title
stringlengths 8
870
| text
stringlengths 0
298k
| __index_level_0__
int64 0
54.3k
|
---|---|---|
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 51/2564 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 8) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 51/2564
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขาย
ตราสารหนี้ที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 8)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) และมาตรา 89/27 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ไม่ใช่กรณีตาม (4) และ (4/1) ให้เป็นไปตาม (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี และตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังนี้
(ก) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ให้เป็นไปตามข้อกําหนดในหมวด 1 และหมวด 2 ของภาค 3 ด้วย
(ข) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับในวงจํากัดให้เป็นไปตามข้อกําหนดในหมวด 1 และหมวด 3 ของภาค 3 ด้วย”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4/1) ของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561
“(4/1) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลที่เป็นเจ้าหนี้ของบริษัทตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลให้ความเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย ให้เป็นไปตามข้อกําหนดในภาค 4/1”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561
“การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้นตามวรรคหนึ่ง (4) ให้หมายความรวมถึงการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในลักษณะเป็นการทั่วไป โดยกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ที่จะซื้อหุ้นกู้แปลงสภาพต้องเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท และจํานวนการจองซื้อไม่เกินกว่าสัดส่วนการถือหุ้น โดยเป็นการเสนอขายตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่ให้เสนอขายต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน แต่จะไม่เสนอขายให้ผู้ถือหุ้นที่จะทําให้บริษัทมีหน้าที่ตามกฎหมายต่างประเทศ”
ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 6/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561
“ข้อ 6/1 ให้บริษัทสามารถเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับได้ โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ครบถ้วนดังต่อไปนี้
(1) เป็นการเสนอขายโดยบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่มีหน้าที่ตามมาตรา 56 ไม่ว่าหน้าที่นั้นจะเกิดจากการเสนอขายโดยบริษัทมหาชนจํากัดเอง หรือโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทมหาชนจํากัด
(2) เป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในลักษณะเป็นการทั่วไปโดยกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ที่จะซื้อหุ้นกู้แปลงสภาพและผู้ใช้สิทธิเพื่อซื้อหุ้นรองรับต้องเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทเท่านั้น และจํานวนการจองซื้อไม่เกินกว่าสัดส่วนการถือหุ้น
(3) เป็นการเสนอขายตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่ให้เสนอขายต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน แต่จะไม่เสนอขายให้ผู้ถือหุ้นที่จะทําให้บริษัทมีหน้าที่ตามกฎหมายต่างประเทศ
บริษัทที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่งต้องเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติให้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 81 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 81 การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่มีลักษณะเป็นไปตามข้อ 5(4) หรือ (5) (ข) ต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้น แต่ผู้ที่จะใช้สิทธิแปลงสภาพอาจไม่ใช่ผู้ถือหุ้นของบริษัทให้บริษัทตามข้อ 6 ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
ซึ่งมีหน้าที่ตามมาตรา 56 ไม่ว่าหน้าที่นั้นจะเกิดจากการเสนอขายโดยบริษัทมหาชนจํากัดเองหรือโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทมหาชนจํากัด สามารถเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่และหุ้นรองรับได้ โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว และให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นที่เป็นไปตามข้อ 71 และต้องได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 45(1) และข้อ 78(2)
(2) เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทมีมติอนุมัติให้บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพ เว้นแต่เป็นกรณีการเสนอขายที่เข้าลักษณะตามข้อ 5 วรรคสอง ให้เสนอขายให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติให้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่
(3) ต้องมีคําเรียกชื่อหุ้นกู้แปลงสภาพ อัตราดอกเบี้ย ลักษณะ และมูลค่าไถ่ถอนที่เป็นไปตามข้อ 30(1) (2) และ (3)
(4) หุ้นกู้แปลงสภาพต้องมีลักษณะเป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 69(3)
(5) เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 31 และข้อ 32 กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิหรือหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท แล้วแต่กรณี
(6) ออกตามข้อกําหนดสิทธิที่เป็นไปตามข้อ 38 ข้อ 39 ข้อ 73 และข้อ 76
(7) จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(8) ได้ดําเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขในข้อ 74 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพไม่ว่าด้วยเหตุใด ซึ่งทําให้ต้องมีการออกหุ้นใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพดังกล่าว
(9) ได้ดําเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขในข้อ 75 ในกรณีที่หุ้นกู้แปลงสภาพกําหนดราคาและอัตราการแปลงสภาพไว้แบบผันแปรตามราคาตลาดของหุ้นรองรับ ซึ่งทําให้ต้องมีการออกหุ้นใหม่เพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพดังกล่าว
(10) ให้รายงานลักษณะของหุ้นกู้แปลงสภาพต่อสํานักงานตามวิธีการที่กําหนดโดยข้อ 9
ความในวรรคหนึ่ง (1) ไม่ใช้บังคับกับกรณีที่บริษัทต้องออกหุ้นกู้ตามแผนฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแผนนั้นแล้ว หรือกรณีอื่นใดที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน”
ข้อ 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นภาค 4/1 การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลที่เป็นเจ้าหนี้ของบริษัทตามแผนฟื้นฟูกิจการ และหุ้นรองรับ ข้อ 81/1 ข้อ 81/2 และข้อ 81/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561
“ภาค 4/1
การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อบุคคลที่เป็นเจ้าหนี้
ของบริษัทตามแผนฟื้นฟูกิจการ และหุ้นรองรับ
ข้อ 81/1 ให้บริษัทมหาชนจํากัดสามารถเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับ โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เป็นการเสนอขายต่อเจ้าหนี้ของบริษัทตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลให้ความเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายได้ และแผนฟื้นฟูกิจการดังกล่าวกําหนดให้เจ้าหนี้ต้องรับหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่แทนการรับชําระหนี้
(2) บริษัทได้ดําเนินการจดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้แปลงสภาพที่จะเสนอขายนั้นกับสํานักงาน ซึ่งมีข้อความที่แสดงว่าบริษัทจะไม่รับจดทะเบียนการโอนหุ้นกู้แปลงสภาพไม่ว่าในทอดใด ๆ หากการโอนดังกล่าวจะทําให้หุ้นกู้แปลงสภาพที่เสนอขายในครั้งนั้นไม่จํากัดอยู่เฉพาะบุคคลดังต่อไปนี้ เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก
(ก) เจ้าหนี้ของบริษัทตาม (1)
(ข) ผู้ลงทุนสถาบัน
(ค) ผู้ลงทุนใด ๆ ที่มีจํานวนไม่เกินห้าสิบราย ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ทั้งนี้ ไม่นับรวมส่วนที่โอนให้แก่ผู้ลงทุนตาม (ก) และ (ข)
ให้ถือว่าสํานักงานรับจดข้อจํากัดการโอนตามวรรคหนึ่ง ในวันที่สํานักงานได้รับการแสดงเจตนาจดข้อจํากัดการโอนที่มีข้อความดังกล่าวแล้ว
ข้อ 81/2 บริษัทที่ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีข้อกําหนดสิทธิที่มีรายการอย่างน้อยตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 42
(2) ดําเนินการให้หุ้นกู้แปลงสภาพที่จะออกและเสนอขายเป็นหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ และต้องมีข้อความในใบหุ้นกู้ที่เสนอขายแต่ละครั้งแสดงว่าผู้ได้รับอนุญาตจะไม่รับจดทะเบียนการโอนหุ้นกู้ไม่ว่าในทอดใด ๆ หากการโอนนั้นจะขัดกับข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ตามที่ระบุไว้ ซึ่งต้องเป็นข้อจํากัดการโอนเดียวกับที่ได้จดทะเบียนไว้กับสํานักงาน
(3) เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่แผนฟื้นฟูกิจการกําหนด
(4) ดําเนินการให้การลงทะเบียนการโอนหุ้นกู้แปลงสภาพเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 66 โดยอนุโลม
(5) ยื่นเอกสารหลักฐานต่อสํานักงานพร้อมกับรายงานผลการขาย ทั้งนี้ ตามรายการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
(6) ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ มีการไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนครบอายุ หรือมีการผิดนัดชําระหนี้เงินต้นหรือดอกเบี้ย ให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 41(1) หรือ (2) หรือข้อ 41/1 แล้วแต่กรณี โดยอนุโลม
ข้อ 81/3 ในกรณีที่บริษัทที่ได้รับอนุญาตมีการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิตามหุ้นกู้แปลงสภาพ หรือหุ้นกู้แปลงสภาพดังกล่าวมีการกําหนดราคาและอัตราการแปลงสภาพไว้แบบผันแปรตามราคาตลาดของหุ้นรองรับ หากบริษัทต้องออกหุ้นรองรับเพิ่มเติม ให้ถือว่าบริษัทได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นรองรับดังกล่าวเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ใดหลักเกณฑ์หนึ่งดังต่อไปนี้
(1) การออกหุ้นเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นไปตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลให้ความเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
(2) บริษัทได้ยื่นมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติให้ออกหุ้นเพิ่มเติมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิอย่างเพียงพอต่อสํานักงาน”
ข้อ 7 ในกรณีที่สํานักงานได้รับคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับไว้แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้การขออนุญาตและการอนุญาตอยู่ภายใต้บังคับของข้อกําหนดแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 ซึ่งใช้บังคับก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ เว้นแต่ผู้ยื่นคําขออนุญาตได้แจ้งต่อสํานักงานว่าประสงค์จะปฏิบัติตามข้อกําหนดที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้
ข้อ 8 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 500 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 63/2564 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 9) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 63/2564
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขาย
ตราสารหนี้ที่ออกใหม่
(ฉบับที่ 9)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคสามของข้อ 73 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2561 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่
ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“เมื่อมีเหตุการณ์ที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง ผู้ได้รับอนุญาตให้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิดังกล่าวให้สํานักงานทราบภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้ดําเนินการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธินั้น ทั้งนี้ ตามรูปแบบและวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 501 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 58/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 58/2559
เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขาย
ตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 มาตรา 40(11) มาตรา 41(3) และ (4) มาตรา 42(10) และมาตรา 43(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2552 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 18/2552 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2552
(3) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 35/2554 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554
(4) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 32/2555 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
(5) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2556 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556
(6) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 32/2557 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557
(7) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2557 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
(8) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2558 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
(9) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 68/2558 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
คําว่า “การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ” “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” “แบบแสดงรายการข้อมูล”“ผู้ลงทุนสถาบัน” “ผู้ลงทุนรายใหญ่” “ผู้บริหาร” และ “หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท
“กิจการต่างประเทศ” หมายความว่า กิจการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศดังต่อไปนี้
(1) หน่วยงานหรือองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ
(2) องค์การระหว่างประเทศ
(3) นิติบุคคลต่างประเทศ
“ข้อกําหนดสิทธิ” หมายความว่า ข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ และให้หมายความรวมถึงข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกพันธบัตรและผู้ถือพันธบัตรด้วย
“ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
“ตราสารหนี้” หมายความว่า พันธบัตร หรือหุ้นกู้
“ตราสารหนี้ขึ้นทะเบียน” หมายความว่า ตราสารหนี้ที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
“บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทซึ่งมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
“สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย” หมายความว่า สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยที่ได้รับใบอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน
“หุ้นกู้ด้อยสิทธิ” หมายความว่า หุ้นกู้ไม่มีประกันที่มีการกําหนดสิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ไว้ด้อยกว่าสิทธิของเจ้าหนี้สามัญทั่วไป
“หุ้นกู้ระยะสั้น” หมายความว่า หุ้นกู้ที่มีกําหนดเวลาชําระหนี้ไม่เกิน 270 วันนับแต่วันที่ออกหุ้นกู้
หมวด ๑ หลักเกณฑ์ทั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับกิจการต่างประเทศที่ประสงค์จะออกและเสนอขายตราสารหนี้ในประเทศไทยซึ่งมีข้อตกลงให้ชําระค่าตราสารหนี้และการชําระหนี้ตามตราสารเป็นสกุลเงินบาท
ข้อ ๕ เอกสารหรือหลักฐานที่ต้องยื่นต่อสํานักงานตามที่ประกาศนี้กําหนด ไม่ว่าก่อนหรือภายหลังได้รับอนุญาต ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๖ กิจการต่างประเทศที่ประสงค์จะออกและเสนอขายตราสารหนี้อาจยื่นข้อมูลหรือเอกสารต่อสํานักงานที่จัดทําเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้
ในกรณีที่ข้อมูลหรือเอกสารตามวรรคหนึ่งแปลมาจากข้อมูลที่เป็นภาษาอื่น กิจการต่างประเทศต้องดําเนินการดังนี้ด้วย
(1) รับรองว่าสาระของข้อมูลหรือเอกสารที่แปลนั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่จริง และไม่ได้มีการปกปิดข้อเท็จจริงที่พึงเปิดเผย
(2) ให้ผู้แปลรับรองความถูกต้องว่า สาระการแปลถูกต้องตรงตามสาระของข้อมูลหรือเอกสารที่เป็นต้นฉบับ
ข้อ ๗ เอกสารที่ยื่นต่อสํานักงานตามประกาศนี้ หากได้จัดทําเป็นภาษาใดในครั้งแรก ให้จัดทําโดยใช้ภาษานั้นต่อไปทุกครั้ง เว้นแต่กรณีที่มีเหตุจําเป็นสมควร และได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
ข้อ ๘ ในการจําหน่ายตราสารหนี้ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปตามหมวด 3 กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตมีหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจําหน่ายตราสารหนี้และใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ด้วย
ข้อ ๙ ในการออกและเสนอขายตราสารหนี้ของกิจการต่างประเทศต้องปฏิบัติตามที่กําหนดในหมวดนี้และหมวดดังต่อไปนี้ด้วย
(1) การออกและเสนอขายตราสารหนี้ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในหมวด 3
(2) การออกและเสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัด ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในหมวด 4
หมวด ๒ อํานาจของสํานักงาน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้ออกและเสนอขายตราสารหนี้ตามคําขออนุญาตได้
(1) กิจการต่างประเทศที่ขออนุญาตหรือการออกและเสนอขายตราสารหนี้มีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการออกและเสนอขายตราสารหนี้นั้น เข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือประกาศนี้
(2) การออกและเสนอขายตราสารหนี้อาจขัดต่อนโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐ
(3) การออกและเสนอขายตราสารหนี้อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือต่อตลาดทุนไทยโดยรวม
(4) การออกและเสนอขายตราสารหนี้อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุนโดยรวม หรืออาจทําให้ผู้ลงทุนโดยรวมไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องหรือเพียงพอประกอบการตัดสินใจลงทุน
ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานภายหลังการอนุญาตให้ออกและเสนอขายตราสารหนี้ว่าข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่สํานักงานนํามาพิจารณาเพื่ออนุญาตให้ออกและเสนอขายตราสารหนี้เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นปรากฏต่อสํานักงานก่อนการอนุญาต สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้ออกและเสนอขายตราสารหนี้นั้น ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้
(1) สั่งให้กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาต กรรมการหรือผู้บริหารของกิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาต ชี้แจงหรือเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กําหนด และระงับการอนุญาตให้ออกตราสารหนี้หรือให้กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตระงับการเสนอขายตราสารหนี้ไว้ก่อนจนกว่าจะได้ชี้แจงหรือแก้ไขให้ถูกต้อง และหากกิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาต กรรมการหรือผู้บริหารของกิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาต ไม่สามารถชี้แจงหรือดําเนินการแก้ไขให้ถูกต้องได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด สํานักงานอาจสั่งเพิกถอนการอนุญาตตาม (2) ได้
(2) สั่งเพิกถอนการอนุญาตให้ออกและเสนอขายตราสารหนี้ในส่วนที่ยังไม่ได้เสนอขายหรือยังไม่มีผู้จองซื้อ
ในการสั่งการตามวรรคหนึ่งให้สํานักงานคํานึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้ประกอบการพิจารณา
(1) ความร้ายแรงของข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
(2) ผลกระทบต่อผู้ลงทุนที่จองซื้อตราสารหนี้นั้น
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้พิจารณาคําขออนุญาต หรือไม่นําเงื่อนไขตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับการเสนอขายตราสารหนี้ที่ได้รับอนุญาตได้
(1) มีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันให้ไม่มีนัยสําคัญสําหรับการพิจารณาอนุญาตในกรณีนั้น และประโยชน์ที่จะได้ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนในการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว
(2) กิจการต่างประเทศมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
(3) กิจการต่างประเทศมีมาตรการอื่นที่เพียงพอ และสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
การผ่อนผันตามวรรคหนึ่งให้คํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนและมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้กิจการต่างประเทศต้องปฏิบัติด้วยก็ได้
หมวด ๓ การเสนอขายตราสารหนี้ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ส่วน ๑ คุณสมบัติของผู้ขออนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๓ กิจการต่างประเทศที่ขออนุญาตออกและเสนอขายตราสารหนี้ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) แสดงได้ว่าการออกและเสนอขายตราสารหนี้กระทําได้โดยชอบตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ของต่างประเทศที่ใช้บังคับกับกิจการดังกล่าว
(2) รายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีที่ออกตามงบการเงินของกิจการต่างประเทศและงบการเงินรวมประจํางวดการบัญชีปีล่าสุด และงบการเงินประจํางวด 6 เดือนล่าสุดหรืองบการเงินไตรมาสสุดท้ายก่อนยื่นคําขอ ต้องไม่มีความหมายในลักษณะดังนี้
(ก) ไม่แสดงความเห็นต่อการจัดทํางบการเงินของกิจการต่างประเทศและงบการเงินรวม หรือแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง
(ข) แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในรายการบัญชีที่เป็นสาระสําคัญว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
(ค) แสดงความเห็นว่าถูกจํากัดขอบเขตการตรวจสอบโดยการกระทําหรือไม่กระทําของกิจการต่างประเทศ หรือกรรมการหรือผู้บริหารของกิจการดังกล่าว
งบการเงินของกิจการต่างประเทศจะต้องจัดทําตามมาตรฐานใด ให้พิจารณาจากข้อกําหนดที่ระบุไว้สําหรับการเปิดเผยข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน ซึ่งเป็นข้อกําหนดเดียวกับที่ระบุไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับข้อกําหนดการจัดทํางบการเงินของบริษัทต่างประเทศ
(3) ไม่อยู่ระหว่างค้างการนําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของกิจการต่างประเทศหรือรายงานที่มีหน้าที่ต้องจัดทําและจัดส่งต่อสํานักงาน หรือตลาดหลักทรัพย์ตามมาตรา 56 หรือมาตรา 57 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56 หรือมาตรา 57 แล้วแต่กรณี หรือไม่อยู่ระหว่างปรับปรุงแก้ไขงบการเงินหรือรายงานที่มีหน้าที่ต้องจัดทําและจัดส่งตามมาตรา 56 หรือมาตรา 57 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56 หรือมาตรา 57 ตามที่สํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แจ้งให้ดําเนินการปรับปรุงแก้ไขนั้น หรือไม่อยู่ระหว่างการมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์ตามมาตรา 58 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 58 แล้วแต่กรณี
(4) ไม่มีลักษณะตามข้อ 14 เว้นแต่กรณีกิจการต่างประเทศเป็นบริษัทจดทะเบียน กิจการดังกล่าวต้องไม่มีลักษณะตามที่กําหนดเฉพาะในข้อ 14(1)(ก)
(5) ไม่เคยเสนอขายตราสารหนี้ ตั๋วเงิน หรือศุกูก โดยไม่เป็นไปตามข้อกําหนดเกี่ยวกับลักษณะการเสนอขายที่จํากัดเฉพาะผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ภายในระยะเวลา 2 ปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาต เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน โดยกิจการต่างประเทศแสดงได้ว่ามีเหตุจําเป็นและสมควร รวมทั้งมีมาตรการป้องกันการไม่ปฏิบัติดังกล่าวอย่างเหมาะสมแล้ว
(6) มีบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนในประเทศไทย เพื่อทําหน้าที่ประสานงานและติดต่อกับบุคคลต่าง ๆ รวมทั้งรับหนังสือ คําสั่ง หมายเรียก หรือเอกสารใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการต่างประเทศได้ และแสดงได้ว่าบุคคลดังกล่าวจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้
(7) ไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าหน่วยงานกํากับดูแลตลาดทุนของประเทศที่กิจการดังกล่าวจัดตั้งขึ้นจะไม่ให้ความช่วยเหลือแก่สํานักงานในการตรวจสอบหรือให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดของกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว
ความในวรรคหนึ่ง (2) ไม่ใช้บังคับกับกรณีที่เป็นการออกและเสนอขายตราสารหนี้ในนามของรัฐบาลต่างประเทศ
ข้อ ๑๔ กิจการต่างประเทศที่ขออนุญาตต้องไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้ เว้นแต่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 15
(1) ภายในระยะเวลา 5 ปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาตออกและเสนอขายตราสารหนี้ กิจการดังกล่าวต้องไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) เคยมีประวัติฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ในเรื่องที่มีนัยสําคัญ
(ข) เคยถูกสํานักงานปฏิเสธคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ เนื่องจากมีเหตุที่มีนัยสําคัญอันควรสงสัยเกี่ยวกับกลไกการบริหารจัดการในลักษณะดังนี้
1. อาจไม่สามารถปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นได้อย่างเป็นธรรมโดยอาจมีการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ถือหุ้นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งซึ่งจะทําให้ได้เปรียบผู้ถือหุ้นรายอื่นหรือได้ประโยชน์มากกว่าผู้ถือหุ้นรายอื่นโดยไม่สมควร
2. อาจไม่สามารถรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้นได้โดยทําให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งได้รับประโยชน์ทางการเงินนอกเหนือจากที่พึงได้ตามปกติ หรือโดยทําให้บริษัทเสียประโยชน์ที่พึงได้รับ
(ค) เคยถูกสํานักงานปฏิเสธคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ เนื่องจากมีเหตุที่ทําให้สงสัยเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนที่ไม่ครบถ้วน ไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน หรือทําให้ผู้ลงทุนสําคัญผิด ซึ่งมีลักษณะเป็นการปกปิดหรืออําพราง หรือสร้างข้อมูลที่อาจไม่มีอยู่จริงในรายการหรือการดําเนินการที่มีนัยสําคัญ
(ง) เคยถอนคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่โดยไม่มีการชี้แจงเหตุสงสัยตาม (ข) หรือ (ค) ต่อสํานักงาน หรือโดยมีการชี้แจงแต่ไม่ได้แสดงข้อเท็จจริงหรือเหตุผลอย่างสมเหตุสมผลที่จะหักล้างข้อสงสัยตาม (ข) หรือ (ค) นั้น
(2) ภายในระยะเวลา 10 ปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาตเสนอขายตราสารหนี้กิจการดังกล่าวเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์เฉพาะในมูลเหตุเนื่องจากการดําเนินการที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริต อันเป็นเหตุที่ทําให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง ทั้งนี้ ไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ
(3) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เฉพาะในมูลเหตุเนื่องจากการดําเนินการที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริตอันเป็นเหตุที่ทําให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง ทั้งนี้ ไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ
(4) เป็นกิจการที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นการจัดรูปแบบเพื่อให้บุคคลที่มีลักษณะตาม (1) (2) หรือ (3) หลีกเลี่ยงมิให้สํานักงานใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาตาม (1) (2) หรือ (3) กับบุคคลที่มีลักษณะดังกล่าว
ข้อ ๑๕ มิให้นําความในข้อ 14(1) และ (2) แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับกับกิจการต่างประเทศที่ขออนุญาตซึ่งได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเหตุ ระบบงาน ระบบการบริหารจัดการและการควบคุมการดําเนินงานที่ทําให้กิจการดังกล่าวมีลักษณะตามข้อ 14(1) และ (2) แล้ว
ส่วน ๒ ลักษณะของตราสารหนี้
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๖ พันธบัตรต้องมีลักษณะและเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) มีคําเรียกชื่อเป็นการเฉพาะ และแสดงถึงปีที่ครบกําหนดไถ่ถอนไว้อย่างชัดเจน
(2) มีการกําหนดอัตราดอกเบี้ยไว้อย่างแน่นอน หรือเป็นอัตราที่ผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น
(3) มีมูลค่าไถ่ถอนรวมเท่ากับมูลค่าที่ตราไว้ของพันธบัตร ทั้งนี้ ไม่ว่าพันธบัตรนั้นจะมีการไถ่ถอนครั้งเดียวหรือหลายครั้ง
(4) ไม่มีข้อตกลงใด ๆ ที่ทําให้พันธบัตรนั้นมีลักษณะทํานองเดียวกับหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง เว้นแต่เป็นพันธบัตรที่ผู้ออกมีสิทธิในการบังคับไถ่ถอนคืนก่อนกําหนด (callable) หรือผู้ถือมีสิทธิเรียกให้ผู้ออกชําระหนี้คืนก่อนกําหนด (puttable) โดยมีการกําหนดผลตอบแทนไว้อย่างแน่นอนหรือเป็นอัตราที่ผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น และไม่มีการกําหนดเงื่อนไขการจ่ายผลตอบแทนที่อ้างอิงกับปัจจัยอ้างอิงอื่นเพิ่มเติม
ข้อ ๑๗ หุ้นกู้ต้องมีลักษณะและเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) มีคําเรียกชื่อเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงถึงหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง ทั้งนี้ คําเรียกชื่อหุ้นกู้ดังกล่าวต้องแสดงถึงปีที่ครบกําหนดไถ่ถอน และลักษณะพิเศษของหุ้นกู้ (ถ้ามี) ไว้โดยชัดเจน
(2) มีการกําหนดอัตราดอกเบี้ยไว้อย่างแน่นอนหรือเป็นอัตราที่ผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน หรืออัตราดอกเบี้ยอื่น
(3) มีมูลค่าไถ่ถอนรวมเท่ากับมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นกู้ ทั้งนี้ ไม่ว่าหุ้นกู้นั้นจะมีการไถ่ถอนครั้งเดียวหรือหลายครั้ง
(4) ต้องไม่มีลักษณะดังนี้
(ก) เป็นหุ้นกู้แปลงสภาพ
(ข) เป็นหุ้นกู้เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
(ค) เป็นหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง เว้นแต่เป็นหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงที่ผู้ออกมีสิทธิในการบังคับไถ่ถอนคืนก่อนกําหนด (callable) หรือผู้ถือมีสิทธิเรียกให้ผู้ออกชําระหนี้คืนก่อนกําหนด (puttable) โดยมีการกําหนดผลตอบแทนไว้อย่างแน่นอนหรือเป็นอัตราที่ผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น และไม่มีการกําหนดเงื่อนไขการจ่ายผลตอบแทนที่อ้างอิงกับปัจจัยอ้างอิงอื่นเพิ่มเติม
(5) จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ เว้นแต่ในกรณีที่เป็นหุ้นกู้ระยะสั้น
ข้อ ๑๘ ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้ด้อยสิทธิ สิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ดังกล่าวต้องด้อยกว่าสิทธิของเจ้าหนี้สามัญเฉพาะในเรื่องการรับชําระหนี้ตามหุ้นกู้นั้นเมื่อเกิดกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) กิจการต่างประเทศที่ออกหุ้นกู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ หรือถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลาย
(2) มีการชําระบัญชีเพื่อการเลิกกิจการ
(3) กรณีอื่นใดที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ข้อ ๑๙ ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกกิจการ (perpetual bond) ต้องมีการระบุให้ชัดเจนถึงสิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ดังกล่าวในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) ผู้ถือหุ้นกู้ไม่มีสิทธิเรียกให้กิจการต่างประเทศที่ออกหุ้นกู้ไถ่ถอนหุ้นกู้ดังกล่าวก่อนมีการเลิกกิจการ
(2) ผู้ถือหุ้นกู้มีสิทธิเรียกให้กิจการต่างประเทศที่ออกหุ้นกู้ไถ่ถอนหุ้นกู้ดังกล่าวก่อนมีการเลิกกิจการตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กําหนดไว้อย่างชัดเจน
ข้อ ๒๐ ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้มีประกัน ไม่ว่าการประกันของหุ้นกู้นั้นจะจัดให้มีพร้อมกับการเสนอขายหุ้นกู้หรือจัดเพิ่มเติมขึ้นในภายหลัง หลักประกันของหุ้นกู้ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) เป็นทรัพย์สินหรือการค้ําประกันที่มีการดําเนินการให้มีผลบังคับได้ตามกฎหมายโดยคํานึงถึงสภาพของหลักประกันแต่ละประเภท สามารถดํารงได้ตลอดอายุหุ้นกู้ และดูแลได้โดยผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ทั้งนี้ ทรัพย์สินที่เป็นหรือเกี่ยวข้องกับหลักประกันซึ่งเป็นทรัพย์สินอื่นใดที่มิใช่ตราสารทางการเงิน ทรัพย์สินดังกล่าวต้องอยู่ในประเทศไทยและบังคับได้ตามกฎหมายไทย
(2) ในกรณีที่หลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสัญญาเช่าระยะยาว กิจการต่างประเทศที่ออกหุ้นกู้ต้องจัดให้มีการประเมินค่าของหลักประกันดังกล่าวโดยผู้ประเมินราคาทรัพย์สินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ การประเมินราคาหรือการคํานวณมูลค่าของหลักประกันต้องคํานึงถึงสิทธิและภาระผูกพันใด ๆ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยบทกฎหมายหรือโดยสัญญาที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้นด้วย และต้องจัดทําขึ้นไม่เกินกว่า 1 ปีก่อนวันที่ออกหุ้นกู้นั้น เว้นแต่จะเป็นกรณีที่ราคาหรือมูลค่าของหลักประกันได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญในช่วงเวลาดังกล่าว ให้ผู้ออกหุ้นกู้จัดให้มีการประเมินค่าหลักประกันดังกล่าวใหม่
ข้อ ๒๑ กิจการต่างประเทศที่ขออนุญาตต้องจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นที่ไม่ใช่หุ้นกู้ด้อยสิทธิ ให้จัดอันดับความน่าเชื่อถือ
อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
(ก) อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง
(ข) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันหุ้นกู้ เฉพาะในกรณีที่เป็นหุ้นกู้มีประกันที่มีการค้ําประกันเต็มจํานวนที่มีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของหุ้นกู้
(ค) อันดับความน่าเชื่อถือของกิจการต่างประเทศที่ขออนุญาต
(2) การเสนอขายตราสารหนี้อื่นนอกจาก (1) ให้จัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่งตาม (1)(ก) หรือ (ข)
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับกรณีดังนี้
(1) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานได้มีหนังสือแจ้งต่อสํานักงานว่าไม่สามารถทําการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้นั้นได้โดยมีเหตุอันสมควร และเหตุนั้นมิได้เกิดจากกิจการต่างประเทศที่ขออนุญาต สํานักงานอาจผ่อนผันให้การจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้นกระทําโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถืออื่นที่สํานักงานกําหนดได้
(2) กรณีที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน โดยมีเหตุจําเป็นและสมควร หรือเป็นกรณีที่พิจารณาได้ว่าไม่จําเป็นต้องมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
ส่วน ๓ วิธีการยื่นและการพิจารณาคําขออนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๒ การอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ตามหมวดนี้ จะมีผลต่อเมื่อ
(1) กิจการต่างประเทศได้ยื่นคําขออนุญาตตามส่วนที่ 3 ของหมวดนี้และได้รับอนุญาตในเบื้องต้นจากสํานักงานว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติที่สามารถเสนอขายตราสารหนี้ได้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนที่ 1 ของหมวดนี้ ทั้งนี้ กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตในเบื้องต้นจะสามารถเสนอขายตราสารหนี้ได้ทุกลักษณะ โดยไม่จํากัดมูลค่าและจํานวนครั้งที่เสนอขายภายในระยะเวลา 2 ปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลนั้น
(2) ในการเสนอขายตราสารหนี้ในแต่ละครั้ง หากผู้ขออนุญาตได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในส่วนนี้ และส่วนที่ 2 ของหมวดนี้แล้ว ให้ถือว่าได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ ในครั้งนั้น และให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จากสํานักงานในวันที่ถือว่าได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ดังกล่าวด้วย
ข้อ ๒๓ ให้กิจการต่างประเทศที่ประสงค์จะออกและเสนอขายตราสารหนี้ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานตามที่กําหนดโดยข้อ 5 และให้กิจการดังกล่าวชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตต่อสํานักงานเมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ทั้งนี้ อัตราค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
ในกรณีที่สํานักงานมีความจําเป็นต้องไปเยี่ยมชมกิจการ หรือสถานที่อื่นใดของกิจการต่างประเทศ กิจการดังกล่าวต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าที่พักและค่ายานพาหนะเดินทางที่เกิดขึ้นจากการเยี่ยมชมกิจการที่เกิดขึ้นจริงและเป็นไปตามสมควร โดยสํานักงานอาจกําหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในเรื่องดังกล่าวได้
ข้อ ๒๔ เมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้สํานักงานดําเนินการสอบทานข้อเท็จจริงตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชนและแจ้งประเด็นข้อสังเกตที่ได้จากการสอบทานข้อเท็จจริงเพื่อให้กิจการต่างประเทศที่ขออนุญาตชี้แจงข้อสังเกตนั้นภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในหนังสือแจ้งข้อสังเกต โดยต้องดําเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 45 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน
ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาอนุญาตเบื้องต้นว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติของกิจการต่างประเทศที่ขออนุญาตตามส่วนที่ 1 ภายใน 30 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําชี้แจงต่อข้อสังเกตจากการสอบทานข้อเท็จจริงจากกิจการดังกล่าว
ในกรณีที่กิจการต่างประเทศที่ขออนุญาตประสงค์จะขอผ่อนผันหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ ให้กิจการดังกล่าวยื่นคําขอผ่อนผันพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอผ่อนผันต่อสํานักงานก่อนที่สํานักงานจะเริ่มการพิจารณาตามวรรคสอง ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน โดยสํานักงานจะพิจารณาคําขอผ่อนผันให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเดียวกันกับการพิจารณาอนุญาต
ข้อ ๒๕ กิจการต่างประเทศจะถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายตราสารหนี้ในแต่ละครั้ง เมื่อกิจการดังกล่าวได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในส่วนที่ 2 และข้อ 27
ข้อ ๒๖ ในระหว่างระยะเวลาที่สํานักงานอนุญาตเบื้องต้นตามข้อ 22(1) หากปรากฏต่อมาภายหลังว่ากิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตไม่สามารถดํารงคุณสมบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในส่วนที่ 1 ได้ ให้กิจการต่างประเทศดังกล่าวดําเนินการทั้งหมดดังต่อไปนี้
(1) แจ้งกรณีเช่นนั้นต่อสํานักงานภายใน 7 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงกรณีดังกล่าว
(2) แก้ไขให้มีลักษณะเป็นไปตามที่กําหนดภายใน 6 เดือนหรือภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด
ในระหว่างที่กิจการต่างประเทศยังไม่สามารถแก้ไขให้มีลักษณะเป็นไปตามที่กําหนดในส่วนที่ 1 ได้ กิจการดังกล่าวจะเสนอขายตราสารหนี้เพิ่มเติมไม่ได้
หากปรากฏกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้ ให้ถือว่าการอนุญาตเบื้องต้นเป็นอันสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ปรากฏเหตุดังกล่าว
(1) กิจการต่างประเทศจงใจหรือเพิกเฉยไม่แจ้งต่อสํานักงานตามวรรคหนึ่ง (1)
(2) กิจการต่างประเทศไม่สามารถแก้ไขให้มีลักษณะตามที่กําหนดภายในระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง (2)
ข้อ ๒๗ ภายหลังได้รับอนุญาตในเบื้องต้นจากสํานักงาน ก่อนการเสนอขายตราสารหนี้ในแต่ละครั้ง ให้กิจการต่างประเทศยื่นเอกสารหลักฐานตามที่สํานักงานกําหนดโดยข้อ 5
ให้กิจการตามวรรคหนึ่งยื่นคําขอความเห็นชอบบุคคลที่จะเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต่อสํานักงานมาพร้อมกับเอกสารหลักฐานที่ยื่นตามวรรคหนึ่งด้วย และให้ถือว่ากิจการดังกล่าวได้รับความเห็นชอบให้แต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เมื่อได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้
ข้อ ๒๘ ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต้องเป็นบุคคลที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เป็นบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยคุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(2) เป็นบุคคลที่ทําหน้าที่ในลักษณะเดียวกับผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามที่กําหนดโดยกฎหมายของประเทศที่กิจการต่างประเทศจัดตั้งขึ้น และกิจการดังกล่าวต้องเป็นกิจการที่จัดตั้งขึ้นในประเทศสมาชิกอาเซียนที่หน่วยงานกํากับดูแลตลาดทุนของประเทศนั้น ๆ ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจกับสํานักงานตาม Memorandum of Understanding on Streamlined Review Framework for ASEAN Common Prospectus
ส่วน ๔ เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาตให้เสนอขาย
ตราสารหนี้ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๙ กิจการต่างประเทศต้องจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ตามข้อ 21 อย่างต่อเนื่องตลอดอายุของตราสาร เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจผ่อนผันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้โดยกําหนดเงื่อนเวลาหรือเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงความจําเป็นของผู้ลงทุนในการมีข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้น
ข้อ ๓๐ กิจการต่างประเทศต้องยื่นคําขอให้สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยพิจารณารับตราสารหนี้ที่ออกและเสนอขายเป็นตราสารหนี้ขึ้นทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่ออกหุ้นกู้ดังกล่าว เว้นแต่เป็นการออกและเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้น
ข้อ ๓๑ กิจการต่างประเทศต้องจัดให้มีข้อกําหนดสิทธิของตราสารหนี้ที่เสนอขายโดยข้อกําหนดสิทธิดังกล่าวต้องมีความชัดเจนและไม่มีข้อกําหนดที่เป็นการเอาเปรียบคู่สัญญาอย่างไม่เป็นธรรม และมีการลงลายมือชื่อผู้มีอํานาจลงนามผูกพันของกิจการต่างประเทศและประทับตราของกิจการดังกล่าว (ถ้ามี) ทั้งนี้ รายการและสาระสําคัญของข้อกําหนดสิทธิสําหรับหุ้นกู้ให้เป็นไปตามมาตรา 42
ให้นําหลักเกณฑ์เกี่ยวกับรายการและสาระสําคัญของข้อกําหนดสิทธิสําหรับหุ้นกู้ตามวรรคหนึ่ง มาใช้บังคับกับข้อกําหนดสิทธิของพันธบัตรด้วย โดยอนุโลม
ข้อ ๓๒ ในกรณีตราสารหนี้ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้ที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ กิจการต่างประเทศต้องจัดให้สัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มีความสอดคล้องกับข้อกําหนดสิทธิ โดยอย่างน้อยต้องมีรายการและสาระสําคัญดังต่อไปนี้
(1) ชื่อและที่อยู่ของคู่สัญญา
(2) วันที่สัญญามีผลใช้บังคับ
(3) อํานาจ หน้าที่ และความรับผิดของคู่สัญญา โดยมีข้อตกลงที่ระบุให้กิจการต่างประเทศและผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มีอํานาจ หน้าที่ และความรับผิดตามข้อกําหนดสิทธิทุกประการ
(4) อัตราและวิธีการจ่ายค่าตอบแทน หรือบําเหน็จในการปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ซึ่งต้องกําหนดไว้เป็นจํานวนที่แน่นอน รวมทั้งอัตราและวิธีการจ่ายคืนเงินทดรองซึ่งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ได้จ่ายไปเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(5) การสิ้นสุดของสัญญา
ข้อ ๓๓ ในกรณีการออกหุ้นกู้มีประกันโดยหลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ต้องจดทะเบียนตามกฎหมายไทย กิจการต่างประเทศต้องดําเนินการจดทะเบียนให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เป็นผู้รับทรัพย์สินนั้นเป็นประกันตามกฎหมายไทยด้วย
ข้อ ๓๔ ในการเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ภายหลังการออกหุ้นกู้ ให้กิจการต่างประเทศขอความเห็นชอบในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต่อสํานักงานตามเอกสารที่กําหนดโดยข้อ 5
เมื่อกิจการต่างประเทศได้ยื่นเอกสารตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานครบถ้วนแล้ว ให้กิจการดังกล่าวเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ได้โดยถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว และให้กิจการนั้นส่งสําเนาสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต่อสํานักงานภายใน 15 วันนับแต่วันแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้นั้น
ข้อ ๓๕ การแก้ไขเพิ่มเติมสิทธิ หน้าที่ ความรับผิด หรือหลักประกันตามหุ้นกู้ภายหลังการออกหุ้นกู้นั้น จะกระทําได้ต่อเมื่อการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นมิได้ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดของประกาศนี้และการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวได้ดําเนินการโดยชอบตามข้อกําหนดสิทธิ โดยกิจการต่างประเทศต้องแจ้งการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวพร้อมทั้งส่งสําเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อสํานักงานและสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยภายใน 15 วันนับแต่วันที่การแก้ไขเพิ่มเติมนั้นมีผลใช้บังคับ
ในกรณีที่การดําเนินการตามวรรคหนึ่ง เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดสิทธิซึ่งได้กําหนดให้กระทําได้โดยการมีมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นกู้ หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นกู้ต้องระบุอย่างชัดเจนถึงสาเหตุแห่งการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดสิทธิ และผลกระทบที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นกับผู้ถือหุ้นกู้ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้ถือหุ้นกู้
ให้นําหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่งและวรรคสองมาบังคับใช้กับการเสนอขายพันธบัตรด้วย โดยอนุโลม
ข้อ ๓๖ กิจการต่างประเทศต้องรายงานการไถ่ถอนตราสารหนี้ก่อนครบกําหนดอายุต่อสํานักงานภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีการไถ่ถอน ทั้งนี้ การรายงานดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กําหนดโดยข้อ 5
หมวด ๔ การออกและเสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัด
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ส่วน ๑ ลักษณะการออกและเสนอขายในวงจํากัด
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓๗ การออกและเสนอขายตราสารหนี้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ถือเป็นการออกและเสนอขายต่อบุคคลในวงจํากัด
(1) การออกและเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ แต่ไม่รวมถึงการออกและเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ที่ได้จดข้อจํากัดการโอนไว้ไม่เกิน10 ราย ในรอบระยะเวลา 4 เดือนใด ๆ ซึ่งกรณีดังกล่าวให้ถือว่าเป็นการเสนอขายตาม (2)
(2) การออกและเสนอขายต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจํานวนไม่เกิน 10 ราย ในรอบระยะเวลา 4 เดือนใด ๆ
ในกรณีที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ผู้รับฝากทรัพย์สิน นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ผู้ค้าหลักทรัพย์หรือบุคคลอื่นใด มีการถือครองตราสารหนี้แทนบุคคลอื่น การนับจํานวนผู้ลงทุนตามวรรคหนึ่งให้นับจากบุคคลที่เป็นเจ้าของที่แท้จริงของตราสารหนี้นั้น
(3) การออกและเสนอขายซึ่งกิจการต่างประเทศที่จะออกและเสนอขายตราสารหนี้แสดงได้ว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ครบถ้วนดังนี้ และได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานด้วยแล้ว
(ก) มีเหตุจําเป็นและสมควร
(ข) การออกและเสนอขายดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในวงกว้าง
(ค) มีมาตรการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลงทุนอย่างเพียงพอแล้ว
ส่วน ๒ กรณีที่ถือว่าได้รับอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ส่วน ๒ กรณีที่ถือว่าได้รับอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓๘ ให้กิจการต่างประเทศสามารถออกและเสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัดตามข้อ 37 ได้ โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงาน เมื่อมีลักษณะและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ และให้กิจการดังกล่าวปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในส่วนที่ 3 ของหมวดนี้ รวมทั้งรายงานลักษณะของ
ตราสารหนี้ที่จะเสนอขายต่อสํานักงานตามรายงานที่กําหนดโดยข้อ 5 ด้วย
(1) แสดงได้ว่าการออกและเสนอขายตราสารหนี้กระทําได้โดยชอบตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ของต่างประเทศที่ใช้บังคับกับกิจการดังกล่าว
(2) ดําเนินการจดข้อจํากัดการโอนสําหรับตราสารหนี้ที่จะเสนอขายและยื่นเอกสารกับสํานักงานตามความในข้อ 39 แล้ว
(3) ไม่เคยเสนอขายตราสารหนี้ ตั๋วเงิน หรือศุกูก โดยไม่เป็นไปตามข้อกําหนดเกี่ยวกับลักษณะการเสนอขายที่จํากัดเฉพาะผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ภายในระยะเวลา 2 ปีก่อนวันยื่นจดข้อจํากัดการโอน เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน โดยกิจการดังกล่าวแสดงได้ว่ามีเหตุจําเป็นและสมควร รวมทั้งมีมาตรการป้องกันการไม่ปฏิบัติอย่างเหมาะสมแล้ว
(4) ไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าหน่วยงานกํากับดูแลตลาดทุนของประเทศที่กิจการดังกล่าวจัดตั้งขึ้นจะไม่ให้ความช่วยเหลือแก่สํานักงานในการตรวจสอบหรือให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดของกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว
ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้มีประกันหรือหุ้นกู้ที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ให้กิจการดังกล่าวเสนอร่างข้อกําหนดสิทธิและร่างสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มาพร้อมกับการจดข้อจํากัดการโอนด้วย
ข้อ ๓๙ การจดข้อจํากัดการโอนตราสารหนี้กับสํานักงานตามข้อ 38(2) ต้องมีข้อความซึ่งแสดงได้ว่ากิจการต่างประเทศที่ออกและเสนอขายตราสารหนี้จะไม่รับจดทะเบียนการโอนตราสารหนี้ไม่ว่าทอดใด ๆ หากการโอนดังกล่าวจะทําให้ตราสารหนี้ที่เสนอขายในครั้งนั้นไม่สามารถคงลักษณะการเสนอขายในวงจํากัดตามข้อ 37 ได้ เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก ทั้งนี้ ให้ถือว่าสํานักงานรับจดข้อจํากัดการโอนดังกล่าวในวันที่สํานักงานได้รับการแสดงเจตนาจดข้อจํากัดการโอนที่มีข้อความดังกล่าวแล้ว
ส่วน ๓ เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาต
ให้เสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัด
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔๐ ก่อนการเสนอขายตราสารหนี้ในแต่ละครั้ง กิจการต่างประเทศต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) มีบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนในประเทศไทยและทําหน้าที่ตามข้อ 13(6) โดยต้องดําเนินการดังกล่าวอย่างต่อเนื่องตลอดอายุของตราสาร
(2) จัดให้มีการแจกสรุปข้อมูลสําคัญของตราสาร (fact sheet) ให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 37(1)
ข้อ ๔๑ ให้กิจการต่างประเทศที่ออกและเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิหรือหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกกิจการต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 37(1) ดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้นั้น
(ก) อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง
(ข) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันหุ้นกู้ เฉพาะในกรณีที่เป็นการค้ําประกันเต็มจํานวนที่มีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของหุ้นกู้
ให้นําข้อกําหนดเกี่ยวกับการผ่อนผันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามที่กําหนดในข้อ 21 วรรคสองมาใช้บังคับกับกรณีตามวรรคหนึ่งด้วย
(2) จัดให้การชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือลงทุนในตราสารหนี้ดําเนินการผ่านบริษัทหลักทรัพย์ประเภทที่สามารถเป็นผู้ให้บริการดังกล่าวเกี่ยวกับตราสารหนี้ได้
ข้อ ๔๒ ให้กิจการต่างประเทศที่ออกและเสนอขายตราสารหนี้อื่นนอกเหนือจากหุ้นกู้ด้อยสิทธิหรือหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกกิจการต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 37(1) จัดให้การชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือลงทุนในตราสารหนี้ดําเนินการผ่านบริษัทหลักทรัพย์ประเภทที่สามารถเป็นผู้ให้บริการดังกล่าวเกี่ยวกับตราสารหนี้ได้ เว้นแต่กิจการต่างประเทศนั้นได้จัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก่อนการเสนอขายตราสารหนี้
(1) อันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง
(2) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันหุ้นกู้ เฉพาะในกรณีที่เป็นหุ้นกู้มีประกันที่มีการค้ําประกันเต็มจํานวนที่มีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของหุ้นกู้
(3) อันดับความน่าเชื่อถือของกิจการเฉพาะในกรณีเป็นการออกและเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้น
ข้อ ๔๓ ในกรณีที่กิจการต่างประเทศจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามข้อ 41 และข้อ 42 ให้กิจการดังกล่าวจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างต่อเนื่องตลอดอายุของตราสาร เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจผ่อนผันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ โดยกําหนดเงื่อนเวลาหรือเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงความจําเป็นของผู้ลงทุนในการมีข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้น
ข้อ ๔๔ กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 37(1) ต้องยื่นคําขอให้สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยพิจารณารับตราสารหนี้ที่ออกและเสนอขายเป็นตราสารหนี้ขึ้นทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่ออกตราสารหนี้ดังกล่าว เว้นแต่เป็นการออกและเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้น
ข้อ ๔๕ ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้มีประกันหรือเป็นหุ้นกู้ที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ กิจการต่างประเทศต้องจัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ที่มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ที่มีลักษณะตามข้อ 28
(2) เป็นทรัสตีได้ตามกฎหมายต่างประเทศหรือเป็นสถาบันการเงินต่างประเทศ ที่มีลักษณะตามข้อ 13(7)
(3) เป็นบุคคลอื่นใดที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นรายกรณี
ข้อ ๔๖ กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้ตราสารหนี้ที่จะออกและเสนอขายมีลักษณะดังนี้
(ก) เป็นตราสารหนี้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ และต้องมีข้อความในตราสารที่เสนอขายแต่ละครั้งแสดงว่าผู้ออกตราสารหนี้จะไม่รับจดทะเบียนการโอนตราสารหนี้ไม่ว่าในทอดใด ๆ หากการโอนนั้นจะขัดกับข้อจํากัดการโอนตราสารตามที่ระบุไว้ ซึ่งต้องเป็นข้อจํากัดการโอนเดียวกับที่ได้จดทะเบียนไว้กับสํานักงาน
(ข) มีลักษณะเป็นไปตามข้อ 16 หรือข้อ 17(1) (2) (3) และ (4) แล้วแต่กรณี
(ค) เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 18 และข้อ 19 กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิหรือหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกกิจการ (perpetual bond) แล้วแต่กรณี
(ง) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 37(1) ต้องจัดให้มีข้อกําหนดสิทธิที่มีรายการอย่างน้อยตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 42
ให้นําหลักเกณฑ์การจัดให้มีข้อกําหนดสิทธิสําหรับหุ้นกู้ตามวรรคหนึ่ง มาใช้บังคับกับการจัดทําข้อกําหนดสิทธิของพันธบัตรสําหรับการเสนอขายพันธบัตรต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 37(1) ด้วย โดยอนุโลม
(2) ในกรณีที่เป็นการออกและเสนอขายตราสารหนี้ต่อบุคคลในวงจํากัดตามข้อ 37(2) หรือ (3) กิจการดังกล่าวต้องไม่โฆษณาการเสนอขายตราสารหนี้ และหากจะมีการแจกจ่ายเอกสารประกอบการเสนอขาย กิจการนั้นต้องแจกจ่ายให้เฉพาะบุคคลที่มีลักษณะหรือมีจํานวนอยู่ในวงจํากัดตามที่กําหนดไว้ในข้อ 37(2) หรือ (3) ตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
(3) จัดให้เอกสารประกอบการเสนอขาย (ถ้ามี) มีข้อความที่ระบุถึงข้อจํากัดการโอนตาม (1)(ก) และในกรณีที่เป็นการออกและเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิ ให้ระบุการด้อยสิทธินั้นไว้ให้ชัดเจน
ข้อ ๔๗ ในกรณีที่มีบุคคลใดแสดงความประสงค์ต่อกิจการต่างประเทศที่จะลงทะเบียนการโอนตราสารหนี้ ให้กิจการดังกล่าวตรวจสอบความถูกต้องของการโอนตราสารหนี้ หากพบว่าเป็นการโอนที่ขัดต่อข้อจํากัดการโอนที่ได้จดทะเบียนไว้กับสํานักงาน กิจการนั้นต้องไม่ลงทะเบียนการโอนตราสารหนี้ เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก
ในกรณีที่กิจการตามวรรคหนึ่งจัดให้มีนายทะเบียนหุ้นกู้ กิจการดังกล่าวต้องดําเนินการให้นายทะเบียนหุ้นกู้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่งด้วย
หมวด ๕ บทเฉพาะกาล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔๘ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 14/2552 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 ให้การอ้างอิงประกาศดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 502 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 29/2560
เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขาย
ตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 41 ข้อ 42 และข้อ 43 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 58/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 41 ให้กิจการต่างประเทศที่ออกและเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิหรือหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกกิจการต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 37(1) ดําเนินการจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้นั้น
(1) อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง
(2) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันหุ้นกู้ เฉพาะในกรณีที่เป็นการค้ําประกันเต็มจํานวนที่มีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของหุ้นกู้
ให้นําข้อกําหนดเกี่ยวกับการผ่อนผันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามที่กําหนดในข้อ 21 วรรคสองมาใช้บังคับกับกรณีตามวรรคหนึ่งด้วย
ข้อ 42 ในกรณีที่กิจการต่างประเทศจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามข้อ 41 ให้กิจการดังกล่าวจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างต่อเนื่องตลอดอายุของตราสาร เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจผ่อนผันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ โดยกําหนดเงื่อนเวลาหรือเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงความจําเป็นของผู้ลงทุนในการมีข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้น
ข้อ 43 กิจการต่างประเทศที่ออกและเสนอขายตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 37(1) ต้องจัดให้การชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือลงทุนในตราสารหนี้ดําเนินการผ่านบริษัทหลักทรัพย์ประเภทที่สามารถเป็นผู้ให้บริการดังกล่าวเกี่ยวกับตราสารหนี้ได้”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 503 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 3/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 3/2561
เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขาย
ตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท
(ฉบับที่ 3)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของวรรคหนึ่งในข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 58/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) แสดงได้ว่าการออกและเสนอขายตราสารหนี้กระทําได้โดยชอบตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ของต่างประเทศที่บังคับกับกิจการดังกล่าว และได้ดําเนินการภายใต้ข้อผูกพันที่กําหนดและอนุญาตโดยกระทรวงการคลัง”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (1) ของวรรคหนึ่งในข้อ 38 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 58/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) แสดงได้ว่าการออกและเสนอขายตราสารหนี้กระทําได้โดยชอบตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ของต่างประเทศที่บังคับกับกิจการดังกล่าว และได้ดําเนินการภายใต้ข้อผูกพันที่กําหนดและอนุญาตโดยกระทรวงการคลัง”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 504 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 63/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 63/2561
เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขาย
ตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 มาตรา 40(11) มาตรา 41(3) และ (4) มาตรา 42(10) และมาตรา 43(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 58/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท (ฉบับที่ 2)ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560
(3) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 3/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท (ฉบับที่ 3)ลงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
“กิจการต่างประเทศ” หมายความว่า กิจการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศดังต่อไปนี้
(1) หน่วยงานหรือองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ
(2) องค์การระหว่างประเทศ
(3) นิติบุคคลต่างประเทศ
“ตราสารหนี้” หมายความว่า ตราสารหนี้ที่ออกใหม่ดังต่อไปนี้
(1) พันธบัตร
(2) หุ้นกู้
“หุ้นกู้ด้อยสิทธิ” หมายความว่า หุ้นกู้ไม่มีประกันที่มีการกําหนดสิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ ไว้ด้อยกว่าสิทธิของเจ้าหนี้สามัญทั่วไป
“ข้อกําหนดสิทธิ” หมายความว่า ข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ และให้หมายความรวมถึงข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกพันธบัตรและผู้ถือพันธบัตรด้วย
“ที่ปรึกษาทางการเงิน” หมายความว่า ที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงาน ให้ความเห็นชอบ
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
“ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
“ตราสารหนี้ขึ้นทะเบียน” หมายความว่า ตราสารหนี้ที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาด ตราสารหนี้ไทย
“สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย” หมายความว่า สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยที่ได้รับใบอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน
คําว่า “การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ” “แบบแสดงรายการข้อมูล” “บริษัทจดทะเบียน” “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “บริษัทร่วม” “ผู้บริหาร” “ผู้ลงทุนสถาบัน” “ผู้ลงทุนรายใหญ่” “หุ้นกู้ระยะสั้น” และ “หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าว ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนด บทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท
อื่นๆ ๑ บททั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
หมวด ๑ ขอบเขตของประกาศและหลักเกณฑ์ทั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔ ประกาศนี้เป็นหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายตราสารหนี้สกุลเงินบาทโดยกิจการต่างประเทศซึ่งรองรับกรณีดังต่อไปนี้
(1) การเสนอขายตราสารหนี้ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในภาค 2
(2) การเสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในภาค 3
ตราสารหนี้สกุลเงินบาทตามวรรคหนึ่งต้องมีข้อตกลงให้การชําระค่าตราสารหนี้และการชําระหนี้ตามตราสารเป็นสกุลเงินบาท
ข้อ ๕ กิจการต่างประเทศที่ประสงค์จะเสนอขายตราสารหนี้อาจยื่นข้อมูลหรือเอกสารต่อสํานักงานที่จัดทําเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้
ในกรณีที่ข้อมูลหรือเอกสารตามวรรคหนึ่งแปลมาจากข้อมูลที่เป็นภาษาอื่นกิจการต่างประเทศต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ด้วย
(1) รับรองว่าสาระของข้อมูลหรือเอกสารที่แปลนั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่จริง และไม่ได้มีการปกปิดข้อเท็จจริงที่พึงเปิดเผย
(2) ให้ผู้แปลรับรองความถูกต้องว่า สาระการแปลถูกต้องตรงตามสาระของข้อมูลหรือเอกสารที่เป็นต้นฉบับ
ข้อ ๖ ข้อมูลหรือเอกสารที่ยื่นต่อสํานักงานตามประกาศนี้ หากได้จัดทําเป็นภาษาใด ในครั้งแรก ให้จัดทําโดยใช้ภาษานั้นต่อไปทุกครั้ง เว้นแต่กรณีที่มีเหตุจําเป็นสมควร และได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
ข้อ ๗ เอกสารหรือหลักฐานที่ต้องยื่นต่อสํานักงานตามที่กําหนดในประกาศนี้ ไม่ว่าก่อนหรือภายหลังได้รับอนุญาต ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๘ ในการจําหน่ายตราสารหนี้ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปตามภาค 2 กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตมีหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วย การจําหน่ายตราสารหนี้และใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ด้วย
หมวด ๒ อํานาจสํานักงาน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๙ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ตามคําขออนุญาตได้
(1) กิจการต่างประเทศที่ขออนุญาตหรือการเสนอขายตราสารหนี้มีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการเสนอขายตราสารหนี้นั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือประกาศนี้
(2) การเสนอขายตราสารหนี้อาจขัดต่อนโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐ
(3) การเสนอขายตราสารหนี้อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือต่อตลาดทุนไทยโดยรวม
(4) การเสนอขายตราสารหนี้อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุนโดยรวมหรืออาจทําให้ผู้ลงทุนโดยรวมไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องหรือเพียงพอประกอบการตัดสินใจลงทุน
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผัน ไม่นําหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้พิจารณาคําขออนุญาต หรือไม่นําเงื่อนไขตามประกาศนี้ มาใช้บังคับกับการเสนอขายตราสารหนี้ที่ได้รับอนุญาตได้
(1) มีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันให้ไม่มีนัยสําคัญสําหรับการพิจารณาอนุญาตในกรณีนั้น และประโยชน์ที่จะได้ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนในการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว
(2) กิจการต่างประเทศที่ขออนุญาตมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
(3) กิจการต่างประเทศที่ขออนุญาตมีมาตรการอื่นที่เพียงพอ และสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
การผ่อนผันตามวรรคหนึ่งให้คํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนและมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้กิจการต่างประเทศต้องปฏิบัติด้วยก็ได้
ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานภายหลังการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ว่าข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่สํานักงานนํามาพิจารณาเพื่ออนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นปรากฏต่อสํานักงานก่อนการอนุญาต สํานักงาน อาจไม่อนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้นั้น ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้
(1) สั่งให้กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาต กรรมการ หรือผู้บริหารของกิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาต ชี้แจงหรือเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กําหนด และระงับ การอนุญาตให้ออกตราสารหนี้หรือให้กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตระงับการเสนอขายตราสารหนี้ไว้ก่อนจนกว่าจะได้ชี้แจงหรือแก้ไขให้ถูกต้อง และหากกิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาต กรรมการ หรือผู้บริหารของกิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาต ไม่สามารถชี้แจงหรือดําเนินการแก้ไขให้ถูกต้องได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด สํานักงานอาจสั่งเพิกถอนการอนุญาตตาม (2) ได้
(2) สั่งเพิกถอนการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ในส่วนที่ยังไม่ได้เสนอขายหรือ ยังไม่มีผู้จองซื้อ
ในการสั่งการตามวรรคหนึ่งให้สํานักงานคํานึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้ประกอบการพิจารณา
(1) ความร้ายแรงของข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
(2) ผลกระทบต่อผู้ลงทุนที่จองซื้อตราสารหนี้นั้น
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจสั่งไม่ให้การอนุญาตสําหรับการเสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัดที่ได้รับอนุญาตมีผล สั่งระงับการเสนอขายตราสารหนี้ หรือสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ได้ แล้วแต่กรณี
(1) กิจการต่างประเทศที่จะเสนอขายตราสารหนี้มีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ หรือจะไม่สามารถปฏิบัติ ตามประกาศนี้ได้
(2) การเสนอขายตราสารหนี้มีลักษณะที่อาจเข้าข่ายเป็นการหลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์ที่ออกภายใต้กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และกฎหมายว่าด้วยทรัสต์ เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน
(3) การเสนอขายตราสารหนี้อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุนหรืออาจทําให้ ผู้ลงทุนไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่มีนัยสําคัญต่อการตัดสินใจลงทุน
ข้อ ๑๓ ในระหว่างอายุโครงการตามข้อ 23 และข้อ 53 หากปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานว่ากิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตไม่สามารถดํารงคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์การอนุญาต ปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาต หรือมีการเปิดเผยข้อมูลที่มีนัยสําคัญต่อประชาชน ที่ไม่ครบถ้วนถูกต้อง ไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน สํานักงานอาจสั่งระงับการเสนอขาย ตราสารหนี้ไว้ก่อน หรือสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ในลักษณะโครงการได้
อื่นๆ ๒ การเสนอขายตราสารหนี้ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
หมวด ๑ หลักเกณฑ์การอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๔ กิจการต่างประเทศที่ขออนุญาตเสนอขายตราสารหนี้ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) แสดงได้ว่ามีการดําเนินการภายใต้ข้อผูกพันที่กําหนดและอนุญาตโดยกระทรวงการคลัง
(2) แสดงได้ว่าสามารถเสนอขายตราสารหนี้ได้โดยชอบภายใต้กฎหมายและกฎเกณฑ์ของต่างประเทศที่บังคับกับกิจการดังกล่าว
(3) งบการเงินของกิจการต่างประเทศและงบการเงินรวมประจํางวดการบัญชีปีล่าสุด และงบการเงินประจํางวด 6 เดือนการบัญชีปีล่าสุดหรืองบการเงินไตรมาสสุดท้ายก่อนยื่นคําขอ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) จัดทําขึ้นตามมาตรฐานรายงานทางการเงินและเป็นไปตามหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดทํางบการเงินตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อกําหนดการจัดทํางบการเงินของบริษัทต่างประเทศ
(ข) รายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชี ต้องไม่มีความหมายในลักษณะดังนี้
1. ไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินของกิจการต่างประเทศและงบการเงินรวม หรือแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง
2. แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในรายการบัญชีที่เป็นสาระสําคัญว่าไม่เป็นไป ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
3. แสดงความเห็นว่าถูกจํากัดขอบเขตการตรวจสอบโดยการกระทําหรือไม่กระทําของกิจการต่างประเทศ หรือกรรมการหรือผู้บริหารของกิจการดังกล่าว
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับกรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ในนามของรัฐบาลต่างประเทศ
(4) ไม่อยู่ระหว่างการดําเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งดังนี้ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(ก) ค้างการนําส่งงบการเงินหรือรายงานที่มีหน้าที่ต้องจัดทําตามมาตรา 56
(ข) ค้างส่งรายงานที่มีหน้าที่ต้องจัดทําและจัดส่งต่อสํานักงานตามมาตรา 57 หรือค้างส่งรายงานในลักษณะเดียวกันต่อตลาดหลักทรัพย์
(ค) ปรับปรุงแก้ไขงบการเงิน หรือรายงานที่มีหน้าที่ต้องจัดทําตามมาตรา 56 หรือมาตรา 57 ตามที่สํานักงานแจ้งให้ดําเนินการปรับปรุงแก้ไข หรือปรับปรุงแก้ไขในลักษณะเดียวกันตามที่ตลาดหลักทรัพย์แจ้งให้ดําเนินการ
(ง) ปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์ตามมาตรา 58 หรือตามมาตรา 199 ประกอบมาตรา 58 แล้วแต่กรณี
(5) ไม่มีลักษณะตามข้อ 15 เว้นแต่กรณีกิจการต่างประเทศเป็นบริษัทจดทะเบียน กิจการดังกล่าวต้องไม่มีลักษณะเฉพาะตามที่กําหนดในข้อ 15(1) (ก)
(6) ไม่เคยเสนอขายตราสารหนี้ ตั๋วเงิน หรือศุกูก โดยฝ่าฝืนข้อกําหนดเกี่ยวกับลักษณะการเสนอขายที่จํากัดเฉพาะผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ภายในระยะเวลา 2 ปี ก่อนวันยื่นคําขออนุญาต เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน โดยกิจการต่างประเทศแสดงได้ว่า มีเหตุจําเป็นและสมควร รวมทั้งมีมาตรการป้องกันการไม่ปฏิบัติดังกล่าวอย่างเหมาะสมแล้ว
(7) ไม่มีเหตุที่ทําให้สงสัยว่ามีพฤติกรรมการเปิดเผยข้อมูลที่มีนัยสําคัญต่อประชาชนไม่ครบถ้วน ไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน หรือในลักษณะที่อาจทําให้ผู้ลงทุนสําคัญผิด
(8) ไม่อยู่ระหว่างผิดนัดชําระหนี้เงินต้นหรือดอกเบี้ยของตราสารหนี้ หรือผิดนัดชําระหนี้เงินกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(9) ไม่อยู่ระหว่างผิดเงื่อนไขในการปฏิบัติตามข้อกําหนดสิทธิ
(10) มีบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนในประเทศไทย เพื่อทําหน้าที่ประสานงานและติดต่อกับบุคคลต่าง ๆ รวมทั้งรับหนังสือ คําสั่ง หมายเรียก หรือเอกสารใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการต่างประเทศได้ และแสดงได้ว่าบุคคลดังกล่าวจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้ ทั้งนี้ บุคคลดังกล่าวจะต้องดําเนินการได้อย่างต่อเนื่องตลอดอายุของตราสาร
(11) ไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าหน่วยงานกํากับดูแลตลาดทุนของประเทศที่กิจการดังกล่าวจัดตั้งขึ้นจะไม่ให้ความช่วยเหลือแก่สํานักงานในการตรวจสอบหรือให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว
(12) กรณีกิจการต่างประเทศที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลต่างประเทศต้องไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่ากรรมการ ผู้บริหาร และผู้ถือหุ้นรายใหญ่ มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) มีผลประโยชน์อื่นที่อาจขัดแย้งกับผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของกิจการ เว้นแต่สามารถแสดงได้ว่ามีกลไกที่จะทําให้เชื่อมั่นได้ว่า การบริหารจัดการกิจการจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของกิจการและผู้ถือหุ้นโดยรวม
(ข) มีการถ่ายเทผลประโยชน์ออกจากกิจการ
ข้อ ๑๕ กิจการต่างประเทศที่ขออนุญาตต้องไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้ เว้นแต่เป็นไป ตามเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 16
(1) ภายในระยะเวลา 5 ปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาตเสนอขายตราสารหนี้ กิจการดังกล่าวต้องไม่มีลักษณะดังนี้
(ก) เคยมีประวัติฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ ในเรื่องที่มีนัยสําคัญ
(ข) เคยถูกสํานักงานปฏิเสธคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ เนื่องจากมีเหตุ ที่มีนัยสําคัญอันควรสงสัยเกี่ยวกับกลไกการบริหารจัดการในลักษณะดังนี้
1. อาจไม่สามารถปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นได้อย่างเป็นธรรมโดยอาจมีการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ถือหุ้นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งซึ่งจะทําให้ได้เปรียบผู้ถือหุ้นรายอื่น หรือได้ประโยชน์มากกว่าผู้ถือหุ้นรายอื่นโดยไม่สมควร
2. อาจไม่สามารถรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้นได้โดยทําให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งได้รับประโยชน์ทางการเงินนอกเหนือจากที่พึงได้ตามปกติ หรือโดยทําให้บริษัทเสียประโยชน์ที่พึงได้รับ
(ค) เคยถูกสํานักงานปฏิเสธคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่เนื่องจากมีเหตุที่ทําให้สงสัยเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนที่ไม่ครบถ้วน ไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน หรือทําให้ผู้ลงทุนสําคัญผิด ซึ่งมีลักษณะเป็นการปกปิดหรืออําพราง หรือสร้างข้อมูลที่อาจ ไม่มีอยู่จริงในรายการหรือการดําเนินการที่มีนัยสําคัญ
(ง) เคยถอนคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่โดยไม่มีการชี้แจงเหตุสงสัย ตาม (ข) หรือ (ค) ต่อสํานักงาน หรือโดยมีการชี้แจงแต่ไม่ได้แสดงข้อเท็จจริงหรือเหตุผลอย่างสมเหตุสมผลที่จะหักล้างข้อสงสัยตาม (ข) หรือ (ค) นั้น
(2) ภายในระยะเวลา 10 ปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาตเสนอขายตราสารหนี้ กิจการดังกล่าวเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์เฉพาะในมูลเหตุเนื่องจาก การดําเนินการที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริต อันเป็นเหตุที่ทําให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง ทั้งนี้ ไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ
(3) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์โดยหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเฉพาะในมูลเหตุเนื่องจากการดําเนินการที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริตอันเป็นเหตุ ที่ทําให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง ทั้งนี้ ไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ
(4) เป็นบุคคลที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นการจัดรูปแบบเพื่อให้บุคคลที่มีลักษณะ ตาม (1) (2) หรือ (3) หลีกเลี่ยงมิให้สํานักงานใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาตาม (1) (2) หรือ (3) กับบุคคลที่มีลักษณะดังกล่าว
ข้อ ๑๖ มิให้นําความในข้อ 15(1) และ (2) แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับกับกิจการต่างประเทศที่ขออนุญาตซึ่งได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเหตุ ระบบงาน ระบบการบริหารจัดการ และ การควบคุมการดําเนินงานที่ทําให้กิจการดังกล่าวมีลักษณะตามข้อ 15(1) และ (2) แล้ว
ข้อ ๑๗ กิจการต่างประเทศที่ขออนุญาตต้องจัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เป็นบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยคุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(2) เป็นบุคคลที่ทําหน้าที่ในลักษณะเดียวกับผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามที่กําหนดโดยกฎหมายของประเทศที่กิจการต่างประเทศจัดตั้งขึ้น และกิจการดังกล่าวต้องเป็นกิจการที่จัดตั้งขึ้นในประเทศสมาชิกอาเซียนที่หน่วยงานกํากับดูแลตลาดทุนของประเทศนั้น ๆ ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจกับสํานักงานตาม Memorandum of Understanding on Streamlined Review Framework for ASEAN Common Prospectus
หมวด ๒ วิธีการยื่นและการพิจารณาคําขออนุญาต
ในลักษณะรายครั้งและโครงการ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๘ ให้กิจการต่างประเทศที่ประสงค์จะเสนอขายตราสารหนี้ยื่นคําขออนุญาตมาพร้อมกับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ต่อสํานักงานตามวิธีการที่กําหนดโดยข้อ 7 โดยให้ยื่นคําขออนุญาตได้ตามลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) การขออนุญาตในลักษณะรายครั้ง
(2) การขออนุญาตในลักษณะโครงการ
ในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิ และหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมี การเลิกกิจการ (perpetual bond) ให้ยื่นคําขออนุญาตได้เฉพาะในลักษณะรายครั้งเท่านั้น
ข้อ ๑๙ ในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ตามข้อ 18 ให้กิจการต่างประเทศยื่นคําขอ ความเห็นชอบบุคคลที่จะเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มาพร้อมกับคําขออนุญาตด้วย ทั้งนี้ ให้ถือว่ากิจการต่างประเทศได้รับความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จากสํานักงานในวันที่ได้รับอนุญาต ให้เสนอขายหุ้นกู้
ข้อ ๒๐ ให้กิจการต่างประเทศที่ขออนุญาตชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตต่อสํานักงาน เมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ทั้งนี้ อัตราค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
ข้อ ๒๑ กิจการต่างประเทศต้องจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ร่วมจัดทําคําขออนุญาต
ข้อ ๒๒ เมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาตเสนอขายตราสารหนี้ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้สํานักงานดําเนินการสอบทานข้อเท็จจริงตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชนและแจ้งประเด็นข้อสังเกตที่ได้จากการสอบทานข้อเท็จจริงเพื่อให้กิจการต่างประเทศชี้แจงข้อสังเกตนั้นภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในหนังสือแจ้งข้อสังเกต โดยต้องดําเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน
ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาภายใน 30 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําชี้แจงต่อข้อสังเกตจากการสอบทานข้อเท็จจริงจากกิจการต่างประเทศ
ในกรณีที่กิจการต่างประเทศประสงค์จะขอผ่อนผันหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ ให้กิจการดังกล่าวยื่นคําขอผ่อนผัน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอผ่อนผันต่อสํานักงานก่อนที่สํานักงานจะเริ่มการพิจารณาคําขออนุญาต ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน โดยสํานักงานจะพิจารณาคําขอผ่อนผันให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเดียวกันกับการพิจารณาอนุญาต
ข้อ ๒๓ กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ในลักษณะโครงการสามารถเสนอขายตราสารหนี้ได้ทุกลักษณะโดยไม่จํากัดมูลค่าและจํานวนครั้งที่เสนอขาย นับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาอนุญาตตามข้อ 22 จนสิ้นสุดอายุโครงการ รวมถึงให้ถือว่ากิจการต่างประเทศดังกล่าวได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัดต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ในลักษณะโครงการด้วย ทั้งนี้ ให้การอนุญาตเสนอขายตราสารหนี้ในลักษณะโครงการมีอายุ 2 ปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงาน
ข้อ ๒๔ ภายในระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 23 หากปรากฏว่ากิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ในลักษณะโครงการไม่สามารถดํารงคุณสมบัติให้เป็นไปตาม หมวด 1 ได้ กิจการต่างประเทศดังกล่าวจะดําเนินการเสนอขายตราสารหนี้ตามข้อ 23 ไม่ได้จนกว่าจะดําเนินการแก้ไขคุณสมบัติได้ก่อนสิ้นระยะเวลาตามข้อ 23 หากกิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ก่อนที่จะแก้ไขคุณสมบัติได้ ให้ถือว่าเป็นการเสนอขายตราสารหนี้โดยไม่ได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ ทั้งนี้ กิจการต่างประเทศดังกล่าวมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อ 29 หรือข้อ 42 แล้วแต่กรณี ด้วย
หมวด ๓ เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๕ ให้กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้สกุลเงินบาท ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปตามหมวด 2 ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) กรณีเสนอขายพันธบัตร ให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในส่วนที่ 1
(2) กรณีเสนอขายหุ้นกู้ ให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในส่วนที่ 2
ส่วน ๑ กรณีเสนอขายพันธบัตร
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๖ กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตต้องจัดให้พันธบัตรที่เสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) มีคําเรียกชื่อเป็นการเฉพาะ และแสดงถึงปีที่ครบกําหนดไถ่ถอนไว้อย่างชัดเจน
(2) มีการกําหนดอัตราดอกเบี้ยไว้อย่างแน่นอน หรือเป็นอัตราที่ผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น
(3) มีมูลค่าไถ่ถอนรวมเท่ากับมูลค่าที่ตราไว้ของพันธบัตร ทั้งนี้ ไม่ว่าพันธบัตรนั้นจะมี การไถ่ถอนครั้งเดียวหรือหลายครั้ง
(4) ไม่มีข้อตกลงใด ๆ ที่ทําให้พันธบัตรนั้นมีลักษณะทํานองเดียวกับหุ้นกู้ที่มี อนุพันธ์แฝง เว้นแต่เป็นพันธบัตรที่ผู้ออกมีสิทธิในการบังคับไถ่ถอนคืนก่อนกําหนด (callable) หรือผู้ถือมีสิทธิเรียกให้ผู้ออกชําระหนี้คืนก่อนกําหนด (puttable) โดยมีการกําหนดผลตอบแทนไว้ อย่างแน่นอนหรือเป็นอัตราที่ผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น และไม่มีการกําหนดเงื่อนไขการจ่ายผลตอบแทนที่อ้างอิงกับปัจจัยอ้างอิงอื่นเพิ่มเติม
ข้อ ๒๗ กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนการเสนอขายพันธบัตร และจัดทําอย่างต่อเนื่องตลอดอายุของพันธบัตร โดยต้องเป็นอันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) อันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรที่เสนอขายในแต่ละครั้งนั้น
(2) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันพันธบัตร เฉพาะในกรณีที่เป็นการค้ําประกันการชําระหนี้ตามพันธบัตรเต็มจํานวนซึ่งมีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของพันธบัตร
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับกรณีดังนี้
(1) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานมีหนังสือแจ้ง ต่อสํานักงานว่าไม่สามารถจัดอันดับความน่าเชื่อถือพันธบัตรดังกล่าวได้โดยมีเหตุอันสมควร และเหตุนั้นไม่ได้เกิดจากกิจการต่างประเทศที่ออกพันธบัตร สํานักงานอาจผ่อนผันให้การจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้นกระทําโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถืออื่นที่สํานักงานกําหนดได้
(2) กรณีที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน โดยมีเหตุจําเป็นและสมควร หรือเป็นกรณีที่พิจารณาได้ว่าไม่จําเป็นต้องมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
ข้อ ๒๘ กิจการต่างประเทศต้องยื่นคําขอให้สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยพิจารณารับพันธบัตรที่เสนอขายเป็นตราสารหนี้ขึ้นทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่ออกพันธบัตรดังกล่าว
ข้อ ๒๙ กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายพันธบัตรในลักษณะโครงการ ที่ไม่สามารถดํารงคุณสมบัติตามข้อ 14(3) หรือข้อ 15(2) และ (3) ได้ ต้องแจ้งการไม่สามารถดํารงคุณสมบัติดังกล่าวต่อสํานักงานภายใน 7 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงกรณีนั้น
ข้อ ๓๐ ให้กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายพันธบัตรส่งรายงานดังต่อไปนี้ ต่อสํานักงานตามวิธีการที่กําหนดโดยข้อ 7
(1) รายงานการไถ่ถอนพันธบัตรก่อนครบอายุ
(2) รายงานอัตราส่วนที่มีนัยสําคัญทางการเงินของกิจการรายปี (key financial ratio)
ข้อ ๓๑ ให้นําหลักเกณฑ์เดียวกับรายการและสาระสําคัญของข้อกําหนดสิทธิสําหรับ
หุ้นกู้ตามข้อ 37 และหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดสิทธิของหุ้นกู้ตามข้อ 38 มาใช้บังคับกับการเสนอขายพันธบัตร โดยอนุโลม
ส่วน ๒ กรณีเสนอขายหุ้นกู้
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓๒ กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตต้องจัดให้หุ้นกู้ที่เสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปมีลักษณะดังต่อไปนี้ด้วย
(1) มีคําเรียกชื่อเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงถึงหุ้นกู้ที่เสนอขาย ในแต่ละครั้ง ทั้งนี้ คําเรียกชื่อหุ้นกู้ดังกล่าวต้องแสดงถึงปีที่ครบกําหนดไถ่ถอน และลักษณะพิเศษ ของหุ้นกู้ (ถ้ามี) ไว้โดยชัดเจน
(2) มีการกําหนดอัตราดอกเบี้ยไว้อย่างแน่นอน หรือเป็นอัตราที่ผันแปรตามอัตรา ดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น
(3) มีมูลค่าไถ่ถอนรวมเท่ากับมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นกู้ ทั้งนี้ ไม่ว่าหุ้นกู้นั้นจะมี การไถ่ถอนครั้งเดียวหรือหลายครั้ง
(4) ต้องไม่มีลักษณะดังนี้
(ก) เป็นหุ้นกู้เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
(ข) เป็นหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง เว้นแต่เป็นหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงที่ผู้ออกมีสิทธิในการบังคับไถ่ถอนคืนก่อนกําหนด (callable) หรือผู้ถือมีสิทธิเรียกให้ผู้ออกชําระหนี้คืนก่อนกําหนด (puttable) โดยมีการกําหนดผลตอบแทนไว้อย่างแน่นอนหรือเป็นอัตราที่ผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น และไม่มีการกําหนดเงื่อนไขการจ่ายผลตอบแทนที่อ้างอิงกับปัจจัยอ้างอิงอื่นเพิ่มเติม
(5) จัดให้สัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 39
ข้อ ๓๓ ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้ด้อยสิทธิ สิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ดังกล่าวต้องด้อยกว่าสิทธิของเจ้าหนี้สามัญเฉพาะในเรื่องการรับชําระหนี้ตามหุ้นกู้นั้นเมื่อเกิดกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) กิจการต่างประเทศที่ออกหุ้นกู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ หรือถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลาย
(2) มีการชําระบัญชีเพื่อการเลิกกิจการ
(3) กรณีอื่นใดที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ข้อ ๓๔ ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกกิจการ ต้องมีการระบุให้ชัดเจนถึงสิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ดังกล่าวในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) ผู้ถือหุ้นกู้ไม่มีสิทธิเรียกให้กิจการต่างประเทศที่ออกหุ้นกู้ไถ่ถอนหุ้นกู้ดังกล่าว ก่อนมีการเลิกกิจการ
(2) ผู้ถือหุ้นกู้มีสิทธิเรียกให้กิจการต่างประเทศที่ออกหุ้นกู้ไถ่ถอนหุ้นกู้ดังกล่าว ก่อนมีการเลิกกิจการตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กําหนดไว้อย่างชัดเจน
ข้อ ๓๕ ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้มีประกันไม่ว่าการประกันของหุ้นกู้นั้น จะจัดให้มีพร้อมกับการเสนอขายหุ้นกู้หรือจัดเพิ่มเติมขึ้นในภายหลัง หลักประกันของหุ้นกู้ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) เป็นทรัพย์สินหรือการค้ําประกันที่มีการดําเนินการให้มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย โดยคํานึงถึงสภาพของหลักประกันแต่ละประเภท สามารถดํารงได้ตลอดอายุหุ้นกู้ และดูแลได้ โดยผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ทั้งนี้ ทรัพย์สินที่เป็นหรือเกี่ยวข้องกับหลักประกันซึ่งเป็นทรัพย์สินอื่นใดที่ไม่ใช่ตราสารทางการเงิน ทรัพย์สินดังกล่าวต้องอยู่ในประเทศไทยและบังคับได้ตามกฎหมายไทย
(2) ในกรณีที่หลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสัญญาเช่าระยะยาว กิจการต่างประเทศ ที่ออกหุ้นกู้ต้องจัดให้มีการประเมินค่าของหลักประกันดังกล่าวโดยผู้ประเมินราคาทรัพย์สินที่อยู่ ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ การประเมินราคาหรือการคํานวณมูลค่าของหลักประกันต้องคํานึงถึงสิทธิและภาระผูกพันใด ๆ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยบทกฎหมายหรือโดยสัญญาที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้นด้วย และต้องจัดทําขึ้นไม่เกินกว่า 1 ปีก่อนวันที่ออกหุ้นกู้นั้น เว้นแต่ จะเป็นกรณีที่ราคาหรือมูลค่าของหลักประกันได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญในช่วงเวลาดังกล่าว ให้ผู้ออกหุ้นกู้จัดให้มีการประเมินค่าหลักประกันดังกล่าวใหม่
ข้อ ๓๖ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้มีประกันโดยหลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย กิจการต่างประเทศต้องดําเนินการจดทะเบียนให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เป็นผู้รับทรัพย์สินนั้นเป็นประกันตามกฎหมายด้วย
ข้อ ๓๗ กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีข้อกําหนดสิทธิที่มีความชัดเจนและไม่มีข้อกําหนดที่เป็นการเอาเปรียบคู่สัญญาอย่างไม่เป็นธรรม และมีการลงลายมือชื่อผู้มีอํานาจลงนามผูกพันของกิจการต่างประเทศและประทับตราของกิจการดังกล่าว (ถ้ามี) ทั้งนี้ รายการและสาระสําคัญของข้อกําหนดสิทธิสําหรับหุ้นกู้ ให้เป็นไปตามมาตรา 42
ข้อ ๓๘ การแก้ไขเพิ่มเติมสิทธิ หน้าที่ ความรับผิด หรือหลักประกันตามหุ้นกู้ภายหลังการออกหุ้นกู้ จะกระทําได้ต่อเมื่อการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวไม่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ ของประกาศนี้และการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นได้ดําเนินการโดยชอบตามข้อกําหนดสิทธิ โดยกิจการต่างประเทศต้องแจ้งการแก้ไขเพิ่มเติม พร้อมทั้งส่งสําเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อสํานักงานและ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยภายใน 15 วันนับแต่วันที่การแก้ไขเพิ่มเติมมีผลใช้บังคับ
ในกรณีที่การดําเนินการตามวรรคหนึ่ง เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดสิทธิซึ่งกําหนด ให้กระทําได้โดยการมีมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นกู้ หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นกู้ต้องระบุอย่างชัดเจนถึงสาเหตุแห่งการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดสิทธิ และผลกระทบที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นกับผู้ถือหุ้นกู้ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้ถือหุ้นกู้
ข้อ ๓๙ กิจการต่างประเทศต้องจัดให้สัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มีความสอดคล้อง กับข้อกําหนดสิทธิ โดยอย่างน้อยต้องมีรายการและสาระสําคัญดังต่อไปนี้
(1) ชื่อและที่อยู่ของคู่สัญญา
(2) วันที่สัญญามีผลใช้บังคับ
(3) อํานาจ หน้าที่ และความรับผิดของคู่สัญญา โดยมีข้อตกลงที่ระบุให้กิจการต่างประเทศและผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มีอํานาจ หน้าที่ และความรับผิดตามข้อกําหนดสิทธิทุกประการ
(4) อัตราและวิธีการจ่ายค่าตอบแทน หรือบําเหน็จในการปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ซึ่งต้องกําหนดไว้เป็นจํานวนที่แน่นอน รวมทั้งอัตราและวิธีการจ่ายคืนเงินทดรองซึ่งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ได้จ่ายไปเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(5) การสิ้นสุดของสัญญา
ข้อ ๔๐ กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ และจัดทําอย่างต่อเนื่องตลอดอายุของหุ้นกู้ โดยต้องเป็นอันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละครั้งนั้น
(2) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันหุ้นกู้ เฉพาะในกรณีที่เป็นหุ้นกู้มีประกัน ที่มีการค้ําประกันเต็มจํานวนที่มีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ โดยไม่สามารถ เพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของหุ้นกู้
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับกรณีดังนี้
(1) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานมีหนังสือแจ้งต่อสํานักงานว่าไม่สามารถจัดอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้ดังกล่าวได้โดยมีเหตุอันสมควร และเหตุนั้นไม่ได้เกิดจากหน่วยงานภาครัฐไทยที่ออกหุ้นกู้ สํานักงานอาจผ่อนผันให้การจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้นกระทําโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถืออื่นที่สํานักงานกําหนดได้
(2) กรณีที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน โดยมีเหตุจําเป็นและสมควร หรือเป็น
กรณีที่พิจารณาได้ว่าไม่จําเป็นต้องมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
ข้อ ๔๑ กิจการต่างประเทศต้องยื่นคําขอให้สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยพิจารณารับหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นตราสารหนี้ขึ้นทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่ออกหุ้นกู้ดังกล่าว
