sysid
stringlengths
1
6
title
stringlengths
8
870
txt
stringlengths
0
257k
711445
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ[๑] เพื่อให้การบริหารค่าตอบแทนตามลักษณะงานและผลผลิตของงาน และสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการมีความเหมาะสม สอดคล้องกับขนาดของงาน ขีดสมรรถนะ และการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภาจึงเห็นควรกำหนดค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๔ และข้อ ๑๕ วรรคสาม ของระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ก.ร.) จึงกำหนดค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการไว้ดังนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ” ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “พนักงานราชการ” หมายความว่า พนักงานราชการตามระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘ “ค่าตอบแทน” หมายความว่า เงินเดือนซึ่งจ่ายให้แก่พนักงานราชการในการปฏิบัติงานให้แก่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ตามอัตราที่กำหนดในประกาศนี้ “ค่าตอบแทนพิเศษ” หมายถึง เงินที่จ่ายเพิ่มให้กับพนักงานราชการ เมื่อมีผลการประเมินการปฏิบัติงาน คุณภาพงาน และปริมาณงาน ในระดับดีเด่น ข้อ ๓ หลักการกำหนดค่าตอบแทนของพนักงานราชการ (๑) หลักคุณภาพ เพื่อให้ได้บุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์เข้ามาปฏิบัติงานภายใต้ระบบสัญญาจ้าง (๒) หลักความยุติธรรม เพื่อให้เกิดความเสมอภาคในโอกาส ไม่เหลื่อมล้ำ และไม่เลือกปฏิบัติ (๓) หลักการจูงใจ การจ่ายค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ให้เพียงพอ โดยคำนึงถึงค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลง ค่าตอบแทนในภาคเอกชน อัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญ และฐานะการคลังของประเทศ (๔) หลักความสามารถ อัตราค่าตอบแทนจะจ่ายตามความรู้ความสามารถ ขีดสมรรถนะและผลงานตามการประเมินผลการปฏิบัติงาน ข้อ ๔ อัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการให้เป็นไปตามบัญชีแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ ให้พนักงานราชการได้รับค่าตอบแทนตามบัญชีกลุ่มงาน ดังต่อไปนี้ (๑) กลุ่มงานบริการ ให้ใช้บัญชีอัตราค่าตอบแทนเป็นแบบขั้น (ก) ผู้ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนต้นสายสามัญ (ม.ศ. ๓) หรือประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนต้น (ม. ๓) หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ หรือประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม. ๖) ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนขั้นต่ำของบัญชี (ข) ผู้ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนขั้นที่ ๔ ของบัญชี (ค) ผู้ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนขั้นที่ ๖ ของบัญชี (ง) ผู้ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนขั้นที่ ๘ ของบัญชี (๒) กลุ่มงานเทคนิค ให้ใช้บัญชีอัตราค่าตอบแทนเป็นแบบขั้น (ก) ผู้ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือในกรณีที่เป็นงานที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะของบุคคลซึ่งมิได้ผ่านการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาใดเป็นการเฉพาะ จะต้องมีความรู้ความสามารถและทักษะในงานที่จะปฏิบัติไม่ต่ำกว่า ๕ ปี ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนขั้นต่ำของบัญชี (ข) ผู้ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนขั้นที่ ๓ ของบัญชี (ค) ผู้ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนขั้นที่ ๕ ของบัญชี (๓)[๒] กลุ่มงานบริหารทั่วไป ให้ใช้บัญชีอัตราค่าตอบแทนเป็นแบบช่วง (ก) ผู้ได้รับวุฒิปริญญาตรีที่มีหลักสูตรกำหนดระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า ๔ ปีต่อจากวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๑๘,๐๐๐ บาท (ข) ผู้ได้รับวุฒิปริญญาโททั่วไปหรือเทียบเท่า ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๒๑,๐๐๐ บาท (ค) ผู้ได้รับวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๒๕,๒๐๐ บาท (๔)[๓] กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ ให้ใช้บัญชีอัตราค่าตอบแทนเป็นแบบช่วง (ก) ผู้ได้รับวุฒิปริญญาตรีที่มีหลักสูตรกำหนดระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า ๔ ปีต่อจากวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๑๙,๕๐๐ บาท (ข) ผู้ได้รับวุฒิปริญญาตรีที่มีหลักสูตรกำหนดระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า ๕ ปีต่อจากวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายเฉพาะปริญญาที่ ก.ร. กำหนดให้ได้รับเงินเดือนตามหลักสูตร ๕ ปี ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๒๐,๕๔๐ บาท (ค) ผู้ได้รับวุฒิปริญญาโททั่วไปหรือเทียบเท่า ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๒๒,๗๕๐ บาท (ง) ผู้ได้รับวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๒๗,๓๐๐ บาท (๕) กลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ ให้ใช้บัญชีอัตราค่าตอบแทนเป็นแบบช่วง (ก) ผู้ได้รับวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และมีประสบการณ์ตรงตามลักษณะงาน ซึ่งลักษณะงานดังกล่าวจำเป็นต้องใช้ผู้มีประสบการณ์ ไม่ต่ำกว่า ๖ ปีสำหรับวุฒิปริญญาตรี ๔ ปีสำหรับวุฒิปริญญาโท ๒ ปีสำหรับวุฒิปริญญาเอก ตามลำดับ หรือ (ข) ผู้มีประสบการณ์ในงานที่จะปฏิบัติเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า ๑๐ ปี และมีผลงานเป็นที่ยอมรับในวงการ ทั้งนี้ ให้ได้รับค่าตอบแทนอัตราต่ำสุดของบัญชี (๖) กลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนโดยพิจารณาจากคุณวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ และผลงานความเชี่ยวชาญพิเศษตามความต้องการของงานหรือโครงการตามอัตราบัญชีแนบท้ายประกาศนี้ ในกรณีที่จะให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแตกต่างไปจากที่กำหนดในประกาศนี้ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเสนอ ก.ร. พิจารณา ข้อ ๖ ผู้ได้รับการว่าจ้างเป็นพนักงานราชการซึ่งมีประสบการณ์ตรงตามลักษณะงานในตำแหน่งที่ได้รับการว่าจ้าง ให้ได้รับการปรับอัตราค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นดังนี้ (๑) กลุ่มงานบริการและกลุ่มงานเทคนิคที่มีวุฒิการศึกษา ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนเพิ่มขึ้น ๑ ขั้น ต่อทุกประสบการณ์ ๒ ปี แต่ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นสูงสุดไม่เกิน ๕ ขั้น (๒) กลุ่มงานบริหารทั่วไปและกลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นร้อยละ ๕ ต่อทุกประสบการณ์ ๒ ปี แต่ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นสูงสุดไม่เกิน ๕ ช่วง ข้อ ๗ หลักเกณฑ์การเลื่อนขั้นค่าตอบแทนประจำปี ให้พนักงานราชการได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นค่าตอบแทนตามผลการประเมินการปฏิบัติงาน และต้องมีระยะเวลาในการปฏิบัติงานในรอบปีที่แล้วมาไม่น้อยกว่า ๘ เดือน (๑ ตุลาคม ถึง ๓๐ กันยายน) เพื่อจูงใจให้พนักงานราชการที่ปฏิบัติงานของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดี ในวันที่ ๑ ตุลาคม ของทุกปี โดยให้พิจารณาเลื่อนขั้นค่าตอบแทนพนักงานราชการ ดังนี้ (๑) กลุ่มงานบริการและกลุ่มงานเทคนิค (ก) พนักงานราชการ ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นค่าตอบแทนประจำปีหนึ่งขั้น ต้องเป็นผู้มีผลการประเมินการปฏิบัติงานในระดับดี (ข) พนักงานราชการ ที่จะได้รับค่าตอบแทนพิเศษจำนวนร้อยละ ๓ - ๕ ของฐานค่าตอบแทนก่อนการเลื่อนขั้นค่าตอบแทนในปีนั้น ต้องมีผลการประเมินการปฏิบัติงานในระดับดีเด่น ทั้งนี้ ให้ผู้ได้รับการประเมินผลการปฏิบัติงานในระดับดีเด่น มีสัดส่วนได้ไม่เกินร้อยละ ๑๕ ของจำนวนพนักงานราชการแต่ละกลุ่มงานที่มีอยู่ ณ วันที่ ๑ กันยายน (๒) กลุ่มงานบริหารทั่วไป กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ และกลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ (ก) พนักงานราชการ ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นค่าตอบแทน จำนวนร้อยละ ๓ - ๕ จากฐานค่าตอบแทนที่ได้รับ ต้องเป็นผู้มีผลการประเมินการปฏิบัติงานในระดับดี (ข) พนักงานราชการ ที่จะได้รับค่าตอบแทนพิเศษจำนวนร้อยละ ๓ ของฐานค่าตอบแทนก่อนการเลื่อนขั้นค่าตอบแทนในปีนั้น ต้องมีผลการประเมินการปฏิบัติงานในระดับดีเด่น ทั้งนี้ ให้ผู้ได้รับการประเมินผลการปฏิบัติงานในระดับดีเด่น มีสัดส่วนได้ไม่เกินร้อยละ ๑๕ ของจำนวนพนักงานราชการแต่ละกลุ่มงานที่มีอยู่ ณ วันที่ ๑ กันยายน ข้อ ๘ ในกรณีที่มีการคำนวณเพื่อปรับอัตราค่าตอบแทน เลื่อนขั้นค่าตอบแทน หรือกำหนดค่าตอบแทนพิเศษ หากคำนวณแล้วมีเศษไม่ถึงสิบบาท ให้ปรับเพิ่มขึ้นเป็นสิบบาท ข้อ ๙ ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา จัดทำคำสั่งเลื่อนขั้นค่าตอบแทนและการได้รับค่าตอบแทนพิเศษของพนักงานราชการตามการประเมินผลการปฏิบัติงานในข้อ ๗ ข้อ ๑๐ พนักงานราชการในกลุ่มงานใด ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อต่อสัญญาจ้างได้ ให้พนักงานราชการผู้นั้นได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นค่าตอบแทนในกลุ่มงานนั้นตามผลการประเมินการปฏิบัติงานตามหลักการในข้อ ๗ ได้ ข้อ ๑๑ ให้พนักงานราชการกลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะและกลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนวิชาชีพ ค่าตอบแทนสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ และค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่ปฏิบัติงานหรือมีลักษณะงานเช่นเดียวกับข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ได้รับค่าตอบแทนดังกล่าว ทั้งนี้ ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาจะต้องแจ้งให้ ก.ร. ทราบภายใน ๓๐ วัน ว่า พนักงานราชการตำแหน่งใดบ้างที่ได้รับค่าตอบแทน หาก ก.ร. มิได้แจ้งการแก้ไข ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาสามารถดำเนินการในเรื่องดังกล่าวได้ต่อไป ข้อ ๑๒ ให้พนักงานราชการได้รับสิทธิประโยชน์ตามระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘ ตามที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภากำหนด เว้นแต่การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงานหรือปฏิบัติงานวิจัย การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ และการลาติดตามคู่สมรส ข้อ ๑๓ ให้พนักงานราชการได้รับค่าตอบแทนการออกจากราชการโดยไม่มีความผิด ได้ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ร. กำหนด ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ โภคิน พลกุล ประธาน ก.ร. [เอกสารแนบท้าย] ๑.[๔] บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานบริการ (แก้ไขเพิ่มเติม) ๒.[๕] บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานเทคนิค (แก้ไขเพิ่มเติม) ๓.[๖] บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานบริหารทั่วไป (แก้ไขเพิ่มเติม) ๔.[๗] บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ (แก้ไขเพิ่มเติม) ๕.[๘] บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ (แก้ไขเพิ่มเติม) ๖.[๙] บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ (แก้ไขเพิ่มเติม) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๓)[๑๐] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นต้นไป ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๔)[๑๑] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นต้นไป ประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๔[๑๒] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕[๑๓] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๔ เป็นต้นไป เว้นแต่ ข้อ ๕ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๔ จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ และข้อ ๓ ข้อ ๔ ข้อ ๖ และข้อ ๗ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ข้อ ๕ ให้พนักงานราชการซึ่งได้รับค่าตอบแทนไม่ถึงเดือนละหนึ่งหมื่นสองพันสองร้อยแปดสิบห้าบาท ให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเดือนละหนึ่งพันห้าร้อยบาท แต่เมื่อรวมกับค่าตอบแทนแล้ว ต้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นสองพันสองร้อยแปดสิบห้าบาท กรณีจำนวนค่าตอบแทนที่ได้รับตามวรรคหนึ่งรวมกันแล้วไม่ถึงเดือนละแปดพันหกร้อยสิบบาท ให้พนักงานราชการนั้นได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นจากค่าตอบแทนอีกจนถึงเดือนละแปดพันหกร้อยสิบบาท ข้อ ๖ ในกรณีที่การจ้างพนักงานราชการในตำแหน่งที่กำหนดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับกลุ่มงานตามที่คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภาประกาศกำหนด และคุณสมบัติเฉพาะสำหรับกลุ่มงานนั้นต้องใช้วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ให้พนักงานราชการที่ได้รับการว่าจ้างในตำแหน่งดังกล่าวที่มีค่าตอบแทนไม่ถึงเดือนละหนึ่งหมื่นห้าพันบาท ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นจากค่าตอบแทนอีกจนถึงเดือนละหนึ่งหมื่นห้าพันบาท ข้อ ๗ ในกรณีที่การจ้างพนักงานราชการในตำแหน่งที่กำหนดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับกลุ่มงานตามที่คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภาประกาศกำหนด และคุณสมบัติเฉพาะสำหรับกลุ่มงานนั้นต้องใช้วุฒิการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ให้พนักงานราชการที่ได้รับการว่าจ้างในตำแหน่งดังกล่าวที่มีอัตราค่าตอบแทนไม่ถึงเดือนละหนึ่งหมื่นสองพันสองร้อยแปดสิบห้าบาท ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเดือนละหนึ่งพันห้าร้อยบาท แต่เมื่อรวมกับค่าตอบแทนแล้วต้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นสองพันสองร้อยแปดสิบห้าบาท กรณีที่พนักงานราชการได้รับการว่าจ้างในตำแหน่งที่มีอัตราค่าตอบแทนไม่ถึงเดือนละเก้าพันบาท ให้พนักงานราชการผู้นั้นได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นจากค่าตอบแทนอีกจนถึงเดือนละเก้าพันบาท ประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๖[๑๔] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ ประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๖[๑๕] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๗ เป็นต้นไป ปณตภร/ผู้จัดทำ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๕ อุษมล/เพิ่มเติม ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๘๑ ง/หน้า ๑๒/๑๐ กันยายน ๒๕๔๘ [๒] ข้อ ๕ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๖ [๓] ข้อ ๕ (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๖ [๔] บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานบริการ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๖ [๕] บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานเทคนิค แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๖ [๖] บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานบริหารทั่วไป แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๔ [๗] บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๔ [๘] บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๔ [๙] บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๔ [๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๑๕๓/๒๓ มีนาคม ๒๕๔๙ [๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๒๐๔ ง/หน้า ๓๐/๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๐ [๑๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๖๗ ง/หน้า ๑๓/๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๔ [๑๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๖๙ ง/หน้า ๖๘/๒๓ เมษายน ๒๕๕๕ [๑๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๓๐/๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๖ [๑๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๓๒/๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๖
304114
กฎ ก.ร. ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2518) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.2518 ว่าด้วยการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
กฎ ก กฎ ก.ร. ฉบับที่ ๒ (พ.ศ.๒๕๑๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.๒๕๑๘ ว่าด้วยการทดลองปฏิบัติ หน้าที่ราชการ[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ (๓) และมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.๒๕๑๘ ก.ร.ออกกฎ ก.ร.ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในกฎ ก.ร.นี้ “ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น” หมายความถึงหัวหน้าส่วนราชการระดับกอง หรือผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ “ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ” หมายความถึงผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ข้อ ๒ ให้ผู้ได้รับบรรจุเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญตามมาตรา ๒๒ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.๒๕๑๘ ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งที่ได้รับบรรจุเป็นเวลาหกเดือน นับแต่วันเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นต้นไป ข้อ ๓ การรายงานผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมี ๒ กรณี คือ การรายงานว่าควรให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการรับราชการต่อไป เพราะผู้นั้นได้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการครบถ้วนตามเวลาที่กำหนดไว้แล้ว ผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ปรากฏว่าเป็นผู้มีความประพฤติ ความรู้ความสามารถเหมาะสม ควรให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปได้ กรณีหนึ่งและรายงานว่าควรให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการออกจากราชการเพราะมีความประพฤติไม่ดีหรือไม่มีความรู้ หรือไม่มีความสามารถเหมาะสม ไม่ควรรับราชการต่อไป อีกกรณีหนึ่ง ข้อ ๔ การรายงานว่าควรให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการรับราชการต่อไปให้รายงานเมื่อผู้นั้นทดลองปฏิบัติหน้าที่ครบหกเดือนตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒ แล้ว โดยให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นรายงานผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการของผู้นั้นต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามแบบหมายเลข ๑ ท้ายกฎ ก.ร.นี้ ภายในเจ็ดวัน นับแต่วันได้รับรายงาน ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปแต่ละระดับรายงานตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ ถ้ามีข้อสังเกตก็ให้รายงานไปประกอบการพิจารณาสั่งการของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุด้วย เมื่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุได้รับรายงานแล้วเห็นว่า ควรให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปได้ ก็ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุรายงานไปยัง ก.ร. ตามแบบหมายเลข ๒ ท้ายกฎ ก.ร.นี้ หรือถ้าผู้มีอำนาจสั่งบรรจุเห็นว่าไม่ควรให้รับราชการต่อไป ก็ให้มีคำสั่งภายในเจ็ดวัน นับแต่วันได้รับรายงานตามวรรคสอง ให้ผู้นั้นออกจากราชการ ข้อ ๕ การรายงานว่าควรให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการออกจากราชการ ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นรายงานต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปตามลำดับ จนถึงผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามแบบหมายเลข ๑ ท้ายกฎ ก.ร.นี้ โดยให้รายงานทันทีที่เห็นว่าผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมีความประพฤติไม่ดี หรือไม่มีความรู้ หรือไม่มีความสามารถที่จะให้รับราชการต่อไป ภายในเจ็ดวัน นับแต่วันได้รับรายงานให้ผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปแต่ละระดับรายงานตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ ถ้ามีข้อสังเกตก็ให้รายงานไปประกอบการพิจารณาสั่งการของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุด้วย เมื่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุได้รับรายงานแล้ว เห็นว่าไม่ควรให้รับราชการต่อไปก็ให้มีคำสั่งภายในเจ็ดวัน นับแต่วันได้รับรายงานตามวรรคสอง ให้ผู้นั้นออกจากราชการหรือถ้าเห็นว่ายังไม่ควรให้ออกจากราชการ และผู้นั้นยังทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการไม่ครบหกเดือน ก็ให้สั่งให้ผู้นั้นทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปอีกระยะหนึ่ง แต่เวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการระยะแรกกับระยะหลังรวมกันแล้วต้องไม่เกินหกเดือน ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปอีกระยะหนึ่ง ถ้าผู้บังคับบัญชาชั้นต้นเห็นว่าไม่สมควรให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป แม้ผู้นั้นจะยังทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการไม่ครบหกเดือน ก็ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น ผู้ผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปตามลำดับ และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุดำเนินการตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม ในกรณีที่ผู้ได้รับบรรจุได้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการครบกำหนดหกเดือนแล้ว ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นรายงานต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ ว่าควรให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปหรือไม่ เมื่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุได้รับรายงานแล้วให้ดำเนินการตามข้อ ๔ วรรคสาม ข้อ ๖ ส่วนราชการใดในสังกัดรัฐสภาเห็นว่าตำแหน่งใดมีลักษณะงานสมควรให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการน้อยกว่าหรือมากกว่าหกเดือน ให้ส่วนราชการนั้นทำความตกลงกับ ก.ร.กำหนดระยะเวลาที่จะให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เหมาะสมกับลักษณะงานของตำแหน่งนั้น และให้ดำเนินการตามข้อ๔ และข้อ ๕ โดยอนุโลม ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๑๘ ป.ส. กาญจนวัฒน์ ประธานรัฐสภา ประธาน ก.ร. ประภาศรี/ผู้จัดทำ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๒/ตอนที่ ๑๙๑/หน้า ๒๗๑/๑๖ กันยายน ๒๕๑๘
327018
กฎ ก.ร. ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ว่าด้วยกรณีความผิดที่ปรากฎ ชัดแจ้ง
กฎ ก กฎ ก.ร. ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ว่าด้วยกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ (๓) และมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ก.ร. ออกกฎ ก.ร. ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑[๑] กฎ ก.ร. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิกกฎ ก.ร. ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๑๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ข้อ ๓ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในกรณีดังต่อไปนี้ เป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง ซึ่งผู้บังคับบัญชาจะสั่งลงโทษโดยไม่สอบสวนก็ได้ คือ (๑) กระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก หรือโทษที่หนักกว่าจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือให้รับโทษที่หนักว่าจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๒) ละทิ้งหน้าที่ราชการ และผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการสืบสวนแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควร และการละทิ้งหน้าที่ราชการนั้นเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๓) ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวัน และผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการสืบสวนแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือเห็นว่ามีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ (๔) มีกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ป. ได้พิจารณาสอบสวนและมีมติว่า กรณีมีมูลว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามที่กำหนดในกฎ ก.ร. และผู้บังคับบัญชาเห็นว่าข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ประธานกรรมการ ป.ป.ป. ส่งเรื่องให้ดำเนินการทางวินัยอย่างร้ายแรงได้ความประจักษ์ชัดอยู่แล้ว และผู้นั้นไม่ติดใจที่จะนำสืบหักล้างข้อเท็จจริงตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ป. มีมติ ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ มารุต บุนนาค ประธานรัฐสภา ประธาน ก.ร. ประภาศรี/ผู้จัดทำ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๒๑ ก/หน้า ๔๘/๓ มิถุนายน ๒๕๓๗
304120
กฎ ก.ร. ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ว่าด้วยอำนาจการลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือน
กฎกระทรวง กฎ ก.ร. ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ว่าด้วยอำนาจการลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ (๓) และมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ก.ร. ออกกฎ ก.ร.ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑[๑] กฎ ก.ร.นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิกกฎ ก.ร. ฉบับที่ ๕ (พ.. ๒๕๑๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ข้อ ๓ ในกฎ ก.ร.นี้ “หัวหน้าฝ่ายหรือหัวหน้างาน” หมายความรวมถึง ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายตามมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกอบกับมาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้บังคับบัญชาส่วนราชการหรือหน่วยงานในฐานะหัวหน้าฝ่ายหรือหัวหน้างานด้วย “ผู้อำนวยการกองหรือหัวหน้ากอง” หมายความรวมถึง หัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเทียบกอง หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายตามมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกอบกับมาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้บังคับบัญชาส่วนราชการหรือหน่วยงานในฐานะผู้อำนวยการกองหรือหัวหน้ากองด้วย “หัวหน้าส่วนราชการที่สูงกว่ากอง” หมายความว่า ข้าราชการฝ่ายรัฐสภาที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าส่วนราชการและดำรงตำแหน่งระดับ ๙ และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายตามมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกอบกับมาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้บังคับบัญชาส่วนราชการหรือหน่วยงานในฐานะหัวหน้าส่วนราชการที่สูงกว่ากองด้วย ข้อ ๔ หัวหน้าฝ่ายหรือหัวหน้างาน ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้กระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง มีอำนาจสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ข้อ ๕ ผู้อำนวยการกองหรือหัวหน้ากอง ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้กระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง มีอำนาจสั่งลงโทษภาคทัณฑ์หรือตัดเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกิน ๕% และเป็นเวลาไม่เกินหนึ่งเดือน ข้อ ๖ หัวหน้าส่วนราชการที่สูงกว่ากอง ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้กระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง มีอำนาจสั่งลงโทษภาคทัณฑ์หรือตัดเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกิน ๕% และเป็นเวลาไม่เกินสองเดือน ข้อ ๗ ประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร เลขาธิการวุฒิสภา เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามมาตรา ๖ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้กระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง มีอำนาจสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ หรือตัดเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกิน ๕% และเป็นเวลาไม่เกินสามเดือน หรือลดขั้นเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกินหนึ่งขั้น ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๗ มารุต บุนนาค ประธานรัฐสภา ประธาน ก.ร. ประภาศรี/ผู้จัดทำ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๑๔ ก/หน้า ๑๐/๒๗ เมษายน ๒๕๓๗
322900
กฎ ก.ร. ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2519) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.2518 ว่าด้วยกรณีความผิดที่ปรากฎชัดแจ้ง
กฎ ก กฎ ก.ร. ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๑๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ว่าด้วยกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ (๓) และมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ก.ร. ออกกฎ ก.ร.ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กฎ ก.ร. นี้ ให้ใช้บังคับแก่สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสังกัดรัฐสภา ข้อ ๒ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในกรณีดังต่อไปนี้ เป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง คือ (๑) กระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก หรือโทษที่หนักกว่าจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือให้รับโทษที่หนักกว่าจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๒) ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินสิบห้าวัน และผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการสืบสวนแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุอันสมควร หรือเห็นว่ามีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ ข้อ ๓ กรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามข้อ ๒ ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ มาตรา ๔๓ หรือมาตรา ๕๘ แล้วแต่กรณี จะสั่งลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก โดยไม่สอบสวนก็ได้ ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ป.ส. กาญจนวัฒน์ ประธานรัฐสภา ประธาน ก.ร. ประภาศรี/ผู้จัดทำ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๓/ตอนที่ ๒๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙
304115
กฎ ก.ร. ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2518) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.2518 ว่าด้วยโรค
กฎ ก กฎ ก.ร. ฉบับที่ ๔ (พ.ศ.๒๕๑๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.๒๕๑๘ ว่าด้วยโรค[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ (๓) และมาตรา ๒๔ (๕) แห่งพระราชบัญญัติข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.๒๕๑๘ ก.ร.ออกกฎ ก.ร.ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กฎ ก.ร.นี้ให้ใช้บังคับแก่สำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสังกัดรัฐสภา ข้อ ๒ โรคตามมาตรา ๒๔ (๕) คือ (๑) โรคเรื้อน (๒) วัณโรคในระยะอันตราย (๓) โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม (๔) โรคยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง (๕) โรคพิษสุราเรื้อรัง ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๘ ป.ส. กาญจนวัฒน์ ประธานรัฐสภา ประธาน ก.ร. ประภาศรี/ผู้จัดทำ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๒/ตอนที่ ๒๓๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑/๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๑๘
319570
กฎ ก.ร. ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2518) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.2518 ว่าด้วยการให้ผู้มีความรู้ความชำนาญจากการศึกษาการฝึกอบรมหรือการทำงานสูงกว่าที่ ก.ร. กำหนดไว้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของเงินเดือนสำหรับตำแหน่ง
กฎ ก กฎ ก.ร. ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๑๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ว่าด้วยการให้ผู้มีความรู้ความชำนาญจากการศึกษา การฝึกอบรมหรือการทำงานสูงกว่าที่ ก.ร. กำหนดไว้เป็น คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำ ของเงินเดือนสำหรับตำแหน่ง[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ (๓) และมาตรา ๒๑ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ก.ร. ออกกฎ ก.ร.ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กฎ ก.ร.นี้ให้ใช้บังคับแก่สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสังกัดรัฐสภา ข้อ ๒ ผู้มีความรู้ความชำนาญจากการศึกษาในประเทศสูงกว่าที่ ก.ร. กำหนดไว้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของเงินเดือนสำหรับตำแหน่งดังนี้ (๑) ผู้ได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑ ซึ่งได้รับประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ สาขาใด สาขาหนึ่ง ที่มีหลักสูตรกำหนดเวลาศึกษาต่อจากประโยคมัธยมศึกษาตอนต้นสายสามัญไม่น้อยกว่า ๓ ปี ให้ได้รับเงินเดือนไม่สูงกว่าระดับ ๑ ขั้น ๑,๒๒๐ บาท (๒) ผู้ได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๒ ซึ่งได้รับอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพเทียบได้ไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาที่มีหลักสูตรกำหนดเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า ๓ ปี ต่อจากประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญหรือ ไม่น้อยกว่า ๕ ปี ต่อจากประโยคมัธยมศึกษาตอนต้นสายสามัญให้ได้รับเงินเดือนไม่สูงกว่าระดับ ๒ ขั้น ๑,๕๕๐ บาท (๓) ผู้ได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๓ ซึ่งได้รับปริญญาโทที่มีหลักสูตรกำหนดเวลาศึกษาต่อจากปริญญาตรีไม่น้อยกว่า ๒ ปี และรวมทั้งปริญญาตรีไม่น้อยกว่า ๖ ปี ให้ได้รับเงินเดือนไม่สูงกว่าระดับ ๓ ขั้น ๒,๒๓๐ บาท (๔) ผู้ได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๔ ซึ่งได้รับปริญญาเอกให้ได้รับเงินเดือนไม่สูงกว่าระดับ ๔ ขั้น ๓,๐๓๐ บาท ข้อ ๓ ผู้มีความรู้ความชำนาญจากการศึกษา การฝึกอบรมหรือการทำงานสูงกว่าที่กำหนดไว้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง นอกจากที่กล่าวไว้ในข้อ ๒ จะให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของเงินเดือนสำหรับตำแหน่งในระดับใด ขั้นใด ให้เสนอ ก.ร.พิจารณาอนุมัติเป็น ราย ๆ ไป ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๘ ป.ส. กาญจนวัฒน์ ประธานรัฐสภา ประธาน ก.ร. ประภาศรี/ผู้จัดทำ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๒/ตอนที่ ๒๓๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๘/๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๑๘
304119
กฎ ก.ร. ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2526) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ว่าด้วยโรค
กฎ ก กฎ ก.ร. ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ว่าด้วยโรค[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ (๓) และมาตรา ๒๔ (๕) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ก.ร. ออกกฎ ก.ร. ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กฎ ก.ร. นี้ให้ใช้บังคับแก่สำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสังกัดรัฐสภา ข้อ ๒ ให้ยกเลิกกฎ ก.ร. ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๑๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ข้อ ๓ โรคตามมาตรา ๒๔ (๕) คือ ๑. โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม ๒. วัณโรคในระยะอันตราย ๓. โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม ๔. โรคติดยาเสพติดให้โทษ ๕. โรคพิษสุราเรื้อรัง ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ พลอากาศเอก หะริน หงสกุล ประธานรัฐสภา ประธาน ก.ร. หมายเหตุ :- (๑) ต้องเป็นแพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๒) ให้แสดงว่าเป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์เพียงใด หรือหายจากโรคที่เป็นเหตุต้องให้ออกจากราชการ ใบรับรองแพทย์ฉบับนี้ให้ใช้ได้ ๑ เดือนนับแต่วันที่ตรวจร่างกาย ประภาศรี/ผู้จัดทำ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๐/ตอนที่ ๕๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕/๕ เมษายน ๒๕๒๖
688270
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2556
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา ประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๖[๑] โดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุพนักงานราชการตามคุณวุฒิการศึกษาของพนักงานราชการ จึงเห็นสมควรปรับปรุงอัตราค่าตอบแทนของพนักงานราชการส่วนราชการสังกัดรัฐสภาให้สอดคล้องกัน อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๔ และข้อ ๑๖ ของระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘ ประกอบกับมาตรา ๑๕ (๕) และมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภาจึงออกประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภาไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๗ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (๓) และ (๔) ของข้อ ๕ แห่งประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ ลงวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมครั้งสุดท้ายโดยประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๓) กลุ่มงานบริหารทั่วไป ให้ใช้บัญชีอัตราค่าตอบแทนเป็นแบบช่วง (ก) ผู้ได้รับวุฒิปริญญาตรีที่มีหลักสูตรกำหนดระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า ๔ ปีต่อจากวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๑๘,๐๐๐ บาท (ข) ผู้ได้รับวุฒิปริญญาโททั่วไปหรือเทียบเท่า ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๒๑,๐๐๐ บาท (ค) ผู้ได้รับวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๒๕,๒๐๐ บาท (๔) กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ ให้ใช้บัญชีอัตราค่าตอบแทนเป็นแบบช่วง (ก) ผู้ได้รับวุฒิปริญญาตรีที่มีหลักสูตรกำหนดระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า ๔ ปีต่อจากวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๑๙,๕๐๐ บาท (ข) ผู้ได้รับวุฒิปริญญาตรีที่มีหลักสูตรกำหนดระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า ๕ ปีต่อจากวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายเฉพาะปริญญาที่ ก.ร. กำหนดให้ได้รับเงินเดือนตามหลักสูตร ๕ ปี ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๒๐,๕๔๐ บาท (ค) ผู้ได้รับวุฒิปริญญาโททั่วไปหรือเทียบเท่า ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๒๒,๗๕๐ บาท (ง) ผู้ได้รับวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๒๗,๓๐๐ บาท” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานบริการ และบัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานเทคนิค ท้ายประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ ลงวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมครั้งสุดท้ายโดยประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๖ และให้ใช้บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานบริการ และบัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานเทคนิค ท้ายประกาศนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ประธาน ก.ร. [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานบริการ ๒. บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานเทคนิค (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๖ อุษมล/ผู้ตรวจ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๓๒/๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๖
304116
กฎ ก.ร. ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2518) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.2518 ว่าด้วยอำนาจการลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือน
กฎ ก กฎ ก.ร. ฉบับที่ ๕ (พ.ศ.๒๕๑๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ว่าด้วยอำนาจการลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓(๓) และมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.๒๕๑๘ ก.ร. ออกกฎ ก.ร. ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กฎ ก.ร.นี้ ให้ใช้บังคับแก่สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ข้อ ๒ ใน กฎ ก.ร.นี้ “หัวหน้าหน่วยงานระดับแผนก” หมายความรวมถึงหัวหน้าส่วนราชการหรือหน่วยงานซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ ๓ ระดับ ๔ หรือระดับ ๕ ก.ร.กำหนดตามมาตรา ๒๐ วรรคสามให้บังคับบัญชาหน่วยงานในฐานะหัวหน้าแผนกด้วย “หัวหน้ากองหรือผู้อำนวยการกอง” หมายความรวมถึงหัวหน้าส่วนราชการหรือหน่วยงาน ซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ ๖ ระดับ ๗ หรือระดับ ๘ ที่ ก.ร.กำหนดตามมาตรา ๒๐ วรรคสาม ให้บังคับบัญชาหน่วยงานในฐานะหัวหน้ากองหรือผู้อำนวยการกองด้วย ข้อ ๓ หัวหน้าหน่วยงานระดับแผนกซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้กระทำผิดวินัย มีอำนาจสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ข้อ ๔ หัวหน้ากองซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้กระทำผิดวินัย มีอำนาจสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ หรือสั่งลงโทษตัดเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกิน ๑๐% และเป็นเวลาไม่เกินสองเดือน ข้อ ๕ ผู้อำนวยการกองซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้กระทำผิดวินัยมีอำนาจสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ หรือสั่งลงโทษตัดเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกิน ๑๐% และเป็นเวลาไม่เกินสี่เดือน ข้อ ๖ เลขาธิการ รัฐสภาซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้กระทำผิดวินัย มีอำนาจสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ หรือสั่งลงโทษตัดเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกิน ๑๐% และเป็นเวลาไม่เกินหกเดือนหรือสั่งลงโทษลดขั้นเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกินสองขั้น ข้อ ๗ ประธานรัฐสภา มีอำนาจสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ หรือสั่งลงโทษตัดเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกิน๑๐ % และเป็นเวลาไม่เกินหกเดือน หรือสั่งลงโทษลดขั้นเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกินสองขั้นเฉพาะเลขาธิการรัฐสภา ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ ป.ส. กาญจนวัฒน์ ประธานรัฐสภา ประธาน ก.ร. ประภาศรี/ผู้จัดทำ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๓/ตอนที่ ๒/หน้า ๑/๖ มกราคม ๒๕๑๙
688268
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2556
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา ประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๖[๑] โดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุพนักงานราชการตามคุณวุฒิการศึกษาของพนักงานราชการ จึงเห็นสมควรปรับปรุงอัตราค่าตอบแทนของพนักงานราชการของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาให้สอดคล้องกัน อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๔ และข้อ ๑๖ ของระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘ ประกอบกับมาตรา ๑๕ (๕) และมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภาจึงออกประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภาไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (๓) และ (๔) ของข้อ ๕ แห่งประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ ลงวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๓) กลุ่มงานบริหารทั่วไป ให้ใช้บัญชีอัตราค่าตอบแทนเป็นแบบช่วง (ก) ผู้ได้รับวุฒิปริญญาตรีที่มีหลักสูตรกำหนดระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า ๔ ปี ต่อจากวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๑๕,๙๖๐ บาท (ข) ผู้ได้รับวุฒิปริญญาโททั่วไปหรือเทียบเท่า ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๑๙,๖๘๐ บาท (ค) ผู้ได้รับวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๒๔,๐๐๐ บาท (๔) กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ ให้ใช้บัญชีอัตราค่าตอบแทนเป็นแบบช่วง (ก) ผู้ได้รับวุฒิปริญญาตรีที่มีหลักสูตรกำหนดระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า ๔ ปีต่อจากวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๑๗,๒๙๐ บาท (ข) ผู้ได้รับวุฒิปริญญาตรีที่มีหลักสูตรกำหนดระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า ๕ ปีต่อจากวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายเฉพาะปริญญาที่ ก.ร. กำหนด ให้ได้รับเงินเดือนตามหลักสูตร ๕ ปี ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๑๘,๓๓๐ บาท (ค) ผู้ได้รับวุฒิปริญญาโททั่วไปหรือเทียบเท่า ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๒๑,๓๒๐ บาท (ง) ผู้ได้รับวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๒๖,๐๐๐ บาท” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานบริการ และบัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานเทคนิค ท้ายประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ ลงวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๔๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมครั้งสุดท้ายโดยประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕ และให้ใช้บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานบริการ และบัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานเทคนิค ท้ายประกาศนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ประธาน ก.ร. [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานบริการ ๒. บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานเทคนิค (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๖ อุษมล/ผู้ตรวจ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๓๐/๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๖
319571
กฎ ก.ร. ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2519) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ว่าด้วยการสั่งพักราชการ การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน และการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามผลการสอบสวนพิจารณา
กฎ ก กฎ ก.ร. ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๑๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ว่าด้วยการสั่งพักราชการ การสั่งให้ ออกจากราชการไว้ก่อน และการดำเนินการเพื่อให้ เป็นไปตามผลการสอบสวนพิจารณา[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ (๓) และมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ก.ร. ออกกฎ ก.ร. ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กฎ ก.ร. นี้ ให้ใช้บังคับแก่สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ข้อ ๒ การสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญพักราชการ หรือให้ออกจากราชการไว้ก่อน เพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาตามมาตรา ๕๗ และการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามผลการสอบสวนพิจารณาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดใน กฎ ก.ร. นี้ ข้อ ๓ เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใด มีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาว่ากระทำผิดอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ หรือมาตรา ๕๘ วรรคสาม แล้วแต่กรณี จะสั่งให้พักราชการได้ก็ต่อเมื่อมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีที่ผู้นั้นถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญานั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ หรือเกี่ยวกับความประพฤติหรือพฤติการณ์อันไม่น่าไว้วางใจและผู้มีอำนาจดังกล่าวพิจารณาแล้วเห็นว่าถ้าให้ผู้นั้นคงอยู่ในหน้าที่ราชการอาจเกิดความเสียหายแก่ราชการ (๒) มีพฤติการณ์แสดงว่าถ้าผู้นั้นคงอยู่ในหน้าที่ราชการ จะเป็นอุปสรรคต่อการสอบสวน หรือพิจารณาหรือจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้น (๓) ผู้นั้นอยู่ในระหว่างถูกคุมขังหรือต้องถูกจำคุกโดยคำพิพากษา และถูกคุมขัง หรือต้องจำคุกมาเป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่าสิบห้าวันแล้ว ข้อ ๔ การพักราชการ ให้พักตลอดเวลาที่สอบสวนพิจารณา ข้อ ๕ ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวนหลายสำนวน หรือถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาหลายคดีเว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ถ้าจะสั่งพักราชการให้สั่งพักทุกสำนวนและทุกคดี ในกรณีที่ได้สั่งพักราชการในสำนวนใด หรือคดีใดไว้แล้วภายหลังปรากฏว่าผู้ถูกสั่งพักราชการนั้นมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวนในสำนวนอื่นหรือถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาว่ากระทำผิดอาญาในคดีอื่นเพิ่มขึ้นอีก เว้นแต่เป็นความผิดที่กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ ก็ให้สั่งพักราชการในสำนวนหรือคดีที่เพิ่มขึ้นนั้นด้วย ข้อ ๖ การสั่งพักราชการ ห้ามมิให้สั่งพักย้อนหลังไปก่อนวันออกคำสั่ง เว้นแต่ (๑) ผู้ซึ่งจะถูกสั่งพักราชการอยู่ในระหว่างถูกคุมขังหรือต้องจำคุกโดยคำพิพากษา การสั่งพักราชการในเรื่องนั้นให้สั่งพักย้อนหลังไปถึงวันที่ถูกคุมขังหรือต้องจำคุกได้ (๒) ในกรณีที่ได้มีการสั่งพักราชการไว้แล้ว ถ้าจะต้องสั่งใหม่เพราะคำสั่งเดิมไม่ถูกต้อง ให้สั่งตั้งแต่วันให้พักราชการตามคำสั่งเดิม หรือตามวันที่ควรต้องพักราชการในขณะที่ออกคำสั่งเดิม ข้อ ๗ คำสั่งพักราชาการให้ทำเป็นหนังสือตามแบบคำสั่งของทางราชการ ระบุชื่อผู้ถูกสั่งพักพร้อมทั้งกรณีและเหตุที่สั่งให้พักราชการได้ เมื่อได้มีคำสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดพักราชการแล้ว ให้แจ้งคำสั่งให้ผู้นั้นทราบโดยเร็วพร้อมทั้งส่งสำเนาคำสั่งนั้นด้วย แต่ถ้าไม่อาจแจ้งให้ทราบได้ ให้แจ้งเป็นหนังสือพร้อมทั้งส่งสำเนาคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปให้ ณ ที่อยู่ของผู้นั้นที่ปรากฏตามหลักฐานของทางราชการด้วย และให้ถือว่าได้แจ้งคำสั่งพักราชการให้ทราบแล้ว ข้อ ๘ เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีเหตุที่อาจถูกสั่งพักราชการตามข้อ ๓ และผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ หรือมาตรา ๕๘ วรรคสาม แล้วแต่กรณีพิจารณาเห็นว่าการสอบสวนหรือการพิจารณากรณีหรือคดีนั้นไม่แล้วเสร็จไปโดยเร็ว ก็ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการไว้ก่อนได้ ข้อ ๙ เมื่อได้สั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดพักราชการไว้แล้ว หากมีเหตุตามข้อ ๘ จะสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการไว้ก่อนอีชั้นหนึ่งก็ได้ ข้อ ๑๐ ให้นำข้อ ๔ ข้อ ๕ และข้อ ๗ มาใช้บังคับแก่การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนโดยอนุโลม ข้อ ๑๑ การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน จะต้องสั่งให้ออกตั้งแต่วันใด ให้นำข้อ ๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่สำหรับการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนในกรณีตามข้อ ๙ ให้สั่งให้ออกจากราชการตั้งแต่วันพักราชการเป็นต้นไป ข้อ ๑๒ การสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญตำแหน่งตั้งแต่เลขาธิการรัฐสภาขึ้นไปออกจากราชการไว้ก่อน ให้ดำเนินการเพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่งนับแต่วันออกจากราชการไว้ก่อน ข้อ ๑๓ เมื่อได้สั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดพักราชการ หรือให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาแล้ว ถ้าภายหลังปรากฏว่าผลการสอบสวนพิจารณาเป็นประการใดให้ดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงก็ให้สั่งลงโทษให้เป็นไปตามมาตรา ๕๓ (๒) ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย และไม่มีกรณีที่จะต้องออกจากราชการด้วยเหตุใด ๆ ก็ให้สั่งผู้นั้นกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิม หรือตำแหน่งอื่นในระดับเดียวกันที่ต้องใช้คุณสมบัติเฉพาะที่ผู้นั้นมีอยู่ แต่สำหรับการสั่งให้ผู้ถูกสั่งพักราชการกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งอื่นในระดับเดียวกัน ซึ่งเป็นตำแหน่งตั้งแต่เลขาธิการรัฐสภาขึ้นไป ให้ดำเนินการเพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งตามมาตรา ๒๘ (๓) ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยยังไม่ถึงขั้นร้ายแรง ที่จะลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก และไม่มีกรณีที่จะต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่น ก็ให้สั่งผู้นั้นกลับเข้ารับราชการตาม (๒) แล้วดำเนินการตามมาตรา ๕๒ ต่อ ไป (๔) ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยยังไม่ถึงขั้นเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ที่จะลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก แต่มีกรณีที่จะต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่น ก็ให้ดำเนินการตามมาตรา ๕๒ แล้วสั่งให้ออกจากราชการตามเหตุนั้นโดยไม่ต้องสั่งให้กลับเข้ารับราชการ ส่วนการดำเนินการตามมาตรา ๕๒ นั้น ถ้าเป็นกรณีที่จะสั่งลงโทษตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือน การสั่งลงโทษดังกล่าวห้ามมิให้สั่งย้อนหลังไปก่อนวันพักราชการหรือวันให้ออกจากราชการไว้ก่อน (๕) ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย แต่มีกรณีที่จะต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่นก็ให้สั่งให้ออกจากราชการตามเหตุนั้นโดยไม่ต้องให้กลับเข้ารับราชการ ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๙ ป.ส. กาญจนวัฒน์ ประธานรัฐสภา ประธาน ก.ร. ประภาศรี/ผู้จัดทำ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๓/ตอนที่ ๔๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๔ มีนาคม ๒๕๑๙
304117
กฎ ก.ร. ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2519) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์การถูกลงโทษ
กฎ ก กฎ ก.ร. ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๑๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์การถูกลงโทษ[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓(๓) และมาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ก.ร. ออกกฎ ก.ร. ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กฎ ก.ร. นี้ ให้ใช้บังคับแก่สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ข้อ ๒ การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษ ให้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้อุทธรณ์และให้อุทธรณ์ได้สำหรับตนเองเท่านั้นจะอุทธรณ์แทนคนอื่นหรือมอบหมายให้คนอื่นอุทธรณ์แทนไม่ได้ ข้อ ๓ เพื่อประโยชน์ในการอุทธรณ์ ผู้จะอุทธรณ์อาจขอตรวจหรือคัดรายงานการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนได้ ส่วนบันทึกถ้อยคำพยานบุคคลหรือเอกสารอื่นให้อยู่ในดุลพินิจของผู้สั่งลงโทษ โดยให้พิจารณาถึงประโยชน์ในทางการรักษาวินัยของข้าราชการรัฐสภาสามัญ เหตุผลและความจำเป็นเรื่องอื่น ๆ ไป ข้อ ๔ การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือนตามมาตรา ๕๒ ให้อุทธรณ์ต่อเลขาธิการรัฐสภาภายในสิบห้าวันนับแต่วันทราบคำสั่ง ในกรณีที่ประธานรัฐสภาเป็นผู้สั่งลงโทษ ให้อุทธรณ์ต่อ ก.ร. ข้อ ๕ การอุทธรณ์ตามข้อ ๔ ให้ยื่นหนังสืออุทธรณ์พร้อมด้วยสำเนาถูกต้องหนึ่งฉบับต่อผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นผู้สั่งลงโทษ ให้ผู้บังคับบัญชาตามวรรคหนึ่ง ส่งหนังสืออุทธรณ์พร้อมด้วยสำเนาการพิจารณาโทษและคำชี้แจงของตน ถ้ามี ต่อไปยังผู้บังคับบัญชาตามข้อ ๔ ภายในเจ็ดวันนับแต่วันได้รับหนังสืออุทธรณ์ ข้อ ๖ ให้ผู้บังคับบัญชาตามข้อ ๔ พิจารณาวินิจฉัยสั่งการให้เสร็จภายในสิบห้าวัน นับแต่วันได้รับหนังสืออุทธรณ์และสำนวนการพิจารณาโทษ ข้อ ๗ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาตามข้อ ๔ พิจารณาเห็นว่าการสั่งลงโทษสมควรแก่ความผิดแล้วก็ให้สั่งยกอุทธรณ์ หรือถ้าเห็นว่าการสั่งลงโทษนั้นไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ก็ให้สั่งเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือยกโทษ ตามควรแก่กรณี ตามอำนาจที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๘ วรรคสอง และวรรคสาม ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาตามข้อ ๔ สั่งยกอุทธรณ์หรือสั่งลดโทษ ผู้ถูกลงโทษจะอุทธรณ์ต่อไปมิได้แต่ถ้าสั่งเพิ่มโทษผู้ถูกลงโทษมีสิทธิอุทธรณ์ได้อีกชั้นหนึ่ง ข้อ ๘ การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากราชการต้องอุทธรณ์ต่อก.ร.ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง จะยื่นหนังสือต่อ ก.ร.โดยตรง หรือจะยื่นหนังสืออุทธรณ์ต่อผู้บังคับบัญชาเดิมก็ได้ ในกรณีที่ยื่นต่อผู้บังคับบัญชาเดิม ให้นำข้อ ๕ มาใช้โดยอนุโลม ผู้อุทธรณ์จะยื่นคำแถลงเป็นหนังสือหรือขอแถลงด้วยวาจาเพื่อประกอบการพิจารณาของก.ร.ก็ได้ แต่ต้องยื่นหรือทำคำขอเป็นหนังสือก่อน ก.ร. พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จ ข้อ ๙ การพิจารณาอุทธรณ์ตามข้อ ๘ ให้นำข้อ ๗ วรรคหนึ่งมาใช้โดยอนุโลม ให้ ก.ร.พิจารณาวินิจฉัยให้เสร็จโดยเร็ว และให้เสนอประธานรัฐสภาเพื่อสั่งการตามมติของ ก.ร. เมื่อประธานได้สั่งการตามมติของ ก.ร.แล้ว ให้สำนักเลขาธิการรัฐสภาแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบเป็นหนังสือโดยเร็ว คำสั่งของประธานรัฐสภาตามมติของ ก.ร. ให้ถือเป็นที่สุด ข้อ ๑๐ การนับเวลาตามกฎ ก.ร. นี้ สำหรับเวลาเริ่มต้นให้นับวันถัดจากวันแรกแห่งเวลานั้นเป็นวันเริ่มนับเวลา ส่วนเวลาสิ้นสุดนั้น ถ้าวันสุดท้ายแห่งเวลาตรงกับวันหยุดราชการให้นับวันเริ่มเปิดราชการใหม่เป็นวันสุดท้ายแห่งเวลา ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ป.ส. กาญจนวัฒน์ ประธานรัฐสภา ประธาน ก.ร. ประภาศรี/ผู้จัดทำ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๓/ตอนที่ ๒๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙
304113
กฎ ก.ร. ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2518) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.2518 ว่าด้วยวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ
กฎ ก กฎ ก.ร. ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๑๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ว่าด้วยวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ (๓) และมาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ก.ร. ออกกฎ ก.ร. ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กฎ ก.ร. นี้ให้ใช้บังคับแก่สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสังกัดรัฐสภา ข้อ ๒ ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องรักษาวินัยโดยเคร่งครัดอยู่เสมอ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย จักต้องได้รับโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ข้อ ๓ วินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ มีดังนี้ คือ (๑) ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ (๒) ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตว์สุจริตและเที่ยงธรรม ห้ามมิให้อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจหน้าที่ราชการของตน ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อมหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น การปฏิบัติหรือการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการและเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง (๓) ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ราชการตามกฎหมาย และระเบียบของทางราชการ ให้เกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการ ด้วยความอุตสาหะเอาใจใส่และระมัดระวังรักษาประโยชน์ของทางราชการ การประมาทเลินเล่อ ในหน้าที่ราชการหรือปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย และระเบียบของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรงเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง (๔) ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องถือว่าเป็นหน้าที่พิเศษที่จะสนใจและรับทราบเหตุการณ์เคลื่อนไหวอันอาจเป็นภยันตรายต่อประเทศชาติ และต้องป้องกันภยันตรายซึ่งจะบังเกิดแก่ประเทศชาติจนเต็มความสามารถ (๕) ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องรักษาความลับของทางราชการ การเปิดเผยความลับของทางราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรงเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง (๖) ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ ห้ามมิให้ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง การขัดคำสั่งหรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรงเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง (๗) ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องปฏิบัติราชการโดยมิให้เป็นการกระทำข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตนเว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้กระทำ หรือได้รับอนุญาตเป็นพิเศษชั่วครั้งคราว (๘) ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องบอกถือว่าเป็นรายงานเท็จด้วย การรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง (๙) ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องถือและปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมของทางราชการ (๑๐) ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้ การละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชารอย่างร้ายแรง หรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง (๑๑) ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องสุภาพเรียบร้อย และรักษาความสามัคคีระหว่างข้าราชการและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหน้าที่ราชการ (๑๒) ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องสุภาพเรียบร้อยต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรม และให้ความสงเคราะห์แก่สมาชิกรัฐสภา และประชาชนผู้มาติดต่อในราชการ อันเกี่ยวกับหน้าที่ของตนโดยไม่ชักช้า ห้ามมิให้ดูหมิ่นเหยียดหยาม สมาชิกรัฐสภาและราษฎร การดูหมิ่น เหยียดหยาม สมาชิกรัฐสภาและราษฎร เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง (๑๓) ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาผลประโยชน์อันอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรม หรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน (๑๔) ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท (๑๕) ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง กรรมการพรรคการเมือง หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดในพรรคการเมือง (๑๖) ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องไม่กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว เช่นประพฤติตนเป็นคนเสเพล เสพของมึนเมาจนไม่สามารถครองสติได้ หมกมุ่นในการพนัน กระทำหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการอื่นใดซึ่งอาจทำให้เสื่อมเสียชื่อเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน การกระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก หรือโทษที่หนักกว่าจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก หรือให้รับโทษที่หนักกว่าจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ หรือกระทำหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการอื่นใดอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ข้อ ๔ ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ส่งเสริมและดูแลระมัดระวังให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามวินัย ถ้าผู้บังคับบัญชารู้ว่าผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาคนใดกระทำผิดวินัย จะต้องดำเนินการทางวินัยทันที ถ้าเห็นว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยที่จะต้องได้รับโทษและอยู่ในอำนาจของตนที่จะลงโทษได้ให้สั่งลงโทษ แต่ถ้าเห็นว่าผู้นั้นควรจะต้องรับโทษสูงกว่าที่ตนมีอำนาจสั่งลงโทษ ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาของผู้กระทำผิดวินัยเหนือขึ้นไป เพื่อให้พิจารณาสั่งลงโทษตามควรแก่กรณี ผู้บังคับบัญชาผู้ใดละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สุจริต ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ ป.ส. กาญจนวัฒน์ ประธานรัฐสภา ประธาน ก.ร. ประภาศรี/ผู้จัดทำ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๒/ตอนที่ ๑๐๙/หน้า ๑๕๓/๑๐ มิถุนายน ๒๕๑๘
667914
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2554
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา ประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๔[๑] โดยที่ได้มีการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการรัฐสภาสามัญ ซึ่งเป็นฐานคำนวณอัตราค่าตอบแทนของพนักงานราชการ ดังนั้น จึงสมควรปรับปรุงอัตราค่าตอบแทนของพนักงานราชการให้สอดคล้องกับการปรับอัตราเงินเดือนดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๔ และข้อ ๑๖ ของระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘ ประกอบกับมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภาจึงออกประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภาไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกบัญชีกลุ่มงานบริการ บัญชีกลุ่มงานเทคนิค บัญชีกลุ่มงานบริหารทั่วไป บัญชีกลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ บัญชีกลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ และบัญชีกลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ ท้ายประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๔) และให้ใช้บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการท้ายประกาศนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ พลเอก ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภาทำหน้าที่ประธานรัฐสภา ประธาน ก.ร. [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานบริการ ๒. บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานเทคนิค ๓. บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานบริหารทั่วไป ๔. บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ ๕. บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ ๖. บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๔ ปณตภร/ปรับปรุง ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๖๗ ง/หน้า ๑๓/๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๔
630003
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการสรรหาและการเลือกสรรพนักงานราชการ พ.ศ. 2553
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการสรรหาและการเลือกสรรพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] โดยที่สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสรรหาและการเลือกสรรพนักงานราชการ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๐ วรรคหนึ่ง ของระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภาว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา จึงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการสรรหาและการเลือกสรรพนักงานราชการ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสรรหาและการเลือกสรรพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๕๓” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการสรรหาและการเลือกสรรพนักงานราชการ และแบบสัญญาจ้างของพนักงานราชการ ลงวันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “การสรรหา” หมายความว่า การเสาะแสวงหาบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และคุณสมบัติอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภากำหนดจำนวนหนึ่ง เพื่อทำการเลือกสรร “การเลือกสรร” หมายความว่า การพิจารณาบุคคลที่ได้ทำการสรรหาทั้งหมดและทำการคัดเลือกเพื่อให้ได้บุคคลที่เหมาะสมที่สุด “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการดำเนินการสรรหาและเลือกสรรพนักงานราชการทั่วไป ข้อ ๔ การสรรหาและเลือกสรรบุคคลเพื่อเป็นพนักงานราชการ ให้คำนึงถึงความรู้ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะ ความเท่าเทียมในโอกาส และประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ และด้วยกระบวนการที่ได้มาตรฐาน ยุติธรรม และโปร่งใส เพื่อรองรับการตรวจสอบตามแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ข้อ ๕ ในการสรรหาและเลือกสรรพนักงานราชการทั่วไป ให้หัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการสรรหาและเลือกสรรพนักงานราชการทั่วไป มีจำนวนไม่น้อยกว่า ๓ คน ประกอบด้วย (ก) หัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาหรือ เป็นประธาน ผู้ที่ได้รับมอบหมาย (ข) ผู้แทนที่รับผิดชอบงานหรือโครงการ เป็นกรรมการ ที่มีตำแหน่งที่จะสรรหาและเลือกสรร (ค) ผู้ปฏิบัติงานด้านการเจ้าหน้าที่ เป็นกรรมการและเลขานุการ การเลือกสรรตำแหน่งใด ถ้าหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเห็นสมควรให้มีผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งนั้น ร่วมเป็นคณะกรรมการ หัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาอาจแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้มีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับตำแหน่งนั้น เป็นคณะกรรมการทั้งจากภายในหรือภายนอกส่วนราชการสังกัดรัฐสภาก็ได้ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการสรรหาและเลือกสรรตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศรับสมัคร การดำเนินการตามข้อนี้ คณะกรรมการอาจแต่งตั้งคณะกรรมการอื่นเพื่อดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ได้ เช่น คณะกรรมการออกข้อสอบ คณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ เป็นต้น ข้อ ๖ การสรรหาและเลือกสรรพนักงานราชการทั่วไป ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้ (๑) ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาจัดทำประกาศรับสมัคร ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะงาน กลุ่มงานตามลักษณะงาน ชื่อตำแหน่ง ความรับผิดชอบของตำแหน่ง ระยะเวลาการจ้าง ค่าตอบแทนที่จะได้รับ คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัคร หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาและเลือกสรร เกณฑ์การตัดสิน การขึ้นบัญชีผู้ผ่านการเลือกสรร และเงื่อนไขการจ้างอื่น ๆ ตลอดจน กำหนดวันและเวลาของกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเสนอหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเพื่อประกาศให้ผู้มีสิทธิสมัครทราบ ประกาศรับสมัครนั้น ให้ปิดไว้ในที่เปิดเผยเป็นการทั่วไป และให้แพร่ข่าวการรับสมัครในเว็บไซต์ของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา โดยให้มีระยะเวลาแพร่ข่าวไม่น้อยกว่า ๕ วันทำการก่อนกำหนดวันรับสมัคร (๒) ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาอาจกำหนดค่าธรรมเนียมในการสอบได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม (๓) ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาอาจกำหนดระยะเวลาในการรับสมัครได้ตามความเหมาะสม แต่ทั้งนี้ต้องไม่น้อยกว่า ๕ วันทำการ (๔) ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภากำหนดหลักเกณฑ์การเลือกสรรบุคคลเพื่อปฏิบัติงาน โดยยึดหลักความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ ที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง (๕) ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภากำหนดคะแนนเต็มของความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะแต่ละเรื่องได้ตามความจำเป็นและสอดคล้องกับตำแหน่งงาน ทั้งนี้ ความรู้ ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะเรื่องใดที่จำเป็นและสอดคล้องกับตำแหน่งงานมากที่สุด ควรมีน้ำหนักของคะแนนเต็มมากที่สุด (๖) ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภากำหนดวิธีการประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะแต่ละเรื่อง ด้วยวิธีการหลายวิธี หรือความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะหลาย ๆ เรื่อง ประเมินได้ด้วยวิธีการประเมินวิธีเดียวกัน ตามที่เห็นว่าเหมาะสมและสอดคล้องกับความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะที่จะประเมินดังกล่าว (๗) ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาจะกำหนดให้มีการประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะที่มีคะแนนเต็มมากที่สุด และประกาศรายชื่อผู้ผ่านการประเมินเฉพาะเรื่องนั้น เพื่อเข้ารับการประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะในเรื่องที่เหลืออยู่ต่อไปก็ได้ (๘) ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภากำหนดเกณฑ์การตัดสินให้เป็นผู้ผ่านการเลือกสรร เพื่อจัดจ้างเป็นพนักงานราชการทั่วไปได้ตามความเหมาะสม และสอดคล้องกับตำแหน่งงาน การดำเนินการตาม (๑) ถึง (๘) ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาอาจให้คณะกรรมการพิจารณาก่อนเสนอหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาลงนามในประกาศรับสมัครก็ได้ ข้อ ๗ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการสรรหาและเลือกสรรพนักงานราชการทั่วไปเสร็จสิ้นแล้ว ให้รายงานผลการดำเนินการต่อหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภา เพื่อประกาศบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการเลือกสรรและดำเนินการจัดจ้างต่อไป ข้อ ๘ ให้บัญชีรายชื่อผู้ผ่านการเลือกสรรมีอายุตามที่เห็นสมควร แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน ๒ ปี นับแต่วันประกาศบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการเลือกสรร และการจัดจ้างพนักงานราชการทั่วไปต้องเรียกมารายงานตัวและทำสัญญาจ้างภายในอายุบัญชี ในกรณีมีเหตุผลความจำเป็นที่จะจัดจ้างพนักงานราชการทั่วไปภายหลังบัญชีหมดอายุ ต้องเป็นกรณีที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาได้ดำเนินการเรียกผู้ผ่านการเลือกสรรมารายงานตัวภายในระยะเวลาของอายุบัญชี และต้องทำสัญญาจ้างให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน นับจากวันที่บัญชีหมดอายุ ข้อ ๙ ในกรณีที่บัญชีผู้ผ่านการเลือกสรรพนักงานราชการทั่วไปยังไม่หมดอายุและส่วนราชการสังกัดรัฐสภามีตำแหน่งว่างเพิ่ม หัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาอาจจัดจ้างผู้ผ่านการเลือกสรรจากบัญชีดังกล่าวก็ได้ โดยตำแหน่งว่างดังกล่าวต้องเป็นตำแหน่งว่างในงานลักษณะเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน และต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งอย่างเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน หากเป็นตำแหน่งว่างในชื่อตำแหน่งเดียวกัน ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาจัดจ้างเป็นพนักงานราชการทั่วไปตามลำดับที่ที่สอบได้ แต่หากเป็นตำแหน่งว่างในชื่อตำแหน่งอื่น ให้เป็นดุลพินิจของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะจัดจ้างตามลำดับที่ หรือประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะเพิ่มเติมก็ได้ ในกรณีที่มีการประเมินเพิ่มเติม ให้แต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภากำหนดเพิ่มเติม ตามข้อ ๖ (๔) ถึง (๘) ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภามีตำแหน่งว่าง และไม่มีบัญชีผู้ผ่านการเลือกสรรพนักงานราชการทั่วไป หัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาอาจใช้บัญชีผู้ผ่านการเลือกสรรพนักงานราชการทั่วไปของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาอื่นได้ ซึ่งตำแหน่งที่จะขอใช้บัญชีผู้ผ่านการเลือกสรรกับตำแหน่งที่ขึ้นบัญชีผู้ผ่านการเลือกสรรไว้ จะต้องมีลักษณะงานเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกัน และต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งอย่างเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน โดยส่วนราชการสังกัดรัฐสภาผู้จะขอใช้บัญชีประสานกับส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเจ้าของบัญชีโดยตรงในเรื่องจำนวนรายชื่อผู้ผ่านการเลือกสรร และให้แต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภากำหนดเพิ่มเติมตามข้อ ๖ (๔) ถึง (๘) โดยการขึ้นบัญชีผู้ผ่านการเลือกสรรมีระยะเวลาหมดอายุบัญชีเท่าระยะเวลาของอายุบัญชีผู้ผ่านการเลือกสรรที่ขอใช้ สำหรับผู้ผ่านการเลือกสรรที่ไม่ประสงค์ไปรับการประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะเพิ่มเติมในส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่ขอใช้บัญชี หรือผู้ผ่านการเลือกสรรที่ไปรับการประเมินในส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่ขอใช้บัญชีและไม่ผ่านการประเมินจะยังมีสิทธิที่จะได้รับการจัดจ้างในบัญชีผู้ผ่านการเลือกสรรของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเจ้าของบัญชี และกรณีที่สละสิทธิการจัดจ้างในบัญชีผู้ผ่านการเลือกสรรของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเจ้าของบัญชีจะไม่ถือว่าสละสิทธิการจัดจ้างในบัญชีผู้ผ่านการเลือกสรรของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาผู้ขอใช้บัญชี ข้อ ๑๑ การสรรหาและเลือกสรรพนักงานราชการพิเศษ ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังนี้ (๑) ให้หัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาและผู้รับผิดชอบงานหรือโครงการของตำแหน่งที่จะสรรหาและเลือกสรรกำหนดขอบข่ายงานของตำแหน่ง ชื่อตำแหน่ง คุณสมบัติของตำแหน่ง ระยะเวลาการจ้าง ค่าตอบแทนที่จะได้รับ หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกสรรที่จำเป็นเหมาะสมและสอดคล้องกับตำแหน่ง เกณฑ์การตัดสิน และเงื่อนไขการจ้างอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนแสดงแหล่งข้อมูลที่จะสรรหา ได้แก่ สถาบันการเงิน องค์การระหว่างประเทศ สมาคมอาชีพ สถานทูต ศูนย์ที่ปรึกษากระทรวงการคลัง ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ที่เคยจ้างบุคคลในงานประเภทเดียวกัน หรือแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ตามที่เห็นสมควร (๒) หัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภา หรือคณะกรรมการที่หัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาแต่งตั้ง และผู้รับผิดชอบงานหรือโครงการ ดำเนินการสรรหารายชื่อผู้ที่มีความเหมาะสมจากแหล่งข้อมูลที่กำหนด และเลือกสรรพนักงานราชการพิเศษจากรายชื่อดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกสรร และเกณฑ์การตัดสินที่กำหนด (๓) เมื่อส่วนราชการสังกัดรัฐสภาได้ชื่อผู้ผ่านการสรรหาและเลือกสรรเป็นพนักงานราชการพิเศษแล้ว ให้หัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาดำเนินการจัดจ้างผู้นั้นต่อไป ข้อ ๑๒ ในกรณีที่มีการประกาศขึ้นบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการเลือกสรรพนักงานราชการตามประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการสรรหาและการเลือกสรรพนักงานราชการ และแบบสัญญาจ้างของพนักงานราชการ ลงวันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ แล้ว ให้อายุบัญชีผู้ผ่านการเลือกสรรนั้น มีระยะเวลาเท่าที่เหลืออยู่เดิมตามที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการสรรหาและการเลือกสรรพนักงานราชการ และแบบสัญญาจ้างของพนักงานราชการ ลงวันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การใดที่อยู่ระหว่างดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการสรรหาและการเลือกสรรพนักงานราชการ และแบบสัญญาจ้างของพนักงานราชการ ลงวันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการสรรหา และการเลือกสรรพนักงานราชการ ตามประกาศดังกล่าวจนกว่าจะแล้วเสร็จ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ ชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ประธาน ก.ร. ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๐ ง/หน้า ๗๔/๓๐ มีนาคม ๒๕๕๓
461493
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง แนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง แนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ[๑] เพื่อให้การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการมีประสิทธิภาพ โปร่งใส เป็นธรรมและมีมาตรฐานเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๙ วรรคสอง ของระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภาว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ก.ร.) จึงเห็นควรกำหนดแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงานพนักงานราชการไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง แนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ” ข้อ ๒ การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาจะใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารพนักงานราชการและนำผลการประเมินไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาในเรื่องต่างๆ แล้วแต่กรณี ดังนี้ (๑) การเลื่อนค่าตอบแทน (๒) การเลิกจ้าง (๓) การต่อสัญญาจ้าง (๔) อื่นๆ ข้อ ๓ การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ มี ๒ ประเภท ดังนี้ (๑) การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการทั่วไป (๒) การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการพิเศษ ข้อ ๔ ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานภายใต้หลักการที่จะประเมินผลการปฏิบัติงานบนพื้นฐานของผลสำเร็จและผลสัมฤทธิ์ของงานโดยส่วนราชการสังกัดรัฐสภากำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานที่มีความชัดเจน ข้อ ๕ การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการทั่วไป ให้ประเมินจากผลงานและคุณลักษณะในการปฏิบัติงานดังต่อไปนี้ โดยกำหนดให้มีสัดส่วนของผลงานไม่น้อยกว่าร้อยละ (ก) การประเมินผลงานให้พิจารณาจากองค์ประกอบ ดังนี้ ๑. ปริมาณงาน ๒. คุณภาพงาน ๓. ความทันเวลา (ข) การประเมินคุณลักษณะในการปฏิบัติงาน ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาอาจกำหนดคุณลักษณะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสมของลักษณะภารกิจและสภาพการปฏิบัติงานของพนักงานราชการในตำแหน่งต่างๆ แบบประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการทั่วไป ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาอาจพิจารณาใช้ตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ หรือปรับใช้ตามความเหมาะสมของลักษณะงานก็ได้ ข้อ ๖ ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นผู้ประเมินแจ้งให้ผู้รับการประเมินทราบถึงเป้าหมายของการปฏิบัติงานตามตำแหน่งและงานที่รับผิดชอบ ทั้งนี้ ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดการจ้างที่กำหนดในสัญญาจ้าง ข้อ ๗ ให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการทั่วไป ปีละ ๒ ครั้ง ตามปีงบประมาณ คือ ครั้งที่ ๑ ประเมินผลในช่วงการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ ๑ ตุลาคม ถึง ๓๑ มีนาคม ครั้งที่ ๒ ประเมินผลในช่วงการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ ๑ เมษายน ถึง ๓๐ กันยายน ข้อ ๘ ให้หัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย (๑) หัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธาน (๒) หัวหน้าหน่วยงานที่มีพนักงานราชการทั่วไปปฏิบัติงานอยู่หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นกรรมการ (๓) ผู้ปฏิบัติงานด้านการเจ้าหน้าที่ เป็นกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงาน มีหน้าที่ในการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมจากการใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชา หรือผู้ประเมินก่อนที่จะเสนอผลการประเมินต่อหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ข้อ ๙ เมื่อเสร็จสิ้นการประเมินผลการปฏิบัติงานแต่ละครั้ง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นผู้ประเมินแจ้งผลการประเมินให้พนักงานราชการทั่วไปผู้รับการประเมินทราบ และให้คำปรึกษาแนะนำแก่พนักงานราชการทั่วไปเพื่อแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น ข้อ ๑๐ พนักงานราชการทั่วไปผู้ใดซึ่งผู้บังคับบัญชาได้ประเมินผลการปฏิบัติงานแล้วมีค่าเฉลี่ยของผลการประเมินติดต่อกัน ๒ ครั้งต่ำกว่าระดับดี ให้ผู้บังคับบัญชาทำความเห็นเสนอหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเพื่อพิจารณาสั่งเลิกจ้างต่อไป ข้อ ๑๑ กรณีที่จะมีการต่อสัญญาจ้าง ให้นำผลการประเมินผลการปฏิบัติงานมาประกอบการพิจารณาในการต่อสัญญาจ้าง โดยผู้ที่ได้รับการพิจารณาให้ต่อสัญญาจ้าง จะต้องมีผลการประเมินผลการปฏิบัติงานเฉลี่ยย้อนหลังไม่เกิน ๔ ปี ไม่ต่ำกว่าระดับดี ทั้งนี้ ให้ผู้บังคับบัญชาทำความเห็นเสนอหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาพิจารณาสั่งจ้างต่อไป ข้อ ๑๒ การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการพิเศษ ให้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติตามแนวทางดังต่อไปนี้ (๑) ให้หัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาและผู้รับผิดชอบงาน/โครงการร่วมกันประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการพิเศษ (๒) การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการพิเศษให้ประเมินจากผลการปฏิบัติงานตามเป้าหมายและคุณลักษณะการปฏิบัติงาน โดยสอดรับกับข้อตกลง/เงื่อนไขในสัญญาจ้าง ทั้งนี้โดยกำหนดให้มีสัดส่วนของผลงานไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ (๓) ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภากำหนดระยะเวลาในการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการพิเศษเป็นรายเดือนหรือเป็นระยะ เมื่องาน/โครงการ ได้ดำเนินการสำเร็จไปแล้วร้อยละ ๒๕ ร้อยละ ๕๐ ร้อยละ ๗๕ และร้อยละ ๑๐๐ หรืออื่น ๆ โดยเทียบเคียงกับเป้าหมายของงาน/โครงการ ข้อ ๑๓ ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาวางระบบการจัดเก็บผลการประเมิน เพื่อนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในข้อ ๒ ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ โภคิน พลกุล ประธาน ก.ร. [เอกสารแนบท้าย] ๑ ตัวอย่างแบบประเมินผลการปฏิบัติงานพนักงานราชการทั่วไป ๒ ตัวอย่างแบบประเมินผลการปฏิบัติงานพนักงานราชการพิเศษ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๘๑ ง/หน้า ๑๗/๑๐ กันยายน ๒๕๔๘
592869
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ว่าด้วยวัน เวลาทำงานและการลาหยุดราชการของข้าราชการ ฝ่ายรัฐสภาชั่วคราว
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ว่าด้วยวัน เวลาทำงานและการลาหยุดราชการของข้าราชการ ฝ่ายรัฐสภาชั่วคราว[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ก.ร. กำหนดวัน เวลาทำงานและการลาหยุดราชการของข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กำหนด ก.ร. นี้ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้อ ๒ ในระหว่างที่ ก.ร. ยังไม่ได้กำหนดระเบียบว่าด้วยวัน เวลาทำงานและการลาหยุดราชการของข้าราชการฝ่ายรัฐสภาอยู่ขณะนี้ ให้ใช้ระเบียบการลาของข้าราชการพลเรือน และข้าราชการฝ่ายตุลาการ พ.ศ. ๒๕๐๐ ไปพลางก่อน ส่วนบรรดาอำนาจในการสั่งการอนุญาต การอนุมัติหรือการปฏิบัติราชการตามที่กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ หรือคำสั่งใดกำหนดว่าเป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรี หรือคณะกรรมการอื่นใด ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เฉพาะที่เกี่ยวกับราชการของส่วนราชการฝ่ายรัฐสภา ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๘ ป.ส. กาญจนวัฒน์ ประธาน ก.ร. ประภาศรี/พิมพ์ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๒/ตอนที่ ๑๐๙/หน้า ๑๔๓๕/๑๐ มิถุนายน ๒๕๑๘
568838
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๔)[๑] โดยที่ได้มีการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการรัฐสภาสามัญ ซึ่งเป็นฐานคำนวณอัตราค่าตอบแทนของพนักงานราชการ ดังนั้น จึงสมควรปรับปรุงอัตราค่าตอบแทนของพนักงานราชการให้สอดคล้องกับการปรับอัตราเงินเดือนดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๔ และข้อ ๑๖ ของระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภาจึงกำหนดค่าตอบแทนของพนักงานราชการไว้ดังนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๔)” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกบัญชีกลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ ท้ายประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ และบัญชีกลุ่มงานบริการ บัญชีกลุ่มงานเทคนิค บัญชีกลุ่มงานบริหารทั่วไป บัญชีกลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ บัญชีกลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ ท้ายประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๓) และให้ใช้บัญชีแนบท้ายประกาศนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประธาน ก.ร. [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีกลุ่มงานบริการ ๒. บัญชีกลุ่มงานเทคนิค ๓. บัญชีกลุ่มงานบริหารทั่วไป ๔. บัญชีกลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ ๕. บัญชีกลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ ๖. บัญชีกลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ ๗. ตารางการปรับอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการจากบัญชีอัตราค่าตอบแทนท้ายประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๓) เข้าสู่บัญชีอัตราค่าตอบแทนท้ายประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๔) ๘. การปรับอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการจากบัญชีอัตราค่าตอบแทนท้ายประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ เข้าสู่บัญชีอัตราค่าตอบแทนท้ายประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๑ ปณตภร/ปรับปรุง ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๒๐๔ ง/หน้า ๓๐/๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๐
511241
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นปีที่ ๓๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ (๒) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๐๕ (๓) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๗ (๔) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๐ (๕) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๖๐ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ (๖) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๑๗ (๗) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๑๙ บรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่น ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน ลักษณะ ๑ บททั่วไป มาตรา ๔[๒] ในพระราชบัญญัตินี้ “ข้าราชการฝ่ายอัยการ” หมายความว่า ข้าราชการซึ่งรับราชการในสำนักงานอัยการสูงสุดโดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนในสำนักงานอัยการสูงสุด “ก.อ.” หมายความว่า คณะกรรมการอัยการ มาตรา ๕ ข้าราชการฝ่ายอัยการได้แก่ (๑) ข้าราชการอัยการ คือข้าราชการผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการดำเนินคดีตามกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ (๒) ข้าราชการธุรการ คือ ข้าราชการผู้มีหน้าที่ในทางธุรการ มาตรา ๖[๓] อัตราเงินเดือน อัตราเงินประจำตำแหน่งและการรับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการอัยการ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง สำหรับข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เมื่อเทียบกับตำแหน่งใดก็ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการตามตำแหน่งนั้น อัตราเงินเดือน อัตราเงินประจำตำแหน่งและการรับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการธุรการ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งที่กำหนดไว้สำหรับข้าราชการพลเรือน มาตรา ๗ เพื่อประโยชน์ในการออมทรัพย์ของข้าราชการอัยการ คณะรัฐมนตรีจะวางระเบียบและวิธีการให้กระทรวงการคลังหักเงินเดือนของข้าราชการอัยการไว้เป็นเงินสะสมก็ได้ โดยคิดดอกเบี้ยจากเงินสะสมนั้นให้ในอัตราไม่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทประจำของธนาคารพาณิชย์ เงินสะสมและดอกเบี้ยนี้ให้จ่ายคืนหรือให้กู้ยืมเพื่อดำเนินการตามโครงการสวัสดิการสำหรับข้าราชการอัยการตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๘ ข้าราชการอัยการอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๙[๔] (ยกเลิก) มาตรา ๑๐[๕] ข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการการเมืองข้าราชการวิสามัญ หรือข้าราชการซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือพนักงานเทศบาลที่ไม่ใช่พนักงานเทศบาลวิสามัญ ซึ่งสอบคัดเลือกหรือทดสอบความรู้เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ตามพระราชบัญญัตินี้ หากประสงค์จะโอนมาบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเพื่อนับเวลาราชการหรือเวลาทำงานของตนในขณะที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานเทศบาลเป็นเวลาราชการของข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย ก็ให้กระทำได้โดยสำนักงานอัยการสูงสุดทำความตกลงกับเจ้าสังกัด มาตรา ๑๑ บำเหน็จบำนาญของข้าราชการอัยการ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ข้าราชการอัยการผู้ใดถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการคณะรัฐมนตรีจะพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญก็ได้ มาตรา ๑๒ เครื่องแบบของข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่งให้เป็นไปตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๑๓ วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการอัยการ ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๑๔[๖] ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจกำหนดค่าธรรมเนียมการสอบเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ ลักษณะ ๒ คณะกรรมการอัยการ มาตรา ๑๕[๗] ให้มีคณะกรรมการอัยการคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า ก.อ. ประกอบด้วย (๑) ประธานกรรมการ ซึ่งเลือกจากผู้รับบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการมาแล้วในตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอธิบดีกรมอัยการหรือรองอัยการสูงสุด หรือผู้ทรงคุณวุฒิในทางกฎหมายซึ่งเป็นผู้รับบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการและเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไป ทั้งนี้ ต้องไม่เคยเป็นสมาชิกหรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมืองในระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมา และไม่เป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภาหรือทนายความ (๒) อัยการสูงสุดเป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่ง (๓) รองอัยการสูงสุดตามลำดับอาวุโสจำนวนไม่เกินสี่คนเป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่ง (๔) กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิหกคน ซึ่งข้าราชการอัยการที่ได้รับเงินเดือนตั้งแต่ชั้น ๒ ขึ้นไปเป็นผู้เลือกจาก (ก) ข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนตั้งแต่ชั้น ๔ ขึ้นไป และมิได้เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่งอยู่แล้ว สามคน (ข) ผู้รับบำเหน็จหรือบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการมาแล้ว และต้องไม่เป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภา กรรมการพรรคการเมือง เจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง หรือทนายความ สามคน (๕) กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภาจำนวนสองคนและคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนหนึ่งคน ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นรองประธาน ให้ ก.อ. แต่งตั้งข้าราชการฝ่ายอัยการคนหนึ่งเป็นเลขานุการ ก.อ. มาตรา ๑๕ ทวิ[๘] ในการเลือกประธาน ก.อ. ตามมาตรา ๑๕ (๑) ให้กรรมการอัยการ ตามมาตรา ๑๕ (๒) (๓) (๔) และ (๕) ประชุมกันกำหนดรายชื่อบุคคลที่เห็นสมควรเป็นประธานไม่น้อยกว่าห้าชื่อส่งให้ข้าราชการอัยการผู้มีสิทธิเลือกตามมาตรา ๑๕ (๔) ทำการเลือกรายชื่อดังกล่าว เมื่อผลการเลือกเป็นประการใด ให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง มาตรา ๑๕ ตรี[๙] ประธาน ก.อ. อยู่ในตำแหน่งคราวละสามปีนับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และอาจได้รับเลือกเพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอีกได้ไม่เกินสองคราวติดต่อกัน นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้ประธาน ก.อ. พ้นจากตำแหน่งเมื่อตาย ลาออก หรือขาดคุณสมบัติมาตรา ๑๕ (๑) ในกรณีที่ประธาน ก.อ. พ้นจากตำแหน่งตามวาระ หรือพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุอื่น ให้ดำเนินการเลือกให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง ในระหว่างที่ประธาน ก.อ. พ้นจากตำแหน่ง ให้รองประธาน ก.อ. ทำหน้าที่ประธาน ก.อ. มาตรา ๑๕ จัตวา[๑๐] รองประธาน ก.อ. อยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี นับแต่วันที่ได้รับเลือก นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้รองประธาน ก.อ. พ้นจากตำแหน่งเมื่อตาย ลาออก หรือขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๕ (๔) (ข) หรือมาตรา ๑๕ เบญจ แล้วแต่กรณี มาตรา ๑๕ เบญจ[๑๑] กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๕ (๕) ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (๑) เป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๓ (๒) (๖) (๗) (๘) (๙) หรือ (๑๐) (๒) ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการพรรคการเมือง สมาชิกพรรคการเมือง หรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นของพรรคการเมือง (๓) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์ (๔) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า (๕) ไม่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง กรรมการการเลือกตั้ง กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือกรรมการในคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองหรือศาลอื่น (๖) ไม่เป็นข้าราชการอัยการ ทนายความ ข้าราชการตำรวจ หรือข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม (๗) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ (๘) ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ (๙) ไม่ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอื่นใดอันเป็นการกระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ มาตรา ๑๕ ฉ[๑๒] การเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๕ (๕) ให้วุฒิสภาตั้งคณะกรรมาธิการสามัญขึ้นคณะหนึ่งเพื่อพิจารณาเสนอรายชื่อบุคคลที่เห็นสมควรจำนวนสี่คนต่อวุฒิสภาเพื่อพิจารณาเลือกต่อไป มาตรา ๑๖ เมื่อจะมีการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่ง วิธีการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีประกาศชื่อผู้ได้รับเลือกในราชกิจจานุเบกษา [คำว่า “นายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๗ แห่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่อง การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] มาตรา ๑๗[๑๓] กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งได้คราวละสองปี และอาจได้รับเลือกหรือแต่งตั้งใหม่ได้ แต่จะดำรงตำแหน่งได้ไม่เกินสองคราวติดต่อกัน ถ้าตำแหน่งว่างลงก่อนถึงกำหนดวาระ ให้นายกรัฐมนตรีสั่งให้ดำเนินการเลือกซ่อมหรือวุฒิสภาเลือกซ่อมหรือคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งซ่อม เว้นแต่วาระการอยู่ในตำแหน่งของกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิจะเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน นายกรัฐมนตรีจะไม่สั่งให้ดำเนินการเลือกซ่อมหรือวุฒิสภาจะไม่เลือกซ่อมหรือคณะรัฐมนตรีจะไม่แต่งตั้งซ่อมก็ได้ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกซ่อมหรือแต่งตั้งซ่อมตามวรรคสองอยู่ในตำแหน่งได้เพียงวาระของผู้ที่ตนแทน มาตรา ๑๘[๑๔] ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการอัยการตามมาตรา ๑๕ ว่างลง และมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการโดยรีบด่วน ก็ให้กรรมการอัยการที่เหลืออยู่ดำเนินการไปได้ แต่ต้องมีกรรมการอัยการพอที่จะเป็นองค์ประชุม มาตรา ๑๙ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ครบกำหนดวาระ (๒) ตาย (๓) ลาออก (๔) เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่ง หรือพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการในกรณีที่เป็นกรรมการอัยการตามมาตรา ๑๕ (๔) (ก) (๕) กลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการอัยการ ในกรณีที่เป็นกรรมการอัยการตามมาตรา ๑๕ (๔) (ข) (๖) ไปเป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภา ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง กรรมการพรรคการเมือง เจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง หรือทนายความ ในกรณีเป็นที่สงสัยว่า กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิผู้ใดพ้นจากตำแหน่งกรรมการอัยการหรือไม่ ให้อัยการสูงสุดเสนอ ก.อ. เพื่อวินิจฉัยชี้ขาด [คำว่า “อัยการสูงสุด” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๘ แห่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่อง การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] มาตรา ๒๐ การประชุมของ ก.อ. ต้องมีกรรมการอัยการมาประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดคนจึงเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานและรองประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการอัยการในที่ประชุมเลือกกรรมการอัยการคนหนึ่งเป็นประธาน หากกรรมการอัยการโดยตำแหน่งว่างลง หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้รักษาราชการแทน หรือผู้รักษาการในตำแหน่งตามกฎหมาย ทำหน้าที่กรรมการอัยการแทนในระหว่างนั้น ในการประชุมของ ก.อ. ถ้ามีการพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับกรรมการอัยการผู้ใดโดยเฉพาะ ผู้นั้นไม่มีสิทธิเข้าประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือเสียงข้างมาก ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ก.อ. มีอำนาจออกข้อบังคับว่าด้วยระเบียบการประชุมและการลงมติ มาตรา ๒๑ ในกรณีที่ ก.อ. มีหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้อัยการสูงสุดเป็นผู้เสนอเรื่องต่อ ก.อ. แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิกรรมการอัยการคนหนึ่งคนใดที่จะเสนอ [คำว่า “อัยการสูงสุด” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๘ แห่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่อง การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] มาตรา ๒๒ ก.อ. มีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการให้ทำการใด ๆ แทนได้ ลักษณะ ๓ ข้าราชการอัยการ หมวด ๑ การบรรจุ การแต่งตั้ง และการเลื่อนขั้นเงินเดือน มาตรา ๒๓[๑๕] ตำแหน่งข้าราชการอัยการมีดังนี้ อัยการสูงสุด รองอัยการสูงสุด อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ อัยการพิเศษฝ่าย อัยการพิเศษประจำเขต อัยการพิเศษประจำกรม อัยการจังหวัดประจำกรม อัยการจังหวัด อัยการประจำกรม รองอัยการจังหวัด อัยการประจำกอง อัยการจังหวัดผู้ช่วย และอัยการผู้ช่วย นอกจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง อาจให้มีตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงได้ ตำแหน่งดังกล่าวจะเทียบกับตำแหน่งใดตามวรรคหนึ่งให้กำหนดไว้ในกฎกระทรวง การกำหนดตำแหน่งและการเทียบตำแหน่งตามวรรคสองต้องได้รับความเห็นชอบของ ก.อ. มาตรา ๒๔[๑๖] ข้าราชการอัยการให้ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งดังต่อไปนี้ (๑) อัยการสูงสุด ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น ๘ (๒) รองอัยการสูงสุด ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น ๗ (๓)[๑๗] อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ อัยการพิเศษฝ่าย และอัยการพิเศษประจำเขต ให้ได้รับเงินเดือนชั้น ๖ (๔)[๑๘] อัยการพิเศษประจำกรม ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น ๕ - ๖ (๕) อัยการจังหวัดประจำกรม และอัยการจังหวัด ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น ๔ (๖) อัยการประจำกรม และรองอัยการจังหวัด ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น ๓ (๗) อัยการประจำกอง และอัยการจังหวัดผู้ช่วย ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น ๒ (๘) อัยการผู้ช่วย ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น ๑ สำหรับข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เมื่อเทียบกับตำแหน่งใดก็ให้ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งนั้น ในกรณีข้าราชการอัยการได้เลื่อนตำแหน่ง ให้รับเงินเดือนในชั้นที่สูงขึ้นตามตำแหน่ง และให้ได้รับเงินเดือนในอัตราขั้นต่ำของชั้นนั้น แต่ถ้าผู้นั้นได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของชั้นที่เลื่อนขึ้น ก็ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นของชั้นนั้น ซึ่งมีจำนวนเท่ากับเงินเดือนที่ได้รับอยู่ ในกรณีที่เงินเดือนในขั้นของชั้นที่เลื่อนขึ้นไม่มีจำนวนที่เท่ากับเงินเดือนที่ได้รับอยู่ก็ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นซึ่งมีจำนวนสูงมากกว่าเงินเดือนที่ได้รับอยู่น้อยที่สุด มาตรา ๒๔ ทวิ[๑๙] (ยกเลิก) มาตรา ๒๕ การบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่ง โดยวิธีการสอบคัดเลือกตามความในหมวด ๒ แห่งลักษณะนี้ แต่ถ้าผู้ใด (๑) สอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ โดยมีหลักสูตรการศึกษาเดียวไม่น้อยกว่าสามปี ซึ่ง ก.อ. เทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และสอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (๒) สอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ โดยมีหลักสูตรการศึกษาหลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่าสองปี หรือหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่าสองปี ซึ่ง ก.อ. เทียบว่า ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และสอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (๓) สอบไล่ได้เป็นธรรมศาสตร์บัณฑิตหรือนิติศาสตร์บัณฑิต และสอบไล่ได้ชั้นเกียรตินิยมตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และได้ประกอบวิชาชีพ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือ (๔) สอบไล่ได้ปริญญาโทหรือปริญญาเอกทางกฎหมายในประเทศไทย และสอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี เมื่อ ก.อ. พิจารณาเห็นว่า เป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๓๓ (๒) ถึง (๑๒) และได้ทำการทดสอบความรู้ในวิชากฎหมายแล้ว เห็นสมควรที่จะให้เข้ารับราชการ ก็ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีสั่งบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ตามที่ ก.อ. กำหนด การบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ให้บรรจุให้ได้รับเงินเดือนในอัตราขั้นต่ำของชั้น [คำว่า “นายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๗ แห่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่อง การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] มาตรา ๒๖ อัยการผู้ช่วยที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดผู้ช่วยจะต้องได้รับการอบรมจากกรมอัยการมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และผลของการอบรมเป็นที่พอใจของ ก.อ. ว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และความประพฤติ เหมาะสมที่จะเป็นอัยการจังหวัดผู้ช่วย อัยการผู้ช่วยซึ่งได้รับการอบรมจากกรมอัยการมาแล้วหนึ่งปี แต่ผลของการอบรมยังไม่เป็นที่พอใจของ ก.อ. ว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และความประพฤติ เหมาะสมที่จะเป็นอัยการจังหวัดผู้ช่วย ก็ให้ได้รับการอบรมจากกรมอัยการต่อไปอีกหนึ่งปี เมื่อครบกำหนดดังกล่าวแล้วหากผลของการอบรมยังไม่เป็นที่พอใจของ ก.อ. ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ออกจากราชการ ในระหว่างเวลาปีแรกที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดผู้ช่วย หากปรากฏว่าผู้ได้รับแต่งตั้งไม่เหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งต่อไป ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีด้วยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจสั่งให้ออกจากราชการ [คำว่า “นายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๗ แห่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่อง การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] มาตรา ๒๗[๒๐] การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งนอกจากตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ให้ประธาน ก.อ. เสนอ ก.อ. โดยคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ ความรับผิดชอบ ประวัติการปฏิบัติราชการของบุคคลนั้น เทียบกับงานในตำแหน่งข้าราชการอัยการที่จะได้รับแต่งตั้งนั้นๆ เพื่อให้ความเห็นชอบก่อน แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิกรรมการอัยการคนหนึ่งคนใดที่จะเสนอ เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วจึงนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง มาตรา ๒๘ การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการอัยการในชั้นหนึ่ง ๆ ให้รัฐมนตรีเป็นผู้สั่งเลื่อน ในเมื่อได้รับความเห็นชอบของ ก.อ. แล้ว โดยปกติปีละหนึ่งขั้น โดยคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณงานของตำแหน่งและผลของงานที่ได้ปฏิบัติมา การรักษาวินัย ตลอดจนความสามารถและความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด ให้ออกเป็นกฎกระทรวง มาตรา ๒๙ การโอนข้าราชการอัยการไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการธุรการ โดยให้ได้รับเงินเดือนไม่สูงกว่าในขณะที่โอน ให้รัฐมนตรีสั่งได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้นั้นยินยอม และ ก.อ. เห็นชอบ การโอนข้าราชการอัยการไปเป็นข้าราชการพลเรือนหรือข้าราชการฝ่ายอื่น ให้รัฐมนตรีสั่งได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้นั้นยินยอม และ ก.อ.เห็นชอบ วรรคสาม[๒๑] (ยกเลิก) มาตรา ๓๐ การโอนข้าราชการธุรการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการอัยการโดยให้ได้รับเงินเดือนไม่สูงกว่าในขณะที่โอนมา อาจทำได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ แต่ข้าราชการธุรการผู้นั้นอย่างน้อยต้องเคยเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการประจำกอง หรืออัยการจังหวัดผู้ช่วยมาแล้ว มาตรา ๓๑ ข้าราชการอัยการผู้ใดพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการไปโดยมิได้มีความผิดหรือมีมลทินหรือมัวหมองในราชการ หรือไปรับราชการในกระทรวงทบวงกรมอื่น เมื่อจะกลับเข้ารับตำแหน่งข้าราชการอัยการโดยรับเงินเดือนไม่สูงกว่าขณะพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการ ถ้าไม่เป็นผู้ขาดคุณสมบัติ ตามมาตรา ๓๓ (๒) ถึง (๑๒) ก็ให้รัฐมนตรีสั่งบรรจุได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ มาตรา ๓๒ ข้าราชการอัยการผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร เมื่อผู้นั้นพ้นจากราชการทหาร โดยไม่มีความเสียหาย และประสงค์จะกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งข้าราชการอัยการ โดยรับเงินเดือนเท่าที่ได้รับอยู่ในขณะที่ไปรับราชการทหาร ให้ยื่นคำขอภายในกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันพ้นจากราชการทหารในกรณีเช่นว่านี้ ให้รัฐมนตรีสั่งบรรจุได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ แต่ถ้าจะบรรจุให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าขณะที่ไปรับราชการทหารให้บรรจุได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ซึ่ง ก.อ. จะได้กำหนด หมวด ๒ การสอบคัดเลือก มาตรา ๓๓ ผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (๑) (ก) สอบไล่ได้เป็นธรรมศาสตร์บัณฑิต หรือนิติศาสตร์บัณฑิต หรือสอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ ซึ่ง ก.อ. เทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี (ข) สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาและ (ค) ได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นข้าราชการตุลาการ จ่าศาล รองจ่าศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดี พนักงานคุมประพฤติ นายทหารเหล่าพระธรรมนูญ หรือทนายความ หรือได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นตามที่ ก.อ. กำหนด ทั้งนี้ เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี และให้ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ด้วย (๒) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด (๓) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปี (๔) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ (๕) เป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา (๖) ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี (๗) ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว (๘) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งให้พักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ หรือตามกฎหมายอื่น (๙) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ (๑๐) ไม่เป็นผู้เคยรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๑๑) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือมีกายหรือจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการอัยการ หรือเป็นโรคที่ระบุไว้ในกฎกระทรวง และ (๑๒) เป็นผู้ที่คณะกรรมการแพทย์มีจำนวนไม่น้อยกว่าสามคน ซึ่ง ก.อ. จะได้กำหนดได้ตรวจร่างกายและจิตใจแล้ว และ ก.อ. ได้พิจารณารายงานของแพทย์ เห็นว่าสมควรรับสมัครได้ ให้ ก.อ. มีอำนาจวางระเบียบเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกก่อนที่จะรับสมัครได้ มาตรา ๓๔ ให้ ก.อ. มีอำนาจกำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกตามมาตรา ๓๓ ตลอดจนวางเงื่อนไขในการรับสมัคร เมื่อสมควรจะมีการสอบคัดเลือกเมื่อใด ให้กรมอัยการเสนอต่อ ก.อ. ให้ ก.อ. จัดให้มีการสอบคัดเลือก เมื่อได้มีการสอบใหม่ และได้ประกาศผลของการสอบแล้ว บัญชีสอบคัดเลือกคราวก่อนเป็นอันยกเลิก มาตรา ๓๕ ผู้สอบคัดเลือกที่ได้คะแนนสูงให้ได้รับบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยก่อนผู้ที่ได้รับคะแนนต่ำลงมาตามลำดับแห่งบัญชีสอบคัดเลือก หากได้คะแนนเท่ากันให้ใช้วิธีจับสลากเพื่อจัดลำดับที่ระหว่างผู้ที่ได้คะแนนเท่ากันนั้น ผู้สอบคัดเลือกได้ผู้ใด หากขาดคุณสมบัติหรือลักษณะข้อใดข้อหนึ่งตามมาตรา ๓๓ หรือเป็นบุคคลที่ ก.