหลังเดินทางกลับจากไทย [กระทรวงสาธารณสุข]
กรมควบคุมโรค มอบหมายหน่วยงานในสังกัด สอบสวนรายละเอียดเพิ่มเติม กรณีพบแรงงานชาวเมียนมาร์ติดเชื้อโควิด 19 ภายหลังเดินทางกลับจากไทย
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มอบหมายให้กองระบาดวิทยา สคร.2 จ.พิษณุโลก และสคร.12 จ.สงขลา สอบสวนรายละเอียดเพิ่มเติม กรณีพบแรงงานชาวเมียนมาร์ติดเชื้อโควิด 19 ภายหลังเดินทางกลับจากไทย โดยมีการประสานงานผ่านกลไกของกฎอนามัยระหว่างประเทศ และองค์การอนามัยโลก ขอให้ประชาชนมั่นใจในระบบป้องกันควบคุมโรคของไทย ย้ํามาตรการตรวจคัดกรองตามจุดผ่านเข้าออกพรมแดนของประเทศ มีความเข้มข้นและดําเนินการอย่างต่อเนื่อง
วันนี้ (20 มิถุนายน 2563) นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีที่มีรายงานข่าวว่าพบแรงงานชาวเมียนมาร์ติดเชื้อโควิด 19 ภายหลังเดินทางกลับจากประเทศไทย นั้น กรมควบคุมโรคได้ประสานข้อมูลกับประเทศเมียนมาร์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ โดยมอบหมายให้กองระบาดวิทยา สํานักงานป้องกันควบคุมโรค ที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก (สคร.2 จ.พิษณุโลก) และสํานักงานป้องกันควบคุมโรค ที่ 12 จังหวัดสงขลา (สคร.12 จ.สงขลา) ทําการสอบสวนรายละเอียดเพิ่มเติม
โดยในเบื้องต้น พบว่าแรงงานชาวเมียนมาร์กลุ่มดังกล่าวมีทั้งกลุ่มที่มีประวัติเดินทางจากประเทศไทย บางส่วนมีประวัติมาจากประเทศมาเลเซีย โดยทั้งหมดเข้าพักในสถานที่กักกันที่ทางการเมียนมาร์จัดเตรียมไว้และได้รับการตรวจหาเชื้อ ซึ่งผลจากการสอบสวนเบื้องต้นคาดว่าแรงงานกลุ่มนี้อาจเป็นกลุ่มแรงงานเมียนมาร์ที่เคยถูกทางการไทยกักตัวไว้ในศูนย์กักกัน อ.สะเดา จ.สงขลา จํานวน 42 คน ตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งต่างด้าวกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ตรวจพบเชื้อ และได้รายงานเป็นผู้ป่วย รวมทั้งได้รับการรักษาหายดีแล้ว แพทย์ให้ออกจากโรงพยาบาลตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ถูกส่งกลับเมียนมาร์ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ที่ผ่านมา ทั้งนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบรายชื่อว่าเป็นกลุ่มเดียวกันกับที่ออกจากศูนย์กักกันตรวจคนเข้าเมืองสะเดาหรือไม่ ซึ่งต้องมีการติดตามรายละเอียดการเดินทางกลับไปเมียนมาร์ การตรวจหาเชื้อ และอาการป่วยโดยประสานงานผ่านกลไกของกฎอนามัยระหว่างประเทศ และองค์การอนามัยโลก ก่อนจะสรุปข้อเท็จจริงและจัดทํามาตรการในการป้องกันควบคุมโรคต่อไป
อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ที่ผ่านมา ประเทศไทยพบผู้ป่วยที่เป็นแรงงานต่างด้าว จํานวน 23 ราย เป็นเมียนมาร์ 19 ราย กัมพูชา 2 ราย และลาว 2 ราย ไม่พบการระบาดเป็นกลุ่มก้อนในชุมชน และจากการสุ่มตรวจหาเชื้อเพื่อการเฝ้าระวังในกลุ่มแรงงานต่างด้าว จํานวน 11,027 คน ยังไม่พบการติดเชื้อ (ข้อมูล ณ วันที่ 15 มิถุนายน 2563)
นายแพทย์สุวรรณชัย กล่าวต่อไปว่า กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ยังคงเน้นย้ํามาตรการตรวจคัดกรองตามจุดผ่านเข้าออกพรมแดนของประเทศ การเฝ้าระวังในกลุ่มแรงงานที่จะเดินทางกลับ และการเฝ้าระวังในกลุ่มประชากรเสี่ยง ซึ่งกลุ่มผู้ต้องกักแรกรับ และแรงงานต่างด้าวรวมอยู่ในกลุ่มเป้าหมายนี้ จึงขอให้ประชาชนมั่นใจในระบบป้องกันควบคุมโรคของประเทศไทย ที่มีความเข้มข้นและดําเนินการอย่างต่อเนื่อง หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422
**************************************************
ข้อมูลจาก : กองระบาดวิทยา/สคร.2 จ.พิษณุโลก/สคร. 12 จ.สงขลา กรมควบคุมโรค
วันที่ 20 มิถุนายน 2563 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมควบคุมโรค มอบหมายหน่วยงานในสังกัด สอบสวนรายละเอียดเพิ่มเติม กรณีพบแรงงานชาวเมียนมาร์ติดเชื้อโควิด 19 ภายหลังเดินทางกลับจากไทย [กระทรวงสาธารณสุข]
วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน 2563
กรมควบคุมโรค มอบหมายหน่วยงานในสังกัด สอบสวนรายละเอียดเพิ่มเติม กรณีพบแรงงานชาวเมียนมาร์ติดเชื้อโควิด 19 ภายหลังเดินทางกลับจากไทย [กระทรวงสาธารณสุข]
กรมควบคุมโรค มอบหมายหน่วยงานในสังกัด สอบสวนรายละเอียดเพิ่มเติม กรณีพบแรงงานชาวเมียนมาร์ติดเชื้อโควิด 19 ภายหลังเดินทางกลับจากไทย
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มอบหมายให้กองระบาดวิทยา สคร.2 จ.พิษณุโลก และสคร.12 จ.สงขลา สอบสวนรายละเอียดเพิ่มเติม กรณีพบแรงงานชาวเมียนมาร์ติดเชื้อโควิด 19 ภายหลังเดินทางกลับจากไทย โดยมีการประสานงานผ่านกลไกของกฎอนามัยระหว่างประเทศ และองค์การอนามัยโลก ขอให้ประชาชนมั่นใจในระบบป้องกันควบคุมโรคของไทย ย้ํามาตรการตรวจคัดกรองตามจุดผ่านเข้าออกพรมแดนของประเทศ มีความเข้มข้นและดําเนินการอย่างต่อเนื่อง
วันนี้ (20 มิถุนายน 2563) นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีที่มีรายงานข่าวว่าพบแรงงานชาวเมียนมาร์ติดเชื้อโควิด 19 ภายหลังเดินทางกลับจากประเทศไทย นั้น กรมควบคุมโรคได้ประสานข้อมูลกับประเทศเมียนมาร์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ โดยมอบหมายให้กองระบาดวิทยา สํานักงานป้องกันควบคุมโรค ที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก (สคร.2 จ.พิษณุโลก) และสํานักงานป้องกันควบคุมโรค ที่ 12 จังหวัดสงขลา (สคร.12 จ.สงขลา) ทําการสอบสวนรายละเอียดเพิ่มเติม
โดยในเบื้องต้น พบว่าแรงงานชาวเมียนมาร์กลุ่มดังกล่าวมีทั้งกลุ่มที่มีประวัติเดินทางจากประเทศไทย บางส่วนมีประวัติมาจากประเทศมาเลเซีย โดยทั้งหมดเข้าพักในสถานที่กักกันที่ทางการเมียนมาร์จัดเตรียมไว้และได้รับการตรวจหาเชื้อ ซึ่งผลจากการสอบสวนเบื้องต้นคาดว่าแรงงานกลุ่มนี้อาจเป็นกลุ่มแรงงานเมียนมาร์ที่เคยถูกทางการไทยกักตัวไว้ในศูนย์กักกัน อ.สะเดา จ.สงขลา จํานวน 42 คน ตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งต่างด้าวกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ตรวจพบเชื้อ และได้รายงานเป็นผู้ป่วย รวมทั้งได้รับการรักษาหายดีแล้ว แพทย์ให้ออกจากโรงพยาบาลตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ถูกส่งกลับเมียนมาร์ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ที่ผ่านมา ทั้งนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบรายชื่อว่าเป็นกลุ่มเดียวกันกับที่ออกจากศูนย์กักกันตรวจคนเข้าเมืองสะเดาหรือไม่ ซึ่งต้องมีการติดตามรายละเอียดการเดินทางกลับไปเมียนมาร์ การตรวจหาเชื้อ และอาการป่วยโดยประสานงานผ่านกลไกของกฎอนามัยระหว่างประเทศ และองค์การอนามัยโลก ก่อนจะสรุปข้อเท็จจริงและจัดทํามาตรการในการป้องกันควบคุมโรคต่อไป
อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ที่ผ่านมา ประเทศไทยพบผู้ป่วยที่เป็นแรงงานต่างด้าว จํานวน 23 ราย เป็นเมียนมาร์ 19 ราย กัมพูชา 2 ราย และลาว 2 ราย ไม่พบการระบาดเป็นกลุ่มก้อนในชุมชน และจากการสุ่มตรวจหาเชื้อเพื่อการเฝ้าระวังในกลุ่มแรงงานต่างด้าว จํานวน 11,027 คน ยังไม่พบการติดเชื้อ (ข้อมูล ณ วันที่ 15 มิถุนายน 2563)
นายแพทย์สุวรรณชัย กล่าวต่อไปว่า กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ยังคงเน้นย้ํามาตรการตรวจคัดกรองตามจุดผ่านเข้าออกพรมแดนของประเทศ การเฝ้าระวังในกลุ่มแรงงานที่จะเดินทางกลับ และการเฝ้าระวังในกลุ่มประชากรเสี่ยง ซึ่งกลุ่มผู้ต้องกักแรกรับ และแรงงานต่างด้าวรวมอยู่ในกลุ่มเป้าหมายนี้ จึงขอให้ประชาชนมั่นใจในระบบป้องกันควบคุมโรคของประเทศไทย ที่มีความเข้มข้นและดําเนินการอย่างต่อเนื่อง หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422
**************************************************
ข้อมูลจาก : กองระบาดวิทยา/สคร.2 จ.พิษณุโลก/สคร. 12 จ.สงขลา กรมควบคุมโรค
วันที่ 20 มิถุนายน 2563 | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/32571 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คนร. รับทราบความคืบหน้าการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจ พร้อมปรับ SME Bank ออกจากแผนฟื้นฟู | วันพุธที่ 19 เมษายน 2560
คนร. รับทราบความคืบหน้าการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจ พร้อมปรับ SME Bank ออกจากแผนฟื้นฟู
ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ในฐานะกรรมการและเลขานุการ คนร. ได้เปิดเผยผลการประชุม คนร. ครั้งที่ ๒/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๐ โดยมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ในฐานะกรรมการและเลขานุการ คนร. ได้เปิดเผยผลการประชุม คนร. ครั้งที่ ๒/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๐ โดยมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน สรุปได้ดังนี้
๑. การแก้ไขปัญหาของรัฐวิสาหกิจ ๗ แห่ง คนร. รับทราบเป้าหมายการแก้ไขปัญหาในปี ๒๕๖๐ และความคืบหน้าการดําเนินงานแก้ไขปัญหาของรัฐวิสาหกิจทั้ง ๗ แห่ง โดยสามารถสรุปได้ดังนี้
๑.๑ สาขาสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ได้แก่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) คนร. รับทราบความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาของ ธพว. โดยส่วนใหญ่มีผลการดําเนินงานเป็นไปตามแผน โดย ธพว. มีผลการดําเนินงานที่ดีขึ้นทั้งในส่วนของการปล่อยสินเชื่อใหม่ และการบริหารหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายของแผนการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ หาก ธพว. ดําเนินการได้ดีตามแผนต่อไปให้คณะอนุกรรมการกลั่นกรองแผนการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจพิจารณาให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ทําหน้าที่กํากับและติดตามการดําเนินงานของ ธพว. ตามปกติ ในส่วนของ ธอท. มีผลการดําเนินงานที่ล่าช้ากว่าเป้าหมาย และให้เร่งเจรจาพันธมิตรให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน ๒๕๖๐ ก่อนการเพิ่มทุนให้แก่ ธอท.
๑.๒ สาขาสื่อสาร ได้แก่ บริษัท ทีโอที จํากัด (มหาชน) (บมจ. ทีโอที) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) (บมจ. กสท) คนร. เห็นชอบในหลักการให้ บมจ. ทีโอที และ บมจ. กสท จัดตั้งบริษัทลูก ได้แก่ บริษัท โครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ จํากัด (NBN) และบริษัท โครงข่ายระหว่างประเทศและศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ต จํากัด (NGDC) ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ เพื่อแก้ไขปัญหาของ บมจ. ทีโอที และ บมจ. กสท และก้าวสู่ความสามารถในการแข่งขันโดยการลงความซ้ําซ้อนในการลงทุนในระยะยาว โดยให้บริษัทที่จะจัดตั้งมีประสิทธิภาพ
ในการบริหารงานเทียบเท่ากับบริษัทเอกชนเพื่อสร้างความยั่งยืนในการประกอบธุรกิจในอนาคต โดยให้เสนอตามขั้นตอนการจัดตั้งบริษัทลูกต่อไป และมอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกํากับดูแลให้ บมจ. ทีโอที และ บมจ. กสท ปรับปรุงแผนการแก้ไขปัญหาองค์กรให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงภายในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๐ และการจัดตั้งบริษัทลูกข้างต้นให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และได้รับทราบการดําเนินโครงการ Internet หมู่บ้านของ บมจ. ทีโอที โดยคาดว่าจะดําเนินการในช่วงแรกภายในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๐ และแล้วเสร็จทั้งหมด ๒,๕๐๐ – ๓,๐๐๐ หมู่บ้าน ภายในปีนี้ ซึ่ง บมจ. ทีโอที สามารถประหยัดต้นทุนในโครงการได้ประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านบาท
๑.๓ สาขาขนส่งได้แก่ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และบริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน) (บกท.) คนร. รับทราบความคืบหน้าการดําเนินการแก้ไขปัญหาของ ขสมก. รฟท. และ บกท. โดยส่วนใหญ่มีผลการดําเนินงานล่าช้ากว่าแผน โดย คนร. เน้นย้ําให้ ๑) บกท. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการรายได้เพิ่มเติม โดยทําการตลาดเชิงรุกมากขึ้น และควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง ๒) ให้ รฟท. ดําเนินโครงการต่างๆ ให้เป็นไปตามกําหนดการ และผลักดันให้มีการบริหารทรัพย์สิน (ที่ดิน) ของ รฟท. ให้ชัดเจนและเป็นรูปธรรม เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาหนี้คงค้างทั้งหมดได้ และ ๓) ให้ ขสมก. เร่งจัดซื้อรถโดยสารที่ได้ยกเลิกไปและปรับปรุงสภาพรถให้เป็นไปตามแผนที่กําหนด เพื่ออํานวยความสะดวกและความปลอดภัยแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ
โดย คนร. ได้กําชับให้กระทรวงเจ้าสังกัดกํากับและติดตามการดําเนินงานในด้านต่างๆ ของรัฐวิสาหกิจทั้ง ๗ แห่ง ให้เป็นไปตามมติ คนร. พร้อมทั้ง คนร. ให้กําหนดเป้าหมายตามแผนการแก้ไขปัญหาของรัฐวิสาหกิจทั้ง ๗ แห่ง เป็นตัวชี้วัด (KPI) ของผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงเจ้าสังกัดด้วย เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนแผนงานต่างๆ ได้เร็วยิ่งขึ้น
๒. คนร. รับทราบความคืบหน้าของร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาการกํากับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. .... โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จและนําเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อยืนยันร่างพระราชบัญญัติภายในสิ้นเดือนเมษายน ๒๕๖๐ ก่อนนําเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
ที่มา : กระทรวงการคลัง
ผู้นําเสนอ : กลุ่มสารนิเทศการคลัง สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คนร. รับทราบความคืบหน้าการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจ พร้อมปรับ SME Bank ออกจากแผนฟื้นฟู
วันพุธที่ 19 เมษายน 2560
คนร. รับทราบความคืบหน้าการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจ พร้อมปรับ SME Bank ออกจากแผนฟื้นฟู
ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ในฐานะกรรมการและเลขานุการ คนร. ได้เปิดเผยผลการประชุม คนร. ครั้งที่ ๒/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๐ โดยมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ในฐานะกรรมการและเลขานุการ คนร. ได้เปิดเผยผลการประชุม คนร. ครั้งที่ ๒/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๐ โดยมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน สรุปได้ดังนี้
๑. การแก้ไขปัญหาของรัฐวิสาหกิจ ๗ แห่ง คนร. รับทราบเป้าหมายการแก้ไขปัญหาในปี ๒๕๖๐ และความคืบหน้าการดําเนินงานแก้ไขปัญหาของรัฐวิสาหกิจทั้ง ๗ แห่ง โดยสามารถสรุปได้ดังนี้
๑.๑ สาขาสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ได้แก่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) คนร. รับทราบความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาของ ธพว. โดยส่วนใหญ่มีผลการดําเนินงานเป็นไปตามแผน โดย ธพว. มีผลการดําเนินงานที่ดีขึ้นทั้งในส่วนของการปล่อยสินเชื่อใหม่ และการบริหารหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายของแผนการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ หาก ธพว. ดําเนินการได้ดีตามแผนต่อไปให้คณะอนุกรรมการกลั่นกรองแผนการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจพิจารณาให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ทําหน้าที่กํากับและติดตามการดําเนินงานของ ธพว. ตามปกติ ในส่วนของ ธอท. มีผลการดําเนินงานที่ล่าช้ากว่าเป้าหมาย และให้เร่งเจรจาพันธมิตรให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน ๒๕๖๐ ก่อนการเพิ่มทุนให้แก่ ธอท.
๑.๒ สาขาสื่อสาร ได้แก่ บริษัท ทีโอที จํากัด (มหาชน) (บมจ. ทีโอที) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) (บมจ. กสท) คนร. เห็นชอบในหลักการให้ บมจ. ทีโอที และ บมจ. กสท จัดตั้งบริษัทลูก ได้แก่ บริษัท โครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ จํากัด (NBN) และบริษัท โครงข่ายระหว่างประเทศและศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ต จํากัด (NGDC) ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ เพื่อแก้ไขปัญหาของ บมจ. ทีโอที และ บมจ. กสท และก้าวสู่ความสามารถในการแข่งขันโดยการลงความซ้ําซ้อนในการลงทุนในระยะยาว โดยให้บริษัทที่จะจัดตั้งมีประสิทธิภาพ
ในการบริหารงานเทียบเท่ากับบริษัทเอกชนเพื่อสร้างความยั่งยืนในการประกอบธุรกิจในอนาคต โดยให้เสนอตามขั้นตอนการจัดตั้งบริษัทลูกต่อไป และมอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกํากับดูแลให้ บมจ. ทีโอที และ บมจ. กสท ปรับปรุงแผนการแก้ไขปัญหาองค์กรให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงภายในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๐ และการจัดตั้งบริษัทลูกข้างต้นให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และได้รับทราบการดําเนินโครงการ Internet หมู่บ้านของ บมจ. ทีโอที โดยคาดว่าจะดําเนินการในช่วงแรกภายในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๐ และแล้วเสร็จทั้งหมด ๒,๕๐๐ – ๓,๐๐๐ หมู่บ้าน ภายในปีนี้ ซึ่ง บมจ. ทีโอที สามารถประหยัดต้นทุนในโครงการได้ประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านบาท
๑.๓ สาขาขนส่งได้แก่ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และบริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน) (บกท.) คนร. รับทราบความคืบหน้าการดําเนินการแก้ไขปัญหาของ ขสมก. รฟท. และ บกท. โดยส่วนใหญ่มีผลการดําเนินงานล่าช้ากว่าแผน โดย คนร. เน้นย้ําให้ ๑) บกท. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการรายได้เพิ่มเติม โดยทําการตลาดเชิงรุกมากขึ้น และควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง ๒) ให้ รฟท. ดําเนินโครงการต่างๆ ให้เป็นไปตามกําหนดการ และผลักดันให้มีการบริหารทรัพย์สิน (ที่ดิน) ของ รฟท. ให้ชัดเจนและเป็นรูปธรรม เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาหนี้คงค้างทั้งหมดได้ และ ๓) ให้ ขสมก. เร่งจัดซื้อรถโดยสารที่ได้ยกเลิกไปและปรับปรุงสภาพรถให้เป็นไปตามแผนที่กําหนด เพื่ออํานวยความสะดวกและความปลอดภัยแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ
โดย คนร. ได้กําชับให้กระทรวงเจ้าสังกัดกํากับและติดตามการดําเนินงานในด้านต่างๆ ของรัฐวิสาหกิจทั้ง ๗ แห่ง ให้เป็นไปตามมติ คนร. พร้อมทั้ง คนร. ให้กําหนดเป้าหมายตามแผนการแก้ไขปัญหาของรัฐวิสาหกิจทั้ง ๗ แห่ง เป็นตัวชี้วัด (KPI) ของผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงเจ้าสังกัดด้วย เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนแผนงานต่างๆ ได้เร็วยิ่งขึ้น
๒. คนร. รับทราบความคืบหน้าของร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาการกํากับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. .... โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จและนําเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อยืนยันร่างพระราชบัญญัติภายในสิ้นเดือนเมษายน ๒๕๖๐ ก่อนนําเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
ที่มา : กระทรวงการคลัง
ผู้นําเสนอ : กลุ่มสารนิเทศการคลัง สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/3142 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนพฤษภาคม ปี 2561 | วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน 2561
รายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจําเดือนพฤษภาคม ปี 2561
เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนพฤษภาคม ปี 2561 ยังคงขยายตัว นําโดย กทม.และปริมณฑล ภาคกลาง และภาคใต้ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน และการฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนในหลายภูมิภาค
"เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนพฤษภาคม ปี 2561 ยังคงขยายตัว นําโดย กทม.และปริมณฑล ภาคกลาง และภาคใต้ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน และการฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนในหลายภูมิภาค รวมถึงการขยายตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว สําหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี"
นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน ในฐานะโฆษกสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง พร้อมด้วยนายศรพล ตุลยะเสถียร ผู้อํานวยการสํานักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ในฐานะรองโฆษกสํานักงานเศรษฐกิจการคลังเปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจําเดือนพฤษภาคม ปี 2561 "เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนพฤษภาคม ปี 2561 ยังคงขยายตัว นําโดย กทม.และปริมณฑล ภาคกลาง และภาคใต้ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน และการฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนในหลายภูมิภาค รวมถึงการขยายตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว สําหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี" โดยมีรายละเอียด สรุปได้ดังนี้
กทม.และปริมณฑล เศรษฐกิจขยายตัว โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงการท่องเที่ยว เป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในเดือนพฤษภาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 5.0 ต่อปี ตามการขยายตัวในทุกจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดนนทบุรี และกรุงเทพมหานคร เป็นต้น สอดคล้องกับการบริโภคสินค้าในหมวดสินค้าคงทนของผู้มีรายได้ปานกลางและสูง สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวที่ร้อยละ 11.2 ต่อปี ตามการขยายตัวในจังหวัดนนทบุรี และสมุทรสาคร เป็นต้น เช่นเดียวกันกับการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากยอดรถปิคอัพและรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 8.1 และ 2.5 ต่อปี ตามลําดับ สอดคล้องกับเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการในเดือนพฤษภาคม อยู่ที่ 4,540.8 ล้านบาท จากการลงทุนในจังหวัดสมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร เป็นสําคัญ สําหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวในเกณฑ์ดี ทั้งจากจํานวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากผู้เยี่ยมเยือน ในเดือนเมษายน 2561 ขยายตัวร้อยละ 7.8 และ 18.8 ต่อปี ตามลําดับ จากการขยายตัวได้ดีทั้งจากผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยและชาวต่างประเทศ ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคม (เบื้องต้น) 2561 ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ -1.4 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนเมษายน 2561 อยู่ที่ร้อยละ 0.8 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค
ภาคกลาง เศรษฐกิจส่งสัญญาณขยายตัว โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในเดือนพฤษภาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 5.7 ต่อปี จากการขยายตัวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี และอ่างทอง เป็นสําคัญ เช่นเดียวกันกับการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทนของผู้มีรายได้ปานกลางและสูง สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 38.5 ต่อปี สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากยอดรถปิคอัพและยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 5.3 และ 5.1 ต่อปี ตามลําดับ สําหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะจากจํานวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน ในเดือนเมษายน 2561 ขยายตัวร้อยละ 5.7 และ 10.3 ต่อปี ตามลําดับ สอดคล้องกับการผลิตภาคเกษตรที่ขยายตัวในเกณฑ์ดี จากการเพิ่มขึ้นของข้าวเปลือก และข้าวโพด เป็นต้น ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคม (เบื้องต้น) 2561 อยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคที่ร้อยละ 0.9 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนเมษายน 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค
ภาคใต้ เศรษฐกิจขยายตัว โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงภาคการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ใน เดือนพฤษภาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 8.2 ต่อปี ตามการเพิ่มขึ้นในเกือบทุกจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดภูเก็ต กระบี่ และพังงา เป็นต้น สอดคล้องกับการบริโภคสินค้าในหมวดสินค้าคงทนของผู้มีรายได้ปานกลางและสูง สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 5.6 ต่อปี ตามการขยายตัวในจังหวัดพังงา กระบี่ และตรัง เป็นต้น เช่นเดียวกันกับการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ในเดือนพฤษภาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 44.5 ต่อปี นอกจากนี้เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการในเดือนพฤษภาคม 2561 อยู่ที่ 1,776.1 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 388.8 ต่อปี จากการลงทุนในจังหวัดสงขลา และกระบี่ เป็นสําคัญ สําหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี ทั้งจากจํานวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากผู้เยี่ยมเยือน ในเดือนเมษายน 2561 ขยายตัวร้อยละ 6.4 และ 15.0 ต่อปี ตามลําดับ จากการขยายตัวในทุกจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดฝั่งอันดามัน เป็นต้น ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคม ปี 2561 (เบื้องต้น) อยู่ในระดับเอื้อต่อการบริโภคที่ร้อยละ 1.4 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนเมษายน 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.6 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค
ภาคตะวันตก เศรษฐกิจฟื้นตัว โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากการบริโภค และการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงการท่องเที่ยว เป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ใน เดือนพฤษภาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 15.9 ต่อปี ตามการเพิ่มขึ้นในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี และสุพรรณบุรี เป็นต้น สอดคล้องกับการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่ง ขยายตัวร้อยละ 34.9 ต่อปี ตามลําดับ ตามการขยายตัวในเกือบทุกจังหวัด ขณะที่การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนจากยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ในเดือนพฤษภาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 17.5 ต่อปี รวมถึงเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการในเดือนพฤษภาคม 2561 อยู่ที่ 752 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 257.0 ต่อปี จากการลงทุนในจังหวัดกาญจนบุรี เป็นสําคัญ สําหรับด้านอุปทาน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีทั้งจํานวนและรายได้จากผู้เยี่ยมเยือน ในเดือนเมษายน 2561 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 6.1 และ 12.8 ต่อปี ตามลําดับ สําหรับด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคม (เบื้องต้น) 2561 ที่ยังอยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคที่ร้อยละ 1.3 ต่อปี และอัตราการว่างงาน ในเดือนเมษายน 2561 อยู่ที่ร้อยละ 0.8 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค
ภาคเหนือ เศรษฐกิจฟื้นตัว โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงภาคการท่องเที่ยว เป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในเดือนพฤษภาคม 2561 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.6 ต่อปี สอดคล้องกับการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทนของผู้มีรายได้ปานกลางและสูง สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 12.6 ต่อปี ตามการขยายตัวจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และลําปาง เป็นต้น เช่นเดียวกันกับการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 4.1 ต่อปี สอดคล้องกับเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ ในเดือนพฤษภาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 19.0 ต่อปี จากการลงทุนจังหวัดเชียงใหม่ เป็นสําคัญ สําหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวในเกณฑ์ดี ทั้งจากจํานวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากผู้เยี่ยมเยือน ในเดือนมีนาคม 2561 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 4.0 และ 6.8 ต่อปี ตามลําดับ ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคม (เบื้องต้น) 2561 ยังคงอยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคในภูมิภาคที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนเมษายน 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เศรษฐกิจส่งสัญญาณขยายตัว โดยมีการบริโภคภาคเอกชน รวมถึงภาคเกษตรและภาคการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในเดือนพฤษภาคม 2561 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.2 ต่อปี สอดคล้องกับการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทนของผู้มีรายได้ปานกลางและสูง จากยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 18.7 ต่อปี จากการขยายตัวในเกือบทุกจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดกาฬสินธุ์ และอุบลราชธานี เป็นต้น ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนยังคงทรงตัว แต่มีการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรเพิ่มขึ้น สะท้อนจากเงินทุนของโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการ ในเดือนพฤษภาคม 2561 อยู่ที่ 6,198.0 ล้านบาท ตามการลงทุนในจังหวัดอํานาจเจริญ และนครราชสีมา เป็นต้น สําหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี ทั้งจากจํานวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน ในเดือนเมษายน 2561 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 5.1 และ 10.7 ต่อปี ตามลําดับ สอดคล้องกับการผลิตภาคเกษตรที่ขยายตัวในเกณฑ์ดี จากการขยายตัวในผลผลิตข้าว อ้อยโรงงาน และมันสําปะหลัง เป็นต้น ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคม (เบื้องต้น) 2561 ปรับตัวลดลงมาที่ร้อยละ -1.2 ต่อปี และอัตราการว่างงาน ในเดือนเมษายน 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค
ภาคตะวันออก เศรษฐกิจทรงตัว โดยมีการบริโภคภาคเอกชนและการท่องเที่ยวช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจ สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ใน เดือนพฤษภาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 14.1 ต่อปี ตามการเพิ่มขึ้นในจังหวัดปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา เป็นต้น สอดคล้องกับการบริโภคสินค้าในหมวดสินค้าคงทนของผู้มีรายได้ปานกลางและสูง สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 8.0 ต่อปี ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรทรงตัว สําหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี ทั้งจากจํานวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน ในเดือนเมษายน 2561 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 7.9 และ 17.7 ต่อปี ตามลําดับ สอดคล้องกับผลผลิตอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมภาคตะวันออกที่ปรับเพิ่มขึ้นอยู่เหนือระดับ 100 มาอยู่ที่ 106.3 ตามการปรับตัวเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ และอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคม (เบื้องต้น) 2561 ปรับตัวลดลงมาที่ร้อยละ -1.2 ต่อปี และอัตราการว่างงาน ในเดือนเมษายน 2561 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนพฤษภาคม ปี 2561
วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน 2561
รายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจําเดือนพฤษภาคม ปี 2561
เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนพฤษภาคม ปี 2561 ยังคงขยายตัว นําโดย กทม.และปริมณฑล ภาคกลาง และภาคใต้ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน และการฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนในหลายภูมิภาค
"เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนพฤษภาคม ปี 2561 ยังคงขยายตัว นําโดย กทม.และปริมณฑล ภาคกลาง และภาคใต้ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน และการฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนในหลายภูมิภาค รวมถึงการขยายตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว สําหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี"
นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน ในฐานะโฆษกสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง พร้อมด้วยนายศรพล ตุลยะเสถียร ผู้อํานวยการสํานักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ในฐานะรองโฆษกสํานักงานเศรษฐกิจการคลังเปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจําเดือนพฤษภาคม ปี 2561 "เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนพฤษภาคม ปี 2561 ยังคงขยายตัว นําโดย กทม.และปริมณฑล ภาคกลาง และภาคใต้ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน และการฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนในหลายภูมิภาค รวมถึงการขยายตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว สําหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี" โดยมีรายละเอียด สรุปได้ดังนี้
กทม.และปริมณฑล เศรษฐกิจขยายตัว โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงการท่องเที่ยว เป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในเดือนพฤษภาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 5.0 ต่อปี ตามการขยายตัวในทุกจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดนนทบุรี และกรุงเทพมหานคร เป็นต้น สอดคล้องกับการบริโภคสินค้าในหมวดสินค้าคงทนของผู้มีรายได้ปานกลางและสูง สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวที่ร้อยละ 11.2 ต่อปี ตามการขยายตัวในจังหวัดนนทบุรี และสมุทรสาคร เป็นต้น เช่นเดียวกันกับการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากยอดรถปิคอัพและรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 8.1 และ 2.5 ต่อปี ตามลําดับ สอดคล้องกับเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการในเดือนพฤษภาคม อยู่ที่ 4,540.8 ล้านบาท จากการลงทุนในจังหวัดสมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร เป็นสําคัญ สําหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวในเกณฑ์ดี ทั้งจากจํานวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากผู้เยี่ยมเยือน ในเดือนเมษายน 2561 ขยายตัวร้อยละ 7.8 และ 18.8 ต่อปี ตามลําดับ จากการขยายตัวได้ดีทั้งจากผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยและชาวต่างประเทศ ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคม (เบื้องต้น) 2561 ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ -1.4 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนเมษายน 2561 อยู่ที่ร้อยละ 0.8 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค
ภาคกลาง เศรษฐกิจส่งสัญญาณขยายตัว โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในเดือนพฤษภาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 5.7 ต่อปี จากการขยายตัวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี และอ่างทอง เป็นสําคัญ เช่นเดียวกันกับการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทนของผู้มีรายได้ปานกลางและสูง สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 38.5 ต่อปี สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากยอดรถปิคอัพและยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 5.3 และ 5.1 ต่อปี ตามลําดับ สําหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะจากจํานวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน ในเดือนเมษายน 2561 ขยายตัวร้อยละ 5.7 และ 10.3 ต่อปี ตามลําดับ สอดคล้องกับการผลิตภาคเกษตรที่ขยายตัวในเกณฑ์ดี จากการเพิ่มขึ้นของข้าวเปลือก และข้าวโพด เป็นต้น ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคม (เบื้องต้น) 2561 อยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคที่ร้อยละ 0.9 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนเมษายน 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค
ภาคใต้ เศรษฐกิจขยายตัว โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงภาคการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ใน เดือนพฤษภาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 8.2 ต่อปี ตามการเพิ่มขึ้นในเกือบทุกจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดภูเก็ต กระบี่ และพังงา เป็นต้น สอดคล้องกับการบริโภคสินค้าในหมวดสินค้าคงทนของผู้มีรายได้ปานกลางและสูง สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 5.6 ต่อปี ตามการขยายตัวในจังหวัดพังงา กระบี่ และตรัง เป็นต้น เช่นเดียวกันกับการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ในเดือนพฤษภาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 44.5 ต่อปี นอกจากนี้เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการในเดือนพฤษภาคม 2561 อยู่ที่ 1,776.1 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 388.8 ต่อปี จากการลงทุนในจังหวัดสงขลา และกระบี่ เป็นสําคัญ สําหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี ทั้งจากจํานวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากผู้เยี่ยมเยือน ในเดือนเมษายน 2561 ขยายตัวร้อยละ 6.4 และ 15.0 ต่อปี ตามลําดับ จากการขยายตัวในทุกจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดฝั่งอันดามัน เป็นต้น ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคม ปี 2561 (เบื้องต้น) อยู่ในระดับเอื้อต่อการบริโภคที่ร้อยละ 1.4 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนเมษายน 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.6 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค
ภาคตะวันตก เศรษฐกิจฟื้นตัว โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากการบริโภค และการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงการท่องเที่ยว เป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ใน เดือนพฤษภาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 15.9 ต่อปี ตามการเพิ่มขึ้นในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี และสุพรรณบุรี เป็นต้น สอดคล้องกับการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่ง ขยายตัวร้อยละ 34.9 ต่อปี ตามลําดับ ตามการขยายตัวในเกือบทุกจังหวัด ขณะที่การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนจากยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ในเดือนพฤษภาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 17.5 ต่อปี รวมถึงเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการในเดือนพฤษภาคม 2561 อยู่ที่ 752 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 257.0 ต่อปี จากการลงทุนในจังหวัดกาญจนบุรี เป็นสําคัญ สําหรับด้านอุปทาน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีทั้งจํานวนและรายได้จากผู้เยี่ยมเยือน ในเดือนเมษายน 2561 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 6.1 และ 12.8 ต่อปี ตามลําดับ สําหรับด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคม (เบื้องต้น) 2561 ที่ยังอยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคที่ร้อยละ 1.3 ต่อปี และอัตราการว่างงาน ในเดือนเมษายน 2561 อยู่ที่ร้อยละ 0.8 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค
ภาคเหนือ เศรษฐกิจฟื้นตัว โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงภาคการท่องเที่ยว เป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในเดือนพฤษภาคม 2561 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.6 ต่อปี สอดคล้องกับการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทนของผู้มีรายได้ปานกลางและสูง สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 12.6 ต่อปี ตามการขยายตัวจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และลําปาง เป็นต้น เช่นเดียวกันกับการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 4.1 ต่อปี สอดคล้องกับเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ ในเดือนพฤษภาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 19.0 ต่อปี จากการลงทุนจังหวัดเชียงใหม่ เป็นสําคัญ สําหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวในเกณฑ์ดี ทั้งจากจํานวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากผู้เยี่ยมเยือน ในเดือนมีนาคม 2561 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 4.0 และ 6.8 ต่อปี ตามลําดับ ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคม (เบื้องต้น) 2561 ยังคงอยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคในภูมิภาคที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนเมษายน 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เศรษฐกิจส่งสัญญาณขยายตัว โดยมีการบริโภคภาคเอกชน รวมถึงภาคเกษตรและภาคการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในเดือนพฤษภาคม 2561 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.2 ต่อปี สอดคล้องกับการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทนของผู้มีรายได้ปานกลางและสูง จากยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 18.7 ต่อปี จากการขยายตัวในเกือบทุกจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดกาฬสินธุ์ และอุบลราชธานี เป็นต้น ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนยังคงทรงตัว แต่มีการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรเพิ่มขึ้น สะท้อนจากเงินทุนของโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการ ในเดือนพฤษภาคม 2561 อยู่ที่ 6,198.0 ล้านบาท ตามการลงทุนในจังหวัดอํานาจเจริญ และนครราชสีมา เป็นต้น สําหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี ทั้งจากจํานวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน ในเดือนเมษายน 2561 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 5.1 และ 10.7 ต่อปี ตามลําดับ สอดคล้องกับการผลิตภาคเกษตรที่ขยายตัวในเกณฑ์ดี จากการขยายตัวในผลผลิตข้าว อ้อยโรงงาน และมันสําปะหลัง เป็นต้น ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคม (เบื้องต้น) 2561 ปรับตัวลดลงมาที่ร้อยละ -1.2 ต่อปี และอัตราการว่างงาน ในเดือนเมษายน 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค
ภาคตะวันออก เศรษฐกิจทรงตัว โดยมีการบริโภคภาคเอกชนและการท่องเที่ยวช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจ สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ใน เดือนพฤษภาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 14.1 ต่อปี ตามการเพิ่มขึ้นในจังหวัดปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา เป็นต้น สอดคล้องกับการบริโภคสินค้าในหมวดสินค้าคงทนของผู้มีรายได้ปานกลางและสูง สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 8.0 ต่อปี ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรทรงตัว สําหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี ทั้งจากจํานวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน ในเดือนเมษายน 2561 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 7.9 และ 17.7 ต่อปี ตามลําดับ สอดคล้องกับผลผลิตอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมภาคตะวันออกที่ปรับเพิ่มขึ้นอยู่เหนือระดับ 100 มาอยู่ที่ 106.3 ตามการปรับตัวเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ และอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคม (เบื้องต้น) 2561 ปรับตัวลดลงมาที่ร้อยละ -1.2 ต่อปี และอัตราการว่างงาน ในเดือนเมษายน 2561 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกําลังแรงงานรวมของภูมิภาค | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/13409 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีช่วย ก.อุตฯ ลงพื้นที่เยี่ยมชมการดำเนินงานด้าน CSR ของ SCG ลำปาง และชุมชนต้นแบบในพื้นที่ | วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2561
รัฐมนตรีช่วย ก.อุตฯ ลงพื้นที่เยี่ยมชมการดําเนินงานด้าน CSR ของ SCG ลําปาง และชุมชนต้นแบบในพื้นที่
รัฐมนตรีช่วย ก.อุตฯ ลงพื้นที่เยี่ยมชมการดําเนินงานด้าน CSR ของ SCG ลําปาง และชุมชนต้นแบบในพื้นที่
วันนี้ (18 กุมภาพันธ์ 2561) นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ลําปาง) จํากัด อําเภอแจ้ห่ม จังหวัดลําปาง พร้อมรับฟังบรรยายการดําเนินกิจกรรม CSR ความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทฯ เพื่อเป็นแนวทางในการดําเนินโครงการ Big Brother (พี่ช่วยน้อง) โดยมีนางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายพรเทพ การศัพท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมเยี่ยมชม และนายสุรชัย นิ่มละออ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ลําปาง) จํากัด ให้การต้อนรับ
SCG ได้จัดทําโครงการ SCG รักษ์น้ําเพื่ออนาคต จากฝายชะลอน้ําที่สร้างความสมดุลทางธรรมชาติ สู่การปรับกระบวนการคิด ใช้งานวิจัยเป็นเครื่องมือในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและต่อยอดไปสู่ชุมชนที่เข้มแข็ง อาทิ การสร้างฝายชะลอน้ําทั่วประเทศ รวมกว่า 70,000 ฝาย ซึ่ง SCG ลําปาง สนับสนุนชุมชนสร้างฝายตั้งแต่ปี 2550-2560 กว่า 58,000 ฝาย ในพื้นที่จังหวัดลําปาง กว่า 44 ชุมชน ได้ดําเนินการสนับสนุนชุมชนขยายการบริหารจัดการน้ําไปสู่ชุมชน เกิดการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อมุ่งสู่ความยั่งยืน
นอกจากนี้ยังซึ่งได้เยี่ยมชมกลุ่มโรงสีข้าวกล้องบ้านแป้นใต้ ตําบลบ้านสา อําเภอแจ้ห่ม จังหวัดลําปาง โดย SCG ได้ส่งเสริมในการทําวิจัยเรื่อง การฟื้นฟูและอนุรักษ์วิถีการบริโภคอย่างยั่งยืน สนับสนุนชุมชนให้จัดตั้งวิสาหกิจชุมชนโรงสีข้าวกล้อง ตําบลบ้านสา ซึ่งข้าวที่ได้จากการสีจะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีเบต้าแคโรทีน สามารถป้องกันมะเร็งและผิวหนังเหี่ยวย่น ข้าวกล้องจากบ้านแป้นใต้ สามารถสร้างรายได้ให้ทั้งชุมชนบ้านสามขาและบ้านแป้นใต้ได้อย่างดี เกิดการเรียนรู้ที่จะบริหารจัดการร่วมกัน และพัฒนาสู่ชุมชนต้นแบบที่สามารถเผยแพร่องค์ความรู้สู่ชุมชนอื่นได้
ชุมชนที่สอง กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมะนาว ณ ไร่กาญจนา วิสาหกิจบ้านแจ้คอน ตําบลทุ่งผึ้ง อําเภอแจ้ห่ม จังหวัดลําปาง มีพื้นที่การผลิต 1,200 ไร่ ผลิต 100,000 ตัน/ปี ซึ่งทางชุมชนได้หารือกับทางคณะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ถึงความต้องการในการแปรรูปผลผลิตของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ มะนาวผง น้ํามะนาวสด และเปลือกมะนาวเชื่อม/แช่อิ่ม โดยมีนายอเนก ประสม ประธานกลุ่มฯ ให้การต้อนรับและร่วมหารือ
ชุนชมที่สาม กลุ่มไผ่เพชรล้านนาฟาร์ม ตําบลแม่สุก อําเภอแจ้ห่ม จังหวัดลําปาง มีพื้นที่ปลูก 300 ไร่ ผลิตได้ 200,000 ลํา/ปี เป็นแหล่งเกษตรอินทรีย์ที่มีชื่อเสียงของลําปาง และเป็นศูนย์เรียนรู้เกษตรปลอดเคมี เกษตรผสมผสาน ปัจจุบันมีพืชสวน ปศุสัตว์ โรงฟักไก่ไข่ โรงเรือนเพาะลูกไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดํา และไก่พันธุ์เบรส เป็นต้น โดยหารือแนวทางในการส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการ ยกระดับเศรษฐกิจชุมชน บูรณาการทํางานทุกภาคส่วน ตามนโยบายรัฐบาล (Local Economy) โดยมีนายประพัตน์ ปัญญาชาติรักษ์ และนายณัฐนันท์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานกลุ่มฯ ให้การต้อนรับและร่วมหารือ | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีช่วย ก.อุตฯ ลงพื้นที่เยี่ยมชมการดำเนินงานด้าน CSR ของ SCG ลำปาง และชุมชนต้นแบบในพื้นที่
วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2561
รัฐมนตรีช่วย ก.อุตฯ ลงพื้นที่เยี่ยมชมการดําเนินงานด้าน CSR ของ SCG ลําปาง และชุมชนต้นแบบในพื้นที่
รัฐมนตรีช่วย ก.อุตฯ ลงพื้นที่เยี่ยมชมการดําเนินงานด้าน CSR ของ SCG ลําปาง และชุมชนต้นแบบในพื้นที่
วันนี้ (18 กุมภาพันธ์ 2561) นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ลําปาง) จํากัด อําเภอแจ้ห่ม จังหวัดลําปาง พร้อมรับฟังบรรยายการดําเนินกิจกรรม CSR ความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทฯ เพื่อเป็นแนวทางในการดําเนินโครงการ Big Brother (พี่ช่วยน้อง) โดยมีนางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายพรเทพ การศัพท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมเยี่ยมชม และนายสุรชัย นิ่มละออ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ลําปาง) จํากัด ให้การต้อนรับ
SCG ได้จัดทําโครงการ SCG รักษ์น้ําเพื่ออนาคต จากฝายชะลอน้ําที่สร้างความสมดุลทางธรรมชาติ สู่การปรับกระบวนการคิด ใช้งานวิจัยเป็นเครื่องมือในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและต่อยอดไปสู่ชุมชนที่เข้มแข็ง อาทิ การสร้างฝายชะลอน้ําทั่วประเทศ รวมกว่า 70,000 ฝาย ซึ่ง SCG ลําปาง สนับสนุนชุมชนสร้างฝายตั้งแต่ปี 2550-2560 กว่า 58,000 ฝาย ในพื้นที่จังหวัดลําปาง กว่า 44 ชุมชน ได้ดําเนินการสนับสนุนชุมชนขยายการบริหารจัดการน้ําไปสู่ชุมชน เกิดการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อมุ่งสู่ความยั่งยืน
นอกจากนี้ยังซึ่งได้เยี่ยมชมกลุ่มโรงสีข้าวกล้องบ้านแป้นใต้ ตําบลบ้านสา อําเภอแจ้ห่ม จังหวัดลําปาง โดย SCG ได้ส่งเสริมในการทําวิจัยเรื่อง การฟื้นฟูและอนุรักษ์วิถีการบริโภคอย่างยั่งยืน สนับสนุนชุมชนให้จัดตั้งวิสาหกิจชุมชนโรงสีข้าวกล้อง ตําบลบ้านสา ซึ่งข้าวที่ได้จากการสีจะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีเบต้าแคโรทีน สามารถป้องกันมะเร็งและผิวหนังเหี่ยวย่น ข้าวกล้องจากบ้านแป้นใต้ สามารถสร้างรายได้ให้ทั้งชุมชนบ้านสามขาและบ้านแป้นใต้ได้อย่างดี เกิดการเรียนรู้ที่จะบริหารจัดการร่วมกัน และพัฒนาสู่ชุมชนต้นแบบที่สามารถเผยแพร่องค์ความรู้สู่ชุมชนอื่นได้
ชุมชนที่สอง กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมะนาว ณ ไร่กาญจนา วิสาหกิจบ้านแจ้คอน ตําบลทุ่งผึ้ง อําเภอแจ้ห่ม จังหวัดลําปาง มีพื้นที่การผลิต 1,200 ไร่ ผลิต 100,000 ตัน/ปี ซึ่งทางชุมชนได้หารือกับทางคณะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ถึงความต้องการในการแปรรูปผลผลิตของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ มะนาวผง น้ํามะนาวสด และเปลือกมะนาวเชื่อม/แช่อิ่ม โดยมีนายอเนก ประสม ประธานกลุ่มฯ ให้การต้อนรับและร่วมหารือ
ชุนชมที่สาม กลุ่มไผ่เพชรล้านนาฟาร์ม ตําบลแม่สุก อําเภอแจ้ห่ม จังหวัดลําปาง มีพื้นที่ปลูก 300 ไร่ ผลิตได้ 200,000 ลํา/ปี เป็นแหล่งเกษตรอินทรีย์ที่มีชื่อเสียงของลําปาง และเป็นศูนย์เรียนรู้เกษตรปลอดเคมี เกษตรผสมผสาน ปัจจุบันมีพืชสวน ปศุสัตว์ โรงฟักไก่ไข่ โรงเรือนเพาะลูกไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดํา และไก่พันธุ์เบรส เป็นต้น โดยหารือแนวทางในการส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการ ยกระดับเศรษฐกิจชุมชน บูรณาการทํางานทุกภาคส่วน ตามนโยบายรัฐบาล (Local Economy) โดยมีนายประพัตน์ ปัญญาชาติรักษ์ และนายณัฐนันท์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานกลุ่มฯ ให้การต้อนรับและร่วมหารือ | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/10164 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีเผยไทย “การ์ดตกไม่ได้เลยโดยเด็ดขาด” แม้ตัวเลขผู้ติดเชื้อมีจำนวนลดลงเหลือตัวเลขหลักเดียว | วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม 2563
นายกรัฐมนตรีเผยไทย “การ์ดตกไม่ได้เลยโดยเด็ดขาด” แม้ตัวเลขผู้ติดเชื้อมีจํานวนลดลงเหลือตัวเลขหลักเดียว
นายกรัฐมนตรีเผยไทย “การ์ดตกไม่ได้เลยโดยเด็ดขาด” แม้ตัวเลขผู้ติดเชื้อมีจํานวนลดลงเหลือตัวเลขหลักเดียว
วันนี้ (5 พ.ค.63) เวลา 12.15 น. ณ โถงบัญชาการ ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แถลงหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี จํานวนตัวเลขผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ไทย ในช่วงที่ผ่านมาเหลือเพียงหลักเดียว ฝากสื่อสิ่งพิมพ์ ออนไลน์ ช่วยสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน โดยย้ําการ์ดตกไม่ได้เลยโดยเด็ดขาด
นายกรัฐมนตรีสั่งการให้ตรวจสอบและแก้ไข กรณีรถไฟฟ้าบีทีเอสขัดข้อง ทําให้เกิดภาพความแออัดของประชาชนในสถานีรถไฟฟ้า เพราะเป็นช่วงเร่งด่วน มีการสัญจรของประชาชนจํานวนมาก ต้องมีแผนงานมาตรการแก้ไข
นายกรัฐมนตรียังย้ําว่า ในช่วงวันหยุดที่ผ่านมาได้พบปะพูดคุยกับภาคธุรกิจ ขนาดกลางและขนาดเล็ก ตรวจเยี่ยมเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตามด่าน จุดตรวจ ขอบคุณรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่ลงพื้นที่ ตรวจเยี่ยมจุดตรวจตามพื้นที่ต่าง ๆ เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณภาคธุรกิจที่ได้ตอบรับครบทั้ง 20 ราย ซึ่งมีแผนการดูแลลูกจ้าง พนักงาน แรงงานของกลุ่มห่วงโซ่อุตสาหกรรมของตน พร้อมยังได้เสนอแผนงานเพื่อร่วมมือกับรัฐบาลในการช่วยเหลือ ฟื้นฟู ประชาชนกลุ่มต่างๆทั้งเกษตรกรและกลุ่มอาชีพอื่นๆ รวมทั้งในแผนการพัฒนาในแต่ละจังหวัดตามศักยภาพของภาคธุรกิจด้วย ซึ่งภาครัฐโดยกระทรวงต่างๆ ก็ได้มีการดําเนินมาตรการเยียวยาต่างๆ แล้ว เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จากการบริหารงบประมาณจาก พ.ร.ก. กู้เงิน ซึ่งแต่ละมาตรการแม้ผ่านการเห็นชอบของคณะรัฐมนตรียังจะมีการตรวจสอบเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ อาทิ การเข้าถึง Soft Loan เนื่องจากการคาดการสถานการณ์เศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบ อาจต้องใช้เวลาฟื้นฟูมากกว่า 3 เดือน เป็น 6 - 9 เดือน จึงจําเป็นต้องมีมาตรการไว้รองรับ ควบคู่กับการดําเนินชีวิตตามวิถีชีวิตปกติแบบใหม่ หรือ New Normal ที่ให้ความสําคัญกับสุขภาพ จึงต้องมีการวางแผน เพราะการแก้ปัญหาต้องใช้ทั้งเวลาและงบประมาณ รวมทั้งต้องคํานึงถึงข้อกฎหมายด้วย
นายกรัฐมนตรีแนะนําให้ประชาชน สามารถแจ้งความเดือดร้อนผ่านช่องทางที่เหมาะสม เช่น การร้องเรียนผ่านสํานักนายกรัฐมนตรี โดยนายกรัฐมนตรีจะนําเข้าสู่การประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อหาทางแก้ไข พร้อมขอให้ประชาชนอดทน ทั้งนี้รัฐบาลจะดูแลอย่างเต็มที่ เพื่อผ่านช่วงเวลานี้ไปด้วยกัน
..................
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีเผยไทย “การ์ดตกไม่ได้เลยโดยเด็ดขาด” แม้ตัวเลขผู้ติดเชื้อมีจำนวนลดลงเหลือตัวเลขหลักเดียว
วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม 2563
นายกรัฐมนตรีเผยไทย “การ์ดตกไม่ได้เลยโดยเด็ดขาด” แม้ตัวเลขผู้ติดเชื้อมีจํานวนลดลงเหลือตัวเลขหลักเดียว
นายกรัฐมนตรีเผยไทย “การ์ดตกไม่ได้เลยโดยเด็ดขาด” แม้ตัวเลขผู้ติดเชื้อมีจํานวนลดลงเหลือตัวเลขหลักเดียว
วันนี้ (5 พ.ค.63) เวลา 12.15 น. ณ โถงบัญชาการ ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แถลงหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี จํานวนตัวเลขผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ไทย ในช่วงที่ผ่านมาเหลือเพียงหลักเดียว ฝากสื่อสิ่งพิมพ์ ออนไลน์ ช่วยสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน โดยย้ําการ์ดตกไม่ได้เลยโดยเด็ดขาด
นายกรัฐมนตรีสั่งการให้ตรวจสอบและแก้ไข กรณีรถไฟฟ้าบีทีเอสขัดข้อง ทําให้เกิดภาพความแออัดของประชาชนในสถานีรถไฟฟ้า เพราะเป็นช่วงเร่งด่วน มีการสัญจรของประชาชนจํานวนมาก ต้องมีแผนงานมาตรการแก้ไข
นายกรัฐมนตรียังย้ําว่า ในช่วงวันหยุดที่ผ่านมาได้พบปะพูดคุยกับภาคธุรกิจ ขนาดกลางและขนาดเล็ก ตรวจเยี่ยมเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตามด่าน จุดตรวจ ขอบคุณรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่ลงพื้นที่ ตรวจเยี่ยมจุดตรวจตามพื้นที่ต่าง ๆ เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณภาคธุรกิจที่ได้ตอบรับครบทั้ง 20 ราย ซึ่งมีแผนการดูแลลูกจ้าง พนักงาน แรงงานของกลุ่มห่วงโซ่อุตสาหกรรมของตน พร้อมยังได้เสนอแผนงานเพื่อร่วมมือกับรัฐบาลในการช่วยเหลือ ฟื้นฟู ประชาชนกลุ่มต่างๆทั้งเกษตรกรและกลุ่มอาชีพอื่นๆ รวมทั้งในแผนการพัฒนาในแต่ละจังหวัดตามศักยภาพของภาคธุรกิจด้วย ซึ่งภาครัฐโดยกระทรวงต่างๆ ก็ได้มีการดําเนินมาตรการเยียวยาต่างๆ แล้ว เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จากการบริหารงบประมาณจาก พ.ร.ก. กู้เงิน ซึ่งแต่ละมาตรการแม้ผ่านการเห็นชอบของคณะรัฐมนตรียังจะมีการตรวจสอบเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ อาทิ การเข้าถึง Soft Loan เนื่องจากการคาดการสถานการณ์เศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบ อาจต้องใช้เวลาฟื้นฟูมากกว่า 3 เดือน เป็น 6 - 9 เดือน จึงจําเป็นต้องมีมาตรการไว้รองรับ ควบคู่กับการดําเนินชีวิตตามวิถีชีวิตปกติแบบใหม่ หรือ New Normal ที่ให้ความสําคัญกับสุขภาพ จึงต้องมีการวางแผน เพราะการแก้ปัญหาต้องใช้ทั้งเวลาและงบประมาณ รวมทั้งต้องคํานึงถึงข้อกฎหมายด้วย
นายกรัฐมนตรีแนะนําให้ประชาชน สามารถแจ้งความเดือดร้อนผ่านช่องทางที่เหมาะสม เช่น การร้องเรียนผ่านสํานักนายกรัฐมนตรี โดยนายกรัฐมนตรีจะนําเข้าสู่การประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อหาทางแก้ไข พร้อมขอให้ประชาชนอดทน ทั้งนี้รัฐบาลจะดูแลอย่างเต็มที่ เพื่อผ่านช่วงเวลานี้ไปด้วยกัน
..................