ข้อ ๔๒ กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ในลักษณะโครงการ ที่ไม่สามารถดํารงคุณสมบัติตามข้อ 14(3) หรือข้อ 15(2) และ (3) ได้ ต้องแจ้งการไม่สามารถดํารงคุณสมบัติดังกล่าวต่อสํานักงานภายใน 7 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงกรณีนั้น
ข้อ ๔๓ ให้กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ส่งรายงานดังต่อไปนี้ต่อสํานักงานตามวิธีการที่กําหนดโดยข้อ 7
(1) รายงานการเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ภายหลังการออกหุ้นกู้ ทั้งนี้ เมื่อกิจการต่างประเทศได้ส่งเอกสารต่อสํานักงานครบถ้วนแล้ว ให้กิจการดังกล่าวเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ได้ โดยถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว
(2) รายงานการไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนครบอายุ
(3) รายงานอัตราส่วนที่มีนัยสําคัญทางการเงินของกิจการรายปี (key financial ratio)
อื่นๆ ๓ การเสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัด
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔๔ หลักเกณฑ์ในภาคนี้ให้ใช้บังคับกับการเสนอขายตราสารหนี้สกุลเงินบาทของกิจการต่างประเทศต่อบุคคลในวงจํากัดตามลักษณะที่กําหนดในหมวด 1
ข้อ ๔๕ การอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้สกุลเงินบาทของกิจการต่างประเทศ ต่อบุคคลในวงจํากัด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้กระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ตามหลักเกณฑ์การอนุญาตและการยื่นคําขออนุญาตในส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 ของหมวด 2 ทั้งนี้ กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในส่วนที่ 3 ของหมวด 2 ด้วย
(2) การเสนอขายลักษณะอื่นที่ไม่ใช่การเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ตาม (1) ให้ถือว่าได้รับอนุญาตเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนที่ 1 ของหมวด 3 ทั้งนี้ กิจการต่างประเทศ ที่ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในส่วนที่ 2 ของหมวด 3 ด้วย
หมวด ๑ ลักษณะการเสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัด
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔๖ การเสนอขายตราสารหนี้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ถือเป็น การเสนอขายในวงจํากัด
(1) เสนอขายต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจํานวนไม่เกิน 10 ราย ในรอบ ระยะเวลา 4 เดือนใด ๆ
(2) เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบัน
(3) เสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่
(4) เสนอขายโดยได้รับผ่อนผันจากสํานักงาน โดยกิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตต้องแสดงได้ว่า
(ก) มีเหตุจําเป็นและสมควร
(ข) การเสนอขายดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในวงกว้าง
(ค) มีมาตรการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลงทุนอย่างเพียงพอแล้ว
ข้อ ๔๗ การพิจารณาลักษณะการเสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัดตามข้อ 46 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การเสนอขายต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงตามข้อ 46(1) หากเป็นกรณีที่ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ผู้รับฝากทรัพย์สิน นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ผู้ค้าหลักทรัพย์ หรือบุคคลอื่นใด ถือครองตราสารหนี้แทนบุคคลอื่น ให้นับจํานวนผู้ลงทุนจากบุคคลที่เป็นเจ้าของที่แท้จริงของ ตราสารหนี้นั้น
(2) การเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันตามข้อ 46(2) หรือการเสนอขายต่อผู้ลงทุน รายใหญ่ตามข้อ 46(3) ไม่รวมถึงการเสนอขายต่อผู้ลงทุนดังกล่าวที่ได้จดข้อจํากัดการโอนไว้ ไม่เกิน 10 ราย ในรอบระยะเวลา 4 เดือนใด ๆ โดยให้ถือว่ากรณีดังกล่าวเป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงตามข้อ 46(1)
(3) การเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 46(3) ให้หมายความรวมถึง การเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ที่มีการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันด้วย
หมวด ๒ การเสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัด
ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔๘ ความในหมวดนี้ให้ใช้บังคับกับการเสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัดต่อ ผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 46(3)
ส่วน ๑ หลักเกณฑ์การอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
มาตรา ๔๙ กิจการต่างประเทศจะได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัดต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กิจการต่างประเทศมีลักษณะตามข้อ 14(1) (2) (3) (4) (5) (6) (10) และ (11) และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 15 และข้อ 16 ด้วย
(2) แบบแสดงรายการข้อมูลมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างครบถ้วน ทั้งนี้ ในการขออนุญาตในลักษณะโครงการ แบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวให้หมายถึงเฉพาะแบบแสดงรายการข้อมูลที่ได้ยื่นมาพร้อมกับคําขออนุญาตเท่านั้น
มาตรา ๕๐ กิจการต่างประเทศที่ขออนุญาตต้องจัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ที่มีลักษณะตามข้อ 17
(2) เป็นทรัสตีได้ตามกฎหมายต่างประเทศหรือสถาบันการเงินต่างประเทศ ที่มีลักษณะตามข้อ 14(11)
(3) เป็นบุคคลอื่นใดที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นรายกรณี
ส่วน ๒ การยื่นคําขออนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๕๑ กิจการต่างประเทศที่ประสงค์จะเสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัดต่อผู้ลงทุน รายใหญ่ต้องยื่นคําขออนุญาต และจดข้อจํากัดการโอนกับสํานักงาน
ให้นําความในข้อ 18 ข้อ 19 และข้อ 20 มาใช้บังคับกับการยื่นคําขออนุญาตตามวรรคหนึ่ง โดยอนุโลม
ข้อ ๕๒ ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตภายใน 15 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน
ในกรณีที่กิจการต่างประเทศประสงค์จะขอผ่อนผันหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ ให้กิจการต่างประเทศยื่นคําขอผ่อนผัน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอผ่อนผันต่อสํานักงานมาพร้อมกับการยื่นคําขออนุญาต ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน โดยสํานักงานจะพิจารณาคําขอผ่อนผันให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเดียวกันกับการพิจารณาอนุญาตตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๕๓ กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ในลักษณะโครงการสามารถเสนอขายตราสารหนี้ได้ทุกลักษณะโดยไม่จํากัดมูลค่าและจํานวนครั้งที่เสนอขายนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานตามข้อ 52 จนสิ้นสุดอายุโครงการ ทั้งนี้ ให้การอนุญาตเสนอขายตราสารหนี้ในลักษณะโครงการมีอายุ 2 ปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงาน
ข้อ ๕๔ ภายในระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 53 หากปรากฏว่ากิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ในลักษณะโครงการไม่สามารถดํารงคุณสมบัติ ให้เป็นไปตามข้อ 49(1) ได้ กิจการต่างประเทศที่ดังกล่าวจะดําเนินการเสนอขายตราสารหนี้ตามข้อ 53 ไม่ได้จนกว่าจะดําเนินการแก้ไขคุณสมบัติได้ก่อนสิ้นระยะเวลาตามข้อ 53 หากกิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ก่อนที่จะแก้ไขคุณสมบัติได้ ให้ถือว่าเป็นการเสนอขายตราสารหนี้โดยที่ไม่ได้ รับอนุญาตตามประกาศนี้ ทั้งนี้ กิจการต่างประเทศมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อ 58(8) ด้วย
ส่วน ๓ เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๕๕ ให้กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัดต่อ ผู้ลงทุนรายใหญ่ ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในส่วนนี้
ข้อ ๕๖ กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการให้ตราสารหนี้ที่เสนอขาย ในวงจํากัดต่อผู้ลงทุนรายใหญ่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) พันธบัตรต้องมีลักษณะเป็นไปตามข้อ 26 และหุ้นกู้ต้องมีลักษณะเป็นไป ตามข้อ 32(1) (2) (3) และ (4)
(2) เป็นตราสารหนี้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ และต้องมีข้อความในใบตราสารที่เสนอขาย แต่ละครั้งแสดงว่ากิจการต่างประเทศจะไม่รับจดทะเบียนการโอนตราสารไม่ว่าในทอดใด ๆ หากการโอนนั้นจะขัดกับข้อจํากัดการโอนตราสารตามที่ระบุไว้ ซึ่งต้องเป็นข้อจํากัดการโอนเดียวกับที่ได้จดทะเบียนไว้กับสํานักงาน
(3) กรณีเป็นหุ้นกู้ด้อยสิทธิหรือหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกกิจการ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 33 หรือข้อ 34 แล้วแต่กรณี
(4) กรณีกิจการต่างประเทศจัดให้มีเอกสารประกอบการเสนอขายตราสารหนี้ เอกสารดังกล่าวจะต้องมีข้อความที่ระบุถึงข้อจํากัดการโอน และในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิ ให้ระบุการด้อยสิทธินั้นไว้ให้ชัดเจน
ข้อ ๕๗ ในกรณีกิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตประสงค์จะจัดให้มีที่ปรึกษา ทางการเงินเป็นผู้วิเคราะห์ข้อมูลของกิจการต่างประเทศเพื่อให้คําแนะนําในการกําหนดลักษณะข้อตกลง เงื่อนไข และอายุที่เหมาะสมในการเสนอขายตราสารหนี้ กิจการต่างประเทศต้องมอบหมายให้ที่ปรึกษาทางการเงินนั้นวิเคราะห์ข้อมูลดังต่อไปนี้
(1) ลักษณะการประกอบธุรกิจ และแผนธุรกิจในอนาคต
(2) ข้อมูลทางการเงินที่สําคัญตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน หรือข้อมูล การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
(3) วัตถุประสงค์การใช้เงิน
(4) แหล่งเงินทุนสํารองในการชําระหนี้
(5) ทรัพย์สินที่อาจใช้เป็นหลักประกันในการชําระหนี้
กิจการต่างประเทศตามวรรคหนึ่งมีหน้าที่ต้องดําเนินการดังนี้ด้วย
(1) จัดส่งข้อมูลที่จําเป็นซึ่งมีความถูกต้องและครบถ้วนให้ที่ปรึกษาทางการเงิน เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ข้อมูลตามวรรคหนึ่ง
(2) จัดให้มีข้อตกลงให้ที่ปรึกษาทางการเงินจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่จัดทําขึ้น ตามวรรคหนึ่งไว้อย่างน้อย 3 ปี
ข้อ ๕๘ กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัดต่อผู้ลงทุน รายใหญ่ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) จัดให้การชักชวนหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือลงทุนในตราสารหนี้ ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ดําเนินการผ่านบริษัทหลักทรัพย์ประเภทที่สามารถเป็นผู้ให้บริการดังกล่าวเกี่ยวกับ ตราสารหนี้ได้
(2) จัดให้มีการแจกสรุปข้อมูลสําคัญของตราสาร (factsheet) ให้แก่ผู้ลงทุนก่อน การเสนอขาย
(3) ดําเนินการเกี่ยวกับข้อกําหนดสิทธิตามหลักเกณฑ์ในข้อ 37 และข้อ 38 และในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 39 ด้วย
(4) กรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิ หรือหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกกิจการ ต้องจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามข้อ 40
(5) ยื่นคําขอให้สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยพิจารณารับตราสารหนี้ที่เสนอขายเป็นตราสารหนี้ขึ้นทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันออกตราสารหนี้ดังกล่าว
(6) ในกรณีที่มีบุคคลใดแสดงความประสงค์ต่อกิจการต่างประเทศที่จะลงทะเบียนการโอนตราสารหนี้ ให้กิจการดังกล่าวตรวจสอบความถูกต้องของการโอนตราสารหนี้ หากพบว่าเป็น การโอนที่ขัดต่อข้อจํากัดการโอนที่ได้จดทะเบียนไว้กับสํานักงาน กิจการต่างประเทศต้องไม่ลงทะเบียนการโอนตราสารหนี้ เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก
ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง หากกิจการต่างประเทศจัดให้มีนายทะเบียน ตราสารหนี้ กิจการต่างประเทศต้องดําเนินการให้นายทะเบียนตราสารหนี้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่งด้วย
(7) ส่งรายงานต่อสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 43 โดยอนุโลม
(8) กรณีที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายในลักษณะโครงการ หากไม่สามารถดํารงคุณสมบัติตามข้อ 14(3) และข้อ 15(2) และ (3) ได้ ต้องแจ้งการไม่สามารถดํารงคุณสมบัติดังกล่าว ต่อสํานักงานภายใน 7 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงกรณีนั้น
หมวด ๓ การเสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัดลักษณะอื่น
ที่ไม่ใช่การเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๕๙ ความในหมวดนี้ให้ใช้บังคับกับการเสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัดตามข้อ 46(1) (2) และ (4)
ส่วน ๑ การอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๖๐ การเสนอขายตราสารหนี้ตามหมวดนี้ ให้ถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานเมื่อกิจการต่างประเทศมีลักษณะตามข้อ 14(1) (2) (6) (10) และ (11) และได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) รายงานลักษณะตราสารหนี้ที่จะเสนอขายต่อสํานักงานตามวิธีการที่กําหนดโดยข้อ 7
(2) จดข้อจํากัดการโอนสําหรับตราสารหนี้ที่จะเสนอขายกับสํานักงาน โดยในการ จดข้อจํากัดการโอนดังกล่าว ต้องมีข้อความซึ่งแสดงได้ว่ากิจการต่างประเทศจะไม่รับจดทะเบียนการโอนตราสารหนี้ไม่ว่าทอดใด ๆ หากการโอนดังกล่าวจะทําให้ตราสารหนี้ที่เสนอขายในครั้งนั้นไม่สามารถ คงลักษณะการเสนอขายในวงจํากัดตามแต่ละลักษณะการเสนอขายที่กําหนดในข้อ 46 ได้ เว้นแต่ เป็นการโอนทางมรดก
(3) กรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้มีประกันหรือหุ้นกู้ที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้กิจการต่างประเทศได้เสนอร่างข้อกําหนดสิทธิและร่างสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มาพร้อมกับ การจดข้อจํากัดการโอนตาม (2) แล้ว
(4) ในกรณีที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต้องมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 50
ข้อ ๖๑ ให้ถือว่าสํานักงานรับจดข้อจํากัดการโอนตราสารหนี้ตามข้อ 60(2) ในวันที่สํานักงานได้รับการแสดงเจตนาจดข้อจํากัดการโอนที่มีข้อความตามข้อ 60(2) ครบถ้วนแล้ว
ส่วน ๒ เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๖๒ ให้กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัดลักษณะอื่นที่ไม่ใช่การเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ โดยอนุโลม
(1) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดส่งรายงานตามข้อ 43(1) และ (2)
(2) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับลักษณะของตราสารหนี้ตามข้อ 56
(3) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับที่ปรึกษาทางการเงิน (ถ้ามี) ตามข้อ 57
(4) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลงทะเบียนโอนตราสารหนี้ตามข้อ 58(6)
ข้อ ๖๓ การเสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัดต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงตามข้อ 46(1) กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้
(1) เสนอขายต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหลายบุคคลรวมกันดังนี้
(ก) ผู้ลงทุนสถาบัน
(ข) ผู้ลงทุนรายใหญ่
(ค) ผู้ลงทุนที่มีความสัมพันธ์ซึ่งต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 64 เฉพาะกรณีที่กิจการต่างประเทศมีสถานะเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ
(2) ไม่โฆษณาการเสนอขายตราสารหนี้ดังกล่าว และหากจะมีการแจกจ่ายเอกสารประกอบการเสนอขาย กิจการต่างประเทศต้องแจกจ่ายให้เฉพาะบุคคลที่มีลักษณะหรือมีจํานวนอยู่ในวงจํากัดตามที่กําหนดไว้ในข้อ 46(1) เท่านั้น
(3) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ กิจการต่างประเทศต้องจัดให้การชักชวนหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือลงทุนในตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ดําเนินการผ่านบริษัทหลักทรัพย์ประเภทที่สามารถเป็นผู้ให้บริการดังกล่าวได้เท่านั้น เว้นแต่เป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับนิติบุคคลต่างประเทศ
ข้อ ๖๔ ผู้ลงทุนที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับนิติบุคคลต่างประเทศตามข้อ 63(1) (ค) ต้องเป็นบุคคลที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการของนิติบุคคลต่างประเทศ โดยในการพิจารณานั้นจะต้องคํานึงถึงความเหมาะสมในการลงทุนและการมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุน
ผู้ลงทุนที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับนิติบุคคลต่างประเทศตามวรรคหนึ่ง ได้แก่ บุคคลที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับนิติบุคคลต่างประเทศในลักษณะที่เป็นความสัมพันธ์ทางด้านธุรกิจการลงทุน หรือการบริหารและการจัดการของนิติบุคคลต่างประเทศ เช่น ลูกค้า ผู้จําหน่ายวัตถุดิบ บุคคลที่จะเข้ามาร่วมธุรกิจกับนิติบุคคลต่างประเทศ บริษัทในเครือของนิติบุคคลต่างประเทศ (บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทย่อยในลําดับเดียวกัน หรือบริษัทร่วม) ผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลต่างประเทศตั้งแต่ร้อยละ 5 ขึ้นไปของจํานวนหุ้นทั้งหมด กรรมการ ผู้บริหาร พนักงานของนิติบุคคลต่างประเทศกรรมการและผู้บริหารของบริษัทในเครือ เป็นต้น
เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคสอง คําว่า “บริษัทย่อยในลําดับเดียวกัน” หมายความว่า บริษัทย่อยตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไปที่มีบริษัทใหญ่เป็นบริษัทเดียวกันไม่ว่าบริษัทย่อยนั้นจะอยู่ในชั้น ลําดับใด ๆ
ข้อ ๖๕ การเสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัดต่อผู้ลงทุนสถาบันตามข้อ 46(2) กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้
(1) กรณีเป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ให้ดําเนินการดังนี้
(ก) จัดให้มีข้อกําหนดสิทธิที่มีรายการอย่างน้อยตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 42 และดําเนินการให้เป็นไปตามข้อ 38 วรรคหนึ่ง
(ข) จัดให้มีการแจกสรุปข้อมูลสําคัญของตราสาร (factsheet) ให้แก่ผู้ลงทุนก่อนการเสนอขาย
(2) ยื่นคําขอให้สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยพิจารณารับตราสารหนี้ที่เสนอขายเป็น ตราสารหนี้ขึ้นทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันออกตราสารหนี้ดังกล่าว
ข้อ ๖๖ การเสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัดโดยได้รับผ่อนผันจากสํานักงานตามข้อ 46(4) กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตต้องไม่โฆษณาการเสนอขายตราสารหนี้ดังกล่าว และหากจะมี การแจกจ่ายเอกสารประกอบการเสนอขาย กิจการต่างประเทศต้องแจกจ่ายให้เฉพาะบุคคลที่ได้รับการผ่อนผันเท่านั้น
อื่นๆ - บทเฉพาะกาล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๖๗ คําขออนุญาตที่ได้ยื่นต่อสํานักงานหรือได้รับอนุญาตจากสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 58/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้การขออนุญาตและการอนุญาตยังคงเป็นไปตามบังคับประกาศดังกล่าวและประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป
ข้อ ๖๘ ให้ตราสารหนี้ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 58/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ยังคงอยู่ภายใต้เงื่อนไขภายหลังการอนุญาตตามประกาศดังกล่าว
ข้อ ๖๙ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 58/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ให้การอ้างอิงประกาศดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๗๐ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 58/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงมีผลใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ของประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 505 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 38/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท (ฉบับที่ 2) | -ร่าง-
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 38/2563
เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขาย
ตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 63/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ในการขออนุญาตเสนอขายตราสารหนี้ที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ ให้ยื่นขออนุญาตได้เฉพาะในลักษณะรายครั้งเท่านั้น
(1) หุ้นกู้ด้อยสิทธิ
(2) หุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกกิจการ (perpetual bond)
(3) ตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับต่ํากว่าที่ลงทุนได้หรือตราสารหนี้ที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ทั้งนี้ การจัดอันดับความน่าเชื่อถือให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 27 วรรคหนึ่ง โดยอนุโลม”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 24 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 63/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 24 ภายในระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 23 หากปรากฏเหตุการณ์ลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตจะเสนอขายตราสารหนี้ในลักษณะโครงการต่อไปไม่ได้จนกว่าจะดําเนินการแก้ไขคุณสมบัติตาม (1) หรือแก้ไขให้ตราสารหนี้ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับที่ลงทุนได้ตาม (2) แล้วแต่กรณี ก่อนสิ้นระยะเวลาตามข้อ 23 ทั้งนี้ กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อ 29 หรือข้อ 42 แล้วแต่กรณีด้วย
(1) กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ในลักษณะโครงการไม่สามารถดํารงคุณสมบัติให้เป็นไปตามหมวด 1 ในภาค 2 ได้
(2) ตราสารหนี้ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายในลักษณะโครงการได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับต่ํากว่าที่ลงทุนได้ หรือไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
หากกิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตเสนอขายตราสารหนี้ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการเสนอขายตราสารหนี้โดยที่ไม่ได้รับอนุญาตตามประกาศนี้”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 29 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 63/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 29 เมื่อปรากฏเหตุการณ์ลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตเสนอขายพันธบัตรในลักษณะโครงการแจ้งเหตุการณ์ดังกล่าวต่อสํานักงานภายใน 7 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุการณ์นั้น
(1) กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตไม่สามารถดํารงคุณสมบัติตามข้อ 14(3) หรือข้อ 15(2) และ (3) ได้
(2) พันธบัตรที่ได้รับอนุญาตได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับต่ํากว่าที่ลงทุนได้ หรือไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 30 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 63/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 30 ให้กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายพันธบัตรส่งรายงานการไถ่ถอนพันธบัตรก่อนครบอายุต่อสํานักงานตามวิธีการที่กําหนดในข้อ 7”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 42 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 63/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 42 เมื่อปรากฏเหตุการณ์ลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ในลักษณะโครงการแจ้งเหตุการณ์ดังกล่าวต่อสํานักงานภายใน 7 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุการณ์นั้น
(1) กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตไม่สามารถดํารงคุณสมบัติตามข้อ 14(3) หรือข้อ 15(2) และ (3) ได้
(2) หุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับต่ํากว่าที่ลงทุนได้ หรือไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ”
ข้อ 6 ให้ยกเลิก (3) ของข้อ 43 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 63/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561
ข้อ 7 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 43/1 ในส่วนที่ 2 กรณีเสนอขายหุ้นกู้ ของหมวด 3 เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาต ในภาค 2 การเสนอขายตราสารหนี้ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 63/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561
“ข้อ 43/1 ให้กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตรายงานการผิดนัดชําระหนี้เงินต้นหรือดอกเบี้ยต่อผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ภายใน 1 วันทําการนับแต่วันที่ปรากฏเหตุผิดนัด”
ข้อ 8 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 49 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 63/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) กิจการต่างประเทศมีลักษณะตามข้อ 14(1) (2) (3) (4) (5) (6) (8) (10) และ (11) และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 15 และข้อ 16 ด้วย”
ข้อ 9 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 52 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 63/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 52 ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตภายใน 30 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน”
ข้อ 10 ให้ยกเลิกความในข้อ 54 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 63/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 54 ภายในระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 53 หากปรากฏเหตุการณ์ลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตจะเสนอขายตราสารหนี้ในลักษณะโครงการต่อไปไม่ได้จนกว่าจะดําเนินการแก้ไขคุณสมบัติตาม (1) หรือแก้ไขให้ตราสารหนี้ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับที่ลงทุนได้ตาม (2) ก่อนสิ้นระยะเวลาตามข้อ 53 แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อ 58(8) ด้วย
(1) กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ในลักษณะโครงการไม่สามารถดํารงคุณสมบัติให้เป็นไปตามข้อ 49(1) ได้
(2) ตราสารหนี้ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายในลักษณะโครงการได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับต่ํากว่าที่ลงทุนได้ หรือไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
หากกิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตเสนอขายตราสารหนี้โดยฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการเสนอขายตราสารหนี้โดยที่ไม่ได้รับอนุญาตตามประกาศนี้”
ข้อ 11 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 56 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 63/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) เป็นตราสารหนี้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ และต้องมีข้อความในใบตราสารที่เสนอขายแต่ละครั้งแสดงว่ากิจการต่างประเทศจะไม่รับจดทะเบียนการโอนตราสารไม่ว่าในทอดใด ๆ หากการโอนนั้นจะขัดกับข้อจํากัดการโอนตราสารตามที่ระบุไว้ ซึ่งต้องเป็นข้อจํากัดการโอนเดียวกับที่ได้จดทะเบียนไว้กับสํานักงาน เว้นแต่กรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 46(3) กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตสามารถจดทะเบียนการโอนตราสารไม่ว่าในทอดใด ๆ ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่และผู้ลงทุนสถาบันก็ได้”
ข้อ 12 ให้ยกเลิกความใน (8) ของข้อ 58 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 63/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(8) กรณีที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายในลักษณะโครงการ หากปรากฏเหตุการณ์ลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ต้องแจ้งเหตุการณ์ดังกล่าวต่อสํานักงานภายใน 7 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุการณ์นั้น
(ก) กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตไม่สามารถดํารงคุณสมบัติตามข้อ 14(3) หรือข้อ 15(2) และ (3) ได้
(ข) ตราสารหนี้ที่ได้รับอนุญาตได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับต่ํากว่าที่ลงทุนได้ หรือไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ”
ข้อ 13 ให้ยกเลิกความใน (7) ของข้อ 58 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 63/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(7) ส่งรายงานต่อสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 43 และข้อ 43/1 โดยอนุโลม”
ข้อ 14 ให้ยกเลิกความในข้อ 62 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 63/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 62 ให้กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัดลักษณะอื่นที่ไม่ใช่การเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ โดยอนุโลม
1. หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดส่งรายงานตามข้อ 43 และข้อ 43/1
(2) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับลักษณะของตราสารหนี้ตามข้อ 56
(3) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับที่ปรึกษาทางการเงิน (ถ้ามี) ตามข้อ 57
(4) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลงทะเบียนโอนตราสารหนี้ตามข้อ 58(6)”
ข้อ 15 ให้ยกเลิกความในข้อ 63 และข้อ 64 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 63/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 63 การเสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัดต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงตามข้อ 46(1) กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังนี้
(1) เสนอขายต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหลายบุคคลรวมกันดังนี้
(ก) ผู้ลงทุนสถาบัน
(ข) ผู้ลงทุนที่มีความสัมพันธ์ซึ่งต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 64 เฉพาะกรณีที่กิจการต่างประเทศมีสถานะเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ
(2) ไม่โฆษณาการเสนอขายตราสารหนี้ดังกล่าว และหากจะมีการแจกจ่ายเอกสารประกอบการเสนอขาย กิจการต่างประเทศต้องแจกจ่ายให้เฉพาะบุคคลที่มีลักษณะหรือมีจํานวนอยู่ในวงจํากัดตามที่กําหนดไว้ในข้อ 46(1) เท่านั้น
ข้อ 64 ผู้ลงทุนที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับนิติบุคคลต่างประเทศตามข้อ 63(1) (ข)ต้องเป็นบุคคลที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการของนิติบุคคลต่างประเทศโดยในการพิจารณานั้นจะต้องคํานึงถึงความเหมาะสมในการลงทุนและการมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุน
ผู้ลงทุนที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับนิติบุคคลต่างประเทศตามวรรคหนึ่ง ได้แก่ กรรมการ ผู้บริหารของนิติบุคคลต่างประเทศ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และบริษัทในเครือของนิติบุคคลต่างประเทศ (บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทย่อยในลําดับเดียวกัน หรือบริษัทร่วม) เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคสอง
1. ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หมายความว่า ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท
2. บริษัทย่อยในลําดับเดียวกัน หมายความว่า บริษัทย่อยตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไปที่มีบริษัทใหญ่เป็นบริษัทเดียวกันไม่ว่าบริษัทย่อยนั้นจะอยู่ในชั้นลําดับใด ๆ ”
ข้อ 16 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป เว้นแต่
(1) ข้อ 9 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
(2) ข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 5 ข้อ 8 ข้อ 10 และข้อ 12 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้น
(3) ข้อ 15 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 506 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท (ฉบับที่ 3) | -ร่าง-
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 49/2563
เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขาย
ตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท
(ฉบับที่ 3)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (13) ของข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 63/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561
“(13) ไม่เคยมีประวัติฝ่าฝืนหลักเกณฑ์การนําเงินที่ได้รับจากการเสนอขายตราสารหนี้ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ภายในระยะเวลา 2 ปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาต”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 28/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 63/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561
“ข้อ 28/1 กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายพันธบัตรต้องนําเงินที่ได้รับจากการเสนอขายไปใช้ตามวัตถุประสงค์การใช้เงินที่เปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูล เว้นแต่มีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้เงินโดยชอบตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดสิทธิ”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 30 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 63/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 38/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 30 ให้กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายพันธบัตรส่งรายงานดังต่อไปนี้ต่อสํานักงานตามวิธีการที่กําหนดในข้อ 7
(1) รายงานการไถ่ถอนพันธบัตรก่อนครบอายุ
(2) รายงานการใช้เงินที่ได้รับจากการเสนอขายพันธบัตร”
ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 41/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 63/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561
“ข้อ 41/1 กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ต้องนําเงินที่ได้รับจากการเสนอขายไปใช้ตามวัตถุประสงค์การใช้เงินที่เปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูล เว้นแต่มีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้เงินโดยชอบตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดสิทธิ”
ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3) ของข้อ 43 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 63/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 38/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
“(3) รายงานการใช้เงินที่ได้รับจากการเสนอขายหุ้นกู้ โดยในกรณีที่เป็นหุ้นกู้ที่มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ให้กิจการต่างประเทศรายงานต่อผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ด้วย”
ข้อ 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3) ของข้อ 49 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 63/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561
“(3) ไม่เคยมีประวัติฝ่าฝืนหลักเกณฑ์การนําเงินที่ได้รับจากการเสนอขายตราสารหนี้ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ภายในระยะเวลา 2 ปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาต”
ข้อ 7 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5/1) ของข้อ 58 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 63/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561
“(5/1) นําเงินที่ได้รับจากการเสนอขายตราสารหนี้ไปใช้ตามวัตถุประสงค์การใช้เงินที่เปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูล เว้นแต่มีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้เงินโดยชอบตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดสิทธิ”
ข้อ 8 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) และ (6) ของข้อ 60 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 63/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561
“(5) กรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ตามข้อ 46(1) กิจการต่างประเทศได้แจ้งวัตถุประสงค์การใช้เงินที่ได้รับจากการเสนอขายตราสารหนี้ต่อสํานักงานมาพร้อมกับการจดข้อจํากัดการโอนตาม (2)
(6) ไม่เคยมีประวัติฝ่าฝืนหลักเกณฑ์การนําเงินที่ได้รับจากการเสนอขายตราสารหนี้ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ภายในระยะเวลา 2 ปีก่อนวันแจ้งวัตถุประสงค์การใช้เงินที่ได้รับจากการเสนอขายตราสารหนี้ต่อสํานักงาน”
ข้อ 9 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 66/1 ในส่วนที่ 2 เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาต ของหมวด 3 การเสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัดลักษณะอื่นที่ไม่ใช่การเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ ในภาค 3 การเสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัด แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 63/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561
“ข้อ 66/1 กิจการต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ในวงจํากัดต้องนําเงินที่ได้รับจากการเสนอขายไปใช้ตามวัตถุประสงค์การใช้เงินที่ได้แจ้งไว้ต่อสํานักงาน หรือที่เปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูล เว้นแต่มีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้เงินโดยชอบตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดสิทธิ”
ข้อ 10 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 507 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 7/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 7/2564
เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขาย
ตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท
(ฉบับที่ 4)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 17/1 ในหมวด 1 หลักเกณฑ์การอนุญาต ของภาค 2 การเสนอขายตราสารหนี้ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 63/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561
“ข้อ 17/1 ในกรณีหุ้นกู้ที่ประสงค์จะเสนอขายเป็นหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกกิจการ (perpetual bond) กิจการต่างประเทศต้องแสดงได้ว่าหุ้นกู้ดังกล่าวจะได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกหุ้นกู้ (issuer rating) อยู่ในระดับที่ลงทุนได้ (investment grade)”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6) ของข้อ 32 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 63/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561
“(6) มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามหลักเกณฑ์ในข้อ 40 โดยในกรณีเป็นหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกกิจการ (perpetual bond) ต้องมีอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกหุ้นกู้ (issuer rating) ในขณะที่เสนอขายอยู่ในระดับที่ลงทุนได้ (investment grade) ด้วย”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/1) ของข้อ 49 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 63/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
“(1/1) กรณีกิจการต่างประเทศเสนอขายหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกกิจการ (perpetual bond) ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 17/1 ด้วย”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 56 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 63/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) พันธบัตรต้องมีลักษณะเป็นไปตามข้อ 26 และหุ้นกู้ต้องมีลักษณะเป็นไปตามข้อ 32(1) (2) (3) (4) และ (6)”
ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 508 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 21/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท (ฉบับที่ 5) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 21/2564
เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขาย
ตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท
(ฉบับที่ 5)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 60 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 63/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) รายงานลักษณะตราสารหนี้ที่จะเสนอขายต่อสํานักงานตามวิธีการที่กําหนดโดยข้อ 7 เว้นแต่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจํานวนไม่เกิน 10 รายตามข้อ 46(1)”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2564
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 509 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทด. 26/2553
เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551และมาตรา 35 มาตรา 40(11) มาตรา 41(3) และ (4) มาตรา 42(10) มาตรา 43(3) มาตรา 67 มาตรา 69 และมาตรา 70(9) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 15/2552 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้ต่างประเทศต่อธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552
ข้อ ๒ การเสนอขายหุ้นกู้ที่มีข้อตกลงให้ชําระค่าหุ้นกู้เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศที่ออกโดยกิจการที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ให้อยู่ภายใต้บังคับประกาศนี้
(1) กิจการตามกฎหมายไทย ได้แก่ บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และให้รวมถึงสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่สามารถประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ได้ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(2) กิจการตามกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่
(ก) หน่วยงานหรือองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ
(ข) องค์การระหว่างประเทศ
(ค) นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ
ข้อ ๓ การออกและเสนอขายหุ้นกู้ตามประกาศนี้ ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ให้ผู้ออกหุ้นกู้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การอนุญาตที่กําหนดไว้ในภาค 1
(2) ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ในแต่ละครั้ง ให้ผู้เสนอขายยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามที่กําหนดไว้ในภาค 2 เว้นแต่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้
ข้อ ๔ ในประกาศนี้
(1) คําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” “ผู้ลงทุนรายใหญ่” “การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ” “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” และ “แบบแสดงรายการข้อมูล” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภทเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับภาค 1 คําว่า “ผู้บริหาร” และ “ผู้มีอํานาจควบคุม” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท
(2) “หุ้นกู้” หมายความว่า หุ้นกู้ไม่ว่าชนิดใดๆ แต่ไม่รวมถึง
(ก) หุ้นกู้อนุพันธ์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท
(ข) หุ้นกู้แปลงสภาพ และ
(ค) หุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
(3) “หุ้นกู้ระยะสั้น” หมายความว่า หุ้นกู้ที่มีกําหนดเวลาชําระหนี้ไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวันนับแต่วันที่ออกหุ้นกู้
(4) “หุ้นกู้ด้อยสิทธิ” หมายความว่า หุ้นกู้ไม่มีประกันที่มีการกําหนดสิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ไว้ด้อยกว่าสิทธิของเจ้าหนี้สามัญทั่วไป
(5) “หน่วยงานกํากับดูแลหลัก” (home regulator) หมายความว่า หน่วยงานกํากับดูแลตลาดทุนของประเทศที่นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศตั้งอยู่
(6) “ข้อกําหนดสิทธิ” หมายความว่า ข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้
(7) “สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย” หมายความว่า สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยที่ได้รับใบอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน
(8) “ตราสารหนี้ขึ้นทะเบียน” หมายความว่า ตราสารหนี้ที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
ข้อ ๕ ผู้เสนอขายหุ้นกู้ที่เป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งเสนอขายหุ้นกู้พร้อมกันหรือในระยะเวลาใกล้เคียงกันในประเทศอื่นด้วย สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศตามข้อ 2(1) หรือกิจการตามกฎหมายต่างประเทศตามข้อ 2(2) อาจยื่นข้อมูลหรือเอกสารต่อสํานักงานที่จัดทําเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ หากข้อมูลหรือเอกสารดังกล่าว แปลมาจากข้อมูลหรือเอกสารที่เป็นภาษาอื่น ผู้เสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าวต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ดําเนินการให้ผู้แปลรับรองความถูกต้องว่า สาระของการแปลถูกต้องตรงตามสาระของข้อมูลหรือเอกสารที่เป็นต้นฉบับ
(2) ผู้เสนอขายหุ้นกู้ต้องรับรองว่า สาระของข้อมูลหรือเอกสารที่แปลนั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่จริง และมิได้มีการปกปิดข้อเท็จจริงที่พึงเปิดเผย
เอกสารที่ยื่นต่อสํานักงานตามประกาศนี้ หากได้จัดทําเป็นภาษาใดในครั้งแรก ให้จัดทําโดยใช้ภาษานั้นต่อไปทุกครั้ง เว้นแต่กรณีที่มีเหตุจําเป็นสมควรและได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
ข้อ ๖ เอกสารหรือหลักฐานที่ต้องยื่นต่อสํานักงานตามที่ประกาศนี้กําหนด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
อื่นๆ ๑ หลักเกณฑ์การอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๗ กิจการที่มีลักษณะตามข้อ 2 ซึ่งประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ที่มีข้อตกลงให้ชําระค่าหุ้นกู้เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(1) การออกและเสนอขายหุ้นกู้ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ให้ปฏิบัติตามข้อกําหนดในหมวด 1
(2) การออกและเสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัด ให้ปฏิบัติตามข้อกําหนดในหมวด 2
หมวด ๑ การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขาย
หุ้นกู้ในกรณีทั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๘ การอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามหมวดนี้ จะมีผลเมื่อ
(1) ผู้ขออนุญาตได้ยื่นคําขออนุญาตตามส่วนที่ 1 และได้รับอนุญาตในเบื้องต้นจากสํานักงานว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติที่สามารถเสนอขายหุ้นกู้ได้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนที่ 2 โดยผู้ขออนุญาตที่มีคุณสมบัติดังกล่าวสามารถเสนอขายหุ้นกู้ได้ทุกลักษณะ โดยไม่จํากัดมูลค่าและจํานวนครั้งที่เสนอขาย ภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลอนุญาตในเบื้องต้นนั้น และ
(2) ในการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในแต่ละครั้ง หากผู้ขออนุญาตได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในส่วนที่ 3 และส่วนที่ 4 แล้ว ให้ถือว่าได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในครั้งนั้น และให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จากสํานักงานในวันที่ถือว่าได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้นั้นด้วย
ส่วน ๑ วิธีการยื่นคําขออนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๙ ผู้ที่ประสงค์จะขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามหมวดนี้ ต้องยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานพร้อมทั้งเอกสารหลักฐาน ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๑๐ ให้ผู้ขออนุญาตชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตต่อสํานักงานในวันยื่นแบบคําขออนุญาต ทั้งนี้ ตามอัตราที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการกําหนดค่าธรรมเนียมการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่
ข้อ ๑๑ ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาการมีคุณสมบัติที่สามารถออกหุ้นกู้ได้ ภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหลักฐานครบถ้วน
ในการพิจารณาคําขออนุญาต ให้สํานักงานมีอํานาจแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขออนุญาตมาชี้แจง หรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตไม่มาชี้แจง หรือไม่ส่งเอกสารหลักฐานภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ให้ถือว่าผู้ขออนุญาตไม่ประสงค์จะขออนุญาตเพื่อเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่นั้นอีกต่อไป
ส่วน ๒ ลักษณะของผู้ขออนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๒ ผู้ขออนุญาตจะได้รับอนุญาตในเบื้องต้นว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติที่สามารถเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ได้ จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) รายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชี ที่ออกตามงบการเงินของผู้ขออนุญาตและงบการเงินรวมประจํางวดการบัญชีปีล่าสุด และงบการเงินประจํางวดหกเดือนล่าสุดหรืองบการเงินไตรมาสสุดท้ายก่อนยื่นคําขอ ต้องไม่มีความหมายในลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) ไม่แสดงความเห็นต่อการจัดทํางบการเงินของผู้ขออนุญาตและงบการเงินรวม หรือแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง
(ข) แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในรายการบัญชีที่เป็นสาระสําคัญว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่ใช้บังคับกับบริษัทมหาชนจํากัด
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นกิจการตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งกฎหมายของประเทศดังกล่าวกําหนดให้ต้องมีการจัดทํางบการเงิน รายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีต้องไม่แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในรายการบัญชีที่เป็นสาระสําคัญว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี หรือ International Financial Reporting Standards (IFRS) หรือ Financial Accounting Standards (FAS) หรือ United States Generally Accepted Accounting Principle (US GAAP) หรือมาตรฐานการบัญชีอื่นที่สํานักงานยอมรับ
(ค) แสดงความเห็นว่าถูกจํากัดขอบเขตการตรวจสอบโดยการกระทําหรือไม่กระทําของผู้ขออนุญาต กรรมการ หรือผู้บริหาร
(2) ไม่อยู่ระหว่างค้างการนําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทหรือรายงานที่มีหน้าที่ต้องจัดทําและจัดส่งต่อสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามมาตรา 56 หรือมาตรา 57 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56 หรือมาตรา 57 แล้วแต่กรณี หรือไม่อยู่ระหว่างปรับปรุงแก้ไขงบการเงินหรือรายงานที่มีหน้าที่ต้องจัดทําและจัดส่งตามมาตรา 56 หรือมาตรา 57 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56 หรือมาตรา 57 ตามที่สํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแจ้งให้ดําเนินการปรับปรุงแก้ไขนั้น หรือไม่อยู่ระหว่างการมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามมาตรา 58 หรือมาตรา 199
(3) ไม่เคยเสนอขายหลักทรัพย์โดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตอย่างมีนัยสําคัญ ทั้งนี้ ตามที่กําหนดไว้ในประกาศที่เกี่ยวข้องที่ใช้บังคับตามแต่กรณี
(4) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นกิจการตามกฎหมายต่างประเทศจะต้องมีบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนในประเทศไทย เพื่อทําหน้าที่ประสานงานและติดต่อกับบุคคลต่าง ๆ รวมทั้งรับหนังสือ คําสั่ง หมายเรียก หรือเอกสารใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการตามกฎหมายต่างประเทศได้ และแสดงได้ว่าบุคคลดังกล่าวจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้
ข้อ ๑๓ ผู้ขออนุญาตที่เป็นกิจการตามกฎหมายไทย จะได้รับอนุญาตในเบื้องต้นว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติที่สามารถเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ได้ นอกจากต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 12 แล้ว ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ด้วย
(1) มีกรรมการและผู้บริหารที่มีรายชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การแสดงชื่อบุคคลในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศตามข้อ 2(1) การพิจารณาตามวรรคหนึ่งให้พิจารณาเฉพาะกรรมการหรือผู้บริหารที่ดํารงตําแหน่งในสาขาในประเทศไทย
(2) มีผู้มีอํานาจควบคุมที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะที่ขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท โดยอนุโลม
ข้อ ๑๔ นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศตามข้อ 2(2)(ค) จะได้รับอนุญาตในเบื้องต้นว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติที่สามารถเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ได้ นอกจากต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12 แล้ว ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ด้วย
(1) หน่วยงานกํากับดูแลหลักสามารถให้ความร่วมมือหรือช่วยเหลือแก่สํานักงาน ในการตรวจสอบการกระทําฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของไทยได้ โดยหน่วยงานกํากับดูแลนั้นเข้าลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(ก) เป็นสมาชิกของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) โดยเป็นพหุภาคีประเภท Signatory A ใน Multilateral Memorandum of Understanding Concerning Consultation and Cooperation and the Exchange of Information (MMOU) หรือ
(ข) มีบันทึกความเข้าใจในการให้ความช่วยเหลือกับสํานักงานในระดับไม่น้อยกว่าความช่วยเหลือที่กําหนดตาม MMOU ตาม (ก) และหน่วยงานกํากับดูแลดังกล่าวมีอํานาจตามกฎหมายที่จะสามารถให้ความช่วยเหลือแก่สํานักงานได้ตามบันทึกความเข้าใจนั้น
(2) แสดงได้ว่าการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ที่ขออนุญาตนั้นกระทําได้โดยชอบตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศนั้น
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ขออนุญาตมีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 12(3) หรือข้อ 13(2) ในการแจ้งผลการขาดลักษณะดังกล่าวของผู้ขออนุญาต ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการพิจารณาคําขอในคราวต่อไป โดยคํานึงถึงการฝ่าฝืนหรือการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์เป็นรายกรณี ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการกําหนดระยะเวลา ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาดังกล่าวต่อผู้ขออนุญาต
เมื่อพ้นระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดตามวรรคหนึ่ง หรือเมื่อผู้ขออนุญาตได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่สํานักงานกําหนดแล้ว มิให้สํานักงานนําข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุแห่งการสั่งการตามวรรคหนึ่งมาประกอบการพิจารณาคําขอในครั้งใหม่อีก
ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่าเหตุที่ทําให้ผู้ขออนุญาตมีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 12(3) หรือ
ข้อ 13(2) เป็นเรื่องไม่ร้ายแรง หรือได้มีการแก้ไขหรือกําหนดมาตรการป้องกันแล้ว สํานักงานอาจไม่นําข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขาดลักษณะดังกล่าวมาใช้ประกอบการพิจารณาก็ได้
ข้อ ๑๖ ในระหว่างระยะเวลาที่สํานักงานอนุญาตเบื้องต้นว่าผู้ขออนุญาตเป็นผู้มีคุณสมบัติที่สามารถเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ได้ตามหมวดนี้ หากปรากฏในภายหลังว่าผู้ขออนุญาตไม่สามารถดํารงลักษณะให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนนี้ ให้ผู้ขออนุญาตดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) แจ้งกรณีเช่นนั้นต่อสํานักงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงกรณีดังกล่าว และ
(2) แก้ไขให้มีลักษณะเป็นไปตามที่กําหนด ภายในหกเดือนหรือภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด
ในระหว่างที่ผู้ขออนุญาตยังไม่สามารถแก้ไขให้มีลักษณะเป็นไปตามที่กําหนดในส่วนนี้ผู้ขออนุญาตจะเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพิ่มเติมไม่ได้
ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้การอนุญาตเบื้องต้นเป็นอันสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ปรากฏเหตุดังกล่าว
(1) ผู้ขออนุญาตจงใจหรือเพิกเฉยไม่แจ้งต่อสํานักงานตามวรรคหนึ่ง (1) หรือ
(2) ผู้ขออนุญาตไม่สามารถแก้ไขให้มีลักษณะตามที่กําหนดภายในระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง (2)
ส่วน ๓ ลักษณะของหุ้นกู้
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๗ หุ้นกู้ที่เสนอขายจะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) มีคําเรียกชื่อเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงถึงหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง ทั้งนี้ คําเรียกชื่อหุ้นกู้ดังกล่าวต้องแสดงถึงปีที่ครบกําหนดไถ่ถอน และลักษณะพิเศษของหุ้นกู้ (ถ้ามี) ไว้โดยชัดเจน
(2) มีการกําหนดอัตราดอกเบี้ยไว้อย่างแน่นอน หรือเป็นอัตราที่ผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น
(3) มีมูลค่าไถ่ถอนรวมเท่ากับมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นกู้ ทั้งนี้ ไม่ว่าหุ้นกู้นั้นจะมีการไถ่ถอนครั้งเดียวหรือหลายครั้ง
(4) มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ เว้นแต่ในกรณีที่เป็นหุ้นกู้ระยะสั้นเพื่อประโยชน์ตามความในข้อนี้ “สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(1) ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(2) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน
(3) สถาบันการเงินต่างประเทศ
ข้อ ๑๘ ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้ด้อยสิทธิ สิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ดังกล่าวต้องด้อยกว่าสิทธิของเจ้าหนี้สามัญเฉพาะในเรื่องการรับชําระหนี้ตามหุ้นกู้นั้นเมื่อเกิดกรณีดังต่อไปนี้
(1) ผู้ออกหุ้นกู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ หรือถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลาย
(2) มีการชําระบัญชีเพื่อการเลิกกิจการ หรือ
(3) กรณีอื่นใดที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ข้อ ๑๙ ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกกิจการ (perpetual bond) ต้องมีการระบุให้ชัดเจนถึงสิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ดังกล่าวในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) ผู้ถือหุ้นกู้ไม่มีสิทธิเรียกให้ผู้ออกหุ้นกู้ไถ่ถอนหุ้นกู้ดังกล่าวก่อนมีการเลิกกิจการ
(2) ผู้ถือหุ้นกู้มีสิทธิเรียกให้ผู้ออกหุ้นกู้ไถ่ถอนหุ้นกู้ดังกล่าวก่อนมีการเลิกกิจการตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กําหนดไว้อย่างชัดเจน
ข้อ ๒๐ ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้มีประกัน ไม่ว่าการประกันของหุ้นกู้นั้นจะจัดให้มีพร้อมกับการเสนอขายหุ้นกู้หรือจัดเพิ่มเติมขึ้นในภายหลัง หลักประกันของหุ้นกู้ดังกล่าวต้องมีลักษณะดังนี้
(1) เป็นทรัพย์สินหรือการค้ําประกันที่มีการดําเนินการให้มีผลบังคับได้ตามกฎหมายโดยคํานึงถึงสภาพของหลักประกันแต่ละประเภท สามารถดํารงได้ตลอดอายุหุ้นกู้ และดูแลได้โดยผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ทั้งนี้ ทรัพย์สินที่เป็นหรือเกี่ยวข้องกับหลักประกันซึ่งเป็นทรัพย์สินอื่นใดที่มิใช่ตราสารทางการเงิน ทรัพย์สินดังกล่าวต้องอยู่ในประเทศไทย
(2) ในกรณีที่หลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสัญญาเช่าระยะยาว ผู้ออกหุ้นกู้ต้องจัดให้มีการประเมินค่าของหลักประกันดังกล่าวโดยผู้ประเมินราคาทรัพย์สินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ การประเมินราคาหรือการคํานวณมูลค่าของหลักประกันต้องคํานึงถึงสิทธิและภาระผูกพันใด ๆ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยบทกฎหมายหรือโดยสัญญาที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้นด้วย และต้องจัดทําขึ้นไม่เกินกว่าหนึ่งปีก่อนวันที่ออกหุ้นกู้นั้น เว้นแต่จะเป็นกรณีที่ราคาหรือมูลค่าของหลักประกันได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญในช่วงเวลาดังกล่าว ให้ผู้ออกหุ้นกู้จัดให้มีการประเมินค่าหลักประกันดังกล่าวใหม่
ส่วน ๔ หลักเกณฑ์การอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ในแต่ละครั้ง
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๑ ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ในแต่ละครั้ง ให้ผู้ขออนุญาตยื่นเอกสารหลักฐานตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
ให้ผู้ขออนุญาตยื่นคําขอความเห็นชอบบุคคลที่จะเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต่อสํานักงานมาพร้อมกับเอกสารหลักฐานที่ยื่นตามวรรคหนึ่งด้วย โดยบุคคลดังกล่าวจะต้องเป็นบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยคุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
ส่วน ๕ เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาต
ให้เสนอขายหุ้นกู้ในกรณีทั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๒ ข้อกําหนดสิทธิของหุ้นกู้ที่เสนอขายต้องมีความชัดเจนและไม่มีข้อกําหนดที่เป็นการเอาเปรียบคู่สัญญาอย่างไม่เป็นธรรม และมีการลงลายมือชื่อผู้มีอํานาจลงนามผูกพันผู้ออกหุ้นกู้และประทับตราของผู้ออกหุ้นกู้ (ถ้ามี) ทั้งนี้ รายการและสาระสําคัญของข้อกําหนดสิทธิให้เป็นไปตามมาตรา 42
ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(1) อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง
(2) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันหุ้นกู้ เฉพาะในกรณีที่เป็นการค้ําประกันที่มีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของหุ้นกู้ หรือ
(3) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ได้รับอนุญาต เฉพาะในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้น ที่มิใช่หุ้นกู้ด้อยสิทธิ
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้
(1) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานได้มีหนังสือแจ้งต่อสํานักงานว่าไม่สามารถทําการจัดอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้นั้นได้โดยมีเหตุอันสมควร และเหตุนั้นมิได้เกิดจากผู้ออกหุ้นกู้ สํานักงานอาจผ่อนผันให้การจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้นกระทําโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถืออื่นที่สํานักงานกําหนดได้
(2) กรณีที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน โดยมีเหตุจําเป็นและสมควร หรือเป็นกรณีที่พิจารณาได้ว่าไม่จําเป็นต้องมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
ข้อ ๒๔ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ ที่เป็นไปตามข้อ 23 อย่างต่อเนื่องจนกว่าสิทธิเรียกร้องตามหุ้นกู้นั้นจะระงับลง เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจผ่อนผันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ โดยกําหนดเงื่อนเวลาหรือเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงความจําเป็นของผู้ลงทุนในการมีข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้น
ข้อ ๒๕ ผู้ได้รับอนุญาตต้องยื่นคําขอให้สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยพิจารณารับหุ้นกู้ที่ออกและเสนอขายเป็นหุ้นกู้ขึ้นทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันออกหุ้นกู้ดังกล่าว
ข้อ ๒๖ ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้ที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้สัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มีความสอดคล้องกับข้อกําหนดสิทธิ โดยอย่างน้อยต้องมีรายการและสาระสําคัญดังต่อไปนี้
(1) ชื่อและที่อยู่ของคู่สัญญา
(2) วันที่สัญญามีผลใช้บังคับ
(3) อํานาจ หน้าที่ และความรับผิดของคู่สัญญา โดยมีข้อตกลงที่ระบุให้ผู้ได้รับอนุญาตและผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มีอํานาจ หน้าที่ และความรับผิดตามข้อกําหนดสิทธิทุกประการ
(4) อัตราและวิธีการจ่ายค่าตอบแทน หรือบําเหน็จในการปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ซึ่งต้องกําหนดไว้เป็นจํานวนที่แน่นอน รวมทั้งอัตราและวิธีการจ่ายคืนเงินทดรองซึ่งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ได้จ่ายไปเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(5) การสิ้นสุดของสัญญา
ข้อ ๒๗ ในกรณีการออกหุ้นกู้มีประกันโดยหลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการจดทะเบียนให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เป็นผู้รับทรัพย์สินนั้นเป็นประกันตามกฎหมายด้วย
ข้อ ๒๘ ในการเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ภายหลังการออกหุ้นกู้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตส่งเอกสารต่อสํานักงานตามข้อ 6
เมื่อผู้ได้รับอนุญาตได้ส่งเอกสารตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานครบถ้วนแล้ว ให้ผู้ได้รับอนุญาตเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ได้โดยถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว และให้ผู้ได้รับอนุญาตส่งสําเนาสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้นั้น
ข้อ ๒๙ การแก้ไขเพิ่มเติมสิทธิ หน้าที่ ความรับผิด หรือหลักประกันตามหุ้นกู้ภายหลัง
การออกหุ้นกู้นั้น จะกระทําได้ต่อเมื่อการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นมิได้ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดของภาคนี้และการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวได้ดําเนินการโดยชอบตามข้อกําหนดสิทธิ โดยผู้ได้รับอนุญาตต้องแจ้งการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวพร้อมทั้งส่งสําเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อสํานักงานและสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่การแก้ไขเพิ่มเติมนั้นมีผลใช้บังคับ
ในกรณีที่การดําเนินการตามวรรคหนึ่ง เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดสิทธิซึ่งได้กําหนดให้กระทําได้โดยการมีมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นกู้ หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นกู้ต้องระบุอย่างชัดเจนถึงสาเหตุแห่งการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดสิทธิ และผลกระทบที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นกับผู้ถือหุ้นกู้ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้ถือหุ้นกู้
หมวด ๒ หลักเกณฑ์การอนุญาตให้เสนอขาย
หุ้นกู้ในวงจํากัด
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ส่วน ๑ ลักษณะการเสนอขายในวงจํากัด
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓๐ การเสนอขายหุ้นกู้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ถือเป็นการเสนอขายในวงจํากัด
(1) เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่
(2) เสนอขายโดยได้รับผ่อนผันจากสํานักงาน โดยผู้ที่จะได้รับอนุญาตต้องแสดงได้ว่า
(ก) มีเหตุจําเป็นและสมควร
(ข) การเสนอขายดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในวงกว้าง และ
(ค) มีมาตรการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลงทุนอย่างเพียงพอแล้ว
ข้อ ๓๑ ในกรณีเป็นการขอผ่อนผันเพื่อเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามข้อ 30(2) ผู้ที่จะขอผ่อนผันต้องแสดงได้ถึงเหตุจําเป็นและสมควรของกรณีดังกล่าว การไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในวงกว้าง และการมีมาตรการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลงทุนอย่างเพียงพอ และสํานักงานอาจผ่อนผันมิให้นําหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในภาคนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มาใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าวก็ได้เท่าที่จําเป็น โดยคํานึงถึงความเหมาะสมและเพียงพอของมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุน
ส่วน ๒ กรณีที่ถือว่าได้รับอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓๒ กิจการตามข้อ 2 จะสามารถเสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัดได้ โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงาน เมื่อปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 33 ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศตามข้อ 2(2)(ค) นิติบุคคลดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 14 ด้วย
ข้อ ๓๓ การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในวงจํากัดจะกระทําได้เมื่อได้ดําเนินการจดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ที่จะเสนอขายกับสํานักงานตามความในวรรคสอง รวมทั้งยื่นเอกสารตามวรรคสามแล้ว และให้กิจการที่ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 3 ของหมวดนี้ ทั้งนี้ ให้กิจการดังกล่าวรายงานลักษณะของหุ้นกู้ที่จะเสนอขายต่อสํานักงานตามข้อ 6
การจดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้กับสํานักงานตามวรรคหนึ่งต้องมีข้อความซึ่งแสดงได้ว่าผู้ออกหุ้นกู้จะไม่รับจดทะเบียนการโอนหุ้นกู้ไม่ว่าทอดใด ๆ หากการโอนหุ้นกู้ดังกล่าวจะทําให้หุ้นกู้ที่เสนอขายในครั้งนั้นไม่สามารถคงลักษณะการเสนอขายในวงจํากัดตามข้อ 30 ได้แล้วแต่กรณี เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก ทั้งนี้ ให้ถือว่าสํานักงานรับจดข้อจํากัดการโอนดังกล่าวในวันที่สํานักงานได้รับการแสดงเจตนาจดข้อจํากัดการโอนที่มีข้อความดังกล่าวแล้ว
ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้มีประกันหรือหุ้นกู้ที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ให้กิจการเสนอร่างข้อกําหนดสิทธิและร่างสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มาพร้อมกับการจดข้อจํากัดการโอนด้วย
ส่วน ๓ เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาต
ให้เสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัด
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓๔ ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในแต่ละครั้ง ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ได้รับมติโดยชัดแจ้งจากคณะกรรมการบริษัทให้ออกหุ้นกู้ได้ เว้นแต่ผู้ได้รับอนุญาตเป็นบริษัทมหาชนจํากัดหรือบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ต้องได้รับมติให้ออกหุ้นกู้ที่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัดหรือกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับบริษัทต่างประเทศนั้น แล้วแต่กรณี
ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้กับกรณีที่บริษัทต้องออกหุ้นกู้ตามแผนฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแผนนั้นแล้ว หรือกรณีอื่นใดที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(2) ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตเป็นกิจการตามกฎหมายต่างประเทศจะต้องมีบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนในประเทศไทย เพื่อทําหน้าที่ประสานงานและติดต่อกับบุคคลต่าง ๆ รวมทั้งรับหนังสือ คําสั่ง หมายเรียก หรือเอกสารใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการตามกฎหมายต่างประเทศได้ และแสดงได้ว่าบุคคลดังกล่าวจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้
(3) จัดให้มีผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ทั้งนี้เฉพาะกรณีที่เป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนตามข้อ 30(1) ที่ไม่เข้าลักษณะของผู้ลงทุนตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุนในตราสารในต่างประเทศและอนุพันธ์
การจัดให้มีตัวแทนในประเทศไทยตามวรรคหนึ่ง (2) ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการดังกล่าวอย่างต่อเนื่องจนกว่าสิทธิเรียกร้องตามหุ้นกู้นั้นจะระงับลง
ข้อ ๓๕ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 30(1) ให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 36 ข้อ 37 และข้อ 38
ข้อ ๓๖ ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในแต่ละครั้ง ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(1) อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง
(2) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันหุ้นกู้ เฉพาะในกรณีที่เป็นการค้ําประกันที่มีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของหุ้นกู้ หรือ
(3) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ได้รับอนุญาต แต่ไม่รวมถึงกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิ
ให้นําข้อกําหนดเกี่ยวกับการผ่อนผันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามที่กําหนดในวรรคสองของข้อ 23 มาใช้บังคับกับกรณีตามวรรคหนึ่งด้วย
ข้อ ๓๗ เมื่อผู้ได้รับอนุญาตได้ออกหุ้นกู้แล้ว ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามหลักเกณฑ์ในข้อ 36 อย่างต่อเนื่องจนกว่าสิทธิเรียกร้องตามหุ้นกู้จะระงับลง เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจผ่อนผันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ โดยกําหนดเงื่อนเวลาหรือเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงความจําเป็นของผู้ลงทุนในการมีข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้น
ข้อ ๓๘ ผู้ได้รับอนุญาตต้องยื่นคําขอให้สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยพิจารณารับหุ้นกู้ที่ออกและเสนอขายเป็นหุ้นกู้ขึ้นทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันออกหุ้นกู้ดังกล่าว
ข้อ ๓๙ ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้มีประกันหรือเป็นหุ้นกู้ที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ที่มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เป็นบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยคุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(2) เป็นทรัสตีได้ตามกฎหมายต่างประเทศหรือเป็นสถาบันการเงินต่างประเทศ ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 14
(3) เป็นบุคคลอื่นใดที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นรายกรณี
ข้อ ๔๐ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้หุ้นกู้ที่จะออกและเสนอขายมีลักษณะดังนี้
(ก) เป็นหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ และต้องมีข้อความในใบหุ้นกู้ที่เสนอขายแต่ละครั้งแสดงว่าผู้ออกหุ้นกู้จะไม่รับจดทะเบียนการโอนหุ้นกู้ไม่ว่าในทอดใด ๆ หากการโอนนั้นจะขัดกับข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ตามที่ระบุไว้ ซึ่งต้องเป็นข้อจํากัดการโอนเดียวกับที่ได้จดทะเบียนไว้กับสํานักงาน
(ข) มีลักษณะเป็นไปตามข้อ 17 วรรคหนึ่ง (1) (2) และ(3)
(ค) เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 18 และข้อ 19 กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิหรือหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท (perpetual bond) แล้วแต่กรณี
(ง) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 30(1) ต้องจัดให้มีข้อกําหนดสิทธิที่มีรายการอย่างน้อยตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 42
(2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัดตามข้อ 30(2) ผู้ได้รับอนุญาตต้องไม่โฆษณาการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ และหากจะมีการแจกจ่ายเอกสารประกอบการเสนอขาย ผู้ได้รับอนุญาตต้องแจกจ่ายให้เฉพาะบุคคลที่มีลักษณะหรือมีจํานวนอยู่ในวงจํากัดตามที่กําหนดไว้ในข้อ 30(2) ตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
(3) จัดให้เอกสารประกอบการเสนอขาย (ถ้ามี) มีข้อความที่ระบุถึงข้อจํากัดการโอนตาม (1) (ก) และในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิ ให้ระบุการด้อยสิทธินั้นไว้ให้ชัดเจน
ข้อ ๔๑ ในกรณีที่มีบุคคลใดแสดงความประสงค์ต่อผู้ได้รับอนุญาตที่จะลงทะเบียนการโอนหุ้นกู้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตตรวจสอบความถูกต้องของการโอนหุ้นกู้ หากพบว่าเป็นการโอนที่ขัดต่อข้อจํากัดการโอนที่ได้จดทะเบียนไว้กับสํานักงาน ผู้ได้รับอนุญาตต้องไม่ลงทะเบียนการโอนหุ้นกู้ เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก
ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตจัดให้มีนายทะเบียนหุ้นกู้ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการให้นายทะเบียนหุ้นกู้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่งด้วย
หมวด ๓ อํานาจของสํานักงานเกี่ยวกับการอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔๒ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัย ดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ตามคําขออนุญาตได้
(1) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตมีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสารที่แท้จริง (substance) ของการเสนอขายหุ้นกู้นั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือประกาศนี้
(2) การเสนอขายอาจขัดต่อนโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐ
(3) การเสนอขายอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือต่อตลาดทุนไทยโดยรวม หรือ
(4) การเสนอขายอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุน หรืออาจทําให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง เพียงพอ ประกอบการตัดสินใจลงทุน
ข้อ ๔๓ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงเพิ่มเติมต่อสํานักงานภายหลังการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ ซึ่งหากข้อเท็จจริงดังกล่าวปรากฏต่อสํานักงานก่อนการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้นั้น อาจทําให้การพิจารณาของสํานักงานเปลี่ยนแปลงไป ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้
(1) สั่งให้ผู้ได้รับอนุญาต กรรมการ หรือผู้บริหารชี้แจง หรือเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กําหนด และให้ผู้ได้รับอนุญาตระงับการเสนอขายหุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตไว้ก่อน จนกว่าจะได้ชี้แจง หรือแก้ไขให้ถูกต้อง
(2) สั่งให้ผู้ได้รับอนุญาตหยุดการเสนอขายหุ้นกู้ในส่วนที่ยังมิได้เสนอขายหรือยังไม่มีผู้จองซื้อ และให้การอนุญาตเป็นอันสิ้นสุดลงโดยไม่มีผลกระทบต่อการเสนอขายหุ้นกู้ ในส่วนที่ได้เสนอขายหรือมีผู้จองซื้อแล้ว
ข้อ ๔๔ ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้พิจารณาคําขออนุญาต หรือไม่นําเงื่อนไขตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตได้ โดยคํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนและมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ขออนุญาตหรือผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยก็ได้
(1) ประโยชน์ที่จะได้จากการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันให้ ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนของผู้ขออนุญาตหรือผู้ได้รับอนุญาตในการปฏิบัติ และมีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว ไม่มีนัยสําคัญสําหรับการอนุญาตในกรณีนั้น
(2) ผู้ขออนุญาตหรือผู้ได้รับอนุญาตมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
(3) ผู้ขออนุญาตหรือผู้ได้รับอนุญาตมีมาตรการอื่นที่เพียงพอ และสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
อื่นๆ ๒ การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
หมวด ๑ วิธีการยื่น และค่าธรรมเนียม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔๕ ให้ผู้เสนอขายหุ้นกู้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามที่กําหนดไว้ในหมวด 2 ของภาคนี้ และร่างหนังสือชี้ชวนตามแบบที่กําหนดตามมาตรา 72 ต่อสํานักงาน พร้อมเอกสารหลักฐานตามที่กําหนดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงาน โดยวิธีการยื่นให้เป็นดังนี้
(1) แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ จํานวนสามชุด
(2) ข้อมูลในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามที่กําหนดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงานข้อมูลที่ผู้เสนอขายหุ้นกู้ยื่นต่อสํานักงานทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน
ข้อ ๔๖ ผู้เสนอขายหุ้นกู้มีหน้าที่ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ในวันที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล
หมวด ๒ แบบแสดงรายการข้อมูล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔๗ แบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นต่อสํานักงาน ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) ไม่มีข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือที่อาจทําให้สําคัญผิด และไม่ขาดข้อความที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ
(2) ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้พร้อมกันหรือในระยะเวลาใกล้เคียงกันในประเทศอื่นด้วย ต้องมีรายละเอียดข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่าที่เปิดเผยในประเทศอื่น
(3) มีข้อมูลตามที่กําหนดในมาตรา 69(1) ถึง (10) และข้อมูลตามมาตรา 70(1) ถึง (7) ทั้งนี้ ให้มีข้อมูลเพิ่มเติมตามที่กําหนดในข้อ 49 และข้อ 50 ด้วย
(4) ในกรณีผู้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เป็นสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศตามข้อ 2(1) หรือกิจการตามกฎหมายต่างประเทศตามข้อ 2(2) ให้ระบุไว้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับภาษาที่จะใช้ในการจัดทําหนังสือชี้ชวน งบการเงิน รายงานประจําปี แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี และการให้ข้อมูลอื่นหรือรายงานเกี่ยวกับกิจการที่บริษัทจัดทําเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน
ข้อ ๔๘ แบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นต่อสํานักงาน ให้เป็นไปตามแบบดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ในกรณีทั่วไปโดยผู้ออกหุ้นกู้ ให้ยื่นแบบ 69-Base ที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ โดยอนุโลม หรือแบบ 69-FD ที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ทุกครั้งก่อนการเสนอขาย เว้นแต่เป็นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลแบบเป็นโครงการ ให้เป็นไปตามแบบและหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(ก) ให้ยื่นแบบ 69-Base ที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ โดยอนุโลม หรือแบบ 69-FD ที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ในการเสนอขายครั้งแรกของโครงการ
(ข) ให้ยื่นแบบ 69-FX-Supplement ท้ายประกาศนี้ ซึ่งได้ยื่นต่อสํานักงานอย่างต่อเนื่องภายในระยะเวลาเดียวกับที่ผู้ออกหุ้นกู้ส่งงบการเงินหรือแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีตามระยะเวลาที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(ค) ให้ยื่นแบบ 69-Pricing ที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ โดยอนุโลม ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ในครั้งต่อไปของโครงการ
(2) กรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัดให้ใช้แบบ 69-S ที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้
(3) กรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ในกรณีทั่วไปโดยผู้ถือหุ้นกู้ ให้ใช้แบบ 69-Base ที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ โดยอนุโลม หรือแบบ 69-FD ที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย
การยื่นแบบ 69-Base หรือแบบ 69-FD ตามวรรคหนึ่ง ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําข้อมูลในแบบดังกล่าว
ข้อ ๔๙ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกโดยกิจการตามกฎหมายต่างประเทศ แบบแสดงรายการข้อมูลต้องมีข้อมูลเพิ่มเติมอย่างน้อยดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ข้อมูลเกี่ยวกับข้อจํากัดและความเสี่ยงในเรื่องดังต่อไปนี้
(ก) สิทธิและความคุ้มครองที่ผู้ลงทุนได้รับจากการลงทุนในหุ้นกู้ที่ออกโดยกิจการตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งไม่แตกต่างจากกรณีที่ผู้ลงทุนไปลงทุนในต่างประเทศเองโดยตรง ดังนั้น ผู้ลงทุนจึงต้องศึกษาและติดตามข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องของประเทศที่กิจการตามกฎหมายต่างประเทศนั้นจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวให้แสดงในหน้าปกของแบบแสดงรายการข้อมูลด้วยตัวอักษรที่เน้นและสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน
(ข) การดําเนินคดีทางกฎหมายกับกิจการตามกฎหมายต่างประเทศ เนื่องจากมิได้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ทั้งนี้ ให้ระบุถึงเขตอํานาจศาลในการฟ้องร้องบังคับคดีต่อกิจการตามกฎหมายต่างประเทศด้วย
(ค) ผลกระทบที่ผู้ถือหุ้นกู้ของกิจการตามกฎหมายต่างประเทศอาจได้รับ ในกรณีที่กฎหมายของประเทศที่เกี่ยวข้องกับกิจการตามกฎหมายต่างประเทศนั้นมีข้อจํากัดในการส่งเงินออกนอกประเทศ (ถ้ามี)
(ง) ข้อจํากัดหรือความเสี่ยงเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา วิธีการจองซื้อ การชําระราคา และการส่งมอบหลักทรัพย์ รวมทั้งวิธีการโอนหลักทรัพย์
(จ) ข้อจํากัดหรือความเสี่ยงอื่นใดที่อาจมีผลกระทบต่อการใช้สิทธิหรือการตัดสินใจของผู้ลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ
(2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกในนามของรัฐบาลต่างประเทศ แบบแสดงรายการข้อมูลต้องมีข้อมูลทางเศรษฐกิจการเงินและการคลังของประเทศห้าปีล่าสุดก่อนวันยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลนั้น โดยอย่างน้อยต้องแสดงถึงรายได้ประชาชาติ ดุลการค้า ดุลบริการ ข้อมูลการนําเข้าและส่งออก เงินทุนสํารองระหว่างประเทศ ภาระหนี้สินในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งประมาณการการชําระหนี้ต่างประเทศอย่างน้อยห้าปีโดยเริ่มในปีที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวต่อสํานักงาน
(3) ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อและสถานที่ติดต่อของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งจากกิจการตามกฎหมายต่างประเทศให้เป็นตัวแทนของกิจการตามกฎหมายต่างประเทศในประเทศไทย โดยระบุอํานาจหน้าที่ของตัวแทนดังกล่าวอย่างชัดเจน
ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกโดยกิจการตามกฎหมายไทย แบบแสดงรายการข้อมูลต้องมีข้อมูลเพิ่มเติมอย่างน้อยตามวรรคหนึ่ง (1)(ง) และ (จ) ด้วย
ข้อ ๕๐ งบการเงินของผู้เสนอขายหุ้นกู้ที่เปิดเผยในแบบแสดงรายการข้อมูล ต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี ดังต่อไปนี้
(1) มาตรฐานการบัญชีไทย
(2) International Financial Reporting Standards (IFRS)
(3) Financial Accounting Standards (FAS)
(4) United States Generally Accepted Accounting Principle (US GAAP)
(5) มาตรฐานการบัญชีที่หน่วยงานกํากับดูแลหลัก หรือกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องของประเทศที่กิจการตามกฎหมายต่างประเทศนั้นจัดตั้งขึ้น ยอมรับหรือกําหนด ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้เสนอขายหุ้นกู้ได้จัดทําและเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินโดยแสดงผลกระทบของรายการที่แตกต่างจาก IFRS (Reconciled IFRS) ไว้ด้วย หรือ
(6) มาตรฐานการบัญชีอื่นที่สํานักงานยอมรับ
ข้อ ๕๑ ก่อนสิ้นสุดการเสนอขายหุ้นกู้ หากผู้เสนอขายหุ้นกู้ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญที่มิได้แสดงอยู่ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนให้แก่บุคคลใดเป็นการเฉพาะราย เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ความเหมาะสมของการลงทุน หรือการตัดสินใจลงทุนในหุ้นกู้ที่เสนอขาย ผู้เสนอขายหุ้นกู้ต้องดําเนินการให้มีการเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวเพิ่มเติมในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนโดยพลัน
ในกรณีที่แบบแสดงรายการข้อมูลยังไม่มีผลใช้บังคับ ต้องเปิดเผยข้อมูลตามวรรคหนึ่งก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับ หรือในกรณีที่แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับแล้ว ต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวภายในวันทําการถัดจากวันที่ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงต่อบุคคลนั้น
หมวด ๓ อํานาจของสํานักงานเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๕๒ ให้สํานักงานมีอํานาจผ่อนผันการเปิดเผยรายละเอียดของข้อมูลตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนดโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 69(11) หรือมาตรา 70(9) ได้ หากผู้เสนอขายหุ้นกู้นั้นแสดงได้ว่ามีเหตุอันควรที่จะไม่แสดงรายละเอียดของข้อมูลดังกล่าวไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูล ทั้งนี้ รายละเอียดของข้อมูลนั้นต้องไม่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ
ข้อ ๕๓ ในการพิจารณาข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน หากสํานักงานเห็นว่ามีเหตุจําเป็นและสมควรเพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลที่มีนัยสําคัญเพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดให้ผู้เสนอขายหุ้นกู้ดําเนินการดังต่อไปนี้ ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด
(1) เปิดเผยข้อมูลที่อาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุนเพิ่มเติม
(2) ชี้แจง หรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูล หรือส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม
(3) จัดให้มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เป็นอิสระจัดทําความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้องครบถ้วน หรือความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ปรากฏในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
หากผู้เสนอขายหุ้นกู้ไม่ดําเนินการตามที่สํานักงานกําหนดตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้เสนอขายหุ้นกู้ไม่ประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานอีกต่อไป
ในการกําหนดให้ผู้เสนอขายหุ้นกู้ดําเนินการตามวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจกําหนดให้ผู้เสนอขายหุ้นกู้เปิดเผยการสั่งการ การดําเนินการ ข้อสังเกตของสํานักงาน หรือคําชี้แจงของผู้เสนอขายหุ้นกู้ผ่านทางเว็บไซต์ของสํานักงานตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดด้วยก็ได้
หมวด ๔ การรับรองข้อมูล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๕๔ แบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นต่อสํานักงาน ต้องมีการลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล อย่างน้อยโดยบุคคลดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่เป็นการยื่นแบบ 69-Base หรือแบบ 69-FD โดยผู้ออกหุ้นกู้ ให้กรรมการทุกคนและผู้ที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดในสายงานบัญชีของผู้ออกหุ้นกู้ เป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรอง เว้นแต่ผู้ออกหุ้นกู้เป็นสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศหรือกิจการตามกฎหมายต่างประเทศ ให้ผู้มีอํานาจลงลายมือชื่อผูกพันกิจการดังกล่าว แล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรอง ทั้งนี้ ไม่ว่ากรณีใดให้ประทับตรากิจการ (ถ้ามี)
(2) ในกรณีที่เป็นการยื่นแบบ 69-FX-Supplement แบบ 69-Pricing หรือแบบ 69-S โดยผู้ออกหุ้นกู้ ให้กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันหรือกรรมการผู้ที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดของผู้ออกหุ้นกู้ เป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรอง เว้นแต่ผู้ออกหุ้นกู้เป็นสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศหรือกิจการตามกฎหมายต่างประเทศ ให้ผู้มีอํานาจลงลายมือชื่อผูกพันกิจการดังกล่าว แล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรอง ทั้งนี้ ไม่ว่ากรณีใดให้ประทับตรากิจการ (ถ้ามี)
(3) การเสนอขายหุ้นกู้โดยผู้ถือหุ้นกู้ ต้องลงลายมือชื่อโดยผู้ถือหุ้นกู้ที่เป็นผู้เสนอขายหุ้นกู้นั้น และในกรณีที่ผู้ถือหุ้นกู้เป็นนิติบุคคล ให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลลงลายมือชื่อ พร้อมประทับตรากิจการ (ถ้ามี)
ในกรณีที่การเสนอขายหุ้นกู้ตามวรรคหนึ่งมีที่ปรึกษาทางการเงิน ให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันที่ปรึกษาทางการเงินลงลายมือชื่อ พร้อมประทับตรากิจการด้วย (ถ้ามี)
ข้อ ๕๕ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรทําให้บุคคลที่ต้องลงนามเพื่อนิติบุคคลตามที่กําหนดในข้อ 54 ไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ ให้นิติบุคคลดังกล่าวปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(1) หากเหตุที่ทําให้บุคคลดังกล่าวคนใดไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ เกิดจากการที่บุคคลดังกล่าวอยู่ในภาวะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เนื่องจากเจ็บป่วยทางร่างกายหรือทางจิต ผู้เสนอขายหุ้นกู้ไม่จําต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อในแบบแสดงรายการข้อมูล
(2) หากเหตุที่ทําให้บุคคลดังกล่าวคนใดไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ เกิดจากกรณีอื่นนอกจากที่ระบุใน (1) เมื่อเหตุดังกล่าวหมดสิ้นไป ให้ผู้เสนอขายหุ้นกู้จัดให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อทันที เพื่อให้แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับได้ตามข้อ 56
หมวด ๕ วันมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๕๖ ภายใต้บังคับมาตรา 75 ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน มีผลใช้บังคับเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ซึ่งต้องได้รับอนุญาตตามมาตรา 33 ผู้เสนอขายหุ้นกู้ต้องได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่นั้นแล้ว
(2) ผู้เสนอขายหุ้นกู้ได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
(3) ในกรณีที่เป็นการยื่นแบบ 69-Base หรือแบบ 69-FD ผู้เสนอขายหุ้นกู้ได้แก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและได้เปิดเผยข้อมูลตามข้อ 53 วรรคสาม (ถ้ามี) แล้ว
(4) เมื่อถึงหรือพ้นกําหนดระยะเวลาดังต่อไปนี้
(ก) ในวันถัดจากวันที่ยื่นแบบ 69-Pricing หรือแบบ 69-S ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมครั้งหลังสุด
(ข) เมื่อพ้นสิบสี่วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบ 69-Base หรือแบบ 69-FD และร่างหนังสือชี้ชวนที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมครั้งหลังสุด (ไม่รวมข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นกู้หรือข้อมูลอื่นที่มิใช่ข้อมูลสําคัญซึ่งสํานักงานผ่อนผันให้แก้ไขเพิ่มเติมได้)
เพื่อประโยชน์ตามความในข้อนี้ “ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นกู้” หมายความว่า ข้อมูลดังต่อไปนี้
(1) จํานวนและราคาหุ้นกู้ที่เสนอขาย
(2) ระยะเวลาของการเสนอขาย
(3) ลักษณะหุ้นกู้ที่เสนอขาย
(4) รายละเอียดเกี่ยวกับการจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรร
(5) ข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหุ้นกู้ หรือที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน หรือเกี่ยวกับข้อมูลตาม (1) (2) (3) (4) และ (5)
อื่นๆ ๓ วันมีผลใช้บังคับของประกาศ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๕๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อเป็นการเพิ่มบทบาทตลาดทุนไทยโดยเปิดให้กิจการไม่ว่าจะจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ สามารถออกและเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศต่อผู้ลงทุนในประเทศไทยได้ อีกทั้งเพื่อเป็นการเพิ่มความหลากหลายของสินค้าในตลาดทุนอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตลาดทุนไทยให้พร้อมรับกับกระแสการแข่งขันตลาดทุนโลก จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 510 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทด. 37/2554 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทด. 37/2554
เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย
(ฉบับที่ 2 )
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69 และมาตรา 70(9) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 48/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553
“ข้อ 48/1 ให้ผู้เสนอขายหุ้นกู้จัดให้มีข้อมูลหัวข้อ “สรุปข้อมูลสําคัญของตราสาร (fact sheet)” โดยให้เปิดเผยไว้ก่อนหน้าสารบัญในแบบ 69-Base หรือแบบ 69-FD หรือก่อนหน้าหัวข้อ “ส่วนที่ 1 รายการข้อมูล” ในแบบ 69-Pricing แล้วแต่กรณี