อ. เห็นว่ามีชื่อเสียงหรือความประพฤติหรือเหตุอื่น ๆ ที่ไม่เหมาะสมจะเป็นข้าราชการอัยการ ผู้นั้นเป็นอันหมดสิทธิเข้ารับราชการตามผลของการสอบคัดเลือกนั้น หมวด ๓ การพ้นจากตำแหน่ง มาตรา ๓๖ ข้าราชการอัยการพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๓) ได้รับอนุญาตให้ลาออก (๔) โอนไปรับราชการทางอื่น (๕) ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร (๖) ถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๒๖ หรือมาตรา ๓๗ หรือมาตรา ๓๙ (๗) ถูกสั่งลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก การพ้นจากตำแหน่งของข้าราชการอัยการ เว้นแต่ตำแหน่งอัยการผู้ช่วย หากเป็นกรณีตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ แต่ถ้าเป็นการพ้นจากตำแหน่งตาม (๔) (๕) (๖) หรือ (๗) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง พระบรมราชโองการดังกล่าวให้มีผลตั้งแต่วันโอนหรือวันออกจากราชการแล้วแต่กรณี มาตรา ๓๗ ผู้ได้รับบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดหากภายหลังปรากฏต่อ ก.อ. ว่าขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๕ หรือมาตรา ๓๓ ตั้งแต่ก่อนได้รับการบรรจุ ให้รัฐมนตรีด้วยความเห็นชอบของ ก.อ. สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่รับจากทางราชการก่อนมีคำสั่งให้ออกนั้น และถ้าการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้วให้ถือว่าเป็นการสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา ๓๘ ข้าราชการอัยการผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งเพื่อให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณา เมื่อนายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีสั่งอนุญาตแล้วให้ถือว่าพ้นจากตำแหน่ง ในกรณีที่ข้าราชการอัยการขอลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้ง ให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก นอกจากกรณีตามวรรคสอง ถ้านายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีเห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการจะยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกินสามเดือนนับแต่วันขอลาออกก็ได้ [คำว่า “นายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๗ แห่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่อง การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] มาตรา ๓๙ เมื่อนายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีเห็นสมควรให้ข้าราชการอัยการผู้ใดออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน เหตุทุพพลภาพ หรือเหตุรับราชการนาน ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ให้ทำได้ด้วยความเห็นชอบของ ก.อ. แต่การให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน ให้ทำได้เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และได้ดำเนินการสอบสวนตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในลักษณะ ๔ หมวด ๒ แล้ว ไม่ได้ความเป็นสัตย์ว่ากระทำผิดที่จะต้องถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก แต่ผู้นั้นมีมลทินหรือมัวหมอง จะให้รับราชการต่อไป จะเป็นการเสียหายแก่ราชการ (๒) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดบกพร่องต่อหน้าที่ หรือหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่สมควรที่จะให้คงเป็นข้าราชการอัยการต่อไป (๓) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการได้โดยสม่ำเสมอ แต่ไม่ถึงเหตุทุพพลภาพ หรือ (๔) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๓๓ (๒) หรือ (๑๑) หรือเป็นสมาชิกรัฐสภาซึ่งมาจากการเลือกตั้ง หรือเป็นข้าราชการการเมือง เว้นแต่กรณีตามมาตรา ๒๙ วรรคสาม [คำว่า “นายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๗ แห่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่อง การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] ลักษณะ ๔ วินัย การรักษาวินัย และการลงโทษ หมวด ๑ วินัย มาตรา ๔๐ ข้าราชการอัยการต้องรักษาวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัด ผู้ใดฝ่าฝืนจักต้องได้รับโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๓ แห่งลักษณะนี้ มาตรา ๔๑ ข้าราชการอัยการต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ มาตรา ๔๒ ข้าราชการอัยการจะเป็นกรรมการพรรคการเมือง สมาชิกพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมืองไม่ได้ ในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา หรือผู้แทนทางการเมืองอื่นใดข้าราชการอัยการจะเข้าเป็นตัวกระทำการ ร่วมกระทำการ หรือสนับสนุนในการโฆษณาหรือชักชวนใด ๆ ไม่ได้ มาตรา ๔๓ ข้าราชการอัยการต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย ห้ามมิให้ขัดขืนหลีกเลี่ยง ถ้าไม่เห็นพ้องด้วยคำสั่งนั้นจะเสนอความเห็นทัดทานเป็นหนังสือก็ได้ แต่ต้องเสนอโดยด่วน และเมื่อได้ทัดทานดังกล่าวแล้วผู้บังคับบัญชามิได้สั่งถอนหรือแก้คำสั่งที่สั่งไป ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม แต่ให้ผู้บังคับบัญชารีบรายงานขึ้นไปยังอัยการสูงสุดตามลำดับ ในการปฏิบัติราชการ ห้ามมิให้กระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่จะได้รับอนุญาต [คำว่า “อัยการสูงสุด” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๘ แห่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่อง การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] มาตรา ๔๔ ข้าราชการอัยการต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความระมัดระวังมิให้เสียหายแก่ราชการ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม มาตรา ๔๕ ข้าราชการอัยการต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องบอกถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย มาตรา ๔๖ ข้าราชการอัยการต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการจะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้ ข้าราชการอัยการต้องไม่ประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพ หรือกระทำกิจการใดอันเป็นการกระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ หรือเสื่อมเสียถึงเกียรติศักดิ์แห่งตำแหน่งหน้าที่ราชการ ข้าราชการอัยการต้องไม่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือที่ปรึกษากฎหมายหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนบริษัท ข้าราชการอัยการต้องไม่เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐในทำนองเดียวกัน เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจาก ก.อ. มาตรา ๔๗ ข้าราชการอัยการต้องไม่กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว เช่น ประพฤติตนเป็นคนเสเพล มีหนี้สินรุงรัง เสพของมึนเมาจนไม่สามารถครองสติได้ เล่นการพนันเป็นอาจิณ กระทำความผิดอาญา หรือกระทำการอื่นใด ซึ่งความประพฤติหรือการกระทำดังกล่าวแล้วอาจทำให้เสียเกียรติศักดิ์แห่งตำแหน่งหน้าที่ราชการ มาตรา ๔๘ ข้าราชการอัยการต้องต้อนรับ ให้ความสะดวก และให้ความสงเคราะห์ต่อประชาชนผู้มาติดต่อในกิจการอันเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตนโดยไม่ชักช้า ห้ามมิให้ดูหมิ่นเหยียดหยามบุคคลใด ๆ และต้องสุภาพเรียบร้อยต่อประชาชน มาตรา ๔๙ ข้าราชการอัยการต้องถือและปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ มาตรา ๕๐ ข้าราชการอัยการต้องสุภาพเรียบร้อยและรักษาความสามัคคีระหว่างข้าราชการและต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหน้าที่ราชการ มาตรา ๕๑ ข้าราชการอัยการต้องรักษาความลับของทางราชการ มาตรา ๕๒ ผู้บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดรู้ว่าผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัยแล้วไม่จัดการสอบสวนพิจารณาและดำเนินการตามความในหมวด ๒ และหมวด ๓ แห่งลักษณะนี้ หรือตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน แล้วแต่กรณี หรือไม่จัดการลงโทษตามอำนาจและหน้าที่หรือจัดการลงโทษโดยไม่สุจริต ให้ถือว่าผู้บังคับบัญชาผู้นั้นกระทำผิดวินัย หมวด ๒ การรักษาวินัย มาตรา ๕๓ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการสอบสวนชั้นต้นโดยมิชักช้า วิธีการสอบสวนชั้นต้นจะทำโดยให้ผู้มีกรณีเกี่ยวข้องชี้แจ้งเรื่องราวเป็นหนังสือหรือโดยบันทึกเรื่องราวและความเห็นก็ได้ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สอบสวนชั้นต้นแล้ว เห็นว่า ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง ให้ดำเนินการตามมาตรา ๖๓ แต่ถ้าเห็นว่าเป็นกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้ดำเนินการตามมาตรา ๕๔ หรือมาตรา ๕๖ แล้วแต่กรณี แต่ถ้าเกินอำนาจของตนให้รายงานไปยังผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปตามลำดับเพื่อดำเนินการตามควรแก่กรณี มาตรา ๕๔ ข้าราชการอัยการผู้ใดซึ่งผู้บังคับบัญชาเห็นว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงที่มีโทษถึงไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก ให้ผู้บังคับบัญชาต่อไปนี้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นอย่างน้อยสามคน เพื่อทำการสอบสวน คือ (๑) ประธาน ก.อ. สำหรับข้าราชการอัยการทุกชั้น (๒) อัยการสูงสุด สำหรับข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๑ และชั้น ๒ กรรมการตามวรรคหนึ่งต้องเป็นข้าราชการอัยการ ในการสอบสวนนั้น คณะกรรมการสอบสวนต้องแจ้งข้อกล่าวหา และรายละเอียดเท่าที่มีอยู่ให้ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยทราบ และต้องให้โอกาสแก่ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยชี้แจงและนำพยานหลักฐานเข้าสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ด้วย ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวนให้เสร็จโดยเร็วกำหนดอย่างช้าไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันได้รับแต่งตั้ง ถ้ามีความจำเป็นซึ่งจะสอบสวนไม่ทันภายในกำหนดนั้นก็ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง แต่ละครั้งเป็นเวลาไม่เกินสิบห้าวัน และต้องแสดงเหตุที่ต้องขยายเวลาไว้ด้วยทุกครั้ง แต่ถ้าขยายเวลาแล้วยังสอบสวนไม่เสร็จ จะขยายเวลาต่อไปอีกได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากผู้แต่งตั้ง หลักเกณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวกับการสอบสวนให้เป็นไปตามที่ ก.อ. กำหนด เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้ทำการสอบสวนเสร็จแล้ว ให้รายงานเสนอความเห็นต่ออัยการสูงสุด โดยให้ผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกกล่าวหาตามลำดับได้แสดงความเห็นเสียก่อนด้วย ถ้าคณะกรรมการหรือผู้บังคับบัญชาดังกล่าว หรืออัยการสูงสุด เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัย ก็ให้อัยการสูงสุดทำความเห็นรายงานไปยัง ก.อ. เมื่อ ก.อ. ได้พิจารณาเห็นสมควรลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ จึงให้ประธาน ก.อ. สั่งไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการต่อไป ในกรณีข้าราชการอัยการถูกฟ้องคดีอาญา จะใช้คำพิพากษาถึงที่สุดของศาลประกอบการพิจารณาของ ก.อ. โดยไม่ต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนก็ได้ [คำว่า “ประธาน ก.อ.” และ “อัยการสูงสุด” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๗ และข้อ ๘ แห่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่องการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] มาตรา ๕๕ ให้กรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาและให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพียงเท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของกรรมการสอบสวน และโดยเฉพาะให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วยคือ (๑) เรียกให้กระทรวงทบวงกรม หน่วยราชการ หรือรัฐวิสาหกิจชี้แจงข้อเท็จจริงส่งเอกสารและหลักฐาน ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน (๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน มาตรา ๕๖ ข้าราชการอัยการผู้ใด กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่ ก.อ. กำหนด หรือได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาหรือต่อคณะกรรมการสอบสวน ประธาน ก.อ. จะพิจารณาสั่งลงโทษโดยไม่ต้องสอบสวนก็ได้ ทั้งนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบของ ก.อ. ก่อน [คำว่า “ประธาน ก.อ.” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๗ แห่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่องการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๕๗ ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือถูกฟ้องคดีอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่าจะให้อยู่ในหน้าที่ราชการระหว่างสอบสวนหรือพิจารณาจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ จะสั่งให้พักราชการก็ได้ ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจสั่งให้พักราชการ คือ (๑) ประธาน ก.อ. สำหรับข้าราชการอัยการทุกชั้น (๒) อัยการสูงสุด สำหรับข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๑ และชั้น ๒ การให้พักราชการนั้น ให้พักตลอดเวลาที่สอบสวนพิจารณา หรือตลอดเวลาที่คดียังไม่ถึงที่สุด เมื่อสอบสวนพิจารณาเสร็จแล้ว หรือคดีถึงที่สุดแล้ว ถ้าปรากฏว่าผู้ถูกสั่งให้พักราชการมิได้กระทำความผิดและไม่มีมลทิน หรือมัวหมอง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจสั่งให้พักราชการสั่งให้รับราชการตามเดิม เงินเดือนของผู้ถูกสั่งให้พักราชการดังกล่าว ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น [คำว่า “ประธาน ก.อ.” และ “อัยการสูงสุด” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๗ และข้อ ๘ แห่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่องการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] มาตรา ๕๘ ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา หรือถูกฟ้องคดีอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ แม้ภายหลังผู้นั้นจะพันจากตำแหน่งข้าราชการอัยการไปแล้ว ก็อาจมีการสอบสวนหรือพิจารณาเพื่อลงโทษ หรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้เป็นไปตามลักษณะนี้ได้ เว้นแต่ข้าราชการอัยการผู้นั้นจะพ้นจากตำแหน่งเพราะตาย หมวด ๓ การลงโทษ มาตรา ๕๙ โทษผิดวินัยมี ๕ สถาน คือ (๑) ไล่ออก (๒) ปลดออก (๓) ให้ออก (๔) งดบำเหน็จความชอบ (๕) ภาคทัณฑ์ การสั่งลงโทษข้าราชการอัยการในสถานไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกนั้นจะกระทำได้เมื่อได้ดำเนินการสอบสวนพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๒ แห่งลักษณะนี้แล้ว มาตรา ๖๐ การไล่ออกนั้นประธาน ก.อ. จะสั่งลงโทษได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงดังต่อไปนี้ (๑) ทุจริตต่อหน้าที่ราชการ (๒) ทำความผิดอาญาและต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๓) ต้องคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย (๔) เปิดเผยความลับของทางราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๕) ละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง หรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร (๖) ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย และการขัดคำสั่งนั้นอาจเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๗) ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการหรือปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือระเบียบของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๘) ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง [คำว่า “ประธาน ก.อ.” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๗ แห่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่องการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] มาตรา ๖๑ การปลดออกนั้น ประธาน ก.อ. จะสั่งลงโทษได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่ยังไม่ถึงขนาดที่จะต้องถูกไล่ออกจากราชการ หรือถึงขนาดที่จะต้องไล่ออก แต่มีเหตุอันควรลดหย่อน [คำว่า “ประธาน ก.อ.” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๗ แห่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่องการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] มาตรา ๖๒ การให้ออกนั้น ประธาน ก.อ. จะสั่งลงโทษได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่ยังไม่ถึงขนาดที่จะต้องถูกปลดออก หรือถึงขนาดที่จะต้องถูกปลดออก แต่มีเหตุอันควรลดหย่อน ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรานี้ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ [คำว่า “ประธาน ก.อ.” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๗ แห่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่องการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] มาตรา ๖๓ ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง และผู้บังคับบัญชาสอบสวนพิจารณาแล้วเห็นว่าสมควรลงโทษเพียงสถานงดบำเหน็จความชอบเป็นเวลาไม่เกินสามปี หรือถ้ามีเหตุสมควรปรานี จะลงโทษเพียงภาคทัณฑ์โดยจะให้ทำทัณฑ์บนไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้ ก็ให้ผู้บังคับบัญชารายงานตามลำดับถึงอัยการสูงสุดเพื่อเสนอ ก.อ. เมื่อ ก.อ. พิจารณาเห็นสมควรลงโทษสถานใด ก็ให้รายงานไปยังประธาน ก.อ. เพื่อสั่ง [คำว่า “ประธาน ก.อ.” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๗ แห่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่องการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] มาตรา ๖๔ ในคำสั่งลงโทษ ให้แสดงว่าผู้รับโทษนั้นกระทำผิดวินัยในกรณีใดตามมาตราใด มาตรา ๖๕ ถ้าปรากฏว่าคำสั่งลงโทษทางวินัยได้สั่งไปโดยผิดหลงให้ประธาน ก.อ. มีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นคุณแก่ผู้ถูกลงโทษได้ แต่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช่นว่านี้ จะต้องได้รับอนุมัติจาก ก.อ. ก่อน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ให้กระทำได้ภายในกำหนดสองปีนับแต่วันสั่งลงโทษ [คำว่า “ประธาน ก.อ.” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๗ แห่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่องการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] ลักษณะ ๕ ข้าราชการธุรการ มาตรา ๖๖ ในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการธุรการ ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนสามัญ มาใช้บังคับ ตำแหน่งข้าราชการอัยการใดเป็นตำแหน่งผู้บังคับบัญชาข้าราชการธุรการ โดยเทียบกับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งใด ให้กำหนดโดยกฎ ก.พ. บทเฉพาะกาล มาตรา ๖๗ ให้กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งอยู่ในตำแหน่งในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาคงอยู่ในตำแหน่งต่อไป จนกว่าจะได้มีการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัตินี้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๖๘ ผู้ใดเป็นข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไป โดยให้ได้รับเงินเดือนในอัตราเท่ากับเงินเดือนที่ได้รับอยู่ เว้นแต่ผู้ที่ได้รับเงินเดือนไม่ถึงขั้นต่ำของชั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนขั้นต่ำของชั้นนั้น มาตรา ๖๙ ผู้ใดเป็นข้าราชการธุรการสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการธุรการตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไป มาตรา ๗๐ ผู้ใดเป็นข้าราชการธุรการวิสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการธุรการวิสามัญต่อไป และให้นำมาตรา ๑๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๗๑ ข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยในขณะที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ใช้บังคับ และผู้บังคับบัญชาได้สั่งให้ดำเนินการสอบสวนแล้ว ถ้าการสั่งและการสอบสวนพิจารณาที่ได้กระทำไปแล้วถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ให้ถือว่าเป็นอันสมบูรณ์ ถ้ากรณียังค้างระหว่างการสอบสวน ก็ให้ดำเนินการสอบสวนตามกฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะเสร็จ แต่การพิจารณาและการสั่งลงโทษให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๗๒ ผู้ที่ได้ยื่นใบสมัครเข้าเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงถือคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ผู้ที่ ก.อ. ได้ลงมติให้รับเข้าเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ตามมาตรา ๑๔ และผู้สอบคัดเลือกได้ตามมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงมีสิทธิได้รับบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยต่อไป มาตรา ๗๓ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญที่จะได้ประกาศใช้ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๒๐ มิให้นำความในมาตรา ๓๙ (๔) ในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการการเมืองมาใช้บังคับแก่ข้าราชการอัยการ มาตรา ๗๔ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาบรรจุบุคคลซึ่งเคยรับราชการและออกจากราชการไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เข้ารับราชการ ให้ปรับเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้เข้าชั้นและขั้นตามบัญชีที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่กลับเข้ารับราชการ ในกรณีที่ผู้เข้ารับราชการเป็นผู้ซึ่งออกจากราชการก่อนมีการปรับอัตราเงินเดือนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๗ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๐ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๖๐ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ หรือพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๑๗ ให้ปรับเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการ ตามพระราชบัญญัติและประกาศนั้น ๆ เสียก่อน แล้วจึงปรับเงินเดือนตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่มีการปรับเงินเดือนของผู้ที่กลับเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองแล้วยังปรากฏว่าผู้เข้ารับราชการได้รับเงินเดือนไม่ถึงขั้นต่ำของชั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้ ก.อ. เป็นผู้พิจารณาว่าผู้นั้นสมควรได้รับการบรรจุในชั้นหรือขั้นใด ทั้งนี้ ก.อ. จะกำหนดให้ได้รับเงินเดือนในชั้นที่ต่ำกว่าขั้นต่ำของชั้นเป็นกรณีเฉพาะรายก็ได้ มาตรา ๗๕ ข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญ หรือข้าราชการซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือพนักงานเทศบาลที่ไม่ใช่พนักงานเทศบาลวิสามัญซึ่งสอบคัดเลือก หรือทดสอบความรู้เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ และเจ้าสังกัดได้ทำความตกลงกับกรมอัยการให้โอนมาบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้นับเวลาราชการหรือเวลาทำงานของตนในขณะที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานเทศบาลเป็นเวลาราชการของข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย มาตรา ๗๖ ในระหว่างที่ยังมิได้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กฎหมายว่าด้วยเงินเดือนของข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการ และกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวข้าราชการ พนักงานเทศบาล พนักงานสุขาภิบาล และพนักงานองค์การของรัฐเพื่อให้มีผลบังคับรวมถึงข้าราชการฝ่ายอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าข้าราชการฝ่ายอัยการเป็นข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กฎหมายว่าด้วยเงินเดือนของข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการ และกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวข้าราชการ พนักงานเทศบาล พนักงานสุขาภิบาล และพนักงานองค์การของรัฐอยู่ต่อไป มาตรา ๗๗ ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกา ออกกฎกระทรวง กฎ ก.พ. ข้อกำหนด ข้อบังคับ ระเบียบ หรือประกาศ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง กฎ ก.พ. ข้อกำหนด ข้อบังคับ ระเบียบหรือประกาศที่ใช้อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษามาใช้บังคับโดยอนุโลมเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ได้ใช้บังคับมานานแล้ว แม้จะได้ปรับปรุงแก้ไขมาหลายครั้ง ก็ยังมีบทบัญญัติหลายมาตราไม่เหมาะสมกับกาลสมัย และเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการบริหารงานบุคคลในปัจจุบัน สมควรจะได้ปรับปรุงแก้ไขเสียใหม่ อันจะทำให้ราชการของกรมอัยการดำเนินไปได้ผลดียิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑[๒๒] มาตรา ๔ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๑ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ และบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๓ ท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา ๕ การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้เข้าชั้นและขั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๑ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่ต่ำกว่าชั้นและขั้นที่ข้าราชการอัยการผู้นั้นดำรงอยู่และได้รับอยู่เดิม มาตรา ๖ เพื่อประโยชน์ในการบรรจุบุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการอัยการและออกจากราชการไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับกลับเข้ารับราชการ ให้ปรับอัตราเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้ตรงกับชั้นและขั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ที่ใช้อยู่ในขณะกลับเข้ารับราชการ และให้นำมาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ปรับปรุงใหม่ไม่ได้ส่วนสัมพันธ์กับอัตราเงินเดือนของข้าราชการประเภทอื่น ๆ ที่ได้รับการปรับปรุงแล้ว สมควรแก้ไขอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔[๒๓] มาตรา ๔ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๑ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๓ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ และให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๑ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๓ ท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา ๕ ตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ข้าราชการอัยการได้รับเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ โดยให้ปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ได้รับตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ ให้เข้าชั้นและขั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนดังกล่าว ตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัตินี้ เมื่อได้ปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามวรรคหนึ่งแล้ว ข้าราชการอัยการผู้ใดได้รับเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำของชั้น เมื่อจะพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนในปีงบประมาณต่อไป ให้ปรับให้ข้าราชการอัยการผู้นั้นได้รับเงินเดือนสูงขึ้น ๑ ขั้น ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ของปีงบประมาณนั้นแล้วจึงพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีตามปกติ มาตรา ๖ เพื่อประโยชน์ในการบรรจุบุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการอัยการ และออกจากราชการไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ กลับเข้ารับราชการ ให้ปรับอัตราเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้ตรงกับชั้นและขั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัตินี้ที่ใช้อยู่ในขณะกลับเข้ารับราชการ และให้นำมาตรา ๗๔ วรรคสอง และวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่ได้ส่วนสัมพันธ์กับอัตราเงินเดือนของข้าราชการประเภทอื่น สมควรแก้ไขอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑[๒๔] มาตรา ๔ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๑ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ และบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๓ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ และให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ก. บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ข. บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ค. และบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ง.ท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา ๕ การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้เข้าชั้นและขั้นเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ก. บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ข. บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ค. หรือ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ง. ท้ายพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการและตามระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกำหนด เมื่อปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามวรรคหนึ่งแล้ว เฉพาะข้าราชการอัยการผู้ได้รับเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำหรือสูงกว่าขั้นสูงของชั้น ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นตามที่กำหนดไว้ในบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ ข้าราชการอัยการซึ่งได้เลื่อนตำแหน่งนับแต่วันปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามวรรคหนึ่ง ถ้าได้รับเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำของชั้นที่ได้เลื่อนตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำของบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ แต่ถ้าได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของชั้นที่ได้เลื่อนตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการก็ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นที่ได้รับอยู่ ผู้ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยนับแต่วันปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามวรรคหนึ่ง ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ การรับเงินเดือนในขั้นต่อ ๆ ไปของข้าราชการอัยการตามวรรคสองวรรคสามและวรรคสี่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๖ การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามมาตรา ๕ ให้มีผลเป็นการปรับขั้นเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ได้รับอยู่ตามไปด้วย มาตรา ๗ เพื่อประโยชน์ในการบรรจุบุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และออกจากราชการไปก่อนวันที่บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับกลับเข้ารับราชการ ให้ปรับอัตราเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้เข้าชั้นและขั้นเงินเดือนตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา ๕ และให้นำมาตรา ๗๔ วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ มาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย มาตรา ๘ ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ก. ตามมาตรา ๖ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ให้นำบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๓ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ มาใช้บังคับไปพลางก่อน หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการในบัญชีอัตราเงินเดือนท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้ใช้มาเป็นเวลานานไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน จำเป็นต้องกำหนดจำนวนขั้นเงินเดือน อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการแต่ละชั้น และปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการเสียใหม่ รวมทั้งให้มีการให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนแต่ละบัญชีได้ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่อง การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔[๒๕] ข้อ ๗ ให้แก้ไขคำว่า “รัฐมนตรี หรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรี” หรือคำว่า “รัฐมนตรี” ในมาตรา ๑๖ มาตรา ๑๗ มาตรา ๒๕ มาตรา ๒๖ มาตรา ๓๘ และมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็น “นายกรัฐมนตรี หรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี” และแก้ไขคำว่า “รัฐมนตรี หรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรี” หรือคำว่า “รัฐมนตรี” ในมาตรา ๑๕ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๖ มาตรา ๕๗ มาตรา ๖๐ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็น “ประธาน ก.อ.” ข้อ ๘ ให้แก้ไขคำว่า “อธิบดี” และ “รองอธิบดี” ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็น “อัยการสูงสุด” และ “รองอัยการสูงสุด” ตามลำดับ ข้อ ๙ ให้นายกรัฐมนตรีสั่งให้มีการเลือกประธานกรรมการอัยการภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ และในระหว่างที่ยังมิได้เลือกประธานกรรมการอัยการ ให้รองประธานกรรมการอัยการทำหน้าที่ประธานกรรมการอัยการ ข้อ ๑๐ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ให้กรรมการข้าราชการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะครบวาระ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕[๒๖] มาตรา ๔ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑ และให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๑ และบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ หมายเลข ๑ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ และบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๓ และบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ หมายเลข ๓ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๔ และบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ หมายเลข ๔ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๕ ท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา ๘ เพื่อประโยชน์ในการบรรจุบุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และออกจากราชการไปก่อนวันที่บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับกลับเข้ารับราชการ ให้ปรับอัตราเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้เข้าชั้น และขั้นเงินเดือนตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา ๓ และให้นำมาตรา ๗๔ วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากการกำหนดตำแหน่งและชั้นเงินเดือนของข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ยังไม่เหมาะสม และอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการในบัญชีอัตราเงินเดือนท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑ ไม่สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาผู้บริโภค และยังไม่สอดคล้องกับอัตราค่าจ้างในกลุ่มวิชาชีพต่าง ๆ ทั้ง ๆ ที่ข้าราชการอัยการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพในทางกฎหมายมีหน้าที่บริหารงานกระบวนการยุติธรรม ให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนและรักษาผลประโยชน์ของรัฐ ซึ่งนับว่าเป็นอำนาจหน้าที่ที่มีความสำคัญยิ่ง ประกอบกับขณะนี้ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างอัตราเงินเดือนข้าราชการฝ่ายอื่น ๆ ให้เหมาะสม จึงเห็นสมควรปรับปรุงกำหนดจำนวนชั้นและขั้นอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการเสียใหม่ และเห็นควรกำหนดให้มีเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการด้วย เพื่อความเหมาะสมกับสภาวะค่าครองชีพในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๘[๒๗] มาตรา ๘ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการและบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีการแยกบัญชีอัตราเงินเดือนและบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการอัยการไปบัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะแล้ว สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๕[๒๘] มาตรา ๗ ให้คณะกรรมการอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นคณะกรรมการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ จนกว่ากรรมการอัยการตามวรรคสามจะเข้ารับหน้าที่ ให้ประธาน ก.อ. ดำรงตำแหน่งต่อไปเท่าที่วาระการดำรงตำแหน่งเหลืออยู่ ในวาระเริ่มแรก ให้มีการเลือกและแต่งตั้งกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๕ (๔) และ (๕) ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติใช้บังคับ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากองค์ประกอบของคณะกรรมการอัยการในปัจจุบันมีกรรมการจากผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการอัยการหรือเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการ โดยมิได้มีบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นกรรมการ เว้นแต่ประธาน ก.อ. ซึ่งอาจเลือกมาจากผู้ทรงคุณวุฒิในทางกฎหมายซึ่งเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไปได้ สมควรให้คณะกรรมการอัยการเป็นองค์กรที่มีบุคคลภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการอัยการ นอกจากนี้โดยที่ได้มีการตรากฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ สมควรแก้ไขบทบัญญัติในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓๕ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙[๒๙] วศิน/ตรวจ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๕/ตอนที่ ๕๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒/๓๑ พฤษภาคม ๒๕๒๑ [๒] มาตรา ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่อง การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ [๓] มาตรา ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๘ [๔] มาตรา ๙ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๘ [๕] มาตรา ๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่อง การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ [๖] มาตรา ๑๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่อง การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ [๗] มาตรา ๑๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๕ [๘] มาตรา ๑๕ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๕ [๙] มาตรา ๑๕ ตรี เพิ่มโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่อง การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ [๑๐] มาตรา ๑๕ จัตวา เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๕ [๑๑] มาตรา ๑๕ เบญจ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๕ [๑๒] มาตรา ๑๕ ฉ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๕ [๑๓] มาตรา ๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๕ [๑๔] มาตรา ๑๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓๕ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ [๑๕] มาตรา ๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๘ [๑๖] มาตรา ๒๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๗] มาตรา ๒๔ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๘ [๑๘] มาตรา ๒๔ (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๕ [๑๙] มาตรา ๒๔ ทวิ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๘ [๒๐] มาตรา ๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓๕ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ [๒๑] มาตรา ๒๙ วรรคสาม ยกเลิกโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่อง การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ [๒๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๕/ตอนที่ ๑๐๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘/๒๗ กันยายน ๒๕๒๑ [๒๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๘/ตอนที่ ๑๗๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒๒ ตุลาคม ๒๕๒๔ [๒๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๑๘๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๕๐/๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๑ [๒๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๓๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๕๕/๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ [๒๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๓๕/หน้า ๓๐/๓ เมษายน ๒๕๓๕ [๒๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑ ก/หน้า ๔๔/๑ มกราคม ๒๕๓๘ [๒๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๖๖ ก/หน้า ๑/๑๕ กรกฎาคม ๒๕๔๕ [๒๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๐๖ ก/หน้า ๒/๔ ตุลาคม ๒๕๔๙
325826
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญบางตำแหน่ง เป็นตำแหน่งบังคับบัญชา
0ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ บางตำแหน่ง เป็นตำแหน่งบังคับบัญชา[๑] อาศัยอำนาจตามความในวรรคท้าย มาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ก.ร. กำหนดตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญบางตำแหน่ง บังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน และในฐานะดังต่อไปนี้ งานที่ปรึกษากฎหมาย ๑. ที่ปรึกษากฎหมายประจำรัฐสภา เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน งานที่ปรึกษากฎหมาย ในฐานะผู้อำนวยการกอง กองกลาง ๒. ผู้อำนวยการกอง เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน กองกลาง ในฐานะผู้อำนวยการกอง ๓. หัวหน้างานสารบรรณ เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน งานสารบรรณ กองกลาง ในฐานะหัวหน้าแผนก ๔. หัวหน้างานเก็บเอกสารสำคัญ เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน งานเก็บเอกสารสำคัญ กองกลางในฐานะหัวหน้าแผนก ๕. หัวหน้างานบริหารงานบุคคล เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน งานบริหารงานบุคคล กองกลาง ในฐานะหัวหน้าแผนก ๖. หัวหน้างานทะเบียนประวัติและสถิติ เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน งานทะเบียนประวัติและสถิติ กองกลาง ในฐานะหัวหน้าแผนก กองคลังและพัสดุ ๗. หัวหน้ากอง เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน กองคลังและพัสดุ ในฐานะหัวหน้ากอง ๘. หัวหน้างานงบประมาณ เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน งานงบประมาณ กองคลังและพัสดุ ในฐานะหัวหน้าแผนก ๙. หัวหน้างานการบัญชี เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน งานการบัญชี กองคลังและพัสดุ ในฐานะหัวหน้าแผนก ๑๐. หัวหน้างานการเงิน เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน งานการเงิน กองคลังและพัสดุ ในฐานะหัวหน้าแผนก ๑๑. หัวหน้างานบริหารงานพัสดุ เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน งานบริหารงานพัสดุ กองคลังและพัสดุ ในฐานะหัวหน้าแผนก กองการประชุม ๑๒. ผู้อำนวยการกอง เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน กองการประชุม ในฐานะผู้อำนวยการกอง ๑๓. หัวหน้างานญัตติ เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน งานญัตติ กองการประชุม ในฐานะหัวหน้าแผนก ๑๔.. หัวหน้างานกระทู้ถาม เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน งานกระทู้ถาม กองการประชุม ในฐานะหัวหน้าแผนก ๑๕. หัวหน้างานระเบียบวาระ เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน งานระเบียบวาระ กองการประชุม ในฐานะหัวหน้าแผนก ๑๖. หัวหน้างานขยายเสียงและบันทึกเสียง เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน งานขยายเสียงและบันทึกเสียง กองการประชุม ในฐานะหัวหน้าแผนก กองกรรมาธิการ ๑๗. ผู้อำนวยการกอง เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน กองกรรมาธิการ ในฐานะผู้อำนวยการกอง ๑๘. หัวหน้างานธุรการทั่วไป เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน งานธุรการทั่วไป กองกรรมาธิการ ในฐานะหัวหน้าแผนก ๑๙. หัวหน้างานการประชุมคณะกรรมาธิการ เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน งานการประชุมคณะกรรมาธิการ กองกรรมาธิการ ในฐานะหัวหน้าแผนก ศูนย์รวมชวเลขและพิมพ์ดีด ๒๐. หัวหน้าศูนย์รวมชวเลขและพิมพ์ดีด เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงานศูนย์รวมชวเลขและพิมพ์ดีด ในฐานะหัวหน้าแผนก กองวิเทศสัมพันธ์ ๒๑. ผู้อำนวยการกอง เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน กองวิเทศสัมพันธ์ ในฐานะผู้อำนวยการกอง ๒๒. หัวหน้างานธุรการทั่วไป เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน งานธุรการทั่วไป กองวิเทศสัมพันธ์ ในฐานะหัวหน้าแผนก ๒๓ หัวหน้างานพิธีทางการทูต เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน งานพิธีทางการทูต กองวิเทศสัมพันธ์ ในฐานะหัวหน้าแผนก ๒๔. หัวหน้างานการประชุมและกิจการระหว่างประเทศเป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน งานการประชุมและกิจการระหว่างประเทศ กองวิเทศสัมพันธ์ ในฐานะหัวหน้าแผนก กองการประชาสัมพันธ์ ๒๕. หัวหน้ากอง เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน กองการประชาสัมพันธ์ ในฐานะหัวหน้ากอง ๒๖. หัวหน้างานธุรการทั่วไป เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน งานธุรการทั่วไป กองการประชาสัมพันธ์ ในฐานะหัวหน้าแผนก ๒๗ หัวหน้างานติดต่อสอบถาม เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน งานติดต่อสอบถาม กองการประชาสัมพันธ์ ในฐานะหัวหน้าแผนก ๒๘. หัวหน้างานพิธีการ เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน งานพิธีการ กองการประชาสัมพันธ์ ในฐานะหัวหน้าแผนก กองสถานที่ ๒๙. หัวหน้ากอง เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน กองสถานที่ ในฐานะหัวหน้ากอง กองการพิมพ์ ๓๐. หัวหน้ากอง เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน กองการพิมพ์ ในฐานะหัวหน้ากอง ๓๑. หัวหน้างานจัดการและธุรการทั่วไป เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน งานจัดการและธุรการทั่วไป กองการพิมพ์ ในฐานะหัวหน้าแผนก ๓๒. หัวหน้างานพัสดุสิ่งพิมพ์ เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน งานพัสดุสิ่งพิมพ์ กองการพิมพ์ ในฐานะหัวหน้าแผนก ศูนย์บริการเอกสารและค้นคว้า ๓๓. ผู้อำนวยการศูนย์ เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน ศูนย์บริการเอกสารและค้นคว้า ในฐานะผู้อำนวยการกอง ๓๔. หัวหน้างานธุรการทั่วไป เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน งานธุรการทั่วไป ศูนย์บริการเอกสารและค้นคว้า ในฐานะหัวหน้าแผนก ๓๕. หัวหน้าห้องสมุด เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน ห้องสมุดรัฐสภา ศูนย์บริการเอกสารและค้นคว้า ในฐานะหัวหน้ากอง ๓๖. หัวหน้างานบริการค้นคว้า เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน งานบริการค้นคว้า ศูนย์บริการเอกสารและค้นคว้า ในฐานะหัวหน้ากอง ๓๗. หัวหน้างานผลิตเอกสาร เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน งานผลิตเอกสารรัฐสภา ศูนย์บริการเอกสารและค้นคว้า ในฐานะหัวหน้ากอง ๓๘. หัวหน้างานพิพิธภัณฑ์ เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน งานพิพิธภัณฑ์รัฐสภา ศูนย์บริการเอกสารและค้นคว้า ในฐานะหัวหน้าแผนก ศูนย์บริการทางวิชาการและกฎหมาย ๓๙. ผู้อำนวยการศูนย์ เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน ศูนย์บริการทางวิชาการและกฎหมาย ในฐานะผู้อำนวยการกอง ๔๐. หัวหน้างานธุรการทั่วไป เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน งานธุรการทั่วไป ศูนย์บริการทางวิชาการและกฎหมาย ในฐานะหัวหน้าแผนก ๔๑. หัวหน้างานบริการสมาชิกรัฐสภา เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน งานบริการสมาชิกรัฐสภา ศูนย์บริการทางวิชาการและกฎหมาย ในฐานะหัวหน้ากอง ๔๒. หัวหน้างานประสานงานการวิจัย เป็นตำแหน่งบังคับบัญชาข้าราชการในหน่วยงาน งานประสานงานการวิจัย ศูนย์บริการทางวิชาการและกฎหมาย ในฐานะหัวหน้ากอง ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๑๙ ป.ส. กาญจนวัฒน์ ประธาน ก.ร. อัมภิญา/พิมพ์ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๓/ตอนที่ ๒๐/หน้า ๑๑/๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙
592875
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๒)[๑] โดยที่ได้มีการกำหนดให้พนักงานราชการได้รับสิทธิประโยชน์ว่าด้วยการลา การได้รับค่าตอบแทนระหว่างลา การได้รับค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลางาน ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าเบี้ยประชุม ค่าตอบแทนการออกจากราชการโดยไม่มีความผิด ตามระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘ ดังนั้น จึงสมควรกำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ให้แก่พนักงานราชการดังกล่าว เพื่อให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาถือปฏิบัติ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๕ วรรคหนึ่งและวรรคสาม ข้อ ๑๘ และข้อ ๓๐ ของระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภาจึงกำหนดสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการไว้ดังนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๒)” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “ปี” หมายความว่า ปีงบประมาณ (๑ ตุลาคม - ๓๐ กันยายน) ข้อ ๔ พนักงานราชการมีสิทธิการลาในประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (๑) การลาป่วย มีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วยตั้งแต่ ๓ วันขึ้นไป ผู้มีอำนาจอนุญาตอาจสั่งให้มีใบรับรองแพทย์จากสถานพยาบาลที่ทางราชการรับรองประกอบการลาหรือประกอบการพิจารณาอนุญาตก็ได้ (๒) การลาคลอดบุตร มีสิทธิลาคลอดบุตรได้ ๙๐ วัน (๓) การลากิจส่วนตัว มีสิทธิลากิจส่วนตัวได้ปีละไม่เกิน ๑๐ วัน (๔) การลาพักผ่อนประจำปี มีสิทธิลาพักผ่อนปีละ ๑๐ วันทำการ สำหรับในปีแรกที่ได้รับการจ้างเป็นพนักงานราชการยังไม่ครบ ๖ เดือน ไม่มีสิทธิลาพักผ่อน (๕) การลาเพื่อรับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร เข้ารับการระดมพล หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร ทั้งนี้ เมื่อพ้นจากการเข้ารับการตรวจเลือกหรือเตรียมพล ให้รายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติงานภายใน ๗ วัน ข้อ ๕ พนักงานราชการมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาดังนี้ (๑) ลาป่วย ให้ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาได้ปีหนึ่งไม่เกิน ๓๐ วัน (๒) ลาคลอดบุตร ให้ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาได้ไม่เกิน ๔๕ วัน อีก ๔๕ วัน ให้รับจากสำนักงานประกันสังคม ทั้งนี้ ตามสิทธิที่เกิดขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม (๓) ลากิจส่วนตัว ให้ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาได้ปีหนึ่งไม่เกิน ๑๐ วัน (๔) การลาพักผ่อนประจำปี ให้ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาได้ปีหนึ่งไม่เกิน ๑๐ วัน (๕) การลาเพื่อรับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร เข้ารับการระดมพล หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อมให้ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาได้ปีหนึ่งไม่เกิน ๖๐ วัน ในกรณีที่พนักงานราชการเข้าทำงานไม่ถึง ๑ ปี ให้ทอนสิทธิที่จะได้รับค่าตอบแทน การลากิจส่วนตัว และการลาพักผ่อน ลงตามส่วนของจำนวนวันที่จ้าง ข้อ ๖ ให้พนักงานราชการได้รับสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ดังนี้ (๑) ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พนักงานราชการที่ได้รับอนุมัติให้อยู่ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการปกติหรืออยู่ปฏิบัติงานในวันหยุดสุดสัปดาห์ หรือในวันหยุดพิเศษ ให้มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ. ๒๕๓๖ โดยอนุโลม (๒) ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พนักงานราชการที่ได้รับคำสั่งจากผู้มีอำนาจอนุญาตให้เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ราชการ มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยอนุโลม (๓) ค่าเบี้ยประชุม พนักงานราชการที่ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการหรืออนุกรรมการหรือเลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ แล้วแต่กรณี มีสิทธิได้รับค่าเบี้ยประชุมตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยอนุโลม (๔) ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม กรณีที่ส่วนราชการมีความประสงค์ที่จะให้พนักงานราชการเข้ารับการฝึกอบรม สัมมนาทางวิชาการ เพื่อพัฒนาหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ให้มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติมได้ โดยอนุโลม (๕) ค่าตอบแทนการออกจากราชการโดยไม่มีความผิด ในกรณีที่ส่วนราชการบอกเลิกสัญญาจ้างกับพนักงานราชการผู้ใดก่อนครบกำหนดเวลาจ้าง โดยมิใช่ความผิดของพนักงานราชการดังกล่าว ให้พนักงานราชการผู้นั้นได้รับค่าตอบแทนการออกจากราชการโดยไม่มีความผิด ดังนี้ (ก) พนักงานราชการที่ได้ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ ๔ เดือน แต่ไม่ครบ ๑ ปี ให้จ่ายค่าตอบแทนเท่ากับอัตราค่าตอบแทนที่ได้รับอยู่ก่อนวันออกจากราชการ (ข) พนักงานราชการที่ได้ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ ๑ ปี แต่ไม่ครบ ๓ ปี ให้จ่ายค่าตอบแทนจำนวนสามเท่าของอัตราค่าตอบแทนที่ได้รับอยู่ก่อนวันออกจากราชการ (ค) พนักงานราชการที่ได้ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ ๓ ปี แต่ไม่ครบ ๖ ปี ให้จ่ายค่าตอบแทนจำนวนหกเท่าของอัตราค่าตอบแทนที่ได้รับอยู่ก่อนวันออกจากราชการ (ง) พนักงานราชการที่ได้ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ ๖ ปี แต่ไม่ครบ ๑๐ ปี ให้จ่ายค่าตอบแทนจำนวนแปดเท่าของอัตราค่าตอบแทนที่ได้รับอยู่ก่อนวันออกจากราชการ (จ) พนักงานราชการที่ได้ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ ๑๐ ปีขึ้นไป ให้จ่ายค่าตอบแทนจำนวนสิบเท่าของอัตราค่าตอบแทนที่ได้รับอยู่ก่อนวันออกจากราชการ บทเฉพาะกาล ข้อ ๗ ในระหว่างที่พระราชบัญญัติกองทุนเงินทดแทนยังไม่มีผลใช้บังคับกับพนักงานราชการ หากในกรณีที่พนักงานราชการป่วยเพราะได้รับอันตราย หรือการป่วยเจ็บเพราะเหตุปฏิบัติราชการ ให้นำพระราชบัญญัติสงเคราะห์ข้าราชการผู้ได้รับอันตรายหรือการป่วยเจ็บเพราะเหตุปฏิบัติราชการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ในส่วนที่เกี่ยวกับการลามาใช้บังคับกับพนักงานราชการโดยอนุโลม ประกาศ ณ วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙ โภคิน พลกุล ประธาน ก.ร. ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๙ ปณตภร/ปรับปรุง ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๑๔๙/๒๓ มีนาคม ๒๕๔๙
311930
ประกาศรัฐสภา เรื่อง ให้ปรับใช้บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข 2 ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518
ประกาศรัฐสภา ประกาศรัฐสภา เรื่อง ให้ปรับใช้บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่ง ข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข 2 ท้ายพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518[๑] ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกาให้ปรับใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน หมายเลข 2 ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 พ.ศ. 2522 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2523 เป็นต้นไปแล้ว นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2521 จึงให้ปรับใช้อัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญตามบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข 2 ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2521 แทนอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญตามบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการฝ่ายรัฐสภา หมายเลข 1 ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2521 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2523 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2522 พลอากาศเอก หะริน หงสกุล ประธานรัฐสภา ประภาศรี/ผู้จัดทำ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๒/หน้า ๓/๘ มกราคม ๒๕๒๓
630001
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการกำหนดสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ พ.ศ. 2553
