title
stringlengths
8
870
text
stringlengths
0
298k
__index_level_0__
int64
0
54.3k
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 45/2564 เรื่อง การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 45/2564 เรื่อง การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภท ตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 35 มาตรา 67 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 50/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 31/2560 เรื่อง การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560 (4) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 6/2561 เรื่อง การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (5) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 82/2563 เรื่อง การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “ตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ” หมายความว่า หลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ (1) ตราสารแสดงสิทธิของผู้ฝากทรัพย์สิน ซึ่งมีทรัพย์สินที่ฝากเป็นหลักทรัพย์ต่างประเทศ (2) ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง ซึ่งมีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหลักทรัพย์ต่างประเทศ “หลักทรัพย์ต่างประเทศ” หมายความว่า หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ “ตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์ซึ่งจัดตั้งขึ้นในต่างประเทศ “การเสนอขายผ่านระบบการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า การเสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศโดยใช้กลไกการซื้อขายผ่านระบบการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (direct listing) “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย “ข้อกําหนดสิทธิ” หมายความว่า ข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ และผู้ถือตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ “ธนาคารพาณิชย์” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน “ผู้รับฝากต่างประเทศ” หมายความว่า ผู้รับฝากที่สามารถประกอบธุรกิจรับฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศได้ตามกฎหมายของประเทศที่มีการประกอบธุรกิจดังกล่าว “หน่วยงานกํากับดูแลต่างประเทศ” หมายความว่า หน่วยงานกํากับดูแลตลาดทุนต่างประเทศ “โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ” หมายความว่า โครงการจัดการลงทุน (collective investment scheme) ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวม โดยได้รับอนุญาต การจดทะเบียน หรือการดําเนินการอื่นใดในทํานองเดียวกันจากหน่วยงานกํากับดูแลที่มีอํานาจกํากับดูแลโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศนั้น “หน่วย” หมายความว่า หลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ (1) หุ้นของบริษัท (investment company) (2) ใบทรัสต์ของทรัสต์ (unit trust) (3) ตราสารหรือหลักฐานแสดงสิทธิในทรัพย์สินของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ “ประเทศกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ําโขง” หมายความว่า ประเทศที่อยู่ในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ําโขง (Greater Mekong Subregion : GMS) ซึ่งได้แก่ ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและสาธารณรัฐประชาชนจีน (เฉพาะมณฑลยูนนาน) คําว่า “ผู้บริหาร” “ผู้มีอํานาจควบคุม” “ผู้ลงทุนสถาบัน” และ “แบบแสดงรายการข้อมูล” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ภาค ๑ บททั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมวด ๑ ขอบเขตของประกาศและหลักเกณฑ์ทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔ ประกาศนี้ใช้บังคับกับการออกและเสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ เพื่อเป็นช่องทางการให้บริการอีกช่องทางหนึ่งแก่ผู้ลงทุนที่จะลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ โดยผ่านการถือหรือซื้อขายตราสารดังกล่าว ทั้งนี้ ประกาศฉบับนี้ไม่ครอบคลุมถึงกรณีที่ผู้ออกหลักทรัพย์ต่างประเทศยินยอมให้ใช้หลักทรัพย์ต่างประเทศดังกล่าวในการออกและเสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ข้อ ๕ การออกและเสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ และการเปิดเผยข้อมูลอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของผู้ออกตราสารดังกล่าว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การออกและเสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ต้องขอและได้รับอนุญาตตามภาค 2 และยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามภาค 3 (2) การเปิดเผยข้อมูลอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของผู้ออกตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในภาค 4 ข้อ ๖ การออกและเสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศที่ออกใหม่ที่ได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ ให้สามารถดําเนินการได้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ออกและเสนอขายโดยการเปิดให้ผู้ลงทุนจองซื้อตามจํานวนและภายในระยะเวลาที่กําหนด (public offering) ในแบบแสดงรายการข้อมูล (2) ออกโดยการทยอยขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศซึ่งเป็นการเสนอขายผ่านระบบการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะกระทําได้ต่อเมื่อผู้ได้รับอนุญาตได้ระบุการเสนอขายดังกล่าวไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลแล้ว ข้อ ๗ การแจ้ง การยื่น หรือการส่งข้อมูลหรือเอกสารตามประกาศนี้ ให้เป็นไปตามรูปแบบและวิธีการที่สํานักงานกําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน หมวด ๒ อํานาจสํานักงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๘ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ตามคําขอได้ (1) ผู้ขออนุญาตหรือการเสนอขายตราสารดังกล่าว มีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการเสนอขายตราสารนั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือประกาศนี้ (2) การเสนอขายตราสารดังกล่าวอาจขัดต่อนโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐ (3) การเสนอขายตราสารดังกล่าวอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือต่อตลาดทุนไทยโดยรวม (4) การเสนอขายตราสารดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุนโดยรวม หรืออาจทําให้ผู้ลงทุนโดยรวมไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง หรือเพียงพอประกอบการตัดสินใจลงทุน ข้อ ๙ ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้ในการพิจารณาคําขออนุญาต หรือไม่นําเงื่อนไขตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับการเสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตได้ (1) มีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันให้ไม่มีนัยสําคัญสําหรับการพิจารณาอนุญาตในกรณีนั้น และประโยชน์ที่จะได้ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนในการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว (2) ผู้ขออนุญาตหรือผู้ได้รับอนุญาต แล้วแต่กรณี มีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน (3) ผู้ขออนุญาตหรือผู้ได้รับอนุญาต แล้วแต่กรณี มีมาตรการอื่นที่เพียงพอ และสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน การผ่อนผันตามวรรคหนึ่ง ให้คํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนและมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ขออนุญาตหรือผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติด้วยก็ได้ ข้อ ๑๐ ให้สํานักงานมีอํานาจผ่อนผันการเปิดเผยรายละเอียดของข้อมูลตามที่กําหนดในประกาศนี้ได้ หากผู้เสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศแสดงได้ว่าข้อมูลดังกล่าวมิใช่ข้อมูลที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ และมีเหตุอันควรที่จะไม่แสดงรายละเอียดของข้อมูลดังกล่าวไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูล หรือได้ดําเนินการประการอื่นเพื่อทดแทนอย่างเพียงพอแล้ว ข้อ ๑๑ ในการพิจารณาข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนหากสํานักงานเห็นว่ามีเหตุจําเป็นและสมควรเพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลที่มีนัยสําคัญเพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดให้ผู้เสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศดําเนินการดังต่อไปนี้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด (1) ชี้แจงหรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูล หรือส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม (2) จัดให้มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เป็นอิสระจัดทําความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อง ครบถ้วน หรือความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ปรากฏในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน หากผู้เสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศไม่ดําเนินการตามที่สํานักงานกําหนดตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้เสนอขายดังกล่าวไม่ประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานอีกต่อไป ในการกําหนดให้ผู้เสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศดําเนินการตามวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจกําหนดให้ผู้เสนอขายดังกล่าวเปิดเผยการสั่งการ การดําเนินการ ข้อสังเกตของสํานักงาน หรือคําชี้แจงของผู้เสนอขายตราสารนั้นผ่านทางเว็บไซต์ของสํานักงาน ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดด้วยก็ได้ อื่นๆ ๒ การเสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมวด ๑ หลักเกณฑ์การอนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๒ การเสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ จะได้รับอนุญาตจากสํานักงานเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) ผู้ออกตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศที่ขออนุญาตมีลักษณะตามที่กําหนดในส่วนที่ 1 (2) ตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศมีลักษณะตามที่กําหนดในส่วนที่ 2 (3) ข้อกําหนดสิทธิมีรายการและสาระสําคัญตามที่กําหนดในส่วนที่ 3 ส่วน ๑ ลักษณะผู้ขออนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๓ ผู้ขออนุญาตจะต้องมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นบุคคลใดบุคคลหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) ธนาคารพาณิชย์ (ข) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน (ค) บริษัทจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีตลาดหลักทรัพย์ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 99 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการออกตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ (2) มีระบบงานที่มีความพร้อมเพื่อรองรับกระบวนการออกตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ และการดําเนินการตามข้อกําหนดสิทธิ โดยอย่างน้อยต้องเป็นระบบงานในเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) ระบบการดูแลและตรวจสอบหลักทรัพย์ต่างประเทศให้มีจํานวนเพียงพอกับตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศที่จําหน่ายได้แล้วและยังไม่ได้ไถ่ถอน (ข) ระบบการดูแล ติดตาม และส่งผ่านผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่เกิดจากหลักทรัพย์ต่างประเทศให้แก่ผู้ถือตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ และตามข้อกําหนดสิทธิ (ค) ระบบการติดตามข้อมูลข่าวสารของหลักทรัพย์ต่างประเทศที่มีการเปิดเผยในต่างประเทศ และการนําข้อมูลข่าวสารดังกล่าวมาเผยแพร่ต่อผู้ถือตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ เพื่อให้ผู้ถือตราสารดังกล่าวได้รับข้อมูลข่าวสารทันต่อเหตุการณ์ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของประกาศที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลในลักษณะดังกล่าว รวมทั้งตามข้อกําหนดสิทธิ (ง) ระบบงานเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการตั้งบุคคลต่างประเทศเป็นตัวแทนในการเก็บรักษาหลักทรัพย์ต่างประเทศ ดังนี้ 1. ระบบการพิจารณาคัดเลือกตัวแทน ซึ่งต้องเป็นผู้รับฝากต่างประเทศที่มีระบบงานที่มีความพร้อมในการเก็บรักษาหลักทรัพย์ต่างประเทศ 2. ระบบการตรวจสอบเพื่อสอบทานความถูกต้องของหลักทรัพย์ต่างประเทศที่ฝากไว้กับผู้รับฝากต่างประเทศ กับรายการที่ปรากฏในบัญชีที่ผู้ขออนุญาตจัดทําขึ้น 3. ระบบการดูแลและติดต่อประสานงานกับผู้รับฝากต่างประเทศ เพื่อให้ผู้รับฝากต่างประเทศดังกล่าวสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามที่ได้รับมอบหมาย (3) มีความพร้อมด้านบุคลากรเพื่อรับผิดชอบในการดําเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการออกตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ และการดําเนินการตามข้อกําหนดสิทธิโดยบุคลากรดังกล่าวจะต้องมีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่เหมาะสมกับลักษณะงานที่รับผิดชอบ (4) ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ากรรมการ ผู้บริหาร และผู้มีอํานาจควบคุมของผู้ขออนุญาตมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท โดยอนุโลม ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ การพิจารณาตามวรรคหนึ่งให้พิจารณาเฉพาะผู้ดํารงตําแหน่งในสาขาในประเทศไทย (5) ไม่อยู่ระหว่างถูกทางการ หรือหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมาย ไม่ว่าในประเทศไทยหรือในต่างประเทศ สั่งให้แก้ไขปรับปรุงระบบงานหรือการดําเนินการใดที่อาจส่งผลกระทบต่อการออกตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ และการปฏิบัติงานอันดีของธุรกิจอย่างมีนัยสําคัญ ส่วน ๒ ลักษณะของตราสารแสดงสิทธิ ในหลักทรัพย์ต่างประเทศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๔ ตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) หลักทรัพย์ต่างประเทศตามตราสารดังกล่าว ต้องเป็นหลักทรัพย์ตามข้อ 15 (2) ตราสารดังกล่าวมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างต่อเนื่องตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) เป็นการเปิดเผยข้อมูลโดยผู้ออกหลักทรัพย์ต่างประเทศต่อหน่วยงานกํากับดูแลต่างประเทศหรือตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ (ข) ผู้ลงทุนสามารถเข้าถึงข้อมูลตาม (ก) ที่เป็นภาษาอังกฤษ โดยข้อมูลภาษาอังกฤษนั้นอาจจัดทําโดยผู้ขออนุญาต ผู้ออกหลักทรัพย์ต่างประเทศ หรือหน่วยงานหรือสถาบันอื่นที่มีความน่าเชื่อถือก็ได้ ทั้งนี้ หากผู้ขออนุญาตเป็นผู้จัดทําหรือร่วมจัดทําข้อมูลภาษาอังกฤษ ผู้ขออนุญาตต้องรับรองด้วยว่าข้อมูลที่จัดทําขึ้นนั้นมีสาระถูกต้องตรงตามข้อมูลที่ผู้ออกหลักทรัพย์ต่างประเทศได้เปิดเผยต่อหน่วยงานกํากับดูแลต่างประเทศหรือตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ (3) ตราสารดังกล่าวต้องรองรับสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ตามอัตราดังนี้ (ก) กรณีตราสารที่ออกเป็นตราสารแสดงสิทธิของผู้ฝากทรัพย์สิน ต้องรองรับสิทธิในอัตรา 1 หน่วยตราสารต่อ 1 หน่วยหลักทรัพย์ต่างประเทศ (ข) กรณีตราสารที่ออกเป็นใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง จะรองรับสิทธิในอัตราหลายหน่วยตราสารต่อ 1 หน่วยหลักทรัพย์ต่างประเทศ หรืออัตราตาม (ก) ก็ได้ ข้อ ๑๕ หลักทรัพย์ต่างประเทศตามตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ต้องเป็นหลักทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายในกระดานหลัก (main board) ของตลาดหลักทรัพย์ของประเทศที่มีการกํากับดูแลตลาดทุนเป็นที่ยอมรับของสํานักงาน โดยต้องเป็นหลักทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งดังนี้ (ก) หุ้นสามัญ (ข) หน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ ซึ่งมีลักษณะครบถ้วนตามหลักเกณฑ์การอนุญาตให้เสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ ยกเว้นหลักเกณฑ์ในเรื่องการจัดให้มีตัวแทน (local representative) ในประเทศไทย (ค) ตราสารหรือหลักฐานแสดงสิทธิในทรัพย์สินของกองทุนต่างประเทศที่มีนโยบายการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะจัดตั้งในรูปบริษัท กองทรัสต์ หรือรูปแบบอื่นใด (2) หุ้นสามัญที่มีการซื้อขายในกระดานหลัก (main board) ของตลาดหลักทรัพย์ของประเทศกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ําโขง โดยหุ้นสามัญดังกล่าวมีมูลค่าหุ้นตามราคาตลาด (market capitalization) เฉลี่ยย้อนหลัง 15 วันทําการติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านบาท ส่วน ๓ รายการและสาระสําคัญของข้อกําหนดสิทธิ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๖ ข้อกําหนดสิทธิต้องประกอบด้วยรายการและสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ลักษณะที่สําคัญของตราสาร โดยให้ระบุด้วยว่าตราสารที่ออกเป็นหลักทรัพย์ประเภทตราสารแสดงสิทธิของผู้ฝากทรัพย์สิน หรือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง (2) สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ออกตราสาร ซึ่งต้องรวมถึงหน้าที่ในการดํารงหลักทรัพย์ต่างประเทศให้มีจํานวนไม่น้อยกว่าจํานวนตราสารทั้งหมดที่จําหน่ายได้แล้วและยังไม่ได้ไถ่ถอน (3) สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ถือตราสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิที่จะได้รับผลประโยชน์จากหลักทรัพย์ต่างประเทศ และกระบวนการใช้สิทธิเมื่อผู้ออกหลักทรัพย์ต่างประเทศมีการให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ถือหลักทรัพย์ หรือการดําเนินการอื่นใดที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้ถือหลักทรัพย์ รวมทั้งข้อจํากัดในการใช้สิทธิดังกล่าว ในกรณีที่ตราสารที่ออกเป็นหลักทรัพย์ประเภทใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง สิทธิตามวรรคหนึ่งต้องเป็นลักษณะเดียวกับหรือเทียบเคียงได้กับสิทธิที่ผู้ถือหลักทรัพย์ต่างประเทศจะได้รับจากบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต่างประเทศดังกล่าว (4) การขอมติและการประชุมผู้ถือตราสาร (5) ข้อกําหนดและเงื่อนไขในการออกและการไถ่ถอนตราสาร (6) ข้อกําหนดและเงื่อนไขในการยกเลิกตราสาร (7) การดําเนินการของผู้ออกตราสารในกรณีที่หลักทรัพย์ต่างประเทศ หรือผู้ออกหลักทรัพย์ต่างประเทศ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ เช่น การเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ของหลักทรัพย์ต่างประเทศ การเปลี่ยนธุรกิจหลัก หรือการควบรวมกิจการ เป็นต้น (8) การดําเนินการของผู้ออกตราสารในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ทําให้ไม่สามารถจัดให้มีหลักทรัพย์ต่างประเทศในจํานวนที่เพียงพอกับตราสารที่จําหน่ายแล้วและยังไม่ได้ไถ่ถอน รวมทั้งข้อตกลงเกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายหรือมาตรการเยียวยาอื่น ๆ ที่ผู้ถือตราสารจะได้รับ (9) ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เรียกเก็บจากผู้ถือตราสาร (10) การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อกําหน ข้อ ๑๗ กรณีตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศที่ออกและเสนอขายผ่านระบบการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ นอกจากรายการและสาระสําคัญที่กําหนดตามข้อ 16 แล้ว ข้อกําหนดสิทธิต้องมีรายการเกี่ยวกับมาตรการคุ้มครองผู้ถือตราสารหากผู้ออกตราสารไม่สามารถกระจายการถือตราสารได้ตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ด้วย โดยต้องระบุอย่างชัดเจนถึงวิธีการในการให้สิทธิแก่ผู้ถือตราสารที่จะไถ่ถอนตราสาร การจัดให้มีการรับซื้อตราสาร หรือวิธีการอื่นใดเพื่อจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับสภาพคล่องของตราสารดังกล่าว หมวด ๒ วิธีการยื่นและการพิจารณาคําขออนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๘ ผู้ที่ประสงค์จะเสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศที่ออกใหม่ ให้ยื่นคําขออนุญาตและเอกสารหลักฐานอื่นต่อสํานักงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานกําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน การขออนุญาตตามวรรคหนึ่งต้องประกอบด้วยคําขอดังต่อไปนี้ (1) คําขอพิจารณาลักษณะของผู้ขออนุญาต (2) คําขอพิจารณาลักษณะของตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ซึ่งแสดงรายชื่อและข้อมูลของหลักทรัพย์ต่างประเทศตามตราสารดังกล่าว ข้อ ๑๙ ให้ผู้ขออนุญาตชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตต่อสํานักงานเมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ทั้งนี้ อัตราค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ข้อ ๒๐ เมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาต พร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้สํานักงานดําเนินการสอบทานข้อเท็จจริงตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชนและแจ้งประเด็นข้อสังเกตที่ได้จากการสอบทานข้อเท็จจริงเพื่อให้ผู้ขออนุญาตชี้แจงข้อสังเกตนั้นภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในหนังสือแจ้งข้อสังเกต โดยต้องดําเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตยื่นคําขอพิจารณาลักษณะของผู้ขออนุญาตตามข้อ 18 วรรคสอง (1) และคําขอพิจารณาลักษณะของตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศตามข้อ 18 วรรคสอง (2) มาพร้อมกัน ให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 45 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน (2) ในกรณีอื่นนอกจาก (1) ให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 15 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานสําหรับคําขอพิจารณาลักษณะของผู้ขออนุญาตตามข้อ 18 วรรคสอง (1)หรือคําขอพิจารณาลักษณะของตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศตามข้อ 18 วรรคสอง (2) ที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาลักษณะของผู้ขออนุญาตหรือลักษณะของตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศภายใน 10 วันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําชี้แจงต่อข้อสังเกตจากการสอบทานข้อเท็จจริงจากผู้ขออนุญาต ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตประสงค์จะขอผ่อนผันหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ ให้ผู้ขออนุญาตยื่นคําขอผ่อนผัน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอผ่อนผันต่อสํานักงานก่อนที่สํานักงานจะเริ่มการพิจารณาตามวรรคสอง ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน โดยสํานักงานจะพิจารณาคําขอผ่อนผันให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเดียวกันกับการพิจารณาอนุญาตตามวรรคสอง ข้อ ๒๑ เมื่อได้รับแจ้งการอนุญาตตามข้อ 20 วรรคสองแล้ว ผู้ได้รับอนุญาตสามารถเสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศได้ภายในมูลค่าที่ได้รับอนุญาตโดยไม่จํากัดจํานวนครั้งที่เสนอขาย ทั้งนี้ ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ข้อ ๒๒ ภายหลังจากที่สํานักงานพิจารณาแล้วว่าผู้ขออนุญาตมีลักษณะตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนที่ 1 ของหมวด 1 ในภาค 2 หากต่อมาปรากฏว่าผู้ขออนุญาตรายนั้นไม่สามารถดํารงลักษณะให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ให้ผู้ขออนุญาตแจ้งให้สํานักงานทราบโดยพลันพร้อมทั้ง ระบุเหตุที่ทําให้ไม่สามารถดํารงสถานะดังกล่าวได้ ข้อ ๒๓ ภายหลังการอนุญาตให้เสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ที่ออกใหม่ หากต่อมาผู้ได้รับอนุญาตมีลักษณะไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนที่ 1 ของหมวด 1 ของภาค 2 หรือตราสารมีลักษณะไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนที่ 2 ของหมวด 1 ของภาค 2 ให้การอนุญาตให้เสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศระงับลงเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะกลับมามีลักษณะที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ทั้งนี้ การระงับการอนุญาตไม่มีผลกระทบต่อตราสารที่ได้เสนอขายหรือออกไปแล้ว เมื่อผู้ได้รับอนุญาตหรือตราสารที่ได้รับอนุญาตกลับมามีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่ง ให้ผู้ได้รับอนุญาตแจ้งให้สํานักงานทราบโดยพลัน เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาลักษณะของตราสารตามวรรคหนึ่ง การคํานวณมูลค่าหุ้นสามัญที่มีการซื้อขายในกระดานหลัก (main board) ของตลาดหลักทรัพย์ของประเทศกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ําโขงตามข้อ 15(2) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีเป็นตราสารที่ออกและเสนอขายผ่านระบบการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ให้คํานวณมูลค่าหุ้นตามราคาตลาด (market capitalization) เฉลี่ยย้อนหลัง 15 วันทําการติดต่อกันก่อนวันที่มีการเสนอขายตราสารที่ออกใหม่ในแต่ละครั้ง (2) กรณีเป็นตราสารที่ออกและเสนอขายด้วยวิธีอื่นนอกจาก (1) ให้คํานวณมูลค่าหุ้นตามราคาตลาด (market capitalization) เฉลี่ยย้อนหลัง 15 วันทําการติดต่อกันก่อนวันแรกของการเสนอขายตราสารที่ออกใหม่ในแต่ละครั้ง ข้อ ๒๔ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบลักษณะของผู้ได้รับอนุญาตและตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศก่อนการออกและเสนอขายตราสารที่ออกใหม่ในแต่ละครั้ง ให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดทําและบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของผู้ได้รับอนุญาตและลักษณะของตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศที่แสดงว่ามีลักษณะเป็นไปตามที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ และให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดส่งข้อมูลและเอกสารดังกล่าวเมื่อสํานักงานร้องขอ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดเก็บข้อมูลและเอกสารตามวรรคหนึ่งให้ครบถ้วนอย่างน้อยเป็นระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่มีการออกและเสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศในแต่ละครั้ง ส่วน ๓ เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติภายหลังได้รับอนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๕ ในการเสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับการจําหน่ายหุ้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ออกตราสารทุน โดยอนุโลม ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศผ่านระบบการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (2) กรณีที่ข้อกําหนดในส่วนนี้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจกําหนดการอนุโลมใช้ในรายละเอียดให้เหมาะสมกับลักษณะของการเสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศได้ ข้อ ๒๖ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้การชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ดําเนินการผ่านบริษัทหลักทรัพย์ประเภทที่สามารถเป็นผู้ให้บริการดังกล่าวเกี่ยวกับตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศได้ เว้นแต่เป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ผู้ได้รับอนุญาตมีสถานะเป็นบริษัทหลักทรัพย์ประเภทนั้นอยู่แล้ว โดยผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับการให้บริการดังกล่าวตามประเภทของบริษัทหลักทรัพย์โดยอนุโลม แต่ไม่รวมถึงข้อห้ามในการจัดสรร (2) การเสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศดังกล่าวเป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบัน ข้อ ๒๗ ในการเสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ หากหนังสือชี้ชวนยังมิได้ระบุราคาเสนอขายที่แน่นอนของตราสารดังกล่าว (เช่น ระบุเป็นช่วงราคา หรือสูตรการคํานวณ เป็นต้น) ผู้ได้รับอนุญาตต้องแจกจ่ายหรือจัดส่งเอกสารไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ ที่แสดงราคาเสนอขายที่แน่นอน เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลดังกล่าวก่อนที่ผู้ลงทุนนั้นจะทําการจองซื้อตราสาร ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับการเสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศผ่านระบบการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒๘ ผู้ได้รับอนุญาตต้องเริ่มเสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เป็นหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่งในครั้งแรก ภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการอนุญาตจากสํานักงานตามข้อ 20 วรรคสอง หากไม่สามารถดําเนินการได้ภายในระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ให้การอนุญาตเป็นอันสิ้นสุดลง ข้อ ๒๙ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศตามข้อ 6(1) เป็นครั้งแรก หากสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอขายตราสารดังกล่าวแล้วและปรากฏกรณีดังต่อไปนี้ ให้การอนุญาตเป็นอันสิ้นสุดลง (1) มีผู้จองซื้อตราสารไม่ถึง 50 ราย (2) มีมูลค่าการจองซื้อตราสารรวมกันไม่ถึงจํานวนที่กําหนดไว้ดังนี้ (ก) 20 ล้านบาท ในกรณีที่เป็นตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เป็นหุ้นที่ซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ําโขง (ข) 50 ล้านบาท ในกรณีอื่นใดนอกจาก (ก) ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ได้รับอนุญาตยกเลิกการขายตราสารในรอบการเสนอขายนั้นทั้งหมด และดําเนินการคืนเงินค่าจองซื้อแก่ผู้จองซื้อโดยไม่ชักช้า ข้อ ๓๐ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีข้อกําหนดสิทธิที่มีรายการและสาระสําคัญไม่ต่างจากร่างข้อกําหนดสิทธิที่ผ่านการพิจารณาของสํานักงานแล้ว เว้นแต่ข้อมูลเกี่ยวกับตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศและข้อมูลเฉพาะสําหรับการเสนอขายตราสารดังกล่าวในแต่ละครั้ง การแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดสิทธิจะกระทําได้ต่อเมื่อไม่เป็นการขัดแย้งกับข้อกําหนดตามประกาศนี้ และการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นไปตามที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดสิทธิ กรณีที่การแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดสิทธิต้องได้รับมติที่ประชุมผู้ถือตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ หนังสือนัดประชุมผู้ถือตราสารต้องระบุอย่างชัดเจนถึงสาเหตุของการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดสิทธิและผลกระทบที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นกับผู้ถือตราสาร ข้อ ๓๑ การออกตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีออกและเสนอขายโดยการเปิดให้ผู้ลงทุนจองซื้อตามจํานวนและภายในระยะเวลาที่กําหนด ให้ออกตราสารได้ต่อเมื่อผู้ได้รับอนุญาตมั่นใจว่ามีหลักทรัพย์ต่างประเทศเพียงพอที่จะรองรับจํานวนตราสารดังกล่าวที่ต้องจัดสรรให้แก่ผู้ลงทุน ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงระบบการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ (2) กรณีออกและเสนอขายผ่านระบบการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (ก) กรณีที่เป็นตราสารประเภทตราสารแสดงสิทธิของผู้ฝากหลักทรัพย์ ให้ออกตราสารได้ต่อเมื่อผู้ได้รับอนุญาตมีหลักทรัพย์ต่างประเทศฝากไว้กับผู้รับฝากต่างประเทศในจํานวนไม่น้อยกว่าจํานวนตราสารทั้งหมดที่จําหน่ายได้แล้ว (รวมจํานวนตราสารที่เสนอขาย) และยังไม่ได้ไถ่ถอน (ข) กรณีที่เป็นตราสารประเภทใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง ให้ออกตราสารได้ต่อเมื่อผู้ได้รับอนุญาตมั่นใจว่ามีหลักทรัพย์ต่างประเทศเพียงพอที่จะรองรับจํานวนตราสารดังกล่าวที่จําหน่ายให้แก่ผู้ลงทุน ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงระบบการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๓๒ ให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดทําและส่งรายงานที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับจํานวนตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศที่มีการออกและไถ่ถอน รวมทั้งจํานวนคงเหลือ ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของทุกเดือนต่อสํานักงาน โดยให้ส่งรายงานดังกล่าวต่อสํานักงานผ่านระบบการรับส่งข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ตามแนวทางที่ตลาดหลักทรัพย์กําหนด ภายใน 15 วันนับแต่วันสุดท้ายของแต่ละเดือน ภาค ๓ การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขาย ตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมวด ๑ การยื่นและค่าธรรมเนียม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๓ ให้ผู้เสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามที่กําหนดไว้ในข้อ 35 และร่างหนังสือชี้ชวนตามแบบที่กําหนดตามมาตรา 72 ต่อสํานักงาน ทั้งนี้ ตามแนวทางและวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่ง ให้หมายถึงการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับหลักทรัพย์ต่างประเทศที่รองรับการใช้สิทธิตามตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศที่มีการส่งมอบหลักทรัพย์ด้วย ข้อ ๓๔ ผู้เสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศมีหน้าที่ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ในวันที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล หมวด ๒ แบบแสดงรายการข้อมูล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๕ ให้ผู้เสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลสําหรับการเสนอขายตราสารดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เป็นการได้รับอนุญาตตามภาค 2 เป็นครั้งแรก ให้ยื่นแบบ 69-DR ท้ายประกาศนี้ (2) ในกรณีอื่นนอกจาก (1) ให้ยื่นแบบ 69-DR reissue ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓๖ การจัดทําแบบแสดงรายการข้อมูลตามข้อ 35 เพื่อยื่นต่อสํานักงาน ให้จัดทําเป็นภาษาไทยเท่านั้น เว้นแต่ข้อมูลในส่วนของหลักทรัพย์ต่างประเทศอาจจัดทําเป็นภาษาอังกฤษก็ได้ ข้อ ๓๗ ในกรณีที่ผู้เสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศมีการเปิดเผยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญที่มิได้แสดงอยู่ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนให้แก่บุคคลใดเป็นการเฉพาะราย เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ความเหมาะสมของการลงทุน หรือการตัดสินใจลงทุนในตราสารที่เสนอขาย ผู้เสนอขายตราสารดังกล่าวต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่แบบแสดงรายการข้อมูลยังไม่มีผลใช้บังคับ ผู้เสนอขายตราสารต้องดําเนินการให้มีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับ (2) กรณีที่แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับแล้ว ผู้เสนอขายตราสารต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวเพิ่มเติมในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนโดยพลัน หมวด ๓ การรับรองข้อมูล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๘ การลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การเสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศโดยผู้เสนอขายที่เป็นสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศดังกล่าว ลงลายมือชื่อ (2) การเสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศโดยผู้เสนอขายที่เป็นบุคคลอื่นนอกจาก (1) ให้กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทหรือผู้ที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดที่ได้รับมอบอํานาจลงลายมือชื่อ ข้อ ๓๙ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรทําให้บุคคลที่ต้องลงนามเพื่อนิติบุคคลตามที่กําหนดในข้อ 38 ไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ ให้นิติบุคคลดังกล่าวปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน (1) หากเหตุที่ทําให้บุคคลดังกล่าวคนใดไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ เกิดจากการที่บุคคลดังกล่าวอยู่ในภาวะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เนื่องจากเจ็บป่วยทางร่างกายหรือทางจิต ผู้เสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศไม่จําต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อในแบบแสดงรายการข้อมูล (2) หากเหตุที่ทําให้บุคคลดังกล่าวคนใดไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ เกิดจากกรณีอื่นนอกจากที่ระบุใน (1) เมื่อเหตุดังกล่าวหมดสิ้นไป ให้ผู้เสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศจัดให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อทันที เพื่อให้แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับตามข้อ 41 ข้อ ๔๐ การลงลายมือชื่อตามข้อ 38 หรือข้อ 39 ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้เป็นไปตามแนวทางที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน หมวด ๔ วันมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูล และร่างหนังสือชี้ชวน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔๑ ภายใต้บังคับมาตรา 68 และมาตรา 75 การมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) ผู้เสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศต้องได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารนั้นแล้ว (2) ผู้เสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศได้ชําระค่าธรรมเนียม การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลครบถ้วนแล้ว (3) เมื่อเป็นไปตามกําหนดเวลาและเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (ก) กรณีของแบบ 69-DR เมื่อพ้นเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งหลังสุด (ไม่รวมข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหรือข้อมูลอื่นที่มิใช่ข้อมูลสําคัญซึ่งสํานักงานผ่อนผันให้แก้ไขเพิ่มเติมได้) (ข) กรณีของแบบ 69-DR reissue เมื่อพ้นวันที่ผู้เสนอขายได้ระบุข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลครบถ้วนแล้ว (4) ผู้เสนอขายได้ระบุข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลครบถ้วนแล้ว เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง (3) “ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขาย” หมายความถึง ข้อมูลดังต่อไปนี้ (1) จํานวนและราคาตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เสนอขาย (2) ระยะเวลาของการเสนอขาย (3) รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรร (4) ข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศที่มีลักษณะทํานองเดียวกันหรือเกี่ยวกับข้อมูลตาม (1) (2) และ (3) อื่นๆ ๔ การเปิดเผยข้อมูลอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับฐานะการเงินและ ผลการดําเนินงานของผู้ออกตราสารแสดงสิทธิ ในหลักทรัพย์ต่างประเทศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔๒ ให้ผู้ออกตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตตามภาค 2 มีหน้าที่จัดทําและส่งรายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามภาคนี้ การจัดทําและส่งรายงานตามวรรคหนึ่ง ให้เริ่มเมื่อแบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นต่อสํานักงานมีผลใช้บังคับแล้ว ข้อ ๔๓ รายงานแสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานที่ต้องจัดทําตามข้อ 42 ได้แก่ประเภทข้อมูลดังต่อไปนี้ (1) งบการเงิน (2) แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี ซึ่งมีข้อมูลตามแบบ 56-DR ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔๔ ให้ผู้ออกตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศจัดทําและส่งรายงานตามข้อ 43 ต่อสํานักงานตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ให้จัดทําและส่งงบการเงินตามข้อกําหนดของหน่วยงานทางการซึ่งเป็นผู้กํากับดูแลการประกอบธุรกิจโดยตรงของผู้ออกตราสารนั้น หรือข้อกําหนดของกระทรวงพาณิชย์แล้วแต่กรณี ในกรณีที่ผู้ออกตราสารดังกล่าวเป็นสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ การจัดทําและส่งงบการเงินตามวรรคหนึ่ง ให้หมายถึงงบการเงินของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (2) ให้จัดทําและส่งแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีมาพร้อมกับการส่งงบการเงินตาม (1) โดยแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีต้องมีข้อมูลสอดคล้องกับแบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นต่อสํานักงานตามข้อ 35 ซึ่งข้อมูลดังกล่าวต้องปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน ในกรณีที่ผู้ออกตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีหลายแบบ ผู้ออกตราสารดังกล่าวอาจผนวกข้อมูลดังต่อไปนี้ รวมไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีแบบใดแบบหนึ่งก็ได้ โดยให้ถือว่าผู้ออกตราสารนั้นได้ส่งรายงานตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานแล้ว ทั้งนี้ ให้ผู้ออกตราสารแจ้งการผนวกข้อมูลดังกล่าวให้สํานักงานทราบในเวลาที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีด้วย (1) ปัจจัยความเสี่ยงของการลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ (2) ข้อมูลที่แสดงลักษณะของหลักทรัพย์ต่างประเทศที่รองรับตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศในรอบปีที่ผ่านมา ข้อ ๔๕ ให้ผู้ออกตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศสิ้นสุดหน้าที่จัดทําและส่งรายงานที่แสดงฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานต่อสํานักงานตามที่กําหนดในภาคนี้ เมื่อเกิดกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) มีการชําระบัญชีเพื่อเลิกกิจการของผู้ออกตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ (2) ผู้ออกตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศไม่ได้เสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศภายในระยะเวลาที่สํานักงานอนุญาตให้เสนอขาย หรือผู้ออกตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศยกเลิกการเสนอขายตามที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน (3) มีการเพิกถอนตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (4) ผู้ออกตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เป็นสถาบันการเงินซึ่งถูกระงับการดําเนินกิจการตามคําสั่งของเจ้าพนักงานหรือหน่วยงานที่มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย อื่นๆ ๕ บทเฉพาะกาล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔๖ ในกรณีที่สํานักงานได้รับคําขออนุญาตเสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศที่ยื่นต่อสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และผู้ขออนุญาตมิได้แจ้งต่อสํานักงานว่าประสงค์จะยื่นคําขออนุญาตภายใต้ข้อกําหนดของประกาศนี้ ให้การพิจารณาคําขออนุญาตดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับของข้อกําหนดแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 ที่ถูกยกเลิกโดยประกาศฉบับนี้ ข้อ ๔๗ ให้ตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 ไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ยังคงอยู่ภายใต้บังคับของประกาศดังกล่าวและประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป ข้อ ๔๘ ในกรณีที่ประกาศฉบับใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 ให้การอ้างอิงประกาศดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๔๙ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 ยังคงมีผลใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
700
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 54/2564 เรื่อง การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 54/2564 เรื่อง การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภท ตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 29 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 45/2564 เรื่อง การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 29 การเสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เป็นหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่งในครั้งแรกตามข้อ 6(1) ภายหลังจากได้รับอนุญาตจากสํานักงานเป็นครั้งแรก หากสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอขายตราสารดังกล่าวแล้วและปรากฏกรณีดังต่อไปนี้ ให้การอนุญาตเป็นอันสิ้นสุดลง (1) มีผู้จองซื้อตราสารไม่ถึง 50 ราย (2) มีมูลค่าการจองซื้อตราสารรวมกันไม่ถึงจํานวนที่กําหนดไว้ดังนี้ (ก) 20 ล้านบาท ในกรณีที่เป็นตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เป็นหุ้นที่ซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ําโขง (ข) 50 ล้านบาท ในกรณีอื่นใดนอกจาก (ก) ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ได้รับอนุญาตยกเลิกการขายตราสารในรอบการเสนอขายนั้นทั้งหมด และดําเนินการคืนเงินค่าจองซื้อแก่ผู้จองซื้อโดยไม่ชักช้า” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
701
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 4/2565 เรื่อง การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 4/2565 เรื่อง การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภท ตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (ง) ของ (2) ในข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 45/2564 เรื่อง การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ง) ระบบงานเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งตัวแทนเพื่อเก็บรักษาหลักทรัพย์ต่างประเทศ ดังนี้ 1. ระบบการพิจารณาคัดเลือกผู้รับฝากต่างประเทศ (global custodian) ที่มีระบบงานที่มีความพร้อมในการเก็บรักษาหลักทรัพย์ต่างประเทศ 2. ระบบการตรวจสอบเพื่อสอบทานความถูกต้องของหลักทรัพย์ต่างประเทศที่ฝากไว้กับผู้รับฝากต่างประเทศ กับรายการที่ปรากฏในบัญชีที่ผู้ขออนุญาตหรือตัวแทนของผู้ขออนุญาตจัดทําขึ้น 3. ระบบการดูแลและติดต่อประสานงานกับผู้รับฝากต่างประเทศ เพื่อให้ผู้รับฝากต่างประเทศดังกล่าวสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามที่ได้รับมอบหมาย ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตแต่งตั้งบุคคลอื่นที่มิใช่ผู้รับฝากต่างประเทศเป็นตัวแทนเพื่อเก็บรักษาหลักทรัพย์ต่างประเทศ หากบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งมีระบบงานครบถ้วนตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้ขออนุญาตได้จัดให้มีระบบงานดังกล่าวแล้ว” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
702
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 9/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 9/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อ ผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 125(5) โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และมาตรา 125(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535และมาตรา 129/1(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 และข้อ 6 วรรคสาม และข้อ 32 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 11/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 38/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2562 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 48/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562 (4) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 70/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 18) ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (5) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 9/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ประกาศที่ ทน. 11/2564” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 11/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 หมวด ๑ หลักเกณฑ์ทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ ให้ใช้คําศัพท์ตามภาคผนวก 1 แนบท้ายประกาศนี้ ประกอบการพิจารณาการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวด้วย ข้อ ๕ ในการจัดการกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนหรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง ให้ปฏิบัติตามภาคผนวก 2 แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ห้ามบริษัทจัดการคิดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากกรณีดังกล่าวจากกองทุนรวม เว้นแต่ในกรณีที่ความไม่ถูกต้องดังกล่าวมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ (2) การจัดทําและจัดส่งรายงานของกองทุนรวม ให้ปฏิบัติตามภาคผนวก 3 แนบท้ายประกาศนี้ (3) กรณีเป็นการเปลี่ยนสภาพกองทุนรวมจากกองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิด ต้องจัดให้มีวิธีการในการให้สิทธิแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมปิดในการที่จะออกจากกองทุนรวมดังกล่าว และให้ปฏิบัติตามภาคผนวก 4 แนบท้ายประกาศนี้ (4) การควบกองทุนรวมและการรวมกองทุนรวม ให้ปฏิบัติตามภาคผนวก 5 แนบท้ายประกาศนี้ (5) กรณีที่ผู้ออกตราสารหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องผิดนัดชําระหนี้ ให้ปฏิบัติตามภาคผนวก 6 แนบท้ายประกาศนี้ (6) การดําเนินการเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการคํานึงถึงความสมเหตุสมผลกับสภาพปกติทางธุรกิจและประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ โดยในกรณีที่มีการเพิ่มหรือลดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่าย ให้ปฏิบัติตามภาคผนวก 7 แนบท้ายประกาศนี้ (7) การเลิกกองทุนรวม ให้ปฏิบัติตามภาคผนวก 8 แนบท้ายประกาศนี้ ในกรณีที่เป็นการจัดการกองทุนรวมดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติให้เป็นไปตามภาคผนวก 9 แนบท้ายประกาศนี้ด้วย (1) กองทุนรวมมีประกัน (2) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (3) กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (4) กองทุนรวมเพื่อการออม (5) กองทุนรวมอีทีเอฟ (6) กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรมที่มุ่งลงทุนในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (7) กองทุนรวมตลาดเงินที่กําหนดราคาหน่วยลงทุนคงที่ ซึ่งกําหนดราคาหน่วยเพื่อการขายและรับซื้อคืนคงที่ตลอดเวลา (8) กองทุนรวมหน่วยลงทุน (9) กองทุนรวมฟีดเดอร์ ข้อ ๖ การเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ไม่ว่าเพราะเหตุใด บริษัทจัดการจะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงานก่อน ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมในภายหลัง ให้บริษัทจัดการดําเนินการให้ผู้ดูแลผลประโยชน์แก้ไขคุณสมบัติให้ถูกต้องภายใน 15 วันนับแต่วันที่บริษัทจัดการทราบเหตุดังกล่าว และแจ้งการแก้ไขดังกล่าวให้สํานักงานทราบภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่แก้ไขเสร็จสิ้น ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์มิได้แก้ไขคุณสมบัติให้ถูกต้องภายในกําหนดเวลาตาม วรรคสอง ให้บริษัทจัดการขออนุญาตเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ต่อสํานักงานภายใน 15 วันนับแต่วันที่ครบกําหนดเวลาดังกล่าว และเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ให้บริษัทจัดการแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์รายใหม่แทนโดยพลัน ข้อ ๗ การเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนโครงการของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การขายหน่วยลงทุนเพิ่มจะต้องไม่ทําให้มูลค่าทั้งหมดของหน่วยลงทุนที่เพิ่ม มีมูลค่าเกินกว่าเงินทุนโครงการ ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการใช้มูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนเป็นเกณฑ์ ในการคํานวณ (2) ราคาเสนอขายหน่วยลงทุนต้องกําหนดตามมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมณ สิ้นวันที่เสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่ม (3) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเปิด บริษัทจัดการจะเสนอขายหน่วยลงทุนตามจํานวนที่เพิ่มขึ้นของเงินทุนโครงการได้ต่อเมื่อได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงเงินทุนโครงการต่อสํานักงานแล้ว ข้อ ๘ กองทุนรวมใดที่ไม่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน หากประสงค์จะมีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน หรือกรณีที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนอยู่แล้ว หากจะมีการแก้ไขหรือเพิ่มเติมชนิดหน่วยลงทุน บริษัทจัดการต้องจัดให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการ ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ลักษณะของชนิดหน่วยลงทุนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (2) การแบ่งชนิดหน่วยลงทุนต้องไม่กระทบสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนเดิม ข้อ ๙ นอกจากต้องปฏิบัติตามข้อ 8 แล้ว หากกองทุนรวมใดประสงค์จะมีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนตามกรณีสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาวของผู้ลงทุนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2562 กองทุนรวมดังกล่าวต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นกองทุนรวมเปิด (2) ไม่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย (3) ไม่เป็นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (4) ไม่เป็นกองทุนรวมที่มีหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (5) ระบุข้อความ “ชนิดเพื่อการออม” ไว้ในชนิดของหน่วยลงทุนดังกล่าว ข้อ ๑๐ ในกรณีที่หน่วยลงทุนชนิดใดของกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน ไม่มีจํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนเหลืออยู่แล้วสําหรับหน่วยลงทุนชนิดดังกล่าว บริษัทจัดการอาจคงชนิดของหน่วยลงทุนนั้นไว้ต่อไปก็ได้ และหากจะมีการขายหน่วยลงทุนชนิดนั้นเพิ่มเติม ให้บริษัทจัดการคํานวณราคาขายหน่วยลงทุนของหน่วยลงทุนชนิดดังกล่าวโดยใช้มูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม หรือมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม แล้วแต่กรณี ตามความเหมาะสมของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด เป็นเกณฑ์ในการคํานวณ ข้อ ๑๑ ในกรณีที่บริษัทจัดการได้ลงทุนในหลักทรัพย์ใดเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงของผู้ถือหลักทรัพย์ในนามกองทุนรวม ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหลักทรัพย์ในเรื่องที่อาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อผลประโยชน์ของกองทุนรวม (2) เปิดเผยแนวทางและการดําเนินการใช้สิทธิออกเสียงตาม (1) ต่อผู้ถือหน่วยลงทุนด้วยวิธีการที่เหมาะสมและมีสาระอย่างเพียงพอ ข้อ ๑๒ ในกรณีที่บริษัทจัดการพิจารณาให้มีการจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมใด ให้บริษัทจัดการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจ่ายเงินปันผล วันปิดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการจ่ายเงินปันผล และอัตราเงินปันผลของกองทุนรวมดังกล่าว ด้วยวิธีการที่เหมาะสมดังต่อไปนี้ (1) เปิดเผยข้อมูลผ่านช่องทางที่ผู้ลงทุนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ เว้นแต่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (2) แจ้งผู้ดูแลผลประโยชน์ และผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน รวมถึงผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนชนิดไม่ระบุชื่อผู้ถือเมื่อได้รับการร้องขอ มิให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพทุกประเภท (2) กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (3) กองทุนรวมเพื่อการออม (4) กองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ หมวด ๒ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ของกองทุนรวมเปิด \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๓ เว้นแต่จะมีประกาศกําหนดให้ดําเนินการเป็นอย่างอื่นได้ ให้บริษัทจัดการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) รับคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนตามจํานวนทั้งหมดที่มีคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนในวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับในกรณีที่มีการสงวนสิทธิในการรับคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนไว้ในโครงการ โดยบริษัทจัดการจะไม่รับคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนตามกรณีที่สงวนสิทธิไว้ก็ได้ (2) ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามจํานวนทั้งหมดที่มีคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนด้วยราคาขายหน่วยลงทุนหรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนในวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนและเพิ่มจํานวนหน่วยลงทุนที่ขายหรือยกเลิกจํานวนหน่วยลงทุนที่รับซื้อคืน ในวันทําการถัดจาก วันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนดังกล่าว เว้นแต่ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถดําเนินการตามกําหนดเวลาในวรรคหนึ่งได้เนื่องจากจําเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน หรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน ตามที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ให้บริษัทจัดการเพิ่มจํานวนหน่วยลงทุนที่ขายหรือยกเลิกจํานวนที่รับซื้อคืนตามวรรคหนึ่ง (2) ภายในวันทําการถัดจากวันที่เสร็จสิ้นการคํานวณดังกล่าว ข้อ ๑๔ กองทุนรวมที่ได้รับยกเว้นให้สามารถชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนในวันส่งคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตามข้อ 16 วรรคสามของประกาศที่ ทน. 11/2564 ที่อาจชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนในวันส่งคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนได้ จะต้องมีการระบุไว้ในโครงการและต้องมีการลงทุนในทรัพย์สินที่เป็นไปตามเงื่อนไขโดยครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) เป็นการลงทุนในตราสารหรือเข้าทําสัญญาที่ผู้ออกตราสารหรือคู่สัญญาเป็นกิจการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือเป็นสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่สามารถประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ได้ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (2) ตราสารของผู้ออกตาม (1) ต้องเสนอขายในประเทศไทย หรือเป็นการเข้าทําสัญญาตาม (1) ในประเทศไทย (3) การชําระหนี้ตามตราสารหรือสัญญาต้องกําหนดให้ชําระเป็นสกุลเงินบาท ข้อ ๑๕ ในการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนในวันส่งคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนสําหรับกองทุนรวมตามข้อ 14 บริษัทจัดการต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การรับซื้อคืนหน่วยลงทุนต้องอยู่ภายในวงเงินรวมตามที่ระบุไว้ในโครงการ โดยการจัดสรรวงเงินดังกล่าวเป็นไปตามลําดับก่อนหลัง (first come first serve basis) (2) การคํานวณราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) กรณีที่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุนส่งคําสั่งในเวลารับซื้อคืนหน่วยลงทุนปกติ ให้ใช้มูลค่าหน่วยลงทุน ณ สิ้นวันรับซื้อคืนหน่วยลงทุนนั้นเป็นเกณฑ์ในการคํานวณ (ข) กรณีที่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุนส่งคําสั่งหลังเวลารับซื้อคืนหน่วยลงทุนปกติจนถึงเวลาเริ่มต้นของเวลารับซื้อคืนหน่วยลงทุนปกติของวันรับซื้อคืนหน่วยลงทุนถัดไป ให้ใช้มูลค่าหน่วยลงทุน ณ สิ้นวันรับซื้อคืนหน่วยลงทุนถัดไปนั้นเป็นเกณฑ์ในการคํานวณ (3) วงเงินสูงสุดที่บริษัทจัดการจะยินยอมให้ผู้ถือหน่วยลงทุนขายคืนหน่วยลงทุนได้ในวันส่งคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน ต้องไม่เกินวงเงินดังนี้ ทั้งนี้ บริษัทจัดการต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวไว้ในโครงการด้วย (ก) วงเงินรายบุคคลตามที่บริษัทจัดการกําหนด (ข) วงเงินรวมของกองทุนรวมให้เป็นไปตามอัตราส่วนของการลงทุนในทรัพย์สินหรือถือครองทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องสูงของกองทุนรวมตามที่บริษัทจัดการกําหนด (4) จัดให้มีมาตรการในการบริหารสภาพคล่องของกองทุนรวมอย่างเพียงพอและเหมาะสม (5) เปิดเผยหลักเกณฑ์การชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนตาม (1) (2) และ (3)ไว้อย่างชัดเจนในหนังสือชี้ชวน ข้อ ๑๖ บริษัทจัดการจะเลื่อนกําหนดชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดไว้แล้วได้ เฉพาะในกรณีที่กําหนดไว้ในโครงการ ซึ่งต้องไม่เกินกว่ากรณีดังต่อไปนี้ (1) บริษัทจัดการพิจารณาแล้ว มีความเชื่อโดยสุจริตและสมเหตุสมผลว่าเป็นกรณีที่เข้าเหตุใดเหตุหนึ่งดังนี้ โดยได้รับความเห็นชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์แล้ว (ก) มีเหตุจําเป็นทําให้ไม่สามารถจําหน่าย จ่ายโอน หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุนรวมเปิดได้อย่างสมเหตุสมผล (ข) มีเหตุที่ทําให้กองทุนรวมไม่ได้รับชําระเงินจากหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ลงทุนไว้ตามกําหนดเวลาปกติ ซึ่งเหตุดังกล่าวอยู่นอกเหนือการควบคุมของบริษัทจัดการ (2) ผู้ถือหน่วยลงทุนมีคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนก่อนหรือในช่วงระยะเวลาที่บริษัทจัดการพบว่าราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดไม่ถูกต้องโดยมีมูลค่าตั้งแต่ 1 สตางค์ขึ้นไป และคิดเป็นอัตราตั้งแต่ร้อยละ 0.5 ของมูลค่าหรือราคาที่ถูกต้อง และผู้ดูแลผลประโยชน์ยังไม่ได้รับรองข้อมูลในรายงานการแก้ไขราคาย้อนหลังและรายงานการชดเชยราคา ข้อ ๑๗ การเลื่อนกําหนดการชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนตามข้อ 16 ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เลื่อนกําหนดชําระค่าขายคืนได้ไม่เกิน10 วันทําการนับแต่วันที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนนั้น เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน (2) แจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนไว้แล้วให้ทราบถึงการเลื่อนกําหนดการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุน ตลอดจนเปิดเผยต่อผู้ถือหน่วยลงทุนรายอื่นและผู้ลงทุนทั่วไปให้ทราบเรื่องดังกล่าวด้วยวิธีการใด ๆ โดยพลัน (3) แจ้งการเลื่อนกําหนดชําระค่าขายคืน พร้อมทั้งจัดส่งรายงานที่แสดงเหตุผลของการเลื่อน และหลักฐานการได้รับความเห็นชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์ตามข้อ 16(1) หรือการรับรองข้อมูลของผู้ดูแลผลประโยชน์ตามข้อ 16(2) ต่อสํานักงานโดยพลัน ทั้งนี้ บริษัทจัดการจะมอบหมายให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ดําเนินการแทนก็ได้ (4) ในระหว่างการเลื่อนกําหนดชําระค่าขายคืน หากมีผู้ถือหน่วยลงทุนสั่งขายคืนหน่วยลงทุนในช่วงเวลาดังกล่าว ให้บริษัทจัดการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนนั้น โดยต้องชําระค่าขายคืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนตามลําดับวันที่ส่งคําสั่งขายคืนก่อนหลัง ข้อ ๑๘ ให้บริษัทจัดการหยุดการขายหน่วยลงทุน หรือหยุดรับคําสั่งซื้อหน่วยลงทุน ในช่วงระยะเวลาที่บริษัทจัดการพบว่าราคาขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดไม่ถูกต้องโดยมีมูลค่าตั้งแต่ 1 สตางค์ขึ้นไป และคิดเป็นอัตราตั้งแต่ร้อยละ 0.5 ของมูลค่าหรือราคาที่ถูกต้อง และผู้ดูแลผลประโยชน์ยังไม่ได้รับรองข้อมูลในรายงานการแก้ไขราคาย้อนหลังและรายงานการชดเชยราคา โดยแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนไว้แล้วให้ทราบถึงการหยุดขายหน่วยลงทุน ตลอดจนเปิดเผยต่อผู้ถือหน่วยลงทุนรายอื่นและผู้ลงทุนทั่วไปให้ทราบถึงการหยุดรับคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนด้วยวิธีการใด ๆ โดยพลัน ข้อ ๑๙ เมื่อปรากฏเหตุซึ่งส่งผลให้บริษัทจัดการจะไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งที่รับไว้แล้ว หรือจะหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตามที่กําหนดไว้ในโครงการตามข้อ19 ของประกาศที่ ทน.11/2564 และบริษัทจัดการประสงค์จะดําเนินการดังกล่าว ให้บริษัทจัดการปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) แจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนไว้แล้วให้ทราบถึงการไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยพลัน และหากเป็นเหตุตามข้อ 19(1) (2) (3) หรือ (5) ของประกาศที่ ทน. 11/2564 ให้เปิดเผยต่อผู้ถือหน่วยลงทุนรายอื่นและผู้ลงทุนทั่วไปให้ทราบถึงการหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนด้วยวิธีการใด ๆ โดยพลันด้วย (2) รายงานการไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือการหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนพร้อมทั้งแสดงเหตุผล และรายงานแผนการดําเนินการของกองทุนรวมเปิดนั้นให้สํานักงานทราบโดยพลัน (3) ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตามข้อ 19(1) (2) (3) และ (5) ของประกาศที่ ทน. 11/2564.เกิน1 วันทําการ ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังนี้ ก่อนการเปิดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน (ก) รายงานการเปิดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน และรายงานฐานะการลงทุนของกองทุนรวมเปิด ณ วันทําการสุดท้ายก่อนวันรายงานนั้นให้สํานักงานทราบภายในวันทําการก่อนวันเปิดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน (ข) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนไว้แล้วให้ทราบถึงการเปิดขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ตลอดจนเปิดเผยต่อผู้ถือหน่วยลงทุนรายอื่นและผู้ลงทุนทั่วไปให้ทราบถึงการเปิดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนด้วยวิธีการใด ๆ โดยพลัน หมวด ๓ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๐ การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการโดยขอความเห็นชอบต่อสํานักงานในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน และให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการในเรื่องดังกล่าวเมื่อสํานักงานได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว (1) การแก้ไขเพิ่มเติมซึ่งมีผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวงได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น ในกรณีดังนี้ (ก) การลดมูลค่าขั้นต่ําในการซื้อหน่วยลงทุน (ข) การเพิ่มช่องทางในการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ค) การเพิ่มจํานวนผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน (ง) การเพิ่มความถี่ของการส่งคําสั่งซื้อขายหน่วยลงทุนในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งไม่กระทบต่อสถานะการลงทุนของกองทุนรวมอย่างมีนัยสําคัญ (จ) การลดเวลาส่งคําสั่งซื้อขายหน่วยลงทุนล่วงหน้าก่อนมีการเปิดให้ขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (2) การแก้ไขเพิ่มเติมที่ต้องดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว (3) การแก้ไขเพิ่มเติมชื่อและรายละเอียดอื่นของบุคคลให้ถูกต้อง (4) การแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ เมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงานตามข้อ 6 แล้ว (5) การแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อลดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมเปิดให้แตกต่างไปจากโครงการตามที่กําหนดไว้ในภาคผนวก 7 แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒๑ การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการในกรณีดังต่อไปนี้ บริษัทจัดการอาจขอให้สํานักงานให้ความเห็นชอบแทนการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนก็ได้ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้บริษัทจัดการปฏิบัติเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขโครงการก่อนให้ความเห็นชอบก็ได้ (1) การเปลี่ยนแปลงข้อกําหนดเกี่ยวกับการขายและการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (2) การเพิ่มชนิดหน่วยลงทุนที่ไม่ทําให้สิทธิที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีอยู่เดิมด้อยลง (3) การเปลี่ยนแปลงประเภทของทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุนหรืออัตราส่วนการลงทุนที่สอดคล้องกับนโยบายการลงทุน (4) การชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินให้แก่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และกองทุนสํารองเลี้ยงชีพดังกล่าวจะนําหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ได้รับ ไปลงทุนในกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (5) กรณีอื่นใดนอกเหนือจาก (1) (2) (3) และ (4) การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการตามวรรคหนึ่งต้องไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อผู้ถือหน่วยลงทุนรวมถึงไม่ทําให้ผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุนรวมเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ หรือเป็นประโยชน์สูงสุดต่อผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวง ข้อ ๒๒ การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการโดยขอความเห็นชอบต่อสํานักงานนอกเหนือจากข้อ 20 ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน และชําระค่าธรรมเนียมต่อสํานักงานเมื่อสํานักงานได้รับคําขอพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ทั้งนี้ อัตราค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ เมื่อสํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามวรรคหนึ่งแล้ว สํานักงานจะดําเนินการพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30วัน การชําระค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง มิให้บริษัทจัดการเรียกเก็บจากกองทุนรวม หมวด ๔ การผ่อนผัน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๓ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร บริษัทจัดการอาจขอผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อกําหนดดังต่อไปนี้ต่อสํานักงานได้ (1) การเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ ตามข้อ 6 วรรคสาม (2) การประกาศการจ่ายเงินปันผล ตามข้อ 12(1) (3) การจัดทําและส่งรายงานรอบระยะเวลา 6เดือนตามข้อ 4.3 รายงานรอบระยะเวลาบัญชีตามข้อ 5.1 และข้อมูลที่ต้องแสดงในรายงานดังกล่าวตามส่วนที่ 2 ของภาคผนวก 3 แนบท้ายประกาศนี้ (4) การดําเนินการกรณีที่ผู้ออกตราสารหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องผิดนัดชําระหนี้ ตามภาคผนวก 6 แนบท้ายประกาศนี้ (5) การดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมตามข้อ 1.4 ข้อ 2. ข้อ 3.1.1(5) และข้อ 3.2.4 ของภาคผนวก 8 แนบท้ายประกาศนี้ (6) ระยะเวลาในการปฏิบัติตามแนวทางการดําเนินการของบริษัทจัดการตามส่วนที่ 7 ข้อ 7.3.3 ของภาคผนวก 9 แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการยื่นความเห็นของผู้ดูแลผลประโยชน์มาเพื่อประกอบการพิจารณาของสํานักงานด้วย บทเฉพาะกาล - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๔ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 หรือที่ใช้บังคับอยู่ตามบทเฉพาะกาลของประกาศดังกล่าว ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนรวมตามประกาศนี้ ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๒๕ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนรวมตามประกาศนี้ ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