สรุปข้อมูลสําคัญของตราสารตามวรรคหนึ่ง อย่างน้อยต้องแสดงถึงสาระสําคัญของตราสาร รวมทั้งลักษณะพิเศษและความเสี่ยงที่สําคัญของตราสาร โดยสํานักงานอาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําสรุปข้อมูลสําคัญของตราสารดังกล่าวด้วยก็ได้”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
###### ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 511 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 18/2555 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 18/2555
เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย
(ฉบับที่ 3)\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) กิจการตามกฎหมายไทย ได้แก่
(ก) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
(ข) สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่สามารถประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ได้
ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(ค) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งเป็นสถาบันการเงิน”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (9) ของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553
“(9) “สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(ก) ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(ข) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (1) ในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ข) แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในรายการบัญชีที่เป็นสาระสําคัญว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่ใช้บังคับกับบริษัทมหาชนจํากัด เว้นแต่
1. ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นสถาบันการเงินที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และแสดงความประสงค์ว่าจะเสนอขายเฉพาะหุ้นกู้ระยะสั้นเท่านั้น รายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีต้องไม่แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในรายการบัญชีที่เป็นสาระสําคัญว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่หน่วยงานทางการซึ่งเป็นผู้กํากับดูแลการประกอบธุรกิจโดยตรงยอมรับ
2. ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นกิจการตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งกฎหมายของประเทศดังกล่าวกําหนดให้ต้องมีการจัดทํางบการเงิน หรือสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศตามข้อ 2(1) (ข) รายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีต้องไม่แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในรายการบัญชีที่เป็นสาระสําคัญว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี หรือ International Financial Reporting Standards (IFRS) หรือ Financial Accounting Standards (FAS) หรือ United States Generally Accepted Accounting Principle (US GAAP) หรือมาตรฐานการบัญชีอื่นที่สํานักงานยอมรับ”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 17 หุ้นกู้ที่เสนอขายจะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) มีคําเรียกชื่อเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงถึงหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง ทั้งนี้ คําเรียกชื่อหุ้นกู้ดังกล่าวต้องแสดงถึงปีที่ครบกําหนดไถ่ถอน และลักษณะพิเศษของหุ้นกู้ (ถ้ามี) ไว้โดยชัดเจน
(2) มีการกําหนดอัตราดอกเบี้ยไว้อย่างแน่นอนหรือเป็นอัตราที่ผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน หรืออัตราดอกเบี้ยอื่น
(3) ไม่มีลักษณะเป็นหุ้นกู้อนุพันธ์และไม่มีข้อกําหนดใด ๆ ที่ทําให้ผู้ถือหุ้นกู้มีภาระหนี้หรือภาระผูกพันเพิ่มเติมจากการเป็นผู้ถือหุ้นกู้ตามปกติ
(4) มีมูลค่าไถ่ถอนรวมเท่ากับมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นกู้ ทั้งนี้ ไม่ว่าหุ้นกู้นั้นจะมีการไถ่ถอนครั้งเดียวหรือหลายครั้ง
(5) มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ เว้นแต่ในกรณีที่เป็นหุ้นกู้ระยะสั้น”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 25 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 25 ผู้ได้รับอนุญาตต้องยื่นคําขอให้สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยพิจารณารับหุ้นกู้ที่ออกและเสนอขายเป็นตราสารหนี้ขึ้นทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันออกหุ้นกู้ดังกล่าว เว้นแต่เป็นการออกและเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้น”
ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 38 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 38 ผู้ได้รับอนุญาตต้องยื่นคําขอให้สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยพิจารณารับหุ้นกู้ที่ออกและเสนอขายเป็นตราสารหนี้ขึ้นทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันออกหุ้นกู้ดังกล่าว เว้นแต่เป็นการออกและเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้น”
ข้อ 7 ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (1) ในข้อ 40 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ข) มีลักษณะเป็นไปตามข้อ 17(1) (2) (3) และ (4)”
ข้อ 8 ให้ยกเลิกความในข้อ 54 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 54 แบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นต่อสํานักงาน ต้องมีการลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล อย่างน้อยโดยบุคคลดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่เป็นการยื่นแบบ 69-Base หรือแบบ 69-FD โดยผู้ออกหุ้นกู้ ให้กรรมการทุกคนและผู้ที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดในสายงานบัญชีของผู้ออกหุ้นกู้ เป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรอง พร้อมประทับตรากิจการ (ถ้ามี)
(2) ในกรณีที่เป็นการยื่นแบบ 69-FX-Supplement แบบ 69-Pricing หรือแบบ 69-S โดยผู้ออกหุ้นกู้ ให้กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันหรือกรรมการที่มีตําแหน่งบริหารสูงสุดที่ได้รับมอบอํานาจจากกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันของผู้ออกหุ้นกู้ เป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรอง พร้อมประทับตรากิจการ (ถ้ามี)
(3) การเสนอขายหุ้นกู้โดยผู้ถือหุ้นกู้ ต้องลงลายมือชื่อโดยผู้ถือหุ้นกู้ที่เป็นผู้เสนอขายหุ้นกู้นั้น และในกรณีที่ผู้ถือหุ้นกู้เป็นนิติบุคคล ให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลลงลายมือชื่อ พร้อมประทับตรากิจการ (ถ้ามี)
ในกรณีที่เป็นการยื่นแบบตามวรรคหนึ่ง (1) หรือ (2) โดยผู้ออกหุ้นกู้ซึ่งเป็นสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ กิจการตามกฎหมายต่างประเทศ หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งเป็นสถาบันการเงิน ให้ผู้มีอํานาจลงลายมือชื่อผูกพันกิจการดังกล่าว แล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรอง พร้อมประทับตรากิจการ (ถ้ามี)
ในกรณีที่การเสนอขายหุ้นกู้ตามวรรคหนึ่งมีที่ปรึกษาทางการเงิน ให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันที่ปรึกษาทางการเงินลงลายมือชื่อ พร้อมประทับตรากิจการด้วย (ถ้ามี)”
ข้อ 9 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 512 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2555 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 4) | - ร่าง -
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 34 /2555
เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย
(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 42 ข้อ 43 และข้อ 44 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 42 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ตามคําขออนุญาตได้
(1) ผู้ขออนุญาตหรือการเสนอขายหุ้นกู้มีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการเสนอขายหุ้นกู้นั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือประกาศนี้
(2) การเสนอขายหุ้นกู้อาจขัดต่อนโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐ
(3) การเสนอขายหุ้นกู้อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือต่อตลาดทุนไทยโดยรวม
(4) การเสนอขายหุ้นกู้อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุนโดยรวม หรืออาจทําให้ผู้ลงทุนโดยรวมไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องหรือเพียงพอประกอบการตัดสินใจลงทุน
ข้อ 43 ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานภายหลังการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ว่า ข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่สํานักงานนํามาพิจารณาเพื่ออนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นปรากฏต่อสํานักงานก่อนการอนุญาต สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้นั้น ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้
(1) สั่งให้ผู้ได้รับอนุญาต กรรมการ หรือผู้บริหารของผู้ได้รับอนุญาต ชี้แจงหรือเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กําหนด และระงับการอนุญาตให้ออกหุ้นกู้หรือให้ผู้ได้รับอนุญาตระงับการเสนอขายหุ้นกู้ไว้ก่อนจนกว่าจะได้ชี้แจงหรือแก้ไขให้ถูกต้อง และหากผู้ได้รับอนุญาต กรรมการ หรือผู้บริหารของผู้ได้รับอนุญาต ไม่สามารถชี้แจงหรือดําเนินการแก้ไขให้ถูกต้องได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด สํานักงานอาจสั่งเพิกถอนการอนุญาตตาม (2) ได้
(2) สั่งเพิกถอนการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ในส่วนที่ยังมิได้เสนอขายหรือยังไม่มีผู้จองซื้อ
ในการสั่งการตามวรรคหนึ่งให้สํานักงานคํานึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้ประกอบการพิจารณา
(1) ความร้ายแรงของข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
(2) ผลกระทบต่อผู้ลงทุนที่จองซื้อหุ้นกู้นั้น
ข้อ 44 ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้พิจารณาคําขออนุญาต หรือไม่นําเงื่อนไขตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตได้
(1) มีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันให้ไม่มีนัยสําคัญสําหรับการพิจารณาอนุญาตในกรณีนั้น และประโยชน์ที่จะได้ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนในการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว
(2) ผู้ขออนุญาตมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
(3) ผู้ขออนุญาตมีมาตรการอื่นที่เพียงพอ และสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
การผ่อนผันตามวรรคหนึ่งให้คํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนและมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติด้วยก็ได้”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 513 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 11/2556 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 5) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 11 /2556
เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย
(ฉบับที่ 5 )
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 มาตรา 67 มาตรา 69 และมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของ (1) ในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) คําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” “ผู้ลงทุนรายใหญ่” “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ” “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” และ “แบบแสดงรายการข้อมูล” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 29/1 ในส่วนที่ 5 เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ในกรณีทั่วไป ของหมวด 1 การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ในกรณีทั่วไป ในภาค 1 หลักเกณฑ์การอนุญาต แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553
“ข้อ 29/1 เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางในการควบคุมการใช้เงินตราต่างประเทศสําหรับผู้ลงทุนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยยังมิได้อนุมัติให้ลงทุนในเงินตราต่างประเทศได้โดยตรงหรือผู้ลงทุนในหุ้นกู้ไม่ได้เป็นผู้ลงทุนตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุนในตราสารในต่างประเทศและอนุพันธ์ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้การเสนอขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนดังกล่าวกระทําโดยบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์หรือการค้าหลักทรัพย์”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (3) ของวรรคหนึ่งในข้อ 34 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางในการควบคุมการใช้เงินตราต่างประเทศ สําหรับผู้ลงทุนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยยังมิได้อนุมัติให้ลงทุนในเงินตราต่างประเทศได้โดยตรง หรือผู้ลงทุนในหุ้นกู้ไม่ได้เป็นผู้ลงทุนตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุนในตราสารในต่างประเทศและอนุพันธ์ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้การเสนอขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนตามข้อ 30(1) กระทําโดยบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์หรือการค้าหลักทรัพย์ เว้นแต่ผู้ได้รับอนุญาตมีสถานะเป็นบริษัทหลักทรัพย์ตามประเภทที่กําหนดอยู่แล้ว”
ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) และ (5) ของวรรคหนึ่งในข้อ 34 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553
“(4) เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้ลงทุนในการทําความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะ ความเสี่ยง และผลตอบแทน ของหุ้นกู้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 30(1) ดําเนินการดังต่อไปนี้
(ก) จัดให้การชักชวน แนะนํา หรือขายหุ้นกู้กระทําโดยบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารหนี้และบริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวต้องไม่เป็นบริษัทใหญ่หรือบริษัทย่อยของผู้ได้รับอนุญาต สําหรับกรณีการเสนอขายหุ้นกู้เพื่อประโยชน์ในการนับเป็นเงินกองทุนตามข้อกําหนดของธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่ออกในปี 2555
(ข) การเสนอขายหุ้นกู้กรณีอื่นนอกจาก (ก) ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้การชักชวน แนะนํา หรือขายหุ้นกู้กระทําโดยบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์หรือการค้าหลักทรัพย์ เว้นแต่เป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้
1. กรณีผู้ได้รับอนุญาตมีสถานะเป็นบริษัทหลักทรัพย์ตามประเภทดังกล่าวอยู่แล้ว โดยผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจนั้นที่กําหนดสําหรับการชักชวน แนะนํา หรือขายหุ้นกู้ด้วย
2. กรณีการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีลักษณะดังนี้ต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
2.1 มีการกําหนดชําระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยที่แน่นอน ตามระยะเวลาหรืออัตราที่กําหนดไว้ล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นอัตราคงที่หรืออัตราผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น และ
2.2 ไม่มีเงื่อนไขที่จะกระทบสิทธิของผู้ถือตราสารในการได้รับชําระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยตาม 2.1 เช่น การด้อยสิทธิ การแปลงสภาพ การบังคับไถ่ถอนคืนก่อนกําหนด การขยายระยะเวลาการชําระหนี้ หรือการปลดหนี้ เป็นต้น เว้นแต่เป็นเงื่อนไขการผิดนัดตามที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดสิทธิ
(5) จัดให้มีการแจกสรุปข้อมูลสําคัญของตราสาร (fact sheet) ให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 30(1)”
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 35 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 35 ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 30(1) ให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 36 ข้อ 37 และข้อ 38 เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีลักษณะดังนี้ ผู้ได้รับอนุญาตอาจไม่ปฏิบัติตามข้อ 36 และข้อ 37 ได้
(1) มีการกําหนดชําระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยที่แน่นอน ตามระยะเวลาหรืออัตราที่กําหนดไว้ล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นอัตราคงที่หรืออัตราผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น และ
(2) ไม่มีเงื่อนไขที่จะกระทบสิทธิของผู้ถือตราสารในการได้รับชําระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยตาม (1) เช่น การด้อยสิทธิ การแปลงสภาพ การบังคับไถ่ถอนคืนก่อนกําหนด การขยายระยะเวลาการชําระหนี้ หรือการปลดหนี้ เป็นต้น เว้นแต่เป็นเงื่อนไขการผิดนัดตามที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดสิทธิ”
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ 45 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 45 ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ ให้ผู้เสนอขายหุ้นกู้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามที่กําหนดไว้ในหมวด 2 ของภาคนี้ และร่างหนังสือชี้ชวนตามแบบที่กําหนดตามมาตรา 72
ต่อสํานักงาน โดยให้ดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนพร้อมเอกสารหลักฐานตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์จํานวนหนึ่งชุด รวมทั้งสําเนาแบบแสดงรายการข้อมูลจํานวนหนึ่งชุด
(2) ส่งข้อมูลในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อมูลที่ยื่นต่อสํานักงานตามวรรคหนึ่งทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน”
ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในข้อ 48 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 48 ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ในกรณีทั่วไปที่ได้รับอนุญาตตามหมวด 1 ของภาค 1 ให้ผู้เสนอขายหุ้นกู้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายการตามข้อ 48/1 ต่อสํานักงาน โดยมีรายละเอียดตามแบบ 69-DEBT-PO ที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดง
รายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ โดยอนุโลม หรือตามแบบ 69-FD ที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ทั้งนี้ ผู้เสนอขายหุ้นกู้ต้องจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวด้วย
ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัดที่ได้รับอนุญาตตามหมวด 2 ของภาค 1 ให้ผู้เสนอขายหุ้นกู้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายการตามข้อ 48/1 ต่อสํานักงาน โดยมีรายละเอียดตามแบบ 69-DEBT-II&HNW ที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ โดยอนุโลม”
ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความในข้อ 48/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 37/2554 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 48/1 ให้ผู้เสนอขายหุ้นกู้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายการครบถ้วนเป็นปัจจุบันต่อสํานักงานซึ่งมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ โดยรายละเอียดของรายการตาม (1) ถึง (3) ให้เป็นไปตามแบบที่กําหนดในข้อ 48
(1) สรุปข้อมูลสําคัญของตราสาร (fact sheet)
(2) ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(3) ข้อมูลเกี่ยวกับการจอง การจําหน่าย และการจัดสรร
(4) ข้อมูลอื่นใดที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน
สรุปข้อมูลสําคัญของตราสารตามวรรคหนึ่ง (1) อย่างน้อยต้องแสดงถึงสาระสําคัญของตราสาร รวมทั้งลักษณะพิเศษและความเสี่ยงที่สําคัญของตราสาร โดยสํานักงานอาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําสรุปข้อมูลสําคัญของตราสารด้วยก็ได้”
ข้อ ๙ ให้ยกเลิกความในข้อ 52 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 52 ให้สํานักงานมีอํานาจผ่อนผันการเปิดเผยรายละเอียดของข้อมูลที่กําหนดเพิ่มเติมตามประกาศนี้ หากผู้เสนอขายหุ้นกู้แสดงได้ว่าข้อมูลดังกล่าวมิใช่ข้อมูลที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ และมีเหตุอันควรที่จะไม่แสดงรายละเอียดของข้อมูลดังกล่าวไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลหรือได้ดําเนินการประการอื่นเพื่อทดแทนอย่างเพียงพอแล้ว”
ข้อ ๑๐ ให้ยกเลิกความในข้อ 54 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 18/2555 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 54 การลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การเสนอขายหุ้นกู้ไม่ว่ากรณีใดโดยผู้ออกหุ้นกู้ซึ่งเป็นสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ กิจการตามกฎหมายต่างประเทศ หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งเป็นสถาบันการเงิน ให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันกิจการดังกล่าว แล้วแต่กรณี ลงลายมือชื่อ
(2) การเสนอขายหุ้นกู้ในกรณีทั่วไปโดยผู้ออกหุ้นกู้อื่นใดนอกจาก (1) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) กรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้มิใช่บริษัทจดทะเบียน ให้กรรมการทุกคน ผู้ที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุด และผู้ที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดในสายงานบัญชี ลงลายมือชื่อ
(ข) กรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้เป็นบริษัทจดทะเบียน ให้กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพัน หรือผู้ที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดที่ได้รับมอบอํานาจจากกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันลงลายมือชื่อ ทั้งนี้ ในกรณีที่กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันมิใช่ผู้ที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดหรือผู้ที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดในสายงานบัญชี การลงลายมือชื่อดังกล่าวต้องมีผู้ที่ดํารงตําแหน่งผู้บริหารสูงสุดหรือผู้ที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดในสายงานบัญชี ลงลายมือชื่อด้วย
(3) การเสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัดโดยผู้ออกหุ้นกู้อื่นใดนอกจาก (1) ให้กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันหรือผู้ที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดที่ได้รับมอบอํานาจจากกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพัน ลงลายมือชื่อ
(4) การเสนอขายหุ้นกู้โดยผู้ถือหุ้นกู้ ให้ผู้ถือหุ้นกู้ลงลายมือชื่อ ซึ่งในกรณีที่ผู้ถือหุ้นกู้เป็นนิติบุคคล ให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลลงลายมือชื่อ
ในกรณีที่การเสนอขายหุ้นกู้ตามวรรคหนึ่งได้จัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงิน ให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันที่ปรึกษาทางการเงินลงลายมือชื่อ เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง (2) “บริษัทจดทะเบียน” หมายความถึง บริษัทที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย”
ข้อ ๑๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 56 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 56 ภายใต้บังคับมาตรา 75 ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับเมื่อได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้แล้ว
(1) ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ผู้เสนอขายหุ้นกู้ต้องได้รับอนุญาตตามมาตรา 33
(2) ผู้เสนอขายหุ้นกู้ได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล
(3) เมื่อพ้นหนึ่งวันทําการ หรือสิบวันทําการ นับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งหลังสุด (ไม่รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นกู้หรือข้อมูลอื่นที่มิใช่ข้อมูลสําคัญซึ่งสํานักงานผ่อนผันให้แก้ไขเพิ่มเติมได้) ตามเงื่อนไขที่กําหนดในตารางท้ายประกาศ
(4) ผู้เสนอขายหุ้นกู้ได้แก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและได้เปิดเผยข้อมูลตามข้อ 53 วรรคสาม (ถ้ามี)
(5) ผู้เสนอขายหุ้นกู้ได้ระบุข้อมูลตามรายการครบถ้วน
เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง (3) “ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นกู้” หมายความถึง ข้อมูลดังต่อไปนี้
(1) จํานวนและราคาหุ้นกู้ที่เสนอขาย
(2) ระยะเวลาของการเสนอขาย
(3) อัตราผลประโยชน์ตอบแทน
(4) รายละเอียดเกี่ยวกับการจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรร
(5) ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (ถ้ามี)
(6) ข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหุ้นกู้ หรือที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน หรือเกี่ยวกับข้อมูลตาม (1) (2) (3) (4) และ (5)
ในกรณีที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งหลังสุดภายหลังเวลา 10.00 น. ของวันทําการใด ให้ถือว่าสํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนดังกล่าวในวันทําการถัดไป”
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายหุ้นกู้ ซึ่งได้ยื่นไว้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทด. 26/2553เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนดังกล่าวยังคงอยู่ภายใต้บังคับประกาศฉบับดังกล่าวต่อไป
ข้อ ๑๓ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงมีผลใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๑๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 514 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2557 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 6) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 19/2557
เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย
(ฉบับที่ 6)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) “หุ้นกู้” หมายความว่า หุ้นกู้ไม่ว่าชนิดใด ๆ แต่ไม่รวมถึง
(ก) หุ้นกู้อนุพันธ์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท
(ข) หุ้นกู้แปลงสภาพ
(ค) หุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
(ง) หุ้นกู้ที่ออกใหม่โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ โดยอ้างอิงจากหลักเกณฑ์ BASEL III”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (4) ของวรรคหนึ่งในข้อ 34 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 11/2556 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้ลงทุนในการทําความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะ ความเสี่ยง และผลตอบแทน ของหุ้นกู้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 30(1) จัดให้การชักชวน แนะนํา หรือขายหุ้นกู้กระทําโดยบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์หรือการค้าหลักทรัพย์ เว้นแต่เป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้
(ก) กรณีผู้ได้รับอนุญาตมีสถานะเป็นบริษัทหลักทรัพย์ตามประเภทดังกล่าวอยู่แล้ว โดยผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจนั้นที่กําหนดสําหรับการชักชวน แนะนํา หรือขายหุ้นกู้ด้วย
(ข) กรณีการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีลักษณะครบถ้วนดังนี้ต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
1. มีการกําหนดชําระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยที่แน่นอน ตามระยะเวลาหรืออัตราที่กําหนดไว้ล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นอัตราคงที่หรืออัตราผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น
2. ไม่มีเงื่อนไขที่จะกระทบสิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ในการได้รับชําระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยตาม 1. เช่น การด้อยสิทธิ การบังคับไถ่ถอนคืนก่อนกําหนด การขยายระยะเวลาการชําระหนี้ หรือการปลดหนี้ เป็นต้น เว้นแต่เป็นเงื่อนไขการผิดนัดตามที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดสิทธิ”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 515 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 31/2557 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 7) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 31/2557
เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย
(ฉบับที่ 7)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 18/2555 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 12 ผู้ขออนุญาตจะได้รับอนุญาตในเบื้องต้นว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติที่สามารถเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ได้ จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) รายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชี ที่ออกตามงบการเงินของผู้ขออนุญาตและงบการเงินรวมประจํางวดการบัญชีปีล่าสุด และงบการเงินประจํางวดหกเดือนล่าสุดหรืองบการเงินไตรมาสสุดท้ายก่อนยื่นคําขอ ต้องไม่มีความหมายในลักษณะดังนี้
(ก) ไม่แสดงความเห็นต่อการจัดทํางบการเงินของผู้ขออนุญาตและงบการเงินรวม หรือแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง
(ข) แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในรายการบัญชีที่เป็นสาระสําคัญว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่ใช้บังคับกับบริษัทมหาชนจํากัด เว้นแต่
1. ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นสถาบันการเงินที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และแสดงความประสงค์ว่าจะเสนอขายเฉพาะหุ้นกู้ระยะสั้นเท่านั้น รายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีต้องไม่แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในรายการบัญชีที่เป็นสาระสําคัญว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่หน่วยงานทางการซึ่งเป็นผู้กํากับดูแลการประกอบธุรกิจโดยตรงยอมรับ
2. ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นกิจการตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งกฎหมายของประเทศดังกล่าวกําหนดให้ต้องมีการจัดทํางบการเงิน รายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีต้องไม่แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในรายการบัญชีที่เป็นสาระสําคัญว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี หรือ International Financial Reporting Standards (IFRS) หรือ Financial Accounting Standards (FAS) หรือ United States Generally Accepted Accounting Principle (US GAAP) หรือมาตรฐานการบัญชีอื่นที่สํานักงานยอมรับ
(ค) แสดงความเห็นว่าถูกจํากัดขอบเขตการตรวจสอบโดยการกระทําหรือไม่กระทําของผู้ขออนุญาต กรรมการ หรือผู้บริหาร
เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการชําระหนี้ และโอกาสในการได้รับชําระหนีในกรณีที่สถาบันการเงินประสบปัญหาเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงาน หากสถาบันการเงินที่ขออนุญาตเป็นสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศตามข้อ 2(1) (ข) การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับงบการเงินตามวรรคหนึ่ง (1) ให้หมายถึง งบการเงินของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศดังกล่าว
(2) ไม่อยู่ระหว่างค้างการนําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทหรือรายงานที่มีหน้าที่ต้องจัดทําและจัดส่งต่อสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามมาตรา 56 หรือมาตรา 57 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56 หรือมาตรา 57 แล้วแต่กรณี หรือไม่อยู่ระหว่างปรับปรุงแก้ไขงบการเงินหรือรายงานที่มีหน้าที่ต้องจัดทําและจัดส่งตามมาตรา 56 หรือมาตรา 57 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56 หรือมาตรา 57 ตามที่สํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแจ้งให้ดําเนินการปรับปรุงแก้ไขนั้น หรือไม่อยู่ระหว่างการมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามมาตรา 58 หรือมาตรา 199ประกอบมาตรา 58 แล้วแต่กรณี
(3) ไม่เคยเสนอขายหลักทรัพย์โดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตอย่างมีนัยสําคัญ ทั้งนี้ ตามที่กําหนดไว้ในประกาศที่เกี่ยวข้องที่ใช้บังคับตามแต่กรณี
(4) ไม่เคยเสนอขายหุ้นกู้ไม่ว่าประเภทใด ๆ ตั๋วเงิน หรือศุกูก โดยฝ่าฝืนข้อกําหนดเกี่ยวกับลักษณะการเสนอขายที่จํากัดเฉพาะผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ภายในระยะเวลาสองปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาต เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน โดยผู้ขออนุญาตแสดงได้ว่ามีเหตุจําเป็นและสมควร รวมทั้งมีมาตรการจัดการเกี่ยวกับการเสนอขายอย่างเหมาะสมแล้ว
(5) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นกิจการตามกฎหมายต่างประเทศจะต้องมีบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนในประเทศไทย เพื่อทําหน้าที่ประสานงานและติดต่อกับบุคคลต่าง ๆ รวมทั้งรับหนังสือ คําสั่ง หมายเรียก หรือเอกสารใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการตามกฎหมายต่างประเทศได้ และแสดงได้ว่าบุคคลดังกล่าวจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 23 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 23 ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นที่มิใช่หุ้นกู้ด้อยสิทธิให้จัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
(ก) อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง
(ข) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันหุ้นกู้ เฉพาะในกรณีที่เป็นการค้ําประกันเต็มจํานวนที่มีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของหุ้นกู้
(ค) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ได้รับอนุญาต ทั้งนี้ หากผู้ขออนุญาตเป็นสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศตามข้อ 2(1) (ข) ให้จัดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารต่างประเทศเพิ่มเติมด้วย เว้นแต่ในวันที่ยื่นคําขออนุญาต สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศดังกล่าวสามารถดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนได้ตามวิธีการคํานวณดังนี้
(2) การเสนอขายหุ้นกู้อื่นนอกจาก (1) ให้จัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่งตาม (1) (ก) หรือ (ข)”
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 24/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553
“ข้อ 24/1 ผู้ได้รับอนุญาตที่เป็นสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศตามข้อ 2(1) (ข) ซึ่งได้รับยกเว้นการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศตามข้อ 23(1) (ค) ต้องจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้น (total capital ratio) ของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ดํารงไว้ ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือน ภายในวันที่ยี่สิบห้าของเดือนถัดไปไว้บนเว็บไซต์ของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ จนกว่าสิทธิเรียกร้องตามหุ้นกู้จะสิ้นสุดลง”
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 33 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 33 ในการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในวงจํากัดจะกระทําได้เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ และให้กิจการที่ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 3 ของหมวดนี้ รวมทั้งรายงานลักษณะของหุ้นกู้ที่จะเสนอขายต่อสํานักงานตามข้อ 6
(1) ดําเนินการจดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ที่จะเสนอขายกับสํานักงานตามความในวรรคสอง และยื่นเอกสารตามวรรคสามแล้ว
(2) ไม่เคยเสนอขายหุ้นกู้ไม่ว่าประเภทใด ๆ ตั๋วเงิน หรือศุกูก ที่เป็นการฝ่าฝืนลักษณะการขายที่จํากัดเฉพาะผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ภายในระยะเวลาสองปีก่อนวันยื่นจดข้อจํากัดการโอน เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน โดยกิจการแสดงได้ว่ามีเหตุจําเป็นและสมควร รวมทั้งมีมาตรการจัดการเกี่ยวกับการเสนอขายอย่างเหมาะสมแล้ว”
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 34 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2557 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) การเสนอขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 30(1) ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการผ่านบริษัทหลักทรัพย์ที่สามารถเป็นผู้ให้บริการหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือลงทุนในหุ้นกู้ได้ เว้นแต่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) ผู้ได้รับอนุญาตมีสถานะเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่สามารถดําเนินการดังกล่าวได้อยู่แล้ว โดยให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับการให้บริการหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือลงทุนในหุ้นกู้ด้วย
(ข) กรณีการเสนอขายหุ้นกู้ที่ประกาศฉบับนี้ไม่กําหนดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ แต่ผู้ได้รับอนุญาตจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้
1. อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง
2. อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันหุ้นกู้ เฉพาะในกรณีที่เป็นการค้ําประกันเต็มจํานวนที่มีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของหุ้นกู้
3. อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ขออนุญาต เฉพาะในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้น”
ข้อ ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 34/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553
“ข้อ 34/1 ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามข้อ 34(4) (ข)เพื่อให้เข้าลักษณะที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสนอขายหุ้นกู้ผ่านบริษัทหลักทรัพย์ ให้ผู้ได้รับอนุญาตดังกล่าวจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างต่อเนื่องจนกว่าสิทธิเรียกร้องตามหุ้นกู้จะสิ้นสุดลง เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจผ่อนผันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ โดยกําหนดเงื่อนเวลาหรือเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงความจําเป็นของผู้ลงทุนในการมีข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้น”
ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในข้อ 35 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 11/2556 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 35 ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 30(1) ให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 36 ข้อ 37 หรือข้อ 38 แล้วแต่กรณี”
ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความในข้อ 36 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 36 ในการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ผู้ได้รับอนุญาตไม่ต้องจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้ เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิหรือหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกกิจการต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้
(1) อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง
(2) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันหุ้นกู้ เฉพาะในกรณีที่เป็นการค้ําประกันเต็มจํานวนที่มีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของหุ้นกู้
ให้นําข้อกําหนดเกี่ยวกับการผ่อนผันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามที่กําหนดในข้อ 23 วรรคสองมาใช้บังคับกับกรณีตามวรรคหนึ่งด้วย”
ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 516 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 48/2557 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 8) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 48/2557
เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย
(ฉบับที่ 8)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 6/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 โดยให้อยู่ในลําดับก่อนภาค 1 หลักเกณฑ์การอนุญาต
“ข้อ 6/1 ในการจําหน่ายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในกรณีทั่วไปตามหมวด 1 ของภาค 1 ผู้ได้รับอนุญาตมีหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจําหน่ายตราสารหนี้และใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ด้วย”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 517 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 50/2557 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 9) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 50/2557
เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย
(ฉบับที่ 9)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 มาตรา 69 และมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน 2. ของ (ข) ใน (1) ของข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 31/2557 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“2. ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นกิจการตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งกฎหมายของประเทศดังกล่าวกําหนดให้ต้องมีการจัดทํางบการเงิน รายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีต้องไม่แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในรายการบัญชีที่เป็นสาระสําคัญว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี หรือ International Financial Reporting Standards (IFRS) หรือ Financial Accounting Standards (FAS) หรือ United States Generally Accepted Accounting Principle (US GAAP) หรือมาตรฐานการบัญชีที่หน่วยงานกํากับดูแลหลัก (home regulator) หรือกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องของประเทศที่กิจการตามกฎหมายต่างประเทศนั้นจัดตั้งขึ้น ยอมรับหรือกําหนด ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้เสนอขายหุ้นกู้ได้จัดทําและเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินโดยแสดงผลกระทบของรายการที่แตกต่างจาก IFRS (Reconciled IFRS) ไว้ด้วย หรือมาตรฐานการบัญชีอื่นที่สํานักงานยอมรับ”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 50 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 50 งบการเงินของผู้เสนอขายหุ้นกู้ที่เปิดเผยในแบบแสดงรายการข้อมูล ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีการเสนอขายในกรณีทั่วไป ให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีดังนี้
(ก) มาตรฐานการบัญชีไทย
(ข) International Financial Reporting Standards (IFRS)
(ค) Financial Accounting Standards (FAS)
(ง) United States Generally Accepted Accounting Principle (US GAAP)
(จ) มาตรฐานการบัญชีที่หน่วยงานกํากับดูแลหลัก (home regulator) หรือกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องของประเทศที่กิจการตามกฎหมายต่างประเทศนั้นจัดตั้งขึ้น ยอมรับหรือกําหนด ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้เสนอขายหุ้นกู้ได้จัดทําและเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินโดยแสดงผลกระทบของรายการที่แตกต่างจาก IFRS (Reconciled IFRS) ไว้ด้วย
(ฉ) มาตรฐานการบัญชีอื่นที่สํานักงานยอมรับ
(2) กรณีการเสนอขายในวงจํากัด ให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดโดยหน่วยงานกํากับดูแลของไทยหรือต่างประเทศ”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 518 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 37/2558 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 10) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 37/2558
เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย
(ฉบับที่ 10)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 10 และข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 10 ให้ผู้ขออนุญาตชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตต่อสํานักงานเมื่อสํานักงาน ได้รับคําขออนุญาตพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ทั้งนี้ อัตราค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
ข้อ 11 เมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้สํานักงานดําเนินการสอบทานข้อเท็จจริงตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชนและแจ้งประเด็นข้อสังเกตที่ได้จากการสอบทานข้อเท็จจริงเพื่อให้ผู้ขออนุญาตชี้แจงข้อสังเกตนั้นภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในหนังสือแจ้งข้อสังเกต โดยต้องดําเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน
ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาการมีคุณสมบัติที่สามารถออกหุ้นกู้ได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําชี้แจงต่อข้อสังเกตจากการสอบทานข้อเท็จจริงจากผู้ขออนุญาต
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตประสงค์จะขอผ่อนผันหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ ให้ผู้ขออนุญาตยื่นคําขอผ่อนผันพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอผ่อนผันต่อสํานักงานก่อนที่สํานักงานจะเริ่มการพิจารณาตามวรรคสอง ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน โดยสํานักงานจะพิจารณาคําขอผ่อนผันให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเดียวกันกับการพิจารณาอนุญาตตามวรรคสอง”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 46 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 46 ผู้เสนอขายหุ้นกู้มีหน้าที่ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 519 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 58/2558 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 11) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 58/2558
เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย
(ฉบับที่ 11)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุน ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 31/2557 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) ไม่มีลักษณะตามข้อ 12/1 เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทจดทะเบียนผู้ขออนุญาตต้องไม่มีลักษณะเฉพาะตามที่กําหนดในข้อ 12/1(1) (ก)”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 12/1 และข้อ 12/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553
“ข้อ 12/1 ผู้ขออนุญาตต้องไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้ เว้นแต่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 12/2
(1) ภายในระยะเวลาห้าปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ผู้ขออนุญาตต้องไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) เคยมีประวัติฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ในเรื่องที่มีนัยสําคัญ
(ข) เคยถูกสํานักงานปฏิเสธคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ เนื่องจากมีเหตุที่มีนัยสําคัญอันควรสงสัยเกี่ยวกับกลไกการบริหารจัดการในลักษณะดังต่อไปนี้
1. อาจไม่สามารถปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นได้อย่างเป็นธรรมโดยอาจมีการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ถือหุ้นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งซึ่งจะทําให้ได้เปรียบผู้ถือหุ้นรายอื่นหรือ ได้ประโยชน์มากกว่าผู้ถือหุ้นรายอื่นโดยไม่สมควร
2. อาจไม่สามารถรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้นได้โดยทําให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ได้รับประโยชน์ทางการเงินนอกเหนือจากที่พึงได้ตามปกติ หรือโดยทําให้บริษัทเสียประโยชน์ที่พึงได้รับ
(ค) เคยถูกสํานักงานปฏิเสธคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่เนื่องจากมีเหตุที่ทําให้สงสัยเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนที่ไม่ครบถ้วน ไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน หรือทําให้ผู้ลงทุนสําคัญผิด ซึ่งมีลักษณะเป็นการปกปิดหรืออําพราง หรือสร้างข้อมูลที่อาจไม่มีอยู่จริงในรายการหรือการดําเนินการที่มีนัยสําคัญ
(ง) เคยถอนคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่โดยไม่มีการชี้แจงเหตุสงสัยตาม (ข) หรือ (ค) ต่อสํานักงาน หรือโดยมีการชี้แจงแต่ไม่ได้แสดงข้อเท็จจริงหรือเหตุผลอย่างสมเหตุสมผลที่จะหักล้างข้อสงสัยตาม (ข) หรือ (ค) นั้น
(2) ภายในระยะเวลาสิบปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ผู้ขออนุญาตเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์เฉพาะในมูลเหตุเนื่องจากการดําเนินการที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริต อันเป็นเหตุที่ทําให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง ทั้งนี้ ไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ
(3) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เฉพาะในมูลเหตุเนื่องจากการดําเนินการที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริตอันเป็นเหตุที่ทําให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง ทั้งนี้ ไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือกฎหมาย ต่างประเทศ
(4) เป็นบุคคลที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นการจัดรูปแบบเพื่อให้บุคคลที่มีลักษณะตาม (1) (2) หรือ (3) หลีกเลี่ยงมิให้สํานักงานใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาตาม (1) (2) หรือ (3) กับบุคคลที่มีลักษณะดังกล่าวนั้น
ข้อ 12/2 มิให้นําความในข้อ 12/1(1) และ (2) แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับกับผู้ขออนุญาตซึ่งได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเหตุ ระบบงาน ระบบการบริหารจัดการ และการควบคุมการดําเนินงานที่ทําให้ผู้ขออนุญาตมีลักษณะตามข้อ 12/1(1) หรือ (2) แล้ว”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 15 ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ขออนุญาตมีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 13(2) ในการแจ้งผลการขาดลักษณะดังกล่าวของผู้ขออนุญาต ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการพิจารณาคําขอในคราวต่อไป โดยคํานึงถึงความมีนัยสําคัญของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการกําหนดระยะเวลา ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินสิบห้าปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาดังกล่าวต่อผู้ขออนุญาต
เมื่อพ้นระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดตามวรรคหนึ่ง หรือเมื่อผู้ขออนุญาตได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่สํานักงานกําหนดแล้ว มิให้สํานักงานนําข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุแห่งการสั่งการตามวรรคหนึ่งมาประกอบการพิจารณาคําขอในครั้งใหม่อีก
ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่าเหตุที่ทําให้ผู้ขออนุญาตมีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 13(2) เป็นเรื่องไม่ร้ายแรง หรือได้มีการแก้ไขหรือกําหนดมาตรการป้องกันแล้ว สํานักงานอาจไม่นําข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขาดลักษณะดังกล่าวมาใช้ประกอบการพิจารณาก็ได้”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 520 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 67/2558 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 12) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 67/2558
เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย
(ฉบับที่ 12)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิก (ค) ใน (1) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 18/2555 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 521 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2559 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 13) | - ร่าง -
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 16/2559
เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย
(ฉบับที่ 13)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 มาตรา 69 และมาตรา 70(9) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 การออกและเสนอขายหุ้นกู้ตามประกาศนี้ ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การอนุญาตที่กําหนดไว้ในภาค 1
(2) กรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง ให้การขออนุญาตและการอนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าวเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงด้วย เว้นแต่เป็นหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงที่ผู้ออกมีสิทธิในการบังคับไถ่ถอนคืนก่อนกําหนด (callable) หรือผู้ถือมีสิทธิเรียกให้ผู้ออกชําระหนี้คืนก่อนกําหนด (puttable) โดยมีการกําหนดผลตอบแทนไว้อย่างแน่นอนหรือเป็นอัตราที่ผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น และไม่มีการกําหนดเงื่อนไขการจ่ายผลตอบแทนที่อ้างอิงกับปัจจัยอ้างอิงอื่นเพิ่มเติม ให้ปฏิบัติตามประกาศนี้เท่านั้น
(3) ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ในแต่ละครั้ง ให้ผู้เสนอขายดําเนินการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนดังนี้ เว้นแต่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้
(ก) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงซึ่งต้องขออนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงด้วย ให้ผู้เสนอขายยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้
(ข) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้นอกจากกรณีตาม (ก) ให้ผู้เสนอขายยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามที่กําหนดไว้ในภาค 2
ให้กิจการตามกฎหมายต่างประเทศออกและเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงได้เฉพาะหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงที่ผู้ออกมีสิทธิในการบังคับไถ่ถอนคืนก่อนกําหนด (callable) หรือผู้ถือมีสิทธิเรียกให้ผู้ออกชําระหนี้คืนก่อนกําหนด (puttable) โดยมีการกําหนดผลตอบแทนไว้อย่างแน่นอนหรือเป็นอัตราที่ผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น และไม่มีการกําหนดเงื่อนไขการจ่ายผลตอบแทนที่อ้างอิงกับปัจจัยอ้างอิงอื่นเพิ่มเติมเท่านั้น”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของ (1) ในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 11/2556 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) คําว่า “การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ” “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” “แบบแสดงรายการข้อมูล” “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “ผู้ลงทุนรายใหญ่” “ผู้ลงทุนสถาบัน” และ “หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้
ทุกประเภท”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2557 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) “หุ้นกู้” หมายความว่า หุ้นกู้ไม่ว่าชนิดใด ๆ แต่ไม่รวมถึง
(ก) หุ้นกู้เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
(ข) หุ้นกู้ที่ออกใหม่โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ โดยอ้างอิงเกณฑ์ BASEL III
(ค) หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงซึ่งมีลักษณะเป็นหุ้นกู้แปลงสภาพ”
ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 31/2557 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557
“ความในวรรคหนึ่ง (1) ไม่ใช้บังคับกับกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ในนามของรัฐบาลต่างประเทศ”
ข้อ 5 ให้ยกเลิก (3) ของข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 18/2555 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555
ข้อ 6 ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (1) ในข้อ 40 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 18/2555 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ข) มีลักษณะเป็นไปตามข้อ 17(1) (2) และ (4)”
ข้อ 7 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 50 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 50/2557 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
“ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ในนามของรัฐบาลต่างประเทศ หากผู้เสนอขายหุ้นกู้ได้จัดทําข้อมูลทางการเงินที่แสดงฐานะการเงินและการคลังของประเทศตามที่กําหนดในข้อ 49(2) ให้ถือว่าเป็นการจัดทํางบการเงินแล้ว”
ข้อ 8 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 522 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 57/2559 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 14) | - ร่าง -
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 57/2559
เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย
(ฉบับที่ 14)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 มาตรา 41(3) และ (4) มาตรา 69 และมาตรา 70(9) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิก (5) ของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 ในการเสนอขายหุ้นกู้ลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ผู้เสนอขายหุ้นกู้อาจยื่นข้อมูลหรือเอกสารต่อสํานักงานที่จัดทําเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้
(1) เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ในกรณีทั่วไปของกิจการตามกฎหมายไทยซึ่งเสนอขายหุ้นกู้พร้อมกันหรือในระยะเวลาใกล้เคียงกันในประเทศอื่น
(2) เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัดต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่
(3) เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ของกิจการตามกฎหมายต่างประเทศ
ในกรณีที่ข้อมูลหรือเอกสารตามวรรคหนึ่งแปลมาจากข้อมูลที่เป็นภาษาอื่น ผู้เสนอขายหุ้นกู้ต้องดําเนินการดังนี้ด้วย
(1) รับรองว่าสาระของข้อมูลหรือเอกสารที่แปลนั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่จริง และไม่ได้มีการปกปิดข้อเท็จจริงที่พึงเปิดเผย
(2) ให้ผู้แปลรับรองความถูกต้องว่า สาระการแปลถูกต้องตรงตามสาระของข้อมูลหรือเอกสารที่เป็นต้นฉบับ”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/1 แห่งประกาศคณะะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553
“ข้อ 5/1 ข้อมูลหรือเอกสารที่ยื่นต่อสํานักงานตามประกาศนี้ หากได้จัดทําเป็นภาษาใดในครั้งแรก ให้จัดทําโดยใช้ภาษานั้นต่อไปทุกครั้ง เว้นแต่กรณีที่มีเหตุจําเป็นสมควร และได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 50/2557 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) รายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีที่ออกตามงบการเงินของผู้ขออนุญาตและงบการเงินรวมประจํางวดการบัญชีปีล่าสุด และงบการเงินประจํางวดหกเดือนล่าสุดหรืองบการเงินไตรมาสสุดท้ายก่อนยื่นคําขอ ต้องไม่มีความหมายในลักษณะดังนี้
(ก) ไม่แสดงความเห็นต่อการจัดทํางบการเงินของผู้ขออนุญาตและงบการเงินรวม หรือแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง
(ข) แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในรายการบัญชีที่เป็นสาระสําคัญว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
(ค) แสดงความเห็นว่าถูกจํากัดขอบเขตการตรวจสอบโดยการกระทําหรือไม่กระทําของผู้ขออนุญาต กรรมการ หรือผู้บริหาร
งบการเงินของผู้ขออนุญาตจะต้องจัดทําตามมาตรฐานใด ให้พิจารณาจากข้อกําหนดที่ระบุไว้สําหรับการเปิดเผยข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน ซึ่งเป็นข้อกําหนดเดียวกับที่ระบุไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับข้อกําหนดการจัดทํางบการเงินของผู้ขออนุญาต
เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการชําระหนี้ และโอกาสในการได้รับชําระหนี้ในกรณีที่สถาบันการเงินประสบปัญหาเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน หากสถาบันการเงิน
ที่ขออนุญาตเป็นสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศตามข้อ 2(1)(ข) การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับงบการเงินตามวรรคหนึ่งให้หมายถึง งบการเงินของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศดังกล่าว”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 14 กิจการตามกฎหมายต่างประเทศตามข้อ 2(2) จะได้รับอนุญาตในเบื้องต้นว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติที่สามารถเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ได้ นอกจากต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12 แล้ว ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ด้วย
(1) แสดงได้ว่าการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่กระทําได้โดยชอบตามกฎหมายและ กฎเกณฑ์ของต่างประเทศที่ใช้บังคับกับกิจการดังกล่าว
(2) ไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าหน่วยงานกํากับดูแลตลาดทุนของประเทศที่กิจการดังกล่าวจัดตั้งขึ้นจะไม่ให้ความช่วยเหลือแก่สํานักงานในการตรวจสอบหรือให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดของกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว”
ข้อ 6 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) เป็นทรัพย์สินหรือการค้ําประกันที่มีการดําเนินการให้มีผลบังคับได้ตามกฎหมายโดยคํานึงถึงสภาพของหลักประกันแต่ละประเภท สามารถดํารงได้ตลอดอายุหุ้นกู้ และดูแลได้โดยผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ทั้งนี้ ทรัพย์สินที่เป็นหรือเกี่ยวข้องกับหลักประกันซึ่งเป็นทรัพย์สินอื่นใดที่มิใช่ตราสารทางการเงิน ทรัพย์สินดังกล่าวต้องอยู่ในประเทศไทยและบังคับได้ตามกฎหมายไทย”
ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในข้อ 21 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 21 ก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ในแต่ละครั้ง ให้ผู้ขออนุญาตยื่นเอกสารหลักฐานตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
ให้ผู้ขออนุญาตยื่นคําขอความเห็นชอบบุคคลที่จะเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต่อสํานักงานมาพร้อมกับเอกสารหลักฐานที่ยื่นตามวรรคหนึ่งด้วย”
ข้อ 8 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 21/1 ในส่วนที่ 4 หลักเกณฑ์การอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ในแต่ละครั้ง ของหมวด 1 การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ในกรณีทั่วไป ในภาค 1 หลักเกณฑ์การอนุญาต แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553
“ข้อ 21/1 ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต้องเป็นบุคคลที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เป็นบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยคุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(2) เป็นบุคคลที่ทําหน้าที่ในลักษณะเดียวกับผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามที่กําหนดโดยกฎหมายของประเทศที่กิจการตามกฎหมายต่างประเทศจัดตั้งขึ้น และกิจการดังกล่าวต้องเป็นกิจการที่จัดตั้งขึ้นในประเทศสมาชิกอาเซียนที่หน่วยงานกํากับดูแลตลาดทุนของประเทศนั้น ๆ ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจกับสํานักงานตาม Memorandum of Understanding on Streamlined Review Framework for ASEAN Common Prospectus”
ข้อ 9 ให้ยกเลิกความในข้อ 39 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 39 ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้มีประกันหรือเป็นหุ้นกู้ที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ที่มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ที่มีลักษณะตามข้อ 21/1
(2) เป็นทรัสตีได้ตามกฎหมายต่างประเทศหรือเป็นสถาบันการเงินต่างประเทศ ที่มีลักษณะตามข้อ 14(2)
(3) เป็นบุคคลอื่นใดที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นรายกรณี”
ข้อ 10 ให้ยกเลิกความในข้อ 48 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 11/2556 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 48 ให้ผู้เสนอขายหุ้นกู้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายการตามข้อ 48/1 ต่อสํานักงานก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ โดยมีรายละเอียดเป็นไปตามแบบและหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีการเสนอขายหุ้นกู้ในกรณีทั่วไปที่ได้รับอนุญาตตามหมวด 1 ของภาค 1 ให้ผู้เสนอขายหุ้นกู้ยื่นแบบ 69-DEBT-PO ที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ โดยอนุโลม ทั้งนี้ กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ของกิจการตามกฎหมายไทยซึ่งเสนอขายหุ้นกู้พร้อมกันหรือในระยะเวลาใกล้เคียงกันในประเทศอื่น หรือเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ของกิจการตามกฎหมายต่างประเทศ ผู้เสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าวอาจยื่นแบบ 69-FD ที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ แทนการยื่นแบบ 69-DEBT-PO ได้
(2) กรณีการเสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัดที่ได้รับอนุญาตตามหมวด 2 ของภาค 1 ให้ผู้เสนอขายหุ้นกู้ยื่นแบบใดแบบหนึ่งดังนี้
(ก) แบบ 69-DEBT-II&HNW ที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้
(ข) แบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายละเอียดของรายการตามมาตรา 69(1) ถึง (10) และมาตรา 70(1) ถึง (8) ทั้งนี้ ในส่วนของการลงนามรับรองความถูกต้องของแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าว ให้นําข้อมูลในส่วนที่ 2 การรับรองความถูกต้องของข้อมูล ของแบบ 69-DEBT-II&HNW ตามที่กําหนดใน (ก) มาระบุเป็นข้อมูลไว้ด้วย โดยอนุโลม
ผู้เสนอขายหุ้นกู้ตามวรรคหนึ่ง (1) ต้องจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําและรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูล”
ข้อ 11 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 523 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 24/2560 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 15) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 24/2560
เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย
(ฉบับที่ 15)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7/1 ในภาค 1 หลักเกณฑ์การอนุญาต แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553
“ข้อ 7/1 ในกรณีกิจการตามกฎหมายไทยมีสถานะเป็นบริษัทตามข้อ 2(1) (ก) ซึ่งมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ บริษัทดังกล่าวจะยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท (perpetual bond) ไม่ได้
(1) บริษัทที่กองทรัสต์ถือหุ้นในลักษณะที่เป็นการลงทุนในทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์ในอัตราไม่น้อยกว่าที่กําหนดไว้ตามหลักเกณฑ์ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน แล้วแต่กรณี
(2) บริษัทที่กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานถือหุ้นในลักษณะที่เป็นการลงทุนในทรัพย์สินหลักของกองทุนรวมในอัตราไม่น้อยกว่าที่กําหนดไว้ตามหลักเกณฑ์ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย แล้วแต่กรณี
(3) บริษัทที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการจัดหาและสนับสนุนเงินทุนให้แก่กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยต่อประชาชนและการจัดการกองทุนรวม”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 34 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 31/2557 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 30(1) ต้องจัดให้การชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือลงทุนในหุ้นกู้ดําเนินการผ่านบริษัทหลักทรัพย์ประเภทที่สามารถเป็นผู้ให้บริการดังกล่าวเกี่ยวกับหุ้นกู้ได้ เว้นแต่ผู้ได้รับอนุญาตมีสถานะเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่สามารถดําเนินการดังกล่าวได้อยู่แล้ว โดยให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับการให้บริการหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือลงทุนในหุ้นกู้ด้วย”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกข้อ 34/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 31/2557 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 524 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 62/2561 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 62/2561
เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย
*\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_*
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 มาตรา 40(11) มาตรา 41(3) และ (4) มาตรา 42(10) และมาตรา 43(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 37/2554 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554
(3) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 18/2555 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555
(4) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2555 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555
(5) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 11/2556 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556
(6) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2557 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557
(7) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 31/2557 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557
(8) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 48/2557 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
(9) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 50/2557 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
(10) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 37/2558 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกสกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
(11) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 58/2558 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
(12) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 67/2558 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558
(13) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2559 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
(14) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 57/2559 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559
(15) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 24/2560 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
“กิจการตามกฎหมายไทย” หมายความว่า กิจการตามกฎหมายไทยดังต่อไปนี้
(1) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
(2) สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่สามารถประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ได้ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
“กิจการตามกฎหมายต่างประเทศ” หมายความว่า กิจการตามกฎหมายต่างประเทศดังต่อไปนี้
(1) หน่วยงานหรือองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ
(2) องค์การระหว่างประเทศ
(3) นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ
“หุ้นกู้ด้อยสิทธิ” หมายความว่า หุ้นกู้ไม่มีประกันที่มีการกําหนดสิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ไว้ด้อยกว่าสิทธิของเจ้าหนี้สามัญทั่วไป
“ข้อกําหนดสิทธิ” หมายความว่า ข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้
“ที่ปรึกษาทางการเงิน” หมายความว่า ที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินดังต่อไปนี้
(1) ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(2) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน
“ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
“ตราสารหนี้ขึ้นทะเบียน” หมายความว่า ตราสารหนี้ที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
“สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย” หมายความว่า สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยที่ได้รับใบอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน
คําว่า “การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ” “แบบแสดงรายการข้อมูล” “บริษัทจดทะเบียน” “ผู้ลงทุนรายใหญ่” “ผู้ลงทุนสถาบัน” “ผู้บริหาร” “ผู้มีอํานาจควบคุม” “หุ้นกู้ระยะสั้น” และ “หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท
อื่นๆ ๑ ภาค 1
บททั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
หมวด ๑ ขอบเขตของประกาศและหลักเกณฑ์ทั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔ ประกาศนี้เป็นหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศที่ออกใหม่โดยกิจการตามกฎหมายไทยและกิจการตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งรองรับกรณีดังต่อไปนี้
(1) การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในภาค 2
(2) การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศที่ออกใหม่ในวงจํากัด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในภาค 3
หุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศตามวรรคหนึ่งต้องมีข้อตกลงให้การชําระค่าหุ้นกู้และการชําระหนี้ตามหุ้นกู้เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ
ข้อ ๕ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงที่ผู้ออกมีสิทธิในการบังคับไถ่ถอนคืนก่อนกําหนด (callable) หรือผู้ถือมีสิทธิเรียกให้ผู้ออกชําระหนี้คืนก่อนกําหนด (puttable) โดยมีการกําหนดผลตอบแทนไว้อย่างแน่นอนหรือเป็นอัตราที่ผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น และไม่มีการกําหนดเงื่อนไขการจ่ายผลตอบแทนที่อ้างอิงกับปัจจัยอ้างอิงอื่นเพิ่มเติม ให้ผู้ขออนุญาตปฏิบัติตามประกาศนี้เท่านั้น
(2) การเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงในลักษณะอื่นนอกเหนือจาก (1) ให้เสนอขายได้เฉพาะผู้ขออนุญาตที่เป็นกิจการตามกฎหมายไทย โดยให้กิจการตามกฎหมายไทยดังกล่าวปฏิบัติตามประกาศนี้ และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง
ข้อ ๖ การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศตามประกาศนี้ต้องไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) เป็นหุ้นกู้เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
(2) เป็นหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงที่มีลักษณะเป็นหุ้นกู้แปลงสภาพ
(3) เป็นตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์
ข้อ ๗ บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ จะยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท (perpetual bond) ไม่ได้
(1) บริษัทที่กองทรัสต์ถือหุ้นในลักษณะที่เป็นการลงทุนในทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์ในอัตราไม่น้อยกว่าที่กําหนดไว้ตามหลักเกณฑ์ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน แล้วแต่กรณี
(2) บริษัทที่กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานถือหุ้นในลักษณะที่เป็นการลงทุนในทรัพย์สินหลักของกองทุนรวมในอัตราไม่น้อยกว่าที่กําหนดไว้ตามหลักเกณฑ์ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย แล้วแต่กรณี
ข้อ ๘ เอกสารหรือหลักฐานที่ต้องยื่นต่อสํานักงานตามที่กําหนดในประกาศนี้ไม่ว่าก่อนหรือภายหลังได้รับอนุญาตต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๙ ในการเสนอขายหุ้นกู้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ผู้ขออนุญาตอาจยื่นข้อมูลหรือเอกสารต่อสํานักงานที่จัดทําเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้
(1) เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปของกิจการตามกฎหมายไทยซึ่งเสนอขายหุ้นกู้พร้อมกันหรือในระยะเวลาใกล้เคียงกันในประเทศอื่น
(2) เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัดต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่
(3) เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ของกิจการตามกฎหมายต่างประเทศ
ในกรณีที่ข้อมูลหรือเอกสารตามวรรคหนึ่งแปลมาจากข้อมูลที่เป็นภาษาอื่น ผู้ขออนุญาตต้องดําเนินการดังนี้ด้วย
(1) รับรองว่าสาระของข้อมูลหรือเอกสารที่แปลนั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่จริงและไม่ได้มีการปกปิดข้อเท็จจริงที่พึงเปิดเผย
(2) ให้ผู้แปลรับรองความถูกต้องว่า สาระการแปลถูกต้องตรงตามสาระของข้อมูลหรือเอกสารที่เป็นต้นฉบับ
ข้อ ๑๐ ข้อมูลหรือเอกสารที่ยื่นต่อสํานักงานตามประกาศนี้ หากได้จัดทําเป็นภาษาใดในครั้งแรก ให้จัดทําโดยใช้ภาษานั้นต่อไปทุกครั้ง เว้นแต่กรณีที่มีเหตุจําเป็นสมควร และได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
ข้อ ๑๑ ในการจําหน่ายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปตามภาค 2 ผู้ที่ได้รับอนุญาตมีหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจําหน่ายตราสารหนี้และใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ด้วย
หมวด ๒ อํานาจของสํานักงาน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ตามคําขออนุญาตได้
(1) ผู้ขออนุญาตหรือการเสนอขายหุ้นกู้มีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการเสนอขายหุ้นกู้นั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือประกาศนี้
(2) การเสนอขายหุ้นกู้อาจขัดต่อนโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐ
(3) การเสนอขายหุ้นกู้อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือต่อตลาดทุนไทยโดยรวม
(4) การเสนอขายหุ้นกู้อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุนโดยรวม หรืออาจทําให้ผู้ลงทุนโดยรวมไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องหรือเพียงพอประกอบการตัดสินใจลงทุน
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้พิจารณาคําขออนุญาต หรือไม่นําเงื่อนไขตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตได้
(1) มีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันให้ไม่มีนัยสําคัญสําหรับการพิจารณาอนุญาตในกรณีนั้น และประโยชน์ที่จะได้ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนในการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว
(2) ผู้ขออนุญาตมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
(3) ผู้ขออนุญาตมีมาตรการอื่นที่เพียงพอ และสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
การผ่อนผันตามวรรคหนึ่งให้คํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนและมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติด้วยก็ได้
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานภายหลังการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ว่าข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่สํานักงานนํามาพิจารณาเพื่ออนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นปรากฏต่อสํานักงานก่อนการอนุญาต สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้นั้น ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้
(1) สั่งให้ผู้ได้รับอนุญาต กรรมการ หรือผู้บริหารของผู้ได้รับอนุญาต ชี้แจงหรือเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กําหนด และระงับการอนุญาตให้ออกหุ้นกู้หรือให้ผู้ได้รับอนุญาตระงับการเสนอขายหุ้นกู้ไว้ก่อนจนกว่าจะได้ชี้แจงหรือแก้ไขให้ถูกต้อง และหากผู้ได้รับอนุญาต กรรมการ หรือผู้บริหารของผู้ได้รับอนุญาต ไม่สามารถชี้แจงหรือดําเนินการแก้ไขให้ถูกต้องได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด สํานักงานอาจสั่งเพิกถอนการอนุญาตตาม (2) ได้
(2) สั่งเพิกถอนการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ในส่วนที่ยังไม่ได้เสนอขายหรือยังไม่มีผู้จองซื้อ
ในการสั่งการตามวรรคหนึ่งให้สํานักงานคํานึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้ประกอบการพิจารณา
(1) ความร้ายแรงของข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
(2) ผลกระทบต่อผู้ลงทุนที่จองซื้อหุ้นกู้นั้น
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปหรือเสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัดต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ มีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 21(2) ในการแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาต ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการพิจารณาคําขออนุญาตในคราวต่อไป โดยคํานึงถึงความมีนัยสําคัญของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการกําหนดระยะเวลา ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกิน 15 ปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาดังกล่าวต่อผู้ขออนุญาต
เมื่อพ้นระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดตามวรรคหนึ่ง หรือเมื่อผู้ขออนุญาตได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่สํานักงานกําหนดแล้ว ไม่ให้สํานักงานนําข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุแห่งการสั่งการตามวรรคหนึ่งมาประกอบการพิจารณาคําขอในครั้งใหม่อีก
ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่าเหตุที่ทําให้ผู้ขออนุญาตมีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 21(2)เป็นเรื่องไม่ร้ายแรง หรือได้มีการแก้ไขหรือกําหนดมาตรการป้องกันแล้ว สํานักงานอาจไม่นําข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขาดลักษณะดังกล่าวมาใช้ประกอบการพิจารณาก็ได้
ข้อ ๑๖ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยดังต่อไปนี้สํานักงานอาจสั่งไม่ให้การอนุญาตสําหรับการเสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัดที่ได้รับอนุญาตมีผลสั่งระงับการเสนอขายหุ้นกู้ หรือสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ได้ แล้วแต่กรณี
(1) ผู้ที่จะเสนอขายหุ้นกู้มีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ หรือจะไม่สามารถปฏิบัติตามประกาศนี้ได้
(2) การเสนอขายหุ้นกู้มีลักษณะที่อาจเข้าข่ายเป็นการหลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์ที่ออกภายใต้กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน
(3) การเสนอขายหุ้นกู้อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุนหรืออาจทําให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่มีนัยสําคัญต่อการตัดสินใจลงทุน
ข้อ ๑๗ ในระหว่างอายุโครงการตามข้อ 30 และข้อ 52 หากปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานว่าผู้ได้รับอนุญาตไม่สามารถดํารงคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์การอนุญาต ปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาต หรือมีการเปิดเผยข้อมูลที่มีนัยสําคัญต่อประชาชนที่ไม่ครบถ้วนถูกต้อง ไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน สํานักงานอาจสั่งระงับการเสนอขายหุ้นกู้ไว้ก่อน หรือสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ในลักษณะโครงการได้
อื่นๆ - ภาค 2
การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศที่ออกใหม่
ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
หมวด ๑ หลักเกณฑ์การอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๘ ผู้ขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) งบการเงินของผู้ขออนุญาตและงบการเงินรวมประจํางวดการบัญชีปีล่าสุด และงบการเงินประจํางวด 6 เดือนล่าสุดหรืองบการเงินไตรมาสสุดท้ายก่อนยื่นคําขออนุญาต ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) จัดทําขึ้นตามมาตรฐานรายงานทางการเงินและเป็นไปตามหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดทํางบการเงินตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(ข) รายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชี ต้องไม่มีความหมายในลักษณะดังนี้
1. ไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินของผู้ขออนุญาตและงบการเงินรวม หรือแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง
2. แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในรายการบัญชีที่เป็นสาระสําคัญว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
3. แสดงความเห็นว่าถูกจํากัดขอบเขตการตรวจสอบโดยการกระทําหรือไม่กระทําของผู้ขออนุญาต หรือกรรมการหรือผู้บริหารของผู้ขออนุญาต
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นกิจการตามกฎหมายไทยที่เป็นสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ งบการเงินตามวรรคหนึ่ง (1) ให้หมายถึง งบการเงินของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศในไทย
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ในนามของรัฐบาลต่างประเทศ
(2) ไม่อยู่ระหว่างการดําเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งดังนี้ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(ก) ค้างการนําส่งงบการเงินหรือรายงานที่มีหน้าที่ต้องจัดทําตามมาตรา 56
(ข) ค้างส่งรายงานที่มีหน้าที่ต้องจัดทําและจัดส่งต่อสํานักงานตามมาตรา 57 หรือค้างส่งรายงานในลักษณะเดียวกันต่อตลาดหลักทรัพย์
(ค) ปรับปรุงแก้ไขงบการเงิน หรือรายงานที่มีหน้าที่ต้องจัดทําตามมาตรา 56 หรือมาตรา 57 ตามที่สํานักงานแจ้งให้ดําเนินการปรับปรุงแก้ไข หรือปรับปรุงแก้ไขในลักษณะเดียวกันตามที่ตลาดหลักทรัพย์แจ้งให้ดําเนินการ
(ง) ปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์ตามมาตรา 58 หรือตามมาตรา 199 ประกอบมาตรา 58 แล้วแต่กรณี
(3) ไม่มีลักษณะตามข้อ 19 เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทจดทะเบียน ผู้ขออนุญาตต้องไม่มีลักษณะเฉพาะตามที่กําหนดในข้อ 19(1)(ก)
(4) ไม่เคยเสนอขายหุ้นกู้ไม่ว่าประเภทใด ๆ พันธบัตร ตั๋วเงิน หรือศุกูก โดยฝ่าฝืนข้อกําหนดเกี่ยวกับลักษณะการเสนอขายที่จํากัดเฉพาะผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ภายในระยะเวลา 2 ปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาต เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน โดยผู้ขออนุญาตแสดงได้ว่ามีเหตุจําเป็นและสมควร รวมทั้งมีมาตรการป้องกันการไม่ปฏิบัติดังกล่าวอย่างเหมาะสมแล้ว
(5) ไม่มีเหตุที่ทําให้สงสัยว่ามีพฤติกรรมการเปิดเผยข้อมูลที่มีนัยสําคัญต่อประชาชนไม่ครบถ้วน ไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน หรือในลักษณะที่อาจทําให้ผู้ลงทุนสําคัญผิด
(6) ไม่อยู่ระหว่างผิดนัดชําระหนี้เงินต้นหรือดอกเบี้ยของตราสารหนี้ หรือผิดนัดชําระหนี้เงินกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(7) ไม่อยู่ระหว่างผิดเงื่อนไขในการปฏิบัติตามข้อกําหนดสิทธิ
(8) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นกิจการตามกฎหมายไทยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมในข้อ 21 และในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นกิจการตามกฎหมายต่างประเทศต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 22 ด้วย
ข้อ ๑๙ ผู้ขออนุญาตต้องไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้ เว้นแต่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 20
(1) ภายในระยะเวลา 5 ปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ ผู้ขออนุญาตต้องไม่มีลักษณะดังนี้
(ก) เคยมีประวัติฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ในเรื่องที่มีนัยสําคัญ
(ข) เคยถูกสํานักงานปฏิเสธคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ เนื่องจากมีเหตุที่มีนัยสําคัญอันควรสงสัยเกี่ยวกับกลไกการบริหารจัดการในลักษณะดังนี้
1. อาจไม่สามารถปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นได้อย่างเป็นธรรมโดยอาจมีการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ถือหุ้นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งซึ่งจะทําให้ได้เปรียบผู้ถือหุ้นรายอื่นหรือได้ประโยชน์มากกว่าผู้ถือหุ้นรายอื่นโดยไม่สมควร
2. อาจไม่สามารถรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้นได้โดยทําให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ได้รับประโยชน์ทางการเงินนอกเหนือจากที่พึงได้ตามปกติ หรือโดยทําให้บริษัทเสียประโยชน์ที่พึงได้รับ
(ค) เคยถูกสํานักงานปฏิเสธคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่เนื่องจากมีเหตุที่ทําให้สงสัยเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนที่ไม่ครบถ้วน ไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน หรือทําให้ผู้ลงทุนสําคัญผิด ซึ่งมีลักษณะเป็นการปกปิดหรืออําพราง หรือสร้างข้อมูลที่อาจไม่มีอยู่จริงในรายการหรือการดําเนินการที่มีนัยสําคัญ
(ง) เคยถอนคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่โดยไม่มีการชี้แจงเหตุสงสัยตาม (ข) หรือ (ค) ต่อสํานักงาน หรือโดยมีการชี้แจงแต่ไม่ได้แสดงข้อเท็จจริงหรือเหตุผลอย่างสมเหตุสมผลที่จะหักล้างข้อสงสัยตาม (ข) หรือ (ค) นั้น
(2) ภายในระยะเวลา 10 ปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ ผู้ขออนุญาตเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์เฉพาะในมูลเหตุเนื่องจากการดําเนินการที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริต อันเป็นเหตุที่ทําให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง ทั้งนี้ ไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ
(3) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฉพาะในมูลเหตุเนื่องจากการดําเนินการที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริตอันเป็นเหตุที่ทําให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง ทั้งนี้ ไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ
(4) เป็นบุคคลที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นการจัดรูปแบบเพื่อให้บุคคลที่มีลักษณะตาม (1) (2) หรือ (3) หลีกเลี่ยงไม่ให้สํานักงานใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาตาม (1) (2) หรือ (3) กับบุคคลที่มีลักษณะดังกล่าว
ข้อ ๒๐ มิให้นําความในข้อ 19(1) และ (2) แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับกับผู้ขออนุญาตซึ่งได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเหตุ ระบบงาน ระบบการบริหารจัดการ และการควบคุมการดําเนินงานที่ทําให้ผู้ขออนุญาตดังกล่าวมีลักษณะตามข้อ 19(1) หรือ (2) แล้ว
ข้อ ๒๑ ผู้ขออนุญาตที่เป็นกิจการตามกฎหมายไทย นอกจากต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 18 แล้ว ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ด้วย
(1) มีกรรมการและผู้บริหารที่มีรายชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การแสดงชื่อบุคคลในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ การพิจารณาตามวรรคหนึ่ง ให้พิจารณาเฉพาะกรรมการหรือผู้บริหารที่ดํารงตําแหน่งในสาขาในประเทศไทย
(2) มีผู้มีอํานาจควบคุมที่ไม่มีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท โดยอนุโลม
(3) ไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่ากรรมการ ผู้บริหาร และผู้ถือหุ้นรายใหญ่ มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) มีผลประโยชน์อื่นที่อาจขัดแย้งกับผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของกิจการ เว้นแต่สามารถแสดงได้ว่ามีกลไกที่จะทําให้เชื่อมั่นได้ว่า การบริหารจัดการกิจการจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของกิจการและผู้ถือหุ้นโดยรวม
(ข) มีการถ่ายเทผลประโยชน์ออกจากกิจการ
ข้อ ๒๒ ผู้ขออนุญาตที่เป็นกิจการตามกฎหมายต่างประเทศ นอกจากต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 18 แล้ว ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ด้วย
(1) แสดงได้ว่าสามารถเสนอขายหุ้นกู้ได้โดยชอบภายใต้กฎหมายและกฎเกณฑ์ของต่างประเทศที่บังคับกับกิจการดังกล่าว
(2) มีบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนในประเทศไทย เพื่อทําหน้าที่ประสานงานและติดต่อกับบุคคลต่าง ๆ รวมทั้งรับหนังสือ คําสั่ง หมายเรียก หรือเอกสารใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการตามกฎหมายต่างประเทศได้ และแสดงได้ว่าบุคคลดังกล่าวจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้ ทั้งนี้ บุคคลดังกล่าวจะต้องสามารถทําหน้าที่ได้อย่างต่อเนื่องตลอดอายุของตราสาร
(3) ไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าหน่วยงานกํากับดูแลตลาดทุนของประเทศที่กิจการดังกล่าวจัดตั้งขึ้นจะไม่ให้ความช่วยเหลือแก่สํานักงานในการตรวจสอบหรือให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว
(4) กรณีเป็นกิจการต่างประเทศที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 21(3) ด้วย
ข้อ ๒๓ ผู้ขออนุญาตต้องจัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เป็นบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยคุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(2) เป็นบุคคลที่ทําหน้าที่ในลักษณะเดียวกับผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามที่กําหนดโดยกฎหมายของประเทศที่กิจการตามกฎหมายต่างประเทศจัดตั้งขึ้น และกิจการดังกล่าวต้องเป็นกิจการที่จัดตั้งขึ้นในประเทศสมาชิกอาเซียนที่หน่วยงานกํากับดูแลตลาดทุนของประเทศนั้น ๆ ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจกับสํานักงานตาม Memorandum of Understanding on Streamlined Review Framework for ASEAN Common Prospectus
หมวด ๒ วิธีการยื่นและการพิจารณาคําขออนุญาต
ในลักษณะรายครั้งและโครงการ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๔ ให้ผู้ที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้ยื่นคําขออนุญาตมาพร้อมกับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นกู้ต่อสํานักงานตามวิธีการที่กําหนดโดยข้อ 8 โดยให้ยื่นคําขออนุญาตได้ตามลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) การขออนุญาตในลักษณะรายครั้ง
(2) การขออนุญาตในลักษณะโครงการ
ในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิ หุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกกิจการ (perpetual bond) และหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงซึ่งต้องเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง ให้ยื่นคําขออนุญาตได้เฉพาะในลักษณะรายครั้งเท่านั้น
ข้อ ๒๕ ในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ตามข้อ 24 ให้ผู้ขออนุญาตยื่นคําขอความเห็นชอบบุคคลที่จะเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มาพร้อมกับคําขออนุญาตด้วย ทั้งนี้ ให้ถือว่าผู้ขออนุญาตได้รับความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จากสํานักงานในวันที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้
ข้อ ๒๖ ให้ผู้ขออนุญาตชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตต่อสํานักงานเมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ทั้งนี้ อัตราค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
ข้อ ๒๗ ผู้ขออนุญาตต้องจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ร่วมจัดทําคําขออนุญาต เว้นแต่ในกรณีที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ครบถ้วนดังต่อไปนี้
(1) เป็นบริษัทจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการกํากับดูแลกิจการที่ดีตามที่กําหนดในข้อ 29
(2) มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามที่กําหนดในข้อ 40 และได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับที่ลงทุนได้ (investment grade)
ข้อ ๒๘ เมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้สํานักงานพิจารณาตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาดังต่อไปนี้
(1) การพิจารณาคําขออนุญาตกรณีเร่งด่วน (fast track) ผู้ขออนุญาตต้องมีลักษณะตามหลักเกณฑ์ในข้อ 27 โดยให้สํานักงานดําเนินการตามขั้นตอนและระยะเวลาดังนี้
(ก) สอบทานข้อเท็จจริงตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชนและแจ้งประเด็นข้อสังเกตที่ได้จากการสอบทานข้อเท็จจริงเพื่อให้ผู้ขออนุญาตชี้แจงข้อสังเกตนั้นภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในหนังสือแจ้งข้อสังเกต โดยต้องดําเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังนี้ นับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน
1. ภายใน 10 วัน กรณีที่ร่างข้อกําหนดสิทธิของผู้ขออนุญาตที่ยื่นมาพร้อมกับคําขออนุญาตเป็นไปตามตัวอย่างที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
2. ภายใน 30 วัน กรณีที่ไม่เป็นไปตาม 1.