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการกำหนดสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการกำหนดสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๕ วรรคสาม และข้อ ๑๘ ของระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภาว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา จึงกำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการกำหนดสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๕๓” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เว้นแต่ ข้อ ๘ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙ ข้อ ๔ ในประกาศนี้ “ปี” หมายความว่า ปีงบประมาณ ข้อ ๕ พนักงานราชการมีสิทธิลาในประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (๑) การลาป่วย มีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริงโดยนับแต่วันทำการ การลาป่วยตั้งแต่ ๓ วันทำการขึ้นไป ผู้มีอำนาจอนุญาตอาจสั่งให้มีใบรับรองแพทย์จากสถานพยาบาลที่ทางราชการรับรองประกอบการลา หรือประกอบการพิจารณาอนุญาตก็ได้ (๒) การลาคลอดบุตร มีสิทธิลาคลอดบุตรได้ ๙๐ วัน (๓) การลากิจส่วนตัว มีสิทธิลากิจส่วนตัวได้ปีละไม่เกิน ๑๐ วันทำการ (๔) การลาพักผ่อน มีสิทธิลาพักผ่อนปีละ ๑๐ วันทำการ สำหรับในปีแรกที่ได้รับการจ้างเป็นพนักงานราชการยังไม่ครบ ๖ เดือน ไม่มีสิทธิลาพักผ่อน เว้นแต่ผู้ที่เคยได้รับการจ้างเป็นพนักงานราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า ๖ เดือน และได้พ้นจากการเป็นพนักงานราชการไปแล้ว แต่ต่อมาได้รับการจ้างเป็นพนักงานราชการในส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเดิมอีก (๕) การลาเพื่อรับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร เข้ารับการระดมพล หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อมตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร ทั้งนี้ เมื่อพ้นจากการเข้ารับการตรวจเลือกหรือเตรียมพล ให้รายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติงานภายใน ๗ วัน (๖) การลาเพื่อไปอุปสมบท หรือประกอบพิธีฮัจญ์ พนักงานราชการที่ได้รับการจ้างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า ๔ ปี มีสิทธิลาเพื่อไปอุปสมบท หรือประกอบพิธีฮัจญ์ได้จำนวน ๑ ครั้ง ตลอดช่วงเวลาของการมีสถานภาพเป็นพนักงานราชการ โดยการลาอุปสมบทมีสิทธิลาได้ไม่เกิน ๑๒๐ วัน และการลาไปประกอบพิธีฮัจญ์มีสิทธิลาได้ไม่เกิน ๑๒๐ วัน ตามระยะเวลาที่ใช้ในการประกอบศาสนกิจตามหลักการของศาสนาอิสลาม ทั้งนี้ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาอนุมัติการลาดังกล่าวตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ ข้อ ๖ พนักงานราชการมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนระหว่างลา ดังนี้ (๑) ลาป่วย ให้ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาได้ปีหนึ่งไม่เกิน ๓๐ วัน ส่วนที่เกิน ๓๐ วัน มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จากกองทุนประกันสังคม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม (๒) ลาคลอดบุตร ให้ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาได้ไม่เกิน ๔๕ วัน และมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรจากกองทุนประกันสังคม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม (๓) ลากิจส่วนตัว ให้ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาได้ปีหนึ่งไม่เกิน ๑๐ วัน (๔) การลาพักผ่อนประจำปี ให้ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาได้ปีหนึ่งไม่เกิน ๑๐ วัน (๕) การลาเพื่อรับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร เข้ารับการระดมพล หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อมให้ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาได้ปีหนึ่งไม่เกิน ๖๐ วัน (๖) การลาเพื่อไปอุปสมบท ให้ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาได้ไม่เกิน ๑๒๐ วัน และการลาไปประกอบพิธีฮัจญ์ให้ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาได้ไม่เกิน ๑๒๐ วัน ในกรณีที่พนักงานราชการเข้าทำงานไม่ถึง ๑ ปี ให้ทอนสิทธิที่จะได้รับค่าตอบแทนการลากิจส่วนตัว และการลาพักผ่อนลงตามส่วนของจำนวนวันที่จ้าง ข้อ ๗ ให้พนักงานราชการได้รับสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ดังนี้ (๑) ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พนักงานราชการที่ได้รับอนุมัติให้อยู่ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการปกติหรืออยู่ปฏิบัติงานในวันหยุดสุดสัปดาห์ หรือในวันหยุดพิเศษ ให้มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการของข้าราชการโดยอนุโลม (๒) ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พนักงานราชการที่ได้รับคำสั่งจากผู้มีอำนาจอนุญาตให้เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ราชการ มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามกฎหมายว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของข้าราชการโดยอนุโลม (๓) ค่าเบี้ยประชุม พนักงานราชการที่ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการหรืออนุกรรมการหรือเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ แล้วแต่กรณี มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมตามกฎหมายว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการโดยอนุโลม (๔) ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม กรณีที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภามีความประสงค์ที่จะให้พนักงานราชการเข้ารับการฝึกอบรม สัมมนาทางวิชาการ เพื่อพัฒนาหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ให้มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมของส่วนราชการโดยอนุโลม (๕) ค่าตอบแทนการออกจากราชการโดยไม่มีความผิด ในกรณีที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาบอกเลิกสัญญาจ้างกับพนักงานราชการผู้ใดก่อนครบกำหนดเวลาจ้าง โดยมิใช่ความผิดของพนักงานราชการดังกล่าว ให้พนักงานราชการผู้นั้นได้รับค่าตอบแทนการออกจากราชการโดยไม่มีความผิด ดังนี้ (ก) พนักงานราชการที่ได้ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ ๔ เดือน แต่ไม่ครบ ๑ ปี ให้ได้รับค่าตอบแทนเท่ากับอัตราค่าตอบแทนที่ได้รับอยู่ก่อนวันออกจากราชการ (ข) พนักงานราชการที่ได้ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ ๑ ปี แต่ไม่ครบ ๓ ปี ให้ได้รับค่าตอบแทนจำนวนสามเท่าของอัตราค่าตอบแทนที่ได้รับอยู่ก่อนวันออกจากราชการ (ค) พนักงานราชการที่ได้ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ ๓ ปี แต่ไม่ครบ ๖ ปี ให้ได้รับค่าตอบแทนจำนวนหกเท่าของอัตราค่าตอบแทนที่ได้รับอยู่ก่อนวันออกจากราชการ (ง) พนักงานราชการที่ได้ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ ๖ ปี แต่ไม่ครบ ๑๐ ปี ให้ได้รับค่าตอบแทนจำนวนแปดเท่าของอัตราค่าตอบแทนที่ได้รับอยู่ก่อนวันออกจากราชการ (จ) พนักงานราชการที่ได้ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ ๑๐ ปีขึ้นไป ให้ได้รับค่าตอบแทนจำนวนสิบเท่าของอัตราค่าตอบแทนที่ได้รับอยู่ก่อนวันออกจากราชการ ข้อ ๘ เงินทดแทนกรณีประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย เนื่องจากการทำงานให้ราชการ ในระหว่างที่พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗ ยังไม่มีผลใช้บังคับกับพนักงานราชการ หากพนักงานราชการประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย เนื่องจากการทำงานให้ราชการ ให้พนักงานราชการมีสิทธิได้รับเงินทดแทนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราการจ่ายเงินทดแทนในหมวด ๒ แห่งพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้นำกฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์ข้าราชการผู้ได้รับอันตราย หรือการป่วยเจ็บ เพราะเหตุปฏิบัติราชการเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการลามาใช้บังคับกับพนักงานราชการโดยอนุโลม ทั้งนี้ สำหรับการเบิกจ่ายเงินทดแทนให้เบิกจ่ายจากงบประมาณแผ่นดินไปพลางก่อน ในกรณีที่พนักงานราชการประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย ให้พนักงานราชการ หรือผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน ยื่นคำร้องขอเงินทดแทนต่อส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่พนักงานราชการสังกัดปฏิบัติงานอยู่ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย แล้วแต่กรณี เว้นแต่พนักงานราชการที่ประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย ก่อนวันที่ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภาฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ให้พนักงานราชการหรือผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน ยื่นคำร้องภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ การยื่นคำร้องขอใช้สิทธิให้กรอกข้อความในแบบ ก.ร./สป.๑ และ ก.ร./สป.๒ ที่แนบท้ายประกาศนี้ และทางราชการอาจส่งตัวพนักงานราชการเข้ารับการรักษาพยาบาลได้ตามความจำเป็น ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ ชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ประธาน ก.ร. [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบแจ้งการประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย และคำร้อง ขอรับเงินทดแทน ตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗ (แบบ ก.ร./สป.๑) ๒. หนังสือรับรองของแพทย์ผู้รักษา (ก.ร./สป.๒) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๐ ง/หน้า ๗๐/๓๐ มีนาคม ๒๕๕๓
461489
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ[๑] เพื่อให้การบริหารค่าตอบแทนตามลักษณะงานและผลผลิตของงาน และสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการมีความเหมาะสม สอดคล้องกับขนาดของงาน ขีดสมรรถนะ และการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภาจึงเห็นควรกำหนดค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๔ และข้อ ๑๕ วรรคสาม ของระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ก.ร.) จึงกำหนดค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการไว้ดังนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ” ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “พนักงานราชการ” หมายความว่า พนักงานราชการตามระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘ “ค่าตอบแทน” หมายความว่า เงินเดือนซึ่งจ่ายให้แก่พนักงานราชการในการปฏิบัติงานให้แก่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ตามอัตราที่กำหนดในประกาศนี้ “ค่าตอบแทนพิเศษ” หมายถึง เงินที่จ่ายเพิ่มให้กับพนักงานราชการ เมื่อมีผลการประเมินการปฏิบัติงาน คุณภาพงาน และปริมาณงาน ในระดับดีเด่น ข้อ ๓ หลักการกำหนดค่าตอบแทนของพนักงานราชการ (๑) หลักคุณภาพ เพื่อให้ได้บุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์เข้ามาปฏิบัติงานภายใต้ระบบสัญญาจ้าง (๒) หลักความยุติธรรม เพื่อให้เกิดความเสมอภาคในโอกาส ไม่เหลื่อมล้ำ และไม่เลือกปฏิบัติ (๓) หลักการจูงใจ การจ่ายค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ให้เพียงพอ โดยคำนึงถึงค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลง ค่าตอบแทนในภาคเอกชน อัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญ และฐานะการคลังของประเทศ (๔) หลักความสามารถ อัตราค่าตอบแทนจะจ่ายตามความรู้ความสามารถ ขีดสมรรถนะและผลงานตามการประเมินผลการปฏิบัติงาน ข้อ ๔ อัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการให้เป็นไปตามบัญชีแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ ให้พนักงานราชการได้รับค่าตอบแทนตามบัญชีกลุ่มงาน ดังต่อไปนี้ (๑) กลุ่มงานบริการ ให้ใช้บัญชีอัตราค่าตอบแทนเป็นแบบขั้น (ก) ผู้ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนต้นสายสามัญ (ม.ศ. ๓) หรือประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนต้น (ม. ๓) หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ หรือประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม. ๖) ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนขั้นต่ำของบัญชี (ข) ผู้ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนขั้นที่ ๔ ของบัญชี (ค) ผู้ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนขั้นที่ ๖ ของบัญชี (ง) ผู้ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนขั้นที่ ๘ ของบัญชี (๒) กลุ่มงานเทคนิค ให้ใช้บัญชีอัตราค่าตอบแทนเป็นแบบขั้น (ก) ผู้ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือในกรณีที่เป็นงานที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะของบุคคลซึ่งมิได้ผ่านการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาใดเป็นการเฉพาะ จะต้องมีความรู้ความสามารถและทักษะในงานที่จะปฏิบัติไม่ต่ำกว่า ๕ ปี ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนขั้นต่ำของบัญชี (ข) ผู้ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนขั้นที่ ๓ ของบัญชี (ค) ผู้ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนขั้นที่ ๕ ของบัญชี (๓) กลุ่มงานบริหารทั่วไป ให้ใช้บัญชีอัตราค่าตอบแทนเป็นแบบช่วง (ก) ผู้ได้รับวุฒิปริญญาตรีทั่วไปหลักสูตร ๔ ปี ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนอัตราต่ำสุดของบัญชี (ข) ผู้ได้รับวุฒิปริญญาตรีหลักสูตร ๕ ปี ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นร้อยละ ๕ ในแต่ละช่วง จำนวน ๒ ช่วง จากอัตราต่ำสุดของบัญชี (ค) ผู้ได้รับปริญญาโทหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นร้อยละ ๕ ในแต่ละช่วง จำนวน ๔ ช่วง จากอัตราต่ำสุดของบัญชี (ง) ผู้ได้รับวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นร้อยละ ๕ ในแต่ละช่วง จำนวน ๑๐ ช่วง จากอัตราต่ำสุดของบัญชี (๔) กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ ให้ใช้บัญชีอัตราค่าตอบแทนเป็นแบบช่วง (ก) ผู้ได้รับวุฒิปริญญาตรีหลักสูตรไม่น้อยกว่า ๔ ปี ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนขั้นต่ำของบัญชี (ข) ผู้ได้รับวุฒิปริญญาตรีหลักสูตร ๕ ปี ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นร้อยละ ๕ ในแต่ละช่วง จำนวน ๒ ช่วง จากอัตราต่ำสุดของบัญชี (ค) ผู้ได้รับวุฒิปริญญาโทหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นร้อยละ ๕ ในแต่ละช่วง จำนวน ๔ ช่วง จากอัตราต่ำสุดของบัญชี (ง) ผู้ได้รับวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นร้อยละ ๕ ในแต่ละช่วง จำนวน ๑๐ ช่วง จากอัตราต่ำสุดของบัญชี (๕) กลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ ให้ใช้บัญชีอัตราค่าตอบแทนเป็นแบบช่วง (ก) ผู้ได้รับวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และมีประสบการณ์ตรงตามลักษณะงาน ซึ่งลักษณะงานดังกล่าวจำเป็นต้องใช้ผู้มีประสบการณ์ ไม่ต่ำกว่า ๖ ปีสำหรับวุฒิปริญญาตรี ๔ ปีสำหรับวุฒิปริญญาโท ๒ ปีสำหรับวุฒิปริญญาเอก ตามลำดับ หรือ (ข) ผู้มีประสบการณ์ในงานที่จะปฏิบัติเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า ๑๐ ปี และมีผลงานเป็นที่ยอมรับในวงการ ทั้งนี้ ให้ได้รับค่าตอบแทนอัตราต่ำสุดของบัญชี (๖) กลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนโดยพิจารณาจากคุณวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ และผลงานความเชี่ยวชาญพิเศษตามความต้องการของงานหรือโครงการตามอัตราบัญชีแนบท้ายประกาศนี้ ในกรณีที่จะให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแตกต่างไปจากที่กำหนดในประกาศนี้ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเสนอ ก.ร. พิจารณา ข้อ ๖ ผู้ได้รับการว่าจ้างเป็นพนักงานราชการซึ่งมีประสบการณ์ตรงตามลักษณะงานในตำแหน่งที่ได้รับการว่าจ้าง ให้ได้รับการปรับอัตราค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นดังนี้ (๑) กลุ่มงานบริการและกลุ่มงานเทคนิคที่มีวุฒิการศึกษา ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนเพิ่มขึ้น ๑ ขั้น ต่อทุกประสบการณ์ ๒ ปี แต่ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นสูงสุดไม่เกิน ๕ ขั้น (๒) กลุ่มงานบริหารทั่วไปและกลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นร้อยละ ๕ ต่อทุกประสบการณ์ ๒ ปี แต่ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นสูงสุดไม่เกิน ๕ ช่วง ข้อ ๗ หลักเกณฑ์การเลื่อนขั้นค่าตอบแทนประจำปี ให้พนักงานราชการได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นค่าตอบแทนตามผลการประเมินการปฏิบัติงาน และต้องมีระยะเวลาในการปฏิบัติงานในรอบปีที่แล้วมาไม่น้อยกว่า ๘ เดือน (๑ ตุลาคม ถึง ๓๐ กันยายน) เพื่อจูงใจให้พนักงานราชการที่ปฏิบัติงานของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดี ในวันที่ ๑ ตุลาคม ของทุกปี โดยให้พิจารณาเลื่อนขั้นค่าตอบแทนพนักงานราชการ ดังนี้ (๑) กลุ่มงานบริการและกลุ่มงานเทคนิค (ก) พนักงานราชการ ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นค่าตอบแทนประจำปีหนึ่งขั้น ต้องเป็นผู้มีผลการประเมินการปฏิบัติงานในระดับดี (ข) พนักงานราชการ ที่จะได้รับค่าตอบแทนพิเศษจำนวนร้อยละ ๓ - ๕ ของฐานค่าตอบแทนก่อนการเลื่อนขั้นค่าตอบแทนในปีนั้น ต้องมีผลการประเมินการปฏิบัติงานในระดับดีเด่น ทั้งนี้ ให้ผู้ได้รับการประเมินผลการปฏิบัติงานในระดับดีเด่น มีสัดส่วนได้ไม่เกินร้อยละ ๑๕ ของจำนวนพนักงานราชการแต่ละกลุ่มงานที่มีอยู่ ณ วันที่ ๑ กันยายน (๒) กลุ่มงานบริหารทั่วไป กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ และกลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ (ก) พนักงานราชการ ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นค่าตอบแทน จำนวนร้อยละ ๓ - ๕ จากฐานค่าตอบแทนที่ได้รับ ต้องเป็นผู้มีผลการประเมินการปฏิบัติงานในระดับดี (ข) พนักงานราชการ ที่จะได้รับค่าตอบแทนพิเศษจำนวนร้อยละ ๓ ของฐานค่าตอบแทนก่อนการเลื่อนขั้นค่าตอบแทนในปีนั้น ต้องมีผลการประเมินการปฏิบัติงานในระดับดีเด่น ทั้งนี้ ให้ผู้ได้รับการประเมินผลการปฏิบัติงานในระดับดีเด่น มีสัดส่วนได้ไม่เกินร้อยละ ๑๕ ของจำนวนพนักงานราชการแต่ละกลุ่มงานที่มีอยู่ ณ วันที่ ๑ กันยายน ข้อ ๘ ในกรณีที่มีการคำนวณเพื่อปรับอัตราค่าตอบแทน เลื่อนขั้นค่าตอบแทน หรือกำหนดค่าตอบแทนพิเศษ หากคำนวณแล้วมีเศษไม่ถึงสิบบาท ให้ปรับเพิ่มขึ้นเป็นสิบบาท ข้อ ๙ ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา จัดทำคำสั่งเลื่อนขั้นค่าตอบแทนและการได้รับค่าตอบแทนพิเศษของพนักงานราชการตามการประเมินผลการปฏิบัติงานในข้อ ๗ ข้อ ๑๐ พนักงานราชการในกลุ่มงานใด ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อต่อสัญญาจ้างได้ ให้พนักงานราชการผู้นั้นได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นค่าตอบแทนในกลุ่มงานนั้นตามผลการประเมินการปฏิบัติงานตามหลักการในข้อ ๗ ได้ ข้อ ๑๑ ให้พนักงานราชการกลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะและกลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนวิชาชีพ ค่าตอบแทนสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ และค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่ปฏิบัติงานหรือมีลักษณะงานเช่นเดียวกับข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ได้รับค่าตอบแทนดังกล่าว ทั้งนี้ ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาจะต้องแจ้งให้ ก.ร. ทราบภายใน ๓๐ วัน ว่า พนักงานราชการตำแหน่งใดบ้างที่ได้รับค่าตอบแทน หาก ก.ร. มิได้แจ้งการแก้ไข ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาสามารถดำเนินการในเรื่องดังกล่าวได้ต่อไป ข้อ ๑๒ ให้พนักงานราชการได้รับสิทธิประโยชน์ตามระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘ ตามที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภากำหนด เว้นแต่การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงานหรือปฏิบัติงานวิจัย การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ และการลาติดตามคู่สมรส ข้อ ๑๓ ให้พนักงานราชการได้รับค่าตอบแทนการออกจากราชการโดยไม่มีความผิด ได้ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ร. กำหนด ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ โภคิน พลกุล ประธาน ก.ร. [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีกลุ่มงานบริการ ๒. บัญชีกลุ่มงานเทคนิค ๓. บัญชีกลุ่มงานบริหารทั่วไป ๔. บัญชีกลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ ๕. บัญชีกลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ ๖. บัญชีกลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๘ เอกฤทธิ์/ปรับปรุง ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ปณตภร/ปรับปรุง ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๘๑ ง/หน้า ๑๒/๑๐ กันยายน ๒๕๔๘
592873
ประกาศรัฐสภา เรื่อง ให้ปรับใช้บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่ง ข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ท้ายพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518
ประกาศรัฐสภา ประกาศรัฐสภา เรื่อง ให้ปรับใช้บัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่ง ข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๓ ท้ายพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘[๑] ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกาให้ปรับใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน หมายเลข ๓ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ พ.ศ. ๒๕๒๔ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นต้นไป แล้วนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ จึงให้ปรับใช้อัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ ตามบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ หมายเลข ๓ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ แทนอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญตามบัญชีอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งข้าราชการฝ่ายรัฐสภา หมายเลข ๒ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๕ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ พลอากาศเอก หะริน หงสกุล ประธานรัฐสภา ประภาศรี/พิมพ์ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๙/ตอนที่ ๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๔ มกราคม ๒๕๒๕
598266
ระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภาว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการรัฐสภาสามัญ พ.ศ. 2551
ระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการรัฐสภาสามัญ พ.ศ. ๒๕๕๑[๑] โดยที่เห็นสมควรกำหนดให้มีเงินค่าตอบแทนพิเศษสำหรับข้าราชการรัฐสภาสามัญนอกเหนือจากเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งที่ได้รับตามกฎหมาย เพื่อเป็นค่าตอบแทนพิเศษในการปฏิบัติหน้าที่ให้แก่รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา อันเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และเพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ และมาตรา ๑๓ (๗) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภาว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการรัฐสภาสามัญ พ.ศ. ๒๕๕๑” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษเป็นรายเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาหรือสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามระเบียบนี้ ข้อ ๔ อัตราเงินค่าตอบแทนพิเศษข้าราชการรัฐสภาสามัญ ระดับ ๑ ถึงระดับ ๑๑ ให้เป็นไปตามบัญชีแนบท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๕ การจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษให้แก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญ กรณีพ้นจากการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ ให้จ่ายได้ถึงวันก่อนวันที่มีคำสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นพ้นจากการเป็นข้าราชการ ในกรณีถึงแก่ความตายให้จ่ายได้ถึงวันที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นถึงแก่ความตาย ข้อ ๖ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีเวลาปฏิบัติหน้าที่ราชการไม่ถึงสองในสามของจำนวนวันทำการในเดือนใด ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษสำหรับเดือนนั้น ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดละทิ้งหน้าที่ราชการหรือขาดราชการในเดือนใดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ห้ามมิให้จ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษสำหรับวันที่ละทิ้งหน้าที่ราชการหรือขาดราชการดังกล่าว กรณีมีภารกิจที่จะต้องอยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการเร่งด่วน ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการเร่งด่วนโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ห้ามมิให้จ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษสำหรับวันที่ไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการดังกล่าว ข้อ ๗ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดถูกสั่งพักราชการ ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนหรืออยู่ระหว่างการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษสำหรับระยะเวลาดังกล่าว ข้อ ๘ ให้คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภามีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ข้อ ๙ ให้ประธาน ก.ร. รักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ชัย ชิดชอบ ประธาน ก.ร. [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการรัฐสภาสามัญ แนบท้ายระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภาว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการรัฐสภาสามัญ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๐ ง/หน้า ๗/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
317627
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการบรรจุแต่งตั้งและการให้ได้รับเงินเดือนสำหรับข้าราชการรัฐสภาสามัญไปรับราชการทหารกลับเข้ารับราชการ
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ ว่าด้วยการบรรจุแต่งตั้งและการให้ได้รับเงินเดือน สำหรับข้าราชการรัฐสภาสามัญไปรับราชการ ทหารกลับเข้ารับราชการ[๑] ด้วยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๔๑ ได้บัญญัติว่า ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไปรับราชการทหาร ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร เมื่อผู้นั้นพ้นจากราชการทหารโดยไม่มีความเสียหายแล้ว ประสงค์จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ ในส่วนราชการสังกัดรัฐสภาตามเดิม ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันพ้นจากราชการทหาร ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ สั่งบรรจุแต่งตั้งและให้ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่ ก.ร. กำหนด ก.ร. จึงกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ดังนี้ ๑. เมื่อข้าราชการผู้ใดออกจากราชการไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร ให้สงวนตำแหน่งในระดับเดียวกันไว้สำหรับบรรจุผู้นั้นกลับเข้ารับราชการตามมาตรา ๔๑ ๒. ผู้ประสงค์จะขอกลับเข้ารับราชการตามมาตรา ๔๑ ในส่วนราชการสังกัดรัฐสภาตามเดิม จะต้องยื่นคำขอพร้อมด้วยหนังสือรับรองประวัติการรับราชการทหารตามแบบท้ายหลักเกณฑ์และวิธีการนี้ ๓. ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ ตรวจสอบเอกสารตามข้อ ๒ หากเห็นว่าข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวถูกต้อง ผู้นั้นได้พ้นจากราชการทหารโดยไม่มีความเสียหายและได้ยื่นคำขอกลับเข้ารับราชการภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันพ้นจากราชการทหาร ก็ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งบรรจุและแต่งตั้งผู้นั้นเข้ารับราชการในตำแหน่งที่สงวนไว้สำหรับผู้นั้น โดยให้ได้รับเงินเดือนในระดับและขั้นเท่าที่ได้รับอยู่เดิมก่อนไปรับราชการทหาร ในกรณีที่ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ พิจารณาเห็นสมควรที่จะบรรจุและแต่งตั้งผู้ขอกลับเข้ารับราชการในขั้นเงินเดือนที่สูงกว่าเดิมไม่เกินปีละ ๑ ขั้น โดยนับเวลาในระหว่างที่ไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารเป็นเกณฑ์คำนวณก็ให้บรรจุได้ แต่ให้บรรจุได้ไม่เกินขั้นสูงของเงินเดือนสำหรับตำแหน่งระดับเดิม ถ้าผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ เห็นว่ามีเหตุผลความจำเป็นสมควรบรรจุผู้ขอกลับเข้ารับราชการในระดับหรือขั้นที่สูงกว่าวรรคก่อน ก็ให้เสนอ ก.ร. พิจารณาอนุมัติเป็นราย ๆ ไป ในกรณีที่ผู้ขอกลับเข้ารับราชการเป็นผู้ไปรับราชการทหารก่อนวันที่ ก.ร. กำหนดตำแหน่งตามมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ จะบรรจุผู้นั้นกลับเข้ารับราชการได้ในตำแหน่งระดับใด และขั้นใด ให้เป็นไปตามที่ ก.ร. กำหนดเป็นราย ๆ ไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ อุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา ประธาน ก.ร. ประภาศรี/ผู้จัดทำ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๓/ตอนที่ ๘๔/หน้า ๑๘๕/๑๕ มิถุนายน ๒๕๑๙
461477
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการสรรหา และการเลือกสรรพนักงานราชการและแบบสัญญาจ้างของพนักงานราชการ
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการสรรหา และการเลือกสรรพนักงานราชการ และแบบสัญญาจ้างของพนักงานราชการ[๑] เพื่อให้กระบวนการสรรหาและการเลือกสรรบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับที่จะเข้ามาปฏิบัติงานเป็นพนักงานราชการ เป็นไปอย่างมีระบบและเกิดประสิทธิภาพแก่งานของทางราชการ รวมทั้งการทำสัญญาจ้างพนักงานราชการที่มีมาตรฐาน คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา จึงเห็นสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสรรหาและการเลือกสรรพนักงานราชการ และแบบสัญญาจ้างของพนักงานราชการ เพื่อเป็นมาตรฐานทั่วไปให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภานำไปปฏิบัติต่อไป อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๐ วรรคหนึ่ง และข้อ ๑๑ วรรคสอง ของระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภาว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ก.ร.)จึงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสรรหาและการเลือกสรรพนักงานราชการ และแบบสัญญาจ้างของพนักงานราชการไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการสรรหาและการเลือกสรรพนักงานราชการ และแบบสัญญาจ้างของพนักงานราชการ” ข้อ ๒ ในระเบียบนี้ “การสรรหา” หมายความว่า การเสาะแสวงหาบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถและคุณสมบัติอื่นๆที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภากำหนดจำนวนหนึ่ง เพื่อทำการเลือกสรร “การเลือกสรร” หมายความว่า การพิจารณาบุคคลที่ได้ทำการสรรหาทั้งหมดและทำการคัดเลือกเพื่อให้ได้บุคคลที่เหมาะสมที่สุด “พนักงานราชการทั่วไป” หมายความว่า พนักงานราชการในกลุ่มงานบริการ กลุ่มงานเทคนิคกลุ่มงานบริหารทั่วไป กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ และกลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ “พนักงานราชการพิเศษ” หมายความว่า พนักงานราชการในกลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการดำเนินการสรรหาและเลือกสรร ข้อ ๓ ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาดำเนินการสรรหาและเลือกสรรบุคคลเพื่อเป็นพนักงานราชการโดยยึดหลักสมรรถนะ ความเท่าเทียมในโอกาส และประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญด้วยกระบวนการที่ได้มาตรฐาน ยุติธรรม และโปร่งใส เพื่อรองรับการตรวจสอบตามแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ข้อ ๔ การสรรหาและเลือกสรรพนักงานราชการทั่วไป ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังนี้ (๑) ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา โดยหน่วยงานการเจ้าหน้าที่ร่วมกับผู้แทนที่รับผิดชอบงานหรือโครงการของตำแหน่งที่จะสรรหาและเลือกสรรจัดทำประกาศรับสมัคร ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะงาน กลุ่มงานตามลักษณะงาน ชื่อตำแหน่ง ความรับผิดชอบของตำแหน่ง ระยะเวลาการจ้างค่าตอบแทนที่จะได้รับ คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัคร หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาและเลือกสรร เกณฑ์การตัดสินและเงื่อนไข การจ้างอื่นๆ ตลอดจนกำหนดวันและเวลาของกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และเสนอหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเพื่อประกาศให้ผู้มีสิทธิสมัครทราบ ประกาศรับสมัครนั้น ให้ปิดไว้ในที่เปิดเผยเป็นการทั่วไป มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๕ วันทำการก่อนกำหนดวันรับสมัคร (๒) ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาอาจกำหนดค่าสมัครสอบได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม (๓) ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาอาจกำหนดระยะเวลาในการรับสมัครได้ตามความเหมาะสมแต่ทั้งนี้ต้องไม่น้อยกว่า ๗ วันทำการ (๔) หลักเกณฑ์การเลือกสรรบุคคลเพื่อปฏิบัติงานให้ยึดหลัก “สมรรถนะ” ที่จำเป็นต้องใช้สำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่งตามที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภากำหนด ซึ่งประกอบด้วย (ก) ความรู้ของบุคคลในเรื่องต่างๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน (ข) ความสามารถหรือทักษะเฉพาะของบุคคลในเรื่องต่างๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานและ (ค) คุณลักษณะอื่นๆ ของบุคคลซึ่งจำเป็นหรือเหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน (๕) ให้กำหนดคะแนนเต็มของสมรรถนะแต่ละเรื่องได้ตามความจำเป็นและความสอดคล้องกับตำแหน่งงาน ทั้งนี้ สมรรถนะที่จำเป็นมากที่สุดควรมีน้ำหนักของคะแนนเต็มมากที่สุด (๖) วิธีการประเมินสมรรถนะแต่ละเรื่อง ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเป็นผู้กำหนด โดยสมรรถนะเรื่องหนึ่งสามารถประเมินได้ด้วยวิธีการประเมินหลายวิธีการหรือสมรรถนะหลายๆ เรื่องสามารถประเมินได้ด้วยวิธีการประเมินวิธีเดียวกัน ตามที่เห็นว่าเหมาะสม และสอดคล้องกับการประเมินสมรรถนะดังกล่าว ได้แก่การสอบข้อเขียน การทดสอบตัวอย่างงาน การสัมภาษณ์ การทดสอบด้วยสถานการณ์จำลอง การตรวจสอบกับบุคคลที่อ้างอิง หรืออื่นๆ ทั้งนี้ ได้กำหนดแบบตัวอย่าง การกำหนดและการประเมินสมรรถนะ ดังเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ (๗) ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาจะกำหนดให้มีการประเมินสมรรถนะที่มีคะแนนเต็มมากที่สุดและประกาศรายชื่อผู้ผ่านการประเมินสมรรถนะเฉพาะเรื่องนั้น เพื่อเข้ารับการประเมินสมรรถนะในเรื่องที่เหลืออยู่ต่อไปก็ได้ (๘) เกณฑ์การตัดสินสำหรับผู้ผ่านการประเมินสมรรถนะ ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภากำหนดตามความเหมาะสม และสอดคล้องกับตำแหน่งงาน (๙) ภายหลังการประกาศรับสมัครแล้ว ให้หัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการสรรหาและเลือกสรร จำนวนไม่น้อยกว่า ๓ คน ประกอบด้วย (ก) หัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธาน (ข) ผู้แทนที่รับผิดชอบงานหรือโครงการของ เป็นกรรมการ ตำแหน่งที่จะสรรหาและเลือกสรร (ค) บุคลากรจากหน่วยงานการเจ้าหน้าที่ เป็นกรรมการ และเลขานุการ ในการเลือกสรรตำแหน่งที่หัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเห็นสมควรให้มีผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้มีประสบการณ์ในงานที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งนั้น ทั้งจากภายในหรือภายนอกส่วนราชการสังกัดรัฐสภาร่วมเป็นคณะกรรมการ ให้หัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งนั้นเป็นคณะกรรมการด้วย คณะกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการสรรหาและเลือกสรรตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กำหนดในประกาศรับสมัคร ภายใต้หลักการตามข้อ ๓ ข้อ ๕ เมื่อคณะกรรมการได้ดำเนินการสรรหาและเลือกสรรพนักงานราชการทั่วไปเสร็จสิ้นแล้วให้รายงานผลการดำเนินการต่อหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเพื่อประกาศบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการเลือกสรรและดำเนินการจัดจ้างต่อไป ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาประกาศบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการเลือกสรร โดยกำหนดให้บัญชีมีอายุตามที่เห็นสมควร แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินกว่า ๑ ปี ในกรณีที่มีผู้ผ่านการเลือกสรรมากกว่าจำนวนอัตราว่าง และภายหลังมีอัตราว่างในงานลักษณะเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน ซึ่งส่วนราชการสังกัดรัฐสภาพิจารณาแล้วเห็นว่าสามารถใช้บุคคลที่มีสมรรถนะในเรื่องเดียวกันได้ หัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาก็อาจพิจารณาจัดจ้างผู้ผ่านการเลือกสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการเลือกสรรที่ยังไม่หมดอายุก็ได้ ข้อ ๖ การสรรหาและเลือกสรรพนักงานราชการพิเศษ ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังนี้ (๑) ให้หัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาและผู้รับผิดชอบงานหรือโครงการของตำแหน่งที่จะสรรหาและเลือกสรรกำหนดขอบข่ายงานของตำแหน่ง ชื่อตำแหน่ง คุณสมบัติของตำแหน่ง ระยะเวลาการจ้างค่าตอบแทนที่จะได้รับ และเงื่อนไขการจ้างอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนแสดงแหล่งข้อมูลที่จะสรรหาและเลือกสรร ได้แก่ สถาบันการเงิน องค์การระหว่างประเทศ สมาคมอาชีพ สถานทูต ศูนย์ที่ปรึกษากระทรวงการคลัง ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ที่เคยจ้างบุคคลในงานประเภทเดียวกัน หรือแหล่งข้อมูลอื่นๆ ตามที่เห็นสมควร (๒) หัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภา หรือคณะกรรมการที่หัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาแต่งตั้งและผู้รับผิดชอบงานหรือโครงการ ดำเนินการสรรหารายชื่อผู้ที่มีความเหมาะสมจากแหล่งข้อมูลที่กำหนดและเลือกสรรพนักงานราชการพิเศษจากรายชื่อดังกล่าวภายใต้หลักการในข้อ ๓ ข้อ ๗ เมื่อส่วนราชการสังกัดรัฐสภาได้ชื่อผู้ผ่านการสรรหาและเลือกสรรเป็นพนักงานราชการพิเศษแล้ว ให้หัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาดำเนินการจัดจ้างผู้นั้นต่อไป ข้อ ๘ ผู้ได้รับการสรรหาและเลือกสรรให้เป็นพนักงานราชการจะต้องทำสัญญาจ้างตามแบบที่คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภากำหนด ข้อ ๙ หัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาอาจกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ โภคิน พลกุล ประธาน ก.ร. [เอกสารแนบท้าย] ๑ ตัวอย่างการกำหนดและการประเมินสมรรถนะ ๒ สัญญาจ้างพนักงานราชการ ๓ เอกสารแนบท้ายสัญญาจ้างผนวก ก. ๔ เอกสารแนบท้ายสัญญาจ้างผนวก ข. (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๘๑ ง/หน้า ๘/๑๐ กันยายน ๒๕๔๘
459516
ระเบียบ ว่าด้วยวิธีพิจารณาของคณะกรรมการจริยธรรมวุฒิสภา พ.ศ. 2548
ระเบียบ ระเบียบ ว่าด้วยวิธีพิจารณาของคณะกรรมการจริยธรรมวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๘ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๒๗ ของประมวลจริยธรรมของสมาชิกวุฒิสภาและกรรมาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๕ และด้วยความเห็นชอบจากวุฒิสภา คณะกรรมการจริยธรรมวุฒิสภา จึงออกระเบียบว่าด้วยวิธีพิจารณาของคณะกรรมการจริยธรรมวุฒิสภา ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบว่าด้วยวิธีพิจารณาของคณะกรรมการจริยธรรมวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๘” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ คำว่า “ประมวลจริยธรรม” หมายถึง ประมวลจริยธรรมของสมาชิกวุฒิสภาและกรรมาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๕ “คณะกรรมการ” หมายถึง คณะกรรมการจริยธรรมวุฒิสภา “ประธานคณะกรรมการ” หมายถึง ประธานคณะกรรมการจริยธรรมวุฒิสภา “กรรมการ” หมายถึง กรรมการจริยธรรมวุฒิสภา “สมาชิก” หมายถึง สมาชิกวุฒิสภา “กรรมาธิการ” หมายถึง กรรมาธิการสามัญ หรือกรรมาธิการวิสามัญซึ่งวุฒิสภาตั้งขึ้น และหมายความรวมถึงอนุกรรมาธิการที่คณะกรรมาธิการตั้งขึ้นด้วย “เลขาธิการ” หมายถึง เลขาธิการวุฒิสภา หรือรองเลขาธิการวุฒิสภาที่ได้รับมอบหมาย “คำร้อง” หมายถึง ข้อกล่าวหาว่าสมาชิกหรือกรรมาธิการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรม “ผู้ร้อง” หมายถึง ผู้เสนอคำร้องต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาวินิจฉัย “ผู้ถูกร้อง” หมายถึง สมาชิกหรือกรรมาธิการที่ถูกกล่าวหาว่าฝ่าฝืนประมวลจริยธรรม ข้อ ๔ ให้ประธานคณะกรรมการรักษาการตามระเบียบนี้ หมวด ๑ การยื่นและถอนคำร้อง ข้อ ๕ คำร้องต้องทำเป็นหนังสือ ใช้ถ้อยคำสุภาพและต้องมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ (๑) ชื่อและที่อยู่ของผู้ร้องพร้อมทั้งสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรที่ทางราชการออกให้ (๒) ข้อกล่าวหาที่ระบุว่าสมาชิกหรือกรรมาธิการคนใดฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมในเรื่องใด โดยระบุเรื่องอันเป็นเหตุให้ต้องใช้สิทธิยื่นคำร้อง พร้อมทั้งข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ตามสมควรเกี่ยวกับการกระทำดังกล่าว (๓) ลงลายมือชื่อผู้ร้อง ถ้าเป็นการร้องแทนผู้อื่นจะต้องแนบหนังสือมอบอำนาจให้เป็นผู้ร้องมาด้วย ข้อ ๖ การยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการให้กระทำได้ ดังต่อไปนี้ (๑) ให้ยื่นด้วยตนเอง หรือมอบฉันทะให้บุคคลอื่นยื่น ณ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา และให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคำร้องออกใบรับคำร้องให้กับผู้ร้อง หรือ (๒) ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ใบรับคำร้องจะต้องระบุวัน เดือน ปี ที่รับคำร้อง และลงลายมือชื่อเจ้าหน้าที่ผู้รับคำร้อง ข้อ ๗ ให้เลขาธิการตรวจสอบคำร้องเบื้องต้นว่า (๑) ผู้ร้องมีตัวตนอยู่จริงหรือไม่ และเป็นเจ้าของคำร้องจริงหรือไม่ (๒) คำร้องเป็นไปตามระเบียบนี้หรือไม่ ให้เลขาธิการเสนอคำร้องต่อคณะกรรมการโดยเร็ว ข้อ ๘ คำร้องตามข้อ ๕ เมื่อได้ยื่นแล้ว ผู้ร้องจะถอนในเวลาใดก็ได้ แต่ถ้าคณะกรรมการเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจะพิจารณาคำร้องนั้นต่อไปก็ได้ ข้อ ๙ เมื่อปรากฏหลักฐานว่าสมาชิก หรือกรรมาธิการมีพฤติกรรมอันน่าจะเป็นการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรม คณะกรรมการอาจมีมติให้นำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาตามระเบียบนี้ได้ มติดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ หมวด ๒ การคัดค้านกรรมการ ข้อ ๑๐ ผู้ร้องหรือผู้ถูกร้องอาจคัดค้านกรรมการคนใดว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องในเรื่องที่ขอให้พิจารณาก็ได้ เมื่อมีการคัดค้านกรรมการผู้ใด ถ้ากรรมการผู้นั้นไม่ขอถอนตัวออกจากการพิจารณาเรื่องนั้น ให้คณะกรรมการพิจารณาตามที่เห็นสมควร ถ้าคณะกรรมการเห็นชอบด้วยกับคำร้องคัดค้านกรรมการ กรรมการผู้นั้นจะร่วมพิจารณาหรือออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้น มิได้ ข้อ ๑๑ กรรมการผู้ใดมีเหตุที่อาจถูกคัดค้าน กรรมการผู้นั้นต้องแถลงต่อคณะกรรมการแสดงเหตุที่ตนอาจถูกคัดค้าน เมื่อมีกรณีดังกล่าวให้คณะกรรมการพิจารณาตามที่เห็นสมควร หมวด ๓ การตรวจสอบคำร้องและคำชี้แจง ข้อ ๑๒ เมื่อคณะกรรมการได้รับคำร้อง ให้พิจารณาและลงมติจะรับคำร้องนั้นไว้พิจารณาหรือไม่ โดยดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องจากเลขาธิการ ข้อ ๑๓ คำร้องที่คณะกรรมการมีมติรับไว้พิจารณา ให้ดำเนินการพิจารณาต่อไป คำร้องที่คณะกรรมการมีมติไม่รับไว้พิจารณา ให้จำหน่ายคำร้องนั้นเสีย และแจ้งให้ผู้ร้องทราบ ข้อ ๑๔ เมื่อคณะกรรมการมีมติรับคำร้องไว้พิจารณาตามข้อ ๑๓ วรรคแรกแล้วให้ประธานคณะกรรมการจัดส่งสำเนาคำร้องแก่ผู้ถูกร้อง และให้ผู้ถูกร้องยื่นคำชี้แจงภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำร้อง การส่งสำเนาคำร้องหรือหนังสืออื่นใด ให้ส่งแก่ผู้ร้องหรือผู้ถูกร้อง ณ ภูมิลำเนาหรือสถานที่ติดต่อแห่งใดแห่งหนึ่งตามที่ผู้ร้องหรือผู้ถูกร้องได้แจ้งไว้ ในกรณีที่ไม่สามารถส่งสำเนาคำร้องและหนังสือกำหนดเวลาให้ยื่นคำชี้แจงแก่ผู้ถูกร้องได้ หรือผู้ถูกร้องไม่ยอมรับสำเนาคำร้องและหนังสือกำหนดเวลาให้ยื่นคำชี้แจง ให้ประธานคณะกรรมการสั่งให้ปิดประกาศ ณ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เพื่อให้ผู้ถูกร้องมารับสำเนาคำร้องและส่งหนังสือกำหนดเวลาให้ยื่นคำชี้แจงภายในสิบห้าวันนับแต่วันปิดประกาศ และส่งสำเนาประกาศทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับให้แก่ผู้ถูกร้อง ณ สถานที่ตามวรรคสองในวันปิดประกาศนั้นด้วย ข้อ ๑๕ เมื่อผู้ถูกร้องได้รับสำเนาคำร้องแล้วและได้ยื่นคำชี้แจง หรือผู้ถูกร้องไม่ยื่นคำชี้แจงภายในเวลาที่กำหนด หรือไม่มารับสำเนาคำร้องและหนังสือกำหนดเวลาให้ยื่นคำชี้แจงตามประกาศตามข้อ ๑๔ วรรคสาม ให้คณะกรรมการกำหนดวันพิจารณาครั้งแรก ผู้ร้องจะขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องที่ยื่นไว้แล้วก็ได้ แต่ต้องเป็นสาระสำคัญอันควรแก่การแก้ไขและเกี่ยวกับเรื่องเดิม โดยให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อคณะกรรมการก่อนวันพิจารณาครั้งแรก คำขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องตามวรรคสอง คณะกรรมการจะอนุญาตหรือไม่ก็ได้แล้วแต่จะเห็นสมควร กำหนดการพิจารณาของคณะกรรมการ ให้เลขาธิการแจ้งเป็นหนังสือไปยังกรรมการ ผู้ร้องและผู้ถูกร้องทุกคนไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนวันพิจารณา ข้อ ๑๖ กรณีที่ผู้ร้องไม่ดำเนินการตามคำสั่งของคณะกรรมการหรือไม่ดำเนินการภายในเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าผู้ร้องทิ้งคำร้อง และคณะกรรมการอาจสั่งจำหน่ายคำร้องก็ได้ หมวด ๔ การพิจารณา ข้อ ๑๗ การพิจารณาของคณะกรรมการ ให้สมาชิกและผู้ซึ่งได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการมีสิทธิเข้าฟังการพิจารณา ในกรณีประชุมลับผู้ที่จะเข้าฟังการพิจารณาของคณะกรรมการได้ต้องเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ข้อ ๑๘ ผู้ร้องและผู้ถูกร้องมีสิทธิเข้าฟังการพิจารณาของคณะกรรมการ และสามารถอ้างตนเอง และพยานหลักฐานอื่นเป็นพยานได้ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร และมีสิทธิขอตรวจดูเอกสารหรือพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับตนได้ ข้อ ๑๙ การยื่นเอกสารหรือพยานหลักฐานต่อคณะกรรมการ ผู้ร้องหรือผู้ถูกร้องจะยื่นด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้บุคคลใดยื่นต่อคณะกรรมการหรือเลขาธิการก็ได้ การมอบฉันทะให้ผู้อื่นยื่นเอกสารหรือพยานหลักฐานให้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้มอบ ผู้รับมอบ และพยาน ข้อ ๒๐ ต้นฉบับเอกสารเท่านั้นที่อ้างเป็นพยานได้ ถ้าหาต้นฉบับไม่ได้ สำเนาที่รับรองว่าถูกต้อง หรือพยานบุคคลที่รู้ข้อความก็อ้างเป็นพยานได้ การอ้างหนังสือราชการเป็นพยาน แม้ต้นฉบับยังมีอยู่ จะส่งสำเนาที่รับรองว่าถูกต้องก็ได้ เว้นแต่คณะกรรมการจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ข้อ ๒๑ พยานจะให้การด้วยวาจาหรือให้การเป็นหนังสือก็ได้ ในกรณีให้การเป็นหนังสือ คณะกรรมการจะสั่งให้พยานมาให้ถ้อยคำประกอบก็ได้ พยานที่ให้ถ้อยคำแล้วอาจถูกเรียกมาให้ถ้อยคำอีกในวันเดียวกันหรือวันอื่นและอาจถูกเรียกมาให้ถ้อยคำพร้อมพยานคนอื่นในเรื่องเดียวกันได้ ข้อ ๒๒ การประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเรื่องใด ๆ ต้องมีการจัดทำบันทึกการประชุมของคณะกรรมการทุกครั้ง ข้อ ๒๓ ผู้ร้องและผู้ถูกร้องอาจทำคำแถลงการณ์เป็นหนังสือสรุปความเห็นของตนเสนอต่อคณะกรรมการก่อนการวินิจฉัยก็ได้ ส่วนการแถลงการณ์ด้วยวาจาต่อคณะกรรมการให้กระทำได้ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร คำแถลงการณ์ของผู้ร้องและผู้ถูกร้อง ต้องกระทำหลังจากวันพิจารณานัดสุดท้ายภายในเวลาที่คณะกรรมการเห็นสมควร ในการแถลงการณ์ด้วยวาจา ให้ผู้ร้องเป็นผู้แถลงก่อนและให้ผู้ถูกร้องแถลงในลำดับถัดไป ในการแถลงการณ์ด้วยวาจาของแต่ละฝ่าย คณะกรรมการจะซักถามข้อเท็จจริงเพิ่มเติมจากผู้แถลงในระหว่างการแถลงหรือภายหลังการแถลงก็ได้ ข้อ ๒๔ ในการพิจารณา คณะกรรมการจะให้ผู้ร้องหรือผู้ถูกร้องให้ข้อเท็จจริงหรือความเห็นเป็นหนังสือก็ได้ การสืบพยานบุคคลหรือพยานผู้เชี่ยวชาญ ให้กระทำได้เท่าที่จำเป็น ในการพิจารณา ให้คณะกรรมการมีอำนาจซักถามพยาน หรือเรียกพยาน หรือหลักฐานใด ๆ มาประกอบการพิจารณาตามที่เห็นสมควรก็ได้ ข้อ ๒๕ คณะกรรมการอาจสั่งให้งดการสืบพยานหลักฐานใด ๆ ที่เห็นว่าไม่เกี่ยวกับเรื่องที่จะพิจารณาวินิจฉัย หรือไม่มีความจำเป็นแก่การพิจารณาวินิจฉัย หรือจะทำให้การพิจารณาวินิจฉัยล่าช้าโดยไม่สมควรก็ได้ ข้อ ๒๖ การพิจารณาของคณะกรรมการให้กระทำด้วยความรวดเร็วและต่อเนื่องจนกว่าจะแล้วเสร็จ เว้นแต่มีเหตุจำเป็น คณะกรรมการจะสั่งเลื่อนการพิจารณาออกไปก็ได้ ข้อ ๒๗ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของการพิจารณา คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้บุคคลใดออกไปนอกสถานที่พิจารณาได้ ข้อ ๒๘ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของคณะกรรมการ คณะกรรมการมีอำนาจขอเอกสารใด ๆ ของวุฒิสภาได้ หมวด ๕ คำวินิจฉัย ข้อ ๒๙ การประชุมของคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษาใด ๆ ให้ถือเอาเสียงข้างมาก เว้นแต่การลงมติวินิจฉัยว่าสมาชิกหรือกรรมาธิการผู้ใดฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมข้อใด ให้ถือเอาคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในห้าของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้ทำเป็นหนังสือและให้แสดงเหตุผลประกอบการวินิจฉัยนั้นด้วย ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ สุชน ชาลีเครือ ประธานคณะกรรมการจริยธรรมวุฒิสภา วชิระ/ตรวจ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๔๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๓๗ ง/หน้า ๗๑/๙ พฤษภาคม ๒๕๔๘
592864
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๓)[๑] โดยที่อัตราค่าตอบแทนของพนักงานราชการกำหนดจากฐานคำนวณอัตราเงินเดือนข้าราชการเป็นหลัก ต่อมาได้มีการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงสมควรปรับปรุงอัตราค่าตอบแทนของพนักงานราชการให้สอดคล้องกับการปรับอัตราเงินเดือนดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๔ และข้อ ๑๖ ของระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภาจึงกำหนดค่าตอบแทนของพนักงานราชการไว้ดังนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๓)” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกบัญชีกลุ่มงานบริการ บัญชีกลุ่มงานเทคนิค บัญชีกลุ่มงานบริหารทั่วไป บัญชีกลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ และบัญชีกลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ ท้ายประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ ลงวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๔๘ และให้ใช้บัญชีแนบท้ายประกาศนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙ โภคิน พลกุล ประธาน ก.ร. [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีกลุ่มงานบริการ ๒. บัญชีกลุ่มงานเทคนิค ๓. บัญชีกลุ่มงานบริหารทั่วไป ๔. บัญชีกลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ ๕. บัญชีกลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประภาศรี/พิมพ์ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๑ ปณตภร/ปรับปรุง ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๑๕๓/๒๓ มีนาคม ๒๕๔๙
461481
