sysid
stringlengths 1
6
| title
stringlengths 8
870
| txt
stringlengths 0
257k
|
---|---|---|
582907 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2551
| ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
(ฉบับที่ ๑๑)
พ.ศ. ๒๕๕๑
โดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๘ และมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
(ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ ๑๕ แห่งระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งแก้ไขโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๙
ตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามมาตรา ๑๓ (๑) (ข) ได้แก่ ผู้พิพากษาศาลฎีกา สามารถสับเปลี่ยนกับตำแหน่งตามมาตรา
๑๓ (๓) (ก) ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น และอธิบดีผู้พิพากษาภาคได้ทุกตำแหน่ง
โดยไม่มีผลกระทบต่อลำดับอาวุโส
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๖ ของระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๖ ตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามมาตรา
๑๓ (๒) (ข) ได้แก่ รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์
และผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า สามารถสับเปลี่ยนกันได้ทุกตำแหน่งรวมทั้งสับเปลี่ยนกับตำแหน่งตามมาตรา
๑๓ (๓) (ก) ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค ส่วนข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า ให้สามารถสับเปลี่ยนกับตำแหน่งรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นได้
ทั้งนี้ โดยไม่มีผลกระทบต่อลำดับอาวุโส
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๐ ของระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๒๐ ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
อธิบดีผู้พิพากษาภาค และรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น มีวาระการดำรงตำแหน่งได้ตำแหน่งละไม่เกินสามปีติดต่อกัน
ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลรับราชการในจังหวัดที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครได้จังหวัดละไม่เกินสี่ปี
สำหรับผู้พิพากษาศาลชั้นต้นให้รับราชการในจังหวัดที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครได้จังหวัดละไม่เกินห้าปี
โดยให้นับระยะเวลารวมถึงการช่วยราชการในจังหวัดนั้นด้วย
กรณีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่ดำรงตำแหน่งในศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด
ศาลจังหวัดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว และศาลแขวง ให้ดำรงตำแหน่งในศาลดังกล่าวศาลใดศาลหนึ่งหรือหลายศาลเป็นระยะเวลาติดต่อกันรวมแล้วไม่เกินห้าปี
โดยให้นับระยะเวลารวมถึงการช่วยราชการในจังหวัดนั้นด้วย
กรณีผู้ที่รับราชการในศาลแขวง
ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด และศาลจังหวัดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ครบสองปี หากมีตำแหน่งในศาลจังหวัดว่างลงอาจได้รับการพิจารณาแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งในศาลจังหวัด
สำหรับผู้ที่ดำรงตำแหน่งเลขาธิการประธานศาลฎีกา
รองเลขาธิการประธานศาลฎีกา เลขานุการและรองเลขานุการศาลสูง เลขานุการศาลชั้นต้น และเลขานุการศาลยุติธรรมประจำภาค
ให้มีวาระในการดำรงตำแหน่งทุกตำแหน่งดังกล่าวรวมกันไม่เกินสี่ปี
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓๗ ของระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๓๗ ให้เลขานุการ ก.ต. จัดให้มีการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจของข้าราชการตุลาการที่จะขอไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส
เพื่อประกอบการพิจารณาของที่ประชุมร่วมระหว่าง อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลทุกชั้นศาลว่ามีความเหมาะสมจะดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสหรือไม่
ให้นำหลักเกณฑ์การเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตุลาการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามข้อ
๑๑ มาใช้แก่การแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสโดยอนุโลม
ประกาศ ณ วันที่ ๑๗
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑
วิรัช ลิ้มวิชัย
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๘๓ ก/หน้า ๑๔/๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๑ |
647467 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้งและการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ พ.ศ. 2545 (ฉบับ Update ณ วันที่ 23/02/2549)
| ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
พ.ศ. ๒๕๔๕
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ มาตรา ๔๗ และมาตรา ๕๑
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ในระเบียบนี้ หากข้อความมิได้แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
ก.ต. หมายความว่า คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
เลขานุการ ก.ต. หมายความว่า เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล หมายความว่า
คณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาล
เลขานุการ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล หมายความว่า เลขานุการคณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาล
จังหวัด หมายความว่า พื้นที่ในเขตอำนาจศาล
ภูมิลำเนา หมายความว่า บ้านที่เกิดหรือเป็นพื้นเพเดิม
ซึ่งอาจจะเป็นจังหวัดอื่นที่มิใช่บ้านเกิดก็ได้
ปริมณฑล หมายความว่า จังหวัดนนทบุรี จังหวัดนครปฐม
จังหวัดปทุมธานีจังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร
ข้อ ๔
ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๕
ให้เลขานุการ ก.ต. เสนอเรื่องการแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง และการโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลพิจารณาจัดทำความเห็นโดยเร็ว
ในกรณีการเลื่อนตำแหน่ง
หากมีการเสนอชื่อข้ามลำดับอาวุโสให้ระบุเหตุผลของการดำเนินการเช่นว่านั้นไว้ด้วย
ข้อ ๖
การพิจารณาของ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลในเรื่องการแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง
และการโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลดำเนินการตามหมวด ๔
แห่งระเบียบนี้
หมวด ๒
การแต่งตั้งและการเลื่อนตำแหน่ง
ข้อ ๗
การแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ให้พิจารณาถึงความรู้ความสามารถพื้นฐาน
ได้แก่ การพิจารณาพิพากษาคดี การเรียงคำพิพากษา การบริหารงานคดี ความรับผิดชอบ
ความซื่อสัตย์สุจริต ความไว้วางใจได้ ความวิริยะอุตสาหะ ชื่อเสียงเกียรติคุณ ประวัติการศึกษาอบรมและการรับราชการ
การดำรงตนของตนเองและคู่ครอง มารยาทสังคม และทัศนคติ
ประกอบกับแบบการประเมินบุคคลและรายงานการปฏิบัติราชการของข้าราชการตุลาการผู้นั้นว่ามีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่จะแต่งตั้งตามที่ระบุไว้ท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๘
การแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารงานศาล นอกจากพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ
๗ แล้ว ต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถในการบริหาร ความเป็นผู้นำ การแก้ปัญหา
การตัดสินใจ มนุษยสัมพันธ์ ความเอาใจใส่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เพื่อรักษาประโยชน์ของทางราชการและประชาชน
ประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับคดีสำคัญ ความเสียสละ
และการอุทิศตนเพื่อประโยชน์แก่ราชการศาลยุติธรรมรวมทั้งผลงานของผู้นั้นด้วย
ข้อ ๙
การแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ดำรงตำแหน่งในศาลชำนัญพิเศษตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค และผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
นอกจากพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ ๗ แล้ว ต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถเกี่ยวกับงานของศาลนั้นและความเหมาะสมกับตำแหน่งประกอบด้วย
ข้อ ๑๐
การเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตุลาการซึ่งดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
ให้เสนอแต่งตั้งจากข้าราชการตุลาการที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาลมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี
และผ่านการประเมินความเหมาะสมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมกำหนดอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาล
ข้อ ๑๑ การเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตุลาการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลชั้นต้น
ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ผู้พิพากษาศาลฎีกา
หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า ให้เลขานุการ ก.ต. จัดให้มีการสุ่มตัวอย่างผลงานการพิจารณาพิพากษาคดีหรืองานอื่นในหน้าที่รับผิดชอบของผู้ได้รับการเสนอแต่งตั้งย้อนหลังไปไม่เกินสามปีมาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
ข้อ ๑๒
ให้เลขานุการ ก.ต. จัดให้มีการประเมินบุคคลตามแบบการประเมินบุคคลและรายงานการปฏิบัติราชการของข้าราชการตุลาการท้ายระเบียบนี้เป็นประจำทุกปี
โดยให้ผู้ที่รับผิดชอบการประเมินส่งผลการประเมินไปถึงสำนักงานศาลยุติธรรมภายในเดือนเมษายนของแต่ละปี
ผู้รับการประเมินมีสิทธิขอตรวจดูการประเมินและผลการประเมินได้ตามวิธีการที่สำนักงานศาลยุติธรรมกำหนด
หมวด ๓
การโยกย้ายแต่งตั้ง
ข้อ ๑๓
การโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการตุลาการประจำปีมีสองวาระ ดังนี้
วาระปกติ พิจารณาดำเนินการประมาณเดือนสิงหาคมของแต่ละปี
สำหรับข้าราชการตุลาการทุกตำแหน่ง
ทั้งการโยกย้ายแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนผู้มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในแต่ละปีงบประมาณ
และการโยกย้ายแต่งตั้งเพื่อสับเปลี่ยนตำแหน่งโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑
ตุลาคมของปีนั้นสำหรับผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนผู้มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์
และให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ของปีถัดไปสำหรับผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
วาระพิเศษ พิจารณาดำเนินการประมาณเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไปสำหรับการโยกย้ายแต่งตั้งเพิ่มเติมตามความจำเป็น
ทั้งนี้
เพื่อแก้ไขข้อขัดข้องในการโยกย้ายแต่งตั้งตามวาระปกติ
ข้อ ๑๔
ตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามมาตรา ๑๓ (๑) (ข) ได้แก่ รองประธานศาลฎีกาและผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า สามารถสับเปลี่ยนตำแหน่งกันได้ทุกตำแหน่งโดยไม่มีผลกระทบต่อลำดับอาวุโส
ข้อ ๑๕[๒] (ยกเลิก)
ข้อ ๑๖
ตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามมาตรา ๑๓ (๒) (ข) ได้แก่ รองประธานศาลอุทธรณ์
รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ และผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค
หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า สามารถสับเปลี่ยนตำแหน่งกันได้ทุกตำแหน่งโดยไม่มีผลกระทบต่อลำดับอาวุโส
ข้อ ๑๗
ตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามมาตรา ๑๓ (๓) (ก) ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
อธิบดีผู้พิพากษาภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล และผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลชั้นต้น
หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า สามารถสับเปลี่ยนตำแหน่งกันได้ทุกตำแหน่งโดยไม่มีผลกระทบต่อลำดับอาวุโส
ข้อ ๑๘[๓]
การพิจารณาโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ดำรงตำแหน่งในศาลจังหวัด
ศาลแขวง ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด หรือศาลจังหวัดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในจังหวัดใด
ให้คำนึงถึงลำดับอาวุโสและความเหมาะสมในจังหวัดนั้น
ข้อ ๑๙[๔]
การแต่งตั้งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลหรือผู้พิพากษาศาลชั้นต้นไปดำรงตำแหน่งในจังหวัดที่เป็นภูมิลำเนาของผู้นั้นหรือของคู่สมรสจะกระทำมิได้
เว้นแต่ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล
และจังหวัดซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค
แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงศาลจังหวัดซึ่งศาลตั้งอยู่ที่อำเภอ
หรือกรณีมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งเป็นพิเศษเฉพาะราย
ข้อ ๒๐[๕] ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลรับราชการในจังหวัดที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้จังหวัดละไม่เกินสี่ปี
สำหรับผู้พิพากษาศาลชั้นต้นให้รับราชการในจังหวัดที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้จังหวัดละไม่เกินห้าปี
โดยให้นับระยะเวลารวมถึงการช่วยราชการในจังหวัดนั้นด้วย[๖]
กรณีผู้ที่รับราชการในศาลแขวง
ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด และศาลจังหวัดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวครบสองปี
หากมีตำแหน่งในศาลจังหวัดว่างลงอาจได้รับการพิจารณาแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งในศาลจังหวัด
สำหรับผู้ที่ดำรงตำแหน่งเลขาธิการประธานศาลฎีกา
รองเลขาธิการประธานศาลฎีกา เลขานุการและรองเลขานุการศาลสูง เลขานุการศาลชั้นต้น
และเลขานุการศาลยุติธรรมประจำภาค
ให้มีวาระในการดำรงตำแหน่งทุกตำแหน่งดังกล่าวรวมกันไม่เกินสี่ปี
ข้อ
๒๑ (ยกเลิก)[๗]
การแต่งตั้งให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลไปดำรงตำแหน่งในศาลชั้นต้นในจังหวัดที่ผู้นั้นเคยดำรงตำแหน่งหรือเคยช่วยทำงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลมาก่อนจะกระทำมิได้
เว้นแต่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ข้อ ๒๒
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่รับราชการในศาลภูมิภาคยังไม่ครบระยะเวลาตามข้อ
๒๑ หากมีความจำเป็นอาจได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายมารับราชการที่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครได้
แต่จะขอโยกย้ายไปรับราชการในศาลภูมิภาคอีกไม่ได้จนกว่าจะครบสี่ปี
หรือจนกว่าจะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาล เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการศาลยุติธรรม
ข้อ ๒๓
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่มีความจำเป็นและประสงค์ไม่ออกไปดำรงตำแหน่งในศาลภูมิภาคอาจได้รับการพิจารณาให้รับราชการที่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครได้
แต่จะขอโยกย้ายไปรับราชการในศาลภูมิภาคอีกไม่ได้จนกว่าจะครบสี่ปี
หรือจนกว่าจะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาล เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการศาลยุติธรรม
ข้อ ๒๔[๘] ให้ผู้พิพากษาประจำศาลรับราชการที่ศาลชั้นต้นยกเว้นศาลแขวงตามระยะเวลาที่
ก.ต. เห็นสมควรกำหนด
ข้อ ๒๕
การแต่งตั้งผู้พิพากษาอาวุโสไปดำรงตำแหน่งในจังหวัดที่เป็นภูมิลำเนาของผู้นั้นหรือของคู่สมรสจะกระทำมิได้
เว้นแต่ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค
หรือกรณีมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งเป็นพิเศษเฉพาะราย
ข้อ ๒๖[๙] (ยกเลิก)
ข้อ ๒๗[๑๐] (ยกเลิก)
ข้อ ๒๘
ผู้พิพากษาอาวุโสที่รับราชการในศาลภูมิภาคยังไม่ครบระยะเวลาตามข้อ ๒๗
หากมีความจำเป็นอาจได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายมารับราชการที่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครได้
แต่จะขอโยกย้ายไปรับราชการในศาลภูมิภาคอีกไม่ได้จนกว่าจะครบสี่ปี เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการศาลยุติธรรม
ข้อ ๒๙
ในกรณีที่มีความเหมาะสมและเพื่อประโยชน์อย่างยิ่งแก่ราชการ ศาลยุติธรรม
ก.ต. อาจมีมติด้วยคะแนนเสียงสองในสามของจำนวนกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
ยกเว้นหลักเกณฑ์ในการโยกย้ายแต่งตั้งตามระเบียบนี้ได้
หมวด ๔
วิธีดำเนินการของ
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล
ข้อ ๓๐
การพิจารณาของ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลในเรื่องการแต่งตั้งและการเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตุลาการให้ดำเนินการ
ดังนี้
(๑) การแต่งตั้งประธานศาลฎีกาและผู้พิพากษาอาวุโส
หรือตำแหน่งอื่นตามที่ก.ต. เห็นสมควรให้เป็นการประชุมร่วมกันระหว่าง อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลทุกชั้นศาล โดยให้ประธาน อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลผู้มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้เรียกประชุม
(๒) การเลื่อนตำแหน่งผู้พิพากษาในศาลชั้นอุทธรณ์ไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาในศาลฎีกาและการแต่งตั้งประธานศาลอุทธรณ์และประธานศาลอุทธรณ์ภาค
ให้เป็นการประชุมร่วมกันระหว่าง อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา
โดยให้ประธาน อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลนั้นผู้มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้เรียกประชุม
(๓) การเลื่อนตำแหน่งผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาในศาลชั้นอุทธรณ์ให้เป็นการประชุมร่วมกันระหว่าง
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลอุทธรณ์และศาลชั้นต้นโดยให้ประธาน อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลนั้นผู้มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้เรียกประชุม
ข้อ ๓๑
การประชุมของ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล หากมีข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่ไม่ชัดเจน ที่ประชุมอาจเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้
ในกรณีที่มีการอภิปรายไปในทางที่เป็นผลร้ายแก่บุคคลใดจะต้องดำเนินการให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนั้น
รวมทั้งให้โอกาสบุคคลนั้นชี้แจงก่อน เว้นแต่จะปรากฏพยานหลักฐานเป็นที่ชัดแจ้งอยู่แล้ว
ข้อ ๓๒ อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลมีสิทธิแสวงหาข้อมูลในด้านต่าง ๆ ของบุคคลที่เลขานุการ ก.ต.
เสนอชื่อเพื่อประกอบการพิจารณาได้
ให้เลขานุการ ก.ต. อำนวยความสะดวกแก่ อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลในการที่จะเข้าตรวจดูข้อมูลภายในศาลยุติธรรม และให้ความร่วมมือในการให้ได้มาซึ่งข้อมูลภายนอกศาลยุติธรรม
ข้อ ๓๓
ในการประชุม อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล ให้อนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาลทุกคนลงความเห็นว่าเห็นด้วยหรือไม่กับบุคคลที่เลขานุการ
ก.ต. เสนอชื่อให้พิจารณาพร้อมระบุเหตุผลเพื่อประกอบการพิจารณาของ ก.ต.
อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลอาจเสนอข้อมูลของบุคคลอื่นที่เห็นว่าเป็นผู้ที่เหมาะสมกว่าบุคคลที่เลขานุการ
ก.ต. เสนอชื่อเพื่อประกอบการพิจารณาของ ก.ต. ด้วยก็ได้
ข้อ ๓๔
ให้เลขานุการ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลจัดทำรายงานสรุปผลการพิจารณาของ อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาล โดยมีสาระสำคัญครบถ้วนเสนอต่อ ก.ต.
หมวด ๕
การเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
ข้อ ๓๕
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า เมื่ออยู่ในชั้น ๒ มาครบห้าปีนับแต่วันที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งให้เลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้น ๓ ขั้นต่ำ
ข้อ ๓๖
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรือตำแหน่งอื่นที่ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นเมื่ออยู่ในชั้น
๓ ขั้นต่ำมาครบสามปีนับแต่วันที่ได้รับการเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้น
๓ ขั้นต่ำตามข้อ ๓๕ แล้ว ให้เลขานุการ ก.ต. เสนอให้เลื่อนขั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้น
๓ ขั้นสูงสุดต่อ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลเพื่อจัดทำความเห็นประกอบการพิจารณาของ ก.ต.
โดยเร็ว
การพิจารณาของ ก.ต. ตามวรรคหนึ่ง
ให้พิจารณารายงานการประเมินบุคคลและการปฏิบัติราชการประจำปีของข้าราชการตุลาการผู้นั้นประกอบด้วย
หากจะพิจารณาไม่ให้ผู้ใดเลื่อนขั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้น ๓
ขั้นสูงสุด ให้เลขานุการ ก.ต. ดำเนินการให้มีการสุ่มตัวอย่างผลงานการพิจารณาพิพากษาคดีของผู้นั้นย้อนหลังไปไม่เกินสามปีมาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
หมวด ๖
การประเมินสมรรถภาพของผู้พิพากษาอาวุโส
ข้อ ๓๗
ให้เลขานุการ ก.ต. จัดให้มีการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ
รวมทั้งการประเมินบุคคลและผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาอาวุโสว่ามีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสต่อไปหรือไม่
โดยให้เสนอรายชื่อบุคคลให้ ก.ต. แต่งตั้งเป็นคณะกรรมการประเมินจำนวนไม่น้อยกว่าเก้าคนแต่ไม่เกินสิบสองคน
ซึ่งในจำนวนนี้ต้องเป็นคณะกรรมการแพทย์จำนวนไม่น้อยกว่าสามคน
แล้วเสนอผลการประเมินต่อ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลทุกชั้นศาลเพื่อจัดทำความเห็นประกอบการพิจารณาของ
ก.ต. ให้แล้วเสร็จก่อนวันสิ้นปีงบประมาณที่ผู้พิพากษาอาวุโสผู้นั้นจะมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน
ข้อ ๓๘
ให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินบุคคลตามแบบการประเมินบุคคลและรายงานการปฏิบัติราชการของข้าราชการตุลาการตามข้อ
๑๒ มาใช้แก่การประเมินบุคคลของผู้พิพากษาอาวุโสด้วยโดยอนุโลม
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๓๙ มิให้นำความในข้อ
๑๑ มาใช้บังคับแก่การพิจารณาเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตุลาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๔๕
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
สันติ ทักราล
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
[เอกสารแนบท้าย]
๑. การประเมินบุคคลและรายงานการปฏิบัติราชการของข้าราชการตุลาการประจำปี
พ.ศ. ....
๒. มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖[๑๑]
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗[๑๒]
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘[๑๓]
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๘[๑๔]
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๙[๑๕]
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๗๕ ก/หน้า ๔/๘ สิงหาคม ๒๕๔๕
[๒] ข้อ ๑๕ ยกเลิกโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๘
[๓] ข้อ ๑๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗
[๔] ข้อ ๑๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘
[๕] ข้อ ๒๐
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗
[๖] ข้อ ๒๐ วรรคหนึ่ง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘
[๗] ข้อ ๒๑ วรรคหนึ่ง
ยกเลิกโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๘] ข้อ ๒๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๙] ข้อ ๒๖ ยกเลิกโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๑๐] ข้อ ๒๗ ยกเลิกโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๑๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๓๕ ก/หน้า ๗/๒๙ เมษายน ๒๕๔๖
[๑๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๑๐ ก/หน้า ๕๒/๒๒ มกราคม ๒๕๔๗
[๑๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๖ ก/หน้า ๔๘/๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘
[๑๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๒๓ ก/หน้า ๑๒/๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๘
[๑๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๘ ก/หน้า ๑๗/๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ |
503746 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2549
| ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
(ฉบับที่ ๗)
พ.ศ. ๒๕๔๙
โดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๘ และมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๙
ข้อ
๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๑๕ ของระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
พ.ศ. ๒๕๔๕ ดังนี้
ข้อ ๑๕ ตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามมาตรา
๑๓ (๑) (ข) ได้แก่ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา และผู้พิพากษาศาลฎีกา สามารถสับเปลี่ยนกับตำแหน่งตามมาตรา
๑๓ (๒) (ก) ได้แก่ ประธานศาลอุทธรณ์ และประธานศาลอุทธรณ์ภาค ได้ทุกตำแหน่งโดยไม่มีผลกระทบต่อลำดับอาวุโส
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
ชาญชัย ลิขิตจิตถะ
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๘๑ ก/หน้า ๘/๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๙ |
569854 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2550
| ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
(ฉบับที่ ๙)
พ.ศ. ๒๕๕๐
โดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕
ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๘ และมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.
๒๕๔๓ คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๐
ของระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๒๐ ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลรับราชการในจังหวัดที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครได้จังหวัดละไม่เกินสี่ปี
สำหรับผู้พิพากษาศาลชั้นต้นให้รับราชการในจังหวัดที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครได้จังหวัดละไม่เกินห้าปี
โดยให้นับระยะเวลารวมถึงการช่วยราชการในจังหวัดนั้นด้วย
กรณีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่ดำรงตำแหน่งในศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด
ศาลจังหวัดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว และศาลแขวง ให้ดำรงตำแหน่งในศาลดังกล่าว
ศาลใดศาลหนึ่งหรือหลายศาลเป็นระยะเวลาติดต่อกันรวมแล้วไม่เกินห้าปี
โดยให้นับระยะเวลารวมถึงการช่วยราชการในจังหวัดนั้นด้วย
กรณีผู้ที่รับราชการในศาลแขวง
ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด และศาลจังหวัดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวครบสองปี
หากมีตำแหน่งในศาลจังหวัดว่างลงอาจได้รับการพิจารณาแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งในศาลจังหวัด
สำหรับผู้ที่ดำรงตำแหน่งเลขาธิการประธานศาลฎีกา
รองเลขาธิการประธานศาลฎีกา เลขานุการและรองเลขานุการศาลสูง เลขานุการศาลชั้นต้น
และเลขานุการศาลยุติธรรมประจำภาคให้มีวาระในการดำรงตำแหน่งทุกตำแหน่งดังกล่าวรวมกันไม่เกินสี่ปี
ข้อ ๔
กรณีผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่รับราชการในศาลปริมณฑลให้ใช้บังคับข้อ
๒๐ วรรคหนึ่ง เมื่อผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
รับราชการในศาลปริมณฑลนั้นครบหรือเกินกว่าสี่ปี หรือห้าปี แล้วแต่กรณี ในวันที่ ๓๑
มีนาคม ๒๕๕๒
ข้อ ๕ ให้ใช้บังคับข้อ ๒๐ วรรคสอง
แก่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่ดำรงตำแหน่ง หรือช่วยราชการ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน
๒๕๕๑ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
วิรัช ลิ้มวิชัย
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๑๒ ก/หน้า ๓๒/๑๖ มกราคม ๒๕๕๑ |
571588 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2551
| ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
(ฉบับที่ ๑๐)
พ.ศ. ๒๕๕๑
โดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕
ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๘ และมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.
๒๕๔๓ คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๔
ของระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๒๔ ให้ผู้พิพากษาประจำศาลรับราชการในศาลชั้นต้น
ยกเว้นศาลแขวง ศาลชั้นอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ตามระยะเวลาที่ ก.ต. เห็นสมควรกำหนด
ประกาศ ณ วันที่ ๔
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑
วิรัช ลิ้มวิชัย
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๓๔ ก/หน้า ๑/๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ |
571457 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2551 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ
ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๕๑
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคสอง วรรคสาม และมาตรา ๓๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๙ วรรคหนึ่ง
ของระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๔๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๙ การสอบข้อเขียนมี ๒
วัน คือ
(๑)
วันที่หนึ่ง วิชากฎหมายอาญา จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๓ ข้อ กับวิชาภาษาอังกฤษ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมและระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม
ตามที่กำหนดในข้อ ๑๙/๑ จำนวน ๓ ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๘๐
(๒)
วันที่สอง วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำนวน ๓ ข้อ กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จำนวน
๓ ข้อ กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน จำนวน ๑ ข้อ พระธรรมนูญศาลยุติธรรม จำนวน ๑ ข้อ และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว
และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร
กฎหมายแรงงาน กฎหมายล้มละลายหรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ จำนวน ๑ ข้อ เวลา ๔
ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๙๐
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๐ วรรคหนึ่ง ของระเบียบคณะกรรมการตุลาการ
ศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. ๒๕๔๕
และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๒๐ ในการออกข้อสอบ
ให้คณะกรรมการออกข้อสอบ ดังนี้
(๑)
วิชากฎหมายอาญา จำนวน ๒ ข้อ
(๒)
วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๓ ข้อ
โดยให้ออกข้อสอบเป็นคำถามเกี่ยวกับแนวความคิดทางกฎหมาย หลักกฎหมาย
หรือปัญหาเชิงทฤษฎีที่ให้ผู้สอบแสดงทักษะในการให้เหตุผลและวิเคราะห์ จำนวน ๑ ข้อ
และให้เป็นคำถามเกี่ยวกับปัญหาเชิงปฏิบัติ จำนวน ๒ ข้อ
(๓)
วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้ออกข้อสอบวิชาละ ๓
ข้อ
(๔)
วิชากฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน กฎหมายรัฐธรรมนูญ
กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมและระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายล้มละลาย
และกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ ให้ออกข้อสอบวิชาละ ๑ ข้อ
(๕)
วิชาภาษาอังกฤษ ให้ออกข้อสอบ ๓ ข้อ โดยให้ออกข้อสอบข้อที่หนึ่ง
เป็นคำถามที่ให้แปลข้อความภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ และภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ๑ ข้อ
ข้อที่สองเป็นคำถามภาษาอังกฤษที่ทดสอบความเข้าใจในการอ่านบทความกฎหมายภาษาอังกฤษ ๑
ข้อ และข้อที่สามเป็นคำถามที่ให้ผู้สมัครเขียนอธิบาย
หรือวินิจฉัยปัญหากฎหมายเป็นภาษาอังกฤษ ๑ ข้อ
ข้อ ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๒๑/๑
ของระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๒๑/๑ ให้จัดให้มีการทดสอบวัดทัศนคติ บุคลิกภาพ
อุปนิสัย และวุฒิภาวะทางอารมณ์ หรือคุณลักษณะอื่นที่พึงประสงค์สำหรับการดำรงตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามที่คณะกรรมการทดสอบกำหนด
และให้นำผลการทดสอบดังกล่าวไปประกอบการสอบปากเปล่า
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑
วิรัช ลิ้มวิชัย
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๓๓ ก/หน้า ๘๘/๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ |
590011 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2551
| ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
(ฉบับที่ ๑๒)
พ.ศ. ๒๕๕๑
โดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕
ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๘ และมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.
๒๕๔๓ คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกแบบการประเมินบุคคลและรายงานการปฏิบัติราชการของข้าราชการตุลาการตามที่กำหนดไว้ท้ายระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕
และให้ใช้แบบการประเมินบุคคลและรายงานการปฏิบัติราชการของข้าราชการตุลาการ
ตามที่กำหนดไว้ท้ายระเบียบนี้แทน
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
วิรัช ลิ้มวิชัย
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
การประเมินบุคคลและรายงานการปฏิบัติราชการของข้าราชการตุลาการ ประจำปี ...........
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๑๑๘ ก/หน้า ๑๐/๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ |
571453 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการสอบคัดเลือก เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการสอบคัดเลือก
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ
ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๕๑
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการสอบคัดเลือก เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๗ วรรคสอง และมาตรา ๓๐ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการสอบคัดเลือก
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๘/๑
ของระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการสอบคัดเลือก
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๘/๑ ให้จัดให้มีการทดสอบวัดทัศนคติ บุคลิกภาพ
อุปนิสัย และวุฒิภาวะทางอารมณ์หรือคุณลักษณะอื่นที่พึงประสงค์สำหรับการดำรงตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามที่คณะกรรมการสอบคัดเลือกกำหนด
และให้นำผลการทดสอบดังกล่าวไปประกอบการสอบปากเปล่า
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑
วิรัช ลิ้มวิชัย
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๓๓ ก/หน้า ๘๗/๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ |
647492 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมายและเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2545 (ฉบับ Update ณ วันที่ 29/12/2550) | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
พ.ศ. ๒๕๔๕
โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
ข้อ
๓[๒] การประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
คือ
(๑)
เป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ หรือภาควิชานิติศาสตร์
หรือสาขาวิชานิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ
ซึ่งคณบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่ารับรองว่าได้สอนวิชากฎหมายตามหลักสูตรในคณะนิติศาสตร์
หรือภาควิชานิติศาสตร์ หรือสาขาวิชานิติศาสตร์มาแล้ว ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๒)
เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ซึ่งทำหน้าที่พนักงานสอบสวน
และผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่พนักงานสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า
๒๐ เรื่อง ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๓)
เป็นข้าราชการศาลยุติธรรมตำแหน่งเจ้าพนักงานศาลยุติธรรม (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานศาลยุติธรรม
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่
ก.ศ. กำหนด ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๔)
เป็นนายทหารซึ่งทำหน้าที่นายทหารสืบสวนสอบสวน หรือนายทหารสารวัตรสืบสวนสอบสวน
กระทรวงกลาโหม
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานสอบสวนคดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลทหารมาแล้วไม่น้อยกว่า
๒๐ เรื่อง ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๕)
เป็นข้าราชการตำแหน่งเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.)
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานสอบสวนคดียาเสพติดมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒๐
เรื่อง ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๖)
เป็นข้าราชการตำแหน่งเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
(สำนักงาน ป.ป.ช.) ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบทรัพย์สิน
หรือไต่สวนและวินิจฉัยคดีที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๗)
เป็นข้าราชการตำแหน่งนักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน (วุฒิทางกฎหมาย)
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) หรือนักวิชาการที่ดิน (วุฒิทางกฎหมาย)
กรมที่ดิน
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่
ก.พ. กำหนด ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๘)
เป็นเจ้าพนักงานการเลือกตั้ง (งานนิติการ) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (สำนักงาน
กกต.)
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่
ก.พ. กำหนด หรือเป็นเจ้าพนักงานการเลือกตั้ง (งานวินิจฉัยหรืองานสืบสวนสอบสวน)
หรือพนักงานสืบสวนสอบสวน สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานพิจารณาวินิจฉัยหรือสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า
๒๐ เรื่อง ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๙)
เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างในกระทรวงยุติธรรม ทำหน้าที่พนักงานคุมประพฤติซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานในสายงานคุมประพฤติที่
ก.พ. กำหนด ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๑๐)
เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือลูกจ้างในหน่วยงานของรัฐ
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกรตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่
ก.พ. หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่นกำหนด แล้วแต่กรณี
ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๑๑)
เป็นพนักงานของสถาบันการเงินที่ ก.ต. รับรอง
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร
ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๑๒)
เป็นอาจารย์ผู้บรรยายประจำวิชาของคณะนิติศาสตร์
ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ทบวงมหาวิทยาลัยให้การรับรองมาตรฐานการศึกษาของหลักสูตรนิติศาสตร์
ซึ่งคณบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่ารับรองว่าได้สอนวิชากฎหมายตามหลักสูตรในคณะนิติศาสตร์มาแล้วในวิชาใดวิชาหนึ่งหรือหลายวิชาดังนี้
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน กฎหมายล้มละลาย
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง
กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน
กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายพาณิชย์นาวี หรือกฎหมายระหว่างประเทศ
ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๑๓)
เป็นเจ้าหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญกำหนด
ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๑๔)
เป็นนักวิจัยหรือผู้ช่วยนักวิจัย (วุฒิทางกฎหมาย)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกำหนด
ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๑๕)
เป็นตำรวจซึ่งทำหน้าที่นิติกร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
และผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกรตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนด
ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๑๖)
เป็นพนักงานคดีปกครอง (วุฒิทางกฎหมาย)
สำนักงานศาลปกครองซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานที่สำนักงานศาลปกครองกำหนด
ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๑๗)
เป็นพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ หรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษ (วุฒิทางกฎหมาย) กรมสอบสวนคดีพิเศษ
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริง
ในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานที่กรมสอบสวนคดีพิเศษกำหนด
ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๑๘)
เป็นเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน (วุฒิทางกฎหมาย)
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานสอบสวนคดีเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมาแล้วไม่น้อยกว่า
๒๐ เรื่อง ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
ข้อ
๓/๑[๓] นอกจากวิชาชีพตามที่กำหนดในข้อ ๓
การประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมายให้รวมถึงวิชาชีพอย่างอื่นที่ได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายในลักษณะทำนองเดียวกันหรือเทียบได้กับวิชาชีพตามข้อ
๓ ซึ่ง ก.ต. รับรองเป็นรายกรณี
ข้อ ๔
ผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาซึ่งได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นทนายความจะต้องได้ว่าความในศาล
โดยทำหน้าที่หรือมีส่วนร่วมทำหน้าที่ทนายความในการที่ศาลออกนั่งพิจารณามาแล้วไม่น้อยกว่า
๒๐ เรื่อง ในจำนวนนี้ต้องเป็นคดีแพ่งไม่น้อยกว่า ๕ เรื่อง โดยมีหนังสือรับรองของผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณา
ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้มาแสดงว่าได้ทำหน้าที่ดังกล่าวอย่างแท้จริง
ข้อ ๕
ผู้ที่มีคุณสมบัติและปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วน
หรือแต่เพียงบางส่วนตามประกาศคณะกรรมการตุลาการ
เรื่องกำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพตามมาตรา
๒๗ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ฉบับลงวันที่
๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๙
ให้ถือว่าได้ประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมายและปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพนั้น
ๆ ครบถ้วนแล้ว หรือแต่เพียงส่วนนั้น แล้วแต่กรณี
ตามที่คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมกำหนดตามนัยระเบียบนี้
ข้อ ๖
ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งรองจ่าศาลอยู่ก่อนวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๔
และยังคงปฏิบัติหน้าที่เดิมในตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสำนักงานศาลยุติธรรม
โดยมีผู้บังคับบัญชารับรองตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
ให้ถือว่าการปฏิบัติหน้าที่เดิมต่อมานั้นเป็นการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
และได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพนั้น ๆ
โดยให้นับระยะเวลาต่อเนื่องกันไป
ข้อ ๗
ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕
สันติ ทักราล
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
[เอกสารแนบท้าย]
๑.[๔]
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑))
๒.[๕]
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๒))
๓.[๖]
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ (แบบ ๓))
๔.[๗]
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๔))
๕.[๘]
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๕))
๖.[๙]
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๖))
๗.[๑๐]
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๗))
๘.[๑๑]
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๘))
๙.[๑๒]
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๙))
๑๐.[๑๓]
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑๐))
๑๑.[๑๔]
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑๑))
๑๒.[๑๕]
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑๒))
๑๓.[๑๖]
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑๓))
๑๔.[๑๗]
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑๔))
๑๕.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑๕))
๑๖.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑๖))
๑๗.
บัญชีรายละเอียดการว่าความคดีแพ่ง
๑๘.
บัญชีรายละเอียดการว่าความคดีอาญา
๑๙. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา
๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑๗))
๒๐.[๑๘] หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา
๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑๘))
๒๑.[๑๙]
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑๙))
๒๒.[๒๐]
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๒๐))
๒๓.[๒๑]
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๒๑))
๒๔.[๒๒]
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๒๒))
๒๕.[๒๓] หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา
๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๒๓))
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖[๒๔]
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐[๒๕]
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๕ ก/หน้า ๒/๑๑ มกราคม ๒๕๔๕
[๒] ข้อ ๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๓] ข้อ ๓/๑ เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๔] หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา
๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
(วิชาชีพอย่างอื่นฯ (แบบ ๑)) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๕] หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา
๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
(วิชาชีพอย่างอื่นฯ (แบบ ๒)) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๖] หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา
๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
(วิชาชีพอย่างอื่นฯ (แบบ ๓)) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๗] หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา
๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
(วิชาชีพอย่างอื่นฯ (แบบ ๔)) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๘] หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา
๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
(วิชาชีพอย่างอื่นฯ (แบบ ๕)) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๙] หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา
๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
(วิชาชีพอย่างอื่นฯ (แบบ ๖)) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๑๐] หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา
๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
(วิชาชีพอย่างอื่นฯ (แบบ ๗)) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๑๑] หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา
๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
(วิชาชีพอย่างอื่นฯ (แบบ ๘)) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๑๒] หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา
๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๙)) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๑๓] หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา
๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
(วิชาชีพอย่างอื่นฯ (แบบ ๑๐)) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๑๔] หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา
๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
(วิชาชีพอย่างอื่นฯ (แบบ ๑๑)) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๑๕] หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา
๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
(วิชาชีพอย่างอื่นฯ (แบบ ๑๒)) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๑๖] หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา
๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
(วิชาชีพอย่างอื่นฯ (แบบ ๑๓)) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๑๗] หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา
๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
(วิชาชีพอย่างอื่นฯ (แบบ ๑๔)) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๑๘] หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา
๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
(วิชาชีพอย่างอื่นฯ (แบบ ๑๘)) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๑๙] หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา
๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
(วิชาชีพอย่างอื่นฯ (แบบ ๑๙)) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๒๐] หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา
๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
(วิชาชีพอย่างอื่นฯ (แบบ ๒๐)) เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๒๑] หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา
๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
(วิชาชีพอย่างอื่นฯ (แบบ ๒๑)) เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๒๒] หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา
๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
(วิชาชีพอย่างอื่นฯ (แบบ ๒๒)) เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๒๓] หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา
๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
(วิชาชีพอย่างอื่นฯ (แบบ ๒๓)) เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๒๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๗๓ ก/หน้า ๑๔/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๖
[๒๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๑๐๑ ก/หน้า ๕๐/๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๐ |
647515 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยการสมัครและการสอบคัดเลือก เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. 2545 (ฉบับ Update ณ วันที่ 09/11/2548) | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการสอบคัดเลือก
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ
ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
พ.ศ. ๒๕๔๕
โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยการสมัครและการสอบคัดเลือก
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสอง และมาตรา ๓๐ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการสอบคัดเลือก
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ในระเบียบนี้
ก.ต. หมายความว่า คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการสอบคัดเลือกที่ ก.ต.
แต่งตั้งขึ้นเพื่อทำการสอบคัดเลือกผู้สมัคร
ผู้สมัคร หมายความว่า ผู้สมัครสอบคัดเลือกตามมาตรา ๒๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๔
เมื่อสมควรจะมีการสอบคัดเลือกเมื่อใด ให้เลขานุการ ก.ต. เสนอขอความเห็นชอบจาก
ก.ต. เพื่อจัดให้มีการสอบคัดเลือก ให้ ก.ต. ประกาศเกี่ยวกับการรับสมัคร
และแต่งตั้งคณะกรรมการสอบคัดเลือกขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานกรรมการ
รองประธานกรรมการ ๔ คน และกรรมการตามจำนวนที่จำเป็น ทั้งนี้ โดย ก.ต.
จะแต่งตั้งประธานกรรมการและรองประธานกรรมการก็ได้
แล้วให้ประธานกรรมการและรองประธานกรรมการร่วมกันจัดทำรายชื่อผู้ซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการเสนอ
ก.ต. พิจารณาแต่งตั้งต่อไป
การแต่งตั้งประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ
และกรรมการตามวรรคหนึ่งให้คำนึงถึงคุณสมบัติ ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ในการสอน
และการเป็นกรรมการสอบวิชากฎหมายของผู้ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งเป็นส่วนสำคัญ
ข้อ ๕
ในกรณีที่ระเบียบนี้มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะทำงานออกประกาศ
หรือกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการสอบคัดเลือกตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๖
การสอบคัดเลือกของผู้สมัครให้มีทั้งการสอบข้อเขียนและการสอบปากเปล่า
วิชาที่สอบคัดเลือกคือ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง
กฎหมายรัฐธรรมนูญ ภาษาอังกฤษ
และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
หรือกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา หรือกฎหมายภาษีอากร หรือกฎหมายแรงงาน
หรือกฎหมายล้มละลาย หรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ
ข้อ ๗
การสอบข้อเขียนมี ๓ วัน คือ
(๑) วันที่หนึ่ง วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำนวน ๖ ข้อ และกฎหมายอาญาจำนวน ๔ ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๑๐๐
(๒) วันที่สอง
วิชากฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน จำนวน ๓ ข้อ พระธรรมนูญศาลยุติธรรมกับกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง
จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายรัฐธรรมนูญ จำนวน ๑ ข้อ และให้เลือกสอบในกฎหมายลักษณะวิชา
กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายล้มละลาย
หรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ จำนวน ๒ ข้อ รวมจำนวนข้อสอบทั้งหมด ๗ ข้อ เวลา ๓
ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๗๐ กับภาษาอังกฤษ จำนวนข้อสอบตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร เวลา ๑
ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๑๐ โดยสำหรับลักษณะวิชาที่ให้เลือกสอบ
ผู้สมัครต้องแสดงความจำนงว่าจะสอบลักษณะวิชากฎหมายใดในวันสมัครสอบ
(๓) วันที่สาม
วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จำนวน ๖ ข้อ และกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำนวน ๔
ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๑๐๐
ผู้สอบต้องปฏิบัติตามระเบียบการสอบข้อเขียนท้ายระเบียบนี้โดยเคร่งครัด
และให้ประธานกรรมการรับผิดชอบในการจัดทำรหัสสมุดคำตอบของผู้สอบทุกคนแยกตามวันที่สอบ
โดยไม่ให้รหัสซ้ำกันแล้วเก็บรักษารหัสดังกล่าวไว้ด้วยตนเอง
คณะกรรมการอาจจัดตัวบทกฎหมายที่ไม่มีข้อความอื่นใดไว้ให้ผู้สอบใช้ประกอบการสอบวิชาใดในห้องสอบก็ได้
ผู้สอบที่ขาดสอบ หรือเข้าสอบแต่ไม่ทำคำตอบเลย ในการสอบข้อเขียนวิชากฎหมายวันใดวันหนึ่งจะไม่มีสิทธิเข้าสอบปากเปล่า
ข้อ ๘[๒] ในการตรวจคำตอบแต่ละข้อ
ให้องค์คณะซึ่งประกอบด้วยกรรมการสอบคัดเลือกอย่างน้อยสองคนตรวจแล้วให้คะแนนคำตอบตามหลักเกณฑ์การตรวจและการให้คะแนนที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
และให้ผู้สอบได้คะแนนคำตอบตามค่าเฉลี่ยที่คำนวณจากคะแนนที่กรรมการสอบคัดเลือกแต่ละคนกำหนดให้
ข้อ ๙
การสอบปากเปล่าให้กระทำโดยวิธีถามผู้สมัครเรียงตัว กำหนดเวลาประมาณคนละ ๒๕
นาที คะแนนเต็ม ๑๐๐ โดยให้กรรมการสอบคัดเลือกแต่ละคนที่ทำการสอบปากเปล่าผู้สมัครให้คะแนนแบ่งตามหัวข้อที่กำหนดในแบบการให้คะแนนการสอบปากเปล่าท้ายระเบียบนี้
และให้ผู้สมัครได้คะแนนการสอบปากเปล่าตามค่าเฉลี่ยที่คำนวณจากคะแนนที่กรรมการสอบคัดเลือกแต่ละคนกำหนดให้
ข้อ ๑๐
ผู้สอบต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ของคะแนนสอบข้อเขียนทั้งหมด
จึงจะมีสิทธิเข้าสอบปากเปล่า และต้องได้คะแนนสอบปากเปล่าไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ของคะแนนสอบปากเปล่า
จึงจะเป็นผู้ผ่านการสอบปากเปล่า เมื่อนำคะแนนสอบข้อเขียนกับคะแนนสอบปากเปล่ารวมกันต้องได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ
๖๐ ของคะแนนทั้งหมดจึงจะอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
ข้อ ๑๑
เมื่อสอบคัดเลือกเสร็จแล้ว ก.ต. จะประกาศรายชื่อผู้ที่อยู่ในเกณฑ์จะได้รับการบรรจุเรียงตามลำดับคะแนนไว้
ณ สำนักงานศาลยุติธรรม
ข้อ ๑๒
ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕
สันติ ทักราล
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แบบการให้คะแนนการสอบปากเปล่าในการสอบคัดเลือก
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
๒.[๓] ระเบียบการสอบข้อเขียนสำหรับการสอบคัดเลือก
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
๓.[๔]
หลักเกณฑ์การตรวจและการให้คะแนนในการสอบคัดเลือก เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการสอบคัดเลือก เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖[๕]
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการสอบคัดเลือก เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๘[๖]
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๕ ก/หน้า ๕/๑๑ มกราคม ๒๕๔๕
[๒] ข้อ ๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการสอบคัดเลือก
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๓] ระเบียบการสอบข้อเขียนสำหรับการสอบคัดเลือก
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการสอบคัดเลือก เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๘
[๔] หลักเกณฑ์การตรวจและการให้คะแนนในการสอบคัดเลือก
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการสอบคัดเลือก
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๗๓ ก/หน้า ๗/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๖
[๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๐๕ ก/หน้า ๑๘/๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ |
480827 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2549 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
(ฉบับที่ ๖)
พ.ศ. ๒๕๔๙
โดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๘ และมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๙
ข้อ
๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๑ วรรคหนึ่ง ของระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือน
และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งแก้ไขโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ
๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๖ และข้อ ๒๗ ของระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
พ.ศ. ๒๕๔๕
ประกาศ ณ วันที่ ๘ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๔๙
ชาญชัย ลิขิตจิตถะ
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๘ ก/หน้า ๑๗/๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ |
568258 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการกำหนดเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ในการสั่งให้ข้าราชการตุลาการไปช่วยทำงานชั่วคราว พ.ศ. 2550
| ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการกำหนดเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้
ในการสั่งให้ข้าราชการตุลาการไปช่วยทำงานชั่วคราว
พ.ศ. ๒๕๕๐
โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการกำหนดเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ในการสั่งให้ข้าราชการตุลาการไปช่วยทำงานชั่วคราว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการกำหนดเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ในการสั่งให้ข้าราชการตุลาการไปช่วยทำงานชั่วคราว
พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ เหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ในการสั่งให้ข้าราชการตุลาการไปช่วยทำงานชั่วคราว
ตามมาตรา ๒๑ วรรคสอง มีดังนี้
(๑)
การเปิดทำการศาลใหม่ที่ต้องสั่งให้ข้าราชการตุลาการไปปฏิบัติหน้าที่เป็นการชั่วคราว
(๒)
การเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลหรือการยกฐานะศาลซึ่งทำให้จำนวนข้าราชการตุลาการในศาลนั้นไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติหน้าที่
(๓)
การไปช่วยทำงานชั่วคราวตามตำแหน่งที่คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมให้ความเห็นชอบในระหว่างนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งตามมาตรา ๑๙
(๔)
การที่ข้าราชการตุลาการต้องอยู่ปฏิบัติหน้าที่ในศาลนั้นจนกว่าจะพิจารณาพิพากษาคดีที่ตนเป็นองค์คณะแล้วเสร็จ
ทั้งนี้ ตามที่ได้มีกฎหมายบัญญัติ
(๕)
การที่ผู้พิพากษาประจำศาลต้องไปปฏิบัติหน้าที่เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีตามประกาศคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผู้พิพากษาประจำศาลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
(๖)
การที่ข้าราชการตุลาการในตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามประกาศคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมสมควรช่วยทำงานในตำแหน่งผู้พิพากษาในศาลด้วยอีกตำแหน่งหนึ่งเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีในศาลเดียวกันนั้น
(๗)
การที่ตำแหน่งข้าราชการตุลาการว่างลงเนื่องจากข้าราชการตุลาการในศาลพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา
๓๒ ลาราชการมีกำหนดเกินกว่าสามเดือน ได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น โยกย้ายไปดำรงตำแหน่ง
หรือไปช่วยราชการในศาลอื่น หรือเข้ารับการอบรมหลักสูตรที่คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมกำหนด
ซึ่งต้องสั่งให้ข้าราชการตุลาการอื่นไปปฏิบัติหน้าที่เป็นการทดแทนก่อนจะมีการโยกย้ายแต่งตั้งประจำปี
หรือเสร็จสิ้นการอบรมหลักสูตร แล้วแต่กรณี
(๘)
การที่ปริมาณคดีในศาลคงค้างสูงและเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเสร็จไปโดยเร็วจึงต้องให้ข้าราชการตุลาการในศาลอื่นไปช่วยทำงานชั่วคราวในศาลนั้น
(๙)
การที่ข้าราชการตุลาการต้องไปช่วยทำงานชั่วคราวในศาลที่มีเขตอำนาจตลอดท้องที่ที่มีสถานการณ์ฉุกเฉิน
(๑๐)
การที่ประธานศาลฎีกาเห็นว่าหากจะให้ข้าราชการตุลาการผู้ใดปฏิบัติหน้าที่ในศาลที่ดำรงตำแหน่งต่อไปแล้วจะเป็นการเสียหายแก่การบริหารราชการศาลยุติธรรม
สมควรให้ข้าราชการตุลาการผู้นั้นไปช่วยทำงานชั่วคราวในศาลอื่น
(๑๑)
การที่ผู้พิพากษาประจำสำนักงานศาลยุติธรรมไปปฏิบัติหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีในศาลใดศาลหนึ่ง
(๑๒)
การที่ศาลใดศาลหนึ่งมีจำนวนข้าราชการตุลาการ
ซึ่งไม่รวมผู้พิพากษาหัวหน้าศาลปฏิบัติหน้าที่ไม่เกิน ๒ อัตรา
หากมีกรณีข้าราชการตุลาการลาหรือเดินทางไปราชการจะเกิดข้อขัดข้องในการปฏิบัติราชการ
จึงต้องสั่งให้ข้าราชการตุลาการศาลอื่นในจังหวัดเดียวกันนั้น
ช่วยทำงานชั่วคราวในศาลที่ขาดอัตรากำลังดังกล่าวด้วย อีกตำแหน่งหนึ่ง
ข้อ ๔ ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามระเบียบนี้
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐
วิรัช ลิ้มวิชัย
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๙๐ ก/หน้า ๑๐/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๐ |
563763 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2550
| ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
(ฉบับที่ ๘)
พ.ศ. ๒๕๕๐
โดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕
ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๘ และมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.
๒๕๔๓ คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่จะแต่งตั้งตามที่ระบุไว้ท้ายระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
พ.ศ. ๒๕๔๕ เฉพาะตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส
และให้ใช้มาตรฐานกำหนดตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา
มาตรฐานกำหนดตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์ภาค
และมาตรฐานกำหนดตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสในศาลชั้นต้น
ตามที่กำหนดไว้ท้ายระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๑
ของระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๑ การเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตุลาการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลชั้นต้น
ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ผู้พิพากษาศาลฎีกา
หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า ให้เลขานุการ ก.ต. จัดทำรายงานสรุปผลงานการทำสำนวนคดีและผลการประเมินการปฏิบัติราชการย้อนหลัง
๓ ปี ของผู้ได้รับการเสนอแต่งตั้งเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
ในกรณีที่
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลมีข้อสังเกตเกี่ยวกับผลการปฏิบัติราชการของผู้ได้รับการเสนอแต่งตั้ง
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลอาจสุ่มตัวอย่างผลงานการพิจารณาพิพากษาคดีหรืองานอื่นในหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ได้รับการเสนอแต่งตั้งมาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วยก็ได้
ข้อ ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๒๖
ของระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๒๖ ผู้พิพากษาอาวุโสให้รับราชการในจังหวัดที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครได้จังหวัดละไม่เกินห้าปี
โดยให้นับระยะเวลารวมถึงการช่วยราชการในจังหวัดนั้นด้วย
ผู้พิพากษาอาวุโสให้รับราชการที่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครได้ศาลละไม่เกินห้าปี
โดยให้นับระยะเวลารวมถึงการช่วยราชการในศาลนั้นด้วย เว้นแต่ในศาลชำนัญพิเศษ
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์แห่งข้อ ๒๖
ให้เริ่มนับระยะเวลารับราชการของผู้พิพากษาอาวุโสในจังหวัดที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครและศาลในเขตกรุงเทพมหานคร
ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๐
ประกาศ ณ วันที่ ๒๖
กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐
ปัญญา ถนอมรอด
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๖๒ ก/หน้า ๑๘/๒๘ กันยายน ๒๕๕๐ |
647469 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้งและการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ พ.ศ. 2545 (ฉบับ Update ณ วันที่ 11/08/2549)
| ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
พ.ศ. ๒๕๔๕
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ มาตรา ๔๗ และมาตรา ๕๑
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ในระเบียบนี้ หากข้อความมิได้แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
ก.ต. หมายความว่า คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
เลขานุการ ก.ต. หมายความว่า เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล หมายความว่า
คณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาล
เลขานุการ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล หมายความว่า เลขานุการคณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาล
จังหวัด หมายความว่า พื้นที่ในเขตอำนาจศาล
ภูมิลำเนา หมายความว่า บ้านที่เกิดหรือเป็นพื้นเพเดิม
ซึ่งอาจจะเป็นจังหวัดอื่นที่มิใช่บ้านเกิดก็ได้
ปริมณฑล หมายความว่า จังหวัดนนทบุรี จังหวัดนครปฐม
จังหวัดปทุมธานีจังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร
ข้อ ๔
ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๕
ให้เลขานุการ ก.ต. เสนอเรื่องการแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง และการโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลพิจารณาจัดทำความเห็นโดยเร็ว
ในกรณีการเลื่อนตำแหน่ง
หากมีการเสนอชื่อข้ามลำดับอาวุโสให้ระบุเหตุผลของการดำเนินการเช่นว่านั้นไว้ด้วย
ข้อ ๖
การพิจารณาของ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลในเรื่องการแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง
และการโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลดำเนินการตามหมวด ๔
แห่งระเบียบนี้
หมวด ๒
การแต่งตั้งและการเลื่อนตำแหน่ง
ข้อ ๗
การแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ให้พิจารณาถึงความรู้ความสามารถพื้นฐาน
ได้แก่ การพิจารณาพิพากษาคดี การเรียงคำพิพากษา การบริหารงานคดี ความรับผิดชอบ
ความซื่อสัตย์สุจริต ความไว้วางใจได้ ความวิริยะอุตสาหะ ชื่อเสียงเกียรติคุณ ประวัติการศึกษาอบรมและการรับราชการ
การดำรงตนของตนเองและคู่ครอง มารยาทสังคม และทัศนคติ
ประกอบกับแบบการประเมินบุคคลและรายงานการปฏิบัติราชการของข้าราชการตุลาการผู้นั้นว่ามีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่จะแต่งตั้งตามที่ระบุไว้ท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๘
การแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารงานศาล นอกจากพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ
๗ แล้ว ต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถในการบริหาร ความเป็นผู้นำ การแก้ปัญหา
การตัดสินใจ มนุษยสัมพันธ์ ความเอาใจใส่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เพื่อรักษาประโยชน์ของทางราชการและประชาชน
ประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับคดีสำคัญ ความเสียสละ
และการอุทิศตนเพื่อประโยชน์แก่ราชการศาลยุติธรรมรวมทั้งผลงานของผู้นั้นด้วย
ข้อ ๙
การแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ดำรงตำแหน่งในศาลชำนัญพิเศษตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค และผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
นอกจากพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ ๗ แล้ว ต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถเกี่ยวกับงานของศาลนั้นและความเหมาะสมกับตำแหน่งประกอบด้วย
ข้อ ๑๐
การเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตุลาการซึ่งดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
ให้เสนอแต่งตั้งจากข้าราชการตุลาการที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาลมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี
และผ่านการประเมินความเหมาะสมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมกำหนดอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาล
ข้อ ๑๑ การเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตุลาการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลชั้นต้น
ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ผู้พิพากษาศาลฎีกา
หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า ให้เลขานุการ ก.ต. จัดให้มีการสุ่มตัวอย่างผลงานการพิจารณาพิพากษาคดีหรืองานอื่นในหน้าที่รับผิดชอบของผู้ได้รับการเสนอแต่งตั้งย้อนหลังไปไม่เกินสามปีมาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
ข้อ ๑๒
ให้เลขานุการ ก.ต. จัดให้มีการประเมินบุคคลตามแบบการประเมินบุคคลและรายงานการปฏิบัติราชการของข้าราชการตุลาการท้ายระเบียบนี้เป็นประจำทุกปี
โดยให้ผู้ที่รับผิดชอบการประเมินส่งผลการประเมินไปถึงสำนักงานศาลยุติธรรมภายในเดือนเมษายนของแต่ละปี
ผู้รับการประเมินมีสิทธิขอตรวจดูการประเมินและผลการประเมินได้ตามวิธีการที่สำนักงานศาลยุติธรรมกำหนด
หมวด ๓
การโยกย้ายแต่งตั้ง
ข้อ ๑๓
การโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการตุลาการประจำปีมีสองวาระ ดังนี้
วาระปกติ พิจารณาดำเนินการประมาณเดือนสิงหาคมของแต่ละปี
สำหรับข้าราชการตุลาการทุกตำแหน่ง
ทั้งการโยกย้ายแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนผู้มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในแต่ละปีงบประมาณ
และการโยกย้ายแต่งตั้งเพื่อสับเปลี่ยนตำแหน่งโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑
ตุลาคมของปีนั้นสำหรับผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนผู้มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์
และให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ของปีถัดไปสำหรับผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
วาระพิเศษ พิจารณาดำเนินการประมาณเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไปสำหรับการโยกย้ายแต่งตั้งเพิ่มเติมตามความจำเป็น
ทั้งนี้
เพื่อแก้ไขข้อขัดข้องในการโยกย้ายแต่งตั้งตามวาระปกติ
ข้อ ๑๔
ตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามมาตรา ๑๓ (๑) (ข) ได้แก่ รองประธานศาลฎีกาและผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า สามารถสับเปลี่ยนตำแหน่งกันได้ทุกตำแหน่งโดยไม่มีผลกระทบต่อลำดับอาวุโส
ข้อ ๑๕[๒] ตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามมาตรา ๑๓ (๑) (ข) ได้แก่
ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา และผู้พิพากษาศาลฎีกา สามารถสับเปลี่ยนกับตำแหน่งตามมาตรา
๑๓ (๒) (ก) ได้แก่ ประธานศาลอุทธรณ์ และประธานศาลอุทธรณ์ภาค ได้ทุกตำแหน่งโดยไม่มีผลกระทบต่อลำดับอาวุโส
ข้อ ๑๖
ตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามมาตรา ๑๓ (๒) (ข) ได้แก่ รองประธานศาลอุทธรณ์
รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ และผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค
หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า สามารถสับเปลี่ยนตำแหน่งกันได้ทุกตำแหน่งโดยไม่มีผลกระทบต่อลำดับอาวุโส
ข้อ ๑๗
ตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามมาตรา ๑๓ (๓) (ก) ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
อธิบดีผู้พิพากษาภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล และผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลชั้นต้น
หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า สามารถสับเปลี่ยนตำแหน่งกันได้ทุกตำแหน่งโดยไม่มีผลกระทบต่อลำดับอาวุโส
ข้อ ๑๘[๓]
การพิจารณาโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ดำรงตำแหน่งในศาลจังหวัด
ศาลแขวง ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด หรือศาลจังหวัดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในจังหวัดใด
ให้คำนึงถึงลำดับอาวุโสและความเหมาะสมในจังหวัดนั้น
ข้อ ๑๙[๔]
การแต่งตั้งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลหรือผู้พิพากษาศาลชั้นต้นไปดำรงตำแหน่งในจังหวัดที่เป็นภูมิลำเนาของผู้นั้นหรือของคู่สมรสจะกระทำมิได้
เว้นแต่ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค
แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงศาลจังหวัดซึ่งศาลตั้งอยู่ที่อำเภอ
หรือกรณีมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งเป็นพิเศษเฉพาะราย
ข้อ ๒๐[๕] ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลรับราชการในจังหวัดที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้จังหวัดละไม่เกินสี่ปี
สำหรับผู้พิพากษาศาลชั้นต้นให้รับราชการในจังหวัดที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้จังหวัดละไม่เกินห้าปี
โดยให้นับระยะเวลารวมถึงการช่วยราชการในจังหวัดนั้นด้วย[๖]
กรณีผู้ที่รับราชการในศาลแขวง
ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด และศาลจังหวัดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวครบสองปี
หากมีตำแหน่งในศาลจังหวัดว่างลงอาจได้รับการพิจารณาแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งในศาลจังหวัด
สำหรับผู้ที่ดำรงตำแหน่งเลขาธิการประธานศาลฎีกา
รองเลขาธิการประธานศาลฎีกา เลขานุการและรองเลขานุการศาลสูง เลขานุการศาลชั้นต้น
และเลขานุการศาลยุติธรรมประจำภาค ให้มีวาระในการดำรงตำแหน่งทุกตำแหน่งดังกล่าวรวมกันไม่เกินสี่ปี
ข้อ
๒๑ (ยกเลิก)[๗]
การแต่งตั้งให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลไปดำรงตำแหน่งในศาลชั้นต้นในจังหวัดที่ผู้นั้นเคยดำรงตำแหน่งหรือเคยช่วยทำงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลมาก่อนจะกระทำมิได้
เว้นแต่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ข้อ ๒๒
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่รับราชการในศาลภูมิภาคยังไม่ครบระยะเวลาตามข้อ
๒๑ หากมีความจำเป็นอาจได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายมารับราชการที่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครได้
แต่จะขอโยกย้ายไปรับราชการในศาลภูมิภาคอีกไม่ได้จนกว่าจะครบสี่ปี
หรือจนกว่าจะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาล เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการศาลยุติธรรม
ข้อ ๒๓
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่มีความจำเป็นและประสงค์ไม่ออกไปดำรงตำแหน่งในศาลภูมิภาคอาจได้รับการพิจารณาให้รับราชการที่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครได้
แต่จะขอโยกย้ายไปรับราชการในศาลภูมิภาคอีกไม่ได้จนกว่าจะครบสี่ปี
หรือจนกว่าจะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาล เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการศาลยุติธรรม
ข้อ ๒๔[๘] ให้ผู้พิพากษาประจำศาลรับราชการที่ศาลชั้นต้นยกเว้นศาลแขวงตามระยะเวลาที่
ก.ต. เห็นสมควรกำหนด
ข้อ ๒๕
การแต่งตั้งผู้พิพากษาอาวุโสไปดำรงตำแหน่งในจังหวัดที่เป็นภูมิลำเนาของผู้นั้นหรือของคู่สมรสจะกระทำมิได้
เว้นแต่ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค
หรือกรณีมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งเป็นพิเศษเฉพาะราย
ข้อ ๒๖[๙] (ยกเลิก)
ข้อ ๒๗[๑๐] (ยกเลิก)
ข้อ ๒๘
ผู้พิพากษาอาวุโสที่รับราชการในศาลภูมิภาคยังไม่ครบระยะเวลาตามข้อ ๒๗
หากมีความจำเป็นอาจได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายมารับราชการที่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครได้
แต่จะขอโยกย้ายไปรับราชการในศาลภูมิภาคอีกไม่ได้จนกว่าจะครบสี่ปี เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการศาลยุติธรรม
ข้อ ๒๙
ในกรณีที่มีความเหมาะสมและเพื่อประโยชน์อย่างยิ่งแก่ราชการ ศาลยุติธรรม
ก.ต. อาจมีมติด้วยคะแนนเสียงสองในสามของจำนวนกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
ยกเว้นหลักเกณฑ์ในการโยกย้ายแต่งตั้งตามระเบียบนี้ได้
หมวด ๔
วิธีดำเนินการของ
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล
ข้อ ๓๐
การพิจารณาของ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลในเรื่องการแต่งตั้งและการเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตุลาการให้ดำเนินการ
ดังนี้
(๑) การแต่งตั้งประธานศาลฎีกาและผู้พิพากษาอาวุโส
หรือตำแหน่งอื่นตามที่ก.ต. เห็นสมควรให้เป็นการประชุมร่วมกันระหว่าง อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลทุกชั้นศาล โดยให้ประธาน อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลผู้มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้เรียกประชุม
(๒)
การเลื่อนตำแหน่งผู้พิพากษาในศาลชั้นอุทธรณ์ไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาในศาลฎีกาและการแต่งตั้งประธานศาลอุทธรณ์และประธานศาลอุทธรณ์ภาค
ให้เป็นการประชุมร่วมกันระหว่าง อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา
โดยให้ประธาน อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลนั้นผู้มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้เรียกประชุม
(๓)
การเลื่อนตำแหน่งผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาในศาลชั้นอุทธรณ์ให้เป็นการประชุมร่วมกันระหว่าง
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลอุทธรณ์และศาลชั้นต้นโดยให้ประธาน อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลนั้นผู้มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้เรียกประชุม
ข้อ ๓๑
การประชุมของ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล หากมีข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่ไม่ชัดเจน ที่ประชุมอาจเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้
ในกรณีที่มีการอภิปรายไปในทางที่เป็นผลร้ายแก่บุคคลใดจะต้องดำเนินการให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนั้น
รวมทั้งให้โอกาสบุคคลนั้นชี้แจงก่อน เว้นแต่จะปรากฏพยานหลักฐานเป็นที่ชัดแจ้งอยู่แล้ว
ข้อ ๓๒ อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลมีสิทธิแสวงหาข้อมูลในด้านต่าง ๆ ของบุคคลที่เลขานุการ ก.ต.
เสนอชื่อเพื่อประกอบการพิจารณาได้
ให้เลขานุการ ก.ต. อำนวยความสะดวกแก่ อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลในการที่จะเข้าตรวจดูข้อมูลภายในศาลยุติธรรม
และให้ความร่วมมือในการให้ได้มาซึ่งข้อมูลภายนอกศาลยุติธรรม
ข้อ ๓๓
ในการประชุม อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล ให้อนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาลทุกคนลงความเห็นว่าเห็นด้วยหรือไม่กับบุคคลที่เลขานุการ
ก.ต. เสนอชื่อให้พิจารณาพร้อมระบุเหตุผลเพื่อประกอบการพิจารณาของ ก.ต.
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลอาจเสนอข้อมูลของบุคคลอื่นที่เห็นว่าเป็นผู้ที่เหมาะสมกว่าบุคคลที่เลขานุการ
ก.ต. เสนอชื่อเพื่อประกอบการพิจารณาของ ก.ต. ด้วยก็ได้
ข้อ ๓๔
ให้เลขานุการ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลจัดทำรายงานสรุปผลการพิจารณาของ อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาล โดยมีสาระสำคัญครบถ้วนเสนอต่อ ก.ต.
หมวด ๕
การเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
ข้อ ๓๕
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า เมื่ออยู่ในชั้น ๒ มาครบห้าปีนับแต่วันที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งให้เลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้น ๓ ขั้นต่ำ
ข้อ ๓๖
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรือตำแหน่งอื่นที่ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นเมื่ออยู่ในชั้น
๓ ขั้นต่ำมาครบสามปีนับแต่วันที่ได้รับการเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้น
๓ ขั้นต่ำตามข้อ ๓๕ แล้ว ให้เลขานุการ ก.ต. เสนอให้เลื่อนขั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้น
๓ ขั้นสูงสุดต่อ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลเพื่อจัดทำความเห็นประกอบการพิจารณาของ ก.ต.
โดยเร็ว
การพิจารณาของ ก.ต. ตามวรรคหนึ่ง
ให้พิจารณารายงานการประเมินบุคคลและการปฏิบัติราชการประจำปีของข้าราชการตุลาการผู้นั้นประกอบด้วย
หากจะพิจารณาไม่ให้ผู้ใดเลื่อนขั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้น ๓
ขั้นสูงสุด ให้เลขานุการ ก.ต. ดำเนินการให้มีการสุ่มตัวอย่างผลงานการพิจารณาพิพากษาคดีของผู้นั้นย้อนหลังไปไม่เกินสามปีมาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
หมวด ๖
การประเมินสมรรถภาพของผู้พิพากษาอาวุโส
ข้อ ๓๗
ให้เลขานุการ ก.ต. จัดให้มีการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ
รวมทั้งการประเมินบุคคลและผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาอาวุโสว่ามีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสต่อไปหรือไม่
โดยให้เสนอรายชื่อบุคคลให้ ก.ต. แต่งตั้งเป็นคณะกรรมการประเมินจำนวนไม่น้อยกว่าเก้าคนแต่ไม่เกินสิบสองคน
ซึ่งในจำนวนนี้ต้องเป็นคณะกรรมการแพทย์จำนวนไม่น้อยกว่าสามคน
แล้วเสนอผลการประเมินต่อ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลทุกชั้นศาลเพื่อจัดทำความเห็นประกอบการพิจารณาของ
ก.ต. ให้แล้วเสร็จก่อนวันสิ้นปีงบประมาณที่ผู้พิพากษาอาวุโสผู้นั้นจะมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน
ข้อ ๓๘
ให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินบุคคลตามแบบการประเมินบุคคลและรายงานการปฏิบัติราชการของข้าราชการตุลาการตามข้อ
๑๒ มาใช้แก่การประเมินบุคคลของผู้พิพากษาอาวุโสด้วยโดยอนุโลม
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๓๙
มิให้นำความในข้อ ๑๑ มาใช้บังคับแก่การพิจารณาเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตุลาการประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๕
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
สันติ ทักราล
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
การประเมินบุคคลและรายงานการปฏิบัติราชการของข้าราชการตุลาการประจำปี พ.ศ. ....
๒. มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖[๑๑]
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗[๑๒]
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘[๑๓]
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๘[๑๔]
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๙[๑๕]
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๙[๑๖]
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๗๕ ก/หน้า ๔/๘ สิงหาคม ๒๕๔๕
[๒] ข้อ ๑๕ เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๓] ข้อ ๑๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗
[๔] ข้อ ๑๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘
[๕] ข้อ ๒๐
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗
[๖] ข้อ ๒๐ วรรคหนึ่ง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘
[๗] ข้อ ๒๑ วรรคหนึ่ง
ยกเลิกโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๘] ข้อ ๒๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๙] ข้อ ๒๖ ยกเลิกโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๑๐] ข้อ ๒๗ ยกเลิกโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๑๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๓๕ ก/หน้า ๗/๒๙ เมษายน ๒๕๔๖
[๑๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๑๐ ก/หน้า ๕๒/๒๒ มกราคม ๒๕๔๗
[๑๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๖ ก/หน้า ๔๘/๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘
[๑๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๒๓ ก/หน้า ๑๒/๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๘
[๑๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๘ ก/หน้า ๑๗/๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
[๑๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๘๑ ก/หน้า ๘/๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๙ |
647471 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้งและการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ พ.ศ. 2545 (ฉบับ Update ณ วันที่ 28/09/2550)
| ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
พ.ศ. ๒๕๔๕
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ มาตรา ๔๗ และมาตรา ๕๑
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ในระเบียบนี้ หากข้อความมิได้แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
ก.ต. หมายความว่า คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
เลขานุการ ก.ต. หมายความว่า เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล หมายความว่า
คณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาล
เลขานุการ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล หมายความว่า เลขานุการคณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาล
จังหวัด หมายความว่า พื้นที่ในเขตอำนาจศาล
ภูมิลำเนา หมายความว่า บ้านที่เกิดหรือเป็นพื้นเพเดิม
ซึ่งอาจจะเป็นจังหวัดอื่นที่มิใช่บ้านเกิดก็ได้
ปริมณฑล หมายความว่า จังหวัดนนทบุรี จังหวัดนครปฐม
จังหวัดปทุมธานีจังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร
ข้อ ๔
ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๕
ให้เลขานุการ ก.ต. เสนอเรื่องการแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง และการโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลพิจารณาจัดทำความเห็นโดยเร็ว
ในกรณีการเลื่อนตำแหน่ง
หากมีการเสนอชื่อข้ามลำดับอาวุโสให้ระบุเหตุผลของการดำเนินการเช่นว่านั้นไว้ด้วย
ข้อ ๖
การพิจารณาของ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลในเรื่องการแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง
และการโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลดำเนินการตามหมวด ๔
แห่งระเบียบนี้
หมวด ๒
การแต่งตั้งและการเลื่อนตำแหน่ง
ข้อ ๗
การแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ให้พิจารณาถึงความรู้ความสามารถพื้นฐาน
ได้แก่ การพิจารณาพิพากษาคดี การเรียงคำพิพากษา การบริหารงานคดี ความรับผิดชอบ
ความซื่อสัตย์สุจริต ความไว้วางใจได้ ความวิริยะอุตสาหะ ชื่อเสียงเกียรติคุณ ประวัติการศึกษาอบรมและการรับราชการ
การดำรงตนของตนเองและคู่ครอง มารยาทสังคม และทัศนคติ
ประกอบกับแบบการประเมินบุคคลและรายงานการปฏิบัติราชการของข้าราชการตุลาการผู้นั้นว่ามีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่จะแต่งตั้งตามที่ระบุไว้ท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๘
การแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารงานศาล นอกจากพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ
๗ แล้ว ต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถในการบริหาร ความเป็นผู้นำ การแก้ปัญหา
การตัดสินใจ มนุษยสัมพันธ์ ความเอาใจใส่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เพื่อรักษาประโยชน์ของทางราชการและประชาชน
ประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับคดีสำคัญ ความเสียสละ
และการอุทิศตนเพื่อประโยชน์แก่ราชการศาลยุติธรรมรวมทั้งผลงานของผู้นั้นด้วย
ข้อ ๙
การแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ดำรงตำแหน่งในศาลชำนัญพิเศษตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค และผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
นอกจากพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ ๗ แล้ว ต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถเกี่ยวกับงานของศาลนั้นและความเหมาะสมกับตำแหน่งประกอบด้วย
ข้อ ๑๐
การเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตุลาการซึ่งดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
ให้เสนอแต่งตั้งจากข้าราชการตุลาการที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาลมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี
และผ่านการประเมินความเหมาะสมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมกำหนดอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาล
ข้อ
๑๑[๒] การเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตุลาการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลชั้นต้น
ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ผู้พิพากษาศาลฎีกา
หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า ให้เลขานุการ ก.ต. จัดทำรายงานสรุปผลงานการทำสำนวนคดีและผลการประเมินการปฏิบัติราชการย้อนหลัง
๓ ปี ของผู้ได้รับการเสนอแต่งตั้งเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
ในกรณีที่
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลมีข้อสังเกตเกี่ยวกับผลการปฏิบัติราชการของผู้ได้รับการเสนอแต่งตั้ง
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลอาจสุ่มตัวอย่างผลงานการพิจารณาพิพากษาคดีหรืองานอื่นในหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ได้รับการเสนอแต่งตั้งมาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วยก็ได้
ข้อ ๑๒
ให้เลขานุการ ก.ต. จัดให้มีการประเมินบุคคลตามแบบการประเมินบุคคลและรายงานการปฏิบัติราชการของข้าราชการตุลาการท้ายระเบียบนี้เป็นประจำทุกปี
โดยให้ผู้ที่รับผิดชอบการประเมินส่งผลการประเมินไปถึงสำนักงานศาลยุติธรรมภายในเดือนเมษายนของแต่ละปี
ผู้รับการประเมินมีสิทธิขอตรวจดูการประเมินและผลการประเมินได้ตามวิธีการที่สำนักงานศาลยุติธรรมกำหนด
หมวด ๓
การโยกย้ายแต่งตั้ง
ข้อ ๑๓
การโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการตุลาการประจำปีมีสองวาระ ดังนี้
วาระปกติ พิจารณาดำเนินการประมาณเดือนสิงหาคมของแต่ละปี
สำหรับข้าราชการตุลาการทุกตำแหน่ง
ทั้งการโยกย้ายแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนผู้มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในแต่ละปีงบประมาณ
และการโยกย้ายแต่งตั้งเพื่อสับเปลี่ยนตำแหน่งโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑
ตุลาคมของปีนั้นสำหรับผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนผู้มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์
และให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ของปีถัดไปสำหรับผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
วาระพิเศษ
พิจารณาดำเนินการประมาณเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไปสำหรับการโยกย้ายแต่งตั้งเพิ่มเติมตามความจำเป็น
ทั้งนี้
เพื่อแก้ไขข้อขัดข้องในการโยกย้ายแต่งตั้งตามวาระปกติ
ข้อ ๑๔
ตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามมาตรา ๑๓ (๑) (ข) ได้แก่ รองประธานศาลฎีกาและผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า สามารถสับเปลี่ยนตำแหน่งกันได้ทุกตำแหน่งโดยไม่มีผลกระทบต่อลำดับอาวุโส
ข้อ ๑๕[๓] ตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามมาตรา ๑๓ (๑) (ข) ได้แก่
ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา และผู้พิพากษาศาลฎีกา สามารถสับเปลี่ยนกับตำแหน่งตามมาตรา
๑๓ (๒) (ก) ได้แก่ ประธานศาลอุทธรณ์ และประธานศาลอุทธรณ์ภาค ได้ทุกตำแหน่งโดยไม่มีผลกระทบต่อลำดับอาวุโส
ข้อ ๑๖
ตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามมาตรา ๑๓ (๒) (ข) ได้แก่ รองประธานศาลอุทธรณ์
รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ และผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค
หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า สามารถสับเปลี่ยนตำแหน่งกันได้ทุกตำแหน่งโดยไม่มีผลกระทบต่อลำดับอาวุโส
ข้อ ๑๗
ตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามมาตรา ๑๓ (๓) (ก) ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
อธิบดีผู้พิพากษาภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล และผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลชั้นต้น
หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า สามารถสับเปลี่ยนตำแหน่งกันได้ทุกตำแหน่งโดยไม่มีผลกระทบต่อลำดับอาวุโส
ข้อ ๑๘[๔]
การพิจารณาโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ดำรงตำแหน่งในศาลจังหวัด
ศาลแขวง ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด
หรือศาลจังหวัดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในจังหวัดใด ให้คำนึงถึงลำดับอาวุโสและความเหมาะสมในจังหวัดนั้น
ข้อ ๑๙[๕]
การแต่งตั้งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลหรือผู้พิพากษาศาลชั้นต้นไปดำรงตำแหน่งในจังหวัดที่เป็นภูมิลำเนาของผู้นั้นหรือของคู่สมรสจะกระทำมิได้
เว้นแต่ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค
แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงศาลจังหวัดซึ่งศาลตั้งอยู่ที่อำเภอ
หรือกรณีมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งเป็นพิเศษเฉพาะราย
ข้อ ๒๐[๖] ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลรับราชการในจังหวัดที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้จังหวัดละไม่เกินสี่ปี
สำหรับผู้พิพากษาศาลชั้นต้นให้รับราชการในจังหวัดที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้จังหวัดละไม่เกินห้าปี
โดยให้นับระยะเวลารวมถึงการช่วยราชการในจังหวัดนั้นด้วย[๗]
กรณีผู้ที่รับราชการในศาลแขวง
ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด และศาลจังหวัดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวครบสองปี
หากมีตำแหน่งในศาลจังหวัดว่างลงอาจได้รับการพิจารณาแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งในศาลจังหวัด
สำหรับผู้ที่ดำรงตำแหน่งเลขาธิการประธานศาลฎีกา
รองเลขาธิการประธานศาลฎีกา เลขานุการและรองเลขานุการศาลสูง เลขานุการศาลชั้นต้น
และเลขานุการศาลยุติธรรมประจำภาค
ให้มีวาระในการดำรงตำแหน่งทุกตำแหน่งดังกล่าวรวมกันไม่เกินสี่ปี
ข้อ
๒๑ (ยกเลิก)[๘]
การแต่งตั้งให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลไปดำรงตำแหน่งในศาลชั้นต้นในจังหวัดที่ผู้นั้นเคยดำรงตำแหน่งหรือเคยช่วยทำงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลมาก่อนจะกระทำมิได้
เว้นแต่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ข้อ ๒๒ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่รับราชการในศาลภูมิภาคยังไม่ครบระยะเวลาตามข้อ
๒๑ หากมีความจำเป็นอาจได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายมารับราชการที่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครได้
แต่จะขอโยกย้ายไปรับราชการในศาลภูมิภาคอีกไม่ได้จนกว่าจะครบสี่ปี
หรือจนกว่าจะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาล เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการศาลยุติธรรม
ข้อ ๒๓
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่มีความจำเป็นและประสงค์ไม่ออกไปดำรงตำแหน่งในศาลภูมิภาคอาจได้รับการพิจารณาให้รับราชการที่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครได้
แต่จะขอโยกย้ายไปรับราชการในศาลภูมิภาคอีกไม่ได้จนกว่าจะครบสี่ปี
หรือจนกว่าจะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาล เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการศาลยุติธรรม
ข้อ ๒๔[๙] ให้ผู้พิพากษาประจำศาลรับราชการที่ศาลชั้นต้นยกเว้นศาลแขวงตามระยะเวลาที่
ก.ต. เห็นสมควรกำหนด
ข้อ ๒๕
การแต่งตั้งผู้พิพากษาอาวุโสไปดำรงตำแหน่งในจังหวัดที่เป็นภูมิลำเนาของผู้นั้นหรือของคู่สมรสจะกระทำมิได้
เว้นแต่ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค
หรือกรณีมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งเป็นพิเศษเฉพาะราย
ข้อ ๒๖[๑๐] ผู้พิพากษาอาวุโสให้รับราชการในจังหวัดที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครได้จังหวัดละไม่เกินห้าปี
โดยให้นับระยะเวลารวมถึงการช่วยราชการในจังหวัดนั้นด้วย
ผู้พิพากษาอาวุโสให้รับราชการที่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครได้ศาลละไม่เกินห้าปี
โดยให้นับระยะเวลารวมถึงการช่วยราชการในศาลนั้นด้วย เว้นแต่ในศาลชำนัญพิเศษ
ข้อ ๒๗[๑๑] (ยกเลิก)
ข้อ ๒๘
ผู้พิพากษาอาวุโสที่รับราชการในศาลภูมิภาคยังไม่ครบระยะเวลาตามข้อ ๒๗
หากมีความจำเป็นอาจได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายมารับราชการที่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครได้
แต่จะขอโยกย้ายไปรับราชการในศาลภูมิภาคอีกไม่ได้จนกว่าจะครบสี่ปี เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการศาลยุติธรรม
ข้อ ๒๙
ในกรณีที่มีความเหมาะสมและเพื่อประโยชน์อย่างยิ่งแก่ราชการ ศาลยุติธรรม
ก.ต. อาจมีมติด้วยคะแนนเสียงสองในสามของจำนวนกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
ยกเว้นหลักเกณฑ์ในการโยกย้ายแต่งตั้งตามระเบียบนี้ได้
หมวด ๔
วิธีดำเนินการของ
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล
ข้อ ๓๐
การพิจารณาของ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลในเรื่องการแต่งตั้งและการเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตุลาการให้ดำเนินการ
ดังนี้
(๑) การแต่งตั้งประธานศาลฎีกาและผู้พิพากษาอาวุโส
หรือตำแหน่งอื่นตามที่ก.ต. เห็นสมควรให้เป็นการประชุมร่วมกันระหว่าง อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลทุกชั้นศาล โดยให้ประธาน อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลผู้มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้เรียกประชุม
(๒)
การเลื่อนตำแหน่งผู้พิพากษาในศาลชั้นอุทธรณ์ไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาในศาลฎีกาและการแต่งตั้งประธานศาลอุทธรณ์และประธานศาลอุทธรณ์ภาค
ให้เป็นการประชุมร่วมกันระหว่าง อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา
โดยให้ประธาน อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลนั้นผู้มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้เรียกประชุม
(๓)
การเลื่อนตำแหน่งผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาในศาลชั้นอุทธรณ์ให้เป็นการประชุมร่วมกันระหว่าง
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลอุทธรณ์และศาลชั้นต้นโดยให้ประธาน อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลนั้นผู้มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้เรียกประชุม
ข้อ ๓๑
การประชุมของ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล หากมีข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่ไม่ชัดเจน ที่ประชุมอาจเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้
ในกรณีที่มีการอภิปรายไปในทางที่เป็นผลร้ายแก่บุคคลใดจะต้องดำเนินการให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนั้น
รวมทั้งให้โอกาสบุคคลนั้นชี้แจงก่อน เว้นแต่จะปรากฏพยานหลักฐานเป็นที่ชัดแจ้งอยู่แล้ว
ข้อ ๓๒ อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลมีสิทธิแสวงหาข้อมูลในด้านต่าง ๆ ของบุคคลที่เลขานุการ ก.ต.
เสนอชื่อเพื่อประกอบการพิจารณาได้
ให้เลขานุการ ก.ต. อำนวยความสะดวกแก่ อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลในการที่จะเข้าตรวจดูข้อมูลภายในศาลยุติธรรม
และให้ความร่วมมือในการให้ได้มาซึ่งข้อมูลภายนอกศาลยุติธรรม
ข้อ ๓๓
ในการประชุม อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล ให้อนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาลทุกคนลงความเห็นว่าเห็นด้วยหรือไม่กับบุคคลที่เลขานุการ
ก.ต. เสนอชื่อให้พิจารณาพร้อมระบุเหตุผลเพื่อประกอบการพิจารณาของ ก.ต.
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลอาจเสนอข้อมูลของบุคคลอื่นที่เห็นว่าเป็นผู้ที่เหมาะสมกว่าบุคคลที่เลขานุการ
ก.ต. เสนอชื่อเพื่อประกอบการพิจารณาของ ก.ต. ด้วยก็ได้
ข้อ ๓๔
ให้เลขานุการ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลจัดทำรายงานสรุปผลการพิจารณาของ อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาล โดยมีสาระสำคัญครบถ้วนเสนอต่อ ก.ต.
หมวด ๕
การเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
ข้อ ๓๕
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า เมื่ออยู่ในชั้น ๒ มาครบห้าปีนับแต่วันที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งให้เลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้น ๓ ขั้นต่ำ
ข้อ ๓๖
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรือตำแหน่งอื่นที่ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นเมื่ออยู่ในชั้น
๓ ขั้นต่ำมาครบสามปีนับแต่วันที่ได้รับการเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้น
๓ ขั้นต่ำตามข้อ ๓๕ แล้ว ให้เลขานุการ ก.ต. เสนอให้เลื่อนขั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้น
๓ ขั้นสูงสุดต่อ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลเพื่อจัดทำความเห็นประกอบการพิจารณาของ ก.ต.
โดยเร็ว
การพิจารณาของ ก.ต. ตามวรรคหนึ่ง
ให้พิจารณารายงานการประเมินบุคคลและการปฏิบัติราชการประจำปีของข้าราชการตุลาการผู้นั้นประกอบด้วย
หากจะพิจารณาไม่ให้ผู้ใดเลื่อนขั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้น ๓
ขั้นสูงสุด ให้เลขานุการ ก.ต. ดำเนินการให้มีการสุ่มตัวอย่างผลงานการพิจารณาพิพากษาคดีของผู้นั้นย้อนหลังไปไม่เกินสามปีมาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
หมวด ๖
การประเมินสมรรถภาพของผู้พิพากษาอาวุโส
ข้อ ๓๗
ให้เลขานุการ ก.ต. จัดให้มีการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ
รวมทั้งการประเมินบุคคลและผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาอาวุโสว่ามีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสต่อไปหรือไม่
โดยให้เสนอรายชื่อบุคคลให้ ก.ต. แต่งตั้งเป็นคณะกรรมการประเมินจำนวนไม่น้อยกว่าเก้าคนแต่ไม่เกินสิบสองคน
ซึ่งในจำนวนนี้ต้องเป็นคณะกรรมการแพทย์จำนวนไม่น้อยกว่าสามคน
แล้วเสนอผลการประเมินต่อ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลทุกชั้นศาลเพื่อจัดทำความเห็นประกอบการพิจารณาของ
ก.ต. ให้แล้วเสร็จก่อนวันสิ้นปีงบประมาณที่ผู้พิพากษาอาวุโสผู้นั้นจะมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน
ข้อ ๓๘
ให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินบุคคลตามแบบการประเมินบุคคลและรายงานการปฏิบัติราชการของข้าราชการตุลาการตามข้อ
๑๒ มาใช้แก่การประเมินบุคคลของผู้พิพากษาอาวุโสด้วยโดยอนุโลม
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๓๙
มิให้นำความในข้อ ๑๑ มาใช้บังคับแก่การพิจารณาเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตุลาการประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๕
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
สันติ ทักราล
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
การประเมินบุคคลและรายงานการปฏิบัติราชการของข้าราชการตุลาการประจำปี พ.ศ. ....
๒.[๑๒] มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖[๑๓]
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗[๑๔]
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘[๑๕]
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๘[๑๖]
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๙[๑๗]
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๙[๑๘]
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๐[๑๙]
ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์แห่งข้อ ๒๖
ให้เริ่มนับระยะเวลารับราชการของผู้พิพากษาอาวุโสในจังหวัดที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครและศาลในเขตกรุงเทพมหานคร
ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๐
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๗๕ ก/หน้า ๔/๘ สิงหาคม ๒๕๔๕
[๒] ข้อ ๑๑
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๓] ข้อ ๑๕ เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๔] ข้อ ๑๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗
[๕] ข้อ ๑๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘
[๖] ข้อ ๒๐
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗
[๗] ข้อ ๒๐ วรรคหนึ่ง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘
[๘] ข้อ ๒๑ วรรคหนึ่ง
ยกเลิกโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๙] ข้อ ๒๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๑๐] ข้อ ๒๖ เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๑๑] ข้อ ๒๗ ยกเลิกโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๑๒] มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๑๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๓๕ ก/หน้า ๗/๒๙ เมษายน ๒๕๔๖
[๑๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๑๐ ก/หน้า ๕๒/๒๒ มกราคม ๒๕๔๗
[๑๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๖ ก/หน้า ๔๘/๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘
[๑๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๒๓ ก/หน้า ๑๒/๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๘
[๑๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๘ ก/หน้า ๑๗/๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
[๑๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๘๑ ก/หน้า ๘/๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๙
[๑๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๖๒ ก/หน้า ๑๘/๒๘ กันยายน ๒๕๕๐ |
568614 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมายและเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550
| ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
(ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๕๐
โดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓
แห่งระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๓ การประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
คือ
(๑)
เป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ หรือภาควิชานิติศาสตร์
หรือสาขาวิชานิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ
ซึ่งคณบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่ารับรองว่าได้สอนวิชากฎหมายตามหลักสูตรในคณะนิติศาสตร์
หรือภาควิชานิติศาสตร์ หรือสาขาวิชานิติศาสตร์มาแล้ว ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๒)
เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ซึ่งทำหน้าที่พนักงานสอบสวน
และผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่พนักงานสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า
๒๐ เรื่อง ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๓)
เป็นข้าราชการศาลยุติธรรมตำแหน่งเจ้าพนักงานศาลยุติธรรม (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานศาลยุติธรรม
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่
ก.ศ. กำหนด ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๔)
เป็นนายทหารซึ่งทำหน้าที่นายทหารสืบสวนสอบสวน หรือนายทหารสารวัตรสืบสวนสอบสวน
กระทรวงกลาโหม
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานสอบสวนคดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลทหารมาแล้วไม่น้อยกว่า
๒๐ เรื่อง ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๕)
เป็นข้าราชการตำแหน่งเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.)
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานสอบสวนคดียาเสพติดมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒๐
เรื่อง ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๖)
เป็นข้าราชการตำแหน่งเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
(สำนักงาน ป.ป.ช.) ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบทรัพย์สิน
หรือไต่สวนและวินิจฉัยคดีที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๗)
เป็นข้าราชการตำแหน่งนักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน (วุฒิทางกฎหมาย)
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) หรือนักวิชาการที่ดิน (วุฒิทางกฎหมาย)
กรมที่ดิน
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่
ก.พ. กำหนด ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๘)
เป็นเจ้าพนักงานการเลือกตั้ง (งานนิติการ) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (สำนักงาน
กกต.)
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่
ก.พ. กำหนด หรือเป็นเจ้าพนักงานการเลือกตั้ง (งานวินิจฉัยหรืองานสืบสวนสอบสวน)
หรือพนักงานสืบสวนสอบสวน สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานพิจารณาวินิจฉัยหรือสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า
๒๐ เรื่อง ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๙)
เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างในกระทรวงยุติธรรม ทำหน้าที่พนักงานคุมประพฤติซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานในสายงานคุมประพฤติที่
ก.พ. กำหนด ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๑๐)
เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือลูกจ้างในหน่วยงานของรัฐ
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกรตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่
ก.พ. หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่นกำหนด แล้วแต่กรณี
ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๑๑)
เป็นพนักงานของสถาบันการเงินที่ ก.ต. รับรอง
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร
ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๑๒)
เป็นอาจารย์ผู้บรรยายประจำวิชาของคณะนิติศาสตร์
ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ทบวงมหาวิทยาลัยให้การรับรองมาตรฐานการศึกษาของหลักสูตรนิติศาสตร์
ซึ่งคณบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่ารับรองว่าได้สอนวิชากฎหมายตามหลักสูตรในคณะนิติศาสตร์มาแล้วในวิชาใดวิชาหนึ่งหรือหลายวิชาดังนี้
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน กฎหมายล้มละลาย
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง
กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร
กฎหมายแรงงาน กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายพาณิชย์นาวี
หรือกฎหมายระหว่างประเทศ ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๑๓)
เป็นเจ้าหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญกำหนด
ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๑๔)
เป็นนักวิจัยหรือผู้ช่วยนักวิจัย (วุฒิทางกฎหมาย)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกำหนด
ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๑๕)
เป็นตำรวจซึ่งทำหน้าที่นิติกร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
และผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกรตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนด
ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๑๖)
เป็นพนักงานคดีปกครอง (วุฒิทางกฎหมาย)
สำนักงานศาลปกครองซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานที่สำนักงานศาลปกครองกำหนด
ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๑๗)
เป็นพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ หรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษ (วุฒิทางกฎหมาย) กรมสอบสวนคดีพิเศษ
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริง
ในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานที่กรมสอบสวนคดีพิเศษกำหนด ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๑๘)
เป็นเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน (วุฒิทางกฎหมาย)
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานสอบสวนคดีเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมาแล้วไม่น้อยกว่า
๒๐ เรื่อง ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๔ ให้เพิ่มความดังต่อไปนี้เป็นข้อ ๓/๑
ของระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมายและเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๓/๑ นอกจากวิชาชีพตามที่กำหนดในข้อ
๓ การประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมายให้รวมถึงวิชาชีพอย่างอื่นที่ได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายในลักษณะทำนองเดียวกันหรือเทียบได้กับวิชาชีพตามข้อ
๓ ซึ่ง ก.ต. รับรองเป็นรายกรณี
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐
วิรัช ลิ้มวิชัย
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑))
๒.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๒))
๓.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๓))
๔.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๔))
๕.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๕))
๖.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๖))
๗.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๗))
๘.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๘))
๙.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๙))
๑๐.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑๐))
๑๑.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑๑))
๑๒.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑๒))
๑๓.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ (แบบ ๑๓))
๑๔.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑๔))
๑๕.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑๘))
๑๖.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑๙))
๑๗.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๒๐))
๑๘.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๒๑))
๑๙.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๒๒))
๒๐.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๒๓))
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๖ มกราคม ๒๕๕๑
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๑๐๑ ก/หน้า ๕๐/๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๐ |
647443 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. 2545 (ฉบับ Update ณ วันที่ 15/02/2548)
| ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ
ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
พ.ศ. ๒๕๔๕
โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคสอง วรรคสาม และมาตรา ๓๐
วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๔
ในระเบียบนี้ หากมิได้กำหนดไว้โดยเฉพาะเป็นอย่างอื่น
ก.ต. หมายความว่า คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการทดสอบความรู้ที่ ก.ต.
แต่งตั้งขึ้นเพื่อทำการทดสอบความรู้ผู้สมัคร
ผู้สมัคร หมายความว่า ผู้สมัครทดสอบความรู้ตามมาตรา ๒๘
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๕[๒] เมื่อสมควรจะมีการทดสอบความรู้เมื่อใด
ให้เลขานุการ ก.ต. เสนอขอความเห็นชอบจาก ก.ต. เพื่อจัดให้มีการทดสอบความรู้ ทั้งนี้
เพื่อประโยชน์แห่งราชการศาลยุติธรรม ก.ต.
อาจจะกำหนดให้มีการทดสอบความรู้ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ เฉพาะข้อ (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) หรือ (ช) ข้อใดข้อหนึ่ง
หรือหลายข้อในการทดสอบความรู้แต่ละคราวก็ได้
ให้
ก.ต. ประกาศเกี่ยวกับการรับสมัคร
และแต่งตั้งคณะกรรมการทดสอบความรู้ขึ้นคณะหนึ่งตามจำนวนที่จำเป็น ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงคุณสมบัติ
ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ในการสอน
และการเป็นกรรมการสอบวิชากฎหมายของผู้ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งเป็นส่วนสำคัญ
ข้อ ๖
ในกรณีที่ระเบียบนี้มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะทำงาน
ออกประกาศ หรือกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการทดสอบความรู้ตามที่เห็นสมควร
หมวด ๒
คุณวุฒิและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพ
ข้อ ๗
ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ก) (ข) หรือ (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ต้องได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายต่อไปนี้จากต่างประเทศหรือในการศึกษาปริญญาโททางกฎหมายในประเทศไทย
แล้วแต่กรณีด้วย คือ
(๑) กฎหมายอาญา
(๒) กฎหมายแพ่ง
ซึ่งพอเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์รวม ๔ วิชา หรือกฎหมายแพ่ง
ซึ่งพอเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
และกฎหมายพิเศษตามที่ระบุท้ายระเบียบนี้ รวมกันแล้วไม่น้อยกว่า ๔ วิชา และ
(๓) กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน
หรือกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือกฎหมายล้มละลาย
ผู้สมัครที่ได้ศึกษาและสอบไล่ได้ตามหลักสูตรการศึกษากฎหมายดังต่อไปนี้
ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องศึกษาวิชากฎหมายตามวรรคหนึ่ง
(๑)
ผู้สมัครที่ได้ศึกษาและสอบไล่ได้ตามหลักสูตรการศึกษากฎหมายที่จัดไว้เป็นหลักสูตรเฉพาะด้านในวิชากฎหมายเด็กและเยาวชน
กฎหมายแรงงาน กฎหมายภาษีอากร กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ
กฎหมายพาณิชย์นาวี กฎหมายล้มละลาย
(๒)
ผู้สมัครที่ได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายที่อยู่ในกลุ่มวิชากฎหมายกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งตามวรรคสอง
(๑) ไม่น้อยกว่า ๔ วิชา และได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งอีกไม่น้อยกว่า
๒ วิชา โดยในจำนวนนี้อย่างน้อย ๑ วิชา ต้องเป็นวิชาตาม (๑) (๓) หรือกฎหมายแพ่ง
ซึ่งพอเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ข้อ ๘
เพื่อประโยชน์ในการคำนวณจำนวนวิชาที่กำหนดในข้อ ๖ วรรคหนึ่ง (๒) และวรรคสอง
(๒) ถ้าผู้สมัครคนใดได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายในระบบการจัดการศึกษาที่กำหนดให้มีการเรียนการสอนวิชากฎหมายนั้นตลอดปีการศึกษาและมีการวัดผลเมื่อสิ้นปีการศึกษาให้ถือว่าผู้นั้นได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายตามที่กำหนดไว้ในข้อดังกล่าว
๒ วิชา
ข้อ ๘/๑[๓] ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓
ต้องสอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
โดยมีหลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่าสองปี หรือหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่าสองปี
หรือสอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศซึ่ง
ก.ต. รับรอง โดยมีหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่าสองปี
ข้อ ๙
ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ง) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ต้องได้สอนวิชากฎหมายตามหลักสูตรในคณะนิติศาสตร์ หรือเทียบเท่าคณะนิติศาสตร์มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า
๕ ปี ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๑๐
ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (จ) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ต้องเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่ง
(๑) นิติกร ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่
ก.ศ. กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๖ ปี ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ หรือ
(๒) เจ้าพนักงานศาลยุติธรรม
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในด้านกฎหมายอย่างแท้จริงตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่
ก.ศ. กำหนด เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๖ ปี ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
ทั้งนี้ ผู้สมัครตาม (๑) และ (๒)
จะต้องเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งนิติกรหรือเจ้าพนักงานศาลยุติธรรมไม่ต่ำกว่าระดับ
๖
การนับระยะเวลาการปฏิบัติงานของผู้สมัครตามวรรคหนึ่ง ให้นับเฉพาะเวลาที่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งตามที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งและได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนั้นเท่านั้น
เพื่อประโยชน์ในการนับระยะเวลาการปฏิบัติงานของผู้สมัครตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้นั้นเคยดำรงตำแหน่งนิติกร เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
หรือพนักงานคุมประพฤติในกระทรวงยุติธรรมอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ใช้บังคับและได้โอนมาเป็นข้าราชการศาลยุติธรรมโดยผลของกฎหมายดังกล่าวหรือโดยวิธีอื่นก่อนวันที่
๑ เมษายน ๒๕๔๕ หากผู้บังคับบัญชารับรองตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ว่าในระหว่างที่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งดังกล่าวในกระทรวงยุติธรรมได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่
ก.พ. กำหนด
ก็ให้นับเวลาที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าวรวมเป็นเวลาปฏิบัติงานของผู้สมัครนั้นด้วย
ข้อ ๑๑
ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ฉ) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ต้องสอบไล่ได้ปริญญาโทหรือปริญญาเอกหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาแพทยศาสตร์
ทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์
สถาปัตยกรรมศาสตร์ หรือการบัญชี และได้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม เภสัชกรรม
ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ การพยาบาล วิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรือเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
แล้วแต่กรณี มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ปี หรือได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายตามที่ระบุไว้ในมาตรา
๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
ตามเงื่อนไขในข้อ ๑๓ มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ปี
ข้อ ๑๒
ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ช) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ต้องสอบไล่ได้ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาแพทยศาสตร์
ทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์
หรือการบัญชี และได้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม เภสัชกรรม ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์
การพยาบาล วิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรือเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต แล้วแต่กรณี มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า
๑๐ ปี
ผู้สมัครตามวรรคหนึ่ง ต้องส่งหลักฐานที่แสดงประสบการณ์ในการทำงาน
ผลงานหรือความรู้เฉพาะด้านในวิชาการด้านนั้น ๆ เพื่อประกอบการประเมินความรู้ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพของคณะอนุกรรมการประเมินซึ่ง
ก.ต. แต่งตั้งขึ้น
ผู้ผ่านการประเมินของคณะอนุกรรมการประเมินจึงจะเป็นผู้มีสิทธิเข้ารับการทดสอบความรู้ในวิชากฎหมาย
ข้อ ๑๓
ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ฉ) (ช) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม เภสัชกรรม ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์
การพยาบาล วิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรือเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนจะต้องมีหนังสือรับรองของผู้บังคับบัญชามาแสดงว่าได้ประกอบวิชาชีพดังกล่าวอย่างแท้จริงตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
ผู้สมัครตามวรรคหนึ่งซึ่งมิได้ประกอบวิชาชีพดังกล่าวในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนจะต้องมีหนังสือรับรองตนเองมาแสดงว่าได้ประกอบวิชาชีพดังกล่าวอย่างแท้จริงตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
หมวด ๓
เงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย
ข้อ ๑๔
ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ข) (ค)หรือ (ฉ) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นทนายความ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
นายทหารซึ่งทำหน้าที่นายทหารสืบสวนสอบสวนหรือนายทหารสารวัตรสืบสวนสอบสวน
เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
หรือเจ้าพนักงานการเลือกตั้ง (งานวินัจฉัยหรืองานสืบสวนสอบสวน) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ตามมาตรา ๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.
๒๕๔๓ จะต้องได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ดังกล่าวไม่น้อยกว่าที่กำหนด ดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นทนายความจะต้องได้ว่าความในศาลโดยทำหน้าที่หรือมีส่วนร่วมทำหน้าที่ทนายความในการที่ศาลออกนั่งพิจารณามาแล้วไม่น้อยกว่า
๑๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ข) หรือ (ค) และไม่น้อยกว่า ๓๐ เรื่อง
สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ฉ) ซึ่งในจำนวนนี้ต้องเป็นคดีแพ่งไม่น้อยกว่า ๕
เรื่อง
(๒) ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นพนักงานฝ่ายปกครอง
หรือตำรวจต้องปฏิบัติงานในหน้าที่พนักงานสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ เรื่อง
สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ข) หรือ (ค) และไม่น้อยกว่า ๓๐ เรื่อง
สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ฉ)
(๓)
ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นนายทหารซึ่งทำหน้าที่นายทหารสืบสวนสอบสวนหรือนายทหารสารวัตรสืบสวนสอบสวน
กระทรวงกลาโหม ต้องได้ปฏิบัติงานสอบสวนคดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลทหารมาแล้วไม่น้อยกว่า
๑๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ข) หรือ (ค) และไม่น้อยกว่า ๓๐ เรื่อง
สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ฉ)
(๔) ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.)
ต้องปฏิบัติงานสอบสวนคดียาเสพติดมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ เรื่อง
สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ข) หรือ (ค) และไม่น้อยกว่า ๓๐ เรื่อง
สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ฉ)
(๕)
ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นเจ้าพนักงานการเลือกตั้ง (งานวินิจฉัยหรืองานสืบสวนสอบสวน)
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (สำนักงาน กกต.) ต้องปฏิบัติงานพิจารณาวินิจฉัยหรือสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า
๑๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ข) หรือ (ค) และไม่น้อยกว่า ๓๐ เรื่อง
สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ฉ)
ข้อ ๑๕
ผู้สมัครที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายตามข้อ ๑๔ ต้องมีหนังสือรับรองของผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาหรือของผู้บังคับบัญชา
แล้วแต่กรณี มาแสดงว่าได้ทำหน้าที่นั้นอย่างแท้จริงตามแบบที่กำหนดในระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๑๖
ผู้ที่มีคุณสมบัติและปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วน หรือแต่เพียงบางส่วนตามประกาศคณะกรรมการตุลาการ
เรื่องกำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพตามมาตรา
๒๗ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ฉบับลงวันที่
๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ให้ถือว่าได้ประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมายและปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพนั้น
ๆ ครบถ้วนแล้ว หรือแต่เพียงส่วนนั้น แล้วแต่กรณี ตามที่คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมกำหนดตามนัยระเบียบนี้
ข้อ ๑๗
ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งรองจ่าศาลอยู่ก่อนวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๔ และยังคงปฏิบัติหน้าที่เดิมในตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสำนักงานศาลยุติธรรม
โดยมีผู้บังคับบัญชารับรองตามแบบที่กำหนดในระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้ถือว่าการปฏิบัติหน้าที่เดิมต่อมานั้นเป็นการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
และได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพนั้น ๆ
โดยให้นับระยะเวลาต่อเนื่องกันไป
หมวด ๔
หลักเกณฑ์การทดสอบความรู้
ข้อ ๑๘[๔] การทดสอบความรู้ของผู้สมัครให้มีทั้งการสอบข้อเขียนและการสอบปากเปล่า
ภายใต้บังคับข้อ
๑๙/๑ ข้อ ๒๐/๑ และข้อ ๒๐/๒
วิชาที่ทดสอบ คือ กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน พระธรรมนูญศาลยุติธรรม
และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
หรือกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา หรือกฎหมายภาษีอากร หรือกฎหมายแรงงาน
หรือกฎหมายล้มละลาย หรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กับภาษาอังกฤษ กฎหมายรัฐธรรมนูญ
หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมและระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม
ข้อ ๑๙[๕] การสอบข้อเขียนมี ๒ วัน คือ
(๑) วันที่หนึ่ง
วิชากฎหมายอาญา จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๒ ข้อ กับวิชาภาษาอังกฤษ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมและระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม
ตามที่กำหนดในข้อ ๑๙/๑ จำนวน ๓ ข้อ เวลา ๓ ชั่วโมง ๓๐ นาที คะแนนเต็ม ๗๐
(๒) วันที่สอง
วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จำนวน ๒ ข้อ
กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน จำนวน ๑ ข้อ พระธรรมนูญศาลยุติธรรม จำนวน ๑ ข้อ
และวิชากฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายล้มละลาย
หรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ จำนวน ๑ ข้อ เวลา ๓ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๗๐
ผู้สอบต้องปฏิบัติตามระเบียบการสอบข้อเขียนท้ายระเบียบนี้โดยเคร่งครัด
และให้ประธานกรรมการรับผิดชอบในการจัดทำรหัสสมุดคำตอบของผู้สอบทุกคนแยกตามวันที่สอบโดยไม่ให้รหัสซ้ำกันแล้วเก็บรักษารหัสดังกล่าวไว้ด้วยตนเอง
คณะกรรมการอาจจัดตัวบทกฎหมายที่ไม่มีข้อความอื่นใดไว้ให้ผู้สอบใช้ประกอบการสอบวิชาใดในห้องสอบก็ได้
ผู้สอบที่ขาดสอบ
หรือเข้าสอบแต่ไม่ทำคำตอบเลยในการสอบข้อเขียนวิชากฎหมายวันใดวันหนึ่งจะไม่มีสิทธิเข้าสอบปากเปล่า
ข้อ ๑๙/๑[๖]
ให้ผู้สมัครที่เลือกสอบในกฎหมายลักษณะวิชากฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายล้มละลาย หรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ
ตามข้อ ๑๙ วรรคหนึ่ง (๒) แสดงความจำนงในวันสมัครสอบว่าจะสอบลักษณะวิชากฎหมายใด
ให้ผู้สมัครเลือกสอบในวิชาภาษาอังกฤษ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมและระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม
ตามข้อ ๑๙ วรรคหนึ่ง (๑) ดังต่อไปนี้
(๑) ให้ผู้สมัครตามความในมาตรา
๒๘ (๒) (ก) (ข) (ค) (ง) (ฉ) (ช) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ สอบวิชาภาษาอังกฤษข้อที่หนึ่งและข้อที่สอง
และเลือกสอบในวิชาภาษาอังกฤษข้อที่สาม กฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมและระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรมอีกจำนวน
๑ ข้อ
(๒)
ให้ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (จ) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ สอบวิชาภาษาอังกฤษข้อที่หนึ่ง และเลือกสอบในวิชาภาษาอังกฤษข้อที่สองและข้อที่สาม
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมและระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรมอีกจำนวน
๒ ข้อ
ข้อ ๒๐[๗] ในการออกข้อสอบ ให้คณะกรรมการออกข้อสอบ
ดังนี้
(๑) วิชากฎหมายอาญา
และกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้ออกข้อสอบวิชาละ ๒ ข้อ
โดยให้ออกข้อสอบเป็นคำถามเกี่ยวกับแนวความคิดทางกฎหมาย หลักกฎหมาย
หรือปัญหาเชิงทฤษฎีที่ให้ผู้สอบแสดงทักษะในการให้เหตุผลและวิเคราะห์วิชาละ ๑ ข้อ
และเป็นคำถามเกี่ยวกับปัญหาเชิงปฏิบัติวิชาละ ๑ ข้อ
(๒) วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้ออกข้อสอบวิชาละ ๒ ข้อ
(๓) วิชากฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมและระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน
กฎหมายล้มละลายและกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ ให้ออกข้อสอบวิชาละ ๑ ข้อ
(๔) วิชาภาษาอังกฤษ
ให้ออกข้อสอบ ๓ ข้อ
โดยให้ออกข้อสอบข้อที่หนึ่งเป็นคำถามที่ให้แปลข้อความภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษและภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย
๑ ข้อ
ข้อที่สองเป็นคำถามภาษาอังกฤษที่ทดสอบความเข้าใจในการอ่านบทความกฎหมายภาษาอังกฤษ ๑
ข้อ และข้อที่สามเป็นคำถามที่ให้ผู้สมัครเขียนอธิบาย
หรือวินิจฉัยปัญหากฎหมายเป็นภาษาอังกฤษ ๑ ข้อ
หากผู้สอบทำข้อสอบในวิชาที่ให้เลือกตอบเกินกว่าที่กำหนด
ให้ถือข้อที่ได้คะแนนน้อยที่สุดเป็นข้อที่กำหนดให้ทำ
ข้อ ๒๐/๑[๘] ในกรณีที่ ก.ต.
กำหนดให้มีการทดสอบความรู้เฉพาะผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ก) (ข)
มิให้นำความในข้อ ๑๙ วรรคหนึ่ง ข้อ ๑๙/๑ และข้อ ๒๐
มาใช้บังคับและให้ดำเนินการทดสอบความรู้ ดังนี้
(๑) การสอบข้อเขียน
ให้สอบวิชากฎหมายอาญา จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๒ ข้อ
วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จำนวน ๒ ข้อ
และวิชากฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายล้มละลาย
หรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ จำนวน ๑ ข้อ เวลา ๓ ชั่วโมง ๔๕ นาที คะแนนเต็ม ๙๐
กับวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน ๓ ข้อ เวลา ๓ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๖๐
โดยสำหรับลักษณะวิชาที่ให้เลือกสอบ ผู้สมัครต้องแสดงความจำนงว่าจะสอบลักษณะวิชากฎหมายใดในวันสมัครสอบ
(๒)
ในการออกข้อสอบวิชากฎหมาย ให้คณะกรรมการออกข้อสอบวิชากฎหมายอาญา วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์
วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้ออกข้อสอบวิชาละ ๒
ข้อ โดยให้ออกข้อสอบเป็นคำถามเกี่ยวกับแนวความคิดทางกฎหมาย หลักกฎหมาย
หรือปัญหาเชิงทฤษฎีที่ให้ผู้สอบแสดงทักษะในการให้เหตุผลและวิเคราะห์วิชาละ ๑ ข้อ
และเป็นคำถามเกี่ยวกับปัญหาเชิงปฏิบัติวิชาละ ๑ ข้อ วิชากฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน
กฎหมายล้มละลายหรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ ให้ออกข้อสอบเป็นคำถามเกี่ยวกับแนวความคิดทางกฎหมาย
หลักกฎหมาย หรือปัญหาเชิงทฤษฎีที่ให้ผู้สอบแสดงทักษะในการให้เหตุผลและวิเคราะห์วิชาละ
๑ ข้อ
(๓)
ในการออกข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ ให้ออกข้อสอบ ๓ ข้อ
โดยให้ออกข้อสอบข้อที่หนึ่งเป็นคำถามที่ให้แปลข้อความภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ๑ ข้อ
ข้อที่สองเป็นคำถามภาษาอังกฤษที่ทดสอบความเข้าใจในการอ่านบทความกฎหมายภาษาอังกฤษ ๑
ข้อ และข้อที่สามเป็นคำถามที่ให้ผู้สมัครเขียนอธิบาย หรือวินิจฉัยปัญหากฎหมายเป็นภาษาอังกฤษ
๑ ข้อ
(๔)
ให้ผู้สมัครที่เลือกสอบในวิชากฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน กฎหมายรัฐธรรมนูญ
กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายล้มละลาย
หรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ ตามข้อ ๒๐/๑ (๑)
แสดงความจำนงในวันสมัครสอบว่าจะสอบลักษณะวิชากฎหมายใด
ข้อ ๒๐/๒[๙] ก.ต.
อาจกำหนดให้สอบวิชาภาษาต่างประเทศอื่นแทนวิชาภาษาอังกฤษก็ได้ ทั้งนี้ ให้นำความในข้อ ๒๐/๑
มาใช้บังคับกับการสอบวิชาภาษาต่างประเทศอื่นโดยอนุโลม
ข้อ ๒๑[๑๐] ในการตรวจคำตอบแต่ละข้อ
ให้องค์คณะซึ่งประกอบด้วยกรรมการทดสอบความรู้อย่างน้อยสองคนตรวจแล้วให้คะแนนคำตอบตามหลักเกณฑ์การตรวจและการให้คะแนนที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
และให้ผู้สอบได้คะแนนคำตอบตามค่าเฉลี่ยที่คำนวณจากคะแนนที่กรรมการทดสอบความรู้แต่ละคนกำหนดให้
ข้อ ๒๒
การสอบปากเปล่าให้กระทำโดยวิธีถามผู้สมัครเรียงตัว กำหนดเวลาประมาณคนละ ๒๕
นาที คะแนนเต็ม ๖๐ โดยให้กรรมการทดสอบความรู้แต่ละคนที่ทำการสอบปากเปล่าผู้สมัครให้คะแนนแบ่งตามหัวข้อที่กำหนดในแบบการให้คะแนนการสอบปากเปล่าท้ายระเบียบนี้
และให้ผู้สมัครได้คะแนนการสอบปากเปล่าตามค่าเฉลี่ยที่คำนวณจากคะแนนที่กรรมการทดสอบความรู้แต่ละคนกำหนดให้
ข้อ ๒๓
ผู้สมัครต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ของคะแนนสอบข้อเขียนทั้งหมด
จึงจะมีสิทธิเข้าสอบปากเปล่า และต้องได้คะแนนสอบปากเปล่าไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ของคะแนนสอบปากเปล่า
จึงจะเป็นผู้ผ่านการสอบปากเปล่า เมื่อนำคะแนนสอบข้อเขียนกับคะแนนสอบปากเปล่ารวมกันต้องได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ
๖๐ ของคะแนนทั้งหมดจึงจะอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
ข้อ ๒๔ เมื่อทดสอบความรู้เสร็จแล้ว ก.ต.
จะประกาศรายชื่อผู้ที่อยู่ในเกณฑ์จะได้รับการบรรจุเรียงตามลำดับคะแนนไว้ ณ
สำนักงานศาลยุติธรรม
หมวด ๕
อัตราส่วนในการบรรจุ
ข้อ ๒๕
การบรรจุข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาตามความในมาตรา ๒๘
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ นั้น ให้บรรจุได้ในอัตราส่วนของจำนวนผู้ที่สอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาได้ไม่เกินหนึ่งในสาม
แต่ถ้าขณะใดไม่มีผู้ที่สอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาอยู่แล้วก็ให้บรรจุได้โดยไม่มีอัตราส่วน
ภายใต้บังคับวรรคหนึ่ง การบรรจุข้าราชการตุลาการตามมาตรา ๒๘
(๒) (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) หรือ (ช) ซึ่งมีคุณวุฒิต่างกัน
ให้บรรจุได้ในอัตราส่วนของจำนวนผู้ที่อยู่ในเกณฑ์จะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาแต่ละคุณวุฒิตามที่
ก.ต. กำหนด
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕
สันติ ทักราล
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
[เอกสารแนบท้าย]
๑. กฎหมายพิเศษ
๒. แบบการให้คะแนนการสอบปากเปล่าในการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
๓.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ง)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (สนามเล็ก
(แบบ ๑))
๔.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (จ) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ (สนามเล็ก (แบบ ๒))
๕.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (จ)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (สนามเล็ก
(แบบ ๓))
๖.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ฉ) (ช)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (สนามเล็ก
(แบบ ๔))
๗.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ฉ) (ช)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (สนามเล็ก
(แบบ ๕))
๘.[๑๑]
ระเบียบการสอบข้อเขียนสำหรับการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
๙.[๑๒]
หลักเกณฑ์การตรวจและการให้คะแนนในการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖[๑๓]
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๘[๑๔]
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๕ ก/หน้า ๘/๑๑ มกราคม ๒๕๔๕
[๒] ข้อ ๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๘
[๓] ข้อ ๘/๑ เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๔] ข้อ ๑๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๘
[๕] ข้อ ๑๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๖] ข้อ ๑๙/๑ เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๗] ข้อ ๒๐
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๘] ข้อ ๒๐/๑ เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๘
[๙] ข้อ ๒๐/๒ เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๘
[๑๐] ข้อ ๒๑
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๑๑] ระเบียบการสอบข้อเขียนสำหรับการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๑๒] หลักเกณฑ์การตรวจและการให้คะแนนในการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๑๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๗๓ ก/หน้า ๘/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๖
[๑๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๖ ก/หน้า ๔๕/๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ |
647445 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. 2545 (ฉบับ Update ณ วันที่ 09/11/2548)
| ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ
ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
พ.ศ. ๒๕๔๕
โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคสอง วรรคสาม และมาตรา ๓๐
วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๔
ในระเบียบนี้ หากมิได้กำหนดไว้โดยเฉพาะเป็นอย่างอื่น
ก.ต. หมายความว่า คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการทดสอบความรู้ที่ ก.ต.
แต่งตั้งขึ้นเพื่อทำการทดสอบความรู้ผู้สมัคร
ผู้สมัคร หมายความว่า ผู้สมัครทดสอบความรู้ตามมาตรา ๒๘
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๕[๒] เมื่อสมควรจะมีการทดสอบความรู้เมื่อใด
ให้เลขานุการ ก.ต. เสนอขอความเห็นชอบจาก ก.ต. เพื่อจัดให้มีการทดสอบความรู้ ทั้งนี้
เพื่อประโยชน์แห่งราชการศาลยุติธรรม ก.ต.
อาจจะกำหนดให้มีการทดสอบความรู้ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ เฉพาะข้อ (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) หรือ (ช) ข้อใดข้อหนึ่ง
หรือหลายข้อในการทดสอบความรู้แต่ละคราวก็ได้
ให้
ก.ต. ประกาศเกี่ยวกับการรับสมัคร
และแต่งตั้งคณะกรรมการทดสอบความรู้ขึ้นคณะหนึ่งตามจำนวนที่จำเป็น ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงคุณสมบัติ
ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ในการสอน
และการเป็นกรรมการสอบวิชากฎหมายของผู้ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งเป็นส่วนสำคัญ
ข้อ ๖
ในกรณีที่ระเบียบนี้มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะทำงาน
ออกประกาศ หรือกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการทดสอบความรู้ตามที่เห็นสมควร
หมวด ๒
คุณวุฒิและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพ
ข้อ ๗
ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ก) (ข) หรือ (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ต้องได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายต่อไปนี้จากต่างประเทศหรือในการศึกษาปริญญาโททางกฎหมายในประเทศไทย
แล้วแต่กรณีด้วย คือ
(๑) กฎหมายอาญา
(๒) กฎหมายแพ่ง
ซึ่งพอเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์รวม ๔ วิชา หรือกฎหมายแพ่ง
ซึ่งพอเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
และกฎหมายพิเศษตามที่ระบุท้ายระเบียบนี้ รวมกันแล้วไม่น้อยกว่า ๔ วิชา และ
(๓) กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน
หรือกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือกฎหมายล้มละลาย
ผู้สมัครที่ได้ศึกษาและสอบไล่ได้ตามหลักสูตรการศึกษากฎหมายดังต่อไปนี้
ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องศึกษาวิชากฎหมายตามวรรคหนึ่ง
(๑)
ผู้สมัครที่ได้ศึกษาและสอบไล่ได้ตามหลักสูตรการศึกษากฎหมายที่จัดไว้เป็นหลักสูตรเฉพาะด้านในวิชากฎหมายเด็กและเยาวชน
กฎหมายแรงงาน กฎหมายภาษีอากร กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ
กฎหมายพาณิชย์นาวี กฎหมายล้มละลาย
(๒)
ผู้สมัครที่ได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายที่อยู่ในกลุ่มวิชากฎหมายกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งตามวรรคสอง
(๑) ไม่น้อยกว่า ๔ วิชา และได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งอีกไม่น้อยกว่า
๒ วิชา โดยในจำนวนนี้อย่างน้อย ๑ วิชา ต้องเป็นวิชาตาม (๑) (๓) หรือกฎหมายแพ่ง
ซึ่งพอเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ข้อ ๘
เพื่อประโยชน์ในการคำนวณจำนวนวิชาที่กำหนดในข้อ ๖ วรรคหนึ่ง (๒) และวรรคสอง
(๒) ถ้าผู้สมัครคนใดได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายในระบบการจัดการศึกษาที่กำหนดให้มีการเรียนการสอนวิชากฎหมายนั้นตลอดปีการศึกษาและมีการวัดผลเมื่อสิ้นปีการศึกษาให้ถือว่าผู้นั้นได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายตามที่กำหนดไว้ในข้อดังกล่าว
๒ วิชา
ข้อ ๘/๑[๓] ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓
ต้องสอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
โดยมีหลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่าสองปี หรือหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่าสองปี
หรือสอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศซึ่ง
ก.ต. รับรอง โดยมีหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่าสองปี
ข้อ ๙
ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ง) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ต้องได้สอนวิชากฎหมายตามหลักสูตรในคณะนิติศาสตร์ หรือเทียบเท่าคณะนิติศาสตร์มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า
๕ ปี ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๑๐
ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (จ) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ต้องเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่ง
(๑) นิติกร ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่
ก.ศ. กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๖ ปี ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ หรือ
(๒) เจ้าพนักงานศาลยุติธรรม
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในด้านกฎหมายอย่างแท้จริงตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่
ก.ศ. กำหนด เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๖ ปี ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
ทั้งนี้ ผู้สมัครตาม (๑) และ (๒)
จะต้องเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งนิติกรหรือเจ้าพนักงานศาลยุติธรรมไม่ต่ำกว่าระดับ
๖
การนับระยะเวลาการปฏิบัติงานของผู้สมัครตามวรรคหนึ่ง ให้นับเฉพาะเวลาที่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งตามที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งและได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนั้นเท่านั้น
เพื่อประโยชน์ในการนับระยะเวลาการปฏิบัติงานของผู้สมัครตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้นั้นเคยดำรงตำแหน่งนิติกร เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
หรือพนักงานคุมประพฤติในกระทรวงยุติธรรมอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ใช้บังคับและได้โอนมาเป็นข้าราชการศาลยุติธรรมโดยผลของกฎหมายดังกล่าวหรือโดยวิธีอื่นก่อนวันที่
๑ เมษายน ๒๕๔๕ หากผู้บังคับบัญชารับรองตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ว่าในระหว่างที่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งดังกล่าวในกระทรวงยุติธรรมได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่
ก.พ. กำหนด
ก็ให้นับเวลาที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าวรวมเป็นเวลาปฏิบัติงานของผู้สมัครนั้นด้วย
ข้อ ๑๑
ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ฉ) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ต้องสอบไล่ได้ปริญญาโทหรือปริญญาเอกหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาแพทยศาสตร์
ทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์
สถาปัตยกรรมศาสตร์ หรือการบัญชี และได้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม เภสัชกรรม
ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ การพยาบาล วิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรือเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
แล้วแต่กรณี มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ปี หรือได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายตามที่ระบุไว้ในมาตรา
๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
ตามเงื่อนไขในข้อ ๑๓ มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ปี
ข้อ ๑๒
ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ช) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ต้องสอบไล่ได้ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาแพทยศาสตร์
ทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์
หรือการบัญชี และได้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม เภสัชกรรม ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์
การพยาบาล วิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรือเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต แล้วแต่กรณี มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า
๑๐ ปี
ผู้สมัครตามวรรคหนึ่ง ต้องส่งหลักฐานที่แสดงประสบการณ์ในการทำงาน
ผลงานหรือความรู้เฉพาะด้านในวิชาการด้านนั้น ๆ เพื่อประกอบการประเมินความรู้ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพของคณะอนุกรรมการประเมินซึ่ง
ก.ต. แต่งตั้งขึ้น
ผู้ผ่านการประเมินของคณะอนุกรรมการประเมินจึงจะเป็นผู้มีสิทธิเข้ารับการทดสอบความรู้ในวิชากฎหมาย
ข้อ ๑๓
ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ฉ) (ช) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม เภสัชกรรม ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์
การพยาบาล วิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรือเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนจะต้องมีหนังสือรับรองของผู้บังคับบัญชามาแสดงว่าได้ประกอบวิชาชีพดังกล่าวอย่างแท้จริงตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
ผู้สมัครตามวรรคหนึ่งซึ่งมิได้ประกอบวิชาชีพดังกล่าวในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนจะต้องมีหนังสือรับรองตนเองมาแสดงว่าได้ประกอบวิชาชีพดังกล่าวอย่างแท้จริงตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
หมวด ๓
เงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย
ข้อ ๑๔
ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ข) (ค)หรือ (ฉ) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นทนายความ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
นายทหารซึ่งทำหน้าที่นายทหารสืบสวนสอบสวนหรือนายทหารสารวัตรสืบสวนสอบสวน
เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
หรือเจ้าพนักงานการเลือกตั้ง (งานวินัจฉัยหรืองานสืบสวนสอบสวน) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ตามมาตรา ๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.
๒๕๔๓ จะต้องได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ดังกล่าวไม่น้อยกว่าที่กำหนด ดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นทนายความจะต้องได้ว่าความในศาลโดยทำหน้าที่หรือมีส่วนร่วมทำหน้าที่ทนายความในการที่ศาลออกนั่งพิจารณามาแล้วไม่น้อยกว่า
๑๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ข) หรือ (ค) และไม่น้อยกว่า ๓๐ เรื่อง
สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ฉ) ซึ่งในจำนวนนี้ต้องเป็นคดีแพ่งไม่น้อยกว่า ๕
เรื่อง
(๒) ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นพนักงานฝ่ายปกครอง
หรือตำรวจต้องปฏิบัติงานในหน้าที่พนักงานสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ เรื่อง
สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ข) หรือ (ค) และไม่น้อยกว่า ๓๐ เรื่อง
สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ฉ)
(๓)
ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นนายทหารซึ่งทำหน้าที่นายทหารสืบสวนสอบสวนหรือนายทหารสารวัตรสืบสวนสอบสวน
กระทรวงกลาโหม ต้องได้ปฏิบัติงานสอบสวนคดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลทหารมาแล้วไม่น้อยกว่า
๑๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ข) หรือ (ค) และไม่น้อยกว่า ๓๐ เรื่อง
สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ฉ)
(๔) ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.)
ต้องปฏิบัติงานสอบสวนคดียาเสพติดมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ เรื่อง
สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ข) หรือ (ค) และไม่น้อยกว่า ๓๐ เรื่อง
สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ฉ)
(๕)
ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นเจ้าพนักงานการเลือกตั้ง (งานวินิจฉัยหรืองานสืบสวนสอบสวน)
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (สำนักงาน กกต.) ต้องปฏิบัติงานพิจารณาวินิจฉัยหรือสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า
๑๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ข) หรือ (ค) และไม่น้อยกว่า ๓๐ เรื่อง
สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ฉ)
ข้อ ๑๕
ผู้สมัครที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายตามข้อ ๑๔ ต้องมีหนังสือรับรองของผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาหรือของผู้บังคับบัญชา
แล้วแต่กรณี มาแสดงว่าได้ทำหน้าที่นั้นอย่างแท้จริงตามแบบที่กำหนดในระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๑๖
ผู้ที่มีคุณสมบัติและปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วน หรือแต่เพียงบางส่วนตามประกาศคณะกรรมการตุลาการ
เรื่องกำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพตามมาตรา
๒๗ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ฉบับลงวันที่
๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ให้ถือว่าได้ประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมายและปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพนั้น
ๆ ครบถ้วนแล้ว หรือแต่เพียงส่วนนั้น แล้วแต่กรณี ตามที่คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมกำหนดตามนัยระเบียบนี้
ข้อ ๑๗
ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งรองจ่าศาลอยู่ก่อนวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๔ และยังคงปฏิบัติหน้าที่เดิมในตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสำนักงานศาลยุติธรรม
โดยมีผู้บังคับบัญชารับรองตามแบบที่กำหนดในระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้ถือว่าการปฏิบัติหน้าที่เดิมต่อมานั้นเป็นการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
และได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพนั้น ๆ
โดยให้นับระยะเวลาต่อเนื่องกันไป
หมวด ๔
หลักเกณฑ์การทดสอบความรู้
ข้อ ๑๘[๔] การทดสอบความรู้ของผู้สมัครให้มีทั้งการสอบข้อเขียนและการสอบปากเปล่า
ภายใต้บังคับข้อ
๑๙/๑ ข้อ ๒๐/๑ และข้อ ๒๐/๒
วิชาที่ทดสอบ คือ กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน พระธรรมนูญศาลยุติธรรม
และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
หรือกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา หรือกฎหมายภาษีอากร หรือกฎหมายแรงงาน
หรือกฎหมายล้มละลาย หรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กับภาษาอังกฤษ กฎหมายรัฐธรรมนูญ
หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมและระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม
ข้อ ๑๙[๕] การสอบข้อเขียนมี ๒ วัน คือ
(๑) วันที่หนึ่ง
วิชากฎหมายอาญา จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๒ ข้อ กับวิชาภาษาอังกฤษ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมและระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม
ตามที่กำหนดในข้อ ๑๙/๑ จำนวน ๓ ข้อ เวลา ๓ ชั่วโมง ๓๐ นาที คะแนนเต็ม ๗๐
(๒) วันที่สอง
วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จำนวน ๒ ข้อ
กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน จำนวน ๑ ข้อ พระธรรมนูญศาลยุติธรรม จำนวน ๑ ข้อ
และวิชากฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายล้มละลาย
หรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ จำนวน ๑ ข้อ เวลา ๓ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๗๐
ผู้สอบต้องปฏิบัติตามระเบียบการสอบข้อเขียนท้ายระเบียบนี้โดยเคร่งครัด
และให้ประธานกรรมการรับผิดชอบในการจัดทำรหัสสมุดคำตอบของผู้สอบทุกคนแยกตามวันที่สอบโดยไม่ให้รหัสซ้ำกันแล้วเก็บรักษารหัสดังกล่าวไว้ด้วยตนเอง
คณะกรรมการอาจจัดตัวบทกฎหมายที่ไม่มีข้อความอื่นใดไว้ให้ผู้สอบใช้ประกอบการสอบวิชาใดในห้องสอบก็ได้
ผู้สอบที่ขาดสอบ
หรือเข้าสอบแต่ไม่ทำคำตอบเลยในการสอบข้อเขียนวิชากฎหมายวันใดวันหนึ่งจะไม่มีสิทธิเข้าสอบปากเปล่า
ข้อ ๑๙/๑[๖]
ให้ผู้สมัครที่เลือกสอบในกฎหมายลักษณะวิชากฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายล้มละลาย หรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ
ตามข้อ ๑๙ วรรคหนึ่ง (๒) แสดงความจำนงในวันสมัครสอบว่าจะสอบลักษณะวิชากฎหมายใด
ให้ผู้สมัครเลือกสอบในวิชาภาษาอังกฤษ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมและระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม
ตามข้อ ๑๙ วรรคหนึ่ง (๑) ดังต่อไปนี้
(๑) ให้ผู้สมัครตามความในมาตรา
๒๘ (๒) (ก) (ข) (ค) (ง) (ฉ) (ช) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ สอบวิชาภาษาอังกฤษข้อที่หนึ่งและข้อที่สอง
และเลือกสอบในวิชาภาษาอังกฤษข้อที่สาม กฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมและระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรมอีกจำนวน
๑ ข้อ
(๒)
ให้ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (จ) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ สอบวิชาภาษาอังกฤษข้อที่หนึ่ง และเลือกสอบในวิชาภาษาอังกฤษข้อที่สองและข้อที่สาม
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมและระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรมอีกจำนวน
๒ ข้อ
ข้อ ๒๐[๗] ในการออกข้อสอบ ให้คณะกรรมการออกข้อสอบ
ดังนี้
(๑) วิชากฎหมายอาญา
และกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้ออกข้อสอบวิชาละ ๒ ข้อ
โดยให้ออกข้อสอบเป็นคำถามเกี่ยวกับแนวความคิดทางกฎหมาย หลักกฎหมาย
หรือปัญหาเชิงทฤษฎีที่ให้ผู้สอบแสดงทักษะในการให้เหตุผลและวิเคราะห์วิชาละ ๑ ข้อ
และเป็นคำถามเกี่ยวกับปัญหาเชิงปฏิบัติวิชาละ ๑ ข้อ
(๒) วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้ออกข้อสอบวิชาละ ๒ ข้อ
(๓) วิชากฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมและระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน
กฎหมายล้มละลายและกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ ให้ออกข้อสอบวิชาละ ๑ ข้อ
(๔) วิชาภาษาอังกฤษ
ให้ออกข้อสอบ ๓ ข้อ
โดยให้ออกข้อสอบข้อที่หนึ่งเป็นคำถามที่ให้แปลข้อความภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษและภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย
๑ ข้อ
ข้อที่สองเป็นคำถามภาษาอังกฤษที่ทดสอบความเข้าใจในการอ่านบทความกฎหมายภาษาอังกฤษ ๑
ข้อ และข้อที่สามเป็นคำถามที่ให้ผู้สมัครเขียนอธิบาย
หรือวินิจฉัยปัญหากฎหมายเป็นภาษาอังกฤษ ๑ ข้อ
หากผู้สอบทำข้อสอบในวิชาที่ให้เลือกตอบเกินกว่าที่กำหนด
ให้ถือข้อที่ได้คะแนนน้อยที่สุดเป็นข้อที่กำหนดให้ทำ
ข้อ ๒๐/๑[๘] ในกรณีที่ ก.ต.
กำหนดให้มีการทดสอบความรู้เฉพาะผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ก) (ข)
มิให้นำความในข้อ ๑๙ วรรคหนึ่ง ข้อ ๑๙/๑ และข้อ ๒๐
มาใช้บังคับและให้ดำเนินการทดสอบความรู้ ดังนี้
(๑) การสอบข้อเขียน
ให้สอบวิชากฎหมายอาญา จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๒ ข้อ
วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จำนวน ๒ ข้อ
และวิชากฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายล้มละลาย
หรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ จำนวน ๑ ข้อ เวลา ๓ ชั่วโมง ๔๕ นาที คะแนนเต็ม ๙๐
กับวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน ๓ ข้อ เวลา ๓ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๖๐
โดยสำหรับลักษณะวิชาที่ให้เลือกสอบ ผู้สมัครต้องแสดงความจำนงว่าจะสอบลักษณะวิชากฎหมายใดในวันสมัครสอบ
(๒)
ในการออกข้อสอบวิชากฎหมาย ให้คณะกรรมการออกข้อสอบวิชากฎหมายอาญา วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์
วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้ออกข้อสอบวิชาละ ๒
ข้อ โดยให้ออกข้อสอบเป็นคำถามเกี่ยวกับแนวความคิดทางกฎหมาย หลักกฎหมาย
หรือปัญหาเชิงทฤษฎีที่ให้ผู้สอบแสดงทักษะในการให้เหตุผลและวิเคราะห์วิชาละ ๑ ข้อ
และเป็นคำถามเกี่ยวกับปัญหาเชิงปฏิบัติวิชาละ ๑ ข้อ วิชากฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน
กฎหมายล้มละลายหรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ ให้ออกข้อสอบเป็นคำถามเกี่ยวกับแนวความคิดทางกฎหมาย
หลักกฎหมาย หรือปัญหาเชิงทฤษฎีที่ให้ผู้สอบแสดงทักษะในการให้เหตุผลและวิเคราะห์วิชาละ
๑ ข้อ
(๓)
ในการออกข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ ให้ออกข้อสอบ ๓ ข้อ
โดยให้ออกข้อสอบข้อที่หนึ่งเป็นคำถามที่ให้แปลข้อความภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ๑ ข้อ
ข้อที่สองเป็นคำถามภาษาอังกฤษที่ทดสอบความเข้าใจในการอ่านบทความกฎหมายภาษาอังกฤษ ๑
ข้อ และข้อที่สามเป็นคำถามที่ให้ผู้สมัครเขียนอธิบาย หรือวินิจฉัยปัญหากฎหมายเป็นภาษาอังกฤษ
๑ ข้อ
(๔)
ให้ผู้สมัครที่เลือกสอบในวิชากฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน กฎหมายรัฐธรรมนูญ
กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายล้มละลาย
หรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ ตามข้อ ๒๐/๑ (๑)
แสดงความจำนงในวันสมัครสอบว่าจะสอบลักษณะวิชากฎหมายใด
ข้อ ๒๐/๒[๙] ก.ต.