(ข) แจ้งผลการพิจารณาภายใน 14 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําชี้แจงต่อข้อสังเกตจากการสอบทานข้อเท็จจริงจากผู้ขออนุญาต
(2) การพิจารณาคําขออนุญาตกรณีทั่วไป ให้สํานักงานดําเนินการสอบทานข้อเท็จจริงตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชนและแจ้งประเด็นข้อสังเกตที่ได้จากการสอบทานข้อเท็จจริงเพื่อให้ผู้ขออนุญาตชี้แจงข้อสังเกตนั้นภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในหนังสือแจ้งข้อสังเกต โดยต้องดําเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน และให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาภายใน 30 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําชี้แจงต่อข้อสังเกตจากการสอบทานข้อเท็จจริงจากผู้ขออนุญาต
ในกรณีที่กิจการประสงค์จะขอผ่อนผันหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ ให้ผู้ขออนุญาตยื่นคําขอผ่อนผัน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอผ่อนผันต่อสํานักงานก่อนที่สํานักงานจะเริ่มการพิจารณาคําขออนุญาต ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน โดยสํานักงานจะพิจารณาคําขอผ่อนผันให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเดียวกันกับการพิจารณาอนุญาต
ข้อ ๒๙ กรณีที่ถือว่ามีประเด็นเกี่ยวกับการกํากับดูแลกิจการที่ดี ได้แก่กรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) อยู่ระหว่างดําเนินการตามคําสั่งของสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการไม่รักษาสิทธิของผู้ถือหุ้น การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างไม่เป็นธรรม หรือการเปิดเผยข้อมูลต่อผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไป
(2) มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ ในช่วง 1 ปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาต
(ก) มีประวัติถูกสํานักงานสั่งให้แก้ไขงบการเงิน
(ข) เป็นบริษัทที่เป็นเหตุให้สํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์ออกข่าวเตือนผู้ลงทุนหรือผู้ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวเกี่ยวกับการพิจารณาข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนหรือการใช้สิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นในการพิจารณาเกี่ยวกับการดําเนินการใด ๆ ของบริษัท
(ค) ถูกสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์มีคําสั่งหรือมีหนังสือกําชับหรือตักเตือนบริษัทเกี่ยวกับการไม่รักษาสิทธิของผู้ถือหุ้น การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างไม่เป็นธรรมหรือการเปิดเผยข้อมูลต่อผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไป
(3) เป็นบริษัทที่อยู่ระหว่างถูกตลาดหลักทรัพย์ขึ้นเครื่องหมาย NP (Notice Pending) หรือตลาดหลักทรัพย์มีคําสั่งห้ามซื้อหรือขายหลักทรัพย์จดทะเบียนของบริษัทเป็นการชั่วคราวโดยขึ้นเครื่องหมาย SP (Trading Suspension)
(4) มีกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอํานาจควบคุมที่มีลักษณะดังนี้
(ก) กรรมการหรือผู้บริหารถูกสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์มีคําสั่งหรือมีหนังสือกําชับหรือตักเตือนเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของกรรมการหรือผู้บริหารด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง และความซื่อสัตย์สุจริต หรือการไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับของบริษัท มติคณะกรรมการ หรือมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ในช่วง 1 ปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาต
(ข) กรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอํานาจควบคุมอยู่ระหว่างถูกสํานักงานสั่งให้ชี้แจง เนื่องจากมีเหตุสงสัยว่าบุคคลนั้นอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทําความผิด การกระทําที่ต้องห้าม หรือการกระทําที่เป็นเหตุให้มีลักษณะต้องห้าม ทั้งนี้ เฉพาะกรณีดังนี้ และกรณีดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของสํานักงาน
1. การกระทําการโดยไม่สุจริต หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
2. การเปิดเผยหรือเผยแพร่ข้อมูล หรือข้อความอันเป็นเท็จที่อาจทําให้สําคัญผิด หรือปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกให้แจ้งในสาระสําคัญซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
3. การกระทําอันไม่เป็นธรรมหรือการเอาเปรียบผู้ลงทุนในการซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าว
(ค) กรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอํานาจควบคุมอยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษโดยหน่วยงานทางการซึ่งเป็นผู้กํากับดูแลการประกอบธุรกิจโดยตรงของบริษัท หรืออยู่ระหว่างถูกดําเนินคดีอันเนื่องจากกรณีที่หน่วยงานดังกล่าวกล่าวโทษ ในมูลเหตุเนื่องจากการดําเนินงานที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริต เกี่ยวกับทรัพย์สินอันเป็นเหตุที่ทําให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง ทั้งนี้ ไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ
ข้อ ๓๐ ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ในลักษณะโครงการสามารถเสนอขายหุ้นกู้ได้ทุกลักษณะโดยไม่จํากัดมูลค่าและจํานวนครั้งที่เสนอขายนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานตามข้อ 28 จนสิ้นสุดอายุโครงการ รวมถึงให้ถือว่าผู้ได้รับอนุญาตดังกล่าวได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัดต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ในลักษณะโครงการด้วย ทั้งนี้ ให้การอนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ในลักษณะโครงการมีอายุ 2 ปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงาน
ข้อ ๓๑ ภายในระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 30 หากปรากฏว่าผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ในลักษณะโครงการไม่สามารถดํารงคุณสมบัติให้เป็นไปตามหมวด 1 ได้ ผู้ได้รับอนุญาตดังกล่าวจะดําเนินการเสนอขายหุ้นกู้ตามข้อ 30 ไม่ได้จนกว่าจะดําเนินการแก้ไขคุณสมบัติได้ก่อนสิ้นระยะเวลาตามข้อ 30 หากผู้ได้รับอนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ก่อนที่จะแก้ไขคุณสมบัติได้ ให้ถือว่าเป็นการเสนอขายหุ้นกู้โดยที่ไม่ได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ ทั้งนี้ ผู้ได้รับอนุญาตมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อ 43 ด้วย
หมวด ๓ เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓๒ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้หุ้นกู้ที่เสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) มีคําเรียกชื่อเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงถึงหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง ทั้งนี้ คําเรียกชื่อหุ้นกู้ดังกล่าวต้องแสดงถึงปีที่ครบกําหนดไถ่ถอน และลักษณะพิเศษของหุ้นกู้ (ถ้ามี) ไว้โดยชัดเจน
(2) มีการกําหนดอัตราดอกเบี้ยไว้อย่างแน่นอน หรือเป็นอัตราที่ผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น
(3) มีมูลค่าไถ่ถอนรวมเท่ากับมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นกู้ ทั้งนี้ ไม่ว่าหุ้นกู้นั้นจะมีการไถ่ถอนครั้งเดียวหรือหลายครั้ง
(4) จัดให้สัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 39
ข้อ ๓๓ ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้ด้อยสิทธิ สิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ดังกล่าวต้องด้อยกว่าสิทธิของเจ้าหนี้สามัญเฉพาะในเรื่องการรับชําระหนี้ตามหุ้นกู้นั้นเมื่อเกิดกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) ผู้ออกหุ้นกู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ หรือถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลาย
(2) มีการชําระบัญชีเพื่อเลิกกิจการ
(3) กรณีอื่นใดที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ข้อ ๓๔ ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกกิจการต้องมีการระบุให้ชัดเจนถึงสิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ดังกล่าวในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) ผู้ถือหุ้นกู้ไม่มีสิทธิเรียกให้ผู้ออกหุ้นกู้ไถ่ถอนหุ้นกู้ดังกล่าวก่อนมีการเลิกกิจการ
(2) ผู้ถือหุ้นกู้มีสิทธิเรียกให้ผู้ออกหุ้นกู้ไถ่ถอนหุ้นกู้ดังกล่าวก่อนมีการเลิกกิจการตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กําหนดไว้อย่างชัดเจน
ข้อ ๓๕ ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้มีประกันไม่ว่าหลักประกันของหุ้นกู้นั้นจะจัดให้มีพร้อมกับการเสนอขายหุ้นกู้หรือจัดเพิ่มเติมขึ้นในภายหลัง หลักประกันของหุ้นกู้ดังกล่าวต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) เป็นทรัพย์สินหรือการค้ําประกันที่มีการดําเนินการให้มีผลบังคับได้ตามกฎหมายโดยคํานึงถึงสภาพของหลักประกันแต่ละประเภท สามารถดํารงได้ตลอดอายุหุ้นกู้ และดูแลได้โดยผู้แทนผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ ทรัพย์สินที่เป็นหรือเกี่ยวข้องกับหลักประกันซึ่งเป็นทรัพย์สินอื่นใดที่ไม่ใช่ตราสารทางการเงิน ทรัพย์สินดังกล่าวต้องอยู่ในประเทศไทยและบังคับได้ตามกฎหมายไทย
(2) ในกรณีที่หลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสัญญาเช่าระยะยาว ผู้ออกหุ้นกู้ต้องจัดให้มีการประเมินค่าของหลักประกันดังกล่าวโดยผู้ประเมินราคาทรัพย์สินที่อยู่ในบัญชี
ที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ การประเมินราคาหรือการคํานวณมูลค่าของหลักประกันต้องคํานึงถึงสิทธิและภาระผูกพันใด ๆ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยบทกฎหมายหรือโดยสัญญาที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้นด้วย และต้องจัดทําขึ้นไม่เกินกว่า 1 ปีก่อนวันที่ออกหุ้นกู้นั้น เว้นแต่จะเป็นกรณีที่ราคาหรือมูลค่าของหลักประกันได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญในช่วงเวลาดังกล่าว ให้ผู้ออกหุ้นกู้จัดให้มีการประเมินค่าหลักประกันดังกล่าวใหม่
ข้อ ๓๖ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้มีประกันโดยหลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องดําเนินการจดทะเบียนให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เป็นผู้รับทรัพย์สินนั้นเป็นประกันตามกฎหมายด้วย
ข้อ ๓๗ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีข้อกําหนดสิทธิที่มีความชัดเจนและไม่มีข้อกําหนดที่เป็นการเอาเปรียบคู่สัญญาอย่างไม่เป็นธรรม และมีการลงลายมือชื่อผู้มีอํานาจลงนามผูกพันผู้ออกหุ้นกู้และประทับตราของผู้ออกหุ้นกู้ (ถ้ามี) ทั้งนี้ รายการและสาระสําคัญของข้อกําหนดสิทธิให้เป็นไปตามมาตรา 42
ข้อ ๓๘ การแก้ไขเพิ่มเติมสิทธิ หน้าที่ ความรับผิด หรือหลักประกันตามหุ้นกู้ภายหลังการออกหุ้นกู้ จะกระทําได้ต่อเมื่อการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวไม่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ของประกาศนี้ และการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นได้ดําเนินการโดยชอบตามข้อกําหนดสิทธิ โดยผู้ได้รับอนุญาตต้องแจ้งการแก้ไขเพิ่มเติม พร้อมทั้งส่งสําเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อสํานักงานและสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยภายใน 15 วันนับแต่วันที่การแก้ไขเพิ่มเติมมีผลใช้บังคับ
ในกรณีที่การดําเนินการตามวรรคหนึ่ง เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดสิทธิซึ่งกําหนดให้กระทําได้โดยการมีมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นกู้ หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นกู้ต้องระบุอย่างชัดเจนถึงสาเหตุแห่งการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดสิทธิ และผลกระทบที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นกับผู้ถือหุ้นกู้เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้ถือหุ้นกู้
ข้อ ๓๙ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้สัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มีความสอดคล้องกับข้อกําหนดสิทธิ โดยอย่างน้อยต้องมีรายการและสาระสําคัญดังต่อไปนี้
(1) ชื่อและที่อยู่ของคู่สัญญา
(2) วันที่สัญญามีผลใช้บังคับ
(3) อํานาจ หน้าที่ และความรับผิดของคู่สัญญา โดยมีข้อตกลงที่ระบุให้ผู้ได้รับอนุญาต และผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มีอํานาจ หน้าที่ และความรับผิดตามข้อกําหนดสิทธิทุกประการ
(4) อัตราและวิธีการจ่ายค่าตอบแทน หรือบําเหน็จในการปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ซึ่งต้องกําหนดไว้เป็นจํานวนที่แน่นอน รวมทั้งอัตราและวิธีการจ่ายคืนเงินทดรองซึ่งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ได้จ่ายไปเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(5) การสิ้นสุดของสัญญา
ข้อ ๔๐ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ และจัดทําอย่างต่อเนื่องตลอดอายุของหุ้นกู้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การเสนอขายหุ้นกู้ทุกประเภท ให้จัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ เว้นแต่เป็นหุ้นกู้ตาม (2)
(ก) อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง
(ข) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันหุ้นกู้ เฉพาะในกรณีที่เป็นการค้ําประกันเต็มจํานวนที่มีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของหุ้นกู้
(2) การเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นที่ไม่ใช่หุ้นกู้ด้อยสิทธิ ให้จัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
(ก) อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง
(ข) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันหุ้นกู้ เฉพาะในกรณีที่เป็นการค้ําประกันเต็มจํานวนที่มีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของหุ้นกู้
(ค) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ขออนุญาต ทั้งนี้ หากผู้ขออนุญาตเป็นสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ให้จัดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศเพิ่มเติมด้วย เว้นแต่ในวันที่ยื่นคําขออนุญาต สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศดังกล่าวสามารถดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนได้ตามวิธีการคํานวณดังนี้
เงินกองทุนทั้งสิ้น (total capital) ของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ 1.5 เท่าของอัตราส่วนเงินกองทุนตามที่
สินทรัพย์เสี่ยง + X ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
(X = มูลค่าตราสารหนี้ที่จะเสนอขายทั้งหมดในครั้งนี้โดยอ้างอิงอัตรา risk weighted ที่ 100%)
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับกรณีดังนี้
(1) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานได้มีหนังสือแจ้งต่อสํานักงานว่าไม่สามารถทําการจัดอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้ได้โดยมีเหตุอันสมควร และเหตุดังกล่าวไม่ได้เกิดจากผู้ออกหุ้นกู้ สํานักงานอาจผ่อนผันให้การจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้นกระทําโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถืออื่นที่สํานักงานกําหนดได้
(2) กรณีที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน โดยมีเหตุจําเป็นและสมควร หรือเป็นกรณีที่พิจารณาได้ว่าไม่จําเป็นต้องมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
ข้อ ๔๑ ในกรณีผู้ได้รับอนุญาตเป็นธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศซึ่งได้รับยกเว้นการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศตามข้อ 40 วรรคหนึ่ง (2) (ค) ต้องจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้น (total capital ratio) ของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ดํารงไว้ ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือน ภายในวันที่ 25 ของเดือนถัดไปไว้บนเว็บไซต์ของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ตลอดอายุของหุ้นกู้
ข้อ ๔๒ ผู้ได้รับอนุญาตต้องยื่นคําขอให้สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยพิจารณารับหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นตราสารหนี้ขึ้นทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันออกหุ้นกู้ดังกล่าว เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้น
ข้อ ๔๓ ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ในลักษณะโครงการที่ไม่สามารถดํารงคุณสมบัติตามข้อ 18(1) หรือข้อ 19(2) และ (3) ได้ ต้องแจ้งการไม่สามารถดํารงคุณสมบัติดังกล่าวต่อสํานักงานภายใน 7 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงกรณีนั้น
ข้อ ๔๔ ให้ผู้ได้รับอนุญาตส่งรายงานดังต่อไปนี้ ต่อสํานักงานตามวิธีการที่กําหนดโดยข้อ 8
(1) รายงานการเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ภายหลังการออกหุ้นกู้ ทั้งนี้ เมื่อผู้ได้รับอนุญาตได้ส่งเอกสารต่อสํานักงานครบถ้วนแล้ว ให้ผู้ได้รับอนุญาตเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ได้โดยถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว
(2) รายงานการไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนครบอายุ
(3) รายงานอัตราส่วนที่มีนัยสําคัญทางการเงินของกิจการรายปี (key financial ratio)
อื่นๆ - ภาค 3
การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศที่ออกใหม่ในวงจํากัด
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔๕ การอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจํากัด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้กระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์การอนุญาตและการยื่นคําขออนุญาตในส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 ของหมวด 2 ทั้งนี้ ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในส่วนที่ 3 ของหมวด 2 ด้วย
(2) การเสนอขายลักษณะอื่นที่ไม่ใช่การเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ตาม (1) ให้ถือว่าได้รับอนุญาตเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในส่วนที่ 1 ของหมวด 3 ทั้งนี้ ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในส่วนที่ 2 ของหมวด 3 ด้วย
หมวด ๑ ลักษณะการเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในวงจํากัด
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔๖ การเสนอขายหุ้นกู้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ถือเป็นการเสนอขายในวงจํากัด
(1) เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบัน
(2) เสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ ทั้งนี้ ไม่ว่าการเสนอขายในลักษณะดังกล่าวจะมีการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันด้วยหรือไม่ก็ตาม
(3) เสนอขายโดยได้รับผ่อนผันจากสํานักงาน โดยผู้ที่จะได้รับอนุญาตต้องแสดงได้ว่า
(ก) มีเหตุจําเป็นและสมควร
(ข) การเสนอขายดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในวงกว้าง
(ค) มีมาตรการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลงทุนอย่างเพียงพอแล้ว
หมวด ๒ การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ
ในวงจํากัดต่อผู้ลงทุนรายใหญ่
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔๗ ความในหมวดนี้ให้ใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัดต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 46(2)
ส่วน ๑ หลักเกณฑ์การอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔๘ ผู้ขออนุญาตจะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัดต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ขออนุญาตเป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 18(1) (2) (3) และ (4) ข้อ 19 ข้อ 20 ข้อ 21(1) และ (2) และข้อ 22(1) (2) และ (3)
(2) แบบแสดงรายการข้อมูลมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างครบถ้วน ทั้งนี้ ในการขออนุญาตในลักษณะโครงการ แบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวให้หมายถึงเฉพาะแบบแสดงรายการข้อมูลที่ได้ยื่นมาพร้อมกับคําขออนุญาตเท่านั้น
(3) ได้รับมติโดยชัดแจ้งจากคณะกรรมการบริษัทให้ออกหุ้นกู้ได้ เว้นแต่ผู้ได้รับอนุญาตเป็นบริษัทมหาชนจํากัดหรือบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ต้องได้รับมติให้ออกหุ้นกู้ที่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัดหรือกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับบริษัทต่างประเทศนั้น แล้วแต่กรณี
ความในวรรคหนึ่ง (3) ไม่ใช้กับกรณีที่บริษัทต้องออกหุ้นกู้ตามแผนฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแผนนั้นแล้ว
ข้อ ๔๙ ผู้ขออนุญาตต้องจัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ที่มีลักษณะตามข้อ 23
(2) เป็นทรัสต์ได้ตามกฎหมายต่างประเทศหรือเป็นสถาบันการเงินต่างประเทศที่มีลักษณะตามข้อ 22(3)
(3) เป็นบุคคลอื่นใดที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นรายกรณี
ส่วน ๒ การยื่นคําขออนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๕๐ ผู้ที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัดต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ต้องยื่นคําขออนุญาตและจดข้อจํากัดการโอน (ถ้ามี) กับสํานักงาน
ให้นําความในข้อ 24 ข้อ 25 และข้อ 26 มาใช้บังคับกับการยื่นคําขออนุญาตตามวรรคหนึ่ง โดยอนุโลม
ข้อ ๕๑ ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตภายใน 15 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน
ในกรณีที่กิจการประสงค์จะขอผ่อนผันหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ ให้ผู้ขออนุญาตยื่นคําขอผ่อนผัน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอผ่อนผันต่อสํานักงานมาพร้อมกับการยื่นคําขออนุญาต ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน โดยสํานักงานจะพิจารณาคําขอผ่อนผันให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเดียวกันกับการพิจารณาอนุญาตตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๕๒ ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ในลักษณะโครงการสามารถเสนอขายหุ้นกู้ได้ทุกลักษณะโดยไม่จํากัดมูลค่าและจํานวนครั้งที่เสนอขายนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานตามข้อ 51 จนสิ้นสุดอายุโครงการ ทั้งนี้ ให้การอนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ในลักษณะโครงการมีอายุ 2 ปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงาน
ข้อ ๕๓ ภายในระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 52 หากปรากฏว่าผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ในลักษณะโครงการไม่สามารถดํารงคุณสมบัติให้เป็นไปตามข้อ 48(1) ได้ ผู้ได้รับอนุญาตดังกล่าวจะดําเนินการเสนอขายหุ้นกู้ตามข้อ 52 ไม่ได้จนกว่าจะดําเนินการแก้ไขคุณสมบัติได้ก่อนสิ้นระยะเวลาตามข้อ 52 หากผู้ได้รับอนุญาตนั้นเสนอขายหุ้นกู้ก่อนที่จะแก้ไขคุณสมบัติได้ ให้ถือว่าเป็นการเสนอขายหุ้นกู้โดยที่ไม่ได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ ทั้งนี้ ผู้ได้รับอนุญาตมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อ 57(8) ด้วย
ส่วน ๓ เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๕๔ ให้ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัดต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในส่วนนี้
ข้อ ๕๕ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการให้หุ้นกู้ที่เสนอขายในวงจํากัดต่อผู้ลงทุนรายใหญ่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) มีลักษณะเป็นไปตามข้อ 32(1) (2) และ (3)
(2) เป็นหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ และมีข้อความในใบหุ้นกู้ที่เสนอขายแต่ละครั้งแสดงว่าผู้ได้รับอนุญาตจะไม่รับจดทะเบียนการโอนตราสารไม่ว่าในทอดใด ๆ หากการโอนนั้นจะขัดกับข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ตามที่ระบุไว้ ซึ่งต้องเป็นข้อจํากัดการโอนเดียวกับที่ได้จดทะเบียนไว้กับสํานักงาน
(3) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิหรือหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกกิจการ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 33 และข้อ 34 แล้วแต่กรณี
(4) กรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตจัดให้มีเอกสารประกอบการเสนอขายหุ้นกู้ เอกสารดังกล่าวจะต้องมีข้อความที่ระบุถึงข้อจํากัดการโอน และในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิ ให้ระบุการด้อยสิทธินั้นไว้ให้ชัดเจน
ข้อ ๕๖ ในกรณีผู้ได้รับอนุญาตประสงค์จะจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้วิเคราะห์ข้อมูลของผู้ได้รับอนุญาตเพื่อให้คําแนะนําในการกําหนดลักษณะ ข้อตกลง เงื่อนไข และอายุที่เหมาะสมในการออกและเสนอขายหุ้นกู้ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมอบหมายให้ที่ปรึกษาทางการเงินนั้นวิเคราะห์ข้อมูลดังต่อไปนี้
(1) ลักษณะการประกอบธุรกิจ และแผนธุรกิจในอนาคต
(2) ข้อมูลทางการเงินที่สําคัญตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน หรือข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
(3) วัตถุประสงค์การใช้เงิน
(4) แหล่งเงินทุนสํารองในการชําระหนี้
(5) ทรัพย์สินที่อาจใช้เป็นหลักประกันในการชําระหนี้
ผู้ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่งมีหน้าที่ต้องดําเนินการดังนี้ด้วย
(1) จัดส่งข้อมูลที่จําเป็นซึ่งมีความถูกต้องและครบถ้วนให้ที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ข้อมูลตามวรรคหนึ่ง
(2) จัดให้มีข้อตกลงให้ที่ปรึกษาทางการเงินจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่จัดทําขึ้นตามวรรคหนึ่งไว้อย่างน้อย 3 ปี
ข้อ ๕๗ ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัดต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) จัดให้การชักชวนหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือลงทุนในหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ดําเนินการผ่านบริษัทหลักทรัพย์ประเภทที่สามารถเป็นผู้ให้บริการดังกล่าวเกี่ยวกับหุ้นกู้ได้ เว้นแต่ผู้ได้รับอนุญาตมีสถานะเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่สามารถดําเนินการดังกล่าวได้อยู่แล้ว โดยให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับการให้บริการหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือลงทุนในหุ้นกู้ด้วย
(2) จัดให้มีการแจกสรุปข้อมูลสําคัญของตราสาร (factsheet) ให้แก่ผู้ลงทุนก่อนการเสนอขาย
(3) ดําเนินการเกี่ยวกับข้อกําหนดสิทธิตามหลักเกณฑ์ในข้อ 37 ข้อ 38 และข้อ 39
(4) กรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิ หรือหุ้นกู้ที่มีการครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกกิจการ ต้องจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามข้อ 40(1)
(5) ยื่นคําขอให้สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยพิจารณารับหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นตราสารหนี้ขึ้นทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันออกหุ้นกู้ดังกล่าว เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้น
(6) ในกรณีที่มีบุคคลใดแสดงความประสงค์ต่อผู้ได้รับอนุญาตที่จะลงทะเบียนการโอนหุ้นกู้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตตรวจสอบความถูกต้องของการโอนหุ้นกู้ หากพบว่าเป็นการโอนที่ขัดต่อข้อจํากัดการโอนที่ได้จดทะเบียนไว้กับสํานักงาน ผู้ได้รับอนุญาตต้องไม่ลงทะเบียนการโอนหุ้นกู้ เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก
ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง หากผู้ได้รับอนุญาตจัดให้มีนายทะเบียนหุ้นกู้ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการให้นายทะเบียนหุ้นกู้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่งด้วย
(7) ส่งรายงานต่อสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 44 โดยอนุโลม
(8) กรณีที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายในลักษณะโครงการ หากไม่สามารถดํารงคุณสมบัติตามข้อ 18(1) และข้อ 19(2) และ (3) ได้ ต้องแจ้งการไม่สามารถดํารงคุณสมบัติดังกล่าวต่อสํานักงานภายใน 7 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงกรณีนั้น
หมวด ๓ การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในวงจํากัดลักษณะอื่น
ที่ไม่ใช่การเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๕๘ ความในหมวดนี้ให้ใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัดตามข้อ 46(1) และ (3)
ส่วน ๑ การอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๕๙ การเสนอขายหุ้นกู้ตามหมวดนี้ ให้ถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานเมื่อมีลักษณะตามข้อ 18(4) และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 22(1) (2) และ (3) และได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ที่จะเสนอขายหุ้นกู้ต้องได้รับมติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 48(3)
(2) รายงานลักษณะหุ้นกู้ที่จะเสนอขายต่อสํานักงานตามวิธีการที่กําหนดโดยข้อ 8
(3) จดข้อจํากัดการโอนสําหรับหุ้นกู้ที่จะเสนอขายกับสํานักงาน โดยในการจดข้อจํากัดการโอนดังกล่าวต้องมีข้อความซึ่งแสดงได้ว่าผู้ออกหุ้นกู้จะไม่รับจดทะเบียนการโอนหุ้นกู้ไม่ว่าทอดใด ๆ หากการโอนหุ้นกู้ดังกล่าวจะทําให้หุ้นกู้ที่เสนอขายในครั้งนั้นไม่สามารถคงลักษณะการเสนอขายในวงจํากัดตามแต่ละลักษณะการเสนอขายที่กําหนดในข้อ 46 ได้ เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก
(4) กรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้มีประกันหรือหุ้นกู้ที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ผู้ที่จะเสนอขายหุ้นกู้ได้เสนอร่างข้อกําหนดสิทธิและร่างสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มาพร้อมกับการจดข้อจํากัดการโอนตาม (3)
(5) ในกรณีที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต้องมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 49
ข้อ ๖๐ ให้ถือว่าสํานักงานรับจดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ตามข้อ 59(3) ในวันที่สํานักงานได้รับการแสดงเจตนาจดข้อจํากัดการโอนที่มีข้อความตามข้อ 59(3) ครบถ้วนแล้ว
ส่วน ๒ เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๖๑ ให้ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัดลักษณะอื่นที่ไม่ใช่การเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ โดยอนุโลม
(1) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดส่งรายงานตามข้อ 44(1) และ (2)
(2) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับลักษณะของหุ้นกู้ตามข้อ 55
(3) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับที่ปรึกษาทางการเงิน (ถ้ามี) ตามข้อ 56
(4) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลงทะเบียนการโอนหุ้นกู้ตามข้อ 57(6)
ข้อ ๖๒ การเสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัดต่อผู้ลงทุนสถาบันตามข้อ 46(1) ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้
(1) กรณีเป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ให้ดําเนินการดังนี้
(ก) จัดให้มีข้อกําหนดสิทธิที่มีรายการอย่างน้อยตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 42 และดําเนินการให้เป็นไปตามข้อ 38 วรรคหนึ่ง
(ข) จัดให้มีการแจกสรุปข้อมูลสําคัญของตราสาร (factsheet) ให้แก่ผู้ลงทุนก่อนการเสนอขาย
(2) ยื่นคําขอให้สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยรับพิจารณารับหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นตราสารหนี้ขึ้นทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันออกหุ้นกู้ดังกล่าว เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้น
ข้อ ๖๓ การเสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัดโดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานตามข้อ 46(3) ผู้ได้รับอนุญาตต้องไม่โฆษณาการเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าว และหากมีการแจกจ่ายเอกสารประกอบการเสนอขาย ผู้ได้รับอนุญาตต้องแจกจ่ายให้เฉพาะบุคคลที่ได้รับการผ่อนผันเท่านั้น
หมวด ๔ บทเฉพาะกาล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๖๔ คําขออนุญาตที่ได้ยื่นต่อสํานักงานหรือได้รับอนุญาตจากสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้การขออนุญาตและการอนุญาตยังคงเป็นไปตามประกาศดังกล่าวและประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป
ข้อ ๖๕ ให้หุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทยลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ยังคงอยู่ภายใต้บังคับของประกาศดังกล่าวและประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป
ข้อ ๖๖ ในกรณีที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายหุ้นกู้ ซึ่งได้ยื่นไว้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนดังกล่าวยังคงอยู่ภายใต้บังคับของประกาศดังกล่าวต่อไป
ข้อ ๖๗ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ให้การอ้างอิงประกาศดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๖๘ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 26/2553 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงมีผลใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 525 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 40/2563 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 2) | -ร่าง-
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 40/2563
เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของวรรคหนึ่งในข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 62/2561 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทยลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัดต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจง ผู้ลงทุนสถาบัน หรือผู้ลงทุนรายใหญ่”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 24 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 62/2561 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ ให้ยื่นขออนุญาตได้เฉพาะในลักษณะรายครั้งเท่านั้น
(1) หุ้นกู้ด้อยสิทธิ
(2) หุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท (perpetual bond)
(3) หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงซึ่งต้องเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง
(4) หุ้นกู้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับต่ํากว่าที่ลงทุนได้ หรือหุ้นกู้ที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ทั้งนี้ การจัดอันดับความน่าเชื่อถือให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 40 วรรคหนึ่ง โดยอนุโลม”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 31 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 62/2561 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 31 ภายในระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 30 หากปรากฏเหตุการณ์ลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ผู้ได้รับอนุญาตจะเสนอขายหุ้นกู้ในลักษณะโครงการต่อไปไม่ได้จนกว่าจะดําเนินการแก้ไขคุณสมบัติตาม (1) หรือแก้ไขให้หุ้นกู้ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับที่ลงทุนได้ตาม (2) ก่อนสิ้นระยะเวลาตามข้อ 30 แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ผู้ได้รับอนุญาตมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อ 43 ด้วย
(1) ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ในลักษณะโครงการไม่สามารถดํารงคุณสมบัติให้เป็นไปตามหมวด 1 ในภาค 2 ได้
(2) หุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายในลักษณะโครงการได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับต่ํากว่าที่ลงทุนได้ หรือไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
หากผู้ได้รับอนุญาตเสนอขายหุ้นกู้โดยฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการเสนอขายหุ้นกู้โดยที่ไม่ได้รับอนุญาตตามประกาศนี้”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 43 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 62/2561 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 43 เมื่อปรากฏเหตุการณ์ลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ในลักษณะโครงการแจ้งเหตุการณ์ดังกล่าวต่อสํานักงานภายใน 7 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุการณ์นั้น
(1) ผู้ได้รับอนุญาตไม่สามารถดํารงคุณสมบัติตามข้อ 18(1) หรือข้อ 19(2) และ (3) ได้
(2) หุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับต่ํากว่าที่ลงทุนได้ หรือไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ”
ข้อ 5 ให้ยกเลิก (3) ของข้อ 44 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 62/2561 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561
ข้อ 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 44/1 ในหมวด 3 เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาต ของภาค 2 การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 62/2561 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561
“ข้อ 44/1 ให้ผู้ได้รับอนุญาตรายงานการผิดนัดชําระหนี้เงินต้นหรือดอกเบี้ยต่อผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ภายใน 1 วันทําการนับแต่วันที่ปรากฏเหตุผิดนัด”
ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในข้อ 46 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 62/2561 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 46 การเสนอขายหุ้นกู้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ถือเป็นการเสนอขายในวงจํากัด
(1) เสนอขายต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจํานวนไม่เกิน 10 ราย ในรอบระยะเวลา 4 เดือนใด ๆ
(2) เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบัน
(3) เสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่
(4) เสนอขายโดยได้รับผ่อนผันจากสํานักงาน โดยผู้ที่จะได้รับอนุญาตต้องแสดงได้ว่า
(ก) มีเหตุจําเป็นและสมควร
(ข) การเสนอขายดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในวงกว้าง
(ค) มีมาตรการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลงทุนอย่างเพียงพอแล้ว”
ข้อ 8 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 46/1 ในหมวด 1 ลักษณะการเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในวงจํากัด ของภาค 3 การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศที่ออกใหม่ในวงจํากัด แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 62/2561 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561
“ข้อ 46/1 การพิจารณาลักษณะการเสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัดตามข้อ 46 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การเสนอขายต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงตามข้อ 46(1) หากเป็นกรณีที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ผู้รับฝากทรัพย์สิน นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ผู้ค้าหลักทรัพย์ หรือบุคคลอื่นใด ถือครองหุ้นกู้แทนบุคคลอื่น ให้นับจํานวนผู้ลงทุนจากบุคคลที่เป็นเจ้าของที่แท้จริงของหุ้นกู้นั้น
(2) การเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันตามข้อ 46(2) หรือการเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 46(3) ไม่รวมถึงการเสนอขายต่อผู้ลงทุนดังกล่าวที่ได้จดข้อจํากัดการโอนไว้ไม่เกิน 10 รายในรอบระยะเวลา 4 เดือนใด ๆ โดยให้ถือว่ากรณีดังกล่าวเป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงตามข้อ 46(1)
(3) การเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 46(3) ให้หมายความรวมถึง การเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ที่มีการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันด้วย”
ข้อ 9 ให้ยกเลิกความในข้อ 47 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 62/2561 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 47 ความในหมวดนี้ให้ใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัดต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 46(3)”
ข้อ 10 ให้ยกเลิกความใน (1) ของวรรคหนึ่งในข้อ 48 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 62/2561 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทยลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) ผู้ขออนุญาตเป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 18(1) (2) (3) (4) และ (6) ข้อ 19 ข้อ 20 ข้อ 21(1) และ (2) และข้อ 22(1) (2) และ (3)”
ข้อ 11 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 51 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 62/2561 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 51 ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตภายใน 30 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน”
ข้อ 12 ให้ยกเลิกความในข้อ 53 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 62/2561 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 53 ภายในระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 52 หากปรากฏเหตุการณ์ลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ผู้ได้รับอนุญาตจะเสนอขายหุ้นกู้ในลักษณะโครงการต่อไปไม่ได้จนกว่าจะดําเนินการแก้ไขคุณสมบัติตาม (1) หรือแก้ไขให้หุ้นกู้ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับที่ลงทุนได้ตาม (2) แล้วแต่กรณี ก่อนสิ้นระยะเวลาตามข้อ 52 ทั้งนี้ ผู้ได้รับอนุญาตมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อ 57(8) ด้วย
(1) ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ในลักษณะโครงการไม่สามารถดํารงคุณสมบัติให้เป็นไปตามข้อ 48(1) ได้
(2) หุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายในลักษณะโครงการได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับต่ํากว่าที่ลงทุนได้ หรือไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
หากผู้ได้รับอนุญาตเสนอขายหุ้นกู้โดยฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการเสนอขายหุ้นกู้โดยที่ไม่ได้รับอนุญาตตามประกาศนี้”
ข้อ 13 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 55 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 62/2561 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) เป็นหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ และมีข้อความในใบหุ้นกู้ที่เสนอขายแต่ละครั้งแสดงว่าผู้ได้รับอนุญาตจะไม่รับจดทะเบียนการโอนหุ้นกู้ไม่ว่าในทอดใด ๆ หากการโอนนั้นจะขัดกับข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ตามที่ระบุไว้ ซึ่งต้องเป็นข้อจํากัดการโอนเดียวกับที่ได้จดทะเบียนไว้กับสํานักงาน เว้นแต่กรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ตามข้อ 46(3) ผู้ได้รับอนุญาตสามารถจดทะเบียนการโอนหุ้นกู้ไม่ว่าในทอดใด ๆ ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่และผู้ลงทุนสถาบันก็ได้”
ข้อ 14 ให้ยกเลิกความใน (7) ของข้อ 57 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 62/2561 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(7) กรณีที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายในลักษณะโครงการ หากปรากฏเหตุการณ์ลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ต้องแจ้งเหตุการณ์ดังกล่าวต่อสํานักงานภายใน 7 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุการณ์นั้น
(ก) ผู้ได้รับอนุญาตไม่สามารถดํารงคุณสมบัติตามข้อ 18(1) หรือข้อ 19(2)และ (3) ได้
(ข) หุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับต่ํากว่าที่ลงทุนได้ หรือไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ”
ข้อ 15 ให้ยกเลิก (8) ของข้อ 57 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 62/2561 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561
ข้อ 16 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 57/1 ในส่วนที่ 3 เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาต ของหมวด 2 การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในวงจํากัดต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ ในภาค 3 การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศที่ออกใหม่ในวงจํากัด แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 62/2561 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561
“ข้อ 57/1 ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัดต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ นอกจากจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 57 แล้ว ให้ผู้ได้รับอนุญาตรายงานการผิดนัดชําระหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 44 และข้อ 44/1 ด้วย”
ข้อ 17 ให้ยกเลิกความในข้อ 58 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 62/2561 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 58 ความในหมวดนี้ให้ใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัดตามข้อ 46(1) (2) และ (4)”
ข้อ 18 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6) ของข้อ 59 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 62/2561 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่5 ตุลาคม พ.ศ. 2561
“(6) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัดต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงตามข้อ 46(1) มูลค่าของหุ้นกู้ที่เสนอขายอยู่ในวงเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการควบคุมการทําธุรกรรมในตลาดทุนที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศ และมอบหมายให้สํานักงานเป็นผู้จัดสรร”
ข้อ 19 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 61 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 62/2561 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดส่งรายงานตามข้อ 44 และข้อ 44/1”
ข้อ 20 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 61/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 62/2561 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561
“ข้อ 61/1 การเสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัดต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงตามข้อ 46(1)ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้
(1) เสนอขายต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหลายบุคคลรวมกันดังนี้
(ก) ผู้ลงทุนสถาบัน
(ข) ผู้ลงทุนที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผู้ได้รับอนุญาตซึ่งจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท โดยในการพิจารณานั้นจะต้องคํานึงถึงความเหมาะสมในการลงทุนและการมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุน
ผู้ลงทุนที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผู้ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ได้แก่ กรรมการ ผู้บริหารของผู้ได้รับอนุญาต ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และบริษัทในเครือของผู้ได้รับอนุญาต (บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทย่อยในลําดับเดียวกัน หรือบริษัทร่วม)
เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคสอง
1. ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หมายความว่า ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท
2. บริษัทย่อยในลําดับเดียวกัน หมายความว่า บริษัทย่อยตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไปที่มีบริษัทใหญ่เป็นบริษัทเดียวกันไม่ว่าบริษัทย่อยนั้นจะอยู่ในชั้นลําดับใด ๆ
(2) ไม่โฆษณาการเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าว และหากจะมีการแจกจ่ายเอกสารประกอบการเสนอขาย ผู้ได้รับอนุญาตต้องแจกจ่ายให้เฉพาะบุคคลที่มีลักษณะหรือมีจํานวนอยู่ในวงจํากัดตามที่กําหนดไว้ในข้อ 46(1) เท่านั้น”
ข้อ 21 ให้ยกเลิกความในข้อ 62 และข้อ 63 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 62/2561 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 62 การเสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัดต่อผู้ลงทุนสถาบันตามข้อ 46(2) ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้
(1) กรณีเป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ให้ดําเนินการดังนี้
(ก) จัดให้มีข้อกําหนดสิทธิที่มีรายการอย่างน้อยตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 42 และดําเนินการให้เป็นไปตามข้อ 38 วรรคหนึ่ง
(ข) จัดให้มีการแจกสรุปข้อมูลสําคัญของตราสาร (factsheet) ให้แก่ผู้ลงทุนก่อนการเสนอขาย
(2) ยื่นคําขอให้สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยรับพิจารณารับหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นตราสารหนี้ขึ้นทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันออกหุ้นกู้ดังกล่าว เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้น
ข้อ 63 การเสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัดโดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานตามข้อ 46(4)ผู้ได้รับอนุญาตต้องไม่โฆษณาการเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าว และหากมีการแจกจ่ายเอกสารประกอบการเสนอขาย ผู้ได้รับอนุญาตต้องแจกจ่ายให้เฉพาะบุคคลที่ได้รับการผ่อนผันเท่านั้น”
ข้อ 22 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป เว้นแต่
(1) ข้อ 11 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
(2) ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 10 ข้อ 12 ข้อ 14 และข้อ 15 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
(3) ข้อ 1 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 17 ข้อ 18 ข้อ 20 และข้อ 21 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 526 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 51/2563 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 3) | -ร่าง-
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 51/2563
เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย
(ฉบับที่ 3)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (9) ของข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 62/2561 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2561
“(9) ไม่เคยมีประวัติฝ่าฝืนหลักเกณฑ์การนําเงินที่ได้รับจากการเสนอขายตราสารหนี้ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ภายในระยะเวลา 2 ปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาต”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 42/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 62/2561 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561
“ข้อ 42/1 ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ต้องนําเงินที่ได้รับจากการเสนอขายไปใช้ตามวัตถุประสงค์การใช้เงินที่เปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูล เว้นแต่มีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้เงินโดยชอบตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดสิทธิ”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3) ของข้อ 44 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 62/2561 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 40/2563 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
“(3) รายงานการใช้เงินที่ได้รับจากการเสนอขายหุ้นกู้ โดยในกรณีที่เป็นหุ้นกู้ที่มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตรายงานต่อผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ด้วย”
ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) ของข้อ 48 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 62/2561 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561
“(4) ไม่เคยมีประวัติฝ่าฝืนหลักเกณฑ์การนําเงินที่ได้รับจากการเสนอขายตราสารหนี้ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ภายในระยะเวลา 2 ปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาต”
ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 57/2 ในส่วนที่ 3 เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาต ของหมวด 2 การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในวงจํากัดต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ ในภาค 3การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศที่ออกใหม่ในวงจํากัด แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 62/2561 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561
“ข้อ 57/2 ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัดต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ต้องนําเงินที่ได้รับจากการเสนอขายไปใช้ตามวัตถุประสงค์การใช้เงินที่เปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูล เว้นแต่มีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้เงินโดยชอบตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดสิทธิ”
ข้อ 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (7) และ (8) ของข้อ 59 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 62/2561 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทยลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561
“(7) ผู้ที่จะเสนอขายหุ้นกู้ต้องไม่เคยมีประวัติฝ่าฝืนหลักเกณฑ์การนําเงินที่ได้รับจากการเสนอขายตราสารหนี้ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ภายในระยะเวลา 2 ปีก่อนวันแจ้งวัตถุประสงค์การใช้เงินที่ได้รับจากการเสนอขายหุ้นกู้ต่อสํานักงาน
(8) กรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ตามข้อ 46(1) ผู้ที่จะเสนอขายได้แจ้งวัตถุประสงค์การใช้เงินที่ได้รับจากการเสนอขายหุ้นกู้ต่อสํานักงานพร้อมกับการจดข้อจํากัดการโอนตาม (3)”
ข้อ 7 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 63/1 ในส่วนที่ 2 เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาต ของหมวด 3 การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในวงจํากัดลักษณะอื่นที่ไม่ใช่การเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ ในภาค 3 การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศที่ออกใหม่ในวงจํากัด แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 62/2561 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561
“ข้อ 63/1 ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัดต้องนําเงินที่ได้รับจากการเสนอขายหุ้นกู้ไปใช้ตามวัตถุประสงค์การใช้เงินที่ได้แจ้งไว้ต่อสํานักงาน หรือที่เปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูล เว้นแต่มีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้เงินโดยชอบตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดสิทธิ”
ข้อ 8 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 527 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 6/2564 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 6/2564
เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย
(ฉบับที่ 4)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 23/1 ในหมวด 1 หลักเกณฑ์การอนุญาต ของภาค 2 การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 62/2561 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561
“ข้อ 23/1 ในกรณีหุ้นกู้ที่ประสงค์จะเสนอขายเป็นหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกกิจการ (perpetual bond) ผู้ขออนุญาตต้องแสดงได้ว่าหุ้นกู้ดังกล่าวจะได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกหุ้นกู้ (issuer rating) อยู่ในระดับที่ลงทุนได้ (investment grade)”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 27 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 62/2561 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามที่กําหนดในหมวด 3 ของภาค 2 และได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับที่ลงทุนได้ (investment grade)”
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ของข้อ 32 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 62/2561 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561
“(5) มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามหลักเกณฑ์ในข้อ 40 โดยในกรณีเป็นหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกกิจการ (perpetual bond) ต้องมีอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกหุ้นกู้ (issuer rating) ในขณะที่เสนอขายอยู่ในระดับที่ลงทุนได้ (investment grade) ด้วย”
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 40 และข้อ 41 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 62/2561 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 40 ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้หุ้นกู้ที่เสนอขายมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่งตามตารางดังต่อไปนี้ โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน และจัดทําอย่างต่อเนื่องตลอดอายุของหุ้นกู้
| | | | |
| --- | --- | --- | --- |
| ลักษณะของหุ้นกู้ | การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ | การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ | การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ |
| - | ตราสาร (issue rating) | ผู้ค้ําประกัน (guarantor rating) | ผู้ออก (issuer rating) |
| (1) หุ้นกู้ที่มีการค้ําประกัน\* | P | P | - |
| (2) หุ้นกู้ระยะสั้น\*\* | P | - | P |
| (3) หุ้นกู้ที่มีลักษณะตาม (1) และ (2) | P | P | P |
| (4) หุ้นกู้ที่ไม่มีลักษณะตาม (1) (2) หรือ (3) | P | - | - |
\*การค้ําประกัน หมายถึง มีการค้ําประกันเต็มจํานวนที่มีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของหุ้นกู้
\*\*หุ้นกู้ระยะสั้น หมายถึง หุ้นกู้แปลงสภาพที่มีกําหนดเวลาชําระหนี้ไม่เกิน 270 วัน นับแต่วันที่ออก หรือหุ้นกู้ระยะสั้นที่ไม่ใช่หุ้นกู้ด้อยสิทธิ
ผู้ได้รับอนุญาตที่เป็นธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศซึ่งประสงค์จะจัดอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกหุ้นกู้ (issuer rating) ตามหลักเกณฑ์ในวรรคหนึ่งต้องจัดอันดับความน่าเชื่อถือของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศในไทยเพิ่มเติมด้วย เว้นแต่สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศดังกล่าวสามารถดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนในวันที่ยื่นคําขออนุญาตได้ตามวิธีการคํานวนดังต่อไปนี้ โดยต้องจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลตามข้อ 41 ด้วย
(X = มูลค่าตราสารหนี้ที่จะเสนอขายทั้งหมดในครั้งนี้โดยอ้างอิงอัตรา risk weighted ที่ 100%)
ความในวรรคหนึ่งและวรรคสองไม่ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้
(1) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานได้มีหนังสือแจ้งต่อสํานักงานว่าไม่สามารถทําการจัดอันดับความน่าเชื่อถือได้โดยมีเหตุผลอันสมควร และเหตุนั้นไม่ได้เกิดจากผู้ได้รับอนุญาต สํานักงานอาจผ่อนผันให้การจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้นกระทําโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถืออื่นที่สํานักงานกําหนดได้
(2) กรณีที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานโดยมีเหตุจําเป็นและสมควร หรือเป็นกรณีที่พิจารณาได้ว่าไม่จําเป็นต้องมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
ข้อ 41 ผู้ได้รับอนุญาตที่เป็นธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศซึ่งได้รับยกเว้นการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศในประเทศไทย ต้องจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้น (total capital ratio) ของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ดํารงไว้ ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือน ภายในวันที่ 25 ของเดือนถัดไปไว้บนเว็บไซต์ของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ตลอดอายุของหุ้นกู้”
ข้อ ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/1) ในวรรคหนึ่งของข้อ 48 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 62/2561 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 51/2563 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
“(1/1) กรณีผู้ขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกกิจการ (perpetual bond) ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 23/1 ด้วย”
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 55 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 62/2561 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) มีลักษณะเป็นไปตามข้อ 32(1) (2) (3) และ (5)”
ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 57 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 62/2561 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) ในการเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิหรือหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกกิจการ(perpetual bond) ต้องจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามหลักเกณฑ์ในข้อ 40 โดยให้นําข้อกําหนดเกี่ยวกับการผ่อนผันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามที่กําหนดในข้อ 40 มาใช้บังคับด้วย”
ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 528 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 20/2564 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (ฉบับที่ 5) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 20/2564
เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย
(ฉบับที่ 5)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 59 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 62/2561 เรื่อง การเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) รายงานลักษณะหุ้นกู้ที่จะเสนอขายต่อสํานักงานตามวิธีการที่กําหนดโดยข้อ 8 เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจํานวนไม่เกิน 10 รายตามข้อ 46(1)”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2564
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 529 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูกและการเปิดเผยข้อมูล | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทด. 2/2554
เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก
และการเปิดเผยข้อมูล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 มาตรา 56 มาตรา 67 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้และในแบบแนบท้ายประกาศนี้
(1) “ศุกูก” (Sukuk) หมายความว่า ตราสารทางการเงินที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) เป็นใบทรัสต์ที่ออกโดยทรัสตีผู้ออกศุกูก
(ข) มีการกําหนดโครงสร้างของการทําธุรกรรมของกองทรัสต์เพื่อนําเงินที่ได้จากการออกตราสารไปหาประโยชน์ในรูปแบบที่เป็นไปตามหลักศาสนาอิสลาม และ
(ค) มีการกําหนดไว้ล่วงหน้าอย่างชัดเจนเกี่ยวกับเงื่อนไขการคืนเงินลงทุนและอัตราหรือสัดส่วนการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนที่กองทรัสต์จะได้รับจากผู้ระดมทุนเพื่อประโยชน์ของผู้ถือตราสาร และมีการกําหนดเงื่อนไขการคืนเงินลงทุนและอัตราหรือสัดส่วนการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนที่กองทรัสต์จะจ่ายให้แก่ผู้ถือตราสารด้วย ซึ่งการกําหนดอัตราหรือสัดส่วนการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนดังกล่าวเป็นไปตามหลักศาสนาอิสลาม
(2) “ศุกูกระยะสั้น” หมายความว่า ศุกูกที่มีกําหนดเวลาคืนเงินลงทุนไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวันนับแต่วันที่ออกศุกูก
(3) “ศุกูกระยะสั้นที่ออกใหม่แบบเป็นโครงการ” หมายความว่า ศุกูกระยะสั้นที่ออกใหม่ซึ่งได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายได้หลายครั้งโดยไม่ต้องยื่นคําขออนุญาตอีกตามเงื่อนไขที่กําหนดในประกาศนี้
(4) “ผู้ระดมทุน” (Originator หรือ Obligor) หมายความว่า กิจการที่ได้ใช้ประโยชน์จากเงินที่ได้จากการขายศุกูกซึ่งอาจเป็นบุคคลเดียวกันกับทรัสตีผู้ออกศุกูกก็ได้
(5) “กองทรัสต์” หมายความว่า ทรัสต์ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุนซึ่งเกี่ยวข้องกับการออกศุกูก
(6) “ผู้ถือศุกูก” หมายความว่า ผู้ถือหลักทรัพย์ประเภทใบทรัสต์ที่จะได้รับประโยชน์จากกองทรัสต์เนื่องจากการออกศุกูกนั้น
(7) “ทรัสตีผู้ออกศุกูก” (Asset trustee) หมายความว่า ทรัสตีที่เป็นผู้ออกและเสนอขายศุกูกตามประกาศนี้ และเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิในทรัพย์สินของกองทรัสต์ตามกฎหมายเพื่อประโยชน์ของผู้ถือศุกูก
(8) “ศุกูกทรัสตี” (Sukuk trustee) หมายความว่า ทรัสตีที่ทําหน้าที่ดูแลรักษาสิทธิประโยชน์ของผู้ถือศุกูก
(9) “ที่ปรึกษาชะรีอะฮ์” (Shariah advisor) หมายความว่า ที่ปรึกษาซึ่งทําหน้าที่พิจารณาธุรกรรมตามหลักศาสนาอิสลาม
(10) “ผู้ขออนุญาต” หมายความว่า ผู้ที่ประสงค์จะออกและเสนอขายศุกูกซึ่งได้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายศุกูกตามประกาศนี้
(11) “สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย” หมายความว่า สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยที่ได้รับใบอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน
(12) “แบบแสดงรายการข้อมูล” หมายความว่า แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายศุกูก
(13) “ประกาศเกี่ยวกับการกําหนดค่าธรรมเนียม” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
(14) คําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” “ผู้ลงทุนรายใหญ่” “บริษัทจดทะเบียน” “บริษัทใหญ่”
“บริษัทย่อย” “บริษัทร่วม” “บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง” “ผู้บริหาร” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” “ผู้มีอํานาจควบคุม”
“ผู้ที่เกี่ยวข้อง” “การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ” “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” และ “งบการเงินรวม” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภทโดยอนุโลมและในกรณีที่ผู้ออกศุกูกเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ระดมทุน ให้คําว่า “ผู้ออกตราสารหนี้” ตามประกาศดังกล่าว หมายความรวมถึงผู้ระดมทุนด้วย
ข้อ ๒ การออกและเสนอขายศุกูกรวมทั้งหน้าที่ภายหลังการเสนอขายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การขออนุญาต การอนุญาตให้เสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ และเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในภาค 1
(2) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในภาค 2
(3) การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรศุกูก ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในภาค 3
(4) การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของทรัสตีผู้ออกศุกูกและผู้ระดมทุน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในภาค 4
ข้อ ๓ ในกรณีที่ทรัสตีผู้ออกศุกูกประกอบธุรกิจเป็นทรัสตีตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี ให้หน้าที่และความรับผิดชอบของทรัสตีผู้ออกศุกูกดังกล่าวจํากัดเฉพาะที่เกี่ยวกับการออกศุกูกเท่านั้น
ภาค ๑ การขออนุญาต การอนุญาตให้เสนอขายศุกูกที่ออกใหม่
และเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔ การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(1) การเสนอขายศุกูกแก่ประชาชนทั่วไปในประเทศไทย ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในหมวด 1 และหมวด 2
(2) การเสนอขายศุกูกในวงจํากัดในประเทศไทย ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในหมวด 1 และหมวด 3
(3) การเสนอขายศุกูกต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในหมวด 4
หมวด ๑ ข้อกําหนดสําหรับการเสนอขายศุกูกในประเทศไทย
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ส่วน ๑ ลักษณะของศุกูก
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๕ ศุกูกที่ออกตามหมวดนี้ต้องมีคําเรียกชื่อเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงถึงศุกูกที่เสนอขายในแต่ละรุ่น ทั้งนี้ คําเรียกชื่อศุกูกดังกล่าวต้องแสดงถึงปีที่ครบกําหนดอายุศุกูกและลักษณะพิเศษของศุกูก (ถ้ามี) ไว้โดยชัดเจน เช่น ศุกูกที่ครบกําหนดอายุเมื่อผู้ระดมทุนเลิกกิจการ (perpetual sukuk) ซึ่งผู้ถือศุกูกไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ทรัสตีผู้ออกศุกูกคืนเงินลงทุนก่อนผู้ระดมทุนเลิกกิจการ หรือผู้ถือศุกูกมีสิทธิเรียกร้องให้ทรัสตีผู้ออกศุกูกคืนเงินลงทุนก่อนผู้ระดมทุนเลิกกิจการได้เฉพาะเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขระยะเวลาที่กําหนดไว้อย่างชัดเจน
ข้อ ๖ ในกรณีที่จะเรียกศุกูกที่เสนอขายว่าศุกูกด้อยสิทธิ ศุกูกนั้นจะต้องไม่มีประกันและสัญญาก่อตั้งทรัสต์ได้กําหนดให้กองทรัสต์มีสิทธิในการรับชําระเงินด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญทั่วไปของผู้ระดมทุน อย่างน้อยในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ผู้ระดมทุนถูกพิทักษ์ทรัพย์หรือถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลาย หรือ
(2) มีการชําระบัญชีเพื่อเลิกกิจการของผู้ระดมทุน
ข้อ ๗ ในกรณีเป็นการเสนอขายศุกูกมีประกัน ให้นําหลักเกณฑ์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวกับลักษณะของหุ้นกู้มีประกัน การดําเนินการให้ทรัพย์สินหรือการค้ําประกันสามารถบังคับได้ตามกฎหมายในฐานะที่เป็นหลักประกัน และการประเมินมูลค่าของหลักประกัน มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
ข้อ ๘ ศุกูกที่ออกตามหมวดนี้ต้องมีข้อตกลงให้ชําระค่าศุกูกให้แก่ทรัสตีผู้ออกศุกูกเป็นสกุลเงินบาท
ส่วน ๒ ข้อกําหนดเกี่ยวกับร่างสัญญาก่อตั้งทรัสต์และผู้ที่เกี่ยวข้อง
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๙ ร่างสัญญาก่อตั้งทรัสต์สําหรับการออกและเสนอขายศุกูก ให้มีรายการตามที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานว่าด้วยข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก โดยต้องมีรายการขั้นต่ําดังต่อไปนี้
(1) วัตถุประสงค์ในการออกและเสนอขายศุกูก
(2) โครงสร้าง วิธีการ และธุรกรรม (ถ้ามี) ที่กองทรัสต์จะนําเงินที่ได้จากการเสนอขายศุกูกไปลงทุนหรือหาประโยชน์ โดยต้องระบุให้ชัดเจนว่ากองทรัสต์จะนําเงินไปลงทุนหรือหาประโยชน์จากผู้ระดมทุนในลักษณะใด และเป็นไปตามหลักการประเภทใดของศาสนาอิสลาม
(3) ข้อกําหนดเกี่ยวกับเงื่อนไขการคืนเงินลงทุน และอัตราหรือสัดส่วนการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนที่กองทรัสต์จะได้รับจากผู้ระดมทุนเพื่อประโยชน์ของผู้ถือศุกูก
(4) ข้อกําหนดเกี่ยวกับเงื่อนไขการคืนเงินลงทุน และอัตราหรือสัดส่วนการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนที่กองทรัสต์จะจ่ายให้แก่ผู้ถือศุกูก
(5) การดําเนินการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขและการเลิกสัญญาก่อตั้งทรัสต์
(6) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการจัดให้มีศุกูกทรัสตีซึ่งทําหน้าที่ดูแลรักษาสิทธิประโยชน์ของผู้ถือศุกูกให้เป็นไปตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ตลอดอายุของศุกูก
(7) สิทธิหน้าที่และความผูกพันของทรัสตีผู้ออกศุกูก ศุกูกทรัสตี ผู้ระดมทุน และผู้ถือศุกูก
เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาคําว่า “สัญญาก่อตั้งทรัสต์” ตามวรรคหนึ่งและที่จะกล่าวต่อไปในประกาศนี้ ให้คําดังกล่าวหมายความรวมถึงหนังสือแสดงเจตนาก่อตั้งทรัสต์ในกรณีที่ผู้ก่อตั้งทรัสต์และทรัสตีเป็นบุคคลเดียวกันด้วย
ข้อ ๑๐ ผู้ระดมทุนต้องเป็นกิจการที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
(2) เป็นนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(3) เป็นสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
ผู้ระดมทุนตามวรรคหนึ่งต้องได้รับมติโดยชัดแจ้งจากคณะกรรมการของผู้ระดมทุนให้ระดมทุนด้วยวิธีการออกศุกูกได้ เว้นแต่ผู้ระดมทุนเป็นบริษัทมหาชนจํากัดตามวรรคหนึ่ง (1) ต้องได้รับมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียง
ข้อ ๑๑ การทําธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการออกศุกูกใดซึ่งเข้าเงื่อนไขที่ต้องได้รับมติจากคณะกรรมการของกิจการหรือจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด หรือตามหมวด 3/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 การขอมติดังกล่าวผู้ระดมทุนอาจกระทําไปพร้อมกับการขอมติตามข้อ 10 วรรคสองก็ได้
ข้อ ๑๒ ผู้ขออนุญาตต้องได้รับมติโดยชัดแจ้งจากคณะกรรมการของผู้ขออนุญาตให้ออกศุกูกได้ และต้องเป็นทรัสตีตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตยังมิได้รับอนุญาตให้เป็นทรัสตีตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน ผู้ขออนุญาตต้องขออนุญาตเป็นทรัสตีผู้ออกศุกูกตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นทรัสตีในธุรกรรมที่เกี่ยวกับศุกูก
ข้อ ๑๓ ศุกูกทรัสตีต้องเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตีตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตต้องจัดให้มีที่ปรึกษาชะรีอะฮ์เพื่อให้ความเห็นว่าศุกูกที่ขออนุญาตเป็นไปตามหลักศาสนาอิสลาม ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดลักษณะหรือคุณสมบัติของที่ปรึกษาชะรีอะฮ์ที่จะสามารถให้ความเห็นดังกล่าวได้
ส่วน ๓ อํานาจของสํานักงานที่เกี่ยวกับการขออนุญาต
และการอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายศุกูกตามคําขออนุญาตได้
(1) ผู้ขออนุญาต ผู้ระดมทุน ตลอดจนลักษณะหรือข้อตกลงอื่นที่เกี่ยวข้องกับการออกศุกูกมีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการเสนอขายศุกูกนั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือประกาศนี้
(2) การเสนอขายศุกูกอาจขัดต่อนโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐ
(3) การเสนอขายศุกูกอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือต่อตลาดทุนไทยโดยรวม หรือ
(4) การเสนอขายศุกูกอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุนโดยรวม หรืออาจทําให้ผู้ลงทุนโดยรวมไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องหรือเพียงพอประกอบการตัดสินใจลงทุน
ข้อ ๑๖ ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้พิจารณาคําขออนุญาต หรือไม่นําเงื่อนไขตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับการเสนอขายศุกูกที่ได้รับอนุญาตได้
(1) มีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันให้ไม่มีนัยสําคัญสําหรับการพิจารณาอนุญาตในกรณีนั้น และประโยชน์ที่จะได้ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนในการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว
(2) ผู้ขออนุญาตหรือผู้ระดมทุนมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
(3) ผู้ขออนุญาตหรือผู้ระดมทุนมีมาตรการอื่นที่เพียงพอ และสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
การผ่อนผันตามวรรคหนึ่งให้คํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนและมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ขออนุญาตหรือผู้ระดมทุนต้องปฏิบัติด้วยก็ได้
หมวด ๒ การเสนอขายศุกูกแก่ประชาชนทั่วไปในประเทศไทย
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๗ ผู้ที่ประสงค์จะเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่แก่ประชาชนทั่วไป ให้ยื่นคําขออนุญาตพร้อมทั้งเอกสารตามข้อ 18 ต่อสํานักงาน โดยให้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขออนุญาตเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ดังกล่าวตามอัตราที่กําหนดไว้ในประกาศเกี่ยวกับการกําหนดค่าธรรมเนียม ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการยื่นคําขออนุญาตเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่เป็นรายครั้ง หรือเป็นการยื่นคําขออนุญาตเสนอขายศุกูกระยะสั้นที่ออกใหม่แบบเป็นโครงการ
คําขออนุญาตและเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตอื่นใดนอกเหนือจากเอกสารที่กําหนดตามข้อ 18 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
คําขออนุญาตตามวรรคหนึ่งต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําและรับรองข้อมูลตามที่กําหนดในหมวดนี้
ในกรณีที่ผู้ระดมทุนและผู้ขออนุญาตมิได้เป็นบุคคลเดียวกัน ผู้ระดมทุนต้องยื่นคําขออนุญาตร่วมกับผู้ขออนุญาตด้วย
ข้อ ๑๘ ผู้ที่ประสงค์จะเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่แก่ประชาชนทั่วไป ให้ยื่นเอกสารดังต่อไปนี้ มาพร้อมกับคําขออนุญาตตามข้อ 17
(1) คําขออนุญาตเป็นทรัสตีผู้ออกศุกูก เฉพาะกรณีที่ผู้ขออนุญาตยังมิได้รับอนุญาตให้เป็นทรัสตี
(2) ร่างสัญญาก่อตั้งทรัสต์เพื่อรองรับการออกศุกูก
(3) หนังสือรับรองของที่ปรึกษาทางการเงินที่ร่วมจัดทําคําขออนุญาตเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ซึ่งรับรองอย่างน้อยในประเด็นดังต่อไปนี้
(ก) การขออนุญาตเสนอขายศุกูกนี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ครบถ้วนแล้ว
(ข) ข้อมูลและข้อความที่ปรากฏในคําขออนุญาตถูกต้อง ครบถ้วน และไม่มีข้อความที่อาจทําให้สําคัญผิด ทั้งนี้ การรับรองข้อมูลและข้อความในกรณีนี้อาจจํากัดการรับรอง
โดยไม่รวมถึงการรับรองความถูกต้องครบถ้วนเกี่ยวกับความเห็นของที่ปรึกษาชะรีอะฮ์ก็ได้
(ค) การคัดเลือกที่ปรึกษากฎหมายและที่ปรึกษาชะรีอะฮ์ซึ่งให้ความเห็นเกี่ยวกับการออกศุกูกนี้ ได้คํานึงถึงความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ในวิชาชีพ และสามารถให้ความเห็นได้อย่างเหมาะสมแล้ว โดยที่ปรึกษาชะรีอะฮ์มีคุณสมบัติไม่ขัดต่อหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด
(4) สําเนาความเห็นของที่ปรึกษาชะรีอะฮ์
ข้อ ๑๙ ให้นําหลักเกณฑ์ในเรื่องดังต่อไปนี้ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
(1) การรับผิดชอบค่าใช้จ่ายกรณีสํานักงานไปเยี่ยมชมกิจการ
(2) การแจ้งให้ผู้ยื่นคําขอมาชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติม
ข้อ ๒๐ ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานครบถ้วน
ข้อ ๒๑ ผู้ที่ยื่นคําขออนุญาตตามข้อ 17 จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายศุกูกที่ออกใหม่เป็นรายครั้ง หรือได้รับอนุญาตให้เสนอขายศุกูกระยะสั้นที่ออกใหม่แบบเป็นโครงการต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 แล้ว
ส่วน ๑ การให้ความเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๒ ผู้ขออนุญาตต้องจัดให้มีที่ปรึกษากฎหมายที่ให้ความเห็นว่าร่างสัญญาก่อตั้งทรัสต์นั้นสามารถบังคับได้ตามกฎหมาย
ในกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อประโยชน์ของผู้ลงทุน สํานักงานอาจกําหนดให้ผู้ขออนุญาตจัดให้มีความเห็นของที่ปรึกษากฎหมายเพิ่มเติมในประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้องด้วยก็ได้
ข้อ ๒๓ ผู้ขออนุญาตต้องรับรองว่าศุกูกที่ขออนุญาตได้ผ่านการพิจารณาของที่ปรึกษาชะรีอะฮ์ ซึ่งให้ความเห็นว่าศุกูกดังกล่าวมีลักษณะเป็นไปตามหลักศาสนาอิสลามแล้ว
ส่วน ๒ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับผู้ขออนุญาตและผู้ระดมทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๔ ให้นําหลักเกณฑ์ในเรื่องลักษณะของผู้ขออนุญาตที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ในการเสนอขายตราสารหนี้ในกรณีทั่วไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ มาใช้บังคับกับลักษณะของผู้ขออนุญาตและผู้ระดมทุนด้วยโดยอนุโลม
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ระดมทุน ผู้ขออนุญาตและผู้ระดมทุนต้องใช้รอบระยะเวลาบัญชีเดียวกัน
ส่วน ๓ เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๕ ทรัสตีผู้ออกศุกูกต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ โดยให้นําหลักเกณฑ์ตามประกาคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(1) การจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของศุกูกก่อนการเสนอขายศุกูกในแต่ละครั้งและอย่างต่อเนื่องจนกว่าสิทธิของผู้ถือศุกูกจะระงับลง
(2) การยื่นคําขอให้สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยพิจารณารับขึ้นทะเบียนศุกูก
ข้อ ๒๖ ทรัสตีผู้ออกศุกูกต้องดําเนินการหรือปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีศุกูกทรัสตีและจัดทําสัญญาก่อตั้งทรัสต์ให้เป็นไปตามสาระที่ผ่านการพิจารณาของสํานักงานแล้ว โดยต้องจัดทําสัญญาก่อตั้งทรัสต์และจัดส่งคู่ฉบับสัญญาดังกล่าวต่อสํานักงานก่อนเริ่มการเสนอขายศุกูก
(2) ดําเนินการให้ใบจองซื้อมีข้อความที่มีนัยสําคัญว่าการลงนามจองซื้อหรือสั่งซื้อศุกูกนี้ มีผลเท่ากับผู้ซื้อยินยอมผูกพันตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของศุกูกนั้น
(3) ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นทรัสตีในธุรกรรมที่เกี่ยวกับศุกูก
(4) ในกรณีที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาก่อตั้งทรัสต์ การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์และไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดของประกาศนี้ และให้ส่งคู่ฉบับสัญญาซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมนั้นให้สํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ลงนามหรือวันที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถตรวจสอบดูได้ และในกรณีที่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาก่อตั้งทรัสต์ที่มีผลต่อผลประโยชน์ตอบแทนหรือการคืนเงินลงทุนของศุกูก ให้ทรัสตีผู้ออกศุกูกส่งสําเนาสัญญาการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวต่อสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยในเวลาเดียวกันนั้นด้วย
(5) ในกรณีที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาก่อตั้งทรัสต์ซึ่งต้องได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือศุกูก หนังสือนัดประชุมผู้ถือศุกูกต้องระบุอย่างชัดเจนถึงสาเหตุแห่งการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาและผลกระทบที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นกับผู้ถือศุกูกเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้ถือศุกูกด้วย
(6) ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงศุกูกทรัสตีตามที่สัญญาก่อตั้งทรัสต์หรือกฎหมายกําหนดให้ทรัสตีผู้ออกศุกูกแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้ผู้ถือศุกูกทราบภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ใน
สัญญาก่อตั้งทรัสต์ และให้แจ้งต่อสํานักงานตามวิธีการที่สํานักงานกําหนดภายในระยะเวลาเดียวกันนั้นด้วย
ข้อ ๒๗ ในกรณีที่สํานักงานอนุญาตให้เสนอขายศุกูกระยะสั้นที่ออกใหม่แบบเป็นโครงการ ทรัสตีผู้ออกศุกูกสามารถเสนอขายศุกูกระยะสั้นที่ออกใหม่ภายใต้โครงการดังกล่าวได้โดยไม่จํากัดจํานวนครั้งหรือรุ่นที่เสนอขายแต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ศุกูกระยะสั้นที่เสนอขายในแต่ละครั้งหรือแต่ละรุ่นเป็นประเภทและชนิดเดียวกัน รวมทั้งมีข้อผูกพันเกี่ยวกับการออกศุกูกระยะสั้นเป็นอย่างเดียวกัน แต่ไม่รวมถึงข้อผูกพันเกี่ยวกับผลประโยชน์ตอบแทนและอายุของศุกูก
(2) ระยะเวลาการเสนอขายในแต่ละครั้งหรือแต่ละรุ่นอยู่ในช่วงหนึ่งปีนับแต่วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นไว้ตามข้อ 45 มีผลใช้บังคับ
(3) มูลค่าการเสนอขายครั้งใดเมื่อรวมกับศุกูกระยะสั้นอื่นที่ยังไม่ครบอายุ มีมูลค่าไม่เกินกว่ามูลค่าที่ระบุไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลที่ได้ยื่นไว้ตามข้อ 45
ข้อ ๒๘ ให้การอนุญาตเสนอขายศุกูกระยะสั้นที่ออกใหม่แบบเป็นโครงการสิ้นสุดลงเมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้
(1) ทรัสตีผู้ออกศุกูกหรือผู้ระดมทุนมีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 24
(2) ทรัสตีผู้ออกศุกูกไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 27
หมวด ๓ การเสนอขายศุกูกในวงจํากัดในประเทศไทย
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๙ การพิจารณาลักษณะการเสนอขายศุกูกในวงจํากัด ให้นําหลักเกณฑ์การพิจารณาลักษณะการขายในวงจํากัดของการเสนอขายหุ้นกู้และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ส่วน ๑ การจดข้อจํากัดการโอน และการอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓๐ ผู้ที่ประสงค์จะเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ในวงจํากัด หากได้จดข้อจํากัดการโอนศุกูกที่จะเสนอขายกับสํานักงานแล้ว ให้ถือว่าผู้นั้นได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายศุกูกที่ออกใหมตามหมวดนี้ โดยการยื่นจดข้อจํากัดการโอนนั้นให้มีเอกสารดังต่อไปนี้
(1) คํารับรองว่าผู้ที่ประสงค์จะเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดในประกาศนี้ และได้ดําเนินการด้วยความระมัดระวังอย่างดีที่สุดแล้วเพื่อให้สัญญาก่อตั้งทรัสต์สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย
(2) คําขออนุญาตเป็นทรัสตีผู้ออกศุกูก เฉพาะกรณีที่ผู้ที่ประสงค์จะเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นทรัสตี
(3) ร่างสัญญาก่อตั้งทรัสต์เพื่อรองรับการออกศุกูก
(4) สําเนาความเห็นของที่ปรึกษาชะรีอะฮ์ซึ่งเห็นว่าศุกูกดังกล่าวมีลักษณะเป็นไปตามหลักศาสนาอิสลามแล้ว
(5) หนังสือขอจดข้อจํากัดการโอนศุกูกที่ขออนุญาต
(6) เอกสารอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนดเพิ่มเติม
ข้อ ๓๑ ข้อจํากัดการโอนตามข้อ 30(5) ต้องมีข้อความซึ่งแสดงว่าทรัสตีผู้ออกศุกูกจะไม่รับจดทะเบียนการโอนศุกูกไม่ว่าทอดใด ๆ หากการโอนศุกูกดังกล่าวจะทําให้ศุกูกที่เสนอขายในครั้งนั้นไม่สามารถคงลักษณะการเสนอขายในวงจํากัดได้ตามหมวดนี้ เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก
ส่วน ๒ เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓๒ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ทั้งจํานวนต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ทรัสตีผู้ออกศุกูกต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ โดยให้นําหลักเกณฑ์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องดําเนินการดังกล่าวมาใช้บังคับโดยอนุโลม
(1) การจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของศุกูกก่อนการเสนอขายศุกูกในแต่ละครั้งและอย่างต่อเนื่องจนกว่าสิทธิของผู้ถือศุกูกจะระงับลง
(2) การยื่นคําขอให้สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยพิจารณารับขึ้นทะเบียนศุกูก
ในกรณีเป็นการเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ในวงจํากัดในกรณีอื่นใดนอกจากการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ทรัสตีผู้ออกศุกูกต้องไม่โฆษณาการเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ และหากจะมีการแจกจ่ายเอกสารประกอบการเสนอขาย ทรัสตีผู้ออกศุกูกต้องแจกจ่ายเอกสารให้เฉพาะบุคคลที่มีลักษณะหรือมีจํานวนอยู่ในวงจํากัดตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
ข้อ ๓๓ ให้นําความในข้อ 26(3) (4) (5) และ (6) มาใช้บังคับกับทรัสตีผู้ออกศุกูกด้วยโดยอนุโลม และทรัสตีผู้ออกศุกูกต้องดําเนินการหรือปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ดําเนินการให้มีการเปิดเผยเรื่องข้อจํากัดการโอนศุกูกในแบบแสดงรายการข้อมูล หรือเอกสารอื่นที่ใช้ในการเสนอขายศุกูกนั้น รวมทั้งในใบศุกูก และในการจัดทําทะเบียนผู้ถือศุกูก ต้องมีการตรวจสอบผู้ขอลงทะเบียน และปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อจํากัดการโอนที่สํานักงานรับจดทะเบียนไว้แล้วด้วย
(2) แต่งตั้งศุกูกทรัสตีและจัดทําสัญญาก่อตั้งทรัสต์ให้เป็นไปตามสาระของร่างสัญญาก่อตั้งทรัสต์ที่ได้ยื่นไว้ในข้อ 30(3) โดยต้องจัดทําและจัดส่งคู่ฉบับสัญญาดังกล่าวต่อสํานักงานก่อนเริ่มการเสนอขายศุกูก
(3) ดําเนินการให้ใบจองซื้อมีข้อความที่มีนัยสําคัญว่าการลงนามจองซื้อหรือสั่งซื้อศุกูกนี้ มีผลเท่ากับผู้ซื้อยินยอมผูกพันอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(ก) ยินยอมผูกพันตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของศุกูกนั้น
(ข) รับทราบเรื่องข้อจํากัดการโอนของศุกูกดังกล่าว
(4) ดําเนินการให้ศุกูกที่ออกตามหมวดนี้เป็นประเภทระบุชื่อผู้ถือ
หมวด ๔ การเสนอขายศุกูกต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓๔ ศุกูกที่ขออนุญาตเสนอขายตามหมวดนี้ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) มีข้อตกลงที่จะชําระค่าตอบแทนและคืนเงินลงทุนเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ และ
(2) เป็นศุกูกที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศทั้งจํานวน
ให้นําความในข้อ 12 และส่วนที่ 3 ของหมวด 1 มาใช้บังคับกับหมวดนี้ด้วยโดยอนุโลม
ข้อ ๓๕ ให้ผู้ที่ประสงค์จะเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ
ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานตามที่สํานักงานประกาศกําหนด และ
ให้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขออนุญาตเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ดังกล่าวตามอัตราที่กําหนดไว้ในประกาศเกี่ยวกับการกําหนดค่าธรรมเนียม
ข้อ ๓๖ เมื่อผู้ขออนุญาตได้ยื่นคําขออนุญาตแล้ว สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตภายในสามวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วน
ส่วน ๑ หลักเกณฑ์การอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓๗ ผู้ยื่นคําขออนุญาตตามข้อ 35 จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) สามารถแสดงได้ว่าการเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ที่ยื่นขออนุญาตจะกระทําต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ
(2) สามารถแสดงได้ว่าการซื้อขายหรือการโอนศุกูกที่ยื่นขออนุญาตไม่ว่าทอดใด ๆ จะกระทําในต่างประเทศ
(3) รับรองว่าผู้ขออนุญาตได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดในประกาศนี้ และได้ดําเนินการด้วยความระมัดระวังอย่างดีที่สุดเพื่อให้สัญญาก่อตั้งทรัสต์สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย
ส่วน ๒ เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓๘ ให้ทรัสตีผู้ออกศุกูกดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ส่งสัญญาก่อตั้งทรัสต์ให้สํานักงานก่อนเริ่มการเสนอขายศุกูก
(2) รายงานผลการขายศุกูกตามที่สํานักงานประกาศกําหนดโดยรายงานดังกล่าวให้กระทําภายในสิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขาย
(3) แจ้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบถึงการขายศุกูกต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศภายในสามวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายโดยให้แนบเอกสารประกอบการเสนอขายไปพร้อมกับการแจ้งดังกล่าวด้วย
ภาค ๒ การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓๙ การเสนอขายศุกูกโดยทรัสตีผู้ออกศุกูกหรือผู้ถือศุกูกให้อยู่ภายใต้บังคับของหมวดนี้ เว้นแต่เป็นกรณีที่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายศุกูก
หมวด ๑ วิธีการยื่น และค่าธรรมเนียม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔๐ ให้ผู้เสนอขายศุกูกยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามที่กําหนดในหมวด 2 และร่างหนังสือชี้ชวนตามแบบที่กําหนดตามมาตรา 72 ต่อสํานักงาน โดยให้ผู้เสนอขายปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน พร้อมเอกสารหลักฐานตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ จํานวนสามชุด
(2) ยื่นเอกสารสรุปลักษณะสําคัญและความเสี่ยงของตราสาร (fact sheet) ซึ่งมีรายละเอียดสอดคล้องกับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
(3) ส่งข้อมูลในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
(4) ข้อมูลที่ผู้เสนอขายศุกูกยื่นต่อสํานักงานทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน
(5) ในกรณีเป็นการเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ซึ่งทรัสตีผู้ออกศุกูกเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ระดมทุน ทรัสตีผู้ออกศุกูกต้องจัดให้ผู้ระดมทุนเป็นผู้ร่วมยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลต่อสํานักงาน
ในการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้ทรัสตีผู้ออกศุกูกแนบเอกสารที่ผู้ระดมทุนลงนามผูกพันว่าจะดําเนินการจัดทําและส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของผู้ระดมทุนตามภาค 4 ด้วย
(6) ในกรณีที่ผู้ถือศุกูกประสงค์จะเสนอขายศุกูกแก่ประชาชนเป็นการทั่วไป ให้ผู้ถือศุกูกจัดส่งหนังสือของทรัสตีผู้ออกศุกูกและผู้ระดมทุนที่แจ้งต่อสํานักงานว่าได้ทราบถึงการเสนอขายศุกูกของผู้ถือศุกูกนั้นแล้ว และทราบถึงหน้าที่ที่จะต้องจัดทําและส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของทรัสตีผู้ออกศุกูกและผู้ระดมทุนตามภาค 4
ข้อ ๔๑ ให้ผู้เสนอขายศุกูกชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ ในวันที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล
หมวด ๒ แบบแสดงรายการข้อมูล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔๒ การเสนอขายศุกูกต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ซึ่งมีข้อจํากัดการโอนหรือเงื่อนไขการโอนให้จํากัดอยู่ในกลุ่มผู้ลงทุนดังกล่าว ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลดังต่อไปนี้
(1) การเสนอขายศุกูกระยะสั้นที่ออกใหม่หลายรุ่นหรือหลายครั้งที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 43 ให้ยื่นแบบ 69-SK ท้ายประกาศนี้ ก่อนการเสนอขายศุกูกระยะสั้นครั้งแรกและเมื่อแบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับแล้วให้ทรัสตีผู้ออกศุกูกสามารถเสนอขายศุกูกระยะสั้นที่ออกใหม่ภายใต้แบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวโดยไม่จํากัดจํานวนครั้งที่เสนอขาย
(2) การเสนอขายศุกูกที่นอกเหนือจากกรณีตาม (1) ให้ยื่นแบบ 69-SK ท้ายประกาศนี้ทุกครั้งก่อนการเสนอขายศุกูกนั้นในแต่ละครั้ง
ข้อ ๔๓ การเสนอขายศุกูกระยะสั้นที่จะได้ประโยชน์จากการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามข้อ 42(1) ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เป็นศุกูกระยะสั้นประเภทและชนิดเดียวกัน รวมทั้งมีข้อผูกพันที่เกี่ยวกับการออกศุกูกระยะสั้นเป็นอย่างเดียวกัน แต่ไม่รวมถึงข้อผูกพันที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ตอบแทนและอายุของศุกูกดังกล่าว
(2) ระยะเวลาการเสนอขายในแต่ละครั้งหรือแต่ละรุ่นอยู่ในช่วงหนึ่งปีนับแต่วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นไว้ตามข้อ 42(1) มีผลใช้บังคับ
(3) มูลค่าการเสนอขายครั้งใดเมื่อรวมกับศุกูกระยะสั้นอื่นที่ยังไม่ครบอายุ มีมูลค่าไม่เกินกว่ามูลค่าที่ระบุไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลที่ได้ยื่นไว้ตามข้อ 42(1)
ข้อ ๔๔ การเสนอขายศุกูกแก่ประชาชนทั่วไป หรือที่ไม่เป็นไปตามลักษณะในข้อ 42ให้ยื่นแบบ 69-SUKUK ท้ายประกาศนี้ทุกครั้งก่อนการเสนอขาย เว้นแต่เป็นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 45
ข้อ ๔๕ การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลสําหรับการเสนอขายศุกูกระยะสั้นที่ออกใหม่แบบเป็นโครงการตามที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 27 ให้ยื่นแบบ 69-SUKUK ท้ายประกาศนี้ก่อนการเสนอขายศุกูกครั้งแรกของโครงการ และเมื่อแบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับแล้ว ให้ทรัสตีผู้ออกศุกูกสามารถเสนอขายศุกูกระยะสั้นที่ออกใหม่ภายใต้แบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวโดยไม่จํากัดจํานวนครั้งหรือรุ่นที่เสนอขาย แต่ระยะเวลาและมูลค่าการเสนอขายต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 27(2) และ (3)
ข้อ ๔๖ การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามข้อ 44 หรือข้อ 45 และร่างหนังสือชี้ชวนการเสนอขายศุกูกดังกล่าว ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําและรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล
ข้อ ๔๗ งบการเงินและงบการเงินรวมของทรัสตีผู้ออกศุกูกและของผู้ระดมทุนที่เปิดเผยในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการทีคณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนดตามความในมาตรา 56 โดยอนุโลม
ข้อ ๔๘ ก่อนสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอขายศุกูก หากผู้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลได้เปิดเผยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญที่มิได้ระบุอยู่ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนให้แก่บุคคลใดเป็นการเฉพาะรายเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ความเหมาะสมของการลงทุน หรือการตัดสินใจลงทุน ผู้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลต้องดําเนินการให้มีการเปิดเผยข้อเท็จจริง
ดังกล่าวเพิ่มเติมในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนโดยพลันภายในระยะเวลาดังนี้
(1) ในกรณีที่แบบแสดงรายการข้อมูลยังไม่มีผลใช้บังคับ ต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับ
(2) ในกรณีที่แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับแล้ว ต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวภายในวันทําการถัดจากวันที่ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงต่อบุคคลนั้น
ข้อ ๔๙ ในกรณีที่ผู้เสนอขายศุกูกมีการเสนอขายศุกูกชนิดหรือรุ่นเดียวกันนั้นในต่างประเทศด้วย ข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นต่อสํานักงานต้องมีรายละเอียดไม่น้อยกว่าข้อมูลที่ได้เปิดเผยในการเสนอขายศุกูกนั้นในต่างประเทศ เว้นแต่เป็นข้อมูลในส่วนที่ไม่ใช่สาระสําคัญสําหรับการเสนอขายศุกูกในประเทศ
หมวด ๓ อํานาจของสํานักงานเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๕๐ ให้สํานักงานมีอํานาจผ่อนผันการเปิดเผยรายละเอียดของข้อมูลตามที่กําหนดในประกาศนี้ได้ หากผู้เสนอขายศุกูกแสดงได้ว่ามีเหตุอันควรที่จะไม่แสดงรายละเอียดของข้อมูลดังกล่าวไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูล ทั้งนี้ ข้อมูลที่ขอผ่อนผันดังกล่าวต้องมิใช่ข้อมูลที่กําหนดตามมาตรา 69(1) ถึง (10) และรายละเอียดของข้อมูลนั้นต้องไม่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ
ข้อ ๕๑ ในการพิจารณาข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน หากสํานักงานเห็นว่ามีเหตุจําเป็นและสมควรเพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลที่มีนัยสําคัญเพียงพอต่อการ
ตัดสินใจลงทุน ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดให้ผู้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลดําเนินการดังต่อไปนี้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด
(1) ชี้แจง หรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูล หรือส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม
(2) จัดให้มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เป็นอิสระจัดทําความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้องครบถ้วน หรือความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ปรากฏในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
หากผู้เสนอขายศุกูกไม่ดําเนินการตามที่สํานักงานกําหนดตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้เสนอขายศุกูกไม่ประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานอีกต่อไป
ในการกําหนดให้ผู้เสนอขายศุกูกดําเนินการตามวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจกําหนดให้ผู้เสนอขายศุกูกเปิดเผยการสั่งการ การดําเนินการ ข้อสังเกตของสํานักงาน หรือคําชี้แจงของผู้เสนอขายศุกูกผ่านทางเว็บไซต์ของสํานักงานตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดด้วยก็ได้
หมวด ๔ การรับรองข้อมูล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๕๒ ให้บุคคลดังต่อไปนี้ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูล
(1) ในกรณีที่เป็นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลโดยทรัสตีผู้ออกศุกูก การลงลายมือชื่อของทรัสตีผู้ออกศุกูกในแบบต่าง ๆ ให้เป็นดังนี้
(ก) แบบ 69-SK ให้กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันหรือกรรมการที่มีตําแหน่งบริหารสูงสุดที่ได้รับมอบอํานาจจากกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันลงลายมือชื่อ
(ข) แบบ 69-SUKUK ให้กรรมการทุกคนและผู้ที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดสายงานบัญชีลงลายมือชื่อ
(2) การเสนอขายโดยผู้ถือศุกูก ให้ผู้ถือศุกูกลงลายมือชื่อ ซึ่งในกรณีที่ผู้ถือศุกูกเป็นนิติบุคคลให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลทุกคนลงลายมือชื่อ ในการนี้ ผู้ถือศุกูกต้องจัดให้กรรมการทุกคนและผู้ที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดในสายงานบัญชีของทรัสตีผู้ออกศุกูกลงลายมือชื่อด้วย
(3) การเสนอขายศุกูกที่ได้จัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงิน ให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันที่ปรึกษาทางการเงินลงลายมือชื่อ
ในกรณีที่ทรัสตีผู้ออกศุกูกเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ระดมทุน การลงลายมือชื่อตามวรรคหนึ่ง (1) ให้ใช้บังคับกับผู้ระดมทุนด้วยโดยอนุโลม
ข้อ ๕๓ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรทําให้บุคคลที่ต้องลงนามเพื่อนิติบุคคลตามที่กําหนดในข้อ 52 ไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ ให้นิติบุคคลดังกล่าวปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(1) หากเหตุที่ทําให้บุคคลดังกล่าวคนใดไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ เกิดจากการที่บุคคลดังกล่าวอยู่ในภาวะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เนื่องจากเจ็บป่วยทางร่างกายหรือทางจิต ผู้เสนอขายศุกูกไม่จําต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อในแบบแสดงรายการข้อมูล
(2) หากเหตุที่ทําให้บุคคลดังกล่าวคนใดไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ เกิดจากกรณีอื่นนอกจากที่ระบุใน (1) เมื่อเหตุดังกล่าวหมดสิ้นไป ให้ผู้เสนอขายศุกูกจัดให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อทันที เพื่อให้แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับได้ตามข้อ 54
หมวด ๕ วันมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูล
และร่างหนังสือชี้ชวน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๕๔ ภายใต้บังคับมาตรา 75 ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีเป็นการเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ ซึ่งต้องได้รับอนุญาตตามมาตรา 33 ผู้เสนอขายศุกูกต้องได้รับอนุญาตให้เสนอขายศุกูกที่ออกใหม่นั้นแล้ว
(2) ผู้เสนอขายศุกูกได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
(3) ผู้เสนอขายศุกูกได้แก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและได้เปิดเผยข้อมูลตามข้อ 51 วรรคสาม (ถ้ามี) แล้ว
(4) เมื่อพ้นกําหนดเวลาดังนี้
(ก) ห้าวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบ 69-SK ตามข้อ 42 ที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งหลังสุด (ไม่รวมข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายศุกูกหรือข้อมูลอื่นที่มิใช่ข้อมูลสําคัญซึ่งสํานักงานผ่อนผันให้แก้ไขเพิ่มเติมได้)
(ข) สิบสี่วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบ 69-SUKUK ตามข้อ 44 หรือข้อ 45 ที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งหลังสุด (ไม่รวมข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายศุกูกหรือข้อมูลอื่นที่มิใช่ข้อมูลสําคัญซึ่งสํานักงานผ่อนผันให้แก้ไขเพิ่มเติมได้)
(5) ผู้เสนอขายศุกูกได้ระบุข้อมูลตามแบบแสดงรายการข้อมูลครบถ้วนแล้ว
เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาตามวรรคหนึ่ง (4) ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายศุกูกให้หมายถึงข้อมูลดังต่อไปนี้
(1) จํานวนและราคาศุกูกที่เสนอขาย
(2) ระยะเวลาของการเสนอขาย
(3) ลักษณะศุกูกที่เสนอขาย
(4) รายละเอียดเกี่ยวกับการจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรร
(5) ข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายศุกูกหรือที่มีลักษณะทํานองเดียวกันหรือเกี่ยวกับข้อมูลตาม (1) (2) (3) และ (4)
ภาค ๓ การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรศุกูก
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๕๕ ให้นําหลักเกณฑ์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวกับตราสารหนี้ มาใช้บังคับกับการจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรศุกูกที่ออกใหม่โดยอนุโลม
ในกรณีที่ทรัสตีผู้ออกศุกูกเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ระดมทุน คําว่า “บริษัทที่ออกหลักทรัพย์” ตามประกาศดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดสรรหลักทรัพย์ นอกจากจะหมายถึงทรัสตีผู้ออกศุกูกแล้ว ให้หมายความรวมถึงผู้ระดมทุนด้วย
ทรัสตีผู้ออกศุกูกต้องจัดให้มีการแจกเอกสารสรุปลักษณะสําคัญและความเสี่ยงของตราสาร (fact sheet) ไปพร้อมกับการแจกใบจองซื้อศุกูกด้วย โดยเอกสารดังกล่าวต้องมีสาระตรงตามร่างเอกสารที่ยื่นต่อสํานักงานตามข้อ 40(2) ซึ่งผ่านการพิจารณาของสํานักงานแล้ว
ภาค ๔ การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและ
ผลการดําเนินงานของทรัสตีผู้ออกศุกูกและผู้ระดมทุน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๕๖ ให้นําหลักเกณฑ์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ในส่วนที่เกี่ยวกับตราสารหนี้ มาใช้บังคับกับการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของทรัสตีผู้ออกศุกูกโดยอนุโลม แต่ไม่รวมถึงแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีที่แนบท้ายประกาศดังกล่าว ซึ่งในกรณีนี้ให้ใช้แบบ 56-SUKUK ท้ายประกาศนี้แทน
ในกรณีที่ทรัสตีผู้ออกศุกูกเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ระดมทุน ข้อมูลที่ทรัสตีผู้ออกศุกูกต้องเปิดเผยตามหลักเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง ให้หมายถึงข้อมูลดังต่อไปนี้
(1) ข้อมูลของกองทรัสต์
(2) ข้อมูลของผู้ระดมทุน
ข้อ ๕๗ งบการเงินของกองทรัสต์และงบการเงินรวมของผู้ระดมทุนที่ต้องเปิดเผยตามข้อ 56 วรรคสอง ต้องผ่านการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ
ภาค ๕ วันมีผลใช้บังคับของประกาศ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๕๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อทําให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สอดคล้องตามหลักศาสนาอิสลามซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตลาดทุนไทย โดยเป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้ระดมทุนและผู้ลงทุน จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 530 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทด. 38/2554 เรื่อง ข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูกและการเปิดเผยข้อมูล (ฉบับที่ 2) | -ร่าง-
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทด. 38 /2554
เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก
และการเปิดเผยข้อมูล
(ฉบับที่ 2 )
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิก (2) ของข้อ 40 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 45/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554
“ข้อ 45/1 ให้ทรัสตีผู้ออกศุกูกจัดให้มีข้อมูลหัวข้อ “สรุปข้อมูลสําคัญของตราสาร (fact sheet)” โดยให้เปิดเผยไว้ก่อนหน้าสารบัญในแบบ 69-SUKUK
สรุปข้อมูลสําคัญของตราสารตามวรรคหนึ่ง อย่างน้อยต้องแสดงถึงสาระสําคัญของตราสาร รวมทั้งลักษณะพิเศษและความเสี่ยงที่สําคัญของตราสาร โดยสํานักงานอาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําสรุปข้อมูลสําคัญของตราสารดังกล่าวด้วยก็ได้”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกวรรคสามของข้อ 55 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
###### ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 531 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 35/2555 เรื่อง ข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูกและการเปิดเผยข้อมูล (ฉบับที่ 3) | - ร่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 35/2555
เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก
และการเปิดเผยข้อมูล
(ฉบับที่ 3)
------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 15/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูลลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554
“ข้อ 15/1 ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานภายหลังการอนุญาตให้เสนอขายศุกูกว่า ข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่สํานักงานนํามาพิจารณาเพื่ออนุญาตให้เสนอขายศุกูกเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นปรากฏต่อสํานักงานก่อนการอนุญาต สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายศุกูกนั้น ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้
(1) สั่งให้ผู้ได้รับอนุญาต ผู้ระดมทุน กรรมการ หรือผู้บริหาร ของผู้ได้รับอนุญาตหรือผู้ระดมทุน ชี้แจงหรือเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กําหนด และระงับการอนุญาตให้ออกศุกูกหรือให้ผู้ได้รับอนุญาตระงับการเสนอขายศุกูกไว้ก่อนจนกว่าจะได้ชี้แจงหรือแก้ไขให้ถูกต้อง และหากผู้ได้รับอนุญาตหรือผู้ระดมทุน กรรมการ หรือผู้บริหารของผู้ได้รับอนุญาตหรือผู้ระดมทุน ไม่สามารถชี้แจงหรือดําเนินการแก้ไขให้ถูกต้องได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด สํานักงานอาจสั่งเพิกถอนการอนุญาตตาม (2) ได้
(2) สั่งเพิกถอนการอนุญาตให้เสนอขายศุกูกในส่วนที่ยังมิได้เสนอขายหรือยังไม่มีผู้จองซื้อ ในการสั่งการตามวรรคหนึ่งให้สํานักงานคํานึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้ประกอบการพิจารณา
(1) ความร้ายแรงของข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
(2) ผลกระทบต่อผู้ลงทุนที่จองซื้อศุกูกนั้น”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 532 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 13/2556 เรื่อง ข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูกและการเปิดเผยข้อมูล (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ.13 /2556
เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก
และการเปิดเผยข้อมูล
(ฉบับที่ 4)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 32 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูลลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 32 ในกรณีที่เป็นการเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ในวงจํากัดต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ทรัสตีผู้ออกศุกูกต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ โดยให้นําหลักเกณฑ์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องดําเนินการดังกล่าวมาใช้บังคับโดยอนุโลม
(1) การจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของศุกูกก่อนการเสนอขายศุกูกในแต่ละครั้งและอย่างต่อเนื่องจนกว่าสิทธิของผู้ถือศุกูกจะระงับลง รวมถึงข้อกําหนดยกเว้นในการดําเนินการตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว
(2) การจัดให้มีการแจกสรุปข้อมูลสําคัญของตราสาร (fact sheet)
(3) การยื่นคําขอให้สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยพิจารณารับขึ้นทะเบียนศุกูก
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ที่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายศุกูก
ในกรณีเป็นการเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ในวงจํากัดในกรณีอื่นใดนอกจากการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ทรัสตีผู้ออกศุกูกต้องไม่โฆษณาการเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ และหากจะมีการแจกจ่ายเอกสารประกอบการเสนอขาย ทรัสตีผู้ออกศุกูกต้องแจกจ่ายเอกสารให้เฉพาะบุคคลที่มีลักษณะหรือมีจํานวนอยู่ในวงจํากัดตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 45/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูลลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทด. 38/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 45/1 ให้ทรัสตีผู้ออกศูกุกจัดให้มีข้อมูลหัวข้อ “สรุปข้อมูลสําคัญของตราสาร (fact sheet)” โดยให้เปิดเผยไว้ก่อนหน้าสารบัญในแบบ 69-SUKUK หรือแบบ 69-SK แล้วแต่กรณี”
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 55/1 ในภาค 3 การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรศุกูก แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554
“ข้อ 55/1 ทรัสตีผู้ออกศุกูกต้องจัดให้การชักชวน แนะนํา หรือขายศุกูกที่ออกใหม่ในวงจํากัดต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือผู้ลงทุนรายใหญ่กระทําโดยบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์หรือการค้าหลักทรัพย์ เว้นแต่เป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) กรณีทรัสตีผู้ออกศุกูกมีสถานะเป็นบริษัทหลักทรัพย์ตามประเภทดังกล่าวอยู่แล้ว โดยทรัสตีผู้ออกศุกูกต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจนั้นที่กําหนดสําหรับการชักชวน แนะนํา หรือขายศุกูกด้วย
(2) กรณีการเสนอขายศุกูกที่มีลักษณะดังนี้ต่อผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
(ก) มีการกําหนดชําระคืนเงินลงทุนและอัตราหรือสัดส่วนการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนที่แน่นอน ตามระยะเวลาหรืออัตราที่กําหนดไว้ล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นอัตราคงที่หรืออัตราผันแปรที่ไม่มีลักษณะเช่นเดียวกับตราสารอนุพันธ์ และ
(ข) ไม่มีเงื่อนไขที่จะกระทบสิทธิของผู้ถือตราสารในการได้รับชําระคืนเงินลงทุนและอัตราหรือสัดส่วนการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนตาม (ก) เช่น การด้อยสิทธิ การแปลงสภาพ การกําหนดให้สิทธิตามศุกูกสิ้นสุดลงก่อนกําหนด การขยายระยะเวลาการชําระหนี้ หรือการปลดหนี้ เป็นต้น เว้นแต่เป็นเงื่อนไขการผิดนัดตามที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์
(3) กรณีการเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนที่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายศุกูก”
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 533 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 4/2557 เรื่อง ข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูกและการเปิดเผยข้อมูล (ฉบับที่ 5) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 4/2557
เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก
และการเปิดเผยข้อมูล
(ฉบับที่ 5)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 56 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกแบบ 69-SUKUK และแบบ 56-SUKUK ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล
ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้แบบ 69-SUKUK และแบบ 56-SUKUK ท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2557
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 534 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 33/2557 เรื่อง ข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูกและการเปิดเผยข้อมูล (ฉบับที่ 6) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 33/2557
เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก
และการเปิดเผยข้อมูล
(ฉบับที่ 6)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 32 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูลลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 13/2556 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล(ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) การจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของศุกูกก่อนการเสนอขายศุกูกในแต่ละครั้งเฉพาะกรณีการเสนอขายศุกูกต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ และจัดให้มีอย่างต่อเนื่องจนกว่าสิทธิของผู้ถือศุกูกจะระงับลง รวมถึงข้อกําหนดเกี่ยวกับการผ่อนผันในการดําเนินการตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 55/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูลลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 13/2556 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล(ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 55/1 ในการเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ ทรัสตีผู้ออกศุกูกต้องดําเนินการผ่านบริษัทหลักทรัพย์ที่สามารถเป็นผู้ให้บริการหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือลงทุนในศุกูกได้ เว้นแต่เป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) กรณีทรัสตีผู้ออกศุกูกมีสถานะเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่สามารถดําเนินการดังกล่าวได้อยู่แล้ว ทั้งนี้ ทรัสตีผู้ออกศุกูกต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับการให้บริการหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือลงทุนในศุกูกด้วย
(2) กรณีการเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนที่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายศุกูก”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกแบบ 69-SK และแบบ 69-SUKUK ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้แบบ 69-SK และแบบ 69-SUKUK ท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 535 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 39/2558 เรื่อง ข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูกและการเปิดเผยข้อมูล (ฉบับที่ 7) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 39/2558
เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก
และการเปิดเผยข้อมูล
(ฉบับที่ 7)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 17 ให้ผู้ที่ประสงค์จะเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่แก่ประชาชนทั่วไปยื่นคําขออนุญาตพร้อมทั้งเอกสารตามข้อ 18 ต่อสํานักงาน และให้ผู้ที่ประสงค์จะเสนอขายดังกล่าวชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตต่อสํานักงานเมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว โดยอัตราค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศเกี่ยวกับการกําหนดค่าธรรมเนียม ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการยื่นคําขออนุญาตเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่เป็นรายครั้ง หรือการยื่นคําขออนุญาตเสนอขายศุกูกระยะสั้นที่ออกใหม่แบบเป็นโครงการ”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 20 เมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้สํานักงานดําเนินการสอบทานข้อเท็จจริงตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชนและแจ้งประเด็นข้อสังเกตที่ได้จากการสอบทานข้อเท็จจริงเพื่อให้ผู้ขออนุญาต ชี้แจงข้อสังเกตนั้นภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในหนังสือแจ้งข้อสังเกต โดยต้องดําเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน
ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําชี้แจงต่อข้อสังเกตจากการสอบทานข้อเท็จจริงจากผู้ขออนุญาต
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตประสงค์จะขอผ่อนผันหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ ให้ผู้ขออนุญาตยื่นคําขอผ่อนผัน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอผ่อนผันต่อสํานักงานก่อนที่สํานักงานจะเริ่มการพิจารณาตามวรรคสอง ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน โดยสํานักงานจะพิจารณาคําขอผ่อนผันให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเดียวกันกับการพิจารณาอนุญาตตามวรรคสอง”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 35 และข้อ 36 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 35 ให้ผู้ที่ประสงค์จะเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงาน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานตามที่สํานักงานประกาศกําหนด และให้ผู้ที่ประสงค์จะเสนอขายดังกล่าวชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตต่อสํานักงานเมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาตพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้วทั้งนี้ อัตราค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศเกี่ยวกับการกําหนดค่าธรรมเนียม
ข้อ 36 เมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้สํานักงานดําเนินการสอบทานข้อเท็จจริงตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชนและแจ้งประเด็นข้อสังเกตที่ได้จากการสอบทานข้อเท็จจริงเพื่อให้ผู้ขออนุญาตชี้แจงข้อสังเกตนั้นภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในหนังสือแจ้งข้อสังเกต โดยต้องดําเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน
ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําชี้แจงต่อข้อสังเกตจากการสอบทานข้อเท็จจริงจากผู้ขออนุญาต
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตประสงค์จะขอผ่อนผันหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ ให้ผู้ขออนุญาตยื่นคําขอผ่อนผัน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอผ่อนผันต่อสํานักงานก่อนที่สํานักงานจะเริ่มการพิจารณาตามวรรคสอง ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน โดยสํานักงานจะพิจารณาคําขอผ่อนผันให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเดียวกันกับการพิจารณาอนุญาตตามวรรคสอง”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 41 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 41 ให้ผู้เสนอขายศุกูกชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ”
ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 536 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 60/2559 เรื่อง ข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูกและการเปิดเผยข้อมูล (ฉบับที่ 8) | -ร่าง-
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 60/2559
เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก
และการเปิดเผยข้อมูล
(ฉบับที่ 8)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551และมาตรา 35 และมาตรา 69 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (15) ของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554
“(15) กิจการต่างประเทศ หมายความว่า กิจการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศดังต่อไปนี้
(ก) หน่วยงานหรือองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ
(ข) องค์การระหว่างประเทศ
(ค) นิติบุคคลต่างประเทศ”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/1 และข้อ 3/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูลลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 โดยให้อยู่ในลําดับก่อนภาค 1 การขออนุญาต การอนุญาตให้เสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ และเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาต
“ข้อ 3/1 ในการเสนอขายศุกูกลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ผู้เสนอขายศุกูกอาจยื่นข้อมูลหรือเอกสารต่อสํานักงานที่จัดทําเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้
(1) เป็นการเสนอขายศุกูกแก่ประชาชนทั่วไปซึ่งมีผู้ระดมทุนเป็นกิจการตามกฎหมายไทยที่เสนอขายศุกูกพร้อมกันหรือในระยะเวลาใกล้เคียงกันในประเทศอื่นด้วย
(2) เป็นการเสนอขายศุกูกต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ซึ่งมีข้อจํากัดการโอนหรือเงื่อนไขการโอนให้จํากัดอยู่ในกลุ่มผู้ลงทุนดังกล่าว
(3) เป็นการเสนอขายศุกูกซึ่งมีผู้ระดมทุนเป็นกิจการต่างประเทศ
ในกรณีที่ข้อมูลหรือเอกสารตามวรรคหนึ่งแปลมาจากข้อมูลที่เป็นภาษาอื่น ผู้เสนอขายศุกูกต้องดําเนินการดังนี้ด้วย
(1) รับรองว่าสาระของข้อมูลหรือเอกสารที่แปลนั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่จริง และไม่ได้มีการปกปิดข้อเท็จจริงที่พึงเปิดเผย
(2) ให้ผู้แปลรับรองความถูกต้องว่า สาระการแปลถูกต้องตรงตามสาระของข้อมูลหรือเอกสารที่เป็นต้นฉบับ
ข้อ 3/2 ข้อมูลหรือเอกสารที่ยื่นต่อสํานักงานตามประกาศนี้ หากได้จัดทําเป็นภาษาใดในครั้งแรก ให้จัดทําโดยใช้ภาษานั้นต่อไปทุกครั้ง เว้นแต่กรณีที่มีเหตุจําเป็นสมควร และได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล
ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 8 ศุกูกที่ออกตามหมวดนี้ต้องมีข้อตกลงให้ชําระค่าศุกูกให้แก่ทรัสตีผู้ออกศุกูกเป็นสกุลเงินบาท เว้นแต่กรณีที่มีผู้ระดมทุนเป็นกิจการต่างประเทศ ศุกูกดังกล่าวจะมีข้อตกลงให้ชําระค่าศุกูกให้แก่ทรัสตีผู้ออกศุกูกเป็นสกุลเงินบาทหรือสกุลเงินตราต่างประเทศก็ได้”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูลลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 10 ผู้ระดมทุนต้องเป็นกิจการที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
(2) เป็นนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(3) เป็นสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ
ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(4) เป็นกิจการต่างประเทศ
ผู้ระดมทุนตามวรรคหนึ่งต้องได้รับมติโดยชัดแจ้งจากคณะกรรมการของผู้ระดมทุน ให้ระดมทุนด้วยวิธีการออกศุกูกได้ เว้นแต่กรณีผู้ระดมทุนเป็นบริษัทมหาชนจํากัดตามวรรคหนึ่ง (1) ต้องได้รับมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียง หรือกรณีที่ผู้ระดมทุนเป็นกิจการต่างประเทศตามวรรคหนึ่ง (4) ต้องแสดงได้ว่าการเสนอขายศุกูกนั้นกระทําได้โดยชอบตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ของต่างประเทศที่ใช้บังคับกับกิจการดังกล่าว”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 13 ศุกูกทรัสตีต้องเป็นบุคคลที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตีตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี
(2) เป็นผู้ที่ทําหน้าที่ในลักษณะเดียวกับศุกูกทรัสตีตามที่กําหนดโดยกฎหมายของประเทศที่ผู้ระดมทุนจัดตั้งขึ้น และผู้ระดมทุนต้องเป็นกิจการต่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นในประเทศสมาชิกอาเซียนที่หน่วยงานกํากับดูแลตลาดทุนของประเทศนั้น ๆ ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจกับสํานักงานตาม Memorandum of Understanding on Streamlined Review Framework for ASEAN Common Prospectus”
ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 24 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูลลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 24 ผู้ขออนุญาตและผู้ระดมทุนต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่ผู้ระดมทุนเป็นกิจการต่างประเทศให้เป็นตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) ในการพิจารณาลักษณะของผู้ขออนุญาต ให้นําหลักเกณฑ์ในเรื่องลักษณะของผู้ขออนุญาตที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ในกรณีทั่วไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ มาใช้บังคับ โดยอนุโลม
(ข) ในการพิจารณาลักษณะของผู้ระดมทุน ให้นําหลักเกณฑ์ในเรื่องลักษณะของผู้ขออนุญาตที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท มาใช้บังคับ โดยอนุโลม
(2) ในกรณีที่ผู้ระดมทุนไม่ใช่กิจการต่างประเทศ ในการพิจารณาลักษณะของผู้ขออนุญาตและผู้ระดมทุน ให้นําหลักเกณฑ์ในเรื่องลักษณะของผู้ขออนุญาตที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ในกรณีทั่วไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ มาใช้บังคับ โดยอนุโลม
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ระดมทุน ผู้ขออนุญาตและผู้ระดมทุนต้องใช้รอบระยะเวลาบัญชีเดียวกัน”
ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในข้อ 27 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูลลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 27 ในกรณีที่สํานักงานอนุญาตให้เสนอขายศุกูกระยะสั้นที่ออกใหม่แบบเป็นโครงการ ทรัสตีผู้ออกศุกูกสามารถเสนอขายศุกูกระยะสั้นที่ออกใหม่ภายใต้โครงการดังกล่าวได้โดยไม่จํากัดจํานวนครั้งหรือรุ่นที่เสนอขายแต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ศุกูกระยะสั้นที่เสนอขายในแต่ละครั้งหรือแต่ละรุ่นเป็นประเภทและชนิดเดียวกัน รวมทั้งมีข้อผูกพันเกี่ยวกับการออกศุกูกระยะสั้นเป็นอย่างเดียวกัน แต่ไม่รวมถึงข้อผูกพันเกี่ยวกับผลประโยชน์ตอบแทนและอายุของศุกูก
(2) ระยะเวลาการเสนอขายในแต่ละครั้งหรือแต่ละรุ่นอยู่ในช่วงหนึ่งปีนับแต่วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นไว้ตามข้อ 45/1 มีผลใช้บังคับ
(3) มูลค่าการเสนอขายครั้งใดเมื่อรวมกับศุกูกระยะสั้นอื่นที่ยังไม่ครบอายุ มีมูลค่าไม่เกินกว่ามูลค่าที่ระบุไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลที่ได้ยื่นไว้ตามข้อ 45/1”
ข้อ 8 ให้ยกเลิกความในข้อ 42 ข้อ 43 ข้อ 44 และข้อ 45 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 42 ให้ผู้เสนอขายศุกูกยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายการครบถ้วนเป็นปัจจุบันต่อสํานักงานซึ่งมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ โดยรายละเอียดของรายการตาม (1) (2) และ (3)ให้เป็นไปตามแบบที่กําหนดในข้อ 43 หรือข้อ 45 แล้วแต่กรณี
(1) สรุปข้อมูลสําคัญของตราสาร (fact sheet)
(2) ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(3) ข้อมูลเกี่ยวกับการจอง การจําหน่าย และการจัดสรร
(4) ข้อมูลอื่นใดที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน
สรุปข้อมูลสําคัญของตราสารตามวรรคหนึ่ง (1) อย่างน้อยต้องแสดงถึงสาระสําคัญของตราสาร รวมทั้งลักษณะพิเศษและความเสี่ยงที่สําคัญของตราสาร โดยสํานักงานอาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําสรุปข้อมูลสําคัญของตราสารด้วยก็ได้
ข้อ 43 การเสนอขายศุกูกต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ที่มีข้อจํากัดการโอนหรือเงื่อนไขการโอนให้จํากัดอยู่ในกลุ่มผู้ลงทุนดังกล่าว ให้ผู้เสนอขายศุกูกยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายการตามข้อ 42 ต่อสํานักงาน โดยมีรายละเอียดเป็นไปตามแบบใดแบบหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) แบบ 69-SK ท้ายประกาศนี้
(2) แบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายละเอียดของรายการตามมาตรา 69(1) ถึง (10)และมาตรา 70(1) ถึง (8) ทั้งนี้ ในการลงนามรับรองความถูกต้องของแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าว ให้นําข้อมูลในส่วนที่ 2 การรับรองความถูกต้องของข้อมูล ของแบบ 69-SK ตามที่กําหนดใน (1) มาระบุเป็นข้อมูลไว้ด้วย โดยอนุโลม
การเสนอขายศุกูกต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ตามวรรคหนึ่งให้อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ดังนี้
(1) กรณีการเสนอขายศุกูกระยะสั้นที่ออกใหม่หลายรุ่นหรือหลายครั้งที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 44 ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามวรรคหนึ่งก่อนการเสนอขายศุกูกระยะสั้นในครั้งแรก และเมื่อแบบแสดงรายการข้อมูลตามวรรคหนึ่งมีผลใช้บังคับแล้ว ให้ทรัสตีผู้ออกศุกูกสามารถเสนอขายศุกูกระยะสั้นที่ออกใหม่ภายใต้แบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวโดยไม่จํากัดจํานวนครั้งที่เสนอขาย
(2) กรณีการเสนอขายศุกูกที่ไม่ได้เป็นการเสนอขายศุกูกระยะสั้นที่ออกใหม่หลายรุ่นหรือหลายครั้งตาม (1) ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามวรรคหนึ่งทุกครั้งก่อนการเสนอขาย ข้อ 44 การเสนอขายศุกูกระยะสั้นที่จะได้ประโยชน์จากการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามข้อ 43 วรรคสอง (1) ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เป็นศุกูกระยะสั้นประเภทและชนิดเดียวกัน รวมทั้งมีข้อผูกพันที่เกี่ยวกับการออกศุกูกระยะสั้นเป็นอย่างเดียวกัน แต่ไม่รวมถึงข้อผูกพันที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ตอบแทนและอายุของศุกูกดังกล่าว
(2) ระยะเวลาการเสนอขายในแต่ละครั้งหรือแต่ละรุ่นอยู่ในช่วงหนึ่งปีนับแต่วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นไว้ตามข้อ 43 วรรคสอง (1) มีผลใช้บังคับ
(3) มูลค่าการเสนอขายครั้งใดเมื่อรวมกับศุกูกระยะสั้นอื่นที่ยังไม่ครบอายุ มีมูลค่าไม่เกินกว่ามูลค่าที่ระบุไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลที่ได้ยื่นไว้ตามข้อ 43 วรรคสอง (1)
ข้อ 45 การเสนอขายศุกูกแก่ประชาชนทั่วไป หรือการเสนอขายศุกูกที่ไม่เป็นไปตามลักษณะในข้อ 43 ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายการตามข้อ 42 ต่อสํานักงานทุกครั้งก่อนการเสนอขาย โดยมีรายละเอียดเป็นไปตามแบบ 69-SUKUK ท้ายประกาศนี้
ในกรณีที่เป็นการเสนอขายศุกูกแก่ประชาชนทั่วไปในประเทศไทยพร้อมกันหรือ
ในระยะเวลาใกล้เคียงกันในประเทศอื่นด้วย หรือเป็นการเสนอขายศุกูกซึ่งมีผู้ระดมทุนเป็นกิจการต่างประเทศ ผู้เสนอขายศุกูกสามารถยื่นแบบ 69-FD ที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้แทนการยื่นแบบ 69-SUKUK ตามวรรคหนึ่งได้”
ข้อ 9 ให้ยกเลิกความในข้อ 45/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 13/2556 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล (ฉบับที่ 4) ลงวันที่11 มีนาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 45/1 ในการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลสําหรับการเสนอขายศุกูกระยะสั้นที่ออกใหม่แบบเป็นโครงการตามที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 27 ให้ผู้เสนอขายศุกูกยื่นแบบ 69-SUKUK ท้ายประกาศนี้ หรือแบบ 69-FD ที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ก่อนการเสนอขายศุกูกครั้งแรกของโครงการ ทั้งนี้ เมื่อแบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับแล้ว ให้ทรัสตีผู้ออกศุกูกสามารถเสนอขายศุกูกระยะสั้นที่ออกใหม่ภายใต้แบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวโดยไม่จํากัดจํานวนครั้งหรือรุ่นที่เสนอขาย แต่ระยะเวลาและมูลค่าการเสนอขายต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 27(2) และ (3)”
ข้อ 10 ให้ยกเลิกความในข้อ 46 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่10 มกราคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 46 การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามข้อ 45 และข้อ 45/1 และร่างหนังสือชี้ชวนการเสนอขายศุกูกต้องจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําและรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูล”
ข้อ 11 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 52 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) ในกรณีที่เป็นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลโดยทรัสตีผู้ออกศุกูก การลงลายมือชื่อของทรัสตีผู้ออกศุกูกให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามข้อ 43 ให้กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันหรือกรรมการที่มีตําแหน่งบริหารสูงสุดที่ได้รับมอบอํานาจจากกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันลงลายมือชื่อ
(ข) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามข้อ 45 ให้กรรมการทุกคนและผู้ที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดสายงานบัญชีลงลายมือชื่อ”
ข้อ 12 ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 54 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) เมื่อพ้นกําหนดเวลาดังนี้
(ก) ห้าวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบ 69-SK หรือแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายละเอียดของรายการตามมาตรา 69(1) ถึง (10) และมาตรา 70(1) ถึง (8) ตามที่กําหนดในข้อ 43 ที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งหลังสุด (ไม่รวมข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายศุกูกหรือข้อมูลอื่นที่มิใช่ข้อมูลสําคัญซึ่งสํานักงานผ่อนผันให้แก้ไขเพิ่มเติมได้)
(ข) สิบสี่วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบ 69-SUKUK หรือ แบบ 69-FD ตามที่กําหนดในข้อ 45 ที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งหลังสุด (ไม่รวมข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายศุกูกหรือข้อมูลอื่นที่มิใช่ข้อมูลสําคัญซึ่งสํานักงานผ่อนผันให้แก้ไขเพิ่มเติมได้)”
ข้อ 13 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 537 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 77/2561 เรื่อง ข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูกและการเปิดเผยข้อมูล (ฉบับที่ 10) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 77/2561
เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูกและการเปิดเผยข้อมูล
(ฉบับที่ 10)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 43 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 69/2561 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 43 ให้ผู้เสนอขายศุกูกยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายการครบถ้วนเป็นปัจจุบันต่อสํานักงานซึ่งมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ โดยรายละเอียดของรายการตาม (1) (2) (3) และ (4)ให้เป็นไปตามแบบที่กําหนดในข้อ 48 ข้อ 48/1 หรือข้อ 49 แล้วแต่กรณี
(1) สรุปข้อมูลสําคัญของตราสาร (fact sheet)
(2) ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(3) ข้อมูลเกี่ยวกับการจอง การจําหน่าย และการจัดสรร
(4) ข้อมูลเพิ่มเติมสําหรับกรณีการเสนอขายศุกูกเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (green sukuk)
(5) ข้อมูลอื่นใดที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน
สรุปข้อมูลสําคัญของตราสารตามวรรคหนึ่ง (1) อย่างน้อยต้องแสดงถึงสาระสําคัญ
ของตราสาร รวมทั้งลักษณะพิเศษและความเสี่ยงที่สําคัญของตราสาร โดยสํานักงานอาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําสรุปข้อมูลสําคัญของตราสารด้วยก็ได้
ข้อมูลเพิ่มเติมในแบบแสดงรายการข้อมูลของศุกูกเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามวรรคหนึ่ง (4) อย่างน้อยต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้
(1) มาตรฐานสากลซึ่งเป็นที่ยอมรับที่นํามาใช้อ้างอิงในการขออนุญาตเสนอขายศุกูกเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น มาตรฐาน ASEAN Green Bond Standards (ASEAN GBS) หรือมาตรฐาน International Capital Market Association Green Bond Principles (ICMA GBP) เป็นต้น
(2) วัตถุประสงค์การใช้เงินที่ได้จากการระดมทุนที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (use of proceeds)
(3) กระบวนการที่ใช้ในการประเมินและคัดเลือกโครงการ (process for project evaluation and selection) โดยระบุกระบวนการและปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณา รวมทั้งมาตรฐานหรือวิธีการรับรองอื่นใดที่ใช้อ้างอิง
(4) การบริหารจัดการเงินที่ได้จากการระดมทุน (management of proceeds) โดยแสดงถึงวิธีการติดตามการใช้เงินที่ได้มาจากการระดมทุนไปใช้ในโครงการและวิธีการแบ่งแยกเงินออกจากเงินอื่นของบริษัทให้เห็นอย่างชัดเจน เช่น การนําเงินที่ได้จากการระดมทุนแยกเป็นบัญชีต่างหากจากบัญชีทรัพย์สินอื่น ๆ (sub-account) ของผู้เสนอขายศุกูก เป็นต้น
(5) การรายงานและช่องทางการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินการภายหลังการเสนอขาย(reporting) โดยให้เปิดเผยรายงานประเภทต่าง ๆ จนกว่าจะครบอายุของศุกูก เช่น รายงานการใช้เงินที่ได้มาจากการระดมทุน หรือรายงานความคืบหน้าของโครงการว่าดําเนินการถึงขั้นตอนใด จํานวนเงินที่ใช้ และยอดคงเหลือ เป็นต้น รวมทั้งช่องทางการเปิดเผยข้อมูล เช่น บนเว็บไซต์ของผู้เสนอขายศุกูก ซึ่งควรจัดให้มีการรายงานอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เป็นต้น”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2561
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 538 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 69/2561 เรื่อง ข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูกและการเปิดเผยข้อมูล (ฉบับที่ 9) | - ร่าง -
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 69/2561
เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก
และการเปิดเผยข้อมูล
(ฉบับที่ 9)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 มาตรา 67 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิก (3) ของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 16/1 และข้อ 16/2 ในส่วนที่ 3 อํานาจของสํานักงานเกี่ยวกับการขออนุญาตและการอนุญาต ของหมวด 1 ข้อกําหนดสําหรับการเสนอขายศุกูกในประเทศไทย ในภาค 1 การขออนุญาต การอนุญาตให้เสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ และเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาต แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554
“ข้อ 16/1 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจสั่งไม่ให้การอนุญาตสําหรับการเสนอขายศุกูกในวงจํากัดที่ได้รับอนุญาตมีผล สั่งระงับการเสนอขายศุกูก หรือสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้เสนอขายศุกูกได้ แล้วแต่กรณี
(1) ผู้ขออนุญาตและผู้ระดมทุนมีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตให้เสนอขายศุกูก หรือจะไม่สามารถปฏิบัติตามประกาศนี้ได้
(2) การเสนอขายศุกูกมีลักษณะที่อาจเข้าข่ายเป็นการหลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์ที่ออกภายใต้กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน
(3) การเสนอขายศุกูกอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุนหรืออาจทําให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่มีนัยสําคัญต่อการตัดสินใจลงทุน
ข้อ 16/2 ในระหว่างอายุโครงการตามข้อ 20/1 และข้อ 32/2 หากปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานว่าผู้ได้รับอนุญาตและผู้ระดมทุนไม่สามารถดํารงคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์การอนุญาต ปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาต หรือมีการเปิดเผยข้อมูลที่มีนัยสําคัญต่อประชาชนที่ไม่ครบถ้วนถูกต้อง ไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน สํานักงานอาจสั่งระงับการเสนอขายศุกูกไว้ก่อน หรือสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้เสนอขายศุกูกในลักษณะโครงการได้”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 39/2558 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 17 ให้ผู้ที่ประสงค์จะเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่แก่ประชาชนทั่วไปยื่นคําขออนุญาตมาพร้อมกับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายศุกูกต่อสํานักงานตามวิธีการที่กําหนดโดยข้อ 18 โดยให้ยื่นคําขออนุญาตได้ตามลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ในการขออนุญาตเสนอขายศุกูกด้อยสิทธิและศุกูกที่ครบกําหนดอายุเมื่อผู้ระดมทุนเลิกกิจการ ให้ยื่นคําขออนุญาตได้เฉพาะในลักษณะรายครั้งเท่านั้น
(1) การขออนุญาตในลักษณะรายครั้ง
(2) การขออนุญาตในลักษณะโครงการ
คําขออนุญาตตามวรรคหนึ่งต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชี
ที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําคําขออนุญาตและรับรองข้อมูลตามที่กําหนดในหมวดนี้
ในกรณีที่ผู้ระดมทุนและผู้ขออนุญาตมิได้เป็นบุคคลเดียวกัน ผู้ระดมทุนต้องยื่นคําขออนุญาตร่วมกับผู้ขออนุญาตด้วย
คําขออนุญาตและเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตอื่นใดนอกเหนือจากเอกสารที่กําหนดตามข้อ 18 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ให้ผู้ขออนุญาตชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตต่อสํานักงานเมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ทั้งนี้ อัตราค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์”
ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ของข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554
“(5) แบบแสดงรายการข้อมูล”
ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3) ของข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่10 มกราคม พ.ศ. 2554
“(3) อํานาจสํานักงานในเรื่องการกําหนดเงื่อนไขและระยะเวลาในการพิจารณาคําขออนุญาตคราวต่อไป”
ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 39/2558 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 20 เมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาตเสนอขายศุกูก พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้สํานักงานดําเนินการสอบทานข้อเท็จจริงตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชนและแจ้งประเด็นข้อสังเกตที่ได้จากการสอบทานข้อเท็จจริงเพื่อให้ผู้ขออนุญาตชี้แจงข้อสังเกตนั้นภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในหนังสือแจ้งข้อสังเกต โดยต้องดําเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน”
ข้อ 7 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 20/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554
“ข้อ 20/1 ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายศุกูกในลักษณะโครงการสามารถเสนอขายศุกูกได้โดยไม่จํากัดมูลค่าและจํานวนครั้งที่เสนอขายนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานตามข้อ 20 จนสิ้นสุดอายุโครงการ รวมถึงให้ถือว่าผู้ได้รับอนุญาตดังกล่าวได้รับอนุญาตให้เสนอขายศุกูกในวงจํากัดต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ในลักษณะโครงการด้วย ทั้งนี้ ให้การอนุญาตเสนอขายศุกูกในลักษณะโครงการมีอายุสองปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงาน
ศุกูกที่เสนอขายในแต่ละครั้งภายใต้โครงการเดียวกันตามวรรคหนึ่งจะต้องเป็นศุกูกประเภทและชนิดเดียวกัน รวมถึงมีข้อผูกพันเกี่ยวกับการออกศุกูกเป็นอย่างเดียวกัน แต่ไม่รวมถึงข้อผูกพันเกี่ยวกับผลประโยชน์ตอบแทนและอายุของศุกูก”
ข้อ 8 ให้ยกเลิกความในข้อ 21 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 21 ภายในระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 20/1 หากปรากฏว่าผู้ได้รับอนุญาตและผู้ระดมทุนไม่สามารถดํารงคุณสมบัติให้เป็นไปตามส่วนที่ 2 ได้ ผู้ได้รับอนุญาตดังกล่าวจะดําเนินการเสนอขายศุกูกตามข้อ 20/1 ไม่ได้จนกว่าจะดําเนินการแก้ไขคุณสมบัติได้ก่อนสิ้นระยะเวลาตามข้อ 20/1 หากผู้ได้รับอนุญาตเสนอขายศุกูกก่อนที่จะแก้ไขคุณสมบัติได้ ให้ถือว่าเป็นการเสนอขายศุกูกโดยที่ไม่ได้รับอนุญาตตามประกาศนี้”
ข้อ 9 ให้ยกเลิกความในข้อ 25 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 25 ทรัสตีผู้ออกศุกูกต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ โดยให้นําหลักเกณฑ์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(1) การจัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของศุกูกก่อนการเสนอขายศุกูกในแต่ละครั้งและจัดทําอย่างต่อเนื่องตลอดอายุของศุกูก
(2) การยื่นคําขอให้สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยพิจารณารับขึ้นทะเบียนศุกูก
(3) การแจ้งต่อสํานักงานกรณีทรัสตีผู้ออกศุกูกและผู้ระดมทุนที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายในลักษณะโครงการไม่สามารถดํารงคุณสมบัติได้”
ข้อ 10 ให้ยกเลิกความในข้อ 27 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 60/2559 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 27 ให้ทรัสตีผู้ออกศุกูกดําเนินการส่งรายงานอัตราส่วนที่มีนัยสําคัญทางการเงินของผู้ระดมทุนรายปี (key financial ratio) ต่อสํานักงานตามวิธีการที่สํานักงานกําหนด”
ข้อ 11 ให้ยกเลิกข้อ 28 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554
ข้อ 12 ให้ยกเลิกความในข้อ 29 ของหมวด 3 การเสนอขายศุกูกในวงจํากัดในประเทศไทย แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 29 เว้นแต่หลักเกณฑ์ในหมวดนี้จะกําหนดเป็นอย่างอื่น ในการพิจารณาลักษณะการเสนอขายในวงจํากัด การอนุญาต การขออนุญาต และเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาต ให้นําหลักเกณฑ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายหุ้นกู้ในวงจํากัดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ มาใช้บังคับ โดยอนุโลม”
ข้อ 13 ให้ยกเลิกความในข้อ 30 และข้อ 31 ของส่วนที่ 1 การจดข้อจํากัดการโอน และการอนุญาต ในหมวด 3 การเสนอขายศุกูกในวงจํากัดในประเทศ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 30 ในการยื่นจดข้อจํากัดการโอนศุกูกต้องมีเอกสารดังต่อไปนี้
(1) คํารับรองว่าผู้ที่ประสงค์จะเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดในประกาศนี้ และได้ดําเนินการด้วยความระมัดระวังอย่างดีที่สุดแล้วเพื่อให้สัญญาก่อตั้งทรัสต์สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย
(2) คําขออนุญาตเป็นทรัสตีผู้ออกศุกูก เฉพาะกรณีที่ผู้ที่ประสงค์จะเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นทรัสตี
(3) ร่างสัญญาก่อตั้งทรัสต์เพื่อรองรับการออกศุกูก
(4) สําเนาความเห็นของที่ปรึกษาชะรีอะฮ์ซึ่งเห็นว่าศุกูกดังกล่าวมีลักษณะเป็นไปตามหลักศาสนาอิสลามแล้ว
(5) หนังสือขอจดข้อจํากัดการโอนศุกูกที่ขออนุญาต ที่มีข้อความแสดงว่าทรัสตีผู้ออกศุกูกจะไม่รับจดทะเบียนการโอนศุกูกไม่ว่าทอดใด ๆ หากการโอนศุกูกดังกล่าวจะทําให้ศุกูกที่เสนอขายในครั้งนั้นไม่สามารถคงลักษณะการเสนอขายในวงจํากัดได้ตามหมวดนี้ เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก
(6) เอกสารอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนดเพิ่มเติม
ข้อ 31 ในกรณีที่เป็นการเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ในวงจํากัดต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ ผู้ขออนุญาตและผู้ระดมทุนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 24 ด้วย”
ข้อ 14 ให้ยกเลิกข้อ 32 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 33/2557 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557
ข้อ 15 ให้ยกเลิกความในข้อ 40 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 38/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 40 ให้ผู้เสนอขายศุกูกยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามที่กําหนดในหมวด 2 และร่างหนังสือชี้ชวนตามแบบที่กําหนดตามมาตรา 72 ต่อสํานักงาน ทั้งนี้ ตามแนวทางและวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน”
ข้อ 16 ให้ยกเลิกความในหมวด 2 แบบแสดงรายการข้อมูล ข้อ 42 ถึงข้อ 49 ของภาค 1 การขออนุญาต การอนุญาตให้เสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ และเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาตแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 60/2559 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“หมวด 2
แบบแสดงรายการข้อมูล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 42 การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลเสนอขายศุกูกให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลในลักษณะรายครั้ง ให้เป็นไปตามที่กําหนดในส่วนที่ 1 ของหมวดนี้
(2) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลในลักษณะโครงการ ให้เป็นไปตามที่กําหนดในส่วนที่ 2 ของหมวดนี้
ข้อ 43 ให้ผู้เสนอขายศุกูกยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายการครบถ้วนเป็นปัจจุบันต่อสํานักงานซึ่งมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ โดยรายละเอียดของรายการตาม (1) (2) และ (3)
ให้เป็นไปตามแบบที่กําหนดในข้อ 48 ข้อ 48/1 หรือข้อ 49 แล้วแต่กรณี
(1) สรุปข้อมูลสําคัญของตราสาร (factsheet)
(2) ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(3) ข้อมูลเกี่ยวกับการจอง การจําหน่าย และการจัดสรร
(4) ข้อมูลอื่นใดที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน
สรุปข้อมูลสําคัญของตราสารตามวรรคหนึ่ง (1) อย่างน้อยต้องแสดงถึงสาระสําคัญของตราสาร รวมทั้งลักษณะพิเศษและความเสี่ยงที่สําคัญของตราสาร โดยสํานักงานอาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําสรุปข้อมูลสําคัญของตราสารด้วยก็ได้
ข้อ 44 การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายศุกูกและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายศุกูกแก่ประชาชนทั่วไป ต้องจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําและรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูล
ข้อ 45 งบการเงินและงบการเงินรวมของทรัสตีผู้ออกศุกูกและของผู้ระดมทุนที่เปิดเผยในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ โดยอนุโลม
ข้อ 46 ก่อนสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอขายศุกูก หากผู้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลได้เปิดเผยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ไม่ได้ระบุอยู่ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนให้แก่บุคคลใดเป็นการเฉพาะรายเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ความเหมาะสมของการลงทุน หรือการตัดสินใจลงทุน ผู้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลต้องดําเนินการให้มีการเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวเพิ่มเติมในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนโดยพลันภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่แบบแสดงรายการข้อมูลยังไม่มีผลใช้บังคับ ต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับ
(2) ในกรณีที่แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับแล้ว ต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวภายในวันทําการถัดจากวันที่ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงต่อบุคคลนั้น
ข้อ 47 ในกรณีที่ผู้เสนอขายศุกูกมีการเสนอขายศุกูกชนิดหรือรุ่นเดียวกันนั้นในต่างประเทศด้วย ข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นต่อสํานักงานต้องมีรายละเอียดไม่น้อยกว่าข้อมูลที่ได้เปิดเผยในการเสนอขายศุกูกนั้นในต่างประเทศ เว้นแต่เป็นข้อมูลในส่วนที่ไม่ใช่สาระสําคัญสําหรับการเสนอขายศุกูกในประเทศ
ส่วนที่ 1
แบบสําหรับการเสนอขายศุกูกรายครั้ง
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 48 การเสนอขายศุกูกแก่ประชาชนทั่วไป ให้ผู้เสนอขายศุกูกยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลต่อสํานักงานทุกครั้งก่อนการเสนอขาย โดยมีรายละเอียดเป็นไปตามแบบใดแบบหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) แบบ 69-PO-SUKUK ท้ายประกาศนี้
(2) แบบ 69-FD ที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ เฉพาะในกรณีที่เป็นการเสนอขายศุกูกแก่ประชาชนทั่วไปในประเทศไทยพร้อมกันหรือในระยะเวลาใกล้เคียงกันในประเทศอื่นด้วยหรือเป็นการเสนอขายศุกูกซึ่งมีผู้ระดมทุนเป็นกิจการต่างประเทศ
ข้อ 48/1 การเสนอขายศุกูกต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ที่มีข้อจํากัดการโอนหรือเงื่อนไขการโอนให้จํากัดอยู่ในกลุ่มผู้ลงทุนดังกล่าว ให้ผู้เสนอขายศุกูกยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลต่อสํานักงานทุกครั้งก่อนการเสนอขาย โดยมีรายละเอียดเป็นไปตามแบบใดแบบหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) แบบ 69-II&HNW-SUKUK ท้ายประกาศนี้
(2) แบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายละเอียดของรายการตามมาตรา 69(1) ถึง (10)และมาตรา 70(1) ถึง (8) ทั้งนี้ ในการลงนามรับรองความถูกต้องของแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าว ให้นําข้อมูลในส่วนที่ 2 การรับรองความถูกต้องของข้อมูล ของแบบ 69-II&HNW-SUKUK ตามที่กําหนดใน (1) มาระบุเป็นข้อมูลไว้ด้วย โดยอนุโลม
ส่วนที่ 2
แบบสําหรับการเสนอขายศุกูกในลักษณะโครงการ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 49 การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลในลักษณะโครงการที่ยื่นต่อสํานักงานให้เป็นไปตามแบบใดแบบหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลครั้งแรก ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายละเอียดตามแบบ 69-PRICING-SUKUK ท้ายประกาศนี้ ประกอบกับแบบใดแบบหนึ่งดังนี้
(ก) กรณีเสนอขายต่อผู้ลงทุนทุกประเภท ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายละเอียดตามแบบ 69-BASE-PO-SUKUK ท้ายประกาศนี้
(ข) กรณีเสนอขายเฉพาะต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ที่มีข้อจํากัดการโอนหรือเงื่อนไขการโอนให้จํากัดอยู่ในกลุ่มผู้ลงทุนดังกล่าวเท่านั้น ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายละเอียดตามแบบ 69-BASE-II&HNW-SUKUK ท้ายประกาศนี้
(2) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลครั้งต่อไป ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายละเอียดตามแบบ 69-PRICING-SUKUK โดยอ้างอิงข้อมูลของแบบตาม (1) ที่ได้ยื่นไว้ในครั้งแรกและอ้างอิงการปรับปรุงข้อมูลกรณีเกิดเหตุการณ์ตามที่กําหนดไว้ในภาคผนวก 1 (ถ้ามี) ด้วยแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายละเอียดตามแบบ 69-SUPPLEMENT-SUKUK ท้ายประกาศนี้
ในกรณีที่เป็นการเสนอขายศุกูกในประเทศไทยพร้อมกันหรือในระยะเวลาใกล้เคียงกันในประเทศอื่น หรือเป็นการเสนอขายศุกูกซึ่งมีผู้ระดมทุนเป็นกิจการต่างประเทศ ให้สามารถยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลดังต่อไปนี้ แทนการยื่นแบบแสดงรายการตามวรรคหนึ่งได้
(1) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลครั้งแรก ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายละเอียดตามแบบ 69-PRICING-FD ที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ประกอบกับแบบ 69-BASE-FD ที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้
(2) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลครั้งต่อไป ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายละเอียดตามแบบ 69-PRICING-FD โดยอ้างอิงข้อมูลของแบบตาม (1) ที่ได้ยื่นไว้ในครั้งแรก และอ้างอิงการปรับปรุงข้อมูลกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่เคยเปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลอย่างมีนัยสําคัญ ด้วยแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายละเอียดตามแบบ 69-SUPPLEMENT-FD ที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้
การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลในลักษณะโครงการตามวรรคหนึ่งและสอง ให้กระทําได้ภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่ผู้เสนอขายได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้ออกและเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่”
ข้อ 17 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 52 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 60/2559 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) ในกรณีที่เป็นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลโดยทรัสตีผู้ออกศุกูก การลงลายมือชื่อของทรัสตีผู้ออกศุกูกให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลสําหรับการเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันหรือกรรมการที่มีตําแหน่งบริหารสูงสุดที่ได้รับมอบอํานาจจากกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันลงลายมือชื่อ
(ข) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลสําหรับการเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ในลักษณะอื่นนอกเหนือจาก (ก) ให้กรรมการทุกคนและผู้ที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดสายงานบัญชีลงลายมือชื่อ
(ค) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลสําหรับการเสนอขายตราสารศุกูกที่ออกใหม่ในลักษณะโครงการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดใน (ก) หรือ (ข) แล้วแต่กรณี หรือหากเป็นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลครั้งต่อไปตามแบบ 69-PRICING-SUKUK หรือแบบ 69-PRICING-FD ผู้ที่ดํารงตําแหน่งระดับบริหารตั้งแต่ระดับผู้อํานวยการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่าที่ได้รับมอบอํานาจจากกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพัน จะลงลายมือชื่อในแบบดังกล่าวก็ได้”
ข้อ 18 ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 54 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 60/2559 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขและเงื่อนเวลาที่ระบุในภาคผนวก 2 ทั้งนี้ ในกรณีที่ภาคผนวกดังกล่าวกําหนดเงื่อนเวลาไว้ในลักษณะของระยะเวลา การเริ่มนับระยะเวลาให้เริ่มต้นในวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งหลังสุด (ไม่รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายศุกูกหรือข้อมูลอื่นที่ไม่ใช่ข้อมูลสําคัญซึ่งสํานักงานผ่อนผันให้แก้ไขเพิ่มเติมได้)”
ข้อ 19 ให้ยกเลิกแบบ 69-SUKUK และแบบ 69-SK ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 33/2557 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557
ข้อ 20 ให้เพิ่มแบบดังต่อไปนี้ เป็นแบบแนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554
(1) แบบ 69-PO-SUKUK
(2) แบบ 69-II&HNW-SUKUK
(3) แบบ 69-BASE-PO-SUKUK
(4) แบบ 69-BASE-II&HNW-SUKUK
(5) แบบ 69-PRICING-SUKUK
(6) แบบ 69-SUPPLEMENT-SUKUK
ข้อ 21 ให้เพิ่มภาคผนวก 1 และภาคผนวก 2 เป็นภาคผนวกแนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554
ข้อ 22 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 539 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 28/2562 เรื่อง ข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูกและการเปิดเผยข้อมูล (ฉบับที่ 12) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 28/2562
เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก
และการเปิดเผยข้อมูล
(ฉบับที่ 12)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกแบบ 69-PO-SUKUK แบบ 69-BASE-PO-SUKUK 69-PRICING-SUKUK และแบบ 69-SUPPLEMENT-SUKUK ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ทจ. 69/2561 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้แบบ 69-PO-SUKUK แบบ 69-BASE-PO-SUKUK แบบ 69-PRICING-SUKUK และแบบ 69-SUPPLEMENT-SUKUK ท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกภาคผนวก 1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 69/2561 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ภาคผนวก 1 ท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2562
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 540 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2562 เรื่อง ข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูกและการเปิดเผยข้อมูล (ฉบับที่ 11) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 19/2562
เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก
และการเปิดเผยข้อมูล
(ฉบับที่ 11)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 43 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 77/2561 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 43 ให้ผู้เสนอขายศุกูกยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีรายการครบถ้วนเป็นปัจจุบันต่อสํานักงานซึ่งมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ โดยรายละเอียดของรายการตาม (1) (2) (3) และ (4)ให้เป็นไปตามแบบที่กําหนดในข้อ 48 ข้อ 48/1 หรือข้อ 49 แล้วแต่กรณี
(1) สรุปข้อมูลสําคัญของตราสาร (fact sheet)
(2) ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(3) ข้อมูลเกี่ยวกับการจอง การจําหน่าย และการจัดสรร
(4) ข้อมูลเพิ่มเติมสําหรับกรณีการเสนอขายศุกูกอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
(ก) ศุกูกเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (green sukuk)
(ข) ศุกูกเพื่อพัฒนาสังคม (social sukuk)
(ค) ศุกูกเพื่อความยั่งยืน (sustainability sukuk)
(5) ข้อมูลอื่นใดที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน
สรุปข้อมูลสําคัญของตราสารตามวรรคหนึ่ง (1) อย่างน้อยต้องแสดงถึงสาระสําคัญของตราสาร รวมทั้งลักษณะพิเศษและความเสี่ยงที่สําคัญของตราสาร โดยสํานักงานอาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําสรุปข้อมูลสําคัญของตราสารด้วยก็ได้
ข้อมูลเพิ่มเติมในแบบแสดงรายการข้อมูลของศุกูกตามวรรคหนึ่ง (4) อย่างน้อยต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้
(1) มาตรฐานสากลซึ่งเป็นที่ยอมรับที่นํามาใช้อ้างอิงในการขออนุญาตเสนอขายศุกูกดังกล่าวตามแต่กรณีดังนี้
(ก) กรณีการเสนอขายศุกูกเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น มาตรฐาน ASEAN Green Bond Standards (ASEAN GBS) หรือมาตรฐาน International Capital Market Association Green Bond Principles (ICMA GBP) เป็นต้น
(ข) กรณีการเสนอขายศุกูกเพื่อพัฒนาสังคม เช่น มาตรฐาน ASEAN Social Bond Standards (ASEAN SBS) หรือมาตรฐาน International Capital Market Association Social Bond Principles (ICMA SBP) เป็นต้น
(ค) กรณีการเสนอขายศุกูกเพื่อความยั่งยืน เช่น มาตรฐาน ASEAN Sustainability Bond Standards (ASEAN SUS) หรือมาตรฐาน International Capital Market Association Sustainability Bond Guidelines (ICMA SBG) เป็นต้น
(2) วัตถุประสงค์การใช้เงินที่ได้จากการระดมทุน (use of proceeds)
(3) กระบวนการที่ใช้ในการประเมินและคัดเลือกโครงการ (process for project evaluation and selection) โดยระบุกระบวนการและปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณา รวมทั้งมาตรฐานหรือวิธีการรับรองอื่นใดที่ใช้อ้างอิง
(4) การบริหารจัดการเงินที่ได้จากการระดมทุน (management of proceeds) โดยแสดงถึงวิธีการติดตามการใช้เงินที่ได้มาจากการระดมทุนไปใช้ในโครงการและวิธีการแบ่งแยกเงินออกจากเงินอื่นของบริษัทให้เห็นอย่างชัดเจน เช่น การนําเงินที่ได้จากการระดมทุนแยกเป็นบัญชีต่างหากจากบัญชีทรัพย์สินอื่น ๆ (sub-account) ของผู้เสนอขายศุกูก เป็นต้น
(5) การรายงานและช่องทางการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินการภายหลังการเสนอขาย(reporting) โดยให้เปิดเผยรายงานประเภทต่าง ๆ จนกว่าจะครบอายุของศุกูก เช่น รายงานการใช้เงินที่ได้มาจากการระดมทุน หรือรายงานความคืบหน้าของโครงการว่าดําเนินการถึงขั้นตอนใด จํานวนเงินที่ใช้ และยอดคงเหลือ เป็นต้น รวมทั้งช่องทางการเปิดเผยข้อมูล เช่น บนเว็บไซต์ของผู้เสนอขายศุกูก ซึ่งควรจัดให้มีการรายงานอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เป็นต้น”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 541 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ. 41/2563 เรื่อง ข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูกและการเปิดเผยข้อมูล (ฉบับที่ 13) | -ร่าง-
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 41/2563
เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก
และการเปิดเผยข้อมูล
(ฉบับที่ 13)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 69/2561 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 17 ให้ผู้ที่ประสงค์จะเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่แก่ประชาชนทั่วไปยื่นคําขออนุญาตมาพร้อมกับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายศุกูกต่อสํานักงานตามวิธีการที่กําหนดโดยข้อ 18 โดยให้ยื่นคําขออนุญาตได้ตามลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) การขออนุญาตในลักษณะรายครั้ง
(2) การขออนุญาตในลักษณะโครงการ
ในการขออนุญาตเสนอขายศุกูกที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ ให้ยื่นขออนุญาตได้เฉพาะในลักษณะรายครั้งเท่านั้น
(1) ศุกูกด้อยสิทธิ
(2) ศุกูกที่ครบกําหนดอายุเมื่อผู้ระดมทุนเลิกกิจการ
(3) ศุกูกที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับต่ํากว่าที่ลงทุนได้ หรือศุกูกที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ทั้งนี้ การจัดอันดับความน่าเชื่อถือให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 25(1) โดยอนุโลม
คําขออนุญาตตามวรรคหนึ่งต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําคําขออนุญาตและรับรองข้อมูลตามที่กําหนดในหมวดนี้
ในกรณีที่ผู้ระดมทุนและผู้ขออนุญาตไม่ได้เป็นบุคคลเดียวกัน ผู้ระดมทุนต้องยื่นคําขออนุญาตร่วมกับผู้ขออนุญาตด้วย
คําขออนุญาตและเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตอื่นใดนอกเหนือจากเอกสารที่กําหนดตามข้อ 18 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ให้ผู้ขออนุญาตชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตต่อสํานักงานเมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ทั้งนี้ อัตราค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 21 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 69/2561 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 21 ภายในระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 20/1 หากปรากฏเหตุการณ์ลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ผู้ได้รับอนุญาตจะเสนอขายศุกูกในลักษณะโครงการต่อไปไม่ได้จนกว่าจะดําเนินการแก้ไขคุณสมบัติตาม (1) หรือแก้ไขให้ศุกูกได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับที่ลงทุนได้ตาม (2) ก่อนสิ้นระยะเวลาตามข้อ 20/1 แล้วแต่กรณี
(1) ผู้ได้รับอนุญาตและผู้ระดมทุนในลักษณะโครงการไม่สามารถดํารงคุณสมบัติให้เป็นไปตามส่วนที่ 2 ในหมวด 1 ของภาค 1
(2) ศุกูกที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายในลักษณะโครงการได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับต่ํากว่าที่ลงทุนได้ หรือไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 25 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 69/2561 เรื่อง ข้อกําหนด
ที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) การแจ้งต่อสํานักงานกรณีทรัสตีผู้ออกศุกูกและผู้ระดมทุนที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายในลักษณะโครงการไม่สามารถดํารงคุณสมบัติได้ และศุกูกที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายในลักษณะโครงการได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับต่ํากว่าที่ลงทุนได้ หรือไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 27 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 69/2561 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 27 ให้ทรัสตีผู้ออกศุกูกรายงานการผิดนัดชําระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยต่อสํานักงานและศุกูกทรัสตีภายใน 1 วันทําการนับแต่วันที่ปรากฏเหตุผิดนัด”
ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ของข้อ 33 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554
“(5) รายงานการผิดนัดชําระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยตามข้อ 27 ”
ข้อ 6 ให้ยกเลิกแบบ 69-II&HNW-SUKUK และแบบ 69-BASE-II&HNW-SUKUKท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 69/2561 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้แบบ 69-II&HNW-SUKUK และแบบ 69-BASE-II&HNW-SUKUK ท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ 7 ให้ยกเลิกแบบ 69-PO-SUKUK แบบ 69-BASE-PO-SUKUK แบบ 69-PRICING-SUKUK และแบบ 69-SUPPLEMENT-SUKUK ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 28/2562 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้แบบ69-PO-SUKUK แบบ 69-BASE-PO-SUKUK แบบ 69-PRICING-SUKUK และแบบ 69-SUPPLEMENT-SUKUK ท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ 8 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
เว้นแต่ข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 6 และข้อ 7 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 542 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 20/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 20/2546
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้บริการ
เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 223 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกข้อ 5 ทวิ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 18/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2539
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2546
ร้อยเอก
(สุชาติ เชาว์วิศิษฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 543 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทด. 95/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทด. 95/2552
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้บริการ
เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 223 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ผู้ถือหลักทรัพย์” หมายความว่า ผู้ถือหลักทรัพย์ที่นายทะเบียนหลักทรัพย์รับเป็นนายทะเบียน
“ผู้ขอรับบริการ” หมายความว่า ผู้ออกหลักทรัพย์ที่นายทะเบียนหลักทรัพย์รับเป็นนายทะเบียน
ข้อ 2 ในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ของหลักทรัพย์ประเภทใดตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้ขอรับบริการ นายทะเบียนหลักทรัพย์ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดทําและเก็บรักษาทะเบียนหลักทรัพย์ ตลอดจนหลักฐานประกอบการลงทะเบียนตามที่กฎหมายกําหนดเกี่ยวกับหลักทรัพย์ประเภทนั้น
ข้อ ๒ ในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ของหลักทรัพย์ประเภทใดตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้ขอรับบริการ นายทะเบียนหลักทรัพย์ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดทําและเก็บรักษาทะเบียนหลักทรัพย์ ตลอดจนหลักฐานประกอบการลงทะเบียนตามที่กฎหมายกําหนดเกี่ยวกับหลักทรัพย์ประเภทนั้น
ข้อ ๓ นายทะเบียนหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีสัญญาการให้บริการกับผู้ขอรับบริการเป็นหนังสือมีข้อความตรงกันอย่างน้อยสองฉบับ และต้องมอบให้ผู้ขอรับบริการเก็บไว้เป็นหลักฐานหนึ่งฉบับ
ในกรณีที่สัญญาการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ชํารุดหรือสูญหาย และผู้ขอรับบริการขอให้นายทะเบียนหลักทรัพย์ถ่ายภาพสัญญาหรือจัดทําสําเนาให้แก่ผู้ขอรับบริการ นายทะเบียนหลักทรัพย์ต้องจัดให้ตามความประสงค์ และอาจเรียกค่าใช้จ่ายเอาจากผู้ขอรับบริการเท่าที่จําเป็นก็ได้
ข้อ ๔ นอกจากข้อความที่เป็นสาระสําคัญแห่งสัญญาที่พึงระบุตามที่คู่สัญญาตกลงกันแล้ว ให้นายทะเบียนหลักทรัพย์ระบุข้อความต่อไปนี้ไว้ในสัญญาการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ด้วย
(1) สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบระหว่างนายทะเบียนหลักทรัพย์และผู้ขอรับบริการ
(2) ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ (ถ้ามี) ที่ผู้ขอรับบริการมีหน้าที่ต้องชําระตามสัญญาในอัตราที่แน่นอน
ข้อ ๕ ในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ นายทะเบียนหลักทรัพย์ต้องดําเนินงานดังต่อไปนี้
(1) จัดทําและบันทึกทะเบียนหลักทรัพย์ให้ถูกต้องครบถ้วน ตรงต่อความเป็นจริงและเป็นปัจจุบัน
(2) จัดให้มีระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการโอน การจํานํา การอายัด การออกใบหลักทรัพย์ใหม่ และการอื่นใดที่จําเป็นในการติดต่อกับนายทะเบียนหลักทรัพย์ โดยให้ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานของนายทะเบียนหลักทรัพย์นั้น
(3) จัดให้มีระบบควบคุมภายในที่สามารถป้องกันการกระทําโดยมิชอบอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ขอรับบริการหรือผู้ถือหลักทรัพย์ โดยอย่างน้อยต้องมีเรื่องดังต่อไปนี้
(ก) การแบ่งส่วนงานและอํานาจหน้าที่ของพนักงานแต่ละระดับที่เกี่ยวข้องกับทะเบียนหลักทรัพย์
(ข) การควบคุมและเก็บรักษาทะเบียนหลักทรัพย์และใบหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง
(ค) การตรวจสอบกิจการภายใน
(4) จัดให้มีระบบการเก็บรักษา รวบรวม และประมวลผลข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีระบบสํารองข้อมูลไว้ใช้ทดแทนในกรณีที่ไม่สามารถนําข้อมูลนั้นมาใช้ได้
(5) จัดให้มีระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพเกี่ยวกับข้อร้องเรียนหรือข้อพิพาทที่เกิดจากการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์
(6) อํานวยความสะดวกตามสมควรแก่ผู้ถือหลักทรัพย์ในการตรวจดูทะเบียนหลักทรัพย์ในระหว่างเวลาทําการตามที่นายทะเบียนหลักทรัพย์กําหนด
ข้อ ๖ นายทะเบียนหลักทรัพย์ต้องมีมาตรการรองรับเมื่อเกิดกรณีฉุกเฉินที่อาจมีผลกระทบต่อการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ โดยต้องกําหนดกรณีฉุกเฉินให้ครอบคลุมถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมทั้งกําหนดขั้นตอนการดําเนินการและผู้รับผิดชอบในการดําเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวในแต่ละกรณีให้ชัดเจน
ข้อ ๗ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2535 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๘ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2535 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไปเว้นแต่ข้อ 5(5) และข้อ 6 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ -
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์เป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2535 นอกจากนี้ เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการประกอบการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการข้อร้องเรียน และการมีมาตรการรองรับเมื่อเกิดกรณีฉุกเฉินที่มีผลกระทบต่อการให้บริการ เพื่อให้การกํากับดูแลนายทะเบียนหลักทรัพย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 544 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทด. 95/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (ฉบับประมวล) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทด. 95/2552
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้บริการ
เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์
(ฉบับประมวล)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 223 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ผู้ถือหลักทรัพย์” หมายความว่า ผู้ถือหลักทรัพย์ที่นายทะเบียนหลักทรัพย์รับเป็น
นายทะเบียน
“ผู้ขอรับบริการ” หมายความว่า ผู้ออกหลักทรัพย์ที่นายทะเบียนหลักทรัพย์รับเป็น
นายทะเบียน
ข้อ ๒ ในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ของหลักทรัพย์ประเภทใดตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้ขอรับบริการ นายทะเบียนหลักทรัพย์ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดทําและเก็บรักษาทะเบียนหลักทรัพย์ ตลอดจนหลักฐานประกอบการลงทะเบียนตามที่กฎหมายกําหนดเกี่ยวกับหลักทรัพย์ประเภทนั้น
ข้อ ๓ นายทะเบียนหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีสัญญาการให้บริการกับผู้ขอรับบริการ
เป็นหนังสือมีข้อความตรงกันอย่างน้อยสองฉบับ และต้องมอบให้ผู้ขอรับบริการเก็บไว้เป็นหลักฐาน
หนึ่งฉบับ
ในกรณีที่สัญญาการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ชํารุดหรือสูญหาย และผู้ขอรับบริการขอให้นายทะเบียนหลักทรัพย์ถ่ายภาพสัญญาหรือจัดทําสําเนาให้แก่ผู้ขอรับบริการนายทะเบียนหลักทรัพย์ต้องจัดให้ตามความประสงค์ และอาจเรียกค่าใช้จ่ายเอาจากผู้ขอรับบริการเท่าที่จําเป็นก็ได้
ข้อ ๕ ในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์สําหรับหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้หรือพันธบัตรที่มิใช่หลักทรัพย์ตามมาตรา 63 นายทะเบียนหลักทรัพย์ต้องดําเนินงานดังต่อไปนี้ด้วย
(1) นําส่งรายชื่อผู้ถือหุ้นกู้หรือพันธบัตรให้สํานักงานตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) รายชื่อผู้ถือหุ้นกู้หรือพันธบัตรตามที่มีการบันทึกไว้ในทะเบียนหลักทรัพย์ ณ วันปิดสมุดทะเบียนหลักทรัพย์ครั้งล่าสุด ก่อนหรือในวันที่ 30 มิถุนายน และ 31 ธันวาคม ของทุกปี โดยให้นําส่งภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ 30 มิถุนายน หรือ 31 ธันวาคม ของทุกปี แล้วแต่กรณี
(ข) ในกรณีที่ปรากฏเหตุจําเป็นอันเหมาะสมและสํานักงานร้องขอ ให้นายทะเบียนหลักทรัพย์นําส่งรายชื่อผู้ถือหุ้นกู้หรือพันธบัตรตามที่มีการบันทึกไว้ในทะเบียนหลักทรัพย์ ณ วันปิด สมุดทะเบียนหลักทรัพย์ครั้งล่าสุด ก่อนหรือในวันที่สํานักงานร้องขอ โดยให้นําส่งภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานร้องขอ
(2) ในกรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้หรือพันธบัตรผิดนัดชําระหนี้เงินต้นหรือดอกเบี้ยเมื่อครบกําหนดชําระเงิน ให้นายทะเบียนหลักทรัพย์นําส่งข้อมูลดังนี้ต่อสํานักงานและผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (ถ้ามี)
(ก) รายงานการผิดนัดชําระหนี้เงินต้นหรือดอกเบี้ย โดยให้นําส่งภายใน
วันทําการถัดจากวันที่ครบกําหนดชําระเงิน
(ข) รายชื่อผู้ถือหุ้นกู้หรือพันธบัตรตามที่มีการบันทึกไว้ในทะเบียนหลักทรัพย์
ณ วันปิดสมุดทะเบียนหลักทรัพย์ครั้งล่าสุด ก่อนหรือในวันที่สํานักงานร้องขอ โดยให้นําส่งภายใน
ห้าวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานร้องขอ
การนําส่งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบและวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์
ของสํานักงาน
ข้อ ๖ ในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์สําหรับหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้หรือพันธบัตรที่มิใช่หลักทรัพย์ตามมาตรา 63 นายทะเบียนหลักทรัพย์ต้องดําเนินงานดังต่อไปนี้ด้วย
(1) นําส่งรายชื่อผู้ถือหุ้นกู้หรือพันธบัตรให้สํานักงานตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) รายชื่อผู้ถือหุ้นกู้หรือพันธบัตรตามที่มีการบันทึกไว้ในทะเบียนหลักทรัพย์ ณ วันปิดสมุดทะเบียนหลักทรัพย์ครั้งล่าสุด ก่อนหรือในวันที่ 30 มิถุนายน และ 31 ธันวาคม ของทุกปี โดยให้นําส่งภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ 30 มิถุนายน หรือ 31 ธันวาคม ของทุกปี แล้วแต่กรณี
(ข) ในกรณีที่ปรากฏเหตุจําเป็นอันเหมาะสมและสํานักงานร้องขอ ให้นายทะเบียนหลักทรัพย์นําส่งรายชื่อผู้ถือหุ้นกู้หรือพันธบัตรตามที่มีการบันทึกไว้ในทะเบียนหลักทรัพย์ ณ วันปิด ฃสมุดทะเบียนหลักทรัพย์ครั้งล่าสุด ก่อนหรือในวันที่สํานักงานร้องขอ โดยให้นําส่งภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานร้องขอ
(2) ในกรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้หรือพันธบัตรผิดนัดชําระหนี้เงินต้นหรือดอกเบี้ยเมื่อครบกําหนดชําระเงิน ให้นายทะเบียนหลักทรัพย์นําส่งข้อมูลดังนี้ต่อสํานักงานและผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (ถ้ามี)
(ก) รายงานการผิดนัดชําระหนี้เงินต้นหรือดอกเบี้ย โดยให้นําส่งภายใน
วันทําการถัดจากวันที่ครบกําหนดชําระเงิน
(ข) รายชื่อผู้ถือหุ้นกู้หรือพันธบัตรตามที่มีการบันทึกไว้ในทะเบียนหลักทรัพย์
ณ วันปิดสมุดทะเบียนหลักทรัพย์ครั้งล่าสุด ก่อนหรือในวันที่สํานักงานร้องขอ โดยให้นําส่งภายใน
ห้าวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานร้องขอ
การนําส่งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบและวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์
ของสํานักงาน
ข้อ ๖/๑ ในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์สําหรับหลักทรัพย์ประเภท
หุ้นกู้หรือพันธบัตรที่มิใช่หลักทรัพย์ตามมาตรา 63 นายทะเบียนหลักทรัพย์ต้องดําเนินงานดังต่อไปนี้ด้วย
(1) นําส่งรายชื่อผู้ถือหุ้นกู้หรือพันธบัตรให้สํานักงานตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) รายชื่อผู้ถือหุ้นกู้หรือพันธบัตรตามที่มีการบันทึกไว้ในทะเบียนหลักทรัพย์
ณ วันปิดสมุดทะเบียนหลักทรัพย์ครั้งล่าสุด ก่อนหรือในวันที่ 30 มิถุนายน และ 31 ธันวาคม ของทุกปี โดยให้นําส่งภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ 30 มิถุนายน หรือ 31 ธันวาคม ของทุกปี แล้วแต่กรณี
(ข) ในกรณีที่ปรากฏเหตุจําเป็นอันเหมาะสมและสํานักงานร้องขอ ให้นายทะเบียนหลักทรัพย์นําส่งรายชื่อผู้ถือหุ้นกู้หรือพันธบัตรตามที่มีการบันทึกไว้ในทะเบียนหลักทรัพย์ ณ วันปิด
สมุดทะเบียนหลักทรัพย์ครั้งล่าสุด ก่อนหรือในวันที่สํานักงานร้องขอ โดยให้นําส่งภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานร้องขอ
(2) ในกรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้หรือพันธบัตรผิดนัดชําระหนี้เงินต้นหรือดอกเบี้ยเมื่อครบกําหนดชําระเงิน ให้นายทะเบียนหลักทรัพย์นําส่งข้อมูลดังนี้ต่อสํานักงานและผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (ถ้ามี)
(ก) รายงานการผิดนัดชําระหนี้เงินต้นหรือดอกเบี้ย โดยให้นําส่งภายใน
วันทําการถัดจากวันที่ครบกําหนดชําระเงิน
(ข) รายชื่อผู้ถือหุ้นกู้หรือพันธบัตรตามที่มีการบันทึกไว้ในทะเบียนหลักทรัพย์
ณ วันปิดสมุดทะเบียนหลักทรัพย์ครั้งล่าสุด ก่อนหรือในวันที่สํานักงานร้องขอ โดยให้นําส่งภายใน
ห้าวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานร้องขอ
การนําส่งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบและวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์
ของสํานักงาน
ข้อ ๗ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2535 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๘ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2535 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป เว้นแต่ข้อ 5(5) และข้อ 6 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 545 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 45/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 45/2563
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้บริการ
เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 223 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 6/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทด. 95/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์
ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552
“ข้อ 6/1 ในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์สําหรับหลักทรัพย์ประเภท
หุ้นกู้หรือพันธบัตรที่มิใช่หลักทรัพย์ตามมาตรา 63 นายทะเบียนหลักทรัพย์ต้องดําเนินงานดังต่อไปนี้ด้วย
(1) นําส่งรายชื่อผู้ถือหุ้นกู้หรือพันธบัตรให้สํานักงานตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) รายชื่อผู้ถือหุ้นกู้หรือพันธบัตรตามที่มีการบันทึกไว้ในทะเบียนหลักทรัพย์
ณ วันปิดสมุดทะเบียนหลักทรัพย์ครั้งล่าสุด ก่อนหรือในวันที่ 30 มิถุนายน และ 31 ธันวาคม ของทุกปี โดยให้นําส่งภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ 30 มิถุนายน หรือ 31 ธันวาคม ของทุกปี แล้วแต่กรณี
(ข) ในกรณีที่ปรากฏเหตุจําเป็นอันเหมาะสมและสํานักงานร้องขอ ให้นายทะเบียนหลักทรัพย์นําส่งรายชื่อผู้ถือหุ้นกู้หรือพันธบัตรตามที่มีการบันทึกไว้ในทะเบียนหลักทรัพย์ ณ วันปิดสมุดทะเบียนหลักทรัพย์ครั้งล่าสุด ก่อนหรือในวันที่สํานักงานร้องขอ โดยให้นําส่งภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานร้องขอ
(2) ในกรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้หรือพันธบัตรผิดนัดชําระหนี้เงินต้นหรือดอกเบี้ยเมื่อครบกําหนดชําระเงิน ให้นายทะเบียนหลักทรัพย์นําส่งข้อมูลดังนี้ต่อสํานักงานและผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (ถ้ามี)
(ก) รายงานการผิดนัดชําระหนี้เงินต้นหรือดอกเบี้ย โดยให้นําส่งภายใน
วันทําการถัดจากวันที่ครบกําหนดชําระเงิน
(ข) รายชื่อผู้ถือหุ้นกู้หรือพันธบัตรตามที่มีการบันทึกไว้ในทะเบียนหลักทรัพย์
ณ วันปิดสมุดทะเบียนหลักทรัพย์ครั้งล่าสุด ก่อนหรือในวันที่สํานักงานร้องขอ โดยให้นําส่งภายใน
ห้าวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานร้องขอ
การนําส่งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบและวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน”
ข้อ 2 ให้นายทะเบียนหลักทรัพย์ที่มีหน้าที่ตามข้อ 6/1 วรรคหนึ่ง (1) (ก)
แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 95/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ
ในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม
โดยประกาศนี้ นําส่งรายชื่อผู้ถือหุ้นกู้หรือพันธบัตรตามหน้าที่ในข้อกําหนดดังกล่าวให้สํานักงาน
ครั้งแรกภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 546 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทต่างประเทศที่ออกและเสนอขายหุ้น | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 17/2558
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูล
เกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของ
บริษัทต่างประเทศที่ออกและเสนอขายหุ้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
หมวด ๑ บททั่วไป
ส่วน ๑ หลักการและขอบเขตของประกาศ
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดทําและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่างประเทศที่ออกและเสนอขายหุ้นในประเทศไทย ในลักษณะเป็นการเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไป (public offering) เพื่อให้ผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปสามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่างประเทศได้อย่างต่อเนื่อง ในมาตรฐานเทียบเคียงกับที่บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งเสนอขายหุ้นในลักษณะดังกล่าวมีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลเช่นนั้น และด้วยปริมาณรวมทั้งคุณภาพของข้อมูลไม่น้อยไปกว่าข้อมูลที่เปิดเผยต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศที่ลงทุนในหุ้นของบริษัทดังกล่าวเช่นกัน อย่างไรก็ตาม โดยที่ลักษณะหรือสภาวะแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับบริษัทต่างประเทศ ตลอดจนกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับบริษัทต่างประเทศ อาจแตกต่างจากของบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยอย่างมีนัยสําคัญ ในหลักการของการกํากับดูแลจึงจําเป็นต้องคํานึงถึงลักษณะเฉพาะหรือข้อเท็จจริงเป็นพิเศษที่เกี่ยวข้องกับบริษัทต่างประเทศด้วย
ข้อ ๓ ให้บริษัทต่างประเทศดังต่อไปนี้ มีหน้าที่จัดทําและส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามประกาศนี้ เว้นแต่มีเหตุที่ทําให้บริษัทต่างประเทศสิ้นสุดหน้าที่ตามที่กําหนดในหมวด 6
(1) บริษัทต่างประเทศที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(2) บริษัทต่างประเทศที่ออกหุ้นซึ่งมีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นนั้นต่อสํานักงาน ไม่ว่าโดยบริษัทต่างประเทศหรือผู้ถือหุ้น
ข้อ ๔ ประเภทข้อมูลและระยะเวลาในการจัดทําและส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่างประเทศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีบริษัทต่างประเทศที่ยังมิได้มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ และบริษัทต่างประเทศนั้นเสนอขายหุ้นในประเทศไทยเพื่อการจดทะเบียนหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพียงแห่งเดียว ให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานต่อสํานักงาน ตามหลักเกณฑ์ของไทยที่กําหนดในหมวด 2
(2) ในกรณีบริษัทต่างประเทศเสนอขายหุ้นในประเทศไทยภายหลังจากที่บริษัทต่างประเทศนั้นมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศแล้ว ให้เปิดเผยข้อมูลตามที่บริษัทดังกล่าวเปิดเผยต่อตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศหรือหน่วยงานทางการในต่างประเทศนั้นต่อสํานักงาน ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวด 3
(3) ในกรณีบริษัทต่างประเทศมีการเสนอขายหุ้นในหลายประเทศ ให้เปิดเผยข้อมูลตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) ให้เปิดเผยข้อมูลตามที่บริษัทดังกล่าวเปิดเผยต่อตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศหรือหน่วยงานทางการในต่างประเทศที่บริษัทนั้นแสดงเจตนาผูกพันว่าจะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์หรือหน่วยงานทางการของประเทศนั้นเป็นหลัก (home regulator) ต่อสํานักงาน ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวด 3
(ข) ให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานต่อสํานักงาน ตามหลักเกณฑ์ของไทยที่กําหนดในหมวด 2 ในกรณีอื่นนอกจาก (ก)
ข้อ ๕ การจัดทําและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่างประเทศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ข้อกําหนดเกี่ยวกับงบการเงิน ผู้สอบบัญชี และการประเมินค่าทรัพย์สิน ให้เป็นตามหมวด 4
(2) รูปแบบและวิธีการในการจัดทําและจัดส่ง ให้เป็นไปตามหมวด 5
(3) การสิ้นสุดหน้าที่ตามประกาศนี้ ให้เป็นไปตามหมวด 6
(4) อํานาจของสํานักงานเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูล ให้เป็นไปตามหมวด 7
ข้อ ๖ ในกรณีดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจกําหนดให้บริษัทต่างประเทศตามข้อ 4(2) หรือ (3) (ก) เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานในลักษณะเทียบเคียงกับ
การเปิดเผยข้อมูลตามหลักเกณฑ์ของไทยที่กําหนดในหมวด 2 ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนได้
(1) ในกรณีที่บริษัทต่างประเทศตามข้อ 4(2) เสนอขายหุ้นในประเทศไทยเป็นจํานวนมากกว่าร้อยละหกสิบของจํานวนหุ้นที่เรียกชําระแล้วทั้งหมดของบริษัทนั้นภายหลังการเสนอขายหุ้นดังกล่าว ทั้งนี้ ในการคํานวณสัดส่วนดังกล่าว สํานักงานอาจไม่นับรวมจํานวนหุ้นที่ถือโดยผู้ร่วมลงทุนระยะยาว (strategic investors) ได้
(2) ในกรณีที่บริษัทต่างประเทศตามข้อ 4(3) (ก) เสนอขายหุ้นในประเทศไทยเป็นสัดส่วนอย่างมีนัยสําคัญเมื่อเทียบกับการเสนอขายในประเทศอื่น
(3) ในกรณีที่บริษัทต่างประเทศมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศตามข้อ 4(2) หรือ (3) (ก) ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าวไม่ได้ตั้งอยู่ในประเทศที่มีชื่ออยู่ในรายชื่อประเทศที่สํานักงานยอมรับ
ข้อ ๗ การจัดทําและส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่างประเทศตามประกาศนี้ ให้เริ่มเมื่อแบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นต่อสํานักงานมีผลใช้บังคับแล้ว
ให้บริษัทต่างประเทศที่เริ่มมีหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง จัดทําและส่งงบการเงินตามรอบระยะเวลาที่ถัดจากงบการเงินที่ปรากฏในแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าว
ส่วน ๒ บทนิยาม
ข้อ ๘ ในประกาศนี้ ให้นําบทนิยามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ มาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่จะกําหนดไว้เป็นการเฉพาะเป็นประการอื่น
ข้อ ๙ ให้มีบทนิยามเพิ่มเติมดังนี้
“บริษัทต่างประเทศ” หมายความว่า บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ
“ผู้สอบบัญชีท้องถิ่น” หมายความว่า ผู้สอบบัญชีที่สามารถทําการสอบบัญชีได้โดยชอบด้วยกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ของประเทศที่บริษัทต่างประเทศจัดตั้งขึ้น
“มาตรฐานการรายงานทางการเงินของไทย” หมายความว่า มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่กําหนดโดยคณะกรรมการกําหนดมาตรฐานการบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี
“ประกาศว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ที่ใช้บังคับกับบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
หมวด ๒ การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน
ตามหลักเกณฑ์ของไทย
ส่วน ๑ ประเภทข้อมูลและระยะเวลา
ข้อ ๑๐ รายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานได้แก่ประเภทข้อมูลดังต่อไปนี้
(1) งบการเงิน
(2) รายงานทางการเงินสําหรับรอบระยะเวลาหกเดือนแรกของปีบัญชี
(3) การวิเคราะห์และคําอธิบายระหว่างกาลของฝ่ายจัดการ (Interim Management Discussion and Analysis)
(4) รายงานประจําปี
(5) แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี
(6) แบบแสดงรายการข้อมูลระหว่างปี
ข้อ ๑๑ ให้บริษัทต่างประเทศจัดทําและส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและ
ผลการดําเนินงานตามที่กําหนดในข้อ 10 ต่อสํานักงาน ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การจัดทําและส่งข้อมูลตามข้อ 10(1) (2) (4) และ (5) รวมทั้งระยะเวลาในการส่ง
ให้เป็นไปตามที่กําหนดในตารางท้ายประกาศนี้
(2) การจัดทําและส่งข้อมูลตามข้อ 10(3) รวมทั้งระยะเวลาในการส่ง ให้เป็นไปตามที่กําหนดในตารางท้ายประกาศนี้ เว้นแต่กรณีตามข้อ 14
(3) การจัดทําและส่งข้อมูลตามข้อ 10(6) ให้เป็นไปตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กําหนดในส่วนที่ 6 ของหมวดนี้
ข้อ ๑๒ ในกรณีบริษัทต่างประเทศมีหน้าที่ส่งรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานต่อตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศหรือหน่วยงานทางการในต่างประเทศตามที่ตลาดหลักทรัพย์หรือหน่วยงานดังกล่าวกําหนด ให้บริษัทต่างประเทศดําเนินการดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ส่งรายงานที่บริษัทต่างประเทศนั้นส่งต่อตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศหรือหน่วยงานทางการในต่างประเทศต่อสํานักงาน
(2) ในการจัดทําและส่งรายงานซึ่งบริษัทต่างประเทศมีหน้าที่ส่งต่อสํานักงานตามประกาศนี้ รายงานดังกล่าวต้องมีรายละเอียดของข้อมูลไม่น้อยกว่ารายงานที่บริษัทต่างประเทศได้จัดทําและเปิดเผยต่อตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศหรือหน่วยงานทางการในต่างประเทศ
(3) ในกรณีที่บริษัทต่างประเทศต้องเปิดเผยข้อมูลในรายงานที่บริษัทส่งต่อตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศหรือหน่วยงานทางการในต่างประเทศตาม (1) เพิ่มเติม ให้บริษัทต่างประเทศเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต่อสํานักงานด้วย
(4) ให้บริษัทต่างประเทศส่งรายงานตาม (1) และ (2) และเปิดเผยข้อมูลตาม (3) (ถ้ามี) ต่อสํานักงานภายในระยะเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกันกับระยะเวลาที่เปิดเผยต่อตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศหรือหน่วยงานทางการในต่างประเทศ ในลักษณะที่จะไม่ทําให้เกิดการได้หรือเสียเปรียบในการซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้ประโยชน์จากข้อมูลดังกล่าว
ส่วน ๒ ข้อกําหนดเกี่ยวกับเอกสารและข้อมูลประกอบงบการเงิน
ข้อ ๑๓ ให้บริษัทต่างประเทศส่งเอกสารดังต่อไปนี้ ต่อสํานักงานพร้อมกับการจัดส่งงบการเงิน
(1) หนังสือรับรองงบการเงินตามแบบ 56-3 ท้ายประกาศว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน
(2) บทสรุปประเภทรายงานของผู้สอบบัญชีตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน
ข้อ ๑๔ เมื่อปรากฏว่ารายได้หรือกําไรสุทธิตามงบการเงินงวดใดของบริษัทต่างประเทศมีความแตกต่างจากงบการเงินในงวดเดียวกันของปีก่อนเกินกว่าร้อยละยี่สิบ ให้บริษัทต่างประเทศจัดทําการวิเคราะห์และคําอธิบายระหว่างกาลของฝ่ายจัดการ (Interim Management Discussion and Analysis) โดยอย่างน้อยให้แสดงถึงสาเหตุและปัจจัยสําคัญที่ทําให้เกิดความแตกต่าง รวมทั้งผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยดังกล่าว และส่งต่อสํานักงานพร้อมกับการจัดส่งงบการเงิน
ส่วน ๓ การจัดทํารายงานทางการเงินสําหรับรอบระยะเวลา
หกเดือนแรกของปีบัญชี
ข้อ ๑๕ บริษัทต่างประเทศที่อยู่ระหว่างถูกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีคําสั่งห้ามซื้อหรือขายหลักทรัพย์จดทะเบียนของบริษัทเป็นการชั่วคราวโดยขึ้นเครื่องหมาย SP (suspension) อันเนื่องมาจากบริษัทมีการดําเนินงานหรือฐานะการเงินที่เข้าข่ายอาจถูกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพิกถอนหุ้นจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียนที่ใช้บังคับกับบริษัทต่างประเทศ อาจจัดทําและส่งรายงานทางการเงินสําหรับรอบระยะเวลาหกเดือนแรกของปีบัญชีที่มีลักษณะตามข้อ 16 พร้อมทั้งการวิเคราะห์และคําอธิบายระหว่างกาลของฝ่ายจัดการ (Interim Management Discussion and Analysis) ตามข้อ 17 แทนการส่งงบการเงินรายไตรมาสก็ได้
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับบริษัทต่างประเทศที่เข้าข่ายถูกเพิกถอนหุ้นจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน เนื่องจากรายงานการสอบบัญชีระบุว่าผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินของบริษัทหรือแสดงความเห็นว่างบการเงินของบริษัทไม่ถูกต้องตามระยะเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนด
ข้อ ๑๖ รายงานทางการเงินสําหรับรอบระยะเวลาหกเดือนแรกของปีบัญชีตามข้อ 15 ต้องมีรูปแบบและรายการที่แสดงเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินว่าด้วยงบการเงินระหว่างกาล
ข้อ ๑๗ ในการจัดทําการวิเคราะห์และคําอธิบายระหว่างกาลของฝ่ายจัดการ (Interim Management Discussion and Analysis) ของบริษัทต่างประเทศตามข้อ 15 ต้องมีรายละเอียดตามรายการที่กําหนดสําหรับการวิเคราะห์และคําอธิบายของฝ่ายจัดการที่อยู่ในแบบ 56-1 ท้ายประกาศว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน และรายละเอียดเพิ่มเติมอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) ความคืบหน้าของการแก้ไขการดําเนินงานหรือฐานะการเงิน
(2) ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า
(3) รายการระหว่างกันตามที่กําหนดในแบบ 56-1 ท้ายประกาศว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน
ส่วน ๔ การจัดทํารายงานประจําปี
ข้อ ๑๘ รายงานประจําปีของบริษัทต่างประเทศต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีเป็นบริษัทต่างประเทศที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ต้องมีข้อมูลอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
(ก) ข้อมูลตามแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีตามที่กําหนดในข้อ 19 พร้อมแนบงบการเงินประจํารอบปีบัญชีนั้น
(ข) ข้อมูลตามแบบ 56-2 ท้ายประกาศว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน และรายการข้อมูลเพิ่มเติมตามข้อ 19(2)
(2) ในกรณีเป็นบริษัทต่างประเทศที่มีการเพิกถอนหุ้นออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ต้องมีข้อมูลตามที่บริษัทต่างประเทศมีหน้าที่ส่งต่อผู้ถือหุ้นตามที่กฎหมายจัดตั้งบริษัทต่างประเทศนั้นกําหนด เว้นแต่สํานักงานจะกําหนดเป็นประการอื่น
ส่วน ๕ การจัดทําแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี
ข้อ ๑๙ แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีของบริษัทต่างประเทศต้องมีข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ข้อมูลตามแบบ 56-1 ท้ายประกาศว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน
(2) ข้อมูลที่กําหนดให้เปิดเผยเพิ่มเติมเนื่องจากลักษณะเฉพาะของบริษัทต่างประเทศ หรือมีข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องซึ่งมีลักษณะเป็นการเฉพาะตามข้อ 32
ส่วน ๖ การจัดทําและส่งแบบแสดงรายการข้อมูลระหว่างปี
ข้อ ๒๐ ในกรณีที่บริษัทต่างประเทศมีการเปลี่ยนแปลงหรือมีการทําธุรกรรมซึ่งเป็นเหตุให้บริษัทต้องยื่นคําขอให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพิจารณารับหลักทรัพย์ใหม่ตามข้อกําหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการรับหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนที่ใช้บังคับกับบริษัทต่างประเทศ ให้บริษัทต่างประเทศจัดทําและส่งแบบแสดงรายการข้อมูลระหว่างปีต่อสํานักงาน
ให้บริษัทต่างประเทศส่งแบบแสดงรายการข้อมูลระหว่างปีตามวรรคหนึ่ง ตามระยะเวลาใดเวลาหนึ่งดังต่อไปนี้ แล้วแต่เวลาใดจะถึงก่อน เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันระยะเวลาจากสํานักงาน
(1) ไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนวันที่หลักทรัพย์จดทะเบียนของบริษัทจะเริ่มซื้อขาย
(2) ภายในวันทําการถัดจากวันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติการเข้าทํารายการหรือวันที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอนุมัติคําขอรับหลักทรัพย์ใหม่ แล้วแต่วันใดจะถึงภายหลัง
สํานักงานอาจผ่อนผันการจัดทําและส่งแบบแสดงรายการข้อมูลระหว่างปีของบริษัทต่างประเทศได้ หากบริษัทมีหนังสือรับรองต่อสํานักงานว่าข้อมูลของบริษัทไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญจากแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีล่าสุดที่บริษัทส่งต่อสํานักงาน
ข้อ ๒๑ แบบแสดงรายการข้อมูลระหว่างปีที่จัดทําและส่งต่อสํานักงานตามข้อ 20 ต้องปรับปรุงข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีล่าสุดที่บริษัทต่างประเทศส่งต่อสํานักงานให้เป็นปัจจุบัน อย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) นโยบายและภาพรวมการประกอบธุรกิจ
(2) ลักษณะการประกอบธุรกิจ
(3) ผู้ถือหุ้นและโครงสร้างการจัดการ
(4) ปัจจัยความเสี่ยงและผลกระทบต่อการดําเนินธุรกิจอย่างมีนัยสําคัญในอนาคต
หมวด ๓ การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน
ตามการเปิดเผยต่อหน่วยงานของต่างประเทศ
ข้อ ๒๒ ให้บริษัทต่างประเทศส่งรายงานดังต่อไปนี้ต่อสํานักงาน
(1) งบการเงิน และรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานอื่นที่มีข้อมูลตรงกับที่บริษัทต่างประเทศได้ส่งต่อตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศหรือหน่วยงานทางการในต่างประเทศตามข้อ 4(2) หรือ (3) (ก)
(2) แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทต่างประเทศมีการจัดทําและเปิดเผยรายงานประจําปีหรือรายงานอื่นใดที่มีข้อมูลในทํานองเดียวกับรายงานประจําปีที่ได้ส่งต่อตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศหรือหน่วยงานทางการในต่างประเทศตามข้อ 4(2) หรือ (3) (ก) ให้ใช้รายงานประจําปีหรือรายงานดังกล่าวเป็นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี
ให้บริษัทต่างประเทศส่งข้อมูลตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงาน ภายในระยะเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกันกับระยะเวลาที่เปิดเผยต่อตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศหรือหน่วยงานทางการในต่างประเทศตามวรรคหนึ่ง
หมวด ๔ ข้อกําหนดเกี่ยวกับงบการเงิน ผู้สอบบัญชี
และการประเมินค่าทรัพย์สิน
ส่วน ๑ ลักษณะของงบการเงิน
ข้อ ๒๓ ข้อมูลที่เป็นงบการเงินซึ่งส่งต่อสํานักงาน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) จัดทําตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
(ก) มาตรฐานการรายงานทางการเงินของไทย
(ข) International Financial Reporting Standard (IFRS)
(ค) มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศหรือหน่วยงานทางการในต่างประเทศยอมรับหรือกําหนด ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่บริษัทต่างประเทศได้จัดทําและเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินโดยแสดงผลกระทบของรายการที่แตกต่างจาก IFRS (Reconciled IFRS) ไว้ด้วย
(ง) มาตรฐานการรายงานทางการเงินอื่นตามที่ได้รับผ่อนผันจากสํานักงาน
(2) รายงานของผู้สอบบัญชีต้องลงลายมือชื่อโดยผู้สอบบัญชีที่มีลักษณะตามที่กําหนดในข้อ 24 และข้อ 25 แล้วแต่กรณี
(3) รายงานผู้สอบบัญชีตาม (2) ต้องไม่มีความหมายในลักษณะดังนี้
(ก) การจัดทําและเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินไม่เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ต้องใช้ในการจัดทํางบการเงินนั้น
(ข) ผู้สอบบัญชีถูกจํากัดขอบเขตการสอบทานหรือตรวจสอบ แล้วแต่กรณี โดยการกระทําหรือไม่กระทําของบริษัทต่างประเทศ หรือของกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทต่างประเทศ
ในกรณีที่บริษัทต่างประเทศมีบริษัทย่อย บริษัทต่างประเทศต้องดําเนินการให้บริษัทย่อยดังกล่าวจัดทําข้อมูลทางการเงินและข้อมูลการเปิดเผยอื่นให้แก่บริษัทต่างประเทศ เพื่อให้บริษัทต่างประเทศสามารถจัดทํางบการเงินรวมให้เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่กําหนดในวรรคหนึ่ง (1)
ส่วน ๒ เงื่อนไขเกี่ยวกับผู้สอบบัญชี
ข้อ ๒๔ ผู้สอบบัญชีที่ลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชีของบริษัทต่างประเทศ ต้องมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) ผู้สอบบัญชีที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน และงบการเงินดังกล่าวต้องผ่านการตรวจสอบหรือสอบทานจากผู้สอบบัญชีท้องถิ่นซึ่งสังกัดสํานักงานสอบบัญชีที่เป็นสมาชิกประเภทเต็มรูปแบบ (full member) ของสํานักงานสอบบัญชีที่เป็นเครือข่ายเดียวกันกับสํานักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีที่ลงลายมือชื่อดังกล่าวสังกัด เว้นแต่ผู้สอบบัญชีที่ลงลายมือชื่อนั้นสามารถสอบบัญชีได้โดยชอบด้วยกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ของประเทศที่บริษัทต่างประเทศนั้นจัดตั้งขึ้น
(2) ผู้สอบบัญชีต่างประเทศที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีต่างประเทศ
ข้อ ๒๕ ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีตามข้อ 24(2) มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ผู้สอบบัญชีดังกล่าวจะลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชีของบริษัทต่างประเทศได้ ต่อเมื่อไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าหน่วยงานที่กํากับดูแลผู้สอบบัญชีดังกล่าวตามกฎหมายต่างประเทศ จะไม่สามารถให้ความช่วยเหลือแก่สํานักงานในการตรวจสอบหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดของกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว ในเรื่องเกี่ยวกับการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีนั้น เว้นแต่เป็นการลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชีของบริษัทต่างประเทศที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศตามข้อ 4(2) หรือ (3) (ก) ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าวตั้งอยู่ในประเทศที่มีชื่ออยู่ในรายชื่อประเทศที่สํานักงานยอมรับ
(1) ผู้สอบบัญชีต่างประเทศที่อยู่ภายใต้หน่วยงานกํากับดูแลที่มีมาตรฐานในการกํากับดูแลผู้สอบบัญชีซึ่งเป็นที่ยอมรับโดย International Forum of Independent Audit Regulators (IFIAR) หรือ European Commission (EC)
(2) ผู้สอบบัญชีต่างประเทศที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานอิสระที่ทําหน้าที่กํากับดูแลผู้สอบบัญชีในประเทศที่ได้รับผลการประเมินมาตรฐานการกํากับดูแล Financial Sector Assessment Program (FSAP) ในหัวข้อเกี่ยวกับผู้สอบบัญชี (auditor) ในระดับไม่ต่ํากว่า broadly implemented
ส่วน ๓ หลักเกณฑ์การจัดให้มีการประเมินค่าทรัพย์สิน
ข้อ ๒๖ ในกรณีที่มีการเปิดเผยราคาประเมินของทรัพย์สินไว้ในรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน การประเมินมูลค่าทรัพย์สินดังกล่าวต้องกระทําโดยบุคคลที่บริษัทต่างประเทศพิจารณาว่ามีความเหมาะสมและสามารถประเมินมูลค่าทรัพย์สินให้สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงได้อย่างน่าเชื่อถือเพียงพอ โดยผู้ที่ทําหน้าที่ประเมินมูลค่าทรัพย์สินดังกล่าวต้องเข้าลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ด้วย
(1) เป็นที่ปรึกษาทางการเงินหรือบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่สํานักงานให้การยอมรับ
(2) ในกรณีที่ผู้ที่ทําหน้าที่ประเมินมูลค่าทรัพย์สินเป็นบุคคลต่างประเทศ
ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังนี้
(ก) อยู่ในบัญชีรายชื่อของบุคคลซึ่งหน่วยงานทางการหรือหน่วยงานกํากับดูแลของประเทศอันเป็นที่ตั้งของทรัพย์สินกําหนดให้สามารถทําหน้าที่ประเมินมูลค่าทรัพย์สินนั้น ๆ ได้
(ข) ในกรณีที่ไม่ปรากฎบัญชีรายชื่อตาม (ก) ผู้ที่ทําหน้าที่ประเมินมูลค่าทรัพย์สินต้องเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
1. เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ซึ่งมีผลงานเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายในประเทศอันเป็นที่ตั้งของทรัพย์สินนั้น
2. เป็นบุคคลที่มีมาตรฐานการปฏิบัติงานและระบบงานในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่เป็นสากล
3. เป็นผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่มีเครือข่ายกว้างขวางในระดับสากล (international firm)
หมวด ๕ รูปแบบและวิธีการในการจัดทําและจัดส่ง
ข้อ ๒๗ รายงานที่ส่งต่อสํานักงานตามประกาศนี้ ให้ใช้ภาษาเดียวกับที่บริษัทต่างประเทศใช้ในการจัดทําและยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลต่อสํานักงาน เว้นแต่ได้รับผ่อนผันจากสํานักงานเนื่องจากมีเหตุจําเป็นและสมควร
ในกรณีที่ข้อมูลหรือรายงานที่ยื่นต่อสํานักงานแปลมาจากข้อมูลหรือเอกสารภาษาอื่นนอกจากภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ให้บริษัทต่างประเทศดําเนินการดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ดําเนินการให้ผู้แปลรับรองความถูกต้องว่า สาระของการแปลถูกต้องตรงตามสาระของข้อมูลหรือเอกสารที่เป็นต้นฉบับ
(2) บริษัทต่างประเทศต้องรับรองว่า สาระของข้อมูลหรือเอกสารที่แปลนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่จริง และมิได้มีการปกปิดข้อเท็จจริงที่พึงเปิดเผย