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง การกำหนดลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงานและการจัดทำกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง การกำหนดลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงาน และการจัดทำกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ[๑] เพื่อให้การกำหนดลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงานและการจัดทำกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการเป็นระบบและมาตรฐาน สำหรับการดำเนินการในกระบวนการบริหารงานบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การกำหนดตำแหน่ง การกำหนดค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ การสรรหาและเลือกสรรและการประเมินผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งเป็นแนวทางปฏิบัติในการกำหนดชื่อตำแหน่งให้สอดคล้องตามความจำเป็นของภารกิจและยุทธศาสตร์ของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๗ วรรคสาม ข้อ ๘ วรรคสาม และข้อ ๙ วรรคหนึ่งของระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภาว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ก.ร.) จึงกำหนดลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงาน และการจัดทำกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง การกำหนดลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงาน และการจัดทำกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ” ส่วนที่ ๑ การกำหนดลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงาน ข้อ ๒ ในการกำหนดตำแหน่งพนักงานราชการ ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาพิจารณากำหนดตามประเภทและลักษณะงานตามกลุ่มงานของพนักงานราชการ ซึ่งมิใช่เป็นงานที่สามารถจ้างเหมาบริการได้ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๕๒๖.๗/ว ๖๒ ลงวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๓๙ และ ที่ กค ๐๕๒๖.๗/ว ๗๑ ลงวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๔๒ โดยคำนึงถึงอำนาจหน้าที่และภารกิจของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาผู้ว่าจ้าง ข้อ ๓ ให้มีกลุ่มงานตามประเภทของพนักงานราชการ ดังนี้ (๑) พนักงานราชการประเภททั่วไป ได้แก่ พนักงานราชการในกลุ่มงานบริการ กลุ่มงานเทคนิคกลุ่มงานบริหารทั่วไป กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ และกลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ (๒) พนักงานราชการประเภทพิเศษ ได้แก่ พนักงานราชการในกลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ ข้อ ๔ กลุ่มงานบริการ มีลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงาน ดังนี้ (๑) ลักษณะงานของกลุ่มงานบริการ เป็นงานที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) เป็นงานปฏิบัติระดับต้นที่ไม่สลับซับซ้อน หรือมีการกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานไว้ชัดเจนและไม่ต้องใช้ทักษะเฉพาะด้าน (ข) มีการใช้เครื่องมือเครื่องใช้ตามลักษณะงาน (ค) มีการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจในระดับที่ไม่ยุ่งยาก (๒) คุณสมบัติเฉพาะสำหรับกลุ่มงานบริการ กำหนดคุณวุฒิดังต่อไปนี้ (ก) วุฒิประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนต้นสายสามัญ (ม.ศ.๓) หรือประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๓) หรือประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๖) หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้หรือ (ข) วุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ในสาขาวิชาที่เหมาะสมกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ ข้อ ๕ กลุ่มงานเทคนิค มีลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงาน ดังนี้ (๑) ลักษณะงานของกลุ่มงานเทคนิค เป็นงานที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) เป็นงานที่ปฏิบัติโดยใช้ความรู้ความชำนาญทางเทคนิคซึ่งต้องผ่านการศึกษาในระบบการศึกษาในสาขาวิชาที่ตรงตามลักษณะงานที่จะปฏิบัติ หรือเป็นงานที่ปฏิบัติโดยใช้ทักษะเฉพาะของบุคคลซึ่งมิได้ผ่านการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาใดเป็นการเฉพาะ (ข) มีการใช้เครื่องมือเครื่องใช้ตามลักษณะงาน (ค) มีการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจที่ต้องใช้ความรู้ทางเทคนิคหรือทักษะเฉพาะของบุคคลในสาขานั้นๆ (๒) คุณสมบัติเฉพาะสำหรับกลุ่มงานเทคนิค กำหนดคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (ก) วุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ในสาขาวิชาที่เหมาะสมกับลักษณะงานที่ปฏิบัติหรือ (ข) ในกรณีที่เป็นงานที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะของบุคคลซึ่งมิได้ผ่านการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาใดเป็นการเฉพาะ ผู้นั้นจะต้องมีความรู้ ความสามารถ และทักษะในงานที่จะปฏิบัติไม่ต่ำกว่า ๕ ปี ข้อ ๖ ทักษะเฉพาะบุคคลที่กำหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะในข้อ ๕ (๒) (ข) จะต้องสามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงความมีทักษะในงานนั้นๆ โดยมีหนังสือรับรองการทำงานจากนายจ้างหรือหน่วยงานซึ่งระบุถึงลักษณะงานที่ได้ปฏิบัติ หรือมีการทดสอบทักษะเฉพาะบุคคลด้วยการทดลองปฏิบัติ ข้อ ๗ กลุ่มงานบริหารทั่วไป มีลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงาน ดังนี้ (๑) ลักษณะงานของกลุ่มงานบริหารทั่วไป เป็นงานที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) เป็นงานในลักษณะเช่นเดียวกับที่ข้าราชการปฏิบัติซึ่งเป็นภารกิจหลักหรือเป็นงานตามนโยบายสำคัญของรัฐสภา หรือเป็นงานที่มีความจำเป็นเร่งด่วน โดยมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดแน่นอนหรือ (ข) เป็นงานที่ไม่ใช่ลักษณะเช่นเดียวกับที่ข้าราชการปฏิบัติ แต่จำเป็นต้องใช้ผู้ปฏิบัติที่มีความรู้ระดับปริญญา (๒) คุณสมบัติเฉพาะสำหรับกลุ่มงานบริหารทั่วไป กำหนดคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีในสาขาวิชาที่เหมาะสมกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ ข้อ ๘ กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ มีลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงาน ดังนี้ (๑) ลักษณะงานของกลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ เป็นงานที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) เป็นงานวิชาชีพที่ต้องปฏิบัติโดยผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาที่ไม่อาจมอบหมายให้ผู้มีคุณวุฒิอย่างอื่นปฏิบัติงานแทนได้ และเป็นงานที่มีผลกระทบต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของประชาชนอย่างเห็นได้ชัด โดยมีองค์กรตามกฎหมายทำหน้าที่ตรวจสอบ กลั่นกรองและรับรองการประกอบวิชาชีพรวมทั้งลงโทษผู้กระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพดังกล่าว หรือ (ข) เป็นงานวิชาชีพที่ต้องปฏิบัติโดยผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาที่ไม่อาจมอบหมายให้ผู้มีคุณวุฒิอย่างอื่นปฏิบัติงานแทนได้ และเป็นงานที่มีผลกระทบต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของประชาชนอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งเป็นงานที่ขาดแคลนกำลังคนในภาคราชการ หรือ (ค) เป็นงานวิชาชีพที่ต้องปฏิบัติโดยผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาที่ไม่อาจมอบหมายให้ผู้มีคุณวุฒิอย่างอื่นปฏิบัติงานแทนได้ และเป็นงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีลักษณะในเชิงวิจัยและพัฒนา อีกทั้งเป็นงานที่ขาดแคลนกำลังคนในภาคราชการ (๒) คุณสมบัติเฉพาะสำหรับกลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ กำหนดคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (ก) วุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเฉพาะ หรือ (ข) วุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และได้รับประกาศนียบัตรหรือหนังสือรับรองความรู้ในสาขาวิชาชีพเฉพาะในระดับที่สูงกว่าปริญญาตรี หรือ (ค) วุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี ข้อ ๙ กลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ มีลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงาน ดังนี้ (๑) ลักษณะงานของกลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ เป็นงานที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) เป็นงานที่ปฏิบัติโดยอาศัยพื้นฐานความรู้ ประสบการณ์ การฝึกฝนทฤษฎี หลักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับงาน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือเป็นงานเชิงพัฒนาระบบหรือมาตรฐานของงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถ และประสบการณ์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนั้นๆ (ข) มีการใช้เครื่องมือเครื่องใช้ที่เกี่ยวข้องในบางลักษณะงาน (๒) คุณสมบัติเฉพาะสำหรับกลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ กำหนดคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (ก) วุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และมีประสบการณ์ในงานที่จะปฏิบัติเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๖ ปีสำหรับวุฒิปริญญาตรี ๔ ปี สำหรับวุฒิปริญญาโท และ ๒ ปี สำหรับวุฒิปริญญาเอก หรือ (ข) วุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และได้รับประกาศนียบัตรในสาขาที่ตรงกับความจำเป็นของลักษณะงาน โดยจะต้องมีประสบการณ์ในงานที่จะปฏิบัติเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๖ ปี สำหรับวุฒิปริญญาตรี ๔ ปี สำหรับวุฒิปริญญาโท และ ๒ ปี สำหรับวุฒิปริญญาเอก หรือ (ค) มีประสบการณ์ในงานที่จะปฏิบัติเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า ๑๐ ปี และมีผลงานเป็นที่ยอมรับในวงการนั้น ข้อ ๑๐ ประสบการณ์ที่กำหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะในข้อ ๙ (๒) (ก) (ข) และ (ค) จะต้องสามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงความมีประสบการณ์ในงานนั้น ๆ โดยมีหนังสือรับรองการทำงานจากนายจ้างหรือหน่วยงานซึ่งระบุถึงลักษณะงานที่ได้ปฏิบัติ หรือมีการทดสอบความชำนาญหรือความเชี่ยวชาญในงานที่จะปฏิบัติ หรือมีผลงานซึ่งแสดงถึงความมีประสบการณ์ในลักษณะงานที่จะปฏิบัติอย่างน้อย ๒ ชิ้นทั้งนี้ ตามที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภากำหนด ข้อ ๑๑ กลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ มีลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงาน ดังนี้ (๑) ลักษณะงานของกลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ เป็นงานที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) เป็นงานที่ต้องปฏิบัติโดยบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับงานหรือโครงการ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในวงการด้านนั้นๆ และ (ข) เป็นงานหรือโครงการที่มีภารกิจหรือเป้าหมายชัดเจน และมีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดแน่นอนโดยได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาให้ดำเนินการได้ภายในวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรและ (ค) เป็นงานหรือโครงการที่มีความสำคัญ เร่งด่วน ที่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วและ (ง) เป็นงานหรือโครงการที่ไม่อาจหาผู้ปฏิบัติที่เหมาะสมในหน่วยงานได้ (๒) คุณสมบัติเฉพาะสำหรับกลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาพิจารณากำหนดจากคุณวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ และผลงานความเชี่ยวชาญพิเศษตามความต้องการของงานหรือโครงการ ตามรายละเอียดที่แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๒ คุณสมบัติเฉพาะสำหรับกลุ่มงานทั้ง ๖ กลุ่มในส่วนที่เกี่ยวกับคุณวุฒิการศึกษาต้องเป็นคุณวุฒิที่ ก.ร. พิจารณารับรองแล้ว ข้อ ๑๓ สำหรับกลุ่มงานที่ไม่ได้กำหนดประสบการณ์ไว้เป็นคุณสมบัติเฉพาะแต่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาพิจารณาแล้วเห็นว่า ตำแหน่งในกลุ่มงานนั้นสมควรสรรหาและเลือกสรรจากผู้มีประสบการณ์ในงานที่จะปฏิบัติ ส่วนราชการสังกัดรัฐสภานั้นอาจกำหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งได้ ทั้งนี้จะต้องสามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงความมีประสบการณ์ของบุคคลนั้น โดยมีหนังสือรับรองการทำงานจากนายจ้าง หรือหน่วยงานซึ่งระบุถึงลักษณะงานที่ได้ปฏิบัติ หรือวิธีการอื่นใดที่เหมาะสมกับลักษณะงานที่จะปฏิบัติ ข้อ ๑๔ การกำหนดคุณสมบัติเฉพาะเกี่ยวกับอายุขั้นสูงของผู้สมัครเข้ารับการสรรหาและเลือกสรรสำหรับกลุ่มงานทั้ง ๖ กลุ่ม ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาอาจกำหนดได้ตามความเหมาะสมของลักษณะงานและอาจพิจารณาตามแนวทาง ดังนี้ (๑) ลักษณะงานที่ต้องใช้ความพร้อมทางสมรรถภาพร่างกาย หรือที่เสี่ยงอันตราย ตรากตรำหรือมีผลเสียต่อสุขภาพ อาจกำหนดให้จ้างผู้ที่อายุไม่เกิน ๕๐ ปี (๒) ลักษณะงานที่ต้องใช้ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ที่สั่งสมมาเป็นเวลานานซึ่งไม่อาจหาได้โดยทั่วไปหรือมีความขาดแคลนและเป็นที่ต้องการของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา อาจกำหนดอายุขั้นสูงเกินกว่า ๖๐ ปีได้ ส่วนที่ ๒ การจัดทำกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ ข้อ ๑๕ การกำหนดจำนวนพนักงานราชการตามกลุ่มงาน ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาจัดทำเป็นกรอบอัตรากำลัง โดยพิจารณาถึงการใช้กำลังคนในภาพรวมของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับความจำเป็นตามภารกิจและยุทธศาสตร์ของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาและให้ อ.ก.ร. ระบบงานและอัตรากำลัง พิจารณาให้ความเห็นชอบกรอบอัตรากำลังดังกล่าว ก่อนเสนอ ก.ร. อนุมัติ ข้อ ๑๖ ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาดำเนินการจัดกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการให้เสร็จสิ้นภายใน ๓๐ วัน ทั้งนี้ ให้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ หากส่วนราชการสังกัดรัฐสภาใดไม่สามารถดำเนินการจัดกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดให้รายงานต่อ ก.ร. ทราบ เพื่อพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป ข้อ ๑๗ ในกรณีที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาใดยังจัดทำกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการไม่แล้วเสร็จ แต่มีภารกิจที่จำเป็นต้องจ้างพนักงานราชการเพื่อปฏิบัติงาน และมีงบประมาณจากการที่อัตราลูกจ้างประจำว่างลงระหว่างปี ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภานั้นดำเนินการจ้างได้ โดยให้ถือกรอบอัตรากำลังลูกจ้างประจำที่สำนักงาน ก.พ. อนุมัติ เป็นกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการไปพลางก่อนทั้งนี้ ให้หักจำนวนตำแหน่งที่สามารถใช้การจ้างเหมาบริการได้ออกก่อนด้วย และให้รายงาน ก.ร. ทราบภายใน ๓๐ วัน หลังจากที่ได้ทำสัญญาจ้างแล้ว ข้อ ๑๘ ในการจัดกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ โดยให้ถือกรอบอัตรากำลังลูกจ้างประจำที่สำนักงาน ก.พ. อนุมัติ เป็นกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการไปพลางก่อนตามข้อ ๑๗ นั้น เพื่อเป็นพื้นฐานในการดำเนินการจัดทำกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาควรจัดกลุ่มตำแหน่งลูกจ้างประจำเข้าตามกลุ่มงานพนักงานราชการก่อน และพิจารณาตามภารกิจและปริมาณงานว่าควรมีกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการในแต่ละประเภท แต่ละกลุ่ม จำนวนเท่าไร โดยในกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการต้องระบุว่าเป็นอัตรากำลังลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวเดิมเท่าไร ข้อ ๑๙ ในกรณีที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาใดจำเป็นต้องจ้างพนักงานราชการ เพื่อปฏิบัติงานที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ตามนโยบายของรัฐสภา หรือมติ ก.ร. นอกเหนือจากกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการที่ได้กำหนดไว้ และมีงบประมาณสำหรับการดำเนินการแล้ว ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภานั้นดำเนินการสรรหาและเลือกสรรบุคคลเพื่อจ้างเป็นพนักงานราชการได้ และรายงานผลการดำเนินการให้ ก.ร. ทราบภายใน ๓๐ วัน หลังจากที่ได้ทำสัญญาจ้างแล้ว เว้นแต่การจ้างพนักงานราชการในกลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษซึ่งจะต้องขออนุมัติจาก ก.ร. ก่อน ข้อ ๒๐ ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาจัดส่งสำเนากรอบอัตรากำลังพนักงานราชการที่ ก.ร. เห็นชอบแล้วให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงบประมาณ และกรมบัญชีกลาง ข้อ ๒๑ ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภารายงานผลการดำเนินการบริหารงานพนักงานราชการให้ ก.ร. ทราบ ภายในเดือนธันวาคมของทุกปี ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ โภคิน พลกุล ประธาน ก.ร. [เอกสารแนบท้าย] ๑ คุณสมบัติเฉพาะสำหรับกลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ (แนบท้ายประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภาเรื่อง การกำหนดลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงานและการจัดทำกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๘๑ ง/หน้า ๑/๑๐ กันยายน ๒๕๔๘
461497
ระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภาว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2548
ระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้มีการปรับปรุงกระบวนการจ้างงานภาครัฐในส่วนของลูกจ้างของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาให้มีความหลากหลาย เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการใช้กำลังคนภาครัฐและให้การปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภามีความคล่องตัวเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยสอดคล้องตามแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภาจึงเห็นสมควรให้มีการจ้างพนักงานราชการสำหรับการปฏิบัติงานของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๒๐ และมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ และมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ก.ร.) จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา” หมายความว่า สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา หรือสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ตามมาตรา ๖ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ “หัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภา” หมายความว่า เลขาธิการวุฒิสภา หรือเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ตามมาตรา ๖ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างพนักงานราชการ “พนักงานราชการ” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างโดยได้รับค่าตอบแทนจากงบประมาณของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา เพื่อเป็นพนักงานของรัฐในการปฏิบัติงานให้กับส่วนราชการสังกัดรัฐสภานั้น “สัญญาจ้าง” หมายความว่า สัญญาจ้างพนักงานราชการตามระเบียบนี้ ข้อ ๔ บรรดากฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือมติ ก.ร. ที่กำหนดให้ข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการสังกัดรัฐสภามีหน้าที่ต้องปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหรือเป็นข้อห้ามในเรื่องใด ให้ถือว่าพนักงานราชการมีหน้าที่ต้องปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหรือต้องห้ามเช่นเดียวกับข้าราชการหรือลูกจ้างด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่เรื่องใดมีกำหนดไว้แล้วโดยเฉพาะในระเบียบนี้ หรือตามเงื่อนไขของสัญญาจ้าง หรือเป็นกรณีที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาประกาศกำหนดให้พนักงานราชการประเภทใดหรือตำแหน่งในกลุ่มงานลักษณะใดได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับข้าราชการหรือลูกจ้างในบางเรื่องเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ ในกรณีที่ ก.ร. เห็นสมควรอาจกำหนดแนวทางการดำเนินการตามวรรคหนึ่งเพื่อเป็นมาตรฐานทั่วไปให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาปฏิบัติก็ได้ ข้อ ๕ ให้เลขานุการ ก.ร. รักษาการตามระเบียบนี้ หมวด ๑ พนักงานราชการ ข้อ ๖ พนักงานราชการมีสองประเภท ดังต่อไปนี้ (๑) พนักงานราชการทั่วไป ได้แก่ พนักงานราชการซึ่งปฏิบัติงานในลักษณะเป็นงานประจำทั่วไปของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาในด้านงานบริการ งานเทคนิค งานบริหารทั่วไป งานวิชาชีพเฉพาะหรืองานเชี่ยวชาญเฉพาะ (๒) พนักงานราชการพิเศษ ได้แก่ พนักงานราชการซึ่งปฏิบัติงานในลักษณะที่ต้องใช้ความรู้หรือความเชี่ยวชาญสูงมากเป็นพิเศษเพื่อปฏิบัติงานในเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็นเฉพาะเรื่องของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา หรือมีความจำเป็นต้องใช้บุคคลในลักษณะดังกล่าว ข้อ ๗ ในการกำหนดตำแหน่งของพนักงานราชการ ให้กำหนดตำแหน่งโดยจำแนกเป็นกลุ่มงานตามลักษณะงานและผลผลิตของงาน ดังต่อไปนี้ (๑) กลุ่มงานบริการ (๒) กลุ่มงานเทคนิค (๓) กลุ่มงานบริหารทั่วไป (๔) กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ (๕) กลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ (๖) กลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ ในแต่ละกลุ่มงานตามวรรคหนึ่ง ก.ร. อาจกำหนดให้มีกลุ่มงานย่อยเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะงานของพนักงานราชการได้ การกำหนดให้พนักงานราชการประเภทใดมีตำแหน่งในกลุ่มงานใด และการกำหนดลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงาน ให้เป็นไปตามประกาศของ ก.ร. ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างพนักงานราชการอาจกำหนดชื่อตำแหน่งในกลุ่มงานตามความเหมาะสมกับหน้าที่การปฏิบัติงานของพนักงานราชการที่จ้างได้ ข้อ ๘ ผู้ซึ่งจะได้รับการจ้างเป็นพนักงานราชการ ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี (๓) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย (๔) ไม่เป็นผู้มีกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (๕) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรรมการพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (๖) ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เพราะกระทำความผิดอาญาเว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๗) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (๘) ไม่เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาหรือส่วนราชการอื่น พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานอื่นของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานหรือลูกจ้างของราชการส่วนท้องถิ่น (๙) คุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามอื่นตามที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภากำหนดไว้ในประกาศการสรรหาหรือการเลือกสรรบุคคลเพื่อจ้างเป็นพนักงานราชการ ทั้งนี้ ต้องเป็นไปเพื่อความจำเป็นหรือเหมาะสมกับภารกิจของส่วนราชการสังกัดรัฐสภานั้น ความใน (๑) ไม่ให้ใช้บังคับกับพนักงานราชการชาวต่างประเทศซึ่งส่วนราชการสังกัดรัฐสภาจำเป็นต้องจ้างตามข้อผูกพันหรือตามความจำเป็นของภารกิจของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ในกรณีที่เห็นสมควร ก.ร. อาจประกาศกำหนดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามเพิ่มขึ้นหรือกำหนดแนวทางปฏิบัติของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาในการจ้างพนักงานราชการเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการกำหนดให้มีพนักงานราชการตามระเบียบนี้ ข้อ ๙ ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาจัดทำกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการเป็นระยะเวลาสี่ปีโดยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการปฏิบัติราชการของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาและแผนงบประมาณเชิงกลยุทธ์ ทั้งนี้ ตามแนวทางการจัดกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการที่ ก.ร. กำหนด กรอบอัตรากำลังพนักงานราชการของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาตามวรรคหนึ่ง จะต้องเสนอต่อก.ร. เพื่อให้ความเห็นชอบ เมื่อ ก.ร. ให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาทำความตกลงกับสำนักงบประมาณสนับสนุนงบประมาณ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายด้านบุคคลตามความจำเป็นและสอดคล้องกับกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการดังกล่าว ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามประเภทรายจ่ายที่ได้รับการจัดสรรตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็น ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาอาจขอให้เปลี่ยนกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการได้ โดยได้รับความเห็นชอบจาก ก.ร. และแจ้งให้สำนักงบประมาณทราบ ข้อ ๑๐ การสรรหาและการเลือกสรรบุคคลเพื่อจ้างเป็นพนักงานราชการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.ร. กำหนด ในกรณีที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาใดจะขอยกเว้นหรือเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสรรหา หรือการเลือกสรรตามที่ ก.ร. กำหนดตามวรรคหนึ่ง ให้สามารถกระทำได้โดยทำความตกลงกับ ก.ร. ข้อ ๑๑ การจ้างพนักงานราชการให้กระทำเป็นสัญญาจ้างไม่เกินคราวละสี่ปีหรือตามโครงการที่มีกำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดไว้ โดยอาจมีการต่อสัญญาจ้างได้ ทั้งนี้ ตามความเหมาะสมและความจำเป็นของแต่ละส่วนราชการสังกัดรัฐสภา แบบสัญญาจ้างให้เป็นไปตามที่ ก.ร. กำหนด การทำสัญญาตามวรรคหนึ่ง ให้หัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเป็นผู้ลงนามในสัญญาจ้างกับผู้ได้รับการสรรหาหรือการเลือกสรรเป็นพนักงานราชการ ข้อ ๑๒ การแต่งกายและเครื่องแบบปกติ ให้เป็นไปตามที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภากำหนด เครื่องแบบพิธีการให้เป็นไปตามที่ ก.ร. กำหนด ข้อ ๑๓ วันเวลาการทำงาน หรือวิธีการทำงานในกรณีที่ไม่ต้องอยู่ปฏิบัติงานประจำส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ให้เป็นไปตามที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภากำหนด ซึ่งอาจแตกต่างกันได้ตามหน้าที่ของพนักงานราชการในแต่ละตำแหน่ง โดยคำนึงถึงผลสำเร็จของงาน หมวด ๒ ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ ข้อ ๑๔ อัตราค่าตอบแทนของพนักงานราชการให้เป็นไปตามที่ ก.ร. ประกาศกำหนด ข้อ ๑๕ ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาอาจกำหนดให้พนักงานราชการประเภทใดหรือตำแหน่งในกลุ่มงานใดได้รับสิทธิประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (๑) สิทธิเกี่ยวกับการลา (๒) สิทธิในการได้รับค่าตอบแทนระหว่างลา (๓) สิทธิในการได้รับค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลางาน (๔) ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง (๕) ค่าเบี้ยประชุม (๖) สิทธิในการขอรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (๗) การได้รับรถประจำตำแหน่ง (๘) สิทธิอื่นๆ ที่ ก.ร. ประกาศกำหนด หลักเกณฑ์การได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภากำหนดทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดเกี่ยวกับการได้รับสิทธินั้นตามกฎหมาย กฎ ระเบียบประกาศ หรือมติ ก.ร. ในกรณีที่เห็นสมควร ก.ร. อาจแก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือมติก.ร. เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่เห็นสมควร ก.ร. อาจกำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการกำหนดสิทธิประโยชน์ให้แก่พนักงานราชการเพื่อให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาปฏิบัติก็ได้ ข้อ ๑๖ ให้ ก.ร. พิจารณาทบทวนอัตราค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการตามข้อ ๑๔ และข้อ ๑๕ เพื่อปรับปรุงให้เหมาะสมเป็นธรรมและมีมาตรฐาน โดยคำนึงถึงค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลง ค่าตอบแทนของเอกชน อัตราเงินเดือนของข้าราชการรัฐสภาสามัญ และฐานะการคลังของประเทศ รวมทั้งปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๗ ให้พนักงานราชการได้รับสิทธิประโยชน์และมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม ข้อ ๑๘ ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาอาจกำหนดให้พนักงานราชการประเภทใดหรือตำแหน่งในกลุ่มงานใดได้รับค่าตอบแทนการออกจากงานโดยไม่มีความผิดได้ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ร. กำหนด หมวด ๓ การประเมินผลการปฏิบัติงาน ข้อ ๑๙ ในระหว่างสัญญาจ้าง ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการทั่วไป ให้กระทำในกรณีดังต่อไปนี้ (ก) การประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี (ข) การประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อต่อสัญญาจ้าง (๒) การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการพิเศษ ให้กระทำในกรณีการประเมินผลสำเร็จของงานตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภากำหนด ในการนี้ ก.ร. อาจกำหนดแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงานดังกล่าวเพื่อเป็นมาตรฐานทั่วไปให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาปฏิบัติก็ได้ ข้อ ๒๐ พนักงานราชการผู้ใดไม่ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อ ๑๙ ให้ถือว่าสัญญาจ้างของพนักงานราชการผู้นั้นสิ้นสุดลง โดยให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาแจ้งให้พนักงานราชการทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ทราบผลการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการผู้นั้น ข้อ ๒๑ ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภารายงานผลการดำเนินการจ้างพนักงานราชการรวมทั้งปัญหาอุปสรรคหรือข้อเสนอแนะต่อ ก.ร. ภายในเดือนธันวาคมของทุกปี หมวด ๔ วินัยและการรักษาวินัย ข้อ ๒๒ พนักงานราชการมีหน้าที่ต้องปฏิบัติงานตามที่กำหนดในระเบียบนี้ ตามที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภากำหนด และตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง และมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ ข้อ ๒๓ พนักงานราชการต้องรักษาวินัยโดยเคร่งครัดตามที่กำหนดไว้เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภากำหนด พนักงานราชการผู้ใดฝ่าฝืนข้อห้ามหรือไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติตามวรรคหนึ่งพนักงานราชการผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัยจะต้องได้รับโทษทางวินัย ข้อ ๒๔ การกระทำความผิดดังต่อไปนี้ ถือว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง (๑) กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ (๒) จงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือเงื่อนไขที่ทางราชการกำหนดให้ปฏิบัติจนเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง (๓) ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง (๔) ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญา หรือขัดคำสั่งหรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาตามข้อ ๒๒ จนเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง (๕) ประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง (๖) ละทิ้งหรือทอดทิ้งการทำงานเป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่าเจ็ดวัน สำหรับตำแหน่งที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภากำหนดวันเวลาการมาทำงาน (๗) ละทิ้งหรือทอดทิ้งการทำงานจนทำให้งานไม่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดจนเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง สำหรับตำแหน่งที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภากำหนดการทำงานตามเป้าหมาย (๘) ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง หรือกระทำความผิดอาญาโดยมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือหนักกว่าโทษจำคุก (๙) ดูหมิ่น เหยียดหยาม สมาชิกรัฐสภาหรือประชาชนผู้มาติดต่อราชการอย่างร้ายแรง (๑๐) การกระทำอื่นใดที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภากำหนดว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ข้อ ๒๕ เมื่อมีกรณีที่พนักงานราชการถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้หัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาจัดให้มีคณะกรรมการสอบสวนเพื่อดำเนินการสอบสวนโดยเร็วและต้องให้โอกาสพนักงานราชการที่ถูกกล่าวหาชี้แจงและแสดงพยานหลักฐานเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในกรณีที่ผลการสอบสวนปรากฏว่าพนักงานราชการผู้นั้นกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้หัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภามีคำสั่งไล่ออก แต่ถ้าไม่มีมูลกระทำความผิดให้สั่งยุติเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการการสอบสวนพนักงานราชการ ให้เป็นไปตามที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภากำหนด ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ปรากฏว่าพนักงานราชการกระทำความผิดวินัยไม่ร้ายแรงตามที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภากำหนด ให้หัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ตัดเงินค่าตอบแทน หรือลดขั้นเงินค่าตอบแทน ตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด ในการพิจารณาการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ให้หัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาพิจารณาสอบสวนให้ได้ความจริงและยุติธรรมตามวิธีการที่เห็นสมควร ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ ก.ร. เห็นสมควรอาจกำหนดแนวทางการดำเนินการทางวินัยแก่พนักงานราชการ เพื่อเป็นมาตรฐานทั่วไปให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาปฏิบัติก็ได้ หมวด ๕ การสิ้นสุดสัญญาจ้าง ข้อ ๒๘ สัญญาจ้างสิ้นสุดลงเมื่อ (๑) ครบกำหนดตามสัญญาจ้าง (๒) พนักงานราชการขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามระเบียบนี้หรือตามที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภากำหนด (๓) พนักงานราชการตาย (๔) ไม่ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อ ๑๙ (๕) พนักงานราชการถูกให้ออก เพราะกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรง (๖) เหตุอื่นตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้หรือตามข้อกำหนดของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาหรือตามสัญญาจ้าง ข้อ ๒๙ ในระหว่างสัญญาจ้าง พนักงานราชการผู้ใดประสงค์จะลาออกจากการปฏิบัติงานให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาตามหลักเกณฑ์ที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภากำหนด ข้อ ๓๐ ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาอาจบอกเลิกสัญญาจ้างกับพนักงานราชการผู้ใดก่อนครบกำหนดตามสัญญาจ้างได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่เป็นเหตุที่พนักงานราชการจะเรียกร้องค่าตอบแทนการเลิกสัญญาจ้างได้ เว้นแต่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาจะกำหนดให้ในกรณีใดได้รับค่าตอบแทนการออกจากงานโดยไม่มีความผิดไว้ ข้อ ๓๑ เพื่อประโยชน์แห่งทางราชการ ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาอาจสั่งให้พนักงานราชการไปปฏิบัติงานนอกเหนือจากเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้างได้ โดยไม่เป็นเหตุให้พนักงานราชการอ้างขอเลิกสัญญาจ้างหรือเรียกร้องประโยชน์ตอบแทนใดๆ ในการนี้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาอาจกำหนดให้ค่าล่วงเวลาหรือค่าตอบแทนอื่นจากการสั่งให้ไปปฏิบัติงานดังกล่าวก็ได้ ข้อ๓๒ ในกรณีที่บุคคลใดพ้นจากการเป็นพนักงานราชการแล้ว หากในการปฏิบัติงานของบุคคลนั้นในระหว่างที่เป็นพนักงานราชการก่อให้เกิดความเสียหายแก่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาให้บุคคลดังกล่าวต้องรับผิดชอบในความเสียหายดังกล่าว เว้นแต่ความเสียหายนั้นเกิดจากเหตุสุดวิสัยในการนี้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาอาจหักค่าตอบแทนหรือเงินอื่นใดที่บุคคลนั้นจะได้รับจากส่วนราชการสังกัดรัฐสภาไว้เพื่อชำระค่าความเสียหายดังกล่าวก็ได้ ข้อ ๓๓ ในกรณีที่ ก.ร. เห็นสมควรอาจกำหนดแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับการเลิกสัญญาจ้างตามหมวดนี้ เพื่อเป็นมาตรฐานทั่วไปให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาปฏิบัติก็ได้ หมวด ๖ อำนาจหน้าที่ของ ก.ร. ข้อ ๓๔ ให้ ก.ร. มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) กำหนดแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งเสนอแนะส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเกี่ยวกับการบริหารพนักงานราชการเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้ (๒) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการสรรหาและการเลือกสรรบุคคลเพื่อจ้างเป็นพนักงานราชการ รวมทั้งแบบสัญญาจ้าง (๓) กำหนดกลุ่มงานและลักษณะงานในกลุ่มงาน และคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงานของพนักงานราชการ (๔) ให้ความเห็นชอบกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเสนอ (๕) กำหนดอัตราค่าตอบแทนและวางแนวทางการกำหนดสิทธิประโยชน์อื่นของพนักงานราชการ (๖) กำหนดมาตรฐานการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ (๗) ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้บังคับระเบียบนี้ (๘) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการตามที่เห็นสมควร (๙) อำนาจหน้าที่อื่นตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้หรือกฎหมายอื่น ข้อ ๓๕ ในกรณีที่เรื่องใดตามระเบียบนี้กำหนดให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภากำหนดหลักเกณฑ์หรือปฏิบัติในเรื่องใด ก.ร. อาจกำหนดให้เรื่องนั้นต้องกระทำโดยให้หัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาแต่งตั้งคณะกรรมการเป็นผู้ดำเนินการก็ได้ บทเฉพาะกาล ข้อ ๓๖ ในกรณีที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภายังจัดทำกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการไม่แล้วเสร็จ ถ้ามีความจำเป็นต้องจ้างพนักงานราชการในกลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ ให้ดำเนินการจ้างได้ในกรณีที่มีงบประมาณและโครงการแล้ว หรือสำหรับโครงการใหม่ โดยเสนอ ก.ร. พิจารณาอนุมัติการจ้าง ข้อ ๓๗ ในกรณีที่อัตราลูกจ้างประจำว่างลง และคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐกำหนดให้จ้างเป็นลูกจ้างชั่วคราว ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาจะดำเนินการจ้างเป็นพนักงานราชการตามระเบียบนี้ได้ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นต้นไป หรือตามที่ ก.ร. กำหนด ข้อ ๓๘ ในกรณีที่อัตราลูกจ้างประจำว่างลงระหว่างปี ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งต้องยุบเลิกตำแหน่งนั้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๔๖ หากส่วนราชการสังกัดรัฐสภายังมีความจำเป็นและไม่ใช่กรณีการจ้างเหมาบริการ ให้ขออนุมัติ ก.ร. เพื่อพิจารณากำหนดให้เป็นพนักงานราชการ ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ โภคิน พลกุล ประธานรัฐสภา ประธาน ก.ร ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๘๑ ง/หน้า ๒๐/๑๐ กันยายน ๒๕๔๘
824159
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561
พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นปีที่ ๓ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความใน (๘) ของมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๘) อัยการผู้ช่วย ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๑ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในขั้นต่ำของชั้น ๑” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๓๕ การบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ให้อัยการสูงสุดเป็นผู้สั่งโดยวิธีการสอบคัดเลือก การทดสอบความรู้ หรือการคัดเลือกพิเศษ ตามความในหมวด ๒ แห่งลักษณะนี้ โดยให้ผู้ได้รับบรรจุได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในขั้นต่ำของชั้น ๑” มาตรา ๕ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา การปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป มาตรา ๖ เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจตามระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๖ และระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่งข้าราชการอัยการได้รับไปแล้วตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นมา จนถึงวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งที่ได้รับการปรับเพิ่มตามบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการในมาตรา ๕ และให้การได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวในกรณีนั้นสิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๗ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ ชั้นเงินเดือน เงินเดือน (บาท/เดือน) เงินประจำตำแหน่ง (บาท/เดือน) ๘ ๘๑,๙๒๐ ๕๐,๐๐๐ ๗ ๘๐,๕๔๐ ๔๒,๐๐๐ ๖ ๗๘,๑๗๐ ๔๑,๕๐๐ ๕ ๗๖,๘๐๐ ๔๑,๐๐๐ ๔ ๗๕,๕๖๐ ๗๔,๓๖๐ ๔๐,๐๐๐ ๓๐,๐๐๐ ๓ ๗๓,๒๔๐ ๕๘,๓๗๐ ๕๓,๒๐๐ ๔๕,๘๙๐ ๔๑,๔๑๐ ๓๗,๑๑๐ ๒๙,๐๐๐ ๒๓,๓๐๐ ๒๓,๓๐๐ ๒๓,๓๐๐ ๒๓,๓๐๐ ๒๓,๓๐๐ ๒ ๓๔,๒๑๐ ๓๒,๐๘๐ ๓๐,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐ ๑ ๒๖,๓๙๐ ๒๕,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการเพื่อให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น โดยกำหนดให้ถือว่าเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจตามระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๖ และระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่งข้าราชการอัยการได้รับไปแล้วตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นมาจนถึงวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งที่ได้รับการปรับเพิ่มตามบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ และให้การได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวในกรณีนั้นสิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พรวิภา/ธนบดี/จัดทำ ๓ มกราคม ๒๕๖๒ ปริญสินีย์/ตรวจ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๑๑๒ ก/หน้า ๕/๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๑
825934
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 (ฉบับ Update ณ วันที่ 21/11/2561)
พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นปีที่ ๖๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ (๒) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ (๓) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ (๔) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑ (๕) ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่อง การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ (๖) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ (๗) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๘ (๘) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๕ (๙) ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓๕ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๙ (๑๐) พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส พ.ศ. ๒๕๔๓ (๑๑) พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ (๑๒) พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๔๔ (๑๓) พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “ข้าราชการฝ่ายอัยการ” หมายความว่า ข้าราชการซึ่งรับราชการในสำนักงานอัยการสูงสุดโดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนในสำนักงานอัยการสูงสุด “ก.อ.” หมายความว่า คณะกรรมการอัยการ มาตรา ๕ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ลักษณะ ๑ บททั่วไป มาตรา ๖ ข้าราชการฝ่ายอัยการ แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ (๑) ข้าราชการอัยการ ได้แก่ ข้าราชการผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพนักงานอัยการตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ (๒) ข้าราชการธุรการ ได้แก่ ข้าราชการในสำนักงานอัยการสูงสุดนอกจาก (๑) มาตรา ๗ ให้นำระบบบัญชีเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตุลาการมาใช้กับข้าราชการอัยการโดยอนุโลม อัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการอัยการ ให้เป็นไปตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่สมควรปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ถ้าการปรับอัตราเงินเดือนดังกล่าวเป็นการปรับเพิ่มเป็นร้อยละเท่ากันทุกอัตราและไม่เกินร้อยละสิบของอัตราที่ใช้บังคับอยู่ การปรับให้กระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาและให้ถือว่าบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชกฤษฎีกาเป็นบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ในกรณีที่การปรับเป็นร้อยละเท่ากันทุกอัตราหากทำให้อัตราหนึ่งอัตราใดมีเศษไม่ถึงสิบบาท ให้ปรับตัวเลขเงินเดือนของอัตราดังกล่าวให้เพิ่มขึ้นเป็นสิบบาท และมิให้ถือว่าเป็นการปรับอัตราร้อยละที่แตกต่างกัน มาตรา ๘ การกำหนดตำแหน่ง อัตราเงินเดือน อัตราเงินประจำตำแหน่ง การรับเงินเดือนการรับเงินประจำตำแหน่ง การปรับขั้นต่ำขั้นสูงของเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง และเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการธุรการ ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนสามัญมาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ คำว่า “ก.พ.” และ “อ.ก.พ. กระทรวง” ให้หมายถึง “ก.อ.”และคำว่า “กระทรวง” ให้หมายถึง “สำนักงานอัยการสูงสุด” นอกจากตำแหน่งที่กำหนดขึ้นตามวรรคหนึ่ง ก.อ. อาจออกประกาศกำหนดให้มีตำแหน่งข้าราชการธุรการที่แตกต่างไปจากตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนก็ได้ ตำแหน่งดังกล่าวจะให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในอัตราเท่าใดและจะเทียบกับตำแหน่งใดตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดในประกาศนั้นด้วย มาตรา ๙ ในกรณีคณะรัฐมนตรีกำหนดเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นการทั่วไป ให้ข้าราชการฝ่ายอัยการได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวในหลักเกณฑ์เดียวกันด้วย มาตรา ๑๐ ข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการการเมืองหรือข้าราชการซึ่งอยู่ในระหว่างการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งสอบคัดเลือก หรือทดสอบความรู้หรือคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ตามพระราชบัญญัตินี้ หากประสงค์จะโอนมาบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเพื่อนับเวลาราชการหรือเวลาทำงานของตนในขณะที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเป็นเวลาราชการของข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย ก็ให้กระทำได้โดยสำนักงานอัยการสูงสุดทำความตกลงกับเจ้าสังกัด มาตรา ๑๑ บำเหน็จบำนาญของข้าราชการฝ่ายอัยการ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดถึงแก่ความตาย หรือได้รับอันตรายถึงทุพพลภาพเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการจนต้องออกจากราชการเพราะเหตุทุพพลภาพตามพระราชบัญญัตินี้ ก.อ. จะพิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญก็ได้ มาตรา ๑๒ เครื่องแบบ และการแต่งกายของข้าราชการฝ่ายอัยการ การกำหนดให้มีตราสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายใดเพื่อใช้ในการบริหารราชการสำนักงานอัยการสูงสุด รวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำและใช้ตราสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายนั้น ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๑๓ วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี และวันหยุดประจำปีของข้าราชการฝ่ายอัยการ ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดสำหรับข้าราชการพลเรือน เว้นแต่ ก.อ. จะกำหนดเป็นอย่างอื่น การลาหยุดราชการของข้าราชการฝ่ายอัยการ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๑๔ ประมวลจริยธรรมของข้าราชการฝ่ายอัยการให้เป็นไปตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ. สำนักงานอัยการสูงสุดโดยความเห็นชอบของ ก.อ. จะต้องจัดให้มีประมวลจรรยาบรรณสำหรับข้าราชการฝ่ายอัยการ ประมวลจริยธรรมตามวรรคหนึ่ง และประมวลจรรยาบรรณตามวรรคสอง เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ มาตรา ๑๕ ข้าราชการฝ่ายอัยการมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแต่ทั้งนี้ต้องไม่กระทบประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะ และต้องไม่มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรวมกลุ่มตามวรรคหนึ่ง เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามข้อเสนอแนะของ ก.อ. มาตรา ๑๖ การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการการพัฒนาคุณภาพชีวิต การเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติราชการ การปฏิบัติระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา การให้ไปศึกษาเพิ่มเติม ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด มาตรา ๑๗ ในกรณีที่พระราชบัญญัตินี้กำหนดให้เป็นไปตามที่ ก.อ. กำหนด ให้ ก.อ. ทำเป็นระเบียบ ข้อกำหนด หรือประกาศ ตามที่เห็นสมควร ระเบียบ ข้อกำหนด และประกาศ ของ ก.อ. ตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ ลักษณะ ๒ คณะกรรมการอัยการ มาตรา ๑๘[๒] ให้มีคณะกรรมการอัยการคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.อ.” ประกอบด้วย (๑) ประธาน ก.อ. ซึ่งข้าราชการอัยการเว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเป็นผู้เลือกจากผู้รับบำเหน็จหรือบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการมาแล้วในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีอัยการหรืออธิบดีอัยการภาคหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่า ทั้งนี้ ต้องไม่เคยเป็นสมาชิกหรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมืองในระยะสิบปีก่อนได้รับเลือก (๒) อัยการสูงสุดเป็นรองประธาน ก.อ. (๓) รองอัยการสูงสุดตามลำดับอาวุโสจำนวนห้าคนเป็นกรรมการอัยการ (๔) กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนหกคน ซึ่งข้าราชการอัยการเว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเป็นผู้เลือกจาก (ก) ข้าราชการอัยการชั้น ๕ ขึ้นไป ซึ่งมิได้เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่งอยู่แล้วจำนวนสี่คน (ข) ผู้รับบำเหน็จหรือบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการมาแล้วจำนวนสองคน (๕) กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสองคน ซึ่งข้าราชการอัยการเว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเป็นผู้เลือกจากผู้ซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการอัยการมาก่อน และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการงบประมาณ ด้านการพัฒนาองค์กร หรือด้านการบริหารจัดการ ให้อธิบดีอัยการ สำนักงานคณะกรรมการอัยการ เป็นเลขานุการ ก.อ. มาตรา ๑๙[๓] ประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) (ข) และ (๕) ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ ก. คุณสมบัติทั่วไป (๑) เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปี (๓) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ข. ลักษณะต้องห้าม (๑) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ ข. (๑) (๒) (๓) (๔) หรือ (๕) (๒) เป็นสมาชิกรัฐสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการพรรคการเมือง สมาชิกพรรคการเมือง หรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นของพรรคการเมือง (๓) เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง กรรมการการเลือกตั้ง กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือกรรมการในคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองหรือศาลอื่น (๔) เป็นข้าราชการอัยการ ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม ตุลาการศาลทหาร หรือทนายความ (๕) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ (๖) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ (๗) ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอื่นใดอันเป็นการกระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ (๗) ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอื่นใดอันเป็นการกระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ (๘) เคยเป็นประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ เว้นแต่เป็นกรณีตามมาตรา ๒๓ วรรคสาม ซึ่งไม่ให้นับเป็นวาระการดำรงตำแหน่ง มาตรา ๒๐[๔] ในการเลือกประธาน ก.อ. ให้ ก.อ. ประชุมพิจารณาจัดทำบัญชีรายชื่อบุคคลที่มาสมัครหรือที่ ก.อ. เห็นสมควรเป็นประธาน ก.อ. ไม่น้อยกว่าห้ารายชื่อ เพื่อให้ข้าราชการอัยการเว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเป็นผู้เลือกจากรายชื่อดังกล่าว การเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๕) ให้ ก.อ. ประชุมพิจารณาจัดทำบัญชีรายชื่อบุคคลที่มาสมัครหรือที่ ก.อ. เห็นสมควรเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่น้อยกว่าสามเท่าของกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๕) เพื่อให้ข้าราชการอัยการเว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเป็นผู้เลือกจากรายชื่อดังกล่าว มาตรา ๒๑[๕] ให้อัยการสูงสุดดำเนินการให้มีการเลือกประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิภายในหกสิบวันก่อนวันครบกำหนดวาระหรือภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุต้องเลือกและการออกเสียงลงคะแนนต้องกระทำโดยวิธีลับ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด เมื่อผลการเลือกประธาน ก.อ. ตามที่อัยการสูงสุดประกาศรายชื่อเป็นประการใด ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง กรณีอัยการสูงสุดประกาศรายชื่อกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ให้ประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกในราชกิจจานุเบกษา ในกรณีที่มีการฟ้องคดีเกี่ยวกับการเลือกประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิต่อศาล การฟ้องคดีดังกล่าวไม่เป็นเหตุให้ระงับหรือชะลอการดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการเลือกที่ได้ดำเนินการไปแล้ว เว้นแต่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น ในการนี้ หากศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งใด ๆ อันเป็นผลให้บุคคลที่ได้รับการเลือกขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม หรือได้รับการเลือกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีเช่นว่านี้ ไม่มีผลกระทบต่อการที่บุคคลนั้นได้กระทำไว้แล้วก่อนมีคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าว ในการเลือกประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ห้ามผู้ใดกระทำการใด ๆ อันมีลักษณะเป็นการหาเสียงเพื่อให้ข้าราชการอัยการลงคะแนนหรืองดเว้นลงคะแนน ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๒๒[๖] ข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสไม่มีสิทธิได้รับเลือกเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.อ. มาตรา ๒๓[๗] ประธาน ก.อ. มีวาระการดำรงตำแหน่งสองปีนับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งสองปีนับแต่วันที่อัยการสูงสุดประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว ถ้าตำแหน่งประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่งว่างลงก่อนครบวาระให้อัยการสูงสุดสั่งให้ดำเนินการเลือก เว้นแต่วาระการอยู่ในตำแหน่งของประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิจะเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน จะไม่ดำเนินการเลือกก็ได้ ประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกตามวรรคสอง อยู่ในตำแหน่งได้เพียงวาระของผู้ซึ่งตนแทน และหากมีวาระเหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งปีนับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งหรือวันที่อัยการสูงสุดประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือก แล้วแต่กรณี ไม่ให้นับเป็นวาระการดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๒๔[๘] ในกรณีที่ประธาน ก.อ. พ้นจากตำแหน่งไม่ว่าด้วยเหตุใด เว้นแต่กรณีครบกำหนดวาระตามวรรคสาม ให้รองประธาน ก.อ. ทำหน้าที่ประธาน ก.อ. ในกรณีที่ประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนครบกำหนดวาระและยังไม่มีกรรมการอัยการแทนตำแหน่งที่ว่างลง ให้ ก.อ. ประกอบด้วยกรรมการอัยการเท่าที่เหลืออยู่และให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ แต่ถ้าเหลือเพียงกรรมการอัยการโดยตำแหน่ง ให้กรรมการอัยการโดยตำแหน่งเป็นองค์ประชุมและให้กระทำได้แต่เฉพาะเท่าที่จำเป็นไปพลางก่อน ในกรณีที่ประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิครบกำหนดวาระ ให้ประธาน ก.อ.หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่เท่าที่จำเป็นไปพลางก่อนจนกว่าประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกใหม่เข้ารับหน้าที่ มาตรา ๒๕[๙] ประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ พ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ครบกำหนดวาระ (๒) ตาย (๓) ลาออก (๔) เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่ง ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส หรือพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการ ในกรณีที่เป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) (ก) (๕) กลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการอัยการ ในกรณีที่เป็นประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) (ข) (๖) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๘ (๑) หรือมาตรา ๑๙ ในกรณีที่เป็นประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) (ข) หรือ (๕) (๗) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ ข. ในกรณีที่เป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) (ก) (๘) ถูกถอดถอนจากตำแหน่งตามมาตรา ๒๕/๑ ในกรณีที่เป็นประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) หรือ (๕) ในกรณีเป็นที่สงสัยว่าประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิผู้ใดพ้นจากตำแหน่งประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิหรือไม่ ให้ ก.อ. มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาด มาตรา ๒๕/๑[๑๐] ประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) หรือ (๕) ผู้ใดมีพฤติการณ์ไม่เหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับคุณธรรม และจริยธรรม หรือกระทำการฝ่าฝืนมาตรา ๒๑ วรรคห้า ข้าราชการอัยการไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนข้าราชการอัยการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ในขณะนั้น เว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเข้าชื่อขอให้ถอดถอนประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) หรือ (๕) ผู้นั้นออกจากตำแหน่งได้ เมื่อมีการเข้าชื่อถอดถอนตามวรรคหนึ่ง ให้อัยการสูงสุดจัดให้มีการลงมติภายในสามสิบวันและในระหว่างนี้ประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิผู้นั้นจะทำหน้าที่ประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิมิได้ มติที่ให้ถอดถอนผู้ใดออกจากตำแหน่ง ให้ถือเอาคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของข้าราชการอัยการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ในขณะนั้น เว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย และการออกเสียงลงคะแนนต้องกระทำโดยวิธีลับ ผู้ใดถูกถอดถอนจากตำแหน่ง ให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่มีมติให้ถอดถอนตามวรรคสาม มติของข้าราชการอัยการตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด และจะมีการขอให้ถอดถอนบุคคลดังกล่าวโดยเหตุเดียวกันอีกไม่ได้ การเข้าชื่อ การลงมติ และการถอดถอน ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๒๖ การประชุม ก.อ. ต้องมีกรรมการอัยการมาประชุมไม่น้อยกว่าแปดคนจึงเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานเป็นประธานในที่ประชุมถ้าประธานและรองประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการอัยการในที่ประชุมเลือกกรรมการอัยการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม หากกรรมการอัยการโดยตำแหน่งว่างลง หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้รักษาราชการแทนหรือผู้รักษาการในตำแหน่งตามกฎหมาย ทำหน้าที่กรรมการอัยการแทนในระหว่างนั้น มาตรา ๒๗ ในการประชุมของ ก.อ. ถ้ามีการพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับกรรมการอัยการผู้ใดโดยเฉพาะ ผู้นั้นไม่มีสิทธิอยู่ในที่ประชุม แต่เพื่อประโยชน์ในการนับองค์ประชุม ถ้าผู้นั้นได้เข้าประชุมแล้วและต้องออกจากที่ประชุม ให้นับผู้นั้นเป็นองค์ประชุมด้วย การวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือเสียงข้างมาก ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ให้ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบว่าด้วยการประชุมและการลงมติ ในกรณีที่การประชุมของ ก.อ. เป็นการพิจารณาดำเนินการตามมาตรา ๕๙ วรรคสองหรือมาตรา ๘๒ กับผู้ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุดหรือรองอัยการสูงสุด ซึ่งเป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่งตามมาตรา ๑๘ (๒) หรือ (๓) ด้วย ห้ามมิให้อัยการสูงสุดหรือรองอัยการสูงสุดผู้นั้นเข้าร่วมพิจารณาเรื่องดังกล่าว และให้ถือว่า ก.อ. ประกอบไปด้วยกรรมการอัยการเท่าที่เหลืออยู่[๑๑] ในกรณีที่การประชุมของ ก.อ. เป็นการพิจารณาดำเนินการตามมาตรา ๕๙ วรรคหนึ่ง หรือการดำเนินการทางวินัยและการสั่งลงโทษทางวินัยกับอธิบดีอัยการ สำนักงานคณะกรรมการอัยการซึ่งเป็นเลขานุการ ก.อ. ตามมาตรา ๑๘ วรรคสอง หรือเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) (ก) ห้ามมิให้อธิบดีอัยการ สำนักงานคณะกรรมการอัยการเข้าร่วมพิจารณาเรื่องดังกล่าว และให้ถือว่า ก.อ. ประกอบไปด้วยกรรมการอัยการเท่าที่เหลืออยู่[๑๒] มาตรา ๒๘ หลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมนาคุณ เบี้ยประชุม หรือค่าตอบแทนของ ก.อ. รวมทั้งอนุกรรมการ บุคคล และคณะบุคคลที่ ก.อ. แต่งตั้ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๒๙ ภายใต้บังคับมาตรา ๓๘ ในกรณีที่ ก.อ. มีหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้อัยการสูงสุดเป็นผู้เสนอเรื่องต่อ ก.อ. แต่กรรมการอัยการคนหนึ่งคนใดจะเสนอเรื่องที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของ ก.อ. เพื่อให้ ก.อ. พิจารณาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนดก็ได้ มาตรา ๓๐ นอกจากอำนาจและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น ให้ ก.อ. มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ให้ความเห็นชอบกรอบอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่งข้าราชการฝ่ายอัยการ (๒) เป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมการเกษียณอายุของข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๓) ออกระเบียบเกี่ยวกับการจัดระบบ การแก้ไข และการรักษาทะเบียนประวัติและควบคุมการเกษียณอายุของข้าราชการฝ่ายอัยการ (๔) ออกระเบียบเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการ การสงเคราะห์อื่น เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว และเงินค่าตอบแทนพิเศษอื่นแก่ข้าราชการฝ่ายอัยการ (๕) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการการจัดลำดับอาวุโสของข้าราชการอัยการ (๖) ออกระเบียบเกี่ยวกับการรักษาราชการแทน การปฏิบัติราชการแทนและการรักษาการในตำแหน่งของข้าราชการฝ่ายอัยการ (๗) ออกระเบียบเกี่ยวกับการร้องทุกข์ของข้าราชการฝ่ายอัยการ (๘) พิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยข้าราชการฝ่ายอัยการ และการสั่งให้ข้าราชการฝ่ายอัยการออกจากราชการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (๙) ออกระเบียบเกี่ยวกับการสรรหา การบรรจุ การแต่งตั้ง การทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ การโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การรับเงินเดือน การเลื่อนเงินเดือน การรักษาจริยธรรม การออกจากราชการ การคุ้มครองระบบคุณธรรม และการจัดระเบียบข้าราชการธุรการ (๑๐) แต่งตั้งอนุกรรมการ บุคคล หรือคณะบุคคลเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ ก.อ. มอบหมาย (๑๑) ออกระเบียบหรือประกาศเพื่อกำหนดการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการฝ่ายอัยการ มาตรา ๓๑ ในการพิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยข้าราชการธุรการ ให้ ก.อ. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการ ซึ่งจะต้องมีข้าราชการธุรการไม่น้อยกว่าสองคนร่วมเป็นคณะอนุกรรมการด้วย จำนวน คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่ง รวมตลอดทั้งวิธีการได้มา วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด ลักษณะ ๓ ข้าราชการอัยการ หมวด ๑ การบรรจุ การแต่งตั้ง และการเลื่อนขั้นเงินเดือน มาตรา ๓๒ ตำแหน่งข้าราชการอัยการ มี ๘ ชั้น ดังนี้ (๑) อัยการสูงสุดเป็นข้าราชการอัยการชั้น ๘ (๒) รองอัยการสูงสุด และผู้ตรวจการอัยการ เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๗ (๓) อธิบดีอัยการ อธิบดีอัยการภาค รองอธิบดีอัยการ รองอธิบดีอัยการภาคอัยการพิเศษฝ่ายและอัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๖ (๔) อัยการผู้เชี่ยวชาญ เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๕ (๕) อัยการจังหวัด และอัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๔ (๖) อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด และรองอัยการจังหวัด เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๓ (๗) อัยการประจำกอง และอัยการจังหวัดผู้ช่วย เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๒ (๘) อัยการผู้ช่วย เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๑ มาตรา ๓๓ นอกจากตำแหน่งข้าราชการอัยการตามมาตรา ๓๒ ให้มีตำแหน่งอัยการอาวุโสด้วย มาตรา ๓๔ ข้าราชการอัยการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ดังต่อไปนี้ (๑) อัยการสูงสุด ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๘ (๒) รองอัยการสูงสุด และผู้ตรวจการอัยการ ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๗ (๓) อธิบดีอัยการ อธิบดีอัยการภาค รองอธิบดีอัยการ รองอธิบดีอัยการภาค อัยการพิเศษฝ่ายและอัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๖ - ๗ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้น ๖ (๔) อัยการผู้เชี่ยวชาญ ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๕ - ๖ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้น ๕ (๕) อัยการจังหวัด และอัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๔ - ๕ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในขั้นต่ำของชั้น ๔ (๖) อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด และรองอัยการจังหวัด ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๓ - ๔ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในขั้นต่ำของชั้น ๓ (๗) อัยการประจำกอง และอัยการจังหวัดผู้ช่วย ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๒ - ๓ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในขั้นต่ำของชั้น ๒ (๘) อัยการผู้ช่วย ให้ได้รับเงินเดือนในชั้น ๑ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนในขั้นต่ำของชั้น ๑ (๙) อัยการอาวุโส ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเท่ากับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเดิมที่ได้รับอยู่ก่อนดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส เว้นแต่ผู้ซึ่งได้รับเงินเดือนขั้นสูงสุดของชั้นอยู่ก่อนแล้ว จึงให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าเงินเดือนเดิมหนึ่งขั้น และให้ปรับเงินเดือนขึ้นปีละหนึ่งขั้นแต่ไม่เกินอัตราเงินเดือนของชั้น ๘ และเมื่อปรับเงินเดือนดังกล่าวสูงกว่าขั้นสูงสุดของชั้นเดิมแล้วให้ปรับเงินประจำตำแหน่งให้เท่ากับเงินประจำตำแหน่งของชั้นถัดไป ให้ข้าราชการอัยการได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว เงินประจำตำแหน่งไม่ถือเป็นเงินเดือน ข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เมื่อเทียบกับตำแหน่งใดก็ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามตำแหน่งนั้น มาตรา ๓๕ การบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยให้อัยการสูงสุดเป็นผู้สั่งโดยวิธีการสอบคัดเลือก การทดสอบความรู้ หรือการคัดเลือกพิเศษ ตามความในหมวด ๒ แห่งลักษณะนี้ โดยให้ผู้ได้รับบรรจุได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำของชั้น ๑ มาตรา ๓๖ อัยการผู้ช่วยที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการประจำกองหรืออัยการจังหวัดผู้ช่วยจะต้องได้รับการอบรมจากสำนักงานอัยการสูงสุดมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปีและผลของการอบรมเป็นที่พอใจของ ก.อ. ว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และความประพฤติเหมาะสมที่จะเป็นอัยการประจำกองหรืออัยการจังหวัดผู้ช่วย อัยการผู้ช่วยซึ่งได้รับการอบรมจากสำนักงานอัยการสูงสุดมาแล้วตามวรรคหนึ่ง และผลของการอบรมยังไม่เป็นที่พอใจของ ก.อ. ว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และความประพฤติเหมาะสมที่จะเป็นอัยการประจำกองหรืออัยการจังหวัดผู้ช่วย ก็ให้ได้รับการอบรมจากสำนักงานอัยการสูงสุดต่อไปอีกไม่น้อยกว่าหนึ่งปี เมื่อครบกำหนดดังกล่าวแล้วหากผลของการอบรมยังไม่เป็นที่พอใจของ ก.อ. ให้อัยการสูงสุดสั่งให้ออกจากราชการ ในระหว่างเวลาปีแรกที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการประจำกองหรืออัยการจังหวัดผู้ช่วย หากปรากฏว่าผู้ได้รับแต่งตั้งไม่เหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งต่อไป อัยการสูงสุดด้วยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจสั่งให้ออกจากราชการได้ มาตรา ๓๗ ก่อนเข้ารับหน้าที่ อัยการประจำกองและอัยการจังหวัดผู้ช่วยต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคำ ดังต่อไปนี้ “ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรมโดยปราศจากอคติทั้งปวงเพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ประชาชน และความสงบสุขแห่งราชอาณาจักร ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมายทุกประการ” มาตรา ๓๘ การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งนอกจากตำแหน่งอัยการผู้ช่วยตำแหน่งอัยการอาวุโส ตำแหน่งรองอัยการสูงสุด และตำแหน่งอัยการสูงสุด ให้ประธาน ก.อ. เสนอ ก.อ. โดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถ ความรับผิดชอบ ประวัติการปฏิบัติราชการ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลนั้นเทียบกับงานในตำแหน่งข้าราชการอัยการที่จะได้รับแต่งตั้งนั้น ๆ เพื่อให้ความเห็นชอบก่อนเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว จึงนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ในกรณีที่ ก.อ. ไม่ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดตามที่ประธาน ก.อ. เสนอตามวรรคหนึ่งให้ประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการคนหนึ่งคนใด เสนอชื่อบุคคลอื่นเพื่อให้ ก.อ. ให้ความเห็นชอบได้และในกรณีที่มีการเสนอบุคคลหลายคนให้ดำรงตำแหน่งเดียวกัน ให้ ก.อ. พิจารณาผู้ได้รับการเสนอชื่อเรียงเป็นรายบุคคลตามลำดับอาวุโสเพื่อให้ความเห็นชอบ ผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งใด ถ้าเป็นกรรมการอัยการด้วย ให้ผู้ได้รับการเสนอชื่อออกจากที่ประชุมในระหว่างการพิจารณาเพื่อให้ความเห็นชอบ แต่ให้นับเป็นองค์ประชุมด้วย มาตรา ๓๙[๑๓] ข้าราชการอัยการซึ่งมีอายุครบหกสิบปีขึ้นไปในปีงบประมาณใดอาจขอไปดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสได้ หากเป็นผู้ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่มาแล้วไม่น้อยกว่ายี่สิบปีในปีงบประมาณก่อนปีงบประมาณที่จะขอไปดำรงตำแหน่ง โดยให้แจ้งเป็นหนังสือต่ออัยการสูงสุดไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันก่อนเริ่มปีงบประมาณที่จะดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส ข้าราชการอัยการซึ่งมีอายุครบหกสิบห้าปีในปีงบประมาณใด ให้พ้นจากตำแหน่งที่ดำรงอยู่เมื่อสิ้นปีงบประมาณนั้น และให้ไปดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสจนกว่าจะพ้นจากราชการตามมาตรา ๕๖ มาตรา ๓๙/๑[๑๔] ข้าราชการอัยการซึ่งจะมีอายุครบหกสิบห้าปีในปีงบประมาณใด ให้ ก.อ. จัดให้มีการประเมินสมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการอัยการในปีงบประมาณนั้น แล้วเสนอผลการประเมินให้ ก.อ. พิจารณาประกอบการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่อไป หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินสมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบ ที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๔๐ การแต่งตั้งข้าราชการอัยการไปดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสให้อัยการสูงสุดเสนอรายชื่อผู้ซึ่งจะได้รับแต่งตั้งต่อ ก.อ. เพื่อให้ความเห็นชอบ เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วจึงนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป ข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสจะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหรือรักษาการในตำแหน่งตามมาตรา ๓๒ อีกไม่ได้ รวมทั้งไม่อาจเป็นผู้รักษาราชการแทนหรือปฏิบัติราชการแทน[๑๕] มาตรา ๔๑ การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งรองอัยการสูงสุด ให้ประธาน ก.อ. เสนอ ก.อ. เพื่อให้ความเห็นชอบ เมื่อ ก.อ. ให้ความเห็นชอบแล้วจึงนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๔๒ วรรคสองและวรรคสามและมาตรา ๓๘ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๔๒ การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุด ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ ในการเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุดเพื่อขอความเห็นชอบจาก ก.อ. ให้ประธาน ก.อ. เป็นผู้เสนอ โดยคำนึงถึงอาวุโส ความรู้ความสามารถ ความรับผิดชอบ ประวัติการปฏิบัติราชการ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลนั้น ในกรณีที่ ก.อ. ไม่ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลตามที่ประธาน ก.อ. เสนอตามวรรคสอง ให้ประธาน ก.อ. เสนอชื่อบุคคลอื่นโดยเรียงตามลำดับอาวุโส และให้ ก.อ. พิจารณาตามหลักเกณฑ์ตามวรรคสอง ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๘ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๔๓ ให้ข้าราชการอัยการที่ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ได้รับการเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัตินี้ โดยความเห็นชอบของ ก.อ. ภายในระยะเวลา ดังต่อไปนี้ (๑) อธิบดีอัยการ อธิบดีอัยการภาค รองอธิบดีอัยการ รองอธิบดีอัยการภาค อัยการพิเศษฝ่ายและอัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ เมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้น ๖ มาครบสี่ปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นเงินเดือนชั้น ๗ (๒) อัยการผู้เชี่ยวชาญ เมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้น ๕ มาครบเจ็ดปีให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นเงินเดือนชั้น ๖ (๓) อัยการจังหวัด และอัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด เมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นเงินเดือนชั้น ๔ มาครบสามปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๔ และเมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๔ มาครบหนึ่งปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นเงินเดือนชั้น ๕ (๔) อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด และรองอัยการจังหวัด เมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นเงินเดือนชั้น ๓ มาครบห้าปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๓ และเมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๓ มาครบหนึ่งปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นเงินเดือนชั้น ๔ และเมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นเงินเดือนชั้น ๔ มาครบสามปีแล้ว ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๔ ได้ (๕) อัยการประจำกอง และอัยการจังหวัดผู้ช่วย เมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๒ มาครบหนึ่งปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นเงินเดือนชั้น ๓ และเมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นเงินเดือนชั้น ๓ มาครบห้าปีแล้ว ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๓ ได้ ให้ปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการในชั้นเงินเดือนชั้น ๑ ชั้นเงินเดือนชั้น ๒ และชั้นเงินเดือนชั้น ๓ สูงขึ้นหนึ่งขั้นทุกปี โดยความเห็นชอบของ ก.อ. จนกว่าจะได้รับเงินเดือนในขั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือน เว้นแต่ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกลงโทษทางวินัยในปีใด ก.อ. จะมีมติไม่ให้ปรับอัตราเงินเดือนให้ข้าราชการอัยการผู้นั้นสำหรับปีนั้นก็ได้ ในการปรับอัตราเงินเดือนตามวรรคสอง ถ้า ก.อ. พิจารณาเห็นว่าข้าราชการอัยการผู้ใดมีผลงานดีเด่นเป็นอย่างยิ่ง และเมื่อคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณงาน การรักษาวินัย ความประพฤติ คุณธรรม จริยธรรม แล้ว ก.อ. จะให้ปรับอัตราเงินเดือนให้ข้าราชการอัยการผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษเกินหนึ่งขั้นก็ได้ ความในวรรคสองมิให้ใช้บังคับกับข้าราชการอัยการที่ลาไปศึกษาต่อหรือลาเพื่อการอื่นใด ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๔๔ การโอนข้าราชการอัยการไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการธุรการโดยให้ได้รับเงินเดือนไม่สูงกว่าในขณะที่โอน ให้อัยการสูงสุดสั่งได้เมื่อข้าราชการอัยการผู้นั้นยินยอมและก.อ. เห็นชอบ การโอนข้าราชการอัยการไปเป็นข้าราชการพลเรือน หรือข้าราชการฝ่ายอื่นให้อัยการสูงสุดสั่งได้เมื่อข้าราชการอัยการผู้นั้นยินยอมและ ก.อ. เห็นชอบ มาตรา ๔๕ การโอนข้าราชการธุรการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการอัยการอาจทำได้เมื่อ ก.อ เห็นชอบ แต่ข้าราชการธุรการผู้นั้นอย่างน้อยต้องเคยเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการประจำกอง หรืออัยการจังหวัดผู้ช่วยมาแล้ว มาตรา ๔๖ ภายใต้บังคับมาตรา ๔๗ ข้าราชการอัยการผู้ใดพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการไปโดยมิได้มีความผิดหรือมีมลทินหรือมัวหมองในราชการ หรือไปรับราชการ หรือไปปฏิบัติงานในกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เมื่อประสงค์จะกลับเข้ารับตำแหน่งข้าราชการอัยการ ถ้าไม่เป็นผู้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจสั่งบรรจุได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ โดยบรรจุให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งซึ่งปรับให้เข้ากับอัตราที่เทียบได้ไม่สูงกว่าขณะพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการ ในกรณีที่ปรับเงินเดือนของผู้ที่กลับเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งให้เข้ากับอัตราหรือขั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่กลับเข้ารับราชการไม่ได้ ให้ ก.อ. เป็นผู้พิจารณาว่าผู้นั้นสมควรได้รับการบรรจุในอัตราหรือขั้นใด มาตรา ๔๗ ข้าราชการอัยการซึ่งไปรับราชการหรือไปปฏิบัติงานในกระทรวง ทบวง กรมหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หากได้รับการบรรจุกลับเข้ารับตำแหน่งข้าราชการอัยการตามมาตรา ๔๖ และ ก.อ. เห็นว่าการไปรับราชการหรือไปปฏิบัติงานในกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นของรัฐนั้นเป็นประโยชน์ต่อราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด ก.อ. จะปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการนั้นให้เป็นกรณีพิเศษก็ได้ มาตรา ๔๘ ข้าราชการอัยการผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร เมื่อผู้นั้นพ้นจากราชการทหาร โดยไม่มีความเสียหาย และประสงค์จะกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งข้าราชการอัยการ โดยรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในอัตราเท่าที่ได้รับอยู่ในขณะที่ไปรับราชการทหาร ให้ยื่นคำขอภายในกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันพ้นจากราชการทหาร ในกรณีเช่นว่านี้ให้อัยการสูงสุดสั่งบรรจุได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ แต่ถ้าจะบรรจุให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในอัตราสูงกว่าขณะที่ไปรับราชการทหารให้บรรจุได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด หมวด ๒ การสอบคัดเลือก การทดสอบความรู้ และการคัดเลือกพิเศษ มาตรา ๔๙ ผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ ก. คุณสมบัติทั่วไป (๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด (๒) ผู้สมัครสอบคัดเลือกหรือผู้สมัครทดสอบความรู้ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปี ผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปี (๓) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ (๔) เป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา (๕) เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต (๖) เป็นผู้ที่ผ่านการตรวจร่างกายและจิตใจโดยคณะกรรมการแพทย์จำนวนไม่น้อยกว่าสามคน ซึ่ง ก.อ. กำหนด และ ก.อ. ได้พิจารณารายงานของคณะกรรมการแพทย์แล้วเห็นสมควรรับสมัครได้ ข. ลักษณะต้องห้าม (๑) เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี (๒) เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว (๓) เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งให้พักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายอื่น (๔) เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (๕) เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๖) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือมีจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการอัยการ หรือเป็นโรคตามที่ ก.อ. ประกาศกำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด ให้ ก.อ. มีอำนาจกำหนดค่าธรรมเนียมการสมัครสอบคัดเลือก สมัครทดสอบความรู้ และสมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ มาตรา ๕๐ ผู้สมัครสอบคัดเลือกตามมาตรา ๔๙ ต้องมีคุณวุฒิและได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นนิติศาสตรบัณฑิต หรือสอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ ซึ่ง ก.อ. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี (๒) สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (๓) ได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นข้าราชการตุลาการ จ่าศาล รองจ่าศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดี พนักงานคุมประพฤติ นายทหารเหล่าพระธรรมนูญหรือทนายความ หรือได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นตามที่ ก.อ. กำหนด ทั้งนี้ เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี การประกอบวิชาชีพทางกฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ ก.อ. กำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการสมัครสอบคัดเลือกให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๕๑ ผู้สมัครทดสอบความรู้ตามมาตรา ๔๙ ต้องมีคุณวุฒิและได้ประกอบวิชาชีพ ดังต่อไปนี้ (๑) สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (๒) มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (ก) สอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศโดยมีหลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่าสามปี ซึ่ง ก.อ. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือสอบไล่ได้ปริญญาเอกทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ซึ่ง ก.อ. รับรอง (ข) สอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศโดยมีหลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่าสองปี หรือหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่าสองปี ซึ่ง ก.อ. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐ (๓) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (ค) สอบไล่ได้นิติศาสตรบัณฑิต และสอบไล่ได้ชั้นเกียรตินิยมตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาและได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐ (๓) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (ง) สอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ซึ่ง ก.อ. รับรองและได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐ (๓) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (จ) เป็นนิติศาสตรบัณฑิตชั้นเกียรตินิยมและได้ประกอบวิชาชีพเป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมายในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่ง ก.อ. รับรองเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี (ฉ) เป็นนิติศาสตรบัณฑิตและเป็นข้าราชการฝ่ายอัยการที่ได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายในตำแหน่งตามที่ ก.อ. กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกปี และอัยการสูงสุดรับรองว่ามีความซื่อสัตย์สุจริต มีความรู้ความสามารถดีและมีความประพฤติดีเป็นที่ไว้วางใจว่าจะปฏิบัติหน้าที่ข้าราชการอัยการได้ (ช) สอบไล่ได้ปริญญาโทหรือปริญญาเอกในสาขาวิชาที่ ก.อ. กำหนดและเป็นนิติศาสตรบัณฑิต และได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐ (๓) หรือได้ประกอบวิชาชีพตามที่ ก.อ. กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี (ซ) สอบไล่ได้ปริญญาตรีหรือที่ ก.อ. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีในสาขาวิชาที่ ก.อ. กำหนด และได้ประกอบวิชาชีพตามที่ ก.อ. กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปีจนมีความรู้ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพนั้นและเป็นนิติศาสตรบัณฑิต เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการ ในการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในแต่ละครั้ง สำนักงานอัยการสูงสุดโดยความเห็นชอบของ ก.อ. อาจกำหนดให้รับสมัครเฉพาะผู้มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างตาม (๒) ก็ได้ ให้ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพตาม (๒) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการสมัครทดสอบความรู้ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๕๒ ผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษตามมาตรา ๔๙ ต้องมีคุณวุฒิและประสบการณ์ ดังต่อไปนี้ (๑) สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (๒) มีประสบการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (ก) เป็นหรือเคยเป็นศาสตราจารย์หรือรองศาสตราจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่ง ก.อ. รับรอง (ข) เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญหรือข้าราชการประเภทอื่นในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไป (ค) เป็นหรือเคยเป็นทนายความมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปี (๓) เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ดีเด่นในสาขาวิชาที่ ก.อ. กำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการสมัครคัดเลือกพิเศษ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๕๓ เมื่อสมควรจะมีการสอบคัดเลือก การทดสอบความรู้ หรือการคัดเลือกพิเศษเมื่อใด ให้สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ ก.อ. เพื่อมีมติให้จัดให้มีการสอบคัดเลือก การทดสอบความรู้หรือการคัดเลือกพิเศษ ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวในแต่ละครั้ง ก.อ. อาจกำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุก็ได้ ให้ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบกำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกการทดสอบความรู้และการคัดเลือกพิเศษ ตลอดจนการกำหนดอัตราส่วนการบรรจุระหว่างผู้ที่สอบคัดเลือกได้ ผู้ที่ทดสอบความรู้ได้ และผู้ที่ผ่านการคัดเลือกพิเศษ เมื่อได้ประกาศผลการสอบคัดเลือก การทดสอบความรู้ หรือการคัดเลือกพิเศษแล้วให้บัญชีสอบคัดเลือก ทดสอบความรู้ หรือคัดเลือกพิเศษคราวก่อนเป็นอันยกเลิก มาตรา ๕๔ ให้ผู้สอบคัดเลือกที่ได้คะแนนสูงได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยก่อนผู้ที่ได้รับคะแนนต่ำลงมาตามลำดับแห่งบัญชีสอบคัดเลือกหากได้คะแนนเท่ากันให้จับสลากเพื่อจัดลำดับในระหว่างผู้ที่ได้คะแนนเท่ากันนั้น ผู้สอบคัดเลือกคนใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ หรือขาดคุณวุฒิหรือมิได้ประกอบวิชาชีพตามมาตรา ๕๐ หรือเป็นบุคคลที่ ก.อ. เห็นว่ามีชื่อเสียงหรือความประพฤติหรือเหตุอื่น ๆ อันไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการอัยการให้ผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการอัยการตามผลการสอบคัดเลือกนั้น ให้นำความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับกับการบรรจุและแต่งตั้งผู้ที่ผ่านการทดสอบความรู้ และผู้ที่ผ่านการคัดเลือกพิเศษโดยอนุโลม หมวด ๓ การพ้นจากตำแหน่ง มาตรา ๕๕ ข้าราชการอัยการพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) พ้นจากราชการตามมาตรา ๕๖ (๓) ได้รับอนุญาตให้ลาออก (๔) โอนไปรับราชการเป็นข้าราชการธุรการหรือข้าราชการฝ่ายอื่น (๕) ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร (๖) ถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๓๖ มาตรา ๕๗ หรือมาตรา ๕๙ (๗) ถูกสั่งลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก การพ้นจากตำแหน่งของข้าราชการอัยการ เว้นแต่ตำแหน่งอัยการผู้ช่วย หากเป็นกรณีตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ แต่ถ้าเป็นการพ้นจากตำแหน่งตาม (๔) (๕) (๖) หรือ (๗) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง พระบรมราชโองการดังกล่าวให้มีผลตั้งแต่วันโอนหรือวันออกจากราชการ แล้วแต่กรณี การพ้นจากตำแหน่งของอัยการสูงสุดตาม (๔) (๖) หรือ (๗) ให้เสนอวุฒิสภาเพื่อให้ความเห็นชอบ มาตรา ๕๖ ข้าราชการอัยการซึ่งมีอายุครบเจ็ดสิบปีแล้ว เป็นอันพ้นจากราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ข้าราชการอัยการผู้นั้นมีอายุครบเจ็ดสิบปี มาตรา ๕๗ ผู้ได้รับบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด หากภายหลังปรากฏว่าขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ หรือขาดคุณวุฒิหรือมิได้ประกอบวิชาชีพหรือไม่มีประสบการณ์ตามมาตรา ๕๐ มาตรา ๕๑ หรือมาตรา ๕๒ แล้วแต่กรณี ตั้งแต่ก่อนได้รับการบรรจุ ให้อัยการสูงสุดด้วยความเห็นชอบของ ก.อ. สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่รับจากทางราชการก่อนมีคำสั่งให้ออก และถ้าการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้วให้ถือว่าเป็นการสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา ๕๘ ข้าราชการอัยการผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งเพื่อให้อัยการสูงสุดเป็นผู้พิจารณา เมื่ออัยการสูงสุดสั่งอนุญาตแล้วให้ถือว่าพ้นจากตำแหน่ง ในกรณีที่ข้าราชการอัยการขอลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งหรือรับการเสนอชื่อเพื่อสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา หรือเพื่อไปดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก นอกจากกรณีตามวรรคสอง ถ้าอัยการสูงสุดเห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการจะยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกินสามเดือนนับแต่วันขอลาออกก็ได้ ในกรณีที่อัยการสูงสุดประสงค์จะลาออกจากราชการให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อ ก.อ. เพื่อให้ ก.อ. เป็นผู้พิจารณา มาตรา ๕๙ เมื่ออัยการสูงสุดเห็นสมควรให้ข้าราชการอัยการผู้ใดออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน เหตุทุพพลภาพ หรือเหตุรับราชการนานตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ให้ทำได้ด้วยความเห็นชอบของ ก.อ. แต่การให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน ให้ทำได้เฉพาะในกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และได้ดำเนินการสอบสวนตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในลักษณะ ๔ หมวด ๒ แล้ว ไม่ได้ความเป็นสัตย์ว่ากระทำผิดที่จะถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก แต่ผู้นั้นมีมลทินหรือมัวหมอง จะให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ (๒) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดบกพร่องต่อหน้าที่ หรือหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่สมควรที่จะให้คงเป็นข้าราชการอัยการต่อไป (๓) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการได้โดยสม่ำเสมอแต่ไม่ถึงเหตุทุพพลภาพ หรือ (๔) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ ก. (๑) หรือ ข. (๖) ในกรณีที่ข้าราชการอัยการซึ่งสมควรออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุดหรือรองอัยการสูงสุด ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของ ก.อ. พิจารณาดำเนินการ ลักษณะ ๔ วินัย การดำเนินการทางวินัย และการลงโทษ หมวด ๑ วินัย มาตรา ๖๐ ข้าราชการอัยการต้องรักษาวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัด ผู้ใดฝ่าฝืนจักต้องได้รับโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๔ แห่งลักษณะนี้ มาตรา ๖๑ ข้าราชการอัยการต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ มาตรา ๖๒ ข้าราชการอัยการจะเป็นสมาชิกพรรคการเมืองไม่ได้ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่นผู้แทนทางการเมืองอื่นใด กำนัน หรือผู้ใหญ่บ้าน ข้าราชการอัยการจะเข้าเป็นผู้กระทำการ ร่วมกระทำการหรือสนับสนุนในการโฆษณาหรือชักชวนใด ๆ อันเป็นคุณหรือเป็นโทษต่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ได้ มาตรา ๖๒/๑[๑๖] ข้าราชการอัยการต้องไม่กระทำการใด ๆ อันมีลักษณะเป็นการหาเสียงตามมาตรา ๒๑ วรรคห้า มาตรา ๖๓ ข้าราชการอัยการต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับการพิจารณาสั่งคดี ห้ามมิให้ขัดขืนหลีกเลี่ยง ถ้าไม่เห็นพ้องด้วยคำสั่งนั้นจะเสนอความเห็นทัดทานเป็นหนังสือก็ได้ แต่ต้องเสนอโดยด่วน และเมื่อได้ทัดทานดังกล่าวแล้วผู้บังคับบัญชามิได้สั่งถอนหรือแก้คำสั่งที่สั่งไป ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตามแต่ให้ผู้บังคับบัญชารีบรายงานขึ้นไปยังอัยการสูงสุดตามลำดับ ในการปฏิบัติราชการ ห้ามมิให้กระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่จะได้รับอนุญาต มาตรา ๖๔ ข้าราชการอัยการต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความระมัดระวัง มิให้เสียหายแก่ราชการ และด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม มาตรา ๖๕ ข้าราชการอัยการต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความที่ควรต้องแจ้งถือว่าเป็นการรายงานเท็จ มาตรา ๖๖ ข้าราชการอัยการต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการจะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้ มาตรา ๖๗ ข้าราชการอัยการต้อง (๑) ไม่ประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพ หรือกระทำกิจการใดอันเป็นการกระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ หรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งตำแหน่งหน้าที่ราชการตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด (๒) ไม่เป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (๓) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครองกรรมการการเลือกตั้ง กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือตำแหน่งอื่นตามที่ ก.อ. กำหนด (๔) ไม่เป็นข้าราชการอื่นซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ (๕)[๑๗] ไม่เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจหรือกิจการอื่นของรัฐในทำนองเดียวกัน (๖)[๑๘] ไม่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ ที่ปรึกษากฎหมาย หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทหรือกิจการอื่นใดที่มีลักษณะทำนองเดียวกับห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่มีวัตถุประสงค์มุ่งหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นที่ปรึกษาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดในลักษณะเดียวกัน มาตรา ๖๘ ข้าราชการอัยการต้องไม่ประพฤติตนเป็นคนเสเพล มีหนี้สินรุงรัง เสพของมึนเมาจนไม่สามารถครองสติได้ เล่นการพนันเป็นอาจิณ กระทำความผิดอาญา หรือกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว หรือกระทำการอื่นใดอันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งตำแหน่งหน้าที่ราชการ มาตรา ๖๙ ข้าราชการอัยการต้องสุภาพเรียบร้อยและห้ามมิให้ดูหมิ่นเหยียดหยามบุคคลใด ข้าราชการอัยการต้องต้อนรับ ให้ความสะดวก และให้ความสงเคราะห์ต่อประชาชนผู้มาติดต่อในกิจการอันเกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของตนโดยไม่ชักช้า มาตรา ๗๐ ข้าราชการอัยการต้องรักษาความสามัคคีระหว่างข้าราชการและต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหน้าที่ราชการ มาตรา ๗๑ ข้าราชการอัยการต้องถือและปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ มาตรา ๗๒ ข้าราชการอัยการต้องรักษาความลับของทางราชการ มาตรา ๗๓ ผู้บังคับบัญชาผู้ใดรู้ว่าผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัยแล้วไม่จัดการสอบสวนพิจารณาและดำเนินการตามความในหมวด ๒ และหมวด ๔ แห่งลักษณะนี้หรือไม่จัดการลงโทษตามอำนาจและหน้าที่หรือจัดการลงโทษโดยไม่สุจริต ให้ถือว่าผู้บังคับบัญชาผู้นั้นกระทำผิดวินัย หมวด ๒ การดำเนินการทางวินัย มาตรา ๗๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๘๒ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการสอบสวนชั้นต้นโดยมิชักช้า ผู้บังคับบัญชาระดับใดมีอำนาจดำเนินการสอบสวนชั้นต้นข้าราชการอัยการระดับใดรวมตลอดทั้งวิธีการสอบสวนชั้นต้น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สอบสวนชั้นต้นแล้ว เห็นว่า ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง ให้ดำเนินการตามมาตรา ๘๘ แต่ถ้าเห็นว่าเป็นกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้ดำเนินการตามมาตรา ๗๕ หรือมาตรา ๗๙ แล้วแต่กรณี แต่ถ้าเกินอำนาจของตนให้รายงานไปยังผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปตามลำดับเพื่อดำเนินการตามควรแก่กรณี มาตรา ๗๕ ในกรณีที่ผลการสอบสวนชั้นต้นปรากฏว่ามีมูลเป็นกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชารายงานประธาน ก.อ. และให้ ก.อ. แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนอย่างน้อยสามคนเพื่อทำการสอบสวน กรรมการสอบสวนตามวรรคหนึ่งต้องเป็นข้าราชการอัยการ การรายงานประธาน ก.อ. ตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด ในกรณีที่การสอบสวนชั้นต้นเกิดจากการร้องเรียนของบุคคลใด หากผลการสอบสวนชั้นต้นปรากฏว่ามีมูลตามที่ร้องเรียน ผู้ใดจะกล่าวหาฟ้องร้องผู้ร้องเรียนนั้นในความผิดทางอาญาหรือทางแพ่งเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการร้องเรียนที่มีมูลนั้นมิได้ มาตรา ๗๖ ในการสอบสวนตามมาตรา ๗๕ คณะกรรมการสอบสวนต้องแจ้งข้อกล่าวหาและรายละเอียดเท่าที่มีอยู่ให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ และต้องให้โอกาสแก่ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำพยานหลักฐานเข้าสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ด้วย ในการแจ้งรายละเอียดตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้คณะกรรมการสอบสวนส่งหนังสือร้องเรียนถ้ามี ให้แก่ผู้ถูกกล่าวหา แต่ต้องสรุปสาระสำคัญของหนังสือร้องเรียนให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยมิให้แจ้งข้อมูลใดที่จะทำให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบถึงตัวบุคคลผู้ร้องเรียน ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวนให้เสร็จโดยเร็วไม่ช้ากว่าเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับแต่งตั้ง ถ้ามีความจำเป็นซึ่งจะสอบสวนไม่ทันภายในกำหนดนั้นก็ให้ขออนุมัติจากผู้แต่งตั้งขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง แต่ละครั้งเป็นเวลาไม่เกินสามสิบวัน และต้องแสดงเหตุที่ต้องขยายเวลาไว้ด้วยทุกครั้ง แต่ถ้าขยายเวลาแล้วยังสอบสวนไม่เสร็จ ผู้แต่งตั้งจะอนุมัติให้ขยายเวลาต่อไปอีกได้ต่อเมื่อได้แจ้งให้ ก.อ. ทราบแล้ว หลักเกณฑ์และวิธีการการสอบสวน ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๗๗ เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้ทำการสอบสวนเสร็จแล้ว ให้รายงานผลการสอบสวนและความเห็นต่อ ก.อ. เพื่อพิจารณาต่อไป และเมื่อ ก.อ. มีมติเป็นประการใด ให้ประธาน ก.อ. มีคำสั่งให้เป็นไปตามมตินั้น มาตรา ๗๘ ให้กรรมการสอบสวนตามมาตรา ๗๕ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาและให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพียงเท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของกรรมการสอบสวน และโดยเฉพาะให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย (๑) เรียกให้หน่วยงานของรัฐชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐาน ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน (๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน มาตรา ๗๙ ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงและเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่ ก.อ. กำหนด หรือได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาหรือต่อคณะกรรมการสอบสวน เมื่อได้สอบสวนชั้นต้นตามมาตรา ๗๔ แล้ว ประธาน ก.อ. โดยความเห็นชอบของ ก.อ. จะพิจารณาสั่งลงโทษโดยไม่ต้องสอบสวนก็ได้ มาตรา ๘๐ ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือถูกฟ้องคดีอาญา ที่มิใช่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ ถ้าอัยการสูงสุดเห็นว่าจะให้อยู่ในหน้าที่ราชการระหว่างสอบสวน หรือพิจารณาจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ อัยการสูงสุดโดยความเห็นชอบของ ก.อ. จะสั่งให้พักราชการก็ได้ การให้พักราชการนั้น ให้พักตลอดเวลาที่สอบสวนพิจารณา หรือตลอดเวลาที่คดียังไม่ถึงที่สุด เมื่อสอบสวนพิจารณาเสร็จแล้ว หรือคดีถึงที่สุดแล้ว ถ้าปรากฏว่าผู้ถูกสั่งให้พักราชการมิได้กระทำความผิดและไม่มีมลทินหรือมัวหมอง ให้อัยการสูงสุดสั่งให้รับราชการตามเดิม ให้นำกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนของข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการมาใช้บังคับแก่ข้าราชการอัยการผู้ถูกสั่งให้พักจากราชการโดยอนุโลม ทั้งนี้ คำว่า “เจ้ากระทรวง” ให้หมายถึง “ก.อ.” มาตรา ๘๑ ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา หรือถูกฟ้องคดีอาญา ที่มิใช่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ แม้ภายหลังผู้นั้นจะพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการไปแล้วโดยมิใช่เพราะเหตุตาย ให้ดำเนินการสอบสวนหรือพิจารณาเพื่อลงโทษ หรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้เป็นไปตามลักษณะนี้ต่อไปได้แต่ต้องเริ่มดำเนินการภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันและดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามร้อยหกสิบวัน ทั้งนี้ นับแต่วันที่ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่ง ในกรณีตามวรรคหนึ่งถ้าผลการสอบสวนหรือพิจารณาปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรงก็ให้งดโทษ มาตรา ๘๒ การดำเนินการทางวินัยและสั่งลงโทษทางวินัยสำหรับอัยการสูงสุดและรองอัยการสูงสุด ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของ ก.อ. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด หมวด ๓ การรักษาจริยธรรมและจรรยา มาตรา ๘๓ ข้าราชการอัยการต้องถือและปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและประมวลจรรยาบรรณ การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัย การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจรรยาบรรณ ให้ผู้บังคับบัญชารายงานให้ ก.อ. ทราบและให้ ก.อ. นำมาประกอบการพิจารณาในการแต่งตั้ง หมวด ๔ การลงโทษ มาตรา ๘๔ โทษผิดวินัยมี ๕ สถาน คือ (๑) ไล่ออก (๒) ปลดออก (๓) ให้ออก (๔) งดการเลื่อนตำแหน่ง หรืองดเลื่อนชั้นหรือขั้นเงินเดือน (๕) ภาคทัณฑ์ ภายใต้บังคับมาตรา ๗๙ การสั่งลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกนั้นจะกระทำได้เมื่อได้ดำเนินการสอบสวนพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๒ แห่งลักษณะนี้แล้ว มาตรา ๘๕ การไล่ออกนั้น ก.อ. จะมีมติให้ลงโทษได้เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ดังต่อไปนี้ (๑) ทุจริตต่อหน้าที่ราชการ (๒) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิดอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๓) ต้องคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย (๔) เปิดเผยความลับของทางราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๕) ละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรงหรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร (๖) ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย และการขัดคำสั่งนั้นอาจเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๗) ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ หรือปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๘) ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง มาตรา ๘๖ การปลดออกนั้น ก.อ. จะมีมติให้ลงโทษได้เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่ยังไม่ถึงขนาดที่จะต้องถูกไล่ออกจากราชการ หรือถึงขนาดที่จะต้องถูกไล่ออกแต่มีเหตุอันควรลดหย่อน มาตรา ๘๗ การให้ออกนั้น ก.อ. จะมีมติให้ลงโทษได้เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่ยังไม่ถึงขนาดที่จะต้องถูกปลดออก หรือถึงขนาดที่จะต้องถูกปลดออกแต่มีเหตุอันควรลดหย่อน ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรานี้ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ มาตรา ๘๘ ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง ผู้บังคับบัญชาจะเสนอ ก.อ. เพื่อมีมติลงโทษงดการเลื่อนตำแหน่งหรืองดเลื่อนชั้นหรือขั้นเงินเดือน เป็นเวลาไม่เกินสามปีหรือลงโทษภาคทัณฑ์โดยจะให้ทำทัณฑ์บนไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้ เมื่อ ก.อ. พิจารณาเห็นสมควรลงโทษสถานใด ก็ให้ประธาน ก.อ. สั่งตามมตินั้น ในกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้ การเสนอ ก.อ. ตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้บังคับบัญชารายงานตามลำดับถึงอัยการสูงสุดเพื่อนำเสนอ ก.อ. ต่อไป โดยให้นำบทบัญญัติมาตรา ๗๔ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๘๙ ในคำสั่งลงโทษ ให้แสดงว่าผู้รับโทษนั้นกระทำผิดวินัยในกรณีใดตามมาตราใด มาตรา ๙๐ ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๓๖ มาตรา ๕๗ หรือมาตรา ๕๙ หรือถูกสั่งให้พักราชการตามมาตรา ๘๐ หากไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของประธาน ก.อ. หรืออัยการสูงสุด ให้ฟ้องคดีต่อศาลปกครองสูงสุดภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ทราบหรือถือว่าทราบคำสั่งของประธาน ก.อ.หรืออัยการสูงสุด แล้วแต่กรณี ลักษณะ ๕ ข้าราชการธุรการ หมวด ๑ บททั่วไป มาตรา ๙๑ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการธุรการต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ ก. คุณสมบัติทั่วไป (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี (๓) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ ข. ลักษณะต้องห้าม (๑) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (๒) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่ ก.อ. ประกาศกำหนด (๓) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น (๔) เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม (๕) เป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (๖) เป็นบุคคลล้มละลาย (๗) เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิดทางอาญา เว้นแต่โทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๘) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (๙) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออก เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น (๑๐) เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออกเพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น (๑๑) เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการหรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการธุรการซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตาม ข. (๔) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) หรือ (๑๑) ก.อ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ แต่ถ้าเป็นกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (๘) หรือ (๙) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้ว และในกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (๑๐) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว และต้องมิใช่กรณีออกจากงานหรือออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่ มติของ ก.อ. ในการยกเว้นดังกล่าว ต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการที่มาประชุม การลงมติให้กระทำโดยลับ การขอยกเว้นตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด กรณีตามวรรคสอง ก.อ. จะยกเว้นให้เป็นการเฉพาะราย หรือจะประกาศยกเว้นให้เป็นการทั่วไปก็ได้ มาตรา ๙๒ การพิจารณา สรรหา กลั่นกรอง หรือแต่งตั้งบุคคลใดเข้าสู่ตำแหน่ง รวมทั้งการโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน และการลงโทษบุคคลนั้น จะต้องคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ ความเสมอภาค ความเป็นธรรม พฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลดังกล่าวและประโยชน์ของทางราชการด้วย หมวด ๒ การสรรหา การบรรจุ และการแต่งตั้ง มาตรา ๙๓ ภายใต้บังคับมาตรา ๙๔ การสรรหาเพื่อให้ได้บุคคลมาบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการธุรการอาจทำได้โดยวิธีสอบแข่งขัน สอบคัดเลือก หรือคัดเลือก ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๙๔ ในกรณีมีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่ง สำนักงานอัยการสูงสุดจะบรรจุบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และความชำนาญสูงเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ หรือทรงคุณวุฒิ หรือตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๙๕ ผู้ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการธุรการตำแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามที่ ก.อ. กำหนด ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็น ก.อ. อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการธุรการที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งก็ได้ ในกรณีที่ ก.อ. กำหนดให้ปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิใด เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ให้หมายถึงปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน หรือ ก.อ. รับรอง มาตรา ๙๖ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการธุรการ และการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งให้อัยการสูงสุดหรือผู้ที่อัยการสูงสุดมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง มาตรา ๙๗ การโอนข้าราชการธุรการไปบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการตามกฎหมายอื่นหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น หรือการโอนข้าราชการตามกฎหมายอื่น หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นมาบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการธุรการ อาจกระทำได้ถ้าเจ้าตัวสมัครใจโดยผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งทำความตกลงกับเจ้าสังกัด และปฏิบัติตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นที่โอนมาเป็นข้าราชการธุรการตามวรรคหนึ่ง ให้ดำรงตำแหน่งระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเท่าใดให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด แต่เงินเดือนที่จะให้ได้รับจะต้องไม่สูงกว่าข้าราชการธุรการที่มีคุณวุฒิ ความสามารถ และความชำนาญงานในระดับเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้ที่โอนมาเป็นข้าราชการธุรการตามวรรคหนึ่งในขณะที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นนั้น เป็นเวลาราชการของข้าราชการธุรการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย การโอนข้าราชการการเมือง และข้าราชการที่อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมาเป็นข้าราชการธุรการตามพระราชบัญญัตินี้จะกระทำมิได้ มาตรา ๙๘ การบรรจุข้าราชการธุรการที่ได้ออกจากราชการไปเนื่องจากถูกสั่งให้ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ไปปฏิบัติงานใดซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการ หรือออกจากราชการไปที่มิใช่เป็นการออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ กลับเข้ารับราชการ ตลอดจนจะสั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใดระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ กำหนด เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการตามพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ข้าราชการธุรการที่ได้ออกจากราชการไปเนื่องจากถูกสั่งให้ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ไปปฏิบัติงานใดซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการเมื่อได้บรรจุกลับเข้ารับราชการให้มีสิทธินับวันรับราชการก่อนถูกสั่งให้ออกจากราชการรวมกับวันรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารหรือวันที่ได้ปฏิบัติงานใดตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี และวันรับราชการเมื่อได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการเป็นเวลาราชการติดต่อกันเสมือนว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกสั่งให้ออกจากราชการ สำหรับผู้ซึ่งออกจากราชการไปที่มิใช่เป็นการออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการซึ่งได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่ง ให้มีสิทธินับเวลาราชการก่อนออกจากราชการเพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๙๙ การทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ การให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการออกจากราชการ การสั่งให้ผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไปหรือมีลักษณะต้องห้ามออกจากราชการ การย้าย การโอน การเลื่อนตำแหน่ง การสั่งให้ประจำส่วนราชการ การเยียวยาแก้ไข หรือการดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลปกครอง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๑๐๐ พนักงานส่วนท้องถิ่น ข้าราชการธุรการ หรือข้าราชการตามกฎหมายอื่น ซึ่งไม่ใช่ข้าราชการการเมือง ผู้ใดออกจากงานหรือออกจากราชการไปแล้ว ถ้าสมัครเข้ารับราชการเป็นข้าราชการธุรการและสำนักงานอัยการสูงสุดต้องการจะรับผู้นั้นเข้ารับราชการให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๙๖ พิจารณาโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับ ทั้งนี้ จะบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับผู้ซึ่งออกจากงานหรือออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติงานหรือปฏิบัติหน้าที่ราชการ เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้เข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งในขณะที่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นเวลาราชการของข้าราชการธุรการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย หมวด ๓ การพัฒนาคุณภาพในการดำเนินคดี มาตรา ๑๐๑ เพื่อประโยชน์แก่การพัฒนาคุณภาพในการดำเนินคดีของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้มีตำแหน่งเจ้าพนักงานคดี ซึ่งเป็นข้าราชการธุรการที่มีความรู้และประสบการณ์ในทางกฎหมายและงานคดี เพื่อปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือพนักงานอัยการในด้านการดำเนินคดีตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด ให้เจ้าพนักงานคดีได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งในอัตราที่สำนักงานอัยการสูงสุดและกระทรวงการคลังร่วมกันกำหนด เจ้าพนักงานคดีจะมีจำนวนเท่าใดในส่วนราชการใด ให้เป็นไปตามที่ ก.อ. กำหนดด้วยความเห็นชอบของสำนักงบประมาณ ในกรณีที่เจ้าพนักงานคดีผู้ใดปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐานหน้าที่และความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติของเจ้าพนักงานคดี อัยการสูงสุดอาจพิจารณาให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งเจ้าพนักงานคดีได้ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการเข้าสู่ตำแหน่ง การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่ง สำหรับตำแหน่งเจ้าพนักงานคดี ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด หมวด ๔ วินัย การรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ มาตรา ๑๐๒ นอกจากที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ วินัย การรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ของข้าราชการธุรการ ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนสามัญ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ คำว่า “ก.พ.ค.” ให้หมายถึง “ก.อ.” คำว่า “ก.พ.” “อ.ก.พ. กระทรวง” และ “อ.ก.พ. กรม” ให้หมายถึง “อนุกรรมการที่ ก.อ. แต่งตั้งตามมาตรา ๓๑” คำว่า “กระทรวง” ให้หมายถึง “สำนักงานอัยการสูงสุด” และคำว่า “รัฐมนตรี” ให้หมายถึง “อัยการสูงสุด” มาตรา ๑๐๒/๑[๑๙] ข้าราชการธุรการผู้ใดฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา ๒๑ วรรคห้า ผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัย หมวด ๕ การรักษาจริยธรรมและจรรยา มาตรา ๑๐๓ ข้าราชการธุรการต้องถือและปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและประมวลจรรยาบรรณ การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัย การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจรรยาบรรณ ให้ผู้บังคับบัญชารายงานให้อัยการสูงสุดทราบและให้อัยการสูงสุดนำมาประกอบการพิจารณาในการแต่งตั้งและเลื่อนเงินเดือนด้วย บทเฉพาะกาล มาตรา ๑๐๔[๒๐] (ยกเลิก) มาตรา ๑๐๕ ให้คณะกรรมการอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีการเลือกและแต่งตั้งกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๓) และ (๔) ครบถ้วนแล้ว ซึ่งต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เพื่อประโยชน์ในการนับวาระการดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.อ. ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๖ ให้ข้าราชการฝ่ายอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นข้าราชการฝ่ายอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๗ ข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยในขณะที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ใช้บังคับ ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยตามพระราชบัญญัตินี้แต่ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งให้ดำเนินการใดแล้ว ถ้าการสั่งและการดำเนินการนั้นได้กระทำไปโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ให้ถือว่าเป็นอันสมบูรณ์ ถ้ากรณียังค้างระหว่างการสอบสวนก็ให้ดำเนินการสอบสวนตามกฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะเสร็จ แต่การพิจารณาและการสั่งลงโทษให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๘ ข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดอยู่ระหว่างถูกสั่งให้พักราชการ หรืออยู่ระหว่างถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าข้าราชการฝ่ายอัยการผู้นั้นถูกสั่งให้พักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๙ ผู้ที่ได้ยื่นใบสมัครสอบคัดเลือกหรือทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงถือคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ผู้ที่สอบคัดเลือกหรือทดสอบความรู้ได้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และบัญชีการสอบคัดเลือก หรือบัญชีทดสอบความรู้ แล้วแต่กรณี ยังมิได้ยกเลิกตามมาตรา ๕๓ วรรคสาม ให้คงมีสิทธิได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยต่อไป มาตรา ๑๑๐ มิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๗ มาใช้บังคับกับข้าราชการอัยการซึ่งได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการประจำกอง หรืออัยการจังหวัดผู้ช่วยก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๑๑ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาบรรจุบุคคลซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการและออกจากราชการไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเข้ารับราชการให้ปรับเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้เข้ากับอัตราหรือขั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่กลับเข้ารับราชการ ในกรณีที่ผู้เข้ารับราชการเป็นผู้ซึ่งออกจากราชการก่อนมีการปรับอัตราเงินเดือนตามพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๔๔ พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ และพระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้ปรับเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการตามพระราชบัญญัตินั้น ๆ เสียก่อน แล้วจึงปรับเงินเดือนตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่ปรับเงินเดือนของผู้ที่กลับเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้เข้ากับอัตราหรือขั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่กลับเข้ารับราชการไม่ได้ให้ ก.อ. เป็นผู้พิจารณาว่าผู้นั้นสมควรได้รับการบรรจุในอัตราหรือขั้นใด มาตรา ๑๑๒ บรรดาพระราชกฤษฎีกา กฎ ระเบียบ ข้อกำหนด ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่งและมติคณะรัฐมนตรีที่ได้ออกตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการและกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีพระราชกฤษฎีกา กฎ ระเบียบ ข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับแทน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ[๒๑] ชั้นเงินเดือน เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง ๘ ๗๓,๒๔๐ ๔๒,๕๐๐ ๗ ๗๒,๐๖๐ ๔๒,๐๐๐ ๖ ๗๐,๘๗๐ ๔๑,๕๐๐ ๕ ๖๙,๘๑๐ ๔๑,๐๐๐ ๔ ๖๘,๖๙๐ ๔๐,๐๐๐ ๖๗,๕๖๐ ๓๐,๐๐๐ ๓ ๖๖,๔๔๐ ๒๙,๐๐๐ ๕๓,๐๖๐ ๒๓,๓๐๐ ๔๘,๒๐๐ ๒๓,๓๐๐ ๔๐,๘๙๐ ๒๓,๓๐๐ ๓๖,๔๑๐ ๒๓,๓๐๐ ๓๒,๑๑๐ ๒๓,๓๐๐ ๒ ๒๙,๙๘๐ ๗,๙๐๐ ๒๗,๘๕๐ ๗,๙๐๐ ๒๕,๗๗๐ ๗,๙๐๐ ๑ ๑๘,๙๕๐ ๑๗,๕๖๐ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติให้องค์กรอัยการเป็นองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ และมีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น รวมทั้งบัญญัติให้มีการตรากฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ให้พนักงานอัยการดำรงตำแหน่งได้จนถึงอายุครบเจ็ดสิบปี ในการนี้สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการให้สอดคล้องกับบทบัญญัติดังกล่าว ประกอบกับสมควรนำหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสตามกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส รวมทั้งอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ มากำหนดรวมไว้ในพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายเกี่ยวกับข้าราชการประเภทต่าง ๆ และเพื่อให้การบริหารงานบุคคลของข้าราชการฝ่ายอัยการมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๔[๒๒] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ บัญญัติให้ในกรณีที่สมควรปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ถ้าการปรับอัตราเงินเดือนดังกล่าวเป็นการปรับเพิ่มเป็นร้อยละเท่ากันทุกอัตราและไม่เกินร้อยละสิบของอัตราที่ใช้บังคับอยู่ การปรับให้กระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ประกอบกับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการในปัจจุบันไม่เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น สมควรปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยปรับเพิ่มในอัตราร้อยละห้าเท่ากันทุกอัตรา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๒๓] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๙ ข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสผู้ใดเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะครบกำหนดวาระ มาตรา ๑๐ มิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ มาใช้บังคับแก่ข้าราชการอัยการที่ดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสหรือผ่านการประเมินสมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๑ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้ข้าราชการอัยการซึ่งมีอายุครบหกสิบห้าปีไปดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสเพื่อทำหน้าที่ในทางวิชาชีพพนักงานอัยการโดยไม่ดำรงตำแหน่งด้านบริหารจนกว่าจะพ้นจากราชการ นอกจากนั้น สมควรปรับปรุงบทบาทและอำนาจหน้าที่ของอัยการอาวุโสให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑[๒๔] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๑๒ ให้คณะกรรมการอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) และ (๕) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ต้องดำเนินการเลือกภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการอัยการตามวรรคหนึ่งว่างลง และมีกรรมการอัยการเหลืออยู่ไม่พอที่จะเป็นองค์ประชุม แต่มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน ให้กรรมการอัยการที่เหลืออยู่ดำเนินการตามอำนาจและหน้าที่ต่อไปได้ มาตรา ๑๓ มิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๙ ข. (๘) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ มาใช้บังคับแก่ผู้เคยเป็นประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ อยู่ก่อนในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เมื่อมีการเลือกประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิครั้งแรกภายหลังวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๑๒ ที่ประสงค์จะสมัครรับเลือกเป็นประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ต้องลาออกจากตำแหน่งกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๔ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๒๔๘ วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้กำหนดหลักการในเรื่ององค์ประกอบของคณะกรรมการอัยการและการได้มาซึ่งกรรมการอัยการ นอกจากนี้ มาตรา ๒๔๘ วรรคสี่ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กำหนดให้ต้องมีมาตรการป้องกันมิให้พนักงานอัยการกระทำการหรือดำรงตำแหน่งใดอันอาจมีผลให้การสั่งคดีหรือการปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นไปโดยรวดเร็ว เที่ยงธรรม และปราศจากอคติทั้งปวง หรืออาจทำให้มีการขัดกันแห่งผลประโยชน์ สมควรต้องปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการอัยการและกำหนดห้ามพนักงานอัยการกระทำการหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ วิชพงษ์/ปรับปรุง ๑๔ กันยายน ๒๕๖๐ วิชพงษ์/เพิ่มเติม ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๗๕ ก/หน้า ๑/๗ ธันวาคม ๒๕๕๓ [๒] มาตรา ๑๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๓] มาตรา ๑๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๔] มาตรา ๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๕] มาตรา ๒๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๖] มาตรา ๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๗] มาตรา ๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๘] มาตรา ๒๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๙] มาตรา ๒๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๐] มาตรา ๒๕/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๑] มาตรา ๒๗ วรรคสี่ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๒] มาตรา ๒๗ วรรคห้า เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๓] มาตรา ๓๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๑๔] มาตรา ๓๙/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๑๕] มาตรา ๔๐ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๑๖] มาตรา ๖๒/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๗] มาตรา ๖๗ (๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๘] มาตรา ๖๗ (๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๙] มาตรา ๑๐๒/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๒๐] มาตรา ๑๐๔ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๒๑] บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๔ [๒๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๒๒ ก/หน้า ๑๘/๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ [๒๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๙๓ ก/หน้า ๓๒/๑๓ กันยายน ๒๕๖๐ [๒๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๙๗ ก/หน้า ๑๗/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