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/30333 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.วธ.เป็นประธานแถลงข่าว “โครงการแปลหนังสือ วรรณคดี และวรรณกรรมแห่งชาติอาเซียน” | วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม 2563
รมว.วธ.เป็นประธานแถลงข่าว “โครงการแปลหนังสือ วรรณคดี และวรรณกรรมแห่งชาติอาเซียน”
รมว.วธ.เป็นประธานแถลงข่าว “โครงการแปลหนังสือ วรรณคดี และวรรณกรรมแห่งชาติอาเซียน”
วันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๓๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานแถลงข่าว “โครงการแปลหนังสือ วรรณคดี และวรรณกรรมแห่งชาติอาเซียน” โดยมี นายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ผศ.ดร.ปณิธิ หุ่นแสวง ประธานมูลนิธิวิชาหนังสือ นายมกุฏ อรฤดี ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พุทธศักราช ๒๕๕๕ ร่วมแถลงข่าว และมีผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม นักประพันธ์ นักแปล และนักเขียนจากกลุ่มประเทศอาเซียน เข้าร่วมงาน ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจัดขึ้นโดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตกลุ่มประเทศอาเซียน มูลนิธิวิชาหนังสือ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอาเซียนจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ และศิลปินแห่งชาติ คัดสรรหนังสือจากประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งในปีนี้มีจํานวน ๑๓๐ ชื่อเรื่อง นํามาแปลเป็นภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และเข้าใจวัฒนธรรมของแต่ละประเทศผ่านวรรณกรรม และหนังสือประเภทต่างๆ โดยใช้หนังสือเป็นสื่อกลาง ซึ่งจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.วธ.เป็นประธานแถลงข่าว “โครงการแปลหนังสือ วรรณคดี และวรรณกรรมแห่งชาติอาเซียน”
วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม 2563
รมว.วธ.เป็นประธานแถลงข่าว “โครงการแปลหนังสือ วรรณคดี และวรรณกรรมแห่งชาติอาเซียน”
รมว.วธ.เป็นประธานแถลงข่าว “โครงการแปลหนังสือ วรรณคดี และวรรณกรรมแห่งชาติอาเซียน”
วันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๓๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานแถลงข่าว “โครงการแปลหนังสือ วรรณคดี และวรรณกรรมแห่งชาติอาเซียน” โดยมี นายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ผศ.ดร.ปณิธิ หุ่นแสวง ประธานมูลนิธิวิชาหนังสือ นายมกุฏ อรฤดี ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พุทธศักราช ๒๕๕๕ ร่วมแถลงข่าว และมีผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม นักประพันธ์ นักแปล และนักเขียนจากกลุ่มประเทศอาเซียน เข้าร่วมงาน ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจัดขึ้นโดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตกลุ่มประเทศอาเซียน มูลนิธิวิชาหนังสือ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอาเซียนจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ และศิลปินแห่งชาติ คัดสรรหนังสือจากประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งในปีนี้มีจํานวน ๑๓๐ ชื่อเรื่อง นํามาแปลเป็นภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และเข้าใจวัฒนธรรมของแต่ละประเทศผ่านวรรณกรรม และหนังสือประเภทต่างๆ โดยใช้หนังสือเป็นสื่อกลาง ซึ่งจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/33803 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-SME Development Bank ร่วมออกบูธ Money Expo 2017 กรุงเทพฯ ขนทัพสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ โปรโมชั่นสุดพิเศษ พร้อมปรับโฉมใหม่ก้าวสู่ดิจิตอล 4.0 ด้วยบริการขอสินเชื่อผ่านนวัตกรรมทางการเงินอิเ | วันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม 2560
SME Development Bank ร่วมออกบูธ Money Expo 2017 กรุงเทพฯ ขนทัพสินเชื่อดอกเบี้ยต่ํา โปรโมชั่นสุดพิเศษ พร้อมปรับโฉมใหม่ก้าวสู่ดิจิตอล 4.0 ด้วยบริการขอสินเชื่อผ่านนวัตกรรมทางการเงินอิเ
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank หรือ ธพว.) เปิดบูธให้คําปรึกษาแนะนํา ในงานมหกรรมการเงิน Money Expo 2017 ระหว่างวันที่ 11-14 พ.ค. 2560 ตั้งแต่เวลา 10.00 – 21.00 น. ณ อาคารชาเลนเจอร์ 2-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank หรือ ธพว.) เปิดบูธให้คําปรึกษาแนะนํา ในงานมหกรรมการเงิน Money Expo 2017 ระหว่างวันที่ 11-14 พฤษภาคม 2560 ตั้งแต่เวลา 10.00 – 21.00 น. ณ อาคารชาเลนเจอร์ 2-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน พร้อมให้บริการปรึกษาแนะนําด้านการพัฒนาและเริ่มต้นธุรกิจ SMEs Startup โครงการร่วมลงทุน พร้อมทั้งบริการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ํา สุดพิเศษ อาทิ กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ อัตราดอกเบี้ยต่ําสุด ๆ เพียง 1% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา วงเงินกองทุน 20,000 ล้านบาท ระยะเวลาชําระคืน 7 ปี ไม่ต้องผ่อนชําระหนี้ใน 3 ปีแรก ไม่ต้องมีหลักประกัน ให้กู้สูงสุด 10 ล้านบาทต่อราย เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่จดทะเบียนในรูปแบบของนิติบุคคล โดยธุรกิจต้องอยู่ในกลุ่มยุทธศาสตร์ของแต่ละจังหวัด สินเชื่อ SMEs Transformation Loan อัตราดอกเบี้ยต่ําพิเศษ 3% คงที่ 3 ปีแรก ปีที่ 4-7 อัตราดอกเบี้ย MLR ต่อปี วงเงิน 15,000 ล้านบาท กู้ได้รายละไม่เกิน 15 ล้านบาท ระยะเวลากู้ยืมไม่เกิน 7 ปี ปลอดชําระคืนเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน สินเชื่อ SMART SMEs บัญชีเดียว อัตราดอกเบี้ยเพียง 5% , สินเชื่อ Soft Loan เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักร อัตราดอกเบี้ยเพียง 4% และ สินเชื่อแฟคตอริ่งเบิกจ่ายทั่วไทยในวันเดียว อัตราดอกเบี้ยเพียง 3.99% เป็นต้น พร้อมบริการรับคําขอยื่นกู้ภายในงาน
นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ เปิดเผยว่า “การร่วมงานครั้งนี้ ถือเป็นการปฏิวัติและพลิกโฉมการทําธุรกรรมในการขอสินเชื่อด้วยระบบนวัตกรรมทางการเงินอิเล็คทรอนิกส์ โดย SME Development Bank ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการ เพื่อปรับบริการเข้าสู่ยุคดิจิตอล ไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการรับคําสินเชื่อจากผู้ประกอบการที่สนใจกู้ผ่านระบบอิเล็คทรอนิกส์หรือสามารถใช้คอมพิวเตอร์ และ Wifi ภายในบูธ SME Development Bank เพื่อลงทะเบียนกรอกคําขอรับบริการสินเชื่อ เป็นการตอบสนองความต้องการผู้ประกอบการ การทําธุรกรรมผ่านเทคโนโลยี ด้วยความสะดวก รวดเร็ว และความปลอดภัย สานต่อนโยบายรัฐบาลในการเข้าถึงข้อมูลเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐผ่าน G-Cloud และ E-Government ในอนาคต สําหรับการเชื่อมโยงข้อมูลและการบริการ จากหน่วยงานภาครัฐและเครือข่ายพันธมิตรสังคมผู้ประกอบการ SMEs พร้อมทั้งความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ โดยผู้ที่สนใจสามารถขอรับคําปรึกษาแนะนํา พร้อมยื่นกู้ได้ภายในงาน ที่ บูธ J4”
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการที่ยื่นกู้สินเชื่อภายในงาน เอกสารครบ รับทันทีของสมนาคุณพิเศษภายในงาน สําหรับผู้ที่สนใจใช้บริการเงินกู้สินเชื่อและรับคําปรึกษาแนะนํา สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 1357 หรือติดตามกิจกรรมดีๆ ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย ผ่านช่องทาง facebook.com/SMEDevelopmentBank
ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ : นางอุบลรัตน์ ค่าแพง ผู้อํานวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและกิจกรรมเพื่อสังคม โทร. 085-980-7861, 0-265-4574-5
ที่มา : กระทรวงการคลัง
ผู้นําเสนอ : กลุ่มสารนิเทศการคลัง สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-SME Development Bank ร่วมออกบูธ Money Expo 2017 กรุงเทพฯ ขนทัพสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ โปรโมชั่นสุดพิเศษ พร้อมปรับโฉมใหม่ก้าวสู่ดิจิตอล 4.0 ด้วยบริการขอสินเชื่อผ่านนวัตกรรมทางการเงินอิเ
วันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม 2560
SME Development Bank ร่วมออกบูธ Money Expo 2017 กรุงเทพฯ ขนทัพสินเชื่อดอกเบี้ยต่ํา โปรโมชั่นสุดพิเศษ พร้อมปรับโฉมใหม่ก้าวสู่ดิจิตอล 4.0 ด้วยบริการขอสินเชื่อผ่านนวัตกรรมทางการเงินอิเ
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank หรือ ธพว.) เปิดบูธให้คําปรึกษาแนะนํา ในงานมหกรรมการเงิน Money Expo 2017 ระหว่างวันที่ 11-14 พ.ค. 2560 ตั้งแต่เวลา 10.00 – 21.00 น. ณ อาคารชาเลนเจอร์ 2-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank หรือ ธพว.) เปิดบูธให้คําปรึกษาแนะนํา ในงานมหกรรมการเงิน Money Expo 2017 ระหว่างวันที่ 11-14 พฤษภาคม 2560 ตั้งแต่เวลา 10.00 – 21.00 น. ณ อาคารชาเลนเจอร์ 2-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน พร้อมให้บริการปรึกษาแนะนําด้านการพัฒนาและเริ่มต้นธุรกิจ SMEs Startup โครงการร่วมลงทุน พร้อมทั้งบริการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ํา สุดพิเศษ อาทิ กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ อัตราดอกเบี้ยต่ําสุด ๆ เพียง 1% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา วงเงินกองทุน 20,000 ล้านบาท ระยะเวลาชําระคืน 7 ปี ไม่ต้องผ่อนชําระหนี้ใน 3 ปีแรก ไม่ต้องมีหลักประกัน ให้กู้สูงสุด 10 ล้านบาทต่อราย เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่จดทะเบียนในรูปแบบของนิติบุคคล โดยธุรกิจต้องอยู่ในกลุ่มยุทธศาสตร์ของแต่ละจังหวัด สินเชื่อ SMEs Transformation Loan อัตราดอกเบี้ยต่ําพิเศษ 3% คงที่ 3 ปีแรก ปีที่ 4-7 อัตราดอกเบี้ย MLR ต่อปี วงเงิน 15,000 ล้านบาท กู้ได้รายละไม่เกิน 15 ล้านบาท ระยะเวลากู้ยืมไม่เกิน 7 ปี ปลอดชําระคืนเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน สินเชื่อ SMART SMEs บัญชีเดียว อัตราดอกเบี้ยเพียง 5% , สินเชื่อ Soft Loan เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักร อัตราดอกเบี้ยเพียง 4% และ สินเชื่อแฟคตอริ่งเบิกจ่ายทั่วไทยในวันเดียว อัตราดอกเบี้ยเพียง 3.99% เป็นต้น พร้อมบริการรับคําขอยื่นกู้ภายในงาน
นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ เปิดเผยว่า “การร่วมงานครั้งนี้ ถือเป็นการปฏิวัติและพลิกโฉมการทําธุรกรรมในการขอสินเชื่อด้วยระบบนวัตกรรมทางการเงินอิเล็คทรอนิกส์ โดย SME Development Bank ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการ เพื่อปรับบริการเข้าสู่ยุคดิจิตอล ไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการรับคําสินเชื่อจากผู้ประกอบการที่สนใจกู้ผ่านระบบอิเล็คทรอนิกส์หรือสามารถใช้คอมพิวเตอร์ และ Wifi ภายในบูธ SME Development Bank เพื่อลงทะเบียนกรอกคําขอรับบริการสินเชื่อ เป็นการตอบสนองความต้องการผู้ประกอบการ การทําธุรกรรมผ่านเทคโนโลยี ด้วยความสะดวก รวดเร็ว และความปลอดภัย สานต่อนโยบายรัฐบาลในการเข้าถึงข้อมูลเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐผ่าน G-Cloud และ E-Government ในอนาคต สําหรับการเชื่อมโยงข้อมูลและการบริการ จากหน่วยงานภาครัฐและเครือข่ายพันธมิตรสังคมผู้ประกอบการ SMEs พร้อมทั้งความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ โดยผู้ที่สนใจสามารถขอรับคําปรึกษาแนะนํา พร้อมยื่นกู้ได้ภายในงาน ที่ บูธ J4”
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการที่ยื่นกู้สินเชื่อภายในงาน เอกสารครบ รับทันทีของสมนาคุณพิเศษภายในงาน สําหรับผู้ที่สนใจใช้บริการเงินกู้สินเชื่อและรับคําปรึกษาแนะนํา สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 1357 หรือติดตามกิจกรรมดีๆ ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย ผ่านช่องทาง facebook.com/SMEDevelopmentBank
ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ : นางอุบลรัตน์ ค่าแพง ผู้อํานวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและกิจกรรมเพื่อสังคม โทร. 085-980-7861, 0-265-4574-5
ที่มา : กระทรวงการคลัง
ผู้นําเสนอ : กลุ่มสารนิเทศการคลัง สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/3580 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ออมสิน จับมือ ไอซีบีซี (ไทย) เครือข่ายธนาคารอันดับ 1 ของโลก ร่วมพัฒนาบริการทางการเงิน ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าไทย-จีน | วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม 2562
ออมสิน จับมือ ไอซีบีซี (ไทย) เครือข่ายธนาคารอันดับ 1 ของโลก ร่วมพัฒนาบริการทางการเงิน ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าไทย-จีน
พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางธุรกิจ (Memorandum of Understanding : MOU)ระหว่าง ธนาคารออมสิน กับ ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จํากัด (มหาชน)
ธนาคารออมสิน สถาบันการเงินของรัฐขนาดใหญ่ และมีฐานลูกค้ารายย่อยมากที่สุดในประเทศไทย จับมือพันธมิตรธนาคาร ไอซีบีซี (ไทย) กลุ่มเครือข่ายธนาคาร ไอซีบีซี ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีลูกค้าบุคคลมากกว่า 500 ล้านราย ผนึกกําลังส่งเสริมความแข็งแกร่งของทั้งสองธนาคารเป็นเครือข่ายธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในโลก ช่วยขยายฐานลูกค้า ไทย-จีน ทั้งนักธุรกิจและนักท่องเที่ยว ผ่านธุรกรรมในประเทศไทยด้วยเครือข่ายของธนาคารออมสิน และผ่านเครือข่าย ไอซีบีซี ทั่วโลก เผย ภายใต้ความร่วมมือนี้จะช่วยเสริมเครือข่ายธุรกิจฐานรากและโครงการขั้นพื้นฐานของทางภาครัฐ
วันนี้ (11 ตุลาคม 2562) ณ ห้องประชุมกําแพงเพชร ธนาคารออมสิน สํานักงานใหญ่ ได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางธุรกิจ (Memorandum of Understanding : MOU) ระหว่าง ธนาคารออมสิน กับ ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จํากัด (มหาชน) โดยมี ดร.ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อํานวยการธนาคารออมสิน และดร.จื้อกัง หลี่ ประธานกรรมการ ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จํากัด (มหาชน) ร่วมลงนาม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินร่วมกัน โดยนําจุดแข็งของทั้ง 2 สถาบันการเงินมาใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น และเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งสองฝ่าย
ดร.ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อํานวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ด้วยความสัมพันธ์อันดีระหว่าง 2 ประเทศ คือ ไทย และ จีน ที่มีมาอย่างยาวนานในทุกมิติทั้งด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และทางสังคม จวบจนปัจจุบันที่รัฐบาลประเทศจีนและรัฐบาลไทยได้มีความร่วมมือกันในหลายๆโครงการ เช่น โครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ หรือ EEC, โครงการ One Belt One Road เป็นต้นในขณะที่คนไทยและคนจีนมีการเดินทางระหว่าง 2 ประเทศเป็นจํานวนมาก ทั้งเพื่อการท่องเที่ยวและการทําธุรกิจ ดังนั้น จึงเป็นโอกาสให้สถาบันการเงินของรัฐขนาดใหญ่อันดับหนึ่งของไทยได้แก่ ธนาคารออมสิน และธนาคารไอซีบีซี (ไทย) ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มธนาคารไอซีบีซี ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน ได้ร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินเพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างกัน เพื่ออํานวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้ง 2 ธนาคาร
ทั้งนี้ ธนาคารออมสินได้ดําเนินงานภายใต้ภารกิจหลักด้านการส่งเสริมการออม การสร้างวินัยทางการเงิน การเป็นแหล่งทุนสนับสนุนประชาชนรายย่อย และสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยบริการทางการเงินครบวงจร โดยความร่วมมือในครั้งนี้ จะครอบคลุมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ 7 ด้านดังนี้
1. บัตรเครดิต Co-Branded UnionPay
2. บริการด้านร้านค้ารับบัตร (EDC/POS)
3. ด้านการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านระบบออนไลน์
4. การให้สินเชื่อร่วม/เงินกู้ร่วม(Syndicated Loan)
5. โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC (Eastern Economic Corridor)
6. การให้กู้ยืมระหว่างธนาคาร (Interbank Lending)
7. การเป็นตัวแทนเพื่อให้บริการลูกค้าร่วมกัน (Banking Agent)
โดยธนาคารออมสินเชื่อมั่นว่า ความร่วมมือดังกล่าวนี้ จะเป็นกลไกสําคัญเพื่อที่จะสร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการร่วมกันให้แก่ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เศรษฐกิจทั้งสองประเทศมากยิ่งขึ้น
ดร.จื้อกัง หลี่ ประธานกรรมการ ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จํากัด (มหาชน) กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 9 ปี ที่ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) ดําเนินธุรกิจในประเทศไทย ธนาคารทําหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศไทยมาโดยตลอด และพร้อมให้บริการทางการเงินที่ครอบคลุมได้อย่างครบถ้วน
“การลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางธุรกิจในครั้งนี้ ถือเป็นการสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจระหว่าง 2 ธนาคาร โดยจะมีการร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินและบริการทางการเงินให้ดียิ่งขึ้น ทั้งในกลุ่มลูกค้าบุคคลและลูกค้านิติบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ธนาคารไอซีบีซี มีกลุ่มลูกค้าบุคคลมากกว่า 500 ล้านราย โดยในจํานวนดังกล่าวเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังประเทศไทย และมีการใช้จ่ายค่าสินค้าและบริการผ่านบัตรเครดิต บัตรเดบิต และแอพพลิเคชั่น AlipayWechatpay ในขณะที่ธนาคารออมสินเองมีลูกค้าที่เป็นกลุ่มร้านค้าผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เป็นจํานวนมาก ดังนั้น ธนาคารมั่นใจว่า ความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นการช่วยขยายฐานลูกค้าของทั้งสองธนาคาร ทําให้นักท่องเที่ยวชาวจีนสามารถจับจ่ายใช้สอยได้สะดวกยิ่งขึ้น และเป็นการเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าให้กับร้านค้าด้วย อีกทั้งยังจะช่วยเพิ่มมูลค่าด้านการท่องเที่ยว ในแง่ของเม็ดเงินที่ไหลเข้ามาในประเทศ ซึ่งจะเป็นรากฐานในการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งต่อไป” ดร.จื้อกัง หลี่ กล่าว | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ออมสิน จับมือ ไอซีบีซี (ไทย) เครือข่ายธนาคารอันดับ 1 ของโลก ร่วมพัฒนาบริการทางการเงิน ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าไทย-จีน
วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม 2562
ออมสิน จับมือ ไอซีบีซี (ไทย) เครือข่ายธนาคารอันดับ 1 ของโลก ร่วมพัฒนาบริการทางการเงิน ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าไทย-จีน
พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางธุรกิจ (Memorandum of Understanding : MOU)ระหว่าง ธนาคารออมสิน กับ ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จํากัด (มหาชน)
ธนาคารออมสิน สถาบันการเงินของรัฐขนาดใหญ่ และมีฐานลูกค้ารายย่อยมากที่สุดในประเทศไทย จับมือพันธมิตรธนาคาร ไอซีบีซี (ไทย) กลุ่มเครือข่ายธนาคาร ไอซีบีซี ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีลูกค้าบุคคลมากกว่า 500 ล้านราย ผนึกกําลังส่งเสริมความแข็งแกร่งของทั้งสองธนาคารเป็นเครือข่ายธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในโลก ช่วยขยายฐานลูกค้า ไทย-จีน ทั้งนักธุรกิจและนักท่องเที่ยว ผ่านธุรกรรมในประเทศไทยด้วยเครือข่ายของธนาคารออมสิน และผ่านเครือข่าย ไอซีบีซี ทั่วโลก เผย ภายใต้ความร่วมมือนี้จะช่วยเสริมเครือข่ายธุรกิจฐานรากและโครงการขั้นพื้นฐานของทางภาครัฐ
วันนี้ (11 ตุลาคม 2562) ณ ห้องประชุมกําแพงเพชร ธนาคารออมสิน สํานักงานใหญ่ ได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางธุรกิจ (Memorandum of Understanding : MOU) ระหว่าง ธนาคารออมสิน กับ ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จํากัด (มหาชน) โดยมี ดร.ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อํานวยการธนาคารออมสิน และดร.จื้อกัง หลี่ ประธานกรรมการ ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จํากัด (มหาชน) ร่วมลงนาม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินร่วมกัน โดยนําจุดแข็งของทั้ง 2 สถาบันการเงินมาใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น และเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งสองฝ่าย
ดร.ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อํานวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ด้วยความสัมพันธ์อันดีระหว่าง 2 ประเทศ คือ ไทย และ จีน ที่มีมาอย่างยาวนานในทุกมิติทั้งด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และทางสังคม จวบจนปัจจุบันที่รัฐบาลประเทศจีนและรัฐบาลไทยได้มีความร่วมมือกันในหลายๆโครงการ เช่น โครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ หรือ EEC, โครงการ One Belt One Road เป็นต้นในขณะที่คนไทยและคนจีนมีการเดินทางระหว่าง 2 ประเทศเป็นจํานวนมาก ทั้งเพื่อการท่องเที่ยวและการทําธุรกิจ ดังนั้น จึงเป็นโอกาสให้สถาบันการเงินของรัฐขนาดใหญ่อันดับหนึ่งของไทยได้แก่ ธนาคารออมสิน และธนาคารไอซีบีซี (ไทย) ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มธนาคารไอซีบีซี ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน ได้ร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินเพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างกัน เพื่ออํานวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้ง 2 ธนาคาร
ทั้งนี้ ธนาคารออมสินได้ดําเนินงานภายใต้ภารกิจหลักด้านการส่งเสริมการออม การสร้างวินัยทางการเงิน การเป็นแหล่งทุนสนับสนุนประชาชนรายย่อย และสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยบริการทางการเงินครบวงจร โดยความร่วมมือในครั้งนี้ จะครอบคลุมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ 7 ด้านดังนี้
1. บัตรเครดิต Co-Branded UnionPay
2. บริการด้านร้านค้ารับบัตร (EDC/POS)
3. ด้านการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านระบบออนไลน์
4. การให้สินเชื่อร่วม/เงินกู้ร่วม(Syndicated Loan)
5. โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC (Eastern Economic Corridor)
6. การให้กู้ยืมระหว่างธนาคาร (Interbank Lending)
7. การเป็นตัวแทนเพื่อให้บริการลูกค้าร่วมกัน (Banking Agent)
โดยธนาคารออมสินเชื่อมั่นว่า ความร่วมมือดังกล่าวนี้ จะเป็นกลไกสําคัญเพื่อที่จะสร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการร่วมกันให้แก่ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เศรษฐกิจทั้งสองประเทศมากยิ่งขึ้น
ดร.จื้อกัง หลี่ ประธานกรรมการ ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จํากัด (มหาชน) กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 9 ปี ที่ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) ดําเนินธุรกิจในประเทศไทย ธนาคารทําหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศไทยมาโดยตลอด และพร้อมให้บริการทางการเงินที่ครอบคลุมได้อย่างครบถ้วน
“การลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางธุรกิจในครั้งนี้ ถือเป็นการสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจระหว่าง 2 ธนาคาร โดยจะมีการร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินและบริการทางการเงินให้ดียิ่งขึ้น ทั้งในกลุ่มลูกค้าบุคคลและลูกค้านิติบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ธนาคารไอซีบีซี มีกลุ่มลูกค้าบุคคลมากกว่า 500 ล้านราย โดยในจํานวนดังกล่าวเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังประเทศไทย และมีการใช้จ่ายค่าสินค้าและบริการผ่านบัตรเครดิต บัตรเดบิต และแอพพลิเคชั่น AlipayWechatpay ในขณะที่ธนาคารออมสินเองมีลูกค้าที่เป็นกลุ่มร้านค้าผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เป็นจํานวนมาก ดังนั้น ธนาคารมั่นใจว่า ความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นการช่วยขยายฐานลูกค้าของทั้งสองธนาคาร ทําให้นักท่องเที่ยวชาวจีนสามารถจับจ่ายใช้สอยได้สะดวกยิ่งขึ้น และเป็นการเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าให้กับร้านค้าด้วย อีกทั้งยังจะช่วยเพิ่มมูลค่าด้านการท่องเที่ยว ในแง่ของเม็ดเงินที่ไหลเข้ามาในประเทศ ซึ่งจะเป็นรากฐานในการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งต่อไป” ดร.จื้อกัง หลี่ กล่าว | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/23759 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมช.ลักษณ์ แถลงผลการประชุมร่วมกับรองนายฯ สมคิด พร้อมหาแนวทางการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม 2560
รมช.ลักษณ์ แถลงผลการประชุมร่วมกับรองนายฯ สมคิด พร้อมหาแนวทางการดําเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
รมช.ลักษณ์ แถลงผลการประชุมร่วมกับรองนายฯ สมคิด พร้อมหาแนวทางการดําเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ที่มาตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายแนวทางการปฏิบัติงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกล่าวถึงการดําเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยยกตัวอย่างในเรื่องข้าวครบวงจร ว่า จากการที่ประเทศไทยมีเกษตรกร 3.7 ล้านครัวเรือน ปลูกข้าวนาปี ประมาณ 59 ล้านไร่ และมีบางส่วนได้รับความเสียหายจากอุทกภัย กระทรวงเกษตรฯ จึงเข้าไปสํารวจความเสียหายและเยี่ยวยา โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มีการเจรจาส่งข้อมูลเพื่อให้บริษัทประกันวินาศภัยเข้าไปจ่ายเงินชดเชยให้กับพี่น้องเกษตรกร คาดว่าจะมีข้าวเปลือกนาปีไม่เกิน 23 ล้านตัน โดยแปลงออกมาเป็นข้าวสารจะอยู่ที่ประมาณ 12 ล้านตัน การบริโภคในประเทศอยู่ที่ประมาณ 8 ล้านตันข้าวสาร ฉะนั้นจะเหลือส่งออกประมาณ 4 ล้านตัน คณะทํางานด้านต่าง ๆ จึงได้มีการวางแผนในการส่งเสริมหรือควบคุมเกษตรกรที่อยู่ในเขตชลประทานว่าเกษตรกรจะทํานาปรังได้จํานวนกี่ไร่ถึงจะเหมาะสม
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีศักยภาพการทํานาปรังถึง 12 ล้านไร่ แต่ถ้าทําทั้งหมดจะเกิดปัญหา Over supply ได้ จึงได้มีการคํานวณออกมาว่าอยากให้เกษตรกรทํานาปรังไม่เกิน 10 ล้านไร่ (โดยประมาณ) จึงจะได้ข้าวประมาณ 5 – 6 ล้านตันข้าวสาร ซึ่งจะใกล้เคียงขีดความสามารถในการส่งออกข้าวของประเทศไทย ทําให้ไม่กดดันไปที่ราคา
สําหรับพื้นที่ที่เหลืออีก 2 ล้านไร่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายในการลงไปดูแลพูดคุยกับพี่น้องเกษตรกร โดยใช้เครื่องมือ Agri-map เข้าไปตรวจดูพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมในการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรฯ จะเอาพื้นที่เหล่านี้เป็นเป้าหมายหลักในการพูดคุยจูงใจให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชชนิดอื่นแทน เช่น การปลูกพืชหลากหลาย การปลูกพืชอาหารสัตว์ ซึ่งจะเชื่อมโยงไปสู่ตลาดของสินค้านั้น ๆ นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมพัฒนาที่ดินจะเข้าไปส่งเสริมให้ปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น ปอเทือง เป็นต้น จะเป็นตัวช่วยในการตัดวงจรโรคแมลงด้วย ขณะเดียวกันยังสามารถไถ่กลบบางส่วนได้ ทําให้อินทรียวัตถุในดินสูงมากขึ้น และเป็นการปรับปรุงบํารุงดิน จึงอยากใช้โมเดลแบบนี้กับพืชสําคัญ
ทั้งนี้ สมาคมผู้ส่งออกข้าวได้รายงานว่าปัจจุบันประเทศจีนเปลี่ยนพฤติกรรมในการนําเข้าข้าว โดยสนใจซื้อข้าวพื้นนิ่ม จึงมอบให้กรมการข้าวเร่งพัฒนาพันธุ์ เพราะมีความต้องการสูงมากถึงประมาณ 7 ล้านตัน ซึ่งปัจจุบันประเทศจีนเลือกที่จะไปซื้อที่เวียดนาม กรณีดังกล่าวกระทรวงเกษตรฯ เห็นว่ามีความต้องการจากผู้บริโภคชัดเจน จึงต้องมีการวิจัยที่ตรงกับความต้องการตลาด และส่งข้อมูลข่าวสารถึงพี่น้องเกษตรกรเพื่อให้เกษตรกรปรับตัวให้ทันต่อความต้องการ นอกจากนี้ รัฐบาลมีโครงการที่จะดูแลในเรื่องการตลาดรองรับ โดยเฉพาะในช่วงที่มีข้าวเปลือกจํานวนมาก เช่น ให้ ธ.ก.ส. เข้าไปเสริมสภาพคล่องในระบบสหกรณ์การเกษตร เพื่อให้มีกําลังในการไปซื้อข้าวในช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยว โครงการดูแลผู้ประกอบการให้มีเม็ดเงินในการซื้อข้าวเข้ามาเก็บ โดยทางรัฐบาลจะชดเชยดอกเบี้ยให้ตามความเหมาะสม โครงการชะลอการขายข้าวให้เกษตรกรหรือสหกรณ์เก็บข้าวไว้ในยุ้งฉาง มีค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาให้ตันละ 1,500 บาท เป็นต้น อีกทั้งยังมีโครงการชดเชยลดต้นทุนค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวเปลือก มีวงเงินประมาณ 48,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการทํางานร่วมกันระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และ ธ.ก.ส. โดยฐานข้อมูลจะมาจากกระทรวงเกษตรฯ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ในเรื่องของการขึ้นทะเบียน และต้องเป็นเกษตรกรที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือจากมาตรการน้ําท่วม การดําเนินการดังกล่าวจะทําให้มีเม็ดเงินกว่า 40,000 ล้านบาทที่ฐานรากของระบบเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ ในเรื่องของราคาก็เป็นไปตามกลไกตลาด ราคาข้าวหอมมะลิมีราคา 13,000 – 14,000 บาท/ตัน ข้าวปทุมธานี ประมาณ 9,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 7,500 – 8,000 บาท (ราคาที่ความชื้น 14.5 %) ทําให้พี่น้องเกษตรกรมีความพึงพอใจ เกษตรกรรายใดมียุ้งฉาง หรือสหกรณ์ไหนมีพื้นที่จัดเก็บ อาจจะใช้สิทธิ์เข้าร่วมโครงการชะลอการขาย จะได้รับการสนับสนุนในด้านเงินทุนในค่าเก็บรักษาด้วย สําหรับสิ่งที่ต้องจับตามองคือข้าวเปลือกเหนียว จากการที่มีราคาดีมาในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา ทําให้มีเกษตรบางรายหันไปปลูกข้าวเหนียวแทน ในประเภทข้าวเหนียวที่เป็นต้นเตี้ย จึงคิดว่าจะดําเนินการแก้ไขต่อไป จึงได้มอบหมายกรมการข้าวไปดูในรายละเอียด ซึ่งจะแก้ไขไปตามสถานการณ์ที่เป็นจริง อยู่บนพื้นที่ฐานที่ทําให้พี่น้องเกษตรกรได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเหมาะสมเพื่อประกอบการตัดสินใจร่วมกับภาครัฐด้วย
กลุ่มโฆษกและวิเคราะห์ข่าว กองเกษตรสารนิเทศ
สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โทร 02-2810859 แฟกซ์ 02-2822871
[email protected]
www.moac.go.th
www.facebook.com/kasetthai | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมช.ลักษณ์ แถลงผลการประชุมร่วมกับรองนายฯ สมคิด พร้อมหาแนวทางการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม 2560
รมช.ลักษณ์ แถลงผลการประชุมร่วมกับรองนายฯ สมคิด พร้อมหาแนวทางการดําเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
รมช.ลักษณ์ แถลงผลการประชุมร่วมกับรองนายฯ สมคิด พร้อมหาแนวทางการดําเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ที่มาตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายแนวทางการปฏิบัติงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกล่าวถึงการดําเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยยกตัวอย่างในเรื่องข้าวครบวงจร ว่า จากการที่ประเทศไทยมีเกษตรกร 3.7 ล้านครัวเรือน ปลูกข้าวนาปี ประมาณ 59 ล้านไร่ และมีบางส่วนได้รับความเสียหายจากอุทกภัย กระทรวงเกษตรฯ จึงเข้าไปสํารวจความเสียหายและเยี่ยวยา โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มีการเจรจาส่งข้อมูลเพื่อให้บริษัทประกันวินาศภัยเข้าไปจ่ายเงินชดเชยให้กับพี่น้องเกษตรกร คาดว่าจะมีข้าวเปลือกนาปีไม่เกิน 23 ล้านตัน โดยแปลงออกมาเป็นข้าวสารจะอยู่ที่ประมาณ 12 ล้านตัน การบริโภคในประเทศอยู่ที่ประมาณ 8 ล้านตันข้าวสาร ฉะนั้นจะเหลือส่งออกประมาณ 4 ล้านตัน คณะทํางานด้านต่าง ๆ จึงได้มีการวางแผนในการส่งเสริมหรือควบคุมเกษตรกรที่อยู่ในเขตชลประทานว่าเกษตรกรจะทํานาปรังได้จํานวนกี่ไร่ถึงจะเหมาะสม
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีศักยภาพการทํานาปรังถึง 12 ล้านไร่ แต่ถ้าทําทั้งหมดจะเกิดปัญหา Over supply ได้ จึงได้มีการคํานวณออกมาว่าอยากให้เกษตรกรทํานาปรังไม่เกิน 10 ล้านไร่ (โดยประมาณ) จึงจะได้ข้าวประมาณ 5 – 6 ล้านตันข้าวสาร ซึ่งจะใกล้เคียงขีดความสามารถในการส่งออกข้าวของประเทศไทย ทําให้ไม่กดดันไปที่ราคา
สําหรับพื้นที่ที่เหลืออีก 2 ล้านไร่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายในการลงไปดูแลพูดคุยกับพี่น้องเกษตรกร โดยใช้เครื่องมือ Agri-map เข้าไปตรวจดูพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมในการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรฯ จะเอาพื้นที่เหล่านี้เป็นเป้าหมายหลักในการพูดคุยจูงใจให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชชนิดอื่นแทน เช่น การปลูกพืชหลากหลาย การปลูกพืชอาหารสัตว์ ซึ่งจะเชื่อมโยงไปสู่ตลาดของสินค้านั้น ๆ นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมพัฒนาที่ดินจะเข้าไปส่งเสริมให้ปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น ปอเทือง เป็นต้น จะเป็นตัวช่วยในการตัดวงจรโรคแมลงด้วย ขณะเดียวกันยังสามารถไถ่กลบบางส่วนได้ ทําให้อินทรียวัตถุในดินสูงมากขึ้น และเป็นการปรับปรุงบํารุงดิน จึงอยากใช้โมเดลแบบนี้กับพืชสําคัญ
ทั้งนี้ สมาคมผู้ส่งออกข้าวได้รายงานว่าปัจจุบันประเทศจีนเปลี่ยนพฤติกรรมในการนําเข้าข้าว โดยสนใจซื้อข้าวพื้นนิ่ม จึงมอบให้กรมการข้าวเร่งพัฒนาพันธุ์ เพราะมีความต้องการสูงมากถึงประมาณ 7 ล้านตัน ซึ่งปัจจุบันประเทศจีนเลือกที่จะไปซื้อที่เวียดนาม กรณีดังกล่าวกระทรวงเกษตรฯ เห็นว่ามีความต้องการจากผู้บริโภคชัดเจน จึงต้องมีการวิจัยที่ตรงกับความต้องการตลาด และส่งข้อมูลข่าวสารถึงพี่น้องเกษตรกรเพื่อให้เกษตรกรปรับตัวให้ทันต่อความต้องการ นอกจากนี้ รัฐบาลมีโครงการที่จะดูแลในเรื่องการตลาดรองรับ โดยเฉพาะในช่วงที่มีข้าวเปลือกจํานวนมาก เช่น ให้ ธ.ก.ส. เข้าไปเสริมสภาพคล่องในระบบสหกรณ์การเกษตร เพื่อให้มีกําลังในการไปซื้อข้าวในช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยว โครงการดูแลผู้ประกอบการให้มีเม็ดเงินในการซื้อข้าวเข้ามาเก็บ โดยทางรัฐบาลจะชดเชยดอกเบี้ยให้ตามความเหมาะสม โครงการชะลอการขายข้าวให้เกษตรกรหรือสหกรณ์เก็บข้าวไว้ในยุ้งฉาง มีค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาให้ตันละ 1,500 บาท เป็นต้น อีกทั้งยังมีโครงการชดเชยลดต้นทุนค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวเปลือก มีวงเงินประมาณ 48,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการทํางานร่วมกันระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และ ธ.ก.ส. โดยฐานข้อมูลจะมาจากกระทรวงเกษตรฯ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ในเรื่องของการขึ้นทะเบียน และต้องเป็นเกษตรกรที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือจากมาตรการน้ําท่วม การดําเนินการดังกล่าวจะทําให้มีเม็ดเงินกว่า 40,000 ล้านบาทที่ฐานรากของระบบเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ ในเรื่องของราคาก็เป็นไปตามกลไกตลาด ราคาข้าวหอมมะลิมีราคา 13,000 – 14,000 บาท/ตัน ข้าวปทุมธานี ประมาณ 9,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 7,500 – 8,000 บาท (ราคาที่ความชื้น 14.5 %) ทําให้พี่น้องเกษตรกรมีความพึงพอใจ เกษตรกรรายใดมียุ้งฉาง หรือสหกรณ์ไหนมีพื้นที่จัดเก็บ อาจจะใช้สิทธิ์เข้าร่วมโครงการชะลอการขาย จะได้รับการสนับสนุนในด้านเงินทุนในค่าเก็บรักษาด้วย สําหรับสิ่งที่ต้องจับตามองคือข้าวเปลือกเหนียว จากการที่มีราคาดีมาในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา ทําให้มีเกษตรบางรายหันไปปลูกข้าวเหนียวแทน ในประเภทข้าวเหนียวที่เป็นต้นเตี้ย จึงคิดว่าจะดําเนินการแก้ไขต่อไป จึงได้มอบหมายกรมการข้าวไปดูในรายละเอียด ซึ่งจะแก้ไขไปตามสถานการณ์ที่เป็นจริง อยู่บนพื้นที่ฐานที่ทําให้พี่น้องเกษตรกรได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเหมาะสมเพื่อประกอบการตัดสินใจร่วมกับภาครัฐด้วย
กลุ่มโฆษกและวิเคราะห์ข่าว กองเกษตรสารนิเทศ
สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โทร 02-2810859 แฟกซ์ 02-2822871
[email protected]
www.moac.go.th
www.facebook.com/kasetthai | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/8635 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“พาณิชย์”เผยสถานการณ์ไข่ไก่ดีขึ้น ไม่พบผู้กระทำผิด แต่จับขายหน้ากากแพงได้อีก 6 ราย [กระทรวงพาณิชย์] | วันพุธที่ 1 เมษายน 2563
“พาณิชย์”เผยสถานการณ์ไข่ไก่ดีขึ้น ไม่พบผู้กระทําผิด แต่จับขายหน้ากากแพงได้อีก 6 ราย [กระทรวงพาณิชย์]
“พาณิชย์”เผยสถานการณ์ไข่ไก่ดีขึ้น ไม่พบผู้กระทําผิด แต่จับขายหน้ากากแพงได้อีก 6 ราย
“โฆษกพาณิชย์”สรุปผลการปฏิบัติการกรณีสินค้าอุปโภคบริโภคและเวชภัณฑ์ เผยไม่พบผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับไข่ไก่ หลังสถานการณ์ดีขึ้น ทั้งด้านปริมาณและราคาจําหน่ายเป็นไปตามต้นทุน แต่ยังจับกุมผู้จําหน่ายหน้ากากอนามัยแพง และกักตุนเจลแอลกอฮอล์ได้เพิ่มขึ้น 6 ราย รวมยอดจับกุมไข่ไก่คงที่ 24 ราย ส่วนยอดจับกุมหน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ รวม 236 ราย
นายสุพพัต อ่องแสงคุณ โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงผลการปฏิบัติการกรณีสินค้าอุปโภคบริโภค และเวชภัณฑ์ ของกระทรวงพาณิชย์ว่า เมื่อวันที่ 31 มี.ค.2563 ที่ผ่านมา การดําเนินการจับกุมผู้กระทําความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 ของกระทรวงพาณิชย์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในส่วนของไข่ไก่ ไม่พบผู้กระทําความผิดทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ซึ่งเป็นผลจากการเข้มงวดของกระทรวงพาณิชย์ ที่ได้ห้ามการส่งออกอีก 30 วัน เพื่อเพิ่มปริมาณไข่ไก่ในระบบ และผลจากการเข้มงวดตรวจสอบผู้กระทําผิดกฎหมาย ทําให้สถานการณ์ไข่ไก่เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ปริมาณไข่ไก่เข้าสู่ระบบเพิ่มขึ้น และปัญหาการจําหน่ายไข่ไก่ราคาสูงเกินจริงลดลง ส่วนยอดจับกุมรวมตั้งแต่วันที่ 26-31 มี.ค.2563 ยังคงที่อยู่ที่ 24 ราย
สําหรับผลการจับกุมผู้กระทําความผิดในส่วนของหน้ากากอนามัย ณ วันที่ 31 มี.ค.2563 จับกุมได้อีก 6 ราย แยกเป็นกรุงเทพฯ 5 ราย ได้แก่ ร้านค้า Online บน Platform Facebook 2 ราย เป็นการล่อซื้อและจับกุม โดยกระทําความผิดจําหน่ายเกินราคาควบคุมและขายราคาเกินสมควร โดยหนึ่งในนั้นผู้กระทําความผิดเป็นชาวเวียดนาม (จําหน่ายหน้ากากนําเข้า) ร้านค้าทั่วไป 2 ราย โดยทั้ง 2 ราย เป็นการกระทําความผิดในข้อหาขายเกินราคาควบคุม พบขายหน้ากากอนามัย เฉลี่ยชิ้นละ 16–25 บาท และอีก 1 ราย กระทําความผิดไม่แจ้งการครอบครองเจลแอลกอฮอล์และแอลกอฮอล์
ส่วนในต่างจังหวัด 1 ราย ได้แก่ จังหวัดอํานาจเจริญ ได้ทําการบูรณาการทํางานร่วมกันระหว่างสํานักงานพาณิชย์จังหวัดอํานาจเจริญ และกองกํากับการสืบสวนตํารวจภูธรจังหวัดอํานาจเจริญ ตํารวจภูธรปทุมราชวงศา ด้วยการเข้าล่อซื้อหน้ากากอนามัยแบบเส้นใยสังเคราะห์ 3 ชั้น สีฟ้า-ขาว จํานวน 5 ชิ้นๆ ละ 20 บาท จากร้านค้าใน ต.คําโพน อ.ปทุมราชวงศา พบหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ แบบกรอง 3 ชั้น สีขาว-เขียวฟ้า จํานวน 3 กล่องเศษ รวม 161 ชิ้น จึงได้ยึดไว้เป็นของกลางและเชิญผู้ประกอบการร้านค้าให้ปากคําเพิ่มเติมกับพนักงานสอบสวน สภ.ปทุมราชวงศา เพื่อดําเนินคดีกระทําความผิดจําหน่ายเกินราคาควบคุม และไม่ปิดป้ายแสดงราคา
โดยโทษที่ผู้กระทําความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 ข้อหาขายเกินราคาควบคุม (มาตรา 25) มีโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ข้อหาไม่ปิดป้ายแสดงราคาขาย (มาตรา 28) มีอัตราโทษปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท ข้อหาขายแพงเกินสมควร (มาตรา 29) มีอัตราโทษจําคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 1.4 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์จะเดินหน้าตรวจสอบการจําหน่ายสินค้าอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบประชาชน โดยเฉพาะสินค้าที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นในขณะนี้ ทั้งไข่ไก่ หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ และแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นสินค้าที่ประชาชนต้องการในสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 รวมถึงจะมีการตรวจสอบและติดตามสินค้ารายการอื่นๆ อย่างใกล้ชิดด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการฉวยโอกาส โดยหากผู้บริโภคพบเห็นการกระทําผิดกฎหมาย สามารถร้องเรียนได้ที่สายด่วน 1569 กรมการค้าภายใน และในต่างจังหวัดสามารถร้องเรียนได้ที่ สํานักงานพาณิชย์จังหวัด หรือศูนย์ดํารงธรรมจังหวัด
>>>ติดตามข่าวสารพาณิชย์แบบฉับไว ส่งตรงถึงมือถือได้ที่ http://line.me/ti/p/%40uld0329i
>>>ติดตามข่าวสารพาณิชย์ ผ่านทวิตเตอร์ https://twitter.com/CNAOnlineTwit | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“พาณิชย์”เผยสถานการณ์ไข่ไก่ดีขึ้น ไม่พบผู้กระทำผิด แต่จับขายหน้ากากแพงได้อีก 6 ราย [กระทรวงพาณิชย์]
วันพุธที่ 1 เมษายน 2563
“พาณิชย์”เผยสถานการณ์ไข่ไก่ดีขึ้น ไม่พบผู้กระทําผิด แต่จับขายหน้ากากแพงได้อีก 6 ราย [กระทรวงพาณิชย์]
“พาณิชย์”เผยสถานการณ์ไข่ไก่ดีขึ้น ไม่พบผู้กระทําผิด แต่จับขายหน้ากากแพงได้อีก 6 ราย
“โฆษกพาณิชย์”สรุปผลการปฏิบัติการกรณีสินค้าอุปโภคบริโภคและเวชภัณฑ์ เผยไม่พบผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับไข่ไก่ หลังสถานการณ์ดีขึ้น ทั้งด้านปริมาณและราคาจําหน่ายเป็นไปตามต้นทุน แต่ยังจับกุมผู้จําหน่ายหน้ากากอนามัยแพง และกักตุนเจลแอลกอฮอล์ได้เพิ่มขึ้น 6 ราย รวมยอดจับกุมไข่ไก่คงที่ 24 ราย ส่วนยอดจับกุมหน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ รวม 236 ราย
นายสุพพัต อ่องแสงคุณ โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงผลการปฏิบัติการกรณีสินค้าอุปโภคบริโภค และเวชภัณฑ์ ของกระทรวงพาณิชย์ว่า เมื่อวันที่ 31 มี.ค.2563 ที่ผ่านมา การดําเนินการจับกุมผู้กระทําความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 ของกระทรวงพาณิชย์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในส่วนของไข่ไก่ ไม่พบผู้กระทําความผิดทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ซึ่งเป็นผลจากการเข้มงวดของกระทรวงพาณิชย์ ที่ได้ห้ามการส่งออกอีก 30 วัน เพื่อเพิ่มปริมาณไข่ไก่ในระบบ และผลจากการเข้มงวดตรวจสอบผู้กระทําผิดกฎหมาย ทําให้สถานการณ์ไข่ไก่เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ปริมาณไข่ไก่เข้าสู่ระบบเพิ่มขึ้น และปัญหาการจําหน่ายไข่ไก่ราคาสูงเกินจริงลดลง ส่วนยอดจับกุมรวมตั้งแต่วันที่ 26-31 มี.ค.2563 ยังคงที่อยู่ที่ 24 ราย
สําหรับผลการจับกุมผู้กระทําความผิดในส่วนของหน้ากากอนามัย ณ วันที่ 31 มี.ค.2563 จับกุมได้อีก 6 ราย แยกเป็นกรุงเทพฯ 5 ราย ได้แก่ ร้านค้า Online บน Platform Facebook 2 ราย เป็นการล่อซื้อและจับกุม โดยกระทําความผิดจําหน่ายเกินราคาควบคุมและขายราคาเกินสมควร โดยหนึ่งในนั้นผู้กระทําความผิดเป็นชาวเวียดนาม (จําหน่ายหน้ากากนําเข้า) ร้านค้าทั่วไป 2 ราย โดยทั้ง 2 ราย เป็นการกระทําความผิดในข้อหาขายเกินราคาควบคุม พบขายหน้ากากอนามัย เฉลี่ยชิ้นละ 16–25 บาท และอีก 1 ราย กระทําความผิดไม่แจ้งการครอบครองเจลแอลกอฮอล์และแอลกอฮอล์
ส่วนในต่างจังหวัด 1 ราย ได้แก่ จังหวัดอํานาจเจริญ ได้ทําการบูรณาการทํางานร่วมกันระหว่างสํานักงานพาณิชย์จังหวัดอํานาจเจริญ และกองกํากับการสืบสวนตํารวจภูธรจังหวัดอํานาจเจริญ ตํารวจภูธรปทุมราชวงศา ด้วยการเข้าล่อซื้อหน้ากากอนามัยแบบเส้นใยสังเคราะห์ 3 ชั้น สีฟ้า-ขาว จํานวน 5 ชิ้นๆ ละ 20 บาท จากร้านค้าใน ต.คําโพน อ.ปทุมราชวงศา พบหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ แบบกรอง 3 ชั้น สีขาว-เขียวฟ้า จํานวน 3 กล่องเศษ รวม 161 ชิ้น จึงได้ยึดไว้เป็นของกลางและเชิญผู้ประกอบการร้านค้าให้ปากคําเพิ่มเติมกับพนักงานสอบสวน สภ.ปทุมราชวงศา เพื่อดําเนินคดีกระทําความผิดจําหน่ายเกินราคาควบคุม และไม่ปิดป้ายแสดงราคา
โดยโทษที่ผู้กระทําความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 ข้อหาขายเกินราคาควบคุม (มาตรา 25) มีโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ข้อหาไม่ปิดป้ายแสดงราคาขาย (มาตรา 28) มีอัตราโทษปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท ข้อหาขายแพงเกินสมควร (มาตรา 29) มีอัตราโทษจําคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 1.4 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์จะเดินหน้าตรวจสอบการจําหน่ายสินค้าอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบประชาชน โดยเฉพาะสินค้าที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นในขณะนี้ ทั้งไข่ไก่ หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ และแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นสินค้าที่ประชาชนต้องการในสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 รวมถึงจะมีการตรวจสอบและติดตามสินค้ารายการอื่นๆ อย่างใกล้ชิดด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการฉวยโอกาส โดยหากผู้บริโภคพบเห็นการกระทําผิดกฎหมาย สามารถร้องเรียนได้ที่สายด่วน 1569 กรมการค้าภายใน และในต่างจังหวัดสามารถร้องเรียนได้ที่ สํานักงานพาณิชย์จังหวัด หรือศูนย์ดํารงธรรมจังหวัด
>>>ติดตามข่าวสารพาณิชย์แบบฉับไว ส่งตรงถึงมือถือได้ที่ http://line.me/ti/p/%40uld0329i
>>>ติดตามข่าวสารพาณิชย์ ผ่านทวิตเตอร์ https://twitter.com/CNAOnlineTwit | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/28289 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สั่งกองทัพ ระดมปูพรมลงช่วยสนับสนุนแก้วิกฤติภัยแล้งเร่งด่วนในทุกพื้นที่ จนกว่าสถานการณ์คลี่คลาย | วันศุกร์ที่ 17 มกราคม 2563
สั่งกองทัพ ระดมปูพรมลงช่วยสนับสนุนแก้วิกฤติภัยแล้งเร่งด่วนในทุกพื้นที่ จนกว่าสถานการณ์คลี่คลาย
สั่งกองทัพ ระดมปูพรมลงช่วยสนับสนุนแก้วิกฤติภัยแล้งเร่งด่วนในทุกพื้นที่ จนกว่าสถานการณ์คลี่คลาย
พล.ท.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษก กห. เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นรม.และรมว.กห. ได้สั่งการให้ทุกเหล่าทัพ ระดมกําลังพลและเครื่องมือเครื่องจักรกระจายลง | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สั่งกองทัพ ระดมปูพรมลงช่วยสนับสนุนแก้วิกฤติภัยแล้งเร่งด่วนในทุกพื้นที่ จนกว่าสถานการณ์คลี่คลาย
วันศุกร์ที่ 17 มกราคม 2563
สั่งกองทัพ ระดมปูพรมลงช่วยสนับสนุนแก้วิกฤติภัยแล้งเร่งด่วนในทุกพื้นที่ จนกว่าสถานการณ์คลี่คลาย
สั่งกองทัพ ระดมปูพรมลงช่วยสนับสนุนแก้วิกฤติภัยแล้งเร่งด่วนในทุกพื้นที่ จนกว่าสถานการณ์คลี่คลาย
พล.ท.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษก กห. เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นรม.และรมว.กห. ได้สั่งการให้ทุกเหล่าทัพ ระดมกําลังพลและเครื่องมือเครื่องจักรกระจายลง | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/25882 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.วธ.กล่าวให้โอวาทแก่คณะเยาวชนนักเต้นจำนวน 134 คน จาก 72 การแสดง | วันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2559
รมว.วธ.กล่าวให้โอวาทแก่คณะเยาวชนนักเต้นจํานวน 134 คน จาก 72 การแสดง
รมว.วธ.กล่าวให้โอวาทแก่คณะเยาวชนนักเต้นจํานวน 134 คน จาก 72 การแสดง
วันที่15 สิงหาคม2559 เวลา14.00 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้นายวีระ โรจน์พจนรัตน์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมกล่าวให้โอวาทแก่คณะเยาวชนนักเต้นจํานวน134 คน จาก72 การแสดง ซึ่งจะเดินทางร่วมการแข่งขันศิลปะระดับนานาชาติ ครั้งที่18 "Asia Pacific Dance Competition" ณ เขตบริหารพิเศษมาเก๊าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีดร.ฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงวัฒนธรรม นายปรารพ เหล่าวานิช เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นางสาววัลภา ปัจฉิมสวัสดิ์ ผู้แทน C.S.T.D ประจําประเทศไทย (The Commonwealth Society of teachers of Dancing) และคณะเยาวชนนักเต้นเข้าร่วมในพิธี ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.วธ.กล่าวให้โอวาทแก่คณะเยาวชนนักเต้นจำนวน 134 คน จาก 72 การแสดง
วันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2559
รมว.วธ.กล่าวให้โอวาทแก่คณะเยาวชนนักเต้นจํานวน 134 คน จาก 72 การแสดง
รมว.วธ.กล่าวให้โอวาทแก่คณะเยาวชนนักเต้นจํานวน 134 คน จาก 72 การแสดง
วันที่15 สิงหาคม2559 เวลา14.00 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้นายวีระ โรจน์พจนรัตน์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมกล่าวให้โอวาทแก่คณะเยาวชนนักเต้นจํานวน134 คน จาก72 การแสดง ซึ่งจะเดินทางร่วมการแข่งขันศิลปะระดับนานาชาติ ครั้งที่18 "Asia Pacific Dance Competition" ณ เขตบริหารพิเศษมาเก๊าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีดร.ฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงวัฒนธรรม นายปรารพ เหล่าวานิช เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นางสาววัลภา ปัจฉิมสวัสดิ์ ผู้แทน C.S.T.D ประจําประเทศไทย (The Commonwealth Society of teachers of Dancing) และคณะเยาวชนนักเต้นเข้าร่วมในพิธี ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/63 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนายกฯ พร้อมทีมรัฐมนตรีเศรษฐกิจพบนักลงทุน แจงนโยบาย-มาตรการลงทุนหนุนสู่ไทยแลนด์ 4.0 และ อีอีซี | วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม 2561
รองนายกฯ พร้อมทีมรัฐมนตรีเศรษฐกิจพบนักลงทุน แจงนโยบาย-มาตรการลงทุนหนุนสู่ไทยแลนด์ 4.0 และ อีอีซี
รองนายกรัฐมนตรี ยกทีมเศรษฐกิจ พร้อมด้วยบีโอไอและหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ประกาศทิศทางส่งเสริมการลงทุน มาตรการขับเคลื่อนภาคเอกชน และ พ.ร.บ.อีอีซี เลขาธิการบีโอไอเผย สํานักงานทั้ง 14 แห่งทั่วโลกจัดคณะนักลงทุน-สื่อต่างประเทศ ร่วมรับฟัง-ลงพื้นที่อีอีซี
นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยถึงการจัดงานสัมมนา “Thailand Taking off to New Heights” ในวันที่ 19 มีนาคม 2561 ณ อิมแพค เมืองทองธานี ว่า เป็นกิจกรรมสําคัญของบีโอไอในปีนี้ ซึ่งในงานดังกล่าวมี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานและทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลร่วมให้ข้อมูล ได้แก่ นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายพิเชษ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
“ขณะนี้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้ความสนใจและตอบรับเข้าร่วมงานสัมมนาเป็นจํานวนมาก ล่าสุดสํานักงานบีโอไอในต่างประเทศทั้ง14 แห่งยังได้ยืนยันนําคณะผู้บริหารของบริษัท ชั้นนําและนักลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายจากต่างประเทศ และสื่อมวลชนต่างประเทศ รวมกว่า 300 คน เพื่อเข้าร่วมงานสัมมนาในวันดังกล่าว และจะได้เดินทางไปศึกษาศักยภาพของการลงทุนในพื้นที่อีอีซีอีกด้วย” นางสาวดวงใจ กล่าว
งานสัมมนาครั้งนี้ รัฐบาลจะประกาศถึงความพร้อมและทิศทางการส่งเสริมการลงทุนของประเทศไทยในการก้าวสู่ ประเทศไทย 4.0 ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ โดยในงานนี้บีโอไอได้รวบรวมมาตรการส่งเสริมการลงทุนใหม่ ๆ มานําเสนอ อาทิ การขยายขอบข่ายมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งส่วนหนึ่งของมาตรการส่งเสริมให้นําหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เข้ามาใช้ โดยขยายให้ครอบคลุมถึงโครงการที่นําระบบดิจิทัลมาใช้ด้วย รวมทั้งการปรับปรุงมาตรการเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันโดยการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม เช่น การพัฒนาทักษะด้านคอมพิวเตอร์ชั้นสูง (Big Data Analysis, Internet of Things) เป็นต้น
การจัดให้มีบริการ “สมาร์ทวีซ่า” ซึ่งเป็นวีซ่าประเภทพิเศษเพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เชี่ยวชาญ นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และสตาร์ทอัพ (Startup) จากต่างประเทศ ที่เข้ามาทํางาน หรือลงทุนในกิจการที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในกระบวนการผลิตหรือการให้บริการ และเป็นกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐบาล
นางสาวดวงใจ กล่าวเพิ่มเติมว่าผู้เข้าร่วมงานจะได้รับข้อมูลที่สําคัญเกี่ยวกับความคืบหน้าของโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ สําหรับรองรับการลงทุนแห่งอนาคต โดยเฉพาะโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ซึ่งรัฐบาลตั้งเป้าหมายผลักดันให้เป็นศูนย์กลางการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน อาทิ การเสวนา หัวข้อ “เร่งเครื่องขับเคลื่อนไทยสู่มิติใหม่” โดยรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และผู้แทนภาคเอกชนจากคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
การเสวนาหัวข้อ “เดินหน้าพลิกโฉมประเทศไทย” โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวมถึงผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และรองผู้อํานวยการการท่าอากาศยานอู่ตะเภา
นอกจากนี้ ในงานยังมีการเสวนา เรื่อง “ก้าวใหม่ของไทยจากมุมมองเอกชนต่างชาติ” ซึ่งจะเป็นการระดม มุมมองและความคิดเห็นต่อบรรยากาศการลงทุนและอนาคตของไทยจากผู้แทนภาคเอกชนรายใหญ่ อาทิ ผู้บริหารหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ ผู้บริหารจากบริษัท BGI ซึ่งเป็นผู้วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ ชั้นนําของโลก และผู้บริหารจากบริษัท Cargill Asia Pacific ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหารครบวงจรรายใหญ่ ของโลก
งานสัมมนา “Thailand Taking off to New Heights” จะจัดขึ้นในวันที่ 19 มีนาคม 2561 ตั้งแต่เวลา 08.00-16.30 น. ณ ห้องรอยัล จูบิลี่ บอลรูม อิมแพค เมืองทองธานี ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ทางเว็บไซต์บีโอไอ www.boi.go.th/seminar2018 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนายกฯ พร้อมทีมรัฐมนตรีเศรษฐกิจพบนักลงทุน แจงนโยบาย-มาตรการลงทุนหนุนสู่ไทยแลนด์ 4.0 และ อีอีซี
วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม 2561
รองนายกฯ พร้อมทีมรัฐมนตรีเศรษฐกิจพบนักลงทุน แจงนโยบาย-มาตรการลงทุนหนุนสู่ไทยแลนด์ 4.0 และ อีอีซี
รองนายกรัฐมนตรี ยกทีมเศรษฐกิจ พร้อมด้วยบีโอไอและหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ประกาศทิศทางส่งเสริมการลงทุน มาตรการขับเคลื่อนภาคเอกชน และ พ.ร.บ.อีอีซี เลขาธิการบีโอไอเผย สํานักงานทั้ง 14 แห่งทั่วโลกจัดคณะนักลงทุน-สื่อต่างประเทศ ร่วมรับฟัง-ลงพื้นที่อีอีซี
นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยถึงการจัดงานสัมมนา “Thailand Taking off to New Heights” ในวันที่ 19 มีนาคม 2561 ณ อิมแพค เมืองทองธานี ว่า เป็นกิจกรรมสําคัญของบีโอไอในปีนี้ ซึ่งในงานดังกล่าวมี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานและทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลร่วมให้ข้อมูล ได้แก่ นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายพิเชษ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
“ขณะนี้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้ความสนใจและตอบรับเข้าร่วมงานสัมมนาเป็นจํานวนมาก ล่าสุดสํานักงานบีโอไอในต่างประเทศทั้ง14 แห่งยังได้ยืนยันนําคณะผู้บริหารของบริษัท ชั้นนําและนักลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายจากต่างประเทศ และสื่อมวลชนต่างประเทศ รวมกว่า 300 คน เพื่อเข้าร่วมงานสัมมนาในวันดังกล่าว และจะได้เดินทางไปศึกษาศักยภาพของการลงทุนในพื้นที่อีอีซีอีกด้วย” นางสาวดวงใจ กล่าว
งานสัมมนาครั้งนี้ รัฐบาลจะประกาศถึงความพร้อมและทิศทางการส่งเสริมการลงทุนของประเทศไทยในการก้าวสู่ ประเทศไทย 4.0 ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ โดยในงานนี้บีโอไอได้รวบรวมมาตรการส่งเสริมการลงทุนใหม่ ๆ มานําเสนอ อาทิ การขยายขอบข่ายมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งส่วนหนึ่งของมาตรการส่งเสริมให้นําหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เข้ามาใช้ โดยขยายให้ครอบคลุมถึงโครงการที่นําระบบดิจิทัลมาใช้ด้วย รวมทั้งการปรับปรุงมาตรการเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันโดยการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม เช่น การพัฒนาทักษะด้านคอมพิวเตอร์ชั้นสูง (Big Data Analysis, Internet of Things) เป็นต้น
การจัดให้มีบริการ “สมาร์ทวีซ่า” ซึ่งเป็นวีซ่าประเภทพิเศษเพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เชี่ยวชาญ นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และสตาร์ทอัพ (Startup) จากต่างประเทศ ที่เข้ามาทํางาน หรือลงทุนในกิจการที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในกระบวนการผลิตหรือการให้บริการ และเป็นกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐบาล
นางสาวดวงใจ กล่าวเพิ่มเติมว่าผู้เข้าร่วมงานจะได้รับข้อมูลที่สําคัญเกี่ยวกับความคืบหน้าของโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ สําหรับรองรับการลงทุนแห่งอนาคต โดยเฉพาะโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ซึ่งรัฐบาลตั้งเป้าหมายผลักดันให้เป็นศูนย์กลางการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน อาทิ การเสวนา หัวข้อ “เร่งเครื่องขับเคลื่อนไทยสู่มิติใหม่” โดยรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และผู้แทนภาคเอกชนจากคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
การเสวนาหัวข้อ “เดินหน้าพลิกโฉมประเทศไทย” โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวมถึงผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และรองผู้อํานวยการการท่าอากาศยานอู่ตะเภา
นอกจากนี้ ในงานยังมีการเสวนา เรื่อง “ก้าวใหม่ของไทยจากมุมมองเอกชนต่างชาติ” ซึ่งจะเป็นการระดม มุมมองและความคิดเห็นต่อบรรยากาศการลงทุนและอนาคตของไทยจากผู้แทนภาคเอกชนรายใหญ่ อาทิ ผู้บริหารหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ ผู้บริหารจากบริษัท BGI ซึ่งเป็นผู้วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ ชั้นนําของโลก และผู้บริหารจากบริษัท Cargill Asia Pacific ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหารครบวงจรรายใหญ่ ของโลก
งานสัมมนา “Thailand Taking off to New Heights” จะจัดขึ้นในวันที่ 19 มีนาคม 2561 ตั้งแต่เวลา 08.00-16.30 น. ณ ห้องรอยัล จูบิลี่ บอลรูม อิมแพค เมืองทองธานี ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ทางเว็บไซต์บีโอไอ www.boi.go.th/seminar2018 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/10609 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-EXIM BANK หาลู่ทางส่งเสริมการค้าการลงทุนไทย-เวียดนามให้เพิ่มขึ้นอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้จัดตั้งสำนักงานผู้แทนในเวียดนาม | วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน 2561
EXIM BANK หาลู่ทางส่งเสริมการค้าการลงทุนไทย-เวียดนามให้เพิ่มขึ้นอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้จัดตั้งสํานักงานผู้แทนในเวียดนาม
กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) นําคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ EXIM BANK ไปเยือนเวียดนาม
นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยภายหลังนําคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ EXIM BANK ไปเยือนเวียดนาม เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ได้เข้าพบผู้บริหารระดับสูงจากธนาคารกลางเวียดนาม (State Bank of Vietnam : SBV) ธนาคารเพื่อการพัฒนาเวียดนาม สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย และสํานักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงฮานอย เพื่อหารือเกี่ยวกับกฎระเบียบทางการเงิน โอกาสทางการค้าและการลงทุนของผู้ประกอบการไทยในเวียดนาม แนวทางขยายความร่วมมือระหว่าง EXIM BANK กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องในไทยและเวียดนาม เพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าการลงทุนไทย-เวียดนาม ตลอดจนศึกษาความเป็นไปได้ที่ EXIM BANK จะเข้าไปจัดตั้งสํานักงานผู้แทน ธสน. ในเวียดนาม
จากนั้น ได้เดินทางไปยังนครโฮจิมินห์ พบกับกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ ประธานสมาคมนักธุรกิจไทยในเวียดนามและกลุ่มนักธุรกิจไทยในเวียดนาม สมาชิกโครงการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการรุ่นใหม่ของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (Young Entrepreneur Network Development Program : YEN-D Program) และผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ จากภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อแสวงหาลู่ทางขยายความร่วมมือในการส่งเสริมและสนับสนุนการค้าการลงทุนไทย-เวียดนามเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเวียดนามเป็นตลาดที่มีความโดดเด่นหลายประการ อาทิ มีอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลกและมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 6% ไปอีกไม่ต่ํากว่า 5 ปีข้างหน้า กลุ่มผู้บริโภครายได้ปานกลางขยายตัว อย่างรวดเร็วจาก 12 ล้านคนในปี 2557 เป็น 33 ล้านคนในปี 2563
กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยว่า จากการเดินทางเยือนเวียดนามครั้งนี้ พบว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ของไทยเข้าไปลงทุนในเวียดนามหลายธุรกิจแล้ว ดังนั้น โอกาสในระยะถัดไปของผู้ประกอบการไทย รวมถึง SMEs จึงอยู่ที่การผนวกเข้ากับซัพพลายเชน (Supply Chain) ของผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีธุรกิจในเวียดนาม อาทิ การส่งออกสินค้าไปจําหน่ายในห้างค้าปลีกของไทยในเวียดนาม พร้อมทั้งการเข้าไปเติมเต็มซัพพลายเชนด้วยธุรกิจสนับสนุน อาทิ ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ เพื่อสนับสนุนซัพพลายเชนในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป นอกจากนั้น ธุรกิจพลังงานก็ยังเป็นอีกหนึ่งโอกาสสําคัญของผู้ประกอบการไทย สอดคล้องกับความต้องการพลังงานของเวียดนามที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะช่วยขยายการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและเวียดนาม และยกระดับความสัมพันธ์ไปสู่การเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับเวียดนามที่จะผลิตและส่งออกจากเวียดนามไปยังประเทศที่สาม โดยปัจจุบันเวียดนามเป็นตลาดส่งออกสําคัญอันดับ 5 ของไทย สินค้าส่งออกสําคัญของไทยได้แก่ น้ํามันสําเร็จรูป ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ ขณะที่เวียดนามเป็นแหล่งนําเข้าอันดับ 13 ของไทย สินค้าสําคัญที่ไทยนําเข้าจากเวียดนาม ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน น้ํามันดิบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เหล็กและผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ ทั้งนี้ สินค้าส่งออกสําคัญของเวียดนามไปยังตลาดโลก โดยเฉพาะสหรัฐฯ ยุโรป จีน และญี่ปุ่น ได้แก่ โทรศัพท์และส่วนประกอบ สิ่งทอและเสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ รองเท้า เครื่องจักรและอุปกรณ์
“ในโลกการค้ายุคใหม่ได้เกิดเทรนด์ขยายการลงทุนในต่างประเทศเพื่อสร้างฐานการผลิตและตลาดการค้าแห่งใหม่ ที่เรียกว่า การลงทุนนําการค้า EXIM BANK พร้อมจับมือกับภาครัฐและเอกชนสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยเพิ่มศักยภาพของธุรกิจตนเองเติบโตไปสู่การเป็นบริษัทข้ามชาติ หรืออย่างน้อยเป็นส่วนหนึ่งของซัพพลายเชนของบริษัทข้ามชาติ โดยเวียดนามเป็นหนึ่งในตลาดที่น่าสนใจในกลุ่ม CLMV” นายพิศิษฐ์กล่าว
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วนสื่อสารองค์กร ฝ่ายเลขานุการและสื่อสารองค์กร
โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 1141, 1144
EXIM Thailand Explores Ways to Boost Thailand-Vietnam Trade and Investment Considering Feasibility of Setting up Representative Office in Vietnam
Mr. Pisit Serewiwattana, President of Export-Import Bank of Thailand (EXIM Thailand), revealed after leading a delegation of EXIM Thailand executives and staff in a recent visit to Vietnam that the EXIM Thailand team had a meeting with high ranking executives of State Bank of Vietnam (SBV), Vietnam Development Bank, Royal Thai Embassy and Thai Trade Center in Hanoi, to discuss financial rules and regulations, Thai entrepreneurs’ trade and investment opportunities in Vietnam, and cooperation framework between EXIM Thailand and relevant Thai and Vietnamese public and private agencies to augment value of Thailand-Vietnam trade and investment, and study the viability of establishing a representative office in Vietnam.
EXIM Thailand team also met with the Consul-General of Royal Thai Consulate-General-Ho Chi Minh City, Thai Business (Vietnam) Association and a group of Thai businessmen in Vietnam, members of Young Entrepreneur Network Development Program (YEN-D Program) and representatives from public and private entities concerned, to look into ways to expand cooperation in promoting and supporting Thai-Vietnamese trade and investment to a greater extent. Vietnam is a market with several distinctive characteristics, having achieved economic growth among the world’s highest with average annual growth forecast of 6% for the next five years and beyond, as well as rapid expansion of middle-income consumers from 12 million in 2014 to 33 million in 2020.
EXIM Thailand President further said that, from this Vietnam trip, it has been found that a number of large-scale Thai entrepreneurs have already invested in Vietnam. Business opportunities for Thai business operators, particularly SMEs, therefore lie in the supply chain of these Thai entrepreneurs such as in the retail businesses and supporting industries that can fulfill the supply chain including packaging businesses to cater for the food processing industry. Energy is another business opportunity for Thai entrepreneurs following the constantly rising demand for energy consumption in Vietnam. This will help expand Thai-Vietnamese trade and investment while enhancing and turning Thai-Vietnamese relationship into economic partnership in production and export from Vietnam to third countries. At present, Vietnam is Thailand’s fifth largest export market. Major export goods are finished oil; fresh, refrigerated, frozen and dried fruits; automobile, parts and components; plastic resin and chemicals. Meanwhile, Vietnam ranks no. 13 on Thailand’s top import country list with key imported items including home electrical appliances, crude oil, electrical machinery and components, steel and steel products, and auto parts and equipment. Principal export goods from Vietnam to global markets, particularly the U.S., Europe, China and Japan, include telephone sets and components, textile and garment, electronics products, shoes, machinery and equipment.
“In today’s global trade arena, there is a rising trend of investment expansion overseas to build production base and venture into new markets, or the so-called investment-induced trade. EXIM Thailand is ready to work in conjunction with public and private agencies to enhance Thai entrepreneurs’ capabilities to upgrade themselves to become multinational corporations (MNC) or at least part of the MNC supply chains. Vietnam is certainly one of the promising markets in the CLMV for Thai entrepreneurs,” added Mr. Pisit.
For further information, please contact Corporate Communication Division, Secretary and Corporate Communication
Tel. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ext. 1141, 1144 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-EXIM BANK หาลู่ทางส่งเสริมการค้าการลงทุนไทย-เวียดนามให้เพิ่มขึ้นอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้จัดตั้งสำนักงานผู้แทนในเวียดนาม
วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน 2561
EXIM BANK หาลู่ทางส่งเสริมการค้าการลงทุนไทย-เวียดนามให้เพิ่มขึ้นอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้จัดตั้งสํานักงานผู้แทนในเวียดนาม
กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) นําคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ EXIM BANK ไปเยือนเวียดนาม
นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยภายหลังนําคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ EXIM BANK ไปเยือนเวียดนาม เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ได้เข้าพบผู้บริหารระดับสูงจากธนาคารกลางเวียดนาม (State Bank of Vietnam : SBV) ธนาคารเพื่อการพัฒนาเวียดนาม สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย และสํานักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงฮานอย เพื่อหารือเกี่ยวกับกฎระเบียบทางการเงิน โอกาสทางการค้าและการลงทุนของผู้ประกอบการไทยในเวียดนาม แนวทางขยายความร่วมมือระหว่าง EXIM BANK กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องในไทยและเวียดนาม เพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าการลงทุนไทย-เวียดนาม ตลอดจนศึกษาความเป็นไปได้ที่ EXIM BANK จะเข้าไปจัดตั้งสํานักงานผู้แทน ธสน. ในเวียดนาม
จากนั้น ได้เดินทางไปยังนครโฮจิมินห์ พบกับกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ ประธานสมาคมนักธุรกิจไทยในเวียดนามและกลุ่มนักธุรกิจไทยในเวียดนาม สมาชิกโครงการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการรุ่นใหม่ของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (Young Entrepreneur Network Development Program : YEN-D Program) และผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ จากภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อแสวงหาลู่ทางขยายความร่วมมือในการส่งเสริมและสนับสนุนการค้าการลงทุนไทย-เวียดนามเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเวียดนามเป็นตลาดที่มีความโดดเด่นหลายประการ อาทิ มีอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลกและมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 6% ไปอีกไม่ต่ํากว่า 5 ปีข้างหน้า กลุ่มผู้บริโภครายได้ปานกลางขยายตัว อย่างรวดเร็วจาก 12 ล้านคนในปี 2557 เป็น 33 ล้านคนในปี 2563
กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยว่า จากการเดินทางเยือนเวียดนามครั้งนี้ พบว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ของไทยเข้าไปลงทุนในเวียดนามหลายธุรกิจแล้ว ดังนั้น โอกาสในระยะถัดไปของผู้ประกอบการไทย รวมถึง SMEs จึงอยู่ที่การผนวกเข้ากับซัพพลายเชน (Supply Chain) ของผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีธุรกิจในเวียดนาม อาทิ การส่งออกสินค้าไปจําหน่ายในห้างค้าปลีกของไทยในเวียดนาม พร้อมทั้งการเข้าไปเติมเต็มซัพพลายเชนด้วยธุรกิจสนับสนุน อาทิ ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ เพื่อสนับสนุนซัพพลายเชนในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป นอกจากนั้น ธุรกิจพลังงานก็ยังเป็นอีกหนึ่งโอกาสสําคัญของผู้ประกอบการไทย สอดคล้องกับความต้องการพลังงานของเวียดนามที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะช่วยขยายการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและเวียดนาม และยกระดับความสัมพันธ์ไปสู่การเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับเวียดนามที่จะผลิตและส่งออกจากเวียดนามไปยังประเทศที่สาม โดยปัจจุบันเวียดนามเป็นตลาดส่งออกสําคัญอันดับ 5 ของไทย สินค้าส่งออกสําคัญของไทยได้แก่ น้ํามันสําเร็จรูป ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ ขณะที่เวียดนามเป็นแหล่งนําเข้าอันดับ 13 ของไทย สินค้าสําคัญที่ไทยนําเข้าจากเวียดนาม ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน น้ํามันดิบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เหล็กและผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ ทั้งนี้ สินค้าส่งออกสําคัญของเวียดนามไปยังตลาดโลก โดยเฉพาะสหรัฐฯ ยุโรป จีน และญี่ปุ่น ได้แก่ โทรศัพท์และส่วนประกอบ สิ่งทอและเสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ รองเท้า เครื่องจักรและอุปกรณ์
“ในโลกการค้ายุคใหม่ได้เกิดเทรนด์ขยายการลงทุนในต่างประเทศเพื่อสร้างฐานการผลิตและตลาดการค้าแห่งใหม่ ที่เรียกว่า การลงทุนนําการค้า EXIM BANK พร้อมจับมือกับภาครัฐและเอกชนสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยเพิ่มศักยภาพของธุรกิจตนเองเติบโตไปสู่การเป็นบริษัทข้ามชาติ หรืออย่างน้อยเป็นส่วนหนึ่งของซัพพลายเชนของบริษัทข้ามชาติ โดยเวียดนามเป็นหนึ่งในตลาดที่น่าสนใจในกลุ่ม CLMV” นายพิศิษฐ์กล่าว
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วนสื่อสารองค์กร ฝ่ายเลขานุการและสื่อสารองค์กร
โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 1141, 1144
EXIM Thailand Explores Ways to Boost Thailand-Vietnam Trade and Investment Considering Feasibility of Setting up Representative Office in Vietnam
Mr. Pisit Serewiwattana, President of Export-Import Bank of Thailand (EXIM Thailand), revealed after leading a delegation of EXIM Thailand executives and staff in a recent visit to Vietnam that the EXIM Thailand team had a meeting with high ranking executives of State Bank of Vietnam (SBV), Vietnam Development Bank, Royal Thai Embassy and Thai Trade Center in Hanoi, to discuss financial rules and regulations, Thai entrepreneurs’ trade and investment opportunities in Vietnam, and cooperation framework between EXIM Thailand and relevant Thai and Vietnamese public and private agencies to augment value of Thailand-Vietnam trade and investment, and study the viability of establishing a representative office in Vietnam.
EXIM Thailand team also met with the Consul-General of Royal Thai Consulate-General-Ho Chi Minh City, Thai Business (Vietnam) Association and a group of Thai businessmen in Vietnam, members of Young Entrepreneur Network Development Program (YEN-D Program) and representatives from public and private entities concerned, to look into ways to expand cooperation in promoting and supporting Thai-Vietnamese trade and investment to a greater extent. Vietnam is a market with several distinctive characteristics, having achieved economic growth among the world’s highest with average annual growth forecast of 6% for the next five years and beyond, as well as rapid expansion of middle-income consumers from 12 million in 2014 to 33 million in 2020.
EXIM Thailand President further said that, from this Vietnam trip, it has been found that a number of large-scale Thai entrepreneurs have already invested in Vietnam. Business opportunities for Thai business operators, particularly SMEs, therefore lie in the supply chain of these Thai entrepreneurs such as in the retail businesses and supporting industries that can fulfill the supply chain including packaging businesses to cater for the food processing industry. Energy is another business opportunity for Thai entrepreneurs following the constantly rising demand for energy consumption in Vietnam. This will help expand Thai-Vietnamese trade and investment while enhancing and turning Thai-Vietnamese relationship into economic partnership in production and export from Vietnam to third countries. At present, Vietnam is Thailand’s fifth largest export market. Major export goods are finished oil; fresh, refrigerated, frozen and dried fruits; automobile, parts and components; plastic resin and chemicals. Meanwhile, Vietnam ranks no. 13 on Thailand’s top import country list with key imported items including home electrical appliances, crude oil, electrical machinery and components, steel and steel products, and auto parts and equipment. Principal export goods from Vietnam to global markets, particularly the U.S., Europe, China and Japan, include telephone sets and components, textile and garment, electronics products, shoes, machinery and equipment.
“In today’s global trade arena, there is a rising trend of investment expansion overseas to build production base and venture into new markets, or the so-called investment-induced trade. EXIM Thailand is ready to work in conjunction with public and private agencies to enhance Thai entrepreneurs’ capabilities to upgrade themselves to become multinational corporations (MNC) or at least part of the MNC supply chains. Vietnam is certainly one of the promising markets in the CLMV for Thai entrepreneurs,” added Mr. Pisit.
For further information, please contact Corporate Communication Division, Secretary and Corporate Communication
Tel. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ext. 1141, 1144 | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/13039 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“ไอแบงก์ รวมพลังต่อต้านการทุจริต” ภายใต้แนวคิด ไอแบงก์ ปลอดทุจริต 100% | วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน 2561
“ไอแบงก์ รวมพลังต่อต้านการทุจริต” ภายใต้แนวคิด ไอแบงก์ ปลอดทุจริต 100%
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) จัดกิจกรรมวันต่อต้านคอร์รัปชัน “ไอแบงก์ รวมพลังต่อต้านการทุจริต” ภายใต้นโยบาย “ไอแบงก์ ปลอดทุจริต 100%” ณ สํานักงานใหญ่ ไอแบงก์
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) จัดกิจกรรมวันต่อต้านคอร์รัปชัน “ไอแบงก์ รวมพลังต่อต้านการทุจริต” ภายใต้นโยบาย “ไอแบงก์ ปลอดทุจริต 100%” เช้าวันนี้ (6 กันยายน 2561) เวลา 9.00น. ณ สํานักงานใหญ่ ไอแบงก์ นําโดย นายพรเลิศ ลัธธนันท์ ประธานกรรมการธนาคาร พร้อมด้วย คณะกรรมการธนาคาร ตลอดจน ผู้บริหาร และพนักงาน เข้าร่วม
โดยในกิจกรรม นายชัยชาญ พลานนท์ กรรมการและประธานอนุกรรมการธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม (CG&CSR) ได้กล่าวรายงานต่อประธานกรรมการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย นายพรเลิศ ลัธธนันท์ ว่าในทุกวันที่ 6 กันยายนของทุกปีเป็นวันต่อต้านคอร์รัปชัน ถือว่าปีนี้เป็นปีแรกที่ธนาคารจัดกิจกรรมวันต่อต้านคอร์รัปชัน ภายในธนาคาร ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นจิตสํานึกให้พนักงานและผลักดันนโยบาย “ไอแบงก์ ปลอดทุจริต 100%” ให้เป็นรูปธรรม การจัดกิจกรรมวันนี้ถือเป็นการสนับสนุนองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ต้นแบบของสังคมในการต่อสู้กับคอร์รัปชัน และนอกจากการจัดกิจกรรมภายในแล้ว ยังมีผู้บริหารระดับสูงและพนักงานบางส่วน เข้าร่วมงานวันต่อต้านคอร์รัปชัน ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนาด้วย
จากนั้น นายพรเลิศ นํากล่าวปฏิญาณตน ประกาศเจตจํานงต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งความโปร่งใสมีคุณธรรม และได้ให้โอวาทโดยเน้นย้ําให้พนักงานทุกคนตระหนักถึงความเสียหายของการทุจริตและคอร์รัปชั่น ว่าจะส่งผลต่อชื่อเสียงเกียรติภูมิ อันเป็นอุปสรรคของการพัฒนาองค์กร รวมถึงปลูกฝังค่านิยมไม่ยอมรับการโกงทุกรูปแบบ ไม่นิ่งเฉยต่อคนโกง ไม่ใช้อํานาจโดยเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง เพื่อเป็นการสร้างรากฐานที่ดีแก่ธนาคารให้สามารถก้าวหน้าได้อย่างยั่งยืนต่อไป | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“ไอแบงก์ รวมพลังต่อต้านการทุจริต” ภายใต้แนวคิด ไอแบงก์ ปลอดทุจริต 100%
วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน 2561
“ไอแบงก์ รวมพลังต่อต้านการทุจริต” ภายใต้แนวคิด ไอแบงก์ ปลอดทุจริต 100%
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) จัดกิจกรรมวันต่อต้านคอร์รัปชัน “ไอแบงก์ รวมพลังต่อต้านการทุจริต” ภายใต้นโยบาย “ไอแบงก์ ปลอดทุจริต 100%” ณ สํานักงานใหญ่ ไอแบงก์
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) จัดกิจกรรมวันต่อต้านคอร์รัปชัน “ไอแบงก์ รวมพลังต่อต้านการทุจริต” ภายใต้นโยบาย “ไอแบงก์ ปลอดทุจริต 100%” เช้าวันนี้ (6 กันยายน 2561) เวลา 9.00น. ณ สํานักงานใหญ่ ไอแบงก์ นําโดย นายพรเลิศ ลัธธนันท์ ประธานกรรมการธนาคาร พร้อมด้วย คณะกรรมการธนาคาร ตลอดจน ผู้บริหาร และพนักงาน เข้าร่วม
โดยในกิจกรรม นายชัยชาญ พลานนท์ กรรมการและประธานอนุกรรมการธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม (CG&CSR) ได้กล่าวรายงานต่อประธานกรรมการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย นายพรเลิศ ลัธธนันท์ ว่าในทุกวันที่ 6 กันยายนของทุกปีเป็นวันต่อต้านคอร์รัปชัน ถือว่าปีนี้เป็นปีแรกที่ธนาคารจัดกิจกรรมวันต่อต้านคอร์รัปชัน ภายในธนาคาร ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นจิตสํานึกให้พนักงานและผลักดันนโยบาย “ไอแบงก์ ปลอดทุจริต 100%” ให้เป็นรูปธรรม การจัดกิจกรรมวันนี้ถือเป็นการสนับสนุนองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ต้นแบบของสังคมในการต่อสู้กับคอร์รัปชัน และนอกจากการจัดกิจกรรมภายในแล้ว ยังมีผู้บริหารระดับสูงและพนักงานบางส่วน เข้าร่วมงานวันต่อต้านคอร์รัปชัน ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนาด้วย
จากนั้น นายพรเลิศ นํากล่าวปฏิญาณตน ประกาศเจตจํานงต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งความโปร่งใสมีคุณธรรม และได้ให้โอวาทโดยเน้นย้ําให้พนักงานทุกคนตระหนักถึงความเสียหายของการทุจริตและคอร์รัปชั่น ว่าจะส่งผลต่อชื่อเสียงเกียรติภูมิ อันเป็นอุปสรรคของการพัฒนาองค์กร รวมถึงปลูกฝังค่านิยมไม่ยอมรับการโกงทุกรูปแบบ ไม่นิ่งเฉยต่อคนโกง ไม่ใช้อํานาจโดยเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง เพื่อเป็นการสร้างรากฐานที่ดีแก่ธนาคารให้สามารถก้าวหน้าได้อย่างยั่งยืนต่อไป | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/15187 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมช.เกษตรฯ เปิดงาน Field Day จ.พะเยา | วันจันทร์ที่ 13 มกราคม 2563
รมช.เกษตรฯ เปิดงาน Field Day จ.พะเยา
รมช.เกษตรฯ เปิดงาน Field Day จ.พะเยา สนับสนุนให้เกษตรกรมีองค์ความรู้เพื่อวางแผนการผลิต สร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร และสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเกษตรกร
รมช.เกษตรฯเปิดงานField Dayจ.พะเยาสนับสนุนให้เกษตรกรมีองค์ความรู้เพื่อวางแผนการผลิตสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรและสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเกษตรกร
ร้อยเอกธรรมนัสพรหมเผ่ารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่(Field Day)ปี2563ณเทศบาลตําบลงิมอ.ปงจ.พะเยาว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดกิจกรรมวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่(Field Day)ปี2563ขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกรได้เข้ามาเรียนรู้รับทราบเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆช่องทางการตลาดข้อมูลข่าวสารการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ตลอดจนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรด้วยกันรวมทั้งนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา
เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีองค์ความรู้เพื่อวางแผนการผลิตเข้าถึงปัจจัยการผลิตบริหารจัดการความเสี่ยงและสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรหากสามารถทําให้เกษตรกรนําองค์ความรู้ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ไปประยุกต์ใช้ได้จะทําให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ดียิ่งขึ้น
“กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ความสําคัญกับการผลิตของเกษตรกรเป็นอย่างมากโดยมุ่งเน้นในการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเกษตรกรจึงได้จัดกิจกรรมวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่(Field Day)ปี2563เพื่อเป็นส่วนสําคัญที่จะช่วยเตรียมความพร้อมให้แก่พี่น้องเกษตรกรเนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในการผลิตสินค้าเกษตรมีการแข่งขันค่อนข้างสูงทั้งด้านปริมาณและด้านคุณภาพจึงมีนโยบายสนับสนุนให้เกษตรกรมีองค์ความรู้เพื่อวางแผนการผลิตบริหารจัดการความเสี่ยงและสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้แก่พี่น้องเกษตรกร”ร้อยเอกธรรมนัสกล่าว
ทั้งนี้ทางกระทรวงเกษตรฯมีความตระหนักและเข้าใจในปัญหาของเกษตรกรจึงมีนโยบายในการดําเนินการจัดกิจกรรมต่างๆผ่านศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรซึ่งเป็นศูนย์ที่มีการสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสินค้าหลักและเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่หรือZoningโดยมีองค์ประกอบของศูนย์ได้แก่เกษตรกรต้นแบบแปลงเรียนรู้หลักสูตรการเรียนรู้และฐานการเรียนรู้สําหรับองค์ความรู้ที่มีอยู่ในศูนย์เรียนรู้ฯเป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีที่หน่วยงานราชการส่งเสริมกับภูมิปัญญาของเกษตรกรและได้มีการประยุกต์ใช้ให้มีความเหมาะสมอย่างเฉพาะเจาะจงกับสภาพแวดล้อมของพื้นที่นั้นๆ
ด้านนายเข้มแข็งยุติธรรมดํารงอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรกล่าวเพิ่มเติมว่าการจัดงานดังกล่าวเป็นการสนับสนุนให้เกษตรกรมีองค์ความรู้เพื่อวางแผนการผลิตเข้าถึงปัจจัยการผลิตบริหารจัดการความเสี่ยงและสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรสําหรับการจัดงานวันField Dayณเทศบาลตําบลงิมอําเภอปงจังหวัดพะเยาในวันนี้ได้นําเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จํานวน4สถานีเพื่อให้เกษตรกรได้เรียนรู้นอกจากนี้ยังมีการให้บริการด้านการเกษตรการจัดนิทรรศการให้ความรู้จากหน่วยงานต่างๆ1.นิทรรศการศพก./เครือข่ายศพก.อําเภอปง2.นิทรรศการYoung Smart Farmerจังหวัดพะเยา3.นิทรรศการและการให้บริการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานภาคี4.นิทรรศการและการให้บริการของหน่วยงานเอกชนอีกทั้งยังมีกิจกรรมออกร้านจําหน่ายสินค้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรกลุ่มส่งเสริมอาชีพSmart FarmerและYoung Smartการจัดงานในครั้ง
กลุ่มงานโฆษกและวิเคราะห์ข่าว กองเกษตรสารนิเทศ
สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โทร 02-2810859 แฟกซ์ 02-2822871
[email protected]
[email protected]
www.moac.go.th
www.facebook.com/kasetthai | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมช.เกษตรฯ เปิดงาน Field Day จ.พะเยา
วันจันทร์ที่ 13 มกราคม 2563
รมช.เกษตรฯ เปิดงาน Field Day จ.พะเยา
รมช.เกษตรฯ เปิดงาน Field Day จ.พะเยา สนับสนุนให้เกษตรกรมีองค์ความรู้เพื่อวางแผนการผลิต สร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร และสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเกษตรกร
รมช.เกษตรฯเปิดงานField Dayจ.พะเยาสนับสนุนให้เกษตรกรมีองค์ความรู้เพื่อวางแผนการผลิตสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรและสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเกษตรกร
ร้อยเอกธรรมนัสพรหมเผ่ารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่(Field Day)ปี2563ณเทศบาลตําบลงิมอ.ปงจ.พะเยาว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดกิจกรรมวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่(Field Day)ปี2563ขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกรได้เข้ามาเรียนรู้รับทราบเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆช่องทางการตลาดข้อมูลข่าวสารการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ตลอดจนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรด้วยกันรวมทั้งนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา
เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีองค์ความรู้เพื่อวางแผนการผลิตเข้าถึงปัจจัยการผลิตบริหารจัดการความเสี่ยงและสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรหากสามารถทําให้เกษตรกรนําองค์ความรู้ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ไปประยุกต์ใช้ได้จะทําให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ดียิ่งขึ้น
“กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ความสําคัญกับการผลิตของเกษตรกรเป็นอย่างมากโดยมุ่งเน้นในการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเกษตรกรจึงได้จัดกิจกรรมวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่(Field Day)ปี2563เพื่อเป็นส่วนสําคัญที่จะช่วยเตรียมความพร้อมให้แก่พี่น้องเกษตรกรเนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในการผลิตสินค้าเกษตรมีการแข่งขันค่อนข้างสูงทั้งด้านปริมาณและด้านคุณภาพจึงมีนโยบายสนับสนุนให้เกษตรกรมีองค์ความรู้เพื่อวางแผนการผลิตบริหารจัดการความเสี่ยงและสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้แก่พี่น้องเกษตรกร”ร้อยเอกธรรมนัสกล่าว
ทั้งนี้ทางกระทรวงเกษตรฯมีความตระหนักและเข้าใจในปัญหาของเกษตรกรจึงมีนโยบายในการดําเนินการจัดกิจกรรมต่างๆผ่านศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรซึ่งเป็นศูนย์ที่มีการสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสินค้าหลักและเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่หรือZoningโดยมีองค์ประกอบของศูนย์ได้แก่เกษตรกรต้นแบบแปลงเรียนรู้หลักสูตรการเรียนรู้และฐานการเรียนรู้สําหรับองค์ความรู้ที่มีอยู่ในศูนย์เรียนรู้ฯเป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีที่หน่วยงานราชการส่งเสริมกับภูมิปัญญาของเกษตรกรและได้มีการประยุกต์ใช้ให้มีความเหมาะสมอย่างเฉพาะเจาะจงกับสภาพแวดล้อมของพื้นที่นั้นๆ
ด้านนายเข้มแข็งยุติธรรมดํารงอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรกล่าวเพิ่มเติมว่าการจัดงานดังกล่าวเป็นการสนับสนุนให้เกษตรกรมีองค์ความรู้เพื่อวางแผนการผลิตเข้าถึงปัจจัยการผลิตบริหารจัดการความเสี่ยงและสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรสําหรับการจัดงานวันField Dayณเทศบาลตําบลงิมอําเภอปงจังหวัดพะเยาในวันนี้ได้นําเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จํานวน4สถานีเพื่อให้เกษตรกรได้เรียนรู้นอกจากนี้ยังมีการให้บริการด้านการเกษตรการจัดนิทรรศการให้ความรู้จากหน่วยงานต่างๆ1.นิทรรศการศพก./เครือข่ายศพก.อําเภอปง2.นิทรรศการYoung Smart Farmerจังหวัดพะเยา3.นิทรรศการและการให้บริการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานภาคี4.นิทรรศการและการให้บริการของหน่วยงานเอกชนอีกทั้งยังมีกิจกรรมออกร้านจําหน่ายสินค้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรกลุ่มส่งเสริมอาชีพSmart FarmerและYoung Smartการจัดงานในครั้ง
กลุ่มงานโฆษกและวิเคราะห์ข่าว กองเกษตรสารนิเทศ
สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โทร 02-2810859 แฟกซ์ 02-2822871
[email protected]
[email protected]
www.moac.go.th
www.facebook.com/kasetthai | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/25729 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มาตรการของการท่าเรือฯ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการและประชาชนรอบท่าเรือคลองเตย มีอะไรบ้าง ?? | วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม 2563
มาตรการของการท่าเรือฯ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการและประชาชนรอบท่าเรือคลองเตย มีอะไรบ้าง ??