703
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 28/2564 เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 28/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อ ผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 129/1(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 และข้อ 32 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 11/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 20 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 9/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 20 การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการโดยขอความเห็นชอบต่อสํานักงานในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน และให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการในเรื่องดังกล่าวเมื่อสํานักงานได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว (1) การแก้ไขเพิ่มเติมซึ่งมีผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวงได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น (2) การแก้ไขเพิ่มเติมที่ต้องดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว (3) การแก้ไขเพิ่มเติมชื่อและรายละเอียดอื่นของบุคคลให้ถูกต้อง” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 21 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 9/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการตามวรรคหนึ่งต้องไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อผู้ถือหน่วยลงทุนรวมถึงไม่ทําให้ผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุนรวมเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกภาคผนวก 5 และภาคผนวก 8 ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 9/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 และให้ใช้ภาคผนวก 5 และภาคผนวก 8 ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
704
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 41/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 3)
-ร่าง- ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่าน การพิจารณาของฝ่ายกฎหมาย 2 แล้ว เมื่อวันที่ 7/6/2564 CSDS เลขที่ 7/2564 ครั้งที่ 2 ผ่านทาง CSDS ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 41/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อ ผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 129/1(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 และข้อ 6 วรรคสาม และข้อ 32 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 11/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (5) ของวรรคหนึ่งในข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 9/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(5) กรณีที่ผู้ออกตราสารหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องผิดนัดชําระหนี้ หรือตราสารที่ลงทุนประสบปัญหาขาดสภาพคล่องหรือไม่สามารถจําหน่ายได้ด้วยราคาที่สมเหตุสมผล ให้ปฏิบัติตามภาคผนวก 6 แนบท้ายประกาศนี้” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 19 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 9/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตามข้อ 19(5) หรือข้อ 25/3(4) ของประกาศที่ ทน. 11/2564 เกิน 1 วันทําการ ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังนี้ ก่อนการเปิดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน (ก) รายงานการเปิดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน และรายงานฐานะการลงทุนของกองทุนรวมเปิด ณ วันทําการสุดท้ายก่อนวันรายงานนั้นให้สํานักงานทราบภายในวันทําการก่อนวันเปิดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน (ข) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนไว้แล้วให้ทราบถึงการเปิดขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ตลอดจนเปิดเผยต่อผู้ถือหน่วยลงทุนรายอื่นและผู้ลงทุนทั่วไปให้ทราบถึงการเปิดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนด้วยวิธีการใด ๆ โดยพลัน” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของ (2) ในข้อ 20 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 9/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 28/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 “การแก้ไขเพิ่มเติมตามวรรคหนึ่ง มิให้รวมถึงการขยายระยะเวลาระงับการซื้อขายหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดให้มีเครื่องมือการบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกองทุนรวม ตามข้อ 25/3(4) (ข) ของประกาศที่ ทน. 11/2564” ข้อ 4 ให้ยกเลิกภาคผนวก 6 แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 9/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 และให้ใช้ภาคผนวก 6 แนบท้ายประกาศนี้เป็นภาคผนวก 6 แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 9/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 แทน ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
705
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 5/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 4)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 5/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อ ผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 9 และข้อ 32 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 11/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมเพื่อความยั่งยืน” ต่อจากบทนิยามคําว่า “ประกาศที่ ทน. 11/2564” ในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 9/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 ““กองทุนรวมเพื่อความยั่งยืน” หมายความว่า กองทุนรวมที่มีการเปิดเผยข้อมูลในโครงการและหนังสือชี้ชวนว่ามีการจัดการกองทุนรวมโดยมุ่งความยั่งยืน (sustainability) ตามหลักสากล และมีการใช้ตราสัญลักษณ์เกี่ยวกับการลงทุนเพื่อความยั่งยืน (Sustainable and Responsible Investing Fund : SRI) ในหนังสือชี้ชวนหรือเอกสารอื่นใดเกี่ยวกับกองทุนรวม” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 11 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 9/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 “ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อความยั่งยืน ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง (2) โดยคํานึงถึงความยั่งยืน (sustainability) ตามหลักสากลด้วย” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกภาคผนวก 3 แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 9/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 21/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตหรือแจ้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2564 และให้ใช้ภาคผนวก 3 แนบท้ายประกาศนี้เป็นภาคผนวก 3 แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 9/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 แทน ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2565 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
706
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 7/2566 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 5)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 7/2566เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยและกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 5)\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 9 และข้อ 32 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 11/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่29 มกราคม พ.ศ. 2564 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกภาคผนวก 1 แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 9/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 และให้ใช้ภาคผนวก 1 แนบท้ายประกาศนี้เป็นภาคผนวก 1 แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 9/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 แทน ข้อ 2 ให้ยกเลิกภาคผนวก 3 แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 9/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 5/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน(ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2565 และให้ใช้ภาคผนวก 3 แนบท้ายประกาศนี้เป็นภาคผนวก 3 แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 9/2564เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 แทน ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2566 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
707
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 9/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับประมวล)
-ร่าง- ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 9/2564เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยและกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน(ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 125(5) โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และมาตรา 125(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535และมาตรา 129/1(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 และข้อ 6 วรรคสามและข้อ 32 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 11/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ข้อ 2 ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 22/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 38/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2562 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 48/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562 (4) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 70/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 18) ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (5) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 9/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 20)ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ข้อ 3 ในประกาศนี้ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ประกาศที่ ทน. 11/2564” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทน. 11/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 29 มกราคมพ.ศ. 2564 “กองทุนรวมเพื่อความยั่งยืน”( หมายความว่า กองทุนรวมที่มีการเปิดเผยข้อมูลในโครงการและหนังสือชี้ชวนว่ามีการจัดการกองทุนรวมโดยมุ่งความยั่งยืน (sustainability)ตามหลักสากล และมีการใช้ตราสัญลักษณ์เกี่ยวกับการลงทุนเพื่อความยั่งยืน (Sustainable and Responsible Investing Fund : SRI) ในหนังสือชี้ชวนหรือเอกสารอื่นใดเกี่ยวกับกองทุนรวม หมวด 1 หลักเกณฑ์ทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 4 เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ให้ใช้คําศัพท์ตามภาคผนวก 1 แนบท้ายประกาศนี้ ประกอบการพิจารณาการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวด้วย ข้อ 5 ในการจัดการกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนหรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง ให้ปฏิบัติตามภาคผนวก 2 แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ห้ามบริษัทจัดการคิดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากกรณีดังกล่าวจากกองทุนรวม เว้นแต่ในกรณีที่ความไม่ถูกต้องดังกล่าวมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ (2) การจัดทําและจัดส่งรายงานของกองทุนรวม ให้ปฏิบัติตามภาคผนวก 3แนบท้ายประกาศนี้ (3) กรณีเป็นการเปลี่ยนสภาพกองทุนรวมจากกองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิดต้องจัดให้มีวิธีการในการให้สิทธิแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมปิดในการที่จะออกจากกองทุนรวมดังกล่าว และให้ปฏิบัติตามภาคผนวก 4 แนบท้ายประกาศนี้ (4) การควบกองทุนรวมและการรวมกองทุนรวม ให้ปฏิบัติตามภาคผนวก 5แนบท้ายประกาศนี้ (5)( กรณีที่ผู้ออกตราสารหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องผิดนัดชําระหนี้ หรือตราสารที่ลงทุนประสบปัญหาขาดสภาพคล่องหรือไม่สามารถจําหน่ายได้ด้วยราคาที่สมเหตุสมผลให้ปฏิบัติตามภาคผนวก 6 แนบท้ายประกาศนี้ (6) การดําเนินการเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการคํานึงถึงความสมเหตุสมผลกับสภาพปกติทางธุรกิจและประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ โดยในกรณีที่มีการเพิ่มหรือลดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่าย ให้ปฏิบัติตามภาคผนวก 7 แนบท้ายประกาศนี้ (7) การเลิกกองทุนรวม ให้ปฏิบัติตามภาคผนวก 8 แนบท้ายประกาศนี้ ในกรณีที่เป็นการจัดการกองทุนรวมดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติให้เป็นไปตามภาคผนวก 9 แนบท้ายประกาศนี้ด้วย (1) กองทุนรวมมีประกัน (2) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (3) กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (4) กองทุนรวมเพื่อการออม (5) กองทุนรวมอีทีเอฟ (6) กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรมที่มุ่งลงทุนในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (7) กองทุนรวมตลาดเงินที่กําหนดราคาหน่วยลงทุนคงที่ ซึ่งกําหนดราคาหน่วยเพื่อการขายและรับซื้อคืนคงที่ตลอดเวลา (8) กองทุนรวมหน่วยลงทุน (9) กองทุนรวมฟีดเดอร์ (10) ( กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน ข้อ 6 การเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ไม่ว่าเพราะเหตุใด บริษัทจัดการจะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงานก่อน ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมในภายหลังให้บริษัทจัดการดําเนินการให้ผู้ดูแลผลประโยชน์แก้ไขคุณสมบัติให้ถูกต้องภายใน 15 วันนับแต่วันที่บริษัทจัดการทราบเหตุดังกล่าว และแจ้งการแก้ไขดังกล่าวให้สํานักงานทราบภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่แก้ไขเสร็จสิ้น ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์มิได้แก้ไขคุณสมบัติให้ถูกต้องภายในกําหนดเวลาตามวรรคสอง ให้บริษัทจัดการขออนุญาตเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ต่อสํานักงานภายใน 15 วันนับแต่วันที่ครบกําหนดเวลาดังกล่าว และเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ให้บริษัทจัดการแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์รายใหม่แทนโดยพลัน ข้อ 7 การเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนโครงการของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การขายหน่วยลงทุนเพิ่มจะต้องไม่ทําให้มูลค่าทั้งหมดของหน่วยลงทุนที่เพิ่มมีมูลค่าเกินกว่าเงินทุนโครงการ ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการใช้มูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนเป็นเกณฑ์ในการคํานวณ (2) ราคาเสนอขายหน่วยลงทุนต้องกําหนดตามมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมณ สิ้นวันที่เสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่ม (3) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเปิด บริษัทจัดการจะเสนอขายหน่วยลงทุนตามจํานวนที่เพิ่มขึ้นของเงินทุนโครงการได้ต่อเมื่อได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงเงินทุนโครงการต่อสํานักงานแล้ว ข้อ 8 กองทุนรวมใดที่ไม่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน หากประสงค์จะมีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน หรือกรณีที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนอยู่แล้ว หากจะมีการแก้ไขหรือเพิ่มเติมชนิดหน่วยลงทุน บริษัทจัดการต้องจัดให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการ ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ลักษณะของชนิดหน่วยลงทุนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (2) การแบ่งชนิดหน่วยลงทุนต้องไม่กระทบสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนเดิม ข้อ 9 นอกจากต้องปฏิบัติตามข้อ 8 แล้ว หากกองทุนรวมใดประสงค์จะมีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนตามกรณีสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาวของผู้ลงทุนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2562 กองทุนรวมดังกล่าวต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นกองทุนรวมเปิด (2) ไม่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย (3) ไม่เป็นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (4) ไม่เป็นกองทุนรวมที่มีหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (5) ระบุข้อความ “ชนิดเพื่อการออม” ไว้ในชนิดของหน่วยลงทุนดังกล่าว ข้อ 9/1( นอกจากต้องปฏิบัติตามข้อ 8 แล้ว หากกองทุนรวมใดประสงค์จะมีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนตามกรณีสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทย ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 กองทุนรวมดังกล่าวต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นกองทุนรวมเปิด (2) เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (3) ไม่เป็นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (4) ไม่เป็นกองทุนรวมเพื่อการออม (5) ระบุข้อความ “ชนิดไทยเพื่อความยั่งยืน” ไว้ในชนิดของหน่วยลงทุนดังกล่าว ข้อ 10 ในกรณีที่หน่วยลงทุนชนิดใดของกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน ไม่มีจํานวนผู้ถือหน่วยลงทุนเหลืออยู่แล้วสําหรับหน่วยลงทุนชนิดดังกล่าว บริษัทจัดการอาจคงชนิดของหน่วยลงทุนนั้นไว้ต่อไปก็ได้ และหากจะมีการขายหน่วยลงทุนชนิดนั้นเพิ่มเติม ให้บริษัทจัดการคํานวณราคาขายหน่วยลงทุนของหน่วยลงทุนชนิดดังกล่าวโดยใช้มูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวมหรือมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม แล้วแต่กรณี ตามความเหมาะสมของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด เป็นเกณฑ์ในการคํานวณ ข้อ 11 ในกรณีที่บริษัทจัดการได้ลงทุนในหลักทรัพย์ใดเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงของผู้ถือหลักทรัพย์ในนามกองทุนรวม ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหลักทรัพย์ในเรื่องที่อาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อผลประโยชน์ของกองทุนรวม (2) เปิดเผยแนวทางและการดําเนินการใช้สิทธิออกเสียงตาม (1) ต่อผู้ถือหน่วยลงทุนด้วยวิธีการที่เหมาะสมและมีสาระอย่างเพียงพอ (ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อความยั่งยืน ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง (2) โดยคํานึงถึงความยั่งยืน (sustainability) ตามหลักสากลด้วย ข้อ 12 ในกรณีที่บริษัทจัดการพิจารณาให้มีการจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมใดให้บริษัทจัดการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจ่ายเงินปันผล วันปิดทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อการจ่ายเงินปันผล และอัตราเงินปันผลของกองทุนรวมดังกล่าว ด้วยวิธีการที่เหมาะสมดังต่อไปนี้ (1) เปิดเผยข้อมูลผ่านช่องทางที่ผู้ลงทุนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ เว้นแต่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (2) แจ้งผู้ดูแลผลประโยชน์ และผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน รวมถึงผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนชนิดไม่ระบุชื่อผู้ถือเมื่อได้รับการร้องขอ มิให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพทุกประเภท (2) กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (3) กองทุนรวมเพื่อการออม (4) กองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ (5) ( กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน หมวด 2หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิด\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 13 เว้นแต่จะมีประกาศกําหนดให้ดําเนินการเป็นอย่างอื่นได้ ให้บริษัทจัดการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) รับคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนตามจํานวนทั้งหมดที่มีคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนในวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับในกรณีที่มีการสงวนสิทธิในการรับคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนไว้ในโครงการ โดยบริษัทจัดการจะไม่รับคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนตามกรณีที่สงวนสิทธิไว้ก็ได้ (2) ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามจํานวนทั้งหมดที่มีคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนด้วยราคาขายหน่วยลงทุนหรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนในวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนและเพิ่มจํานวนหน่วยลงทุนที่ขายหรือยกเลิกจํานวนหน่วยลงทุนที่รับซื้อคืน ในวันทําการถัดจาก วันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนดังกล่าว เว้นแต่ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถดําเนินการตามกําหนดเวลาในวรรคหนึ่งได้เนื่องจากจําเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน หรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน ตามที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ให้บริษัทจัดการเพิ่มจํานวนหน่วยลงทุนที่ขายหรือยกเลิกจํานวนที่รับซื้อคืนตามวรรคหนึ่ง (2) ภายในวันทําการถัดจากวันที่เสร็จสิ้นการคํานวณดังกล่าว ข้อ 14 กองทุนรวมที่ได้รับยกเว้นให้สามารถชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนในวันส่งคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตามข้อ 16 วรรคสามของประกาศที่ ทน. 11/2564 ที่อาจชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนในวันส่งคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนได้ จะต้องมีการระบุไว้ในโครงการและต้องมีการลงทุนในทรัพย์สินที่เป็นไปตามเงื่อนไขโดยครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) เป็นการลงทุนในตราสารหรือเข้าทําสัญญาที่ผู้ออกตราสารหรือคู่สัญญาเป็นกิจการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือเป็นสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่สามารถประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ได้ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (2) ตราสารของผู้ออกตาม (1) ต้องเสนอขายในประเทศไทย หรือเป็นการเข้าทําสัญญาตาม (1) ในประเทศไทย (3) การชําระหนี้ตามตราสารหรือสัญญาต้องกําหนดให้ชําระเป็นสกุลเงินบาท ข้อ 15 ในการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนในวันส่งคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนสําหรับกองทุนรวมตามข้อ 14 บริษัทจัดการต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การรับซื้อคืนหน่วยลงทุนต้องอยู่ภายในวงเงินรวมตามที่ระบุไว้ในโครงการโดยการจัดสรรวงเงินดังกล่าวเป็นไปตามลําดับก่อนหลัง (first come first serve basis) (2) การคํานวณราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) กรณีที่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุนส่งคําสั่งในเวลารับซื้อคืนหน่วยลงทุนปกติให้ใช้มูลค่าหน่วยลงทุน ณ สิ้นวันรับซื้อคืนหน่วยลงทุนนั้นเป็นเกณฑ์ในการคํานวณ (ข) กรณีที่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุนส่งคําสั่งหลังเวลารับซื้อคืนหน่วยลงทุนปกติจนถึงเวลาเริ่มต้นของเวลารับซื้อคืนหน่วยลงทุนปกติของวันรับซื้อคืนหน่วยลงทุนถัดไป ให้ใช้มูลค่าหน่วยลงทุน ณ สิ้นวันรับซื้อคืนหน่วยลงทุนถัดไปนั้นเป็นเกณฑ์ในการคํานวณ (3) วงเงินสูงสุดที่บริษัทจัดการจะยินยอมให้ผู้ถือหน่วยลงทุนขายคืนหน่วยลงทุนได้ในวันส่งคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน ต้องไม่เกินวงเงินดังนี้ ทั้งนี้ บริษัทจัดการต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวไว้ในโครงการด้วย (ก) วงเงินรายบุคคลตามที่บริษัทจัดการกําหนด (ข) วงเงินรวมของกองทุนรวมให้เป็นไปตามอัตราส่วนของการลงทุนในทรัพย์สินหรือถือครองทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องสูงของกองทุนรวมตามที่บริษัทจัดการกําหนด (4) จัดให้มีมาตรการในการบริหารสภาพคล่องของกองทุนรวมอย่างเพียงพอและเหมาะสม (5) เปิดเผยหลักเกณฑ์การชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนตาม (1) (2) และ (3)ไว้อย่างชัดเจนในหนังสือชี้ชวน ข้อ 16 บริษัทจัดการจะเลื่อนกําหนดชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดไว้แล้วได้ เฉพาะในกรณีที่กําหนดไว้ในโครงการซึ่งต้องไม่เกินกว่ากรณีดังต่อไปนี้ (1) บริษัทจัดการพิจารณาแล้ว มีความเชื่อโดยสุจริตและสมเหตุสมผลว่าเป็นกรณีที่เข้าเหตุใดเหตุหนึ่งดังนี้ โดยได้รับความเห็นชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์แล้ว (ก) มีเหตุจําเป็นทําให้ไม่สามารถจําหน่าย จ่ายโอน หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุนรวมเปิดได้อย่างสมเหตุสมผล (ข) มีเหตุที่ทําให้กองทุนรวมไม่ได้รับชําระเงินจากหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ลงทุนไว้ตามกําหนดเวลาปกติ ซึ่งเหตุดังกล่าวอยู่นอกเหนือการควบคุมของบริษัทจัดการ (2) ผู้ถือหน่วยลงทุนมีคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนก่อนหรือในช่วงระยะเวลาที่บริษัทจัดการพบว่าราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดไม่ถูกต้องโดยมีมูลค่าตั้งแต่1 สตางค์ขึ้นไป และคิดเป็นอัตราตั้งแต่ร้อยละ 0.5 ของมูลค่าหรือราคาที่ถูกต้อง และผู้ดูแลผลประโยชน์ยังไม่ได้รับรองข้อมูลในรายงานการแก้ไขราคาย้อนหลังและรายงานการชดเชยราคา ข้อ 17 การเลื่อนกําหนดการชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนตามข้อ 16 ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เลื่อนกําหนดชําระค่าขายคืนได้ไม่เกิน 10 วันทําการนับแต่วันที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนนั้น เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน (2) แจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนไว้แล้วให้ทราบถึงการเลื่อนกําหนดการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุน ตลอดจนเปิดเผยต่อผู้ถือหน่วยลงทุนรายอื่นและผู้ลงทุนทั่วไปให้ทราบเรื่องดังกล่าวด้วยวิธีการใด ๆ โดยพลัน (3) แจ้งการเลื่อนกําหนดชําระค่าขายคืน พร้อมทั้งจัดส่งรายงานที่แสดงเหตุผลของการเลื่อน และหลักฐานการได้รับความเห็นชอบของผู้ดูแลผลประโยชน์ตามข้อ 16(1) หรือการรับรองข้อมูลของผู้ดูแลผลประโยชน์ตามข้อ 16(2) ต่อสํานักงานโดยพลัน ทั้งนี้ บริษัทจัดการจะมอบหมายให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ดําเนินการแทนก็ได้ (4) ในระหว่างการเลื่อนกําหนดชําระค่าขายคืน หากมีผู้ถือหน่วยลงทุนสั่งขายคืนหน่วยลงทุนในช่วงเวลาดังกล่าว ให้บริษัทจัดการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนนั้น โดยต้องชําระค่าขายคืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนตามลําดับวันที่ส่งคําสั่งขายคืนก่อนหลัง ข้อ 18 ให้บริษัทจัดการหยุดการขายหน่วยลงทุน หรือหยุดรับคําสั่งซื้อหน่วยลงทุน ในช่วงระยะเวลาที่บริษัทจัดการพบว่าราคาขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเปิดไม่ถูกต้องโดยมีมูลค่าตั้งแต่ 1 สตางค์ขึ้นไป และคิดเป็นอัตราตั้งแต่ร้อยละ 0.5 ของมูลค่าหรือราคาที่ถูกต้อง และผู้ดูแลผลประโยชน์ยังไม่ได้รับรองข้อมูลในรายงานการแก้ไขราคาย้อนหลังและรายงานการชดเชยราคา โดยแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนไว้แล้วให้ทราบถึงการหยุดขายหน่วยลงทุน ตลอดจนเปิดเผยต่อผู้ถือหน่วยลงทุนรายอื่นและผู้ลงทุนทั่วไปให้ทราบถึงการหยุดรับคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนด้วยวิธีการใด ๆ โดยพลัน ข้อ 19 เมื่อปรากฏเหตุซึ่งส่งผลให้บริษัทจัดการจะไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งที่รับไว้แล้ว หรือจะหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตามที่กําหนดไว้ในโครงการตามข้อ 19 ของประกาศที่ ทน. 11/2564 และบริษัทจัดการประสงค์จะดําเนินการดังกล่าว ให้บริษัทจัดการปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) แจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนไว้แล้วให้ทราบถึงการไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยพลัน และหากเป็นเหตุตามข้อ 19(1) (2) (3) หรือ (5)ของประกาศที่ ทน. 11/2564 ให้เปิดเผยต่อผู้ถือหน่วยลงทุนรายอื่นและผู้ลงทุนทั่วไปให้ทราบถึงการหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนด้วยวิธีการใด ๆ โดยพลันด้วย (2) รายงานการไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือการหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนพร้อมทั้งแสดงเหตุผล และรายงานแผนการดําเนินการของกองทุนรวมเปิดนั้นให้สํานักงานทราบโดยพลัน (3)( ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนตามข้อ 19(5) หรือข้อ 25/3(4) ของประกาศที่ ทน. 11/2564 เกิน 1 วันทําการ ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังนี้ ก่อนการเปิดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน (ก) รายงานการเปิดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน และรายงานฐานะการลงทุนของกองทุนรวมเปิด ณ วันทําการสุดท้ายก่อนวันรายงานนั้นให้สํานักงานทราบภายในวันทําการก่อนวันเปิดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน (ข) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนไว้แล้วให้ทราบถึงการเปิดขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ตลอดจนเปิดเผยต่อผู้ถือหน่วยลงทุนรายอื่นและผู้ลงทุนทั่วไปให้ทราบถึงการเปิดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนด้วยวิธีการใด ๆ โดยพลัน หมวด 3หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการ\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 20( การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการโดยขอความเห็นชอบต่อสํานักงานในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน และให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการในเรื่องดังกล่าวเมื่อสํานักงานได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว (1) การแก้ไขเพิ่มเติมซึ่งมีผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวงได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น (2) การแก้ไขเพิ่มเติมที่ต้องดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว (การแก้ไขเพิ่มเติมตามวรรคหนึ่ง มิให้รวมถึงการขยายระยะเวลาระงับการซื้อขายหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดให้มีเครื่องมือการบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกองทุนรวม ตามข้อ 25/3(4) (ข) ของประกาศที่ ทน. 11/2564 (3) การแก้ไขเพิ่มเติมชื่อและรายละเอียดอื่นของบุคคลให้ถูกต้อง ข้อ 21 การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการในกรณีดังต่อไปนี้ บริษัทจัดการอาจขอให้สํานักงานให้ความเห็นชอบแทนการขอมติผู้ถือหน่วยลงทุนก็ได้ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้บริษัทจัดการปฏิบัติเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขโครงการก่อนให้ความเห็นชอบก็ได้ (1) การเปลี่ยนแปลงข้อกําหนดเกี่ยวกับการขายและการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (2) การเพิ่มชนิดหน่วยลงทุนที่ไม่ทําให้สิทธิที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีอยู่เดิมด้อยลง (3) การเปลี่ยนแปลงประเภทของทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุนหรืออัตราส่วนการลงทุนที่สอดคล้องกับนโยบายการลงทุน (4) การชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินให้แก่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และกองทุนสํารองเลี้ยงชีพดังกล่าวจะนําหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ได้รับ ไปลงทุนในกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (5) กรณีอื่นใดนอกเหนือจาก (1) (2) (3) และ (4) (การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการตามวรรคหนึ่งต้องไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อผู้ถือหน่วยลงทุนรวมถึงไม่ทําให้ผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุนรวมเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ ข้อ 22 การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการโดยขอความเห็นชอบต่อสํานักงานนอกเหนือจากข้อ 20 ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน และชําระค่าธรรมเนียมต่อสํานักงานเมื่อสํานักงานได้รับคําขอพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ทั้งนี้ อัตราค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ เมื่อสํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามวรรคหนึ่งแล้วสํานักงานจะดําเนินการพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน การชําระค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง มิให้บริษัทจัดการเรียกเก็บจากกองทุนรวม หมวด 4การผ่อนผัน\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 23 ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร บริษัทจัดการอาจขอผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อกําหนดดังต่อไปนี้ต่อสํานักงานได้ (1) การเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ ตามข้อ 6 วรรคสาม (2) การประกาศการจ่ายเงินปันผล ตามข้อ 12(1) (3) การจัดทําและส่งรายงานรอบระยะเวลา 6 เดือนตามข้อ 4.3 รายงานรอบระยะเวลาบัญชีตามข้อ 5.1 และข้อมูลที่ต้องแสดงในรายงานดังกล่าวตามส่วนที่ 2 ของภาคผนวก 3 แนบท้ายประกาศนี้ (4) การดําเนินการกรณีที่ผู้ออกตราสารหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องผิดนัดชําระหนี้ตามภาคผนวก 6 แนบท้ายประกาศนี้ (5) การดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมตามข้อ 1.4 ข้อ 2. ข้อ 3.1.1(5) และข้อ 3.2.4ของภาคผนวก 8 แนบท้ายประกาศนี้ (6) ระยะเวลาในการปฏิบัติตามแนวทางการดําเนินการของบริษัทจัดการตามส่วนที่ 7ข้อ 7.3.3 ของภาคผนวก 9 แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการยื่นความเห็นของผู้ดูแลผลประโยชน์มาเพื่อประกอบการพิจารณาของสํานักงานด้วย บทเฉพาะกาล\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 24 ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558หรือที่ใช้บังคับอยู่ตามบทเฉพาะกาลของประกาศดังกล่าว ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนรวมตามประกาศนี้ ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ 25 ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนรวมตามประกาศนี้ ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ -----------------------ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่านการพิจารณาของฝ่ายกฎหมาย 2 แล้วเมื่อวันที่ 27/1/2564 .CSDS เลขที่ 105/2563 .ครั้งที่ 4 ผ่านทาง CSDS
708
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. ๒๙/๒๕๖๖ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ ๗)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. ๒๙/๒๕๖๖ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อ ผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ ๗) อาศัยอํานาจตามความในข้อ ๓๒ วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. ๑๑/๒๕๖๔ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔ สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกภาคผนวก ๙ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวมบางประเภทแนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. ๙/๒๕๖๔ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. ๒๔/๒๕๖๖ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ ๖) ลงวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ และให้ใช้ภาคผนวก ๙ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวมบางประเภท แนบท้ายประกาศนี้เป็นภาคผนวก ๙ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับกองทุนรวมบางประเภท แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. ๙/๒๕๖๔ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔ แทน ข้อ ๒ ในกรณีที่กองทุนรวมอีทีเอฟมีการจดทะเบียนเป็นกองทุนรวมก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการเปิดเผยข้อมูลทรัพย์สินที่กองทุนรวมดังกล่าวลงทุนหรือมีไว้ ตามข้อ ๒ ของส่วนที่ ๔ ในภาคผนวก ๙ แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. ๙/๒๕๖๔ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ (นางพรอนงค์ บุษราตระกูล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
709
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับประมวล)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 3/2556 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 37/2556 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 37/2557 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557 (4) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 80/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “หนังสือชี้ชวน” หมายความว่า หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย หรือกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน แล้วแต่กรณี “หนังสือชี้ชวนฉบับปรับปรุง” หมายความว่า หนังสือชี้ชวนดังต่อไปนี้ (1) หนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมเปิดที่ต้องจัดทําตามรอบระยะเวลาที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนและการเสนอขายหน่วยลงทุน (2) หนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมปิดเพื่อการเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติม “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมปิดและกองทุนรวมเปิด “กองทุนรวมปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน “กองทุนรวมเปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล “กองทุนรวมที่จ่ายผลตอบแทนแบบซับซ้อน” หมายความว่า กองทุนรวมที่จ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนโดยวิธีการคํานวณผลประโยชน์ตอบแทนให้ผันแปรไปตามสูตรการคํานวณหรือเงื่อนไขใด ๆ ซึ่งผู้ถือหน่วยลงทุนทั่วไปไม่สามารถทําความเข้าใจได้โดยง่าย “ประกาศการลงทุน” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุนของกองทุน “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม “ข้อผูกพัน” หมายความว่า ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ “ผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน” หมายความว่า บุคคลที่บริษัทจัดการมอบหมายให้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ของกองทุนรวม “การลดความเสี่ยง” หมายความว่า การเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีลักษณะครบถ้วนดังนี้ (1) ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อหาผลประโยชน์โดยการเก็งกําไร (speculate) (2) มีผลให้ความเสี่ยงในการลงทุนโดยรวมของกองทุนลดลง (3) เป็นการลดความเสี่ยงทั่วไปและความเสี่ยงเฉพาะของทรัพย์สินที่ต้องการลดความเสี่ยง (4) สามารถลดความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ “การลงทุนแบบซับซ้อนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า การลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีกลยุทธ์แบบซับซ้อน (complex strategic investment) หรือการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีความซับซ้อน (exotic derivatives) “ฐานะการลงทุนสุทธิ” (net exposure) หมายความว่า มูลค่าการลงทุนสุทธิในทรัพย์สินไม่ว่าเป็นการลงทุนโดยตรงหรือโดยอ้อมผ่านการลงทุนในตราสารหรือสัญญาที่ให้ผลตอบแทนโดยอ้างอิงอยู่กับทรัพย์สิน ซึ่งเป็นผลให้กองทุนมีความเสี่ยงในทรัพย์สินนั้น “ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า”2 หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งสามารถให้บริการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ตามกฎหมายของประเทศนั้นและได้รับการยอมรับจากสํานักงาน “สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน ข้อ ๔ หนังสือชี้ชวนต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน โดยต้องมีลักษณะและวิธีการแสดงข้อมูลที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ใช้ข้อความที่สามารถเข้าใจได้ง่าย (2) ไม่แสดงข้อความหรือข้อมูลที่เป็นเท็จ เกินความจริง หรืออาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด (3) ไม่ใช้คําศัพท์เทคนิคหรือคําศัพท์เฉพาะ เว้นแต่คําศัพท์ดังกล่าวเป็นคําศัพท์ที่ผู้ลงทุนทั่วไปมีความคุ้นเคยแล้ว ในการจัดทําหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการจะใช้วิธีการสื่อความหมายโดยแผนภาพหรือวิธีการอื่นใดแทนการสื่อความหมายโดยข้อความก็ได้ เว้นแต่จะมีข้อกําหนดในประกาศนี้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ข้อ ๕ หนังสือชี้ชวนให้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังต่อไปนี้ (1) ส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ (2) ส่วนข้อมูลกองทุนรวม (3) ส่วนรับรองความถูกต้องครบถ้วน หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญตามวรรคหนึ่ง (1) อาจจัดทําในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการแสดงผลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์และมีการตอบสนองต่อคําสั่ง (interactive) ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปยังข้อมูลอื่นตามที่กําหนดไว้ ข้อ ๖ รายการและข้อมูลในหนังสือชี้ชวนในแต่ละส่วนตามข้อ 5 ให้เป็นดังนี้ (1) ส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ ซึ่งมีรายการและข้อมูลตามหมวด 1 ส่วนที่ 1 หมวด 2 ส่วนที่ 6 และหมวด 3 ส่วนที่ 6 (2) ส่วนข้อมูลกองทุนรวม ซึ่งมีรายการและข้อมูลตามหมวด 1 ส่วนที่ 2 หมวด 2 และหมวด 3 (3) ส่วนรับรองความถูกต้องครบถ้วน ซึ่งมีรายการและข้อมูลตามหมวด 1 ส่วนที่ 3 การจัดทําหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง (2) ให้แนบข้อผูกพันและโครงการที่มีสาระสําคัญไม่ต่างจากที่แสดงไว้ล่าสุดต่อสํานักงานไว้ท้ายหนังสือชี้ชวนส่วนดังกล่าวด้วย ข้อ ๗ หนังสือชี้ชวนฉบับปรับปรุงให้มีรายการและข้อมูลตามข้อ 6 ที่ปรับปรุงเป็นปัจจุบัน และมีรายการและข้อมูลเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ในหมวด 4 ข้อ ๘ ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีลักษณะเป็นกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศตามประกาศการลงทุน หนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมดังกล่าวต้องมีข้อมูลอย่างน้อยเกี่ยวกับวันที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมและสรุปสาระสําคัญของโครงการ โดยมิให้นําความในข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7 มาใช้บังคับ หมวด 1 รายการและข้อมูลในหนังสือชี้ชวน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วนที่ 1 หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๙ หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นไปตามแบบ 123-1 แนบท้ายประกาศนี้ และมีรายละเอียดตามที่กําหนดในคําอธิบายเพิ่มเติมแนบท้ายแบบดังกล่าว (2) แสดงผลด้วยรูปแบบที่สามารถอ่านหรือสื่อสารได้อย่างชัดเจน ในกรณีที่มีการจัดทําหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญในรูปแบบเอกสารสิ่งพิมพ์ ให้อยู่ในส่วนแรกของหนังสือชี้ชวน ส่วนที่ 2 หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๐ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้มีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ประเภทและนโยบายการลงทุนของกองทุนรวม รวมถึงผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับจากเงินลงทุน (2) คําถามและคําตอบเกี่ยวกับกองทุนรวม (3) ปัจจัยความเสี่ยงของกองทุนรวม (4) สรุปอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม ตามแบบ 123-2 แนบท้ายประกาศนี้ (5) ค่าธรรมเนียม เงินตอบแทน และค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เรียกเก็บจากกองทุนรวมและผู้ถือหน่วยลงทุน ตามแบบ 123-3 แนบท้ายประกาศนี้ (6) คําเตือนเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุน (7) ข้อมูลการถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดในการใช้สิทธิออกเสียงที่มีแนวโน้มว่าอาจจะเกิดขึ้น (ถ้ามี) โดยให้ระบุจํานวนบุคคลที่ถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดดังกล่าว พร้อมทั้งช่องทางการตรวจสอบข้อมูลสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของบุคคลนั้นด้วย (8) ข้อมูลอื่นที่จําเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (9) รายการที่สํานักงานกําหนดให้กองทุนรวมเปิดเผยเพิ่มเติมเป็นรายกรณี ข้อ ๑๑ รายการคําถามและคําตอบเกี่ยวกับกองทุนรวม ให้แสดงคําถามและคําตอบอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) คําถามและคําตอบเกี่ยวกับลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวมดังนี้ (ก) กองทุนรวมนี้เป็นกองทุนรวมที่มีการกําหนดประเภทของผู้ลงทุน หรือมีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนหรือไม่ อย่างไร ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน ให้แสดงข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการแบ่งชนิด สิทธิประโยชน์และความเสี่ยงของผู้ถือหน่วยลงทุนแยกตามชนิดของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด (ข) กองทุนรวมนี้มีจํานวนเงินทุนโครงการล่าสุดเท่าใด (ค) กองทุนรวมนี้เหมาะสมที่จะเป็นทางเลือกสําหรับเงินลงทุนลักษณะใดและผู้ลงทุนควรลงทุนในระยะเวลาเท่าใด (กรณีที่สามารถระบุระยะเวลาการลงทุนในกองทุนรวมได้) (ง) ปัจจัยใดที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อเงินลงทุนของผู้ลงทุน (จ) กองทุนรวมนี้เป็นกองทุนรวมที่มีผู้ประกันเงินลงทุน หรือเงินลงทุนและผลตอบแทน หรือเป็นกองทุนรวมที่มุ่งรักษาเงินต้นหรือไม่ อย่างไร (ฉ) กองทุนรวมนี้มีรอบระยะเวลาบัญชีอย่างไร (2) คําถามและคําตอบเกี่ยวกับข้อกําหนดในการซื้อขายและโอนหน่วยลงทุน ดังนี้ (ก) กองทุนรวมนี้มีวิธีการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอย่างไร (ข) กรณีใดที่บริษัทจัดการสงวนสิทธิไม่ขายหน่วยลงทุน (ค) กองทุนรวมนี้มีข้อกําหนดเกี่ยวกับการเลื่อนกําหนดเวลาชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุน การไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งที่รับไว้แล้ว และการหยุดรับคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนไว้อย่างไร (ง) วิธีการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนเป็นอย่างไร (จ) กองทุนรวมนี้กําหนดวิธีการโอนหน่วยลงทุน และข้อจํากัดการโอนไว้อย่างไร (ฉ) ผู้ถือหน่วยลงทุนจะทราบข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน และราคาขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนได้จากช่องทางใด (3) คําถามและคําตอบเกี่ยวกับสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนดังนี้ (ก) กองทุนรวมนี้มีการออกและส่งมอบหลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนหรือไม่ อย่างไร (ข) ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนี้อาจถูกจํากัดสิทธิในเรื่องใด ภายใต้เงื่อนไขอย่างไร ทั้งนี้ ให้แสดงข้อมูลเกี่ยวกับการถูกจํากัดสิทธิออกเสียงในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนถือหน่วยลงทุนเกินกว่าอัตราที่ประกาศกําหนด หรือในกรณีอื่นด้วย (ถ้ามี) (ค) ในกรณีที่กองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทใด ให้มีคําถามและคําตอบเกี่ยวกับช่องทางและวิธีการที่ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถตรวจสอบแนวทางการใช้สิทธิออกเสียงและการดําเนินการใช้สิทธิออกเสียงของบริษัทจัดการเพิ่มเติม (ง) กองทุนรวมนี้มีช่องทางและวิธีการร้องเรียนของผู้ลงทุน และนโยบายการระงับข้อพิพาทโดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการ ตลอดจนวิธีเข้าสู่กระบวนการดังกล่าวหรือไม่ อย่างไร (จ) การระบุภูมิลําเนาในประเทศไทย เพื่อการวางทรัพย์สําหรับผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่ไม่มีภูมิลําเนาในประเทศไทย (4) คําถามและคําตอบเกี่ยวกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการของกองทุนรวมซึ่งแสดงข้อมูลอย่างน้อยดังนี้ (ก) ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทจัดการ ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายชื่อกรรมการกรรมการอิสระและผู้บริหาร จํานวนกองทุนรวมทั้งหมดภายใต้การบริหารจัดการของบริษัท และมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ข) รายชื่อคณะกรรมการการลงทุน (ค) รายชื่อผู้จัดการกองทุน ประวัติการศึกษา และประสบการณ์การทํางานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกองทุนรวม รวมทั้งหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้จัดการกองทุนดังกล่าว (ง) รายชื่อผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน นายทะเบียนหน่วยลงทุนและผู้ดูแลผลประโยชน์ รวมทั้งต้องจัดให้มีข้อความว่า นอกจากหน้าที่ตามที่กําหนดไว้ในสัญญาแต่งตั้ง ผู้ดูแลผลประโยชน์ยังมีหน้าที่ตามกฎหมายในการรักษาประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนด้วย (จ) รายชื่อผู้สอบบัญชีของกองทุนรวม (5) คําถามและคําตอบเกี่ยวกับช่องทางที่ผู้ลงทุนสามารถทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุนรวมนี้ ข้อ ๑๒ รายการปัจจัยความเสี่ยงของกองทุนรวม ให้แสดงข้อมูลปัจจัยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับกองทุนรวมนั้น ตลอดจนแนวทางการบริหารความเสี่ยงดังกล่าว โดยเรียงลําดับตามโอกาสที่อาจเกิดขึ้นและนัยสําคัญของผลกระทบจากมากไปหาน้อย การแสดงข้อมูลปัจจัยความเสี่ยงตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการคํานึงถึงปัจจัยความเสี่ยงอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ปัจจัยความเสี่ยงจากการดําเนินงานของผู้ออกตราสาร (business risk) (2) ปัจจัยความเสี่ยงจากความสามารถในการชําระหนี้ของผู้ออกตราสาร (credit risk) (3) ปัจจัยความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาตราสาร (market risk) (4) ปัจจัยความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของตราสาร (liquidity risk) (5) ปัจจัยความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน (exchange rate risk) (6) ปัจจัยความเสี่ยงจากการเข้าทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (leverage risk) ข้อ ๑๓ รายการคําเตือนเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุน ให้มีข้อมูลคําเตือนอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) คําเตือนว่า “การพิจารณาร่างหนังสือชี้ชวนในการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนี้มิได้เป็นการแสดงว่าสํานักงานได้รับรองถึงความถูกต้องของข้อมูลในหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวม หรือได้ประกันราคาหรือผลตอบแทนของหน่วยลงทุนที่เสนอขายนั้น” (2) คําเตือนในกรณีที่บริษัทจัดการมีธุรกรรมที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์ดังกล่าว เช่น กรณีบริษัทจัดการมีการลงทุนเพื่อตนเองซึ่งอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งกับประโยชน์ของกองทุนรวม รวมทั้งต้องแสดงช่องทางและวิธีการที่ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถตรวจสอบรายละเอียด และสอบถามข้อมูลอื่นเพิ่มเติม เช่น ทางเว็บไซต์ของบริษัทจัดการ เป็นต้น การพิมพ์คําเตือนตามวรรคหนึ่งต้องพิมพ์ด้วยตัวอักษรที่มีความชัดเจนและมีขนาดไม่เล็กกว่าตัวอักษรปกติของหนังสือชี้ชวนนั้น ข้อ ๑๓/๑ รายการคําเตือนของกองทุนรวม ให้มีข้อมูลคําเตือนใต้ชื่อกองทุนรวมในจุดแรกที่สามารถเห็นได้ชัดเจนดังต่อไปนี้ ด้วยตัวอักษรที่มีขนาดไม่เล็กกว่าขนาดตัวอักษรส่วนใหญ่ในหนังสือชี้ชวน (1) กรณีเป็นกองทุนรวมที่มุ่งเน้นลงทุนเพียงครั้งเดียวโดยถือทรัพย์สินที่ลงทุนไว้จนครบกําหนดอายุของทรัพย์สิน หรืออายุของรอบการลงทุนของกองทุนรวม หรือครบอายุของกองทุนรวม หรือกองทุนรวมที่ระบุว่าจะเลิกกองทุนหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติเมื่อหน่วยลงทุนมีมูลค่าตามเป้าหมายที่กําหนด โดยมีการกําหนดห้ามผู้ถือหน่วยลงทุนขายคืนหน่วยลงทุนในช่วงระยะเวลาใด ๆ ต้องจัดให้มีคําเตือนว่า “ผู้ลงทุนไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนนี้ในช่วงเวลา (ระบุ x วัน/เดือน/ปี) ได้ ดังนั้น หากมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนดังกล่าว ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจํานวนมาก” (2) กรณีเป็นกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนแบบกระจุกตัว ให้มีข้อมูลคําเตือนดังนี้ (ก) คําเตือนเกี่ยวกับการกระจุกตัวอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง แล้วแต่กรณีดังนี้ 1. กรณีที่มีการลงทุนแบบกระจุกตัวในตราสารของผู้ออกตราสาร คู่สัญญา หรือบุคคลอื่นที่มีภาระผูกพันตามตราสารหรือสัญญานั้น รายใดรายหนึ่งเกินกว่าร้อยละ 10 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ให้มีคําเตือนว่า “กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออก” คําว่า “ตราสาร” ตามวรรคหนึ่ง (2) (ก) 1. วรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงตราสารดังนี้ 1.1 ตราสารหนี้ภาครัฐไทย 1.2 ตราสารภาครัฐต่างประเทศที่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ 1.3 เงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝากที่ผู้รับฝากหรือผู้ออกตราสารที่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ 2. กรณีที่มีการลงทุนในกิจการที่อยู่ในหมวดอุตสาหกรรมหรือของกิจการที่มีลักษณะเทียบเคียงได้กับกิจการที่อยู่ในหมวดอุตสาหกรรมดังกล่าว โดยเป็นการลงทุนในทรัพย์สินดังนี้ รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ต้องจัดให้มีคําเตือนว่า “กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม” 2.1 หุ้น 2.2 หน่วยของกองทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน เฉพาะที่สอดคล้องกับหมวดอุตสาหกรรมดังกล่าว 2.3 หน่วยของกองทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ โดยให้นับรวมกับทรัพย์สินตาม 2.1 และ 2.2 ที่อยู่ในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การพิจารณาหมวดอุตสาหกรรมตามวรรคหนึ่ง (2) วรรคหนึ่ง 2. ให้พิจารณาตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศกําหนด 3. กรณีที่มีการลงทุนในตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ํากว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (non-investment grade) หรือที่ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ให้มีคําเตือนว่า “กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในตราสารที่มีความเสี่ยงด้านเครดิตและสภาพคล่อง” (ข) คําเตือนเพิ่มเติมต่อจากคําเตือนตามวรรคหนึ่ง (2) (ก) ว่า “จึงมีความเสี่ยงที่ ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจํานวนมาก” (3) กรณีเป็นกองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ต้องจัดให้มีคําเตือนว่า “การลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้ลงทุนไม่สามารถนํามาลดหย่อนภาษีได้” เพื่อประโยชน์ตามข้อนี้ (1) คําว่า “ตราสารหนี้ภาครัฐไทย” “ตราสารภาครัฐต่างประเทศ” “เงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก” และ “ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับความหมายของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุนของกองทุน (2) “หน่วยของกองทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า หน่วยของกองทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานซึ่งอยู่ในรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (ก) กองทุนโครงสร้างพื้นฐานที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน (ข) กองทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนโครงสร้างพื้นฐานตามวรรคหนึ่ง (2) (ก) 2. วรรคหนึ่ง ทั้งนี้ ไม่ว่าจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด (3) “หน่วยของกองทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า หน่วยของกองทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (ก) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายใต้บังคับประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ข) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน (ค) กองทรัสต์หรือกองอสังหาริมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือในกิจการที่ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั้งนี้ ไม่ว่าจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด ส่วนที่ 3 หนังสือชี้ชวนส่วนรับรองความถูกต้องครบถ้วน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๔ หนังสือชี้ชวนส่วนรับรองความถูกต้องครบถ้วน ให้อยู่ในส่วนท้ายของหนังสือชี้ชวน โดยต้องมีข้อความที่แสดงว่าบริษัทจัดการได้สอบทานข้อมูลในหนังสือชี้ชวนฉบับนี้ด้วยความระมัดระวังในฐานะผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของกองทุนรวมแล้ว และบริษัทจัดการขอรับรองว่าข้อมูลดังกล่าวถูกต้องครบถ้วน ไม่เป็นเท็จ ไม่ทําให้ผู้อื่น สําคัญผิด และไม่ขาดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ ข้อ ๑๕ หนังสือชี้ชวนส่วนรับรองความถูกต้องครบถ้วนต้องมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งดังต่อไปนี้ ลงลายมือชื่อ พร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) (1) กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทของบริษัทจัดการ (2) ผู้รับมอบอํานาจจากบริษัทจัดการ ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่มีตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่รับผิดชอบงานในสายงานเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวม หมวด 2 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมที่มีข้อกําหนด หรือลักษณะเฉพาะบางประการ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วนที่ 1 กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือ ตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๖ ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยง และสินค้าหรือตัวแปรของสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นไม่ใช่สิ่งเดียวกับทรัพย์สินที่ต้องการลดความเสี่ยง โดยหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ต้องมีรายการและข้อมูลเพิ่มเติมตามข้อ 17 (2) กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยง หรือมีนโยบายการลงทุนในตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง โดยหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ต้องมีรายการและข้อมูลเพิ่มเติมตามข้อ 18 และหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังนี้ (ก) ในกรณีที่นโยบายการลงทุนอาจทําให้กองทุนรวมมีฐานะการลงทุนสุทธิในสินค้าหรือตัวแปรอ้างอิง (underlying) ของสัญญาหรือตราสารนั้นเกินกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมต้องมีรายการและข้อมูลเพิ่มเติมตามข้อ 19 (ข) ในกรณีที่กองทุนรวมมีนโยบายการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยนเงิน หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมต้องมีรายการและข้อมูลเพิ่มเติมตามข้อ 20 (ค) ในกรณีที่กองทุนรวมมีนโยบายการลงทุนแบบซับซ้อนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมต้องมีรายการและข้อมูลเพิ่มเติมตามข้อ 21 (3) กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ซื้อขายนอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Over-the-Counter derivatives) เกินกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมต้องมีรายการและข้อมูลเพิ่มเติมตามข้อ 21/1 ข้อ ๑๗ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมของกองทุนรวมตามข้อ 16(1) ให้แสดงคําเตือนในรายการคําเตือนเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุนว่า “บริษัทจัดการกองทุนรวมใช้ข้อมูลในอดีตในการคํานวณค่าสัมบูรณ์ของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (absolute correlation coefficient) กองทุนรวมจึงมีความเสี่ยง หากสินค้าหรือตัวแปรที่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าอ้างอิง (underlying) และทรัพย์สินที่ต้องการลดความเสี่ยงเคลื่อนไหวในทิศทางที่ไม่เป็นไปตามข้อมูลในอดีต ซึ่งอาจส่งผลให้การเข้าทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่สามารถลดความเสี่ยงได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ” ข้อ ๑๘ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมของกองทุนรวมตามข้อ 16(2) ให้แสดงรายการคําถามและคําตอบเกี่ยวกับลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวม โดยให้มีคําถามและคําตอบเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงที่แสดงข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมกําหนดอัตราส่วนการลงทุนในสัญญาหรือตราสารดังกล่าวไว้อย่างไร (2) ผลกระทบทางลบภายใต้สมมติฐานและความเชื่อมั่นที่สมเหตุสมผลจากการลงทุนในสัญญาหรือตราสารดังกล่าวต่อเงินทุนของกองทุนรวมเป็นอย่างไร ข้อ ๑๙ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมของกองทุนรวมตามข้อ 16(2) (ก) ให้แสดงรายการคําถามและคําตอบเกี่ยวกับลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวม โดยให้มีคําถามและคําตอบเกี่ยวกับสินค้าหรือตัวแปรของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงที่แสดงข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ชื่อและลักษณะของสินค้าหรือตัวแปร ทั้งนี้ ในกรณีที่ตัวแปรเป็นดัชนี ให้แสดงข้อมูลดังนี้ด้วย (ก) องค์ประกอบของดัชนี หรือแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบของดัชนีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถเข้าถึงได้ (ข) กลยุทธ์การลงทุนของดัชนี ในกรณีที่เป็นดัชนีที่คํานวณผลตอบแทนโดยอ้างอิงกลยุทธ์การลงทุน (ค) เหตุในการเปลี่ยนแปลงวิธีการหรือยกเลิกการคํานวณดัชนี และแนวทางการดําเนินการของกองทุนในกรณีที่ปรากฏเหตุดังกล่าว (2) ข้อมูลราคาหรือผลการดําเนินงานของสินค้าหรือตัวแปรย้อนหลังอย่างน้อย3 ปี ทั้งนี้ ในกรณีที่ตัวแปรเป็นดัชนีที่ได้รับการพัฒนามาแล้วไม่ถึง 3 ปี ให้แสดงราคาหรือผลการดําเนินงานจําลองสําหรับปีที่ดัชนียังไม่ได้รับการพัฒนา (3) ความผันผวนของราคาหรือผลการดําเนินงานของสินค้าหรือตัวแปรที่สัญญาหรือตราสารอ้างอิง ทั้งนี้ ให้แสดงข้อความเพื่อให้ผู้ลงทุนเข้าใจว่า ข้อมูลตามวรรคหนึ่ง (2) และ (3) เป็นเพียงข้อมูลในอดีตหรือข้อมูลจําลองที่จัดทําขึ้นเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนมีความเข้าใจในสินค้าหรือตัวแปรเท่านั้น ดังนั้น ราคา ผลการดําเนินงาน หรือความผันผวนของสินค้าหรือตัวแปรในอนาคตอาจเคลื่อนไหวในทิศทางที่ไม่เป็นไปตามข้อมูลในอดีตได้ ข้อ ๒๐ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมของกองทุนรวมตามข้อ 16(2) (ข) ให้แสดงรายการและข้อมูลเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ (1) รายการคําถามและคําตอบเกี่ยวกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการของกองทุนรวม ให้มีคําถามและคําตอบเกี่ยวกับชื่อ คุณสมบัติ ความรู้และประสบการณ์ในการลงทุนในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเงินของบุคคลใดบุคคลหนึ่งต่อไปนี้ (ก) ผู้จัดการกองทุน (ข) บุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการลงทุนดังกล่าว (ถ้ามี) (2) รายการปัจจัยความเสี่ยงของกองทุนรวม ให้แสดงข้อมูลปัจจัยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยนเงิน โดยระบุข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้ (ก) สาระสําคัญของสัญญา และวัตถุประสงค์ในการลงทุน (ข) ลักษณะของความเสี่ยง และเหตุการณ์ที่เป็นสาเหตุของความเสี่ยง (ค) ผลกระทบทางลบที่อาจเกิดขึ้น ข้อ ๒๑ ในกรณีที่เป็นการลงทุนแบบซับซ้อนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 16(2) (ค) ให้แสดงข้อมูลดังต่อไปนี้ (1) วิธีการคํานวณมูลค่าความเสียหายสูงสุด (value-at-risk : VaR) ตามวิธีการใดระหว่างวิธีการ relative VaR approach หรือวิธีการ absolute VaR approach โดยระบุสมมติฐานที่ใช้ในการคํานวณตามวิธีการดังกล่าวด้วย อย่างน้อยดังนี้ (ก) ระดับความเชื่อมั่น (confidence interval) (ข) ระยะเวลาการถือครองทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุน (holding period) ทั้งนี้ กรณีที่ใช้วิธีการ relative VaR approach ให้ระบุ benchmark ที่ใช้ รวมถึงความเหมาะสมของ benchmark ดังกล่าวด้วย (2) มูลค่าธุรกรรมตามหน้าสัญญาของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่บริษัทจัดการประมาณการไว้ (expected gross leverage) ข้อ ๒๑/๑ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมของกองทุนรวมตามข้อ 16(3) ให้แสดงข้อมูลอัตราส่วนการลงทุนที่อาจเกิดขึ้นได้สูงสุดในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ซื้อขายนอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าว ส่วนที่ 2 กองทุนรวมที่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับต่างประเทศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๒ ในส่วนนี้ คําว่า “ความเสี่ยงเกี่ยวกับต่างประเทศ” หมายความว่า ความเสี่ยงจากการลงทุนในทรัพย์สินหรือการเข้าเป็นคู่สัญญาในธุรกรรมทางการเงินในลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือหลายลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ความเสี่ยงด้านผู้ออกตราสารหรือคู่สัญญาในต่างประเทศ แต่ไม่รวมถึงกรณีที่ผู้ออกหรือคู่สัญญาเป็นสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย (2) ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ข้อ ๒๓ ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมที่มีหรือจะมีความเสี่ยงเกี่ยวกับต่างประเทศรวมกันเกินกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ข้อ ๒๔ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงข้อมูลสรุปปัจจัยความเสี่ยงเกี่ยวกับต่างประเทศไว้ในรายการสรุปปัจจัยความเสี่ยงที่สําคัญ ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการคํานึงถึงปัจจัยความเสี่ยงเพิ่มเติมอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ปัจจัยความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน (exchange rate risk) (2) ปัจจัยความเสี่ยงจากการลงทุนในต่างประเทศ (country and political risk) (3) ปัจจัยความเสี่ยงจากข้อจํากัดการนําเงินลงทุนกลับประเทศ (repatriation risk) ในกรณีที่เป็นการลงทุนในตราสารของบริษัทที่จัดตั้งและเสนอขายในประเทศกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ําโขง (Greater Mekong Subregion) รวมกันเกินกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ให้เปิดเผยความเสี่ยงจากการลงทุนในประเทศดังกล่าว (ถ้ามี) เช่น การลงทุนมีความผันผวนสูง ตราสารมีสภาพคล่องต่ํา หรือสภาพตลาดการเงินในกลุ่มอนุภูมิภาคดังกล่าวอาจมีความเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน เป็นต้น เพิ่มเติมจากข้อมูลตามวรรคหนึ่งด้วย ข้อ ๒๕ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงแนวทางการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินไว้ในรายการประเภทและนโยบายการลงทุนของกองทุนรวม โดยให้ระบุข้อมูลเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่กองทุนรวมมีนโยบายการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยง ให้ระบุว่าแนวทางการบริหารความเสี่ยงดังกล่าวเข้าลักษณะหนึ่งลักษณะใดดังนี้ (ก) มีการป้องกันความเสี่ยงอันอาจเกิดขึ้นทั้งหมด (ข) มีการป้องกันความเสี่ยงอันอาจเกิดขึ้นบางส่วน โดยมีการกําหนดสัดส่วนไว้อย่างชัดเจน (ค) มีการบริหารความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน (2) กรณีที่กองทุนรวมไม่มีนโยบายการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยง ให้ระบุว่า “ไม่มีการป้องกันหรือบริหารความเสี่ยง” การแสดงแนวทางการบริหารความเสี่ยงตามวรรคหนึ่ง (1) (ค) ให้แสดงปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาเข้าทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วย ส่วนที่ 32 กองทุนรวมที่ลงทุนใน หน่วยของกองทุนอื่น \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๖ ในส่วนนี้ “ทรัพย์สินประเภท SIP” หมายความว่า ทรัพย์สินที่จัดอยู่ในประเภท Specific Investment Product (SIP) ดังต่อไปนี้ แล้วแต่กรณี (1) ทรัพย์สินตามข้อ 8 ในตอนที่ 1.1 : อัตราส่วนการลงทุนสําหรับ MF ทั่วไป ของส่วนที่ 1 : อัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามผู้ออกทรัพย์สินหรือคู่สัญญา (single entity limit) ในภาคผนวก 4-retail MF อัตราส่วนการลงทุนของ retail MF แห่งประกาศการลงทุน ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (2) ทรัพย์สินตามข้อ 8 ในตอนที่ 1.1 : อัตราส่วนการลงทุนสําหรับกองทุน AI ทั่วไป ของส่วนที่ 1 : อัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามผู้ออกทรัพย์สินหรือคู่สัญญา (single entity limit) ในภาคผนวก 4-AI อัตราส่วนการลงทุนของกองทุน AI แห่งประกาศการลงทุน ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย “ประกาศการจัดการกองทุน” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ข้อ ๒๗ กองทุนรวมที่มีหรือจะมีการลงทุนในหน่วยของกองทุนอื่นในลักษณะดังต่อไปนี้ ให้แสดงข้อมูลตามที่กําหนดไว้ในข้อ 28 ข้อ 28/1 หรือข้อ 28/2 แล้วแต่กรณี (1) กรณีที่มีหรือจะมีการลงทุนในหน่วยของกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ (ที่ไม่ใช่กองทุนที่มีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในอสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน) กองทุนใดกองทุนหนึ่งเกินกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ให้แสดงข้อมูลตามข้อ 28 (2) กรณีดังนี้ ให้แสดงข้อมูลตามข้อ 28/1 (ก) กรณีที่มีหรือจะมีการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่อยู่ภายใต้บังคับตามประกาศการจัดการกองทุน หรือหน่วยของกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มีลักษณะการลงทุนเช่นเดียวกับกองทุนรวมอื่นดังกล่าว รวมกันเกินกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ข) กรณีที่มีหรือจะมีการลงทุนในหน่วยของกองทุนไม่ว่าที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือต่างประเทศ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์หรือที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน รวมกันเกินกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (3) กรณีที่มีหรือจะมีการลงทุนในหน่วยของกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ กองทุนใดกองทุนหนึ่งเกินกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม และกองทุนต่างประเทศดังกล่าวมีหรือจะมีการลงทุนในทรัพย์สินประเภท SIP ให้แสดงข้อมูลตามข้อ 28/2 ข้อ ๒๘ ในกรณีตามข้อ 27(1) หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงคําถามและคําตอบเกี่ยวกับกองทุนต่างประเทศที่ระบุไว้ในโครงการ ไว้ในรายการคําถามและคําตอบเกี่ยวกับลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) กองทุนต่างประเทศนั้นมีนโยบายการลงทุน ปัจจัยความเสี่ยงที่สําคัญและผลการดําเนินงานอย่างไร (2) ความผันผวนของผลการดําเนินงานของกองทุนต่างประเทศนั้นเป็นอย่างไร ในกรณีที่การลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนต่างประเทศส่งผลให้กองทุนมีฐานะการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงตามส่วนที่ 1 ของหมวดนี้ ให้บริษัทจัดการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงของกองทุนต่างประเทศตามส่วนที่ 1 ของหมวดนี้ด้วย โดยอนุโลม การแสดงคําถามและคําตอบตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้บริษัทจัดการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนต่างประเทศดังกล่าว เท่าที่กองทุนต่างประเทศนั้นได้เปิดเผยไว้เป็นการทั่วไปหรือเท่าที่บริษัทจัดการสามารถเข้าถึงได้ ข้อ ๒๘/๑ ในกรณีตามข้อ 27(2) (ก) หรือ (ข) หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมให้แสดงรายการคําถามและคําตอบเกี่ยวกับลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวม โดยมีคําถามและคําตอบเกี่ยวกับนโยบายและอัตราส่วนการลงทุนในกรณีดังกล่าว ซึ่งกําหนดไว้ในโครงการ ข้อ ๒๘/๒ ในกรณีตามข้อ 27(3) หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงการเปรียบเทียบข้อมูลเกี่ยวกับอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามผู้ออกทรัพย์สินหรือคู่สัญญา (single entity limit) สําหรับทรัพย์สินประเภท SIP ตามประกาศการลงทุน และอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามผู้ออกทรัพย์สินหรือคู่สัญญาสําหรับทรัพย์สินประเภท SIP ของกองทุนต่างประเทศที่กองทุนรวมไปลงทุน ตามที่ระบุไว้ในเอกสารการเปิดเผยข้อมูลการลงทุนของกองทุนต่างประเทศดังกล่าว ส่วนที่ 3/18 กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนใน หน่วยของกิจการเงินร่วมลงทุน (หน่วย private equity) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๘/๓ 3 หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมของกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหน่วยของกิจการเงินร่วมลงทุนที่ไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ (unlisted private equity) ให้แสดงรายการและข้อมูลเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ ในรายการคําถามและคําตอบเกี่ยวกับลักษณะที่สําคัญของหน่วยของกิจการเงินร่วมลงทุนดังกล่าว (1) นโยบายการลงทุน (2) ลักษณะของกิจการเป้าหมาย (ถ้ามี) (3) ปัจจัยความเสี่ยงที่สําคัญ (4) ข้อตกลงจํานวนเงินขั้นต่ําที่จะลงทุน (5) ระยะเวลาที่ต้องลงทุน (lock-up period) เพื่อประโยชน์ของข้อกําหนดตามวรรคหนึ่ง คําว่า “หน่วยของกิจการเงินร่วมลงทุน (หน่วย private equity)” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศการลงทุน ส่วนที่ 4 กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารที่มีอันดับ ความน่าเชื่อถือต่ํากว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ หรือที่ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๙ 29 ในกรณีที่กองทุนรวมมีนโยบายการลงทุนที่ส่งผลให้กองทุนรวมมีฐานะการลงทุนในตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ํากว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ หรือที่ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ รวมกันเกินกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมให้มีข้อมูลคําเตือนเพิ่มเติมว่า “กองทุนรวมที่เสนอขายนี้มีการลงทุนในตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ํากว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ หรือที่ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงที่สูงกว่าการลงทุนในกองทุนรวมทั่วไป เช่น ความเสี่ยงจากการผิดนัดชําระหนี้ของผู้ออกตราสาร (credit risk) หรือความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของตราสาร (liquidity risk) ซึ่งส่งผลให้ผู้ลงทุนขาดทุนจากการลงทุนบางส่วนหรือทั้งจํานวนได้ และในการขายคืนหน่วยลงทุน ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินคืนตามที่ระบุในรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม” ส่วนที่ 5 กองทุนรวมที่จ่ายผลตอบแทนแบบซับซ้อน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๐ ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมที่จ่ายผลตอบแทนแบบซับซ้อน ข้อ ๓๑ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงคําถามคําตอบเกี่ยวกับการจ่ายผลตอบแทนไว้ในรายการคําถามและคําตอบเกี่ยวกับลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวม ดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมนี้กําหนดสูตรการคํานวณผลตอบแทน รูปแบบของผลตอบแทน รวมทั้งเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องไว้อย่างไร ทั้งนี้ ให้อธิบายรูปแบบของผลตอบแทนเป็นแผนภาพ (pay-off diagram) ด้วย (2) ประมาณการผลตอบแทนในสถานการณ์ต่าง ๆ และผลขาดทุนสูงสุดที่อาจเกิดขึ้นเป็นอย่างไร ทั้งนี้ ประมาณการดังกล่าวต้องใช้สมมติฐานที่มีความสมเหตุสมผลและกระทําด้วยความระมัดระวัง (3) กองทุนรวมนี้เหมาะสมกับผู้ลงทุนที่มีความคาดหวังอย่างไร ส่วนที่ 6 กองทุนรวมที่ระบุว่าจะเลิกกองทุนหรือรับซื้อคืน หน่วยลงทุนอัตโนมัติเมื่อหน่วยลงทุน มีมูลค่าตามเป้าหมายที่กําหนด \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๑/๑ ในกรณีเป็นกองทุนรวมที่ระบุว่าจะเลิกกองทุนหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติเมื่อหน่วยลงทุนมีมูลค่าตามเป้าหมายที่กําหนด (trigger fund) ให้แสดงข้อมูลเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ (1) คําเตือน โดยให้แสดงไว้ในหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญและส่วนข้อมูลกองทุนรวมดังนี้ (ก) มูลค่าหน่วยลงทุนเป้าหมายไม่ใช่การรับประกันผลตอบแทนจากการลงทุน (ข) ในกรณีที่โครงการจัดการกองทุนรวมกําหนดห้ามผู้ถือหน่วยลงทุนขายคืนหน่วยลงทุนในช่วงระยะเวลาใด ๆ ให้มีคําเตือนในเรื่องดังกล่าวเพิ่มเติมด้วย (2) ข้อมูลปัจจัยอ้างอิงที่สอดคล้องกับนโยบายการลงทุน เพื่อแสดงถึงความสมเหตุสมผลของการกําหนดเงื่อนไขการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติหรือการเลิกกองทุนรวมก่อนครบกําหนดอายุโครงการของกองทุนรวมดังกล่าว โดยให้แสดงไว้ในหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ทั้งนี้ ให้แสดงข้อมูลปัจจัยอ้างอิงดังกล่าวย้อนหลังเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 ปีนับถึงวันที่บริษัทจัดการจัดส่งหนังสือชี้ชวนให้แก่สํานักงานในครั้งล่าสุด โดยในกรณีที่ปัจจัยอ้างอิงเป็นข้อมูลที่มีการจัดทําขึ้นไม่ถึง 3 ปี ให้แสดงข้อมูลดังกล่าวย้อนหลังเท่าที่มีการจัดทําข้อมูลนั้น ส่วนที่ 7 กองทุนรวมที่ระบุรายการทรัพย์สินที่จะลงทุน หรือสัดส่วนการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าว \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๑/๒ 2 ในกรณีเป็นกองทุนรวมที่ระบุรายการทรัพย์สินที่จะลงทุนหรือสัดส่วนการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าวในหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม บริษัทจัดการจะจัดให้มีข้อความสงวนสิทธิในหนังสือชี้ชวนส่วนดังกล่าวให้บริษัทจัดการสามารถเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินที่ลงทุนหรือสัดส่วนการลงทุนได้ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขโดยครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจเกิดสถานการณ์ที่จะทําให้บริษัทจัดการจําเป็นต้องเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินหรือสัดส่วนการลงทุนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ (2) มีการระบุข้อความประกอบการสงวนสิทธิว่า “บริษัทจัดการจะใช้ดุลพินิจในการเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินที่ลงทุนหรือสัดส่วนการลงทุนได้ต่อเมื่อเป็นการดําเนินการภายใต้สถานการณ์ที่จําเป็นและสมควรเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ โดยไม่ทําให้ความเสี่ยงของทรัพย์สินที่ลงทุนเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ” (3) การแสดงข้อความสงวนสิทธิและข้อความประกอบการสงวนสิทธิต้องอยู่ในหน้าเดียวกันกับการแสดงข้อมูลรายการทรัพย์สินที่จะลงทุนหรือสัดส่วนการลงทุน หมวด 3 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมตามลักษณะพิเศษ อ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วนที่ 1 กองทุนรวมที่กําหนดนโยบายการลงทุนในลักษณะของ กองทุนรวมตลาดเงินตามประกาศการลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๒ ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมตลาดเงิน ข้อ ๓๓ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงข้อมูลดังต่อไปนี้ (1) คําเตือนในรายการคําเตือนเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุนว่า “แม้ว่ากองทุนรวมตลาดเงินลงทุนได้เฉพาะทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงต่ํา แต่ก็มีโอกาสขาดทุนได้” (2) กรณีที่เป็นกองทุนรวมตลาดเงินที่มีการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนในวันส่งคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน ให้แสดงวงเงินสูงสุดที่บริษัทจัดการจะยินยอมให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถขายคืนหน่วยลงทุนในวันส่งคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน ทั้งวงเงินรายบุคคลและวงเงินรวมของกองทุนรวม (3) กรณีที่เป็นกองทุนรวมตลาดเงินที่ใช้เงินฝากเป็นดัชนีชี้วัด (benchmark) เพิ่มเติมในการเปรียบเทียบกับผลตอบแทนจากการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ให้แสดงคําเตือนไว้ในรายการคําเตือนเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุน เพื่อให้ผู้ลงทุนเข้าใจว่าการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินไม่ใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงจากการลงทุนซึ่งผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจํานวน ทั้งนี้ คําเตือนดังกล่าวให้แสดงไว้ทุกจุดที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับดัชนีชี้วัดที่เป็นเงินฝาก ส่วนที่ 2 กองทุนรวมที่กําหนดนโยบายการลงทุนในลักษณะของ กองทุนรวมมีประกันตามประกาศการลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๔ ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมมีประกัน ข้อ ๓๕ ในส่วนนี้ คําว่า “ผู้ประกัน” ให้หมายความว่า บุคคลที่ให้การประกันว่า หากผู้ลงทุนได้ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมมีประกันจนครบตามระยะเวลาที่กําหนดในโครงการ ผู้ลงทุนจะได้รับชําระเงินลงทุนหรือผลตอบแทนจากการไถ่ถอนหรือขายคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ตามจํานวนเงินที่ประกันไว้ ข้อ ๓๖ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงคําเตือนในกรณีที่กองทุนรวมมีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นที่ผู้ประกันเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน ที่แสดงว่ากองทุนรวมจะลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าว โดยให้ระบุชื่อผู้ประกัน อัตราส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์และทรัพย์สินดังกล่าว และจํานวนเงินลงทุนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับคืนหากผู้ประกันไม่สามารถชําระหนี้คืนได้ ไว้ในคําเตือนด้วย ข้อ ๓๗ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงรายการและข้อมูลเกี่ยวกับการประกันดังต่อไปนี้ (1) รายการประเภทและนโยบายของกองทุนรวม ให้อธิบายข้อมูลดังนี้โดยสังเขป (ก) รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ประกัน รวมถึงอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ประกัน (ข) จํานวนเงินลงทุนที่ประกัน และผลตอบแทนที่ประกัน (ถ้ามี) (ค) ระยะเวลาการประกัน และวันครบกําหนดระยะเวลาการประกันแต่ละงวด (ถ้ามี) (ง) ประมาณการค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการจัดให้มีผู้ประกันและสัดส่วนของประมาณการค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีผู้ประกัน เมื่อเทียบกับค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกองทุนรวม (2) รายการคําถามและคําตอบเกี่ยวกับลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวม ให้แสดงคําถามและคําตอบดังต่อไปนี้ (ก) ผลของการขายคืนหน่วยลงทุนก่อนครบกําหนดระยะเวลาประกันและผลของการขายคืนหรือไถ่ถอนหน่วยลงทุนเมื่อครบกําหนดระยะเวลาประกันในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนสูงกว่ามูลค่าที่ประกัน เป็นอย่างไร (ข) การจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ และการดําเนินการของบริษัทจัดการในกรณีที่ไม่สามารถจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ได้ เป็นอย่างไร (ค) ผู้ลงทุนควรคํานึงถึงความเสี่ยงจากความสามารถในการชําระหนี้ในอนาคตของผู้ประกันหรือไม่ อย่างไร ส่วนที่ 3 กองทุนรวมที่กําหนดนโยบายการลงทุนในลักษณะของ กองทุนรวมมุ่งรักษาเงินต้นตามประกาศการลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๘ ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมมุ่งรักษาเงินต้น ข้อ ๓๙ ในส่วนนี้ คําว่า “เงินต้น” ให้หมายความว่า เงินที่ผู้ลงทุนแต่ละรายชําระเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมมุ่งรักษาเงินต้น ทั้งนี้ ไม่รวมถึงค่าธรรมเนียมการซื้อหน่วยลงทุน ข้อ ๔๐ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงคําถามและคําตอบเกี่ยวกับลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวมมุ่งรักษาเงินต้น ดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมนี้แตกต่างจากกองทุนรวมมีประกันอย่างไร (2) ผู้ลงทุนในกองทุนรวมนี้มีโอกาสที่จะไม่ได้รับคืนเงินต้นหรือไม่ อย่างไร (3) กองทุนรวมนี้มีเงื่อนไขและกลไกการรักษาเงินต้นอย่างไร ส่วนที่ 4 กองทุนรวมที่กําหนดนโยบายการลงทุนในลักษณะของ กองทุนรวมอีทีเอฟตามประกาศการลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔๑ ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมอีทีเอฟ ข้อ ๔๒ ในส่วนนี้ (1) “ผู้ดูแลสภาพคล่อง” หมายความว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่ที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทจัดการให้ทําหน้าที่เพื่อให้ราคาซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟในตลาดรองสะท้อนมูลค่าหน่วยลงทุนที่คํานวณจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมดังกล่าวได้อย่างใกล้เคียงกัน (2) “ผู้ลงทุนรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่ซื้อหรือขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมกับบริษัทจัดการในปริมาณหรือมูลค่าตามที่กําหนดไว้ในโครงการซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท หรือตามที่ได้รับผ่อนผันจากสํานักงานเป็นรายกรณี (3) “ผู้ค้าหน่วยลงทุนร่วม” หมายความว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่ที่บริษัทจัดการระบุอย่างเฉพาะเจาะจงไว้ในโครงการให้ทําการซื้อหรือขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟกับบริษัทจัดการได้ ข้อ ๔๓ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงรายการและข้อมูลดังต่อไปนี้ (1) รายการคําถามและคําตอบเกี่ยวกับลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวม ให้มีคําถามและคําตอบดังนี้ (ก) กองทุนรวมนี้อ้างอิงกับดัชนีราคาหลักทรัพย์ใด และดัชนีดังกล่าวมีหลักทรัพย์ใดเป็นองค์ประกอบ (ข) กองทุนรวมนี้จะลงทุนในหลักทรัพย์ใดใน 10 อันดับแรก (ค) กําหนดการประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและระดับของดัชนีที่ใช้อ้างอิงไว้อย่างไร (ง) วิธีการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่แปรผันตามการเปลี่ยนแปลงของดัชนีที่ใช้อ้างอิงเป็นอย่างไร (2) รายการคําถามคําตอบเกี่ยวกับสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุน ให้มีคําถามและคําตอบดังต่อไปนี้ (ก) การซื้อขายหน่วยลงทุนโดยตรงกับบริษัทจัดการจะต้องมีปริมาณหรือมูลค่าการซื้อขายเป็นจํานวนเท่าใด (ข) ผู้ลงทุนสามารถทราบข้อมูลเกี่ยวการซื้อขายหน่วยลงทุนและดัชนีที่ใช้อ้างอิงของกองทุนรวมนี้จากช่องทางใดบ้าง (3) รายการคําถามคําตอบเกี่ยวกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการของกองทุนรวม ให้มีคําถามคําตอบเกี่ยวกับบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทจัดการให้เป็นผู้ดูแลสภาพคล่อง และผู้ค้าหน่วยลงทุนร่วม (ถ้ามี) ส่วนที่ 5 กองทุนรวมที่กําหนดนโยบายการลงทุนในลักษณะของ กองทุนรวมทองคําตามประกาศการลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔๔ ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมทองคําที่มีการลงทุนในทองคําแท่งโดยตรง ข้อ ๔๕ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงคําถามและคําตอบเกี่ยวกับลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) ทองคําแท่งที่กองทุนรวมลงทุนได้รับการทําประกันภัยหรือไม่ อย่างไร (อธิบาย) และในกรณีที่มีการทําประกันภัย เป็นการทําประกันภัยบางส่วนหรือเต็มจํานวน (2) ในกรณีที่ทองคําแท่งมีการทําประกันภัย ทองคําแท่งที่กองทุนรวมลงทุนได้รับการประกันภัยคุ้มครองกรณีใดบ้าง และไม่ได้รับการคุ้มครองกรณีใดบ้าง ข้อ ๔๖ ในกรณีที่ทองคําแท่งที่กองทุนรวมลงทุนมิได้มีการทําประกันภัยไว้หรือมีการทําประกันภัยไว้แต่เพียงบางส่วน ให้แสดงการวิเคราะห์และอธิบายความเสี่ยงของกองทุนรวมในกรณีที่ทองคําแท่งที่ลงทุนเกิดเสียหาย สูญหาย ถูกโจรกรรม หรือถูกทําลาย ไว้ในรายการปัจจัยความเสี่ยงของกองทุนรวมในหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมด้วย ส่วนที่ 6 กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่มีการรับโอนเงิน จากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔๗ ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่มีการรับโอนเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือรับโอนเงินดังกล่าวต่อเนื่องจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่น ข้อ ๔๘ หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ ให้แสดงสัญลักษณ์หรือข้อความเพื่อให้ผู้ลงทุนทราบว่าเป็นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่มีการรับโอนเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือรับโอนเงินดังกล่าวต่อเนื่องจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่น ตามแนวทางที่สมาคมกําหนดโดยให้ระบุไว้ในส่วนบนสุดในหน้าแรกของหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ ส่วนที่ 7 กองทุนรวมที่กําหนดนโยบายการลงทุนในลักษณะของ กองทุนรวมฟีดเดอร์ตามประกาศการลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔๘/๑ ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมฟีดเดอร์ ข้อ ๔๘/๒ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงข้อมูลดังต่อไปนี้เพิ่มเติมด้วย (1) ผลการดําเนินงานของกองทุนอื่นที่กองทุนรวมฟีดเดอร์ดังกล่าวมุ่งเน้นลงทุน ย้อนหลังเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 ปีนับถึงวันที่กองทุนอื่นนั้นได้เปิดเผยข้อมูลผลการดําเนินงานล่าสุด ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลผลการดําเนินงานของกองทุนอื่นในช่วงระยะเวลาดังกล่าว หรือกองทุนนั้นมีผลการดําเนินงานไม่ถึง 3 ปี ให้แสดงข้อมูลดังกล่าวย้อนหลังเท่าที่บริษัทจัดการจะสามารถรวบรวมได้ (2) ในกรณีของกองทุนรวมฟีดเดอร์ที่มุ่งเน้นลงทุนในหน่วยของกองทุนอื่นที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ให้แสดงข้อมูลรายละเอียดของนโยบายการลงทุนของกองทุนต่างประเทศดังกล่าว โดยต้องแสดงการเปรียบเทียบข้อมูลอัตราส่วนการลงทุนของทรัพย์สินที่มุ่งเน้นลงทุนตามที่กําหนดในการจัดแบ่งประเภทของกองทุนรวมซึ่งกําหนดตามประเภทของทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุนตามประกาศการลงทุน และอัตราส่วนการลงทุนของทรัพย์สินหลักตามนโยบายการลงทุนของกองทุนต่างประเทศดังกล่าว ส่วนที่ 8 กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔๘/๓ หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้ระบุข้อความ “สําหรับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” ไว้ในส่วนบนสุดในหน้าแรกของหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ หมวด 4 รายการและข้อมูลเพิ่มเติมในหนังสือชี้ชวนฉบับปรับปรุง \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔๙ หนังสือชี้ชวนฉบับปรับปรุง ให้แสดงรายการและข้อมูลเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ในหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม (1) เงินทุนโครงการ (2) รายการการลงทุนและผลการดําเนินงานของกองทุนรวม โดยให้อยู่ในส่วนถัดจากรายการค่าธรรมเนียม และให้แสดงข้อมูลอย่างน้อยดังนี้ (ก) รายละเอียดการลงทุน การกู้ยืมเงิน และการก่อภาระผูกพันของกองทุนรวม โดยจัดกลุ่มตามประเภทของหลักทรัพย์หรือทรัพย์สิน หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่น ให้สอดคล้องกับนโยบายการลงทุนของกองทุนรวม (ข) ผลการดําเนินงานของกองทุนรวมโดยใช้วิธีวัดผลการดําเนินงานตามที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ค) ผลขาดทุนสูงสุดที่เกิดขึ้นจริงของกองทุนรวม (maximum drawdown) ย้อนหลังเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปีนับถึงวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ในกรณีที่ระยะเวลาการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมจนถึงวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมาน้อยกว่า 5 ปี ให้แสดงข้อมูลผลขาดทุนสูงสุดดังกล่าวตั้งแต่วันจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมจนถึงวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมา (3) ในกรณีที่กองทุนรวมมีดัชนีชี้วัด ให้แสดงข้อมูลเกี่ยวกับดัชนีชี้วัดของกองทุนรวม ที่มีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) ผลการดําเนินงานของดัชนีชี้วัด (ข) ในกรณีที่มีการเปลี่ยนดัชนีชี้วัด ให้แสดงเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงดัชนีชี้วัด (4) ข้อมูลการถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดในการใช้สิทธิออกเสียง (ถ้ามี) โดยให้ระบุจํานวนบุคคลที่ถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดดังกล่าว พร้อมทั้งช่องทางการตรวจสอบข้อมูลสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของบุคคลนั้นด้วย (5) ข้อมูลอัตราส่วนหมุนเวียนการลงทุนของกองทุนรวม (portfolio turnover ratio) ซึ่งคํานวณจากมูลค่าที่ต่ํากว่าระหว่างผลรวมของมูลค่าการซื้อทรัพย์สินกับผลรวมของมูลค่าการขายทรัพย์สิน ที่กองทุนรวมลงทุนในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมา หารด้วยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิเฉลี่ยของกองทุนรวมในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกัน (6) ในกรณีที่เป็นการลงทุนแบบซับซ้อนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้แสดงข้อมูล VaR ที่เกิดขึ้นจริง (actual VaR) และอธิบายสาเหตุที่ค่าเฉลี่ยของมูลค่าธุรกรรมในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกิดขึ้นจริง (average actual leverage) เกินกว่าที่บริษัทจัดการประมาณการไว้ (expected gross leverage) เดิม ในกรณีที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการหลังจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีและอยู่ในระหว่างการจัดทําหนังสือชี้ชวนเพื่อจัดส่งให้สํานักงาน ให้บริษัทจัดการแสดงข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ณ วันจัดทําหนังสือชี้ชวน ข้อ ๕๐ ข้อมูลที่แสดงในหนังสือชี้ชวนฉบับปรับปรุง ให้ใช้ข้อมูล ณ วันดังต่อไปนี้ (1) วันสิ้นรอบระยะเวลาที่ต้องจัดทําหนังสือชี้ชวนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนและการเสนอขายหน่วยลงทุน ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเปิด (2) วันใดวันหนึ่งในช่วง 30 วันก่อนวันเริ่มต้นเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติม ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมปิด ข้อ ๕๑ ในกรณีของกองทุนรวมอีทีเอฟ หนังสือชี้ชวนที่จัดทําใหม่ทุกรอบระยะเวลาบัญชี ให้เป็นไปตามข้อ 49 และต้องมีรายการเพิ่มเติมในหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) รหัสของหน่วยลงทุนที่ใช้ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (2) หลักทรัพย์ที่กองทุนรวมลงทุนใน 10 อันดับแรก (3) จํานวนการซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมา ข้อ ๕๑/๑ ในกรณีของกองทุนรวมตราสารหนี้ หนังสือชี้ชวนที่จัดทําใหม่ทุกรอบระยะเวลาบัญชี ให้เป็นไปตามข้อ 49 และต้องแสดงรายการเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลอายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุน (portfolio duration) ซึ่งได้จากการคํานวณค่าตามมาตรฐานสากลของกองทุนรวม ในหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ข้อ ๕๑/๒ ในกรณีของกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ซื้อขายนอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเกินกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม หนังสือชี้ชวนที่จัดทําใหม่ทุกรอบระยะเวลาบัญชีให้เป็นไปตามข้อ 49 และต้องแสดงรายการเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามประเภททรัพย์สิน (product limit) ที่เกิดขึ้นจริงสําหรับการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวในหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม หมวด 5 บทเฉพาะกาล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕๒ ในกรณีที่บริษัทจัดการได้ยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมต่อสํานักงานโดยชอบก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการจัดทําหนังสือชี้ชวนเฉพาะสําหรับการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก โดยให้มีรายการและข้อมูลในหนังสือชี้ชวนเช่นเดียวกับร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นไว้แล้วต่อสํานักงานได้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
710
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 3/2556 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 37/2556 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 37/2557 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557 (4) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 80/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “หนังสือชี้ชวน” หมายความว่า หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย หรือกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน แล้วแต่กรณี “หนังสือชี้ชวนฉบับปรับปรุง” หมายความว่า หนังสือชี้ชวนดังต่อไปนี้ (1) หนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมเปิดที่ต้องจัดทําตามรอบระยะเวลาที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนและการเสนอขายหน่วยลงทุน (2) หนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมปิดเพื่อการเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติม “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมปิดและกองทุนรวมเปิด “กองทุนรวมปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน “กองทุนรวมเปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล “กองทุนรวมที่จ่ายผลตอบแทนแบบซับซ้อน” หมายความว่า กองทุนรวมที่จ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนโดยวิธีการคํานวณผลประโยชน์ตอบแทนให้ผันแปรไปตามสูตรการคํานวณหรือเงื่อนไขใด ๆ ซึ่งผู้ถือหน่วยลงทุนทั่วไปไม่สามารถทําความเข้าใจได้โดยง่าย “ประกาศการลงทุน” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุนของกองทุน “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม “ข้อผูกพัน” หมายความว่า ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ “ผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน” หมายความว่า บุคคลที่บริษัทจัดการมอบหมายให้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ของกองทุนรวม “การลดความเสี่ยง” หมายความว่า การเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีลักษณะครบถ้วนดังนี้ (1) ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อหาผลประโยชน์โดยการเก็งกําไร (speculate) (2) มีผลให้ความเสี่ยงในการลงทุนโดยรวมของกองทุนลดลง (3) เป็นการลดความเสี่ยงทั่วไปและความเสี่ยงเฉพาะของทรัพย์สินที่ต้องการลดความเสี่ยง (4) สามารถลดความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ “การลงทุนแบบซับซ้อนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า การลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีกลยุทธ์แบบซับซ้อน (complex strategic investment) หรือการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีความซับซ้อน (exotic derivatives) “ฐานะการลงทุนสุทธิ” (net exposure) หมายความว่า มูลค่าการลงทุนสุทธิในทรัพย์สินไม่ว่าเป็นการลงทุนโดยตรงหรือโดยอ้อมผ่านการลงทุนในตราสารหรือสัญญาที่ให้ผลตอบแทนโดยอ้างอิงอยู่กับทรัพย์สิน ซึ่งเป็นผลให้กองทุนมีความเสี่ยงในทรัพย์สินนั้น “สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน ข้อ ๔ หนังสือชี้ชวนต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน โดยต้องมีลักษณะและวิธีการแสดงข้อมูลที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ใช้ข้อความที่สามารถเข้าใจได้ง่าย (2) ไม่แสดงข้อความหรือข้อมูลที่เป็นเท็จ เกินความจริง หรืออาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ในการจัดทําหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการจะใช้วิธีการสื่อความหมายโดยแผนภาพหรือวิธีการอื่นใดแทนการสื่อความหมายโดยข้อความก็ได้ เว้นแต่จะมีข้อกําหนดในประกาศนี้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ข้อ ๕ หนังสือชี้ชวนให้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังต่อไปนี้ (1) ส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ (2) ส่วนข้อมูลกองทุนรวม (3) ส่วนรับรองความถูกต้องครบถ้วน ข้อ ๖ รายการและข้อมูลในหนังสือชี้ชวนในแต่ละส่วนตามข้อ 5 ให้เป็นดังนี้ (1) ส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ ซึ่งมีรายการและข้อมูลตามหมวด 1 ส่วนที่ 1 และหมวด 3 ส่วนที่ 6 (2) ส่วนข้อมูลกองทุนรวม ซึ่งมีรายการและข้อมูลตามหมวด 1 ส่วนที่ 2 หมวด 2 และหมวด 3 (3) ส่วนรับรองความถูกต้องครบถ้วน ซึ่งมีรายการและข้อมูลตามหมวด 1 ส่วนที่ 3 การจัดทําหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง (2) ให้แนบข้อผูกพันและโครงการที่มีสาระสําคัญไม่ต่างจากที่แสดงไว้ล่าสุดต่อสํานักงานไว้ท้ายหนังสือชี้ชวนส่วนดังกล่าวด้วย ข้อ ๗ หนังสือชี้ชวนฉบับปรับปรุงให้มีรายการและข้อมูลตามข้อ 6 ที่ปรับปรุงเป็นปัจจุบัน และมีรายการและข้อมูลเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ในหมวด 4 ข้อ ๘ ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีลักษณะเป็นกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศตามประกาศการลงทุน หนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมดังกล่าวต้องมีข้อมูลอย่างน้อยเกี่ยวกับวันที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมและสรุปสาระสําคัญของโครงการ โดยมิให้นําความในข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7 มาใช้บังคับ หมวด ๑ รายการและข้อมูลในหนังสือชี้ชวน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วน ๑ หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๙ หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ ให้อยู่ในส่วนแรกของหนังสือชี้ชวน โดยต้องเป็นไปตามแบบ 123-1 แนบท้ายประกาศนี้ และให้มีรายละเอียดตามที่กําหนดในคําอธิบายรายละเอียดของข้อมูลที่ต้องเปิดเผยแนบท้ายแบบดังกล่าว หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญตามวรรคหนึ่ง ต้องพิมพ์ด้วยตัวอักษรที่มีความคมชัด อ่านได้ชัดเจน และให้มีความยาวไม่เกิน 3 หน้ากระดาษ A4 เว้นแต่กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่จ่ายผลตอบแทนแบบซับซ้อนอาจมีความยาวได้ไม่เกิน 4 หน้ากระดาษ A4 บรรพ ๒ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๐ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้มีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ประเภทและนโยบายการลงทุนของกองทุนรวม รวมถึงผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับจากเงินลงทุน (2) คําถามและคําตอบเกี่ยวกับกองทุนรวม (3) ปัจจัยความเสี่ยงของกองทุนรวม (4) สรุปอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม ตามแบบ 123-2 แนบท้ายประกาศนี้ (5) ค่าธรรมเนียม เงินตอบแทน และค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เรียกเก็บจากกองทุนรวมและผู้ถือหน่วยลงทุน ตามแบบ 123-3 แนบท้ายประกาศนี้ (6) คําเตือนเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุน (7) ข้อมูลการจะถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนที่มีแนวโน้มว่าอาจจะเกิดขึ้น โดยให้ระบุจํานวนบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่อาจเข้ามาถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดดังกล่าว พร้อมทั้งช่องทางการตรวจสอบข้อมูลสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลนั้นด้วย (8) ข้อมูลอื่นที่จําเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (9) รายการที่สํานักงานกําหนดให้กองทุนรวมเปิดเผยเพิ่มเติมเป็นรายกรณี ข้อ ๑๑ รายการคําถามและคําตอบเกี่ยวกับกองทุนรวม ให้แสดงคําถามและคําตอบอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) คําถามและคําตอบเกี่ยวกับลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวมดังนี้ (ก) กองทุนรวมนี้เป็นกองทุนรวมที่มีการกําหนดประเภทของผู้ลงทุน หรือมีการ แบ่งชนิดของหน่วยลงทุนหรือไม่ อย่างไร ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน ให้แสดงข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการแบ่งชนิด สิทธิประโยชน์และความเสี่ยงของผู้ถือหน่วยลงทุนแยกตามชนิดของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด (ข) กองทุนรวมนี้มีจํานวนเงินทุนโครงการเท่าใด ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเปิด ให้แสดงข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายการเพิ่มเงินทุนโครงการภายหลังจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมด้วย (ถ้ามี) (ค) กองทุนรวมนี้เหมาะสมที่จะเป็นทางเลือกสําหรับเงินลงทุนลักษณะใด และผู้ลงทุนควรลงทุนในระยะเวลาเท่าใด (กรณีที่สามารถระบุระยะเวลาการลงทุนในกองทุนรวมได้) (ง) ปัจจัยใดที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อเงินลงทุนของผู้ลงทุน (จ) กองทุนรวมนี้เป็นกองทุนรวมที่มีผู้ประกันเงินลงทุน หรือเงินลงทุนและผลตอบแทน หรือเป็นกองทุนรวมที่มุ่งรักษาเงินต้นหรือไม่ อย่างไร (ฉ) กองทุนรวมนี้มีรอบระยะเวลาบัญชีอย่างไร (2) คําถามและคําตอบเกี่ยวกับข้อกําหนดในการซื้อขายและโอนหน่วยลงทุน ดังนี้ (ก) กองทุนรวมนี้มีวิธีการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอย่างไร (ข) กรณีใดที่บริษัทจัดการสงวนสิทธิไม่ขายหน่วยลงทุน (ค) กองทุนรวมนี้มีข้อกําหนดเกี่ยวกับการเลื่อนกําหนดเวลาชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุน การไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งที่รับไว้แล้ว และการหยุดรับคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนไว้อย่างไร (ง) วิธีการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนเป็นอย่างไร (จ) กองทุนรวมนี้กําหนดวิธีการโอนหน่วยลงทุน และข้อจํากัดการโอนไว้อย่างไร (ฉ) ผู้ถือหน่วยลงทุนจะทราบข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน และราคาขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนได้จากช่องทางใด (3) คําถามและคําตอบเกี่ยวกับสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนดังนี้ (ก) กองทุนรวมนี้มีการออกและส่งมอบหลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนหรือไม่ อย่างไร (ข) ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนี้อาจถูกจํากัดสิทธิในเรื่องใด ภายใต้เงื่อนไขอย่างไร ทั้งนี้ ให้แสดงข้อมูลเกี่ยวกับการถูกจํากัดสิทธิออกเสียงในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนถือหน่วยลงทุนเกินกว่าอัตราที่ประกาศกําหนด หรือในกรณีอื่นด้วย (ถ้ามี) (ค) ในกรณีที่กองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทใด ให้มีคําถามและคําตอบเกี่ยวกับช่องทางและวิธีการที่ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถตรวจสอบแนวทางการใช้สิทธิออกเสียงและการดําเนินการใช้สิทธิออกเสียงของบริษัทจัดการเพิ่มเติม (ง) กองทุนรวมนี้มีช่องทางและวิธีการร้องเรียนของผู้ลงทุน และนโยบายการระงับข้อพิพาทโดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการ ตลอดจนวิธีเข้าสู่กระบวนการดังกล่าวหรือไม่ อย่างไร (4) คําถามและคําตอบเกี่ยวกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการของกองทุนรวมซึ่งแสดงข้อมูลอย่างน้อยดังนี้ (ก) ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทจัดการ ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายชื่อกรรมการ กรรมการอิสระและผู้บริหาร จํานวนกองทุนรวมทั้งหมดภายใต้การบริหารจัดการของบริษัท และมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ข) รายชื่อคณะกรรมการการลงทุน (ค) รายชื่อผู้จัดการกองทุน ประวัติการศึกษา และประสบการณ์การทํางานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกองทุนรวม รวมทั้งหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้จัดการกองทุนดังกล่าว (ง) รายชื่อผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน นายทะเบียนหน่วยลงทุน และผู้ดูแลผลประโยชน์ รวมทั้งต้องจัดให้มีข้อความว่า นอกจากหน้าที่ตามที่กําหนดไว้ในสัญญาแต่งตั้ง ผู้ดูแลผลประโยชน์ยังมีหน้าที่ตามกฎหมายในการรักษาประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนด้วย (5) คําถามและคําตอบเกี่ยวกับช่องทางที่ผู้ลงทุนสามารถทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุนรวมนี้ ข้อ ๑๒ รายการปัจจัยความเสี่ยงของกองทุนรวม ให้แสดงข้อมูลปัจจัยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับกองทุนรวมนั้น ตลอดจนแนวทางการบริหารความเสี่ยงดังกล่าว โดยเรียงลําดับตามโอกาสที่อาจเกิดขึ้นและนัยสําคัญของผลกระทบจากมากไปหาน้อย การแสดงข้อมูลปัจจัยความเสี่ยงตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการคํานึงถึงปัจจัยความเสี่ยงอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ปัจจัยความเสี่ยงจากการดําเนินงานของผู้ออกตราสาร (business risk) (2) ปัจจัยความเสี่ยงจากความสามารถในการชําระหนี้ของผู้ออกตราสาร (credit risk) (3) ปัจจัยความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาตราสาร (market risk) (4) ปัจจัยความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของตราสาร (liquidity risk) (5) ปัจจัยความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน (exchange rate risk) (6) ปัจจัยความเสี่ยงจากการเข้าทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (leverage risk) ข้อ ๑๓ รายการคําเตือนเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุน ให้มีข้อมูลคําเตือนอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) คําเตือนว่า “การพิจารณาร่างหนังสือชี้ชวนในการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนี้มิได้เป็นการแสดงว่าสํานักงานได้รับรองถึงความถูกต้องของข้อมูลในหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวม หรือได้ประกันราคาหรือผลตอบแทนของหน่วยลงทุนที่เสนอขายนั้น” (2) คําเตือนในกรณีที่บริษัทจัดการมีธุรกรรมที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์ดังกล่าว เช่น กรณีบริษัทจัดการมีการลงทุนเพื่อตนเองซึ่งอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งกับประโยชน์ของกองทุนรวม รวมทั้งต้องแสดงช่องทางและวิธีการที่ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถตรวจสอบรายละเอียด และสอบถามข้อมูลอื่นเพิ่มเติม เช่น ทางเว็บไซต์ของบริษัทจัดการ เป็นต้น การพิมพ์คําเตือนตามวรรคหนึ่งต้องพิมพ์ด้วยตัวอักษรที่มีความชัดเจนและมีขนาดไม่เล็กกว่าตัวอักษรปกติของหนังสือชี้ชวนนั้น ส่วน ๓ หนังสือชี้ชวนส่วนรับรองความถูกต้องครบถ้วน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๔ หนังสือชี้ชวนส่วนรับรองความถูกต้องครบถ้วน ให้อยู่ในส่วนท้ายของหนังสือชี้ชวน โดยต้องมีข้อความที่แสดงว่าบริษัทจัดการได้สอบทานข้อมูลในหนังสือชี้ชวนฉบับนี้ด้วยความระมัดระวังในฐานะผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของกองทุนรวมแล้ว และบริษัทจัดการขอรับรองว่าข้อมูลดังกล่าวถูกต้องครบถ้วน ไม่เป็นเท็จ ไม่ทําให้ผู้อื่น สําคัญผิด และไม่ขาดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ ข้อ ๑๕ หนังสือชี้ชวนส่วนรับรองความถูกต้องครบถ้วนต้องมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งดังต่อไปนี้ ลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) (1) กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทของบริษัทจัดการ (2) ผู้รับมอบอํานาจจากบริษัทจัดการ ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่มีตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่รับผิดชอบงานในสายงานเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวม หมวด ๑ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมที่มีข้อกําหนด หรือลักษณะเฉพาะบางประการ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วน ๑ กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือ ตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๖ ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยง และสินค้าหรือตัวแปรของสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นไม่ใช่สิ่งเดียวกับทรัพย์สินที่ต้องการลดความเสี่ยง โดยหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ต้องมีรายการและข้อมูลเพิ่มเติมตามข้อ 17 (2) กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยง หรือมีนโยบายการลงทุนในตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง โดยหนังสือชี้ชวน ส่วนข้อมูลกองทุนรวม ต้องมีรายการและข้อมูลเพิ่มเติมตามข้อ 18 และหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังนี้ (ก) ในกรณีที่นโยบายการลงทุนอาจทําให้กองทุนรวมมีฐานะการลงทุนสุทธิในสินค้าหรือตัวแปรอ้างอิง (underlying) ของสัญญาหรือตราสารนั้นเกินกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมต้องมีรายการและข้อมูลเพิ่มเติมตามข้อ 19 (ข) ในกรณีที่กองทุนรวมมีนโยบายการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยนเงิน หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมต้องมีรายการและข้อมูลเพิ่มเติมตามข้อ 20 (ค) ในกรณีที่กองทุนรวมมีนโยบายการลงทุนแบบซับซ้อนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมต้องมีรายการและข้อมูลเพิ่มเติมตามข้อ 21 ข้อ ๑๗ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมของกองทุนรวมตามข้อ 16(1) ให้แสดงคําเตือนในรายการคําเตือนเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุนว่า “บริษัทจัดการกองทุนรวมใช้ข้อมูลในอดีตในการคํานวณค่าสัมบูรณ์ของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (absolute correlation coefficient) กองทุนรวมจึงมีความเสี่ยง หากสินค้าหรือตัวแปรที่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าอ้างอิง (underlying) และทรัพย์สินที่ต้องการลดความเสี่ยงเคลื่อนไหวในทิศทางที่ไม่เป็นไปตามข้อมูลในอดีต ซึ่งอาจส่งผลให้การเข้าทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่สามารถลดความเสี่ยงได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ” ข้อ ๑๘ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมของกองทุนรวมตามข้อ 16(2) ให้แสดงรายการคําถามและคําตอบเกี่ยวกับลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวม โดยให้มีคําถามและคําตอบเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงที่แสดงข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมกําหนดอัตราส่วนการลงทุนในสัญญาหรือตราสารดังกล่าวไว้อย่างไร (2) ผลกระทบทางลบภายใต้สมมติฐานและความเชื่อมั่นที่สมเหตุสมผลจากการลงทุนในสัญญาหรือตราสารดังกล่าวต่อเงินทุนของกองทุนรวมเป็นอย่างไร ข้อ ๑๙ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมของกองทุนรวมตามข้อ 16(2) (ก)ให้แสดงรายการคําถามและคําตอบเกี่ยวกับลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวม โดยให้มีคําถามและคําตอบเกี่ยวกับสินค้าหรือตัวแปรของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงที่แสดงข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ชื่อและลักษณะของสินค้าหรือตัวแปร ทั้งนี้ ในกรณีที่ตัวแปรเป็นดัชนี ให้แสดงข้อมูลดังนี้ด้วย (ก) องค์ประกอบของดัชนี หรือแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบของดัชนีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถเข้าถึงได้ (ข) กลยุทธ์การลงทุนของดัชนี ในกรณีที่เป็นดัชนีที่คํานวณผลตอบแทนโดยอ้างอิงกลยุทธ์การลงทุน (ค) เหตุในการเปลี่ยนแปลงวิธีการหรือยกเลิกการคํานวณดัชนี และแนวทางการดําเนินการของกองทุนในกรณีที่ปรากฏเหตุดังกล่าว (2) ข้อมูลราคาหรือผลการดําเนินงานของสินค้าหรือตัวแปรย้อนหลังอย่างน้อย3 ปี ทั้งนี้ ในกรณีที่ตัวแปรเป็นดัชนีที่ได้รับการพัฒนามาแล้วไม่ถึง 3 ปี ให้แสดงราคาหรือผลการดําเนินงานจําลองสําหรับปีที่ดัชนียังไม่ได้รับการพัฒนา (3) ความผันผวนของราคาหรือผลการดําเนินงานของสินค้าหรือตัวแปรที่สัญญาหรือตราสารอ้างอิง ทั้งนี้ ให้แสดงข้อความเพื่อให้ผู้ลงทุนเข้าใจว่า ข้อมูลตามวรรคหนึ่ง (2) และ (3) เป็นเพียงข้อมูลในอดีตหรือข้อมูลจําลองที่จัดทําขึ้นเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนมีความเข้าใจในสินค้าหรือตัวแปรเท่านั้น ดังนั้น ราคา ผลการดําเนินงาน หรือความผันผวนของสินค้าหรือตัวแปรในอนาคตอาจเคลื่อนไหวในทิศทางที่ไม่เป็นไปตามข้อมูลในอดีตได้ ข้อ ๒๐ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมของกองทุนรวมตามข้อ 16(2) (ข) ให้แสดงรายการและข้อมูลเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ (1) รายการคําถามและคําตอบเกี่ยวกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการของกองทุนรวม ให้มีคําถามและคําตอบเกี่ยวกับชื่อ คุณสมบัติ ความรู้และประสบการณ์ในการลงทุนในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเงินของบุคคลใดบุคคลหนึ่งต่อไปนี้ (ก) ผู้จัดการกองทุน (ข) บุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการลงทุนดังกล่าว (ถ้ามี) (2) รายการปัจจัยความเสี่ยงของกองทุนรวม ให้แสดงข้อมูลปัจจัยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยนเงิน โดยระบุข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้ (ก) สาระสําคัญของสัญญา และวัตถุประสงค์ในการลงทุน (ข) ลักษณะของความเสี่ยง และเหตุการณ์ที่เป็นสาเหตุของความเสี่ยง (ค) ผลกระทบทางลบที่อาจเกิดขึ้น ข้อ ๒๑ ในกรณีที่เป็นการลงทุนแบบซับซ้อนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 16(2) (ค) ให้แสดงข้อมูลดังต่อไปนี้ (1) วิธีการคํานวณมูลค่าความเสียหายสูงสุด (value-at-risk : VaR) ตามวิธีการใดระหว่างวิธีการ relative VaR approach หรือวิธีการ absolute VaR approach โดยระบุสมมติฐานที่ใช้ในการคํานวณตามวิธีการดังกล่าวด้วย อย่างน้อยดังนี้ (ก) ระดับความเชื่อมั่น (confidence interval) (ข) ระยะเวลาการถือครองทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุน (holding period) ทั้งนี้ กรณีที่ใช้วิธีการ relative VaR approach ให้ระบุ benchmark ที่ใช้ รวมถึงความเหมาะสมของ benchmark ดังกล่าวด้วย (2) มูลค่าธุรกรรมตามหน้าสัญญาของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่บริษัทจัดการประมาณการไว้ (expected gross leverage) ส่วน ๒ กองทุนรวมที่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับต่างประเทศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๒ ในส่วนนี้ คําว่า “ความเสี่ยงเกี่ยวกับต่างประเทศ” หมายความว่า ความเสี่ยงจากการลงทุนในทรัพย์สินหรือการเข้าเป็นคู่สัญญาในธุรกรรมทางการเงินในลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือหลายลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ความเสี่ยงด้านผู้ออกตราสารหรือคู่สัญญาในต่างประเทศ แต่ไม่รวมถึงกรณีที่ผู้ออกหรือคู่สัญญาเป็นสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย (2) ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ข้อ ๒๓ ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมที่มีหรือจะมีความเสี่ยงเกี่ยวกับต่างประเทศรวมกันเกินกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ข้อ ๒๔ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงข้อมูลสรุปปัจจัยความเสี่ยงเกี่ยวกับต่างประเทศไว้ในรายการสรุปปัจจัยความเสี่ยงที่สําคัญ ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการคํานึงถึงปัจจัยความเสี่ยงเพิ่มเติมอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ปัจจัยความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน (exchange rate risk) (2) ปัจจัยความเสี่ยงจากการลงทุนในต่างประเทศ (country and political risk) (3) ปัจจัยความเสี่ยงจากข้อจํากัดการนําเงินลงทุนกลับประเทศ (repatriation risk) ในกรณีที่เป็นการลงทุนในตราสารของบริษัทที่จัดตั้งและเสนอขายในประเทศกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ําโขง (Greater Mekong Subregion) รวมกันเกินกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ให้เปิดเผยความเสี่ยงจากการลงทุนในประเทศดังกล่าว (ถ้ามี) เช่น การลงทุนมีความผันผวนสูง ตราสารมีสภาพคล่องต่ํา หรือสภาพตลาดการเงินในกลุ่มอนุภูมิภาคดังกล่าวอาจมีความเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน เป็นต้น เพิ่มเติมจากข้อมูลตามวรรคหนึ่งด้วย ข้อ ๒๕ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงแนวทางการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินไว้ในรายการประเภทและนโยบายการลงทุนของกองทุนรวม โดยให้ระบุข้อมูลเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่กองทุนรวมมีนโยบายการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยง ให้ระบุว่าแนวทางการบริหารความเสี่ยงดังกล่าวเข้าลักษณะหนึ่งลักษณะใดดังนี้ (ก) มีการป้องกันความเสี่ยงอันอาจเกิดขึ้นทั้งหมด (ข) มีการป้องกันความเสี่ยงอันอาจเกิดขึ้นบางส่วน โดยมีการกําหนดสัดส่วนไว้อย่างชัดเจน (ค) มีการบริหารความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน (2) กรณีที่กองทุนรวมไม่มีนโยบายการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยง ให้ระบุว่า “ไม่มีการป้องกันหรือบริหารความเสี่ยง” การแสดงแนวทางการบริหารความเสี่ยงตามวรรคหนึ่ง (1) (ค) ให้แสดงปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาเข้าทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วย ส่วน ๓ กองทุนรวมที่ลงทุนใน หน่วยของกองทุนอื่น \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๖ กองทุนรวมที่มีหรือจะมีการลงทุนในหน่วยของกองทุนอื่นในลักษณะดังต่อไปนี้ ให้แสดงข้อมูลตามที่กําหนดไว้ในข้อ 27 หรือข้อ 28 แล้วแต่กรณี (1) กรณีที่มีหรือจะมีการลงทุนในหน่วยของกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ (ที่ไม่ใช่กองทุนที่มีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในอสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน) กองทุนใดกองทุนหนึ่งเกินกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ให้แสดงข้อมูลตามข้อ 27 (2) กรณีที่มีหรือจะมีการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่อยู่ภายใต้บังคับตามประกาศการจัดการกองทุน หรือหน่วยของกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มีลักษณะการลงทุนเช่นเดียวกับกองทุนรวมอื่นดังกล่าว รวมกันเกินกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ให้แสดงข้อมูลตามข้อ 28 (3) กรณีที่มีหรือจะมีการลงทุนในหน่วยของกองทุนไม่ว่าที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือต่างประเทศ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์หรือที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน รวมกันเกินกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ให้แสดงข้อมูลตามข้อ 28 เพื่อประโยชน์ของข้อกําหนดตามวรรคหนึ่ง (2) คําว่า “ประกาศการจัดการกองทุน” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ข้อ ๒๗ ในกรณีตามข้อ 26 วรรคหนึ่ง (1) หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงคําถามและคําตอบเกี่ยวกับกองทุนต่างประเทศที่ระบุไว้ในโครงการ ไว้ในรายการคําถามและคําตอบเกี่ยวกับลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) กองทุนต่างประเทศนั้นมีนโยบายการลงทุน ปัจจัยความเสี่ยงที่สําคัญและผลการดําเนินงานอย่างไร (2) ความผันผวนของผลการดําเนินงานของกองทุนต่างประเทศนั้นเป็นอย่างไร ในกรณีที่การลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนต่างประเทศส่งผลให้กองทุนมีฐานะการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงตามส่วนที่ 1 ของหมวดนี้ ให้บริษัทจัดการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงของกองทุนต่างประเทศตามส่วนที่ 1 ของหมวดนี้ด้วย โดยอนุโลม การแสดงคําถามและคําตอบตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้บริษัทจัดการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนต่างประเทศดังกล่าว เท่าที่กองทุนต่างประเทศนั้นได้เปิดเผยไว้เป็นการทั่วไปหรือเท่าที่บริษัทจัดการสามารถเข้าถึงได้ ข้อ ๒๘ ในกรณีตามข้อ 26 วรรคหนึ่ง (2) หรือ (3) หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมให้แสดงรายการคําถามและคําตอบเกี่ยวกับลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวม โดยมีคําถามและคําตอบเกี่ยวกับนโยบายและอัตราส่วนการลงทุนในกรณีดังกล่าว ซึ่งกําหนดไว้ในโครงการ ส่วน ๔ กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารที่มีอันดับ ความน่าเชื่อถือต่ํากว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ หรือที่ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๙ ในกรณีที่กองทุนรวมมีนโยบายการลงทุนที่ส่งผลให้กองทุนรวมมีฐานะการลงทุนในตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ํากว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ หรือที่ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ รวมกันเกินกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมให้มีข้อมูลคําเตือนเพิ่มเติมว่า “กองทุนรวมที่เสนอขายนี้มีการลงทุนในตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ํากว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ หรือที่ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงที่สูงกว่าการลงทุนในกองทุนรวมทั่วไป เช่น ความเสี่ยงจากการผิดนัดชําระหนี้ของผู้ออกตราสาร (credit risk) หรือความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของตราสาร (liquidity risk) ซึ่งส่งผลให้ผู้ลงทุนขาดทุนจากการลงทุนบางส่วนหรือทั้งจํานวนได้ และในการขายคืนหน่วยลงทุน ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินคืนตามที่ระบุในรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม” ส่วน ๕ กองทุนรวมที่จ่ายผลตอบแทนแบบซับซ้อน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๐ ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมที่จ่ายผลตอบแทนแบบซับซ้อน ข้อ ๓๑ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงคําถามคําตอบเกี่ยวกับการจ่ายผลตอบแทนไว้ในรายการคําถามและคําตอบเกี่ยวกับลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวม ดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมนี้กําหนดสูตรการคํานวณผลตอบแทน รูปแบบของผลตอบแทน รวมทั้งเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องไว้อย่างไร ทั้งนี้ ให้อธิบายรูปแบบของผลตอบแทนเป็นแผนภาพ (pay-off diagram) ด้วย (2) ประมาณการผลตอบแทนในสถานการณ์ต่าง ๆ และผลขาดทุนสูงสุดที่อาจเกิดขึ้นเป็นอย่างไร ทั้งนี้ ประมาณการดังกล่าวต้องใช้สมมติฐานที่มีความสมเหตุสมผลและกระทําด้วยความระมัดระวัง (3) กองทุนรวมนี้เหมาะสมกับผู้ลงทุนที่มีความคาดหวังอย่างไร หมวด ๓ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมตามลักษณะพิเศษ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วน ๑ กองทุนรวมที่กําหนดนโยบายการลงทุนในลักษณะของ กองทุนรวมตลาดเงินตามประกาศการลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๒ ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมตลาดเงินที่ใช้เงินฝากเป็นดัชนีชี้วัด (benchmark) เพิ่มเติมในการเปรียบเทียบกับผลตอบแทนจากการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ข้อ ๓๓ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงคําเตือนไว้ในรายการคําเตือนเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุน เพื่อให้ผู้ลงทุนเข้าใจว่า การลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินไม่ใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงจากการลงทุนซึ่งผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจํานวน คําเตือนตามวรรคหนึ่ง ให้แสดงไว้ทุกจุดที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับดัชนีชี้วัดที่เป็นเงินฝาก ส่วน ๒ กองทุนรวมที่กําหนดนโยบายการลงทุนในลักษณะของ กองทุนรวมมีประกันตามประกาศการลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๔ ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมมีประกัน ข้อ ๓๕ ในส่วนนี้ คําว่า “ผู้ประกัน” ให้หมายความว่า บุคคลที่ให้การประกันว่า หากผู้ลงทุนได้ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมมีประกันจนครบตามระยะเวลาที่กําหนดในโครงการ ผู้ลงทุนจะได้รับชําระเงินลงทุนหรือผลตอบแทนจากการไถ่ถอนหรือขายคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ตามจํานวนเงินที่ประกันไว้ ข้อ ๓๖ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงคําเตือนในกรณีที่กองทุนรวมมีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นที่ผู้ประกันเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน ที่แสดงว่ากองทุนรวมจะลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าว โดยให้ระบุชื่อผู้ประกัน อัตราส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์และทรัพย์สินดังกล่าว และจํานวนเงินลงทุนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับคืนหากผู้ประกันไม่สามารถชําระหนี้คืนได้ ไว้ในคําเตือนด้วย ข้อ ๓๗ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงรายการและข้อมูลเกี่ยวกับการประกันดังต่อไปนี้ (1) รายการประเภทและนโยบายของกองทุนรวม ให้อธิบายข้อมูลดังนี้โดยสังเขป (ก) รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ประกัน รวมถึงอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ประกัน (ข) จํานวนเงินลงทุนที่ประกัน และผลตอบแทนที่ประกัน (ถ้ามี) (ค)ระยะเวลาการประกัน และวันครบกําหนดระยะเวลาการประกันแต่ละงวด (ถ้ามี) (ง) ประมาณการค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการจัดให้มีผู้ประกันและสัดส่วนของประมาณการค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีผู้ประกัน เมื่อเทียบกับค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกองทุนรวม (2) รายการคําถามและคําตอบเกี่ยวกับลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวม ให้แสดงคําถามและคําตอบดังต่อไปนี้ (ก) ผลของการขายคืนหน่วยลงทุนก่อนครบกําหนดระยะเวลาประกันและผลของการขายคืนหรือไถ่ถอนหน่วยลงทุนเมื่อครบกําหนดระยะเวลาประกันในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนสูงกว่ามูลค่าที่ประกัน เป็นอย่างไร (ข) การจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ และการดําเนินการของบริษัทจัดการในกรณีที่ไม่สามารถจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ได้ เป็นอย่างไร (ค) ผู้ลงทุนควรคํานึงถึงความเสี่ยงจากความสามารถในการชําระหนี้ในอนาคตของผู้ประกันหรือไม่ อย่างไร ส่วน ๓ กองทุนรวมที่กําหนดนโยบายการลงทุนในลักษณะของ กองทุนรวมมุ่งรักษาเงินต้นตามประกาศการลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๘ ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมมุ่งรักษาเงินต้น ข้อ ๓๙ ในส่วนนี้ คําว่า “เงินต้น” ให้หมายความว่า เงินที่ผู้ลงทุนแต่ละรายชําระเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมมุ่งรักษาเงินต้น ทั้งนี้ ไม่รวมถึงค่าธรรมเนียมการซื้อหน่วยลงทุน ข้อ ๔๐ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงคําถามและคําตอบเกี่ยวกับลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวมมุ่งรักษาเงินต้น ดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมนี้แตกต่างจากกองทุนรวมมีประกันอย่างไร (2) ผู้ลงทุนในกองทุนรวมนี้มีโอกาสที่จะไม่ได้รับคืนเงินต้นหรือไม่ อย่างไร (3) กองทุนรวมนี้มีเงื่อนไขและกลไกการรักษาเงินต้นอย่างไร ส่วน ๔ กองทุนรวมที่กําหนดนโยบายการลงทุนในลักษณะของ กองทุนรวมอีทีเอฟตามประกาศการลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔๑ ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมอีทีเอฟ ข้อ ๔๒ ในส่วนนี้ (1) “ผู้ดูแลสภาพคล่อง” หมายความว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่ที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทจัดการให้ทําหน้าที่เพื่อให้ราคาซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟในตลาดรองสะท้อนมูลค่าหน่วยลงทุนที่คํานวณจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมดังกล่าวได้อย่างใกล้เคียงกัน (2) “ผู้ลงทุนรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่ซื้อหรือขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมกับบริษัทจัดการในปริมาณหรือมูลค่าตามที่กําหนดไว้ในโครงการซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท หรือตามที่ได้รับผ่อนผันจากสํานักงานเป็นรายกรณี (3) “ผู้ค้าหน่วยลงทุนร่วม” หมายความว่า ผู้ลงทุนรายใหญ่ที่บริษัทจัดการระบุอย่างเฉพาะเจาะจงไว้ในโครงการให้ทําการซื้อหรือขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟกับบริษัทจัดการได้ ข้อ ๔๓ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงรายการและข้อมูลดังต่อไปนี้ (1) รายการคําถามและคําตอบเกี่ยวกับลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวม ให้มีคําถามและคําตอบดังนี้ (ก) กองทุนรวมนี้อ้างอิงกับดัชนีราคาหลักทรัพย์ใด และดัชนีดังกล่าวมีหลักทรัพย์ใดเป็นองค์ประกอบ (ข) กองทุนรวมนี้จะลงทุนในหลักทรัพย์ใดใน 10 อันดับแรก (ค) กําหนดการประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและระดับของดัชนีที่ใช้อ้างอิงไว้อย่างไร (ง) วิธีการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่แปรผันตามการเปลี่ยนแปลงของดัชนีที่ใช้อ้างอิงเป็นอย่างไร (2) รายการคําถามคําตอบเกี่ยวกับสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุน ให้มีคําถามและคําตอบดังต่อไปนี้ (ก) การซื้อขายหน่วยลงทุนโดยตรงกับบริษัทจัดการจะต้องมีปริมาณหรือมูลค่าการซื้อขายเป็นจํานวนเท่าใด (ข) ผู้ลงทุนสามารถทราบข้อมูลเกี่ยวการซื้อขายหน่วยลงทุนและดัชนีที่ใช้อ้างอิงของกองทุนรวมนี้จากช่องทางใดบ้าง (3) รายการคําถามคําตอบเกี่ยวกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการของกองทุนรวม ให้มีคําถามคําตอบเกี่ยวกับบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทจัดการให้เป็นผู้ดูแลสภาพคล่อง และผู้ค้าหน่วยลงทุนร่วม (ถ้ามี) ส่วน ๕ กองทุนรวมที่กําหนดนโยบายการลงทุนในลักษณะของ กองทุนรวมทองคําตามประกาศการลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔๔ ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมทองคําที่มีการลงทุนในทองคําแท่งโดยตรง ข้อ ๔๕ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงคําถามและคําตอบเกี่ยวกับลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) ทองคําแท่งที่กองทุนรวมลงทุนได้รับการทําประกันภัยหรือไม่ อย่างไร (อธิบาย) และในกรณีที่มีการทําประกันภัย เป็นการทําประกันภัยบางส่วนหรือเต็มจํานวน (2) ในกรณีที่ทองคําแท่งมีการทําประกันภัย ทองคําแท่งที่กองทุนรวมลงทุนได้รับการประกันภัยคุ้มครองกรณีใดบ้าง และไม่ได้รับการคุ้มครองกรณีใดบ้าง ตอน ๔๖ ในกรณีที่ทองคําแท่งที่กองทุนรวมลงทุนมิได้มีการทําประกันภัยไว้หรือมีการทําประกันภัยไว้แต่เพียงบางส่วน ให้แสดงการวิเคราะห์และอธิบายความเสี่ยงของกองทุนรวมในกรณีที่ทองคําแท่งที่ลงทุนเกิดเสียหาย สูญหาย ถูกโจรกรรม หรือถูกทําลาย ไว้ในรายการปัจจัยความเสี่ยงของกองทุนรวมในหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมด้วย ส่วน ๖ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่มีการรับโอนเงิน จากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔๗ ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่มีการรับโอนเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือรับโอนเงินดังกล่าวต่อเนื่องจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่น ข้อ ๔๘ หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ ให้แสดงสัญลักษณ์หรือข้อความเพื่อให้ผู้ลงทุนทราบว่าเป็นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่มีการรับโอนเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือรับโอนเงินดังกล่าวต่อเนื่องจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่น ตามแนวทางที่สมาคมกําหนดโดยให้ระบุไว้ในส่วนบนสุดในหน้าแรกของหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ หมวด ๔ รายการและข้อมูลเพิ่มเติมในหนังสือชี้ชวนฉบับปรับปรุง \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔๙ หนังสือชี้ชวนฉบับปรับปรุง ให้แสดงรายการและข้อมูลเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ในหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม (1) เงินทุนโครงการ 2) รายการการลงทุนและผลการดําเนินงานของกองทุนรวม โดยให้อยู่ในส่วนถัดจากรายการค่าธรรมเนียม และให้แสดงข้อมูลอย่างน้อยดังนี้ (ก) รายละเอียดการลงทุน การกู้ยืมเงิน และการก่อภาระผูกพันของกองทุนรวม โดยจัดกลุ่มตามประเภทของหลักทรัพย์หรือทรัพย์สิน หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่น ให้สอดคล้องกับนโยบายการลงทุนของกองทุนรวม (ข) ผลการดําเนินงานของกองทุนรวมโดยใช้วิธีวัดผลการดําเนินงานตามมาตรฐานที่สมาคมหรือสํานักงานกําหนด แล้วแต่กรณี (3) ในกรณีที่กองทุนรวมมีดัชนีชี้วัด ให้แสดงข้อมูลเกี่ยวกับดัชนีชี้วัดของกองทุนรวม ที่มีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) ผลการดําเนินงานของดัชนีชี้วัด (ข) ในกรณีที่มีการเปลี่ยนดัชนีชี้วัด ให้แสดงเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงดัชนีชี้วัด (4) ข้อมูลการถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนที่ปรากฏขึ้นแล้วในปัจจุบัน โดยให้ระบุจํานวนบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดดังกล่าว พร้อมทั้งช่องทางการตรวจสอบข้อมูลสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลนั้นด้วย (5) ข้อมูลอัตราส่วนหมุนเวียนการลงทุนของกองทุนรวม (portfolio turnover ratio) ซึ่งคํานวณจากมูลค่าที่ต่ํากว่าระหว่างผลรวมของมูลค่าการซื้อทรัพย์สินกับผลรวมของมูลค่าการขายทรัพย์สิน ที่กองทุนรวมลงทุนในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมา หารด้วยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิเฉลี่ยของกองทุนรวมในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกัน (6) ในกรณีที่เป็นการลงทุนแบบซับซ้อนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้แสดงข้อมูล VaR ที่เกิดขึ้นจริง (actual VaR) และอธิบายสาเหตุที่ค่าเฉลี่ยของมูลค่าธุรกรรมในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกิดขึ้นจริง (average actual leverage) เกินกว่าที่บริษัทจัดการประมาณการไว้ (expected gross leverage) เดิม ในกรณีที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการหลังจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีและอยู่ในระหว่างการจัดทําหนังสือชี้ชวนเพื่อจัดส่งให้สํานักงาน ให้บริษัทจัดการแสดงข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ณ วันจัดทําหนังสือชี้ชวน ข้อ ๕๐ ข้อมูลที่แสดงในหนังสือชี้ชวนฉบับปรับปรุง ให้ใช้ข้อมูล ณ วันดังต่อไปนี้ (1) วันสิ้นรอบระยะเวลาที่ต้องจัดทําหนังสือชี้ชวนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนและการเสนอขายหน่วยลงทุน ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเปิด (2) วันใดวันหนึ่งในช่วง 30 วันก่อนวันเริ่มต้นเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติม ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมปิด ข้อ ๕๑ ในกรณีของกองทุนรวมอีทีเอฟ หนังสือชี้ชวนที่จัดทําใหม่ทุกรอบระยะเวลาบัญชี ให้เป็นไปตามข้อ 49 และต้องมีรายการเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ (1) รหัสของหน่วยลงทุนที่ใช้ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (2) หลักทรัพย์ที่กองทุนรวมลงทุนใน 10 อันดับแรก (3) จํานวนการซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมา หมวด ๕ บทเฉพาะกาล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕๒ ในกรณีที่บริษัทจัดการได้ยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมต่อสํานักงานโดยชอบก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการจัดทําหนังสือชี้ชวนเฉพาะสําหรับการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก โดยให้มีรายการและข้อมูลในหนังสือชี้ชวนเช่นเดียวกับร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นไว้แล้วต่อสํานักงานได้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
711
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 26/2559 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 26/25592558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (1) ของวรรคหนึ่งในข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) ส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ ซึ่งมีรายการและข้อมูลตามหมวด 1 ส่วนที่ 1 หมวด 2 ส่วนที่ 6 และหมวด 3 ส่วนที่ 6” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นส่วนที่ 6 กองทุนรวมที่ระบุว่าจะเลิกกองทุนหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติเมื่อหน่วยลงทุนมีมูลค่าตามเป้าหมายที่กําหนด ข้อ 31/1 ในหมวด 2 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมที่มีข้อกําหนดหรือลักษณะเฉพาะบางประการ แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขาย หน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ส่วน ๖ กองทุนรวมที่ระบุว่าจะเลิกกองทุนหรือรับซื้อคืน หน่วยลงทุนอัตโนมัติเมื่อหน่วยลงทุน มีมูลค่าตามเป้าหมายที่กําหนด \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๑/๑ ในกรณีเป็นกองทุนรวมที่ระบุว่าจะเลิกกองทุนหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติเมื่อหน่วยลงทุนมีมูลค่าตามเป้าหมายที่กําหนด (trigger fund) หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญและส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้มีคําเตือนดังต่อไปนี้ (1) มูลค่าหน่วยลงทุนเป้าหมายไม่ใช่การรับประกันผลตอบแทนจากการลงทุน (2) ในกรณีที่โครงการจัดการกองทุนรวมกําหนดห้ามผู้ถือหน่วยลงทุนขายคืนหน่วยลงทุนในช่วงระยะเวลาใด ๆ ให้มีคําเตือนในเรื่องดังกล่าวด้วย” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกแบบ 123-1 และแบบ 123-3 ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้แบบ 123-1 และแบบ 123-3 ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
712
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 61/2559 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน(ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 61/25592559 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” ระหว่างคําว่า “ฐานะการลงทุนสุทธิ” และคําว่า “สมาคม” ในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ““ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งสามารถให้บริการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ตามกฎหมายของประเทศนั้นและได้รับการยอมรับจากสํานักงาน” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3) ของวรรคหนึ่งในข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 “(3) ไม่ใช้คําศัพท์เทคนิคหรือคําศัพท์เฉพาะ เว้นแต่คําศัพท์ดังกล่าวเป็นคําศัพท์ที่ผู้ลงทุนทั่วไปมีความคุ้นเคยแล้ว” ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 “หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญตามวรรคหนึ่ง (1) อาจจัดทําในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการแสดงผลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์และมีการตอบสนองต่อคําสั่ง (interactive) ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปยังข้อมูลอื่นตามที่กําหนดไว้” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 9 หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นไปตามแบบ 123-1 แนบท้ายประกาศนี้ และมีรายละเอียดตามที่กําหนดใคําอธิบายเพิ่มเติมแนบท้ายแบบดังกล่าว เว้นแต่กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่เสนอขายหน่วยลงทุนภายใต้โครงการ Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes ให้เป็นไปตามแบบและคําอธิบายเพิ่มเติมแนบท้ายแบบดังกล่าวตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (2) แสดงผลด้วยรูปแบบที่สามารถอ่านหรือสื่อสารได้อย่างชัดเจน ในกรณีที่มีการจัดทําหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญในรูปแบบเอกสารสิ่งพิมพ์ ให้อยู่ในส่วนแรกของหนังสือชี้ชวน” ข้อ ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3) ของข้อ 16 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 “(3) กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ซื้อขายนอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Over-the-Counter derivatives) เกินกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมต้องมีรายการและข้อมูลเพิ่มเติมตามข้อ 21/1” ข้อ ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 21/1 ในส่วนที่ 1 กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ของหมวด 2 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมที่มีข้อกําหนดหรือลักษณะเฉพาะบางประการ แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 “ข้อ 21/1 หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมของกองทุนรวมตามข้อ 16(3) ให้แสดงข้อมูลอัตราส่วนการลงทุนที่อาจเกิดขึ้นได้สูงสุดในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ซื้อขายนอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าว” ข้อ ๗ ให้ยกเลิกส่วนที่ 3 กองทุนรวมที่ลงทุนในหน่วยของกองทุนอื่น ข้อ 26 ข้อ 27 และข้อ 28 ของหมวด 2 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมที่มีข้อกําหนดหรือลักษณะเฉพาะบางประการ แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ส่วน ๓ กองทุนรวมที่ลงทุนในหน่วย ของกองทุนอื่น \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๖ ในส่วนนี้ “ทรัพย์สินประเภท SIP” หมายความว่า ทรัพย์สินที่จัดอยู่ในประเภท Specific Investment Product (SIP) ตามข้อ 7 ในตอนที่ 1.1 : อัตราส่วนการลงทุนสําหรับกองทุนทั่วไป ของส่วนที่ 1 : อัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามผู้ออกทรัพย์สินหรือคู่สัญญา (single entity limit) ในภาคผนวก 4-retail MF-PF อัตราส่วนการลงทุนของ retail MF และ retail PF แห่งประกาศการลงทุน “ประกาศการจัดการกองทุน” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ข้อ ๒๗ กองทุนรวมที่มีหรือจะมีการลงทุนในหน่วยของกองทุนอื่นในลักษณะดังต่อไปนี้ ให้แสดงข้อมูลตามที่กําหนดไว้ในข้อ 28 ข้อ 28/1 หรือข้อ 28/2 แล้วแต่กรณี (1) กรณีที่มีหรือจะมีการลงทุนในหน่วยของกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ (ที่ไม่ใช่กองทุนที่มีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในอสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน) กองทุนใดกองทุนหนึ่งเกินกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ให้แสดงข้อมูลตามข้อ 28 (2) กรณีดังนี้ ให้แสดงข้อมูลตามข้อ 28/1 (ก) กรณีที่มีหรือจะมีการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่อยู่ภายใต้บังคับตามประกาศการจัดการกองทุน หรือหน่วยของกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มีลักษณะการลงทุนเช่นเดียวกับกองทุนรวมอื่นดังกล่าว รวมกันเกินกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ข) กรณีที่มีหรือจะมีการลงทุนในหน่วยของกองทุนไม่ว่าที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือต่างประเทศ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์หรือที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน รวมกันเกินกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (3) กรณีที่มีหรือจะมีการลงทุนในหน่วยของกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ กองทุนใดกองทุนหนึ่งเกินกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม และกองทุนต่างประเทศดังกล่าวมีหรือจะมีการลงทุนในทรัพย์สินประเภท SIP ให้แสดงข้อมูลตามข้อ 28/2 ข้อ ๒๘ ในกรณีตามข้อ 27(1) หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงคําถามและคําตอบเกี่ยวกับกองทุนต่างประเทศที่ระบุไว้ในโครงการ ไว้ในรายการคําถามและคําตอบเกี่ยวกับลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) กองทุนต่างประเทศนั้นมีนโยบายการลงทุน ปัจจัยความเสี่ยงที่สําคัญและผลการดําเนินงานอย่างไร (2) ความผันผวนของผลการดําเนินงานของกองทุนต่างประเทศนั้นเป็นอย่างไร ในกรณีที่การลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนต่างประเทศส่งผลให้กองทุนมีฐานะการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงตามส่วนที่ 1 ของหมวดนี้ ให้บริษัทจัดการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงของกองทุนต่างประเทศตามส่วนที่ 1 ของหมวดนี้ด้วย โดยอนุโลม การแสดงคําถามและคําตอบตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้บริษัทจัดการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนต่างประเทศดังกล่าว เท่าที่กองทุนต่างประเทศนั้นได้เปิดเผยไว้เป็นการทั่วไปหรือเท่าที่บริษัทจัดการสามารถเข้าถึงได้ ข้อ ๒๘/๑ ในกรณีตามข้อ 27(2) (ก) หรือ (ข) หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมให้แสดงรายการคําถามและคําตอบเกี่ยวกับลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวม โดยมีคําถามและคําตอบเกี่ยวกับนโยบายและอัตราส่วนการลงทุนในกรณีดังกล่าว ซึ่งกําหนดไว้ในโครงการ ข้อ ๒๘/๒ ในกรณีตามข้อ 27(3) หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงการเปรียบเทียบข้อมูลเกี่ยวกับอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามผู้ออกทรัพย์สินหรือคู่สัญญา (single entity limit) สําหรับทรัพย์สินประเภท SIP ตามประกาศการลงทุน และอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามผู้ออกทรัพย์สินหรือคู่สัญญาสําหรับทรัพย์สินประเภท SIP ของกองทุนต่างประเทศที่กองทุนรวมไปลงทุน ตามที่ระบุไว้ในเอกสารการเปิดเผยข้อมูลการลงทุนของกองทุนต่างประเทศดังกล่าว” ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความในข้อ 31/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 26/2559 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 31/1 ในกรณีเป็นกองทุนรวมที่ระบุว่าจะเลิกกองทุนหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติเมื่อหน่วยลงทุนมีมูลค่าตามเป้าหมายที่กําหนด (trigger fund) ให้แสดงข้อมูลเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ (1) คําเตือน โดยให้แสดงไว้ในหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญและส่วนข้อมูลกองทุนรวมดังนี้ (ก) มูลค่าหน่วยลงทุนเป้าหมายไม่ใช่การรับประกันผลตอบแทนจากการลงทุน (ข) ในกรณีที่โครงการจัดการกองทุนรวมกําหนดห้ามผู้ถือหน่วยลงทุนขายคืน หน่วยลงทุนในช่วงระยะเวลาใด ๆ ให้มีคําเตือนในเรื่องดังกล่าวเพิ่มเติมด้วย (2) ข้อมูลปัจจัยอ้างอิงที่สอดคล้องกับนโยบายการลงทุน เพื่อแสดงถึงความสมเหตุสมผลของการกําหนดเงื่อนไขการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติหรือการเลิกกองทุนรวมก่อนครบกําหนดอายุโครงการของกองทุนรวมดังกล่าว โดยให้แสดงไว้ในหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ทั้งนี้ ให้แสดงข้อมูลปัจจัยอ้างอิงดังกล่าวย้อนหลังเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 ปีนับถึงวันที่บริษัทจัดการจัดส่งหนังสือชี้ชวนให้แก่สํานักงานในครั้งล่าสุด โดยในกรณีที่ปัจจัยอ้างอิงเป็นข้อมูลที่มีการจัดทําขึ้นไม่ถึง 3 ปี ให้แสดงข้อมูลดังกล่าวย้อนหลังเท่าที่มีการจัดทําข้อมูลนั้น” ข้อ ๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นส่วนที่ 7 กองทุนรวมที่กําหนดนโยบายการลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมฟีดเดอร์ตามประกาศการลงทุน ข้อ 48/1 และข้อ 48/2 ของหมวด 3 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมตามลักษณะพิเศษ แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ส่วน ๗ กองทุนรวมที่กําหนดนโยบายการลงทุนในลักษณะของ กองทุนรวมฟีดเดอร์ตามประกาศการลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔๘/๑ ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมฟีดเดอร์ ข้อ ๔๘/๒ หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงข้อมูลดังต่อไปนี้เพิ่มเติมด้วย (1) ผลการดําเนินงานของกองทุนอื่นที่กองทุนรวมฟีดเดอร์ดังกล่าวมุ่งเน้นลงทุน ย้อนหลังเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 ปีนับถึงวันที่กองทุนอื่นนั้นได้เปิดเผยข้อมูลผลการดําเนินงานล่าสุด ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลผลการดําเนินงานของกองทุนอื่นในช่วงระยะเวลาดังกล่าว หรือกองทุนนั้นมีผลการดําเนินงานไม่ถึง 3 ปี ให้แสดงข้อมูลดังกล่าวย้อนหลังเท่าที่บริษัทจัดการจะสามารถรวบรวมได้ (2) ในกรณีของกองทุนรวมฟีดเดอร์ที่มุ่งเน้นลงทุนในหน่วยของกองทุนอื่นที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ให้แสดงข้อมูลรายละเอียดของนโยบายการลงทุนของกองทุนต่างประเทศดังกล่าว โดยต้องแสดงการเปรียบเทียบข้อมูลอัตราส่วนการลงทุนของทรัพย์สินที่มุ่งเน้นลงทุนตามที่กําหนดในการจัดแบ่งประเภทของกองทุนรวมซึ่งกําหนดตามประเภทของทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุนตามประกาศการลงทุน และอัตราส่วนการลงทุนของทรัพย์สินหลักตามนโยบายการลงทุนของกองทุนต่างประเทศดังกล่าว” ข้อ ๑๐ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ค) ของ (2) ในวรรคหนึ่งของข้อ 49 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 “(ค) ผลขาดทุนสูงสุดที่เกิดขึ้นจริงของกองทุนรวม (maximum drawdown) ย้อนหลังเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปีนับถึงวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ในกรณีที่ระยะเวลาการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมจนถึงวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมาน้อยกว่า 5 ปี ให้แสดงข้อมูลผลขาดทุนสูงสุดดังกล่าวตั้งแต่วันจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมจนถึงวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมา” ข้อ ๑๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 51 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 51 ในกรณีของกองทุนรวมอีทีเอฟ หนังสือชี้ชวนที่จัดทําใหม่ทุกรอบระยะเวลาบัญชี ให้เป็นไปตามข้อ 49 และต้องมีรายการเพิ่มเติมในหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) รหัสของหน่วยลงทุนที่ใช้ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (2) หลักทรัพย์ที่กองทุนรวมลงทุนใน 10 อันดับแรก (3) จํานวนการซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมา” ข้อ ๑๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 51/1 และข้อ 51/2 ในหมวด 4 รายการและข้อมูลเพิ่มเติมในหนังสือชี้ชวนฉบับปรับปรุง แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 “ข้อ 51/1 ในกรณีของกองทุนรวมตราสารหนี้ หนังสือชี้ชวนที่จัดทําใหม่ทุกรอบระยะเวลาบัญชี ให้เป็นไปตามข้อ 49 และต้องแสดงรายการเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลอายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุน (portfolio duration) ซึ่งได้จากการคํานวณค่าตามมาตรฐานสากลของกองทุนรวม ในหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ข้อ 51/2 ในกรณีของกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ซื้อขายนอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเกินกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม หนังสือชี้ชวนที่จัดทําใหม่ทุกรอบระยะเวลาบัญชีให้เป็นไปตามข้อ 49 และต้องแสดงรายการเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามประเภททรัพย์สิน (product limit) ที่เกิดขึ้นจริงสําหรับการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวในหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม” ข้อ ๑๓ เพื่อประโยชน์ตามข้อ 14 ข้อ 15 ข้อ 16 ข้อ 17 และข้อ 18 แห่งประกาศนี้ ให้คําว่า “ประกาศ ที่ สน. 88/2558” หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 26/2559 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ข้อ ๑๔ ให้ยกเลิกแบบ 123-1 และแบบ 123-3 ท้ายประกาศ ที่ สน. 88/2558 และให้ใช้แบบ 123-1 และแบบ 123-3 ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๑๕ ในกรณีที่บริษัทจัดการได้ยื่นร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานโดยชอบก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ หรือจะยื่นร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานในระหว่างวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560 บริษัทจัดการสามารถจัดทําร่างหนังสือชี้ชวนและหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรกที่เริ่มต้นเสนอขายหน่วยลงทุนไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ตามแบบและรายการของหนังสือชี้ชวนที่กําหนดในประกาศ ที่ สน. 88/2558 ข้อ ๑๖ ในกรณีที่บริษัทจัดการจะปรับปรุงหนังสือชี้ชวนให้เป็นปัจจุบัน บริษัทจัดการสามารถจัดทําหนังสือชี้ชวนฉบับปรับปรุงตามแบบและรายการที่กําหนดในประกาศ ที่ สน. 88/2558 ได้ต่อเมื่อเป็นกองทุนรวมที่เป็นไปตามเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) จดทะเบียนเป็นกองทุนรวมก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับและมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมตั้งแต่ 5,000 ล้านบาทขึ้นไปในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ เฉพาะสําหรับการยื่นหนังสือชี้ชวนฉบับปรับปรุงต่อสํานักงานไม่เกินวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2560 (2) จดทะเบียนเป็นกองทุนรวมก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับและมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมน้อยกว่า 5,000 ล้านบาทในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ เฉพาะสําหรับการยื่นหนังสือชี้ชวนฉบับปรับปรุงต่อสํานักงานไม่เกินวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (3) จดทะเบียนเป็นกองทุนรวมระหว่างวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560 และมีเงินทุนจดทะเบียนครั้งแรกตั้งแต่ 5,000 ล้านบาทขึ้นไป เฉพาะสําหรับการยื่นหนังสือชี้ชวนฉบับปรับปรุงต่อสํานักงานไม่เกินวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2560 (4) จดทะเบียนเป็นกองทุนรวมระหว่างวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560 และมีเงินทุนจดทะเบียนครั้งแรกน้อยกว่า 5,000 ล้านบาท เฉพาะสําหรับการยื่นหนังสือชี้ชวนฉบับปรับปรุงต่อสํานักงานไม่เกินวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (5) มีกําหนดระยะเวลาสิ้นสุดอายุโครงการไว้อย่างแน่นอนชัดเจนในโครงการและจะเสนอขายหน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียว โดยเริ่มต้นเสนอขายหน่วยลงทุนไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ทั้งนี้ โดยไม่ต้องคํานึงถึงลักษณะของกองทุนรวมตาม (1) (2) (3) หรือ (4) คําว่า “เงินทุนจดทะเบียน” ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า เงินทุนที่บริษัทจัดการได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนและนํามาจดทะเบียนไว้กับสํานักงาน ข้อ ๑๗ ในกรณีที่บริษัทจัดการได้จัดทําและยื่นร่างหนังสือชี้ชวนหรือหนังสือชี้ชวนสําหรับกองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งตามแบบและรายการที่กําหนดในประกาศ ที่ สน. 88/2558ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ต่อสํานักงานแล้ว มิให้บริษัทจัดการยื่นร่างหนังสือชี้ชวนหรือหนังสือชี้ชวนสําหรับกองทุนรวมดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ในข้อ 15 หรือข้อ 16 แห่งประกาศนี้อีกต่อไป ข้อ ๑๘ ในกรณีที่บริษัทจัดการได้ยื่นร่างหนังสือชี้ชวนหรือหนังสือชี้ชวนตามแบบและรายการที่กําหนดในประกาศ ที่ สน. 88/2558 ต่อสํานักงานโดยเป็นไปตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กําหนดในข้อ 15 ข้อ 16 หรือข้อ 17 แห่งประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในประกาศ ที่ สน. 88/2558 จนกว่าจะสิ้นสุดระยะเวลาการยื่นร่างหนังสือชี้ชวนหรือหนังสือชี้ชวนตามที่กําหนดในข้อดังกล่าว ข้อ ๑๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
713
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 12/2560 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 4)
-ร่าง- ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 12/2560 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่าน การพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว เมื่อวันที่ 15/2/2560 . CSDS เลขที่ 123/2558 . ครั้งที่ 1 ผ่านทาง CSDS อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 26 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยและกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 61/2559 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยและกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 26 ในส่วนนี้ “ทรัพย์สินประเภท SIP” หมายความว่า ทรัพย์สินที่จัดอยู่ในประเภท Specific Investment Product (SIP) ดังต่อไปนี้ แล้วแต่กรณี (1) ทรัพย์สินตามข้อ 8 ในตอนที่ 1.1 : อัตราส่วนการลงทุนสําหรับ MF ทั่วไป ของส่วนที่ 1 : อัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามผู้ออกทรัพย์สินหรือคู่สัญญา (single entity limit) ในภาคผนวก 4-retail MF อัตราส่วนการลงทุนของ retail MF แห่งประกาศการลงทุน ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (2) ทรัพย์สินตามข้อ 8 ในตอนที่ 1.1 : อัตราส่วนการลงทุนสําหรับกองทุน AI ทั่วไป ของส่วนที่ 1 : อัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามผู้ออกทรัพย์สินหรือคู่สัญญา (single entity limit) ในภาคผนวก 4-AI อัตราส่วนการลงทุนของกองทุน AI แห่งประกาศการลงทุน ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย “ประกาศการจัดการกองทุน” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
714
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 36/2560 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 5)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 36/2560 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 5) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นส่วนที่ 7 กองทุนรวมที่ระบุรายการทรัพย์สินที่จะลงทุนหรือสัดส่วนการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าว ข้อ 31/2 ของหมวด 2 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมที่มีข้อกําหนดหรือลักษณะเฉพาะบางประการ แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 12/2560 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ส่วน ๗ กองทุนรวมที่ระบุรายการทรัพย์สินที่จะลงทุน หรือสัดส่วนการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าว \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๑/๒ ในกรณีเป็นกองทุนรวมที่ระบุรายการทรัพย์สินที่จะลงทุนหรือสัดส่วนการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าวในหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม บริษัทจัดการจะจัดให้มีข้อความสงวนสิทธิในหนังสือชี้ชวนส่วนดังกล่าวให้บริษัทจัดการสามารถเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินที่ลงทุนหรือสัดส่วนการลงทุนได้ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขโดยครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจเกิดสถานการณ์ที่จะทําให้บริษัทจัดการจําเป็นต้องเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินหรือสัดส่วนการลงทุนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ (2) มีการระบุข้อความประกอบการสงวนสิทธิว่า “บริษัทจัดการจะใช้ดุลพินิจในการเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินที่ลงทุนหรือสัดส่วนการลงทุนได้ต่อเมื่อเป็นการดําเนินการภายใต้สถานการณ์ที่จําเป็นและสมควรเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ โดยไม่ทําให้ความเสี่ยงของทรัพย์สินที่ลงทุนเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ” (3) การแสดงข้อความสงวนสิทธิและข้อความประกอบการสงวนสิทธิต้องอยู่ในหน้าเดียวกันกับการแสดงข้อมูลรายการทรัพย์สินที่จะลงทุนหรือสัดส่วนการลงทุน” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกแบบ 123-1 ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 61/2559 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้แบบ 123-1 ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๓ บริษัทจัดการสามารถยื่นหนังสือชี้ชวนตามแบบและรายการของหนังสือชี้ชวนที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับต่อสํานักงานได้ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กําหนดไว้ในเอกสารรายการประเภทของหนังสือชี้ชวนที่บริษัทจัดการสามารถยื่นต่อสํานักงานท้ายประกาศนี้ ในกรณีที่บริษัทจัดการยื่นหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ในส่วนที่เกี่ยวกับหนังสือชี้ชวนดังกล่าวที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ เพื่อประโยชน์ตามข้อนี้ ให้คําว่า “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “หนังสือชี้ชวน” หมายความว่า หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย หรือกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน แล้วแต่กรณี ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
715
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 8/2561 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 6)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 8/2561 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 6) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (1) ของวรรคหนึ่งในข้อ 9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 61/2559 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) เป็นไปตามแบบ 123-1 แนบท้ายประกาศนี้ และมีรายละเอียดตามที่กําหนดในคําอธิบายเพิ่มเติมแนบท้ายแบบดังกล่าว” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 13/1 ในส่วนที่ 2 หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ของหมวด 1 รายการและข้อมูลในหนังสือชี้ชวน แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยและกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 “ข้อ 13/1 รายการคําเตือนของกองทุนรวม ให้มีข้อมูลคําเตือนใต้ชื่อกองทุนรวมในจุดแรกที่สามารถเห็นได้ชัดเจนดังต่อไปนี้ ด้วยตัวอักษรที่มีขนาดไม่เล็กกว่าขนาดตัวอักษรส่วนใหญ่ในหนังสือชี้ชวน (1) กรณีเป็นกองทุนรวมที่มุ่งเน้นลงทุนเพียงครั้งเดียวโดยถือทรัพย์สินที่ลงทุนไว้จนครบกําหนดอายุของทรัพย์สิน หรืออายุของรอบการลงทุนของกองทุนรวม หรือครบอายุของกองทุนรวม หรือกองทุนรวมที่ระบุว่าจะเลิกกองทุนหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติเมื่อหน่วยลงทุนมีมูลค่าตามเป้าหมายที่กําหนด โดยมีการกําหนดห้ามผู้ถือหน่วยลงทุนขายคืนหน่วยลงทุนในช่วงระยะเวลาใด ๆ ต้องจัดให้มีคําเตือนว่า “ผู้ลงทุนไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนนี้ในช่วงเวลา (ระบุ x วัน/เดือน/ปี) ได้ ดังนั้น หากมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนดังกล่าว ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจํานวนมาก” (2) กรณีเป็นกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนแบบกระจุกตัว ให้มีข้อมูลคําเตือนดังนี้ (ก) คําเตือนเกี่ยวกับการกระจุกตัวอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง แล้วแต่กรณีดังนี้ 1. กรณีที่มีการลงทุนแบบกระจุกตัวในตราสารของผู้ออกตราสาร คู่สัญญา หรือบุคคลอื่นที่มีภาระผูกพันตามตราสารหรือสัญญานั้น รายใดรายหนึ่งเกินกว่าร้อยละ 10 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ให้มีคําเตือนว่า “กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออก” คําว่า “ตราสาร” ตามวรรคหนึ่ง (2) (ก) 1. วรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงตราสารดังนี้ 1.1 ตราสารหนี้ภาครัฐไทย 1.2 ตราสารภาครัฐต่างประเทศที่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ 1.3 เงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝากที่ผู้รับฝากหรือผู้ออกตราสารที่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ 2. กรณีที่มีการลงทุนในกิจการที่อยู่ในหมวดอุตสาหกรรมหรือของกิจการที่มีลักษณะเทียบเคียงได้กับกิจการที่อยู่ในหมวดอุตสาหกรรมดังกล่าว โดยเป็นการลงทุนในทรัพย์สินดังนี้ รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ต้องจัดให้มีคําเตือนว่า “กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม” 2.1 หุ้น 2.2 หน่วยของกองทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน เฉพาะที่สอดคล้องกับหมวดอุตสาหกรรมดังกล่าว 2.3 หน่วยของกองทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ โดยให้นับรวมกับทรัพย์สินตาม 2.1 และ 2.2 ที่อยู่ในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การพิจารณาหมวดอุตสาหกรรมตามวรรคหนึ่ง (2) วรรคหนึ่ง 2. ให้พิจารณาตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศกําหนด 3. กรณีที่มีการลงทุนในตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ํากว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (non-investment grade) หรือที่ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ให้มีคําเตือนว่า “กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในตราสารที่มีความเสี่ยงด้านเครดิตและสภาพคล่อง” (ข) คําเตือนเพิ่มเติมต่อจากคําเตือนตามวรรคหนึ่ง (2) (ก) ว่า “จึงมีความเสี่ยงที่ ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจํานวนมาก” เพื่อประโยชน์ตามข้อนี้ (1) คําว่า “ตราสารหนี้ภาครัฐไทย” “ตราสารภาครัฐต่างประเทศ” “เงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก” และ “ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับความหมายของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุนของกองทุน (2) “หน่วยของกองทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า หน่วยของกองทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานซึ่งอยู่ในรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (ก) กองทุนโครงสร้างพื้นฐานที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน (ข) กองทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนโครงสร้างพื้นฐานตามวรรคหนึ่ง (2) (ก) 2. วรรคหนึ่ง ทั้งนี้ ไม่ว่าจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด (3) “หน่วยของกองทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า หน่วยของกองทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (ก) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายใต้บังคับประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ข) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน (ค) กองทรัสต์หรือกองอสังหาริมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือในกิจการที่ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกแบบ 123-1 และคําอธิบายเพิ่มเติมแนบท้ายแบบดังกล่าวท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยและกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 36/2560 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยและกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้แบบ 123-1 และคําอธิบายเพิ่มเติมแนบท้ายแบบดังกล่าวท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๔ บริษัทจัดการสามารถยื่นหนังสือชี้ชวนตามแบบและรายการของหนังสือชี้ชวนที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 ต่อสํานักงานได้ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กําหนดไว้ในเอกสารรายการประเภทของหนังสือชี้ชวนที่บริษัทจัดการสามารถยื่นต่อสํานักงานท้ายประกาศนี้ ในกรณีที่บริษัทจัดการยื่นหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ในส่วนที่เกี่ยวกับหนังสือชี้ชวนดังกล่าวที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป เว้นแต่ข้อ 1 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
716
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 65/2561 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน(ฉบับที่ 7)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 65/2561 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 7) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (2) ในวรรคหนึ่งของข้อ 49 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ข) ผลการดําเนินงานของกองทุนรวมโดยใช้วิธีวัดผลการดําเนินงานตามที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกแบบ 123-1 และคําอธิบายเพิ่มเติมแนบท้ายแบบดังกล่าวท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยและกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 8/2561 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยและกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 6 ) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้แบบ 123-1 และคําอธิบายเพิ่มเติมแนบท้ายแบบดังกล่าวท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๓ บริษัทจัดการสามารถยื่นหนังสือชี้ชวนตามแบบและรายการของหนังสือชี้ชวนที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับต่อสํานักงานได้ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กําหนดไว้ในเอกสารรายการประเภทของหนังสือชี้ชวนที่บริษัทจัดการสามารถยื่นต่อสํานักงานท้ายประกาศนี้ ในกรณีที่บริษัทจัดการยื่นหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ในส่วนที่เกี่ยวกับหนังสือชี้ชวนดังกล่าวที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
717
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 22/2562 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน(ฉบับที่ 8)
-ร่าง- ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2562 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 8) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 1 กองทุนรวมที่กําหนดนโยบายการลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมตลาดเงินตามประกาศการลงทุน ข้อ 32 และข้อ 33 ของหมวด 3 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมตามลักษณะพิเศษ แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยและกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ส่วนที่ 1 กองทุนรวมที่กําหนดนโยบายการลงทุนในลักษณะของ กองทุนรวมตลาดเงินตามประกาศการลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 32 ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมตลาดเงิน ข้อ 33 หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงข้อมูลดังต่อไปนี้ (1) คําเตือนในรายการคําเตือนเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุนว่า “แม้ว่ากองทุนรวมตลาดเงินลงทุนได้เฉพาะทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงต่ํา แต่ก็มีโอกาสขาดทุนได้” (2) กรณีที่เป็นกองทุนรวมตลาดเงินที่มีการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนในวันส่งคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน ให้แสดงวงเงินสูงสุดที่บริษัทจัดการจะยินยอมให้ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถขายคืนหน่วยลงทุนในวันส่งคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุน ทั้งวงเงินรายบุคคลและวงเงินรวมของกองทุนรวม (3) กรณีที่เป็นกองทุนรวมตลาดเงินที่ใช้เงินฝากเป็นดัชนีชี้วัด (benchmark) เพิ่มเติมในการเปรียบเทียบกับผลตอบแทนจากการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ให้แสดงคําเตือนไว้ในรายการคําเตือนเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุน เพื่อให้ผู้ลงทุนเข้าใจว่าการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินไม่ใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงจากการลงทุนซึ่งผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจํานวน ทั้งนี้ คําเตือนดังกล่าวให้แสดงไว้ทุกจุดที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับดัชนีชี้วัดที่เป็นเงินฝาก” ข้อ 2 ให้ยกเลิกแบบ 123-1 ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยและกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 65/2561 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยและกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 และให้ใช้แบบ 123-1 ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
718
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 29/2562 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 9)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 29/2562 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 9) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นส่วนที่ 3/1 กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหน่วยของกิจการเงินร่วมลงทุน (หน่วย private equity) ข้อ 28/3 ของหมวด 2 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมที่มีข้อกําหนดหรือลักษณะเฉพาะบางประการ แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 36/2560 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 “ส่วนที่ 3/1 กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนใน หน่วยของกิจการเงินร่วมลงทุน (หน่วย private equity) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 28/3 หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวมของกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหน่วยของกิจการเงินร่วมลงทุนที่ไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ (unlisted private equity) ให้แสดงรายการและข้อมูลเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ ในรายการคําถามและคําตอบเกี่ยวกับลักษณะที่สําคัญของหน่วยของกิจการเงินร่วมลงทุนดังกล่าว (1) นโยบายการลงทุน (2) ลักษณะของกิจการเป้าหมาย (ถ้ามี) (3) ปัจจัยความเสี่ยงที่สําคัญ (4) ข้อตกลงจํานวนเงินขั้นต่ําที่จะลงทุน (5) ระยะเวลาที่ต้องลงทุน (lock-up period) เพื่อประโยชน์ของข้อกําหนดตามวรรคหนึ่ง คําว่า “หน่วยของกิจการเงินร่วมลงทุน (หน่วย private equity)” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศการลงทุน” ข้อ 2 ให้ยกเลิกแบบ 123-1 ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยและกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 29/2562 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยและกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้แบบ 123-1 ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 3 บริษัทจัดการสามารถยื่นหนังสือชี้ชวนตามแบบและรายการของหนังสือชี้ชวนที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับต่อสํานักงานได้ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กําหนดไว้ในเอกสารรายการประเภทของหนังสือชี้ชวนที่บริษัทจัดการสามารถยื่นต่อสํานักงาน ท้ายประกาศนี้ ในกรณีที่บริษัทจัดการยื่นหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ในส่วนที่เกี่ยวกับหนังสือชี้ชวนดังกล่าวที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ 4 ในกรณีที่กองทุนรวมจะลงทุนในหน่วยของกิจการเงินร่วมลงทุน (หน่วย private equity) ไม่ว่าที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือต่างประเทศก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการปรับปรุงหนังสือชี้ชวนให้เป็นปัจจุบันตามแบบและรายการที่กําหนดในประกาศนี้ทันทีที่ประกาศมีผลใช้บังคับ เพื่อประโยชน์ของข้อกําหนดตามวรรคหนึ่ง (3) คําว่า “หน่วยของกิจการเงินร่วมลงทุน (หน่วย private equity)” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศการลงทุน ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
719
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 49/2562 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 10)
-ร่าง- ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่าน การพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว เมื่อวันที่ 16/5/2562 . CSDS เลขที่ 24/2562 . ครั้งที่ 1 ผ่านทาง CSDS ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 49/2562 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 10) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นส่วนที่ 8 กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ข้อ 48/3 ของหมวด 3 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมของกองทุนรวมตามลักษณะพิเศษ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 61/2559 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559 “ส่วนที่ 8 กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 48/3 หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้ระบุข้อความ “สําหรับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” ไว้ในส่วนบนสุดในหน้าแรกของหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
720
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 65/2562 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 11)
-ร่าง- ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ผ่านการพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว เมื่อวันที่.......04/12/62............................... CSDS เลขที่...79/2562... ครั้งที่ .....3......... ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 65/2562 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 11) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3) ในวรรคหนึ่งของข้อ 13/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 8/2561 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 6) วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 “(3) กรณีเป็นกองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ต้องจัดให้มีคําเตือนว่า “การลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้ลงทุนไม่สามารถนํามาลดหย่อนภาษีได้”” ข้อ 2 ให้ยกเลิกแบบ 123-1 ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 29/2562 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้แบบ 123-1 ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 3 ให้ยกเลิกคําอธิบายเพิ่มเติมแนบท้ายแบบ 123-1 ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 65/2561 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 และให้ใช้คําอธิบายเพิ่มเติมแนบท้ายแบบ 123-1 ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
721
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 50/2563 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 14)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน.50/2563 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 14) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (7) ของข้อ 10 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(7) ข้อมูลการถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดในการใช้สิทธิออกเสียงที่มีแนวโน้มว่าอาจจะเกิดขึ้น (ถ้ามี) โดยให้ระบุจํานวนบุคคลที่ถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดดังกล่าว พร้อมทั้งช่องทางการตรวจสอบข้อมูลสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของบุคคลนั้นด้วย” ข้อ ๒ 2 ให้ยกเลิกความใน (4) ของวรรคหนึ่งในข้อ 49 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(4) ข้อมูลการถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดในการใช้สิทธิออกเสียง (ถ้ามี) โดยให้ระบุจํานวนบุคคลที่ถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดดังกล่าว พร้อมทั้งช่องทางการตรวจสอบข้อมูลสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของบุคคลนั้นด้วย” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกแบบ 123-1 และคําอธิบายเพิ่มเติมแนบท้ายแบบดังกล่าวท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 4/2563 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้แบบ 123-1 และคําอธิบายเพิ่มเติมแนบท้ายแบบดังกล่าวท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ
722
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 30/2564 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 15)
-ร่าง- ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ ผ่านการพิจารณาของฝ่ายกฎหมาย 2 แล้ว เมื่อวันที่ 19/04/64 CSDS เลขที่ 117/2563 ครั้งที่ 3 ผ่านทาง CSDS ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 30/2564 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 15) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 11 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 11 รายการคําถามและคําตอบเกี่ยวกับกองทุนรวม ให้แสดงคําถามและคําตอบอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) คําถามและคําตอบเกี่ยวกับลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวมดังนี้ (ก) กองทุนรวมนี้เป็นกองทุนรวมที่มีการกําหนดประเภทของผู้ลงทุน หรือมีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนหรือไม่ อย่างไร ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน ให้แสดงข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการแบ่งชนิด สิทธิประโยชน์และความเสี่ยงของผู้ถือหน่วยลงทุนแยกตามชนิดของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด (ข) กองทุนรวมนี้มีจํานวนเงินทุนโครงการล่าสุดเท่าใด (ค) กองทุนรวมนี้เหมาะสมที่จะเป็นทางเลือกสําหรับเงินลงทุนลักษณะใด และผู้ลงทุนควรลงทุนในระยะเวลาเท่าใด (กรณีที่สามารถระบุระยะเวลาการลงทุนในกองทุนรวมได้) (ง) ปัจจัยใดที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อเงินลงทุนของผู้ลงทุน (จ) กองทุนรวมนี้เป็นกองทุนรวมที่มีผู้ประกันเงินลงทุน หรือเงินลงทุนและผลตอบแทน หรือเป็นกองทุนรวมที่มุ่งรักษาเงินต้นหรือไม่ อย่างไร (ฉ) กองทุนรวมนี้มีรอบระยะเวลาบัญชีอย่างไร (2) คําถามและคําตอบเกี่ยวกับข้อกําหนดในการซื้อขายและโอนหน่วยลงทุน ดังนี้ (ก) กองทุนรวมนี้มีวิธีการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอย่างไร (ข) กรณีใดที่บริษัทจัดการสงวนสิทธิไม่ขายหน่วยลงทุน (ค) กองทุนรวมนี้มีข้อกําหนดเกี่ยวกับการเลื่อนกําหนดเวลาชําระค่าขายคืน หน่วยลงทุน การไม่ขายหรือไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งที่รับไว้แล้ว และการหยุดรับคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนไว้อย่างไร (ง) วิธีการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนเป็นอย่างไร (จ) กองทุนรวมนี้กําหนดวิธีการโอนหน่วยลงทุน และข้อจํากัดการโอน ไว้อย่างไร (ฉ) ผู้ถือหน่วยลงทุนจะทราบข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่า หน่วยลงทุน และราคาขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนได้จากช่องทางใด (3) คําถามและคําตอบเกี่ยวกับสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนดังนี้ (ก) กองทุนรวมนี้มีการออกและส่งมอบหลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนหรือไม่ อย่างไร (ข) ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนี้อาจถูกจํากัดสิทธิในเรื่องใด ภายใต้เงื่อนไขอย่างไร ทั้งนี้ ให้แสดงข้อมูลเกี่ยวกับการถูกจํากัดสิทธิออกเสียงในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนถือหน่วยลงทุนเกินกว่าอัตราที่ประกาศกําหนด หรือในกรณีอื่นด้วย (ถ้ามี) (ค) ในกรณีที่กองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทใด ให้มีคําถามและคําตอบเกี่ยวกับช่องทางและวิธีการที่ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถตรวจสอบแนวทางการใช้สิทธิออกเสียงและการดําเนินการใช้สิทธิออกเสียงของบริษัทจัดการเพิ่มเติม (ง) กองทุนรวมนี้มีช่องทางและวิธีการร้องเรียนของผู้ลงทุน และนโยบายการระงับข้อพิพาทโดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการ ตลอดจนวิธีเข้าสู่กระบวนการดังกล่าวหรือไม่ อย่างไร (จ) การระบุภูมิลําเนาในประเทศไทย เพื่อการวางทรัพย์สําหรับผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่ไม่มีภูมิลําเนาในประเทศไทย (4) คําถามและคําตอบเกี่ยวกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการของกองทุนรวมซึ่งแสดงข้อมูลอย่างน้อยดังนี้ (ก) ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทจัดการ ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายชื่อกรรมการ กรรมการอิสระและผู้บริหาร จํานวนกองทุนรวมทั้งหมดภายใต้การบริหารจัดการของบริษัท และมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ข) รายชื่อคณะกรรมการการลงทุน (ค) รายชื่อผู้จัดการกองทุน ประวัติการศึกษา และประสบการณ์การทํางาน ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกองทุนรวม รวมทั้งหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้จัดการกองทุนดังกล่าว (ง) รายชื่อผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน นายทะเบียน หน่วยลงทุนและผู้ดูแลผลประโยชน์ รวมทั้งต้องจัดให้มีข้อความว่า นอกจากหน้าที่ตามที่กําหนดไว้ในสัญญาแต่งตั้ง ผู้ดูแลผลประโยชน์ยังมีหน้าที่ตามกฎหมายในการรักษาประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนด้วย (จ) รายชื่อผู้สอบบัญชีของกองทุนรวม (5) คําถามและคําตอบเกี่ยวกับช่องทางที่ผู้ลงทุนสามารถทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุนรวมนี้” ข้อ 2 ให้ยกเลิกแบบ 123-1 และคําอธิบายเพิ่มเติมแนบท้ายแบบดังกล่าวท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 50/2563 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้แบบ 123-1 และคําอธิบายเพิ่มเติมแนบท้ายแบบดังกล่าวท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 3 ในกรณีเป็นกองทุนรวมซึ่งได้จดทะเบียนเป็นกองทุนรวมก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการได้รับยกเว้นการเปิดเผยข้อมูลตามข้อ 11(3) (จ) และ (4) (จ) ของประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ในหนังสือชี้ชวน ทั้งนี้ หากบริษัทจัดการได้ยกเลิกการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวในโครงการแล้ว ให้บริษัทจัดการปรับปรุงข้อมูลดังกล่าวในหนังสือชี้ชวนให้เป็นไปตามประกาศนี้ภายในวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
723