754005
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นปีที่ ๖๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ (๒) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ (๓) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ (๔) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑ (๕) ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่อง การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ (๖) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ (๗) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๘ (๘) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๕ (๙) ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓๕ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๙ (๑๐) พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส พ.ศ. ๒๕๔๓ (๑๑) พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ (๑๒) พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๔๔ (๑๓) พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “ข้าราชการฝ่ายอัยการ” หมายความว่า ข้าราชการซึ่งรับราชการในสำนักงานอัยการสูงสุดโดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนในสำนักงานอัยการสูงสุด “ก.อ.” หมายความว่า คณะกรรมการอัยการ มาตรา ๕ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ลักษณะ ๑ บททั่วไป มาตรา ๖ ข้าราชการฝ่ายอัยการ แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ (๑) ข้าราชการอัยการ ได้แก่ ข้าราชการผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพนักงานอัยการตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ (๒) ข้าราชการธุรการ ได้แก่ ข้าราชการในสำนักงานอัยการสูงสุดนอกจาก (๑) มาตรา ๗ ให้นำระบบบัญชีเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตุลาการมาใช้กับข้าราชการอัยการโดยอนุโลม อัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการอัยการ ให้เป็นไปตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่สมควรปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ถ้าการปรับอัตราเงินเดือนดังกล่าวเป็นการปรับเพิ่มเป็นร้อยละเท่ากันทุกอัตราและไม่เกินร้อยละสิบของอัตราที่ใช้บังคับอยู่ การปรับให้กระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาและให้ถือว่าบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชกฤษฎีกาเป็นบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ในกรณีที่การปรับเป็นร้อยละเท่ากันทุกอัตราหากทำให้อัตราหนึ่งอัตราใดมีเศษไม่ถึงสิบบาท ให้ปรับตัวเลขเงินเดือนของอัตราดังกล่าวให้เพิ่มขึ้นเป็นสิบบาท และมิให้ถือว่าเป็นการปรับอัตราร้อยละที่แตกต่างกัน มาตรา ๘ การกำหนดตำแหน่ง อัตราเงินเดือน อัตราเงินประจำตำแหน่ง การรับเงินเดือนการรับเงินประจำตำแหน่ง การปรับขั้นต่ำขั้นสูงของเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง และเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการธุรการ ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนสามัญมาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ คำว่า “ก.พ.” และ “อ.ก.พ. กระทรวง” ให้หมายถึง “ก.อ.”และคำว่า “กระทรวง” ให้หมายถึง “สำนักงานอัยการสูงสุด” นอกจากตำแหน่งที่กำหนดขึ้นตามวรรคหนึ่ง ก.อ. อาจออกประกาศกำหนดให้มีตำแหน่งข้าราชการธุรการที่แตกต่างไปจากตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนก็ได้ ตำแหน่งดังกล่าวจะให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในอัตราเท่าใดและจะเทียบกับตำแหน่งใดตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดในประกาศนั้นด้วย มาตรา ๙ ในกรณีคณะรัฐมนตรีกำหนดเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นการทั่วไป ให้ข้าราชการฝ่ายอัยการได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวในหลักเกณฑ์เดียวกันด้วย มาตรา ๑๐ ข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการการเมืองหรือข้าราชการซึ่งอยู่ในระหว่างการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งสอบคัดเลือก หรือทดสอบความรู้หรือคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ตามพระราชบัญญัตินี้ หากประสงค์จะโอนมาบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเพื่อนับเวลาราชการหรือเวลาทำงานของตนในขณะที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเป็นเวลาราชการของข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย ก็ให้กระทำได้โดยสำนักงานอัยการสูงสุดทำความตกลงกับเจ้าสังกัด มาตรา ๑๑ บำเหน็จบำนาญของข้าราชการฝ่ายอัยการ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดถึงแก่ความตาย หรือได้รับอันตรายถึงทุพพลภาพเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการจนต้องออกจากราชการเพราะเหตุทุพพลภาพตามพระราชบัญญัตินี้ ก.อ. จะพิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญก็ได้ มาตรา ๑๒ เครื่องแบบ และการแต่งกายของข้าราชการฝ่ายอัยการ การกำหนดให้มีตราสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายใดเพื่อใช้ในการบริหารราชการสำนักงานอัยการสูงสุด รวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำและใช้ตราสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายนั้น ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๑๓ วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี และวันหยุดประจำปีของข้าราชการฝ่ายอัยการ ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดสำหรับข้าราชการพลเรือน เว้นแต่ ก.อ. จะกำหนดเป็นอย่างอื่น การลาหยุดราชการของข้าราชการฝ่ายอัยการ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๑๔ ประมวลจริยธรรมของข้าราชการฝ่ายอัยการให้เป็นไปตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ. สำนักงานอัยการสูงสุดโดยความเห็นชอบของ ก.อ. จะต้องจัดให้มีประมวลจรรยาบรรณสำหรับข้าราชการฝ่ายอัยการ ประมวลจริยธรรมตามวรรคหนึ่ง และประมวลจรรยาบรรณตามวรรคสอง เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ มาตรา ๑๕ ข้าราชการฝ่ายอัยการมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแต่ทั้งนี้ต้องไม่กระทบประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะ และต้องไม่มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรวมกลุ่มตามวรรคหนึ่ง เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามข้อเสนอแนะของ ก.อ. มาตรา ๑๖ การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการการพัฒนาคุณภาพชีวิต การเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติราชการ การปฏิบัติระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา การให้ไปศึกษาเพิ่มเติม ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด มาตรา ๑๗ ในกรณีที่พระราชบัญญัตินี้กำหนดให้เป็นไปตามที่ ก.อ. กำหนด ให้ ก.อ. ทำเป็นระเบียบ ข้อกำหนด หรือประกาศ ตามที่เห็นสมควร ระเบียบ ข้อกำหนด และประกาศ ของ ก.อ. ตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ ลักษณะ ๒ คณะกรรมการอัยการ มาตรา ๑๘[๒] ให้มีคณะกรรมการอัยการคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.อ.” ประกอบด้วย (๑) ประธาน ก.อ. ซึ่งข้าราชการอัยการเว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเป็นผู้เลือกจากผู้รับบำเหน็จหรือบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการมาแล้วในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีอัยการหรืออธิบดีอัยการภาคหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่า ทั้งนี้ ต้องไม่เคยเป็นสมาชิกหรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมืองในระยะสิบปีก่อนได้รับเลือก (๒) อัยการสูงสุดเป็นรองประธาน ก.อ. (๓) รองอัยการสูงสุดตามลำดับอาวุโสจำนวนห้าคนเป็นกรรมการอัยการ (๔) กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนหกคน ซึ่งข้าราชการอัยการเว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเป็นผู้เลือกจาก (ก) ข้าราชการอัยการชั้น ๕ ขึ้นไป ซึ่งมิได้เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่งอยู่แล้วจำนวนสี่คน (ข) ผู้รับบำเหน็จหรือบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการมาแล้วจำนวนสองคน (๕) กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสองคน ซึ่งข้าราชการอัยการเว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเป็นผู้เลือกจากผู้ซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการอัยการมาก่อน และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการงบประมาณ ด้านการพัฒนาองค์กร หรือด้านการบริหารจัดการ ให้อธิบดีอัยการ สำนักงานคณะกรรมการอัยการ เป็นเลขานุการ ก.อ. มาตรา ๑๙[๓] ประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) (ข) และ (๕) ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ ก. คุณสมบัติทั่วไป (๑) เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปี (๓) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ข. ลักษณะต้องห้าม (๑) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ ข. (๑) (๒) (๓) (๔) หรือ (๕) (๒) เป็นสมาชิกรัฐสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการพรรคการเมือง สมาชิกพรรคการเมือง หรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นของพรรคการเมือง (๓) เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง กรรมการการเลือกตั้ง กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือกรรมการในคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองหรือศาลอื่น (๔) เป็นข้าราชการอัยการ ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม ตุลาการศาลทหาร หรือทนายความ (๕) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ (๖) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ (๗) ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอื่นใดอันเป็นการกระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ (๗) ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอื่นใดอันเป็นการกระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ (๘) เคยเป็นประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ เว้นแต่เป็นกรณีตามมาตรา ๒๓ วรรคสาม ซึ่งไม่ให้นับเป็นวาระการดำรงตำแหน่ง มาตรา ๒๐[๔] ในการเลือกประธาน ก.อ. ให้ ก.อ. ประชุมพิจารณาจัดทำบัญชีรายชื่อบุคคลที่มาสมัครหรือที่ ก.อ. เห็นสมควรเป็นประธาน ก.อ. ไม่น้อยกว่าห้ารายชื่อ เพื่อให้ข้าราชการอัยการเว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเป็นผู้เลือกจากรายชื่อดังกล่าว การเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๕) ให้ ก.อ. ประชุมพิจารณาจัดทำบัญชีรายชื่อบุคคลที่มาสมัครหรือที่ ก.อ. เห็นสมควรเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่น้อยกว่าสามเท่าของกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๕) เพื่อให้ข้าราชการอัยการเว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเป็นผู้เลือกจากรายชื่อดังกล่าว มาตรา ๒๑[๕] ให้อัยการสูงสุดดำเนินการให้มีการเลือกประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิภายในหกสิบวันก่อนวันครบกำหนดวาระหรือภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุต้องเลือกและการออกเสียงลงคะแนนต้องกระทำโดยวิธีลับ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด เมื่อผลการเลือกประธาน ก.อ. ตามที่อัยการสูงสุดประกาศรายชื่อเป็นประการใด ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง กรณีอัยการสูงสุดประกาศรายชื่อกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ให้ประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกในราชกิจจานุเบกษา ในกรณีที่มีการฟ้องคดีเกี่ยวกับการเลือกประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิต่อศาล การฟ้องคดีดังกล่าวไม่เป็นเหตุให้ระงับหรือชะลอการดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการเลือกที่ได้ดำเนินการไปแล้ว เว้นแต่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น ในการนี้ หากศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งใด ๆ อันเป็นผลให้บุคคลที่ได้รับการเลือกขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม หรือได้รับการเลือกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีเช่นว่านี้ ไม่มีผลกระทบต่อการที่บุคคลนั้นได้กระทำไว้แล้วก่อนมีคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าว ในการเลือกประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ห้ามผู้ใดกระทำการใด ๆ อันมีลักษณะเป็นการหาเสียงเพื่อให้ข้าราชการอัยการลงคะแนนหรืองดเว้นลงคะแนน ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๒๒[๖] ข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสไม่มีสิทธิได้รับเลือกเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.อ. มาตรา ๒๓[๗] ประธาน ก.อ. มีวาระการดำรงตำแหน่งสองปีนับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งสองปีนับแต่วันที่อัยการสูงสุดประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว ถ้าตำแหน่งประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่งว่างลงก่อนครบวาระให้อัยการสูงสุดสั่งให้ดำเนินการเลือก เว้นแต่วาระการอยู่ในตำแหน่งของประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิจะเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน จะไม่ดำเนินการเลือกก็ได้ ประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกตามวรรคสอง อยู่ในตำแหน่งได้เพียงวาระของผู้ซึ่งตนแทน และหากมีวาระเหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งปีนับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งหรือวันที่อัยการสูงสุดประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือก แล้วแต่กรณี ไม่ให้นับเป็นวาระการดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๒๔[๘] ในกรณีที่ประธาน ก.อ. พ้นจากตำแหน่งไม่ว่าด้วยเหตุใด เว้นแต่กรณีครบกำหนดวาระตามวรรคสาม ให้รองประธาน ก.อ. ทำหน้าที่ประธาน ก.อ. ในกรณีที่ประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนครบกำหนดวาระและยังไม่มีกรรมการอัยการแทนตำแหน่งที่ว่างลง ให้ ก.อ. ประกอบด้วยกรรมการอัยการเท่าที่เหลืออยู่และให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ แต่ถ้าเหลือเพียงกรรมการอัยการโดยตำแหน่ง ให้กรรมการอัยการโดยตำแหน่งเป็นองค์ประชุมและให้กระทำได้แต่เฉพาะเท่าที่จำเป็นไปพลางก่อน ในกรณีที่ประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิครบกำหนดวาระ ให้ประธาน ก.อ.หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่เท่าที่จำเป็นไปพลางก่อนจนกว่าประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกใหม่เข้ารับหน้าที่ มาตรา ๒๕[๙] ประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ พ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ครบกำหนดวาระ (๒) ตาย (๓) ลาออก (๔) เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่ง ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส หรือพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการ ในกรณีที่เป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) (ก) (๕) กลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการอัยการ ในกรณีที่เป็นประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) (ข) (๖) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๘ (๑) หรือมาตรา ๑๙ ในกรณีที่เป็นประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) (ข) หรือ (๕) (๗) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ ข. ในกรณีที่เป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) (ก) (๘) ถูกถอดถอนจากตำแหน่งตามมาตรา ๒๕/๑ ในกรณีที่เป็นประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) หรือ (๕) ในกรณีเป็นที่สงสัยว่าประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิผู้ใดพ้นจากตำแหน่งประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิหรือไม่ ให้ ก.อ. มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาด มาตรา ๒๕/๑[๑๐] ประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) หรือ (๕) ผู้ใดมีพฤติการณ์ไม่เหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับคุณธรรม และจริยธรรม หรือกระทำการฝ่าฝืนมาตรา ๒๑ วรรคห้า ข้าราชการอัยการไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนข้าราชการอัยการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ในขณะนั้น เว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเข้าชื่อขอให้ถอดถอนประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) หรือ (๕) ผู้นั้นออกจากตำแหน่งได้ เมื่อมีการเข้าชื่อถอดถอนตามวรรคหนึ่ง ให้อัยการสูงสุดจัดให้มีการลงมติภายในสามสิบวันและในระหว่างนี้ประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิผู้นั้นจะทำหน้าที่ประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิมิได้ มติที่ให้ถอดถอนผู้ใดออกจากตำแหน่ง ให้ถือเอาคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของข้าราชการอัยการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ในขณะนั้น เว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย และการออกเสียงลงคะแนนต้องกระทำโดยวิธีลับ ผู้ใดถูกถอดถอนจากตำแหน่ง ให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่มีมติให้ถอดถอนตามวรรคสาม มติของข้าราชการอัยการตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด และจะมีการขอให้ถอดถอนบุคคลดังกล่าวโดยเหตุเดียวกันอีกไม่ได้ การเข้าชื่อ การลงมติ และการถอดถอน ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๒๖ การประชุม ก.อ. ต้องมีกรรมการอัยการมาประชุมไม่น้อยกว่าแปดคนจึงเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานเป็นประธานในที่ประชุมถ้าประธานและรองประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการอัยการในที่ประชุมเลือกกรรมการอัยการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม หากกรรมการอัยการโดยตำแหน่งว่างลง หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้รักษาราชการแทนหรือผู้รักษาการในตำแหน่งตามกฎหมาย ทำหน้าที่กรรมการอัยการแทนในระหว่างนั้น มาตรา ๒๗ ในการประชุมของ ก.อ. ถ้ามีการพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับกรรมการอัยการผู้ใดโดยเฉพาะ ผู้นั้นไม่มีสิทธิอยู่ในที่ประชุม แต่เพื่อประโยชน์ในการนับองค์ประชุม ถ้าผู้นั้นได้เข้าประชุมแล้วและต้องออกจากที่ประชุม ให้นับผู้นั้นเป็นองค์ประชุมด้วย การวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือเสียงข้างมาก ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ให้ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบว่าด้วยการประชุมและการลงมติ ในกรณีที่การประชุมของ ก.อ. เป็นการพิจารณาดำเนินการตามมาตรา ๕๙ วรรคสองหรือมาตรา ๘๒ กับผู้ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุดหรือรองอัยการสูงสุด ซึ่งเป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่งตามมาตรา ๑๘ (๒) หรือ (๓) ด้วย ห้ามมิให้อัยการสูงสุดหรือรองอัยการสูงสุดผู้นั้นเข้าร่วมพิจารณาเรื่องดังกล่าว และให้ถือว่า ก.อ. ประกอบไปด้วยกรรมการอัยการเท่าที่เหลืออยู่[๑๑] ในกรณีที่การประชุมของ ก.อ. เป็นการพิจารณาดำเนินการตามมาตรา ๕๙ วรรคหนึ่ง หรือการดำเนินการทางวินัยและการสั่งลงโทษทางวินัยกับอธิบดีอัยการ สำนักงานคณะกรรมการอัยการซึ่งเป็นเลขานุการ ก.อ. ตามมาตรา ๑๘ วรรคสอง หรือเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) (ก) ห้ามมิให้อธิบดีอัยการ สำนักงานคณะกรรมการอัยการเข้าร่วมพิจารณาเรื่องดังกล่าว และให้ถือว่า ก.อ. ประกอบไปด้วยกรรมการอัยการเท่าที่เหลืออยู่[๑๒] มาตรา ๒๘ หลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมนาคุณ เบี้ยประชุม หรือค่าตอบแทนของ ก.อ. รวมทั้งอนุกรรมการ บุคคล และคณะบุคคลที่ ก.อ. แต่งตั้ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๒๙ ภายใต้บังคับมาตรา ๓๘ ในกรณีที่ ก.อ. มีหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้อัยการสูงสุดเป็นผู้เสนอเรื่องต่อ ก.อ. แต่กรรมการอัยการคนหนึ่งคนใดจะเสนอเรื่องที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของ ก.อ. เพื่อให้ ก.อ. พิจารณาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนดก็ได้ มาตรา ๓๐ นอกจากอำนาจและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น ให้ ก.อ. มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ให้ความเห็นชอบกรอบอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่งข้าราชการฝ่ายอัยการ (๒) เป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมการเกษียณอายุของข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๓) ออกระเบียบเกี่ยวกับการจัดระบบ การแก้ไข และการรักษาทะเบียนประวัติและควบคุมการเกษียณอายุของข้าราชการฝ่ายอัยการ (๔) ออกระเบียบเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการ การสงเคราะห์อื่น เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว และเงินค่าตอบแทนพิเศษอื่นแก่ข้าราชการฝ่ายอัยการ (๕) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการการจัดลำดับอาวุโสของข้าราชการอัยการ (๖) ออกระเบียบเกี่ยวกับการรักษาราชการแทน การปฏิบัติราชการแทนและการรักษาการในตำแหน่งของข้าราชการฝ่ายอัยการ (๗) ออกระเบียบเกี่ยวกับการร้องทุกข์ของข้าราชการฝ่ายอัยการ (๘) พิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยข้าราชการฝ่ายอัยการ และการสั่งให้ข้าราชการฝ่ายอัยการออกจากราชการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (๙) ออกระเบียบเกี่ยวกับการสรรหา การบรรจุ การแต่งตั้ง การทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ การโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การรับเงินเดือน การเลื่อนเงินเดือน การรักษาจริยธรรม การออกจากราชการ การคุ้มครองระบบคุณธรรม และการจัดระเบียบข้าราชการธุรการ (๑๐) แต่งตั้งอนุกรรมการ บุคคล หรือคณะบุคคลเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ ก.อ. มอบหมาย (๑๑) ออกระเบียบหรือประกาศเพื่อกำหนดการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการฝ่ายอัยการ มาตรา ๓๑ ในการพิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยข้าราชการธุรการ ให้ ก.อ. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการ ซึ่งจะต้องมีข้าราชการธุรการไม่น้อยกว่าสองคนร่วมเป็นคณะอนุกรรมการด้วย จำนวน คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่ง รวมตลอดทั้งวิธีการได้มา วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด ลักษณะ ๓ ข้าราชการอัยการ หมวด ๑ การบรรจุ การแต่งตั้ง และการเลื่อนขั้นเงินเดือน มาตรา ๓๒ ตำแหน่งข้าราชการอัยการ มี ๘ ชั้น ดังนี้ (๑) อัยการสูงสุดเป็นข้าราชการอัยการชั้น ๘ (๒) รองอัยการสูงสุด และผู้ตรวจการอัยการ เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๗ (๓) อธิบดีอัยการ อธิบดีอัยการภาค รองอธิบดีอัยการ รองอธิบดีอัยการภาคอัยการพิเศษฝ่ายและอัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๖ (๔) อัยการผู้เชี่ยวชาญ เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๕ (๕) อัยการจังหวัด และอัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๔ (๖) อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด และรองอัยการจังหวัด เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๓ (๗) อัยการประจำกอง และอัยการจังหวัดผู้ช่วย เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๒ (๘) อัยการผู้ช่วย เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๑ มาตรา ๓๓ นอกจากตำแหน่งข้าราชการอัยการตามมาตรา ๓๒ ให้มีตำแหน่งอัยการอาวุโสด้วย มาตรา ๓๔ ข้าราชการอัยการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ดังต่อไปนี้ (๑) อัยการสูงสุด ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๘ (๒) รองอัยการสูงสุด และผู้ตรวจการอัยการ ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๗ (๓) อธิบดีอัยการ อธิบดีอัยการภาค รองอธิบดีอัยการ รองอธิบดีอัยการภาค อัยการพิเศษฝ่ายและอัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๖ - ๗ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้น ๖ (๔) อัยการผู้เชี่ยวชาญ ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๕ - ๖ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้น ๕ (๕) อัยการจังหวัด และอัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๔ - ๕ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในขั้นต่ำของชั้น ๔ (๖) อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด และรองอัยการจังหวัด ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๓ - ๔ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในขั้นต่ำของชั้น ๓ (๗) อัยการประจำกอง และอัยการจังหวัดผู้ช่วย ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๒ - ๓ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในขั้นต่ำของชั้น ๒ (๘)[๑๓] อัยการผู้ช่วย ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๑ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในขั้นต่ำของชั้น ๑ (๙) อัยการอาวุโส ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเท่ากับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเดิมที่ได้รับอยู่ก่อนดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส เว้นแต่ผู้ซึ่งได้รับเงินเดือนขั้นสูงสุดของชั้นอยู่ก่อนแล้ว จึงให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าเงินเดือนเดิมหนึ่งขั้น และให้ปรับเงินเดือนขึ้นปีละหนึ่งขั้นแต่ไม่เกินอัตราเงินเดือนของชั้น ๘ และเมื่อปรับเงินเดือนดังกล่าวสูงกว่าขั้นสูงสุดของชั้นเดิมแล้วให้ปรับเงินประจำตำแหน่งให้เท่ากับเงินประจำตำแหน่งของชั้นถัดไป ให้ข้าราชการอัยการได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว เงินประจำตำแหน่งไม่ถือเป็นเงินเดือน ข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เมื่อเทียบกับตำแหน่งใดก็ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามตำแหน่งนั้น มาตรา ๓๕[๑๔] การบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ให้อัยการสูงสุดเป็นผู้สั่งโดยวิธีการสอบคัดเลือก การทดสอบความรู้ หรือการคัดเลือกพิเศษ ตามความในหมวด ๒ แห่งลักษณะนี้ โดยให้ผู้ได้รับบรรจุได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในขั้นต่ำของชั้น ๑ มาตรา ๓๖ อัยการผู้ช่วยที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการประจำกองหรืออัยการจังหวัดผู้ช่วยจะต้องได้รับการอบรมจากสำนักงานอัยการสูงสุดมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปีและผลของการอบรมเป็นที่พอใจของ ก.อ. ว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และความประพฤติเหมาะสมที่จะเป็นอัยการประจำกองหรืออัยการจังหวัดผู้ช่วย อัยการผู้ช่วยซึ่งได้รับการอบรมจากสำนักงานอัยการสูงสุดมาแล้วตามวรรคหนึ่ง และผลของการอบรมยังไม่เป็นที่พอใจของ ก.อ. ว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และความประพฤติเหมาะสมที่จะเป็นอัยการประจำกองหรืออัยการจังหวัดผู้ช่วย ก็ให้ได้รับการอบรมจากสำนักงานอัยการสูงสุดต่อไปอีกไม่น้อยกว่าหนึ่งปี เมื่อครบกำหนดดังกล่าวแล้วหากผลของการอบรมยังไม่เป็นที่พอใจของ ก.อ. ให้อัยการสูงสุดสั่งให้ออกจากราชการ ในระหว่างเวลาปีแรกที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการประจำกองหรืออัยการจังหวัดผู้ช่วย หากปรากฏว่าผู้ได้รับแต่งตั้งไม่เหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งต่อไป อัยการสูงสุดด้วยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจสั่งให้ออกจากราชการได้ มาตรา ๓๗ ก่อนเข้ารับหน้าที่ อัยการประจำกองและอัยการจังหวัดผู้ช่วยต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคำ ดังต่อไปนี้ “ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรมโดยปราศจากอคติทั้งปวงเพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ประชาชน และความสงบสุขแห่งราชอาณาจักร ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมายทุกประการ” มาตรา ๓๘ การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งนอกจากตำแหน่งอัยการผู้ช่วยตำแหน่งอัยการอาวุโส ตำแหน่งรองอัยการสูงสุด และตำแหน่งอัยการสูงสุด ให้ประธาน ก.อ. เสนอ ก.อ. โดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถ ความรับผิดชอบ ประวัติการปฏิบัติราชการ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลนั้นเทียบกับงานในตำแหน่งข้าราชการอัยการที่จะได้รับแต่งตั้งนั้น ๆ เพื่อให้ความเห็นชอบก่อนเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว จึงนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ในกรณีที่ ก.อ. ไม่ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดตามที่ประธาน ก.อ. เสนอตามวรรคหนึ่งให้ประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการคนหนึ่งคนใด เสนอชื่อบุคคลอื่นเพื่อให้ ก.อ. ให้ความเห็นชอบได้และในกรณีที่มีการเสนอบุคคลหลายคนให้ดำรงตำแหน่งเดียวกัน ให้ ก.อ. พิจารณาผู้ได้รับการเสนอชื่อเรียงเป็นรายบุคคลตามลำดับอาวุโสเพื่อให้ความเห็นชอบ ผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งใด ถ้าเป็นกรรมการอัยการด้วย ให้ผู้ได้รับการเสนอชื่อออกจากที่ประชุมในระหว่างการพิจารณาเพื่อให้ความเห็นชอบ แต่ให้นับเป็นองค์ประชุมด้วย มาตรา ๓๙[๑๕] ข้าราชการอัยการซึ่งมีอายุครบหกสิบปีขึ้นไปในปีงบประมาณใดอาจขอไปดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสได้ หากเป็นผู้ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่มาแล้วไม่น้อยกว่ายี่สิบปีในปีงบประมาณก่อนปีงบประมาณที่จะขอไปดำรงตำแหน่ง โดยให้แจ้งเป็นหนังสือต่ออัยการสูงสุดไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันก่อนเริ่มปีงบประมาณที่จะดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส ข้าราชการอัยการซึ่งมีอายุครบหกสิบห้าปีในปีงบประมาณใด ให้พ้นจากตำแหน่งที่ดำรงอยู่เมื่อสิ้นปีงบประมาณนั้น และให้ไปดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสจนกว่าจะพ้นจากราชการตามมาตรา ๕๖ มาตรา ๓๙/๑[๑๖] ข้าราชการอัยการซึ่งจะมีอายุครบหกสิบห้าปีในปีงบประมาณใด ให้ ก.อ. จัดให้มีการประเมินสมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการอัยการในปีงบประมาณนั้น แล้วเสนอผลการประเมินให้ ก.อ. พิจารณาประกอบการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่อไป หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินสมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบ ที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๔๐ การแต่งตั้งข้าราชการอัยการไปดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสให้อัยการสูงสุดเสนอรายชื่อผู้ซึ่งจะได้รับแต่งตั้งต่อ ก.อ. เพื่อให้ความเห็นชอบ เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วจึงนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป ข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสจะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหรือรักษาการในตำแหน่งตามมาตรา ๓๒ อีกไม่ได้ รวมทั้งไม่อาจเป็นผู้รักษาราชการแทนหรือปฏิบัติราชการแทน[๑๗] มาตรา ๔๑ การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งรองอัยการสูงสุด ให้ประธาน ก.อ. เสนอ ก.อ. เพื่อให้ความเห็นชอบ เมื่อ ก.อ. ให้ความเห็นชอบแล้วจึงนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๔๒ วรรคสองและวรรคสามและมาตรา ๓๘ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๔๒ การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุด ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ ในการเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุดเพื่อขอความเห็นชอบจาก ก.อ. ให้ประธาน ก.อ. เป็นผู้เสนอ โดยคำนึงถึงอาวุโส ความรู้ความสามารถ ความรับผิดชอบ ประวัติการปฏิบัติราชการ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลนั้น ในกรณีที่ ก.อ. ไม่ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลตามที่ประธาน ก.อ. เสนอตามวรรคสอง ให้ประธาน ก.อ. เสนอชื่อบุคคลอื่นโดยเรียงตามลำดับอาวุโส และให้ ก.อ. พิจารณาตามหลักเกณฑ์ตามวรรคสอง ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๘ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๔๓ ให้ข้าราชการอัยการที่ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ได้รับการเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัตินี้ โดยความเห็นชอบของ ก.อ. ภายในระยะเวลา ดังต่อไปนี้ (๑) อธิบดีอัยการ อธิบดีอัยการภาค รองอธิบดีอัยการ รองอธิบดีอัยการภาค อัยการพิเศษฝ่ายและอัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ เมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้น ๖ มาครบสี่ปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นเงินเดือนชั้น ๗ (๒) อัยการผู้เชี่ยวชาญ เมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้น ๕ มาครบเจ็ดปีให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นเงินเดือนชั้น ๖ (๓) อัยการจังหวัด และอัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด เมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นเงินเดือนชั้น ๔ มาครบสามปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๔ และเมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๔ มาครบหนึ่งปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นเงินเดือนชั้น ๕ (๔) อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด และรองอัยการจังหวัด เมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นเงินเดือนชั้น ๓ มาครบห้าปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๓ และเมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๓ มาครบหนึ่งปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นเงินเดือนชั้น ๔ และเมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นเงินเดือนชั้น ๔ มาครบสามปีแล้ว ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๔ ได้ (๕) อัยการประจำกอง และอัยการจังหวัดผู้ช่วย เมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๒ มาครบหนึ่งปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นเงินเดือนชั้น ๓ และเมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นเงินเดือนชั้น ๓ มาครบห้าปีแล้ว ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๓ ได้ ให้ปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการในชั้นเงินเดือนชั้น ๑ ชั้นเงินเดือนชั้น ๒ และชั้นเงินเดือนชั้น ๓ สูงขึ้นหนึ่งขั้นทุกปี โดยความเห็นชอบของ ก.อ. จนกว่าจะได้รับเงินเดือนในขั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือน เว้นแต่ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกลงโทษทางวินัยในปีใด ก.อ. จะมีมติไม่ให้ปรับอัตราเงินเดือนให้ข้าราชการอัยการผู้นั้นสำหรับปีนั้นก็ได้ ในการปรับอัตราเงินเดือนตามวรรคสอง ถ้า ก.อ. พิจารณาเห็นว่าข้าราชการอัยการผู้ใดมีผลงานดีเด่นเป็นอย่างยิ่ง และเมื่อคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณงาน การรักษาวินัย ความประพฤติ คุณธรรม จริยธรรม แล้ว ก.อ. จะให้ปรับอัตราเงินเดือนให้ข้าราชการอัยการผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษเกินหนึ่งขั้นก็ได้ ความในวรรคสองมิให้ใช้บังคับกับข้าราชการอัยการที่ลาไปศึกษาต่อหรือลาเพื่อการอื่นใด ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๔๔ การโอนข้าราชการอัยการไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการธุรการโดยให้ได้รับเงินเดือนไม่สูงกว่าในขณะที่โอน ให้อัยการสูงสุดสั่งได้เมื่อข้าราชการอัยการผู้นั้นยินยอมและก.อ. เห็นชอบ การโอนข้าราชการอัยการไปเป็นข้าราชการพลเรือน หรือข้าราชการฝ่ายอื่นให้อัยการสูงสุดสั่งได้เมื่อข้าราชการอัยการผู้นั้นยินยอมและ ก.อ. เห็นชอบ มาตรา ๔๕ การโอนข้าราชการธุรการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการอัยการอาจทำได้เมื่อ ก.อ เห็นชอบ แต่ข้าราชการธุรการผู้นั้นอย่างน้อยต้องเคยเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการประจำกอง หรืออัยการจังหวัดผู้ช่วยมาแล้ว มาตรา ๔๖ ภายใต้บังคับมาตรา ๔๗ ข้าราชการอัยการผู้ใดพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการไปโดยมิได้มีความผิดหรือมีมลทินหรือมัวหมองในราชการ หรือไปรับราชการ หรือไปปฏิบัติงานในกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เมื่อประสงค์จะกลับเข้ารับตำแหน่งข้าราชการอัยการ ถ้าไม่เป็นผู้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจสั่งบรรจุได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ โดยบรรจุให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งซึ่งปรับให้เข้ากับอัตราที่เทียบได้ไม่สูงกว่าขณะพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการ ในกรณีที่ปรับเงินเดือนของผู้ที่กลับเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งให้เข้ากับอัตราหรือขั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่กลับเข้ารับราชการไม่ได้ ให้ ก.อ. เป็นผู้พิจารณาว่าผู้นั้นสมควรได้รับการบรรจุในอัตราหรือขั้นใด มาตรา ๔๗ ข้าราชการอัยการซึ่งไปรับราชการหรือไปปฏิบัติงานในกระทรวง ทบวง กรมหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หากได้รับการบรรจุกลับเข้ารับตำแหน่งข้าราชการอัยการตามมาตรา ๔๖ และ ก.อ. เห็นว่าการไปรับราชการหรือไปปฏิบัติงานในกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นของรัฐนั้นเป็นประโยชน์ต่อราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด ก.อ. จะปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการนั้นให้เป็นกรณีพิเศษก็ได้ มาตรา ๔๘ ข้าราชการอัยการผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร เมื่อผู้นั้นพ้นจากราชการทหาร โดยไม่มีความเสียหาย และประสงค์จะกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งข้าราชการอัยการ โดยรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในอัตราเท่าที่ได้รับอยู่ในขณะที่ไปรับราชการทหาร ให้ยื่นคำขอภายในกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันพ้นจากราชการทหาร ในกรณีเช่นว่านี้ให้อัยการสูงสุดสั่งบรรจุได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ แต่ถ้าจะบรรจุให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในอัตราสูงกว่าขณะที่ไปรับราชการทหารให้บรรจุได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด หมวด ๒ การสอบคัดเลือก การทดสอบความรู้ และการคัดเลือกพิเศษ มาตรา ๔๙ ผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ ก. คุณสมบัติทั่วไป (๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด (๒) ผู้สมัครสอบคัดเลือกหรือผู้สมัครทดสอบความรู้ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปี ผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปี (๓) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ (๔) เป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา (๕) เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต (๖) เป็นผู้ที่ผ่านการตรวจร่างกายและจิตใจโดยคณะกรรมการแพทย์จำนวนไม่น้อยกว่าสามคน ซึ่ง ก.อ. กำหนด และ ก.อ. ได้พิจารณารายงานของคณะกรรมการแพทย์แล้วเห็นสมควรรับสมัครได้ ข. ลักษณะต้องห้าม (๑) เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี (๒) เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว (๓) เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งให้พักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายอื่น (๔) เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (๕) เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๖) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือมีจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการอัยการ หรือเป็นโรคตามที่ ก.อ. ประกาศกำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด ให้ ก.อ. มีอำนาจกำหนดค่าธรรมเนียมการสมัครสอบคัดเลือก สมัครทดสอบความรู้ และสมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ มาตรา ๕๐ ผู้สมัครสอบคัดเลือกตามมาตรา ๔๙ ต้องมีคุณวุฒิและได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นนิติศาสตรบัณฑิต หรือสอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ ซึ่ง ก.อ. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี (๒) สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (๓) ได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นข้าราชการตุลาการ จ่าศาล รองจ่าศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดี พนักงานคุมประพฤติ นายทหารเหล่าพระธรรมนูญหรือทนายความ หรือได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นตามที่ ก.อ. กำหนด ทั้งนี้ เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี การประกอบวิชาชีพทางกฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ ก.อ. กำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการสมัครสอบคัดเลือกให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๕๑ ผู้สมัครทดสอบความรู้ตามมาตรา ๔๙ ต้องมีคุณวุฒิและได้ประกอบวิชาชีพ ดังต่อไปนี้ (๑) สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (๒) มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (ก) สอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศโดยมีหลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่าสามปี ซึ่ง ก.อ. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือสอบไล่ได้ปริญญาเอกทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ซึ่ง ก.อ. รับรอง (ข) สอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศโดยมีหลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่าสองปี หรือหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่าสองปี ซึ่ง ก.อ. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐ (๓) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (ค) สอบไล่ได้นิติศาสตรบัณฑิต และสอบไล่ได้ชั้นเกียรตินิยมตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาและได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐ (๓) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (ง) สอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ซึ่ง ก.อ. รับรองและได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐ (๓) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (จ) เป็นนิติศาสตรบัณฑิตชั้นเกียรตินิยมและได้ประกอบวิชาชีพเป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมายในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่ง ก.อ. รับรองเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี (ฉ) เป็นนิติศาสตรบัณฑิตและเป็นข้าราชการฝ่ายอัยการที่ได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายในตำแหน่งตามที่ ก.อ. กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกปี และอัยการสูงสุดรับรองว่ามีความซื่อสัตย์สุจริต มีความรู้ความสามารถดีและมีความประพฤติดีเป็นที่ไว้วางใจว่าจะปฏิบัติหน้าที่ข้าราชการอัยการได้ (ช) สอบไล่ได้ปริญญาโทหรือปริญญาเอกในสาขาวิชาที่ ก.อ. กำหนดและเป็นนิติศาสตรบัณฑิต และได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐ (๓) หรือได้ประกอบวิชาชีพตามที่ ก.อ. กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี (ซ) สอบไล่ได้ปริญญาตรีหรือที่ ก.อ. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีในสาขาวิชาที่ ก.อ. กำหนด และได้ประกอบวิชาชีพตามที่ ก.อ. กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปีจนมีความรู้ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพนั้นและเป็นนิติศาสตรบัณฑิต เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการ ในการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในแต่ละครั้ง สำนักงานอัยการสูงสุดโดยความเห็นชอบของ ก.อ. อาจกำหนดให้รับสมัครเฉพาะผู้มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างตาม (๒) ก็ได้ ให้ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพตาม (๒) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการสมัครทดสอบความรู้ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๕๒ ผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษตามมาตรา ๔๙ ต้องมีคุณวุฒิและประสบการณ์ ดังต่อไปนี้ (๑) สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (๒) มีประสบการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (ก) เป็นหรือเคยเป็นศาสตราจารย์หรือรองศาสตราจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่ง ก.อ. รับรอง (ข) เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญหรือข้าราชการประเภทอื่นในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไป (ค) เป็นหรือเคยเป็นทนายความมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปี (๓) เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ดีเด่นในสาขาวิชาที่ ก.อ. กำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการสมัครคัดเลือกพิเศษ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๕๓ เมื่อสมควรจะมีการสอบคัดเลือก การทดสอบความรู้ หรือการคัดเลือกพิเศษเมื่อใด ให้สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ ก.อ. เพื่อมีมติให้จัดให้มีการสอบคัดเลือก การทดสอบความรู้หรือการคัดเลือกพิเศษ ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวในแต่ละครั้ง ก.อ. อาจกำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุก็ได้ ให้ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบกำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกการทดสอบความรู้และการคัดเลือกพิเศษ ตลอดจนการกำหนดอัตราส่วนการบรรจุระหว่างผู้ที่สอบคัดเลือกได้ ผู้ที่ทดสอบความรู้ได้ และผู้ที่ผ่านการคัดเลือกพิเศษ เมื่อได้ประกาศผลการสอบคัดเลือก การทดสอบความรู้ หรือการคัดเลือกพิเศษแล้วให้บัญชีสอบคัดเลือก ทดสอบความรู้ หรือคัดเลือกพิเศษคราวก่อนเป็นอันยกเลิก มาตรา ๕๔ ให้ผู้สอบคัดเลือกที่ได้คะแนนสูงได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยก่อนผู้ที่ได้รับคะแนนต่ำลงมาตามลำดับแห่งบัญชีสอบคัดเลือกหากได้คะแนนเท่ากันให้จับสลากเพื่อจัดลำดับในระหว่างผู้ที่ได้คะแนนเท่ากันนั้น ผู้สอบคัดเลือกคนใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ หรือขาดคุณวุฒิหรือมิได้ประกอบวิชาชีพตามมาตรา ๕๐ หรือเป็นบุคคลที่ ก.อ. เห็นว่ามีชื่อเสียงหรือความประพฤติหรือเหตุอื่น ๆ อันไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการอัยการให้ผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการอัยการตามผลการสอบคัดเลือกนั้น ให้นำความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับกับการบรรจุและแต่งตั้งผู้ที่ผ่านการทดสอบความรู้ และผู้ที่ผ่านการคัดเลือกพิเศษโดยอนุโลม หมวด ๓ การพ้นจากตำแหน่ง มาตรา ๕๕ ข้าราชการอัยการพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) พ้นจากราชการตามมาตรา ๕๖ (๓) ได้รับอนุญาตให้ลาออก (๔) โอนไปรับราชการเป็นข้าราชการธุรการหรือข้าราชการฝ่ายอื่น (๕) ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร (๖) ถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๓๖ มาตรา ๕๗ หรือมาตรา ๕๙ (๗) ถูกสั่งลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก การพ้นจากตำแหน่งของข้าราชการอัยการ เว้นแต่ตำแหน่งอัยการผู้ช่วย หากเป็นกรณีตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ แต่ถ้าเป็นการพ้นจากตำแหน่งตาม (๔) (๕) (๖) หรือ (๗) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง พระบรมราชโองการดังกล่าวให้มีผลตั้งแต่วันโอนหรือวันออกจากราชการ แล้วแต่กรณี การพ้นจากตำแหน่งของอัยการสูงสุดตาม (๔) (๖) หรือ (๗) ให้เสนอวุฒิสภาเพื่อให้ความเห็นชอบ มาตรา ๕๖ ข้าราชการอัยการซึ่งมีอายุครบเจ็ดสิบปีแล้ว เป็นอันพ้นจากราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ข้าราชการอัยการผู้นั้นมีอายุครบเจ็ดสิบปี มาตรา ๕๗ ผู้ได้รับบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด หากภายหลังปรากฏว่าขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ หรือขาดคุณวุฒิหรือมิได้ประกอบวิชาชีพหรือไม่มีประสบการณ์ตามมาตรา ๕๐ มาตรา ๕๑ หรือมาตรา ๕๒ แล้วแต่กรณี ตั้งแต่ก่อนได้รับการบรรจุ ให้อัยการสูงสุดด้วยความเห็นชอบของ ก.อ. สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่รับจากทางราชการก่อนมีคำสั่งให้ออก และถ้าการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้วให้ถือว่าเป็นการสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา ๕๘ ข้าราชการอัยการผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งเพื่อให้อัยการสูงสุดเป็นผู้พิจารณา เมื่ออัยการสูงสุดสั่งอนุญาตแล้วให้ถือว่าพ้นจากตำแหน่ง ในกรณีที่ข้าราชการอัยการขอลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งหรือรับการเสนอชื่อเพื่อสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา หรือเพื่อไปดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก นอกจากกรณีตามวรรคสอง ถ้าอัยการสูงสุดเห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการจะยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกินสามเดือนนับแต่วันขอลาออกก็ได้ ในกรณีที่อัยการสูงสุดประสงค์จะลาออกจากราชการให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อ ก.อ. เพื่อให้ ก.อ. เป็นผู้พิจารณา มาตรา ๕๙ เมื่ออัยการสูงสุดเห็นสมควรให้ข้าราชการอัยการผู้ใดออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน เหตุทุพพลภาพ หรือเหตุรับราชการนานตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ให้ทำได้ด้วยความเห็นชอบของ ก.อ. แต่การให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน ให้ทำได้เฉพาะในกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และได้ดำเนินการสอบสวนตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในลักษณะ ๔ หมวด ๒ แล้ว ไม่ได้ความเป็นสัตย์ว่ากระทำผิดที่จะถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก แต่ผู้นั้นมีมลทินหรือมัวหมอง จะให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ (๒) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดบกพร่องต่อหน้าที่ หรือหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่สมควรที่จะให้คงเป็นข้าราชการอัยการต่อไป (๓) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการได้โดยสม่ำเสมอแต่ไม่ถึงเหตุทุพพลภาพ หรือ (๔) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ ก. (๑) หรือ ข. (๖) ในกรณีที่ข้าราชการอัยการซึ่งสมควรออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุดหรือรองอัยการสูงสุด ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของ ก.