อาจกำหนดให้สอบวิชาภาษาต่างประเทศอื่นแทนวิชาภาษาอังกฤษก็ได้ ทั้งนี้ ให้นำความในข้อ ๒๐/๑
มาใช้บังคับกับการสอบวิชาภาษาต่างประเทศอื่นโดยอนุโลม
ข้อ ๒๑[๑๐] ในการตรวจคำตอบแต่ละข้อ
ให้องค์คณะซึ่งประกอบด้วยกรรมการทดสอบความรู้อย่างน้อยสองคนตรวจแล้วให้คะแนนคำตอบตามหลักเกณฑ์การตรวจและการให้คะแนนที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
และให้ผู้สอบได้คะแนนคำตอบตามค่าเฉลี่ยที่คำนวณจากคะแนนที่กรรมการทดสอบความรู้แต่ละคนกำหนดให้
ข้อ ๒๒
การสอบปากเปล่าให้กระทำโดยวิธีถามผู้สมัครเรียงตัว กำหนดเวลาประมาณคนละ ๒๕
นาที คะแนนเต็ม ๖๐ โดยให้กรรมการทดสอบความรู้แต่ละคนที่ทำการสอบปากเปล่าผู้สมัครให้คะแนนแบ่งตามหัวข้อที่กำหนดในแบบการให้คะแนนการสอบปากเปล่าท้ายระเบียบนี้
และให้ผู้สมัครได้คะแนนการสอบปากเปล่าตามค่าเฉลี่ยที่คำนวณจากคะแนนที่กรรมการทดสอบความรู้แต่ละคนกำหนดให้
ข้อ ๒๓
ผู้สมัครต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ของคะแนนสอบข้อเขียนทั้งหมด
จึงจะมีสิทธิเข้าสอบปากเปล่า และต้องได้คะแนนสอบปากเปล่าไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ของคะแนนสอบปากเปล่า
จึงจะเป็นผู้ผ่านการสอบปากเปล่า เมื่อนำคะแนนสอบข้อเขียนกับคะแนนสอบปากเปล่ารวมกันต้องได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ
๖๐ ของคะแนนทั้งหมดจึงจะอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
ข้อ ๒๔ เมื่อทดสอบความรู้เสร็จแล้ว ก.ต.
จะประกาศรายชื่อผู้ที่อยู่ในเกณฑ์จะได้รับการบรรจุเรียงตามลำดับคะแนนไว้ ณ
สำนักงานศาลยุติธรรม
หมวด ๕
อัตราส่วนในการบรรจุ
ข้อ ๒๕
การบรรจุข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาตามความในมาตรา ๒๘
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ นั้น ให้บรรจุได้ในอัตราส่วนของจำนวนผู้ที่สอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาได้ไม่เกินหนึ่งในสาม
แต่ถ้าขณะใดไม่มีผู้ที่สอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาอยู่แล้วก็ให้บรรจุได้โดยไม่มีอัตราส่วน
ภายใต้บังคับวรรคหนึ่ง การบรรจุข้าราชการตุลาการตามมาตรา ๒๘
(๒) (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) หรือ (ช) ซึ่งมีคุณวุฒิต่างกัน
ให้บรรจุได้ในอัตราส่วนของจำนวนผู้ที่อยู่ในเกณฑ์จะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาแต่ละคุณวุฒิตามที่
ก.ต. กำหนด
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕
สันติ ทักราล
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
[เอกสารแนบท้าย]
๑. กฎหมายพิเศษ
๒. แบบการให้คะแนนการสอบปากเปล่าในการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
๓.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ง)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (สนามเล็ก
(แบบ ๑))
๔.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (จ) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ (สนามเล็ก (แบบ ๒))
๕.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (จ)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (สนามเล็ก
(แบบ ๓))
๖.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ฉ) (ช)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (สนามเล็ก
(แบบ ๔))
๗.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ฉ) (ช)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (สนามเล็ก
(แบบ ๕))
๘.[๑๑]
ระเบียบการสอบข้อเขียนสำหรับการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
๙.[๑๒]
หลักเกณฑ์การตรวจและการให้คะแนนในการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖[๑๓]
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๘[๑๔]
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘[๑๕]
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๕ ก/หน้า ๘/๑๑ มกราคม ๒๕๔๕
[๒] ข้อ ๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๘
[๓] ข้อ ๘/๑ เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๔] ข้อ ๑๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๘
[๕] ข้อ ๑๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๖] ข้อ ๑๙/๑ เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๗] ข้อ ๒๐
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๘] ข้อ ๒๐/๑ เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๘
[๙] ข้อ ๒๐/๒ เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๘
[๑๐] ข้อ ๒๑
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๑๑] ระเบียบการสอบข้อเขียนสำหรับการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘
[๑๒] หลักเกณฑ์การตรวจและการให้คะแนนในการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๑๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๗๓ ก/หน้า ๘/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๖
[๑๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๖ ก/หน้า ๔๕/๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘
[๑๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๐๕ ก/หน้า ๑๙/๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ |
647463 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้งและการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ พ.ศ. 2545 (ฉบับ Update ณ วันที่ 15/02/2548) | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
พ.ศ. ๒๕๔๕
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ มาตรา ๔๗ และมาตรา ๕๑
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ในระเบียบนี้ หากข้อความมิได้แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
ก.ต. หมายความว่า คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
เลขานุการ ก.ต. หมายความว่า เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล หมายความว่า
คณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาล
เลขานุการ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล หมายความว่า เลขานุการคณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาล
จังหวัด หมายความว่า พื้นที่ในเขตอำนาจศาล
ภูมิลำเนา หมายความว่า บ้านที่เกิดหรือเป็นพื้นเพเดิม
ซึ่งอาจจะเป็นจังหวัดอื่นที่มิใช่บ้านเกิดก็ได้
ปริมณฑล หมายความว่า จังหวัดนนทบุรี จังหวัดนครปฐม
จังหวัดปทุมธานีจังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร
ข้อ ๔
ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๕
ให้เลขานุการ ก.ต. เสนอเรื่องการแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง และการโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลพิจารณาจัดทำความเห็นโดยเร็ว
ในกรณีการเลื่อนตำแหน่ง
หากมีการเสนอชื่อข้ามลำดับอาวุโสให้ระบุเหตุผลของการดำเนินการเช่นว่านั้นไว้ด้วย
ข้อ ๖
การพิจารณาของ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลในเรื่องการแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง
และการโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลดำเนินการตามหมวด ๔
แห่งระเบียบนี้
หมวด ๒
การแต่งตั้งและการเลื่อนตำแหน่ง
ข้อ ๗
การแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ให้พิจารณาถึงความรู้ความสามารถพื้นฐาน
ได้แก่ การพิจารณาพิพากษาคดี การเรียงคำพิพากษา การบริหารงานคดี ความรับผิดชอบ
ความซื่อสัตย์สุจริต ความไว้วางใจได้ ความวิริยะอุตสาหะ ชื่อเสียงเกียรติคุณ ประวัติการศึกษาอบรมและการรับราชการ
การดำรงตนของตนเองและคู่ครอง มารยาทสังคม และทัศนคติ
ประกอบกับแบบการประเมินบุคคลและรายงานการปฏิบัติราชการของข้าราชการตุลาการผู้นั้นว่ามีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่จะแต่งตั้งตามที่ระบุไว้ท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๘
การแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารงานศาล นอกจากพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ
๗ แล้ว ต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถในการบริหาร ความเป็นผู้นำ การแก้ปัญหา
การตัดสินใจ มนุษยสัมพันธ์ ความเอาใจใส่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เพื่อรักษาประโยชน์ของทางราชการและประชาชน
ประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับคดีสำคัญ ความเสียสละ
และการอุทิศตนเพื่อประโยชน์แก่ราชการศาลยุติธรรมรวมทั้งผลงานของผู้นั้นด้วย
ข้อ ๙
การแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ดำรงตำแหน่งในศาลชำนัญพิเศษตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค และผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
นอกจากพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ ๗ แล้ว ต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถเกี่ยวกับงานของศาลนั้นและความเหมาะสมกับตำแหน่งประกอบด้วย
ข้อ ๑๐
การเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตุลาการซึ่งดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
ให้เสนอแต่งตั้งจากข้าราชการตุลาการที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาลมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี
และผ่านการประเมินความเหมาะสมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมกำหนดอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาล
ข้อ ๑๑ การเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตุลาการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลชั้นต้น
ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ผู้พิพากษาศาลฎีกา
หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า ให้เลขานุการ ก.ต. จัดให้มีการสุ่มตัวอย่างผลงานการพิจารณาพิพากษาคดีหรืองานอื่นในหน้าที่รับผิดชอบของผู้ได้รับการเสนอแต่งตั้งย้อนหลังไปไม่เกินสามปีมาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
ข้อ ๑๒
ให้เลขานุการ ก.ต. จัดให้มีการประเมินบุคคลตามแบบการประเมินบุคคลและรายงานการปฏิบัติราชการของข้าราชการตุลาการท้ายระเบียบนี้เป็นประจำทุกปี
โดยให้ผู้ที่รับผิดชอบการประเมินส่งผลการประเมินไปถึงสำนักงานศาลยุติธรรมภายในเดือนเมษายนของแต่ละปี
ผู้รับการประเมินมีสิทธิขอตรวจดูการประเมินและผลการประเมินได้ตามวิธีการที่สำนักงานศาลยุติธรรมกำหนด
หมวด ๓
การโยกย้ายแต่งตั้ง
ข้อ ๑๓
การโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการตุลาการประจำปีมีสองวาระ ดังนี้
วาระปกติ พิจารณาดำเนินการประมาณเดือนสิงหาคมของแต่ละปี
สำหรับข้าราชการตุลาการทุกตำแหน่ง
ทั้งการโยกย้ายแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนผู้มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในแต่ละปีงบประมาณ
และการโยกย้ายแต่งตั้งเพื่อสับเปลี่ยนตำแหน่งโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑
ตุลาคมของปีนั้นสำหรับผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนผู้มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์
และให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ของปีถัดไปสำหรับผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
วาระพิเศษ พิจารณาดำเนินการประมาณเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไปสำหรับการโยกย้ายแต่งตั้งเพิ่มเติมตามความจำเป็น
ทั้งนี้
เพื่อแก้ไขข้อขัดข้องในการโยกย้ายแต่งตั้งตามวาระปกติ
ข้อ ๑๔
ตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามมาตรา ๑๓ (๑) (ข) ได้แก่ รองประธานศาลฎีกาและผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า สามารถสับเปลี่ยนตำแหน่งกันได้ทุกตำแหน่งโดยไม่มีผลกระทบต่อลำดับอาวุโส
ข้อ ๑๕
ตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามมาตรา ๑๓ (๑) (ข) ได้แก่ รองประธานศาลฎีกา
ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
และผู้พิพากษาศาลฎีกา หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่าสามารถสับเปลี่ยนกับตำแหน่งตามมาตรา
๑๓ (๒) (ก) ได้แก่ ประธานศาลอุทธรณ์ และประธานศาลอุทธรณ์ภาค ได้ทุกตำแหน่งโดยไม่มีผลกระทบต่อลำดับอาวุโส
ข้อ ๑๖
ตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามมาตรา ๑๓ (๒) (ข) ได้แก่ รองประธานศาลอุทธรณ์
รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ และผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค
หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า สามารถสับเปลี่ยนตำแหน่งกันได้ทุกตำแหน่งโดยไม่มีผลกระทบต่อลำดับอาวุโส
ข้อ ๑๗
ตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามมาตรา ๑๓ (๓) (ก) ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
อธิบดีผู้พิพากษาภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล และผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลชั้นต้น
หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า สามารถสับเปลี่ยนตำแหน่งกันได้ทุกตำแหน่งโดยไม่มีผลกระทบต่อลำดับอาวุโส
ข้อ ๑๘[๒]
การพิจารณาโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ดำรงตำแหน่งในศาลจังหวัด
ศาลแขวง ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด
หรือศาลจังหวัดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในจังหวัดใด ให้คำนึงถึงลำดับอาวุโสและความเหมาะสมในจังหวัดนั้น
ข้อ ๑๙[๓]
การแต่งตั้งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลหรือผู้พิพากษาศาลชั้นต้นไปดำรงตำแหน่งในจังหวัดที่เป็นภูมิลำเนาของผู้นั้นหรือของคู่สมรสจะกระทำมิได้
เว้นแต่ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล
และจังหวัดซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค
แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงศาลจังหวัดซึ่งศาลตั้งอยู่ที่อำเภอ
หรือกรณีมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งเป็นพิเศษเฉพาะราย
ข้อ ๒๐[๔] ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลรับราชการในจังหวัดที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้จังหวัดละไม่เกินสี่ปี
สำหรับผู้พิพากษาศาลชั้นต้นให้รับราชการในจังหวัดที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้จังหวัดละไม่เกินห้าปี
โดยให้นับระยะเวลารวมถึงการช่วยราชการในจังหวัดนั้นด้วย[๕]
กรณีผู้ที่รับราชการในศาลแขวง
ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด และศาลจังหวัดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวครบสองปี
หากมีตำแหน่งในศาลจังหวัดว่างลงอาจได้รับการพิจารณาแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งในศาลจังหวัด
สำหรับผู้ที่ดำรงตำแหน่งเลขาธิการประธานศาลฎีกา
รองเลขาธิการประธานศาลฎีกา เลขานุการและรองเลขานุการศาลสูง เลขานุการศาลชั้นต้น
และเลขานุการศาลยุติธรรมประจำภาค
ให้มีวาระในการดำรงตำแหน่งทุกตำแหน่งดังกล่าวรวมกันไม่เกินสี่ปี
ข้อ
๒๑
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่ดำรงตำแหน่งในศาลภูมิภาคต้องรับราชการในศาลนั้นอย่างน้อยสองปีจึงจะได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายได้
เว้นแต่กรณีผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่ออกไปดำรงตำแหน่งในศาลภูมิภาคเป็นครั้งแรกให้ได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายได้เมื่อรับราชการในศาลนั้นครบหนึ่งปี
หรือกรณีผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวง ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว
หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดซึ่งศาลตั้งอยู่ที่อำเภอของจังหวัดนั้นประสงค์จะดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัด
ให้ได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายได้[๖]
การแต่งตั้งให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลไปดำรงตำแหน่งในศาลชั้นต้นในจังหวัดที่ผู้นั้นเคยดำรงตำแหน่งหรือเคยช่วยทำงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลมาก่อนจะกระทำมิได้
เว้นแต่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ข้อ ๒๒
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่รับราชการในศาลภูมิภาคยังไม่ครบระยะเวลาตามข้อ
๒๑ หากมีความจำเป็นอาจได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายมารับราชการที่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครได้
แต่จะขอโยกย้ายไปรับราชการในศาลภูมิภาคอีกไม่ได้จนกว่าจะครบสี่ปี
หรือจนกว่าจะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาล เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการศาลยุติธรรม
ข้อ ๒๓ ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่มีความจำเป็นและประสงค์ไม่ออกไปดำรงตำแหน่งในศาลภูมิภาคอาจได้รับการพิจารณาให้รับราชการที่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครได้
แต่จะขอโยกย้ายไปรับราชการในศาลภูมิภาคอีกไม่ได้จนกว่าจะครบสี่ปี
หรือจนกว่าจะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาล เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการศาลยุติธรรม
ข้อ ๒๔[๗] ให้ผู้พิพากษาประจำศาลรับราชการที่ศาลชั้นต้นยกเว้นศาลแขวงตามระยะเวลาที่
ก.ต. เห็นสมควรกำหนด
ข้อ ๒๕
การแต่งตั้งผู้พิพากษาอาวุโสไปดำรงตำแหน่งในจังหวัดที่เป็นภูมิลำเนาของผู้นั้นหรือของคู่สมรสจะกระทำมิได้
เว้นแต่ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค
หรือกรณีมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งเป็นพิเศษเฉพาะราย
ข้อ ๒๖
ผู้พิพากษาอาวุโสให้รับราชการในจังหวัดที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้จังหวัดละไม่เกินห้าปี
โดยให้นับระยะเวลารวมถึงการช่วยราชการในจังหวัดนั้นด้วย
ผู้พิพากษาอาวุโสให้รับราชการที่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑลได้ศาลละไม่เกินห้าปี
โดยให้นับระยะเวลารวมถึงการช่วยราชการในศาลนั้นด้วย เว้นแต่ในศาลชำนัญพิเศษ
ข้อ ๒๗
ผู้พิพากษาอาวุโสที่ดำรงตำแหน่งในศาลภูมิภาคต้องรับราชการในศาลนั้นอย่างน้อยสองปี
จึงจะได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายได้ เว้นแต่ในศาลกลุ่มพิเศษตามบัญชีลำดับศาลที่
ก.ต. กำหนด ให้ได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายได้เมื่อรับราชการในศาลนั้นครบหนึ่งปี
ข้อ ๒๘
ผู้พิพากษาอาวุโสที่รับราชการในศาลภูมิภาคยังไม่ครบระยะเวลาตามข้อ ๒๗
หากมีความจำเป็นอาจได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายมารับราชการที่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครได้
แต่จะขอโยกย้ายไปรับราชการในศาลภูมิภาคอีกไม่ได้จนกว่าจะครบสี่ปี เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการศาลยุติธรรม
ข้อ ๒๙
ในกรณีที่มีความเหมาะสมและเพื่อประโยชน์อย่างยิ่งแก่ราชการ ศาลยุติธรรม
ก.ต. อาจมีมติด้วยคะแนนเสียงสองในสามของจำนวนกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
ยกเว้นหลักเกณฑ์ในการโยกย้ายแต่งตั้งตามระเบียบนี้ได้
หมวด ๔
วิธีดำเนินการของ
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล
ข้อ ๓๐
การพิจารณาของ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลในเรื่องการแต่งตั้งและการเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตุลาการให้ดำเนินการ
ดังนี้
(๑) การแต่งตั้งประธานศาลฎีกาและผู้พิพากษาอาวุโส
หรือตำแหน่งอื่นตามที่ก.ต. เห็นสมควรให้เป็นการประชุมร่วมกันระหว่าง อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลทุกชั้นศาล โดยให้ประธาน อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลผู้มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้เรียกประชุม
(๒)
การเลื่อนตำแหน่งผู้พิพากษาในศาลชั้นอุทธรณ์ไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาในศาลฎีกาและการแต่งตั้งประธานศาลอุทธรณ์และประธานศาลอุทธรณ์ภาค
ให้เป็นการประชุมร่วมกันระหว่าง อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา โดยให้ประธาน
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลนั้นผู้มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้เรียกประชุม
(๓)
การเลื่อนตำแหน่งผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาในศาลชั้นอุทธรณ์ให้เป็นการประชุมร่วมกันระหว่าง
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลอุทธรณ์และศาลชั้นต้นโดยให้ประธาน อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลนั้นผู้มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้เรียกประชุม
ข้อ ๓๑
การประชุมของ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล หากมีข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่ไม่ชัดเจน ที่ประชุมอาจเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้
ในกรณีที่มีการอภิปรายไปในทางที่เป็นผลร้ายแก่บุคคลใดจะต้องดำเนินการให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนั้น
รวมทั้งให้โอกาสบุคคลนั้นชี้แจงก่อน เว้นแต่จะปรากฏพยานหลักฐานเป็นที่ชัดแจ้งอยู่แล้ว
ข้อ ๓๒ อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลมีสิทธิแสวงหาข้อมูลในด้านต่าง ๆ ของบุคคลที่เลขานุการ ก.ต.
เสนอชื่อเพื่อประกอบการพิจารณาได้
ให้เลขานุการ ก.ต. อำนวยความสะดวกแก่ อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลในการที่จะเข้าตรวจดูข้อมูลภายในศาลยุติธรรม
และให้ความร่วมมือในการให้ได้มาซึ่งข้อมูลภายนอกศาลยุติธรรม
ข้อ ๓๓
ในการประชุม อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล ให้อนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาลทุกคนลงความเห็นว่าเห็นด้วยหรือไม่กับบุคคลที่เลขานุการ
ก.ต. เสนอชื่อให้พิจารณาพร้อมระบุเหตุผลเพื่อประกอบการพิจารณาของ ก.ต.
อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลอาจเสนอข้อมูลของบุคคลอื่นที่เห็นว่าเป็นผู้ที่เหมาะสมกว่าบุคคลที่เลขานุการ
ก.ต. เสนอชื่อเพื่อประกอบการพิจารณาของ ก.ต. ด้วยก็ได้
ข้อ ๓๔
ให้เลขานุการ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลจัดทำรายงานสรุปผลการพิจารณาของ อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาล โดยมีสาระสำคัญครบถ้วนเสนอต่อ ก.ต.
หมวด ๕
การเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
ข้อ ๓๕
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า เมื่ออยู่ในชั้น ๒ มาครบห้าปีนับแต่วันที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งให้เลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้น ๓ ขั้นต่ำ
ข้อ ๓๖
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรือตำแหน่งอื่นที่ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นเมื่ออยู่ในชั้น
๓ ขั้นต่ำมาครบสามปีนับแต่วันที่ได้รับการเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้น
๓ ขั้นต่ำตามข้อ ๓๕ แล้ว ให้เลขานุการ ก.ต. เสนอให้เลื่อนขั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้น
๓ ขั้นสูงสุดต่อ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลเพื่อจัดทำความเห็นประกอบการพิจารณาของ ก.ต.
โดยเร็ว
การพิจารณาของ ก.ต. ตามวรรคหนึ่ง
ให้พิจารณารายงานการประเมินบุคคลและการปฏิบัติราชการประจำปีของข้าราชการตุลาการผู้นั้นประกอบด้วย
หากจะพิจารณาไม่ให้ผู้ใดเลื่อนขั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้น ๓
ขั้นสูงสุด ให้เลขานุการ ก.ต. ดำเนินการให้มีการสุ่มตัวอย่างผลงานการพิจารณาพิพากษาคดีของผู้นั้นย้อนหลังไปไม่เกินสามปีมาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
หมวด ๖
การประเมินสมรรถภาพของผู้พิพากษาอาวุโส
ข้อ ๓๗
ให้เลขานุการ ก.ต. จัดให้มีการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ
รวมทั้งการประเมินบุคคลและผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาอาวุโสว่ามีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสต่อไปหรือไม่
โดยให้เสนอรายชื่อบุคคลให้ ก.ต. แต่งตั้งเป็นคณะกรรมการประเมินจำนวนไม่น้อยกว่าเก้าคนแต่ไม่เกินสิบสองคน
ซึ่งในจำนวนนี้ต้องเป็นคณะกรรมการแพทย์จำนวนไม่น้อยกว่าสามคน
แล้วเสนอผลการประเมินต่อ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลทุกชั้นศาลเพื่อจัดทำความเห็นประกอบการพิจารณาของ
ก.ต. ให้แล้วเสร็จก่อนวันสิ้นปีงบประมาณที่ผู้พิพากษาอาวุโสผู้นั้นจะมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน
ข้อ ๓๘
ให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินบุคคลตามแบบการประเมินบุคคลและรายงานการปฏิบัติราชการของข้าราชการตุลาการตามข้อ
๑๒ มาใช้แก่การประเมินบุคคลของผู้พิพากษาอาวุโสด้วยโดยอนุโลม
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๓๙
มิให้นำความในข้อ ๑๑ มาใช้บังคับแก่การพิจารณาเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตุลาการประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๕
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
สันติ ทักราล
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
การประเมินบุคคลและรายงานการปฏิบัติราชการของข้าราชการตุลาการประจำปี พ.ศ. ....
๒. มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖[๘]
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗[๙]
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘[๑๐]
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๗๕ ก/หน้า ๔/๘ สิงหาคม ๒๕๔๕
[๒] ข้อ ๑๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗
[๓] ข้อ ๑๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘
[๔] ข้อ ๒๐
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗
[๕] ข้อ ๒๐ วรรคหนึ่ง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘
[๖] ข้อ ๒๑ วรรคหนึ่ง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘
[๗] ข้อ ๒๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๓๕ ก/หน้า ๗/๒๙ เมษายน ๒๕๔๖
[๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๑๐ ก/หน้า ๕๒/๒๒ มกราคม ๒๕๔๗
[๑๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๖ ก/หน้า ๔๘/๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ |
647465 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้งและการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ พ.ศ. 2545 (ฉบับ Update ณ วันที่ 26/12/2548) | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
พ.ศ. ๒๕๔๕
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ มาตรา ๔๗ และมาตรา ๕๑
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ในระเบียบนี้ หากข้อความมิได้แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
ก.ต. หมายความว่า คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
เลขานุการ ก.ต. หมายความว่า เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล หมายความว่า
คณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาล
เลขานุการ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล หมายความว่า เลขานุการคณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาล
จังหวัด หมายความว่า พื้นที่ในเขตอำนาจศาล
ภูมิลำเนา หมายความว่า บ้านที่เกิดหรือเป็นพื้นเพเดิม
ซึ่งอาจจะเป็นจังหวัดอื่นที่มิใช่บ้านเกิดก็ได้
ปริมณฑล หมายความว่า จังหวัดนนทบุรี จังหวัดนครปฐม
จังหวัดปทุมธานีจังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร
ข้อ ๔
ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๕
ให้เลขานุการ ก.ต. เสนอเรื่องการแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง และการโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลพิจารณาจัดทำความเห็นโดยเร็ว
ในกรณีการเลื่อนตำแหน่ง
หากมีการเสนอชื่อข้ามลำดับอาวุโสให้ระบุเหตุผลของการดำเนินการเช่นว่านั้นไว้ด้วย
ข้อ ๖
การพิจารณาของ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลในเรื่องการแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง
และการโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลดำเนินการตามหมวด ๔
แห่งระเบียบนี้
หมวด ๒
การแต่งตั้งและการเลื่อนตำแหน่ง
ข้อ ๗
การแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ให้พิจารณาถึงความรู้ความสามารถพื้นฐาน
ได้แก่ การพิจารณาพิพากษาคดี การเรียงคำพิพากษา การบริหารงานคดี ความรับผิดชอบ
ความซื่อสัตย์สุจริต ความไว้วางใจได้ ความวิริยะอุตสาหะ ชื่อเสียงเกียรติคุณ ประวัติการศึกษาอบรมและการรับราชการ
การดำรงตนของตนเองและคู่ครอง มารยาทสังคม และทัศนคติ
ประกอบกับแบบการประเมินบุคคลและรายงานการปฏิบัติราชการของข้าราชการตุลาการผู้นั้นว่ามีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่จะแต่งตั้งตามที่ระบุไว้ท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๘
การแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารงานศาล นอกจากพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ
๗ แล้ว ต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถในการบริหาร ความเป็นผู้นำ การแก้ปัญหา
การตัดสินใจ มนุษยสัมพันธ์ ความเอาใจใส่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เพื่อรักษาประโยชน์ของทางราชการและประชาชน
ประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับคดีสำคัญ ความเสียสละ
และการอุทิศตนเพื่อประโยชน์แก่ราชการศาลยุติธรรมรวมทั้งผลงานของผู้นั้นด้วย
ข้อ ๙
การแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ดำรงตำแหน่งในศาลชำนัญพิเศษตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค และผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
นอกจากพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ ๗ แล้ว ต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถเกี่ยวกับงานของศาลนั้นและความเหมาะสมกับตำแหน่งประกอบด้วย
ข้อ ๑๐
การเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตุลาการซึ่งดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
ให้เสนอแต่งตั้งจากข้าราชการตุลาการที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาลมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี
และผ่านการประเมินความเหมาะสมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมกำหนดอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาล
ข้อ ๑๑ การเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตุลาการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลชั้นต้น
ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ผู้พิพากษาศาลฎีกา
หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า ให้เลขานุการ ก.ต. จัดให้มีการสุ่มตัวอย่างผลงานการพิจารณาพิพากษาคดีหรืองานอื่นในหน้าที่รับผิดชอบของผู้ได้รับการเสนอแต่งตั้งย้อนหลังไปไม่เกินสามปีมาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
ข้อ ๑๒
ให้เลขานุการ ก.ต. จัดให้มีการประเมินบุคคลตามแบบการประเมินบุคคลและรายงานการปฏิบัติราชการของข้าราชการตุลาการท้ายระเบียบนี้เป็นประจำทุกปี
โดยให้ผู้ที่รับผิดชอบการประเมินส่งผลการประเมินไปถึงสำนักงานศาลยุติธรรมภายในเดือนเมษายนของแต่ละปี
ผู้รับการประเมินมีสิทธิขอตรวจดูการประเมินและผลการประเมินได้ตามวิธีการที่สำนักงานศาลยุติธรรมกำหนด
หมวด ๓
การโยกย้ายแต่งตั้ง
ข้อ ๑๓
การโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการตุลาการประจำปีมีสองวาระ ดังนี้
วาระปกติ พิจารณาดำเนินการประมาณเดือนสิงหาคมของแต่ละปี
สำหรับข้าราชการตุลาการทุกตำแหน่ง
ทั้งการโยกย้ายแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนผู้มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในแต่ละปีงบประมาณ
และการโยกย้ายแต่งตั้งเพื่อสับเปลี่ยนตำแหน่งโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑
ตุลาคมของปีนั้นสำหรับผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนผู้มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์
และให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ของปีถัดไปสำหรับผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
วาระพิเศษ พิจารณาดำเนินการประมาณเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไปสำหรับการโยกย้ายแต่งตั้งเพิ่มเติมตามความจำเป็น
ทั้งนี้
เพื่อแก้ไขข้อขัดข้องในการโยกย้ายแต่งตั้งตามวาระปกติ
ข้อ ๑๔
ตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามมาตรา ๑๓ (๑) (ข) ได้แก่ รองประธานศาลฎีกาและผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า สามารถสับเปลี่ยนตำแหน่งกันได้ทุกตำแหน่งโดยไม่มีผลกระทบต่อลำดับอาวุโส
ข้อ ๑๕[๒] (ยกเลิก)
ข้อ ๑๖
ตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามมาตรา ๑๓ (๒) (ข) ได้แก่ รองประธานศาลอุทธรณ์
รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ และผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค
หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า สามารถสับเปลี่ยนตำแหน่งกันได้ทุกตำแหน่งโดยไม่มีผลกระทบต่อลำดับอาวุโส
ข้อ ๑๗
ตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามมาตรา ๑๓ (๓) (ก) ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
อธิบดีผู้พิพากษาภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล และผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลชั้นต้น
หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า สามารถสับเปลี่ยนตำแหน่งกันได้ทุกตำแหน่งโดยไม่มีผลกระทบต่อลำดับอาวุโส
ข้อ ๑๘[๓]
การพิจารณาโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ดำรงตำแหน่งในศาลจังหวัด
ศาลแขวง ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด หรือศาลจังหวัดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในจังหวัดใด
ให้คำนึงถึงลำดับอาวุโสและความเหมาะสมในจังหวัดนั้น
ข้อ ๑๙[๔]
การแต่งตั้งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลหรือผู้พิพากษาศาลชั้นต้นไปดำรงตำแหน่งในจังหวัดที่เป็นภูมิลำเนาของผู้นั้นหรือของคู่สมรสจะกระทำมิได้
เว้นแต่ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล
และจังหวัดซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค
แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงศาลจังหวัดซึ่งศาลตั้งอยู่ที่อำเภอ
หรือกรณีมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งเป็นพิเศษเฉพาะราย
ข้อ ๒๐[๕] ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลรับราชการในจังหวัดที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้จังหวัดละไม่เกินสี่ปี
สำหรับผู้พิพากษาศาลชั้นต้นให้รับราชการในจังหวัดที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้จังหวัดละไม่เกินห้าปี
โดยให้นับระยะเวลารวมถึงการช่วยราชการในจังหวัดนั้นด้วย[๖]
กรณีผู้ที่รับราชการในศาลแขวง
ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด และศาลจังหวัดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวครบสองปี
หากมีตำแหน่งในศาลจังหวัดว่างลงอาจได้รับการพิจารณาแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งในศาลจังหวัด
สำหรับผู้ที่ดำรงตำแหน่งเลขาธิการประธานศาลฎีกา
รองเลขาธิการประธานศาลฎีกา เลขานุการและรองเลขานุการศาลสูง เลขานุการศาลชั้นต้น
และเลขานุการศาลยุติธรรมประจำภาค
ให้มีวาระในการดำรงตำแหน่งทุกตำแหน่งดังกล่าวรวมกันไม่เกินสี่ปี
ข้อ
๒๑
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่ดำรงตำแหน่งในศาลภูมิภาคต้องรับราชการในศาลนั้นอย่างน้อยสองปีจึงจะได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายได้
เว้นแต่กรณีผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่ออกไปดำรงตำแหน่งในศาลภูมิภาคเป็นครั้งแรกให้ได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายได้เมื่อรับราชการในศาลนั้นครบหนึ่งปี
หรือกรณีผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวง ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว
หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดซึ่งศาลตั้งอยู่ที่อำเภอของจังหวัดนั้นประสงค์จะดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัด
ให้ได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายได้[๗]
การแต่งตั้งให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลไปดำรงตำแหน่งในศาลชั้นต้นในจังหวัดที่ผู้นั้นเคยดำรงตำแหน่งหรือเคยช่วยทำงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลมาก่อนจะกระทำมิได้
เว้นแต่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ข้อ ๒๒
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่รับราชการในศาลภูมิภาคยังไม่ครบระยะเวลาตามข้อ
๒๑ หากมีความจำเป็นอาจได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายมารับราชการที่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครได้
แต่จะขอโยกย้ายไปรับราชการในศาลภูมิภาคอีกไม่ได้จนกว่าจะครบสี่ปี
หรือจนกว่าจะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาล เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการศาลยุติธรรม
ข้อ ๒๓
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่มีความจำเป็นและประสงค์ไม่ออกไปดำรงตำแหน่งในศาลภูมิภาคอาจได้รับการพิจารณาให้รับราชการที่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครได้
แต่จะขอโยกย้ายไปรับราชการในศาลภูมิภาคอีกไม่ได้จนกว่าจะครบสี่ปี
หรือจนกว่าจะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาล เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการศาลยุติธรรม
ข้อ ๒๔[๘] ให้ผู้พิพากษาประจำศาลรับราชการที่ศาลชั้นต้นยกเว้นศาลแขวงตามระยะเวลาที่
ก.ต. เห็นสมควรกำหนด
ข้อ ๒๕
การแต่งตั้งผู้พิพากษาอาวุโสไปดำรงตำแหน่งในจังหวัดที่เป็นภูมิลำเนาของผู้นั้นหรือของคู่สมรสจะกระทำมิได้
เว้นแต่ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค
หรือกรณีมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งเป็นพิเศษเฉพาะราย
ข้อ ๒๖
ผู้พิพากษาอาวุโสให้รับราชการในจังหวัดที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้จังหวัดละไม่เกินห้าปี
โดยให้นับระยะเวลารวมถึงการช่วยราชการในจังหวัดนั้นด้วย
ผู้พิพากษาอาวุโสให้รับราชการที่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑลได้ศาลละไม่เกินห้าปี
โดยให้นับระยะเวลารวมถึงการช่วยราชการในศาลนั้นด้วย เว้นแต่ในศาลชำนัญพิเศษ
ข้อ ๒๗
ผู้พิพากษาอาวุโสที่ดำรงตำแหน่งในศาลภูมิภาคต้องรับราชการในศาลนั้นอย่างน้อยสองปี
จึงจะได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายได้ เว้นแต่ในศาลกลุ่มพิเศษตามบัญชีลำดับศาลที่
ก.ต. กำหนด ให้ได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายได้เมื่อรับราชการในศาลนั้นครบหนึ่งปี
ข้อ ๒๘
ผู้พิพากษาอาวุโสที่รับราชการในศาลภูมิภาคยังไม่ครบระยะเวลาตามข้อ ๒๗
หากมีความจำเป็นอาจได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายมารับราชการที่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครได้
แต่จะขอโยกย้ายไปรับราชการในศาลภูมิภาคอีกไม่ได้จนกว่าจะครบสี่ปี เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการศาลยุติธรรม
ข้อ ๒๙
ในกรณีที่มีความเหมาะสมและเพื่อประโยชน์อย่างยิ่งแก่ราชการ ศาลยุติธรรม
ก.ต. อาจมีมติด้วยคะแนนเสียงสองในสามของจำนวนกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
ยกเว้นหลักเกณฑ์ในการโยกย้ายแต่งตั้งตามระเบียบนี้ได้
หมวด ๔
วิธีดำเนินการของ
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล
ข้อ ๓๐
การพิจารณาของ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลในเรื่องการแต่งตั้งและการเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตุลาการให้ดำเนินการ
ดังนี้
(๑) การแต่งตั้งประธานศาลฎีกาและผู้พิพากษาอาวุโส
หรือตำแหน่งอื่นตามที่ก.ต. เห็นสมควรให้เป็นการประชุมร่วมกันระหว่าง อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลทุกชั้นศาล โดยให้ประธาน อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลผู้มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้เรียกประชุม
(๒)
การเลื่อนตำแหน่งผู้พิพากษาในศาลชั้นอุทธรณ์ไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาในศาลฎีกาและการแต่งตั้งประธานศาลอุทธรณ์และประธานศาลอุทธรณ์ภาค
ให้เป็นการประชุมร่วมกันระหว่าง อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา
โดยให้ประธาน อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลนั้นผู้มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้เรียกประชุม
(๓)
การเลื่อนตำแหน่งผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาในศาลชั้นอุทธรณ์ให้เป็นการประชุมร่วมกันระหว่าง
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลอุทธรณ์และศาลชั้นต้นโดยให้ประธาน อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลนั้นผู้มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้เรียกประชุม
ข้อ ๓๑
การประชุมของ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล หากมีข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่ไม่ชัดเจน ที่ประชุมอาจเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้
ในกรณีที่มีการอภิปรายไปในทางที่เป็นผลร้ายแก่บุคคลใดจะต้องดำเนินการให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนั้น
รวมทั้งให้โอกาสบุคคลนั้นชี้แจงก่อน เว้นแต่จะปรากฏพยานหลักฐานเป็นที่ชัดแจ้งอยู่แล้ว
ข้อ ๓๒ อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลมีสิทธิแสวงหาข้อมูลในด้านต่าง ๆ ของบุคคลที่เลขานุการ ก.ต.
เสนอชื่อเพื่อประกอบการพิจารณาได้
ให้เลขานุการ ก.ต. อำนวยความสะดวกแก่ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลในการที่จะเข้าตรวจดูข้อมูลภายในศาลยุติธรรม
และให้ความร่วมมือในการให้ได้มาซึ่งข้อมูลภายนอกศาลยุติธรรม
ข้อ ๓๓
ในการประชุม อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล ให้อนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาลทุกคนลงความเห็นว่าเห็นด้วยหรือไม่กับบุคคลที่เลขานุการ
ก.ต. เสนอชื่อให้พิจารณาพร้อมระบุเหตุผลเพื่อประกอบการพิจารณาของ ก.ต.
อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลอาจเสนอข้อมูลของบุคคลอื่นที่เห็นว่าเป็นผู้ที่เหมาะสมกว่าบุคคลที่เลขานุการ
ก.ต. เสนอชื่อเพื่อประกอบการพิจารณาของ ก.ต. ด้วยก็ได้
ข้อ ๓๔
ให้เลขานุการ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลจัดทำรายงานสรุปผลการพิจารณาของ อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาล โดยมีสาระสำคัญครบถ้วนเสนอต่อ ก.ต.
หมวด ๕
การเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
ข้อ ๓๕
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า เมื่ออยู่ในชั้น ๒ มาครบห้าปีนับแต่วันที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งให้เลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้น ๓ ขั้นต่ำ
ข้อ ๓๖
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรือตำแหน่งอื่นที่ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นเมื่ออยู่ในชั้น
๓ ขั้นต่ำมาครบสามปีนับแต่วันที่ได้รับการเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้น
๓ ขั้นต่ำตามข้อ ๓๕ แล้ว ให้เลขานุการ ก.ต. เสนอให้เลื่อนขั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้น
๓ ขั้นสูงสุดต่อ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลเพื่อจัดทำความเห็นประกอบการพิจารณาของ ก.ต.
โดยเร็ว
การพิจารณาของ ก.ต. ตามวรรคหนึ่ง
ให้พิจารณารายงานการประเมินบุคคลและการปฏิบัติราชการประจำปีของข้าราชการตุลาการผู้นั้นประกอบด้วย
หากจะพิจารณาไม่ให้ผู้ใดเลื่อนขั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้น ๓
ขั้นสูงสุด ให้เลขานุการ ก.ต. ดำเนินการให้มีการสุ่มตัวอย่างผลงานการพิจารณาพิพากษาคดีของผู้นั้นย้อนหลังไปไม่เกินสามปีมาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
หมวด ๖
การประเมินสมรรถภาพของผู้พิพากษาอาวุโส
ข้อ ๓๗
ให้เลขานุการ ก.ต. จัดให้มีการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ
รวมทั้งการประเมินบุคคลและผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาอาวุโสว่ามีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสต่อไปหรือไม่
โดยให้เสนอรายชื่อบุคคลให้ ก.ต. แต่งตั้งเป็นคณะกรรมการประเมินจำนวนไม่น้อยกว่าเก้าคนแต่ไม่เกินสิบสองคน
ซึ่งในจำนวนนี้ต้องเป็นคณะกรรมการแพทย์จำนวนไม่น้อยกว่าสามคน
แล้วเสนอผลการประเมินต่อ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลทุกชั้นศาลเพื่อจัดทำความเห็นประกอบการพิจารณาของ
ก.ต. ให้แล้วเสร็จก่อนวันสิ้นปีงบประมาณที่ผู้พิพากษาอาวุโสผู้นั้นจะมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน
ข้อ ๓๘
ให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินบุคคลตามแบบการประเมินบุคคลและรายงานการปฏิบัติราชการของข้าราชการตุลาการตามข้อ
๑๒ มาใช้แก่การประเมินบุคคลของผู้พิพากษาอาวุโสด้วยโดยอนุโลม
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๓๙
มิให้นำความในข้อ ๑๑ มาใช้บังคับแก่การพิจารณาเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตุลาการประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๕
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
สันติ ทักราล
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
การประเมินบุคคลและรายงานการปฏิบัติราชการของข้าราชการตุลาการประจำปี พ.ศ. ....
๒. มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖[๙]
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗[๑๐]
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘[๑๑]
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๘[๑๒]
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๗๕ ก/หน้า ๔/๘ สิงหาคม ๒๕๔๕
[๒] ข้อ ๑๕ ยกเลิกโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๘
[๓] ข้อ ๑๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗
[๔] ข้อ ๑๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘
[๕] ข้อ ๒๐
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗
[๖] ข้อ ๒๐ วรรคหนึ่ง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘
[๗] ข้อ ๒๑ วรรคหนึ่ง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘
[๘] ข้อ ๒๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๓๕ ก/หน้า ๗/๒๙ เมษายน ๒๕๔๖
[๑๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๑๐ ก/หน้า ๕๒/๒๒ มกราคม ๒๕๔๗
[๑๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๖ ก/หน้า ๔๘/๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘
[๑๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๒๓ ก/หน้า ๑๒/๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๘ |
647457 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้งและการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ พ.ศ. 2545 (ฉบับ Update ณ วันที่ 22/01/2547)
| ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
พ.ศ. ๒๕๔๕
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ มาตรา ๔๗ และมาตรา ๕๑
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ในระเบียบนี้ หากข้อความมิได้แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
ก.ต. หมายความว่า คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
เลขานุการ ก.ต. หมายความว่า เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล หมายความว่า
คณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาล
เลขานุการ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล หมายความว่า เลขานุการคณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาล
จังหวัด หมายความว่า พื้นที่ในเขตอำนาจศาล
ภูมิลำเนา หมายความว่า บ้านที่เกิดหรือเป็นพื้นเพเดิม
ซึ่งอาจจะเป็นจังหวัดอื่นที่มิใช่บ้านเกิดก็ได้
ปริมณฑล หมายความว่า จังหวัดนนทบุรี จังหวัดนครปฐม
จังหวัดปทุมธานีจังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร
ข้อ ๔
ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๕
ให้เลขานุการ ก.ต. เสนอเรื่องการแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง และการโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลพิจารณาจัดทำความเห็นโดยเร็ว
ในกรณีการเลื่อนตำแหน่ง
หากมีการเสนอชื่อข้ามลำดับอาวุโสให้ระบุเหตุผลของการดำเนินการเช่นว่านั้นไว้ด้วย
ข้อ ๖
การพิจารณาของ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลในเรื่องการแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง
และการโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลดำเนินการตามหมวด ๔
แห่งระเบียบนี้
หมวด ๒
การแต่งตั้งและการเลื่อนตำแหน่ง
ข้อ ๗
การแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ให้พิจารณาถึงความรู้ความสามารถพื้นฐาน
ได้แก่ การพิจารณาพิพากษาคดี การเรียงคำพิพากษา การบริหารงานคดี ความรับผิดชอบ
ความซื่อสัตย์สุจริต ความไว้วางใจได้ ความวิริยะอุตสาหะ ชื่อเสียงเกียรติคุณ ประวัติการศึกษาอบรมและการรับราชการ
การดำรงตนของตนเองและคู่ครอง มารยาทสังคม และทัศนคติ
ประกอบกับแบบการประเมินบุคคลและรายงานการปฏิบัติราชการของข้าราชการตุลาการผู้นั้นว่ามีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่จะแต่งตั้งตามที่ระบุไว้ท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๘
การแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารงานศาล นอกจากพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ
๗ แล้ว ต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถในการบริหาร ความเป็นผู้นำ การแก้ปัญหา
การตัดสินใจ มนุษยสัมพันธ์ ความเอาใจใส่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เพื่อรักษาประโยชน์ของทางราชการและประชาชน
ประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับคดีสำคัญ ความเสียสละ
และการอุทิศตนเพื่อประโยชน์แก่ราชการศาลยุติธรรมรวมทั้งผลงานของผู้นั้นด้วย
ข้อ ๙
การแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ดำรงตำแหน่งในศาลชำนัญพิเศษตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค และผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
นอกจากพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ ๗ แล้ว ต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถเกี่ยวกับงานของศาลนั้นและความเหมาะสมกับตำแหน่งประกอบด้วย
ข้อ ๑๐
การเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตุลาการซึ่งดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
ให้เสนอแต่งตั้งจากข้าราชการตุลาการที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาลมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี
และผ่านการประเมินความเหมาะสมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมกำหนดอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาล
ข้อ ๑๑ การเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตุลาการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลชั้นต้น
ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ผู้พิพากษาศาลฎีกา
หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า ให้เลขานุการ ก.ต. จัดให้มีการสุ่มตัวอย่างผลงานการพิจารณาพิพากษาคดีหรืองานอื่นในหน้าที่รับผิดชอบของผู้ได้รับการเสนอแต่งตั้งย้อนหลังไปไม่เกินสามปีมาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
ข้อ ๑๒
ให้เลขานุการ ก.ต. จัดให้มีการประเมินบุคคลตามแบบการประเมินบุคคลและรายงานการปฏิบัติราชการของข้าราชการตุลาการท้ายระเบียบนี้เป็นประจำทุกปี
โดยให้ผู้ที่รับผิดชอบการประเมินส่งผลการประเมินไปถึงสำนักงานศาลยุติธรรมภายในเดือนเมษายนของแต่ละปี
ผู้รับการประเมินมีสิทธิขอตรวจดูการประเมินและผลการประเมินได้ตามวิธีการที่สำนักงานศาลยุติธรรมกำหนด
หมวด ๓
การโยกย้ายแต่งตั้ง
ข้อ ๑๓
การโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการตุลาการประจำปีมีสองวาระ ดังนี้
วาระปกติ พิจารณาดำเนินการประมาณเดือนสิงหาคมของแต่ละปี
สำหรับข้าราชการตุลาการทุกตำแหน่ง
ทั้งการโยกย้ายแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนผู้มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในแต่ละปีงบประมาณ
และการโยกย้ายแต่งตั้งเพื่อสับเปลี่ยนตำแหน่งโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑
ตุลาคมของปีนั้นสำหรับผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนผู้มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์
และให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ของปีถัดไปสำหรับผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
วาระพิเศษ พิจารณาดำเนินการประมาณเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไปสำหรับการโยกย้ายแต่งตั้งเพิ่มเติมตามความจำเป็น
ทั้งนี้
เพื่อแก้ไขข้อขัดข้องในการโยกย้ายแต่งตั้งตามวาระปกติ
ข้อ ๑๔
ตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามมาตรา ๑๓ (๑) (ข) ได้แก่ รองประธานศาลฎีกาและผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า สามารถสับเปลี่ยนตำแหน่งกันได้ทุกตำแหน่งโดยไม่มีผลกระทบต่อลำดับอาวุโส
ข้อ ๑๕
ตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามมาตรา ๑๓ (๑) (ข) ได้แก่ รองประธานศาลฎีกา
ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
และผู้พิพากษาศาลฎีกา หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่าสามารถสับเปลี่ยนกับตำแหน่งตามมาตรา
๑๓ (๒) (ก) ได้แก่ ประธานศาลอุทธรณ์ และประธานศาลอุทธรณ์ภาค ได้ทุกตำแหน่งโดยไม่มีผลกระทบต่อลำดับอาวุโส
ข้อ ๑๖
ตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามมาตรา ๑๓ (๒) (ข) ได้แก่ รองประธานศาลอุทธรณ์
รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ และผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค
หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า สามารถสับเปลี่ยนตำแหน่งกันได้ทุกตำแหน่งโดยไม่มีผลกระทบต่อลำดับอาวุโส
ข้อ ๑๗
ตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามมาตรา ๑๓ (๓) (ก) ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
อธิบดีผู้พิพากษาภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล และผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลชั้นต้น
หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า สามารถสับเปลี่ยนตำแหน่งกันได้ทุกตำแหน่งโดยไม่มีผลกระทบต่อลำดับอาวุโส
ข้อ ๑๘[๒]
การพิจารณาโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ดำรงตำแหน่งในศาลจังหวัด
ศาลแขวง ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด
หรือศาลจังหวัดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในจังหวัดใด ให้คำนึงถึงลำดับอาวุโสและความเหมาะสมในจังหวัดนั้น
ข้อ ๑๙
การแต่งตั้งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลหรือผู้พิพากษาศาลชั้นต้นไปดำรงตำแหน่งในจังหวัดที่เป็นภูมิลำเนาของผู้นั้นหรือของคู่สมรสจะกระทำมิได้
เว้นแต่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล หรือกรณีมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งเป็นพิเศษเฉพาะราย
ข้อ ๒๐[๓]
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและผู้พิพากษาศาลชั้นต้นให้รับราชการในจังหวัดที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้จังหวัดละไม่เกินสี่ปี
โดยให้นับระยะเวลารวมถึงการช่วยราชการในจังหวัดนั้นด้วย
กรณีผู้ที่รับราชการในศาลแขวง
ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด และศาลจังหวัดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวครบสองปี
หากมีตำแหน่งในศาลจังหวัดว่างลงอาจได้รับการพิจารณาแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งในศาลจังหวัด
สำหรับผู้ที่ดำรงตำแหน่งเลขาธิการประธานศาลฎีกา
รองเลขาธิการประธานศาลฎีกา เลขานุการและรองเลขานุการศาลสูง เลขานุการศาลชั้นต้น
และเลขานุการศาลยุติธรรมประจำภาค
ให้มีวาระในการดำรงตำแหน่งทุกตำแหน่งดังกล่าวรวมกันไม่เกินสี่ปี
ข้อ ๒๑
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่ดำรงตำแหน่งในศาลภูมิภาคต้องรับราชการในศาลนั้นอย่างน้อยสองปีจึงจะได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายได้
เว้นแต่ในศาลกลุ่มพิเศษตามบัญชีลำดับศาลที่ ก.ต. กำหนด
ให้ได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายได้เมื่อรับราชการในศาลนั้นครบหนึ่งปี
หรือเว้นแต่กรณีผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวง ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด
หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดซึ่งศาลตั้งอยู่ที่อำเภอ
ของจังหวัดนั้นประสงค์จะดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัด
ให้ได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายได้
การแต่งตั้งให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลไปดำรงตำแหน่งในศาลชั้นต้นในจังหวัดที่ผู้นั้นเคยดำรงตำแหน่งหรือเคยช่วยทำงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลมาก่อนจะกระทำมิได้
เว้นแต่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ข้อ ๒๒
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่รับราชการในศาลภูมิภาคยังไม่ครบระยะเวลาตามข้อ
๒๑ หากมีความจำเป็นอาจได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายมารับราชการที่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครได้
แต่จะขอโยกย้ายไปรับราชการในศาลภูมิภาคอีกไม่ได้จนกว่าจะครบสี่ปี
หรือจนกว่าจะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาล เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการศาลยุติธรรม
ข้อ ๒๓
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่มีความจำเป็นและประสงค์ไม่ออกไปดำรงตำแหน่งในศาลภูมิภาคอาจได้รับการพิจารณาให้รับราชการที่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครได้
แต่จะขอโยกย้ายไปรับราชการในศาลภูมิภาคอีกไม่ได้จนกว่าจะครบสี่ปี
หรือจนกว่าจะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาล เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการศาลยุติธรรม
ข้อ ๒๔[๔] ให้ผู้พิพากษาประจำศาลรับราชการที่ศาลชั้นต้นยกเว้นศาลแขวงตามระยะเวลาที่
ก.ต. เห็นสมควรกำหนด
ข้อ ๒๕
การแต่งตั้งผู้พิพากษาอาวุโสไปดำรงตำแหน่งในจังหวัดที่เป็นภูมิลำเนาของผู้นั้นหรือของคู่สมรสจะกระทำมิได้
เว้นแต่ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค
หรือกรณีมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งเป็นพิเศษเฉพาะราย
ข้อ ๒๖
ผู้พิพากษาอาวุโสให้รับราชการในจังหวัดที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้จังหวัดละไม่เกินห้าปี
โดยให้นับระยะเวลารวมถึงการช่วยราชการในจังหวัดนั้นด้วย
ผู้พิพากษาอาวุโสให้รับราชการที่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑลได้ศาลละไม่เกินห้าปี
โดยให้นับระยะเวลารวมถึงการช่วยราชการในศาลนั้นด้วย เว้นแต่ในศาลชำนัญพิเศษ
ข้อ ๒๗
ผู้พิพากษาอาวุโสที่ดำรงตำแหน่งในศาลภูมิภาคต้องรับราชการในศาลนั้นอย่างน้อยสองปี
จึงจะได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายได้ เว้นแต่ในศาลกลุ่มพิเศษตามบัญชีลำดับศาลที่
ก.ต. กำหนด ให้ได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายได้เมื่อรับราชการในศาลนั้นครบหนึ่งปี
ข้อ ๒๘
ผู้พิพากษาอาวุโสที่รับราชการในศาลภูมิภาคยังไม่ครบระยะเวลาตามข้อ ๒๗
หากมีความจำเป็นอาจได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายมารับราชการที่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครได้
แต่จะขอโยกย้ายไปรับราชการในศาลภูมิภาคอีกไม่ได้จนกว่าจะครบสี่ปี เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการศาลยุติธรรม
ข้อ ๒๙
ในกรณีที่มีความเหมาะสมและเพื่อประโยชน์อย่างยิ่งแก่ราชการ ศาลยุติธรรม
ก.ต. อาจมีมติด้วยคะแนนเสียงสองในสามของจำนวนกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
ยกเว้นหลักเกณฑ์ในการโยกย้ายแต่งตั้งตามระเบียบนี้ได้
หมวด ๔
วิธีดำเนินการของ
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล
ข้อ ๓๐
การพิจารณาของ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลในเรื่องการแต่งตั้งและการเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตุลาการให้ดำเนินการ
ดังนี้
(๑) การแต่งตั้งประธานศาลฎีกาและผู้พิพากษาอาวุโส
หรือตำแหน่งอื่นตามที่ก.ต. เห็นสมควรให้เป็นการประชุมร่วมกันระหว่าง อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลทุกชั้นศาล โดยให้ประธาน อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลผู้มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้เรียกประชุม
(๒)
การเลื่อนตำแหน่งผู้พิพากษาในศาลชั้นอุทธรณ์ไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาในศาลฎีกาและการแต่งตั้งประธานศาลอุทธรณ์และประธานศาลอุทธรณ์ภาค
ให้เป็นการประชุมร่วมกันระหว่าง อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา
โดยให้ประธาน อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลนั้นผู้มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้เรียกประชุม
(๓)
การเลื่อนตำแหน่งผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาในศาลชั้นอุทธรณ์ให้เป็นการประชุมร่วมกันระหว่าง
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลอุทธรณ์และศาลชั้นต้นโดยให้ประธาน อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลนั้นผู้มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้เรียกประชุม
ข้อ ๓๑
การประชุมของ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล หากมีข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่ไม่ชัดเจน ที่ประชุมอาจเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้
ในกรณีที่มีการอภิปรายไปในทางที่เป็นผลร้ายแก่บุคคลใดจะต้องดำเนินการให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนั้น
รวมทั้งให้โอกาสบุคคลนั้นชี้แจงก่อน เว้นแต่จะปรากฏพยานหลักฐานเป็นที่ชัดแจ้งอยู่แล้ว
ข้อ ๓๒ อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลมีสิทธิแสวงหาข้อมูลในด้านต่าง ๆ ของบุคคลที่เลขานุการ ก.ต.
เสนอชื่อเพื่อประกอบการพิจารณาได้
ให้เลขานุการ ก.ต. อำนวยความสะดวกแก่ อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลในการที่จะเข้าตรวจดูข้อมูลภายในศาลยุติธรรม
และให้ความร่วมมือในการให้ได้มาซึ่งข้อมูลภายนอกศาลยุติธรรม
ข้อ ๓๓
ในการประชุม อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล ให้อนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาลทุกคนลงความเห็นว่าเห็นด้วยหรือไม่กับบุคคลที่เลขานุการ
ก.ต. เสนอชื่อให้พิจารณาพร้อมระบุเหตุผลเพื่อประกอบการพิจารณาของ ก.ต.
อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลอาจเสนอข้อมูลของบุคคลอื่นที่เห็นว่าเป็นผู้ที่เหมาะสมกว่าบุคคลที่เลขานุการ
ก.ต. เสนอชื่อเพื่อประกอบการพิจารณาของ ก.ต. ด้วยก็ได้
ข้อ ๓๔
ให้เลขานุการ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลจัดทำรายงานสรุปผลการพิจารณาของ อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาล โดยมีสาระสำคัญครบถ้วนเสนอต่อ ก.ต.
หมวด ๕
การเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
ข้อ ๓๕
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า เมื่ออยู่ในชั้น ๒ มาครบห้าปีนับแต่วันที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งให้เลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้น ๓ ขั้นต่ำ
ข้อ ๓๖
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรือตำแหน่งอื่นที่ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นเมื่ออยู่ในชั้น
๓ ขั้นต่ำมาครบสามปีนับแต่วันที่ได้รับการเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้น
๓ ขั้นต่ำตามข้อ ๓๕ แล้ว ให้เลขานุการ ก.ต. เสนอให้เลื่อนขั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้น
๓ ขั้นสูงสุดต่อ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลเพื่อจัดทำความเห็นประกอบการพิจารณาของ ก.ต.
โดยเร็ว
การพิจารณาของ ก.ต. ตามวรรคหนึ่ง ให้พิจารณารายงานการประเมินบุคคลและการปฏิบัติราชการประจำปีของข้าราชการตุลาการผู้นั้นประกอบด้วย
หากจะพิจารณาไม่ให้ผู้ใดเลื่อนขั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้น ๓
ขั้นสูงสุด ให้เลขานุการ ก.ต. ดำเนินการให้มีการสุ่มตัวอย่างผลงานการพิจารณาพิพากษาคดีของผู้นั้นย้อนหลังไปไม่เกินสามปีมาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
หมวด ๖
การประเมินสมรรถภาพของผู้พิพากษาอาวุโส
ข้อ ๓๗
ให้เลขานุการ ก.ต. จัดให้มีการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ
รวมทั้งการประเมินบุคคลและผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาอาวุโสว่ามีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสต่อไปหรือไม่
โดยให้เสนอรายชื่อบุคคลให้ ก.ต. แต่งตั้งเป็นคณะกรรมการประเมินจำนวนไม่น้อยกว่าเก้าคนแต่ไม่เกินสิบสองคน
ซึ่งในจำนวนนี้ต้องเป็นคณะกรรมการแพทย์จำนวนไม่น้อยกว่าสามคน
แล้วเสนอผลการประเมินต่อ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลทุกชั้นศาลเพื่อจัดทำความเห็นประกอบการพิจารณาของ
ก.ต. ให้แล้วเสร็จก่อนวันสิ้นปีงบประมาณที่ผู้พิพากษาอาวุโสผู้นั้นจะมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน
ข้อ ๓๘
ให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินบุคคลตามแบบการประเมินบุคคลและรายงานการปฏิบัติราชการของข้าราชการตุลาการตามข้อ
๑๒ มาใช้แก่การประเมินบุคคลของผู้พิพากษาอาวุโสด้วยโดยอนุโลม
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๓๙
มิให้นำความในข้อ ๑๑ มาใช้บังคับแก่การพิจารณาเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตุลาการประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๕
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
สันติ ทักราล
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
การประเมินบุคคลและรายงานการปฏิบัติราชการของข้าราชการตุลาการประจำปี พ.ศ. ....
๒. มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖[๕]
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗[๖]
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๗๕ ก/หน้า ๔/๘ สิงหาคม ๒๕๔๕
[๒] ข้อ ๑๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗
[๓] ข้อ ๒๐
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗
[๔] ข้อ ๒๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๓๕ ก/หน้า ๗/๒๙ เมษายน ๒๕๔๖
[๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๑๐ ก/หน้า ๕๒/๒๒ มกราคม ๒๕๔๗ |
473054 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2548
| ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
(ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๘
โดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๘ และมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ
๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๕ ของระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
พ.ศ. ๒๕๔๕
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘
ชาญชัย ลิขิตจิตถะ
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๒๓ ก/หน้า ๑๒/๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๘ |
451116 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2548
| ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ
ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๔๘
โดยที่เป็นการสมควรให้ปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคสอง วรรคสาม และมาตรา ๓๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕
ของระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. ๒๕๔๕
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๕ เมื่อสมควรจะมีการทดสอบความรู้เมื่อใด
ให้เลขานุการ ก.ต. เสนอขอความเห็นชอบจาก ก.ต. เพื่อจัดให้มีการทดสอบความรู้ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แห่งราชการศาลยุติธรรม
ก.ต. อาจจะกำหนดให้มีการทดสอบความรู้ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ เฉพาะข้อ (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) หรือ (ช) ข้อใดข้อหนึ่ง
หรือหลายข้อในการทดสอบความรู้แต่ละคราวก็ได้
ให้ ก.ต.
ประกาศเกี่ยวกับการรับสมัคร
และแต่งตั้งคณะกรรมการทดสอบความรู้ขึ้นคณะหนึ่งตามจำนวนที่จำเป็น ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงคุณสมบัติ
ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ในการสอน
และการเป็นกรรมการสอบวิชากฎหมายของผู้ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งเป็นส่วนสำคัญ
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๘
ของระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๘
การทดสอบความรู้ของผู้สมัครให้มีทั้งการสอบข้อเขียนและการสอบปากเปล่า
ภายใต้บังคับข้อ ๑๙/๑ ข้อ ๒๐/๑ และข้อ ๒๐/๒ วิชาที่ทดสอบ คือ กฎหมายอาญา
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน พระธรรมนูญศาลยุติธรรม
และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
หรือกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา หรือกฎหมายภาษีอากร หรือกฎหมายแรงงาน
หรือกฎหมายล้มละลาย หรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กับภาษาอังกฤษ กฎหมายรัฐธรรมนูญ
หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมและระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม
ข้อ ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๒๐/๑ และ ๒๐/๒ ของระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๒๐/๑ ในกรณีที่ ก.ต.
กำหนดให้มีการทดสอบความรู้เฉพาะผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ก) (ข)
มิให้นำความในข้อ ๑๙ วรรคหนึ่ง ข้อ ๑๙/๑ และข้อ ๒๐
มาใช้บังคับและให้ดำเนินการทดสอบความรู้ ดังนี้
(๑) การสอบข้อเขียน
ให้สอบวิชากฎหมายอาญา จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๒ ข้อ
วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จำนวน ๒ ข้อ
และวิชากฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายล้มละลาย
หรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ จำนวน ๑ ข้อ เวลา ๓ ชั่วโมง ๔๕ นาที คะแนนเต็ม ๙๐
กับวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน ๓ ข้อ เวลา ๓ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๖๐
โดยสำหรับลักษณะวิชาที่ให้เลือกสอบ ผู้สมัครต้องแสดงความจำนงว่าจะสอบลักษณะวิชากฎหมายใดในวันสมัครสอบ
(๒)
ในการออกข้อสอบวิชากฎหมาย ให้คณะกรรมการออกข้อสอบวิชากฎหมายอาญา วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์
วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้ออกข้อสอบวิชาละ ๒
ข้อ โดยให้ออกข้อสอบเป็นคำถามเกี่ยวกับแนวความคิดทางกฎหมาย หลักกฎหมาย
หรือปัญหาเชิงทฤษฎีที่ให้ผู้สอบแสดงทักษะในการให้เหตุผลและวิเคราะห์วิชาละ ๑ ข้อ
และเป็นคำถามเกี่ยวกับปัญหาเชิงปฏิบัติวิชาละ ๑ ข้อ วิชากฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายล้มละลายหรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ
ให้ออกข้อสอบเป็นคำถามเกี่ยวกับแนวความคิดทางกฎหมาย หลักกฎหมาย
หรือปัญหาเชิงทฤษฎีที่ให้ผู้สอบแสดงทักษะในการให้เหตุผลและวิเคราะห์วิชาละ ๑ ข้อ
(๓)
ในการออกข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ ให้ออกข้อสอบ ๓ ข้อ
โดยให้ออกข้อสอบข้อที่หนึ่งเป็นคำถามที่ให้แปลข้อความภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ๑ ข้อ
ข้อที่สองเป็นคำถามภาษาอังกฤษที่ทดสอบความเข้าใจในการอ่านบทความกฎหมายภาษาอังกฤษ ๑
ข้อ และข้อที่สามเป็นคำถามที่ให้ผู้สมัครเขียนอธิบาย หรือวินิจฉัยปัญหากฎหมายเป็นภาษาอังกฤษ
๑ ข้อ
(๔)
ให้ผู้สมัครที่เลือกสอบในวิชากฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน กฎหมายรัฐธรรมนูญ
กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายล้มละลาย
หรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ ตามข้อ ๒๐/๑ (๑)
แสดงความจำนงในวันสมัครสอบว่าจะสอบลักษณะวิชากฎหมายใด
ข้อ ๒๐/๒ ก.ต.
อาจกำหนดให้สอบวิชาภาษาต่างประเทศอื่นแทนวิชาภาษาอังกฤษก็ได้ ทั้งนี้ ให้นำความในข้อ ๒๐/๑ มาใช้บังคับกับการสอบวิชาภาษาต่างประเทศอื่นโดยอนุโลม
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ศุภชัย
ภู่งาม
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๖
ก/หน้า ๔๕/๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ |
647490 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมายและเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2545 (ฉบับ Update ณ วันที่ 28/07/2546)
| ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
พ.ศ. ๒๕๔๕
โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
ข้อ ๓[๒] การประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
คือ
(๑) เป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์
หรือภาควิชานิติศาสตร์ หรือสาขาวิชานิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ
ซึ่งคณบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่ารับรองว่าได้สอนวิชากฎหมายตามหลักสูตรในคณะนิติศาสตร์
หรือภาควิชานิติศาสตร์ หรือสาขาวิชานิติศาสตร์มาแล้ว ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๒) เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
ซึ่งทำหน้าที่พนักงานสอบสวนและผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่พนักงานสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า
๒๐ เรื่อง ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๓) เป็นข้าราชการศาลยุติธรรมตำแหน่งเจ้าพนักงานศาลยุติธรรม
(วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานศาลยุติธรรม
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่
ก.ศ. กำหนด ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๔) เป็นนายทหารซึ่งทำหน้าที่นายทหารสืบสวนสอบสวน
หรือนายทหารสารวัตรสืบสวนสอบสวน กระทรวงกลาโหม
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานสอบสวนคดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลทหารมาแล้วไม่น้อยกว่า
๒๐ เรื่อง ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๕) เป็นข้าราชการตำแหน่งเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานสอบสวนคดียาเสพติดมาแล้วไม่น้อยกว่า
๒๐ เรื่อง ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๖) เป็นข้าราชการตำแหน่งเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบทรัพย์สิน
หรือไต่สวนและวินิจฉัยคดีที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๗) เป็นข้าราชการตำแหน่งนักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน
(วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) หรือนักวิชาการที่ดิน
(วุฒิทางกฎหมาย) กรมที่ดิน
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่
ก.พ. กำหนด ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๘) เป็นเจ้าพนักงานการเลือกตั้ง
(งานนิติการ) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (สำนักงาน กกต.) ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าว
ตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่ ก.พ. กำหนด หรือเจ้าพนักงานการเลือกตั้ง
(งานวินิจฉัยหรืองานสืบสวนสอบสวน) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานพิจารณาวินิจฉัยหรือสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า
๒๐ เรื่อง ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๙) เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างในกระทรวงยุติธรรม
ทำหน้าที่พนักงานคุมประพฤติซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานในสายงานคุมประพฤติ
ที่ ก.พ. กำหนด ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๑๐) เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ
หรือลูกจ้างในหน่วยงานของรัฐ
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกรตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่
ก.พ. หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่นกำหนด แล้วแต่กรณี
ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๑๑) เป็นพนักงานของสถาบันการเงินที่
ก.ต. รับรอง ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร
ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๑๒) เป็นอาจารย์ผู้บรรยายประจำวิชาของคณะนิติศาสตร์
ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ทบวงมหาวิทยาลัยให้การรับรองมาตรฐานการศึกษาของหลักสูตรนิติศาสตร์ซึ่งคณบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่ารับรองว่าได้สอนวิชากฎหมายตามหลักสูตรในคณะนิติศาสตร์มาแล้วในวิชาใดวิชาหนึ่งหรือหลายวิชาดังนี้
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน กฎหมายล้มละลาย
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม
กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง กฎหมายรัฐธรรมนูญ
กฎหมายปกครอง กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน
กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายพาณิชย์นาวีหรือกฎหมายระหว่างประเทศ
ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๑๓) เป็นเจ้าหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ
(วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญกำหนด
ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๑๔) เป็นนักวิจัยหรือผู้ช่วยนักวิจัย
(วุฒิทางกฎหมาย) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกำหนด
ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๑๕) เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมายที่ได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายในลักษณะทำนองเดียวกันหรือเทียบได้กับวิชาชีพตาม
(๑) - (๑๔) ซึ่ง ก.ต. รับรองเป็นรายกรณี
ข้อ ๔
ผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาซึ่งได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นทนายความจะต้องได้ว่าความในศาล
โดยทำหน้าที่หรือมีส่วนร่วมทำหน้าที่ทนายความในการที่ศาลออกนั่งพิจารณามาแล้วไม่น้อยกว่า
๒๐ เรื่อง ในจำนวนนี้ต้องเป็นคดีแพ่งไม่น้อยกว่า ๕ เรื่อง
โดยมีหนังสือรับรองของผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณา ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้มาแสดงว่าได้ทำหน้าที่ดังกล่าวอย่างแท้จริง
ข้อ ๕
ผู้ที่มีคุณสมบัติและปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วน หรือแต่เพียงบางส่วนตามประกาศคณะกรรมการตุลาการ
เรื่องกำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพตามมาตรา ๒๗ (๑) (ค)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ฉบับลงวันที่ ๑๔ มีนาคม
พ.ศ. ๒๕๓๙ ให้ถือว่าได้ประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมายและปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพนั้น
ๆ ครบถ้วนแล้ว หรือแต่เพียงส่วนนั้น แล้วแต่กรณี
ตามที่คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมกำหนดตามนัยระเบียบนี้
ข้อ ๖
ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งรองจ่าศาลอยู่ก่อนวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๔
และยังคงปฏิบัติหน้าที่เดิมในตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสำนักงานศาลยุติธรรม
โดยมีผู้บังคับบัญชารับรองตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
ให้ถือว่าการปฏิบัติหน้าที่เดิมต่อมานั้นเป็นการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
และได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพนั้น ๆ
โดยให้นับระยะเวลาต่อเนื่องกันไป
ข้อ ๗
ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕
สันติ ทักราล
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑))
๒.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๒))
๓.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๓))
๔.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๔))
๕.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๕))
๖.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๖))
๗.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๗))
๘.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๘))
๙.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๙))
๑๐.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑๐))
๑๑.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑๑))
๑๒.[๓]
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑๒))
๑๓.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑๓))
๑๔.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑๔))
๑๕.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑๕))
๑๖.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑๖))
๑๗.
บัญชีรายละเอียดการว่าความคดีแพ่ง
๑๘.
บัญชีรายละเอียดการว่าความคดีอาญา
๑๙.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑๗))
๒๐.[๔] หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา
๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑๘))
๒๑.[๕]
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑๙))
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖[๖]
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๕ ก/หน้า ๒/๑๑ มกราคม ๒๕๔๕
[๒] ข้อ ๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๓] หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา
๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
(วิชาชีพอย่างอื่นฯ (แบบ ๑๒)) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๔] หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา
๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
(วิชาชีพอย่างอื่นฯ (แบบ ๑๘)) เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๕] หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา
๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
(วิชาชีพอย่างอื่นฯ (แบบ ๑๙)) เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๗๓ ก/หน้า ๑๔/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๖ |
647453 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้งและการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ พ.ศ. 2545 (ฉบับ Update ณ วันที่ 29/04/2546)
| ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
พ.ศ. ๒๕๔๕
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ มาตรา ๔๗ และมาตรา ๕๑
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ในระเบียบนี้ หากข้อความมิได้แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
ก.ต. หมายความว่า คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
เลขานุการ ก.ต. หมายความว่า เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล หมายความว่า
คณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาล
เลขานุการ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล หมายความว่า เลขานุการคณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาล
จังหวัด หมายความว่า พื้นที่ในเขตอำนาจศาล
ภูมิลำเนา หมายความว่า บ้านที่เกิดหรือเป็นพื้นเพเดิม
ซึ่งอาจจะเป็นจังหวัดอื่นที่มิใช่บ้านเกิดก็ได้
ปริมณฑล หมายความว่า จังหวัดนนทบุรี จังหวัดนครปฐม
จังหวัดปทุมธานีจังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร
ข้อ ๔
ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๕
ให้เลขานุการ ก.ต. เสนอเรื่องการแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง และการโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลพิจารณาจัดทำความเห็นโดยเร็ว
ในกรณีการเลื่อนตำแหน่ง
หากมีการเสนอชื่อข้ามลำดับอาวุโสให้ระบุเหตุผลของการดำเนินการเช่นว่านั้นไว้ด้วย
ข้อ ๖
การพิจารณาของ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลในเรื่องการแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง
และการโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลดำเนินการตามหมวด ๔
แห่งระเบียบนี้
หมวด ๒
การแต่งตั้งและการเลื่อนตำแหน่ง
ข้อ ๗
การแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ให้พิจารณาถึงความรู้ความสามารถพื้นฐาน
ได้แก่ การพิจารณาพิพากษาคดี การเรียงคำพิพากษา การบริหารงานคดี ความรับผิดชอบ
ความซื่อสัตย์สุจริต ความไว้วางใจได้ ความวิริยะอุตสาหะ ชื่อเสียงเกียรติคุณ ประวัติการศึกษาอบรมและการรับราชการ
การดำรงตนของตนเองและคู่ครอง มารยาทสังคม และทัศนคติ
ประกอบกับแบบการประเมินบุคคลและรายงานการปฏิบัติราชการของข้าราชการตุลาการผู้นั้นว่ามีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่จะแต่งตั้งตามที่ระบุไว้ท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๘
การแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารงานศาล นอกจากพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ
๗ แล้ว ต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถในการบริหาร ความเป็นผู้นำ การแก้ปัญหา
การตัดสินใจ มนุษยสัมพันธ์ ความเอาใจใส่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เพื่อรักษาประโยชน์ของทางราชการและประชาชน
ประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับคดีสำคัญ ความเสียสละ
และการอุทิศตนเพื่อประโยชน์แก่ราชการศาลยุติธรรมรวมทั้งผลงานของผู้นั้นด้วย
ข้อ ๙
การแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ดำรงตำแหน่งในศาลชำนัญพิเศษตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค และผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
นอกจากพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ ๗ แล้ว ต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถเกี่ยวกับงานของศาลนั้นและความเหมาะสมกับตำแหน่งประกอบด้วย
ข้อ ๑๐
การเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตุลาการซึ่งดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
ให้เสนอแต่งตั้งจากข้าราชการตุลาการที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาลมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี
และผ่านการประเมินความเหมาะสมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมกำหนดอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาล
ข้อ ๑๑ การเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตุลาการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลชั้นต้น
ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ผู้พิพากษาศาลฎีกา
หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า ให้เลขานุการ ก.ต. จัดให้มีการสุ่มตัวอย่างผลงานการพิจารณาพิพากษาคดีหรืองานอื่นในหน้าที่รับผิดชอบของผู้ได้รับการเสนอแต่งตั้งย้อนหลังไปไม่เกินสามปีมาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
ข้อ ๑๒
ให้เลขานุการ ก.ต. จัดให้มีการประเมินบุคคลตามแบบการประเมินบุคคลและรายงานการปฏิบัติราชการของข้าราชการตุลาการท้ายระเบียบนี้เป็นประจำทุกปี
โดยให้ผู้ที่รับผิดชอบการประเมินส่งผลการประเมินไปถึงสำนักงานศาลยุติธรรมภายในเดือนเมษายนของแต่ละปี
ผู้รับการประเมินมีสิทธิขอตรวจดูการประเมินและผลการประเมินได้ตามวิธีการที่สำนักงานศาลยุติธรรมกำหนด
หมวด ๓
การโยกย้ายแต่งตั้ง
ข้อ ๑๓
การโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการตุลาการประจำปีมีสองวาระ ดังนี้
วาระปกติ พิจารณาดำเนินการประมาณเดือนสิงหาคมของแต่ละปี
สำหรับข้าราชการตุลาการทุกตำแหน่ง
ทั้งการโยกย้ายแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนผู้มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในแต่ละปีงบประมาณ
และการโยกย้ายแต่งตั้งเพื่อสับเปลี่ยนตำแหน่งโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑
ตุลาคมของปีนั้นสำหรับผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนผู้มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์
และให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ของปีถัดไปสำหรับผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
วาระพิเศษ พิจารณาดำเนินการประมาณเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไปสำหรับการโยกย้ายแต่งตั้งเพิ่มเติมตามความจำเป็น
ทั้งนี้
เพื่อแก้ไขข้อขัดข้องในการโยกย้ายแต่งตั้งตามวาระปกติ
ข้อ ๑๔
ตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามมาตรา ๑๓ (๑) (ข) ได้แก่ รองประธานศาลฎีกาและผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า สามารถสับเปลี่ยนตำแหน่งกันได้ทุกตำแหน่งโดยไม่มีผลกระทบต่อลำดับอาวุโส
ข้อ ๑๕
ตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามมาตรา ๑๓ (๑) (ข) ได้แก่ รองประธานศาลฎีกา
ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
และผู้พิพากษาศาลฎีกา หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่าสามารถสับเปลี่ยนกับตำแหน่งตามมาตรา
๑๓ (๒) (ก) ได้แก่ ประธานศาลอุทธรณ์ และประธานศาลอุทธรณ์ภาค ได้ทุกตำแหน่งโดยไม่มีผลกระทบต่อลำดับอาวุโส
ข้อ ๑๖
ตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามมาตรา ๑๓ (๒) (ข) ได้แก่ รองประธานศาลอุทธรณ์
รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ และผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค
หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า สามารถสับเปลี่ยนตำแหน่งกันได้ทุกตำแหน่งโดยไม่มีผลกระทบต่อลำดับอาวุโส
ข้อ ๑๗
ตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามมาตรา ๑๓ (๓) (ก) ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
อธิบดีผู้พิพากษาภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล และผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลชั้นต้น
หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า สามารถสับเปลี่ยนตำแหน่งกันได้ทุกตำแหน่งโดยไม่มีผลกระทบต่อลำดับอาวุโส
ข้อ ๑๘
การพิจารณาโยกย้ายแต่งตั้ง ไม่ให้ถือว่ามีศาลแขวง ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดหรือศาลจังหวัดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวเป็นศาลที่มีความสำคัญน้อยกว่าศาลจังหวัดในท้องที่นั้น
ๆ
ข้อ ๑๙
การแต่งตั้งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลหรือผู้พิพากษาศาลชั้นต้นไปดำรงตำแหน่งในจังหวัดที่เป็นภูมิลำเนาของผู้นั้นหรือของคู่สมรสจะกระทำมิได้
เว้นแต่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล หรือกรณีมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งเป็นพิเศษเฉพาะราย
ข้อ ๒๐
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและผู้พิพากษาศาลชั้นต้นให้รับราชการในจังหวัดที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้จังหวัดละไม่เกินสี่ปี
โดยให้นับระยะเวลารวมถึงการช่วยราชการในจังหวัดนั้นด้วย
ข้อ ๒๑
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่ดำรงตำแหน่งในศาลภูมิภาคต้องรับราชการในศาลนั้นอย่างน้อยสองปีจึงจะได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายได้
เว้นแต่ในศาลกลุ่มพิเศษตามบัญชีลำดับศาลที่ ก.ต. กำหนด
ให้ได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายได้เมื่อรับราชการในศาลนั้นครบหนึ่งปี
หรือเว้นแต่กรณีผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวง ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด
หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดซึ่งศาลตั้งอยู่ที่อำเภอ
ของจังหวัดนั้นประสงค์จะดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัด
ให้ได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายได้
การแต่งตั้งให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลไปดำรงตำแหน่งในศาลชั้นต้นในจังหวัดที่ผู้นั้นเคยดำรงตำแหน่งหรือเคยช่วยทำงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลมาก่อนจะกระทำมิได้
เว้นแต่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ข้อ ๒๒
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่รับราชการในศาลภูมิภาคยังไม่ครบระยะเวลาตามข้อ
๒๑ หากมีความจำเป็นอาจได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายมารับราชการที่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครได้
แต่จะขอโยกย้ายไปรับราชการในศาลภูมิภาคอีกไม่ได้จนกว่าจะครบสี่ปี
หรือจนกว่าจะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาล เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการศาลยุติธรรม
ข้อ ๒๓
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่มีความจำเป็นและประสงค์ไม่ออกไปดำรงตำแหน่งในศาลภูมิภาคอาจได้รับการพิจารณาให้รับราชการที่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครได้
แต่จะขอโยกย้ายไปรับราชการในศาลภูมิภาคอีกไม่ได้จนกว่าจะครบสี่ปี
หรือจนกว่าจะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาล เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการศาลยุติธรรม
ข้อ ๒๔[๒] ให้ผู้พิพากษาประจำศาลรับราชการที่ศาลชั้นต้นยกเว้นศาลแขวงตามระยะเวลาที่
ก.ต. เห็นสมควรกำหนด
ข้อ ๒๕
การแต่งตั้งผู้พิพากษาอาวุโสไปดำรงตำแหน่งในจังหวัดที่เป็นภูมิลำเนาของผู้นั้นหรือของคู่สมรสจะกระทำมิได้
เว้นแต่ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค
หรือกรณีมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งเป็นพิเศษเฉพาะราย
ข้อ ๒๖
ผู้พิพากษาอาวุโสให้รับราชการในจังหวัดที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้จังหวัดละไม่เกินห้าปี
โดยให้นับระยะเวลารวมถึงการช่วยราชการในจังหวัดนั้นด้วย
ผู้พิพากษาอาวุโสให้รับราชการที่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑลได้ศาลละไม่เกินห้าปี
โดยให้นับระยะเวลารวมถึงการช่วยราชการในศาลนั้นด้วย เว้นแต่ในศาลชำนัญพิเศษ
ข้อ ๒๗
ผู้พิพากษาอาวุโสที่ดำรงตำแหน่งในศาลภูมิภาคต้องรับราชการในศาลนั้นอย่างน้อยสองปี
จึงจะได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายได้ เว้นแต่ในศาลกลุ่มพิเศษตามบัญชีลำดับศาลที่
ก.ต. กำหนด ให้ได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายได้เมื่อรับราชการในศาลนั้นครบหนึ่งปี
ข้อ ๒๘
ผู้พิพากษาอาวุโสที่รับราชการในศาลภูมิภาคยังไม่ครบระยะเวลาตามข้อ ๒๗
หากมีความจำเป็นอาจได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายมารับราชการที่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครได้
แต่จะขอโยกย้ายไปรับราชการในศาลภูมิภาคอีกไม่ได้จนกว่าจะครบสี่ปี เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการศาลยุติธรรม
ข้อ ๒๙
ในกรณีที่มีความเหมาะสมและเพื่อประโยชน์อย่างยิ่งแก่ราชการ ศาลยุติธรรม
ก.ต. อาจมีมติด้วยคะแนนเสียงสองในสามของจำนวนกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
ยกเว้นหลักเกณฑ์ในการโยกย้ายแต่งตั้งตามระเบียบนี้ได้
หมวด ๔
วิธีดำเนินการของ
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล
ข้อ ๓๐
การพิจารณาของ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลในเรื่องการแต่งตั้งและการเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตุลาการให้ดำเนินการ
ดังนี้
(๑) การแต่งตั้งประธานศาลฎีกาและผู้พิพากษาอาวุโส
หรือตำแหน่งอื่นตามที่ก.ต. เห็นสมควรให้เป็นการประชุมร่วมกันระหว่าง อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลทุกชั้นศาล โดยให้ประธาน อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลผู้มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้เรียกประชุม
(๒)
การเลื่อนตำแหน่งผู้พิพากษาในศาลชั้นอุทธรณ์ไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาในศาลฎีกาและการแต่งตั้งประธานศาลอุทธรณ์และประธานศาลอุทธรณ์ภาค
ให้เป็นการประชุมร่วมกันระหว่าง อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา
โดยให้ประธาน อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลนั้นผู้มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้เรียกประชุม
(๓)
การเลื่อนตำแหน่งผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาในศาลชั้นอุทธรณ์ให้เป็นการประชุมร่วมกันระหว่าง
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลอุทธรณ์และศาลชั้นต้นโดยให้ประธาน อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลนั้นผู้มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้เรียกประชุม
ข้อ ๓๑
การประชุมของ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล หากมีข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่ไม่ชัดเจน ที่ประชุมอาจเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้
ในกรณีที่มีการอภิปรายไปในทางที่เป็นผลร้ายแก่บุคคลใดจะต้องดำเนินการให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนั้น
รวมทั้งให้โอกาสบุคคลนั้นชี้แจงก่อน เว้นแต่จะปรากฏพยานหลักฐานเป็นที่ชัดแจ้งอยู่แล้ว
ข้อ ๓๒ อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลมีสิทธิแสวงหาข้อมูลในด้านต่าง ๆ ของบุคคลที่เลขานุการ ก.ต.
เสนอชื่อเพื่อประกอบการพิจารณาได้
ให้เลขานุการ ก.ต. อำนวยความสะดวกแก่ อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลในการที่จะเข้าตรวจดูข้อมูลภายในศาลยุติธรรม
และให้ความร่วมมือในการให้ได้มาซึ่งข้อมูลภายนอกศาลยุติธรรม
ข้อ ๓๓
ในการประชุม อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล ให้อนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาลทุกคนลงความเห็นว่าเห็นด้วยหรือไม่กับบุคคลที่เลขานุการ
ก.ต. เสนอชื่อให้พิจารณาพร้อมระบุเหตุผลเพื่อประกอบการพิจารณาของ ก.ต.
อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลอาจเสนอข้อมูลของบุคคลอื่นที่เห็นว่าเป็นผู้ที่เหมาะสมกว่าบุคคลที่เลขานุการ
ก.ต. เสนอชื่อเพื่อประกอบการพิจารณาของ ก.ต. ด้วยก็ได้
ข้อ ๓๔
ให้เลขานุการ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลจัดทำรายงานสรุปผลการพิจารณาของ อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาล โดยมีสาระสำคัญครบถ้วนเสนอต่อ ก.ต.
หมวด ๕
การเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
ข้อ ๓๕
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า เมื่ออยู่ในชั้น ๒ มาครบห้าปีนับแต่วันที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งให้เลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้น ๓ ขั้นต่ำ
ข้อ ๓๖
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรือตำแหน่งอื่นที่ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นเมื่ออยู่ในชั้น
๓ ขั้นต่ำมาครบสามปีนับแต่วันที่ได้รับการเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้น
๓ ขั้นต่ำตามข้อ ๓๕ แล้ว ให้เลขานุการ ก.ต. เสนอให้เลื่อนขั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้น
๓ ขั้นสูงสุดต่อ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลเพื่อจัดทำความเห็นประกอบการพิจารณาของ ก.ต.
โดยเร็ว
การพิจารณาของ ก.ต. ตามวรรคหนึ่ง
ให้พิจารณารายงานการประเมินบุคคลและการปฏิบัติราชการประจำปีของข้าราชการตุลาการผู้นั้นประกอบด้วย
หากจะพิจารณาไม่ให้ผู้ใดเลื่อนขั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้น ๓
ขั้นสูงสุด ให้เลขานุการ ก.ต. ดำเนินการให้มีการสุ่มตัวอย่างผลงานการพิจารณาพิพากษาคดีของผู้นั้นย้อนหลังไปไม่เกินสามปีมาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
หมวด ๖
การประเมินสมรรถภาพของผู้พิพากษาอาวุโส
ข้อ ๓๗
ให้เลขานุการ ก.ต. จัดให้มีการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ
รวมทั้งการประเมินบุคคลและผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาอาวุโสว่ามีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสต่อไปหรือไม่
โดยให้เสนอรายชื่อบุคคลให้ ก.ต. แต่งตั้งเป็นคณะกรรมการประเมินจำนวนไม่น้อยกว่าเก้าคนแต่ไม่เกินสิบสองคน
ซึ่งในจำนวนนี้ต้องเป็นคณะกรรมการแพทย์จำนวนไม่น้อยกว่าสามคน
แล้วเสนอผลการประเมินต่อ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลทุกชั้นศาลเพื่อจัดทำความเห็นประกอบการพิจารณาของ
ก.ต. ให้แล้วเสร็จก่อนวันสิ้นปีงบประมาณที่ผู้พิพากษาอาวุโสผู้นั้นจะมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน
ข้อ ๓๘
ให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินบุคคลตามแบบการประเมินบุคคลและรายงานการปฏิบัติราชการของข้าราชการตุลาการตามข้อ
๑๒ มาใช้แก่การประเมินบุคคลของผู้พิพากษาอาวุโสด้วยโดยอนุโลม
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๓๙
มิให้นำความในข้อ ๑๑ มาใช้บังคับแก่การพิจารณาเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตุลาการประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๕
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
สันติ ทักราล
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
การประเมินบุคคลและรายงานการปฏิบัติราชการของข้าราชการตุลาการประจำปี พ.ศ. ....
๒. มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖[๓]
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๗๕ ก/หน้า ๔/๘ สิงหาคม ๒๕๔๕
[๒] ข้อ ๒๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๓๕ ก/หน้า ๗/๒๙ เมษายน ๒๕๔๖ |
431590 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้งและการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2547
| ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
(ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๔๗
โดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕
ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ มาตรา
๔๗ และมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๘
แห่งระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๘
การพิจารณาโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ดำรงตำแหน่งในศาลจังหวัด
ศาลแขวง ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด
หรือศาลจังหวัดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในจังหวัดใด ให้คำนึงถึงลำดับอาวุโสและความเหมาะสมในจังหวัดนั้น
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๐
แห่งระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายตำแหน่ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๒๐ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและผู้พิพากษาศาลชั้นต้นให้รับราชการในจังหวัดที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้จังหวัดละไม่เกินสี่ปี
โดยให้นับระยะเวลารวมถึงการช่วยราชการในจังหวัดนั้นด้วย
กรณีผู้ที่รับราชการในศาลแขวง
ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด และศาลจังหวัดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวครบสองปี
หากมีตำแหน่งในศาลจังหวัดว่างลงอาจได้รับการพิจารณาแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งในศาลจังหวัด
สำหรับผู้ที่ดำรงตำแหน่งเลขาธิการประธานศาลฎีกา
รองเลขาธิการประธานศาลฎีกา เลขานุการและรองเลขานุการศาลสูง เลขานุการศาลชั้นต้น
และเลขานุการศาลยุติธรรมประจำภาค
ให้มีวาระในการดำรงตำแหน่งทุกตำแหน่งดังกล่าวรวมกันไม่เกินสี่ปี
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗
อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๑๐
ก/หน้า ๕๒/๒๒ มกราคม ๒๕๔๗ |
647481 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. 2545 (ฉบับ Update ณ วันที่ 28/07/2546)
| ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก
ผู้สมัครทดสอบความรู้
หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
พ.ศ. ๒๕๔๕
โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก
ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก
ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ในระเบียบนี้
ก.ต. หมายความว่า คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ผู้สมัคร หมายความว่า ผู้สมัครสอบคัดเลือก
ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครคัดเลือกพิเศษ
คณะกรรมการแพทย์ หมายความว่า คณะกรรมการแพทย์ซึ่ง ก.ต.
กำหนดตามความในมาตรา ๒๖ (๑๑)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๔ ให้ผู้สมัครยื่นใบสมัครตามแบบที่
ก.ต. กำหนดท้ายระเบียบนี้ด้วยตนเอง ต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับสมัครซึ่งได้กำหนดไว้ในประกาศสอบคัดเลือก
ประกาศทดสอบความรู้ หรือประกาศคัดเลือกพิเศษ
ผู้สมัครที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นจ่าศาล รองจ่าศาล
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดี พนักงานคุมประพฤติของศาลยุติธรรม
พนักงานอัยการ หรือนายทหารเหล่าพระธรรมนูญ
ให้ใช้หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๕
เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้รับสมัครในข้อ ๔ ได้รับใบสมัครไว้แล้ว
ให้ผู้สมัครไปรับการตรวจร่างกายและจิตใจจากคณะกรรมการแพทย์
ตามวันเวลาและสถานที่ที่ระบุโดยเจ้าหน้าที่ผู้รับสมัคร
คณะกรรมการแพทย์จะตรวจร่างกายและจิตใจของผู้สมัครเพื่อให้ได้บุคคลที่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการตุลาการ
ดังนี้
(๑) ตรวจร่างกายทั่วไป
(๒) ตรวจทางห้องปฏิบัติการ ประกอบด้วย การตรวจปัสสาวะ
ตรวจเลือด และเอ็กซเรย์ เพื่อตรวจโรคทั่วไป และโรคตามที่ระบุไว้ในระเบียบของ ก.ต.
(๓) ตรวจสภาพจิตใจ
ข้อ ๖ ให้
ก.ต. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัคร โดยให้มีอำนาจกำหนดวิธีการเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัคร
ข้อ ๗[๒] ให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครดำเนินการ
ดังนี้
๑. ก่อนประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบข้อเขียน
(ก)
สอบถามคุณสมบัติของผู้สมัครไปยังผู้รับรอง ผู้บังคับบัญชา
หรือบุคคลอื่นใดตามที่เห็นสมควร
(ข)
ส่งบัญชีรายชื่อผู้สมัครทั้งหมดไปยังสภาทนายความเพื่อตรวจสอบว่าเป็นหรือเคยเป็นทนายความหรือเคยถูกกล่าวหาว่าประพฤติผิดมรรยาททนายความตามกฎหมายว่าด้วยทนายความหรือไม่
(ค)
เรียกผู้สมัครมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมตามที่เห็นสมควรเพื่อประกอบการพิจารณา
๒. ภายหลังประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนสำหรับการสอบคัดเลือกหรือการทดสอบความรู้
และภายหลังประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านการประเมินความรู้ความสามารถและประสบการณ์สำหรับการคัดเลือกพิเศษ
(ก)
ตรวจสอบประวัติบุคคลไปยังหน่วยงานภายนอกที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา เช่น
สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
กรมบังคับคดีหรือกรมคุมประพฤติ
(ข)
ตรวจสอบความประพฤติและลายพิมพ์นิ้วมือไปยังกองทะเบียนประวัติอาชญากร
สำนักงานวิทยาการตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(ค)
ประกาศบัญชีรายชื่อผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนสำหรับการสอบคัดเลือก
หรือการทดสอบความรู้ และประกาศบัญชีรายชื่อผู้ที่ผ่านการประเมินความรู้ความสามารถและประสบการณ์สำหรับการคัดเลือกพิเศษ
ตามวิธีการที่คณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครกำหนด
เพื่อให้บุคคลทั่วไปให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับคุณสมบัติหรือความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งข้าราชการตุลาการของผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนหรือการประเมินดังกล่าวโดยให้มีหนังสือถึงเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมภายใน
๑๕ วันนับแต่วันที่ประกาศเป็นต้นไป
เพื่อเสนอคณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครและคณะทำงานกลั่นกรองคุณสมบัติผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียน
ทั้งนี้
ขอให้ผู้ที่ประสงค์จะให้ข้อคิดเห็นระบุชื่อ นามสกุล
และที่อยู่จริงที่สามารถติดต่อได้
(ง)
ให้ผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนที่คณะกรรมการแพทย์มีข้อสังเกตเกี่ยวกับสภาพจิตใจไปรับการตรวจสภาพจิตใจจากคณะกรรมการแพทย์อีกครั้งตามวันเวลาและสถานที่ที่สำนักคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมกำหนด
ให้ประธานอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครแต่งตั้งคณะทำงานกลั่นกรองคุณสมบัติผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนหรือการประเมินทำหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมเพื่อกลั่นกรองคุณสมบัติของผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนหรือการประเมินอีกครั้งก่อนบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ
ข้อ ๘
เมื่อได้รับข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัคร และรายงานผลการตรวจร่างกายและจิตใจของคณะกรรมการแพทย์แล้ว
ให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครพิจารณาแล้วเสนอความเห็นไปยัง ก.ต.
ข้อ ๙
ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕
สันติ ทักราล
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
[เอกสารแนบท้าย]
๑. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครตามความในมาตรา
๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (ตรวจสอบคุณสมบัติฯ
(แบบ ๑))
๒. ใบสมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
พุทธศักราช ............
๓.
ใบสมัครทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
พุทธศักราช ............
๔. ใบสมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
พุทธศักราช ............
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก
ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖[๓]
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๕ ก/หน้า ๒๑/๑๑ มกราคม ๒๕๔๕
[๒] ข้อ ๗
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก
ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๗๓ ก/หน้า ๑๒/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๖ |
414135 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก
ผู้สมัครทดสอบความรู้
หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๔๖
โดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก
ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก
ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖
ข้อ
๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๘/๑
แห่งระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก
ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๘/๑
ผู้สมัครที่ ก.ต. เคยประกาศรายชื่อเป็นผู้มีสิทธิเข้าสอบข้อเขียนอาจขอใช้ผลการตรวจร่างกายและจิตใจและการตรวจสอบประวัติและความประพฤติในการสอบครั้งก่อนซึ่งมีระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันประกาศรายชื่อถึงวันยื่นใบสมัครครั้งใหม่
โดยให้ผู้สมัครยื่นแบบคำขอใช้ผลการตรวจสอบคุณสมบัติครั้งก่อนเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัคร
ตามแบบท้ายระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐
กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖
อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
[เอกสารแนบท้าย]
๑. คำขอใช้ผลการตรวจสอบคุณสมบัติครั้งก่อน
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๙๖ ก/หน้า ๑๕/๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ |
647513 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยการสมัครและการสอบคัดเลือก เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. 2545 (ฉบับ Update ณ วันที่ 28/07/2546)
| ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการสอบคัดเลือก
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ
ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
พ.ศ. ๒๕๔๕
โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยการสมัครและการสอบคัดเลือก
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสอง และมาตรา ๓๐ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการสอบคัดเลือก
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ในระเบียบนี้
ก.ต. หมายความว่า คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการสอบคัดเลือกที่ ก.ต.
แต่งตั้งขึ้นเพื่อทำการสอบคัดเลือกผู้สมัคร
ผู้สมัคร หมายความว่า ผู้สมัครสอบคัดเลือกตามมาตรา ๒๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๔
เมื่อสมควรจะมีการสอบคัดเลือกเมื่อใด ให้เลขานุการ ก.ต. เสนอขอความเห็นชอบจาก
ก.ต. เพื่อจัดให้มีการสอบคัดเลือก ให้ ก.ต. ประกาศเกี่ยวกับการรับสมัคร
และแต่งตั้งคณะกรรมการสอบคัดเลือกขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานกรรมการ
รองประธานกรรมการ ๔ คน และกรรมการตามจำนวนที่จำเป็น ทั้งนี้ โดย ก.ต.
จะแต่งตั้งประธานกรรมการและรองประธานกรรมการก็ได้
แล้วให้ประธานกรรมการและรองประธานกรรมการร่วมกันจัดทำรายชื่อผู้ซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการเสนอ
ก.ต. พิจารณาแต่งตั้งต่อไป
การแต่งตั้งประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ
และกรรมการตามวรรคหนึ่งให้คำนึงถึงคุณสมบัติ ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ในการสอน
และการเป็นกรรมการสอบวิชากฎหมายของผู้ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งเป็นส่วนสำคัญ
ข้อ ๕
ในกรณีที่ระเบียบนี้มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะทำงานออกประกาศ
หรือกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการสอบคัดเลือกตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๖
การสอบคัดเลือกของผู้สมัครให้มีทั้งการสอบข้อเขียนและการสอบปากเปล่า
วิชาที่สอบคัดเลือกคือ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง
กฎหมายรัฐธรรมนูญ ภาษาอังกฤษ
และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
หรือกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา หรือกฎหมายภาษีอากร หรือกฎหมายแรงงาน
หรือกฎหมายล้มละลาย หรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ
ข้อ ๗
การสอบข้อเขียนมี ๓ วัน คือ
(๑) วันที่หนึ่ง วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำนวน ๖ ข้อ และกฎหมายอาญาจำนวน ๔ ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๑๐๐
(๒) วันที่สอง
วิชากฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน จำนวน ๓ ข้อ พระธรรมนูญศาลยุติธรรมกับกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง
จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายรัฐธรรมนูญ จำนวน ๑ ข้อ และให้เลือกสอบในกฎหมายลักษณะวิชา
กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายล้มละลาย
หรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ จำนวน ๒ ข้อ รวมจำนวนข้อสอบทั้งหมด ๗ ข้อ เวลา ๓
ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๗๐ กับภาษาอังกฤษ จำนวนข้อสอบตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร เวลา ๑
ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๑๐ โดยสำหรับลักษณะวิชาที่ให้เลือกสอบ
ผู้สมัครต้องแสดงความจำนงว่าจะสอบลักษณะวิชากฎหมายใดในวันสมัครสอบ
(๓) วันที่สาม
วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จำนวน ๖ ข้อ และกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำนวน ๔
ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๑๐๐
ผู้สอบต้องปฏิบัติตามระเบียบการสอบข้อเขียนท้ายระเบียบนี้โดยเคร่งครัด
และให้ประธานกรรมการรับผิดชอบในการจัดทำรหัสสมุดคำตอบของผู้สอบทุกคนแยกตามวันที่สอบ
โดยไม่ให้รหัสซ้ำกันแล้วเก็บรักษารหัสดังกล่าวไว้ด้วยตนเอง
คณะกรรมการอาจจัดตัวบทกฎหมายที่ไม่มีข้อความอื่นใดไว้ให้ผู้สอบใช้ประกอบการสอบวิชาใดในห้องสอบก็ได้
ผู้สอบที่ขาดสอบ หรือเข้าสอบแต่ไม่ทำคำตอบเลย ในการสอบข้อเขียนวิชากฎหมายวันใดวันหนึ่งจะไม่มีสิทธิเข้าสอบปากเปล่า
ข้อ ๘[๒] ในการตรวจคำตอบแต่ละข้อ
ให้องค์คณะซึ่งประกอบด้วยกรรมการสอบคัดเลือกอย่างน้อยสองคนตรวจแล้วให้คะแนนคำตอบตามหลักเกณฑ์การตรวจและการให้คะแนนที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
และให้ผู้สอบได้คะแนนคำตอบตามค่าเฉลี่ยที่คำนวณจากคะแนนที่กรรมการสอบคัดเลือกแต่ละคนกำหนดให้
ข้อ ๙
การสอบปากเปล่าให้กระทำโดยวิธีถามผู้สมัครเรียงตัว กำหนดเวลาประมาณคนละ ๒๕
นาที คะแนนเต็ม ๑๐๐ โดยให้กรรมการสอบคัดเลือกแต่ละคนที่ทำการสอบปากเปล่าผู้สมัครให้คะแนนแบ่งตามหัวข้อที่กำหนดในแบบการให้คะแนนการสอบปากเปล่าท้ายระเบียบนี้
และให้ผู้สมัครได้คะแนนการสอบปากเปล่าตามค่าเฉลี่ยที่คำนวณจากคะแนนที่กรรมการสอบคัดเลือกแต่ละคนกำหนดให้
ข้อ ๑๐
ผู้สอบต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ของคะแนนสอบข้อเขียนทั้งหมด
จึงจะมีสิทธิเข้าสอบปากเปล่า และต้องได้คะแนนสอบปากเปล่าไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ของคะแนนสอบปากเปล่า
จึงจะเป็นผู้ผ่านการสอบปากเปล่า เมื่อนำคะแนนสอบข้อเขียนกับคะแนนสอบปากเปล่ารวมกันต้องได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ
๖๐ ของคะแนนทั้งหมดจึงจะอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
ข้อ ๑๑
เมื่อสอบคัดเลือกเสร็จแล้ว ก.ต. จะประกาศรายชื่อผู้ที่อยู่ในเกณฑ์จะได้รับการบรรจุเรียงตามลำดับคะแนนไว้
ณ สำนักงานศาลยุติธรรม
ข้อ ๑๒
ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕
สันติ ทักราล
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แบบการให้คะแนนการสอบปากเปล่าในการสอบคัดเลือก
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
๒.[๓] ระเบียบการสอบข้อเขียนสำหรับการสอบคัดเลือก
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
๓.[๔]
หลักเกณฑ์การตรวจและการให้คะแนนในการสอบคัดเลือก เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการสอบคัดเลือก เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖[๕]
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๕ ก/หน้า ๕/๑๑ มกราคม ๒๕๔๕
[๒] ข้อ ๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการสอบคัดเลือก
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๓] ระเบียบการสอบข้อเขียนสำหรับการสอบคัดเลือก
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการสอบคัดเลือก
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๔] หลักเกณฑ์การตรวจและการให้คะแนนในการสอบคัดเลือก
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการสอบคัดเลือก
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๗๓ ก/หน้า ๗/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๖ |
451118 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2548
| ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง
การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่
๔)
พ.ศ. ๒๕๔๘
โดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๘ และมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.
๒๕๔๓ คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๙
ของระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๙
การแต่งตั้งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลหรือผู้พิพากษาศาลชั้นต้นไปดำรงตำแหน่งในจังหวัดที่เป็นภูมิลำเนาของผู้นั้นหรือของคู่สมรสจะกระทำมิได้
เว้นแต่ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค
แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงศาลจังหวัดซึ่งศาลตั้งอยู่ที่อำเภอ
หรือกรณีมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งเป็นพิเศษเฉพาะราย
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๐ วรรคหนึ่ง
ของระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๒๐
ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลรับราชการในจังหวัดที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้จังหวัดละไม่เกินสี่ปี
สำหรับผู้พิพากษาศาลชั้นต้นให้รับราชการในจังหวัดที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้จังหวัดละไม่เกินห้าปี
โดยให้นับระยะเวลารวมถึงการช่วยราชการในจังหวัดนั้นด้วย
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๑ วรรคหนึ่ง
ของระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๒๑
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่ดำรงตำแหน่งในศาลภูมิภาคต้องรับราชการในศาลนั้นอย่างน้อยสองปีจึงจะได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายได้
เว้นแต่กรณีผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่ออกไปดำรงตำแหน่งในศาลภูมิภาคเป็นครั้งแรกให้ได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายได้เมื่อรับราชการในศาลนั้นครบหนึ่งปี
หรือกรณีผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวง ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว
หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดซึ่งศาลตั้งอยู่ที่อำเภอของจังหวัดนั้นประสงค์จะดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัด
ให้ได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายได้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ศุภชัย
ภู่งาม
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๖ ก/หน้า ๔๘/๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ |
464902 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2548
| ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ
ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๔๘
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๘ วรรคสอง และวรรคสาม และมาตรา ๓๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ
๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกระเบียบการสอบข้อเขียนท้ายระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖ และให้ใช้ระเบียบการสอบข้อเขียนท้ายระเบียบนี้แทน
ประกาศ ณ วันที่ ๑๖
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ศุภชัย ภู่งาม
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
ระเบียบการสอบข้อเขียนสำหรับการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๐๕ ก/หน้า ๑๙/๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ |
441112 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกเพื่อบรรจุแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง และการออกจากราชการของดะโต๊ะยุติธรรม พ.ศ. 2547
| ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกเพื่อบรรจุแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง
และการออกจากราชการของดะโต๊ะยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๗
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๕๒ และมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.
๒๕๔๓ คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกเพื่อบรรจุแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง
และการออกจากราชการของดะโต๊ะยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ในระเบียบนี้ หากข้อความมิได้แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
ก.ต. หมายความว่า
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
เลขานุการ ก.ต.
หมายความว่า เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล
หมายความว่า คณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาล
ข้อ ๔
เมื่อจะต้องมีการบรรจุและแต่งตั้งดะโต๊ะยุติธรรม
ให้อธิบดีผู้พิพากษาภาคประกาศรับสมัครมุสลิมซึ่งมีคุณสมบัติตามมาตรา ๕๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
เพื่อดำเนินการอบรม ทดสอบ คัดเลือก บรรจุ และแต่งตั้งเป็นดะโต๊ะยุติธรรม
ข้อ ๕
เมื่อพ้นกำหนดเวลารับสมัครแล้ว
ให้อธิบดีผู้พิพากษาภาคจัดให้ผู้สมัครได้รับการอบรมในหลักกฎหมายอิสลาม
หน้าที่และจริยธรรมของตุลาการ จากคณะกรรมการอบรมซึ่งสำนักงานศาลยุติธรรมแต่งตั้ง
หลังการอบรม
ให้คณะกรรมการอบรมทำการทดสอบความรู้ของผู้เข้ารับการอบรมว่ามีภูมิรู้ในหลักกฎหมายอิสลามพอที่จะเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลามเกี่ยวด้วยครอบครัวและมรดก
และมีความรู้ในหน้าที่และจริยธรรมของตุลาการ
สมควรจะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งดะโต๊ะยุติธรรมได้
แล้วรายงานผลการอบรมและทดสอบดังกล่าวไปยังอธิบดีผู้พิพากษาภาค
ให้อธิบดีผู้พิพากษาภาคปรึกษากับผู้พิพากษาหัวหน้าศาลที่เกี่ยวข้อง
แล้วรายงานผลการอบรม ทดสอบ
และเสนอชื่อผู้ผ่านการอบรมและทดสอบตามวรรคหนึ่งและวรรคสองซึ่งอธิบดีผู้พิพากษาภาคเห็นสมควรจะบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งดะโต๊ะยุติธรรมไปยังเลขานุการ
ก.ต.
ข้อ ๖
ให้เลขานุการ ก.ต. เสนอผลการอบรม ทดสอบ
และรายชื่อผู้ผ่านการอบรมและทดสอบให้ อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลชั้นต้นพิจารณาทำความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของ ก.ต.
เมื่อได้รับความเห็นชอบจาก ก.ต. แล้ว
ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
เมื่อได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
ให้ประธานศาลฎีกาสั่งบรรจุและแต่งตั้งผู้นั้นให้ดำรงตำแหน่งดะโต๊ะยุติธรรมต่อไป
ข้อ ๗
ดะโต๊ะยุติธรรมออกจากราชการ เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ได้รับอนุญาตให้ลาออก หรือการลาออกมีผลตามข้อ ๘
(๓)
พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(๔) โอนไปรับราชการฝ่ายอื่น
(๕)
ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
(๖)
ถูกสั่งให้ออกจากราชการเพราะขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ หรือเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน เหตุทุพพลภาพ
หรือเหตุรับราชการนานตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(๗) ถูกสั่งลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก
การพ้นจากตำแหน่งตาม (๑)
ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ ถ้าเป็นการพ้นจากตำแหน่งตาม (๒) (๓) (๔) (๕)
(๖) หรือ (๗) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง
พระบรมราชโองการดังกล่าวให้มีผลตั้งแต่วันออกจากราชการ หรือวันโอน แล้วแต่กรณี
ข้อ ๘
ดะโต๊ะยุติธรรมผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการ ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแห่งศาลที่ดะโต๊ะยุติธรรมผู้นั้นประจำอยู่
เมื่อประธานศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาตให้ลาออกแล้ว
ให้ดะโต๊ะยุติธรรมผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันอนุญาต
ประธานศาลฎีกามีอำนาจที่จะยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันขอลาออกได้
หากเห็นว่ากรณีเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ
แต่ต้องแจ้งการยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกพร้อมทั้งเหตุผลให้ผู้ขอลาออกทราบ
และเมื่อครบกำหนดเวลาที่ยับยั้งแล้วให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันถัดจากวันครบกำหนดเวลาที่ยับยั้ง
ถ้าประธานศาลฎีกาไม่ได้อนุญาตให้ลาออกและไม่ได้ยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกตามวรรคหนึ่งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้ขอลาออก
ให้การลาออกมีผลเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาสามสิบวันนั้น
ในกรณีที่ดะโต๊ะยุติธรรมผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเพื่อดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ตุลาการศาลปกครอง กรรมการการเลือกตั้ง กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
หรือกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา
สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อประธานศาลฎีกา
และให้การลาออกมีผลนับแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก
ข้อ ๙
ดะโต๊ะยุติธรรมผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามหรือขาดคุณวุฒิตามที่กำหนดในการสมัครเข้ารับราชการเป็นดะโต๊ะยุติธรรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมที่ใช้อยู่ในเวลาสมัครตั้งแต่วันสมัครเข้ารับราชการหรือตั้งแต่ก่อนได้รับการบรรจุให้ประธานศาลฎีกาด้วยความเห็นชอบของ
ก.ต. สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ
แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับจากทางราชการก่อนมีคำสั่งให้ออกนั้น
และถ้าการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้วให้ถือว่าเป็นการสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ข้อ ๑๐
เมื่อประธานศาลฎีกาเห็นสมควรให้ดะโต๊ะยุติธรรมผู้ใดออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จเหตุทดแทน
เหตุทุพพลภาพ หรือเหตุรับราชการนานตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ให้กระทำได้ด้วยความเห็นชอบของ ก.ต.
การสั่งให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนนอกจากที่กำหนดไว้ในข้อ
๙ แล้ว ให้กระทำได้เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้
(๑)
เมื่อดะโต๊ะยุติธรรมนั้นถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงและดำเนินการสอบสวนตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในส่วนที่
๒ หมวด ๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
และไม่ได้ความเป็นสัตย์ว่ากระทำผิดที่จะต้องถูกสั่งให้ลงโทษ ไล่ออก ปลดออก
หรือให้ออก แต่เห็นว่าผู้นั้นมีมลทินหรือมัวหมอง
หากให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ
(๒) เมื่อดะโต๊ะยุติธรรมนั้นบกพร่องต่อหน้าที่
หรือหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ
หรือประพฤติตนไม่สมควรที่จะให้คงเป็นดะโต๊ะยุติธรรมต่อไป
(๓) เมื่อดะโต๊ะยุติธรรมนั้นเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการได้โดยสม่ำเสมอแต่ไม่ถึงเหตุทุพพลภาพ
หรือ
(๔) เมื่อดะโต๊ะยุติธรรมนั้นขาดสัญชาติไทย
ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๖ (๑๐)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ หรือไปดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ตุลาการศาลปกครอง กรรมการการเลือกตั้ง กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
หรือกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ข้อ ๑๑
ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ
๓๗ ก/หน้า ๒/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๗ |
464900 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการสอบคัดเลือก เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2548
| ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการสอบคัดเลือก
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ
ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๔๘
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการสอบคัดเลือก เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๗ วรรคสอง และมาตรา ๓๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการสอบคัดเลือก เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ
๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกระเบียบการสอบข้อเขียนท้ายระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการสอบคัดเลือก เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการสอบคัดเลือก
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
และให้ใช้ระเบียบการสอบข้อเขียนท้ายระเบียบนี้แทน
ประกาศ ณ วันที่ ๑๖
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ศุภชัย ภู่งาม
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
ระเบียบการสอบข้อเขียนสำหรับการสอบคัดเลือก เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๐๕ ก/หน้า ๑๘/๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ |
647486 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. 2545 (ฉบับ Update ณ วันที่ 03/10/2546)
| ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก
ผู้สมัครทดสอบความรู้
หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
พ.ศ. ๒๕๔๕
โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก
ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก
ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ในระเบียบนี้
ก.ต. หมายความว่า คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ผู้สมัคร หมายความว่า ผู้สมัครสอบคัดเลือก
ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครคัดเลือกพิเศษ
คณะกรรมการแพทย์ หมายความว่า คณะกรรมการแพทย์ซึ่ง ก.ต.
กำหนดตามความในมาตรา ๒๖ (๑๑)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๔ ให้ผู้สมัครยื่นใบสมัครตามแบบที่
ก.ต. กำหนดท้ายระเบียบนี้ด้วยตนเอง ต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับสมัครซึ่งได้กำหนดไว้ในประกาศสอบคัดเลือก
ประกาศทดสอบความรู้ หรือประกาศคัดเลือกพิเศษ
ผู้สมัครที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นจ่าศาล รองจ่าศาล
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดี พนักงานคุมประพฤติของศาลยุติธรรม
พนักงานอัยการ หรือนายทหารเหล่าพระธรรมนูญ
ให้ใช้หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๕
เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้รับสมัครในข้อ ๔ ได้รับใบสมัครไว้แล้ว
ให้ผู้สมัครไปรับการตรวจร่างกายและจิตใจจากคณะกรรมการแพทย์
ตามวันเวลาและสถานที่ที่ระบุโดยเจ้าหน้าที่ผู้รับสมัคร
คณะกรรมการแพทย์จะตรวจร่างกายและจิตใจของผู้สมัครเพื่อให้ได้บุคคลที่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการตุลาการ
ดังนี้
(๑) ตรวจร่างกายทั่วไป
(๒) ตรวจทางห้องปฏิบัติการ ประกอบด้วย การตรวจปัสสาวะ
ตรวจเลือด และเอ็กซเรย์ เพื่อตรวจโรคทั่วไป และโรคตามที่ระบุไว้ในระเบียบของ ก.ต.
(๓) ตรวจสภาพจิตใจ
ข้อ ๖ ให้
ก.ต. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัคร โดยให้มีอำนาจกำหนดวิธีการเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัคร
ข้อ ๗[๒] ให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครดำเนินการ
ดังนี้
๑. ก่อนประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบข้อเขียน
(ก)
สอบถามคุณสมบัติของผู้สมัครไปยังผู้รับรอง ผู้บังคับบัญชา
หรือบุคคลอื่นใดตามที่เห็นสมควร
(ข)
ส่งบัญชีรายชื่อผู้สมัครทั้งหมดไปยังสภาทนายความเพื่อตรวจสอบว่าเป็นหรือเคยเป็นทนายความหรือเคยถูกกล่าวหาว่าประพฤติผิดมรรยาททนายความตามกฎหมายว่าด้วยทนายความหรือไม่
(ค)
เรียกผู้สมัครมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมตามที่เห็นสมควรเพื่อประกอบการพิจารณา
๒. ภายหลังประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนสำหรับการสอบคัดเลือกหรือการทดสอบความรู้
และภายหลังประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านการประเมินความรู้ความสามารถและประสบการณ์สำหรับการคัดเลือกพิเศษ
(ก)
ตรวจสอบประวัติบุคคลไปยังหน่วยงานภายนอกที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา เช่น
สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
กรมบังคับคดีหรือกรมคุมประพฤติ
(ข)
ตรวจสอบความประพฤติและลายพิมพ์นิ้วมือไปยังกองทะเบียนประวัติอาชญากร
สำนักงานวิทยาการตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(ค)
ประกาศบัญชีรายชื่อผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนสำหรับการสอบคัดเลือก
หรือการทดสอบความรู้ และประกาศบัญชีรายชื่อผู้ที่ผ่านการประเมินความรู้ความสามารถและประสบการณ์สำหรับการคัดเลือกพิเศษ
ตามวิธีการที่คณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครกำหนด
เพื่อให้บุคคลทั่วไปให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับคุณสมบัติหรือความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งข้าราชการตุลาการของผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนหรือการประเมินดังกล่าวโดยให้มีหนังสือถึงเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมภายใน
๑๕ วันนับแต่วันที่ประกาศเป็นต้นไป
เพื่อเสนอคณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครและคณะทำงานกลั่นกรองคุณสมบัติผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียน
ทั้งนี้
ขอให้ผู้ที่ประสงค์จะให้ข้อคิดเห็นระบุชื่อ นามสกุล
และที่อยู่จริงที่สามารถติดต่อได้
(ง)
ให้ผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนที่คณะกรรมการแพทย์มีข้อสังเกตเกี่ยวกับสภาพจิตใจไปรับการตรวจสภาพจิตใจจากคณะกรรมการแพทย์อีกครั้งตามวันเวลาและสถานที่ที่สำนักคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมกำหนด
ให้ประธานอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครแต่งตั้งคณะทำงานกลั่นกรองคุณสมบัติผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนหรือการประเมินทำหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมเพื่อกลั่นกรองคุณสมบัติของผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนหรือการประเมินอีกครั้งก่อนบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ
ข้อ ๘
เมื่อได้รับข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัคร และรายงานผลการตรวจร่างกายและจิตใจของคณะกรรมการแพทย์แล้ว
ให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครพิจารณาแล้วเสนอความเห็นไปยัง ก.ต.
ข้อ ๘/๑[๓] ผู้สมัครที่ ก.ต. เคยประกาศรายชื่อเป็นผู้มีสิทธิเข้าสอบข้อเขียนอาจขอใช้ผลการตรวจร่างกายและจิตใจและการตรวจสอบประวัติและความประพฤติในการสอบครั้งก่อนซึ่งมีระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันประกาศรายชื่อถึงวันยื่นใบสมัครครั้งใหม่
โดยให้ผู้สมัครยื่นแบบคำขอใช้ผลการตรวจสอบคุณสมบัติครั้งก่อนเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัคร
ตามแบบท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๙
ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕
สันติ ทักราล
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
[เอกสารแนบท้าย]
๑. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครตามความในมาตรา
๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (ตรวจสอบคุณสมบัติฯ
(แบบ ๑))
๒. ใบสมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
พุทธศักราช ............
๓. ใบสมัครทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
พุทธศักราช ............
๔. ใบสมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
พุทธศักราช ............
๕.[๔]
คำขอใช้ผลการตรวจสอบคุณสมบัติครั้งก่อน
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก
ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖[๕]
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก
ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖[๖]
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๕ ก/หน้า ๒๑/๑๑ มกราคม ๒๕๔๕
[๒] ข้อ ๗
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก
ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๓] ข้อ ๘/๑ เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก
ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๔] คำขอใช้ผลการตรวจสอบคุณสมบัติครั้งก่อน
เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก
ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๗๓ ก/หน้า ๑๒/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๖
[๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๙๖ ก/หน้า ๑๕/๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ |
647441 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. 2545 (ฉบับ Update ณ วันที่ 28/07/2546)
| ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ
ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
พ.ศ. ๒๕๔๕
โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคสอง วรรคสาม และมาตรา ๓๐
วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๔
ในระเบียบนี้ หากมิได้กำหนดไว้โดยเฉพาะเป็นอย่างอื่น
ก.ต. หมายความว่า คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการทดสอบความรู้ที่ ก.ต.
แต่งตั้งขึ้นเพื่อทำการทดสอบความรู้ผู้สมัคร
ผู้สมัคร หมายความว่า ผู้สมัครทดสอบความรู้ตามมาตรา ๒๘
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๕
เมื่อสมควรจะมีการทดสอบความรู้เมื่อใด ให้เลขานุการ ก.ต. เสนอขอความเห็นชอบจาก
ก.ต. เพื่อจัดให้มีการทดสอบความรู้ ให้ ก.ต. ประกาศเกี่ยวกับการรับสมัครและแต่งตั้งคณะกรรมการทดสอบความรู้ขึ้นคณะหนึ่งตามจำนวนที่จำเป็น
ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงคุณสมบัติ
ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ในการสอน
และการเป็นกรรมการสอบวิชากฎหมายของผู้ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งเป็นส่วนสำคัญ
ข้อ ๖
ในกรณีที่ระเบียบนี้มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะทำงาน
ออกประกาศ หรือกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการทดสอบความรู้ตามที่เห็นสมควร
หมวด ๒
คุณวุฒิและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพ
ข้อ ๗
ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ก) (ข) หรือ (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ต้องได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายต่อไปนี้จากต่างประเทศหรือในการศึกษาปริญญาโททางกฎหมายในประเทศไทย
แล้วแต่กรณีด้วย คือ
(๑) กฎหมายอาญา
(๒) กฎหมายแพ่ง
ซึ่งพอเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์รวม ๔ วิชา
หรือกฎหมายแพ่ง ซึ่งพอเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
และกฎหมายพิเศษตามที่ระบุท้ายระเบียบนี้ รวมกันแล้วไม่น้อยกว่า ๔ วิชา และ
(๓) กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน
หรือกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือกฎหมายล้มละลาย
ผู้สมัครที่ได้ศึกษาและสอบไล่ได้ตามหลักสูตรการศึกษากฎหมายดังต่อไปนี้
ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องศึกษาวิชากฎหมายตามวรรคหนึ่ง
(๑)
ผู้สมัครที่ได้ศึกษาและสอบไล่ได้ตามหลักสูตรการศึกษากฎหมายที่จัดไว้เป็นหลักสูตรเฉพาะด้านในวิชากฎหมายเด็กและเยาวชน
กฎหมายแรงงาน กฎหมายภาษีอากร กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ
กฎหมายพาณิชย์นาวี กฎหมายล้มละลาย
(๒)
ผู้สมัครที่ได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายที่อยู่ในกลุ่มวิชากฎหมายกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งตามวรรคสอง
(๑) ไม่น้อยกว่า ๔ วิชา
และได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งอีกไม่น้อยกว่า ๒
วิชา โดยในจำนวนนี้อย่างน้อย ๑ วิชา ต้องเป็นวิชาตาม (๑) (๓) หรือกฎหมายแพ่ง
ซึ่งพอเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ข้อ ๘
เพื่อประโยชน์ในการคำนวณจำนวนวิชาที่กำหนดในข้อ ๖ วรรคหนึ่ง (๒) และวรรคสอง
(๒) ถ้าผู้สมัครคนใดได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายในระบบการจัดการศึกษาที่กำหนดให้มีการเรียนการสอนวิชากฎหมายนั้นตลอดปีการศึกษาและมีการวัดผลเมื่อสิ้นปีการศึกษาให้ถือว่าผู้นั้นได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายตามที่กำหนดไว้ในข้อดังกล่าว
๒ วิชา
ข้อ ๘/๑[๒] ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓
ต้องสอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
โดยมีหลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่าสองปี หรือหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่าสองปี
หรือสอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศซึ่ง
ก.ต. รับรอง โดยมีหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่าสองปี
ข้อ ๙
ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ง) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ต้องได้สอนวิชากฎหมายตามหลักสูตรในคณะนิติศาสตร์ หรือเทียบเท่าคณะนิติศาสตร์มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า
๕ ปี ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๑๐
ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (จ) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ต้องเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่ง
(๑) นิติกร ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่
ก.ศ. กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๖ ปี ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ หรือ
(๒) เจ้าพนักงานศาลยุติธรรม
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในด้านกฎหมายอย่างแท้จริงตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่
ก.ศ. กำหนด เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๖ ปี ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
ทั้งนี้ ผู้สมัครตาม (๑) และ (๒)
จะต้องเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งนิติกรหรือเจ้าพนักงานศาลยุติธรรมไม่ต่ำกว่าระดับ
๖
การนับระยะเวลาการปฏิบัติงานของผู้สมัครตามวรรคหนึ่ง
ให้นับเฉพาะเวลาที่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งตามที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งและได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนั้นเท่านั้น
เพื่อประโยชน์ในการนับระยะเวลาการปฏิบัติงานของผู้สมัครตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้นั้นเคยดำรงตำแหน่งนิติกร เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
หรือพนักงานคุมประพฤติในกระทรวงยุติธรรมอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ใช้บังคับและได้โอนมาเป็นข้าราชการศาลยุติธรรมโดยผลของกฎหมายดังกล่าวหรือโดยวิธีอื่นก่อนวันที่
๑ เมษายน ๒๕๔๕ หากผู้บังคับบัญชารับรองตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ว่าในระหว่างที่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งดังกล่าวในกระทรวงยุติธรรมได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่
ก.พ. กำหนด
ก็ให้นับเวลาที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าวรวมเป็นเวลาปฏิบัติงานของผู้สมัครนั้นด้วย
ข้อ ๑๑
ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ฉ) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ต้องสอบไล่ได้ปริญญาโทหรือปริญญาเอกหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาแพทยศาสตร์
ทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์
สถาปัตยกรรมศาสตร์ หรือการบัญชี และได้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม เภสัชกรรม
ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ การพยาบาล วิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรือเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
แล้วแต่กรณี มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ปี หรือได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายตามที่ระบุไว้ในมาตรา
๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
ตามเงื่อนไขในข้อ ๑๓ มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ปี
ข้อ ๑๒
ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ช) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ต้องสอบไล่ได้ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาแพทยศาสตร์
ทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์
หรือการบัญชี และได้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม เภสัชกรรม ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์
การพยาบาล วิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรือเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต แล้วแต่กรณี มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า
๑๐ ปี
ผู้สมัครตามวรรคหนึ่ง ต้องส่งหลักฐานที่แสดงประสบการณ์ในการทำงาน
ผลงานหรือความรู้เฉพาะด้านในวิชาการด้านนั้น ๆ เพื่อประกอบการประเมินความรู้ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพของคณะอนุกรรมการประเมินซึ่ง
ก.ต. แต่งตั้งขึ้น
ผู้ผ่านการประเมินของคณะอนุกรรมการประเมินจึงจะเป็นผู้มีสิทธิเข้ารับการทดสอบความรู้ในวิชากฎหมาย
ข้อ ๑๓
ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ฉ) (ช) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม เภสัชกรรม ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์
การพยาบาล วิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรือเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนจะต้องมีหนังสือรับรองของผู้บังคับบัญชามาแสดงว่าได้ประกอบวิชาชีพดังกล่าวอย่างแท้จริงตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
ผู้สมัครตามวรรคหนึ่งซึ่งมิได้ประกอบวิชาชีพดังกล่าวในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนจะต้องมีหนังสือรับรองตนเองมาแสดงว่าได้ประกอบวิชาชีพดังกล่าวอย่างแท้จริงตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
หมวด ๓
เงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย
ข้อ ๑๔
ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ข) (ค)หรือ (ฉ) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นทนายความ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
นายทหารซึ่งทำหน้าที่นายทหารสืบสวนสอบสวนหรือนายทหารสารวัตรสืบสวนสอบสวน
เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
หรือเจ้าพนักงานการเลือกตั้ง (งานวินัจฉัยหรืองานสืบสวนสอบสวน) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ตามมาตรา ๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.
๒๕๔๓ จะต้องได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ดังกล่าวไม่น้อยกว่าที่กำหนด ดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นทนายความจะต้องได้ว่าความในศาลโดยทำหน้าที่หรือมีส่วนร่วมทำหน้าที่ทนายความในการที่ศาลออกนั่งพิจารณามาแล้วไม่น้อยกว่า
๑๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ข) หรือ (ค) และไม่น้อยกว่า ๓๐ เรื่อง
สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ฉ) ซึ่งในจำนวนนี้ต้องเป็นคดีแพ่งไม่น้อยกว่า ๕
เรื่อง
(๒) ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นพนักงานฝ่ายปกครอง
หรือตำรวจต้องปฏิบัติงานในหน้าที่พนักงานสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ เรื่อง
สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ข) หรือ (ค) และไม่น้อยกว่า ๓๐ เรื่อง
สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ฉ)
(๓)
ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นนายทหารซึ่งทำหน้าที่นายทหารสืบสวนสอบสวนหรือนายทหารสารวัตรสืบสวนสอบสวน
กระทรวงกลาโหม ต้องได้ปฏิบัติงานสอบสวนคดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลทหารมาแล้วไม่น้อยกว่า
๑๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ข) หรือ (ค) และไม่น้อยกว่า ๓๐ เรื่อง
สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ฉ)
(๔) ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.)
ต้องปฏิบัติงานสอบสวนคดียาเสพติดมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ เรื่อง
สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ข) หรือ (ค) และไม่น้อยกว่า ๓๐ เรื่อง
สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ฉ)
(๕) ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นเจ้าพนักงานการเลือกตั้ง
(งานวินิจฉัยหรืองานสืบสวนสอบสวน) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (สำนักงาน กกต.)
ต้องปฏิบัติงานพิจารณาวินิจฉัยหรือสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ เรื่อง
สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ข) หรือ (ค) และไม่น้อยกว่า ๓๐ เรื่อง
สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ฉ)
ข้อ ๑๕
ผู้สมัครที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายตามข้อ ๑๔ ต้องมีหนังสือรับรองของผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาหรือของผู้บังคับบัญชา
แล้วแต่กรณี มาแสดงว่าได้ทำหน้าที่นั้นอย่างแท้จริงตามแบบที่กำหนดในระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๑๖
ผู้ที่มีคุณสมบัติและปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วน หรือแต่เพียงบางส่วนตามประกาศคณะกรรมการตุลาการ
เรื่องกำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพตามมาตรา
๒๗ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ฉบับลงวันที่
๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ให้ถือว่าได้ประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมายและปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพนั้น
ๆ ครบถ้วนแล้ว หรือแต่เพียงส่วนนั้น แล้วแต่กรณี ตามที่คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมกำหนดตามนัยระเบียบนี้
ข้อ ๑๗
ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งรองจ่าศาลอยู่ก่อนวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๔ และยังคงปฏิบัติหน้าที่เดิมในตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสำนักงานศาลยุติธรรม
โดยมีผู้บังคับบัญชารับรองตามแบบที่กำหนดในระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้ถือว่าการปฏิบัติหน้าที่เดิมต่อมานั้นเป็นการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
และได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพนั้น ๆ
โดยให้นับระยะเวลาต่อเนื่องกันไป
หมวด ๔
หลักเกณฑ์การทดสอบความรู้
ข้อ ๑๘[๓]
การทดสอบความรู้ของผู้สมัครให้มีทั้งการสอบข้อเขียนและการสอบปากเปล่า
ภายใต้บังคับข้อ
๑๙/๑ วิชาที่ทดสอบ คือ กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม
และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
หรือกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา หรือกฎหมายภาษีอากร หรือกฎหมายแรงงาน
หรือกฎหมายล้มละลาย หรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กับภาษาอังกฤษ กฎหมายรัฐธรรมนูญ
หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมและระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม
ข้อ ๑๙[๔] การสอบข้อเขียนมี ๒ วัน คือ
(๑) วันที่หนึ่ง
วิชากฎหมายอาญา จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๒ ข้อ กับวิชาภาษาอังกฤษ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมและระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม
ตามที่กำหนดในข้อ ๑๙/๑ จำนวน ๓ ข้อ เวลา ๓ ชั่วโมง ๓๐ นาที คะแนนเต็ม ๗๐
(๒) วันที่สอง
วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จำนวน ๒ ข้อ
กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน จำนวน ๑ ข้อ พระธรรมนูญศาลยุติธรรม จำนวน ๑ ข้อ
และวิชากฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายล้มละลาย
หรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ จำนวน ๑ ข้อ เวลา ๓ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๗๐
ผู้สอบต้องปฏิบัติตามระเบียบการสอบข้อเขียนท้ายระเบียบนี้โดยเคร่งครัด
และให้ประธานกรรมการรับผิดชอบในการจัดทำรหัสสมุดคำตอบของผู้สอบทุกคนแยกตามวันที่สอบโดยไม่ให้รหัสซ้ำกันแล้วเก็บรักษารหัสดังกล่าวไว้ด้วยตนเอง
คณะกรรมการอาจจัดตัวบทกฎหมายที่ไม่มีข้อความอื่นใดไว้ให้ผู้สอบใช้ประกอบการสอบวิชาใดในห้องสอบก็ได้
ผู้สอบที่ขาดสอบ
หรือเข้าสอบแต่ไม่ทำคำตอบเลยในการสอบข้อเขียนวิชากฎหมายวันใดวันหนึ่งจะไม่มีสิทธิเข้าสอบปากเปล่า
ข้อ ๑๙/๑[๕]
ให้ผู้สมัครที่เลือกสอบในกฎหมายลักษณะวิชากฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายล้มละลาย
หรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ ตามข้อ ๑๙ วรรคหนึ่ง (๒) แสดงความจำนงในวันสมัครสอบว่าจะสอบลักษณะวิชากฎหมายใด
ให้ผู้สมัครเลือกสอบในวิชาภาษาอังกฤษ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมและระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม
ตามข้อ ๑๙ วรรคหนึ่ง (๑) ดังต่อไปนี้
(๑) ให้ผู้สมัครตามความในมาตรา
๒๘ (๒) (ก) (ข) (ค) (ง) (ฉ) (ช) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ สอบวิชาภาษาอังกฤษข้อที่หนึ่งและข้อที่สอง
และเลือกสอบในวิชาภาษาอังกฤษข้อที่สาม กฎหมายรัฐธรรมนูญ
หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมและระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรมอีกจำนวน
๑ ข้อ
(๒)
ให้ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (จ) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ สอบวิชาภาษาอังกฤษข้อที่หนึ่ง และเลือกสอบในวิชาภาษาอังกฤษข้อที่สองและข้อที่สาม
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมและระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรมอีกจำนวน
๒ ข้อ
ข้อ ๒๐[๖] ในการออกข้อสอบ ให้คณะกรรมการออกข้อสอบ
ดังนี้
(๑) วิชากฎหมายอาญา
และกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้ออกข้อสอบวิชาละ ๒ ข้อ
โดยให้ออกข้อสอบเป็นคำถามเกี่ยวกับแนวความคิดทางกฎหมาย หลักกฎหมาย
หรือปัญหาเชิงทฤษฎีที่ให้ผู้สอบแสดงทักษะในการให้เหตุผลและวิเคราะห์วิชาละ ๑ ข้อ
และเป็นคำถามเกี่ยวกับปัญหาเชิงปฏิบัติวิชาละ ๑ ข้อ
(๒) วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้ออกข้อสอบวิชาละ ๒ ข้อ
(๓) วิชากฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมและระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน
กฎหมายล้มละลายและกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ ให้ออกข้อสอบวิชาละ ๑ ข้อ
(๔) วิชาภาษาอังกฤษ
ให้ออกข้อสอบ ๓ ข้อ
โดยให้ออกข้อสอบข้อที่หนึ่งเป็นคำถามที่ให้แปลข้อความภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษและภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย
๑ ข้อ
ข้อที่สองเป็นคำถามภาษาอังกฤษที่ทดสอบความเข้าใจในการอ่านบทความกฎหมายภาษาอังกฤษ ๑
ข้อ และข้อที่สามเป็นคำถามที่ให้ผู้สมัครเขียนอธิบาย
หรือวินิจฉัยปัญหากฎหมายเป็นภาษาอังกฤษ ๑ ข้อ
หากผู้สอบทำข้อสอบในวิชาที่ให้เลือกตอบเกินกว่าที่กำหนด
ให้ถือข้อที่ได้คะแนนน้อยที่สุดเป็นข้อที่กำหนดให้ทำ
ข้อ ๒๑[๗] ในการตรวจคำตอบแต่ละข้อ
ให้องค์คณะซึ่งประกอบด้วยกรรมการทดสอบความรู้อย่างน้อยสองคนตรวจแล้วให้คะแนนคำตอบตามหลักเกณฑ์การตรวจและการให้คะแนนที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
และให้ผู้สอบได้คะแนนคำตอบตามค่าเฉลี่ยที่คำนวณจากคะแนนที่กรรมการทดสอบความรู้แต่ละคนกำหนดให้
ข้อ ๒๒
การสอบปากเปล่าให้กระทำโดยวิธีถามผู้สมัครเรียงตัว กำหนดเวลาประมาณคนละ ๒๕
นาที คะแนนเต็ม ๖๐ โดยให้กรรมการทดสอบความรู้แต่ละคนที่ทำการสอบปากเปล่าผู้สมัครให้คะแนนแบ่งตามหัวข้อที่กำหนดในแบบการให้คะแนนการสอบปากเปล่าท้ายระเบียบนี้
และให้ผู้สมัครได้คะแนนการสอบปากเปล่าตามค่าเฉลี่ยที่คำนวณจากคะแนนที่กรรมการทดสอบความรู้แต่ละคนกำหนดให้
ข้อ ๒๓
ผู้สมัครต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ของคะแนนสอบข้อเขียนทั้งหมด
จึงจะมีสิทธิเข้าสอบปากเปล่า และต้องได้คะแนนสอบปากเปล่าไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ของคะแนนสอบปากเปล่า
จึงจะเป็นผู้ผ่านการสอบปากเปล่า เมื่อนำคะแนนสอบข้อเขียนกับคะแนนสอบปากเปล่ารวมกันต้องได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ
๖๐ ของคะแนนทั้งหมดจึงจะอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
ข้อ ๒๔
เมื่อทดสอบความรู้เสร็จแล้ว ก.ต. จะประกาศรายชื่อผู้ที่อยู่ในเกณฑ์จะได้รับการบรรจุเรียงตามลำดับคะแนนไว้
ณ สำนักงานศาลยุติธรรม
หมวด ๕
อัตราส่วนในการบรรจุ
ข้อ ๒๕
การบรรจุข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาตามความในมาตรา ๒๘
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ นั้น ให้บรรจุได้ในอัตราส่วนของจำนวนผู้ที่สอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาได้ไม่เกินหนึ่งในสาม
แต่ถ้าขณะใดไม่มีผู้ที่สอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาอยู่แล้วก็ให้บรรจุได้โดยไม่มีอัตราส่วน
ภายใต้บังคับวรรคหนึ่ง การบรรจุข้าราชการตุลาการตามมาตรา ๒๘
(๒) (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) หรือ (ช) ซึ่งมีคุณวุฒิต่างกัน
ให้บรรจุได้ในอัตราส่วนของจำนวนผู้ที่อยู่ในเกณฑ์จะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาแต่ละคุณวุฒิตามที่
ก.ต. กำหนด
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕
สันติ ทักราล
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
[เอกสารแนบท้าย]
๑. กฎหมายพิเศษ
๒. แบบการให้คะแนนการสอบปากเปล่าในการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
๓.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ง)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (สนามเล็ก
(แบบ ๑))
๔.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (จ)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (สนามเล็ก
(แบบ ๒))
๕.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (จ)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (สนามเล็ก (แบบ
๓))
๖.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ฉ) (ช)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (สนามเล็ก
(แบบ ๔))
๗.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ฉ) (ช)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (สนามเล็ก
(แบบ ๕))
๘.[๘]
ระเบียบการสอบข้อเขียนสำหรับการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
๙.[๙]
หลักเกณฑ์การตรวจและการให้คะแนนในการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖[๑๐]
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๕ ก/หน้า ๘/๑๑ มกราคม ๒๕๔๕
[๒] ข้อ ๘/๑ เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๓] ข้อ ๑๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๔] ข้อ ๑๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๕] ข้อ ๑๙/๑ เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๖] ข้อ ๒๐
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๗] ข้อ ๒๑
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๘] ระเบียบการสอบข้อเขียนสำหรับการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๙] หลักเกณฑ์การตรวจและการให้คะแนนในการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๑๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๗๓ ก/หน้า ๘/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๖ |
409338 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมายและเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๔๖
โดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓
แห่งระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ
๓ การประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
คือ
(๑) เป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์
หรือภาควิชานิติศาสตร์ หรือสาขาวิชานิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ
ซึ่งคณบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่ารับรองว่าได้สอนวิชากฎหมายตามหลักสูตรในคณะนิติศาสตร์
หรือภาควิชานิติศาสตร์ หรือสาขาวิชานิติศาสตร์มาแล้ว ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๒) เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
ซึ่งทำหน้าที่พนักงานสอบสวนและผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่พนักงานสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า
๒๐ เรื่อง ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๓) เป็นข้าราชการศาลยุติธรรมตำแหน่งเจ้าพนักงานศาลยุติธรรม
(วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานศาลยุติธรรม
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่
ก.ศ. กำหนด ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๔) เป็นนายทหารซึ่งทำหน้าที่นายทหารสืบสวนสอบสวน
หรือนายทหารสารวัตรสืบสวนสอบสวน กระทรวงกลาโหม
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานสอบสวนคดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลทหารมาแล้วไม่น้อยกว่า
๒๐ เรื่อง ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๕) เป็นข้าราชการตำแหน่งเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานสอบสวนคดียาเสพติดมาแล้วไม่น้อยกว่า
๒๐ เรื่อง ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๖) เป็นข้าราชการตำแหน่งเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบทรัพย์สิน
หรือไต่สวนและวินิจฉัยคดีที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๗) เป็นข้าราชการตำแหน่งนักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน
(วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) หรือนักวิชาการที่ดิน
(วุฒิทางกฎหมาย) กรมที่ดิน
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่
ก.พ. กำหนด ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๘) เป็นเจ้าพนักงานการเลือกตั้ง
(งานนิติการ) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (สำนักงาน กกต.) ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าว
ตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่ ก.พ. กำหนด หรือเจ้าพนักงานการเลือกตั้ง
(งานวินิจฉัยหรืองานสืบสวนสอบสวน) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานพิจารณาวินิจฉัยหรือสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า
๒๐ เรื่อง ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๙) เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างในกระทรวงยุติธรรม
ทำหน้าที่พนักงานคุมประพฤติซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานในสายงานคุมประพฤติ
ที่ ก.พ. กำหนด ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๑๐) เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ
หรือลูกจ้างในหน่วยงานของรัฐ
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกรตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่
ก.พ. หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่นกำหนด แล้วแต่กรณี
ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๑๑) เป็นพนักงานของสถาบันการเงินที่
ก.ต. รับรอง ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร
ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๑๒) เป็นอาจารย์ผู้บรรยายประจำวิชาของคณะนิติศาสตร์
ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ทบวงมหาวิทยาลัยให้การรับรองมาตรฐานการศึกษาของหลักสูตรนิติศาสตร์ซึ่งคณบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่ารับรองว่าได้สอนวิชากฎหมายตามหลักสูตรในคณะนิติศาสตร์มาแล้วในวิชาใดวิชาหนึ่งหรือหลายวิชาดังนี้
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน กฎหมายล้มละลาย
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม
กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง กฎหมายรัฐธรรมนูญ
กฎหมายปกครอง กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ
กฎหมายพาณิชย์นาวีหรือกฎหมายระหว่างประเทศ ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๑๓) เป็นเจ้าหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ
(วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญกำหนด
ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๑๔) เป็นนักวิจัยหรือผู้ช่วยนักวิจัย
(วุฒิทางกฎหมาย) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกำหนด
ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๑๕) เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมายที่ได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายในลักษณะทำนองเดียวกันหรือเทียบได้กับวิชาชีพตาม
(๑) - (๑๔) ซึ่ง ก.ต. รับรองเป็นรายกรณี
ข้อ ๔
ให้ยกเลิกแบบหนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือลูกจ้างในหน่วยงานของรัฐซึ่งปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร
ท้ายระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมายและเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้แบบหนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพท้ายระเบียบนี้แทน
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๖
อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
[เอกสารแนบท้าย]
๑. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา
๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑๒))
๒.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑๘))
๓.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑๙))
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๗๓ ก/หน้า ๑๔/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๖ |
384865 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๔๖
โดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕
ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามมาตรา
๑๘ และมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
ข้อ
๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๔
แห่งระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง
การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ พ.ศ.
๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๒๔ ให้ผู้พิพากษาประจำศาลรับราชการที่ศาลชั้นต้นยกเว้นศาลแขวงตามระยะเวลาที่
ก.ต. เห็นสมควรกำหนด
ประกาศ ณ วันที่ ๒๕
เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๖
อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๓๕ ก/หน้า ๗/๒๙ เมษายน ๒๕๔๖ |
409336 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยพิพากษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก
ผู้สมัครทดสอบความรู้
หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๔๖
โดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก
ผู้สมัครทดสอบความรู้หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. ๒๕๔๕
ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก
ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗
แห่งระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก
ผู้สมัครทดสอบความรู้หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. ๒๕๔๕
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ
๗
ให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครดำเนินการ ดังนี้
๑. ก่อนประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบข้อเขียน
(ก)
สอบถามคุณสมบัติของผู้สมัครไปยังผู้รับรอง ผู้บังคับบัญชา
หรือบุคคลอื่นใดตามที่เห็นสมควร
(ข)
ส่งบัญชีรายชื่อผู้สมัครทั้งหมดไปยังสภาทนายความเพื่อตรวจสอบว่าเป็นหรือเคยเป็นทนายความหรือเคยถูกกล่าวหาว่าประพฤติผิดมรรยาททนายความตามกฎหมายว่าด้วยทนายความหรือไม่
(ค)
เรียกผู้สมัครมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมตามที่เห็นสมควรเพื่อประกอบการพิจารณา
๒. ภายหลังประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนสำหรับการสอบคัดเลือกหรือการทดสอบความรู้
และภายหลังประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านการประเมินความรู้ความสามารถและประสบการณ์สำหรับการคัดเลือกพิเศษ
(ก)
ตรวจสอบประวัติบุคคลไปยังหน่วยงานภายนอกที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา เช่น
สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
กรมบังคับคดีหรือกรมคุมประพฤติ
(ข)
ตรวจสอบความประพฤติและลายพิมพ์นิ้วมือไปยังกองทะเบียนประวัติอาชญากร
สำนักงานวิทยาการตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(ค)
ประกาศบัญชีรายชื่อผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนสำหรับการสอบคัดเลือก
หรือการทดสอบความรู้
และประกาศบัญชีรายชื่อผู้ที่ผ่านการประเมินความรู้ความสามารถและประสบการณ์สำหรับการคัดเลือกพิเศษ
ตามวิธีการที่คณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครกำหนด
เพื่อให้บุคคลทั่วไปให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับคุณสมบัติหรือความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งข้าราชการตุลาการของผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนหรือการประเมินดังกล่าวโดยให้มีหนังสือถึงเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมภายใน
๑๕ วันนับแต่วันที่ประกาศเป็นต้นไป
เพื่อเสนอคณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครและคณะทำงานกลั่นกรองคุณสมบัติผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียน
ทั้งนี้
ขอให้ผู้ที่ประสงค์จะให้ข้อคิดเห็นระบุชื่อ นามสกุล
และที่อยู่จริงที่สามารถติดต่อได้
(ง)
ให้ผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนที่คณะกรรมการแพทย์มีข้อสังเกตเกี่ยวกับสภาพจิตใจไปรับการตรวจสภาพจิตใจจากคณะกรรมการแพทย์อีกครั้งตามวันเวลาและสถานที่ที่สำนักคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมกำหนด
ให้ประธานอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครแต่งตั้งคณะทำงานกลั่นกรองคุณสมบัติผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนหรือการประเมินทำหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมเพื่อกลั่นกรองคุณสมบัติของผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนหรือการประเมินอีกครั้งก่อนบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๖
อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๗๓ ก/หน้า ๑๒/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๖ |
409332 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการสอบคัดเลือก เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการสอบคัดเลือก
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ
ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๔๖
โดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการสอบคัดเลือก เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสอง
และมาตรา ๓๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการสอบคัดเลือก
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๘
แห่งระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการสอบคัดเลือก
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. ๒๕๔๕
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ
๘ ในการตรวจคำตอบแต่ละข้อ
ให้องค์คณะซึ่งประกอบด้วยกรรมการสอบคัดเลือกอย่างน้อยสองคนตรวจแล้วให้คะแนนคำตอบตามหลักเกณฑ์การตรวจและการให้คะแนนที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
และให้ผู้สอบได้คะแนนคำตอบตามค่าเฉลี่ยที่คำนวณจากคะแนนที่กรรมการสอบคัดเลือกแต่ละคนกำหนดให้
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกระเบียบการสอบข้อเขียนท้ายระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการสอบคัดเลือก
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. ๒๕๔๕
และให้ใช้ระเบียบการสอบข้อเขียนท้ายระเบียบนี้แทน
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๖
อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
[เอกสารแนบท้าย]
๑. ระเบียบการสอบข้อเขียนสำหรับการสอบคัดเลือก
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
๒.
หลักเกณฑ์การตรวจและการให้คะแนนในการสอบคัดเลือก เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๗๓ ก/หน้า ๗/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๖ |
409334 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ
ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๔๖
โดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคสอง
วรรคสาม และมาตรา ๓๐ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๘/๑
แห่งระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๘/๑ ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘
(๒) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
ต้องสอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
โดยมีหลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่าสองปี หรือหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่าสองปี
หรือสอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศซึ่ง
ก.ต. รับรอง โดยมีหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่าสองปี
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๘
แห่งระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ
๑๘
การทดสอบความรู้ของผู้สมัครให้มีทั้งการสอบข้อเขียนและการสอบปากเปล่า
ภายใต้บังคับข้อ
๑๙/๑
วิชาที่ทดสอบ คือ กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน พระธรรมนูญศาลยุติธรรม
และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
หรือกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา หรือกฎหมายภาษีอากร หรือกฎหมายแรงงาน
หรือกฎหมายล้มละลาย หรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กับภาษาอังกฤษ กฎหมายรัฐธรรมนูญ
หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมและระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๙
แห่งระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. ๒๕๔๕
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๙
การสอบข้อเขียนมี ๒ วัน คือ
(๑) วันที่หนึ่ง
วิชากฎหมายอาญา จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๒ ข้อ กับวิชาภาษาอังกฤษ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมและระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม
ตามที่กำหนดในข้อ ๑๙/๑ จำนวน ๓ ข้อ เวลา ๓ ชั่วโมง ๓๐ นาที คะแนนเต็ม ๗๐
(๒) วันที่สอง
วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จำนวน ๒ ข้อ
กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน จำนวน ๑ ข้อ พระธรรมนูญศาลยุติธรรม จำนวน ๑ ข้อ
และวิชากฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายล้มละลาย
หรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ จำนวน ๑ ข้อ เวลา ๓ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๗๐
ผู้สอบต้องปฏิบัติตามระเบียบการสอบข้อเขียนท้ายระเบียบนี้โดยเคร่งครัด
และให้ประธานกรรมการรับผิดชอบในการจัดทำรหัสสมุดคำตอบของผู้สอบทุกคนแยกตามวันที่สอบโดยไม่ให้รหัสซ้ำกันแล้วเก็บรักษารหัสดังกล่าวไว้ด้วยตนเอง
คณะกรรมการอาจจัดตัวบทกฎหมายที่ไม่มีข้อความอื่นใดไว้ให้ผู้สอบใช้ประกอบการสอบวิชาใดในห้องสอบก็ได้
ผู้สอบที่ขาดสอบ
หรือเข้าสอบแต่ไม่ทำคำตอบเลยในการสอบข้อเขียนวิชากฎหมายวันใดวันหนึ่งจะไม่มีสิทธิเข้าสอบปากเปล่า
ข้อ ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๑๙/๑
แห่งระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ
๑๙/๑
ให้ผู้สมัครที่เลือกสอบในกฎหมายลักษณะวิชากฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายล้มละลาย
หรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ ตามข้อ ๑๙ วรรคหนึ่ง (๒) แสดงความจำนงในวันสมัครสอบว่าจะสอบลักษณะวิชากฎหมายใด
ให้ผู้สมัครเลือกสอบในวิชาภาษาอังกฤษ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมและระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม
ตามข้อ ๑๙ วรรคหนึ่ง (๑) ดังต่อไปนี้
(๑) ให้ผู้สมัครตามความในมาตรา
๒๘ (๒) (ก) (ข) (ค) (ง) (ฉ) (ช) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ สอบวิชาภาษาอังกฤษข้อที่หนึ่งและข้อที่สอง
และเลือกสอบในวิชาภาษาอังกฤษข้อที่สาม กฎหมายรัฐธรรมนูญ
หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมและระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรมอีกจำนวน
๑ ข้อ
(๒)
ให้ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (จ) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ สอบวิชาภาษาอังกฤษข้อที่หนึ่ง
และเลือกสอบในวิชาภาษาอังกฤษข้อที่สองและข้อที่สาม กฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมและระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรมอีกจำนวน
๒ ข้อ
ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๐
แห่งระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. ๒๕๔๕
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๒๐
ในการออกข้อสอบ
ให้คณะกรรมการออกข้อสอบ ดังนี้
(๑) วิชากฎหมายอาญา
และกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้ออกข้อสอบวิชาละ ๒ ข้อ
โดยให้ออกข้อสอบเป็นคำถามเกี่ยวกับแนวความคิดทางกฎหมาย หลักกฎหมาย
หรือปัญหาเชิงทฤษฎีที่ให้ผู้สอบแสดงทักษะในการให้เหตุผลและวิเคราะห์วิชาละ ๑ ข้อ
และเป็นคำถามเกี่ยวกับปัญหาเชิงปฏิบัติวิชาละ ๑ ข้อ
(๒) วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้ออกข้อสอบวิชาละ ๒ ข้อ
(๓) วิชากฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมและระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน
กฎหมายล้มละลายและกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ ให้ออกข้อสอบวิชาละ ๑ ข้อ
(๔) วิชาภาษาอังกฤษ
ให้ออกข้อสอบ ๓ ข้อ
โดยให้ออกข้อสอบข้อที่หนึ่งเป็นคำถามที่ให้แปลข้อความภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษและภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย
๑ ข้อ
ข้อที่สองเป็นคำถามภาษาอังกฤษที่ทดสอบความเข้าใจในการอ่านบทความกฎหมายภาษาอังกฤษ ๑
ข้อ และข้อที่สามเป็นคำถามที่ให้ผู้สมัครเขียนอธิบาย
หรือวินิจฉัยปัญหากฎหมายเป็นภาษาอังกฤษ ๑ ข้อ
หากผู้สอบทำข้อสอบในวิชาที่ให้เลือกตอบเกินกว่าที่กำหนด
ให้ถือข้อที่ได้คะแนนน้อยที่สุดเป็นข้อที่กำหนดให้ทำ
ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๑
แห่งระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. ๒๕๔๕
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ
๒๑ ในการตรวจคำตอบแต่ละข้อ
ให้องค์คณะซึ่งประกอบด้วยกรรมการทดสอบความรู้อย่างน้อยสองคนตรวจแล้วให้คะแนนคำตอบตามหลักเกณฑ์การตรวจและการให้คะแนนที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
และให้ผู้สอบได้คะแนนคำตอบตามค่าเฉลี่ยที่คำนวณจากคะแนนที่กรรมการทดสอบความรู้แต่ละคนกำหนดให้
ข้อ ๙
ให้ยกเลิกระเบียบการสอบข้อเขียนท้ายระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. ๒๕๔๕
และให้ใช้ระเบียบการสอบข้อเขียนท้ายระเบียบนี้แทน
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๖
อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
[เอกสารแนบท้าย]
๑. ระเบียบการสอบข้อเขียนสำหรับการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
๒.
หลักเกณฑ์การตรวจและการให้คะแนนในการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๗๓ ก/หน้า ๘/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๖ |
315248 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวน พ.ศ. 2544 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวน
พ.ศ. ๒๕๔๔
โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๐ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมจึงวางระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
"ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวน พ.ศ.
๒๕๔๔"
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
"ก.ต." หมายความว่า คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
"คณะกรรมการสอบสวน" หมายความว่า
คณะกรรมการสอบสวนซึ่งประธานศาลฎีกาแต่งตั้งตามมาตรา ๖๙ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
"การสอบสวนวินัย" หมายความว่า
การสอบสวนโดยคณะกรรมการสอบสวนซึ่งประธานศาลฎีกาแต่งตั้งตามมาตรา ๖๙ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
"ประธานกรรมการ" หมายความว่า
ประธานของคณะกรรมการสอบสวน
"กรรมการ" หมายความว่า
กรรมการของคณะกรรมการสอบสวน
หมวด ๒
หลักเกณฑ์การสอบสวน
ข้อ ๔ ในกรณีที่การสอบสวนข้อเท็จจริงในชั้นต้นมีมูลว่า
ข้าราชการตุลาการใด กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงที่มีโทษถึงไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก
ให้ดำเนินการสอบสวนข้าราชการตุลาการนั้นตามหลักเกณฑ์การสอบสวนและวิธีการสอบสวนที่กำหนดในระเบียบนี้
ข้อ ๕ ในการสอบสวนวินัย
ให้ประธานศาลฎีกาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ซึ่งประกอบด้วยกรรมการซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการและเป็นผู้ซึ่งไม่มีส่วนได้เสียหรือเกี่ยวข้องในเรื่องนั้นขึ้นอย่างน้อยสามคนเพื่อทำการสอบสวน
โดยมีประธานกรรมการหนึ่งคนและกรรมการอย่างน้อยอีกสองคน และให้กรรมการคนหนึ่งเป็นเลขานุการ
เมื่อมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว
หากมีเหตุจำเป็นหรือเหตุสมควรต้องเปลี่ยนแปลงบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการสอบสวน
ให้ประธานศาลฎีกามีคำสั่งเปลี่ยนแปลงได้
โดยให้สำนักคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมแจ้งคำสั่งตามวิธีการในข้อ ๖
การเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการสอบสวน
หรือการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหรืออาวุโสของบุคคลดังกล่าว
ไม่กระทบถึงการแต่งตั้งหรือการสอบสวนที่ได้กระทำไปแล้ว
ข้อ ๖ คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนต้องระบุชื่อและตำแหน่งของผู้ถูกกล่าวหา
เรื่องที่กล่าวหา ชื่อและตำแหน่งของคณะกรรมการสอบสวน ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามแบบ สส. ๑
ท้ายระเบียบนี้
เมื่อมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว
ให้สำนักคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมแจ้งคำสั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาและคณะกรรมการสอบสวนทราบโดยเร็ว
โดยให้ลงลายมือชื่อและวันที่ที่รับทราบด้วย ทั้งนี้ หากมีผู้ไม่ยอมลงลายมือชื่อรับทราบ
ให้สำนักคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมจดแจ้งเหตุที่ไม่มีลายมือชื่อนั้นไว้แทนการลงลายมือชื่อ
โดยให้บันทึกรายละเอียดแนบสำนวนการสอบสวนวินัยไว้
ข้อ ๗ ผู้ถูกกล่าวหาอาจคัดค้านคณะกรรมการสอบสวนคนหนึ่งคนใดได้โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อคณะกรรมการสอบสวนก่อนเริ่มการสอบสวน
หรือถ้าทราบเหตุที่พึงคัดค้านในระหว่างการสอบสวน
ก็ให้ยื่นหนังสือคัดค้านภายในสิบห้าวันนับแต่วันทราบเหตุแห่งการคัดค้าน
ให้นำบทบัญญัติในลักษณะ ๒ หมวด ๒ การคัดค้านผู้พิพากษา
แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับกับเหตุคัดค้านและการคัดค้านคณะกรรมการสอบสวนด้วยโดยอนุโลม
เมื่อได้รับหนังสือคัดค้านแล้ว
ผู้ถูกคัดค้านอาจทำคำชี้แจงได
และให้ประธานกรรมการเสนอเรื่องการคัดค้านให้ประธานศาลฎีกาพิจารณาต่อไป
ในการพิจารณาเรื่องการคัดค้าน หากประธานศาลฎีกาเห็นว่าการคัดค้านนั้นมีเหตุอันควรฟังได้
ให้มีคำสั่งเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการสอบสวนตามความเหมาะสมโดยเร็ว
แต่ถ้าเห็นว่าการคัดค้านนั้นไม่มีเหตุอันควรรับฟังก็ให้ยกเสียซึ่งคำคัดค้านนั้น
โดยให้บันทึกเหตุผลนั้นรวมไว้กับสำนวนการสอบสวน
ข้อ ๘ ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่า
ผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในเรื่องอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ให้คณะกรรมการสอบสวนรายงานให้ประธานศาลฎีกาทราบโดยเร็ว หากประธานศาลฎีกาเห็นว่า
กรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนสำหรับเรื่องนั้น โดยจะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนคณะเดิมเป็นผู้ทำการสอบสวนหรือจะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนใหม่ก็ได้
ข้อ ๙ ในกรณีที่การสอบสวนพาดพิงไปถึงข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมอื่น
ให้คณะกรรมการสอบสวนพิจารณาในเบื้องต้นว่าข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมผู้นั้นมีส่วนร่วมกระทำการในเรื่องที่สอบสวนนั้นด้วยหรือไม่
ถ้าเห็นว่าเป็นผู้มีส่วนร่วมกระทำการในเรื่องที่สอบสวนนั้นอยู่ด้วย
ให้คณะกรรมการรายงานไปยังประธานศาลฎีกาหรือเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม แล้วแต่กรณี
เพื่อพิจารณาดำเนินการตามสมควร
หากประธานศาลฎีกาเห็นว่า กรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
โดยจะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนคณะเดิมเป็นผู้ทำการสอบสวนหรือจะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนใหม่ก็ได้
ทั้งนี้
ให้ใช้พยานหลักฐานที่ได้ดำเนินการสอบสวนมาแล้วประกอบการพิจารณาได้
ในกรณีที่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนใหม่
ให้สำเนาพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องในสำนวนสอบสวนเดิมรวมไว้ในสำนวนสอบสวนใหม่
และให้ใช้เป็นพยานหลักฐานประกอบการพิจารณาในสำนวนสอบสวนใหม่
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ข้าราชการตุลาการถูกฟ้องคดีอาญา
หาก ก.ต. เห็นว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำพิพากษาได้ความประจักษ์ชัดแจ้งอยู่แล้ว
ก.ต.
จะใช้คำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาลเพื่อประกอบการพิจารณาโดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนก็ได้
แต่ต้องแจ้งให้ข้าราชการตุลาการนั้นทราบและให้มีโอกาสชี้แจงก่อน
หมวด ๓
วิธีการสอบสวน
ข้อ ๑๑ เมื่อได้มีการแจ้งคำสั่งตามข้อ ๖ แล้ว
ให้ประธานกรรมการเรียกประชุมคณะกรรมการสอบสวนเพื่อกำหนดแนวทางการสอบสวนต่อไป
ข้อ ๑๒ การประชุมและการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมและการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวน ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจมาประชุมได้
ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนนและห้ามมิให้งดออกเสียง
ถ้ามีคะแนนเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ข้อ ๑๓ ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาสามสิบวันนับแต่วันได้รับแต่งตั้ง
เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นที่ทำให้การสอบสวนไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลานั้นก็ให้ขยายระยะเวลาออกไปอีกได้ไม่เกินสองครั้งโดยแต่ละครั้งจะต้องไม่เกินสิบห้าวัน
และต้องแจ้งให้ประธานศาลฎีกาทราบพร้อมทั้งแสดงเหตุที่ต้องขยายเวลาไว้ด้วยทุกครั้ง
หากพ้นกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่งแล้ว
คณะกรรมการสอบสวนยังดำเนินการสอบสวนไม่แล้วเสร็จ
ให้บันทึกเหตุที่ทำให้การสอบสวนไม่แล้วเสร็จต่อประธานศาลฎีกาเพื่อขออนุมัติให้ขยายกำหนดระยะเวลาตามความจำเป็นครั้งละไม่เกินสามสิบวัน
ทั้งนี้
กำหนดระยะเวลาทั้งหมดต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
ข้อ ๑๔ เมื่อได้พิจารณาและประชุมกำหนดแนวทางการสอบสวนแล้ว
ให้คณะกรรมการสอบสวนเรียกผู้ถูกกล่าวหามาเพื่อแจ้งและอธิบายข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
โดยไม่ต้องระบุชื่อพยาน
และต้องให้สิทธิแก่ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำพยานหลักฐานเข้าสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ตามวิธีการในหมวดนี้
ข้อ ๑๕ บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาตามข้อ
๑๔ ให้เป็นไปตามแบบ สส. ๒ ท้ายระเบียบนี้โดยให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อรับทราบไว้และให้สำเนาให้ผู้ถูกกล่าวหาหนึ่งฉบับ
แล้วให้ถามผู้ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำการตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่
จะชี้แจงหรือให้ถ้อยคำอย่างไรบ้าง หากผู้ถูกกล่าวหาไม่ยอมลงลายมือชื่อรับทราบ
ให้คณะกรรมการสอบสวนจดแจ้งเหตุที่ไม่มีลายมือชื่อนั้นไว้แทนการลงลายมือชื่อ
ให้คณะกรรมการสอบสวนบันทึกถ้อยคำของผู้ถูกกล่าวหาไว้
ถ้าผู้ถูกกล่าวหาไม่ให้ถ้อยคำก็ให้บันทึกรายงานไว้และดำเนินการสอบสวนต่อไป
ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาให้ถ้อยคำรับว่าได้กระทำการตามที่ถูกกล่าวหา
ให้คณะกรรมการสอบสวนบันทึกถ้อยคำรับ รวมทั้งเหตุผล สาเหตุแห่งการกระทำ
และข้อเท็จจริงอื่นที่เกี่ยวข้องไว้ด้วย ในกรณีนี้
คณะกรรมการสอบสวนจะไม่ทำการสอบสวนต่อไปก็ได้หรือจะสอบสวนต่อไปตามควรเพื่อทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์เกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวหาก็ได้
แล้วให้ดำเนินการตามข้อ ๒๓
ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหามิได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพ ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวนเพื่อรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหาต่อไป
ข้อ ๑๖ เมื่อได้รับทราบบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว
ผู้ถูกกล่าวหาอาจยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการสอบสวนภายในสิบห้าวัน
ถ้าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้ยื่นคำชี้แจงภายในกำหนดระยะเวลา
ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวนต่อไป
ให้ผู้ถูกกล่าวหาแสดงโดยชัดแจ้งในคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน
รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น
ผู้ถูกกล่าวหาอาจยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาเพิ่มเติมต่อคณะกรรมการสอบสวนได้ก่อนการสอบสวนเสร็จสิ้น
ทั้งนี้
คณะกรรมการสอบสวนมีอำนาจให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา
เพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๑๗ ในการสอบสวน
ให้คณะกรรมการสอบสวนเรียกผู้ซึ่งจะถูกสอบปากคำเข้ามาในที่สอบสวนคราวละหนึ่งคน
และห้ามมิให้บุคคลอื่นอยู่ในที่สอบสวน เว้นแต่บุคคลซึ่งคณะกรรมการสอบสวนอนุญาตให้อยู่ในที่สอบสวนเพื่อประโยชน์แห่งการสอบสวน
การสอบปากคำผู้ถูกกล่าวหาหรือพยาน ให้บันทึกถ้อยคำไว้ตามแบบ
สส. ๓ ท้ายระเบียบนี้ แล้วให้อ่านให้ผู้ให้ถ้อยคำฟัง
และให้ผู้ให้ถ้อยคำลงลายมือชื่อไว้ ถ้าผู้ให้ถ้อยคำไม่ลงลายมือชื่อ
ให้คณะกรรมการสอบสวนจดแจ้งเหตุที่ไม่มีลายมือชื่อนั้นไว้แทนการลงลายมือชื่อ
ข้อ ๑๘ ให้กรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
และให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพียงเท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของกรรมการสอบสวน
และให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย คือ
(๑) เรียกให้กระทรวง ทบวง กรม หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ
หน่วยงานอื่นของรัฐ หรือห้างหุ้นส่วน บริษัท ชี้แจงข้อเท็จจริง
ส่งเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ตรวจพิสูจน์พยานหลักฐาน
และทำความเห็นในเรื่องดังกล่าว
ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน
(๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำ
หรือส่งเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน
ในกรณีไม่สามารถเรียกพยานมาให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการสอบสวน หรือคณะกรรมการสอบสวนเรียกพยานไม่ได้ภายในเวลาอันสมควร
คณะกรรมการสอบสวนจะไม่สอบสวนพยานนั้นก็ได้ แต่ต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ในสำนวนสอบสวน
ข้อ ๑๙ ในการนำเอกสารหรือวัตถุมาใช้เป็นพยานหลักฐานในสำนวนสอบสวน
ให้บันทึกที่มาของพยานหลักฐานดังกล่าวไว้เท่าที่จะทำได้ด้วยว่าเป็นพยานหลักฐานที่ได้มาอย่างไร
จากผู้ใด และเมื่อใด
การอ้างพยานเอกสารให้ใช้ต้นฉบับเอกสาร
เว้นแต่ไม่อาจนำต้นฉบับมาได้ สำเนาที่รับรองว่าถูกต้องก็อ้างเป็นพยานได้
ข้อ ๒๐ เมื่อเสร็จสิ้นการรวบรวมพยานหลักฐานของฝ่ายผู้กล่าวหาแล้ว
ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการประชุมเพื่อพิจารณาว่ามีพยานหลักฐานใดสนับสนุนข้อกล่าวหาว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำการใด
เมื่อใด อย่างไร
และเป็นความผิดวินัยกรณีใดตามมาตราใดบกพร่องต่อหน้าที่หรือหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ
หรือประพฤติตนไม่สมควรที่จะให้คงเป็นข้าราชการตุลาการต่อไปตามมาตรา ๓๕
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ หรือไม่
อย่างไร
แล้วให้คณะกรรมการสอบสวนเรียกผู้ถูกกล่าวหามาพบเพื่อแจ้งข้อกล่าวหาโดยระบุข้อกล่าวหาที่ปรากฏตามพยานหลักฐานว่าเป็นความผิดวินัยกรณีใดตามมาตราใด
บกพร่องต่อหน้าที่หรือหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ
หรือประพฤติตนไม่สมควรที่จะให้คงเป็นข้าราชการตุลาการต่อไปตามมาตรา ๓๕ อย่างไร
และสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ทราบ โดยระบุวัน เวลา สถานที่
และการกระทำที่มีลักษณะเป็นการสนับสนุนข้อกล่าวหาโดยไม่ต้องระบุชื่อพยาน
การแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาตามวรรคหนึ่ง
ให้ทำบันทึกมีสาระสำคัญตามแบบ ส.ส. ๔ ท้ายระเบียบนี้ โดยทำเป็นสองฉบับ
เพื่อมอบให้ผู้ถูกกล่าวหาหนึ่งฉบับ เก็บไว้ในสำนวนการสอบสวนหนึ่งฉบับ
และให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อและวันเดือนปีที่รับทราบไว้เป็นหลักฐานด้วย
ข้อ ๒๑ ในการสอบสวน
ให้คณะกรรมการสอบสวนให้โอกาสแก่ผู้ถูกกล่าวหาที่จะชี้แจงข้อกล่าวหา
ตลอดจนนำพยานหลักฐานมาสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ ทั้งนี้ ภายในกำหนดระยะเวลาอันสมควร
ผู้ถูกกล่าวหาจะนำพยานหลักฐานมาเอง หรือจะขอให้คณะกรรมการสอบสวนเรียกพยานหลักฐานนั้นมาก็ได้
ข้อ ๒๒ หากคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่า
การสอบสวนพยานหลักฐานใดจะทำให้การสอบสวนต้องล่าช้าไปโดยไม่จำเป็น
หรือมิใช่พยานหลักฐานในประเด็นสำคัญ
คณะกรรมการจะงดการสอบสวนพยานหลักฐานนั้นเสียก็ได้
แต่ต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ในสำนวนการสอบสวน
ข้อ ๒๓ เมื่อทำการสอบสวนเสร็จแล้ว
ให้คณะกรรมการสอบสวนประชุมปรึกษาทำรายงานความเห็น สรุปข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน
และเหตุผลแห่งคำวินิจฉัย พร้อมความเห็นว่า ผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยตามเรื่องกล่าวหาหรือไม่
และควรได้รับโทษสถานใด ทั้งนี้
ให้เป็นไปตามแบบ สส. ๕ ท้ายระเบียบนี้
ถ้ากรรมการสอบสวนคนใดไม่เห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัย
มีอำนาจทำความเห็นแย้ง คำแย้งนี้ให้รวมเข้าสำนวนไว้
ให้คณะกรรมการสอบสวนจัดทำรายงานความเห็นตามวรรคหนึ่งเสนอต่อประธานศาลฎีกา
และให้ส่งรายงานดังกล่าวต่อเลขานุการ ก.ต. เพื่อดำเนินการเสนอต่อคณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาลพิจารณากลั่นกรองเสนอความเห็นภายในสิบห้าวันนับแต่ได้รับเรื่องจากเลขานุการ
ก.ต.
ข้อ ๒๔ เมื่อ
ก.ต.
ได้พิจารณารายงานความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนและคณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาลแล้ว
เห็นสมควรให้สอบสวนเพิ่มเติมประการใด ให้สั่งให้คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น
ให้คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติมให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
เมื่อสอบสวนเสร็จแล้ว ให้ส่งพยานหลักฐานที่ได้จากการสอบสวนเพิ่มเติมโดยไม่ต้องทำความเห็นไปให้ประธานศาลฎีกาตามข้อ
๒๓ วรรคสาม
ข้อ ๒๕ เมื่อ
ก.ต. ได้พิจารณารายงานความเห็นตามข้อ ๒๔ แล้ว
มีมติว่าข้าราชการตุลาการผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงสมควรไล่ออก ปลดออก
หรือให้ออกจากราชการ หรือมีมติเป็นประการอื่นใด
ให้ประธานศาลฎีกามีคำสั่งให้เป็นไปตามนั้น
ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ปรากฏว่าการสอบสวนตอนใดทำไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์หรือวิธีการที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้
ไม่ทำให้สำนวนสอบสวนทั้งหมดเสียไป หากมิใช่สาระสำคัญอันจะทำให้เสียความเป็นธรรม
ประธานศาลฎีกาจะสั่งให้แก้ไขหรือดำเนินการให้ถูกต้องหรือไม่ก็ได้
แต่หากการสอบสวนตอนนั้นเป็นสาระสำคัญอันจะทำให้เสียความเป็นธรรม
ให้ประธานศาลฎีกาสั่งให้คณะกรรมการสอบสวนแก้ไขหรือดำเนินการการสอบสวนตอนนั้นให้ถูกต้องโดยเร็ว
ข้อ ๒๗ การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ
ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ
พ.ศ. ๒๕๒๑ ต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ
ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนได้ทำการสอบสวนเสร็จแล้ว
ให้ดำเนินการตามวิธีการในข้อ ๒๓ วรรคสาม
ข้อ ๒๘ ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๔
ธวัชชัย พิทักษ์พล
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
คำสั่งสำนักงานศาลยุติธรรม ที่ ....../๒๕.... เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
(แบบ สส. ๑)
๒.
บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา (แบบ สส. ๒)
๓.
บันทึกการสอบปากคำ (แบบ สส. ๓)
๔.
บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา (แบบ สส. ๔)
๕.
รายงานความเห็น (แบบ สส. ๕)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๖๓ ง/หน้า ๔๗/๔ กรกฎาคม ๒๕๔๔ |
325343 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการคัดเลือกพิเศษเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. 2545 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการคัดเลือกพิเศษ
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
พ.ศ.
๒๕๔๕
โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยการสมัครและการคัดเลือกพิเศษ
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๙ วรรคสอง และมาตรา ๓๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
พ.ศ.๒๕๔๕
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ หากมิได้กำหนดไว้โดยเฉพาะเป็นอย่างอื่น
ก.ต. หมายความว่า คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
คณะกรรมการ
หมายความว่า คณะกรรมการคัดเลือกพิเศษที่ ก.ต.
แต่งตั้งขึ้นเพื่อทำการคัดเลือกผู้สมัคร
ผู้สมัคร
หมายความว่า ผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษตามมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๕ เมื่อสมควรจะมีการคัดเลือกพิเศษเมื่อใด ให้เลขานุการ
ก.ต. เสนอขอความเห็นชอบจาก ก.ต.
เพื่อจัดให้มีการคัดเลือกพิเศษ ให้ ก.ต.
กำหนดสาขาวิชากฎหมายสาขาใดสาขาหนึ่งหรือหลายสาขาที่ต้องการคัดเลือกพิเศษตามที่ระบุท้ายระเบียบนี้
และจำนวนที่จะบรรจุ รวมทั้งประกาศเกี่ยวกับการรับสมัคร และแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกพิเศษขึ้นคณะหนึ่งตามจำนวนที่จำเป็น
ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงคุณสมบัติ ความรู้ความสามารถ
ประสบการณ์ในการสอน และการเป็นกรรมการสอบวิชากฎหมายของผู้ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งเป็นส่วนสำคัญ
ข้อ ๖ ในกรณีที่ระเบียบนี้มิได้กำหนดเป็นอย่างอื่น
คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะทำงาน ออกประกาศหรือกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคัดเลือกพิเศษตามที่เห็นสมควร
หมวด ๒
คุณวุฒิและเงื่อนไขการประกอบวิชาชีพ
ข้อ ๗ ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๙ (๑)
(ก) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ต้องมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ดีเด่นในสาขาวิชากฎหมายที่
ก.ต. กำหนดตามข้อ ๕
ข้อ ๘ ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๙ (๑)
(ข) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ต้องสอนหรือเคยสอนวิชากฎหมายที่
ก.ต. กำหนดตามข้อ ๕ วิชาใดวิชาหนึ่งหรือหลายวิชามาแล้วรวมไม่น้อยกว่า
๓ ปี
ข้อ ๙ ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๙ (๑)
(ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ต้องปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชากฎหมายที่
ก.ต. กำหนดตามข้อ ๕ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า
๓ ปี
ข้อ ๑๐ ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๙ (๑)
(ง) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ต้องได้ว่าความในศาลโดยเป็นทนายความผู้ทำหน้าที่หลักในการที่ศาลออกนั่งพิจารณามาแล้วไม่น้อยกว่า
๑๐๐ เรื่อง ในจำนวนนี้ต้องเป็นคดีแพ่งไม่น้อยกว่า ๒๕ เรื่อง และเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชากฎหมายที่
ก.ต. กำหนดตามข้อ ๕ ไม่น้อยกว่า ๓๐ เรื่อง
โดยมีหนังสือรับรองของผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้มาแสดงว่าได้ทำหน้าที่ดังกล่าวอย่างแท้จริง
ผู้สมัครซึ่งได้ว่าความในศาลตามความในวรรคหนึ่งก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ
และไม่อาจให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณารับรองการว่าความได้ ให้มีหนังสือรับรองของศาลหรือหลักฐานอื่นใดที่น่าเชื่อว่าได้ว่าความมาแล้วมาแสดง
ข้อ ๑๑ ผู้สมัครต้องมีหนังสือรับรองของผู้บังคับบัญชามาแสดงว่าได้ปฏิบัติหน้าที่หรือประกอบวิชาชีพตามมาตรา
๒๙ (๑) (ก) (ข) (ค) และ (ง) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ และมีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชากฎหมายที่ ก.ต. กำหนดตามข้อ ๕ อย่างแท้จริงตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
ผู้สมัครตามมาตรา ๒๙ (๑)
(ง) ซึ่งมิได้ประกอบวิชาชีพดังกล่าวในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน
จะต้องมีหนังสือรับรองตนเองมาแสดงว่าได้ประกอบวิชาชีพดังกล่าวอย่างแท้จริงตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
หมวด ๓
หลักเกณฑ์การคัดเลือกพิเศษ
ข้อ ๑๒ ผู้สมัครต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ดีเด่นในสาขาวิชากฎหมายที่
ก.ต. กำหนดให้มีการคัดเลือกพิเศษ
การคัดเลือกพิเศษให้กระทำโดยการสอบข้อเขียน
การประเมินความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ดีเด่นในสาขาวิชากฎหมายที่ ก.ต. กำหนดตามข้อ ๕ และการสอบสัมภาษณ์
ข้อ ๑๓ วิชาที่สอบข้อเขียน ได้แก่ กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และกฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน เวลา
๓ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๕๐
ผู้สอบต้องปฏิบัติตามระเบียบการสอบข้อเขียนท้ายระเบียบนี้โดยเคร่งครัด
และให้ประธานกรรมการคัดเลือกพิเศษรับผิดชอบในการจัดทำรหัสสมุดคำตอบของผู้สอบทุกคนไม่ให้รหัสซ้ำกัน
แล้วเก็บรักษารหัสดังกล่าวไว้ด้วยตนเอง
คณะกรรมการอาจจัดตัวบทกฎหมายที่ไม่มีข้อความอื่นใดไว้ให้ผู้สอบใช้ประกอบการสอบวิชาใดในห้องสอบก็ได้
ข้อ ๑๔ ให้ออกข้อสอบเป็นคำถามเกี่ยวกับแนวความคิดทางกฎหมาย
หลักกฎหมายหรือปัญหาเชิงทฤษฎีที่ให้ผู้สอบแสดงทักษะในการให้เหตุผลและวิเคราะห์ หรือปัญหาเชิงปฏิบัติ
ข้อ ๑๕ ในการตรวจคำตอบแต่ละข้อ ให้องค์คณะซึ่งประกอบด้วยกรรมการคัดเลือกพิเศษอย่างน้อยสองคนตรวจแล้วให้คะแนนคำตอบตามหลักเกณฑ์การตรวจ
และการให้คะแนนตามที่คณะกรรมการกำหนด และให้ผู้สมัครได้คะแนนคำตอบตามค่าเฉลี่ยที่คำนวณจากคะแนนที่กรรมการคัดเลือกพิเศษแต่ละคนกำหนดให้
ข้อ ๑๖ ผู้สมัครต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ
๕๐ ของคะแนนสอบข้อเขียนทั้งหมด จึงมีสิทธิได้รับการประเมินความรู้ความสามารถและประสบการณ์ดีเด่นของคณะอนุกรรมการประเมิน
ข้อ ๑๗ ให้ผู้สมัครที่ผ่านการสอบข้อเขียนส่งผลงานที่แสดงความรู้ความสามารถและหลักฐานที่แสดงประสบการณ์ในการทำงานในสาขาวิชากฎหมายที่
ก.ต. กำหนดตามข้อ ๕ จำนวนไม่เกิน ๕ เรื่อง เพื่อประกอบการประเมินของคณะอนุกรรมการประเมินซึ่ง
ก.ต. แต่งตั้งขึ้น โดยให้สรุปสาระสำคัญของผลงานหรือประสบการณ์ดังกล่าวเรื่องละไม่เกิน
๒ หน้ากระดาษ
ผลงานที่แสดงความรู้ความสามารถ
ได้แก่ ตำราหรือบทความทางวิชาการหรือรายงานผลงานศึกษาวิจัย คู่มือที่จัดทำขึ้นในการปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงาน
คำฟ้อง คำให้การ อุทธรณ์ คำแก้อุทธรณ์ ฎีกา คำแก้ฎีกา คำแถลงการณ์ หรือผลงานอื่นใดที่แสดงให้เห็นถึงความรู้ความสามารถ
หลักฐานที่แสดงประสบการณ์ในการทำงาน
ได้แก่ ประวัติการทำงาน หรือกิจกรรมพิเศษ หรือหลักฐานอื่นใดที่แสดงให้เห็นถึงประสบการณ์ในการทำงาน
กรณีที่ผลงานที่แสดงถึงความรู้ความสามารถเป็นผลงานร่วมกับผู้อื่น
ให้ผู้สมัครระบุว่าเป็นผลงานร่วมกับผู้ใด และผู้สมัครมีส่วนร่วมในผลงานนั้นในสัดส่วนเท่าใด
คณะอนุกรรมการประเมินอาจให้ผู้สมัครแสดงหลักฐานอื่นใดที่จำเป็นเพิ่มเติมหรือให้ผู้สมัครมาชี้แจงก็ได้
ข้อ ๑๘ หลักเกณฑ์การประเมินความรู้ความสามารถและประสบการณ์ดีเด่น
ให้เป็นไปตามที่คณะอนุกรรมการประเมินกำหนด โดยให้มีคะแนนเต็ม ๑๐๐ ทั้งนี้ ในการประเมินให้คำนึงถึงประโยชน์ ความต้องการและความจำเป็นของศาลยุติธรรมเป็นสำคัญ
ข้อ ๑๙ ผู้สมัครต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ของคะแนนการประเมินความรู้ความสามารถและประสบการณ์ดีเด่น
จึงมีสิทธิเข้าสอบสัมภาษณ์
ข้อ ๒๐ การสอบสัมภาษณ์ให้กระทำโดยวิธีถามผู้สอบเรียงตัว
กำหนดเวลาประมาณคนละ ๒๕ นาที คะแนนเต็ม ๕๐ ให้คณะกรรมการทำการสอบสัมภาษณ์ผู้สอบ โดยพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่าง
ๆ เช่น ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ บุคลิกภาพ ท่วงทีวาจา ปฏิภาณ ไหวพริบ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
อุปนิสัย วุฒิภาวะทางอารมณ์ การแสดงออก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทัศนคติ จริยธรรมและคุณธรรม
การปรับตัวกับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ให้กรรมการแต่ละคนให้คะแนนแบ่งตามหัวข้อที่กำหนดในแบบการให้คะแนนการสอบสัมภาษณ์ท้ายระเบียบนี้
และให้ผู้สอบได้คะแนนการสอบสัมภาษณ์ตามค่าเฉลี่ยที่คำนวณจากคะแนนที่กรรมการคัดเลือกพิเศษแต่ละคนกำหนดให้
ข้อ ๒๑ ผู้สอบต้องได้คะแนนสอบสัมภาษณ์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ
๕๐ จึงจะถือว่าผ่านการสอบสัมภาษณ์
ข้อ ๒๒ ผู้สมัครต้องได้คะแนนการสอบข้อเขียน คะแนนการประเมินความรู้ความสามารถและประสบการณ์ดีเด่น
และคะแนนการสอบสัมภาษณ์รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ของคะแนนทั้งหมด จึงจะอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับการเสนอชื่อให้
ก.ต. พิจารณาคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
ให้คณะกรรมการเสนอบัญชีรายชื่อผู้ที่ผ่านเกณฑ์จากวรรคหนึ่งให้
ก.ต. พิจารณาคัดเลือก
ข้อ ๒๓ ให้ ก.ต. พิจารณาคัดเลือกผู้สมัครจากผลการสอบข้อเขียน
ผลการประเมินความรู้ความสามารถและประสบการณ์ดีเด่น ผลการสอบสัมภาษณ์ ผลการตรวจสอบคุณสมบัติ
รวมทั้งผลการรับฟังความคิดเห็น ทั้งนี้
ในการพิจารณาคัดเลือกให้คำนึงถึงประโยชน์ความต้องการและความจำเป็นของศาลยุติธรรมเป็นสำคัญ
ข้อ ๒๔ เมื่อคัดเลือกพิเศษเสร็จแล้ว ก.ต. จะประกาศรายชื่อผู้ที่อยู่ในเกณฑ์จะได้รับการบรรจุเรียงตามลำดับคะแนนไว้ ณ
สำนักงานศาลยุติธรรม
หมวด ๔
อัตราส่วนในการบรรจุ
ข้อ ๒๕ การบรรจุข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาตามความในมาตรา
๒๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ นั้น ให้บรรจุได้ในอัตราส่วนของจำนวนผู้ที่ทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาได้ไม่เกินหนึ่งในสาม
แต่ถ้าขณะใดไม่มีผู้ที่ทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาอยู่แล้ว
ก็ให้บรรจุได้ในอัตราส่วนของจำนวนผู้ที่สอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาได้ไม่เกินหนึ่งในสาม
แต่ถ้าขณะใดไม่มีผู้ที่สอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาอยู่แล้ว
ก็ให้บรรจุได้โดยไม่มีอัตราส่วน
ภายใต้บังคับวรรคหนึ่ง
การบรรจุข้าราชการตุลาการตามมาตรา ๒๙ (๑) (ก)
(ข) (ค) หรือ (ง) ซึ่งมีคุณวุฒิต่างกัน ให้บรรจุได้ในอัตราส่วนของผู้ที่อยู่ในเกณฑ์จะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาแต่ละคุณวุฒิตามที่
ก.ต. กำหนด
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕
สันติ ทักราล
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
สาขาวิชากฎหมายตามข้อ ๕
๒.
แบบการให้คะแนนการสอบสัมภาษณ์ในการคัดเลือกพิเศษ
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
๓.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๙ (๑) (ก)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (สนามพิเศษ
(แบบ ๑))
๔.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๙ (๑) (ข)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (สนามพิเศษ
(แบบ ๒))
๕.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๙ (๑) (ค)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (สนามพิเศษ
(แบบ ๓))
๖.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๙ (๑) (ง)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (สนามพิเศษ
(แบบ ๔))
๗.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๙ (๑) (ง)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (สนามพิเศษ
(แบบ ๕))
๘.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๙ (๑) (ง)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (สนามพิเศษ
(แบบ ๖))
๙.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๙ (๑) (ง)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (สนามพิเศษ
(แบบ ๗))
๑๐.
บัญชีรายละเอียดการว่าความคดีแพ่ง
๑๑.
บัญชีรายละเอียดการว่าความคดีอาญา
๑๒.
บัญชีรายละเอียดการว่าความคดีที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชา...................................
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๕ ก/หน้า ๑๖/๑๑ มกราคม ๒๕๔๕ |
561563 | ข้อบังคับประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. 2544 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ข้อบังคับประธานศาลฎีกา
ข้อบังคับประธานศาลฎีกา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
พ.ศ. ๒๕๔๔
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
ประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.)
ออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ข้อบังคับนี้ เรียกว่า ข้อบังคับประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
พ.ศ. ๒๕๔๔
ข้อ ๒[๑]
ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ในข้อบังคับนี้
การเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ"
หมายความว่า การเลือกตามวาระหรือการเลือกซ่อม แล้วแต่กรณี
การเลือกตามวาระ หมายความว่า
การเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้ดำรงตำแหน่งตามวาระ
การเลือกซ่อม หมายความว่า
การเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้ดำรงตำแหน่งแทนตำแหน่งที่วางลงก่อนครบวาระ
ข้อ ๔
เมื่อประธานศาลฎีกาได้มีคำสั่งให้มีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
ให้เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมเป็นผู้ดำเนินการจัดให้มีการเลือกตามวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับนี้
ข้อ ๕
ให้เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมจัดทำบัญชีรายชื่อและหมายเลขบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
โดยแยกเป็นข้าราชการตุลาการในแต่ละชั้นศาลตามมาตรา ๓๖ (๒) (ก) (ข) และ (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๖
ให้เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมจัดส่งบัญชีรายชื่อและหมายเลขบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ
๕ และส่งบัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
พร้อมทั้งแจ้งกำหนดวันสุดท้ายที่จะต้องส่งบัตรเลือกกลับให้ถึงสำนักงานศาลยุติธรรมรวมตลอดถึงกำหนดวัน
เวลา และสถานที่ที่จะทำการตรวจนับคะแนนไปยังผู้มีสิทธิเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
ทั้งนี้ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนกำหนดวันสุดท้ายที่จะต้องส่งบัตรเลือกให้ถึงสำนักงานศาลยุติธรรมไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
ในกรณีเลือกซ่อม
ให้แจ้งชั้นศาลและจำนวนตำแหน่งกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิที่ว่างไปด้วย
ก่อนกำหนดวันสุดท้ายที่จะต้องส่งบัตรเลือกให้ถึงสำนักงานศาลยุติธรรมเจ็ดวันถ้าผู้มีสิทธิเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิผู้ใดยังไม่ได้รับบัญชีรายชื่อและหมายเลขบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิพร้อมด้วยบัตรเลือก
ให้ผู้นั้นรายงานเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเพื่อดำเนินการให้ตนมีโอกาสใช้สิทธิเลือกภายในกำหนดวันสุดท้ายที่จะต้องส่งบัตรเลือกให้ถึงสำนักงานศาลยุติธรรม
ข้อ ๗[๒] บัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิให้เป็นไปตามแบบท้ายข้อบังคับนี้และบัตรทุกบัตรต้องมีลายมือชื่อของข้าราชการตุลาการคนหนึ่งซึ่งไม่เป็นบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิที่เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมแต่งตั้งโดยความยินยอมของข้าราชการตุลาการผู้นั้นและรองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมคนหนึ่ง
กำกับไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ ๘[๓] ให้ข้าราชการตุลาการซึ่งมีสิทธิเลือกและประสงค์จะลงคะแนน
เขียนหมายเลขผู้ซึ่งตนเลือกลงในบัตรเลือกด้วยตนเอง
แล้วใส่ซองที่เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมจัดส่งไปให้
ปิดผนึกส่งไปยังเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
ถ้าจะส่งทางไปรษณีย์ให้ส่งโดยลงทะเบียนให้ถึงสำนักงานศาลยุติธรรมในวันเวลาที่กำหนด
หรือมอบหมายให้หัวหน้าหน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้นำส่งก็ได้
ในกรณีดังกล่าวให้หัวหน้าหน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมมีหน้าที่รวบรวมบัตรเลือกของข้าราชการตุลาการในศาลและนำส่งบัตรเลือกกลับให้ถึงสำนักงานศาลยุติธรรมภายในวันเวลาที่กำหนด
ข้อ ๙
ให้มีคณะกรรมการรับและเก็บรักษาบัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิคณะหนึ่ง
ประกอบด้วยข้าราชการตุลาการสามคนซึ่งเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้แต่งตั้งเป็นกรรมการ
ให้คณะกรรมการรับและเก็บรักษาบัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ซึ่งสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมจำนวนไม่น้อยกว่าสองคน
ให้มีหน้าที่รับซองบัตรเลือกและจดเลขที่ของซองบัตรเลือกที่ได้รับ
เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าได้รับบัตรเลือกแล้ว
คณะกรรมการรับและเก็บรักษาบัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิมีหน้าที่ตรวจรับและรวบรวมบัตรเลือกที่ส่งมายังเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
รวมทั้งจัดทำบัญชีจำนวนบัตรเลือกของแต่ละชั้นศาลที่ได้รับมาในแต่ละวัน
โดยในแต่ละวันให้แยกบัตรเลือกของแต่ละชั้นศาลที่ได้รับบรรจุซองหรือห่อไว้
เพื่อมิให้บัตรเลือกของแต่ละชั้นศาลปะปนกัน
และเก็บบัตรเลือกทั้งหมดไว้ด้วยกันในซองใหญ่พร้อมกับปิดผนึกลงวันที่และลงลายมือชื่อคณะกรรมการรับและเก็บรักษาบัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิกำกับรอยปิดผนึก
แล้วเก็บรักษาเป็นเรื่องลับมากไว้ที่สำนักงานศาลยุติธรรม
และส่งมอบให้คณะกรรมการตรวจนับคะแนนในวันตรวจนับคะแนน[๔]
ข้อ ๑๐
ให้มีคณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิคณะหนึ่งประกอบด้วยเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
ผู้พิพากษาศาลฎีกา ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ และผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ชั้นศาลละสองคน
ซึ่งประธานศาลฎีกาเป็นผู้คัดเลือก มีหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
การตรวจนับคะแนนและประกาศผลการเลือกโดยมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการช่วยดำเนินการได้
ข้อ
๑๑[๕] ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนคณะหนึ่ง
ประกอบด้วยข้าราชการตุลาการซึ่งไม่เป็นบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่าสิบเอ็ดคนเป็นอนุกรรมการ
ให้คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนเลือกอนุกรรมการตรวจนับคะแนนคนหนึ่งเป็นประธาน
ถ้าประธานไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนเลือกอนุกรรมการตรวจนับคะแนนคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานแทน
การปฏิบัติหน้าที่ตรวจนับคะแนนในแต่ละชั้นศาล
ต้องมีอนุกรรมการตรวจนับคะแนนอยู่พร้อมกันไม่น้อยกว่าสี่คน
ข้อ ๑๒
คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) รักษาความสงบเรียบร้อยในสถานที่ตรวจนับคะแนน
(๒) ตรวจสอบบัญชีรายชื่อและหมายเลขบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิและบัญชีรายชื่อข้าราชการตุลาการผู้มีสิทธิเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(๓)
ตรวจสอบบัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ และการอื่นใดอันเกี่ยวกับการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
เพื่อให้การเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
บริสุทธิ์ และยุติธรรม
(๔)
ดำเนินการเกี่ยวกับการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตรวจนับคะแนนและประกาศผลการตรวจนับคะแนนตามที่กำหนดในข้อบังคับนี้
ข้อ ๑๓
ในการตรวจนับคะแนน ให้คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนเปิดซองบัตรเลือกและให้คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนวินิจฉัยว่าบัตรเลือกนั้นเป็นบัตรดี
บัตรเสียบางส่วนหรือบัตรเสีย
แล้วดำเนินการนับคะแนนสำหรับบัตรดีและบัตรเสียบางส่วนเฉพาะส่วนที่ไม่เสีย
บัตรเสียบางส่วนหรือบัตรเสีย
ให้อนุกรรมการตรวจนับคะแนนสลักหลังว่า เสียบางส่วน หรือ เสีย แล้วแต่กรณี
แล้วให้อนุกรรมการตรวจนับคะแนนไม่น้อยกว่าสี่คนลงลายมือชื่อกำกับไว้
เมื่อการตรวจนับคะแนนสิ้นสุดลงแล้ว
ให้คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนเก็บบัตรเลือกที่ใช้นับคะแนนโดยแยกบัตรเสียบางส่วนและบัตรเสียบรรจุซองหรือห่อไว้ต่างหากเพื่อมิให้ปะปนกับบัตรเลือกอื่น
และเก็บบัตรเลือกที่ใช้นับคะแนนทั้งหมดไว้ด้วยกันในหีบโดยปิดหีบใส่กุญแจประจำครั่งทับรูกุญแจไว้
หากเป็นหีบบัตรเลือกที่มีช่อง ให้เอากระดาษปิดทับช่องไว้โดยลงลายมือชื่อคณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนไว้บนกระดาษนั้นด้วย
และเก็บรักษาไว้ที่สำนักงานศาลยุติธรรม
เพื่อส่งมอบให้คณะกรรมการทำลายบัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิดำเนินการต่อไปตามข้อ
๑๘
การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม ให้กระทำในวัน
เวลา และสถานที่ที่กำหนดในข้อ ๖ วรรคหนึ่ง
และต้องกระทำโดยเปิดเผยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วมสังเกตการณ์ได้และให้กระทำจนเสร็จในรวดเดียว
ข้อ
๑๔[๖] บัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิต่อไปนี้ให้ถือเป็นบัตรเสียและไม่ให้นับคะแนน
(๑)
ในกรณีการเลือกตามวาระ
(ก)
บัตรที่มิใช่บัตรฉบับที่เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมส่งไปให้
หรือบัตรที่ไม่มีลายมือชื่อตามข้อ ๗ กำกับเป็นหลักฐาน
(ข)
บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเกินจำนวนที่กฎหมายกำหนด
(ค)
บัตรที่มิได้เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเลย
(ง)
บัตรที่เขียนหมายเลขอื่นที่ไม่มีในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหมด
(จ)
บัตรที่ผู้เลือกมิได้เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหมดด้วยตนเอง
(ฉ)
บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
ซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการในแต่ละชั้นศาลตามมาตรา ๓๖ (๒) (ก) (ข) และ (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยผู้เลือกไม่มีสิทธิเลือกทั้งหมด
(ช)
บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเลอะเลือนหรือไม่ชัดเจนทั้งหมดจนไม่สามารถทราบเจตนาอันแท้จริงของผู้เลือกได้ว่าลงคะแนนให้แก่ผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิหมายเลขใด
(ซ)
บัตรที่ไปถึงสำนักงานศาลยุติธรรมพ้นกำหนดวันสุดท้ายที่เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมกำหนดให้ส่งตามข้อ
๖ วรรคหนึ่ง
(๒)
ในกรณีการเลือกซ่อม
(ก)
บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเกินจำนวนตำแหน่งที่ว่าง
(ข)
บัตรที่มีกรณีตาม (๑) (ก) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) หรือ (ซ)
ข้อ
๑๕[๗] บัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิต่อไปนี้ให้ถือเป็นบัตรเสียบางส่วน
ไม่ให้นับคะแนนส่วนที่เสียและให้นับคะแนนส่วนที่ไม่เสียเท่านั้น
(๑)
บัตรที่เขียนหมายเลขอื่นที่ไม่มีในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิปนกับหมายเลขที่มีในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(๒)
บัตรที่ผู้เลือกมิได้เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิคนใดด้วยตนเอง
(๓)
บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการในแต่ละชั้นศาลตามมาตรา
๓๖ (๒) (ก) (ข) และ (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยผู้เลือกไม่มีสิทธิเลือกเป็นบางคน
(๔)
บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิซ้ำกับหมายเลขที่เขียนไว้ก่อนแล้ว
(๕)
บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิบางหมายเลขเลอะเลือนหรือไม่ชัดเจนจนไม่สามารถทราบเจตนาอันแท้จริงของผู้เลือกได้ว่าลงคะแนนให้แก่ผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิหมายเลขใด
ข้อ ๑๖
ในการเลือกตามวาระนั้น ให้ข้าราชการตุลาการในแต่ละชั้นศาลตาม มาตรา ๓๖ (๒)
(ก) (ข) และ (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.
๒๕๔๓ ซึ่งได้คะแนนมากตามลำดับลงมาตามจำนวนที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติแห่งมาตราดังกล่าวเป็นผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละชั้นศาล
ในกรณีที่ผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิหลายคนได้คะแนนเท่ากันจนเป็นเหตุให้ไม่สามารถเรียงลำดับผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามจำนวนกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิที่จะมีได้
ให้ทำการจับสลาก เพื่อให้ได้ผู้ได้รับเลือกครบตามที่จะพึงมีได้
การจับสลาก ให้เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้จับโดยเปิดเผยและต่อหน้าอนุกรรมการตรวจนับคะแนนไม่น้อยกว่าสามคน
เมื่อทราบผลผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว
ให้ประธานอนุกรรมการตรวจนับคะแนนประกาศชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิต่อหน้าผู้ซึ่งอยู่
ณ สถานที่ที่ทำการตรวจนับคะแนนแล้วปิดประกาศรายชื่อบุคคลดังกล่าวไว้ ณ
สถานที่นั้นด้วย และให้คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนรีบรายงานผลการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิต่อคณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
พร้อมทั้งส่งประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิไปยังเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมภายในวันนั้นหรือวันถัดจากวันทราบผลนั้นเป็นอย่างช้า
ในกรณีที่เป็นการเลือกซ่อม ให้นำความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง
วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๗ ให้เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมรายงานผลการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิต่อประธานศาลฎีกาเพื่อดำเนินการประกาศชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๓๖ (๒) (ก) (ข) และ (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ต่อไป
ข้อ ๑๘
ให้มีคณะกรรมการทำลายบัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิคณะหนึ่งประกอบด้วยรองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมคนหนึ่งซึ่งเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมมอบหมายเป็นประธานกรรมการและข้าราชการตุลาการอีกสองคนซึ่งเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมแต่งตั้งเป็นกรรมการเพื่อดำเนินการทำลายบัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิด้วยเครื่องทำลายเอกสารเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ประธานศาลฎีกาประกาศชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
ข้อ ๑๙
ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามข้อบังคับนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๔
สันติ ทักราล
ประธานศาลฎีกา
[เอกสารแนบท้าย]
๑.[๘] บัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ข้อบังคับประธานศาลฎีกา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๔๗[๙]
ข้อบังคับประธานศาลฎีกา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ (ฉบับที่
๓) พ.ศ. ๒๕๕๑[๑๐]
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกแบบบัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิท้ายข้อบังคับประธานศาลฎีกา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. ๒๕๔๔
และให้ใช้แบบบัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิท้ายข้อบังคับนี้แทน
ในกรณีเลือกซ่อม
ให้จำนวนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกในแบบบัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิของแต่ละชั้นศาลเท่ากับจำนวนตำแหน่งกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิที่ว่าง
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๘/ตอนที่ ๙๕ ก/หน้า ๑/๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๔
[๒] ข้อ ๗
แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗
[๓] ข้อ ๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๔] ข้อ ๙ วรรคสาม
แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๕] ข้อ ๑๑
แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๖] ข้อ ๑๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๗] ข้อ ๑๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๘] บัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับประธานศาลฎีกา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ (ฉบับที่
๓) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๑๗ ก/หน้า ๑/๒๗ เมษายน ๒๕๔๗
[๑๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๓๔ ก/หน้า ๔/๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ |
316598 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. 2545 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก
ผู้สมัครทดสอบความรู้
หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
พ.ศ. ๒๕๔๕
โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก
ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก
ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ในระเบียบนี้
ก.ต. หมายความว่า คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ผู้สมัคร หมายความว่า ผู้สมัครสอบคัดเลือก
ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครคัดเลือกพิเศษ
คณะกรรมการแพทย์ หมายความว่า คณะกรรมการแพทย์ซึ่ง ก.ต.
กำหนดตามความในมาตรา ๒๖ (๑๑)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๔ ให้ผู้สมัครยื่นใบสมัครตามแบบที่
ก.ต. กำหนดท้ายระเบียบนี้ด้วยตนเอง ต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับสมัครซึ่งได้กำหนดไว้ในประกาศสอบคัดเลือก
ประกาศทดสอบความรู้ หรือประกาศคัดเลือกพิเศษ
ผู้สมัครที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นจ่าศาล รองจ่าศาล
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดี พนักงานคุมประพฤติของศาลยุติธรรม
พนักงานอัยการ หรือนายทหารเหล่าพระธรรมนูญ
ให้ใช้หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๕
เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้รับสมัครในข้อ ๔ ได้รับใบสมัครไว้แล้ว
ให้ผู้สมัครไปรับการตรวจร่างกายและจิตใจจากคณะกรรมการแพทย์
ตามวันเวลาและสถานที่ที่ระบุโดยเจ้าหน้าที่ผู้รับสมัคร
คณะกรรมการแพทย์จะตรวจร่างกายและจิตใจของผู้สมัครเพื่อให้ได้บุคคลที่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการตุลาการ
ดังนี้
(๑) ตรวจร่างกายทั่วไป
(๒) ตรวจทางห้องปฏิบัติการ ประกอบด้วย การตรวจปัสสาวะ
ตรวจเลือด และเอ็กซเรย์ เพื่อตรวจโรคทั่วไป และโรคตามที่ระบุไว้ในระเบียบของ ก.ต.
(๓) ตรวจสภาพจิตใจ
ข้อ ๖ ให้
ก.ต. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัคร โดยให้มีอำนาจกำหนดวิธีการเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัคร
ข้อ ๗
ให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครดำเนินการ ดังนี้
๑. ก่อนประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบข้อเขียน
(ก) สอบถามคุณสมบัติของผู้สมัครไปยังผู้รับรอง
ผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลอื่นใดตามที่เห็นสมควร
(ข)
ส่งบัญชีรายชื่อผู้สมัครทั้งหมดไปยังสภาทนายความเพื่อตรวจสอบว่าเป็นหรือเคยเป็นทนายความหรือเคยถูกกล่าวหาว่าประพฤติผิดมรรยาททนายความตามกฎหมายว่าด้วยทนายความ
หรือไม่
(ค)
เรียกผู้สมัครมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมตามที่เห็นสมควรเพื่อประกอบการพิจารณา
๒.
ภายหลังประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนสำหรับการสอบคัดเลือกหรือการทดสอบความรู้
และภายหลังประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านการประเมินความรู้ความสามารถและประสบการณ์สำหรับการคัดเลือกพิเศษ
(ก)
ตรวจสอบประวัติบุคคลไปยังหน่วยงานภายนอกที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา เช่น
สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
กรมบังคับคดี หรือกรมคุมประพฤติ
(ข) ตรวจสอบความประพฤติและลายพิมพ์นิ้วมือไปยังกองทะเบียนประวัติอาชญากร
สำนักงานวิทยาการตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(ค)
ประกาศบัญชีรายชื่อผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนสำหรับการสอบคัดเลือกหรือการทดสอบความรู้
และประกาศบัญชีรายชื่อผู้ที่ผ่านการประเมินความรู้ความสามารถและประสบการณ์สำหรับการคัดเลือกพิเศษ
ตามวิธีการที่คณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครกำหนด
เพื่อให้บุคคลทั่วไปให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับคุณสมบัติ หรือความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งข้าราชการตุลาการของผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนหรือการประเมินดังกล่าวโดยให้มีหนังสือถึงเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมภายใน
๑๕ วัน นับแต่วันที่ประกาศเป็นต้นไป เพื่อเสนอคณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครและคณะทำงานกลั่นกรองคุณสมบัติผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียน
ทั้งนี้ ขอให้ผู้ที่ประสงค์จะให้ข้อคิดเห็นระบุชื่อ
นามสกุล และที่อยู่จริงที่สามารถติดต่อได้
ให้ประธานอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครแต่งตั้งคณะทำงานกลั่นกรองคุณสมบัติผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนหรือการประเมินทำหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติม
เพื่อกลั่นกรองคุณสมบัติของผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนหรือการประเมินอีกครั้งก่อนบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ
ข้อ ๘
เมื่อได้รับข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัคร และรายงานผลการตรวจร่างกายและจิตใจของคณะกรรมการแพทย์แล้ว
ให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครพิจารณาแล้วเสนอความเห็นไปยัง ก.ต.
ข้อ ๙ ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕
สันติ ทักราล
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
[เอกสารแนบท้าย]
๑. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครตามความในมาตรา
๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (ตรวจสอบคุณสมบัติฯ
(แบบ ๑))
๒. ใบสมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
พุทธศักราช ............
๓.
ใบสมัครทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
พุทธศักราช ............
๔. ใบสมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
พุทธศักราช ............
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๕ ก/หน้า ๒๑/๑๑ มกราคม ๒๕๔๕ |
647433 | ข้อบังคับการประชุม ก.ต. พ.ศ. 2543 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ข้อบังคับ
ข้อบังคับ
การประชุม ก.ต. พ.ศ.
๒๕๔๓
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๕ วรรคแปด
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ ก.ต.
ออกข้อบังคับการประชุมของ ก.ต. ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ข้อบังคับนี้เรียกว่า ข้อบังคับการประชุม ก.ต. พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๒[๑]
ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ให้ยกเลิกข้อบังคับ ก.ต. ว่าด้วยระเบียบการประชุมและการลงมติ พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๔
ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามข้อบังคับนี้
หมวด ๑
ประธานในที่ประชุม
อำนาจและหน้าที่ของประธาน ก.ต.
และหน้าที่ของเลขานุการ
ก.ต.
ข้อ ๕
ให้ประธาน ก.ต. เป็นประธานในที่ประชุม ก.ต.
ในกรณีที่ประธาน ก.ต. ไม่อาจมาประชุมได้ ไม่อยู่ในที่ประชุม
หรือเมื่อตำแหน่งประธานศาลฎีกาว่างลงหรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
ข้อ ๖
ให้ผู้ทำการแทนประธานศาลฎีกาตามที่กำหนดไว้ในพระธรรมนูญศาลยุติธรรมทำหน้าที่กรรมการตุลาการศาลยุติธรรมในระหว่างที่ตำแหน่งประธานศาลฎีกาว่างลงหรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้
และมีอำนาจหน้าที่ตามข้อ ๘ (๑) (๒) และตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้ แต่จะทำหน้าที่เป็นประธาน
ก.ต. ไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับเลือกจากที่ประชุม ก.ต. ตามข้อ ๕ วรรคสอง
ข้อ ๗
ให้ผู้ได้รับเลือกเป็นประธานในที่ประชุมตามข้อ ๕ วรรคสอง มีอำนาจและหน้าที่ตามข้อ
๘ (๓) (๔) (๕) และ (๖)
ข้อ ๘ ประธาน
ก.ต. มีอำนาจและหน้าที่ดังนี้
(๑) เรียกประชุม ก.ต. หรือสั่งให้เลขานุการ ก.ต.
เรียกหรือนัดประชุม ก.ต.
(๒) สั่งจัดระเบียบวาระการประชุม ก.ต.
(๓) ควบคุมและดำเนินการประชุมให้เป็นไปโดยเรียบร้อย
(๔) รักษาความสงบเรียบร้อยในที่ประชุม ก.ต.
ตลอดถึงบริเวณที่ประชุม ก.ต.
(๕) แต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการตามมติของที่ประชุม
(๖)
อำนาจและหน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้
ข้อ ๙
ให้เลขานุการ ก.ต. เป็นเลขานุการในที่ประชุม ก.ต. โดยมีหน้าที่ดังนี้
(๑) ดำเนินการเรียกหรือนัดประชุม ก.ต.
(๒) จัดเตรียมและจัดเก็บรักษาสรรพเอกสารที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของ
ก.ต. ในที่ประชุม
(๓) เสนอให้มีการเลือกประธานในที่ประชุมตามข้อ ๕ วรรคสอง
(๔) ช่วยประธานในที่ประชุมในการนับคะแนนเสียง
(๕) รับผิดชอบและควบคุมการทำรายงานการประชุม
(๖)
เสนอเรื่องให้คณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาลที่ ก.ต. แต่งตั้งเพื่อปฏิบัติการและดำเนินการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
(๗) แจ้งหรือยืนยันมติของที่ประชุมไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง
(๘) ปฏิบัติการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับ
หรือตามที่ประธานในที่ประชุม ก.ต. มอบหมาย
หมวด ๒
การประชุม ก.ต.
ข้อ ๑๐
ในการประชุม ก.ต. ผู้ที่จะอยู่ในที่ประชุมได้ก็เฉพาะแต่ ก.ต. เลขานุการก.ต.
และผู้ที่ได้รับอนุญาตจากที่ประชุม
ข้อ ๑๑
การประชุม ก.ต. ย่อมเป็นไปตามกำหนดที่ประธาน ก.ต. เรียกประชุมไว้แต่ประธาน
ก.ต. จะสั่งงดการประชุมตามที่เรียกหรือนัดไว้แล้วก็ได้เมื่อเห็นว่าไม่มีเรื่องที่สมควรจะบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุม
ในกรณีที่ประธาน ก.ต.
หรือผู้ทำการแทนประธานศาลฎีกาเห็นสมควรเรียกประชุมเป็นพิเศษก็ให้เรียกประชุมได้
กรรมการตุลาการศาลยุติธรรมจำนวนไม่น้อยกว่าสี่คนอาจเข้าชื่อกันเรียกประชุมได้
โดยแจ้งให้เลขานุการ ก.ต. ออกหนังสือนัดประชุม แต่ถ้าพ้นกำหนดนัดประชุมไปสามสิบนาทีแล้วยังไม่ครบองค์ประชุม
ให้งดการประชุมนั้น
กรรมการตุลาการศาลยุติธรรมจำนวนไม่น้อยกว่าสี่คนอาจขอให้บรรจุเรื่องใดเข้าในระเบียบวาระการประชุมครั้งใดก็ได้
เมื่อมีการขอให้บรรจุเรื่องใดเข้าในระเบียบวาระการประชุมตามวรรคก่อน
ให้ประธาน ก.ต. บรรจุเรื่องนั้นเข้าในระเบียบวาระการประชุม
ข้อ ๑๒
การนัดประชุมต้องทำเป็นหนังสือและให้นัดล่วงหน้าไม่น้อยกว่าห้าวันแต่ประธาน
ก.ต. หรือผู้ทำการแทนประธานศาลฎีกาจะนัดเร็วกว่านั้นหรือนัดประชุมโดยวิธีอื่นใดก็ได้
เมื่อเห็นว่าเป็นเรื่องด่วน เรื่องจำเป็น หรือมีเหตุสมควรประการอื่น
ข้อ ๑๓
ให้เลขานุการ ก.ต. ส่งระเบียบวาระการประชุมกับเอกสารที่เกี่ยวข้องไปพร้อมกับหนังสือนัดประชุม
แต่ประธาน ก.ต. หรือผู้ทำการแทนประธานศาลฎีกาจะให้ส่งเพิ่มเติมอีกในเวลาใดก็ได้ตามที่เห็นว่าจำเป็นหรือสมควร
ข้อ ๑๔
การจัดระเบียบวาระการประชุมให้จัดลำดับ ดังนี้
(๑) เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
(๒) รับรองรายงานการประชุม
(๓) เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
(๔) เรื่องที่ค้างพิจารณา
(๕) เรื่องที่เสนอใหม่
(๖) เรื่องอื่น ๆ
ในกรณีที่ประธาน ก.ต. หรือผู้ทำการแทนประธานศาลฎีกาเห็นสมควรจะจัดลำดับระเบียบวาระการประชุมเป็นอย่างอื่นก็ได้
ข้อ ๑๕
ให้ผู้มาประชุมลงลายมือชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มาประชุมที่จัดเตรียมไว้ก่อนเข้าประชุมทุกครั้ง
กรรมการผู้ใดไม่อาจมาประชุมตามที่กำหนด
ให้ยื่นใบลาต่อประธาน ก.ต. ก่อนเริ่มการประชุม และเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว
ไม่ให้ถือว่ากรรมการผู้นั้นขาดการประชุมสำหรับการประชุมครั้งนั้น
ข้อ ๑๖
การประชุมของ ก.ต. ต้องมีกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมทั้งหมด
จึงจะเป็นองค์ประชุม
กรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณา
ห้ามมิให้ผู้นั้นร่วมประชุมและลงมติในเรื่องนั้น
แต่หากผู้นั้นได้เข้าประชุมอยู่ก่อนแล้ว
และการไม่มีสิทธิร่วมประชุมและลงมตินั้นเป็นการชั่วคราวก็ให้นับผู้นั้นเป็นองค์ประชุมในเรื่องนั้นด้วย
เมื่อพ้นกำหนดเริ่มประชุมไปสามสิบนาทีแล้ว
จำนวนกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมยังไม่ครบองค์ประชุม ประธาน ก.ต.
หรือผู้ทำการแทนประธานศาลฎีกาจะสั่งให้เลื่อนการประชุมไปก็ได้
ข้อ ๑๗
ในการประชุม ก.ต. ให้ที่ประชุมพิจารณาไปตามลำดับที่จัดไว้ในระเบียบวาระการประชุมทุกเรื่อง
การเปลี่ยนลำดับระเบียบวาระการประชุม การเลื่อนการประชุมหรือการปิดประชุม
หรือเลิกประชุมก่อนเสร็จสิ้นระเบียบวาระการประชุมจะกระทำได้โดยความเห็นชอบของที่ประชุมเท่านั้น
ประธานในที่ประชุมมีอำนาจปรึกษาที่ประชุมในปัญหาใด ๆ
หรือสั่งพักการประชุมได้ตามที่เห็นสมควร
หมวด ๓
การอภิปราย การลงมติ
และการตีความ
ข้อ ๑๘[๒] ในการประชุม ก.ต.
ให้กรรมการตุลาการศาลยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการประชุมโดยอิสระ เช่น
การอภิปราย แสดงความคิดเห็น ลงมติ และตีความ ทั้งนี้ ให้รวมถึงเลขานุการ ก.ต. ผู้ช่วยเลขานุการ
ก.ต. ตลอดจนบุคคลซึ่งที่ประชุมอนุญาต
ที่จะกล่าวถ้อยคำใดในทางแถลงข้อเท็จจริงและแสดงความคิดเห็นด้วยโดยอนุโลม
ในกรณีที่มีการอภิปรายไปในทางที่เป็นผลร้ายแก่บุคคลใด
ที่ประชุมจะลงมติไปในทางที่เป็นผลร้ายแก่บุคคลนั้นทันทีมิได้
จะต้องจัดให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนั้น
รวมทั้งให้โอกาสบุคคลนั้นชี้แจงข้อเท็จจริงก่อน เว้นแต่จะปรากฏพยานหลักฐานเป็นที่ชัดแจ้งอยู่แล้ว
ข้อ ๑๙
การลงมติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน
และห้ามมิให้งดออกเสียง ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
การออกเสียงลงมติให้กระทำโดยเปิดเผย
ห้ามมิให้กระทำโดยวิธีการลงคะแนนลับ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติให้กระทำได้
ข้อ ๒๐
ประธานในที่ประชุมจะสั่งให้รวมหรือแยกประเด็นในการพิจารณาหรือลงมติก็ได้
เว้นแต่ที่ประชุมเห็นเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๒๑
ในกรณีที่มีการพิจารณาใหม่ของ ก.ต. ตามมาตรา ๕๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ หากกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมเสนอรายชื่อบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป
และไม่มีผู้ใดได้คะแนนเสียงถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
ให้มีการลงมติใหม่โดยให้ตัดชื่อผู้ที่ได้คะแนนน้อยที่สุดออก
แล้วให้มีการลงคะแนนใหม่จนกว่าจะได้ผู้ซึ่งได้คะแนนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
ในกรณีที่มีผู้ได้รับคะแนนเสียงน้อยสุดตามวรรคหนึ่งเท่ากันมากกว่าหนึ่งคน
ให้ก.ต. ลงมติในระหว่างผู้ได้รับคะแนนเสียงเท่ากันอีกครั้งหนึ่งก่อน
และให้นำผู้ที่ได้รับคะแนนมากในการลงมตินั้นไปดำเนินการตามวรรคหนึ่งต่อไป
ข้อ ๒๒
ถ้ามีปัญหาที่จะต้องตีความข้อบังคับนี้ ให้เป็นอำนาจของที่ประชุมที่จะวินิจฉัยและเมื่อที่ประชุมลงมติวินิจฉัยเป็นประการใดแล้ว
ให้ถือว่าคำวินิจฉัยนั้นเป็นเด็ดขาด
การขอให้ที่ประชุมวินิจฉัยตามวรรคหนึ่ง
อาจกระทำได้โดยประธานในที่ประชุมกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมคนหนึ่งคนใด
หรือเลขานุการ ก.ต. ขอปรึกษา
หมวด ๔
การเผยแพร่รายงานการประชุม
ข้อ ๒๓
ให้เลขานุการ ก.ต. จัดทำรายงานการประชุมของ ก.ต. โดยบันทึกประเด็นที่ประชุมพิจารณา
พร้อมด้วยความเห็นทั้งที่เป็นความเห็นของเสียงข้างมากและความเห็นของเสียงข้างน้อย
ข้อสังเกตและมติของ ก.ต.
ข้อ ๒๔
ให้ทำสำเนารายงานการประชุมของ ก.ต. ซึ่งที่ประชุมรับรองแล้วไว้อย่างน้อยสองชุด
ณ ที่ทำการสำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อเผยแพร่ต่อข้าราชการตุลาการ
รายงานการประชุมของ ก.ต.
ทุกครั้งจะต้องมีรายชื่อกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมที่มาประชุม ที่ลาประชุม
และที่ขาดประชุม
ข้อ ๒๕ เมื่อ
ก.ต. ได้รับรองรายงานการประชุมครั้งใดแล้ว ให้ประธานศาลฎีกาหรือประธานในที่ประชุมของครั้งนั้นลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน
รายงานการประชุมของ ก.ต. ที่ได้รับรองแล้ว
แต่ประธานศาลฎีกาหรือประธานในที่ประชุมของครั้งนั้นยังมิได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน
หรือรายงานการประชุมของ ก.ต. ที่ยังมิได้มีการรับรองเพราะเหตุที่วาระของ ก.ต.
สิ้นสุดลง ให้เลขานุการ ก.ต. บันทึกเหตุนั้นไว้ และเป็นผู้รับรองความถูกต้องของรายงานการประชุมนั้น
ข้อ ๒๖
การงดเผยแพร่รายงานการประชุมทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ในกรณีที่อาจเป็นที่เสียหายแก่ทางราชการหรืออาจกระทบกระเทือนต่อสิทธิของบุคคลใด
ให้เป็นไปตามมติของที่ประชุมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
แต่ทั้งนี้ต้องจัดทำสำเนารายงานการประชุมของ ก.ต. ในคราวนั้นให้แก่ข้าราชการตุลาการผู้มีส่วนได้เสียเมื่อข้าราชการตุลาการผู้นั้นร้องขอ
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
จเร อำนวยวัฒนา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ข้อบังคับการประชุม
ก.ต. (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒[๓]
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๘๔ ก/หน้า ๒๗/๑๑ กันยายน ๒๕๔๓
[๒] ข้อ ๑๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับการประชุม ก.ต. (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒
[๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๙๖ ก/หน้า ๓๔/๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ |
647437 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยองค์ประกอบ หลักเกณฑ์ วิธีการแต่งตั้ง และวิธีดำเนินงานของ คณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 (ฉบับ Update ณ วันที่ 01/12/2543)
| ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยองค์ประกอบ
หลักเกณฑ์ วิธีการแต่งตั้ง และวิธีดำเนินงานของ
คณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓
โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบว่าด้วยองค์ประกอบ หลักเกณฑ์
วิธีการแต่งตั้ง และวิธีดำเนินงานของคณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๗ วรรคสี่
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยองค์ประกอบ
หลักเกณฑ์ วิธีการแต่งตั้ง และวิธีดำเนินงานของคณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.
๒๕๔๓
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วัดถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ในระเบียบนี้
คณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม หมายความว่า
คณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาล
และคณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมวิสามัญ
คณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาล หมายความว่า
คณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำศาลฎีกา
คณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำศาลอุทธรณ์
และคณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำศาลชั้นต้น
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล หมายความว่า
คณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาล
อ.ก.ต. วิสามัญ หมายความว่า
คณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมวิสามัญ
ข้อ ๔ ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑
คณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาล
ส่วนที่ ๑
องค์ประกอบ
ข้อ ๕ ให้มี
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล ชั้นศาลละหนึ่งคณะ แต่ละคณะประกอบด้วยอนุกรรมการซึ่ง ก.ต. เป็นผู้แต่งตั้งจากข้าราชการตุลาการในแต่ละชั้นศาล
ดังนี้
(๑) ศาลฎีกา
ให้แต่งตั้งจากข้าราชการตุลาการที่ดำรงตำแหน่งในศาลฎีกาในตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา
จำนวนเจ็ดคน
(๒) ศาลอุทธรณ์
ให้แต่งตั้งจากข้าราชการตุลาการที่ดำรงตำแหน่งในศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาคในตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์หรือผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค
จำนวนเจ็ดคน
(๓) ศาลชั้นต้น ให้แต่งตั้งจากข้าราชการตุลาการที่ดำรงตำแหน่งในศาลชั้นต้นซึ่งได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตั้งแต่ชั้น
๒ ขึ้นไป และมิใช่ข้าราชการตุลาการที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส จำนวนเจ็ดคน
สำหรับข้าราชการตุลาการซึ่งดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามมาตรา
๑๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
หรือผู้ซึ่งได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการในศาลอื่นตามมาตรา ๒๑
แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ให้มีสิทธิได้รับแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาลในชั้นศาลซึ่งข้าราชการตุลาการผู้นั้นมีเงินเดือนอยู่ในชั้นศาลนั้นในขณะที่มีการแต่งตั้ง
ส่วนที่ ๒
หลักเกณฑ์
และวิธีการแต่งตั้ง
ข้อ ๖
ในการลงมติแต่งตั้งอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาลตามข้อ ๕ จะต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
ข้อ ๗
ให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งตามข้อ ๖ เข้ารับหน้าที่นับแต่วันที่ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประกาศรายชื่อเป็นต้นไป
ข้อ ๘
อนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาลต้องไม่เป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
กรรมการบริหารศาลยุติธรรม หรือกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรมในคราวเดียวกัน
ข้อ ๙ อนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาลมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี
อนุกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งใหม่ได้
แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้
ข้อ ๑๐
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามข้อ ๙ อนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาล
พ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) กระทำผิดวินัยนับแต่วันที่มีคำสั่งลงโทษทางวินัย
(๔) ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส
หรือพ้นจากตำแหน่งข้าราชการตุลาการหรือพ้นจากตำแหน่งข้าราชการตุลาการในชั้นศาลที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในเวลาที่ได้รับแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการ
(๕) ขาดคุณสมบัติตามข้อ ๘
(๖) ถูกถอดถอนจากตำแหน่งตามข้อ ๑๑
ในกรณีเป็นที่สงสัยเกี่ยวกับการพ้นจากตำแหน่งของอนุกรรมการ
ให้ ก.ต. เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
ข้อ ๑๑
อนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาลผู้ใดมีพฤติการณ์ไม่เหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่อนุกรรมการ
ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ข้อบังคับ คุณธรรมและจริยธรรม หรือกระทำการอันมีมูลเป็นความผิดทางวินัย
ถูกกล่าวหาหรือกรณีเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดทางวินัย ก.ต. มีอำนาจถอดถอนอนุกรรมการผู้นั้นออกจากตำแหน่งได้
ในการพิจารณาถอดถอนอนุกรรมการตามวรรคหนึ่ง
ให้ผู้ที่ถูกพิจารณาถอดถอนมีสิทธิเข้าชี้แจงข้อเท็จจริงต่อ ก.ต. และมติ ก.ต.
ที่ให้ถอดถอนผู้ใดออกจากตำแหน่งอนุกรรมการจะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
ในระหว่างการพิจารณาถอดถอนอนุกรรมการตามวรรคสอง
อนุกรรมการผู้นั้นจะปฏิบัติหน้าที่ใน อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลนั้นไม่ได้
ข้อ ๑๒
ในกรณีที่ต้องมีการแต่งตั้งอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาลแทนตำแหน่งที่ว่างลงก่อนครบวาระ
ให้นำความในข้อ ๕ และข้อ ๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลมและให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งได้เท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
การดำรงตำแหน่งของอนุกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ
หรือที่ดำรงตำแหน่งแทน หากมีกำหนดเวลาไม่ถึงหนึ่งปี
ไม่ให้นับเป็นวาระการดำรงตำแหน่งตามข้อ ๙
ส่วนที่ ๓
วิธีดำเนินงาน
ข้อ ๑๓
ในการปฏิบัติหน้าที่ของ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล ให้อนุกรรมการที่มีอาวุโสสูงสุดในแต่ละคณะเป็นประธาน
แต่ถ้าต้องมีการประชุมร่วมกันระหว่าง อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล ก็ให้อนุกรรมการที่มีอาวุโสสูงสุดเป็นประธานของที่ประชุมร่วมและให้นำบทบัญญัติในหมวดนี้ไปใช้บังคับแก่การประชุมร่วมโดยอนุโลม
ให้ประธาน อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลเป็นผู้เรียกประชุม อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลนั้น และในกรณีเป็นการประชุมร่วมกันระหว่าง อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล
ก็ให้ประธาน อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลผู้มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้เรียกประชุม
ให้ผู้อำนวยการกองงานคณะกรรมการตุลาการเป็นเลขานุการของ
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล
และเพื่อการนี้เลขานุการจะแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานส่งเสริมงานตุลาการคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการก็ได้
ข้อ ๑๓/๑[๒] อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลมีอำนาจหน้าที่กลั่นกรองเสนอความเห็นเกี่ยวกับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
การโยกย้ายแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การลงโทษข้าราชการตุลาการ หรือกรณีอื่น ๆ
ตามที่กฎหมายบัญญัติในชั้นศาลนั้น ต่อ ก.ต. เพื่อประกอบการพิจารณา
โดยดำเนินการตามวิธีการที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ และตามที่ ก.ต. มีมติ หรือมอบหมาย
ข้อ ๑๔
ในการเสนอเรื่องต่อ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล หากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการตุลาการในชั้นศาลใด
ก็ให้เลขานุการ ก.ต. เสนอต่อ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลนั้น และในกรณีที่ไม่มีกฎหมายหรือมติ
ก.ต. กำหนดเป็นอย่างอื่น ให้ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลพิจารณาทำความเห็นให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันทำการนับแต่ได้รับเรื่องจากเลขานุการ
ก.ต. เว้นแต่จะได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลาจาก ก.ต.
ข้อ ๑๕
การประชุมของ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล ต้องมีอนุกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนอนุกรรมการทั้งหมด
จึงจะเป็นองค์ประชุม
ถ้าประธานไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจมาประชุมได้ ให้อนุกรรมการที่มีอาวุโสสูงสุดที่มาประชุมเป็นประธานในที่ประชุม
ข้อ ๑๖
ในการประชุมของ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล ถ้าอนุกรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณา
ห้ามมิให้ผู้นั้นร่วมประชุมและลงมติในเรื่องนั้น แต่หากผู้นั้นได้เข้าประชุมอยู่ก่อนแล้วและการไม่มีสิทธิร่วมประชุมและลงมตินั้นเป็นการชั่วคราวก็ให้นับผู้นั้นเป็นองค์ประชุมในเรื่องนั้นด้วย
ข้อ ๑๗
การออกเสียงลงคะแนน ให้กระทำโดยเปิดเผย เว้นแต่ที่ประชุมกำหนดให้ลงคะแนนลับซึ่งจะกระทำด้วยวิธีใดให้ที่ประชุมกำหนดตามความเหมาะสมเป็นกรณี
ๆ ไป
ข้อ ๑๘
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก อนุกรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน
ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ความเห็นของ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลในเรื่องที่เกี่ยวกับการลงโทษทางวินัยจะต้องระบุเหตุผลซึ่งรวมถึงข้อกฎหมายที่อ้างอิงไว้ด้วย
ข้อ ๑๙
การเสนอความเห็นใด ๆ ของ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลต่อ ก.ต. นั้นให้เสนอความเห็นของเสียงข้างน้อยและข้อสังเกตไปพร้อมกับความเห็นของ
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลด้วย
หมวด ๒
คณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมวิสามัญ
ข้อ ๒๐
ในการอื่นใดอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของ ก.ต. แต่มิได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล ก.ต. มีอำนาจแต่งตั้ง อ.ก.ต. วิสามัญประกอบด้วยอนุกรรมการไม่น้อยกว่าสามคนให้ทำการแล้วรายงานต่อ
ก.ต. ก็ได้
ข้อ ๒๑
ให้อนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมวิสามัญอยู่ในตำแหน่งเพียงเท่าที่เสร็จสิ้นงานตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๒
ให้นำความในส่วนที่ ๒ และส่วนที่ ๓ ของหมวด ๑ มาใช้บังคับแก่ อ.ก.ต. วิสามัญโดยอนุโลม
เว้นแต่ ก.ต. จะมีมติให้เป็นอย่างอื่น
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๒๓
ให้อนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำศาลชั้นศาลที่ได้รับแต่งตั้งโดย ก.ต.
ตามมาตรา ๘๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ มีวาระอยู่ในตำแหน่งเพียงหนึ่งปีนับแต่วันเข้ารับหน้าที่
เว้นแต่ในระหว่างนั้น ก.ต. ตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จะมีมติแต่งตั้ง
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลขึ้นใหม่ตามข้อ ๕ และข้อ ๖ ก็ให้อนุกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งอยู่ก่อนแล้วเป็นอันพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่อนุกรรมการชุดใหม่เข้ารับหน้าที่
ประกาศ ณ วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
จเร อำนวยวัฒนา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยองค์ประกอบ หลักเกณฑ์ วิธีการแต่งตั้ง
และวิธีการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓[๓]
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๖๕ ก/หน้า ๓/๖ กรกฎาคม ๒๕๔๓
[๒] ข้อ ๑๓/๑ เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยองค์ประกอบ
หลักเกณฑ์ วิธีการแต่งตั้ง และวิธีการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓
[๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๑๑๔ ก/หน้า ๒๕/๑ ธันวาคม ๒๕๔๓ |
316726 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยโรคอันมีลักษณะต้องห้ามที่จะเป็นข้าราชการตุลาการ พ.ศ. 2545 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยโรคอันมีลักษณะต้องห้ามที่จะเป็นข้าราชการตุลาการ
พ.ศ. ๒๕๔๕
โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยโรคอันมีลักษณะต้องห้ามที่จะเป็นข้าราชการตุลาการ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖ (๑๐) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยโรคอันมีลักษณะต้องห้ามที่จะเป็นข้าราชการตุลาการ
พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
โรคตามมาตรา ๒๖ (๑๐) คือ
(๑)
โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
(๒) วัณโรคในระยะอันตราย
(๓) โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
(๔) โรคติดยาเสพติดให้โทษ
(๕) โรคพิษสุราเรื้อรัง
(๖)
โรคติดต่อที่เป็นเหตุให้ไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการตุลาการ
ข้อ ๔
ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามระเบียบนี้
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕
สันติ ทักราล
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๕ ก/หน้า ๑/๑๑ มกราคม ๒๕๔๕ |
316600 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. 2545 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ
ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
พ.ศ. ๒๕๔๕
โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคสอง วรรคสาม และมาตรา ๓๐
วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการทดสอบความรู้
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๔
ในระเบียบนี้ หากมิได้กำหนดไว้โดยเฉพาะเป็นอย่างอื่น
ก.ต. หมายความว่า คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการทดสอบความรู้ที่ ก.ต.
แต่งตั้งขึ้นเพื่อทำการทดสอบความรู้ผู้สมัคร
ผู้สมัคร หมายความว่า ผู้สมัครทดสอบความรู้ตามมาตรา ๒๘
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๕
เมื่อสมควรจะมีการทดสอบความรู้เมื่อใด ให้เลขานุการ ก.ต. เสนอขอความเห็นชอบจาก
ก.ต. เพื่อจัดให้มีการทดสอบความรู้ ให้ ก.ต. ประกาศเกี่ยวกับการรับสมัครและแต่งตั้งคณะกรรมการทดสอบความรู้ขึ้นคณะหนึ่งตามจำนวนที่จำเป็น
ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงคุณสมบัติ
ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ในการสอน
และการเป็นกรรมการสอบวิชากฎหมายของผู้ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งเป็นส่วนสำคัญ
ข้อ ๖
ในกรณีที่ระเบียบนี้มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะทำงาน
ออกประกาศ หรือกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการทดสอบความรู้ตามที่เห็นสมควร
หมวด ๒
คุณวุฒิและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพ
ข้อ ๗
ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ก) (ข) หรือ (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ต้องได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายต่อไปนี้จากต่างประเทศหรือในการศึกษาปริญญาโททางกฎหมายในประเทศไทย
แล้วแต่กรณีด้วย คือ
(๑) กฎหมายอาญา
(๒) กฎหมายแพ่ง
ซึ่งพอเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์รวม ๔ วิชา
หรือกฎหมายแพ่ง ซึ่งพอเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
และกฎหมายพิเศษตามที่ระบุท้ายระเบียบนี้ รวมกันแล้วไม่น้อยกว่า ๔ วิชา และ
(๓) กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน
หรือกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือกฎหมายล้มละลาย
ผู้สมัครที่ได้ศึกษาและสอบไล่ได้ตามหลักสูตรการศึกษากฎหมายดังต่อไปนี้
ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องศึกษาวิชากฎหมายตามวรรคหนึ่ง
(๑)
ผู้สมัครที่ได้ศึกษาและสอบไล่ได้ตามหลักสูตรการศึกษากฎหมายที่จัดไว้เป็นหลักสูตรเฉพาะด้านในวิชากฎหมายเด็กและเยาวชน
กฎหมายแรงงาน กฎหมายภาษีอากร กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ
กฎหมายพาณิชย์นาวี กฎหมายล้มละลาย
(๒)
ผู้สมัครที่ได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายที่อยู่ในกลุ่มวิชากฎหมายกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งตามวรรคสอง
(๑) ไม่น้อยกว่า ๔ วิชา
และได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งอีกไม่น้อยกว่า ๒
วิชา โดยในจำนวนนี้อย่างน้อย ๑ วิชา ต้องเป็นวิชาตาม (๑) (๓) หรือกฎหมายแพ่ง
ซึ่งพอเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ข้อ ๘
เพื่อประโยชน์ในการคำนวณจำนวนวิชาที่กำหนดในข้อ ๖ วรรคหนึ่ง (๒) และวรรคสอง
(๒) ถ้าผู้สมัครคนใดได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายในระบบการจัดการศึกษาที่กำหนดให้มีการเรียนการสอนวิชากฎหมายนั้นตลอดปีการศึกษาและมีการวัดผลเมื่อสิ้นปีการศึกษาให้ถือว่าผู้นั้นได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายตามที่กำหนดไว้ในข้อดังกล่าว
๒ วิชา
ข้อ ๙
ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ง) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ต้องได้สอนวิชากฎหมายตามหลักสูตรในคณะนิติศาสตร์ หรือเทียบเท่าคณะนิติศาสตร์มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า
๕ ปี ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๑๐
ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (จ) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ต้องเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่ง
(๑) นิติกร
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่
ก.ศ. กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๖ ปี ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ หรือ
(๒) เจ้าพนักงานศาลยุติธรรม
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในด้านกฎหมายอย่างแท้จริงตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่
ก.ศ. กำหนด เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๖ ปี ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
ทั้งนี้ ผู้สมัครตาม (๑) และ (๒)
จะต้องเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งนิติกรหรือเจ้าพนักงานศาลยุติธรรมไม่ต่ำกว่าระดับ
๖
การนับระยะเวลาการปฏิบัติงานของผู้สมัครตามวรรคหนึ่ง
ให้นับเฉพาะเวลาที่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งตามที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งและได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนั้นเท่านั้น
เพื่อประโยชน์ในการนับระยะเวลาการปฏิบัติงานของผู้สมัครตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้นั้นเคยดำรงตำแหน่งนิติกร เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
หรือพนักงานคุมประพฤติในกระทรวงยุติธรรมอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ใช้บังคับและได้โอนมาเป็นข้าราชการศาลยุติธรรมโดยผลของกฎหมายดังกล่าวหรือโดยวิธีอื่นก่อนวันที่
๑ เมษายน ๒๕๔๕ หากผู้บังคับบัญชารับรองตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ว่าในระหว่างที่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งดังกล่าวในกระทรวงยุติธรรมได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่
ก.พ. กำหนด ก็ให้นับเวลาที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าวรวมเป็นเวลาปฏิบัติงานของผู้สมัครนั้นด้วย
ข้อ ๑๑
ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ฉ) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ต้องสอบไล่ได้ปริญญาโทหรือปริญญาเอกหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาแพทยศาสตร์
ทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์
สถาปัตยกรรมศาสตร์ หรือการบัญชี และได้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม เภสัชกรรม
ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ การพยาบาล วิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรือเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
แล้วแต่กรณี มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ปี หรือได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายตามที่ระบุไว้ในมาตรา
๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
ตามเงื่อนไขในข้อ ๑๓ มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ปี
ข้อ ๑๒
ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ช) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ต้องสอบไล่ได้ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาแพทยศาสตร์
ทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์
หรือการบัญชี และได้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม เภสัชกรรม ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์
การพยาบาล วิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรือเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต แล้วแต่กรณี มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า
๑๐ ปี
ผู้สมัครตามวรรคหนึ่ง
ต้องส่งหลักฐานที่แสดงประสบการณ์ในการทำงาน ผลงานหรือความรู้เฉพาะด้านในวิชาการด้านนั้น
ๆ เพื่อประกอบการประเมินความรู้ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพของคณะอนุกรรมการประเมินซึ่ง
ก.ต. แต่งตั้งขึ้น
ผู้ผ่านการประเมินของคณะอนุกรรมการประเมินจึงจะเป็นผู้มีสิทธิเข้ารับการทดสอบความรู้ในวิชากฎหมาย
ข้อ ๑๓
ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ฉ) (ช) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม เภสัชกรรม ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์
การพยาบาล วิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรือเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนจะต้องมีหนังสือรับรองของผู้บังคับบัญชามาแสดงว่าได้ประกอบวิชาชีพดังกล่าวอย่างแท้จริงตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
ผู้สมัครตามวรรคหนึ่งซึ่งมิได้ประกอบวิชาชีพดังกล่าวในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนจะต้องมีหนังสือรับรองตนเองมาแสดงว่าได้ประกอบวิชาชีพดังกล่าวอย่างแท้จริงตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
หมวด ๓
เงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย
ข้อ ๑๔
ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ข) (ค)หรือ (ฉ) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นทนายความ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
นายทหารซึ่งทำหน้าที่นายทหารสืบสวนสอบสวนหรือนายทหารสารวัตรสืบสวนสอบสวน
เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
หรือเจ้าพนักงานการเลือกตั้ง (งานวินัจฉัยหรืองานสืบสวนสอบสวน) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ตามมาตรา ๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.
๒๕๔๓ จะต้องได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ดังกล่าวไม่น้อยกว่าที่กำหนด ดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นทนายความจะต้องได้ว่าความในศาลโดยทำหน้าที่หรือมีส่วนร่วมทำหน้าที่ทนายความในการที่ศาลออกนั่งพิจารณามาแล้วไม่น้อยกว่า
๑๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ข) หรือ (ค) และไม่น้อยกว่า ๓๐ เรื่อง
สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ฉ) ซึ่งในจำนวนนี้ต้องเป็นคดีแพ่งไม่น้อยกว่า ๕
เรื่อง
(๒) ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นพนักงานฝ่ายปกครอง
หรือตำรวจต้องปฏิบัติงานในหน้าที่พนักงานสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ เรื่อง
สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ข) หรือ (ค) และไม่น้อยกว่า ๓๐ เรื่อง
สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ฉ)
(๓)
ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นนายทหารซึ่งทำหน้าที่นายทหารสืบสวนสอบสวนหรือนายทหารสารวัตรสืบสวนสอบสวน
กระทรวงกลาโหม ต้องได้ปฏิบัติงานสอบสวนคดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลทหารมาแล้วไม่น้อยกว่า
๑๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ข) หรือ (ค) และไม่น้อยกว่า ๓๐ เรื่อง
สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ฉ)
(๔)
ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
(สำนักงาน ป.ป.ส.) ต้องปฏิบัติงานสอบสวนคดียาเสพติดมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ เรื่อง
สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ข) หรือ (ค) และไม่น้อยกว่า ๓๐ เรื่อง
สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ฉ)
(๕)
ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นเจ้าพนักงานการเลือกตั้ง (งานวินิจฉัยหรืองานสืบสวนสอบสวน)
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (สำนักงาน กกต.) ต้องปฏิบัติงานพิจารณาวินิจฉัยหรือสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า
๑๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ข) หรือ (ค) และไม่น้อยกว่า ๓๐ เรื่อง
สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๒๘ (๒) (ฉ)
ข้อ ๑๕
ผู้สมัครที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายตามข้อ ๑๔ ต้องมีหนังสือรับรองของผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาหรือของผู้บังคับบัญชา
แล้วแต่กรณี มาแสดงว่าได้ทำหน้าที่นั้นอย่างแท้จริงตามแบบที่กำหนดในระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๑๖
ผู้ที่มีคุณสมบัติและปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วน หรือแต่เพียงบางส่วนตามประกาศคณะกรรมการตุลาการ
เรื่องกำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพตามมาตรา
๒๗ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ฉบับลงวันที่
๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ให้ถือว่าได้ประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมายและปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพนั้น
ๆ ครบถ้วนแล้ว หรือแต่เพียงส่วนนั้น แล้วแต่กรณี ตามที่คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมกำหนดตามนัยระเบียบนี้
ข้อ ๑๗
ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งรองจ่าศาลอยู่ก่อนวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๔ และยังคงปฏิบัติหน้าที่เดิมในตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสำนักงานศาลยุติธรรม
โดยมีผู้บังคับบัญชารับรองตามแบบที่กำหนดในระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้ถือว่าการปฏิบัติหน้าที่เดิมต่อมานั้นเป็นการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
และได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพนั้น ๆ
โดยให้นับระยะเวลาต่อเนื่องกันไป
หมวด ๔
หลักเกณฑ์การทดสอบความรู้
ข้อ ๑๘
การทดสอบความรู้ในวิชากฎหมายของผู้สมัครให้มีทั้งการสอบข้อเขียนและการสอบปากเปล่า
วิชากฎหมายที่ทดสอบ คือ กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน พระธรรมนูญศาลยุติธรรม
กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
หรือกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา หรือกฎหมายภาษีอากร หรือกฎหมายแรงงาน
หรือกฎหมายล้มละลาย หรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ
ข้อ ๑๙
การสอบข้อเขียนมี ๒ วัน คือ
(๑) วันที่หนึ่ง
วิชากฎหมายอาญา จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายรัฐธรรมนูญ
จำนวน ๑ ข้อ และให้เลือกสอบในกฎหมายลักษณะวิชากฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว
และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร
กฎหมายแรงงาน กฎหมายล้มละลาย หรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ จำนวน ๑ ข้อ เวลา ๓
ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๖๐ โดยสำหรับลักษณะวิชาที่ให้เลือกสอบ ผู้สมัครต้องแสดงความจำนงว่าจะสอบลักษณะวิชากฎหมายใดในวันสมัครสอบ
(๒) วันที่สอง
วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จำนวน ๒ ข้อ
กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน จำนวน ๑ ข้อ และพระธรรมนูญศาลยุติธรรม จำนวน ๑ ข้อ เวลา ๓
ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๖๐
ผู้สอบต้องปฏิบัติตามระเบียบการสอบข้อเขียนท้ายระเบียบนี้โดยเคร่งครัด
และให้ประธานกรรมการรับผิดชอบในการจัดทำรหัสสมุดคำตอบของผู้สอบทุกคนแยกตามวันที่สอบโดยไม่ให้รหัสซ้ำกันแล้วเก็บรักษารหัสดังกล่าวไว้ด้วยตนเอง
คณะกรรมการอาจจัดตัวบทกฎหมายที่ไม่มีข้อความอื่นใดไว้ให้ผู้สอบใช้ประกอบ
การสอบวิชาใดในห้องสอบก็ได้
ผู้สอบที่ขาดสอบ
หรือเข้าสอบแต่ไม่ทำคำตอบเลยในการสอบข้อเขียนวิชากฎหมายวันใดวันหนึ่งจะไม่มีสิทธิเข้าสอบปากเปล่า
ข้อ ๒๐
ในการออกข้อสอบ ให้คณะกรรมการออกข้อสอบ ดังนี้
(๑) วิชากฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้ออกข้อสอบวิชาละ ๓ ข้อ
ให้ผู้สอบเลือกทำวิชาละ ๒ ข้อ
(๒) วิชากฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน และกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ให้ออกข้อสอบวิชาละ ๒ ข้อ ให้ผู้สอบเลือกทำวิชาละ ๑ ข้อ
(๓) พระธรรมนูญศาลยุติธรรม
กฎหมายลักษณะวิชากฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว
และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร
กฎหมายแรงงาน กฎหมายล้มละลาย และกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ ให้ออกข้อสอบวิชาละ ๑
ข้อ
ให้ออกข้อสอบเป็นคำถามเกี่ยวกับแนวความคิดทางกฎหมาย
หลักกฎหมาย หรือปัญหาเชิงทฤษฎีที่ให้ผู้สอบแสดงทักษะในการให้เหตุผลและวิเคราะห์สำหรับวิชาตาม
(๑) และ (๒) วิชาละ ๑ ข้อ และให้ออกข้อสอบเป็นคำถามเกี่ยวกับปัญหาเชิงปฏิบัติสำหรับวิชาตาม
(๑) วิชาละ ๒ ข้อ และวิชาตาม (๒) วิชาละ ๑ ข้อ
หากผู้สอบทำข้อสอบในวิชาที่ให้เลือกตอบเกินกว่าที่กำหนด
ให้คณะกรรมการตรวจข้อสอบเพียงจำนวนข้อที่กำหนดให้ทำ
ข้อ ๒๑
ในการตรวจคำตอบแต่ละข้อ ให้องค์คณะซึ่งประกอบด้วยกรรมการทดสอบความรู้อย่างน้อยสองคนตรวจแล้วให้คะแนนคำตอบตามหลักเกณฑ์การตรวจและการให้คะแนนที่คณะกรรมการกำหนด
และให้ผู้สมัครได้คะแนนคำตอบตามค่าเฉลี่ยที่คำนวณจากคะแนนที่กรรมการทดสอบความรู้แต่ละคนกำหนดให้
ข้อ ๒๒
การสอบปากเปล่าให้กระทำโดยวิธีถามผู้สมัครเรียงตัว กำหนดเวลาประมาณคนละ ๒๕
นาที คะแนนเต็ม ๖๐ โดยให้กรรมการทดสอบความรู้แต่ละคนที่ทำการสอบปากเปล่าผู้สมัครให้คะแนนแบ่งตามหัวข้อที่กำหนดในแบบการให้คะแนนการสอบปากเปล่าท้ายระเบียบนี้
และให้ผู้สมัครได้คะแนนการสอบปากเปล่าตามค่าเฉลี่ยที่คำนวณจากคะแนนที่กรรมการทดสอบความรู้แต่ละคนกำหนดให้
ข้อ ๒๓
ผู้สมัครต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ของคะแนนสอบข้อเขียนทั้งหมด
จึงจะมีสิทธิเข้าสอบปากเปล่า และต้องได้คะแนนสอบปากเปล่าไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ของคะแนนสอบปากเปล่า
จึงจะเป็นผู้ผ่านการสอบปากเปล่า เมื่อนำคะแนนสอบข้อเขียนกับคะแนนสอบปากเปล่ารวมกันต้องได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ
๖๐ ของคะแนนทั้งหมดจึงจะอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
ข้อ ๒๔
เมื่อทดสอบความรู้เสร็จแล้ว ก.ต. จะประกาศรายชื่อผู้ที่อยู่ในเกณฑ์จะได้รับการบรรจุเรียงตามลำดับคะแนนไว้
ณ สำนักงานศาลยุติธรรม
หมวด ๕
อัตราส่วนในการบรรจุ
ข้อ ๒๕
การบรรจุข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาตามความในมาตรา ๒๘
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ นั้น ให้บรรจุได้ในอัตราส่วนของจำนวนผู้ที่สอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาได้ไม่เกินหนึ่งในสาม
แต่ถ้าขณะใดไม่มีผู้ที่สอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาอยู่แล้วก็ให้บรรจุได้โดยไม่มีอัตราส่วน
ภายใต้บังคับวรรคหนึ่ง การบรรจุข้าราชการตุลาการตามมาตรา ๒๘
(๒) (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) หรือ (ช) ซึ่งมีคุณวุฒิต่างกัน
ให้บรรจุได้ในอัตราส่วนของจำนวนผู้ที่อยู่ในเกณฑ์จะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาแต่ละคุณวุฒิตามที่
ก.ต. กำหนด
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕
สันติ ทักราล
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
[เอกสารแนบท้าย]
๑. กฎหมายพิเศษ
๒. แบบการให้คะแนนการสอบปากเปล่าในการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
๓.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ง)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (สนามเล็ก
(แบบ ๑))
๔.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (จ)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (สนามเล็ก
(แบบ ๒))
๕.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (จ)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (สนามเล็ก
(แบบ ๓))
๖.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ฉ) (ช)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (สนามเล็ก
(แบบ ๔))
๗.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๘ (๒) (ฉ) (ช)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (สนามเล็ก
(แบบ ๕))
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๕ ก/หน้า ๘/๑๑ มกราคม ๒๕๔๕ |
316597 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมายและเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2545 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
พ.ศ. ๒๕๔๕
โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
ข้อ ๓
การประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย คือ
(๑) เป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ หรือภาควิชานิติศาสตร์
หรือสาขาวิชานิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ
ซึ่งคณบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่ารับรองว่าได้สอนวิชากฎหมายตามหลักสูตรในคณะนิติศาสตร์
หรือภาควิชานิติศาสตร์ หรือสาขาวิชานิติศาสตร์มาแล้ว ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๒) เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
ซึ่งทำหน้าที่พนักงานสอบสวน
และผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่พนักงานสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า
๒๐ เรื่อง ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๓) เป็นข้าราชการศาลยุติธรรมตำแหน่งเจ้าพนักงานศาลยุติธรรม
(วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานศาลยุติธรรม
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่
ก.ศ. กำหนด ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๔) เป็นนายทหารซึ่งทำหน้าที่นายทหารสืบสวนสอบสวน
หรือนายทหารสารวัตรสืบสวนสอบสวน กระทรวงกลาโหม
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานสอบสวนคดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลทหารมาแล้วไม่น้อยกว่า
๒๐ เรื่อง ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๕) เป็นข้าราชการตำแหน่งเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.)
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานสอบสวนคดียาเสพติดมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒๐
เรื่อง ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๖)
เป็นข้าราชการตำแหน่งเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
(สำนักงาน ป.ป.ช.) ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบทรัพย์สิน
หรือไต่สวนและวินิจฉัยคดีที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๗) เป็นข้าราชการตำแหน่งนักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน (วุฒิทางกฎหมาย)
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (ส.ต.ง.) หรือนักวิชาการที่ดิน (วุฒิทางกฎหมาย)
กรมที่ดิน
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่
ก.พ. กำหนด ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๘) เป็นเจ้าพนักงานการเลือกตั้ง (งานนิติการ)
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (สำนักงาน กกต.)
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าว
ตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่ ก.พ. กำหนด หรือเจ้าพนักงานการเลือกตั้ง
(งานวินิจฉัยหรืองานสืบสวนสอบสวน) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานพิจารณาวินิจฉัยหรือสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า
๒๐ เรื่อง ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๙) เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างในกระทรวงยุติธรรม
ทำหน้าที่พนักงานคุมประพฤติ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานในสายงานคุมประพฤติที่
ก.พ. กำหนด ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๑๐) เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือลูกจ้างในหน่วยงานของรัฐ
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกรตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่
ก.พ. หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่นกำหนด แล้วแต่กรณี
ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๑๑) เป็นพนักงานของสถาบันการเงินที่ ก.ต. รับรอง
ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร
ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๑๒) เป็นอาจารย์ผู้บรรยายประจำวิชาของคณะนิติศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ทบวงมหาวิทยาลัยให้การรับรองมาตรฐานการศึกษาของหลักสูตรนิติศาสตร์
ซึ่งคณบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่ารับรองว่าได้สอนวิชากฎหมายตามหลักสูตรในคณะนิติศาสตร์มาแล้วในวิชาใดวิชาหนึ่งหรือหลายวิชาดังนี้
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน กฎหมายล้มละลาย พระธรรมนูญศาลยุติธรรม
กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง กฎหมายรัฐธรรมนูญ
กฎหมายปกครอง กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ
กฎหมายพาณิชย์นาวี หรือกฎหมายระหว่างประเทศ ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๑๓)
เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมายที่ได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายในลักษณะทำนองเดียวกันหรือเทียบได้กับวิชาชีพตาม
(๑) - (๑๒) ซึ่ง ก.ต. รับรองเป็นรายกรณี
ข้อ ๔
ผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาซึ่งได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นทนายความจะต้องได้ว่าความในศาล
โดยทำหน้าที่หรือมีส่วนร่วมทำหน้าที่ทนายความในการที่ศาลออกนั่งพิจารณามาแล้วไม่น้อยกว่า
๒๐ เรื่อง ในจำนวนนี้ต้องเป็นคดีแพ่งไม่น้อยกว่า ๕ เรื่อง
โดยมีหนังสือรับรองของผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณา ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้มาแสดงว่าได้ทำหน้าที่ดังกล่าวอย่างแท้จริง
ข้อ ๕
ผู้ที่มีคุณสมบัติและปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วน
หรือแต่เพียงบางส่วนตามประกาศคณะกรรมการตุลาการ
เรื่องกำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพตามมาตรา ๒๗ (๑) (ค)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ฉบับลงวันที่ ๑๔ มีนาคม
พ.ศ. ๒๕๓๙ ให้ถือว่าได้ประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมายและปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพนั้น
ๆ ครบถ้วนแล้ว หรือแต่เพียงส่วนนั้น แล้วแต่กรณี
ตามที่คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมกำหนดตามนัยระเบียบนี้
ข้อ ๖
ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งรองจ่าศาลอยู่ก่อนวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๔
และยังคงปฏิบัติหน้าที่เดิมในตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสำนักงานศาลยุติธรรม
โดยมีผู้บังคับบัญชารับรองตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
ให้ถือว่าการปฏิบัติหน้าที่เดิมต่อมานั้นเป็นการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย
และได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพนั้น ๆ โดยให้นับระยะเวลาต่อเนื่องกันไป
ข้อ ๗
ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕
สันติ ทักราล
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑))
๒.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๒))
๓.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๓))
๔.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๔))
๕.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๕))
๖.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๖))
๗.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๗))
๘.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๘))
๙.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๙))
๑๐.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑๐))
๑๑.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑๑))
๑๒.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ (แบบ ๑๒))
๑๓.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑๓))
๑๔.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑๔))
๑๕.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑๕))
๑๖.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑๖))
๑๗.
บัญชีรายละเอียดการว่าความคดีแพ่ง
๑๘.
บัญชีรายละเอียดการว่าความคดีอาญา
๑๙.
หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ
(แบบ ๑๗))
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๕ ก/หน้า ๒/๑๑ มกราคม ๒๕๔๕ |
311895 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยองค์ประกอบ หลักเกณฑ์ วิธีการแต่งตั้ง และวิธีดำเนินงานของคณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยองค์ประกอบ
หลักเกณฑ์ วิธีการแต่งตั้ง และวิธีดำเนินงานของ
คณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓
โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบว่าด้วยองค์ประกอบ หลักเกณฑ์
วิธีการแต่งตั้ง และวิธีดำเนินงานของคณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๗ วรรคสี่
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยองค์ประกอบ
หลักเกณฑ์ วิธีการแต่งตั้ง และวิธีดำเนินงานของคณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.
๒๕๔๓
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วัดถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ในระเบียบนี้
คณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม หมายความว่า
คณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาล
และคณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมวิสามัญ
คณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาล หมายความว่า
คณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำศาลฎีกา
คณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำศาลอุทธรณ์
และคณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำศาลชั้นต้น
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล หมายความว่า
คณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาล
อ.ก.ต. วิสามัญ หมายความว่า
คณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมวิสามัญ
ข้อ ๔ ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑
คณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาล
ส่วนที่ ๑
องค์ประกอบ
ข้อ ๕ ให้มี
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล ชั้นศาลละหนึ่งคณะ แต่ละคณะประกอบด้วยอนุกรรมการซึ่ง ก.ต. เป็นผู้แต่งตั้งจากข้าราชการตุลาการในแต่ละชั้นศาล
ดังนี้
(๑) ศาลฎีกา
ให้แต่งตั้งจากข้าราชการตุลาการที่ดำรงตำแหน่งในศาลฎีกาในตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา
จำนวนเจ็ดคน
(๒) ศาลอุทธรณ์
ให้แต่งตั้งจากข้าราชการตุลาการที่ดำรงตำแหน่งในศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาคในตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์หรือผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค
จำนวนเจ็ดคน
(๓) ศาลชั้นต้น ให้แต่งตั้งจากข้าราชการตุลาการที่ดำรงตำแหน่งในศาลชั้นต้นซึ่งได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตั้งแต่ชั้น
๒ ขึ้นไป และมิใช่ข้าราชการตุลาการที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส จำนวนเจ็ดคน
สำหรับข้าราชการตุลาการซึ่งดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามมาตรา
๑๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
หรือผู้ซึ่งได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการในศาลอื่นตามมาตรา ๒๑
แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ให้มีสิทธิได้รับแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาลในชั้นศาลซึ่งข้าราชการตุลาการผู้นั้นมีเงินเดือนอยู่ในชั้นศาลนั้นในขณะที่มีการแต่งตั้ง
ส่วนที่ ๒
หลักเกณฑ์
และวิธีการแต่งตั้ง
ข้อ ๖
ในการลงมติแต่งตั้งอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาลตามข้อ ๕ จะต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
ข้อ ๗
ให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งตามข้อ ๖ เข้ารับหน้าที่นับแต่วันที่ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประกาศรายชื่อเป็นต้นไป
ข้อ ๘
อนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาลต้องไม่เป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
กรรมการบริหารศาลยุติธรรม หรือกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรมในคราวเดียวกัน
ข้อ ๙ อนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาลมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี
อนุกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งใหม่ได้
แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้
ข้อ ๑๐
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามข้อ ๙ อนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาล
พ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) กระทำผิดวินัยนับแต่วันที่มีคำสั่งลงโทษทางวินัย
(๔) ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส
หรือพ้นจากตำแหน่งข้าราชการตุลาการหรือพ้นจากตำแหน่งข้าราชการตุลาการในชั้นศาลที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในเวลาที่ได้รับแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการ
(๕) ขาดคุณสมบัติตามข้อ ๘
(๖) ถูกถอดถอนจากตำแหน่งตามข้อ ๑๑
ในกรณีเป็นที่สงสัยเกี่ยวกับการพ้นจากตำแหน่งของอนุกรรมการ
ให้ ก.ต. เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
ข้อ ๑๑
อนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาลผู้ใดมีพฤติการณ์ไม่เหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่อนุกรรมการ
ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ข้อบังคับ คุณธรรมและจริยธรรม หรือกระทำการอันมีมูลเป็นความผิดทางวินัย
ถูกกล่าวหาหรือกรณีเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดทางวินัย ก.ต. มีอำนาจถอดถอนอนุกรรมการผู้นั้นออกจากตำแหน่งได้
ในการพิจารณาถอดถอนอนุกรรมการตามวรรคหนึ่ง
ให้ผู้ที่ถูกพิจารณาถอดถอนมีสิทธิเข้าชี้แจงข้อเท็จจริงต่อ ก.ต. และมติ ก.ต.
ที่ให้ถอดถอนผู้ใดออกจากตำแหน่งอนุกรรมการจะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
ในระหว่างการพิจารณาถอดถอนอนุกรรมการตามวรรคสอง
อนุกรรมการผู้นั้นจะปฏิบัติหน้าที่ใน อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลนั้นไม่ได้
ข้อ ๑๒
ในกรณีที่ต้องมีการแต่งตั้งอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาลแทนตำแหน่งที่ว่างลงก่อนครบวาระ
ให้นำความในข้อ ๕ และข้อ ๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลมและให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งได้เท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
การดำรงตำแหน่งของอนุกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ
หรือที่ดำรงตำแหน่งแทน หากมีกำหนดเวลาไม่ถึงหนึ่งปี
ไม่ให้นับเป็นวาระการดำรงตำแหน่งตามข้อ ๙
ส่วนที่ ๓
วิธีดำเนินงาน
ข้อ ๑๓
ในการปฏิบัติหน้าที่ของ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล ให้อนุกรรมการที่มีอาวุโสสูงสุดในแต่ละคณะเป็นประธาน
แต่ถ้าต้องมีการประชุมร่วมกันระหว่าง อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล ก็ให้อนุกรรมการที่มีอาวุโสสูงสุดเป็นประธานของที่ประชุมร่วมและให้นำบทบัญญัติในหมวดนี้ไปใช้บังคับแก่การประชุมร่วมโดยอนุโลม
ให้ประธาน อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลเป็นผู้เรียกประชุม อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลนั้น และในกรณีเป็นการประชุมร่วมกันระหว่าง อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล
ก็ให้ประธาน อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลผู้มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้เรียกประชุม
ให้ผู้อำนวยการกองงานคณะกรรมการตุลาการเป็นเลขานุการของ
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล
และเพื่อการนี้เลขานุการจะแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานส่งเสริมงานตุลาการคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการก็ได้
ข้อ ๑๔
ในการเสนอเรื่องต่อ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล หากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการตุลาการในชั้นศาลใด
ก็ให้เลขานุการ ก.ต. เสนอต่อ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลนั้น และในกรณีที่ไม่มีกฎหมายหรือมติ
ก.ต. กำหนดเป็นอย่างอื่น ให้ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลพิจารณาทำความเห็นให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันทำการนับแต่ได้รับเรื่องจากเลขานุการ
ก.ต. เว้นแต่จะได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลาจาก ก.ต.
ข้อ ๑๕
การประชุมของ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล ต้องมีอนุกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนอนุกรรมการทั้งหมด
จึงจะเป็นองค์ประชุม
ถ้าประธานไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจมาประชุมได้
ให้อนุกรรมการที่มีอาวุโสสูงสุดที่มาประชุมเป็นประธานในที่ประชุม
ข้อ ๑๖
ในการประชุมของ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล ถ้าอนุกรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณา
ห้ามมิให้ผู้นั้นร่วมประชุมและลงมติในเรื่องนั้น แต่หากผู้นั้นได้เข้าประชุมอยู่ก่อนแล้วและการไม่มีสิทธิร่วมประชุมและลงมตินั้นเป็นการชั่วคราวก็ให้นับผู้นั้นเป็นองค์ประชุมในเรื่องนั้นด้วย
ข้อ ๑๗
การออกเสียงลงคะแนน ให้กระทำโดยเปิดเผย เว้นแต่ที่ประชุมกำหนดให้ลงคะแนนลับซึ่งจะกระทำด้วยวิธีใดให้ที่ประชุมกำหนดตามความเหมาะสมเป็นกรณี
ๆ ไป
ข้อ ๑๘
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก อนุกรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน
ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ความเห็นของ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลในเรื่องที่เกี่ยวกับการลงโทษทางวินัยจะต้องระบุเหตุผลซึ่งรวมถึงข้อกฎหมายที่อ้างอิงไว้ด้วย
ข้อ ๑๙
การเสนอความเห็นใด ๆ ของ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลต่อ ก.ต. นั้นให้เสนอความเห็นของเสียงข้างน้อยและข้อสังเกตไปพร้อมกับความเห็นของ
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลด้วย
หมวด ๒
คณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมวิสามัญ
ข้อ ๒๐
ในการอื่นใดอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของ ก.ต. แต่มิได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล ก.ต. มีอำนาจแต่งตั้ง อ.ก.ต. วิสามัญประกอบด้วยอนุกรรมการไม่น้อยกว่าสามคนให้ทำการแล้วรายงานต่อ
ก.ต. ก็ได้
ข้อ ๒๑
ให้อนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมวิสามัญอยู่ในตำแหน่งเพียงเท่าที่เสร็จสิ้นงานตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๒
ให้นำความในส่วนที่ ๒ และส่วนที่ ๓ ของหมวด ๑ มาใช้บังคับแก่ อ.ก.ต. วิสามัญโดยอนุโลม
เว้นแต่ ก.ต. จะมีมติให้เป็นอย่างอื่น
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๒๓
ให้อนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำศาลชั้นศาลที่ได้รับแต่งตั้งโดย ก.ต.