มาตรการของการท่าเรือฯ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการและประชาชน มีอะไรบ้าง ??
Q : มาตรการของการท่าเรือฯ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการและประชาชนรอบท่าเรือคลองเตย มีอะไรบ้าง ??
A : 1.งดเก็บค่าเช่าที่อยู่อาศัยเป็นเวลา 3 เดือน
2.เก็บค่าเช่าอาคารสํานักงาน อาคารพาณิชย์ 50% เป็นเวลา 3 เดือน
3.เยียวยาผู้เช่าทรัพย์คู่สัญญาการท่าเรือฯ
4.ขยายเวลาจ่ายค่าเช่าโดยไม่คิดค่าปรับล่าช้า ผ่อนผันไม่เกิน 1 เดือนของรอบชําระ | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มาตรการของการท่าเรือฯ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการและประชาชนรอบท่าเรือคลองเตย มีอะไรบ้าง ??
วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม 2563
มาตรการของการท่าเรือฯ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการและประชาชนรอบท่าเรือคลองเตย มีอะไรบ้าง ??
มาตรการของการท่าเรือฯ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการและประชาชน มีอะไรบ้าง ??
Q : มาตรการของการท่าเรือฯ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการและประชาชนรอบท่าเรือคลองเตย มีอะไรบ้าง ??
A : 1.งดเก็บค่าเช่าที่อยู่อาศัยเป็นเวลา 3 เดือน
2.เก็บค่าเช่าอาคารสํานักงาน อาคารพาณิชย์ 50% เป็นเวลา 3 เดือน
3.เยียวยาผู้เช่าทรัพย์คู่สัญญาการท่าเรือฯ
4.ขยายเวลาจ่ายค่าเช่าโดยไม่คิดค่าปรับล่าช้า ผ่อนผันไม่เกิน 1 เดือนของรอบชําระ | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/30477 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดงาน "อุ่นไอรัก คลายความหนาว" 8 ก.พ.-11 มี.ค.นี้ ณ พระลานพระราชวังดุสิตและสนามเสือป่า | วันอังคารที่ 9 มกราคม 2561
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดงาน "อุ่นไอรัก คลายความหนาว" 8 ก.พ.-11 มี.ค.นี้ ณ พระลานพระราชวังดุสิตและสนามเสือป่า
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดงาน "อุ่นไอรัก คลายความหนาว" 8 ก.พ.-11 มี.ค.นี้ ณ พระลานพระราชวังดุสิตและสนามเสือป่า เพื่อมอบความสุขให้กับประชาชน ส่งเสริมการท่องเที่ยวและศิลปวัฒนธรรมไทย
วันนี้ (9 ม.ค. 61 ) เวลา 14.20 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทําเนียบรัฐบาล ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ พันเอกหญิงทักษดา สังขจันทร์ ผู้ช่วยโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หน่วยราชการในพระองค์จัดงานฤดูหนาวขึ้น ภายใต้ชื่อ "อุ่นไอรัก คลายความหนาว" ณ พระลานพระราชวังดุสิต และสนามเสือป่า ระหว่างวันที่ 8 กุมภาพันธ์-11 มีนาคม 2561 เพื่อมอบความสุขให้กับประชาชน ส่งเสริมการท่องเที่ยวและศิลปวัฒนธรรมไทย
"การจัดงานแบ่งเป็น 3 โซน คือ 1) โซนพระลานพระราชวังดุสิต จัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมสยาม ประชารําฦก นําเสนอพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 9 2) โซนสนามเสือป่า จัดร้านค้าในพระบรมวงศานุวงศ์และร้านค้ารับเชิญ เช่น ร้านจิตอาสา 904 ร้านภูฟ้า ร้านของมูลนิธิ เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก ร้านมูลนิธิโครงการหลวง ร้านแม่บ้านเหล่าทัพ ฯลฯ 3) โซนร้านอาหารและร้านค้าในแนวคิดใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร สืบสานชุมชน วิถีไทย โดยจะจัดซุ้มร้านอาหารไทยโบราณที่มีรสชาติอร่อย จํานวนประมาณ 30 ร้าน" ทั้งนี้ โซนที่ 1 จะถูกออกแบบตกแต่งอย่างสวยงามด้วยสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 9 มีการ จัดสวน พันธุ์ไม้ และน้ําพุ งานประดิษฐ์ตามศิลปะไทยแบบชาววัง โซนที่ 2 จะมีการแสดงวัฒนธรรมพื้นบ้าน และฉายหนังกลางแปลง และโซนที่ 3 จะมีการสาธิตเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และมีร้านสตูดิโอให้ถ่ายภาพย้อนยุคด้วย
จึงขอเชิญชวนประชาชนไปร่วมงานในวันดังกล่าว โดยรณรงค์ให้แต่งกายย้อนยุคเช่นเดียวกับพ่อค้าแม่ค้า ภายในงาน หากไม่มีให้สวมใส่ผ้าไทย หรือชุดสุภาพ ทั้งนี้ เงินรายได้ส่วนหนึ่งจากการขายสินค้าจะนําขึ้น ทูลเกล้าฯ ถวาย โดยเสด็จพระราชกุศล เพื่อนําไปช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากต่อไป
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี จะไปร่วมงานดังกล่าวด้วยในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 16.00 น.
----------------
สํานักโฆษก | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดงาน "อุ่นไอรัก คลายความหนาว" 8 ก.พ.-11 มี.ค.นี้ ณ พระลานพระราชวังดุสิตและสนามเสือป่า
วันอังคารที่ 9 มกราคม 2561
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดงาน "อุ่นไอรัก คลายความหนาว" 8 ก.พ.-11 มี.ค.นี้ ณ พระลานพระราชวังดุสิตและสนามเสือป่า
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดงาน "อุ่นไอรัก คลายความหนาว" 8 ก.พ.-11 มี.ค.นี้ ณ พระลานพระราชวังดุสิตและสนามเสือป่า เพื่อมอบความสุขให้กับประชาชน ส่งเสริมการท่องเที่ยวและศิลปวัฒนธรรมไทย
วันนี้ (9 ม.ค. 61 ) เวลา 14.20 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทําเนียบรัฐบาล ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ พันเอกหญิงทักษดา สังขจันทร์ ผู้ช่วยโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หน่วยราชการในพระองค์จัดงานฤดูหนาวขึ้น ภายใต้ชื่อ "อุ่นไอรัก คลายความหนาว" ณ พระลานพระราชวังดุสิต และสนามเสือป่า ระหว่างวันที่ 8 กุมภาพันธ์-11 มีนาคม 2561 เพื่อมอบความสุขให้กับประชาชน ส่งเสริมการท่องเที่ยวและศิลปวัฒนธรรมไทย
"การจัดงานแบ่งเป็น 3 โซน คือ 1) โซนพระลานพระราชวังดุสิต จัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมสยาม ประชารําฦก นําเสนอพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 9 2) โซนสนามเสือป่า จัดร้านค้าในพระบรมวงศานุวงศ์และร้านค้ารับเชิญ เช่น ร้านจิตอาสา 904 ร้านภูฟ้า ร้านของมูลนิธิ เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก ร้านมูลนิธิโครงการหลวง ร้านแม่บ้านเหล่าทัพ ฯลฯ 3) โซนร้านอาหารและร้านค้าในแนวคิดใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร สืบสานชุมชน วิถีไทย โดยจะจัดซุ้มร้านอาหารไทยโบราณที่มีรสชาติอร่อย จํานวนประมาณ 30 ร้าน" ทั้งนี้ โซนที่ 1 จะถูกออกแบบตกแต่งอย่างสวยงามด้วยสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 9 มีการ จัดสวน พันธุ์ไม้ และน้ําพุ งานประดิษฐ์ตามศิลปะไทยแบบชาววัง โซนที่ 2 จะมีการแสดงวัฒนธรรมพื้นบ้าน และฉายหนังกลางแปลง และโซนที่ 3 จะมีการสาธิตเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และมีร้านสตูดิโอให้ถ่ายภาพย้อนยุคด้วย
จึงขอเชิญชวนประชาชนไปร่วมงานในวันดังกล่าว โดยรณรงค์ให้แต่งกายย้อนยุคเช่นเดียวกับพ่อค้าแม่ค้า ภายในงาน หากไม่มีให้สวมใส่ผ้าไทย หรือชุดสุภาพ ทั้งนี้ เงินรายได้ส่วนหนึ่งจากการขายสินค้าจะนําขึ้น ทูลเกล้าฯ ถวาย โดยเสด็จพระราชกุศล เพื่อนําไปช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากต่อไป
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี จะไปร่วมงานดังกล่าวด้วยในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 16.00 น.
----------------
สํานักโฆษก | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/9263 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอิสลามาบัดมอบหน้ากากอนามัย เจลล้างมือ อาหารแห้ง เเละของใช้ส่วนตัวแก่นักเรียนไทยเเละคนไทยในกรุงอิสลามาบัด [กระทรวงการต่างประเทศ] | วันพุธที่ 15 เมษายน 2563
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอิสลามาบัดมอบหน้ากากอนามัย เจลล้างมือ อาหารแห้ง เเละของใช้ส่วนตัวแก่นักเรียนไทยเเละคนไทยในกรุงอิสลามาบัด [กระทรวงการต่างประเทศ]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอิสลามาบัดมอบหน้ากากอนามัย เจลล้างมือ อาหารแห้ง เเละของใช้ส่วนตัวแก่นักเรียนไทยเเละคนไทยในกรุงอิสลามาบัด
เมื่อวันที่14เมษายน2563สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอิสลามาบัด ได้มอบหน้ากากอนามัย เจลล้างมือ ข้าวสาร อาหารเเห้ง ไข่ไก่ แป้งโรตีพาราต้า ยาสีฟัน ยาสระผม เเละของใช้จําเป็นในชีวิตประจําวันแก่นักศึกษาไทยเเละคนไทย เเละคนไทยเชื้อสายปากีสถานที่อาศัยอยู่ในกรุงอิสลามาบัดจํานวนกว่า30คน ซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของCOVID-19เเละมีข้อจํากัดเนื่องจากมาตรการจํากัดการเดินทางและการปิดสถานประกอบการและระบบการขนส่งสาธารณะ
สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้พูดคุยเเสดงความห่วงใยเเละย้ําเตือนนักเรียนไทยเเละคนไทยให้รักษาสุขอนามัย เว้นระยะห่างทางสังคม เเละปฏิบัติตามคําแนะนําของกระทรวงสาธารณสุขของปากีสถาน รวมทั้งขอให้ติดตามข่าวสารจากสถานเอกอัครราชทูตฯ อย่างใกล้ชิดต่อไป
On 14 April 2020, the Royal Thai Embassy Islamabad distributed face mask, hand sanitizer, rice, eggs, baby wipes and other necessary items to Thai students, Thai-Pakistani families and Thai community who reside nearby Islamabad.
The Embassy also gave some advice regarding personal hygiene practice against the spread of COVID-19 such as maintaining social distancing, and washing hands frequently. They were also recommended to regularly keep abreast of the news and follow the advice given by Pakistan authority and the Embassy.
#กงสุลไทยใจดี#ทีมละฮอร์รอก่อนนะ#ขอเป็นกําลังใจให้คนไทย#การทูตเพื่อประชาชน#กรมการกงสุล#กระทรวงการต่างประเทศ#ทุกแห่งหนเราดูแล | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอิสลามาบัดมอบหน้ากากอนามัย เจลล้างมือ อาหารแห้ง เเละของใช้ส่วนตัวแก่นักเรียนไทยเเละคนไทยในกรุงอิสลามาบัด [กระทรวงการต่างประเทศ]
วันพุธที่ 15 เมษายน 2563
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอิสลามาบัดมอบหน้ากากอนามัย เจลล้างมือ อาหารแห้ง เเละของใช้ส่วนตัวแก่นักเรียนไทยเเละคนไทยในกรุงอิสลามาบัด [กระทรวงการต่างประเทศ]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอิสลามาบัดมอบหน้ากากอนามัย เจลล้างมือ อาหารแห้ง เเละของใช้ส่วนตัวแก่นักเรียนไทยเเละคนไทยในกรุงอิสลามาบัด
เมื่อวันที่14เมษายน2563สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอิสลามาบัด ได้มอบหน้ากากอนามัย เจลล้างมือ ข้าวสาร อาหารเเห้ง ไข่ไก่ แป้งโรตีพาราต้า ยาสีฟัน ยาสระผม เเละของใช้จําเป็นในชีวิตประจําวันแก่นักศึกษาไทยเเละคนไทย เเละคนไทยเชื้อสายปากีสถานที่อาศัยอยู่ในกรุงอิสลามาบัดจํานวนกว่า30คน ซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของCOVID-19เเละมีข้อจํากัดเนื่องจากมาตรการจํากัดการเดินทางและการปิดสถานประกอบการและระบบการขนส่งสาธารณะ
สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้พูดคุยเเสดงความห่วงใยเเละย้ําเตือนนักเรียนไทยเเละคนไทยให้รักษาสุขอนามัย เว้นระยะห่างทางสังคม เเละปฏิบัติตามคําแนะนําของกระทรวงสาธารณสุขของปากีสถาน รวมทั้งขอให้ติดตามข่าวสารจากสถานเอกอัครราชทูตฯ อย่างใกล้ชิดต่อไป
On 14 April 2020, the Royal Thai Embassy Islamabad distributed face mask, hand sanitizer, rice, eggs, baby wipes and other necessary items to Thai students, Thai-Pakistani families and Thai community who reside nearby Islamabad.
The Embassy also gave some advice regarding personal hygiene practice against the spread of COVID-19 such as maintaining social distancing, and washing hands frequently. They were also recommended to regularly keep abreast of the news and follow the advice given by Pakistan authority and the Embassy.
#กงสุลไทยใจดี#ทีมละฮอร์รอก่อนนะ#ขอเป็นกําลังใจให้คนไทย#การทูตเพื่อประชาชน#กรมการกงสุล#กระทรวงการต่างประเทศ#ทุกแห่งหนเราดูแล | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/29158 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมช.สาธิตรับมอบ “อาคารระยองรวมใจพัฒน์” ตรวจโรคทางเดินหายใจความดันลบ | วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม 2563
รมช.สาธิตรับมอบ “อาคารระยองรวมใจพัฒน์” ตรวจโรคทางเดินหายใจความดันลบ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข รับมอบ “อาคารระยองรวมใจพัฒน์” ตรวจโรคระบบทางเดินหายใจความดันลบ ลดความเสี่ยงบุคลากรทางการแพทย์ สร้างความปลอดภัยผู้รับบริการ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข รับมอบ “อาคารระยองรวมใจพัฒน์” ตรวจโรคระบบทางเดินหายใจความดันลบ ลดความเสี่ยงบุคลากรทางการแพทย์ สร้างความปลอดภัยผู้รับบริการ
วันนี้ (3 สิงหาคม 2563) ที่โรงพยาบาลระยอง อ.เมือง จ.ระยอง ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานเปิดอาคารระยองรวมใจพัฒน์ (อาคารตรวจโรคทางเดินหายใจความดันลบ) ว่า โรงพยาบาลระยอง มีความพร้อมรับมือสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ทั้งห้องตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อ หอผู้ป่วย และได้รับการสนับสนุนจากบริษัทไออาร์พีซี จํากัด (มหาชน) ร่วมกับกลุ่ม ปตท. สร้างอาคารตรวจโรคทางเดินหายใจความดันลบ “ระยองรวมใจพัฒน์” ซึ่งเป็นอาคารที่ใช้สําหรับตรวจคัดกรองโรค ประกอบด้วย ห้องแรงดันบวก ห้องแรงดันลบ และพื้นที่สําหรับพักรอผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์มีความปลอดภัยขณะให้การตรวจรักษาผู้ป่วย และประชาชนปลอดภัยจากการแพร่กระจายเชื้อ
“แม้ปัจจุบันจังหวัดระยองจะไม่มีรายงานผู้ป่วยโรคโควิด 19 ต่อเนื่องมาเป็นเวลา 121 วัน จากความร่วมมือของทุกภาคส่วน แต่ขอให้ประชาชนตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ใส่หน้ากากผ้า/หน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่างทางสังคมอย่างเคร่งครัด หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีความเสี่ยงและไม่เข้าไปอยู่ในที่ที่มีคนหนาแน่น กินร้อน ช้อนกลาง ซึ่งจะช่วยป้องกันการระบาดของโรคโควิด 19 สร้างความเชื่อมั่น การท่องเที่ยว และเศรษฐกิจ” ดร.สาธิตกล่าว
ทั้งนี้ โรงพยาบาลระยอง เป็นโรงพยาบาลศูนย์ขนาด 604 เตียง ดูแลประชากรทั้งจังหวัดรวม 734,753 คน ให้บริการผู้ป่วยทั้งปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ มีเครือข่ายรับส่งต่อ เป็นโรงพยาบาลชุมชน 8 แห่ง โรงพยาบาลเอกชน 3 แห่ง จํานวนผู้ป่วยนอกเฉลี่ยในปี 2562 วันละ 2,236 ราย ได้จัดให้บริการตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อโควิด 19 ทั้งเชิงรับและการค้นหาเชิงรุก จากสถานการณ์โรคโควิด 19 ที่ผ่านมา จ.ระยอง พบผู้ติดเชื้อมาจากพื้นที่อื่น 6 ราย และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลระยอง 5 ราย และโรงพยาบาลชุมชน 1 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต
******************************************** 3 สิงหาคม 2563 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมช.สาธิตรับมอบ “อาคารระยองรวมใจพัฒน์” ตรวจโรคทางเดินหายใจความดันลบ
วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม 2563
รมช.สาธิตรับมอบ “อาคารระยองรวมใจพัฒน์” ตรวจโรคทางเดินหายใจความดันลบ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข รับมอบ “อาคารระยองรวมใจพัฒน์” ตรวจโรคระบบทางเดินหายใจความดันลบ ลดความเสี่ยงบุคลากรทางการแพทย์ สร้างความปลอดภัยผู้รับบริการ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข รับมอบ “อาคารระยองรวมใจพัฒน์” ตรวจโรคระบบทางเดินหายใจความดันลบ ลดความเสี่ยงบุคลากรทางการแพทย์ สร้างความปลอดภัยผู้รับบริการ
วันนี้ (3 สิงหาคม 2563) ที่โรงพยาบาลระยอง อ.เมือง จ.ระยอง ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานเปิดอาคารระยองรวมใจพัฒน์ (อาคารตรวจโรคทางเดินหายใจความดันลบ) ว่า โรงพยาบาลระยอง มีความพร้อมรับมือสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ทั้งห้องตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อ หอผู้ป่วย และได้รับการสนับสนุนจากบริษัทไออาร์พีซี จํากัด (มหาชน) ร่วมกับกลุ่ม ปตท. สร้างอาคารตรวจโรคทางเดินหายใจความดันลบ “ระยองรวมใจพัฒน์” ซึ่งเป็นอาคารที่ใช้สําหรับตรวจคัดกรองโรค ประกอบด้วย ห้องแรงดันบวก ห้องแรงดันลบ และพื้นที่สําหรับพักรอผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์มีความปลอดภัยขณะให้การตรวจรักษาผู้ป่วย และประชาชนปลอดภัยจากการแพร่กระจายเชื้อ
“แม้ปัจจุบันจังหวัดระยองจะไม่มีรายงานผู้ป่วยโรคโควิด 19 ต่อเนื่องมาเป็นเวลา 121 วัน จากความร่วมมือของทุกภาคส่วน แต่ขอให้ประชาชนตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ใส่หน้ากากผ้า/หน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่างทางสังคมอย่างเคร่งครัด หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีความเสี่ยงและไม่เข้าไปอยู่ในที่ที่มีคนหนาแน่น กินร้อน ช้อนกลาง ซึ่งจะช่วยป้องกันการระบาดของโรคโควิด 19 สร้างความเชื่อมั่น การท่องเที่ยว และเศรษฐกิจ” ดร.สาธิตกล่าว
ทั้งนี้ โรงพยาบาลระยอง เป็นโรงพยาบาลศูนย์ขนาด 604 เตียง ดูแลประชากรทั้งจังหวัดรวม 734,753 คน ให้บริการผู้ป่วยทั้งปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ มีเครือข่ายรับส่งต่อ เป็นโรงพยาบาลชุมชน 8 แห่ง โรงพยาบาลเอกชน 3 แห่ง จํานวนผู้ป่วยนอกเฉลี่ยในปี 2562 วันละ 2,236 ราย ได้จัดให้บริการตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อโควิด 19 ทั้งเชิงรับและการค้นหาเชิงรุก จากสถานการณ์โรคโควิด 19 ที่ผ่านมา จ.ระยอง พบผู้ติดเชื้อมาจากพื้นที่อื่น 6 ราย และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลระยอง 5 ราย และโรงพยาบาลชุมชน 1 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต
******************************************** 3 สิงหาคม 2563 | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/33897 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รับมือสถานการณ์ COVID-19 อย. เปิดมาตรการอำนวยความสะดวกแก่ ผู้ประกอบการเครื่องมือแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 [กระทรวงสาธารณสุข] | วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม 2563
รับมือสถานการณ์ COVID-19 อย. เปิดมาตรการอํานวยความสะดวกแก่ ผู้ประกอบการเครื่องมือแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 [กระทรวงสาธารณสุข]
รับมือสถานการณ์ COVID-19 อย. เปิดมาตรการอํานวยความสะดวกแก่ ผู้ประกอบการเครื่องมือแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19
อย. รับมือกับสถานการณ์การระบาดของโรคCOVID-19 เพิ่มการอํานวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการในการขออนุญาตนําเข้าหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (Surgical Mask) หน้ากาก N95 ชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment, PPE) หรือเครื่องหรืออุปกรณ์วัดไข้ให้มีใช้อย่างเพียงพอในประเทศไทยย้ําจุดยืน ทํางานด้วยความรอบคอบ รวดเร็ว โปร่งใส ตรวจสอบได้
นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาเปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ( COVID-19 ) การใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (Surgical Mask) หน้ากาก N95 ชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment, PPE) หรือเครื่องหรืออุปกรณ์วัดไข้จึงมีความสําคัญและมีความจําเป็นต่อบุคลากรทางการแพทย์รวมทั้งประชาชน
ดังนั้น สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงได้มีมาตรการอํานวยความสะดวกแก่ผู้นําเข้าเพื่อจําหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าว โดยให้ยกเว้นไม่ต้องใช้หนังสือรับรองการขายที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐจากประเทศผู้ผลิตหรือเจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือหน่วยงานเอกชนที่หน่วยงานของรัฐในประเทศผู้ผลิตนั้นรับรองหนังสือ EC Certificate หรือ EC Declaration of Conformity โดยมีใช้หนังสือชี้แจงที่ออกโดยผู้ผลิตหรือเจ้าของผลิตภัณฑ์แทนซึ่งต้องมีสาระสําคัญ ได้แก่
1. ชื่อผู้ผลิต ประกอบ หรือบรรจุ และสถานที่ตั้ง
2. ชื่อเครื่องมือแพทย์ โดยจําแนกรายการ เช่น รุ่น แบบ ขนาด รหัสสินค้า เป็นต้น และในกรณีที่ชื่อทางการค้าของเครื่องมือแพทย์ที่ขายภายในประเทศผู้ผลิตหรือเจ้าของผลิตภัณฑ์แตกต่างจากชื่อที่จะขายในประเทศไทย ต้องมีการรับรองว่าเป็นเครื่องมือแพทย์อย่างเดียวกัน
3. ข้อความที่แสดงว่า เป็นเครื่องมือแพทย์ที่มีการขายในประเทศผู้ผลิต แต่หากไม่มีการขายในประเทศผู้ผลิตให้ชี้แจงเหตุผลประกอบรวมทั้งหนังสือชี้แจงจากผู้ผลิตไม่ต้องผ่านการรับรองของหน่วยงานกระทรวงการต่างประเทศของประเทศไทย หรือสํานักงานพาณิชย์ในต่างประเทศของประเทศไทย
นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการฯ อย.กล่าวต่อไปว่า อย. ขอให้ทุกฝ่ายมั่นใจการดําเนินงานของ อย. ในสถานการณ์เช่นนี้ และพร้อมที่จะอํานวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการทุกรายในทุกมิติ หากผู้ประกอบการนําเข้ามีหนังสือรับรองจากผู้ผลิต ก็สามารถยื่นเรื่องนําเข้าที่สํานักงานคณะกรรมการอาหาร และยา (อย.) และจะพิจารณาตรวจสอบให้ทันที อย. มีทีมที่พร้อมจะให้ความสะดวกแก่ผู้ประกอบการนําเข้าเต็มที่ เราทุกคนจะฝ่าวิกฤตินี้ไปด้วยกัน
**********************************************
วันที่เผยแพร่ข่าว 30 มีนาคม 2563 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รับมือสถานการณ์ COVID-19 อย. เปิดมาตรการอำนวยความสะดวกแก่ ผู้ประกอบการเครื่องมือแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 [กระทรวงสาธารณสุข]
วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม 2563
รับมือสถานการณ์ COVID-19 อย. เปิดมาตรการอํานวยความสะดวกแก่ ผู้ประกอบการเครื่องมือแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 [กระทรวงสาธารณสุข]
รับมือสถานการณ์ COVID-19 อย. เปิดมาตรการอํานวยความสะดวกแก่ ผู้ประกอบการเครื่องมือแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19
อย. รับมือกับสถานการณ์การระบาดของโรคCOVID-19 เพิ่มการอํานวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการในการขออนุญาตนําเข้าหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (Surgical Mask) หน้ากาก N95 ชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment, PPE) หรือเครื่องหรืออุปกรณ์วัดไข้ให้มีใช้อย่างเพียงพอในประเทศไทยย้ําจุดยืน ทํางานด้วยความรอบคอบ รวดเร็ว โปร่งใส ตรวจสอบได้
นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาเปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ( COVID-19 ) การใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (Surgical Mask) หน้ากาก N95 ชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment, PPE) หรือเครื่องหรืออุปกรณ์วัดไข้จึงมีความสําคัญและมีความจําเป็นต่อบุคลากรทางการแพทย์รวมทั้งประชาชน
ดังนั้น สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงได้มีมาตรการอํานวยความสะดวกแก่ผู้นําเข้าเพื่อจําหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าว โดยให้ยกเว้นไม่ต้องใช้หนังสือรับรองการขายที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐจากประเทศผู้ผลิตหรือเจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือหน่วยงานเอกชนที่หน่วยงานของรัฐในประเทศผู้ผลิตนั้นรับรองหนังสือ EC Certificate หรือ EC Declaration of Conformity โดยมีใช้หนังสือชี้แจงที่ออกโดยผู้ผลิตหรือเจ้าของผลิตภัณฑ์แทนซึ่งต้องมีสาระสําคัญ ได้แก่
1. ชื่อผู้ผลิต ประกอบ หรือบรรจุ และสถานที่ตั้ง
2. ชื่อเครื่องมือแพทย์ โดยจําแนกรายการ เช่น รุ่น แบบ ขนาด รหัสสินค้า เป็นต้น และในกรณีที่ชื่อทางการค้าของเครื่องมือแพทย์ที่ขายภายในประเทศผู้ผลิตหรือเจ้าของผลิตภัณฑ์แตกต่างจากชื่อที่จะขายในประเทศไทย ต้องมีการรับรองว่าเป็นเครื่องมือแพทย์อย่างเดียวกัน
3. ข้อความที่แสดงว่า เป็นเครื่องมือแพทย์ที่มีการขายในประเทศผู้ผลิต แต่หากไม่มีการขายในประเทศผู้ผลิตให้ชี้แจงเหตุผลประกอบรวมทั้งหนังสือชี้แจงจากผู้ผลิตไม่ต้องผ่านการรับรองของหน่วยงานกระทรวงการต่างประเทศของประเทศไทย หรือสํานักงานพาณิชย์ในต่างประเทศของประเทศไทย
นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการฯ อย.กล่าวต่อไปว่า อย. ขอให้ทุกฝ่ายมั่นใจการดําเนินงานของ อย. ในสถานการณ์เช่นนี้ และพร้อมที่จะอํานวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการทุกรายในทุกมิติ หากผู้ประกอบการนําเข้ามีหนังสือรับรองจากผู้ผลิต ก็สามารถยื่นเรื่องนําเข้าที่สํานักงานคณะกรรมการอาหาร และยา (อย.) และจะพิจารณาตรวจสอบให้ทันที อย. มีทีมที่พร้อมจะให้ความสะดวกแก่ผู้ประกอบการนําเข้าเต็มที่ เราทุกคนจะฝ่าวิกฤตินี้ไปด้วยกัน
**********************************************
วันที่เผยแพร่ข่าว 30 มีนาคม 2563 | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/28146 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คุมเข้ม ดีเดย์ 31 วัน ขานรับนโยบาย รองนายกฯ ประวิตร | วันจันทร์ที่ 6 มีนาคม 2560
พม. บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คุมเข้ม ดีเดย์ 31 วัน ขานรับนโยบาย รองนายกฯ ประวิตร
พม. บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คุมเข้ม ดีเดย์ 31 วัน ขานรับนโยบาย รองนายกฯ ประวิตร เร่งจัดระเบียบคนไร้ที่พึ่ง คนขอทาน ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ให้เห็นผลเป็นรูปธรรม
วันนี้ (6 มี.ค. 60) เวลา 07.30 น. ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว กรุงเทพฯพลตํารวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.)เป็นประธานการประชุมการแก้ไขปัญหาคนไร้ที่พึ่งและคนขอทานในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร ตํารวจนครบาล ตํารวจภูธรภาค 1 และ ตํารวจภูธรภาค 7 ภายหลังจากที่พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มอบหมายให้สํานักงานตํารวจแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร บูรณาการร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในการจัดระเบียบฯ คนไร้ที่พึ่ง คนขอทานในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อให้เห็นผลเป็นรูปธรรมภายใน 31 วัน โดยเริ่มปฏิบัติการวันแรก เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2560 ที่ผ่านมา ซึ่งผลการจัดระเบียบคนไร้ที่พึ่ง คนขอทาน ระหว่างวันที่ 1 - 5 มีนาคม 2560 พบจํานวนรวมทั้งสิ้น 105 ราย เป็นคนไร้ที่ที่พึ่ง 51 ราย (ชาย 45 ราย หญิง 6 ราย) คนขอทาน 54 ราย(ชาย 22 ราย หญิง 32 ราย) แยกเป็น ขอทานไทย 28 ราย และขอทานต่างด้าว 26 ราย พบขอทานกัมพูชา สูงสุด 24 ราย พื้นที่ที่พบกลุ่มเป้าหมายคนไร้ที่พึ่ง คนขอทานสูงสุด พบในเขตสวนหลวง บางคอแหลม พระโขนง ประเวศ ยานนาวา และบางนา
พลตํารวจเอก อดุลย์กล่าวว่า การประชุมในวันนี้ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมหารือเพื่อวางแนวทางการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาคนไร้ที่พึ่งและคนขอทาน ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สอดรับกับนโยบาย พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ให้เร่งดําเนินการให้เห็นผลเป็นรูปธรรมภายใน 31 วัน โดยในวันนี้ได้มีการเน้นย้ําเกี่ยวกับภารกิจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน และความร่วมมือที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยขอให้เจ้าหน้าที่ตํารวจ และเจ้าหน้าที่เทศกิจ ลงพื้นที่จัดระเบียบฯ ทั่วกรุงเทพมหานคร บูรณาการร่วมกับทีมของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ 6 โซน 10 ชุดปฏิบัติการ เพื่อนําคนไร้ที่พึ่งและคนขอทาน เข้าสู่กระบวนการคัดกรองของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ และได้กําหนดสถานที่ของการคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย 2 ที่ คือ บ้านมิตรไมตรี กรุงเทพมหานคร และ สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ทั้งนี้ในส่วนของการคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย ในกรณีที่เป็นคนไทยให้เข้าสู่กระบวนการ การคุ้มครอง ช่วยเหลือ ฟื้นฟู และพัฒนาศักยภาพ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี กรณีเจ็บป่วยวิกฤติ จิตเวช ส่งสถานพยาบาลเฉพาะทางและกลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนต่างด้าว ให้ดําเนินการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดําเนินการส่งกลับประเทศต้นทางตามกระบวนการต่อไป "
ทั้งนี้ การลงพื้นที่ปฏิบัติการจัดระเบียบคนไร้ที่พึ่งและคนขอทานในครั้งนี้ ไม่ใช่การจับกุมเป็นการจัดระเบียบ เพื่อการฟื้นฟูให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการคุ้มครองและพัฒนาศักยภาพ มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณค่า และมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ประชาชนสามารถมีส่วนร่วม หากพบเห็นคนไร้ที่พึ่ง คนขอทาน แจ้งศูนย์ช่วยเหลือสังคม โทรสายด่วน 1300 ตลอด 24 ชั่วโมง”พลตํารวจเอก อดุลย์กล่าวในตอนท้าย | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คุมเข้ม ดีเดย์ 31 วัน ขานรับนโยบาย รองนายกฯ ประวิตร
วันจันทร์ที่ 6 มีนาคม 2560
พม. บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คุมเข้ม ดีเดย์ 31 วัน ขานรับนโยบาย รองนายกฯ ประวิตร
พม. บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คุมเข้ม ดีเดย์ 31 วัน ขานรับนโยบาย รองนายกฯ ประวิตร เร่งจัดระเบียบคนไร้ที่พึ่ง คนขอทาน ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ให้เห็นผลเป็นรูปธรรม
วันนี้ (6 มี.ค. 60) เวลา 07.30 น. ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว กรุงเทพฯพลตํารวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.)เป็นประธานการประชุมการแก้ไขปัญหาคนไร้ที่พึ่งและคนขอทานในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร ตํารวจนครบาล ตํารวจภูธรภาค 1 และ ตํารวจภูธรภาค 7 ภายหลังจากที่พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มอบหมายให้สํานักงานตํารวจแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร บูรณาการร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในการจัดระเบียบฯ คนไร้ที่พึ่ง คนขอทานในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อให้เห็นผลเป็นรูปธรรมภายใน 31 วัน โดยเริ่มปฏิบัติการวันแรก เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2560 ที่ผ่านมา ซึ่งผลการจัดระเบียบคนไร้ที่พึ่ง คนขอทาน ระหว่างวันที่ 1 - 5 มีนาคม 2560 พบจํานวนรวมทั้งสิ้น 105 ราย เป็นคนไร้ที่ที่พึ่ง 51 ราย (ชาย 45 ราย หญิง 6 ราย) คนขอทาน 54 ราย(ชาย 22 ราย หญิง 32 ราย) แยกเป็น ขอทานไทย 28 ราย และขอทานต่างด้าว 26 ราย พบขอทานกัมพูชา สูงสุด 24 ราย พื้นที่ที่พบกลุ่มเป้าหมายคนไร้ที่พึ่ง คนขอทานสูงสุด พบในเขตสวนหลวง บางคอแหลม พระโขนง ประเวศ ยานนาวา และบางนา
พลตํารวจเอก อดุลย์กล่าวว่า การประชุมในวันนี้ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมหารือเพื่อวางแนวทางการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาคนไร้ที่พึ่งและคนขอทาน ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สอดรับกับนโยบาย พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ให้เร่งดําเนินการให้เห็นผลเป็นรูปธรรมภายใน 31 วัน โดยในวันนี้ได้มีการเน้นย้ําเกี่ยวกับภารกิจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน และความร่วมมือที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยขอให้เจ้าหน้าที่ตํารวจ และเจ้าหน้าที่เทศกิจ ลงพื้นที่จัดระเบียบฯ ทั่วกรุงเทพมหานคร บูรณาการร่วมกับทีมของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ 6 โซน 10 ชุดปฏิบัติการ เพื่อนําคนไร้ที่พึ่งและคนขอทาน เข้าสู่กระบวนการคัดกรองของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ และได้กําหนดสถานที่ของการคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย 2 ที่ คือ บ้านมิตรไมตรี กรุงเทพมหานคร และ สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ทั้งนี้ในส่วนของการคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย ในกรณีที่เป็นคนไทยให้เข้าสู่กระบวนการ การคุ้มครอง ช่วยเหลือ ฟื้นฟู และพัฒนาศักยภาพ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี กรณีเจ็บป่วยวิกฤติ จิตเวช ส่งสถานพยาบาลเฉพาะทางและกลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนต่างด้าว ให้ดําเนินการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดําเนินการส่งกลับประเทศต้นทางตามกระบวนการต่อไป "
ทั้งนี้ การลงพื้นที่ปฏิบัติการจัดระเบียบคนไร้ที่พึ่งและคนขอทานในครั้งนี้ ไม่ใช่การจับกุมเป็นการจัดระเบียบ เพื่อการฟื้นฟูให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการคุ้มครองและพัฒนาศักยภาพ มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณค่า และมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ประชาชนสามารถมีส่วนร่วม หากพบเห็นคนไร้ที่พึ่ง คนขอทาน แจ้งศูนย์ช่วยเหลือสังคม โทรสายด่วน 1300 ตลอด 24 ชั่วโมง”พลตํารวจเอก อดุลย์กล่าวในตอนท้าย | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/2213 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มหกรรมวิชาการ TJ-SIF 2016 | วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม 2559
มหกรรมวิชาการ TJ-SIF 2016
ม.ล.ปริยดา ดิศกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมพิธีเปิดงาน "มหกรรมวิชาการ Thailand-Japan Student ICT Fair 2016 (TJ-SIF 2016)" ซึ่งจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ "Seeding Innovation through Fostering Thailand-Japan Youth Friendship
โดยมี รศ.ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ คณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประธานคณะอนุกรรมาธิการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมการพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เป็นประธานเปิดงาน เมื่อวันพุธที่ 21 ธันวาคม 2559 เวลา 10.00น. ที่โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี
ม.ล.ปริยดา ดิศกุลกล่าวในนามของกระทรวงศึกษาธิการว่า ขอแสดงความขอบคุณสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจําประเทศไทย รวมทั้งสถานประกอบการภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ให้การสนับสนุนการจัดงานมหกรรมวิชาการ Thailand-Japan Student ICT Fair 2016 ในครั้งนี้
ประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น มีความสัมพันธ์อันดีมาอย่างยาวนาน กระทรวงศึกษาธิการไทยมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือด้านการศึกษากับประเทศญี่ปุ่นในหลาย ๆ ด้าน อาทิ การแลกเปลี่ยนนักเรียน, การแลกเปลี่ยนและฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ, การฝึกอบรมครู, การวิจัย ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบการศึกษาของไทย ที่จะช่วยผลิตกําลังคนเพื่อพัฒนาประเทศก้าวสู่ Thailand 4.0 ต่อไป กระทรวงศึกษาธิการยินดีที่จะสานต่อความร่วมมือด้านการศึกษาร่วมกันต่อไป
สําหรับการจัดงานมหกรรมวิชาการในครั้งนี้เป็นการนําเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์ICTของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่งทั่วประเทศ และโรงเรียนจากพื้นที่บริการของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยตลอดจนโรงเรียนชั้นนําอื่น ๆ ของไทยรวมทั้งโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนํา (Super Science High Schools) ของประเทศญี่ปุ่น 11 แห่งซึ่งจัดขั้นระหว่างวันที่21-23ธันวาคม2559
กิจกรรมภายในงานประกอบด้วยการแสดงนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์ICTอุปกรณ์ดิจิทัล หุ่นยนต์ ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และการแสดงนิทรรศการอุปกรณ์อัตโนมัติในงานอุตสาหกรรมและหุ่นยนต์อุตสาหกรรมของบริษัท Fujitsu ประเทศไทย และ National Institute of Information and Communications Technology of Japan โดยในปีนี้มีโรงเรียนที่เข้าร่วม ดังนี้
สถานศึกษาในประเทศไทย
1. โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี
2. โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย
3. โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก
4. โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย
5. โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร
6. โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์
7. โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี
8. โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี
9. โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี
10. โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช
11. โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง
12. โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล
13. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน)
14. โรงเรียนกําเนิดวิทย์
15. โรงเรียนจิตรลดา
16. โรงเรียนดํารงราษฎร์สงเคราะห์
17. โรงเรียนจ่านกร้อง
18. โรงเรียนสตรีอ่างทอง
19. โรงเรียนเขาแก้ววิทยาสรรพ์
20. โรงเรียนสตึก
21. โรงเรียนมุกดาวิทยานุกูล
22. โรงเรียนคณะราษฎร์บํารุงปทุมธานี
23. โรงเรียนชลกันยานุกูล
24. โรงเรียนป่าเด็งวิทยา
25. โรงเรียนสตรีทุ่งสง
26. โรงเรียนวิเชียรมาตุ
27. โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์
28. โรงเรียนหนองสูงสามัคคีวิทยา
สถานศึกษาจากประเทศญี่ปุ่น
1. Seishin Gakuen Junior and Senior High School
2. Hokkaido Sapporo Kaisei High School
3. Tennoji Senior High School Attached to Osaka Kyoiku University
4. Incorporated School Ichikawa Gakuen Ichikawa Senior and Junior High School
5. Bunkyo Gakuin University Girl's Senior High School
6. Nara Prefectural Seisho High School
7. Meiji University Senior High School
8. Tokai University Takanawadai Senior High School
9. Miyagi prefectural Furukawa Reimei Junior and Senior High School
10. Shizuoka Kita Junior and Senior High School
11. Kyoto Municipal Horikawa Senior High School
การจัดงานมหกรรมวิชาการดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน สถาบันอุดมศึกษา และสถานประกอบการภาคเอกชนชั้นนําได้แก่
1. สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจําประเทศไทย
3. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
4. มหาวิทยาลัยบูรพา
5. Japan International Cooperation Agency
6. The Japanese Chamber of Commerce, Bangkok
7. Toyota Motor Thailand Co., Ltd.
8. Mitsubishi Electric Consumer Products (Thailand) Co., Ltd.
9. Hino Motors Manufacturing (Thailand) Ltd.
10. Fujitsu (Thailand) Co., Ltd.
11. National Institute of Information and Communications Technology
สําหรับผู้มีเกียรติที่เข้าร่วมงานในครั้งนี้ อาทิ Mr.Shiro Terashima เลขานุการเอกฝ่ายการศึกษา สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจําประเทศไทย, ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี, ผู้บริหารสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นายวิทยา อรุณแสงฉาน ผู้อํานวยการโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี, ผศ.ดร.ยุวดี นาคะผดุงรัตน์ ผู้อํานวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน), ผู้บริหารและผู้แทนจากภาคเอกชนที่ให้การสนับสนุน ตลอดจนผู้บริหารสถานศึกษา คณาจารย์ และนักเรียนทั้งชาวไทยและญี่ปุ่น เข้าร่วมงานกว่า 300 คน | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มหกรรมวิชาการ TJ-SIF 2016
วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม 2559
มหกรรมวิชาการ TJ-SIF 2016
ม.ล.ปริยดา ดิศกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมพิธีเปิดงาน "มหกรรมวิชาการ Thailand-Japan Student ICT Fair 2016 (TJ-SIF 2016)" ซึ่งจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ "Seeding Innovation through Fostering Thailand-Japan Youth Friendship
โดยมี รศ.ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ คณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประธานคณะอนุกรรมาธิการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมการพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เป็นประธานเปิดงาน เมื่อวันพุธที่ 21 ธันวาคม 2559 เวลา 10.00น. ที่โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี
ม.ล.ปริยดา ดิศกุลกล่าวในนามของกระทรวงศึกษาธิการว่า ขอแสดงความขอบคุณสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจําประเทศไทย รวมทั้งสถานประกอบการภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ให้การสนับสนุนการจัดงานมหกรรมวิชาการ Thailand-Japan Student ICT Fair 2016 ในครั้งนี้
ประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น มีความสัมพันธ์อันดีมาอย่างยาวนาน กระทรวงศึกษาธิการไทยมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือด้านการศึกษากับประเทศญี่ปุ่นในหลาย ๆ ด้าน อาทิ การแลกเปลี่ยนนักเรียน, การแลกเปลี่ยนและฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ, การฝึกอบรมครู, การวิจัย ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบการศึกษาของไทย ที่จะช่วยผลิตกําลังคนเพื่อพัฒนาประเทศก้าวสู่ Thailand 4.0 ต่อไป กระทรวงศึกษาธิการยินดีที่จะสานต่อความร่วมมือด้านการศึกษาร่วมกันต่อไป
สําหรับการจัดงานมหกรรมวิชาการในครั้งนี้เป็นการนําเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์ICTของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่งทั่วประเทศ และโรงเรียนจากพื้นที่บริการของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยตลอดจนโรงเรียนชั้นนําอื่น ๆ ของไทยรวมทั้งโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนํา (Super Science High Schools) ของประเทศญี่ปุ่น 11 แห่งซึ่งจัดขั้นระหว่างวันที่21-23ธันวาคม2559
กิจกรรมภายในงานประกอบด้วยการแสดงนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์ICTอุปกรณ์ดิจิทัล หุ่นยนต์ ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และการแสดงนิทรรศการอุปกรณ์อัตโนมัติในงานอุตสาหกรรมและหุ่นยนต์อุตสาหกรรมของบริษัท Fujitsu ประเทศไทย และ National Institute of Information and Communications Technology of Japan โดยในปีนี้มีโรงเรียนที่เข้าร่วม ดังนี้
สถานศึกษาในประเทศไทย
1. โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี
2. โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย
3. โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก
4. โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย
5. โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร
6. โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์
7. โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี
8. โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี
9. โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี
10. โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช
11. โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง
12. โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล
13. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน)
14. โรงเรียนกําเนิดวิทย์
15. โรงเรียนจิตรลดา
16. โรงเรียนดํารงราษฎร์สงเคราะห์
17. โรงเรียนจ่านกร้อง
18. โรงเรียนสตรีอ่างทอง
19. โรงเรียนเขาแก้ววิทยาสรรพ์
20. โรงเรียนสตึก
21. โรงเรียนมุกดาวิทยานุกูล
22. โรงเรียนคณะราษฎร์บํารุงปทุมธานี
23. โรงเรียนชลกันยานุกูล
24. โรงเรียนป่าเด็งวิทยา
25. โรงเรียนสตรีทุ่งสง
26. โรงเรียนวิเชียรมาตุ
27. โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์
28. โรงเรียนหนองสูงสามัคคีวิทยา
สถานศึกษาจากประเทศญี่ปุ่น
1. Seishin Gakuen Junior and Senior High School
2. Hokkaido Sapporo Kaisei High School
3. Tennoji Senior High School Attached to Osaka Kyoiku University
4. Incorporated School Ichikawa Gakuen Ichikawa Senior and Junior High School
5. Bunkyo Gakuin University Girl's Senior High School
6. Nara Prefectural Seisho High School
7. Meiji University Senior High School
8. Tokai University Takanawadai Senior High School
9. Miyagi prefectural Furukawa Reimei Junior and Senior High School
10. Shizuoka Kita Junior and Senior High School
11. Kyoto Municipal Horikawa Senior High School
การจัดงานมหกรรมวิชาการดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน สถาบันอุดมศึกษา และสถานประกอบการภาคเอกชนชั้นนําได้แก่
1. สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจําประเทศไทย
3. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
4. มหาวิทยาลัยบูรพา
5. Japan International Cooperation Agency
6. The Japanese Chamber of Commerce, Bangkok
7. Toyota Motor Thailand Co., Ltd.
8. Mitsubishi Electric Consumer Products (Thailand) Co., Ltd.
9. Hino Motors Manufacturing (Thailand) Ltd.
10. Fujitsu (Thailand) Co., Ltd.
11. National Institute of Information and Communications Technology
สําหรับผู้มีเกียรติที่เข้าร่วมงานในครั้งนี้ อาทิ Mr.Shiro Terashima เลขานุการเอกฝ่ายการศึกษา สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจําประเทศไทย, ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี, ผู้บริหารสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นายวิทยา อรุณแสงฉาน ผู้อํานวยการโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี, ผศ.ดร.ยุวดี นาคะผดุงรัตน์ ผู้อํานวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน), ผู้บริหารและผู้แทนจากภาคเอกชนที่ให้การสนับสนุน ตลอดจนผู้บริหารสถานศึกษา คณาจารย์ และนักเรียนทั้งชาวไทยและญี่ปุ่น เข้าร่วมงานกว่า 300 คน | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/1084 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีสุริยะฯ ให้คณะผู้บริหารระดับสูงบริษัท บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย เข้าพบ | วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน 2563
รัฐมนตรีสุริยะฯ ให้คณะผู้บริหารระดับสูงบริษัท บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย เข้าพบ
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้คณะผู้บริหารระดับสูงบริษัท บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย เข้าพบเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ในไทย ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 สํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
วันนี้ (24 มิถุนายน 2563) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้คณะผู้บริหารระดับสูงบริษัท บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย เข้าพบเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ในไทย และขอทราบแนวทางในการแก้ไขเยียวยาปัญหาสถานการณ์โรคโควิด-19 เพื่อให้บริษัทสามารถดําเนินธุรกิจในประเทศไทยต่อไปได้ โดยมีนายกฤชนนท์ อัยยปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ โฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม และนายอิทธิชัย ยศศรี รองผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ร่วมด้วย ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 สํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีสุริยะฯ ให้คณะผู้บริหารระดับสูงบริษัท บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย เข้าพบ
วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน 2563
รัฐมนตรีสุริยะฯ ให้คณะผู้บริหารระดับสูงบริษัท บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย เข้าพบ
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้คณะผู้บริหารระดับสูงบริษัท บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย เข้าพบเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ในไทย ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 สํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
วันนี้ (24 มิถุนายน 2563) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้คณะผู้บริหารระดับสูงบริษัท บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย เข้าพบเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ในไทย และขอทราบแนวทางในการแก้ไขเยียวยาปัญหาสถานการณ์โรคโควิด-19 เพื่อให้บริษัทสามารถดําเนินธุรกิจในประเทศไทยต่อไปได้ โดยมีนายกฤชนนท์ อัยยปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ โฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม และนายอิทธิชัย ยศศรี รองผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ร่วมด้วย ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 สํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/32732 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“ยุติธรรม” ขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านกองทุนยุติธรรม ระยะที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๖๒ - ๒๕๖๕ | วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ 2562
“ยุติธรรม” ขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านกองทุนยุติธรรม ระยะที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๖๒ - ๒๕๖๕
กระทรวงยุติธรรม ขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านกองทุนยุติธรรม ระยะที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๖๒ - ๒๕๖๕
ในวันพุธที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ เวลา ๑๓.๓๐ น.
ณ ห้องแคนนา โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร
นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม
เป็นประธานเปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ
ด้านกองทุนยุติธรรม ระยะที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๖๒ – ๒๕๖๕
เพื่อมุ่งเน้นการบูรณาการทํางานร่วมกันให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
ทําให้เกิดความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ จากการร่วมมือปฏิบัติงานของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
โดยยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก และเพื่อให้บรรลุตามยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี
แผนยุทธศาสตร์กระบวนการยุติธรรมแห่งชาติ แผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงยุติธรรม
รวมทั้งนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
อันจะเป็นการเตรียมการรองรับการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกองค์กร
โดยมีบุคลากรของหน่วยงานในสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม (ส่วนกลาง)
และสํานักงานกิจการยุติธรรมที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนงานของส่วนนโยบายและยุทธศาสตร์ยุติธรรมชุมชนและยุติธรรมจังหวัด (สชจ.) รวมทั้งยุติธรรมจังหวัดนําร่อง จํานวน ๑๙ แห่ง
และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับภารกิจกองทุนยุติธรรมทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค เข้าร่วมฯ
โอกาสนี้ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม บรรยายพิเศษในหัวข้อ
“การดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านกองทุนยุติธรรม ระยะที่ ๑ พ.ศ.๒๕๖๒-๒๕๖๕”
มีใจความสําคัญตอนหนึ่งว่า งานกองทุนยุติธรรม ตามหลักอาชญาวิทยาและกระบวนการยุติธรรม
เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงสวัสดิการแห่งรัฐ และเป็นการอํานวยความยุติธรรม
เพื่อให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง
กองทุนยุติธรรมจะเปรียบเสมือนเป็นคานงัดในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการยุติธรรมในอนาคต
อันจะเป็นการช่วยเหลือประชาชนให้เข้าถึงความยุติธรรม
ได้อย่างเสมอภาคและเป็นการลดความเหลื่อมล้ําในสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรม | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“ยุติธรรม” ขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านกองทุนยุติธรรม ระยะที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๖๒ - ๒๕๖๕
วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ 2562
“ยุติธรรม” ขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านกองทุนยุติธรรม ระยะที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๖๒ - ๒๕๖๕
กระทรวงยุติธรรม ขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านกองทุนยุติธรรม ระยะที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๖๒ - ๒๕๖๕
ในวันพุธที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ เวลา ๑๓.๓๐ น.