ข้อ ๒๘ ให้บริษัทต่างประเทศจัดส่งรายงานตามประกาศนี้ต่อสํานักงานในรูปแบบดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ในกรณีเป็นการส่งรายงานประจําปีให้ปฏิบัติตามข้อ 29
(1) เอกสารสิ่งพิมพ์จํานวนหนึ่งฉบับ
(2) ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามวิธีการดังนี้
(ก) กรณีบริษัทต่างประเทศมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ส่งข้อมูลดังกล่าวผ่านระบบการรับส่งข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามแนวทางที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนด
(ข) กรณีอื่นนอกจาก (ก) ให้ส่งข้อมูลดังกล่าวผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด
ข้อมูลที่ยื่นต่อสํานักงานทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน และต้องไม่มีการแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญ หรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้ง
ข้อ ๒๙ ในการจัดทําและส่งรายงานประจําปีต่อสํานักงาน บริษัทต่างประเทศอาจจัดทําในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ แผ่นบันทึกข้อมูล หรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทต่างประเทศส่งรายงานประจําปีในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้ปฏิบัติตามวิธีการที่กําหนดในข้อ 28(2)
หมวด ๖ การสิ้นสุดหน้าที่
ข้อ ๓๐ ให้บริษัทต่างประเทศสิ้นสุดหน้าที่จัดทําและส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่อสํานักงาน ตามข้อกําหนดในประกาศว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานโดยอนุโลม เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับหลักการในการกํากับดูแลบริษัทต่างประเทศ
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจกําหนดแนวทางการปฏิบัติในรายละเอียดเกี่ยวกับการอนุโลมใช้ตามวรรคหนึ่งได้
ข้อ ๓๑ ให้บริษัทต่างประเทศแจ้งเหตุที่ทําให้หน้าที่จัดทําและส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทสิ้นสุดลงตามข้อ 30 ต่อสํานักงานก่อนถึงกําหนดเวลาส่งรายงานดังกล่าว
หมวด ๗ อํานาจของสํานักงานเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูล
ข้อ ๓๒ เพื่อให้ผู้ลงทุนในประเทศไทยได้รับข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจเท่าเทียมกันและภายในระยะเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกันกับผู้ลงทุนในต่างประเทศ โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อการดําเนินงานและไม่เป็นการสร้างภาระเกินสมควรแก่บริษัทต่างประเทศ สํานักงานอาจดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) กําหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมให้บริษัทต่างประเทศต้องปฏิบัติในการจัดทําและส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่างประเทศ
(2) ผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับการจัดทําและส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่างประเทศ
ในการพิจารณากําหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมหรือผ่อนผันหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง ให้สํานักงานนําปัจจัยดังต่อไปนี้มาใช้ประกอบการพิจารณา
(1) กฎหมายและกฎเกณฑ์ของต่างประเทศที่ใช้บังคับกับบริษัทต่างประเทศ รวมทั้งมาตรการบังคับในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดทําและส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานที่อาจมีผลกระทบต่อความสามารถของบริษัทหรือความคุ้มค่าในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้
(2) ความน่าเชื่อถือ ความเพียงพอ หรือความทันเวลาของข้อมูลที่เปิดเผย
(3) ลักษณะเฉพาะของบริษัทต่างประเทศ หรือข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องซึ่งมีลักษณะเป็นการเฉพาะของบริษัทต่างประเทศนั้น
(4) ปัจจัยใด ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อการให้ความคุ้มครองหรือรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้น
ข้อ ๓๓ ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานว่าข้อเท็จจริง พฤติการณ์ หรือสภาพการณ์ที่สํานักงานนํามาพิจารณาเพื่อกําหนดให้บริษัทต่างประเทศเปิดเผยข้อมูลตามข้อ 6 หรือกําหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมหรือผ่อนผันหลักเกณฑ์ตามข้อ 32 เปลี่ยนแปลงไป และการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทต่างประเทศอย่างมีนัยสําคัญ สํานักงานอาจยกเลิกหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อกําหนด เงื่อนไข หรือการผ่อนผันดังกล่าวไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนได้
ข้อ ๓๔ สํานักงานอาจผ่อนผันการเปิดเผยรายละเอียดของข้อมูลในรายงานตามที่กําหนดในประกาศนี้ได้ หากบริษัทต่างประเทศแสดงให้สํานักงานเห็นได้ว่าข้อมูลดังกล่าวมิใช่ข้อมูลที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ และมีเหตุอันควรที่จะไม่แสดงรายละเอียดของข้อมูลดังกล่าวไว้ในรายงานนั้น หรือบริษัทต่างประเทศได้ดําเนินการประการอื่นเพื่อทดแทนอย่างเพียงพอแล้ว
ข้อ ๓๕ ในกรณีมีเหตุจําเป็นและสมควรทําให้บริษัทต่างประเทศไม่สามารถส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานต่อสํานักงานภายในระยะเวลาที่กําหนดตามประกาศนี้ บริษัทต่างประเทศอาจมีหนังสือขอผ่อนผันการส่งรายงานดังกล่าวต่อสํานักงาน พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลในการขอผ่อนผันและแจ้งกําหนดระยะเวลาที่จะจัดส่งรายงานนั้น
ในกรณีที่สํานักงานไม่ผ่อนผันให้ตามที่บริษัทต่างประเทศร้องขอตามวรรคหนึ่ง
บริษัทต่างประเทศต้องรับผิดเนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 56 เมื่อพ้นระยะเวลาที่กําหนดในการส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามที่กําหนดในประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 547 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 57/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทต่างประเทศที่ออกและเสนอขายหุ้น (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 57/2561
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูล
เกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของ
บริษัทต่างประเทศที่ออกและเสนอขายหุ้น
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 24 และข้อ 25 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่างประเทศที่ออกและเสนอขายหุ้น ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 24 ผู้สอบบัญชีที่ลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชีของบริษัทต่างประเทศ ต้องมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) ผู้สอบบัญชีที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน
(2) ผู้สอบบัญชีต่างประเทศที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีต่างประเทศโดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 25 ด้วย
ข้อ 25 ผู้สอบบัญชีตามข้อ 24(2) จะลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชีของบริษัทต่างประเทศได้ ต่อเมื่อไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าหน่วยงานที่กํากับดูแลผู้สอบบัญชีดังกล่าวตามกฎหมายต่างประเทศ จะไม่สามารถให้ความช่วยเหลือแก่สํานักงานในการตรวจสอบหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดของกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว ในเรื่องเกี่ยวกับการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีนั้น เว้นแต่เป็นการลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชีของบริษัทต่างประเทศที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศตามข้อ 4(2) หรือ (3) (ก) ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าวตั้งอยู่ในประเทศที่มีชื่ออยู่ในรายชื่อประเทศที่สํานักงานยอมรับ”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 548 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 52/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทต่างประเทศที่ออกและเสนอขายหุ้น (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 52/2563
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูล
เกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของ
บริษัทต่างประเทศที่ออกและเสนอขายหุ้น
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่างประเทศที่ออกและเสนอขายหุ้น ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 17 ในการจัดทําการวิเคราะห์และคําอธิบายระหว่างกาลของฝ่ายจัดการ (Interim Management Discussion and Analysis) ของบริษัทต่างประเทศตามข้อ 15 ต้องมีรายละเอียดตามรายการที่กําหนดสําหรับการวิเคราะห์และคําอธิบายของฝ่ายจัดการที่อยู่ในแบบ 56-1 One Report ท้ายประกาศว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน และรายละเอียดเพิ่มเติมอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) ความคืบหน้าของการแก้ไขการดําเนินงานหรือฐานะการเงิน
(2) ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า
(3) รายการระหว่างกันตามที่กําหนดในแบบ 56-1 One Report ท้ายประกาศว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่างประเทศที่ออกและเสนอขายหุ้น ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 18 รายงานประจําปีของบริษัทต่างประเทศต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีเป็นบริษัทต่างประเทศที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย ต้องมีข้อมูลตามแบบ 56-1 One Report ท้ายประกาศว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน และรายการข้อมูลเพิ่มเติมตามข้อ 19(2)
(2) ในกรณีเป็นบริษัทต่างประเทศที่มีการเพิกถอนหุ้นออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ต้องมีข้อมูลตามที่บริษัทต่างประเทศมีหน้าที่ส่งต่อผู้ถือหุ้นตามที่กฎหมายจัดตั้งบริษัทต่างประเทศนั้นกําหนด เว้นแต่สํานักงานจะกําหนดเป็นประการอื่น”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่างประเทศที่ออกและเสนอขายหุ้น ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 19 แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีของบริษัทต่างประเทศต้องมีข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ข้อมูลตามแบบ 56-1 One Report ท้ายประกาศว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน
(2) ข้อมูลที่กําหนดให้เปิดเผยเพิ่มเติมเนื่องจากลักษณะเฉพาะของบริษัทต่างประเทศ หรือมีข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องซึ่งมีลักษณะเป็นการเฉพาะตามข้อ 32”
ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 19/1 ในส่วนที่ 5 การจัดทําแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี ของหมวด 2 การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามหลักเกณฑ์ของไทย แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่างประเทศที่ออกและเสนอขายหุ้น ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558
“ข้อ 19/1 ในกรณีที่บริษัทต่างประเทศมีหน้าที่ยื่นแบบ 56-1 One Report หากแบบดังกล่าวกําหนดให้บริษัทสามารถเปิดเผยข้อมูลใดบนเว็บไซต์ของบริษัทแทนการเปิดเผยในแบบได้ ให้บริษัทที่เลือกเปิดเผยข้อมูลบนเว็บไซต์ดําเนินการให้แบบ 56-1 One Report มีจุดเชื่อมโยงโดยตรงไปยังข้อมูลที่เปิดเผยบนเว็บไซต์ของบริษัทนั้น และในกรณีที่ข้อมูลที่เปิดเผยบนเว็บไซต์ดังกล่าวเป็นข้อมูลในส่วนเอกสารแนบท้ายแบบ 56-1 One Report ห้ามมิให้บริษัทเปลี่ยนแปลง
หรือแก้ไขข้อมูลที่เปิดเผยบนเว็บไซต์ตลอดระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่ยื่นแบบ 56-1 One Report ด้วย
บริษัทต่างประเทศที่มีการเปิดเผยข้อมูลบนเว็บไซต์ของบริษัทตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดให้มีข้อความดังต่อไปนี้อยู่ในแบบ 56-1 One Report
“ในกรณีที่แบบ 56-1 One Report ฉบับนี้อ้างอิงข้อมูลที่เปิดเผยบนเว็บไซต์ของบริษัท ให้ถือว่าข้อมูลที่เปิดเผยบนเว็บไซต์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแบบ 56-1 One Report ฉบับนี้ โดยคณะกรรมการบริษัทรับผิดชอบต่อความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลที่อ้างอิงนั้นเช่นเดียวกับการนําข้อมูลมาแสดงให้ปรากฏในแบบ 56-1 One Report ฉบับนี้””
ข้อ 5 ให้ยกเลิกตารางประเภทและระยะเวลาส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่างประเทศที่มีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลตามหลักเกณฑ์ของไทย ที่ ทจ. 17/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่างประเทศที่ออกและเสนอขายหุ้น ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ตารางประเภทและระยะเวลาส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่างประเทศที่มีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลตามหลักเกณฑ์ของไทยท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ 6 ให้บริษัทต่างประเทศที่มีหน้าที่ส่งแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีหรือรายงานประจําปี ตามแบบ 56-1 One Report สามารถจัดทําแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีหรือรายงานประจําปี ตามหลักเกณฑ์และแบบที่ถูกยกเลิกโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 55/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2563 สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดก่อนวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ได้
ข้อ 7 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2563
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 549 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 65/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทต่างประเทศที่ออกและเสนอขายหุ้น (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 65/2563
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูล
เกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของ
บริษัทต่างประเทศที่ออกและเสนอขายหุ้น
(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 17/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่างประเทศที่ออกและเสนอขายหุ้น ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 13 ให้บริษัทต่างประเทศส่งหนังสือรับรองงบการเงินตามแบบ 56-3 ท้ายประกาศว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน ต่อสํานักงานพร้อมกับการจัดส่งงบการเงิน”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 550 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 30/2551
เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 67 มาตรา 69(11) และมาตรา 71(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 15/2551 เรื่อง การยื่นและยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2551
ข้อ ๒ เว้นแต่ได้กําหนดไว้เป็นประการอื่น ให้นําบทนิยามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์มาใช้กับประกาศนี้
ข้อ ๓ ให้การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ไม่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์อยู่ภายใต้บังคับของประกาศนี้ เว้นแต่จะมีประกาศฉบับอื่นกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนไว้โดยเฉพาะแล้ว
ข้อ ๔ การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิ ให้หมายความรวมถึงการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับหุ้น หรือหลักทรัพย์อื่นที่รองรับการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิด้วย
ข้อ ๕ ก่อนการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนในแต่ละครั้ง ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ต่อสํานักงานจํานวนห้าชุด พร้อมทั้งร่างหนังสือชี้ชวน และชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ในกรณีที่ระยะเวลาการเสนอขายหลักทรัพย์ตามที่กําหนดในแบบแสดงรายการข้อมูลสิ้นสุดลงแล้ว หากผู้เสนอขายหลักทรัพย์ประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการเสนอขายครั้งก่อนอีก ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลฉบับใหม่ต่อสํานักงาน
นอกจากการยื่นข้อมูลในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์แล้ว ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดด้วย ทั้งนี้ ข้อมูลที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นต่อสํานักงานทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน
ข้อ ๖ แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นต่อสํานักงานตามข้อ 5 ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําและรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล เว้นแต่เป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ผู้เสนอขายเป็นที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ
ข้อ ๗ แบบแสดงรายการข้อมูลที่ต้องยื่นต่อสํานักงานตามข้อ 5 ให้เป็นดังนี้
(1) การเสนอขายหลักทรัพย์ทุกประเภทและทุกลักษณะ เว้นแต่ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ให้ใช้แบบ 69-1 ท้ายประกาศนี้
(2) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ให้ใช้แบบ 69-dw ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๘ งบการเงินและงบการเงินรวมของผู้ออกหลักทรัพย์ที่เปิดเผยในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ออกตามความในมาตรา 56 โดยอนุโลม
ข้อ ๙ ก่อนปิดการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาต หากผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญที่มิได้แสดงอยู่ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนให้แก่บุคคลใดเป็นการเฉพาะรายเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ความเหมาะสมของการลงทุนในหลักทรัพย์ที่เสนอขาย หรือการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ที่เสนอขาย ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องดําเนินการให้มีการเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนโดยพลัน ทั้งนี้ ต้องไม่ช้ากว่าวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับ หรือในกรณีที่แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับแล้วต้องไม่ช้ากว่าวันทําการถัดจากวันที่ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงต่อบุคคลใดนั้น
การปิดการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง กรณีเป็นใบสําคัญแสดงสิทธิให้หมายถึงการปิดการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธินั้น
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้เสนอขายหลักทรัพย์ประเภทใดในต่างประเทศ โดยมีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายต่างประเทศนั้น เมื่อมีการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทเดียวกันในประเทศไทย ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวเปิดเผยรายละเอียดของข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนไม่น้อยกว่ารายละเอียดของข้อมูลที่ได้เปิดเผยในการเสนอขายหลักทรัพย์นั้น ในต่างประเทศ
ข้อ ๑๑ ให้สํานักงานมีอํานาจผ่อนผันการเปิดเผยรายละเอียดของข้อมูลตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนดโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 69(11) และมาตรา 71(5) ได้ หากผู้เสนอขายหลักทรัพย์นั้นแสดงได้ว่ามีเหตุอันควรที่จะไม่แสดงรายละเอียดของข้อมูลดังกล่าวไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูล ทั้งนี้ รายละเอียดของข้อมูลนั้นต้องไม่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจ ของผู้ลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ
ข้อ ๑๒ ในการพิจารณาข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน หากสํานักงานเห็นว่ามีเหตุจําเป็นและสมควรเพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลที่มีนัยสําคัญเพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ดําเนินการดังต่อไปนี้ ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด
(1) แก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลหรือส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม
(2) จัดให้มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เป็นอิสระจัดทําความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้องครบถ้วน หรือความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ปรากฏในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน หากผู้เสนอขายหลักทรัพย์ไม่ดําเนินการตามที่สํานักงานกําหนดตามวรรคหนึ่งให้ถือว่าผู้เสนอขายหลักทรัพย์ไม่ประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานอีกต่อไป
ข้อ ๑๓ ให้บุคคลดังต่อไปนี้ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
การเสนอขายหลักทรัพย์โดยผู้ออกหลักทรัพย์ ให้กรรมการทุกคนและผู้ที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดในสายงานบัญชีของผู้ออกหลักทรัพย์ลงลายมือชื่อ
(2) การเสนอขายหลักทรัพย์โดยผู้ถือหลักทรัพย์ ให้ผู้ถือหลักทรัพย์ลงลายมือชื่อและในกรณีที่ผู้ถือหลักทรัพย์เป็นนิติบุคคล ให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราบริษัท (ถ้ามี) ในการนี้ ผู้ถือหลักทรัพย์ต้องจัดให้กรรมการทุกคนและผู้ที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดในสายงานบัญชีของผู้ออกหลักทรัพย์ลงลายมือชื่อด้วย
(3) การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้จัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงิน ให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันที่ปรึกษาทางการเงินลงลายมือชื่อ
ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรทําให้บุคคลที่ต้องลงนามเพื่อนิติบุคคลที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) ไม่สามารถลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลในขณะที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลต่อสํานักงานได้ ให้นิติบุคคลดังกล่าวปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) หากเหตุที่ทําให้บุคคลดังกล่าวคนใดไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ เกิดจากการที่บุคคลดังกล่าวอยู่ในภาวะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เนื่องจากเจ็บป่วยทางร่างกายหรือทางจิต ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ไม่จําต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
(2) หากเหตุที่ทําให้บุคคลดังกล่าวคนใดไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ เกิดจากกรณีอื่นนอกจากที่ระบุใน (1) เมื่อเหตุดังกล่าวหมดสิ้นไป ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์จัดให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อทันที เพื่อให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับได้ตามข้อ 15
(3) ตามที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ในกรณีอื่นใดที่มีเหตุจําเป็นและสมควร
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ผู้ถือหลักทรัพย์ประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนตามข้อ 5 ให้ผู้ถือหลักทรัพย์จัดส่งเอกสารหรือหลักฐานที่แสดงว่าผู้ออกหลักทรัพย์นั้นทราบถึงการเสนอขายหลักทรัพย์ของผู้ถือหลักทรัพย์ต่อสํานักงานด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวได้ทราบถึงหน้าที่ที่จะต้องจัดทําและส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของผู้ออกหลักทรัพย์ตามมาตรา 56
ข้อ ๑๕ ภายใต้บังคับมาตรา 68 และมาตรา 75 เมื่อผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน และได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนดแล้ว ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันดังต่อไปนี้
(1) เมื่อพ้นกําหนดสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน เว้นแต่กรณีตาม (2) และ (3)
(2) เมื่อพ้นกําหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ในกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน
(3) เมื่อพ้นกําหนดสามวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ในกรณีเป็นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนภายในสามเดือนนับแต่วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนของการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทเดียวกันที่ออกโดยผู้ออกหลักทรัพย์รายเดียวกันมีผลใช้บังคับในครั้งก่อน
ข้อ ๑๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน ทั้งนี้ ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยเพิ่มเหตุที่จะผ่อนผันการลงลายมือชื่อในแบบดังกล่าว รวมทั้งลดภาระในการรับรองความถูกต้องของข้อมูลให้ผู้ถือหลักทรัพย์ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่เสนอขายหลักทรัพย์ต่ประชาชนเป็นการทั่วไปด้วย จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 551 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 5/2552 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 5/2552
เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69(11) และมาตรา 71(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในหัวข้อ (1.6) ของ (1) โครงสร้างการจัดการ ในรายการที่ 9 การจัดการ ของแบบ 69-1 ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1.6) หากในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมา กรรมการอิสระมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือการให้บริการทางวิชาชีพ หรือบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการอิสระในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวมีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือการให้บริการทางวิชาชีพ ในมูลค่าเกินกว่าหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ให้บริษัทเปิดเผยลักษณะความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือการให้บริการทางวิชาชีพ ที่ทําให้บุคคลดังกล่าวมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด เหตุผลและความจําเป็นที่ยังคงหรือแต่งตั้งให้บุคคลดังกล่าวเป็นกรรมการอิสระ รวมทั้งความเห็นของคณะกรรมการบริษัทที่เห็นว่า การเป็นกรรมการอิสระของบุคคลดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่และการให้ความเห็นที่เป็นอิสระ”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ - : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงการเปิดเผยข้อมูลในกรณีที่กรรมการอิสระมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือการให้บริการทางวิชาชีพที่มีมูลค่าเกินกว่าอัตราที่กําหนด โดยกําหนดให้มีการเปิดเผยเหตุผลและความจําเป็นที่ต้องตั้งกรรมการอิสระในกรณีดังกล่าว จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 552 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2553 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 16 /2553
เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 67 มาตรา 69(11) และมาตรา 71(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 2 เว้นแต่ได้กําหนดไว้เป็นประการอื่น ให้นําบทนิยามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์มาใช้กับประกาศนี้ และให้มีบทนิยามเพิ่มเติมดังนี้
“ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์” หมายความว่า ข้อมูลดังต่อไปนี้
(1) จํานวนและราคาหลักทรัพย์ที่เสนอขาย
(2) ระยะเวลาของการเสนอขาย
(3) ลักษณะหลักทรัพย์ที่เสนอขาย
(4) รายละเอียดเกี่ยวกับการจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรร
(5) ข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน หรือเกี่ยวกับข้อมูลตาม (1) (2) (3) (4) และ (5)”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 12 ในการพิจารณาข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน หากสํานักงานเห็นว่ามีเหตุจําเป็นและสมควรเพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลที่มีนัยสําคัญเพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ดําเนินการดังต่อไปนี้ ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด
(1) ชี้แจง หรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูล หรือส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม
(2) จัดให้มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เป็นอิสระจัดทําความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อง ครบถ้วน หรือความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ปรากฏในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
หากผู้เสนอขายหลักทรัพย์ไม่ดําเนินการตามที่สํานักงานกําหนดตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้เสนอขายหลักทรัพย์ไม่ประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานอีกต่อไป
ในการกําหนดให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ดําเนินการตามวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจกําหนดให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์เปิดเผยการสั่งการ การดําเนินการ ข้อสังเกตของสํานักงาน หรือคําชี้แจงของผู้เสนอขายหลักทรัพย์ผ่านทางเว็บไซต์ของสํานักงานตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดด้วยก็ได้”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 15 ภายใต้บังคับมาตรา 75 ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ซึ่งต้องได้รับอนุญาตตามมาตรา 32 หรือมาตรา 33 ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่นั้นแล้ว
(2) ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
(3) ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้แก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและดําเนินการตามข้อ 12 วรรคสาม (ถ้ามี) แล้ว
(4) เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาดังต่อไปนี้ นับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งหลังสุด (ไม่รวมข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ หรือข้อมูลอื่นที่มิใช่ข้อมูลสําคัญซึ่งสํานักงานผ่อนผันให้แก้ไขเพิ่มเติมได้)
(ก) สิบสี่วัน ในกรณีทั่วไป หรือ
(ข) สามวันทําการ ในกรณีเป็นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนภายในกําหนดเวลาสามเดือนนับแต่วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนของการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทเดียวกันที่ออกโดยผู้ออกหลักทรัพย์รายเดียวกันมีผลใช้บังคับในครั้งก่อน
(5) ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้ระบุข้อมูลตามรายการครบถ้วนแล้ว”
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
หมายเหตุ - : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงกระบวนการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์และการเผยแพร่ข้อมูลต่อผู้ลงทุนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับทราบข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 553 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2553 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 14 /2553
เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 และข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 6 แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นต่อสํานักงานตามข้อ 5 ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําและรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล
ข้อ 7 แบบแสดงรายการข้อมูลที่ต้องยื่นต่อสํานักงานตามข้อ 5 ให้ใช้แบบ 69-1 ท้ายประกาศนี้”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อยกเลิกหลักเกณฑ์การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ซึ่งได้กําหนดไว้เป็นการเฉพาะในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ เนื่องจากลักษณะการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์มีความแตกต่างจากการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทตราสารทุน จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 554 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 43/2553 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 43/2553
เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 5)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69(11) และมาตรา 71(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในหน้าแรกและหน้าที่ 2 ของแบบ 69-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความในหน้าแรกและหน้าที่ 2 ของแบบ 69-1 ท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในรายการที่ 1 รายละเอียดของหลักทรัพย์ที่เสนอขาย รายการที่ 2 ข้อจํากัดการโอนหลักทรัพย์ที่เสนอขาย และรายการที่ 3 ที่มาของการกําหนดราคาหลักทรัพย์ที่เสนอขาย ของส่วนที่ 3 ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ในแบบ 69-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“1. รายละเอียดของหลักทรัพย์ที่เสนอขาย
ในกรณีหลักทรัพย์ที่เสนอขายมีรายละเอียดอื่นที่สําคัญที่ควรอธิบายเพิ่มเติมจากข้อมูลในหน้าแรกเพื่อให้ผู้ลงทุนเข้าใจลักษณะของหลักทรัพย์ที่เสนอขาย ให้สรุปลักษณะสําคัญของหลักทรัพย์ที่เสนอขายเพิ่มเติมด้วย เช่น
กรณีเสนอขายหุ้นเดิมพร้อมหุ้นที่ออกใหม่ ให้ระบุจํานวนและสัดส่วนด้วย
กรณีเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิ ให้สรุปวิธีการใช้สิทธิ เงื่อนไขการปรับสิทธิ และค่าเสียหาย เป็นต้น
2. ข้อจํากัดการโอนหลักทรัพย์ที่เสนอขาย (ถ้ามี เช่น สิทธิในการถือหุ้นของชาวต่างชาติ ข้อจํากัดการโอนหลักทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนไว้กับสํานักงาน เป็นต้น)
3. ที่มาของการกําหนดราคาหลักทรัพย์ที่เสนอขาย
กรณีการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ที่ยังไม่มีตลาดรอง หรือการเสนอขายหุ้นที่มีตลาดรองหรือใบสําคัญแสดงสิทธิในหุ้นดังกล่าวแต่ราคาเสนอขายหุ้น หรือราคาการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิแตกต่างจากราคาหุ้นในตลาดรองอย่างมีนัยสําคัญ ให้อธิบายที่มาของการกําหนดราคาเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าว”
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นรายการที่ 3/1 ข้อมูลทางการเงินเพื่อประกอบการประเมินราคาหุ้นที่เสนอขาย ในส่วนที่ 3 ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ ของแบบ 69-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551
“3/1 ข้อมูลทางการเงินเพื่อประกอบการประเมินราคาหุ้นที่เสนอขาย
กรณีการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ให้แสดงข้อมูลสถิติหรืออัตราส่วนทางการเงินที่สามารถสะท้อนราคาของหุ้นที่ออกใหม่ เช่น อัตราส่วนราคาต่อกําไรต่อหุ้น (price-earning ratio) อัตราส่วนเงินปันผลตอบแทน (dividend yield) หรืออัตราส่วนทางการเงินอื่นใดที่สามารถสะท้อนราคาหุ้นตามความเหมาะสมของแต่ละอุตสาหกรรม เป็นต้น โดยให้แสดงข้อมูลเปรียบเทียบกับข้อมูลของบริษัทอื่นในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน และมีลักษณะของการประกอบธุรกิจที่ใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ ให้แสดงสมมติฐานในการคํานวณข้อมูลทางการเงินดังกล่าวด้วย”
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในรายการที่ 4 ราคาหุ้นสามัญในตลาดรอง ของส่วนที่ 3 ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ ในแบบ 69-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“4. ราคาหุ้นสามัญในตลาดรอง
กรณีการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิของบริษัทที่มีหุ้นจดทะเบียนหรือซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ให้แสดงข้อมูลเกี่ยวกับราคาและมูลค่าการซื้อขายรายเดือนในรอบ 12 เดือน ที่ผ่านมาของหุ้นสามัญของผู้ออกหลักทรัพย์นั้น
| | | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| ปี | เดือน | ราคาเฉลี่ย | ราคาสูงสุด | ราคาต่ําสุด | มูลค่าการซื้อเฉลี่ยต่อวัน |
| | | | | | |
หมายเหตุ ๑ 1. เพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบ ให้ปรับข้อมูลเกี่ยวกับราคาตามผลกระทบการเปลี่ยนแปลง
มูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นหรือการเสนอขายหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม พร้อมทั้งระบุวิธีปรับราคาด้วย
2. ให้ระบุวิธีคํานวณราคาเฉลี่ยด้วย”
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความใน (9) ของรายการที่ 5 การจอง การจําหน่าย และการจัดสรร ของส่วนที่ 3 ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ในแบบ 69-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(9) เหตุและวิธีการในการคืนเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์
ให้ระบุเหตุการณ์หรือเงื่อนไขที่ทําให้บริษัทต้องคืนเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์ ตลอดจนวิธีการและระยะเวลาในการคืนเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์”
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
หมายเหตุ - : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับที่มาของการกําหนดราคาหลักทรัพย์ที่เสนอขาย โดยกําหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่สามารถสะท้อนราคาของหุ้นที่ออกใหม่ รวมทั้งปรับปรุงรายการอื่นที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 555 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2554 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) | คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 17 /2554
เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 6 )
-------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69(11) และมาตรา 71(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกแบบ 69-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 43/2553 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล
การเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้แบบ 69-1 ท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 556 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 20/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 7) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 20/2556
เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 7 )
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69 และมาตรา 71(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (1) ของรายการที่ 2 ลักษณะการประกอบธุรกิจ ในส่วนที่ 2 บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ของแบบ 69-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2554 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) ให้อธิบายประวัติความเป็นมาและการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่สําคัญเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอํานาจในการควบคุมบริษัท และลักษณะการประกอบธุรกิจที่ผ่านมาโดยสังเขป (ประมาณ 1⁄4 หน้า)
ในกรณีที่บริษัทมีการปรับโครงสร้างการดําเนินธุรกิจ อันเป็นผลให้มีการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน และประสงค์จะเปิดเผยราคาประเมินของทรัพย์สินนั้น ให้บริษัทแสดงข้อมูลต่อไปนี้
(ก) ทรัพย์สินที่มีการประเมินราคาและราคาประเมิน ซึ่งจัดทําขึ้นล่วงหน้าก่อนการทํารายการนั้นไม่เกิน 6 เดือน
(ข) ชื่อผู้ที่ทําหน้าที่ประเมินราคาทรัพย์สิน ซึ่งได้แก่ ที่ปรึกษาทางการเงินหรือบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่สํานักงานให้การยอมรับ แล้วแต่กรณี
(ค) ชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงานหรือผู้ประเมินหลัก แล้วแต่กรณี ที่เป็นผู้ลงลายมือชื่อในรายงานซึ่งต้องอยู่ในบัญชีรายชื่อที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้
ในกรณีที่ผู้ที่ทําหน้าที่ประเมินราคาทรัพย์สินเป็นที่ปรึกษาทางการเงินหรือเป็นบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุน
(ง) วัตถุประสงค์การประเมินราคาทรัพย์สิน ซึ่งต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะในกรณีที่เป็นรายงานประเมินราคาทรัพย์สินที่จัดทําโดยบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุน หรือมีคํายินยอมของผู้ที่ทําหน้าที่ประเมินราคาทรัพย์สินให้เผยแพร่ความเห็นนั้นได้ในกรณีที่เป็นรายงานประเมินราคาทรัพย์สินที่จัดทําโดยที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
(จ) วันที่ในรายงานประเมินราคาทรัพย์สิน”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของรายการที่ 5 ทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ ในส่วนที่ 2 บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ของแบบ 69-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2554 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
“ในกรณีที่มีการตีราคาทรัพย์สินใหม่ในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี และประสงคจะเปิดเผยราคาประเมินประกอบการตีราคาทรัพย์สินนั้น ให้บริษัทแสดงข้อมูลต่อไปนี้
(1) ทรัพย์สินที่มีการประเมินราคาและราคาประเมิน ซึ่งจัดทําขึ้นล่วงหน้าก่อนการทํารายการนั้นไม่เกิน 6 เดือน
(2) ชื่อผู้ที่ทําหน้าที่ประเมินราคาทรัพย์สิน ซึ่งได้แก่ ที่ปรึกษาทางการเงิน หรือบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่สํานักงานให้การยอมรับ แล้วแต่กรณี
(3) ชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงานหรือผู้ประเมินหลัก แล้วแต่กรณี ที่เป็นผู้ลงลายมือชื่อในรายงานซึ่งต้องอยู่ในบัญชีรายชื่อที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ที่ทําหน้าที่ประเมินราคาทรัพย์สินเป็นที่ปรึกษาทางการเงินหรือเป็นบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุน
(4) วัตถุประสงค์การประเมินราคาทรัพย์สิน ซึ่งต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะในกรณีที่เป็นรายงานประเมินราคาทรัพย์สินที่จัดทําโดยบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุน หรือมีคํายินยอมของผู้ที่ทําหน้าที่ประเมินราคาทรัพย์สินให้เผยแพร่ความเห็นนั้นได้ในกรณีที่เป็นรายงานประเมินราคาทรัพย์สินที่จัดทําโดยที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
(5) วันที่ในรายงานประเมินราคาทรัพย์สิน”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในหมายเหตุตามวรรคสองของรายการที่ 11 รายการระหว่างกันในส่วนที่ 2 บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ของแบบ 69-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 17/2554 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 แลให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
หมายเหตุ - - หากหมายเหตุประกอบงบการเงินของบริษัทได้เปิดเผยรายการระหว่างกันตาม (1) ครบถ้วนแล้ว ไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลใน (1) ซ้ําในส่วนนี้ แต่ให้อ้างอิงไปถึงหมายเหตุประกอบงบการเงินที่เกี่ยวข้อง
- หากบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งถือหุ้นในบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมรวมกันเกินกว่าร้อยละ 5 ของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทดังกล่าว ให้อธิบายเหตุผลประกอบที่ให้บุคคลที่อาจมีความขัดแย้งถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวแทนการถือหุ้นของบริษัทโดยตรงด้วย
- ในกรณีที่มีการแสดงราคาประเมินประกอบการทํารายการระหว่างกัน ให้บริษัทแสดงข้อมูลต่อไปนี้
(ก) ทรัพย์สินที่มีการประเมินราคาและราคาประเมิน ซึ่งจัดทําขึ้นล่วงหน้าก่อนการทํารายการนั้นไม่เกิน 6 เดือน
(ข) ชื่อผู้ที่ทําหน้าที่ประเมินราคาทรัพย์สิน ซึ่งได้แก่ ที่ปรึกษาทางการเงิน หรือบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่สํานักงานให้การยอมรับ แล้วแต่กรณี
(ค) ชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงานหรือผู้ประเมินหลัก แล้วแต่กรณี ที่เป็นผู้ลงลายมือชื่อในรายงานซึ่งต้องอยู่ในบัญชีรายชื่อที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ที่ทําหน้าที่ประเมินราคาทรัพย์สินเป็นที่ปรึกษาทางการเงินหรือเป็นบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุน
(ง) วัตถุประสงค์การประเมินราคาทรัพย์สิน ซึ่งต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะในกรณีที่เป็นรายงานประเมินราคาทรัพย์สินที่จัดทําโดยบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุน หรือมีคํายินยอมของผู้ที่ทําหน้าที่ประเมินราคาทรัพย์สินให้เผยแพร่ความเห็นนั้นได้ในกรณีที่เป็นรายงานประเมินราคาทรัพย์สินที่จัดทําโดยที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
(จ) วันที่ในรายงานประเมินราคาทรัพย์สิน”
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 557 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 43/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 8) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 43/2556
เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 8)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69 และมาตรา 71(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกแบบ 69-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 20/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้แบบ 69-1 ท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๒ ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อสํานักงานก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 อาจจัดทําและยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อสํานักงานโดยใช้แบบ 69-1 ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนการยกเลิกตามข้อ 1 ได้
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 558 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 53/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 9) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 53/2556
เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 9)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69(11) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 1 ข้อมูลสรุป (executive summary) ของแบบ 69-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความตามส่วนที่ 1 ข้อมูลสรุป (executive summary) ที่แนบท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 559 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 6/2558 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 10 ) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 6/2558
เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 10 )
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “ประเทศกลุ่มอาเซียน” ต่อท้ายบทนิยามคําว่า “ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2553 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2553
““ประเทศกลุ่มอาเซียน” หมายความว่า ประเทศสมาชิกอาเซียนที่หน่วยงานกํากับดูแลตลาดทุนของประเทศนั้น ๆ ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจกับสํานักงานเกี่ยวกับแนวทางการพิจารณาให้บริษัทออกและเสนอขายหลักทรัพย์ในประเทศสมาชิกอาเซียนตั้งแต่สองประเทศพร้อมกันหรือในเวลาใกล้เคียงกัน”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2553 เรื่อง การยื่น
แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 แบบแสดงรายการข้อมูลที่ต้องยื่นต่อสํานักงานตามข้อ 5 ให้เป็นไปตามแบบดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์พร้อมกันหรือในระยะเวลาใกล้เคียงกัน กับการเสนอขายในประเทศกลุ่มอาเซียน ให้ใช้แบบ 69-ASEAN ท้ายประกาศนี้
(2) ในกรณีอื่นนอกจาก (1) ให้ใช้แบบ 69-1 ท้ายประกาศนี้”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกแบบ 69-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 53/2556 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้แบบ 69-1 ท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๔ ให้เพิ่มแบบ 69-ASEAN ท้ายประกาศนี้ เป็นแบบแนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 560 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 2/2559 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 11) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 2/2559
เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 11)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 ก่อนการเสนอขายหลักทรัพย์ในแต่ละครั้ง ให้ผู้เสนอขายยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลพร้อมร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามวิธีการดังต่อไปนี้ และให้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
(1) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นครั้งแรกเพื่อการจดทะเบียนหุ้นที่เสนอขายนั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทจดทะเบียน ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ต่อสํานักงานจํานวนหนึ่งชุด พร้อมทั้งนําเอกสารสิ่งพิมพ์นั้นเข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่จัดไว้เพื่อรองรับเอกสารสิ่งพิมพ์นั้น
(2) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกรณีอื่นใดนอกจากกรณีตาม (1) หรือเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นและหุ้นรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิดังกล่าว ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล และร่างหนังสือชี้ชวนในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ต่อสํานักงานจํานวนหนึ่งชุด พร้อมทั้งนําเอกสารสิ่งพิมพ์นั้นเข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงานที่จัดไว้เพื่อรองรับเอกสารสิ่งพิมพ์นั้น
ในกรณีที่ระยะเวลาการเสนอขายหุ้นตามที่กําหนดในแบบแสดงรายการข้อมูลสิ้นสุดลงแล้ว หากผู้เสนอขายประสงค์จะเสนอขายหุ้นส่วนที่เหลือจากการเสนอขายครั้งก่อนอีก
ให้ผู้เสนอขายยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนฉบับใหม่โดยวิธีการตามที่กําหนด
ในวรรคหนึ่ง”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 561 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 40/2559 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 12) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 40/2559
เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 12)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 67 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคําว่า “ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 16/2553 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
““ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์” หมายความว่า ข้อมูลดังต่อไปนี้
(1) จํานวนและราคาหลักทรัพย์ที่เสนอขาย
(2) ระยะเวลาของการเสนอขาย
(3) ลักษณะหลักทรัพย์ที่เสนอขาย
(4) รายละเอียดเกี่ยวกับการจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรร
(5) ข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน หรือเกี่ยวกับข้อมูลตาม (1) (2) (3) และ (4)”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (1) ของวรรคหนึ่งของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 2/2559 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นครั้งแรกเพื่อการจดทะเบียนหุ้นที่เสนอขายนั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทจดทะเบียนในกรณีปกติตามส่วนที่ 1 ของหมวด 2 ของภาค 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 39/2559 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559 ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ต่อสํานักงานจํานวนหนึ่งชุด พร้อมทั้งนําเอกสารสิ่งพิมพ์นั้นเข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่จัดไว้เพื่อรองรับเอกสารสิ่งพิมพ์นั้น”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 14/2553 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 6 แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นต่อสํานักงานตามข้อ 5 ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําและรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล เว้นแต่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ของบริษัทจดทะเบียนที่ไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการกํากับดูแลกิจการที่ดีตามส่วนที่ 2 ของหมวด 2 ของภาค 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 39/2559 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559 ”
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 562 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 40/2560 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 13) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 40/2560
เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 13)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69 และมาตรา 71(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกแบบ 69-1 และแบบ 69-ASEAN ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 6/2558 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้แบบ 69-1 และแบบ 69-ASEAN ท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 563 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 45/2560 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 14) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 45/2560
เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 14)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69 และมาตรา 71(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 1 ข้อมูลสรุป (executive summary) ของแบบ 69-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 40/2560 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความตามส่วนที่ 1 ข้อมูลสรุป (executive summary) ที่แนบท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 564 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 37/2561 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 15) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 37/2561
เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 15)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69 และมาตรา 71(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกแบบ 69-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 45/2560 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560 และให้ใช้แบบ 69-1 ท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อสํานักงานตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2561
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 565 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 54/2561 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 16) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 54/2561
เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 16)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69 และมาตรา 71(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 37/2561 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2561
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกแบบ 69-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 45/2560 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560 และให้ใช้แบบ 69-1 ท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 566 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 2/2562 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 17) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 2/2562
เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 17)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69 และมาตรา 71(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 40/2559 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 ก่อนการเสนอขายหลักทรัพย์ในแต่ละครั้ง ให้ผู้เสนอขายยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามรูปแบบและวิธีการดังต่อไปนี้ และให้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ
(1) กรณีการเสนอขายหุ้น
(ก) ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ต่อสํานักงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่จัดไว้เพื่อการดังกล่าว
(ข) ให้ยื่นข้อมูลดังนี้ ในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ต่อสํานักงานจํานวนหนึ่งชุด ตามแนวทางที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
1. ส่วนรับรองความถูกต้องของแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่จัดพิมพ์จากระบบอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งผู้เสนอขายได้ยื่นตาม (ก) และลงลายมือชื่อแล้วตามหลักเกณฑ์ในข้อ 13
2. ต้นฉบับหนังสือมอบอํานาจที่แสดงว่าผู้ดําเนินการยื่นข้อมูลตาม (1) (ก) และ (1) (ข) 1. ตลอดจนเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เป็นผู้ได้รับมอบหมายจากผู้เสนอขายในการดําเนินการดังกล่าวและการอื่นที่จําเป็น
(2) กรณีการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นและหุ้นรองรับ ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ต่อสํานักงานจํานวนหนึ่งชุด พร้อมทั้งยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงานที่จัดไว้เพื่อการดังกล่าว”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (1) และ (2) ของวรรคหนึ่งในข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) การเสนอขายหลักทรัพย์โดยผู้ออกหลักทรัพย์ ให้กรรมการทุกคนและผู้ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบสูงสุดในสายงานบัญชีและการเงินของผู้ออกหลักทรัพย์ลงลายมือชื่อ
(2) การเสนอขายหลักทรัพย์โดยผู้ถือหลักทรัพย์ ให้ผู้ถือหลักทรัพย์ลงลายมือชื่อและในกรณีที่ผู้ถือหลักทรัพย์เป็นนิติบุคคล ให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลลงลายมือชื่อ พร้อมประทับตราบริษัท (ถ้ามี) ในการนี้ ผู้ถือหลักทรัพย์ต้องจัดให้กรรมการทุกคนและผู้ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบสูงสุดในสายงานบัญชีและการเงินของผู้ออกหลักทรัพย์ลงลายมือชื่อด้วย”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2562
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 567 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 25/2562 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 18) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 25/2562
เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 18)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69 และมาตรา 71(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกแบบ 69-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 54/2561 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561 และให้ใช้แบบ 69-1 ท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกแบบ 69-ASEAN ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 40/2560 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560 และให้ใช้แบบ 69-ASEAN ท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2562
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 568 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 55/2562 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 19) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 55/2562
เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 19)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69 และมาตรา 71(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกแบบ 69-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 25/2562 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 18) ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้แบบ 69-1 ท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2562
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 569 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 53/2563 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 20) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 53/2563
เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 20)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69 และมาตรา 71(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 6/2558 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 แบบแสดงรายการข้อมูลที่ต้องยื่นต่อสํานักงานตามข้อ 5 ให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศดังต่อไปนี้
(1) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 ให้ใช้แบบ 69-1 หรือแบบ 69-1\* เว้นแต่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์พร้อมกันหรือในระยะเวลาใกล้เคียงกับการเสนอขายหลักทรัพย์ในประเทศกลุ่มอาเซียน ให้ใช้แบบ 69-ASEAN หรือแบบ 69-ASEAN\*
(2) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ให้ใช้แบบ 69-1 เว้นแต่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์พร้อมกันหรือในระยะเวลาใกล้เคียงกับการเสนอขายหลักทรัพย์ในประเทศกลุ่มอาเซียน ให้ใช้แบบ 69-ASEAN”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกแบบ 69-ASEAN ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 25/2562 เรื่อง การยื่นแบบ แสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 18) ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้แบบ 69-ASEAN ท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกแบบ 69-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 55/2562 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 19) ลงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2562 และให้ใช้แบบ 69-1 ท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๔ ให้เพิ่มแบบ 69-ASEAN\* ท้ายประกาศนี้ เป็นแบบแนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ข้อ ๕ ให้เพิ่มแบบ 69-1\* ท้ายประกาศนี้ เป็นแบบแนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2563เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2563
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 570 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 24/2564 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 21) | - ร่าง -
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 24/2564
เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 21)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ร่างประกาศตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ
ที่ผ่านการพิจารณาของฝ่ายกฎหมาย 1
เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 64 .
CSDS เลขที่ 125/2563 .ครั้งที่ 3 .
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 69 วรรคหนึ่ง และมาตรา 71(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 2/2562 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 17) ลงวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 ก่อนการเสนอขายหลักทรัพย์ในแต่ละครั้ง ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานต่อสํานักงานในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และให้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ
ในกรณีที่บุคคลที่ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนรายใดมิได้ใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นข้อมูลดังต่อไปนี้ ในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ต่อสํานักงานจํานวนหนึ่งชุด
(1) ส่วนรับรองความถูกต้องของแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่จัดพิมพ์จากระบบซึ่งผู้เสนอขายได้ยื่นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่ง ซึ่งลงลายมือชื่อของบุคคลดังกล่าวแล้ว
(2) ต้นฉบับหนังสือมอบอํานาจที่แสดงว่าผู้ดําเนินการยื่นข้อมูลตามวรรคหนึ่ง และ (1) ของวรรคนี้ ตลอดจนเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เป็นผู้ได้รับมอบหมายจากผู้เสนอขายหลักทรัพย์ในการดําเนินการดังกล่าวและการอื่นที่จําเป็น
การยื่นข้อมูลและการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน”
ข้อ 2 ให้การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้ อยู่ภายใต้บังคับของข้อกําหนดแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งใช้บังคับก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้
(1) แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้เริ่มดําเนินการยื่นกับสํานักงานไว้แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และผู้เสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวมิได้แจ้งต่อสํานักงานว่าประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามข้อกําหนดที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้
(2) แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ระบบรับส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดให้มีขึ้นตามข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2551 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ยังไม่รองรับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนดังกล่าว
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2564
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 571 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 6/2557 เรื่อง การให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 6/2557
เรื่อง การให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน
ที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 109 วรรคหนึ่ง มาตรา 114 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 มาตรา 45 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 1/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และการค้าหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2551
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 92/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และการค้าหลักทรัพย์ต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552
(3) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 93/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552
(4) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 25/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
(5) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 28/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ ในประเทศไทย ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553
(6) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 7/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ ในประเทศไทย (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2554
(7) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 7/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ ในประเทศไทย (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ” หมายความว่า หลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่กําหนดให้มีการชําระเงินเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ
“ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญา
“ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย
“ผู้ประกอบธุรกิจสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“วงเงินจัดสรร” หมายความว่า วงเงินลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยมอบหมายให้สํานักงานเป็นผู้จัดสรรวงเงิน
“ตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ” หมายความว่า กิจการที่ให้บริการเป็นศูนย์กลางในการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นทางค้าปกติซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของทางการหรือหน่วยงานที่ทําหน้าที่กํากับดูแลด้านหลักทรัพย์
“หุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ” หมายความว่า หุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายในประเทศไทยตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย หรือตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
“ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่
“ผู้ลงทุนรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่
“ศูนย์ซื้อขายสัญญา” หมายความว่า
(1) ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546
(2) ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของทางการหรือหน่วยงานที่ทําหน้าที่กํากับดูแลด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจที่ให้บริการในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศซึ่งต้องใช้วงเงินจัดสรร
ข้อ ๔ ผู้ประกอบธุรกิจจะให้บริการแก่ลูกค้าเพื่อการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศได้ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เป็นการให้บริการเพื่อการลงทุนในหลักทรัพย์ตามข้อ 5 หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 6 ทั้งนี้ ตามประเภทที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับใบอนุญาต
(2) ได้รับการจัดสรรเงินลงทุนจากวงเงินจัดสรรให้กับลูกค้าแต่ละรายแล้ว ทั้งนี้ การขอรับการจัดสรรเงินลงทุนดังกล่าวให้เป็นไปตามรูปแบบและวิธีการที่สํานักงานกําหนด
(3) จัดให้ลูกค้าทําการซื้อขายผ่านบัญชีเงินสดเท่านั้น
(4) ในกรณีที่เป็นการให้บริการเพื่อลงทุนในหลักทรัพย์ ผู้ให้บริการต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ซึ่งสามารถให้บริการตามใบอนุญาตโดยมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์บางประเภท เว้นแต่การให้บริการแก่ลูกค้าเพื่อลงทุนในหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศตามข้อ 5(1) (ซ) และข้อ 5(2) (ง) ผู้ให้บริการอาจเป็นผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประเภทค้าหรือจัดจําหน่ายตราสารหนี้ก็ได้
เมื่อผู้ประกอบธุรกิจได้รับคําสั่งจากลูกค้าที่ประสงค์จะลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ให้ดําเนินการตรวจสอบวงเงินที่ลูกค้ารายนั้นยังคงใช้ได้ทุกครั้งเพื่อให้มั่นใจว่าการลงทุนของลูกค้ายังคงอยู่ภายในวงเงินที่ได้รับจัดสรรตามวรรคหนึ่ง (2)
ข้อ ๕ ในการให้บริการเพื่อการลงทุนในหลักทรัพย์ตามข้อ 4(1) ให้ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ให้บริการได้เฉพาะหลักทรัพย์ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) หลักทรัพย์ที่ให้บริการกับลูกค้าได้ทุกประเภท ได้แก่
(ก) หลักทรัพย์ที่ได้รับการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ รวมทั้งสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์อันเกิดจากการลงทุนในหลักทรัพย์ดังกล่าว
(ข) พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่รัฐบาลต่างประเทศ องค์การหรือหน่วยงานของรัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศเป็นผู้ออกหรือผู้ค้ําประกัน
(ค) พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายต่างประเทศเป็นผู้ออกหรือผู้ค้ําประกัน
(ง) ตราสารแห่งหนี้ที่ภาคเอกชนเป็นผู้ออกและเสนอขายในต่างประเทศ โดยที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของตัวตราสารหรือผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่ผู้ลงทุนสามารถลงทุนได้ (investment grade)
(จ) หุ้นที่เสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปซึ่งผู้ออกมีแผนงานและกําหนดระยะเวลาที่ชัดเจนในการนําหุ้นดังกล่าวไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ
(ฉ) หน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ (foreign collective investment scheme) ที่มีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์ตาม (ก) (ข) (ค) (ง) หรือ (จ) ไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศดังกล่าว
(ช) หน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ (foreign collective investment scheme) ที่มีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์ตาม (ฉ) ไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศดังกล่าว
(ซ) หุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ ผู้ออกหุ้นกู้ หรือผู้ค้ําประกันหุ้นกู้ อยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade)
(2) หลักทรัพย์ที่ให้บริการได้เฉพาะลูกค้าที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ได้แก่
(ก) ตราสารหนี้ที่ภาคเอกชนเป็นผู้ออกและสามารถเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ในประเทศไทยได้ โดยการเสนอขายดังกล่าวได้กระทําขึ้นในต่างประเทศ
(ข) หน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ (foreign collective investment scheme) ที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย ซึ่งมีนโยบายการลงทุนในทํานองเดียวกับกองทุนรวมตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้ง จัดการและลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
(ค) ศุกูกต่างประเทศ
(ง) หุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศที่ผู้ออกเสนอขายหุ้นกู้ทั้งจํานวนต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่
(3) หลักทรัพย์อื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนดเพิ่มเติม โดยอาจกําหนดประเภทของผู้ลงทุนหรือประเภทของผู้ประกอบธุรกิจให้สอดคล้องกับประเภทหลักทรัพย์ที่ประกาศเพิ่มเติมนั้นด้วยก็ได้
ข้อ ๖ ในการให้บริการเพื่อการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 4(1)ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาให้บริการได้เฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ซื้อขายอยู่ในศูนย์ซื้อขายสัญญา
(2) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ซื้อขายอยู่นอกศูนย์ซื้อขายสัญญาตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 572 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 29/2557 เรื่อง การให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 29/2557
เรื่อง การให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน
ที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 114 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (4) ของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 6/2557 เรื่อง การให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ลงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ฌ) ใน (1) ของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 6/2557 เรื่อง การให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ลงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557
“(ฌ) หน่วยของโครงการจัดการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นในประเทศกลุ่มอาเซียน (ASEAN Collective Investment Schemes) ซึ่งสามารถเสนอขายหน่วยดังกล่าวในประเทศไทยได้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการไม่นําบทบัญญัติว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนมาใช้บังคับกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 573 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 1/2560 เรื่อง การให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 1/2560
เรื่อง การให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์
ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 114 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 6/2557 เรื่อง การให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ลงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 29/2557 เรื่อง การให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 24 กันยายนพ.ศ. 2557
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
“ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ” หมายความว่า หลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่กําหนดให้มีการชําระเงินเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ได้แก่
(1) ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (inbound product)
(2) ผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ (outbound product)
“ผลิตภัณฑ์ในประเทศ” หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศประเภทหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ และให้หมายความรวมถึงหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศด้วย
“ผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ” หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ออกหรือเสนอขายในต่างประเทศ
“หุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ” หมายความว่า หุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศและได้รับอนุญาตให้เสนอขายในประเทศไทยตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย หรือตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
“หน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ” หมายความว่า หน่วยของโครงการจัดการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นในประเทศกลุ่มอาเซียน (ASEAN Collective Investment Schemes) ซึ่งสามารถเสนอขายหน่วยดังกล่าวในประเทศไทยได้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการไม่นําบทบัญญัติว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนมาใช้บังคับกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ
“ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า
(1) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
(2) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“วงเงินจัดสรร” หมายความว่า วงเงินลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยมอบหมายให้สํานักงาน ก.ล.ต. เป็นผู้จัดสรรวงเงิน
“ประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหาร ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งประกาศหรือแนวปฏิบัติที่ออกตามประกาศดังกล่าว
ข้อ ๔ ในการให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ นอกจากผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจแล้ว ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ด้วย และในกรณีที่หลักเกณฑ์การให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศตามที่ประกาศนี้กําหนดไว้เป็นการเฉพาะ แตกต่างจากหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้
ข้อ ๕ ประกาศนี้มีข้อกําหนดเกี่ยวกับการให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) ข้อกําหนดทั่วไปเกี่ยวกับการให้บริการ ให้เป็นไปตามหมวด 1
(2) ข้อกําหนดเฉพาะเกี่ยวกับการให้บริการผลิตภัณฑ์ในประเทศที่เป็นหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ ให้เป็นไปตามหมวด 2
(3) ข้อกําหนดเฉพาะเกี่ยวกับการให้บริการผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ ให้เป็นไปตามหมวด 3
(4) บุคลากรที่ให้บริการ ให้เป็นไปตามหมวด 4
ข้อ ๖ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจกําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ เพื่อเป็นการให้แนวทางที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้ และหากผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจได้ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้แล้ว
หมวด ๑ ข้อกําหนดทั่วไปเกี่ยวกับการให้บริการ
ข้อ ๗ การให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ให้บริการตามขอบเขตของใบอนุญาตแต่ละประเภทที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับ
(2) ดําเนินการให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลซึ่งจัดทําโดยผู้ประกอบการต่างประเทศหรือผู้ออกหรือเสนอขายผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน
(3) เปิดเผยค่าธรรมเนียมที่ผู้ประกอบธุรกิจเรียกเก็บจากลูกค้า
ข้อ ๘ ในกรณีที่เป็นการให้บริการแก่ลูกค้าที่ต้องใช้วงเงินจัดสรร ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการดังต่อไปนี้เพิ่มเติมด้วย
(1) ขอรับการจัดสรรเงินลงทุนจากวงเงินจัดสรรให้กับลูกค้าแต่ละรายก่อนเริ่มให้บริการ ทั้งนี้ การขอรับการจัดสรรเงินลงทุนดังกล่าวให้เป็นไปตามรูปแบบและวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด
(2) ดําเนินการตรวจสอบวงเงินทุกครั้งก่อนลูกค้าใช้บริการ เพื่อให้มั่นใจว่าการลงทุนของลูกค้ายังคงอยู่ภายในวงเงินที่ได้รับจัดสรรตาม (1)
ข้อ ๘ ในกรณีที่เป็นการให้บริการแก่ลูกค้าที่ต้องใช้วงเงินจัดสรร ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการดังต่อไปนี้เพิ่มเติมด้วย
(1) ขอรับการจัดสรรเงินลงทุนจากวงเงินจัดสรรให้กับลูกค้าแต่ละรายก่อนเริ่มให้บริการ ทั้งนี้ การขอรับการจัดสรรเงินลงทุนดังกล่าวให้เป็นไปตามรูปแบบและวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด
(2) ดําเนินการตรวจสอบวงเงินทุกครั้งก่อนลูกค้าใช้บริการ เพื่อให้มั่นใจว่าการลงทุนของลูกค้ายังคงอยู่ภายในวงเงินที่ได้รับจัดสรรตาม (1)
หมวด ๒ ข้อกําหนดเฉพาะเกี่ยวกับการให้บริการผลิตภัณฑ์ในประเทศ
ที่เป็นหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ
ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการผลิตภัณฑ์ในประเทศที่เป็นหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศที่เสนอขายเป็นการทั่วไป หุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศนั้นต้องมีอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ ผู้ออกหุ้นกู้ หรือผู้ค้ําประกันหุ้นกู้ อยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade)
หมวด ๓ ข้อกําหนดเฉพาะเกี่ยวกับการให้บริการ
ผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ
ข้อ ๑๐ บทเฉพาะกาล
ข้อ ๑๑ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาตามข้อ 10(1) ให้ถือว่าการดําเนินการในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ เป็นกรณีที่ผู้ออกหรือเสนอขายผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศมีเจตนาเข้ามาเสนอขายในประเทศไทย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดําเนินการโดยผู้ประกอบธุรกิจผู้ประกอบธุรกิจต่างประเทศ หรือผู้ออกหรือเสนอขายผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศก็ตาม
(1) การจัดให้ผู้ลงทุนในวงกว้างได้ประชุมพบปะโดยตรงกับกรรมการหรือผู้บริหารของผู้ออกหรือเสนอขายผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ (roadshow) เพื่อชักชวนให้ลงทุนในผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศซึ่งยังไม่ได้รับการจดทะเบียนหรือได้รับอนุญาตให้ทําการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศหรือศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศ โดยการชักชวนให้ลงทุนดังกล่าวมีลักษณะเป็นการเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไป (public offering)
(2) การชักชวนผู้ลงทุนให้ไปลงทุนในผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศที่ออกใหม่เพื่อเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปในตลาดแรก (primary market) ในลักษณะอื่นตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด
ข้อ ๑๒ ผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศที่ผู้ประกอบธุรกิจสามารถนํามาให้บริการแก่ลูกค้าต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้อย่างครบถ้วน
(1) เป็นผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศซึ่งมีลักษณะและเงื่อนไขทํานองเดียวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่สามารถออกหรือเสนอขายในประเทศไทย เว้นแต่สํานักงาน ก.ล.ต. จะกําหนดเป็นอย่างอื่น
(2) เป็นผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแล หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งดังนี้ และต้องไม่อยู่ระหว่างถูกหน่วยงานกํากับดูแลดังกล่าวสั่งห้ามการซื้อขายผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศนั้น
(ก) หน่วยงานกํากับดูแลที่เป็นสมาชิกของ International Organization of Securities Commissions (“IOSCO”) โดยหน่วยงานดังกล่าวต้องเป็นพหุภาคีประเภท Signatory A ใน Multilateral Memorandum of Understanding Concerning Consultation and Cooperation and the Exchange of Information (“MMOU”) (“IOSCO MMOU”)
(ข) หน่วยงานกํากับดูแลในกลุ่มประเทศ Organization for Economic Co-operation and Development (“OECD”)
(ค) หน่วยงานกํากับดูแลของประเทศที่อยู่ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) (“AEC”)
(3) เป็นผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศที่มีการเสนอขายในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) เป็นผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศที่มีการเสนอขายอยู่ในประเทศที่หน่วยงานกํากับดูแลตาม (2) ตั้งอยู่ (skin in the game)
(ข) เป็นผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศที่เป็นตราสารหนี้ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายในลักษณะโครงการ (Debt Issuance Program) จากหน่วยงานกํากับดูแลตาม (2) เพื่อผู้ลงทุนแต่ละรายแบบเฉพาะเจาะจง (tailor-made product)
(ค) กรณีอื่นใดนอกจาก (ก) และ (ข) เป็นผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศที่เสนอขายเพื่อผู้ลงทุนแต่ละรายแบบเฉพาะเจาะจง
ข้อ ๑๓ บทเฉพาะกาล
ข้อ ๑๔ ในการให้บริการแก่ลูกค้าที่เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทย หรือบุคคลธรรมดาที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ซึ่งมีเงินลงทุนในตราสารหรืออนุพันธ์ หรือเงินฝาก ตั้งแต่ 100 ล้านบาท ผู้ประกอบธุรกิจสามารถให้บริการแก่ลูกค้าดังกล่าวในการลงทุนในผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศนอกเหนือจากที่กําหนดในข้อ 12(1) และ (3) ได้
หมวด ๔ บุคลากรที่ให้บริการ
ข้อ ๑๕ ผู้ประกอบธุรกิจต้องมอบหมายให้บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ซึ่งผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนจากหน่วยงานที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับแล้ว เป็นผู้ทําหน้าที่ให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ
ข้อ ๑๖ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจประสงค์จะจัดให้บุคลากรจากต่างประเทศเข้ามาให้ข้อมูลหรือคําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศแก่ลูกค้า ให้ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งชื่อพร้อมรายละเอียดของบุคลากรจากต่างประเทศดังกล่าว ให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วันทําการก่อนเริ่มดําเนินการ เว้นแต่เป็นการเข้ามาให้ข้อมูลหรือคําแนะนําแก่ลูกค้าตามข้อ 13
การแจ้งชื่อบุคลากรจากต่างประเทศตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต.
ข้อ ๑๗ บุคลากรจากต่างประเทศตามข้อ 16 ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้อย่างครบถ้วน
(1) เป็นบุคลากรที่มีความน่าเชื่อถือและมีความสามารถในการให้ข้อมูลหรือคําแนะนําเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถให้ข้อมูลหรือคําแนะนําได้ตามกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจในต่างประเทศนั้น
(2) ไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การให้ข้อมูลหรือคําแนะนําเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศแก่ลูกค้าในประเทศไทย
(3) เข้ามาให้ข้อมูลหรือคําแนะนําเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทยมาแล้ว ไม่เกิน 90 วันในรอบปีปฏิทินนั้น
ข้อ ๑๘ ผู้ประกอบธุรกิจต้องควบคุมดูแลมิให้บุคลากรจากต่างประเทศตามข้อ 16 กระทําการใด ๆ ที่อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายหรือไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง โดยอย่างน้อยต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) แจ้งขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ให้บุคลากรจากต่างประเทศทราบ
(2) ดูแลให้การให้ข้อมูลหรือคําแนะนํานั้นจํากัดเฉพาะผลิตภันฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศซึ่งผู้ประกอบธุรกิจสามารถให้บริการได้
(3) แจ้งหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้คําแนะนําตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้บุคคลต่างประเทศทราบ
(4) ระมัดระวังมิให้การให้ข้อมูลหรือคําแนะนํานั้นบิดเบือน ไม่ถูกต้อง หรือทําให้ลูกค้าสําคัญผิด
(5) ในกรณีที่เป็นการให้ข้อมูลหรือคําแนะนําแก่ลูกค้าในงานสัมมนา ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดเกี่ยวกับการแนะนําการลงทุนในงานสัมมนาด้วย
หมวด ๕ บทเฉพาะกาล
ข้อ ๑๙ ให้บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนซึ่งเป็นผู้ทําหน้าที่ให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ สามารถทําหน้าที่ต่อไปได้ โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการให้บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนดังกล่าว
เข้ารับการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนจากหน่วยงานที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562
ในกรณีที่บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามวรรคหนึ่งรายใดไม่ได้เข้ารับการอบรมภายในระยะเวลาที่กําหนด ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการห้ามบุคลากรรายนั้นเป็นผู้ทําหน้าที่ให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 574 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 51/2560 เรื่อง การให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 51/2560
เรื่อง การให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์
ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 114 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 1/2560 เรื่อง การให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 14 ในการให้บริการแก่ลูกค้าที่เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทย หรือบุคคลธรรมดาที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ซึ่งมีเงินลงทุนในตราสารหรืออนุพันธ์ หรือเงินฝาก ตามจํานวนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับบุคคลที่สามารถนําเงินไปลงทุนในผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ ผู้ประกอบธุรกิจสามารถให้บริการแก่ลูกค้าดังกล่าวในการลงทุนในผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศนอกเหนือจากที่กําหนดในข้อ 12(1) และ (3) ได้”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 575 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 9/2561 เรื่อง การให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ (ฉบับที่ 3) | -ร่าง-ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
==================================
ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่าน
การพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว
เมื่อวันที่ 10/11/2560 .
CSDS เลขที่ 32/2560
ครั้งที่ 2 ผ่านทาง CSDS
ที่ ทธ. 9/2561
เรื่อง การให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์
ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ
(ฉบับที่ 3)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 114 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “หน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ”ในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 1/2560 เรื่อง การให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
““หน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ” หมายความว่า หน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศซึ่งสามารถเสนอขายหน่วยดังกล่าวในประเทศไทยได้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 576 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 67/2563 เรื่อง การให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 67/2563
เรื่อง การให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์
ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ
(ฉบับที่ 4)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 114 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “วงเงินจัดสรร” ในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 1/2560 เรื่อง การให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560
ข้อ 2 ให้ยกเลิกข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 1/2560 เรื่อง การให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 1/2560 เรื่อง การให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 51/2560 เรื่อง การให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 14 ในการให้บริการแก่ลูกค้าที่เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทยหรือบุคคลธรรมดาที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ที่มีสินทรัพย์ประเภทเงินลงทุนในตราสารหรืออนุพันธ์ หรือเงินฝาก รวมกันตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป ผู้ประกอบธุรกิจสามารถให้บริการแก่ลูกค้าดังกล่าวในการลงทุนในผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศนอกเหนือจากที่กําหนดในข้อ 12 ได้”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปเว้นแต่ข้อ 1 และข้อ 2 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 577 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 1/2560 เรื่อง การให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ (ฉบับประมวล) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
============================
ที่ ทธ. 1/2560
เรื่อง การให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ
(ฉบับประมวล)\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 114 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ข้อ 2 ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 6/2557 เรื่อง การให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ลงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 29/2557 เรื่อง การให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 24 กันยายนพ.ศ. 2557
ข้อ 3 ในประกาศนี้
“ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ” หมายความว่า หลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่กําหนดให้มีการชําระเงินเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ได้แก่
(1) ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (inbound product)
(2) ผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ (outbound product)
“ผลิตภัณฑ์ในประเทศ” หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศประเภทหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ และให้หมายความรวมถึงหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศด้วย
“ผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ” หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ออกหรือเสนอขายในต่างประเทศ
“หุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ” หมายความว่า หุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศและได้รับอนุญาตให้เสนอขายในประเทศไทยตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย หรือตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
“หน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ”( หมายความว่า หน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศซึ่งสามารถเสนอขายหน่วยดังกล่าวในประเทศไทยได้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ
“ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า
(1) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
(2) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ยกเลิก(
“ประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหาร ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งประกาศหรือแนวปฏิบัติที่ออกตามประกาศดังกล่าว
ข้อ 4 ในการให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ นอกจากผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจแล้ว ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ด้วย และในกรณีที่หลักเกณฑ์การให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศตามที่ประกาศนี้กําหนดไว้เป็นการเฉพาะ แตกต่างจากหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้
ข้อ 5 ประกาศนี้มีข้อกําหนดเกี่ยวกับการให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) ข้อกําหนดทั่วไปเกี่ยวกับการให้บริการ ให้เป็นไปตามหมวด 1
(2) ข้อกําหนดเฉพาะเกี่ยวกับการให้บริการผลิตภัณฑ์ในประเทศที่เป็นหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ ให้เป็นไปตามหมวด 2
(3) ข้อกําหนดเฉพาะเกี่ยวกับการให้บริการผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ ให้เป็นไปตามหมวด 3
(4) บุคลากรที่ให้บริการ ให้เป็นไปตามหมวด 4
ข้อ 6 สํานักงาน ก.ล.ต. อาจกําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ เพื่อเป็นการให้แนวทางที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้และหากผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจได้ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้แล้ว
หมวด 1
ข้อกําหนดทั่วไปเกี่ยวกับการให้บริการ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 7 การให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ให้บริการตามขอบเขตของใบอนุญาตแต่ละประเภทที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับ
(2) ดําเนินการให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลซึ่งจัดทําโดยผู้ประกอบการต่างประเทศหรือผู้ออกหรือเสนอขายผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน
(3) เปิดเผยค่าธรรมเนียมที่ผู้ประกอบธุรกิจเรียกเก็บจากลูกค้า
ข้อ 8( ยกเลิก
หมวด 2
ข้อกําหนดเฉพาะเกี่ยวกับการให้บริการผลิตภัณฑ์ในประเทศที่เป็นหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 9 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการผลิตภัณฑ์ในประเทศที่เป็นหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศที่เสนอขายเป็นการทั่วไป หุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศนั้นต้องมีอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ ผู้ออกหุ้นกู้ หรือผู้ค้ําประกันหุ้นกู้ อยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้(investment grade)
หมวด 3
ข้อกําหนดเฉพาะเกี่ยวกับการให้บริการผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 10 ในการให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศผู้ประกอบธุรกิจต้องมีกระบวนการที่ทําให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศนั้นมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ออกหรือเสนอขายในต่างประเทศ โดยผู้ออกหรือเสนอขายผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศดังกล่าวไม่มีเจตนานําเข้ามาเสนอขายในประเทศไทย
(2) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะตามที่กําหนดในข้อ 12 เว้นแต่เป็นกรณีที่กําหนดไว้ในข้อ 13 และข้อ 14
ข้อ 11 เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาตามข้อ 10(1) ให้ถือว่าการดําเนินการในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ เป็นกรณีที่ผู้ออกหรือเสนอขายผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศมีเจตนาเข้ามาเสนอขายในประเทศไทย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดําเนินการโดยผู้ประกอบธุรกิจผู้ประกอบธุรกิจต่างประเทศ หรือผู้ออกหรือเสนอขายผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศก็ตาม
(1) การจัดให้ผู้ลงทุนในวงกว้างได้ประชุมพบปะโดยตรงกับกรรมการหรือผู้บริหารของผู้ออกหรือเสนอขายผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ (roadshow) เพื่อชักชวนให้ลงทุนในผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศซึ่งยังไม่ได้รับการจดทะเบียนหรือได้รับอนุญาตให้ทําการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศหรือศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศ โดยการชักชวนให้ลงทุนดังกล่าวมีลักษณะเป็นการเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไป (public offering)
(2) การชักชวนผู้ลงทุนให้ไปลงทุนในผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศที่ออกใหม่เพื่อเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปในตลาดแรก (primary market) ในลักษณะอื่นตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด
ข้อ 12 ผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศที่ผู้ประกอบธุรกิจสามารถนํามาให้บริการแก่ลูกค้าต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้อย่างครบถ้วน
(1) เป็นผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศซึ่งมีลักษณะและเงื่อนไขทํานองเดียวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่สามารถออกหรือเสนอขายในประเทศไทย เว้นแต่สํานักงาน ก.ล.ต. จะกําหนดเป็นอย่างอื่น
(2) เป็นผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งดังนี้ และต้องไม่อยู่ระหว่างถูกหน่วยงานกํากับดูแลดังกล่าวสั่งห้ามการซื้อขายผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศนั้น
(ก) หน่วยงานกํากับดูแลที่เป็นสมาชิกของ International Organization ofSecurities Commissions (“IOSCO”) โดยหน่วยงานดังกล่าวต้องเป็นพหุภาคีประเภท Signatory Aใน Multilateral Memorandum of Understanding Concerning Consultation and Cooperation andthe Exchange of Information (“MMOU”) (“IOSCO MMOU”)
(ข) หน่วยงานกํากับดูแลในกลุ่มประเทศ Organization for Economic Co-operationand Development (“OECD”)
(ค) หน่วยงานกํากับดูแลของประเทศที่อยู่ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN Economic Community) (“AEC”)
(3) เป็นผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศที่มีการเสนอขายในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) เป็นผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศที่มีการเสนอขายอยู่ในประเทศที่หน่วยงานกํากับดูแลตาม (2) ตั้งอยู่ (skin in the game)
(ข) เป็นผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศที่เป็นตราสารหนี้ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายในลักษณะโครงการ (Debt Issuance Program) จากหน่วยงานกํากับดูแลตาม (2) เพื่อผู้ลงทุนแต่ละรายแบบเฉพาะเจาะจง (tailor-made product)
(ค) กรณีอื่นใดนอกจาก (ก) และ (ข) เป็นผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศที่เสนอขายเพื่อผู้ลงทุนแต่ละรายแบบเฉพาะเจาะจง
ข้อ 13 ในการให้บริการแก่ลูกค้าดังต่อไปนี้ ผู้ประกอบธุรกิจสามารถให้บริการแก่ลูกค้าดังกล่าวในการลงทุนในผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศนอกเหนือจากที่กําหนดในข้อ 12 ได้
(1) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(2) ธนาคารพาณิชย์
(3) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้ง
(4) บริษัทหลักทรัพย์
(5) ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(6) บริษัทประกันชีวิต
(7) บริษัทประกันวินาศภัย
(8) กองทุนรวม
(9) กองทุนส่วนบุคคล
(10) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(11) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(12) กองทุนประกันสังคม
(13) บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(14) นิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทยที่มีสินทรัพย์ตามงบการเงินตั้งแต่5,000 ล้านบาทขึ้นไป
(15) บุคคลอื่นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดให้สามารถนําเงินไปลงทุนในผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศได้ ทั้งนี้ ตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด
ข้อ 14( ในการให้บริการแก่ลูกค้าที่เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทยหรือบุคคลธรรมดาที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ที่มีสินทรัพย์ประเภทเงินลงทุนในตราสารหรืออนุพันธ์
หรือเงินฝาก รวมกันตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป ผู้ประกอบธุรกิจสามารถให้บริการแก่ลูกค้าดังกล่าวในการลงทุนในผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศนอกเหนือจากที่กําหนดในข้อ 12 ได้
หมวด 4(
บุคลากรที่ให้บริการ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 15 ในหมวดนี้
“ผู้ประกอบธุรกิจต่างประเทศ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ต่างประเทศหรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศ แล้วแต่กรณี
ข้อ 16 ผู้ประกอบธุรกิจต้องมอบหมายให้บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ซึ่งผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน จากหน่วยงานที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับแล้ว เป็นผู้ทําหน้าที่ให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ
ข้อ 17 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจประสงค์จะจัดให้บุคลากรจากต่างประเทศเป็นผู้ให้ข้อมูลหรือคําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศแก่ลูกค้า
ไม่ว่าช่องทางหรือวิธีการใด ให้ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งข้อมูลและรายละเอียดดังต่อไปนี้ให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบ เว้นแต่เป็นการให้ข้อมูลหรือคําแนะนําแก่ลูกค้าตามข้อ 13
(1) ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์จากต่างประเทศหรือผู้ประกอบธุรกิจต่างประเทศที่บุคลากรจากต่างประเทศสังกัดอยู่ ซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ 18 โดยให้แจ้งสํานักงาน ก.ล.ต. ทราบล่วงหน้าก่อนที่บุคลากรจากต่างประเทศจะให้ข้อมูลหรือคําแนะนํา
(2) ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากรจากต่างประเทศ ซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ 18/1 และระยะเวลา
ที่บุคลากรจากต่างประเทศรายนั้นได้ให้ข้อมูลหรือคําแนะนําในแต่ละครั้ง โดยให้แจ้งสํานักงาน ก.ล.ต. ทราบภายใน 7 วันทําการนับแต่วันที่บุคลากรจากต่างประเทศให้ข้อมูลหรือคําแนะนําแล้วเสร็จ
การแจ้งข้อมูลต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต.