ตามมาตรา ๘๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ มีวาระอยู่ในตำแหน่งเพียงหนึ่งปีนับแต่วันเข้ารับหน้าที่
เว้นแต่ในระหว่างนั้น ก.ต. ตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จะมีมติแต่งตั้ง
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลขึ้นใหม่ตามข้อ ๕ และข้อ ๖ ก็ให้อนุกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งอยู่ก่อนแล้วเป็นอันพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่อนุกรรมการชุดใหม่เข้ารับหน้าที่
ประกาศ ณ วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
จเร อำนวยวัฒนา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๖๕ ก/หน้า ๓/๖ กรกฎาคม ๒๕๔๓ |
848218 | ข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. 2561 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ข้อบังคับของประธานศาลฎีกา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
พ.ศ. ๒๕๖๑
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๓๖ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ และกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๓๖ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๓๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๑ ประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.) ออกข้อบังคับไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า ข้อบังคับของประธานศาลฎีกา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. ๒๕๖๑
ข้อ ๒[๑] ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(๑) ข้อบังคับประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
พ.ศ. ๒๕๔๔ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๔
(๒) ข้อบังคับประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗ ลงวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๔๗
(๓) ข้อบังคับประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
ข้อ ๔ ในข้อบังคับนี้
กรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ หมายความว่า กรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๖ (๒) หรือ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ แล้วแต่กรณี
การเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ หมายความว่า การเลือกตามวาระหรือการเลือกซ่อม แล้วแต่กรณี
การเลือกตามวาระ หมายความว่า การเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้ดำรงตำแหน่งตามวาระ
การเลือกซ่อม หมายความว่า การเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้ดำรงตำแหน่งแทนตำแหน่งที่ว่างลงก่อนครบกำหนดตามวาระ
ผู้สมัคร หมายความว่า ผู้สมัครเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๓๖ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓
บัตรเลือก หมายความว่า บัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
ระบบอิเล็กทรอนิกส์[๒]
หมายความว่า ระบบการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิที่ดำเนินการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมกำหนด
ข้อ ๕ ให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้รักษาการตามข้อบังคับนี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๖ เมื่อประธานศาลฎีกาได้มีคำสั่งให้มีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมเป็นผู้ดำเนินการจัดให้มีการเลือกโดยวิธีลงคะแนนลับตามวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับนี้
ข้อ ๗ ให้มีคณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
ประกอบด้วย ผู้พิพากษาศาลฎีกา ผู้พิพากษาศาลชั้นอุทธรณ์ และผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ชั้นศาลละสองคนซึ่งประธานศาลฎีกาเป็นผู้คัดเลือก
และเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม เป็นกรรมการ มีหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
การตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครการจัดทำบัญชีรายชื่อบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือก
การตรวจนับคะแนนและประกาศผลการเลือก โดยมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยดำเนินการได้
ในกรณีที่มีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๓๖ (๒) และ (๓) ในคราวเดียวกัน คณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิอาจเป็นกรรมการชุดเดียวกันก็ได้
ให้ประธานศาลฎีกาแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิให้แล้วเสร็จก่อนวันเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่าสามสิบวัน
ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ
ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่แทนประธานกรรมการ
ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งต้องมีกรรมการอยู่พร้อมกันไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
ข้อ ๘ ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยดำเนินการเกี่ยวกับการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิดังนี้
(๑) คณะอนุกรรมการรับและเก็บรักษาบัตรเลือก ประกอบด้วยข้าราชการตุลาการจำนวนสามคน
เป็นอนุกรรมการ
(๒) คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนน ประกอบด้วยข้าราชการตุลาการซึ่งไม่เป็นบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่น้อยกว่าสิบเอ็ดคน
เป็นอนุกรรมการ เว้นแต่ในการเลือกซ่อมให้มีจำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน เป็นอนุกรรมการ
(๓) คณะอนุกรรมการทำลายบัตรเลือก ประกอบด้วยข้าราชการตุลาการจำนวนสามคน
เป็นอนุกรรมการ
(๔) คณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัคร
ประกอบด้วยข้าราชการตุลาการจำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน เป็นอนุกรรมการ
ให้คณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่งแต่ละคณะเลือกอนุกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานอนุกรรมการ
ถ้าประธานอนุกรรมการไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะอนุกรรมการเลือกอนุกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่แทนประธานอนุกรรมการ
ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่งต้องมีอนุกรรมการอยู่พร้อมกันไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง เว้นแต่ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่ง
(๒) หากมีการแยกนับคะแนนแต่ละชั้นศาล ต้องมีอนุกรรมการตรวจนับคะแนนอยู่พร้อมกันไม่น้อยกว่าสี่คน
ให้เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ซึ่งสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมเพื่อช่วยคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่งดำเนินการใด
ๆ ได้ตามความเหมาะสม
ข้อ ๙ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติของกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๓๖ (๓) หรือกระบวนการในการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๓๖ (๒) และ (๓) ให้เป็นหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมเป็นผู้วินิจฉัย
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมให้เป็นที่สุด
หมวด ๒
การเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๓๖ (๒)
ส่วนที่ ๑
วิธีการเลือก
ข้อ ๑๐ ให้ประธานศาลฎีกามีคำสั่งให้เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมเป็นผู้ดำเนินการจัดให้มีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๓๖ (๒) ให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา
ดังต่อไปนี้
(๑) ภายในหกสิบวันก่อนวันครบกำหนดตามวาระ หรือ
(๒) ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่างลงก่อนครบกำหนดตามวาระ
เว้นแต่วาระการอยู่ในตำแหน่งที่ว่างลงนั้นจะเหลือไม่ถึงเก้าสิบวันจะไม่สั่งให้ดำเนินการเลือกซ่อมก็ได้
หรือ
(๓) ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประธานศาลฎีกาได้รับหนังสือแจ้งพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งหรือให้พ้นจากตำแหน่งของข้าราชการตุลาการซึ่งทำให้ตำแหน่งกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่างลงตามมาตรา ๔๑ (๔) เว้นแต่วาระการอยู่ในตำแหน่งที่ว่างลงนั้นจะเหลือไม่ถึงเก้าสิบวันจะไม่สั่งให้ดำเนินการเลือกซ่อมก็ได้
ข้อ ๑๑ ให้เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมจัดทำบัญชีรายชื่อและหมายเลขบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิโดยแยกเป็นข้าราชการตุลาการในแต่ละชั้นศาลตามมาตรา
๓๖ (๒) (ก) (ข) และ (ค) ส่งไปประกาศยังศาลฎีกา ศาลชั้นอุทธรณ์ และศาลชั้นต้น และให้แจ้งกำหนดวัน เวลา
และสถานที่ที่จะทำการเลือกไปด้วย
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
ประสงค์จะเผยแพร่ประวัติการรับราชการ ผลงานและวิสัยทัศน์แก่ผู้มีสิทธิเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ ให้จัดทำข้อมูลตามวิธีการที่คณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิกำหนด
ข้อ ๑๓ ให้เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมจัดส่งบัญชีรายชื่อและหมายเลขบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ
๑๑ และส่งบัตรเลือกพร้อมทั้งแจ้งกำหนดวันสุดท้ายที่จะต้องส่งบัตรเลือกกลับให้ถึงสำนักงานศาลยุติธรรม
รวมตลอดถึงกำหนด วัน เวลา และสถานที่ที่จะทำการตรวจนับคะแนนไปยังผู้มีสิทธิเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามวิธีการที่คณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิกำหนด ในการนี้ ให้เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมเผยแพร่ข้อมูลตามข้อ
๑๒ ตามวิธีการที่คณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิกำหนดด้วย
ทั้งนี้ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนกำหนดวันสุดท้ายที่จะต้องส่งบัตรเลือกให้ถึงสำนักงานศาลยุติธรรมไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
ในกรณีเลือกซ่อม
ให้แจ้งชั้นศาลและจำนวนตำแหน่งกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิที่ว่างไปด้วย
ก่อนกำหนดวันสุดท้ายที่จะต้องส่งบัตรเลือกให้ถึงสำนักงานศาลยุติธรรมเจ็ดวัน
ถ้าผู้มีสิทธิเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิผู้ใดยังไม่ได้รับบัญชีรายชื่อและหมายเลขบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิพร้อมด้วยบัตรเลือก
ให้ผู้นั้นรายงานเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเพื่อดำเนินการให้ตนมีโอกาสใช้สิทธิเลือกภายในกำหนดวันสุดท้ายที่จะต้องส่งบัตรเลือกให้ถึงสำนักงานศาลยุติธรรม
ข้อ ๑๔ บัตรเลือกให้เป็นไปตามแบบท้ายข้อบังคับนี้ และบัตรทุกบัตรต้องมีลายมือชื่อของข้าราชการตุลาการคนหนึ่งซึ่งไม่เป็นบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิที่เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมแต่งตั้งโดยความยินยอมของข้าราชการตุลาการผู้นั้นและรองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมคนหนึ่ง
กำกับไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ ๑๕ ให้ข้าราชการตุลาการซึ่งมีสิทธิเลือกและประสงค์จะลงคะแนน
เขียนหมายเลขผู้ซึ่งตนเลือกลงในบัตรเลือกด้วยตนเอง
แล้วใส่ซองที่เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมจัดส่งไปให้ปิดผนึกส่งไปยังเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
ถ้าจะส่งทางไปรษณีย์ให้ส่งโดยลงทะเบียนให้ถึงสำนักงานศาลยุติธรรมในวันเวลาที่กำหนด
หรือมอบหมายให้หัวหน้าหน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้นำส่งก็ได้
ในกรณีดังกล่าวให้หัวหน้าหน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมมีหน้าที่รวบรวมบัตรเลือกของข้าราชการตุลาการในศาลและนำส่งบัตรเลือกกลับให้ถึงสำนักงานศาลยุติธรรมภายในวันเวลาที่กำหนด
ส่วนที่ ๒
การตรวจนับคะแนนและการประกาศผล
ข้อ ๑๖ ให้คณะอนุกรรมการรับและเก็บรักษาบัตรเลือกมีหน้าที่ตรวจรับและรวบรวมบัตรเลือกที่ส่งมายังเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
รวมทั้งจัดทำบัญชีจำนวนบัตรเลือกของแต่ละชั้นศาลที่ได้รับมาในแต่ละวัน โดยในแต่ละวันให้แยกบัตรเลือกของแต่ละชั้นศาลที่ได้รับบรรจุซองหรือห่อไว้เพื่อมิให้บัตรเลือกของแต่ละชั้นศาลปะปนกัน
และเก็บบัตรเลือกทั้งหมดไว้ด้วยกันในซองใหญ่พร้อมกับปิดผนึกลงวันที่และลงลายมือชื่อคณะอนุกรรมการรับและเก็บรักษาบัตรเลือกกำกับรอยปิดผนึกแล้วเก็บรักษาเป็นเรื่องลับมากไว้ที่สำนักงานศาลยุติธรรม
และส่งมอบให้คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนในวันตรวจนับคะแนน
ในการนี้
ให้คณะอนุกรรมการรับและเก็บรักษาบัตรเลือกแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ซึ่งสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมจำนวนไม่น้อยกว่าสองคนทำหน้าที่รับซองบัตรเลือกและจดเลขที่ของซองบัตรเลือกที่ได้รับเพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าได้รับบัตรเลือกแล้ว
ข้อ ๑๗ ให้คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนมีอำนาจและหน้าที่
ดังต่อไปนี้
(๑) รักษาความสงบเรียบร้อยในสถานที่ตรวจนับคะแนน
(๒) ตรวจสอบบัญชีรายชื่อและหมายเลขบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ และบัญชีรายชื่อข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรมผู้มีสิทธิเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(๓) ตรวจสอบบัตรเลือก และการอื่นใดเกี่ยวกับการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
เพื่อให้การเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเป็นไปด้วยความเรียบร้อยบริสุทธิ์
และยุติธรรม
(๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
ตรวจนับคะแนนและประกาศผลการตรวจนับคะแนนตามที่กำหนดในข้อบังคับนี้
ข้อ ๑๘ ในการตรวจนับคะแนน
ให้คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนเปิดซองบัตรเลือกและให้คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนวินิจฉัยว่าบัตรเลือกนั้นเป็นบัตรดี
บัตรเสียบางส่วน หรือบัตรเสียแล้วดำเนินการนับคะแนนสำหรับบัตรดีและบัตรเสียบางส่วนเฉพาะส่วนที่ไม่เสีย
บัตรเสียบางส่วนหรือบัตรเสีย
ให้อนุกรรมการตรวจนับคะแนนสลักหลังว่า เสียบางส่วนหรือ เสีย แล้วแต่กรณี แล้วให้อนุกรรมการตรวจนับคะแนนไม่น้อยกว่าสี่คนลงลายมือชื่อกำกับไว้
เมื่อการตรวจนับคะแนนสิ้นสุดลง
ให้คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนเก็บบัตรเลือกที่ใช้นับคะแนนโดยแยกบัตรเสียบางส่วนและบัตรเสียบรรจุซองหรือห่อไว้ต่างหากเพื่อมิให้ปะปนกับบัตรเลือกอื่นและเก็บบัตรเลือกที่ใช้นับคะแนนทั้งหมดไว้ด้วยกันในหีบโดยปิดหีบใส่กุญแจประจำครั่งทับรูกุญแจไว้หากเป็นหีบบัตรเลือกที่มีช่อง
ให้เอากระดาษปิดทับช่องไว้โดยลงลายมือชื่อคณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนไว้บนกระดาษนั้นด้วย
และเก็บรักษาไว้ที่สำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อส่งมอบให้คณะอนุกรรมการทำลายบัตรเลือกดำเนินการต่อไปตามข้อ
๒๕
การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม ให้กระทำในวัน
เวลา สถานที่ที่กำหนดในข้อ ๑๓ วรรคหนึ่ง และต้องกระทำโดยเปิดเผยให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้าร่วมสังเกตการณ์ได้และให้กระทำจนเสร็จในรวดเดียว
ข้อ ๑๙ บัตรเลือกต่อไปนี้ ให้ถือเป็นบัตรเสียและไม่ให้นับคะแนน
(๑) ในกรณีการเลือกตามวาระ
(ก) บัตรที่มิใช่บัตรฉบับที่เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมส่งไปให้หรือบัตรที่ไม่มีลายมือชื่อตามข้อ
๑๔ กำกับเป็นหลักฐาน
(ข) บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเกินจำนวนที่กฎหมายกำหนด
(ค) บัตรที่มิได้เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเลย
(ง) บัตรที่เขียนหมายเลขอื่นที่ไม่มีในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหมด
(จ) บัตรที่ผู้เลือกมิได้เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหมดด้วยตนเอง
(ฉ) บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการในแต่ละชั้นศาลตามมาตรา
๓๖ (๒) (ก) (ข) และ (ค) โดยผู้เลือกไม่มีสิทธิเลือกทั้งหมด
(ช) บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเลอะเลือนหรือไม่ชัดเจนทั้งหมดจนไม่สามารถทราบเจตนาอันแท้จริงของผู้เลือกได้ว่าลงคะแนนให้แก่ผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิหมายเลขใด
(ซ) บัตรที่ไปถึงสำนักงานศาลยุติธรรมพ้นกำหนดวันสุดท้ายที่เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมให้ส่งตามข้อ
๑๓ วรรคหนึ่ง
(๒) ในกรณีการเลือกซ่อม
(ก) บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเกินจำนวนตำแหน่งที่ว่าง
(ข) บัตรที่มีกรณีตาม (๑) (ก) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) หรือ
(ซ)
ข้อ ๒๐ บัตรเลือกต่อไปนี้ให้ถือเป็นบัตรเสียบางส่วน
ไม่ให้นับคะแนนส่วนที่เสียและให้นับคะแนนส่วนที่ไม่เสียเท่านั้น
(๑) บัตรที่เขียนหมายเลขอื่นที่ไม่มีในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิปนกับหมายเลขที่มีในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(๒) บัตรที่ผู้เลือกมิได้เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิคนใดด้วยตนเอง
(๓) บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการในแต่ละชั้นศาลตามมาตรา
๓๖ (๒) (ก) (ข) และ (ค) โดยผู้เลือกไม่มีสิทธิเลือกเป็นบางคน
(๔) บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิซ้ำกับหมายเลขที่เขียนไว้ก่อนแล้ว
(๕) บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิบางหมายเลขเลอะเลือนหรือไม่ชัดเจนจนไม่สามารถทราบเจตนาอันแท้จริงของผู้เลือกได้ว่าลงคะแนนให้แก่ผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิหมายเลขใด
ข้อ ๒๑ ในการเลือกตามวาระนั้น
ให้ข้าราชการตุลาการในแต่ละชั้นศาลตามมาตรา ๓๖ (๒) (ก) (ข) และ (ค) ซึ่งได้คะแนนมากตามลำดับลงมาตามจำนวนที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติแห่งมาตราดังกล่าว
เป็นผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละชั้นศาล
ในกรณีที่ผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิหลายคนได้คะแนนเท่ากันจนเป็นเหตุให้ไม่สามารถเรียงลำดับผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามจำนวนกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิที่จะมีได้
ให้ทำการจับสลากเพื่อให้ได้ผู้ได้รับเลือกครบตามที่จะพึงมีได้
การจับสลาก
ให้เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้จับโดยเปิดเผยต่อหน้าอนุกรรมการตรวจนับคะแนนไม่น้อยกว่าสามคน
เมื่อทราบผลผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว
ให้ประธานอนุกรรมการตรวจนับคะแนนประกาศชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิต่อหน้าผู้ซึ่งอยู่
ณ สถานที่ที่ทำการตรวจนับคะแนนแล้วปิดประกาศรายชื่อบุคคลดังกล่าวไว้ ณ สถานที่นั้นด้วย และให้คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนรีบรายงานผลการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิต่อคณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
พร้อมทั้งส่งประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิไปยังเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมภายในวันนั้นหรือวันถัดจากวันทราบผลนั้นเป็นอย่างช้า
ในกรณีที่เป็นการเลือกซ่อม ให้นำความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม
และวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๒๒ ให้เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมรายงานผลการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิต่อประธานศาลฎีกาเพื่อดำเนินการประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๓๖ (๒) (ก) (ข) และ (ค) ต่อไป
ข้อ ๒๓ ให้ผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๖ (๒) เข้ารับหน้าที่เมื่อประธานศาลฎีกาได้ประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
ข้อ ๒๔ ให้เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมดำเนินการประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๒๕ ให้คณะอนุกรรมการทำลายบัตรเลือกมีหน้าที่ดำเนินการทำลายบัตรเลือกด้วยเครื่องทำลายเอกสารเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ประธานศาลฎีกาประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
หมวด ๓
การเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๓๖ (๓)
ส่วนที่ ๑
การประกาศรับสมัคร
ข้อ ๒๖ ให้ประธานศาลฎีกามีคาสั่งให้เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมเป็นผู้ดำเนินการจัดให้มีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๓๖ (๓) ให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา
ดังต่อไปนี้
(๑) ภายในหกสิบวันก่อนวันครบกำหนดตามวาระ หรือ
(๒) ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่างลงก่อนครบกำหนดตามวาระ
เว้นแต่วาระการอยู่ในตำแหน่งที่ว่างลงนั้นจะเหลือไม่ถึงเก้าสิบวันจะไม่สั่งให้ดำเนินการเลือกซ่อมก็ได้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงได้เป็นเหตุให้ไม่สามารถดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
ให้เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมสามารถขอขยายระยะเวลาดำเนินการเลือกต่อประธานศาลฎีกาได้อีกไม่เกินหกสิบวัน
นับแต่วันครบกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๒๗ ให้เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมดำเนินการเปิดรับสมัครบุคคลเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๓๖ (๓) ไม่น้อยกว่าสิบห้าวันติดต่อกันโดยเปิดเผยให้ทราบเป็นการทั่วไปผ่านทางสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
ข้อ ๒๘ ผู้สมัครต้องไม่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
ซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๙
ให้ผู้สมัครกรอกใบสมัครให้ครบถ้วนสมบูรณ์ตามความเป็นจริง
และนำมายื่นด้วยตนเองต่อสำนักงานศาลยุติธรรม พร้อมทั้งเอกสารและหลักฐานประกอบการสมัครตามแบบท้ายข้อบังคับนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประกาศรับสมัคร
ข้อ ๒๙ ห้ามผู้สมัครกระทำการใด ๆ หรืออาศัยผู้ใดกระทำการอันมีลักษณะเป็นการหาเสียงเพื่อให้ข้าราชการตุลาการลงคะแนนหรืองดเว้นลงคะแนนเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้ ให้นำหลักเกณฑ์การห้ามหาเสียงเลือกกรรมการหรืออนุกรรมการใด
ๆ ตามมาตรา ๑๗ วรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หากผู้สมัครฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง
ให้ถือว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเข้ารับการรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
ส่วนที่ ๒
การตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัคร
ข้อ ๓๐ ให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครตามมาตรา
๓๙ หรือการฝ่าฝืนตามข้อบังคับนี้ โดยอาจขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งข้อมูลเอกสารหลักฐานมาให้เพื่อประกอบการพิจารณาตรวจสอบ
เรียกผู้สมัครหรือผู้เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลเพิ่มเติม หรือประกาศรายชื่อผู้สมัครเพื่อให้บุคคลทั่วไปให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับคุณสมบัติหรือความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิหรือวิธีการอื่นใดตามที่เห็นสมควรก็ได้
แล้วรายงานผลการตรวจสอบคุณสมบัติไปยังคณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
ข้อ ๓๑ ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิรับเลือกที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติและหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกโดยเรียงรายชื่อตามลำดับที่สมัคร
ส่วนที่ ๓
วิธีการเลือก การตรวจนับคะแนนและการประกาศผล
ข้อ ๓๒ นอกจากหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๓๖ (๓) ที่กำหนดไว้โดยเฉพาะในหมวดนี้ ให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๓๖ (๒) ที่กำหนดไว้ในหมวด ๒ มาใช้บังคับแก่การเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๓๖ (๓) โดยอนุโลม
ข้อ ๓๓ บัตรเลือกให้เป็นไปตามแบบท้ายข้อบังคับนี้ และบัตรทุกบัตรต้องมีลายมือชื่อของข้าราชการตุลาการคนหนึ่งที่เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมแต่งตั้งโดยความยินยอมของข้าราชการตุลาการผู้นั้นและรองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมคนหนึ่ง
กำกับไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ ๓๔ ในการเลือกตามวาระนั้น ให้ผู้มีสิทธิรับเลือกซึ่งได้คะแนนมากตามลำดับลงมาตามจำนวนที่กำหนดไว้ในมาตรา
๓๖ (๓) เป็นผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
ในกรณีที่ผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิหลายคนได้คะแนนเท่ากันจนเป็นเหตุให้ไม่สามารถเรียงลำดับผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามจำนวนกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิที่จะมีได้
ให้ทำการจับสลากเพื่อให้ได้ผู้ได้รับเลือกครบตามที่จะพึงมีได้
การจับสลาก
ให้เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้จับโดยเปิดเผยต่อหน้าอนุกรรมการตรวจนับคะแนนไม่น้อยกว่าสามคน
เมื่อทราบผลผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว
ให้ประธานอนุกรรมการตรวจนับคะแนนประกาศชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิต่อหน้าผู้ซึ่งอยู่
ณ สถานที่ที่ทำการตรวจนับคะแนนแล้วปิดประกาศรายชื่อบุคคลดังกล่าวไว้ ณ สถานที่นั้นด้วยและให้คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนรีบรายงานผลการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิต่อคณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
พร้อมทั้งส่งประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิไปยังเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมภายในวันนั้นหรือวันถัดจากวันทราบผลนั้นเป็นอย่างช้า
ในกรณีที่เป็นการเลือกซ่อม ให้นำความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม
และวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด ๔
การเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์[๓]
ส่วนที่ ๑
วิธีการเลือก
ข้อ ๓๕[๔] ภายใต้บังคับข้อ ๑๐ และข้อ ๒๖ เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม อาจจัดให้มีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
ข้อ ๓๖[๕] นอกจากหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะในหมวดนี้
ให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๖
(๒) ที่กำหนดในหมวด ๒ และการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๓๖ (๓) ที่กำหนดในหมวด ๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๗[๖] ระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการเลือก ต้องมีคุณสมบัติอย่างน้อย
ดังต่อไปนี้
(๑) มีระบบรักษาความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือ
(๒) คะแนนที่ได้รับระหว่างดำเนินการเลือกด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ต้องเป็นความลับ
ไม่มีผู้ใดรู้ผลคะแนนล่วงหน้า
(๓) ต้องไม่สามารถทราบได้ว่าข้าราชการตุลาการคนใดลงคะแนนเลือกผู้ใด
(๔) รายงานผลการตรวจนับคะแนนได้ทันทีเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการเลือก
ข้อ ๓๘[๗] ให้เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประกาศให้มีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิและระยะเวลาการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิด้วย
ข้อ ๓๙[๘] ให้ข้าราชการตุลาการซึ่งมีสิทธิเลือกและประสงค์จะลงคะแนน
ตรวจสอบรายชื่อและข้อมูลส่วนบุคคลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
หากพบว่าไม่มีรายชื่อหรือข้อมูลส่วนบุคคลไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง ให้ผู้นั้นแจ้งเลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อดำเนินการให้เพิ่มรายชื่อหรือแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ครบถ้วนหรือถูกต้องภายในระยะเวลาที่กาหนดตามข้อ
๓๘ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมกำหนด
ข้อ ๔๐[๙] ให้ข้าราชการตุลาการซึ่งมีสิทธิเลือกและประสงค์จะลงคะแนน
เข้าระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนดตามข้อ
๓๘ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมกาหนด ทั้งนี้ ให้ถือตามเวลาของระบบอิเล็กทรอนิกส์
ส่วนที่ ๒
การประมวลผลและประกาศผล
ข้อ ๔๑[๑๐] ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเข้าระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดำเนินการให้มีการประมวลผลคะแนนการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมกำหนด
ข้อ ๔๒[๑๑] การดำเนินการตามข้อ ๔๑ ให้กระทำโดยเปิดเผยและเมื่อทราบผลผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ให้ประธานคณะกรรมการดาเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิประกาศชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิต่อหน้าผู้ซึ่งอยู่
ณ สถานที่ที่ทำการประมวลผลแล้วปิดประกาศรายชื่อบุคคลดังกล่าวไว้ ณ สถานที่นั้นด้วย
พร้อมทั้งส่งประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิไปยังเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมภายในวันนั้นหรือวันถัดจากวันทราบผลนั้นเป็นอย่างช้า
ประกาศ ณ วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
ชีพ จุลมนต์
ประธานศาลฎีกา
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๖ (๒) (ก)
๒.
บัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๖ (๒) (ข)
๓.
บัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๖ (๒) (ค)
๔.
บัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๖ (๓)
๕. ใบสมัครเข้ารับการรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๓๖ (๓)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒[๑๒]
ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
พิมพ์มาดา/ธนบดี/จัดทำ
๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
พิไลภรณ์/เพิ่มเติม
๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๑๐๓ ก/หน้า ๑/๔ ธันวาคม ๒๕๖๑
[๒] ข้อ ๔
นิยามคำว่า ระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มโดยข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒
[๓] หมวด ๔ การเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
ส่วนที่ ๑ วิธีการเลือก
ข้อ ๓๕ ถึงข้อ ๔๐ ส่วนที่ ๒ การประมวลผลและประกาศผล ข้อ ๔๑ ถึงข้อ ๔๒ เพิ่มโดยข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒
[๔] ข้อ ๓๕
เพิ่มโดยข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒
[๕] ข้อ ๓๖
เพิ่มโดยข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒
[๖] ข้อ ๓๗
เพิ่มโดยข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒
[๗] ข้อ ๓๘
เพิ่มโดยข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒
[๘] ข้อ ๓๙
เพิ่มโดยข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒
[๙] ข้อ ๔๐
เพิ่มโดยข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒
[๑๐] ข้อ ๔๑
เพิ่มโดยข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒
[๑๑] ข้อ ๔๒
เพิ่มโดยข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒
[๑๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๖๖ ก/หน้า ๕/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒ |
833860 | ข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 | ข้อบังคับของประธานศาลฎีกา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๖๒
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
พ.ศ. ๒๕๖๑ ให้เหมาะสม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๑ ประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.) ออกข้อบังคับไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า
ข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒
ข้อ ๒[๑]
ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้เพิ่มนิยามคำว่า
ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ต่อจากนิยามคำว่า บัตรเลือก ในข้อ ๔ ของข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
พ.ศ. ๒๕๖๑
ระบบอิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า ระบบการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิที่ดำเนินการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมกำหนด
ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด
๔ การเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
ส่วนที่ ๑ วิธีการเลือก ข้อ ๓๕ ถึงข้อ ๔๐ ส่วนที่ ๒ การประมวลผลและประกาศผล ข้อ ๔๑ ถึงข้อ ๔๒ ของข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
พ.ศ. ๒๕๖๑
หมวด ๔
การเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
ส่วนที่ ๑
วิธีการเลือก
ข้อ ๓๕ ภายใต้บังคับข้อ ๑๐ และข้อ ๒๖ เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม อาจจัดให้มีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
ข้อ ๓๖ นอกจากหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะในหมวดนี้
ให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๖
(๒) ที่กำหนดในหมวด ๒ และการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๓๖ (๓) ที่กำหนดในหมวด ๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๗ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการเลือก
ต้องมีคุณสมบัติอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(๑) มีระบบรักษาความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือ
(๒) คะแนนที่ได้รับระหว่างดำเนินการเลือกด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ต้องเป็นความลับ
ไม่มีผู้ใดรู้ผลคะแนนล่วงหน้า
(๓) ต้องไม่สามารถทราบได้ว่าข้าราชการตุลาการคนใดลงคะแนนเลือกผู้ใด
(๔) รายงานผลการตรวจนับคะแนนได้ทันทีเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการเลือก
ข้อ ๓๘ ให้เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประกาศให้มีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิและระยะเวลาการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิด้วย
ข้อ ๓๙ ให้ข้าราชการตุลาการซึ่งมีสิทธิเลือกและประสงค์จะลงคะแนน
ตรวจสอบรายชื่อและข้อมูลส่วนบุคคลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
หากพบว่าไม่มีรายชื่อหรือข้อมูลส่วนบุคคลไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง ให้ผู้นั้นแจ้งเลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมเพื่อดำเนินการให้เพิ่มรายชื่อหรือแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ครบถ้วนหรือถูกต้องภายในระยะเวลาที่กาหนดตามข้อ
๓๘ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมกำหนด
ข้อ ๔๐ ให้ข้าราชการตุลาการซึ่งมีสิทธิเลือกและประสงค์จะลงคะแนน
เข้าระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนดตามข้อ
๓๘ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมกาหนด ทั้งนี้ ให้ถือตามเวลาของระบบอิเล็กทรอนิกส์
ส่วนที่ ๒
การประมวลผลและประกาศผล
ข้อ ๔๑ ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเข้าระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดำเนินการให้มีการประมวลผลคะแนนการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมกำหนด
ข้อ ๔๒ การดำเนินการตามข้อ ๔๑ ให้กระทำโดยเปิดเผยและเมื่อทราบผลผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ให้ประธานคณะกรรมการดาเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิประกาศชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิต่อหน้าผู้ซึ่งอยู่
ณ สถานที่ที่ทำการประมวลผลแล้วปิดประกาศรายชื่อบุคคลดังกล่าวไว้ ณ สถานที่นั้นด้วย
พร้อมทั้งส่งประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิไปยังเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมภายในวันนั้นหรือวันถัดจากวันทราบผลนั้นเป็นอย่างช้า
ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
ชีพ จุลมนต์
ประธานศาลฎีกา
พิไลภรณ์/ผู้จัดทำ
๑๐ กรกฎาคม
๒๕๖๒
/ผู้ตรวจ
๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๖๖ ก/หน้า ๕/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒ |
325846 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ พ.ศ. 2545 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง
และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
พ.ศ. ๒๕๔๕
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ มาตรา ๔๗ และมาตรา ๕๑
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง
การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และการเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ
พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ในระเบียบนี้ หากข้อความมิได้แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
ก.ต. หมายความว่า คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
เลขานุการ ก.ต. หมายความว่า เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล หมายความว่า
คณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาล
เลขานุการ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล หมายความว่า เลขานุการคณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาล
จังหวัด หมายความว่า พื้นที่ในเขตอำนาจศาล
ภูมิลำเนา หมายความว่า บ้านที่เกิดหรือเป็นพื้นเพเดิม
ซึ่งอาจจะเป็นจังหวัดอื่นที่มิใช่บ้านเกิดก็ได้
ปริมณฑล หมายความว่า จังหวัดนนทบุรี จังหวัดนครปฐม
จังหวัดปทุมธานีจังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร
ข้อ ๔
ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๕
ให้เลขานุการ ก.ต. เสนอเรื่องการแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง และการโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลพิจารณาจัดทำความเห็นโดยเร็ว
ในกรณีการเลื่อนตำแหน่ง
หากมีการเสนอชื่อข้ามลำดับอาวุโสให้ระบุเหตุผลของการดำเนินการเช่นว่านั้นไว้ด้วย
ข้อ ๖
การพิจารณาของ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลในเรื่องการแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง
และการโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลดำเนินการตามหมวด ๔
แห่งระเบียบนี้
หมวด ๒
การแต่งตั้งและการเลื่อนตำแหน่ง
ข้อ ๗
การแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ให้พิจารณาถึงความรู้ความสามารถพื้นฐาน
ได้แก่ การพิจารณาพิพากษาคดี การเรียงคำพิพากษา การบริหารงานคดี ความรับผิดชอบ
ความซื่อสัตย์สุจริต ความไว้วางใจได้ ความวิริยะอุตสาหะ ชื่อเสียงเกียรติคุณ ประวัติการศึกษาอบรมและการรับราชการ
การดำรงตนของตนเองและคู่ครอง มารยาทสังคม และทัศนคติ
ประกอบกับแบบการประเมินบุคคลและรายงานการปฏิบัติราชการของข้าราชการตุลาการผู้นั้นว่ามีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่จะแต่งตั้งตามที่ระบุไว้ท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๘
การแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารงานศาล นอกจากพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ
๗ แล้ว ต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถในการบริหาร ความเป็นผู้นำ การแก้ปัญหา
การตัดสินใจ มนุษยสัมพันธ์ ความเอาใจใส่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เพื่อรักษาประโยชน์ของทางราชการและประชาชน
ประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับคดีสำคัญ ความเสียสละ
และการอุทิศตนเพื่อประโยชน์แก่ราชการศาลยุติธรรมรวมทั้งผลงานของผู้นั้นด้วย
ข้อ ๙
การแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ดำรงตำแหน่งในศาลชำนัญพิเศษตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค และผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
นอกจากพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ ๗ แล้ว ต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถเกี่ยวกับงานของศาลนั้นและความเหมาะสมกับตำแหน่งประกอบด้วย
ข้อ ๑๐
การเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตุลาการซึ่งดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
ให้เสนอแต่งตั้งจากข้าราชการตุลาการที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาลมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี
และผ่านการประเมินความเหมาะสมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมกำหนดอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาล
ข้อ ๑๑ การเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตุลาการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลชั้นต้น
ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ผู้พิพากษาศาลฎีกา
หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า ให้เลขานุการ ก.ต. จัดให้มีการสุ่มตัวอย่างผลงานการพิจารณาพิพากษาคดีหรืองานอื่นในหน้าที่รับผิดชอบของผู้ได้รับการเสนอแต่งตั้งย้อนหลังไปไม่เกินสามปีมาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
ข้อ ๑๒
ให้เลขานุการ ก.ต. จัดให้มีการประเมินบุคคลตามแบบการประเมินบุคคลและรายงานการปฏิบัติราชการของข้าราชการตุลาการท้ายระเบียบนี้เป็นประจำทุกปี
โดยให้ผู้ที่รับผิดชอบการประเมินส่งผลการประเมินไปถึงสำนักงานศาลยุติธรรมภายในเดือนเมษายนของแต่ละปี
ผู้รับการประเมินมีสิทธิขอตรวจดูการประเมินและผลการประเมินได้ตามวิธีการที่สำนักงานศาลยุติธรรมกำหนด
หมวด ๓
การโยกย้ายแต่งตั้ง
ข้อ ๑๓
การโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการตุลาการประจำปีมีสองวาระ ดังนี้
วาระปกติ พิจารณาดำเนินการประมาณเดือนสิงหาคมของแต่ละปี
สำหรับข้าราชการตุลาการทุกตำแหน่ง
ทั้งการโยกย้ายแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนผู้มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในแต่ละปีงบประมาณ
และการโยกย้ายแต่งตั้งเพื่อสับเปลี่ยนตำแหน่งโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑
ตุลาคมของปีนั้นสำหรับผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนผู้มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์
และให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ของปีถัดไปสำหรับผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
วาระพิเศษ พิจารณาดำเนินการประมาณเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไปสำหรับการโยกย้ายแต่งตั้งเพิ่มเติมตามความจำเป็น
ทั้งนี้
เพื่อแก้ไขข้อขัดข้องในการโยกย้ายแต่งตั้งตามวาระปกติ
ข้อ ๑๔
ตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามมาตรา ๑๓ (๑) (ข) ได้แก่ รองประธานศาลฎีกาและผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า สามารถสับเปลี่ยนตำแหน่งกันได้ทุกตำแหน่งโดยไม่มีผลกระทบต่อลำดับอาวุโส
ข้อ ๑๕
ตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามมาตรา ๑๓ (๑) (ข) ได้แก่ รองประธานศาลฎีกา
ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
และผู้พิพากษาศาลฎีกา หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่าสามารถสับเปลี่ยนกับตำแหน่งตามมาตรา
๑๓ (๒) (ก) ได้แก่ ประธานศาลอุทธรณ์ และประธานศาลอุทธรณ์ภาค ได้ทุกตำแหน่งโดยไม่มีผลกระทบต่อลำดับอาวุโส
ข้อ ๑๖
ตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามมาตรา ๑๓ (๒) (ข) ได้แก่ รองประธานศาลอุทธรณ์
รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ และผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค
หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า สามารถสับเปลี่ยนตำแหน่งกันได้ทุกตำแหน่งโดยไม่มีผลกระทบต่อลำดับอาวุโส
ข้อ ๑๗
ตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามมาตรา ๑๓ (๓) (ก) ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
อธิบดีผู้พิพากษาภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล และผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลชั้นต้น
หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า สามารถสับเปลี่ยนตำแหน่งกันได้ทุกตำแหน่งโดยไม่มีผลกระทบต่อลำดับอาวุโส
ข้อ ๑๘
การพิจารณาโยกย้ายแต่งตั้ง ไม่ให้ถือว่ามีศาลแขวง ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดหรือศาลจังหวัดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวเป็นศาลที่มีความสำคัญน้อยกว่าศาลจังหวัดในท้องที่นั้น
ๆ
ข้อ ๑๙
การแต่งตั้งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลหรือผู้พิพากษาศาลชั้นต้นไปดำรงตำแหน่งในจังหวัดที่เป็นภูมิลำเนาของผู้นั้นหรือของคู่สมรสจะกระทำมิได้
เว้นแต่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล หรือกรณีมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งเป็นพิเศษเฉพาะราย
ข้อ ๒๐
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและผู้พิพากษาศาลชั้นต้นให้รับราชการในจังหวัดที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้จังหวัดละไม่เกินสี่ปี
โดยให้นับระยะเวลารวมถึงการช่วยราชการในจังหวัดนั้นด้วย
ข้อ ๒๑
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่ดำรงตำแหน่งในศาลภูมิภาคต้องรับราชการในศาลนั้นอย่างน้อยสองปีจึงจะได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายได้
เว้นแต่ในศาลกลุ่มพิเศษตามบัญชีลำดับศาลที่ ก.ต. กำหนด
ให้ได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายได้เมื่อรับราชการในศาลนั้นครบหนึ่งปี
หรือเว้นแต่กรณีผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวง ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด
หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดซึ่งศาลตั้งอยู่ที่อำเภอ
ของจังหวัดนั้นประสงค์จะดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัด
ให้ได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายได้
การแต่งตั้งให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลไปดำรงตำแหน่งในศาลชั้นต้นในจังหวัดที่ผู้นั้นเคยดำรงตำแหน่งหรือเคยช่วยทำงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลมาก่อนจะกระทำมิได้
เว้นแต่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ข้อ ๒๒
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่รับราชการในศาลภูมิภาคยังไม่ครบระยะเวลาตามข้อ
๒๑ หากมีความจำเป็นอาจได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายมารับราชการที่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครได้
แต่จะขอโยกย้ายไปรับราชการในศาลภูมิภาคอีกไม่ได้จนกว่าจะครบสี่ปี
หรือจนกว่าจะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาล เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการศาลยุติธรรม
ข้อ ๒๓
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่มีความจำเป็นและประสงค์ไม่ออกไปดำรงตำแหน่งในศาลภูมิภาคอาจได้รับการพิจารณาให้รับราชการที่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครได้
แต่จะขอโยกย้ายไปรับราชการในศาลภูมิภาคอีกไม่ได้จนกว่าจะครบสี่ปี
หรือจนกว่าจะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาล เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการศาลยุติธรรม
ข้อ ๒๔
ให้ผู้พิพากษาประจำศาลรับราชการที่ศาลชั้นต้นในเขตกรุงเทพมหานคร
ยกเว้นศาลจังหวัดมีนบุรีและศาลแขวงตามระยะเวลาที่ ก.ต. เห็นสมควรกำหนด โดยให้โยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งตามวาระประจำปีตามข้อ
๑๓ ได้ปีละสองวาระ
ข้อ ๒๕
การแต่งตั้งผู้พิพากษาอาวุโสไปดำรงตำแหน่งในจังหวัดที่เป็นภูมิลำเนาของผู้นั้นหรือของคู่สมรสจะกระทำมิได้
เว้นแต่ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค
หรือกรณีมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งเป็นพิเศษเฉพาะราย
ข้อ ๒๖
ผู้พิพากษาอาวุโสให้รับราชการในจังหวัดที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้จังหวัดละไม่เกินห้าปี
โดยให้นับระยะเวลารวมถึงการช่วยราชการในจังหวัดนั้นด้วย
ผู้พิพากษาอาวุโสให้รับราชการที่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑลได้ศาลละไม่เกินห้าปี
โดยให้นับระยะเวลารวมถึงการช่วยราชการในศาลนั้นด้วย เว้นแต่ในศาลชำนัญพิเศษ
ข้อ ๒๗
ผู้พิพากษาอาวุโสที่ดำรงตำแหน่งในศาลภูมิภาคต้องรับราชการในศาลนั้นอย่างน้อยสองปี
จึงจะได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายได้ เว้นแต่ในศาลกลุ่มพิเศษตามบัญชีลำดับศาลที่
ก.ต. กำหนด ให้ได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายได้เมื่อรับราชการในศาลนั้นครบหนึ่งปี
ข้อ ๒๘
ผู้พิพากษาอาวุโสที่รับราชการในศาลภูมิภาคยังไม่ครบระยะเวลาตามข้อ ๒๗
หากมีความจำเป็นอาจได้รับการพิจารณาให้โยกย้ายมารับราชการที่ศาลในเขตกรุงเทพมหานครได้
แต่จะขอโยกย้ายไปรับราชการในศาลภูมิภาคอีกไม่ได้จนกว่าจะครบสี่ปี เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการศาลยุติธรรม
ข้อ ๒๙
ในกรณีที่มีความเหมาะสมและเพื่อประโยชน์อย่างยิ่งแก่ราชการ ศาลยุติธรรม
ก.ต. อาจมีมติด้วยคะแนนเสียงสองในสามของจำนวนกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
ยกเว้นหลักเกณฑ์ในการโยกย้ายแต่งตั้งตามระเบียบนี้ได้
หมวด ๔
วิธีดำเนินการของ
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล
ข้อ ๓๐
การพิจารณาของ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลในเรื่องการแต่งตั้งและการเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตุลาการให้ดำเนินการ
ดังนี้
(๑) การแต่งตั้งประธานศาลฎีกาและผู้พิพากษาอาวุโส
หรือตำแหน่งอื่นตามที่ก.ต. เห็นสมควรให้เป็นการประชุมร่วมกันระหว่าง อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลทุกชั้นศาล โดยให้ประธาน อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลผู้มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้เรียกประชุม
(๒)
การเลื่อนตำแหน่งผู้พิพากษาในศาลชั้นอุทธรณ์ไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาในศาลฎีกาและการแต่งตั้งประธานศาลอุทธรณ์และประธานศาลอุทธรณ์ภาค
ให้เป็นการประชุมร่วมกันระหว่าง อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา
โดยให้ประธาน อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลนั้นผู้มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้เรียกประชุม
(๓)
การเลื่อนตำแหน่งผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาในศาลชั้นอุทธรณ์ให้เป็นการประชุมร่วมกันระหว่าง
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลอุทธรณ์และศาลชั้นต้นโดยให้ประธาน อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลนั้นผู้มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้เรียกประชุม
ข้อ ๓๑
การประชุมของ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล หากมีข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่ไม่ชัดเจน ที่ประชุมอาจเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้
ในกรณีที่มีการอภิปรายไปในทางที่เป็นผลร้ายแก่บุคคลใดจะต้องดำเนินการให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนั้น
รวมทั้งให้โอกาสบุคคลนั้นชี้แจงก่อน เว้นแต่จะปรากฏพยานหลักฐานเป็นที่ชัดแจ้งอยู่แล้ว
ข้อ ๓๒ อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลมีสิทธิแสวงหาข้อมูลในด้านต่าง ๆ ของบุคคลที่เลขานุการ ก.ต.
เสนอชื่อเพื่อประกอบการพิจารณาได้
ให้เลขานุการ ก.ต. อำนวยความสะดวกแก่ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลในการที่จะเข้าตรวจดูข้อมูลภายในศาลยุติธรรม
และให้ความร่วมมือในการให้ได้มาซึ่งข้อมูลภายนอกศาลยุติธรรม
ข้อ ๓๓
ในการประชุม อ.ก.ต. ประจำชั้นศาล ให้อนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาลทุกคนลงความเห็นว่าเห็นด้วยหรือไม่กับบุคคลที่เลขานุการ
ก.ต. เสนอชื่อให้พิจารณาพร้อมระบุเหตุผลเพื่อประกอบการพิจารณาของ ก.ต.
อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาลอาจเสนอข้อมูลของบุคคลอื่นที่เห็นว่าเป็นผู้ที่เหมาะสมกว่าบุคคลที่เลขานุการ
ก.ต. เสนอชื่อเพื่อประกอบการพิจารณาของ ก.ต. ด้วยก็ได้
ข้อ ๓๔
ให้เลขานุการ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลจัดทำรายงานสรุปผลการพิจารณาของ อ.ก.ต.
ประจำชั้นศาล โดยมีสาระสำคัญครบถ้วนเสนอต่อ ก.ต.
หมวด ๕
การเลื่อนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
ข้อ ๓๕
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า เมื่ออยู่ในชั้น ๒ มาครบห้าปีนับแต่วันที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งให้เลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้น ๓ ขั้นต่ำ
ข้อ ๓๖
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรือตำแหน่งอื่นที่ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นเมื่ออยู่ในชั้น
๓ ขั้นต่ำมาครบสามปีนับแต่วันที่ได้รับการเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้น
๓ ขั้นต่ำตามข้อ ๓๕ แล้ว ให้เลขานุการ ก.ต. เสนอให้เลื่อนขั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้น
๓ ขั้นสูงสุดต่อ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลเพื่อจัดทำความเห็นประกอบการพิจารณาของ ก.ต.
โดยเร็ว
การพิจารณาของ ก.ต. ตามวรรคหนึ่ง
ให้พิจารณารายงานการประเมินบุคคลและการปฏิบัติราชการประจำปีของข้าราชการตุลาการผู้นั้นประกอบด้วย
หากจะพิจารณาไม่ให้ผู้ใดเลื่อนขั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้น ๓
ขั้นสูงสุด ให้เลขานุการ ก.ต. ดำเนินการให้มีการสุ่มตัวอย่างผลงานการพิจารณาพิพากษาคดีของผู้นั้นย้อนหลังไปไม่เกินสามปีมาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
หมวด ๖
การประเมินสมรรถภาพของผู้พิพากษาอาวุโส
ข้อ ๓๗
ให้เลขานุการ ก.ต. จัดให้มีการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ
รวมทั้งการประเมินบุคคลและผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาอาวุโสว่ามีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสต่อไปหรือไม่
โดยให้เสนอรายชื่อบุคคลให้ ก.ต. แต่งตั้งเป็นคณะกรรมการประเมินจำนวนไม่น้อยกว่าเก้าคนแต่ไม่เกินสิบสองคน
ซึ่งในจำนวนนี้ต้องเป็นคณะกรรมการแพทย์จำนวนไม่น้อยกว่าสามคน
แล้วเสนอผลการประเมินต่อ อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลทุกชั้นศาลเพื่อจัดทำความเห็นประกอบการพิจารณาของ
ก.ต. ให้แล้วเสร็จก่อนวันสิ้นปีงบประมาณที่ผู้พิพากษาอาวุโสผู้นั้นจะมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน
ข้อ ๓๘
ให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินบุคคลตามแบบการประเมินบุคคลและรายงานการปฏิบัติราชการของข้าราชการตุลาการตามข้อ
๑๒ มาใช้แก่การประเมินบุคคลของผู้พิพากษาอาวุโสด้วยโดยอนุโลม
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๓๙
มิให้นำความในข้อ ๑๑ มาใช้บังคับแก่การพิจารณาเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตุลาการประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๕
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
สันติ ทักราล
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
การประเมินบุคคลและรายงานการปฏิบัติราชการของข้าราชการตุลาการประจำปี พ.ศ. ....
๒. มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๗๕ ก/หน้า ๔/๘ สิงหาคม ๒๕๔๕ |
323192 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยองค์ประกอบ หลักเกณฑ์ วิธีการแต่งตั้ง และวิธีการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยองค์ประกอบ
หลักเกณฑ์ วิธีการแต่งตั้ง และวิธีดำเนินงาน
ของคณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๔๓
โดยที่เป็นการสมควรเพิ่มเติมระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยองค์ประกอบ หลักเกณฑ์ วิธีการแต่งตั้ง และวิธีการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมให้เหมาะสมและชัดเจนยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๗ วรรคสี่
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยองค์ประกอบ
หลักเกณฑ์ วิธีการแต่งตั้ง และวิธีการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ให้เพิ่มเติมข้อความดังต่อไปนี้เป็นข้อ ๑๓/๑
ข้อ ๑๓/๑
อ.ก.ต. ประจำชั้นศาลมีอำนาจหน้าที่กลั่นกรองเสนอความเห็นเกี่ยวกับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
การโยกย้ายแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง การลงโทษข้าราชการตุลาการ หรือกรณีอื่น ๆ
ตามที่กฎหมายบัญญัติในชั้นศาลนั้น ต่อ ก.ต. เพื่อประกอบการพิจารณา
โดยดำเนินการตามวิธีการที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ และตามที่ ก.ต. มีมติ หรือมอบหมาย
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓
สันติ ทักราล
ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีภาษีอากรในศาลฎีกา
ทำการแทนประธานศาลฎีกา
ทำหน้าที่เป็นประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๑๑๔ ก/หน้า ๒๕/๑ ธันวาคม ๒๕๔๓ |
325346 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการสอบคัดเลือก เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. 2545 | ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ว่าด้วยการสมัครและการสอบคัดเลือก
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ
ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
พ.ศ. ๒๕๔๕
โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยการสมัครและการสอบคัดเลือก
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสอง และมาตรา ๓๐ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัครและการสอบคัดเลือก
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ในระเบียบนี้
ก.ต. หมายความว่า คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการสอบคัดเลือกที่ ก.ต.
แต่งตั้งขึ้นเพื่อทำการสอบคัดเลือกผู้สมัคร
ผู้สมัคร หมายความว่า ผู้สมัครสอบคัดเลือกตามมาตรา ๒๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๔
เมื่อสมควรจะมีการสอบคัดเลือกเมื่อใด ให้เลขานุการ ก.ต. เสนอขอความเห็นชอบจาก
ก.ต. เพื่อจัดให้มีการสอบคัดเลือก ให้ ก.ต. ประกาศเกี่ยวกับการรับสมัคร
และแต่งตั้งคณะกรรมการสอบคัดเลือกขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานกรรมการ
รองประธานกรรมการ ๔ คน และกรรมการตามจำนวนที่จำเป็น ทั้งนี้ โดย ก.ต.
จะแต่งตั้งประธานกรรมการและรองประธานกรรมการก็ได้
แล้วให้ประธานกรรมการและรองประธานกรรมการร่วมกันจัดทำรายชื่อผู้ซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการเสนอ
ก.ต. พิจารณาแต่งตั้งต่อไป
การแต่งตั้งประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ
และกรรมการตามวรรคหนึ่งให้คำนึงถึงคุณสมบัติ ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ในการสอน
และการเป็นกรรมการสอบวิชากฎหมายของผู้ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งเป็นส่วนสำคัญ
ข้อ ๕
ในกรณีที่ระเบียบนี้มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะทำงานออกประกาศ
หรือกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการสอบคัดเลือกตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๖
การสอบคัดเลือกของผู้สมัครให้มีทั้งการสอบข้อเขียนและการสอบปากเปล่า
วิชาที่สอบคัดเลือกคือ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง
กฎหมายรัฐธรรมนูญ ภาษาอังกฤษ
และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
หรือกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา หรือกฎหมายภาษีอากร หรือกฎหมายแรงงาน
หรือกฎหมายล้มละลาย หรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ
ข้อ ๗
การสอบข้อเขียนมี ๓ วัน คือ
(๑) วันที่หนึ่ง วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำนวน ๖ ข้อ และกฎหมายอาญาจำนวน ๔ ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๑๐๐
(๒) วันที่สอง
วิชากฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน จำนวน ๓ ข้อ พระธรรมนูญศาลยุติธรรมกับกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง
จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายรัฐธรรมนูญ จำนวน ๑ ข้อ และให้เลือกสอบในกฎหมายลักษณะวิชา
กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายล้มละลาย
หรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ จำนวน ๒ ข้อ รวมจำนวนข้อสอบทั้งหมด ๗ ข้อ เวลา ๓
ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๗๐ กับภาษาอังกฤษ จำนวนข้อสอบตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร เวลา ๑
ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๑๐ โดยสำหรับลักษณะวิชาที่ให้เลือกสอบ
ผู้สมัครต้องแสดงความจำนงว่าจะสอบลักษณะวิชากฎหมายใดในวันสมัครสอบ
(๓) วันที่สาม
วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จำนวน ๖ ข้อ และกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำนวน ๔
ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๑๐๐
ผู้สอบต้องปฏิบัติตามระเบียบการสอบข้อเขียนท้ายระเบียบนี้โดยเคร่งครัด
และให้ประธานกรรมการรับผิดชอบในการจัดทำรหัสสมุดคำตอบของผู้สอบทุกคนแยกตามวันที่สอบ
โดยไม่ให้รหัสซ้ำกันแล้วเก็บรักษารหัสดังกล่าวไว้ด้วยตนเอง
คณะกรรมการอาจจัดตัวบทกฎหมายที่ไม่มีข้อความอื่นใดไว้ให้ผู้สอบใช้ประกอบการสอบวิชาใดในห้องสอบก็ได้
ผู้สอบที่ขาดสอบ หรือเข้าสอบแต่ไม่ทำคำตอบเลย ในการสอบข้อเขียนวิชากฎหมายวันใดวันหนึ่งจะไม่มีสิทธิเข้าสอบปากเปล่า
ข้อ ๘
ในการตรวจคำตอบแต่ละข้อ ให้องค์คณะซึ่งประกอบด้วยกรรมการสอบคัดเลือกอย่างน้อยสองคนตรวจแล้วให้คะแนนคำตอบตามหลักเกณฑ์การตรวจและการให้คะแนนที่คณะกรรมการกำหนด
และให้ผู้สมัครได้คะแนนคำตอบตามค่าเฉลี่ยที่คำนวณจากคะแนนที่กรรมการสอบคัดเลือกแต่ละคนกำหนดให้
ข้อ ๙
การสอบปากเปล่าให้กระทำโดยวิธีถามผู้สมัครเรียงตัว กำหนดเวลาประมาณคนละ ๒๕
นาที คะแนนเต็ม ๑๐๐ โดยให้กรรมการสอบคัดเลือกแต่ละคนที่ทำการสอบปากเปล่าผู้สมัครให้คะแนนแบ่งตามหัวข้อที่กำหนดในแบบการให้คะแนนการสอบปากเปล่าท้ายระเบียบนี้
และให้ผู้สมัครได้คะแนนการสอบปากเปล่าตามค่าเฉลี่ยที่คำนวณจากคะแนนที่กรรมการสอบคัดเลือกแต่ละคนกำหนดให้
ข้อ ๑๐
ผู้สอบต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ของคะแนนสอบข้อเขียนทั้งหมด
จึงจะมีสิทธิเข้าสอบปากเปล่า และต้องได้คะแนนสอบปากเปล่าไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ของคะแนนสอบปากเปล่า
จึงจะเป็นผู้ผ่านการสอบปากเปล่า เมื่อนำคะแนนสอบข้อเขียนกับคะแนนสอบปากเปล่ารวมกันต้องได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ
๖๐ ของคะแนนทั้งหมดจึงจะอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
ข้อ ๑๑
เมื่อสอบคัดเลือกเสร็จแล้ว ก.ต. จะประกาศรายชื่อผู้ที่อยู่ในเกณฑ์จะได้รับการบรรจุเรียงตามลำดับคะแนนไว้
ณ สำนักงานศาลยุติธรรม
ข้อ ๑๒
ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕
สันติ ทักราล
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แบบการให้คะแนนการสอบปากเปล่าในการสอบคัดเลือก
เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๕ ก/หน้า ๕/๑๑ มกราคม ๒๕๔๕ |
822014 | ข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. 2561 | ข้อบังคับของประธานศาลฎีกา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
พ.ศ. ๒๕๖๑
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๓๖ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ และกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๓๖ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๓๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๑ ประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.) ออกข้อบังคับไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า ข้อบังคับของประธานศาลฎีกา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. ๒๕๖๑
ข้อ ๒[๑] ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(๑) ข้อบังคับประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
พ.ศ. ๒๕๔๔ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๔
(๒) ข้อบังคับประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗ ลงวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๔๗
(๓) ข้อบังคับประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
ข้อ ๔ ในข้อบังคับนี้
กรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ หมายความว่า กรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๖ (๒) หรือ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ แล้วแต่กรณี
การเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ หมายความว่า การเลือกตามวาระหรือการเลือกซ่อม แล้วแต่กรณี
การเลือกตามวาระ หมายความว่า การเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้ดำรงตำแหน่งตามวาระ
การเลือกซ่อม หมายความว่า การเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้ดำรงตำแหน่งแทนตำแหน่งที่ว่างลงก่อนครบกำหนดตามวาระ
ผู้สมัคร หมายความว่า ผู้สมัครเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๓๖ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓
บัตรเลือก หมายความว่า บัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
ข้อ ๕ ให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้รักษาการตามข้อบังคับนี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๖ เมื่อประธานศาลฎีกาได้มีคำสั่งให้มีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมเป็นผู้ดำเนินการจัดให้มีการเลือกโดยวิธีลงคะแนนลับตามวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับนี้
ข้อ ๗ ให้มีคณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
ประกอบด้วย ผู้พิพากษาศาลฎีกา ผู้พิพากษาศาลชั้นอุทธรณ์ และผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ชั้นศาลละสองคนซึ่งประธานศาลฎีกาเป็นผู้คัดเลือก
และเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม เป็นกรรมการ มีหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
การตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครการจัดทำบัญชีรายชื่อบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือก
การตรวจนับคะแนนและประกาศผลการเลือก โดยมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยดำเนินการได้
ในกรณีที่มีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๓๖ (๒) และ (๓) ในคราวเดียวกัน คณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิอาจเป็นกรรมการชุดเดียวกันก็ได้
ให้ประธานศาลฎีกาแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิให้แล้วเสร็จก่อนวันเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่าสามสิบวัน
ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ
ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่แทนประธานกรรมการ
ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งต้องมีกรรมการอยู่พร้อมกันไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
ข้อ ๘ ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยดำเนินการเกี่ยวกับการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิดังนี้
(๑) คณะอนุกรรมการรับและเก็บรักษาบัตรเลือก ประกอบด้วยข้าราชการตุลาการจำนวนสามคน
เป็นอนุกรรมการ
(๒) คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนน ประกอบด้วยข้าราชการตุลาการซึ่งไม่เป็นบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่น้อยกว่าสิบเอ็ดคน
เป็นอนุกรรมการ เว้นแต่ในการเลือกซ่อมให้มีจำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน เป็นอนุกรรมการ
(๓) คณะอนุกรรมการทำลายบัตรเลือก ประกอบด้วยข้าราชการตุลาการจำนวนสามคน
เป็นอนุกรรมการ
(๔) คณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัคร
ประกอบด้วยข้าราชการตุลาการจำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน เป็นอนุกรรมการ
ให้คณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่งแต่ละคณะเลือกอนุกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานอนุกรรมการ
ถ้าประธานอนุกรรมการไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะอนุกรรมการเลือกอนุกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่แทนประธานอนุกรรมการ
ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่งต้องมีอนุกรรมการอยู่พร้อมกันไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง เว้นแต่ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่ง
(๒) หากมีการแยกนับคะแนนแต่ละชั้นศาล ต้องมีอนุกรรมการตรวจนับคะแนนอยู่พร้อมกันไม่น้อยกว่าสี่คน
ให้เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ซึ่งสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมเพื่อช่วยคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่งดำเนินการใด
ๆ ได้ตามความเหมาะสม
ข้อ ๙ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติของกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๓๖ (๓) หรือกระบวนการในการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๓๖ (๒) และ (๓) ให้เป็นหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมเป็นผู้วินิจฉัย
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมให้เป็นที่สุด
หมวด ๒
การเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๓๖ (๒)
ส่วนที่ ๑
วิธีการเลือก
ข้อ ๑๐ ให้ประธานศาลฎีกามีคำสั่งให้เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมเป็นผู้ดำเนินการจัดให้มีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๓๖ (๒) ให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา
ดังต่อไปนี้
(๑) ภายในหกสิบวันก่อนวันครบกำหนดตามวาระ หรือ
(๒) ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่างลงก่อนครบกำหนดตามวาระ
เว้นแต่วาระการอยู่ในตำแหน่งที่ว่างลงนั้นจะเหลือไม่ถึงเก้าสิบวันจะไม่สั่งให้ดำเนินการเลือกซ่อมก็ได้
หรือ
(๓) ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประธานศาลฎีกาได้รับหนังสือแจ้งพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งหรือให้พ้นจากตำแหน่งของข้าราชการตุลาการซึ่งทำให้ตำแหน่งกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่างลงตามมาตรา ๔๑ (๔) เว้นแต่วาระการอยู่ในตำแหน่งที่ว่างลงนั้นจะเหลือไม่ถึงเก้าสิบวันจะไม่สั่งให้ดำเนินการเลือกซ่อมก็ได้
ข้อ ๑๑ ให้เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมจัดทำบัญชีรายชื่อและหมายเลขบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิโดยแยกเป็นข้าราชการตุลาการในแต่ละชั้นศาลตามมาตรา
๓๖ (๒) (ก) (ข) และ (ค) ส่งไปประกาศยังศาลฎีกา ศาลชั้นอุทธรณ์ และศาลชั้นต้น และให้แจ้งกำหนดวัน เวลา
และสถานที่ที่จะทำการเลือกไปด้วย
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
ประสงค์จะเผยแพร่ประวัติการรับราชการ ผลงานและวิสัยทัศน์แก่ผู้มีสิทธิเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ ให้จัดทำข้อมูลตามวิธีการที่คณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิกำหนด
ข้อ ๑๓ ให้เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมจัดส่งบัญชีรายชื่อและหมายเลขบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ
๑๑ และส่งบัตรเลือกพร้อมทั้งแจ้งกำหนดวันสุดท้ายที่จะต้องส่งบัตรเลือกกลับให้ถึงสำนักงานศาลยุติธรรม
รวมตลอดถึงกำหนด วัน เวลา และสถานที่ที่จะทำการตรวจนับคะแนนไปยังผู้มีสิทธิเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามวิธีการที่คณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิกำหนด ในการนี้ ให้เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมเผยแพร่ข้อมูลตามข้อ
๑๒ ตามวิธีการที่คณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิกำหนดด้วย
ทั้งนี้ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนกำหนดวันสุดท้ายที่จะต้องส่งบัตรเลือกให้ถึงสำนักงานศาลยุติธรรมไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
ในกรณีเลือกซ่อม
ให้แจ้งชั้นศาลและจำนวนตำแหน่งกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิที่ว่างไปด้วย
ก่อนกำหนดวันสุดท้ายที่จะต้องส่งบัตรเลือกให้ถึงสำนักงานศาลยุติธรรมเจ็ดวัน
ถ้าผู้มีสิทธิเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิผู้ใดยังไม่ได้รับบัญชีรายชื่อและหมายเลขบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิพร้อมด้วยบัตรเลือก
ให้ผู้นั้นรายงานเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเพื่อดำเนินการให้ตนมีโอกาสใช้สิทธิเลือกภายในกำหนดวันสุดท้ายที่จะต้องส่งบัตรเลือกให้ถึงสำนักงานศาลยุติธรรม
ข้อ ๑๔ บัตรเลือกให้เป็นไปตามแบบท้ายข้อบังคับนี้ และบัตรทุกบัตรต้องมีลายมือชื่อของข้าราชการตุลาการคนหนึ่งซึ่งไม่เป็นบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิที่เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมแต่งตั้งโดยความยินยอมของข้าราชการตุลาการผู้นั้นและรองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมคนหนึ่ง
กำกับไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ ๑๕ ให้ข้าราชการตุลาการซึ่งมีสิทธิเลือกและประสงค์จะลงคะแนน
เขียนหมายเลขผู้ซึ่งตนเลือกลงในบัตรเลือกด้วยตนเอง
แล้วใส่ซองที่เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมจัดส่งไปให้ปิดผนึกส่งไปยังเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
ถ้าจะส่งทางไปรษณีย์ให้ส่งโดยลงทะเบียนให้ถึงสำนักงานศาลยุติธรรมในวันเวลาที่กำหนด
หรือมอบหมายให้หัวหน้าหน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้นำส่งก็ได้
ในกรณีดังกล่าวให้หัวหน้าหน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมมีหน้าที่รวบรวมบัตรเลือกของข้าราชการตุลาการในศาลและนำส่งบัตรเลือกกลับให้ถึงสำนักงานศาลยุติธรรมภายในวันเวลาที่กำหนด
ส่วนที่ ๒
การตรวจนับคะแนนและการประกาศผล
ข้อ ๑๖ ให้คณะอนุกรรมการรับและเก็บรักษาบัตรเลือกมีหน้าที่ตรวจรับและรวบรวมบัตรเลือกที่ส่งมายังเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
รวมทั้งจัดทำบัญชีจำนวนบัตรเลือกของแต่ละชั้นศาลที่ได้รับมาในแต่ละวัน โดยในแต่ละวันให้แยกบัตรเลือกของแต่ละชั้นศาลที่ได้รับบรรจุซองหรือห่อไว้เพื่อมิให้บัตรเลือกของแต่ละชั้นศาลปะปนกัน
และเก็บบัตรเลือกทั้งหมดไว้ด้วยกันในซองใหญ่พร้อมกับปิดผนึกลงวันที่และลงลายมือชื่อคณะอนุกรรมการรับและเก็บรักษาบัตรเลือกกำกับรอยปิดผนึกแล้วเก็บรักษาเป็นเรื่องลับมากไว้ที่สำนักงานศาลยุติธรรม
และส่งมอบให้คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนในวันตรวจนับคะแนน
ในการนี้
ให้คณะอนุกรรมการรับและเก็บรักษาบัตรเลือกแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ซึ่งสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมจำนวนไม่น้อยกว่าสองคนทำหน้าที่รับซองบัตรเลือกและจดเลขที่ของซองบัตรเลือกที่ได้รับเพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าได้รับบัตรเลือกแล้ว
ข้อ ๑๗ ให้คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนมีอำนาจและหน้าที่
ดังต่อไปนี้
(๑) รักษาความสงบเรียบร้อยในสถานที่ตรวจนับคะแนน
(๒) ตรวจสอบบัญชีรายชื่อและหมายเลขบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ และบัญชีรายชื่อข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรมผู้มีสิทธิเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(๓) ตรวจสอบบัตรเลือก และการอื่นใดเกี่ยวกับการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
เพื่อให้การเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเป็นไปด้วยความเรียบร้อยบริสุทธิ์
และยุติธรรม
(๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
ตรวจนับคะแนนและประกาศผลการตรวจนับคะแนนตามที่กำหนดในข้อบังคับนี้
ข้อ ๑๘ ในการตรวจนับคะแนน
ให้คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนเปิดซองบัตรเลือกและให้คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนวินิจฉัยว่าบัตรเลือกนั้นเป็นบัตรดี
บัตรเสียบางส่วน หรือบัตรเสียแล้วดำเนินการนับคะแนนสำหรับบัตรดีและบัตรเสียบางส่วนเฉพาะส่วนที่ไม่เสีย
บัตรเสียบางส่วนหรือบัตรเสีย
ให้อนุกรรมการตรวจนับคะแนนสลักหลังว่า เสียบางส่วนหรือ เสีย แล้วแต่กรณี แล้วให้อนุกรรมการตรวจนับคะแนนไม่น้อยกว่าสี่คนลงลายมือชื่อกำกับไว้
เมื่อการตรวจนับคะแนนสิ้นสุดลง
ให้คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนเก็บบัตรเลือกที่ใช้นับคะแนนโดยแยกบัตรเสียบางส่วนและบัตรเสียบรรจุซองหรือห่อไว้ต่างหากเพื่อมิให้ปะปนกับบัตรเลือกอื่นและเก็บบัตรเลือกที่ใช้นับคะแนนทั้งหมดไว้ด้วยกันในหีบโดยปิดหีบใส่กุญแจประจำครั่งทับรูกุญแจไว้หากเป็นหีบบัตรเลือกที่มีช่อง
ให้เอากระดาษปิดทับช่องไว้โดยลงลายมือชื่อคณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนไว้บนกระดาษนั้นด้วย
และเก็บรักษาไว้ที่สำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อส่งมอบให้คณะอนุกรรมการทำลายบัตรเลือกดำเนินการต่อไปตามข้อ
๒๕
การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม ให้กระทำในวัน
เวลา สถานที่ที่กำหนดในข้อ ๑๓ วรรคหนึ่ง และต้องกระทำโดยเปิดเผยให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้าร่วมสังเกตการณ์ได้และให้กระทำจนเสร็จในรวดเดียว
ข้อ ๑๙ บัตรเลือกต่อไปนี้ ให้ถือเป็นบัตรเสียและไม่ให้นับคะแนน
(๑) ในกรณีการเลือกตามวาระ
(ก) บัตรที่มิใช่บัตรฉบับที่เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมส่งไปให้หรือบัตรที่ไม่มีลายมือชื่อตามข้อ
๑๔ กำกับเป็นหลักฐาน
(ข) บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเกินจำนวนที่กฎหมายกำหนด
(ค) บัตรที่มิได้เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเลย
(ง) บัตรที่เขียนหมายเลขอื่นที่ไม่มีในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหมด
(จ) บัตรที่ผู้เลือกมิได้เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหมดด้วยตนเอง
(ฉ) บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการในแต่ละชั้นศาลตามมาตรา
๓๖ (๒) (ก) (ข) และ (ค) โดยผู้เลือกไม่มีสิทธิเลือกทั้งหมด
(ช) บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเลอะเลือนหรือไม่ชัดเจนทั้งหมดจนไม่สามารถทราบเจตนาอันแท้จริงของผู้เลือกได้ว่าลงคะแนนให้แก่ผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิหมายเลขใด
(ซ) บัตรที่ไปถึงสำนักงานศาลยุติธรรมพ้นกำหนดวันสุดท้ายที่เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมให้ส่งตามข้อ
๑๓ วรรคหนึ่ง
(๒) ในกรณีการเลือกซ่อม
(ก) บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเกินจำนวนตำแหน่งที่ว่าง
(ข) บัตรที่มีกรณีตาม (๑) (ก) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) หรือ
(ซ)
ข้อ ๒๐ บัตรเลือกต่อไปนี้ให้ถือเป็นบัตรเสียบางส่วน
ไม่ให้นับคะแนนส่วนที่เสียและให้นับคะแนนส่วนที่ไม่เสียเท่านั้น
(๑) บัตรที่เขียนหมายเลขอื่นที่ไม่มีในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิปนกับหมายเลขที่มีในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(๒) บัตรที่ผู้เลือกมิได้เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิคนใดด้วยตนเอง
(๓) บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการในแต่ละชั้นศาลตามมาตรา
๓๖ (๒) (ก) (ข) และ (ค) โดยผู้เลือกไม่มีสิทธิเลือกเป็นบางคน
(๔) บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิซ้ำกับหมายเลขที่เขียนไว้ก่อนแล้ว
(๕) บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิบางหมายเลขเลอะเลือนหรือไม่ชัดเจนจนไม่สามารถทราบเจตนาอันแท้จริงของผู้เลือกได้ว่าลงคะแนนให้แก่ผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิหมายเลขใด
ข้อ ๒๑ ในการเลือกตามวาระนั้น
ให้ข้าราชการตุลาการในแต่ละชั้นศาลตามมาตรา ๓๖ (๒) (ก) (ข) และ (ค) ซึ่งได้คะแนนมากตามลำดับลงมาตามจำนวนที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติแห่งมาตราดังกล่าว
เป็นผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละชั้นศาล
ในกรณีที่ผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิหลายคนได้คะแนนเท่ากันจนเป็นเหตุให้ไม่สามารถเรียงลำดับผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามจำนวนกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิที่จะมีได้
ให้ทำการจับสลากเพื่อให้ได้ผู้ได้รับเลือกครบตามที่จะพึงมีได้
การจับสลาก
ให้เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้จับโดยเปิดเผยต่อหน้าอนุกรรมการตรวจนับคะแนนไม่น้อยกว่าสามคน
เมื่อทราบผลผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว
ให้ประธานอนุกรรมการตรวจนับคะแนนประกาศชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิต่อหน้าผู้ซึ่งอยู่
ณ สถานที่ที่ทำการตรวจนับคะแนนแล้วปิดประกาศรายชื่อบุคคลดังกล่าวไว้ ณ สถานที่นั้นด้วย และให้คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนรีบรายงานผลการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิต่อคณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
พร้อมทั้งส่งประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิไปยังเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมภายในวันนั้นหรือวันถัดจากวันทราบผลนั้นเป็นอย่างช้า
ในกรณีที่เป็นการเลือกซ่อม ให้นำความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม
และวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๒๒ ให้เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมรายงานผลการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิต่อประธานศาลฎีกาเพื่อดำเนินการประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๓๖ (๒) (ก) (ข) และ (ค) ต่อไป
ข้อ ๒๓ ให้ผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๖ (๒) เข้ารับหน้าที่เมื่อประธานศาลฎีกาได้ประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
ข้อ ๒๔ ให้เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมดำเนินการประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๒๕ ให้คณะอนุกรรมการทำลายบัตรเลือกมีหน้าที่ดำเนินการทำลายบัตรเลือกด้วยเครื่องทำลายเอกสารเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ประธานศาลฎีกาประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
หมวด ๓
การเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๓๖ (๓)
ส่วนที่ ๑
การประกาศรับสมัคร
ข้อ ๒๖ ให้ประธานศาลฎีกามีคาสั่งให้เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมเป็นผู้ดำเนินการจัดให้มีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๓๖ (๓) ให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา
ดังต่อไปนี้
(๑) ภายในหกสิบวันก่อนวันครบกำหนดตามวาระ หรือ
(๒) ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่างลงก่อนครบกำหนดตามวาระ
เว้นแต่วาระการอยู่ในตำแหน่งที่ว่างลงนั้นจะเหลือไม่ถึงเก้าสิบวันจะไม่สั่งให้ดำเนินการเลือกซ่อมก็ได้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงได้เป็นเหตุให้ไม่สามารถดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
ให้เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมสามารถขอขยายระยะเวลาดำเนินการเลือกต่อประธานศาลฎีกาได้อีกไม่เกินหกสิบวัน
นับแต่วันครบกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๒๗ ให้เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมดำเนินการเปิดรับสมัครบุคคลเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๓๖ (๓) ไม่น้อยกว่าสิบห้าวันติดต่อกันโดยเปิดเผยให้ทราบเป็นการทั่วไปผ่านทางสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
ข้อ ๒๘ ผู้สมัครต้องไม่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
ซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๙
ให้ผู้สมัครกรอกใบสมัครให้ครบถ้วนสมบูรณ์ตามความเป็นจริง
และนำมายื่นด้วยตนเองต่อสำนักงานศาลยุติธรรม พร้อมทั้งเอกสารและหลักฐานประกอบการสมัครตามแบบท้ายข้อบังคับนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประกาศรับสมัคร
ข้อ ๒๙ ห้ามผู้สมัครกระทำการใด ๆ หรืออาศัยผู้ใดกระทำการอันมีลักษณะเป็นการหาเสียงเพื่อให้ข้าราชการตุลาการลงคะแนนหรืองดเว้นลงคะแนนเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้ ให้นำหลักเกณฑ์การห้ามหาเสียงเลือกกรรมการหรืออนุกรรมการใด
ๆ ตามมาตรา ๑๗ วรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หากผู้สมัครฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง
ให้ถือว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเข้ารับการรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
ส่วนที่ ๒
การตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัคร
ข้อ ๓๐ ให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครตามมาตรา
๓๙ หรือการฝ่าฝืนตามข้อบังคับนี้ โดยอาจขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งข้อมูลเอกสารหลักฐานมาให้เพื่อประกอบการพิจารณาตรวจสอบ
เรียกผู้สมัครหรือผู้เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลเพิ่มเติม หรือประกาศรายชื่อผู้สมัครเพื่อให้บุคคลทั่วไปให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับคุณสมบัติหรือความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิหรือวิธีการอื่นใดตามที่เห็นสมควรก็ได้
แล้วรายงานผลการตรวจสอบคุณสมบัติไปยังคณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
ข้อ ๓๑ ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิรับเลือกที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติและหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกโดยเรียงรายชื่อตามลำดับที่สมัคร
ส่วนที่ ๓
วิธีการเลือก การตรวจนับคะแนนและการประกาศผล
ข้อ ๓๒ นอกจากหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๓๖ (๓) ที่กำหนดไว้โดยเฉพาะในหมวดนี้ ให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๓๖ (๒) ที่กำหนดไว้ในหมวด ๒ มาใช้บังคับแก่การเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๓๖ (๓) โดยอนุโลม
ข้อ ๓๓ บัตรเลือกให้เป็นไปตามแบบท้ายข้อบังคับนี้ และบัตรทุกบัตรต้องมีลายมือชื่อของข้าราชการตุลาการคนหนึ่งที่เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมแต่งตั้งโดยความยินยอมของข้าราชการตุลาการผู้นั้นและรองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมคนหนึ่ง
กำกับไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ ๓๔ ในการเลือกตามวาระนั้น ให้ผู้มีสิทธิรับเลือกซึ่งได้คะแนนมากตามลำดับลงมาตามจำนวนที่กำหนดไว้ในมาตรา
๓๖ (๓) เป็นผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
ในกรณีที่ผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิหลายคนได้คะแนนเท่ากันจนเป็นเหตุให้ไม่สามารถเรียงลำดับผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามจำนวนกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิที่จะมีได้
ให้ทำการจับสลากเพื่อให้ได้ผู้ได้รับเลือกครบตามที่จะพึงมีได้
การจับสลาก
ให้เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้จับโดยเปิดเผยต่อหน้าอนุกรรมการตรวจนับคะแนนไม่น้อยกว่าสามคน
เมื่อทราบผลผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว
ให้ประธานอนุกรรมการตรวจนับคะแนนประกาศชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิต่อหน้าผู้ซึ่งอยู่
ณ สถานที่ที่ทำการตรวจนับคะแนนแล้วปิดประกาศรายชื่อบุคคลดังกล่าวไว้ ณ สถานที่นั้นด้วยและให้คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนรีบรายงานผลการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิต่อคณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
พร้อมทั้งส่งประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิไปยังเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมภายในวันนั้นหรือวันถัดจากวันทราบผลนั้นเป็นอย่างช้า
ในกรณีที่เป็นการเลือกซ่อม ให้นำความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม
และวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ประกาศ ณ วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
ชีพ จุลมนต์
ประธานศาลฎีกา
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๖ (๒) (ก)
๒.
บัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๖ (๒) (ข)
๓.
บัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๖ (๒) (ค)
๔.
บัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๓๖ (๓)
๕. ใบสมัครเข้ารับการรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๓๖ (๓)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พิมพ์มาดา/ธนบดี/จัดทำ
๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๑๐๓ ก/หน้า ๑/๔ ธันวาคม ๒๕๖๑ |
438496 | ข้อบังคับประธานศาลฎีกา ว่าด้ยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2547 | ข้อบังคับประธานศาลฎีกา
ข้อบังคับประธานศาลฎีกา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ผู้ทรงคุณวุฒิ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๔๗
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
ประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.) ออกข้อบังคับไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า ข้อบังคับประธานศาลฎีกา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ
๒[๑]
ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗
ของข้อบังคับประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
พ.ศ. ๒๕๔๔ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๗ บัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิให้เป็นไปตามแบบท้ายข้อบังคับนี้และบัตรทุกบัตรต้องมีลายมือชื่อของข้าราชการตุลาการคนหนึ่งซึ่งไม่เป็นบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิที่เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมแต่งตั้งโดยความยินยอมของข้าราชการตุลาการผู้นั้นและรองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมคนหนึ่ง
กำกับไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ
๔ ให้ยกเลิกความใน (๑) (ก) ของข้อ ๑๔
ของข้อบังคับประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
พ.ศ. ๒๕๔๔ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
(๑) ในกรณีการเลือกตามวาระ
(ก)
บัตรที่มิใช่บัตรฉบับที่เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมส่งไปให้หรือบัตรที่ไม่มีลายมือชื่อตามข้อ
๗ กำกับเป็นหลักฐาน
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ
ประธานศาลฎีกา
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๑๗ ก/หน้า ๑/๒๗ เมษายน ๒๕๔๗ |
621342 | ข้อบังคับการประชุม ก.ต. (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552
| ข้อบังคับ
ข้อบังคับ
การประชุม ก.ต. (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๒
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อบังคับการประชุม
ก.ต. พ.ศ. ๒๕๔๓ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๕ วรรคแปด
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) ออกข้อบังคับการประชุมของ ก.ต. ไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า ข้อบังคับการประชุม
ก.ต. (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ ๒[๑] ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคหนึ่งของข้อ
๑๘ แห่งข้อบังคับการประชุม ก.ต. พ.ศ. ๒๕๔๓
ในการประชุม ก.ต.
ให้กรรมการตุลาการศาลยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการประชุมโดยอิสระ เช่น
การอภิปราย แสดงความคิดเห็น ลงมติ และตีความ ทั้งนี้ ให้รวมถึงเลขานุการ ก.ต. ผู้ช่วยเลขานุการ
ก.ต. ตลอดจนบุคคลซึ่งที่ประชุมอนุญาต
ที่จะกล่าวถ้อยคำใดในทางแถลงข้อเท็จจริงและแสดงความคิดเห็นด้วยโดยอนุโลม
ประกาศ ณ วันที่ ๑๔
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
สบโชค สุขารมณ์
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๙๖ ก/หน้า ๓๔/๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ |
647435 | ข้อบังคับประธานศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. 2544 (ฉบับ Update ณ วันที่ 27/04/2547)
| ข้อบังคับประธานศาลฎีกา
ข้อบังคับประธานศาลฎีกา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
พ.ศ. ๒๕๔๔
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
ประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.)
ออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ข้อบังคับนี้ เรียกว่า ข้อบังคับประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
พ.ศ. ๒๕๔๔
ข้อ ๒[๑]
ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ในข้อบังคับนี้
การเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ"
หมายความว่า การเลือกตามวาระหรือการเลือกซ่อม แล้วแต่กรณี
การเลือกตามวาระ หมายความว่า
การเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้ดำรงตำแหน่งตามวาระ
การเลือกซ่อม หมายความว่า
การเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้ดำรงตำแหน่งแทนตำแหน่งที่วางลงก่อนครบวาระ
ข้อ ๔
เมื่อประธานศาลฎีกาได้มีคำสั่งให้มีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
ให้เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมเป็นผู้ดำเนินการจัดให้มีการเลือกตามวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับนี้
ข้อ ๕
ให้เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมจัดทำบัญชีรายชื่อและหมายเลขบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
โดยแยกเป็นข้าราชการตุลาการในแต่ละชั้นศาลตามมาตรา ๓๖ (๒) (ก) (ข) และ (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๖
ให้เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมจัดส่งบัญชีรายชื่อและหมายเลขบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ
๕ และส่งบัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
พร้อมทั้งแจ้งกำหนดวันสุดท้ายที่จะต้องส่งบัตรเลือกกลับให้ถึงสำนักงานศาลยุติธรรมรวมตลอดถึงกำหนดวัน
เวลา และสถานที่ที่จะทำการตรวจนับคะแนนไปยังผู้มีสิทธิเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
ทั้งนี้ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนกำหนดวันสุดท้ายที่จะต้องส่งบัตรเลือกให้ถึงสำนักงานศาลยุติธรรมไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
ในกรณีเลือกซ่อม
ให้แจ้งชั้นศาลและจำนวนตำแหน่งกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิที่ว่างไปด้วย
ก่อนกำหนดวันสุดท้ายที่จะต้องส่งบัตรเลือกให้ถึงสำนักงานศาลยุติธรรมเจ็ดวันถ้าผู้มีสิทธิเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิผู้ใดยังไม่ได้รับบัญชีรายชื่อและหมายเลขบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิพร้อมด้วยบัตรเลือก
ให้ผู้นั้นรายงานเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเพื่อดำเนินการให้ตนมีโอกาสใช้สิทธิเลือกภายในกำหนดวันสุดท้ายที่จะต้องส่งบัตรเลือกให้ถึงสำนักงานศาลยุติธรรม
ข้อ ๗[๒] บัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิให้เป็นไปตามแบบท้ายข้อบังคับนี้และบัตรทุกบัตรต้องมีลายมือชื่อของข้าราชการตุลาการคนหนึ่งซึ่งไม่เป็นบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิที่เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมแต่งตั้งโดยความยินยอมของข้าราชการตุลาการผู้นั้นและรองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมคนหนึ่ง
กำกับไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ ๘
ให้ข้าราชการตุลาการซึ่งมีสิทธิเลือกและประสงค์จะลงคะแนนกรอกบัตรเลือกโดยเขียนหมายเลขผู้ซึ่งตนเลือกด้วยตนเอง
แล้วใส่ซองบรรจุบัตรเลือกที่เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมจัดส่งไปให้ปิดผนึกส่งไปยังเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
ถ้าจะส่งทางไปรษณีย์ให้ส่งโดยลงทะเบียน
ข้อ ๙
ให้มีคณะกรรมการรับและเก็บรักษาบัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิคณะหนึ่ง
ประกอบด้วยข้าราชการตุลาการสามคนซึ่งเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้แต่งตั้งเป็นกรรมการ
ให้คณะกรรมการรับและเก็บรักษาบัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ซึ่งสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมจำนวนไม่น้อยกว่าสองคน
ให้มีหน้าที่รับซองบัตรเลือกและจดเลขที่ของซองบัตรเลือกที่ได้รับ
เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าได้รับบัตรเลือกแล้ว
คณะกรรมการรับและเก็บรักษาบัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิมีหน้าที่ตรวจรับและรวบรวมบัตรเลือกที่ส่งมายังเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
รวมทั้งจัดทำบัญชีจำนวนบัตรเลือกที่ได้รับมาในแต่ละวัน
โดยในแต่ละวันให้นำบัตรเลือกที่ได้รับนั้นใส่รวมกันไว้ในซองใหญ่พร้อมกับปิดผนึก
ลงวันที่และลงลายมือชื่อคณะกรรมการรับและเก็บรักษาบัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิกำกับรอยปิดผนึกแล้วเก็บรักษาเป็นเรื่องลับมากไว้ที่สำนักงานศาลยุติธรรมและส่งมอบให้คณะกรรมการตรวจนับคะแนนในวันตรวจนับคะแนน
ข้อ ๑๐
ให้มีคณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิคณะหนึ่งประกอบด้วยเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
ผู้พิพากษาศาลฎีกา ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ และผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ชั้นศาลละสองคน
ซึ่งประธานศาลฎีกาเป็นผู้คัดเลือก มีหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
การตรวจนับคะแนนและประกาศผลการเลือกโดยมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการช่วยดำเนินการได้
ข้อ ๑๑
ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนคณะหนึ่ง
ประกอบด้วยข้าราชการตุลาการซึ่งไม่เป็นบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่าสิบเอ็ดคน
เป็นอนุกรรมการ
ให้คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนเลือกอนุกรรมการตรวจนับคะแนนคนหนึ่งเป็นประธาน
ถ้าประธานไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนเลือกอนุกรรมการตรวจนับคะแนนคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานแทน
ในการปฏิบัติหน้าที่ต้องมีอนุกรรมการอยู่พร้อมกันไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
ข้อ ๑๒
คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) รักษาความสงบเรียบร้อยในสถานที่ตรวจนับคะแนน
(๒)
ตรวจสอบบัญชีรายชื่อและหมายเลขบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิและบัญชีรายชื่อข้าราชการตุลาการผู้มีสิทธิเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(๓)
ตรวจสอบบัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ และการอื่นใดอันเกี่ยวกับการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
เพื่อให้การเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
บริสุทธิ์ และยุติธรรม
(๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตรวจนับคะแนนและประกาศผลการตรวจนับคะแนนตามที่กำหนดในข้อบังคับนี้
ข้อ ๑๓
ในการตรวจนับคะแนน ให้คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนเปิดซองบัตรเลือกและให้คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนวินิจฉัยว่าบัตรเลือกนั้นเป็นบัตรดี
บัตรเสียบางส่วนหรือบัตรเสีย
แล้วดำเนินการนับคะแนนสำหรับบัตรดีและบัตรเสียบางส่วนเฉพาะส่วนที่ไม่เสีย
บัตรเสียบางส่วนหรือบัตรเสีย
ให้อนุกรรมการตรวจนับคะแนนสลักหลังว่า เสียบางส่วน หรือ เสีย แล้วแต่กรณี
แล้วให้อนุกรรมการตรวจนับคะแนนไม่น้อยกว่าสี่คนลงลายมือชื่อกำกับไว้
เมื่อการตรวจนับคะแนนสิ้นสุดลงแล้ว
ให้คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนเก็บบัตรเลือกที่ใช้นับคะแนนโดยแยกบัตรเสียบางส่วนและบัตรเสียบรรจุซองหรือห่อไว้ต่างหากเพื่อมิให้ปะปนกับบัตรเลือกอื่น
และเก็บบัตรเลือกที่ใช้นับคะแนนทั้งหมดไว้ด้วยกันในหีบโดยปิดหีบใส่กุญแจประจำครั่งทับรูกุญแจไว้
หากเป็นหีบบัตรเลือกที่มีช่อง ให้เอากระดาษปิดทับช่องไว้โดยลงลายมือชื่อคณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนไว้บนกระดาษนั้นด้วย
และเก็บรักษาไว้ที่สำนักงานศาลยุติธรรม
เพื่อส่งมอบให้คณะกรรมการทำลายบัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิดำเนินการต่อไปตามข้อ
๑๘
การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม ให้กระทำในวัน
เวลา และสถานที่ที่กำหนดในข้อ ๖ วรรคหนึ่ง
และต้องกระทำโดยเปิดเผยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วมสังเกตการณ์ได้และให้กระทำจนเสร็จในรวดเดียว
ข้อ ๑๔ บัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิต่อไปนี้
ให้ถือเป็นบัตรเสียและไม่ให้นับคะแนน
(๑) ในกรณีการเลือกตามวาระ
(ก)[๓] บัตรที่มิใช่บัตรฉบับที่เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมส่งไปให้หรือบัตรที่ไม่มีลายมือชื่อตามข้อ
๗ กำกับเป็นหลักฐาน
(ข)
บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดทั้งสามชั้นศาล
(ค)
บัตรที่มิได้เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเลย
(ง)
บัตรที่เขียนหมายเลขอื่นที่ไม่มีในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหมด
(จ)
บัตรที่ผู้เลือกมิได้เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหมดด้วยตนเอง
(ฉ)
บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
ซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการในแต่ละชั้นศาลตามมาตรา ๓๖ (๒) (ก) (ข) และ (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ สลับช่องทั้งหมด
(ช)
บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหมดเลอะเลือนหรือไม่ชัดเจน
จนไม่สามารถทราบเจตนาอันแท้จริงของผู้เลือกได้ว่าลงคะแนนให้แก่ผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิหมายเลขใด
(ซ)
บัตรที่ไปถึงสำนักงานศาลยุติธรรมพ้นกำหนดวันสุดท้ายที่เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมกำหนดให้ส่งตามข้อ
๖ วรรคหนึ่ง
(๒) ในกรณีการเลือกซ่อม
(ก) บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเกินจำนวนตำแหน่งที่ว่าง
(ข) บัตรที่มีกรณีตาม (๑) (ก) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) หรือ (ซ)
ข้อ ๑๕
บัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิต่อไปนี้ ให้ถือเป็นบัตรเสียบางส่วนไม่ให้นับคะแนนส่วนที่เสียและให้นับคะแนนส่วนที่ไม่เสียเท่านั้น
(๑)
บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะในบางชั้นศาลเกินจำนวนที่กฎหมายกำหนด
(๒)
บัตรที่เขียนหมายเลขอื่นที่ไม่มีในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
ปนกับหมายเลขที่มีในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(๓)
บัตรที่ผู้เลือกมิได้เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิคนใดด้วยตนเอง
(๔) บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
ซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการในแต่ละชั้นศาลตามมาตรา ๓๖ (๒) (ก) (ข) และ (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ สลับช่องบางคน
(๕) บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิซ้ำกับหมายเลขที่เขียนไว้ก่อนแล้ว
(๖) บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิบางหมายเลขเลอะเลือนหรือไม่ชัดเจนจนไม่สามารถทราบเจตนาอันแท้จริงของผู้เลือกได้ว่าลงคะแนนให้แก่ผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิหมายเลขใด
ข้อ ๑๖
ในการเลือกตามวาระนั้น ให้ข้าราชการตุลาการในแต่ละชั้นศาลตาม มาตรา ๓๖ (๒)
(ก) (ข) และ (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.
๒๕๔๓ ซึ่งได้คะแนนมากตามลำดับลงมาตามจำนวนที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติแห่งมาตราดังกล่าวเป็นผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละชั้นศาล
ในกรณีที่ผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิหลายคนได้คะแนนเท่ากันจนเป็นเหตุให้ไม่สามารถเรียงลำดับผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามจำนวนกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิที่จะมีได้
ให้ทำการจับสลาก เพื่อให้ได้ผู้ได้รับเลือกครบตามที่จะพึงมีได้
การจับสลาก
ให้เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้จับโดยเปิดเผยและต่อหน้าอนุกรรมการตรวจนับคะแนนไม่น้อยกว่าสามคน
เมื่อทราบผลผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว
ให้ประธานอนุกรรมการตรวจนับคะแนนประกาศชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิต่อหน้าผู้ซึ่งอยู่
ณ สถานที่ที่ทำการตรวจนับคะแนนแล้วปิดประกาศรายชื่อบุคคลดังกล่าวไว้ ณ สถานที่นั้นด้วย
และให้คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนรีบรายงานผลการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิต่อคณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
พร้อมทั้งส่งประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิไปยังเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมภายในวันนั้นหรือวันถัดจากวันทราบผลนั้นเป็นอย่างช้า
ในกรณีที่เป็นการเลือกซ่อม ให้นำความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง
วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๗
ให้เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมรายงานผลการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิต่อประธานศาลฎีกาเพื่อดำเนินการประกาศชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๓๖ (๒) (ก) (ข) และ (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ต่อไป
ข้อ ๑๘
ให้มีคณะกรรมการทำลายบัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิคณะหนึ่งประกอบด้วยรองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมคนหนึ่งซึ่งเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมมอบหมายเป็นประธานกรรมการและข้าราชการตุลาการอีกสองคนซึ่งเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมแต่งตั้งเป็นกรรมการเพื่อดำเนินการทำลายบัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิด้วยเครื่องทำลายเอกสารเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ประธานศาลฎีกาประกาศชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
ข้อ ๑๙
ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามข้อบังคับนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๔
สันติ ทักราล
ประธานศาลฎีกา
[เอกสารแนบท้าย]
๑.[๔] บัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ข้อบังคับประธานศาลฎีกา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๔๗[๕]
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๘/ตอนที่ ๙๕ ก/หน้า ๑/๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๔
[๒] ข้อ ๗
แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับประธานศาลฎีกา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๔๗
[๓] ข้อ ๑๔ (๑) (ก)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับประธานศาลฎีกา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๔๗
[๔] บัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับประธานศาลฎีกา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๔๗
[๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๑๗ ก/หน้า ๑/๒๗ เมษายน ๒๕๔๗ |
571594 | ข้อบังคับประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ผู้ทรงคุณวุฒิ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551
| ข้อบังคับประธานศาลฎีกา
ข้อบังคับประธานศาลฎีกา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ผู้ทรงคุณวุฒิ (ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๕๑
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อบังคับประธานศาลฎีกา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. ๒๕๔๔
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
ประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.)
ออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า ข้อบังคับประธานศาลฎีกา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ (ฉบับที่
๓) พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๒[๑] ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกแบบบัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิท้ายข้อบังคับประธานศาลฎีกา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. ๒๕๔๔
และให้ใช้แบบบัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิท้ายข้อบังคับนี้แทน
ในกรณีเลือกซ่อม
ให้จำนวนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกในแบบบัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิของแต่ละชั้นศาลเท่ากับจำนวนตำแหน่งกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิที่ว่าง
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๘
แห่งข้อบังคับประธานศาลฎีกา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. ๒๕๔๔
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๘ ให้ข้าราชการตุลาการซึ่งมีสิทธิเลือกและประสงค์จะลงคะแนน
เขียนหมายเลขผู้ซึ่งตนเลือกลงในบัตรเลือกด้วยตนเอง
แล้วใส่ซองที่เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมจัดส่งไปให้
ปิดผนึกส่งไปยังเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
ถ้าจะส่งทางไปรษณีย์ให้ส่งโดยลงทะเบียนให้ถึงสำนักงานศาลยุติธรรมในวันเวลาที่กำหนด
หรือมอบหมายให้หัวหน้าหน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้นำส่งก็ได้
ในกรณีดังกล่าวให้หัวหน้าหน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมมีหน้าที่รวบรวมบัตรเลือกของข้าราชการตุลาการในศาลและนำส่งบัตรเลือกกลับให้ถึงสำนักงานศาลยุติธรรมภายในวันเวลาที่กำหนด
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของข้อ ๙
แห่งข้อบังคับประธานศาลฎีกา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. ๒๕๔๔
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
คณะกรรมการรับและเก็บรักษาบัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิมีหน้าที่ตรวจรับและรวบรวมบัตรเลือกที่ส่งมายังเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
รวมทั้งจัดทำบัญชีจำนวนบัตรเลือกของแต่ละชั้นศาลที่ได้รับมาในแต่ละวัน
โดยในแต่ละวันให้แยกบัตรเลือกของแต่ละชั้นศาลที่ได้รับบรรจุซองหรือห่อไว้
เพื่อมิให้บัตรเลือกของแต่ละชั้นศาลปะปนกัน
และเก็บบัตรเลือกทั้งหมดไว้ด้วยกันในซองใหญ่พร้อมกับปิดผนึกลงวันที่และลงลายมือชื่อคณะกรรมการรับและเก็บรักษาบัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิกำกับรอยปิดผนึก
แล้วเก็บรักษาเป็นเรื่องลับมากไว้ที่สำนักงานศาลยุติธรรม
และส่งมอบให้คณะกรรมการตรวจนับคะแนนในวันตรวจนับคะแนน
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๑
แห่งข้อบังคับประธานศาลฎีกา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. ๒๕๔๔
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๑ ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนคณะหนึ่ง
ประกอบด้วยข้าราชการตุลาการซึ่งไม่เป็นบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่าสิบเอ็ดคนเป็นอนุกรรมการ
ให้คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนเลือกอนุกรรมการตรวจนับคะแนนคนหนึ่งเป็นประธาน
ถ้าประธานไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนเลือกอนุกรรมการตรวจนับคะแนนคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานแทน
การปฏิบัติหน้าที่ตรวจนับคะแนนในแต่ละชั้นศาล
ต้องมีอนุกรรมการตรวจนับคะแนนอยู่พร้อมกันไม่น้อยกว่าสี่คน
ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๔
แห่งข้อบังคับประธานศาลฎีกา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. ๒๕๔๔
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๔ บัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิต่อไปนี้ให้ถือเป็นบัตรเสียและไม่ให้นับคะแนน
(๑)
ในกรณีการเลือกตามวาระ
(ก)
บัตรที่มิใช่บัตรฉบับที่เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมส่งไปให้
หรือบัตรที่ไม่มีลายมือชื่อตามข้อ ๗ กำกับเป็นหลักฐาน
(ข)
บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเกินจำนวนที่กฎหมายกำหนด
(ค)
บัตรที่มิได้เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเลย
(ง)
บัตรที่เขียนหมายเลขอื่นที่ไม่มีในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหมด
(จ)
บัตรที่ผู้เลือกมิได้เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหมดด้วยตนเอง
(ฉ)
บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
ซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการในแต่ละชั้นศาลตามมาตรา ๓๖ (๒) (ก) (ข) และ (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยผู้เลือกไม่มีสิทธิเลือกทั้งหมด
(ช)
บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเลอะเลือนหรือไม่ชัดเจนทั้งหมดจนไม่สามารถทราบเจตนาอันแท้จริงของผู้เลือกได้ว่าลงคะแนนให้แก่ผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิหมายเลขใด
(ซ)
บัตรที่ไปถึงสำนักงานศาลยุติธรรมพ้นกำหนดวันสุดท้ายที่เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมกำหนดให้ส่งตามข้อ
๖ วรรคหนึ่ง
(๒)
ในกรณีการเลือกซ่อม
(ก)
บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเกินจำนวนตำแหน่งที่ว่าง
(ข)
บัตรที่มีกรณีตาม (๑) (ก) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) หรือ (ซ)
ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๕
แห่งข้อบังคับประธานศาลฎีกา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. ๒๕๔๔
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๕ บัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิต่อไปนี้ให้ถือเป็นบัตรเสียบางส่วน
ไม่ให้นับคะแนนส่วนที่เสียและให้นับคะแนนส่วนที่ไม่เสียเท่านั้น
(๑)
บัตรที่เขียนหมายเลขอื่นที่ไม่มีในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิปนกับหมายเลขที่มีในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(๒)
บัตรที่ผู้เลือกมิได้เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิคนใดด้วยตนเอง
(๓)
บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการในแต่ละชั้นศาลตามมาตรา
๓๖ (๒) (ก) (ข) และ (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยผู้เลือกไม่มีสิทธิเลือกเป็นบางคน
(๔)
บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิซ้ำกับหมายเลขที่เขียนไว้ก่อนแล้ว
(๕)
บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิบางหมายเลขเลอะเลือนหรือไม่ชัดเจนจนไม่สามารถทราบเจตนาอันแท้จริงของผู้เลือกได้ว่าลงคะแนนให้แก่ผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิหมายเลขใด
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑
วิรัช ลิ้มวิชัย
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๓๔ ก/หน้า ๔/๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ |
571114 | พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2551 | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๖)
พ.ศ.
๒๕๕๑
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้
ณ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑
เป็นปีที่
๖๓ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๒[๑]
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗) ของมาตรา ๑๓
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
(๗) กำหนดเรื่องการจัดสวัสดิการ การสงเคราะห์อื่น
เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว
และเงินค่าตอบแทนพิเศษอื่น แก่ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของมาตรา
๒๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๕
การกำหนดตำแหน่งตามมาตรา ๔๒ (๑๑) (ค)
แห่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ก.ร.
อาจกำหนดให้มีตำแหน่งดังกล่าวในส่วนราชการสังกัดรัฐสภาได้ส่วนราชการละหนึ่งตำแหน่ง
มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๒๘
การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญและการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
ให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้เป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง
(๑) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๑
และระดับ ๑๐ ให้ประธานรัฐสภาประธานวุฒิสภา หรือประธานสภาผู้แทนราษฎร แล้วแต่กรณี
ด้วยความเห็นชอบของ ก.ร. เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ
และนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
(๒) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙
ลงมา ให้เลขาธิการวุฒิสภา เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา แล้วแต่กรณี
เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
มาตรา ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๓๖/๑
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
มาตรา ๓๖/๑
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการและปฏิบัติราชการมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการถือว่าผู้นั้นมีความชอบ
จะได้รับบำเหน็จความชอบซึ่งอาจเป็นคำชมเชย เครื่องเชิดชูเกียรติ รางวัล
หรือการได้เลื่อนขั้นเงินเดือนตามควรแก่กรณี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
ก.ร. กำหนด
มาตรา ๗ ให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ซึ่งดำรงตำแหน่งตามที่ ก.ร. กำหนด ตามมาตรา ๒๐ แห่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ประกอบกับมาตรา ๔๒ (๑๑) (ค)
แห่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับคงดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว
และเมื่อพ้นจากตำแหน่งดังกล่าวแล้ว ให้ตำแหน่งนั้นเป็นอันยุบเลิกจนกว่าจะเหลือจำนวนไม่เกินที่กำหนดตามวรรคสองของมาตรา
๒๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๘
ให้ประธานรัฐสภารักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก
สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่ปัจจุบันกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการหรือการสงเคราะห์อื่นให้แก่ข้าราชการฝ่ายรัฐสภาการกำหนดเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ
เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว หรือเงินค่าตอบแทนพิเศษอื่น
รวมทั้งไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการให้บำเหน็จความชอบแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ปฏิบัติราชการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อทางราชการ
สมควรกำหนดให้ ก.ร.
มีอำนาจกำหนดสิทธิประโยชน์ดังกล่าวเพื่อให้ข้าราชการฝ่ายรัฐสภามีสิทธิเช่นเดียวกับข้าราชการประเภทอื่น
นอกจากนี้สมควรแก้ไขให้ ก.ร. อาจกำหนดตำแหน่งตามมาตรา ๔๒ (๑๑) (ค)
แห่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนราชการสังกัดรัฐสภาได้ส่วนราชการละหนึ่งตำแหน่ง
และให้การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญเพื่อดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๙
ลงมาเป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
เพื่อความคล่องตัวในการบริหารราชการ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
สัญชัย/ผู้จัดทำ
๒๐
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๒๙ ก/หน้า ๘๗/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ |
304093 | พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2531 | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๓)
พ.ศ.
๒๕๓๑
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้
ณ วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๑
เป็นปีที่
๔๓ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๑
มาตรา ๒[๑]
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๐ ทวิ
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๒๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๒๐ ทวิ
อัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญให้เป็นไปตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนโดยอนุโลม
และเมื่อมีการปรับปรุงและกำหนดบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
ให้มีผลเป็นการปรับขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ที่ได้รับอยู่และที่กำหนดไว้โดยพระราชกฤษฎีกา กฎ ก.ร. ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี
และมติ ก.ร. ซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามไปด้วย
มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๒๑
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๒๑
ให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๐
และตามบัญชีอัตราเงินเดือนตามมาตรา ๒๐ ทวิ
มาตรา ๕
ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๑
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๒
และบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๓
ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๒๑
มาตรา ๖
อัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองให้เป็นไปตามบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
บัญชี ก. ท้ายพระราชบัญญัตินี้
และเมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกาประกาศใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการการเมือง บัญชี
ข. บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการการเมือง บัญชี ค.
หรือบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการการเมือง บัญชี ง.
ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมืองแล้ว
ให้ประธานรัฐสภาประกาศปรับใช้อัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
ตามบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง บัญชี ข.
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง บัญชี ค.
หรือบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง บัญชี ง.
ให้สอดคล้องกัน
มาตรา ๗
ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๒๑
และให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง บัญชี ก.
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง บัญชี ข.
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง บัญชี ค.
และบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง บัญชี ง.
ท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา ๘
การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญให้เข้าระดับและขั้นเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
ตามมาตรา ๒๐ ทวิ
ให้เป็นไปตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนและตามระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
เมื่อปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญตามวรรคหนึ่งแล้วเฉพาะข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ได้รับเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำหรือสูงกว่าขั้นสูงของระดับ
ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นตามที่กำหนดไว้ในบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งได้เลื่อนตำแหน่งนับแต่วันปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญตามวรรคหนึ่ง
ถ้าได้รับเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับที่ได้เลื่อนตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำของบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
แต่ถ้าได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของระดับที่ได้เลื่อนตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
ก็ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นที่ได้รับอยู่
การรับเงินเดือนในขั้นต่อๆ
ไปของข้าราชการรัฐสภาสามัญตามวรรคสองและวรรคสาม
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๙ เพื่อประโยชน์ในการบรรจุบุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ และออกจากราชการไปก่อนวันที่บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนใช้บังคับกลับเข้ารับราชการ
ให้ปรับอัตราเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้เข้าระดับและขั้นเงินเดือนตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
มาตรา ๑๐
ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
บัญชี ก. ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
ให้นำบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๓
ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาพ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๒๑ มาใช้บังคับไปพลางก่อน
มาตรา ๑๑
ให้ประธานรัฐสภารักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลตรี
ชาติชาย ชุณหะวัณ
นายกรัฐมนตรี
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
บัญชี
ก.
(๑)
ที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๒๒,๐๐๐ บาท
(๒)
ที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๒๑,๐๕๐ บาท
(๓)
ที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๒๐,๑๕๐ บาท
(๔)
ผู้ช่วยที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๑๘,๔๐๐ บาท
(๕)
ผู้ช่วยที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๑๗,๕๕๐ บาท
(๖)
ผู้ช่วยที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๑๖,๗๐๐ บาท
(๗)
เลขานุการประธานรัฐสภา เดือนละ ๑๗,๕๕๐ บาท
(๘)
เลขานุการรองประธานรัฐสภา เดือนละ ๑๗,๕๕๐ บาท
(๙)
เลขานุการประจำรัฐสภา เดือนละ ๑๖,๗๐๐ บาท
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
บัญชี
ข.
(๑)
ที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๒๖,๒๐๐ บาท
(๒)
ที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๒๕,๑๐๐ บาท
(๓) ที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๒๔,๐๐๐ บาท
(๔)
ผู้ช่วยที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๒๑,๙๕๐ บาท
(๕)
ผู้ช่วยที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท
(๖)
ผู้ช่วยที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๑๘,๑๐๐ บาท
(๗)
เลขานุการประธานรัฐสภา เดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท
(๘)
เลขานุการรองประธานรัฐสภา เดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท
(๙)
เลขานุการประจำรัฐสภา เดือนละ ๑๘,๑๐๐ บาท
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
บัญชี
ค.
(๑)
ที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๓๑,๖๑๐ บาท
(๒)
ที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๒๙,๓๑๐ บาท
(๓)
ที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๒๗,๐๑๐ บาท
(๔)
ผู้ช่วยที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๒๔,๗๑๐ บาท
(๕)
ผู้ช่วยที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๒๒,๔๑๐ บาท
(๖)
ผู้ช่วยที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๒๐,๔๑๐ บาท
(๗)
เลขานุการประธานรัฐสภา เดือนละ ๒๒,๔๑๐ บาท
(๘)
เลขานุการรองประธานรัฐสภา เดือนละ ๒๒,๔๑๐ บาท
(๙)
เลขานุการประจำรัฐสภา เดือนละ ๒๐,๔๑๐ บาท
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
บัญชี
ง.
(๑)
ที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๓๕,๐๐๐ บาท
(๒)
ที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๓๒,๕๐๐ บาท
(๓)
ที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๓๐,๐๐๐ บาท
(๔)
ผู้ช่วยที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๒๗,๕๐๐ บาท
(๕)
ผู้ช่วยที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๒๕,๐๗๐ บาท
(๖)
ผู้ช่วยที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๒๒,๗๗๐ บาท
(๗)
เลขานุการประธานรัฐสภา เดือนละ ๒๕,๐๗๐ บาท
(๘)
เลขานุการรองประธานรัฐสภา เดือนละ ๒๕,๐๗๐ บาท
(๙)
เลขานุการประจำรัฐสภา เดือนละ ๒๒,๗๗๐ บาท
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
ในบัญชีอัตราเงินเดือนท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๒๑
ได้ใช้มาเป็นเวลานานไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบันสมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองเสียใหม่
และเนื่องจากอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันตรงกับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนอยู่แล้ว
จึงสมควรแก้ไขให้ถือตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนโดยอนุโลม
เพื่อให้การปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในอนาคต
มีผลถึงข้าราชการรัฐสภาสามัญด้วย โดยไม่ต้องแก้ไขกฎหมาย
รวมทั้งให้มีการให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองแต่ละบัญชีได้ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์
โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
สัญชัย/ผู้จัดทำ
๑๙
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๑๘๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๖๐/๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๑ |
312330 | ข้อบังคับการประชุม ก.ต. พ.ศ. 2543 | ข้อบังคับ
ข้อบังคับ
การประชุม ก.ต. พ.ศ.
๒๕๔๓
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๕ วรรคแปด
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ ก.ต.
ออกข้อบังคับการประชุมของ ก.ต. ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ข้อบังคับนี้เรียกว่า ข้อบังคับการประชุม ก.ต. พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๒[๑]
ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ให้ยกเลิกข้อบังคับ ก.ต. ว่าด้วยระเบียบการประชุมและการลงมติ พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๔
ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามข้อบังคับนี้
หมวด ๑
ประธานในที่ประชุม
อำนาจและหน้าที่ของประธาน ก.ต.
และหน้าที่ของเลขานุการ
ก.ต.
ข้อ ๕
ให้ประธาน ก.ต. เป็นประธานในที่ประชุม ก.ต.
ในกรณีที่ประธาน ก.ต. ไม่อาจมาประชุมได้ ไม่อยู่ในที่ประชุม
หรือเมื่อตำแหน่งประธานศาลฎีกาว่างลงหรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
ข้อ ๖
ให้ผู้ทำการแทนประธานศาลฎีกาตามที่กำหนดไว้ในพระธรรมนูญศาลยุติธรรมทำหน้าที่กรรมการตุลาการศาลยุติธรรมในระหว่างที่ตำแหน่งประธานศาลฎีกาว่างลงหรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้
และมีอำนาจหน้าที่ตามข้อ ๘ (๑) (๒) และตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้ แต่จะทำหน้าที่เป็นประธาน
ก.ต. ไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับเลือกจากที่ประชุม ก.ต. ตามข้อ ๕ วรรคสอง
ข้อ ๗
ให้ผู้ได้รับเลือกเป็นประธานในที่ประชุมตามข้อ ๕ วรรคสอง มีอำนาจและหน้าที่ตามข้อ
๘ (๓) (๔) (๕) และ (๖)
ข้อ ๘ ประธาน
ก.ต. มีอำนาจและหน้าที่ดังนี้
(๑) เรียกประชุม ก.ต. หรือสั่งให้เลขานุการ ก.ต.
เรียกหรือนัดประชุม ก.ต.
(๒) สั่งจัดระเบียบวาระการประชุม ก.ต.
(๓) ควบคุมและดำเนินการประชุมให้เป็นไปโดยเรียบร้อย
(๔) รักษาความสงบเรียบร้อยในที่ประชุม ก.ต.
ตลอดถึงบริเวณที่ประชุม ก.ต.
(๕) แต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการตามมติของที่ประชุม
(๖)
อำนาจและหน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้
ข้อ ๙
ให้เลขานุการ ก.ต. เป็นเลขานุการในที่ประชุม ก.ต. โดยมีหน้าที่ดังนี้
(๑) ดำเนินการเรียกหรือนัดประชุม ก.ต.
(๒) จัดเตรียมและจัดเก็บรักษาสรรพเอกสารที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของ
ก.ต. ในที่ประชุม
(๓) เสนอให้มีการเลือกประธานในที่ประชุมตามข้อ ๕ วรรคสอง
(๔) ช่วยประธานในที่ประชุมในการนับคะแนนเสียง
(๕) รับผิดชอบและควบคุมการทำรายงานการประชุม
(๖)
เสนอเรื่องให้คณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาลที่ ก.ต. แต่งตั้งเพื่อปฏิบัติการและดำเนินการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
(๗) แจ้งหรือยืนยันมติของที่ประชุมไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง
(๘) ปฏิบัติการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับ
หรือตามที่ประธานในที่ประชุม ก.ต. มอบหมาย
หมวด ๒
การประชุม ก.ต.
ข้อ ๑๐
ในการประชุม ก.ต. ผู้ที่จะอยู่ในที่ประชุมได้ก็เฉพาะแต่ ก.ต. เลขานุการก.ต.
และผู้ที่ได้รับอนุญาตจากที่ประชุม
ข้อ ๑๑
การประชุม ก.ต. ย่อมเป็นไปตามกำหนดที่ประธาน ก.ต. เรียกประชุมไว้แต่ประธาน
ก.ต. จะสั่งงดการประชุมตามที่เรียกหรือนัดไว้แล้วก็ได้เมื่อเห็นว่าไม่มีเรื่องที่สมควรจะบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุม
ในกรณีที่ประธาน ก.ต.
หรือผู้ทำการแทนประธานศาลฎีกาเห็นสมควรเรียกประชุมเป็นพิเศษก็ให้เรียกประชุมได้
กรรมการตุลาการศาลยุติธรรมจำนวนไม่น้อยกว่าสี่คนอาจเข้าชื่อกันเรียกประชุมได้
โดยแจ้งให้เลขานุการ ก.ต. ออกหนังสือนัดประชุม แต่ถ้าพ้นกำหนดนัดประชุมไปสามสิบนาทีแล้วยังไม่ครบองค์ประชุม
ให้งดการประชุมนั้น
กรรมการตุลาการศาลยุติธรรมจำนวนไม่น้อยกว่าสี่คนอาจขอให้บรรจุเรื่องใดเข้าในระเบียบวาระการประชุมครั้งใดก็ได้
เมื่อมีการขอให้บรรจุเรื่องใดเข้าในระเบียบวาระการประชุมตามวรรคก่อน
ให้ประธาน ก.ต. บรรจุเรื่องนั้นเข้าในระเบียบวาระการประชุม
ข้อ ๑๒
การนัดประชุมต้องทำเป็นหนังสือและให้นัดล่วงหน้าไม่น้อยกว่าห้าวันแต่ประธาน
ก.ต. หรือผู้ทำการแทนประธานศาลฎีกาจะนัดเร็วกว่านั้นหรือนัดประชุมโดยวิธีอื่นใดก็ได้
เมื่อเห็นว่าเป็นเรื่องด่วน เรื่องจำเป็น หรือมีเหตุสมควรประการอื่น
ข้อ ๑๓
ให้เลขานุการ ก.ต. ส่งระเบียบวาระการประชุมกับเอกสารที่เกี่ยวข้องไปพร้อมกับหนังสือนัดประชุม
แต่ประธาน ก.ต. หรือผู้ทำการแทนประธานศาลฎีกาจะให้ส่งเพิ่มเติมอีกในเวลาใดก็ได้ตามที่เห็นว่าจำเป็นหรือสมควร
ข้อ ๑๔
การจัดระเบียบวาระการประชุมให้จัดลำดับ ดังนี้
(๑) เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
(๒) รับรองรายงานการประชุม
(๓) เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
(๔) เรื่องที่ค้างพิจารณา
(๕) เรื่องที่เสนอใหม่
(๖) เรื่องอื่น ๆ
ในกรณีที่ประธาน ก.ต. หรือผู้ทำการแทนประธานศาลฎีกาเห็นสมควรจะจัดลำดับระเบียบวาระการประชุมเป็นอย่างอื่นก็ได้
ข้อ ๑๕
ให้ผู้มาประชุมลงลายมือชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มาประชุมที่จัดเตรียมไว้ก่อนเข้าประชุมทุกครั้ง
กรรมการผู้ใดไม่อาจมาประชุมตามที่กำหนด
ให้ยื่นใบลาต่อประธาน ก.ต. ก่อนเริ่มการประชุม และเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว
ไม่ให้ถือว่ากรรมการผู้นั้นขาดการประชุมสำหรับการประชุมครั้งนั้น
ข้อ ๑๖
การประชุมของ ก.ต. ต้องมีกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมทั้งหมด
จึงจะเป็นองค์ประชุม
กรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณา
ห้ามมิให้ผู้นั้นร่วมประชุมและลงมติในเรื่องนั้น
แต่หากผู้นั้นได้เข้าประชุมอยู่ก่อนแล้ว
และการไม่มีสิทธิร่วมประชุมและลงมตินั้นเป็นการชั่วคราวก็ให้นับผู้นั้นเป็นองค์ประชุมในเรื่องนั้นด้วย
เมื่อพ้นกำหนดเริ่มประชุมไปสามสิบนาทีแล้ว
จำนวนกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมยังไม่ครบองค์ประชุม ประธาน ก.ต.
หรือผู้ทำการแทนประธานศาลฎีกาจะสั่งให้เลื่อนการประชุมไปก็ได้
ข้อ ๑๗
ในการประชุม ก.ต. ให้ที่ประชุมพิจารณาไปตามลำดับที่จัดไว้ในระเบียบวาระการประชุมทุกเรื่อง
การเปลี่ยนลำดับระเบียบวาระการประชุม การเลื่อนการประชุมหรือการปิดประชุม
หรือเลิกประชุมก่อนเสร็จสิ้นระเบียบวาระการประชุมจะกระทำได้โดยความเห็นชอบของที่ประชุมเท่านั้น
ประธานในที่ประชุมมีอำนาจปรึกษาที่ประชุมในปัญหาใด ๆ
หรือสั่งพักการประชุมได้ตามที่เห็นสมควร
หมวด ๓
การอภิปราย การลงมติ
และการตีความ
ข้อ ๑๘
ในกรณีที่มีการอภิปรายไปในทางที่เป็นผลร้ายแก่บุคคลใด ที่ประชุมจะลงมติไปในทางที่เป็นผลร้ายแก่บุคคลนั้นทันทีมิได้
จะต้องจัดให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนั้น
รวมทั้งให้โอกาสบุคคลนั้นชี้แจงข้อเท็จจริงก่อน
เว้นแต่จะปรากฏพยานหลักฐานเป็นที่ชัดแจ้งอยู่แล้ว
ข้อ ๑๙
การลงมติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน
และห้ามมิให้งดออกเสียง ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
การออกเสียงลงมติให้กระทำโดยเปิดเผย
ห้ามมิให้กระทำโดยวิธีการลงคะแนนลับ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติให้กระทำได้
ข้อ ๒๐
ประธานในที่ประชุมจะสั่งให้รวมหรือแยกประเด็นในการพิจารณาหรือลงมติก็ได้
เว้นแต่ที่ประชุมเห็นเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๒๑
ในกรณีที่มีการพิจารณาใหม่ของ ก.ต. ตามมาตรา ๕๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ หากกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมเสนอรายชื่อบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป
และไม่มีผู้ใดได้คะแนนเสียงถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
ให้มีการลงมติใหม่โดยให้ตัดชื่อผู้ที่ได้คะแนนน้อยที่สุดออก แล้วให้มีการลงคะแนนใหม่จนกว่าจะได้ผู้ซึ่งได้คะแนนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
ในกรณีที่มีผู้ได้รับคะแนนเสียงน้อยสุดตามวรรคหนึ่งเท่ากันมากกว่าหนึ่งคน
ให้ก.ต. ลงมติในระหว่างผู้ได้รับคะแนนเสียงเท่ากันอีกครั้งหนึ่งก่อน และให้นำผู้ที่ได้รับคะแนนมากในการลงมตินั้นไปดำเนินการตามวรรคหนึ่งต่อไป
ข้อ ๒๒
ถ้ามีปัญหาที่จะต้องตีความข้อบังคับนี้ ให้เป็นอำนาจของที่ประชุมที่จะวินิจฉัยและเมื่อที่ประชุมลงมติวินิจฉัยเป็นประการใดแล้ว
ให้ถือว่าคำวินิจฉัยนั้นเป็นเด็ดขาด
การขอให้ที่ประชุมวินิจฉัยตามวรรคหนึ่ง
อาจกระทำได้โดยประธานในที่ประชุมกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมคนหนึ่งคนใด
หรือเลขานุการ ก.ต. ขอปรึกษา
หมวด ๔
การเผยแพร่รายงานการประชุม
ข้อ ๒๓
ให้เลขานุการ ก.ต. จัดทำรายงานการประชุมของ ก.ต. โดยบันทึกประเด็นที่ประชุมพิจารณา
พร้อมด้วยความเห็นทั้งที่เป็นความเห็นของเสียงข้างมากและความเห็นของเสียงข้างน้อย
ข้อสังเกตและมติของ ก.ต.
ข้อ ๒๔
ให้ทำสำเนารายงานการประชุมของ ก.ต. ซึ่งที่ประชุมรับรองแล้วไว้อย่างน้อยสองชุด
ณ ที่ทำการสำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อเผยแพร่ต่อข้าราชการตุลาการ
รายงานการประชุมของ ก.ต. ทุกครั้งจะต้องมีรายชื่อกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมที่มาประชุม
ที่ลาประชุม และที่ขาดประชุม
ข้อ ๒๕ เมื่อ
ก.ต. ได้รับรองรายงานการประชุมครั้งใดแล้ว ให้ประธานศาลฎีกาหรือประธานในที่ประชุมของครั้งนั้นลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน
รายงานการประชุมของ ก.ต. ที่ได้รับรองแล้ว
แต่ประธานศาลฎีกาหรือประธานในที่ประชุมของครั้งนั้นยังมิได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน
หรือรายงานการประชุมของ ก.ต. ที่ยังมิได้มีการรับรองเพราะเหตุที่วาระของ ก.ต.
สิ้นสุดลง ให้เลขานุการ ก.ต. บันทึกเหตุนั้นไว้ และเป็นผู้รับรองความถูกต้องของรายงานการประชุมนั้น
ข้อ ๒๖
การงดเผยแพร่รายงานการประชุมทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ในกรณีที่อาจเป็นที่เสียหายแก่ทางราชการหรืออาจกระทบกระเทือนต่อสิทธิของบุคคลใด
ให้เป็นไปตามมติของที่ประชุมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
แต่ทั้งนี้ต้องจัดทำสำเนารายงานการประชุมของ ก.ต. ในคราวนั้นให้แก่ข้าราชการตุลาการผู้มีส่วนได้เสียเมื่อข้าราชการตุลาการผู้นั้นร้องขอ
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
จเร อำนวยวัฒนา
ประธานกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๘๔ ก/หน้า ๒๗/๑๑ กันยายน ๒๕๔๓ |
304100 | พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2525 | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
เรียกประชุมรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๒๕[๑]
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๕
เป็นปีที่ ๓๗ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่สภาผู้แทนราษฎรได้กำหนดวันเริ่มประชุมสามัญประจำปีที่
๒๕๒๕ ของรัฐสภา ในวันที่ ๑พฤษภาคม ๒๕๒๕ ตามความในมาตรา ๑๑๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๗
มาตรา ๑๒๐ และมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า
ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา สมัยประชุมสามัญประจำปี พ.ศ. ๒๕๒๕
ในวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๕
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
ประภาศรี/ผู้จัดทำ
๒๙
ตุลาคม ๒๕๕๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๙/ตอนที่ ๕๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒๒ เมษายน ๒๕๒๕ |
304090 | พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ.
๒๕๑๘
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๘
เป็นปีที่
๓๐ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ บรรดาบทกฎหมาย กฎ
และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา หมายความว่า
บุคคลซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
ประธานรัฐสภา หมายความว่า
ประธานรัฐสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในกรณีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีสภานิติบัญญัติสภาเดียว
ให้หมายความถึงประธานแห่งสภานั้น
รองประธานรัฐสภา หมายความว่า
รองประธานรัฐสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
ในกรณีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีสภานิติบัญญัติสภาเดียว
ให้หมายความถึงรองประธานแห่งสภานั้น
รัฐสภา หมายความว่า
สภาซึ่งทำหน้าที่นิติบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีสภานิติบัญญัติสภาเดียว
ให้หมายถึงสภานั้น
มาตรา ๕
ให้ประธานรัฐสภารักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด
๑
คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
มาตรา ๖
ให้มีคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภาคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า ก.ร.
ประกอบด้วยประธานรัฐสภาเป็นประธาน รองประธานรัฐสภาเป็นรองประธาน
เลขาธิการรัฐสภาและกรรมการอื่นอีกแปดคนซึ่งรัฐสภาเลือกจาก
(๑) ประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาจำนวนสองคน
ในกรณีที่มีสองสภาให้แต่ละสภาเลือกหนึ่งคน และ
(๒) ผู้ทรงคุณวุฒิมีจำนวนหกคน
ในกรณีที่มีสองสภาให้แต่ละสภาเลือกสามคน
ให้เลขาธิการรัฐสภาเป็นเลขานุการ ก.ร.
มาตรา ๗ ผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๖ (๒)
ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(๑) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปี
(๒) มีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ (๑) (๓) (๕) (๖) (๗)
(๘) (๙) (๑๐) (๑๑) และ (๑๒)
(๓) ไม่เป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภา
กรรมการพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง
มาตรา ๘ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๖ (๒)
มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละหกปี ในวาระเริ่มแรกเมื่อครบกำหนดสามปี
ให้กรรมการดังกล่าวออกจากตำแหน่งกึ่งหนึ่งโดยวิธีจับสลาก
มาตรา ๙ เมื่อตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิว่างลงเพราะออกจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา
๘ หรือเพราะพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๑๑
ให้รัฐสภาเลือกตั้งผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗
ขึ้นแทนภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ตำแหน่งว่าง หรือวันเปิดสมัยประชุมรัฐสภา
แล้วแต่กรณี
ความในวรรคหนึ่งมิให้นำมาใช้บังคับสำหรับกรณีที่ตำแหน่งว่างเพราะการพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา
๑๑ และวาระของกรรมการที่เหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือเมื่อรัฐสภาสิ้นอายุ
หรือถูกยุบ
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างเพราะพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา
๑๑ อยู่ในตำแหน่งตามวาระของกรรมการซึ่งตนแทน
รัฐสภาอาจเลือกตั้งกรรมการซึ่งออกจากตำแหน่งให้เป็นกรรมการอีกได้
มาตรา ๑๐
ในการเลือกผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการ
ให้ประธานรัฐสภาแจ้งวันเลือกให้สมาชิกรัฐสภาทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสิบห้าวัน
สมาชิกรัฐสภาแต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา
๗
เท่ากับจำนวนตำแหน่งที่ต้องเลือกตั้งหรือตำแหน่งที่ว่างต่อเลขาธิการรัฐสภาก่อนกำหนดวันเลือกเจ็ดวัน
เมื่อเลขาธิการรัฐสภาเห็นว่าผู้ทรงคุณวุฒิที่สมาชิกเสนอมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา
๗ ให้เสนอรายชื่อต่อสมาชิกรัฐสภาในวันเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามให้รัฐสภาวินิจฉัยชี้ขาด
ในกรณีที่ไม่มีสมาชิกผู้ใดเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิให้ประธาน
รองประธานและเลขาธิการรัฐสภาร่วมกันจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิเสนอต่อรัฐสภาเป็นจำนวนสองเท่าของตำแหน่งที่ว่าง
ให้นำข้อบังคับว่าด้วยการเลือกกรรมาธิการสามัญมาใช้บังคับแก่การเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิโดยอนุโลม
มาตรา ๑๑ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๘
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓)
เป็นผู้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗
มาตรา ๑๒ การประชุมของ ก.ร.
ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในระหว่างที่รัฐสภาสิ้นอายุหรือถูกยุบ
ให้ประธานรัฐสภาและรองประธานรัฐสภาคงดำรงตำแหน่งประธาน ก.ร. และรองประธาน ก.ร.
อยู่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงแต่งตั้งประธานรัฐสภาและรองประธานรัฐสภาใหม่แล้วจึงให้พ้นจากตำแหน่ง
ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิว่างลงเพราะออกตามวาระในระหว่างที่รัฐสภาสิ้นอายุหรือถูกยุบ
องค์ประชุมของ ก.ร. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการที่เหลืออยู่
มาตรา ๑๓
นอกจากอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้ ก.ร.
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย คือ
(๑) ควบคุมดูแลให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) ตีความและวินิจฉัยปัญหาต่างๆ
ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้พระราชบัญญัตินี้
(๓) ออกกฎ ก.ร. หรือระเบียบ
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ กฎ ก.ร.
เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
(๔)
กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
(๕) รักษาทะเบียนประวัติข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(๖) ควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
มาตรา ๑๔ ก.ร.
มีอำนาจตั้งอนุกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรียกโดยย่อว่า อ.ก.ร.
เพื่อทำการใดๆ แทนได้
ให้นำความในมาตรา ๑๒
มาใช้บังคับแก่การประชุมของอนุกรรมการโดยอนุโลม
หมวด
๒
บททั่วไป
มาตรา ๑๕ ข้าราชการฝ่ายรัฐสภามี ๒ ประเภท
(๑) ข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ได้แก่ผู้ซึ่งรับราชการในตำแหน่งประจำ โดยได้รับเงินเดือนในอัตราสามัญ
และได้รับแต่งตั้งตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๓
(๒) ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
ได้แก่ผู้ซึ่งรับราชการในตำแหน่งการเมืองของรัฐสภา
มาตรา ๑๖
วันเวลาทำงานและการลาหยุดราชการของข้าราชการฝ่ายรัฐสภาให้เป็นไปตามที่
ก.ร. กำหนด
มาตรา ๑๗ เครื่องแบบของข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
และให้ประธานรัฐสภาวางระเบียบว่าด้วยการแต่งกายของข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
มาตรา ๑๘ การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ให้ ก.ร. พิจารณาตามระเบียบว่าด้วยการนั้น
และให้ประธานรัฐสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อขอพระราชทาน
มาตรา ๑๙
ข้าราชการฝ่ายรัฐสภามีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
เช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือน
หมวด
๓
ข้าราชการรัฐสภาสามัญ
มาตรา ๒๐ ตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญจะมีตำแหน่งใด
ในสายงานใด ระดับใด จำนวนเท่าใด ต้องใช้ผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งอย่างใด
ให้เป็นไปตามที่ ก.ร. กำหนด โดยให้คำนึงถึงลักษณะหน้าที่ ความรับผิดชอบ
ปริมาณและคุณภาพของงานตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งขั้นต้นในสายงานธุรการ สายงานวิชาชีพ
สายงานฝีมือ และสายงานอื่นที่ไม่ต้องใช้ผู้มีความรู้ ความสามารถ
และความชำนาญเป็นพิเศษ ให้กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ ๑
(๒) ตำแหน่งในสายงานธุรการ สายงานวิชาชีพ
สายงานฝีมือ และสายงานอื่นที่ต้องใช้ผู้มีความรู้ ความสามารถ
และความชำนาญสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๑ หรือตำแหน่งที่มีหน้าที่ ความรับผิดชอบ
และคุณภาพของงานสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๑ ให้กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ ๒
(๓) ตำแหน่งขั้นต้นในสายงานวิชาการ
หรือตำแหน่งในสายงานอื่นที่ต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานระดับแผนกซึ่งมีหน้าที่
ความรับผิดชอบ และคุณภาพของงานต่ำกว่าตำแหน่งระดับ ๔ หรือตำแหน่งอื่นที่มีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๒ ให้กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ ๓
(๔) ตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานระดับแผนกซึ่งมีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงพอสมควร หรือตำแหน่งอื่นที่มีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๓ ให้กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ ๔
(๕)
ตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานระดับแผนกซึ่งมีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๔
ตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานระดับกองซึ่งมีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานต่ำกว่าตำแหน่งระดับ ๖ หรือตำแหน่งอื่นที่มีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๔ ให้กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ ๕
(๖) ตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานระดับกองซึ่งมีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงพอสมควร
หรือตำแหน่งที่ต้องใช้ผู้ชำนาญการซึ่งมีหน้าที่ ความรับผิดชอบ
และคุณภาพของงานสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๕ ให้กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ ๖
(๗) ตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานระดับกองซึ่งมีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๖
หรือตำแหน่งที่ต้องใช้ผู้ชำนาญการพิเศษซึ่งมีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๖ ให้กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ ๗
(๘) ตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานระดับกองซึ่งมีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมากเป็นพิเศษ หรือตำแหน่งที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๗ ให้กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ ๘
(๙)
ตำแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือตำแหน่งอื่นที่มีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
หรือตำแหน่งที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญพิเศษซึ่งมีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๘ ให้กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ ๙
(๑๐) ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม
หรือตำแหน่งอื่นที่มีหน้าที่ ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
หรือตำแหน่งที่มีหน้าที่ ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๙
ให้กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ ๑๐
(๑๑) ตำแหน่งที่มีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๑๐ ให้กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ ๑๑
ให้ ก.ร.
จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งไว้เป็นบรรทัดฐานในการกำหนดตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญทุกตำแหน่ง
ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้แสดงชื่อของตำแหน่งหน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่ง
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ผู้ดำรงตำแหน่งจะต้องมี
และระดับของตำแหน่งด้วย
ตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญนอกจากจะมีชื่อตามที่
ก.ร. กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งแล้ว อาจมีชื่ออย่างอื่นเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานตามที่
ก.ร. กำหนดอีกด้วยก็ได้ ตำแหน่งใดเป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงานใด
ในฐานะใด ให้ ก.ร. กำหนดด้วย
มาตรา ๒๑
ข้าราชการรัฐสภาสามัญจะได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๐
และตามอัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับใด
ให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนในระดับนั้น
โดยให้ได้รับในขั้นต่ำของเงินเดือนสำหรับตำแหน่ง เว้นแต่
(๑)
ผู้นั้นได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของเงินเดือนสำหรับตำแหน่งนั้นอยู่แล้ว
ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นที่ไม่สูงกว่าขั้นที่ได้รับอยู่
(๒)
ยังไม่มีอัตราเงินเดือนถึงขั้นต่ำของเงินเดือนสำหรับตำแหน่งนั้น
ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นเท่าที่มีอัตราเงินเดือนอยู่
(๓)
ผู้นั้นได้รับบรรจุและแต่งตั้งในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ชำนาญการ
หรือผู้ใช้ฝีมือซึ่ง ก.ร. คัดเลือกบรรจุ ให้ได้รับเงินเดือนตามที่ ก.ร. กำหนด
(๔) ผู้นั้นมีความรู้ความชำนาญจากการศึกษา
การฝึกอบรม หรือการทำงานสูงกว่าที่ ก.ร.
กำหนดไว้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น ตามมาตรา ๒๐ และ ก.ร.
เห็นว่าความรู้ความชำนาญนั้นใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนั้นให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
ก.ร.
จะอนุมัติให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของเงินเดือนสำหรับตำแหน่งนั้นก็ได้
แต่ต้องไม่สูงกว่าขั้นต่ำของเงินเดือนสำหรับตำแหน่งระดับถัดขึ้นไป ทั้งนี้
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
การจ่ายเงินเดือนให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือนข้าราชการ
เพื่อประโยชน์ในการออมทรัพย์ของข้าราชการรัฐสภาสามัญให้นำกฎหมายและระเบียบว่าด้วยการหักเงินเดือนข้าราชการไว้เป็นเงินสะสมมาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๒๒
การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ ต้องบรรจุจากผู้สอบแข่งขันได้
เว้นแต่การบรรจุผู้รับทุนของทางราชการในการศึกษาวิชาเข้ารับราชการตามสัญญาการบรรจุผู้ทรงคุณวุฒิ
ผู้ชำนาญการ และผู้ใช้ฝีมือ
และการบรรจุในกรณีที่มีเหตุพิเศษซึ่งไม่จำเป็นต้องดำเนินการสอบแข่งขัน ก.ร.
จะคัดเลือกบรรจุก็ได้
การสอบแข่งขันตามวรรคหนึ่ง ให้ ก.ร.
เป็นผู้ดำเนินการสอบโดยเปิดโอกาสให้ผู้มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๒๔
และมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่ ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐ เข้าสมัครสอบได้
และให้สอบสำหรับบรรจุในตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๔ ลงมา ทั้งนี้
หลักสูตรและวิธีดำเนินการเกี่ยวกับการสอบแข่งขัน ตลอดจนเกณฑ์การตัดสิน
การขึ้นบัญชี และการยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ให้เป็นไปตามที่ ก.ร.กำหนด
มาตรา ๒๓ ผู้สมัครสอบแข่งขันในตำแหน่งใด
ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๒๔
หรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๕
และต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามที่ ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐ ด้วย
สำหรับผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๒๔ (๔)
ให้มีสิทธิสมัครสอบแข่งขันได้
แต่จะมีสิทธิได้รับบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญในตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้ต่อเมื่อพ้นจากตำแหน่งข้าราชการการเมืองแล้ว
มาตรา ๒๔ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) อายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี
(๓)
เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ
(๔) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง
(๕) ไม่เป็นผู้มีกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ไร้ความสามารถ จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
(๖)
ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งให้พักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
หรือตามกฎหมายอื่น
(๗) ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี
(๘) ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
(๙)
ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๑๐) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษ ให้ออก ปลดออก
หรือไล่ออก จากรัฐวิสาหกิจ
(๑๑)
ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออกหรือปลดออกเพราะกระทำผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาหรือตามกฎหมายอื่น
(๑๒)
ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออกเพราะกระทำผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
หรือตามกฎหมายอื่น
มาตรา ๒๕ ผู้ที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ (๗) (๘)
หรือ (๙) ก.ร. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้
ส่วนผู้ที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ (๑๐) หรือ (๑๑) ถ้าผู้นั้นได้ออกจากงาน
หรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้ว หรือผู้ที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ (๑๒)
ถ้าผู้นั้นได้ออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว
และมิใช่เป็นกรณีออกจากงานหรือออกจากราชการเพราะกระทำผิดในกรณีทุจริตต่อหน้าที่
ก.ร. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ มติของ ก.ร.
ในการประชุมปรึกษายกเว้นเช่นนี้ต้องเป็นเอกฉันท์ การลงมติให้กระทำโดยลับ
มาตรา ๒๖ ผู้สอบแข่งขันได้ ซึ่งอยู่ในลำดับที่ที่จะได้รับบรรจุและแต่งตั้ง
ถ้าปรากฏว่าขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๒๔
โดยไม่ได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๕
หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่ ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐
อยู่ก่อนหรือภายหลังการสอบแข่งขัน จะบรรจุและแต่งตั้งผู้นั้นมิได้
มาตรา ๒๗ ผู้ใดได้รับบรรจุเข้ารับราชการแล้ว
หากภายหลังปรากฏว่าผู้นั้นขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๒๔
โดยไม่ได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๕
หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐ โดยไม่ได้รับอนุมัติจาก
ก.ร. ตามมาตรา ๓๓ อยู่ก่อนก็ดี
มีกรณีต้องหาอยู่ก่อนและภายหลังเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเนื่องจากกรณีต้องหานั้นก็ดี
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการโดยพลัน
แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการกระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่
และการได้รับเงินเดือนก่อนมีคำสั่งให้ออกนั้น
และถ้าการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้ว
ให้ถือว่าเป็นการสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
มาตรา ๒๘
การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญในตำแหน่งระดับ ๙ ลงมา
ให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
ส่วนการบรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไป
ให้ประธานรัฐสภาเป็นมีอำนาจสั่งบรรจุ
และนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
มาตรา ๒๙ ผู้สอบแข่งขันได้ และผู้ได้รับคัดเลือก
ผู้ใดได้รับบรรจุเข้าเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญในตำแหน่งใด
ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งนั้นเป็นเวลาตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
ในระหว่างเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่าผู้นั้นมีความประพฤติไม่ดีหรือไม่มีความรู้หรือไม่มีความสามารถเหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง
หรือเมื่อครบกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ให้ผู้บังคับบัญชาทำรายงานผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการของผู้นั้นเสนอตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ
ตามวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
เมื่อได้รับรายงานจากผู้บังคับบัญชาตามวรรคหนึ่ง
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุพิจารณาว่าผู้นั้นมีความประพฤติ ความรู้
และความสามารถเหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งหรือไม่
ถ้าเห็นว่าไม่ควรให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปหรือควรให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปอีกระยะหนึ่ง
จะสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ หรือสั่งให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปก็ได้
แต่ถ้าเห็นว่าผู้นั้นควรรับราชการต่อไปได้เมื่อครบกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุรายงานให้ ก.ร. ทราบตามวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
ผู้อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งใด
ถ้าได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นให้เริ่มทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามวรรคหนึ่งใหม่
ผู้ซึ่งถูกสั่งให้ออกจากราชการเพราะมีความประพฤติไม่ดี
หรือไม่มีความรู้
หรือไม่มีความสามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งตามวรรคสอง
ให้ถือเสมือนหนึ่งว่าไม่เคยเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับในระหว่างที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ
มาตรา ๓๐
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งใดไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่น
ต้องแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับเดียวกัน
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ต่ำกว่าเดิมและการย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้มิได้ดำรงตำแหน่งที่
ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐ ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐
จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจาก ก.ร. แล้ว
มาตรา ๓๑
การเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นตำแหน่งใดให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันเพื่อดำรงตำแหน่งนั้นได้
หรือจากผู้ได้รับการประเมินสมรรถภาพแล้วปรากฏว่าเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ
และความเหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งนั้นได้
กรณีใดจะเลื่อนและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้
หรือจากผู้ได้รับการประเมินสมรรถภาพให้เป็นไปตามที่ ก.ร. กำหนด
การสอบแข่งขันเพื่อเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับ
๒ และระดับ ๓ ให้สอบร่วมกับการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการตามมาตรา ๒๒
ส่วนการสอบแข่งขันเพื่อเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับ
๔ ขึ้นไปให้ ก.ร. กำหนดผู้ดำเนินการสอบแข่งขัน
หลักสูตรและวิธีดำเนินการเกี่ยวกับการสอบแข่งขัน ตลอดจนเกณฑ์การตัดสิน การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้
และการยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้
การประเมินสมรรถภาพของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร.กำหนด
มาตรา ๓๒
การบรรจุและการเลื่อนตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญจากผู้สอบแข่งขันได้
ให้ผู้มีอำนาจบรรจุและแต่งตั้งสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้
ส่วนการเลื่อนตำแหน่งจากผู้ได้รับการประเมินสมรรถภาพ
ให้เลื่อนและแต่งตั้งได้ตามความเหมาะสม
มาตรา ๓๓
ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญตำแหน่งใด
ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น ตามที่ ก.ร.กำหนดในมาตรา ๒๐
ในกรณีที่มีความจำเป็น ก.ร.
อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญที่มีคุณสมบัติเฉพาะต่างไปจากที่กำหนดไว้ในมาตรา
๒๐ ก็ได้
ในกรณีที่ ก.ร.
กำหนดให้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพใดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ให้หมายถึงปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพที่ ก.ร. รับรอง
มาตรา ๓๔
การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญให้ดำรงตำแหน่งที่ ก.ร.
ยังมิได้กำหนดตามมาตรา ๒๐ จะกระทำมิได้
มาตรา ๓๕
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๓๐ มาตรา
๓๑ และมาตรา ๔๐ แล้ว หากภายหลังปรากฏว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งสั่งแต่งตั้งผู้นั้นให้กลับไปดำรงตำแหน่งเดิม
หรือตำแหน่งระดับเดียวกันที่ต้องใช้คุณสมบัติเฉพาะที่ผู้นั้นมีอยู่
มาตรา ๓๖
การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญโดยปกติให้สั่งเลื่อนได้ปีละหนึ่งขั้น
และเลื่อนได้ไม่เกินขั้นสูงของระดับที่ผู้นั้นได้รับเงินเดือนอยู่
โดยคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณของงานที่ได้ปฏิบัติมา การรักษาวินัย ตลอดจนความสามารถ
ความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญในกรณีพิเศษเกินกว่าหนึ่งขั้น
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร. และให้เสนอ ก.ร.
เพื่อพิจารณาอนุมัติเป็นรายๆ ไป
การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ
๙ ลงมาให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมเป็นผู้พิจารณาและสั่งเลื่อน
ส่วนผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๑๐ ขึ้นไป
ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาและสั่งเลื่อน
มาตรา ๓๗
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ก.ร.
จะพิจารณาอนุมัติให้เลื่อนขั้นเงินเดือนเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญก็ได้ การเลื่อนเงินเดือนในกรณีเช่นนี้
จะเลื่อนเกินกว่าขั้นสูงของระดับที่ผู้นั้นได้รับเงินเดือนอยู่ก็ได้
มาตรา ๓๘ ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘
มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญประจำส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเป็นการชั่วคราว
โดยให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่เดิมได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
การสั่งและการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับข้าราชการรัฐสภาสามัญตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร. กำหนด
มาตรา ๓๙
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญในต่างส่วนราชการที่สังกัดรัฐสภา
อาจกระทำได้เมื่อส่วนราชการเจ้าสังกัดทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนนั้นแล้ว
โดยให้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ไม่สูงกว่าเดิมและรับเงินเดือนในขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม
เว้นแต่การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้สอบแข่งขันได้ สอบคัดเลือกได้หรือได้รับคัดเลือก
ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร. กำหนด
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้มิได้ดำรงตำแหน่งที่
ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐ ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ ก.ร.
กำหนดตามมาตรา ๒๐ ในต่างส่วนราชการที่สังกัดรัฐสภา
จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจาก ก.ร. แล้ว ในการนี้ให้ ก.ร.
พิจารณาโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับ และให้ ก.ร.