ณ ห้องแคนนา โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร
นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม
เป็นประธานเปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ
ด้านกองทุนยุติธรรม ระยะที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๖๒ – ๒๕๖๕
เพื่อมุ่งเน้นการบูรณาการทํางานร่วมกันให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
ทําให้เกิดความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ จากการร่วมมือปฏิบัติงานของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
โดยยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก และเพื่อให้บรรลุตามยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี
แผนยุทธศาสตร์กระบวนการยุติธรรมแห่งชาติ แผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงยุติธรรม
รวมทั้งนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
อันจะเป็นการเตรียมการรองรับการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกองค์กร
โดยมีบุคลากรของหน่วยงานในสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม (ส่วนกลาง)
และสํานักงานกิจการยุติธรรมที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนงานของส่วนนโยบายและยุทธศาสตร์ยุติธรรมชุมชนและยุติธรรมจังหวัด (สชจ.) รวมทั้งยุติธรรมจังหวัดนําร่อง จํานวน ๑๙ แห่ง
และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับภารกิจกองทุนยุติธรรมทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค เข้าร่วมฯ
โอกาสนี้ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม บรรยายพิเศษในหัวข้อ
“การดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านกองทุนยุติธรรม ระยะที่ ๑ พ.ศ.๒๕๖๒-๒๕๖๕”
มีใจความสําคัญตอนหนึ่งว่า งานกองทุนยุติธรรม ตามหลักอาชญาวิทยาและกระบวนการยุติธรรม
เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงสวัสดิการแห่งรัฐ และเป็นการอํานวยความยุติธรรม
เพื่อให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง
กองทุนยุติธรรมจะเปรียบเสมือนเป็นคานงัดในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการยุติธรรมในอนาคต
อันจะเป็นการช่วยเหลือประชาชนให้เข้าถึงความยุติธรรม
ได้อย่างเสมอภาคและเป็นการลดความเหลื่อมล้ําในสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรม | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/19019 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ศธ.จัดประชุมแถลง "แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579" ต่อสาธารณชน | วันศุกร์ที่ 21 เมษายน 2560
ศธ.จัดประชุมแถลง "แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579" ต่อสาธารณชน
กระทรวงศึกษาธิการ โดยสํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) จัดการประชุมแถลงเรื่อง "แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579" ณ ห้องแกรนด์ไดมอนด์ บอลรูม อิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี เพื่อเผยแพร่แผนการศึกษาแห่งชาติต่อสาธารณชน
โดยมี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีเปิด และปาฐกถาพิเศษเรื่อง แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 กับการขับเคลื่อนสู่ไทยแลนด์ 4.0 โดย นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมรับฟังปาฐกถาพิเศษครั้งนี้ พร้อมทั้งนําเยี่ยมชมนิทรรศการความก้าวหน้าการจัดการศึกษา | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ศธ.จัดประชุมแถลง "แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579" ต่อสาธารณชน
วันศุกร์ที่ 21 เมษายน 2560
ศธ.จัดประชุมแถลง "แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579" ต่อสาธารณชน
กระทรวงศึกษาธิการ โดยสํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) จัดการประชุมแถลงเรื่อง "แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579" ณ ห้องแกรนด์ไดมอนด์ บอลรูม อิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี เพื่อเผยแพร่แผนการศึกษาแห่งชาติต่อสาธารณชน
โดยมี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีเปิด และปาฐกถาพิเศษเรื่อง แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 กับการขับเคลื่อนสู่ไทยแลนด์ 4.0 โดย นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมรับฟังปาฐกถาพิเศษครั้งนี้ พร้อมทั้งนําเยี่ยมชมนิทรรศการความก้าวหน้าการจัดการศึกษา | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/3183 |
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน 2558 เวลา 17.00 น. | สวัสดีครับ พี่น้องประชาชนที่รักทุกท่าน
ในวันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day) ในปีนี้นั้นองค์กรสหประชาชาติ (UN) ได้กําหนดประเด็นหลักในการรณรงค์เรื่อง “7 พันล้านฝัน 7 พันล้านใจ คิดห่วงใยในผืนโลก” ซึ่งจะเน้นในเรื่องของการผลิต การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
สําหรับประเทศไทยนั้น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดําเนินการรณรงค์ในเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง ในวันสิ่งแวดล้อมโลกได้จัดกิจกรรมหลายอย่างด้วยกัน อาทิ โครงการความร่วมมือ “บัตรเดียวเขียวทั่วไทย (Green Card)” เพื่อสะสมคะแนน แลกสิทธิประโยชน์ จากการซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในห้างสรรพสินค้านําร่อง ทั้งนี้ เพื่อสร้างจิตสํานึกปลุกกระแสเลือกซื้อ เลือกใช้สินค้าสีเขียว ซึ่งจะช่วยลดปริมาณขยะและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุสําคัญของภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน อีกทั้งเป็นการกระตุ้นให้เยาวชน ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และให้ผู้ประกอบการได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เรื่องการรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติก ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายยาก โดยศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซื้อจะงดการให้บริการถุงพลาสติกในทุกวันที่ 15 ของเดือน จริง ๆ แล้วอยากให้ทุกคนปรับตัว หยิบถุงผ้ามาใช้เวลาออกไปจับจ่ายหรือตะกร้าก็ได้ เชื่อว่าเกือบทุกครัวเรือนต้องมีถุงผ้าหรือตะกร้า เพราะจะมีการรณรงค์ให้ใช้มาโดยตลอด วันนี้ก็เห็นมีแจกมีจําหน่ายอยู่ทั่วไป จนกลายเป็นแฟชั่น รับมาซื้อมาแล้วอย่าลืมนําไปใช้ อะไรก็ตามถ้ามีแล้วถ้าไม่ใช้ก็ไม่มีประโยชน์ ซื้อไปก็สิ้นเปลืองเปล่า ๆ การผลิตวัตถุดิบต่าง ๆ ก็เสียป่าวอีก เพราะฉะนั้นต้องใช้ให้ถูกวิธี บางครั้งการไปซื้อของก็ต้องแยกประเภทให้ชัด
ผมก็มีความกังวล ถ้าจะยกเลิกถุงพลาสติก ท่านก็ต้องแก้ปัญหา การใช้ถุงพลาสติกในกรณีที่เขาซื้อเครื่องดื่ม การขายเครื่องดื่มใส่น้ําแข็งต่าง ๆ อันนั้นก็ถุงพลาสติกอยู่แล้ว ถ้าเขาไม่ใส่ถุงพลาสติกจะให้ใส่อะไร เขาจะขายได้หรือไม่ คนซื้อเขาจะเตรียมมาหรือเปล่า ต้องทําความเข้าใจกันด้วย ผมคิดว่ามีถุงพลาสติกอีกแบบหนึ่งที่ย่อยสลายได้ มีการผลิตออกมาแล้ว แต่ผมไม่แน่ใจว่าราคาสูงอยู่หรือเปล่า ก็อยากให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปติดตามเรื่องนี้ ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเคยนําเสนอให้ผมดู ถุงพลาสติกที่สลายง่าย สลายได้ แล้วก็จากนั้นใช้ถุงผ้า หรือใช้ตะกร้าจักสานต่าง ๆ ก็จะทําให้โลกไม่ร้อนไปกว่านี้ และถ้าหากยังใช้ถุงพลาสติกอยู่ อยู่อีกหลายเป็นร้อยปีไม่สามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ หรือวิธีธรรมชาติ ถ้าเผาก็เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อีก
ในส่วนของกิจกรรมการปลูกจิตสํานึกรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับเยาวชนของชาติ เช่น ตาวิเศษ การสร้างวินัยในโรงเรียน การจัดการขยะอย่างยั่งยืน การประกวดโรงเรียน ชุมชนปลอดขยะ เป็นต้น ทั้งนี้ ผมอยากให้ทํากันอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ทําแบบไฟไหม้ฟาง ทําเป็นวัน ๆ ไป ทําเป็นช่วง ๆ ไป และก็หายเงียบไปอีก ต้องทําจนเป็นนิสัยให้ได้ เพราะว่าวันนี้ก็บ่นกันว่าอากาศร้อนเหลือเกิน ฝนตกผิดฤดูบ้าง ฝนไม่ตกบ้าง ท่อตัน น้ําท่วม น้ําแล้ง ขยะเยอะแยะไปหมด เป็นผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมที่ถูกทําลายทั้งสิ้น
โลกใบนี้มีคนกว่า 7 พันล้านคน เมื่อสักครู่ที่เขาบอกว่า 7 พันล้านฝัน ทั้งโลกมีคนอยู่ 7 พันล้านคน ถ้าใช้ถุงพลาสติกกันทั้งหมดทุกวัน ๆ ไป โลกเราก็จะไม่ปลอดภัย อากาศก็จะเปลี่ยนแปลง ขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนด้วย อย่าลืมถุงที่ใส่เครื่องดื่มชา กาแฟ หรือถุงพลาสติกที่ใส่อาหารแบบที่คนใช้แรงงาน หรือผู้มีรายได้น้อยเขาซื้อกับข้าวใส่ถุงพลาสติกไปจะทําอย่างไร จะใช้วัสดุอะไรต่าง ๆ มาแทน อุปกรณ์อะไรมาแทน คิดให้เขาด้วย และคนขายกับคนซื้อต้องร่วมมือกันด้วย
เรื่องการแยกขยะ วันนี้เรามีปัญหาขยะมูลฝอยมากมาย ทั้งของเดิมสะสมไว้และของใหม่มีทุกวัน ๆ สะสมไปเรื่อย ๆ ต้องเริ่มต้นจากการแยกขยะให้ได้ก่อนในชุมชน ในบ้านก็ตาม และในเรื่องของการทิ้งขยะถังแยกขยะ จากนั้นจะนําไปสู่การนํามาใช้เป็นพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการต่อเนื่อง ดังนั้นก็อย่าขัดแย้งกันนักเลย ถ้าเราไม่มีกระบวนการครบ ขยะไม่มีวันหมดสิ้นไปจากประเทศไทยได้ และวันหน้าก็จะสร้างปัญหามากมาย ทั้งเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ รกรุงรัง เป็นพิษเป็นภัยต่อระบบการหายใจต่าง ๆ เหล่านี้ ขอให้ทุกคนเข้าใจตรงนี้ด้วย
สําหรับโรงไฟฟ้าจากขยะมูลฝอยเป็นสิ่งสําคัญ อย่าขัดแย้งกันอีกเลย ถ้าเราแก้ต้นเหตุได้แล้ว ต้นเหตุคือขยะที่บ้าน และการขนย้ายขยะไป และมีแหล่งทําลายขยะ บางอันน้อยก็ทําที่ต้นทางเลย ถ้ามาก วันนี้มากอยู่แล้ว เพราะไปกองไว้ที่ทิ้งขยะปัจจุบัน แต่ไม่มีระบบการกําจัดขยะที่มีประสิทธิภาพ ก็แก้ด้วยการนําขยะเหล่านั้นที่หลายร้อยตัน แต่ละวัน แต่ละเดือน แต่ละปี มาใช้ประโยชน์ก็ต้องไปทําเป็นโรงงานไฟฟ้าพลังความร้อนที่เกิดจากขยะ ก็ช่วยลดเรื่องการผลิตด้วยแก๊ส ด้วยน้ํามันไปอีกด้วย
เพราะฉะนั้นเราต้องแก้ทั้งต้นเหตุ กลางเหตุ และปลายเหตุด้วย ตรงกลางที่สําคัญคือการให้ความรู้กับประชาชนก่อน สร้างความเข้าใจร่วมมือกันในการบริหารจัดการขยะ และไปร่วมกันตรงปลายทาง สนับสนุนการกําจัดขยะที่รัฐบาลกําลังเริ่มดําเนินการอยู่ในขยะนี้ เพราะฉะนั้นโรงกําจัดขยะที่ทุกคนเป็นห่วงว่าไม่ดีไม่ปลอดภัย อยากให้บริเวณที่กําหนดไว้เป็นจุดตั้งโรงงานขยะที่จะก่อให้เกิดพลังงานนั้นให้ช่วยกันไปดูที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วันนี้ก็ทําไปหลายเปอร์เซ็นต์แล้ว ตอนนี้ก็เห็นประชาชนมีความสุขดีอยู่ และพื้นที่ก็สะอาดสวยงาม วันหน้าก็จะเป็นสวนสาธารณะปลูกต้นไม้ต่าง ๆ ได้ เป็นที่พักผ่อนได้ ขยะก็บริหารไปในโรงขยะก็ผลิตพลังงานออกมาได้ ได้หลายอย่าง อย่าขัดแย้งกันเลย ก็ต้องเสียสละกันบ้าง คงต้องดูแลประชาชนที่อยู่ใกล้ ๆ รอบ ๆ โรงงานขยะอย่าให้มีปัญหาอีก อันนี้เป็นนโยบายของรัฐบาลอยู่แล้ว ไม่ใช่อยากจะสั่งอะไรก็สั่ง ก็ต้องนึกถึงประชาชนก่อนด้วย แต่ประชาชนก็ต้องนึกถึงรัฐ นึกถึงประเทศชาติด้วย ว่าเราจะต้องทํากันอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องขยะ
รัฐบาลปัจจุบัน ได้ประกาศให้ “ขยะมูลฝอยเป็นวาระแห่งชาติ” ให้ความสําคัญมากที่สุด วันนี้ได้มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดทํา Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย แล้วขับเคลื่อนให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมดําเนินการอย่างบูรณาการ ในเรื่องนี้ผมได้จัดระเบียบใหม่เล็กน้อย คือให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหลัก เพราะเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด และเป็นผู้ที่ดูแลพื้นที่ทุกพื้นที่ เพราะฉะนั้นเป็นการทํางานร่วมกัน
ในเรื่องที่จะต้องทํางานอย่างบูรณาการ อาทิ การจัดทําแผนยุทธศาสตร์ เพื่อลด ละ เลิกการใช้ “โฟมโพลิสไตรีน” บรรจุอาหารภายใน 3 ปี (พ.ศ. 2558 – 2560) โดยหันมาสนับสนุนการใช้เศษวัสดุทางเลือก ที่เหลือจากกระบวนการเกษตรกรรม ได้แก่ ชานอ้อย มันสําปะหลัง ปาล์ม ผักตบชวา ฟางข้าว เป็นต้น อันนี้เป็นประโยชน์มากเลย ผักตบชวาก็รกรุงรังเต็มคลองอยู่ในขณะนี้ ถ้านํามาใช้ประโยชน์ได้ก็จะดี เป็นวัสดุที่หาง่าย น่าจะทําให้ถูกลง ในการที่จะทําบรรจุภัณฑ์ในปลอดสารพิษ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สิ่งเหล่านี้อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดูว่าจะลดราคาการผลิตอย่างไร ต้นทุนการผลิตอย่างไร จะได้ขายในราคาที่ถูกกว่า ที่ไม่เป็นต่อสิ่งแวดล้อม อะไรที่ดีแต่แพงกว่าก็ลําบาก ทําอะไรก็ต้องนึกถึงประชาชนด้วย ผู้ซื้อ ผู้บริโภค ไม่อย่างนั้นเป็นไปไม่ได้สักอย่าง
เรื่องการจัดตั้งศูนย์กําจัดขยะมูลฝอยรวม เป็น Cluster และส่งเสริมการตั้งโรงผลิตไฟฟ้าจากการแปรรูปขยะมูลฝอยที่ผมพูดไปเมื่อสักครู่แล้ว และเรื่องการผลักดันพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และซากผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อันนี้ก็มุ่งหวังให้ผู้ผลิตหรือผู้จําหน่ายร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ในการจัดการซากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ก็จะทําให้เป็นการกระตุ้นให้ผู้ผลิตได้ปรับปรุงการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยการลดใช้สารอันตรายและออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ง่ายต่อการนํากลับมาใช้ใหม่ อันเป็นการสนับสนุนการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนในอนาคตด้วย ก็จะเกิดธุรกิจต่อเนื่องด้วย ถ้าบริษัทใหญ่ ๆ ผลิตมาแล้วขาย ก็น่าจะต้องมีบริษัทกําจัดซากหรือส่วนในการกําจัดซากของแต่ละบริษัทเองในการลงทุนดังกล่าวเหล่านั้น
ทั้งนี้ เพื่อจะรับซื้อของที่หมดอายุไปแล้ว เช่น แผงโซล่าเซลล์ วงจรอิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์เก่า ๆ ที่ไม่ใช้งานแล้ว พวกนี้นําไปฝังดินแล้วก็ยังไม่ย่อยสลาย เพราะฉะนั้นต้องมีการกําจัดขยะเหล่านั้น หรือจะนํามารีไซเคิล ใช้ใหม่ก็แล้วแต่ เหมือนต่างประเทศเขาทํา วันนี้ประเทศไทยรัฐบาลนี้ให้ความสนใจ สั่งการไปแล้วเป็นนโยบายไปแล้ว
เรื่องปัญหาการค้ามนุษย์ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายนนี้ เป็นวัน “วันรณรงค์ต่อต้านการค้ามนุษย์” แห่งชาติ ที่รัฐบาลกําหนดขึ้นให้หน่วยงาน องค์กร และทุกภาคส่วนของสังคมไทยได้รับรู้ถึงปัญหา ได้มีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์อย่างต่อเนื่อง เป็นรูปธรรม อันนี้คือในฐานะเราอยู่กลางทาง ถ้าเราไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับกระบวนการเหล่านี้ ไม่มีคนไปร่วมมือก็ทําไม่ได้ เรื่องของต้นทางก็อีกเรื่องหนึ่ง ก็แก้ปัญหาที่ต้นทางด้วย ปลายทางประเทศที่สาม ก็ต้องไปดูว่าจะร่วมมือกันได้อย่างไร วันนี้ก็มีความกล่าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรม อย่างน้อยก็แผนการปฏิบัติในระยะเร่งด่วน ระยะกลาง ระยะยาว ระยะยาวก็คือต้องพัฒนาต้นทางให้ได้ ไม่ให้มีการอพยพ อย่าให้มีลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นอีก ทุกคนนั้นจะต้องให้ความสําคัญของปัญหาการค้ามนุษย์ ชีวิตใครก็เป็นชีวิตหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นชาติใด ศาสนาใด เขาก็เป็นมนุษย์ เพราะฉะนั้นสิทธิความเป็นมนุษย์มีทุกคน ทุกประเทศ ทุกศาสนา ต้องดูแลกัน
รัฐบาลนี้ให้ความสําคัญเกี่ยวกับปัญหานี้อย่างยิ่ง ได้กําหนดเป็นวาระแห่งชาติ โดยเมื่อเช้านี้ผมได้เป็นประธานเปิดงาน “วันต่อต้านการค้ามนุษย์” ประจําปี 2558 ที่ทําเนียบรัฐบาล และได้มีโอกาสกล่าวเน้นย้ํานโยบายของรัฐบาลในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์อย่างจริงจัง โดยการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวด ปรับปรุงกฎหมายข้อบังคับที่จําเป็น และเพิ่มความเข้มงวดในการระวังตรวจสอบ นําผู้กระทําผิดมาลงโทษ ช่วยเหลือเยียวยาเหยื่อการค้ามนุษย์ รวมทั้งจัดการปัญหาอื่น ๆ ที่เชื่อมโยงต่อเนื่องให้เบ็ดเสร็จ
ปัญหาการค้ามนุษย์นั้น มีผลกระทบกับทุกมิติของสังคมและโลกด้วย เป็นปัญหาที่ต้องการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐ เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย และสํานักงานตํารวจแห่งชาติ หน่วยงานเอกชน องค์กรและมูลนิธิต่าง ๆ รวมถึงประชาชนทั่วไปด้วย
รัฐบาลต้องการที่จะสร้างการรับรู้ ให้ประชาชนเข้าใจว่าปัญหานี้จะมีผลกระทบต่อสังคมอย่างไร หลายท่านอาจคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว ไม่เกี่ยวข้องแต่ก็ไม่ได้ เพราะถ้าหากมีการค้ามนุษย์แล้ว ทําให้เกิดความไม่เป็นธรรมและเกิดปัญหาในเรื่องของการอาชญากรรมต่าง ๆ มากมาย เพราะว่าการค้ามนุษย์ผมอยากทําความเข้าใจว่าคงไม่ใช่เฉพาะในเรื่องของโรฮีนจา หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นการเฉพาะ ในเรื่องนี้แยกออกมาจากในเรื่องของการลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย สําหรับพวกนั้นก็มีอยู่เป็นประจําอยู่แล้ว อันนั้นก็ลักลอบเข้ามาทํางานบ้าง แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มีกระบวนการนําพา อันนั้นเรียกว่าค้ามนุษย์ แม้กระทั่งขอทาน ถ้าหากว่ามีการรวมกลุ่มกัน และไปหาที่รับบริจาคและไปรวมกัน แบ่งเงินกันต่าง ๆ ก็ค้ามนุษย์เหมือนกัน หรือผู้หญิง เด็ก ที่เอาแล้วไปทํางาน หลอกเขามา แล้วไปทํางาน โดยผิดกฎหมายทุกอย่างไปเข้าหลักเกณฑ์การค้ามนุษย์ทั้งสิ้น ถ้ามีคนกลางแล้วผิดกฎหมาย มาเป็นกระบวนการ แต่ถ้าลักลอบข้ามแดนก็เป็นการผิดกฎหมาย ต้องทําความเข้าใจกัน ทั้งสองประเภท มีปัญหากับบ้านเราทั้งสิ้น
แรงงานต่าง ๆ ที่เข้ามาทํางานต่าง ๆ ก็จดทะเบียนไว้แล้ว ต้องดูตรงนี้พวกนี้อีกว่ากระบวนการนําพาแรงงานเหล่านั้น มีการดําเนินการที่ถูกต้องหรือไม่ เป็นบริษัทที่ถูกต้องหรือไม่ และจะได้เป็นหลักประกันของแรงงานต่าง ๆ เหล่านั้น จะได้เข้าระบบให้ได้ ถ้าไปถูกหลอกมา แล้ววันหน้าเขาก็ทิ้งเราไปอีก เพราะฉะนั้นจะมาทํางานต้องตรวจสอบบริษัทหรือใครก็แล้วแต่ ที่ชวนมาทํางานด้วยว่าเขามีหลักฐานทางราชการอะไรหรือไม่ที่ถูกต้อง
ในเรื่องของการให้ทานต่าง ๆ ผมถือว่าคนไทยเป็นผู้มีเมตตา เห็นใครลําบากยากเข็น ใครยากจน ใครพิการก็อยากจะให้สตางค์ อันนี้เราก็เลยเห็นสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ชินตา รวมไปถึงสถานบริการต่าง ๆ จะมีคนเหล่านี้อยู่ทั้งสิ้น ขอให้ทุกคนช่วยกัน จะเป็นปัญหาของสังคมต่อไป ผมอยากให้ทุกคนช่วยกันเป็นหูเป็นตา ถ้าเห็นอะไรที่ผิดปกติ ที่น่าจะไม่ถูกต้อง ก็ขอให้แจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบตามช่องทางที่มีอยู่แล้ว เช่น
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีโครงการ “รวมใจไทย ต้านค้ามนุษย์” (Thailand AGAINST human trafficking) มีเรื่องที่สื่อออกมาว่าในรูปแบบของภาพยนตร์โฆษณาด้วย ให้เห็นถึงความจริงของอุบาย ไม่ว่าจะเป็นงานสบาย งานง่าย ผลตอบแทนสูงเหล่านั้น ล้วนแต่เป็นอุบายทั้งสิ้น เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะได้สิ่งตอบที่มากจนเกินไป
ขบวนการค้ามนุษย์จะใช้สิ่งเหล่านี้ล่อลวง หลอกล่อเหยื่อ ร่วมความไปถึง อย่างเช่น โรฮีนจา ก็ถูกหลอกเหมือนกันว่ามาที่นี่แล้วจะมีงานทํา เดินทางมา ทั้ง ๆ ที่ลําบาก อันตราย มีโอกาสเสียชีวิตได้ 50% เพราะมาทางทะเล จะถูกพวกนี้นําเข้ามาแล้วไปหางานให้ทํา อย่างนี้ไม่ได้ แต่ถ้ามาแล้วด้วยอิสระ ด้วยตัวเอง ด้วยไม่มีใครนําพามานั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง อันนั้นก็เป็นการลักลอบเข้าเมือง เพราะฉะนั้นก็ขอให้ทุกคนได้ใช้วิจารณญาณอันเหมาะสนว่าควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร มีส่วนร่วมในเรื่องนี้อย่างไร อย่าให้เขามีการล่อลวง หลอกล่อ เข้ามาสู่วงจรธุรกิจการค้ามนุษย์อีกต่อไป ถ้าหากว่าเหยื่อตกเข้ามาในวงการแล้ว ก็จะถูกล่วงละเมิด ผู้หญิงก็ลําบาก ถูกกดขี่ ข่มเหงเหยื่อด้วยความรุนแรง มีการเรียกค่าไถ่ต่าง ๆ เกิดมาเป็นประจํายาวนานแล้ว ก็พยายามแก้มาตลอด แต่แก้ไม่ได้ วันนี้ก็ถือว่านําวิกฤต มาเป็นโอกาสแล้วกัน จะได้ไม่มีการทําร้ายร่างกายจิตใจกันอีกต่อไป
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ก็จะทําภาพยนตร์โฆษณาดังกล่าว ทุกคนก็ติดตาม ก็จะได้เห็นความจริงและตระหนักถึงความสําคัญของปัญหาความรุนแรงที่จะเกิดจากการค้ามนุษย์
ในภาพยนตร์ต่อไปนี้ ก็จะมีการเปิดโปงความไร้มนุษยธรรมของขบวนการเหล่านี้ที่มักกระทํากับเหยื่อ เพื่อจะเป็นแบบอย่าง ตัวอย่าง ให้เข้าใจและเกิดการระวังป้องกัน เฝ้าระวัง อย่าไปร่วมในกระบวนการสร้างความตระหนักรู้ในปัญหาการค้ามนุษย์ให้กับสังคม วันนี้ที่เกิดขึ้นมาได้เพราะว่าปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ําด้วย เป็นปัญหาหลัก ถ้าไม่จนเขาก็ไม่มาถูกหลอกแบบนี้ เพราะฉะนั้นเราต้องทําให้คนเข้มแข็ง ให้มีรายได้ที่เพียงพอ
นอกจากนั้นก็ได้เปิดช่องทางการรับบริจาค เพราะคนไทย ผมบอกแล้วอยากบริจาคเงิน เพราะฉะนั้นก็จะมีโครงการรับบริจาคเพื่อนําเงินมากระจายสู่มูลนิธิต่าง ๆ ที่ช่วยเหลือเรื่องการค้ามนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน โดยการรับบริจาคจะเริ่มตั้งแต่วันนี้ไปถึงวันที่ 5 กันยายน 2558 วิธีการรับบริจาคนั้น ทางโครงการเขาจะมีการจัดทําเสื้อยืดและ postcard ที่มี barcode แจก แล้วก็จําหน่าย แล้วผู้ที่ได้รับสามารถนํา barcode ดังกล่าวไปสแกนและบริจาคได้ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส หรือโอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารกรุงไทย สาขาสะพานขาว ชื่อบัญชี “รวมใจไทย ต้านค้ามนุษย์ โดย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์” เลขที่บัญชี 021-0-17650-4 สําหรับผู้บริจาครายบุคคล หรือบริษัทใหญ่ ๆ ที่มีความประสงค์สนับสนุนโครงการเพื่อสังคมร่วมกับรัฐบาลสามารถเก็บสลิป หรือหลักฐานการโอนเผื่อนํามาลดหย่อนภาษีได้
ทางกระทรวงพัฒนาสังคมฯ ร่วมกับกรมสรรพากรกําลังพิจารณาให้การสนับสนุนในการลดหย่อนภาษีแก่ผู้ร่วมบริจาค เพื่อช่วยเหลือเหยื่อผู้ค้ามนุษย์ได้หรือไม่ กําลังทําอยู่โดยทางหน่วยงานจะประชาสัมพันธ์ให้ทุกท่านทราบต่อไปในภายหลัง แต่ที่แน่ ๆ นั้น ผู้บริจาคไม่ว่าจะเป็นพี่น้องประชาชนพ่อค้า แม่ค้า บริษัท ห้าง ร้านทุกคนได้รับกุศลผลบุญ ทําทานให้กับคนมีชีวิตอยู่นี่ก็ถือว่าเป็นบุญกุศล เช่นกัน จากการร่วมบริจาคในโครงการนี้ด้วย ขอขอบคุณหน่วยงาน เจ้าหน้าที่ รวมถึงเคาน์เตอร์เซอร์วิสที่จะร่วมมือสนับสนุนโครงการต่อต้านการค้ามนุษย์นี้ด้วย
เรื่องเศรษฐกิจ วันนี้มีการฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวชัดเจน มีจํานวนมากได้รับการรายงานอย่างไม่เป็นทางการว่า จํานวนนักท่องเที่ยวในเดือนพฤษภาคม 2558 ที่ผ่านนั้น ขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่าเดิมร้อยละ 30 ก็อย่าไปเชื่อที่พูดว่า เศรษฐกิจตกต่ํา การท่องเที่ยวก็คนมาเที่ยวน้อยลงก็ตัวเลขมาอย่างนี้เช็คกับสนามบินการเดินทางต่าง ๆ ทั้งหมดก็มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่า ร้อยละ 30 จากโรงแรม จากที่พัก จากการบริการ ร้านอาหาร นี่เป็นสิ่งที่เป็นสัญญาณว่า บ้านเมืองเราได้รับความไว้วางใจและเชื่อมั่นในความปลอดภัย ในความมีเสถียรภาพของรัฐบาล และในการที่บ้านเมืองมีความสงบสุขในขณะนี้ด้วย ถึงแม้ว่าเราจะอยู่ในขั้นตอนการเตรียมการไปสู่ประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ก็ตาม แต่คนก็เชื่อมั่นในขณะนี้ ก็เว้นแต่บางคนยังพูดด่าให้เสียหายอยู่ ขอให้ระมัดระวังด้วย
รัฐบาลยังห่วงใยเรื่องนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของพี่น้องเกษตรกร แล้วก็ผู้มีรายได้น้อย คงไม่ใช่ที่ผมใช้คําว่าเกษตรกรแล้วก็รายได้น้อย เพราะว่าการประกอบอาชีพมีหลายอย่างด้วยกัน อาชีพอิสระก็มี ค้าขาย ขายของ ขายก๋วยเตี๋ยว มอเตอร์ไซค์รับจ้าง นี่ก็รายได้น้อยเหมือนกัน ในภาวะเช่นนี้ รัฐบาลก็พยายามทุกอย่าง ไม่ได้นิ่งนอนใจ แต่ก็ขอให้เข้าใจว่า ไม่ใช่ว่าจะต้องปล่อยให้ทําผิดกฎหมายต่อไป ให้ขายในที่ไหนก็ได้ อะไรทํานองนี้ เป็นไปไม่ได้ กฎหมายก็ต้องเป็นกฎหมาย แต่เราจะดูแลคนเหล่านี้อย่างไร จัดสถานที่ขายหรือไปหาให้ความรู้ ปรับเปลี่ยนอาชีพ ถ้ามีร้าน มีอะไรอยู่แล้วก็ทําขยายไปสู่ SMEs ได้ไหม ต้องพัฒนาตัวเองด้วย ใช้แนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บางคนบอกว่าเราไม่ใช้ ใช้ทุกอย่าง เวลาสั่งงานอะไรไปแล้ว
ผมย้ําทุกอย่างว่า นําหลักการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาทั้งสิ้น มีเหตุมีผลพอประมาณแล้วก็มีภูมิคุ้มกันที่ดี สําหรับภูมิคุ้มกันที่ดีก็คือว่า จะทําอะไรต่อไปก็คิดทบทวนให้ดี มีความรู้ มีคุณธรรม เราพร้อมหรือยัง ถ้าพร้อมก็ทําต่อ ถ้าไม่พร้อมก็อย่าเพิ่งก็ทําให้พอเพียงไปก่อน โดยใช้เงินอย่างพอประมาณมีเหตุมีผล ลูกหลานต้องเข้าใจคุณพ่อคุณแม่ด้วย บางทีพ่อแม่เราก็ไม่ได้ร่ํารวยเหมือนคนอื่นเขา แต่เราอยากได้ของเหมือนเพื่อน อันนี้ผมคิดว่าสําคัญที่สุดคือสิ่งแวดล้อม สภาวะการโลก
วันนี้โลกก้าวหน้าเร็ว เพราะฉะนั้นเรื่องเทคโนโลยี เรื่องความทันสมัยก็เข้ามาเร็ว คราวนี้บ้านเราคนมีรายได้น้อยยังมากอยู่ เพราะฉะนั้นสิ่งของเหล่านี้ผู้ขายก็อยากจะขายมาก ๆ มีมาตรการมากมาย ลดราคาผ่อนส่งได้อะไรได้นี่คือปัญหาหนี้ครัวเรือน
เรื่องการจัดหาที่ดินทํากิน ก็ขอกันก่อนว่า จัดให้ทํากินให้ได้ก่อน วันนี้ยังไม่ครบเลยก็จะเร่งดําเนินการให้ได้ปีนี้ ปีหน้า ที่เหลือก็ต้องเตรียมการของตัวเองว่าจะให้ลูกหลานทําอะไร เรียนหนังสือจบแล้วจะทําอะไร ก็ต้องเตรียมตัวเองเผื่อเข้าไปทํางานในการเปิด AEC ในสิ้นปีนี้ จะเริ่มปีแห่ง AEC ก็คือ 2560 เต็ม ๆ ตั้งแต่ต้นปีไปจะมีงาน มีอะไรแลกเปลี่ยนสัญจรไปมาหางานระหว่างประเทศได้ เพราะฉะนั้นท่านต้องเตรียมคนไว้เรื่องเหล่านี้ด้วย เราจะให้พี่น้องทําการเกษตรมากขึ้น ๆ ไปเรื่อย ๆ ที่ดินเรามีเท่านี้ น้ําเรามีเท่านี้ ไม่ได้แล้ว ต้องหาอาชีพอื่นที่มีรายได้ รายวัน รายเดือนมาเลี้ยงพ่อแม่แล้วก็พ่อแม่จะทําเกษตรกรรมสมัยไปได้ มีใช้เครื่องไม้เครื่องมือ เครื่องจักร วันนี้เราคิดแบบนี้อยู่ เพราะฉะนั้นก็ต้องเริ่มจากแผนการจัดการไปที่เกษตรกรรมให้เหมาะสมกับน้ํา แหล่งน้ําทํามาก ก็โอเคต้องใช้งบประมาณสูง แต่ถ้าทําแล้วไม่มีน้ําลงมาฝนไม่ตก ทําไปก็ไร้ประโยชน์
วันนี้ก็หลายแห่งก็ได้ทําไปแล้วแต่เท่าที่ทราบขณะนี้ ปีนี้ฝนก็จะน้อย น้ําก็จะน้อย ผมก็เลยบอกว่าทุกคนช่วยกันสร้างที่กักเก็บน้ํามา สื่อบางสื่อก็บอกว่า เป็นหน้าที่ของรัฐบาลไม่ใช่หรือ ถ้าสื่อยังชี้แจงกันอยู่แบบนี้ ผมว่าไม่ใช่ ก็สอนให้คนรู้จักการพึ่งพาตัวเองด้วย พร้อมกับสนับสนุนรัฐในการทําโครงการขนาดใหญ่ขึ้น แล้วสานช่วยกันฟังนโยบายเรื่องอื่น ๆ เช่น การโซนนิ่งที่เหมาะสม คงไม่ใช่เฉพาะว่าตรงไหนปลูกอะไร ต้องกําหนดว่าท่านจะปลูกข้าวตรงไหนจะต้องปลูกข้าวคุณภาพดี ตรงไหนปลูกข้าวคุณภาพรองลงมา ตรงไหนจะปลูกข้าวสุขภาพ ตรงไหนจะปลูกเพื่อขยายเมล็ดพันธุ์ข้าวที่กรมการข้าวผลิตออกมาจะได้ครบทั้งระบบในเรื่องของเมล็ดพันธุ์ แล้วก็ไปสู่การปลูกในเรื่องของการปลูกก็ต้องทําแบบองค์รวม
วันนี้ได้ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทยไปจัดทําองค์รวมตั้งแต่ต้นทาง คือ การลดต้นทุนการผลิต การรวมกลุ่มการผลิต การจัดหาพื้นที่ทํากิน การจัดหาแหล่งน้ํา เครื่องมือการเกษตร เมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสม ราคาถูก ปุ๋ยอินทรีย์ให้มากขึ้น ผลิตเอง ทําเอง ประชาชนทําเอง สหกรณ์ช่วยกันทําแล้วก็ราคาถูกกว่าที่จะไปซื้อข้างนอก ในส่วนของปุ๋ยเคมีวันนี้ก็ขอความร่วมมือช่วยลดลงแล้วก็ให้ราคาถูกลงจากบริษัทที่ประกอบการ บางพื้นที่อาจจะมีความจําเป็นอยู่บ้าง แต่วันหน้าต้องลดให้หมด
กลางทาง ในเรื่องของการพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตผลทางการเกษตร ผมคิดว่าเราเคยขายข้าวเป็นกระสอบ ๆ มาชั่วชีวิตแล้ว วันหน้าเราต้องขายเป็นอีกอย่างหนึ่ง ทําอย่างไรให้มูลค่าสูงขึ้นข้าวกระสอบหนึ่งไปทําอะไรได้บ้าง ไปทําอาหารสุขภาพได้ไหม ไปทําขนมปังข้าวได้ไหม หรือไปทําเครื่องสําอาง ตั้งหลายอย่างที่เขานํามาเสนอให้ผมดูในการจัดงานทุกครั้ง แต่นําไปสู่การผลิตแล้วก็การจําหน่ายได้สักเท่าไหร่ ผมไม่แน่ใจ เพราะฉะนั้นช่วยไปดู มีไม่กี่บริษัทที่ประสบผลสําเร็จแต่ถ้าเรามากจนเกินไปก็ไม่ได้
เพราะฉะนั้นต้องควบคุม Demand ให้ได้สําคัญที่สุดเลย ความต้องการทั้งในประเทศต่างประเทศถึงจะนําย้อนกลับมาที่ภาคการผลิต แล้วการผลิตก็ต้องไปดูว่าผลิตที่ไหน อย่างไร ต้นทุนจะควรต่ําสุดเท่าไหร่ ถ้าเราไปมุ่งดูเฉพาะราคาปลายทาง อย่างไรเราก็คุมไม่ได้ เพราะการแข่งขันมากขึ้นแล้วก็ AEC ด้วย การตกลงทางการค้าต่าง ๆ ข้อตกลงก็มากมายไปหมดทุกประเทศเขาใช้ข้อตกลงทางการค้าทั้งสิ้นเรากําหนดเองอะไรไม่ได้เลย ถ้าเราเรียกร้องราคาสูง ๆ แล้วต้นทุนการผลิตก็ยังสูงอยู่ไม่มีทางที่ประชาชนจะอยู่ได้ เกษตรกรอยู่ไม่ได้หรอกครับ เพราะฉะนั้นต้องเร่งทําตรงนี้ให้ได้ ทุกคนต้องร่วมมือกัน เรื่องการลดต้นทุนการผลิตตั้งแต่เรื่องเมล็ดพันธุ์ เรื่องเครื่องจักร เครื่องไม้เครื่องมือ ปุ๋ย ยากําจัดศัตรูพืชที่ไม่เกิดมลพิษ ไม่อันตรายต่อผู้ใช้แล้วก็การหาตลาดที่แตกต่างในการจําหน่ายสินค้าเหล่านั้น
อีกเรื่องหนึ่งคือ โครงการที่รัฐบาลให้การสนับสนุนอยู่ คือโครงการ “เพิ่มศักยภาพกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง : สร้างโอกาส สร้างความสุขให้หมู่บ้านและชุมชนเมือง” ในการที่จะสร้างโอกาส สร้างความสุขให้กับหมู่บ้านและชุมชนเมือง เราจะให้ไปขับเคลื่อนดําเนินการตามนโยบาย เพื่อจะสร้างโอกาส สร้างความสุขให้หมู่บ้านและชุมชนในภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ อันนี้อยากให้ไปสร้างความเข้มแข็ง ไม่ใช่ไปใช้ในการที่จะไปซื้อข้าวของที่ไม่เกิดประโยชน์ ทําอะไรก็ให้ถาวรบางพื้นที่เขาทําได้ดีแม้กระทั่งเงินที่ให้ไปในเรื่องแต่ละตําบล 3,000 กว่าตําบลแล้งซ้ําซากเขาก็ดีขึ้น เพราะว่าอะไร เขาไปรวมกลุ่มกันแล้ว ก็คิดว่าทําอะไรดี วัน ๆ ไม่ใช่ใช้แล้วหายไปเลย ต้องสอนให้เกษตรกร ประชาชนให้เรียนรู้ ท่านต้องมีส่วนหนึ่งที่ท่านต้องช่วยตัวเองด้วยอันที่หนึ่ง โดยที่ไม่ต้องใช้เงินมาก เงินน้อย ร่วมมือร่วมแรง ร่วมใจ ร่วมคิด ร่วมทํา ตามนโยบาย อันที่ 2 ก็คือ ร่วมในการที่จะทําให้ภาคส่วนของเกษตรกรทุกอย่างเข้มแข็งขึ้นในลักษณ์เป็นสหกรณ์
ผมมีแนวคิดว่าเมื่อสหกรณ์ไปรับซื้อของมา ไปอะไรมาก็ต้องสร้างตัวเองขึ้นมาให้เป็นเหมือนแบบเป็นSocial Business (Social Enterprises) คือขายต่อ นํามาขายต่อ ไปสู่วงจรของ SMEs ไปสู่เศรษฐกิจพิเศษไปสู่การค้าขายชายแดนด้วย
วันนี้เรื่องกองทุนนั้น ก็มีกองทุนหมู่บ้าน ชุมชนเมือง จํานวน 17,146 กองทุนคิดเป็นร้อยละ 21.63 % ของกองทุนหมู่บ้านทั่วประเทศ อันนี้ถือว่ามีบทบาทสําคัญในการจะเพิ่มคุณภาพชีวิตให้หมู่บ้านชุมชน ประชาชนมาโดยตลอด อาทิ เป็นแหล่งเงินหมุนเวียนประชาชนดําเนินการโดยประชาชน เพื่อประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนในการสร้างงาน สร้างอาชีพเสริมรายได้ ไม่ใช่ไปใช้แล้วหมดไปเปล่า ๆ ต้องต่อเงิน ๆ เพราะเงินน้อยบรรเทาความเดือดร้อนให้จัดทําอาชีพในหมู่บ้านและชุมชนก็จัดระเบียบจัดสัดส่วนให้ดีชัดเจน ไม่ใช่ใช้ไปสิ้นเปลืองไปทั้งหมดแล้วก็จะทําให้เป็นศูนย์หกลางที่อํานวยประโยชน์ได้ในด้านออมเงิน นําเงินไปใช้ในยามแก่เฒ่า ในยามที่เจ็บป่วย วันนี้เงินประกันสังคมก็ยังไม่เรียบร้อย
การจัดสวัสดิ ภาพสวัสดิการให้กับหมู่บ้าน ชุมชน ความสะอาดแหล่งน้ําใช้ในหมู่บ้านอะไรต่าง ๆ ก็ต้องหาเงินเหล่านี้มาช่วย ๆ ทําปีนี้ได้เท่าไหร่ ปีหน้าก็ทําต่อทําไปเรื่อย ๆ ปัจจุบันกองทุนหมู่บ้านชุมชนในภาคเหนือมีสมาชิกรวมกัน จํานวนเกือบ 3 ล้านคน มีเงินทุนหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 41,569 ล้านบาท มีเงินออมไม่น้อยกว่า 5,638 ล้านบาท มีเงินสมทบเข้ากองทุนไม่น้อยกว่า 1,398 บาท แล้วมีดอกผลจากกองทุนเพื่อจัดสวัสดิการไม่น้อยกว่า 323 บาท
ในภาคอื่น ๆ รัฐกําลังเข้าตรวจสอบแล้วก็เร่งดําเนินการให้มีความก้าวหน้าเหมือนกับทางภาคเหนือนี่ ผมก็อยากจะให้ประเทศไทยมีกิจการที่เรียกว่า แบบธุรกิจเพื่อสังคม ที่ผมเรียกว่า Social Business มีหลายประเทศแล้ว ท่านโปรเฟสเซอร์ มูฮัมหมัด ยูนูส ผู้ได้รับรางวัลโนเบลได้กล่าวไว้ว่า การทําธุรกิจที่มีกําไรแต่พอดี และลงทุนเพื่อสังคมไปด้วยกันนั้น จะเป็นการทําธุรกิจที่สอดรับกับการช่วยให้สังคมดีและน่าอยู่ เช่น โครงการพัฒนาดอยตุง อันเนื่องมาจากพระราชดําริของสมเด็จย่า แล้วในโครงการหลวงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ประชาชนสามารถที่จะเลี้ยงตัวเองได้ เพราะพระองค์ท่านเล็งเห็นว่า การรับงบประมาณจากรัฐบาลอย่างเดียวจะไม่เป็นการยุติธรรมกับประชาชนชาวไทยที่ไม่ได้อยู่อาศัยตามดอย ตามพื้นที่ การเกษตรต่าง ๆ เหล่านั้นรัฐต้องดูแลทั้งหมด ไม่ใช่เฉพาะเกษตรกร ไม่ใช่คนบนดอยอย่างเดียว พระองค์ท่านทรงคิดแบบนั้น
เพราะฉะนั้นท่านก็ต้องสร้างความเข้มแข็ง พระราชทานเงินส่วนพระองค์เริ่มต้นให้ วันนี้ก็มีการพัฒนาอย่างกว้าง และผลกําไรจากธุรกิจเหล่านั้นก็นํามาให้ชุมชน ได้ใช้ ได้กิน ได้อยู่ มีความเข้มแข็ง ได้ทั้งความรู้ด้วย ได้ทั้งประสบการณ์ และรู้จักการเผื่อแผ่แบ่งปัน และเข้าร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเองอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
ธุรกิจเพื่อสังคมเหล่านี้ ผมต้องการสนับสนุนให้ได้โดยเร็ว โดยอาจจะสามารถเริ่มจากชุมชนในพื้นที่ที่รวมกลุ่มกันเป็นชมรมอยู่แล้วหรือเป็นสหกรณ์อยู่แล้ว มีอยู่หลายพื้นที่แล้วที่พร้อม สหกรณ์การเกษตรนี่มีมาก ผมอยากให้เริ่มตรงสหกรณ์การเกษตรก่อนได้ไหม ทําอย่างไรจะเข้ามาสู่ในเรื่องของธุรกิจการค้า ผลิตผลทางการเกษตรด้วย แปรรูปอะไรก็ว่ากันไป จะได้เป็นอีกเส้นทางหนึ่ง ที่สิ่งเหล่านี้น่าจะดูแลคนในประเทศได้เพียงพอ ผลิตเองขายเอง และรับประทานเอง บริโภคเอง ที่เหลือในส่วนของบริษัทใหญ่ ๆ ก็ว่าไป ข้ามชาติก็ว่าไปอีกทาง แต่อย่ามารบกวนซึ่งกันและกันมากนัก ทางโน้นใหญ่ก็ทําเองบ้าง อะไรบ้าง contact forming บ้าง หรือจะเลี้ยงครบวงจรก็ว่าไป แต่ส่วนหนึ่งผมอยากให้มาซื้อจากตรงนี้ Social Business ที่มาจากสหกรณ์หรือมาจากชุมชนส่วนหนึ่งด้วย
เรื่องของการวางรากฐานเศรษฐกิจไทย วันนี้เราได้มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้น อันนี้เป็น Cluster ต้องอีกครั้งหนึ่ง มีเริ่มตั้งแต่ข้างนอกมาข้างในก่อนแล้วกัน ข้างนอกก็เป็นตลาดค้าขายชายแดนอะไรก็ตาม เพราะฉะนั้นคงไม่ได้ผลิตตรงนั้น จากนั้นก็ถอยหลังเข้ามาในฝั่งไทย ก็มีเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้น อันนี้เป็น Cluster มีตั้งหลายกิจการ ผมบอกไปแล้วตั้ง 13 กิจการ ให้ตรงกับความต้องการของพื้นที่ อาจจะเหลือ 5 – 6 แห่ง ผิดจุด 5 – 6 อย่าง เพราะบางอย่างไม่เหมาะสม อันนั้นกําหนดรวมไว้ 13 อย่าง บางอันก็มี 5 อย่าง บางอันก็มี 6 อย่าง แต่ถ้าอยากจะทําก็เสนอมา ก็มีคณะกรรมการพิจารณาให้อยู่แล้ว
นี่คือในเขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นพื้นที่การผลิต ที่นอกจากนิคมอุสาหกรรม และมีนิคมอุสาหกรรมด้วยในนี้ มี 2 อย่าง เขตเศรษฐกิจพิเศษผมให้ทํา 2 อย่างก็คือ 1. นิคมอุตสาหกรรมเข้าไปทํา 2. เอกชนเข้ามาทํา ตรงนี้เป็นศูนย์การผลิตที่ตรงความต้องการของพื้นที่ ตรงความต้องการของประเทศในเวลานี้ เทคโนโลยี ความทันสมัย การใช้แรงงาน การพัฒนาฝีมือแรงงาน ต้องทําตรงนี้
นอกจากนั้นก็มีพื้นที่อื่นที่มีศักยภาพ อาจจะต้องหลังเขตเศรษฐกิจพิเศษเข้ามา เขตเศรษฐกิจพิเศษต้องการดูเรื่องแรงงานด้วย พอเข้ามาข้างในมาก ๆ แรงงานก็มีปัญหา ไปอยู่ตรงนั้นใกล้ ๆ ชายแดนก็โอเค ที่จัดตั้งไว้ 6 แห่งปีนี้ ปีหน้าก็อีก 5 – 6 แห่ง ถ้าทําต่อก็จะเป็นอย่างนี้ แล้วพื้นที่อื่นที่มีศักยภาพ ที่จําเป็นต้องต่อเชื่อมกับประเทศเพื่อนบ้าน CLV (Cambodia, Lao and Vietnam) มีตรงอื่นอีกไหม จังหวัดไหนอีก ตรงนั้นก็สามารถไปจัดตั้งขึ้นได้อีก ทั้งนี้ก็จะได้ให้เกิดการสร้างงานและคนก็อยู่ในพื้นที่ แรงงานก็ไม่ขาด และไปเชื่อมต่อกับสหกรณ์ ไปเชื่อมต่อกับ Social Business ดังกล่าวได้
ในส่วนกําหนดพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษระยะที่ 2 ใน 5 จังหวัดนั้น ได้แก่ หนองคาย นาราธิวาส เชียงราย นครพนม กาญจนบุรี เป็นจังหวัดที่อยู่ใกล้ชายแดน มีความเหมาะสมเชื่อมโยงอยู่แล้ว รายละเอียดต่าง ๆ เหล่านี้เดี๋ยวชี้แจงต่อไป วันนี้ก็มีการเดินหน้าไปมาก มีคนสนใจมากมายไปหมด
เรื่องชุมชนเข้มแข็ง ที่ผมพูดมาทั้งหมดวันนี้ เราต้องทําให้เกิดความ “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ผมบอกแล้วเป้าหมายของเรามี 3 ระดับ ระดับคนรวยมาก ๆ ทําธุรกิจข้ามชาติได้ อันที่สองคือปานกลาง ข้าราชการบ้าง เงินเดือนอะไรก็แล้วแต่ แต่ในส่วนที่ต้องดูแลเป็นพิเศษคือคนที่มีรายได้น้อย ซึ่งมีถึงประมาณ 50 – 60% ข้างล่าง หลายอาชีพ หลายการทํางาน เพราะฉะนั้นรายได้เขาเป็นวันบ้าง เป็นกะบ้าง เป็นเดือนบ้าง อะไรบ้าง มันน้อย 9,000 12,000 อยู่ได้ไหวไหม มีภรรยา มีลูกด้วย ต้องทําอย่างไรให้เขาอยู่ได้ แต่ต้องอยู่ได้ด้วยความพอเพียง จะมาให้เท่ากับคนรวยก็ไม่ได้ ลูกหลานต้องเข้าใจพ่อแม่ บัญชีครัวเรือนน่าจะต้องทําสําหรับผู้มีรายได้น้อย จะได้รู้ว่าใช้เงินมีเหตุผลหรือเปล่า พอประมาณกับตัวเองหรือไม่ ไม่ใช่ผมต้องการจะไปจํากัดให้คนรวยก็รวยไป คนจนก็จนไป ผมต้องการให้ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนลดลง แต่ลดลงด้วยรัฐกับด้วยประชาชนต้องร่วมมือกันด้วย เกษตรกรก็ต้องช่วยกัน นึกถึงคนอื่นเขาด้วย เกษตรกรก็หลายอย่าง
ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมสมบรูณ์อยู่แล้ว ได้เปรียบนานาประเทศ รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านในหลายปัจจัย วันนี้เราต้องสร้างความเข้มแข็งให้อาเซียนเข้มแข็ง ไทยก็เข้มแข็งด้วยอยู่แล้ว ต้องควบคู่กับอาเซียนด้วยปีหน้า เศรษฐกิจวันนี้ เศรษฐกิจโลกชะลอตัวอยู่ หลายประเทศใหญ่ ๆ ก็ยังมีปัญหาอยู่ ที่ว่าจะดีขึ้น ก็ดีไม่เท่าที่คาดไว้ ของเราก็ขึ้น ๆ ลง ๆ อยู่แบบนี้ จนกว่าเราจะเข้มแข็ง ถ้าเรา demand supply ไม่เกินกันมากจนเกินไป ก็ผลิตพอเพียง พอเพียงกับราคาก็อาจจะควบคุมได้บ้าง ขายข้างนอกไม่ได้ก็ขายกินกันในประเทศ ดีกว่าไปขายข้างนอกถูก ๆ วันนี้การค้าขายในประเทศเกิดจากบริษัททั้งสิ้น ถ้าเกิดจากบริษัทที่เป็น Social Business บ้าง สหกรณ์บ้าง อะไรบ้าง อย่างที่บางสหกรณ์เขาทํากันอยู่แล้วขณะนี้ แต่ทําอย่างไร เขาจะขยายให้ใหญ่ขึ้นมาอีก โดยที่ต้องมั่นคง ต้องไม่มาพลาดอีกทีหลัง ก็เสียดาย หลายชุมชน หลายสหกรณ์เข้มแข็งอยู่แล้วในขณะนี้ เช่น แหล่งปลูกข้าวที่ดีที่สุดในประเทศไทย ที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ตรงนั้นก็น่าจะปลูกข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดของประเทศไทยได้หรือไม่ ทั้งพื้นที่เลย ที่ไหนที่ดินอาจจะดีไม่เท่า น้ําน้อยกว่านั้นก็ปลูกข้าวขาวหรือข้าวที่มีคุณภาพ ตรงนี้ไหนที่มีพื้นที่ ๆ เหมาะสมก็ปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ ก็ปลูกไรซ์เบอร์รี่ ให้แยกเป็นอย่างนี้ ใช้ต่างกัน ใช้ดินที่ต่างกัน และนําไปผลิตสินค้าที่ต่างกัน แล้วก็ไปแยกกันขาย ถ้าทุกคนพอเห็นว่านี่ดี ก็ปลูกกันหมด ราคาก็ตกเพราะมีจํานวนมาก ก็แข่งขันกันเอง ไปเช็คในเรื่องของการตลาดด้วย ผมถึงบอกว่าชาวไร่ ชาวนา หรือเกษตรกรต้องเรียนรู้การตลาด การเงินด้วย เพราะฉะนั้นคนที่มีปัญหาก็คือประชาชนที่ขาดรายได้ กลุ่มแรกคือกลุ่มที่เสียประโยชน์ จากการที่รัฐบาลเข้ามาบังคับใช้กฎหมาย เพื่อจัดระเบียบว่างรากฐาน ลดความเหลื่อมล้ําในสังคม พูดง่าย ๆ ก็คือเงินที่เกิดจากธุรกิจสีเทา ๆ ประชาชนไม่ทราบ บางคนก็ไม่รู้ว่าผิดหรือถูกด้วยซ้ํา เห็นเขาขายได้ก็มาขายด้วย อะไรทํานองนี้ เห็นมากมายไปเรื่อยตามถนนหนทางเต็มไปหมด บางคนไม่ทราบเห็นเขาขายก็ขาย พอไปจับเขาบอกว่ารังแกประชาชน ก็ไม่ใช่ต่างประเทศเขาก็มีระเบียบ
เพราะฉะนั้นเราก็ต้องช่วยกันหาที่อยู่ให้เขา รัฐก็พยายามหาที่อยู่ ก็จะไม่ไปอีก แล้วจะอย่างไร จะอยู่อย่างนี้ วงจรนี้หรือ อันนี้ผมต้องขอโทษถ้าบางครั้ง ผู้ปฏิบัติงานข้างล่างอะไรให้เกิดความเดือดร้อน บางครั้งก็ทําแรงเกินไป หรืออะไรก็ไม่รู้ เพราะผมไม่ได้ลงไปปฏิบัติเอง แต่นโยบายเป็นเรื่องของผม ความคิดที่ผมสั่งการลงไป แล้วก็เป็นมติของ ครม. แต่อยู่ที่การปฏิบัติจะทําอย่างไรให้พี่น้องเข้าใจว่า จะดูแลเขาอย่างไร อันนี้ผมฝากไปถึงข้าราชการทุกกระทรวง ทุกหน่วยงานถึงระดับล่าง ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร อะไรเหล่านี้ต้องชี้แจงประชาชนให้เข้าใจว่าถ้าจะเกิดตรงนี้ แล้วกระทบตรงไหน จะทําอย่างไร กฎหมายฉบับนี้เขาเขียนมาเพื่ออะไร ใครเป็นคนได้ประโยชน์ ไม่ใช่เป็นกฎหมายที่เขียนออกมา เพื่อบังคับประชาชนไม่ใช่ เขียนมาให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุข กฎหมายเขามีไว้ให้จัดระเบียบสังคม ให้คนในรัฐอยู่ร่วมกันได้ ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน และประชาชนจะต้องไม่ได้รับความเดือดร้อนจากกฎหมายฉบับนั้น ถ้าทําถูกต้อง คราวนี้พอทุกคนเดือดร้อน เคยทําไม่ถูกต้องมาตลอด นี่ก็เป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐ เจ้าหน้าที่ ประชาชน ทําอย่างไร รัฐก็ต้องแก้ ประชาชนก็ต้องแก้ แก้ไขตัวเองกันทั้งคู่
เพราะฉะนั้นเราต้องดูแลชาวไร่ ชาวนา ชาวประมง ผู้ใช้แรงงาน ผู้ด้อยโอกาสในสังคม รัฐบาลต้องช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วน สนับสนุนด้วยการสร้างโอกาส สร้างความเข้มแข็ง สร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเองและชุมชนให้ได้ ที่ผ่านมาผมคิดว่าขาดโอกาส ประชาชนส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงทรัพยากร ทุกอย่างเลยขาดโอกาส รัฐก็ต้องทําตรงนี้ ทางส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สําคัญที่สุดอย่าเลือกพวก อย่าเลือกกลุ่ม อย่าเลือกพี่น้อง อย่าเลือกกลุ่มผลประโยชน์ ต้องดูแลประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียม อปท. ไม่อย่างนั้นวันหน้า ท่านจะเรียกร้องการกระจายอํานาจแล้วท่านก็ทําไม่ได้ วันนี้ก็ต้องกระจายหน้าที่ไปก่อน ท่านดูแลอันไหนได้ ท่านก็รับไป อันไหน เรื่องไหน ท่านทําได้ดี ท่านก็รับไป งบประมาณอาจจะเพิ่มให้ตรงนี้ ตรงไหนที่ทําไม่ได้จริง ๆ ก็บอกมา จะได้กลับมาให้ส่วนไหนเขาทําไป วันนี้เรียกทุกอันกลับไปหมด ก็ทําไม่ได้อยู่ดี วันนี้ท่านยอมรับว่ายังไม่เข้มแข็งเพียงพอ มีไม่กี่แห่งที่เข้มแข็งพอ ก็ว่ากันต่อไปแล้วกัน ในห้วงการปฏิรูป
เพราะฉะนั้น ขอให้ทุกคนมีความสุขอย่างพอเพียงก่อน นําแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาแก้ไขทุกอย่าง เช่น เกษตรกรกลุ่มเล็ก ๆ ที่ อําเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก คุณธวัช รังท้วม เกษตรกรที่พยายามช่วยเหลือตนเอง ปลูกข้าวมานานกว่า 30 ปี ขาดทุนมาตลอด รายรับไม่เพียงพอในการเลี้ยงดูครอบครัว ก็ได้เปลี่ยนจากการทํานาอย่างเดียวมาทํา แปลงดอกมะลิบ้าง และก็หารายได้เป็นการเพิ่มเติมหรือปลูกพืชอื่น ๆ ก็แล้วแต่ พบว่ามีรายได้ที่ดีกว่าการทํานา ราคาเช่น ถ้าดอกมะลิไม่ต่ํากว่ากิโลกรัมละ 100 บาท โดยเฉลี่ยวันหนึ่งขายได้ประมาณ 8 - 10 กิโลกรัม รายได้เสริมต่อวัน 800 บาท เก็บผลผลิตได้ทุกวัน ราคาขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 200 ก็จะได้ 1600 บาท/วัน หรือมากกว่านั้น ก็มีการรวมกลุ่มเกษตรกรในตําบลประมาณ 5 ครอบครัว เป็นตัวอย่างที่ดีของเกษตรกร ไม่ใช่ไปปลูกมะลิตามกันหมด เดี๋ยวก็ราคาตกอีก เพราะฉะนั้นก็ไปทําอย่างอื่น จะปลูกผัก ปลูกหญ้า ปลูกมะนาวอะไรก็ว่าไป
วันนี้มีคนต่อว่าผม ผมไปแก้ปัญหาเรื่องการให้ชาวบ้านขุดบ่อเอง ชาวบ้านไปปลูกมะนาวเอง เหมือนผมโยนความรับผิดชอบให้กับประชาชน บางอย่างท่านต้องช่วยตัวเอง รัฐไปทําให้ท่านไม่ได้ เพราะเป็นกติกาการค้าเสรี เราเป็นประเทศประชาธิปไตย วันนี้ผมก็ใช้ประชาธิปไตยขับเคลื่อนประเทศอยู่ ประชาธิปไตยบังคับใครไม่ได้ในเรื่องของการค้าขาย เพราะฉะนั้นต้องพึ่งพาตนเองให้ได้ก่อน แล้วถึงเหลือ แบ่งปัน ค้าขาย ตั้งบริษัท ตั้งห้างหุ้นส่วน อะไรของท่านก็ว่าไป มีขั้นตอนอยู่แล้ว โดยใช้แนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ขอชมเชยทุกกลุ่ม ทุกสหกรณ์ เกษตรกรอีกหลายรายที่ผมไม่ได้เอ่ยชื่อเห็นในทีวี ดีทุกอัน ช่อง 11 ก็มี ช่อง 5 ก็เอามาออก ไทยพีบีเอส ก็มี ก็อย่างดูละครอย่างเดียว ให้ดูสิ่งที่เป็นประโยชน์นี้บ้าง เอาตัวอย่างเขาไป อปท. ก็ต้องพัฒนาตนเอง หากระบวนการเรียนรู้ว่าที่ไหนดี พาลูกบ้านไปดูของเขา คิดอย่างนี้บ้าง ก็จะเปิดโลกทัศน์ของตนเอง ไม่ใช่คิดแต่เพียงว่าทําอย่างไรพื้นที่เราจะเป็นอยู่อย่างนี้ ดีอย่างนี้ สงบสุขเท่านี้ อยู่ไม่ได้หรอกวันหน้า เพราะค่าครองชีพสูงขึ้น โลกเปลี่ยนแปลงแล้ว ไปด้วยเทคโนโลยี แล้วท่านจะไปอยู่ด้วยสิ่งที่เป็นเกษตรกรอย่างเดียวเป็นไปไม่ได้ ท่านต้องทําทั้งสองอย่างไปด้วยกัน ไม่อย่างนั้นก็ต้องรอขายผลิตผลปีละไม่กี่ครั้ง แล้วราคาก็ตก ท่านก็ไม่มีงานเสริม ไม่มีอาชีพ ไม่มีรายได้ให้ลูกหลานท่านเหมือนกัน ท่านต้องเตรียมการแต่ละครอบครัว ไม่ใช่รัฐบาลอย่างเดียว รัฐบาลทํา อํานวยความสะดวก ทําให้ เพราะว่าเงินรายได้เราก็น้อย ภาษีก็เท่าเดิมอยู่ในขณะนี้
ขณะนี้มีการจัดงาน “ไม้ดอกไม้ประดับและปลาสวยงาม” ที่ตลาดคลองผดุงกรุงเกษม บริเวณรอบทําเนียบรัฐบาล มีทั้งไม้ดอก ไม้ประดับ และปลาสวยงาม มีทั้งการจัดแจกัน มีทั้งเมล็ดพันธุ์ดอกไม้อะไรต่าง ๆ กระถาง มาซื้อในราคาถูก จากวันนี้ถึงวันที่ 28 มิถุนายน 2558 ตั้งแต่เวลา 10.00 น. – 19.00 น ทุกวัน แล้วก็เชิญชวนผู้ที่รักธรรมชาติ รักการทําสวนเป็นงานอดิเรก หรือเลี้ยงปลาอะไรต่าง ๆ ปลาไทยสวยงามมีจํานวนมาก ผลิตมามากมาย ปลากัดเป็นสินค้าส่งออกด้วย ทั้ง ปลากัดไทย ปลากัดจีน เราเพาะพันธุ์เก่งมาก ก็ให้มาพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนะ หาความรู้ในเรื่องของการดูแลต้นไม้ เลี้ยงปลาอะไรก็ว่ากันไป
ผมอยากให้เป็นตลาดแห่งความรู้ด้วย ไม่ใช่ค้าขายอย่างเดียว นโยบายผมไปทางโน้นแล้ว และให้ กทม. เร่งดําเนินการเรื่องนําเรือพาคนมาเที่ยว น้ําจะน้อยก็พร่องน้ําไว้ ไม่เป็นไรเรือลอยน้ําอยู่แล้ว น้ําจะมากจะน้อยก็มาได้ทั้งนั้น จะมารอน้ํามาก ๆ ก็รอกันไปเรื่อย ๆ ทุกเรื่องก็รอกันหมด ก็ไม่ทันที่สั่งไปแล้ว เพราะฉะนั้นที่สั่งไปแล้วผมคิดใคร่ครวญแล้วก็ต้องทํา ถือว่าเป็นนโยบายเป็นคําสั่ง ถ้าไม่ทําก็มีปัญหา ทําให้ได้ ไม่ใช่สั่งไปแล้ว ก็ติดโน่น ติดนี่ทั้งหมด ถ้าติดบอกว่าต้องพร่องน้ํา น้ําน้อย ฉะนั้นเรือก็หารือที่กินน้ําน้อย ๆ ไม่ใช่เรือท้องเรือท้องแบนมา ผมไม่ได้เอาเรือกินน้ําลึกมา ติดตรงไหนก็ไปแก้ตรงนั้น แค่นั้นเอง จะไปยากอะไร ถ้าติดตรงไหนก็ถ่ายเรืออีกลํามา แค่นั้น คิดแบบนี้ถึงจะไปได้ ให้เร่งกันทําภายในเดือนนี้ ผมบอกไว้แล้ว
เรื่องงาน “ถนนสายวัฒนธรรม” ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มีความสําเร็จเป็นอย่างดี รายได้สุทธิประมาณ 25 ล้านบาท และคืนนี้ก็จะเริ่มมหกรรมกีฬาของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “กีฬาซีเกมส์” ครั้งที่ 28 ที่สาธารณรัฐสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 5 – 16 มิถุนายน 2558 วันนี้จะมีการถ่ายทอดพิธีเปิดช่อง 3 หลังรายการนี้ ผมเลื่อนขึ้นมาก่อน ผมอยากให้พี่น้องได้ดู ได้ส่งแรงใจ เวลา 18.30 – 22.00 น. ให้ร่วมกันส่งแรงเชียร์และกําลังใจ ให้ทัพนักกีฬาไทย ผมพบกับพวกเขาไปแล้ว เขาก็มีใจเต็มร้อย ผมบอกทุกคนต้องตั้งใจเป็นที่หนึ่งหมด แต่ผลของการแข่งขันเป็นอย่างไร ผมก็ให้กําลังใจเขาอยู่แล้ว ต้องเรียกว่าเป็นการสู้ศึกกีฬา และในประเทศก็สู้ศึกกับความยากจนอยู่ในขณะนี้กับเศรษฐกิจ ทุกคนก็อยู่ในท่ามกลางศึกทั้งสิ้น ก็ขอให้นําแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระองค์ทรงพระราชทานไว้กับคนไทย และประเทศไทยมาใช้ประโยชน์ อย่างให้คนอื่นเขานําไปใช้มาก มากกว่าเราใช้เองเลย ขอบคุณ สําหรับวันนี้ สวัสดีครับ | พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน 2558 เวลา 17.00 น.
สวัสดีครับ พี่น้องประชาชนที่รักทุกท่าน
ในวันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day) ในปีนี้นั้นองค์กรสหประชาชาติ (UN) ได้กําหนดประเด็นหลักในการรณรงค์เรื่อง “7 พันล้านฝัน 7 พันล้านใจ คิดห่วงใยในผืนโลก” ซึ่งจะเน้นในเรื่องของการผลิต การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
สําหรับประเทศไทยนั้น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดําเนินการรณรงค์ในเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง ในวันสิ่งแวดล้อมโลกได้จัดกิจกรรมหลายอย่างด้วยกัน อาทิ โครงการความร่วมมือ “บัตรเดียวเขียวทั่วไทย (Green Card)” เพื่อสะสมคะแนน แลกสิทธิประโยชน์ จากการซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในห้างสรรพสินค้านําร่อง ทั้งนี้ เพื่อสร้างจิตสํานึกปลุกกระแสเลือกซื้อ เลือกใช้สินค้าสีเขียว ซึ่งจะช่วยลดปริมาณขยะและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุสําคัญของภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน อีกทั้งเป็นการกระตุ้นให้เยาวชน ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และให้ผู้ประกอบการได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เรื่องการรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติก ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายยาก โดยศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซื้อจะงดการให้บริการถุงพลาสติกในทุกวันที่ 15 ของเดือน จริง ๆ แล้วอยากให้ทุกคนปรับตัว หยิบถุงผ้ามาใช้เวลาออกไปจับจ่ายหรือตะกร้าก็ได้ เชื่อว่าเกือบทุกครัวเรือนต้องมีถุงผ้าหรือตะกร้า เพราะจะมีการรณรงค์ให้ใช้มาโดยตลอด วันนี้ก็เห็นมีแจกมีจําหน่ายอยู่ทั่วไป จนกลายเป็นแฟชั่น รับมาซื้อมาแล้วอย่าลืมนําไปใช้ อะไรก็ตามถ้ามีแล้วถ้าไม่ใช้ก็ไม่มีประโยชน์ ซื้อไปก็สิ้นเปลืองเปล่า ๆ การผลิตวัตถุดิบต่าง ๆ ก็เสียป่าวอีก เพราะฉะนั้นต้องใช้ให้ถูกวิธี บางครั้งการไปซื้อของก็ต้องแยกประเภทให้ชัด
ผมก็มีความกังวล ถ้าจะยกเลิกถุงพลาสติก ท่านก็ต้องแก้ปัญหา การใช้ถุงพลาสติกในกรณีที่เขาซื้อเครื่องดื่ม การขายเครื่องดื่มใส่น้ําแข็งต่าง ๆ อันนั้นก็ถุงพลาสติกอยู่แล้ว ถ้าเขาไม่ใส่ถุงพลาสติกจะให้ใส่อะไร เขาจะขายได้หรือไม่ คนซื้อเขาจะเตรียมมาหรือเปล่า ต้องทําความเข้าใจกันด้วย ผมคิดว่ามีถุงพลาสติกอีกแบบหนึ่งที่ย่อยสลายได้ มีการผลิตออกมาแล้ว แต่ผมไม่แน่ใจว่าราคาสูงอยู่หรือเปล่า ก็อยากให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปติดตามเรื่องนี้ ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเคยนําเสนอให้ผมดู ถุงพลาสติกที่สลายง่าย สลายได้ แล้วก็จากนั้นใช้ถุงผ้า หรือใช้ตะกร้าจักสานต่าง ๆ ก็จะทําให้โลกไม่ร้อนไปกว่านี้ และถ้าหากยังใช้ถุงพลาสติกอยู่ อยู่อีกหลายเป็นร้อยปีไม่สามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ หรือวิธีธรรมชาติ ถ้าเผาก็เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อีก
ในส่วนของกิจกรรมการปลูกจิตสํานึกรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับเยาวชนของชาติ เช่น ตาวิเศษ การสร้างวินัยในโรงเรียน การจัดการขยะอย่างยั่งยืน การประกวดโรงเรียน ชุมชนปลอดขยะ เป็นต้น ทั้งนี้ ผมอยากให้ทํากันอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ทําแบบไฟไหม้ฟาง ทําเป็นวัน ๆ ไป ทําเป็นช่วง ๆ ไป และก็หายเงียบไปอีก ต้องทําจนเป็นนิสัยให้ได้ เพราะว่าวันนี้ก็บ่นกันว่าอากาศร้อนเหลือเกิน ฝนตกผิดฤดูบ้าง ฝนไม่ตกบ้าง ท่อตัน น้ําท่วม น้ําแล้ง ขยะเยอะแยะไปหมด เป็นผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมที่ถูกทําลายทั้งสิ้น
โลกใบนี้มีคนกว่า 7 พันล้านคน เมื่อสักครู่ที่เขาบอกว่า 7 พันล้านฝัน ทั้งโลกมีคนอยู่ 7 พันล้านคน ถ้าใช้ถุงพลาสติกกันทั้งหมดทุกวัน ๆ ไป โลกเราก็จะไม่ปลอดภัย อากาศก็จะเปลี่ยนแปลง ขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนด้วย อย่าลืมถุงที่ใส่เครื่องดื่มชา กาแฟ หรือถุงพลาสติกที่ใส่อาหารแบบที่คนใช้แรงงาน หรือผู้มีรายได้น้อยเขาซื้อกับข้าวใส่ถุงพลาสติกไปจะทําอย่างไร จะใช้วัสดุอะไรต่าง ๆ มาแทน อุปกรณ์อะไรมาแทน คิดให้เขาด้วย และคนขายกับคนซื้อต้องร่วมมือกันด้วย
เรื่องการแยกขยะ วันนี้เรามีปัญหาขยะมูลฝอยมากมาย ทั้งของเดิมสะสมไว้และของใหม่มีทุกวัน ๆ สะสมไปเรื่อย ๆ ต้องเริ่มต้นจากการแยกขยะให้ได้ก่อนในชุมชน ในบ้านก็ตาม และในเรื่องของการทิ้งขยะถังแยกขยะ จากนั้นจะนําไปสู่การนํามาใช้เป็นพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการต่อเนื่อง ดังนั้นก็อย่าขัดแย้งกันนักเลย ถ้าเราไม่มีกระบวนการครบ ขยะไม่มีวันหมดสิ้นไปจากประเทศไทยได้ และวันหน้าก็จะสร้างปัญหามากมาย ทั้งเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ รกรุงรัง เป็นพิษเป็นภัยต่อระบบการหายใจต่าง ๆ เหล่านี้ ขอให้ทุกคนเข้าใจตรงนี้ด้วย
สําหรับโรงไฟฟ้าจากขยะมูลฝอยเป็นสิ่งสําคัญ อย่าขัดแย้งกันอีกเลย ถ้าเราแก้ต้นเหตุได้แล้ว ต้นเหตุคือขยะที่บ้าน และการขนย้ายขยะไป และมีแหล่งทําลายขยะ บางอันน้อยก็ทําที่ต้นทางเลย ถ้ามาก วันนี้มากอยู่แล้ว เพราะไปกองไว้ที่ทิ้งขยะปัจจุบัน แต่ไม่มีระบบการกําจัดขยะที่มีประสิทธิภาพ ก็แก้ด้วยการนําขยะเหล่านั้นที่หลายร้อยตัน แต่ละวัน แต่ละเดือน แต่ละปี มาใช้ประโยชน์ก็ต้องไปทําเป็นโรงงานไฟฟ้าพลังความร้อนที่เกิดจากขยะ ก็ช่วยลดเรื่องการผลิตด้วยแก๊ส ด้วยน้ํามันไปอีกด้วย
เพราะฉะนั้นเราต้องแก้ทั้งต้นเหตุ กลางเหตุ และปลายเหตุด้วย ตรงกลางที่สําคัญคือการให้ความรู้กับประชาชนก่อน สร้างความเข้าใจร่วมมือกันในการบริหารจัดการขยะ และไปร่วมกันตรงปลายทาง สนับสนุนการกําจัดขยะที่รัฐบาลกําลังเริ่มดําเนินการอยู่ในขยะนี้ เพราะฉะนั้นโรงกําจัดขยะที่ทุกคนเป็นห่วงว่าไม่ดีไม่ปลอดภัย อยากให้บริเวณที่กําหนดไว้เป็นจุดตั้งโรงงานขยะที่จะก่อให้เกิดพลังงานนั้นให้ช่วยกันไปดูที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วันนี้ก็ทําไปหลายเปอร์เซ็นต์แล้ว ตอนนี้ก็เห็นประชาชนมีความสุขดีอยู่ และพื้นที่ก็สะอาดสวยงาม วันหน้าก็จะเป็นสวนสาธารณะปลูกต้นไม้ต่าง ๆ ได้ เป็นที่พักผ่อนได้ ขยะก็บริหารไปในโรงขยะก็ผลิตพลังงานออกมาได้ ได้หลายอย่าง อย่าขัดแย้งกันเลย ก็ต้องเสียสละกันบ้าง คงต้องดูแลประชาชนที่อยู่ใกล้ ๆ รอบ ๆ โรงงานขยะอย่าให้มีปัญหาอีก อันนี้เป็นนโยบายของรัฐบาลอยู่แล้ว ไม่ใช่อยากจะสั่งอะไรก็สั่ง ก็ต้องนึกถึงประชาชนก่อนด้วย แต่ประชาชนก็ต้องนึกถึงรัฐ นึกถึงประเทศชาติด้วย ว่าเราจะต้องทํากันอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องขยะ
รัฐบาลปัจจุบัน ได้ประกาศให้ “ขยะมูลฝอยเป็นวาระแห่งชาติ” ให้ความสําคัญมากที่สุด วันนี้ได้มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดทํา Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย แล้วขับเคลื่อนให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมดําเนินการอย่างบูรณาการ ในเรื่องนี้ผมได้จัดระเบียบใหม่เล็กน้อย คือให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหลัก เพราะเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด และเป็นผู้ที่ดูแลพื้นที่ทุกพื้นที่ เพราะฉะนั้นเป็นการทํางานร่วมกัน
ในเรื่องที่จะต้องทํางานอย่างบูรณาการ อาทิ การจัดทําแผนยุทธศาสตร์ เพื่อลด ละ เลิกการใช้ “โฟมโพลิสไตรีน” บรรจุอาหารภายใน 3 ปี (พ.ศ. 2558 – 2560) โดยหันมาสนับสนุนการใช้เศษวัสดุทางเลือก ที่เหลือจากกระบวนการเกษตรกรรม ได้แก่ ชานอ้อย มันสําปะหลัง ปาล์ม ผักตบชวา ฟางข้าว เป็นต้น อันนี้เป็นประโยชน์มากเลย ผักตบชวาก็รกรุงรังเต็มคลองอยู่ในขณะนี้ ถ้านํามาใช้ประโยชน์ได้ก็จะดี เป็นวัสดุที่หาง่าย น่าจะทําให้ถูกลง ในการที่จะทําบรรจุภัณฑ์ในปลอดสารพิษ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สิ่งเหล่านี้อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดูว่าจะลดราคาการผลิตอย่างไร ต้นทุนการผลิตอย่างไร จะได้ขายในราคาที่ถูกกว่า ที่ไม่เป็นต่อสิ่งแวดล้อม อะไรที่ดีแต่แพงกว่าก็ลําบาก ทําอะไรก็ต้องนึกถึงประชาชนด้วย ผู้ซื้อ ผู้บริโภค ไม่อย่างนั้นเป็นไปไม่ได้สักอย่าง
เรื่องการจัดตั้งศูนย์กําจัดขยะมูลฝอยรวม เป็น Cluster และส่งเสริมการตั้งโรงผลิตไฟฟ้าจากการแปรรูปขยะมูลฝอยที่ผมพูดไปเมื่อสักครู่แล้ว และเรื่องการผลักดันพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และซากผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อันนี้ก็มุ่งหวังให้ผู้ผลิตหรือผู้จําหน่ายร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ในการจัดการซากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ก็จะทําให้เป็นการกระตุ้นให้ผู้ผลิตได้ปรับปรุงการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยการลดใช้สารอันตรายและออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ง่ายต่อการนํากลับมาใช้ใหม่ อันเป็นการสนับสนุนการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนในอนาคตด้วย ก็จะเกิดธุรกิจต่อเนื่องด้วย ถ้าบริษัทใหญ่ ๆ ผลิตมาแล้วขาย ก็น่าจะต้องมีบริษัทกําจัดซากหรือส่วนในการกําจัดซากของแต่ละบริษัทเองในการลงทุนดังกล่าวเหล่านั้น
ทั้งนี้ เพื่อจะรับซื้อของที่หมดอายุไปแล้ว เช่น แผงโซล่าเซลล์ วงจรอิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์เก่า ๆ ที่ไม่ใช้งานแล้ว พวกนี้นําไปฝังดินแล้วก็ยังไม่ย่อยสลาย เพราะฉะนั้นต้องมีการกําจัดขยะเหล่านั้น หรือจะนํามารีไซเคิล ใช้ใหม่ก็แล้วแต่ เหมือนต่างประเทศเขาทํา วันนี้ประเทศไทยรัฐบาลนี้ให้ความสนใจ สั่งการไปแล้วเป็นนโยบายไปแล้ว
เรื่องปัญหาการค้ามนุษย์ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายนนี้ เป็นวัน “วันรณรงค์ต่อต้านการค้ามนุษย์” แห่งชาติ ที่รัฐบาลกําหนดขึ้นให้หน่วยงาน องค์กร และทุกภาคส่วนของสังคมไทยได้รับรู้ถึงปัญหา ได้มีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์อย่างต่อเนื่อง เป็นรูปธรรม อันนี้คือในฐานะเราอยู่กลางทาง ถ้าเราไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับกระบวนการเหล่านี้ ไม่มีคนไปร่วมมือก็ทําไม่ได้ เรื่องของต้นทางก็อีกเรื่องหนึ่ง ก็แก้ปัญหาที่ต้นทางด้วย ปลายทางประเทศที่สาม ก็ต้องไปดูว่าจะร่วมมือกันได้อย่างไร วันนี้ก็มีความกล่าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรม อย่างน้อยก็แผนการปฏิบัติในระยะเร่งด่วน ระยะกลาง ระยะยาว ระยะยาวก็คือต้องพัฒนาต้นทางให้ได้ ไม่ให้มีการอพยพ อย่าให้มีลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นอีก ทุกคนนั้นจะต้องให้ความสําคัญของปัญหาการค้ามนุษย์ ชีวิตใครก็เป็นชีวิตหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นชาติใด ศาสนาใด เขาก็เป็นมนุษย์ เพราะฉะนั้นสิทธิความเป็นมนุษย์มีทุกคน ทุกประเทศ ทุกศาสนา ต้องดูแลกัน
รัฐบาลนี้ให้ความสําคัญเกี่ยวกับปัญหานี้อย่างยิ่ง ได้กําหนดเป็นวาระแห่งชาติ โดยเมื่อเช้านี้ผมได้เป็นประธานเปิดงาน “วันต่อต้านการค้ามนุษย์” ประจําปี 2558 ที่ทําเนียบรัฐบาล และได้มีโอกาสกล่าวเน้นย้ํานโยบายของรัฐบาลในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์อย่างจริงจัง โดยการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวด ปรับปรุงกฎหมายข้อบังคับที่จําเป็น และเพิ่มความเข้มงวดในการระวังตรวจสอบ นําผู้กระทําผิดมาลงโทษ ช่วยเหลือเยียวยาเหยื่อการค้ามนุษย์ รวมทั้งจัดการปัญหาอื่น ๆ ที่เชื่อมโยงต่อเนื่องให้เบ็ดเสร็จ
ปัญหาการค้ามนุษย์นั้น มีผลกระทบกับทุกมิติของสังคมและโลกด้วย เป็นปัญหาที่ต้องการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐ เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย และสํานักงานตํารวจแห่งชาติ หน่วยงานเอกชน องค์กรและมูลนิธิต่าง ๆ รวมถึงประชาชนทั่วไปด้วย
รัฐบาลต้องการที่จะสร้างการรับรู้ ให้ประชาชนเข้าใจว่าปัญหานี้จะมีผลกระทบต่อสังคมอย่างไร หลายท่านอาจคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว ไม่เกี่ยวข้องแต่ก็ไม่ได้ เพราะถ้าหากมีการค้ามนุษย์แล้ว ทําให้เกิดความไม่เป็นธรรมและเกิดปัญหาในเรื่องของการอาชญากรรมต่าง ๆ มากมาย เพราะว่าการค้ามนุษย์ผมอยากทําความเข้าใจว่าคงไม่ใช่เฉพาะในเรื่องของโรฮีนจา หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นการเฉพาะ ในเรื่องนี้แยกออกมาจากในเรื่องของการลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย สําหรับพวกนั้นก็มีอยู่เป็นประจําอยู่แล้ว อันนั้นก็ลักลอบเข้ามาทํางานบ้าง แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มีกระบวนการนําพา อันนั้นเรียกว่าค้ามนุษย์ แม้กระทั่งขอทาน ถ้าหากว่ามีการรวมกลุ่มกัน และไปหาที่รับบริจาคและไปรวมกัน แบ่งเงินกันต่าง ๆ ก็ค้ามนุษย์เหมือนกัน หรือผู้หญิง เด็ก ที่เอาแล้วไปทํางาน หลอกเขามา แล้วไปทํางาน โดยผิดกฎหมายทุกอย่างไปเข้าหลักเกณฑ์การค้ามนุษย์ทั้งสิ้น ถ้ามีคนกลางแล้วผิดกฎหมาย มาเป็นกระบวนการ แต่ถ้าลักลอบข้ามแดนก็เป็นการผิดกฎหมาย ต้องทําความเข้าใจกัน ทั้งสองประเภท มีปัญหากับบ้านเราทั้งสิ้น
แรงงานต่าง ๆ ที่เข้ามาทํางานต่าง ๆ ก็จดทะเบียนไว้แล้ว ต้องดูตรงนี้พวกนี้อีกว่ากระบวนการนําพาแรงงานเหล่านั้น มีการดําเนินการที่ถูกต้องหรือไม่ เป็นบริษัทที่ถูกต้องหรือไม่ และจะได้เป็นหลักประกันของแรงงานต่าง ๆ เหล่านั้น จะได้เข้าระบบให้ได้ ถ้าไปถูกหลอกมา แล้ววันหน้าเขาก็ทิ้งเราไปอีก เพราะฉะนั้นจะมาทํางานต้องตรวจสอบบริษัทหรือใครก็แล้วแต่ ที่ชวนมาทํางานด้วยว่าเขามีหลักฐานทางราชการอะไรหรือไม่ที่ถูกต้อง
ในเรื่องของการให้ทานต่าง ๆ ผมถือว่าคนไทยเป็นผู้มีเมตตา เห็นใครลําบากยากเข็น ใครยากจน ใครพิการก็อยากจะให้สตางค์ อันนี้เราก็เลยเห็นสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ชินตา รวมไปถึงสถานบริการต่าง ๆ จะมีคนเหล่านี้อยู่ทั้งสิ้น ขอให้ทุกคนช่วยกัน จะเป็นปัญหาของสังคมต่อไป ผมอยากให้ทุกคนช่วยกันเป็นหูเป็นตา ถ้าเห็นอะไรที่ผิดปกติ ที่น่าจะไม่ถูกต้อง ก็ขอให้แจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบตามช่องทางที่มีอยู่แล้ว เช่น
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีโครงการ “รวมใจไทย ต้านค้ามนุษย์” (Thailand AGAINST human trafficking) มีเรื่องที่สื่อออกมาว่าในรูปแบบของภาพยนตร์โฆษณาด้วย ให้เห็นถึงความจริงของอุบาย ไม่ว่าจะเป็นงานสบาย งานง่าย ผลตอบแทนสูงเหล่านั้น ล้วนแต่เป็นอุบายทั้งสิ้น เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะได้สิ่งตอบที่มากจนเกินไป
ขบวนการค้ามนุษย์จะใช้สิ่งเหล่านี้ล่อลวง หลอกล่อเหยื่อ ร่วมความไปถึง อย่างเช่น โรฮีนจา ก็ถูกหลอกเหมือนกันว่ามาที่นี่แล้วจะมีงานทํา เดินทางมา ทั้ง ๆ ที่ลําบาก อันตราย มีโอกาสเสียชีวิตได้ 50% เพราะมาทางทะเล จะถูกพวกนี้นําเข้ามาแล้วไปหางานให้ทํา อย่างนี้ไม่ได้ แต่ถ้ามาแล้วด้วยอิสระ ด้วยตัวเอง ด้วยไม่มีใครนําพามานั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง อันนั้นก็เป็นการลักลอบเข้าเมือง เพราะฉะนั้นก็ขอให้ทุกคนได้ใช้วิจารณญาณอันเหมาะสนว่าควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร มีส่วนร่วมในเรื่องนี้อย่างไร อย่าให้เขามีการล่อลวง หลอกล่อ เข้ามาสู่วงจรธุรกิจการค้ามนุษย์อีกต่อไป ถ้าหากว่าเหยื่อตกเข้ามาในวงการแล้ว ก็จะถูกล่วงละเมิด ผู้หญิงก็ลําบาก ถูกกดขี่ ข่มเหงเหยื่อด้วยความรุนแรง มีการเรียกค่าไถ่ต่าง ๆ เกิดมาเป็นประจํายาวนานแล้ว ก็พยายามแก้มาตลอด แต่แก้ไม่ได้ วันนี้ก็ถือว่านําวิกฤต มาเป็นโอกาสแล้วกัน จะได้ไม่มีการทําร้ายร่างกายจิตใจกันอีกต่อไป
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ก็จะทําภาพยนตร์โฆษณาดังกล่าว ทุกคนก็ติดตาม ก็จะได้เห็นความจริงและตระหนักถึงความสําคัญของปัญหาความรุนแรงที่จะเกิดจากการค้ามนุษย์
ในภาพยนตร์ต่อไปนี้ ก็จะมีการเปิดโปงความไร้มนุษยธรรมของขบวนการเหล่านี้ที่มักกระทํากับเหยื่อ เพื่อจะเป็นแบบอย่าง ตัวอย่าง ให้เข้าใจและเกิดการระวังป้องกัน เฝ้าระวัง อย่าไปร่วมในกระบวนการสร้างความตระหนักรู้ในปัญหาการค้ามนุษย์ให้กับสังคม วันนี้ที่เกิดขึ้นมาได้เพราะว่าปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ําด้วย เป็นปัญหาหลัก ถ้าไม่จนเขาก็ไม่มาถูกหลอกแบบนี้ เพราะฉะนั้นเราต้องทําให้คนเข้มแข็ง ให้มีรายได้ที่เพียงพอ
นอกจากนั้นก็ได้เปิดช่องทางการรับบริจาค เพราะคนไทย ผมบอกแล้วอยากบริจาคเงิน เพราะฉะนั้นก็จะมีโครงการรับบริจาคเพื่อนําเงินมากระจายสู่มูลนิธิต่าง ๆ ที่ช่วยเหลือเรื่องการค้ามนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน โดยการรับบริจาคจะเริ่มตั้งแต่วันนี้ไปถึงวันที่ 5 กันยายน 2558 วิธีการรับบริจาคนั้น ทางโครงการเขาจะมีการจัดทําเสื้อยืดและ postcard ที่มี barcode แจก แล้วก็จําหน่าย แล้วผู้ที่ได้รับสามารถนํา barcode ดังกล่าวไปสแกนและบริจาคได้ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส หรือโอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารกรุงไทย สาขาสะพานขาว ชื่อบัญชี “รวมใจไทย ต้านค้ามนุษย์ โดย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์” เลขที่บัญชี 021-0-17650-4 สําหรับผู้บริจาครายบุคคล หรือบริษัทใหญ่ ๆ ที่มีความประสงค์สนับสนุนโครงการเพื่อสังคมร่วมกับรัฐบาลสามารถเก็บสลิป หรือหลักฐานการโอนเผื่อนํามาลดหย่อนภาษีได้