ข้อ 18 ผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์จากต่างประเทศหรือผู้ประกอบธุรกิจต่างประเทศตามข้อ 17(1) ต้องเป็นผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์จากต่างประเทศหรือผู้ประกอบธุรกิจต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจากหน่วยงานกํากับดูแลด้านหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) หน่วยงานกํากับดูแลที่เป็นสมาชิกของ International Organization of Securities Commissions (“IOSCO”) โดยหน่วยงานดังกล่าวต้องเป็นพหุภาคีประเภท Signatory A ใน Multilateral Memorandum of Understanding Concerning Consultation and Cooperation and the Exchange of Information (“MMOU”) (“IOSCO MMOU”)
(2) หน่วยงานกํากับดูแลของประเทศที่อยู่ในกลุ่มประเทศ Organization for Economic Co - operation and Development (“OECD”)
(3) หน่วยงานกํากับดูแลของประเทศที่อยู่ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) (“AEC”)
ข้อ 18/1 บุคลากรจากต่างประเทศตามข้อ 17(2) ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
อย่างครบถ้วน
(1) เป็นบุคลากรภายใต้สังกัดของผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์จากต่างประเทศหรือ
ผู้ประกอบธุรกิจต่างประเทศ
(2) เป็นบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และมีความเหมาะสม
ในการให้ข้อมูลหรือคําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ
ที่นํามาให้บริการแก่ลูกค้า รวมทั้งสามารถให้ข้อมูลหรือคําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในผลิตภัณฑ์
ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศได้ตามกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจในต่างประเทศ
(3) ไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การให้ข้อมูลหรือคําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศแก่ลูกค้าในประเทศไทย
(4) เป็นการให้ข้อมูลหรือคําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศแก่ลูกค้าในประเทศไทยแบบชั่วคราวและตามความจําเป็น
ข้อ 18/2 ผู้ประกอบธุรกิจต้องควบคุมดูแลมิให้บุคลากรจากต่างประเทศตามข้อ 17 กระทําการใด ๆ ที่อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายหรือไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง โดยอย่างน้อยต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) แจ้งขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ให้บุคลากรจากต่างประเทศทราบ
(2) ดูแลให้การให้ข้อมูลหรือคําแนะนํานั้นจํากัดเฉพาะผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศซึ่งผู้ประกอบธุรกิจสามารถให้บริการได้
(3) แจ้งหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้คําแนะนําตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้บุคลากรจากต่างประเทศทราบ
(4) ระมัดระวังมิให้การให้ข้อมูลหรือคําแนะนํานั้นบิดเบือน ไม่ถูกต้อง หรือทําให้ลูกค้าสําคัญผิด
(5) ในกรณีที่เป็นการให้ข้อมูลหรือคําแนะนําแก่ลูกค้าในงานสัมมนา ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดเกี่ยวกับการแนะนําการลงทุนในงานสัมมนาด้วย
หมวด 5
บทเฉพาะกาล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 19 ให้บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนซึ่งเป็นผู้ทําหน้าที่ให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ สามารถทําหน้าที่ต่อไปได้ โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการให้บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนดังกล่าวเข้ารับการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนจากหน่วยงานที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562
ในกรณีที่บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามวรรคหนึ่งรายใดไม่ได้เข้ารับการอบรมภายในระยะเวลาที่กําหนด ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการห้ามบุคลากรรายนั้นเป็นผู้ทําหน้าที่ให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ
ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 578 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ/น/ด/ข. 13/2550 เรื่อง การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ/น/ด/ข. 13 /2550
เรื่อง การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการให้บริการ
ด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยบริษัทหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 2)
---------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 98(3) (4) และ (8) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ข. 34/2548 เรื่อง การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์หรือการค้าหลักทรัพย์ เว้นแต่กรณีที่กําหนดในข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 11 และข้อ 12”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ข. 34/2548 เรื่อง การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“บริษัทหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึง บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ การจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การจัดการเงินร่วมลงทุน หรือการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ข. 34/2548 เรื่อง การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2548
“บริษัทหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึง บริษัทที่ได้รับใบอนุญาต
ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการให้สินเชื่อ
เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2550
(นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 579 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 45/2552 เรื่อง การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยบริษัทหลักทรัพย์ | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ/น/ข. 45/2552
เรื่อง การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการให้บริการ
ด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยบริษัทหลักทรัพย์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 98(3) (4) และ (8) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
(1) “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์หรือการค้าหลักทรัพย์ เว้นแต่กรณีที่กําหนดในข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 10 และข้อ 11
(2) “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน
(3) “สถาบันการเงินต่างประเทศ” หมายความว่า นิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งสามารถให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ตามกฎหมายของประเทศนั้น
(4) “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า สัญญาที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือหลายลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) สัญญาที่กําหนดให้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งส่งมอบสินค้าให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นผู้ชําระราคา ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต เป็นจํานวนและราคาตามที่กําหนดไว้ในสัญญา
(ข) สัญญาที่กําหนดให้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้รับชําระเงินหรือต้องชําระเงินให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเท่ากับจํานวนเงินที่คํานวณได้จากส่วนต่างระหว่างราคาหรือมูลค่าของสินค้าหรือตัวแปรที่กําหนดไว้ในสัญญากับราคาหรือมูลค่าของสินค้าหรือตัวแปรที่เป็นอยู่ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคตตามที่กําหนดไว้ในสัญญา
(ค) สัญญาที่กําหนดให้สิทธิแก่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งที่จะเรียกให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งส่งมอบสินค้าหรือชําระราคาของสินค้า หรือชําระเงินที่คํานวณได้จากส่วนต่างระหว่างราคาหรือมูลค่าของสินค้าหรือตัวแปรที่กําหนดไว้ในสัญญากับราคาหรือมูลค่าของสินค้าหรือตัวแปรที่เป็นอยู่ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคตตามที่กําหนดไว้ในสัญญา หรือเรียกให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเข้าทําสัญญาตาม (ก) หรือ (ข)
(5) “สินค้า” หมายความว่า หลักทรัพย์ ทองคํา น้ํามันดิบ เงินตราสกุลใด ๆ หรือทรัพย์สินอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนด
(6) “ตัวแปร” หมายความว่า อัตราแลกเปลี่ยนเงิน อัตราดอกเบี้ย ดัชนีทางการเงิน ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ หรือตัวแปรอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนด
(7) “ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า การเข้าผูกพันตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(8) “ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ภาระหรือสิทธิของบุคคลหนึ่งบุคคลใดอันเนื่องมาจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(9) “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่เป็นนิติบุคคลดังต่อไปนี้
(ก) ธนาคารพาณิชย์
(ข) บริษัทเงินทุน
(ค) บริษัทหลักทรัพย์เพื่อบัญชีของตนเอง หรือเพื่อการบริหารกองทุนส่วนบุคคล หรือเพื่อการจัดการโครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(ง) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(จ) บริษัทประกันวินาศภัย
(ฉ) บริษัทประกันชีวิต
(ช) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งมิได้เป็นบุคคลตาม (ญ)
(ซ) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ฌ) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(ญ) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
(ฎ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(ฏ) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(ฐ) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(ฑ) กองทุนรวม
(ฒ) นิติบุคคลที่มีสินทรัพย์รวมตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่ห้าร้อยล้านบาทขึ้นไป
(ณ) นิติบุคคลที่มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป
(ด) นิติบุคคลซึ่งมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลตาม (ก) ถึง (ณ) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
(ต) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (ก) ถึง (ด) โดยอนุโลม
(10) “ศูนย์ซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และนิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งสามารถให้บริการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ตามกฎหมายของประเทศนั้นและได้รับการยอมรับจากสํานักงาน (recognized exchange)
ข้อ ๓ ให้สถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่นและได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองได้และไม่ให้นําความในหมวด 1 มาใช้บังคับกับสถาบันการเงินดังกล่าว
หมวด ๑ การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔ ให้บริษัทหลักทรัพย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหรือมูลค่าของสินทรัพย์ หนี้สิน หรือภาระผูกพันที่บริษัทหลักทรัพย์มีอยู่หรือจะมีในอนาคตอันใกล้นอกศูนย์ซื้อขายสัญญากับคู่สัญญาที่เป็นสถาบันการเงินหรือสถาบันการเงินต่างประเทศ หรือในศูนย์ซื้อขายสัญญาได้
บริษัทหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึง บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ การจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การจัดการเงินร่วมลงทุน หรือการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์
ข้อ ๕ นอกจากกรณีตามข้อ 4 ให้บริษัทหลักทรัพย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองนอกศูนย์ซื้อขายสัญญากับคู่สัญญาที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันหรือในศูนย์ซื้อขายสัญญาได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงาน
บริษัทหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึง บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์
ข้อ ๖ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะขออนุญาตซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 5 ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานตามแบบพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
บริษัทหลักทรัพย์ที่จะได้รับอนุญาตให้ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) มีบุคลากรที่ทําหน้าที่รับผิดชอบในการตัดสินใจซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการบริหารความเสี่ยงจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในจํานวนที่เพียงพอ โดยบุคลากรดังกล่าวต้องมีความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่องานที่รับผิดชอบ
(2) มีนโยบายและมาตรการในการควบคุมและบริหารความเสี่ยงจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า การจัดการด้านการปฏิบัติการ และระบบการตรวจสอบและควบคุมภายในของบริษัทที่มีประสิทธิภาพ และมีระเบียบวิธีปฏิบัติที่ชัดเจน อย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(ก) การมีระบบรองรับการคํานวณความเพียงพอของเงินกองทุนตามมาตรฐานที่สํานักงานกําหนดหรือมาตรฐานอื่นที่สูงกว่าตามที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ
(ข) การจํากัดฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (position limit) ที่บริษัทจะมีได้ ณ ขณะใดขณะหนึ่งเมื่อพิจารณาจาก
1. ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยรวม
2. ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าส่วนที่บริษัทไม่มีการป้องกันความเสี่ยง
3. ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อสินค้าหรือตัวแปรประเภทใดประเภทหนึ่ง
4. ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อคู่สัญญารายใดรายหนึ่ง
5. ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีผลขาดทุน
(ค) การมีหน่วยงานตรวจสอบภายใน (internal audit) ที่ทําหน้าที่ตรวจสอบการดําเนินกิจการของบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(ง) การมีหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงาน (compliance unit) ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้ และมีความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติงานของบริษัท
(จ) การมีระบบการบันทึกข้อมูลและการรายงานข้อมูลต่อผู้บริหารตามลําดับชั้นที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้
ข้อ ๗ ให้สํานักงานพิจารณาและสั่งการเกี่ยวกับการขออนุญาตซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 6 ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน
บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามวรรคหนึ่งต้องดํารงคุณสมบัติตามข้อ 6 ไว้ตลอดเวลาที่บริษัทหลักทรัพย์มีการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๘ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าเป็นทองคําหรือน้ํามันดิบนอกศูนย์ซื้อขายสัญญาตามข้อ 5 ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหรือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวอย่างสมบูรณ์ (perfectly hedge) โดยไม่ชักช้า
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์เข้าทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทที่กําหนดในข้อ 2(4) (ค) ในฐานะผู้ได้รับสิทธิตามสัญญา
ข้อ ๙ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ให้คําแนะนําแก่คู่สัญญาเพื่อการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองตามหมวดนี้ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงอันควรบอกให้แจ้ง อันเป็นการหลอกลวงคู่สัญญา หรืออันอาจก่อให้คู่สัญญาสําคัญผิดในสาระสําคัญเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
หมวด ๒ การให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๑๐ ให้บริษัทหลักทรัพย์ให้คําแนะนําแก่ผู้ลงทุนสถาบันเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยกระทําเป็นทางค้าปกติได้
บริษัทหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึง บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ การจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือการจัดการเงินร่วมลงทุน
ข้อ ๑๑ ให้บริษัทหลักทรัพย์ให้บริการเป็นนายหน้าจัดหาคู่สัญญาซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแก่ผู้ลงทุนสถาบันในลักษณะที่เป็นคนกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายโดยไม่มีภาระรับผิดชอบอย่างอื่นโดยกระทําเป็นทางค้าปกติได้
บริษัทหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึง บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ หรือการจัดการเงินร่วมลงทุน
ข้อ ๑๒ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 10 หรือข้อ 11 แจ้งให้สํานักงานทราบถึงลักษณะและขอบเขตของการให้บริการล่วงหน้าอย่างน้อยห้าวันทําการก่อนวันเปิดให้บริการดังกล่าว
ข้อ ๑๓ ให้บริษัทหลักทรัพย์ให้บริการเป็นตัวแทนในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าระหว่างผู้ลงทุนสถาบัน หรือให้บริการเป็นตัวแทนในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญา โดยจะกระทําเป็นทางค้าปกติได้ ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงาน
บริษัทหลักทรัพย์ที่จะได้รับอนุญาตให้บริการเป็นตัวแทนในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) มีระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์และระบบป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีมาตรการในการควบคุมและติดตามให้มีการดําเนินงานตามระบบที่วางไว้
(2) มีนโยบายและมาตรการในการควบคุมและบริหารความเสี่ยง การจัดการด้านการปฏิบัติการ และระบบการควบคุมภายใน ที่สามารถรองรับการประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีมาตรการในการควบคุมและติดตามให้มีการดําเนินงานตามนโยบาย มาตรการ และระบบที่วางไว้
ให้นําความในข้อ 6 วรรคหนึ่ง และข้อ 7 มาใช้บังคับกับการยื่นคําขออนุญาตและการพิจารณาอนุญาตของสํานักงานตามวรรคหนึ่ง โดยอนุโลม
ข้อ ๑๔ ในการให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของบริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 10 และข้อ 13 บริษัทหลักทรัพย์ต้องได้รับใบอนุญาตหรือจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ซึ่งออกโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายดังกล่าวด้วย
ข้อ ๑๕ ในการให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามหมวดนี้ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงอันควรบอกให้แจ้ง อันเป็นการหลอกลวงลูกค้า หรืออันอาจก่อให้ลูกค้าสําคัญผิดในสาระสําคัญเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
หมวด ๓ อื่นๆ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๖ ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานว่าบริษัทหลักทรัพย์ใดซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ หรือตามระเบียบวิธีปฏิบัติที่บริษัทหลักทรัพย์กําหนดขึ้นเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้ หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมประการอื่นในการซื้อขายหรือให้บริการดังกล่าว สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นแก้ไข กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้ได้
ข้อ ๑๗ ให้ถือว่าบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองนอกศูนย์ซื้อขายสัญญากับคู่สัญญาที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันหรือในศูนย์ซื้อขายสัญญา หรือได้รับอนุญาตให้บริการเป็นตัวแทนในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าระหว่างผู้ลงทุนสถาบันหรือเป็นตัวแทนในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาอยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ได้รับอนุญาตจากสํานักงานตามประกาศนี้
ข้อ ๑๘ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ข. 34/2548 เรื่อง การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2548 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๑๙ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ข. 34/2548 เรื่อง การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2548 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(นายวิจิตร สุพินิจ)
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ -
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์ห้ามบริษัทหลักทรัพย์กระทําการใด ๆ อันมีลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือเป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง เป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และห้ามบริษัทหลักทรัพย์ซื้อขายหลักทรัพย์ล่วงหน้าไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายในนามตนเองหรือลูกค้าและประกอบกิจการอื่นใดที่มิใช่ธุรกิจหลักทรัพย์ในประเภทที่ได้รับอนุญาต เว้นแต่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนดหรืออนุญาตให้กระทําได้ จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ข. 34/2548 เรื่อง การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2548 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 580 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 24/2553 เรื่อง การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยบริษัทหลักทรัพย์ | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ/น/ข. 24/2553
เรื่อง การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการให้บริการ
ด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยบริษัทหลักทรัพย์
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 98(3) (4) และ (8) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 45/2552 เรื่อง การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
(1) “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน
(2) “สถาบันการเงินต่างประเทศ” หมายความว่า นิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งสามารถให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ตามกฎหมายของประเทศนั้น
(3) “ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า การเข้าผูกพันตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(4) “ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ภาระหรือสิทธิของบุคคลหนึ่งบุคคลใดอันเนื่องมาจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(5) “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดประเภทนิติบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเพิ่มเติม
(6) “ศูนย์ซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และนิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งสามารถให้บริการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ตามกฎหมายของประเทศนั้นและได้รับการยอมรับจากสํานักงาน
หมวด ๑ การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเอง
ข้อ ๓ ในหมวดนี้
“สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่ว่าจะมีสินค้าหรือตัวแปรประเภทใด และไม่ว่าจะเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเทศหรือต่างประเทศ
ข้อ ๔ ให้สถาบันการเงินที่จัดตั้งตามกฎหมายอื่นและได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองได้ และไม่ให้นําความในส่วนที่ 1 มาใช้บังคับกับสถาบันการเงินดังกล่าว
ส่วน ๑ หลักเกณฑ์ในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๕ ให้บริษัทหลักทรัพย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหรือมูลค่าของสินทรัพย์ หนี้สิน หรือภาระผูกพันที่บริษัทหลักทรัพย์มีอยู่หรือจะมีในอนาคตอันใกล้นอกศูนย์ซื้อขายสัญญากับคู่สัญญาที่เป็นสถาบันการเงินหรือสถาบันการเงินต่างประเทศ หรือในศูนย์ซื้อขายสัญญาได้
บริษัทหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึง บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ การจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การจัดการเงินร่วมลงทุน หรือการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์
ข้อ ๖ นอกจากกรณีตามข้อ 5 ให้บริษัทหลักทรัพย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองนอกศูนย์ซื้อขายสัญญากับคู่สัญญาที่เป็นผู้ลงทุนสถาบัน หรือซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองในศูนย์ซื้อขายสัญญาได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงาน
บริษัทหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึง บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์
ข้อ ๗ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ให้คําแนะนําแก่คู่สัญญาในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองตามส่วนนี้ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงอันควรบอกให้แจ้ง อันเป็นการหลอกลวงคู่สัญญาหรืออาจทําให้คู่สัญญาสําคัญผิดในสาระสําคัญเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้า หรือตัวแปร
ส่วน ๒ หลักเกณฑ์การอนุญาต
ข้อ ๘ บริษัทหลักทรัพย์ที่จะได้รับอนุญาตให้ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 6 ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) มีบุคลากรที่ทําหน้าที่รับผิดชอบในการตัดสินใจซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการบริหารความเสี่ยงจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในจํานวนที่เพียงพอ โดยบุคลากรดังกล่าวต้องมีความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่องานที่รับผิดชอบ
(2) มีนโยบายและหลักเกณฑ์ในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งนโยบายและมาตรการในการควบคุมและบริหารความเสี่ยง ตลอดจนการจัดการด้านการปฏิบัติการ ในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และมีระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ระบบป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลอันมิพึงเปิดเผยระหว่างหน่วยงานและบุคลากร และระบบการตรวจสอบและควบคุมภายในของบริษัท อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ โดยต้องจัดทํานโยบาย หลักเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของบริษัท ซึ่งอย่างน้อยต้องระบุรายละเอียดในเรื่องดังต่อไปนี้
(ก) การมีระบบรองรับการคํานวณความเพียงพอของเงินกองทุนตามมาตรฐานที่สํานักงานกําหนด
(ข) การมีระบบการขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการของบริษัทก่อนทําการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยในการขอความเห็นชอบต้องมีการนําเสนอรายละเอียดและความเสี่ยงของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแต่ละประเภทเพื่อให้คณะกรรมการของบริษัททราบถึงความเสี่ยงอย่างครบถ้วน
(ค) การจํากัดฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่บริษัทจะมีได้ ณ ขณะใดขณะหนึ่งเมื่อพิจารณาจาก
1. ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยรวม
2. ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าส่วนที่บริษัทไม่มีการป้องกันความเสี่ยง
3. ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อสินค้าหรือตัวแปรประเภทใดประเภทหนึ่ง
4. ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อคู่สัญญารายใดรายหนึ่ง
5. ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีผลขาดทุน
(ง) การมีหน่วยงานตรวจสอบภายในที่ทําหน้าที่ตรวจสอบการดําเนินกิจการของบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(จ) การมีหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้ และมีความเป็นอิสระในการกํากับดูแลการปฏิบัติงานของบริษัท
(ฉ) การมีระบบการบันทึกข้อมูลและการรายงานข้อมูลต่อผู้บริหารตามลําดับชั้นที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้
ข้อ ๙ เว้นแต่กรณีที่กําหนดในข้อ 11 ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะขออนุญาตซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 6 ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามแบบและวิธีการที่สํานักงานจัดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงาน
ข้อ ๑๐ ให้สํานักงานพิจารณาและสั่งการเกี่ยวกับการขออนุญาตซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 9 ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน
ข้อ ๑๑ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์เป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ให้ถือว่าบริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวได้รับอนุญาตให้ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองตามประกาศนี้แล้ว
ส่วน ๓ เงื่อนไขในการดํารงความเป็นผู้ได้รับอนุญาต
ข้อ ๑๒ บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 10 และข้อ 11 ต้องดํารงลักษณะตามข้อ 8 ไว้ตลอดเวลาที่บริษัทหลักทรัพย์มีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเอง
หมวด ๒ การให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๑๓ ในหมวดนี้
“สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าหรือตัวแปรเป็นหลักทรัพย์ ทองคํา น้ํามันดิบ เงินตราสกุลใด ๆ อัตราแลกเปลี่ยนเงิน อัตราดอกเบี้ย ดัชนีทางการเงิน ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินหรือตัวแปรอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนด ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเทศหรือต่างประเทศ
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่การให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของบริษัทหลักทรัพย์ตามหมวดนี้มีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า บริษัทหลักทรัพย์จะต้องได้รับใบอนุญาตหรือจดทะเบียน และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ซึ่งออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าวด้วย
ส่วน ๑ หลักเกณฑ์ทั่วไปในการให้บริการ
ด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๑๕ ในการให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามหมวดนี้ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงอันควรบอกให้แจ้ง อันเป็นการหลอกลวงลูกค้าหรืออาจทําให้ลูกค้าสําคัญผิดในสาระสําคัญเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้า หรือตัวแปร
ข้อ ๑๖ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามหมวดนี้ แจ้งให้สํานักงานทราบถึงลักษณะและขอบเขตของการให้บริการล่วงหน้าอย่างน้อยห้าวันทําการก่อนวันเปิดให้บริการดังกล่าว
ส่วน ๒ หลักเกณฑ์ในการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๑๗ ให้บริษัทหลักทรัพย์ให้คําแนะนําเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยกระทําเป็นทางค้าปกติได้
บริษัทหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึง บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ การจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือการจัดการ เงินร่วมลงทุน
ส่วน ๓ หลักเกณฑ์ในการเป็นนายหน้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๑๘ ให้บริษัทหลักทรัพย์ให้บริการเป็นนายหน้าจัดหาคู่สัญญาซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแก่ผู้ลงทุนสถาบันในลักษณะที่เป็นคนกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายโดยไม่มีภาระรับผิดชอบอย่างอื่นโดยกระทําเป็นทางค้าปกติได้
บริษัทหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึง บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ หรือการจัดการเงินร่วมลงทุน
ส่วน ๔ หลักเกณฑ์ในการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๑๙ ให้บริษัทหลักทรัพย์ให้บริการเป็นตัวแทนในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้านอกศูนย์ซื้อขายสัญญาระหว่างผู้ลงทุนสถาบัน หรือให้บริการเป็นตัวแทนในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญา โดยกระทําเป็นทางค้าปกติได้
บริษัทหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึง บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์หรือการค้าหลักทรัพย์
หมวด ๓ อํานาจสั่งการของสํานักงาน
ข้อ ๒๐ ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานว่าบริษัทหลักทรัพย์ใดซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองหรือให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ หรือตามระเบียบวิธีปฏิบัติที่บริษัทหลักทรัพย์กําหนดขึ้นเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้ หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมประการอื่นในการซื้อขายหรือให้บริการดังกล่าว สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นแก้ไข กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้ได้
หมวด ๔ บทเฉพาะกาล
ข้อ ๒๑ ให้ถือว่าบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองนอกศูนย์ซื้อขายสัญญากับคู่สัญญาที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันหรือในศูนย์ซื้อขายสัญญา อยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ได้รับอนุญาตจากสํานักงานตามประกาศนี้ และต้องดํารงลักษณะตามที่กําหนดในข้อ 8 ไว้ตลอดเวลาที่มีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเอง
ข้อ ๒๒ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออก วางแนวปฏิบัติ หรือที่ใช้บังคับอยู่โดยอาศัยอํานาจในบทเฉพาะกาล ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 45/2552 เรื่อง การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
หมวด ๕ วันมีผลใช้บังคับของประกาศ
ข้อ ๒๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
หมายเหตุ -
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อผ่อนคลายหลักเกณฑ์ให้บริษัทหลักทรัพย์สามารถซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองได้โดยไม่จํากัดประเภทของสินค้าหรือตัวแปร และยกเลิกหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตเพื่อให้บริการเป็นตัวแทนในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตลอดจนปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับการผ่อนคลายและยกเลิกหลักเกณฑ์ดังกล่าว จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้ | 581 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 68/2563 เรื่อง การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 68/2563
เรื่อง การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการให้บริการ
ด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยบริษัทหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 98(3) (4) และ (8) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5/1) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 24/2553 เรื่อง การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553
“(5/1) “ผู้มีเงินลงทุนหรือเงินฝากสูง” หมายความว่า นิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทยหรือบุคคลธรรมดาที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ที่มีสินทรัพย์ประเภทเงินลงทุนในตราสารหรืออนุพันธ์ หรือเงินฝาก รวมกันตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 24/2553 เรื่อง การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 18 ให้บริษัทหลักทรัพย์ให้บริการเป็นนายหน้าจัดหาคู่สัญญาซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในลักษณะที่เป็นคนกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายโดยไม่มีภาระรับผิดชอบอย่างอื่น โดยกระทําเป็นทางค้าปกติได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ให้บริการในศูนย์ซื้อขายสัญญาระหว่างผู้ลงทุนสถาบัน
(2) ให้บริการนอกศูนย์ซื้อขายสัญญาระหว่างผู้ลงทุนสถาบัน ทั้งนี้ หากเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศ บริษัทหลักทรัพย์อาจให้บริการระหว่างผู้มีเงินลงทุนหรือเงินฝากสูง หรือระหว่างผู้มีเงินลงทุนหรือเงินฝากสูงกับผู้ลงทุนสถาบันได้เพิ่มเติม”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 24/2553 เรื่อง การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 19 ให้บริษัทหลักทรัพย์ให้บริการเป็นตัวแทนในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยกระทําเป็นทางค้าปกติได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ให้บริการในศูนย์ซื้อขายสัญญา
(2) ให้บริการนอกศูนย์ซื้อขายสัญญาระหว่างผู้ลงทุนสถาบัน ทั้งนี้ หากเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศ บริษัทหลักทรัพย์อาจให้บริการระหว่างผู้มีเงินลงทุนหรือเงินฝากสูง หรือระหว่างผู้มีเงินลงทุนหรือเงินฝากสูงกับผู้ลงทุนสถาบันได้เพิ่มเติม”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 582 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 24/2553 เรื่อง การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับประมวล) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ/น/ข. 24/2553
เรื่อง การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยบริษัทหลักทรัพย์
(ฉบับประมวล)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 98(3) (4) และ (8) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 45/2552 เรื่องการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยบริษัทหลักทรัพย์ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ข้อ 2 ในประกาศนี้
(1) “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน
(2) “สถาบันการเงินต่างประเทศ” หมายความว่า นิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งสามารถให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ตามกฎหมายของประเทศนั้น
(3) “ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า การเข้าผูกพันตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(4) “ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ภาระหรือสิทธิของบุคคลหนึ่งบุคคลใดอันเนื่องมาจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(5) “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดประเภทนิติบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเพิ่มเติม
(5/1)( “ผู้มีเงินลงทุนหรือเงินฝากสูง” หมายความว่า นิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทยหรือบุคคลธรรมดาที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ที่มีสินทรัพย์ประเภทเงินลงทุนในตราสารหรืออนุพันธ์ หรือเงินฝาก รวมกันตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป
(6) “ศูนย์ซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และนิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งสามารถให้บริการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ตามกฎหมายของประเทศนั้นและได้รับการยอมรับจากสํานักงาน
หมวด 1
การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเอง
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 3 ในหมวดนี้
“สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่ว่าจะมีสินค้าหรือตัวแปรประเภทใด และไม่ว่าจะเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเทศหรือต่างประเทศ
ข้อ 4 ให้สถาบันการเงินที่จัดตั้งตามกฎหมายอื่นและได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองได้ และไม่ให้นําความในส่วนที่ 1 มาใช้บังคับกับสถาบันการเงินดังกล่าว
ส่วนที่ 1
หลักเกณฑ์ในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 5 ให้บริษัทหลักทรัพย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหรือมูลค่าของสินทรัพย์ หนี้สิน หรือภาระผูกพันที่บริษัทหลักทรัพย์มีอยู่หรือจะมีในอนาคตอันใกล้นอกศูนย์ซื้อขายสัญญากับคู่สัญญาที่เป็นสถาบันการเงินหรือสถาบันการเงินต่างประเทศ หรือในศูนย์ซื้อขายสัญญาได้
บริษัทหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึง บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ การจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคลการจัดการเงินร่วมลงทุน หรือการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์
ข้อ 6 นอกจากกรณีตามข้อ 5 ให้บริษัทหลักทรัพย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองนอกศูนย์ซื้อขายสัญญากับคู่สัญญาที่เป็นผู้ลงทุนสถาบัน หรือซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองในศูนย์ซื้อขายสัญญาได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงาน
บริษัทหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึง บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์
ข้อ 7 ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ให้คําแนะนําแก่คู่สัญญาในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองตามส่วนนี้ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงอันควรบอกให้แจ้ง อันเป็นการหลอกลวงคู่สัญญาหรืออาจทําให้คู่สัญญาสําคัญผิดในสาระสําคัญเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้า หรือตัวแปร
ส่วนที่ 2
หลักเกณฑ์การอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 8 บริษัทหลักทรัพย์ที่จะได้รับอนุญาตให้ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 6 ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) มีบุคลากรที่ทําหน้าที่รับผิดชอบในการตัดสินใจซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการบริหารความเสี่ยงจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในจํานวนที่เพียงพอ โดยบุคลากรดังกล่าวต้องมีความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่องานที่รับผิดชอบ
(2) มีนโยบายและหลักเกณฑ์ในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งนโยบายและมาตรการในการควบคุมและบริหารความเสี่ยง ตลอดจนการจัดการด้านการปฏิบัติการ ในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และมีระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ระบบป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลอันมิพึงเปิดเผยระหว่างหน่วยงานและบุคลากร และระบบการตรวจสอบและควบคุมภายในของบริษัทอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ โดยต้องจัดทํานโยบาย หลักเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของบริษัท ซึ่งอย่างน้อยต้องระบุรายละเอียดในเรื่องดังต่อไปนี้
(ก) การมีระบบรองรับการคํานวณความเพียงพอของเงินกองทุนตามมาตรฐานที่สํานักงานกําหนด
(ข) การมีระบบการขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการของบริษัทก่อนทําการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยในการขอความเห็นชอบต้องมีการนําเสนอรายละเอียดและความเสี่ยงของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแต่ละประเภทเพื่อให้คณะกรรมการของบริษัททราบถึงความเสี่ยงอย่างครบถ้วน
(ค) การจํากัดฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่บริษัทจะมีได้ ณ ขณะใดขณะหนึ่งเมื่อพิจารณาจาก
1. ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยรวม
2. ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าส่วนที่บริษัทไม่มีการป้องกันความเสี่ยง
3. ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อสินค้าหรือตัวแปรประเภทใดประเภทหนึ่ง
4. ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อคู่สัญญารายใดรายหนึ่ง
5. ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีผลขาดทุน
(ง) การมีหน่วยงานตรวจสอบภายในที่ทําหน้าที่ตรวจสอบการดําเนินกิจการของบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(จ) การมีหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้ และมีความเป็นอิสระในการกํากับดูแลการปฏิบัติงานของบริษัท
(ฉ) การมีระบบการบันทึกข้อมูลและการรายงานข้อมูลต่อผู้บริหารตามลําดับชั้นที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้
ข้อ 9 เว้นแต่กรณีที่กําหนดในข้อ 11 ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะขออนุญาตซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 6 ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามแบบและวิธีการที่สํานักงานจัดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงาน
ข้อ 10 ให้สํานักงานพิจารณาและสั่งการเกี่ยวกับการขออนุญาตซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 9 ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน
ข้อ 11 ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์เป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติ**สัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ใ**ห้ถือว่าบริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวได้รับอนุญาตให้ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองตามประกาศนี้แล้ว
ส่วนที่ 3
เงื่อนไขในการดํารงความเป็นผู้ได้รับอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 12 บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 10 และข้อ 11 ต้องดํารงลักษณะตามข้อ 8 ไว้ตลอดเวลาที่บริษัทหลักทรัพย์มีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเอง
หมวด 2
การให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 13 ในหมวดนี้
“สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าหรือตัวแปรเป็นหลักทรัพย์ ทองคํา น้ํามันดิบ เงินตราสกุลใด ๆ อัตราแลกเปลี่ยนเงิน อัตราดอกเบี้ยดัชนีทางการเงิน ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินหรือตัวแปรอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนดทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเทศหรือต่างประเทศ
ข้อ 14 ในกรณีที่การให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของบริษัทหลักทรัพย์ตามหมวดนี้มีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า บริษัทหลักทรัพย์จะต้องได้รับใบอนุญาตหรือจดทะเบียน และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ซึ่งออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าวด้วย
ส่วนที่ 1
หลักเกณฑ์ทั่วไปในการให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 15 ในการให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามหมวดนี้ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงอันควรบอกให้แจ้ง อันเป็นการหลอกลวงลูกค้าหรืออาจทําให้ลูกค้าสําคัญผิดในสาระสําคัญเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้า หรือตัวแปร
ข้อ 16 ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามหมวดนี้ แจ้งให้สํานักงานทราบถึงลักษณะและขอบเขตของการให้บริการล่วงหน้าอย่างน้อยห้าวันทําการก่อนวันเปิดให้บริการดังกล่าว
ส่วนที่ 2
หลักเกณฑ์ในการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 17 ให้บริษัทหลักทรัพย์ให้คําแนะนําเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยกระทําเป็นทางค้าปกติได้
บริษัทหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึง บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ การจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือการจัดการ เงินร่วมลงทุน
ส่วนที่ 3
หลักเกณฑ์ในการเป็นนายหน้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 18( ให้บริษัทหลักทรัพย์ให้บริการเป็นนายหน้าจัดหาคู่สัญญาซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในลักษณะที่เป็นคนกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายโดยไม่มีภาระรับผิดชอบอย่างอื่น โดยกระทําเป็นทางค้าปกติได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ให้บริการในศูนย์ซื้อขายสัญญาระหว่างผู้ลงทุนสถาบัน
(2) ให้บริการนอกศูนย์ซื้อขายสัญญาระหว่างผู้ลงทุนสถาบัน ทั้งนี้ หากเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศ บริษัทหลักทรัพย์อาจให้บริการระหว่างผู้มีเงินลงทุนหรือเงินฝากสูง หรือระหว่างผู้มีเงินลงทุนหรือเงินฝากสูงกับผู้ลงทุนสถาบันได้เพิ่มเติม
บริษัทหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึง บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ หรือการจัดการเงินร่วมลงทุน
ส่วนที่ 4
หลักเกณฑ์ในการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 19( ให้บริษัทหลักทรัพย์ให้บริการเป็นตัวแทนในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยกระทําเป็นทางค้าปกติได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ให้บริการในศูนย์ซื้อขายสัญญา
(2) ให้บริการนอกศูนย์ซื้อขายสัญญาระหว่างผู้ลงทุนสถาบัน ทั้งนี้ หากเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศ บริษัทหลักทรัพย์อาจให้บริการระหว่างผู้มีเงินลงทุนหรือเงินฝากสูง หรือระหว่างผู้มีเงินลงทุนหรือเงินฝากสูงกับผู้ลงทุนสถาบันได้เพิ่มเติม
บริษัทหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึง บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์หรือการค้าหลักทรัพย์
หมวด 3
อํานาจสั่งการของสํานักงาน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 20 ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานว่าบริษัทหลักทรัพย์ใดซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองหรือให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ หรือตามระเบียบวิธีปฏิบัติที่บริษัทหลักทรัพย์กําหนดขึ้นเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้ หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมประการอื่นในการซื้อขายหรือให้บริการดังกล่าว สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นแก้ไข กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้ได้
หมวด 4
บทเฉพาะกาล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 21 ให้ถือว่าบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองนอกศูนย์ซื้อขายสัญญากับคู่สัญญาที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันหรือในศูนย์ซื้อขายสัญญาอยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ได้รับอนุญาตจากสํานักงานตามประกาศนี้ และต้องดํารงลักษณะตามที่กําหนดในข้อ 8 ไว้ตลอดเวลาที่มีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเอง
ข้อ 22 ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออก วางแนวปฏิบัติ หรือที่ใช้บังคับอยู่โดยอาศัยอํานาจในบทเฉพาะกาล ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 45/2552 เรื่องการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
หมวด 5
วันมีผลใช้บังคับของประกาศ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ 23 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 583 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 32/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบการเป็นสำนักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ฉบับประมวล) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 32/2559
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบการ
เป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และ
ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์
(ฉบับประมวล)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 มาตรา 223/3 และมาตรา 228 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 223 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
หมวด ๑ ข้อกําหนดทั่วไป
ส่วน ๑ วัตถุประสงค์ในการกํากับดูแลสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และ
ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์
ข้อ ๒ โดยที่ระบบการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์เป็นระบบพื้นฐานที่สําคัญและมีความเชื่อมโยงกับระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์และระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นระบบที่มีความจําเป็นต่อองค์กรในการดําเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายที่กําหนดไว้ ดังนั้น การกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกํากับดูแลสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ และการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าว (IT Governance) ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีการบริหารจัดการความเสี่ยงและจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสมโดยคณะกรรมการและผู้บริหารให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่องค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการกํากับดูแลด้านตลาดทุนกําหนดขึ้น และนําไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมนั้น จึงมีความสําคัญและจําเป็นอย่างยิ่ง หลักเกณฑ์ตามประกาศนี้จึงกําหนดขึ้น เพื่อให้เป็นมาตรฐานที่สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ต้องดําเนินการเพื่อการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ความมีเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบการเงินโดยรวม ตลอดจนส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันและภาพลักษณ์ที่ดีของตลาดทุนไทย
ส่วน ๒ หลักการสําคัญในการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์
และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์
ข้อ ๓ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน (financial market infrastructures) ที่สําคัญ มีระบบงานรวมถึงระบบบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพและมีความมั่นคงปลอดภัย รวมทั้งให้บริการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม โดยมีการดําเนินงานที่เหมาะสมและสอดคล้องกับมาตรฐานที่องค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการกํากับดูแลด้านตลาดทุนกําหนดขึ้น สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ต้องประกอบการภายใต้หลักการที่สําคัญดังต่อไปนี้
(1) การบริหารกิจการที่ดีและการจัดโครงสร้างองค์กรที่มีความชัดเจนและโปร่งใส
(2) การบริหารจัดการความเสี่ยง (risk management) ที่ดีเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านกฎหมาย (legal) ด้านเครดิต (credit) ด้านสภาพคล่อง (liquidity) ด้านการดําเนินการ (operation) และความเสี่ยงด้านอื่น ๆ โดยมีมาตรการในการติดตาม ควบคุม และจัดการความเสี่ยงในแต่ละด้านอย่างเหมาะสม เพื่อให้มั่นใจว่าการบริหารจัดการดังกล่าวสามารถรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
(3) การมีแหล่งเงินทุนที่เพียงพอ มีระบบและกฎเกณฑ์ในการรับและกํากับดูแลสมาชิกที่เหมาะสม และรองรับวิธีปฏิบัติที่ทําให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงต้องมีกระบวนการในการจัดการกรณีที่มีการผิดนัดชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ด้วย
(4) การบริหารความต่อเนื่องในการดําเนินธุรกิจ (business continuity management) โดยมีมาตรการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล อันเป็นการส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งความพร้อมในการใช้งานของระบบงานที่สําคัญของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ให้สามารถดําเนินการได้อย่างต่อเนื่อง
(5) การเปิดเผยข้อมูลอย่างชัดเจน โปร่งใสและเพียงพอเพื่อให้สมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจนั้น ๆ สามารถเข้าใจผลกระทบและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
(6) ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ต้องมีระบบและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการให้บริการที่ทําให้มั่นใจได้ว่าจะมีการเก็บรักษาหลักทรัพย์ไว้อย่างปลอดภัย และสามารถนําไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วน ๓ สาระสําคัญของข้อกําหนด
ข้อ ๔ ประกาศนี้มีข้อกําหนดในการกํากับดูแลสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) การบริหารกิจการที่ดีและการจัดโครงสร้างองค์กร โดยมีรายละเอียดตามหมวด 2
(2) การบริหารจัดการความเสี่ยง โดยมีรายละเอียดตามหมวด 3
(3) การบริหารจัดการกรณีที่มีการเชื่อมโยงการให้บริการกับผู้ที่เกี่ยวข้องของ
สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ โดยมีรายละเอียดตามหมวด 4
(4) การจัดการและการเปิดเผยข้อมูล โดยมีรายละเอียดตามหมวด 5
(5) การบริหารความต่อเนื่องในการดําเนินธุรกิจและความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีรายละเอียดตามหมวด 6
(6) การใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอก โดยมีรายละเอียดตามหมวด 7
(7) การจัดการเรื่องร้องเรียน โดยมีรายละเอียดตามหมวด 8
(8) การให้ความเห็นชอบระเบียบหรือข้อบังคับ โดยมีรายละเอียดตามหมวด 9
(9) การจัดทําและเปิดเผยงบการเงิน โดยมีรายละเอียดตามหมวด 10
(10) การเก็บรักษาข้อมูลและเอกสาร โดยมีรายละเอียดตามหมวด 11
(11) ข้อกําหนดเพิ่มเติมตามลักษณะเฉพาะของการประกอบธุรกิจ โดยมีรายละเอียดตามหมวด 12
ส่วน ๔ อํานาจสํานักงาน
ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ สํานักงานอาจกําหนดในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) กําหนดหลักเกณฑ์ในรายละเอียดของข้อกําหนดให้มีความชัดเจนเพียงพอที่สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์จะสามารถปฏิบัติได้ในแนวทางเดียวกัน
(2) กําหนดแนวทางการปฏิบัติ (guideline) ในรายละเอียดของข้อกําหนดเพื่อเป็นการให้แนวทางปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้ โดยหากสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์มีการปฏิบัติตามข้อกําหนดในเรื่องที่มีการออกแนวทางนั้น
(3) เพื่อให้สํานักงานสามารถติดตามการปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ ให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ยื่นรายงานหรือแสดงเอกสารใดตามระยะเวลาหรือเป็นครั้งคราวต่อสํานักงาน ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด โดยต้องไม่เป็นภาระต่อสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์จนเกินสมควร
ส่วน ๕ บทนิยาม
ข้อ ๖ ในประกาศนี้
“สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์” หมายความว่า สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“สํานักหักบัญชีสัญญา” หมายความว่า สํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์” หมายความว่า ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“ศูนย์ซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี
“กรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน” หมายความว่า กรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงานตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่
“ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่าตําแหน่งข้างต้นที่เรียกชื่ออย่างอื่น และให้หมายความรวมถึงบุคคลที่ได้ทําสัญญาให้มีอํานาจทั้งหมดหรือบางส่วนในการจัดการด้วย
“บริษัทในเครือ” หมายความว่า บริษัทในเครือตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ
“สมาชิก” หมายความว่า สมาชิกของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี
“อํานาจควบคุมกิจการ” หมายความว่า อํานาจควบคุมกิจการตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 89/1
“ผู้รับประโยชน์จากหุ้น” หมายความว่า ผู้ซึ่งมีอํานาจโดยทางตรงหรือทางอ้อมในลักษณะดังต่อไปนี้
(1) อํานาจกําหนดหรือควบคุมการใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนในกิจการของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี
(2) อํานาจกําหนดหรือควบคุมการได้มา จําหน่าย หรือก่อภาระผูกพันในหุ้น
“ทรัพย์สินที่ได้รับมาหรือมีไว้เพื่อสมาชิก” หมายความว่า
(1) ทรัพย์สินที่สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ได้รับมาจากสมาชิกทั้งที่เป็นของสมาชิกและของลูกค้าเพื่อเป็นประกันการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ที่เกิดจากการซื้อขายหลักทรัพย์ที่สมาชิกเป็นผู้รับผิดชอบต่อสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์
(2) ทรัพย์สินที่สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ได้รับมาเนื่องจากการซื้อขายหลักทรัพย์ทั้งของสมาชิกและของลูกค้า
(3) ทรัพย์สินที่สมาชิกนํามาวางไว้กับสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์เพื่อความมั่นคงของระบบการซื้อขายและการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์
หมวด ๒ การบริหารกิจการที่ดีและการจัดโครงสร้างองค์กร
ข้อ ๗ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีข้อกําหนดเกี่ยวกับการบริหารกิจการที่ดีที่มีความชัดเจนและเป็นลายลักษณ์อักษรโดยต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการ
ข้อกําหนดตามวรรคหนึ่งจะต้องเป็นการส่งเสริมความมั่นคงและประสิทธิภาพของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ รวมทั้งคํานึงถึงผลประโยชน์สาธารณะและผู้ใช้บริการโดยต้องระบุอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) นโยบายป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์
(2) มาตรการที่เพียงพอในการป้องกันมิให้กรรมการ ผู้บริหาร อนุกรรมการ ที่ปรึกษา พนักงาน ลูกจ้างหรือผู้ปฏิบัติงานให้แก่สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากข้อมูลที่ได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ และมีมาตรการที่เพียงพอในการรักษาความลับของสมาชิกและลูกค้า
ให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์เปิดเผยข้อกําหนดเกี่ยวกับการบริหารกิจการที่ดีต่อประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นการทั่วไปภายหลังจากข้อกําหนดดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการแล้ว
ข้อ ๘ เพื่อให้การดําเนินการของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และส่งเสริมความมีเสถียรภาพของตลาดทุน รวมทั้งสอดคล้องกับข้อกําหนดเกี่ยวกับการบริหารกิจการที่ดีซึ่งได้กําหนดขึ้นตามข้อ 7 สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีคณะกรรมการของแต่ละองค์กรขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานกรรมการ กรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงานและกรรมการอิสระที่แต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้และมีประสบการณ์ที่เกี่ยวกับตลาดทุนหรือที่จะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบการของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์แล้วแต่กรณี
เพื่อให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่ง สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ต้องดําเนินการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) กําหนดบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบที่ชัดเจนของคณะกรรมการและผู้บริหาร
(2) ประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการและผู้บริหาร
ข้อ ๙ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ต้องดําเนินการจัดโครงสร้างองค์กรอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) กรรมการอิสระตามข้อ 8 วรรคหนึ่งในจํานวนดังนี้
(ก) กรรมการอิสระอย่างน้อย 1 ใน 3 ของจํานวนกรรมการทั้งหมดและต้องมีจํานวนไม่น้อยกว่า 2 คน ในกรณีที่เป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์
(ข) กรรมการอิสระจํานวน 1 คน ในกรณีที่เป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์
(2) ระบบการควบคุมกิจการภายในที่มีประสิทธิภาพ และระบบการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพและเป็นอิสระ
นอกจากที่กําหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ต้องบริหารจัดการความเสี่ยงในลักษณะดังต่อไปนี้ด้วย
(1) จัดให้มีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เพื่อทําหน้าที่กําหนดนโยบายในการบริหารจัดการความเสี่ยงและติดตามให้มีการปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าว โดยแต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้และมีประสบการณ์ในการซื้อขายหลักทรัพย์ การบริหารความเสี่ยง หรือการบริหารงานสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ประธานและกรรมการจํานวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมดต้องไม่เป็นผู้บริหาร พนักงานหรือลูกจ้างของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และบริษัทในเครือของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์
(2) จัดให้มีหน่วยงานที่ทําหน้าที่บริหารจัดการความเสี่ยงตามกรอบนโยบายความเสี่ยงทั้งนี้ การจ่ายผลตอบแทนให้กับหน่วยงานดังกล่าวต้องไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
ข้อ ๑๐ กรรมการอิสระตามข้อ 8 วรรคหนึ่ง ต้องเป็นผู้ที่มีความอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นกลาง และมีความเป็นธรรม ตลอดจนคํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวม ความมั่นคงปลอดภัยและเสถียรภาพของระบบตลาดทุนเป็นสําคัญ
กรรมการอิสระของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(1) เป็นหรือเคยเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ผู้บริหาร พนักงาน ลูกจ้าง ที่ปรึกษา หรือบุคคลที่มีตําแหน่งอื่นใดที่เทียบเท่าตําแหน่งข้างต้นของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ และบริษัทในเครือของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี เว้นแต่จะได้พ้นจากตําแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีก่อนวันที่รับตําแหน่ง
(2) เป็นกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน ลูกจ้าง หรือบุคคลที่มีตําแหน่งอื่นใดที่เทียบเท่าตําแหน่งข้างต้น รวมทั้งบุคคลที่มีส่วนร่วมบริหารงานของสมาชิก
(3) เป็นผู้ถือหุ้นที่มีอํานาจควบคุมกิจการของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี
(4) เป็นบุคคลอื่นใดที่ไม่สามารถให้ความเห็นได้โดยอิสระเกี่ยวกับการดําเนินงานของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี
หมวด ๓ การบริหารจัดการความเสี่ยง
ข้อ ๑๑ ให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์บริหารจัดการความเสี่ยงโดยดําเนินการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีกรอบนโยบายบริหารความเสี่ยงที่เป็นลายลักษณ์อักษรและครอบคลุมความเสี่ยงทุกด้าน โดยกรอบนโยบายดังกล่าวต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการหรือคณะทํางานที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการดังกล่าว
(2) กําหนดมาตรการบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นซึ่งเพียงพอที่จะป้องกันและจัดการความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(3) ทบทวนความเหมาะสมของกรอบนโยบายและมาตรการบริหารจัดการความเสี่ยงเป็นประจํา
ข้อ ๑๒ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีแหล่งเงินทุนที่เพียงพอต่อการรองรับการประกอบการและความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ ส่วนของผู้ถือหุ้นต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่าค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจรวม 6 เดือน และคํานวณจากงบบัญชีล่าสุดโดยต้องอยู่ในรูปของทรัพย์สินที่มีคุณภาพและมีสภาพคล่องเพียงพอ
สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีแผนดําเนินการเพิ่มเติมแหล่งเงินทุนที่ชัดเจนสําหรับกรณีที่เงินทุนไม่เพียงพอรองรับการประกอบการและความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๑๓ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีแผนเพื่อการกอบกู้หรือการเลิกประกอบกิจการ (plan for recovery or orderly wind-down) ซึ่งแผนดังกล่าวต้องได้รับ
การอนุมัติจากคณะกรรมการ และต้องระบุรายละเอียดอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) เหตุการณ์และช่วงเวลาที่อาจทําให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ต้องดําเนินการตามแผนเพื่อการกอบกู้หรือการเลิกประกอบกิจการ
(2) งานสําคัญที่เกี่ยวกับการชําระราคา ส่งมอบและรับฝากหลักทรัพย์ที่ทําให้แต่ละองค์กรดําเนินธุรกิจต่อไปได้
(3) แนวทางหรือวิธีการที่ใช้เพื่อการกอบกู้กิจการ
(4) แนวทางหรือวิธีการในการจัดการสินทรัพย์และหนี้สินของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ สมาชิก และลูกค้าในกรณีที่การกอบกู้กิจการไม่บรรลุผล
หมวด ๔ การบริหารจัดการกรณีที่มีการเชื่อมโยงการให้บริการกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
ของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ให้บริการเกี่ยวกับการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ หรือให้บริการรับฝากหลักทรัพย์แก่สมาชิกที่มีลูกค้าเป็นนิติบุคคลซึ่งให้บริการกับลูกค้าอีกทอดหนึ่ง (tiered participant) สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ต้องควบคุมดูแลและติดตามความเสี่ยงของสมาชิกรายดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นด้วย
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์จะทําการเชื่อมโยงการให้บริการกับสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์อื่นหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ต้องกําหนดมาตรการเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงก่อนดําเนินการดังกล่าวอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) กฎหมายหรือกฎเกณฑ์รองรับการเชื่อมโยงการให้บริการและคุ้มครองการทําธุรกรรมของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ที่แตกต่างกัน
(2) ขั้นตอนและวิธีการจัดการในกรณีที่มีการผิดนัดชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ (default management) ที่สามารถบังคับใช้กับสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์อื่นหรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ที่เชื่อมโยงการให้บริการระหว่างกันได้
(3) ประสิทธิภาพในการเรียกหรือบังคับหลักประกันได้ทันต่อเหตุการณ์
(4) ความเพียงพอของแหล่งเงินทุนรองรับความเสี่ยงที่เกิดจากการเชื่อมโยงการให้บริการ
ในกรณีที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์จะทําการเชื่อมโยงการให้บริการกับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์อื่นหรือสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ต้องกําหนดมาตรการเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างน้อยตามที่กําหนดในวรรคหนึ่ง (1) โดยอนุโลม
หมวด ๕ การจัดการและการเปิดเผยข้อมูล
ข้อ ๑๖ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ต้องเปิดเผยหรือเผยแพร่ระเบียบ ข้อบังคับ ข่าวสารหรือข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์อย่างเพียงพอ เพื่อให้สมาชิก ลูกค้าของสมาชิก หรือผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจความเสี่ยงจากการใช้บริการ และต้องทบทวนข้อมูลที่เปิดเผยหรือเผยแพร่เป็นประจําหรือทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อปรับปรุงให้ข้อมูลดังกล่าวเป็นปัจจุบัน
ข้อ ๑๗ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีระบบการจัดการและจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ รัดกุม และครบถ้วน โดยต้องสามารถรวบรวม ประมวลผลและเรียกดูข้อมูลดังกล่าวได้ภายในระยะเวลาอันสมควร
ในกรณีที่ระบบงานตามวรรคหนึ่งไม่สามารถใช้การได้ สํานักหักบัญชีและศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ต้องดําเนินการให้มีระบบสํารองเพื่อให้การจัดการและจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจสามารถดําเนินการต่อไปได้ตามปกติ
ข้อ ๑๘ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ต้องมีระเบียบหรือข้อบังคับที่กําหนดให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ รวมถึงข้อมูลอื่นใดที่ได้รับเนื่องจากการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์กับตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายสัญญา สํานักหักบัญชีสัญญา ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ สํานักงานและธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการกํากับตรวจสอบฐานะทางการเงินและความเสี่ยงของสมาชิก
ข้อ ๑๙ เพื่อพิทักษ์ประโยชน์ของประชาชนและเพื่อคุ้มครองผู้ลงทุน ให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ สมาชิก การกระทําความผิดและการลงโทษสมาชิก รวมตลอดถึงข้อมูลอื่นใดที่ได้รับเนื่องจากการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นสาระสําคัญต่อการทําธุรกรรมกับสมาชิก
การเปิดเผยข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ต้องกระทําในลักษณะที่ทันต่อเหตุการณ์ มีข้อมูลเพียงพอ และประชาชนมีโอกาสได้รับข้อมูลอย่างเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ ประเภทของข้อมูล วิธีการและเงื่อนไขในการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว ให้เป็นไปตามที่สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์กําหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
หมวด ๖ การบริหารความต่อเนื่องในการดําเนินธุรกิจและความมั่นคงปลอดภัย
ของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๐ ในหมวดนี้
“ระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการชําระราคา ส่งมอบ และรับฝากหลักทรัพย์” หมายความว่า ระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบเครือข่ายที่สําคัญที่เกี่ยวข้องกับการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ (clearing and settlement) รวมถึงการรับฝากหลักทรัพย์ (depository) ซึ่งหากไม่สามารถดําเนินการได้อย่างต่อเนื่องอาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๑ หมวดนี้มีข้อกําหนดในการบริหารความต่อเนื่องในการดําเนินธุรกิจและความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) การบริหารความต่อเนื่องในการดําเนินธุรกิจ โดยมีรายละเอียดตามส่วนที่ 1
(2) การทบทวน ติดตามและตรวจสอบระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการชําระราคา ส่งมอบ และรับฝากหลักทรัพย์ โดยมีรายละเอียดตามส่วนที่ 2
(3) การรายงานการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการชําระราคา ส่งมอบ และรับฝากหลักทรัพย์ (material systems change report) โดยมีรายละเอียดตามส่วนที่ 3
(4) การบริหารจัดการเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัย
(incident management) โดยมีรายละเอียดตามส่วนที่ 4
(5) การกําหนดนโยบาย การติดตามและการวิเคราะห์ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีรายละเอียดตามส่วนที่ 5
ส่วน ๑ การบริหารความต่อเนื่องในการดําเนินธุรกิจ
ข้อ ๒๒ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ต้องดําเนินการให้มีความพร้อมในการให้บริการโดยอย่างน้อยต้องกําหนดในเรื่องดังต่อไปนี้เป็นลายลักษณ์อักษร
(1) นโยบายการบริหารความต่อเนื่องในการดําเนินธุรกิจ โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการหรือคณะทํางานที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการดังกล่าว เพื่อให้มั่นใจว่าหากมีเหตุการณ์ที่ไม่ปกติเกิดขึ้น การชําระราคา ส่งมอบ และรับฝากหลักทรัพย์ยังสามารถดําเนินการได้อย่างต่อเนื่อง หรือสามารถแก้ไขให้กลับมาดําเนินการต่อได้ภายในระยะเวลาที่เหมาะสม
(2) แผนการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องที่สอดคล้องกับนโยบายที่กําหนดขึ้นตาม (1)โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้จัดการหรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ข้อ ๒๓ แผนการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องตามข้อ 22(2) ต้องระบุรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) มาตรการรองรับเมื่อเกิดกรณีฉุกเฉินที่อาจมีผลกระทบต่อการให้บริการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ โดยต้องกําหนดขอบเขตของกรณีฉุกเฉินให้ครอบคลุมถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งขั้นตอนการดําเนินการ และผู้รับผิดชอบในการดําเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวในแต่ละกรณีให้ชัดเจน
(2) รายชื่อระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการชําระราคา ส่งมอบ และรับฝากหลักทรัพย์ (3) การประเมินความเสี่ยงและโอกาสที่อาจทําให้ระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการชําระราคา ส่งมอบ และรับฝากหลักทรัพย์ไม่สามารถดําเนินการต่อไปได้ รวมทั้งผลกระทบที่อาจมีต่อการดําเนินธุรกิจ (business impact analysis: BIA)
(4) ระยะเวลากู้คืนระบบงาน (recovery time objective)
(5) ข้อมูลล่าสุดที่จะกู้คืนได้ (recovery point objective)
(6) รายละเอียดของระบบงานสํารองและศูนย์สํารองที่สอดคล้องกับนโยบายการบริหารความต่อเนื่องในการดําเนินธุรกิจและแผนการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
ข้อ ๒๔ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีมาตรการควบคุมติดตามและสื่อสารกับสมาชิก เพื่อให้ปฏิบัติตามนโยบายการบริหารความต่อเนื่องในการดําเนินธุรกิจ และแผนการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อ ๒๕ เพื่อให้การกํากับดูแลการบริหารความต่อเนื่องในการดําเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ดําเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(1) ทดสอบแผนการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องร่วมกับสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้อง
(2) ประเมินผลการทดสอบแผนตาม (1) โดยผู้ที่มีความรู้ความสามารถและมีความเป็นอิสระจากผู้จัดทําหรือผู้บริหารแผนนั้น
(3) รายงานผลการทดสอบตาม (2) ต่อคณะกรรมการและสํานักงาน ภายใน 90 วันนับแต่วันที่ดําเนินการทดสอบเสร็จสิ้น
ข้อ ๒๖ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงของระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการชําระราคา ส่งมอบ และรับฝากหลักทรัพย์ที่ส่งผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ทบทวนและปรับปรุงแผนการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องโดยไม่ชักช้า
ส่วน ๒ การทบทวน ติดตามและตรวจสอบระบบคอมพิวเตอร์
ที่เกี่ยวกับการชําระราคา ส่งมอบ และ
รับฝากหลักทรัพย์
ข้อ ๒๗ เพื่อให้การกํากับดูแลเกี่ยวกับขั้นตอนหรือกระบวนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการชําระราคา ส่งมอบ และรับฝากหลักทรัพย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ทบทวน ติดตามและตรวจสอบขั้นตอนหรือกระบวนการปฏิบัติงานของระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการชําระราคา ส่งมอบ และรับฝากหลักทรัพย์ ตามแผนการตรวจสอบซึ่งจัดทําตามระดับความเสี่ยงของแต่ละองค์กร โดยผู้ที่มีความรู้ ความสามารถและมีความเป็นอิสระ เช่น ผู้ตรวจสอบภายในหรือภายนอก (internal or external auditor) เป็นต้น ทั้งนี้ ให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์จัดส่งรายงานผลการทบทวน ติดตามและตรวจสอบปีละ 1 ครั้ง พร้อมทั้งแผนการตรวจสอบซึ่งจัดทําตามระดับความเสี่ยงของแต่ละองค์กรต่อสํานักงาน ภายใน60 วันนับแต่วันที่ได้เสนอรายงานดังกล่าวต่อคณะกรรมการหรือคณะทํางานที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการดังกล่าว
(2) ทดสอบการเจาะระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการชําระราคา ส่งมอบ และรับฝากหลักทรัพย์ (penetration test) ให้ครบถ้วนทุกระบบงานทุก 3 ปี โดยเรียงลําดับความสําคัญตามผลการประเมินความเสี่ยง และรายงานผลการทดสอบดังกล่าวต่อสํานักงาน ภายในไตรมาสแรกของปีถัดจากปีที่มีการทดสอบแต่ละระบบ
ส่วน ๓ การรายงานการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับ
การชําระราคา ส่งมอบ และรับฝากหลักทรัพย์
(material systems change report)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๘ เพื่อให้การกํากับดูแลการประกอบธุรกิจโดยรวมของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ดําเนินการไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และทันต่อเหตุการณ์ ให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์รายงานการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่มีนัยสําคัญต่อระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการชําระราคา ส่งมอบ และรับฝากหลักทรัพย์ต่อสํานักงานภายในเดือนมกราคมของปีถัดไป
ส่วน ๔ การบริหารจัดการเหตุการณ์ที่อาจส่ง
ผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัย
(incident management)
ข้อ ๒๙ ในส่วนนี้
“เหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัย” หมายความว่า
(1) เหตุการณ์ที่ทําให้ระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการชําระราคา ส่งมอบ และ
รับฝากหลักทรัพย์ไม่สามารถดําเนินการได้ตามปกติ (system disruption and system degrade)
(2) เหตุการณ์ที่ทําให้ระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการชําระราคา ส่งมอบ และรับฝากหลักทรัพย์ไม่สามารถดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน สํานักงาน สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์กําหนด (system non-compliance)
(3) เหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการชําระราคา ส่งมอบและรับฝากหลักทรัพย์อันเกิดจากการบุกรุก (system intrusion)
ข้อ ๓๐ เมื่อมีเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยเกิดขึ้น ให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์รวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา พร้อมทั้งกําหนดแนวทางการแก้ไข และรายงานเหตุการณ์ดังกล่าวต่อผู้บริหาร รวมทั้งจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องไว้ในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบได้
ข้อ ๓๑ เพื่อให้เหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยได้รับการจัดการอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพภายในระยะเวลาที่เหมาะสม สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ต้องดําเนินการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) กําหนดและดําเนินการตามแผนรองรับในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยที่กําหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
(2) จัดให้มีบุคคลหรือหน่วยงานเพื่อทําหน้าที่รับแจ้งเหตุการณ์ดังกล่าว (point of contact) และรายงานต่อผู้บริหารหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี เพื่อดําเนินการต่อไป (escalation procedure)
ข้อ ๓๒ ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยซึ่งมีความร้ายแรง นอกจากต้องปฏิบัติตามข้อ 30 และข้อ 31 แล้ว ให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์รายงานเหตุการณ์ดังกล่าวต่อสํานักงาน ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้เพิ่มเติมด้วย
(1) รายงานโดยทางวาจาหรือทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ทันทีเมื่อทราบเหตุการณ์
(2) รายงานผลการตรวจสอบเหตุการณ์เป็นลายลักษณ์อักษร (investigation report) เมื่อเหตุการณ์นั้นได้รับการแก้ไขแล้วภายใน 30 วันนับแต่วันที่คณะกรรมการหรือคณะทํางานที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการดังกล่าวได้รับรายงาน แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 90 วันนับแต่วันที่เกิดเหตุการณ์นั้น
รายงานผลการตรวจสอบตามวรรคหนึ่ง (2) ต้องประกอบด้วยคําอธิบายรายละเอียดของเหตุการณ์ ผลกระทบต่อการดําเนินงานของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์และสมาชิก รวมทั้งสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา (root cause) ขั้นตอนการดําเนินการแก้ไขปัญหาและมาตรการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะเดียวกันนั้นอีก
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามความในวรรคหนึ่ง คําว่า “เหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยซึ่งมีความร้ายแรง” หมายความว่า
(1) เหตุการณ์ที่ส่งผลให้ระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการชําระราคา ส่งมอบ และรับฝากหลักทรัพย์ไม่สามารถดําเนินการได้ตามปกติในลักษณะที่ทําให้การให้บริการต้องหยุดชะงักลง
(2) เหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการชําระราคา ส่งมอบ และรับฝากหลักทรัพย์อันเกิดจากการบุกรุก ซึ่งอาจกระทบต่อความน่าเชื่อถือของแต่ละองค์กรอย่างร้ายแรง
ส่วน ๕ การกําหนดนโยบาย การติดตามและการวิเคราะห์
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
ข้อ ๓๓ เพื่อให้การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์มีประสิทธิภาพ สามารถรักษาไว้ซึ่งความลับ ความถูกต้องความน่าเชื่อถือของข้อมูล และความพร้อมใช้งาน ตลอดจนการติดตามวิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการชําระราคา ส่งมอบ และรับฝากหลักทรัพย์ได้อย่างเหมาะสม ให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ดําเนินการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) กําหนดนโยบายและมาตรการควบคุมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นไปตามมาตรฐานที่สํานักงานยอมรับได้ หรือมาตรฐานอื่นที่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวและเป็นที่ยอมรับได้ในอุตสาหกรรม ซึ่งนโยบายดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้จัดการหรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยต้องมีการทบทวนและปรับปรุงให้สอดคล้องและเหมาะสมกับความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน
(2) ติดตามและวิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการชําระราคา ส่งมอบ และรับฝากหลักทรัพย์โดยบันทึกและจัดเก็บหลักฐานการใช้งาน รวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดจากการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (log)
หมวด ๗ การใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอก
ข้อ ๓๔ การใดที่มิได้มีกฎหมายหรือกฎเกณฑ์กําหนดไว้เป็นการเฉพาะ ให้สํานักหักบัญชีและศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ต้องดําเนินการด้วยตนเอง หากการนั้นเป็นการกระทําด้วยความจําเป็นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประกอบธุรกิจ ให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์สามารถใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกได้โดยต้องมั่นใจว่าผู้ให้บริการภายนอกสามารถปฏิบัติตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และการใช้บริการนั้นไม่มีผลเสมือนเป็นการไม่ประกอบธุรกิจ
ในการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอก สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ต้องกําหนดอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) นโยบาย ขอบเขต หรือลักษณะงานที่จะใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกเป็นลายลักษณ์อักษรโดยต้องได้รับความเห็นชอบเป็นการทั่วไปหรือเป็นรายกรณีจากคณะกรรมการหรือคณะทํางานที่คณะกรรมการดังกล่าวมอบหมาย
(2) มาตรการบริหารจัดการความเสี่ยงในการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
(3) มาตรการตรวจสอบบริการของผู้ให้บริการภายนอกที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้การปฏิบัติงานของผู้ให้บริการภายนอกเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแต่ละองค์กร
ความในวรรคสองมิให้นํามาใช้บังคับกับกรณีที่สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์เป็นบริษัทที่ตลาดหลักทรัพย์ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น และใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกที่เป็นตลาดหลักทรัพย์ หรือบริษัทที่ตลาดหลักทรัพย์ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น
หมวด ๘ การจัดการเรื่องร้องเรียน
ข้อ ๓๕ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีระบบการจัดการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนหรือข้อพิพาทที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการชําระราคา ส่งมอบและรับฝากหลักทรัพย์ หรือเกิดขึ้นจากการใช้บริการของแต่ละองค์กรที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งอย่างน้อยต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีระเบียบปฏิบัติที่เป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับการจัดการข้อร้องเรียนหรือข้อพิพาท โดยการกําหนดระเบียบปฏิบัติดังกล่าวต้องคํานึงถึงการคุ้มครองผู้ร้องเรียนด้วย
(2) จัดให้มีหน่วยงานหรือบุคลากรที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับข้อร้องเรียนหรือข้อพิพาท
(3) จัดให้มีการติดตามตรวจสอบและแจ้งผลการพิจารณาข้อร้องเรียนหรือข้อพิพาทให้ผู้ร้องเรียนหรือคู่พิพาททราบ
(4) จัดทํารายงานสรุปข้อร้องเรียนหรือข้อพิพาทต่อสํานักงาน ทุก 6 เดือน ทั้งนี้ ในรายงานดังกล่าวต้องมีบทสรุปสาระสําคัญและผลการพิจารณาหรือการดําเนินการของแต่ละองค์กรด้วย
หมวด ๙ การให้ความเห็นชอบระเบียบหรือข้อบังคับ
ข้อ ๓๖ ระเบียบหรือข้อบังคับของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ให้มีผลใช้บังคับเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และในกรณีที่ระเบียบหรือข้อบังคับดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อการดําเนินธุรกิจหรือประโยชน์ได้เสียของสมาชิก ให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากบุคคลดังกล่าว และเสนอรายงานการรับฟังความคิดเห็นนั้นต่อคณะกรรมการกํากับตลาดทุนเพื่อประกอบการพิจารณาให้ความเห็นชอบ
การขอความเห็นชอบระเบียบหรือข้อบังคับตามวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับระเบียบหรือข้อบังคับดังต่อไปนี้
(1) ระเบียบหรือข้อบังคับที่เกี่ยวกับการบริหารงานภายในองค์กรของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์
(2) ระเบียบหรือข้อบังคับของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นบริษัทที่ตลาดหลักทรัพย์ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้ในข้อ 36/1
การรับฟังความคิดเห็นระเบียบหรือข้อบังคับตามวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับระเบียบหรือข้อบังคับตามวรรคสอง (1)
ข้อ 36/1ให้ระเบียบหรือข้อบังคับของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ตามข้อ 36 วรรคสอง (2) มีผลใช้บังคับได้โดยไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้โดยครบถ้วนดังต่อไปนี้
(1) เป็นการกําหนดหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงระเบียบหรือข้อบังคับของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้
(ก) การกําหนดหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงระเบียบหรือข้อบังคับเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 หรือประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติดังกล่าว
(ข) การกําหนดหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงระเบียบหรือข้อบังคับ โดยยังคงสาระสําคัญของระเบียบหรือข้อบังคับที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนแล้ว ในลักษณะที่เป็นการจัดหมวดหมู่หรือเนื้อหา หรือแก้ไขความขาดตกบกพร่องของระเบียบหรือข้อบังคับนั้น
(2) ให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์จัดส่งร่างระเบียบหรือข้อบังคับตาม (1) ต่อสํานักงาน พร้อมรายงานผลการรับฟังความคิดเห็นของร่างระเบียบหรือข้อบังคับ (ถ้ามี) เป็นการล่วงหน้าอย่างน้อย 10 วันทําการ ก่อนวันที่สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ประสงค์จะประกาศใช้ระเบียบหรือข้อบังคับดังกล่าว
ข้อ ๓๗ เมื่อสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์เสนอระเบียบหรือข้อบังคับ เพื่อขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนแล้ว คณะกรรมการกํากับตลาดทุนจะแจ้งผลการพิจารณาให้ทราบภายใน 45 วันนับแต่วันที่ได้รับระเบียบหรือข้อบังคับและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามข้อ 38
เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่งแล้ว หากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนไม่แจ้งผลการพิจารณาหรือไม่แจ้งให้มีการแก้ไขระเบียบหรือข้อบังคับดังกล่าวไปยังสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ให้ถือว่าระเบียบหรือข้อบังคับนั้นได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ข้อ ๓๘ ในการเสนอระเบียบหรือข้อบังคับเพื่อขอความเห็นชอบ ให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ยื่นเอกสารหลักฐานประกอบการขอความเห็นชอบดังต่อไปนี้
(1) หนังสือแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับหลักการ เหตุผล และความจําเป็นในการออกระเบียบหรือข้อบังคับดังกล่าว รวมทั้งประโยชน์และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นตลอดจนแนวทางในการบังคับใช้ระเบียบหรือข้อบังคับดังกล่าว
(2) รายงานการประชุมคณะกรรมการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาระเบียบหรือข้อบังคับดังกล่าว พร้อมทั้งเอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารณา เช่น ระเบียบหรือข้อบังคับของต่างประเทศในเรื่องทํานองเดียวกัน เป็นต้น และในกรณีที่คณะกรรมการมีมติให้ความเห็นชอบระเบียบหรือข้อบังคับดังกล่าวไม่เป็นเอกฉันท์ ให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ระบุจํานวนกรรมการที่ไม่เห็นด้วยพร้อมทั้งสรุปความเห็นของกรรมการที่ไม่เห็นด้วยดังกล่าว
(3) บันทึกความเห็นของคณะอนุกรรมการของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ที่ได้รับมอบหมายให้ทําหน้าที่พิจารณากลั่นกรองและเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับระเบียบหรือข้อบังคับ ในกรณีที่มีการเสนอระเบียบหรือข้อบังคับต่อคณะอนุกรรมการ
(4) รายงานการรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกและเอกสารประกอบ พร้อมทั้งความเห็นของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ในเรื่องดังกล่าว
ข้อ ๓๙ ในกรณีที่ข้อเท็จจริงและพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป คณะกรรมการกํากับตลาดทุนอาจสั่งให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ กําหนดระเบียบหรือข้อบังคับเพิ่มเติม ยกเลิก หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงระเบียบหรือข้อบังคับที่มีอยู่แล้ว ตลอดจนอาจสั่งให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ดําเนินการใด ๆ ตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนเห็นสมควร
ข้อ ๔๐ ในกรณีที่มีความจําเป็น สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์จะออกระเบียบหรือข้อบังคับเพื่อใช้บังคับเป็นการชั่วคราวได้โดยไม่ต้องดําเนินการตามข้อ 36 ก็ได้
ในกรณีที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนเห็นว่า สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ดําเนินการตามวรรคหนึ่งโดยไม่สุจริตหรือไม่มีเหตุอันสมควร คณะกรรมการกํากับตลาดทุนอาจสั่งให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ยกเลิกหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงระเบียบหรือข้อบังคับดังกล่าว ตลอดจนดําเนินการใด ๆ ตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนเห็นสมควร
หมวด ๑๐ การจัดทําและเปิดเผยงบการเงิน
ข้อ ๔๑ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ต้องจัดทําและส่งงบการเงินประจํางวดการบัญชีสําหรับรอบปีที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้วต่อสํานักงานจํานวน 1 ฉบับ พร้อมทั้งดําเนินการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีงบดุล งบกําไรขาดทุน และรายงานของผู้สอบบัญชีเพื่อให้ประชาชนตรวจดูได้ ณ ที่ทําการของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี
(2) เผยแพร่งบดุล งบกําไรขาดทุน และรายงานของผู้สอบบัญชีโดยลงประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันแห่งท้องถิ่นอย่างน้อย 1 ฉบับหรือในเว็บไซต์ของแต่ละองค์กร ในการนี้ ให้ส่งเอกสารหลักฐานที่แสดงได้ว่ามีการลงประกาศดังกล่าวแล้วต่อสํานักงานด้วย
การดําเนินการตามวรรคหนึ่งต้องกระทําให้แล้วเสร็จภายใน 21 วันนับแต่วันที่งบการเงินได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นแต่ไม่เกิน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบปีบัญชี
ข้อ ๔๒ ในการจัดทํางบการเงิน สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีผู้สอบบัญชีเพื่อตรวจสอบบัญชีและแสดงความเห็นต่องบการเงิน โดยผู้สอบบัญชีดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้
(1) ไม่เป็นผู้ถือหุ้นหรือผู้รับประโยชน์จากหุ้นที่ออกโดยสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ กรรมการ พนักงาน หรือลูกจ้างของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์นั้น
(2) ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้สอบบัญชีและลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินของบริษัทหลักทรัพย์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี และไม่อยู่ระหว่างถูกสํานักงาน สั่งพักการทําหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชี
สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ต้องดําเนินการให้มีข้อกําหนดในสัญญาที่ทํากับผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับการให้ความร่วมมือกับสํานักงาน ในการชี้แจงหรือนําส่งข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานสอบบัญชี รวมทั้งในเรื่องอื่นใดตามที่สํานักงานร้องขอ
ข้อ ๔๓ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ต้องจัดทําและเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี
ในกรณีที่การจัดทําหรือการเปิดเผยข้อมูลในเรื่องใดไม่มีมาตรฐานการบัญชีไทยกําหนดไว้ ให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีต่อไปนี้
(1) มาตรฐานการบัญชีของ International Accounting Standards Board
(2) ในกรณีที่ไม่มีมาตรฐานการบัญชีตาม (1) ให้ใช้มาตรฐานการบัญชีของ American Institution of Certified Public Accountants หรือ Financial Accounting Standards Board
ในกรณีที่ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีในวรรคสอง (1) หรือ (2) ให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ระบุแหล่งที่มาของมาตรฐานการบัญชีดังกล่าวด้วย
หมวด ๑๑ การเก็บรักษาข้อมูลและเอกสาร
ข้อ ๔๔ ให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์เก็บรักษาข้อมูลและเอกสารให้เป็นไปตามกําหนดเวลาดังต่อไปนี้
(1) ข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจตามที่ระบุไว้ในข้อ 17 ให้เก็บรักษาไม่น้อยกว่า 10 ปีนับแต่วันที่ได้มาหรือวันที่มีการดําเนินการเกี่ยวกับข้อมูลนั้น
(2) แผนการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องตามข้อ 22(2) ให้เก็บรักษาไม่น้อยกว่า 3 ปีนับแต่วันที่มีการจัดทําแผนดังกล่าว
(3) แผนการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องที่แก้ไขตามข้อ 26 ให้เก็บรักษาไม่น้อยกว่า 3 ปีนับแต่วันที่มีการแก้ไขแผนดังกล่าว
(4) หลักฐานการใช้งานรวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดจากการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศตามข้อ 33(2) ให้เก็บรักษาไม่น้อยกว่าระยะเวลาที่กฎหมายว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กําหนด
(5) หลักฐานการตรวจสอบผู้ให้บริการภายนอกตามข้อ 34 วรรคสอง(3) และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอก ให้เก็บรักษาไม่น้อยกว่า 3 ปีนับแต่วันที่มีการดําเนินการนั้น
(6) เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อร้องเรียนหรือข้อพิพาท และผลการพิจารณาตามข้อ 35(4) ให้เก็บรักษาไม่น้อยกว่า 3 ปีนับแต่วันที่มีข้อยุติเกี่ยวกับข้อร้องเรียนหรือข้อพิพาทนั้น
ในการปฏิบัติตามข้อกําหนดในวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการกํากับตลาดทุนมีอํานาจสั่งการเป็นประการอื่นได้ตามที่เห็นสมควร
การจัดเก็บข้อมูล เอกสารและหลักฐานตามข้อกําหนดในวรรคหนึ่ง ให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์จัดเก็บไว้ในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดู หรือตรวจสอบได้
หมวด ๑๒ ข้อกําหนดเพิ่มเติมตามลักษณะเฉพาะของการประกอบธุรกิจ
ส่วน ๑ ข้อกําหนดเพิ่มเติมสําหรับการประกอบการเป็น
สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์
ข้อ ๔๕ ในการให้บริการระบบการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ต้องมีระบบที่สามารถให้ความมั่นใจว่าจะมีการปฏิบัติการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ตามสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์ โดยสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ต้องเข้าผูกพันหรือแทนที่เป็นคู่สัญญากับผู้ซื้อและผู้ขายหลักทรัพย์ในทันทีที่ตลาดหลักทรัพย์แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายให้แก่สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ภายหลังจากที่เกิดรายการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ และสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะยกเลิก แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงรายการมิได้
ข้อ ๔๖ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ต้องกําหนดระเบียบและขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ที่ชัดเจน เพื่อให้การชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอย่างน้อยต้องมีการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ประมวลผลการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อแจ้งยอดสุทธิของการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่สมาชิก
(2) กําหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ รวมทั้งกําหนดจุดเวลาเพื่อการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ที่ให้ถือว่าเป็นที่สุด (finality of settlement) ในข้อบังคับอย่างชัดเจน
(3) กําหนดขั้นตอนและวิธีดําเนินการเมื่อสมาชิกมีการผิดนัดชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ให้ชัดเจน เพื่อให้สามารถจัดการเมื่อเกิดเหตุผิดนัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันเวลา โดยมีการเปิดเผยขั้นตอนและวิธีการดําเนินการดังกล่าวเป็นการทั่วไป รวมทั้งทดสอบร่วมกับสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้อง และทบทวนขั้นตอนและวิธีดําเนินการกรณีสมาชิกผิดนัด (default procedure) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(4) ในกรณีที่มีการชําระราคาผ่านธนาคารพาณิชย์ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ต้องกําหนดหลักเกณฑ์ในการเลือกใช้ธนาคารพาณิชย์ที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ โดยต้องมีมาตรการบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
(5) มีระบบการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์แบบ delivery versus payment (DVP)
ข้อ ๔๗ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ต้องมีหลักเกณฑ์ในการรับสมาชิกที่โปร่งใสและเป็นธรรม โดยการกําหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวต้องคํานึงถึงความเหมาะสม ฐานะทางการเงิน และระบบการบริหารความเสี่ยงของผู้สมัครเป็นสมาชิกเป็นสําคัญ
ข้อ ๔๘ เพื่อให้การดําเนินงานของสมาชิกเป็นไปตามระเบียบหรือข้อบังคับ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีระเบียบหรือข้อบังคับที่ใช้บังคับกับสมาชิก
(2) จัดให้มีมาตรการในการกํากับดูแลให้สมาชิกปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อบังคับ
(3) จัดให้มีมาตรการดําเนินการกับสมาชิกที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อบังคับ
(4) ประเมินผลการปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อบังคับของสมาชิกในช่วงเวลาที่เหมาะสม
(5) จัดทํารายงานการประเมินผลและการดําเนินการต่อสมาชิกที่ฝ่าฝืนระเบียบหรือข้อบังคับ แล้วจัดส่งให้สํานักงานเพื่อทราบ
ข้อ ๔๙ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ต้องมีระบบกํากับตรวจสอบฐานะทางการเงินและความเสี่ยงโดยรวมของสมาชิกโดยอย่างน้อยต้องมีการประเมินและติดตามฐานะทางการเงิน ความมั่นคงทางการเงิน และระบบการบริหารความเสี่ยงของสมาชิกอย่างสม่ําเสมอ และมีมาตรการดําเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าฐานะทางการเงินและระบบการบริหารความเสี่ยงของสมาชิกเป็นไปตามระเบียบหรือข้อบังคับของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์
ตอน ๕๐ ในกรณีที่สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ลงทุนหรือฝากทรัพย์สินไว้กับธนาคารพาณิชย์ทั้งในและต่างประเทศ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ต้องมีการประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้บริการจากธนาคารพาณิชย์ทั้งในและต่างประเทศดังกล่าว เพื่อให้มั่นใจว่าธนาคารพาณิชย์ทั้งในและต่างประเทศ มีกระบวนการเก็บรักษาทรัพย์สินที่มีประสิทธิภาพ มีความสามารถชําระหนี้เมื่อทวงถาม และอยู่ภายใต้การกํากับดูแลขององค์กรที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ การลงทุนและฝากทรัพย์สินดังกล่าวต้องไม่กระจุกตัวในธนาคารพาณิชย์ทั้งในและต่างประเทศแห่งใดแห่งหนึ่งมากเกินควร
ข้อ ๕๑ ในการดูแลรักษาทรัพย์สินที่ได้รับมาหรือมีไว้เพื่อสมาชิก สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดทําและเก็บรักษาบัญชีทรัพย์สินที่ได้รับมาหรือมีไว้เพื่อสมาชิกแยกจากของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ โดยให้ดําเนินการแยกเป็นบัญชีของสมาชิกแต่ละราย รวมทั้งจัดทําและเก็บรักษาบัญชีทรัพย์สินของลูกค้าแยกจากบัญชีทรัพย์สินของสมาชิกให้ถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน
(2) จัดเก็บทรัพย์สินที่ได้รับมาหรือมีไว้เพื่อสมาชิกให้มีความปลอดภัย มั่นคง และมีรายการและจํานวนตรงตามที่ปรากฏในบัญชีทรัพย์สินตาม (1)
(3) จัดเก็บทรัพย์สินที่ได้รับมาหรือมีไว้เพื่อสมาชิกแยกจากทรัพย์สินของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้รับมาหรือมีไว้เพื่อสมาชิกโดยปราศจากเหตุสงสัย
(4) รายงานการดูแลรักษาทรัพย์สินดังกล่าวให้สมาชิกทราบภายในระยะเวลาที่เหมาะสม
ให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์กําหนดกฎเกณฑ์สําหรับการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๕๒ ในการดูแลรักษาทรัพย์สินที่ได้รับมาหรือมีไว้เพื่อสมาชิก สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์จะใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกมิได้
ในกรณีที่สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ได้ปฏิบัติตามวิธีการที่กําหนดดังต่อไปนี้ มิให้ถือว่าเป็นการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกและให้ถือว่าเป็นการแยกทรัพย์สินตามข้อ 51(3)
(1) ในกรณีที่เป็นทรัพย์สินประเภทเงิน ให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) จัดเก็บโดยการฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือลงทุนตามกรอบหรือนโยบายการลงทุนที่สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์กําหนดขึ้น โดยในการกําหนดกรอบหรือนโยบายการลงทุนดังกล่าวต้องคํานึงถึงสภาพคล่อง ความเสี่ยงในการลงทุน และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อเสถียรภาพของระบบการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์
(ข) ในกรณีที่เป็นการลงทุน ให้รายงานกรอบหรือนโยบายการลงทุนที่กําหนดตาม (ก) รวมทั้งในกรณีที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมต่อสํานักงานโดยไม่ชักช้า พร้อมทั้งต้องเปิดเผยให้สมาชิกทราบด้วย
(ค) ระบุวัตถุประสงค์การจัดเก็บอย่างชัดเจน พร้อมทั้งแสดงว่าการฝากหรือลงทุนดังกล่าวเป็นการดําเนินการโดยสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามมาตรา 223/3
(2) ในกรณีที่เป็นทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์ ให้จัดเก็บโดยฝากไว้ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือธนาคารแห่งประเทศไทย โดยระบุวัตถุประสงค์การจัดเก็บอย่างชัดเจน พร้อมทั้งแสดงว่าการฝากหลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นการดําเนินการโดยสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามมาตรา 223/3
(3) ในกรณีที่เป็นทรัพย์สินอื่น ให้เก็บโดยมีเอกสารหลักฐานที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินของสมาชิก หรือลูกค้าของสมาชิกโดยปราศจากเหตุสงสัย
ข้อ ๕๓ ในการดําเนินการตามข้อ 51 และข้อ 52 ให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ตรวจสอบและดูแลให้พนักงานปฏิบัติตามประกาศและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องซึ่งสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์กําหนดขึ้นโดยเคร่งครัด ทั้งนี้ หากปรากฏต่อสํานักงานว่าสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์แห่งใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศหรือกฎเกณฑ์ที่สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์กําหนดขึ้น หรือดําเนินการที่ไม่เหมาะสมในการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ สํานักงานอาจสั่งให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์แห่งนั้นดําเนินการให้เป็นไปตามประกาศและกฎเกณฑ์ดังกล่าว หรือดําเนินการใด ๆ ตามที่เห็นสมควรได้
ส่วน ๒ ข้อกําหนดเพิ่มเติมสําหรับการประกอบการเป็น
ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์
ข้อ ๕๔ เพื่อเป็นการส่งเสริมและรักษาความน่าเชื่อถือ ความโปร่งใสและความเสมอภาคในการให้บริการเป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ระเบียบหรือข้อบังคับของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ในเรื่องดังต่อไปนี้ต้องไม่มีข้อกําหนดที่เป็นการจํากัด ขัดขวางหรือลิดรอนสิทธิของสมาชิกหรือจํากัดการให้บริการของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
(1) หลักทรัพย์ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์รับฝาก หรือบุคคลที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์อนุญาตให้เป็นสมาชิก
(2) การให้บริการฝาก ถอน และโอนหลักทรัพย์ หรือบริการอื่นใดที่เกี่ยวกับการให้บริการของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์
(3) อัตราค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย และค่าปรับที่เกี่ยวกับการให้บริการของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์
(4) การดําเนินการกับสมาชิก ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อบังคับของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์
ข้อ ๕๕ ในการให้บริการเป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีระบบงานดังต่อไปนี้อย่างมีประสิทธิภาพ
(1) ระบบงานด้านการรับฝาก ถอน และโอนหลักทรัพย์ และระบบงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดําเนินการดังกล่าวมีความถูกต้องครบถ้วน ตรงต่อความเป็นจริงและเป็นปัจจุบัน รวมทั้ง
สามารถนําไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพภายในระยะเวลาที่เหมาะสม
(2) ระบบการจัดการ รวบรวม ประมวลผล เก็บรักษา และเรียกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรับฝาก ถอน และโอนหลักทรัพย์ และข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวกับการให้บริการในงานศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ระบบสํารองข้อมูลไว้ใช้ทดแทนในกรณีที่ไม่สามารถนําข้อมูลนั้นมาใช้ได้
(3) ระบบการรายงานข้อมูลหลักทรัพย์ เพื่อให้สมาชิกสามารถใช้ตรวจสอบข้อมูลหลักทรัพย์คงเหลือประจําวันในบัญชีฝากหลักทรัพย์และความถูกต้องในการทํารายการของสมาชิก
(4) ระบบตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าบุคคลที่สั่งให้ดําเนินการเกี่ยวกับหลักทรัพย์ในบัญชีของสมาชิกเป็นสมาชิกหรือบุคคลที่ได้รับมอบอํานาจจากสมาชิก
ข้อ ๕๖ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีสัญญากับสมาชิกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรโดยต้องกําหนดขอบเขตและเงื่อนไขในการให้บริการรับฝากหลักทรัพย์อย่างชัดเจน
ข้อ ๕๗ การโอนหลักทรัพย์จากบัญชีสมาชิกรายหนึ่งไปยังบัญชีของสมาชิกอีกรายหนึ่ง หรือภายในบัญชีสมาชิกรายเดียวกัน โดยศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ที่ประกอบการโดยตลาดหลักทรัพย์ตามมาตรา 224 จะกระทําได้ต่อเมื่อศูนย์รับฝากหลักทรัพย์นั้นได้รับคําร้องขอจากสมาชิก หรือเมื่อสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ได้แจ้งรายการการส่งมอบหลักทรัพย์ระหว่างสมาชิกที่ได้ซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ในแต่ละสิ้นวัน ทั้งนี้ ให้ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ดําเนินการโอนหลักทรัพย์ให้เป็นไปตามระเบียบหรือข้อบังคับที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์กําหนด และเมื่อมีการบันทึกบัญชีการโอนหลักทรัพย์ตามระเบียบหรือข้อบังคับดังกล่าวแล้ว ให้การโอนหลักทรัพย์ดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
ในกรณีที่เป็นการโอนหลักทรัพย์ระหว่างสมาชิกที่ได้ซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ดําเนินการโอนหลักทรัพย์เมื่อได้รับแจ้งยืนยันการชําระราคาหลักทรัพย์จากสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ และเมื่อศูนย์รับฝากหลักทรัพย์บันทึกบัญชีการโอนหลักทรัพย์แล้ว ให้ถือว่าการโอนหลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นที่สุด (finality of settlement) โดยศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะยกเลิก แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงรายการมิได้
ข้อ ๕๘ ในกรณีที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ลงทุนหรือฝากทรัพย์สินไว้กับธนาคารพาณิชย์ทั้งในและต่างประเทศ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ต้องมีการประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้บริการจากธนาคารพาณิชย์ทั้งในและต่างประเทศดังกล่าว เพื่อให้มั่นใจว่าธนาคารพาณิชย์ทั้งในและต่างประเทศมีกระบวนการเก็บรักษาทรัพย์สินที่มีประสิทธิภาพ มีความสามารถชําระหนี้เมื่อทวงถาม และอยู่ภายใต้การกํากับดูแลขององค์กรที่น่าเชื่อถือ และ ทั้งนี้ การลงทุนและฝากทรัพย์สินดังกล่าวต้องไม่กระจุกตัวในธนาคารพาณิชย์ทั้งในและต่างประเทศแห่งใดแห่งหนึ่งมากเกินควร
ข้อ ๕๘ ในกรณีที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ลงทุนหรือฝากทรัพย์สินไว้กับธนาคารพาณิชย์ทั้งในและต่างประเทศ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ต้องมีการประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้บริการจากธนาคารพาณิชย์ทั้งในและต่างประเทศดังกล่าว เพื่อให้มั่นใจว่าธนาคารพาณิชย์ทั้งในและต่างประเทศมีกระบวนการเก็บรักษาทรัพย์สินที่มีประสิทธิภาพ มีความสามารถชําระหนี้เมื่อทวงถาม และอยู่ภายใต้การกํากับดูแลขององค์กรที่น่าเชื่อถือ และ ทั้งนี้ การลงทุนและฝากทรัพย์สินดังกล่าวต้องไม่กระจุกตัวในธนาคารพาณิชย์ทั้งในและต่างประเทศแห่งใดแห่งหนึ่งมากเกินควร
หมวด ๑๓ บทเฉพาะกาล
ข้อ ๕๙ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออก หรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทด. 94/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีและศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 97/2552 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินที่สํานักหักบัญชีได้รับมาหรือมีไว้เพื่อสมาชิก ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๖๐ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 94/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีและศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 97/2552 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินที่สํานักหักบัญชีได้รับมาหรือมีไว้เพื่อสมาชิก ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 584 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 75/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบการเป็นสำนักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 75/2563
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบการ
เป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และ
ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 223 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 36 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 32/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 36 ระเบียบหรือข้อบังคับของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ให้มีผลใช้บังคับเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และในกรณีที่ระเบียบหรือข้อบังคับดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อการดําเนินธุรกิจหรือประโยชน์ได้เสียของสมาชิก ให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากบุคคลดังกล่าว และเสนอรายงานการรับฟังความคิดเห็นนั้นต่อคณะกรรมการกํากับตลาดทุนเพื่อประกอบการพิจารณาให้ความเห็นชอบ
การขอความเห็นชอบระเบียบหรือข้อบังคับตามวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับระเบียบหรือข้อบังคับดังต่อไปนี้
(1) ระเบียบหรือข้อบังคับที่เกี่ยวกับการบริหารงานภายในองค์กรของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์
(2) ระเบียบหรือข้อบังคับของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นบริษัทที่ตลาดหลักทรัพย์ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้ในข้อ 36/1
การรับฟังความคิดเห็นระเบียบหรือข้อบังคับตามวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับระเบียบหรือข้อบังคับตามวรรคสอง (1)”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 36/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 32/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559
“ข้อ 36/1 ให้ระเบียบหรือข้อบังคับของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ตามข้อ 36 วรรคสอง (2) มีผลใช้บังคับได้โดยไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้โดยครบถ้วนดังต่อไปนี้
(1) เป็นการกําหนดหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงระเบียบหรือข้อบังคับของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้
(ก) การกําหนดหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงระเบียบหรือข้อบังคับเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 หรือประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติดังกล่าว
(ข) การกําหนดหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงระเบียบหรือข้อบังคับ โดยยังคงสาระสําคัญของระเบียบหรือข้อบังคับที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนแล้ว ในลักษณะที่เป็นการจัดหมวดหมู่หรือเนื้อหา หรือแก้ไขความขาดตกบกพร่องของระเบียบหรือข้อบังคับนั้น
(2) ให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์จัดส่งร่างระเบียบหรือข้อบังคับตาม (1) ต่อสํานักงาน พร้อมรายงานผลการรับฟังความคิดเห็นของร่างระเบียบหรือข้อบังคับ (ถ้ามี) เป็นการล่วงหน้าอย่างน้อย 10 วันทําการ ก่อนวันที่สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ประสงค์จะประกาศใช้ระเบียบหรือข้อบังคับดังกล่าว”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2563
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 585 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2558 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 14/2558
เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดย
บริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขาย
ในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 67 มาตรา 69 และมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 99/2552 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 18/2556 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556
(3) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2556 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556
ข้อ ๓ ในประกาศนี้ และในแบบคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ที่กําหนดตามประกาศนี้
“หลักทรัพย์” หมายความว่า หลักทรัพย์ประเภทดังต่อไปนี้ ไม่ว่าจะเป็นการออกด้วยวัตถุประสงค์ใด
(1) หุ้น
(2) ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
(3) หลักทรัพย์อื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
“บริษัทต่างประเทศ” หมายความว่า บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ
“บริษัทอาเซียน” หมายความว่า บริษัทต่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายประเทศกลุ่มอาเซียน
“กลุ่มอาเซียน” หมายความว่า ประเทศสมาชิกอาเซียนที่หน่วยงานกํากับดูแลตลาดทุนของประเทศนั้น ๆ ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจกับสํานักงานเกี่ยวกับแนวทางการพิจารณาให้บริษัทออกและเสนอขายหลักทรัพย์ในประเทศสมาชิกอาเซียนตั้งแต่สองประเทศพร้อมกันหรือในระยะเวลาใกล้เคียงกัน
“บริษัทซีแอลเอ็มวี” หมายความว่า บริษัทต่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของ ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ หรือสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
“แบบแสดงรายการข้อมูล” หมายความว่า แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ
“ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
คําว่า “บริษัทจดทะเบียน” “บริษัทย่อย” “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” “ผู้บริหาร” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” “ผู้มีอํานาจควบคุม” และ “งบการเงินรวม” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์
อื่นๆ ๑ ภาค 1
บททั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
หมวด ๑ ขอบเขตการใช้ประกาศ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัทต่างประเทศที่เป็นไปตามเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งดังนี้
(ก) มีตลาดรองสําหรับซื้อขายหุ้นเป็นตลาดต่างประเทศอยู่แล้วในวันที่ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในประเทศไทย
(ข) จะมีตลาดรองสําหรับซื้อขายหุ้นเป็นตลาดต่างประเทศเพื่อรองรับหุ้นที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนเป็นการทั่วไปครั้งแรก (initial public offering - IPO) ในหลายประเทศ โดยการยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ตามประกาศนี้เป็นส่วนประกอบหนึ่งของหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายในครั้งแรกดังกล่าว
การเสนอขายหุ้นตามวรรคหนึ่งต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อการจดทะเบียนหุ้นที่ออกใหม่นั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัทอาเซียนซึ่งมีหรือจะมีตลาดรองสําหรับการซื้อขายหุ้นเป็นตลาดหลักทรัพย์ของประเทศกลุ่มอาเซียน โดยหากเป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนเป็นการทั่วไปครั้งแรกจะต้องเสนอขายพร้อมกันหรือใระยะเวลาใกล้เคียงกับการเสนอขายในประเทศกลุ่มอาเซียนด้วย
(2) เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทอื่นนอกจากหุ้นของบริษัทต่างประเทศ โดยบริษัทต่างประเทศนั้นเคยได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ไม่ว่าตามประกาศใด
(3) เป็นการเสนอขายหุ้นโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทต่างประเทศเพื่อให้มีการนําหุ้นของบริษัทต่างประเทศจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(4) เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์โดยผู้ถือหลักทรัพย์ ซึ่งหลักทรัพย์ที่เสนอขายนั้นเป็นหลักทรัพย์ตาม (2)
ข้อ ๕ การเสนอขายหลักทรัพย์ตามข้อ 4 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัทต่างประเทศ ซึ่งหุ้นนั้นมีตลาดหลักสําหรับการซื้อขายหุ้นเป็นตลาดต่างประเทศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการอนุญาตในหมวด 2 ของภาค 2 และการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามภาค 4
(2) การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัทต่างประเทศ ซึ่งหุ้นนั้นมีตลาดหลักสําหรับการซื้อขายหุ้นเป็นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการอนุญาตในหมวด 3 ของภาค 2 และการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามภาค 4
(3) การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทอื่นนอกจาก (1) และ (2) โดย
บริษัทต่างประเทศที่เคยได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ไม่ว่าตามประกาศใด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการอนุญาตในภาค 3 และการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามภาค 4
(4) การเสนอขายหลักทรัพย์โดยผู้ถือหลักทรัพย์ของบริษัทต่างประเทศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามภาค 4