กำหนดระดับของตำแหน่งที่จะแต่งตั้งและเงินเดือนที่จะให้ได้รับด้วย
มาตรา ๔๐ การโอนข้าราชการตามกฎหมายอื่น
หรือพนักงานเทศบาล มาบรรจุเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ อาจกระทำได้ถ้าเจ้าตัวสมัครใจ
โดยประธานรัฐสภาหรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมทำความตกลงกับเจ้าสังกัด แล้วเสนอ
ก.ร. เพื่อพิจารณาอนุมัติ ทั้งนี้ จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับใด
และได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้ ก.ร. เป็นผู้พิจารณากำหนด
แต่เงินเดือนที่จะให้ได้รับจะต้องไม่สูงกว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญที่มีคุณวุฒิ
ความสามารถ และความชำนาญงานในระดับเดียวกัน
เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้ที่โอนมาตามวรรคหนึ่งในขณะที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานเทศบาลนั้นเป็นเวลาราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย
การโอนข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญ
พนักงานเทศบาลวิสามัญ
และข้าราชการที่อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมาเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัตินี้จะกระทำมิได้
มาตรา ๔๑
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
เมื่อผู้นั้นพ้นจากราชการทหารโดยไม่มีความเสียหายแล้ว
ประสงค์จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญในส่วนราชการสังกัดรัฐสภาตามเดิมภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันพ้นจากราชการทหาร
ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ สั่งบรรจุ แต่งตั้ง และให้ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
ก.ร. กำหนด
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
เมื่อได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งแล้วให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง
ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๒๙ มาใช้บังคับ
มาตรา ๔๒
ข้าราชการรัฐสภาสามัญลาออกจากราชการเพื่อสมัครรับเลือกตั้งประสงค์จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญในส่วนราชการสังกัดรัฐสภาตามเดิม
ถ้าข้าราชการผู้นั้นได้แสดงความจำนงไว้ในขณะลาออกว่าจะกลับเข้ามารับราชการ
และระยะเวลาที่ออกจากราชการไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘
สั่งบรรจุ แต่งตั้ง และให้ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร. กำหนด
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ไปสมัครรับเลือกตั้ง
เมื่อได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งแล้วให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง
ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๒๙ มาใช้บังคับ
มาตรา ๔๓
ข้าราชการหรือพนักงานเทศบาลผู้ใดออกจากราชการหรือออกจากงานไปแล้วถ้าสมัครเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
และทางราชการต้องการจะรับผู้นั้นเข้ารับราชการ ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเสนอ ก.ร.
เพื่อพิจารณาอนุมัติ ทั้งนี้
จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับใดและได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้ ก.ร.
เป็นผู้พิจารณากำหนด แต่เงินเดือนที่จะให้ได้รับ จะต้องไม่สูงกว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญที่มีคุณวุฒิ
ความสามารถ และความชำนาญงานในระดับเดียวกัน
เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ
ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้เข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งในขณะที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานเทศบาลนั้น
เป็นเวลาราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย
ความในวรรคหนึ่ง
มิให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญ พนักงานเทศบาลวิสามัญ
และผู้ซึ่งออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
มาตรา ๔๔ ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการ เมื่อ
(๑) ตาย
(๒)
พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(๓) ได้รับอนุญาตให้ลาออก
(๔) ถูกสั่งให้ออก หรือถูกลงโทษไล่ออก
ปลดออกหรือให้ออก
การต่อเวลาราชการให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ต้องออกจากราชการตาม
(๒) รับราชการต่อไปอีก จะกระทำมิได้
มาตรา ๔๕
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการ ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่ง
เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ เป็นผู้พิจารณา เมื่อผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘
สั่งอนุญาตแล้ว จึงให้ออกจากราชการตามคำสั่ง
ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญขอลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้ง
ให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ยื่นใบลาออกต่อผู้บังคับบัญชา
ในกรณีที่ผู้ขอลาออกมีเรื่องถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย
หรือต้องหาว่ากระทำผิดอาญา ผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตลาออกจะสั่งอนุญาตให้ลาออกก็ได้
โดยมีเงื่อนไขว่าเมื่อสอบสวนพิจารณาแล้วได้ความว่าผู้ได้รับอนุญาตให้ลาออกกระทำผิดวินัย
ก็ให้ดำเนินการสั่งลงโทษหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ตรงตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้
การลาออกในกรณีนี้ยังไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ
มาตรา ๔๖ ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘
มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้
แต่ในการสั่งให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน
นอกจากให้ทำได้ในกรณีที่ระบุไว้ในกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้ว
ให้ทำได้ในกรณีต่อไปนี้ด้วย คือ
(๑)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอ
ถ้าผู้บังคับบัญชาดังกล่าวเห็นสมควรให้ออกจากราชการแล้ว
ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้
(๒)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดสมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการ
ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ
(๓) เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดขาดคุณสมบัติตามมาตรา
๒๔ (๑) (๔) หรือ (๕) ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ
(๔)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดหย่อนความสามารถด้วยเหตุใดในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการของตน
หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือบกพร่องในหน้าที่ด้วยเหตุใด
และผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ เห็นว่าถ้าให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป
จะเป็นการเสียหายแก่ราชการ ก็ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสอบสวนพิจารณา
โดยจะสอบสวนเองหรือมอบหมายให้ข้าราชการที่เห็นสมควรหรือแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแทนก็ได้
ในการสอบสวนนี้จะต้องแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
และให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาด้วย เมื่อได้มีการสอบสวนพิจารณาแล้ว
และผู้บังคับบัญชาดังกล่าวเห็นสมควรให้ออกจากราชการ
ก็ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้ ทั้งนี้ให้นำมาตรา ๕๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นได้สอบสวน
หรือพนักงานสอบสวนได้สอบสวนทางอาญา
หรือศาลได้มีคำพิพากษาเกี่ยวกับเรื่องที่จะต้องสอบสวนตามวรรคหนึ่งอยู่แล้ว
ผู้มีอำนาจตามมาตรานี้จะนำสำนวนการสอบสวนของผู้บังคับบัญชาชั้นต้น
สำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวน สำนวนของผู้ว่าคดีศาลแขวง สำนวนของอัยการ
สำนวนการพิจารณาของศาลหรือสำเนาคำพิพากษาอย่างใดอย่างหนึ่งมาใช้เป็นสำนวนการสอบสวนโดยให้ถือว่าได้มีการสอบสวนตามวรรคหนึ่งแล้วก็ได้
แต่ทั้งนี้ต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาด้วย
(๕)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
และได้มีการสอบสวนตามมาตรา ๕๓ แล้ว
การสอบสวนไม่ได้ความว่ากระทำผิดที่จะถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก
แต่ผู้บังคับบัญชาตามมาตราดังกล่าวเห็นว่าผู้นั้นมีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวนนั้น
ซึ่งจะให้รับราชการต่อไปอาจจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ
ก็ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งให้ออกจากราชการได้
(๖)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท
หรือความผิดลหุโทษ ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก
ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ จะสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการก็ได้
(๗)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ
มาตรา ๔๗
การออกจากราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๑๐ ขึ้นไป
ในกรณีถูกลงโทษ ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง
ส่วนการออกจากราชการในกรณีอื่นให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ
มาตรา ๔๘
ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องรักษาวินัยตามที่กำหนดไว้ในกฎ ก.ร.
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย
จักต้องได้รับโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๐
มาตรา ๔๙
ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ส่งเสริมและดูแลระมัดระวังให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามวินัย
ถ้าผู้บังคับบัญชารู้ว่าผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาคนใดกระทำผิดวินัย
จะต้องดำเนินการทางวินัยทันที ถ้าเห็นว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยที่จะต้องได้รับโทษและอยู่ในอำนาจของตนที่จะลงโทษได้ให้สั่งลงโทษ
แต่ถ้าเห็นว่าผู้นั้นควรจะต้องได้รับโทษสูงกว่าที่ตนมีอำนาจสั่งลงโทษ
ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาของผู้กระทำผิดวินัยเหนือขึ้นไป
เพื่อให้พิจารณาดำเนินการสั่งลงโทษตามควรแก่กรณี
ผู้บังคับบัญชาผู้ใดละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรานี้โดยไม่สุจริต
ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย
มาตรา ๕๐ โทษผิดวินัยมี ๖ สถาน คือ
(๑) ภาคทัณฑ์
(๒) ตัดเงินเดือน
(๓) ลดขั้นเงินเดือน
(๔) ให้ออก
(๕) ปลดออก
(๖) ไล่ออก
มาตรา ๕๑ การลงโทษข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ผู้สั่งลงโทษต้องสั่งลงโทษให้เหมาะสมกับความผิด
ในคำสั่งลงโทษให้แสดงว่าผู้ถูกลงโทษกระทำผิดวินัยในกรณีใด ตามมาตราใด
มาตรา ๕๒
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยที่ยังไม่ถึงขั้นเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน
หรือลดขั้นเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด
ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้
แต่สำหรับการลงโทษภาคทัณฑ์
ให้ใช้เฉพาะกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยหรือมีเหตุอันควรลดหย่อน
ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษตัดเงินเดือน
ในกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยและเป็นความผิดครั้งแรก
ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่ามีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยว่ากล่าวตักเตือน
หรือให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือไว้ก่อนก็ได้
การลงโทษตามมาตรานี้
ผู้บังคับบัญชาใดจะมีอำนาจสั่งลงโทษผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาได้เพียงใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร.
มาตรา ๕๓
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดถูกกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่า
กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ตามที่กำหนดในกฎ ก.ร. ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘
สอบสวนพิจารณาโดยไม่ชักช้าโดยจะสอบสวนเอง หรือมอบหมายให้ข้าราชการที่เห็นสมควร
หรือแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแทนก็ได้
ในการสอบสวนนี้จะต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาด้วย
เมื่อได้มีการสอบสวนแล้วและผู้บังคับบัญชาดังกล่าวพิจารณาเห็นว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร. ก็ให้สั่งลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก ตามความร้ายแรงแห่งกรณี
ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษให้ก็ได้
แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าให้ออก ผู้ถูกสั่งให้ออกตามมาตรานี้
ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นได้สอบสวน
หรือพนักงานสอบสวนได้สอบสวนทางอาญา
หรือศาลได้มีคำพิพากษาเกี่ยวกับเรื่องที่จะต้องสอบสวนตามวรรคหนึ่งอยู่แล้ว
ผู้มีอำนาจตามมาตรานี้จะนำสำนวนการสอบสวนของผู้บังคับบัญชาชั้นต้น
สำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวน สำนวนของผู้ว่าคดีศาลแขวง สำนวนของอัยการ
สำนวนการพิจารณาของศาลหรือสำเนาคำพิพากษาอย่างใดอย่างหนึ่งมาใช้เป็นสำนวนการสอบสวน
โดยถือว่าได้มีการสอบสวนตามวรรคหนึ่งแล้วก็ได้
แต่ทั้งนี้ต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาด้วย
ให้ ก.ร. มีอำนาจออกกฎ ก.ร.
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณา
ระยะเวลาสอบสวนพิจารณาและสั่งลงโทษ การสั่งสอบสวน การมอบหมายให้สอบสวน
การตั้งกรรมการสอบสวน ตลอดจนการส่งประเด็นไปสอบสวนพยานบุคคลซึ่งอยู่ต่างท้องที่
การรวบรวมพยานหลักฐาน และกิจการอื่นๆ เพื่อให้ได้ความจริง
มาตรา ๕๔
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
และเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่กำหนดไว้ในกฎ ก.ร.
หรือได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชา
หรือต่อผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้สอบสวน หรือต่อคณะกรรมการสอบสวน
ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ จะสั่งลงโทษโดยไม่สอบสวนต่อไปก็ได้
มาตรา ๕๕ ให้ผู้บังคับบัญชาผู้สอบสวน
ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้สอบสวนและกรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
และให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
เพียงเท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาผู้สอบสวนผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้สอบสวน
และกรรมการสอบสวน และโดยเฉพาะให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย คือ
(๑) เรียกให้กระทรวงทบวงกรม หน่วยราชการ
หรือรัฐวิสาหกิจชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐาน ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัด
มาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน
(๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใดๆ มาให้ถ้อยคำ
หรือให้ส่งเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน
(๓) ส่งประเด็นไปให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน
เพื่อการนี้ให้พนักงานสอบสวน ผู้ทำการสอบสวนเป็นกรรมการสอบสวน
และให้ถือว่าการสอบสวนของพนักงานสอบสวนเป็นการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวน
เมื่อได้สอบสวนเสร็จแล้วให้เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนดังกล่าวส่งรายงานที่จำเป็นและพยานหลักฐานต่างๆ
ทั้งหมดไปยังคณะกรรมการสอบสวน
มาตรา ๕๖
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยหรือถูกฟ้องคดีอาญา
หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา
เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
แม้ภายหลังผู้นั้นจะออกจากราชการไปแล้วผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘
ก็ยังมีอำนาจสั่งลงโทษหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้เป็นไปตามหมวดนี้ได้
เว้นแต่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นจะออกจากราชการเพราะเหตุตาย
มาตรา ๕๗
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกสอบสวน
หรือถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา
เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา
๒๘
มีอำนาจสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาได้
แต่ถ้าภายหลังปรากฏผลการสอบสวนพิจารณาว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิด
หรือกระทำผิดไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก
และไม่มีกรณีที่จะต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่นก็ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิม
หรือตำแหน่งในระดับเดียวกันที่ต้องใช้คุณสมบัติเฉพาะที่ผู้นั้นมีอยู่
เงินเดือนของผู้ถูกสั่งพักราชการให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น
ส่วนในกรณีสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
ถ้าปรากฏผลการสอบสวนพิจารณาเป็นยุติแล้วว่าผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนมิได้กระทำผิด
หรือกระทำผิดไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษ ให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก
ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่างถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเสมือนว่าผู้นั้นถูกสั่งพักราชการ
ให้ ก.ร. มีอำนาจออกกฎ ก.ร.
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสั่งพักราชการ การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
และการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามผลการสอบสวนพิจารณา
มาตรา ๕๘
เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษหรือดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไปแล้ว
ให้ส่งรายงานการลงโทษหรือการดำเนินการทางวินัยนั้นต่อผู้บังคับบัญชาของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นตามลำดับจนถึงประธานรัฐสภาและให้ประธานรัฐสภารายงานต่อ
ก.ร.
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นซึ่งมีตำแหน่งเหนือผู้สั่งตามวรรคหนึ่งเห็นว่าการลงโทษหรือการดำเนินการทางวินัยนั้นไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม
ก็ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวมีอำนาจที่จะสั่งลงโทษ เพิ่มโทษ ลดโทษ หรือยกโทษ
ตามควรแก่กรณีได้ แต่ถ้าจะลงโทษหรือเพิ่มโทษแล้ว
โทษที่ลงหรือเพิ่มขึ้นรวมกับที่สั่งไว้แล้วเดิมต้องไม่เกินอำนาจของผู้ซึ่งสั่งใหม่นั้น
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษหรือดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดแล้ว
แต่ประธานรัฐสภาหรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมเห็นว่ากรณีเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ก็ให้ประธานรัฐสภา หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม แล้วแต่กรณี
มีอำนาจดำเนินการตามมาตรา ๕๓ ถ้าจะต้องสอบสวนตามมาตรา ๕๓ ก่อน
ก็ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวมีอำนาจสอบสวนตามมาตรา ๕๓ ในกรณีที่จะต้องลงโทษตามมาตรา
๕๓ ถ้ามีการตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือนไปแล้วก็ให้เป็นอันพับไป
มาตรา ๕๙
เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษหรือดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญในเรื่องใดไปแล้ว
ถ้า ก.ร. พิจารณาเห็นเป็นการสมควรที่จะต้องสอบสวนเพิ่มเติม หรือสอบสวนใหม่ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
ก็ให้ ก.ร. มีอำนาจสอบสวนเพิ่มเติมหรือสอบสวนใหม่ในเรื่องนั้นได้ตามความจำเป็น
โดยจะสอบสวนเองหรือแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
หรือมอบหมายให้ข้าราชการที่เห็นสมควรสอบสวนแทนก็ได้
มาตรา ๖๐ การอุทธรณ์การถูกลงโทษของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้เป็นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
หมวด
๔
ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
มาตรา ๖๑
ตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
มีดังนี้
(๑) ที่ปรึกษาประจำรัฐสภา
(๒) ผู้ช่วยที่ปรึกษาประจำรัฐสภา
(๓) เลขานุการประธานรัฐสภา
(๔) เลขานุการรองประธานรัฐสภา
(๕) เลขานุการประจำรัฐสภา
มาตรา ๖๒
ให้ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองได้รับเงินเดือนตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖๓
การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามมาตรา ๖๑ (๑) และ (๒)
ให้ประธานรัฐสภาด้วยความเห็นชอบของ ก.ร. แต่งตั้งบุคคลซึ่งเห็นสมควรตามเหตุผลในทางการเมือง
และต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปที่จะเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญได้ตามมาตรา ๒๔ ยกเว้น
(๔)
การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตามมาตรา
๖๑ (๓) (๔) และ (๕) ให้ประธานรัฐสภาแต่งตั้งบุคคลตามเหตุผลในทางการเมือง
และต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปที่จะเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญได้ตามมาตรา ๒๔
ยกเว้น (๔)
มาตรา ๖๔ ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองออกจากตำแหน่ง
เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) สำหรับข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตามมาตรา
๖๑ (๑) และ (๒) ประธานรัฐสภาให้พ้นจากตำแหน่งด้วยความเห็นชอบของ ก.ร.
หรือเมื่อรัฐสภาสิ้นอายุหรือถูกยุบ
(๔) สำหรับข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตามมาตรา
๖๑ (๓) (๔) และ (๕) ผู้แต่งตั้งพ้นจากตำแหน่ง
หรือผู้แต่งตั้งสั่งให้พ้นจากตำแหน่งจะโดยมีความผิดหรือไม่มีความผิดก็ตาม
(๕) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ ยกเว้น (๔)
หมวด
๕
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๖๕ บรรดาพระราชบัญญัติ ประกาศของคณะปฏิวัติ
พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง กฎ ก.พ. ประกาศ ระเบียบ
ข้อบังคับและคำสั่งที่ยังคงใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือนในส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
นอกจากที่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับแก่ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไป เว้นแต่พระราชบัญญัตินี้ หรือ กฎ ก.ร.
ที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ จะบัญญัติเป็นอย่างอื่น
มาตรา ๖๖
ให้ผู้ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามพระราชบัญญัตินี้
และคงดำรงตำแหน่งและมีอัตราเงินเดือนตามที่ได้รับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ทั้งนี้สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้เป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
สำหรับข้าราชการการเมือง ให้เป็นข้าราชรัฐสภาฝ่ายการเมือง
ส่วนข้าราชการพลเรือนวิสามัญ ให้เป็นข้าราชการรัฐสภาวิสามัญ
และให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนวิสามัญมาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๖๗
ในระหว่างที่รัฐสภายังไม่ได้เลือกตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนทำหน้าที่
ก.ร. ตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖๘ ในระหว่างที่ ก.ร.
ยังมิได้กำหนดตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญตามมาตรา ๒๐
การดำเนินการเกี่ยวกับข้าราชการรัฐสภาสามัญ ให้เสนอ ก.ร. พิจารณาอนุมัติเป็นรายๆ
ไป
มาตรา ๖๙ การใดหรือสิทธิใดที่ข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามมาตรา
๖๖
กระทำหรือมีอยู่ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ถือว่าเป็นการกระทำหรือสิทธิตามพระราชบัญญัตินี้
การใดที่ทางราชการได้ดำเนินการเกี่ยวกับข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามมาตรา
๖๖ ไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ถือว่าเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีปัญหาตามมาตรานี้ ให้ ก.ร.
เป็นผู้วินิจฉัย
มาตรา ๗๐
การใดที่เคยดำเนินการได้ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
และมิได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ จะดำเนินการได้ประการใด ให้เป็นไปตามที่
ก.ร. กำหนด โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
สัญญา
ธรรมศักดิ์
นายกรัฐมนตรี
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ระดับ
ขั้น
๑
๗๕๐-๘๐๐-๘๔๐-๙๐๐-๙๕๕-๑,๐๑๕
๑,๐๘๐-๑,๑๕๐-๑,๒๒๐-๑,๒๙๕-๑,๓๗๕-๑,๔๖๐
๑,๕๕๐-๑,๖๔๔-๑,๗๕๐-๑,๘๖๐-๑,๙๗๕-๒,๑๐๐ บาท
๒
๑,๓๗๕-๑,๔๖๐-๑,๕๕๐-๑,๖๔๕-๑,๗๕๐-๑,๘๖๐
๑,๙๗๕-๒,๑๐๐-๒,๒๓๐-๒,๓๗๐-๒,๕๒๐-๒,๖๘๐ บาท
๓
๑,๗๕๐-๑,๘๖๐-๑,๙๗๕-๒,๑๐๐-๒,๒๓๐-๒,๓๗๐
๒,๕๒๐-๒,๖๘๐-๒,๘๕๐-๓,๐๓๐-๓,๒๒๐-๓,๔๒๐ บาท
๔
๒,๒๓๐-๒,๓๗๐-๒,๕๒๐-๒,๖๘๐-๒,๘๕๐-๓,๐๓๐
๓,๒๒๐-๓,๔๒๐-๓,๖๓๐-๓,๘๕๐-๔,๐๘๕-๔,๓๓๕ บาท
๕
๓,๐๓๐-๓,๒๒๐-๓,๔๒๐-๓,๖๓๐-๓,๘๕๐-๔,๐๘๕
๔,๓๓๕-๔,๖๐๐-๔,๘๘๐-๕,๑๗๕-๕,๔๘๕-๕,๘๑๐ บาท
๖
๔,๐๘๕-๔,๓๓๕-๔,๖๐๐-๔,๘๘๐-๕,๑๗๕-๕,๔๘๕
๕,๘๑๐-๖,๑๕๐-๖,๕๐๕-๖,๘๗๕-๗,๒๖๐-๗,๖๖๐ บาท
๗
๕,๑๗๕-๕,๔๘๕-๕,๘๑๐-๖,๑๕๐-๖,๕๐๕-๖,๘๗๕
๗,๒๖๐-๗,๖๖๐-๘,๐๗๕-๘,๕๐๕-๘,๙๕๐ บาท
๘
๕,๘๑๐-๖,๑๕๐-๖,๕๐๕-๖,๘๗๕-๗,๒๖๐
๗,๖๖๐-๘,๐๗๕-๘,๕๐๕-๘,๙๕๐-๙,๔๑๐ บาท
๙
๖,๕๐๕-๖,๘๗๕-๗,๒๖๐-๗,๖๖๐-๘,๐๗๕
๘,๕๐๕-๘,๙๕๐-๙,๔๑๐-๙,๘๘๕ บาท
๑๐
๗,๒๖๐-๗,๖๖๐-๘,๐๗๕-๘,๕๐๕
๘,๙๕๐-๙,๔๑๐-๙,๘๘๕-๑๐,๓๘๐ บาท
๑๑
๘,๐๗๕-๘,๕๐๕-๘,๙๕๐-๙,๔๑๐
๙,๘๘๕-๑๐,๓๘๐-๑๐,๙๐๐ บาท
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่ง
ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
(๑)
ที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๑๐,๙๐๐ บาท
(๒)
ที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๑๐,๓๘๐ บาท
(๓)
ที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๙,๘๘๕ บาท
(๔)
ผู้ช่วยที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๙,๔๑๐ บาท
(๕)
ผู้ช่วยที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๘,๕๐๕ บาท
(๖)
ผู้ช่วยที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๗,๖๖๐ บาท
(๗)
เลขานุการประธานรัฐสภา เดือนละ ๖,๑๕๐ บาท
(๘)
เลขานุการรองประธานรัฐสภา เดือนละ ๕,๔๘๕ บาท
(๙)
เลขานุการประจำรัฐสภา เดือนละ ๓,๘๕๐ บาท
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่ในปัจจุบันข้าราชการที่ปฏิบัติราชการให้แก่สภานิติบัญญัติยังอยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยราชการของฝ่ายบริหาร
เพราะมีฐานะเป็นข้าราชการพลเรือน แต่โดยสภาพของการปฏิบัติราชการควรจะอยู่ภายใต้การควบคุมของสภานิติบัญญัติโดยตรง
เพราะจะทำให้สภานิติบัญญัติสามารถปรับปรุงระเบียบปฏิบัติราชการของข้าราชการในสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาให้มีประสิทธิภาพ
และอำนวยความสะดวกให้แก่ราชการของสภานิติบัญญัติได้มากยิ่งขึ้น
จึงสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาโดยเฉพาะ
และเพื่อการนี้จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น
สัญชัย/ผู้จัดทำ
๑๙
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๒/ตอนที่ ๒๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘ |
304095 | พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2538 | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๕)
พ.ศ.
๒๕๓๘
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้
ณ วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๘
เป็นปีที่
๕๐ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๘
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๖๒
ให้ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
บทบัญญัติตามมาตรา ๓๕
แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๔๙๙
มิให้ใช้บังคับแก่การรับบำเหน็จบำนาญของข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองผู้กลับเข้ารับราชการใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้
ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองซึ่งดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วย
ถ้าได้รับเงินประจำตำแหน่ง หรือเงินเพิ่มสำหรับสมาชิกสภาดังกล่าวแล้ว
ไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในฐานะข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองอีก
การจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด
มาตรา ๔ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการฝ่ายรัฐสภาฝ่ายการเมืองท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ชวน
หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่ได้มีการแยกบัญชีอัตราเงินเดือนและบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองไปบัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะแล้ว
สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาให้สอดคล้องกัน
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
สัญชัย/ผู้จัดทำ
๑๙
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑ ก/หน้า ๕๑/๑ มกราคม ๒๕๓๘ |
304091 | พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2521 | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ.
๒๕๒๑
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๑
เป็นปีที่
๓๓ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑
มาตรา ๒[๑]
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒๐ ทวิ
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
มาตรา ๒๐ ทวิ
อัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ ให้แบ่งเป็น ๑๑ ระดับ
แต่ละระดับมีจำนวนขั้น ดังนี้
ระดับ ๑ มี ๒๐ ขั้น
ระดับ ๒ ระดับ ๓ ระดับ ๔ และระดับ ๕ มีระดับละ ๑๔
ขั้น
ระดับ ๖ มี ๑๓ ขั้น
ระดับ ๗ ระดับ ๘ ระดับ ๙ และระดับ ๑๐ มีระดับละ
๑๐ ขั้น
ระดับ ๑๑ มี ๙ ขั้น
อัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้เป็นไปตามบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๑
ท้ายพระราชบัญญัตินี้
และเมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกาประกาศใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน หมายเลข
๒ หรือหมายเลข ๓ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนแล้ว
ให้ประธานรัฐสภาประกาศปรับใช้อัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญตามบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ
หมายเลข ๒ หรือบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๓
ท้ายพระราชบัญญัตินี้ให้สอดคล้องกัน การปรับใช้อัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญดังกล่าว
ให้มีผลเป็นการปรับขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ได้รับอยู่
และที่กำหนดไว้โดยพระราชกฤษฎีกา กฎ ก.ร. ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี และมติ ก.ร.
ซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามไปด้วย
มาตรา ๔ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญและบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ และให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข
๑ บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญหมายเลข ๒
และบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๓
และบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
ท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา ๕
ให้ประธานรัฐสภาประกาศปรับอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้เข้าระดับและขั้นเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ
หมายเลข ๑ ท้ายพระราชบัญญัตินี้
ให้สอดคล้องกับการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
มาตรา ๖ ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ
๗ ผู้ใดได้รับเงินเดือนขั้น ๑๑ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.
๒๕๑๘ อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นคงดำรงตำแหน่งระดับ ๗ ต่อไป
แต่ให้ได้รับเงินเดือนเท่ากับเงินเดือนขั้น ๙ ของระดับ ๘
ตามบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๑
ท้ายพระราชบัญญัตินี้โดยให้ถือว่าเงินเดือนที่ได้รับนั้นเป็นเงินเดือนขั้นสูงของตำแหน่งระดับ
๗ เว้นแต่จะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับที่สูงขึ้น
ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งอาจได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๒๒ ขึ้นรับเงินเดือนระดับ ๗ ขั้น ๑๑
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๖
บรรดาอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญที่อ้างถึงในกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง มติคณะรัฐมนตรี หรือกฎ ก.ร. หรือในการกำหนดของ ก.ร.
ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ให้ถือว่าเป็นการอ้างถึงอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ตามบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๑
ท้ายพระราชบัญญัตินี้ในระดับและขั้นเงินเดือนตามที่ประธานรัฐสภาประกาศตามมาตรา ๕
มาตรา ๘
เพื่อประโยชน์ในการบรรจุบุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘
และออกจากราชการไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับกลับเข้ารับราชการให้ปรับอัตราเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้เข้าระดับและขั้นเงินเดือนตามที่ประธานรัฐสภาประกาศตามมาตรา
๕ สำหรับบุคคลซึ่งได้รับเงินเดือนระดับ ๗ ขั้น ๑๑ อยู่ในขณะที่ออกจากราชการ
ให้นำมาตรา ๖ มาใช้บังคับแก่การปรับอัตราเงินเดือนดังกล่าวโดยอนุโลม
มาตรา ๙
ให้ประธานรัฐสภารักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก
เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
นายกรัฐมนตรี
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ
หมายเลข ๑
๒. บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ
หมายเลข ๒
๓. บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ
หมายเลข ๓
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
(๑)
ที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๑๑,๑๔๐ บาท
(๒)
ที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๑๐,๒๒๐ บาท
(๓)
ที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๙,๗๙๐ บาท
(๔)
ผู้ช่วยที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๙,๓๖๐ บาท
(๕)
ผู้ช่วยที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๘,๙๖๐ บาท
(๖)
ผู้ช่วยที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๘,๕๖๐ บาท
(๗)
เลขานุการประธานรัฐสภา เดือนละ ๗,๐๖๐ บาท
(๘)
เลขานุการรองประธานรัฐสภา เดือนละ ๖,๓๖๐ บาท
(๙)
เลขานุการประจำรัฐสภา เดือนละ ๕,๔๖๐ บาท
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือนของข้าราชการฝ่ายรัฐสภาไม่ได้ส่วนสัมพันธ์กับอัตราเงินเดือนของข้าราชการประเภทอื่นๆ
ที่ได้รับการปรับปรุงไปแล้ว
สมควรแก้ไขปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการฝ่ายรัฐสภาให้เหมาะสม
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
สัญชัย/ผู้จัดทำ
๑๙
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๕/ตอนที่ ๑๐๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗/๒๗ กันยายน ๒๕๒๑ |
300121 | พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 (Update ณ วันที่ 03/04/2535) | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ.
๒๕๑๘
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๘
เป็นปีที่
๓๐ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ บรรดาบทกฎหมาย กฎ
และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา หมายความว่า
บุคคลซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
ประธานรัฐสภา หมายความว่า
ประธานรัฐสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในกรณีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีสภานิติบัญญัติสภาเดียว
ให้หมายความถึงประธานแห่งสภานั้น
รองประธานรัฐสภา หมายความว่า
รองประธานรัฐสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
ในกรณีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีสภานิติบัญญัติสภาเดียว
ให้หมายความถึงรองประธานแห่งสภานั้น
รัฐสภา หมายความว่า
สภาซึ่งทำหน้าที่นิติบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีสภานิติบัญญัติสภาเดียว
ให้หมายถึงสภานั้น
มาตรา ๕
ให้ประธานรัฐสภารักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด
๑
คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
มาตรา ๖[๒]
ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
เรียกโดยย่อว่า ก.ร. ประกอบด้วยประธานรัฐสภาเป็นประธานกรรมการ
รองประธานรัฐสภาเป็นรองประธานกรรมการ เลขาธิการ ก.พ. เลขาธิการวุฒิสภา
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐสภาเลือกมีจำนวนไม่เกินแปดคน
เป็นกรรมการ ในกรณีที่มีสองสภา ให้แต่ละสภาเลือกสภาละไม่เกินสี่คน
ให้ประธานรัฐสภาแต่งตั้งเลขาธิการวุฒิสภาหรือเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนใดคนหนึ่งเป็นเลขานุการ
ก.ร.
มาตรา ๗[๓]
ผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๖
ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(๑)
เคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือตำแหน่งเทียบเท่ามาแล้ว
หรือเคยดำรงตำแหน่งกรรมการข้าราชการประเภทใดประเภทหนึ่งมาแล้ว
(๒)
ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ ข้าราชการการเมือง
ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง สมาชิกรัฐสภา กรรมการพรรคการเมือง
หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
มาตรา ๘[๔]
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี
มาตรา ๙
เมื่อตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิว่างลงเพราะออกจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา
๘ หรือเพราะพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๑๑
ให้รัฐสภาเลือกตั้งผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗
ขึ้นแทนภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ตำแหน่งว่าง หรือวันเปิดสมัยประชุมรัฐสภา
แล้วแต่กรณี
ความในวรรคหนึ่งมิให้นำมาใช้บังคับสำหรับกรณีที่ตำแหน่งว่างเพราะการพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา
๑๑ และวาระของกรรมการที่เหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือเมื่อรัฐสภาสิ้นอายุ
หรือถูกยุบ
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างเพราะพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา
๑๑ อยู่ในตำแหน่งตามวาระของกรรมการซึ่งตนแทน
รัฐสภาอาจเลือกตั้งกรรมการซึ่งออกจากตำแหน่งให้เป็นกรรมการอีกได้
มาตรา ๑๐[๕]
ในการเลือกผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการ
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประธานรัฐสภากำหนด
มาตรา ๑๑ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๘
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓)
เป็นผู้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗
มาตรา ๑๒ การประชุมของ ก.ร.
ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในระหว่างที่รัฐสภาสิ้นอายุหรือถูกยุบ
ให้ประธานรัฐสภาและรองประธานรัฐสภาคงดำรงตำแหน่งประธาน ก.ร. และรองประธาน ก.ร.
อยู่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงแต่งตั้งประธานรัฐสภาและรองประธานรัฐสภาใหม่แล้วจึงให้พ้นจากตำแหน่ง
ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิว่างลงเพราะออกตามวาระในระหว่างที่รัฐสภาสิ้นอายุหรือถูกยุบ
องค์ประชุมของ ก.ร.
ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการที่เหลืออยู่
มาตรา ๑๓
นอกจากอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้ ก.ร.
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย คือ
(๑) ควบคุมดูแลให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) ตีความและวินิจฉัยปัญหาต่างๆ
ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้พระราชบัญญัตินี้
(๓) ออกกฎ ก.ร. หรือระเบียบ
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ กฎ ก.ร.
เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
(๔) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
(๕) รักษาทะเบียนประวัติข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(๖)
ควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
มาตรา ๑๔ ก.ร.
มีอำนาจตั้งอนุกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรียกโดยย่อว่า อ.ก.ร.
เพื่อทำการใดๆ แทนได้
ให้นำความในมาตรา ๑๒
มาใช้บังคับแก่การประชุมของอนุกรรมการโดยอนุโลม
หมวด
๒
บททั่วไป
มาตรา ๑๕ ข้าราชการฝ่ายรัฐสภามี ๒ ประเภท
(๑) ข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ได้แก่ผู้ซึ่งรับราชการในตำแหน่งประจำ โดยได้รับเงินเดือนในอัตราสามัญ
และได้รับแต่งตั้งตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๓
(๒) ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
ได้แก่ผู้ซึ่งรับราชการในตำแหน่งการเมืองของรัฐสภา
มาตรา ๑๖[๖] วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี
วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ให้เป็นไปตามที่
ก.ร. กำหนด
มาตรา ๑๗ เครื่องแบบของข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
และให้ประธานรัฐสภาวางระเบียบว่าด้วยการแต่งกายของข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
มาตรา ๑๘
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ให้ ก.ร.
พิจารณาตามระเบียบว่าด้วยการนั้น และให้ประธานรัฐสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อขอพระราชทาน
มาตรา ๑๙
ข้าราชการฝ่ายรัฐสภามีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
เช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือน
หมวด
๓
ข้าราชการรัฐสภาสามัญ
มาตรา ๒๐[๗] การกำหนดตำแหน่ง
การให้รับเงินเดือนและการให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
ในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนสามัญมาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ คำว่า ก.พ.
ให้หมายถึง ก.ร. และคำว่า ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม
และมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
ให้หมายถึงส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม
และมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อประธานรัฐสภา
ประธานวุฒิสภา หรือประธานสภาผู้แทนราษฎร แล้วแต่กรณี
มาตรา ๒๐ ทวิ[๘]
(ยกเลิก)
มาตรา ๒๑[๙] อัตราเงินเดือนและอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราเงินเดือนและอัตราเงินประจำตำแหน่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ทั้งนี้ คำว่า ก.พ. ให้หมายถึง ก.ร.
และคำว่า ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม
และมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
ให้หมายถึงส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม
และมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อประธานรัฐสภา
ประธานวุฒิสภา หรือประธานสภาผู้แทนราษฎร แล้วแต่กรณี
การจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งให้แก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
เพื่อประโยชน์ในการออมทรัพย์ของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้นำกฎหมายและระเบียบว่าด้วยการหักเงินเดือนข้าราชการไว้เป็นเงินสะสมมาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๒๒
การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ต้องบรรจุจากผู้สอบแข่งขันได้
เว้นแต่การบรรจุผู้รับทุนของทางราชการในการศึกษาวิชาเข้ารับราชการตามสัญญาการบรรจุผู้ทรงคุณวุฒิ
ผู้ชำนาญการ และผู้ใช้ฝีมือ
และการบรรจุในกรณีที่มีเหตุพิเศษซึ่งไม่จำเป็นต้องดำเนินการสอบแข่งขัน ก.ร.
จะคัดเลือกบรรจุก็ได้
การสอบแข่งขันตามวรรคหนึ่ง ให้ ก.ร. เป็นผู้ดำเนินการสอบโดยเปิดโอกาสให้ผู้มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา
๒๔ และมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่ ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐ เข้าสมัครสอบได้
และให้สอบสำหรับบรรจุในตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๔ ลงมา ทั้งนี้
หลักสูตรและวิธีดำเนินการเกี่ยวกับการสอบแข่งขัน ตลอดจนเกณฑ์การตัดสิน
การขึ้นบัญชี และการยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ให้เป็นไปตามที่ ก.ร.กำหนด
มาตรา ๒๓ ผู้สมัครสอบแข่งขันในตำแหน่งใด
ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๒๔
หรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๕
และต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามที่ ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐ ด้วย
สำหรับผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๒๔ (๔)
ให้มีสิทธิสมัครสอบแข่งขันได้
แต่จะมีสิทธิได้รับบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญในตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้ต่อเมื่อพ้นจากตำแหน่งข้าราชการการเมืองแล้ว
มาตรา ๒๔ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) อายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี
(๓)
เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ
(๔) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง
(๕) ไม่เป็นผู้มีกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ไร้ความสามารถ จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
(๖)
ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งให้พักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
หรือตามกฎหมายอื่น
(๗) ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี
(๘) ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
(๙)
ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๑๐) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษ ให้ออก ปลดออก
หรือไล่ออก จากรัฐวิสาหกิจ
(๑๑)[๑๐]
ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษปลดออกเพราะกระทำผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาหรือตามกฎหมายอื่น
(๑๒)
ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออกเพราะกระทำผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
หรือตามกฎหมายอื่น
มาตรา ๒๕ ผู้ที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ (๗) (๘) หรือ
(๙) ก.ร. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ ส่วนผู้ที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔
(๑๐) หรือ (๑๑) ถ้าผู้นั้นได้ออกจากงาน หรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้ว
หรือผู้ที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ (๑๒)
ถ้าผู้นั้นได้ออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว และมิใช่เป็นกรณีออกจากงานหรือออกจากราชการเพราะกระทำผิดในกรณีทุจริตต่อหน้าที่
ก.ร. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ มติของ ก.ร.
ในการประชุมปรึกษายกเว้นเช่นนี้ต้องเป็นเอกฉันท์ การลงมติให้กระทำโดยลับ
มาตรา ๒๖ ผู้สอบแข่งขันได้
ซึ่งอยู่ในลำดับที่ที่จะได้รับบรรจุและแต่งตั้ง
ถ้าปรากฏว่าขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๒๔
โดยไม่ได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๕
หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่ ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐
อยู่ก่อนหรือภายหลังการสอบแข่งขัน จะบรรจุและแต่งตั้งผู้นั้นมิได้
มาตรา ๒๗ ผู้ใดได้รับบรรจุเข้ารับราชการแล้ว
หากภายหลังปรากฏว่าผู้นั้นขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๒๔
โดยไม่ได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๕
หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐
โดยไม่ได้รับอนุมัติจาก ก.ร. ตามมาตรา ๓๓ อยู่ก่อนก็ดี มีกรณีต้องหาอยู่ก่อนและภายหลังเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเนื่องจากกรณีต้องหานั้นก็ดี
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการโดยพลัน
แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการกระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่
และการได้รับเงินเดือนก่อนมีคำสั่งให้ออกนั้น และถ้าการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้ว
ให้ถือว่าเป็นการสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
มาตรา ๒๘[๑๑]
การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญและการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
ให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้เป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง
(๑) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๐
และระดับ ๑๑ ให้ประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา หรือประธานสภาผู้แทนราษฎร แล้วแต่กรณี
ด้วยความเห็นชอบของ ก.ร. เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ
และนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
(๒) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙
ให้ประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา หรือประธานสภาผู้แทนราษฎร แล้วแต่กรณี
เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
(๓)
การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๘ ลงมา
ให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
มาตรา ๒๙ ผู้สอบแข่งขันได้ และผู้ได้รับคัดเลือก
ผู้ใดได้รับบรรจุเข้าเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญในตำแหน่งใด
ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งนั้นเป็นเวลาตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
ในระหว่างเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่าผู้นั้นมีความประพฤติไม่ดีหรือไม่มีความรู้หรือไม่มีความสามารถเหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง
หรือเมื่อครบกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ให้ผู้บังคับบัญชาทำรายงานผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการของผู้นั้นเสนอตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ
ตามวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
เมื่อได้รับรายงานจากผู้บังคับบัญชาตามวรรคหนึ่ง
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุพิจารณาว่าผู้นั้นมีความประพฤติ ความรู้
และความสามารถเหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งหรือไม่
ถ้าเห็นว่าไม่ควรให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปหรือควรให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปอีกระยะหนึ่ง
จะสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ หรือสั่งให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปก็ได้
แต่ถ้าเห็นว่าผู้นั้นควรรับราชการต่อไปได้เมื่อครบกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุรายงานให้ ก.ร. ทราบตามวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
ผู้อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งใด
ถ้าได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นให้เริ่มทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามวรรคหนึ่งใหม่
ผู้ซึ่งถูกสั่งให้ออกจากราชการเพราะมีความประพฤติไม่ดี
หรือไม่มีความรู้ หรือไม่มีความสามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งตามวรรคสอง
ให้ถือเสมือนหนึ่งว่าไม่เคยเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับในระหว่างที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ
มาตรา ๓๐ การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งใดไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่น
ต้องแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับเดียวกัน
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ต่ำกว่าเดิมและการย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้มิได้ดำรงตำแหน่งที่
ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐ ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐
จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจาก ก.ร. แล้ว
มาตรา ๓๑
การเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นตำแหน่งใดให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันเพื่อดำรงตำแหน่งนั้นได้
หรือจากผู้ได้รับการประเมินสมรรถภาพแล้วปรากฏว่าเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ
และความเหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งนั้นได้
กรณีใดจะเลื่อนและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้
หรือจากผู้ได้รับการประเมินสมรรถภาพให้เป็นไปตามที่ ก.ร. กำหนด
การสอบแข่งขันเพื่อเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับ
๒ และระดับ ๓ ให้สอบร่วมกับการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการตามมาตรา ๒๒
ส่วนการสอบแข่งขันเพื่อเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับ
๔ ขึ้นไปให้ ก.ร. กำหนดผู้ดำเนินการสอบแข่งขัน
หลักสูตรและวิธีดำเนินการเกี่ยวกับการสอบแข่งขัน ตลอดจนเกณฑ์การตัดสิน
การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ และการยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้
การประเมินสมรรถภาพของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร.กำหนด
มาตรา ๓๒ การบรรจุและการเลื่อนตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญจากผู้สอบแข่งขันได้
ให้ผู้มีอำนาจบรรจุและแต่งตั้งสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้
ส่วนการเลื่อนตำแหน่งจากผู้ได้รับการประเมินสมรรถภาพ
ให้เลื่อนและแต่งตั้งได้ตามความเหมาะสม
มาตรา ๓๓ ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญตำแหน่งใด
ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น ตามที่ ก.ร.กำหนดในมาตรา ๒๐
ในกรณีที่มีความจำเป็น ก.ร.
อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญที่มีคุณสมบัติเฉพาะต่างไปจากที่กำหนดไว้ในมาตรา
๒๐ ก็ได้
ในกรณีที่ ก.ร. กำหนดให้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพใดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ให้หมายถึงปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพที่ ก.ร. รับรอง
มาตรา ๓๔
การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญให้ดำรงตำแหน่งที่ ก.ร.
ยังมิได้กำหนดตามมาตรา ๒๐ จะกระทำมิได้
มาตรา ๓๕ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา
๓๐ มาตรา ๓๑ และมาตรา ๔๐ แล้ว
หากภายหลังปรากฏว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งสั่งแต่งตั้งผู้นั้นให้กลับไปดำรงตำแหน่งเดิม
หรือตำแหน่งระดับเดียวกันที่ต้องใช้คุณสมบัติเฉพาะที่ผู้นั้นมีอยู่
มาตรา ๓๖
การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญโดยปกติให้สั่งเลื่อนได้ปีละหนึ่งขั้น
และเลื่อนได้ไม่เกินขั้นสูงของระดับที่ผู้นั้นได้รับเงินเดือนอยู่
โดยคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณของงานที่ได้ปฏิบัติมา การรักษาวินัย ตลอดจนความสามารถ
ความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ แล้วแต่กรณี เป็นผู้พิจารณาและสั่งเลื่อน[๑๒]
การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ
๙ ลงมาให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมเป็นผู้พิจารณาและสั่งเลื่อน
ส่วนผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๑๐ ขึ้นไป
ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาและสั่งเลื่อน
มาตรา ๓๗
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ก.ร. จะพิจารณาอนุมัติให้เลื่อนขั้นเงินเดือนเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญก็ได้
การเลื่อนเงินเดือนในกรณีเช่นนี้
จะเลื่อนเกินกว่าขั้นสูงของระดับที่ผู้นั้นได้รับเงินเดือนอยู่ก็ได้
มาตรา ๓๘ ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘
มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญประจำส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเป็นการชั่วคราว
โดยให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่เดิมได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
การสั่งและการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับข้าราชการรัฐสภาสามัญตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร. กำหนด
มาตรา ๓๙
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญในต่างส่วนราชการที่สังกัดรัฐสภา
อาจกระทำได้เมื่อส่วนราชการเจ้าสังกัดทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนนั้นแล้ว
โดยให้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ไม่สูงกว่าเดิมและรับเงินเดือนในขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม
เว้นแต่การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้สอบแข่งขันได้ สอบคัดเลือกได้หรือได้รับคัดเลือก
ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร. กำหนด
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้มิได้ดำรงตำแหน่งที่
ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐ ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ ก.ร.
กำหนดตามมาตรา ๒๐ ในต่างส่วนราชการที่สังกัดรัฐสภา จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจาก
ก.ร. แล้ว ในการนี้ให้ ก.ร. พิจารณาโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับ
และให้ ก.ร. กำหนดระดับของตำแหน่งที่จะแต่งตั้งและเงินเดือนที่จะให้ได้รับด้วย
มาตรา ๔๐[๑๓] การโอนข้าราชการตามกฎหมายอื่น
หรือพนักงานเทศบาลมาบรรจุเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ อาจกระทำได้ถ้าเจ้าตัวสมัครใจ
โดยผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ แล้วแต่กรณี ทำความตกลงกับเจ้าสังกัด แล้วเสนอ ก.ร.
เพื่อพิจารณาอนุมัติ ทั้งนี้ จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับใด
และได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้ ก.ร. เป็นผู้พิจารณากำหนด แต่เงินเดือนที่จะให้ได้รับจะต้องไม่สูงกว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญที่มีคุณวุฒิ
ความสามารถ และความชำนาญงานในระดับเดียวกัน
เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้ที่โอนมาตามวรรคหนึ่งในขณะที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานเทศบาลนั้นเป็นเวลาราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย
การโอนข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญ
พนักงานเทศบาลวิสามัญ
และข้าราชการที่อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมาเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัตินี้จะกระทำมิได้
มาตรา ๔๑[๑๔]
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
เมื่อผู้นั้นพ้นจากราชการทหารโดยไม่มีความเสียหายแล้วประสงค์จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญในส่วนราชการสังกัดรัฐสภาตามเดิมภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันพ้นจากราชการทหาร
ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ สั่งบรรจุแต่งตั้ง และให้ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
ก.ร. กำหนด
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งได้รับบรรจุเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่ง
ให้มีสิทธิได้นับวันรับราชการก่อนถูกสั่งให้ออกจากราชการ
รวมกับวันรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารและวันรับราชการเมื่อได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการ
เป็นเวลาราชการติดต่อกันเพื่อประโยชน์ตามพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการเสมือนว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกสั่งให้ออกจากราชการ
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
เมื่อได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งแล้ว
ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง ทั้งนี้ ให้นำมาตรา
๒๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๔๑ ทวิ[๑๕]
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดได้รับอนุมัติจาก
ก.ร. ให้ออกจากราชการไปปฏิบัติงานใดๆ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ถ้าผู้นั้นกลับเข้ารับราชการภายในกำหนดเวลาสี่ปีนับแต่วันออกจากราชการไปปฏิบัติงานดังกล่าวให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา
๒๘ สั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและรับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
ก.ร. กำหนด
มาตรา ๔๒
ข้าราชการรัฐสภาสามัญลาออกจากราชการเพื่อสมัครรับเลือกตั้งประสงค์จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญในส่วนราชการสังกัดรัฐสภาตามเดิม
ถ้าข้าราชการผู้นั้นได้แสดงความจำนงไว้ในขณะลาออกว่าจะกลับเข้ามารับราชการ
และระยะเวลาที่ออกจากราชการไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘
สั่งบรรจุ แต่งตั้ง และให้ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร. กำหนด
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ไปสมัครรับเลือกตั้ง เมื่อได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งแล้วให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง
ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๒๙ มาใช้บังคับ
มาตรา ๔๓
ข้าราชการหรือพนักงานเทศบาลผู้ใดออกจากราชการหรือออกจากงานไปแล้วถ้าสมัครเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
และทางราชการต้องการจะรับผู้นั้นเข้ารับราชการ ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเสนอ ก.ร.
เพื่อพิจารณาอนุมัติ ทั้งนี้
จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับใดและได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้ ก.ร.
เป็นผู้พิจารณากำหนด แต่เงินเดือนที่จะให้ได้รับ
จะต้องไม่สูงกว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญที่มีคุณวุฒิ ความสามารถ
และความชำนาญงานในระดับเดียวกัน
เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ
ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้เข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งในขณะที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานเทศบาลนั้น
เป็นเวลาราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย
ความในวรรคหนึ่ง
มิให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญ พนักงานเทศบาลวิสามัญ
และผู้ซึ่งออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
มาตรา ๔๔[๑๖] ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการเมื่อ
(๑) ตาย
(๒)
พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(๓) ได้รับอนุญาตให้ลาออก หรือลาออกตามมาตรา ๔๕
วรรคสอง
(๔) ถูกสั่งให้ออกตามมาตรา ๔๖ มาตรา ๔๖ ทวิ มาตรา
๔๖ ตรี และมาตรา ๔๖ จัตวา
(๕) ถูกลงโทษไล่ออก หรือปลดออก
วันออกจากราชการตาม (๔) หรือ (๕)
ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ร. กำหนด
การต่อเวลาราชการให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ต้องออกจากราชการตาม
(๒) รับราชการต่อไปอีกจะกระทำมิได้
มาตรา ๔๕
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการ
ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่ง
เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ เป็นผู้พิจารณา เมื่อผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘
สั่งอนุญาตแล้ว จึงให้ออกจากราชการตามคำสั่ง
ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญขอลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้ง
ให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ยื่นใบลาออกต่อผู้บังคับบัญชา
ในกรณีที่ผู้ขอลาออกมีเรื่องถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย
หรือต้องหาว่ากระทำผิดอาญา ผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตลาออกจะสั่งอนุญาตให้ลาออกก็ได้
โดยมีเงื่อนไขว่าเมื่อสอบสวนพิจารณาแล้วได้ความว่าผู้ได้รับอนุญาตให้ลาออกกระทำผิดวินัย
ก็ให้ดำเนินการสั่งลงโทษหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ตรงตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้
การลาออกในกรณีนี้ยังไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ
มาตรา ๔๖[๑๗] ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘
มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้
แต่ในการสั่งให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน นอกจากให้ทำได้ในกรณีที่ระบุไว้ในกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้ว
ให้ทำได้ในกรณีต่อไปนี้ด้วย คือ
(๑)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอ
ถ้าผู้บังคับบัญชาดังกล่าวเห็นสมควรให้ออกจากราชการแล้ว
ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้
(๒) เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดสมัครไปปฏิบัติงานใดๆ
ตามความประสงค์ของทางราชการ ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ
(๓)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการ
ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
(๔)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ (๑) (๔) หรือ (๕)
ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ
(๕) เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ
มาตรา ๔๖ ทวิ[๑๘]
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ
บกพร่องในหน้าที่ราชการหรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ
และผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ เห็นว่ากรณีมีมูล
ถ้าให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ
ก็ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยไม่ชักช้า
ในการสอบสวนนี้จะต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
โดยจะระบุหรือไม่ระบุชื่อพยานก็ได้
และต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ด้วยเมื่อได้มีการสอบสวนพิจารณาแล้วและผู้บังคับบัญชาดังกล่าวเห็นสมควรให้ออกจากราชการก็ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนได้
ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๕๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นได้สอบสวน
หรือคณะกรรมการสอบสวนได้สอบสวนในกรณีที่เกี่ยวข้อง
หรือพนักงานสอบสวนได้สอบสวนทางอาญา
หรือศาลได้มีคำพิพากษาเกี่ยวกับเรื่องที่จะต้องสอบสวนตามวรรคหนึ่งอยู่แล้ว
คณะกรรมการสอบสวนตามวรรคหนึ่งจะนำสำนวนการสอบสวนของผู้บังคับบัญชาชั้นต้น
สำนวนการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวน สำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวน
สำนวนของพนักงานอัยการ สำนวนการพิจารณาของศาล
หรือสำเนาคำพิพากษาอย่างหนึ่งอย่างใดมาใช้เป็นสำนวนการสอบสวนและทำความเห็นเสนอผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
โดยถือว่าได้มีการสอบสวนตามวรรคหนึ่งแล้วก็ได้ แต่ทั้งนี้
ต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
โดยจะระบุหรือไม่ระบุชื่อพยานก็ได้ และต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ด้วย
หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณา
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
ในกรณีที่เป็นกรณีที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร. จะดำเนินการตามวรรคหนึ่งโดยไม่สอบสวนก็ได้
มาตรา ๔๖ ตรี[๑๙]
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา
๕๓ และการสอบสวนเสร็จสิ้นแล้ว ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘
เห็นว่ากรณีมีเหตุอันควรสงสัยอย่างยิ่งว่าผู้นั้นได้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
แต่การสอบสวนไม่ได้ความแน่ชัดพอที่จะฟังลงโทษตามมาตรา ๕๓
ถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ
ก็ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพราะมีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวนเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนได้
มาตรา ๔๖ จัตวา[๒๐]
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘
จะสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนก็ได้
มาตรา ๔๗
การออกจากราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๑๐ ขึ้นไป
ในกรณีถูกลงโทษ ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง
ส่วนการออกจากราชการในกรณีอื่นให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ
มาตรา ๔๘
ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องรักษาวินัยตามที่กำหนดไว้ในกฎ ก.ร.
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย จักต้องได้รับโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา
๕๐
มาตรา ๔๙
ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ส่งเสริมและดูแลระมัดระวังให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามวินัย
ถ้าผู้บังคับบัญชารู้ว่าผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาคนใดกระทำผิดวินัย
จะต้องดำเนินการทางวินัยทันที ถ้าเห็นว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยที่จะต้องได้รับโทษและอยู่ในอำนาจของตนที่จะลงโทษได้ให้สั่งลงโทษ
แต่ถ้าเห็นว่าผู้นั้นควรจะต้องได้รับโทษสูงกว่าที่ตนมีอำนาจสั่งลงโทษ
ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาของผู้กระทำผิดวินัยเหนือขึ้นไป
เพื่อให้พิจารณาดำเนินการสั่งลงโทษตามควรแก่กรณี
ผู้บังคับบัญชาผู้ใดละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรานี้โดยไม่สุจริต
ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย
มาตรา ๕๐[๒๑] โทษผิดวินัยมี ๕ สถาน คือ
(๑) ภาคทัณฑ์
(๒) ตัดเงินเดือน
(๓) ลดขั้นเงินเดือน
(๔) ปลดออก
(๕) ไล่ออก
มาตรา ๕๑ การลงโทษข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ผู้สั่งลงโทษต้องสั่งลงโทษให้เหมาะสมกับความผิด
ในคำสั่งลงโทษให้แสดงว่าผู้ถูกลงโทษกระทำผิดวินัยในกรณีใด ตามมาตราใด
มาตรา ๕๒
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยที่ยังไม่ถึงขั้นเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด
ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้
แต่สำหรับการลงโทษภาคทัณฑ์
ให้ใช้เฉพาะกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยหรือมีเหตุอันควรลดหย่อน
ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษตัดเงินเดือน
ในกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยและเป็นความผิดครั้งแรก
ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่ามีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยว่ากล่าวตักเตือน
หรือให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือไว้ก่อนก็ได้
การลงโทษตามมาตรานี้
ผู้บังคับบัญชาใดจะมีอำนาจสั่งลงโทษผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาได้เพียงใด
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
มาตรา ๕๓[๒๒] ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดถูกกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร. ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยไม่ชักช้า
ในการสอบสวนนี้จะต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาด้วย
เมื่อได้มีการสอบสวนแล้วและผู้บังคับบัญชาดังกล่าวพิจารณาเห็นว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร. ก็ให้สั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี
ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษให้ก็ได้แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก
ผู้ถูกสั่งปลดออกตามมาตรานี้ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ
ในการสอบสวนตามวรรคหนึ่ง ให้นำมาตรา ๔๖ ทวิ
วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ให้ ก.ร. มีอำนาจออกกฎ ก.ร.
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณา
ระยะเวลาสอบสวนพิจารณาและสั่งลงโทษ การสั่งสอบสวน การมอบหมายให้สอบสวน
การตั้งกรรมการสอบสวน ตลอดจนการส่งประเด็นไปสอบสวนพยานบุคคลซึ่งอยู่ต่างท้องที่
การรวบรวมพยานหลักฐาน และกิจการอื่นๆ เพื่อให้ได้ความจริง
มาตรา ๕๔
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
และเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่กำหนดไว้ในกฎ ก.ร.
หรือได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชา
หรือต่อผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้สอบสวน หรือต่อคณะกรรมการสอบสวน
ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ จะสั่งลงโทษโดยไม่สอบสวนต่อไปก็ได้
มาตรา ๕๕ ให้ผู้บังคับบัญชาผู้สอบสวน
ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้สอบสวนและกรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
และให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
เพียงเท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาผู้สอบสวนผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้สอบสวน
และกรรมการสอบสวน และโดยเฉพาะให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย คือ
(๑) เรียกให้กระทรวงทบวงกรม หน่วยราชการ
หรือรัฐวิสาหกิจชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐาน ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัด
มาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน
(๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใดๆ มาให้ถ้อยคำ
หรือให้ส่งเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน
(๓) ส่งประเด็นไปให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน
เพื่อการนี้ให้พนักงานสอบสวน ผู้ทำการสอบสวนเป็นกรรมการสอบสวน
และให้ถือว่าการสอบสวนของพนักงานสอบสวนเป็นการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวน
เมื่อได้สอบสวนเสร็จแล้วให้เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนดังกล่าวส่งรายงานที่จำเป็นและพยานหลักฐานต่างๆ
ทั้งหมดไปยังคณะกรรมการสอบสวน
มาตรา ๕๖
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยหรือถูกฟ้องคดีอาญา
หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา
เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ แม้ภายหลังผู้นั้นจะออกจากราชการไปแล้วผู้บังคับบัญชาตามมาตรา
๒๘ ก็ยังมีอำนาจสั่งลงโทษหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้เป็นไปตามหมวดนี้ได้
เว้นแต่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นจะออกจากราชการเพราะเหตุตาย
มาตรา ๕๗[๒๓]
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกสอบสวน
หรือถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา
เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา
๒๘
มีอำนาจสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาได้
แต่ถ้าภายหลังปรากฏผลการสอบสวนพิจารณาว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิดหรือกระทำผิดไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
และไม่มีกรณีที่จะต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่นให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งในระดับเดียวกันที่ต้องใช้คุณสมบัติเฉพาะที่ผู้นั้นมีอยู่
เงินเดือนของผู้ถูกสั่งพักราชการ
ให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น
ส่วนในกรณีสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
ถ้าปรากฏผลการสอบสวนพิจารณาเป็นยุติแล้วว่าผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนมิได้กระทำผิดหรือกระทำผิดไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่างถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเสมือนว่าผู้นั้นถูกสั่งพักราชการ
ให้ ก.ร. มีอำนาจออกกฎ ก.ร.
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสั่งพักราชการ
การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนและการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามผลการสอบสวนพิจารณา
มาตรา ๕๘
เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษหรือดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไปแล้ว
ให้ส่งรายงานการลงโทษหรือการดำเนินการทางวินัยนั้นต่อผู้บังคับบัญชาของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นตามลำดับจนถึงประธานรัฐสภาและให้ประธานรัฐสภารายงานต่อ
ก.ร.
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษหรือดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดแล้ว
แต่ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ แล้วแต่กรณี
เห็นว่ากรณีเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวมีอำนาจดำเนินการตามมาตรา ๕๓ ถ้าจะต้องสอบสวนตามมาตรา ๕๓
ก่อนก็ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวมีอำนาจสอบสวนตามมาตรา ๕๓
ในกรณีที่จะต้องลงโทษตามมาตรา ๕๓ ถ้ามีการตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือนไปแล้ว
ก็ให้เป็นอันพับไป[๒๔]
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษหรือดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดแล้ว
แต่ประธานรัฐสภาหรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมเห็นว่ากรณีเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ก็ให้ประธานรัฐสภา หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม แล้วแต่กรณี
มีอำนาจดำเนินการตามมาตรา ๕๓ ถ้าจะต้องสอบสวนตามมาตรา ๕๓ ก่อน
ก็ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวมีอำนาจสอบสวนตามมาตรา ๕๓ ในกรณีที่จะต้องลงโทษตามมาตรา
๕๓ ถ้ามีการตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือนไปแล้วก็ให้เป็นอันพับไป
มาตรา ๕๙
เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษหรือดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญในเรื่องใดไปแล้ว
ถ้า ก.ร. พิจารณาเห็นเป็นการสมควรที่จะต้องสอบสวนเพิ่มเติม หรือสอบสวนใหม่
เพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ก็ให้ ก.ร.
มีอำนาจสอบสวนเพิ่มเติมหรือสอบสวนใหม่ในเรื่องนั้นได้ตามความจำเป็น
โดยจะสอบสวนเองหรือแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
หรือมอบหมายให้ข้าราชการที่เห็นสมควรสอบสวนแทนก็ได้
มาตรา ๖๐ การอุทธรณ์การถูกลงโทษของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้เป็นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
มาตรา ๖๐ ทวิ[๒๕]
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วยเหตุใดๆ
ให้ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ได้
การร้องทุกข์ตามวรรคหนึ่ง ให้ร้องทุกข์ต่อ ก.ร.
ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง และให้นำมาตรา ๖๐
ตลอดจนหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร. มาใช้บังคับอนุโลม
มาตรา ๖๐ ตรี[๒๖]
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดเห็นว่าผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติต่อตนโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติต่อตนให้ถูกต้องตามกฎหมายหรือมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาต่อตนในกรณีตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร. ผู้นั้นอาจร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาหรือ ก.ร. แล้วแต่กรณี
ตามที่กำหนดไว้ในกฎ ก.ร. เพื่อขอให้แก้ไขหรือแก้ความคับข้องใจได้ ทั้งนี้
เว้นแต่กรณีที่มีสิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา ๖๐
การร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
หมวด
๔
ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
มาตรา ๖๑[๒๗]
ตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองมีดังนี้
(๑) ที่ปรึกษาประธานรัฐสภา
(๒) ที่ปรึกษารองประธานรัฐสภา
(๓) ที่ปรึกษาประธานวุฒิสภา
(๔) ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๕) ที่ปรึกษารองประธานวุฒิสภา
(๖) ที่ปรึกษารองประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๗) เลขานุการประธานรัฐสภา
(๘) เลขานุการรองประธานรัฐสภา
(๙) เลขานุการประธานวุฒิสภา
(๑๐) เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๑๑) เลขานุการรองประธานวุฒิสภา
(๑๒) เลขานุการรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๑๓) เลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามวรรคหนึ่ง
จะมีจำนวนเท่าใด ให้เป็นไปตามอัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖๒[๒๘]
ให้ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองได้รับเงินเดือนและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
ให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
หมายเลข ๑ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นไป
และเมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกาประกาศใช้บัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือนและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการการเมือง
หมายเลข ๒ หมายเลข ๓ หมายเลข ๔ หรือหมายเลข ๕
ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมืองแล้ว
ให้ประธานรัฐสภาประกาศปรับใช้อัตราเงินเดือนและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
ตามบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
หมายเลข ๒ หมายเลข ๓ หมายเลข ๔ หรือหมายเลข ๕ ให้สอดคล้องกัน
บทบัญญัติตามมาตรา ๓๕
แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๔๙๙
มิให้ใช้บังคับแก่การรับบำเหน็จบำนาญข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองผู้กลับเข้ารับราชการใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้
ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองซึ่งดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา
หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วย ถ้าได้รับเงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่ม
หรือเงินค่ารับรองสำหรับสมาชิกสภาดังกล่าวแล้ว
ไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนและเงินเพิ่มตามพระราชบัญญัตินี้อีก
การจ่ายเงินเดือนและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด
มาตรา ๖๓[๒๙]
การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามมาตรา ๖๑ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕)
และ (๖) ให้ประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภาหรือประธานสภาผู้แทนราษฎร แล้วแต่กรณี
แต่งตั้งบุคคลซึ่งเห็นสมควรตามเหตุผลในทางการเมืองและต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปที่จะเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญได้ตามมาตรา
๒๔ ยกเว้น (๔) และไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามมาตรา
๖๑ (๗) (๘) (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) และ (๑๓) ให้ประธานรัฐสภา
ประธานวุฒิสภาหรือประธานสภาผู้แทนราษฎร แล้วแต่กรณี
แต่งตั้งบุคคลซึ่งเห็นสมควรตามเหตุผลในทางการเมืองและต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปที่จะเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญได้ตามมาตรา
๒๔ ยกเว้น (๔) และไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
มาตรา ๖๔[๓๐]
ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองออกจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) สำหรับข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามมาตรา
๖๑ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) ผู้แต่งตั้งสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
หรือผู้แต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งหรือเมื่อรัฐสภาสิ้นอายุหรือถูกยุบ
(๔) สำหรับข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามมาตรา
๖๑ (๗) (๘) (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) และ (๑๓)
ผู้แต่งตั้งสั่งให้พ้นจากตำแหน่งจะโดยมีความผิดหรือไม่มีความผิดก็ตาม
หรือประธานหรือรองประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นสังกัด
หรือผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรพ้นจากตำแหน่ง แล้วแต่กรณี
หมวด
๕
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๖๕ บรรดาพระราชบัญญัติ ประกาศของคณะปฏิวัติ
พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง กฎ ก.พ. ประกาศ ระเบียบ
ข้อบังคับและคำสั่งที่ยังคงใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือนในส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
นอกจากที่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับแก่ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไป เว้นแต่พระราชบัญญัตินี้ หรือ กฎ ก.ร.
ที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ จะบัญญัติเป็นอย่างอื่น
มาตรา ๖๖ ให้ผู้ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
เป็นข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามพระราชบัญญัตินี้
และคงดำรงตำแหน่งและมีอัตราเงินเดือนตามที่ได้รับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ทั้งนี้สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้เป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ สำหรับข้าราชการการเมือง
ให้เป็นข้าราชรัฐสภาฝ่ายการเมือง ส่วนข้าราชการพลเรือนวิสามัญ
ให้เป็นข้าราชการรัฐสภาวิสามัญ
และให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนวิสามัญมาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๖๗ ในระหว่างที่รัฐสภายังไม่ได้เลือกตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนทำหน้าที่
ก.ร. ตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖๘ ในระหว่างที่ ก.ร.
ยังมิได้กำหนดตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญตามมาตรา ๒๐ การดำเนินการเกี่ยวกับข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้เสนอ ก.ร. พิจารณาอนุมัติเป็นรายๆ ไป
มาตรา ๖๙
การใดหรือสิทธิใดที่ข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามมาตรา ๖๖
กระทำหรือมีอยู่ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ถือว่าเป็นการกระทำหรือสิทธิตามพระราชบัญญัตินี้
การใดที่ทางราชการได้ดำเนินการเกี่ยวกับข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามมาตรา
๖๖ ไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ถือว่าเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีปัญหาตามมาตรานี้ ให้ ก.ร.
เป็นผู้วินิจฉัย
มาตรา ๗๐
การใดที่เคยดำเนินการได้ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
และมิได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ จะดำเนินการได้ประการใด ให้เป็นไปตามที่
ก.ร. กำหนด โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
สัญญา
ธรรมศักดิ์
นายกรัฐมนตรี
[เอกสารแนบท้าย]
๑.[๓๑]
บัญชีอัตราเงินและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง หมายเลข ๑
๒.[๓๒]
บัญชีอัตราเงินและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง หมายเลข ๒
๓.[๓๓]
บัญชีอัตราเงินและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง หมายเลข ๓
๔.[๓๔]
บัญชีอัตราเงินและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง หมายเลข ๔
๕.[๓๕]
บัญชีอัตราเงินและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง หมายเลข ๕
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่ในปัจจุบันข้าราชการที่ปฏิบัติราชการให้แก่สภานิติบัญญัติยังอยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยราชการของฝ่ายบริหาร
เพราะมีฐานะเป็นข้าราชการพลเรือน
แต่โดยสภาพของการปฏิบัติราชการควรจะอยู่ภายใต้การควบคุมของสภานิติบัญญัติโดยตรง
เพราะจะทำให้สภานิติบัญญัติสามารถปรับปรุงระเบียบปฏิบัติราชการของข้าราชการในสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาให้มีประสิทธิภาพ
และอำนวยความสะดวกให้แก่ราชการของสภานิติบัญญัติได้มากยิ่งขึ้น
จึงสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาโดยเฉพาะ
และเพื่อการนี้จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑[๓๖]
มาตรา ๒
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นต้นไป
มาตรา ๕
ให้ประธานรัฐสภาประกาศปรับอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้เข้าระดับและขั้นเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ
หมายเลข ๑ ท้ายพระราชบัญญัตินี้
ให้สอดคล้องกับการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
มาตรา ๖
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ ๗ ผู้ใดได้รับเงินเดือนขั้น ๑๑
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นคงดำรงตำแหน่งระดับ ๗ ต่อไป
แต่ให้ได้รับเงินเดือนเท่ากับเงินเดือนขั้น ๙ ของระดับ ๘ ตามบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ
หมายเลข ๑
ท้ายพระราชบัญญัตินี้โดยให้ถือว่าเงินเดือนที่ได้รับนั้นเป็นเงินเดือนขั้นสูงของตำแหน่งระดับ
๗ เว้นแต่จะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับที่สูงขึ้น
ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งอาจได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๒๒ ขึ้นรับเงินเดือนระดับ ๗ ขั้น ๑๑
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๗
ภายใต้บังคับมาตรา ๖
บรรดาอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญที่อ้างถึงในกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง มติคณะรัฐมนตรี หรือกฎ ก.ร. หรือในการกำหนดของ ก.ร.
ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ให้ถือว่าเป็นการอ้างถึงอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ ตามบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ
หมายเลข ๑
ท้ายพระราชบัญญัตินี้ในระดับและขั้นเงินเดือนตามที่ประธานรัฐสภาประกาศตามมาตรา ๕
มาตรา ๘
เพื่อประโยชน์ในการบรรจุบุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘
และออกจากราชการไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับกลับเข้ารับราชการให้ปรับอัตราเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้เข้าระดับและขั้นเงินเดือนตามที่ประธานรัฐสภาประกาศตามมาตรา
๕ สำหรับบุคคลซึ่งได้รับเงินเดือนระดับ ๗ ขั้น ๑๑ อยู่ในขณะที่ออกจากราชการ
ให้นำมาตรา ๖ มาใช้บังคับแก่การปรับอัตราเงินเดือนดังกล่าวโดยอนุโลม
มาตรา ๙
ให้ประธานรัฐสภารักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินเดือนของข้าราชการฝ่ายรัฐสภาไม่ได้ส่วนสัมพันธ์กับอัตราเงินเดือนของข้าราชการประเภทอื่นๆ
ที่ได้รับการปรับปรุงไปแล้ว
สมควรแก้ไขปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการฝ่ายรัฐสภาให้เหมาะสม
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๑[๓๗]
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็นต้นไป
มาตรา ๖
อัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองให้เป็นไปตามบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
บัญชี ก. ท้ายพระราชบัญญัตินี้ และเมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกาประกาศใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการการเมือง
บัญชี ข. บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการการเมือง บัญชี ค.
หรือบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการการเมือง บัญชี ง.
ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมืองแล้ว
ให้ประธานรัฐสภาประกาศปรับใช้อัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
ตามบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง บัญชี ข.
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง บัญชี ค.
หรือบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง บัญชี ง.
ให้สอดคล้องกัน
มาตรา ๗ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ และให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
บัญชี ก. บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง บัญชี ข.
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง บัญชี ค.
และบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง บัญชี ง.
ท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา ๘
การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญให้เข้าระดับและขั้นเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
ตามมาตรา ๒๐ ทวิ
ให้เป็นไปตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนและตามระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
เมื่อปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญตามวรรคหนึ่งแล้วเฉพาะข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ได้รับเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำหรือสูงกว่าขั้นสูงของระดับ
ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นตามที่กำหนดไว้ในบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งได้เลื่อนตำแหน่งนับแต่วันปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญตามวรรคหนึ่ง
ถ้าได้รับเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับที่ได้เลื่อนตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำของบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
แต่ถ้าได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของระดับที่ได้เลื่อนตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
ก็ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นที่ได้รับอยู่
การรับเงินเดือนในขั้นต่อๆ
ไปของข้าราชการรัฐสภาสามัญตามวรรคสองและวรรคสาม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๙
เพื่อประโยชน์ในการบรรจุบุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ และออกจากราชการไปก่อนวันที่บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนใช้บังคับกลับเข้ารับราชการ
ให้ปรับอัตราเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้เข้าระดับและขั้นเงินเดือนตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
มาตรา ๑๐
ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
บัญชี ก. ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
ให้นำบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๓
ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาพ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๒๑ มาใช้บังคับไปพลางก่อน
มาตรา ๑๑
ให้ประธานรัฐสภารักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
ในบัญชีอัตราเงินเดือนท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๒๑
ได้ใช้มาเป็นเวลานานไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบันสมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองเสียใหม่
และเนื่องจากอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันตรงกับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนอยู่แล้ว
จึงสมควรแก้ไขให้ถือตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนโดยอนุโลม
เพื่อให้การปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในอนาคต
มีผลถึงข้าราชการรัฐสภาสามัญด้วย โดยไม่ต้องแก้ไขกฎหมาย
รวมทั้งให้มีการให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองแต่ละบัญชีได้ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์
โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕[๓๘]
มาตรา ๒๗
ให้กรรมการซึ่งรัฐสภาเลือกจากประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาและผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับดำรงตำแหน่งอยู่ต่อไปจนกว่าจะพ้นจากตำแหน่งหรือครบวาระ
แล้วแต่กรณี แต่ต้องไม่เกินสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๒๘
นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจนถึงวันก่อนวันที่ประกาศรัฐสภาแบ่งส่วนราชการของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภาใช้บังคับ
(๑)
ให้เลขาธิการรัฐสภาดำรงตำแหน่งกรรมการและเลขานุการ ก.ร. ตามมาตรา ๖ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
(๒) การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งระดับ
๑๐ และระดับ ๑๑ ตามมาตรา ๒๘ (๑) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.
๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้ประธานรัฐสภาด้วยความเห็นชอบของ
ก.ร. เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ และนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้ง
(๓) การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งระดับ
๙ ตามมาตรา ๒๘ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
(๔)
การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๘ ลงมาตามมาตรา ๒๘ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
ให้เลขาธิการรัฐสภาเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
(๕)
การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๙
ขึ้นไปตามมาตรา ๓๖ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาและสั่งเลื่อน
(๖)
การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๘
ลงมาตามมาตรา ๓๖ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
ให้เลขาธิการรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาและสั่งเลื่อน
(๗) การโอนข้าราชการตามมาตรา ๔๐ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้ประธานรัฐสภาหรือเลขาธิการรัฐสภา แล้วแต่กรณี
ทำความตกลงกับเจ้าสังกัดแล้วเสนอ ก.ร. เพื่อพิจารณาอนุมัติ
มาตรา ๒๙
ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๔ (๑๑) และมาตรา ๒๕
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
มาใช้บังคับแก่ผู้เคยถูกลงโทษให้ออกเพราะกระทำผิดวินัยก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๓๐
ให้ประธานรัฐสภารักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
สัญชัย/ผู้จัดทำ
๑๙
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๒/ตอนที่ ๒๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘
[๒]
มาตรา ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๓]
มาตรา ๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๔]
มาตรา ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๕]
มาตรา ๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๖]
มาตรา ๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๗]
มาตรา ๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๘]
มาตรา ๒๐ ทวิ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๕
[๙]
มาตรา ๒๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๑๐]
มาตรา ๒๔ (๑๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
[๑๑]
มาตรา ๒๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๑๒]
มาตรา ๓๖ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
[๑๓]
มาตรา ๔๐ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
[๑๔]
มาตรา ๔๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๑๕]
มาตรา ๔๑ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๕
[๑๖]
มาตรา ๔๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๑๗]
มาตรา ๔๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๑๘]
มาตรา ๔๖ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๕
[๑๙]
มาตรา ๔๖ ตรี เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๕
[๒๐]
มาตรา ๔๖ จัตวา เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๕
[๒๑]
มาตรา ๕๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๒๒]
มาตรา ๕๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๒๓]
มาตรา ๕๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๒๔]
มาตรา ๕๘ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
[๒๕]
มาตรา ๖๐ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๕
[๒๖]
มาตรา ๖๐ ตรี เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๕
[๒๗]
มาตรา ๖๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๒๘]
มาตรา ๖๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๒๙]
มาตรา ๖๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๓๐]
มาตรา ๖๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๓๑]
บัญชีอัตราเงินและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง หมายเลข ๑
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
[๓๒]
บัญชีอัตราเงินและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง หมายเลข ๒
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
[๓๓]
บัญชีอัตราเงินและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง หมายเลข ๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
[๓๔]
บัญชีอัตราเงินและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง หมายเลข ๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
[๓๕]
บัญชีอัตราเงินและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง หมายเลข ๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
[๓๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๕/ตอนที่ ๑๐๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗/๒๗ กันยายน ๒๕๒๑
[๓๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๑๘๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๖๐/๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๑
[๓๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๓๕/หน้า ๕๐/๓ เมษายน ๒๕๓๕ |
304097 | พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 (Update ณ วันที่ 01/01/2538) | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ.
๒๕๑๘
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๘
เป็นปีที่
๓๐ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ บรรดาบทกฎหมาย กฎ
และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา หมายความว่า
บุคคลซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
ประธานรัฐสภา หมายความว่า
ประธานรัฐสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในกรณีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีสภานิติบัญญัติสภาเดียว
ให้หมายความถึงประธานแห่งสภานั้น
รองประธานรัฐสภา หมายความว่า
รองประธานรัฐสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
ในกรณีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีสภานิติบัญญัติสภาเดียว
ให้หมายความถึงรองประธานแห่งสภานั้น
รัฐสภา หมายความว่า
สภาซึ่งทำหน้าที่นิติบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีสภานิติบัญญัติสภาเดียว
ให้หมายถึงสภานั้น
มาตรา ๕
ให้ประธานรัฐสภารักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด
๑
คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
มาตรา ๖[๒]
ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
เรียกโดยย่อว่า ก.ร. ประกอบด้วยประธานรัฐสภาเป็นประธานกรรมการ
รองประธานรัฐสภาเป็นรองประธานกรรมการ เลขาธิการ ก.พ. เลขาธิการวุฒิสภา
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐสภาเลือกมีจำนวนไม่เกินแปดคน
เป็นกรรมการ ในกรณีที่มีสองสภา ให้แต่ละสภาเลือกสภาละไม่เกินสี่คน
ให้ประธานรัฐสภาแต่งตั้งเลขาธิการวุฒิสภาหรือเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนใดคนหนึ่งเป็นเลขานุการ
ก.ร.
มาตรา ๗[๓]
ผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๖
ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(๑)
เคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือตำแหน่งเทียบเท่ามาแล้ว
หรือเคยดำรงตำแหน่งกรรมการข้าราชการประเภทใดประเภทหนึ่งมาแล้ว
(๒)
ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ ข้าราชการการเมือง
ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง สมาชิกรัฐสภา กรรมการพรรคการเมือง
หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
มาตรา ๘[๔]
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี
มาตรา ๙
เมื่อตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิว่างลงเพราะออกจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา
๘ หรือเพราะพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๑๑
ให้รัฐสภาเลือกตั้งผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗
ขึ้นแทนภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ตำแหน่งว่าง หรือวันเปิดสมัยประชุมรัฐสภา
แล้วแต่กรณี
ความในวรรคหนึ่งมิให้นำมาใช้บังคับสำหรับกรณีที่ตำแหน่งว่างเพราะการพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา
๑๑ และวาระของกรรมการที่เหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือเมื่อรัฐสภาสิ้นอายุ
หรือถูกยุบ
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างเพราะพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา
๑๑ อยู่ในตำแหน่งตามวาระของกรรมการซึ่งตนแทน
รัฐสภาอาจเลือกตั้งกรรมการซึ่งออกจากตำแหน่งให้เป็นกรรมการอีกได้
มาตรา ๑๐[๕]
ในการเลือกผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการ
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประธานรัฐสภากำหนด
มาตรา ๑๑ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๘
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓)
เป็นผู้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗
มาตรา ๑๒ การประชุมของ ก.ร.
ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในระหว่างที่รัฐสภาสิ้นอายุหรือถูกยุบ
ให้ประธานรัฐสภาและรองประธานรัฐสภาคงดำรงตำแหน่งประธาน ก.ร. และรองประธาน ก.ร.
อยู่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงแต่งตั้งประธานรัฐสภาและรองประธานรัฐสภาใหม่แล้วจึงให้พ้นจากตำแหน่ง
ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิว่างลงเพราะออกตามวาระในระหว่างที่รัฐสภาสิ้นอายุหรือถูกยุบ
องค์ประชุมของ ก.ร.
ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการที่เหลืออยู่
มาตรา ๑๓
นอกจากอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้ ก.ร.
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย คือ
(๑) ควบคุมดูแลให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) ตีความและวินิจฉัยปัญหาต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้พระราชบัญญัตินี้
(๓) ออกกฎ ก.ร. หรือระเบียบ
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ กฎ ก.ร.
เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
(๔) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
(๕) รักษาทะเบียนประวัติข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(๖)
ควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(๗)[๖]
กำหนดเรื่องการจัดสวัสดิการ การสงเคราะห์อื่น
เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว
และเงินค่าตอบแทนพิเศษอื่น แก่ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
มาตรา ๑๔ ก.ร.
มีอำนาจตั้งอนุกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรียกโดยย่อว่า อ.ก.ร.
เพื่อทำการใด ๆ แทนได้
ให้นำความในมาตรา ๑๒
มาใช้บังคับแก่การประชุมของอนุกรรมการโดยอนุโลม
หมวด
๒
บททั่วไป
มาตรา ๑๕ ข้าราชการฝ่ายรัฐสภามี ๒ ประเภท
(๑) ข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ได้แก่ผู้ซึ่งรับราชการในตำแหน่งประจำ โดยได้รับเงินเดือนในอัตราสามัญ
และได้รับแต่งตั้งตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๓
(๒) ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
ได้แก่ผู้ซึ่งรับราชการในตำแหน่งการเมืองของรัฐสภา
มาตรา ๑๖[๗] วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี
วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ให้เป็นไปตามที่
ก.ร. กำหนด
มาตรา ๑๗ เครื่องแบบของข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น และให้ประธานรัฐสภาวางระเบียบว่าด้วยการแต่งกายของข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
มาตรา ๑๘
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ให้ ก.ร.
พิจารณาตามระเบียบว่าด้วยการนั้น
และให้ประธานรัฐสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อขอพระราชทาน
มาตรา ๑๙
ข้าราชการฝ่ายรัฐสภามีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
เช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือน
หมวด
๓
ข้าราชการรัฐสภาสามัญ
มาตรา ๒๐[๘] การกำหนดตำแหน่ง
การให้รับเงินเดือนและการให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนสามัญมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ทั้งนี้ คำว่า ก.พ. ให้หมายถึง ก.ร.
และคำว่า ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม
และมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
ให้หมายถึงส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม และมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อประธานรัฐสภา
ประธานวุฒิสภา หรือประธานสภาผู้แทนราษฎร แล้วแต่กรณี
การกำหนดตำแหน่งตามมาตรา ๔๒ (๑๑) (ค)
แห่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ก.ร.
อาจกำหนดให้มีตำแหน่งดังกล่าวในส่วนราชการสังกัดรัฐสภาได้ส่วนราชการละหนึ่งตำแหน่ง[๙]
มาตรา ๒๐ ทวิ[๑๐]
(ยกเลิก)
มาตรา ๒๑[๑๑]
อัตราเงินเดือนและอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราเงินเดือนและอัตราเงินประจำตำแหน่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ทั้งนี้ คำว่า ก.พ. ให้หมายถึง ก.ร.
และคำว่า ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม
และมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
ให้หมายถึงส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม
และมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อประธานรัฐสภา
ประธานวุฒิสภา หรือประธานสภาผู้แทนราษฎร แล้วแต่กรณี
การจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งให้แก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
เพื่อประโยชน์ในการออมทรัพย์ของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้นำกฎหมายและระเบียบว่าด้วยการหักเงินเดือนข้าราชการไว้เป็นเงินสะสมมาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๒๒ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ต้องบรรจุจากผู้สอบแข่งขันได้
เว้นแต่การบรรจุผู้รับทุนของทางราชการในการศึกษาวิชาเข้ารับราชการตามสัญญาการบรรจุผู้ทรงคุณวุฒิ
ผู้ชำนาญการ และผู้ใช้ฝีมือ
และการบรรจุในกรณีที่มีเหตุพิเศษซึ่งไม่จำเป็นต้องดำเนินการสอบแข่งขัน ก.ร.
จะคัดเลือกบรรจุก็ได้
การสอบแข่งขันตามวรรคหนึ่ง ให้ ก.ร.
เป็นผู้ดำเนินการสอบโดยเปิดโอกาสให้ผู้มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๒๔
และมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่ ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐ เข้าสมัครสอบได้
และให้สอบสำหรับบรรจุในตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๔ ลงมา ทั้งนี้
หลักสูตรและวิธีดำเนินการเกี่ยวกับการสอบแข่งขัน ตลอดจนเกณฑ์การตัดสิน
การขึ้นบัญชี และการยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ให้เป็นไปตามที่ ก.ร.กำหนด
มาตรา ๒๓ ผู้สมัครสอบแข่งขันในตำแหน่งใด
ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๒๔ หรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา
๒๕ และต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามที่ ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐ ด้วย
สำหรับผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๒๔ (๔)
ให้มีสิทธิสมัครสอบแข่งขันได้
แต่จะมีสิทธิได้รับบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญในตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้ต่อเมื่อพ้นจากตำแหน่งข้าราชการการเมืองแล้ว
มาตรา ๒๔
ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) อายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี
(๓)
เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ
(๔) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง
(๕)
ไม่เป็นผู้มีกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไร้ความสามารถ
จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
(๖)
ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งให้พักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
หรือตามกฎหมายอื่น
(๗) ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี
(๘) ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
(๙)
ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๑๐) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษ ให้ออก ปลดออก
หรือไล่ออก จากรัฐวิสาหกิจ
(๑๑)[๑๒]
ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษปลดออกเพราะกระทำผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาหรือตามกฎหมายอื่น
(๑๒)
ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออกเพราะกระทำผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
หรือตามกฎหมายอื่น
มาตรา ๒๕ ผู้ที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ (๗) (๘)
หรือ (๙) ก.ร. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้
ส่วนผู้ที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ (๑๐) หรือ (๑๑) ถ้าผู้นั้นได้ออกจากงาน
หรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้ว หรือผู้ที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ (๑๒)
ถ้าผู้นั้นได้ออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว
และมิใช่เป็นกรณีออกจากงานหรือออกจากราชการเพราะกระทำผิดในกรณีทุจริตต่อหน้าที่
ก.ร. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ มติของ ก.ร.
ในการประชุมปรึกษายกเว้นเช่นนี้ต้องเป็นเอกฉันท์ การลงมติให้กระทำโดยลับ
มาตรา ๒๖ ผู้สอบแข่งขันได้
ซึ่งอยู่ในลำดับที่ที่จะได้รับบรรจุและแต่งตั้ง
ถ้าปรากฏว่าขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๒๔
โดยไม่ได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๕
หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่ ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐
อยู่ก่อนหรือภายหลังการสอบแข่งขัน จะบรรจุและแต่งตั้งผู้นั้นมิได้
มาตรา ๒๗ ผู้ใดได้รับบรรจุเข้ารับราชการแล้ว
หากภายหลังปรากฏว่าผู้นั้นขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๒๔
โดยไม่ได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๕
หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐
โดยไม่ได้รับอนุมัติจาก ก.ร. ตามมาตรา ๓๓ อยู่ก่อนก็ดี
มีกรณีต้องหาอยู่ก่อนและภายหลังเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเนื่องจากกรณีต้องหานั้นก็ดี
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการโดยพลัน
แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการกระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่และการได้รับเงินเดือนก่อนมีคำสั่งให้ออกนั้น
และถ้าการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้ว
ให้ถือว่าเป็นการสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
มาตรา ๒๘[๑๓]
การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญและการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
ให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้เป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง
(๑) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๑
และระดับ ๑๐ ให้ประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา หรือประธานสภาผู้แทนราษฎร แล้วแต่กรณี
ด้วยความเห็นชอบของ ก.ร. เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ และนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้ง
(๒) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙
ลงมา ให้เลขาธิการวุฒิสภา เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา แล้วแต่กรณี
เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
มาตรา ๒๙ ผู้สอบแข่งขันได้ และผู้ได้รับคัดเลือก
ผู้ใดได้รับบรรจุเข้าเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญในตำแหน่งใด
ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งนั้นเป็นเวลาตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
ในระหว่างเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่าผู้นั้นมีความประพฤติไม่ดีหรือไม่มีความรู้หรือไม่มีความสามารถเหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง
หรือเมื่อครบกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ให้ผู้บังคับบัญชาทำรายงานผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการของผู้นั้นเสนอตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ
ตามวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
เมื่อได้รับรายงานจากผู้บังคับบัญชาตามวรรคหนึ่ง
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุพิจารณาว่าผู้นั้นมีความประพฤติ ความรู้
และความสามารถเหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งหรือไม่
ถ้าเห็นว่าไม่ควรให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปหรือควรให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปอีกระยะหนึ่ง
จะสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ หรือสั่งให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปก็ได้
แต่ถ้าเห็นว่าผู้นั้นควรรับราชการต่อไปได้เมื่อครบกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุรายงานให้ ก.ร. ทราบตามวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
ผู้อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งใด
ถ้าได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นให้เริ่มทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามวรรคหนึ่งใหม่
ผู้ซึ่งถูกสั่งให้ออกจากราชการเพราะมีความประพฤติไม่ดี
หรือไม่มีความรู้
หรือไม่มีความสามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งตามวรรคสอง
ให้ถือเสมือนหนึ่งว่าไม่เคยเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับในระหว่างที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ
มาตรา ๓๐
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งใดไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่น
ต้องแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับเดียวกัน
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ต่ำกว่าเดิมและการย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้มิได้ดำรงตำแหน่งที่
ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐ ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐
จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจาก ก.ร. แล้ว
มาตรา ๓๑
การเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นตำแหน่งใดให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันเพื่อดำรงตำแหน่งนั้นได้
หรือจากผู้ได้รับการประเมินสมรรถภาพแล้วปรากฏว่าเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ
และความเหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งนั้นได้
กรณีใดจะเลื่อนและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้
หรือจากผู้ได้รับการประเมินสมรรถภาพให้เป็นไปตามที่ ก.ร. กำหนด
การสอบแข่งขันเพื่อเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับ
๒ และระดับ ๓ ให้สอบร่วมกับการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการตามมาตรา ๒๒
ส่วนการสอบแข่งขันเพื่อเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับ
๔ ขึ้นไปให้ ก.ร. กำหนดผู้ดำเนินการสอบแข่งขัน
หลักสูตรและวิธีดำเนินการเกี่ยวกับการสอบแข่งขัน ตลอดจนเกณฑ์การตัดสิน
การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ และการยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้
การประเมินสมรรถภาพของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร.กำหนด
มาตรา ๓๒
การบรรจุและการเลื่อนตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญจากผู้สอบแข่งขันได้
ให้ผู้มีอำนาจบรรจุและแต่งตั้งสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้
ส่วนการเลื่อนตำแหน่งจากผู้ได้รับการประเมินสมรรถภาพ ให้เลื่อนและแต่งตั้งได้ตามความเหมาะสม
มาตรา ๓๓
ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญตำแหน่งใด
ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น ตามที่ ก.ร.กำหนดในมาตรา ๒๐
ในกรณีที่มีความจำเป็น ก.ร.
อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญที่มีคุณสมบัติเฉพาะต่างไปจากที่กำหนดไว้ในมาตรา
๒๐ ก็ได้
ในกรณีที่ ก.ร.
กำหนดให้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพใดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ให้หมายถึงปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพที่ ก.ร. รับรอง
มาตรา ๓๔
การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญให้ดำรงตำแหน่งที่ ก.ร.
ยังมิได้กำหนดตามมาตรา ๒๐ จะกระทำมิได้
มาตรา ๓๕
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๓๐ มาตรา
๓๑ และมาตรา ๔๐ แล้ว
หากภายหลังปรากฏว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งสั่งแต่งตั้งผู้นั้นให้กลับไปดำรงตำแหน่งเดิม
หรือตำแหน่งระดับเดียวกันที่ต้องใช้คุณสมบัติเฉพาะที่ผู้นั้นมีอยู่
มาตรา ๓๖
การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญโดยปกติให้สั่งเลื่อนได้ปีละหนึ่งขั้น
และเลื่อนได้ไม่เกินขั้นสูงของระดับที่ผู้นั้นได้รับเงินเดือนอยู่
โดยคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณของงานที่ได้ปฏิบัติมา การรักษาวินัย ตลอดจนความสามารถ
ความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ แล้วแต่กรณี เป็นผู้พิจารณาและสั่งเลื่อน[๑๔]
การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ
๙ ลงมาให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมเป็นผู้พิจารณาและสั่งเลื่อน
ส่วนผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๑๐ ขึ้นไป
ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาและสั่งเลื่อน
มาตรา ๓๖/๑[๑๕]
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการและปฏิบัติราชการมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการถือว่าผู้นั้นมีความชอบ
จะได้รับบำเหน็จความชอบซึ่งอาจเป็นคำชมเชย เครื่องเชิดชูเกียรติ รางวัล
หรือการได้เลื่อนขั้นเงินเดือนตามควรแก่กรณี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
ก.ร. กำหนด
มาตรา ๓๗ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ก.ร.
จะพิจารณาอนุมัติให้เลื่อนขั้นเงินเดือนเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญก็ได้
การเลื่อนเงินเดือนในกรณีเช่นนี้
จะเลื่อนเกินกว่าขั้นสูงของระดับที่ผู้นั้นได้รับเงินเดือนอยู่ก็ได้
มาตรา ๓๘ ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘
มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญประจำส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเป็นการชั่วคราว
โดยให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่เดิมได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
การสั่งและการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับข้าราชการรัฐสภาสามัญตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร. กำหนด
มาตรา ๓๙
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญในต่างส่วนราชการที่สังกัดรัฐสภา
อาจกระทำได้เมื่อส่วนราชการเจ้าสังกัดทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนนั้นแล้ว
โดยให้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ไม่สูงกว่าเดิมและรับเงินเดือนในขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม
เว้นแต่การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้สอบแข่งขันได้
สอบคัดเลือกได้หรือได้รับคัดเลือก ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร.
กำหนด
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้มิได้ดำรงตำแหน่งที่
ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐ ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ ก.ร.
กำหนดตามมาตรา ๒๐ ในต่างส่วนราชการที่สังกัดรัฐสภา
จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจาก ก.ร. แล้ว ในการนี้ให้ ก.ร.
พิจารณาโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับ และให้ ก.ร.
กำหนดระดับของตำแหน่งที่จะแต่งตั้งและเงินเดือนที่จะให้ได้รับด้วย
มาตรา ๔๐[๑๖] การโอนข้าราชการตามกฎหมายอื่น
หรือพนักงานเทศบาลมาบรรจุเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ อาจกระทำได้ถ้าเจ้าตัวสมัครใจ
โดยผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ แล้วแต่กรณี ทำความตกลงกับเจ้าสังกัด แล้วเสนอ ก.ร.
เพื่อพิจารณาอนุมัติ ทั้งนี้ จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับใด
และได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้ ก.ร. เป็นผู้พิจารณากำหนด
แต่เงินเดือนที่จะให้ได้รับจะต้องไม่สูงกว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญที่มีคุณวุฒิ
ความสามารถ และความชำนาญงานในระดับเดียวกัน
เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้ที่โอนมาตามวรรคหนึ่งในขณะที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานเทศบาลนั้นเป็นเวลาราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย
การโอนข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญ
พนักงานเทศบาลวิสามัญ และข้าราชการที่อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมาเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัตินี้จะกระทำมิได้
มาตรา ๔๑[๑๗]
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
เมื่อผู้นั้นพ้นจากราชการทหารโดยไม่มีความเสียหายแล้วประสงค์จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญในส่วนราชการสังกัดรัฐสภาตามเดิมภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันพ้นจากราชการทหาร
ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ สั่งบรรจุแต่งตั้ง
และให้ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร. กำหนด
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งได้รับบรรจุเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่ง
ให้มีสิทธิได้นับวันรับราชการก่อนถูกสั่งให้ออกจากราชการ
รวมกับวันรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารและวันรับราชการเมื่อได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการ
เป็นเวลาราชการติดต่อกันเพื่อประโยชน์ตามพระราชบัญญัตินี้ และตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการเสมือนว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกสั่งให้ออกจากราชการ
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
เมื่อได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งแล้ว
ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง ทั้งนี้ ให้นำมาตรา
๒๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๔๑ ทวิ[๑๘]
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดได้รับอนุมัติจาก
ก.ร. ให้ออกจากราชการไปปฏิบัติงานใด ๆ
ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ถ้าผู้นั้นกลับเข้ารับราชการภายในกำหนดเวลาสี่ปีนับแต่วันออกจากราชการไปปฏิบัติงานดังกล่าวให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา
๒๘ สั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและรับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
ก.ร. กำหนด
มาตรา ๔๒
ข้าราชการรัฐสภาสามัญลาออกจากราชการเพื่อสมัครรับเลือกตั้งประสงค์จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญในส่วนราชการสังกัดรัฐสภาตามเดิม
ถ้าข้าราชการผู้นั้นได้แสดงความจำนงไว้ในขณะลาออกว่าจะกลับเข้ามารับราชการ
และระยะเวลาที่ออกจากราชการไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘
สั่งบรรจุ แต่งตั้ง และให้ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร. กำหนด
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ไปสมัครรับเลือกตั้ง
เมื่อได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งแล้วให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง
ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๒๙ มาใช้บังคับ
มาตรา ๔๓
ข้าราชการหรือพนักงานเทศบาลผู้ใดออกจากราชการหรือออกจากงานไปแล้วถ้าสมัครเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
และทางราชการต้องการจะรับผู้นั้นเข้ารับราชการ ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเสนอ ก.ร.
เพื่อพิจารณาอนุมัติ ทั้งนี้ จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับใดและได้รับเงินเดือนเท่าใด
ให้ ก.ร. เป็นผู้พิจารณากำหนด แต่เงินเดือนที่จะให้ได้รับ
จะต้องไม่สูงกว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญที่มีคุณวุฒิ ความสามารถ
และความชำนาญงานในระดับเดียวกัน
เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ
ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้เข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งในขณะที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานเทศบาลนั้น
เป็นเวลาราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย
ความในวรรคหนึ่ง
มิให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญ พนักงานเทศบาลวิสามัญ
และผู้ซึ่งออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
มาตรา ๔๔[๑๙] ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการเมื่อ
(๑) ตาย
(๒)
พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(๓) ได้รับอนุญาตให้ลาออก หรือลาออกตามมาตรา ๔๕
วรรคสอง
(๔) ถูกสั่งให้ออกตามมาตรา ๔๖ มาตรา ๔๖ ทวิ มาตรา
๔๖ ตรี และมาตรา ๔๖ จัตวา
(๕) ถูกลงโทษไล่ออก หรือปลดออก
วันออกจากราชการตาม (๔) หรือ (๕)
ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ร. กำหนด
การต่อเวลาราชการให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ต้องออกจากราชการตาม
(๒) รับราชการต่อไปอีกจะกระทำมิได้
มาตรา ๔๕
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการ
ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่ง
เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ เป็นผู้พิจารณา เมื่อผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘
สั่งอนุญาตแล้ว จึงให้ออกจากราชการตามคำสั่ง
ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญขอลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้ง
ให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ยื่นใบลาออกต่อผู้บังคับบัญชา
ในกรณีที่ผู้ขอลาออกมีเรื่องถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยหรือต้องหาว่ากระทำผิดอาญา
ผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตลาออกจะสั่งอนุญาตให้ลาออกก็ได้
โดยมีเงื่อนไขว่าเมื่อสอบสวนพิจารณาแล้วได้ความว่าผู้ได้รับอนุญาตให้ลาออกกระทำผิดวินัย
ก็ให้ดำเนินการสั่งลงโทษหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ตรงตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้
การลาออกในกรณีนี้ยังไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ
มาตรา ๔๖[๒๐] ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘
มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้
แต่ในการสั่งให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน
นอกจากให้ทำได้ในกรณีที่ระบุไว้ในกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้ว
ให้ทำได้ในกรณีต่อไปนี้ด้วย คือ
(๑)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอ
ถ้าผู้บังคับบัญชาดังกล่าวเห็นสมควรให้ออกจากราชการแล้ว
ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้
(๒)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดสมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการ
ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ
(๓) เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการ
ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
(๔)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ (๑) (๔) หรือ (๕)
ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ
(๕)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ
มาตรา ๔๖ ทวิ[๒๑]
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ
บกพร่องในหน้าที่ราชการหรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ
และผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ เห็นว่ากรณีมีมูล
ถ้าให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ ก็ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยไม่ชักช้า
ในการสอบสวนนี้จะต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
โดยจะระบุหรือไม่ระบุชื่อพยานก็ได้
และต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ด้วยเมื่อได้มีการสอบสวนพิจารณาแล้วและผู้บังคับบัญชาดังกล่าวเห็นสมควรให้ออกจากราชการก็ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนได้
ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๕๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นได้สอบสวน
หรือคณะกรรมการสอบสวนได้สอบสวนในกรณีที่เกี่ยวข้อง
หรือพนักงานสอบสวนได้สอบสวนทางอาญา
หรือศาลได้มีคำพิพากษาเกี่ยวกับเรื่องที่จะต้องสอบสวนตามวรรคหนึ่งอยู่แล้ว
คณะกรรมการสอบสวนตามวรรคหนึ่งจะนำสำนวนการสอบสวนของผู้บังคับบัญชาชั้นต้น
สำนวนการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวน สำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวน
สำนวนของพนักงานอัยการ สำนวนการพิจารณาของศาล
หรือสำเนาคำพิพากษาอย่างหนึ่งอย่างใดมาใช้เป็นสำนวนการสอบสวนและทำความเห็นเสนอผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
โดยถือว่าได้มีการสอบสวนตามวรรคหนึ่งแล้วก็ได้ แต่ทั้งนี้
ต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
โดยจะระบุหรือไม่ระบุชื่อพยานก็ได้
และต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ด้วย
หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณา
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
ในกรณีที่เป็นกรณีที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร. จะดำเนินการตามวรรคหนึ่งโดยไม่สอบสวนก็ได้
มาตรา ๔๖ ตรี[๒๒]
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา
๕๓ และการสอบสวนเสร็จสิ้นแล้ว ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘
เห็นว่ากรณีมีเหตุอันควรสงสัยอย่างยิ่งว่าผู้นั้นได้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
แต่การสอบสวนไม่ได้ความแน่ชัดพอที่จะฟังลงโทษตามมาตรา ๕๓
ถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ
ก็ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพราะมีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวนเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนได้
มาตรา ๔๖ จัตวา[๒๓]
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘
จะสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนก็ได้
มาตรา ๔๗
การออกจากราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๑๐ ขึ้นไป
ในกรณีถูกลงโทษ ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง
ส่วนการออกจากราชการในกรณีอื่นให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ
มาตรา ๔๘ ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องรักษาวินัยตามที่กำหนดไว้ในกฎ
ก.ร. ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย
จักต้องได้รับโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๐
มาตรา ๔๙
ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ส่งเสริมและดูแลระมัดระวังให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามวินัย
ถ้าผู้บังคับบัญชารู้ว่าผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาคนใดกระทำผิดวินัย
จะต้องดำเนินการทางวินัยทันที
ถ้าเห็นว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยที่จะต้องได้รับโทษและอยู่ในอำนาจของตนที่จะลงโทษได้
ให้สั่งลงโทษ แต่ถ้าเห็นว่าผู้นั้นควรจะต้องได้รับโทษสูงกว่าที่ตนมีอำนาจสั่งลงโทษ
ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาของผู้กระทำผิดวินัยเหนือขึ้นไป
เพื่อให้พิจารณาดำเนินการสั่งลงโทษตามควรแก่กรณี
ผู้บังคับบัญชาผู้ใดละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรานี้โดยไม่สุจริต
ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย
มาตรา ๕๐[๒๔] โทษผิดวินัยมี ๕ สถาน คือ
(๑) ภาคทัณฑ์
(๒) ตัดเงินเดือน
(๓) ลดขั้นเงินเดือน
(๔) ปลดออก
(๕) ไล่ออก
มาตรา ๕๑ การลงโทษข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ผู้สั่งลงโทษต้องสั่งลงโทษให้เหมาะสมกับความผิด
ในคำสั่งลงโทษให้แสดงว่าผู้ถูกลงโทษกระทำผิดวินัยในกรณีใด ตามมาตราใด
มาตรา ๕๒ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยที่ยังไม่ถึงขั้นเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน
หรือลดขั้นเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด
ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้
แต่สำหรับการลงโทษภาคทัณฑ์ ให้ใช้เฉพาะกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยหรือมีเหตุอันควรลดหย่อน
ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษตัดเงินเดือน
ในกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยและเป็นความผิดครั้งแรก
ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่ามีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยว่ากล่าวตักเตือน
หรือให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือไว้ก่อนก็ได้
การลงโทษตามมาตรานี้
ผู้บังคับบัญชาใดจะมีอำนาจสั่งลงโทษผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาได้เพียงใด
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
มาตรา ๕๓[๒๕]
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดถูกกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร. ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยไม่ชักช้า
ในการสอบสวนนี้จะต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาด้วย
เมื่อได้มีการสอบสวนแล้วและผู้บังคับบัญชาดังกล่าวพิจารณาเห็นว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร. ก็ให้สั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี
ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษให้ก็ได้แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก
ผู้ถูกสั่งปลดออกตามมาตรานี้ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ
ในการสอบสวนตามวรรคหนึ่ง ให้นำมาตรา ๔๖ ทวิ
วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ให้ ก.ร. มีอำนาจออกกฎ ก.ร.
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณา
ระยะเวลาสอบสวนพิจารณาและสั่งลงโทษ การสั่งสอบสวน การมอบหมายให้สอบสวน
การตั้งกรรมการสอบสวน ตลอดจนการส่งประเด็นไปสอบสวนพยานบุคคลซึ่งอยู่ต่างท้องที่
การรวบรวมพยานหลักฐาน และกิจการอื่น ๆ เพื่อให้ได้ความจริง
มาตรา ๕๔
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
และเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่กำหนดไว้ในกฎ ก.ร.
หรือได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชา
หรือต่อผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้สอบสวน หรือต่อคณะกรรมการสอบสวน ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา
๒๘ จะสั่งลงโทษโดยไม่สอบสวนต่อไปก็ได้
มาตรา ๕๕ ให้ผู้บังคับบัญชาผู้สอบสวน
ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้สอบสวนและกรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
และให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
เพียงเท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาผู้สอบสวนผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้สอบสวน
และกรรมการสอบสวน และโดยเฉพาะให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย คือ
(๑) เรียกให้กระทรวงทบวงกรม หน่วยราชการ
หรือรัฐวิสาหกิจชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐาน ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัด
มาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน
(๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำ
หรือให้ส่งเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน
(๓) ส่งประเด็นไปให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน
เพื่อการนี้ให้พนักงานสอบสวน ผู้ทำการสอบสวนเป็นกรรมการสอบสวน
และให้ถือว่าการสอบสวนของพนักงานสอบสวนเป็นการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวน
เมื่อได้สอบสวนเสร็จแล้วให้เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนดังกล่าวส่งรายงานที่จำเป็นและพยานหลักฐานต่าง
ๆ ทั้งหมดไปยังคณะกรรมการสอบสวน
มาตรา ๕๖
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยหรือถูกฟ้องคดีอาญา
หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
แม้ภายหลังผู้นั้นจะออกจากราชการไปแล้ว ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘
ก็ยังมีอำนาจสั่งลงโทษหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้เป็นไปตามหมวดนี้ได้
เว้นแต่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นจะออกจากราชการเพราะเหตุตาย
มาตรา ๕๗[๒๖]
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกสอบสวน
หรือถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา
เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา
๒๘ มีอำนาจสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาได้
แต่ถ้าภายหลังปรากฏผลการสอบสวนพิจารณาว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิดหรือกระทำผิดไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
และไม่มีกรณีที่จะต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่นให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งในระดับเดียวกันที่ต้องใช้คุณสมบัติเฉพาะที่ผู้นั้นมีอยู่
เงินเดือนของผู้ถูกสั่งพักราชการ
ให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น
ส่วนในกรณีสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
ถ้าปรากฏผลการสอบสวนพิจารณาเป็นยุติแล้วว่าผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนมิได้กระทำผิดหรือกระทำผิดไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่างถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเสมือนว่าผู้นั้นถูกสั่งพักราชการ
ให้ ก.ร. มีอำนาจออกกฎ ก.ร.
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสั่งพักราชการ การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนและการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามผลการสอบสวนพิจารณา
มาตรา ๕๘
เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษหรือดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไปแล้ว
ให้ส่งรายงานการลงโทษหรือการดำเนินการทางวินัยนั้นต่อผู้บังคับบัญชาของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นตามลำดับจนถึงประธานรัฐสภาและให้ประธานรัฐสภารายงานต่อ
ก.ร.
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นซึ่งมีตำแหน่งเหนือผู้สั่งตามวรรคหนึ่งเห็นว่าการลงโทษหรือการดำเนินการทางวินัยนั้นไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม
ก็ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวมีอำนาจที่จะสั่งลงโทษ เพิ่มโทษ ลดโทษ หรือยกโทษ
ตามควรแก่กรณีได้ แต่ถ้าจะลงโทษหรือเพิ่มโทษแล้ว
โทษที่ลงหรือเพิ่มขึ้นรวมกับที่สั่งไว้แล้วเดิมต้องไม่เกินอำนาจของผู้ซึ่งสั่งใหม่นั้น
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษหรือดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดแล้ว
แต่ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ แล้วแต่กรณี
เห็นว่ากรณีเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวมีอำนาจดำเนินการตามมาตรา ๕๓ ถ้าจะต้องสอบสวนตามมาตรา ๕๓
ก่อน ก็ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวมีอำนาจสอบสวนตามมาตรา ๕๓
ในกรณีที่จะต้องลงโทษตามมาตรา ๕๓ ถ้ามีการตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือนไปแล้ว
ก็ให้เป็นอันพับไป[๒๗]
มาตรา ๕๙
เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษหรือดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญในเรื่องใดไปแล้ว
ถ้า ก.ร. พิจารณาเห็นเป็นการสมควรที่จะต้องสอบสวนเพิ่มเติม หรือสอบสวนใหม่
เพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ก็ให้ ก.ร.
มีอำนาจสอบสวนเพิ่มเติมหรือสอบสวนใหม่ในเรื่องนั้นได้ตามความจำเป็น
โดยจะสอบสวนเองหรือแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
หรือมอบหมายให้ข้าราชการที่เห็นสมควรสอบสวนแทนก็ได้
มาตรา ๖๐ การอุทธรณ์การถูกลงโทษของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้เป็นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
มาตรา ๖๐ ทวิ[๒๘]
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วยเหตุใด
ๆ ให้ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ได้
การร้องทุกข์ตามวรรคหนึ่ง ให้ร้องทุกข์ต่อ ก.ร.
ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง และให้นำมาตรา ๖๐
ตลอดจนหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร. มาใช้บังคับอนุโลม
มาตรา ๖๐ ตรี[๒๙]
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดเห็นว่าผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติต่อตนโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติต่อตนให้ถูกต้องตามกฎหมายหรือมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาต่อตนในกรณีตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร. ผู้นั้นอาจร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาหรือ ก.ร. แล้วแต่กรณี
ตามที่กำหนดไว้ในกฎ ก.ร. เพื่อขอให้แก้ไขหรือแก้ความคับข้องใจได้ ทั้งนี้
เว้นแต่กรณีที่มีสิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา ๖๐
การร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
หมวด
๔
ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
มาตรา ๖๑[๓๐]
ตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองมีดังนี้
(๑) ที่ปรึกษาประธานรัฐสภา
(๒) ที่ปรึกษารองประธานรัฐสภา
(๓) ที่ปรึกษาประธานวุฒิสภา
(๔) ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๕) ที่ปรึกษารองประธานวุฒิสภา
(๖) ที่ปรึกษารองประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๗) เลขานุการประธานรัฐสภา
(๘) เลขานุการรองประธานรัฐสภา
(๙) เลขานุการประธานวุฒิสภา
(๑๐) เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๑๑) เลขานุการรองประธานวุฒิสภา
(๑๒) เลขานุการรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๑๓) เลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามวรรคหนึ่ง
จะมีจำนวนเท่าใด ให้เป็นไปตามอัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖๒[๓๑]
ให้ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
บทบัญญัติตามมาตรา ๓๕
แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๔๙๙
มิให้ใช้บังคับแก่การรับบำเหน็จบำนาญของข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองผู้กลับเข้ารับราชการใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้
ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองซึ่งดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วย
ถ้าได้รับเงินประจำตำแหน่ง หรือเงินเพิ่มสำหรับสมาชิกสภาดังกล่าวแล้ว
ไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในฐานะข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองอีก
การจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด
มาตรา ๖๓[๓๒]
การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามมาตรา ๖๑ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕)
และ (๖) ให้ประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภาหรือประธานสภาผู้แทนราษฎร แล้วแต่กรณี
แต่งตั้งบุคคลซึ่งเห็นสมควรตามเหตุผลในทางการเมืองและต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปที่จะเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญได้ตามมาตรา
๒๔ ยกเว้น (๔) และไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามมาตรา
๖๑ (๗) (๘) (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) และ (๑๓) ให้ประธานรัฐสภา
ประธานวุฒิสภาหรือประธานสภาผู้แทนราษฎร แล้วแต่กรณี
แต่งตั้งบุคคลซึ่งเห็นสมควรตามเหตุผลในทางการเมืองและต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปที่จะเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญได้ตามมาตรา
๒๔ ยกเว้น (๔) และไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
มาตรา ๖๔[๓๓]
ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองออกจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) สำหรับข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามมาตรา
๖๑ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) ผู้แต่งตั้งสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
หรือผู้แต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งหรือเมื่อรัฐสภาสิ้นอายุหรือถูกยุบ
(๔) สำหรับข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามมาตรา
๖๑ (๗) (๘) (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) และ (๑๓)
ผู้แต่งตั้งสั่งให้พ้นจากตำแหน่งจะโดยมีความผิดหรือไม่มีความผิดก็ตาม
หรือประธานหรือรองประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นสังกัด
หรือผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรพ้นจากตำแหน่ง แล้วแต่กรณี
หมวด
๕
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๖๕ บรรดาพระราชบัญญัติ ประกาศของคณะปฏิวัติ
พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง กฎ ก.พ. ประกาศ ระเบียบ
ข้อบังคับและคำสั่งที่ยังคงใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือนในส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
นอกจากที่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับแก่ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไป เว้นแต่พระราชบัญญัตินี้ หรือ กฎ ก.ร.
ที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ จะบัญญัติเป็นอย่างอื่น
มาตรา ๖๖
ให้ผู้ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามพระราชบัญญัตินี้
และคงดำรงตำแหน่งและมีอัตราเงินเดือนตามที่ได้รับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ทั้งนี้สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้เป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
สำหรับข้าราชการการเมือง ให้เป็นข้าราชรัฐสภาฝ่ายการเมือง ส่วนข้าราชการพลเรือนวิสามัญ
ให้เป็นข้าราชการรัฐสภาวิสามัญ
และให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนวิสามัญมาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๖๗
ในระหว่างที่รัฐสภายังไม่ได้เลือกตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนทำหน้าที่
ก.ร. ตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖๘ ในระหว่างที่ ก.ร.
ยังมิได้กำหนดตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญตามมาตรา ๒๐
การดำเนินการเกี่ยวกับข้าราชการรัฐสภาสามัญ ให้เสนอ ก.ร. พิจารณาอนุมัติเป็นราย ๆ
ไป
มาตรา ๖๙
การใดหรือสิทธิใดที่ข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามมาตรา ๖๖
กระทำหรือมีอยู่ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ถือว่าเป็นการกระทำหรือสิทธิตามพระราชบัญญัตินี้
การใดที่ทางราชการได้ดำเนินการเกี่ยวกับข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามมาตรา
๖๖ ไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ถือว่าเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีปัญหาตามมาตรานี้ ให้ ก.ร.
เป็นผู้วินิจฉัย
มาตรา ๗๐
การใดที่เคยดำเนินการได้ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
และมิได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ จะดำเนินการได้ประการใด ให้เป็นไปตามที่
ก.ร. กำหนด โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
สัญญา
ธรรมศักดิ์
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่ในปัจจุบันข้าราชการที่ปฏิบัติราชการให้แก่สภานิติบัญญัติยังอยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยราชการของฝ่ายบริหาร
เพราะมีฐานะเป็นข้าราชการพลเรือน
แต่โดยสภาพของการปฏิบัติราชการควรจะอยู่ภายใต้การควบคุมของสภานิติบัญญัติโดยตรง
เพราะจะทำให้สภานิติบัญญัติสามารถปรับปรุงระเบียบปฏิบัติราชการของข้าราชการในสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาให้มีประสิทธิภาพ
และอำนวยความสะดวกให้แก่ราชการของสภานิติบัญญัติได้มากยิ่งขึ้น
จึงสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาโดยเฉพาะ และเพื่อการนี้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑[๓๔]
มาตรา ๔
ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญและบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ และให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข
๑ บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญหมายเลข ๒
และบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๓
และบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
ท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา ๕
ให้ประธานรัฐสภาประกาศปรับอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้เข้าระดับและขั้นเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ
หมายเลข ๑ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ให้สอดคล้องกับการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
มาตรา ๖ ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ
๗ ผู้ใดได้รับเงินเดือนขั้น ๑๑ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.
๒๕๑๘ อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นคงดำรงตำแหน่งระดับ ๗ ต่อไป
แต่ให้ได้รับเงินเดือนเท่ากับเงินเดือนขั้น ๙ ของระดับ ๘
ตามบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๑
ท้ายพระราชบัญญัตินี้โดยให้ถือว่าเงินเดือนที่ได้รับนั้นเป็นเงินเดือนขั้นสูงของตำแหน่งระดับ
๗ เว้นแต่จะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับที่สูงขึ้น
ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งอาจได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๒๒ ขึ้นรับเงินเดือนระดับ ๗ ขั้น ๑๑ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ ด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๖
บรรดาอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญที่อ้างถึงในกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง มติคณะรัฐมนตรี หรือกฎ ก.ร. หรือในการกำหนดของ ก.ร.
ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ให้ถือว่าเป็นการอ้างถึงอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ตามบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๑
ท้ายพระราชบัญญัตินี้ในระดับและขั้นเงินเดือนตามที่ประธานรัฐสภาประกาศตามมาตรา ๕
มาตรา ๘
เพื่อประโยชน์ในการบรรจุบุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘
และออกจากราชการไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับกลับเข้ารับราชการให้ปรับอัตราเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้เข้าระดับและขั้นเงินเดือนตามที่ประธานรัฐสภาประกาศตามมาตรา
๕ สำหรับบุคคลซึ่งได้รับเงินเดือนระดับ ๗ ขั้น ๑๑ อยู่ในขณะที่ออกจากราชการ
ให้นำมาตรา ๖ มาใช้บังคับแก่การปรับอัตราเงินเดือนดังกล่าวโดยอนุโลม
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินเดือนของข้าราชการฝ่ายรัฐสภาไม่ได้ส่วนสัมพันธ์กับอัตราเงินเดือนของข้าราชการประเภทอื่น
ๆ ที่ได้รับการปรับปรุงไปแล้ว
สมควรแก้ไขปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการฝ่ายรัฐสภาให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๑[๓๕]
มาตรา ๕
ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๑
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๒
และบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๓
ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๒๑
มาตรา ๖
อัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองให้เป็นไปตามบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
บัญชี ก. ท้ายพระราชบัญญัตินี้
และเมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกาประกาศใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการการเมือง บัญชี
ข. บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการการเมือง บัญชี ค.
หรือบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการการเมือง บัญชี ง. ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมืองแล้ว
ให้ประธานรัฐสภาประกาศปรับใช้อัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
ตามบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง บัญชี ข.
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง บัญชี ค. หรือบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
บัญชี ง. ให้สอดคล้องกัน
มาตรา ๗
ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๒๑
และให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง บัญชี ก.
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง บัญชี ข.
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง บัญชี ค. และบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
บัญชี ง. ท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา ๘
การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญให้เข้าระดับและขั้นเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
ตามมาตรา ๒๐ ทวิ ให้เป็นไปตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนและตามระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
เมื่อปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญตามวรรคหนึ่งแล้วเฉพาะข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ได้รับเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำหรือสูงกว่าขั้นสูงของระดับ
ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นตามที่กำหนดไว้ในบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งได้เลื่อนตำแหน่งนับแต่วันปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญตามวรรคหนึ่ง
ถ้าได้รับเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับที่ได้เลื่อนตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำของบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
แต่ถ้าได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของระดับที่ได้เลื่อนตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
ก็ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นที่ได้รับอยู่
การรับเงินเดือนในขั้นต่อ ๆ
ไปของข้าราชการรัฐสภาสามัญตามวรรคสองและวรรคสาม
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๙
เพื่อประโยชน์ในการบรรจุบุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ และออกจากราชการไปก่อนวันที่บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนใช้บังคับกลับเข้ารับราชการ
ให้ปรับอัตราเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้เข้าระดับและขั้นเงินเดือนตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
มาตรา ๑๐
ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
บัญชี ก. ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
ให้นำบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๓
ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาพ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๒๑ มาใช้บังคับไปพลางก่อน
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
ในบัญชีอัตราเงินเดือนท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๒๑
ได้ใช้มาเป็นเวลานานไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบันสมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองเสียใหม่
และเนื่องจากอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันตรงกับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนอยู่แล้ว
จึงสมควรแก้ไขให้ถือตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนโดยอนุโลม เพื่อให้การปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในอนาคต
มีผลถึงข้าราชการรัฐสภาสามัญด้วย โดยไม่ต้องแก้ไขกฎหมาย
รวมทั้งให้มีการให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองแต่ละบัญชีได้ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์
โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕[๓๖]
มาตรา ๒๖
ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.
๒๕๓๑
และให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา ๒๗
ให้กรรมการซึ่งรัฐสภาเลือกจากประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาและผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับดำรงตำแหน่งอยู่ต่อไปจนกว่าจะพ้นจากตำแหน่งหรือครบวาระ
แล้วแต่กรณี แต่ต้องไม่เกินสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๒๘
นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจนถึงวันก่อนวันที่ประกาศรัฐสภาแบ่งส่วนราชการของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภาใช้บังคับ
(๑)
ให้เลขาธิการรัฐสภาดำรงตำแหน่งกรรมการและเลขานุการ ก.ร. ตามมาตรา ๖ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
(๒) การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งระดับ
๑๐ และระดับ ๑๑ ตามมาตรา ๒๘ (๑) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.
๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้ประธานรัฐสภาด้วยความเห็นชอบของ
ก.ร. เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ และนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้ง
(๓) การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งระดับ
๙ ตามมาตรา ๒๘ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
(๔)
การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๘ ลงมาตามมาตรา ๒๘ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
ให้เลขาธิการรัฐสภาเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
(๕) การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ
๙ ขึ้นไปตามมาตรา ๓๖ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาและสั่งเลื่อน
(๖) การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ
๘ ลงมาตามมาตรา ๓๖ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
ให้เลขาธิการรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาและสั่งเลื่อน
(๗) การโอนข้าราชการตามมาตรา ๔๐ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้ประธานรัฐสภาหรือเลขาธิการรัฐสภา
แล้วแต่กรณี ทำความตกลงกับเจ้าสังกัดแล้วเสนอ ก.ร. เพื่อพิจารณาอนุมัติ
มาตรา ๒๙ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๔ (๑๑) และมาตรา ๒๕
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
มาใช้บังคับแก่ผู้เคยถูกลงโทษให้ออกเพราะกระทำผิดวินัยก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๘[๓๗]
มาตรา ๔
ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการฝ่ายรัฐสภาฝ่ายการเมืองท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่ได้มีการแยกบัญชีอัตราเงินเดือนและบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองไปบัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะแล้ว
สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๑[๓๘]
มาตรา ๗
ให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญ ซึ่งดำรงตำแหน่งตามที่ ก.ร. กำหนด ตามมาตรา ๒๐
แห่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ประกอบกับมาตรา ๔๒ (๑๑) (ค)
แห่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับคงดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว
และเมื่อพ้นจากตำแหน่งดังกล่าวแล้ว
ให้ตำแหน่งนั้นเป็นอันยุบเลิกจนกว่าจะเหลือจำนวนไม่เกินที่กำหนดตามวรรคสองของมาตรา
๒๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่ปัจจุบันกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการหรือการสงเคราะห์อื่นให้แก่ข้าราชการฝ่ายรัฐสภาการกำหนดเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ
เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว หรือเงินค่าตอบแทนพิเศษอื่น
รวมทั้งไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการให้บำเหน็จความชอบแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ปฏิบัติราชการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อทางราชการ
สมควรกำหนดให้ ก.ร. มีอำนาจกำหนดสิทธิประโยชน์ดังกล่าวเพื่อให้ข้าราชการฝ่ายรัฐสภามีสิทธิเช่นเดียวกับข้าราชการประเภทอื่น
นอกจากนี้สมควรแก้ไขให้ ก.ร. อาจกำหนดตำแหน่งตามมาตรา ๔๒ (๑๑) (ค)
แห่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนราชการสังกัดรัฐสภาได้ส่วนราชการละหนึ่งตำแหน่ง
และให้การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญเพื่อดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๙
ลงมาเป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
เพื่อความคล่องตัวในการบริหารราชการ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ฐิติมา/ตรวจ
๒๙
พฤษภาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๒/ตอนที่ ๒๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘
[๒]
มาตรา ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๓]
มาตรา ๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๔]
มาตรา ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๕]
มาตรา ๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๖]
มาตรา ๑๓ (๗) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ.
๒๕๕๑
[๗]
มาตรา ๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๘]
มาตรา ๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๙]
มาตรา ๒๐ วรรคสอง เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๖)
พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๐]
มาตรา ๒๐ ทวิ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๕
[๑๑]
มาตรา ๒๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๑๒]
มาตรา ๒๔ (๑๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
[๑๓]
มาตรา ๒๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๖)
พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๔]
มาตรา ๓๖ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
[๑๕]
มาตรา ๓๖/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ.
๒๕๕๑
[๑๖]
มาตรา ๔๐ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
[๑๗]
มาตรา ๔๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๑๘]
มาตรา ๔๑ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๕
[๑๙]
มาตรา ๔๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๒๐]
มาตรา ๔๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๒๑]
มาตรา ๔๖ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๕
[๒๒]
มาตรา ๔๖ ตรี เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๕
[๒๓]
มาตรา ๔๖ จัตวา เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๕
[๒๔]
มาตรา ๕๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๕
[๒๕]
มาตรา ๕๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๒๖]
มาตรา ๕๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๒๗]
มาตรา ๕๘ วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
[๒๘]
มาตรา ๖๐ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๕
[๒๙]
มาตรา ๖๐ ตรี เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๕
[๓๐]
มาตรา ๖๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๓๑]
มาตรา ๖๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๓๘
[๓๒]
มาตรา ๖๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๓๓]
มาตรา ๖๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๓๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๕/ตอนที่ ๑๐๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗/๒๗ กันยายน ๒๕๒๑
[๓๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๑๘๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๖๐/๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๑
[๓๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๓๕/หน้า ๕๐/๓ เมษายน ๒๕๓๕
[๓๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑ ก/หน้า ๕๑/๑ มกราคม ๒๕๓๘
[๓๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๒๙ ก/หน้า ๘๗/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ |
596008 | กฎ ก.ร. ฉบับที่ 16 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน (ฉบับ Update ล่าสุด) | กฎ ก
กฎ ก.ร.
ฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๕๓๙)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘
ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ และมาตรา ๓๖
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๕ ก.ร. ออกกฎ ก.ร. ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.ร.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในกฎ ก.ร.
นี้
ปี หมายความว่า ปีงบประมาณ
รอบปีที่แล้วมา หมายความว่า
ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคมของปีหนึ่งถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายนของปีถัดไป
ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน
หมายความว่า ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๓
การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญประจำปี ให้เลื่อนตั้งแต่วันที่
๑ ตุลาคม ของปีที่ได้เลื่อนนั้น
ข้อ ๔
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งจะได้รับพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีครึ่งขั้นต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ประการใดประการหนึ่ง
ดังต่อไปนี้
(๑)
เป็นผู้อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีหนึ่งขั้นตามข้อ
๕ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) และในรอบปีที่แล้วมามีผลการปฏิบัติงานซึ่งผู้บังคับบัญชาได้พิจารณาประเมินแล้วเห็นว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สมควรจะได้เลื่อนขั้นเงินเดือนครึ่งขั้น
(๒)
เป็นผู้ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีหนึ่งขั้นตามข้อ
๕ (๓) (๗) หรือ (๘) แต่มีเวลาปฏิบัติราชการในรอบปีที่แล้วมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือน
ตลอดจนอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีหนึ่งขั้นตามข้อ
๕ (๒) (๔) (๕) และ (๖) และในรอบปีที่แล้วมา มีผลการปฏิบัติงานซึ่งผู้บังคับบัญชาได้พิจารณาประเมินแล้วเห็นว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สมควรจะได้เลื่อนขั้นเงินเดือนไม่น้อยกว่าหนึ่งขั้น
ข้อ ๕ ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งจะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีหนึ่งขั้นต้องอยู่ในหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
(๑)
ในรอบปีที่แล้วมาได้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตนด้วยความสามารถ และด้วยความอุตสาหะจนเกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการ
ซึ่งผู้บังคับบัญชาได้พิจารณาประเมินแล้วเห็นว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สมควรจะได้เลื่อนขั้นเงินเดือนหนึ่งขั้น
(๒)
ในรอบปีที่แล้วมาจนถึงวันออกคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนต้องไม่ถูกลงโทษทางวินัยหนักกว่าโทษภาคทัณฑ์
หรือไม่ถูกศาลพิพากษาในคดีอาญาให้ลงโทษในความผิดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
หรือความผิดที่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน
ซึ่งมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดอยู่ในหลักเกณฑ์ที่สมควรได้เลื่อนขั้นเงินเดือน
และได้ถูกงดเลื่อนขั้นเงินเดือนเพราะถูกลงโทษทางวินัยหรือถูกศาลพิพากษาในคดีอาญาให้ลงโทษในกรณีนั้นมาแล้วให้ผู้บังคับบัญชาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีต่อไปให้ผู้นั้นตั้งแต่วันที่
๑ ตุลาคมของปีที่ได้เลื่อนเป็นต้นไป
(๓)
ในรอบปีที่แล้วมาต้องไม่ถูกสั่งพักราชการเกินกว่าสี่เดือน
(๔)
ในรอบปีที่แล้วมาต้องไม่ขาดราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
(๕)
ในปีที่แล้วมารับบรรจุเข้ารับราชการมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าแปดเดือน
(๖)
ในรอบปีที่แล้วมาถ้าเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาในประเทศ หรือไปศึกษาฝึกอบรม
หรือดูงาน ณ ต่างประเทศ ตามระเบียบว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษาฝึกอบรม และดูงาน
ณ ต่างประเทศ ต้องได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการในรอบปีที่แล้วมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าแปดเดือน
(๗)
ในรอบปีที่แล้วมาต้องไม่ลาหรือมาทำงานสายเกินจำนวนครั้งที่ ก.ร.กำหนด
(๘)[๒] ในรอบปีที่แล้วมาต้องไม่มีวันลาเกินกว่าสี่สิบห้าวัน
แต่ไม่รวมถึงวันลาดังต่อไปนี้
(ก) ลาอุปสมบท หรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ
เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย
เฉพาะวันลาที่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลาตามกฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน
(ข) ลาคลอดบุตรไม่เกินเก้าสิบวัน
(ค)
ล่าป่วยซึ่งจำเป็นต้องรักษาตัวเป็นเวลานานไม่ว่าคราวเดียวหรือหลายคราวรวมกันไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันทำการ
(ง)
ลาป่วยเพราะประสบอันตรายในขณะปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือในขณะเดินทางไปหรือกลับจากปฏิบัติราชการตามหน้าที่
(จ) ลาพักผ่อน
(ฉ)
ลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล
(ช) ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
การนับจำนวนวันลาไม่เกินสี่สิบห้าวันสำหรับวันลากิจส่วนตัวและวันลาป่วยที่ไม่ใช่วันลาป่วยตาม
(ง) ให้นับเฉพาะวันทำการ
ข้อ ๖
การประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการรัฐสภาสามัญ ตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๘
ลงมา ตามข้อ ๔ (๑) (๒) และข้อ ๕ (๑) ให้พิจารณาประเมินตามแบบท้ายกฎ ก.ร. นี้
ข้อ ๗
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งจะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีหนึ่งขั้นครึ่งต้องเป็นผู้อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีหนึ่งขั้นตามข้อ
๕ และอยู่ในหลักเกณฑ์ประการใดประการหนึ่งหรือหลายประการ ดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) ปฏิบัติงานตามหน้าที่ได้ผลดี
มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อันก่อให้เกิดประโยชน์และผลดีต่อทางราชการและสังคม
(๒)
ปฏิบัติงานโดยมีความคิดริเริ่มในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
หรือได้ค้นคว้าหรือประดิษฐ์สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ
(๓)
ปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่มีสถานการณ์ตรากตรำเสี่ยงอันตราย หรือมีการต่อสู้ที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของชีวิต
(๔)
ปฏิบัติงานที่มีภาระหน้าที่หนักเกินกว่าระดับตำแหน่งจนเกิดประโยชน์ต่อทางราชการ
และปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ของตนเป็นผลดีด้วย
(๕)
ปฏิบัติงานตามตำแหน่งหน้าที่ด้วยความตรากตรำเหน็ดเหนื่อย
ยากลำบากและงานนั้นได้ผลดีเป็นประโยชน์ต่อทางราชการและสังคม
(๖)
ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้กระทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งจนสำเร็จเป็นผลดีประเทศชาติ
ข้อ ๘
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งจะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีสองขั้นต้องเป็นผู้อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีหนึ่งขั้นตามข้อ
๕ และอยู่ในหลักเกณฑ์ประการใดประการหนึ่งหรือหลายประการ ดังต่อไปนี้ด้วย
(๑)
ปฏิบัติงานตามหน้าที่ได้ผลดีเด่น มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อันก่อให้เกิดประโยชน์และผลดียิ่งต่อทางราชการและสังคมจนถือเป็นตัวอย่างที่ดีได้
(๒) ปฏิบัติงานโดยมีความคิดริเริ่มในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
หรือได้ค้นคว้าหรือประดิษฐ์สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทางราชการเป็นพิเศษ
และทางราชการได้ดำเนินการตามความคิดริเริ่มหรือได้รับรองให้ใช้การค้นคว้าหรือสิ่งประดิษฐ์นั้น
(๓)
ปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่มีสถานการณ์ตรากตรำเสี่ยงอันตรายมาก หรือมีการต่อสู้ที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของชีวิตเป็นกรณีพิเศษ
(๔)
ปฏิบัติงานที่มีภาระหน้าที่หนักเกินกว่าระดับตำแหน่งจนเกิดประโยชน์ต่อทางราชการเป็นพิเศษ
และปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ของตนเป็นผลดีด้วย
(๕)
ปฏิบัติงานตามตำแหน่งหน้าที่ด้วยความตรากตรำเหน็ดเหนื่อยยากลำบากเป็นพิเศษ
และงานนั้นได้ผลดียิ่ง เป็นประโยชน์ต่อทางราชการและสังคม
(๖)
ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้กระทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งจนสำเร็จเป็นผลดียิ่งแก่ประเทศชาติ
ข้อ ๙
การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญประจำปีตามข้อ ๔ ข้อ ๕
ข้อ ๗ และข้อ ๘ ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายนำผลการประเมินผลการปฏิบัติงานและข้อมูลเกี่ยวกับการลา
พฤติกรรมการมาทำงาน การรักษาวินัย และข้อควรพิจารณาอื่นๆ
ของผู้นั้นมาประกอบการพิจารณาอย่างรอบคอบ แล้วรายงานผลการพิจารณานั้นพร้อมด้วยข้อมูลดังกล่าวต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน
ในการพิจารณารายงานตามวรรคหนึ่ง
ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือแต่ละระดับที่ได้รับรายงานเสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนด้วย
ข้อ ๑๐[๓] การพิจารณาผลการปฏิบัติงาน
ให้นับช่วงเวลาการปฏิบัติราชการและการปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศตามข้อ ๕
(๘) (ช) ในรอบปีที่แล้วมาเป็นเกณฑ์ เว้นแต่ผู้อยู่ในหลักเกณฑ์ตามข้อ ๕ (๕) หรือ
(๖) ให้นับช่วงเวลาปฏิบัติราชการไม่น้อยกว่าแปดเดือนเป็นเกณฑ์การพิจารณา
ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดโอน
เลื่อนตำแหน่ง ย้าย สับเปลี่ยนหน้าที่ไปช่วยราชการในต่างส่วนราชการ
ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานนอกเหนือหน้าที่ หรืองานพิเศษอื่นใด
หรือลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศตามข้อ ๕ (๘) (ช) ในรอบปีที่แล้วมา
ให้นำผลการปฏิบัติราชการและการปฏิบัติงานของผู้นั้นทุกตำแหน่งและทุกแห่งมาประกอบการพิจารณาด้วย
ข้อ ๑๑
เมื่อผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนได้รับรายงานผลการพิจารณาจากผู้บังคับบัญชาตามข้อ
๙ แล้วเห็นว่า ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีครึ่งขั้นตามข้อ
๔ ให้เลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้นั้นครึ่งขั้นถ้าข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีหนึ่งขั้นตามข้อ
๕ ให้เลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้นั้นหนึ่งขั้น และถ้าข้าราชการผู้นั้นมีผลการปฏิบัติงานอยู่ในหลักเกณฑ์ตามข้อ
๗ ด้วยก็ให้เลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้นั้นหนึ่งขั้นครึ่งหรือถ้าข้าราชการผู้นั้นมีผลการปฏิบัติงานอยู่ในหลักเกณฑ์ตามข้อ
๘ ด้วย จะเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้นั้น สองขั้นก็ได้ ทั้งนี้
การเลื่อนขั้นเงินเดือนให้เกินกว่าหนึ่งขั้นให้เสนอ ก.ร. พิจารณาอนุมัติตามมาตรา
๓๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ เสียก่อน
ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพิจารณาเห็นว่า
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีครึ่งขั้นตามข้อ
๔ ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนสำหรับผู้นั้น แต่ต้องแจ้งเหตุผลให้ผู้นั้นทราบด้วย
ข้อ ๑๒[๔] การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีให้แก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งในรอบปีที่แล้วมาได้รับอนุญาตให้ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศตามข้อ
๕ (๘) (ช)
ให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขึ้นเงินเดือนพิจารณาสั่งเลื่อนได้ปีละไม่เกินหนึ่งขึ้นเมื่อผู้นั้นกลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการ
โดยให้สั่งเลื่อนย้อนหลังไปในแต่ละปีที่ควรจะได้เลื่อน ทั้งนี้ ให้เสนอ ก.ร.