ทางกระทรวงพัฒนาสังคมฯ ร่วมกับกรมสรรพากรกําลังพิจารณาให้การสนับสนุนในการลดหย่อนภาษีแก่ผู้ร่วมบริจาค เพื่อช่วยเหลือเหยื่อผู้ค้ามนุษย์ได้หรือไม่ กําลังทําอยู่โดยทางหน่วยงานจะประชาสัมพันธ์ให้ทุกท่านทราบต่อไปในภายหลัง แต่ที่แน่ ๆ นั้น ผู้บริจาคไม่ว่าจะเป็นพี่น้องประชาชนพ่อค้า แม่ค้า บริษัท ห้าง ร้านทุกคนได้รับกุศลผลบุญ ทําทานให้กับคนมีชีวิตอยู่นี่ก็ถือว่าเป็นบุญกุศล เช่นกัน จากการร่วมบริจาคในโครงการนี้ด้วย ขอขอบคุณหน่วยงาน เจ้าหน้าที่ รวมถึงเคาน์เตอร์เซอร์วิสที่จะร่วมมือสนับสนุนโครงการต่อต้านการค้ามนุษย์นี้ด้วย
เรื่องเศรษฐกิจ วันนี้มีการฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวชัดเจน มีจํานวนมากได้รับการรายงานอย่างไม่เป็นทางการว่า จํานวนนักท่องเที่ยวในเดือนพฤษภาคม 2558 ที่ผ่านนั้น ขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่าเดิมร้อยละ 30 ก็อย่าไปเชื่อที่พูดว่า เศรษฐกิจตกต่ํา การท่องเที่ยวก็คนมาเที่ยวน้อยลงก็ตัวเลขมาอย่างนี้เช็คกับสนามบินการเดินทางต่าง ๆ ทั้งหมดก็มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่า ร้อยละ 30 จากโรงแรม จากที่พัก จากการบริการ ร้านอาหาร นี่เป็นสิ่งที่เป็นสัญญาณว่า บ้านเมืองเราได้รับความไว้วางใจและเชื่อมั่นในความปลอดภัย ในความมีเสถียรภาพของรัฐบาล และในการที่บ้านเมืองมีความสงบสุขในขณะนี้ด้วย ถึงแม้ว่าเราจะอยู่ในขั้นตอนการเตรียมการไปสู่ประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ก็ตาม แต่คนก็เชื่อมั่นในขณะนี้ ก็เว้นแต่บางคนยังพูดด่าให้เสียหายอยู่ ขอให้ระมัดระวังด้วย
รัฐบาลยังห่วงใยเรื่องนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของพี่น้องเกษตรกร แล้วก็ผู้มีรายได้น้อย คงไม่ใช่ที่ผมใช้คําว่าเกษตรกรแล้วก็รายได้น้อย เพราะว่าการประกอบอาชีพมีหลายอย่างด้วยกัน อาชีพอิสระก็มี ค้าขาย ขายของ ขายก๋วยเตี๋ยว มอเตอร์ไซค์รับจ้าง นี่ก็รายได้น้อยเหมือนกัน ในภาวะเช่นนี้ รัฐบาลก็พยายามทุกอย่าง ไม่ได้นิ่งนอนใจ แต่ก็ขอให้เข้าใจว่า ไม่ใช่ว่าจะต้องปล่อยให้ทําผิดกฎหมายต่อไป ให้ขายในที่ไหนก็ได้ อะไรทํานองนี้ เป็นไปไม่ได้ กฎหมายก็ต้องเป็นกฎหมาย แต่เราจะดูแลคนเหล่านี้อย่างไร จัดสถานที่ขายหรือไปหาให้ความรู้ ปรับเปลี่ยนอาชีพ ถ้ามีร้าน มีอะไรอยู่แล้วก็ทําขยายไปสู่ SMEs ได้ไหม ต้องพัฒนาตัวเองด้วย ใช้แนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บางคนบอกว่าเราไม่ใช้ ใช้ทุกอย่าง เวลาสั่งงานอะไรไปแล้ว
ผมย้ําทุกอย่างว่า นําหลักการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาทั้งสิ้น มีเหตุมีผลพอประมาณแล้วก็มีภูมิคุ้มกันที่ดี สําหรับภูมิคุ้มกันที่ดีก็คือว่า จะทําอะไรต่อไปก็คิดทบทวนให้ดี มีความรู้ มีคุณธรรม เราพร้อมหรือยัง ถ้าพร้อมก็ทําต่อ ถ้าไม่พร้อมก็อย่าเพิ่งก็ทําให้พอเพียงไปก่อน โดยใช้เงินอย่างพอประมาณมีเหตุมีผล ลูกหลานต้องเข้าใจคุณพ่อคุณแม่ด้วย บางทีพ่อแม่เราก็ไม่ได้ร่ํารวยเหมือนคนอื่นเขา แต่เราอยากได้ของเหมือนเพื่อน อันนี้ผมคิดว่าสําคัญที่สุดคือสิ่งแวดล้อม สภาวะการโลก
วันนี้โลกก้าวหน้าเร็ว เพราะฉะนั้นเรื่องเทคโนโลยี เรื่องความทันสมัยก็เข้ามาเร็ว คราวนี้บ้านเราคนมีรายได้น้อยยังมากอยู่ เพราะฉะนั้นสิ่งของเหล่านี้ผู้ขายก็อยากจะขายมาก ๆ มีมาตรการมากมาย ลดราคาผ่อนส่งได้อะไรได้นี่คือปัญหาหนี้ครัวเรือน
เรื่องการจัดหาที่ดินทํากิน ก็ขอกันก่อนว่า จัดให้ทํากินให้ได้ก่อน วันนี้ยังไม่ครบเลยก็จะเร่งดําเนินการให้ได้ปีนี้ ปีหน้า ที่เหลือก็ต้องเตรียมการของตัวเองว่าจะให้ลูกหลานทําอะไร เรียนหนังสือจบแล้วจะทําอะไร ก็ต้องเตรียมตัวเองเผื่อเข้าไปทํางานในการเปิด AEC ในสิ้นปีนี้ จะเริ่มปีแห่ง AEC ก็คือ 2560 เต็ม ๆ ตั้งแต่ต้นปีไปจะมีงาน มีอะไรแลกเปลี่ยนสัญจรไปมาหางานระหว่างประเทศได้ เพราะฉะนั้นท่านต้องเตรียมคนไว้เรื่องเหล่านี้ด้วย เราจะให้พี่น้องทําการเกษตรมากขึ้น ๆ ไปเรื่อย ๆ ที่ดินเรามีเท่านี้ น้ําเรามีเท่านี้ ไม่ได้แล้ว ต้องหาอาชีพอื่นที่มีรายได้ รายวัน รายเดือนมาเลี้ยงพ่อแม่แล้วก็พ่อแม่จะทําเกษตรกรรมสมัยไปได้ มีใช้เครื่องไม้เครื่องมือ เครื่องจักร วันนี้เราคิดแบบนี้อยู่ เพราะฉะนั้นก็ต้องเริ่มจากแผนการจัดการไปที่เกษตรกรรมให้เหมาะสมกับน้ํา แหล่งน้ําทํามาก ก็โอเคต้องใช้งบประมาณสูง แต่ถ้าทําแล้วไม่มีน้ําลงมาฝนไม่ตก ทําไปก็ไร้ประโยชน์
วันนี้ก็หลายแห่งก็ได้ทําไปแล้วแต่เท่าที่ทราบขณะนี้ ปีนี้ฝนก็จะน้อย น้ําก็จะน้อย ผมก็เลยบอกว่าทุกคนช่วยกันสร้างที่กักเก็บน้ํามา สื่อบางสื่อก็บอกว่า เป็นหน้าที่ของรัฐบาลไม่ใช่หรือ ถ้าสื่อยังชี้แจงกันอยู่แบบนี้ ผมว่าไม่ใช่ ก็สอนให้คนรู้จักการพึ่งพาตัวเองด้วย พร้อมกับสนับสนุนรัฐในการทําโครงการขนาดใหญ่ขึ้น แล้วสานช่วยกันฟังนโยบายเรื่องอื่น ๆ เช่น การโซนนิ่งที่เหมาะสม คงไม่ใช่เฉพาะว่าตรงไหนปลูกอะไร ต้องกําหนดว่าท่านจะปลูกข้าวตรงไหนจะต้องปลูกข้าวคุณภาพดี ตรงไหนปลูกข้าวคุณภาพรองลงมา ตรงไหนจะปลูกข้าวสุขภาพ ตรงไหนจะปลูกเพื่อขยายเมล็ดพันธุ์ข้าวที่กรมการข้าวผลิตออกมาจะได้ครบทั้งระบบในเรื่องของเมล็ดพันธุ์ แล้วก็ไปสู่การปลูกในเรื่องของการปลูกก็ต้องทําแบบองค์รวม
วันนี้ได้ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทยไปจัดทําองค์รวมตั้งแต่ต้นทาง คือ การลดต้นทุนการผลิต การรวมกลุ่มการผลิต การจัดหาพื้นที่ทํากิน การจัดหาแหล่งน้ํา เครื่องมือการเกษตร เมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสม ราคาถูก ปุ๋ยอินทรีย์ให้มากขึ้น ผลิตเอง ทําเอง ประชาชนทําเอง สหกรณ์ช่วยกันทําแล้วก็ราคาถูกกว่าที่จะไปซื้อข้างนอก ในส่วนของปุ๋ยเคมีวันนี้ก็ขอความร่วมมือช่วยลดลงแล้วก็ให้ราคาถูกลงจากบริษัทที่ประกอบการ บางพื้นที่อาจจะมีความจําเป็นอยู่บ้าง แต่วันหน้าต้องลดให้หมด
กลางทาง ในเรื่องของการพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตผลทางการเกษตร ผมคิดว่าเราเคยขายข้าวเป็นกระสอบ ๆ มาชั่วชีวิตแล้ว วันหน้าเราต้องขายเป็นอีกอย่างหนึ่ง ทําอย่างไรให้มูลค่าสูงขึ้นข้าวกระสอบหนึ่งไปทําอะไรได้บ้าง ไปทําอาหารสุขภาพได้ไหม ไปทําขนมปังข้าวได้ไหม หรือไปทําเครื่องสําอาง ตั้งหลายอย่างที่เขานํามาเสนอให้ผมดูในการจัดงานทุกครั้ง แต่นําไปสู่การผลิตแล้วก็การจําหน่ายได้สักเท่าไหร่ ผมไม่แน่ใจ เพราะฉะนั้นช่วยไปดู มีไม่กี่บริษัทที่ประสบผลสําเร็จแต่ถ้าเรามากจนเกินไปก็ไม่ได้
เพราะฉะนั้นต้องควบคุม Demand ให้ได้สําคัญที่สุดเลย ความต้องการทั้งในประเทศต่างประเทศถึงจะนําย้อนกลับมาที่ภาคการผลิต แล้วการผลิตก็ต้องไปดูว่าผลิตที่ไหน อย่างไร ต้นทุนจะควรต่ําสุดเท่าไหร่ ถ้าเราไปมุ่งดูเฉพาะราคาปลายทาง อย่างไรเราก็คุมไม่ได้ เพราะการแข่งขันมากขึ้นแล้วก็ AEC ด้วย การตกลงทางการค้าต่าง ๆ ข้อตกลงก็มากมายไปหมดทุกประเทศเขาใช้ข้อตกลงทางการค้าทั้งสิ้นเรากําหนดเองอะไรไม่ได้เลย ถ้าเราเรียกร้องราคาสูง ๆ แล้วต้นทุนการผลิตก็ยังสูงอยู่ไม่มีทางที่ประชาชนจะอยู่ได้ เกษตรกรอยู่ไม่ได้หรอกครับ เพราะฉะนั้นต้องเร่งทําตรงนี้ให้ได้ ทุกคนต้องร่วมมือกัน เรื่องการลดต้นทุนการผลิตตั้งแต่เรื่องเมล็ดพันธุ์ เรื่องเครื่องจักร เครื่องไม้เครื่องมือ ปุ๋ย ยากําจัดศัตรูพืชที่ไม่เกิดมลพิษ ไม่อันตรายต่อผู้ใช้แล้วก็การหาตลาดที่แตกต่างในการจําหน่ายสินค้าเหล่านั้น
อีกเรื่องหนึ่งคือ โครงการที่รัฐบาลให้การสนับสนุนอยู่ คือโครงการ “เพิ่มศักยภาพกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง : สร้างโอกาส สร้างความสุขให้หมู่บ้านและชุมชนเมือง” ในการที่จะสร้างโอกาส สร้างความสุขให้กับหมู่บ้านและชุมชนเมือง เราจะให้ไปขับเคลื่อนดําเนินการตามนโยบาย เพื่อจะสร้างโอกาส สร้างความสุขให้หมู่บ้านและชุมชนในภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ อันนี้อยากให้ไปสร้างความเข้มแข็ง ไม่ใช่ไปใช้ในการที่จะไปซื้อข้าวของที่ไม่เกิดประโยชน์ ทําอะไรก็ให้ถาวรบางพื้นที่เขาทําได้ดีแม้กระทั่งเงินที่ให้ไปในเรื่องแต่ละตําบล 3,000 กว่าตําบลแล้งซ้ําซากเขาก็ดีขึ้น เพราะว่าอะไร เขาไปรวมกลุ่มกันแล้ว ก็คิดว่าทําอะไรดี วัน ๆ ไม่ใช่ใช้แล้วหายไปเลย ต้องสอนให้เกษตรกร ประชาชนให้เรียนรู้ ท่านต้องมีส่วนหนึ่งที่ท่านต้องช่วยตัวเองด้วยอันที่หนึ่ง โดยที่ไม่ต้องใช้เงินมาก เงินน้อย ร่วมมือร่วมแรง ร่วมใจ ร่วมคิด ร่วมทํา ตามนโยบาย อันที่ 2 ก็คือ ร่วมในการที่จะทําให้ภาคส่วนของเกษตรกรทุกอย่างเข้มแข็งขึ้นในลักษณ์เป็นสหกรณ์
ผมมีแนวคิดว่าเมื่อสหกรณ์ไปรับซื้อของมา ไปอะไรมาก็ต้องสร้างตัวเองขึ้นมาให้เป็นเหมือนแบบเป็นSocial Business (Social Enterprises) คือขายต่อ นํามาขายต่อ ไปสู่วงจรของ SMEs ไปสู่เศรษฐกิจพิเศษไปสู่การค้าขายชายแดนด้วย
วันนี้เรื่องกองทุนนั้น ก็มีกองทุนหมู่บ้าน ชุมชนเมือง จํานวน 17,146 กองทุนคิดเป็นร้อยละ 21.63 % ของกองทุนหมู่บ้านทั่วประเทศ อันนี้ถือว่ามีบทบาทสําคัญในการจะเพิ่มคุณภาพชีวิตให้หมู่บ้านชุมชน ประชาชนมาโดยตลอด อาทิ เป็นแหล่งเงินหมุนเวียนประชาชนดําเนินการโดยประชาชน เพื่อประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนในการสร้างงาน สร้างอาชีพเสริมรายได้ ไม่ใช่ไปใช้แล้วหมดไปเปล่า ๆ ต้องต่อเงิน ๆ เพราะเงินน้อยบรรเทาความเดือดร้อนให้จัดทําอาชีพในหมู่บ้านและชุมชนก็จัดระเบียบจัดสัดส่วนให้ดีชัดเจน ไม่ใช่ใช้ไปสิ้นเปลืองไปทั้งหมดแล้วก็จะทําให้เป็นศูนย์หกลางที่อํานวยประโยชน์ได้ในด้านออมเงิน นําเงินไปใช้ในยามแก่เฒ่า ในยามที่เจ็บป่วย วันนี้เงินประกันสังคมก็ยังไม่เรียบร้อย
การจัดสวัสดิ ภาพสวัสดิการให้กับหมู่บ้าน ชุมชน ความสะอาดแหล่งน้ําใช้ในหมู่บ้านอะไรต่าง ๆ ก็ต้องหาเงินเหล่านี้มาช่วย ๆ ทําปีนี้ได้เท่าไหร่ ปีหน้าก็ทําต่อทําไปเรื่อย ๆ ปัจจุบันกองทุนหมู่บ้านชุมชนในภาคเหนือมีสมาชิกรวมกัน จํานวนเกือบ 3 ล้านคน มีเงินทุนหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 41,569 ล้านบาท มีเงินออมไม่น้อยกว่า 5,638 ล้านบาท มีเงินสมทบเข้ากองทุนไม่น้อยกว่า 1,398 บาท แล้วมีดอกผลจากกองทุนเพื่อจัดสวัสดิการไม่น้อยกว่า 323 บาท
ในภาคอื่น ๆ รัฐกําลังเข้าตรวจสอบแล้วก็เร่งดําเนินการให้มีความก้าวหน้าเหมือนกับทางภาคเหนือนี่ ผมก็อยากจะให้ประเทศไทยมีกิจการที่เรียกว่า แบบธุรกิจเพื่อสังคม ที่ผมเรียกว่า Social Business มีหลายประเทศแล้ว ท่านโปรเฟสเซอร์ มูฮัมหมัด ยูนูส ผู้ได้รับรางวัลโนเบลได้กล่าวไว้ว่า การทําธุรกิจที่มีกําไรแต่พอดี และลงทุนเพื่อสังคมไปด้วยกันนั้น จะเป็นการทําธุรกิจที่สอดรับกับการช่วยให้สังคมดีและน่าอยู่ เช่น โครงการพัฒนาดอยตุง อันเนื่องมาจากพระราชดําริของสมเด็จย่า แล้วในโครงการหลวงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ประชาชนสามารถที่จะเลี้ยงตัวเองได้ เพราะพระองค์ท่านเล็งเห็นว่า การรับงบประมาณจากรัฐบาลอย่างเดียวจะไม่เป็นการยุติธรรมกับประชาชนชาวไทยที่ไม่ได้อยู่อาศัยตามดอย ตามพื้นที่ การเกษตรต่าง ๆ เหล่านั้นรัฐต้องดูแลทั้งหมด ไม่ใช่เฉพาะเกษตรกร ไม่ใช่คนบนดอยอย่างเดียว พระองค์ท่านทรงคิดแบบนั้น
เพราะฉะนั้นท่านก็ต้องสร้างความเข้มแข็ง พระราชทานเงินส่วนพระองค์เริ่มต้นให้ วันนี้ก็มีการพัฒนาอย่างกว้าง และผลกําไรจากธุรกิจเหล่านั้นก็นํามาให้ชุมชน ได้ใช้ ได้กิน ได้อยู่ มีความเข้มแข็ง ได้ทั้งความรู้ด้วย ได้ทั้งประสบการณ์ และรู้จักการเผื่อแผ่แบ่งปัน และเข้าร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเองอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
ธุรกิจเพื่อสังคมเหล่านี้ ผมต้องการสนับสนุนให้ได้โดยเร็ว โดยอาจจะสามารถเริ่มจากชุมชนในพื้นที่ที่รวมกลุ่มกันเป็นชมรมอยู่แล้วหรือเป็นสหกรณ์อยู่แล้ว มีอยู่หลายพื้นที่แล้วที่พร้อม สหกรณ์การเกษตรนี่มีมาก ผมอยากให้เริ่มตรงสหกรณ์การเกษตรก่อนได้ไหม ทําอย่างไรจะเข้ามาสู่ในเรื่องของธุรกิจการค้า ผลิตผลทางการเกษตรด้วย แปรรูปอะไรก็ว่ากันไป จะได้เป็นอีกเส้นทางหนึ่ง ที่สิ่งเหล่านี้น่าจะดูแลคนในประเทศได้เพียงพอ ผลิตเองขายเอง และรับประทานเอง บริโภคเอง ที่เหลือในส่วนของบริษัทใหญ่ ๆ ก็ว่าไป ข้ามชาติก็ว่าไปอีกทาง แต่อย่ามารบกวนซึ่งกันและกันมากนัก ทางโน้นใหญ่ก็ทําเองบ้าง อะไรบ้าง contact forming บ้าง หรือจะเลี้ยงครบวงจรก็ว่าไป แต่ส่วนหนึ่งผมอยากให้มาซื้อจากตรงนี้ Social Business ที่มาจากสหกรณ์หรือมาจากชุมชนส่วนหนึ่งด้วย
เรื่องของการวางรากฐานเศรษฐกิจไทย วันนี้เราได้มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้น อันนี้เป็น Cluster ต้องอีกครั้งหนึ่ง มีเริ่มตั้งแต่ข้างนอกมาข้างในก่อนแล้วกัน ข้างนอกก็เป็นตลาดค้าขายชายแดนอะไรก็ตาม เพราะฉะนั้นคงไม่ได้ผลิตตรงนั้น จากนั้นก็ถอยหลังเข้ามาในฝั่งไทย ก็มีเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้น อันนี้เป็น Cluster มีตั้งหลายกิจการ ผมบอกไปแล้วตั้ง 13 กิจการ ให้ตรงกับความต้องการของพื้นที่ อาจจะเหลือ 5 – 6 แห่ง ผิดจุด 5 – 6 อย่าง เพราะบางอย่างไม่เหมาะสม อันนั้นกําหนดรวมไว้ 13 อย่าง บางอันก็มี 5 อย่าง บางอันก็มี 6 อย่าง แต่ถ้าอยากจะทําก็เสนอมา ก็มีคณะกรรมการพิจารณาให้อยู่แล้ว
นี่คือในเขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นพื้นที่การผลิต ที่นอกจากนิคมอุสาหกรรม และมีนิคมอุสาหกรรมด้วยในนี้ มี 2 อย่าง เขตเศรษฐกิจพิเศษผมให้ทํา 2 อย่างก็คือ 1. นิคมอุตสาหกรรมเข้าไปทํา 2. เอกชนเข้ามาทํา ตรงนี้เป็นศูนย์การผลิตที่ตรงความต้องการของพื้นที่ ตรงความต้องการของประเทศในเวลานี้ เทคโนโลยี ความทันสมัย การใช้แรงงาน การพัฒนาฝีมือแรงงาน ต้องทําตรงนี้
นอกจากนั้นก็มีพื้นที่อื่นที่มีศักยภาพ อาจจะต้องหลังเขตเศรษฐกิจพิเศษเข้ามา เขตเศรษฐกิจพิเศษต้องการดูเรื่องแรงงานด้วย พอเข้ามาข้างในมาก ๆ แรงงานก็มีปัญหา ไปอยู่ตรงนั้นใกล้ ๆ ชายแดนก็โอเค ที่จัดตั้งไว้ 6 แห่งปีนี้ ปีหน้าก็อีก 5 – 6 แห่ง ถ้าทําต่อก็จะเป็นอย่างนี้ แล้วพื้นที่อื่นที่มีศักยภาพ ที่จําเป็นต้องต่อเชื่อมกับประเทศเพื่อนบ้าน CLV (Cambodia, Lao and Vietnam) มีตรงอื่นอีกไหม จังหวัดไหนอีก ตรงนั้นก็สามารถไปจัดตั้งขึ้นได้อีก ทั้งนี้ก็จะได้ให้เกิดการสร้างงานและคนก็อยู่ในพื้นที่ แรงงานก็ไม่ขาด และไปเชื่อมต่อกับสหกรณ์ ไปเชื่อมต่อกับ Social Business ดังกล่าวได้
ในส่วนกําหนดพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษระยะที่ 2 ใน 5 จังหวัดนั้น ได้แก่ หนองคาย นาราธิวาส เชียงราย นครพนม กาญจนบุรี เป็นจังหวัดที่อยู่ใกล้ชายแดน มีความเหมาะสมเชื่อมโยงอยู่แล้ว รายละเอียดต่าง ๆ เหล่านี้เดี๋ยวชี้แจงต่อไป วันนี้ก็มีการเดินหน้าไปมาก มีคนสนใจมากมายไปหมด
เรื่องชุมชนเข้มแข็ง ที่ผมพูดมาทั้งหมดวันนี้ เราต้องทําให้เกิดความ “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ผมบอกแล้วเป้าหมายของเรามี 3 ระดับ ระดับคนรวยมาก ๆ ทําธุรกิจข้ามชาติได้ อันที่สองคือปานกลาง ข้าราชการบ้าง เงินเดือนอะไรก็แล้วแต่ แต่ในส่วนที่ต้องดูแลเป็นพิเศษคือคนที่มีรายได้น้อย ซึ่งมีถึงประมาณ 50 – 60% ข้างล่าง หลายอาชีพ หลายการทํางาน เพราะฉะนั้นรายได้เขาเป็นวันบ้าง เป็นกะบ้าง เป็นเดือนบ้าง อะไรบ้าง มันน้อย 9,000 12,000 อยู่ได้ไหวไหม มีภรรยา มีลูกด้วย ต้องทําอย่างไรให้เขาอยู่ได้ แต่ต้องอยู่ได้ด้วยความพอเพียง จะมาให้เท่ากับคนรวยก็ไม่ได้ ลูกหลานต้องเข้าใจพ่อแม่ บัญชีครัวเรือนน่าจะต้องทําสําหรับผู้มีรายได้น้อย จะได้รู้ว่าใช้เงินมีเหตุผลหรือเปล่า พอประมาณกับตัวเองหรือไม่ ไม่ใช่ผมต้องการจะไปจํากัดให้คนรวยก็รวยไป คนจนก็จนไป ผมต้องการให้ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนลดลง แต่ลดลงด้วยรัฐกับด้วยประชาชนต้องร่วมมือกันด้วย เกษตรกรก็ต้องช่วยกัน นึกถึงคนอื่นเขาด้วย เกษตรกรก็หลายอย่าง
ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมสมบรูณ์อยู่แล้ว ได้เปรียบนานาประเทศ รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านในหลายปัจจัย วันนี้เราต้องสร้างความเข้มแข็งให้อาเซียนเข้มแข็ง ไทยก็เข้มแข็งด้วยอยู่แล้ว ต้องควบคู่กับอาเซียนด้วยปีหน้า เศรษฐกิจวันนี้ เศรษฐกิจโลกชะลอตัวอยู่ หลายประเทศใหญ่ ๆ ก็ยังมีปัญหาอยู่ ที่ว่าจะดีขึ้น ก็ดีไม่เท่าที่คาดไว้ ของเราก็ขึ้น ๆ ลง ๆ อยู่แบบนี้ จนกว่าเราจะเข้มแข็ง ถ้าเรา demand supply ไม่เกินกันมากจนเกินไป ก็ผลิตพอเพียง พอเพียงกับราคาก็อาจจะควบคุมได้บ้าง ขายข้างนอกไม่ได้ก็ขายกินกันในประเทศ ดีกว่าไปขายข้างนอกถูก ๆ วันนี้การค้าขายในประเทศเกิดจากบริษัททั้งสิ้น ถ้าเกิดจากบริษัทที่เป็น Social Business บ้าง สหกรณ์บ้าง อะไรบ้าง อย่างที่บางสหกรณ์เขาทํากันอยู่แล้วขณะนี้ แต่ทําอย่างไร เขาจะขยายให้ใหญ่ขึ้นมาอีก โดยที่ต้องมั่นคง ต้องไม่มาพลาดอีกทีหลัง ก็เสียดาย หลายชุมชน หลายสหกรณ์เข้มแข็งอยู่แล้วในขณะนี้ เช่น แหล่งปลูกข้าวที่ดีที่สุดในประเทศไทย ที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ตรงนั้นก็น่าจะปลูกข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดของประเทศไทยได้หรือไม่ ทั้งพื้นที่เลย ที่ไหนที่ดินอาจจะดีไม่เท่า น้ําน้อยกว่านั้นก็ปลูกข้าวขาวหรือข้าวที่มีคุณภาพ ตรงนี้ไหนที่มีพื้นที่ ๆ เหมาะสมก็ปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ ก็ปลูกไรซ์เบอร์รี่ ให้แยกเป็นอย่างนี้ ใช้ต่างกัน ใช้ดินที่ต่างกัน และนําไปผลิตสินค้าที่ต่างกัน แล้วก็ไปแยกกันขาย ถ้าทุกคนพอเห็นว่านี่ดี ก็ปลูกกันหมด ราคาก็ตกเพราะมีจํานวนมาก ก็แข่งขันกันเอง ไปเช็คในเรื่องของการตลาดด้วย ผมถึงบอกว่าชาวไร่ ชาวนา หรือเกษตรกรต้องเรียนรู้การตลาด การเงินด้วย เพราะฉะนั้นคนที่มีปัญหาก็คือประชาชนที่ขาดรายได้ กลุ่มแรกคือกลุ่มที่เสียประโยชน์ จากการที่รัฐบาลเข้ามาบังคับใช้กฎหมาย เพื่อจัดระเบียบว่างรากฐาน ลดความเหลื่อมล้ําในสังคม พูดง่าย ๆ ก็คือเงินที่เกิดจากธุรกิจสีเทา ๆ ประชาชนไม่ทราบ บางคนก็ไม่รู้ว่าผิดหรือถูกด้วยซ้ํา เห็นเขาขายได้ก็มาขายด้วย อะไรทํานองนี้ เห็นมากมายไปเรื่อยตามถนนหนทางเต็มไปหมด บางคนไม่ทราบเห็นเขาขายก็ขาย พอไปจับเขาบอกว่ารังแกประชาชน ก็ไม่ใช่ต่างประเทศเขาก็มีระเบียบ
เพราะฉะนั้นเราก็ต้องช่วยกันหาที่อยู่ให้เขา รัฐก็พยายามหาที่อยู่ ก็จะไม่ไปอีก แล้วจะอย่างไร จะอยู่อย่างนี้ วงจรนี้หรือ อันนี้ผมต้องขอโทษถ้าบางครั้ง ผู้ปฏิบัติงานข้างล่างอะไรให้เกิดความเดือดร้อน บางครั้งก็ทําแรงเกินไป หรืออะไรก็ไม่รู้ เพราะผมไม่ได้ลงไปปฏิบัติเอง แต่นโยบายเป็นเรื่องของผม ความคิดที่ผมสั่งการลงไป แล้วก็เป็นมติของ ครม. แต่อยู่ที่การปฏิบัติจะทําอย่างไรให้พี่น้องเข้าใจว่า จะดูแลเขาอย่างไร อันนี้ผมฝากไปถึงข้าราชการทุกกระทรวง ทุกหน่วยงานถึงระดับล่าง ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร อะไรเหล่านี้ต้องชี้แจงประชาชนให้เข้าใจว่าถ้าจะเกิดตรงนี้ แล้วกระทบตรงไหน จะทําอย่างไร กฎหมายฉบับนี้เขาเขียนมาเพื่ออะไร ใครเป็นคนได้ประโยชน์ ไม่ใช่เป็นกฎหมายที่เขียนออกมา เพื่อบังคับประชาชนไม่ใช่ เขียนมาให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุข กฎหมายเขามีไว้ให้จัดระเบียบสังคม ให้คนในรัฐอยู่ร่วมกันได้ ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน และประชาชนจะต้องไม่ได้รับความเดือดร้อนจากกฎหมายฉบับนั้น ถ้าทําถูกต้อง คราวนี้พอทุกคนเดือดร้อน เคยทําไม่ถูกต้องมาตลอด นี่ก็เป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐ เจ้าหน้าที่ ประชาชน ทําอย่างไร รัฐก็ต้องแก้ ประชาชนก็ต้องแก้ แก้ไขตัวเองกันทั้งคู่
เพราะฉะนั้นเราต้องดูแลชาวไร่ ชาวนา ชาวประมง ผู้ใช้แรงงาน ผู้ด้อยโอกาสในสังคม รัฐบาลต้องช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วน สนับสนุนด้วยการสร้างโอกาส สร้างความเข้มแข็ง สร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเองและชุมชนให้ได้ ที่ผ่านมาผมคิดว่าขาดโอกาส ประชาชนส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงทรัพยากร ทุกอย่างเลยขาดโอกาส รัฐก็ต้องทําตรงนี้ ทางส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สําคัญที่สุดอย่าเลือกพวก อย่าเลือกกลุ่ม อย่าเลือกพี่น้อง อย่าเลือกกลุ่มผลประโยชน์ ต้องดูแลประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียม อปท. ไม่อย่างนั้นวันหน้า ท่านจะเรียกร้องการกระจายอํานาจแล้วท่านก็ทําไม่ได้ วันนี้ก็ต้องกระจายหน้าที่ไปก่อน ท่านดูแลอันไหนได้ ท่านก็รับไป อันไหน เรื่องไหน ท่านทําได้ดี ท่านก็รับไป งบประมาณอาจจะเพิ่มให้ตรงนี้ ตรงไหนที่ทําไม่ได้จริง ๆ ก็บอกมา จะได้กลับมาให้ส่วนไหนเขาทําไป วันนี้เรียกทุกอันกลับไปหมด ก็ทําไม่ได้อยู่ดี วันนี้ท่านยอมรับว่ายังไม่เข้มแข็งเพียงพอ มีไม่กี่แห่งที่เข้มแข็งพอ ก็ว่ากันต่อไปแล้วกัน ในห้วงการปฏิรูป
เพราะฉะนั้น ขอให้ทุกคนมีความสุขอย่างพอเพียงก่อน นําแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาแก้ไขทุกอย่าง เช่น เกษตรกรกลุ่มเล็ก ๆ ที่ อําเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก คุณธวัช รังท้วม เกษตรกรที่พยายามช่วยเหลือตนเอง ปลูกข้าวมานานกว่า 30 ปี ขาดทุนมาตลอด รายรับไม่เพียงพอในการเลี้ยงดูครอบครัว ก็ได้เปลี่ยนจากการทํานาอย่างเดียวมาทํา แปลงดอกมะลิบ้าง และก็หารายได้เป็นการเพิ่มเติมหรือปลูกพืชอื่น ๆ ก็แล้วแต่ พบว่ามีรายได้ที่ดีกว่าการทํานา ราคาเช่น ถ้าดอกมะลิไม่ต่ํากว่ากิโลกรัมละ 100 บาท โดยเฉลี่ยวันหนึ่งขายได้ประมาณ 8 - 10 กิโลกรัม รายได้เสริมต่อวัน 800 บาท เก็บผลผลิตได้ทุกวัน ราคาขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 200 ก็จะได้ 1600 บาท/วัน หรือมากกว่านั้น ก็มีการรวมกลุ่มเกษตรกรในตําบลประมาณ 5 ครอบครัว เป็นตัวอย่างที่ดีของเกษตรกร ไม่ใช่ไปปลูกมะลิตามกันหมด เดี๋ยวก็ราคาตกอีก เพราะฉะนั้นก็ไปทําอย่างอื่น จะปลูกผัก ปลูกหญ้า ปลูกมะนาวอะไรก็ว่าไป
วันนี้มีคนต่อว่าผม ผมไปแก้ปัญหาเรื่องการให้ชาวบ้านขุดบ่อเอง ชาวบ้านไปปลูกมะนาวเอง เหมือนผมโยนความรับผิดชอบให้กับประชาชน บางอย่างท่านต้องช่วยตัวเอง รัฐไปทําให้ท่านไม่ได้ เพราะเป็นกติกาการค้าเสรี เราเป็นประเทศประชาธิปไตย วันนี้ผมก็ใช้ประชาธิปไตยขับเคลื่อนประเทศอยู่ ประชาธิปไตยบังคับใครไม่ได้ในเรื่องของการค้าขาย เพราะฉะนั้นต้องพึ่งพาตนเองให้ได้ก่อน แล้วถึงเหลือ แบ่งปัน ค้าขาย ตั้งบริษัท ตั้งห้างหุ้นส่วน อะไรของท่านก็ว่าไป มีขั้นตอนอยู่แล้ว โดยใช้แนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ขอชมเชยทุกกลุ่ม ทุกสหกรณ์ เกษตรกรอีกหลายรายที่ผมไม่ได้เอ่ยชื่อเห็นในทีวี ดีทุกอัน ช่อง 11 ก็มี ช่อง 5 ก็เอามาออก ไทยพีบีเอส ก็มี ก็อย่างดูละครอย่างเดียว ให้ดูสิ่งที่เป็นประโยชน์นี้บ้าง เอาตัวอย่างเขาไป อปท. ก็ต้องพัฒนาตนเอง หากระบวนการเรียนรู้ว่าที่ไหนดี พาลูกบ้านไปดูของเขา คิดอย่างนี้บ้าง ก็จะเปิดโลกทัศน์ของตนเอง ไม่ใช่คิดแต่เพียงว่าทําอย่างไรพื้นที่เราจะเป็นอยู่อย่างนี้ ดีอย่างนี้ สงบสุขเท่านี้ อยู่ไม่ได้หรอกวันหน้า เพราะค่าครองชีพสูงขึ้น โลกเปลี่ยนแปลงแล้ว ไปด้วยเทคโนโลยี แล้วท่านจะไปอยู่ด้วยสิ่งที่เป็นเกษตรกรอย่างเดียวเป็นไปไม่ได้ ท่านต้องทําทั้งสองอย่างไปด้วยกัน ไม่อย่างนั้นก็ต้องรอขายผลิตผลปีละไม่กี่ครั้ง แล้วราคาก็ตก ท่านก็ไม่มีงานเสริม ไม่มีอาชีพ ไม่มีรายได้ให้ลูกหลานท่านเหมือนกัน ท่านต้องเตรียมการแต่ละครอบครัว ไม่ใช่รัฐบาลอย่างเดียว รัฐบาลทํา อํานวยความสะดวก ทําให้ เพราะว่าเงินรายได้เราก็น้อย ภาษีก็เท่าเดิมอยู่ในขณะนี้
ขณะนี้มีการจัดงาน “ไม้ดอกไม้ประดับและปลาสวยงาม” ที่ตลาดคลองผดุงกรุงเกษม บริเวณรอบทําเนียบรัฐบาล มีทั้งไม้ดอก ไม้ประดับ และปลาสวยงาม มีทั้งการจัดแจกัน มีทั้งเมล็ดพันธุ์ดอกไม้อะไรต่าง ๆ กระถาง มาซื้อในราคาถูก จากวันนี้ถึงวันที่ 28 มิถุนายน 2558 ตั้งแต่เวลา 10.00 น. – 19.00 น ทุกวัน แล้วก็เชิญชวนผู้ที่รักธรรมชาติ รักการทําสวนเป็นงานอดิเรก หรือเลี้ยงปลาอะไรต่าง ๆ ปลาไทยสวยงามมีจํานวนมาก ผลิตมามากมาย ปลากัดเป็นสินค้าส่งออกด้วย ทั้ง ปลากัดไทย ปลากัดจีน เราเพาะพันธุ์เก่งมาก ก็ให้มาพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนะ หาความรู้ในเรื่องของการดูแลต้นไม้ เลี้ยงปลาอะไรก็ว่ากันไป
ผมอยากให้เป็นตลาดแห่งความรู้ด้วย ไม่ใช่ค้าขายอย่างเดียว นโยบายผมไปทางโน้นแล้ว และให้ กทม. เร่งดําเนินการเรื่องนําเรือพาคนมาเที่ยว น้ําจะน้อยก็พร่องน้ําไว้ ไม่เป็นไรเรือลอยน้ําอยู่แล้ว น้ําจะมากจะน้อยก็มาได้ทั้งนั้น จะมารอน้ํามาก ๆ ก็รอกันไปเรื่อย ๆ ทุกเรื่องก็รอกันหมด ก็ไม่ทันที่สั่งไปแล้ว เพราะฉะนั้นที่สั่งไปแล้วผมคิดใคร่ครวญแล้วก็ต้องทํา ถือว่าเป็นนโยบายเป็นคําสั่ง ถ้าไม่ทําก็มีปัญหา ทําให้ได้ ไม่ใช่สั่งไปแล้ว ก็ติดโน่น ติดนี่ทั้งหมด ถ้าติดบอกว่าต้องพร่องน้ํา น้ําน้อย ฉะนั้นเรือก็หารือที่กินน้ําน้อย ๆ ไม่ใช่เรือท้องเรือท้องแบนมา ผมไม่ได้เอาเรือกินน้ําลึกมา ติดตรงไหนก็ไปแก้ตรงนั้น แค่นั้นเอง จะไปยากอะไร ถ้าติดตรงไหนก็ถ่ายเรืออีกลํามา แค่นั้น คิดแบบนี้ถึงจะไปได้ ให้เร่งกันทําภายในเดือนนี้ ผมบอกไว้แล้ว
เรื่องงาน “ถนนสายวัฒนธรรม” ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มีความสําเร็จเป็นอย่างดี รายได้สุทธิประมาณ 25 ล้านบาท และคืนนี้ก็จะเริ่มมหกรรมกีฬาของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “กีฬาซีเกมส์” ครั้งที่ 28 ที่สาธารณรัฐสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 5 – 16 มิถุนายน 2558 วันนี้จะมีการถ่ายทอดพิธีเปิดช่อง 3 หลังรายการนี้ ผมเลื่อนขึ้นมาก่อน ผมอยากให้พี่น้องได้ดู ได้ส่งแรงใจ เวลา 18.30 – 22.00 น. ให้ร่วมกันส่งแรงเชียร์และกําลังใจ ให้ทัพนักกีฬาไทย ผมพบกับพวกเขาไปแล้ว เขาก็มีใจเต็มร้อย ผมบอกทุกคนต้องตั้งใจเป็นที่หนึ่งหมด แต่ผลของการแข่งขันเป็นอย่างไร ผมก็ให้กําลังใจเขาอยู่แล้ว ต้องเรียกว่าเป็นการสู้ศึกกีฬา และในประเทศก็สู้ศึกกับความยากจนอยู่ในขณะนี้กับเศรษฐกิจ ทุกคนก็อยู่ในท่ามกลางศึกทั้งสิ้น ก็ขอให้นําแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระองค์ทรงพระราชทานไว้กับคนไทย และประเทศไทยมาใช้ประโยชน์ อย่างให้คนอื่นเขานําไปใช้มาก มากกว่าเราใช้เองเลย ขอบคุณ สําหรับวันนี้ สวัสดีครับ | |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 21 เมษายน 2560 | วันศุกร์ที่ 21 เมษายน 2560
ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 21 เมษายน 2560
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 21 เมษายน 2560 เวลา 20.15 น.
สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน
เทศกาลสงกรานต์ ประจําปี 2560 ก็ผ่านพ้นมาแล้วด้วยดี ในปีนี้นอกจากรัฐบาลจะมุ่งรณรงค์ ภายใต้แนวคิด“สงกรานต์แบบไทย ใช้น้ําอย่างรู้ คุณค่าทุกชีวาปลอดภัย”แล้ว รัฐบาลก็ยังมีนโยบายที่จะยกระดับประเพณีสงกรานต์ของไทยให้เป็นงานระดับโลก (World Event)โดยจัดให้มีขบวนพาเหรดประชาสัมพันธ์งานนี้ไปทั่วโลก และมีการประกวดเทพีสงกรานต์นานาชาติเป็นครั้งแรกของประเทศ เพื่อสืบสานแนวคิดแบบไทย ๆ สู่สากล
ผมเองรู้สึกปลาบปลื้มใจ ที่ได้เห็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ แต่งชุดไทย ทักทายด้วยการไหว้และยิ้มแบบไทย ๆ บนเวทีประกวดเทพีสงกรานต์ในครั้งนี้ด้วย นอกจากนั้น ยังมีการเชิญคณะทูตานุทูตและภริยาจาก 17 ประเทศ เข้าร่วมงานสงกรานต์ที่วัดปทุมวนาราม มีการร่วมจัด“สงกรานต์อาเซียน”ณ จังหวัดที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อจะสานความสัมพันธ์ร่วมกันด้วยมิติทางวัฒนธรรมรวมทั้งการจัดงานสงกรานต์ในต่างประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และออสเตรเลีย เป็นต้น ทั้งนี้ ผมเชื่อว่าการที่นักท่องเที่ยวเดินทางมาร่วมกิจกรรมสงกรานต์นั้นคงไม่ใช่เพียงมาร่วมการละเล่น รดน้ําเพื่อความสนุกสนาน คลายร้อนเท่านั้น แต่สิ่งที่สําคัญกว่านั้น คือ การได้สัมผัส ซึมซับประเพณีอันงดงามของเรา ที่มีเอกลักษณ์แตกต่างกันในรายละเอียด ในแต่ละท้องถิ่น ที่มีประวัติศาสตร์ ความเป็นมายาวนาน ควรค่า
แก่อนุรักษ์การศึกษา และสืบสานให้คงอยู่คู่สังคมไทย ชั่วลูกชั่วหลานต่อไป
สําหรับรัฐบาลแล้ว“ความสําเร็จ”ในการจัดงานเทศกาลสงกรานต์นั้น นอกจากจะเป็นการสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันครอบครัวของไทยแล้ว อีกภารกิจหนึ่งที่มีความสําคัญอย่างมากคือ การอํานวยความสะดวกและการสร้างบรรยากาศความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สําหรับทุกคน รวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสัญจรของพี่น้องประชาชนที่เดินทางกลับภูมิลําเนาและนักท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลวันหยุดยาวนี้
ผมไม่อยากจะกล่าวซ้ําเรื่องสถิติการสูญเสียว่า มากขึ้น หรือน้อยลง เพราะการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ จากความประมาท ที่เราน่าจะสามารถป้องกันได้นั้น มีเพียงรายเดียวผมยอมรับไม่ได้ ทั้งนี้ ผมได้ให้เก็บข้อมูลทางสถิติที่มีรายละเอียด และหลากหลายมิติ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้นําไปทํางานแก้ไขอย่างบูรณาการกัน บนข้อมูลพื้นฐานชุดเดียวกัน สําหรับในการปรับปรุงสภาพถนน พื้นผิวจราจร สัญญาณไฟ ป้ายเตือนทางแยก ทางร่วม ทางโค้ง สะพาน จุดกลับรถ จุดตัดทางรถไฟ และอื่นๆ ให้มีความเหมาะสม ตามหลักวิชาการ และที่สําคัญ แล้วก็เป็นประเด็นสังคมในช่วงที่ผ่านมา คือ การพิจารณากฎหมายทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับการใช้รถใช้ถนนให้ปลอดภัย ทั้งนี้ ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต และความเป็นจริงทางสังคม
ผมเองเข้าใจว่า การจะอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุขนั้น เราต้องอาศัย ทั้ง“กฎหมายจารีตประเพณี”และ“กฎหมายลายลักษณ์อักษร”โดยกฎหมายจารีตประเพณี ก็คือ แนวทางหลักปฏิบัติที่ดี ที่ทําต่อ ๆ กันมาสม่ําเสมอและนมนาน ด้วยรู้สึกว่าถูกต้อง จึงปฏิบัติตามกัน โดยไม่รู้สึกผิด แต่ถ้าเรื่องใดที่กฎหมายจารีตประเพณี ไม่สามารถรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยแล้ว ก็จําเป็นต้องมีกฎหมายลายลักษณ์อักษรเข้ามาบังคับใช้เพิ่มเติม
ดังนั้น ผมเห็นว่าเราน่าจะมาถึงจุดที่ควรจะต้องทบทวนกฎระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ให้มีความสมดุล และเป็นไปได้ ในโลกของความเป็นจริง ที่ต้องเหมาะกับสังคมบ้านเราด้วย มีเวลาในการเปลี่ยนผ่าน เพื่อไปสู่จุดหมายสุดท้ายที่เราต้องการ ก็คือการอยู่ร่วมกันโดยสวัสดิภาพและเมื่อได้ข้อสรุปร่วมกันแล้ว สิ่งที่เราจะต้องร่วมกันทําต่อไป คือเรื่องของ การปลูกจิตสํานึก และการสร้างวินัยจราจร ซึ่งเป็นหลักสําคัญที่สุด ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนอย่างยั่งยืน ให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ได้รับการยอมรับ เชื่อถือจากประชาชนด้วย
พี่น้องประชาชนที่รักครับ
การพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อย่างสมดุลและยั่งยืนนั้น เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาตามแนวทาง “ประเทศไทย 4.0”ที่ผ่านมา การพัฒนาของเรานั้น อาจจะมุ่งเน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นหลัก โดยอาจจะลืม“มิติสิ่งแวดล้อม”ไม่มากเท่าที่ควร จนนําไปสู่การเสียสมดุลในปัจจุบัน วันนี้ ผมได้เห็นพัฒนาการที่ดี ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ที่รัฐบาลไม่ได้มีเพียงมาตรการเข้มงวดด้านการจราจรเท่านั้น แต่ยังกําหนดมาตรการจัดระเบียบสังคมอื่น ๆ ที่ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปด้วยโดยเฉพาะในเรื่องของ“ขยะ”รัฐบาลนี้ ให้ความสําคัญมาโดยตลอด ได้ประกาศให้เป็น“วาระแห่งชาติ”ผลการดําเนินงานที่สําคัญ ได้แก่ การที่เราสามารถกําจัดขยะมูลฝอย ตกค้าง สะสมมานานมากกว่า 20 ล้านตัน จากทั้งหมด 30 ล้านตันการกําหนดพื้นที่รวบรวมของเสียอันตราย 83 แห่งทั่วประเทศ เพื่อง่ายต่อการบริหารจัดการ ถูกหลักวิชาการ และการรณรงค์เพื่อลดปริมาณการเกิดขยะมูลฝอย ในภาพรวมของประเทศ เฉลี่ยให้ลดลง ร้อยละ 5 หรือไม่เกิน 23 ล้านตันต่อปี เป็นต้น เหล่านี้ต้องร่วมมือกันให้มาก
วันพรุ่งนี้ 22 เมษายน เป็นวัน“คุ้มครองโลก”ซึ่งเป็นวันสําคัญทางสิ่งแวดล้อมเพื่อเตือนใจให้“ชาวโลก”ทุกคนมีจิตสํานึกช่วยกันปกป้องดูแลโลกของเรา ให้รอดพ้นจากภัยพิบัติและหายนะต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นด้วยน้ํามือของมนุษย์เอง จะด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ผมถือโอกาสนี้ เชิญชวนประชาชน“ชาวไทย”ทุกท่าน ได้ร่วมกันลด “ก๊าซเรือนกระจก”อย่างจริงจัง บางคนอาจคิดว่าก๊าซเรือนกระจกเป็นเรื่องไกลตัวไม่เห็นจะเกี่ยวข้องกับท่านเลย หรือเข้าใจผิดว่าท่านไม่ได้เป็นคนปล่อยก๊าซเรือนกระจก แล้วกลับเห็นว่าการลดก๊าซเรือนกระจกนั้นเป็นเรื่องของภาครัฐ ที่ต้องหาทางควบคุมโรงงาน กิจกรรมที่ปล่อยก๊าซนี้ออกมาในปริมาณมาก ๆ ให้เหลือในปริมาณที่เหมาะสม
ผมอยากเรียนทําความเข้าใจกับท่านเหล่านั้น ขอความร่วมมือจากทุกคน ในอนาคตต่อไปสิ่งที่เราควรรู้คือ เราทุกคนนั้นต่างปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาสู่ชั้นบรรยากาศไม่มากก็น้อย ในชีวิตประจําวัน ไม่ว่าจะขับรถ เปิดน้ํา เปิดไฟ ต่างเป็นกิจกรรมที่นําไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งสิ้น ไม่ทางตรง หรือทางอ้อม ยิ่งการผลิตไฟฟ้า การผลิตสิ่งของต่าง ๆ ในโรงงาน การขนส่งที่ใช้พลังงานมากก็จะยิ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมามากและสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศมากตามไปด้วย ก็จะส่งผลให้เกิดภัยต่าง ๆ ตามมาภายหลัง เช่น น้ําท่วม ภัยแล้ง พายุ หรืออากาศร้อนจัด หนาวจัด เหมือนที่เราสัมผัสได้ในทุกวันนี้
ประการต่อไป คือคนไทยส่วนมากอาจจะไม่รู้ว่า องค์กรสิ่งแวดล้อมในเยอรมนี ได้จัดอันดับให้ประเทศของเรา เป็น“1 ใน 10”ของประเทศที่จะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนมากที่สุดในโลก ดังนั้นถ้าเราไม่ทําอะไรเลย ไม่ป้องกัน ไม่ร่วมมือ ไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเราบ้าง อนาคตอีกไม่เกิน 20 ปีข้างหน้า เราอาจจะต้องเผชิญกับปัญหาภัยพิบัติที่มากขึ้น บ่อยขึ้น และรุนแรงขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา
ประการต่อไปประเทศไทย ปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันดับที่ 21 ของโลก แม้เรานั้นจะไม่ได้เป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่ของ
โลก แต่ก็มีแนวโน้มที่จะปล่อยก๊าซ“เพิ่มมากขึ้น”ในอนาคต รัฐบาลเล็งเห็นความสําคัญ แล้วได้เริ่มลงมือลดก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจัง และนับตั้งแต่ผมได้ไปแสดงเจตจํานงไว้ที่กรุงปารีส ในปี 2558 ว่า ไทยนั้นจะมีส่วนร่วมลดก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 20–25 ภายในปี 2573 ซึ่งจะช่วยในการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส เพื่อไม่ให้เกิดภัยพิบัติในอนาคตแก่โลกใบนี้
อันที่จริงแล้วเรื่อง“ก๊าซเรือนกระจก”นี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีสายพระเนตรยาวไกล ทั้งยังมีพระราชดําริในเรื่อง“โลกร้อน”มาตั้งแต่ปี 2532 ที่เป็นสาเหตุให้อุณหภูมิโลกร้อนขึ้นและสิ่งแวดล้อมแปรปรวน ส่งผลกระทบต่อไทยและต่อโลก ทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงได้พระราชทาน“ศาสตร์พระราชา”และโครงการตามแนวทางพระราชดําริ หลาย ๆ เรื่อง ให้รัฐบาลและปวงชนชาวไทย ได้น้อมนําไปสู่การปฏิบัติ เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวแต่เนิ่น ๆ อย่างมีความรับผิดชอบ
ในส่วนของรัฐบาลได้ให้ความสําคัญเร่งด่วนกับภาคส่วนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในปริมาณมากก่อน ได้แก่ ภาคพลังงานและภาคคมนาคมขนส่ง ซึ่งรัฐบาลส่งเสริมให้ผลิตและใช้พลังงานทดแทน ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมการเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงานการลดการขนส่งทางถนน และส่งเสริมให้เกิดการขนส่งระบบทางรางให้มากยิ่งขึ้น ตลอดจนมีการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฮบริด รถพลังงานไฟฟ้า ส่งเสริมให้ใช้ไบโอดีเซล และเอทานอล ในภาคขนส่งเหล่านี้ เป็นต้น
นอกจากนั้น ยังได้เน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการปกป้องธรรมชาติอย่างสมดุล ในขณะเดียวกัน รัฐบาลก็ต้องให้ความสําคัญกับการเพิ่มพื้นที่ป่า ที่เป็นแหล่งดูดซับก๊าซเรือนกระจก ไม่ให้ขึ้นไปสู่ชั้นบรรยากาศ ถ้าประเทศไทย มีพื้นที่ป่าไม้มาก ก็จะช่วยบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อนได้ แต่การลดก๊าซเรือนกระจกเฉพาะเพียงภาครัฐ คงทําอะไรไม่ได้มากนัก ก็ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ในลักษณะของ“ประชารัฐ”ไปด้วย
สําหรับภาคประชาชน ชุมชนนั้น ผมขอยกย่อง หมู่บ้านป่าเด็ง ตําบลป่าเด็ง อําเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เป็นตัวอย่างในการลดก๊าซเรือนกระจก โดยยึด“หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”มาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา ซึ่งเดิมทีนั้น หมู่บ้านแห่งนี้ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง จึงต้องใช้เครื่องปั่นไฟ สิ้นเปลืองน้ํามันมาก และต้องตัดไม้มาทําฟืนหุงหาอาหาร ต่อมาสมาชิกหมู่บ้านได้รวมตัวกันเพื่อหาแนวทาง แก้ไขปัญหาร่วมกันโดยตั้ง“เครือข่ายรวมใจตามรอยพ่อ”จากการระดมสมอง โดยเห็นว่าในหมู่บ้าน มีการเลี้ยงวัวนมตามโครงการพระราชดําริ ทําให้มีมูลวัวมากมาย อีกทั้ง ชาวบ้านส่วนใหญ่ทําอาชีพเกษตรกรรม มีขยะอินทรีย์เป็นจํานวนมาก จึงได้ใช้มูลวัวและขยะอินทรีย์มาทํา“ก๊าซชีวภาพ”เพื่อหุงต้มและผลิตไฟฟ้าบางส่วน
นอกจากนี้ ชาวบ้านยังนําพลังงานแสงอาทิตย์ มาใช้ผลิตไฟฟ้า จากแผงโซลาร์เซลล์เก่า เก็บมาซ่อมเพื่อใช้ใหม่ ทําให้ทุกวันนี้ชาวบ้านป่าเด็ง มีไฟฟ้าใช้ โดยที่ไม่ต้องจ่ายค่าไฟแม้แต่บาทเดียว และประหยัดรายจ่ายจากค่าก๊าซหุงต้มอีกด้วย ปัจจุบัน“เครือข่ายรวมใจตามรอยพ่อ”ของชาวบ้านป่าเด็งนี้ ได้ยกระดับไปสู่“สถาบันเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและพลังงานทางเลือก”ทําหน้าที่เป็นผู้แบ่งปันองค์ความรู้ไปสู่ชุมชนอื่น เป็นหลักปฏิบัติซึ่งก็คงไม่ใช่เป็นเพียงหลักการ หรือหลักวิชาการในตํารา นี่คือชุมชนตัวอย่างที่ไม่ต้องพึ่งงบประมาณจากรัฐ มีความยั่งยืน มีความสุข จากการน้อมนํา“ศาสตร์พระราชา”ไปสู่การปฏิบัติ ได้อย่างเป็นรูปธรรม
พี่น้องชาวไทยที่เคารพรักทุกท่าน ปัญหาเรื่องการต่อสู้ปัญหาภาวะโลกร้อนและการลดก๊าซเรือนกระจกนั้น ไม่ใช่เป็นเพียงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ถือเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านพลังงาน การคมนาคมขนส่ง อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การจัดการขยะของเสียตลอดจนการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทย ดังนั้น เรื่องนี้จึงถือเป็นเรื่อง“1 ใน 27”วาระการปฏิรูปประเทศ แล้วก็เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่รัฐบาลให้ความสําคัญจะต้องนําไปสู่ความ สําเร็จให้จงได้ ทั้งนี้ สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา มีส่วนสําคัญอย่างมาก ในการสร้างแนวทางการปฏิบัติที่ดีและปลูกจิตสํานึกในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้ง ชุมชน เทศบาล หรือหมู่บ้าน ก็ต้องเข้ามามีบทบาทสําคัญในเรื่องเหล่านี้เช่นกัน คือคงไม่ต้องรอให้ใครมาบอก มาสั่ง ก็ต้องริเริ่มแล้วก็เป็นแบบอย่างที่ดี ให้กับลูกหลาน ขยายกันออกไปให้กว้างขวาง ร่วมมือร่วมใจกันทําอย่างจริงจัง ก็จะช่วยให้เราสามารถแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและลดภาวะโลกร้อน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
พี่น้องประชาชนครับ
แม้ว่าการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติให้มีความยั่งยืนตามกระแสสากลนั้นจะมีความสําคัญอย่างมาก แต่ก็ไม่ควรทําให้เราหวาดกลัวจนเกินเหตุ จนไม่กล้าไม่ยอมรับโครงการพัฒนาใด ๆ ผมเห็นว่าเรายังคงสามารถรักษาสมดุล สําหรับการวางรากฐานอนาคตของประเทศ ด้านเศรษฐกิจและสังคม ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ได้ เพื่อให้ประเทศชาติ และประชาชนมีความมั่นคงทางรายได้ เศรษฐกิจขนาดใหญ่ กลาง และฐานรากจะต้องเจริญ เติบโตไปด้วยกัน ลดความเหลื่อมล้ํา และสามารถยืนเคียงบ่าเคียงไหล่กับประเทศในภูมิภาคหรือในโลกได้ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
ผมขอให้ลองนึกถึงเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปไม่หยุดยั้ง จนเข้ามาเปลี่ยนวิถีการดําเนินชีวิตของเราทุกคนการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุที่จะส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งประเทศ และปัญหาทางการเมืองหลาย ๆ จุดในโลกที่พร้อมขยายวงกว้าง และส่งผลต่อมิตรประเทศ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ทําให้เราต้องตระหนักว่า เราจะอยู่นิ่ง ๆ เฉย ๆ หรืออยู่กับที่ไม่ได้ เราต้องก้าวตามให้ทัน หรือก้าวไปให้ไกลกว่า เพื่อเตรียมพร้อมต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หรือสิ่งที่คาดไม่ถึง รัฐบาลจึงได้ดําเนินมาตรการต่าง ๆ พร้อมกันในหลายด้าน เพื่อจะวางรากฐานให้กับอนาคตของประเทศตั้งแต่วันนี้ ให้มีความเข้มแข็ง โดยเฉพาะมีความแข็งแกร่ง ตั้งแต่ระดับฐานราก โดยยึดมั่นแนวทาง“หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”เป็นยุทธศาสตร์พื้นฐานของทุก ๆ ยุทธศาสตร์ของรัฐบาล
ในวันนี้ ผมขอยกตัวอย่างในเรื่องที่ถือเป็นการมองอนาคต เพื่อปลูกฝังรากฐานสําคัญ ซึ่งก็คือเรื่อง“คน” เพื่อเตรียมการรองรับกับความท้าทายที่จะเกิดขึ้น เราทุกคน ต้องปรับตัวก่อน และต้องสร้างลูกหลานของเราให้พร้อม โดยรัฐบาลก็พร้อมที่จะสนับสนุน ล่าสุดคณะรัฐมนตรี ได้มีมติอนุมัติโครงการสร้าง“ศูนย์นวัตกรรมแห่งอนาคต”หรือเรียกว่าFuturiumขึ้น ที่อําเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เพื่อให้เป็นศูนย์การเรียนรู้แห่งใหม่ของเยาวชนและประชาชนทั่วไป โดยจะกระตุ้นให้เกิดการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา ซึ่งจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ และนวัตกรรมที่ทันสมัยเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ และโลกใบนี้ได้ เช่น นวัตกรรมการขนส่ง นวัตกรรมหุ่นยนต์ นวัตกรรมพลังงานทางเลือก และนาโนเทคโนโลยี เป็นต้น
นอกจากนี้ จะมีการจัดระบบงานวิจัย ให้เชื่อมโยงกับภาคเอกชน เพื่อสร้างบรรยากาศในการพัฒนาบุคลากรวิชาชีพสายวิทยาศาสตร์ ให้ตรงกับความต้องการของภาคเอกชนด้วย ขณะที่เยาวชนเอง ก็จะสามารถเรียนรู้และเข้าใจถึงสิ่งที่ตนถนัด หรือชื่นชอบ และเลือกที่จะพัฒนาตนเองเข้าสู่สายอุดมศึกษาหรือสายอาชีพต่าง ๆ ต่อไป ได้อย่างเหมาะสม ส่วนภาคเอกชนนั้นก็จะได้บุคลากรที่มีคุณภาพเข้าไปช่วยงานและสร้างผลิตภาพ ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นด้วยนะครับ
โครงการนี้ คาดว่าแล้วเสร็จภายในปี 2564 และมีระยะเวลาโครงการ 31 ปี โดยจะมีการพัฒนา Futuriumไปสู่การเป็น“พิพิธภัณฑ์มีชีวิต”มีเนื้อหาสาระของนิทรรศการที่สามารถปรับปรุงให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม รวมทั้งสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและภาคเอกชน เพื่อให้ Futuriumนั้น เป็นสถานที่แห่งการเรียนรู้ที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น การสร้างและบริหารจัดการFuturiumนี้ จะเป็นการร่วมมือกัน ระหว่างภาครัฐโดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ และภาคเอกชน ขณะนี้มีหลายธุรกิจเอกชน สนใจที่จะร่วมลงทุนกับภาครัฐ เพื่อร่วมสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชน นักเรียน นักศึกษา มุ่งสู่อาชีพสมัยใหม่ ซึ่งจะเป็นการเตรียมกําลังคนของประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และนําพาประเทศก้าวพ้นกับดัก“ประเทศรายได้ปานกลาง”ไปสู่“ประเทศพัฒนาแล้ว”ที่ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและรายได้ที่สูงขึ้นในเร็ววันนี้
ทั้งนี้ โครงการFuturiumนอกจากจะตอบโจทย์ในเรื่องของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีด้านการพัฒนาศักยภาพบุคคลากรของประเทศแล้ว ยังจะเป็นโครงการที่สอดรับกับการขับเคลื่อนระบบ“สะเต็มศึกษา”หรือSTEM Educationของประเทศอีกด้วย ซึ่งระบบนี้เป็นแนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน 4 วิชา จากคําว่าSTEMวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ เข้าด้วยกัน รูปแบบของFuturiumนั้น จะช่วยการสอนให้นักเรียนเข้าใจวิชาเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น เพราะได้ลงมือปฏิบัติเอง และเห็นภาพจนสามารถนําความรู้ที่ได้รับนั้นไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงได้ หรือสามารถนําไปพัฒนากระบวนการหรือสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดําเนินชีวิต และการทํางานได้ ก็นับได้ว่าจะเป็นทักษะในการดําเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21 นี้ ได้เลย สําหรับประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ ก็มีนโยบายให้นําSTEM Educationมาใช้ แล้วพบว่านักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ มีการพัฒนาชิ้นงานได้ดี หากยิ่งเริ่มเร็วเท่าใด ก็ยิ่งจะเพิ่มความสามารถและศักยภาพของนักเรียนได้มากขึ้น เป็นเงาตามตัว
สําหรับประเทศไทย ได้เริ่มมีการนํา“สะเต็มศึกษา”มาใช้ตั้งแต่ปี 2559 โดยเป็นการร่วมมือกันของกระทรวงศึกษาธิการ กับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เป็นนโยบายเชิงรุก ในการนําสะเต็มศึกษาเข้าบรรจุไว้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ รวมถึงกิจกรรมนอกชั้นเรียน ปัจจุบันครอบคลุมไปในทุกพื้นที่เขตการศึกษาแล้วอีกทั้งยังมีการจัดตั้ง“ศูนย์สะเต็มศึกษา”และเครือข่ายในการพัฒนาหลักสูตร รวมถึง“ครูพี่เลี้ยง”ที่จะช่วยพัฒนาครูผู้สอน ที่กระจายไปทั่วประเทศอีกด้วย ผมขอชื่นชมและเป็นกําลังใจให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกคน และขอให้ช่วยกันผลักดันให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ในวงกว้างขึ้นให้ได้มากที่สุด เพื่อจะช่วยกันพัฒนาลูกหลานของเราให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ และเป็นกําลังสําคัญของชาติ เป็นอนาคตของชาติต่อไป
ในการนี้ รัฐบาลยังให้การสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานหลักที่จะเป็นรากฐานการพัฒนาสู่อนาคต โดยเมื่อวานนี้ ได้มีการประชุมคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้มีการรายงานความก้าวหน้าของโครงการเน็ตประชารัฐ ที่จะติดตั้งอินเตอร์เน็ตให้กับพี่น้องประชาชน ครอบคลุมพื้นที่ 74,965 หมู่บ้านทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสําคัญของการขับเคลื่อนไปสู่ Thailand 4.0 ด้วย และในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้มีการเปิดใช้งานเน็ตประชารัฐ 99 หมู่บ้าน เพื่อเป็นการนําร่องทั่วประเทศไปแล้ว และมีเป้าหมายจะติดตั้งให้ได้ทั้งหมด 24,700 หมู่บ้านให้ได้ภายในสิ้นปี 2560 เพื่อเป็นช่องทางให้พี่น้องประชาชนได้รับรู้ข่าวสารเข้าถึงข้อมูลที่จําเป็นในการดํารงชีวิต และสามารถยกระดับความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตได้อีกทางหนึ่งด้วย
นอกจากนั้น ยังมีโครงการดิจิทัลชุมชน ที่จะเปิดโอกาสให้พี่น้องประชาชน ได้เพิ่มรายได้ ผ่านการพัฒนานําระบบดิจิทัลเทคโนโลยีมาใช้ในระดับหมู่บ้านเพื่อให้เกิดการสร้างรายได้ผ่านธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่าe-Commerceโดยให้ความสําคัญกับการดําเนินการผ่านกลไกประชารัฐ และมีการวางระบบขนส่งผ่านไปรษณีย์ไทย ที่มีเครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศอยู่แล้วซึ่งก็จะเพิ่มความสามารถให้กับผู้ซื้อและผู้ขายในเรื่องของการโอนเงินขนส่งสินค้าและการรับประกันการซื้อขาย เพื่อให้มั่นใจว่าได้รับสินค้าตรงตามที่ต้องการ และช่วยป้องกันการฉ้อโกงที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ ภาครัฐจะเร่งบูรณาการการทํางานให้มีการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าและบริการ เพื่อให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายมีความมั่นใจ และเข้ามาใช้ประโยชน์ในโครงการให้ได้มากขึ้นต่อไปด้วย
อีกด้านหนึ่งของการพัฒนาสาธารณูปโภคด้านดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างรากฐานสู่อนาคตก็ได้มีการหารือในการประชุมครั้งนี้ คือการจัดตั้งเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล หรือDigital Park Thailandที่อําเภอศรีราชาซึ่งจะเชื่อมโยงกับพื้นที่EECและสนับสนุนกิจกรรม
ต่าง ๆ ในEECได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยDigital Parkนี้ จะเป็นพื้นที่ของการสร้างนวัตกรรมของประเทศ โดยจะมีการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในการจัดตั้งสถาบันพิเศษด้านดิจิทัล เพื่อสร้างผู้เชี่ยวชาญให้ตรงกับความต้องการ และยกระดับอุตสาหกรรมในพื้นที่
รวมทั้งจะมีการขยายศูนย์ข้อมูลเพื่อรองรับการเป็นdata hubของอาเซียน ซึ่งโครงการนี้ ได้รับการสนับสนุนพื้นที่ส่วนหนึ่งและสาธารณูปโภคด้านเครือข่ายจากCATและจะช่วยดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสทางธุรกิจให้กับstartupของไทยในการสร้างรายได้ด้วย ผมขอชื่นชมและสนับสนุนการทํางานแบบบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจะพยายามเร่งรัดให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เนื่องจากโครงการเหล่านี้ จะเป็นส่วนสําคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะต่อไปด้วย
ตัวอย่างหนึ่งของการพัฒนาเพื่อมุ่งสู่อนาคตในด้าน“การผลิต”ประเทศไทยกําลังจะมี“ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่”ภายใต้โครงการศูนย์การเรียนรู้และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ที่จะเปิดตัวในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ซึ่งจะเน้นการสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชน ทั้งด้านเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน สถานีประจุไฟฟ้าต้นแบบ รวมถึงการเก็บฐานข้อมูลผู้ประกอบการและการประชาสัมพันธ์
ทั้งนี้ เพื่อที่จะรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ เนื่องจากเราเล็งเห็นความสําคัญของอุตสาหกรรมรถยนต์ ที่ทํารายได้ให้กับประเทศมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2560 นี้ คาดว่าไทยจะมียอดการผลิตรถยนต์ประมาณ 2 ล้านคัน ซึ่งเป็นการจําหน่ายในประเทศ 8 แสนคัน ส่งออกถึง 1.2 ล้านคัน ที่ผ่านมา รัฐบาลสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศ ผ่านการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิต เช่น รถอีโคคาร์ รถที่ปล่อยCO2 น้อยและมีอุปกรณ์สําหรับความปลอดภัยสูงจะมีภาระภาษีลดลง ขณะที่มาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศภายใต้BOIจะช่วยให้ไทยมุ่งไปสู่การผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ที่ต้องใช้เวลาในการพัฒนาพอสมควร จึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จะต้องเริ่มศึกษาและพัฒนากันตั้งแต่วันนี้ เพื่อรักษาขีดความสามารถในการเป็น“ผู้นําการผลิตรถยนต์”ของไทยในภูมิภาคไว้ด้วย
ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นการวางรากฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่ออนาคต ในภาพรวมของประเทศ รัฐบาล โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ได้จัดทํา“แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0”ระยะ 20 ปี ขึ้น ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 12 ซึ่งมีแผนการดําเนินการหลัก ๆ ได้แก่
1. การยกระดับประเทศไทยสู่ประเทศรายได้สูงโดยการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม เป้าหมายที่เป็น อุตสาหกรรม อนาคตหรือS-curveทั้งการต่อยอด 5 อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นทั้งการผลักดันให้เกิดการลงทุนใน 5 อุตสาหกรรมใหม่ เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ตั้งจุดมุ่งหมายให้ประเทศไทยกลายเป็น“ศูนย์กลางการผลิต”ในอาเซียน และเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกอาหารที่มีมูลค่าสูงสุดของโลก รวมทั้งเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ที่ผมเพิ่งกล่าวถึงไปแล้ว ปัจจุบันรัฐบาลอยู่ระหว่างการเตรียมพื้นที่รองรับการลงทุนใหม่ในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) รวมกว่า 180,000 ไร่ ซึ่งเราคาดหวังว่าจะทําให้เกิดการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายไม่น้อยกว่า 1.5 ล้านล้านบาท ภายใน 5 ปี ต้องไม่ได้รับผลกระทบต่อชุมชนด้วยนะครับ ต่อประชาชน
2. การลดความเหลื่อมล้ําทางด้านเศรษฐกิจ ด้วยการพัฒนาSMEsที่มี Ideaให้เป็นผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์ ที่มีนวัตกรรม และสามารถนําต้นแบบงานวิจัยไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ รวมทั้งส่งเสริมให้ใช้digital เพื่อให้ธุรกิจปรับเข้าสู่“SMEsยุค 4.0”สําหรับเศรษฐกิจฐานราก จะมีการสนับสนุนด้านเงินทุนจากกองทุนพัฒนา SMEs ตามแนวประชารัฐ รวมทั้งมีการพัฒนาหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เพื่อจะเชื่อมโยงการผลิตจากท้องถิ่นมาสู่มือของผู้บริโภค และนักท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มรายได้ อีกด้วย
3. การสร้างความสมดุลในการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งต้องให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม โดยระดับสถานประกอบการ ก็ต้องได้การรับรองเครื่องหมาย“อุตสาหกรรมสีเขียว”ส่วนระดับเมือง ก็มีโครงการเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ซึ่งปัจจุบัน
มีโครงการนําร่องใน 15 จังหวัด และนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 59 แห่งทั่วประเทศ
นอกจากนี้ เพื่อให้สอดรับกับการดําเนินงานตามแผนทั้ง 3 ข้อ กระทรวงอุตสาหกรรม ก็มีแผนจะปรับบทบาทและโครงสร้างของกระทรวงฯ และสถาบันเครือข่ายทั้ง 11 แห่ง ให้เน้นบทบาทของการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อขับเคลื่อน S-CurveและSMEsตามแนวทางแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี สําหรับช่วยสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม ให้มีความเข้มแข็งจากภายใน สามารถขยายตัวสอดคล้องกับพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก ในการผลักดันประเทศให้ก้าวเดินสู่“ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”ด้วย
พี่น้องประชาชนครับ เพื่อจะช่วยกันผลักดันแผนการดําเนินงานของกระทรวงอุตสาหกรรมข้างต้น ผมขอประชาสัมพันธ์ว่า ระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึง 31 กรกฎาคม ศกนี้ จะมีการสํารวจสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตทั่วประเทศ โดยจะมีการลงพื้นที่ทั่วประเทศเพื่อสัมภาษณ์ผู้ประกอบการเพื่อเก็บข้อมูล รวบรวม เช่น ประเภทอุตสาหกรรม ชนิดของผลิตภัณฑ์ จํานวนคนทํางาน ค่าตอบแทนแรงงาน เป็นต้น โดยฐานข้อมูลที่ได้นั้น จะนําไปใช้ในการวางแผนและเป็นใช้เป็นการกําหนดนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจด้านอุตสาหกรรมการผลิต ในการที่จะเสริมสร้างศักยภาพของภาคอุตสาหกรรม รวมถึงจัดทําดัชนีชี้วัดภาวะเศรษฐกิจและการดําเนินกิจการ เช่น ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และจัดทําแผนวิเคราะห์สถานการณ์ในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ด้วย ผมจึงอยากขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการในการให้ข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง ทั้งนี้ ขอรับรองว่าข้อมูลจากการสัมภาษณ์ดังกล่าวจะไม่มีการรั่วไหล ไม่มีการเกี่ยวพันกับข้อกฎหมาย และไม่โยงใยไปถึงเรื่องภาษีและอื่น ๆ แน่นอน
นอกจากนั้น วันนี้ผมมีข่าวดี ๆเป็นที่น่ายินดีว่า ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยของผู้บริโภคในเดือน มีนาคมที่ผ่านมา ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง เป็นเดือนที่ 4 และถือว่าอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี อีกทั้งราคาสินค้าเกษตร เช่น ยางพารา ปาล์มน้ํามัน อ้อย ก็ปรับตัวดีขึ้นนะครับ ซึ่งก็จะช่วยให้กําลังซื้อของผู้บริโภคที่เป็นเกษตรกรมีมากขึ้น นอกจากนี้ การส่งออกมีแนวโน้มดีขึ้นเช่นกัน ทั้งหมดนี้ก็จะช่วยสนับสนุนให้คนไทยสามารถจับจ่ายใช้สอยและเดินทางท่องเที่ยวได้มากขึ้นด้วย เมื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ดีขึ้นต่อเนื่องเช่นนี้ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เศรษฐกิจไทยจะเจริญเติบโตได้ดี มีความเข้มแข็ง และส่งผลดีต่อรายได้ของพี่น้องประชาชนในทุกกลุ่ม ทุกอาชีพด้วย รัฐบาลจะติดตามพัฒนาการทางเศรษฐกิจและการเงินอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การเติบโตนี้ มีต่อไปได้อย่างยั่งยืน
มีอีกข่าวที่เป็นข่าวดี คือการจัดอันดับประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก ประจําปี 2017 ของเครือข่ายการแก้ปัญหาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UNSDSN)ที่จัดให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความสุขที่สุดอันดับ 2 ของอาเซียนและอันดับ 3 ของทวีปเอเชีย โดยการจัดอันดับจะวัดจาก ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP)อายุขัยเฉลี่ยของประชากรเสรีภาพในการเลือกใช้ชีวิตและทํางานความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในสังคมความโปร่งใส ฯลฯ ในปีนี้ประเทศของเราขยับดีขึ้น1 อันดับและดีกว่าประเทศอื่น ๆ ของโลกอย่างเห็นได้ชัดสอดคล้องกับก่อนหน้านี้ที่ไทยเรา เป็นแชมป์ประเทศที่มี“ความทุกข์ยากน้อยที่สุดในโลก”ด้วย
พี่น้องประชาชนครับ เราไม่จําเป็นต้องพอใจในตําแหน่งนี้ เพราะผมรู้ว่าเรายังสามารถร่วมแรงร่วมใจร่วมพลังความสามัคคี พลัง“ประชารัฐ”ทําให้ประเทศมีคะแนน หรือมีอันดับที่สูงกว่านี้ได้ เพียงแค่เราต้องปรองดองกัน เพื่อไปสู่ความสุข ความยั่งยืนของคนไทยทุกคน เราจะต้องรับฟังความเห็นต่างที่สร้างสรรค์ โดยพยายามเข้าอกเข้าใจกัน และร่วมกันแก้ไขปัญหา เข้าใจอุปสรรค ขวากหนาม ที่มีอยู่ ตั้งแต่ในอดีต และเราต้องไม่สร้างกําแพงขึ้นมาใหม่ เราต้องช่วยกันคนละไม้ละมือ ช่วยกันทําสังคมของเราให้น่าอยู่ โดยเริ่มจากตัวเราเองก่อน สังคมใกล้เราก่อน ทําหน้าที่ของตัวเองให้ดี เป็นพลเมืองดี แล้วหันไปมองผู้อื่นด้วยใจที่เป็นธรรม จดจําแต่ความดีของเขา และมองข้ามความผิดพลาดถึงเขาจะต้องแก้ไข ถ้าเราทุก ๆ คนทําได้เช่นนี้แล้ว ใครก็จะจัดให้เราอยู่อันดับไหน ก็คงไม่มีความสําคัญแล้ว เพราะเรามีความสุขกันแล้ว
ผมไม่อาจจะกล่าวอ้างได้ว่าผม ในนามของนายกรัฐมนตรี หัวหน้า คสช. หรือ รัฐบาล ใน คสช. จะทําอะไรได้ดีกว่าใคร ได้ดีกว่ารัฐบาลไหนก็แล้วแต่ เป็นเรื่องที่ประชาชน ประเทศชาติในปัจจุบัน อนาคตจะเป็นผู้สรุปและประเมินผล แต่ผมก็อยากจะกล่าวได้ว่าผมได้ทําอะไรไปบ้าง ที่อาจจะไม่ได้ทํามาหลายอย่าง เช่น
1. การสร้างพื้นฐานอนาคตที่ยั่งยืน ไม่ใช่ประเดี๋ยวประด่าว
2. บังคับใช้กฎหมายที่จําเป็น ก็ทราบอยู่แล้ว อันไหนจําเป็นก็ต้องใช้
3. นําเรื่องสําคัญเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เพื่อไม่ให้เกิดความบิดเบือน เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของเรา ก็สุดแล้วแต่ศาลหรือกระบวนการยุติธรรมท่าน
4. การปรับปรุงกฎหมายจํานวนหลายฉบับ ทั้งกฎหมายประชาชน กฎหมายการค้าการลงทุน กฎหมายในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชน ผู้ยากไร้ ยากจน กองทุนยุติธรรม
5. การจัดทําแผนแม่บทในการบริหารจัดการที่ดิน หาที่ทํากิน ขจัดการบุกรุกป่า การบริหารจัดการน้ําทั้งระบบ ซึ่งมีผลทยอยดีขึ้นมาตามลําดับ วันนี้อาจจะลดปัญหาของการขาดแคลนหรือภัยแล้งลงไปได้บ้าง อาจยังไม่ทั่วถึง เพราะต้องใช้เวลางบประมาณจํานวนมากในการทําให้เต็มทั้งระบบ
6. การแก้ปัญหาบุกรุกทําลายป่าเราต้องแก้ไขอย่างยั่งยืน ให้เป็นระบบ เราทุกคนต้องช่วยกัน ไม่ใช่แค่เจ้าหน้าที่หรือรัฐเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ประชาชนทุกคนจะต้องช่วยกันดูแล
7. การแก้ปัญหาการเกษตรทั้งระบบ พืชเศรษฐกิจทุกชนิด เราต้องนํามาสู่การแก้ปัญหาทั้งสิ้น ทั้งในประเทศทั้งต่างประเทศ กลไกต่าง ๆ มากมายเปลี่ยนแปลงทั้งหมด มีการปรับรูปแบบการทําการเกษตรที่เขาทําแล้วได้ผลดีมีรายได้สูงขึ้นเป็นจํานวนมาก เราต้องสร้างการเรียนรู้ สร้างความเข้มแข็งด้วยตัวเอง นอกจากการที่รัฐบาลจะต้องใช้งบประมาณในการจ่ายขาดแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งไม่ยั่งยืน วันนี้เรามีทั้งจ่ายขาดก็มี เงินกู้ยืมก็มี เงินสร้างความเข้มแข็งก็มี มีอีกหลายอย่าง ให้อย่างเดียวก็ใช้ได้ ก็ใช้หมดไปก็ไม่เกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น ก็ต้องผสมผสานกันไป ก็เลยอาจจะมากบ้าง น้อยบ้าง ก็ต้องไปดูกัน
8. เรื่องเตรียมการรองรับการสาธารณสุข สังคมสูงวัย อันนี้จําเป็นมากเลย เพราะเราใช้ในเรื่องของการศึกษา เรื่องสาธารณะสุขเป็นจํานวนมาก เราต้องปฏิรูปทั้งระบบ เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์มากยิ่งขึ้น และเราต้องระมัดระวังเรื่องของปัญหาด้านงบประมาณ เราถึงบอกว่าเราต้องหารายได้เพิ่มให้กับประเทศเพิ่มขึ้นยังไง โดยเฉพาะเรื่องของการ รัฐสวัสดิการทั้งหมด
9. การแก้ปัญหาการขนส่งมวลชน ที่ผ่านมาอาจจะยังไม่เป็นระบบ อาจจะไม่สมบูรณ์ ทําให้เกิดปัญหาการจราจรมากมาย วันนี้ก็เริ่มแก้มา เริ่มแกะออกมา เริ่มแก้มา เริ่มต่อระยะออกมา อะไรมา ก็แก้ปัญหาได้พอสมควร แต่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องใช้เวลาหลาย ๆ ปี ที่ผ่านมาอาจจะช้าไปนิดนึงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ถนน รถไฟฟ้า รถไฟ ท่าอากาศยาน ท่าเรือ และอื่น ๆ ก็อยู่ในแผนงานโครงการทั้งสิ้น ก็ทําระยะที่ 1 ไปก่อน เพื่อเดินหน้าไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต
10. การดําเนินการจัดทําพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ เพื่อเป็นแหล่งที่มีรายได้สูง มีศักยภาพในการแข่งขัน มีการส่งเสริมเทคโนโลยี อาทิเช่น เรื่องของระบบEECเรื่องของอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ เขตเศรษฐกิจพิเศษ
11. การปฏิรูปการศึกษาผมกล่าวไปหลายครั้งแล้วนะครับว่ามันมีปัญหาทับซ้อนอยู่มากมาย หลายอย่างอาจจะยังไม่เห็นผลการประเมินที่ชัดเจน อาจจะยังมีผลมาถึงประชาชนได้ไม่มากนัก แต่มันก็เป็นปัญหามายาวนานและก็เป็นระยะแรกของการแก้ปัญหาของเรา ก็มีแนวโน้มให้สิ่งที่ดีขึ้น ทุกคนก็ตั้งใจทําเต็มที่ กระทรวงการศึกษาก็พยายามปรับแก้ปรับระบบของตัวเองมากมาย
12. การบูรณาการภาครัฐ ประชาชน เอกชน ประชาสังคม ในการบริหารราชการแผ่นดิน แบบประชารัฐ ประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีการรับฟังความคิดเห็นจากศูนย์ดํารงธรรม สื่อมวลชน สื่อโซเชียลอันที่เป็นประโยชน์มากมาย ผมได้นํามาสู่กระบวนการแก้ปัญหาระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว มาตลอด
13. การบริหารราชการแผ่นดินในเชิงยุทธศาสตร์ ก็ได้ให้มีการทํายุทธศาสตร์ชาติ คราวนี้ก็ได้อยู่ในการพิจารณาของ สนช. เพื่อให้ทุกรัฐบาลได้มีกรอบการทํางานที่ชัดเจนขึ้นในอนาคตก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม ตามห้วงเวลา ตามการเปลี่ยนแปลงของโลกหรือสถานการณ์ปัจจัยภายในภายนอก
14. หลายอย่างมีการพัฒนาตามลําดับหลาย ๆ เรื่อง ก็อาจจะเป็นร้อยเพราะมีรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย แต่กล่าวถึงไม่หมดในวันนี้
ผมยกแต่เพียงตัวอย่าง อื่น ๆโดยสรุปแล้ว สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ได้พัฒนามาตามลําดับ ซึ่งเป็นแค่เพียงตัวอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องระบบ
งบประมาณ การเงินการคลัง เรื่องการขจัดการทุจริตคอร์รัปชั่น
การพิจารณาลําดับของประเทศในเวทีโลก เหล่านี้เป็นความจําเป็นทั้งสิ้น แต่ผมคิดว่าสิ่งที่สําคัญที่สุด คือการสร้างความมั่นคง สร้างความ
มีเสถียรภาพ และต้องขจัดการทําผิดกฎหมาย คอร์รัปชั่น การบังคับใช้กฎหมายหลาย ๆ อย่าง อาจจะเป็นสิ่งจําเป็นมันเป็นพื้นฐานในเวลานี้
ในการที่จะเปลี่ยนแปลง ในการที่จะปฏิรูป ในการที่จะนําพาประเทศชาติไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนในอนาคต
ผมขอให้ประชาชนคนไทย ขอได้โปรดให้ความเชื่อมั่นในการทํางานของผม ของรัฐบาล ของ คสช. ต่อไป เราจะทําให้ดีที่สุด แน่นอนปัญหา
มีมาก การทํางานก็ต้องมีอุปสรรค มีความคิดเห็นต่างมากมาย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหากเราทุกคนมุ่งไปสู่ว่าเราจะทําให้ประทศชาติเราปลอดภัยอย่างไร ประชาชนเรามีความสุขได้อย่างไร เหล่านั้นจะทําให้ทุกอย่างที่เป็นความขัดแย้งกลับไปสู่ความร่วมมือให้ได้มากที่สุด
ขอบคุณครับ ขอให้ทุกคนมีความสุขในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ ขอขอบคุณ สวัสดีครับ | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 21 เมษายน 2560
วันศุกร์ที่ 21 เมษายน 2560
ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 21 เมษายน 2560
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 21 เมษายน 2560 เวลา 20.15 น.
สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน
เทศกาลสงกรานต์ ประจําปี 2560 ก็ผ่านพ้นมาแล้วด้วยดี ในปีนี้นอกจากรัฐบาลจะมุ่งรณรงค์ ภายใต้แนวคิด“สงกรานต์แบบไทย ใช้น้ําอย่างรู้ คุณค่าทุกชีวาปลอดภัย”แล้ว รัฐบาลก็ยังมีนโยบายที่จะยกระดับประเพณีสงกรานต์ของไทยให้เป็นงานระดับโลก (World Event)โดยจัดให้มีขบวนพาเหรดประชาสัมพันธ์งานนี้ไปทั่วโลก และมีการประกวดเทพีสงกรานต์นานาชาติเป็นครั้งแรกของประเทศ เพื่อสืบสานแนวคิดแบบไทย ๆ สู่สากล
ผมเองรู้สึกปลาบปลื้มใจ ที่ได้เห็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ แต่งชุดไทย ทักทายด้วยการไหว้และยิ้มแบบไทย ๆ บนเวทีประกวดเทพีสงกรานต์ในครั้งนี้ด้วย นอกจากนั้น ยังมีการเชิญคณะทูตานุทูตและภริยาจาก 17 ประเทศ เข้าร่วมงานสงกรานต์ที่วัดปทุมวนาราม มีการร่วมจัด“สงกรานต์อาเซียน”ณ จังหวัดที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อจะสานความสัมพันธ์ร่วมกันด้วยมิติทางวัฒนธรรมรวมทั้งการจัดงานสงกรานต์ในต่างประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และออสเตรเลีย เป็นต้น ทั้งนี้ ผมเชื่อว่าการที่นักท่องเที่ยวเดินทางมาร่วมกิจกรรมสงกรานต์นั้นคงไม่ใช่เพียงมาร่วมการละเล่น รดน้ําเพื่อความสนุกสนาน คลายร้อนเท่านั้น แต่สิ่งที่สําคัญกว่านั้น คือ การได้สัมผัส ซึมซับประเพณีอันงดงามของเรา ที่มีเอกลักษณ์แตกต่างกันในรายละเอียด ในแต่ละท้องถิ่น ที่มีประวัติศาสตร์ ความเป็นมายาวนาน ควรค่า
แก่อนุรักษ์การศึกษา และสืบสานให้คงอยู่คู่สังคมไทย ชั่วลูกชั่วหลานต่อไป
สําหรับรัฐบาลแล้ว“ความสําเร็จ”ในการจัดงานเทศกาลสงกรานต์นั้น นอกจากจะเป็นการสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันครอบครัวของไทยแล้ว อีกภารกิจหนึ่งที่มีความสําคัญอย่างมากคือ การอํานวยความสะดวกและการสร้างบรรยากาศความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สําหรับทุกคน รวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสัญจรของพี่น้องประชาชนที่เดินทางกลับภูมิลําเนาและนักท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลวันหยุดยาวนี้
ผมไม่อยากจะกล่าวซ้ําเรื่องสถิติการสูญเสียว่า มากขึ้น หรือน้อยลง เพราะการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ จากความประมาท ที่เราน่าจะสามารถป้องกันได้นั้น มีเพียงรายเดียวผมยอมรับไม่ได้ ทั้งนี้ ผมได้ให้เก็บข้อมูลทางสถิติที่มีรายละเอียด และหลากหลายมิติ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้นําไปทํางานแก้ไขอย่างบูรณาการกัน บนข้อมูลพื้นฐานชุดเดียวกัน สําหรับในการปรับปรุงสภาพถนน พื้นผิวจราจร สัญญาณไฟ ป้ายเตือนทางแยก ทางร่วม ทางโค้ง สะพาน จุดกลับรถ จุดตัดทางรถไฟ และอื่นๆ ให้มีความเหมาะสม ตามหลักวิชาการ และที่สําคัญ แล้วก็เป็นประเด็นสังคมในช่วงที่ผ่านมา คือ การพิจารณากฎหมายทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับการใช้รถใช้ถนนให้ปลอดภัย ทั้งนี้ ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต และความเป็นจริงทางสังคม
ผมเองเข้าใจว่า การจะอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุขนั้น เราต้องอาศัย ทั้ง“กฎหมายจารีตประเพณี”และ“กฎหมายลายลักษณ์อักษร”โดยกฎหมายจารีตประเพณี ก็คือ แนวทางหลักปฏิบัติที่ดี ที่ทําต่อ ๆ กันมาสม่ําเสมอและนมนาน ด้วยรู้สึกว่าถูกต้อง จึงปฏิบัติตามกัน โดยไม่รู้สึกผิด แต่ถ้าเรื่องใดที่กฎหมายจารีตประเพณี ไม่สามารถรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยแล้ว ก็จําเป็นต้องมีกฎหมายลายลักษณ์อักษรเข้ามาบังคับใช้เพิ่มเติม
ดังนั้น ผมเห็นว่าเราน่าจะมาถึงจุดที่ควรจะต้องทบทวนกฎระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ให้มีความสมดุล และเป็นไปได้ ในโลกของความเป็นจริง ที่ต้องเหมาะกับสังคมบ้านเราด้วย มีเวลาในการเปลี่ยนผ่าน เพื่อไปสู่จุดหมายสุดท้ายที่เราต้องการ ก็คือการอยู่ร่วมกันโดยสวัสดิภาพและเมื่อได้ข้อสรุปร่วมกันแล้ว สิ่งที่เราจะต้องร่วมกันทําต่อไป คือเรื่องของ การปลูกจิตสํานึก และการสร้างวินัยจราจร ซึ่งเป็นหลักสําคัญที่สุด ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนอย่างยั่งยืน ให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ได้รับการยอมรับ เชื่อถือจากประชาชนด้วย
พี่น้องประชาชนที่รักครับ
การพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อย่างสมดุลและยั่งยืนนั้น เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาตามแนวทาง “ประเทศไทย 4.0”ที่ผ่านมา การพัฒนาของเรานั้น อาจจะมุ่งเน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นหลัก โดยอาจจะลืม“มิติสิ่งแวดล้อม”ไม่มากเท่าที่ควร จนนําไปสู่การเสียสมดุลในปัจจุบัน วันนี้ ผมได้เห็นพัฒนาการที่ดี ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ที่รัฐบาลไม่ได้มีเพียงมาตรการเข้มงวดด้านการจราจรเท่านั้น แต่ยังกําหนดมาตรการจัดระเบียบสังคมอื่น ๆ ที่ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปด้วยโดยเฉพาะในเรื่องของ“ขยะ”รัฐบาลนี้ ให้ความสําคัญมาโดยตลอด ได้ประกาศให้เป็น“วาระแห่งชาติ”ผลการดําเนินงานที่สําคัญ ได้แก่ การที่เราสามารถกําจัดขยะมูลฝอย ตกค้าง สะสมมานานมากกว่า 20 ล้านตัน จากทั้งหมด 30 ล้านตันการกําหนดพื้นที่รวบรวมของเสียอันตราย 83 แห่งทั่วประเทศ เพื่อง่ายต่อการบริหารจัดการ ถูกหลักวิชาการ และการรณรงค์เพื่อลดปริมาณการเกิดขยะมูลฝอย ในภาพรวมของประเทศ เฉลี่ยให้ลดลง ร้อยละ 5 หรือไม่เกิน 23 ล้านตันต่อปี เป็นต้น เหล่านี้ต้องร่วมมือกันให้มาก
วันพรุ่งนี้ 22 เมษายน เป็นวัน“คุ้มครองโลก”ซึ่งเป็นวันสําคัญทางสิ่งแวดล้อมเพื่อเตือนใจให้“ชาวโลก”ทุกคนมีจิตสํานึกช่วยกันปกป้องดูแลโลกของเรา ให้รอดพ้นจากภัยพิบัติและหายนะต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นด้วยน้ํามือของมนุษย์เอง จะด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ผมถือโอกาสนี้ เชิญชวนประชาชน“ชาวไทย”ทุกท่าน ได้ร่วมกันลด “ก๊าซเรือนกระจก”อย่างจริงจัง บางคนอาจคิดว่าก๊าซเรือนกระจกเป็นเรื่องไกลตัวไม่เห็นจะเกี่ยวข้องกับท่านเลย หรือเข้าใจผิดว่าท่านไม่ได้เป็นคนปล่อยก๊าซเรือนกระจก แล้วกลับเห็นว่าการลดก๊าซเรือนกระจกนั้นเป็นเรื่องของภาครัฐ ที่ต้องหาทางควบคุมโรงงาน กิจกรรมที่ปล่อยก๊าซนี้ออกมาในปริมาณมาก ๆ ให้เหลือในปริมาณที่เหมาะสม
ผมอยากเรียนทําความเข้าใจกับท่านเหล่านั้น ขอความร่วมมือจากทุกคน ในอนาคตต่อไปสิ่งที่เราควรรู้คือ เราทุกคนนั้นต่างปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาสู่ชั้นบรรยากาศไม่มากก็น้อย ในชีวิตประจําวัน ไม่ว่าจะขับรถ เปิดน้ํา เปิดไฟ ต่างเป็นกิจกรรมที่นําไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งสิ้น ไม่ทางตรง หรือทางอ้อม ยิ่งการผลิตไฟฟ้า การผลิตสิ่งของต่าง ๆ ในโรงงาน การขนส่งที่ใช้พลังงานมากก็จะยิ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมามากและสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศมากตามไปด้วย ก็จะส่งผลให้เกิดภัยต่าง ๆ ตามมาภายหลัง เช่น น้ําท่วม ภัยแล้ง พายุ หรืออากาศร้อนจัด หนาวจัด เหมือนที่เราสัมผัสได้ในทุกวันนี้
ประการต่อไป คือคนไทยส่วนมากอาจจะไม่รู้ว่า องค์กรสิ่งแวดล้อมในเยอรมนี ได้จัดอันดับให้ประเทศของเรา เป็น“1 ใน 10”ของประเทศที่จะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนมากที่สุดในโลก ดังนั้นถ้าเราไม่ทําอะไรเลย ไม่ป้องกัน ไม่ร่วมมือ ไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเราบ้าง อนาคตอีกไม่เกิน 20 ปีข้างหน้า เราอาจจะต้องเผชิญกับปัญหาภัยพิบัติที่มากขึ้น บ่อยขึ้น และรุนแรงขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา
ประการต่อไปประเทศไทย ปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันดับที่ 21 ของโลก แม้เรานั้นจะไม่ได้เป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่ของ
โลก แต่ก็มีแนวโน้มที่จะปล่อยก๊าซ“เพิ่มมากขึ้น”ในอนาคต รัฐบาลเล็งเห็นความสําคัญ แล้วได้เริ่มลงมือลดก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจัง และนับตั้งแต่ผมได้ไปแสดงเจตจํานงไว้ที่กรุงปารีส ในปี 2558 ว่า ไทยนั้นจะมีส่วนร่วมลดก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 20–25 ภายในปี 2573 ซึ่งจะช่วยในการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส เพื่อไม่ให้เกิดภัยพิบัติในอนาคตแก่โลกใบนี้
อันที่จริงแล้วเรื่อง“ก๊าซเรือนกระจก”นี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีสายพระเนตรยาวไกล ทั้งยังมีพระราชดําริในเรื่อง“โลกร้อน”มาตั้งแต่ปี 2532 ที่เป็นสาเหตุให้อุณหภูมิโลกร้อนขึ้นและสิ่งแวดล้อมแปรปรวน ส่งผลกระทบต่อไทยและต่อโลก ทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงได้พระราชทาน“ศาสตร์พระราชา”และโครงการตามแนวทางพระราชดําริ หลาย ๆ เรื่อง ให้รัฐบาลและปวงชนชาวไทย ได้น้อมนําไปสู่การปฏิบัติ เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวแต่เนิ่น ๆ อย่างมีความรับผิดชอบ
ในส่วนของรัฐบาลได้ให้ความสําคัญเร่งด่วนกับภาคส่วนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในปริมาณมากก่อน ได้แก่ ภาคพลังงานและภาคคมนาคมขนส่ง ซึ่งรัฐบาลส่งเสริมให้ผลิตและใช้พลังงานทดแทน ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมการเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงานการลดการขนส่งทางถนน และส่งเสริมให้เกิดการขนส่งระบบทางรางให้มากยิ่งขึ้น ตลอดจนมีการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฮบริด รถพลังงานไฟฟ้า ส่งเสริมให้ใช้ไบโอดีเซล และเอทานอล ในภาคขนส่งเหล่านี้ เป็นต้น
นอกจากนั้น ยังได้เน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการปกป้องธรรมชาติอย่างสมดุล ในขณะเดียวกัน รัฐบาลก็ต้องให้ความสําคัญกับการเพิ่มพื้นที่ป่า ที่เป็นแหล่งดูดซับก๊าซเรือนกระจก ไม่ให้ขึ้นไปสู่ชั้นบรรยากาศ ถ้าประเทศไทย มีพื้นที่ป่าไม้มาก ก็จะช่วยบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อนได้ แต่การลดก๊าซเรือนกระจกเฉพาะเพียงภาครัฐ คงทําอะไรไม่ได้มากนัก ก็ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ในลักษณะของ“ประชารัฐ”ไปด้วย
สําหรับภาคประชาชน ชุมชนนั้น ผมขอยกย่อง หมู่บ้านป่าเด็ง ตําบลป่าเด็ง อําเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เป็นตัวอย่างในการลดก๊าซเรือนกระจก โดยยึด“หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”มาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา ซึ่งเดิมทีนั้น หมู่บ้านแห่งนี้ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง จึงต้องใช้เครื่องปั่นไฟ สิ้นเปลืองน้ํามันมาก และต้องตัดไม้มาทําฟืนหุงหาอาหาร ต่อมาสมาชิกหมู่บ้านได้รวมตัวกันเพื่อหาแนวทาง แก้ไขปัญหาร่วมกันโดยตั้ง“เครือข่ายรวมใจตามรอยพ่อ”จากการระดมสมอง โดยเห็นว่าในหมู่บ้าน มีการเลี้ยงวัวนมตามโครงการพระราชดําริ ทําให้มีมูลวัวมากมาย อีกทั้ง ชาวบ้านส่วนใหญ่ทําอาชีพเกษตรกรรม มีขยะอินทรีย์เป็นจํานวนมาก จึงได้ใช้มูลวัวและขยะอินทรีย์มาทํา“ก๊าซชีวภาพ”เพื่อหุงต้มและผลิตไฟฟ้าบางส่วน
นอกจากนี้ ชาวบ้านยังนําพลังงานแสงอาทิตย์ มาใช้ผลิตไฟฟ้า จากแผงโซลาร์เซลล์เก่า เก็บมาซ่อมเพื่อใช้ใหม่ ทําให้ทุกวันนี้ชาวบ้านป่าเด็ง มีไฟฟ้าใช้ โดยที่ไม่ต้องจ่ายค่าไฟแม้แต่บาทเดียว และประหยัดรายจ่ายจากค่าก๊าซหุงต้มอีกด้วย ปัจจุบัน“เครือข่ายรวมใจตามรอยพ่อ”ของชาวบ้านป่าเด็งนี้ ได้ยกระดับไปสู่“สถาบันเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและพลังงานทางเลือก”ทําหน้าที่เป็นผู้แบ่งปันองค์ความรู้ไปสู่ชุมชนอื่น เป็นหลักปฏิบัติซึ่งก็คงไม่ใช่เป็นเพียงหลักการ หรือหลักวิชาการในตํารา นี่คือชุมชนตัวอย่างที่ไม่ต้องพึ่งงบประมาณจากรัฐ มีความยั่งยืน มีความสุข จากการน้อมนํา“ศาสตร์พระราชา”ไปสู่การปฏิบัติ ได้อย่างเป็นรูปธรรม
พี่น้องชาวไทยที่เคารพรักทุกท่าน ปัญหาเรื่องการต่อสู้ปัญหาภาวะโลกร้อนและการลดก๊าซเรือนกระจกนั้น ไม่ใช่เป็นเพียงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ถือเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านพลังงาน การคมนาคมขนส่ง อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การจัดการขยะของเสียตลอดจนการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทย ดังนั้น เรื่องนี้จึงถือเป็นเรื่อง“1 ใน 27”วาระการปฏิรูปประเทศ แล้วก็เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่รัฐบาลให้ความสําคัญจะต้องนําไปสู่ความ สําเร็จให้จงได้ ทั้งนี้ สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา มีส่วนสําคัญอย่างมาก ในการสร้างแนวทางการปฏิบัติที่ดีและปลูกจิตสํานึกในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้ง ชุมชน เทศบาล หรือหมู่บ้าน ก็ต้องเข้ามามีบทบาทสําคัญในเรื่องเหล่านี้เช่นกัน คือคงไม่ต้องรอให้ใครมาบอก มาสั่ง ก็ต้องริเริ่มแล้วก็เป็นแบบอย่างที่ดี ให้กับลูกหลาน ขยายกันออกไปให้กว้างขวาง ร่วมมือร่วมใจกันทําอย่างจริงจัง ก็จะช่วยให้เราสามารถแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและลดภาวะโลกร้อน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
พี่น้องประชาชนครับ
แม้ว่าการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติให้มีความยั่งยืนตามกระแสสากลนั้นจะมีความสําคัญอย่างมาก แต่ก็ไม่ควรทําให้เราหวาดกลัวจนเกินเหตุ จนไม่กล้าไม่ยอมรับโครงการพัฒนาใด ๆ ผมเห็นว่าเรายังคงสามารถรักษาสมดุล สําหรับการวางรากฐานอนาคตของประเทศ ด้านเศรษฐกิจและสังคม ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ได้ เพื่อให้ประเทศชาติ และประชาชนมีความมั่นคงทางรายได้ เศรษฐกิจขนาดใหญ่ กลาง และฐานรากจะต้องเจริญ เติบโตไปด้วยกัน ลดความเหลื่อมล้ํา และสามารถยืนเคียงบ่าเคียงไหล่กับประเทศในภูมิภาคหรือในโลกได้ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
ผมขอให้ลองนึกถึงเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปไม่หยุดยั้ง จนเข้ามาเปลี่ยนวิถีการดําเนินชีวิตของเราทุกคนการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุที่จะส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งประเทศ และปัญหาทางการเมืองหลาย ๆ จุดในโลกที่พร้อมขยายวงกว้าง และส่งผลต่อมิตรประเทศ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ทําให้เราต้องตระหนักว่า เราจะอยู่นิ่ง ๆ เฉย ๆ หรืออยู่กับที่ไม่ได้ เราต้องก้าวตามให้ทัน หรือก้าวไปให้ไกลกว่า เพื่อเตรียมพร้อมต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หรือสิ่งที่คาดไม่ถึง รัฐบาลจึงได้ดําเนินมาตรการต่าง ๆ พร้อมกันในหลายด้าน เพื่อจะวางรากฐานให้กับอนาคตของประเทศตั้งแต่วันนี้ ให้มีความเข้มแข็ง โดยเฉพาะมีความแข็งแกร่ง ตั้งแต่ระดับฐานราก โดยยึดมั่นแนวทาง“หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”เป็นยุทธศาสตร์พื้นฐานของทุก ๆ ยุทธศาสตร์ของรัฐบาล
ในวันนี้ ผมขอยกตัวอย่างในเรื่องที่ถือเป็นการมองอนาคต เพื่อปลูกฝังรากฐานสําคัญ ซึ่งก็คือเรื่อง“คน” เพื่อเตรียมการรองรับกับความท้าทายที่จะเกิดขึ้น เราทุกคน ต้องปรับตัวก่อน และต้องสร้างลูกหลานของเราให้พร้อม โดยรัฐบาลก็พร้อมที่จะสนับสนุน ล่าสุดคณะรัฐมนตรี ได้มีมติอนุมัติโครงการสร้าง“ศูนย์นวัตกรรมแห่งอนาคต”หรือเรียกว่าFuturiumขึ้น ที่อําเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เพื่อให้เป็นศูนย์การเรียนรู้แห่งใหม่ของเยาวชนและประชาชนทั่วไป โดยจะกระตุ้นให้เกิดการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา ซึ่งจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ และนวัตกรรมที่ทันสมัยเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ และโลกใบนี้ได้ เช่น นวัตกรรมการขนส่ง นวัตกรรมหุ่นยนต์ นวัตกรรมพลังงานทางเลือก และนาโนเทคโนโลยี เป็นต้น
นอกจากนี้ จะมีการจัดระบบงานวิจัย ให้เชื่อมโยงกับภาคเอกชน เพื่อสร้างบรรยากาศในการพัฒนาบุคลากรวิชาชีพสายวิทยาศาสตร์ ให้ตรงกับความต้องการของภาคเอกชนด้วย ขณะที่เยาวชนเอง ก็จะสามารถเรียนรู้และเข้าใจถึงสิ่งที่ตนถนัด หรือชื่นชอบ และเลือกที่จะพัฒนาตนเองเข้าสู่สายอุดมศึกษาหรือสายอาชีพต่าง ๆ ต่อไป ได้อย่างเหมาะสม ส่วนภาคเอกชนนั้นก็จะได้บุคลากรที่มีคุณภาพเข้าไปช่วยงานและสร้างผลิตภาพ ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นด้วยนะครับ
โครงการนี้ คาดว่าแล้วเสร็จภายในปี 2564 และมีระยะเวลาโครงการ 31 ปี โดยจะมีการพัฒนา Futuriumไปสู่การเป็น“พิพิธภัณฑ์มีชีวิต”มีเนื้อหาสาระของนิทรรศการที่สามารถปรับปรุงให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม รวมทั้งสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและภาคเอกชน เพื่อให้ Futuriumนั้น เป็นสถานที่แห่งการเรียนรู้ที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น การสร้างและบริหารจัดการFuturiumนี้ จะเป็นการร่วมมือกัน ระหว่างภาครัฐโดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ และภาคเอกชน ขณะนี้มีหลายธุรกิจเอกชน สนใจที่จะร่วมลงทุนกับภาครัฐ เพื่อร่วมสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชน นักเรียน นักศึกษา มุ่งสู่อาชีพสมัยใหม่ ซึ่งจะเป็นการเตรียมกําลังคนของประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และนําพาประเทศก้าวพ้นกับดัก“ประเทศรายได้ปานกลาง”ไปสู่“ประเทศพัฒนาแล้ว”ที่ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและรายได้ที่สูงขึ้นในเร็ววันนี้
ทั้งนี้ โครงการFuturiumนอกจากจะตอบโจทย์ในเรื่องของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีด้านการพัฒนาศักยภาพบุคคลากรของประเทศแล้ว ยังจะเป็นโครงการที่สอดรับกับการขับเคลื่อนระบบ“สะเต็มศึกษา”หรือSTEM Educationของประเทศอีกด้วย ซึ่งระบบนี้เป็นแนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน 4 วิชา จากคําว่าSTEMวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ เข้าด้วยกัน รูปแบบของFuturiumนั้น จะช่วยการสอนให้นักเรียนเข้าใจวิชาเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น เพราะได้ลงมือปฏิบัติเอง และเห็นภาพจนสามารถนําความรู้ที่ได้รับนั้นไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงได้ หรือสามารถนําไปพัฒนากระบวนการหรือสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดําเนินชีวิต และการทํางานได้ ก็นับได้ว่าจะเป็นทักษะในการดําเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21 นี้ ได้เลย สําหรับประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ ก็มีนโยบายให้นําSTEM Educationมาใช้ แล้วพบว่านักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ มีการพัฒนาชิ้นงานได้ดี หากยิ่งเริ่มเร็วเท่าใด ก็ยิ่งจะเพิ่มความสามารถและศักยภาพของนักเรียนได้มากขึ้น เป็นเงาตามตัว
สําหรับประเทศไทย ได้เริ่มมีการนํา“สะเต็มศึกษา”มาใช้ตั้งแต่ปี 2559 โดยเป็นการร่วมมือกันของกระทรวงศึกษาธิการ กับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เป็นนโยบายเชิงรุก ในการนําสะเต็มศึกษาเข้าบรรจุไว้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ รวมถึงกิจกรรมนอกชั้นเรียน ปัจจุบันครอบคลุมไปในทุกพื้นที่เขตการศึกษาแล้วอีกทั้งยังมีการจัดตั้ง“ศูนย์สะเต็มศึกษา”และเครือข่ายในการพัฒนาหลักสูตร รวมถึง“ครูพี่เลี้ยง”ที่จะช่วยพัฒนาครูผู้สอน ที่กระจายไปทั่วประเทศอีกด้วย ผมขอชื่นชมและเป็นกําลังใจให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกคน และขอให้ช่วยกันผลักดันให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ในวงกว้างขึ้นให้ได้มากที่สุด เพื่อจะช่วยกันพัฒนาลูกหลานของเราให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ และเป็นกําลังสําคัญของชาติ เป็นอนาคตของชาติต่อไป
ในการนี้ รัฐบาลยังให้การสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานหลักที่จะเป็นรากฐานการพัฒนาสู่อนาคต โดยเมื่อวานนี้ ได้มีการประชุมคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้มีการรายงานความก้าวหน้าของโครงการเน็ตประชารัฐ ที่จะติดตั้งอินเตอร์เน็ตให้กับพี่น้องประชาชน ครอบคลุมพื้นที่ 74,965 หมู่บ้านทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสําคัญของการขับเคลื่อนไปสู่ Thailand 4.0 ด้วย และในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้มีการเปิดใช้งานเน็ตประชารัฐ 99 หมู่บ้าน เพื่อเป็นการนําร่องทั่วประเทศไปแล้ว และมีเป้าหมายจะติดตั้งให้ได้ทั้งหมด 24,700 หมู่บ้านให้ได้ภายในสิ้นปี 2560 เพื่อเป็นช่องทางให้พี่น้องประชาชนได้รับรู้ข่าวสารเข้าถึงข้อมูลที่จําเป็นในการดํารงชีวิต และสามารถยกระดับความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตได้อีกทางหนึ่งด้วย
นอกจากนั้น ยังมีโครงการดิจิทัลชุมชน ที่จะเปิดโอกาสให้พี่น้องประชาชน ได้เพิ่มรายได้ ผ่านการพัฒนานําระบบดิจิทัลเทคโนโลยีมาใช้ในระดับหมู่บ้านเพื่อให้เกิดการสร้างรายได้ผ่านธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่าe-Commerceโดยให้ความสําคัญกับการดําเนินการผ่านกลไกประชารัฐ และมีการวางระบบขนส่งผ่านไปรษณีย์ไทย ที่มีเครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศอยู่แล้วซึ่งก็จะเพิ่มความสามารถให้กับผู้ซื้อและผู้ขายในเรื่องของการโอนเงินขนส่งสินค้าและการรับประกันการซื้อขาย เพื่อให้มั่นใจว่าได้รับสินค้าตรงตามที่ต้องการ และช่วยป้องกันการฉ้อโกงที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ ภาครัฐจะเร่งบูรณาการการทํางานให้มีการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าและบริการ เพื่อให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายมีความมั่นใจ และเข้ามาใช้ประโยชน์ในโครงการให้ได้มากขึ้นต่อไปด้วย
อีกด้านหนึ่งของการพัฒนาสาธารณูปโภคด้านดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างรากฐานสู่อนาคตก็ได้มีการหารือในการประชุมครั้งนี้ คือการจัดตั้งเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล หรือDigital Park Thailandที่อําเภอศรีราชาซึ่งจะเชื่อมโยงกับพื้นที่EECและสนับสนุนกิจกรรม
ต่าง ๆ ในEECได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยDigital Parkนี้ จะเป็นพื้นที่ของการสร้างนวัตกรรมของประเทศ โดยจะมีการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในการจัดตั้งสถาบันพิเศษด้านดิจิทัล เพื่อสร้างผู้เชี่ยวชาญให้ตรงกับความต้องการ และยกระดับอุตสาหกรรมในพื้นที่
รวมทั้งจะมีการขยายศูนย์ข้อมูลเพื่อรองรับการเป็นdata hubของอาเซียน ซึ่งโครงการนี้ ได้รับการสนับสนุนพื้นที่ส่วนหนึ่งและสาธารณูปโภคด้านเครือข่ายจากCATและจะช่วยดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสทางธุรกิจให้กับstartupของไทยในการสร้างรายได้ด้วย ผมขอชื่นชมและสนับสนุนการทํางานแบบบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจะพยายามเร่งรัดให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เนื่องจากโครงการเหล่านี้ จะเป็นส่วนสําคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะต่อไปด้วย
ตัวอย่างหนึ่งของการพัฒนาเพื่อมุ่งสู่อนาคตในด้าน“การผลิต”ประเทศไทยกําลังจะมี“ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่”ภายใต้โครงการศูนย์การเรียนรู้และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ที่จะเปิดตัวในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ซึ่งจะเน้นการสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชน ทั้งด้านเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน สถานีประจุไฟฟ้าต้นแบบ รวมถึงการเก็บฐานข้อมูลผู้ประกอบการและการประชาสัมพันธ์
ทั้งนี้ เพื่อที่จะรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ เนื่องจากเราเล็งเห็นความสําคัญของอุตสาหกรรมรถยนต์ ที่ทํารายได้ให้กับประเทศมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2560 นี้ คาดว่าไทยจะมียอดการผลิตรถยนต์ประมาณ 2 ล้านคัน ซึ่งเป็นการจําหน่ายในประเทศ 8 แสนคัน ส่งออกถึง 1.2 ล้านคัน ที่ผ่านมา รัฐบาลสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศ ผ่านการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิต เช่น รถอีโคคาร์ รถที่ปล่อยCO2 น้อยและมีอุปกรณ์สําหรับความปลอดภัยสูงจะมีภาระภาษีลดลง ขณะที่มาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศภายใต้BOIจะช่วยให้ไทยมุ่งไปสู่การผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ที่ต้องใช้เวลาในการพัฒนาพอสมควร จึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จะต้องเริ่มศึกษาและพัฒนากันตั้งแต่วันนี้ เพื่อรักษาขีดความสามารถในการเป็น“ผู้นําการผลิตรถยนต์”ของไทยในภูมิภาคไว้ด้วย
ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นการวางรากฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่ออนาคต ในภาพรวมของประเทศ รัฐบาล โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ได้จัดทํา“แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0”ระยะ 20 ปี ขึ้น ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 12 ซึ่งมีแผนการดําเนินการหลัก ๆ ได้แก่
1. การยกระดับประเทศไทยสู่ประเทศรายได้สูงโดยการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม เป้าหมายที่เป็น อุตสาหกรรม อนาคตหรือS-curveทั้งการต่อยอด 5 อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นทั้งการผลักดันให้เกิดการลงทุนใน 5 อุตสาหกรรมใหม่ เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ตั้งจุดมุ่งหมายให้ประเทศไทยกลายเป็น“ศูนย์กลางการผลิต”ในอาเซียน และเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกอาหารที่มีมูลค่าสูงสุดของโลก รวมทั้งเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ที่ผมเพิ่งกล่าวถึงไปแล้ว ปัจจุบันรัฐบาลอยู่ระหว่างการเตรียมพื้นที่รองรับการลงทุนใหม่ในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) รวมกว่า 180,000 ไร่ ซึ่งเราคาดหวังว่าจะทําให้เกิดการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายไม่น้อยกว่า 1.5 ล้านล้านบาท ภายใน 5 ปี ต้องไม่ได้รับผลกระทบต่อชุมชนด้วยนะครับ ต่อประชาชน
2. การลดความเหลื่อมล้ําทางด้านเศรษฐกิจ ด้วยการพัฒนาSMEsที่มี Ideaให้เป็นผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์ ที่มีนวัตกรรม และสามารถนําต้นแบบงานวิจัยไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ รวมทั้งส่งเสริมให้ใช้digital เพื่อให้ธุรกิจปรับเข้าสู่“SMEsยุค 4.0”สําหรับเศรษฐกิจฐานราก จะมีการสนับสนุนด้านเงินทุนจากกองทุนพัฒนา SMEs ตามแนวประชารัฐ รวมทั้งมีการพัฒนาหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เพื่อจะเชื่อมโยงการผลิตจากท้องถิ่นมาสู่มือของผู้บริโภค และนักท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มรายได้ อีกด้วย
3. การสร้างความสมดุลในการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งต้องให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม โดยระดับสถานประกอบการ ก็ต้องได้การรับรองเครื่องหมาย“อุตสาหกรรมสีเขียว”ส่วนระดับเมือง ก็มีโครงการเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ซึ่งปัจจุบัน
มีโครงการนําร่องใน 15 จังหวัด และนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 59 แห่งทั่วประเทศ
นอกจากนี้ เพื่อให้สอดรับกับการดําเนินงานตามแผนทั้ง 3 ข้อ กระทรวงอุตสาหกรรม ก็มีแผนจะปรับบทบาทและโครงสร้างของกระทรวงฯ และสถาบันเครือข่ายทั้ง 11 แห่ง ให้เน้นบทบาทของการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อขับเคลื่อน S-CurveและSMEsตามแนวทางแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี สําหรับช่วยสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม ให้มีความเข้มแข็งจากภายใน สามารถขยายตัวสอดคล้องกับพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก ในการผลักดันประเทศให้ก้าวเดินสู่“ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”ด้วย
พี่น้องประชาชนครับ เพื่อจะช่วยกันผลักดันแผนการดําเนินงานของกระทรวงอุตสาหกรรมข้างต้น ผมขอประชาสัมพันธ์ว่า ระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึง 31 กรกฎาคม ศกนี้ จะมีการสํารวจสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตทั่วประเทศ โดยจะมีการลงพื้นที่ทั่วประเทศเพื่อสัมภาษณ์ผู้ประกอบการเพื่อเก็บข้อมูล รวบรวม เช่น ประเภทอุตสาหกรรม ชนิดของผลิตภัณฑ์ จํานวนคนทํางาน ค่าตอบแทนแรงงาน เป็นต้น โดยฐานข้อมูลที่ได้นั้น จะนําไปใช้ในการวางแผนและเป็นใช้เป็นการกําหนดนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจด้านอุตสาหกรรมการผลิต ในการที่จะเสริมสร้างศักยภาพของภาคอุตสาหกรรม รวมถึงจัดทําดัชนีชี้วัดภาวะเศรษฐกิจและการดําเนินกิจการ เช่น ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และจัดทําแผนวิเคราะห์สถานการณ์ในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ด้วย ผมจึงอยากขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการในการให้ข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง ทั้งนี้ ขอรับรองว่าข้อมูลจากการสัมภาษณ์ดังกล่าวจะไม่มีการรั่วไหล ไม่มีการเกี่ยวพันกับข้อกฎหมาย และไม่โยงใยไปถึงเรื่องภาษีและอื่น ๆ แน่นอน
นอกจากนั้น วันนี้ผมมีข่าวดี ๆเป็นที่น่ายินดีว่า ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยของผู้บริโภคในเดือน มีนาคมที่ผ่านมา ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง เป็นเดือนที่ 4 และถือว่าอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี อีกทั้งราคาสินค้าเกษตร เช่น ยางพารา ปาล์มน้ํามัน อ้อย ก็ปรับตัวดีขึ้นนะครับ ซึ่งก็จะช่วยให้กําลังซื้อของผู้บริโภคที่เป็นเกษตรกรมีมากขึ้น นอกจากนี้ การส่งออกมีแนวโน้มดีขึ้นเช่นกัน ทั้งหมดนี้ก็จะช่วยสนับสนุนให้คนไทยสามารถจับจ่ายใช้สอยและเดินทางท่องเที่ยวได้มากขึ้นด้วย เมื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ดีขึ้นต่อเนื่องเช่นนี้ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เศรษฐกิจไทยจะเจริญเติบโตได้ดี มีความเข้มแข็ง และส่งผลดีต่อรายได้ของพี่น้องประชาชนในทุกกลุ่ม ทุกอาชีพด้วย รัฐบาลจะติดตามพัฒนาการทางเศรษฐกิจและการเงินอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การเติบโตนี้ มีต่อไปได้อย่างยั่งยืน
มีอีกข่าวที่เป็นข่าวดี คือการจัดอันดับประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก ประจําปี 2017 ของเครือข่ายการแก้ปัญหาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UNSDSN)ที่จัดให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความสุขที่สุดอันดับ 2 ของอาเซียนและอันดับ 3 ของทวีปเอเชีย โดยการจัดอันดับจะวัดจาก ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP)อายุขัยเฉลี่ยของประชากรเสรีภาพในการเลือกใช้ชีวิตและทํางานความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในสังคมความโปร่งใส ฯลฯ ในปีนี้ประเทศของเราขยับดีขึ้น1 อันดับและดีกว่าประเทศอื่น ๆ ของโลกอย่างเห็นได้ชัดสอดคล้องกับก่อนหน้านี้ที่ไทยเรา เป็นแชมป์ประเทศที่มี“ความทุกข์ยากน้อยที่สุดในโลก”ด้วย
พี่น้องประชาชนครับ เราไม่จําเป็นต้องพอใจในตําแหน่งนี้ เพราะผมรู้ว่าเรายังสามารถร่วมแรงร่วมใจร่วมพลังความสามัคคี พลัง“ประชารัฐ”ทําให้ประเทศมีคะแนน หรือมีอันดับที่สูงกว่านี้ได้ เพียงแค่เราต้องปรองดองกัน เพื่อไปสู่ความสุข ความยั่งยืนของคนไทยทุกคน เราจะต้องรับฟังความเห็นต่างที่สร้างสรรค์ โดยพยายามเข้าอกเข้าใจกัน และร่วมกันแก้ไขปัญหา เข้าใจอุปสรรค ขวากหนาม ที่มีอยู่ ตั้งแต่ในอดีต และเราต้องไม่สร้างกําแพงขึ้นมาใหม่ เราต้องช่วยกันคนละไม้ละมือ ช่วยกันทําสังคมของเราให้น่าอยู่ โดยเริ่มจากตัวเราเองก่อน สังคมใกล้เราก่อน ทําหน้าที่ของตัวเองให้ดี เป็นพลเมืองดี แล้วหันไปมองผู้อื่นด้วยใจที่เป็นธรรม จดจําแต่ความดีของเขา และมองข้ามความผิดพลาดถึงเขาจะต้องแก้ไข ถ้าเราทุก ๆ คนทําได้เช่นนี้แล้ว ใครก็จะจัดให้เราอยู่อันดับไหน ก็คงไม่มีความสําคัญแล้ว เพราะเรามีความสุขกันแล้ว
ผมไม่อาจจะกล่าวอ้างได้ว่าผม ในนามของนายกรัฐมนตรี หัวหน้า คสช. หรือ รัฐบาล ใน คสช. จะทําอะไรได้ดีกว่าใคร ได้ดีกว่ารัฐบาลไหนก็แล้วแต่ เป็นเรื่องที่ประชาชน ประเทศชาติในปัจจุบัน อนาคตจะเป็นผู้สรุปและประเมินผล แต่ผมก็อยากจะกล่าวได้ว่าผมได้ทําอะไรไปบ้าง ที่อาจจะไม่ได้ทํามาหลายอย่าง เช่น
1. การสร้างพื้นฐานอนาคตที่ยั่งยืน ไม่ใช่ประเดี๋ยวประด่าว
2. บังคับใช้กฎหมายที่จําเป็น ก็ทราบอยู่แล้ว อันไหนจําเป็นก็ต้องใช้
3. นําเรื่องสําคัญเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เพื่อไม่ให้เกิดความบิดเบือน เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของเรา ก็สุดแล้วแต่ศาลหรือกระบวนการยุติธรรมท่าน
4. การปรับปรุงกฎหมายจํานวนหลายฉบับ ทั้งกฎหมายประชาชน กฎหมายการค้าการลงทุน กฎหมายในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชน ผู้ยากไร้ ยากจน กองทุนยุติธรรม
5. การจัดทําแผนแม่บทในการบริหารจัดการที่ดิน หาที่ทํากิน ขจัดการบุกรุกป่า การบริหารจัดการน้ําทั้งระบบ ซึ่งมีผลทยอยดีขึ้นมาตามลําดับ วันนี้อาจจะลดปัญหาของการขาดแคลนหรือภัยแล้งลงไปได้บ้าง อาจยังไม่ทั่วถึง เพราะต้องใช้เวลางบประมาณจํานวนมากในการทําให้เต็มทั้งระบบ
6. การแก้ปัญหาบุกรุกทําลายป่าเราต้องแก้ไขอย่างยั่งยืน ให้เป็นระบบ เราทุกคนต้องช่วยกัน ไม่ใช่แค่เจ้าหน้าที่หรือรัฐเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ประชาชนทุกคนจะต้องช่วยกันดูแล
7. การแก้ปัญหาการเกษตรทั้งระบบ พืชเศรษฐกิจทุกชนิด เราต้องนํามาสู่การแก้ปัญหาทั้งสิ้น ทั้งในประเทศทั้งต่างประเทศ กลไกต่าง ๆ มากมายเปลี่ยนแปลงทั้งหมด มีการปรับรูปแบบการทําการเกษตรที่เขาทําแล้วได้ผลดีมีรายได้สูงขึ้นเป็นจํานวนมาก เราต้องสร้างการเรียนรู้ สร้างความเข้มแข็งด้วยตัวเอง นอกจากการที่รัฐบาลจะต้องใช้งบประมาณในการจ่ายขาดแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งไม่ยั่งยืน วันนี้เรามีทั้งจ่ายขาดก็มี เงินกู้ยืมก็มี เงินสร้างความเข้มแข็งก็มี มีอีกหลายอย่าง ให้อย่างเดียวก็ใช้ได้ ก็ใช้หมดไปก็ไม่เกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น ก็ต้องผสมผสานกันไป ก็เลยอาจจะมากบ้าง น้อยบ้าง ก็ต้องไปดูกัน
8. เรื่องเตรียมการรองรับการสาธารณสุข สังคมสูงวัย อันนี้จําเป็นมากเลย เพราะเราใช้ในเรื่องของการศึกษา เรื่องสาธารณะสุขเป็นจํานวนมาก เราต้องปฏิรูปทั้งระบบ เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์มากยิ่งขึ้น และเราต้องระมัดระวังเรื่องของปัญหาด้านงบประมาณ เราถึงบอกว่าเราต้องหารายได้เพิ่มให้กับประเทศเพิ่มขึ้นยังไง โดยเฉพาะเรื่องของการ รัฐสวัสดิการทั้งหมด
9. การแก้ปัญหาการขนส่งมวลชน ที่ผ่านมาอาจจะยังไม่เป็นระบบ อาจจะไม่สมบูรณ์ ทําให้เกิดปัญหาการจราจรมากมาย วันนี้ก็เริ่มแก้มา เริ่มแกะออกมา เริ่มแก้มา เริ่มต่อระยะออกมา อะไรมา ก็แก้ปัญหาได้พอสมควร แต่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องใช้เวลาหลาย ๆ ปี ที่ผ่านมาอาจจะช้าไปนิดนึงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ถนน รถไฟฟ้า รถไฟ ท่าอากาศยาน ท่าเรือ และอื่น ๆ ก็อยู่ในแผนงานโครงการทั้งสิ้น ก็ทําระยะที่ 1 ไปก่อน เพื่อเดินหน้าไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต
10. การดําเนินการจัดทําพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ เพื่อเป็นแหล่งที่มีรายได้สูง มีศักยภาพในการแข่งขัน มีการส่งเสริมเทคโนโลยี อาทิเช่น เรื่องของระบบEECเรื่องของอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ เขตเศรษฐกิจพิเศษ
11. การปฏิรูปการศึกษาผมกล่าวไปหลายครั้งแล้วนะครับว่ามันมีปัญหาทับซ้อนอยู่มากมาย หลายอย่างอาจจะยังไม่เห็นผลการประเมินที่ชัดเจน อาจจะยังมีผลมาถึงประชาชนได้ไม่มากนัก แต่มันก็เป็นปัญหามายาวนานและก็เป็นระยะแรกของการแก้ปัญหาของเรา ก็มีแนวโน้มให้สิ่งที่ดีขึ้น ทุกคนก็ตั้งใจทําเต็มที่ กระทรวงการศึกษาก็พยายามปรับแก้ปรับระบบของตัวเองมากมาย
12. การบูรณาการภาครัฐ ประชาชน เอกชน ประชาสังคม ในการบริหารราชการแผ่นดิน แบบประชารัฐ ประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีการรับฟังความคิดเห็นจากศูนย์ดํารงธรรม สื่อมวลชน สื่อโซเชียลอันที่เป็นประโยชน์มากมาย ผมได้นํามาสู่กระบวนการแก้ปัญหาระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว มาตลอด
13. การบริหารราชการแผ่นดินในเชิงยุทธศาสตร์ ก็ได้ให้มีการทํายุทธศาสตร์ชาติ คราวนี้ก็ได้อยู่ในการพิจารณาของ สนช. เพื่อให้ทุกรัฐบาลได้มีกรอบการทํางานที่ชัดเจนขึ้นในอนาคตก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม ตามห้วงเวลา ตามการเปลี่ยนแปลงของโลกหรือสถานการณ์ปัจจัยภายในภายนอก
14. หลายอย่างมีการพัฒนาตามลําดับหลาย ๆ เรื่อง ก็อาจจะเป็นร้อยเพราะมีรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย แต่กล่าวถึงไม่หมดในวันนี้
ผมยกแต่เพียงตัวอย่าง อื่น ๆโดยสรุปแล้ว สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ได้พัฒนามาตามลําดับ ซึ่งเป็นแค่เพียงตัวอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องระบบ
งบประมาณ การเงินการคลัง เรื่องการขจัดการทุจริตคอร์รัปชั่น
การพิจารณาลําดับของประเทศในเวทีโลก เหล่านี้เป็นความจําเป็นทั้งสิ้น แต่ผมคิดว่าสิ่งที่สําคัญที่สุด คือการสร้างความมั่นคง สร้างความ
มีเสถียรภาพ และต้องขจัดการทําผิดกฎหมาย คอร์รัปชั่น การบังคับใช้กฎหมายหลาย ๆ อย่าง อาจจะเป็นสิ่งจําเป็นมันเป็นพื้นฐานในเวลานี้
ในการที่จะเปลี่ยนแปลง ในการที่จะปฏิรูป ในการที่จะนําพาประเทศชาติไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนในอนาคต
ผมขอให้ประชาชนคนไทย ขอได้โปรดให้ความเชื่อมั่นในการทํางานของผม ของรัฐบาล ของ คสช. ต่อไป เราจะทําให้ดีที่สุด แน่นอนปัญหา
มีมาก การทํางานก็ต้องมีอุปสรรค มีความคิดเห็นต่างมากมาย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหากเราทุกคนมุ่งไปสู่ว่าเราจะทําให้ประทศชาติเราปลอดภัยอย่างไร ประชาชนเรามีความสุขได้อย่างไร เหล่านั้นจะทําให้ทุกอย่างที่เป็นความขัดแย้งกลับไปสู่ความร่วมมือให้ได้มากที่สุด
ขอบคุณครับ ขอให้ทุกคนมีความสุขในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ ขอขอบคุณ สวัสดีครับ | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/3221 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-‘พาณิชย์’ เดินหน้าขยายความร่วมมือหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจกับบังกลาเทศ | วันอังคารที่ 8 สิงหาคม 2560
‘พาณิชย์’ เดินหน้าขยายความร่วมมือหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจกับบังกลาเทศ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นางอภิรดี ตันตราภรณ์) มีกําหนดเดินทางเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee: JTC) ไทย-บังกลาเทศ ครั้งที่ 4 ร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์บังกลาเทศ (H.E. Mr. Tofial Ahmed)
ระหว่างวันที่ 9 – 10 สิงหาคม 2560 ณ กรุงธากา สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ เพื่อหารือแนวทางขยายการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัน
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การประชุมครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากการลงนามในบันทึกช่วยจําจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านการค้าไทย-บังกลาเทศ ในระหว่างการเยือนบังกลาเทศ เมื่อปี 2529 ซึ่งที่ผ่านมา ไทยและบังกลาเทศสลับกันเป็นเจ้าภาพการประชุม JTC ไปแล้ว 3 ครั้ง โดยครั้งล่าสุด ไทยเป็นเจ้าภาพจัดเมื่อปี 2556 สําหรับการประชุมครั้งที่ 4 นี้ จะหารือในประเด็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจด้านต่างๆ ที่สองประเทศสนใจ อาทิ การตั้งเป้าหมายทางการค้าระหว่างกัน ความเป็นไปได้ในการทําความตกลงการค้าเสรี การขยายความร่วมมือด้านการค้า โดยเฉพาะข้าว การลงทุนในสาขาศักยภาพ อาทิ เกษตรและอาหารแปรรูป ประมงแปรรูป ก่อสร้าง พลังงาน และท่องเที่ยว รวมทั้งการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาคเอกชนของทั้งสองฝ่าย พร้อมกันนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มีกําหนดลงนาม MoU ว่าด้วยการซื้อขายข้าวระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลบังกลาเทศ กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอาหารบังกลาเทศ (H.E. Advocate Md. Qamrul Islam) เพื่อขยายโอกาสในการส่งออกข้าวของไทยและสนับสนุนความมั่นคงทางอาหารของบังกลาเทศ
สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศเป็นตลาดที่มีศักยภาพเนื่องจากมีประชากรกว่า 160 ล้านคน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา บังกลาเทศมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราการเติบโตเฉลี่ยสูงกว่าร้อยละ 6 และมีศักยภาพในการเป็น Gateway สู่ประเทศสมาชิกองค์การความร่วมมืออิสลาม (Organization of Islamic Cooperation หรือ OIC) ซึ่งมีสมาชิกกว่า 57 รัฐ เช่น อียิปต์ บาห์เรน กาตาร์ อิหร่าน อิรัก จอร์แดน โมร็อกโก ซาอุดีอาระเบีย อินโดนีเซีย ปากีสถาน มัลดีฟส์ และตุรกี เป็นต้น
ปัจจุบันบังกลาเทศเป็นคู่ค้าอันดับที่ 3 ของไทยในภูมิภาคเอเชียใต้ รองจากอินเดียและปากีสถาน ในปี 2559 มีมูลค่าการค้ารวมประมาณ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 10.38 แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 940 ล้านเหรียญสหรัฐ และการนําเข้า 56 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งไทยได้ดุลการค้าบังกลาเทศมาโดยตลอด
ในปี 2559 สินค้าส่งออกที่สําคัญของไทยไปบังกลาเทศ ได้แก่ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ ปูนซิเมนต์ ผ้าผืน เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เส้นใยประดิษฐ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์มันสําปะหลัง เครื่องสําอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว ส่วนสินค้านําเข้าที่สําคัญของไทยจากบังกลาเทศ ได้แก่ เสื้อผ้าสําเร็จรูป ปุ๋ยและยากําจัดศัตรูพืชและสัตว์ ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช เนื้อสัตว์สําหรับการบริโภค เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ด้ายและเส้นใย เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การแพทย์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-‘พาณิชย์’ เดินหน้าขยายความร่วมมือหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจกับบังกลาเทศ
วันอังคารที่ 8 สิงหาคม 2560
‘พาณิชย์’ เดินหน้าขยายความร่วมมือหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจกับบังกลาเทศ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นางอภิรดี ตันตราภรณ์) มีกําหนดเดินทางเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee: JTC) ไทย-บังกลาเทศ ครั้งที่ 4 ร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์บังกลาเทศ (H.E. Mr. Tofial Ahmed)
ระหว่างวันที่ 9 – 10 สิงหาคม 2560 ณ กรุงธากา สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ เพื่อหารือแนวทางขยายการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัน
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การประชุมครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากการลงนามในบันทึกช่วยจําจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านการค้าไทย-บังกลาเทศ ในระหว่างการเยือนบังกลาเทศ เมื่อปี 2529 ซึ่งที่ผ่านมา ไทยและบังกลาเทศสลับกันเป็นเจ้าภาพการประชุม JTC ไปแล้ว 3 ครั้ง โดยครั้งล่าสุด ไทยเป็นเจ้าภาพจัดเมื่อปี 2556 สําหรับการประชุมครั้งที่ 4 นี้ จะหารือในประเด็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจด้านต่างๆ ที่สองประเทศสนใจ อาทิ การตั้งเป้าหมายทางการค้าระหว่างกัน ความเป็นไปได้ในการทําความตกลงการค้าเสรี การขยายความร่วมมือด้านการค้า โดยเฉพาะข้าว การลงทุนในสาขาศักยภาพ อาทิ เกษตรและอาหารแปรรูป ประมงแปรรูป ก่อสร้าง พลังงาน และท่องเที่ยว รวมทั้งการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาคเอกชนของทั้งสองฝ่าย พร้อมกันนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มีกําหนดลงนาม MoU ว่าด้วยการซื้อขายข้าวระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลบังกลาเทศ กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอาหารบังกลาเทศ (H.E. Advocate Md. Qamrul Islam) เพื่อขยายโอกาสในการส่งออกข้าวของไทยและสนับสนุนความมั่นคงทางอาหารของบังกลาเทศ
สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศเป็นตลาดที่มีศักยภาพเนื่องจากมีประชากรกว่า 160 ล้านคน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา บังกลาเทศมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราการเติบโตเฉลี่ยสูงกว่าร้อยละ 6 และมีศักยภาพในการเป็น Gateway สู่ประเทศสมาชิกองค์การความร่วมมืออิสลาม (Organization of Islamic Cooperation หรือ OIC) ซึ่งมีสมาชิกกว่า 57 รัฐ เช่น อียิปต์ บาห์เรน กาตาร์ อิหร่าน อิรัก จอร์แดน โมร็อกโก ซาอุดีอาระเบีย อินโดนีเซีย ปากีสถาน มัลดีฟส์ และตุรกี เป็นต้น
ปัจจุบันบังกลาเทศเป็นคู่ค้าอันดับที่ 3 ของไทยในภูมิภาคเอเชียใต้ รองจากอินเดียและปากีสถาน ในปี 2559 มีมูลค่าการค้ารวมประมาณ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 10.38 แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 940 ล้านเหรียญสหรัฐ และการนําเข้า 56 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งไทยได้ดุลการค้าบังกลาเทศมาโดยตลอด
ในปี 2559 สินค้าส่งออกที่สําคัญของไทยไปบังกลาเทศ ได้แก่ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ ปูนซิเมนต์ ผ้าผืน เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เส้นใยประดิษฐ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์มันสําปะหลัง เครื่องสําอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว ส่วนสินค้านําเข้าที่สําคัญของไทยจากบังกลาเทศ ได้แก่ เสื้อผ้าสําเร็จรูป ปุ๋ยและยากําจัดศัตรูพืชและสัตว์ ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช เนื้อสัตว์สําหรับการบริโภค เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ด้ายและเส้นใย เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การแพทย์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/5777 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้การต้อนรับ เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐตุรกีประจำประเทศไทย ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ | วันพุธที่ 13 มิถุนายน 2561
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้การต้อนรับ เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอํานาจเต็มแห่งสาธารณรัฐตุรกีประจําประเทศไทย ในโอกาสเข้ารับตําแหน่งใหม่
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้การต้อนรับเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอํานาจเต็มแห่งสาธารณรัฐตุรกีประจําประเทศไทย ในโอกาสเข้ารับตําแหน่งใหม่
ในวันพุธที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๓๐ น.
ณ ห้องรับรองกระทรวงยุติธรรม ชั้น ๒
อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
พร้อมด้วย ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ให้การต้อนรับ
นางเอฟเรน ดาเดเลน อักกุน (H.E. Ms. Evren Dagdelen Akgun) เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอํานาจเต็ม
แห่งสาธารณรัฐตุรกีประจําประเทศไทย พร้อมคณะ
เข้าเยี่ยมคารวะ เนื่องในโอกาสเข้ารับตําแหน่งใหม่ | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้การต้อนรับ เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐตุรกีประจำประเทศไทย ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่
วันพุธที่ 13 มิถุนายน 2561
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้การต้อนรับ เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอํานาจเต็มแห่งสาธารณรัฐตุรกีประจําประเทศไทย ในโอกาสเข้ารับตําแหน่งใหม่
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้การต้อนรับเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอํานาจเต็มแห่งสาธารณรัฐตุรกีประจําประเทศไทย ในโอกาสเข้ารับตําแหน่งใหม่
ในวันพุธที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๓๐ น.