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 69/2564 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 69/2564 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 26/2559 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 61/2559 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (4) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 12/2560 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (5) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 36/2560 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 (6) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 8/2561 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (7) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 65/2561 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2561 (8) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2562 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 (9) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 29/2562 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2562 (10) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 49/2562 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562 (11) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 65/2562 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (12) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 68/2562 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (13) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 4/2563 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2563 (14) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 50/2563 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563 (15) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 30/2564 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดทําหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ที่มิได้มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดทําหนังสือชี้ชวนตามประกาศฉบับอื่นกําหนดไว้เป็นการเฉพาะ ข้อ 3 ในประกาศนี้ คําว่า “กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย” “กองทุนรวมตลาดเงิน” “กองทุนรวมมุ่งรักษาเงินต้น” “กองทุนรวมฟีดเดอร์” “กองทุนรวมทองคํา” “กองทุนรวมอีทีเอฟ” “กองทุนรวมมีประกัน” และ “กองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับกองทุนรวมดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุนของกองทุน “กองทุนรวมที่จ่ายผลตอบแทนแบบซับซ้อน” หมายความว่า กองทุนรวมที่จ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนโดยวิธีการคํานวณผลประโยชน์ตอบแทนให้ผันแปรไปตามสูตรการคํานวณหรือเงื่อนไขใด ๆ ซึ่งผู้ถือหน่วยลงทุนทั่วไปไม่สามารถทําความเข้าใจได้โดยง่าย “หนังสือชี้ชวน” หมายความว่า หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายต่างประเทศที่มีลักษณะในทํานองเดียวกัน “ตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง” หมายความว่า ตราสารทางการเงินหรือสัญญา ซึ่งมีข้อตกลงและเงื่อนไขที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นองค์ประกอบรวมอยู่ด้วย โดยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวมีลักษณะครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) ทําให้การชําระหนี้ที่กําหนดไว้ตามตราสารทางการเงินหรือสัญญาดังกล่าวไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนเปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากปัจจัยอ้างอิงตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้น เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ราคาหลักทรัพย์ หรือดัชนีราคาทรัพย์สิน เป็นต้น (2) มีลักษณะในเชิงเศรษฐกิจและความเสี่ยงที่ไม่สัมพันธ์กับตราสารทางการเงินหรือสัญญาดังกล่าวอย่างมีนัยสําคัญ (3) เป็นผลให้สถานะความเสี่ยงโดยรวมและราคาของตราสารทางการเงินหรือสัญญาดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ ข้อ 4 เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ ให้ใช้คําศัพท์ตามภาคผนวก 1 คําศัพท์ แนบท้ายประกาศนี้ ประกอบการพิจารณาการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวด้วย ข้อ 5 หนังสือชี้ชวนต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน โดยต้องมีลักษณะและวิธีการแสดงข้อมูลที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ใช้ข้อความที่สามารถเข้าใจได้ง่าย (2) ไม่แสดงข้อความหรือข้อมูลที่เป็นเท็จ เกินความจริง หรืออาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด (3) ไม่ใช้คําศัพท์เทคนิคหรือคําศัพท์เฉพาะ เว้นแต่คําศัพท์ดังกล่าวเป็นคําศัพท์ที่ผู้ลงทุนทั่วไปมีความคุ้นเคยแล้ว ในการจัดทําหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการจะใช้วิธีการสื่อความหมายโดยแผนภาพหรือวิธีการอื่นใดแทนการสื่อความหมายโดยข้อความก็ได้ เว้นแต่จะมีการกําหนดในประกาศนี้ไว้เป็นอย่างอื่น ข้อ 6 หนังสือชี้ชวนให้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังต่อไปนี้ (1) ส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) จัดให้มีข้อมูลเป็นไปตามแบบ 123-1 แนบท้ายประกาศนี้ และมีรายละเอียดตามที่กําหนดในคําอธิบายเพิ่มเติมแนบท้ายแบบดังกล่าว (ข) แสดงผลด้วยรูปแบบที่สามารถอ่านหรือสื่อสารได้อย่างชัดเจน โดยอาจจัดทําในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการแสดงผลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์และมีการตอบสนองต่อคําสั่ง (interactive) ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปยังข้อมูลอื่นตามที่กําหนดไว้ก็ได้ (ค) ในกรณีที่มีการจัดทําหนังสือชี้ชวนในรูปแบบเอกสารสิ่งพิมพ์ ให้หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญอยู่ในส่วนแรกของหนังสือชี้ชวน (2) ส่วนข้อมูลกองทุนรวม โดยต้องจัดให้มีข้อมูลตามรายการดังนี้ (ก) ข้อมูลตามที่กําหนดในภาคผนวก 2 รายการและข้อมูลในหนังสือชี้ชวน แนบท้ายประกาศนี้ (ข) ข้อมูลเพิ่มเติมตามที่กําหนดในภาคผนวก 3 รายการและข้อมูลเพิ่มเติมในหนังสือชี้ชวนสําหรับกองทุนรวมบางประเภท แนบท้ายประกาศนี้ สําหรับกองทุนรวมดังนี้ แล้วแต่กรณี 1. กองทุนรวมตลาดเงิน 2. กองทุนรวมมุ่งรักษาเงินต้น 3. กองทุนรวมฟีดเดอร์ 4. กองทุนรวมทองคํา 5. กองทุนรวมอีทีเอฟ 6. กองทุนรวมมีประกัน 7. กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนแบบมีความเสี่ยงต่างประเทศ รวมกัน เกินกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม 8. กองทุนรวมที่จ่ายผลตอบแทนแบบซับซ้อน 9. กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง 10. กองทุนรวมที่ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นหรือหน่วยของกองทุนต่างประเทศ รวมกันเกินกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม 11. กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหน่วยของกิจการเงินร่วมลงทุน (หน่วย private equity) 12. กองทุนรวมที่ระบุว่าจะเลิกกองทุนรวมหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติเมื่อหน่วยลงทุนมีมูลค่าตามเป้าหมายที่กําหนด 13. กองทุนรวมที่ระบุรายการทรัพย์สินที่จะลงทุนหรือสัดส่วนการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าว ในหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม (ค) อัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม ตามแบบ 123-2 แนบท้ายประกาศนี้ (ง) ค่าธรรมเนียม เงินตอบแทน และค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เรียกเก็บจากกองทุนรวม และผู้ถือหน่วยลงทุน ตามแบบ 123-3 แนบท้ายประกาศนี้ ในการจัดทําหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม ให้แสดงช่องทางที่ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถเข้าถึงข้อมูลโครงการจัดการกองทุนรวมและข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ ข้อ 7 ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติม ให้บริษัทจัดการปรับปรุงหนังสือชี้ชวน โดยต้องจัดให้มีข้อมูลตามที่กําหนดในภาคผนวก 4 รายการและข้อมูลสําหรับหนังสือชี้ชวนฉบับปรับปรุง แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ 8 มิให้นําความในข้อ 6 และข้อ 7 มาใช้บังคับกับกองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ ทั้งนี้ หนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมดังกล่าวต้องมีข้อมูลอย่างน้อยเกี่ยวกับวันที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมและสรุปสาระสําคัญของโครงการจัดการกองทุนรวม ข้อ 9 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
724
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 8/2566 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 8/2566 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมเพื่อความยั่งยืนตามมาตรฐานกลาง ของอาเซียน” ระหว่างบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมที่จ่ายผลตอบแทนแบบซับซ้อน” และคําว่า “หนังสือชี้ชวน” ในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 69/2564 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยและกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ““กองทุนรวมเพื่อความยั่งยืนตามมาตรฐานกลางของอาเซียน” หมายความว่า กองทุนรวมที่มีการเปิดเผยข้อมูลในโครงการจัดการกองทุนรวมและหนังสือชี้ชวนว่ามีการจัดการกองทุนรวมโดยมุ่งความยั่งยืน (sustainability) ตามหลักสากล และมีการใช้ตราสัญลักษณ์เกี่ยวกับการลงทุนเพื่อความยั่งยืน (Sustainable and Responsible Investing Fund : SRI) ในหนังสือ ชี้ชวนหรือเอกสารอื่นใดเกี่ยวกับกองทุนรวม โดยมีการเปิดเผยข้อมูลในโครงการจัดการกองทุนรวมและหนังสือชี้ชวนว่ามีการจัดการกองทุนรวมตามมาตรฐานกลางของอาเซียนด้านการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมที่มุ่งเน้นลงทุนอย่างยั่งยืน (ASEAN Sustainable and Responsible Fund Standards) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับความเห็นชอบจาก ASEAN Capital Markets Forum” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น 14. ใน (ข) ของ (2) ในวรรคหนึ่งของข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 69/2564 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยและกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 “14. กองทุนรวมเพื่อความยั่งยืนตามมาตรฐานกลางของอาเซียน” ข้อ 3 ให้ยกเลิกคําอธิบายเพิ่มเติมแนบท้ายแบบ 123-1 ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 69/2564 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขาย หน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยและกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 และให้ใช้คําอธิบายเพิ่มเติมแนบท้าย แบบ 123-1 ท้ายประกาศนี้ เป็นคําอธิบายเพิ่มเติมแนบท้ายแบบ 123-1 ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 69/2564 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขาย หน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยและกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 แทน ข้อ 4 ให้ยกเลิกภาคผนวก 3 แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 69/2564 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อ ผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยและกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 และให้ใช้ภาคผนวก 3 แนบท้ายประกาศนี้เป็นภาคผนวก 3 แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 69/2564 เรื่อง หนังสือชี้ชวน เสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยและ กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 แทน ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2566 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
725
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 68/2562 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน
-ร่าง- ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 68/2562 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 12) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกแบบ 123-1 แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 65/2562 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน(ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562 และให้ใช้แบบ 123-1 ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 2 ให้ยกเลิกคําอธิบายเพิ่มเติมแนบท้ายแบบ 123-1 ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 88/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 65/2562 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562 และให้ใช้คําอธิบายเพิ่มเติม แนบท้ายแบบ 123-1 ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 3 บริษัทจัดการสามารถยื่นหนังสือชี้ชวนตามแบบและรายการของหนังสือชี้ชวนที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับต่อสํานักงานได้เฉพาะการยื่นหนังสือชี้ชวนฉบับปรับปรุงต่อสํานักงานไม่เกินวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ในกรณีที่บริษัทจัดการยื่นหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ในส่วนที่เกี่ยวกับหนังสือชี้ชวนดังกล่าวที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ -----------------------ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ที่ผ่านการพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้วเมื่อวันที่ 27/11/2019 CSDS เลขที่ 64/2562... ครั้งที่ 2 ผ่านทาง.....CSDS... ...
726
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. ๓๐/๒๕๖๖ เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ ๕)
- ร่าง - ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่านการพิจารณาของฝ่าย กม. ๒ แล้ว เมื่อวันที่ ๓๐ /๑๑/๒๕๖๖ (ครั้งที่ ๔) LAW&REG เลขที่ LAW-๒๕๖๖-๐๐๒๕ ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. ๓๐/๒๕๖๖ เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ ๕) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๒๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกภาคผนวก ๒ รายการและข้อมูลในหนังสือชี้ชวน แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. ๖๙/๒๕๖๔ เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. ๒๕/๒๕๖๖ เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (ฉบับที่ ๔) ลงวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ และให้ใช้ภาคผนวก ๒ รายการและข้อมูลในหนังสือชี้ชวน แนบท้ายประกาศนี้เป็นภาคผนวก ๒ รายการและข้อมูลในหนังสือชี้ชวน แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. ๖๙/๒๕๖๔ เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่ รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ แทน ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๗ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ (นางพรอนงค์ บุษราตระกูล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
727
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 15/2539 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที สธ. 15 /2539 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19 (3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ . ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ข้อ ๒ ค่าธรรมเนียมการยื่นคําขอมีสํานักงานสาขาของบริษัทหลักทรัพย์ ในกรณีดังต่อไปนี้ สํานักงานสาขาละ 100,000 บาท (1) การขอมีสํานักงานสาขาตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการขออนุญาตและการอนุญาตมีสํานักงานสาขา ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2530 เว้นแต่ เป็นการขอมีสํานักงานสาขาเพื่อทดแทนสํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขาที่มีอยู่เดิมก่อนการควบ หรือรวมกิจการ (2) การขอมีสํานักงานสาขาตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการขออนุญาตและการอนุญาตมีสํานักงานสาขา ของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 (นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
728
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 9/2540 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 9 2540 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ --------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทจัดการ จัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปซื้อหรือเช่า อสังหาริมทรัพย์ และจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว “โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวมของบริษัทจัดการ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม ข้อ ๒ ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนกองทุนรวมให้เป็นดังนี้ (1) การจดทะเบียนกองทุนรวม ทุกจํานวนเงิน 500,000,000 บาท หรือเศษของ 500,000,000 บาท แห่งจํานวนเงินทุนของโครงการ 1,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 25,000 (2) การจดทะเบียนเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวม ทุกจํานวนเงิน 500,000,000 บาท หรือเศษของ 500,000,000 บาท แห่งจํานวนเงินทุนที่เพิ่มขึ้นของโครงการ 1,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 25,000 บาท ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 (นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
729
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 27/2540 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 27 /2540 เรื่อง การกหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 2,2537 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และ การยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 15/2538 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ข้อ ๒ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมเมื่อมีการยื่นแบบแสดงรายการ ข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ เว้นแต่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ที่เป็น บุคคลดังต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมดังกล่าว (1) ผู้รับช่วงซื้อหลักทรัพย์ที่เสนอขายหลักทรัพย์แก่กรรมการหรือพนักงาน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2538 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้บริษัทมหาชนจํากัดออกหุ้น หุ้นกู้แปลงสภาพ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น เสนอขายแก่กรรมการหรือพนักงาน ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2538 (2) บริษัทที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น โดยใบสําคัญแสดงสิทธิดังกล่าว มีอายุไม่เกินสองเดือนนับแต่วันที่ออกซึ่งระบุไว้ในใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นเพื่อรองรับใบสําคัญ แสดงสิทธินั้น และได้เสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวตามสัดส่วนการถือหุ้น ข้อ ๓ การชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ให้เป็นดังนี้ (1) ค่าธรรมเนียมครั้งแรก ชําระเมื่อยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ต่อสํานักงาน (2) ค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป หากผู้เสนอขายหลักทรัพย์เป็นบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ต้องชําระเพิ่มเติมอีกเป็นรายปี โดยเริ่มในปีที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์มี ผลใช้บังคับ จนกว่าจะสิ้นสุดหน้าที่ที่จะต้องจัดทําและส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงิน และผลการดําเนินงานของบริษัทตามมาตรา 56 ข้อ ๔ ค่าธรรมเนียมครั้งแรกตามข้อ 3(1) ให้คิดในอัตราดังนี้ (1) กรณีการเสนอขายหุ้น ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.1 ของมูลค่าของหุ้นทั้งหมด ที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของหุ้นที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายหุ้นเป็นฐานในการ คิดค่าธรรมเนียม (2) กรณีการเสนอขายหุ้นกู้ ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.05 ของมูลค่าของหุ้นกู้ทั้งหมด ที่เสนอขาย หรือของวงเงินทั้งหมดที่เสนอขายหุ้นกู้หมุนเวียนระยะสั้น แล้วแต่กรณี ในการคํานวณมูลค่าของหุ้นกู้ที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายหุ้นกู้เป็นฐานในการ คิดค่าธรรมเนียม (3) กรณีการเสนอขายพันธบัตร ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.05 ของมูลค่าของพันธบัตร ทั้งหมดที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของพันธบัตรที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายพันธบัตรเป็นฐาน ในการคิดค่าธรรมเนียม (4) กรณีการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.1 ของมูลค่าของ หุ้นกู้แปลงสภาพทั้งหมดที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของหุ้นกู้แปลงสภาพที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขาย หุ้นกู้แปลงสภาพเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม (5) กรณีการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.1 ของมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายรวมกับมูลค่าของหุ้นทั้งหมดที่รองรับ ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอ ขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นนั้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม และในการคํานวณมูลค่าของหุ้นที่ รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาที่จะซื้อหุ้นตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อ หุ้นนั้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม ทั้งนี้ ในกรณีที่ราคาที่จะซื้อหุ้นไม่เท่ากันในแต่ละช่วงเวลาให้ใช้ ราคาที่จะซื้อหุ้นสูงสุด หรือในกรณีที่ราคาที่จะซื้อหุ้นกําหนดเป็นสูตรซึ่งอ้างอิงข้อมูลในอนาคตให้คํานวณ ราคาที่จะซื้อหุ้นโดยคํานวณจากสูตรดังกล่าวซึ่งใช้ข้อมูลในวันที่ต้องชําระค่าธรรมเนียมครบถ้วนของ แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (6) กรณีการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.05 ของมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ทั้งหมดที่เสนอขายรวมกับมูลค่าของหุ้นกู้ทั้งหมดที่รองรับ ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ที่เสนอขาย ให้ใช้ราคา เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้นั้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม และในการคํานวณมูลค่า ของหุ้นกู้ที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาที่จะซื้อหุ้นกู้ตามใบสําคัญ แสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้นั้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม ทั้งนี้ ในกรณีที่ราคาที่จะซื้อหุ้นกู้ไม่เท่ากัน ในแต่ละช่วงเวลาให้ใช้ราคาที่จะซื้อหุ้นกู้สูงสุด หรือในกรณีที่ราคาที่จะซื้อหุ้นกู้กําหนดเป็นสูตรซึ่งอ้างอิง ข้อมูลในอนาคตให้คํานวณราคาที่จะซื้อหุ้นกู้โดยคํานวณจากสูตรดังกล่าวซึ่งใช้ข้อมูลในวันที่ต้องชําระ ค่าธรรมเนียมครบถ้วนของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ข้อ ๕ การชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 4 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (1) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่อย่างต่อเนื่องแบบเป็นโครงการ ซึ่งการเสนอขายดังกล่าวมิใช่การเสนอขายครั้งแรกของโครงการนั้น ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ชําระ ค่าธรรมเนียมทั้งหมดตามที่กําหนดในวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขาย หลักทรัพย์ซึ่งได้ระบุรายละเอียดของข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วนถูกต้องแล้ว (2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ในกรณีอื่นใดที่มิใช่กรณีตาม (1) ให้ผู้เสนอขาย หลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียม 30,000 บาท ในวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขาย หลักทรัพย์ และถ้ายังมีส่วนที่เหลือที่ต้องชําระอีก ให้ชําระส่วนที่เหลือให้ครบถ้วนในวันที่สํานักงานได้รับ รายละเอียดของข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วนถูกต้องของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขาย หลักทรัพย์ตามรายละเอียดที่กําหนดไว้ในข้อ 18(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ที่ กจ. 13/2539 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขาย หลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 กันยายน 2539 เว้นแต่ค่าธรรมเนียมทั้งหมดที่ต้องชําระน้อยกว่า 30,000 บาท ให้ชําระเต็มจํานวนในวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ พร้อมกับการยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่และสํานักงานไม่อนุญาตให้เสนอขาย หลักทรัพย์ที่ออกใหม่ หรือมีการขอถอนการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อน วันที่สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ หรือมีการขอถอนการ ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขาย หลักทรัพย์จะมีผลใช้บังคับ ผู้เสนอขายหลักทรัพย์นั้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่เหลืออีก ข้อ ๖ ค่าธรรมเนียมครั้งต่อไปตามข้อ 3(2) ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ชําระตามส่วน ของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินสําหรับงวดประจําปีบัญชี ทั้งนี้ ให้ชําระค่าธรรมเนียมในวันที่บริษัทที่ออก หลักทรัพย์ส่งงบการเงินสําหรับงวดประจําปีบัญชีดังกล่าว (1) บริษัทที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นไม่ถึง 500 ล้านบาท ให้ชําระค่าธรรมเนียม 50,000 บาท (2) บริษัทที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 500 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 1,000 ล้านบาทให้ชําระค่าธรรมเนียม (3) บริษัทที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 1,000 ล้านบาท ให้ชําระค่าธรรมเนียม 300,000 บาท ทั้งนี้ สํานักงานอาจเปลี่ยนแปลงอัตราที่กําหนดไว้นี้ได้ แต่จะไม่เป็นผลให้อัตรา ค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 15 ทุกรอบระยะเวลา 3 ปี ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งเพียงจํานวนเดียวไม่ว่าบริษัท ที่ออกหลักทรัพย์นั้นจะเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทก็ตาม 100,000 บาท ข้อ ๗ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์เฉพาะกรณีที่เป็นบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่ได้ยื่น แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อสํานักงาน และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขาย หลักทรัพย์นั้นมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 มีหน้าที่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตาม หลักเกณฑ์ในข้อ 6 ต่อไปด้วย ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 (นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
730
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 48/2540 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 48 /2540 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ---------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 1/2538 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 12 มกราคม 2538 ข้อ ๒ ในการยื่นคําขอความเห็นชอบเป็นที่ปรึกษาทางการเงินต่อสํานักงาน คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ให้ผู้ยื่นคําขอความเห็นชอบชําระค่าธรรมเนียม 50,000 บาท ในวันที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์รับคําขอดังกล่าว ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2540 (นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
731
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 5/2541 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 5/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 2) ------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 27/2540 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่น แบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นตําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 1! กรกฎาคม พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "(2) บริษัทที่ออกหุ้นเพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่มีอายุไม่เกินสองเดือนนับแต่วันที่ออกซึ่งระบุไว้ในใบสําคัญแสดงสิทธินั้น และได้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นนั้นให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวตามสัดส่วนการถือหุ้น" ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 27/2540 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ 4 ค่าธรรมเนียมครั้งแรกตามข้อ 3(1) ให้คิดในอัตราดังนี้ (1) กรณีการเสนอขายหุ้น ให้ติดในอัตราร้อยละ 0.08 ของมูลค่าของหุ้นทั้งหมดที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของหุ้นที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายหุ้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม (2) กรณีการเสนอขายหุ้นกู้ ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.04 ของมูลค่าของหุ้นกู้ทั้งหมดที่เสนอขาย หรือของวงเงินทั้งหมดที่เสนอขายหุ้นกู้หมุนเวียนระยะสั้น แล้วแต่กรณี ในการคํานวณมูลค่าของหุ้นกู้ที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายหุ้นกู้เป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม (3) กรณีการเสนอขายพันธบัตร ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.04 ของมูลคําของพันธบัตรทั้งหมดที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของพันธบัตรที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายพันธบัตรเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม (4) กรณีการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพให้คิดในอัตราร้อยละ 0.04 ของมูลค่าของหุ้นกู้แปลงสภาพทั้งหมดที่เสนอขาย ในการตํานวณมูลค่าของหุ้นกู้แปลงสภาพที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม (5) กรณีการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (ก) ในกรณีที่ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นมีอายุไม่เกิน 1 ปี ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.08 ของมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายรวมกับมูลค่าของหุ้นทั้งหมดที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขาย (ข) ในกรณีที่ใบสําคัญแสคงสิทธิที่จะซื้อหุ้นมีอายุมากกว่า 1 ปี ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.08 ของมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายรวมกับมูลค่าของหุ้นทั้งหมดที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นนั้นเป็นฐานในการติดค่าธรรมเนียม และในการคํานวณมูลค่าที่จะซื้อหุ้นตามใบสําคัญ ของหุ้นที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาที่จะซื้อหุ้นตามใบสําคัญ แสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นนั้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม ทั้งนี้ ในกรณีที่ราคาที่จะซื้อหุ้นไม่เท่ากันในแต่ละช่วงเวลาให้ใช้ราดาที่จะซื้อหุ้นสูงสุด หรือในกรณีที่ราดาที่จะซื้อหุ้นกําหนดเป็นสูตรซึ่งอ้างอิงข้อมูลในอนาดตให้คํานวณราดาที่จะซื้อหุ้นโดยคํานวณจากสูตรดังกถ่าวซึ่งใช้ข้อมูลในวันที่ต้องชําระค่าธรรมเนียมครบถ้วนของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายใบสําคัญแสคงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (6) กรณีการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ให้คิดในอัดราร้อยถะ 0.03 ของมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ทั้งหมดที่เสนอขายรวมกับมูลค่าของหุ้นกู้ทั้งหมดที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลคําของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ที่เสนอขายให้ใช้ราคาเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้นั้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม และในการคํานวณมูลค่าของหุ้นกู้ที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาที่จะซื้อหุ้นกู้ตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้นั้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม ทั้งนี้ ในกรณีที่ราคาที่จะซื้อหุ้นกู้ไม่เท่ากันในแต่ละช่วงเวลาให้ใช้ราคาที่จะซื้อหุ้นกู้สูงสุด หรือในกรณีที่ราคาที่จะซื้อหุ้นกู้กําหนดเป็นสูตรซึ่งอ้างอิงข้อมูลในอนากตให้คํานวณราคาที่จะซื้อหุ้นกู้โดยคํานวณจากสูตรดังกล่าวซึ่งใช้ข้อมูลในวันที่ต้องชําระด่าธรรมเนียมครบถ้วนของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้" ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสี่ของข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 27/2540 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 "บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ใตไม่เคยถูกดําเนินการเปรียบเทียบความผิดเนื่องจากไม่สามารถจัดทําและนําส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินแล ะผลการดําเนินงานตามที่กฎหมายกําหนดในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนการชําระตํารรมเนียมดามวรรดหนึ่ง ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวได้รับลดหย่อนค่ารรมเนียมของรอบระยะเวลาบัญชีที่ต้องชําระในปีบัญชีนั้นในอัตราร้อยละ 20" ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 (นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
732
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ---------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรการ 19 (3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2535 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2535 (4) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 (5) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2536 (6) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สก. 13/2537 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 (7) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 8/2538 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2538 (8) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 15/2539 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 (9) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 9/2540 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 (10) ข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 12/2540 เรื่อง ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการยื่นคําขอต่าง ๆ คุณสมบัติของผู้ดูแลผลประโยชน์ การให้ความเห็นชอบและการดําเนินงานของบริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน และผู้ประเมินหลักของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สําหรับผู้ลงทุนสถาบัน ลงวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 (11) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 27/2540เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 (12) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 34/2540เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2540 (13) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 48/2540เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2540 (14) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 48/2540เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ม พ.ศ. 2541 ข้อ ๓ ในประกาศนี้ "สํานักงาน" หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมวด 1 การออกหลักทรัพย์และการเสนอขายหลักทรัพย์ ------------------------------- ข้อ ๔ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมเมื่อมีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ เว้นแต่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ที่เป็นบุคคลดังต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมดังกล่าว (1) ผู้รับช่วงซื้อหลักทรัพย์ที่เสนอขายหลักทรัพย์แก่กรรมการหรือพนักงาน ตามประกาศประคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้บริษัทมหาชนจํากัดออกหุ้น หุ้นกู้แปลงสภาพ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น เสนอขายแก่กรรมการหรือพนักงาน (2) บริษัทที่ออกหุ้นเพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่มีอายุไม่เกินสองเดือน นับแต่วันที่ออกซึ่งจะระบุไว้ในใบสําคัญแสดงสิทธินั้น และได้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นนั้น ให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวตามสัดส่วนการถือนั้น ข้อ ๕ การชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ให้เป็นดังนี้ (1) ค่าธรรมเนียมครั้งแรก ชําระเมื่อยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ต่อสํานักงาน (2) ค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป หากผู้เสนอขายหลักทรัพย์เป็นบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ต้องชําระเพิ่มเติมอีกเป็นรายปี โดยเริ่มในปีที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์มีผลใช้บังคับ จนกว่าจะสิ้นสุดหน้าที่ที่จะต้องจัดทําและส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทตามมาตรา 56 ข้อ ๖ ค่าธรรมเนียมครั้งแรกตามข้อ 5 (1) ให้คิดในอัตราดังนี้ (1) กรณีการเสนอขายหุ้น ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.08 ของมูลค่าของหุ้นทั้งหมดที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของหุ้นที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายหุ้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม (2) กรณีการเสนอขายหุ้นกู้ ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.04 ของมูลค่าของหุ้นกู้ทั้งหมดที่เสนอขาย หรือของวงเงินทั้งหมดที่เสนอขายหุ้นกู้หมุนเวียนระยะสั้น แล้วแต่กรณี ในการคํานวณมูลค่าของหุ้นที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายหุ้นกู้เป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม (3) กรณีการเสนอขายพันธบัตร ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.04 ของมูลค่าพันธบัตรทั้งหมดที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของพันธบัตรที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายพันธบัตรเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม (4) กรณีเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.04 ของมูลค่าของหุ้นกู้แปลงสภาพทั้งหมดที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของหุ้นกู้แปลงสภาพที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม (5) กรณีการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (ก) ในกรณีที่ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นมีอายุไม่เกินหนึ่งปี ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.08 ของมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายรวมกับมูลค่าของหุ้นทั้งหมดที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขาย (ข) ในกรณีที่ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นมีอายุมากกว่าหนึ่งปี ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.03 ของมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายรวมกับมูลค่าของหุ้นทั้งหมดที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นนั้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม และในการคํานวณมูลค่าของหุ้นที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นนั้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม ทั้งนี้ ในกรณีที่ราคาที่จะซื้อหุ้นไม่เท่ากันในแต่ละช่วงเวลา ให้ใช้ราคาที่จะซื้อหุ้นสูงสุด หรือในกรณีที่ราคาที่จะซื้อหุ้นกําหนดเป็นสูตรซึ่งอ้างอิงข้อมูลในอนาคตให้คํานวณราคาที่จะซื้อหุ้นโดยคํานวณจากสูตรดังกล่าว ซึ่งใช้ข้อมูลในวันที่ต้องชําระค่าธรรมเนียมครบถ้วนของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (6) กรณีการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.03 ของมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ทั้งหมดที่เสนอขายรวมกับมูลค่าของหุ้นกู้ทั้งหมดที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้นั้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม และในการคํานวณมูลค่าของหุ้นกู้ที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาที่จะซื้อหุ้นกู้ตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นนั้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม ทั้งนี้ ในกรณีที่ราคาที่จะซื้อหุ้นกู้ไม่เท่ากันในแต่ละช่วงเวลา ให้ใช้ราคาที่จะซื้อหุ้นกู้กําหนดเป็นสูตรซึ่งอ้างอิงข้อมูลในอนาคตให้คํานวณราคาที่จะซื้อหุ้นกู้โดยคํานวณจากสูตรดังกล่าว ซึ่งใช้ข้อมูลในวันที่ต้องชําระค่าธรรมเนียมครบถ้วนของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ข้อ ๗ การชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 6 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (1) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่อย่างต่อเนื่องแบบเป็นโครงการ ซึ่งการเสนอขายดังกล่าวมิใช่การเสนอขายครั้งแรกของโครงการนั้น ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมทั้งหมด ตามที่กําหนดในวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ซึ่งได้ระบุรายละเอียดของข้อมูลและเอกสารที่ครบถ้วนถูกต้องแล้ว (2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ในกรณีอื่นใดที่มิใช่กรณีตาม (1) ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียม 30,000 บาท ในวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และถ้ายังมีส่วนที่เหลือต้องชําระอีก ให้ชําระส่วนที่เหลือให้ครบถ้วน ในวันที่สํานักงานได้รับรายละเอียดของข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วนถูกต้องของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามรายละเอียดที่กําหนดไว้ในข้อ 18 (1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2539 เรื่อง การยื่นและการยกเว้น การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2539 เว้นแต่ค่าธรรมเนียมทั้งหมดที่ต้องชําระน้อยกว่า30,000 บาท ให้ชําระเต็มจํานวนในวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ พร้อมกับการยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่และสํานักงานไม่อนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ หรือมีการขอถอนการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ก่อนวันที่สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ หรือมีการขอถอนการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ จะมีผลใช้บังคับ ผู้เสนอขายหลักทรัพย์นั้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่เหลืออีก ข้อ ๘ ค่าธรรมเนียมครั้งต่อไปตามข้อ 5 (2) ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ชําระตามส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินสําหรับงวดประจําปีบัญชี ทั้งนี้ ให้ชําระค่าธรรมเนียมในวันที่บริษัทนี้ออกหลักทรัพย์ส่งงบการเงินสําหรับงวดประจําปีบัญชีดังกล่าว (1) บริษัทที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นไม่ถึง 500 ล้านบาท ให้ชําระค่าธรรมเนียม 50,000 บาท (2) บริษัทที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 500 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 1,000 ล้านบาท ให้ชําระค่าธรรมเนียม 100,000 บาท (3) บริษัทที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 1,000 ล้านบาท ให้ชําระค่าธรรมเนียม 300,000 บาท ทั้งนี้ สํานักงานอาจเปลี่ยนแปลงอัตราที่กําหนดไว้นี้ได้ แต่จะไม่เป็นผลให้อัตราค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 15 ทุกรอบระยะเวลาสามปี ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งเพียงจํานวนเดียว ไม่ว่าบริษัทที่ออกหลักทรัพย์นั้นจะเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือหลายประเภทก็ตาม บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ใดไม่เคยถูกดําเนินการเปรียบเทียบความผิดเนื่องจากไม่สามารถจัดทํา และนําส่งงบการเงินและรายการเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามที่กฎหมายกําหนดในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนการชําระค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวได้รับลดหย่อนค่าธรรมเนียมของรอบระยะเวลาบัญชีที่ต้องชําระในปีบัญชีนั้น ในอัตราร้อยละ 20 หมวด 2 ธุรกิจหลักทรัพย์ ---------------------------------- ข้อ ๙ ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนและยื่นคําขอต่าง ๆ ของธุรกิจหลักทรัพย์ เว้นแต่ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมและการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้เป็นไปตามอัตราดังนี้ (1) คําขออนุญาตจัดตั้งสํานักงานผู้แทนของบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งจัดตั้งและประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎหมายต่างประเทศ สํานักงานผู้แทนละ 25,000 บาท (2) คําขออนุญาตจัดตั้งสํานักงานบริการด้านหลักทรัพย์ สํานักงานบริการละ 25,000 บาท (3) คําขอจัดตั้งสํานักงานสาขาของบริษัทหลักทรัพย์ ในกรณีดังต่อไปนี้ สํานักงานสาขาละ 100,000 บาท (ก) การขอมีสํานักงานสาขาตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการขออนุญาตและการอนุญาตมีสํานักงานสาขา ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2530 เว้นแต่เป็นการขอมีสํานักงานสาขาเพื่อทดแทนสํานักงานใหญ่ และสํานักงานสาขาที่มีอยู่เดิมก่อนการควบหรือรวมกิจการ (ข) การขอมีสํานักงานสาขาตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการขออนุญาตและการอนุญาตมีสํานักงานสาขาของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2535 หมวด 3 การจัดการกองทุนรวม --------------------------- ข้อ ๑๐ ในหมวดนี้ "กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์" หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ "กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สําหรับผู้ลงทุนสถาบัน" หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สําหรับผู้ลงทุนสถาบัน ข้อ ๑๑ ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ ของธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการจัดการกองทุนรวม ให้เป็นไปตามอัตราดังนี้ (1) คําขอจัดตั้งกองทุนรวม คําขอละ 25,000 บาท (2) คําขอแปรสภาพโครงการลงทุนให้เป็นกองทุนรวม คําขอละ 200 บาท (3) การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน ทุกจํานวนเงิน 500 ล้านบาท หรือเศษของ 500 ล้านบาท แห่งจํานวนเงินทุนของกองทุนรวม หรือแห่งมูลค่าทรัพย์สินของ กองทุนรวม ณ วันยื่นคําขอจดทะเบียน 1,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 25,000 บาท (4) การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ให้เป็นดังนี้ (ก) การจดทะเบียนกองทุนรวม ทุกจํานวนเงิน 500 ล้านบาท หรือเศษของ 500 ล้านบาท แห่งจํานวนเงินทุนจดทะเบียน ของโครงการจัดการกองทุนรวม 1,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 25,000 บาท (ข) การจดทะเบียนเพิ่มจํานวนเงินทุนของกองทุนรวม ทุกจํานวนเงิน 500 ล้านบาท หรือเศษของ 500 ล้านบาท แห่งจํานวนเงินทุนจดทะเบียนที่เพิ่มขึ้นของโครงการจัดการ กองทุนรวม 1,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 25,000 บาท (5) การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สําหรับผู้ลงทุนสถาบัน ให้เป็นดังนี้ (ก) การจดทะเบียนกองทุนรวม ทุกจํานวนเงิน 500 ล้านบาท หรือเศษของ 500 ล้านบาท แห่งจํานวนเงินทุน ของโครงการจัดการกองทุนรวม 1,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 25,000 บาท (ข) การจดทะเบียนเพิ่มจํานวนเงินทุนของกองทุนรวม ทุกจํานวนเงิน 500 ล้านบาท หรือเศษของ 500 ล้านบาท แห่งจํานวนเงินทุนที่เพิ่มขึ้นของโครงการจัดการ กองทุนรวม 1,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 25,000 บาท (6) คําขอรับใบแทนหลักฐานการรับจดทะเบียน กองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม ฉบับละ 200 บาท (7) คําขอตรวจเอกสารของแต่ละกองทุนรวม คําขอละ 50 บาท หมวด 3 สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ ------------------------------------ ข้อ ๑๒ ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนหรือการยื่นคําขอเกี่ยวกับสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ ให้เป็นไปตามอัตราดังนี้ (1) การจดทะเบียนแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับ หลักทรัพย์ ครั้งละ 500 บาท (2) การจดทะเบียนตั้งหรือเปลี่ยนตัวกรรมการสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับ ธุรกิจหลักทรัพย์ คนละ 500 บาท (3) คําขอรับใบแทนใบอนุญาตสมาคมเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ ฉบับละ 200 บาท (4) คําขอให้ออกหนังสือรับรองรายการจดทะเบียนของสมาคมที่ เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ ฉบับละ 200 บาท (5) คําขอตรวจเอกสารของแต่ละสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับ ธุรกิจหลักทรัพย์ คําขอละ 50 บาท หมวด 4 อื่น ๆ ------------------------- ข้อ ๑๓ คําขอความเห็นชอบเป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําแก่ประชาชนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2536 คําขอละ 500,000 บาท การชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขอตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ยื่นคําขอชําระในวันที่ยื่นคําขอ เป็นจํานวนเงิน 5,000 บาท และให้ชําระส่วนที่เหลือเมื่อได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ข้อ ๑๔ คําขอความเห็นชอบเป็นผู้ประเมินราคาทรัพย์สินตามประกาศ เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ประเมินราคาทรัพย์สิน ที่ อจ. 5/2538 ลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2538 คําขอละ 5,000 บาท ข้อ ๑๕ คําขอความเห็นชอบเป็นที่ปรึกษาทางการเงินตามประกาศ เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงิน และขอบเขตการดําเนินงาน ที่ อจ. 4/2540 ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2540 คําขอละ 50,000 บาท ข้อ ๑๖ คําขอความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชี ตามประกาศ เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี ที่ อจ. 6/2540 ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2540 คําขอละ 5,000 บาท ข้อ ๑๗ คําขอคัดสําเนาหรือขอให้ถ่ายเอกสาร พร้อมทั้งคํารับรอง หน้าละ 50 บาท บทเฉพาะกาล ------------------------- ข้อ ๑๘ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์เฉพาะกรณีที่เป็นบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อสํานักงาน และแบบแสดงรายการข้อมูล การเสนอขายหลักทรัพย์นั้นมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 มีหน้าที่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์ในข้อ8 ต่อไปด้วย ข้อ ๑๙ ให้ผู้ยื่นคําขอความเห็นชอบเป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อ ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ แต่สํานักงานยังมิได้แจ้งผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบดังกล่าวมีหน้าที่ชําระค่าธรรมเนียมตามที่กําหนดในประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 (นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
733
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สบ. 33/2541 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 2)
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 33/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล ===================================================== การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ================================= (ฉบับที่ 2 ) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 4 ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมเมื่อมีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามที่กําหนดไว้ตามประกาศนี้ เว้นแต่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ที่เป็นบุคคลดังต่อไปนี้ (1) ผู้รับช่วงซื้อหลักทรัพย์ที่เสนอขายหลักทรัพย์แก่กรรมการหรือพนักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้บริษัทมหาชนจํากัดออกหุ้น หุ้นกู้แปลงสภาพ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น เสนอขายแก่กรรมการหรือพนักงาน ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามประกาศนี้ (2) บริษัทที่ออกหุ้นเพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่มีอายุไม่เกินสองเดือนนับแต่วันที่ออกซึ่งระบุไว้ในใบสําคัญแสดงสิทธินั้น และได้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นนั้นให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวตามสัดส่วนการถือหุ้น ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 5(1) (3) บริษัทที่ออกหุ้นเพื่อรองรับใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ และการอนุญาต ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 5(1)” - 2 - ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (7) ของข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 “(7) กรณีการเสนอขายใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้โดยเจ้าของใบแสดงสิทธิดังกล่าว ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.08 ของมูลค่าของใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ทั้งหมดที่เสนอขายรวมกับมูลค่าของหุ้นทั้งหมดที่รองรับใบแสดงสิทธิดังกล่าว ในการคํานวณมูลค่าของใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายใบแสดงสิทธิดังกล่าวเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม และในการคํานวณมูลค่าของหุ้นที่รองรับใบแสดงสิทธินั้น ให้ใช้ราคาที่จะซื้อหุ้นตามใบแสดงสิทธิดังกล่าวเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในวรรคสามของข้อ 8 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์เสนอขายหลักทรัพย์หลายประเภท ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งเพียงจํานวนเดียว และในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์เป็นบริษัทตามข้อ 4(2) หรือ (3) และบริษัทดังกล่าวไม่มีการเสนอขายหลักทรัพย์อื่นใด ให้บริษัทชําระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 80 ของค่าธรรมเนียมที่กําหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 (นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
734
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สบ. 48/2541 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 48/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 3 ) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 33/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 2)ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 “(4) บริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศให้แก่กรรมการหรือพนักงานของบริษัทหรือบริษัทย่อยในประเทศไทย ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 5(2)” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2541 (นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
735
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 8/2542 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 4)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 8/2542 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 4) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19 (3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) คําขออนุญาตจัดตั้งสํานักงานสาขา สํานักงานละ 25,000 บาท แต่ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมในกรณีต่อไปนี้ (ก) การขอมีสํานักงานสาขาหรือสํานักงานบริการด้านหลักทรัพย์เพื่อทดแทนสํานักงานสาขาหรือสํานักงานบริการด้านหลักทรัพย์ที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เคยมีและเปิดดําเนินการอยู่ในขณะแยกการประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ออกจากกัน (ข) การขอยกระดับสํานักงานบริการด้านหลักทรัพย์เดิมเป็นสํานักงานสาขา (ค) การขอเปิดดําเนินการสํานักงานสาขาทดแทนสํานักงานสาขาหรือสํานักงานบริการด้านหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานก่อนวันที่ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตและการอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์มีสํานักงานสาขา ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 มีผลใช้บังคับ แต่ยังมิได้มีการเปิดดําเนินการ (ง) การขอเปิดดําเนินการสํานักงานสาขาทดแทนสํานักงานสาขาหรือสํานักงานบริการด้านหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ปิดดําเนินการชั่วคราว ข้อ 2 ให้ยกเลิก (3) ของข้อ 9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2541 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 (นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
736
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สบ. 5/2543 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 5)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 5/2543 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 5) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 15 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 15 คําขอความเห็นชอบเป็นที่ปรึกษาทางการเงินตามประกาศว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงิน และขอบเขตการดําเนินงาน คําขอละ 250,000 บาท โดยให้ชําระครั้งแรกในวันยื่นคําขอเป็นจํานวนเงิน 50,000 บาท และให้ชําระส่วนที่เหลือเป็นจํานวน 200,000 บาท ภายในวันที่ได้รับความเห็นชอบ คําขอทดสอบความรู้ของผู้ปฏิบัติงานในสายงานที่ปรึกษาทางการเงินตามประกาศว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงิน และขอบเขตการดําเนินงาน คําขอละ 10,000 บาท” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
737
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 9/2543 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่างๆ (ฉบับที่ 6)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 9/2543 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 6) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออก ข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (8) ของข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ.10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 “(8) กรณีการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ตามประกาศว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ ให้คิดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลครั้งละ 100,000 บาท” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2543 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
738
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 24/2543 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 7)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 24/2543 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 7) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 16/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 "ข้อ 16/1 คําขอรับความเห็นชอบเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคลตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน.15/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 คําขอละ 35,000 บาท คําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินตามประกาศดังกล่าว คําขอละ 15,000 บาท" ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2543 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
739
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สบ. 38/2543 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 38/2543 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 9) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19 (3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 8/2542 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2543 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
740
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 45/2543 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่างๆ (ฉบับที่ 11)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 45/2543 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 11) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น หมวด 1/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่น แบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 “หมวด 1/1 การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ข้อ 8/1 ให้ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมเมื่อมีการยื่นคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ต่อสํานักงาน เว้นแต่เป็นการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ ค่าธรรมเนียมคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ให้คิดตามมูลค่าของหลักทรัพย์ที่เสนอซื้อตามอัตราดังนี้ 1. หลักทรัพย์ที่เสนอซื้อมีมูลค่าไม่ถึง 10 ล้านบาท ให้ชําระค่าธรรมเนียม 10,000 บาท 1. หลักทรัพย์ที่เสนอซื้อมีมูลค่าตั้งแต่ 10 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 100 ล้านบาท ให้ชําระค่าธรรมเนียม 50,000 บาท 1. หลักทรัพย์ที่เสนอซื้อมีมูลค่าตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไป ให้ชําระค่าธรรมเนียม 100,000 บาท ในการคํานวณมูลค่าของหลักทรัพย์ที่เสนอซื้อ ให้ใช้ราคาเสนอซื้อหลักทรัพย์ คูณด้วยจํานวนหลักทรัพย์สูงสุดที่กําหนดไว้ในคําเสนอซื้อ ในกรณีที่ผู้ทําคําเสนอซื้อแก้ไขราคาเสนอซื้อหรือจํานวนหลักทรัพย์ที่เสนอซื้อจนเป็นผลให้ค่าธรรมเนียมที่ผู้ทําคําเสนอซื้อต้องชําระมีอัตราที่สูงขึ้นจากอัตราเดิมที่ได้ชําระไว้ ให้ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่เพิ่มในวันที่สํานักงานได้รับแบบแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อมูลในคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ ข้อ 8/2 ให้ผู้ขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการชําระค่าธรรมเนียมเมื่อมีการยื่นคําขอผ่อนผันต่อสํานักงาน เว้นแต่ผู้ขอผ่อนผันเป็นกระทรวงการคลังหรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามอัตราดังนี้ 1. คําขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของ กิจการตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ในการขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของ กิจการโดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ คําขอละ 50,000 บาท 1. คําขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมด ของกิจการในกรณีอื่นใดที่มิใช่กรณีตาม (1) คําขอละ 10,000 บาท” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2543 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2543 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
741
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 42/2543 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่างๆ (ฉบับที่ 10)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 42/2543 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 10) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 48/2541เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2541 “(5) บริษัทที่เสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยโดยบริษัทย่อยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 5” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2543 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
742
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 52/2543 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่างๆ (ฉบับที่ 12)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ### ที่ สบ. 52/2543 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ( ฉบับที่ 12) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 14 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 14 คําขอความเห็นชอบเป็นบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินหรือผู้ประเมินหลักตามประกาศว่าด้วยการให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ให้ผู้ยื่นคําขอชําระค่าธรรมเนียมในวันที่ยื่นคําขอตามอัตราดังนี้ (1) คําขอความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สิน คําขอละ 50,000 บาท (2) คําขอความเห็นชอบผู้ประเมินหลัก คนละ 10,000 บาท เว้นแต่เป็นคําขอความเห็นชอบผู้ประเมินหลัก คนที่ 1 ถึงคนที่ 4 ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียม” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ------------------------------------ (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
743