เพื่อพิจารณาอนุมัติเป็นรายๆ ไป
ข้อ ๑๓
ในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี ถ้าผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเห็นสมควรให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดเลื่อนขั้นเงินเดือน
แต่ปรากฏว่าได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้าราชการผู้นั้นซึ่งถูกกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงก่อนมีคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน
ให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนรอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ก่อน
และให้กันเงินสำหรับเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ด้วยเมื่อผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนได้รับรายงานการสอบสวนและมีคำสั่งว่าผู้นั้นไม่มีความผิด
หรืองดโทษให้หรือมีคำสั่งลงโทษ
หรือมีคำสั่งให้ออกจากราชการเพราะมีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวน
ให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพิจารณาดังนี้
(๑)
ถ้าผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนมีคำสั่งว่าผู้นั้นไม่มีความผิดหรืองดโทษให้
หรือมีคำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์
ให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้ได้ถ้าได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้เกินหนึ่งปี
ให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนย้อนหลังไปในแต่ละปีที่ได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้แม้ว่าผู้นั้นจะได้ออกจากราชการไปแล้วก็ตาม
(๒)
ถ้าผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนมีคำสั่งลงโทษตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือน
ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้
ถ้าได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้เกินหนึ่งปีให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้ในปีที่ถูกลงโทษ
ถ้าผู้นั้นได้ออกจากราชการไปแล้วด้วยเหตุอื่นที่มิใช่เพราะเหตุเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนในปีที่จะได้เลื่อนขั้นเงินเดือนปีสุดท้าย
แต่ถ้าเป็นผู้พ้นจากราชการไปเพราะเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ในวันที่
๓๐ กันยายนของปีสุดท้ายก่อนที่ผู้นั้นจะพ้นจากราชการ
ส่วนในปีอื่นให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนย้อนหลังไปในแต่ละปีที่ได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้
(๓)
ถ้าผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนมีคำสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ
หรือมีคำสั่งให้ออกจากราชการเพราะมีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวน
ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนทุกปีที่ได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้
การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนตาม
(๑) (๒) และ (๓) สำหรับผู้ที่ถูกแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนกรณีที่ถูกกล่าวหาหรือกรณีเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงหลายกรณีให้แยกพิจารณาเป็นกรณีๆ
ไป
ข้อ ๑๔
ในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี ถ้าผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเห็นสมควรให้ข้าราชการรัฐสภาพสามัญผู้ใดได้เลื่อนขั้นเงินเดือน
แต่ปรากฏว่าผู้นั้นถูกฟ้องคดีอาญาในความผิดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
หรือความผิดที่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน
ซึ่งมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ
หรือความผิดที่พนักงานอัยการรับเป็นทนายแก้ต่างให้ และศาลได้ประทับฟ้องคดีนั้นแล้วก่อนมีคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน
ให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนรอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ก่อน และให้กันเงินสำหรับเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ด้วย
เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว ให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพิจารณา ดังนี้
(๑) ถ้าศาลพิพากษาว่าผู้นั้นไม่มีความผิด
ให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้ได้
ถ้าได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้เกินหนึ่งปี
ให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนย้อนหลังไปในแต่ละปีที่ได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้
แม้ว่าผู้นั้นจะได้ออกจากราชการไปแล้วก็ตาม
(๒) ถ้าศาลพิพากษาให้ลงโทษเบากว่าโทษจำคุก
ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้
ถ้าได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้เกินหนึ่งปี
ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้ในปีที่ศาลพิพากษาให้ลงโทษ
ถ้าผู้นั้นได้ออกจากราชการไปแล้วด้วยเหตุอื่นที่มิใช่เพราะเหตุเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนในปีที่จะได้เลื่อนขั้นเงินเดือนปีสุดท้าย
แต่ถ้าเป็นผู้พ้นจากราชการไปเพราะเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ในวันที่
๓๐ กันยายนของปีสุดท้ายก่อนที่ผู้นั้นจะพ้นจากราชการ ส่วนในปีอื่นให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนย้อนหลังไปในแต่ละปีที่ได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้
(๓)
ถ้าศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าจำคุก ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนทุกปีที่ได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้
การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนตาม
(๑) (๒) และ (๓) สำหรับผู้ที่ถูกฟ้องคดีอาญาหลายคดีให้แยกพิจารณาเป็นคดีๆ ไป
ข้อ ๑๕
ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไว้เพราะเหตุถูกแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามข้อ
๑๓ และเหตุถูกฟ้องคดีอาญาตามข้อ ๑๔
ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวรอการเลื่อนขั้นเงินเดือนผู้นั้นไว้จนกว่าผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนได้รับรายงานการสอบสวนและมีคำสั่งว่าผู้นั้นไม่มีความผิด
หรืองดโทษให้ หรือมีคำสั่งลงโทษ หรือมีคำสั่งให้ออกจากราชการเพราะมีมลทิน
หรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวน และจนกว่าศาลมีคำพิพากษาแล้วจึงให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพิจารณาการเลื่อนขั้นเงินเดือนตามข้อ
๑๓ (๑) (๒) หรือ (๓) ตามข้อ ๑๔ (๑) (๒) หรือ (๓) แล้วแต่กรณี ทั้งนี้
โดยถือเกณฑ์จำนวนปีที่จะต้องงดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่มากกกว่าเป็นหลักในการพิจารณา
เว้นแต่ผู้นั้นได้พ้นจากราชการไปแล้วตามผลของการถูกแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามข้อ
๑๓ หรือตามผลของการถูกฟ้องคดีอาญาตามข้อ ๑๔ กรณีใดกรณีหนึ่ง
จึงจะพิจารณาการเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้ได้ตามผลของกรณีนั้นโดยไม่ต้องรอผลของอีกกรณีหนึ่ง
ข้อ ๑๖
ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพิจารณาเห็นสมควรเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใด
แต่ผู้นั้นจะต้องพ้นจากราชการไปเพราะเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญให้ผู้นั้นในวันที่
๓๐ กันยายนของปีสุดท้ายก่อนที่จะพ้นจากราชการ
ข้อ ๑๗
ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพิจารณาเห็นสมควรเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใด
แต่ผู้นั้นได้ตายหรือออกจากราชการไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ หลังวันที่ ๑ ตุลาคม
แต่ก่อนที่จะมีคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีตามปกติ ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนจะสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ผู้นั้นย้อนหลังไปถึงวันที่
๑ ตุลาคมของปีที่จะได้เลื่อนนั้นก็ได้แต่ถ้าผู้นั้นได้พ้นจากราชการเพราะเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการไปก่อนที่จะมีคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญ
ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนจะสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ผู้นั้นย้อนหลังไปถึงวันที่
๓๐ กันยายนของปีที่จะได้เลื่อนนั้นก็ได้
ข้อ ๑๘
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะเลื่อนขั้นเงินเดือนได้ตามกฎ
ก.ร. นี้
แต่ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพิจารณาเห็นสมควรเลื่อนขั้นเงินเดือนให้โดยมีเหตุผลเป็นกรณีพิเศษ
ให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเสนอ ก.ร. เพื่อพิจารณาอนุมัติให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นการเฉพาะราย
ให้ไว้ ณ วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๙
บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ
ประธานรัฐสภา
ประธาน ก.ร.
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร.ฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดกฎ ก.ร.
ฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.
๒๕๑๘ ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน
เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์และวิธีการเลื่อนขั้นเงินเดือนสำหรับข้าราชการฝ่ายรัฐสภาแทนกฎ
ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือนที่ได้อนุโลมใช้มาแต่เดิม
กฎ ก.ร. ฉบับที่ ๒๐ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.
๒๕๑๘ ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน[๕]
หมายเหตุ:-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร. ฉบับนี้ คือ โดยที่ระเบียบ ก.ร. ว่าด้วยการลาของข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.ร. ว่าด้วยการลาของข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๙ กำหนดให้ข้าราชการมีสิทธิลาคลอดบุตรโดยได้รับเงินเดือนครั้งหนึ่งได้ไม่เกินเก้าสิบวัน
และได้ยกเลิกสิทธิการลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องจากการลาคลอดโดยได้รับเงินเดือนไม่เกินสามสิบวันทำการ
เพื่อให้หลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีของข้าราชการรัฐสภาสามัญมีความสอดคล้องกับระเบียบดังกล่าว
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.ร.นี้
เอกฤทธิ์/ผู้จัดทำ
๑๘
พฤศจิกายน ๒๕๕๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๑๓/ตอนที่ ๒๓ ก/หน้า ๑๘/๒๔ มิถุนายน ๒๕๓๙
[๒] ข้อ
๕ (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.ร. ฉบับที่ ๒๐ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน
[๓] ข้อ ๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ
ก.ร. ฉบับที่ ๒๐ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน
[๔] ข้อ
๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.ร. ฉบับที่ ๒๐ (พ.ศ. ๒๕๔๐)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน
[๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๑๔/ตอนที่ ๑๕ ก/หน้า ๑๒/๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๐ |
300120 | พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 (Update ณ วันที่ 27/09/2521) | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ.
๒๕๑๘
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๘
เป็นปีที่
๓๐ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ บรรดาบทกฎหมาย กฎ
และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา หมายความว่า
บุคคลซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
ประธานรัฐสภา หมายความว่า
ประธานรัฐสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในกรณีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีสภานิติบัญญัติสภาเดียว
ให้หมายความถึงประธานแห่งสภานั้น
รองประธานรัฐสภา หมายความว่า
รองประธานรัฐสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
ในกรณีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีสภานิติบัญญัติสภาเดียว
ให้หมายความถึงรองประธานแห่งสภานั้น
รัฐสภา หมายความว่า
สภาซึ่งทำหน้าที่นิติบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีสภานิติบัญญัติสภาเดียว
ให้หมายถึงสภานั้น
มาตรา ๕
ให้ประธานรัฐสภารักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด
๑
คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
มาตรา ๖
ให้มีคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภาคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า ก.ร.
ประกอบด้วยประธานรัฐสภาเป็นประธาน รองประธานรัฐสภาเป็นรองประธาน
เลขาธิการรัฐสภาและกรรมการอื่นอีกแปดคนซึ่งรัฐสภาเลือกจาก
(๑) ประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาจำนวนสองคน
ในกรณีที่มีสองสภาให้แต่ละสภาเลือกหนึ่งคน และ
(๒) ผู้ทรงคุณวุฒิมีจำนวนหกคน
ในกรณีที่มีสองสภาให้แต่ละสภาเลือกสามคน
ให้เลขาธิการรัฐสภาเป็นเลขานุการ ก.ร.
มาตรา ๗ ผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๖ (๒)
ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(๑) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปี
(๒) มีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ (๑) (๓) (๕) (๖) (๗)
(๘) (๙) (๑๐) (๑๑) และ (๑๒)
(๓) ไม่เป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภา
กรรมการพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง
มาตรา ๘ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๖ (๒)
มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละหกปี ในวาระเริ่มแรกเมื่อครบกำหนดสามปี
ให้กรรมการดังกล่าวออกจากตำแหน่งกึ่งหนึ่งโดยวิธีจับสลาก
มาตรา ๙ เมื่อตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิว่างลงเพราะออกจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา
๘ หรือเพราะพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๑๑
ให้รัฐสภาเลือกตั้งผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗
ขึ้นแทนภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ตำแหน่งว่าง หรือวันเปิดสมัยประชุมรัฐสภา
แล้วแต่กรณี
ความในวรรคหนึ่งมิให้นำมาใช้บังคับสำหรับกรณีที่ตำแหน่งว่างเพราะการพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา
๑๑ และวาระของกรรมการที่เหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือเมื่อรัฐสภาสิ้นอายุ
หรือถูกยุบ
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างเพราะพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา
๑๑ อยู่ในตำแหน่งตามวาระของกรรมการซึ่งตนแทน
รัฐสภาอาจเลือกตั้งกรรมการซึ่งออกจากตำแหน่งให้เป็นกรรมการอีกได้
มาตรา ๑๐
ในการเลือกผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการ
ให้ประธานรัฐสภาแจ้งวันเลือกให้สมาชิกรัฐสภาทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสิบห้าวัน
สมาชิกรัฐสภาแต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา
๗
เท่ากับจำนวนตำแหน่งที่ต้องเลือกตั้งหรือตำแหน่งที่ว่างต่อเลขาธิการรัฐสภาก่อนกำหนดวันเลือกเจ็ดวัน
เมื่อเลขาธิการรัฐสภาเห็นว่าผู้ทรงคุณวุฒิที่สมาชิกเสนอมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา
๗ ให้เสนอรายชื่อต่อสมาชิกรัฐสภาในวันเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามให้รัฐสภาวินิจฉัยชี้ขาด
ในกรณีที่ไม่มีสมาชิกผู้ใดเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิให้ประธาน
รองประธานและเลขาธิการรัฐสภาร่วมกันจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิเสนอต่อรัฐสภาเป็นจำนวนสองเท่าของตำแหน่งที่ว่าง
ให้นำข้อบังคับว่าด้วยการเลือกกรรมาธิการสามัญมาใช้บังคับแก่การเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิโดยอนุโลม
มาตรา ๑๑ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๘
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓)
เป็นผู้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗
มาตรา ๑๒ การประชุมของ ก.ร.
ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในระหว่างที่รัฐสภาสิ้นอายุหรือถูกยุบ
ให้ประธานรัฐสภาและรองประธานรัฐสภาคงดำรงตำแหน่งประธาน ก.ร. และรองประธาน ก.ร.
อยู่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงแต่งตั้งประธานรัฐสภาและรองประธานรัฐสภาใหม่แล้วจึงให้พ้นจากตำแหน่ง
ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิว่างลงเพราะออกตามวาระในระหว่างที่รัฐสภาสิ้นอายุหรือถูกยุบ
องค์ประชุมของ ก.ร. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการที่เหลืออยู่
มาตรา ๑๓
นอกจากอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้ ก.ร.
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย คือ
(๑) ควบคุมดูแลให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) ตีความและวินิจฉัยปัญหาต่างๆ
ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้พระราชบัญญัตินี้
(๓) ออกกฎ ก.ร. หรือระเบียบ
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ กฎ ก.ร.
เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
(๔)
กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
(๕) รักษาทะเบียนประวัติข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(๖) ควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
มาตรา ๑๔ ก.ร.
มีอำนาจตั้งอนุกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรียกโดยย่อว่า อ.ก.ร.
เพื่อทำการใดๆ แทนได้
ให้นำความในมาตรา ๑๒
มาใช้บังคับแก่การประชุมของอนุกรรมการโดยอนุโลม
หมวด
๒
บททั่วไป
มาตรา ๑๕ ข้าราชการฝ่ายรัฐสภามี ๒ ประเภท
(๑) ข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ได้แก่ผู้ซึ่งรับราชการในตำแหน่งประจำ โดยได้รับเงินเดือนในอัตราสามัญ
และได้รับแต่งตั้งตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๓
(๒) ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
ได้แก่ผู้ซึ่งรับราชการในตำแหน่งการเมืองของรัฐสภา
มาตรา ๑๖
วันเวลาทำงานและการลาหยุดราชการของข้าราชการฝ่ายรัฐสภาให้เป็นไปตามที่
ก.ร. กำหนด
มาตรา ๑๗ เครื่องแบบของข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
และให้ประธานรัฐสภาวางระเบียบว่าด้วยการแต่งกายของข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
มาตรา ๑๘ การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ให้ ก.ร. พิจารณาตามระเบียบว่าด้วยการนั้น
และให้ประธานรัฐสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อขอพระราชทาน
มาตรา ๑๙
ข้าราชการฝ่ายรัฐสภามีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
เช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือน
หมวด
๓
ข้าราชการรัฐสภาสามัญ
มาตรา ๒๐ ตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญจะมีตำแหน่งใด
ในสายงานใด ระดับใด จำนวนเท่าใด ต้องใช้ผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งอย่างใด
ให้เป็นไปตามที่ ก.ร. กำหนด โดยให้คำนึงถึงลักษณะหน้าที่ ความรับผิดชอบ
ปริมาณและคุณภาพของงานตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งขั้นต้นในสายงานธุรการ สายงานวิชาชีพ
สายงานฝีมือ และสายงานอื่นที่ไม่ต้องใช้ผู้มีความรู้ ความสามารถ
และความชำนาญเป็นพิเศษ ให้กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ ๑
(๒) ตำแหน่งในสายงานธุรการ สายงานวิชาชีพ
สายงานฝีมือ และสายงานอื่นที่ต้องใช้ผู้มีความรู้ ความสามารถ
และความชำนาญสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๑ หรือตำแหน่งที่มีหน้าที่ ความรับผิดชอบ
และคุณภาพของงานสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๑ ให้กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ ๒
(๓) ตำแหน่งขั้นต้นในสายงานวิชาการ
หรือตำแหน่งในสายงานอื่นที่ต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานระดับแผนกซึ่งมีหน้าที่
ความรับผิดชอบ และคุณภาพของงานต่ำกว่าตำแหน่งระดับ ๔ หรือตำแหน่งอื่นที่มีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๒ ให้กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ ๓
(๔) ตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานระดับแผนกซึ่งมีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงพอสมควร หรือตำแหน่งอื่นที่มีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๓ ให้กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ ๔
(๕)
ตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานระดับแผนกซึ่งมีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๔
ตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานระดับกองซึ่งมีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานต่ำกว่าตำแหน่งระดับ ๖ หรือตำแหน่งอื่นที่มีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๔ ให้กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ ๕
(๖) ตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานระดับกองซึ่งมีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงพอสมควร
หรือตำแหน่งที่ต้องใช้ผู้ชำนาญการซึ่งมีหน้าที่ ความรับผิดชอบ
และคุณภาพของงานสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๕ ให้กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ ๖
(๗) ตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานระดับกองซึ่งมีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๖
หรือตำแหน่งที่ต้องใช้ผู้ชำนาญการพิเศษซึ่งมีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๖ ให้กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ ๗
(๘) ตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานระดับกองซึ่งมีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมากเป็นพิเศษ หรือตำแหน่งที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๗ ให้กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ ๘
(๙)
ตำแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือตำแหน่งอื่นที่มีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
หรือตำแหน่งที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญพิเศษซึ่งมีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๘ ให้กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ ๙
(๑๐) ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม
หรือตำแหน่งอื่นที่มีหน้าที่ ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
หรือตำแหน่งที่มีหน้าที่ ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๙
ให้กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ ๑๐
(๑๑) ตำแหน่งที่มีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๑๐ ให้กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ ๑๑
ให้ ก.ร.
จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งไว้เป็นบรรทัดฐานในการกำหนดตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญทุกตำแหน่ง
ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้แสดงชื่อของตำแหน่งหน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่ง
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ผู้ดำรงตำแหน่งจะต้องมี
และระดับของตำแหน่งด้วย
ตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญนอกจากจะมีชื่อตามที่
ก.ร. กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งแล้ว อาจมีชื่ออย่างอื่นเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานตามที่
ก.ร. กำหนดอีกด้วยก็ได้ ตำแหน่งใดเป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงานใด
ในฐานะใด ให้ ก.ร. กำหนดด้วย
มาตรา ๒๐ ทวิ[๒]
อัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้แบ่งเป็น ๑๑ ระดับ แต่ละระดับมีจำนวนขั้น ดังนี้
ระดับ ๑ มี ๒๐ ขั้น
ระดับ ๒ ระดับ ๓ ระดับ ๔ และระดับ ๕ มีระดับละ ๑๔
ขั้น
ระดับ ๖ มี ๑๓ ขั้น
ระดับ ๗ ระดับ ๘ ระดับ ๙ และระดับ ๑๐ มีระดับละ
๑๐ ขั้น
ระดับ ๑๑ มี ๙ ขั้น
อัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้เป็นไปตามบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๑
ท้ายพระราชบัญญัตินี้
และเมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกาประกาศใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน หมายเลข
๒ หรือหมายเลข ๓ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนแล้ว
ให้ประธานรัฐสภาประกาศปรับใช้อัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญตามบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ
หมายเลข ๒ หรือบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๓
ท้ายพระราชบัญญัตินี้ให้สอดคล้องกัน
การปรับใช้อัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญดังกล่าว
ให้มีผลเป็นการปรับขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ได้รับอยู่
และที่กำหนดไว้โดยพระราชกฤษฎีกา กฎ ก.ร. ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี และมติ ก.ร.
ซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามไปด้วย
มาตรา ๒๑
ข้าราชการรัฐสภาสามัญจะได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๐
และตามอัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับใด
ให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนในระดับนั้น
โดยให้ได้รับในขั้นต่ำของเงินเดือนสำหรับตำแหน่ง เว้นแต่
(๑)
ผู้นั้นได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของเงินเดือนสำหรับตำแหน่งนั้นอยู่แล้ว
ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นที่ไม่สูงกว่าขั้นที่ได้รับอยู่
(๒)
ยังไม่มีอัตราเงินเดือนถึงขั้นต่ำของเงินเดือนสำหรับตำแหน่งนั้น
ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นเท่าที่มีอัตราเงินเดือนอยู่
(๓)
ผู้นั้นได้รับบรรจุและแต่งตั้งในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ชำนาญการ
หรือผู้ใช้ฝีมือซึ่ง ก.ร. คัดเลือกบรรจุ ให้ได้รับเงินเดือนตามที่ ก.ร. กำหนด
(๔) ผู้นั้นมีความรู้ความชำนาญจากการศึกษา
การฝึกอบรม หรือการทำงานสูงกว่าที่ ก.ร.
กำหนดไว้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น ตามมาตรา ๒๐ และ ก.ร.
เห็นว่าความรู้ความชำนาญนั้นใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนั้นให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
ก.ร.
จะอนุมัติให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของเงินเดือนสำหรับตำแหน่งนั้นก็ได้
แต่ต้องไม่สูงกว่าขั้นต่ำของเงินเดือนสำหรับตำแหน่งระดับถัดขึ้นไป ทั้งนี้
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
การจ่ายเงินเดือนให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือนข้าราชการ
เพื่อประโยชน์ในการออมทรัพย์ของข้าราชการรัฐสภาสามัญให้นำกฎหมายและระเบียบว่าด้วยการหักเงินเดือนข้าราชการไว้เป็นเงินสะสมมาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๒๒ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ต้องบรรจุจากผู้สอบแข่งขันได้
เว้นแต่การบรรจุผู้รับทุนของทางราชการในการศึกษาวิชาเข้ารับราชการตามสัญญาการบรรจุผู้ทรงคุณวุฒิ
ผู้ชำนาญการ และผู้ใช้ฝีมือ
และการบรรจุในกรณีที่มีเหตุพิเศษซึ่งไม่จำเป็นต้องดำเนินการสอบแข่งขัน ก.ร.
จะคัดเลือกบรรจุก็ได้
การสอบแข่งขันตามวรรคหนึ่ง ให้ ก.ร.
เป็นผู้ดำเนินการสอบโดยเปิดโอกาสให้ผู้มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๒๔
และมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่ ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐ เข้าสมัครสอบได้
และให้สอบสำหรับบรรจุในตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๔ ลงมา ทั้งนี้
หลักสูตรและวิธีดำเนินการเกี่ยวกับการสอบแข่งขัน ตลอดจนเกณฑ์การตัดสิน
การขึ้นบัญชี และการยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ให้เป็นไปตามที่ ก.ร.กำหนด
มาตรา ๒๓ ผู้สมัครสอบแข่งขันในตำแหน่งใด
ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๒๔ หรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา
๒๕ และต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามที่ ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐ ด้วย
สำหรับผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๒๔ (๔)
ให้มีสิทธิสมัครสอบแข่งขันได้
แต่จะมีสิทธิได้รับบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญในตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้ต่อเมื่อพ้นจากตำแหน่งข้าราชการการเมืองแล้ว
มาตรา ๒๔
ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) อายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี
(๓)
เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ
(๔) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง
(๕)
ไม่เป็นผู้มีกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไร้ความสามารถ
จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
(๖)
ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งให้พักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
หรือตามกฎหมายอื่น
(๗) ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี
(๘) ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
(๙)
ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๑๐) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษ ให้ออก ปลดออก
หรือไล่ออก จากรัฐวิสาหกิจ
(๑๑)
ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออกหรือปลดออกเพราะกระทำผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาหรือตามกฎหมายอื่น
(๑๒)
ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออกเพราะกระทำผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
หรือตามกฎหมายอื่น
มาตรา ๒๕ ผู้ที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ (๗) (๘)
หรือ (๙) ก.ร. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้
ส่วนผู้ที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ (๑๐) หรือ (๑๑) ถ้าผู้นั้นได้ออกจากงาน
หรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้ว หรือผู้ที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ (๑๒)
ถ้าผู้นั้นได้ออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว
และมิใช่เป็นกรณีออกจากงานหรือออกจากราชการเพราะกระทำผิดในกรณีทุจริตต่อหน้าที่
ก.ร. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ มติของ ก.ร.
ในการประชุมปรึกษายกเว้นเช่นนี้ต้องเป็นเอกฉันท์ การลงมติให้กระทำโดยลับ
มาตรา ๒๖ ผู้สอบแข่งขันได้
ซึ่งอยู่ในลำดับที่ที่จะได้รับบรรจุและแต่งตั้ง
ถ้าปรากฏว่าขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๒๔
โดยไม่ได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๕
หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่ ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐
อยู่ก่อนหรือภายหลังการสอบแข่งขัน จะบรรจุและแต่งตั้งผู้นั้นมิได้
มาตรา ๒๗ ผู้ใดได้รับบรรจุเข้ารับราชการแล้ว
หากภายหลังปรากฏว่าผู้นั้นขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๒๔
โดยไม่ได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๕
หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐
โดยไม่ได้รับอนุมัติจาก ก.ร. ตามมาตรา ๓๓ อยู่ก่อนก็ดี
มีกรณีต้องหาอยู่ก่อนและภายหลังเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเนื่องจากกรณีต้องหานั้นก็ดี
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการโดยพลัน
แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการกระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่
และการได้รับเงินเดือนก่อนมีคำสั่งให้ออกนั้น
และถ้าการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้ว
ให้ถือว่าเป็นการสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
มาตรา ๒๘
การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญในตำแหน่งระดับ ๙ ลงมา
ให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
ส่วนการบรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไป
ให้ประธานรัฐสภาเป็นมีอำนาจสั่งบรรจุ
และนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
มาตรา ๒๙ ผู้สอบแข่งขันได้ และผู้ได้รับคัดเลือก
ผู้ใดได้รับบรรจุเข้าเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญในตำแหน่งใด
ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งนั้นเป็นเวลาตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
ในระหว่างเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่าผู้นั้นมีความประพฤติไม่ดีหรือไม่มีความรู้หรือไม่มีความสามารถเหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง
หรือเมื่อครบกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ให้ผู้บังคับบัญชาทำรายงานผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการของผู้นั้นเสนอตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ
ตามวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
เมื่อได้รับรายงานจากผู้บังคับบัญชาตามวรรคหนึ่ง
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุพิจารณาว่าผู้นั้นมีความประพฤติ ความรู้
และความสามารถเหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งหรือไม่
ถ้าเห็นว่าไม่ควรให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปหรือควรให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปอีกระยะหนึ่ง
จะสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ หรือสั่งให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปก็ได้
แต่ถ้าเห็นว่าผู้นั้นควรรับราชการต่อไปได้เมื่อครบกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุรายงานให้ ก.ร. ทราบตามวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
ผู้อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งใด
ถ้าได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นให้เริ่มทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามวรรคหนึ่งใหม่
ผู้ซึ่งถูกสั่งให้ออกจากราชการเพราะมีความประพฤติไม่ดี
หรือไม่มีความรู้ หรือไม่มีความสามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งตามวรรคสอง
ให้ถือเสมือนหนึ่งว่าไม่เคยเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับในระหว่างที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ
มาตรา ๓๐ การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งใดไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่น
ต้องแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับเดียวกัน
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ต่ำกว่าเดิมและการย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้มิได้ดำรงตำแหน่งที่
ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐ ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐
จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจาก ก.ร. แล้ว
มาตรา ๓๑
การเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นตำแหน่งใดให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันเพื่อดำรงตำแหน่งนั้นได้
หรือจากผู้ได้รับการประเมินสมรรถภาพแล้วปรากฏว่าเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ
และความเหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งนั้นได้
กรณีใดจะเลื่อนและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้
หรือจากผู้ได้รับการประเมินสมรรถภาพให้เป็นไปตามที่ ก.ร. กำหนด
การสอบแข่งขันเพื่อเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับ
๒ และระดับ ๓ ให้สอบร่วมกับการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการตามมาตรา ๒๒
ส่วนการสอบแข่งขันเพื่อเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับ
๔ ขึ้นไปให้ ก.ร. กำหนดผู้ดำเนินการสอบแข่งขัน หลักสูตรและวิธีดำเนินการเกี่ยวกับการสอบแข่งขัน
ตลอดจนเกณฑ์การตัดสิน การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้
และการยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้
การประเมินสมรรถภาพของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร.กำหนด
มาตรา ๓๒
การบรรจุและการเลื่อนตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญจากผู้สอบแข่งขันได้
ให้ผู้มีอำนาจบรรจุและแต่งตั้งสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้
ส่วนการเลื่อนตำแหน่งจากผู้ได้รับการประเมินสมรรถภาพ
ให้เลื่อนและแต่งตั้งได้ตามความเหมาะสม
มาตรา ๓๓
ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญตำแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น
ตามที่ ก.ร.กำหนดในมาตรา ๒๐
ในกรณีที่มีความจำเป็น ก.ร.
อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญที่มีคุณสมบัติเฉพาะต่างไปจากที่กำหนดไว้ในมาตรา
๒๐ ก็ได้
ในกรณีที่ ก.ร.
กำหนดให้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพใดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ให้หมายถึงปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพที่ ก.ร. รับรอง
มาตรา ๓๔
การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญให้ดำรงตำแหน่งที่ ก.ร.
ยังมิได้กำหนดตามมาตรา ๒๐ จะกระทำมิได้
มาตรา ๓๕
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๓๐ มาตรา
๓๑ และมาตรา ๔๐ แล้ว
หากภายหลังปรากฏว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งสั่งแต่งตั้งผู้นั้นให้กลับไปดำรงตำแหน่งเดิม
หรือตำแหน่งระดับเดียวกันที่ต้องใช้คุณสมบัติเฉพาะที่ผู้นั้นมีอยู่
มาตรา ๓๖ การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญโดยปกติให้สั่งเลื่อนได้ปีละหนึ่งขั้น
และเลื่อนได้ไม่เกินขั้นสูงของระดับที่ผู้นั้นได้รับเงินเดือนอยู่
โดยคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณของงานที่ได้ปฏิบัติมา การรักษาวินัย ตลอดจนความสามารถ
ความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญในกรณีพิเศษเกินกว่าหนึ่งขั้น
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร. และให้เสนอ ก.ร.
เพื่อพิจารณาอนุมัติเป็นรายๆ ไป
การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ
๙ ลงมาให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมเป็นผู้พิจารณาและสั่งเลื่อน
ส่วนผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๑๐ ขึ้นไป
ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาและสั่งเลื่อน
มาตรา ๓๗
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ก.ร. จะพิจารณาอนุมัติให้เลื่อนขั้นเงินเดือนเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญก็ได้
การเลื่อนเงินเดือนในกรณีเช่นนี้
จะเลื่อนเกินกว่าขั้นสูงของระดับที่ผู้นั้นได้รับเงินเดือนอยู่ก็ได้
มาตรา ๓๘ ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘
มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญประจำส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเป็นการชั่วคราว โดยให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่เดิมได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ
ก.ร.
การสั่งและการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับข้าราชการรัฐสภาสามัญตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร. กำหนด
มาตรา ๓๙
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญในต่างส่วนราชการที่สังกัดรัฐสภา
อาจกระทำได้เมื่อส่วนราชการเจ้าสังกัดทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนนั้นแล้ว
โดยให้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ไม่สูงกว่าเดิมและรับเงินเดือนในขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม
เว้นแต่การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้สอบแข่งขันได้
สอบคัดเลือกได้หรือได้รับคัดเลือก ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร.
กำหนด
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้มิได้ดำรงตำแหน่งที่
ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐ ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ ก.ร.
กำหนดตามมาตรา ๒๐ ในต่างส่วนราชการที่สังกัดรัฐสภา
จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจาก ก.ร. แล้ว ในการนี้ให้ ก.ร.
พิจารณาโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับ และให้ ก.ร.
กำหนดระดับของตำแหน่งที่จะแต่งตั้งและเงินเดือนที่จะให้ได้รับด้วย
มาตรา ๔๐ การโอนข้าราชการตามกฎหมายอื่น
หรือพนักงานเทศบาล มาบรรจุเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ อาจกระทำได้ถ้าเจ้าตัวสมัครใจ
โดยประธานรัฐสภาหรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมทำความตกลงกับเจ้าสังกัด แล้วเสนอ
ก.ร. เพื่อพิจารณาอนุมัติ ทั้งนี้ จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับใด
และได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้ ก.ร. เป็นผู้พิจารณากำหนด
แต่เงินเดือนที่จะให้ได้รับจะต้องไม่สูงกว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญที่มีคุณวุฒิ
ความสามารถ และความชำนาญงานในระดับเดียวกัน
เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้ที่โอนมาตามวรรคหนึ่งในขณะที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานเทศบาลนั้นเป็นเวลาราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย
การโอนข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญ
พนักงานเทศบาลวิสามัญ
และข้าราชการที่อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมาเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัตินี้จะกระทำมิได้
มาตรา ๔๑ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
เมื่อผู้นั้นพ้นจากราชการทหารโดยไม่มีความเสียหายแล้ว
ประสงค์จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญในส่วนราชการสังกัดรัฐสภาตามเดิมภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันพ้นจากราชการทหาร
ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ สั่งบรรจุ แต่งตั้ง
และให้ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร. กำหนด
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
เมื่อได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งแล้วให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง
ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๒๙ มาใช้บังคับ
มาตรา ๔๒
ข้าราชการรัฐสภาสามัญลาออกจากราชการเพื่อสมัครรับเลือกตั้งประสงค์จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญในส่วนราชการสังกัดรัฐสภาตามเดิม
ถ้าข้าราชการผู้นั้นได้แสดงความจำนงไว้ในขณะลาออกว่าจะกลับเข้ามารับราชการ
และระยะเวลาที่ออกจากราชการไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘
สั่งบรรจุ แต่งตั้ง และให้ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร. กำหนด
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ไปสมัครรับเลือกตั้ง
เมื่อได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งแล้วให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง
ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๒๙ มาใช้บังคับ
มาตรา ๔๓
ข้าราชการหรือพนักงานเทศบาลผู้ใดออกจากราชการหรือออกจากงานไปแล้วถ้าสมัครเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
และทางราชการต้องการจะรับผู้นั้นเข้ารับราชการ ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเสนอ ก.ร.
เพื่อพิจารณาอนุมัติ ทั้งนี้ จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับใดและได้รับเงินเดือนเท่าใด
ให้ ก.ร. เป็นผู้พิจารณากำหนด แต่เงินเดือนที่จะให้ได้รับ
จะต้องไม่สูงกว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญที่มีคุณวุฒิ ความสามารถ
และความชำนาญงานในระดับเดียวกัน
เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ
ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้เข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งในขณะที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานเทศบาลนั้น
เป็นเวลาราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย
ความในวรรคหนึ่ง
มิให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญ พนักงานเทศบาลวิสามัญ
และผู้ซึ่งออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
มาตรา ๔๔ ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการ เมื่อ
(๑) ตาย
(๒)
พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(๓) ได้รับอนุญาตให้ลาออก
(๔) ถูกสั่งให้ออก หรือถูกลงโทษไล่ออก
ปลดออกหรือให้ออก
การต่อเวลาราชการให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ต้องออกจากราชการตาม
(๒) รับราชการต่อไปอีก จะกระทำมิได้
มาตรา ๔๕
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการ
ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่ง
เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ เป็นผู้พิจารณา เมื่อผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘
สั่งอนุญาตแล้ว จึงให้ออกจากราชการตามคำสั่ง
ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญขอลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้ง
ให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ยื่นใบลาออกต่อผู้บังคับบัญชา
ในกรณีที่ผู้ขอลาออกมีเรื่องถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย
หรือต้องหาว่ากระทำผิดอาญา ผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตลาออกจะสั่งอนุญาตให้ลาออกก็ได้
โดยมีเงื่อนไขว่าเมื่อสอบสวนพิจารณาแล้วได้ความว่าผู้ได้รับอนุญาตให้ลาออกกระทำผิดวินัย
ก็ให้ดำเนินการสั่งลงโทษหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ตรงตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้
การลาออกในกรณีนี้ยังไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ
มาตรา ๔๖ ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘
มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้
แต่ในการสั่งให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน
นอกจากให้ทำได้ในกรณีที่ระบุไว้ในกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้ว
ให้ทำได้ในกรณีต่อไปนี้ด้วย คือ
(๑)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอ
ถ้าผู้บังคับบัญชาดังกล่าวเห็นสมควรให้ออกจากราชการแล้ว
ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้
(๒) เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดสมัครไปปฏิบัติงานใด
ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการ
ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ
(๓)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ (๑) (๔) หรือ (๕)
ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ
(๔) เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดหย่อนความสามารถด้วยเหตุใดในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการของตน
หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือบกพร่องในหน้าที่ด้วยเหตุใด
และผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ เห็นว่าถ้าให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป
จะเป็นการเสียหายแก่ราชการ ก็ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสอบสวนพิจารณา
โดยจะสอบสวนเองหรือมอบหมายให้ข้าราชการที่เห็นสมควรหรือแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแทนก็ได้
ในการสอบสวนนี้จะต้องแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
และให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาด้วย เมื่อได้มีการสอบสวนพิจารณาแล้ว
และผู้บังคับบัญชาดังกล่าวเห็นสมควรให้ออกจากราชการ
ก็ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้ ทั้งนี้ให้นำมาตรา ๕๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นได้สอบสวน
หรือพนักงานสอบสวนได้สอบสวนทางอาญา
หรือศาลได้มีคำพิพากษาเกี่ยวกับเรื่องที่จะต้องสอบสวนตามวรรคหนึ่งอยู่แล้ว
ผู้มีอำนาจตามมาตรานี้จะนำสำนวนการสอบสวนของผู้บังคับบัญชาชั้นต้น
สำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวน สำนวนของผู้ว่าคดีศาลแขวง สำนวนของอัยการ
สำนวนการพิจารณาของศาลหรือสำเนาคำพิพากษาอย่างใดอย่างหนึ่งมาใช้เป็นสำนวนการสอบสวนโดยให้ถือว่าได้มีการสอบสวนตามวรรคหนึ่งแล้วก็ได้
แต่ทั้งนี้ต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาด้วย
(๕)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
และได้มีการสอบสวนตามมาตรา ๕๓ แล้ว
การสอบสวนไม่ได้ความว่ากระทำผิดที่จะถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก
แต่ผู้บังคับบัญชาตามมาตราดังกล่าวเห็นว่าผู้นั้นมีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวนนั้น
ซึ่งจะให้รับราชการต่อไปอาจจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ
ก็ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งให้ออกจากราชการได้
(๖)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท
หรือความผิดลหุโทษ ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก
ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ จะสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการก็ได้
(๗)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ
มาตรา ๔๗
การออกจากราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๑๐ ขึ้นไป
ในกรณีถูกลงโทษ ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง
ส่วนการออกจากราชการในกรณีอื่นให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ
มาตรา ๔๘ ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องรักษาวินัยตามที่กำหนดไว้ในกฎ
ก.ร. ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย
จักต้องได้รับโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๐
มาตรา ๔๙
ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ส่งเสริมและดูแลระมัดระวังให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามวินัย
ถ้าผู้บังคับบัญชารู้ว่าผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาคนใดกระทำผิดวินัย
จะต้องดำเนินการทางวินัยทันที
ถ้าเห็นว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยที่จะต้องได้รับโทษและอยู่ในอำนาจของตนที่จะลงโทษได้ให้สั่งลงโทษ
แต่ถ้าเห็นว่าผู้นั้นควรจะต้องได้รับโทษสูงกว่าที่ตนมีอำนาจสั่งลงโทษ ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาของผู้กระทำผิดวินัยเหนือขึ้นไป
เพื่อให้พิจารณาดำเนินการสั่งลงโทษตามควรแก่กรณี
ผู้บังคับบัญชาผู้ใดละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรานี้โดยไม่สุจริต
ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย
มาตรา ๕๐ โทษผิดวินัยมี ๖ สถาน คือ
(๑) ภาคทัณฑ์
(๒) ตัดเงินเดือน
(๓) ลดขั้นเงินเดือน
(๔) ให้ออก
(๕) ปลดออก
(๖) ไล่ออก
มาตรา ๕๑ การลงโทษข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ผู้สั่งลงโทษต้องสั่งลงโทษให้เหมาะสมกับความผิด
ในคำสั่งลงโทษให้แสดงว่าผู้ถูกลงโทษกระทำผิดวินัยในกรณีใด ตามมาตราใด
มาตรา ๕๒ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยที่ยังไม่ถึงขั้นเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน
หรือลดขั้นเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด
ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้
แต่สำหรับการลงโทษภาคทัณฑ์ ให้ใช้เฉพาะกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยหรือมีเหตุอันควรลดหย่อน
ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษตัดเงินเดือน
ในกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยและเป็นความผิดครั้งแรก
ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่ามีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยว่ากล่าวตักเตือน
หรือให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือไว้ก่อนก็ได้
การลงโทษตามมาตรานี้
ผู้บังคับบัญชาใดจะมีอำนาจสั่งลงโทษผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาได้เพียงใด
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
มาตรา ๕๓
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดถูกกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่า
กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ตามที่กำหนดในกฎ ก.ร. ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘
สอบสวนพิจารณาโดยไม่ชักช้าโดยจะสอบสวนเอง หรือมอบหมายให้ข้าราชการที่เห็นสมควร
หรือแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแทนก็ได้
ในการสอบสวนนี้จะต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาด้วย
เมื่อได้มีการสอบสวนแล้วและผู้บังคับบัญชาดังกล่าวพิจารณาเห็นว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร. ก็ให้สั่งลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก ตามความร้ายแรงแห่งกรณี
ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษให้ก็ได้
แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าให้ออก ผู้ถูกสั่งให้ออกตามมาตรานี้
ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นได้สอบสวน
หรือพนักงานสอบสวนได้สอบสวนทางอาญา
หรือศาลได้มีคำพิพากษาเกี่ยวกับเรื่องที่จะต้องสอบสวนตามวรรคหนึ่งอยู่แล้ว
ผู้มีอำนาจตามมาตรานี้จะนำสำนวนการสอบสวนของผู้บังคับบัญชาชั้นต้น สำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวน
สำนวนของผู้ว่าคดีศาลแขวง สำนวนของอัยการ
สำนวนการพิจารณาของศาลหรือสำเนาคำพิพากษาอย่างใดอย่างหนึ่งมาใช้เป็นสำนวนการสอบสวน
โดยถือว่าได้มีการสอบสวนตามวรรคหนึ่งแล้วก็ได้
แต่ทั้งนี้ต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาด้วย
ให้ ก.ร. มีอำนาจออกกฎ ก.ร.
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณา
ระยะเวลาสอบสวนพิจารณาและสั่งลงโทษ การสั่งสอบสวน การมอบหมายให้สอบสวน
การตั้งกรรมการสอบสวน ตลอดจนการส่งประเด็นไปสอบสวนพยานบุคคลซึ่งอยู่ต่างท้องที่
การรวบรวมพยานหลักฐาน และกิจการอื่นๆ เพื่อให้ได้ความจริง
มาตรา ๕๔
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
และเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่กำหนดไว้ในกฎ ก.ร.
หรือได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชา
หรือต่อผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้สอบสวน หรือต่อคณะกรรมการสอบสวน ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา
๒๘ จะสั่งลงโทษโดยไม่สอบสวนต่อไปก็ได้
มาตรา ๕๕ ให้ผู้บังคับบัญชาผู้สอบสวน
ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้สอบสวนและกรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
และให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
เพียงเท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาผู้สอบสวนผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้สอบสวน
และกรรมการสอบสวน และโดยเฉพาะให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย คือ
(๑) เรียกให้กระทรวงทบวงกรม หน่วยราชการ
หรือรัฐวิสาหกิจชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐาน ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัด
มาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน
(๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใดๆ มาให้ถ้อยคำ
หรือให้ส่งเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน
(๓) ส่งประเด็นไปให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน
เพื่อการนี้ให้พนักงานสอบสวน ผู้ทำการสอบสวนเป็นกรรมการสอบสวน และให้ถือว่าการสอบสวนของพนักงานสอบสวนเป็นการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวน
เมื่อได้สอบสวนเสร็จแล้วให้เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนดังกล่าวส่งรายงานที่จำเป็นและพยานหลักฐานต่างๆ
ทั้งหมดไปยังคณะกรรมการสอบสวน
มาตรา ๕๖
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยหรือถูกฟ้องคดีอาญา
หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา
เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
แม้ภายหลังผู้นั้นจะออกจากราชการไปแล้วผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘
ก็ยังมีอำนาจสั่งลงโทษหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้เป็นไปตามหมวดนี้ได้
เว้นแต่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นจะออกจากราชการเพราะเหตุตาย
มาตรา ๕๗
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกสอบสวน
หรือถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา
เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา
๒๘
มีอำนาจสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาได้
แต่ถ้าภายหลังปรากฏผลการสอบสวนพิจารณาว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิด
หรือกระทำผิดไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก
และไม่มีกรณีที่จะต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่นก็ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิม
หรือตำแหน่งในระดับเดียวกันที่ต้องใช้คุณสมบัติเฉพาะที่ผู้นั้นมีอยู่
เงินเดือนของผู้ถูกสั่งพักราชการให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น
ส่วนในกรณีสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ถ้าปรากฏผลการสอบสวนพิจารณาเป็นยุติแล้วว่าผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนมิได้กระทำผิด
หรือกระทำผิดไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษ ให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก
ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่างถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเสมือนว่าผู้นั้นถูกสั่งพักราชการ
ให้ ก.ร. มีอำนาจออกกฎ ก.ร.
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสั่งพักราชการ การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
และการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามผลการสอบสวนพิจารณา
มาตรา ๕๘
เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษหรือดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไปแล้ว
ให้ส่งรายงานการลงโทษหรือการดำเนินการทางวินัยนั้นต่อผู้บังคับบัญชาของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นตามลำดับจนถึงประธานรัฐสภาและให้ประธานรัฐสภารายงานต่อ
ก.ร.
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นซึ่งมีตำแหน่งเหนือผู้สั่งตามวรรคหนึ่งเห็นว่าการลงโทษหรือการดำเนินการทางวินัยนั้นไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม
ก็ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวมีอำนาจที่จะสั่งลงโทษ เพิ่มโทษ ลดโทษ หรือยกโทษ
ตามควรแก่กรณีได้ แต่ถ้าจะลงโทษหรือเพิ่มโทษแล้ว
โทษที่ลงหรือเพิ่มขึ้นรวมกับที่สั่งไว้แล้วเดิมต้องไม่เกินอำนาจของผู้ซึ่งสั่งใหม่นั้น
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษหรือดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดแล้ว
แต่ประธานรัฐสภาหรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมเห็นว่ากรณีเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ก็ให้ประธานรัฐสภา หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม แล้วแต่กรณี
มีอำนาจดำเนินการตามมาตรา ๕๓ ถ้าจะต้องสอบสวนตามมาตรา ๕๓ ก่อน
ก็ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวมีอำนาจสอบสวนตามมาตรา ๕๓
ในกรณีที่จะต้องลงโทษตามมาตรา ๕๓
ถ้ามีการตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือนไปแล้วก็ให้เป็นอันพับไป
มาตรา ๕๙
เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษหรือดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญในเรื่องใดไปแล้ว
ถ้า ก.ร. พิจารณาเห็นเป็นการสมควรที่จะต้องสอบสวนเพิ่มเติม หรือสอบสวนใหม่
เพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ก็ให้ ก.ร.
มีอำนาจสอบสวนเพิ่มเติมหรือสอบสวนใหม่ในเรื่องนั้นได้ตามความจำเป็น
โดยจะสอบสวนเองหรือแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
หรือมอบหมายให้ข้าราชการที่เห็นสมควรสอบสวนแทนก็ได้
มาตรา ๖๐
การอุทธรณ์การถูกลงโทษของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้เป็นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
หมวด
๔
ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
มาตรา ๖๑
ตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
มีดังนี้
(๑) ที่ปรึกษาประจำรัฐสภา
(๒) ผู้ช่วยที่ปรึกษาประจำรัฐสภา
(๓) เลขานุการประธานรัฐสภา
(๔) เลขานุการรองประธานรัฐสภา
(๕) เลขานุการประจำรัฐสภา
มาตรา ๖๒
ให้ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองได้รับเงินเดือนตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖๓ การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามมาตรา
๖๑ (๑) และ (๒) ให้ประธานรัฐสภาด้วยความเห็นชอบของ ก.ร.
แต่งตั้งบุคคลซึ่งเห็นสมควรตามเหตุผลในทางการเมือง
และต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปที่จะเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญได้ตามมาตรา ๒๔ ยกเว้น
(๔)
การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตามมาตรา
๖๑ (๓) (๔) และ (๕) ให้ประธานรัฐสภาแต่งตั้งบุคคลตามเหตุผลในทางการเมือง
และต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปที่จะเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญได้ตามมาตรา ๒๔
ยกเว้น (๔)
มาตรา ๖๔ ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองออกจากตำแหน่ง
เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) สำหรับข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตามมาตรา
๖๑ (๑) และ (๒) ประธานรัฐสภาให้พ้นจากตำแหน่งด้วยความเห็นชอบของ ก.ร.
หรือเมื่อรัฐสภาสิ้นอายุหรือถูกยุบ
(๔) สำหรับข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตามมาตรา
๖๑ (๓) (๔) และ (๕) ผู้แต่งตั้งพ้นจากตำแหน่ง หรือผู้แต่งตั้งสั่งให้พ้นจากตำแหน่งจะโดยมีความผิดหรือไม่มีความผิดก็ตาม
(๕) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ ยกเว้น (๔)
หมวด
๕
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๖๕ บรรดาพระราชบัญญัติ ประกาศของคณะปฏิวัติ
พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง กฎ ก.พ. ประกาศ ระเบียบ
ข้อบังคับและคำสั่งที่ยังคงใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือนในส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
นอกจากที่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับแก่ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไป เว้นแต่พระราชบัญญัตินี้ หรือ กฎ ก.ร.
ที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ จะบัญญัติเป็นอย่างอื่น
มาตรา ๖๖ ให้ผู้ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
เป็นข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามพระราชบัญญัตินี้
และคงดำรงตำแหน่งและมีอัตราเงินเดือนตามที่ได้รับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ทั้งนี้สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้เป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
สำหรับข้าราชการการเมือง ให้เป็นข้าราชรัฐสภาฝ่ายการเมือง
ส่วนข้าราชการพลเรือนวิสามัญ ให้เป็นข้าราชการรัฐสภาวิสามัญ
และให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนวิสามัญมาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๖๗ ในระหว่างที่รัฐสภายังไม่ได้เลือกตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนทำหน้าที่
ก.ร. ตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖๘ ในระหว่างที่ ก.ร.
ยังมิได้กำหนดตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญตามมาตรา ๒๐ การดำเนินการเกี่ยวกับข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้เสนอ ก.ร. พิจารณาอนุมัติเป็นรายๆ ไป
มาตรา ๖๙
การใดหรือสิทธิใดที่ข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามมาตรา ๖๖
กระทำหรือมีอยู่ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ถือว่าเป็นการกระทำหรือสิทธิตามพระราชบัญญัตินี้
การใดที่ทางราชการได้ดำเนินการเกี่ยวกับข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามมาตรา
๖๖ ไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ถือว่าเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีปัญหาตามมาตรานี้ ให้ ก.ร.
เป็นผู้วินิจฉัย
มาตรา ๗๐
การใดที่เคยดำเนินการได้ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
และมิได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ จะดำเนินการได้ประการใด ให้เป็นไปตามที่
ก.ร. กำหนด โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
สัญญา
ธรรมศักดิ์
นายกรัฐมนตรี
[เอกสารแนบท้าย]
๑.[๓]
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๑
๒.[๔]
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๒
๓.[๕]
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๓
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง[๖]
(๑)
ที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๑๑,๑๔๐ บาท
(๒)
ที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๑๐,๒๒๐ บาท
(๓)
ที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๙,๗๙๐ บาท
(๔)
ผู้ช่วยที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๙,๓๖๐ บาท
(๕)
ผู้ช่วยที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๘,๙๖๐ บาท
(๖)
ผู้ช่วยที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๘,๕๖๐ บาท
(๗)
เลขานุการประธานรัฐสภา เดือนละ ๗,๐๖๐ บาท
(๘)
เลขานุการรองประธานรัฐสภา เดือนละ ๖,๓๖๐ บาท
(๙)
เลขานุการประจำรัฐสภา เดือนละ ๕,๔๖๐ บาท
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่ในปัจจุบันข้าราชการที่ปฏิบัติราชการให้แก่สภานิติบัญญัติยังอยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยราชการของฝ่ายบริหาร
เพราะมีฐานะเป็นข้าราชการพลเรือน
แต่โดยสภาพของการปฏิบัติราชการควรจะอยู่ภายใต้การควบคุมของสภานิติบัญญัติโดยตรง
เพราะจะทำให้สภานิติบัญญัติสามารถปรับปรุงระเบียบปฏิบัติราชการของข้าราชการในสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาให้มีประสิทธิภาพ
และอำนวยความสะดวกให้แก่ราชการของสภานิติบัญญัติได้มากยิ่งขึ้น
จึงสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาโดยเฉพาะ และเพื่อการนี้จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑[๗]
มาตรา ๒
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นต้นไป
มาตรา ๕
ให้ประธานรัฐสภาประกาศปรับอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้เข้าระดับและขั้นเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ
หมายเลข ๑ ท้ายพระราชบัญญัตินี้
ให้สอดคล้องกับการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
มาตรา ๖ ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ
๗ ผู้ใดได้รับเงินเดือนขั้น ๑๑ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.
๒๕๑๘ อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นคงดำรงตำแหน่งระดับ ๗ ต่อไป
แต่ให้ได้รับเงินเดือนเท่ากับเงินเดือนขั้น ๙ ของระดับ ๘
ตามบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๑
ท้ายพระราชบัญญัตินี้โดยให้ถือว่าเงินเดือนที่ได้รับนั้นเป็นเงินเดือนขั้นสูงของตำแหน่งระดับ
๗ เว้นแต่จะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับที่สูงขึ้น
ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งอาจได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๒๒ ขึ้นรับเงินเดือนระดับ ๗ ขั้น ๑๑
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๖
บรรดาอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญที่อ้างถึงในกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง มติคณะรัฐมนตรี หรือกฎ ก.ร. หรือในการกำหนดของ ก.ร.
ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ให้ถือว่าเป็นการอ้างถึงอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ตามบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๑
ท้ายพระราชบัญญัตินี้ในระดับและขั้นเงินเดือนตามที่ประธานรัฐสภาประกาศตามมาตรา ๕
มาตรา ๘
เพื่อประโยชน์ในการบรรจุบุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘
และออกจากราชการไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับกลับเข้ารับราชการให้ปรับอัตราเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้เข้าระดับและขั้นเงินเดือนตามที่ประธานรัฐสภาประกาศตามมาตรา
๕ สำหรับบุคคลซึ่งได้รับเงินเดือนระดับ ๗ ขั้น ๑๑ อยู่ในขณะที่ออกจากราชการ
ให้นำมาตรา ๖ มาใช้บังคับแก่การปรับอัตราเงินเดือนดังกล่าวโดยอนุโลม
มาตรา ๙
ให้ประธานรัฐสภารักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินเดือนของข้าราชการฝ่ายรัฐสภาไม่ได้ส่วนสัมพันธ์กับอัตราเงินเดือนของข้าราชการประเภทอื่นๆ
ที่ได้รับการปรับปรุงไปแล้ว
สมควรแก้ไขปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการฝ่ายรัฐสภาให้เหมาะสม
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
สัญชัย/ผู้จัดทำ
๑๙
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๒/ตอนที่ ๒๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘
[๒]
มาตรา ๒๐ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๒๑
[๓]
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๑
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑
[๔]
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๒
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑
[๕]
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑
[๖]
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑
[๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๕/ตอนที่ ๑๐๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗/๒๗ กันยายน ๒๕๒๑ |
315740 | ข้อบังคับประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. 2544 | ข้อบังคับประธานศาลฎีกา
ข้อบังคับประธานศาลฎีกา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
พ.ศ. ๒๕๔๔
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓
ประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.)
ออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ข้อบังคับนี้ เรียกว่า ข้อบังคับประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
พ.ศ. ๒๕๔๔
ข้อ ๒[๑]
ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ในข้อบังคับนี้
การเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ"
หมายความว่า การเลือกตามวาระหรือการเลือกซ่อม แล้วแต่กรณี
การเลือกตามวาระ หมายความว่า
การเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้ดำรงตำแหน่งตามวาระ
การเลือกซ่อม หมายความว่า
การเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้ดำรงตำแหน่งแทนตำแหน่งที่วางลงก่อนครบวาระ
ข้อ ๔
เมื่อประธานศาลฎีกาได้มีคำสั่งให้มีการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
ให้เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมเป็นผู้ดำเนินการจัดให้มีการเลือกตามวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับนี้
ข้อ ๕
ให้เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมจัดทำบัญชีรายชื่อและหมายเลขบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
โดยแยกเป็นข้าราชการตุลาการในแต่ละชั้นศาลตามมาตรา ๓๖ (๒) (ก) (ข) และ (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๖
ให้เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมจัดส่งบัญชีรายชื่อและหมายเลขบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ
๕ และส่งบัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
พร้อมทั้งแจ้งกำหนดวันสุดท้ายที่จะต้องส่งบัตรเลือกกลับให้ถึงสำนักงานศาลยุติธรรมรวมตลอดถึงกำหนดวัน
เวลา และสถานที่ที่จะทำการตรวจนับคะแนนไปยังผู้มีสิทธิเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
ทั้งนี้ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนกำหนดวันสุดท้ายที่จะต้องส่งบัตรเลือกให้ถึงสำนักงานศาลยุติธรรมไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
ในกรณีเลือกซ่อม
ให้แจ้งชั้นศาลและจำนวนตำแหน่งกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิที่ว่างไปด้วย
ก่อนกำหนดวันสุดท้ายที่จะต้องส่งบัตรเลือกให้ถึงสำนักงานศาลยุติธรรมเจ็ดวันถ้าผู้มีสิทธิเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิผู้ใดยังไม่ได้รับบัญชีรายชื่อและหมายเลขบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิพร้อมด้วยบัตรเลือก
ให้ผู้นั้นรายงานเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเพื่อดำเนินการให้ตนมีโอกาสใช้สิทธิเลือกภายในกำหนดวันสุดท้ายที่จะต้องส่งบัตรเลือกให้ถึงสำนักงานศาลยุติธรรม
ข้อ ๗
บัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิให้เป็นไปตามแบบท้ายข้อบังคับนี้
และบัตรทุกบัตรต้องมีลายมือชื่อของเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมและรองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมคนหนึ่งกำกับเป็นหลักฐาน
ข้อ ๘
ให้ข้าราชการตุลาการซึ่งมีสิทธิเลือกและประสงค์จะลงคะแนนกรอกบัตรเลือกโดยเขียนหมายเลขผู้ซึ่งตนเลือกด้วยตนเอง
แล้วใส่ซองบรรจุบัตรเลือกที่เลขานุการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมจัดส่งไปให้ปิดผนึกส่งไปยังเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
ถ้าจะส่งทางไปรษณีย์ให้ส่งโดยลงทะเบียน
ข้อ ๙
ให้มีคณะกรรมการรับและเก็บรักษาบัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิคณะหนึ่ง
ประกอบด้วยข้าราชการตุลาการสามคนซึ่งเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้แต่งตั้งเป็นกรรมการ
ให้คณะกรรมการรับและเก็บรักษาบัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ซึ่งสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมจำนวนไม่น้อยกว่าสองคน
ให้มีหน้าที่รับซองบัตรเลือกและจดเลขที่ของซองบัตรเลือกที่ได้รับ
เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าได้รับบัตรเลือกแล้ว
คณะกรรมการรับและเก็บรักษาบัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิมีหน้าที่ตรวจรับและรวบรวมบัตรเลือกที่ส่งมายังเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
รวมทั้งจัดทำบัญชีจำนวนบัตรเลือกที่ได้รับมาในแต่ละวัน
โดยในแต่ละวันให้นำบัตรเลือกที่ได้รับนั้นใส่รวมกันไว้ในซองใหญ่พร้อมกับปิดผนึก
ลงวันที่และลงลายมือชื่อคณะกรรมการรับและเก็บรักษาบัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิกำกับรอยปิดผนึกแล้วเก็บรักษาเป็นเรื่องลับมากไว้ที่สำนักงานศาลยุติธรรมและส่งมอบให้คณะกรรมการตรวจนับคะแนนในวันตรวจนับคะแนน
ข้อ ๑๐
ให้มีคณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิคณะหนึ่งประกอบด้วยเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
ผู้พิพากษาศาลฎีกา ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ และผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ชั้นศาลละสองคน
ซึ่งประธานศาลฎีกาเป็นผู้คัดเลือก มีหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
การตรวจนับคะแนนและประกาศผลการเลือกโดยมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการช่วยดำเนินการได้
ข้อ ๑๑
ให้คณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนคณะหนึ่ง
ประกอบด้วยข้าราชการตุลาการซึ่งไม่เป็นบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่าสิบเอ็ดคน
เป็นอนุกรรมการ
ให้คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนเลือกอนุกรรมการตรวจนับคะแนนคนหนึ่งเป็นประธาน
ถ้าประธานไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนเลือกอนุกรรมการตรวจนับคะแนนคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานแทน
ในการปฏิบัติหน้าที่ต้องมีอนุกรรมการอยู่พร้อมกันไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
ข้อ ๑๒
คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) รักษาความสงบเรียบร้อยในสถานที่ตรวจนับคะแนน
(๒)
ตรวจสอบบัญชีรายชื่อและหมายเลขบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิและบัญชีรายชื่อข้าราชการตุลาการผู้มีสิทธิเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(๓)
ตรวจสอบบัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ และการอื่นใดอันเกี่ยวกับการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
เพื่อให้การเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
บริสุทธิ์ และยุติธรรม
(๔)
ดำเนินการเกี่ยวกับการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตรวจนับคะแนนและประกาศผลการตรวจนับคะแนนตามที่กำหนดในข้อบังคับนี้
ข้อ ๑๓
ในการตรวจนับคะแนน ให้คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนเปิดซองบัตรเลือกและให้คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนวินิจฉัยว่าบัตรเลือกนั้นเป็นบัตรดี
บัตรเสียบางส่วนหรือบัตรเสีย
แล้วดำเนินการนับคะแนนสำหรับบัตรดีและบัตรเสียบางส่วนเฉพาะส่วนที่ไม่เสีย
บัตรเสียบางส่วนหรือบัตรเสีย
ให้อนุกรรมการตรวจนับคะแนนสลักหลังว่า เสียบางส่วน หรือ เสีย แล้วแต่กรณี
แล้วให้อนุกรรมการตรวจนับคะแนนไม่น้อยกว่าสี่คนลงลายมือชื่อกำกับไว้
เมื่อการตรวจนับคะแนนสิ้นสุดลงแล้ว
ให้คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนเก็บบัตรเลือกที่ใช้นับคะแนนโดยแยกบัตรเสียบางส่วนและบัตรเสียบรรจุซองหรือห่อไว้ต่างหากเพื่อมิให้ปะปนกับบัตรเลือกอื่น
และเก็บบัตรเลือกที่ใช้นับคะแนนทั้งหมดไว้ด้วยกันในหีบโดยปิดหีบใส่กุญแจประจำครั่งทับรูกุญแจไว้
หากเป็นหีบบัตรเลือกที่มีช่อง ให้เอากระดาษปิดทับช่องไว้โดยลงลายมือชื่อคณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนไว้บนกระดาษนั้นด้วย
และเก็บรักษาไว้ที่สำนักงานศาลยุติธรรม
เพื่อส่งมอบให้คณะกรรมการทำลายบัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิดำเนินการต่อไปตามข้อ
๑๘
การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม ให้กระทำในวัน
เวลา และสถานที่ที่กำหนดในข้อ ๖ วรรคหนึ่ง
และต้องกระทำโดยเปิดเผยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วมสังเกตการณ์ได้และให้กระทำจนเสร็จในรวดเดียว
ข้อ ๑๔ บัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิต่อไปนี้
ให้ถือเป็นบัตรเสียและไม่ให้นับคะแนน
(๑) ในกรณีการเลือกตามวาระ
(ก)
บัตรที่มิใช่บัตรฉบับที่เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมส่งไปให้ หรือบัตรที่ไม่มีลายมือชื่อของเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมและรองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมกำกับเป็นหลักฐาน
(ข)
บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดทั้งสามชั้นศาล
(ค) บัตรที่มิได้เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเลย
(ง)
บัตรที่เขียนหมายเลขอื่นที่ไม่มีในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหมด
(จ)
บัตรที่ผู้เลือกมิได้เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหมดด้วยตนเอง
(ฉ)
บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
ซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการในแต่ละชั้นศาลตามมาตรา ๓๖ (๒) (ก) (ข) และ (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ สลับช่องทั้งหมด
(ช)
บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหมดเลอะเลือนหรือไม่ชัดเจน
จนไม่สามารถทราบเจตนาอันแท้จริงของผู้เลือกได้ว่าลงคะแนนให้แก่ผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิหมายเลขใด
(ซ) บัตรที่ไปถึงสำนักงานศาลยุติธรรมพ้นกำหนดวันสุดท้ายที่เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมกำหนดให้ส่งตามข้อ
๖ วรรคหนึ่ง
(๒) ในกรณีการเลือกซ่อม
(ก)
บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเกินจำนวนตำแหน่งที่ว่าง
(ข) บัตรที่มีกรณีตาม (๑) (ก) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) หรือ (ซ)
ข้อ ๑๕
บัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิต่อไปนี้ ให้ถือเป็นบัตรเสียบางส่วนไม่ให้นับคะแนนส่วนที่เสียและให้นับคะแนนส่วนที่ไม่เสียเท่านั้น
(๑) บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะในบางชั้นศาลเกินจำนวนที่กฎหมายกำหนด
(๒)
บัตรที่เขียนหมายเลขอื่นที่ไม่มีในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
ปนกับหมายเลขที่มีในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(๓)
บัตรที่ผู้เลือกมิได้เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิคนใดด้วยตนเอง
(๔)
บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
ซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการในแต่ละชั้นศาลตามมาตรา ๓๖ (๒) (ก) (ข) และ (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ สลับช่องบางคน
(๕)
บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิซ้ำกับหมายเลขที่เขียนไว้ก่อนแล้ว
(๖) บัตรที่เขียนหมายเลขผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิบางหมายเลขเลอะเลือนหรือไม่ชัดเจนจนไม่สามารถทราบเจตนาอันแท้จริงของผู้เลือกได้ว่าลงคะแนนให้แก่ผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิหมายเลขใด
ข้อ ๑๖
ในการเลือกตามวาระนั้น ให้ข้าราชการตุลาการในแต่ละชั้นศาลตาม มาตรา ๓๖ (๒)
(ก) (ข) และ (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.
๒๕๔๓ ซึ่งได้คะแนนมากตามลำดับลงมาตามจำนวนที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติแห่งมาตราดังกล่าวเป็นผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละชั้นศาล
ในกรณีที่ผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิหลายคนได้คะแนนเท่ากันจนเป็นเหตุให้ไม่สามารถเรียงลำดับผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามจำนวนกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิที่จะมีได้
ให้ทำการจับสลาก เพื่อให้ได้ผู้ได้รับเลือกครบตามที่จะพึงมีได้
การจับสลาก
ให้เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้จับโดยเปิดเผยและต่อหน้าอนุกรรมการตรวจนับคะแนนไม่น้อยกว่าสามคน
เมื่อทราบผลผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว
ให้ประธานอนุกรรมการตรวจนับคะแนนประกาศชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิต่อหน้าผู้ซึ่งอยู่
ณ สถานที่ที่ทำการตรวจนับคะแนนแล้วปิดประกาศรายชื่อบุคคลดังกล่าวไว้ ณ
สถานที่นั้นด้วย และให้คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนรีบรายงานผลการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิต่อคณะกรรมการดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
พร้อมทั้งส่งประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิไปยังเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมภายในวันนั้นหรือวันถัดจากวันทราบผลนั้นเป็นอย่างช้า
ในกรณีที่เป็นการเลือกซ่อม ให้นำความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง
วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๗
ให้เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมรายงานผลการเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิต่อประธานศาลฎีกาเพื่อดำเนินการประกาศชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๓๖ (๒) (ก) (ข) และ (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ต่อไป
ข้อ ๑๘
ให้มีคณะกรรมการทำลายบัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิคณะหนึ่งประกอบด้วยรองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมคนหนึ่งซึ่งเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมมอบหมายเป็นประธานกรรมการและข้าราชการตุลาการอีกสองคนซึ่งเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมแต่งตั้งเป็นกรรมการเพื่อดำเนินการทำลายบัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิด้วยเครื่องทำลายเอกสารเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ประธานศาลฎีกาประกาศชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
ข้อ ๑๙
ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามข้อบังคับนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๔
สันติ ทักราล
ประธานศาลฎีกา
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัตรเลือกกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วิมล/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
นฤดล/ผู้ตรวจ
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๘/ตอนที่ ๙๕ ก/หน้า ๑/๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๔ |
304094 | พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2535 | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๔)
พ.ศ.
๒๕๓๕
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้
ณ วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕
เป็นปีที่
๔๗ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๒[๑]
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖ มาตรา ๗ และมาตรา
๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๖ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
เรียกโดยย่อว่า ก.ร. ประกอบด้วยประธานรัฐสภาเป็นประธานกรรมการ
รองประธานรัฐสภาเป็นรองประธานกรรมการ เลขาธิการ ก.พ. เลขาธิการวุฒิสภา
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐสภาเลือกมีจำนวนไม่เกินแปดคน
เป็นกรรมการ ในกรณีที่มีสองสภา ให้แต่ละสภาเลือกสภาละไม่เกินสี่คน
ให้ประธานรัฐสภาแต่งตั้งเลขาธิการวุฒิสภาหรือเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนใดคนหนึ่งเป็นเลขานุการ
ก.ร.
มาตรา ๗ ผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๖
ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(๑) เคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือตำแหน่งเทียบเท่ามาแล้ว
หรือเคยดำรงตำแหน่งกรรมการข้าราชการประเภทใดประเภทหนึ่งมาแล้ว
(๒)
ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ ข้าราชการการเมือง
ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง สมาชิกรัฐสภา กรรมการพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
มาตรา ๘
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี
มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๑๐ ในการเลือกผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการ
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประธานรัฐสภากำหนด
มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๖
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๑๖ วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี
วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ให้เป็นไปตามที่
ก.ร. กำหนด
มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๒๐ การกำหนดตำแหน่ง
การให้รับเงินเดือนและการให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
ในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนสามัญมาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ คำว่า ก.พ.
ให้หมายถึง ก.ร. และคำว่า ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม
และมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
ให้หมายถึงส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม
และมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อประธานรัฐสภา
ประธานวุฒิสภา หรือประธานสภาผู้แทนราษฎร แล้วแต่กรณี
มาตรา ๗ ให้ยกเลิกมาตรา ๒๐ ทวิ
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๑
มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๑
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.
๒๕๓๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๒๑
อัตราเงินเดือนและอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราเงินเดือนและอัตราเงินประจำตำแหน่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ทั้งนี้ คำว่า ก.พ. ให้หมายถึง ก.ร.
และคำว่า ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม
และมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
ให้หมายถึงส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม
และมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อประธานรัฐสภา
ประธานวุฒิสภา หรือประธานสภาผู้แทนราษฎร แล้วแต่กรณี
การจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งให้แก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
เพื่อประโยชน์ในการออมทรัพย์ของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้นำกฎหมายและระเบียบว่าด้วยการหักเงินเดือนข้าราชการไว้เป็นเงินสะสมมาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๙ ให้ยกเลิกความใน (๑๑) ของมาตรา ๒๔
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑๑)
ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษปลดออกเพราะกระทำผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาหรือตามกฎหมายอื่น
มาตรา ๑๐ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๘
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๒๘
การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญและการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
ให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้เป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง
(๑) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๐
และระดับ ๑๑ ให้ประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา หรือประธานสภาผู้แทนราษฎร แล้วแต่กรณี
ด้วยความเห็นชอบของ ก.ร. เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ
และนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
(๒) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙
ให้ประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา หรือประธานสภาผู้แทนราษฎร แล้วแต่กรณี
เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
(๓)
การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๘ ลงมา
ให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
มาตรา ๑๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๓๖
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ แล้วแต่กรณี เป็นผู้พิจารณาและสั่งเลื่อน
มาตรา ๑๒ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๔๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๔๐ การโอนข้าราชการตามกฎหมายอื่น
หรือพนักงานเทศบาลมาบรรจุเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ อาจกระทำได้ถ้าเจ้าตัวสมัครใจ
โดยผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ แล้วแต่กรณี ทำความตกลงกับเจ้าสังกัด แล้วเสนอ ก.ร.
เพื่อพิจารณาอนุมัติ ทั้งนี้ จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับใด
และได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้ ก.ร. เป็นผู้พิจารณากำหนด
แต่เงินเดือนที่จะให้ได้รับจะต้องไม่สูงกว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญที่มีคุณวุฒิ
ความสามารถ และความชำนาญงานในระดับเดียวกัน
มาตรา ๑๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๔๑
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
เมื่อผู้นั้นพ้นจากราชการทหารโดยไม่มีความเสียหายแล้วประสงค์จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญในส่วนราชการสังกัดรัฐสภาตามเดิมภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันพ้นจากราชการทหาร
ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ สั่งบรรจุแต่งตั้ง
และให้ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร. กำหนด
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งได้รับบรรจุเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่ง
ให้มีสิทธิได้นับวันรับราชการก่อนถูกสั่งให้ออกจากราชการ
รวมกับวันรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารและวันรับราชการเมื่อได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการ
เป็นเวลาราชการติดต่อกันเพื่อประโยชน์ตามพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการเสมือนว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกสั่งให้ออกจากราชการ
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
เมื่อได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งแล้ว
ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง ทั้งนี้ ให้นำมาตรา
๒๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๑๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๔๑ ทวิ
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
มาตรา ๔๑ ทวิ
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดได้รับอนุมัติจาก ก.ร. ให้ออกจากราชการไปปฏิบัติงานใดๆ
ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ถ้าผู้นั้นกลับเข้ารับราชการภายในกำหนดเวลาสี่ปีนับแต่วันออกจากราชการไปปฏิบัติงานดังกล่าวให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา
๒๘ สั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและรับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร.
กำหนด
มาตรา ๑๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๔
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๔๔ ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการเมื่อ
(๑) ตาย
(๒)
พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(๓) ได้รับอนุญาตให้ลาออก หรือลาออกตามมาตรา ๔๕
วรรคสอง
(๔) ถูกสั่งให้ออกตามมาตรา ๔๖ มาตรา ๔๖ ทวิ มาตรา
๔๖ ตรี และมาตรา ๔๖ จัตวา
(๕) ถูกลงโทษไล่ออก หรือปลดออก
วันออกจากราชการตาม (๔) หรือ (๕)
ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ร. กำหนด
การต่อเวลาราชการให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ต้องออกจากราชการตาม
(๒) รับราชการต่อไปอีกจะกระทำมิได้
มาตรา ๑๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๖
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๔๖ ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘
มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้
แต่ในการสั่งให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน
นอกจากให้ทำได้ในกรณีที่ระบุไว้ในกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้ว
ให้ทำได้ในกรณีต่อไปนี้ด้วย คือ
(๑)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอ
ถ้าผู้บังคับบัญชาดังกล่าวเห็นสมควรให้ออกจากราชการแล้ว
ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้
(๒)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดสมัครไปปฏิบัติงานใดๆ ตามความประสงค์ของทางราชการ
ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ
(๓)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการ
ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
(๔) เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดขาดคุณสมบัติตามมาตรา
๒๔ (๑) (๔) หรือ (๕) ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ
(๕)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ
มาตรา ๑๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๔๖ ทวิ
มาตรา ๔๖ ตรี และมาตรา ๔๖ จัตวา แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.
๒๕๑๘
มาตรา ๔๖ ทวิ
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ
บกพร่องในหน้าที่ราชการหรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ
และผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ เห็นว่ากรณีมีมูล
ถ้าให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ
ก็ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยไม่ชักช้า
ในการสอบสวนนี้จะต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
โดยจะระบุหรือไม่ระบุชื่อพยานก็ได้
และต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ด้วยเมื่อได้มีการสอบสวนพิจารณาแล้วและผู้บังคับบัญชาดังกล่าวเห็นสมควรให้ออกจากราชการก็ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนได้
ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๕๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นได้สอบสวน
หรือคณะกรรมการสอบสวนได้สอบสวนในกรณีที่เกี่ยวข้อง
หรือพนักงานสอบสวนได้สอบสวนทางอาญา
หรือศาลได้มีคำพิพากษาเกี่ยวกับเรื่องที่จะต้องสอบสวนตามวรรคหนึ่งอยู่แล้ว
คณะกรรมการสอบสวนตามวรรคหนึ่งจะนำสำนวนการสอบสวนของผู้บังคับบัญชาชั้นต้น
สำนวนการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวน สำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวน
สำนวนของพนักงานอัยการ สำนวนการพิจารณาของศาล
หรือสำเนาคำพิพากษาอย่างหนึ่งอย่างใดมาใช้เป็นสำนวนการสอบสวนและทำความเห็นเสนอผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
โดยถือว่าได้มีการสอบสวนตามวรรคหนึ่งแล้วก็ได้ แต่ทั้งนี้
ต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
โดยจะระบุหรือไม่ระบุชื่อพยานก็ได้ และต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ด้วย
หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณา
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
ในกรณีที่เป็นกรณีที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร. จะดำเนินการตามวรรคหนึ่งโดยไม่สอบสวนก็ได้
มาตรา ๔๖ ตรี
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ๕๓
และการสอบสวนเสร็จสิ้นแล้ว ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘
เห็นว่ากรณีมีเหตุอันควรสงสัยอย่างยิ่งว่าผู้นั้นได้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
แต่การสอบสวนไม่ได้ความแน่ชัดพอที่จะฟังลงโทษตามมาตรา ๕๓
ถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ
ก็ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพราะมีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวนเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนได้
มาตรา ๔๖ จัตวา
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘
จะสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนก็ได้
มาตรา ๑๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๕๐ โทษผิดวินัยมี ๕ สถาน คือ
(๑) ภาคทัณฑ์
(๒) ตัดเงินเดือน
(๓) ลดขั้นเงินเดือน
(๔) ปลดออก
(๕) ไล่ออก
มาตรา ๑๙ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๓
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๕๓ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดถูกกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร. ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยไม่ชักช้า
ในการสอบสวนนี้จะต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาด้วย
เมื่อได้มีการสอบสวนแล้วและผู้บังคับบัญชาดังกล่าวพิจารณาเห็นว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร. ก็ให้สั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี
ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษให้ก็ได้แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก
ผู้ถูกสั่งปลดออกตามมาตรานี้ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ
ในการสอบสวนตามวรรคหนึ่ง ให้นำมาตรา ๔๖ ทวิ
วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ให้ ก.ร. มีอำนาจออกกฎ ก.ร.
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณา
ระยะเวลาสอบสวนพิจารณาและสั่งลงโทษ การสั่งสอบสวน การมอบหมายให้สอบสวน
การตั้งกรรมการสอบสวน ตลอดจนการส่งประเด็นไปสอบสวนพยานบุคคลซึ่งอยู่ต่างท้องที่
การรวบรวมพยานหลักฐาน และกิจการอื่นๆ เพื่อให้ได้ความจริง
มาตรา ๒๐ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๕๗
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกสอบสวน
หรือถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา
เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา
๒๘
มีอำนาจสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาได้
แต่ถ้าภายหลังปรากฏผลการสอบสวนพิจารณาว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิดหรือกระทำผิดไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
และไม่มีกรณีที่จะต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่นให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งในระดับเดียวกันที่ต้องใช้คุณสมบัติเฉพาะที่ผู้นั้นมีอยู่
เงินเดือนของผู้ถูกสั่งพักราชการ
ให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น
ส่วนในกรณีสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
ถ้าปรากฏผลการสอบสวนพิจารณาเป็นยุติแล้วว่าผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนมิได้กระทำผิดหรือกระทำผิดไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่างถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเสมือนว่าผู้นั้นถูกสั่งพักราชการ
ให้ ก.ร. มีอำนาจออกกฎ ก.ร.
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสั่งพักราชการ
การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนและการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามผลการสอบสวนพิจารณา
มาตรา ๒๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๕๘
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษหรือดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดแล้ว
แต่ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ แล้วแต่กรณี
เห็นว่ากรณีเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวมีอำนาจดำเนินการตามมาตรา ๕๓ ถ้าจะต้องสอบสวนตามมาตรา ๕๓
ก่อนก็ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวมีอำนาจสอบสวนตามมาตรา ๕๓
ในกรณีที่จะต้องลงโทษตามมาตรา ๕๓ ถ้ามีการตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือนไปแล้ว
ก็ให้เป็นอันพับไป
มาตรา ๒๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๖๐ ทวิ
และมาตรา ๖๐ ตรี แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
มาตรา ๖๐ ทวิ
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วยเหตุใดๆ
ให้ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ได้
การร้องทุกข์ตามวรรคหนึ่ง ให้ร้องทุกข์ต่อ ก.ร.
ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง และให้นำมาตรา ๖๐
ตลอดจนหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร. มาใช้บังคับอนุโลม
มาตรา ๖๐ ตรี
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดเห็นว่าผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติต่อตนโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติต่อตนให้ถูกต้องตามกฎหมายหรือมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาต่อตนในกรณีตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร. ผู้นั้นอาจร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาหรือ ก.ร. แล้วแต่กรณี
ตามที่กำหนดไว้ในกฎ ก.ร. เพื่อขอให้แก้ไขหรือแก้ความคับข้องใจได้ ทั้งนี้
เว้นแต่กรณีที่มีสิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา ๖๐
การร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
มาตรา ๒๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖๑
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๖๑
ตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองมีดังนี้
(๑) ที่ปรึกษาประธานรัฐสภา
(๒) ที่ปรึกษารองประธานรัฐสภา
(๓) ที่ปรึกษาประธานวุฒิสภา
(๔) ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๕) ที่ปรึกษารองประธานวุฒิสภา
(๖) ที่ปรึกษารองประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๗) เลขานุการประธานรัฐสภา
(๘) เลขานุการรองประธานรัฐสภา
(๙) เลขานุการประธานวุฒิสภา
(๑๐) เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๑๑) เลขานุการรองประธานวุฒิสภา
(๑๒) เลขานุการรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๑๓) เลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามวรรคหนึ่ง
จะมีจำนวนเท่าใด ให้เป็นไปตามอัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๒๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๖๒
ให้ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองได้รับเงินเดือนและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
ให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
หมายเลข ๑ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นไป
และเมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกาประกาศใช้บัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือนและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการการเมือง
หมายเลข ๒ หมายเลข ๓ หมายเลข ๔ หรือหมายเลข ๕
ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมืองแล้ว
ให้ประธานรัฐสภาประกาศปรับใช้อัตราเงินเดือนและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
ตามบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
หมายเลข ๒ หมายเลข ๓ หมายเลข ๔ หรือหมายเลข ๕ ให้สอดคล้องกัน
บทบัญญัติตามมาตรา ๓๕
แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๔๙๙
มิให้ใช้บังคับแก่การรับบำเหน็จบำนาญข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองผู้กลับเข้ารับราชการใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้
ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองซึ่งดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา
หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วย ถ้าได้รับเงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่ม
หรือเงินค่ารับรองสำหรับสมาชิกสภาดังกล่าวแล้ว ไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนและเงินเพิ่มตามพระราชบัญญัตินี้อีก
การจ่ายเงินเดือนและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด
มาตรา ๒๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๔
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๖๓
การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามมาตรา ๖๑ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖)
ให้ประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภาหรือประธานสภาผู้แทนราษฎร แล้วแต่กรณี
แต่งตั้งบุคคลซึ่งเห็นสมควรตามเหตุผลในทางการเมืองและต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปที่จะเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญได้ตามมาตรา
๒๔ ยกเว้น (๔) และไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามมาตรา
๖๑ (๗) (๘) (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) และ (๑๓) ให้ประธานรัฐสภา
ประธานวุฒิสภาหรือประธานสภาผู้แทนราษฎร แล้วแต่กรณี
แต่งตั้งบุคคลซึ่งเห็นสมควรตามเหตุผลในทางการเมืองและต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปที่จะเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญได้ตามมาตรา
๒๔ ยกเว้น (๔) และไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
มาตรา ๖๔
ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองออกจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) สำหรับข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามมาตรา
๖๑ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) ผู้แต่งตั้งสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
หรือผู้แต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งหรือเมื่อรัฐสภาสิ้นอายุหรือถูกยุบ
(๔) สำหรับข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามมาตรา
๖๑ (๗) (๘) (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) และ (๑๓)
ผู้แต่งตั้งสั่งให้พ้นจากตำแหน่งจะโดยมีความผิดหรือไม่มีความผิดก็ตาม
หรือประธานหรือรองประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นสังกัด
หรือผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรพ้นจากตำแหน่ง แล้วแต่กรณี
มาตรา ๒๖
ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.
๒๕๓๑
และให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา ๒๗
ให้กรรมการซึ่งรัฐสภาเลือกจากประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาและผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับดำรงตำแหน่งอยู่ต่อไปจนกว่าจะพ้นจากตำแหน่งหรือครบวาระ
แล้วแต่กรณี แต่ต้องไม่เกินสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๒๘
นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจนถึงวันก่อนวันที่ประกาศรัฐสภาแบ่งส่วนราชการของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภาใช้บังคับ
(๑) ให้เลขาธิการรัฐสภาดำรงตำแหน่งกรรมการและเลขานุการ
ก.ร. ตามมาตรา ๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.
๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
(๒) การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งระดับ
๑๐ และระดับ ๑๑ ตามมาตรา ๒๘ (๑) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.
๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้ประธานรัฐสภาด้วยความเห็นชอบของ
ก.ร. เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ และนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้ง
(๓) การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งระดับ
๙ ตามมาตรา ๒๘ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
(๔)
การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๘ ลงมาตามมาตรา ๒๘ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
ให้เลขาธิการรัฐสภาเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
(๕)
การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๙
ขึ้นไปตามมาตรา ๓๖ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาและสั่งเลื่อน
(๖)
การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๘
ลงมาตามมาตรา ๓๖ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
ให้เลขาธิการรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาและสั่งเลื่อน
(๗) การโอนข้าราชการตามมาตรา ๔๐ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้ประธานรัฐสภาหรือเลขาธิการรัฐสภา
แล้วแต่กรณี ทำความตกลงกับเจ้าสังกัดแล้วเสนอ ก.ร. เพื่อพิจารณาอนุมัติ
มาตรา ๒๙ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๔ (๑๑) และมาตรา ๒๕
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
มาใช้บังคับแก่ผู้เคยถูกลงโทษให้ออกเพราะกระทำผิดวินัยก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๓๐ ให้ประธานรัฐสภารักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
อานันท์
ปันยารชุน
นายกรัฐมนตรี
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีอัตราเงินและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง หมายเลข ๑
๒.
บัญชีอัตราเงินและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง หมายเลข ๒
๓.
บัญชีอัตราเงินและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง หมายเลข ๓
๔.
บัญชีอัตราเงินและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง หมายเลข ๔
๕.
บัญชีอัตราเงินและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง หมายเลข ๕
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
สัญชัย/ผู้จัดทำ
๑๙
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๓๕/หน้า ๕๐/๓ เมษายน ๒๕๓๕ |
318080 | พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 (Update ณ วันที่ 07/11/2531) | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ.
๒๕๑๘
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๘
เป็นปีที่
๓๐ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ บรรดาบทกฎหมาย กฎ
และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา หมายความว่า
บุคคลซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
ประธานรัฐสภา หมายความว่า
ประธานรัฐสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในกรณีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีสภานิติบัญญัติสภาเดียว
ให้หมายความถึงประธานแห่งสภานั้น
รองประธานรัฐสภา หมายความว่า
รองประธานรัฐสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
ในกรณีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีสภานิติบัญญัติสภาเดียว
ให้หมายความถึงรองประธานแห่งสภานั้น
รัฐสภา หมายความว่า
สภาซึ่งทำหน้าที่นิติบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีสภานิติบัญญัติสภาเดียว
ให้หมายถึงสภานั้น
มาตรา ๕
ให้ประธานรัฐสภารักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด
๑
คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
มาตรา ๖
ให้มีคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภาคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า ก.ร.
ประกอบด้วยประธานรัฐสภาเป็นประธาน รองประธานรัฐสภาเป็นรองประธาน
เลขาธิการรัฐสภาและกรรมการอื่นอีกแปดคนซึ่งรัฐสภาเลือกจาก
(๑) ประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาจำนวนสองคน
ในกรณีที่มีสองสภาให้แต่ละสภาเลือกหนึ่งคน และ
(๒) ผู้ทรงคุณวุฒิมีจำนวนหกคน
ในกรณีที่มีสองสภาให้แต่ละสภาเลือกสามคน
ให้เลขาธิการรัฐสภาเป็นเลขานุการ ก.ร.
มาตรา ๗ ผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๖ (๒)
ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(๑) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปี
(๒) มีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ (๑) (๓) (๕) (๖) (๗)
(๘) (๙) (๑๐) (๑๑) และ (๑๒)
(๓) ไม่เป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภา
กรรมการพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง
มาตรา ๘ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๖ (๒)
มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละหกปี ในวาระเริ่มแรกเมื่อครบกำหนดสามปี
ให้กรรมการดังกล่าวออกจากตำแหน่งกึ่งหนึ่งโดยวิธีจับสลาก
มาตรา ๙ เมื่อตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิว่างลงเพราะออกจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา
๘ หรือเพราะพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๑๑
ให้รัฐสภาเลือกตั้งผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗
ขึ้นแทนภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ตำแหน่งว่าง หรือวันเปิดสมัยประชุมรัฐสภา
แล้วแต่กรณี
ความในวรรคหนึ่งมิให้นำมาใช้บังคับสำหรับกรณีที่ตำแหน่งว่างเพราะการพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา
๑๑ และวาระของกรรมการที่เหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือเมื่อรัฐสภาสิ้นอายุ
หรือถูกยุบ
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างเพราะพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา
๑๑ อยู่ในตำแหน่งตามวาระของกรรมการซึ่งตนแทน
รัฐสภาอาจเลือกตั้งกรรมการซึ่งออกจากตำแหน่งให้เป็นกรรมการอีกได้
มาตรา ๑๐
ในการเลือกผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการ
ให้ประธานรัฐสภาแจ้งวันเลือกให้สมาชิกรัฐสภาทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสิบห้าวัน
สมาชิกรัฐสภาแต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา
๗
เท่ากับจำนวนตำแหน่งที่ต้องเลือกตั้งหรือตำแหน่งที่ว่างต่อเลขาธิการรัฐสภาก่อนกำหนดวันเลือกเจ็ดวัน
เมื่อเลขาธิการรัฐสภาเห็นว่าผู้ทรงคุณวุฒิที่สมาชิกเสนอมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา
๗ ให้เสนอรายชื่อต่อสมาชิกรัฐสภาในวันเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามให้รัฐสภาวินิจฉัยชี้ขาด
ในกรณีที่ไม่มีสมาชิกผู้ใดเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิให้ประธาน
รองประธานและเลขาธิการรัฐสภาร่วมกันจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิเสนอต่อรัฐสภาเป็นจำนวนสองเท่าของตำแหน่งที่ว่าง
ให้นำข้อบังคับว่าด้วยการเลือกกรรมาธิการสามัญมาใช้บังคับแก่การเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิโดยอนุโลม
มาตรา ๑๑ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๘
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓)
เป็นผู้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗
มาตรา ๑๒ การประชุมของ ก.ร.
ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในระหว่างที่รัฐสภาสิ้นอายุหรือถูกยุบ
ให้ประธานรัฐสภาและรองประธานรัฐสภาคงดำรงตำแหน่งประธาน ก.ร. และรองประธาน ก.ร.
อยู่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงแต่งตั้งประธานรัฐสภาและรองประธานรัฐสภาใหม่แล้วจึงให้พ้นจากตำแหน่ง
ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิว่างลงเพราะออกตามวาระในระหว่างที่รัฐสภาสิ้นอายุหรือถูกยุบ
องค์ประชุมของ ก.ร. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการที่เหลืออยู่
มาตรา ๑๓
นอกจากอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้ ก.ร.
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย คือ
(๑) ควบคุมดูแลให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) ตีความและวินิจฉัยปัญหาต่างๆ
ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้พระราชบัญญัตินี้
(๓) ออกกฎ ก.ร. หรือระเบียบ
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ กฎ ก.ร.
เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
(๔)
กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
(๕) รักษาทะเบียนประวัติข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(๖) ควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
มาตรา ๑๔ ก.ร.
มีอำนาจตั้งอนุกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรียกโดยย่อว่า อ.ก.ร.
เพื่อทำการใดๆ แทนได้
ให้นำความในมาตรา ๑๒
มาใช้บังคับแก่การประชุมของอนุกรรมการโดยอนุโลม
หมวด
๒
บททั่วไป
มาตรา ๑๕ ข้าราชการฝ่ายรัฐสภามี ๒ ประเภท
(๑) ข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ได้แก่ผู้ซึ่งรับราชการในตำแหน่งประจำ โดยได้รับเงินเดือนในอัตราสามัญ
และได้รับแต่งตั้งตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๓
(๒) ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
ได้แก่ผู้ซึ่งรับราชการในตำแหน่งการเมืองของรัฐสภา
มาตรา ๑๖
วันเวลาทำงานและการลาหยุดราชการของข้าราชการฝ่ายรัฐสภาให้เป็นไปตามที่
ก.ร. กำหนด
มาตรา ๑๗ เครื่องแบบของข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
และให้ประธานรัฐสภาวางระเบียบว่าด้วยการแต่งกายของข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
มาตรา ๑๘ การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ให้ ก.ร. พิจารณาตามระเบียบว่าด้วยการนั้น
และให้ประธานรัฐสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อขอพระราชทาน
มาตรา ๑๙
ข้าราชการฝ่ายรัฐสภามีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
เช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือน
หมวด
๓
ข้าราชการรัฐสภาสามัญ
มาตรา ๒๐ ตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญจะมีตำแหน่งใด
ในสายงานใด ระดับใด จำนวนเท่าใด ต้องใช้ผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งอย่างใด
ให้เป็นไปตามที่ ก.ร. กำหนด โดยให้คำนึงถึงลักษณะหน้าที่ ความรับผิดชอบ
ปริมาณและคุณภาพของงานตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งขั้นต้นในสายงานธุรการ สายงานวิชาชีพ
สายงานฝีมือ และสายงานอื่นที่ไม่ต้องใช้ผู้มีความรู้ ความสามารถ
และความชำนาญเป็นพิเศษ ให้กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ ๑
(๒) ตำแหน่งในสายงานธุรการ สายงานวิชาชีพ
สายงานฝีมือ และสายงานอื่นที่ต้องใช้ผู้มีความรู้ ความสามารถ
และความชำนาญสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๑ หรือตำแหน่งที่มีหน้าที่ ความรับผิดชอบ
และคุณภาพของงานสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๑ ให้กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ ๒
(๓) ตำแหน่งขั้นต้นในสายงานวิชาการ
หรือตำแหน่งในสายงานอื่นที่ต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานระดับแผนกซึ่งมีหน้าที่
ความรับผิดชอบ และคุณภาพของงานต่ำกว่าตำแหน่งระดับ ๔ หรือตำแหน่งอื่นที่มีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๒ ให้กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ ๓
(๔) ตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานระดับแผนกซึ่งมีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงพอสมควร หรือตำแหน่งอื่นที่มีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๓ ให้กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ ๔
(๕)
ตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานระดับแผนกซึ่งมีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๔
ตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานระดับกองซึ่งมีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานต่ำกว่าตำแหน่งระดับ ๖ หรือตำแหน่งอื่นที่มีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๔ ให้กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ ๕
(๖) ตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานระดับกองซึ่งมีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงพอสมควร
หรือตำแหน่งที่ต้องใช้ผู้ชำนาญการซึ่งมีหน้าที่ ความรับผิดชอบ
และคุณภาพของงานสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๕ ให้กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ ๖
(๗) ตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานระดับกองซึ่งมีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๖
หรือตำแหน่งที่ต้องใช้ผู้ชำนาญการพิเศษซึ่งมีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๖ ให้กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ ๗
(๘) ตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานระดับกองซึ่งมีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมากเป็นพิเศษ หรือตำแหน่งที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๗ ให้กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ ๘
(๙)
ตำแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือตำแหน่งอื่นที่มีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
หรือตำแหน่งที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญพิเศษซึ่งมีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๘ ให้กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ ๙
(๑๐) ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม
หรือตำแหน่งอื่นที่มีหน้าที่ ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
หรือตำแหน่งที่มีหน้าที่ ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๙
ให้กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ ๑๐
(๑๑) ตำแหน่งที่มีหน้าที่
ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงกว่าตำแหน่งระดับ ๑๐ ให้กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ ๑๑
ให้ ก.ร.
จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งไว้เป็นบรรทัดฐานในการกำหนดตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญทุกตำแหน่ง
ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้แสดงชื่อของตำแหน่งหน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่ง
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ผู้ดำรงตำแหน่งจะต้องมี
และระดับของตำแหน่งด้วย
ตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญนอกจากจะมีชื่อตามที่
ก.ร. กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งแล้ว อาจมีชื่ออย่างอื่นเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานตามที่
ก.ร. กำหนดอีกด้วยก็ได้ ตำแหน่งใดเป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงานใด
ในฐานะใด ให้ ก.ร. กำหนดด้วย
มาตรา ๒๐ ทวิ[๒]
อัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญให้เป็นไปตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนโดยอนุโลม
และเมื่อมีการปรับปรุงและกำหนดบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
ให้มีผลเป็นการปรับขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ที่ได้รับอยู่และที่กำหนดไว้โดยพระราชกฤษฎีกา กฎ ก.ร. ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี
และมติ ก.ร. ซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามไปด้วย
มาตรา ๒๑[๓]
ให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๐
และตามบัญชีอัตราเงินเดือนตามมาตรา ๒๐ ทวิ
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับใด
ให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนในระดับนั้น
โดยให้ได้รับในขั้นต่ำของเงินเดือนสำหรับตำแหน่ง เว้นแต่
(๑)
ผู้นั้นได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของเงินเดือนสำหรับตำแหน่งนั้นอยู่แล้ว
ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นที่ไม่สูงกว่าขั้นที่ได้รับอยู่
(๒)
ยังไม่มีอัตราเงินเดือนถึงขั้นต่ำของเงินเดือนสำหรับตำแหน่งนั้น
ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นเท่าที่มีอัตราเงินเดือนอยู่
(๓)
ผู้นั้นได้รับบรรจุและแต่งตั้งในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ชำนาญการ
หรือผู้ใช้ฝีมือซึ่ง ก.ร. คัดเลือกบรรจุ ให้ได้รับเงินเดือนตามที่ ก.ร. กำหนด
(๔) ผู้นั้นมีความรู้ความชำนาญจากการศึกษา
การฝึกอบรม หรือการทำงานสูงกว่าที่ ก.ร.
กำหนดไว้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น ตามมาตรา ๒๐ และ ก.ร.
เห็นว่าความรู้ความชำนาญนั้นใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนั้นให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
ก.ร.
จะอนุมัติให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของเงินเดือนสำหรับตำแหน่งนั้นก็ได้ แต่ต้องไม่สูงกว่าขั้นต่ำของเงินเดือนสำหรับตำแหน่งระดับถัดขึ้นไป
ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
การจ่ายเงินเดือนให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือนข้าราชการ
เพื่อประโยชน์ในการออมทรัพย์ของข้าราชการรัฐสภาสามัญให้นำกฎหมายและระเบียบว่าด้วยการหักเงินเดือนข้าราชการไว้เป็นเงินสะสมมาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๒๒
การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ต้องบรรจุจากผู้สอบแข่งขันได้
เว้นแต่การบรรจุผู้รับทุนของทางราชการในการศึกษาวิชาเข้ารับราชการตามสัญญาการบรรจุผู้ทรงคุณวุฒิ
ผู้ชำนาญการ และผู้ใช้ฝีมือ
และการบรรจุในกรณีที่มีเหตุพิเศษซึ่งไม่จำเป็นต้องดำเนินการสอบแข่งขัน ก.ร.
จะคัดเลือกบรรจุก็ได้
การสอบแข่งขันตามวรรคหนึ่ง ให้ ก.ร.
เป็นผู้ดำเนินการสอบโดยเปิดโอกาสให้ผู้มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๒๔
และมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่ ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐ เข้าสมัครสอบได้
และให้สอบสำหรับบรรจุในตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๔ ลงมา ทั้งนี้
หลักสูตรและวิธีดำเนินการเกี่ยวกับการสอบแข่งขัน ตลอดจนเกณฑ์การตัดสิน
การขึ้นบัญชี และการยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ให้เป็นไปตามที่ ก.ร.กำหนด
มาตรา ๒๓ ผู้สมัครสอบแข่งขันในตำแหน่งใด
ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๒๔
หรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๕
และต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามที่ ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐ ด้วย
สำหรับผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๒๔ (๔)
ให้มีสิทธิสมัครสอบแข่งขันได้
แต่จะมีสิทธิได้รับบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญในตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้ต่อเมื่อพ้นจากตำแหน่งข้าราชการการเมืองแล้ว
มาตรา ๒๔
ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) อายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี
(๓)
เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ
(๔) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง
(๕)
ไม่เป็นผู้มีกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไร้ความสามารถ
จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
(๖)
ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งให้พักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
หรือตามกฎหมายอื่น
(๗) ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี
(๘) ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
(๙) ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๑๐) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษ ให้ออก ปลดออก
หรือไล่ออก จากรัฐวิสาหกิจ
(๑๑)
ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออกหรือปลดออกเพราะกระทำผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาหรือตามกฎหมายอื่น
(๑๒)
ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออกเพราะกระทำผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
หรือตามกฎหมายอื่น
มาตรา ๒๕ ผู้ที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ (๗) (๘)
หรือ (๙) ก.ร. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ ส่วนผู้ที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา
๒๔ (๑๐) หรือ (๑๑) ถ้าผู้นั้นได้ออกจากงาน หรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้ว
หรือผู้ที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ (๑๒)
ถ้าผู้นั้นได้ออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว
และมิใช่เป็นกรณีออกจากงานหรือออกจากราชการเพราะกระทำผิดในกรณีทุจริตต่อหน้าที่ ก.ร.
อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ มติของ ก.ร.
ในการประชุมปรึกษายกเว้นเช่นนี้ต้องเป็นเอกฉันท์ การลงมติให้กระทำโดยลับ
มาตรา ๒๖ ผู้สอบแข่งขันได้
ซึ่งอยู่ในลำดับที่ที่จะได้รับบรรจุและแต่งตั้ง
ถ้าปรากฏว่าขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๒๔ โดยไม่ได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา
๒๕ หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่ ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐
อยู่ก่อนหรือภายหลังการสอบแข่งขัน จะบรรจุและแต่งตั้งผู้นั้นมิได้
มาตรา ๒๗ ผู้ใดได้รับบรรจุเข้ารับราชการแล้ว
หากภายหลังปรากฏว่าผู้นั้นขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๒๔
โดยไม่ได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๕
หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐
โดยไม่ได้รับอนุมัติจาก ก.ร. ตามมาตรา ๓๓ อยู่ก่อนก็ดี
มีกรณีต้องหาอยู่ก่อนและภายหลังเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเนื่องจากกรณีต้องหานั้นก็ดี
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการโดยพลัน
แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการกระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่
และการได้รับเงินเดือนก่อนมีคำสั่งให้ออกนั้น
และถ้าการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้ว ให้ถือว่าเป็นการสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
มาตรา ๒๘
การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญในตำแหน่งระดับ ๙ ลงมา
ให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
ส่วนการบรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไป ให้ประธานรัฐสภาเป็นมีอำนาจสั่งบรรจุ
และนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
มาตรา ๒๙ ผู้สอบแข่งขันได้ และผู้ได้รับคัดเลือก
ผู้ใดได้รับบรรจุเข้าเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญในตำแหน่งใด
ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งนั้นเป็นเวลาตามที่กำหนดในกฎ ก.ร. ในระหว่างเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่าผู้นั้นมีความประพฤติไม่ดีหรือไม่มีความรู้หรือไม่มีความสามารถเหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง
หรือเมื่อครบกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้ผู้บังคับบัญชาทำรายงานผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการของผู้นั้นเสนอตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ
ตามวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
เมื่อได้รับรายงานจากผู้บังคับบัญชาตามวรรคหนึ่ง
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุพิจารณาว่าผู้นั้นมีความประพฤติ ความรู้
และความสามารถเหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งหรือไม่
ถ้าเห็นว่าไม่ควรให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปหรือควรให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปอีกระยะหนึ่ง
จะสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ หรือสั่งให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปก็ได้
แต่ถ้าเห็นว่าผู้นั้นควรรับราชการต่อไปได้เมื่อครบกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุรายงานให้ ก.ร. ทราบตามวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
ผู้อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งใด
ถ้าได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นให้เริ่มทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามวรรคหนึ่งใหม่
ผู้ซึ่งถูกสั่งให้ออกจากราชการเพราะมีความประพฤติไม่ดี
หรือไม่มีความรู้
หรือไม่มีความสามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งตามวรรคสอง
ให้ถือเสมือนหนึ่งว่าไม่เคยเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับในระหว่างที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ
มาตรา ๓๐
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งใดไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่น
ต้องแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับเดียวกัน
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ต่ำกว่าเดิมและการย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้มิได้ดำรงตำแหน่งที่
ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐ ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐
จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจาก ก.ร. แล้ว
มาตรา ๓๑
การเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นตำแหน่งใดให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันเพื่อดำรงตำแหน่งนั้นได้
หรือจากผู้ได้รับการประเมินสมรรถภาพแล้วปรากฏว่าเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ
และความเหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งนั้นได้
กรณีใดจะเลื่อนและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้
หรือจากผู้ได้รับการประเมินสมรรถภาพให้เป็นไปตามที่ ก.ร. กำหนด
การสอบแข่งขันเพื่อเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับ
๒ และระดับ ๓ ให้สอบร่วมกับการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการตามมาตรา ๒๒
ส่วนการสอบแข่งขันเพื่อเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับ
๔ ขึ้นไปให้ ก.ร. กำหนดผู้ดำเนินการสอบแข่งขัน
หลักสูตรและวิธีดำเนินการเกี่ยวกับการสอบแข่งขัน ตลอดจนเกณฑ์การตัดสิน
การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ และการยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้
การประเมินสมรรถภาพของข้าราชการรัฐสภาสามัญ ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
ก.ร.กำหนด
มาตรา ๓๒
การบรรจุและการเลื่อนตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญจากผู้สอบแข่งขันได้
ให้ผู้มีอำนาจบรรจุและแต่งตั้งสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้
ส่วนการเลื่อนตำแหน่งจากผู้ได้รับการประเมินสมรรถภาพ
ให้เลื่อนและแต่งตั้งได้ตามความเหมาะสม
มาตรา ๓๓
ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญตำแหน่งใด
ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น ตามที่ ก.ร.กำหนดในมาตรา ๒๐
ในกรณีที่มีความจำเป็น ก.ร.
อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญที่มีคุณสมบัติเฉพาะต่างไปจากที่กำหนดไว้ในมาตรา
๒๐ ก็ได้
ในกรณีที่ ก.ร.
กำหนดให้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพใดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ให้หมายถึงปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพที่ ก.ร. รับรอง
มาตรา ๓๔
การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญให้ดำรงตำแหน่งที่ ก.ร. ยังมิได้กำหนดตามมาตรา
๒๐ จะกระทำมิได้
มาตรา ๓๕
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๓๐ มาตรา
๓๑ และมาตรา ๔๐ แล้ว
หากภายหลังปรากฏว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งสั่งแต่งตั้งผู้นั้นให้กลับไปดำรงตำแหน่งเดิม
หรือตำแหน่งระดับเดียวกันที่ต้องใช้คุณสมบัติเฉพาะที่ผู้นั้นมีอยู่
มาตรา ๓๖
การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญโดยปกติให้สั่งเลื่อนได้ปีละหนึ่งขั้น
และเลื่อนได้ไม่เกินขั้นสูงของระดับที่ผู้นั้นได้รับเงินเดือนอยู่
โดยคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณของงานที่ได้ปฏิบัติมา การรักษาวินัย ตลอดจนความสามารถ
ความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญในกรณีพิเศษเกินกว่าหนึ่งขั้น
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร. และให้เสนอ ก.ร.
เพื่อพิจารณาอนุมัติเป็นรายๆ ไป
การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ
๙ ลงมาให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมเป็นผู้พิจารณาและสั่งเลื่อน
ส่วนผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๑๐ ขึ้นไป
ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาและสั่งเลื่อน
มาตรา ๓๗
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ก.ร.
จะพิจารณาอนุมัติให้เลื่อนขั้นเงินเดือนเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญก็ได้
การเลื่อนเงินเดือนในกรณีเช่นนี้ จะเลื่อนเกินกว่าขั้นสูงของระดับที่ผู้นั้นได้รับเงินเดือนอยู่ก็ได้
มาตรา ๓๘ ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘
มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญประจำส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเป็นการชั่วคราว
โดยให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่เดิมได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
การสั่งและการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับข้าราชการรัฐสภาสามัญตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร. กำหนด
มาตรา ๓๙
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญในต่างส่วนราชการที่สังกัดรัฐสภา
อาจกระทำได้เมื่อส่วนราชการเจ้าสังกัดทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนนั้นแล้ว
โดยให้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ไม่สูงกว่าเดิมและรับเงินเดือนในขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม
เว้นแต่การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้สอบแข่งขันได้
สอบคัดเลือกได้หรือได้รับคัดเลือก ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร.
กำหนด
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้มิได้ดำรงตำแหน่งที่
ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐ ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ ก.ร.
กำหนดตามมาตรา ๒๐ ในต่างส่วนราชการที่สังกัดรัฐสภา
จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจาก ก.ร. แล้ว ในการนี้ให้ ก.ร.
พิจารณาโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับ และให้ ก.ร. กำหนดระดับของตำแหน่งที่จะแต่งตั้งและเงินเดือนที่จะให้ได้รับด้วย
มาตรา ๔๐ การโอนข้าราชการตามกฎหมายอื่น
หรือพนักงานเทศบาล มาบรรจุเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ อาจกระทำได้ถ้าเจ้าตัวสมัครใจ
โดยประธานรัฐสภาหรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมทำความตกลงกับเจ้าสังกัด แล้วเสนอ
ก.ร. เพื่อพิจารณาอนุมัติ ทั้งนี้ จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับใด
และได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้ ก.ร. เป็นผู้พิจารณากำหนด
แต่เงินเดือนที่จะให้ได้รับจะต้องไม่สูงกว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญที่มีคุณวุฒิ
ความสามารถ และความชำนาญงานในระดับเดียวกัน
เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้ที่โอนมาตามวรรคหนึ่งในขณะที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานเทศบาลนั้นเป็นเวลาราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย
การโอนข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญ
พนักงานเทศบาลวิสามัญ และข้าราชการที่อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมาเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัตินี้จะกระทำมิได้
มาตรา ๔๑
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
เมื่อผู้นั้นพ้นจากราชการทหารโดยไม่มีความเสียหายแล้ว
ประสงค์จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญในส่วนราชการสังกัดรัฐสภาตามเดิมภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันพ้นจากราชการทหาร
ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ สั่งบรรจุ แต่งตั้ง
และให้ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร. กำหนด
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
เมื่อได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งแล้วให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง
ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๒๙ มาใช้บังคับ
มาตรา ๔๒
ข้าราชการรัฐสภาสามัญลาออกจากราชการเพื่อสมัครรับเลือกตั้งประสงค์จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญในส่วนราชการสังกัดรัฐสภาตามเดิม
ถ้าข้าราชการผู้นั้นได้แสดงความจำนงไว้ในขณะลาออกว่าจะกลับเข้ามารับราชการ
และระยะเวลาที่ออกจากราชการไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘
สั่งบรรจุ แต่งตั้ง และให้ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร. กำหนด
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ไปสมัครรับเลือกตั้ง
เมื่อได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งแล้วให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง
ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๒๙ มาใช้บังคับ
มาตรา ๔๓
ข้าราชการหรือพนักงานเทศบาลผู้ใดออกจากราชการหรือออกจากงานไปแล้วถ้าสมัครเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
และทางราชการต้องการจะรับผู้นั้นเข้ารับราชการ ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเสนอ ก.ร.
เพื่อพิจารณาอนุมัติ ทั้งนี้ จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับใดและได้รับเงินเดือนเท่าใด
ให้ ก.ร. เป็นผู้พิจารณากำหนด แต่เงินเดือนที่จะให้ได้รับ
จะต้องไม่สูงกว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญที่มีคุณวุฒิ ความสามารถ
และความชำนาญงานในระดับเดียวกัน
เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ
ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้เข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งในขณะที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานเทศบาลนั้น
เป็นเวลาราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย
ความในวรรคหนึ่ง
มิให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญ พนักงานเทศบาลวิสามัญ
และผู้ซึ่งออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
มาตรา ๔๔ ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการ เมื่อ
(๑) ตาย
(๒)
พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(๓) ได้รับอนุญาตให้ลาออก
(๔) ถูกสั่งให้ออก หรือถูกลงโทษไล่ออก
ปลดออกหรือให้ออก
การต่อเวลาราชการให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ต้องออกจากราชการตาม
(๒) รับราชการต่อไปอีก จะกระทำมิได้
มาตรา ๔๕
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการ
ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่ง
เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ เป็นผู้พิจารณา เมื่อผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘
สั่งอนุญาตแล้ว จึงให้ออกจากราชการตามคำสั่ง
ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญขอลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้ง
ให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ยื่นใบลาออกต่อผู้บังคับบัญชา
ในกรณีที่ผู้ขอลาออกมีเรื่องถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย
หรือต้องหาว่ากระทำผิดอาญา ผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตลาออกจะสั่งอนุญาตให้ลาออกก็ได้
โดยมีเงื่อนไขว่าเมื่อสอบสวนพิจารณาแล้วได้ความว่าผู้ได้รับอนุญาตให้ลาออกกระทำผิดวินัย
ก็ให้ดำเนินการสั่งลงโทษหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ตรงตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้
การลาออกในกรณีนี้ยังไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ
มาตรา ๔๖ ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘
มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้
แต่ในการสั่งให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน นอกจากให้ทำได้ในกรณีที่ระบุไว้ในกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้ว
ให้ทำได้ในกรณีต่อไปนี้ด้วย คือ
(๑)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอ
ถ้าผู้บังคับบัญชาดังกล่าวเห็นสมควรให้ออกจากราชการแล้ว
ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้
(๒) เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดสมัครไปปฏิบัติงานใด
ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการ
ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ
(๓)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ (๑) (๔) หรือ (๕)
ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ
(๔) เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดหย่อนความสามารถด้วยเหตุใดในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการของตน
หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือบกพร่องในหน้าที่ด้วยเหตุใด
และผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ เห็นว่าถ้าให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป
จะเป็นการเสียหายแก่ราชการ ก็ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสอบสวนพิจารณา
โดยจะสอบสวนเองหรือมอบหมายให้ข้าราชการที่เห็นสมควรหรือแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแทนก็ได้
ในการสอบสวนนี้จะต้องแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
และให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาด้วย เมื่อได้มีการสอบสวนพิจารณาแล้ว
และผู้บังคับบัญชาดังกล่าวเห็นสมควรให้ออกจากราชการ
ก็ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้ ทั้งนี้ให้นำมาตรา ๕๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นได้สอบสวน
หรือพนักงานสอบสวนได้สอบสวนทางอาญา
หรือศาลได้มีคำพิพากษาเกี่ยวกับเรื่องที่จะต้องสอบสวนตามวรรคหนึ่งอยู่แล้ว
ผู้มีอำนาจตามมาตรานี้จะนำสำนวนการสอบสวนของผู้บังคับบัญชาชั้นต้น
สำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวน สำนวนของผู้ว่าคดีศาลแขวง สำนวนของอัยการ
สำนวนการพิจารณาของศาลหรือสำเนาคำพิพากษาอย่างใดอย่างหนึ่งมาใช้เป็นสำนวนการสอบสวนโดยให้ถือว่าได้มีการสอบสวนตามวรรคหนึ่งแล้วก็ได้
แต่ทั้งนี้ต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาด้วย
(๕)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
และได้มีการสอบสวนตามมาตรา ๕๓ แล้ว
การสอบสวนไม่ได้ความว่ากระทำผิดที่จะถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก
แต่ผู้บังคับบัญชาตามมาตราดังกล่าวเห็นว่าผู้นั้นมีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวนนั้น
ซึ่งจะให้รับราชการต่อไปอาจจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ
ก็ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งให้ออกจากราชการได้
(๖)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท
หรือความผิดลหุโทษ ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก
ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ จะสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการก็ได้
(๗)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ
มาตรา ๔๗
การออกจากราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๑๐ ขึ้นไป
ในกรณีถูกลงโทษ ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง
ส่วนการออกจากราชการในกรณีอื่นให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ
มาตรา ๔๘
ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องรักษาวินัยตามที่กำหนดไว้ในกฎ ก.ร.
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย
จักต้องได้รับโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๐
มาตรา ๔๙
ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ส่งเสริมและดูแลระมัดระวังให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามวินัย
ถ้าผู้บังคับบัญชารู้ว่าผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาคนใดกระทำผิดวินัย
จะต้องดำเนินการทางวินัยทันที
ถ้าเห็นว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยที่จะต้องได้รับโทษและอยู่ในอำนาจของตนที่จะลงโทษได้ให้สั่งลงโทษ
แต่ถ้าเห็นว่าผู้นั้นควรจะต้องได้รับโทษสูงกว่าที่ตนมีอำนาจสั่งลงโทษ
ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาของผู้กระทำผิดวินัยเหนือขึ้นไป
เพื่อให้พิจารณาดำเนินการสั่งลงโทษตามควรแก่กรณี
ผู้บังคับบัญชาผู้ใดละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรานี้โดยไม่สุจริต
ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย
มาตรา ๕๐ โทษผิดวินัยมี ๖ สถาน คือ
(๑) ภาคทัณฑ์
(๒) ตัดเงินเดือน
(๓) ลดขั้นเงินเดือน
(๔) ให้ออก
(๕) ปลดออก
(๖) ไล่ออก
มาตรา ๕๑ การลงโทษข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ผู้สั่งลงโทษต้องสั่งลงโทษให้เหมาะสมกับความผิด
ในคำสั่งลงโทษให้แสดงว่าผู้ถูกลงโทษกระทำผิดวินัยในกรณีใด ตามมาตราใด
มาตรา ๕๒
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยที่ยังไม่ถึงขั้นเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน
หรือลดขั้นเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้
แต่สำหรับการลงโทษภาคทัณฑ์
ให้ใช้เฉพาะกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยหรือมีเหตุอันควรลดหย่อน
ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษตัดเงินเดือน
ในกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยและเป็นความผิดครั้งแรก
ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่ามีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยว่ากล่าวตักเตือน
หรือให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือไว้ก่อนก็ได้
การลงโทษตามมาตรานี้
ผู้บังคับบัญชาใดจะมีอำนาจสั่งลงโทษผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาได้เพียงใด
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
มาตรา ๕๓
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดถูกกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่า
กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ตามที่กำหนดในกฎ ก.ร. ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘
สอบสวนพิจารณาโดยไม่ชักช้าโดยจะสอบสวนเอง หรือมอบหมายให้ข้าราชการที่เห็นสมควร
หรือแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแทนก็ได้
ในการสอบสวนนี้จะต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาด้วย
เมื่อได้มีการสอบสวนแล้วและผู้บังคับบัญชาดังกล่าวพิจารณาเห็นว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร. ก็ให้สั่งลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก ตามความร้ายแรงแห่งกรณี
ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษให้ก็ได้
แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าให้ออก ผู้ถูกสั่งให้ออกตามมาตรานี้ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นได้สอบสวน
หรือพนักงานสอบสวนได้สอบสวนทางอาญา
หรือศาลได้มีคำพิพากษาเกี่ยวกับเรื่องที่จะต้องสอบสวนตามวรรคหนึ่งอยู่แล้ว
ผู้มีอำนาจตามมาตรานี้จะนำสำนวนการสอบสวนของผู้บังคับบัญชาชั้นต้น
สำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวน สำนวนของผู้ว่าคดีศาลแขวง สำนวนของอัยการ
สำนวนการพิจารณาของศาลหรือสำเนาคำพิพากษาอย่างใดอย่างหนึ่งมาใช้เป็นสำนวนการสอบสวน
โดยถือว่าได้มีการสอบสวนตามวรรคหนึ่งแล้วก็ได้
แต่ทั้งนี้ต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาด้วย
ให้ ก.ร. มีอำนาจออกกฎ ก.ร.
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณา
ระยะเวลาสอบสวนพิจารณาและสั่งลงโทษ การสั่งสอบสวน การมอบหมายให้สอบสวน
การตั้งกรรมการสอบสวน ตลอดจนการส่งประเด็นไปสอบสวนพยานบุคคลซึ่งอยู่ต่างท้องที่
การรวบรวมพยานหลักฐาน และกิจการอื่นๆ เพื่อให้ได้ความจริง
มาตรา ๕๔
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
และเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่กำหนดไว้ในกฎ ก.ร.
หรือได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชา
หรือต่อผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้สอบสวน หรือต่อคณะกรรมการสอบสวน
ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ จะสั่งลงโทษโดยไม่สอบสวนต่อไปก็ได้
มาตรา ๕๕ ให้ผู้บังคับบัญชาผู้สอบสวน
ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้สอบสวนและกรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
และให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
เพียงเท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาผู้สอบสวนผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้สอบสวน
และกรรมการสอบสวน และโดยเฉพาะให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย คือ
(๑) เรียกให้กระทรวงทบวงกรม หน่วยราชการ
หรือรัฐวิสาหกิจชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐาน ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัด
มาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน
(๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใดๆ มาให้ถ้อยคำ
หรือให้ส่งเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน
(๓) ส่งประเด็นไปให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน
เพื่อการนี้ให้พนักงานสอบสวน ผู้ทำการสอบสวนเป็นกรรมการสอบสวน
และให้ถือว่าการสอบสวนของพนักงานสอบสวนเป็นการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวน
เมื่อได้สอบสวนเสร็จแล้วให้เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนดังกล่าวส่งรายงานที่จำเป็นและพยานหลักฐานต่างๆ
ทั้งหมดไปยังคณะกรรมการสอบสวน
มาตรา ๕๖ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยหรือถูกฟ้องคดีอาญา
หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา
เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
แม้ภายหลังผู้นั้นจะออกจากราชการไปแล้วผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘
ก็ยังมีอำนาจสั่งลงโทษหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้เป็นไปตามหมวดนี้ได้ เว้นแต่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นจะออกจากราชการเพราะเหตุตาย
มาตรา ๕๗
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกสอบสวน
หรือถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา
เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา
๒๘
มีอำนาจสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาได้
แต่ถ้าภายหลังปรากฏผลการสอบสวนพิจารณาว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิด
หรือกระทำผิดไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก
และไม่มีกรณีที่จะต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่นก็ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิม
หรือตำแหน่งในระดับเดียวกันที่ต้องใช้คุณสมบัติเฉพาะที่ผู้นั้นมีอยู่
เงินเดือนของผู้ถูกสั่งพักราชการให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น
ส่วนในกรณีสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
ถ้าปรากฏผลการสอบสวนพิจารณาเป็นยุติแล้วว่าผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนมิได้กระทำผิด
หรือกระทำผิดไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษ ให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก
ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่างถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเสมือนว่าผู้นั้นถูกสั่งพักราชการ
ให้ ก.ร. มีอำนาจออกกฎ ก.ร.
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสั่งพักราชการ การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
และการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามผลการสอบสวนพิจารณา
มาตรา ๕๘
เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษหรือดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไปแล้ว
ให้ส่งรายงานการลงโทษหรือการดำเนินการทางวินัยนั้นต่อผู้บังคับบัญชาของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นตามลำดับจนถึงประธานรัฐสภาและให้ประธานรัฐสภารายงานต่อ
ก.ร.
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นซึ่งมีตำแหน่งเหนือผู้สั่งตามวรรคหนึ่งเห็นว่าการลงโทษหรือการดำเนินการทางวินัยนั้นไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม
ก็ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวมีอำนาจที่จะสั่งลงโทษ เพิ่มโทษ ลดโทษ หรือยกโทษ
ตามควรแก่กรณีได้ แต่ถ้าจะลงโทษหรือเพิ่มโทษแล้ว
โทษที่ลงหรือเพิ่มขึ้นรวมกับที่สั่งไว้แล้วเดิมต้องไม่เกินอำนาจของผู้ซึ่งสั่งใหม่นั้น
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษหรือดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดแล้ว
แต่ประธานรัฐสภาหรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมเห็นว่ากรณีเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ก็ให้ประธานรัฐสภา หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม แล้วแต่กรณี มีอำนาจดำเนินการตามมาตรา
๕๓ ถ้าจะต้องสอบสวนตามมาตรา ๕๓ ก่อน
ก็ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวมีอำนาจสอบสวนตามมาตรา ๕๓
ในกรณีที่จะต้องลงโทษตามมาตรา ๕๓
ถ้ามีการตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือนไปแล้วก็ให้เป็นอันพับไป
มาตรา ๕๙
เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษหรือดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญในเรื่องใดไปแล้ว
ถ้า ก.ร. พิจารณาเห็นเป็นการสมควรที่จะต้องสอบสวนเพิ่มเติม หรือสอบสวนใหม่
เพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ก็ให้ ก.ร.
มีอำนาจสอบสวนเพิ่มเติมหรือสอบสวนใหม่ในเรื่องนั้นได้ตามความจำเป็น โดยจะสอบสวนเองหรือแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
หรือมอบหมายให้ข้าราชการที่เห็นสมควรสอบสวนแทนก็ได้
มาตรา ๖๐
การอุทธรณ์การถูกลงโทษของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้เป็นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
หมวด
๔
ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
มาตรา ๖๑
ตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
มีดังนี้
(๑) ที่ปรึกษาประจำรัฐสภา
(๒) ผู้ช่วยที่ปรึกษาประจำรัฐสภา
(๓) เลขานุการประธานรัฐสภา
(๔) เลขานุการรองประธานรัฐสภา
(๕) เลขานุการประจำรัฐสภา
มาตรา ๖๒
ให้ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองได้รับเงินเดือนตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖๓
การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามมาตรา ๖๑ (๑) และ (๒)
ให้ประธานรัฐสภาด้วยความเห็นชอบของ ก.ร.
แต่งตั้งบุคคลซึ่งเห็นสมควรตามเหตุผลในทางการเมือง
และต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปที่จะเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญได้ตามมาตรา ๒๔ ยกเว้น
(๔)
การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตามมาตรา
๖๑ (๓) (๔) และ (๕) ให้ประธานรัฐสภาแต่งตั้งบุคคลตามเหตุผลในทางการเมือง
และต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปที่จะเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญได้ตามมาตรา ๒๔
ยกเว้น (๔)
มาตรา ๖๔ ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองออกจากตำแหน่ง
เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) สำหรับข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตามมาตรา
๖๑ (๑) และ (๒) ประธานรัฐสภาให้พ้นจากตำแหน่งด้วยความเห็นชอบของ ก.ร.
หรือเมื่อรัฐสภาสิ้นอายุหรือถูกยุบ
(๔) สำหรับข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตามมาตรา
๖๑ (๓) (๔) และ (๕) ผู้แต่งตั้งพ้นจากตำแหน่ง หรือผู้แต่งตั้งสั่งให้พ้นจากตำแหน่งจะโดยมีความผิดหรือไม่มีความผิดก็ตาม
(๕) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ ยกเว้น (๔)
หมวด
๕
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๖๕ บรรดาพระราชบัญญัติ ประกาศของคณะปฏิวัติ
พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง กฎ ก.พ. ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับและคำสั่งที่ยังคงใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือนในส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
นอกจากที่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับแก่ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไป เว้นแต่พระราชบัญญัตินี้ หรือ กฎ ก.ร.
ที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ จะบัญญัติเป็นอย่างอื่น
มาตรา ๖๖ ให้ผู้ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
เป็นข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามพระราชบัญญัตินี้
และคงดำรงตำแหน่งและมีอัตราเงินเดือนตามที่ได้รับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ทั้งนี้สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้เป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
สำหรับข้าราชการการเมือง ให้เป็นข้าราชรัฐสภาฝ่ายการเมือง
ส่วนข้าราชการพลเรือนวิสามัญ ให้เป็นข้าราชการรัฐสภาวิสามัญ
และให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนวิสามัญมาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๖๗ ในระหว่างที่รัฐสภายังไม่ได้เลือกตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนทำหน้าที่
ก.ร. ตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖๘ ในระหว่างที่ ก.ร.
ยังมิได้กำหนดตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญตามมาตรา ๒๐
การดำเนินการเกี่ยวกับข้าราชการรัฐสภาสามัญ ให้เสนอ ก.ร. พิจารณาอนุมัติเป็นรายๆ
ไป
มาตรา ๖๙
การใดหรือสิทธิใดที่ข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามมาตรา ๖๖
กระทำหรือมีอยู่ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ถือว่าเป็นการกระทำหรือสิทธิตามพระราชบัญญัตินี้
การใดที่ทางราชการได้ดำเนินการเกี่ยวกับข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามมาตรา
๖๖ ไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ถือว่าเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีปัญหาตามมาตรานี้ ให้ ก.ร.
เป็นผู้วินิจฉัย
มาตรา ๗๐
การใดที่เคยดำเนินการได้ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
และมิได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ จะดำเนินการได้ประการใด ให้เป็นไปตามที่
ก.ร. กำหนด โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
สัญญา
ธรรมศักดิ์
นายกรัฐมนตรี
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
บัญชี
ก.[๔]
(๑)
ที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๒๒,๐๐๐ บาท
(๒)
ที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๒๑,๐๕๐ บาท
(๓)
ที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๒๐,๑๕๐ บาท
(๔)
ผู้ช่วยที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๑๘,๔๐๐ บาท
(๕)
ผู้ช่วยที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๑๗,๕๕๐ บาท
(๖)
ผู้ช่วยที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๑๖,๗๐๐ บาท
(๗)
เลขานุการประธานรัฐสภา เดือนละ ๑๗,๕๕๐ บาท
(๘)
เลขานุการรองประธานรัฐสภา เดือนละ ๑๗,๕๕๐ บาท
(๙)
เลขานุการประจำรัฐสภา เดือนละ ๑๖,๗๐๐ บาท
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
บัญชี
ข.[๕]
(๑)
ที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๒๖,๒๐๐ บาท
(๒)
ที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๒๕,๑๐๐ บาท
(๓)
ที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๒๔,๐๐๐ บาท
(๔)
ผู้ช่วยที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๒๑,๙๕๐ บาท
(๕)
ผู้ช่วยที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท
(๖)
ผู้ช่วยที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๑๘,๑๐๐ บาท
(๗)
เลขานุการประธานรัฐสภา เดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท
(๘)
เลขานุการรองประธานรัฐสภา เดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท
(๙)
เลขานุการประจำรัฐสภา เดือนละ ๑๘,๑๐๐ บาท
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
บัญชี
ค.[๖]
(๑)
ที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๓๑,๖๑๐ บาท
(๒)
ที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๒๙,๓๑๐ บาท
(๓)
ที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๒๗,๐๑๐ บาท
(๔)
ผู้ช่วยที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๒๔,๗๑๐ บาท
(๕)
ผู้ช่วยที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๒๒,๔๑๐ บาท
(๖)
ผู้ช่วยที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๒๐,๔๑๐ บาท
(๗)
เลขานุการประธานรัฐสภา เดือนละ ๒๒,๔๑๐ บาท
(๘)
เลขานุการรองประธานรัฐสภา เดือนละ ๒๒,๔๑๐ บาท
(๙)
เลขานุการประจำรัฐสภา เดือนละ ๒๐,๔๑๐ บาท
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
บัญชี
ง.[๗]
(๑)
ที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๓๕,๐๐๐ บาท
(๒)
ที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๓๒,๕๐๐ บาท
(๓)
ที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๓๐,๐๐๐ บาท
(๔)
ผู้ช่วยที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๒๗,๕๐๐ บาท
(๕)
ผู้ช่วยที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๒๕,๐๗๐ บาท
(๖)
ผู้ช่วยที่ปรึกษาประจำรัฐสภา เดือนละ ๒๒,๗๗๐ บาท
(๗)
เลขานุการประธานรัฐสภา เดือนละ ๒๕,๐๗๐ บาท
(๘)
เลขานุการรองประธานรัฐสภา เดือนละ ๒๕,๐๗๐ บาท
(๙)
เลขานุการประจำรัฐสภา เดือนละ ๒๒,๗๗๐ บาท
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้
คือ
โดยที่ในปัจจุบันข้าราชการที่ปฏิบัติราชการให้แก่สภานิติบัญญัติยังอยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยราชการของฝ่ายบริหาร
เพราะมีฐานะเป็นข้าราชการพลเรือน
แต่โดยสภาพของการปฏิบัติราชการควรจะอยู่ภายใต้การควบคุมของสภานิติบัญญัติโดยตรง
เพราะจะทำให้สภานิติบัญญัติสามารถปรับปรุงระเบียบปฏิบัติราชการของข้าราชการในสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาให้มีประสิทธิภาพ
และอำนวยความสะดวกให้แก่ราชการของสภานิติบัญญัติได้มากยิ่งขึ้น
จึงสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาโดยเฉพาะ และเพื่อการนี้จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑[๘]
มาตรา ๒
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นต้นไป
มาตรา ๕
ให้ประธานรัฐสภาประกาศปรับอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้เข้าระดับและขั้นเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ
หมายเลข ๑ ท้ายพระราชบัญญัตินี้
ให้สอดคล้องกับการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
มาตรา ๖
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ ๗ ผู้ใดได้รับเงินเดือนขั้น ๑๑
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นคงดำรงตำแหน่งระดับ ๗ ต่อไป
แต่ให้ได้รับเงินเดือนเท่ากับเงินเดือนขั้น ๙ ของระดับ ๘
ตามบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๑
ท้ายพระราชบัญญัตินี้โดยให้ถือว่าเงินเดือนที่ได้รับนั้นเป็นเงินเดือนขั้นสูงของตำแหน่งระดับ
๗ เว้นแต่จะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับที่สูงขึ้น
ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งอาจได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๒๒ ขึ้นรับเงินเดือนระดับ ๗ ขั้น ๑๑
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๗
ภายใต้บังคับมาตรา ๖ บรรดาอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญที่อ้างถึงในกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง มติคณะรัฐมนตรี หรือกฎ ก.ร. หรือในการกำหนดของ
ก.ร.
ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ให้ถือว่าเป็นการอ้างถึงอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ตามบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๑
ท้ายพระราชบัญญัตินี้ในระดับและขั้นเงินเดือนตามที่ประธานรัฐสภาประกาศตามมาตรา ๕
มาตรา ๘
เพื่อประโยชน์ในการบรรจุบุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘
และออกจากราชการไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับกลับเข้ารับราชการให้ปรับอัตราเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้เข้าระดับและขั้นเงินเดือนตามที่ประธานรัฐสภาประกาศตามมาตรา
๕ สำหรับบุคคลซึ่งได้รับเงินเดือนระดับ ๗ ขั้น ๑๑ อยู่ในขณะที่ออกจากราชการ
ให้นำมาตรา ๖ มาใช้บังคับแก่การปรับอัตราเงินเดือนดังกล่าวโดยอนุโลม
มาตรา ๙
ให้ประธานรัฐสภารักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินเดือนของข้าราชการฝ่ายรัฐสภาไม่ได้ส่วนสัมพันธ์กับอัตราเงินเดือนของข้าราชการประเภทอื่นๆ
ที่ได้รับการปรับปรุงไปแล้ว
สมควรแก้ไขปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการฝ่ายรัฐสภาให้เหมาะสม
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๑[๙]
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็นต้นไป
มาตรา ๖
อัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองให้เป็นไปตามบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
บัญชี ก. ท้ายพระราชบัญญัตินี้ และเมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกาประกาศใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการการเมือง
บัญชี ข. บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการการเมือง บัญชี ค.
หรือบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการการเมือง บัญชี ง.
ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมืองแล้ว
ให้ประธานรัฐสภาประกาศปรับใช้อัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
ตามบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง บัญชี ข.
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง บัญชี ค.
หรือบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง บัญชี ง.
ให้สอดคล้องกัน
มาตรา ๗
ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ และให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
บัญชี ก. บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง บัญชี ข.
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง บัญชี ค.
และบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง บัญชี ง.
ท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา ๘
การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญให้เข้าระดับและขั้นเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
ตามมาตรา ๒๐ ทวิ
ให้เป็นไปตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนและตามระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
เมื่อปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญตามวรรคหนึ่งแล้วเฉพาะข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ได้รับเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำหรือสูงกว่าขั้นสูงของระดับ
ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นตามที่กำหนดไว้ในบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งได้เลื่อนตำแหน่งนับแต่วันปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญตามวรรคหนึ่ง
ถ้าได้รับเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับที่ได้เลื่อนตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำของบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
แต่ถ้าได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของระดับที่ได้เลื่อนตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
ก็ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นที่ได้รับอยู่
การรับเงินเดือนในขั้นต่อๆ
ไปของข้าราชการรัฐสภาสามัญตามวรรคสองและวรรคสาม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๙
เพื่อประโยชน์ในการบรรจุบุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ และออกจากราชการไปก่อนวันที่บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนใช้บังคับกลับเข้ารับราชการ
ให้ปรับอัตราเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้เข้าระดับและขั้นเงินเดือนตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
มาตรา ๑๐ ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
บัญชี ก. ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
ให้นำบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๓
ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาพ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๒๑ มาใช้บังคับไปพลางก่อน
มาตรา ๑๑
ให้ประธานรัฐสภารักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
ในบัญชีอัตราเงินเดือนท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๒๑
ได้ใช้มาเป็นเวลานานไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบันสมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองเสียใหม่
และเนื่องจากอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันตรงกับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนอยู่แล้ว
จึงสมควรแก้ไขให้ถือตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนโดยอนุโลม
เพื่อให้การปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในอนาคต
มีผลถึงข้าราชการรัฐสภาสามัญด้วย โดยไม่ต้องแก้ไขกฎหมาย
รวมทั้งให้มีการให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองแต่ละบัญชีได้ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์
โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
สัญชัย/ผู้จัดทำ
๑๙
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๒/ตอนที่ ๒๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘
[๒]
มาตรา ๒๐ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่
๓) พ.ศ. ๒๕๓๑
[๓]
มาตรา ๒๑ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๑
[๔]
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง บัญชี ก.
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๑
[๕]
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง บัญชี ข.
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๑
[๖]
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง บัญชี ค.
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๑
[๗]
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง บัญชี ง.
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๑
[๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๕/ตอนที่ ๑๐๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗/๒๗ กันยายน ๒๕๒๑
[๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๑๘๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๖๐/๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๑ |
598387 | พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 (ฉบับ Update ล่าสุด) | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ.
๒๕๑๘
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๘
เป็นปีที่
๓๐ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ บรรดาบทกฎหมาย กฎ
และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา หมายความว่า
บุคคลซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
ประธานรัฐสภา หมายความว่า
ประธานรัฐสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในกรณีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีสภานิติบัญญัติสภาเดียว
ให้หมายความถึงประธานแห่งสภานั้น
รองประธานรัฐสภา หมายความว่า
รองประธานรัฐสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
ในกรณีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีสภานิติบัญญัติสภาเดียว
ให้หมายความถึงรองประธานแห่งสภานั้น
รัฐสภา หมายความว่า
สภาซึ่งทำหน้าที่นิติบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีสภานิติบัญญัติสภาเดียว
ให้หมายถึงสภานั้น
มาตรา ๕
ให้ประธานรัฐสภารักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด
๑
คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
มาตรา ๖[๒]
ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
เรียกโดยย่อว่า ก.ร. ประกอบด้วยประธานรัฐสภาเป็นประธานกรรมการ
รองประธานรัฐสภาเป็นรองประธานกรรมการ เลขาธิการ ก.พ. เลขาธิการวุฒิสภา
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐสภาเลือกมีจำนวนไม่เกินแปดคน
เป็นกรรมการ ในกรณีที่มีสองสภา ให้แต่ละสภาเลือกสภาละไม่เกินสี่คน
ให้ประธานรัฐสภาแต่งตั้งเลขาธิการวุฒิสภาหรือเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนใดคนหนึ่งเป็นเลขานุการ
ก.ร.