ข้อ ๖ ตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศดังต่อไปนี้ ที่ตั้งอยู่ในประเทศที่มีชื่ออยู่ในรายชื่อประเทศที่สํานักงานยอมรับ ให้ถือว่าเป็นตลาดหลักสําหรับการซื้อขายหุ้นของบริษัทต่างประเทศที่ยื่นคําขออนุญาตตามประกาศนี้ ทั้งนี้ ไม่รวมกรณีที่การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในประเทศไทยจะมีลักษณะตามข้อ 7
(1) ตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศซึ่งหุ้นของบริษัทต่างประเทศนั้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายอยู่ในตลาดดังกล่าวอยู่แล้วในวันที่บริษัทต่างประเทศยื่นคําขออนุญาต
(2) ตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศที่บริษัทต่างประเทศนั้นแสดงเจตนาผูกพันว่าจะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าว หรือของหน่วยงานกํากับดูแลในประเทศดังกล่าวเป็นหลัก (home regulator)
ข้อ ๗ ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นตลาดหลักสําหรับการซื้อขายหุ้นของบริษัทต่างประเทศ
(1) กรณีที่บริษัทต่างประเทศมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศแล้ว และจะเสนอขายหุ้นในประเทศไทยเป็นจํานวนมากกว่าร้อยละหกสิบของจํานวนหุ้นที่เรียกชําระแล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น ทั้งนี้ ในการคํานวณสัดส่วนดังกล่าว สํานักงานอาจไม่นับรวมจํานวนหุ้นที่ถือโดยผู้ร่วมลงทุนระยะยาว (strategic investors) ได้
(2) กรณีที่บริษัทต่างประเทศเสนอขายหุ้นในประเทศไทยเป็นสัดส่วนอย่างมีนัยสําคัญเมื่อเทียบกับการเสนอขายในประเทศอื่น
ข้อ ๘ การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในประเทศไทยตามประกาศนี้จะกระทําได้ต่อเมื่อมูลค่าของหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตยังอยู่ในวงเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการควบคุมการทําธุรกรรมในตลาดทุนที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศ
หมวด ๒ ภาษาที่ใช้ในการยื่นข้อมูลหรือเอกสาร
และงบการเงิน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๙ การยื่นข้อมูลหรือเอกสารต่อสํานักงานตามประกาศนี้ ให้เป็นตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานเนื่องจากมีเหตุจําเป็นและสมควร
(1) ผู้มีหน้าที่ตามประกาศนี้อาจยื่นข้อมูลหรือเอกสารที่จัดทําเป็นภาษาลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) ภาษาไทย
(ข) ภาษาอังกฤษ
(ค) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
(2) ในกรณีที่ข้อมูลหรือเอกสารที่ยื่นต่อสํานักงานแปลมาจากข้อมูลหรือเอกสารภาษาอื่นนอกจากภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ให้ผู้มีหน้าที่ตามประกาศนี้ดําเนินการดังต่อไปนี้ด้วย
(ก) ดําเนินการให้ผู้แปลรับรองความถูกต้องว่า สาระของการแปลถูกต้องตรงตามสาระของข้อมูลหรือเอกสารที่เป็นต้นฉบับ
(ข) ผู้มีหน้าที่ตามประกาศนี้ต้องรับรองว่า สาระของข้อมูลหรือเอกสารที่แปลนั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่จริงและมิได้มีการปกปิดข้อเท็จจริงที่พึงเปิดเผย
ข้อมูลหรือเอกสารที่ยื่นต่อสํานักงานตามประกาศนี้ หากได้จัดทําเป็นภาษาใดในครั้งแรก ให้จัดทําโดยใช้ภาษานั้นต่อไป ไม่ว่าจะมีการจัดทําด้วยภาษาอื่นด้วยหรือไม่ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานเนื่องจากมีเหตุจําเป็นและสมควร
หมวด ๓ อํานาจของสํานักงาน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ตามคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปตามภาค 2 หรือตามหมวด 2 ของภาค 3 ได้
(1) ผู้ขออนุญาตหรือการเสนอขายหลักทรัพย์มีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการเสนอขายหลักทรัพย์นั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือประกาศนี้
(2) การเสนอขายหลักทรัพย์อาจขัดต่อนโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐ
(3) การเสนอขายหลักทรัพย์อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของตลาดทุนไทยโดยรวม
(4) การเสนอขายหลักทรัพย์อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุนโดยรวม หรืออาจทําให้ผู้ลงทุนโดยรวมไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องหรือเพียงพอประกอบการตัดสินใจลงทุน
ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานภายหลังการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปตามภาค 2 หรือตามหมวด 2 ของภาค 3 ซึ่งหากข้อเท็จจริงดังกล่าวปรากฏต่อสํานักงานก่อนการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์นั้นอาจทําให้การพิจารณาของสํานักงานเปลี่ยนแปลงไป ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้
(1) สั่งให้ผู้ได้รับอนุญาต กรรมการ หรือผู้บริหารชี้แจง หรือเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กําหนด และให้บริษัทต่างประเทศระงับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตไว้ก่อนจนกว่าจะได้ชี้แจง หรือแก้ไขให้ถูกต้อง
(2) สั่งให้ผู้ได้รับอนุญาตหยุดการเสนอขายหลักทรัพย์ในส่วนที่ยังมิได้เสนอขายหรือยังไม่มีผู้จองซื้อ และให้การอนุญาตเป็นอันสิ้นสุดลงโดยไม่มีผลกระทบต่อการเสนอขายหลักทรัพย์ในส่วนที่ได้เสนอขายหรือมีผู้จองซื้อแล้ว
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้พิจารณาคําขออนุญาต หรือไม่นําเงื่อนไขตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับการเสนอขายหลักทรัพย์ตามภาค 2 หรือตามหมวด 2 ของภาค 3 ได้
(1) มีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันให้ไม่มีนัยสําคัญสําหรับการพิจารณาอนุญาตในกรณีนั้น และประโยชน์ที่จะได้ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนในการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว
(2) ผู้ขออนุญาตมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน ทั้งนี้ ไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ
(3) ผู้ขออนุญาตมีมาตรการอื่นที่เพียงพอ และสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
การผ่อนผันตามวรรคหนึ่งให้คํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนและมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติด้วยก็ได้
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตตามภาค 2 หรือภาค 3 ในส่วนที่เกี่ยวกับการโฆษณา ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคําสั่งของสํานักงานที่จะสั่งให้ดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังนี้
(1) หยุดการโฆษณา หรือยุติการส่งเสริมการขาย ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
(2) แก้ไขข้อมูลหรือข้อความในการโฆษณาหรือการส่งเสริมการขาย
(3) ชี้แจงเพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนถูกต้อง ตรงต่อความเป็นจริง หรือไม่ทําให้สําคัญผิด
(4) กระทําการหรือไม่กระทําการใดภายในระยะเวลาที่กําหนดเพื่อให้ผู้ลงทุนตัดสินใจหรือทบทวนการตัดสินใจ บนพื้นฐานข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง ตรงต่อความเป็นจริง และไม่ทําให้สําคัญผิด
ข้อ ๑๔ ให้สํานักงานมีอํานาจผ่อนผันการเปิดเผยรายละเอียดของข้อมูลที่กําหนดเพิ่มเติมตามประกาศนี้ หากผู้เสนอขายหลักทรัพย์แสดงได้ว่าข้อมูลดังกล่าวมิใช่ข้อมูลที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ และมีเหตุอันควรที่จะไม่แสดงรายละเอียดของข้อมูลดังกล่าวไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลหรือได้ดําเนินการประการอื่นเพื่อทดแทนอย่างเพียงพอแล้ว
ข้อ ๑๕ ในการพิจารณาข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามภาค 4 หากสํานักงานเห็นว่ามีเหตุจําเป็นและสมควรเพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลที่มีนัยสําคัญเพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ดําเนินการดังต่อไปนี้ ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด
(1) เปิดเผยข้อมูลที่อาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุนเพิ่มเติม
(2) ชี้แจงหรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูล
(3) จัดให้มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เป็นอิสระในการทําความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้องครบถ้วน หรือความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ปรากฏในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
เมื่อสํานักงานดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้สํานักงานหยุดนับระยะเวลาการมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนไว้ชั่วคราวตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 75 และหากผู้เสนอขายหลักทรัพย์ไม่ดําเนินการตามที่สํานักงานกําหนดตามวรรคหนึ่งจนล่วงเลยระยะเวลาเกินสมควร ให้ถือว่าผู้เสนอขายหลักทรัพย์ไม่ประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานอีก โดยให้สํานักงานคืนแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนนั้นต่อผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต่อไป
อื่นๆ ๒ ภาค 2
การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
หมวด ๑ การยื่นคําขออนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๖ ให้บริษัทต่างประเทศที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต ทั้งนี้ ตามแบบและวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
การยื่นคําขออนุญาตตามวรรคหนึ่ง ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําคําขออนุญาตด้วย
ข้อ ๑๗ ให้ผู้ขออนุญาตชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตต่อสํานักงานในวันยื่นคําขออนุญาต ทั้งนี้ ตามอัตราที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่
ข้อ ๑๘ ในกรณีที่สํานักงานมีความจําเป็นต้องไปเยี่ยมชมกิจการหรือสถานที่อื่นใดของผู้ขออนุญาตหรือบริษัทย่อย ผู้ขออนุญาตต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าที่พักและค่ายานพาหนะเดินทางที่เกิดขึ้นจากการเยี่ยมชมกิจการที่เกิดขึ้นจริงและเป็นไปตามสมควร โดยสํานักงานอาจกําหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในเรื่องดังกล่าวได้
ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับการเยี่ยมชมกิจการหรือสถานที่อื่นใดของผู้ขออนุญาตหรือบริษัทย่อยที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑล
ข้อ ๑๙ ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอพร้อมเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วน
ข้อ ๒๐ ในการพิจารณาคําขอตามข้อ 19 ให้สํานักงานมีอํานาจแจ้งเป็นหนังสือให้บริษัทต่างประเทศหรือตัวแทนของบริษัทต่างประเทศมาชี้แจง หรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ในกรณีที่บริษัทต่างประเทศหรือตัวแทนของบริษัทต่างประเทศไม่มาชี้แจง หรือไม่ส่งเอกสารหลักฐานภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ให้ถือว่าบริษัทต่างประเทศไม่ประสงค์จะขออนุญาตเพื่อเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่นั้นอีกต่อไป
หมวด ๒ การเสนอขายหุ้นที่มีตลาดหลักสําหรับการซื้อขายหุ้น
เป็นตลาดต่างประเทศ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ส่วน ๑ หลักเกณฑ์การอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๑ ผู้ขออนุญาตจะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนได้ต่อเมื่อแสดงให้สํานักงานเห็นได้ว่ามีคุณสมบัติและเป็นไปตามเงื่อนไขในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) มีความชอบด้วยกฎหมายในการประกอบธุรกิจ ตลอดจนการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ขออนุญาต ตามข้อ 22
(2) เป็นไปตามข้อกําหนดเกี่ยวกับฝ่ายบริหารจัดการตามข้อ 23
(3) เป็นไปตามข้อกําหนดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลตามข้อ 24 และข้อ 25
(4) จัดให้มีตัวแทนของผู้ขออนุญาตในประเทศไทยตามข้อ 26
(5) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทจดทะเบียน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมในข้อ 27
ข้อ ๒๒ ผู้ขออนุญาตต้องมีความชอบด้วยกฎหมายในการประกอบธุรกิจ ตลอดจนการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ โดยแสดงต่อสํานักงานได้ว่า
(1) ธุรกิจของผู้ขออนุญาตไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือต่างประเทศ
(2) การเสนอขายหุ้นที่ขออนุญาตนั้นกระทําได้โดยชอบตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ของประเทศที่ใช้บังคับกับผู้ขออนุญาต
(3) ไม่มีประวัติฝ่าฝืนหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ ไม่ว่าตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ของประเทศไทย หรือตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ต่างประเทศที่ใช้บังคับกับผู้ขออนุญาต ในเรื่องที่มีนัยสําคัญ ทั้งนี้ ในช่วงระยะเวลาห้าปีก่อนการยื่นคําขออนุญาต
ข้อ ๒๓ กรรมการ ผู้บริหาร และผู้มีอํานาจควบคุมของผู้ขออนุญาตต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) มีความบกพร่องในด้านความสามารถตามกฎหมาย เช่น เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ เป็นต้น
(2) มีพฤติกรรมหรือมีเหตุอันควรเชื่อว่ามีพฤติกรรมดังนี้ โดยให้พิจารณาย้อนหลังไม่เกินกว่าสิบปี
(ก) กระทําการอันเป็นการฝ่าฝืนหน้าที่ของกรรมการหรือผู้บริหารในการบริหารงานด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง และความซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับของบริษัท และมติคณะกรรมการ ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ในเรื่องที่มีนัยสําคัญ
(ข) กระทําการอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับการกํากับดูแลตลาดทุนไม่ว่าเป็นกฎหมายไทยหรือต่างประเทศในเรื่องดังนี้
1. การกระทําอันไม่เป็นธรรมหรือการเอาเปรียบผู้ลงทุนในการซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
2. การกระทําโดยทุจริต การทําให้เสียหายต่อทรัพย์สิน ต่อเจ้าหนี้ หรือต่อประชาชน
3. การไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังหรือซื่อสัตย์สุจริต
4. การจงใจแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญหรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้ง
5. การประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยไม่ได้รับอนุญาตและเข้าข่ายเป็นการฉ้อโกงผู้ลงทุนเป็นจํานวนมาก
(ค) กระทําการอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับการฟอกเงิน และต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินหรือคําพิพากษาหรือคําสั่งอื่นใดในทํานองเดียวกัน
ข้อ ๒๔ งบการเงินของผู้ขออนุญาตและงบการเงินรวมประจํารอบปีบัญชีล่าสุด และงบการเงินไตรมาสสุดท้ายก่อนยื่นคําขออนุญาต (ถ้ามี) ต้องถูกต้อง น่าเชื่อถือ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) จัดทําขึ้นตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินดังนี้ เว้นแต่เป็นมาตรฐานการรายงานทางการเงินอื่นที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(ก) มาตรฐานการรายงานทางการเงินของไทย โดยได้จัดทําให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ออกตามความในมาตรา 56 ซึ่งใช้บังคับกับบริษัทต่างประเทศที่ได้เสนอขายหุ้น
ต่อประชาชนตามประกาศนี้ด้วย
(ข) International Financial Reporting Standards (IFRS)
(ค) มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่หน่วยงานทางการในต่างประเทศยอมรับหรือกําหนด โดยมีการจัดทําและเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินโดยแสดงผลกระทบของรายการที่แตกต่างจาก IFRS (reconciled IFRS) ไว้ด้วย
(2) รายงานของผู้สอบบัญชีต้องลงลายมือชื่อตรวจสอบ (กรณีงบการเงินประจํารอบปีบัญชี) หรือสอบทาน (กรณีงบการเงินรายไตรมาส) โดยผู้สอบบัญชีที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) ผู้สอบบัญชีที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีดังกล่าวมิใช่ผู้สอบบัญชีท้องถิ่น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ด้วย
1. งบการเงินดังกล่าวต้องผ่านการตรวจสอบหรือสอบทาน แล้วแต่กรณี จากผู้สอบบัญชีท้องถิ่น ซึ่งสังกัดสํานักงานสอบบัญชีที่เป็นเครือข่ายเดียวกันกับสํานักงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีที่ลงลายมือชื่อดังกล่าว
2. สํานักงานสอบบัญชีทั้งสองแห่งตาม 1. ต้องเป็นสมาชิกประเภทเต็มรูปแบบ (full member) ของเครือข่ายเดียวกันนั้น
(ข) ผู้สอบบัญชีต่างประเทศที่สํานักงานให้ความเห็นชอบตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีต่างประเทศ
(3) รายงานของผู้สอบบัญชีตาม (2) ต้องไม่มีความหมายในลักษณะดังนี้
(ก) การจัดทําและเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินไม่เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ต้องใช้ในการจัดทํางบการเงินนั้น
(ข) ผู้สอบบัญชีถูกจํากัดขอบเขตการตรวจสอบหรือสอบทาน แล้วแต่กรณี โดยการกระทําหรือไม่กระทําของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือของกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตมีบริษัทย่อย ผู้ขออนุญาตต้องแสดงได้ว่าบริษัทย่อยดังกล่าวสามารถจัดทําข้อมูลทางการเงินและข้อมูลการเปิดเผยอื่นให้แก่ผู้ขออนุญาตเพื่อให้ผู้ขออนุญาตสามารถจัดทํางบการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่กําหนดในวรรคหนึ่ง (1)
ข้อ ๒๕ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศอยู่แล้วก่อนยื่นคําขออนุญาต ผู้ขออนุญาตต้องไม่อยู่ระหว่างการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ของต่างประเทศที่ใช้บังคับกับผู้ขออนุญาต รวมถึงคําสั่งที่ออกตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ดังกล่าว ทั้งนี้ ในเรื่องเกี่ยวกับการจัดทําและการนําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัท
ข้อ ๒๖ ผู้ขออนุญาตต้องจัดให้มีบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนในประเทศไทยเพื่อทําหน้าที่ประสานงานและติดต่อกับบุคคลต่าง ๆ รวมทั้งรับหนังสือ คําสั่ง หมายเรียก หรือเอกสารใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ขออนุญาตได้ และแสดงได้ว่าบุคคลดังกล่าวสามารถปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทจดทะเบียนแล้ว ต้องไม่ปรากฏพฤติกรรมในระหว่างเป็นบริษัทจดทะเบียนที่อาจแสดงถึงความไม่เหมาะสมในการเป็นบริษัทจดทะเบียนอย่างมีนัยสําคัญ เช่น มีการบริหารกิจการในลักษณะไม่โปร่งใสหรือไม่เปิดช่องให้ผู้ถือหุ้นเข้าตรวจสอบการบริหารกิจการ หรือมีการเพิกเฉยละเลยหรือจงใจไม่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามนโยบายที่สําคัญหรือแนวทางซึ่งได้เผยแพร่ให้ทราบเป็นการทั่วไป เป็นต้น
ส่วน ๒ เงื่อนไขภายหลังการอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๘ ให้ผู้ได้รับอนุญาตตามหมวดนี้ ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 29 ถึงข้อ 36 เว้นแต่ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าตลาดหลักสําหรับการซื้อขายหุ้นของผู้ได้รับอนุญาตมิได้ตั้งอยู่ในประเทศที่มีชื่ออยู่ในรายชื่อประเทศที่สํานักงานยอมรับ ให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามเงื่อนไขเฉพาะที่กําหนดในข้อ 37
ข้อ ๒๙ นับแต่วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ หากผู้ได้รับอนุญาตจะจัดให้มีการโฆษณาชี้ชวนเกี่ยวกับหุ้นโดยวิธีการอื่นนอกจากการแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน ข้อมูลที่จะใช้ในการโฆษณาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ไม่มีลักษณะเป็นเท็จ เกินความจริง บิดเบือน ปิดบัง หรือทําให้สําคัญผิดในสาระสําคัญ
(2) สาระสําคัญของข้อมูลที่แสดงในโฆษณาต้องไม่นอกเหนือไปจากข้อมูลที่แสดงไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นต่อสํานักงานตามภาค 4 ของประกาศนี้
ข้อ ๓๐ ในการโฆษณาชี้ชวนให้ซื้อหุ้นทางสิ่งตีพิมพ์ นอกจากจะต้องปฏิบัติตามที่กําหนดในมาตรา 80 แล้ว ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้เอกสารหรือการโฆษณานั้น มีข้อมูลเกี่ยวกับข้อจํากัดและความเสี่ยงตามที่กําหนดในข้อ 57(1) โดยสังเขปด้วย
ข้อ ๓๑ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการขายหุ้นให้แล้วเสร็จภายในหกเดือนนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งการอนุญาต หากไม่สามารถดําเนินการให้แล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลาดังกล่าวและยังประสงค์จะเสนอขายหุ้นต่อไป ให้ผู้ได้รับอนุญาตมีหนังสือถึงสํานักงานก่อนพ้นระยะเวลาดังกล่าวไม่น้อยกว่าสามสิบวันเพื่อขอขยายระยะเวลาเสนอขาย โดยต้องแจ้งเหตุผลของการขอขยายระยะเวลาและแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของผู้ได้รับอนุญาตตามหมวด 2 ในส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญด้วย (ถ้ามี) ในกรณีนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจขยายระยะเวลาให้อีกได้ตามที่เห็นควร แต่ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินสิบสองเดือนนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการอนุญาตครั้งแรก
ข้อ ๓๒ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นเพื่อนําไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นครั้งแรก หากผู้ได้รับอนุญาตไม่สามารถเสนอขายหุ้นได้ตามจํานวนขั้นต่ํา หรือไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์อื่นที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการรับหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ให้ผู้ได้รับอนุญาตยกเลิกการเสนอขายหุ้นดังกล่าวทั้งจํานวนและคืนเงินแก่ผู้จองซื้อ
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับบริษัทอาเซียนที่ไม่สามารถเสนอขายหุ้นได้ตามจํานวนขั้นต่ํา หรือไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์อื่นที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการรับหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน หากบริษัทอาเซียนนั้นมีหรือจะมีตลาดรองสําหรับการซื้อขายหุ้นเป็นตลาดหลักทรัพย์ของประเทศกลุ่มอาเซียน
ข้อ ๓๓ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการเพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และผู้มีอํานาจควบคุมมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ติดตามดูแลการมีลักษณะต้องห้ามของกรรมการ ผู้บริหาร และผู้มีอํานาจควบคุมตามที่กําหนดในข้อ 23 โดยหากปรากฏข้อเท็จจริงว่าบุคคลดังกล่าวมีลักษณะไม่เป็นไปตามที่กําหนด ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการเท่าที่มีอํานาจตามกฎหมายในการหยุดการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลดังกล่าว
(2) ดูแลและจัดให้มีกรรมการและผู้บริหารที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 23 อยู่ตลอดเวลา โดยในกรณีที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการหรือผู้บริหารไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการเท่าที่มีอํานาจตามกฎหมายเพื่อให้ได้กรรมการและผู้บริหารที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวด้วย
ข้อ ๓๔ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดํารงคุณสมบัติเกี่ยวกับการมีตัวแทนในประเทศเพื่อทําหน้าที่ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 26
ข้อ ๓๕ ตลอดระยะเวลาที่ผู้ได้รับอนุญาตมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ออกตามความในมาตรา 56 ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามข้อผูกพันที่ให้ไว้ในคําขออนุญาต หรือแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน รวมทั้งดําเนินการให้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการ ผู้บริหาร และผู้มีอํานาจควบคุมปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นจะได้มีมติเป็นอย่างอื่น
มติที่ประชุมตามวรรคหนึ่งต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติโดยมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของผู้มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง
(2) ไม่มีผู้ถือหุ้นรวมตัวกันตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุม ออกเสียงคัดค้านการเสนอขายหุ้นนั้น
การนับมติที่ประชุมตามวรรคสอง (1) และ (2) ต้องไม่นับรวมเสียงของผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในเรื่องที่ขอมตินั้น รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นดังกล่าว
ข้อ ๓๖ ในกรณีที่ที่ปรึกษาทางการเงินที่ร่วมจัดทําคําขออนุญาตประสงค์จะได้รับหรือตรวจดูข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ได้รับอนุญาตตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน และตามประกาศนี้ ผู้ได้รับอนุญาตต้องให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลดังกล่าวแก่ที่ปรึกษาทางการเงินตลอดระยะเวลาที่ที่ปรึกษาทางการเงินมีหน้าที่ตามประกาศดังกล่าวด้วย
ข้อ ๓๗ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงภายหลังการได้รับอนุญาตว่าตลาดหลักสําหรับการซื้อขายหุ้นของผู้ได้รับอนุญาตมิได้ตั้งอยู่ในประเทศที่มีชื่ออยู่ในรายชื่อประเทศที่สํานักงานยอมรับ ให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตที่กําหนดในหมวด 3 ของภาค 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ โดยอนุโลม ในการนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งการตามที่กําหนดไว้ในประกาศดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตด้วย
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจกําหนดการอนุโลมใช้ในรายละเอียดให้เหมาะสมกับลักษณะของการเสนอขายและผู้ได้รับอนุญาตได้
หมวด ๓ การเสนอขายหุ้นที่มีตลาดหลักสําหรับการซื้อขายหุ้น
เป็นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓๘ การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปของบริษัทต่างประเทศ จะได้รับอนุญาตต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ขออนุญาตแสดงได้ว่ามีลักษณะและเป็นไปตามหลักเกณฑ์การอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ โดยอนุโลม เว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ขออนุญาตได้รับยกเว้นหลักเกณฑ์ตามข้อ 39
(2) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศอยู่แล้วก่อนวันยื่นคําขออนุญาต ผู้ขออนุญาตต้องไม่อยู่ระหว่างการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ของต่างประเทศที่ใช้บังคับกับผู้ขออนุญาต รวมถึงคําสั่งที่ออกตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ดังกล่าว ทั้งนี้ ในเรื่องเกี่ยวกับการจัดทําและการนําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัท
ข้อ ๓๙ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทซีแอลเอ็มวี มิให้นําหลักเกณฑ์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ ซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศในเรื่องดังต่อไปนี้ มาอนุโลมใช้กับผู้ขออนุญาต
(1) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับความช่วยเหลือของหน่วยงานกํากับดูแลตลาดทุนในการตรวจสอบหรือให้ข้อมูลแก่สํานักงานตามข้อ 17 แห่งประกาศดังกล่าว ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่บริษัทซีแอลเอ็มวีดังกล่าวเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) มีบุคคลไทยถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ขออนุญาต โดยอย่างน้อยต้องมีผู้ถือหุ้นที่มีลักษณะตามข้อ 40(2) รวมอยู่ด้วย
(ข) มีบุคคลไทยถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ขออนุญาต เฉพาะในกรณีที่มีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นหรือมีเงื่อนไขในการร่วมทุนกับภาครัฐที่ทําให้การถือหุ้นไม่สามารถเป็นไปตาม (ก) ได้ โดยอย่างน้อยต้องมีผู้ถือหุ้นที่มีลักษณะตามข้อ 40(2) รวมอยู่ด้วย
การพิจารณาจํานวนการถือหุ้นของบุคคลไทยตามวรรคหนึ่ง (ก) หรือ (ข) ให้พิจารณาการถือหุ้นเฉพาะผู้ถือหุ้นที่มีลักษณะตามข้อ 40
(2) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับที่ปรึกษาทางการเงินตามข้อ 36 ของประกาศดังกล่าว ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่ผู้ขออนุญาตมีลักษณะที่ครบถ้วนดังนี้
(ก) เป็นบริษัทซีแอลเอ็มวีที่มีลักษณะตาม (1)
(ข) เป็นบริษัทจดทะเบียนอยู่แล้ว
ข้อ ๔๐ การพิจารณาจํานวนการถือหุ้นของบุคคลไทยตามข้อ 39(1) (ก) หรือ (ข) ให้พิจารณาการถือหุ้นเฉพาะผู้ถือหุ้นดังนี้
(1) ผู้ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละสิบของของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทต่างประเทศนั้น
(2) ผู้ถือหุ้นที่โดยพฤติการณ์มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการบริษัทต่างประเทศนั้นอย่างมีนัยสําคัญ
ข้อ ๔๑ ให้ผู้ได้รับอนุญาตตามข้อ 38 ปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ โดยอนุโลม โดยในการนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งการตามที่กําหนดไว้ในประกาศดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตด้วย
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจกําหนดการอนุโลมใช้ในรายละเอียดให้เหมาะสมกับลักษณะของการเสนอขายและผู้ได้รับอนุญาตได้
อื่นๆ ๓ ภาค 3
การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ของบริษัทต่างประเทศ
ที่เคยได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นจากสํานักงานแล้ว
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔๒ ความในหมวดนี้ให้ใช้บังคับกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อผู้ถือหุ้นที่อยู่ในประเทศไทยตามสัดส่วนการถือหุ้นเพื่อให้ผู้ถือหุ้นในประเทศไทยมีสิทธิที่จะซื้อหุ้นเพิ่มทุนตามสัดส่วนการถือหุ้น หรือขายหรือโอนสิทธิที่จะซื้อหุ้นเพิ่มทุนตามสัดส่วนการถือหุ้นของตนได้
(2) หุ้นที่ออกเพื่อรองรับหลักทรัพย์ตาม (1) ที่ให้สิทธิที่จะซื้อหรือแปลงสภาพเป็นหุ้นได้
(3) หุ้นที่ออกเพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือหลักทรัพย์อื่นใดที่อาจแปลงสภาพแห่งสิทธิเป็นหุ้นได้ตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ซึ่งเสนอขายต่อผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนการถือหุ้น
(4) หุ้นที่ออกเพื่อรองรับใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้
(5) ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
(6) หุ้นรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นตาม (5)
(7) หลักทรัพย์อื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๔๓ บริษัทต่างประเทศอาจเสนอขายหลักทรัพย์ได้ เมื่อเข้ากรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานเป็นการทั่วไป ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในหมวด 1
(2) เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์อื่นนอกจากกรณีตาม (1) ที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานโดยมีการยื่นคําขอ โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตในหมวด 2
หมวด ๑ การอนุญาตเป็นการทั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔๔ การเสนอขายหลักทรัพย์ตามข้อ 42(1) (2) (3) หรือ (4) ให้ถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานหากเป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 45
ข้อ ๔๕ บริษัทต่างประเทศที่เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ตามข้อ 44 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เป็นบริษัทต่างประเทศที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(ข) เป็นบริษัทอาเซียนที่เคยได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นการทั่วไป
(2) สามารถเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่หรือใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้โดยชอบตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับบริษัทต่างประเทศนั้น
หมวด ๒ การอนุญาตโดยมีการยื่นคําขอและ
เงื่อนไขภายหลังการอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔๖ ในการยื่นคําขออนุญาตเพื่อเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ตามข้อ 42(5) (6) หรือ (7) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การยื่นคําขออนุญาตตามหมวด 1 ของภาค 2 โดยอนุโลม
ข้อ ๔๗ บริษัทต่างประเทศที่จะยื่นคําขออนุญาตตามข้อ 46 ได้ จะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) เป็นบริษัทต่างประเทศที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือเป็นบริษัทอาเซียนที่เคยได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นการทั่วไป
(2) มีตลาดหลักสําหรับการซื้อขายหุ้นเป็นตลาดต่างประเทศ
ข้อ ๔๘ ผู้ขออนุญาตจะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ตามข้อ 42(5) (6) หรือ (7) ต่อเมื่อแสดงให้สํานักงานเห็นได้ว่าผู้ขออนุญาตมีลักษณะและเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) บริษัทต่างประเทศยังมีลักษณะและเป็นไปตามที่จะได้รับอนุญาตตามหมวด 2 ของภาค 2
(2) การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ขออนุญาตนั้นกระทําได้โดยชอบตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ของประเทศที่ใช้บังคับกับผู้ขออนุญาต
ข้อ ๔๙ ให้นําความในส่วนที่ 2 เงื่อนไขภายหลังการอนุญาตของหมวด 2 ในภาค 2 มาใช้บังคับกับการอนุญาตตามหมวดนี้ด้วยโดยอนุโลม
อื่นๆ ๔ ภาค 4
การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๕๐ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปที่ไม่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนดังต่อไปนี้
(1) กรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่มีลักษณะดังนี้ ให้ผู้เสนอขายปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวด 1 หมวด 2 หมวด 3 หมวด 4 และหมวด 5
(ก) การเสนอขายหุ้นหรือหลักทรัพย์ประเภทอื่นโดยบริษัทต่างประเทศ ซึ่งมีหรือจะมีตลาดหลักสําหรับการซื้อขายหุ้นเป็นตลาดต่างประเทศ
(ข) การเสนอขายหุ้นโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทต่างประเทศเพื่อให้มีการจดทะเบียนหุ้นนั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งหุ้นดังกล่าวเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้
1. เป็นหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ ซึ่งมีลักษณะอยู่ในข่ายที่จะได้รับอนุญาตตามหมวด 2 ของภาค 2
2. มีการออกหนังสือโดยบริษัทต่างประเทศตาม 1. เพื่อรับทราบการเสนอขายหุ้นของผู้ถือหุ้นดังกล่าว และรับรองว่าบริษัทต่างประเทศจะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูล ตลอดจนข้อกําหนดอื่นที่เกี่ยวข้อง
(ค) การเสนอขายหลักทรัพย์โดยผู้ถือหลักทรัพย์ของบริษัทต่างประเทศ ทั้งนี้ เฉพาะหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ออกและเสนอขายภายใต้ประกาศฉบับนี้
(2) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นที่มีลักษณะดังนี้ ให้นําหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามภาค 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ รวมทั้งอํานาจของสํานักงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(ก) การเสนอขายหุ้นโดยบริษัทต่างประเทศ ซึ่งมีหรือจะมีตลาดหลักสําหรับการซื้อขายหุ้นเป็นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(ข) การเสนอขายหุ้นโดยผู้ถือหลักทรัพย์ ซึ่งหุ้นที่เสนอขายนั้นเป็นประเภทและชนิดเดียวกับหุ้นตาม (ก)
หมวด ๑ ข้อกําหนดทั่วไป
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๕๑ การเสนอขายหลักทรัพย์จะกระทําได้ต่อเมื่อผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน และแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว
ข้อ ๕๒ ในกรณีที่ระยะเวลาการเสนอขายหลักทรัพย์ตามที่กําหนดในแบบแสดงรายการข้อมูลสิ้นสุดลงแล้ว หากผู้เสนอขายหลักทรัพย์ประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการเสนอขายครั้งก่อน ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนฉบับใหม่ต่อสํานักงาน
หมวด ๒ วิธีการยื่น และค่าธรรมเนียม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๕๓ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามที่กําหนดในหมวด 3 และร่างหนังสือชี้ชวนตามแบบที่กําหนดตามมาตรา 72 ต่อสํานักงาน พร้อมเอกสารหลักฐานตามที่กําหนดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงาน โดยวิธีการยื่นให้เป็นดังนี้
(1) แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ จํานวนห้าชุด
(2) ข้อมูลในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด
ข้อมูลที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นต่อสํานักงานทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน
ข้อ ๕๔ ผู้เสนอขายหลักทรัพย์มีหน้าที่ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ
หมวด ๓ แบบและข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๕๕ แบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นต่อสํานักงาน ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) ไม่มีข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือที่อาจทําให้สําคัญผิด และไม่ขาดข้อความที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ
(2) มีข้อมูลตามที่กําหนดในมาตรา 69(1) ถึง (10)
(3) มีข้อมูลเพิ่มเติมตามที่กําหนดในหมวดนี้
ข้อ ๕๖ แบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นต่อสํานักงาน ให้เป็นไปตามแบบดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์จัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําข้อมูลในแบบดังกล่าวด้วย
(1) ในกรณีที่การเสนอขายหลักทรัพย์นั้นมีการเสนอขายในประเทศกลุ่มอาเซียนพร้อมกันหรือในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามแบบ 69-FE ท้ายประกาศนี้
(2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ในกรณีอื่นนอกจากกรณีตาม (1) แบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวสามารถเป็นไปตามแบบใด ๆ ที่มีรายละเอียดของรายการอย่างน้อยตามที่กําหนดในหมวดนี้
ข้อ ๕๗ แบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นต่อสํานักงานตามข้อ 56 ต้องมีข้อมูลเพิ่มเติมอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ข้อมูลเกี่ยวกับข้อจํากัดและความเสี่ยงในเรื่องดังนี้
(ก) สิทธิและความคุ้มครองที่ผู้ลงทุนได้รับจากการลงทุนในหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกฎหมายและกฎเกณฑ์ของประเทศที่บริษัทต่างประเทศจัดตั้งขึ้น ดังนั้น ผู้ลงทุนจึงต้องศึกษาและติดตามกฎหมายและกฎเกณฑ์นั้น ๆ ด้วย ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวให้แสดงในหน้าปกของแบบแสดงรายการข้อมูลด้วยตัวอักษรที่เน้นและสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน
(ข) การดําเนินคดีทางกฎหมายกับบริษัทต่างประเทศ หรือผู้เสนอขายหลักทรัพย์ เนื่องจากมิได้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ทั้งนี้ ให้ระบุถึงเขตอํานาจศาลในการฟ้องร้องบังคับคดีต่อบริษัทต่างประเทศด้วย
(ค) ผลกระทบที่ผู้ถือหลักทรัพย์ของบริษัทต่างประเทศอาจได้รับ ในกรณีที่กฎหมายของประเทศที่เกี่ยวข้องกับบริษัทต่างประเทศนั้นมีข้อจํากัดในการส่งเงินออกนอกประเทศ (ถ้ามี)
(ง) ข้อจํากัดในการซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทต่างประเทศ ในกรณีที่หลักทรัพย์ดังกล่าวที่จะจัดสรรให้ผู้ลงทุนในประเทศไทย มีมูลค่าเกินกว่าวงเงินคงเหลือที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการควบคุมการทําธุรกรรมในตลาดทุนที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศ
(จ) ข้อจํากัดหรือความเสี่ยงอื่นใดที่อาจมีผลกระทบต่อการใช้สิทธิหรือการตัดสินใจของผู้ลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ เช่น ข้อจํากัดในการมอบฉันทะในการใช้สิทธิออกเสียง ข้อจํากัดที่จะไม่ได้รับใบหุ้นเนื่องจากหุ้นของบริษัทต่างประเทศอยู่ในระบบไร้ใบหุ้น เป็นต้น
(2) ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อและสถานที่ติดต่อของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งจากบริษัทต่างประเทศให้เป็นตัวแทนของบริษัทต่างประเทศในประเทศไทย โดยระบุอํานาจหน้าที่ของตัวแทนดังกล่าวอย่างชัดเจน
(3) ข้อความที่ระบุไว้อย่างชัดเจน เกี่ยวกับภาษาที่จะใช้ในการจัดทําหนังสือชี้ชวน งบการเงิน รายงานประจําปี แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี เอกสารประกอบการประชุมผู้ถือหุ้นและการให้ข้อมูลอื่นหรือรายงานเกี่ยวกับกิจการที่บริษัทจัดทําเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน
ข้อ ๕๘ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้น แบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นต่อสํานักงานตามข้อ 56 นอกจากข้อมูลตามข้อ 57 แล้ว ต้องมีข้อมูลเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ข้อมูลเกี่ยวกับข้อจํากัดและความเสี่ยงในเรื่องดังนี้
(ก) การเสนอขายหุ้นที่มีลักษณะครบถ้วนดังนี้ ต้องจัดให้มีคําเตือนที่สามารถทําให้ผู้ลงทุนได้ทราบถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องและเข้าใจถึงโอกาสของความเสี่ยงจากการลดลงของราคาหุ้นดังกล่าวเมื่อเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
1. เป็นการเสนอขายโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนําหุ้นที่เสนอขายดังกล่าวเข้าจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นครั้งแรก
2. บริษัทต่างประเทศมีการเสนอขายหุ้นประเภทเดียวกันต่อบุคคลใดในราคาที่ต่ํากว่าราคาที่เสนอขายในครั้งนี้ โดยการเสนอขายดังกล่าวเกิดขึ้นในระหว่างหกเดือนก่อนการเสนอขายในครั้งนี้ และหุ้นที่เสนอขายในระหว่างหกเดือนดังกล่าวรวมกันแล้วเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายในครั้งนี้
(ข) การยกเลิกการเสนอขายหุ้น โดยให้ระบุเงื่อนไขเกี่ยวกับการยกเลิกการเสนอขายหุ้นและคืนเงินแก่ผู้จองซื้อในกรณีที่ผู้เสนอขายหุ้นไม่สามารถเสนอขายหุ้นได้ตามจํานวนขั้นต่ํา หรือไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์อื่นที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการรับหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน รวมถึงให้แสดงขั้นตอนและวิธีการในการยกเลิกการเสนอขายและการคืนเงินค่าจองซื้อดังกล่าวให้ชัดเจน
(2) ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นเพื่อนําไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นครั้งแรก ต้องมีข้อความระบุไว้อย่างชัดเจนว่าบริษัทต่างประเทศผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในการรับหุ้นดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนแล้ว
(3) ข้อมูลเปรียบเทียบกฎหมายและกฎเกณฑ์ของต่างประเทศที่ใช้บังคับกับผู้ขออนุญาตในส่วนที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การบริหารกิจการของบริษัทและการคุ้มครองผู้ถือหุ้นในเรื่องที่สําคัญ กับกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่กํากับดูแลบริษัทมหาชนจํากัดของประเทศไทยในเรื่องดังกล่าว
ข้อ ๕๙ งบการเงินของบริษัทต่างประเทศที่เปิดเผยในแบบแสดงรายการข้อมูลต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 24
ข้อ ๖๐ ในกรณีที่มีการเปิดเผยราคาประเมินของทรัพย์สินไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูล การประเมินมูลค่าทรัพย์สินดังกล่าวต้องกระทําโดยบุคคลที่ผู้ขออนุญาตและที่ปรึกษาทางการเงินที่ร่วมจัดทําคําขออนุญาตพิจารณาว่ามีความเหมาะสมและสามารถประเมินมูลค่าทรัพย์สินให้สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงได้อย่างน่าเชื่อถือเพียงพอ โดยผู้ที่ทําหน้าที่ประเมินมูลค่าทรัพย์สินดังกล่าวต้องเข้าลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ด้วย
(1) เป็นที่ปรึกษาทางการเงินหรือบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่สํานักงานให้การยอมรับ
(2) ในกรณีที่ผู้ที่ทําหน้าที่ประเมินมูลค่าทรัพย์สินเป็นบุคคลต่างประเทศ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังนี้
(ก) อยู่ในบัญชีรายชื่อของบุคคลซึ่งทางการหรือหน่วยงานกํากับดูแลของประเทศอันเป็นที่ตั้งของทรัพย์สินกําหนดให้สามารถทําหน้าที่ประเมินมูลค่าทรัพย์สินนั้น ๆ ได้
(ข) ในกรณีที่ไม่ปรากฏบัญชีรายชื่อตาม (1) ผู้ที่ทําหน้าที่ประเมินมูลค่าทรัพย์สินต้องเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
1. เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ซึ่งมีผลงานเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายในประเทศอันเป็นที่ตั้งของทรัพย์สินนั้น
2. เป็นบุคคลที่มีมาตรฐานการปฏิบัติงานและระบบงานในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่เป็นสากล
3. เป็นผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่มีเครือข่ายกว้างขวางในระดับสากล (international firm)
ข้อ ๖๑ ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่จัดทําเฉพาะภาษาอังกฤษ หากผู้เสนอขายหลักทรัพย์ประสงค์จะเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์เป็นภาษาไทย ต้องจัดให้มีข้อมูลที่จะเผยแพร่ดังกล่าวไว้เป็นภาคผนวกต่อท้ายแบบแสดงรายการข้อมูลด้วย และให้ถือว่าข้อมูลดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของแบบแสดงรายการข้อมูล
ข้อ ๖๒ ก่อนปิดการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาต หากผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญที่มิได้แสดงอยู่ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนให้แก่บุคคลใดเป็นการเฉพาะรายเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ความเหมาะสมของการลงทุนในหลักทรัพย์ที่เสนอขาย หรือการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ที่เสนอขาย ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องดําเนินการให้มีการเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนโดยพลัน ทั้งนี้ ต้องไม่ช้ากว่าวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับ หรือในกรณีที่แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับแล้วต้องไม่ช้ากว่าวันทําการถัดจากวันที่ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงต่อบุคคลใดนั้น
หมวด ๔ การรับรองข้อมูล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๖๓ แบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นต่อสํานักงาน ต้องมีการลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การเสนอขายหลักทรัพย์โดยบริษัทต่างประเทศที่ออกหลักทรัพย์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์พร้อมกันหรือในระยะเวลาใกล้เคียงกันในประเทศที่เป็นที่ตั้งของตลาดหลักสําหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ ให้วิธีการลงลายมือชื่อเป็นไปตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ในการลงลายมือชื่อในเอกสารการเปิดเผยข้อมูลในการเสนอขายหลักทรัพย์ของประเทศที่เป็นที่ตั้งของตลาดหลักนั้น เว้นแต่ประเทศดังกล่าวไม่มีกฎหมายหรือกฎเกณฑ์กําหนดไว้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ใน (ข)
(ข) ในกรณีอื่นนอกจาก (ก) ให้ลงลายมือชื่อโดยกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทต่างประเทศที่ออกหลักทรัพย์ พร้อมประทับตราบริษัท (ถ้ามี)
(2) การเสนอขายหลักทรัพย์โดยผู้ถือหลักทรัพย์ ต้องลงลายมือชื่อโดย
(ก) ผู้ถือหลักทรัพย์ที่เป็นผู้เสนอขายหลักทรัพย์นั้น และในกรณีที่ผู้ถือหลักทรัพย์เป็นนิติบุคคล ให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลลงลายมือชื่อ พร้อมประทับตราบริษัท (ถ้ามี)
(ข) กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทต่างประเทศที่ออกหลักทรัพย์ พร้อมประทับตราบริษัท (ถ้ามี)
(3) ในการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้จัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงิน ให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันที่ปรึกษาทางการเงินลงลายมือชื่อ พร้อมประทับตราบริษัท (ถ้ามี)
ข้อ ๖๔ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรทําให้บุคคลที่ต้องลงนามเพื่อนิติบุคคลตามที่กําหนดในข้อ 63 ไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ ให้นิติบุคคลดังกล่าวปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(1) หากเหตุที่ทําให้บุคคลดังกล่าวคนใดไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ เกิดจากการที่บุคคลดังกล่าวอยู่ในภาวะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เนื่องจากเจ็บป่วยทางร่างกายหรือทางจิต ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ไม่จําต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อในแบบแสดงรายการข้อมูล
(2) หากเหตุที่ทําให้บุคคลดังกล่าวคนใดไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ เกิดจากกรณีอื่นนอกจากที่ระบุใน (1) เมื่อเหตุดังกล่าวหมดสิ้นไป ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์จัดให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อทันที เพื่อให้แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับได้ตามข้อ 65
หมวด ๕ วันมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๖๕ ภายใต้บังคับมาตรา 68 และมาตรา 75 เมื่อผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน และได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลครบถ้วนแล้ว ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นระยะเวลาดังต่อไปนี้ แล้วแต่ระยะเวลาใดจะถึงกําหนดหลัง ทั้งนี้ กําหนดเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินกว่าสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ครบถ้วน
(1) สิบสี่วัน นับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ครบถ้วน
(2) วันที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้ระบุข้อมูลที่เกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นซึ่งได้แก่ จํานวนและราคาของหลักทรัพย์ที่เสนอขาย ระยะเวลาการเสนอขาย รายละเอียดเกี่ยวกับการจอง การจัดจําหน่าย การจัดสรร และข้อมูลอื่นในทํานองเดียวกัน รวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าว ครบถ้วนในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ทั้งนี้ ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลซึ่งมีรายการข้อมูลในส่วนอื่นครบถ้วน จนถึงวันที่ยื่นข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ต้องไม่น้อยกว่าสิบสี่วัน
(3) วันที่ครบกําหนดเวลาที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับในต่างประเทศ สําหรับกรณีที่มีการเสนอขายหลักทรัพย์เดียวกันพร้อมกันหรือในระยะเวลาใกล้เคียงกันในประเทศอื่นด้วย
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 586 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2558 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 49/2558
เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดย
บริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขาย
ในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 17 ให้ผู้ขออนุญาตชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตต่อสํานักงานเมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ทั้งนี้ อัตราค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 19 เมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้สํานักงานดําเนินการสอบทานข้อเท็จจริงตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชนและแจ้งประเด็นข้อสังเกตที่ได้จากการสอบทานข้อเท็จจริงเพื่อให้ผู้ขออนุญาตชี้แจงข้อสังเกตนั้นภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในหนังสือแจ้งข้อสังเกต โดยต้องดําเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน
ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําชี้แจงต่อข้อสังเกตจากการสอบทานข้อเท็จจริงจากผู้ขออนุญาต
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตประสงค์จะขอผ่อนผันหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ ให้ผู้ขออนุญาตยื่นคําขอผ่อนผัน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอผ่อนผันต่อสํานักงานก่อนที่สํานักงานจะเริ่มการพิจารณาตามวรรคสอง ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน โดยสํานักงานจะพิจารณาคําขอผ่อนผันให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเดียวกันกับการพิจารณาอนุญาตตามวรรคสอง”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้น
เป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 587 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 56/2558 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 56/2558
เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดย
บริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขาย
ในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ
(ฉบับที่ 3)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 22 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) ไม่มีลักษณะตามข้อ 22/1 เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทจดทะเบียน ผู้ขออนุญาตต้องไม่มีลักษณะเฉพาะตามที่กําหนดในข้อ 22/1(1) (ก)”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 22/1 และข้อ 22/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558
“ข้อ 22/1 ผู้ขออนุญาตต้องไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้ เว้นแต่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 22/2
(1) ภายในระยะเวลาห้าปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาต
(ก) เคยฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ ไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ ในเรื่องที่มีนัยสําคัญ
(ข) เคยถูกสํานักงานปฏิเสธคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เนื่องจากมีเหตุที่มีนัยสําคัญอันควรสงสัยเกี่ยวกับกลไกการบริหารจัดการในลักษณะดังนี้
1. อาจไม่สามารถปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นได้อย่างเป็นธรรมโดยอาจมีการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ถือหุ้นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งซึ่งจะทําให้ได้เปรียบผู้ถือหุ้นรายอื่นหรือได้ประโยชน์มากกว่าผู้ถือหุ้นรายอื่นโดยไม่สมควร
2. อาจไม่สามารถรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้นได้โดยทําให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งได้รับประโยชน์ทางการเงินนอกเหนือจากที่พึงได้ตามปกติ หรือโดยทําให้บริษัทเสียประโยชน์ที่พึงได้รับ
(ค) เคยถูกสํานักงานปฏิเสธคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่เนื่องจากมีเหตุที่ทําให้สงสัยเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนที่ไม่ครบถ้วน ไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน หรือทําให้ผู้ลงทุนสําคัญผิด ซึ่งมีลักษณะเป็นการปกปิดหรืออําพราง หรือสร้างข้อมูลที่อาจไม่มีอยู่จริงในรายการหรือการดําเนินการที่มีนัยสําคัญ
(ง) เคยถอนคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่โดยไม่มีการชี้แจงเหตุสงสัยตาม (ข) หรือ (ค) ต่อสํานักงาน หรือโดยมีการชี้แจงแต่ไม่ได้แสดงข้อเท็จจริงหรือเหตุผลอย่างสมเหตุสมผลที่จะหักล้างข้อสงสัยตาม (ข) หรือ (ค) นั้น
(2) ภายในระยะเวลาสิบปีก่อนวันยื่นคําขออนุญาต เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์เฉพาะในมูลเหตุเนื่องจากการดําเนินการที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริต อันเป็นเหตุที่ทําให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง ทั้งนี้ ไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ
(3) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เฉพาะในมูลเหตุเนื่องจากการดําเนินการที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง
หรือทุจริตอันเป็นเหตุที่ทําให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง ทั้งนี้ ไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ
(4) เป็นบุคคลที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นการจัดรูปแบบเพื่อให้บุคคลที่มีลักษณะตาม (1) (2) หรือ (3) หลีกเลี่ยงมิให้สํานักงานใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาตาม (1) (2) หรือ (3) กับบุคคลที่มีลักษณะดังกล่าวนั้น
ข้อ 22/2 มิให้นําความในข้อ 22/1(1) และ (2) แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับกับผู้ขออนุญาตซึ่งได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเหตุ ระบบงาน ระบบการบริหารจัดการ และการควบคุมการดําเนินงานที่ทําให้ผู้ขออนุญาตมีลักษณะตามข้อ 22/1(1) หรือ (2) แล้ว”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 588 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 5/2559 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 5/2559
เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดย
บริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขาย
ในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ
(ฉบับที่ 4)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 52 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 52 ในกรณีที่ระยะเวลาการเสนอขายหลักทรัพย์ตามที่กําหนดในแบบแสดงรายการข้อมูลสิ้นสุดลงแล้ว หากผู้เสนอขายหลักทรัพย์ประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการเสนอขายครั้งก่อน ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนฉบับใหม่โดยวิธีการตามที่กําหนดในข้อ 53”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 53 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 53 ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามที่กําหนดในหมวด 3 และร่างหนังสือชี้ชวนตามแบบที่กําหนดตามมาตรา 72 ต่อสํานักงาน พร้อมเอกสารหลักฐานตามที่กําหนดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงาน ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นครั้งแรกเพื่อการจดทะเบียนหุ้นที่เสนอขายนั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทจดทะเบียน ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ต่อสํานักงานจํานวนหนึ่งชุด พร้อมทั้งนําเอกสารสิ่งพิมพ์นั้นเข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่จัดไว้เพื่อการรองรับเอกสารสิ่งพิมพ์นั้น
(2) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกรณีอื่นนอกจากกรณีตาม (1) หรือเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์อื่น ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ต่อสํานักงานจํานวนหนึ่งชุด พร้อมทั้งนําเอกสารสิ่งพิมพ์นั้นเข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงานที่จัดไว้เพื่อการรองรับเอกสารสิ่งพิมพ์นั้น”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 589 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 56/2561 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ (ฉบับที่ 5) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 56/2561
เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดย
บริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขาย
ในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ
(ฉบับที่ 5)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 21 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) เป็นไปตามข้อกําหนดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลตามข้อ 23/1 ข้อ 24 และข้อ 25”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 23/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558
“ข้อ 23/1 งบการเงินดังนี้ของผู้ขออนุญาต ต้องถูกต้อง น่าเชื่อถือ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 24
(1) กรณีมีงบการเงินหรืองบการเงินรวมประจํางวดปีบัญชีที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เป็นงบการเงินหรืองบการเงินรวมประจํางวดปีบัญชีล่าสุดก่อนยื่นคําขออนุญาต ได้แก่ งบการเงินและงบการเงินรวมประจํางวดปีบัญชีสามปีล่าสุดและงบการเงินไตรมาสสุดท้ายก่อนยื่นคําขออนุญาต
(2) กรณีอื่นนอกจาก (1) ได้แก่ งบการเงินและงบการเงินรวมประจํางวดปีบัญชีล่าสุดและงบการเงินไตรมาสสุดท้ายก่อนยื่นคําขออนุญาต”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 24 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 24 งบการเงินตามข้อ 23/1 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) จัดทําขึ้นตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินดังนี้ เว้นแต่เป็นมาตรฐานการรายงานทางการเงินอื่นที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(ก) มาตรฐานการรายงานทางการเงินของไทย โดยได้จัดทําให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ออกตามความในมาตรา 56 ซึ่งใช้บังคับกับบริษัทต่างประเทศที่ได้เสนอขายหุ้นต่อประชาชนตามประกาศนี้ด้วย
(ข) International Financial Reporting Standards (IFRS)
(ค) มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่หน่วยงานทางการในต่างประเทศยอมรับหรือกําหนด โดยมีการจัดทําและเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินโดยแสดงผลกระทบของรายการที่แตกต่างจาก IFRS (reconciled IFRS) ไว้ด้วย
(2) รายงานของผู้สอบบัญชีต้องลงลายมือชื่อตรวจสอบ (กรณีงบการเงินประจํารอบปีบัญชี) หรือสอบทาน (กรณีงบการเงินรายไตรมาส) โดยผู้สอบบัญชีที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) ผู้สอบบัญชีที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน
(ข) ผู้สอบบัญชีต่างประเทศที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีต่างประเทศ
(3) รายงานของผู้สอบบัญชีตาม (2) ต้องไม่มีความหมายในลักษณะดังนี้
(ก) การจัดทําและเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินไม่เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ต้องใช้ในการจัดทํางบการเงินนั้น
(ข) ผู้สอบบัญชีถูกจํากัดขอบเขตการตรวจสอบหรือสอบทาน แล้วแต่กรณี โดยการกระทําหรือไม่กระทําของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือของกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตมีบริษัทย่อย ผู้ขออนุญาตต้องแสดงได้ว่าบริษัทย่อยดังกล่าวสามารถจัดทําข้อมูลทางการเงินและข้อมูลการเปิดเผยอื่นให้แก่ผู้ขออนุญาตเพื่อให้ผู้ขออนุญาตสามารถจัดทํางบการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่กําหนดในวรรคหนึ่ง (1)”
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 35 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 35 ตลอดระยะเวลาที่ผู้ได้รับอนุญาตมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ออกตามความในมาตรา 56 ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามข้อผูกพันที่ให้ไว้ในคําขออนุญาต หรือแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน รวมทั้งดําเนินการให้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการ ผู้บริหาร และผู้มีอํานาจควบคุมปฏิบัติตามข้อผูกพันดังกล่าวด้วย เว้นแต่เป็นกรณีที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติให้ปฏิบัติเป็นอย่างอื่นได้ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง โดยไม่มีเสียงคัดค้านตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงนั้น ทั้งนี้ มิให้นับส่วนของผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในเรื่องที่ขอมตินั้น รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นดังกล่าว
(2) กรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้เงินอย่างไม่เป็นนัยสําคัญ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด”
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 59 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 59 งบการเงินของบริษัทต่างประเทศที่เปิดเผยในแบบแสดงรายการข้อมูลต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 23/1 และข้อ 24”
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 590 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 5/2562 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ (ฉบับที่ 6) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 5/2562
เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดย
บริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขาย
ในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ
(ฉบับที่ 6)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69 และมาตรา 71(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 53 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 5/2559 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 53 ก่อนการเสนอขายหลักทรัพย์ในแต่ละครั้ง ให้ผู้เสนอขายยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ตามรูปแบบและวิธีการดังต่อไปนี้
(1) กรณีการเสนอขายหุ้น
(ก) ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน และเอกสารหลักฐานในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต่อสํานักงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่จัดไว้เพื่อการดังกล่าว
(ข) ให้ยื่นข้อมูลดังนี้ ในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ต่อสํานักงานจํานวนหนึ่งชุด ตามแนวทางที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
1. ส่วนรับรองความถูกต้องของแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่จัดพิมพ์จากระบบอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งผู้เสนอขายได้ยื่นตาม (ก) และลงลายมือชื่อแล้วตามหลักเกณฑ์ในข้อ 63
2. ต้นฉบับหนังสือมอบอํานาจที่แสดงว่าผู้ดําเนินการยื่นข้อมูลตาม (1) (ก) และ (1) (ข) 1. ตลอดจนเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เป็นผู้ได้รับมอบหมายจากผู้เสนอขายในการดําเนินการ ดังกล่าวและการอื่นที่จําเป็น
(2) กรณีการเสนอขายหลักทรัพย์อื่น ให้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนและเอกสารหลักฐานในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ต่อสํานักงานจํานวนหนึ่งชุด พร้อมทั้งยื่นเอกสารสิ่งพิมพ์นั้นเข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงานที่จัดไว้เพื่อการรองรับเอกสารสิ่งพิมพ์นั้น”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2562
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 591 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 31/2562 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ (ฉบับที่ 7) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 31/2562
เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดย
บริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขาย
ในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ
(ฉบับที่ 7)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 13 ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตตามภาค 2 หรือภาค 3 ในส่วนที่เกี่ยวกับการโฆษณา ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคําสั่งของสํานักงานที่จะสั่งให้ดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้
(1) หยุดการโฆษณา หรือยุติการส่งเสริมการขาย ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
(2) แก้ไขข้อมูลในการโฆษณาหรือการส่งเสริมการขาย
(3) ชี้แจงเพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง ตรงต่อความเป็นจริง และไม่ทําให้สําคัญผิด
(4) กระทําการหรือไม่กระทําการใดภายในระยะเวลาที่กําหนดเพื่อให้ผู้ลงทุนตัดสินใจหรือทบทวนการตัดสินใจ บนพื้นฐานข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง ตรงต่อความเป็นจริงและไม่ทําให้สําคัญผิด”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 29 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 29 นับแต่วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ หากผู้ได้รับอนุญาตจะจัดให้มีการโฆษณาชี้ชวนเกี่ยวกับหุ้นโดยวิธีการอื่นนอกจากการแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน การโฆษณาชี้ชวนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ครบถ้วนดังต่อไปนี้ และหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความเหมาะสมของข้อมูลที่เผยแพร่ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ
(1) ไม่มีลักษณะเป็นเท็จ เกินความจริง บิดเบือน ปิดบัง หรือทําให้สําคัญผิดในสาระสําคัญ
(2) สาระสําคัญของข้อมูลที่แสดงในโฆษณาต้องไม่นอกเหนือไปจากข้อมูลที่แสดงไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นต่อสํานักงานตามภาค 4 ของประกาศนี้”
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2562
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 592 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 79/2563 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ (ฉบับที่ 8) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 79/2563
เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดย
บริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขาย
ในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ
(ฉบับที่ 8)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 35 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2558เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558
ข้อ ๒ ให้ยกเลิก (ง) ใน (1) ของข้อ 57 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2563
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ | 593 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 26/2564 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ (ฉบับที่ 9) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 26/2564
เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดย
บริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขาย
ในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ
(ฉบับที่ 9)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 69 วรรคหนึ่ง (11) และมาตรา 71(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 53 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 5/2562 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 53 ก่อนการเสนอขายหลักทรัพย์ในแต่ละครั้ง ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานต่อสํานักงานในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ในกรณีที่บุคคลที่ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนรายใดมิได้ใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นข้อมูลดังต่อไปนี้ ในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ต่อสํานักงานจํานวนหนึ่งชุด
(1) ส่วนรับรองความถูกต้องของแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่จัดพิมพ์จากระบบซึ่งผู้เสนอขายได้ยื่นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่ง ซึ่งลงลายมือชื่อของบุคคลดังกล่าวแล้ว
(2) ต้นฉบับหนังสือมอบอํานาจที่แสดงว่าผู้ดําเนินการยื่นข้อมูลตามวรรคหนึ่ง และ (1) ของวรรคนี้ ตลอดจนเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เป็นผู้ได้รับมอบหมายจากผู้เสนอขายหลักทรัพย์ในการดําเนินการดังกล่าวและการอื่นที่จําเป็น
การยื่นข้อมูลและการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน”
ข้อ ๒ ให้การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้ อยู่ภายใต้บังคับของข้อกําหนดแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 ซึ่งใช้บังคับก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้
(1) แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้เริ่มดําเนินการยื่นกับสํานักงานไว้แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และผู้เสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวมิได้แจ้งต่อสํานักงานว่าประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามข้อกําหนดที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้
(2) แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ระบบรับส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดให้มีขึ้นตามข้อ 53 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ยังไม่รองรับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนดังกล่าว
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2564
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 594 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 61/2564 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ (ฉบับที่ 10) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 61/2564
เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดย
บริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขาย
ในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ
(ฉบับที่ 10)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 31 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 31 ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการขายหุ้นให้แล้วเสร็จภายในหกเดือนนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งการอนุญาต หากไม่สามารถดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าวและประสงค์จะเสนอขายหุ้นต่อไป ให้ผู้ได้รับอนุญาตมีคําขอต่อสํานักงานก่อนพ้นระยะเวลาดังกล่าวไม่น้อยกว่าสามสิบวันเพื่อขอขยายระยะเวลาเสนอขาย โดยต้องแจ้งเหตุผลของการขอขยายระยะเวลาและแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของผู้ได้รับอนุญาตตามหมวด 2 ในส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญด้วย (ถ้ามี) ในกรณีนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจขยายระยะเวลาให้อีกได้ตามที่เห็นควร แต่ต้องไม่เกินสิบสองเดือนนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการอนุญาตครั้งแรก ทั้งนี้ การยื่นคําขอขยายระยะเวลาดังกล่าวให้เป็นไปตามแนวทางที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ | 595 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 5/2558 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศต่อบุคคลในวงจำกัด | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 5/2558
เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ
ต่อบุคคลในวงจํากัด
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ
กํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
คําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” และ “บริษัทจดทะเบียน” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์
“บริษัทต่างประเทศ” หมายความว่า บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบ
ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ซึ่งจัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศต่อบุคคลในวงจํากัด ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการเสนอขายหุ้นที่มีหลักเกณฑ์กําหนดไว้เป็นการเฉพาะ
หมวด ๑ อํานาจของสํานักงาน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจสั่งมิให้การอนุญาตสําหรับการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจํากัดตามหมวด 2 มีผลหรือสั่งระงับการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในกรณีดังกล่าวได้
(1) บริษัทต่างประเทศมีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ หรือจะไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตได้
(2) ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่มีนัยสําคัญต่อการตัดสินใจลงทุน
(3) การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่มีลักษณะที่อาจเข้าข่ายเป็นการหลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์อื่น
ที่ออกภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
ข้อ ๕ ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําเงื่อนไขตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นตามหมวด 2 ได้
(1) มีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าเงื่อนไขที่จะผ่อนผันให้ไม่มีนัยสําคัญ และประโยชน์ที่จะได้ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนในการปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าว
(2) ผู้ได้รับอนุญาตมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน ทั้งนี้ ไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ
(3) ผู้ได้รับอนุญาตมีมาตรการอื่นที่เพียงพอ และสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
การผ่อนผันตามวรรคหนึ่งให้คํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนและมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติด้วยก็ได้
หมวด ๒ การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจํากัด
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๖ ให้บริษัทต่างประเทศเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ได้โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจํากัดตามที่กําหนดในข้อ 7
(2) การเสนอขายหุ้นดังกล่าวกระทําได้โดยชอบตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ของประเทศที่ใช้บังคับกับบริษัทต่างประเทศ
(3) มูลค่าของหุ้นที่จะเสนอขายยังอยู่ในวงเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการควบคุมการทําธุรกรรมในตลาดทุนที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศ
ให้ผู้ได้รับอนุญาตตามหมวดนี้ปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตตามหมวด 3
ข้อ ๗ การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ถือเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในวงจํากัด
(1) การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจํานวนไม่เกินห้าสิบรายภายในรอบระยะเวลาสิบสองเดือน
(2) การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ที่มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินยี่สิบล้านบาทภายในรอบระยะเวลาสิบสองเดือน ทั้งนี้ การคํานวณมูลค่ารวมของหุ้นดังกล่าว ให้ถือเอาราคาเสนอขายหุ้นนั้นเป็นเกณฑ์
(3) การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนสถาบัน
การนับจํานวนผู้ลงทุนตามวรรคหนึ่ง (1) หรือการคํานวณมูลค่ารวมการเสนอขายหุ้นตามวรรคหนึ่ง (2) ไม่นับรวมส่วนที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันตามวรรคหนึ่ง (3) ทั้งนี้ ไม่ว่า
การเสนอขายดังกล่าวจะกระทําในเวลาเดียวกันหรือต่างเวลากัน
ข้อ ๘ การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อกองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นหรือมีการลงทุนในลักษณะที่เป็นเครื่องมือเพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปโดยบริษัทต่างประเทศ มิให้ถือเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนสถาบันตามข้อ 7(3)
เว้นแต่กรณีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามวรรคสาม ให้การเสนอขายหุ้น
ที่ออกใหม่ต่อกองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นการเสนอขายที่มิให้ถือเป็น
การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนสถาบันตามข้อ 7(3)
(1) กองทุนรวมนั้นมิได้จํากัดการเสนอขายหน่วยลงทุนเฉพาะต่อผู้ลงทุนสถาบัน
(2) การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ให้กองทุนรวมเป็นไปตามข้อตกลงหรือสัญญาระหว่างผู้เสนอขายหลักทรัพย์กับบริษัทจัดการ โดยบริษัทจัดการดังกล่าวไม่ต้องใช้ดุลยพินิจ
ในการตัดสินใจลงทุนในหุ้นที่เสนอขายนั้นในระดับเดียวกับการบริหารกองทุนรวมทั่วไป
(3) มีการลงทุนของกองทุนรวมในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) ลงทุนในหุ้นที่เสนอขายของบริษัทใดบริษัทหนึ่งในแต่ละครั้งมีมูลค่าเกินกว่าร้อยละห้าสิบของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนรวมนั้น
(ข) ลงทุนในหุ้นที่ออกใหม่ของบริษัทใดบริษัทหนึ่งเกินกว่าร้อยละห้าสิบของมูลค่ารวมของหุ้นที่ออกใหม่ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง
ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ประสงค์จะเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อกองทุนรวมที่มีลักษณะตามที่กําหนดในวรรคสอง โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อกองทุนรวมนั้นเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุนสถาบัน ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวยื่นคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงานพร้อมทั้งคําชี้แจงและเอกสารหลักฐาน และให้สํานักงานมีอํานาจให้ความเห็นชอบให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์สามารถเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อกองทุนรวมในฐานะเป็นผู้ลงทุนสถาบันในครั้งนั้นได้
หมวด ๓ เงื่อนไขภายหลังการอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๙ ให้ผู้ได้รับอนุญาตตามหมวด 2 ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ห้ามมิให้ผู้ได้รับอนุญาตโฆษณาการเสนอขายหุ้นที่จะออกใหม่ต่อบุคคลเป็นการทั่วไป และหากจะมีการแจกจ่ายเอกสารที่เกี่ยวกับหุ้นที่จะเสนอขายหรือกําลังเสนอขาย ผู้ได้รับอนุญาตต้องแจกจ่ายไปให้กับบุคคลเฉพาะเจาะจงหรือบุคคลเท่าที่จําเป็น เพื่อให้การเสนอขายหุ้นดังกล่าวอยู่ภายในลักษณะที่กําหนดไว้ในข้อ 7 วรรคหนึ่ง (1) (2) หรือ (3) เท่านั้น และผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีข้อความตาม (2) ในเอกสารดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นพร้อมกันหรือในระยะเวลาใกล้เคียงกันในประเทศอื่น เอกสารนั้นต้องมีข้อมูลไม่น้อยกว่าที่เปิดเผยในประเทศอื่น
(2) ภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนชําระแล้ว ซึ่งต้องไม่มีหุ้นหรือหุ้นรองรับที่สามารถเสนอขายได้โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้วคงค้างอยู่ ผู้ได้รับอนุญาตต้องไม่ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน เว้นแต่เป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้
(ก) สํานักงานได้อนุญาตให้ผู้ได้รับอนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปแล้ว
(ข) แบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวจัดทําขึ้นเพื่อดําเนินการให้หุ้นนั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(ค) ผู้ได้รับอนุญาตเป็นบริษัทจดทะเบียน
(3) การเสนอขายหุ้นของผู้ได้รับอนุญาตต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(ก) เสนอขายหุ้นให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่
(ข) ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตเป็นบริษัทจดทะเบียน การได้มาซึ่งมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นตาม (ก) ต้องมีลักษณะ ดังนี้
1. วาระการประชุมผู้ถือหุ้นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวต้องเป็นวาระที่เสนอโดยผู้ได้รับอนุญาต
2. ผู้ได้รับอนุญาตได้ให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาวาระการประชุมตาม 1. ต่อผู้ถือหุ้นล่วงหน้าไปพร้อมกับเอกสารการนัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยข้อมูลดังกล่าวมีความครบถ้วน ถูกต้อง และเพียงพอต่อการตัดสินใจของผู้ถือหุ้น
ข้อ ๑๐ ในกรณีผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ตามหมวด 2 เป็นบริษัทจดทะเบียนและเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ํา หากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นตลาดหลักสําหรับการซื้อขายหุ้นของผู้ได้รับอนุญาตดังกล่าว ให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอขายหุ้นราคาต่ําตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ โดยอนุโลม
ในกรณีที่หุ้นของผู้ได้รับอนุญาตมีการซื้อขายในหลายตลาด การพิจารณาการเป็นตลาดหลักสําหรับการซื้อขายหุ้นตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหุ้นหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ โดยอนุโลม
ข้อ ๑๑ ให้ผู้ได้รับอนุญาตตามหมวด 2 ยื่นเอกสารหลักฐานต่อสํานักงานพร้อมกับการรายงานผลการขาย ทั้งนี้ ตามแนวทางที่สํานักงานจัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 596 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 81/2563 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศต่อบุคคลในวงจำกัด (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 81/2563
เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ
ต่อบุคคลในวงจํากัด
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (3) ในวรรคหนึ่งของข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 5/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศต่อบุคคลในวงจํากัด ลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2563
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 597 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 16/2558
เรื่อง การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภท
ตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 56 มาตรา 67 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
หมวด ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้ และแบบที่กําหนดตามประกาศนี้
“ตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ” หมายความว่า ตราสารแสดงสิทธิของผู้ฝากทรัพย์สิน ซึ่งประเภททรัพย์สินที่ฝากเป็นหลักทรัพย์ต่างประเทศ
“หลักทรัพย์ต่างประเทศ” หมายความว่า หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ
“หน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศ” หมายความว่า หลักทรัพย์ประเภทหุ้นของบริษัท (investment company) หรือหลักทรัพย์ประเภทใบทรัสต์ของกองทรัสต์ (unit trust) ซึ่งเป็นโครงการจัดการลงทุน (collective investment scheme) แบบ exchange-traded fund ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ
“หน่วยงานกํากับดูแลต่างประเทศ” หมายความว่า หน่วยงานกํากับดูแลตลาดทุนต่างประเทศ
“ตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์ซึ่งจัดตั้งขึ้นในต่างประเทศ
“ประเทศกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ําโขง” หมายความว่า ประเทศที่อยู่ในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ําโขง (Greater Mekong Subregion : GMS) ซึ่งได้แก่ ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและสาธารณรัฐประชาชนจีน (เฉพาะมณฑลยูนนาน)
“ตลาดหลักทรัพย์ไทย” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
“ธนาคารพาณิชย์” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
“สัญญารับฝาก” หมายความว่า สัญญาหรือข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิ หน้าที่และ
ความรับผิดชอบของผู้ออกตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ และผู้ถือตราสารดังกล่าว
“ผู้รับฝากต่างประเทศ” หมายความว่า ผู้รับฝากที่สามารถประกอบธุรกิจรับฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศได้ตามกฎหมายของประเทศที่มีการประกอบธุรกิจดังกล่าว
“ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารสี่รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา ผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกราย และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า
“ผู้มีอํานาจควบคุม” หมายความว่า ผู้ถือหุ้นหรือบุคคลอื่นซึ่งโดยพฤติการณ์มีอิทธิพลต่อการกําหนดนโยบาย การจัดการ หรือการดําเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยสําคัญ ไม่ว่าอิทธิพลดังกล่าวจะสืบเนื่องจากการเป็นผู้ถือหุ้น หรือได้รับมอบอํานาจตามสัญญา หรือการอื่นใดโดยเฉพาะอย่างยิ่งให้หมายความถึงบุคคลที่เข้าลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังนี้ด้วย
(1) บุคคลที่มีสิทธิออกเสียงไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท
(2) บุคคลที่ตามพฤติการณ์สามารถควบคุมการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการของบริษัทนั้นได้
(3) บุคคลที่ตามพฤติการณ์สามารถควบคุมผู้ซึ่งรับผิดชอบในการกําหนดนโยบาย การจัดการ หรือการดําเนินงานของบริษัท ให้ปฏิบัติตามคําสั่งของตนในการกําหนดนโยบายการจัดการหรือการดําเนินงานของบริษัท
(4) บุคคลที่ตามพฤติการณ์มีการดําเนินงานในบริษัทหรือมีความรับผิดชอบในการดําเนินงานของบริษัทเยี่ยงกรรมการหรือผู้บริหาร รวมทั้งบุคคลที่มีตําแหน่งซึ่งมีอํานาจหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลดังกล่าวของบริษัทนั้น
“แบบแสดงรายการข้อมูล” หมายความว่า แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับเรื่องดังต่อไปนี้
(1) การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ ทั้งนี้ ตามภาค 1
(2) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ ทั้งนี้ ตามภาค 2
(3) การเปิดเผยข้อมูลอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของผู้ออกตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ ทั้งนี้ ตามภาค 3
อื่นๆ ๑ การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสาร
แสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๔ ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับการออกและเสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ เพื่อเป็นช่องทางในการให้บริการอีกช่องทางหนึ่งแก่ผู้ลงทุนที่จะลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ โดยผ่านการถือหรือซื้อขายตราสารดังกล่าว ทั้งนี้ ประกาศฉบับนี้ไม่ครอบคลุมถึงการออกและเสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศที่มีลักษณะเป็นการระดมทุนของผู้ออกหลักทรัพย์ต่างประเทศรวมอยู่ด้วย
หมวด ๑ การยื่นคําขออนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๕ ผู้ที่ประสงค์จะขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ ให้ยื่นคําขออนุญาตและเอกสารหลักฐานอื่นต่อสํานักงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานกําหนดการขออนุญาตตามวรรคหนึ่งต้องประกอบด้วยคําขอดังต่อไปนี้
(1) คําขอพิจารณาลักษณะของผู้ขออนุญาต
(2) คําขอพิจารณาลักษณะของตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ ซึ่งแสดงข้อมูลหลักทรัพย์ต่างประเทศที่ประสงค์จะรับฝากในการออกตราสารดังกล่าว
ข้อ ๖ ให้ผู้ขออนุญาตชําระค่าธรรมเนียมการขออนุญาตต่อสํานักงานในวันยื่นคําขอทั้งนี้ ตามอัตราที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่
หมวด ๒ หลักเกณฑ์การอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๗ การขออนุญาตให้เสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศจะได้รับอนุญาตจากสํานักงานเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ครบถ้วนดังต่อไปนี้
(1) ผู้ขออนุญาตมีลักษณะเป็นผู้ออกตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนที่ 1 ของหมวดนี้
(2) ตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนที่ 2 ของหมวดนี้
(3) สัญญารับฝากมีรายการตามที่กําหนดในส่วนที่ 3 ของหมวดนี้
ข้อ ๘ ในการพิจารณาลักษณะของผู้ขออนุญาต ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาภายในสิบวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานครบถ้วน ในการพิจารณาลักษณะของตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาภายในสิบวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานครบถ้วน
ข้อ ๙ เมื่อได้รับแจ้งการอนุญาตตามข้อ 8 แล้ว ผู้ได้รับอนุญาตสามารถเสนอขาย
ตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศได้ภายในมูลค่าที่ได้รับอนุญาตโดยไม่จํากัดจํานวนครั้งที่เสนอขาย ทั้งนี้ ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในประกาศนี้
ส่วน ๑ ลักษณะผู้ขออนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๐ ผู้ขออนุญาตจะต้องมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เป็นบุคคลดังต่อไปนี้
(ก) ธนาคารพาณิชย์
(ข) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน
(ค) บริษัทจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีตลาดหลักทรัพย์ไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบเก้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการออกตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ
(2) มีระบบงานที่มีความพร้อมเพื่อรองรับกระบวนการออกตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ และการดําเนินการตามข้อผูกพันในสัญญารับฝาก โดยอย่างน้อยต้องเป็นระบบงานในเรื่องดังต่อไปนี้
(ก) ระบบการดูแลและตรวจสอบหลักทรัพย์ต่างประเทศให้มีจํานวนเพียงพอ
กับตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศที่จําหน่ายได้แล้วและยังไม่ได้ไถ่ถอน
(ข) ระบบการดูแล ติดตาม และส่งผ่านผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่เกิดจากหลักทรัพย์ต่างประเทศให้แก่ผู้ถือตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ และตามข้อผูกพันในสัญญารับฝาก
(ค) ระบบการติดตามข้อมูลข่าวสารของหลักทรัพย์ต่างประเทศที่มีการเปิดเผยในต่างประเทศ และการนําข้อมูลข่าวสารดังกล่าวมาเผยแพร่ต่อผู้ถือตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ เพื่อให้ผู้ถือตราสารดังกล่าวได้รับข้อมูลข่าวสารทันต่อเหตุการณ์ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของประกาศที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลในลักษณะดังกล่าว รวมทั้งตามข้อผูกพันที่ระบุไว้ในสัญญารับฝาก
(ง) ระบบงานเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการตั้งบุคคลต่างประเทศเป็นตัวแทนในการเก็บรักษาหลักทรัพย์ต่างประเทศ ดังนี้
1. ระบบการพิจารณาคัดเลือกตัวแทน ซึ่งต้องเป็นผู้รับฝากต่างประเทศที่มีระบบงานที่มีความพร้อมในการเก็บรักษาหลักทรัพย์ต่างประเทศ
2. ระบบการตรวจสอบเพื่อสอบทานความถูกต้องของหลักทรัพย์ต่างประเทศที่ฝากไว้กับผู้รับฝากต่างประเทศ กับรายการที่ปรากฏในบัญชีที่ผู้ขออนุญาตจัดทําขึ้น
3. ระบบการดูแลและติดต่อประสานงานกับผู้รับฝากต่างประเทศ เพื่อให้ผู้รับฝากต่างประเทศสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามที่ได้รับมอบหมาย
(3) มีความพร้อมด้านบุคลากรเพื่อรับผิดชอบในการดําเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการออกตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ และการดําเนินการตามข้อกําหนดที่ได้ระบุไว้ในสัญญารับฝาก โดยบุคลากรดังกล่าวจะต้องมีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่เหมาะสมกับลักษณะงานที่รับผิดชอบ
(4) ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ากรรมการ ผู้บริหาร และผู้มีอํานาจควบคุมของผู้ขออนุญาตมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท โดยอนุโลม
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ การพิจารณาตามวรรคหนึ่งให้พิจารณาเฉพาะผู้ดํารงตําแหน่งในสาขาในประเทศไทย
(5) ไม่อยู่ระหว่างถูกทางการ หรือหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมาย ไม่ว่าในประเทศหรือในต่างประเทศ สั่งให้แก้ไขปรับปรุงระบบงานเกี่ยวกับการรับฝากทรัพย์สินของลูกค้า หรือระบบงานหรือการดําเนินการอื่นที่อาจส่งผลกระทบต่อการออกตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ และการปฏิบัติงานอันดีของธุรกิจอย่างมีนัยสําคัญ
ข้อ ๑๑ ภายหลังจากที่สํานักงานพิจารณาแล้วว่าผู้ขออนุญาตมีลักษณะตามข้อ 10 หากปรากฏว่าผู้ขออนุญาตรายนั้นไม่สามารถดํารงลักษณะให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนนี้ ให้ผู้ขออนุญาตแจ้งให้สํานักงานทราบพร้อมทั้งแสดงเหตุที่ทําให้ไม่สามารถดํารงสถานะดังกล่าวได้ โดยพลัน
ในกรณีที่ปรากฏเหตุตามวรรคหนึ่ง หากเป็นกรณีที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศแล้ว ให้ถือว่าการอนุญาตให้เสนอขายตราสารนั้นระงับลงเป็นการชั่วคราวจนกว่าผู้ขออนุญาตจะสามารถแก้ไขให้มีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนนี้ โดยต้องแจ้งให้สํานักงานทราบถึงการแก้ไขดังกล่าวโดยพลัน
ส่วน ๒ ลักษณะของตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๒ ตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) หลักทรัพย์ต่างประเทศต้องเป็นหลักทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งดังนี้
(ก) หุ้นสามัญที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 13
(ข) หน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 14
(2) ตราสารดังกล่าวรองรับสิทธิในการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศในอัตราหนึ่งหน่วยตราสารต่อหนึ่งหน่วยหลักทรัพย์ต่างประเทศ
(3) ผู้ออกหลักทรัพย์ต่างประเทศมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างต่อเนื่องต่อหน่วยงานกํากับดูแลต่างประเทศหรือตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ และผู้ลงทุนสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวที่เป็นภาษาอังกฤษ ไม่ว่าข้อมูลที่เป็นภาษาอังกฤษนั้นจัดทําขึ้นโดยผู้ออกหลักทรัพย์นั้นเองหรือโดยหน่วยงานหรือสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ ทั้งนี้ หากข้อมูลที่จัดทําเป็นภาษาอังกฤษดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ผู้ขออนุญาตจัดทําหรือร่วมจัดทํา ผู้ขออนุญาตต้องรับรองด้วยว่าสาระของข้อมูลที่จัดทําขึ้นนั้นถูกต้องตรงตามข้อมูลที่ผู้ออกหลักทรัพย์ต่างประเทศได้เปิดเผยต่อหน่วยงานกํากับดูแลต่างประเทศหรือตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ
ข้อ ๑๓ หุ้นสามัญที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศตามข้อ 12(1) (ก) ต้องมีการซื้อขายอยู่ในกระดานหลัก (main board) ของตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เข้าลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เป็นตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในประเทศที่มีชื่ออยู่ในรายชื่อประเทศที่สํานักงานยอมรับ
(2) เป็นตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในประเทศกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ําโขง ทั้งนี้ หุ้นดังกล่าวต้องมีมูลค่าหุ้นตามราคาตลาด (market capitalization) เฉลี่ยสิบห้าวันทําการย้อนหลังไม่น้อยกว่าสองพันล้านบาท
ข้อ ๑๔ หน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศตามข้อ 12(1) (ข) ต้องมีลักษณะที่เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการไม่นําบทบัญญัติว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนมาใช้บังคับกับหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศ เว้นแต่หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดให้มีตัวแทนในประเทศไทยมิให้นํามาใช้บังคับ
ข้อ ๑๕ ภายหลังได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศแล้ว หากลักษณะของตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 12 ข้อ 13 หรือข้อ 14 ให้การอนุญาตให้เสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศระงับลงเป็นการชั่วคราว ทั้งนี้ การระงับการอนุญาตดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อตราสารที่ได้เสนอขายหรือออกไปแล้ว
ในกรณีที่หลักทรัพย์ต่างประเทศตามวรรคหนึ่งเป็นหุ้นสามัญที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในประเทศกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ําโขง การพิจารณามูลค่าหุ้นตามราคาตลาด (market capitalization) ตามข้อ 13(2) ให้คํานวณโดยเฉลี่ยสิบห้าวันทําการติดต่อกันก่อนวันแรกของการเสนอขายในแต่ละครั้ง
ส่วน ๓ รายการของร่างสัญญารับฝาก
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๖ ร่างสัญญารับฝากต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ออกตราสาร
(2) สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ถือตราสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิในการได้รับผลประโยชน์จากหลักทรัพย์ต่างประเทศ และกระบวนการใช้สิทธิในกรณีที่ผู้ออกหลักทรัพย์ต่างประเทศมีการให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ถือหลักทรัพย์ หรือการดําเนินการอื่นใดที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้ถือหลักทรัพย์ รวมทั้งข้อจํากัดในการใช้สิทธิดังกล่าว
(3) การขอมติและการประชุมผู้ถือตราสาร
(4) ข้อกําหนดและเงื่อนไขในการออกและการไถ่ถอนตราสาร
(5) ข้อกําหนดและเงื่อนไขในการยกเลิกตราสาร
(6) การดําเนินการของผู้ออกตราสารในกรณีที่หลักทรัพย์ต่างประเทศ หรือผู้ออกหลักทรัพย์ต่างประเทศ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ เช่น การเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ของหลักทรัพย์ต่างประเทศ การเปลี่ยนธุรกิจหลัก หรือการควบรวมกิจการ เป็นต้น
(7) การดําเนินการของผู้ออกตราสารในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ทําให้ไม่สามารถจัดให้มีหลักทรัพย์ต่างประเทศในจํานวนที่เพียงพอกับตราสารที่จําหน่ายได้แล้วและยังไม่ได้ไถ่ถอน รวมทั้งข้อตกลงเกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายหรือมาตรการเยียวยาอื่น ๆ ที่ผู้ถือตราสารจะได้รับ
(8) ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เรียกเก็บจากผู้ถือตราสาร
(9) การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญารับฝาก
(10) กฎหมายที่ใช้บังคับ
หมวด ๓ เงื่อนไขภายหลังการอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๑๗ ในการเสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศหากหนังสือชี้ชวนยังมิได้ระบุราคาเสนอขายที่แน่นอนของตราสารดังกล่าว (เช่น ระบุเป็นช่วงราคา หรือสูตรการคํานวณ เป็นต้น) ผู้ได้รับอนุญาตต้องแจกจ่ายหรือจัดส่งเอกสารไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ ที่แสดงราคาเสนอขายที่แน่นอน เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลดังกล่าวก่อนที่ผู้ลงทุนนั้นจะทําการจองซื้อตราสาร
ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับอนุญาตต้องเริ่มเสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เป็นหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่งในครั้งแรก ภายในหกเดือนนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการอนุญาตจากสํานักงานตามข้อ 8 วรรคสอง โดยผลการเสนอขายตราสารดังกล่าวในรอบการขายแรกต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ด้วย
(1) มีผู้จองซื้อตราสารไม่น้อยกว่าห้าสิบราย
(2) มีมูลค่าการจองซื้อตราสารรวมกันไม่น้อยกว่าที่กําหนดไว้ดังนี้
(ก) ยี่สิบล้านบาท ในกรณีที่เป็นตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เป็นหุ้นซึ่งซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในประเทศกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ําโขง
(ข) ห้าสิบล้านบาท ในกรณีอื่นใดนอกจาก (ก)
หากผู้ได้รับอนุญาตไม่สามารถเสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศภายในระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง หรือตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคสอง ให้การอนุญาตให้เสนอขายตราสารดังกล่าวเป็นอันสิ้นสุดลง โดยผู้ได้รับอนุญาตต้องยกเลิกการขายทั้งหมด
ข้อ ๑๙ ในกรณีที่มีการยกเลิกการขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศตามข้อ 18 วรรคสอง ให้ผู้ได้รับอนุญาตคืนเงินค่าจองซื้อตราสารดังกล่าวภายในเจ็ดวันนับแต่วันปิดการเสนอขายตราสารดังกล่าว หากการคืนเงินค่าจองซื้อล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กําหนด ให้ผู้ได้รับอนุญาตชําระดอกเบี้ยให้แก่ผู้ลงทุนในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
ให้ผู้ได้รับอนุญาตระบุข้อมูลเกี่ยวกับเหตุในการยกเลิกการขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ และการดําเนินการเมื่อมีการยกเลิกการขายตราสารดังกล่าวไว้ในเอกสารประกอบการเสนอขายอย่างชัดเจน
ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีสัญญารับฝากที่มีรายการและข้อมูลไม่ต่างจากร่างสัญญารับฝากที่ผ่านการพิจารณาของสํานักงานแล้ว เว้นแต่ข้อมูลเกี่ยวกับตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศและข้อมูลเฉพาะสําหรับการเสนอขายตราสารดังกล่าวในแต่ละครั้ง
การแก้ไขเพิ่มเติมสัญญารับฝากจะกระทําได้ต่อเมื่อไม่เป็นการขัดแย้งกับข้อกําหนดตามประกาศนี้ และการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นไปตามที่กําหนดไว้ในสัญญารับฝาก
ในกรณีที่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญารับฝากที่ต้องได้รับมติที่ประชุมผู้ถือตราสารหนังสือนัดประชุมผู้ถือตราสารต้องระบุอย่างชัดเจนถึงสาเหตุของการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญารับฝากและผลกระทบที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นกับผู้ถือตราสาร
ข้อ ๒๑ ผู้ได้รับอนุญาตจะออกตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศให้แก่ผู้ลงทุนที่จองซื้อตราสารดังกล่าวได้ ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ได้รับอนุญาตมั่นใจว่ามีหลักทรัพย์ต่างประเทศเพียงพอที่จะรองรับจํานวนตราสารดังกล่าวที่ต้องจัดสรรให้แก่ผู้ลงทุน ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงระบบการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
(2) มูลค่าของตราสารที่ออกดังกล่าวยังอยู่ในวงเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการควบคุมการทําธุรกรรมในตลาดทุนที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศ
ข้อ ๒๒ ให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดทําและส่งรายงานรายเดือนที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับจํานวนตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศที่มีการออกและไถ่ถอน รวมทั้งจํานวนคงเหลือ ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของเดือน โดยให้ส่งรายงานดังกล่าวต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของแต่ละเดือน ทั้งนี้ หากได้ส่งรายงานนั้นต่อตลาดหลักทรัพย์ไทยให้ถือว่าได้ส่งรายงานนั้นต่อสํานักงานแล้ว
ข้อ ๒๓ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบลักษณะของผู้ได้รับอนุญาตและตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ ก่อนการออกและเสนอขายตราสารในแต่ละครั้งให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดทําและบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของผู้ได้รับอนุญาตและลักษณะของ
ตราสารดังกล่าวที่แสดงได้ว่ามีลักษณะเป็นไปตามที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ และให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดส่งข้อมูลและเอกสารดังกล่าวเมื่อสํานักงานร้องขอ
ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดเก็บข้อมูลและเอกสารตามวรรคหนึ่งในรูปเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้ครบถ้วนอย่างน้อยเป็นเวลาห้าปีนับแต่วันที่มีการออกและเสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศในแต่ละครั้ง
หมวด ๔ อํานาจของสํานักงานเกี่ยวกับการอนุญาต
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๔ ในการพิจารณาคําขอในภาคนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขออนุญาตมาชี้แจง หรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตไม่มาชี้แจง หรือไม่ส่งเอกสารหลักฐานภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ให้ถือว่าผู้ขออนุญาตไม่ประสงค์จะขออนุญาตเพื่อเสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศนั้นอีกต่อไป
ข้อ ๒๕ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ ตามคําขอได้
(1) ผู้ขออนุญาตหรือการเสนอขายตราสารดังกล่าว มีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการเสนอขายตราสารนั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือประกาศนี้
(2) การเสนอขายตราสารดังกล่าวอาจขัดต่อนโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐ
(3) การเสนอขายตราสารดังกล่าวอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือต่อตลาดทุนไทยโดยรวม
(4) การเสนอขายตราสารดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุนโดยรวม หรืออาจทําให้ผู้ลงทุนโดยรวมไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องหรือเพียงพอประกอบการตัดสินใจลงทุน
ข้อ ๒๖ ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้ในการพิจารณาคําขออนุญาต หรือไม่นําเงื่อนไขตามประกาศนี้
มาใช้บังคับกับการเสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตได้
(1) มีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันให้ไม่มีนัยสําคัญสําหรับการพิจารณาอนุญาตในกรณีนั้น และประโยชน์ที่จะได้ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนในการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว
(2) ผู้ขออนุญาตหรือผู้ได้รับอนุญาต แล้วแต่กรณี มีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
(3) ผู้ขออนุญาตหรือผู้ได้รับอนุญาต แล้วแต่กรณี มีมาตรการอื่นที่เพียงพอ และสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
การผ่อนผันตามวรรคหนึ่ง ให้คํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนและมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ขออนุญาตหรือผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติด้วยก็ได้
อื่นๆ ๒ การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสาร
แสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
หมวด ๑ การยื่นและค่าธรรมเนียม
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๗ ให้ผู้เสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามที่กําหนดไว้ในข้อ 29 และร่างหนังสือชี้ชวนตามแบบที่กําหนดตามมาตรา 72 ต่อสํานักงาน โดยให้ดําเนินการดังนี้
(1) แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์จํานวนหนึ่งชุด รวมทั้งสําเนาจํานวนหนึ่งชุด
(2) ส่งข้อมูลในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
ข้อมูลที่ผู้เสนอขายตราสารยื่นต่อสํานักงานทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน
ข้อ ๒๘ ผู้เสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศมีหน้าที่ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ในวันที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล
หมวด ๒ แบบแสดงรายการข้อมูล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๒๙ ให้ผู้ออกตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลสําหรับการเสนอขายตราสารดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) กรณีเป็นการเสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศซึ่งได้รับอนุญาตตามภาค 1 เป็นครั้งแรก ให้ยื่นแบบ 69-DR ท้ายประกาศนี้
(2) กรณีเป็นการเสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศกรณีอื่นนอกจาก (1) ให้ยื่นแบบ 69-DR reissue ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓๐ การจัดทําแบบแสดงรายการข้อมูลตามข้อ 29 เพื่อยื่นต่อสํานักงานให้จัดทําเป็นภาษาไทยเท่านั้น เว้นแต่ข้อมูลในส่วนของหลักทรัพย์ต่างประเทศอาจจัดทําเป็นภาษาอังกฤษก็ได้
ข้อ ๓๑ ก่อนสิ้นสุดการเสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ หากผู้ออกตราสารดังกล่าวได้เปิดเผยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญที่มิได้แสดงอยู่ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนให้แก่บุคคลใดเป็นการเฉพาะราย เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ความเหมาะสมของการลงทุน หรือการตัดสินใจลงทุนในตราสารที่เสนอขาย ผู้ออกตราสารดังกล่าวต้องดําเนินการให้มีการเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวเพิ่มเติมในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนโดยพลัน
ในกรณีที่แบบแสดงรายการข้อมูลยังไม่มีผลใช้บังคับ ต้องเปิดเผยข้อมูลตามวรรคหนึ่งก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับ หรือในกรณีที่แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับแล้วต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวภายในวันทําการถัดจากวันที่ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงต่อบุคคลนั้น
หมวด ๓ อํานาจสํานักงานเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓๒ ให้สํานักงานมีอํานาจผ่อนผันการเปิดเผยรายละเอียดของข้อมูลตามที่กําหนดในประกาศนี้ได้ หากผู้ออกตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศแสดงได้ว่าข้อมูลดังกล่าวมิใช่ข้อมูลที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ และมีเหตุอันควรที่จะไม่แสดงรายละเอียดของข้อมูลดังกล่าวไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูล หรือได้ดําเนินการประการอื่นเพื่อทดแทนอย่างเพียงพอแล้ว
ข้อ ๓๓ ในการพิจารณาข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนหากสํานักงานเห็นว่ามีเหตุจําเป็นและสมควรเพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลที่มีนัยสําคัญเพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดให้ผู้ออกตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศดําเนินการดังต่อไปนี้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด
(1) ชี้แจงหรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูล หรือส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม
(2) จัดให้มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เป็นอิสระจัดทําความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อง ครบถ้วน หรือความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ปรากฏในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
หากผู้ออกตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศไม่ดําเนินการตามที่สํานักงานกําหนดตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้ออกตราสารดังกล่าวไม่ประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานอีกต่อไป
ในการกําหนดให้ผู้ออกตราสารดังกล่าวดําเนินการตามวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจกําหนดให้ผู้ออกตราสารเปิดเผยการสั่งการ การดําเนินการ ข้อสังเกตของสํานักงาน หรือคําชี้แจงของผู้ออกตราสารผ่านทางเว็บไซต์ของสํานักงาน ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดด้วยก็ได้
หมวด ๔ การรับรองข้อมูล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓๔ การลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การเสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศโดยผู้ออกที่เป็นสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศดังกล่าว ลงลายมือชื่อในแบบแสดงรายการข้อมูล
(2) การเสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศโดยผู้ออกที่เป็นบุคคลอื่นนอกจาก (1) ให้กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทหรือผู้ที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดที่ได้รับมอบอํานาจ ลงลายมือชื่อในแบบแสดงรายการข้อมูล
ข้อ ๓๕ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรทําให้บุคคลที่ต้องลงนามเพื่อนิติบุคคลตามที่กําหนดในข้อ 34 ไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ ให้นิติบุคคลดังกล่าวปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(1) หากเหตุที่ทําให้บุคคลดังกล่าวคนใดไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ เกิดจากการที่บุคคลดังกล่าวอยู่ในภาวะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เนื่องจากเจ็บป่วยทางร่างกายหรือทางจิต ผู้เสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศไม่จําต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อในแบบแสดงรายการข้อมูล
(2) หากเหตุที่ทําให้บุคคลดังกล่าวคนใดไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ เกิดจากกรณีอื่นนอกจากที่ระบุใน (1) เมื่อเหตุดังกล่าวหมดสิ้นไป ให้ผู้เสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศจัดให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อทันที เพื่อให้แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับตามข้อ 36
หมวด ๕ วันมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓๖ ภายใต้บังคับมาตรา 68 และมาตรา 75 การมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ครบถ้วนดังต่อไปนี้
(1) ผู้ออกตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศต้องได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารนั้นแล้ว
(2) ผู้ออกตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลครบถ้วนแล้ว
(3) เมื่อเป็นไปตามกําหนดเวลาและเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(ก) ในกรณีของแบบ 69-DR เมื่อพ้นเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งหลังสุด (ไม่รวมข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหรือข้อมูลอื่นที่มิใช่ข้อมูลสําคัญซึ่งสํานักงานผ่อนผันให้แก้ไขเพิ่มเติมได้)
(ข) ในกรณีของแบบ 69-DR reissue เมื่อพ้นวันที่ผู้เสนอขายได้ระบุข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลครบถ้วนแล้ว
(4) ผู้เสนอขายได้ระบุข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลครบถ้วนแล้วเพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง (3) “ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขาย” หมายความถึง ข้อมูลดังต่อไปนี้
(1) จํานวนและราคาตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เสนอขาย
(2) ระยะเวลาของการเสนอขาย
(3) รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรร
(4) ข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ ที่มีลักษณะทํานองเดียวกันหรือเกี่ยวกับข้อมูลตาม (1) (2) และ (3)
อื่นๆ ๓ การเปิดเผยข้อมูลอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับฐานะการเงินและ
ผลการดําเนินงานของผู้ออกตราสารแสดงสิทธิ
การฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
ข้อ ๓๗ ให้ผู้ออกตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตตามภาค 1 มีหน้าที่จัดทําและส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามภาคนี้
การจัดทําและส่งรายงานตามวรรคหนึ่ง ให้เริ่มเมื่อแบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นต่อสํานักงานมีผลใช้บังคับแล้ว
ข้อ ๓๘ รายงานแสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานที่ต้องจัดทําตามข้อ 37 ได้แก่ประเภทข้อมูลดังต่อไปนี้
(1) งบการเงิน
(2) แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี ซึ่งมีข้อมูลตามแบบ 56-DR ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓๙ ในกรณีที่ผู้ออกตราสารแสดงสิทธิของผู้ฝากหลักทรัพย์มิใช่บริษัทตามข้อ 40 ให้จัดทําและส่งรายงานตามข้อ 38 ต่อสํานักงานตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ให้จัดทําและส่งงบการเงินตามข้อกําหนดของหน่วยงานทางการซึ่งเป็นผู้กํากับดูแลการประกอบธุรกิจโดยตรงของผู้ออกตราสารนั้น หรือข้อกําหนดของกระทรวงพาณิชย์ แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่ผู้ออกตราสารดังกล่าวเป็นสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศการจัดทําและส่งงบการเงินตามวรรคหนึ่ง ให้หมายถึงงบการเงินของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
(2) ให้จัดทําและส่งแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีมาพร้อมกับการส่งงบการเงินตาม (1) โดยแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีต้องมีข้อมูลสอดคล้องกับแบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นต่อสํานักงานตามข้อ 29 ซึ่งข้อมูลดังกล่าวต้องปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน
ให้ผู้ออกตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศส่งรายงานตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานในรูปแบบดังต่อไปนี้
(1) เอกสารสิ่งพิมพ์จํานวนหนึ่งฉบับ
(2) ข้อมูลในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามที่กําหนดไว้
บนเว็บไซต์ของสํานักงาน
ข้อมูลที่ยื่นต่อสํานักงานทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน และต้องไม่มีการแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญ หรือปกปิดข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้ง
ข้อ ๔๐ ในกรณีที่ผู้ออกตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศเป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทย และมีหน้าที่ต้องยื่นงบการเงินและแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
หากผู้ออกตราสารดังกล่าวได้ส่งงบการเงินและแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีตามประกาศดังกล่าวพร้อมกับผนวกข้อมูลดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าผู้ออกตราสารนั้นได้ส่งรายงานตามข้อ 38 ต่อสํานักงานแล้ว ทั้งนี้ ให้ผู้ออกตราสารแจ้งการผนวกข้อมูลดังกล่าวให้สํานักงานทราบในเวลาที่ยื่นงบการเงินและแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีด้วย
(1) ปัจจัยความเสี่ยงของการลงทุนในตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ
(2) ข้อมูลที่แสดงลักษณะของหลักทรัพย์ต่างประเทศที่ฝากไว้ตามตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศที่มีการออกในรอบปีที่ผ่านมา
ข้อ ๔๑ ให้ผู้ออกตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศสิ้นสุดหน้าที่จัดทําและส่งรายงานที่แสดงฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานต่อสํานักงานตามที่กําหนดในภาคนี้ เมื่อเกิดกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) มีการชําระบัญชีเพื่อเลิกกิจการของผู้ออกตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ
(2) ผู้ออกตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศไม่ได้เสนอขายตราสาร
แสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศภายในระยะเวลาที่สํานักงานอนุญาตให้เสนอขาย หรือผู้ออกตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศยกเลิกการเสนอขายตามที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน
(3) มีการเพิกถอนตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทย
(4) ผู้ออกตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เป็นสถาบันการเงินซึ่งถูกระงับการดําเนินกิจการตามคําสั่งของเจ้าพนักงานหรือหน่วยงานที่มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558
(นายวรพล โสคติยานุรักษ์)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 598 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 50/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทจ. 50/2558
เรื่อง การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภท
ตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ
(ฉบับที่ 2)
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2558เรื่อง การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 6 ให้ผู้ขออนุญาตชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตต่อสํานักงานเมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ทั้งนี้ อัตราค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทตราสารแสดงสิทธิการฝาก หลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 8 เมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วน
ตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้สํานักงานดําเนินการสอบทานข้อเท็จจริงตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชนและแจ้งประเด็นข้อสังเกตที่ได้จากการสอบทานข้อเท็จจริงเพื่อให้ผู้ขออนุญาตชี้แจงข้อสังเกตนั้นภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในหนังสือแจ้งข้อสังเกต โดยต้องดําเนินการ ดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตยื่นคําขอพิจารณาลักษณะของผู้ขออนุญาตตามข้อ 5 วรรคสอง (1) และคําขอพิจารณาลักษณะของตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศตามข้อ 5 วรรคสอง (2) มาพร้อมกัน ให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน
(2) ในกรณีอื่นนอกจาก (1) ให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานสําหรับคําขอพิจารณาลักษณะของผู้ขออนุญาตตามข้อ 5 วรรคสอง (1) หรือคําขอพิจารณาลักษณะของตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศตามข้อ 5 วรรคสอง (2) ที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน
ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาลักษณะของผู้ขออนุญาตหรือลักษณะของตราสาร แสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศภายในสิบวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําชี้แจงต่อ ข้อสังเกตจากการสอบทานข้อเท็จจริงจากผู้ขออนุญาต
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตประสงค์จะขอผ่อนผันหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ ให้ผู้ขออนุญาตยื่นคําขอผ่อนผัน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอผ่อนผันต่อสํานักงานก่อนที่สํานักงานจะเริ่มการพิจารณาตามวรรคสอง ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน โดยสํานักงานจะพิจารณาคําขอผ่อนผันให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเดียวกันกับการพิจารณาอนุญาตตามวรรคสอง”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกข้อ 24 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2558
เรื่อง การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
(นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 599 |