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 58/2543 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 13)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 58/2543 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 13) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ================================================================================================================================================================== ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง” ต่อจากบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สําหรับผู้ลงทุนสถาบัน” ในข้อ 10 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 ดังต่อไปนี้ ========================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================= ““กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน “กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน” หมายความว่า กองทุนรวมตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้องตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง” --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 11 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- “(1) คําขอจัดตั้งกองทุนรวม ให้เป็นดังนี้ (ก) คําขอจัดตั้งกองทุนรวมใด ๆ ยกเว้นคําขอจัดตั้ง กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง คําขอละ 25,000 บาท (ข) คําขอจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และสิทธิเรียกร้อง คําขอละ 50,000 บาท” #### ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (5) ของข้อ 11 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(5) การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สําหรับผู้ลงทุนสถาบัน กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ให้เป็นดังนี้ (ก) การจดทะเบียนกองทุนรวม ทุกจํานวนเงิน 500 ล้านบาท หรือเศษของ 500 ล้านบาท แห่งจํานวนเงินทุน ของโครงการจัดการกองทุนรวม 1,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 25,000 บาท (ข) การจดทะเบียนเพิ่มจํานวนเงินทุนของกองทุนรวม ทุกจํานวนเงิน 500 ล้านบาท หรือเศษของ 500 ล้านบาท แห่งจํานวนเงินทุนที่เพิ่มขึ้นของโครงการจัดการ กองทุนรวม 1,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 25,000 บาท” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป =============================================================================== ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ======================================= (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
744
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 61/2543 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 14)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 61/2543 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 14) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 9/2543 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 6)ลงวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 6 ค่าธรรมเนียมครั้งแรกตามข้อ 5(1) ให้คิดในอัตราดังนี้ 1. กรณีการเสนอขายหุ้น ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.08 ของมูลค่าของหุ้นทั้งหมดที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของหุ้นที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายหุ้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม 1. กรณีการเสนอขายหุ้นกู้ ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.04 ของมูลค่าของหุ้นกู้ทั้งหมดที่เสนอขาย หรือของวงเงินทั้งหมดที่เสนอขายหุ้นกู้หมุนเวียนระยะสั้น แล้วแต่กรณี ในการคํานวณมูลค่าของหุ้นกู้ที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายหุ้นกู้เป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม 1. กรณีการเสนอขายพันธบัตร ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.04 ของมูลค่าของพันธบัตรทั้งหมดที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของพันธบัตรที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายพันธบัตรเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม 1. กรณีการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.04 ของมูลค่าหุ้นกู้แปลงสภาพทั้งหมดที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของหุ้นกู้แปลงสภาพที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายหุ้นกู้ แปลงสภาพเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม 1. กรณีการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น 2. ในกรณีที่ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นมีอายุไม่เกินหนึ่งปี ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.08 ของมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายรวมกับมูลค่าของหุ้นทั้งหมดที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขาย 3. ในกรณีที่ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นมีอายุมากกว่าหนึ่งปี ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.03 ของมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายรวมกับมูลค่าของหุ้นทั้งหมดที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นนั้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม และในการคํานวณมูลค่าของหุ้นที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาที่จะซื้อหุ้นตามใบสําคัญแสดสิทธิที่จะซื้อหุ้นนั้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม 1. กรณีการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.03 ของมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ทั้งหมดที่เสนอขายรวมกับมูลค่าของหุ้นกู้ทั้งหมดที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้นั้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม และในการคํานวณมูลค่าของหุ้นกู้ที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาที่จะซื้อหุ้นกู้ตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้นั้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม 1. กรณีการเสนอขายใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้โดยเจ้าของใบแสดงสิทธิดังกล่าว ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.08 ของมูลค่าของใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ทั้งหมดที่เสนอขายรวมกับมูลค่าของหุ้นทั้งหมดที่รองรับใบแสดงสิทธิดังกล่าว ในการคํานวณมูลค่าของใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายใบแสดงสิทธิดังกล่าวเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม และในการคํานวณมูลค่าของหุ้นที่รองรับใบแสดงสิทธินั้น ให้ใช้ราคาที่จะซื้อหุ้นตามใบแสดงสิทธิดังกล่าวเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม (8) กรณีการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ให้คิดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลครั้งละ 100,000 บาท 1. กรณีการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ตามประกาศว่าด้วยหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ ให้คิดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลครั้งละ 100,000 บาท การเสนอขายหลักทรัพย์ในกรณีใดที่ราคาเสนอขายหลักทรัพย์นั้นจะไม่เท่ากันในแต่ละช่วงเวลา ให้คํานวณมูลค่าของหลักทรัพย์ที่เสนอขายโดยใช้ราคาสูงสุดที่จะเสนอขาย หรือในกรณีที่ราคาเสนอขายหลักทรัพย์กําหนดเป็นสูตรซึ่งอ้างอิงกับข้อมูลในอนาคต ให้คํานวณมูลค่าของหลักทรัพย์ที่เสนอขายจากสูตรดังกล่าวโดยใช้ข้อมูลในวันก่อนวันที่ต้องชําระค่าธรรมเนียมครบถ้วนของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์นั้น การเสนอขายหลักทรัพย์ในกรณีใดที่ราคาเสนอขายกําหนดเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ให้คํานวณมูลค่าของหลักทรัพย์ที่เสนอขายเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ (อัตราซื้อตั๋วเงิน) สําหรับการแลกเปลี่ยนสกุลเงินดังกล่าว ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศในวันก่อนวันที่ต้องชําระค่าธรรมเนียมครบถ้วนของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์นั้น” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 7 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ในกรณีอื่นใดที่มิใช่กรณีตาม (1) ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียม 30,000 บาท ในวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และถ้ายังมีส่วนที่เหลือต้องชําระอีก ให้ชําระส่วนที่เหลือให้ครบถ้วนในวันที่สํานักงานได้รับรายละเอียดของข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วนถูกต้องเกี่ยวกับราคาเสนอขายหลักทรัพย์ การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรร และผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลของผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้ลงลายมือชื่อไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ เว้นแต่ค่าธรรมเนียมทั้งหมดที่ต้องชําระน้อยกว่า 30,000 บาท ให้ชําระเต็มจํานวนในวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 33/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 8 ค่าธรรมเนียมครั้งต่อไปตามข้อ 5(2) ให้คิดในอัตราดังนี้ 1. ในกรณีที่เป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียม 50,000 บาท ในวันที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ส่งงบการเงินสําหรับงวดประจําปีบัญชี (2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ในกรณีอื่นใดที่มิใช่กรณีตาม (1) ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมตามส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินสําหรับงวดประจําปีบัญชี ทั้งนี้ ให้ชําระค่าธรรมเนียมในวันที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ส่งงบการเงินสําหรับงวดประจําปีบัญชีดังกล่าว 1. บริษัทที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นไม่ถึง 500 ล้านบาท ให้ชําระค่าธรรมเนียม 50,000 บาท 1. บริษัทที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 500 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 1,000 ล้านบาท ให้ชําระค่าธรรมเนียม 100,000 บาท 1. บริษัทที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 1,000 ล้านบาท ให้ชําระค่าธรรมเนียม 300,000 บาท ทั้งนี้ สํานักงานอาจเปลี่ยนแปลงอัตราที่กําหนดไว้นี้ได้ แต่จะไม่เป็นผลให้อัตราค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 15 ทุกรอบระยะเวลาสามปี ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์เสนอขายหลักทรัพย์หลายประเภท ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมเพียงจํานวนเดียวตามวรรคหนึ่ง (2) และในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์เป็นบริษัทตามข้อ 4(2) หรือ (3) และบริษัทดังกล่าวไม่มีการเสนอขายหลักทรัพย์อื่นใด ให้บริษัทชําระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 80 ของค่าธรรมเนียมที่กําหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง (2) บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ใดไม่เคยถูกดําเนินการเปรียบเทียบความผิดเนื่องจากไม่สามารถจัดทําและนําส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามที่กฎหมายกําหนดในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนการชําระค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวได้รับลดหย่อนค่าธรรมเนียมของรอบระยะเวลาบัญชีที่ต้องชําระในปีบัญชีนั้นในอัตราร้อยละ 20 ของค่าธรรมเนียมดังกล่าว” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
745
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 68/2543 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 15)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 68/2543 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 15) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 16/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 “ข้อ 16/2 คําขอขึ้นทะเบียนและคําขอต่ออายุการขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 67/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2543 คําขอละ 1,000 บาท ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2543 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
746
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 15/2544 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่างๆ (ฉบับที่16)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 15/2544 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 16) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกวรรคสองของข้อ 15 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดง รายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 5/2543 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2544 ประกาศ ณ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2544 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
747
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 30/2544 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 17)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 30/2544 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 17) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 16 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ 16 คําขอความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีตามประกาศ เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี ที่ อจ. 6/2540 ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2540 คําขอละ 25,000 บาท โดยให้ชําระครั้งแรกในวันยื่นคําขอเป็นจํานวนเงิน 5,000 บาท และให้ชําระส่วนที่เหลือเป็นจํานวน 20,000 บาท ภายในวันที่ได้รับความเห็นชอบ" ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 ประกาศ ณ วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
748
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ.44/2544 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่างๆ (ฉบับที่ 18)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 44/2544 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 18) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิก (1) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 42/2543 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2543 ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 61/2543 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) กรณีการเสนอขายหุ้นกู้ ให้คิดในอัตราดังต่อไปนี้ 1. หุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้คิดในอัตราร้อยละ 0.02 ของมูลค่าของหุ้นกู้ 2. หุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทอื่นนอกจาก (ก) ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.04 ของมูลค่าของหุ้นกู้ ในการคํานวณมูลค่าของหุ้นกู้ที่เสนอขายตาม (ก) หรือ (ข) ให้ใช้ราคาเสนอขายหุ้นกู้เป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม ทั้งนี้ ค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งต้องไม่ต่ําว่า 30,000 บาท” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (10) ของข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 61/2543 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอ ต่าง ๆ (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 “(10) กรณีการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.02 ของมูลค่าหลักทรัพย์ทั้งหมดที่เสนอขาย แต่ทั้งนี้ ต้องไม่ต่ํากว่า 30,000 บาท ในกรณีที่มีการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น มูลค่าหลักทรัพย์ทั้งหมดที่เสนอขายให้รวมถึงมูลค่าของหุ้นทั้งหมดที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขายด้วย” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2544 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
749
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สบ. 50/2544 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 19)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 50/2544 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 19) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 16/3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 “ข้อ 16/3 คําขอรับความเห็นชอบเป็นผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือเป็นตัวแทนสนับสนุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 49/2544 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือเป็นตัวแทนสนับสนุน ลงวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ให้ผู้ยื่นคําขอชําระค่าธรรมเนียมในวันที่ยื่นคําขอตามอัตราดังนี้ (1) กรณีผู้ขอรับความเห็นชอบเป็นบุคคลธรรมดา คําขอละ 300 บาท (2) กรณีผู้ขอรับความเห็นชอบเป็นนิติบุคคล คําขอละ 5,000 บาท 1. คําขอออกบัตรประจําตัวใหม่ เนื่องจากบัตรหมดอายุ ชํารุดหรือหาย มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในบัตร ฯลฯ คําขอละ 100 บาท” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2544 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
750
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สบ. 4/2545 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 20)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 4/2545 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 20) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) ค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ที่เป็นบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ชําระเพิ่มเติมอีกภายในวันที่ 30 เมษายน ของทุกปี ทั้งนี้ การชําระค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งให้เริ่มในปีถัดจากปีที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์มีผลใช้บังคับ จนกว่าหน้าที่ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ในการจัดทําและส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามมาตรา 56 จะสิ้นสุดลง” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 44/2544 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 18) ลงวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 6 ค่าธรรมเนียมครั้งแรกตามข้อ 5(1) ให้คิดในอัตรา 30,000 บาท หรืออัตราดังต่อไปนี้ แล้วแต่จํานวนใดจะสูงกว่า (1) กรณีการเสนอขายหุ้น ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.08 ของมูลค่าของหุ้นทั้งหมดที่ เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของหุ้นที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายหุ้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม (2) กรณีการเสนอขายหุ้นกู้ ให้คิดในอัตราดังนี้ (ก) หุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยให้คิดในอัตราร้อยละ 0.02 ของมูลค่าของหุ้นกู้ทั้งหมดที่เสนอขาย (ข) หุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทอื่นนอกจาก (ก) ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.04 ของมูลค่า หุ้นกู้ทั้งหมดที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของหุ้นกู้ที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายหุ้นกู้เป็นฐานใน การคิดค่าธรรมเนียม (3) กรณีการเสนอขายพันธบัตร ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.04 ของมูลค่าของพันธบัตร ทั้งหมดที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของพันธบัตรที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายพันธบัตรเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม (4) กรณีการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.04 ของมูลค่าหุ้นกู้ แปลงสภาพทั้งหมดที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของหุ้นกู้แปลงสภาพที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม (5) กรณีการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (ก) ในกรณีที่ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นมีอายุไม่เกินหนึ่งปี ให้คิดในอัตรา ร้อยละ 0.08 ของมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายรวมกับมูลค่าของหุ้นทั้งหมดที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขาย (ข) ในกรณีที่ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นมีอายุมากกว่าหนึ่งปี ให้คิดในอัตรา ร้อยละ 0.03 ของมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายรวมกับมูลค่าของหุ้นทั้งหมดที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นนั้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม และในการคํานวณมูลค่าของหุ้นที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาที่จะซื้อหุ้นตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นนั้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม (6) กรณีการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.03 ของมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ทั้งหมดที่เสนอขายรวมกับมูลค่าของหุ้นกู้ทั้งหมดที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้นั้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม และในการคํานวณมูลค่าของหุ้นกู้ที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาที่จะซื้อหุ้นกู้ตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้นั้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม (7) กรณีการเสนอขายใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้โดยเจ้าของใบ แสดงสิทธิดังกล่าว ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.08 ของมูลค่าของใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ทั้งหมดที่เสนอขายรวมกับมูลค่าของหุ้นทั้งหมดที่รองรับใบแสดงสิทธิดังกล่าว ในการคํานวณมูลค่าของใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายใบแสดงสิทธิดังกล่าวเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม และในการคํานวณมูลค่าของหุ้นที่รองรับใบแสดงสิทธินั้น ให้ใช้ราคาที่จะซื้อหุ้นตามใบแสดงสิทธิดังกล่าวเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม (8) กรณีการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.02 ของมูลค่าหลักทรัพย์ทั้งหมดที่เสนอขาย ในกรณีที่มีการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น มูลค่าของหลักทรัพย์ที่เสนอขายให้รวมถึงมูลค่าของหุ้นทั้งหมดที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขายด้วย ทั้งนี้ ในการคํานวณมูลค่าของหลักทรัพย์ที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม และในการคํานวณมูลค่าของหุ้นที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาที่จะซื้อหุ้นตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นนั้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม (9) กรณีการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ให้คิดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบ แสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งละ 100,000 บาท (10) กรณีการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ตามประกาศว่าด้วยหลักทรัพย์ที่ออก ใหม่ พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ ให้คิดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งละ 100,000 บาท” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 6/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 “ข้อ 6/1 การคํานวณค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามข้อ 6 สําหรับกรณีที่มีการกําหนดราคาเสนอขายหลักทรัพย์ในลักษณะดังต่อไปนี้ ให้เป็นดังนี้ (1) ในกรณีที่ราคาเสนอขายหลักทรัพย์กําหนดเป็นช่วงราคา หรือราคาเสนอขายจะ ไม่เท่ากันในแต่ละช่วงเวลา ให้คํานวณมูลค่าของหลักทรัพย์ที่เสนอขายโดยใช้ราคาสูงสุดที่จะเสนอขาย (2) ในกรณีที่ราคาเสนอขายหลักทรัพย์กําหนดเป็นสูตรซึ่งอ้างอิงกับข้อมูลในอนาคต ให้คํานวณมูลค่าของหลักทรัพย์ที่เสนอขายจากสูตรดังกล่าวโดยใช้ข้อมูลในวันก่อนวันที่ต้องชําระค่าธรรมเนียมครบถ้วนของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์นั้น (3) ในกรณีที่ราคาเสนอขายกําหนดเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ให้คํานวณมูลค่า ของหลักทรัพย์ที่เสนอขายเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ (อัตราซื้อตั๋วเงิน) สําหรับการแลกเปลี่ยนสกุลเงินดังกล่าว ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศในวันก่อนวันที่ต้องชําระค่าธรรมเนียมครบถ้วนของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์นั้น” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 7 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 61/2543 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ในกรณีอื่นใดที่มิใช่กรณีตาม (1) ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียม 30,000 บาท ในวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และถ้ายังมีส่วนที่เหลือต้องชําระอีก ให้ชําระส่วนที่เหลือให้ครบถ้วนในวันที่สํานักงานได้รับรายละเอียดของข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วนถูกต้องเกี่ยวกับราคาเสนอขายหลักทรัพย์ การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรร และผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลของผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้ลงลายมือชื่อไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 8 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 61/2543 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ในกรณีอื่นใดที่มิใช่กรณีตาม (1) ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมตามส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินสําหรับงวดประจําปีบัญชีล่าสุดที่ยื่นต่อสํานักงาน ในอัตราดังนี้ (ก) บริษัทที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นไม่ถึง 500 ล้านบาท ให้ชําระค่าธรรมเนียม 50,000 บาท (ข) บริษัทที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 500 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 1,000 ล้านบาท ให้ชําระค่าธรรมเนียม 100,000 บาท (ค) บริษัทที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ให้ชําระค่าธรรมเนียม 300,000 บาท ทั้งนี้ สํานักงานอาจเปลี่ยนแปลงอัตราที่กําหนดไว้นี้ได้ แต่จะไม่เป็นผลให้อัตราค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 15 ทุกรอบระยะเวลาสามปี ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์เสนอขายหลักทรัพย์หลายประเภท ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมเพียงจํานวนเดียวตามวรรคหนึ่ง (2) และในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์เป็นบริษัทตามข้อ 4(2) หรือ (3) และบริษัทดังกล่าวไม่มีการเสนอขายหลักทรัพย์อื่นใดให้บริษัทชําระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 80 ของค่าธรรมเนียมที่กําหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง (2) บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ใดไม่เคยถูกดําเนินการเปรียบเทียบความผิด เนื่องจากไม่สามารถจัดทําและนําส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามที่กฎหมายกําหนดในรอบปีปฏิทินก่อนการชําระค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวได้รับลดหย่อนค่าธรรมเนียมที่ต้องชําระในปีปัจจุบันในอัตราร้อยละ 20 ของค่าธรรมเนียมทั้งหมดที่ต้องชําระ” ข้อ 6 ในปี พ.ศ. 2545 ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ได้รับลดหย่อนค่าธรรมเนียมตามข้อ 5(2) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับนี้ ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (1) บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่มีรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดในเดือนมีนาคม ให้ได้รับ ลดหย่อนค่าธรรมเนียมในอัตราหนึ่งในสี่ส่วนของค่าธรรมเนียมทั้งหมดที่ต้องชําระ (2) บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่มีรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดในเดือนมิถุนายน ให้ได้รับลดหย่อนค่าธรรมเนียมในอัตราหนึ่งในสองส่วนของค่าธรรมเนียมทั้งหมดที่ต้องชําระ (3) บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่มีรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดในเดือนกันยายน ให้ได้รับลดหย่อนค่าธรรมเนียมในอัตราสามในสี่ส่วนของค่าธรรมเนียมทั้งหมดที่ต้องชําระ ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่ได้รับลดหย่อนค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง ชําระค่าธรรมเนียมดังกล่าวภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี ข้อ 7 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2545 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
751
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 13/2545 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 21)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 13/2545 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 21) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 16/4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 “ข้อ 16/4 คําขออนุญาตตั้งผู้ให้คําแนะนําตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อน. 2/2545 เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนตั้งผู้ให้คําแนะนํา ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2545 คําขอละ 200 บาท” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
752
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 48/2545 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 22)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 48/2545 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 22) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 8/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 ซึ่งเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 45/2543 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 8/2 ค่าธรรมเนียมคําขอผ่อนผันที่ยื่นตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ให้เป็นไปตามอัตราดังนี้ (1) คําขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมด ของกิจการโดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ กิจการ (whitewash) คําขอละ 50,000 บาท (2) คําขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมด ของกิจการในกรณีที่อยู่ในอํานาจพิจารณาของ คณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์ เพื่อครอบงํากิจการ คําขอละ 20,000 บาท ==================================== (3) คําขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมด ของกิจการในกรณีอื่นใดที่มิใช่กรณีตาม (1) และ (2) คําขอละ 10,000 บาท (4) คําขอผ่อนผันการกําหนดราคาเสนอซื้อหลักทรัพย์ เป็นประการอื่น คําขอละ 50,000 บาท” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2545 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
753
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 56/2546 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่างๆ (ฉบับที่ 23)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 56/2546 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 23) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 13/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 “ข้อ 13/1 คําขอความเห็นชอบเป็นบริษัทจัดอันดับกองทุนรวมตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 43/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจการจัดอันดับกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2546 คําขอละ 10,000 บาทยกเว้นผู้ยื่นคําขอเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
754
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 2/2547 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 24)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 2/2547 ###### เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล ###### การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 24) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ###### ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 44/2544 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 18) ลงวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2544 “(6) บริษัทที่เสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 5(2)” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 4/2545 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 6 ค่าธรรมเนียมครั้งแรกตามข้อ 5(1) ให้คิดในอัตรา 30,000 บาท หรืออัตราดังต่อไปนี้ แล้วแต่จํานวนใดจะสูงกว่า เว้นแต่การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ตาม (8)(ข) ให้ชําระค่าธรรมเนียมตามที่กําหนดไว้ในข้อย่อยดังกล่าว 1. กรณีเสนอขายหุ้น ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.08 ของมูลค่าของหุ้นทั้งหมดที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของหุ้นที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายหุ้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม 1. กรณีเสนอขายหุ้นกู้ ให้คิดในอัตราดังนี้ 2. หุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้คิดในอัตราร้อยละ 0.02 ของมูลค่าของหุ้นกู้ทั้งหมดที่เสนอขาย 3. หุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทอื่นนอกจาก (ก) ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.04 ของมูลค่าหุ้นกู้ทั้งหมดที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของหุ้นกู้ที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายหุ้นกู้เป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม 1. กรณีเสนอขายพันธบัตร ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.02 ของมูลค่าของพันธบัตรทั้งหมดที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของพันธบัตรที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายพันธบัตรเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม 1. กรณีเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.04 ของมูลค่า หุ้นกู้แปลงสภาพทั้งหมดที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของหุ้นกู้แปลงสภาพที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม 1. กรณีเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น 2. หากใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นมีอายุไม่เกินหนึ่งปี ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.08 ของมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายรวมกับมูลค่าของหุ้นทั้งหมดที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขาย 3. หากใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นมีอายุมากกว่าหนึ่งปี ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.03 ของมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายรวมกับมูลค่าของหุ้นทั้งหมดที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นนั้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม และในการคํานวณมูลค่าของหุ้นที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาที่จะซื้อหุ้นตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นนั้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม 1. กรณีเสนอขายใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้โดยเจ้าของใบแสดงสิทธิดังกล่าว ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.08 ของมูลค่าของใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ทั้งหมดที่เสนอขายรวมกับมูลค่าของหุ้นทั้งหมดที่รองรับใบแสดงสิทธิดังกล่าว ในการคํานวณมูลค่าของใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายใบแสดงสิทธิดังกล่าวเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม และในการคํานวณมูลค่าของหุ้นที่รองรับใบแสดงสิทธินั้น ให้ใช้ราคาที่จะซื้อหุ้นตามใบแสดงสิทธิดังกล่าวเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม 1. กรณีเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.02 ของมูลค่าหลักทรัพย์ทั้งหมดที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของหลักทรัพย์ที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม โดยในกรณีที่มีการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น มูลค่าของหลักทรัพย์ที่เสนอขายให้รวมถึงมูลค่าของหุ้นทั้งหมดที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขายด้วย และในกรณีนี้ การคํานวณมูลค่าของหุ้นที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาที่จะซื้อหุ้นตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นนั้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม (8) กรณีเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ให้คิดในอัตราดังนี้ 1. ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นประเภทที่ให้สิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกโดยบริษัทอื่น และจัดให้มีการฝากทรัพย์สินเต็มจํานวน 1. หากมีอายุไม่เกินหนึ่งปี ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.08 ของมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายรวมกับมูลค่าของหุ้นอ้างอิงทั้งหมดที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นที่เสนอขาย 1. หากมีอายุมากกว่าหนึ่งปี ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.03 ของมูลค่าของ ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายรวมกับมูลค่าของหุ้นอ้างอิงทั้งหมดที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นที่เสนอขาย การคํานวณมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นที่เสนอขายให้ใช้ราคาเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นนั้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม และการคํานวณมูลค่าของหุ้นอ้างอิง ให้ใช้ราคาใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นนั้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม 1. ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์อื่นนอกจาก (ก) ให้คิดในอัตราครั้งละ 10,000 บาท (9) กรณีเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ ให้คิดในอัตราครั้งละ 100,000 บาท ###### กรณีเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศให้แก่กรรมการหรือพนักงานของบริษัทต่างประเทศ บริษัทร่วม บริษัทย่อย หรือสาขาของบริษัทดังกล่าวในประเทศไทย ให้คิดในอัตราโครงการละ 50,000 บาท (11) กรณีเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ให้ใช้อัตราและวิธีการคํานวณเดียวกับที่กําหนดไว้สําหรับหลักทรัพย์อ้างอิงของใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงดังกล่าว” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 4/2545 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 8 ค่าธรรมเนียมครั้งต่อไปตามข้อ 5(2) ให้คิดในอัตราดังนี้ (1) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์โดยบริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมตามส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินสําหรับงวดประจําปีบัญชีล่าสุดที่ยื่นต่อสํานักงาน ในอัตราดังนี้ (ก) บริษัทที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นไม่ถึง 500 ล้านบาท ให้ชําระค่าธรรมเนียม 50,000 บาท (ข) บริษัทที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 500 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 1,000 ล้านบาท ให้ชําระค่าธรรมเนียม 100,000 บาท (ค) บริษัทที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ให้ชําระค่าธรรมเนียม 300,000 บาท (2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์โดยบริษัทอื่นนอกจาก (1) ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียม 10,000 บาท ทั้งนี้ สํานักงานอาจเปลี่ยนแปลงอัตราที่กําหนดไว้นี้ได้ แต่จะไม่เป็นผลให้อัตราค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 15 ทุกรอบระยะเวลาสามปี ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์เสนอขายหลักทรัพย์หลายประเภท ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมเพียงจํานวนเดียวตามวรรคหนึ่ง (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี ในรอบปีปฏิทินก่อนการชําระค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ใดไม่เคยถูกดําเนินการเปรียบเทียบความผิดหรือถูกกล่าวโทษโดยสํานักงาน เนื่องจากไม่สามารถจัดทําและนําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามที่กฎหมายกําหนดให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวได้รับลดหย่อนค่าธรรมเนียมที่ต้องชําระในปีปัจจุบันในอัตราร้อยละ 20 ของค่าธรรมเนียมทั้งหมดที่ต้องชําระ” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป #### ประกาศ ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2547 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
755
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 26/2547 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่างๆ (ฉบับที่ 25)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 26/2547 =============== ### เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล ### การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 25) ###### อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 16/5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 “ข้อ 16/5 คําขอความเห็นชอบเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 25/2547 เรื่อง การจัดให้มีและการให้ความเห็นชอบนักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2547 คําขอละ 200 บาท” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2547 -------------------------------------- ( นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ) เลขาธิการ ========== สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ---------------------------------------------------
756
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 33/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 48/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2541 (4) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 8/2542 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 (5) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 5/2543 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 (6) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 9/2543 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2543 (7) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 24/2543 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2543 (8) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 38/2543 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2543 (9) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 42/2543 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ(ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2543 (10) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 45/2543 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2543 (11) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 52/2543 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2543 (12) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 58/2543 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 (13) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 61/2543 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 (14) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 68/2543 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2543 (15) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 15/2544 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2544 (16) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 30/2544 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 17) ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 (17) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 44/2544 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 18) ลงวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2544 (18) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 50/2544 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 19) ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2544 (19) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 4/2545 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2545 (20) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 13/2545 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 21) ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 (21) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 48/2545 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 22) ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2545 (22) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 56/2546 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 23) ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (23) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 2/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 24) ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2547 (24) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 26/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 25) ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมวด ๑ การออกหลักทรัพย์และการเสนอขายหลักทรัพย์ ข้อ ๔ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมเมื่อมีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ตามประกาศนี้ เว้นแต่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ที่เป็น (1) บริษัทที่ออกหุ้นเพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่มีอายุไม่เกินสองเดือนนับแต่วันที่ออกซึ่งระบุไว้ในใบสําคัญแสดงสิทธินั้น และได้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นนั้นให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวตามสัดส่วนการถือหุ้น ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 5(1) (2) บริษัทที่ออกหุ้นเพื่อรองรับใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ และการอนุญาต ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 5(1) (3) บริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศให้แก่กรรมการหรือพนักงานของบริษัทหรือบริษัทย่อยในประเทศไทย ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 5(2) (4) บริษัทที่เสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยโดยบริษัทย่อยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 5 (5) บริษัทที่เสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 5(2) ข้อ ๕ การชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ให้เป็นดังนี้ (1) ค่าธรรมเนียมครั้งแรก ชําระเมื่อยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อสํานักงาน (2) ค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ซึ่งเป็นบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ชําระเพิ่มเติมอีกภายในวันที่ 30 เมษายน ของทุกปี โดยให้เริ่มในปีถัดจากปีที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์มีผลใช้บังคับ จนกว่าหน้าที่ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ในการจัดทําและส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามมาตรา 56 จะสิ้นสุดลง ข้อ ๖ ค่าธรรมเนียมครั้งแรกตามข้อ 5(1) ให้คิดในอัตราดังนี้ (1) กรณีเสนอขายหุ้น ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.08 ของมูลค่าของหุ้นทั้งหมดที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของหุ้นที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายหุ้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม (2) กรณีเสนอขายหุ้นกู้ ให้คิดในอัตราดังนี้ (ก) หุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือที่ออกโดยนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.02 ของมูลค่าของหุ้นกู้ทั้งหมดที่เสนอขาย (ข) หุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทอื่นนอกจาก (ก) ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.04 ของมูลค่าหุ้นกู้ทั้งหมดที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของหุ้นกู้ที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายหุ้นกู้เป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม (3) กรณีเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้น ตั๋วเงินระยะสั้น หรือพันธบัตรที่มีกําหนดเวลาไถ่ถอนไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวัน ให้คิดในอัตรา 10,000 บาท ตามเงื่อนไขดังนี้ (ก) กรณีได้รับอนุญาตให้เสนอขายเป็นโครงการ ให้ถืออัตราดังกล่าวเป็นค่าธรรมเนียมรายโครงการ (ข) กรณีได้รับอนุญาตให้เสนอขายเป็นรายปี ให้ถืออัตราดังกล่าวเป็นค่าธรรมเนียมรายปี (ค) กรณีอื่นนอกจาก (ก) หรือ (ข) ให้คิดค่าธรรมเนียมเป็นรายครั้ง (4) กรณีเสนอขายพันธบัตร ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.02 ของมูลค่าของพันธบัตรทั้งหมดที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของพันธบัตรที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายพันธบัตรเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม (5) กรณีเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.04 ของมูลค่าหุ้นกู้แปลงสภาพทั้งหมดที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของหุ้นกู้แปลงสภาพที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม (6) กรณีเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (ก) หากใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นมีอายุไม่เกินหนึ่งปี ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.08 ของมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายรวมกับมูลค่าของหุ้นทั้งหมดที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขาย (ข) หากใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นมีอายุมากกว่าหนึ่งปี ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.03 ของมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายรวมกับมูลค่าของหุ้นทั้งหมดที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นนั้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม และในการคํานวณมูลค่าของหุ้นที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาที่จะซื้อหุ้นตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นนั้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม (7) กรณีเสนอขายใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้โดยเจ้าของใบแสดงสิทธิดังกล่าว ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.08 ของมูลค่าของใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ทั้งหมดที่เสนอขายรวมกับมูลค่าของหุ้นทั้งหมดที่รองรับใบแสดงสิทธิดังกล่าว ในการคํานวณมูลค่าของใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ที่เสนอขายให้ใช้ราคาเสนอขายใบแสดงสิทธิดังกล่าวเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม และในการคํานวณมูลค่าของหุ้นที่รองรับใบแสดงสิทธินั้น ให้ใช้ราคาที่จะซื้อหุ้นตามใบแสดงสิทธิดังกล่าวเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม (8) กรณีเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.02 ของมูลค่าหลักทรัพย์ทั้งหมดที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของหลักทรัพย์ที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม โดยในกรณีที่มีการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น มูลค่าของหลักทรัพย์ที่เสนอขายให้รวมถึงมูลค่าของหุ้นทั้งหมดที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขายด้วย และในกรณีนี้ การคํานวณมูลค่าของหุ้นที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาที่จะซื้อหุ้นตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นนั้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม (9) กรณีเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ให้คิดในอัตราดังนี้ (ก) ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นประเภทที่ให้สิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกโดยบริษัทอื่น และจัดให้มีการฝากทรัพย์สินเต็มจํานวน 1. หากมีอายุไม่เกินหนึ่งปี ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.08 ของมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายรวมกับมูลค่าของหุ้นอ้างอิงทั้งหมดที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นที่เสนอขาย 2. หากมีอายุมากกว่าหนึ่งปี ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.03 ของมูลค่าของ ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายรวมกับมูลค่าของหุ้นอ้างอิงทั้งหมดที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นที่เสนอขาย การคํานวณมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นที่เสนอขายให้ใช้ราคาเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นนั้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม และการคํานวณมูลค่าของหุ้นอ้างอิง ให้ใช้ราคาใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นนั้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม (ข) ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์อื่นนอกจาก (ก) ให้คิดในอัตราครั้งละ 10,000 บาท (10) กรณีเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.02 ของมูลค่าหลักทรัพย์ทั้งหมดที่เสนอขาย แต่ต้องไม่ต่ํากว่า 100,000 บาท มูลค่าหลักทรัพย์ทั้งหมดที่เสนอขาย ให้หมายถึงผลคูณของจํานวนดังต่อไปนี้ (ก) จํานวนหลักทรัพย์ที่เสนอขาย (ข) ราคาปิดในตลาดหลักทรัพย์ของหลักทรัพย์ที่เสนอซื้อ ณ วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์มีผลใช้บังคับ และ (ค) อัตราส่วนของจํานวนหลักทรัพย์ที่เสนอขายต่อจํานวนหลักทรัพย์ที่เสนอซื้อ ในกรณีที่ไม่มีราคาตาม (ข) ให้ใช้มูลค่าที่ประเมินโดยที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ (11) กรณีเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศให้แก่กรรมการหรือพนักงานของบริษัทต่างประเทศ บริษัทร่วม บริษัทย่อย หรือสาขาของบริษัทดังกล่าวในประเทศไทย ให้คิดในอัตราโครงการละ 50,000 บาท (12) กรณีเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ให้ใช้อัตราและวิธีการคํานวณเดียวกับที่กําหนดไว้สําหรับหลักทรัพย์อ้างอิงของใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงดังกล่าว ในกรณีที่อัตราค่าธรรมเนียมที่คํานวณได้ตามวรรคหนึ่ง มีจํานวนน้อยกว่า 30,000 บาท ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 30,000 บาท เว้นแต่เป็นค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง (3) (9) (ข) หรือ (10) ข้อ ๗ การคํานวณค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามข้อ 6 สําหรับกรณีที่มีการกําหนดราคาเสนอขายหลักทรัพย์ในลักษณะดังต่อไปนี้ ให้เป็นดังนี้ (1) ในกรณีที่ราคาเสนอขายหลักทรัพย์กําหนดเป็นช่วงราคา หรือราคาเสนอขายจะไม่เท่ากันในแต่ละช่วงเวลา ให้คํานวณมูลค่าของหลักทรัพย์ที่เสนอขายโดยใช้ราคาสูงสุดที่จะเสนอขาย (2) ในกรณีที่ราคาเสนอขายหลักทรัพย์กําหนดเป็นสูตรซึ่งอ้างอิงกับข้อมูลในอนาคตให้คํานวณมูลค่าของหลักทรัพย์ที่เสนอขายจากสูตรดังกล่าวโดยใช้ข้อมูลในวันก่อนวันที่ต้องชําระค่าธรรมเนียมครบถ้วนของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์นั้น (3) ในกรณีที่ราคาเสนอขายกําหนดเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ให้คํานวณมูลค่าของหลักทรัพย์ที่เสนอขายเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ (อัตราซื้อตั๋วเงิน) สําหรับการแลกเปลี่ยนสกุลเงินดังกล่าว ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศในวันก่อนวันที่ต้องชําระค่าธรรมเนียมครบถ้วนของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์นั้น ข้อ ๘ การชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 6 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (1) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่อย่างต่อเนื่องแบบเป็นโครงการ ซึ่งการเสนอขายดังกล่าวมิใช่การเสนอขายครั้งแรกของโครงการนั้น ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมทั้งหมดตามที่กําหนดในวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ซึ่งได้ระบุรายละเอียดของข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วนถูกต้องแล้ว (2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ในกรณีอื่นใดที่มิใช่กรณีตาม (1) ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียม 30,000 บาท หรือจํานวนอื่นสําหรับกรณีที่กําหนดอัตราค่าธรรมเนียมไว้ต่ํากว่า 30,000 บาท ในวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และถ้ายังมีส่วนที่เหลือต้องชําระอีก ให้ชําระส่วนที่เหลือให้ครบถ้วนในวันที่สํานักงานได้รับรายละเอียดของข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วนถูกต้องเกี่ยวกับราคาเสนอขายหลักทรัพย์ การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรร และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายหลักทรัพย์ได้ลงลายมือชื่อไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ พร้อมกับการยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่และสํานักงานไม่อนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ หรือมีการขอถอนการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ หรือมีการขอถอนการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์จะมีผลใช้บังคับ ผู้เสนอขายหลักทรัพย์นั้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่เหลืออีก ข้อ ๙ ค่าธรรมเนียมครั้งต่อไปตามข้อ 5(2) ให้คิดในอัตราดังนี้ (1) ในกรณีบริษัทที่มีหน้าที่ชําระค่าธรรมเนียมมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมเป็นรายปีตามส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินประจํางวดการบัญชีล่าสุดที่ยื่นต่อสํานักงาน ในอัตราดังนี้ (ก) บริษัทที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นไม่ถึง 500 ล้านบาท ให้ชําระค่าธรรมเนียม 50,000 บาท (ข) บริษัทที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 500 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 1,000 ล้านบาท ให้ชําระค่าธรรมเนียม 100,000 บาท (ค) บริษัทที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ให้ชําระค่าธรรมเนียม 300,000 บาท (2) ในกรณีบริษัทอื่นนอกจาก (1) ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมในอัตรา 10,000 บาท ทั้งนี้ สํานักงานอาจเปลี่ยนแปลงอัตราที่กําหนดไว้นี้ได้ แต่จะไม่เป็นผลให้อัตราค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 15 ทุกรอบระยะเวลาสามปี ในรอบปีปฏิทินก่อนการชําระค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง บริษัทตามวรรคหนึ่ง (1) บริษัทใดไม่เคยถูกดําเนินการเปรียบเทียบความผิดหรือถูกกล่าวโทษโดยสํานักงาน เนื่องจากไม่สามารถจัดทําและนําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามที่กฎหมายกําหนด ให้บริษัทดังกล่าวได้รับลดหย่อนค่าธรรมเนียมที่ต้องชําระในปีปัจจุบันในอัตราร้อยละ 20 ของค่าธรรมเนียมทั้งหมดที่ต้องชําระ หมวด ๒ การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ข้อ ๑๐ ให้ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมเมื่อมีการยื่นคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ต่อสํานักงาน เว้นแต่เป็นการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ ค่าธรรมเนียมคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ให้คิดตามมูลค่าของหลักทรัพย์ที่เสนอซื้อตามอัตราดังนี้ (1) หลักทรัพย์ที่เสนอซื้อมีมูลค่าไม่ถึง 10 ล้านบาท ให้ชําระค่าธรรมเนียม 50,000 บาท (2) หลักทรัพย์ที่เสนอซื้อมีมูลค่าตั้งแต่ 10 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 100 ล้านบาท ให้ชําระค่าธรรมเนียม 100,000 บาท (3) หลักทรัพย์ที่เสนอซื้อมีมูลค่าตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไป ให้ชําระค่าธรรมเนียม 500,000 บาท ในการคํานวณมูลค่าของหลักทรัพย์ที่เสนอซื้อ ให้ใช้ราคาเสนอซื้อหลักทรัพย์ คูณด้วยจํานวนหลักทรัพย์สูงสุดที่กําหนดไว้ในคําเสนอซื้อ ในกรณีที่ผู้ทําคําเสนอซื้อแก้ไขราคาเสนอซื้อหรือจํานวนหลักทรัพย์ที่เสนอซื้อจนเป็นผลให้ค่าธรรมเนียมที่ผู้ทําคําเสนอซื้อต้องชําระมีอัตราที่สูงขึ้นจากอัตราเดิมที่ได้ชําระไว้ ให้ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่เพิ่มในวันที่สํานักงานได้รับแบบแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อมูลในคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ ข้อ ๑๑ ค่าธรรมเนียมคําขอผ่อนผันที่ยื่นตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ให้เป็นไปตามอัตราดังนี้ (1) คําขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมด ของกิจการโดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ กิจการ (whitewash) คําขอละ 50,000 บาท (2) คําขอผ่อนผันที่อยู่ในอํานาจพิจารณาของ คณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์ เพื่อครอบงํากิจการ คําขอละ 50,000 บาท (3) คําขอผ่อนผันที่อยู่ในอํานาจพิจารณาของ สํานักงาน คําขอละ 10,000 บาท หมวด ๓ ธุรกิจหลักทรัพย์ ข้อ ๑๒ ค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตจัดตั้งสํานักงานผู้แทนของบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งจัดตั้งและประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎหมายต่างประเทศ ให้คิดในอัตรา 25,000 บาท ต่อหนึ่งสํานักงานผู้แทน ข้อ ๑๓ คําขอขึ้นทะเบียนและคําขอต่ออายุการขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด คําขอละ 1,000 บาท ข้อ ๑๔ คําขอรับความเห็นชอบเป็นผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือเป็นตัวแทนสนับสนุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือเป็นตัวแทนสนับสนุนให้ผู้ยื่นคําขอชําระค่าธรรมเนียมในวันที่ยื่นคําขอ ตามอัตราดังนี้ (1) กรณีผู้ขอรับความเห็นชอบเป็นบุคคลธรรมดา คําขอละ 300 บาท (2) กรณีผู้ขอรับความเห็นชอบเป็นนิติบุคคล คําขอละ 5,000 บาท (3) คําขอออกบัตรประจําตัวใหม่ เนื่องจากบัตรหมดอายุ ชํารุด หรือหาย มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในบัตร ฯลฯ คําขอละ 100 บาท ข้อ ๑๕ คําขออนุญาตตั้งผู้ให้คําแนะนําตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการอนุญาตให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนตั้งผู้ให้คําแนะนํา คําขอละ 200 บาท ข้อ ๑๖ คําขอความเห็นชอบเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดให้มีและการให้ความเห็นชอบนักวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน คําขอละ 200 บาท หมวด ๔ การจัดการกองทุนรวม ข้อ ๑๗ ในหมวดนี้ “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมปิดและกองทุนรวมเปิด “เงินทุนจดทะเบียน” หมายความว่า เงินทุนที่บริษัทจัดการได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนและนํามาจดทะเบียนไว้กับสํานักงาน “เงินทุนโครงการ” หมายความว่า วงเงินที่สํานักงานอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมซึ่งระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม ข้อ ๑๘ ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ ของธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม ให้เป็นไปตามอัตราดังนี้ (1) คําขอจัดตั้งกองทุนรวม คําขอละ 25,000 บาท (2) คําขอแปรสภาพโครงการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ให้เป็นกองทุนรวม คําขอละ 1,000 บาท (3) การจดทะเบียนกองทุนรวม ให้คํานวณจาก (ก) จํานวนเงินทุนจดทะเบียนในกรณีที่เป็นกองทุนรวมปิด หรือ (ข) จํานวนเงินทุนจดทะเบียน ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเปิดซึ่งระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมว่าจะเสนอ ขายหน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียว หรือ (ค) จํานวนเงินทุนโครงการในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเปิดกรณีอื่นใดนอกจากกรณีตาม (ข) โดยทุกจํานวนเงิน 100 ล้านบาทหรือเศษของ 100 ล้านบาท ให้คิดในอัตรา 1,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 50,000 บาท (4) การจดทะเบียนเพิ่มจํานวนเงินทุน ให้คํานวณจาก (ก) จํานวนเงินทุนจดทะเบียนที่เพิ่มขึ้นในกรณีที่เป็นกองทุนรวมปิด หรือ (ข) จํานวนเงินทุนโครงการที่เพิ่มขึ้น ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเปิด หรือ (ค) ส่วนต่างระหว่างจํานวนเงินทุนโครงการและจํานวนเงินทุนจดทะเบียน ในกรณีที่เป็นการเปลี่ยนจากกองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิด หรือเปลี่ยนจากกองทุนรวมเปิดที่เสนอขาย หน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียวเป็นกองทุนรวมเปิดที่เสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมได้ โดยทุกจํานวนเงิน 100 ล้านบาท หรือเศษของ 100 ล้านบาท ให้คิดในอัตรา 1,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 50,000 บาท (5) คําขอรับใบแทนหลักฐานการรับจดทะเบียนหรือหลักฐานการเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียน ฉบับละ 500 บาท (6) คําขอตรวจเอกสารของแต่ละกองทุนรวม คําขอละ 50 บาท หมวด ๕ สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ ข้อ ๑๙ ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนหรือการยื่นคําขอเกี่ยวกับสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ ให้เป็นไปตามอัตราดังนี้ (1) การจดทะเบียนแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับสมาคม ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ ครั้งละ 500 บาท (2) การจดทะเบียนตั้งหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการสมาคม ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ คนละ 500 บาท (3) คําขอรับใบแทนใบอนุญาตสมาคมที่เกี่ยวเนื่อง กับธุรกิจหลักทรัพย์ ฉบับละ 200 บาท (4) คําขอให้ออกหนังสือรับรองรายการจดทะเบียน ของสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ ฉบับละ 200 บาท (5) คําขอตรวจเอกสารของแต่ละสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับ ธุรกิจหลักทรัพย์ คําขอละ 50 บาท หมวด ๖ อื่น ๆ ข้อ ๒๐ คําขอรับความเห็นชอบเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล คําขอละ 35,000 บาท คําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินตามประกาศดังกล่าวคําขอละ 15,000 บาท ข้อ ๒๑ คําขอความเห็นชอบเป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําแก่ประชาชนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน คําขอละ 500,000 บาท การชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขอตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ยื่นคําขอชําระในวันที่ยื่นคําขอเป็นจํานวนเงิน 50,000 บาท และให้ชําระส่วนที่เหลือเมื่อได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ข้อ ๒๒ คําขอความเห็นชอบเป็นบริษัทจัดอันดับกองทุนรวมตามประกาศ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจการจัดอันดับกองทุนรวม คําขอละ 10,000 บาท เว้นแต่ผู้ยื่นคําขอเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียม ข้อ ๒๓ คําขอความเห็นชอบเป็นบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินหรือผู้ประเมินหลักตามประกาศว่าด้วยการให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ให้ผู้ยื่นคําขอชําระค่าธรรมเนียมในวันที่ยื่นคําขอตามอัตราดังนี้ (1) คําขอความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สิน คําขอละ 50,000 บาท (2) คําขอความเห็นชอบผู้ประเมินหลัก คนละ 10,000 บาท เว้นแต่เป็นคําขอความเห็นชอบผู้ประเมินหลักคนที่ 1 ถึงคนที่ 4 ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียม ข้อ ๒๔ คําขอความเห็นชอบเป็นที่ปรึกษาทางการเงินตามประกาศว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงิน และขอบเขตการดําเนินงาน คําขอละ 250,000 บาท โดยให้ชําระครั้งแรกในวันยื่นคําขอเป็นจํานวนเงิน 50,000 บาท และให้ชําระส่วนที่เหลือเป็นจํานวน 200,000 บาท ภายในวันที่ได้รับความเห็นชอบ ข้อ ๒๕ คําขอความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีตามประกาศว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี คําขอละ 25,000 บาท โดยให้ชําระครั้งแรกในวันยื่นคําขอเป็นจํานวนเงิน 5,000 บาท และให้ชําระส่วนที่เหลือเป็นจํานวนเงิน 20,000 บาท ภายในวันที่ได้รับความเห็นชอบ ข้อ ๒๖ คําขอคัดสําเนาหรือขอให้ถ่ายเอกสาร พร้อมทั้งคํารับรอง หน้าละ 50 บาท บทเฉพาะกาล - บทเฉพาะกาล ข้อ ๒๗ ให้การลดอัตราค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 45/2545 เรื่อง การลดอัตราค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล ลงวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2545 มีผลใช้บังคับต่อไป โดยในกรณีที่ประกาศดังกล่าวอ้างอิงค่าธรรมเนียมตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 ให้ถือว่าเป็นการอ้างอิงค่าธรรมเนียมประเภทเดียวกันที่กําหนดตามประกาศนี้ โดยอนุโลม ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