มาตรา ๗[๓]
ผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๖
ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(๑)
เคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือตำแหน่งเทียบเท่ามาแล้ว
หรือเคยดำรงตำแหน่งกรรมการข้าราชการประเภทใดประเภทหนึ่งมาแล้ว
(๒)
ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ ข้าราชการการเมือง
ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง สมาชิกรัฐสภา กรรมการพรรคการเมือง
หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
มาตรา ๘[๔]
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี
มาตรา ๙
เมื่อตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิว่างลงเพราะออกจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา
๘ หรือเพราะพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๑๑
ให้รัฐสภาเลือกตั้งผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗
ขึ้นแทนภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ตำแหน่งว่าง หรือวันเปิดสมัยประชุมรัฐสภา
แล้วแต่กรณี
ความในวรรคหนึ่งมิให้นำมาใช้บังคับสำหรับกรณีที่ตำแหน่งว่างเพราะการพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา
๑๑ และวาระของกรรมการที่เหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือเมื่อรัฐสภาสิ้นอายุ
หรือถูกยุบ
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างเพราะพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา
๑๑ อยู่ในตำแหน่งตามวาระของกรรมการซึ่งตนแทน
รัฐสภาอาจเลือกตั้งกรรมการซึ่งออกจากตำแหน่งให้เป็นกรรมการอีกได้
มาตรา ๑๐[๕]
ในการเลือกผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการ
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประธานรัฐสภากำหนด
มาตรา ๑๑ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๘
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓)
เป็นผู้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗
มาตรา ๑๒ การประชุมของ ก.ร.
ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในระหว่างที่รัฐสภาสิ้นอายุหรือถูกยุบ
ให้ประธานรัฐสภาและรองประธานรัฐสภาคงดำรงตำแหน่งประธาน ก.ร. และรองประธาน ก.ร.
อยู่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงแต่งตั้งประธานรัฐสภาและรองประธานรัฐสภาใหม่แล้วจึงให้พ้นจากตำแหน่ง
ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิว่างลงเพราะออกตามวาระในระหว่างที่รัฐสภาสิ้นอายุหรือถูกยุบ
องค์ประชุมของ ก.ร.
ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการที่เหลืออยู่
มาตรา ๑๓
นอกจากอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้ ก.ร.
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย คือ
(๑) ควบคุมดูแลให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) ตีความและวินิจฉัยปัญหาต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้พระราชบัญญัตินี้
(๓) ออกกฎ ก.ร. หรือระเบียบ
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ กฎ ก.ร.
เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
(๔) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
(๕) รักษาทะเบียนประวัติข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(๖)
ควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(๗)[๖]
กำหนดเรื่องการจัดสวัสดิการ การสงเคราะห์อื่น
เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว
และเงินค่าตอบแทนพิเศษอื่น แก่ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
มาตรา ๑๔ ก.ร.
มีอำนาจตั้งอนุกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรียกโดยย่อว่า อ.ก.ร.
เพื่อทำการใด ๆ แทนได้
ให้นำความในมาตรา ๑๒
มาใช้บังคับแก่การประชุมของอนุกรรมการโดยอนุโลม
หมวด
๒
บททั่วไป
มาตรา ๑๕ ข้าราชการฝ่ายรัฐสภามี ๒ ประเภท
(๑) ข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ได้แก่ผู้ซึ่งรับราชการในตำแหน่งประจำ โดยได้รับเงินเดือนในอัตราสามัญ
และได้รับแต่งตั้งตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๓
(๒) ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
ได้แก่ผู้ซึ่งรับราชการในตำแหน่งการเมืองของรัฐสภา
มาตรา ๑๖[๗] วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี
วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ให้เป็นไปตามที่
ก.ร. กำหนด
มาตรา ๑๗ เครื่องแบบของข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น และให้ประธานรัฐสภาวางระเบียบว่าด้วยการแต่งกายของข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
มาตรา ๑๘
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ให้ ก.ร.
พิจารณาตามระเบียบว่าด้วยการนั้น
และให้ประธานรัฐสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อขอพระราชทาน
มาตรา ๑๙
ข้าราชการฝ่ายรัฐสภามีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
เช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือน
หมวด
๓
ข้าราชการรัฐสภาสามัญ
มาตรา ๒๐[๘] การกำหนดตำแหน่ง
การให้รับเงินเดือนและการให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนสามัญมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ทั้งนี้ คำว่า ก.พ. ให้หมายถึง ก.ร.
และคำว่า ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม
และมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
ให้หมายถึงส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม และมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อประธานรัฐสภา
ประธานวุฒิสภา หรือประธานสภาผู้แทนราษฎร แล้วแต่กรณี
การกำหนดตำแหน่งตามมาตรา ๔๒ (๑๑) (ค)
แห่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ก.ร.
อาจกำหนดให้มีตำแหน่งดังกล่าวในส่วนราชการสังกัดรัฐสภาได้ส่วนราชการละหนึ่งตำแหน่ง[๙]
มาตรา ๒๐ ทวิ[๑๐]
(ยกเลิก)
มาตรา ๒๑[๑๑]
อัตราเงินเดือนและอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราเงินเดือนและอัตราเงินประจำตำแหน่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ทั้งนี้ คำว่า ก.พ. ให้หมายถึง ก.ร.
และคำว่า ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม
และมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
ให้หมายถึงส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม
และมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อประธานรัฐสภา
ประธานวุฒิสภา หรือประธานสภาผู้แทนราษฎร แล้วแต่กรณี
การจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งให้แก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
เพื่อประโยชน์ในการออมทรัพย์ของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้นำกฎหมายและระเบียบว่าด้วยการหักเงินเดือนข้าราชการไว้เป็นเงินสะสมมาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๒๒ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ต้องบรรจุจากผู้สอบแข่งขันได้
เว้นแต่การบรรจุผู้รับทุนของทางราชการในการศึกษาวิชาเข้ารับราชการตามสัญญาการบรรจุผู้ทรงคุณวุฒิ
ผู้ชำนาญการ และผู้ใช้ฝีมือ
และการบรรจุในกรณีที่มีเหตุพิเศษซึ่งไม่จำเป็นต้องดำเนินการสอบแข่งขัน ก.ร.
จะคัดเลือกบรรจุก็ได้
การสอบแข่งขันตามวรรคหนึ่ง ให้ ก.ร.
เป็นผู้ดำเนินการสอบโดยเปิดโอกาสให้ผู้มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๒๔
และมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่ ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐ เข้าสมัครสอบได้
และให้สอบสำหรับบรรจุในตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๔ ลงมา ทั้งนี้
หลักสูตรและวิธีดำเนินการเกี่ยวกับการสอบแข่งขัน ตลอดจนเกณฑ์การตัดสิน
การขึ้นบัญชี และการยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ให้เป็นไปตามที่ ก.ร.กำหนด
มาตรา ๒๓ ผู้สมัครสอบแข่งขันในตำแหน่งใด
ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๒๔ หรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา
๒๕ และต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามที่ ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐ ด้วย
สำหรับผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๒๔ (๔)
ให้มีสิทธิสมัครสอบแข่งขันได้
แต่จะมีสิทธิได้รับบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญในตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้ต่อเมื่อพ้นจากตำแหน่งข้าราชการการเมืองแล้ว
มาตรา ๒๔
ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) อายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี
(๓)
เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ
(๔) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง
(๕)
ไม่เป็นผู้มีกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไร้ความสามารถ
จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
(๖)
ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งให้พักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
หรือตามกฎหมายอื่น
(๗) ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี
(๘) ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
(๙)
ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๑๐) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษ ให้ออก ปลดออก
หรือไล่ออก จากรัฐวิสาหกิจ
(๑๑)[๑๒]
ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษปลดออกเพราะกระทำผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาหรือตามกฎหมายอื่น
(๑๒)
ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออกเพราะกระทำผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
หรือตามกฎหมายอื่น
มาตรา ๒๕ ผู้ที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ (๗) (๘)
หรือ (๙) ก.ร. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้
ส่วนผู้ที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ (๑๐) หรือ (๑๑) ถ้าผู้นั้นได้ออกจากงาน
หรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้ว หรือผู้ที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ (๑๒)
ถ้าผู้นั้นได้ออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว
และมิใช่เป็นกรณีออกจากงานหรือออกจากราชการเพราะกระทำผิดในกรณีทุจริตต่อหน้าที่
ก.ร. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ มติของ ก.ร.
ในการประชุมปรึกษายกเว้นเช่นนี้ต้องเป็นเอกฉันท์ การลงมติให้กระทำโดยลับ
มาตรา ๒๖ ผู้สอบแข่งขันได้
ซึ่งอยู่ในลำดับที่ที่จะได้รับบรรจุและแต่งตั้ง
ถ้าปรากฏว่าขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๒๔
โดยไม่ได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๕
หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่ ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐
อยู่ก่อนหรือภายหลังการสอบแข่งขัน จะบรรจุและแต่งตั้งผู้นั้นมิได้
มาตรา ๒๗ ผู้ใดได้รับบรรจุเข้ารับราชการแล้ว
หากภายหลังปรากฏว่าผู้นั้นขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๒๔
โดยไม่ได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๕
หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐
โดยไม่ได้รับอนุมัติจาก ก.ร. ตามมาตรา ๓๓ อยู่ก่อนก็ดี
มีกรณีต้องหาอยู่ก่อนและภายหลังเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเนื่องจากกรณีต้องหานั้นก็ดี
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการโดยพลัน
แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการกระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่และการได้รับเงินเดือนก่อนมีคำสั่งให้ออกนั้น
และถ้าการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้ว
ให้ถือว่าเป็นการสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
มาตรา ๒๘[๑๓]
การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญและการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
ให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้เป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง
(๑) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๑
และระดับ ๑๐ ให้ประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา หรือประธานสภาผู้แทนราษฎร แล้วแต่กรณี
ด้วยความเห็นชอบของ ก.ร. เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ และนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้ง
(๒) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙
ลงมา ให้เลขาธิการวุฒิสภา เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา แล้วแต่กรณี
เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
มาตรา ๒๙ ผู้สอบแข่งขันได้ และผู้ได้รับคัดเลือก
ผู้ใดได้รับบรรจุเข้าเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญในตำแหน่งใด
ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งนั้นเป็นเวลาตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
ในระหว่างเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่าผู้นั้นมีความประพฤติไม่ดีหรือไม่มีความรู้หรือไม่มีความสามารถเหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง
หรือเมื่อครบกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ให้ผู้บังคับบัญชาทำรายงานผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการของผู้นั้นเสนอตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ
ตามวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
เมื่อได้รับรายงานจากผู้บังคับบัญชาตามวรรคหนึ่ง
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุพิจารณาว่าผู้นั้นมีความประพฤติ ความรู้
และความสามารถเหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งหรือไม่
ถ้าเห็นว่าไม่ควรให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปหรือควรให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปอีกระยะหนึ่ง
จะสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ หรือสั่งให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปก็ได้
แต่ถ้าเห็นว่าผู้นั้นควรรับราชการต่อไปได้เมื่อครบกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุรายงานให้ ก.ร. ทราบตามวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
ผู้อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งใด
ถ้าได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นให้เริ่มทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามวรรคหนึ่งใหม่
ผู้ซึ่งถูกสั่งให้ออกจากราชการเพราะมีความประพฤติไม่ดี
หรือไม่มีความรู้
หรือไม่มีความสามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งตามวรรคสอง
ให้ถือเสมือนหนึ่งว่าไม่เคยเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับในระหว่างที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ
มาตรา ๓๐
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งใดไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่น
ต้องแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับเดียวกัน
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ต่ำกว่าเดิมและการย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้มิได้ดำรงตำแหน่งที่
ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐ ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐
จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจาก ก.ร. แล้ว
มาตรา ๓๑
การเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นตำแหน่งใดให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันเพื่อดำรงตำแหน่งนั้นได้
หรือจากผู้ได้รับการประเมินสมรรถภาพแล้วปรากฏว่าเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ
และความเหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งนั้นได้
กรณีใดจะเลื่อนและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้
หรือจากผู้ได้รับการประเมินสมรรถภาพให้เป็นไปตามที่ ก.ร. กำหนด
การสอบแข่งขันเพื่อเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับ
๒ และระดับ ๓ ให้สอบร่วมกับการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการตามมาตรา ๒๒
ส่วนการสอบแข่งขันเพื่อเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับ
๔ ขึ้นไปให้ ก.ร. กำหนดผู้ดำเนินการสอบแข่งขัน
หลักสูตรและวิธีดำเนินการเกี่ยวกับการสอบแข่งขัน ตลอดจนเกณฑ์การตัดสิน
การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ และการยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้
การประเมินสมรรถภาพของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร.กำหนด
มาตรา ๓๒
การบรรจุและการเลื่อนตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญจากผู้สอบแข่งขันได้
ให้ผู้มีอำนาจบรรจุและแต่งตั้งสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้
ส่วนการเลื่อนตำแหน่งจากผู้ได้รับการประเมินสมรรถภาพ ให้เลื่อนและแต่งตั้งได้ตามความเหมาะสม
มาตรา ๓๓
ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญตำแหน่งใด
ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น ตามที่ ก.ร.กำหนดในมาตรา ๒๐
ในกรณีที่มีความจำเป็น ก.ร.
อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญที่มีคุณสมบัติเฉพาะต่างไปจากที่กำหนดไว้ในมาตรา
๒๐ ก็ได้
ในกรณีที่ ก.ร.
กำหนดให้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพใดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ให้หมายถึงปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพที่ ก.ร. รับรอง
มาตรา ๓๔
การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญให้ดำรงตำแหน่งที่ ก.ร.
ยังมิได้กำหนดตามมาตรา ๒๐ จะกระทำมิได้
มาตรา ๓๕
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๓๐ มาตรา
๓๑ และมาตรา ๔๐ แล้ว
หากภายหลังปรากฏว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งสั่งแต่งตั้งผู้นั้นให้กลับไปดำรงตำแหน่งเดิม
หรือตำแหน่งระดับเดียวกันที่ต้องใช้คุณสมบัติเฉพาะที่ผู้นั้นมีอยู่
มาตรา ๓๖
การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญโดยปกติให้สั่งเลื่อนได้ปีละหนึ่งขั้น
และเลื่อนได้ไม่เกินขั้นสูงของระดับที่ผู้นั้นได้รับเงินเดือนอยู่
โดยคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณของงานที่ได้ปฏิบัติมา การรักษาวินัย ตลอดจนความสามารถ
ความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ แล้วแต่กรณี เป็นผู้พิจารณาและสั่งเลื่อน[๑๔]
การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ
๙ ลงมาให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมเป็นผู้พิจารณาและสั่งเลื่อน
ส่วนผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๑๐ ขึ้นไป
ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาและสั่งเลื่อน
มาตรา ๓๖/๑[๑๕]
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการและปฏิบัติราชการมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการถือว่าผู้นั้นมีความชอบ
จะได้รับบำเหน็จความชอบซึ่งอาจเป็นคำชมเชย เครื่องเชิดชูเกียรติ รางวัล
หรือการได้เลื่อนขั้นเงินเดือนตามควรแก่กรณี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
ก.ร. กำหนด
มาตรา ๓๗ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ก.ร.
จะพิจารณาอนุมัติให้เลื่อนขั้นเงินเดือนเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญก็ได้
การเลื่อนเงินเดือนในกรณีเช่นนี้
จะเลื่อนเกินกว่าขั้นสูงของระดับที่ผู้นั้นได้รับเงินเดือนอยู่ก็ได้
มาตรา ๓๘ ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘
มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญประจำส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเป็นการชั่วคราว
โดยให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่เดิมได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
การสั่งและการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับข้าราชการรัฐสภาสามัญตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร. กำหนด
มาตรา ๓๙
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญในต่างส่วนราชการที่สังกัดรัฐสภา
อาจกระทำได้เมื่อส่วนราชการเจ้าสังกัดทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนนั้นแล้ว
โดยให้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ไม่สูงกว่าเดิมและรับเงินเดือนในขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม
เว้นแต่การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้สอบแข่งขันได้
สอบคัดเลือกได้หรือได้รับคัดเลือก ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร.
กำหนด
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้มิได้ดำรงตำแหน่งที่
ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๒๐ ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ ก.ร.
กำหนดตามมาตรา ๒๐ ในต่างส่วนราชการที่สังกัดรัฐสภา
จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจาก ก.ร. แล้ว ในการนี้ให้ ก.ร.
พิจารณาโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับ และให้ ก.ร.
กำหนดระดับของตำแหน่งที่จะแต่งตั้งและเงินเดือนที่จะให้ได้รับด้วย
มาตรา ๔๐[๑๖] การโอนข้าราชการตามกฎหมายอื่น
หรือพนักงานเทศบาลมาบรรจุเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ อาจกระทำได้ถ้าเจ้าตัวสมัครใจ
โดยผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ แล้วแต่กรณี ทำความตกลงกับเจ้าสังกัด แล้วเสนอ ก.ร.
เพื่อพิจารณาอนุมัติ ทั้งนี้ จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับใด
และได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้ ก.ร. เป็นผู้พิจารณากำหนด
แต่เงินเดือนที่จะให้ได้รับจะต้องไม่สูงกว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญที่มีคุณวุฒิ
ความสามารถ และความชำนาญงานในระดับเดียวกัน
เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้ที่โอนมาตามวรรคหนึ่งในขณะที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานเทศบาลนั้นเป็นเวลาราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย
การโอนข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญ
พนักงานเทศบาลวิสามัญ และข้าราชการที่อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมาเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัตินี้จะกระทำมิได้
มาตรา ๔๑[๑๗]
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
เมื่อผู้นั้นพ้นจากราชการทหารโดยไม่มีความเสียหายแล้วประสงค์จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญในส่วนราชการสังกัดรัฐสภาตามเดิมภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันพ้นจากราชการทหาร
ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ สั่งบรรจุแต่งตั้ง
และให้ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร. กำหนด
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งได้รับบรรจุเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่ง
ให้มีสิทธิได้นับวันรับราชการก่อนถูกสั่งให้ออกจากราชการ
รวมกับวันรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารและวันรับราชการเมื่อได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการ
เป็นเวลาราชการติดต่อกันเพื่อประโยชน์ตามพระราชบัญญัตินี้ และตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการเสมือนว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกสั่งให้ออกจากราชการ
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
เมื่อได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งแล้ว
ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง ทั้งนี้ ให้นำมาตรา
๒๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๔๑ ทวิ[๑๘]
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดได้รับอนุมัติจาก
ก.ร. ให้ออกจากราชการไปปฏิบัติงานใด ๆ
ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ถ้าผู้นั้นกลับเข้ารับราชการภายในกำหนดเวลาสี่ปีนับแต่วันออกจากราชการไปปฏิบัติงานดังกล่าวให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา
๒๘ สั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและรับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
ก.ร. กำหนด
มาตรา ๔๒
ข้าราชการรัฐสภาสามัญลาออกจากราชการเพื่อสมัครรับเลือกตั้งประสงค์จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญในส่วนราชการสังกัดรัฐสภาตามเดิม
ถ้าข้าราชการผู้นั้นได้แสดงความจำนงไว้ในขณะลาออกว่าจะกลับเข้ามารับราชการ
และระยะเวลาที่ออกจากราชการไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘
สั่งบรรจุ แต่งตั้ง และให้ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร. กำหนด
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ไปสมัครรับเลือกตั้ง
เมื่อได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งแล้วให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง
ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๒๙ มาใช้บังคับ
มาตรา ๔๓
ข้าราชการหรือพนักงานเทศบาลผู้ใดออกจากราชการหรือออกจากงานไปแล้วถ้าสมัครเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
และทางราชการต้องการจะรับผู้นั้นเข้ารับราชการ ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเสนอ ก.ร.
เพื่อพิจารณาอนุมัติ ทั้งนี้ จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับใดและได้รับเงินเดือนเท่าใด
ให้ ก.ร. เป็นผู้พิจารณากำหนด แต่เงินเดือนที่จะให้ได้รับ
จะต้องไม่สูงกว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญที่มีคุณวุฒิ ความสามารถ
และความชำนาญงานในระดับเดียวกัน
เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ
ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้เข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งในขณะที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานเทศบาลนั้น
เป็นเวลาราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย
ความในวรรคหนึ่ง
มิให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญ พนักงานเทศบาลวิสามัญ
และผู้ซึ่งออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
มาตรา ๔๔[๑๙] ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการเมื่อ
(๑) ตาย
(๒)
พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(๓) ได้รับอนุญาตให้ลาออก หรือลาออกตามมาตรา ๔๕
วรรคสอง
(๔) ถูกสั่งให้ออกตามมาตรา ๔๖ มาตรา ๔๖ ทวิ มาตรา
๔๖ ตรี และมาตรา ๔๖ จัตวา
(๕) ถูกลงโทษไล่ออก หรือปลดออก
วันออกจากราชการตาม (๔) หรือ (๕)
ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ร. กำหนด
การต่อเวลาราชการให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ต้องออกจากราชการตาม
(๒) รับราชการต่อไปอีกจะกระทำมิได้
มาตรา ๔๕
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการ
ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่ง
เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ เป็นผู้พิจารณา เมื่อผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘
สั่งอนุญาตแล้ว จึงให้ออกจากราชการตามคำสั่ง
ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญขอลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้ง
ให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ยื่นใบลาออกต่อผู้บังคับบัญชา
ในกรณีที่ผู้ขอลาออกมีเรื่องถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยหรือต้องหาว่ากระทำผิดอาญา
ผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตลาออกจะสั่งอนุญาตให้ลาออกก็ได้
โดยมีเงื่อนไขว่าเมื่อสอบสวนพิจารณาแล้วได้ความว่าผู้ได้รับอนุญาตให้ลาออกกระทำผิดวินัย
ก็ให้ดำเนินการสั่งลงโทษหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ตรงตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้
การลาออกในกรณีนี้ยังไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ
มาตรา ๔๖[๒๐] ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘
มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้
แต่ในการสั่งให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน
นอกจากให้ทำได้ในกรณีที่ระบุไว้ในกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้ว
ให้ทำได้ในกรณีต่อไปนี้ด้วย คือ
(๑)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอ
ถ้าผู้บังคับบัญชาดังกล่าวเห็นสมควรให้ออกจากราชการแล้ว
ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้
(๒)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดสมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการ
ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ
(๓) เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการ
ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
(๔)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ (๑) (๔) หรือ (๕)
ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ
(๕)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ
มาตรา ๔๖ ทวิ[๒๑]
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ
บกพร่องในหน้าที่ราชการหรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ
และผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ เห็นว่ากรณีมีมูล
ถ้าให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ ก็ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยไม่ชักช้า
ในการสอบสวนนี้จะต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
โดยจะระบุหรือไม่ระบุชื่อพยานก็ได้
และต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ด้วยเมื่อได้มีการสอบสวนพิจารณาแล้วและผู้บังคับบัญชาดังกล่าวเห็นสมควรให้ออกจากราชการก็ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนได้
ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๕๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นได้สอบสวน
หรือคณะกรรมการสอบสวนได้สอบสวนในกรณีที่เกี่ยวข้อง
หรือพนักงานสอบสวนได้สอบสวนทางอาญา
หรือศาลได้มีคำพิพากษาเกี่ยวกับเรื่องที่จะต้องสอบสวนตามวรรคหนึ่งอยู่แล้ว
คณะกรรมการสอบสวนตามวรรคหนึ่งจะนำสำนวนการสอบสวนของผู้บังคับบัญชาชั้นต้น
สำนวนการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวน สำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวน
สำนวนของพนักงานอัยการ สำนวนการพิจารณาของศาล
หรือสำเนาคำพิพากษาอย่างหนึ่งอย่างใดมาใช้เป็นสำนวนการสอบสวนและทำความเห็นเสนอผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
โดยถือว่าได้มีการสอบสวนตามวรรคหนึ่งแล้วก็ได้ แต่ทั้งนี้
ต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
โดยจะระบุหรือไม่ระบุชื่อพยานก็ได้
และต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ด้วย
หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณา
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
ในกรณีที่เป็นกรณีที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร. จะดำเนินการตามวรรคหนึ่งโดยไม่สอบสวนก็ได้
มาตรา ๔๖ ตรี[๒๒]
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา
๕๓ และการสอบสวนเสร็จสิ้นแล้ว ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘
เห็นว่ากรณีมีเหตุอันควรสงสัยอย่างยิ่งว่าผู้นั้นได้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
แต่การสอบสวนไม่ได้ความแน่ชัดพอที่จะฟังลงโทษตามมาตรา ๕๓
ถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ
ก็ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพราะมีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวนเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนได้
มาตรา ๔๖ จัตวา[๒๓]
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘
จะสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนก็ได้
มาตรา ๔๗
การออกจากราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๑๐ ขึ้นไป
ในกรณีถูกลงโทษ ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง
ส่วนการออกจากราชการในกรณีอื่นให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ
มาตรา ๔๘ ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องรักษาวินัยตามที่กำหนดไว้ในกฎ
ก.ร. ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย
จักต้องได้รับโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๐
มาตรา ๔๙
ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ส่งเสริมและดูแลระมัดระวังให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามวินัย
ถ้าผู้บังคับบัญชารู้ว่าผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาคนใดกระทำผิดวินัย
จะต้องดำเนินการทางวินัยทันที
ถ้าเห็นว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยที่จะต้องได้รับโทษและอยู่ในอำนาจของตนที่จะลงโทษได้
ให้สั่งลงโทษ แต่ถ้าเห็นว่าผู้นั้นควรจะต้องได้รับโทษสูงกว่าที่ตนมีอำนาจสั่งลงโทษ
ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาของผู้กระทำผิดวินัยเหนือขึ้นไป
เพื่อให้พิจารณาดำเนินการสั่งลงโทษตามควรแก่กรณี
ผู้บังคับบัญชาผู้ใดละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรานี้โดยไม่สุจริต
ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย
มาตรา ๕๐[๒๔] โทษผิดวินัยมี ๕ สถาน คือ
(๑) ภาคทัณฑ์
(๒) ตัดเงินเดือน
(๓) ลดขั้นเงินเดือน
(๔) ปลดออก
(๕) ไล่ออก
มาตรา ๕๑ การลงโทษข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ผู้สั่งลงโทษต้องสั่งลงโทษให้เหมาะสมกับความผิด
ในคำสั่งลงโทษให้แสดงว่าผู้ถูกลงโทษกระทำผิดวินัยในกรณีใด ตามมาตราใด
มาตรา ๕๒ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยที่ยังไม่ถึงขั้นเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน
หรือลดขั้นเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด
ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้
แต่สำหรับการลงโทษภาคทัณฑ์ ให้ใช้เฉพาะกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยหรือมีเหตุอันควรลดหย่อน
ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษตัดเงินเดือน
ในกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยและเป็นความผิดครั้งแรก
ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่ามีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยว่ากล่าวตักเตือน
หรือให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือไว้ก่อนก็ได้
การลงโทษตามมาตรานี้
ผู้บังคับบัญชาใดจะมีอำนาจสั่งลงโทษผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาได้เพียงใด
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
มาตรา ๕๓[๒๕]
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดถูกกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร. ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยไม่ชักช้า
ในการสอบสวนนี้จะต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาด้วย
เมื่อได้มีการสอบสวนแล้วและผู้บังคับบัญชาดังกล่าวพิจารณาเห็นว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร. ก็ให้สั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี
ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษให้ก็ได้แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก
ผู้ถูกสั่งปลดออกตามมาตรานี้ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ
ในการสอบสวนตามวรรคหนึ่ง ให้นำมาตรา ๔๖ ทวิ
วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ให้ ก.ร. มีอำนาจออกกฎ ก.ร.
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณา
ระยะเวลาสอบสวนพิจารณาและสั่งลงโทษ การสั่งสอบสวน การมอบหมายให้สอบสวน
การตั้งกรรมการสอบสวน ตลอดจนการส่งประเด็นไปสอบสวนพยานบุคคลซึ่งอยู่ต่างท้องที่
การรวบรวมพยานหลักฐาน และกิจการอื่น ๆ เพื่อให้ได้ความจริง
มาตรา ๕๔
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
และเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่กำหนดไว้ในกฎ ก.ร.
หรือได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชา
หรือต่อผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้สอบสวน หรือต่อคณะกรรมการสอบสวน ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา
๒๘ จะสั่งลงโทษโดยไม่สอบสวนต่อไปก็ได้
มาตรา ๕๕ ให้ผู้บังคับบัญชาผู้สอบสวน
ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้สอบสวนและกรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
และให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
เพียงเท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาผู้สอบสวนผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้สอบสวน
และกรรมการสอบสวน และโดยเฉพาะให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย คือ
(๑) เรียกให้กระทรวงทบวงกรม หน่วยราชการ
หรือรัฐวิสาหกิจชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐาน ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัด
มาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน
(๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำ
หรือให้ส่งเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน
(๓) ส่งประเด็นไปให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน
เพื่อการนี้ให้พนักงานสอบสวน ผู้ทำการสอบสวนเป็นกรรมการสอบสวน
และให้ถือว่าการสอบสวนของพนักงานสอบสวนเป็นการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวน
เมื่อได้สอบสวนเสร็จแล้วให้เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนดังกล่าวส่งรายงานที่จำเป็นและพยานหลักฐานต่าง
ๆ ทั้งหมดไปยังคณะกรรมการสอบสวน
มาตรา ๕๖
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยหรือถูกฟ้องคดีอาญา
หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
แม้ภายหลังผู้นั้นจะออกจากราชการไปแล้ว ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘
ก็ยังมีอำนาจสั่งลงโทษหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้เป็นไปตามหมวดนี้ได้
เว้นแต่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นจะออกจากราชการเพราะเหตุตาย
มาตรา ๕๗[๒๖]
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกสอบสวน
หรือถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา
เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา
๒๘ มีอำนาจสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาได้
แต่ถ้าภายหลังปรากฏผลการสอบสวนพิจารณาว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิดหรือกระทำผิดไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
และไม่มีกรณีที่จะต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่นให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งในระดับเดียวกันที่ต้องใช้คุณสมบัติเฉพาะที่ผู้นั้นมีอยู่
เงินเดือนของผู้ถูกสั่งพักราชการ
ให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น
ส่วนในกรณีสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
ถ้าปรากฏผลการสอบสวนพิจารณาเป็นยุติแล้วว่าผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนมิได้กระทำผิดหรือกระทำผิดไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่างถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเสมือนว่าผู้นั้นถูกสั่งพักราชการ
ให้ ก.ร. มีอำนาจออกกฎ ก.ร.
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสั่งพักราชการ การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนและการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามผลการสอบสวนพิจารณา
มาตรา ๕๘
เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษหรือดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไปแล้ว
ให้ส่งรายงานการลงโทษหรือการดำเนินการทางวินัยนั้นต่อผู้บังคับบัญชาของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นตามลำดับจนถึงประธานรัฐสภาและให้ประธานรัฐสภารายงานต่อ
ก.ร.
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นซึ่งมีตำแหน่งเหนือผู้สั่งตามวรรคหนึ่งเห็นว่าการลงโทษหรือการดำเนินการทางวินัยนั้นไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม
ก็ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวมีอำนาจที่จะสั่งลงโทษ เพิ่มโทษ ลดโทษ หรือยกโทษ
ตามควรแก่กรณีได้ แต่ถ้าจะลงโทษหรือเพิ่มโทษแล้ว
โทษที่ลงหรือเพิ่มขึ้นรวมกับที่สั่งไว้แล้วเดิมต้องไม่เกินอำนาจของผู้ซึ่งสั่งใหม่นั้น
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษหรือดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดแล้ว
แต่ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ แล้วแต่กรณี
เห็นว่ากรณีเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวมีอำนาจดำเนินการตามมาตรา ๕๓ ถ้าจะต้องสอบสวนตามมาตรา ๕๓
ก่อน ก็ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวมีอำนาจสอบสวนตามมาตรา ๕๓
ในกรณีที่จะต้องลงโทษตามมาตรา ๕๓ ถ้ามีการตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือนไปแล้ว
ก็ให้เป็นอันพับไป[๒๗]
มาตรา ๕๙
เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษหรือดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญในเรื่องใดไปแล้ว
ถ้า ก.ร. พิจารณาเห็นเป็นการสมควรที่จะต้องสอบสวนเพิ่มเติม หรือสอบสวนใหม่
เพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ก็ให้ ก.ร.
มีอำนาจสอบสวนเพิ่มเติมหรือสอบสวนใหม่ในเรื่องนั้นได้ตามความจำเป็น
โดยจะสอบสวนเองหรือแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
หรือมอบหมายให้ข้าราชการที่เห็นสมควรสอบสวนแทนก็ได้
มาตรา ๖๐ การอุทธรณ์การถูกลงโทษของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้เป็นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
มาตรา ๖๐ ทวิ[๒๘]
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วยเหตุใด
ๆ ให้ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ได้
การร้องทุกข์ตามวรรคหนึ่ง ให้ร้องทุกข์ต่อ ก.ร.
ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง และให้นำมาตรา ๖๐
ตลอดจนหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร. มาใช้บังคับอนุโลม
มาตรา ๖๐ ตรี[๒๙]
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดเห็นว่าผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติต่อตนโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติต่อตนให้ถูกต้องตามกฎหมายหรือมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาต่อตนในกรณีตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร. ผู้นั้นอาจร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาหรือ ก.ร. แล้วแต่กรณี
ตามที่กำหนดไว้ในกฎ ก.ร. เพื่อขอให้แก้ไขหรือแก้ความคับข้องใจได้ ทั้งนี้
เว้นแต่กรณีที่มีสิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา ๖๐
การร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
หมวด
๔
ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
มาตรา ๖๑[๓๐]
ตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองมีดังนี้
(๑) ที่ปรึกษาประธานรัฐสภา
(๒) ที่ปรึกษารองประธานรัฐสภา
(๓) ที่ปรึกษาประธานวุฒิสภา
(๔) ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๕) ที่ปรึกษารองประธานวุฒิสภา
(๖) ที่ปรึกษารองประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๗) เลขานุการประธานรัฐสภา
(๘) เลขานุการรองประธานรัฐสภา
(๙) เลขานุการประธานวุฒิสภา
(๑๐) เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๑๑) เลขานุการรองประธานวุฒิสภา
(๑๒) เลขานุการรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๑๓) เลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามวรรคหนึ่ง
จะมีจำนวนเท่าใด ให้เป็นไปตามอัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖๒[๓๑]
ให้ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
บทบัญญัติตามมาตรา ๓๕
แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๔๙๙
มิให้ใช้บังคับแก่การรับบำเหน็จบำนาญของข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองผู้กลับเข้ารับราชการใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้
ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองซึ่งดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วย
ถ้าได้รับเงินประจำตำแหน่ง หรือเงินเพิ่มสำหรับสมาชิกสภาดังกล่าวแล้ว
ไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในฐานะข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองอีก
การจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด
มาตรา ๖๓[๓๒]
การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามมาตรา ๖๑ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕)
และ (๖) ให้ประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภาหรือประธานสภาผู้แทนราษฎร แล้วแต่กรณี
แต่งตั้งบุคคลซึ่งเห็นสมควรตามเหตุผลในทางการเมืองและต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปที่จะเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญได้ตามมาตรา
๒๔ ยกเว้น (๔) และไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามมาตรา
๖๑ (๗) (๘) (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) และ (๑๓) ให้ประธานรัฐสภา
ประธานวุฒิสภาหรือประธานสภาผู้แทนราษฎร แล้วแต่กรณี
แต่งตั้งบุคคลซึ่งเห็นสมควรตามเหตุผลในทางการเมืองและต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปที่จะเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญได้ตามมาตรา
๒๔ ยกเว้น (๔) และไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
มาตรา ๖๔[๓๓]
ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองออกจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) สำหรับข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามมาตรา
๖๑ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) ผู้แต่งตั้งสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
หรือผู้แต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งหรือเมื่อรัฐสภาสิ้นอายุหรือถูกยุบ
(๔) สำหรับข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามมาตรา
๖๑ (๗) (๘) (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) และ (๑๓)
ผู้แต่งตั้งสั่งให้พ้นจากตำแหน่งจะโดยมีความผิดหรือไม่มีความผิดก็ตาม
หรือประธานหรือรองประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นสังกัด
หรือผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรพ้นจากตำแหน่ง แล้วแต่กรณี
หมวด
๕
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๖๕ บรรดาพระราชบัญญัติ ประกาศของคณะปฏิวัติ
พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง กฎ ก.พ. ประกาศ ระเบียบ
ข้อบังคับและคำสั่งที่ยังคงใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือนในส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
นอกจากที่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับแก่ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไป เว้นแต่พระราชบัญญัตินี้ หรือ กฎ ก.ร.
ที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ จะบัญญัติเป็นอย่างอื่น
มาตรา ๖๖
ให้ผู้ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามพระราชบัญญัตินี้
และคงดำรงตำแหน่งและมีอัตราเงินเดือนตามที่ได้รับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ทั้งนี้สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้เป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
สำหรับข้าราชการการเมือง ให้เป็นข้าราชรัฐสภาฝ่ายการเมือง ส่วนข้าราชการพลเรือนวิสามัญ
ให้เป็นข้าราชการรัฐสภาวิสามัญ
และให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนวิสามัญมาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๖๗
ในระหว่างที่รัฐสภายังไม่ได้เลือกตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนทำหน้าที่
ก.ร. ตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖๘ ในระหว่างที่ ก.ร.
ยังมิได้กำหนดตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญตามมาตรา ๒๐
การดำเนินการเกี่ยวกับข้าราชการรัฐสภาสามัญ ให้เสนอ ก.ร. พิจารณาอนุมัติเป็นราย ๆ
ไป
มาตรา ๖๙
การใดหรือสิทธิใดที่ข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามมาตรา ๖๖
กระทำหรือมีอยู่ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ถือว่าเป็นการกระทำหรือสิทธิตามพระราชบัญญัตินี้
การใดที่ทางราชการได้ดำเนินการเกี่ยวกับข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามมาตรา
๖๖ ไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ถือว่าเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีปัญหาตามมาตรานี้ ให้ ก.ร.
เป็นผู้วินิจฉัย
มาตรา ๗๐
การใดที่เคยดำเนินการได้ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
และมิได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ จะดำเนินการได้ประการใด ให้เป็นไปตามที่
ก.ร. กำหนด โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
สัญญา
ธรรมศักดิ์
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่ในปัจจุบันข้าราชการที่ปฏิบัติราชการให้แก่สภานิติบัญญัติยังอยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยราชการของฝ่ายบริหาร
เพราะมีฐานะเป็นข้าราชการพลเรือน
แต่โดยสภาพของการปฏิบัติราชการควรจะอยู่ภายใต้การควบคุมของสภานิติบัญญัติโดยตรง
เพราะจะทำให้สภานิติบัญญัติสามารถปรับปรุงระเบียบปฏิบัติราชการของข้าราชการในสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาให้มีประสิทธิภาพ
และอำนวยความสะดวกให้แก่ราชการของสภานิติบัญญัติได้มากยิ่งขึ้น
จึงสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาโดยเฉพาะ และเพื่อการนี้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑[๓๔]
มาตรา ๔
ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญและบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ และให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข
๑ บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญหมายเลข ๒
และบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๓
และบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
ท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา ๕
ให้ประธานรัฐสภาประกาศปรับอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้เข้าระดับและขั้นเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ
หมายเลข ๑ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ให้สอดคล้องกับการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
มาตรา ๖ ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ
๗ ผู้ใดได้รับเงินเดือนขั้น ๑๑ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.
๒๕๑๘ อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นคงดำรงตำแหน่งระดับ ๗ ต่อไป
แต่ให้ได้รับเงินเดือนเท่ากับเงินเดือนขั้น ๙ ของระดับ ๘
ตามบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๑
ท้ายพระราชบัญญัตินี้โดยให้ถือว่าเงินเดือนที่ได้รับนั้นเป็นเงินเดือนขั้นสูงของตำแหน่งระดับ
๗ เว้นแต่จะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับที่สูงขึ้น
ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งอาจได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๒๒ ขึ้นรับเงินเดือนระดับ ๗ ขั้น ๑๑ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ ด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๖
บรรดาอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญที่อ้างถึงในกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง มติคณะรัฐมนตรี หรือกฎ ก.ร. หรือในการกำหนดของ ก.ร.
ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ให้ถือว่าเป็นการอ้างถึงอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ตามบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๑
ท้ายพระราชบัญญัตินี้ในระดับและขั้นเงินเดือนตามที่ประธานรัฐสภาประกาศตามมาตรา ๕
มาตรา ๘
เพื่อประโยชน์ในการบรรจุบุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘
และออกจากราชการไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับกลับเข้ารับราชการให้ปรับอัตราเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้เข้าระดับและขั้นเงินเดือนตามที่ประธานรัฐสภาประกาศตามมาตรา
๕ สำหรับบุคคลซึ่งได้รับเงินเดือนระดับ ๗ ขั้น ๑๑ อยู่ในขณะที่ออกจากราชการ
ให้นำมาตรา ๖ มาใช้บังคับแก่การปรับอัตราเงินเดือนดังกล่าวโดยอนุโลม
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินเดือนของข้าราชการฝ่ายรัฐสภาไม่ได้ส่วนสัมพันธ์กับอัตราเงินเดือนของข้าราชการประเภทอื่น
ๆ ที่ได้รับการปรับปรุงไปแล้ว
สมควรแก้ไขปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการฝ่ายรัฐสภาให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๑[๓๕]
มาตรา ๕
ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๑
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๒
และบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๓
ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๒๑
มาตรา ๖
อัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองให้เป็นไปตามบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
บัญชี ก. ท้ายพระราชบัญญัตินี้
และเมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกาประกาศใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการการเมือง บัญชี
ข. บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการการเมือง บัญชี ค.
หรือบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการการเมือง บัญชี ง. ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมืองแล้ว
ให้ประธานรัฐสภาประกาศปรับใช้อัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
ตามบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง บัญชี ข.
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง บัญชี ค. หรือบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
บัญชี ง. ให้สอดคล้องกัน
มาตรา ๗
ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๒๑
และให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง บัญชี ก.
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง บัญชี ข.
บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง บัญชี ค. และบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
บัญชี ง. ท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา ๘
การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญให้เข้าระดับและขั้นเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
ตามมาตรา ๒๐ ทวิ ให้เป็นไปตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนและตามระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
เมื่อปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญตามวรรคหนึ่งแล้วเฉพาะข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ได้รับเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำหรือสูงกว่าขั้นสูงของระดับ
ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นตามที่กำหนดไว้ในบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งได้เลื่อนตำแหน่งนับแต่วันปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญตามวรรคหนึ่ง
ถ้าได้รับเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับที่ได้เลื่อนตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำของบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
แต่ถ้าได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของระดับที่ได้เลื่อนตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
ก็ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นที่ได้รับอยู่
การรับเงินเดือนในขั้นต่อ ๆ
ไปของข้าราชการรัฐสภาสามัญตามวรรคสองและวรรคสาม
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๙
เพื่อประโยชน์ในการบรรจุบุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ และออกจากราชการไปก่อนวันที่บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนใช้บังคับกลับเข้ารับราชการ
ให้ปรับอัตราเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้เข้าระดับและขั้นเงินเดือนตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
มาตรา ๑๐
ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
บัญชี ก. ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
ให้นำบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๓
ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาพ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๒๑ มาใช้บังคับไปพลางก่อน
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
ในบัญชีอัตราเงินเดือนท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๒๑
ได้ใช้มาเป็นเวลานานไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบันสมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองเสียใหม่
และเนื่องจากอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันตรงกับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนอยู่แล้ว
จึงสมควรแก้ไขให้ถือตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนโดยอนุโลม เพื่อให้การปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในอนาคต
มีผลถึงข้าราชการรัฐสภาสามัญด้วย โดยไม่ต้องแก้ไขกฎหมาย
รวมทั้งให้มีการให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองแต่ละบัญชีได้ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์
โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕[๓๖]
มาตรา ๒๖
ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.
๒๕๓๑
และให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา ๒๗
ให้กรรมการซึ่งรัฐสภาเลือกจากประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาและผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับดำรงตำแหน่งอยู่ต่อไปจนกว่าจะพ้นจากตำแหน่งหรือครบวาระ
แล้วแต่กรณี แต่ต้องไม่เกินสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๒๘
นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจนถึงวันก่อนวันที่ประกาศรัฐสภาแบ่งส่วนราชการของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภาใช้บังคับ
(๑)
ให้เลขาธิการรัฐสภาดำรงตำแหน่งกรรมการและเลขานุการ ก.ร. ตามมาตรา ๖ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
(๒) การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งระดับ
๑๐ และระดับ ๑๑ ตามมาตรา ๒๘ (๑) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.
๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้ประธานรัฐสภาด้วยความเห็นชอบของ
ก.ร. เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ และนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้ง
(๓) การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งระดับ
๙ ตามมาตรา ๒๘ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
(๔)
การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๘ ลงมาตามมาตรา ๒๘ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
ให้เลขาธิการรัฐสภาเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
(๕) การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ
๙ ขึ้นไปตามมาตรา ๓๖ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาและสั่งเลื่อน
(๖) การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ
๘ ลงมาตามมาตรา ๓๖ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
ให้เลขาธิการรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาและสั่งเลื่อน
(๗) การโอนข้าราชการตามมาตรา ๔๐ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้ประธานรัฐสภาหรือเลขาธิการรัฐสภา
แล้วแต่กรณี ทำความตกลงกับเจ้าสังกัดแล้วเสนอ ก.ร. เพื่อพิจารณาอนุมัติ
มาตรา ๒๙ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๔ (๑๑) และมาตรา ๒๕
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
มาใช้บังคับแก่ผู้เคยถูกลงโทษให้ออกเพราะกระทำผิดวินัยก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๘[๓๗]
มาตรา ๔
ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการฝ่ายรัฐสภาฝ่ายการเมืองท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่ได้มีการแยกบัญชีอัตราเงินเดือนและบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองไปบัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะแล้ว
สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๑[๓๘]
มาตรา ๗
ให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญ ซึ่งดำรงตำแหน่งตามที่ ก.ร. กำหนด ตามมาตรา ๒๐
แห่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ประกอบกับมาตรา ๔๒ (๑๑) (ค)
แห่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับคงดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว
และเมื่อพ้นจากตำแหน่งดังกล่าวแล้ว
ให้ตำแหน่งนั้นเป็นอันยุบเลิกจนกว่าจะเหลือจำนวนไม่เกินที่กำหนดตามวรรคสองของมาตรา
๒๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่ปัจจุบันกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการหรือการสงเคราะห์อื่นให้แก่ข้าราชการฝ่ายรัฐสภาการกำหนดเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ
เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว หรือเงินค่าตอบแทนพิเศษอื่น
รวมทั้งไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการให้บำเหน็จความชอบแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ปฏิบัติราชการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อทางราชการ
สมควรกำหนดให้ ก.ร. มีอำนาจกำหนดสิทธิประโยชน์ดังกล่าวเพื่อให้ข้าราชการฝ่ายรัฐสภามีสิทธิเช่นเดียวกับข้าราชการประเภทอื่น
นอกจากนี้สมควรแก้ไขให้ ก.ร. อาจกำหนดตำแหน่งตามมาตรา ๔๒ (๑๑) (ค)
แห่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนราชการสังกัดรัฐสภาได้ส่วนราชการละหนึ่งตำแหน่ง
และให้การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญเพื่อดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๙
ลงมาเป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
เพื่อความคล่องตัวในการบริหารราชการ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ฐิติมา/ตรวจ
๒๙
พฤษภาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๒/ตอนที่ ๒๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘
[๒]
มาตรา ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๓]
มาตรา ๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๔]
มาตรา ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๕]
มาตรา ๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๖]
มาตรา ๑๓ (๗) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ.
๒๕๕๑
[๗]
มาตรา ๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๘]
มาตรา ๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๙]
มาตรา ๒๐ วรรคสอง เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๖)
พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๐]
มาตรา ๒๐ ทวิ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๕
[๑๑]
มาตรา ๒๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๑๒]
มาตรา ๒๔ (๑๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
[๑๓]
มาตรา ๒๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๖)
พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๔]
มาตรา ๓๖ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
[๑๕]
มาตรา ๓๖/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ.
๒๕๕๑
[๑๖]
มาตรา ๔๐ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
[๑๗]
มาตรา ๔๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๑๘]
มาตรา ๔๑ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๕
[๑๙]
มาตรา ๔๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๒๐]
มาตรา ๔๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๒๑]
มาตรา ๔๖ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๕
[๒๒]
มาตรา ๔๖ ตรี เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๕
[๒๓]
มาตรา ๔๖ จัตวา เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๕
[๒๔]
มาตรา ๕๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๕
[๒๕]
มาตรา ๕๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๒๖]
มาตรา ๕๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๒๗]
มาตรา ๕๘ วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
[๒๘]
มาตรา ๖๐ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๕
[๒๙]
มาตรา ๖๐ ตรี เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๕
[๓๐]
มาตรา ๖๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๓๑]
มาตรา ๖๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๓๘
[๓๒]
มาตรา ๖๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๓๓]
มาตรา ๖๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๕
[๓๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๕/ตอนที่ ๑๐๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗/๒๗ กันยายน ๒๕๒๑
[๓๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๑๘๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๖๐/๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๑
[๓๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๓๕/หน้า ๕๐/๓ เมษายน ๒๕๓๕
[๓๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑ ก/หน้า ๕๑/๑ มกราคม ๒๕๓๘
[๓๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๒๙ ก/หน้า ๘๗/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ |
596012 | กฎ ก.ร. ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์การถูกลงโทษ(ฉบับ Update ล่าสุด) | กฎ ก
กฎ ก.ร.
ฉบับที่ ๑๕ (พ.ศ. ๒๕๓๘)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์การถูกลงโทษ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ (๓)
และมาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ก.ร. ออกกฎ
ก.ร. ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.ร.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกกฎ
ก.ร. ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๑๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘
ข้อ ๓
การอุทธรณ์การถูกลงโทษ ให้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้อุทธรณ์ และให้อุทธรณ์ได้สำหรับตนเองเท่านั้น
จะอุทธรณ์แทนคนอื่น หรือมอบหมายให้คนอื่นอุทธรณ์แทนไม่ได้
ข้อ ๔
เพื่อประโยชน์ในการอุทธรณ์ ผู้ถูกสั่งลงโทษอาจขอตรวจหรือคัดรายงานการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนได้
ส่วนการขอตรวจหรือคัดบันทึกถ้อยคำพยานบุคคล หรือเอกสารอื่น
หรือเอกสารการพิจารณาโทษในกรณีที่ไม่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้สั่งลงโทษ
โดยให้พิจารณาถึงประโยชน์ในทางการรักษาวินัยของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
เหตุผลและความจำเป็นเป็นเรื่อง ๆ ไป
ข้อ ๕
การอุทธรณ์การถูกลงโทษให้อุทธรณ์ต่อ ก.ร. ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่งลงโทษ
ผู้อุทธรณ์จะขอแถลงการณ์ด้วยวาจา
เพื่อประกอบการพิจารณาของ ก.ร. ก็ได้ โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อ ก.ร. ก่อนที่ ก.ร.
จะพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จ
ข้อ ๖
การอุทธรณ์ต่อ ก.ร. ให้ทำเป็นหนังสือถึงประธาน ก.ร. หรือ เลขานุการ ก.ร.
และยื่นที่สำนักงานเลขานุการ ก.ร. พร้อมกับสำเนารับรองถูกต้องหนึ่งฉบับด้วย
หรือจะยื่นผ่านผู้บังคับบัญชาเพื่อให้ส่งต่อไปยังสำนักงานเลขานุการ ก.ร.
หรือจะยื่นโดยส่งทางไปรษณีย์ก็ได้
เมื่อได้ยื่นหนังสืออุทธรณ์ไว้แล้ว
ผู้อุทธรณ์จะยื่นหนังสืออุทธรณ์เพิ่มเติมก่อนที่ ก.ร.
จะพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จก็ได้
ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ไม่ประสงค์จะให้พิจารณาอุทธรณ์ต่อไป
จะขอถอนอุทธรณ์เสียเมื่อใดก็ได้โดยทำเป็นหนังสือ และเมื่อได้ถอนอุทธรณ์แล้ว
การพิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นอันระงับ เว้นแต่ขอถอนอุทธรณ์หลังจากที่ ก.ร. พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จแล้ว
ก็ให้ดำเนินการต่อไปได้เสมือนว่าไม่ได้มีการถอนอุทธรณ์
ข้อ ๗
เพื่อประโยชน์ในการนับกำหนดเวลาอุทธรณ์ เมื่อมีผู้นำหนังสืออุทธรณ์มายื่น
ให้ผู้รับหนังสือออกใบรับหนังสือ ประทับตรารับหนังสือ
และลงทะเบียนรับหนังสือไว้เป็นหลักฐานในวันที่รับหนังสือ
ให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณ และให้ถือวันที่รับหนังสือตามหลักฐานดังกล่าวเป็นวันยื่นหรือส่งหนังสืออุทธรณ์
ในกรณีที่ส่งหนังสืออุทธรณ์ทางไปรษณีย์
ให้ถือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ออกใบรับฝากเป็นหลักฐานฝากส่ง
หรือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางประทับตรารับที่ซองหนังสือเป็นวันที่ยื่นหรือส่งหนังสืออุทธรณ์
สำหรับวันทราบคำสั่งลงโทษ
ให้ถือวันที่ผู้ถูกลงโทษลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่ง หรือวันที่มีการแจ้งให้ผู้ถูกลงโทษรับทราบคำสั่ง
ในกรณีที่ผู้ถูกลงโทษไม่ยอมลงลายมือชื่อรับทราบหรือสิบวันหลังจากวันที่ได้ส่งคำสั่งลงโทษทางไปรษณีย์ลงทะเบียนแล้วแต่กรณี
เป็นเวลาเริ่มต้นกำหนดเวลาอุทธรณ์
การนับเวลาเริ่มต้นตามวรรคสาม
ให้นับวันถัดจากวันรับทราบคำสั่งลงโทษส่วนเวลาสิ้นสุดนั้นถ้าวันสุดท้ายแห่งเวลาตรงกับวันหยุดราชการ
ให้นับวันเริ่มเปิดราชการใหม่เป็นวันสุดท้ายแห่งเวลา
ข้อ ๘ อุทธรณ์ที่จะรับไว้พิจารณาได้ต้องเป็นอุทธรณ์ที่ถูกต้องในสาระสำคัญตามข้อ
๓ ข้อ ๕ และข้อ ๖
ในกรณีที่มีปัญหาว่าอุทธรณ์รายใดเป็นอุทธรณ์ที่จะรับไว้พิจารณาได้หรือไม่
ให้ ก.ร. เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัย
ข้อ ๙
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาผู้สั่งลงโทษได้รับหนังสืออุทธรณ์ที่ได้ยื่นหรือส่งตาม
ข้อ ๖ วรรคหนึ่ง ให้ดำเนินการจัดส่งหนังสืออุทธรณ์ที่ได้รับไว้พร้อมทั้งหลักฐานการรับทราบคำสั่งลงโทษของผู้อุทธรณ์
สำนวนการดำเนินการทางวินัย และคำชี้แจงของตน (ถ้ามี) ไปยังผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกลงโทษเหนือตนขึ้นไปตามลำดับ
เพื่อประกอบการพิจารณาตามมาตรา ๕๘
ข้อ ๑๐
เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไปแล้ว ถ้าปรากฏว่าผู้นั้นได้อุทธรณ์การถูกลงโทษต่อ
ก.ร. ก็ให้ ก.ร. พิจารณาเรื่องอุทธรณ์รวมกับเรื่องรายงานการลงโทษหรือการดำเนินการทางวินัยตามมาตรา
๕๘ แต่ถ้าเป็นกรณีที่ผู้บังคับบัญชาเหนือผู้สั่งลงโทษได้สั่งยกโทษตามมาตรา ๕๘
วรรคสอง การอุทธรณ์ก็ให้เป็นอันพับไป
ข้อ ๑๑
ในการพิจารณาอุทธรณ์ให้พิจารณาจากสำนวนการดำเนินการทางวินัยของผู้บังคับบัญชาและอาจเรียกเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมจากหน่วยราชการ
รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ ห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือบุคคลใด ๆ
หรือให้ผู้แทนหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ ห้างหุ้นส่วน บริษัท
ข้าราชการ หรือบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำหรือชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการพิจารณาได้
ในกรณีที่นัดให้ผู้อุทธรณ์มาแถลงการณ์ด้วยวาจาต่อที่ประชุม
ก.ร. ให้แจ้งให้ผู้สั่งลงโทษทราบด้วยว่า
ถ้าประสงค์จะแถลงแก้ก็ให้มาแถลงหรือมอบหมายให้ข้าราชการที่เกี่ยวข้องเป็นผู้แทนมาแถลงแก้ด้วยวาจาต่อที่ประชุมได้
ทั้งนี้ ให้แจ้งล่วงหน้าตามควรแก่กรณี และเพื่อประโยชน์ในการแถลงแก้ดังกล่าวให้ผู้แถลงแก้เข้าฟังคำแถลงการณ์ด้วยวาจาของผู้อุทธรณ์ได้
ในการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งพิจารณารวมกับเรื่องรายงานการลงโทษ
หรือการดำเนินการทางวินัยตามมาตรา ๕๘ ถ้า ก.ร.
เห็นเป็นการสมควรที่จะต้องสอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลให้ถูกต้องและเหมาะสมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ก็ให้สอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น โดยจะสอบสวนเองหรือแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหรือมอบหมายให้ข้าราชการที่เห็นสมควรสอบสวนแทนก็ได้
ข้อ ๑๒ การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ ถ้า ก.ร.
เห็นว่า
(๑)
การลงโทษถูกต้องและเหมาะสมกับความผิดแล้ว ก็ให้มีมติยกอุทธรณ์
(๒)
การลงโทษไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ก็ให้มีมติสั่งเพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษ ให้โดยว่ากล่าวตักเตือน
หรือให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือ ให้ออกหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นให้ออกจากราชการ
หรือยกโทษ รวมทั้งให้ผู้อุทธรณ์กลับเข้ารับราชการแล้วแต่กรณี
(๓) เป็นกรณีที่สมควรให้ออกหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นให้ออกจากราชการตามมาตรา
๔๖ ทวิ หรือกรณีเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ถ้ายังไม่มีการสอบสวนตามมาตรา ๔๖
ทวิ หรือมาตรา ๕๓ และไม่ใช่เป็นกรณีตามมาตรา ๕๔ ก็ให้มีมติสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา
๔๖ ทวิ หรือมาตรา ๕๓ แล้วแต่กรณี เสียก่อน
(๔) ควรดำเนินการอื่นใดอีก
ก็ให้มีมติให้ดำเนินการได้ตามควรแก่กรณี
ข้อ ๑๒ ทวิ[๒] ในกรณีที่การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์
ก.ร. มีมติเป็นคุณแก่ผู้อุทธรณ์และมีผู้ถูกลงโทษคนอื่นถูกลงโทษทางวินัยในความผิดที่ได้กระทำร่วมกันกับผู้อุทธรณ์อันเป็นความผิดในเรื่องเดียวกัน
โดยมีพฤติการณ์แห่งการกระทำอย่างเดียวกัน แต่ไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ หากพฤติการณ์ของผู้ไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์เป็นเหตุในลักษณะคดีอันเป็นเหตุเดียวกับกรณีของผู้อุทธรณ์แล้ว
ให้ ก.ร. มีมติให้ผู้ที่ไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์
ได้รับการพิจารณาการลงโทษให้มีผลในทางที่เป็นคุณเช่นเดียวกับผู้อุทธรณ์ด้วย
ข้อ ๑๓[๓] เมื่อ
ก.ร.ได้พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และมีมติตามข้อ ๑๒ และข้อ ๑๒ ทวิ เป็นประการใดแล้ว
ให้เลขานุการ ก.ร.แจ้งให้ประธานวุฒิสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎรเลขาธิการวุฒิสภา
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามมาตรา ๖
(๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ แล้วแต่กรณี ทราบหรือดำเนินการให้เป็นไปตามมติ ก.ร.
โดยเร็วพร้อมทั้งแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบเป็นหนังสือโดยเร็วด้วย
มติของ ก.ร.ให้เป็นที่สุด
ในกรณีที่สั่งให้ผู้อุทธรณ์กลับเข้ารับราชการให้นำมาตรา
๕๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๘
มารุต บุนนาค
ประธานรัฐสภา
ประธาน ก.ร.
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร. ฉบับนี้ คือ
โดยเห็นเป็นการสมควรปรับปรุงกฎก.ร. ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๑๙)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาพ.ศ. ๒๕๑๘
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์การถูกลงโทษ เพื่อให้เหมาะสมยิ่งขึ้นและสอดคล้องกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ว่าด้วยการร้องทุกข์
กฎ ก.ร. ฉบับที่ ๒๑ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์การถูกลงโทษ[๔]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร. ฉบับนี้ คือ
เพื่อปรับปรุง กฎ ก.ร. ฉบับที่ ๑๕ (พ.ศ. ๒๕๓๘)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์การถูกลงโทษ
โดยเพิ่มกรณีผู้ที่ถูกลงโทษทางวินัยในความผิดที่ได้กระทำร่วมกันกับผู้อุทธรณ์แต่ไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์
และผลการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นคุณแก่ผู้อุทธรณ์
ให้ผู้ที่ไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ได้รับการพิจารณาการลงโทษ ให้มีผลในทางที่เป็นคุณเช่นเดียวกับผู้อุทธรณ์
เอกฤทธิ์/ผู้จัดทำ
๑๘
พฤศจิกายน ๒๕๕๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๑๒/ตอนที่ ๕ ก/หน้า ๓๙/๓๐ มกราคม ๒๕๓๘
[๒] ข้อ
๑๒ ทวิ เพิ่มโดยกฎ ก.ร. ฉบับที่ ๒๑ (พ.ศ. ๒๕๔๑)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์การถูกลงโทษ
[๓] ข้อ ๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ
ก.ร. ฉบับที่ ๒๑ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์การถูกลงโทษ
[๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๑๕/ตอนที่ ๑๕ ก/หน้า ๙๐/๒๔ มีนาคม ๒๕๔๑ |
488739 | กฎ ก.ร. ฉบับที่ 27 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ว่าด้วยการสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
| กฎ ก
กฎ ก.ร.
ฉบับที่
๒๗ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘
ว่าด้วยการสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ และมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ก.ร. ออกกฎ ก.ร. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑]
กฎ ก.ร. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕ ของกฎ ก.ร. ฉบับที่ ๑๗
(พ.ศ. ๒๕๓๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ว่าด้วยการสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ
๕ การสั่งพักราชการให้สั่งพักตลอดเวลาที่สอบสวนพิจารณา
เว้นแต่ผู้ถูกสั่งพักราชการผู้ใดได้ร้องทุกข์ตามมาตรา ๖๐ ตรี และผู้มีอำนาจพิจารณาคำร้องทุกข์เห็นว่า
สมควรสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนการสอบสวนพิจารณาเสร็จสิ้น เนื่องจากพฤติการณ์ของผู้ถูกสั่งพักราชการไม่เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนพิจารณา
และไม่ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยต่อไป หรือเนื่องจากการสอบสวนทางวินัยไม่สามารถดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่เหมาะสม
ซึ่งไม่ควรเกินหนึ่งปีนับแต่วันพักราชการ ผู้มีอำนาจสั่งพักราชการอาจสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนการสอบสวนพิจารณาเสร็จสิ้นได้
ให้ไว้
ณ วันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙
สุชน
ชาลีเครือ
รองประธาน
ก.ร.
ทำหน้าที่แทนประธาน
ก.ร.
พัชรินทร์/ผู้จัดทำ
๔
พฤษภาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๓ ก/หน้า ๑๑/๒๗ เมษายน ๒๕๔๙ |
319575 | กฎ ก.ร. ฉบับที่ 22 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ขอให้แก้ไขการปฏิบัติไม่ถูกต้องหรือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย | กฎ ก
กฎ ก.ร.
ฉบับที่ ๒๒ (พ.ศ. ๒๕๔๑)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์
ขอให้แก้ไขการปฏิบัติไม่ถูกต้องหรือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ และมาตรา ๗๐ ตรี
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๕ ก.ร. ออกกฎ ก.ร.ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ
ก.ร.นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒
การร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญเห็นว่าผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติต่อตนโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติต่อตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.นี้
ข้อ ๓
เพื่อให้เกิดความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
เมื่อมีกรณีเป็นปัญหาขึ้นระหว่างกันควรจะได้ปรึกษาหารือทำความเข้าใจกัน ฉะนั้น
เมื่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีปัญหาเกี่ยวกับการที่ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติต่อตนไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติต่อตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย
และแสดงความประสงค์ที่จะปรึกษาหารือกับผู้บังคับบัญชา
ให้ผู้บังคับบัญชานั้นให้โอกาสและรับฟังหรือสอบถามเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวเพื่อเป็นทางแห่งการทำความเข้าใจและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นต้น
ถ้าผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาไม่ประสงค์ที่จะปรึกษาหารือ
หรือปรึกษาหารือแล้วไม่ได้รับคำชี้แจงหรือได้รับคำชี้แจงไม่เป็นที่พอใจ
ก็ให้ร้องทุกข์ตามข้อ ๔
ข้อ ๔ การร้องทุกข์
ให้ร้องทุกข์ได้สำหรับตนเองเท่านั้น จะร้องทุกข์แทนผู้อื่นหรือมอบหมายให้ผู้อื่นร้องทุกข์แทนไม่ได้
และให้ร้องทุกข์เป็นหนังสือภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบเรื่องอันเป็นเหตุให้ร้องทุกข์
การร้องทุกข์ตามวรรคหนึ่งให้ร้องทุกข์ต่อ
ก.ร.และให้ ก.ร.เป็นผู้พิจารณา
ข้อ ๕
หนังสือร้องทุกข์ต้องลงลายมือชื่อและตำแหน่งของผู้ร้องทุกข์ และต้องประกอบด้วยสาระสำคัญที่แสดงข้อเท็จจริงและปัญหาของเรื่องให้เห็นว่าผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติต่อตน
โดยไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติต่อตนให้ถูกต้องตามกฎหมายอย่างใดและความประสงค์ของการร้องทุกข์
ถ้าผู้ร้องทุกข์ประสงค์จะแถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นพิจารณาของ
ก.ร. ให้แสดงความประสงค์ไว้ในหนังสือร้องทุกข์ หรือจะทำเป็นหนังสือต่างหากก็ได้
แต่ต้องยื่นหรือส่งก่อนที่ ก.ร.เริ่มพิจารณาเรื่องร้องทุกข์โดยยื่นหรือส่งตรงต่อ
ก.ร.
ข้อ ๖
เพื่อประโยชน์ในการนับระยะเวลาร้องทุกข์
(๑)
ในกรณีที่เหตุร้องทุกข์เกิดจากการที่ผู้บังคับบัญชามีคำสั่งเป็นหนังสือต่อผู้ร้องทุกข์ให้ถือวันที่ผู้ถูกสั่งลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งเป็นวันทราบเรื่องอันเป็นเหตุให้ร้องทุกข์
ถ้าผู้ถูกสั่งไม่ยอมลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่ง
และมีการแจ้งคำสั่งให้ผู้ถูกสั่งทราบกับมอบสำเนาคำสั่งให้ผู้ถูกสั่ง
แล้วทำบันทึกลงวันเดือนปี เวลา และสถานที่ที่แจ้งและลงลายมือชื่อผู้แจ้ง
พร้อมทั้งพยานรู้เห็นไว้เป็นหลักฐานแล้ว
ให้ถือวันที่แจ้งนั้นเป็นวันทราบเรื่องอันเป็นเหตุให้ร้องทุกข์
ถ้าไม่อาจแจ้งให้ผู้ถูกสั่งลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งได้โดยตรง
และได้แจ้งเป็นหนังสือส่งสำเนาคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูกสั่ง ณ
ที่อยู่ของผู้ถูกสั่งซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ
โดยส่งสำเนาคำสั่งไปให้สองฉบับเพื่อให้ผู้ถูกสั่งเก็บไว้หนึ่งฉบับ และให้ผู้ถูกสั่งลงลายมือชื่อและวันเดือนปีที่รับทราบคำสั่งส่งกลับคืนมาเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานหนึ่งฉบับ
ในกรณีเช่นนี้ เมื่อล่วงพ้นสามสิบวันนับแต่วันที่ปรากฏในใบตอบรับทางไปรษณีย์ลงทะเบียนว่าผู้ถูกสั่งได้รับเอกสารดังกล่าวหรือมีผู้รับแทนแล้ว
แม้ยังไม่ได้รับสำเนาคำสั่งฉบับที่ให้ผู้ถูกสั่งลงลายมือชื่อและวันเดือนปีที่รับทราบคำสั่งกลับคืนมาให้ถือว่าผู้ถูกสั่งได้ทราบคำสั่งแล้ว
(๒) ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาไม่มีคำสั่งเป็นหนังสือต่อผู้ร้องทุกข์โดยตรงให้ถือวันที่มีหลักฐานยืนยันว่าผู้ร้องทุกข์รับทราบหรือควรได้ทราบคำสั่งนั้นเป็นวันทราบเรื่องอันเป็นเหตุให้ร้องทุกข์
(๓)
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อผู้ร้องทุกข์โดยไม่ได้มีคำสั่งอย่างใดให้ถือวันที่ผู้ร้องทุกข์ควรได้ทราบถึงการใช้อำนาจหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาดังกล่าวเป็นวันทราบเรื่องอันเป็นเหตุให้ร้องทุกข์
ข้อ ๗
การร้องทุกข์ต่อ ก.ร.ให้ทำหนังสือร้องทุกข์ถึงประธาน ก.ร.หรือเลขานุการ ก.ร.
พร้อมกับสำเนารับรองถูกต้องหนึ่งฉบับ และยื่นที่สำนักงานเลขานุการ ก.ร.
ผู้ร้องทุกข์จะยื่นหรือส่งหนังสือร้องทุกข์พร้อมกับสำเนารับรองถูกต้องหนึ่งฉบับผ่านผู้บังคับบัญชาหรือผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ก็ได้
และให้ผู้บังคับบัญชานั้นดำเนินการตามข้อ ๙ วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่มีผู้นำหนังสือร้องทุกข์มายื่นเอง
ให้ผู้รับหนังสือออกใบรับหนังสือประทับตรารับหนังสือและลงทะเบียนรับหนังสือไว้เป็นหลักฐานในวันที่รับหนังสือตามระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณ
และให้ถือวันที่รับหนังสือตามหลักฐานดังกล่าวเป็นวันยื่นหนังสือร้องทุกข์
ในกรณีที่ส่งหนังสือร้องทุกข์ทางไปรษณีย์
ให้ถือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางออกใบรับฝากเป็นหลักฐานฝากส่ง
หรือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางประทับตรารับที่ซองหนังสือเป็นวันส่งหนังสือร้องทุกข์
เมื่อได้ยื่นหรือส่งหนังสือร้องทุกข์ไว้แล้ว
ผู้ร้องทุกข์จะยื่นหรือส่งหนังสือร้องทุกข์ หรือเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมก่อนที่
ก.ร.เริ่มพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ก็ได้ โดยยื่นหรือส่งตรงต่อ ก.ร.
ข้อ ๘
ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์ไม่ประสงค์จะให้มีการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ต่อไปจะขอถอนเรื่องร้องทุกข์ก่อนที่
ก.ร.พิจารณาเรื่องร้องทุกข์เสร็จสิ้นก็ได้ โดยทำเป็นหนังสือยื่นหรือส่งตรงต่อ ก.ร.
เมื่อได้ถอนเรื่องร้องทุกข์แล้ว การพิจารณาเรื่องร้องทุกข์นั้นให้เป็นอันระงับ
ข้อ ๙
เมื่อได้รับหนังสือร้องทุกข์ตามข้อ ๗ วรรคหนึ่ง ให้สำนักงานเลขานุการ ก.ร. มีหนังสือแจ้งพร้อมทั้งส่งสำเนาหนังสือร้องทุกข์ให้ผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ทราบโดยเร็ว
และให้ผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์นั้นส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
และคำชี้แจงของตน (ถ้ามี)
ไปเพื่อประกอบการพิจารณาภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันได้รับหนังสือ
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้รับหนังสือร้องทุกข์ที่ได้ยื่นหรือส่งตามข้อ
๗ วรรคสอง
ให้ผู้บังคับบัญชานั้นส่งหนังสือร้องทุกข์พร้อมทั้งสำเนาต่อไปยังผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ภายในสามวันทำการนับแต่วันได้รับหนังสือร้องทุกข์
เมื่อผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ได้รับหนังสือร้องทุกข์ที่ได้ยื่นหรือส่งตามวรรคสองหรือข้อ
๗ วรรคสอง ให้ผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์นั้นจัดส่งหนังสือร้องทุกข์พร้อมทั้งสำเนาและเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
และคำชี้แจงของตน (ถ้ามี) ไปยังสำนักงานเลขานุการ
ก.ร.ภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันได้รับหนังสือร้องทุกข์
ข้อ ๑๐
การพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ให้ ก.ร.พิจารณาจากเรื่องราวการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์ของผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์
และในกรณีจำเป็นและสมควรอาจขอเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
รวมทั้งคำชี้แจงจากหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ ห้างหุ้นส่วน
บริษัท หรือบุคคลใด ๆ หรือขอให้ผู้แทนหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ
ห้างหุ้นส่วน บริษัท ข้าราชการ หรือบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำหรือชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการพิจารณาได้
ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์ขอแถลงการณ์ด้วยวาจา
หาก ก.ร.พิจารณาเห็นว่า การแถลงการณ์ด้วยวาจาไม่จำเป็นแก่การพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
จะให้งดการแถลงการณ์ด้วยวาจาเสียก็ได้
ข้อ ๑๑
การพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ ถ้า ก.ร.เห็นว่า
(๑) การที่ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์นั้นถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
ให้มีมติยกคำร้องทุกข์
(๒)
การที่ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์นั้นไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ให้มีมติให้แก้ไขโดยเพิกถอนหรือยกเลิกการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายนั้น
หรือให้ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย
(๓)
การที่ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์นั้นถูกต้องตามกฎหมายแต่บางส่วน
และไม่ถูกต้องตามกฎหมายบางส่วนให้มีมติให้แก้ไขหรือให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย
(๔) ควรดำเนินการโดยประการอื่นใดเพื่อให้มีความถูกต้องตามกฎหมายและมีความเป็นธรรมก็ให้มีมติให้ดำเนินการได้ตามควรแก่กรณี
การพิจารณามีมติตามวรรคหนึ่ง
ให้บันทึกเหตุผลของการพิจารณาวินิจฉัยไว้ในรายงานการประชุมด้วย
ข้อ ๑๒ เมื่อ
ก.ร.ได้พิจารณาวินิจฉัยและมีมติตามข้อ ๑๑ เป็นประการใดแล้วให้เลขานุการ
ก.ร.แจ้งให้ ประธานวุฒิสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร เลขาธิการวุฒิสภาเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามมาตรา ๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๓๕ แล้วแต่กรณี ทราบหรือดำเนินการให้เป็นไปตามมติ ก.ร.โดยเร็ว
พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้ร้องทุกข์ทราบเป็นหนังสือโดยเร็วด้วย
มติของ ก.ร.ให้เป็นที่สุด
ข้อ ๑๓
การนับระยะเวลาตามกฎ ก.ร.นี้ สำหรับเวลาเริ่มต้น ให้นับวันถัดจากวันแรกแห่งเวลานั้นเป็นวันเริ่มนับระยะเวลา
ส่วนเวลาสิ้นสุด ถ้าวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาตรงกับวันหยุดราชการ
ให้นับวันเริ่มเปิดราชการใหม่เป็นวันสุดท้ายแห่งเวลา
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๑
วันมูหะมัดนอร์ มะทา
ประธานรัฐสภา
ประธาน ก.ร.
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้ กฎ ก.ร.ฉบับนี้ คือ
โดยที่มาตรา ๗๐ ตรี แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๕ กำหนดว่า การร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ขอให้แก้ไขการปฏิบัติไม่ถูกต้องหรือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ
ก.ร. จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.ร.นี้
ประภาศรี/ผู้จัดทำ
๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๓๙ ก/หน้า ๒๓/๒๕ มิถุนายน ๒๕๔๑ |
596024 | กฎ ก.ร. ฉบับที่ 17 (พ.ศ.2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ว่าด้วยการสั่งพักราชการ และการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน (ฉบับ Update ล่าสุด) | กฎ ก
กฎ ก.ร.
ฉบับที่ ๑๗ (พ.ศ.๒๕๓๙)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.๒๕๑๘
ว่าด้วยการสั่งพักราชการ และการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ และมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ก.ร. จึงออกกฎ ก.ร.ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.ร.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกกฎ
ก.ร. ฉบับที่ ๘ (พ.ศ.๒๕๑๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ.๒๕๑๘ ว่าด้วยการสั่งพักราชการ การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
และการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามผลการสอบสวนพิจารณา
ข้อ ๓
การสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณา
และการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามผลการสอบสวนพิจารณา
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร. นี้
ข้อ ๔
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน
หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท
หรือความผิดลหุโทษ ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๗ จะสั่งให้ผู้นั้นพักราชการได้ก็ต่อเมื่อมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด
ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้นั้นถูกตั้งกรรมการสอบสวน
หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา
ในเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ
หรือเกี่ยวกับความประพฤติหรือพฤติการณ์อันไม่น่าไว้วางใจ
และผู้ที่ถูกฟ้องนั้นพนักงานอัยการมิได้รับเป็นทนายแก้ต่างให้
และผู้มีอำนาจดังกล่าวพิจารณาเห็นว่าถ้าให้ผู้นั้นคงอยู่ในหน้าที่ราชการอาจเกิดการเสียหายแก่ราชการ
(๒)
ผู้นั้นมีพฤติการณ์ที่แสดงว่าถ้าคงอยู่ในหน้าที่ราชการจะเป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนพิจารณา
หรือจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้น
(๓)
ผู้นั้นอยู่ในระหว่างถูกควบคุมหรือขังโดยเป็นผู้ถูกจับในคดีอาญา หรือต้องจำคุกโดยคำพิพากษา
และได้ถูกควบคุม ขัง หรือต้องจำคุก เป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่าสิบห้าวันแล้ว
(๔)
ผู้นั้นถูกตั้งกรรมการสอบสวนและต่อมามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำความผิดอาญาในเรื่องที่สอบสวนนั้น
หรือผู้นั้นถูกตั้งกรรมการสอบสวนภายหลังที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำความผิดอาญาในเรื่องที่สอบสวนนั้น
และผู้มีอำนาจดังกล่าวพิจารณาเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำพิพากษาถึงที่สุดนั้นได้ความประจักษ์ชัดอยู่แล้วว่าการกระทำความผิดอาญาของผู้นั้นเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ข้อ ๕[๒] การสั่งพักราชการให้สั่งพักตลอดเวลาที่สอบสวนพิจารณา
เว้นแต่ผู้ถูกสั่งพักราชการผู้ใดได้ร้องทุกข์ตามมาตรา ๖๐ ตรี
และผู้มีอำนาจพิจารณาคำร้องทุกข์เห็นว่า
สมควรสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนการสอบสวนพิจารณาเสร็จสิ้น
เนื่องจากพฤติการณ์ของผู้ถูกสั่งพักราชการไม่เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนพิจารณา
และไม่ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยต่อไป
หรือเนื่องจากการสอบสวนทางวินัยไม่สามารถดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่เหมาะสม
ซึ่งไม่ควรเกินหนึ่งปีนับแต่วันพักราชการ
ผู้มีอำนาจสั่งพักราชการอาจสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนการสอบสวนพิจารณาเสร็จสิ้นได้
ข้อ ๖
ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวนหลายสำนวน
หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาหลายคดี
เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ หรือผู้ที่ถูกฟ้องนั้นพนักงานอัยการรับเป็นทนายแก้ต่างให้
ถ้าจะสั่งพักราชการให้สั่งพักทุกสำนวนและทุกคดี
ในกรณีที่ได้สั่งพักราชการในสำนวนใดหรือคดีใดไว้แล้ว
ภายหลังปรากฏว่าผู้ถูกสั่งพัก
ราชการนั้นมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวนในสำนวนอื่น
หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาในคดีอื่นเพิ่มขึ้นอีก เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท
หรือความผิดลหุโทษ หรือผู้ที่ถูกฟ้องนั้นพนักงานอัยการรับเป็นทนายแก้ต่างให้
ก็ให้สั่งพักราชการในสำนวนหรือคดีอื่นที่เพิ่มขึ้นนั้นด้วย
ข้อ ๗ การสั่งพักราชการ
ห้ามมิให้สั่งพักย้อนหลังไปก่อนวันออกคำสั่งเว้นแต่
(๑)
ผู้ซึ่งจะถูกสั่งพักราชการอยู่ในระหว่างถูกควบคุมหรือขังโดยเป็นผู้ถูกจับในคดีอาญา
หรือต้องจำคุกโดยคำพิพากษา
การสั่งพักราชการในเรื่องนั้นให้สั่งพักย้อนหลังไปถึงวันที่ถูกควบคุมขังหรือต้องจำคุก
(๒) ในกรณีที่ได้มีการสั่งพักราชการไว้แล้วถ้าจะต้องสั่งใหม่เพราะคำสั่งเดิมไม่ถูกต้องให้สั่งพักตั้งแต่วันให้พักราชการตามคำสั่งเดิม
หรือตามวันที่ควรต้องพักราชการในขณะที่ออกคำสั่งเดิม
ข้อ ๘
คำสั่งพักราชการต้องระบุชื่อและตำแหน่งของผู้ถูกสั่งพัก ตลอดจนกรณีและเหตุที่สั่งให้พักราชการ
เมื่อได้มีคำสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดพักราชการแล้ว
ให้แจ้งคำสั่งให้ผู้นั้นทราบพร้อมทั้งส่งสำเนาคำสั่งให้ด้วยโดยพลัน
ในกรณีที่ไม่อาจแจ้งให้ผู้นั้นทราบได้หรือผู้นั้นไม่ยอมรับทราบคำสั่งให้ปิดสำเนาคำสั่งไว้ ณ
ที่ทำการที่ผู้นั้นรับราชการอยู่และมีหนังสือแจ้งพร้อมกับส่งสำเนาคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปให้ผู้นั้น
ณ ที่อยู่ของผู้นั้นซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ
ในกรณีเช่นนี้เมื่อล่วงพ้นสิบวันนับแต่วันที่ได้ดำเนินการดังกล่าว
ให้ถือว่าผู้นั้นได้ทราบคำสั่งพักราชการแล้ว
ข้อ ๙
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีเหตุที่อาจถูกสั่งพักราชการตาม ข้อ ๔ และผู้มีอำนาจตามมาตรา
๕๗ พิจารณาเห็นว่าการสอบสวนพิจารณา หรือการพิจารณาคดีที่เป็นเหตุที่อาจถูกสั่งพักราชการนั้น จะไม่แล้วเสร็จโดยเร็ว
ผู้มีอำนาจดังกล่าวจะสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการไว้ก่อนก็ได้
ให้นำข้อ ๕ ข้อ ๖ และข้อ ๘
มาใช้บังคับแก่การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนโดยอนุโลม
ข้อ ๑๐
เมื่อได้สั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดพักราชการไว้แล้ว ผู้มีอำนาจตามมาตรา
๕๗ จะพิจารณาตามข้อ ๙ และสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการไว้ก่อนอีกชั้นหนึ่งก็ได้
ข้อ ๑๑
การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน จะสั่งให้ออกตั้งแต่วันใด ให้นำข้อ ๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
แต่สำหรับการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนในกรณีตามข้อ ๑๐
ให้สั่งให้ออกตั้งแต่วันพักราชการเป็นต้นไป
ข้อ ๑๒ การสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๑๐
ขึ้นไปออกจากราชการไว้ก่อน ให้ดำเนินการนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่งนับแต่วันออกจากราชการไว้ก่อน
ข้อ ๑๓
เมื่อได้สั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอผลการสอบสวนพิจารณาแล้ว
ภายหลังปรากฏผลการสอบสวนพิจารณาเป็นประการใดให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ก็ให้สั่งลงโทษตามมาตรา ๕๓
(๒)
ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยยังไม่ถึงขั้นเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
และไม่มีกรณีจะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยกรณีอื่น ก็ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งในระดับเดียวกันที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นแล้วดำเนินการตามมาตรา
๕๒
การสั่งให้กลับเข้ารับราชการในตำแหน่งตั้งแต่ระดับ
๑๐ ขึ้นไป เว้นแต่การให้กลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิมสำหรับกรณีผู้ถูกสั่งพักราชการให้ดำเนินการนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า
ฯ แต่งตั้งด้วย
ในกรณีที่ไม่อาจให้กลับเข้ารับราชการได้
เนื่องจากผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์และสิ้นปีงบประมาณที่มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์นั้นแล้ว
ก็ให้ดำเนินการตามมาตรา ๕๒ โดยไม่ต้องสั่งให้กลับเข้ารับราชการ
แต่ถ้าเป็นผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
ก็ให้มีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
เพื่อให้ผู้นั้นพ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ในการดำเนินการตามมาตรา ๕๒
สำหรับกรณีตามวรรคสาม ถ้ามีกรณีที่จะสั่งลงโทษตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือน
การลงโทษดังกล่าวให้สั่งย้อนหลังไปถึงวันสุดท้ายก่อนวันพ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(๓)
ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยยังไม่ถึงขั้นเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
แต่มีกรณีจะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น ก็ให้ดำเนินการตามมาตรา ๕๒
แล้วสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามเหตุนั้น
โดยไม่ต้องสั่งให้กลับเข้ารับราชการการดำเนินการตามมาตรา ๕๒
ถ้ามีกรณีที่จะสั่งลงโทษตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือน การลงโทษดังกล่าวให้สั่งย้อนหลังไปถึงวันสุดท้ายก่อนวันออกจากราชการ
(๔)
ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิดวินัย
และไม่มีกรณีจะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น ก็ให้ยุติเรื่อง
และสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการตามนัย (๒) ในกรณีที่ไม่อาจให้กลับเข้ารับราชการได้สำหรับกรณีผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนก็ให้สั่งยกเลิกคำสั่งตามนัย
(๒) วรรคสาม
(๕)
ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิดวินัย แต่มีกรณีจะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น
ก็ให้ยุติเรื่อง และสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามเหตุนั้นโดยไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการ
ข้อ ๑๔ การออกคำสั่งพักราชการ
คำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน หรือคำสั่งให้กลับเข้ารับราชการ
ให้มีสาระสำคัญตามแบบพอร.๑ พอร.๒ พอร.๓ หรือ พอร.๔ แล้วแต่กรณีท้ายกฎ ก.ร. นี้
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๙
บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ
ประธานรัฐสภา
ประธาน ก.ร.
หมายเหตุ:-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร. ฉบับนี้ คือ โดยเห็นเป็นการสมควรปรับปรุงกฎ
ก.ร. ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๑๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาพ.ศ.
๒๕๑๘ ว่าด้วยการสั่งพักราชการการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน และการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามผลการสอบสวนพิจารณา
เพื่อให้เหมาะสมยิ่งขึ้นและสอดคล้องกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่
๔) พ.ศ.๒๕๓๕ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
กฎ ก.ร. ฉบับที่ ๒๗ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.
๒๕๑๘ ว่าด้วยการสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน[๓]
เอกฤทธิ์/ผู้จัดทำ
๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๑๓/ตอนที่ ๒๖ ก/หน้า ๑๔/๑๐ กรกฎาคม ๒๕๓๙
[๒] ข้อ
๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ
ก.ร. ฉบับที่ ๒๗ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ ว่าด้วยการสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
[๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๓ ก/หน้า ๑๑/๒๗ เมษายน ๒๕๔๙ |
416134 | กฎ ก.ร. ว่าด้วยอำนาจการลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน พ.ศ. 2546 | กฎ ก
กฎ
ก.ร.
ว่าด้วยอำนาจการลงโทษภาคทัณฑ์
ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน
พ.ศ.
๒๕๔๖
ตามที่ได้มีประกาศรัฐสภา
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๔ ลงวันที่ ๓
ตุลาคม ๒๕๔๔ และประกาศรัฐสภา เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
พ.ศ. ๒๕๔๕ ลงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๔๕
ให้มีการปรับปรุงโครงสร้างของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเสียใหม่
โดยกำหนดให้มีผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการภายในสำนัก
แต่เนื่องจากกฎ ก.ร. ที่เกี่ยวกับอำนาจการลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือนยังมิได้กำหนดให้อำนาจผู้อำนวยการสำนักไว้ในกฎ
ก.ร. ดังกล่าว
ดังนั้น
จึงเห็นควรให้มีการปรับปรุง กฎ ก.ร. ว่าด้วยอำนาจการลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน
หรือลดขั้นเงินเดือน เสียใหม่
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๓ (๓) และมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ก.ร.
ออกกฎ ก.ร. ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑[๑] กฎ ก.ร.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๒
ให้ยกเลิกกฎ ก.ร. ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๓๗)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ว่าด้วยอำนาจการลงโทษภาคทัณฑ์
ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน
ข้อ
๓ ในกฎ ก.ร.
นี้
ผู้อำนวยการสำนัก
หมายความว่า
ข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าส่วนราชการภายในสำนักหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
โดยกำหนดให้เป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการภายในสำนักหรือส่วนราชการดังกล่าว
ข้อ
๔
ผู้อำนวยการสำนัก ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ผู้กระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง มีอำนาจสั่งลงโทษภาคทัณฑ์
หรือตัดเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกิน ๕% และเป็นเวลาไม่เกินสองเดือน
ข้อ
๕
ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
เลขาธิการวุฒิสภา หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามมาตรา ๖ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๓๕
ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้กระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงมีอำนาจสั่งลงโทษภาคทัณฑ์
หรือตัดเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกิน ๕% และเป็นเวลาไม่เกินสามเดือน
หรือลดขั้นเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกินหนึ่งขั้น
ให้ไว้ ณ วันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
อุทัย
พิมพ์ใจชน
ประธานรัฐสภา
ประธาน ก.ร.
ศุภชัย/ผู้พิมพ์
๕ มกราคม ๒๕๔๗
ศุภสรณ์/อรดา/ตรวจ
๑๔ มกราคม ๒๕๔๗
A+B
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๑๐๖ ก/หน้า ๑๑๖/๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๖ |
304123 | กฎ ก.ร. ฉบับที่ 20 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน | กฎ ก
กฎ ก.ร.
ฉบับที่ ๒๐ (พ.ศ. ๒๕๔๐)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ และมาตรา ๓๖
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๕ ก.ร. ออกกฎ ก.ร. ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.ร.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (๘) ของข้อ ๕ แห่งกฎ ก.ร.
ฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.
๒๕๑๘ ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือนและให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๘)
ในรอบปีที่แล้วมาต้องไม่มีวันลาเกินกว่าสี่สิบห้าวัน แต่ไม่รวมถึงวันลาดังต่อไปนี้
(ก) ลาอุปสมบท หรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ
เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย
เฉพาะวันลาที่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลาตามกฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน
(ข) ลาคลอดบุตรไม่เกินเก้าสิบวัน
(ค)
ล่าป่วยซึ่งจำเป็นต้องรักษาตัวเป็นเวลานานไม่ว่าคราวเดียวหรือหลายคราวรวมกันไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันทำการ
(ง)
ลาป่วยเพราะประสบอันตรายในขณะปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือในขณะเดินทางไปหรือกลับจากปฏิบัติราชการตามหน้าที่
(จ) ลาพักผ่อน
(ฉ)
ลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล
(ช) ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
การนับจำนวนวันลาไม่เกินสี่สิบห้าวันสำหรับวันลากิจส่วนตัวและวันลาป่วยที่ไม่ใช่วันลาป่วยตาม
(ง) ให้นับเฉพาะวันทำการ
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๐ และข้อ ๑๒ แห่งกฎ
ก.ร. ฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ออกตามความในระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๐ การพิจารณาผลการปฏิบัติงาน
ให้นับช่วงเวลาการปฏิบัติราชการและการปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศตามข้อ ๕
(๘) (ช) ในรอบปีที่แล้วมาเป็นเกณฑ์ เว้นแต่ผู้อยู่ในหลักเกณฑ์ตามข้อ ๕ (๕) หรือ
(๖) ให้นับช่วงเวลาปฏิบัติราชการไม่น้อยกว่าแปดเดือนเป็นเกณฑ์การพิจารณา
ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดโอน
เลื่อนตำแหน่ง ย้าย สับเปลี่ยนหน้าที่ไปช่วยราชการในต่างส่วนราชการ
ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานนอกเหนือหน้าที่ หรืองานพิเศษอื่นใด
หรือลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศตามข้อ ๕ (๘) (ช) ในรอบปีที่แล้วมา ให้นำผลการปฏิบัติราชการและการปฏิบัติงานของผู้นั้นทุกตำแหน่งและทุกแห่งมาประกอบการพิจารณาด้วย
ข้อ ๑๒
การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีให้แก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งในรอบปีที่แล้วมาได้รับอนุญาตให้ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศตามข้อ
๕ (๘) (ช) ให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขึ้นเงินเดือนพิจารณาสั่งเลื่อนได้ปีละไม่เกินหนึ่งขึ้นเมื่อผู้นั้นกลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการ
โดยให้สั่งเลื่อนย้อนหลังไปในแต่ละปีที่ควรจะได้เลื่อน ทั้งนี้ ให้เสนอ ก.ร. เพื่อพิจารณาอนุมัติเป็นรายๆ
ไป
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
วันมูหะมัดนอร์ มะทา
ประธานรัฐสภา
ประธาน ก.ร.
หมายเหตุ:-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร. ฉบับนี้ คือ โดยที่ระเบียบ ก.ร. ว่าด้วยการลาของข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.ร. ว่าด้วยการลาของข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๙ กำหนดให้ข้าราชการมีสิทธิลาคลอดบุตรโดยได้รับเงินเดือนครั้งหนึ่งได้ไม่เกินเก้าสิบวัน
และได้ยกเลิกสิทธิการลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องจากการลาคลอดโดยได้รับเงินเดือนไม่เกินสามสิบวันทำการ
เพื่อให้หลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีของข้าราชการรัฐสภาสามัญมีความสอดคล้องกับระเบียบดังกล่าว
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.ร.นี้
ประภาศรี/ผู้จัดทำ
๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๑๕ ก/หน้า ๑๒/๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๐ |
319573 | กฎ ก.ร. ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.2518 ว่าด้วยการสั่งพักราชการ และการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน | กฎ ก
กฎ ก.ร.
ฉบับที่ ๑๗ (พ.ศ.๒๕๓๙)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.๒๕๑๘
ว่าด้วยการสั่งพักราชการ และการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ และมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ก.ร. จึงออกกฎ ก.ร.ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.ร.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกกฎ ก.ร. ฉบับที่ ๘ (พ.ศ.๒๕๑๙)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.๒๕๑๘
ว่าด้วยการสั่งพักราชการ การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
และการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามผลการสอบสวนพิจารณา
ข้อ ๓
การสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณา
และการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามผลการสอบสวนพิจารณา
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร. นี้
ข้อ ๔
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน
หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท
หรือความผิดลหุโทษ ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๗ จะสั่งให้ผู้นั้นพักราชการได้ก็ต่อเมื่อมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด
ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้นั้นถูกตั้งกรรมการสอบสวน
หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา
ในเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ
หรือเกี่ยวกับความประพฤติหรือพฤติการณ์อันไม่น่าไว้วางใจ
และผู้ที่ถูกฟ้องนั้นพนักงานอัยการมิได้รับเป็นทนายแก้ต่างให้
และผู้มีอำนาจดังกล่าวพิจารณาเห็นว่าถ้าให้ผู้นั้นคงอยู่ในหน้าที่ราชการอาจเกิดการเสียหายแก่ราชการ
(๒)
ผู้นั้นมีพฤติการณ์ที่แสดงว่าถ้าคงอยู่ในหน้าที่ราชการจะเป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนพิจารณา
หรือจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้น
(๓)
ผู้นั้นอยู่ในระหว่างถูกควบคุมหรือขังโดยเป็นผู้ถูกจับในคดีอาญา หรือต้องจำคุกโดยคำพิพากษา
และได้ถูกควบคุม ขัง หรือต้องจำคุก เป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่าสิบห้าวันแล้ว
(๔)
ผู้นั้นถูกตั้งกรรมการสอบสวนและต่อมามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำความผิดอาญาในเรื่องที่สอบสวนนั้น
หรือผู้นั้นถูกตั้งกรรมการสอบสวนภายหลังที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำความผิดอาญาในเรื่องที่สอบสวนนั้น
และผู้มีอำนาจดังกล่าวพิจารณาเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำพิพากษาถึงที่สุดนั้นได้ความประจักษ์ชัดอยู่แล้วว่าการกระทำความผิดอาญาของผู้นั้นเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ข้อ ๕
การสั่งพักราชการให้สั่งพักตลอดเวลาที่สอบสวนพิจารณา เว้นแต่กรณีผู้ถูกสั่งพักได้ร้องทุกข์และผู้มีอำนาจพิจารณาเห็นว่าคำร้องทุกข์ฟังขึ้นและไม่สมควรที่จะสั่งพักราชการ
ก็ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการก่อนการสอบสวนพิจารณาเสร็จสิ้นได้
ข้อ ๖
ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวนหลายสำนวน
หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาหลายคดี
เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ หรือผู้ที่ถูกฟ้องนั้นพนักงานอัยการรับเป็นทนายแก้ต่างให้
ถ้าจะสั่งพักราชการให้สั่งพักทุกสำนวนและทุกคดี
ในกรณีที่ได้สั่งพักราชการในสำนวนใดหรือคดีใดไว้แล้ว
ภายหลังปรากฏว่าผู้ถูกสั่งพัก
ราชการนั้นมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวนในสำนวนอื่น
หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาในคดีอื่นเพิ่มขึ้นอีก เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท
หรือความผิดลหุโทษ หรือผู้ที่ถูกฟ้องนั้นพนักงานอัยการรับเป็นทนายแก้ต่างให้
ก็ให้สั่งพักราชการในสำนวนหรือคดีอื่นที่เพิ่มขึ้นนั้นด้วย
ข้อ ๗ การสั่งพักราชการ
ห้ามมิให้สั่งพักย้อนหลังไปก่อนวันออกคำสั่งเว้นแต่
(๑) ผู้ซึ่งจะถูกสั่งพักราชการอยู่ในระหว่างถูกควบคุมหรือขังโดยเป็นผู้ถูกจับในคดีอาญา
หรือต้องจำคุกโดยคำพิพากษา
การสั่งพักราชการในเรื่องนั้นให้สั่งพักย้อนหลังไปถึงวันที่ถูกควบคุมขังหรือต้องจำคุก
(๒)
ในกรณีที่ได้มีการสั่งพักราชการไว้แล้วถ้าจะต้องสั่งใหม่เพราะคำสั่งเดิมไม่ถูกต้องให้สั่งพักตั้งแต่วันให้พักราชการตามคำสั่งเดิม
หรือตามวันที่ควรต้องพักราชการในขณะที่ออกคำสั่งเดิม
ข้อ ๘
คำสั่งพักราชการต้องระบุชื่อและตำแหน่งของผู้ถูกสั่งพัก ตลอดจนกรณีและเหตุที่สั่งให้พักราชการ
เมื่อได้มีคำสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดพักราชการแล้ว
ให้แจ้งคำสั่งให้ผู้นั้นทราบพร้อมทั้งส่งสำเนาคำสั่งให้ด้วยโดยพลัน
ในกรณีที่ไม่อาจแจ้งให้ผู้นั้นทราบได้หรือผู้นั้นไม่ยอมรับทราบคำสั่งให้ปิดสำเนาคำสั่งไว้ ณ
ที่ทำการที่ผู้นั้นรับราชการอยู่และมีหนังสือแจ้งพร้อมกับส่งสำเนาคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปให้ผู้นั้น
ณ ที่อยู่ของผู้นั้นซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ
ในกรณีเช่นนี้เมื่อล่วงพ้นสิบวันนับแต่วันที่ได้ดำเนินการดังกล่าว
ให้ถือว่าผู้นั้นได้ทราบคำสั่งพักราชการแล้ว
ข้อ ๙
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีเหตุที่อาจถูกสั่งพักราชการตาม ข้อ ๔ และผู้มีอำนาจตามมาตรา
๕๗ พิจารณาเห็นว่าการสอบสวนพิจารณา หรือการพิจารณาคดีที่เป็นเหตุที่อาจถูกสั่งพักราชการนั้น จะไม่แล้วเสร็จโดยเร็ว
ผู้มีอำนาจดังกล่าวจะสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการไว้ก่อนก็ได้
ให้นำข้อ ๕ ข้อ ๖ และข้อ ๘
มาใช้บังคับแก่การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนโดยอนุโลม
ข้อ ๑๐ เมื่อได้สั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดพักราชการไว้แล้ว
ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๗ จะพิจารณาตามข้อ ๙
และสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการไว้ก่อนอีกชั้นหนึ่งก็ได้
ข้อ ๑๑ การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
จะสั่งให้ออกตั้งแต่วันใด ให้นำข้อ ๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่สำหรับการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนในกรณีตามข้อ
๑๐ ให้สั่งให้ออกตั้งแต่วันพักราชการเป็นต้นไป
ข้อ ๑๒
การสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๑๐ ขึ้นไปออกจากราชการไว้ก่อน
ให้ดำเนินการนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่งนับแต่วันออกจากราชการไว้ก่อน
ข้อ ๑๓
เมื่อได้สั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอผลการสอบสวนพิจารณาแล้ว
ภายหลังปรากฏผลการสอบสวนพิจารณาเป็นประการใดให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ก็ให้สั่งลงโทษตามมาตรา ๕๓
(๒)
ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยยังไม่ถึงขั้นเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
และไม่มีกรณีจะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยกรณีอื่น
ก็ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งในระดับเดียวกันที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นแล้วดำเนินการตามมาตรา
๕๒
การสั่งให้กลับเข้ารับราชการในตำแหน่งตั้งแต่ระดับ
๑๐ ขึ้นไป เว้นแต่การให้กลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิมสำหรับกรณีผู้ถูกสั่งพักราชการให้ดำเนินการนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า
ฯ แต่งตั้งด้วย
ในกรณีที่ไม่อาจให้กลับเข้ารับราชการได้
เนื่องจากผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์และสิ้นปีงบประมาณที่มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์นั้นแล้ว
ก็ให้ดำเนินการตามมาตรา ๕๒ โดยไม่ต้องสั่งให้กลับเข้ารับราชการ
แต่ถ้าเป็นผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
ก็ให้มีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
เพื่อให้ผู้นั้นพ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ในการดำเนินการตามมาตรา ๕๒
สำหรับกรณีตามวรรคสาม ถ้ามีกรณีที่จะสั่งลงโทษตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือน
การลงโทษดังกล่าวให้สั่งย้อนหลังไปถึงวันสุดท้ายก่อนวันพ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(๓)
ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยยังไม่ถึงขั้นเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
แต่มีกรณีจะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น ก็ให้ดำเนินการตามมาตรา ๕๒
แล้วสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามเหตุนั้น
โดยไม่ต้องสั่งให้กลับเข้ารับราชการการดำเนินการตามมาตรา ๕๒
ถ้ามีกรณีที่จะสั่งลงโทษตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือน การลงโทษดังกล่าวให้สั่งย้อนหลังไปถึงวันสุดท้ายก่อนวันออกจากราชการ
(๔) ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิดวินัย และไม่มีกรณีจะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น ก็ให้ยุติเรื่อง
และสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการตามนัย (๒) ในกรณีที่ไม่อาจให้กลับเข้ารับราชการได้สำหรับกรณีผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนก็ให้สั่งยกเลิกคำสั่งตามนัย
(๒) วรรคสาม
(๕)
ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิดวินัย แต่มีกรณีจะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น
ก็ให้ยุติเรื่อง และสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามเหตุนั้นโดยไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการ
ข้อ ๑๔ การออกคำสั่งพักราชการ
คำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน หรือคำสั่งให้กลับเข้ารับราชการ
ให้มีสาระสำคัญตามแบบพอร.๑ พอร.๒ พอร.๓ หรือ พอร.๔ แล้วแต่กรณีท้ายกฎ ก.ร. นี้
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๙
บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ
ประธานรัฐสภา
ประธาน ก.ร.
หมายเหตุ:-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร. ฉบับนี้ คือ โดยเห็นเป็นการสมควรปรับปรุงกฎ
ก.ร. ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๑๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาพ.ศ.
๒๕๑๘ ว่าด้วยการสั่งพักราชการการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน และการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามผลการสอบสวนพิจารณา
เพื่อให้เหมาะสมยิ่งขึ้นและสอดคล้องกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่
๔) พ.ศ.๒๕๓๕ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ประภาศรี/ผู้จัดทำ
๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๒๖ ก/หน้า ๑๔/๑๐ กรกฎาคม ๒๕๓๙ |
443723 | กฎ ก.ร. ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2547 | กฎ ก
กฎ
ก.ร.
ว่าด้วยโรค
พ.ศ.
๒๕๔๗
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๓ (๓) และมาตรา ๒๔ (๕) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ก.ร. ออกกฎ ก.ร. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑[๑] กฎ ก.ร.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกกฎ ก.ร. ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๖)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ว่าด้วยโรค
ข้อ
๓
โรคตามมาตรา ๒๔ (๕) คือ
๑.
โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
๒. วัณโรคในระยะอันตราย
๓. โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
๔.
โรคติดยาเสพติดให้โทษ
๕. โรคพิษสุราเรื้อรัง
ให้ไว้
ณ วันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
อุทัย พิมพ์ใจชน
ประธานรัฐสภา
ประธาน
ก.ร.
หมายเหตุ :-
ในการประกาศใช้ กฎ ก.ร. ฉบับนี้ เนื่องจาก กฎ ก.ร. ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๖)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ว่าด้วยโรค
ที่กำหนดให้ใช้บังคับแก่สำนักงานเลขาธิการรัฐสภาซึ่งหน่วยงานดังกล่าวปัจจุบันได้ถูกยกเลิกไปแล้วตามมาตรา
๖ แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ นอกจากนั้นกฎ ก.ร.
ดังกล่าวไม่ได้กำหนดเวลาในการใช้บังคับไว้เหมือนกับกฎ ก.ร. ฉบับอื่น ดังนั้น
เพื่อให้ถูกต้องสมบูรณ์ตามรูปแบบของกฎ ก.ร. และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.ร. นี้
ศุภชัย/พิมพ์
๖
ตุลาคม ๒๕๔๗
สุนันทา/นวพร/ตรวจ
๒๙
ตุลาคม ๒๕๔๗
A+B
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๕๖
ก/หน้า ๒๓/๒ กันยายน ๒๕๔๗ |
320763 | กฎ ก.ร. ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการกรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล | กฎ ก
กฎ ก.ร.
ฉบับที่ ๒๔ (พ.ศ. ๒๕๔๒)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการ
กรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ และมาตรา ๔๖ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๕ ก.ร.ออกกฎ ก.ร.ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ
ก.ร.นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒
การสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลนั้น
ให้ส่วนราชการพิจารณาจากผลการปฏิบัติงานของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นเป็นหลัก
และให้ส่วนราชการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ในกฎ ก.ร.นี้
ข้อ ๓
การพิจารณาผลการปฏิบัติงานของข้าราชการรัฐสภาสามัญในสังกัดตามข้อ ๒
ให้ผู้บังคับบัญชากำหนดเป้าหมายหรือมาตรฐานการปฏิบัติงานและคุณลักษณะของการปฏิบัติงานที่ทางราชการพึงประสงค์
และประกาศให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญในสังกัดได้ทราบโดยทั่วกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือนก่อนการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการรัฐสภาสามัญในสังกัด
โดยให้ผู้บังคับบัญชาประเมินผลการปฏิบัติงานตามวิธีการที่กำหนดไว้ ในกฎ ก.ร. ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือนโดยอนุโลม
ข้อ ๔
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดซึ่งผู้บังคับบัญชาได้ประเมินผลการปฏิบัติงานแล้วเห็นว่ามีผลการปฏิบัติงานต่ำกว่าเป้าหมายหรือมาตรฐานการปฏิบัติงานตามข้อ
๓ และไม่ได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีเป็นเวลาติดต่อกันเป็นเวลาสองปี
ให้ผู้บังคับบัญชาแจ้งผลการประเมินหรือผลการพิจารณาพร้อมเหตุผลและกำหนดให้ผู้นั้นพัฒนาหรือปรับปรุงตนเองภายในระยะเวลาสามเดือน
แต่ไม่เกินหกเดือนหรือตามจำนวนครั้งที่จะกำหนดภายในระยะเวลาดังกล่าวนับแต่วันที่แจ้งผลการประเมินหรือผลการพิจารณาให้ทราบโดยให้ลงลายมือชื่อรับทราบไว้เป็นหลักฐาน
ในกรณีที่เห็นสมควร
ผู้บังคับบัญชาอาจเสนอความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘
เพื่อพิจารณาแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งอื่นในระดับเดียวกันกับที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ซึ่งอาจคาดหมายได้ว่าจะทำให้ผู้นั้นปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
เมื่อได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองแล้ว
ให้ผู้บังคับบัญชาประเมินผลการปฏิบัติงานภายหลังการปรับปรุงตนเองของผู้นั้นอย่างน้อยสองครั้งภายในระยะเวลาห่างเท่า
ๆ กัน ในการประเมินผลการปฏิบัติงานภายหลังการปรับปรุงตนเองแต่ละครั้ง ผู้บังคับบัญชาอาจแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อดำเนินการและเสนอแนะความคิดเห็นต่อผู้บังคับบัญชาก็ได้
ข้อ ๕
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้ประเมินผลการปฏิบัติงานตามกฎ ก.ร.นี้
แล้วเห็นว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีผลการปฏิบัติงานต่ำกว่าเป้าหมายหรือมาตรฐานปฏิบัติงานตามข้อ
๓ แต่ไม่เข้ากรณีตามข้อ ๔
ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นสมควรให้ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงตนเองเพื่อให้การปฏิบัติราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลแล้ว
ผู้บังคับบัญชาอาจพิจารณาดำเนินการตามข้อ ๔ ได้
ข้อ ๖
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดซึ่งผู้บังคับบัญชาได้ให้โอกาสพัฒนาและปรับปรุงตนเองตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ
๔ แล้วแต่ผลการประเมินยังต่ำกว่าเป้าหมาย หรือมาตรฐานการปฏิบัติงานตามข้อ ๓
ให้ผู้บังคับบัญชาทำความเห็นเสนอผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ เพื่อพิจารณาสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการต่อไป
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๒
วันมูหะมัดนอร์ มะทา
ประธานรัฐสภา
ประธาน ก.ร.
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร.ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา
๔๖ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๕ กำหนดว่า
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการ
ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.ร.นี้
ประภาศรี/ผู้จัดทำ
๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๔ ก/หน้า ๑/๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ |
319574 | กฎ ก.ร. ฉบับที่ 19 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ว่าด้วยกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง | กฎ ก
กฎ ก.ร.
ฉบับที่ ๑๙ (พ.ศ. ๒๕๔๐)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ว่าด้วยกรณีความผิดที่ปรากฎชัดแจ้ง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ (๓)
มาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ก.ร. ออกกฎ ก.ร.
ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.ร.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิก กฎ
ก.ร. ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘
ข้อ ๓ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในกรณีดังต่อไปนี้เป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง
ซึ่งผู้บังคับบัญชาจะสั่งลงโทษโดยไม่สอบสวนก็ได้ คือ
(๑)
กระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก หรือโทษที่หนักกว่าจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือให้ลงโทษที่หนักกว่าจำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๒)
ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินสิบห้าวัน และผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการสืบสวนแล้ว
เห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ
การละทิ้งหน้าที่ราชการตามวรรคหนึ่ง
ถ้าเกิดขึ้นภายหลังจากที่ได้ยื่นหนังสือขอลาออกจากราชการต่อผู้บังคับบัญชาไว้ก่อนแล้วไม่ถือว่าเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
วันมูหะมัดนอร์ มะทา
ประธานรัฐสภา
ประธาน ก.ร.
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร. ฉบับนี้ คือ
โดยเห็นเป็นการสมควรปรับปรุงกฎ ก.ร. ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ว่าด้วยกรณีความผิดที่ปรากฎชัดแจ้ง ซึ่งได้กำหนดกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ป.
มีมติเรื่องที่สอบสวนมีมูลว่าได้กระทำความผิด และกรณีละทิ้งหน้าที่ราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
เป็นกรณีความผิดที่ปรากฎชัดแจ้ง แต่เนื่องจากกรณีดังกล่าวยังไม่อาจถือเป็นยุติได้ว่ามีการกระทำการอันเป็นความผิดวินัยเกิดขึ้น
หรือมิฉะนั้นเป็นเรื่องที่ยากแก่การวินิจฉัยว่าเกิดผลเสียหายแก่ทางราชการหรือไม่
จึงสมควรปรับปรุงกฎ ก.ร. ดังกล่าวให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
ประภาศรี/ผู้จัดทำ
๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๑๔/ตอนที่ ๑๕ ก/หน้า ๑๐/๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๐ |
304121 | กฎ ก.ร. ฉบับที่ 16 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน | กฎ ก
กฎ ก.ร.
ฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๕๓๙)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘
ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ และมาตรา ๓๖
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๕ ก.ร. ออกกฎ ก.ร. ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.ร.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในกฎ ก.ร. นี้
ปี หมายความว่า ปีงบประมาณ
รอบปีที่แล้วมา หมายความว่า
ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคมของปีหนึ่งถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายนของปีถัดไป
ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน
หมายความว่า ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๓
การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญประจำปี ให้เลื่อนตั้งแต่วันที่
๑ ตุลาคม ของปีที่ได้เลื่อนนั้น
ข้อ ๔
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งจะได้รับพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีครึ่งขั้นต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ประการใดประการหนึ่ง
ดังต่อไปนี้
(๑)
เป็นผู้อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีหนึ่งขั้นตามข้อ
๕ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) และในรอบปีที่แล้วมามีผลการปฏิบัติงานซึ่งผู้บังคับบัญชาได้พิจารณาประเมินแล้วเห็นว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สมควรจะได้เลื่อนขั้นเงินเดือนครึ่งขั้น
(๒)
เป็นผู้ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีหนึ่งขั้นตามข้อ
๕ (๓) (๗) หรือ (๘) แต่มีเวลาปฏิบัติราชการในรอบปีที่แล้วมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือน
ตลอดจนอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีหนึ่งขั้นตามข้อ
๕ (๒) (๔) (๕) และ (๖) และในรอบปีที่แล้วมา มีผลการปฏิบัติงานซึ่งผู้บังคับบัญชาได้พิจารณาประเมินแล้วเห็นว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สมควรจะได้เลื่อนขั้นเงินเดือนไม่น้อยกว่าหนึ่งขั้น
ข้อ ๕ ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งจะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีหนึ่งขั้นต้องอยู่ในหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
(๑)
ในรอบปีที่แล้วมาได้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตนด้วยความสามารถ และด้วยความอุตสาหะจนเกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการ
ซึ่งผู้บังคับบัญชาได้พิจารณาประเมินแล้วเห็นว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สมควรจะได้เลื่อนขั้นเงินเดือนหนึ่งขั้น
(๒)
ในรอบปีที่แล้วมาจนถึงวันออกคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนต้องไม่ถูกลงโทษทางวินัยหนักกว่าโทษภาคทัณฑ์
หรือไม่ถูกศาลพิพากษาในคดีอาญาให้ลงโทษในความผิดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
หรือความผิดที่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน
ซึ่งมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดอยู่ในหลักเกณฑ์ที่สมควรได้เลื่อนขั้นเงินเดือน
และได้ถูกงดเลื่อนขั้นเงินเดือนเพราะถูกลงโทษทางวินัยหรือถูกศาลพิพากษาในคดีอาญาให้ลงโทษในกรณีนั้นมาแล้วให้ผู้บังคับบัญชาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีต่อไปให้ผู้นั้นตั้งแต่วันที่
๑ ตุลาคมของปีที่ได้เลื่อนเป็นต้นไป
(๓)
ในรอบปีที่แล้วมาต้องไม่ถูกสั่งพักราชการเกินกว่าสี่เดือน
(๔)
ในรอบปีที่แล้วมาต้องไม่ขาดราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
(๕)
ในปีที่แล้วมารับบรรจุเข้ารับราชการมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าแปดเดือน
(๖)
ในรอบปีที่แล้วมาถ้าเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาในประเทศ หรือไปศึกษาฝึกอบรม
หรือดูงาน ณ ต่างประเทศ ตามระเบียบว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษาฝึกอบรม และดูงาน
ณ ต่างประเทศ ต้องได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการในรอบปีที่แล้วมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าแปดเดือน
(๗)
ในรอบปีที่แล้วมาต้องไม่ลาหรือมาทำงานสายเกินจำนวนครั้งที่ ก.ร.กำหนด
(๘)
ในรอบปีที่แล้วมาต้องไม่มีวันลาเกินกว่าสี่สิบห้าวัน แต่ไม่รวมถึงวันลาดังต่อไปนี้
(ก) ลาอุปสมบท หรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ
เมืองเมกกะประเทศซาอุดิอาระเบีย
เฉพาะวันลาที่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลาตามกฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน
(ข) ลาคลอดบุตรไม่เกินหกสิบวัน
(ค)
ลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรไม่เกินสามสิบวันทำการ
(ง) ลาป่วยซึ่งจำเป็นต้องรักษาตัวเป็นเวลานานไม่ว่าคราวเดียวหรือหลายคราว
รวมกันไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันทำการ
(จ)
ลาป่วยเพราะประสบอันตรายในขณะปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือในขณะเดินทางไปหรือกลับจากปฏิบัติราชการตามหน้าที่
(ฉ) ลาพักผ่อน
(ช)
ลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล
(ซ) ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
การนับจำนวนวันลาไม่เกินสี่สิบห้าวันสำหรับวันลากิจส่วนตัวและวันลาป่วยที่ไม่ใช่วันลาป่วยตาม
(จ) ให้นับเฉพาะวันทำการ
ข้อ ๖
การประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการรัฐสภาสามัญ ตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๘
ลงมา ตามข้อ ๔ (๑) (๒) และข้อ ๕ (๑) ให้พิจารณาประเมินตามแบบท้ายกฎ ก.ร. นี้
ข้อ ๗
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งจะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีหนึ่งขั้นครึ่งต้องเป็นผู้อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีหนึ่งขั้นตามข้อ
๕ และอยู่ในหลักเกณฑ์ประการใดประการหนึ่งหรือหลายประการ ดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) ปฏิบัติงานตามหน้าที่ได้ผลดี
มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อันก่อให้เกิดประโยชน์และผลดีต่อทางราชการและสังคม
(๒)
ปฏิบัติงานโดยมีความคิดริเริ่มในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
หรือได้ค้นคว้าหรือประดิษฐ์สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ
(๓)
ปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่มีสถานการณ์ตรากตรำเสี่ยงอันตราย หรือมีการต่อสู้ที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของชีวิต
(๔)
ปฏิบัติงานที่มีภาระหน้าที่หนักเกินกว่าระดับตำแหน่งจนเกิดประโยชน์ต่อทางราชการ
และปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ของตนเป็นผลดีด้วย
(๕) ปฏิบัติงานตามตำแหน่งหน้าที่ด้วยความตรากตรำเหน็ดเหนื่อย
ยากลำบากและงานนั้นได้ผลดีเป็นประโยชน์ต่อทางราชการและสังคม
(๖)
ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้กระทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งจนสำเร็จเป็นผลดีประเทศชาติ
ข้อ ๘
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งจะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีสองขั้นต้องเป็นผู้อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีหนึ่งขั้นตามข้อ
๕ และอยู่ในหลักเกณฑ์ประการใดประการหนึ่งหรือหลายประการ ดังต่อไปนี้ด้วย
(๑)
ปฏิบัติงานตามหน้าที่ได้ผลดีเด่น มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อันก่อให้เกิดประโยชน์และผลดียิ่งต่อทางราชการและสังคมจนถือเป็นตัวอย่างที่ดีได้
(๒)
ปฏิบัติงานโดยมีความคิดริเริ่มในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือได้ค้นคว้าหรือประดิษฐ์สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทางราชการเป็นพิเศษ
และทางราชการได้ดำเนินการตามความคิดริเริ่มหรือได้รับรองให้ใช้การค้นคว้าหรือสิ่งประดิษฐ์นั้น
(๓)
ปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่มีสถานการณ์ตรากตรำเสี่ยงอันตรายมาก หรือมีการต่อสู้ที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของชีวิตเป็นกรณีพิเศษ
(๔)
ปฏิบัติงานที่มีภาระหน้าที่หนักเกินกว่าระดับตำแหน่งจนเกิดประโยชน์ต่อทางราชการเป็นพิเศษ
และปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ของตนเป็นผลดีด้วย
(๕)
ปฏิบัติงานตามตำแหน่งหน้าที่ด้วยความตรากตรำเหน็ดเหนื่อยยากลำบากเป็นพิเศษ
และงานนั้นได้ผลดียิ่ง เป็นประโยชน์ต่อทางราชการและสังคม
(๖)
ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้กระทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งจนสำเร็จเป็นผลดียิ่งแก่ประเทศชาติ
ข้อ ๙
การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญประจำปีตามข้อ ๔ ข้อ ๕
ข้อ ๗ และข้อ ๘ ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายนำผลการประเมินผลการปฏิบัติงานและข้อมูลเกี่ยวกับการลา
พฤติกรรมการมาทำงาน การรักษาวินัย และข้อควรพิจารณาอื่นๆ
ของผู้นั้นมาประกอบการพิจารณาอย่างรอบคอบ แล้วรายงานผลการพิจารณานั้นพร้อมด้วยข้อมูลดังกล่าวต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน
ในการพิจารณารายงานตามวรรคหนึ่ง
ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือแต่ละระดับที่ได้รับรายงานเสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนด้วย
ข้อ ๑๐ การพิจารณาผลการปฏิบัติงาน
ให้นับช่วงเวลาการปฏิบัติราชการและการปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศตามข้อ ๕
(๘) (ซ) ในรอบปีที่แล้วมาเป็นเกณฑ์เว้นแต่ผู้อยู่ในหลักเกณฑ์ตามข้อ ๕ (๕) หรือ (๖)
ให้นับช่วงเวลาปฏิบัติราชการไม่น้อยกว่าแปดเดือนเป็นเกณฑ์พิจารณา
ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดโอน
เลื่อนตำแหน่ง ย้าย สับเปลี่ยนหน้าที่ไปช่วยราชการในต่างส่วนราชการ
ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานนอกเหนือหน้าที่หรืองานพิเศษอื่นใด
หรือลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศตามข้อ ๕ (๘) (ซ) ในรอบปีที่แล้วมาให้นำผลการปฏิบัติราชการและการปฏิบัติงานของผู้นั้นทุกตำแหน่งมาประกอบการพิจารณาด้วย
ข้อ ๑๑
เมื่อผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนได้รับรายงานผลการพิจารณาจากผู้บังคับบัญชาตามข้อ
๙ แล้วเห็นว่า ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีครึ่งขั้นตามข้อ
๔ ให้เลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้นั้นครึ่งขั้นถ้าข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีหนึ่งขั้นตามข้อ
๕ ให้เลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้นั้นหนึ่งขั้น และถ้าข้าราชการผู้นั้นมีผลการปฏิบัติงานอยู่ในหลักเกณฑ์ตามข้อ
๗ ด้วยก็ให้เลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้นั้นหนึ่งขั้นครึ่งหรือถ้าข้าราชการผู้นั้นมีผลการปฏิบัติงานอยู่ในหลักเกณฑ์ตามข้อ
๘ ด้วย จะเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้นั้น สองขั้นก็ได้ ทั้งนี้
การเลื่อนขั้นเงินเดือนให้เกินกว่าหนึ่งขั้นให้เสนอ ก.ร. พิจารณาอนุมัติตามมาตรา
๓๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ เสียก่อน
ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพิจารณาเห็นว่า
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีครึ่งขั้นตามข้อ
๔ ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนสำหรับผู้นั้น แต่ต้องแจ้งเหตุผลให้ผู้นั้นทราบด้วย
ข้อ ๑๒ การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีให้แก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งในรอบปีที่แล้วมาได้รับอนุญาตให้ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศตามข้อ
๕ (๘) (ซ)
ให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพิจารณาสั่งเลื่อนได้ปีละไม่เกินหนึ่งขั้นเมื่อผู้นั้นกลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการ
โดยให้สั่งเลื่อนย้อนหลังไปในแต่ละปีที่ควรจะได้เลื่อน ทั้งนี้ ให้เสนอ ก.ร. เพื่อพิจารณาอนุมัติเป็นรายๆ
ไป
ข้อ ๑๓ ในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี
ถ้าผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเห็นสมควรให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดเลื่อนขั้นเงินเดือน
แต่ปรากฏว่าได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้าราชการผู้นั้นซึ่งถูกกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงก่อนมีคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน
ให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนรอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ก่อน
และให้กันเงินสำหรับเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ด้วยเมื่อผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนได้รับรายงานการสอบสวนและมีคำสั่งว่าผู้นั้นไม่มีความผิด
หรืองดโทษให้หรือมีคำสั่งลงโทษ
หรือมีคำสั่งให้ออกจากราชการเพราะมีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวน
ให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพิจารณาดังนี้
(๑) ถ้าผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนมีคำสั่งว่าผู้นั้นไม่มีความผิดหรืองดโทษให้
หรือมีคำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์
ให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้ได้ถ้าได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้เกินหนึ่งปี
ให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนย้อนหลังไปในแต่ละปีที่ได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้แม้ว่าผู้นั้นจะได้ออกจากราชการไปแล้วก็ตาม
(๒)
ถ้าผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนมีคำสั่งลงโทษตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือน
ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้
ถ้าได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้เกินหนึ่งปีให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้ในปีที่ถูกลงโทษ
ถ้าผู้นั้นได้ออกจากราชการไปแล้วด้วยเหตุอื่นที่มิใช่เพราะเหตุเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนในปีที่จะได้เลื่อนขั้นเงินเดือนปีสุดท้าย
แต่ถ้าเป็นผู้พ้นจากราชการไปเพราะเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ในวันที่
๓๐ กันยายนของปีสุดท้ายก่อนที่ผู้นั้นจะพ้นจากราชการ
ส่วนในปีอื่นให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนย้อนหลังไปในแต่ละปีที่ได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้
(๓)
ถ้าผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนมีคำสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ
หรือมีคำสั่งให้ออกจากราชการเพราะมีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวน
ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนทุกปีที่ได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้
การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนตาม
(๑) (๒) และ (๓) สำหรับผู้ที่ถูกแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนกรณีที่ถูกกล่าวหาหรือกรณีเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงหลายกรณีให้แยกพิจารณาเป็นกรณีๆ
ไป
ข้อ ๑๔ ในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี
ถ้าผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเห็นสมควรให้ข้าราชการรัฐสภาพสามัญผู้ใดได้เลื่อนขั้นเงินเดือน
แต่ปรากฏว่าผู้นั้นถูกฟ้องคดีอาญาในความผิดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
หรือความผิดที่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน
ซึ่งมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ
หรือความผิดที่พนักงานอัยการรับเป็นทนายแก้ต่างให้ และศาลได้ประทับฟ้องคดีนั้นแล้วก่อนมีคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน
ให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนรอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ก่อน และให้กันเงินสำหรับเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ด้วย
เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว ให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพิจารณา ดังนี้
(๑)
ถ้าศาลพิพากษาว่าผู้นั้นไม่มีความผิด ให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้ได้
ถ้าได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้เกินหนึ่งปี
ให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนย้อนหลังไปในแต่ละปีที่ได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้
แม้ว่าผู้นั้นจะได้ออกจากราชการไปแล้วก็ตาม
(๒)
ถ้าศาลพิพากษาให้ลงโทษเบากว่าโทษจำคุก ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้
ถ้าได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้เกินหนึ่งปี
ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้ในปีที่ศาลพิพากษาให้ลงโทษ
ถ้าผู้นั้นได้ออกจากราชการไปแล้วด้วยเหตุอื่นที่มิใช่เพราะเหตุเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนในปีที่จะได้เลื่อนขั้นเงินเดือนปีสุดท้าย
แต่ถ้าเป็นผู้พ้นจากราชการไปเพราะเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ในวันที่
๓๐ กันยายนของปีสุดท้ายก่อนที่ผู้นั้นจะพ้นจากราชการ ส่วนในปีอื่นให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนย้อนหลังไปในแต่ละปีที่ได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้
(๓)
ถ้าศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าจำคุก ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนทุกปีที่ได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้
การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนตาม
(๑) (๒) และ (๓) สำหรับผู้ที่ถูกฟ้องคดีอาญาหลายคดีให้แยกพิจารณาเป็นคดีๆ ไป
ข้อ ๑๕
ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไว้เพราะเหตุถูกแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามข้อ
๑๓ และเหตุถูกฟ้องคดีอาญาตามข้อ ๑๔
ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวรอการเลื่อนขั้นเงินเดือนผู้นั้นไว้จนกว่าผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนได้รับรายงานการสอบสวนและมีคำสั่งว่าผู้นั้นไม่มีความผิด
หรืองดโทษให้ หรือมีคำสั่งลงโทษ หรือมีคำสั่งให้ออกจากราชการเพราะมีมลทิน
หรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวน และจนกว่าศาลมีคำพิพากษาแล้วจึงให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพิจารณาการเลื่อนขั้นเงินเดือนตามข้อ
๑๓ (๑) (๒) หรือ (๓) ตามข้อ ๑๔ (๑) (๒) หรือ (๓) แล้วแต่กรณี ทั้งนี้
โดยถือเกณฑ์จำนวนปีที่จะต้องงดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่มากกกว่าเป็นหลักในการพิจารณา
เว้นแต่ผู้นั้นได้พ้นจากราชการไปแล้วตามผลของการถูกแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามข้อ
๑๓ หรือตามผลของการถูกฟ้องคดีอาญาตามข้อ ๑๔ กรณีใดกรณีหนึ่ง จึงจะพิจารณาการเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้ได้ตามผลของกรณีนั้นโดยไม่ต้องรอผลของอีกกรณีหนึ่ง
ข้อ ๑๖
ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพิจารณาเห็นสมควรเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใด
แต่ผู้นั้นจะต้องพ้นจากราชการไปเพราะเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญให้ผู้นั้นในวันที่
๓๐ กันยายนของปีสุดท้ายก่อนที่จะพ้นจากราชการ
ข้อ ๑๗
ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพิจารณาเห็นสมควรเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใด
แต่ผู้นั้นได้ตายหรือออกจากราชการไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ หลังวันที่ ๑ ตุลาคม
แต่ก่อนที่จะมีคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีตามปกติ ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนจะสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ผู้นั้นย้อนหลังไปถึงวันที่
๑ ตุลาคมของปีที่จะได้เลื่อนนั้นก็ได้แต่ถ้าผู้นั้นได้พ้นจากราชการเพราะเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการไปก่อนที่จะมีคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญ
ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนจะสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ผู้นั้นย้อนหลังไปถึงวันที่
๓๐ กันยายนของปีที่จะได้เลื่อนนั้นก็ได้
ข้อ ๑๘
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะเลื่อนขั้นเงินเดือนได้ตามกฎ
ก.ร. นี้
แต่ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพิจารณาเห็นสมควรเลื่อนขั้นเงินเดือนให้โดยมีเหตุผลเป็นกรณีพิเศษ
ให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเสนอ ก.ร. เพื่อพิจารณาอนุมัติให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นการเฉพาะราย
ให้ไว้ ณ วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๙
บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ
ประธานรัฐสภา
ประธาน ก.ร.
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร.ฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดกฎ ก.ร. ฉบับที่
๑๖ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน
เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์และวิธีการเลื่อนขั้นเงินเดือนสำหรับข้าราชการฝ่ายรัฐสภาแทนกฎ
ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือนที่ได้อนุโลมใช้มาแต่เดิม
ประภาศรี/ผู้จัดทำ
๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๒๓ ก/หน้า ๑๘/๒๔ มิถุนายน ๒๕๓๙ |
315048 | กฎ ก.ร. ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน พ.ศ. 2544 | กฎ ก
กฎ ก.ร.
ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน
พ.ศ. ๒๕๔๔[๑]
เพื่อให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ปฏิบัติราชการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในระดับอันเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ
ได้รับบำเหน็จความชอบโดยการเลื่อนขั้นเงินเดือน
ก.ร. จึงเห็นสมควรวางหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน
เพื่อให้ผู้บังคับบัญชานำไปใช้ประกอบการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนให้เกิดความเป็นธรรม
ได้มาตรฐานและเป็นสิ่งจูงใจให้ข้าราชการเกิดความกระตือรือร้นที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดียิ่งขึ้น
รวมทั้งดำเนินการเพื่อให้ผู้ที่ไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือมีความประพฤติที่ไม่เหมาะสมได้เกิดความสำนึก
โดยได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างจากผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลรักษาวินัย
และปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ และมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ก.ร. ออกกฎ ก.ร. ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฎ ก.ร.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๔ เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิก
(๑) กฎ ก.ร. ฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ.
๒๕๓๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน
(๒) กฎ ก.ร. ฉบับที่ ๒๐ (พ.ศ.
๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน
ข้อ ๓ ในกฎ ก.ร.