ณ ห้องรับรองกระทรวงยุติธรรม ชั้น ๒
อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
พร้อมด้วย ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ให้การต้อนรับ
นางเอฟเรน ดาเดเลน อักกุน (H.E. Ms. Evren Dagdelen Akgun) เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอํานาจเต็ม
แห่งสาธารณรัฐตุรกีประจําประเทศไทย พร้อมคณะ
เข้าเยี่ยมคารวะ เนื่องในโอกาสเข้ารับตําแหน่งใหม่ | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/13025 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ เป็นสักขีพยานพิธีลงนามความร่วมมือไทย - จีน สร้างหุ้นส่วนยุทธศาสตร์สู่ CLMV ปั้นฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | วันพุธที่ 3 พฤษภาคม 2560
รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ เป็นสักขีพยานพิธีลงนามความร่วมมือไทย - จีน สร้างหุ้นส่วนยุทธศาสตร์สู่ CLMV ปั้นฐานเศรษฐกิจดิจิทัล
รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU: Memorandum of Understanding) ว่าด้วยความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนา Smart City และ Startup ระหว่าง สํานักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดย นางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา เลขาธิการ สดช. กับ สํานักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจการค้าและสารสนเทศ เมืองเซินเจิ้น โดย นายเกา หลิน รองเลขาธิการคณะกรรมการเศรษฐกิจฯ เป็นผู้ลงนามฯ ในโอกาสเดินทางเยือนเขตบริหารพิเศษฮ่องกงและเมืองเซินเจิ้น ระหว่างวันที่ 27-29 เมษายน 2560 สําหรับ MOU ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนนโยบายการส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าทางด้านเทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรมโดยมุ่งเน้นในเรื่องเมืองอัจฉริยะ (Smart City) และการสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจใหม่ (Startup) รวมทั้งจะมีการแลกเปลี่ยนการศึกษาและเยี่ยมชมการดําเนินงานของแต่ละประเทศเกี่ยวกับ Smart City ตลอดจนสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลการดําเนินงานที่แต่ละฝ่ายให้ความสนใจ อาทิ เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการเมือง การคมนาคมขนส่งอัจฉริยะ Big Data และ Cloud Computing เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อขยายความเชื่อมโยงไทย - จีน ให้ประเทศไทยเป็นประตูสู่ประเทศสมาชิกอาเซียน ณ เมืองเซินเจิ้น สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2560 ที่ผ่านมา
************************ | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ เป็นสักขีพยานพิธีลงนามความร่วมมือไทย - จีน สร้างหุ้นส่วนยุทธศาสตร์สู่ CLMV ปั้นฐานเศรษฐกิจดิจิทัล
วันพุธที่ 3 พฤษภาคม 2560
รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ เป็นสักขีพยานพิธีลงนามความร่วมมือไทย - จีน สร้างหุ้นส่วนยุทธศาสตร์สู่ CLMV ปั้นฐานเศรษฐกิจดิจิทัล
รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU: Memorandum of Understanding) ว่าด้วยความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนา Smart City และ Startup ระหว่าง สํานักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดย นางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา เลขาธิการ สดช. กับ สํานักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจการค้าและสารสนเทศ เมืองเซินเจิ้น โดย นายเกา หลิน รองเลขาธิการคณะกรรมการเศรษฐกิจฯ เป็นผู้ลงนามฯ ในโอกาสเดินทางเยือนเขตบริหารพิเศษฮ่องกงและเมืองเซินเจิ้น ระหว่างวันที่ 27-29 เมษายน 2560 สําหรับ MOU ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนนโยบายการส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าทางด้านเทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรมโดยมุ่งเน้นในเรื่องเมืองอัจฉริยะ (Smart City) และการสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจใหม่ (Startup) รวมทั้งจะมีการแลกเปลี่ยนการศึกษาและเยี่ยมชมการดําเนินงานของแต่ละประเทศเกี่ยวกับ Smart City ตลอดจนสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลการดําเนินงานที่แต่ละฝ่ายให้ความสนใจ อาทิ เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการเมือง การคมนาคมขนส่งอัจฉริยะ Big Data และ Cloud Computing เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อขยายความเชื่อมโยงไทย - จีน ให้ประเทศไทยเป็นประตูสู่ประเทศสมาชิกอาเซียน ณ เมืองเซินเจิ้น สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2560 ที่ผ่านมา
************************ | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/3474 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ เปิดคาราวาน “ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นสัญจร 2017” ครั้งแรกที่นครปฐม | วันอังคารที่ 13 มิถุนายน 2560
ปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ เปิดคาราวาน “ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นสัญจร 2017” ครั้งแรกที่นครปฐม
ปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ
นางสาววิไลลักษณ์ ชุลีวัฒนกุล ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานเปิดงานคาราวาน “ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นสัญจร 2017” ครั้งแรกในพื้นที่จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็น 1 ใน 12 จังหวัดเป้าหมาย ซึ่งเป็นกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ตามนโยบายรัฐบาลในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อขับเคลื่อนและผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้มีการพัฒนาไปสู่อนาคตอย่างยั่งยืน สําหรับกิจกรรมภายในงานฯ มีการจัดนิทรรศการให้ความรู้โดยใช้เทคโนโลยี AR และ Multi Vision TV รวมไปถึงการสัมมนาโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจดิจิทัล การทําตลาดออนไลน์ หรือ e-Commerce การให้ความรู้แก่ประชาชนให้รู้เท่าทันกับโลกยุคดิจิทัล การใช้สื่อออนไลน์ในเชิงสร้างสรรค์ และประสบการณ์ด้านการขายสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้มีประชาชนในพื้นที่และใกล้เคียงเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจํานวนมากตลอดการจัดงานฯ เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2560 ณ ห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัลพลาซ่า ศาลายา จังหวัดนครปฐม
**************************** | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ เปิดคาราวาน “ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นสัญจร 2017” ครั้งแรกที่นครปฐม
วันอังคารที่ 13 มิถุนายน 2560
ปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ เปิดคาราวาน “ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นสัญจร 2017” ครั้งแรกที่นครปฐม
ปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ
นางสาววิไลลักษณ์ ชุลีวัฒนกุล ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานเปิดงานคาราวาน “ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นสัญจร 2017” ครั้งแรกในพื้นที่จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็น 1 ใน 12 จังหวัดเป้าหมาย ซึ่งเป็นกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ตามนโยบายรัฐบาลในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อขับเคลื่อนและผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้มีการพัฒนาไปสู่อนาคตอย่างยั่งยืน สําหรับกิจกรรมภายในงานฯ มีการจัดนิทรรศการให้ความรู้โดยใช้เทคโนโลยี AR และ Multi Vision TV รวมไปถึงการสัมมนาโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจดิจิทัล การทําตลาดออนไลน์ หรือ e-Commerce การให้ความรู้แก่ประชาชนให้รู้เท่าทันกับโลกยุคดิจิทัล การใช้สื่อออนไลน์ในเชิงสร้างสรรค์ และประสบการณ์ด้านการขายสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้มีประชาชนในพื้นที่และใกล้เคียงเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจํานวนมากตลอดการจัดงานฯ เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2560 ณ ห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัลพลาซ่า ศาลายา จังหวัดนครปฐม
**************************** | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/4491 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.ทส. ลงพื้นที่พบประชาชน อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา | วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม 2560
รมว.ทส. ลงพื้นที่พบประชาชน อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งเเวดล้อม ลงพื้นที่เพื่อพบประประชาชน
วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๐ พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมคณะ ลงพื้นที่เพื่อติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาที่ดิน พร้อมรับฟังปัญหาจากราษฎรในเรื่องที่ดินทํากินในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดปราจีนบุรี ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กล่าวว่า อุทยานแห่งชาติทับลาน มีปัญหาพื้นที่ทับซ้อนระหว่างหน่วยงานรัฐกับรัฐ และรัฐกับราษฎร จึงแบ่งการแก้ปัญหาออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
๑. กลุ่มที่อยู่เดิมและปฏิบัติตามกติกา
๒. กลุ่มคนที่อยู่ในพื้นที่และมีการเปลี่ยนมือ ซึ่งอาจจะผิดหรือถูกจึงต้องแก้ไขเป็นรายๆไป
๓. กลุ่มผิดกฎหมาย
โดยให้ยึดหลักการปฏิบัติ ๓ หลัก คือ
- หลักตามกฎหมาย
- ตามความเป็นอยู่ราษฎร
- และตามความสมบูรณ์ของพื้นที่ป่าไม้ อนึ่งในการแก้ไขปัญหาบุคคลกลุ่มที่ (๑) ขณะนี้ทางรัฐบาล โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ดําเนินการแก้ไขปัญหา คือ
กรณีที่ ๑ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ปรับปรุง พรบ.อุทยานฯ 2504 ซึ่งอยู่ในขั้นตอนกฤษฎีกาโดยมีมาตราที่สําคัญคือให้อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีอํานาจสามารถอนุญาตให้ราษฏรใช้ประโยชน์พื้นที่อุทยานฯได้ คาดว่าจะเสร็จภายใน 6-8 เดือน ตาม Road Map ของรัฐบาลชุดนี้
กรณีที่ ๒ หากมีปัญหากับ พรบ. อุทยานฯ ดังกล่าว กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็จะแก้ไขปัญหาโดยการเพิกถอนพื้นที่อุทยานฯให้กลับเป็นป่าสงวนฯ แล้วนํามาจัดเป็นพื้นที่ คทช.ให้แก่ประชาชนต่อไป | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.ทส. ลงพื้นที่พบประชาชน อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา
วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม 2560
รมว.ทส. ลงพื้นที่พบประชาชน อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งเเวดล้อม ลงพื้นที่เพื่อพบประประชาชน
วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๐ พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมคณะ ลงพื้นที่เพื่อติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาที่ดิน พร้อมรับฟังปัญหาจากราษฎรในเรื่องที่ดินทํากินในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดปราจีนบุรี ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กล่าวว่า อุทยานแห่งชาติทับลาน มีปัญหาพื้นที่ทับซ้อนระหว่างหน่วยงานรัฐกับรัฐ และรัฐกับราษฎร จึงแบ่งการแก้ปัญหาออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
๑. กลุ่มที่อยู่เดิมและปฏิบัติตามกติกา
๒. กลุ่มคนที่อยู่ในพื้นที่และมีการเปลี่ยนมือ ซึ่งอาจจะผิดหรือถูกจึงต้องแก้ไขเป็นรายๆไป
๓. กลุ่มผิดกฎหมาย
โดยให้ยึดหลักการปฏิบัติ ๓ หลัก คือ
- หลักตามกฎหมาย
- ตามความเป็นอยู่ราษฎร
- และตามความสมบูรณ์ของพื้นที่ป่าไม้ อนึ่งในการแก้ไขปัญหาบุคคลกลุ่มที่ (๑) ขณะนี้ทางรัฐบาล โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ดําเนินการแก้ไขปัญหา คือ
กรณีที่ ๑ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ปรับปรุง พรบ.อุทยานฯ 2504 ซึ่งอยู่ในขั้นตอนกฤษฎีกาโดยมีมาตราที่สําคัญคือให้อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีอํานาจสามารถอนุญาตให้ราษฏรใช้ประโยชน์พื้นที่อุทยานฯได้ คาดว่าจะเสร็จภายใน 6-8 เดือน ตาม Road Map ของรัฐบาลชุดนี้
กรณีที่ ๒ หากมีปัญหากับ พรบ. อุทยานฯ ดังกล่าว กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็จะแก้ไขปัญหาโดยการเพิกถอนพื้นที่อุทยานฯให้กลับเป็นป่าสงวนฯ แล้วนํามาจัดเป็นพื้นที่ คทช.ให้แก่ประชาชนต่อไป | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/6066 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีขอบคุณทุกภาคส่วน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเจ้าหน้าที่ ที่ทุ่มเทร่วมแก้ปัญหาโควิด-19 | วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน 2563
นายกรัฐมนตรีขอบคุณทุกภาคส่วน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเจ้าหน้าที่ ที่ทุ่มเทร่วมแก้ปัญหาโควิด-19
นายกรัฐมนตรีขอบคุณทุกภาคส่วน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเจ้าหน้าที่ ที่ทุ่มเทร่วมแก้ปัญหาโควิด-19
วันนี้ (9 เมษายน 2563) เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เป็นประธานการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ผ่าน ระบบ Video Conference นายกรัฐมนตรีได้ขอบคุณทุกภาคส่วน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเจ้าหน้าที่ทุกคน ที่ทุ่มเทเสียสละ อดทนเพื่อการทํางานสําคัญครั้งนี้ ทั้งนี้ ให้กําลังใจ และเข้าใจดีว่าการทํางานเพื่อประชาชนส่วนใหญ่ ประชาชนทั้งประเทศ ย่อมมีความยากลําบาก และเต็มไปด้วยอุปสรรค อาจจะมีทั้งผู้ที่มีเจตนาบริสุทธ์ ทั้งดี และไม่ดี จึงขอให้ทุกคนอดทน สร้างความเข้าใจชี้แจงประชาชนอย่างต่อเนื่อง ก่อนมีมาตรการใดๆ ออกมา
นายกรัฐมนตรีขอให้หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการแต่ละด้านได้ประสานงานกันอย่างใกล้ชิด ให้รัฐมนตรีทุกกระทรวงนํานโยบายไปช่วยปฏิบัติ ทั้งนี้ย้ําว่า นายกรัฐมนตรีไม่ได้ลดทอนอํานาจรัฐมนตรี เพียงแต่ต้องการให้มีการบูรณาการการทํางานร่วมกัน และขอควบคุมภาพรวมการทํางานอย่างใกล้ชิด
โดยการแก้ปัญหาประเด็นนี้ประกอบด้วยข้อมูลที่มีจํานวนมาก ขอให้กระชับ ผ่านการบริหารจัดการข้อมูล บูรณาการข้อมูล ที่ ศบค. เพื่อการวิเคราะห์ตัดสินใจนํามาใช้ในการประชาสัมพันธ์ได้ทันที
ในส่วนของ การเดินทางเข้า-ออกประเทศไทยมีความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ ผ่านระบบการกักตัวทั้ง State Quarantine และ Home Quarantine เป็นไปตามที่กระทรวงสาธารณสุขร่วมจัดการ เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจ และให้ความร่วมมือการคัดกรอง โดยกักกันต้องเข้มงวด ต้องมีความพร้อม ทํางานร่วมกันของทุกฝ่าย ด้านการประกาศ Curfew ยังไม่ปรับอะไรเพิ่มเติม ขอดําเนินการตามมาตรการที่ได้ประกาศไปก่อน โดยเมื่อวานนายกรัฐมนตรีได้ไปเยี่ยมผู้กักตัวตามมาตรการ State Quarantine ที่โรงแรมเดอะภัทรา ขอชื่นชม ขอบคุณเจ้าของโรงแรม และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขอให้ ศบค. พิจารณาอย่างใกล้ชิด เพื่อดูแลประชาชนที่อยู่ในการคัดกรอง และกําลังจะกลับมาเพิ่มเติม ให้เรียบร้อย ถูกต้องตามมาตรฐานการคัดกรอง
ทั้งนี้ การประกาศ Curfew จึงเป็นไปตามประกาศเดิม 22.00-04.00 น. และมีข้อยกเว้นตาม พ.ร.ก. กําหนด ทั้งนี้ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสานเพื่อแจ้งให้ประชาชนที่เกี่ยวข้องทราบ
ประเด็นที่เกี่ยวกับหน้ากากอนามัย หน้ากากอนามัยแบบปกติ ผลิตได้เพิ่มเป็น 2 ล้านชิ้นต่อวันแล้วคิดว่าด้วยจํานวนการผลิตเท่านี้จะลดปัญหาขาดแคลนได้บ้าง ส่วนหน้ากาก N95 และชุด PPE ยังมีปัญหาต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ ทั้งนี้ทั้งนั้นรัฐบาลจะเร่งดําเนินการเพื่ออํานวยความสะดวกให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข อย่างไรก็ดี การผลิต N95 มีมาตรฐานการผลิตที่อาศัยหลายปัจจัย และต้องผลิตให้ได้มาตรฐาน
ด้านมาตรการทางเศรษฐกิจ ขอบคุณทุกหน่วยงานที่ทํางานอย่างหนัก และทําให้เกิดผลในการช่วยเหลือประชาชน อย่างไรก็ดี การดําเนินการต้องผ่านมาตรการที่ถูกต้องตามระเบียบ หากไม่ถูกต้องจะต้องส่งเงินคืน และมีมาตรการลงโทษตามกฎหมาย และหากกฏหมายตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินไม่เพียงพอที่จะใช้ลงโทษต้องปรับเพิ่ม ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีให้ศึกษาวงเงินที่ใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจากทั่วโลก ให้พิจารณาตั้งคณะทํางานอย่างละเอียดรอบคอบ
ด้านการแพทย์ นายกรัฐมนตรี สั่งการให้สาธารณสุขพิจารณาดูมาตรการต่างๆ การดูแล ติดตามเพื่อตรวจสอบ รวมทั้งสาเหตุที่มีการติดเชื้อ ตามที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาด และจํานวนผู้ติดเชื้อทั้งในประเทศ และต่างประเทศ แหล่งที่มาของเชื้อต่างๆ โดยนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ตรวจสอบการคัดกรอง และรักษาในโรงพยาบาลทั้งเอกชน และโดยเฉพาะในภาคใต้ยังมีตัวเลขการแพร่ระบาด โดยในโอกาสนี้ กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า แบ่งการดูแล ดังนี้
1 PUI ผู้ป่วยแล้ว ดูแล
2 ผู้สัมผัสกับผู้ติดเชื้อ ทําการสอบสวน
3 ค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก โดยที่ภูเก็ตทําไปกว่า 1500 ราย
4 ดูแลการเฝ้าระวัง กําหนดเป็นจุดที่มีความเสี่ยงสูง
ทั้งนี้ สาธารณสุขรายงานว่า ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิต 1.26% อิตาลี 12.63% อังกฤษ 11.03% ถือว่าประเทศไทยดําเนินการได้ดี นายกรัฐมนตรีได้สั่งการขอให้มีการควบคุมการดําเนินการให้ดียิ่งขึ้น ให้จํานวนลดลงได้
ด้านจัดการคัดกรองและระบบกักตัวเพื่อเฝ้าระวัง นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานจัดการไม่ให้มีปัญหา โดยผ่านการบริหารแบบบูรณาการที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลที่เดินทางมาจากประเทศเสี่ยงให้ทยอยเดินทางกลับเพื่อรัฐบาลจะได้จัดระบบที่เหมาะสมรองรับ โดยพิจารณาการ State Quarantine สําหรับผู้ที่เดินทางมาทางอากาศ และดําเนินการ Local Quarantine ให้กับกลุ่มคนที่เดินทางผ่านด่านชายแดนทางบก ทั้งนี้ อย่างไรก็ดี นายกรัฐมนตรีให้พิจารณาแบ่งการเดินทางเข้าประเทศไทยเป็น 2 ประเภทคือคนไทยที่จะเดินทางจากต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเสี่ยง เพื่อกลับประเทศ และชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มต้องผ่านกระบวนการ State Quarantine ที่เหมาะสม ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาการดูแลคนไทยที่พักอาศัยในต่างประเทศแม้ว่าไม่ประสงค์จะเดินทางกลับประเทศก็ต้องดูแลให้ดี
นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ กระทรวงกลาโหมและมหาดไทยพิจารณาเตรียมการร่วมกันด้านการจัดการ State Quarantine โดยให้พิจารณาให้ละเอียด เพียงพอ ทั้งอุปกรณ์ บุคลากร ให้พร้อมใช้ และเป็นประโยชน์ โดยในสถานที่บางแห่งซึ่งได้ปรับเปลี่ยนใช้เป็นโรงพยาบาลในการรองรับผู้ป่วย ขอให้บันทึกแนวทางการรักษา การเตรียมรับมือสถานการณ์ ในรูปแบบต่างๆ ไว้ เพื่อเป็นประวัติศาสตร์และเป็นแนวทาง หากเกิดโรคระบาดใหม่ สิ่งที่บันทึกจะเป็นเสมือนคู่มือในการดําเนินการ รวมทั้งการใช้จ่ายงบประมาณ หลักเกณฑ์การเบิกจ่าย ข้อยกเว้นตาม พ.ร.ก. ฉุกเฉิน และ พ.ร.บ. โรคระบาด
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีสั่งการให้ประชาสัมพันธ์ชี้แจงสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนไม่ให้เกิดข้อสงสัย หน้ากากอนามัยแต่ละชนิดผลิตได้มากแค่ไหน ต้องการใช้จํานวนเท่าใด หน้ากากอนามัย N95 หน้ากากผ้า ตลอดจนให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นหลักในการให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับความพร้อมเรื่องยารักษาโรคว่ามีเพียงพอ
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้ขอบคุณทุกคน ทุกฝ่าย ในทุกระดับ ที่มีส่วนร่วมมือสานต่อการทํางานอย่างเรียบร้อย ในแต่ละด้าน สิ่งสําคัญคือ อย่าให้สิ่งที่มีการสื่อสารตีความผิดพลาดถูกนําออกไปเป็นประเด็นทางการเมือง ให้เจ้าหน้าที่ทุกคน ทุกหน่วยงานมีความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมาย และให้โฆษกกระทรวงต่างๆ ชี้แจงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานของตนเอง ควบคู่ไปกับการแถลงสถานการณ์ของโฆษก ศบค. ในแต่ละวัน | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีขอบคุณทุกภาคส่วน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเจ้าหน้าที่ ที่ทุ่มเทร่วมแก้ปัญหาโควิด-19
วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน 2563
นายกรัฐมนตรีขอบคุณทุกภาคส่วน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเจ้าหน้าที่ ที่ทุ่มเทร่วมแก้ปัญหาโควิด-19
นายกรัฐมนตรีขอบคุณทุกภาคส่วน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเจ้าหน้าที่ ที่ทุ่มเทร่วมแก้ปัญหาโควิด-19
วันนี้ (9 เมษายน 2563) เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เป็นประธานการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ผ่าน ระบบ Video Conference นายกรัฐมนตรีได้ขอบคุณทุกภาคส่วน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเจ้าหน้าที่ทุกคน ที่ทุ่มเทเสียสละ อดทนเพื่อการทํางานสําคัญครั้งนี้ ทั้งนี้ ให้กําลังใจ และเข้าใจดีว่าการทํางานเพื่อประชาชนส่วนใหญ่ ประชาชนทั้งประเทศ ย่อมมีความยากลําบาก และเต็มไปด้วยอุปสรรค อาจจะมีทั้งผู้ที่มีเจตนาบริสุทธ์ ทั้งดี และไม่ดี จึงขอให้ทุกคนอดทน สร้างความเข้าใจชี้แจงประชาชนอย่างต่อเนื่อง ก่อนมีมาตรการใดๆ ออกมา
นายกรัฐมนตรีขอให้หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการแต่ละด้านได้ประสานงานกันอย่างใกล้ชิด ให้รัฐมนตรีทุกกระทรวงนํานโยบายไปช่วยปฏิบัติ ทั้งนี้ย้ําว่า นายกรัฐมนตรีไม่ได้ลดทอนอํานาจรัฐมนตรี เพียงแต่ต้องการให้มีการบูรณาการการทํางานร่วมกัน และขอควบคุมภาพรวมการทํางานอย่างใกล้ชิด
โดยการแก้ปัญหาประเด็นนี้ประกอบด้วยข้อมูลที่มีจํานวนมาก ขอให้กระชับ ผ่านการบริหารจัดการข้อมูล บูรณาการข้อมูล ที่ ศบค. เพื่อการวิเคราะห์ตัดสินใจนํามาใช้ในการประชาสัมพันธ์ได้ทันที
ในส่วนของ การเดินทางเข้า-ออกประเทศไทยมีความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ ผ่านระบบการกักตัวทั้ง State Quarantine และ Home Quarantine เป็นไปตามที่กระทรวงสาธารณสุขร่วมจัดการ เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจ และให้ความร่วมมือการคัดกรอง โดยกักกันต้องเข้มงวด ต้องมีความพร้อม ทํางานร่วมกันของทุกฝ่าย ด้านการประกาศ Curfew ยังไม่ปรับอะไรเพิ่มเติม ขอดําเนินการตามมาตรการที่ได้ประกาศไปก่อน โดยเมื่อวานนายกรัฐมนตรีได้ไปเยี่ยมผู้กักตัวตามมาตรการ State Quarantine ที่โรงแรมเดอะภัทรา ขอชื่นชม ขอบคุณเจ้าของโรงแรม และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขอให้ ศบค. พิจารณาอย่างใกล้ชิด เพื่อดูแลประชาชนที่อยู่ในการคัดกรอง และกําลังจะกลับมาเพิ่มเติม ให้เรียบร้อย ถูกต้องตามมาตรฐานการคัดกรอง
ทั้งนี้ การประกาศ Curfew จึงเป็นไปตามประกาศเดิม 22.00-04.00 น. และมีข้อยกเว้นตาม พ.ร.ก. กําหนด ทั้งนี้ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสานเพื่อแจ้งให้ประชาชนที่เกี่ยวข้องทราบ
ประเด็นที่เกี่ยวกับหน้ากากอนามัย หน้ากากอนามัยแบบปกติ ผลิตได้เพิ่มเป็น 2 ล้านชิ้นต่อวันแล้วคิดว่าด้วยจํานวนการผลิตเท่านี้จะลดปัญหาขาดแคลนได้บ้าง ส่วนหน้ากาก N95 และชุด PPE ยังมีปัญหาต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ ทั้งนี้ทั้งนั้นรัฐบาลจะเร่งดําเนินการเพื่ออํานวยความสะดวกให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข อย่างไรก็ดี การผลิต N95 มีมาตรฐานการผลิตที่อาศัยหลายปัจจัย และต้องผลิตให้ได้มาตรฐาน
ด้านมาตรการทางเศรษฐกิจ ขอบคุณทุกหน่วยงานที่ทํางานอย่างหนัก และทําให้เกิดผลในการช่วยเหลือประชาชน อย่างไรก็ดี การดําเนินการต้องผ่านมาตรการที่ถูกต้องตามระเบียบ หากไม่ถูกต้องจะต้องส่งเงินคืน และมีมาตรการลงโทษตามกฎหมาย และหากกฏหมายตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินไม่เพียงพอที่จะใช้ลงโทษต้องปรับเพิ่ม ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีให้ศึกษาวงเงินที่ใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจากทั่วโลก ให้พิจารณาตั้งคณะทํางานอย่างละเอียดรอบคอบ
ด้านการแพทย์ นายกรัฐมนตรี สั่งการให้สาธารณสุขพิจารณาดูมาตรการต่างๆ การดูแล ติดตามเพื่อตรวจสอบ รวมทั้งสาเหตุที่มีการติดเชื้อ ตามที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาด และจํานวนผู้ติดเชื้อทั้งในประเทศ และต่างประเทศ แหล่งที่มาของเชื้อต่างๆ โดยนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ตรวจสอบการคัดกรอง และรักษาในโรงพยาบาลทั้งเอกชน และโดยเฉพาะในภาคใต้ยังมีตัวเลขการแพร่ระบาด โดยในโอกาสนี้ กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า แบ่งการดูแล ดังนี้
1 PUI ผู้ป่วยแล้ว ดูแล
2 ผู้สัมผัสกับผู้ติดเชื้อ ทําการสอบสวน
3 ค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก โดยที่ภูเก็ตทําไปกว่า 1500 ราย
4 ดูแลการเฝ้าระวัง กําหนดเป็นจุดที่มีความเสี่ยงสูง
ทั้งนี้ สาธารณสุขรายงานว่า ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิต 1.26% อิตาลี 12.63% อังกฤษ 11.03% ถือว่าประเทศไทยดําเนินการได้ดี นายกรัฐมนตรีได้สั่งการขอให้มีการควบคุมการดําเนินการให้ดียิ่งขึ้น ให้จํานวนลดลงได้
ด้านจัดการคัดกรองและระบบกักตัวเพื่อเฝ้าระวัง นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานจัดการไม่ให้มีปัญหา โดยผ่านการบริหารแบบบูรณาการที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลที่เดินทางมาจากประเทศเสี่ยงให้ทยอยเดินทางกลับเพื่อรัฐบาลจะได้จัดระบบที่เหมาะสมรองรับ โดยพิจารณาการ State Quarantine สําหรับผู้ที่เดินทางมาทางอากาศ และดําเนินการ Local Quarantine ให้กับกลุ่มคนที่เดินทางผ่านด่านชายแดนทางบก ทั้งนี้ อย่างไรก็ดี นายกรัฐมนตรีให้พิจารณาแบ่งการเดินทางเข้าประเทศไทยเป็น 2 ประเภทคือคนไทยที่จะเดินทางจากต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเสี่ยง เพื่อกลับประเทศ และชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มต้องผ่านกระบวนการ State Quarantine ที่เหมาะสม ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาการดูแลคนไทยที่พักอาศัยในต่างประเทศแม้ว่าไม่ประสงค์จะเดินทางกลับประเทศก็ต้องดูแลให้ดี
นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ กระทรวงกลาโหมและมหาดไทยพิจารณาเตรียมการร่วมกันด้านการจัดการ State Quarantine โดยให้พิจารณาให้ละเอียด เพียงพอ ทั้งอุปกรณ์ บุคลากร ให้พร้อมใช้ และเป็นประโยชน์ โดยในสถานที่บางแห่งซึ่งได้ปรับเปลี่ยนใช้เป็นโรงพยาบาลในการรองรับผู้ป่วย ขอให้บันทึกแนวทางการรักษา การเตรียมรับมือสถานการณ์ ในรูปแบบต่างๆ ไว้ เพื่อเป็นประวัติศาสตร์และเป็นแนวทาง หากเกิดโรคระบาดใหม่ สิ่งที่บันทึกจะเป็นเสมือนคู่มือในการดําเนินการ รวมทั้งการใช้จ่ายงบประมาณ หลักเกณฑ์การเบิกจ่าย ข้อยกเว้นตาม พ.ร.ก. ฉุกเฉิน และ พ.ร.บ. โรคระบาด
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีสั่งการให้ประชาสัมพันธ์ชี้แจงสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนไม่ให้เกิดข้อสงสัย หน้ากากอนามัยแต่ละชนิดผลิตได้มากแค่ไหน ต้องการใช้จํานวนเท่าใด หน้ากากอนามัย N95 หน้ากากผ้า ตลอดจนให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นหลักในการให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับความพร้อมเรื่องยารักษาโรคว่ามีเพียงพอ
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้ขอบคุณทุกคน ทุกฝ่าย ในทุกระดับ ที่มีส่วนร่วมมือสานต่อการทํางานอย่างเรียบร้อย ในแต่ละด้าน สิ่งสําคัญคือ อย่าให้สิ่งที่มีการสื่อสารตีความผิดพลาดถูกนําออกไปเป็นประเด็นทางการเมือง ให้เจ้าหน้าที่ทุกคน ทุกหน่วยงานมีความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมาย และให้โฆษกกระทรวงต่างๆ ชี้แจงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานของตนเอง ควบคู่ไปกับการแถลงสถานการณ์ของโฆษก ศบค. ในแต่ละวัน | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/28694 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กสร.ขอความร่วมมือนายจ้างกำชับลูกจ้างปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 [กระทรวงแรงงาน] | วันศุกร์ที่ 10 เมษายน 2563
กสร.ขอความร่วมมือนายจ้างกําชับลูกจ้างปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 [กระทรวงแรงงาน]
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ขอความร่วมมือสถานประกอบกิจการกํากับดูแลลูกจ้างปฏิบัติตามมาตรการภาครัฐอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า ตามที่ กสร.ได้ออกแนวทางในการขอความร่วมมือนายจ้าง ลูกจ้างเกี่ยวกับมาตรการเฝ้าระวัง การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด-19 เช่น การให้ความรู้แก่ลูกจ้าง ทําความสะอาดสถานที่ทํางานอย่างสม่ําเสมอ การตรวจคัดกรองลูกจ้างก่อนเข้าทํางาน เป็นต้น เพื่อให้การดําเนินการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสดังกล่าวเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ได้สั่งการให้พนักงานตรวจแรงงานติดตามการดําเนินการตามมาตรการดังกล่าว รวมไปถึงการดําเนินการตามมาตรการของหน่วยงานภาครัฐ เช่น มาตรการเว้นระยะห่างระยะห่างทางกายภาพ (Physical distancing) การสวมหน้ากากอนามัยระหว่างเดินทางไปกลับจากที่ทํางานและบ้านพัก การสลับเวลาในการรับประทานอาหารของพนักงานเพื่อลดความแออัด เป็นต้น รวมทั้งขอความร่วมมือนายจ้าง เจ้าของสถานประกอบกิจการให้กํากับดูแลลูกจ้างที่มาปฏิบัติงาน และลูกจ้างที่นายจ้างกําหนดให้ทํางานที่บ้าน (Work from home) ปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวด้วย
อธิบดีกสร. กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอให้ลูกจ้างที่มาปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการและที่ทํางานจากที่บ้านร่วมมือกันในการปฏิบัติตามมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด-19 ที่สถานประกอบกิจการและหน่วยงานภาครัฐกําหนดอย่างเคร่งครัดเพื่อร่วมกันป้องกันและการแพร่ระบาดของไวรัสดังกล่าว ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวสิทธิหน้าที่สามารถสอบถามได้ที่ สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด และสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครทุกพื้นที่ หรือโทรศัพท์สายด่วน 1506 กด 3 | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กสร.ขอความร่วมมือนายจ้างกำชับลูกจ้างปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 [กระทรวงแรงงาน]
วันศุกร์ที่ 10 เมษายน 2563
กสร.ขอความร่วมมือนายจ้างกําชับลูกจ้างปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 [กระทรวงแรงงาน]
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ขอความร่วมมือสถานประกอบกิจการกํากับดูแลลูกจ้างปฏิบัติตามมาตรการภาครัฐอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า ตามที่ กสร.ได้ออกแนวทางในการขอความร่วมมือนายจ้าง ลูกจ้างเกี่ยวกับมาตรการเฝ้าระวัง การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด-19 เช่น การให้ความรู้แก่ลูกจ้าง ทําความสะอาดสถานที่ทํางานอย่างสม่ําเสมอ การตรวจคัดกรองลูกจ้างก่อนเข้าทํางาน เป็นต้น เพื่อให้การดําเนินการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสดังกล่าวเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ได้สั่งการให้พนักงานตรวจแรงงานติดตามการดําเนินการตามมาตรการดังกล่าว รวมไปถึงการดําเนินการตามมาตรการของหน่วยงานภาครัฐ เช่น มาตรการเว้นระยะห่างระยะห่างทางกายภาพ (Physical distancing) การสวมหน้ากากอนามัยระหว่างเดินทางไปกลับจากที่ทํางานและบ้านพัก การสลับเวลาในการรับประทานอาหารของพนักงานเพื่อลดความแออัด เป็นต้น รวมทั้งขอความร่วมมือนายจ้าง เจ้าของสถานประกอบกิจการให้กํากับดูแลลูกจ้างที่มาปฏิบัติงาน และลูกจ้างที่นายจ้างกําหนดให้ทํางานที่บ้าน (Work from home) ปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวด้วย
อธิบดีกสร. กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอให้ลูกจ้างที่มาปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการและที่ทํางานจากที่บ้านร่วมมือกันในการปฏิบัติตามมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด-19 ที่สถานประกอบกิจการและหน่วยงานภาครัฐกําหนดอย่างเคร่งครัดเพื่อร่วมกันป้องกันและการแพร่ระบาดของไวรัสดังกล่าว ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวสิทธิหน้าที่สามารถสอบถามได้ที่ สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด และสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครทุกพื้นที่ หรือโทรศัพท์สายด่วน 1506 กด 3 | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/28770 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีตรวจเยี่ยมโครงการบ้านสุขภาวะผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้สูงอายุ ณ เทศบาลตำบลเขาพระงาม จ.ลพบุรี | วันเสาร์ที่ 8 กันยายน 2561
นายกรัฐมนตรีตรวจเยี่ยมโครงการบ้านสุขภาวะผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้สูงอายุ ณ เทศบาลตําบลเขาพระงาม จ.ลพบุรี
นายกรัฐมนตรีตรวจเยี่ยมโครงการบ้านสุขภาวะผู้ป่วยเรื้อรังและผู้สูงอายุ ณ เทศบาลตําบลเขาพระงาม จ.ลพบุรี ชื่นชมนวัตกรรมบ้านต้นแบบสุขภาวะฯ ช่วยส่งเสริมให้การบริการสาธารณะของรัฐบาลเป็นไปรวดเร็วยิ่งขึ้น ระบุขอให้ประชาชนร่วมมือพัฒนาประเทศไปพร้อมกับรัฐบาล
วันนี้ (7 กันยายน 2561) เวลา 12.30 น. ณ เทศบาลตําบลเขาพระงาม อําเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยพลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตรวจเยี่ยมโครงการบ้านสุขภาวะผู้ป่วยเรื้อรังและผู้สูงอายุ ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย โดยมีนายพูลสวัสดิ์ ถือคง นายกเทศมนตรีตําบลเขาพระงาม และประชาชนจากทุกภาคส่วนให้การต้อนรับ
นายกเทศมนตรีตําบลเขาพระงาม กล่าวรายงานว่าโครงการบ้านต้นแบบสุขภาวะผู้ป่วยเรื้อรังและผู้สูงอายุเกิดขึ้นในปี 2558 โดยเทศบาลตําบลเขาพระงาม จังหวัดลพบุรี ได้ให้บริการช่วยเหลือเรื่องสุขภาวะแบบองค์รวมทั้งด้านสุขภาพ กิจกรรม สังคม เทคโนโลยี และสภาพแวดล้อม โดยได้บูรณาการร่วมกับองค์กรเครือข่ายเข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งการจัดบริการของแต่ละบ้านไม่มีรูปแบบตายตัว ขึ้นอยู่กับสภาพและความต้องการของผู้ป่วย เช่น การปรับพื้นทางเดินให้เรียบเสมอกัน และลาดเอียงในบางจุด เพื่อให้สามารถเดินได้สะดวกขึ้น สัญญาณไซเรนขอความช่วยเหลือจากเพื่อนบ้าน รวมถึงโทรศัพท์มือถือที่เพียงกดปุ่มเดียวก็ส่งสัญญาณไปถึงกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกระทรวงมหาดไทย ของเทศบาล ให้เข้าช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ที่สําคัญคือมีเจ้าหน้าที่ อสม. ใกล้บ้านดูแลอย่างใกล้ชิด โดยโครงการบ้านต้นแบบสุขภาวะผู้ป่วยเรื้อรังฯ ดังกล่าวได้นํานวัตกรรมมาช่วยยกระดับสุขภาวะผู้ป่วยเรื้อรังและผู้สูงอายุที่ติดเตียง ที่มีความพร้อมและสมัครใจให้ได้รับบริการด้านสุขภาวะที่ครอบคลุมทุกมิติ เป็นการผสมผสานแนวคิดเรื่องที่อยู่อาศัย สุขภาวะ และการจัดการเชิงพื้นที่และเทคโนโลยีเข้าไว้ด้วยกัน นอกจากนี้ยังเป็นการสนับสนุนการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในการจัดบริการร่วมกันให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการได้อย่างแท้จริง
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้เยี่ยมชมกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วย กิจกรรม SAORI ซึ่งเป็นศิลปะบําบัดผ้าทอมือ “ซาโอริ” หรือผ้าทอแห่งจิตวิญญาณ เป็นการทอแบบอิสระ เพลิดเพลิน ไร้รูปแบบที่ตายตัว เป็นงานฝีมือกึ่งบําบัดรักษา และเป็นงานศิลปะ ที่เหมาะสมกับบุคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา และสามารถนํามาประยุกต์ใช้กับผู้สูงอายุที่มีความอ่อนล้าของกล้ามเนื้อในหลาย ๆ ส่วน การมีพัฒนาการที่ถดถอยจากวัยที่มากขึ้นรวมถึงมีการเคลื่อนไหวที่ช้าลง เทศบาลตําบลเขาพระงามได้นําเอาแนวทางการทอผ้านี้มาพัฒนาเป็นโครงการพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุ โดยการเริ่มต้นเซ็นบันทึกข้อตกลง (MOU) กับโรงเรียนลพบุรีปัญญานุกูล (โรงเรียนที่ได้มีการเซ็น MOU ร่วมกับสถาบันซาโอริ ประเทศญี่ปุ่น)
รวมทั้ง นายกรัฐมนตรีได้เยี่ยมชมกิจกรรม "กระบือบําบัด" เด็กออทิสติกของจังหวัดลพบุรี ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากการนํากระบือไทยจํานวนมากที่รอดตายจากการไถ่ชีวิต เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ นํามาเป็นเครื่องมือสําคัญในการบําบัดเด็กออทิสติกอย่างได้ผลมาแล้วถึง 13 รุ่นหรือกว่า 400 คน ภายใต้พระราชเสาวนีย์ ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ด้วยอุปนิสัยของกระบือที่เป็นมิตรกับคน มีความอดทน และฝึกได้ ศูนย์การทหารปืนใหญ่จึงนํามาใช้ใน “โครงการกระบือบําบัด” ร่วมกับเทศบาลตําบลเขาพระงามและโรงเรียนลพบุรีปัญญานุกูล ภายใต้ความอนุเคราะห์จากโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราชและโรงพยาบาลอานันทมหิดล ในรูปแบบการบูรณาการทํางานแบบ “ประชารัฐ” พร้อมประเมินพัฒนาการเด็ก ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการ
พร้อมทั้งเยี่ยมชมโครงการ "โรงเรียนของพ่อ สืบสานศาสตร์พระราชา" ที่เน้นคุณค่าการพัฒนาคนเป็นรากฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเทศบาลตําบลเขาพระงาม ได้น้อมนําพระบรมราโชวาทของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ต้องการให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ ด้วยการใช้ชีวิตอย่างสมดุล บนแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่มุ่งเน้นให้เด็กและเยาวชนได้มีการเติบโตเป็นคนดีของสังคม มีคุณภาพควบคู่คุณธรรม เด็ก ๆ มีจิตใจดี เอื้ออาทร จึงได้พัฒนาพื้นที่ของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตําบลเขาพระงาม จํานวน 60 ไร่ ให้เป็นแผ่นดินแห่งศาสตร์พระราชา โดยบูรณาการร่วมกับ “ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง” ในการออกแบบพื้นที่ดังกล่าว ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาและสร้างแนวความคิดเชิงคุณค่า Value Education
จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความยินดีกับเจ้าหน้าที่ของโครงการดังกล่าว ที่สามารถสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยในเวทีระดับนานาชาติ โดยโครงการนวัตกรรมบ้านต้นแบบสุขภาวะผู้ป่วยเรื้อรังและผู้สูงอายุจะช่วยส่งเสริมให้การบริการสาธารณะของรัฐบาลเป็นไปอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น พร้อมกล่าวพบปะกับประชาชนที่มาให้การต้อนรับว่า ให้พัฒนาศักยภาพด้านต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้น อาทิ ด้านการเกษตรต้องมีการนํานวัตกรรมที่เพิ่มมูลค่าของสินค้า เช่น แปรรูปข้าวเป็นน้ํามันรําข้าว อาหารสุขภาพและอื่น ๆ เพื่อก้าวสู่สังคมเกษตรกรรมพัฒนา พร้อมเรียนรู้และเปิดตลาดด้านการขายแบบ Online เช่น กระทรวงพาณิชย์ได้เปิดให้บริการลงทะเบียนสําหรับผู้ประกอบการบนเว็บไซต์ www.thaitrade.com ซึ่งสามารถส่งสินค้าผ่านไปรษณีย์ได้อย่างสะดวก ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนร่วมมือพัฒนาประเทศไปพร้อม ๆ กับรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลได้เร่งดําเนินการพัฒนาศักยภาพและเชื่อมโยงผู้มีรายได้ตั้งแต่ระดับบน กลาง และล่าง ซึ่งจะเป็นห่วงโซ่เศรษฐกิจที่สําคัญ จึงต้องรวมกลุ่มกันผลิต เช่น เกษตรแปลงใหญ่ อันจะนําไปสู่การวางแผนการตลาดล่วงหน้า สินค้าไม่ล้นตลาดและทําให้ราคาสินค้าไม่ตกต่ําอีกด้วย
.............................................................
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีตรวจเยี่ยมโครงการบ้านสุขภาวะผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้สูงอายุ ณ เทศบาลตำบลเขาพระงาม จ.ลพบุรี
วันเสาร์ที่ 8 กันยายน 2561
นายกรัฐมนตรีตรวจเยี่ยมโครงการบ้านสุขภาวะผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้สูงอายุ ณ เทศบาลตําบลเขาพระงาม จ.ลพบุรี
นายกรัฐมนตรีตรวจเยี่ยมโครงการบ้านสุขภาวะผู้ป่วยเรื้อรังและผู้สูงอายุ ณ เทศบาลตําบลเขาพระงาม จ.ลพบุรี ชื่นชมนวัตกรรมบ้านต้นแบบสุขภาวะฯ ช่วยส่งเสริมให้การบริการสาธารณะของรัฐบาลเป็นไปรวดเร็วยิ่งขึ้น ระบุขอให้ประชาชนร่วมมือพัฒนาประเทศไปพร้อมกับรัฐบาล
วันนี้ (7 กันยายน 2561) เวลา 12.30 น. ณ เทศบาลตําบลเขาพระงาม อําเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยพลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตรวจเยี่ยมโครงการบ้านสุขภาวะผู้ป่วยเรื้อรังและผู้สูงอายุ ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย โดยมีนายพูลสวัสดิ์ ถือคง นายกเทศมนตรีตําบลเขาพระงาม และประชาชนจากทุกภาคส่วนให้การต้อนรับ
นายกเทศมนตรีตําบลเขาพระงาม กล่าวรายงานว่าโครงการบ้านต้นแบบสุขภาวะผู้ป่วยเรื้อรังและผู้สูงอายุเกิดขึ้นในปี 2558 โดยเทศบาลตําบลเขาพระงาม จังหวัดลพบุรี ได้ให้บริการช่วยเหลือเรื่องสุขภาวะแบบองค์รวมทั้งด้านสุขภาพ กิจกรรม สังคม เทคโนโลยี และสภาพแวดล้อม โดยได้บูรณาการร่วมกับองค์กรเครือข่ายเข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งการจัดบริการของแต่ละบ้านไม่มีรูปแบบตายตัว ขึ้นอยู่กับสภาพและความต้องการของผู้ป่วย เช่น การปรับพื้นทางเดินให้เรียบเสมอกัน และลาดเอียงในบางจุด เพื่อให้สามารถเดินได้สะดวกขึ้น สัญญาณไซเรนขอความช่วยเหลือจากเพื่อนบ้าน รวมถึงโทรศัพท์มือถือที่เพียงกดปุ่มเดียวก็ส่งสัญญาณไปถึงกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกระทรวงมหาดไทย ของเทศบาล ให้เข้าช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ที่สําคัญคือมีเจ้าหน้าที่ อสม. ใกล้บ้านดูแลอย่างใกล้ชิด โดยโครงการบ้านต้นแบบสุขภาวะผู้ป่วยเรื้อรังฯ ดังกล่าวได้นํานวัตกรรมมาช่วยยกระดับสุขภาวะผู้ป่วยเรื้อรังและผู้สูงอายุที่ติดเตียง ที่มีความพร้อมและสมัครใจให้ได้รับบริการด้านสุขภาวะที่ครอบคลุมทุกมิติ เป็นการผสมผสานแนวคิดเรื่องที่อยู่อาศัย สุขภาวะ และการจัดการเชิงพื้นที่และเทคโนโลยีเข้าไว้ด้วยกัน นอกจากนี้ยังเป็นการสนับสนุนการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในการจัดบริการร่วมกันให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการได้อย่างแท้จริง
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้เยี่ยมชมกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วย กิจกรรม SAORI ซึ่งเป็นศิลปะบําบัดผ้าทอมือ “ซาโอริ” หรือผ้าทอแห่งจิตวิญญาณ เป็นการทอแบบอิสระ เพลิดเพลิน ไร้รูปแบบที่ตายตัว เป็นงานฝีมือกึ่งบําบัดรักษา และเป็นงานศิลปะ ที่เหมาะสมกับบุคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา และสามารถนํามาประยุกต์ใช้กับผู้สูงอายุที่มีความอ่อนล้าของกล้ามเนื้อในหลาย ๆ ส่วน การมีพัฒนาการที่ถดถอยจากวัยที่มากขึ้นรวมถึงมีการเคลื่อนไหวที่ช้าลง เทศบาลตําบลเขาพระงามได้นําเอาแนวทางการทอผ้านี้มาพัฒนาเป็นโครงการพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุ โดยการเริ่มต้นเซ็นบันทึกข้อตกลง (MOU) กับโรงเรียนลพบุรีปัญญานุกูล (โรงเรียนที่ได้มีการเซ็น MOU ร่วมกับสถาบันซาโอริ ประเทศญี่ปุ่น)
รวมทั้ง นายกรัฐมนตรีได้เยี่ยมชมกิจกรรม "กระบือบําบัด" เด็กออทิสติกของจังหวัดลพบุรี ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากการนํากระบือไทยจํานวนมากที่รอดตายจากการไถ่ชีวิต เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ นํามาเป็นเครื่องมือสําคัญในการบําบัดเด็กออทิสติกอย่างได้ผลมาแล้วถึง 13 รุ่นหรือกว่า 400 คน ภายใต้พระราชเสาวนีย์ ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ด้วยอุปนิสัยของกระบือที่เป็นมิตรกับคน มีความอดทน และฝึกได้ ศูนย์การทหารปืนใหญ่จึงนํามาใช้ใน “โครงการกระบือบําบัด” ร่วมกับเทศบาลตําบลเขาพระงามและโรงเรียนลพบุรีปัญญานุกูล ภายใต้ความอนุเคราะห์จากโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราชและโรงพยาบาลอานันทมหิดล ในรูปแบบการบูรณาการทํางานแบบ “ประชารัฐ” พร้อมประเมินพัฒนาการเด็ก ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการ
พร้อมทั้งเยี่ยมชมโครงการ "โรงเรียนของพ่อ สืบสานศาสตร์พระราชา" ที่เน้นคุณค่าการพัฒนาคนเป็นรากฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเทศบาลตําบลเขาพระงาม ได้น้อมนําพระบรมราโชวาทของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ต้องการให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ ด้วยการใช้ชีวิตอย่างสมดุล บนแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่มุ่งเน้นให้เด็กและเยาวชนได้มีการเติบโตเป็นคนดีของสังคม มีคุณภาพควบคู่คุณธรรม เด็ก ๆ มีจิตใจดี เอื้ออาทร จึงได้พัฒนาพื้นที่ของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตําบลเขาพระงาม จํานวน 60 ไร่ ให้เป็นแผ่นดินแห่งศาสตร์พระราชา โดยบูรณาการร่วมกับ “ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง” ในการออกแบบพื้นที่ดังกล่าว ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาและสร้างแนวความคิดเชิงคุณค่า Value Education
จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความยินดีกับเจ้าหน้าที่ของโครงการดังกล่าว ที่สามารถสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยในเวทีระดับนานาชาติ โดยโครงการนวัตกรรมบ้านต้นแบบสุขภาวะผู้ป่วยเรื้อรังและผู้สูงอายุจะช่วยส่งเสริมให้การบริการสาธารณะของรัฐบาลเป็นไปอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น พร้อมกล่าวพบปะกับประชาชนที่มาให้การต้อนรับว่า ให้พัฒนาศักยภาพด้านต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้น อาทิ ด้านการเกษตรต้องมีการนํานวัตกรรมที่เพิ่มมูลค่าของสินค้า เช่น แปรรูปข้าวเป็นน้ํามันรําข้าว อาหารสุขภาพและอื่น ๆ เพื่อก้าวสู่สังคมเกษตรกรรมพัฒนา พร้อมเรียนรู้และเปิดตลาดด้านการขายแบบ Online เช่น กระทรวงพาณิชย์ได้เปิดให้บริการลงทะเบียนสําหรับผู้ประกอบการบนเว็บไซต์ www.thaitrade.com ซึ่งสามารถส่งสินค้าผ่านไปรษณีย์ได้อย่างสะดวก ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนร่วมมือพัฒนาประเทศไปพร้อม ๆ กับรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลได้เร่งดําเนินการพัฒนาศักยภาพและเชื่อมโยงผู้มีรายได้ตั้งแต่ระดับบน กลาง และล่าง ซึ่งจะเป็นห่วงโซ่เศรษฐกิจที่สําคัญ จึงต้องรวมกลุ่มกันผลิต เช่น เกษตรแปลงใหญ่ อันจะนําไปสู่การวางแผนการตลาดล่วงหน้า สินค้าไม่ล้นตลาดและทําให้ราคาสินค้าไม่ตกต่ําอีกด้วย
.............................................................
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/15232 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีช่วยฯ ก.อุตฯ ลงพื้นที่เยี่ยมชมศูนย์หัตถกรรมผ้านิศาชล และติดตามความคืบหน้าโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (CIV) หมู่บ้านจอมแจ้ง จ.หนองคาย | วันอังคารที่ 11 ธันวาคม 2561
รัฐมนตรีช่วยฯ ก.อุตฯ ลงพื้นที่เยี่ยมชมศูนย์หัตถกรรมผ้านิศาชล และติดตามความคืบหน้าโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (CIV) หมู่บ้านจอมแจ้ง จ.หนองคาย
นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมศูนย์หัตถกรรมผ้านิศาชล จ.หนองคาย ซึ่งเป็นศูนย์อนุรักษ์ภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวอีสาน ในการทอผ้าแบบโบราณ
เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2561 นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และนายภานุวัฒน์ ตริยางกรูศรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รักษาการผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมศูนย์หัตถกรรมผ้านิศาชล จ.หนองคาย ซึ่งเป็นศูนย์อนุรักษ์ภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวอีสาน ในการทอผ้าแบบโบราณ โดยมีคุณณิศาชณ บุปผาสังข์ เจ้าของร้านนิศาชล ผู้บุกเบิกนําลายผ้าเก่าของชาวอีสานมาฟื้นฟู อนุรักษ์ และพัฒนาให้เกิดลายผ้าใหม่ ๆ ให้การต้อนรับ ปัจจุบันศูนย์หัตถกรรมผ้านิศาชล ผลิตและจําหน่ายผ้าทอมือพื้นเมืองอีสาน เช่น ผ้ามัดหมี่ย้อมคราม ผ้าไหมลายหมี่-ขิด ผ้าฝ้ายย้อมคราม โดยใช้การทอผ้าและการย้อมสีแบบโบราณ บวกกับเทคนิคที่ทันสมัยในปัจจุบัน ทําให้ได้ผ้าฝ้ายเนื้อละเอียดไม่หยาบ มีสีสันสวยงาม สีไม่ตกเนื้อผ้านิ่ม ใส่สบายไม่อับชื้น มีลวดลายสวยงามเป็นเอกลักษณ์ เช่น ลายนาคเกี้ยว ลายกุหลาบพันปี ซึ่งมีจุดเด่นในการเล่าเรื่องราวแทรกลงไปในลายผ้า ทําให้ทราบถึงต้นกําเนิดและที่มาของผ้าผืนนั้น ซึ่งศูนย์หัตถกรรมผ้านิศาชล ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากกระทรวงอุตสาหกรรมในการพัฒนาเทคนิคการออกแบบลายผ้าและเทคนิคการย้อมสี ภายใต้โครงการพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาทักษะการผลิต และกระบวนการผลิตของผู้ประกอบการที่สมัครเป็นสมาชิก
จากนั้นรัฐมนตรีช่วยฯ สมชาย และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (CIV) หมู่บ้านจอมแจ้ง ซึ่งดําเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย ยึดอาชีพทํานาเป็นหลัก และมีการรวมกลุ่มกันทําอาชีพเสริม อาทิ การทําไข่เค็ม การสานกระติบ ขนมถั่วตัด และน้ําพริกปลาร้า เพื่อเพิ่มรายได้ มีการบริหารจัดการภายในชุมชนได้ดี พร้อมทั้งพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่พักโฮมสเตย์ ที่มีจุดชมวิวทิวทัศน์และบรรยากาศริมฝั่งแม่น้ําโขง | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีช่วยฯ ก.อุตฯ ลงพื้นที่เยี่ยมชมศูนย์หัตถกรรมผ้านิศาชล และติดตามความคืบหน้าโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (CIV) หมู่บ้านจอมแจ้ง จ.หนองคาย
วันอังคารที่ 11 ธันวาคม 2561
รัฐมนตรีช่วยฯ ก.อุตฯ ลงพื้นที่เยี่ยมชมศูนย์หัตถกรรมผ้านิศาชล และติดตามความคืบหน้าโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (CIV) หมู่บ้านจอมแจ้ง จ.หนองคาย
นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมศูนย์หัตถกรรมผ้านิศาชล จ.หนองคาย ซึ่งเป็นศูนย์อนุรักษ์ภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวอีสาน ในการทอผ้าแบบโบราณ
เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2561 นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และนายภานุวัฒน์ ตริยางกรูศรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รักษาการผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมศูนย์หัตถกรรมผ้านิศาชล จ.หนองคาย ซึ่งเป็นศูนย์อนุรักษ์ภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวอีสาน ในการทอผ้าแบบโบราณ โดยมีคุณณิศาชณ บุปผาสังข์ เจ้าของร้านนิศาชล ผู้บุกเบิกนําลายผ้าเก่าของชาวอีสานมาฟื้นฟู อนุรักษ์ และพัฒนาให้เกิดลายผ้าใหม่ ๆ ให้การต้อนรับ ปัจจุบันศูนย์หัตถกรรมผ้านิศาชล ผลิตและจําหน่ายผ้าทอมือพื้นเมืองอีสาน เช่น ผ้ามัดหมี่ย้อมคราม ผ้าไหมลายหมี่-ขิด ผ้าฝ้ายย้อมคราม โดยใช้การทอผ้าและการย้อมสีแบบโบราณ บวกกับเทคนิคที่ทันสมัยในปัจจุบัน ทําให้ได้ผ้าฝ้ายเนื้อละเอียดไม่หยาบ มีสีสันสวยงาม สีไม่ตกเนื้อผ้านิ่ม ใส่สบายไม่อับชื้น มีลวดลายสวยงามเป็นเอกลักษณ์ เช่น ลายนาคเกี้ยว ลายกุหลาบพันปี ซึ่งมีจุดเด่นในการเล่าเรื่องราวแทรกลงไปในลายผ้า ทําให้ทราบถึงต้นกําเนิดและที่มาของผ้าผืนนั้น ซึ่งศูนย์หัตถกรรมผ้านิศาชล ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากกระทรวงอุตสาหกรรมในการพัฒนาเทคนิคการออกแบบลายผ้าและเทคนิคการย้อมสี ภายใต้โครงการพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาทักษะการผลิต และกระบวนการผลิตของผู้ประกอบการที่สมัครเป็นสมาชิก
จากนั้นรัฐมนตรีช่วยฯ สมชาย และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (CIV) หมู่บ้านจอมแจ้ง ซึ่งดําเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย ยึดอาชีพทํานาเป็นหลัก และมีการรวมกลุ่มกันทําอาชีพเสริม อาทิ การทําไข่เค็ม การสานกระติบ ขนมถั่วตัด และน้ําพริกปลาร้า เพื่อเพิ่มรายได้ มีการบริหารจัดการภายในชุมชนได้ดี พร้อมทั้งพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่พักโฮมสเตย์ ที่มีจุดชมวิวทิวทัศน์และบรรยากาศริมฝั่งแม่น้ําโขง | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/17424 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมช.ศธ."พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์" ประชุมทบทวนแผนงานภารกิจการจัดการศึกษาแบบบูรณาการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดน ของจังหวัดกาญจนบุรี | วันจันทร์ที่ 11 กันยายน 2560
รมช.ศธ."พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์" ประชุมทบทวนแผนงานภารกิจการจัดการศึกษาแบบบูรณาการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และการจัดทําแผนพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดน ของจังหวัดกาญจนบุรี
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบนโยบายการจัดการศึกษาแบบบูรณาการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และการจัดทําแผนพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดน ในการประชุมคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดกาญจนบุรี
เมื่อวันศุกร์ที่ 8 กันยายน 2560 ณ ห้องประชุมแควใหญ่ ศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี โดยมีนายอํานาจ วิชยานุวัติ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ, นายรณชัย จิตรวิเศษ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี รวมทั้งคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด และคณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ และผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัด เข้าร่วมกว่า 50 คน
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์กล่าวมีใจความตอนหนึ่งว่า การเดินทางมาครั้งนี้เพื่อพบปะและหารือทําความเข้าใจกับคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด(กศจ.)คณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับแนวทางการทบทวนแผนงานภารกิจการจัดการศึกษาแบบบูรณาการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และการจัดทําแผนพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดน ของจังหวัดกาญจนบุรีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาในพื้นที่พิเศษ “3 พื้นที่ 5 ภารกิจ” ตามโครงการประชุมสัมมนา "มิติการศึกษา พัฒนาพื้นที่พิเศษ เดินหน้าประเทศไทย มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" (Education Dimension : Development of the Special Economic Zones to lead Thailand towards Stability, Prosperity and Sustainability) ที่จะจัดในช่วงปลายเดือนกันยายนนี้ ที่จังหวัดชลบุรี
ในส่วนของจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดชายแดนด้านทิศตะวันตกของประเทศมีความเกี่ยวข้องใน 2 ภารกิจหลักคือ
1)การจัดทําแผนการศึกษาแบบบูรณาการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษกาญจนบุรี (KanchanaburiSpecialEconomic DevelopmentZone) ระยะ5 ปี (พ.ศ.2560-2564)ภายใต้วิสัยทัศน์ “สร้างคนดี มีคุณภาพ ขับเคลื่อนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ”ซึ่งประกอบด้วย 2 ตําบลในอําเภอเมืองกาญจนบุรี ได้แก่ ต.แก่งเสี้ยน และ ต.บ้านเก่าเพื่อให้เป็นเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษที่มีศักยภาพใน 4 ด้าน คือ นิคมอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การเกษตรกรรม และการค้าผ่านแดน โดยดําเนินงานด้วยกลยุทธ์สําคัญ 4 ประการ ได้แก่ สนับสนุนพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ สนับสนุนโครงการพื้นฐาน สนับสนุน SMEs และลงทุนต่อเนื่อง และจัดระเบียบพื้นที่เศรษฐกิจชายแดน
2) การจัดทําแผนพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดนซึ่งเป็นหนึ่งในจังหวัดชายแดนด้านตะวันตกแถบเทือกเขาตะนาวศรี(นอกจากจังหวัดราชบุรี, เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร และระนอง)ที่มีอาณาเขตติดกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาภายใต้วิสัยทัศน์ “ประชากรพื้นที่ชายแดนจังหวัดกาญจนบุรี เป็นคนดี มีคุณภาพ อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข บนพื้นฐานความพอเพียง” เพื่อต้องการให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชน ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง มีทักษะอาชีพ การทํางานสอดคล้องกับบริบทและความต้องการของพื้นที่ นําไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างมีความสุข
จากการประชุมร่วมกันครั้งนี้ เห็นว่าจังหวัดกาญจนบุรีสามารถดําเนินการได้ตามกรอบงาน มีความร่วมมือ ร่วมใจ และบูรณาการการจัดทําแผนในระดับน่าพึงพอใจแต่เมื่อมีแผนที่ดีแล้วต้องนําไปสู่การปฏิบัติที่ดีด้วย จึงจะเกิดผลสําเร็จ ดังนั้นการนําแผนไปสู่ปฏิบัติเป็นเรื่องสําคัญที่ทุกคนต้องตระหนักให้มาก และในฐานะที่ กศจ. เป็นหน่วยงานขับเคลื่อนที่สําคัญในระดับพื้นที่ เชื่อว่าจะสามารถนําแผนที่ดีที่ได้ร่วมกันจัดทําขึ้น นําไปสู่การปฏิบัติที่ดีด้วย พร้อมสร้างการรับรู้ในทุกระดับให้ครบถ้วน ทั้งระดับข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ระดับหน่วยงาน สถานศึกษาต่าง ๆ ไปจนถึงชุมชนสังคม ให้มีความเข้าใจถึงงานการพัฒนากําลังคน ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สําคัญที่จะไปพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และด้านอื่น ๆ ของจังหวัดให้ก้าวไปข้างหน้าได้และขอให้ใช้จุดแข็งและโอกาสในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด พร้อมที่จะนําแผนไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ตลอดจนน้อมนําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ศาสตร์พระราชา หลักการทรงงาน และหลักธรรมาภิบาลไปประยุกต์ใช้ในการจัดทําแผนการศึกษาอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อให้เป้าหมายสุดท้ายของผู้เรียนมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน, เป็นคนดีมีคุณภาพ จิตสาธารณะ, น้อมนําศาสตร์พระราชามาประยุกต์ และมีทักษะชีวิต
สําหรับผลการดําเนินงานขับเคลื่อนการจัดการศึกษาของจังหวัดกาญจนบุรี มีบางประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
การศึกษาขั้นพื้นฐานมีการจัดการศึกษาแบบบูรณาการใน 4 โรงเรียนนําร่อง (โรงเรียนเทพมงคลรังษี, โรงเรียนบ้านห้วยน้ําขาว, โรงเรียนวัดวังก์วิเวการาม, โรงเรียนบ้านห้วยมาลัย) เช่น
- การพัฒนาหลักสูตรเพื่อจัดการศึกษาแบบบูรณาการ8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เป็นการสร้างอาชีพ ทําให้เห็นคุณค่าของสังคมชุมชน และสามารถทํางานร่วมกับผู้อื่นได้
- เพิ่มวิชาการเรียนรู้อาทิ วิชาสังคมวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อการทําธุรกิจ ชั้น ม.1, วิชาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ชั้น ม.2, วิชาการท่องเที่ยวและการจัดการสินค้าเกษตร ชั้น ม.3, วิชาเศรษฐศาสตร์กับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ชั้น ม.5 เป็นต้น พร้อมร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีในโครงการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาเมียนมาเพื่อการสื่อสาร
- จัดการศึกษาเรียนร่วม (หลักสูตรทวิศึกษา)ในสาขาการบัญชี, ช่างไฟฟ้ากําลัง, ช่างยนต์ เป็นต้น
- กิจกรรมส่งเสริมอาชีพเพื่อหารายได้ระหว่างเรียน อาทิ การจักสาน, การค้าออนไลน์, นาฏศิลป์, ก๋วยเตี๋ยวห้วยน้ําขาว-ทวาย, การแปรรูปกระเจี๊ยบ, ช่างอัญมณี
การอาชีวศึกษาได้ดําเนินการจัดการศึกษาในวิชาสามัญและหลักสูตรระยะสั้น รองรับการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมของประเทศ ทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมเดิม (First S-Curve) และอุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve) ไม่ว่าจะเป็นสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม ชิ้นส่วนยานยนต์ ตลอดจนระบบโลจิสติกส์ รองรับการค้าขายผ่านด่านถาวรชายแดน อาทิ ด่านถาวรบ้านพุน้ําร้อน ตําบลบ้านเก่า อําเภอเมืองกาญจนบุรี
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยได้จัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับเด็กและเยาวชนในบริเวณแนวชายแดน การจัดกิจกรรมส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต ด้วยหน่วยเคลื่อนที่เร็ว เพื่อให้ความรู้ด้านทักษะอาชีพ การค้าขายแก่ประชาชนในตําบลต่าง ๆ พร้อมฉายหนังกลางแปลงสารคดีความรู้ พระราชกรณียกิจ ส่งเสริมความรักชาติ ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น พร้อมทั้งตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชนไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวง เพื่อส่งเสริมการรู้หนังสือของประชาชน ตลอดจนตั้งศูนย์ฝึกอาชีพชายแดน ส่งเสริมการมีงานทํา และพัฒนาอบรมนักประชาสัมพันธ์ระดับท้องถิ่น เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างภาครัฐกับประชาชน ชุมชน
ข้อเสนอแนะอื่น ๆ จากที่ประชุมในการจัดการศึกษา
การจัดการศึกษาไม่ควรเน้นเฉพาะเรื่องวิชาการหรือการมีอาชีพเท่านั้นแต่ควรเน้นการสร้างคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีคุณธรรมจริยธรรม ด้วยกิจกรรมลูกเสือเนตรนารี
การเตรียมความพร้อมหน่วยงานจัดการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานที่ครบถ้วนสมบูรณ์ พร้อมใช้งาน เป็นเรื่องจําเป็นเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทํางานให้สมบูรณ์
การยกระดับจุดแข็งให้มีมาตรฐานมากขึ้นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้าและการบริการ อาทิ พัฒนานวดแผนโบราณเป็นศูนย์สปา การดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น
การส่งเสริมศักยภาพนักเรียนนักศึกษาด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่รองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี อาทิ สายเคเบิ้ลส่งสัญญาณต่าง ๆ เป็นต้น
การนําต้นแบบการดําเนินงานหรือโมเดลที่ดี ๆ ที่มีอยู่แล้วมาประยุกต์ใช้กับการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ อาทิ สตูลโมเดล แก้ไขปัญหาเด็กออกกลางคัน เป็นต้น
นวรัตน์ รามสูต, บัลลังก์ โรหิตเสถียร: สรุป/รายงาน
ยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี: ถ่ายภาพ | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมช.ศธ."พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์" ประชุมทบทวนแผนงานภารกิจการจัดการศึกษาแบบบูรณาการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดน ของจังหวัดกาญจนบุรี
วันจันทร์ที่ 11 กันยายน 2560
รมช.ศธ."พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์" ประชุมทบทวนแผนงานภารกิจการจัดการศึกษาแบบบูรณาการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และการจัดทําแผนพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดน ของจังหวัดกาญจนบุรี
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบนโยบายการจัดการศึกษาแบบบูรณาการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และการจัดทําแผนพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดน ในการประชุมคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดกาญจนบุรี
เมื่อวันศุกร์ที่ 8 กันยายน 2560 ณ ห้องประชุมแควใหญ่ ศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี โดยมีนายอํานาจ วิชยานุวัติ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ, นายรณชัย จิตรวิเศษ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี รวมทั้งคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด และคณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ และผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัด เข้าร่วมกว่า 50 คน
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์กล่าวมีใจความตอนหนึ่งว่า การเดินทางมาครั้งนี้เพื่อพบปะและหารือทําความเข้าใจกับคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด(กศจ.)คณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับแนวทางการทบทวนแผนงานภารกิจการจัดการศึกษาแบบบูรณาการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และการจัดทําแผนพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดน ของจังหวัดกาญจนบุรีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาในพื้นที่พิเศษ “3 พื้นที่ 5 ภารกิจ” ตามโครงการประชุมสัมมนา "มิติการศึกษา พัฒนาพื้นที่พิเศษ เดินหน้าประเทศไทย มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" (Education Dimension : Development of the Special Economic Zones to lead Thailand towards Stability, Prosperity and Sustainability) ที่จะจัดในช่วงปลายเดือนกันยายนนี้ ที่จังหวัดชลบุรี
ในส่วนของจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดชายแดนด้านทิศตะวันตกของประเทศมีความเกี่ยวข้องใน 2 ภารกิจหลักคือ
1)การจัดทําแผนการศึกษาแบบบูรณาการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษกาญจนบุรี (KanchanaburiSpecialEconomic DevelopmentZone) ระยะ5 ปี (พ.ศ.2560-2564)ภายใต้วิสัยทัศน์ “สร้างคนดี มีคุณภาพ ขับเคลื่อนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ”ซึ่งประกอบด้วย 2 ตําบลในอําเภอเมืองกาญจนบุรี ได้แก่ ต.แก่งเสี้ยน และ ต.บ้านเก่าเพื่อให้เป็นเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษที่มีศักยภาพใน 4 ด้าน คือ นิคมอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การเกษตรกรรม และการค้าผ่านแดน โดยดําเนินงานด้วยกลยุทธ์สําคัญ 4 ประการ ได้แก่ สนับสนุนพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ สนับสนุนโครงการพื้นฐาน สนับสนุน SMEs และลงทุนต่อเนื่อง และจัดระเบียบพื้นที่เศรษฐกิจชายแดน
2) การจัดทําแผนพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดนซึ่งเป็นหนึ่งในจังหวัดชายแดนด้านตะวันตกแถบเทือกเขาตะนาวศรี(นอกจากจังหวัดราชบุรี, เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร และระนอง)ที่มีอาณาเขตติดกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาภายใต้วิสัยทัศน์ “ประชากรพื้นที่ชายแดนจังหวัดกาญจนบุรี เป็นคนดี มีคุณภาพ อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข บนพื้นฐานความพอเพียง” เพื่อต้องการให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชน ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง มีทักษะอาชีพ การทํางานสอดคล้องกับบริบทและความต้องการของพื้นที่ นําไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างมีความสุข
จากการประชุมร่วมกันครั้งนี้ เห็นว่าจังหวัดกาญจนบุรีสามารถดําเนินการได้ตามกรอบงาน มีความร่วมมือ ร่วมใจ และบูรณาการการจัดทําแผนในระดับน่าพึงพอใจแต่เมื่อมีแผนที่ดีแล้วต้องนําไปสู่การปฏิบัติที่ดีด้วย จึงจะเกิดผลสําเร็จ ดังนั้นการนําแผนไปสู่ปฏิบัติเป็นเรื่องสําคัญที่ทุกคนต้องตระหนักให้มาก และในฐานะที่ กศจ. เป็นหน่วยงานขับเคลื่อนที่สําคัญในระดับพื้นที่ เชื่อว่าจะสามารถนําแผนที่ดีที่ได้ร่วมกันจัดทําขึ้น นําไปสู่การปฏิบัติที่ดีด้วย พร้อมสร้างการรับรู้ในทุกระดับให้ครบถ้วน ทั้งระดับข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ระดับหน่วยงาน สถานศึกษาต่าง ๆ ไปจนถึงชุมชนสังคม ให้มีความเข้าใจถึงงานการพัฒนากําลังคน ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สําคัญที่จะไปพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และด้านอื่น ๆ ของจังหวัดให้ก้าวไปข้างหน้าได้และขอให้ใช้จุดแข็งและโอกาสในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด พร้อมที่จะนําแผนไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ตลอดจนน้อมนําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ศาสตร์พระราชา หลักการทรงงาน และหลักธรรมาภิบาลไปประยุกต์ใช้ในการจัดทําแผนการศึกษาอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อให้เป้าหมายสุดท้ายของผู้เรียนมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน, เป็นคนดีมีคุณภาพ จิตสาธารณะ, น้อมนําศาสตร์พระราชามาประยุกต์ และมีทักษะชีวิต
สําหรับผลการดําเนินงานขับเคลื่อนการจัดการศึกษาของจังหวัดกาญจนบุรี มีบางประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
การศึกษาขั้นพื้นฐานมีการจัดการศึกษาแบบบูรณาการใน 4 โรงเรียนนําร่อง (โรงเรียนเทพมงคลรังษี, โรงเรียนบ้านห้วยน้ําขาว, โรงเรียนวัดวังก์วิเวการาม, โรงเรียนบ้านห้วยมาลัย) เช่น
- การพัฒนาหลักสูตรเพื่อจัดการศึกษาแบบบูรณาการ8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เป็นการสร้างอาชีพ ทําให้เห็นคุณค่าของสังคมชุมชน และสามารถทํางานร่วมกับผู้อื่นได้
- เพิ่มวิชาการเรียนรู้อาทิ วิชาสังคมวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อการทําธุรกิจ ชั้น ม.1, วิชาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ชั้น ม.2, วิชาการท่องเที่ยวและการจัดการสินค้าเกษตร ชั้น ม.3, วิชาเศรษฐศาสตร์กับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ชั้น ม.5 เป็นต้น พร้อมร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีในโครงการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาเมียนมาเพื่อการสื่อสาร
- จัดการศึกษาเรียนร่วม (หลักสูตรทวิศึกษา)ในสาขาการบัญชี, ช่างไฟฟ้ากําลัง, ช่างยนต์ เป็นต้น
- กิจกรรมส่งเสริมอาชีพเพื่อหารายได้ระหว่างเรียน อาทิ การจักสาน, การค้าออนไลน์, นาฏศิลป์, ก๋วยเตี๋ยวห้วยน้ําขาว-ทวาย, การแปรรูปกระเจี๊ยบ, ช่างอัญมณี
การอาชีวศึกษาได้ดําเนินการจัดการศึกษาในวิชาสามัญและหลักสูตรระยะสั้น รองรับการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมของประเทศ ทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมเดิม (First S-Curve) และอุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve) ไม่ว่าจะเป็นสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม ชิ้นส่วนยานยนต์ ตลอดจนระบบโลจิสติกส์ รองรับการค้าขายผ่านด่านถาวรชายแดน อาทิ ด่านถาวรบ้านพุน้ําร้อน ตําบลบ้านเก่า อําเภอเมืองกาญจนบุรี
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยได้จัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับเด็กและเยาวชนในบริเวณแนวชายแดน การจัดกิจกรรมส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต ด้วยหน่วยเคลื่อนที่เร็ว เพื่อให้ความรู้ด้านทักษะอาชีพ การค้าขายแก่ประชาชนในตําบลต่าง ๆ พร้อมฉายหนังกลางแปลงสารคดีความรู้ พระราชกรณียกิจ ส่งเสริมความรักชาติ ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น พร้อมทั้งตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชนไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวง เพื่อส่งเสริมการรู้หนังสือของประชาชน ตลอดจนตั้งศูนย์ฝึกอาชีพชายแดน ส่งเสริมการมีงานทํา และพัฒนาอบรมนักประชาสัมพันธ์ระดับท้องถิ่น เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างภาครัฐกับประชาชน ชุมชน
ข้อเสนอแนะอื่น ๆ จากที่ประชุมในการจัดการศึกษา
การจัดการศึกษาไม่ควรเน้นเฉพาะเรื่องวิชาการหรือการมีอาชีพเท่านั้นแต่ควรเน้นการสร้างคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีคุณธรรมจริยธรรม ด้วยกิจกรรมลูกเสือเนตรนารี