757
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สบ. 45/2547 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 45/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 16/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 “ข้อ 16/1 คําขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนเพื่อทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน คําขอละ 200 บาท” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2547 (นายประสงค์ วินัยแพทย์) รองเลขาธิการ รักษาการแทนเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
758
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สบ. 16/2548 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 16/2548 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 3) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 13 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 13 คําขอความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน คําขอละ 200 บาท” ข้อ 2 ให้ยกเลิก 1. ข้อ 14 ข้อ 15 และข้อ 16 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 2. ข้อ 16/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 45/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2548 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
759
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สบ. 5/2549 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 4)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 5 /2549 ##### เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล ### การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 4) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) กรณีการเสนอขายหุ้นกู้ ให้คิดในอัตราดังนี้ (ก) หุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย หรือที่ออกโดยนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.02 ของมูลค่าของหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละรุ่น แต่สูงสุดรุ่นละไม่เกิน 1,000,000 บาท (ข) หุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทอื่นนอกจาก (ก) ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.04 ของมูลค่าหุ้นกู้ ในแต่ละรุ่น แต่สูงสุดรุ่นละไม่เกิน 2,000,000 บาท ในการคํานวณมูลค่าของหุ้นกู้ที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายหุ้นกู้เป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(4) กรณีเสนอขายพันธบัตร ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.02 ของมูลค่าของพันธบัตร ที่เสนอขายในแต่ละรุ่น แต่สูงสุดรุ่นละไม่เกิน 1,000,000 บาท ในการคํานวณมูลค่าของพันธบัตรที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายพันธบัตรเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2549 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
760
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สบ. 40/2549 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 5)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 40/2549 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 5) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 13 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่างๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 16/2548 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่างๆ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 13 คําขอความเห็นชอบและคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ให้เป็นไปตามอัตราดังนี้ 1. คําขอความเห็นชอบ คําขอละ 2,000 บาท 2. คําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบ คําขอละ 1,000 บาท” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2549 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้คือ ในการกํากับดูแลผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนจําเป็นต้องมีการกลั่นกรองคุณสมบัติของผู้ขอความเห็นชอบ และตรวจสอบคุณสมบัติ และความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานของผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับบริการที่ดีและเป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน สมควรเพิ่มค่าธรรมเนียมคําขอความเห็นชอบ และกําหนดค่าธรรมเนียมคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน ให้สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายในการดําเนินการดังกล่าว จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
761
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สบ. 48/2549 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 6)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 48/2549 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 6) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 ในประกาศนี้ (1) “แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์” หมายความว่า แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ หรือแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ แล้วแต่กรณี 1. “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์” ข้อ 2 ให้ยกเลิก (2) และ (4) ในวรรคหนึ่งของข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 5/2549 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2549 และ (3) และ (5) ในวรรคหนึ่งของข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 6/1 ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 “ข้อ 6/1 ค่าธรรมเนียมครั้งแรกในการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้ ตั๋วเงิน หรือพันธบัตร ให้คิดในอัตราดังนี้ (1) กรณีการเสนอขายหุ้นกู้ ให้คิดในอัตราดังนี้ (ก) หุ้นกู้ที่ออกโดยผู้ออกหุ้นกู้ที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือที่ออกโดยนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.02 ของมูลค่าของหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละรุ่น แต่สูงสุดรุ่นละไม่เกิน 1,000,000 บาท (ข) หุ้นกู้ที่ออกโดยนิติบุคคลอื่นที่ไม่เข้าลักษณะตาม (ก) ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.04 ของมูลค่าหุ้นกู้ในแต่ละรุ่น แต่สูงสุดรุ่นละไม่เกิน 2,000,000 บาท ในการคํานวณมูลค่าของหุ้นกู้ที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายหุ้นกู้เป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม (2) กรณีเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้น ตั๋วเงินระยะสั้น หรือพันธบัตรที่มีกําหนดเวลาไถ่ถอนไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวัน ให้คิดในอัตราดังนี้ (ก) กรณีเป็นการเสนอขายเฉพาะหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นที่มีการกําหนดวงเงินการเสนอขาย ภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ให้คิดในอัตรา500,000 บาท สําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวตามวงเงินและภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตนั้น (ข) กรณีเป็นการเสนอขายที่ไม่เข้าลักษณะตาม (ก) ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 10,000 บาทเป็นรายครั้ง (3) กรณีเสนอขายพันธบัตร ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.02 ของมูลค่าของพันธบัตรที่เสนอขายในแต่ละรุ่น แต่สูงสุดรุ่นละไม่เกิน 1,000,000 บาท ในการคํานวณมูลค่าของพันธบัตรที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายพันธบัตรเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม (4) กรณีเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.04 ของมูลค่าหุ้นกู้แปลงสภาพทั้งหมดที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของหุ้นกู้แปลงสภาพที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม ในกรณีที่อัตราค่าธรรมเนียมที่คํานวณได้ตามวรรคหนึ่ง มีจํานวนน้อยกว่า 30,000 บาท ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 30,000 บาท เว้นแต่เป็นค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง (2)” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 7 การคํานวณค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามข้อ 6 และข้อ 6/1สําหรับกรณีที่มีการกําหนดราคาเสนอขายหลักทรัพย์ในลักษณะดังต่อไปนี้ ให้เป็นดังนี้ (1) ในกรณีที่ราคาเสนอขายหลักทรัพย์ กําหนดเป็นช่วงราคา หรือราคาเสนอขายจะไม่เท่ากันในแต่ละช่วงเวลา ให้คํานวณมูลค่าของหลักทรัพย์ที่เสนอขายโดยใช้ราคาสูงสุดที่จะเสนอขาย (2) ในกรณีที่ราคาเสนอขายหลักทรัพย์กําหนดเป็นสูตรซึ่งอ้างอิงกับข้อมูลในอนาคต ให้คํานวณมูลค่าของหลักทรัพย์ที่เสนอขายจากสูตรดังกล่าวโดยใช้ข้อมูลในวันก่อนวันที่ต้องชําระค่าธรรมเนียมครบถ้วนของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์นั้น (3) ในกรณีที่ราคาเสนอขายกําหนดเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ให้คํานวณมูลค่าของหลักทรัพย์ที่เสนอขายเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ (อัตราซื้อตั๋วเงิน) สําหรับการแลกเปลี่ยนสกุลเงินดังกล่าว ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศในวันก่อนวันที่ต้องชําระค่าธรรมเนียมครบถ้วนของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์นั้น” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 8 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 8 การชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 6 และข้อ 6/1 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (1) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่อย่างต่อเนื่องแบบเป็นโครงการ ซึ่งการเสนอขายดังกล่าวมิใช่การเสนอขายครั้งแรกของโครงการนั้น ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมทั้งหมดตามที่กําหนดในวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ซึ่งได้ระบุรายละเอียดของข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วนถูกต้องแล้ว (2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ในกรณีอื่นใดที่มิใช่กรณีตาม (1) ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียม 30,000 บาท หรือจํานวนอื่นสําหรับกรณีที่กําหนดอัตราค่าธรรมเนียมไว้ต่ํากว่า 30,000 บาท ในวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และถ้ายังมีส่วนที่เหลือต้องชําระอีก ให้ชําระส่วนที่เหลือให้ครบถ้วนในวันที่สํานักงานได้รับรายละเอียดของข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วนถูกต้องเกี่ยวกับราคาเสนอขายหลักทรัพย์ การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรร และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายหลักทรัพย์ได้ลงลายมือชื่อไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ หรือประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ แล้วแต่กรณี” ข้อ 6 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2549 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
762
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สบ. 4/2550 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 7)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 4/2550 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 7) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (2) ในข้อ 6/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 48/2549 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ข) กรณีเป็นการเสนอขายที่ไม่เข้าลักษณะตาม (ก) ให้คิดในอัตรารุ่นละ 10,000 บาท หรือปีละ 100,000 บาท สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ที่ได้กระทําภายในหนึ่งปีปฏิทินที่ได้มีการชําระค่าธรรมเนียมเป็นรายปีดังกล่าว โดยไม่จํากัดจํานวนรุ่นของหลักทรัพย์ที่เสนอขาย” ###### ข้อ 2 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ###### ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
763
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สบ. 22/2550 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 8 )
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 22/2550 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 8 ) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 “(6) บริษัทที่ออกหุ้นกู้ระยะสั้น ตั๋วเงินระยะสั้น เฉพาะที่เป็นบริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมตามข้อ 5(1)” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (ก) ของ (2) ในข้อ 6/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 48/2549 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ก) กรณีเป็นการเสนอขายเฉพาะหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นในลักษณะที่จํากัดมูลค่าการเสนอขาย ซึ่งได้รับอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ให้คิดในอัตรา 100,000 บาท สําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวตามมูลค่าที่ได้รับอนุญาตนั้น” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2550 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
764
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สบ. 23/2550 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 9)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 23/2550 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 9) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (10) ของข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(10) กรณีเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.02 ของมูลค่าหลักทรัพย์ทั้งหมดที่เสนอซื้อ แต่ต้องไม่ต่ํากว่า 100,000 บาท มูลค่าหลักทรัพย์ที่เสนอซื้อ ให้หมายถึงผลคูณของจํานวนดังต่อไปนี้ 1. จํานวนหลักทรัพย์ที่เสนอซื้อ (ข) ราคาปิดเฉลี่ยถ่วงน้ําหนักในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยของหลักทรัพย์ที่เสนอซื้อในช่วงห้าวันทําการก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์มีผลใช้บังคับ ทั้งนี้ ในกรณีหลักทรัพย์ที่เสนอซื้อไม่มีราคาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในช่วงเวลาดังกล่าว ให้ใช้ราคายุติธรรมที่ประเมินโดยที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
765
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สบ. 29/2550 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 10)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 29/2550 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 10) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 25/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 “ข้อ 25/1 คําขอรับความเห็นชอบเป็นผู้มีรายชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุน คําขอละ15,000 บาท โดยให้ชําระค่าธรรมเนียมครั้งแรกในวันยื่นคําขอต่อสํานักงานเป็นจํานวนเงิน 5,000 บาท และชําระส่วนที่เหลือเป็นจํานวนเงิน 10,000 บาท ภายในสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาในเบื้องต้นว่าผู้ขอรับความเห็นชอบมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม คําขอรักษาสถานภาพการมีรายชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุน คําขอละ 10,000 บาท” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ------------------------------------ (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ ========== สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ---------------------------------------------------
766
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สบ. 34/2550 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 11)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 34/2550 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 11) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกข้อ 23 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
767
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สบ. 38/2550 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 12)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 38/2550 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 12) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 24 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 24 คําขอความเห็นชอบตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงิน และขอบเขตการดําเนินงานให้เป็นดังนี้ 1. คําขอความเห็นชอบเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน คําขอละ 250,000 บาท โดยให้ชําระครั้งแรกภายในวันทําการถัดจากวันที่ยื่นคําขอเป็นจํานวนเงิน 50,000 บาท และให้ชําระส่วนที่เหลือเป็นจํานวน 200,000 บาท ภายในวันที่ได้รับความเห็นชอบ 2. คําขอความเห็นชอบเป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน คนละ 10,000 บาท โดยให้ชําระทั้งจํานวนภายในวันทําการถัดจากวันที่ยื่นคําขอ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2550 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
768
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สบ. 39/2550 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 13)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 39/2550 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 13) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและ เสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิก (2) ในวรรคหนึ่งของข้อ 8 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สบ. 48/2549 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ในกรณีอื่นใดที่มิใช่กรณีตาม (1) ไม่ว่าจะมีจํานวนหลักทรัพย์รุ่นเดียวหรือหลายรุ่น ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ํา 30,000 บาท ในวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และถ้ายังมีส่วนที่เหลือต้องชําระอีกให้ชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่เหลือในวันที่สํานักงานได้รับรายละเอียดของข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วนถูกต้องเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรร และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายหลักทรัพย์ได้ลงลายมือชื่อไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยการยื่นและ การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ หรือประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ แล้วแต่กรณี ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์มีหน้าที่ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราต่ํากว่า 30,000 บาท ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมดังกล่าวทั้งจํานวนในวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์” ข้อ 2 ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และเป็นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์หลายรุ่นและชําระค่าธรรมเนียมครั้งแรกต่อสํานักงานในวันที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลเกินกว่า 30,000 บาท ในการคํานวณค่าธรรมเนียมส่วนที่เหลือให้หักจากค่าธรรมเนียมทั้งจํานวนที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้ชําระไว้ในวันที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลต่อสํานักงาน ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2550 (นายธีระชัย **ภูวนาถนรานุบาล**) เลขาธิการ ========== สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
769
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สบ. 15/2551 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 15)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 15 /2551 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 15) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 17 และข้อ 18 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ### “ข้อ 17 ในหมวดนี้ “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมปิดและกองทุนรวมเปิด “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ “เงินทุนจดทะเบียน” หมายความว่า เงินทุนที่บริษัทจัดการได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนและนํามาจดทะเบียนไว้กับสํานักงาน “เงินทุนโครงการ” หมายความว่า วงเงินที่สํานักงานอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมซึ่งระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม ข้อ 18 ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ ของธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม ให้เป็นไปตามอัตราดังนี้ (1) คําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม คําขอละ 50,000 บาท (2) คําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ คําขอละ 75,000 บาท (3) คําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมแบบเป็นกลุ่มคําขอ คําขอละ 150,000 บาท (4) คําขอแปรสภาพโครงการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ให้เป็นกองทุนรวม คําขอละ 1,000 บาท (5) การจดทะเบียนกองทุนรวมในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีอายุไม่เกินหนึ่งปี ทุกจํานวนเงิน 100 ล้านบาทหรือเศษของ 100 ล้านบาท ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 1,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่ต่ํากว่า 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 75,000 บาท หรือในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีอายุเกินหนึ่งปี ทุกจํานวนเงิน 100 ล้านบาทหรือเศษของ 100 ล้านบาท ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 2,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่ต่ํากว่า 20,000 บาท แต่ไม่เกิน 150,000 บาท เว้นแต่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาวไม่กําหนดจํานวนขั้นต่ํา การคํานวณเงินทุนตามวรรคหนึ่ง ให้คํานวณจากจํานวนเงินทุนอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (ก) จํานวนเงินทุนจดทะเบียนในกรณีที่เป็นกองทุนรวมปิด (ข) จํานวนเงินทุนจดทะเบียนในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเปิดซึ่งระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมว่าจะเสนอขายหน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียว (ค) จํานวนเงินทุนโครงการในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเปิดกรณีอื่นใดนอกจากกรณีตาม (ข) (6) คําขอแก้ไขรายการทางทะเบียนเพื่อเพิ่มจํานวนเงินทุนในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีอายุไม่เกินหนึ่งปี ทุกจํานวนเงิน 100 ล้านบาทหรือเศษของ 100 ล้านบาท ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 1,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่ต่ํากว่า 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 75,000 บาท หรือในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีอายุเกินหนึ่งปี ทุกจํานวนเงิน 100 ล้านบาทหรือเศษของ 100 ล้านบาท ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 2,000 บาท แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่ต่ํากว่า 20,000 บาท แต่ไม่เกิน 150,000 บาท เว้นแต่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาวไม่กําหนดจํานวนขั้นต่ํา การคํานวณเงินทุนตามวรรคหนึ่ง ให้คํานวณแต่ละคําขอจากจํานวนเงินทุนอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) จํานวนเงินทุนจดทะเบียนที่เพิ่มขึ้นในกรณีที่เป็นกองทุนรวมปิด ซึ่งคํานวณโดยใช้ราคาตามมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน (ข) จํานวนเงินทุนโครงการที่เพิ่มขึ้นในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเปิด (ค) ส่วนต่างระหว่างจํานวนเงินทุนโครงการและจํานวนเงินทุนจดทะเบียน ในกรณีที่เป็นการเปลี่ยนจากกองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิด หรือเปลี่ยนจากกองทุนรวมเปิดที่เสนอขาย หน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียวเป็นกองทุนรวมเปิดที่เสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมได้ (7) คําขอรับใบแทนหลักฐานการรับจดทะเบียนหรือหลักฐานการเปลี่ยนแปลง การจดทะเบียน ฉบับละ 500 บาท (8) ตรวจเอกสารของแต่ละกองทุนรวม คําขอละ 50 บาท” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 20 ของหมวด 6 อื่น ๆ แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 20 คําขอรับความเห็นชอบเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคลตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล คําขอละ 70,000 บาท” #### ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ------------------------------------- (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ ========== สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ---------------------------------------------------
770
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สบ. 14/2551 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 14)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 14/2551 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 14) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 10 และข้อ 11 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 10 ให้ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมเมื่อมีการยื่นคําเสนอซื้อ หลักทรัพย์ต่อสํานักงาน เว้นแต่เป็นการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ ค่าธรรมเนียมคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ให้คิดตามมูลค่าของหลักทรัพย์ที่เสนอซื้อตามอัตราดังนี้ (1) หลักทรัพย์ที่เสนอซื้อมีมูลค่าไม่ถึง 10 ล้านบาท ให้ชําระค่าธรรมเนียม 50,000 บาท (2) หลักทรัพย์ที่เสนอซื้อมีมูลค่าตั้งแต่ 10 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 100 ล้านบาท ให้ชําระค่าธรรมเนียม 100,000 บาท (3) หลักทรัพย์ที่เสนอซื้อมีมูลค่าตั้งแต่ 100 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 500 ล้านบาท ให้ชําระค่าธรรมเนียม 500,000 บาท - 2 - (4) หลักทรัพย์ที่เสนอซื้อมีมูลค่าตั้งแต่ 500 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 1,000 ล้านบาท ให้ชําระค่าธรรมเนียม 1,000,000 บาท (5) หลักทรัพย์ที่เสนอซื้อมีมูลค่าตั้งแต่ 1,000 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 5,000 ล้านบาท ให้ชําระค่าธรรมเนียม 1,500,000 บาท (6) หลักทรัพย์ที่เสนอซื้อมีมูลค่าตั้งแต่ 5,000 ล้านบาทขึ้นไป ให้ชําระค่าธรรมเนียม 2,000,000 บาท ในการคํานวณมูลค่าของหลักทรัพย์ที่เสนอซื้อ ให้ใช้ราคาเสนอซื้อหลักทรัพย์ คูณด้วยจํานวนหลักทรัพย์สูงสุดที่กําหนดไว้ในคําเสนอซื้อ ในกรณีที่ผู้ทําคําเสนอซื้อแก้ไขราคาเสนอซื้อหรือจํานวนหลักทรัพย์ที่เสนอซื้อจนเป็นผลให้ค่าธรรมเนียมที่ผู้ทําคําเสนอซื้อต้องชําระมีอัตราที่สูงขึ้นจากอัตราเดิมที่ได้ชําระไว้ ให้ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่เพิ่มในวันที่สํานักงานได้รับแบบแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อมูลในคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ ข้อ 11 ค่าธรรมเนียมคําขอผ่อนผันที่ยื่นตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ให้เป็นไปตามอัตราดังนี้ (1) คําขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมด ของกิจการโดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ (whitewash) (ก) กรณีหลักทรัพย์ที่ขอผ่อนผันมีมูลค่าน้อยกว่า 500 ล้านบาท ให้ชําระค่าธรรมเนียม 75,000 บาท (ข) กรณีหลักทรัพย์ที่ขอผ่อนผันมีมูลค่าตั้งแต่ 500 ล้านบาท ให้ชําระค่าธรรมเนียม 150,000 บาท (2) คําขอผ่อนผันที่อยู่ในอํานาจพิจารณาของ คณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ (ก) กรณีขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์หรือ ราคาเสนอซื้อ ให้ชําระค่าธรรมเนียม 200,000 บาท (ข) กรณีอื่นนอกจาก (ก) ให้ชําระค่าธรรมเนียม 50,000 บาท - 3 - 1. คําขอผ่อนผันที่อยู่ในอํานาจพิจารณาของสํานักงาน (ก) กรณีขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ ให้ชําระค่าธรรมเนียม 50,000 บาท (ข) กรณีอื่นนอกจาก (ก) ให้ชําระค่าธรรมเนียม 20,000 บาท ข้อ 2 ประกาศนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
771
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สบ. 24/2551 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 16)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 24/2551 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 16) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 5 การชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ให้เป็นดังนี้ (1) ค่าธรรมเนียมครั้งแรก ให้ชําระเมื่อยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อสํานักงาน (2) ค่าธรรมเนียมครั้งต่อไปสําหรับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ซึ่งมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีต่อสํานักงานตามมาตรา 56 ไม่ว่าการมีหน้าที่นั้นจะสืบเนื่องจากการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ หรือจากการร่วมกับผู้ถือหลักทรัพย์ของบริษัทยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์เดิม ทั้งนี้ ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ชําระภายในวันที่ 30 เมษายน ของทุกปี โดยให้เริ่มในปีถัดจากปีที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์มีผลใช้บังคับ ไปจนกว่าหน้าที่ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามมาตรา 56 จะสิ้นสุดลง” ข้อ 2 ประกาศนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
772
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สบ. 36/2551 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 17)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 36/2551 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 17) ------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 13 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 40/2549 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2549 และใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 13 ค่าธรรมเนียมคําขอที่ยื่นตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ให้เป็นไปตามอัตราดังนี้ 1. คําขอความเห็นชอบ คําขอละ 2,000 บาท 2. คําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบ คําขอละ 1,000 บาท 3. คําขอหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบ ฉบับละ 200 บาท” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
773
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สบ. 3/2552 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 18)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 3/2552 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 18) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและ เสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และ มาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 25/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 29/2550 เรื่อง การกําหนด ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 25/1 คําขอรับความเห็นชอบดังต่อไปนี้ คําขอละ 15,000 บาท โดยชําระค่าธรรมเนียมครั้งแรกในวันยื่นคําขอต่อสํานักงานเป็นจํานวนเงิน 5,000 บาท และชําระส่วนที่เหลือ เป็นจํานวนเงิน 10,000 บาท ภายในสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาในเบื้องต้นว่า ผู้ขอรับความเห็นชอบมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม (1) คําขอรับความเห็นชอบเป็นบุคคลที่มีรายชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุน (2) คําขอรับความเห็นชอบเป็นบุคคลที่มีรายชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ คําขอรักษาสถานภาพการมีรายชื่อในทะเบียนตามวรรคหนึ่ง คําขอละ 10,000 บาท” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2552 ----------------------------------- (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ ========== สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ---------------------------------------------------
774
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สบ. 6/2552 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 19)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 6/2552 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 19) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 48/2549 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ข้อ 2 ให้ยกเลิก (2) และ (3) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่น แบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (6) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่น แบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 22/2550 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(6) บริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หากบริษัทดังกล่าวออกหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามข้อ 5(1) (ก) หุ้นกู้ระยะสั้น ที่มิใช่หุ้นกู้อนุพันธ์หรือหุ้นกู้ตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ หรือ (ข) ตั๋วเงินระยะสั้น” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 24/2551 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 ข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 23/2550 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550 และข้อ 6/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 22/2550 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 5 การชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล ให้เป็นดังนี้ (1) ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ให้ชําระเมื่อยื่นแบบดังกล่าวต่อสํานักงาน ทั้งนี้ ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 8 (2) ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี ให้ชําระเป็นรายปี ทั้งนี้ ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 9 ข้อ 6 ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิประเภทต่าง ๆ และใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ ให้คิดในอัตราดังนี้ (1) กรณีเสนอขายหุ้น ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.08 ของมูลค่าของหุ้นทั้งหมดที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของหุ้นที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายหุ้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม (2) กรณีเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (ก) หากใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นมีอายุไม่เกินหนึ่งปี ให้คิดในอัตรา ร้อยละ 0.08 ของมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายรวมกับมูลค่าของหุ้นทั้งหมดที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขาย (ข) หากใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นมีอายุมากกว่าหนึ่งปี ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.03 ของมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายรวมกับมูลค่าของหุ้นทั้งหมดที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นนั้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม และในการคํานวณมูลค่าของหุ้นที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาที่จะซื้อหุ้นตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นนั้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม (3) กรณีเสนอขายใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้โดยเจ้าของใบแสดงสิทธิดังกล่าว ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.08 ของมูลค่าของใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ทั้งหมดที่เสนอขายรวมกับมูลค่าของหุ้นทั้งหมดที่รองรับใบแสดงสิทธิดังกล่าว ในการคํานวณมูลค่าของใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายใบแสดงสิทธิดังกล่าวเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม และในการคํานวณมูลค่า ของหุ้นที่รองรับใบแสดงสิทธินั้น ให้ใช้ราคาที่จะซื้อหุ้นตามใบแสดงสิทธิดังกล่าวเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม (4) กรณีเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ให้คิดในอัตราดังนี้ (ก) ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นประเภทที่ให้สิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกโดยบริษัทอื่น และจัดให้มีการฝากทรัพย์สินเต็มจํานวน 1. หากมีอายุไม่เกินหนึ่งปี ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.08 ของมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายรวมกับมูลค่าของหุ้นอ้างอิงทั้งหมดที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นที่เสนอขาย 2. หากมีอายุมากกว่าหนึ่งปี ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.03 ของมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายรวมกับมูลค่าของหุ้นอ้างอิงทั้งหมดที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นที่เสนอขาย การคํานวณมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นนั้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม และการคํานวณ มูลค่าของหุ้นอ้างอิง ให้ใช้ราคาใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นนั้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม (ข) ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์อื่นนอกจาก (ก) ให้คิดในอัตราครั้งละ 10,000 บาท (5) กรณีเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.02 ของมูลค่าของหลักทรัพย์ทั้งหมดที่เสนอซื้อ แต่ต้องไม่ต่ํากว่า 100,000 บาท มูลค่าของหลักทรัพย์ที่เสนอซื้อ ให้หมายถึงผลคูณของจํานวนดังต่อไปนี้ (ก) จํานวนหลักทรัพย์ที่เสนอซื้อ (ข) ราคาปิดเฉลี่ยถ่วงน้ําหนักในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยของหลักทรัพย์ที่เสนอซื้อในช่วงห้าวันทําการก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์มีผลใช้บังคับ ทั้งนี้ ในกรณีหลักทรัพย์ที่เสนอซื้อไม่มีราคาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในช่วงเวลาดังกล่าว ให้ใช้ราคายุติธรรมที่ประเมินโดยที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ (6) กรณีเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ให้ใช้อัตราและวิธีการคํานวณเดียวกับที่กําหนดไว้สําหรับหลักทรัพย์อ้างอิงของใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงดังกล่าว ในกรณีที่อัตราค่าธรรมเนียมที่คํานวณได้ตามวรรคหนึ่งมีจํานวนน้อยกว่า 30,000 บาท ให้คิดค่าธรรมเนียมขั้นต่ําในอัตรา 30,000 บาท เว้นแต่มีการกําหนดค่าธรรมเนียมขั้นต่ําไว้เป็นการเฉพาะอยู่แล้ว ข้อ 6/1 ค่าธรรมเนียมในการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้ ตั๋วเงิน หรือพันธบัตร ให้คิดในอัตราดังนี้ (1) กรณีการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้น ตั๋วเงินระยะสั้น หรือพันธบัตรที่มีกําหนดเวลาไถ่ถอนไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวัน ให้คิดในอัตราดังนี้ (ก) กรณีเป็นการเสนอขายเฉพาะหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นในลักษณะ ที่จํากัดมูลค่าการเสนอขายโดยไม่เกินระยะเวลาและมูลค่าตามที่สํานักงานประกาศกําหนดตามมาตรา 66 ให้คิดในอัตรา 100,000 บาท สําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวตามมูลค่าที่ได้รับอนุญาตนั้น (ข) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้น ตั๋วเงินระยะสั้น หรือพันธบัตรที่มีกําหนดเวลาไถ่ถอนไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวัน ในกรณีทั่วไป ให้คิดในอัตราใดอัตราหนึ่งดังนี้ 1. รุ่นละ 10,000 บาท หรือ 2. ในกรณีเป็นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่เป็นแบบ 69-Base และใช้แบบ 69-Base เป็นฐานสําหรับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ครั้งต่อ ๆ ไปในลักษณะเป็นโครงการ ให้คิดในอัตรา 100,000 บาท สําหรับการยื่นแบบ แสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ในแต่ละครั้ง (ค) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้น ตั๋วเงินระยะสั้น หรือพันธบัตรต่างประเทศที่มีกําหนดเวลาไถ่ถอนไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวันต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้คิดในอัตรา 50,000 บาท สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ในแต่ละครั้ง เว้นแต่เป็น การเสนอขายตั๋วเงินระยะสั้นที่ออกและเสนอขายโดยสถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ให้อยู่ภายใต้บังคับ (2)(ค) (ง) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นที่เสนอขายตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ให้คิดในอัตราดังนี้ 1. กรณีเป็นการเสนอขายในกรณีทั่วไป ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.01 ของมูลค่าของหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละรุ่น แต่สูงสุดรุ่นละไม่เกิน 500,000 บาท ทั้งนี้ ในกรณีที่อัตราค่าธรรมเนียมที่คํานวณได้มีจํานวนน้อยกว่า 30,000 บาท ให้คิดค่าธรรมเนียมขั้นต่ําในอัตรา 30,000 บาท 2. กรณีเป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้คิดในอัตรารุ่นละ 50,000 บาท (2) กรณีเสนอขายหุ้นกู้ ตั๋วเงิน หรือพันธบัตร ในกรณีอื่นใดนอกจากกรณีตาม (1) ให้คิดในอัตราดังนี้ (ก) หุ้นกู้หรือพันธบัตรที่เสนอขายในกรณีทั่วไป ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.01 ของมูลค่าของหุ้นกู้หรือพันธบัตรที่เสนอขายในแต่ละรุ่น แต่สูงสุดรุ่นละไม่เกิน 500,000 บาท ทั้งนี้ ในกรณีที่อัตราค่าธรรมเนียมที่คํานวณได้มีจํานวนน้อยกว่า 30,000 บาท ให้คิดค่าธรรมเนียมขั้นต่ําในอัตรา 30,000 บาท ในการคํานวณมูลค่าของหุ้นกู้หรือพันธบัตรที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขาย หุ้นกู้หรือราคาเสนอขายพันธบัตรเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม (ข) หุ้นกู้ที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้คิดในอัตรารุ่นละ 50,000 บาท (ค) ตั๋วเงินที่สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ออกและเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้คิดอัตรา 50,000 บาท สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ในแต่ละครั้ง (ง) พันธบัตรต่างประเทศที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้คิดในอัตรารุ่นละ 50,000 บาท” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 39/2550 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 8 การชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 6 และข้อ 6/1 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (1) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมทั้งจํานวนในวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ก) กรณีเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ตามข้อ 6(4)(ข) (ข) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้น ตั๋วเงินระยะสั้น หรือพันธบัตรที่มีกําหนดเวลาไถ่ถอนไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวันตามข้อ 6/1 (1)(ก) (ข) (ค) และ (ง) 2. (ค) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ ตั๋วเงิน หรือพันธบัตรตามข้อ 6/1 (2)(ข) (ค) และ (ง) (2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ในกรณีอื่นนอกจากกรณีตาม (1) ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมดังนี้ (ก) ให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ํา 30,000 บาท ในวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์สําหรับหลักทรัพย์ประเภทเดียวกันซึ่งมีหลายรุ่น ให้การชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําคิดรวมทุกรุ่นจํานวน 30,000 บาท (ข) ถ้ายังมีส่วนที่เหลือต้องชําระอีก ให้ชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่เหลือในวันที่สํานักงานได้รับรายละเอียดของข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วนถูกต้องเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรร และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายหลักทรัพย์ได้ลงลายมือชื่อไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ แล้วแต่กรณี (3) ในกรณีที่มีการเสนอขายหลักทรัพย์หลายรุ่นในช่วงเวลาเดียวกัน ให้คิดค่าธรรมเนียมตามแต่ละรุ่นแยกกัน ไม่ว่าจะมีการจํากัดจํานวนเสนอขายสูงสุดของทุกรุ่นรวมกันไว้ก็ตาม ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ พร้อมกับการยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่และสํานักงานไม่อนุญาตให้เสนอขาย หลักทรัพย์ที่ออกใหม่ หรือมีการขอถอนการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ หรือมีการขอถอนการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์จะมีผลใช้บังคับ ผู้เสนอขายหลักทรัพย์นั้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่เหลืออีก” ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 9 ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี ให้คิดในอัตราดังนี้ (1) ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ชําระค่าธรรมเนียมตามส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินประจํางวดการบัญชีล่าสุดที่ยื่นต่อสํานักงาน ในอัตราดังนี้ (ก) บริษัทที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นไม่ถึง 500 ล้านบาท ให้ชําระค่าธรรมเนียม 50,000 บาท (ข) บริษัทที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 500 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 1,000 ล้านบาท ให้ชําระค่าธรรมเนียม 100,000 บาท (ค) บริษัทที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ให้ชําระค่าธรรมเนียม 300,000 บาท (2) ในกรณีบริษัทอื่นนอกจาก (1) ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมในอัตรา 10,000 บาท ทั้งนี้ สํานักงานอาจเปลี่ยนแปลงอัตราที่กําหนดไว้นี้ได้ แต่จะไม่เป็นผลให้อัตราค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 15 ทุกรอบระยะเวลาสามปี” ข้อ 7 ประกาศนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ **\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_** หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อยกเลิกและปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมในการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ในการยกเว้นและการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามแต่ละประเภท ซึ่งเป็นการลดภาระให้แก่ผู้ออกหลักทรัพย์ อันจะช่วยให้ภาคเอกชนสามารถออกหลักทรัพย์เพื่อระดมทุนได้สะดวกยิ่งขึ้น จึงจําเป็น ต้องออกประกาศนี้
775
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สบ. 51/2552 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 20)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 51/2552 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 20) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 25/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 3/2552 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 18) ลงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 25/1 คําขอรับความเห็นชอบดังต่อไปนี้ คําขอละ 15,000 บาท โดยชําระค่าธรรมเนียมครั้งแรกในวันยื่นคําขอต่อสํานักงานเป็นจํานวนเงิน 5,000 บาท และชําระส่วนที่เหลือเป็นจํานวนเงิน 10,000 บาท ภายในสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาในเบื้องต้นว่าผู้ขอรับความเห็นชอบมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม (1) คําขอรับความเห็นชอบเป็นบุคคลที่มีรายชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุน (2) คําขอรับความเห็นชอบเป็นบุคคลที่มีรายชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ คําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง คําขอละ 10,000 บาท คําขอหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง คําขอละ 200 บาท” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติเกี่ยวกับผู้จัดการกองทุนจากการรักษาสถานะภาพเป็นการต่ออายุการให้ความเห็นชอบ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
776
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สบ. 12/2553 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 21)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 12 /2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 21 ) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 6/2552 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 19) ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี ให้ชําระภายในวันที่ 30 เมษายน ของทุกปี โดยให้เริ่มสําหรับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีที่มีหน้าที่ยื่นในปีถัดจากปีที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์มีผลใช้บังคับ จนกว่าหน้าที่ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ในการจัดทําและส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามมาตรา 56 จะสิ้นสุดลง” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 6/2552 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 19) ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(4) กรณีเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (ก) หากเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ซึ่งได้มีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ในลักษณะเป็นโครงการ ให้คิดในอัตราดังนี้ 1. ค่าธรรมเนียมสําหรับการยื่นแบบ 69-dw-ข้อมูลหลัก ให้คิดในอัตราครั้งละ 100,000 บาท 2. ค่าธรรมเนียมสําหรับการยื่นแบบ 69-dw-ข้อมูลเฉพาะรุ่น ให้คิดในอัตราครั้งละ 10,000 บาท (ข) หากเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ซึ่งได้มีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ในลักษณะอื่นนอกจาก (ก) ให้คิดในอัตราครั้งละ 50,000 บาท” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (ก) ของ (1) ในข้อ 8 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 6/2552 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 19) ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ก) กรณีเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ตามข้อ 6(4)” ข้อ ๔ การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ภายใต้อายุการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 24/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2543 หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 30/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยังคงชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ก่อนแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมในการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ในการยื่น แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
777
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สบ. 16/2553 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 22)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 16/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 22) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 17 และข้อ 18 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 15/2551 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 17 ในหมวดนี้ (1) “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมปิดและกองทุนรวมเปิด (2) “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (3) “เงินทุนจดทะเบียน” หมายความว่า เงินทุนที่บริษัทจัดการได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนและนํามาจดทะเบียนไว้กับสํานักงาน (4) “เงินทุนโครงการ” หมายความว่า วงเงินที่สํานักงานอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมซึ่งระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม (5) “บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม ข้อ 18 ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ ของธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม ให้เป็นไปตามอัตราดังนี้ (1) คําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมแบบปกติ คําขอละ 100,000 บาท (2) คําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมแบบเป็นการทั่วไป คําขอละ 25,000 บาท (3) คําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ คําขอละ 100,000 บาท (4) คําขอแปรสภาพโครงการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ให้เป็นกองทุนรวม คําขอละ 1,000 บาท (5) การจดทะเบียนกองทุนรวม (ก) กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีอายุไม่เกินหนึ่งปี และมิใช่กองทุนรวมตาม (ค) ทุกจํานวนเงิน 100 ล้านบาทหรือเศษของ 100 ล้านบาท ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 1,000 บาท โดยเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่ต่ํากว่า 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 75,000 บาท เว้นแต่กองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ไม่กําหนดจํานวนขั้นต่ํา (ข) กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีอายุเกินหนึ่งปี และมิใช่กองทุนรวมตาม (ค) ทุกจํานวนเงิน 100 ล้านบาท หรือเศษของ 100 ล้านบาท ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 2,000 บาท โดยเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่ต่ํากว่า 20,000 บาท แต่ไม่เกิน 150,000 บาท เว้นแต่กองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ไม่กําหนดจํานวนขั้นต่ํา (ค) กรณีที่เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ทุกจํานวนเงิน 100 ล้านบาท หรือ เศษของ 100 ล้านบาท ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 10,000 บาท การคํานวณเงินทุนตามวรรคหนึ่ง ให้คํานวณจากจํานวนเงินทุนอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) จํานวนเงินทุนจดทะเบียนในกรณีที่เป็นกองทุนรวมปิด หรือกองทุนรวมเปิดซึ่งระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมว่าจะเสนอขายหน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียว (ข) จํานวนเงินทุนโครงการในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเปิดอื่นใดนอกจาก (ก) (6) คําขอความเห็นชอบเพื่อเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ คําขอละ 100,000 บาท (7) คําขอแก้ไขรายการทางทะเบียนเพื่อเพิ่มจํานวนเงินทุน (ก) กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีอายุไม่เกินหนึ่งปี และมิใช่กองทุนรวมตาม (ค)ทุกจํานวนเงิน 100 ล้านบาทหรือเศษของ 100 ล้านบาท ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 1,000 บาท โดยเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่ต่ํากว่า 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 75,000 บาท เว้นแต่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ไม่กําหนดจํานวนขั้นต่ํา (ข) กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีอายุเกินหนึ่งปี และมิใช่กองทุนรวมตาม (ค)ทุกจํานวนเงิน 100 ล้านบาทหรือเศษของ 100 ล้านบาท ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 2,000 บาท โดยเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่ต่ํากว่า 20,000 บาท แต่ไม่เกิน 150,000 บาท เว้นแต่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ไม่กําหนดจํานวนขั้นต่ํา (ค) กรณีที่เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ทุกจํานวนเงิน 100 ล้านบาท หรือ เศษของ 100 ล้านบาท ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 10,000 บาท การคํานวณเงินทุนตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้ราคาตามมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนคูณกับจํานวนหน่วยลงทุนที่สามารถเสนอขายเพิ่มเติมได้ โดยให้คํานวณแต่ละคําขอจากจํานวนเงินทุนอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) จํานวนเงินทุนจดทะเบียนที่เพิ่มขึ้นในกรณีที่เป็นกองทุนรวมปิด (ข) จํานวนเงินทุนโครงการที่เพิ่มขึ้นในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเปิด (ค) ส่วนต่างระหว่างจํานวนเงินทุนโครงการและจํานวนเงินทุนจดทะเบียน ในกรณีที่เป็นการเปลี่ยนจากกองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิดหรือเปลี่ยนจากกองทุนรวมเปิดที่เสนอขายหน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียวเป็นกองทุนรวมเปิดที่เสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมได้ (8) คําขอรับใบแทนหลักฐานการรับจดทะเบียนหรือหลักฐานการเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียน ฉบับละ 500 บาท (9) คําขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวม ไม่ว่าในช่วงเวลาก่อนหรือหลังการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตราเท่ากับผลคูณของจํานวนเงิน 5,000 บาท กับจํานวนรายการที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ รายการที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้พิจารณาตามรายการที่ปรากฏในระบบพิจารณาคําขอจัดตั้งกองทุนรวม เว้นแต่ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่มิได้ยื่นคําขอจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมผ่านระบบดังกล่าว ให้พิจารณาตามรายการที่ปรากฏในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยรายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ การชําระค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งไม่ใช้กับกรณีดังต่อไปนี้ (ก) คําขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมของกองทุนรวมที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคําขออนุมัติจัดตั้งของสํานักงาน (ข) คําขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมที่มีลักษณะเป็นการให้ประโยชน์ต่อผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม หรือเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนและสํานักงานกําหนด ซึ่งคําขอดังกล่าวได้รับการรับรองจากผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมแล้ว (10) คําขอผ่อนผันมิให้การอนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมสิ้นสุดลงตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ในกรณีที่บริษัทจัดการ กองทุนรวมยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมแบบเป็นการทั่วไปไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ที่ประกาศกําหนด คําขอละ 100,000 บาท (11) คําขอตรวจเอกสารของแต่ละกองทุนรวม คําขอละ 50 บาท” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ (1) เพื่อปรับปรุงค่าธรรมเนียมการยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมเป็นไปอย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น (2) เพื่อกําหนดค่าธรรมเนียมคําขออนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมแบบเป็นการทั่วไป แทนค่าธรรมเนียมคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมแบบเป็นกลุ่มคําขอซึ่งถูกยกเลิกไป และ (3) เพื่อกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวม จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
778