นี้
ปี หมายความว่า ปีงบประมาณ
ครึ่งปีแรก หมายความว่า
ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม
ครึ่งปีหลัง หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่วันที่
๑ เมษายน ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน
ครึ่งปีที่แล้วมา หมายความว่า
ระยะเวลาครึ่งปีแรกหรือครึ่งปีหลัง ที่ผ่านมา
แล้วแต่กรณี
ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน หมายความว่า
ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๔ ให้ผู้บังคับบัญชาและผู้ที่ได้รับมอบหมายประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการรัฐสภาสามัญปีละสองครั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
ก.ร. กำหนด
ข้อ ๕ การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้เลื่อนปีละสองครั้ง ดังนี้
(๑) ครั้งที่หนึ่งครึ่งปีแรก เลื่อนวันที่
๑ เมษายนของปีที่ได้เลื่อน
(๒) ครั้งที่สองครึ่งปีหลัง เลื่อนวันที่
๑ ตุลาคมของปีถัดไป
ข้อ ๖ การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้เลื่อนได้ไม่เกินขั้นสูงของอันดับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง เว้นแต่
(๑) ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับต่ำกว่าเดิมโดยได้รับเงินเดือนในอันดับและขั้นที่ได้รับอยู่เดิม
ให้เลื่อนได้ไม่เกินขั้นสูงของอันดับเงินเดือนเดิม
(๒) ผู้ที่ได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงของอันดับและได้รับเงินเดือนในอันดับที่สูงขึ้นอีกหนึ่งอันดับให้เลื่อนได้ไม่เกินขั้นสูงของอันดับเงินเดือนนั้น
ข้อ ๗ ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งจะได้รับพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนครึ่งขั้นในแต่ละครั้งต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑) ในครึ่งปีที่แล้วมาได้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตนด้วยความสามารถ
และด้วยความอุตสาหะจนเกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการ ซึ่งผู้บังคับบัญชาได้พิจารณาประเมินตามข้อ
๔ แล้วเห็นว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สมควรจะได้เลื่อนขั้นเงินเดือนครึ่งขั้น
(๒) ในครึ่งปีที่แล้วมาจนถึงวันออกคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนต้องไม่ถูกสั่งลงโทษทางวินัยที่หนักกว่าโทษภาคทัณฑ์
หรือไม่ถูกศาลพิพากษาในคดีอาญาให้ลงโทษในความผิดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
หรือความผิดที่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน ซึ่งมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดอยู่ในหลักเกณฑ์ที่สมควรได้เลื่อนขั้นเงินเดือนและได้ถูกงดเลื่อนขั้นเงินเดือนเพราะถูกลงโทษทางวินัยหรือถูกศาลพิพากษาในคดีอาญาให้ลงโทษในกรณีนั้นมาแล้วให้ผู้บังคับบัญชาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำครึ่งปีต่อไปให้ผู้นั้นตั้งแต่วันที่
๑ เมษายน หรือวันที่ ๑ ตุลาคมของครั้งที่จะได้เลื่อนเป็นต้นไป
(๓) ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ถูกสั่งพักราชการเกินกว่าสองเดือน
(๔) ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ขาดราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
(๕) ในครึ่งปีที่แล้วมาได้รับบรรจุเข้ารับราชการมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่เดือน
(๖) ในครึ่งปีที่แล้วมาถ้าเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาในประเทศ
หรือไปศึกษา ฝึกอบรม หรือดูงาน ณ ต่างประเทศ
ตามระเบียบว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรม และดูงาน ณ ต่างประเทศ
ต้องได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการในครึ่งปีที่แล้วมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่เดือน
(๗) ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ลา หรือมาทำงานสายเกินจำนวนครั้งที่
ก.ร. กำหนด
(๘)
ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่มีวันลาเกินกว่ายี่สิบสามวัน แต่ไม่รวมถึงวันลา ดังต่อไปนี้
(ก) ลาอุปสมบท หรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์
ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย เฉพาะวันลาที่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลาตามกฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน
(ข) ลาคลอดบุตรไม่เกินเก้าสิบวัน
(ค) ลาป่วยซึ่งจำเป็นต้องรักษาตัวเป็นเวลานานไม่ว่าคราวเดียว
หรือหลายคราวรวมกันไม่เกินหกสิบวันทำการ
(ง) ลาป่วยเพราะประสบอันตรายในขณะปฏิบัติราชการตามหน้าที่
หรือในขณะเดินทางไปหรือกลับจากปฏิบัติราชการตามหน้าที่
(จ) ลาพักผ่อน
(ฉ) ลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล
(ช) ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
การนับจำนวนวันลาไม่เกินยี่สิบสามวันสำหรับวันลากิจส่วนตัวและวันลาป่วยที่ไม่ใช่วันลาป่วยตาม
(๘) (ง) ให้นับเฉพาะวันทำการ
ข้อ ๘ ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งจะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนหนึ่งขั้นในแต่ละครั้งต้องเป็นผู้อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนครึ่งขั้นตามข้อ
๗ และอยู่ในหลักเกณฑ์ประการใดประการหนึ่งหรือหลายประการ ดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) ปฏิบัติงานตามหน้าที่ได้ผลดีเด่น
มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อันก่อให้เกิดประโยชน์และผลดียิ่งต่อทางราชการและสังคมจนถือเป็นตัวอย่างที่ดีได้
(๒) ปฏิบัติงานโดยมีความคิดริเริ่มในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
หรือได้ค้นคว้าหรือประดิษฐ์สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทางราชการเป็นพิเศษ และทางราชการได้ดำเนินการตามความคิดริเริ่มหรือได้รับรองให้ใช้การค้นคว้าหรือสิ่งประดิษฐ์นั้น
(๓) ปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่มีสถานการณ์ตรากตรำเสี่ยงอันตรายมาก
หรือมีการต่อสู่ที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของชีวิตเป็นกรณีพิเศษ
(๔) ปฏิบัติงานที่มีภาระหน้าที่หนักเกินกว่าระดับตำแหน่งจนเกิดประโยชน์ต่อทางราชการเป็นพิเศษ
และปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ของตนเป็นผลดีด้วย
(๕) ปฏิบัติงานตามตำแหน่งหน้าที่ด้วยความตรากตรำเหน็ดเหนื่อย
ยากลำบากเป็นพิเศษและงานนั้นได้ผลดียิ่งเป็นประโยชน์ต่อทางราชการและสังคม
(๖) ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้กระทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งจนสำเร็จเป็นผลดียิ่งแก่ประเทศชาติ
ข้อ ๙ การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญตามข้อ
๗ และข้อ ๘ ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายนำผลการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานที่ได้ดำเนินการตามข้อ
๔ มาเป็นหลักในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนครั้งที่หนึ่ง และครั้งที่สอง โดยพิจารณาประกอบกับข้อมูลการลา
พฤติกรรมการมาทำงาน การรักษาวินัย การปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ และข้อควรพิจารณาอื่นๆ
ของผู้นั้น แล้วรายงานผลการพิจารณานั้นพร้อมด้วยข้อมูลดังกล่าวต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน
ในการพิจารณารายงานตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือแต่ละระดับที่ได้รับรายงานเสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนด้วย
ข้อ ๑๐ การพิจารณาผลการปฏิบัติงานและผลสัมฤทธิ์ของงาน
ให้นับช่วงเวลาการปฏิบัติราชการและการปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศตามข้อ ๗
(๘) (ช) ในครึ่งปีที่แล้วมาเป็นเกณฑ์เว้นแต่ผู้อยู่ในหลักเกณฑ์ตามข้อ ๗ (๕) หรือ
(๖) ให้นับช่วงเวลาปฏิบัติราชการไม่น้อยกว่าสี่เดือนเป็นเกณฑ์พิจารณา
ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดโอน
เลื่อนตำแหน่ง ย้าย สับเปลี่ยนหน้าที่ไปช่วยราชการในต่างส่วนราชการ
ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานนอกเหนือหน้าที่หรืองานพิเศษอื่นใด
หรือลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศตามข้อ ๗ (๘) (ช) ในครึ่งปีที่แล้วมา
ให้นำผลการปฏิบัติราชการและการปฏิบัติงานของผู้นั้นทุกตำแหน่งและทุกแห่งมาประกอบการพิจารณาด้วย
ข้อ ๑๑ ในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนแต่ละครั้ง
ให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพิจารณารายงานผลจากผู้บังคับบัญชาตามข้อ ๙ ถ้าเห็นว่าข้าราชการรัฐสภาผู้ใดอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนครึ่งขั้นตามข้อ
๗ และปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการให้เลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้นั้นครึ่งขั้น
ถ้าเห็นว่าข้าราชการผู้ใดมีผลการปฏิบัติงานอยู่ในหลักเกณฑ์ตามข้อ ๘ ด้วยและเห็นควรเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้นั้นหนึ่งขั้นก็ให้เสนอขออนุมัติ
ก.ร. เป็นรายๆ ไป
ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนครึ่งปีแรกไม่ถึงหนึ่งขั้น
ถ้าในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนครึ่งปีหลัง ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนได้พิจารณาผลการปฏิบัติงานครึ่งปีแรกกับครึ่งปีหลังรวมกันแล้วเห็นว่ามีมาตรฐานสูงกว่าการที่จะได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนหนึ่งขั้นสำหรับปีนั้นผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนอาจมีคำสั่งให้เลื่อนขั้นเงินเดือนรวมทั้งปีของข้าราชการผู้นั้นเป็นจำนวนหนึ่งขั้นครึ่งได้
แต่ผลการปฏิบัติงานทั้งปีของข้าราชการผู้นั้นจะต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ประการใดประการหนึ่งหรือหลายประการดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) ปฏิบัติงานตามหน้าที่ได้ผลดี มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
อันก่อให้เกิดประโยชน์และผลดีต่อทางราชการและสังคม
(๒) ปฏิบัติงานโดยมีความคิดริเริ่มในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
หรือได้ค้นคว้า หรือประดิษฐ์สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ
(๓) ปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่มีสถานการณ์ตรากตรำเสี่ยงอันตราย
หรือมีการต่อสู้ที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของชีวิต
(๔) ปฏิบัติงานที่มีภาระหน้าที่หนักเกินกว่าระดับตำแหน่งจนเกิดประโยชน์ต่อทางราชการและปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ของตนเป็นผลดีด้วย
(๕) ปฏิบัติงานตามตำแหน่งหน้าที่ด้วยความตรากตรำเหน็ดเหนื่อย
ยากลำบากและงานนั้นได้ผลดีเป็นประโยชน์ต่อทางราชการและสังคม
(๖) ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้กระทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งจนสำเร็จเป็นผลดีแก่ประเทศชาติ
ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีผลการปฏิบัติงานอยู่ในเกณฑ์ที่ควรจะได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนครึ่งปีแรกหนึ่งขั้น
แต่ไม่อาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนหนึ่งขั้นให้ได้เพราะมีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนเงินที่จะใช้เลื่อนขั้นเงินเดือนของส่วนราชการนั้น
ถ้าในการเลื่อนขั้นเงินเดือนครึ่งปีหลัง ข้าราชการผู้นั้นมีผลการปฏิบัติงานอยู่ในเกณฑ์ได้รับเลื่อนขั้นเงินเดือนหนึ่งขั้นอีก
และไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนเงินที่จะใช้เลื่อนขั้นเงินเดือนในคราวนั้น ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน
อาจมีคำสั่งให้เลื่อนขั้นเงินเดือนรวมทั้งปีของข้าราชการผู้นั้นเป็นจำนวนสองขั้นได้
การเลื่อนขั้นเงินเดือนตามวรรคสอง
และวรรคสาม ให้เสนอ ก.ร. พิจารณาอนุมัติเป็นรายๆไป
ข้อ ๑๒ การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนครึ่งปีให้แก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ซึ่งในครึ่งปีที่แล้วมาได้รับอนุญาตให้ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศตามข้อ
๗ (๘) (ช) ให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพิจารณาสั่งเลื่อนได้ครั้งละไม่เกินครึ่งขั้นเมื่อผู้นั้นกลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยให้สั่งเลื่อนย้อนหลังไปในแต่ละครั้งที่ควรจะได้เลื่อน
ทั้งนี้ ให้เสนอ ก.ร. เพื่อพิจารณาอนุมัติเป็นรายๆไป
ข้อ ๑๓ ในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนแต่ละครั้ง
ถ้าผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเห็นสมควรให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดได้เลื่อนขั้นเงินเดือน
แต่ปรากฏว่าได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้าราชการผู้นั้น ซึ่งถูกกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่าจะกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงก่อนมีคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน
ให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนรอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ก่อน และให้กันเงินสำหรับเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ด้วย
เมื่อการสอบสวนและการพิจารณาแล้วเสร็จ ให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพิจารณาดังนี้
(๑) ถ้าผู้ถูกแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนไม่มีความผิด
หรือได้รับการงดโทษให้หรือถูกลงโทษภาคทัณฑ์ ให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้ได้
ถ้าได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้เกินหนึ่งครั้ง ให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนย้อนหลังไปในแต่ละครั้งที่ได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้
แม้ว่าผู้นั้นจะได้ออกจากราชการไปแล้วก็ตาม
(๒) ถ้าผู้ถูกแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนจะต้องถูกลงโทษตัดเงินเดือน
หรือลดขั้นเงินเดือนให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้ ถ้าได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้เกินหนึ่งครั้ง
ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้ในครั้งที่จะถูกลงโทษ ถ้าผู้นั้นได้ออกจากราชการไปแล้วด้วยเหตุอื่นที่มิใช่เพราะเหตุเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนในครั้งที่จะได้เลื่อนขั้นเงินเดือนครั้งสุดท้าย แต่ถ้าเป็นผู้พ้นจากราชการไปเพราะเหตุเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ในวันที่
๓๐ กันยายนของครึ่งปีสุดท้ายก่อนที่ผู้นั้นจะพ้นจากราชการ ส่วนในครั้งอื่นให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนย้อนหลังไปในแต่ละครั้งที่ได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้
(๓) ถ้าผู้ถูกแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนจะต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออกจากราชการหรือจะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการเพราะมีมลทินหรือมัวหมอง
ในกรณีที่ถูกสอบสวนให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนทุกครั้งที่ได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้
การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนตาม
(๑) (๒) และ (๓) สำหรับผู้ที่ถูกแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนกรณีที่ถูกกล่าวหาหรือกรณีเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงหลายกรณี
ให้แยกพิจารณาเป็นกรณีๆไป
ข้อ ๑๔ ในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนแต่ละครั้ง
ถ้าผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเห็นสมควรให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดได้เลื่อนขั้นเงินเดือน
แต่ปรากฏว่าผู้นั้นถูกฟ้องคดีอาญาในความผิดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือความผิดที่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน
ซึ่งมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่พนักงานอัยการรับเป็นทนายแก้ต่างให้
และศาลได้ประทับฟ้องคดีนั้นแล้วก่อนมีคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน ให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนรอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ก่อน
และให้กันเงินสำหรับเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ด้วย เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว ให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพิจารณา
ดังนี้
(๑) ถ้าศาลพิพากษาว่าผู้นั้นไม่มีความผิด
ให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้ได้ ถ้าได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้เกินหนึ่งครั้ง
ให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนย้อนหลังไปในแต่ละครั้งที่ได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้
แม้ว่าผู้นั้นจะได้ออกจากราชการไปแล้วก็ตาม
(๒) ถ้าศาลพิพากษาให้ลงโทษเบากว่าโทษจำคุก
ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้ถ้าได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้เกินหนึ่งครั้ง
ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้ในครั้งที่ศาลพิพากษาให้ลงโทษ ถ้าผู้นั้นได้ออกจากราชการไปแล้วด้วยเหตุอื่นที่มิใช่เพราะเหตุเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนในครั้งที่จะได้เลื่อนขั้นเงินเดือนครั้งสุดท้าย แต่ถ้าเป็นผู้พ้นจากราชการไปเพราะเหตุเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ในวันที่
๓๐ กันยายนของครึ่งปีสุดท้ายก่อนที่ผู้นั้นจะพ้นจากราชการส่วนในครั้งอื่นให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนย้อนหลังไปในแต่ละครั้งที่ได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้
(๓) ถ้าศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกหรือโทษหนักกว่าจำคุก
ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนทุกครั้งที่ได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้
การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนตาม
(๑) (๒) และ (๓) สำหรับผู้ที่ถูกฟ้องคดีอาญาหลายคดีให้แยกพิจารณาเป็นคดีๆไป
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไว้เพราะเหตุถูกแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามข้อ
๑๓ และเหตุถูกฟ้องคดีอาญาตามข้อ ๑๔
ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวรอการเลื่อนขั้นเงินเดือนผู้นั้นไว้จนกว่าการสอบสวนและการพิจารณาทางวินัยแล้วเสร็จ
และจนกว่าศาลมีคำพิพากษาแล้วจึงให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพิจารณาการเลื่อนขั้นเงินเดือนตามข้อ
๑๓ (๑) (๒) หรือ (๓) หรือตามข้อ ๑๔ (๑) (๒) หรือ (๓) แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ โดยถือเกณฑ์จำนวนครั้งที่จะต้องงดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่มากกว่าเป็นหลักในการพิจารณา
เว้นแต่ผู้นั้นได้พ้นจากราชการไปแล้วตามผลของการถูกแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามข้อ
๑๓ หรือตามผลของการถูกฟ้องคดีอาญาตามข้อ ๑๔ กรณีใดกรณีหนึ่ง จึงจะพิจารณาการเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้ได้ตามผลของกรณีนั้นโดยไม่ต้องรอผลของอีกกรณีหนึ่ง
ข้อ ๑๖ ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพิจารณาเห็นสมควรเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใด
แต่ผู้นั้นจะต้องพ้นจากราชการไปเพราะเหตุเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญให้ผู้นั้นในวันที่
๓๐ กันยายนของครึ่งปีสุดท้ายก่อนที่จะพ้นจากราชการ
ข้อ ๑๗ ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพิจารณาเห็นสมควรเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใด
แต่ผู้นั้นได้ตายในหรือหลังวันที่ ๑ เมษายน หรือวันที่ ๑ ตุลาคม
หรือออกจากราชการไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ หลังวันที่ ๑ เมษายน หรือวันที่ ๑ ตุลาคม แต่ก่อนที่จะมีคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนในแต่ละครั้ง
ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนจะสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ผู้นั้นย้อนหลังไปถึงวันที่
๑ เมษายน หรือวันที่ ๑ ตุลาคมของครึ่งปีที่จะได้เลื่อนนั้นก็ได้ แต่ถ้าผู้นั้นได้พ้นจากราชการเพราะเหตุเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการไปก่อนที่จะมีคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญ
ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนจะสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ผู้นั้นย้อนหลังไปถึงวันที่
๓๐ กันยายนของครึ่งปีสุดท้ายที่จะได้เลื่อนนั้นก็ได้
ข้อ ๑๘ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะเลื่อนขั้นเงินเดือนได้ตามกฎ
ก.ร. นี้
แต่ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพิจารณาเห็นสมควรเลื่อนขั้นเงินเดือนให้โดยมีเหตุผลเป็นกรณีพิเศษให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเสนอ
ก.ร. เพื่อพิจารณาอนุมัติให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นการเฉพาะราย
ข้อ ๑๙ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดถูกรอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ก่อนกฎ
ก.ร. นี้ใช้บังคับเนื่องจากอยู่ในระหว่างถูกแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนว่ากระทำผิดวินัยหรือถูกฟ้องคดีอาญา
ถ้าการสอบสวนและการพิจารณากรณีทางวินัยเสร็จสิ้นลง หรือคดีอาญาศาลมีคำพิพากษาเมื่อกฎ
ก.ร. นี้ใช้บังคับแล้ว และเป็นเวลาภายหลังวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๔ การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้สำหรับผู้นั้น
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร. นี้ แต่ถ้าการสอบสวนและการพิจารณากรณีทางวินัยหรือคดีอาญานั้นเสร็จสิ้นลงก่อนวันที่
๓๑ มีนาคม ๒๕๔๔ การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้สำหรับผู้นั้น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ
ก.ร. ฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.ร. ฉบับที่ ๒๐
( พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน
ข้อ ๒๐ การเลื่อนขั้นเงินเดือนในวันที่
๑ เมษายน ๒๕๔๔ ให้นำผลการปฏิบัติงานและข้อมูลเกี่ยวกับการลา พฤติกรรมการมาทำงาน การรักษาวินัย
การปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการและข้อควรพิจารณาอื่น ตั้งแต่วันที่ ๑
กรกฎาคม ๒๕๔๓ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๔ ที่ข้าราชการผู้นั้นมีอยู่ก่อนกฎ ก.ร.
นี้ใช้บังคับ และผู้บังคับบัญชาได้พิจารณาไว้ตามกฎ ก.ร. ฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.ร. ฉบับที่ ๒๐
(พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน
มาประกอบการพิจารณาสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนตามกฎ ก.ร. นี้ได้ ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่ได้รับบรรจุเข้ารับข้าราชการใหม่บรรจุกลับ
หรือผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาในประเทศ หรือไปศึกษา ฝึกอบรม หรือดูงาน ณ
ต่างประเทศต้องได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการมาแล้วนับถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๔ เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่เดือน
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๔
อุทัย พิมพ์ใจชน
ประธานรัฐสภา
ประธาน ก.ร.
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร. ฉบับนี้ คือ
โดยที่มาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
กำหนดให้การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโดยคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณงานที่ได้ปฏิบัติมา
การรักษาวินัย ตลอดจนความสามารถ ความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดให้กฎ ก.ร. ซึ่งในการปฏิบัติที่ผ่านมา การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญได้กำหนดให้เลื่อนปีละหนึ่งครั้งในเดือนตุลาคมของปี
ดังนั้น เพื่อให้การประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการรัฐสภาสามัญเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
จึงเห็นสมควรกำหนดให้เลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญปีละสองครั้งในเดือนเมษายนและเดือนตุลาคมของปี
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.ร. นี้
ประภาศรี/ผู้จัดทำ
๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๘/ตอนที่ ๕๔ ก/หน้า ๑/๑๑ กรกฎาคม ๒๕๔๔ |
411374 | กฎ ก.ร.ว่าด้วยการยกเลิกกฎ ก.ร. ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2518) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ว่าด้วยการให้ผู้มีความรู้ความชำนาญจากการศึกษา การฝึกอบรม หรือการทำงานสูงกว่าที่ ก.ร. กำหนดไว้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของเงินเดือนสำหรับตำแหน่ง พ.ศ. 2546
| กฎ ก
กฎ ก.ร.
ว่าด้วยการยกเลิกกฎ
ก.ร. ฉบับที่ ๓ (พ.ศ.
๒๕๑๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติ
ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘
ว่าด้วยการให้ผู้มีความรู้ความชำนาญจากการ
ศึกษา
การฝึกอบรม หรือการทำงานสูงกว่าที่ ก.ร. กำหนดไว้เป็นคุณสมบัติเฉพาะ
สำหรับตำแหน่ง
ได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของเงินเดือนสำหรับตำแหน่ง
พ.ศ.
๒๕๔๖
ตามที่กฎ
ก.ร. ฉบับที่
๓ (พ.ศ. ๒๕๑๘) ได้กำหนดให้ผู้มีความรู้ความชำนาญจากการศึกษาการฝึกอบรม
หรือการทำงานสูงกว่าที่ ก.ร. กำหนดไว้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของเงินเดือนสำหรับตำแหน่ง นั้น
โดยที่กฎ ก.ร.
ดังกล่าวไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน ประกอบกับ ก.ร.
ได้มีมติให้นำกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน
พ.ศ. ๒๕๔๔
มาให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาถือปฏิบัติโดยอนุโลม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๓ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ ก.ร.
ออกกฎ ก.ร. ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑[๑] กฎ ก.ร.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๒
ให้ยกเลิกกฎ ก.ร. ฉบับที่ ๓ (พ.ศ.
๒๕๑๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘
ว่าด้วยการให้ผู้มีความรู้ความชำนาญจากการศึกษา การฝึกอบรม หรือการทำงานสูงกว่าที่
ก.ร. กำหนดไว้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของเงินเดือนสำหรับตำแหน่ง
ให้ไว้
ณ วันที่ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖
อุทัย
พิมพ์ใจชน
ประธานรัฐสภา
ประธาน
ก.ร.
ญาณี/พิมพ์
๒๙
ตุลาคม ๒๕๔๖
พัชรินทร์/สราวุฒิ/ตรวจ
๓๑
ตุลาคม ๒๕๔๖
A+B
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๘๕ ก/หน้า ๑/๑๑ กันยายน ๒๕๔๖ |
311188 | กฎ ก.ร. ฉบับที่ 25 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ว่าด้วยการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ | กฎ ก
กฎ ก.ร.
ฉบับที่ ๒๕ (พ.ศ. ๒๕๔๒)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘
ว่าด้วยการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ (๓)
และมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ก.ร. ออกกฎ
ก.ร. ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.ร.
นี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกกฎ
ก.ร. ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘
ข้อ ๓ ในกฎ ก.ร.นี้
ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น
หมายความว่า หัวหน้าส่วนราชการระดับกองหรือผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ หมายความว่า
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.
๒๕๑๘
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ส่วนราชการ หมายความว่า
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ตามมาตรา ๖ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๔
ภายใต้บังคับข้อ ๑๓ (๒) ให้ผู้ได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา
๒๒ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งเป็นเวลาหกเดือนนับแต่วันเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นต้นไป
ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาดำเนินการในเรื่องการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างจริงจัง
มีความเที่ยงธรรมและได้มาตรฐานในอันที่จะให้การทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นกระบวนการเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อ ๕
ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดกำหนดรายการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ตามความเหมาะสม
แต่อย่างน้อยต้องประกอบด้วยความรู้ที่ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ ความสามารถในการปฏิบัติงาน
ปริมาณงาน คุณภาพของงาน ความอุตสาหะ ความรับผิดชอบ
ความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น ความสนใจที่จะพัฒนาตนเอง คุณธรรมและการรักษาวินัย
วิธีการประเมินและมาตรฐานหรือเกณฑ์การประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามแบบที่ส่วนราชการเจ้าสังกัดกำหนด
แล้วรายงานให้ ก.ร.ทราบ
ข้อ ๖
ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นดูแลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ และมอบหมายงานให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการปฏิบัติและแจ้งให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการทราบอย่างชัดเจนเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงาน
การประพฤติตน รายการประเมิน วิธีการประเมิน และมาตรฐานหรือเกณฑ์การประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ข้อ ๗
ให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการทำรายงานการปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนตามที่ได้รับมอบหมายเสนอผู้บังคับบัญชาชั้นต้นตามแบบและวิธีการที่ส่วนราชการเจ้าสังกัดกำหนด
ข้อ ๘
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ประกอบด้วยประธานกรรมการและกรรมการอีกจำนวนสองคน ซึ่งอย่างน้อยต้องแต่งตั้งจากผู้บังคับบัญชาชั้นต้นหนึ่งคน
และข้าราชการผู้เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการอีกหนึ่งคน
ข้อ ๙ ให้คณะกรรมการทำหน้าที่ประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการของผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามรายการประเมิน
วิธีการประเมิน และมาตรฐาน หรือเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ในข้อ ๕
ทำการประเมินสองครั้ง โดยประเมินครั้งแรกเมื่อทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมาแล้วเป็นเวลาสามเดือน
และประเมินครั้งที่สองเมื่อทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการครบหกเดือน
เว้นแต่คณะกรรมการไม่อาจประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในแต่ละครั้งได้อย่างชัดแจ้ง
เนื่องจากผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ลาคลอดบุตร ลาป่วย ซึ่งจำเป็นต้องรักษาตัวเป็นเวลานาน
ลาป่วยเพราะประสบอันตรายในขณะปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือในขณะเดินทางไปหรือกลับจากปฏิบัติราชการตามหน้าที่
หรือลาเข้ารับการตรวจเลือก หรือเข้ารับการเตรียมพล
คณะกรรมการจะประเมินผลรวมเมื่อทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการครบหกเดือนแล้วก็ได้
ในกรณีที่มีการขยายระยะเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามข้อ
๑๓ (๒) เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ขยายแล้วให้ประเมินอีกครั้งหนึ่ง
ข้อ ๑๐
ผลการประเมินของคณะกรรมการให้เป็นไปตามเสียงข้างมาก กรรมการที่ไม่เห็นด้วยอาจทำความเห็นแย้งรวมไว้ก็ได้
ข้อ ๑๑
เมื่อคณะกรรมการได้ดำเนินการตามข้อ ๙ แล้ว ให้ประธานกรรมการรายงานผลการประเมินต่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามแบบหมายเลข
๑ ท้ายกฎ ก.ร. ดังนี้
(๑)
ในกรณีที่ผลการประเมินไม่ต่ำกว่าเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้ในข้อ ๕ ให้รายงานเมื่อทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการครบหกเดือนหรือเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาที่ขยายตามข้อ
๑๓ (๒) แล้ว
(๒) ในกรณีที่ผลการประเมินต่ำกว่าเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้ในข้อ
๕ ให้รายงานเมื่อเสร็จสิ้นการประเมินแต่ละครั้ง
ข้อ ๑๒
เมื่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุได้รับรายงานตามข้อ ๑๑ (๑) แล้ว
ให้ประกาศว่าผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการนั้นเป็นผู้ผ่านการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการพร้อมแจ้งให้ผู้นั้นทราบ
และรายงานตามแบบหมายเลข ๒ ท้ายกฎ ก.ร. นี้ ไปยัง ก.ร. ภายในห้าวันทำการนับแต่วันประกาศ
ข้อ ๑๓
เมื่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุได้รับรายงานตามข้อ ๑๑ (๒) ให้ดำเนินการดังนี้
(๑)
ในกรณีที่เห็นควรให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการออกจากราชการให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุแสดงความเห็นในแบบหมายเลข
๑ ท้ายกฎ ก.ร.นี้ และมีคำสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการภายในห้าวันทำการนับแต่วันที่ได้รับรายงานพร้อมกับแจ้งให้ผู้นั้นทราบและส่งสำเนาคำสั่งให้ออกไปยัง
ก.ร.ภายในห้าวันทำการนับแต่วันที่มีคำสั่ง
(๒)
ในกรณีที่เห็นควรให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปจนครบหกเดือน
หรือควรขยายเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปอีกระยะหนึ่งเป็นเวลาสามเดือน
แล้วแต่กรณี ให้แสดงความเห็นในแบบหมายเลข ๑ ท้ายกฎ ก.ร.นี้ แล้วแจ้งให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น และคณะกรรมการทราบ เพื่อทำการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไป
ในกรณีที่ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการจนสิ้นสุดระยะเวลาที่ขยายแล้ว
และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุได้รับรายงานว่าผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการของผู้นั้นยังต่ำกว่าเกณฑ์หรือมาตรฐานอีก
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุมีคำสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการโดยนำความใน (๑)
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๔
การนับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นเดือนตามกฎ ก.ร. นี้ ให้นับวันที่ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการไม่ได้มาปฏิบัติงานรวมเป็นเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วย
และให้นับวันเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการวันแรกเป็นวันเริ่มต้น
และนับวันก่อนหน้าจะถึงวันที่ตรงกับวันเริ่มต้นนั้นของเดือนสุดท้ายแห่งระยะเวลาเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลา
ถ้าไม่มีวันตรงกันในเดือนสุดท้าย ให้ถือเอาวันสุดท้ายของเดือนนั้นเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลา
ข้อ ๑๕
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นตามวุฒิ
ย้าย โอน หรือออกจากราชการไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารแล้วได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญอีก
ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและนับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ดังนี้
(๑)
กรณีได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับสูงขึ้นในสายงานเดิมตามวุฒิที่ได้รับเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้น
ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและนับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อเนื่องไปกับตำแหน่งเดิม
ถ้าได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับสูงขึ้นในต่างสายงานให้เริ่มทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและนับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการใหม่
(๒)
กรณีย้ายไปดำรงตำแหน่งในสายงานเดิม ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและนับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อเนื่องกับตำแหน่งเดิม
ถ้าย้ายไปดำรงตำแหน่งในต่างสายงาน
ให้เริ่มทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและนับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการใหม่
(๓)
กรณีออกจากราชการไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
เมื่อได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา ๔๑ แล้ว ไม่ว่าในสายงานเดิมหรือต่างสายงานให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
และนับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อเนื่องกับตำแหน่งเดิม
ข้อ ๑๖
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามกฎ
ก.ร. ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ ว่าด้วยการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในวันที่กฎ ก.ร. ฉบับนี้ใช้บังคับให้ผู้นั้นทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามกฎ
ก.ร. ฉบับดังกล่าวต่อไป
ให้ไว้ ณ วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๒
วันมูหะมัดนอร์ มะทา
ประธานรัฐสภา
ประธาน ก.ร.
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร. ฉบับนี้ คือ
โดยเห็นเป็นการสมควรปรับปรุงกฎ ก.ร. ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๘)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ว่าด้วยการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยให้มีคณะกรรมการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
เพื่อให้กระบวนการเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.ร.นี้
ประภาศรี/ผู้จัดทำ
๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๑๑๖ ก/หน้า ๑/๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ |
304122 | กฎ ก.ร. ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.2518 ว่าด้วยกรณีหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ บกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ ที่ปรากฎชัดแจ้ง | กฎ ก
กฎ ก.ร.
ฉบับที่ ๑๘ (พ.ศ. ๒๕๓๙)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ว่าด้วยกรณีหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ
บกพร่องในหน้าที่ราชการ
หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ ที่ปรากฏชัดแจ้ง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ และมาตรา ๔๖ ทวิ
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา(ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๕ ก.ร. ออกกฎ ก.ร.ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ
ก.ร.นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ข้อ ๒
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่า
หย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ
บกพร่องในหน้าที่ราชการหรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ
และได้รับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชา หรือให้ถ้อยคำรับสารภาพต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนหรือต่อคณะกรรมการสอบสวนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
และได้มีการบันทึกถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือ ให้ถือเป็นกรณีที่ปรากฏชัดแจ้ง
ถ้าผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘
เห็นว่า หากให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป จะเป็นการเสียหายแก่ราชการ
ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวจะสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามนัย มาตรา ๔๖ ทวิ โดยไม่สอบสวนก็ได้
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๙
บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ
ประธานรัฐสภา
ประธาน ก.ร.
หมายเหตุ:-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๔๖ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ บัญญัติว่า กรณีหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ
บกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ
ที่ปรากฏชัดแจ้ง ตามที่กำหนดในกฎ ก.ร. ผู้บังคับบัญชาจะดำเนินการสั่งให้ออกจากราชการโดยไม่สอบสวนก็ได้ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.ร.นี้
ประภาศรี/ผู้จัดทำ
๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๓๖ ก/หน้า ๑๔/๙ กันยายน ๒๕๓๙ |
304124 | กฎ ก.ร. ฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์การถูกลงโทษ | กฎ ก
กฎ ก.ร.
ฉบับที่ ๒๑ (พ.ศ. ๒๕๔๑)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์การถูกลงโทษ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ (๓)
และมาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ก.ร. ออกกฎ
ก.ร. ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ
ก.ร.นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๑๒ ทวิ
แห่งกฎ ก.ร. ฉบับที่ ๑๕ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์การถูกลงโทษ
ข้อ ๑๒ ทวิ ในกรณีที่การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์
ก.ร. มีมติเป็นคุณแก่ผู้อุทธรณ์และมีผู้ถูกลงโทษคนอื่นถูกลงโทษทางวินัยในความผิดที่ได้กระทำร่วมกันกับผู้อุทธรณ์อันเป็นความผิดในเรื่องเดียวกัน
โดยมีพฤติการณ์แห่งการกระทำอย่างเดียวกัน แต่ไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ หากพฤติการณ์ของผู้ไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์เป็นเหตุในลักษณะคดีอันเป็นเหตุเดียวกับกรณีของผู้อุทธรณ์แล้ว
ให้ ก.ร. มีมติให้ผู้ที่ไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์
ได้รับการพิจารณาการลงโทษให้มีผลในทางที่เป็นคุณเช่นเดียวกับผู้อุทธรณ์ด้วย
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๓ แห่งกฎ ก.ร.
ฉบับที่ ๑๕ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.
๒๕๑๘ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์การถูกลงโทษ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๓ เมื่อ
ก.ร.ได้พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และมีมติตามข้อ ๑๒ และข้อ ๑๒ ทวิ เป็นประการใดแล้ว
ให้เลขานุการ ก.ร.แจ้งให้ประธานวุฒิสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎรเลขาธิการวุฒิสภา
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามมาตรา ๖
(๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ แล้วแต่กรณี ทราบหรือดำเนินการให้เป็นไปตามมติ ก.ร.
โดยเร็วพร้อมทั้งแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบเป็นหนังสือโดยเร็วด้วย
มติของ ก.ร.ให้เป็นที่สุด
ในกรณีที่สั่งให้ผู้อุทธรณ์กลับเข้ารับราชการให้นำมาตรา
๕๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๑
วันมูหะมัดนอร์ มะทา
ประธานรัฐสภา
ประธาน ก.ร.
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร. ฉบับนี้ คือ
เพื่อปรับปรุง กฎ ก.ร. ฉบับที่ ๑๕ (พ.ศ. ๒๕๓๘)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์การถูกลงโทษ
โดยเพิ่มกรณีผู้ที่ถูกลงโทษทางวินัยในความผิดที่ได้กระทำร่วมกันกับผู้อุทธรณ์แต่ไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์
และผลการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นคุณแก่ผู้อุทธรณ์
ให้ผู้ที่ไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ได้รับการพิจารณาการลงโทษ ให้มีผลในทางที่เป็นคุณเช่นเดียวกับผู้อุทธรณ์
ประภาศรี/ผู้จัดทำ
๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๑๕/ตอนที่ ๑๕ ก/หน้า ๙๐/๒๔ มีนาคม ๒๕๔๑ |
312702 | กฎ ก.ร. ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ว่าด้วยวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ | กฎ ก
กฎ ก.ร.
ฉบับที่ ๑๔ (พ.ศ. ๒๕๓๗)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘
ว่าด้วยวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ (๓)
มาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ และมาตรา ๕๓
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๕ ก.ร. ออกกฎ ก.ร. ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.ร.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกกฎ
ก.ร. ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๑๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ และกฎ ก.ร. ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘
ข้อ ๓
วินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญได้แก่ข้อห้ามและข้อปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑)
ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธิ์ใจ
(๒)
ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม
ห้ามมิให้อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจหน้าที่ราชการของตนไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อมหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น
การปฏิบัติหรือการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้
เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการและเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
(๓)
ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ราชการตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ
ให้เกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการ ด้วยความอุตสาหะเอาใจใส่ และระมัดระวังรักษาประโยชน์ของทางราชการ
และต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ
การประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการหรือปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ
อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรงเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
(๔)
ข้าราชการสภาสามัญต้องถือว่าเป็นหน้าที่พิเศษ ที่จะสนใจและรับทราบเหตุการณ์เคลื่อนไหวอันอาจเป็นภยันตรายต่อประเทศชาติ
และต้องป้องกันภยันตราย ซึ่งจะบังเกิดแก่ประเทศชาติจนเต็มความสามารถ
(๕)
ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องรักษาความลับของทางราชการ
การเปิดเผยความลับของทางราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
การเปิดเผยรายงานการประชุมลับ หรือข้อมูลที่ได้จากการประชุมลับของรัฐสภา
วุฒิสภา หรือสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งสภาดังกล่าวยังมิได้มีมติให้เปิดเผยได้
เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
(๖)
ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการโดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง
แต่ถ้าเห็นว่าการปฏิบัติตามคำสั่งนั้นจะทำให้เสียหายแก่ราชการ
หรือจะเป็นการไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการจะเสนอความเห็นเป็นหนังสือทันที
เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนคำสั่งนั้นก็ได้ และเมื่อได้เสนอความเห็นแล้ว
ถ้าผู้บังคับบัญชายืนยันให้ปฏิบัติตามคำสั่งเดิม
ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม
การขัดคำสั่งหรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา
ซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ
อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
(๗)
ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องปฏิบัติราชการโดยมิให้เป็นการกระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน
เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้กระทำ หรือได้รับอนุญาตเป็นพิเศษชั่วครั้งคราว
(๘)
ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องแจ้ง
ถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย
การรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา
อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
(๙)
ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องถือและปฏิบัติตามระเบียบ และแบบธรรมเนียมของทางราชการ
(๑๐) ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ
จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้
การละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
หรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
หรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ
เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
(๑๑)
ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคี และไม่กระทำการอย่างใดที่เป็นการกลั่นแกล้งกัน
และต้องช่วยเหลือกันในการปฏิบัติราชการระหว่างข้าราชการด้วยกันและผู้ร่วมปฏิบัติราชการ
(๑๒)
ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องต้อนรับ และให้ความสะดวกแก่สมาชิกรัฐสภาและประชาชนผู้ติดต่อราชการอันเกี่ยวกับหน้าที่ของตนโดยไม่ชักช้า
และด้วยความสุภาพเรียบร้อย ห้ามมิให้ดูหมิ่น เหยียดหยาม
สมาชิกรัฐสภาและประชาชนผู้ติดต่อราชการ
การดูหมิ่น เหยียดหยาม
สมาชิกรัฐสภาและประชาชนผู้ติดต่อราชการอย่างร้ายแรงเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
(๑๓)
ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องไม่กระทำการ หรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาผลประโยชน์อันอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรม
หรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน
(๑๔)
ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
(๑๕)
ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง กรรมการพรรคการเมืองหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดในพรรคการเมือง
(๑๖)
ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติ
หน้าที่ราชการ
(๑๗)
ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องรักษาชื่อเสียงของตน และรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย
โดยไม่กระทำการใด ๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว
การกระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก
หรือโทษที่หนักกว่าจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
หรือให้รับโทษที่หนักกว่าจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
หรือกระทำการอื่นใดอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๗
มารุต บุนนาค
ประธานรัฐสภา
ประธาน ก.ร.
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร. ฉบับนี้ คือ
โดยเห็นเป็นการสมควรปรับปรุงกฎ ก.ร. ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๑๘)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ว่าด้วยวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ และกฎ ก.ร. ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ ว่าด้วยกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ประภาศรี/ผู้จัดทำ
๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๕๓ ก/หน้า ๗๓/๒ ธันวาคม ๒๕๓๗ |
438638 | กฎ ก.ร. ว่าด้วยการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ พ.ศ. 2547
| กฎ ก
กฎ
ก.ร.
ว่าด้วยการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
พ.ศ.
๒๕๔๗
ตามที่ได้มีประกาศรัฐสภา
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๔ ลงวันที่ ๓
ตุลาคม ๒๕๔๔ และประกาศรัฐสภา เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๕ ลงวันที่ ๓๐
พฤษภาคม ๒๕๔๕ ให้มีการปรับปรุงโครงสร้างของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเสียใหม่
โดยกำหนดให้มีผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการภายในสำนักแต่เนื่องจากกฎ
ก.ร.
ที่เกี่ยวกับการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันยังไม่ได้กำหนดให้ผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นกรรมการเกี่ยวกับการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการไว้ด้วย
นอกจากนั้น เห็นควรมีการปรับปรุงจำนวนของคณะกรรมการประเมินผลฯ
เพิ่มขึ้นกว่าเดิมรวมทั้งกำหนดแบบคำสั่งให้ออกจากราชการ
กรณีผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่ำกว่าเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนด
โดยระบุเหตุผลแห่งการให้ออกจากราชการไว้ด้วย ทั้งนี้
เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ดังนั้น
จึงเห็นควรให้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม กฎ ก.ร. ฉบับที่ ๒๕ (พ.ศ. ๒๕๔๒)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ว่าด้วยการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๓ (๓) และมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ก.ร.
ออกกฎ ก.ร. ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑[๑] กฎ ก.ร. นี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๒
ให้ยกเลิกกฎ ก.ร. ฉบับที่ ๒๕ (พ.ศ. ๒๕๔๒)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ว่าด้วยการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ข้อ
๓ ในกฎ ก.ร.
นี้
ผู้บังคับบัญชา
หมายความว่า ผู้อำนวยการสำนัก
หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าสำนัก
คณะกรรมการ
หมายความว่า คณะกรรมการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ส่วนราชการ
หมายความว่า สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ตามมาตรา ๖
(๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๔
ภายใต้บังคับข้อ ๑๓ (๒) ให้ผู้ได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา
๒๒ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งเป็นเวลาหกเดือนนับแต่วันเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นต้นไป
ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาดำเนินการในเรื่องการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างจริงจังมีความเที่ยงธรรมและได้มาตรฐานในอันที่จะให้การทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นกระบวนการเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อ
๕
ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดกำหนดรายการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ตามความเหมาะสม
แต่อย่างน้อยต้องประกอบด้วยความรู้ที่ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่
ความสามารถในการปฏิบัติงาน ปริมาณงาน คุณภาพของงาน ความอุตสาหะ ความรับผิดชอบ
ความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น ความสนใจที่จะพัฒนาตนเอง
คุณธรรมและจริยธรรม การปฏิบัติตนตามกรอบของจรรยาบรรณ และการรักษาวินัย
วิธีการประเมินและมาตรฐานหรือเกณฑ์การประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามแบบที่ส่วนราชการเจ้าสังกัดกำหนด
แล้วรายงานให้ ก.ร. ทราบ
ข้อ
๖
ให้ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้มีหน้าที่ดูแลและพัฒนาการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและมอบหมายงานให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการปฏิบัติ
และแจ้งให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการทราบอย่างชัดเจนเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงาน
การประพฤติตน รายการประเมิน
วิธีการประเมินและมาตรฐานหรือเกณฑ์การประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ข้อ
๗
ให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการทำรายงานการปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนตามที่ได้รับมอบหมายเสนอผู้บังคับบัญชาตามแบบและวิธีการที่ส่วนราชการเจ้าสังกัดกำหนด
ข้อ
๘
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการประกอบด้วย
ประธานกรรมการและกรรมการอีกไม่น้อยกว่าสามคน
ซึ่งอย่างน้อยต้องแต่งตั้งจากผู้บังคับบัญชาหนึ่งคน
และข้าราชการผู้เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการอีกหนึ่งคน
ในคณะกรรมการนี้
ให้บุคลากรจากสำนักบริหารงานกลางเป็นกรรมการและเลขานุการ
ข้อ
๙
ให้คณะกรรมการทำหน้าที่ประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการของผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามรายการประเมิน
วิธีการประเมิน และมาตรฐาน หรือเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ในข้อ ๕
ทำการประเมินสองครั้งโดยประเมินครั้งแรกเมื่อทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมาแล้วเป็นเวลาสามเดือน
และประเมินครั้งที่สอง เมื่อทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการครบหกเดือน
เว้นแต่คณะกรรมการไม่อาจประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในแต่ละครั้งได้อย่างชัดแจ้ง
เนื่องจากผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ลาคลอดบุตร ลาป่วย
ซึ่งจำเป็นต้องรักษาตัวเป็นเวลานาน ลาป่วยเพราะประสบอันตรายในขณะปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือในขณะเดินทางไปหรือกลับจากปฏิบัติราชการตามหน้าที่
หรือลาเข้ารับการตรวจเลือก หรือเข้ารับการเตรียมพล
คณะกรรมการจะประเมินผลรวมเมื่อทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการครบหกเดือนแล้วก็ได้
ในกรณีที่มีการขยายระยะเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามข้อ
๑๓ (๒) เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ขยายแล้วให้ประเมินอีกครั้งหนึ่ง
ข้อ
๑๐
ผลการประเมินของคณะกรรมการให้เป็นไปตามเสียงข้างมาก
กรรมการที่ไม่เห็นด้วยอาจทำความเห็นแย้งรวมไว้ก็ได้
ข้อ
๑๑
เมื่อคณะกรรมการได้ดำเนินการตามข้อ ๙ แล้ว
ให้ประธานกรรมการรายงานผลการประเมินต่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามแบบหมายเลข ๑ ท้ายกฎ
ก.ร. ดังนี้
(๑)
ในกรณีที่ผลการประเมินไม่ต่ำกว่าเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้ในข้อ ๕
ให้รายงานเมื่อทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการครบหกเดือน
หรือเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาที่ขยายตามข้อ ๑๓ (๒) แล้ว
(๒)
ในกรณีที่ผลการประเมินต่ำกว่าเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้ในข้อ ๕
ให้รายงานเมื่อเสร็จสิ้นการประเมินแต่ละครั้ง
ข้อ
๑๒
เมื่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุได้รับรายงานตามข้อ ๑๑ (๑) แล้ว ให้ประกาศว่า
ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการนั้นเป็นผู้ผ่านการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการพร้อมแจ้งให้ผู้นั้นทราบและรายงานตามแบบหมายเลข
๒ ท้ายกฎ ก.ร. นี้ ไปยัง ก.ร. ภายในห้าวันทำการนับแต่วันประกาศ
ข้อ
๑๓
เมื่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุได้รับรายงานตามข้อ ๑๑ (๒) ให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑)
ในกรณีที่เห็นควรให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการออกจากราชการให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุแสดงความเห็นในแบบหมายเลข
๑ ท้ายกฎ ก.ร. นี้
และมีคำสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการภายในห้าวันทำการนับแต่วันที่ได้รับรายงานพร้อมกับแจ้งให้ผู้นั้นทราบ
และส่งสำเนาคำสั่งให้ออก ไปยัง ก.ร. ภายในห้าวันทำการนับแต่วันที่มีคำสั่ง
(๒)
ในกรณีที่เห็นควรให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปจนครบหกเดือน
หรือควรขยายเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปอีกระยะหนึ่งเป็นเวลาสามเดือน
แล้วแต่กรณีให้แสดงความเห็นในแบบหมายเลข ๑ ท้ายกฎ ก.ร. นี้
แล้วแจ้งให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการผู้บังคับบัญชา และคณะกรรมการทราบ
เพื่อทำการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไป
ในกรณีที่ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการจนสิ้นสุดระยะเวลาที่ขยายแล้ว
และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุได้รับรายงานว่า
ผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการของผู้นั้นยังต่ำกว่าเกณฑ์หรือมาตรฐานอีก
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุมีคำสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ โดยนำความใน (๑)
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
คำสั่งให้ออกจากราชการตามข้อนี้
ให้ระบุเหตุผลแห่งการให้ออกจากราชการไว้ด้วยตามแบบที่แนบท้ายกฎ ก.ร. นี้
ข้อ
๑๔
การนับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นเดือนตามกฎ ก.ร. นี้
ให้นับวันที่ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการไม่ได้มาปฏิบัติงานรวมเป็นเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยและให้นับวันเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการวันแรกเป็นวันเริ่มต้น
และนับวันก่อนหน้าจะถึงวันที่ตรงกับวันเริ่มต้นนั้นของเดือนสุดท้ายแห่งระยะเวลาเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลา
ถ้าไม่มีวันตรงกันในเดือนสุดท้ายให้ถือเอาวันสุดท้ายของเดือนนั้นเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลา
ข้อ
๑๕
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นตามวุฒิ
ย้าย โอน หรือออกจากราชการไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารแล้วได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญอีก
ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและนับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ดังนี้
(๑)
กรณีได้รับแต่งตั้งในระดับสูงขึ้นในสายงานเดิม ตามวุฒิที่ได้รับเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้น
ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและนับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อเนื่องไปกับตำแหน่งเดิม
ถ้าได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับสูงขึ้นในต่างสายงานให้เริ่มทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและนับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการใหม่
(๒)
กรณีย้ายไปดำรงตำแหน่งในสายงานเดิม
ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและนับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อเนื่องกับตำแหน่งเดิม
ถ้าย้ายไปดำรงตำแหน่งในต่างสายงานให้เริ่มทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและนับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการใหม่
(๓)
กรณีออกจากราชการไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารเมื่อได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา
๔๑ แล้ว ไม่ว่าในสายงานเดิมหรือต่างสายงาน
ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและนับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อเนื่องกับตำแหน่งเดิม
ข้อ
๑๖
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามกฎ
ก.ร. ฉบับที่ ๒๕ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ ว่าด้วยการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในวันที่กฎ ก.ร.
ฉบับนี้ใช้บังคับให้ผู้นั้นทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามกฎ ก.ร. ฉบับดังกล่าวต่อไป
ให้ไว้
ณ วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
อุทัย พิมพ์ใจชน
ประธานรัฐสภา
ประธาน
ก.ร.
แบบหมายเลข
1
แบบรายงานผลการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
[ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย]
แบบหมายเลข
2
แบบรายงาน
ก.ร.
[ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย]
แบบคำสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการเพราะผลการทดลอง
ปฏิบัติหน้าที่ราชการต่ำกว่าเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนด
[ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย]
พรพิมล/พิมพ์
๒
กรกฎาคม ๒๕๔๗
ทรงยศ/ศุภสรณ์/ตรวจ
๒๒
กรกฎาคม ๒๕๔๗
A+B
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๑/ตอนที่ ๓๓ ก/หน้า ๑๘/๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๗ |
319572 | กฎ ก.ร. ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์การถูกลงโทษ | กฎ ก
กฎ ก.ร.
ฉบับที่ ๑๕ (พ.ศ. ๒๕๓๘)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์การถูกลงโทษ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ (๓)
และมาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ก.ร. ออกกฎ
ก.ร. ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.ร.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกกฎ ก.ร. ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๑๙)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ข้อ ๓ การอุทธรณ์การถูกลงโทษ ให้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้อุทธรณ์
และให้อุทธรณ์ได้สำหรับตนเองเท่านั้น จะอุทธรณ์แทนคนอื่น
หรือมอบหมายให้คนอื่นอุทธรณ์แทนไม่ได้
ข้อ ๔ เพื่อประโยชน์ในการอุทธรณ์
ผู้ถูกสั่งลงโทษอาจขอตรวจหรือคัดรายงานการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนได้
ส่วนการขอตรวจหรือคัดบันทึกถ้อยคำพยานบุคคล หรือเอกสารอื่น
หรือเอกสารการพิจารณาโทษในกรณีที่ไม่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้สั่งลงโทษ
โดยให้พิจารณาถึงประโยชน์ในทางการรักษาวินัยของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
เหตุผลและความจำเป็นเป็นเรื่อง ๆ ไป
ข้อ ๕ การอุทธรณ์การถูกลงโทษให้อุทธรณ์ต่อ ก.ร.
ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่งลงโทษ
ผู้อุทธรณ์จะขอแถลงการณ์ด้วยวาจา
เพื่อประกอบการพิจารณาของ ก.ร. ก็ได้ โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อ ก.ร. ก่อนที่ ก.ร.
จะพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จ
ข้อ ๖ การอุทธรณ์ต่อ ก.ร.
ให้ทำเป็นหนังสือถึงประธาน ก.ร. หรือ เลขานุการ ก.ร. และยื่นที่สำนักงานเลขานุการ
ก.ร. พร้อมกับสำเนารับรองถูกต้องหนึ่งฉบับด้วย หรือจะยื่นผ่านผู้บังคับบัญชาเพื่อให้ส่งต่อไปยังสำนักงานเลขานุการ
ก.ร. หรือจะยื่นโดยส่งทางไปรษณีย์ก็ได้
เมื่อได้ยื่นหนังสืออุทธรณ์ไว้แล้ว
ผู้อุทธรณ์จะยื่นหนังสืออุทธรณ์เพิ่มเติมก่อนที่ ก.ร.
จะพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จก็ได้
ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ไม่ประสงค์จะให้พิจารณาอุทธรณ์ต่อไป
จะขอถอนอุทธรณ์เสียเมื่อใดก็ได้โดยทำเป็นหนังสือ และเมื่อได้ถอนอุทธรณ์แล้ว
การพิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นอันระงับ เว้นแต่ขอถอนอุทธรณ์หลังจากที่ ก.ร. พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จแล้ว
ก็ให้ดำเนินการต่อไปได้เสมือนว่าไม่ได้มีการถอนอุทธรณ์
ข้อ ๗ เพื่อประโยชน์ในการนับกำหนดเวลาอุทธรณ์
เมื่อมีผู้นำหนังสืออุทธรณ์มายื่น ให้ผู้รับหนังสือออกใบรับหนังสือ
ประทับตรารับหนังสือ และลงทะเบียนรับหนังสือไว้เป็นหลักฐานในวันที่รับหนังสือ
ให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณ และให้ถือวันที่รับหนังสือตามหลักฐานดังกล่าวเป็นวันยื่นหรือส่งหนังสืออุทธรณ์
ในกรณีที่ส่งหนังสืออุทธรณ์ทางไปรษณีย์
ให้ถือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ออกใบรับฝากเป็นหลักฐานฝากส่ง
หรือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางประทับตรารับที่ซองหนังสือเป็นวันที่ยื่นหรือส่งหนังสืออุทธรณ์
สำหรับวันทราบคำสั่งลงโทษ
ให้ถือวันที่ผู้ถูกลงโทษลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่ง หรือวันที่มีการแจ้งให้ผู้ถูกลงโทษรับทราบคำสั่ง
ในกรณีที่ผู้ถูกลงโทษไม่ยอมลงลายมือชื่อรับทราบหรือสิบวันหลังจากวันที่ได้ส่งคำสั่งลงโทษทางไปรษณีย์ลงทะเบียนแล้วแต่กรณี
เป็นเวลาเริ่มต้นกำหนดเวลาอุทธรณ์
การนับเวลาเริ่มต้นตามวรรคสาม
ให้นับวันถัดจากวันรับทราบคำสั่งลงโทษส่วนเวลาสิ้นสุดนั้นถ้าวันสุดท้ายแห่งเวลาตรงกับวันหยุดราชการ
ให้นับวันเริ่มเปิดราชการใหม่เป็นวันสุดท้ายแห่งเวลา
ข้อ ๘ อุทธรณ์ที่จะรับไว้พิจารณาได้ต้องเป็นอุทธรณ์ที่ถูกต้องในสาระสำคัญตามข้อ
๓ ข้อ ๕ และข้อ ๖
ในกรณีที่มีปัญหาว่าอุทธรณ์รายใดเป็นอุทธรณ์ที่จะรับไว้พิจารณาได้หรือไม่
ให้ ก.ร. เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัย
ข้อ ๙
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาผู้สั่งลงโทษได้รับหนังสืออุทธรณ์ที่ได้ยื่นหรือส่งตาม
ข้อ ๖ วรรคหนึ่ง ให้ดำเนินการจัดส่งหนังสืออุทธรณ์ที่ได้รับไว้พร้อมทั้งหลักฐานการรับทราบคำสั่งลงโทษของผู้อุทธรณ์
สำนวนการดำเนินการทางวินัย และคำชี้แจงของตน (ถ้ามี) ไปยังผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกลงโทษเหนือตนขึ้นไปตามลำดับ
เพื่อประกอบการพิจารณาตามมาตรา ๕๘
ข้อ ๑๐
เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไปแล้ว ถ้าปรากฏว่าผู้นั้นได้อุทธรณ์การถูกลงโทษต่อ
ก.ร. ก็ให้ ก.ร. พิจารณาเรื่องอุทธรณ์รวมกับเรื่องรายงานการลงโทษหรือการดำเนินการทางวินัยตามมาตรา
๕๘ แต่ถ้าเป็นกรณีที่ผู้บังคับบัญชาเหนือผู้สั่งลงโทษได้สั่งยกโทษตามมาตรา ๕๘
วรรคสอง การอุทธรณ์ก็ให้เป็นอันพับไป
ข้อ ๑๑
ในการพิจารณาอุทธรณ์ให้พิจารณาจากสำนวนการดำเนินการทางวินัยของผู้บังคับบัญชาและอาจเรียกเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมจากหน่วยราชการ
รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ ห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือบุคคลใด ๆ
หรือให้ผู้แทนหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ ห้างหุ้นส่วน บริษัท
ข้าราชการ หรือบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำหรือชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการพิจารณาได้
ในกรณีที่นัดให้ผู้อุทธรณ์มาแถลงการณ์ด้วยวาจาต่อที่ประชุม
ก.ร. ให้แจ้งให้ผู้สั่งลงโทษทราบด้วยว่า
ถ้าประสงค์จะแถลงแก้ก็ให้มาแถลงหรือมอบหมายให้ข้าราชการที่เกี่ยวข้องเป็นผู้แทนมาแถลงแก้ด้วยวาจาต่อที่ประชุมได้
ทั้งนี้ ให้แจ้งล่วงหน้าตามควรแก่กรณี และเพื่อประโยชน์ในการแถลงแก้ดังกล่าวให้ผู้แถลงแก้เข้าฟังคำแถลงการณ์ด้วยวาจาของผู้อุทธรณ์ได้
ในการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งพิจารณารวมกับเรื่องรายงานการลงโทษ
หรือการดำเนินการทางวินัยตามมาตรา ๕๘ ถ้า ก.ร.
เห็นเป็นการสมควรที่จะต้องสอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลให้ถูกต้องและเหมาะสมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ก็ให้สอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น โดยจะสอบสวนเองหรือแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหรือมอบหมายให้ข้าราชการที่เห็นสมควรสอบสวนแทนก็ได้
ข้อ ๑๒ การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ ถ้า ก.ร.
เห็นว่า
(๑)
การลงโทษถูกต้องและเหมาะสมกับความผิดแล้ว ก็ให้มีมติยกอุทธรณ์
(๒)
การลงโทษไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ก็ให้มีมติสั่งเพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษ ให้โดยว่ากล่าวตักเตือน
หรือให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือ ให้ออกหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นให้ออกจากราชการ
หรือยกโทษ รวมทั้งให้ผู้อุทธรณ์กลับเข้ารับราชการแล้วแต่กรณี
(๓) เป็นกรณีที่สมควรให้ออกหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นให้ออกจากราชการตามมาตรา
๔๖ ทวิ หรือกรณีเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ถ้ายังไม่มีการสอบสวนตามมาตรา ๔๖
ทวิ หรือมาตรา ๕๓ และไม่ใช่เป็นกรณีตามมาตรา ๕๔ ก็ให้มีมติสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา
๔๖ ทวิ หรือมาตรา ๕๓ แล้วแต่กรณี เสียก่อน
(๔) ควรดำเนินการอื่นใดอีก
ก็ให้มีมติให้ดำเนินการได้ตามควรแก่กรณี
ข้อ ๑๓ เมื่อ ก.ร.
ได้พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และมีมติตามข้อ ๑๒ เป็นประการใดแล้ว ให้เลขานุการ ก.ร.
แจ้งให้ประธานวุฒิสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร เลขาธิการวุฒิสภา เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามมาตรา ๖ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ แล้วแต่กรณี ทราบหรือดำเนินการให้เป็นไปตามมติ ก.ร. โดยเร็ว
พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบเป็นหนังสือโดยเร็วด้วย
มติของ ก.ร. ให้เป็นที่สุด
ในกรณีที่สั่งให้ผู้อุทธรณ์กลับเข้ารับราชการให้นำมาตรา
๕๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๘
มารุต บุนนาค
ประธานรัฐสภา
ประธาน ก.ร.
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร. ฉบับนี้ คือ
โดยเห็นเป็นการสมควรปรับปรุงกฎก.ร. ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๑๙)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาพ.ศ. ๒๕๑๘
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์การถูกลงโทษ เพื่อให้เหมาะสมยิ่งขึ้นและสอดคล้องกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ว่าด้วยการร้องทุกข์
ประภาศรี/ผู้จัดทำ
๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่
๕ ก/หน้า ๓๙/๓๐ มกราคม ๒๕๓๘ |
306879 | กฎ ก.ร. ฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา | กฎ ก
กฎ ก.ร.
ฉบับที่ ๒๓ (พ.ศ. ๒๕๔๑)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.๒๕๑๘ มาตรา ๔๖ ทวิ วรรคสาม
และมาตรา ๕๓ วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๕ ก.ร. ออกกฎ ก.ร. ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.ร.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกกฎ
ก.ร. ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๒๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘
ข้อ ๓
หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณา เพื่อให้ได้ความจริงและความยุติธรรมแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ซึ่งมีกรณีถูกกล่าวหาหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ
บกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการตามมาตรา
๔๖ ทวิ และหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณา
ระยะเวลาสอบสวนพิจารณาและสั่งลงโทษ การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนการรวบรวมพยานหลักฐาน
การส่งประเด็นไปสอบสวนพยานบุคคลซึ่งอยู่ต่างท้องที่และกิจการอื่น ๆ เพื่อให้ได้ความจริงและความยุติธรรมแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งถูกกล่าวหา
หรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามกฎ ก.ร.
ว่าด้วยวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ ออกตามความในมาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๓
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร. นี้
ข้อ ๔
การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ให้แต่งตั้งจากข้าราชการที่เห็นสมควรโดยแต่งตั้งประธานกรรมการ
และกรรมการมีจำนวนรวมกันไม่น้อยกว่าสามคน และจะให้มีเลขานุการด้วยก็ได้
ประธานกรรมการต้องดำรงตำแหน่งระดับไม่ต่ำกว่า
หรือดำรงตำแหน่งเทียบได้ไม่ต่ำกว่าผู้ถูกกล่าวหา
ข้อ ๕
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ให้ทำเป็นหนังสือตามแบบคำสั่งของทางราชการ
ระบุชื่อและตำแหน่งของผู้ถูกกล่าวหา และเรื่องที่ถูกกล่าวหา
ตลอดจนชื่อและตำแหน่งของผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการสอบสวน
ข้อ ๖ เมื่อได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว
ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
พร้อมทั้งสำเนาคำสั่งให้โดยพลันแต่ถ้าไม่อาจแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบได้
ให้ปิดสำเนาคำสั่งไว้ ณ ที่ทำการของผู้ถูกกล่าวหาและแจ้งโดยหนังสือส่งสำเนาคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปให้
ณ ที่อยู่ของผู้ถูกกล่าวหาซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการด้วย ในกรณีเช่นนี้
เมื่อล่วงพ้นสิบวันนับแต่วันที่ส่งสำเนาคำสั่งดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาได้รับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว
เมื่อได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว
ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการส่งเรื่องกล่าวหาทั้งหมด
พร้อมทั้งสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนและหลักฐานการแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนไปให้ประธานกรรมการ
เพื่อแจ้งให้กรรมการทราบและทำการสอบสวนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ประธานกรรมการทราบคำสั่งวันใดให้บันทึกไว้ในสำนวนด้วย
ข้อ ๗
ผู้ถูกกล่าวหาอาจคัดค้านกรรมการ หรือเลขานุการในคณะกรรมการสอบสวนที่มีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด
ดังต่อไปนี้ได้
(๑)
เป็นผู้ที่ได้รู้เห็นเหตุการณ์ในขณะกระทำการตามเรื่องที่กล่าวหา
(๒) เป็นผู้มีประโยชน์ได้เสียในเรื่องที่สอบสวน
(๓)
เป็นผู้มีเหตุโกรธเคืองกับผู้ถูกกล่าวหา
(๔)
เป็นผู้ถูกกล่าวหาหรือเป็นคู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือพี่น้องร่วมบิดา มารดา
หรือร่วมบิดาหรือมารดาของผู้ถูกกล่าวหาหรือของคู่กรณี
การคัดค้าน
ให้คัดค้านต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน โดยทำเป็นหนังสือแสดงเหตุที่คัดค้านนั้นยื่นต่อประธานกรรมการภายในเจ็ดวัน
นับแต่วันทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
เมื่อได้รับหนังสือคัดค้านแล้ว
ให้ประธานกรรมการส่งหนังสือคัดค้านนั้นไปยังผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาสั่งการโดยด่วน
ถ้าผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาเห็นว่าการคัดค้านนั้นมีเหตุอันควรฟังได้
ก็ให้สั่งเปลี่ยนกรรมการ หรือเลขานุการที่ถูกคัดค้าน
แต่ถ้าเห็นว่าการคัดค้านนั้นไม่มีเหตุอันควรรับฟัง
หรือเห็นว่าแม้จะให้ผู้ที่ถูกคัดค้านนั้นร่วมเป็นคณะกรรมการสอบสวนก็ไม่ทำให้เสียความเป็นธรรมจะสั่งยกคำคัดค้านนั้นเสียก็ได้
แล้วแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาที่คัดค้านทราบ
และส่งเรื่องให้คณะกรรมการสอบสวนรวมสำนวนไว้
ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาคัดค้านกรรมการ
หรือเลขานุการในคณะกรรมการสอบสวนและผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนยังมิได้สั่งการตามวรรคสาม
ห้ามมิให้ผู้ที่ถูกคัดค้านนั้นร่วมในการสอบสวน
ข้อ ๘ กรรมการ
หรือเลขานุการคนใดในคณะกรรมการสอบสวนมีเหตุอันอาจถูกคัดค้านตามข้อ ๗ วรรคหนึ่ง
ให้ผู้นั้นรายงานต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน กรณีเช่นนี้ให้นำข้อ ๗
วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๙ เมื่อได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว
ถ้าผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่า
มีเหตุอันควรหรือจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนตัวกรรมการ หรือเลขานุการคนใดในคณะกรรมการสอบสวน
หรือเปลี่ยนทั้งคณะ หรือแต่งตั้งเพิ่มขึ้นหรือลดให้น้อยลง ก็ให้ดำเนินการได้ ทั้งนี้
ให้นำข้อ ๔ ข้อ ๕ และข้อ ๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับคณะกรรมการสอบสวนตามวรรคหนึ่ง
ไม่กระทบกระเทือนการสอบสวนที่ได้ดำเนินการไปแล้ว
ข้อ ๑๐
คณะกรรมการสอบสวนมีหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่าง
ๆ อันเกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวหา
เอกสารที่ใช้เป็นพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนให้ใช้ต้นฉบับที่แท้จริงแต่ถ้ามีความจำเป็นไม่อาจนำต้นฉบับมาได้
จะใช้สำเนาที่กรรมการ หรือเลขานุการในคณะกรรมการสอบสวน
หรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบรับรองว่าเป็นสำเนาที่ถูกต้องก็ได้
ข้อ ๑๑
ให้คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประธานกรรมการได้รับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ถ้ามีความจำเป็น ซึ่งจะสอบสวนให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าวไม่ได้
ก็ให้คณะกรรมการสอบสวนขยายเวลาสอบสวนได้อีกสองครั้ง
แต่ละครั้งเป็นเวลาไม่เกินสิบห้าวัน โดยให้คณะกรรมการสอบสวนบันทึกแสดงเหตุความจำเป็นที่ต้องขยายเวลาทุกครั้งไว้ในสำนวนด้วย
ในกรณีที่ได้ขยายเวลาการสอบสวนสองครั้งตามวรรคหนึ่งแล้วยังสอบสวนไม่แล้วเสร็จให้คณะกรรมการสอบสวนเร่งทำการสอบสวนต่อไปให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
แต่ทั้งนี้ให้รายงานเหตุที่ทำให้การสอบสวนไม่แล้วเสร็จต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนภายในสามวันนับแต่วันครบกำหนดเวลาที่ได้ขยายครั้งสุดท้าย
และต่อไปทุกสิบห้าวัน และให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนติดตามเร่งรัดการสอบสวนให้แล้วเสร็จโดยเร็วด้วย
ข้อ ๑๒
ในการสอบสวนปากคำบุคคล ต้องมีกรรมการสอบสวนอย่างน้อยสองคนจึงจะเป็นองค์คณะทำการสอบสวนได้
ข้อ ๑๓
ในการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวน ห้ามมิให้บุคคลอื่นมาร่วมทำการสอบสวน
ในการสอบสวน
ห้ามมิให้บุคคลอื่นนอกจากผู้กำลังถูกสอบสวนปากคำอยู่เข้าฟังการสอบสวน
เว้นแต่บุคคลที่คณะกรรมการสอบสวนเรียกมาเพื่อประโยชน์ในการสอบสวน
การสอบสวนปากคำบุคคล
ให้บันทึกถ้อยคำเป็นหนังสือแสดงชื่อ ที่อยู่ อายุ อาชีพ สัญชาติ
และศาสนาของผู้ให้ถ้อยคำ และชื่อของกรรมการสอบสวนทุกคนไว้ด้วยเมื่อได้สอบสวนบันทึกถ้อยคำเสร็จแล้ว
ให้อ่านให้ผู้ให้ถ้อยคำฟัง หรือจะให้ผู้ให้ถ้อยคำอ่านเองก็ได้ เมื่อรับว่าถูกต้องแล้ว
ก็ให้ผู้ให้ถ้อยคำและกรรมการสอบสวนทุกคนลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานท้ายบันทึกถ้อยคำนั้นด้วย
กรรมการผู้ใดมิได้ร่วมสอบสวนด้วย ห้ามมิให้ลงลายมือชื่อในบันทึกถ้อยคำนั้น ถ้าบันทึกถ้อยคำมีหลายหน้าให้ผู้ให้ถ้อยคำกับกรรมการสอบสวนอย่างน้อยหนึ่งคนลงลายมือชื่อไว้ทุกหน้าด้วย
ในกรณีที่ผู้ให้ถ้อยคำไม่ยอมลงลายมือชื่อ
ก็ให้บันทึกเหตุนั้นไว้ในบันทึกถ้อยคำนั้น
ในการบันทึกถ้อยคำ ห้ามมิให้ขูดลบ
หรือบันทึกข้อความทับ ถ้าจะต้องแก้ไขข้อความที่ได้บันทึกไว้แล้ว ให้ใช้วิธีขีดฆ่า
หรือตกเติม และให้ผู้ให้ถ้อยคำกับกรรมการสอบสวนอย่างน้อยหนึ่งคนลงลายมือชื่อกำกับไว้ทุกแห่งที่ขีดฆ่า
หรือตกเติม
ในกรณีที่ผู้ให้ถ้อยคำไม่สามารถลงลายมือชื่อได้
ให้นำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๔
เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้รับเรื่องที่กล่าวหาทั้งหมดตามข้อ ๖ แล้ว ให้คณะกรรมการสอบสวนแจ้ง
และอธิบายข้อกล่าวหาที่ปรากฏตามเรื่องที่กล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบรวมทั้งแจ้งให้ทราบด้วยว่า
ในการสอบสวนนี้ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิที่จะได้รับแจ้งสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา
และให้ถ้อยคำหรือชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาตลอดจนอ้างพยานหลักฐานหรือนำพยานหลักฐานมาสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ด้วย
แล้วให้ถามผู้ถูกกล่าวหาเพียงว่าได้กระทำการตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ อย่างไร
ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาให้ถ้อยคำรับสารภาพว่าได้กระทำการตามข้อกล่าวหา
คณะกรรมการสอบสวนจะไม่ทำการสอบสวนต่อไปก็ได้
หรือถ้าเห็นเป็นการสมควรที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์อันเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวนนั้นโดยละเอียด
จะทำการสอบสวนต่อไปตามควรแก่กรณีก็ได้
ในกรณีที่ได้ถามผู้ถูกกล่าวหาตามวรรคหนึ่งแล้ว
ผู้ถูกกล่าวมิได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพ ให้คณะกรรมการสอบสวนเริ่มทำการสอบสวน
โดยรวบรวมพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาทั้งหมดเสียก่อน
แล้วสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มิให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยจะระบุหรือไม่ระบุชื่อพยานก็ได้
และให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาที่จะให้ถ้อยคำหรือชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา
ตลอดจนนำสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ภายในเวลาอันสมควร
การนำสืบแก้ข้อกล่าวหา
ผู้ถูกกล่าวหาจะนำพยานหลักฐานมาเอง หรือจะอ้างพยานหลักฐานโดยขอให้คณะกรรมการสอบสวนเรียกพยานหลักฐานนั้นมาก็ได้
เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้ดำเนินการตามข้อนี้แล้ว
ให้คณะกรรมการสอบสวนบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ ๑๕
ในการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ผู้ถูกกล่าวหาจะให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการสอบสวนหรือทำคำชี้แจงเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้ถูกกล่าวหายื่นต่อคณะกรรมการสอบสวนก็ได้
ก่อนการสอบสวนเสร็จ
ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งได้ให้ถ้อยคำ หรือยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาไว้แล้ว
จะขอให้ถ้อยคำเพิ่มเติม หรือยื่นคำชี้แจงเพิ่มเติม หรือนำสืบแก้ข้อกล่าวหาเพิ่มเติมต่อคณะกรรมการสอบสวนอีกก็ได้
ข้อ ๑๖
ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่มาให้ถ้อยคำ หรือไม่ยื่นคำชี้แจ้งแก้ข้อกล่าวหาภายในเวลาที่คณะกรรมการสอบสวนได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้าตามสมควรแล้ว
และโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร คณะกรรมการสอบสวนจะดำเนินการสอบสวนไป
โดยไม่สอบสวนตัวผู้ถูกกล่าวหาก็ได้ แต่ต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ในสำนวนการสอบสวน
ในกรณีเช่นนี้ถ้าภายหลังผู้ถูกกล่าวหามาขอให้ถ้อยคำ
หรือยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาก่อนสอบสวนเสร็จ ก็ให้คณะกรรมการสอบสวนให้โอกาสแก่ผู้ถูกกล่าวหา
ข้อ ๑๗
ถ้าผู้ถูกกล่าวหายื่นคำชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวนต่อคณะกรรมการสอบสวนหรือต่อผู้มีอำนาจพิจารณาในเวลาใด
ๆ ก่อนมีคำสั่งให้ออกจากราชการหรือคำสั่งลงโทษหรือคำวินิจฉัยสั่งการอย่างอื่น
ให้คณะกรรมการสอบสวนหรือผู้มีอำนาจพิจารณานั้น รับคำชี้แจงเข้าสำนวนไว้พิจารณาด้วย
ข้อ ๑๘
ในกรณีที่พยานไม่มา หรือไม่ยอมให้ถ้อยคำ หรือคณะกรรมการสอบสวนเรียกพยานไม่ได้ภายในเวลาอันสมควร
คณะกรรมการสอบสวนจะไม่สอบสวนพยานนั้นก็ได้
แต่ต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ในสำนวนการสอบสวนด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่ามีเหตุผลสมควรที่พยานไม่สามารถมาได้ตามกำหนด
หรือได้ตัวพยานมาให้ถ้อยคำก่อนการสอบสวนพยานสิ้นสุดลงก็ให้ผ่อนผันได้ตามควรแก่กรณี
ข้อ ๑๙
ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่า การสอบสวนพยานหลักฐานใด จะทำให้การสอบสวนล่าช้าโดยไม่จำเป็น
หรือมิใช่เป็นพยานหลักฐานในประเด็นสำคัญ คณะกรรมการสอบสวนจะงดการสอบสวนพยานหลักฐานนั้นเสียก็ได้
แต่ต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ในสำนวนการสอบสวน
ข้อ ๒๐
ในกรณีที่จะต้องสอบสวนพยานซึ่งอยู่ต่างท้องที่ คณะกรรมการสอบสวนจะส่งประเด็นไปสอบสวนโดยมอบหมายให้หัวหน้าหน่วยราชการหรือหัวหน้าส่วนราชการในท้องที่นั้นทำการสอบสวนพยานแทนก็ได้
ในกรณีเช่นนี้ให้หัวหน้าหน่วยราชการหรือหัวหน้าส่วนราชการเลือกข้าราชการที่เห็นสมควรอย่างน้อยอีกหนึ่งคนมาร่วมเป็นองค์คณะทำการสอบสวน
ข้อ ๒๑
ในกรณีที่การสอบสวนปรากฏกรณีมีมูลว่าผู้ถูกกล่าวหาหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ
หรือบกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ
หรือกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในเรื่องอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ให้ประธานกรรมการรายงานไปยังผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยไม่ชักช้า
ถ้าผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่า ควรให้คณะกรรมการสอบสวนที่ได้แต่งตั้งไว้แล้วทำการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหาในเรื่องอื่นที่เพิ่มขึ้นนั้นด้วย
ก็ให้ทำเป็นคำสั่งเพิ่มเติมขึ้น และให้นำข้อ ๕ ข้อ ๖ และข้อ ๑๔
มาใช้บังคับโดยอนุโลมในกรณีเช่นนี้ให้คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนรวมเป็นสำนวนเดียวกันได้
แต่ถ้าผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่า ควรแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นใหม่เพื่อทำการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหาในเรื่องที่ปรากฏเพิ่มขึ้นนั้น
ก็ให้เป็นไปตามที่ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนจะสั่ง
ข้อ ๒๒
ในกรณีที่การสอบสวนปรากฏกรณีมีมูลพาดพิงไปถึงข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้อื่นที่มิได้ระบุตัวเป็นผู้ถูกกล่าวหาตามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนว่ามีส่วนร่วมกระทำการในเรื่องที่สอบสวนนั้นอันควรถูกกล่าวหาว่าหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ
หรือบกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงด้วย
ให้ประธานกรรมการรายงานไปยังผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
เพื่อดำเนินการตามควรแก่กรณีโดยไม่ชักช้า
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าควรให้คณะกรรมการสอบสวนที่ได้มีการแต่งตั้งไว้แล้วทำการสอบสวนผู้มีส่วนร่วมกระทำการนั้นด้วย
ก็ให้ดำเนินการตามข้อ ๕ และข้อ ๖ โดยอนุโลม
ในกรณีเช่นนี้ให้ใช้พยานหลักฐานที่ได้ทำการสอบสวนมาแล้ว
ประกอบการพิจารณากรณีของผู้มีส่วนร่วมกระทำการนั้นได้เท่าที่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าไม่ทำให้เสียความเป็นธรรม
และให้คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนรวมเป็นสำนวนเดียวกันได้
ในกรณีที่ผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนได้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนคณะใหม่เพื่อทำการสอบสวนผู้ที่มีส่วนรวมกระทำการ
ให้ใช้พยานหลักฐานที่คณะกรรมการสอบสวนเดิมได้ทำการสอบสวนมาแล้วประกอบการพิจารณาได้เท่าที่คณะกรรมการสอบสวนที่แต่งตังขึ้นใหม่เห็นว่าไม่ทำให้เสียความเป็นธรรม
ข้อ ๒๓ เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้ดำเนินการตามข้อ
๑๔ วรรคหนึ่งแล้ว ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้บังคับบัญชาชั้นต้น
หรือคณะกรรมการสอบสวนในกรณีที่เกี่ยวข้องได้สอบสวน
หรือพนักงานสอบสวนได้สอบสวนทางอาญา หรือได้มีคำพิพากษาเกี่ยวกับเรื่องที่จะต้องสอบสวนตามข้อ
๕ และข้อ ๑๔ วรรคหนึ่ง อยู่แล้ว ถ้าคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามทางสอบสวนหรือทางพิจารณา
หรือตามคำพิพากษานั้นได้ความประจักษ์ชัดอยู่แล้วว่า
ผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำการตามข้อกล่าวหา คณะกรรมการสอบสวนจะนำเอาสำนวนการสอบสวนของผู้บังคับบัญชาชั้นต้น
หรือของคณะกรรมการสอบสวนในกรณีที่เกี่ยวข้อง หรือของพนักงานสอบสวน
หรือสำนวนของพนักงานอัยการสำนวนการพิจารณาของศาล หรือสำเนาคำพิพากษานั้นอย่างหนึ่งอย่างใดมาใช้เป็นสำนวนการสอบสวน
และพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาโดยไม่สอบสวนพยานหลักฐานอื่นก็ได้
และเมื่อได้ดำเนินการตามข้อ ๑๔ วรรคสามแล้ว ให้คณะกรรมการสอบสวนประชุมปรึกษาและดำเนินการตามข้อ
๒๔ ต่อไป
ข้อ ๒๔
เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้ทำการรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ เสร็จแล้ว
ให้คณะกรรมการสอบสวนประชุมปรึกษาเพื่อทำรายงานการสอบสวนเสนอต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยสรุปข้อเท็จจริง
และพยานหลักฐานต่าง ๆ พร้อมทั้งแสดงความเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ
หรือบกพร่องในหน้าที่ราชการ
หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการตามมาตรา ๔๖ ทวิ หรือไม่ อย่างไร
หรือได้กระทำผิดวินัยอย่างไรหรือไม่ โดยอาศัยพยานหลักฐานและเหตุผลอย่างไร
ถ้ากระทำผิดวินัยเป็นความผิดตามกฎ ก.ร. ฉบับใด ข้อใด และควรได้รับโทษสถานใด หรือมีเหตุอันควรสงสัยอย่างยิ่งว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
แต่การสอบสวนไม่ได้ความแน่ชัดพอที่จะฟังลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
ถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการตามมาตรา ๔๖ ตรี หรือไม่ อย่างไร
หากกรรมการสอบสวนคนใดมีความเห็นแย้ง
ให้ทำความเห็นแย้งติดไว้กับรายงานการสอบสวนด้วย รายงานการสอบสวนเป็นส่วนหนึ่งของสำนวนการสอบสวน
และให้คณะกรรมการสอบสวนทำสารบัญสำนวนการสอบสวนติดสำนวนไว้ด้วย
ในการประชุมปรึกษาของคณะกรรมการสอบสวนต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
และไม่น้อยกว่าสามคน จึงจะเป็นองค์คณะทำการประชุมปรึกษาได้
ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่ประธาน
ความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนให้ถือเสียงข้างมาก
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้ทำรายงานการสอบสวนตามวรรคหนึ่ง
และเสนอสำนวนการสอบสวนต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้วจึงจะถือว่าได้สอบสวนเสร็จ
ข้อ ๒๕
ในระหว่างการสอบสวน แม้จะมีการโอน และแต่งตั้งผู้ถูกกล่าวหาไปดำรงตำแหน่งนอกบังคับบัญชาของผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ก็ให้คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนต่อไปจนเสร็จ
แล้วทำรายงานการสอบสวนและเสนอสำนวนการสอบสวนต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาส่งไปให้ผู้บังคับบัญชาคนใหม่ของผู้ถูกกล่าวหา
ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ พิจารณาดำเนินการต่อไป
ข้อ ๒๖
เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้เสนอสำนวนสอบสวนแล้ว ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
หรือผู้บังคับบัญชาตามข้อ ๒๕ แล้วแต่กรณี พิจารณาสั่งการให้เสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับสำนวนการสอบสวนนั้น
ถ้ายังพิจารณาสั่งการไม่เสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว
ให้ขยายเวลาได้หนึ่งครั้งเป็นเวลาไม่เกินสิบห้าวัน และให้เร่งพิจารณาสั่งการให้เสร็จภายในเวลาดังกล่าว
ถ้าขยายเวลาแล้วยังพิจารณาสั่งการไม่เสร็จ ให้รายงานเหตุที่ทำให้พิจารณาสั่งการไม่เสร็จนั้นต่อผู้บังคับบัญชาตามมาตรา
๒๘ ของผู้ถูกกล่าวหาระดับเหนือขึ้นไปภายในสามวัน
นับแต่วันครบกำหนดเวลาที่ได้ขยายนั้น และให้ผู้บังคับบัญชาที่ได้รับรายงานนั้น ติดตามเร่งรัดการพิจารณาให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
ข้อ ๒๗
ในกรณีที่ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหรือผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓
หรือมาตรา ๕๘ วรรคสาม แล้วแต่กรณี เห็นสมควรให้สอบสวนเพิ่มเติมประการใด ก็ให้กำหนดประเด็นพร้อมทั้งส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องไปให้ประธานกรรมการเพื่อดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น
เมื่อประธานกรรมการได้รับเรื่องที่จะต้องสอบสวนเพิ่มเติมแล้ว
ให้บันทึกวันรับเรื่องนี้ไว้ในสำนวน
ในกรณีที่จะต้องสอบสวนเพิ่มเติมนี้
ให้คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติมให้เสร็จภายในสิบห้าวัน
นับแต่วันที่ประธานกรรมการได้รับเรื่องที่จะต้องสอบสวนเพิ่มเติม
และเมื่อสอบสวนเสร็จแล้วให้ส่งพยานหลักฐานที่ได้จากการสอบสวนเพิ่มเติมไปให้ผู้สั่งสอบสวนโดยไม่ต้องทำความเห็น
ข้อ ๒๘
ในกรณีที่ปรากฏว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน หรือการสอบสวนตอนใดทำไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามกฎ
ก.ร. นี้ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญอันจะทำให้เสียความเป็นธรรม
ไม่ทำให้สำนวนการสอบสวนทั้งหมดเสียไป ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ หรือมาตรา ๕๘ วรรคสาม
แล้วแต่กรณี จะสั่งให้แก้ไขหรือดำเนินการเสียใหม่เฉพาะตอนที่ไม่ถูกต้องนั้นก็ได้
ข้อ ๒๙
การนับเวลาตามกฎ ก.ร. นี้ สำหรับเวลาเริ่มต้นให้นับวันถัดจากวันแรกแห่งเวลานั้นเป็นวันเริ่มนับเวลา
แต่ถ้าเป็นกรณีขยายเวลาให้นับวันต่อจากวันสุดท้ายแห่งเวลาเดิมเป็นวันเริ่มเวลาที่ขยายออกไป
ส่วนเวลาสุดสิ้นนั้น ถ้าวันสุดท้ายแห่งเวลาตรงกับวันหยุดราชการให้นับวันเริ่มเปิดราชการใหม่เป็นวันสุดท้ายแห่งเวลา
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๑
วันมูหะมัดนอร์ มะทา
ประธานรัฐสภา
ประธาน ก.ร.
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร.ฉบับนี้ คือ
โดยเห็นเป็นการสมควรปรับปรุงกฎ ก.ร. ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๒๐)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา โดยเพิ่มกรณีถูกกล่าวหาหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการบกพร่องในหน้าที่ราชการ
หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามมาตรา ๔๖ ทวิ
เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๕ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ประภาศรี/ผู้จัดทำ
๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๙๔ ก/หน้า ๘/๑๔ ธันวาคม ๒๕๔๑ |
323464 | กฎ ก.ร. ฉบับที่ 26 (พ.ศ. 2544) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ว่าด้วยกรณีที่อาจร้องทุกข์ การร้องทุกข์ และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ ขอให้แก้ไขหรือแก้ความคับข้องใจ | กฎ ก
กฎ ก.ร.
ฉบับที่ ๒๖ (พ.ศ. ๒๕๔๔)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ว่าด้วยกรณีที่อาจร้องทุกข์ การร้องทุกข์ และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์
ขอให้แก้ไขหรือแก้ความคับข้องใจ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ และมาตรา ๖๐ ตรี
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาพ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๕ ก.ร. ออกกฎ ก.ร. ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.ร.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ กรณีที่อาจร้องทุกข์
การร้องทุกข์ และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาต่อตน
ให้เป็นไปตามกรณีและหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร. นี้
ข้อ ๓ ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาอาจร้องทุกข์ได้ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาปฏิบัติต่อตน
ดังนี้
(๑)
บริหารงานบุคคลโดยเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม เพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด
เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม
ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อกฎหมาย
(๒) ไม่มอบหมายงานให้ปฏิบัติ หรือ
(๓)
ประวิงเวลาหรือหน่วงเหนี่ยวการดำเนินการบางเรื่องเป็นเหตุให้เสียสิทธิหรือไม่ได้รับสิทธิประโยชน์อันพึงมีพึงได้ในเวลาอันสมควร
ข้อ ๔ เมื่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาต่อตนในกรณีที่กำหนดไว้ตามข้อ
๓ ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชานั้นจะร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุให้เกิดความคับข้องใจก็ได้
หรือถ้าผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาไม่ประสงค์จะร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาดังกล่าว
อาจร้องทุกข์โดยตรงต่อ ก.ร. ทั้งนี้
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบเรื่องอันเป็นเหตุให้ร้องทุกข์
ข้อ ๕ ในกรณีที่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาซึ่งมีความคับข้องใจได้ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุให้เกิดความคับข้องใจ
ให้ผู้บังคับบัญชาจัดให้มีการปรึกษาหารือหรือแก้ไขความคับข้องใจนั้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการร้องทุกข์
ถ้าผู้บังคับบัญชามิได้ดำเนินการใด ๆ หรือดำเนินการแล้วแต่ไม่เป็นที่พอใจ
ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาอาจร้องทุกข์ต่อ ก.ร. ต่อไปได้อีกภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาสามสิบวันดังกล่าว
ข้อ ๖ การร้องทุกข์ขอให้แก้ไขหรือแก้ความคับข้องใจ
จะต้องร้องทุกข์ด้วยตนเอง
การร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุให้เกิดความคับข้องใจจะกระทำด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือก็ได้
คำร้องทุกข์ในกรณีที่ร้องทุกข์ต่อ
ก.ร. ต้องทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อและตำแหน่งของผู้ร้องทุกข์และต้องมีสาระสำคัญที่แสดงข้อเท็จจริงและปัญหาของเรื่องให้เห็นว่า
ผู้บังคับบัญชาปฏิบัติต่อตนทำให้เกิดความคับข้องใจอย่างไร
และความประสงค์ของการร้องทุกข์
ถ้าผู้ร้องทุกข์ประสงค์จะแถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นพิจารณาของ
ก.ร. ให้แจ้งไว้ในหนังสือร้องทุกข์หรือจะทำเป็นหนังสือต่างหากก็ได้แต่ต้องยื่นหรือส่งก่อนที่
ก.ร. เริ่มพิจารณาเรื่องร้องทุกข์โดยยื่นหรือส่งตรงต่อ ก.ร.
ข้อ ๗ เพื่อประโยชน์ในการนับระยะเวลาร้องทุกข์
(๑)
ในกรณีที่เหตุร้องทุกข์เกิดจากการที่ผู้บังคับบัญชามีคำสั่งเป็นหนังสือต่อ
ผู้ร้องทุกข์ให้ถือวันที่ผู้ถูกสั่งลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งเป็นวันทราบเรื่องอันเป็นเหตุให้ร้องทุกข์
ถ้าผู้ถูกสั่งไม่ยอมลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่ง
และมีการแจ้งคำสั่งให้ผู้ถูกสั่งทราบกับมอบสำเนาคำสั่งให้ผู้ถูกสั่ง แล้วทำบันทึกลงวันเดือนปี
เวลา และสถานที่ที่แจ้งและลงลายมือชื่อผู้แจ้งพร้อมทั้งพยานรู้เห็นไว้เป็นหลักฐานแล้ว
ให้ถือวันที่แจ้งนั้นเป็นวันทราบเรื่องอันเป็นเหตุให้ร้องทุกข์
ถ้าไม่อาจแจ้งให้ผู้ถูกสั่งลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งได้โดยตรง
และได้แจ้งเป็นหนังสือส่งสำเนาคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูกสั่ง ณ
ที่อยู่ของผู้ถูกสั่ง ซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ
โดยส่งสำเนาคำสั่งไปให้สองฉบับเพื่อให้ผู้ถูกสั่งเก็บไว้หนึ่งฉบับ และให้ผู้ถูกสั่งลงลายมือชื่อและวันเดือนปีที่รับทราบคำสั่งส่งกลับคืนมาเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานหนึ่งฉบับ
ในกรณีเช่นนี้
เมื่อล่วงพ้นสามสิบวันนับแต่วันที่ปรากฏในใบตอบรับทางไปรษณีย์ลงทะเบียนว่าผู้ถูกสั่งได้รับเอกสารดังกล่าวหรือมีผู้รับแทนแล้ว
แม้ยังไม่ได้รับสำเนาคำสั่งฉบับที่ให้ผู้ถูกสั่งลงลายมือชื่อและวันเดือนปีที่รับทราบคำสั่งกลับคืนมาให้ถือว่าผู้ถูกสั่งได้รับทราบคำสั่งแล้ว
(๒)
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาไม่มีคำสั่งเป็นหนังสือต่อผู้ร้องทุกข์โดยตรง
ให้ถือวันที่มีหลักฐานยืนยันว่าผู้ร้องทุกข์รับทราบหรือควรได้ทราบคำสั่งนั้นเป็นวันทราบเรื่องอันเป็นเหตุให้
ร้องทุกข์
(๓)
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์โดยไม่ได้มีคำสั่งอย่างใด
ให้ถือวันที่ผู้ร้องทุกข์ควรได้ทราบถึงการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาดังกล่าวเป็นวันทราบเรื่องอันเป็นเหตุให้ร้องทุกข์
ข้อ ๘ การร้องทุกข์ต่อ
ก.ร. ให้ทำหนังสือร้องทุกข์ถึงประธาน ก.ร. หรือเลขานุการ ก.ร.
พร้อมกับสำเนารับรองถูกต้องหนึ่งฉบับ และยื่นที่สำนักงานเลขานุการ ก.ร.
ผู้ร้องทุกข์จะยื่นหรือส่งหนังสือร้องทุกข์พร้อมกับสำเนารับรองถูกต้องหนึ่งฉบับผ่านผู้บังคับบัญชาหรือผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุให้เกิดความคับข้องใจก็ได้
และให้ผู้บังคับบัญชานั้นดำเนินการตามข้อ ๑๒ วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี
ข้อ ๙ ในกรณีที่มีผู้นำหนังสือร้องทุกข์มายื่นเอง
ให้ผู้รับหนังสือร้องทุกข์ออกใบรับหนังสือประทับตรารับหนังสือ
และลงทะเบียนรับหนังสือไว้เป็นหลักฐานในวันที่รับหนังสือตามระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณ
และให้ถือวันที่รับหนังสือตามหลักฐานดังกล่าวเป็นวันยื่นหนังสือร้องทุกข์
ในกรณีที่ส่งหนังสือร้องทุกข์ทางไปรษณีย์
ให้ถือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางออกใบรับฝากเป็นหลักฐานฝากส่งหรือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางประทับตรารับที่ซองหนังสือเป็นวันส่งหนังสือร้องทุกข์
ข้อ ๑๐ เมื่อได้ยื่นหรือส่งหนังสือร้องทุกข์ไว้แล้ว
ผู้ร้องทุกข์จะยื่นหรือส่งหนังสือร้องทุกข์หรือเอกสารหลักฐานเพิ่มก่อนที่ ก.ร.
เริ่มพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ก็ได้ โดยยื่นหรือส่งตรงต่อ ก.ร.
ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์ไม่ประสงค์จะให้มีการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ต่อไปจะขอถอนเรื่องร้องทุกข์ก่อนที่
ก.ร. พิจารณาเรื่องร้องทุกข์เสร็จสิ้นก็ได้ โดยทำเป็นหนังสือยื่นหรือส่งตรงต่อ ก.ร.
เมื่อได้ถอนเรื่องร้องทุกข์แล้ว
การพิจารณาเรื่องร้องทุกข์นั้นให้เป็นอันระงับไป
ข้อ ๑๒ เมื่อได้รับหนังสือร้องทุกข์ตามข้อ ๘
วรรคหนึ่ง ให้สำนักงานเลขานุการ ก.ร. มีหนังสือแจ้งพร้อมทั้งส่งสำเนาหนังสือร้องทุกข์ให้ผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุให้เกิดความคับข้องใจทราบโดยเร็วและให้ผู้บังคับบัญชาผู้นั้นทำคำชี้แจง
และส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) ไปยังสำนักงานเลขานุการ ก.ร.
ภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้รับหนังสือร้องทุกข์ที่ได้ยื่นหรือส่งตามข้อ
๘ วรรคสอง ให้ผู้บังคับบัญชานั้นส่งหนังสือร้องทุกข์พร้อมทั้งสำเนาต่อไปยังผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุให้เกิดความคับข้องใจภายในสามวันทำการนับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องทุกข์
เมื่อผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุให้เกิดความคับข้องใจได้รับหนังสือร้องทุกข์ที่ได้ยื่นหรือส่งตามวรรคสองหรือข้อ
๘ วรรคสอง ให้ผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุให้เกิดความคับข้องใจนั้นจัดส่งคำชี้แจงของตนและเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(ถ้ามี) ไปยังสำนักงานเลขานุการ ก.ร. ภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันได้รับหนังสือร้องทุกข์
ข้อ ๑๓ การพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ให้
ก.ร. พิจารณาจากเรื่องราวการปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์ของผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุให้เกิดความคับข้องใจ
ในกรณีจำเป็นและสมควรอาจขอเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
รวมทั้งคำชี้แจงจากหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ หรือบุคคลใดหรือขอให้ผู้แทนหน่วยราชการ
รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ หรือบุคคลใดมาให้ถ้อยคำหรือชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการพิจารณาได้
ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์ขอแถลงการณ์ด้วยวาจา
หาก ก.ร. พิจารณาเห็นว่าการแถลงการณ์ด้วยวาจาไม่จำเป็นแก่การพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์จะให้งดการแถลงการณ์ด้วยวาจาเสียก็ได้
ข้อ ๑๔ การพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
ถ้า ก.ร. เห็นว่า
(๑)
การปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาต่อผู้ร้องทุกข์มิได้มีลักษณะตามที่กำหนดในข้อ ๓ ให้มีมติยกคำร้องทุกข์
(๒)
การปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาต่อผู้ร้องทุกข์มีลักษณะที่กำหนดในข้อ ๓ ให้มีมติให้แก้ไขหรือถ้าแก้ไขไม่ได้
ให้สั่งดำเนินการประการอื่นหรือให้ข้อแนะนำตามที่เห็นสมควรเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุให้เกิดความคับข้องใจปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบและแบบธรรมเนียมของทางราชการ
การพิจารณามีมติตามวรรคหนึ่ง
ให้บันทึกเหตุผลของการพิจารณาวินิจฉัยไว้ในรายงานการประชุมด้วย
ข้อ ๑๕ เมื่อ ก.ร.
ได้พิจารณาวินิจฉัยและมีมติตามข้อ ๑๔ เป็นประการใดแล้ว ให้เลขานุการ ก.ร.
แจ้งให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เลขาธิการวุฒิสภา
หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามมาตรา ๖ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ แล้วแต่กรณี สั่งผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุให้เกิดความคับข้องใจให้ปฏิบัติให้เป็นไปตามมตินั้น
และเมื่อได้สั่งหรือปฏิบัติตามมติดังกล่าวแล้ว ให้แจ้งให้ผู้ร้องทุกข์ทราบเป็นหนังสือโดยเร็ว
มติของ ก.ร. ให้เป็นที่สุด
ข้อ ๑๖ การนับระยะเวลาตามกฎ ก.ร. นี้
สำหรับเวลาเริ่มต้นให้นับวันถัดจากวันแรกแห่งเวลานั้นเป็นวันเริ่มนับระยะเวลา
ส่วนเวลาสิ้นสุด ถ้าวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาตรงกับวันหยุดราชการ
ให้นับวันเริ่มเปิดราชการใหม่เป็นวันสุดท้ายแห่งเวลา
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๔
อุทัย พิมพ์ใจชน
ประธานรัฐสภา
ประธาน ก.ร.
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร. ฉบับนี้ คือ
เนื่องจากมาตรา ๖๐ ตรี แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๕ บัญญัติให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญ ซึ่งมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาต่อตนในกรณีตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร. อาจร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชา หรือ ก.ร. แล้วแต่กรณี
ตามที่กำหนดไว้เพื่อขอให้แก้ไขหรือแก้ความคับข้องใจได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ
ก.ร. จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.ร. นี้
ประภาศรี/ผู้จัดทำ
๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนที่ ๒๔
ก/หน้า ๑/๑๙ เมษายน ๒๕๔๔ |
311502 | กฎ ก.ร. ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2520) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา | ตราครุฑ
ตราครุฑ
กฎ ก.ร.
ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๒๐)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ
ฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ (๓)
และมาตรา ๕๓ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ก.ร.
ออกกฎ ก.ร. ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฎ ก.ร.
นี้ให้ใช้บังคับแก่สำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสังกัดรัฐสภา
ข้อ ๒ หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณา
ระยะเวลาสอบสวน พิจารณาและสั่งลงโทษ การสั่งสอบสวน การมอบหมายให้สอบสวน การตั้งกรรมการสอบสวน
ตลอดจนการส่งประเด็นไปสอบสวนพยานบุคคล ซึ่งอยู่ต่างท้องที่การรวบรวมพยานหลักฐานและกิจการอื่น
ๆ เพื่อให้ได้ความจริงและยุติธรรมแก่ข้อราชการรัฐสภาสามัญ
ผู้ถูกกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามกฎ ก.ร.
ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๐) ออกตามความในมาตรา ๕๓ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร.นี้
ข้อ ๓ การตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ให้ตั้งจากข้าราชการที่เห็นสมควร โดยตั้งประธานกรรมการ
และกรรมการมีจำนวนรวมกันไม่น้อยกว่าสามคน และจะให้มีเลขานุการด้วยก็ได้
ประธานกรรมการต้องดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่า
หรือดำรงตำแหน่งระดับไม่ต่ำกว่าผู้ถูกกล่าวหา
ข้อ ๔ คำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ให้ทำเป็นหนังสือตามแบบคำสั่งของทางราชการระบุชื่อและตำแหน่งของผู้ถูกกล่าวหา
และเรื่องที่ถูกกล่าวหา ตลอดจนชื่อและตำแหน่งของผู้ได้รับตั้งเป็นคณะกรรมการสอบสวน
ข้อ ๕ เมื่อได้มีคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว
ให้ผู้สั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบพร้อมทั้งสำเนาคำสั่งให้ด้วยโดยพลัน
แต่ถ้าไม่อาจแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบได้ ให้ปิดสำเนาคำสั่งไว้ ณ
ที่ทำการของผู้ถูกกล่าวหา และแจ้งโดยหนังสือส่งสำเนาคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปให้
ณ ที่อยู่ของผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการด้วย
เมื่อได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว
ให้ผู้สั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการส่งเรื่องกล่าวหาทั้งหมด
พร้อมทั้งสำเนาคำสั่งตั้งคณะกรรมการการสอบสวน
และหลักฐานการแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนไปให้ประธานกรรมการ
เพื่อแจ้งให้กรรมการทราบและทำการสอบสวนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
ประธานกรรมการทราบคำสั่งวันใดให้บันทึกไว้ในสำนวนด้วย
ข้อ ๖ ผู้ถูกกล่าวหาอาจคัดค้านกรรมการ
หรือเลขานุการในคณะกรรมการการสอบสวนที่มีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ได้
(๑) เป็นผู้ที่ได้รู้เห็นเหตุการณ์ในเรื่องที่สอบสวน
(๒) เป็นผู้มีประโยชน์ได้เสียในเรื่องที่สอบสวน
(๓) เป็นผู้มีเหตุโกรธเคืองกับผู้ถูกกล่าวหา
(๔) เป็นญาติโดยเกี่ยวข้องเป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดัน
หรือพี่น้องร่วมบิดาหรือมารดากับคู่กรณี
การคัดค้าน
ให้คัดค้านต่อผู้สั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยทำเป็นหนังสือ
แสดงเหตุที่คัดค้านนั้นยื่นต่อประธานกรรมการภายในเจ็ดวัน นับแต่วันทราบคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
เมื่อได้รับหนังสือคัดค้านแล้ว
ให้ประธานกรรมการส่งหนังสือคัดค้านนั้นไปยังผู้สั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาสั่งการโดยด่วน
ถ้าผู้สั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาเห็นว่าการคัดค้านนั้นมีเหตุอันควรฟังได้ก็ให้สั่งเปลี่ยนกรรมการ
หรือเลขานุการที่ถูกคัดค้าน แต่ถ้าเห็นว่าการคัดค้านนั้นไม่มีเหตุอันควรรับฟัง
หรือเห็นว่าแม้จะให้ผู้ถูกคัดค้านนั้นร่วมเป็นคณะกรรมการสอบสวน
ก็ไม่ทำให้เสียความเป็นธรรมจะสั่งยกคำคัดค้านนั้นเสียก็ได้
แล้วแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาที่คัดค้านทราบ และส่งเรื่องให้คณะกรรมการสอบสวนรวมสำนวนไว้
ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาคัดค้านกรรมการ
หรือเลขานุการในคณะกรรมการสอบสวน และผู้สั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนยังมิได้สั่งการตามวรรคสาม
ห้ามมิให้ผู้ที่ถูกคัดค้านนั้นร่วมในการสอบสวน
ข้อ ๗ กรรมการ
หรือเลขานุการคนใดในคณะกรรมการสอบสวนมีเหตุอันอาจถูกคัดค้าน ตามข้อ ๖ วรรคหนึ่ง
ให้ผู้นั้นรายงานต่อผู้สั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน กรณีเช่นนี้ให้นำข้อ ๖ วรรคสอง
วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๘ เมื่อได้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ถ้าผู้สั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่า มีเหตุอันควร
หรือจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนตัวกรรมการ หรือเลขานุการคนใดในคณะกรรมการสอบสวน
หรือเปลี่ยนทั้งคณะ หรือตั้งเพิ่มขึ้นหรือลดให้น้อยลง ก็ให้ดำเนินการได้ ทั้งนี้
ให้นำข้อ ๓ ข้อ ๔ และข้อ ๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับคณะกรรมการสอบสวนตามวรรคหนึ่ง
ไม่กระทบกระเทือนการสอบสวนที่ได้ดำเนินการไปแล้ว
ข้อ ๙ คณะกรรมการสอบสวนมีหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐาน
เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่าง ๆ อันเกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวหา
เอกสารที่ใช้เป็นพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนให้ใช้ต้นฉบับที่แท้จริง
แต่ถ้ามีความจำเป็นไม่อาจนำต้นฉบับมาได้จะใช้สำเนาที่กรรมการหรือเลขานุการในคณะกรรมการสอบสวนหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบรับรองว่าเป็นสำเนาที่ถูกต้องก็ได้
ข้อ ๑๐ ให้คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประธานกรรมการได้รับทราบคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ถ้ามีความจำเป็นซึ่งจะสอบสวนให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าวไม่ได้ ก็ให้คณะกรรมการสอบสวนขยายเวลาสอบสวนได้อีกสองครั้ง
แต่ละครั้งเป็นเวลาไม่เกินสิบห้าวัน
โดยให้คณะกรรมการสอบสวนบันทึกแสดงเหตุความจำเป็นที่ต้องขยายเวลาทุกครั้งไว้ในสำนวนด้วย
ในกรณีที่ได้ขยายเวลาการสอบสวนสองครั้ง
ตามวรรคหนึ่งแล้ว ยังสอบสวนไม่แล้วเสร็จ
ให้คณะกรรมการสอบสวนเร่งทำการสอบสวนต่อไปให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
แต่ทั้งนี้ให้รายงานเหตุที่ทำให้การสอบสวนไม่แล้วเสร็จต่อผู้สั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนภายในสามวันนับแต่วันครบกำหนดเวลาที่ได้ขยายครั้งสุดท้าย
และต่อไปทุกสิบห้าวัน และให้ผู้สั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนติดตามเร่งรัดการสอบสวนให้แล้วเสร็จโดยเร็วด้วย
ข้อ ๑๑ ในการสอบสวนปากคำบุคคล
ต้องมีกรรมการนั่งสอบสวนอย่างน้อยสองคน จึงจะเป็นองค์คณะทำการสอบสวนได้
ข้อ ๑๒ ในการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนห้ามมิให้บุคคลอื่นมาร่วมทำการสอบสวน
ในการสอบสวน
ห้ามมิให้บุคคลอื่นนอกจากผู้กำลังถูกสอบสวนปากคำอยู่เจ้าฟังการสอบสวน
เว้นแต่บุคคลที่คณะกรรมการสอบสวนเรียกมาเพื่อประโยชน์ในการสอบสวน
การสอบสวนปากบุคคล
ให้บันทึกถ้อยคำเป็นหนังสือแสดงชื่อ ที่อยู่ อายุ อาชีพ สัญชาติ
และศาสนาของผู้ให้ถ้อยคำและชื่อของกรรมการผู้นั่งสอบสวนทุกคนไว้ด้วย
เมื่อได้สอบสวนบันทึกถ้อยคำเสร็จแล้ว ให้อ่านให้ผู้ให้ถ้อยคำฟัง หรือจะให้ผู้ให้ถ้อยคำอ่านเองก็ได้
เมื่อรับว่าถูกต้องแล้ว ก็ให้ผู้ให้ถ้อยคำและกรรมการผู้นั่งสอบสวนทุกคนลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานท้ายบันทึกถ้อยคำนั้น
กรรมการผู้ใดมิได้ร่วมนั่งสอบสวนด้วย ห้ามมิให้ลงลายมือชื่อในบันทึกถ้อยคำนั้น
ถ้าบันทึกถ้อยคำมีหลายแผ่น ให้ผู้ให้ถ้อยคำกับกรรมการผู้นั่งสอบสวนอย่างน้อยหนึ่งคนลงลายมือชื่อไว้ทุกแผ่นด้วย
ในกรณีที่ผู้ให้ถ้อยคำไม่ยอมลงลายมือชื่อ ก็ให้บันทึกเหตุนั้นไว้ในบันทึกถ้อยคำนั้น
ในการบันทึกถ้อยคำ ห้ามมิให้ขูดลบ
หรือบันทึกข้อความทับ ถ้าจะต้องแก้ไขข้อความที่ได้บันทึกไว้แล้ว ให้ใช้วิธีขีดฆ่าหรือตกเติมและให้ผู้ให้ถ้อยคำกับกรรมการผู้นั่งสอบสวนอย่างน้อยหนึ่งคนลงลายมือชื่อกำกับไว้ทุกแห่งที่ขีดฆ่า
หรือตกเติม
ในกรณีที่ผู้ให้ถ้อยคำไม่สามารถลงลายมือชื่อได้
ให้นำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๓ เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้รับเรื่องที่กล่าวหาทั้งหมดตามข้อ๕
แล้วให้คณะกรรมการสอบสวนแจ้ง และอธิบายข้อกล่าวหาที่ปรากฏตามเรื่องที่กล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
รวมทั้งแจ้งให้ทราบด้วยว่า ในการสอบสวนนี้ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิที่จะได้รับแจ้งสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาและให้ถ้อยคำหรือชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา
ตลอดจนอ้างพยานหลักฐาน หรือนำพยานหลักฐานมาสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ด้วยแล้วให้ถามผู้ถูกกล่าวหาเพียงว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่อย่างไร
ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาให้ถ้อยคำรับสารภาพว่าได้กระทำผิดจริงตามข้อกล่าวหา
คณะกรรมการสอบสวนจะไม่ทำการสอบสวนต่อไปก็ได้ หรือถ้าเห็นเป็นการสมควรที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์อันเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวนนั้นโดยละเอียด
จะทำการสอบสวนต่อไปตามควรแก่กรณีก็ได้
ในกรณีที่ได้ถามผู้ถูกกล่าวหาตามวรรคหนึ่งแล้ว
ผู้ถูกกล่าวหามิได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพ ให้คณะกรรมการสอบสวนเริ่มทำการสอบสวน
โดยรวบรวมพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาทั้งหมดเสียก่อน แล้วสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
โดยจะระบุ หรือไม่ระบุชื่อพยานก็ได้ และให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาที่จะให้ถ้อยคำ
หรือชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ตลอดจนนำพยานหลักฐานมาสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ภายในเวลาอันสมควร
การนำสืบแก้ข้อกล่าวหา
ผู้ถูกกล่าวหาจะนำพยานหลักฐานมาเอง หรือจะอ้างพยานหลักฐาน
โดยขอให้คณะกรรมการสอบสวนเรียกพยานหลักฐานนั้นมาก็ได้
เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้ดำเนินการตามข้อนี้แล้ว
ให้คณะกรรมการสอบสวนบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ ๑๔ ในการชี้แจงข้อกล่าวหา
ผู้ถูกกล่าวหาจะให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการสอบสวนหรือทำคำชี้แจงเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้ถูกกล่าวหายื่นต่อคณะกรรมการสอบสวนก็ได้
ก่อนการสอบสวนเสร็จ
ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งได้ให้ถ้อยคำ หรือยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาไว้แล้ว
จะขอให้ถ้อยคำเพิ่มเติม หรือยื่นคำชี้แจงเพิ่มเติม
หรือนำสืบแก้ข้อกล่าวหาเพิ่มเติมต่อคณะกรรมการสอบสวนอีกก็ได้
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่มาให้ถ้อยคำ
หรือไม่ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายในเวลาที่คณะกรรมการสอบสวนได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้าตามสมควรแล้ว
และโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร คณะกรรมการสอบสวนจะดำเนินการสอบสวนไป
โดยไม่สอบสวนตัวผู้ถูกกล่าวหาก็ได้ แต่ต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ในสำนวนการสอบสวน
ในกรณีเช่นนี้ถ้าภายหลังผู้ถูกกล่าวหามาขอให้ถ้อยคำ หรือยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาก่อนสอบสวนเสร็จ
ก็ให้คณะกรรมการสอบสวนให้โอกาสแก่ผู้ถูกกล่าวหา
ข้อ ๑๖ ถ้าผู้ถูกกล่าวหายื่นคำชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวนต่อคณะกรรมการสอบสวน
หรือต่อผู้มีอำนาจพิจารณาในเวลาใด ๆ ก่อนมีคำสั่งลงโทษหรือไม่ลงโทษ
ให้คณะกรรมการสอบสวนหรือผู้มีอำนาจพิจารณานั้นรับคำชี้แจงสำนวนไว้พิจารณาด้วย
ข้อ ๑๗ ในกรณีที่พยานไม่มา หรือไม่ยอมให้ถ้อยคำ
หรือคณะกรรมการสอบสวนเรียกพยานไม่ได้ภายในเวลาอันสมควรคณะกรรมการสอบสวนจะไม่สอบสวนพยานนั้นก็ได้
แต่ต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ในสำนวนการสอบสวนด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่ามีเหตุผลสมควรที่พยานไม่สามารถมาได้ตามกำหนด
หรือได้ตัวพยานมาให้ถ้อยคำก่อนการสอบสวนพยานสิ้นสุดลง ก็ให้ผ่อนผันได้ตามควรแก่กรณี
ข้อ ๑๘ ในกรณีที่คณะกรรมการการสอบสวนเห็นว่า
การสอบสวนพยานหลักฐานใดจะทำให้การสอบสวนล่าช้าโดยไม่จำเป็น
หรือมิใช่เป็นพยานหลักฐานในประเด็นสำคัญ
คณะกรรมการสอบสวนจะงดการสอบสวนพยานหลักฐานนั้นเสียก็ได้แต่ต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ในสำนวนการสอบสวน
ข้อ ๑๙ ในกรณีที่จะต้องสอบสวนพยานซึ่งอยู่ต่างท้องที่คณะกรรมการสอบสวนจะส่งประเด็นไปสอบสวนโดยมอบหมายให้หัวหน้าหน่วยราชการ
หรือหัวหน้าส่วนราชการในท้องที่นั้นทำการสอบสวนพยานนั้นก็ได้
ข้อ ๒๐ ในกรณีที่การสอบสวนปรากฏกรณีมีมูลว่า
ผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในเรื่องอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ให้ประธานกรรมการรายงานไปยังผู้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยไม่ชักช้าถ้าผู้สั่งคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่า
ควรให้คณะกรรมการสอบสวนที่ได้ตั้งไว้แล้วทำการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหาในเรื่องอื่นที่เพิ่มขึ้นนั้นด้วย
ก็ให้ทำเป็นคำสั่งเพิ่มเติมขึ้น และให้นำข้อ ๔ ข้อ ๕ และข้อ ๑๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีเช่นนี้ให้คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนรวมเป็นสำนวนเดียวกันได้
แต่ถ้าผู้สั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่า ควรตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นใหม่
เพื่อทำการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหาในเรื่องที่ปรากฏเพิ่มขึ้นนั้น
ก็ให้เป็นไปตามที่ผู้สั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนจะสั่ง
ข้อ ๒๑ ในกรณีที่การสอบสวนปรากฏกรณีมีมูลพาดพิงไปถึงข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้อื่นที่มิได้ระบุตัวเป็นผู้ถูกกล่าวหาตามคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ว่ามีส่วนร่วมกระทำผิดในเรื่องที่สอบสวนนั้นด้วย ให้ประธานกรรมการรายงานไปยังผู้สั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
เพื่อดำเนินการตามควรแก่กรณีโดยไม่ชักช้า
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้มีอำนาจตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่า ควรให้คณะกรรมการสอบสวนที่ได้มีการตั้งไว้แล้ว
ทำการสอบสวนผู้ที่มีส่วนร่วมกระทำผิดนั้นด้วย ก็ให้ดำเนินการตามข้อ ๔ และข้อ ๕
โดยอนุโลม ในกรณีเช่นนี้ให้ใช้พยานหลักฐานที่ได้ทำการสอบสวนมาแล้วประกอบการพิจารณาของผู้มีส่วนร่วมกระทำผิดนั้นได้เท่าที่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าไม่ทำให้เสียความเป็นธรรม
และให้คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนรวมเป็นสำนวนเดียวกันได้
ในกรณีที่ผู้มีอำนาจตั้งคณะกรรมการสอบสวนได้สั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนคณะใหม่เพื่อทำการสอบสวนผู้ที่มีส่วนร่วมกระทำผิด
ให้ใช้พยานหลักฐานที่คณะกรรมการสอบสวนเดิมได้ทำการสอบสวนมาแล้วประกอบการพิจารณาได้เท่าที่คณะกรรมการสอบสวนที่ตั้งขึ้นใหม่เห็นว่าไม่ทำให้เสียความเป็นธรรม
ข้อ ๒๒ ในกรณีที่คำพิพากษาถึงที่สุดชี้ขาดเกี่ยวกับผู้ถูกกล่าวหาคนใดว่า
กระทำผิดในเรื่องที่สอบสวน ถ้าคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำพิพากษาของศาลได้ความประจักษ์ชัดอยู่แล้ว
เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามข้อ ๑๓ วรรคสาม
คณะกรรมการสอบสวนจะถือเอาคำพิพากษานั้นเป็นพยานหลักฐานโดยไม่สอบสวนพยานหลักฐานอย่างอื่นที่สนับสนุนข้อกล่าวหาก็ได้
และถ้าผู้ถูกกล่าวหาไม่ติดใจจะนำสืบแก้ข้อกล่าวหา คณะกรรมการสอบสวนจะฟังข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำพิพากษานั้นโดยไม่ทำการสอบสวนพยานก็ได้
ข้อ ๒๓ เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้ทำการรวบรวมพยานหลักฐานต่าง
ๆ เสร็จแล้ว ให้คณะกรรมการสอบสวนประชุมปรึกษาเพื่อทำรายงานการสอบสวนเสนอต่อผู้สั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
โดยสรุปข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานต่าง ๆ พร้อมทั้งแสดงความเห็นว่า
ผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดวินัยอย่างไรหรือไม่ โดยอาศัยพยานหลักฐานและเหตุผลอย่างไรถ้ากระทำผิดเป็นความผิดตามกฎ
ก.ร.ฉบับใด ข้อใด และควรได้รับโทษสถานใด หากกรรมการสอบสวนคนใดมีความเห็นแย้ง ให้ทำให้ทำความเห็นแย้งติดไว้กับงานการสอบสวนด้วยรายงานการสอบสวนเป็นส่วนหนึ่งของสำนักการสอบสวน
และให้คณะกรรมการสอบสวนทำสารบาญสำนวนการสอบสวนติดสำนวนไว้ด้วย
ในการประชุมปรึกษาของคณะกรรมการสอบสวน
ต้องมีกรรมการประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
และไม่น้อยกว่าสามคน จึงจะเป็นองค์คณะทำการประชุมปรึกษา
ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนให้ถือเสียงข้างมาก
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้ทำรายงานการสอบสวนตามวรรคหนึ่ง
และเสนอสำนวนการสอบสวนต่อผู้สั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว จึงจะถือว่าได้สอบสวนเสร็จ
ข้อ ๒๔ ในระหว่างการสอบสวน
แม้จะมีการย้าย โอนหรือแต่งตั้งผู้ถูกกล่าวหาไปดำรงตำแหน่งนอกบังคับบัญชาของผู้สั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนก็ให้คณะกรรมการการสอบสวนทำการสอบสวนต่อไปจนเสร็จ
แล้วทำรายงานการสอบสวนและเสนอสำนวนการสอบสวนต่อผู้สั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาส่งไปให้ผู้บังคับบัญชาใหม่ของผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นผู้มีอำนาจตามมาตรา
๕๓ พิจารณาดำเนินการต่อไป
ข้อ ๒๕ เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้เสนอสำนวนสอบสวนแล้ว
ให้ผู้สั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหรือผู้บังคับบัญชาตามข้อ ๒๔ แล้วแต่กรณี
พิจารณาสั่งการให้เสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับสำนวนการสอบสวนนั้น ถ้ายังพิจารณาสั่งการไม่เสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว
ให้ขยายเวลาได้หนึ่งครั้งเป็นเวลาไม่เกินสิบห้าวัน
และให้เร่งพิจารณาสั่งการให้เสร็จภายในเวลาดังกล่าว
ถ้าขยายเวลาแล้วยังพิจารณาสั่งการไม่เสร็จ ให้รายงานเหตุที่ทำให้พิจารณาสั่งการไม่เสร็จนั้นต่อผู้บังคับบัญชาตามาตรา
๒๘ ของผู้ถูกกล่าวหาระดับเหนือขึ้นไปภายในสามวัน นับแต่วันครบกำหนดเวลาที่ได้ขยายนั้น
และให้ผู้บังคับบัญชาที่ได้รับรายงานนั้น ติดตามเร่งรัดการพิจารณาให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ผู้สั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหรือผู้มีอำนาจตามมาตรา
๕๓ หรือ มาตรา ๕๘ วรรคสาม แก้วแต่กรณีเห็นสมควรให้สอบสวนเพิ่มเติมประการใด
ก็ให้กำหนดประเด็นพร้อมทั้งส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องไปให้ประธานกรรมการเพื่อดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น
เมื่อประธานกรรมการได้รับเรื่องที่จะต้องสอบสวนเพิ่มเติมแล้ว
ให้บันทึกวันรับเรื่องนั้นไว้ในสำนวน
ในกรณีที่จะต้องสอบสวนเพิ่มเติมนั้น
ให้คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติมให้เสร็จภายในสิบห้าวัน
นับแต่วันที่ประธานกรรมการได้รับเรื่องที่จะต้องสอบสวนเพิ่มเติม
และให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการตามกฎ ก.ร. นี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ปรากฏว่าการตั้งคณะกรรมการสอบสวนหรือการสอบสวนตอนใดทำไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามกฎ
ก.ร. นี้ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญอันจะทำให้เสียความเป็นธรรม
ไม่ทำให้สำนวนการสอบสวนทั้งหมดเสียไป ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ หรือมาตรา ๕๘ วรรคสาม
แล้วแต่กรณี จะสั่งให้แก้ไขหรือดำเนินการเสียใหม่ เฉพาะตอนที่ไม่ถูกต้องนั้นก็ได้
ข้อ ๒๘ ในกรณีที่ผู้มีอำนาจตามมาตรา
๒๘ หรือมาตรา ๕๘ สอบสวนเองหรือมอบหมายให้ข้าราชการที่เห็นสมควรสอบสวนแทน
ให้สั่งสอบสวนและดำเนินการสอบสวนพิจารณาตามหลักเกณฑ์และวิธีการในกฎ ก.ร.
นี้โดยอนุโลม ทั้งนี้โดยยกเว้นข้อ ๓ ข้อ ๖ ข้อ ๗ และข้อ ๑๑
การมอบหมายให้สอบสวนตามวรรคหนึ่ง
ต้องมอบหมายให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่า
หรือดำรงตำแหน่งระดับไม่ต่ำกว่าผู้ถูกกล่าวหา
ข้อ ๒๙ การนับเวลาตามกฎ
ก.ร. นี้ สำหรับเวลาเริ่มต้นให้นับวันถัดจากวันแรกแห่งเวลานั้นเป็นวันเริ่มนับเวลา
แต่ถ้าเป็นกรณีขยายเวลาให้นับวันต่อจากวันสุดท้ายแห่งเวลาเดิมเป็นวันเริ่มเวลาที่ขยายออกไป
ส่วนเวลาสุดสิ้นนั้น ถ้าวันสุดท้ายแห่งเวลาตรงกับวันหยุดราชการ ให้นับวันเริ่มเปิดราชการใหม่เป็นวันสุดท้ายแห่งเวลา
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๐
พลอากาศเอก หะริน หงสกุล
ประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
ประธาน ก.ร.
ประภาศรี/ผู้จัดทำ
๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๔/ตอนที่ ๑๑/หน้า ๔๒/๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๐ |
666346 | ประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2555 | ประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา
เรื่อง
ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๖)
พ.ศ. ๒๕๕๕[๑]
โดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุพนักงานราชการตามคุณวุฒิการศึกษาของพนักงานราชการ
และกำหนดเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของพนักงานราชการ เพื่อให้พนักงานราชการมีรายได้เพียงพอตามภาวะเศรษฐกิจที่ปรับสูงขึ้น
จึงเห็นสมควรปรับปรุงอัตราค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๔ และข้อ ๑๖
ของระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘
ประกอบกับมาตรา ๑๕ (๕) และมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๕๔ คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภาจึงออกประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภาไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑
เมษายน ๒๕๕๔ เป็นต้นไป เว้นแต่ ข้อ ๕ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๔
จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ และข้อ ๓ ข้อ ๔ ข้อ ๖ และข้อ ๗ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ มกราคม ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ
๕ (๓) และ (๔) ของประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง
ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ ลงวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๔๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๓) กลุ่มงานบริหารทั่วไป ให้ใช้บัญชีอัตราค่าตอบแทนเป็นแบบช่วง
(ก)
ผู้ได้รับวุฒิปริญญาตรีที่มีหลักสูตรกำหนดระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า ๔ ปี ต่อจากวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๑๔,๐๒๐ บาท
(ข) ผู้ได้รับวุฒิปริญญาโททั่วไปหรือเทียบเท่า ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ
๑๘,๓๖๐ บาท
(ค) ผู้ได้รับวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า
ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๒๒,๘๐๐ บาท
(๔) กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ ให้ใช้บัญชีอัตราค่าตอบแทนเป็นแบบช่วง
(ก)
ผู้ได้รับวุฒิปริญญาตรีที่มีหลักสูตรกำหนดระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า ๔ ปี ต่อจากวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๑๕,๑๙๐ บาท
(ข)
ผู้ได้รับวุฒิปริญญาตรีที่มีหลักสูตรกำหนดระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า ๕ ปี ต่อจากวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายเฉพาะปริญญาที่
ก.ร. กำหนดให้ได้รับเงินเดือนตามหลักสูตร ๕ ปี ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๑๖,๒๓๐ บาท
(ค) ผู้ได้รับวุฒิปริญญาโททั่วไปหรือเทียบเท่า
ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๑๙,๘๙๐ บาท
(ง) ผู้ได้รับวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า
ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๒๔,๗๐๐ บาท
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ
กลุ่มงานบริการ และบัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานเทคนิค
ท้ายประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง
ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ ลงวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๔๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมครั้งสุดท้ายโดยประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง
ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๔
และให้ใช้บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานบริการ
และบัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานเทคนิค ท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๕ ให้พนักงานราชการซึ่งได้รับค่าตอบแทนไม่ถึงเดือนละหนึ่งหมื่นสองพันสองร้อยแปดสิบห้าบาท
ให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเดือนละหนึ่งพันห้าร้อยบาท
แต่เมื่อรวมกับค่าตอบแทนแล้ว
ต้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นสองพันสองร้อยแปดสิบห้าบาท
กรณีจำนวนค่าตอบแทนที่ได้รับตามวรรคหนึ่งรวมกันแล้วไม่ถึงเดือนละแปดพันหกร้อยสิบบาท
ให้พนักงานราชการนั้นได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นจากค่าตอบแทนอีกจนถึงเดือนละแปดพันหกร้อยสิบบาท
ข้อ ๖ ในกรณีที่การจ้างพนักงานราชการในตำแหน่งที่กำหนดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับกลุ่มงานตามที่คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภาประกาศกำหนด
และคุณสมบัติเฉพาะสำหรับกลุ่มงานนั้นต้องใช้วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป
ให้พนักงานราชการที่ได้รับการว่าจ้างในตำแหน่งดังกล่าวที่มีค่าตอบแทนไม่ถึงเดือนละหนึ่งหมื่นห้าพันบาท
ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นจากค่าตอบแทนอีกจนถึงเดือนละหนึ่งหมื่นห้าพันบาท
ข้อ ๗ ในกรณีที่การจ้างพนักงานราชการในตำแหน่งที่กำหนดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับกลุ่มงานตามที่คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภาประกาศกำหนด
และคุณสมบัติเฉพาะสำหรับกลุ่มงานนั้นต้องใช้วุฒิการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี
ให้พนักงานราชการที่ได้รับการว่าจ้างในตำแหน่งดังกล่าวที่มีอัตราค่าตอบแทนไม่ถึงเดือนละหนึ่งหมื่นสองพันสองร้อยแปดสิบห้าบาท
ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเดือนละหนึ่งพันห้าร้อยบาท
แต่เมื่อรวมกับค่าตอบแทนแล้วต้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นสองพันสองร้อยแปดสิบห้าบาท
กรณีที่พนักงานราชการได้รับการว่าจ้างในตำแหน่งที่มีอัตราค่าตอบแทนไม่ถึงเดือนละเก้าพันบาท
ให้พนักงานราชการผู้นั้นได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นจากค่าตอบแทนอีกจนถึงเดือนละเก้าพันบาท
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
สมศักดิ์
เกียรติสุรนนท์
ประธานรัฐสภา
ประธาน
ก.ร.
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานบริการ
๒. บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานเทคนิค
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๖ เมษายน ๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๖๙ ง/หน้า ๖๘/๒๓ เมษายน ๒๕๕๕ |
711451 | ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับ Update ณ วันที่ 21/06/2556) (ครั้งที่ 6) (ฉบับที่ 7) | ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ[๑]
เพื่อให้การบริหารค่าตอบแทนตามลักษณะงานและผลผลิตของงาน
และสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการมีความเหมาะสม สอดคล้องกับขนาดของงาน ขีดสมรรถนะ และการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ
คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภาจึงเห็นควรกำหนดค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๑๔ และข้อ ๑๕ วรรคสาม ของระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ก.ร.) จึงกำหนดค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการไว้ดังนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ
ข้อ
๒ ในประกาศนี้
พนักงานราชการ หมายความว่า พนักงานราชการตามระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘
ค่าตอบแทน หมายความว่า เงินเดือนซึ่งจ่ายให้แก่พนักงานราชการในการปฏิบัติงานให้แก่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
ตามอัตราที่กำหนดในประกาศนี้
ค่าตอบแทนพิเศษ หมายถึง เงินที่จ่ายเพิ่มให้กับพนักงานราชการ
เมื่อมีผลการประเมินการปฏิบัติงาน คุณภาพงาน และปริมาณงาน ในระดับดีเด่น
ข้อ
๓ หลักการกำหนดค่าตอบแทนของพนักงานราชการ
(๑)
หลักคุณภาพ เพื่อให้ได้บุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์เข้ามาปฏิบัติงานภายใต้ระบบสัญญาจ้าง
(๒)
หลักความยุติธรรม เพื่อให้เกิดความเสมอภาคในโอกาส ไม่เหลื่อมล้ำ และไม่เลือกปฏิบัติ
(๓)
หลักการจูงใจ การจ่ายค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ให้เพียงพอ โดยคำนึงถึงค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลง
ค่าตอบแทนในภาคเอกชน อัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญ และฐานะการคลังของประเทศ
(๔)
หลักความสามารถ อัตราค่าตอบแทนจะจ่ายตามความรู้ความสามารถ ขีดสมรรถนะและผลงานตามการประเมินผลการปฏิบัติงาน
ข้อ
๔ อัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการให้เป็นไปตามบัญชีแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ
๕ ให้พนักงานราชการได้รับค่าตอบแทนตามบัญชีกลุ่มงาน
ดังต่อไปนี้
(๑)
กลุ่มงานบริการ ให้ใช้บัญชีอัตราค่าตอบแทนเป็นแบบขั้น
(ก)
ผู้ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนต้นสายสามัญ (ม.ศ. ๓) หรือประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนต้น
(ม. ๓) หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ หรือประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม. ๖) ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนขั้นต่ำของบัญชี
(ข)
ผู้ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนขั้นที่ ๔ ของบัญชี
(ค)
ผู้ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนขั้นที่ ๖
ของบัญชี
(ง)
ผู้ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนขั้นที่
๘ ของบัญชี
(๒)
กลุ่มงานเทคนิค ให้ใช้บัญชีอัตราค่าตอบแทนเป็นแบบขั้น
(ก)
ผู้ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือในกรณีที่เป็นงานที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะของบุคคลซึ่งมิได้ผ่านการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาใดเป็นการเฉพาะ
จะต้องมีความรู้ความสามารถและทักษะในงานที่จะปฏิบัติไม่ต่ำกว่า ๕ ปี ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนขั้นต่ำของบัญชี
(ข)
ผู้ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนขั้นที่ ๓
ของบัญชี
(ค)
ผู้ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนขั้นที่
๕ ของบัญชี
(๓)[๒]
กลุ่มงานบริหารทั่วไป
ให้ใช้บัญชีอัตราค่าตอบแทนเป็นแบบช่วง
(ก)
ผู้ได้รับวุฒิปริญญาตรีที่มีหลักสูตรกำหนดระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า ๔ ปี ต่อจากวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๑๕,๙๖๐ บาท
(ข) ผู้ได้รับวุฒิปริญญาโททั่วไปหรือเทียบเท่า
ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๑๙,๖๘๐ บาท
(ค) ผู้ได้รับวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า
ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๒๔,๐๐๐ บาท
(๔)[๓]
กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ
ให้ใช้บัญชีอัตราค่าตอบแทนเป็นแบบช่วง
(ก) ผู้ได้รับวุฒิปริญญาตรีที่มีหลักสูตรกำหนดระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า
๔ ปีต่อจากวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๑๗,๒๙๐ บาท
(ข)
ผู้ได้รับวุฒิปริญญาตรีที่มีหลักสูตรกำหนดระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า ๕
ปีต่อจากวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายเฉพาะปริญญาที่ ก.ร. กำหนด
ให้ได้รับเงินเดือนตามหลักสูตร ๕ ปี ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๑๘,๓๓๐ บาท
(ค) ผู้ได้รับวุฒิปริญญาโททั่วไปหรือเทียบเท่า
ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๒๑,๓๒๐ บาท
(ง) ผู้ได้รับวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ
๒๖,๐๐๐ บาท
(๕)
กลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ ให้ใช้บัญชีอัตราค่าตอบแทนเป็นแบบช่วง
(ก)
ผู้ได้รับวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และมีประสบการณ์ตรงตามลักษณะงาน ซึ่งลักษณะงานดังกล่าวจำเป็นต้องใช้ผู้มีประสบการณ์
ไม่ต่ำกว่า ๖ ปีสำหรับวุฒิปริญญาตรี ๔ ปีสำหรับวุฒิปริญญาโท ๒ ปีสำหรับวุฒิปริญญาเอก
ตามลำดับ หรือ
(ข)
ผู้มีประสบการณ์ในงานที่จะปฏิบัติเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า ๑๐ ปี และมีผลงานเป็นที่ยอมรับในวงการ
ทั้งนี้
ให้ได้รับค่าตอบแทนอัตราต่ำสุดของบัญชี
(๖)
กลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนโดยพิจารณาจากคุณวุฒิการศึกษา
ประสบการณ์ และผลงานความเชี่ยวชาญพิเศษตามความต้องการของงานหรือโครงการตามอัตราบัญชีแนบท้ายประกาศนี้
ในกรณีที่จะให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแตกต่างไปจากที่กำหนดในประกาศนี้ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเสนอ
ก.ร. พิจารณา
ข้อ
๖ ผู้ได้รับการว่าจ้างเป็นพนักงานราชการซึ่งมีประสบการณ์ตรงตามลักษณะงานในตำแหน่งที่ได้รับการว่าจ้าง
ให้ได้รับการปรับอัตราค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นดังนี้
(๑)
กลุ่มงานบริการและกลุ่มงานเทคนิคที่มีวุฒิการศึกษา ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนเพิ่มขึ้น
๑ ขั้น ต่อทุกประสบการณ์ ๒ ปี แต่ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นสูงสุดไม่เกิน ๕
ขั้น
(๒)
กลุ่มงานบริหารทั่วไปและกลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นร้อยละ
๕ ต่อทุกประสบการณ์ ๒ ปี แต่ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นสูงสุดไม่เกิน ๕ ช่วง
ข้อ
๗ หลักเกณฑ์การเลื่อนขั้นค่าตอบแทนประจำปี
ให้พนักงานราชการได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นค่าตอบแทนตามผลการประเมินการปฏิบัติงาน
และต้องมีระยะเวลาในการปฏิบัติงานในรอบปีที่แล้วมาไม่น้อยกว่า ๘ เดือน (๑ ตุลาคม ถึง
๓๐ กันยายน) เพื่อจูงใจให้พนักงานราชการที่ปฏิบัติงานของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดี
ในวันที่ ๑ ตุลาคม ของทุกปี โดยให้พิจารณาเลื่อนขั้นค่าตอบแทนพนักงานราชการ ดังนี้
(๑)
กลุ่มงานบริการและกลุ่มงานเทคนิค
(ก)
พนักงานราชการ ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นค่าตอบแทนประจำปีหนึ่งขั้น
ต้องเป็นผู้มีผลการประเมินการปฏิบัติงานในระดับดี
(ข)
พนักงานราชการ ที่จะได้รับค่าตอบแทนพิเศษจำนวนร้อยละ ๓ - ๕ ของฐานค่าตอบแทนก่อนการเลื่อนขั้นค่าตอบแทนในปีนั้น
ต้องมีผลการประเมินการปฏิบัติงานในระดับดีเด่น
ทั้งนี้
ให้ผู้ได้รับการประเมินผลการปฏิบัติงานในระดับดีเด่น มีสัดส่วนได้ไม่เกินร้อยละ ๑๕
ของจำนวนพนักงานราชการแต่ละกลุ่มงานที่มีอยู่ ณ วันที่ ๑ กันยายน
(๒)
กลุ่มงานบริหารทั่วไป กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ และกลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ
(ก)
พนักงานราชการ ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นค่าตอบแทน จำนวนร้อยละ ๓ - ๕ จากฐานค่าตอบแทนที่ได้รับ
ต้องเป็นผู้มีผลการประเมินการปฏิบัติงานในระดับดี
(ข)
พนักงานราชการ ที่จะได้รับค่าตอบแทนพิเศษจำนวนร้อยละ ๓ ของฐานค่าตอบแทนก่อนการเลื่อนขั้นค่าตอบแทนในปีนั้น
ต้องมีผลการประเมินการปฏิบัติงานในระดับดีเด่น
ทั้งนี้
ให้ผู้ได้รับการประเมินผลการปฏิบัติงานในระดับดีเด่น มีสัดส่วนได้ไม่เกินร้อยละ ๑๕
ของจำนวนพนักงานราชการแต่ละกลุ่มงานที่มีอยู่ ณ วันที่ ๑ กันยายน
ข้อ
๘ ในกรณีที่มีการคำนวณเพื่อปรับอัตราค่าตอบแทน
เลื่อนขั้นค่าตอบแทน หรือกำหนดค่าตอบแทนพิเศษ หากคำนวณแล้วมีเศษไม่ถึงสิบบาท ให้ปรับเพิ่มขึ้นเป็นสิบบาท
ข้อ
๙ ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา จัดทำคำสั่งเลื่อนขั้นค่าตอบแทนและการได้รับค่าตอบแทนพิเศษของพนักงานราชการตามการประเมินผลการปฏิบัติงานในข้อ
๗
ข้อ
๑๐ พนักงานราชการในกลุ่มงานใด ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อต่อสัญญาจ้างได้
ให้พนักงานราชการผู้นั้นได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นค่าตอบแทนในกลุ่มงานนั้นตามผลการประเมินการปฏิบัติงานตามหลักการในข้อ
๗ ได้
ข้อ
๑๑ ให้พนักงานราชการกลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะและกลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ
มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนวิชาชีพ ค่าตอบแทนสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ และค่าตอบแทนอื่น
ๆ ที่ปฏิบัติงานหรือมีลักษณะงานเช่นเดียวกับข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ได้รับค่าตอบแทนดังกล่าว
ทั้งนี้ ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาจะต้องแจ้งให้
ก.ร. ทราบภายใน ๓๐ วัน ว่า พนักงานราชการตำแหน่งใดบ้างที่ได้รับค่าตอบแทน หาก ก.ร.
มิได้แจ้งการแก้ไข ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาสามารถดำเนินการในเรื่องดังกล่าวได้ต่อไป
ข้อ
๑๒ ให้พนักงานราชการได้รับสิทธิประโยชน์ตามระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘ ตามที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภากำหนด เว้นแต่การลาไปศึกษา
ฝึกอบรม ดูงานหรือปฏิบัติงานวิจัย การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ และการลาติดตามคู่สมรส
ข้อ
๑๓ ให้พนักงานราชการได้รับค่าตอบแทนการออกจากราชการโดยไม่มีความผิด
ได้ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ร. กำหนด
ประกาศ ณ วันที่ ๑๖
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
โภคิน พลกุล
ประธาน ก.ร.
[เอกสารแนบท้าย]
๑.[๔]
บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานบริการ
(แก้ไขเพิ่มเติม)
๒.[๕]
บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานเทคนิค
(แก้ไขเพิ่มเติม)
๓.[๖]
บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานบริหารทั่วไป (แก้ไขเพิ่มเติม)
๔.[๗]
บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ (แก้ไขเพิ่มเติม)
๕.[๘]
บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ (แก้ไขเพิ่มเติม)
๖.[๙]
บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ (แก้ไขเพิ่มเติม)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๓)[๑๐]
ข้อ
๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นต้นไป
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๔)[๑๑]
ข้อ
๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นต้นไป
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา
เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๔[๑๒]
ข้อ
๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา
เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕[๑๓]
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน
๒๕๕๔ เป็นต้นไป เว้นแต่ ข้อ ๕ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๔
จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ และข้อ ๓ ข้อ ๔ ข้อ ๖ และข้อ ๗
ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
ข้อ
๕ ให้พนักงานราชการซึ่งได้รับค่าตอบแทนไม่ถึงเดือนละหนึ่งหมื่นสองพันสองร้อยแปดสิบห้าบาท
ให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเดือนละหนึ่งพันห้าร้อยบาท แต่เมื่อรวมกับค่าตอบแทนแล้ว
ต้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นสองพันสองร้อยแปดสิบห้าบาท
กรณีจำนวนค่าตอบแทนที่ได้รับตามวรรคหนึ่งรวมกันแล้วไม่ถึงเดือนละแปดพันหกร้อยสิบบาท
ให้พนักงานราชการนั้นได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นจากค่าตอบแทนอีกจนถึงเดือนละแปดพันหกร้อยสิบบาท
ข้อ
๖ ในกรณีที่การจ้างพนักงานราชการในตำแหน่งที่กำหนดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับกลุ่มงานตามที่คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภาประกาศกำหนด
และคุณสมบัติเฉพาะสำหรับกลุ่มงานนั้นต้องใช้วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ให้พนักงานราชการที่ได้รับการว่าจ้างในตำแหน่งดังกล่าวที่มีค่าตอบแทนไม่ถึงเดือนละหนึ่งหมื่นห้าพันบาท
ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นจากค่าตอบแทนอีกจนถึงเดือนละหนึ่งหมื่นห้าพันบาท
ข้อ
๗ ในกรณีที่การจ้างพนักงานราชการในตำแหน่งที่กำหนดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับกลุ่มงานตามที่คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภาประกาศกำหนด
และคุณสมบัติเฉพาะสำหรับกลุ่มงานนั้นต้องใช้วุฒิการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ให้พนักงานราชการที่ได้รับการว่าจ้างในตำแหน่งดังกล่าวที่มีอัตราค่าตอบแทนไม่ถึงเดือนละหนึ่งหมื่นสองพันสองร้อยแปดสิบห้าบาท
ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเดือนละหนึ่งพันห้าร้อยบาท แต่เมื่อรวมกับค่าตอบแทนแล้วต้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นสองพันสองร้อยแปดสิบห้าบาท
กรณีที่พนักงานราชการได้รับการว่าจ้างในตำแหน่งที่มีอัตราค่าตอบแทนไม่ถึงเดือนละเก้าพันบาท
ให้พนักงานราชการผู้นั้นได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นจากค่าตอบแทนอีกจนถึงเดือนละเก้าพันบาท
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา
เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๖[๑๔]
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑
มกราคม ๒๕๕๖ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๕
อุษมล/เพิ่มเติม
๒ กรกฎาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๘๑ ง/หน้า ๑๒/๑๐ กันยายน ๒๕๔๘
[๒] ข้อ ๕ (๓)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง
ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๓] ข้อ ๕ (๔)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง
ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๔] บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานบริการ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง
ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๕] บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานเทคนิค แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๖] บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ
กลุ่มงานบริหารทั่วไป แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๔
[๗] บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ
กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๔
[๘] บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ
กลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๔
[๙] บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ
กลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๔
[๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๓/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๑๕๓/๒๓ มีนาคม ๒๕๔๙
[๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๔/ตอนพิเศษ ๒๐๔ ง/หน้า ๓๐/๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๐
[๑๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๘/ตอนพิเศษ ๖๗ ง/หน้า ๑๓/๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๔
[๑๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๙/ตอนพิเศษ ๖๙ ง/หน้า ๖๘/๒๓ เมษายน ๒๕๕๕
[๑๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๓๐/๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๖ |
304118 | กฎ ก.ร. ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2520) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ว่าด้วยกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง | กฎ ก
กฎ ก.ร.
ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๐)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ
ฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ว่าด้วยกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ (๓)
และมาตรา ๕๓ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ออกกฎ ก.ร. ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฎ ก.ร.
นี้ให้ใช้บังคับแก่สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสังกัดรัฐสภา
ข้อ ๒ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยในกรณีดังต่อไปนี้เป็นกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
คือ
(๑) ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ
(๒) ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ
หรือปฏิบัติหน้าที่ราชโองการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย และระเบียบของทางราชการ
อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
(๓) เปิดเผยความรับของทางราชการ
อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
(๔) ขัดคำสั่งหรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ
อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
(๕) รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา
อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
(๖) ละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
หรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวัน
โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ
(๗) ดูหมิ่น เหยียดหยาม
สมาชิกรัฐสภาหรือราษฎร
(๘) กระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก
หรือโทษที่หนักกว่าจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
หรือได้รับโทษที่หนักกว่าจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
หรือกระทำหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการอื่นใด อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๐
พลอากาศเอก หะริน หงสกุล
ประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
ประธาน ก.ร.
ประภาศรี/ผู้จัดทำ
๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๔/ตอนที่ ๑๑/หน้า ๓๙/๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๐ |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.