การเตรียมความพร้อมหน่วยงานจัดการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานที่ครบถ้วนสมบูรณ์ พร้อมใช้งาน เป็นเรื่องจําเป็นเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทํางานให้สมบูรณ์
การยกระดับจุดแข็งให้มีมาตรฐานมากขึ้นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้าและการบริการ อาทิ พัฒนานวดแผนโบราณเป็นศูนย์สปา การดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น
การส่งเสริมศักยภาพนักเรียนนักศึกษาด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่รองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี อาทิ สายเคเบิ้ลส่งสัญญาณต่าง ๆ เป็นต้น
การนําต้นแบบการดําเนินงานหรือโมเดลที่ดี ๆ ที่มีอยู่แล้วมาประยุกต์ใช้กับการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ อาทิ สตูลโมเดล แก้ไขปัญหาเด็กออกกลางคัน เป็นต้น
นวรัตน์ รามสูต, บัลลังก์ โรหิตเสถียร: สรุป/รายงาน
ยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี: ถ่ายภาพ | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/6558 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมช.เกษตรฯ มอบโล่รางวัลแปลงใหญ่ปศุสัตว์ดีเด่น ชูสหกรณ์โคขุนปางศิลาทองต้นแบบความสำเร็จขยายผลทั่วประเทศ | วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2562
รมช.เกษตรฯ มอบโล่รางวัลแปลงใหญ่ปศุสัตว์ดีเด่น ชูสหกรณ์โคขุนปางศิลาทองต้นแบบความสําเร็จขยายผลทั่วประเทศ
รมช.เกษตรฯ มอบโล่รางวัลแปลงใหญ่ปศุสัตว์ดีเด่น ชูสหกรณ์โคขุนปางศิลาทองต้นแบบความสําเร็จขยายผลทั่วประเทศ ดันขุดบ่อบาดาลสร้างระบบน้ําที่ดีในแปลงใหญ่กว่า 1,000 บ่อ
นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในโอกาสเป็นประธานพิธีมอบโล่รางวัล ผลการประกวดแปลงใหญ่ปศุสัตว์ดีเด่น ปี 2562 ณ สหกรณ์โคขุนปางศิลาทอง ต.หินดาต อ.ปางศิลาทอง จ.กําแพงเพชร ว่า การดําเนินโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่เป็นนโยบายของกระทรวงเกษตรฯ โดยให้เกษตรกรรวมกลุ่มกัน เป้าหมายลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต โดยมีคณะกรรมการเครือข่ายแปลงใหญ่ร่วมกับภาครัฐขับเคลื่อนการพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรแบบแปลงใหญ่ตามยุทธศาสตร์ 20 ปี ของกระทรวงเกษตรฯ ที่ต้องการพัฒนาเกษตรกรให้มีการบริหารจัดการร่วมกัน ครอบคลุมทั้งพืช ประมง และปศุสัตว์ ดังนั้น กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมปศุสัตว์ จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการประกวดแปลงใหญ่ด้านปศุสัตว์ดีเด่น ประจําปี 2562 ขึ้น เพื่อพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถให้การดําเนินมาตรการมีประสิทธิภาพและบรรลุตามเป้าหมาย พร้อมทั้งเผยแพร่เกียรติคุณและผลงานของโครงการให้ปรากฎแก่สาธารณชน เป็นต้นแบบในการขยายผล การส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป โดยคัดเลือกแปลงใหญ่ด้านปศุสัตว์ 200 แปลง ในระดับเขต และระดับประเทศ
นายประภัตร กล่าวต่อว่า เกษตรกรแปลงใหญ่ของไทยมีความสามารถในด้านการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์ แต่หากขาดระบบน้ําที่ดีก็ทําให้เป็นอุปสรรคในการทํางานได้ ในเบื้องต้นได้ประสานกับกรมทรัพยากรน้ําบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการต่อระบบน้ํา ขุดบ่อบาดาลในพื้นที่แปลงใหญ่ โดยจะเริ่มทดลอง 1,000 บ่อ ซึ่ง 1 บ่อ สามารถปลูกได้ 700 – 1,000 ไร่ นอกจากนี้ นายกฯ มีความเป็นห่วงพี่น้องเกษตรกร จึงสั่งการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งหาแนวทางช่วยเหลือเพื่อให้เกษตรกรได้มีกินมีใช้ ดังนั้น กระทรวงเกษตรฯ จึงเร่งขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของพี่น้องเกษตรกรอย่างเร่งด่วน ให้เกษตรกรมีรายได้ภายใน 120 วัน อาทิ การส่งเสริมปลูกถั่ว การส่งเสริมปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และส่งเสริมเลี้ยงโค
“การช่วยเหลือเกษตกรให้มีรายได้จะต้องทําให้เกิดขึ้นจริงซึ่งภายหลังน้ําลดต้องลงมืออย่างจริงจัง โดยเฉพาะการส่งเสริมสร้างรายได้ อาชีพทางเลือกใหม่โดยการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมมาเลี้ยงโคขุนเพิ่มผลผลิตโคเนื้อให้เพียงพอต่อความต้องการ ภายใต้ ‘โครงการโคขุนสร้างรายได้’ โดยมีเป้าหมายโคเนื้อ 1 ล้านตัว เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 2 แสนรายๆ ละ 5 ตัว (ตัวละ 24,000 บาท อายุ 1 ปีครึ่งถึง 2 ปี น้ําหนักตัวไม่น้อยกว่า 250 กก.) ประกันวัวตัวละ 100 บาท/เดือน กําหนดระยะเวลาเลี้ยง 4 เดือน งบประมาณ 3,700 กว่าล้านบาท เพื่อส่งขายตลาดจีน พร้อมกันนี้กรมทรัพยากรน้ําบาดาลจะเข้ามาช่วยขุดเจาะบ่อบาดาลเพื่อสนับสนุนการใช้น้ําในการปลูกพืชอาหารสัตว์ จํานวน 2,000 บ่อ เชื่อว่าการแก้ไขปัญฆาเช่นนี้จะประสบความสําเร็จ เพราะทุกอย่างมีตลาดนําการผลิต และมีการประกันราคาให้ เช่น ถั่วเขียว ประกัน 30 บาท และข้าวโพดประกัน 8 บาท เพื่อสร้างความมั่นใจให้เกษตรกร ซึ่งโครงการทั้งหมดจะเตรียมจะเสนอ ครม. เพื่อขอความเห็นชอบ ในเร็วๆ นี้” นายประภัตร กล่าว
สําหรับสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคขุนในเขตปฏิรูปที่ดินปางศิลาทอง จํากัด มีการรวมกลุ่มของสหกรณ์และวิสาหกิจชุมชน เริ่มตั้งจดทะเบียน เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2549 มีสมาชิกเริ่มแรก 38 ราย โดยรวมกลุ่มเลี้ยงโค และขยายผลขึ้นทุกปี ต่อมา ในปี 2560 มีการปรับระบบการผลิตให้ทันสมัย เน้นตลาดนําการผลิต ปัจจุบันมีสมาชิก 598 ราย มีสินค้าเกษตรที่ขยายตัวมากขึ้น ได้แก่ การส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อ การแปรรูปเนื้อโค ชนิดหั่น แช่แข็ง การทําธุรกิจแฟรนไชส์ (ก๋วยเตี๋ยวเนื้อโคปางศิลาทอง เป็นต้น) จากการดําเนินงานที่ผ่านมาในปี 2561 เกษตรกรมีรายได้ภาพรวม 3.24 ล้านบาท ปริมาณผลผลิตสัตว์รวม 1,800 ตัวต่อปี มีการบริหารจัดการเป็นรูปธรรมและเป็นระบบที่ดี ซึ่งเป้าหมายต้องการเพิ่มจํานวนการเลี้ยงโคเนื้อ จากปีละ 1,600 ตัว เป็น ปีละ 1,800 ตัว ลดต้นทุนการผลิตด้านอาหารสัตว์ 5% และเพิ่มน้ําหนักโค 5% นอกจากนี้ยังต้องยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรปลอดภัยเป็นสินค้า GAP เพื่อเพิ่มมูลค่า ตลอดจนส่งเสริมรายได้เสริมจากการปลูกหญ้าเนเปียร์ มีการเชื่อมโยงตลาดสินค้า เป็น MOU เน้นให้สมาชิกมีระบบการจดบันทึกบัญชี เพิ่มช่องทางตลาดเป็นสินค้าแปรรูป รวมทั้งเป็นศูนย์เรียนรู้การเลี้ยงโคขุน จําหน่ายมูลโคเป็นรายได้เสริม พร้อมกันนี้ในอนาคตจะพัฒนาระบบการผลิต ขยายการผลิตสู่เกษตรกรผู้สนใจมากขึ้น ยกระดับมาตรฐานสินค้าสัตว์ รักษาคุณภาพการเลี้ยง เชื่อมโยงตลาดให้ได้มากขึ้น และจะพัฒนาแปลงเลี้ยงสัตว์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่สําคัญ ซึ่งโครงการแปลงใหญ่ด้านปศุสัตว์จะเป็นการพัฒนายกระดับศักยภาพการเลี้ยงโคเนื้อของไทยให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่ม มีระบบบริหารจัดการที่ดี สร้างความเข้มแข็งเพื่อพ้นจากความยากจน และมีอาชีพที่มั่นคง ซึ่งการจะแก้ปัญหาการผลิตภาคเกษตรทั้งระบบได้นั้นจําเป็นต้องมีตลาดรองรับที่แน่นอน
นายอําพันธ์ เวฬุตันติ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า จากผลการดําเนินโครงการส่งเสริมปศุสัตว์แบบแปลงใหญ่ด้านปศุสัตว์ ปี 2562 ที่ผ่านมาได้อบรมและถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเลี้ยงสัตว์และการบริหารจัดการแปลงใหญ่ด้านปศุสัตว์ จํานวน 55 แปลง อบรมหลักสูตรการพัฒนาแปลงใหญ่ด้านปศุสัตว์ให้ได้คุณภาพมาตรฐาน จํานวน 46 แปลง อบรมการบริหารจัดการผลผลิตและการตลาด จํานวน 140 แปลง และสนับสนุนปัจจัยการผลิต จํานวน 207 แปลง ซึ่งในวันนี้มีแปลงใหญ่ปศุสัตว์ที่ได้รับรางวัล ดังนี้ รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 แปลงใหญ่โคเนื้อเขตปฏิรูปที่ดินปางศิลาทอง อ.ปางศิลาทอง จ.กําแพงเพชร รองชนะเลิศอันดับ 1 แปลงใหญ่แพะ เครือข่ายอําเภอคลองท่อม อ.คลองท่อม จ.กระบี่ รองชนะเลิศอันดับ 2 กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่แพะเนื้อเมืองสวรรค์ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท รางวัลชมเชย 6 รางวัล ได้แก่ แปลงใหญ่ประชารัฐโคนมสอยดาว อ.สอยดาว จ.จันทบุรี วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว บ้านสี่เหลี่ยมเจริญ (กิจกรรมโคเนื้อโคขุน) อ.ลําปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรแปลงใหญ่โคแม่พันธุ์ อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด แปลงใหญ่โคเนื้อ อ.เชียงกลาง จ.น่าน แปลงใหญ่แพะ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี และแปลงใหญ่แพะ อ.ระโนด จ.สงขลา | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมช.เกษตรฯ มอบโล่รางวัลแปลงใหญ่ปศุสัตว์ดีเด่น ชูสหกรณ์โคขุนปางศิลาทองต้นแบบความสำเร็จขยายผลทั่วประเทศ
วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2562
รมช.เกษตรฯ มอบโล่รางวัลแปลงใหญ่ปศุสัตว์ดีเด่น ชูสหกรณ์โคขุนปางศิลาทองต้นแบบความสําเร็จขยายผลทั่วประเทศ
รมช.เกษตรฯ มอบโล่รางวัลแปลงใหญ่ปศุสัตว์ดีเด่น ชูสหกรณ์โคขุนปางศิลาทองต้นแบบความสําเร็จขยายผลทั่วประเทศ ดันขุดบ่อบาดาลสร้างระบบน้ําที่ดีในแปลงใหญ่กว่า 1,000 บ่อ
นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในโอกาสเป็นประธานพิธีมอบโล่รางวัล ผลการประกวดแปลงใหญ่ปศุสัตว์ดีเด่น ปี 2562 ณ สหกรณ์โคขุนปางศิลาทอง ต.หินดาต อ.ปางศิลาทอง จ.กําแพงเพชร ว่า การดําเนินโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่เป็นนโยบายของกระทรวงเกษตรฯ โดยให้เกษตรกรรวมกลุ่มกัน เป้าหมายลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต โดยมีคณะกรรมการเครือข่ายแปลงใหญ่ร่วมกับภาครัฐขับเคลื่อนการพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรแบบแปลงใหญ่ตามยุทธศาสตร์ 20 ปี ของกระทรวงเกษตรฯ ที่ต้องการพัฒนาเกษตรกรให้มีการบริหารจัดการร่วมกัน ครอบคลุมทั้งพืช ประมง และปศุสัตว์ ดังนั้น กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมปศุสัตว์ จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการประกวดแปลงใหญ่ด้านปศุสัตว์ดีเด่น ประจําปี 2562 ขึ้น เพื่อพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถให้การดําเนินมาตรการมีประสิทธิภาพและบรรลุตามเป้าหมาย พร้อมทั้งเผยแพร่เกียรติคุณและผลงานของโครงการให้ปรากฎแก่สาธารณชน เป็นต้นแบบในการขยายผล การส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป โดยคัดเลือกแปลงใหญ่ด้านปศุสัตว์ 200 แปลง ในระดับเขต และระดับประเทศ
นายประภัตร กล่าวต่อว่า เกษตรกรแปลงใหญ่ของไทยมีความสามารถในด้านการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์ แต่หากขาดระบบน้ําที่ดีก็ทําให้เป็นอุปสรรคในการทํางานได้ ในเบื้องต้นได้ประสานกับกรมทรัพยากรน้ําบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการต่อระบบน้ํา ขุดบ่อบาดาลในพื้นที่แปลงใหญ่ โดยจะเริ่มทดลอง 1,000 บ่อ ซึ่ง 1 บ่อ สามารถปลูกได้ 700 – 1,000 ไร่ นอกจากนี้ นายกฯ มีความเป็นห่วงพี่น้องเกษตรกร จึงสั่งการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งหาแนวทางช่วยเหลือเพื่อให้เกษตรกรได้มีกินมีใช้ ดังนั้น กระทรวงเกษตรฯ จึงเร่งขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของพี่น้องเกษตรกรอย่างเร่งด่วน ให้เกษตรกรมีรายได้ภายใน 120 วัน อาทิ การส่งเสริมปลูกถั่ว การส่งเสริมปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และส่งเสริมเลี้ยงโค
“การช่วยเหลือเกษตกรให้มีรายได้จะต้องทําให้เกิดขึ้นจริงซึ่งภายหลังน้ําลดต้องลงมืออย่างจริงจัง โดยเฉพาะการส่งเสริมสร้างรายได้ อาชีพทางเลือกใหม่โดยการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมมาเลี้ยงโคขุนเพิ่มผลผลิตโคเนื้อให้เพียงพอต่อความต้องการ ภายใต้ ‘โครงการโคขุนสร้างรายได้’ โดยมีเป้าหมายโคเนื้อ 1 ล้านตัว เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 2 แสนรายๆ ละ 5 ตัว (ตัวละ 24,000 บาท อายุ 1 ปีครึ่งถึง 2 ปี น้ําหนักตัวไม่น้อยกว่า 250 กก.) ประกันวัวตัวละ 100 บาท/เดือน กําหนดระยะเวลาเลี้ยง 4 เดือน งบประมาณ 3,700 กว่าล้านบาท เพื่อส่งขายตลาดจีน พร้อมกันนี้กรมทรัพยากรน้ําบาดาลจะเข้ามาช่วยขุดเจาะบ่อบาดาลเพื่อสนับสนุนการใช้น้ําในการปลูกพืชอาหารสัตว์ จํานวน 2,000 บ่อ เชื่อว่าการแก้ไขปัญฆาเช่นนี้จะประสบความสําเร็จ เพราะทุกอย่างมีตลาดนําการผลิต และมีการประกันราคาให้ เช่น ถั่วเขียว ประกัน 30 บาท และข้าวโพดประกัน 8 บาท เพื่อสร้างความมั่นใจให้เกษตรกร ซึ่งโครงการทั้งหมดจะเตรียมจะเสนอ ครม. เพื่อขอความเห็นชอบ ในเร็วๆ นี้” นายประภัตร กล่าว
สําหรับสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคขุนในเขตปฏิรูปที่ดินปางศิลาทอง จํากัด มีการรวมกลุ่มของสหกรณ์และวิสาหกิจชุมชน เริ่มตั้งจดทะเบียน เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2549 มีสมาชิกเริ่มแรก 38 ราย โดยรวมกลุ่มเลี้ยงโค และขยายผลขึ้นทุกปี ต่อมา ในปี 2560 มีการปรับระบบการผลิตให้ทันสมัย เน้นตลาดนําการผลิต ปัจจุบันมีสมาชิก 598 ราย มีสินค้าเกษตรที่ขยายตัวมากขึ้น ได้แก่ การส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อ การแปรรูปเนื้อโค ชนิดหั่น แช่แข็ง การทําธุรกิจแฟรนไชส์ (ก๋วยเตี๋ยวเนื้อโคปางศิลาทอง เป็นต้น) จากการดําเนินงานที่ผ่านมาในปี 2561 เกษตรกรมีรายได้ภาพรวม 3.24 ล้านบาท ปริมาณผลผลิตสัตว์รวม 1,800 ตัวต่อปี มีการบริหารจัดการเป็นรูปธรรมและเป็นระบบที่ดี ซึ่งเป้าหมายต้องการเพิ่มจํานวนการเลี้ยงโคเนื้อ จากปีละ 1,600 ตัว เป็น ปีละ 1,800 ตัว ลดต้นทุนการผลิตด้านอาหารสัตว์ 5% และเพิ่มน้ําหนักโค 5% นอกจากนี้ยังต้องยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรปลอดภัยเป็นสินค้า GAP เพื่อเพิ่มมูลค่า ตลอดจนส่งเสริมรายได้เสริมจากการปลูกหญ้าเนเปียร์ มีการเชื่อมโยงตลาดสินค้า เป็น MOU เน้นให้สมาชิกมีระบบการจดบันทึกบัญชี เพิ่มช่องทางตลาดเป็นสินค้าแปรรูป รวมทั้งเป็นศูนย์เรียนรู้การเลี้ยงโคขุน จําหน่ายมูลโคเป็นรายได้เสริม พร้อมกันนี้ในอนาคตจะพัฒนาระบบการผลิต ขยายการผลิตสู่เกษตรกรผู้สนใจมากขึ้น ยกระดับมาตรฐานสินค้าสัตว์ รักษาคุณภาพการเลี้ยง เชื่อมโยงตลาดให้ได้มากขึ้น และจะพัฒนาแปลงเลี้ยงสัตว์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่สําคัญ ซึ่งโครงการแปลงใหญ่ด้านปศุสัตว์จะเป็นการพัฒนายกระดับศักยภาพการเลี้ยงโคเนื้อของไทยให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่ม มีระบบบริหารจัดการที่ดี สร้างความเข้มแข็งเพื่อพ้นจากความยากจน และมีอาชีพที่มั่นคง ซึ่งการจะแก้ปัญหาการผลิตภาคเกษตรทั้งระบบได้นั้นจําเป็นต้องมีตลาดรองรับที่แน่นอน
นายอําพันธ์ เวฬุตันติ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า จากผลการดําเนินโครงการส่งเสริมปศุสัตว์แบบแปลงใหญ่ด้านปศุสัตว์ ปี 2562 ที่ผ่านมาได้อบรมและถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเลี้ยงสัตว์และการบริหารจัดการแปลงใหญ่ด้านปศุสัตว์ จํานวน 55 แปลง อบรมหลักสูตรการพัฒนาแปลงใหญ่ด้านปศุสัตว์ให้ได้คุณภาพมาตรฐาน จํานวน 46 แปลง อบรมการบริหารจัดการผลผลิตและการตลาด จํานวน 140 แปลง และสนับสนุนปัจจัยการผลิต จํานวน 207 แปลง ซึ่งในวันนี้มีแปลงใหญ่ปศุสัตว์ที่ได้รับรางวัล ดังนี้ รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 แปลงใหญ่โคเนื้อเขตปฏิรูปที่ดินปางศิลาทอง อ.ปางศิลาทอง จ.กําแพงเพชร รองชนะเลิศอันดับ 1 แปลงใหญ่แพะ เครือข่ายอําเภอคลองท่อม อ.คลองท่อม จ.กระบี่ รองชนะเลิศอันดับ 2 กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่แพะเนื้อเมืองสวรรค์ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท รางวัลชมเชย 6 รางวัล ได้แก่ แปลงใหญ่ประชารัฐโคนมสอยดาว อ.สอยดาว จ.จันทบุรี วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว บ้านสี่เหลี่ยมเจริญ (กิจกรรมโคเนื้อโคขุน) อ.ลําปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรแปลงใหญ่โคแม่พันธุ์ อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด แปลงใหญ่โคเนื้อ อ.เชียงกลาง จ.น่าน แปลงใหญ่แพะ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี และแปลงใหญ่แพะ อ.ระโนด จ.สงขลา | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/23095 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน-รัสเซีย ครั้งที่ 3 เพื่อกำหนดทิศทางความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างกัน นำไปสู่การยกระดับความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในอนาคต | วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน 2561
นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน-รัสเซีย ครั้งที่ 3 เพื่อกําหนดทิศทางความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างกัน นําไปสู่การยกระดับความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในอนาคต
นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน-รัสเซีย ครั้งที่ 3 เพื่อกําหนดทิศทางความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างกัน นําไปสู่การยกระดับความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในอนาคต
วันนี้ (14 พ.ย. 61) เวลา 14.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่นสาธารณรัฐสิงคโปร์) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน-รัสเซีย ครั้งที่ 3 ณ ศูนย์การประชุมและนิทรรศการซันเทค สิงคโปร์ โดยพลโท วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวสรุปสาระสําคัญดังนี้
นายกรัฐมนตรียินดีที่ความร่วมมือระหว่างอาเซียนและรัสเซีย มีความก้าวหน้ามากขึ้นในทุกมิติ ซึ่งสะท้อนบทบาทสําคัญและสร้างสรรค์ของรัสเซียต่อภูมิภาค จึงหวังว่ารัสเซียจะเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ของอาเซียนในอนาคต โดยทั้งสองฝ่ายสามารถผลักดันความร่วมมือในด้านต่างๆ ดังนี้
ด้านการเมืองและความมั่นคง ไทยสนับสนุนการยกระดับเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างอาเซียนกับรัสเซีย โดยการร่วมรับรองถ้อยแถลงร่วมระหว่างผู้นําอาเซียน-รัสเซีย ครั้งที่ 3 ซึ่งจะเป็นกรอบสําคัญในการกําหนดแนวทาง การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับรัสเซียที่ครอบคลุมในทุกมิติเพื่อยกระดับสถานะความสัมพันธ์ให้มุ่งไปสู่ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างกัน นอกจากนี้ัปัจจุบันภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นหนึ่งในภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ไทยจึงสนับสนุนความร่วมมืออาเซียนและรัสเซียในด้านการป้องกันและตอบสนองต่อภัยพิบัติ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของทั้งสองฝ่าย
ด้านเศรษฐกิจ อาเซียนกับรัสเซียยังมีศักยภาพที่จะขยายความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนระหว่างกันได้อีก ไทยยินดีที่ทั้งสองฝ่ายจะมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างอาเซียนและคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยูเรเซียว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นในการเสริมสร้างโอกาสและขยายความร่วมมือทางการค้าระหว่างกัน โดยใช้ประโยชน์จากตลาดและฐานการผลิตของอาเซียน รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคการเงินการธนาคารระหว่างกัน
ด้านสังคมและวัฒนธรรม นายกรัฐมนตรีเห็นว่าควรส่งเสริมบทบาทของศูนย์อาเซียนที่สถาบัน MGIMO และ Network of ASEAN-Russia Think-Tanks (NARTT) เพื่อเชื่อมโยงระหว่างประชาชนของอาเซียนกับรัสเซีย ซึ่งเป็นรากฐานสําคัญในการส่งเสริมความเข้าใจระหว่างกัน
นายกรัฐมนตรีเห็นว่าความยั่งยืนเป็นแนวทางที่จะช่วยส่งเสริมเสถียรภาพและความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาค ไทยจึงหวังว่า รัสเซียจะสนับสนุนแผนของอาเซียนที่จะจัดตั้งศูนย์อาเซียนเพื่อการศึกษาและการหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนในไทย โดยในตอนท้ายนายกรัฐมนตรีกล่าวในนามประเทศไทยว่ายินดีต้อนรับประธานาธิบดีปูตินในการเข้าร่วมการประชุมอาเซียน ในปี 2562 ซึ่งไทยเป็นประธานด้วย | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน-รัสเซีย ครั้งที่ 3 เพื่อกำหนดทิศทางความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างกัน นำไปสู่การยกระดับความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในอนาคต
วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน 2561
นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน-รัสเซีย ครั้งที่ 3 เพื่อกําหนดทิศทางความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างกัน นําไปสู่การยกระดับความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในอนาคต
นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน-รัสเซีย ครั้งที่ 3 เพื่อกําหนดทิศทางความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างกัน นําไปสู่การยกระดับความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในอนาคต
วันนี้ (14 พ.ย. 61) เวลา 14.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่นสาธารณรัฐสิงคโปร์) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน-รัสเซีย ครั้งที่ 3 ณ ศูนย์การประชุมและนิทรรศการซันเทค สิงคโปร์ โดยพลโท วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวสรุปสาระสําคัญดังนี้
นายกรัฐมนตรียินดีที่ความร่วมมือระหว่างอาเซียนและรัสเซีย มีความก้าวหน้ามากขึ้นในทุกมิติ ซึ่งสะท้อนบทบาทสําคัญและสร้างสรรค์ของรัสเซียต่อภูมิภาค จึงหวังว่ารัสเซียจะเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ของอาเซียนในอนาคต โดยทั้งสองฝ่ายสามารถผลักดันความร่วมมือในด้านต่างๆ ดังนี้
ด้านการเมืองและความมั่นคง ไทยสนับสนุนการยกระดับเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างอาเซียนกับรัสเซีย โดยการร่วมรับรองถ้อยแถลงร่วมระหว่างผู้นําอาเซียน-รัสเซีย ครั้งที่ 3 ซึ่งจะเป็นกรอบสําคัญในการกําหนดแนวทาง การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับรัสเซียที่ครอบคลุมในทุกมิติเพื่อยกระดับสถานะความสัมพันธ์ให้มุ่งไปสู่ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างกัน นอกจากนี้ัปัจจุบันภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นหนึ่งในภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ไทยจึงสนับสนุนความร่วมมืออาเซียนและรัสเซียในด้านการป้องกันและตอบสนองต่อภัยพิบัติ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของทั้งสองฝ่าย
ด้านเศรษฐกิจ อาเซียนกับรัสเซียยังมีศักยภาพที่จะขยายความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนระหว่างกันได้อีก ไทยยินดีที่ทั้งสองฝ่ายจะมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างอาเซียนและคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยูเรเซียว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นในการเสริมสร้างโอกาสและขยายความร่วมมือทางการค้าระหว่างกัน โดยใช้ประโยชน์จากตลาดและฐานการผลิตของอาเซียน รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคการเงินการธนาคารระหว่างกัน
ด้านสังคมและวัฒนธรรม นายกรัฐมนตรีเห็นว่าควรส่งเสริมบทบาทของศูนย์อาเซียนที่สถาบัน MGIMO และ Network of ASEAN-Russia Think-Tanks (NARTT) เพื่อเชื่อมโยงระหว่างประชาชนของอาเซียนกับรัสเซีย ซึ่งเป็นรากฐานสําคัญในการส่งเสริมความเข้าใจระหว่างกัน
นายกรัฐมนตรีเห็นว่าความยั่งยืนเป็นแนวทางที่จะช่วยส่งเสริมเสถียรภาพและความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาค ไทยจึงหวังว่า รัสเซียจะสนับสนุนแผนของอาเซียนที่จะจัดตั้งศูนย์อาเซียนเพื่อการศึกษาและการหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนในไทย โดยในตอนท้ายนายกรัฐมนตรีกล่าวในนามประเทศไทยว่ายินดีต้อนรับประธานาธิบดีปูตินในการเข้าร่วมการประชุมอาเซียน ในปี 2562 ซึ่งไทยเป็นประธานด้วย | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/16790 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธพส. เผยโฉมอาคารโกลเด้น เพลซ สาขาศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ ภายใต้แนวคิด อาคารอนุรักษ์พลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม | วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน 2563
ธพส. เผยโฉมอาคารโกลเด้น เพลซ สาขาศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ ภายใต้แนวคิด อาคารอนุรักษ์พลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ธพส. ได้ดําเนินการก่อสร้างอาคารโกลเด้น เพลซ สาขาศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ หลังใหม่ทดแทนอาคารเดิมที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ก่อสร้างโครงการพัฒนาพื้นที่ส่วนขยายศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ โซน C
ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ ( ธพส. ) เปิดเผยว่า ธพส. ได้ดําเนินการก่อสร้างอาคารโกลเด้น เพลซ สาขาศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ หลังใหม่ทดแทนอาคารเดิมที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ก่อสร้างโครงการพัฒนาพื้นที่ส่วนขยายศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ โซน C โดยมีเป้าหมายให้อาคารใหม่แห่งนี้ ได้รับการรับรองเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย หรือ TREES จากสถาบันอาคารเขียวไทย ซึ่ง ธพส. ได้นําเกณฑ์ดังกล่าว มาดําเนินการนับตั้งแต่การออกแบบไปจนถึงขั้นตอนการก่อสร้าง เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานและสร้างความมั่นใจ สู่การเป็นอาคารอนุรักษ์พลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
อาคารโกลเด้น เพลซ ได้รับการออกแบบและก่อสร้างตามหลักเกณฑ์ของ TREES เช่น การออกแบบจัดวางตัวอาคารที่เหมาะสม โดยด้านหน้าของอาคารกําหนดให้หันไปทางทิศเหนือ เพื่อลดปริมาณแสงแดดและความร้อนจากภายนอก การเลือกใช้ผนังและวัสดุที่มีคุณสมบัติป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวอาคารได้ดี ทั้งหลังคาและผนังกระจก ตามกฎกระทรวงฯ เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2552 การใช้วัสดุที่มีส่วนผสมของวัสดุรีไซเคิลมากถึง 45% ของมูลค่าวัสดุก่อสร้างทั้งหมด เพื่อลดการใช้แหล่งวัตถุดิบจากธรรมชาติ รวมถึงเลือกใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน สุขภัณฑ์ประหยัดน้ํา และออกแบบระบบปรับอากาศที่ลดการใช้พลังงานได้มากถึง 26 %
ดร.นาฬิกอติภัค กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากขั้นตอนการออกแบบและก่อสร้างตามเกณฑ์ TREES แล้ว สิ่งสําคัญคือ การบํารุงรักษาอาคารตลอดการใช้งาน ซึ่ง ธพส. คํานึงถึงการลดการใช้พลังงาน โดยมุ่งเน้นให้อาคารมีความพร้อมสําหรับการใช้งานให้กับผู้มาใช้อาคารอยู่เสมอ เพื่อก้าวสู่การเป็น “อาคารเขียวไทย” ที่มีความยั่งยืนทางพลังและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธพส. เผยโฉมอาคารโกลเด้น เพลซ สาขาศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ ภายใต้แนวคิด อาคารอนุรักษ์พลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน 2563
ธพส. เผยโฉมอาคารโกลเด้น เพลซ สาขาศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ ภายใต้แนวคิด อาคารอนุรักษ์พลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ธพส. ได้ดําเนินการก่อสร้างอาคารโกลเด้น เพลซ สาขาศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ หลังใหม่ทดแทนอาคารเดิมที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ก่อสร้างโครงการพัฒนาพื้นที่ส่วนขยายศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ โซน C
ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ ( ธพส. ) เปิดเผยว่า ธพส. ได้ดําเนินการก่อสร้างอาคารโกลเด้น เพลซ สาขาศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ หลังใหม่ทดแทนอาคารเดิมที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ก่อสร้างโครงการพัฒนาพื้นที่ส่วนขยายศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ โซน C โดยมีเป้าหมายให้อาคารใหม่แห่งนี้ ได้รับการรับรองเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย หรือ TREES จากสถาบันอาคารเขียวไทย ซึ่ง ธพส. ได้นําเกณฑ์ดังกล่าว มาดําเนินการนับตั้งแต่การออกแบบไปจนถึงขั้นตอนการก่อสร้าง เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานและสร้างความมั่นใจ สู่การเป็นอาคารอนุรักษ์พลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
อาคารโกลเด้น เพลซ ได้รับการออกแบบและก่อสร้างตามหลักเกณฑ์ของ TREES เช่น การออกแบบจัดวางตัวอาคารที่เหมาะสม โดยด้านหน้าของอาคารกําหนดให้หันไปทางทิศเหนือ เพื่อลดปริมาณแสงแดดและความร้อนจากภายนอก การเลือกใช้ผนังและวัสดุที่มีคุณสมบัติป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวอาคารได้ดี ทั้งหลังคาและผนังกระจก ตามกฎกระทรวงฯ เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2552 การใช้วัสดุที่มีส่วนผสมของวัสดุรีไซเคิลมากถึง 45% ของมูลค่าวัสดุก่อสร้างทั้งหมด เพื่อลดการใช้แหล่งวัตถุดิบจากธรรมชาติ รวมถึงเลือกใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน สุขภัณฑ์ประหยัดน้ํา และออกแบบระบบปรับอากาศที่ลดการใช้พลังงานได้มากถึง 26 %
ดร.นาฬิกอติภัค กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากขั้นตอนการออกแบบและก่อสร้างตามเกณฑ์ TREES แล้ว สิ่งสําคัญคือ การบํารุงรักษาอาคารตลอดการใช้งาน ซึ่ง ธพส. คํานึงถึงการลดการใช้พลังงาน โดยมุ่งเน้นให้อาคารมีความพร้อมสําหรับการใช้งานให้กับผู้มาใช้อาคารอยู่เสมอ เพื่อก้าวสู่การเป็น “อาคารเขียวไทย” ที่มีความยั่งยืนทางพลังและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/32800 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีขอความร่วมมือสื่อมวลชนอย่าประโคมข่าวการลอบทำร้ายผู้นำ และการจับอาวุธสงคราม เกรงกระทบต่อความเชื่อมั่นการลงทุนในประเทศ | วันอังคารที่ 21 มีนาคม 2560
นายกรัฐมนตรีขอความร่วมมือสื่อมวลชนอย่าประโคมข่าวการลอบทําร้ายผู้นํา และการจับอาวุธสงคราม เกรงกระทบต่อความเชื่อมั่นการลงทุนในประเทศ
นายกรัฐมนตรีขอความร่วมมือสื่อมวลชนอย่าประโคมข่าวการลอบทําร้ายผู้นํา และการจับอาวุธสงคราม เกรงกระทบต่อความเชื่อมั่นการลงทุนในประเทศ
วันนี้ (21 สิงหาคม 2560) เวลา 14.30 น. ณ บริเวณห้องโถง ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีถึงความคืบหน้าการตรวจยึดอาวุธสงครามจํานวนมากจากบ้านพักของเครือข่ายนายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ (โกตี๋) แกนนําเสื้อแดงปทุมธานี ภายในบริษัท ไทยแม็กซ์กรุ๊ป จํากัด จ.ปทุมธานี และบ้านปูน 2 ชั้น ซึ่งขณะนี้หลบหนีอยู่ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่า เป็นเรื่องของการติดตามอยู่แล้ว ซึ่งได้มีการประสานความร่วมมือในระดับรัฐบาล และฝ่ายความมั่นคงของทั้ง 2 ประเทศมาโดยตลอด ความร่วมมือต่าง ๆ ดีขึ้น ส่วนจะได้ตัวนายโกตี๋หรือไม่ ต้องใช้เวลาต่อไป ส่วนข่าวการลอบสังหารนายกรัฐมนตรีนั้น มีการระวังตัวอยู่แล้วเป็นปกติ ไม่ว่าจะมีหรือไม่มี ก็มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอยู่แล้ว
นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความเป็นห่วงต่อการนําเสนอข่าว กรณีเรื่องการลอบทําร้ายผู้นํา รวมถึงการจับอาวุธสงครามว่า ขอให้สื่ออย่าประโคมข่าวมากนัก เพราะจะส่งผลกับความเชื่อของนักลงทุนต่างประเทศ และผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย
---------------------------------------- | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีขอความร่วมมือสื่อมวลชนอย่าประโคมข่าวการลอบทำร้ายผู้นำ และการจับอาวุธสงคราม เกรงกระทบต่อความเชื่อมั่นการลงทุนในประเทศ
วันอังคารที่ 21 มีนาคม 2560
นายกรัฐมนตรีขอความร่วมมือสื่อมวลชนอย่าประโคมข่าวการลอบทําร้ายผู้นํา และการจับอาวุธสงคราม เกรงกระทบต่อความเชื่อมั่นการลงทุนในประเทศ
นายกรัฐมนตรีขอความร่วมมือสื่อมวลชนอย่าประโคมข่าวการลอบทําร้ายผู้นํา และการจับอาวุธสงคราม เกรงกระทบต่อความเชื่อมั่นการลงทุนในประเทศ
วันนี้ (21 สิงหาคม 2560) เวลา 14.30 น. ณ บริเวณห้องโถง ตึกบัญชาการ 1 ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีถึงความคืบหน้าการตรวจยึดอาวุธสงครามจํานวนมากจากบ้านพักของเครือข่ายนายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ (โกตี๋) แกนนําเสื้อแดงปทุมธานี ภายในบริษัท ไทยแม็กซ์กรุ๊ป จํากัด จ.ปทุมธานี และบ้านปูน 2 ชั้น ซึ่งขณะนี้หลบหนีอยู่ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่า เป็นเรื่องของการติดตามอยู่แล้ว ซึ่งได้มีการประสานความร่วมมือในระดับรัฐบาล และฝ่ายความมั่นคงของทั้ง 2 ประเทศมาโดยตลอด ความร่วมมือต่าง ๆ ดีขึ้น ส่วนจะได้ตัวนายโกตี๋หรือไม่ ต้องใช้เวลาต่อไป ส่วนข่าวการลอบสังหารนายกรัฐมนตรีนั้น มีการระวังตัวอยู่แล้วเป็นปกติ ไม่ว่าจะมีหรือไม่มี ก็มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอยู่แล้ว
นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความเป็นห่วงต่อการนําเสนอข่าว กรณีเรื่องการลอบทําร้ายผู้นํา รวมถึงการจับอาวุธสงครามว่า ขอให้สื่ออย่าประโคมข่าวมากนัก เพราะจะส่งผลกับความเชื่อของนักลงทุนต่างประเทศ และผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย
---------------------------------------- | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/2537 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงยุติธรรม ทบทวนแผนปฏิบัติการด้านกองทุนยุติธรรม ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๖๕) ผ่านการประชุมทางไกล ผ่านระบบ (video conference) | วันอังคารที่ 14 เมษายน 2563
กระทรวงยุติธรรม ทบทวนแผนปฏิบัติการด้านกองทุนยุติธรรม ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๖๕) ผ่านการประชุมทางไกล ผ่านระบบ (video conference)
กระทรวงยุติธรรม ทบทวนแผนปฏิบัติการด้านกองทุนยุติธรรม ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๖๕) ผ่านการประชุมทางไกล ผ่านระบบ (video conference)
ในวันพุธที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๓ เวลา ๐๘.๓๐ น. ณ ห้องประชุมปลัดกระทรวงยุติธรรม ชั้น ๘ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ กรุงเทพมหานคร ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิด โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการทบทวนแผนปฏิบัติการด้านกองทุนยุติธรรม ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๖๕) ผ่านการประชุมทางไกล (video conference) เพื่อทบทวนปรับปรุงแผนงาน โครงการ กิจกรรม และการดําเนินงานของกองทุนยุติธรรมให้สอดรับกับทิศทางที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รับฟังปัญหา ข้อเสนอแนะแนวทางการทบทวนแผนปฏิบัติการด้านกองทุนยุติธรรม ระยะที่ ๑ เพื่อช่วยกันพัฒนากองทุนยุติธรรมให้ประชาชนได้รับการบริการและเข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียมและรวดเร็วโดยมี นายมนินธ์ สุทธิวัฒนานิติ ผู้อํานวยการสํานักงานกองทุนยุติธรรม ยุติธรรมจังหวัด ผู้อํานวยการสํานักงานยุติธรรมจังหวัด เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เข้าร่วมฯ
ในการนี้ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวใจความสําคัญตอนหนึ่งว่า ในฐานะที่กองทุนยุติธรรมเป็นหน่วยงานที่ให้บริการประชาชน การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ชี้ให้เห็นว่าเราควรจะต้องมีการวางแผนเพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ จึงต้องมีการวางแนวทางและมาตรการที่ชัดเจนในการดําเนินงานในสภาวะฉุกเฉิน ตลอดจนการบูรณาการการทํางานและข้อมูลของหน่วยงานทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อให้สามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกสถานการณ์ | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงยุติธรรม ทบทวนแผนปฏิบัติการด้านกองทุนยุติธรรม ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๖๕) ผ่านการประชุมทางไกล ผ่านระบบ (video conference)
วันอังคารที่ 14 เมษายน 2563
กระทรวงยุติธรรม ทบทวนแผนปฏิบัติการด้านกองทุนยุติธรรม ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๖๕) ผ่านการประชุมทางไกล ผ่านระบบ (video conference)
กระทรวงยุติธรรม ทบทวนแผนปฏิบัติการด้านกองทุนยุติธรรม ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๖๕) ผ่านการประชุมทางไกล ผ่านระบบ (video conference)
ในวันพุธที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๓ เวลา ๐๘.๓๐ น. ณ ห้องประชุมปลัดกระทรวงยุติธรรม ชั้น ๘ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ กรุงเทพมหานคร ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิด โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการทบทวนแผนปฏิบัติการด้านกองทุนยุติธรรม ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๖๕) ผ่านการประชุมทางไกล (video conference) เพื่อทบทวนปรับปรุงแผนงาน โครงการ กิจกรรม และการดําเนินงานของกองทุนยุติธรรมให้สอดรับกับทิศทางที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รับฟังปัญหา ข้อเสนอแนะแนวทางการทบทวนแผนปฏิบัติการด้านกองทุนยุติธรรม ระยะที่ ๑ เพื่อช่วยกันพัฒนากองทุนยุติธรรมให้ประชาชนได้รับการบริการและเข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียมและรวดเร็วโดยมี นายมนินธ์ สุทธิวัฒนานิติ ผู้อํานวยการสํานักงานกองทุนยุติธรรม ยุติธรรมจังหวัด ผู้อํานวยการสํานักงานยุติธรรมจังหวัด เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เข้าร่วมฯ
ในการนี้ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวใจความสําคัญตอนหนึ่งว่า ในฐานะที่กองทุนยุติธรรมเป็นหน่วยงานที่ให้บริการประชาชน การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ชี้ให้เห็นว่าเราควรจะต้องมีการวางแผนเพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ จึงต้องมีการวางแนวทางและมาตรการที่ชัดเจนในการดําเนินงานในสภาวะฉุกเฉิน ตลอดจนการบูรณาการการทํางานและข้อมูลของหน่วยงานทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อให้สามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกสถานการณ์ | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/29042 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษก ศบค. ปฏิเสธข่าวลือปลดล็อคพื้นที่ 32 จังหวัด ในวันที่ 1 พ.ค. นี้ ย้ำรอผลการหารือจากที่ประชุมฯ และการประชุมคณะรัฐมนตรี | วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน 2563
โฆษก ศบค. ปฏิเสธข่าวลือปลดล็อคพื้นที่ 32 จังหวัด ในวันที่ 1 พ.ค. นี้ ย้ํารอผลการหารือจากที่ประชุมฯ และการประชุมคณะรัฐมนตรี
โฆษก ศบค. ปฏิเสธข่าวลือปลดล็อคพื้นที่ 32 จังหวัด ในวันที่ 1 พ.ค. นี้ ย้ํารอผลการหารือจากที่ประชุมฯ และการประชุมคณะรัฐมนตรี
วันนี้ (23 เม.ย. 63) เวลา 11.30 น. ณ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) โถงกลาง ตึกสันติไมตรี ทําเนียบรัฐบาล นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. ตอบคําถามสื่อมวลชนผ่านโซเซียลมีเดียช่วงการแถลงข่าวของศูนย์ข่าวโควิด-19 และสรุปสาระสําคัญ ดังนี้
โฆษก ศบค. ชี้แจงกรณีเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ณ ด่านสะเดา จ.สงขลา ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่ง ขณะที่กลับไปเยี่ยมญาติ รวมถึงต้องมีการกักตัวเจ้าหน้าที่ประจําด่านอีกจํานวนหนึ่ง ทั้งนี้ ด่านสะเดาเป็นด่านข้ามพรมแดนที่มีขนาดใหญ่และมีประชาชนเดินทางสัญจรจํานวนมาก ขณะนี้ได้มีการกักตัวผู้ที่เข้าข่ายเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในระดับความเสี่ยงสูง 49 คน และกลุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในระดับต่ําอีก 93 คน รวมเป็น 142 คน โดยส่วนใหญ่เป็นคนใกล้ชิดกับผู้ป่วยติดเชื้อ จะมีแนวทางป้องกันไม่ให้มีการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส-19 โดยโฆษก ศบค. เน้นย้ําไทยและมาเลเซียมีความร่วมมือเพื่อลดจํานวนผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด เนื่องจากหากระบบคัดกรองโรคไม่รัดกุม จะทําให้เจ้าหน้าที่ประจําด่านข้ามพรมแดนก็จะติดเชื้อไวรัสเป็นจํานวนมาก ขณะนี้ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดจึงมีความเห็นให้ทําการปิดด่านสะเดาเป็นเวลา 7 วัน โดยให้เข้า-ออกโดยใช้ด่านปาดังเบซาร์แทน เพื่อที่จะทําความสะอาด ฆ่าเชื้อโรค เตรียมความพร้อมสําหรับการเปิดทําการใหม่ สร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนที่เดินทางสัญจรไปมา
ในขณะนี้ ไทยและมาเลเซียทํางานร่วมกันเพื่อส่งผู้เดินทางจากมาเลเซียกลับเข้าประเทศไทยโดยเข้าสู่กระบวนการ State Quarantine ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จํานวนประมาณ 1,600 กว่าคน นั้น ซึ่งภาครัฐก็ให้การดูแลเป็นอย่างดีและยังไม่พบผู้ป่วย ทั้งนี้ ผู้ที่ต้องการเดินทางกลับประเทศจําเป็นต้องมีใบรับรองแพทย์และลงทะเบียนกับทางกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อที่จะได้เตรียมพื้นที่สําหรับการทํา State Quarantine ให้เพียงพอแก่ทุกคน
โฆษก ศบค. ชี้แจงเพิ่มเติมจากข้อมูลของกระทรวงการต่างประเทศพบยังมีคนไทยอีกหลายคนที่อยู่ในประเทศมาเลเซีย กระจายอยู่ในหลาย ๆ รัฐ สามารถติดต่อสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลโดยตรง ซึ่งจะส่งสิ่งของจําเป็น หรือถุงยังชีพไปให้ รวมทั้งยังมีอาสาสมัครที่พร้อมให้การช่วยเหลือ สําหรับผู้อาศัยอยู่แบบผิดกฎหมายนั้น อยู่ระหว่างเจรจากับมาเลเซียเพื่อที่จะช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาต่อไป
โฆษก ศบค. ยังตอบคําถามสื่อมวลชนเรื่องการปรับ – ลด ด่านตรวจในช่วงเวลาเคอร์ฟิว และจํานวนผู้กระทําผิดกรณีฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ เช่น ออกนอกเคหสถาน มั่วสุม ยังมีจํานวนมากอยู่ โดยชี้แจงว่า สํานักงานตํารวจแห่งชาติก็ได้ปรับเปลี่ยนการทํางานมาเป็นเชิงรุก โดยจัดตํารวจสายตรวจ ตระเวนตรวจตามพื้นที่ในชุมชน รวมถึงรับเบาะแสร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนที่แจ้งเข้ามา หากคนในชุมชนร่วมมือแจ้งเบาะแสผู้กระทําผิดฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ ถือเป็นการช่วยเจ้าหน้าที่ตํารวจทํางานด้วย เบื้องต้นอาจเป็นการตักเตือน หากพบมั่วสุม เล่นการพนัน ก็จําเป็นต้องนําตัวไปดําเนินคดี
โฆษก ศบค. กล่าวถึงสถานการณ์ปัจจุบันพบว่ามีประชาชนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตตามปกติมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะที่อาจจะไม่ได้มีการเว้นระยะห่าง อาจจะทําให้โรคโควิด-19 แพร่กระจายได้ว่า สําหรับบุคคลที่มีความจําเป็นจะต้องออกจากบ้าน ขอให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือหลังจากสัมผัสสิ่งของ กินร้อน ใช้ช้อนกลาง ซึ่งช่วยป้องกันเชื้อโรคต่างๆ ได้อีกด้วย ซึ่งในช่วงแรกของการประกาศ พรก. ฉุกเฉิน พบว่ามีการให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างมาก แต่อาจจะมีการผ่อนลงไปบ้างในช่วงหลัง ๆ ซึ่งก็อาจจะทําให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามต้องขอความร่วมมือจากประชาชนในการปฏิบัติตามมาตรการฯ ดังกล่าว โดยเริ่มจากตนเองรวมถึงคนในครอบครัว สําหรับผู้ประกอบการต้องยึดหลักการให้มั่น จัดสถานที่ไม่ให้เกิดความแออัด ปฏิบัติตนอย่างระมัดระวังเมื่อต้องอยู่กับคนจํานวนมาก เพื่อดูแลซึ่งกันและกัน จะทําให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้ และยังสามารถควบคุมโรคนี้ต่อไปได้อีกด้วย
กรณีประชาชนที่มีความจําเป็นต้องเดินทางไปต่างจังหวัดนั้น จะต้องศึกษาระเบียบการปฏิบัติของแต่ละจังหวัด เนื่องจาก ศบค. ได้มอบอํานาจบางเรื่องให้แก่จังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็น ผอ. ศบค. ประจําจังหวัด และสาธารณสุขจังหวัดเป็นเลขาฯ ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่จังหวัดนั้นได้กําหนดขึ้นมา อย่างไรก็ตาม มาตรการห้ามเดินทางในช่วงเวลาเคอร์ฟิวยังคงเป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติกันทุกจังหวัดทั่วประเทศ ขณะเดียวกันยังเปิดให้สามารถขนส่งทางอากาศได้ แต่ต้องมีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดด้วย
โอกาสนี้ โฆษก ศบค. ยังได้กล่าวปฏิเสธกรณีข่าวปลดล็อคในพื้นที่ 32 จังหวัด ในวันที่ 1 พ.ค. นี้ว่า ขณะนี้ ศบค. ยังไม่มีการประกาศใดๆ ศบค. จะต้องมีการประชุม ศึกษาให้ชัดเจนก่อนกําหนดมาตรการต่างๆ และให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติ สําหรับแนวโน้มขณะนี้คือการยืดระยะเวลาของ พ.ร.ก. ฉุกเฉินออกไปอย่างแน่นอน แต่อาจผ่อนปรนบางกรณี ซึ่งต้องรอมติคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง
ในตอนท้าย โฆษก ศบค. กล่าวว่า ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ไม่ใช่เพียงแค่ร่างกายที่เราต้องระมัดระวัง แต่รวมถึงจิตใจที่มีความสําคัญเป็นอย่างยิ่ง คําสอนของศาสนาต่าง ๆ นั้นมีความสําคัญ สามารถนําเอาคําสอนของศาสนามาใช้ในภาวะวิกฤตนี้ได้อย่างดี เพราะหากใจดี กายก็จะดีด้วย
*********************
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษก ศบค. ปฏิเสธข่าวลือปลดล็อคพื้นที่ 32 จังหวัด ในวันที่ 1 พ.ค. นี้ ย้ำรอผลการหารือจากที่ประชุมฯ และการประชุมคณะรัฐมนตรี
วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน 2563
โฆษก ศบค. ปฏิเสธข่าวลือปลดล็อคพื้นที่ 32 จังหวัด ในวันที่ 1 พ.ค. นี้ ย้ํารอผลการหารือจากที่ประชุมฯ และการประชุมคณะรัฐมนตรี
โฆษก ศบค. ปฏิเสธข่าวลือปลดล็อคพื้นที่ 32 จังหวัด ในวันที่ 1 พ.ค. นี้ ย้ํารอผลการหารือจากที่ประชุมฯ และการประชุมคณะรัฐมนตรี
วันนี้ (23 เม.ย. 63) เวลา 11.30 น. ณ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) โถงกลาง ตึกสันติไมตรี ทําเนียบรัฐบาล นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. ตอบคําถามสื่อมวลชนผ่านโซเซียลมีเดียช่วงการแถลงข่าวของศูนย์ข่าวโควิด-19 และสรุปสาระสําคัญ ดังนี้
โฆษก ศบค. ชี้แจงกรณีเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ณ ด่านสะเดา จ.สงขลา ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่ง ขณะที่กลับไปเยี่ยมญาติ รวมถึงต้องมีการกักตัวเจ้าหน้าที่ประจําด่านอีกจํานวนหนึ่ง ทั้งนี้ ด่านสะเดาเป็นด่านข้ามพรมแดนที่มีขนาดใหญ่และมีประชาชนเดินทางสัญจรจํานวนมาก ขณะนี้ได้มีการกักตัวผู้ที่เข้าข่ายเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในระดับความเสี่ยงสูง 49 คน และกลุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในระดับต่ําอีก 93 คน รวมเป็น 142 คน โดยส่วนใหญ่เป็นคนใกล้ชิดกับผู้ป่วยติดเชื้อ จะมีแนวทางป้องกันไม่ให้มีการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส-19 โดยโฆษก ศบค. เน้นย้ําไทยและมาเลเซียมีความร่วมมือเพื่อลดจํานวนผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด เนื่องจากหากระบบคัดกรองโรคไม่รัดกุม จะทําให้เจ้าหน้าที่ประจําด่านข้ามพรมแดนก็จะติดเชื้อไวรัสเป็นจํานวนมาก ขณะนี้ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดจึงมีความเห็นให้ทําการปิดด่านสะเดาเป็นเวลา 7 วัน โดยให้เข้า-ออกโดยใช้ด่านปาดังเบซาร์แทน เพื่อที่จะทําความสะอาด ฆ่าเชื้อโรค เตรียมความพร้อมสําหรับการเปิดทําการใหม่ สร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนที่เดินทางสัญจรไปมา
ในขณะนี้ ไทยและมาเลเซียทํางานร่วมกันเพื่อส่งผู้เดินทางจากมาเลเซียกลับเข้าประเทศไทยโดยเข้าสู่กระบวนการ State Quarantine ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จํานวนประมาณ 1,600 กว่าคน นั้น ซึ่งภาครัฐก็ให้การดูแลเป็นอย่างดีและยังไม่พบผู้ป่วย ทั้งนี้ ผู้ที่ต้องการเดินทางกลับประเทศจําเป็นต้องมีใบรับรองแพทย์และลงทะเบียนกับทางกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อที่จะได้เตรียมพื้นที่สําหรับการทํา State Quarantine ให้เพียงพอแก่ทุกคน
โฆษก ศบค. ชี้แจงเพิ่มเติมจากข้อมูลของกระทรวงการต่างประเทศพบยังมีคนไทยอีกหลายคนที่อยู่ในประเทศมาเลเซีย กระจายอยู่ในหลาย ๆ รัฐ สามารถติดต่อสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลโดยตรง ซึ่งจะส่งสิ่งของจําเป็น หรือถุงยังชีพไปให้ รวมทั้งยังมีอาสาสมัครที่พร้อมให้การช่วยเหลือ สําหรับผู้อาศัยอยู่แบบผิดกฎหมายนั้น อยู่ระหว่างเจรจากับมาเลเซียเพื่อที่จะช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาต่อไป
โฆษก ศบค. ยังตอบคําถามสื่อมวลชนเรื่องการปรับ – ลด ด่านตรวจในช่วงเวลาเคอร์ฟิว และจํานวนผู้กระทําผิดกรณีฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ เช่น ออกนอกเคหสถาน มั่วสุม ยังมีจํานวนมากอยู่ โดยชี้แจงว่า สํานักงานตํารวจแห่งชาติก็ได้ปรับเปลี่ยนการทํางานมาเป็นเชิงรุก โดยจัดตํารวจสายตรวจ ตระเวนตรวจตามพื้นที่ในชุมชน รวมถึงรับเบาะแสร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนที่แจ้งเข้ามา หากคนในชุมชนร่วมมือแจ้งเบาะแสผู้กระทําผิดฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ ถือเป็นการช่วยเจ้าหน้าที่ตํารวจทํางานด้วย เบื้องต้นอาจเป็นการตักเตือน หากพบมั่วสุม เล่นการพนัน ก็จําเป็นต้องนําตัวไปดําเนินคดี
โฆษก ศบค. กล่าวถึงสถานการณ์ปัจจุบันพบว่ามีประชาชนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตตามปกติมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะที่อาจจะไม่ได้มีการเว้นระยะห่าง อาจจะทําให้โรคโควิด-19 แพร่กระจายได้ว่า สําหรับบุคคลที่มีความจําเป็นจะต้องออกจากบ้าน ขอให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือหลังจากสัมผัสสิ่งของ กินร้อน ใช้ช้อนกลาง ซึ่งช่วยป้องกันเชื้อโรคต่างๆ ได้อีกด้วย ซึ่งในช่วงแรกของการประกาศ พรก. ฉุกเฉิน พบว่ามีการให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างมาก แต่อาจจะมีการผ่อนลงไปบ้างในช่วงหลัง ๆ ซึ่งก็อาจจะทําให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามต้องขอความร่วมมือจากประชาชนในการปฏิบัติตามมาตรการฯ ดังกล่าว โดยเริ่มจากตนเองรวมถึงคนในครอบครัว สําหรับผู้ประกอบการต้องยึดหลักการให้มั่น จัดสถานที่ไม่ให้เกิดความแออัด ปฏิบัติตนอย่างระมัดระวังเมื่อต้องอยู่กับคนจํานวนมาก เพื่อดูแลซึ่งกันและกัน จะทําให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้ และยังสามารถควบคุมโรคนี้ต่อไปได้อีกด้วย
กรณีประชาชนที่มีความจําเป็นต้องเดินทางไปต่างจังหวัดนั้น จะต้องศึกษาระเบียบการปฏิบัติของแต่ละจังหวัด เนื่องจาก ศบค. ได้มอบอํานาจบางเรื่องให้แก่จังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็น ผอ. ศบค. ประจําจังหวัด และสาธารณสุขจังหวัดเป็นเลขาฯ ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่จังหวัดนั้นได้กําหนดขึ้นมา อย่างไรก็ตาม มาตรการห้ามเดินทางในช่วงเวลาเคอร์ฟิวยังคงเป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติกันทุกจังหวัดทั่วประเทศ ขณะเดียวกันยังเปิดให้สามารถขนส่งทางอากาศได้ แต่ต้องมีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดด้วย
โอกาสนี้ โฆษก ศบค. ยังได้กล่าวปฏิเสธกรณีข่าวปลดล็อคในพื้นที่ 32 จังหวัด ในวันที่ 1 พ.ค. นี้ว่า ขณะนี้ ศบค. ยังไม่มีการประกาศใดๆ ศบค. จะต้องมีการประชุม ศึกษาให้ชัดเจนก่อนกําหนดมาตรการต่างๆ และให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติ สําหรับแนวโน้มขณะนี้คือการยืดระยะเวลาของ พ.ร.ก. ฉุกเฉินออกไปอย่างแน่นอน แต่อาจผ่อนปรนบางกรณี ซึ่งต้องรอมติคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง
ในตอนท้าย โฆษก ศบค. กล่าวว่า ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ไม่ใช่เพียงแค่ร่างกายที่เราต้องระมัดระวัง แต่รวมถึงจิตใจที่มีความสําคัญเป็นอย่างยิ่ง คําสอนของศาสนาต่าง ๆ นั้นมีความสําคัญ สามารถนําเอาคําสอนของศาสนามาใช้ในภาวะวิกฤตนี้ได้อย่างดี เพราะหากใจดี กายก็จะดีด้วย
*********************
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก | https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/29605 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเปิดงาน Startup Thailand & Digital Thailand ภูมิภาค 2016 ต่อยอดการพัฒนามุ่งสู่ Thailand 4.0 อย่างเต็มกำลัง | วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม 2559
นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเปิดงาน Startup Thailand & Digital Thailand ภูมิภาค 2016 ต่อยอดการพัฒนามุ่งสู่ Thailand 4.0 อย่างเต็มกําลัง
นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเปิดงาน Startup Thailand & Digital Thailand ภูมิภาค 2016 ต่อยอดการพัฒนามุ่งสู่ Thailand 4.0 อย่างเต็มกําลัง ขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ร่วมเป็นประชารัฐ มุ่งหน้าขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวไปอย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
วันนี้ (16 กันยายน 2559) เวลา 11.30 น. ณ ดวงจิตต์ รีสอร์ท แอนด์ สปา หาดป่าตอง จ.ภูเก็ต พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน Startup Thailand & Digital Thailand ภูมิภาค 2016 จัดโดย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
นายจําเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ได้กล่าวต้อนรับนายกรัฐมนตรีว่า ในนามของจังหวัดภูเก็ต ขอขอบคุณนายกรัฐมนตรีที่มาเป็นประธานในพิธีเปิดงานในวันนี้ ถือเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่จังหวัดภูเก็ตได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในสองจังหวัด Super Cluster ซึ่งในนามของชาวภูเก็ตขอยืนยันว่าจะดําเนินการอย่างเต็มกําลังโดยรูปแบบของประชารัฐ เพื่อเป็นกําลังส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 ให้ได้ต่อไป จากนั้น ได้มีการแสดงวีดีทัศน์ Startup Thailand & Digital Thailand ให้ประชาชนที่ร่วมงานได้รับชม
นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้กล่าวรายงานว่าสําหรับงาน Startup Thailand นี้ จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ภูมิภาคได้รับรู้และมีโอกาสในการเข้าร่วมกระบวนการพัฒนาดังกล่าวตั้งแต่เริ่มต้นและเป็นการเน้นย้ําในจุดยืนของรัฐบาลที่มีความตั้งใจต่อการสนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจเริ่มต้น รวมทั้งเพื่อสร้างความต่อเนื่องของกิจกรรมดังกล่าวให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางปฏิบัติอย่างแท้จริงและทันเหตุการณ์ เกิดจากการบูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนและพัฒนา Startup ของไทยให้มีศักยภาพในการเติบโตสูงอย่างก้าวกระโดด และเป็นกําลังสําคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต ต่อยอดการพัฒนา Startup และ Digital Economy ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อสร้างฐานสู่ไทยแลนด์ 4.0 ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมอย่างแท้จริง
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ "การส่งเสริมภูเก็ตสู่ศูนย์กลางธุรกิจสตาร์ทอัพและมืออัจฉริยะ" สรุปสาระสําคัญว่า วันนี้รัฐบาลกําลังดําเนินการสร้างสะพานเชื่อมโยงบูรณาการทุกภาคส่วนร่วมกันอย่างประชารัฐอย่างจริงจัง โดยคํานึงถึงผลประโยชน์ของทุกคนอย่างเท่าเทียมตามกฎหมายสากล ซึ่งที่ผ่านมานั้นได้มีการดําเนินการไปในทิศทางที่ดี เพราะความร่วมมือกันของพี่น้องประชาชนทุกภาคส่วน โดยข้าราชการและรัฐบาลมีหน้าที่ทําให้เกิดความเชื่อมโยงอย่างทั่วถึงในทุกภูมิภาค ทั้ง 76 จังหวัดให้ได้ อย่างไรก็ตาม วันนี้ประเทศไทยมีความพร้อมในด้านต่าง ๆ มากมาย เหลือเพียงแต่การคิดหาวิธีว่าจะขับเคลื่อนไปพร้อมกันได้อย่างไรในทุกระดับชั้น ให้มีการร่วมมือกันโดยให้ยึดคติที่ว่า "จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในทุกระดับ เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีกําลังที่เข้มแข็งสามารถเติบโตได้ ทําร่วมกันอย่างเป็นระบบ นําธุรกิจ SMEs กว่าล้านแห่งเข้ามาอยู่ในทะเบียนทําเนียบ SMEs ประเทศไทยให้ได้ ทําให้ถูกต้องตามหลักกฎหมายสากล หาจุดเชื่อมต่อ สร้างสะพานที่เชื่อมโยงกันอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และมีธรรมาภิบาล ให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นและไว้ใจ
นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อไปว่า สิ่งสําคัญที่จะต้องเร่งดําเนินการในวันนี้คือ คิดวิธีว่าจะทําอย่างไรให้ประชาชนเกิดความเข้มแข็ง สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง รวมไปถึงสร้างการรับรู้ให้ประชาชนมีความเข้าใจ โดยจะต้องยึดถือวิสัยทัศน์และนโยบายของรัฐบาลเป็นหลัก อาศัยความร่วมมือซึ่งกันและกันจากทุกภาคส่วน สนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพให้สามารถเติบโตขึ้นก้าวไปข้างหน้าได้ด้วยตัวเอง ขณะที่ก็ต้องเดินหน้าปฏิรูปไปพร้อมกัน อุดหนุนเกื้อกูลกัน พึ่งพาอาศัยกันและกัน บริษัทยักษ์ใหญ่ก็จะต้องดูแลบริษัทเล็ก ให้เติบโตไปพร้อมกันได้โดยไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ทุกวันนี้ทั่วโลกมีปัญหาซึ่งเกิดมาจากเศรษฐกิจที่ตกต่ําลง เราจึงจะต้องร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหา ปรับเปลี่ยนตนเอง สร้างความเข้มแข็ง อย่าเพียงแต่คิดแล้วไม่ดําเนินการ โดยสร้างความเข้มแข็งให้ทุกภาคส่วนทั่วทั้งประเทศ เดินหน้าขับเคลื่อนในทุกจังหวัด ทําให้เกิดความเชื่อมโยงอย่างเป็นลําดับ จัดเรียงลําดับความสําคัญให้ชัดเจน ร่วมมือกันเดินหน้าขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้มีกลไกที่มั่นคง ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้ขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ และประชาชน ให้ร่วมมือกันเป็นประชารัฐ มุ่งหน้าขับเคลื่อน โดยตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยหลุดพ้นกับดักให้ได้ภายใน 20 ปี ขอให้คิดว่าประเทศเป็นของพวกเราทุกคน และเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องร่วมมือกันขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวไปอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยังยืนต่อไป
หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีได้เยี่ยมชมนิทรรศการ Startup Thailand ก่อนเดินทางไปยังมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตเพื่อเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนต่อไป
---------------------------------
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเปิดงาน Startup Thailand & Digital Thailand ภูมิภาค 2016 ต่อยอดการพัฒนามุ่งสู่ Thailand 4.0 อย่างเต็มกำลัง
วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม 2559
นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเปิดงาน Startup Thailand & Digital Thailand ภูมิภาค 2016 ต่อยอดการพัฒนามุ่งสู่ Thailand 4.0 อย่างเต็มกําลัง
นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเปิดงาน Startup Thailand & Digital Thailand ภูมิภาค 2016 ต่อยอดการพัฒนามุ่งสู่ Thailand 4.0 อย่างเต็มกําลัง ขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ร่วมเป็นประชารัฐ มุ่งหน้าขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวไปอย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
วันนี้ (16 กันยายน 2559) เวลา 11.30 น. ณ ดวงจิตต์ รีสอร์ท แอนด์ สปา หาดป่าตอง จ.ภูเก็ต พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน Startup Thailand & Digital Thailand ภูมิภาค 2016 จัดโดย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
นายจําเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ได้กล่าวต้อนรับนายกรัฐมนตรีว่า ในนามของจังหวัดภูเก็ต ขอขอบคุณนายกรัฐมนตรีที่มาเป็นประธานในพิธีเปิดงานในวันนี้ ถือเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่จังหวัดภูเก็ตได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในสองจังหวัด Super Cluster ซึ่งในนามของชาวภูเก็ตขอยืนยันว่าจะดําเนินการอย่างเต็มกําลังโดยรูปแบบของประชารัฐ เพื่อเป็นกําลังส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 ให้ได้ต่อไป จากนั้น ได้มีการแสดงวีดีทัศน์ Startup Thailand & Digital Thailand ให้ประชาชนที่ร่วมงานได้รับชม
นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้กล่าวรายงานว่าสําหรับงาน Startup Thailand นี้ จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ภูมิภาคได้รับรู้และมีโอกาสในการเข้าร่วมกระบวนการพัฒนาดังกล่าวตั้งแต่เริ่มต้นและเป็นการเน้นย้ําในจุดยืนของรัฐบาลที่มีความตั้งใจต่อการสนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจเริ่มต้น รวมทั้งเพื่อสร้างความต่อเนื่องของกิจกรรมดังกล่าวให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางปฏิบัติอย่างแท้จริงและทันเหตุการณ์ เกิดจากการบูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนและพัฒนา Startup ของไทยให้มีศักยภาพในการเติบโตสูงอย่างก้าวกระโดด และเป็นกําลังสําคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต ต่อยอดการพัฒนา Startup และ Digital Economy ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อสร้างฐานสู่ไทยแลนด์ 4.0 ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมอย่างแท้จริง
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ "การส่งเสริมภูเก็ตสู่ศูนย์กลางธุรกิจสตาร์ทอัพและมืออัจฉริยะ" สรุปสาระสําคัญว่า วันนี้รัฐบาลกําลังดําเนินการสร้างสะพานเชื่อมโยงบูรณาการทุกภาคส่วนร่วมกันอย่างประชารัฐอย่างจริงจัง โดยคํานึงถึงผลประโยชน์ของทุกคนอย่างเท่าเทียมตามกฎหมายสากล ซึ่งที่ผ่านมานั้นได้มีการดําเนินการไปในทิศทางที่ดี เพราะความร่วมมือกันของพี่น้องประชาชนทุกภาคส่วน โดยข้าราชการและรัฐบาลมีหน้าที่ทําให้เกิดความเชื่อมโยงอย่างทั่วถึงในทุกภูมิภาค ทั้ง 76 จังหวัดให้ได้ อย่างไรก็ตาม วันนี้ประเทศไทยมีความพร้อมในด้านต่าง ๆ มากมาย เหลือเพียงแต่การคิดหาวิธีว่าจะขับเคลื่อนไปพร้อมกันได้อย่างไรในทุกระดับชั้น ให้มีการร่วมมือกันโดยให้ยึดคติที่ว่า "จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในทุกระดับ เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีกําลังที่เข้มแข็งสามารถเติบโตได้ ทําร่วมกันอย่างเป็นระบบ นําธุรกิจ SMEs กว่าล้านแห่งเข้ามาอยู่ในทะเบียนทําเนียบ SMEs ประเทศไทยให้ได้ ทําให้ถูกต้องตามหลักกฎหมายสากล หาจุดเชื่อมต่อ สร้างสะพานที่เชื่อมโยงกันอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และมีธรรมาภิบาล ให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นและไว้ใจ
นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อไปว่า สิ่งสําคัญที่จะต้องเร่งดําเนินการในวันนี้คือ คิดวิธีว่าจะทําอย่างไรให้ประชาชนเกิดความเข้มแข็ง สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง รวมไปถึงสร้างการรับรู้ให้ประชาชนมีความเข้าใจ โดยจะต้องยึดถือวิสัยทัศน์และนโยบายของรัฐบาลเป็นหลัก อาศัยความร่วมมือซึ่งกันและกันจากทุกภาคส่วน สนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพให้สามารถเติบโตขึ้นก้าวไปข้างหน้าได้ด้วยตัวเอง ขณะที่ก็ต้องเดินหน้าปฏิรูปไปพร้อมกัน อุดหนุนเกื้อกูลกัน พึ่งพาอาศัยกันและกัน บริษัทยักษ์ใหญ่ก็จะต้องดูแลบริษัทเล็ก ให้เติบโตไปพร้อมกันได้โดยไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ทุกวันนี้ทั่วโลกมีปัญหาซึ่งเกิดมาจากเศรษฐกิจที่ตกต่ําลง เราจึงจะต้องร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหา ปรับเปลี่ยนตนเอง สร้างความเข้มแข็ง อย่าเพียงแต่คิดแล้วไม่ดําเนินการ โดยสร้างความเข้มแข็งให้ทุกภาคส่วนทั่วทั้งประเทศ เดินหน้าขับเคลื่อนในทุกจังหวัด ทําให้เกิดความเชื่อมโยงอย่างเป็นลําดับ จัดเรียงลําดับความสําคัญให้ชัดเจน ร่วมมือกันเดินหน้าขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้มีกลไกที่มั่นคง ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้ขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ และประชาชน ให้ร่วมมือกันเป็นประชารัฐ มุ่งหน้าขับเคลื่อน โดยตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยหลุดพ้นกับดักให้ได้ภายใน 20 ปี ขอให้คิดว่าประเทศเป็นของพวกเราทุกคน และเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องร่วมมือกันขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวไปอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยังยืนต่อไป
หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีได้เยี่ยมชมนิทรรศการ Startup Thailand ก่อนเดินทางไปยังมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตเพื่อเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนต่อไป
---------------------------------
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/365 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“ยุติธรรม” เปิดเวทีระดมความคิดเห็นเพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานด้านประชาสัมพันธ์ ปี ๒๕๖๑ | วันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม 2560
“ยุติธรรม” เปิดเวทีระดมความคิดเห็นเพื่อกําหนดทิศทางการดําเนินงานด้านประชาสัมพันธ์ ปี ๒๕๖๑
นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม และโฆษกกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานเพื่อกําหนดทิศทางการดําเนินงานด้านประชาสัมพันธ์ ประจําปี พ.ศ. ๒๕๖๑
เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๐๐ น.
นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม และโฆษกกระทรวงยุติธรรม
เป็นประธานเพื่อกําหนดทิศทางการดําเนินงานด้านประชาสัมพันธ์ ประจําปี พ.ศ. ๒๕๖๑
เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการกําหนดแนวทางและเป้าหมาย
ในการขับเคลื่อนงานประชาสัมพันธ์ของกระทรวงยุติธรรมให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ตลอดจนสร้างเครือข่ายด้านงานประชาสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานในสังกัด
เพื่อให้สามารถบูรณาการงานด้านการสื่อสารและการรับรู้ด้านงานยุติธรรมไปสู่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง
โดยมีโฆษกประจําหน่วยงาน และผู้ปฏิบัติงานด้านประชาสัมพันธ์
ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม เข้าร่วม
ณ ศูนย์การเรียนรู้กระทรวงยุติธรรม ชั้น ๗ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“ยุติธรรม” เปิดเวทีระดมความคิดเห็นเพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานด้านประชาสัมพันธ์ ปี ๒๕๖๑
วันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม 2560
“ยุติธรรม” เปิดเวทีระดมความคิดเห็นเพื่อกําหนดทิศทางการดําเนินงานด้านประชาสัมพันธ์ ปี ๒๕๖๑
นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม และโฆษกกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานเพื่อกําหนดทิศทางการดําเนินงานด้านประชาสัมพันธ์ ประจําปี พ.ศ. ๒๕๖๑
เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๐๐ น.
นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม และโฆษกกระทรวงยุติธรรม
เป็นประธานเพื่อกําหนดทิศทางการดําเนินงานด้านประชาสัมพันธ์ ประจําปี พ.ศ. ๒๕๖๑
เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการกําหนดแนวทางและเป้าหมาย
ในการขับเคลื่อนงานประชาสัมพันธ์ของกระทรวงยุติธรรมให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ตลอดจนสร้างเครือข่ายด้านงานประชาสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานในสังกัด
เพื่อให้สามารถบูรณาการงานด้านการสื่อสารและการรับรู้ด้านงานยุติธรรมไปสู่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง
โดยมีโฆษกประจําหน่วยงาน และผู้ปฏิบัติงานด้านประชาสัมพันธ์
ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม เข้าร่วม
ณ ศูนย์การเรียนรู้กระทรวงยุติธรรม ชั้น ๗ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/3876 |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีพร้อมภริยาร่วมพิธีมหามงคลบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 9 และร่วมเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคล | วันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2560
นายกรัฐมนตรีพร้อมภริยาร่วมพิธีมหามงคลบําเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 9 และร่วมเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคล
นายกรัฐมนตรีพร้อมภริยาร่วมพิธีมหามงคลบําเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 9 และร่วมเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
วันนี้ (25 พฤศจิกายน 2560) เวลา 18.00 น. ณ พระลานพระราชวังดุสิต พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย รศ.นราพร จันทร์โอชา ภริยานายกรัฐมนตรีร่วมพิธีมหามงคลบําเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในการนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (อัมพร อมพโร) เสด็จมาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และมีพระสงฆ์มาร่วมสวดมาติกา จํานวน 241 รูป ในพิธีมหามงคลนี้
พร้อมทั้ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลอากาศเอก เกษม อยู่สุข หัวหน้าสํานักงานราชเลขานุการในพระองค์ฯ อัญเชิญพระชัยนวรัฐ พระพุทธรูปสําคัญมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพิธี เพื่อให้ประชาชนได้สักการะอันจะเป็นมงคลแก่ชีวิต ประเทศชาติ และสืบสานพระราชปณิธาน “ธรรมราชินี” ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
--------------------------------------------------- | รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีพร้อมภริยาร่วมพิธีมหามงคลบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 9 และร่วมเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคล
วันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2560
นายกรัฐมนตรีพร้อมภริยาร่วมพิธีมหามงคลบําเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 9 และร่วมเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคล
นายกรัฐมนตรีพร้อมภริยาร่วมพิธีมหามงคลบําเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 9 และร่วมเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
วันนี้ (25 พฤศจิกายน 2560) เวลา 18.00 น. ณ พระลานพระราชวังดุสิต พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย รศ.นราพร จันทร์โอชา ภริยานายกรัฐมนตรีร่วมพิธีมหามงคลบําเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในการนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (อัมพร อมพโร) เสด็จมาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และมีพระสงฆ์มาร่วมสวดมาติกา จํานวน 241 รูป ในพิธีมหามงคลนี้
พร้อมทั้ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลอากาศเอก เกษม อยู่สุข หัวหน้าสํานักงานราชเลขานุการในพระองค์ฯ อัญเชิญพระชัยนวรัฐ พระพุทธรูปสําคัญมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพิธี เพื่อให้ประชาชนได้สักการะอันจะเป็นมงคลแก่ชีวิต ประเทศชาติ และสืบสานพระราชปณิธาน “ธรรมราชินี” ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
--------------------------------------------------- | http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/8352 |