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สบ. 27/2553 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 23)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 27/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 23) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (ก) ของ (6) ในข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 6/2552 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 19) ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ก) หุ้นกู้ระยะสั้น ที่ไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้ 1. หุ้นกู้อนุพันธ์ 2. หุ้นกู้ตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ หรือ 3. หุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน 2. ของ (ข) ใน (1) ของข้อ 6/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 6/2552 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 19) ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “2. ในกรณีเป็นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ในลักษณะเป็นโครงการ ให้คิดในอัตราปีละ 100,000 บาท สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ที่ได้กระทําภายในหนึ่งปีปฏิทินที่ได้มีการชําระค่าธรรมเนียมเป็นรายปีดังกล่าว โดยไม่จํากัดจํานวนรุ่นของหลักทรัพย์ที่เสนอขาย แต่สูงสุดโครงการละไม่เกิน 200,000 บาท” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (ค) ของ (1) ในข้อ 6/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 6/2552 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 19) ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ค) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้น ตั๋วเงินระยะสั้น หรือพันธบัตรต่างประเทศ ที่มีกําหนดเวลาไถ่ถอนไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวันต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้คิดในอัตราดังนี้ เว้นแต่เป็นการเสนอขายตั๋วเงินระยะสั้นที่ออกและเสนอขายโดยสถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ให้อยู่ภายใต้บังคับ (2) (ค) 1. กรณีเป็นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นสกุลเงินตรา ต่างประเทศในประเทศไทย ให้คิดในอัตราปีละ 50,000 บาท สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการ เสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นสกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ที่ได้กระทําภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้ มีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าว 2. กรณีอื่นนอกจาก 1. ให้คิดในอัตรา 50,000 บาท สําหรับการยื่นแบบแสดง รายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ในแต่ละครั้ง” ข้อ ๔ มิให้นําความในข้อ 6/1(1) (ข) และ (ค) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 6/2552 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 19) ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552 มาใช้บังคับกับการชําระค่าธรรมเนียมสําหรับการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นในกรณีทั่วไป หรือการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 40/2549 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการ ข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2552 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 แต่ให้ผู้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวชําระค่าธรรมเนียมในอัตราดังนี้ (1) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้น หรือตั๋วเงินระยะสั้น ในกรณีทั่วไป ให้คิดในอัตราใดอัตราหนึ่งดังนี้ (ก) รุ่นละ 10,000 บาท หรือ (ข) ปีละ 100,000 บาท สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ที่ได้กระทําภายในหนึ่งปีปฏิทินที่ได้มีการชําระค่าธรรมเนียมเป็นรายปีดังกล่าว โดยไม่จํากัดจํานวนรุ่นของหลักทรัพย์ที่เสนอขาย (2) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้น หรือตั๋วเงินระยะสั้น ต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้คิดในอัตราใดอัตราหนึ่งดังนี้ (ก) รุ่นละ 10,000 บาท หรือ (ข) ปีละ 50,000 บาท สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ที่ได้กระทําภายในหนึ่งปีปฏิทินที่ได้มีการชําระค่าธรรมเนียมเป็นรายปีดังกล่าว โดยไม่จํากัดจํานวนรุ่นของหลักทรัพย์ที่เสนอขาย เว้นแต่เป็นการเสนอขายตั๋วเงินระยะสั้นที่ออกและเสนอขายโดยสถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ให้อยู่ภายใต้บังคับข้อ 6/1(2) (ค) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 6/2552 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 19) ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552 ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมในการยื่นแบบแสดง รายการข้อมูลสําหรับการเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย นอกจากนี้ ได้ปรับปรุง อัตราค่าธรรมเนียมที่เป็นการลดภาระต่อผู้เสนอขายตราสารหนี้ระยะสั้นในลักษณะเป็นโครงการ ตลอดจนผู้เสนอขายตราสารหนี้ระยะสั้นที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 40/2549 เรื่อง การยื่นและ การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ไว้ก่อนวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2552 ทั้งนี้ ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับ ตลาดทุน ที่ ทจ. 10/2552 เรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
779
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สบ. 40/2553 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 24)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 40/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 24) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 25 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 25 คําขอความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี คําขอละ 50,000 บาท โดยให้ชําระทั้งจํานวนภายในวันที่ยื่นคําขอ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมการยื่นคําขอ ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี และเปลี่ยนวิธีการชําระเงินโดยให้ชําระทั้งจํานวนในวันที่ยื่น คําขอดังกล่าว จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
780
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สบ. 2/2554 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 25)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 2 /2554 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 25) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 18 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 16/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 22) ลงวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) คําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมแบบเป็นการทั่วไป คําขอละ 25,000 บาท โดยให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมเฉพาะกรณีที่เป็นการยื่นคําขอเพื่อทดแทนคําขอเดิมที่ได้รับอนุมัติ ให้จัดตั้งกองทุนรวมแบบเป็นการทั่วไปไว้แล้ว และยังมิได้เสนอขายหน่วยลงทุนภายใต้ กองทุนรวมนั้น ทั้งนี้ เฉพาะเพื่อให้รายละเอียดของเอกสารประกอบคําขอเป็นไปตามกฎหมายหรือหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงานประกาศกําหนดภายหลังจากการได้รับอนุมัติเดิม” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (9) ของข้อ 18 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบ แสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 16/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 22) ลงวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(9) คําขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวม ไม่ว่าในช่วงเวลาก่อนหรือหลังการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตราที่เท่ากับผลคูณของ จํานวนเงิน 5,000 บาท กับจํานวนรายการที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยการพิจารณารายการที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) กองทุนรวมที่ยื่นคําขอจัดตั้งผ่านระบบพิจารณาคําขอจัดตั้งกองทุนรวม ให้พิจารณาตามรายการที่ปรากฏในระบบดังกล่าว (ข) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่มิได้ยื่นคําขอจัดตั้งผ่านระบบพิจารณา คําขอจัดตั้งกองทุนรวม ให้พิจารณาตามรายการที่ปรากฏในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยรายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ การขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง หากเรื่อง ที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นเป็นผลให้ต้องแก้ไขเพิ่มเติมหลายรายการ เช่น การเปลี่ยนชื่อกองทุนรวม หรือการเปลี่ยนชื่อบริษัทจัดการ เป็นต้น ให้คิดค่าธรรมเนียมเสมือนเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม เพียงรายการเดียว การชําระค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งไม่ใช้กับกรณีดังต่อไปนี้ (ก) คําขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมที่อยู่ระหว่างการพิจารณา คําขอจัดตั้งกองทุนรวมของสํานักงาน (ข) คําขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมเพื่อให้เป็นไปตาม กฎหมายหรือหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงาน ประกาศกําหนด โดยคําขอดังกล่าวเข้าลักษณะดังต่อไปนี้ 1. เป็นคําขอที่ยื่นต่อสํานักงานก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก หรือ 2. เป็นคําขอที่ยื่นต่อสํานักงานภายหลังการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม ซึ่งได้รับการรับรองจากผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมแล้ว (ค) คําขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมที่มีลักษณะเป็นการให้ประโยชน์ต่อผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ซึ่งได้รับการรับรองจากผู้ดูแลผลประโยชน์ของ กองทุนรวมแล้ว” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ กําหนดค่าธรรมเนียมการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมกรณีที่เป็นผลให้ต้องแก้ไขหลายรายการ และยกเว้นค่าธรรมเนียมสําหรับการ ยื่นคําขอจัดตั้งกองทุนรวมแบบทั่วไปเฉพาะกรณีที่เคยได้รับอนุมัติแล้ว แต่ต้องยื่นมาใหม่เพื่อให้ เป็นไปตามกฎหมายหรือหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงานกําหนด
781
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สบ. 7/2554 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 26 )
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 7 /2554 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 26 ) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 8/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 “ข้อ 8/1 ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทศุกูก ให้คิดในอัตราดังนี้ (1) การยื่นแบบ 69-SK ให้คิดในอัตราครั้งละ 50,000 บาท (2) การยื่นแบบ 69-SUKUK ให้คิดในอัตราใดอัตราหนึ่งดังนี้ (ก) กรณีเป็นศุกูกระยะสั้นที่มีกําหนดเวลาไถ่ถอนไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวัน ให้คิดในอัตรารุ่นละ 10,000 บาท (ข) กรณีเป็นศุกูกระยะสั้นที่ออกใหม่แบบเป็นโครงการ ให้คิดในอัตรา 100,000 บาทต่อโครงการ หรือ (ค) กรณีอื่นใดนอกจากกรณีตาม (ก) หรือ (ข) ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.01 ของมูลค่าของศุกูกทั้งหมดที่เสนอขาย แต่สูงสุดรุ่นละไม่เกิน 500,000 บาท ทั้งนี้ ในกรณีที่อัตราค่าธรรมเนียมที่คํานวณได้มีจํานวนน้อยกว่า 30,000 บาท ให้คิดค่าธรรมเนียมขั้นต่ําในอัตรา 30,000 บาท ในการคํานวณมูลค่าของศุกูกที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายศุกูกเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม ให้นําความในข้อ 7 และข้อ 8(1) มาใช้บังคับกับการคํานวณและการชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทศุกูกโดยอนุโลม” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการยื่นแบบ แสดงรายการข้อมูลสําหรับการเสนอขายศุกูก จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
782
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สบ. 13/2554 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 27)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 13 /2554 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 27) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 26/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 “ข้อ 26/1 คําขอคัดข้อมูลโดยบันทึกลงในแผ่นซีดี แผ่นละ 50 บาท” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการขอคัดข้อมูล โดยการบันทึกลงในแผ่นซีดี ซึ่งเป็นช่องทางที่สํานักงานให้บริการเพิ่มเติมขึ้นเพื่ออํานวยความสะดวก และลดค่าใช้จ่ายในกรณีมีผู้ประสงค์จะขอคัดข้อมูลจํานวนมาก จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
783
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สบ. 16/2554 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 28)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 16 /2554 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 28) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (2/1) ของข้อ 17 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 16/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 22) ลงวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 “(2/1) “กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (5) (6) และ (7) ของข้อ 18 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 16/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 22) ลงวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(5) การจดทะเบียนกองทุนรวม (ก) กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีอายุไม่เกินหนึ่งปี และมิใช่กองทุนรวมตาม (ค) ทุกจํานวนเงิน 100 ล้านบาทหรือเศษของ 100 ล้านบาท ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 1,000 บาท โดยเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่ต่ํากว่า 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 75,000 บาท เว้นแต่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ไม่กําหนดจํานวนขั้นต่ํา (ข) กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีอายุเกินหนึ่งปี และมิใช่กองทุนรวมตาม (ค) ทุกจํานวนเงิน 100 ล้านบาท หรือเศษของ 100 ล้านบาท ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 2,000 บาท โดยเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่ต่ํากว่า 20,000 บาท แต่ไม่เกิน 150,000 บาท เว้นแต่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ไม่กําหนดจํานวนขั้นต่ํา (ค) กรณีที่เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานทุกจํานวนเงิน 100 ล้านบาท หรือเศษของ 100 ล้านบาท ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 10,000 บาท การคํานวณเงินทุนของกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง ให้คํานวณจากจํานวนเงินทุนอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) จํานวนเงินทุนจดทะเบียนในกรณีที่เป็นกองทุนรวมซึ่งระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมว่าจะเสนอขายหน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียว กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ข) จํานวนเงินทุนโครงการในกรณีที่เป็นกองทุนรวมอื่นใดนอกจาก (ก)” (6) คําขอความเห็นชอบเพื่อเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน คําขอละ 100,000 บาท (7) คําขอแก้ไขรายการทางทะเบียนเพื่อเพิ่มจํานวนเงินทุน (ก) กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีอายุไม่เกินหนึ่งปี และมิใช่กองทุนรวมตาม (ค) ทุกจํานวนเงิน 100 ล้านบาท หรือเศษของ 100 ล้านบาท ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 1,000 บาท โดยเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่ต่ํากว่า 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 75,000 บาท เว้นแต่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ไม่กําหนดจํานวนขั้นต่ํา (ข) กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีอายุเกินหนึ่งปี และมิใช่กองทุนรวมตาม (ค) ทุกจํานวนเงิน 100 ล้านบาท หรือเศษของ 100 ล้านบาท ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 2,000 บาท โดยเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่ต่ํากว่า 20,000 บาท แต่ไม่เกิน 150,000 บาท เว้นแต่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ไม่กําหนดจํานวนขั้นต่ํา (ค) กรณีที่เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ทุกจํานวนเงิน 100 ล้านบาท หรือเศษของ 100 ล้านบาท ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 10,000 บาท การคํานวณเงินทุนตามวรรคหนึ่ง (ก) หรือ (ข) ให้ใช้ราคาตามมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนคูณกับจํานวนหน่วยลงทุนที่สามารถเสนอขายเพิ่มเติมได้ โดยให้คํานวณแต่ละคําขอจากจํานวนเงินทุนอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) จํานวนเงินทุนโครงการที่เพิ่มขึ้นในกรณีที่เป็นกองทุนรวมไม่ได้ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมว่าจะเสนอขายหน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียว (ข) ส่วนต่างระหว่างจํานวนเงินทุนโครงการและจํานวนเงินทุนจดทะเบียน ในกรณีที่เป็นการเปลี่ยนจากกองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิดหรือเปลี่ยนจากกองทุนรวมเปิดที่เสนอขายหน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียวเป็นกองทุนรวมเปิดที่เสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมได้ การคํานวณเงินทุนตามวรรคหนึ่ง (ค) ให้ใช้ราคาที่เสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมคูณกับจํานวนหน่วยลงทุนที่สามารถเสนอขายเพิ่มเติมได้ โดยให้คํานวณจากจํานวนเงินทุนจดทะเบียนที่เพิ่มขึ้น” ข้อ ๓ ประกาศ ณ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความใน (5) (6) และ (7) ของข้อ 18 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 16/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 22) ลงวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(5) การจดทะเบียนกองทุนรวม (ก) กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีอายุไม่เกินหนึ่งปี และมิใช่กองทุนรวมตาม (ค) ทุกจํานวนเงิน 100 ล้านบาทหรือเศษของ 100 ล้านบาท ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 1,000 บาท โดยเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่ต่ํากว่า 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 75,000 บาท เว้นแต่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ไม่กําหนดจํานวนขั้นต่ํา (ข) กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีอายุเกินหนึ่งปี และมิใช่กองทุนรวมตาม (ค) ทุกจํานวนเงิน 100 ล้านบาท หรือเศษของ 100 ล้านบาท ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 2,000 บาท โดยเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่ต่ํากว่า 20,000 บาท แต่ไม่เกิน 150,000 บาท เว้นแต่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ไม่กําหนดจํานวนขั้นต่ํา (ค) กรณีที่เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานทุกจํานวนเงิน 100 ล้านบาท หรือเศษของ 100 ล้านบาท ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 10,000 บาท การคํานวณเงินทุนของกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง ให้คํานวณจากจํานวนเงินทุนอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) จํานวนเงินทุนจดทะเบียนในกรณีที่เป็นกองทุนรวมซึ่งระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมว่าจะเสนอขายหน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียว กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ข) จํานวนเงินทุนโครงการในกรณีที่เป็นกองทุนรวมอื่นใดนอกจาก (ก)” (6) คําขอความเห็นชอบเพื่อเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน คําขอละ 100,000 บาท (7) คําขอแก้ไขรายการทางทะเบียนเพื่อเพิ่มจํานวนเงินทุน (ก) กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีอายุไม่เกินหนึ่งปี และมิใช่กองทุนรวมตาม (ค) ทุกจํานวนเงิน 100 ล้านบาท หรือเศษของ 100 ล้านบาท ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 1,000 บาท โดยเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่ต่ํากว่า 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 75,000 บาท เว้นแต่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ไม่กําหนดจํานวนขั้นต่ํา (ข) กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีอายุเกินหนึ่งปี และมิใช่กองทุนรวมตาม (ค) ทุกจํานวนเงิน 100 ล้านบาท หรือเศษของ 100 ล้านบาท ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 2,000 บาท โดยเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่ต่ํากว่า 20,000 บาท แต่ไม่เกิน 150,000 บาท เว้นแต่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ไม่กําหนดจํานวนขั้นต่ํา (ค) กรณีที่เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ทุกจํานวนเงิน 100 ล้านบาท หรือเศษของ 100 ล้านบาท ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 10,000 บาท การคํานวณเงินทุนตามวรรคหนึ่ง (ก) หรือ (ข) ให้ใช้ราคาตามมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนคูณกับจํานวนหน่วยลงทุนที่สามารถเสนอขายเพิ่มเติมได้ โดยให้คํานวณแต่ละคําขอจากจํานวนเงินทุนอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) จํานวนเงินทุนโครงการที่เพิ่มขึ้นในกรณีที่เป็นกองทุนรวมไม่ได้ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมว่าจะเสนอขายหน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียว (ข) ส่วนต่างระหว่างจํานวนเงินทุนโครงการและจํานวนเงินทุนจดทะเบียน ในกรณีที่เป็นการเปลี่ยนจากกองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิดหรือเปลี่ยนจากกองทุนรวมเปิดที่เสนอขายหน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียวเป็นกองทุนรวมเปิดที่เสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมได้ การคํานวณเงินทุนตามวรรคหนึ่ง (ค) ให้ใช้ราคาที่เสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมคูณกับจํานวนหน่วยลงทุนที่สามารถเสนอขายเพิ่มเติมได้ โดยให้คํานวณจากจํานวนเงินทุนจดทะเบียนที่เพิ่มขึ้น” ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ---------------------------------------- (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ) เลขาธิการ --------- สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ -------------------------------------------------- หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์การคิดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนกองทุนรวม และการแก้ไขรายการทางทะเบียนเพื่อเพิ่มจํานวนเงินทุนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
784
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สบ. 41/2554 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 29)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 41/2554 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 29 ) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 12/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 21) ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี ให้ชําระภายในวันที่ 30 เมษายนของทุกปีตลอดระยะเวลาที่มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าว โดยให้เริ่มชําระตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) กรณีทั่วไป ให้เริ่มชําระสําหรับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีที่มีหน้าที่ยื่นในปีถัดจากปีที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์มีผลใช้บังคับ (ข) กรณีเป็นบริษัทที่ออกหุ้นและยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นก่อนวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 และไม่มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีเนื่องจากการขายหลักทรัพย์อื่น ให้เริ่มชําระสําหรับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีที่มีหน้าที่ยื่นในปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป” ข้อ ๒ ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554 (นาย*วรพล**โสคติยานุรักษ์)* เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๓ ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554 (นาย*วรพล**โสคติยานุรักษ์)* เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ---------------------------------------- (นาย*วรพล**โสคติยานุรักษ์)* เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
785
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สม. 24/2556 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 33 )
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 24/2556 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 33 ) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 12/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 21) ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(4) กรณีการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ให้คิดค่าธรรมเนียมสําหรับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลในอัตราดังนี้ (ก) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ไม่มีทรัพย์สินเป็นประกัน ให้คิดในอัตราดังนี้ 1. ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบ 69-DW-full ให้คิดในอัตรา 20,000 บาท บวกด้วยอัตรา 10,000 บาทคูณจํานวนรุ่นที่ออกภายใต้แบบดังกล่าว 2. ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบ 69-DW-short ให้คิดในอัตรา 10,000 บาทคูณจํานวนรุ่นที่ออกภายใต้แบบดังกล่าว (ข) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์แบบมีทรัพย์สินเป็นประกันเต็มจํานวนหรือมีทรัพย์สินเป็นประกันบางส่วน ให้คิดในอัตราครั้งละ 50,000 บาท” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 8 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สนจ. 13/2555 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 30) ลงวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 8 การชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 6 และข้อ 6/1 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมทั้งจํานวนในวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ก) กรณีเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ตามข้อ 6(4)(ก)2. หรือข้อ 6(4)(ข) (ข) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้น ตั๋วเงินระยะสั้น หรือพันธบัตรที่มีกําหนดเวลาไถ่ถอนไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวันตามข้อ 6/1(1)(ก) (ข) (ค) และ (ง) 2. (ค) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้หรือพันธบัตรตามข้อ 6/1(2)(ข) และ (ง) (2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ตามข้อ 6(4)(ก)1. ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ํา 20,000 บาท ในวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และให้ชําระค่าธรรมเนียมในส่วนที่เหลือในวันที่สํานักงานได้รับข้อมูลครบถ้วน (3) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ในกรณีอื่นนอกจากกรณีตาม (1) หรือ (2)ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมดังนี้ (ก) ให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ํา 30,000 บาท ในวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์สําหรับหลักทรัพย์ประเภทเดียวกันซึ่งมีหลายรุ่น ให้การชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําคิดรวมทุกรุ่นจํานวน 30,000 บาท (ข) ถ้ายังมีส่วนที่เหลือต้องชําระอีก ให้ชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่เหลือในวันที่สํานักงานได้รับรายละเอียดของข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วนถูกต้องเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรร และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายหลักทรัพย์ได้ลงลายมือชื่อไว้ ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ แล้วแต่กรณี (4) ในกรณีที่มีการเสนอขายตราสารหนี้หลายรุ่นในช่วงเวลาเดียวกัน ให้คิดค่าธรรมเนียมตามแต่ละรุ่นแยกกัน ไม่ว่าจะมีการจํากัดจํานวนเสนอขายสูงสุดของทุกรุ่นรวมกันไว้ก็ตาม” ข้อ ๓ ผู้ที่ได้รับอนุญาตเบื้องต้นให้เป็นผู้มีคุณสมบัติที่สามารถเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ได้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 15/2553 เรื่อง การออกและเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553 ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 36/2556 เรื่อง การออกและเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (ฉบับที่ 5 ) ลงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556 หากบุคคลนั้นประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามประกาศก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว ให้บุคคลนั้นมีหน้าที่ชําระค่าธรรมเนียมตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ข้อ ๔ มิให้นําอัตราค่าธรรมเนียมตามข้อ 6(4)(ก)1. แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ มาใช้บังคับกับการยื่นแบบ 69-DW-full ที่ได้ยื่นภายในปี พ.ศ. 2561 ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้ และให้มีหน้าที่ชําระค่าธรรมเนียมสําหรับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลในช่วงเวลานั้นในอัตรา 10,000 บาทคูณจํานวนรุ่นที่ออกภายใต้แบบดังกล่าว (1) ผู้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลเป็นผู้ได้รับอนุญาตเบื้องต้นให้เป็นผู้มีคุณสมบัติที่สามารถเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์และระยะเวลาการอนุญาตยังคงมีผลอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ (2) เป็นการยื่นแบบ 69-DW-full มาพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีซึ่งได้ยื่นอย่างต่อเนื่องทุกปีตามระยะเวลาที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วย หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
786
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สม. 11/2557 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 34 )
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม.11 /2557 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 34 ) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 13 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 36/2551 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 17) ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 13 ค่าธรรมเนียมคําขอที่ยื่นเพื่อขอรับความเห็นชอบเป็นนักวิเคราะห์การลงทุน ผู้แนะนําการลงทุน หรือนักวางแผนการลงทุน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ให้เป็นไปตามอัตราดังนี้ โดยให้ชําระทั้งจํานวนในวันที่ยื่นคําขอ (1) คําขอความเห็นชอบ คําขอละ 2,000 บาท (2) คําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบ คําขอละ 1,000 บาท” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 25/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 51/2552 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 25/1 ค่าธรรมเนียมคําขอที่ยื่นเพื่อขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุน หรือผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ให้เป็นไปตามอัตราดังนี้ โดยให้ชําระทั้งจํานวนในวันที่ยื่นคําขอ (1) คําขอความเห็นชอบ คําขอละ 15,000 บาท (2) คําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบ คําขอละ 10,000 บาท” ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 26/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 “ข้อ 26/2 ค่าธรรมเนียมคําขอหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนเพื่อปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน คําขอละ 200 บาท โดยให้ชําระทั้งจํานวนในวันที่ยื่นคําขอ” ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
787
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สม. 26/2557 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 35)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 26/2557 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 35) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 8/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 30/2555 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 32) ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 8/2 ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ประเภทหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.01 ของมูลค่าหน่วยทรัสต์ทั้งหมดที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของหน่วยทรัสต์ที่เสนอขายตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้ราคาเสนอขายหน่วยทรัสต์เป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการกําหนดราคาเสนอขายในลักษณะดังต่อไปนี้ การคิดค่าธรรมเนียมให้เป็นดังนี้ (1) ในกรณีที่ราคาเสนอขายหน่วยทรัสต์กําหนดเป็นช่วงราคา ให้คํานวณมูลค่าของหน่วยทรัสต์ที่เสนอขายโดยใช้ราคาสูงสุดที่จะเสนอขาย (2) ในกรณีกองทรัสต์ที่มีการแบ่งหน่วยทรัสต์ออกเป็นหลายชนิด และกําหนดราคา เสนอขายหน่วยทรัสต์แต่ละชนิดไม่เท่ากัน ให้คํานวณมูลค่าของหน่วยทรัสต์ที่เสนอขายแต่ละชนิดแยกกัน โดยใช้ราคาของหน่วยทรัสต์แต่ละชนิดที่จะเสนอขายคูณด้วยจํานวนหน่วยทรัสต์ทั้งหมดที่จะเสนอขาย ของหน่วยทรัสต์ชนิดนั้น ทั้งนี้ หากมีการกําหนดราคาเสนอขายหน่วยทรัสต์เป็นช่วงราคา การคํานวณ มูลค่าเสนอขายหน่วยทรัสต์แต่ละชนิด ให้ใช้ราคาสูงสุดของหน่วยทรัสต์แต่ละชนิดที่จะเสนอขาย” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 8/3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 “ข้อ 8/3 การชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 8/2 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (1) ให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ํา 30,000 บาท ในวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (2) ถ้ายังมีส่วนที่เหลือให้ชําระอีก ให้ชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่เหลือในวันที่สํานักงานได้รับรายละเอียดของข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วนเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ การจอง การจัดจําหน่าย การจัดสรร และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายได้ลงลายมือชื่อไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ในกรณีที่ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์พร้อมกับการยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่และสํานักงานไม่อนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ หรือมีการขอถอนการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ หรือมี การขอถอนการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการ ข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์จะมีผลใช้บังคับ ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์นั้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียม ส่วนที่เหลืออีก” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
788
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สม. 11/2558 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 36)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 11/2558 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 36) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 25/3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 “ข้อ 25/3 คําขอความเห็นชอบเป็นผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ คําขอละ 250,000 บาท โดยให้ชําระในวันที่ยื่นคําขอเป็นจํานวนเงิน 50,000 บาท และให้ชําระส่วนที่เหลือเป็นจํานวน 200,000 บาท ภายในวันที่ได้รับความเห็นชอบ คําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบให้เป็นไปตามวรรคหนึ่ง โดยอนุโลม” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
789
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สม. 29/2558 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 37)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 29/2558 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 37) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 8/2 และข้อ 8/3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบ แสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 26/2557 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 35) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 8/2 ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ประเภทหน่วยทรัสต์ของทรัสต์ดังต่อไปนี้ ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.01 ของมูลค่าหน่วยทรัสต์ทั้งหมดที่เสนอขาย (1) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (2) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ในการคํานวณมูลค่าของหน่วยทรัสต์ที่เสนอขายตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้ราคาเสนอขายหน่วยทรัสต์เป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการกําหนดราคาเสนอขายในลักษณะดังต่อไปนี้ การคิดค่าธรรมเนียมให้เป็นดังนี้ (1) ในกรณีที่ราคาเสนอขายหน่วยทรัสต์กําหนดเป็นช่วงราคา ให้คํานวณมูลค่าของหน่วยทรัสต์ที่เสนอขายโดยใช้ราคาสูงสุดที่จะเสนอขาย (2) ในกรณีกองทรัสต์ที่มีการแบ่งหน่วยทรัสต์ออกเป็นหลายชนิด และกําหนดราคา เสนอขายหน่วยทรัสต์แต่ละชนิดไม่เท่ากัน ให้คํานวณมูลค่าของหน่วยทรัสต์ที่เสนอขายแต่ละชนิดแยกกัน โดยใช้ราคาของหน่วยทรัสต์แต่ละชนิดที่จะเสนอขายคูณด้วยจํานวนหน่วยทรัสต์ทั้งหมดที่จะเสนอขาย ของหน่วยทรัสต์ชนิดนั้น ทั้งนี้ หากมีการกําหนดราคาเสนอขายหน่วยทรัสต์เป็นช่วงราคา การคํานวณ มูลค่าเสนอขายหน่วยทรัสต์แต่ละชนิด ให้ใช้ราคาสูงสุดของหน่วยทรัสต์แต่ละชนิดที่จะเสนอขาย ข้อ 8/3 การชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 8/2 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (1) ให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ํา 30,000 บาท ในวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (2) ถ้ายังมีส่วนที่เหลือให้ชําระอีก ให้ชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่เหลือในวันที่สํานักงานได้รับรายละเอียดของข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วนเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ การจอง การจัดจําหน่าย การจัดสรร และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายได้ลงลายมือชื่อไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน แล้วแต่กรณี ในกรณีที่ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์พร้อมกับการยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่และสํานักงานไม่อนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ หรือมีการขอถอนการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ หรือมี การขอถอนการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการ ข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์จะมีผลใช้บังคับ ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์นั้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียม ส่วนที่เหลืออีก” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 24/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 “ข้อ 24/1 คําขอความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีต่างประเทศให้เป็นไปตามอัตราดังนี้ โดยให้ชําระทั้งจํานวนเมื่อยื่นคําขอ (1) กรณีผู้ยื่นคําขอเป็นผู้สอบบัญชีต่างประเทศที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ คําขอละ 50,000 บาท (ก) ผู้สอบบัญชีต่างประเทศที่อยู่ภายใต้หน่วยงานกํากับดูแลที่มีมาตรฐานในการกํากับดูแลผู้สอบบัญชีซึ่งเป็นที่ยอมรับโดย International Forum of Independent Audit Regulators (IFIAR) หรือ European Commission (EC) (ข) ผู้สอบบัญชีต่างประเทศที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานอิสระที่ทําหน้าที่กํากับดูแลผู้สอบบัญชีในประเทศที่ได้รับผลการประเมินมาตรฐานการกํากับดูแล Financial Sector Assessment Program (FSAP) ในหัวข้อเกี่ยวกับผู้สอบบัญชี (auditor) ในระดับไม่ต่ํากว่า broadly implemented (2) กรณีอื่นนอกจาก (1) คําขอละ 200,000 บาท” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 41/2554 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 29) ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 9 ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี ให้คิดในอัตราดังต่อไปนี้ (1) ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ชําระค่าธรรมเนียมตามส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินประจํารอบปีบัญชีล่าสุดที่ยื่นต่อสํานักงาน ในอัตราดังนี้ (ก) บริษัทที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นไม่ถึง 500 ล้านบาท (หรือเทียบเท่า) ให้ชําระค่าธรรมเนียม 50,000 บาท (ข) บริษัทที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 500 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 1,000 ล้านบาท (หรือเทียบเท่า) ให้ชําระค่าธรรมเนียม 100,000 บาท (ค) บริษัทที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป (หรือเทียบเท่า) ให้ชําระค่าธรรมเนียม 300,000 บาท ในกรณีที่งบการเงินประจํารอบปีบัญชีล่าสุดที่ยื่นต่อสํานักงานระบุเป็นเงินตราต่างประเทศ ให้ระบุอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี และแหล่งอ้างอิงของอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวด้วย (2) ให้บริษัทต่างประเทศที่มิได้มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีต่อสํานักงานเนื่องจากการเสนอขายหุ้น ชําระค่าธรรมเนียมในอัตรา 50,000 บาท (3) ในกรณีบริษัทอื่นนอกจาก (1) และ (2) ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมในอัตรา 10,000 บาท” ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 24/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 “ข้อ 24/1 คําขอความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีต่างประเทศให้เป็นไปตามอัตราดังนี้ โดยให้ชําระทั้งจํานวนเมื่อยื่นคําขอ (1) กรณีผู้ยื่นคําขอเป็นผู้สอบบัญชีต่างประเทศที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ คําขอละ 50,000 บาท (ก) ผู้สอบบัญชีต่างประเทศที่อยู่ภายใต้หน่วยงานกํากับดูแลที่มีมาตรฐานในการกํากับดูแลผู้สอบบัญชีซึ่งเป็นที่ยอมรับโดย International Forum of Independent Audit Regulators (IFIAR) หรือ European Commission (EC) (ข) ผู้สอบบัญชีต่างประเทศที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานอิสระที่ทําหน้าที่กํากับดูแลผู้สอบบัญชีในประเทศที่ได้รับผลการประเมินมาตรฐานการกํากับดูแล Financial Sector Assessment Program (FSAP) ในหัวข้อเกี่ยวกับผู้สอบบัญชี (auditor) ในระดับไม่ต่ํากว่า broadly implemented (2) กรณีอื่นนอกจาก (1) คําขอละ 200,000 บาท” ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
790
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สนจ. 13/2555 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 30)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สนจ. 13 /2555 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 30 ) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 6/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 6/2552 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 19) ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ข้อ ๖/๑ ค่าธรรมเนียมในการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้ ตั๋วเงิน หรือพันธบัตร ให้คิดในอัตราดังนี้ (1) กรณีการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้น ตั๋วเงินระยะสั้น หรือพันธบัตรที่มีกําหนดเวลาไถ่ถอนไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวัน ให้คิดในอัตราดังนี้ (ก) กรณีเป็นการเสนอขายเฉพาะหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นในลักษณะที่จํากัดมูลค่าการเสนอขายโดยไม่เกินระยะเวลาและมูลค่าตามที่สํานักงานประกาศกําหนดตามมาตรา 66 ให้คิดในอัตรา 100,000 บาท สําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวตามมูลค่าที่ได้รับอนุญาตนั้น (ข) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้น ตั๋วเงินระยะสั้น หรือพันธบัตรที่มีกําหนดเวลาไถ่ถอนไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวัน ในกรณีทั่วไป ให้คิดในอัตราใดอัตราหนึ่งดังนี้ 1. รุ่นละ 10,000 บาท หรือ 2. ในกรณีเป็นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ในลักษณะเป็นโครงการ ให้คิดในอัตราปีละ 100,000 บาท สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ที่ได้กระทําภายในหนึ่งปีปฏิทินที่ได้มีการชําระค่าธรรมเนียมเป็นรายปีดังกล่าว โดยไม่จํากัดจํานวนรุ่นของหลักทรัพย์ที่เสนอขาย แต่สูงสุดโครงการละไม่เกิน 200,000 บาท (ค) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้น ตั๋วเงินระยะสั้น หรือพันธบัตรต่างประเทศที่มีกําหนดเวลาไถ่ถอนไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวันต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้คิดในอัตราดังนี้ เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ซึ่งออกโดยสถาบันการเงินตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นกู้อนุพันธ์หรือหุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นกู้มีภาระผูกพันซึ่งออกโดยสถาบันการเงิน ให้อยู่ภายใต้บังคับ (2)(ค) 1. กรณีเป็นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นสกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ให้คิดในอัตราปีละ 50,000 บาท สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นสกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ที่ได้กระทําภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้มีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าว 2. กรณีอื่นนอกจาก 1. ให้คิดในอัตรา 50,000 บาท สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ในแต่ละครั้ง (ง) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นที่เสนอขายตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ให้คิดในอัตราดังนี้ 1. กรณีเป็นการเสนอขายในกรณีทั่วไป ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.01 ของมูลค่าของหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละรุ่น แต่สูงสุดรุ่นละไม่เกิน 500,000 บาท ทั้งนี้ ในกรณีที่อัตราค่าธรรมเนียมที่คํานวณได้มีจํานวนน้อยกว่า 30,000 บาท ให้คิดค่าธรรมเนียมขั้นต่ําในอัตรา 30,000 บาท 2. กรณีเป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้คิดในอัตรารุ่นละ 50,000 บาท (2) กรณีเสนอขายหุ้นกู้หรือพันธบัตร ในกรณีอื่นใดนอกจากกรณีตาม (1) ให้คิดในอัตราดังนี้ (ก) หุ้นกู้หรือพันธบัตรที่เสนอขายในกรณีทั่วไป ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.01 ของมูลค่าของหุ้นกู้หรือพันธบัตรที่เสนอขายในแต่ละรุ่น แต่สูงสุดรุ่นละไม่เกิน 500,000 บาท ทั้งนี้ ในกรณีที่อัตราค่าธรรมเนียมที่คํานวณได้มีจํานวนน้อยกว่า 30,000 บาท ให้คิดค่าธรรมเนียมขั้นต่ําในอัตรา 30,000 บาท ในการคํานวณมูลค่าของหุ้นกู้หรือพันธบัตรที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายหุ้นกู้หรือราคาเสนอขายพันธบัตรเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม (ข) หุ้นกู้ที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้คิดในอัตรารุ่นละ 50,000 บาท (ค) หุ้นกู้ซึ่งออกโดยสถาบันการเงินตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นกู้อนุพันธ์หรือหุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นกู้มีภาระผูกพันซึ่งออกโดยสถาบันการเงิน ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.01 ของมูลค่าสูงสุดของหุ้นกู้ที่จะเสนอขายซึ่งระบุในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ แต่สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท ทั้งนี้ ในกรณีที่อัตราค่าธรรมเนียมที่คํานวณได้มีจํานวนน้อยกว่า 30,000 บาท ให้คิดค่าธรรมเนียมขั้นต่ําในอัตรา 30,000 บาท (ง) พันธบัตรต่างประเทศที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้คิดในอัตรารุ่นละ 50,000 บาท” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (ค) ของ (1) ในข้อ 8 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 6/2552 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 19) ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ค) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้หรือพันธบัตรตามข้อ 6/1(2)(ข) และ (ง)” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
791
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สม. 38/2558 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 38)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 38/2558 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 38) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 24/2556 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 33) ลงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 8 การชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 6 และข้อ 6/1 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมทั้งจํานวนในวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ถูกต้องครบถ้วนครั้งแรกตามคู่มือสําหรับประชาชน (ก) กรณีเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ตามข้อ 6(4) (ก) 2. หรือข้อ 6(4) (ข) (ข) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้น ตั๋วเงินระยะสั้น หรือพันธบัตรที่มีกําหนดเวลาไถ่ถอนไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวันตามข้อ 6/1(1) (ก) (ข) (ค) และ (ง) 2. (ค) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้หรือพันธบัตรตามข้อ 6/1(2) (ข) และ (ง) (2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ตามข้อ 6(4) (ก) 1. ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ํา 20,000 บาท ในวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ถูกต้องครบถ้วนครั้งแรกตามคู่มือสําหรับประชาชน และให้ชําระค่าธรรมเนียมในส่วนที่เหลือในวันที่สํานักงานได้รับข้อมูลครบถ้วน (3) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ในกรณีอื่นนอกจากกรณีตาม (1) หรือ (2) ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมดังนี้ (ก) ให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ํา 30,000 บาท ในวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ถูกต้องครบถ้วนครั้งแรกตามคู่มือสําหรับประชาชน ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์สําหรับหลักทรัพย์ประเภทเดียวกันซึ่งมีหลายรุ่น ให้การชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําคิดรวมทุกรุ่นจํานวน 30,000 บาท (ข) ถ้ายังมีส่วนที่เหลือต้องชําระอีก ให้ชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่เหลือในวันที่สํานักงานได้รับรายละเอียดของข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรร และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายหลักทรัพย์ได้ลงลายมือชื่อไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ แล้วแต่กรณี (4) ในกรณีที่มีการเสนอขายตราสารหนี้หลายรุ่นในช่วงเวลาเดียวกัน ให้คิดค่าธรรมเนียมตามแต่ละรุ่นแยกกัน ไม่ว่าจะมีการจํากัดจํานวนเสนอขายสูงสุดของทุกรุ่นรวมกันไว้ก็ตาม ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์พร้อมกับการยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่และสํานักงานไม่อนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ หรือมีการขอถอนการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ หรือมีการขอถอนการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์จะมีผลใช้บังคับ ผู้เสนอขายหลักทรัพย์นั้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่เหลืออีก” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 8/3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 29/2558 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 37) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) ให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ํา 30,000 บาท ในวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ถูกต้องครบถ้วนครั้งแรกตามคู่มือสําหรับประชาชน” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 24 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 38/2550 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 24 คําขอความเห็นชอบตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงิน และขอบเขตการดําเนินงานให้เป็นดังนี้ (1) คําขอความเห็นชอบเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน คําขอละ 250,000 บาท โดยให้ชําระครั้งแรกเมื่อแบบคําขอความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอความเห็นชอบถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน เป็นจํานวนเงิน 50,000 บาท และให้ชําระส่วนที่เหลือเป็นจํานวน 200,000 บาท ภายในวันที่ได้รับความเห็นชอบ (2) คําขอความเห็นชอบเป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน คนละ 10,000 บาท โดยให้ชําระทั้งจํานวนเมื่อแบบคําขอความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอความเห็นชอบถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
792
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สม. 75/2558 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 39)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 75/2558 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 39) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4 ) พ.ศ. 2551 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (ง) ของ (2) ในข้อ 6/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สนจ. 13/2555 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ(ฉบับที่ 30) ลงวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553 “(ง) พันธบัตรที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้คิดในอัตรารุ่นละ50,000 บาท” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
793
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สม. 25/2555 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 31)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 25 /2555 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 31 ) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 23 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 34/2550 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 “ข้อ 23 คําขอความเห็นชอบตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนและผู้ประเมินหลัก ให้เป็นดังนี้ โดยให้ชําระทั้งจํานวนภายในวันที่ยื่นคําขอ (1) คําขอความเห็นชอบเป็นบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุน คําขอละ 50,000 บาท (2) คําขอความเห็นชอบเป็นผู้ประเมินหลัก คนละ 10,000 บาท” ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 23 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 34/2550 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 “ข้อ 23 คําขอความเห็นชอบตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนและผู้ประเมินหลัก ให้เป็นดังนี้ โดยให้ชําระทั้งจํานวนภายในวันที่ยื่นคําขอ (1) คําขอความเห็นชอบเป็นบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุน คําขอละ 50,000 บาท (2) คําขอความเห็นชอบเป็นผู้ประเมินหลัก คนละ 10,000 บาท” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
794
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สม. 30/2555 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 32)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 30/2555 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 32 ) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 8/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ข้อ ๘/๒ ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ประเภทหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.01 ของมูลค่าของหน่วยทรัสต์ทั้งหมดที่เสนอขาย” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 25/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ข้อ ๒๕/๒ คําขอความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน คําขอละ 250,000 บาท คําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง คําขอละ 250,000 บาท” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
795
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สม. 27/2559 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 40)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 27/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 40) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 41/2554 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 29) ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีตามอัตราที่กําหนดในข้อ 9 ให้ชําระภายในวันที่ 30 เมษายนของทุกปีตลอดระยะเวลาที่มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าว เว้นแต่กรณีเป็นบริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนหรือในวันครบกําหนดเวลาในการชําระค่าธรรมเนียมดังกล่าว ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีตามวรรคหนึ่ง ให้เริ่มชําระตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) กรณีทั่วไป ให้เริ่มชําระสําหรับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีที่มีหน้าที่ยื่นในปีถัดจากปีที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์มีผลใช้บังคับ (ข) กรณีเป็นบริษัทที่ออกหุ้นและยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นก่อนวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 และไม่มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีเนื่องจากการขายหลักทรัพย์อื่น ให้เริ่มชําระสําหรับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีที่มีหน้าที่ยื่นในปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
796
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สม. 42/2559 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 41)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 42/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 41) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (2) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งถูกยกเลิก โดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 6/2552 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 19) ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552 “(2) ผู้จัดการกองทรัสต์ที่เสนอขายหน่วยทรัสต์ในการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามข้อ 8/2 วรรคหนึ่ง (1) ในส่วนที่เป็น การเสนอขายหน่วยทรัสต์ต่อกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่แปลงสภาพ ทั้งนี้ เฉพาะแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ยื่นอย่างช้าภายในวันทําการสุดท้ายของเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
797
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สม. 43/2559 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 42)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 43/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 42) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4 ) พ.ศ. 2551 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 42/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 41) ลงวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 4 ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมเมื่อมีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ตามประกาศนี้ เว้นแต่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นบริษัทที่เสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยโดยบริษัทย่อยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 5 (2) เป็นบริษัทที่ออกหุ้นเพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่มีอายุไม่เกินสองเดือนนับแต่วันที่ออกซึ่งระบุไว้ในใบสําคัญแสดงสิทธินั้น และได้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นนั้นให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวตามสัดส่วนการถือหุ้น ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 5(1) (3) เป็นบริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการกํากับดูแลกิจการที่ดีตามส่วนที่ 2 ของหมวด 2 ของภาค 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 39/2559 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559 ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 5(1) (4) เป็นบริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หากบริษัทดังกล่าวออกหลักทรัพย์ดังนี้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 5(1) (ก) หุ้นกู้ระยะสั้น ที่ไม่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ 1. หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงที่ออกตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง 2. หุ้นกู้ตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ 3. หุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศ (ข) ตั๋วเงินระยะสั้น (5) เป็นบริษัทที่ออกหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง เฉพาะกรณีการยื่นแบบ 69-DEBT-SP-2 ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 5(1) (6) เป็นบริษัทที่เสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 5(2) (7) เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ที่เสนอขายหน่วยทรัสต์ในการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามข้อ 8/2 วรรคหนึ่ง (1) ในส่วนที่เป็น การเสนอขายหน่วยทรัสต์ต่อกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่แปลงสภาพ ทั้งนี้ เฉพาะแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ยื่นอย่างช้าภายในวันทําการสุดท้ายของเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (ค) ของ (1) ในข้อ 6/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สนจ. 13/2555 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 30) ลงวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน28 มิถุนายน พ.ศ. 2553 “(ค) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้น ตั๋วเงินระยะสั้น หรือพันธบัตรต่างประเทศที่มีกําหนดเวลาไถ่ถอนไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวันต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้คิดในอัตราดังนี้ เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงซึ่งออกโดยสถาบันการเงินตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง ให้อยู่ภายใต้บังคับ (2) (ค) 1. กรณีเป็นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นสกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ให้คิดในอัตราปีละ 50,000 บาท สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นสกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ที่ได้กระทําภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้มีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าว 2. กรณีอื่นนอกจาก 1. ให้คิดในอัตรา 50,000 บาท สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ในแต่ละครั้ง” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (ค) ของ (2) ในข้อ 6/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สนจ. 13/2555 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 30) ลงวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน28 “(ค) หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงซึ่งออกโดยสถาบันการเงินที่ได้ยื่นแบบ 69-DEBT-SP-1 ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.01 ของมูลค่าสูงสุดของหุ้นกู้ที่จะเสนอขายซึ่งระบุในแบบดังกล่าว แต่สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท ทั้งนี้ ในกรณีที่อัตราค่าธรรมเนียมที่คํานวณได้มีจํานวนน้อยกว่า 30,000 บาท ให้คิดค่าธรรมเนียมขั้นต่ําในอัตรา 30,000 บาท” ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
798
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สม. 46/2559 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 43)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 46/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 43) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 6/2552 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 19) ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) กรณีเสนอขายหุ้น ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.08 ของมูลค่าของหุ้นทั้งหมดที่เสนอขาย ทั้งนี้ ภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) การคํานวณมูลค่าของหุ้นที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาเสนอขายหุ้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม (ข) ในกรณีที่มีการเสนอขายหุ้นต่อผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (Cornerstone investor) ก่อนที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นที่ยื่นต่อสํานักงานมีผลใช้บังคับ ให้นํามูลค่าหุ้นที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (Cornerstone investor) ดังกล่าวรวมเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียมด้วย” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
799