อ. พิจารณาดำเนินการ ลักษณะ ๔ วินัย การดำเนินการทางวินัย และการลงโทษ หมวด ๑ วินัย มาตรา ๖๐ ข้าราชการอัยการต้องรักษาวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัด ผู้ใดฝ่าฝืนจักต้องได้รับโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๔ แห่งลักษณะนี้ มาตรา ๖๑ ข้าราชการอัยการต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ มาตรา ๖๒ ข้าราชการอัยการจะเป็นสมาชิกพรรคการเมืองไม่ได้ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่นผู้แทนทางการเมืองอื่นใด กำนัน หรือผู้ใหญ่บ้าน ข้าราชการอัยการจะเข้าเป็นผู้กระทำการ ร่วมกระทำการหรือสนับสนุนในการโฆษณาหรือชักชวนใด ๆ อันเป็นคุณหรือเป็นโทษต่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ได้ มาตรา ๖๒/๑[๑๘] ข้าราชการอัยการต้องไม่กระทำการใด ๆ อันมีลักษณะเป็นการหาเสียงตามมาตรา ๒๑ วรรคห้า มาตรา ๖๓ ข้าราชการอัยการต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับการพิจารณาสั่งคดี ห้ามมิให้ขัดขืนหลีกเลี่ยง ถ้าไม่เห็นพ้องด้วยคำสั่งนั้นจะเสนอความเห็นทัดทานเป็นหนังสือก็ได้ แต่ต้องเสนอโดยด่วน และเมื่อได้ทัดทานดังกล่าวแล้วผู้บังคับบัญชามิได้สั่งถอนหรือแก้คำสั่งที่สั่งไป ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตามแต่ให้ผู้บังคับบัญชารีบรายงานขึ้นไปยังอัยการสูงสุดตามลำดับ ในการปฏิบัติราชการ ห้ามมิให้กระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่จะได้รับอนุญาต มาตรา ๖๔ ข้าราชการอัยการต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความระมัดระวัง มิให้เสียหายแก่ราชการ และด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม มาตรา ๖๕ ข้าราชการอัยการต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความที่ควรต้องแจ้งถือว่าเป็นการรายงานเท็จ มาตรา ๖๖ ข้าราชการอัยการต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการจะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้ มาตรา ๖๗ ข้าราชการอัยการต้อง (๑) ไม่ประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพ หรือกระทำกิจการใดอันเป็นการกระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ หรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งตำแหน่งหน้าที่ราชการตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด (๒) ไม่เป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (๓) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครองกรรมการการเลือกตั้ง กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือตำแหน่งอื่นตามที่ ก.อ. กำหนด (๔) ไม่เป็นข้าราชการอื่นซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ (๕)[๑๙] ไม่เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจหรือกิจการอื่นของรัฐในทำนองเดียวกัน (๖)[๒๐] ไม่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ ที่ปรึกษากฎหมาย หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทหรือกิจการอื่นใดที่มีลักษณะทำนองเดียวกับห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่มีวัตถุประสงค์มุ่งหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นที่ปรึกษาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดในลักษณะเดียวกัน มาตรา ๖๘ ข้าราชการอัยการต้องไม่ประพฤติตนเป็นคนเสเพล มีหนี้สินรุงรัง เสพของมึนเมาจนไม่สามารถครองสติได้ เล่นการพนันเป็นอาจิณ กระทำความผิดอาญา หรือกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว หรือกระทำการอื่นใดอันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งตำแหน่งหน้าที่ราชการ มาตรา ๖๙ ข้าราชการอัยการต้องสุภาพเรียบร้อยและห้ามมิให้ดูหมิ่นเหยียดหยามบุคคลใด ข้าราชการอัยการต้องต้อนรับ ให้ความสะดวก และให้ความสงเคราะห์ต่อประชาชนผู้มาติดต่อในกิจการอันเกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของตนโดยไม่ชักช้า มาตรา ๗๐ ข้าราชการอัยการต้องรักษาความสามัคคีระหว่างข้าราชการและต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหน้าที่ราชการ มาตรา ๗๑ ข้าราชการอัยการต้องถือและปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ มาตรา ๗๒ ข้าราชการอัยการต้องรักษาความลับของทางราชการ มาตรา ๗๓ ผู้บังคับบัญชาผู้ใดรู้ว่าผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัยแล้วไม่จัดการสอบสวนพิจารณาและดำเนินการตามความในหมวด ๒ และหมวด ๔ แห่งลักษณะนี้หรือไม่จัดการลงโทษตามอำนาจและหน้าที่หรือจัดการลงโทษโดยไม่สุจริต ให้ถือว่าผู้บังคับบัญชาผู้นั้นกระทำผิดวินัย หมวด ๒ การดำเนินการทางวินัย มาตรา ๗๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๘๒ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการสอบสวนชั้นต้นโดยมิชักช้า ผู้บังคับบัญชาระดับใดมีอำนาจดำเนินการสอบสวนชั้นต้นข้าราชการอัยการระดับใดรวมตลอดทั้งวิธีการสอบสวนชั้นต้น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สอบสวนชั้นต้นแล้ว เห็นว่า ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง ให้ดำเนินการตามมาตรา ๘๘ แต่ถ้าเห็นว่าเป็นกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้ดำเนินการตามมาตรา ๗๕ หรือมาตรา ๗๙ แล้วแต่กรณี แต่ถ้าเกินอำนาจของตนให้รายงานไปยังผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปตามลำดับเพื่อดำเนินการตามควรแก่กรณี มาตรา ๗๕ ในกรณีที่ผลการสอบสวนชั้นต้นปรากฏว่ามีมูลเป็นกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชารายงานประธาน ก.อ. และให้ ก.อ. แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนอย่างน้อยสามคนเพื่อทำการสอบสวน กรรมการสอบสวนตามวรรคหนึ่งต้องเป็นข้าราชการอัยการ การรายงานประธาน ก.อ. ตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด ในกรณีที่การสอบสวนชั้นต้นเกิดจากการร้องเรียนของบุคคลใด หากผลการสอบสวนชั้นต้นปรากฏว่ามีมูลตามที่ร้องเรียน ผู้ใดจะกล่าวหาฟ้องร้องผู้ร้องเรียนนั้นในความผิดทางอาญาหรือทางแพ่งเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการร้องเรียนที่มีมูลนั้นมิได้ มาตรา ๗๖ ในการสอบสวนตามมาตรา ๗๕ คณะกรรมการสอบสวนต้องแจ้งข้อกล่าวหาและรายละเอียดเท่าที่มีอยู่ให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ และต้องให้โอกาสแก่ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำพยานหลักฐานเข้าสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ด้วย ในการแจ้งรายละเอียดตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้คณะกรรมการสอบสวนส่งหนังสือร้องเรียนถ้ามี ให้แก่ผู้ถูกกล่าวหา แต่ต้องสรุปสาระสำคัญของหนังสือร้องเรียนให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยมิให้แจ้งข้อมูลใดที่จะทำให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบถึงตัวบุคคลผู้ร้องเรียน ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวนให้เสร็จโดยเร็วไม่ช้ากว่าเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับแต่งตั้ง ถ้ามีความจำเป็นซึ่งจะสอบสวนไม่ทันภายในกำหนดนั้นก็ให้ขออนุมัติจากผู้แต่งตั้งขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง แต่ละครั้งเป็นเวลาไม่เกินสามสิบวัน และต้องแสดงเหตุที่ต้องขยายเวลาไว้ด้วยทุกครั้ง แต่ถ้าขยายเวลาแล้วยังสอบสวนไม่เสร็จ ผู้แต่งตั้งจะอนุมัติให้ขยายเวลาต่อไปอีกได้ต่อเมื่อได้แจ้งให้ ก.อ. ทราบแล้ว หลักเกณฑ์และวิธีการการสอบสวน ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๗๗ เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้ทำการสอบสวนเสร็จแล้ว ให้รายงานผลการสอบสวนและความเห็นต่อ ก.อ. เพื่อพิจารณาต่อไป และเมื่อ ก.อ. มีมติเป็นประการใด ให้ประธาน ก.อ. มีคำสั่งให้เป็นไปตามมตินั้น มาตรา ๗๘ ให้กรรมการสอบสวนตามมาตรา ๗๕ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาและให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพียงเท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของกรรมการสอบสวน และโดยเฉพาะให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย (๑) เรียกให้หน่วยงานของรัฐชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐาน ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน (๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน มาตรา ๗๙ ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงและเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่ ก.อ. กำหนด หรือได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาหรือต่อคณะกรรมการสอบสวน เมื่อได้สอบสวนชั้นต้นตามมาตรา ๗๔ แล้ว ประธาน ก.อ. โดยความเห็นชอบของ ก.อ. จะพิจารณาสั่งลงโทษโดยไม่ต้องสอบสวนก็ได้ มาตรา ๘๐ ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือถูกฟ้องคดีอาญา ที่มิใช่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ ถ้าอัยการสูงสุดเห็นว่าจะให้อยู่ในหน้าที่ราชการระหว่างสอบสวน หรือพิจารณาจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ อัยการสูงสุดโดยความเห็นชอบของ ก.อ. จะสั่งให้พักราชการก็ได้ การให้พักราชการนั้น ให้พักตลอดเวลาที่สอบสวนพิจารณา หรือตลอดเวลาที่คดียังไม่ถึงที่สุด เมื่อสอบสวนพิจารณาเสร็จแล้ว หรือคดีถึงที่สุดแล้ว ถ้าปรากฏว่าผู้ถูกสั่งให้พักราชการมิได้กระทำความผิดและไม่มีมลทินหรือมัวหมอง ให้อัยการสูงสุดสั่งให้รับราชการตามเดิม ให้นำกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนของข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการมาใช้บังคับแก่ข้าราชการอัยการผู้ถูกสั่งให้พักจากราชการโดยอนุโลม ทั้งนี้ คำว่า “เจ้ากระทรวง” ให้หมายถึง “ก.อ.” มาตรา ๘๑ ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา หรือถูกฟ้องคดีอาญา ที่มิใช่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ แม้ภายหลังผู้นั้นจะพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการไปแล้วโดยมิใช่เพราะเหตุตาย ให้ดำเนินการสอบสวนหรือพิจารณาเพื่อลงโทษ หรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้เป็นไปตามลักษณะนี้ต่อไปได้แต่ต้องเริ่มดำเนินการภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันและดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามร้อยหกสิบวัน ทั้งนี้ นับแต่วันที่ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่ง ในกรณีตามวรรคหนึ่งถ้าผลการสอบสวนหรือพิจารณาปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรงก็ให้งดโทษ มาตรา ๘๒ การดำเนินการทางวินัยและสั่งลงโทษทางวินัยสำหรับอัยการสูงสุดและรองอัยการสูงสุด ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของ ก.อ. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด หมวด ๓ การรักษาจริยธรรมและจรรยา มาตรา ๘๓ ข้าราชการอัยการต้องถือและปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและประมวลจรรยาบรรณ การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัย การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจรรยาบรรณ ให้ผู้บังคับบัญชารายงานให้ ก.อ. ทราบและให้ ก.อ. นำมาประกอบการพิจารณาในการแต่งตั้ง หมวด ๔ การลงโทษ มาตรา ๘๔ โทษผิดวินัยมี ๕ สถาน คือ (๑) ไล่ออก (๒) ปลดออก (๓) ให้ออก (๔) งดการเลื่อนตำแหน่ง หรืองดเลื่อนชั้นหรือขั้นเงินเดือน (๕) ภาคทัณฑ์ ภายใต้บังคับมาตรา ๗๙ การสั่งลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกนั้นจะกระทำได้เมื่อได้ดำเนินการสอบสวนพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๒ แห่งลักษณะนี้แล้ว มาตรา ๘๕ การไล่ออกนั้น ก.อ. จะมีมติให้ลงโทษได้เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ดังต่อไปนี้ (๑) ทุจริตต่อหน้าที่ราชการ (๒) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิดอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๓) ต้องคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย (๔) เปิดเผยความลับของทางราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๕) ละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรงหรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร (๖) ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย และการขัดคำสั่งนั้นอาจเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๗) ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ หรือปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๘) ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง มาตรา ๘๖ การปลดออกนั้น ก.อ. จะมีมติให้ลงโทษได้เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่ยังไม่ถึงขนาดที่จะต้องถูกไล่ออกจากราชการ หรือถึงขนาดที่จะต้องถูกไล่ออกแต่มีเหตุอันควรลดหย่อน มาตรา ๘๗ การให้ออกนั้น ก.อ. จะมีมติให้ลงโทษได้เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่ยังไม่ถึงขนาดที่จะต้องถูกปลดออก หรือถึงขนาดที่จะต้องถูกปลดออกแต่มีเหตุอันควรลดหย่อน ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรานี้ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ มาตรา ๘๘ ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง ผู้บังคับบัญชาจะเสนอ ก.อ. เพื่อมีมติลงโทษงดการเลื่อนตำแหน่งหรืองดเลื่อนชั้นหรือขั้นเงินเดือน เป็นเวลาไม่เกินสามปีหรือลงโทษภาคทัณฑ์โดยจะให้ทำทัณฑ์บนไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้ เมื่อ ก.อ. พิจารณาเห็นสมควรลงโทษสถานใด ก็ให้ประธาน ก.อ. สั่งตามมตินั้น ในกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้ การเสนอ ก.อ. ตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้บังคับบัญชารายงานตามลำดับถึงอัยการสูงสุดเพื่อนำเสนอ ก.อ. ต่อไป โดยให้นำบทบัญญัติมาตรา ๗๔ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๘๙ ในคำสั่งลงโทษ ให้แสดงว่าผู้รับโทษนั้นกระทำผิดวินัยในกรณีใดตามมาตราใด มาตรา ๙๐ ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๓๖ มาตรา ๕๗ หรือมาตรา ๕๙ หรือถูกสั่งให้พักราชการตามมาตรา ๘๐ หากไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของประธาน ก.อ. หรืออัยการสูงสุด ให้ฟ้องคดีต่อศาลปกครองสูงสุดภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ทราบหรือถือว่าทราบคำสั่งของประธาน ก.อ.หรืออัยการสูงสุด แล้วแต่กรณี ลักษณะ ๕ ข้าราชการธุรการ หมวด ๑ บททั่วไป มาตรา ๙๑ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการธุรการต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ ก. คุณสมบัติทั่วไป (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี (๓) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ ข. ลักษณะต้องห้าม (๑) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (๒) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่ ก.อ. ประกาศกำหนด (๓) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น (๔) เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม (๕) เป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (๖) เป็นบุคคลล้มละลาย (๗) เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิดทางอาญา เว้นแต่โทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๘) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (๙) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออก เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น (๑๐) เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออกเพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น (๑๑) เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการหรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการธุรการซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตาม ข. (๔) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) หรือ (๑๑) ก.อ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ แต่ถ้าเป็นกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (๘) หรือ (๙) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้ว และในกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (๑๐) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว และต้องมิใช่กรณีออกจากงานหรือออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่ มติของ ก.อ. ในการยกเว้นดังกล่าว ต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการที่มาประชุม การลงมติให้กระทำโดยลับ การขอยกเว้นตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด กรณีตามวรรคสอง ก.อ. จะยกเว้นให้เป็นการเฉพาะราย หรือจะประกาศยกเว้นให้เป็นการทั่วไปก็ได้ มาตรา ๙๒ การพิจารณา สรรหา กลั่นกรอง หรือแต่งตั้งบุคคลใดเข้าสู่ตำแหน่ง รวมทั้งการโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน และการลงโทษบุคคลนั้น จะต้องคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ ความเสมอภาค ความเป็นธรรม พฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลดังกล่าวและประโยชน์ของทางราชการด้วย หมวด ๒ การสรรหา การบรรจุ และการแต่งตั้ง มาตรา ๙๓ ภายใต้บังคับมาตรา ๙๔ การสรรหาเพื่อให้ได้บุคคลมาบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการธุรการอาจทำได้โดยวิธีสอบแข่งขัน สอบคัดเลือก หรือคัดเลือก ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๙๔ ในกรณีมีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่ง สำนักงานอัยการสูงสุดจะบรรจุบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และความชำนาญสูงเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ หรือทรงคุณวุฒิ หรือตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๙๕ ผู้ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการธุรการตำแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามที่ ก.อ. กำหนด ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็น ก.อ. อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการธุรการที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งก็ได้ ในกรณีที่ ก.อ. กำหนดให้ปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิใด เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ให้หมายถึงปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน หรือ ก.อ. รับรอง มาตรา ๙๖ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการธุรการ และการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งให้อัยการสูงสุดหรือผู้ที่อัยการสูงสุดมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง มาตรา ๙๗ การโอนข้าราชการธุรการไปบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการตามกฎหมายอื่นหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น หรือการโอนข้าราชการตามกฎหมายอื่น หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นมาบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการธุรการ อาจกระทำได้ถ้าเจ้าตัวสมัครใจโดยผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งทำความตกลงกับเจ้าสังกัด และปฏิบัติตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นที่โอนมาเป็นข้าราชการธุรการตามวรรคหนึ่ง ให้ดำรงตำแหน่งระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเท่าใดให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด แต่เงินเดือนที่จะให้ได้รับจะต้องไม่สูงกว่าข้าราชการธุรการที่มีคุณวุฒิ ความสามารถ และความชำนาญงานในระดับเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้ที่โอนมาเป็นข้าราชการธุรการตามวรรคหนึ่งในขณะที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นนั้น เป็นเวลาราชการของข้าราชการธุรการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย การโอนข้าราชการการเมือง และข้าราชการที่อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมาเป็นข้าราชการธุรการตามพระราชบัญญัตินี้จะกระทำมิได้ มาตรา ๙๘ การบรรจุข้าราชการธุรการที่ได้ออกจากราชการไปเนื่องจากถูกสั่งให้ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ไปปฏิบัติงานใดซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการ หรือออกจากราชการไปที่มิใช่เป็นการออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ กลับเข้ารับราชการ ตลอดจนจะสั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใดระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ กำหนด เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการตามพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ข้าราชการธุรการที่ได้ออกจากราชการไปเนื่องจากถูกสั่งให้ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ไปปฏิบัติงานใดซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการเมื่อได้บรรจุกลับเข้ารับราชการให้มีสิทธินับวันรับราชการก่อนถูกสั่งให้ออกจากราชการรวมกับวันรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารหรือวันที่ได้ปฏิบัติงานใดตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี และวันรับราชการเมื่อได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการเป็นเวลาราชการติดต่อกันเสมือนว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกสั่งให้ออกจากราชการ สำหรับผู้ซึ่งออกจากราชการไปที่มิใช่เป็นการออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการซึ่งได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่ง ให้มีสิทธินับเวลาราชการก่อนออกจากราชการเพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๙๙ การทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ การให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการออกจากราชการ การสั่งให้ผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไปหรือมีลักษณะต้องห้ามออกจากราชการ การย้าย การโอน การเลื่อนตำแหน่ง การสั่งให้ประจำส่วนราชการ การเยียวยาแก้ไข หรือการดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลปกครอง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๑๐๐ พนักงานส่วนท้องถิ่น ข้าราชการธุรการ หรือข้าราชการตามกฎหมายอื่น ซึ่งไม่ใช่ข้าราชการการเมือง ผู้ใดออกจากงานหรือออกจากราชการไปแล้ว ถ้าสมัครเข้ารับราชการเป็นข้าราชการธุรการและสำนักงานอัยการสูงสุดต้องการจะรับผู้นั้นเข้ารับราชการให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๙๖ พิจารณาโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับ ทั้งนี้ จะบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับผู้ซึ่งออกจากงานหรือออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติงานหรือปฏิบัติหน้าที่ราชการ เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้เข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งในขณะที่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นเวลาราชการของข้าราชการธุรการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย หมวด ๓ การพัฒนาคุณภาพในการดำเนินคดี มาตรา ๑๐๑ เพื่อประโยชน์แก่การพัฒนาคุณภาพในการดำเนินคดีของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้มีตำแหน่งเจ้าพนักงานคดี ซึ่งเป็นข้าราชการธุรการที่มีความรู้และประสบการณ์ในทางกฎหมายและงานคดี เพื่อปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือพนักงานอัยการในด้านการดำเนินคดีตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด ให้เจ้าพนักงานคดีได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งในอัตราที่สำนักงานอัยการสูงสุดและกระทรวงการคลังร่วมกันกำหนด เจ้าพนักงานคดีจะมีจำนวนเท่าใดในส่วนราชการใด ให้เป็นไปตามที่ ก.อ. กำหนดด้วยความเห็นชอบของสำนักงบประมาณ ในกรณีที่เจ้าพนักงานคดีผู้ใดปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐานหน้าที่และความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติของเจ้าพนักงานคดี อัยการสูงสุดอาจพิจารณาให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งเจ้าพนักงานคดีได้ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการเข้าสู่ตำแหน่ง การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่ง สำหรับตำแหน่งเจ้าพนักงานคดี ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด หมวด ๔ วินัย การรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ มาตรา ๑๐๒ นอกจากที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ วินัย การรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ของข้าราชการธุรการ ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนสามัญ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ คำว่า “ก.พ.ค.” ให้หมายถึง “ก.อ.” คำว่า “ก.พ.” “อ.ก.พ. กระทรวง” และ “อ.ก.พ. กรม” ให้หมายถึง “อนุกรรมการที่ ก.อ. แต่งตั้งตามมาตรา ๓๑” คำว่า “กระทรวง” ให้หมายถึง “สำนักงานอัยการสูงสุด” และคำว่า “รัฐมนตรี” ให้หมายถึง “อัยการสูงสุด” มาตรา ๑๐๒/๑[๒๑] ข้าราชการธุรการผู้ใดฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา ๒๑ วรรคห้า ผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัย หมวด ๕ การรักษาจริยธรรมและจรรยา มาตรา ๑๐๓ ข้าราชการธุรการต้องถือและปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและประมวลจรรยาบรรณ การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัย การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจรรยาบรรณ ให้ผู้บังคับบัญชารายงานให้อัยการสูงสุดทราบและให้อัยการสูงสุดนำมาประกอบการพิจารณาในการแต่งตั้งและเลื่อนเงินเดือนด้วย บทเฉพาะกาล มาตรา ๑๐๔[๒๒] (ยกเลิก) มาตรา ๑๐๕ ให้คณะกรรมการอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีการเลือกและแต่งตั้งกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๓) และ (๔) ครบถ้วนแล้ว ซึ่งต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เพื่อประโยชน์ในการนับวาระการดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.อ. ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๖ ให้ข้าราชการฝ่ายอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นข้าราชการฝ่ายอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๗ ข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยในขณะที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ใช้บังคับ ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยตามพระราชบัญญัตินี้แต่ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งให้ดำเนินการใดแล้ว ถ้าการสั่งและการดำเนินการนั้นได้กระทำไปโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ให้ถือว่าเป็นอันสมบูรณ์ ถ้ากรณียังค้างระหว่างการสอบสวนก็ให้ดำเนินการสอบสวนตามกฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะเสร็จ แต่การพิจารณาและการสั่งลงโทษให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๘ ข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดอยู่ระหว่างถูกสั่งให้พักราชการ หรืออยู่ระหว่างถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าข้าราชการฝ่ายอัยการผู้นั้นถูกสั่งให้พักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๙ ผู้ที่ได้ยื่นใบสมัครสอบคัดเลือกหรือทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงถือคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ผู้ที่สอบคัดเลือกหรือทดสอบความรู้ได้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และบัญชีการสอบคัดเลือก หรือบัญชีทดสอบความรู้ แล้วแต่กรณี ยังมิได้ยกเลิกตามมาตรา ๕๓ วรรคสาม ให้คงมีสิทธิได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยต่อไป มาตรา ๑๑๐ มิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๗ มาใช้บังคับกับข้าราชการอัยการซึ่งได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการประจำกอง หรืออัยการจังหวัดผู้ช่วยก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๑๑ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาบรรจุบุคคลซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการและออกจากราชการไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเข้ารับราชการให้ปรับเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้เข้ากับอัตราหรือขั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่กลับเข้ารับราชการ ในกรณีที่ผู้เข้ารับราชการเป็นผู้ซึ่งออกจากราชการก่อนมีการปรับอัตราเงินเดือนตามพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๔๔ พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ และพระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้ปรับเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการตามพระราชบัญญัตินั้น ๆ เสียก่อน แล้วจึงปรับเงินเดือนตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่ปรับเงินเดือนของผู้ที่กลับเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้เข้ากับอัตราหรือขั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่กลับเข้ารับราชการไม่ได้ให้ ก.อ. เป็นผู้พิจารณาว่าผู้นั้นสมควรได้รับการบรรจุในอัตราหรือขั้นใด มาตรา ๑๑๒ บรรดาพระราชกฤษฎีกา กฎ ระเบียบ ข้อกำหนด ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่งและมติคณะรัฐมนตรีที่ได้ออกตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการและกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีพระราชกฤษฎีกา กฎ ระเบียบ ข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับแทน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ[๒๓] ชั้นเงินเดือน เงินเดือน (บาท/เดือน) เงินประจำตำแหน่ง (บาท/เดือน) ๘ ๘๑,๙๒๐ ๕๐,๐๐๐ ๗ ๘๐,๕๔๐ ๔๒,๐๐๐ ๖ ๗๘,๑๗๐ ๔๑,๕๐๐ ๕ ๗๖,๘๐๐ ๔๑,๐๐๐ ๔ ๗๕,๕๖๐ ๗๔,๓๖๐ ๔๐,๐๐๐ ๓๐,๐๐๐ ๓ ๗๓,๒๔๐ ๕๘,๓๗๐ ๕๓,๒๐๐ ๔๕,๘๙๐ ๔๑,๔๑๐ ๓๗,๑๑๐ ๒๙,๐๐๐ ๒๓,๓๐๐ ๒๓,๓๐๐ ๒๓,๓๐๐ ๒๓,๓๐๐ ๒๓,๓๐๐ ๒ ๓๔,๒๑๐ ๓๒,๐๘๐ ๓๐,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐ ๑ ๒๖,๓๙๐ ๒๕,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติให้องค์กรอัยการเป็นองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ และมีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น รวมทั้งบัญญัติให้มีการตรากฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ให้พนักงานอัยการดำรงตำแหน่งได้จนถึงอายุครบเจ็ดสิบปี ในการนี้สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการให้สอดคล้องกับบทบัญญัติดังกล่าว ประกอบกับสมควรนำหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสตามกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส รวมทั้งอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ มากำหนดรวมไว้ในพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายเกี่ยวกับข้าราชการประเภทต่าง ๆ และเพื่อให้การบริหารงานบุคคลของข้าราชการฝ่ายอัยการมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๔[๒๔] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ บัญญัติให้ในกรณีที่สมควรปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ถ้าการปรับอัตราเงินเดือนดังกล่าวเป็นการปรับเพิ่มเป็นร้อยละเท่ากันทุกอัตราและไม่เกินร้อยละสิบของอัตราที่ใช้บังคับอยู่ การปรับให้กระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ประกอบกับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการในปัจจุบันไม่เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น สมควรปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยปรับเพิ่มในอัตราร้อยละห้าเท่ากันทุกอัตรา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๒๕] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๙ ข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสผู้ใดเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะครบกำหนดวาระ มาตรา ๑๐ มิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ มาใช้บังคับแก่ข้าราชการอัยการที่ดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสหรือผ่านการประเมินสมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๑ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้ข้าราชการอัยการซึ่งมีอายุครบหกสิบห้าปีไปดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสเพื่อทำหน้าที่ในทางวิชาชีพพนักงานอัยการโดยไม่ดำรงตำแหน่งด้านบริหารจนกว่าจะพ้นจากราชการ นอกจากนั้น สมควรปรับปรุงบทบาทและอำนาจหน้าที่ของอัยการอาวุโสให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑[๒๖] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๑๒ ให้คณะกรรมการอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) และ (๕) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ต้องดำเนินการเลือกภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการอัยการตามวรรคหนึ่งว่างลง และมีกรรมการอัยการเหลืออยู่ไม่พอที่จะเป็นองค์ประชุม แต่มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน ให้กรรมการอัยการที่เหลืออยู่ดำเนินการตามอำนาจและหน้าที่ต่อไปได้ มาตรา ๑๓ มิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๙ ข. (๘) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ มาใช้บังคับแก่ผู้เคยเป็นประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ อยู่ก่อนในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เมื่อมีการเลือกประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิครั้งแรกภายหลังวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๑๒ ที่ประสงค์จะสมัครรับเลือกเป็นประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ต้องลาออกจากตำแหน่งกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๔ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๒๔๘ วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้กำหนดหลักการในเรื่ององค์ประกอบของคณะกรรมการอัยการและการได้มาซึ่งกรรมการอัยการ นอกจากนี้ มาตรา ๒๔๘ วรรคสี่ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กำหนดให้ต้องมีมาตรการป้องกันมิให้พนักงานอัยการกระทำการหรือดำรงตำแหน่งใดอันอาจมีผลให้การสั่งคดีหรือการปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นไปโดยรวดเร็ว เที่ยงธรรม และปราศจากอคติทั้งปวง หรืออาจทำให้มีการขัดกันแห่งผลประโยชน์ สมควรต้องปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการอัยการและกำหนดห้ามพนักงานอัยการกระทำการหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑[๒๗] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๕ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา การปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป มาตรา ๖ เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจตามระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๖ และระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่งข้าราชการอัยการได้รับไปแล้วตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นมา จนถึงวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งที่ได้รับการปรับเพิ่มตามบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการในมาตรา ๕ และให้การได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวในกรณีนั้นสิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๗ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการเพื่อให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น โดยกำหนดให้ถือว่าเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจตามระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๖ และระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่งข้าราชการอัยการได้รับไปแล้วตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นมาจนถึงวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งที่ได้รับการปรับเพิ่มตามบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ และให้การได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวในกรณีนั้นสิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ วิชพงษ์/ปรับปรุง ๑๔ กันยายน ๒๕๖๐ วิชพงษ์/เพิ่มเติม ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ พรวิภา/เพิ่มเติม ๑๕ มกราคม ๒๕๖๒ ปริญสินีย์/ตรวจ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๗๕ ก/หน้า ๑/๗ ธันวาคม ๒๕๕๓ [๒] มาตรา ๑๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๓] มาตรา ๑๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๔] มาตรา ๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๕] มาตรา ๒๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๖] มาตรา ๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๗] มาตรา ๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๘] มาตรา ๒๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๙] มาตรา ๒๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๐] มาตรา ๒๕/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๑] มาตรา ๒๗ วรรคสี่ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๒] มาตรา ๒๗ วรรคห้า เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๓] มาตรา ๓๔ (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๔] มาตรา ๓๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๕] มาตรา ๓๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๑๖] มาตรา ๓๙/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๑๗] มาตรา ๔๐ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๑๘] มาตรา ๖๒/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๙] มาตรา ๖๗ (๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๒๐] มาตรา ๖๗ (๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๒๑] มาตรา ๑๐๒/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๒๒] มาตรา ๑๐๔ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๒๓] บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๒๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๒๒ ก/หน้า ๑๘/๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ [๒๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๙๓ ก/หน้า ๓๒/๑๓ กันยายน ๒๕๖๐ [๒๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๙๗ ก/หน้า ๑๗/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ [๒๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๑๑๒ ก/หน้า ๕/๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๑
315775
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 (Update ณ วันที่ 07/11/2531)
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นปีที่ ๓๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและ ยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑” มาตรา ๒* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป *[รก.๒๕๒๑/๕๙/๔๒พ/๓๑ พฤษภาคม ๒๕๒๑] มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ (๒) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๐๕ (๓) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๗ (๔) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๐ (๕) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๖๐ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ (๖) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๑๗ (๗) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๑๙ บรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่น ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราช บัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน ลักษณะ ๑ บททั่วไป มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “ข้าราชการฝ่ายอัยการ” หมายความว่า ข้าราชการซึ่งรับราชการในกรมอัยการ โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในกรมอัยการ “รองอธิบดี” หมายความว่า รองอธิบดีกรมอัยการ “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมอัยการ “ก.อ.” หมายความว่า คณะกรรมการอัยการ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕ ข้าราชการฝ่ายอัยการได้แก่ (๑) ข้าราชการอัยการ คือข้าราชการผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการดำเนินคดีตาม กฎหมายซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ (๒) ข้าราชการธุรการ คือ ข้าราชการผู้มีหน้าที่ในทางธุรการ มาตรา ๖* อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้แบ่งเป็น ๖ ชั้นแต่ละชั้นมีขั้นไม่ เกินจำนวนขั้นที่กำหนดดังต่อไปนี้ ชั้น ๑ มี ๕ ขั้น ชั้น ๒ มี ๑๓ ขั้น ชั้น ๓ มี ๑๓ ขั้น ชั้น ๔ มี ๑๑ ขั้น ชั้น ๕ มี ๑๐ ขั้น ชั้น ๖ มี ๖ ขั้น อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามชั้นและขั้นดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ให้เป็นไป ตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ก. บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ข. บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ค. หรือบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ง. ท้ายพระราชบัญญัตินี้ การให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามวรรคสองแต่ละบัญชี ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา อัตราเงินเดือนข้าราชการธุรการให้เป็นไปตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการ พลเรือนที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน *[มาตรา ๖ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑] มาตรา ๗ เพื่อประโยชน์ในการออมทรัพย์ของข้าราชการอัยการ คณะรัฐมนตรี จะวางระเบียบและวิธีการให้กระทรวงการคลังหักเงินเดือนของข้าราชการอัยการไว้เป็นเงินสะสมก็ ได้ โดยคิดดอกเบี้ยจากเงินสะสมนั้นให้ในอัตราไม่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทประจำของ ธนาคารพาณิชย์ เงินสะสมและดอกเบี้ยนี้ให้จ่ายคืนหรือให้กู้ยืมเพื่อดำเนินการตามโครงการ สวัสดิการสำหรับข้าราชการอัยการตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๘ ข้าราชการอัยการอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะ เศรษฐกิจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๙ ในกรณีที่มีเหตุที่จะต้องจัดให้มีหรือปรับปรุงเงินเพิ่มค่าครองชีพตาม มาตรา ๘ หรือปรับขั้นเงินเดือนตามมาตรา ๖ วรรคสอง ให้รัฐมนตรีรายงานไปยังคณะรัฐมนตรี ดำเนินการต่อไป มาตรา ๑๐ ข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญ หรือ ข้าราชการซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือพนักงานเทศบาลที่ไม่ใช่พนักงาน เทศบาลวิสามัญ ซึ่งสอบคัดเลือกหรือทดสอบความรู้เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการอัยการใน ตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ตามพระราชบัญญัตินี้ หากประสงค์จะโอนมาบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ ในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเพื่อนับเวลาราชการหรือเวลาทำงานของตนในขณะที่เป็นข้าราชการหรือ พนักงานเทศบาลเป็นเวลาราชการของข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย ก็ให้กระทำได้ โดยกรมอัยการทำความตกลงกับเจ้าสังกัด มาตรา ๑๑ บำเหน็จบำนาญของข้าราชการอัยการ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ว่าด้วยการนั้น ข้าราชการอัยการผู้ใดถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์ในการคำนวณ บำเหน็จบำนาญก็ได้ มาตรา ๑๒ เครื่องแบบของข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่งให้เป็นไป ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๑๓ วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการอัยการ ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๑๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราช บัญญัตินี้ และให้มีอำนาจกำหนดค่าธรรมเนียมการสอบเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และออก กฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ ลักษณะ ๒ คณะกรรมการอัยการ มาตรา ๑๕ ให้มีคณะกรรมการอัยการคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า ก.อ. ประกอบด้วย (๑) รัฐมนตรีเป็นประธาน (๒) อธิบดีเป็นรองประธาน (๓) รองอธิบดี อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดีและอัยการพิเศษ ฝ่ายวิชาการ เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่ง และ (๔) กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิหกคน ซึ่งข้าราชการอัยการที่ได้รับเงินเดือน ตั้งแต่ ชั้น ๒ ขึ้นไป เป็นผู้เลือกจาก (ก) ข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนตั้งแต่ชั้น ๔ ขึ้นไปและมิได้เป็น กรรมการอัยการโดยตำแหน่งอยู่แล้ว สามคน (ข) ผู้รับบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งเคยรับ ราชการเป็นข้าราชการอัยการมาแล้ว และต้องไม่เป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภาซึ่งมาจาก การเลือกตั้ง กรรมการพรรคการเมือง เจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง หรือทนายความสามคน ให้ ก.อ. แต่งตั้งข้าราชการฝ่ายอัยการคนหนึ่งเป็นเลขานุการ ก.อ. มาตรา ๑๖ เมื่อจะมีการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้รัฐมนตรีเป็นผู้ สั่ง วิธีการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้รัฐมนตรี ประกาศชื่อผู้ได้รับเลือกในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๗ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งได้คราวละสองปี และ อาจได้รับเลือกใหม่ ถ้าตำแหน่งว่างลงก่อนถึงกำหนดวาระ ให้รัฐมนตรีสั่งให้ดำเนินการเลือกซ่อม เว้นแต่วาระการอยู่ในตำแหน่งของกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิจะเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน รัฐมนตรี จะไม่สั่งให้ดำเนินการเลือกซ่อมก็ได้ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกซ่อมอยู่ในตำแหน่งได้เพียงวาระของ ผู้ที่ตนแทน มาตรา ๑๘ ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการอัยการว่างลง นอกจากการพ้นจาก ตำแหน่งของกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามวาระ และมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการโดย รีบด่วน ก็ให้กรรมการอัยการที่เหลือดำเนินการไปได้ แต่ต้องมีกรรมการอัยการพอที่จะเป็น องค์ประชุม มาตรา ๑๙ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ครบกำหนดวาระ (๒) ตาย (๓) ลาออก (๔) เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่ง หรือพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการ ในกรณีที่เป็นกรรมการอัยการตามมาตรา ๑๕ (๔) (ก) (๕) กลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการอัยการ ในกรณีที่เป็นกรรมการอัยการ ตามมาตรา ๑๕ (๔) (ข) (๖) ไปเป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภา ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง กรรมการ พรรคการเมือง เจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง หรือทนายความ ในกรณีเป็นที่สงสัยว่า กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิผู้ใดพ้นจากตำแหน่ง กรรมการอัยการหรือไม่ ให้อธิบดีเสนอ ก.อ. เพื่อวินิจฉัยชี้ขาด มาตรา ๒๐ การประชุมของ ก.อ. ต้องมีกรรมการอัยการมาประชุมไม่น้อยกว่า เจ็ดคนจึงเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานเป็นประธาน ในที่ประชุม ถ้าประธานและรองประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการ อัยการในที่ประชุมเลือกกรรมการอัยการคนหนึ่งเป็นประธาน หากกรรมการอัยการโดยตำแหน่งว่างลง หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้รักษา ราชการแทน หรือผู้รักษาการในตำแหน่งตามกฎหมาย ทำหน้าที่กรรมการอัยการแทนในระหว่างนั้น ในการประชุมของ ก.อ. ถ้ามีการพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับกรรมการอัยการผู้ใด โดยเฉพาะ ผู้นั้นไม่มีสิทธิเข้าประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือเสียงข้างมาก ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ก.อ. มีอำนาจออกข้อบังคับว่าด้วยระเบียบการประชุมและการลงมติ มาตรา ๒๑ ในกรณีที่ ก.อ. มีหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้อธิบดีเป็นผู้เสนอเรื่องต่อ ก.อ. แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิกรรมการอัยการคนหนึ่งคนใดที่จะเสนอ มาตรา ๒๒ ก.อ. มีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการให้ทำการใด ๆ แทนได้ ลักษณะ ๓ ข้าราชการอัยการ หมวด ๑ การบรรจุ การแต่งตั้ง และการเลื่อนขั้นเงินเดือน มาตรา ๒๓ ตำแหน่งข้าราชการอัยการมีดังนี้ อธิบดี รองอธิบดี อัยการพิเศษ ฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ อัยการพิเศษประจำเขต อัยการประจำ กรม อัยการจังหวัด อัยการประจำกอง อัยการจังหวัดผู้ช่วย และอัยการผู้ช่วย นอกจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง อาจให้มีตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่อ อย่างอื่น ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงได้ ตำแหน่งดังกล่าวจะเทียบกับตำแหน่งใดตามวรรคหนึ่งให้ กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนั้นด้วย กฎกระทรวงเช่นว่านี้ให้ได้รับความเห็นชอบของ ก.อ. ก่อน มาตรา ๒๔ ข้าราชการอัยการจะได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง ดังต่อไปนี้ (๑) อธิบดี ให้ได้รับเงินเดือนชั้น ๖ (๒) รองอธิบดี ให้ได้รับเงินเดือนชั้น ๕ (๓) อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ และอัยการพิเศษประจำเขต ให้ได้รับเงินเดือนชั้น ๔ (๔) อัยการประจำกรม และอัยการจังหวัด ให้ได้รับเงินเดือนชั้น ๓ (๕) อัยการประจำกอง และอัยการจังหวัดผู้ช่วย ให้ได้รับเงินเดือนชั้น ๒ (๖) อัยการผู้ช่วย ให้ได้รับเงินเดือนชั้น ๑ สำหรับข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เมื่อเทียบกับ ตำแหน่งใดก็ให้ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งนั้น ในกรณีที่ข้าราชการอัยการได้เลื่อนขึ้นรับเงินเดือนในชั้นถัดไป ให้ได้รับเงินเดือน ในอัตราขั้นต่ำของชั้นนั้น แต่ถ้าผู้นั้นได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของชั้นที่เลื่อนขึ้นก็ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นของชั้นนั้น ซึ่งมีจำนวนเท่ากับเงินเดือนที่ได้รับอยู่ มาตรา ๒๕ การบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง อัยการผู้ช่วย ให้รัฐมนตรีเป็นผู้สั่ง โดยวิธีการสอบคัดเลือกตามความในหมวด ๒ แห่งลักษณะนี้ แต่ถ้าผู้ใด (๑) สอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ โดย มีหลักสูตรการศึกษาเดียวไม่น้อยกว่าสามปี ซึ่ง ก.อ. เทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และสอบไล่ได้ ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (๒) สอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ โดยมีหลักสูตรการศึกษาหลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่าสองปี หรือหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่า สองปี ซึ่ง ก.อ. เทียบว่า ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และสอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษา กฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (๓) สอบไล่ได้เป็นธรรมศาสตร์บัณฑิต หรือนิติศาสตร์บัณฑิตและสอบไล่ได้ ชั้นเกียรตินิยมตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และได้ประกอบ วิชาชีพ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือ (๔) สอบไล่ได้ปริญญาโทหรือปริญญาเอกทางกฎหมายในประเทศไทย และ สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และได้ประกอบ วิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี เมื่อ ก.อ.พิจารณาเห็นว่า เป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๓๓ (๒) ถึง (๑๒) และได้ทำการทดสอบความรู้ในวิชากฎหมายแล้ว เห็นสมควรที่จะให้เข้ารับราชการ ก็ให้รัฐมนตรีสั่ง บรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ตามที่ ก.อ. กำหนด การบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ให้บรรจุให้ได้รับ เงินเดือนในอัตราขั้นต่ำของชั้น มาตรา ๒๖ อัยการผู้ช่วยที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัด ผู้ช่วยจะต้องได้รับการอบรมจากกรมอัยการมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และผลของการอบรมเป็นที่ พอใจของ ก.อ. ว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และความประพฤติ เหมาะสมที่จะเป็นอัยการ จังหวัดผู้ช่วย อัยการผู้ช่วยซึ่งได้รับการอบรมจากกรมอัยการมาแล้วหนึ่งปี แต่ผลของการ อบรมยังไม่เป็นที่พอใจของ ก.อ. ว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และความประพฤติ เหมาะสมที่ จะเป็นอัยการจังหวัดผู้ช่วย ก็ให้ได้รับการอบรมจากกรมอัยการต่อไปอีกหนึ่งปี เมื่อครบกำหนด ดังกล่าวแล้วหากผลของการอบรมยังไม่เป็นที่พอใจของ ก.อ. ให้รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ออกจาก ราชการ ในระหว่างเวลาปีแรกที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดผู้ช่วย หากปรากฏว่าผู้ได้รับแต่งตั้งไม่เหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งต่อไปให้รัฐมนตรีด้วยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจสั่งให้ออกจากราชการ มาตรา ๒๗ การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งนอกจากตำแหน่ง อัยการผู้ช่วยให้รัฐมนตรีเสนอ ก.อ. โดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถ ความรับผิดชอบ ประวัติการ ปฏิบัติราชการของบุคคลนั้นเทียบกับงานในตำแหน่งข้าราชการอัยการที่จะได้รับแต่งตั้งนั้น ๆ เพื่อ ให้ความเห็นชอบก่อนเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว จึงนำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง มาตรา ๒๘ การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการอัยการในชั้นหนึ่ง ๆ ให้รัฐมนตรี เป็นผู้สั่งเลื่อน ในเมื่อได้รับความเห็นชอบของ ก.อ. แล้ว โดยปกติปีละหนึ่งขั้น โดยคำนึงถึงคุณภาพ และปริมาณงานของตำแหน่งและผลของงานที่ได้ปฏิบัติมา การรักษาวินัย ตลอดจนความสามารถ และความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด ให้ออกเป็นกฎกระทรวง มาตรา ๒๙ การโอนข้าราชการอัยการไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการ ธุรการ โดยให้ได้รับเงินเดือนไม่สูงกว่าในขณะที่โอน ให้รัฐมนตรีสั่งได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้นั้น ยินยอม และ ก.อ. เห็นชอบ การโอนข้าราชการอัยการไปเป็นข้าราชการพลเรือน หรือข้าราชการฝ่ายอื่นให้ รัฐมนตรีสั่งได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้นั้นยินยอม และ ก.อ.เห็นชอบ การให้ข้าราชการอัยการไปทำงานในตำแหน่งข้าราชการธุรการหรือตำแหน่ง การเมืองในกระทรวงมหาดไทย ให้รัฐมนตรีสั่งได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ ในระหว่างที่ปฏิบัติงานเช่นว่านี้ข้าราชการอัยการผู้นั้นจะทำการเกี่ยวกับการดำเนินคดีในหน้าที่ของพนักงานอัยการไม่ได้ มาตรา ๓๐ การโอนข้าราชการธุรการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการ อัยการโดยให้ได้รับเงินเดือนไม่สูงกว่าในขณะที่โอนมา อาจทำได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ แต่ข้าราชการ ธุรการผู้นั้นอย่างน้อยต้องเคยเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการประจำกอง หรืออัยการจังหวัดผู้ช่วยมาแล้ว มาตรา ๓๑ ข้าราชการอัยการผู้ใดพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการไปโดยมิได้ มีความผิด หรือมีมลทินหรือมัวหมองในราชการ หรือไปรับราชการ ในกระทรวงทบวงกรมอื่นเมื่อจะกลับเข้ารับตำแหน่งข้าราชการอัยการโดยรับเงินเดือนไม่สูงกว่าขณะพ้นจากตำแหน่งข้าราชการ อัยการ ถ้าไม่เป็นผู้ขาดคุณสมบัติ ตามมาตรา ๓๓ (๒) ถึง (๑๒) ก็ให้รัฐมนตรีสั่งบรรจุได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ มาตรา ๓๒ ข้าราชการอัยการผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการ รับราชการทหาร เมื่อผู้นั้นพ้นจากราชการทหาร โดยไม่มีความเสียหาย และประสงค์จะกลับเข้ารับ ราชการในตำแหน่งข้าราชการอัยการ โดยรับเงินเดือนเท่าที่ได้รับอยู่ในขณะที่ไปรับราชการทหาร ให้ ยื่นคำขอภายในกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันพ้นจากราชการทหารในกรณีเช่นว่านี้ ให้ รัฐมนตรีสั่งบรรจุได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ แต่ถ้าจะบรรจุให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าขณะที่ไปรับราชการ ทหารให้บรรจุได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ซึ่ง ก.อ. จะได้กำหนด หมวด ๒ การสอบคัดเลือก มาตรา ๓๓ ผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (๑) (ก) สอบไล่ได้เป็นธรรมศาสตร์บัณฑิต หรือนิติศาสตร์บัณฑิต หรือสอบไล่ได้ ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ ซึ่ง ก.อ. เทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี (ข) สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่ง เนติบัณฑิตยสภาและ (ค) ได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นข้าราชการตุลาการจ่าศาล รองจ่าศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดี พนักงานคุมประพฤติ นายทหารเหล่า พระธรรมนูญ หรือทนายความ หรือได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นตามที่ ก.อ. กำหนด ทั้งนี้ เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี และให้ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการ ประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ด้วย (๒) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด (๓) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปี (๔) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ (๕) เป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา (๖) ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี (๗) ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว (๘) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งให้พักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ ก่อนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ หรือตามกฎหมายอื่น (๙) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ (๑๐) ไม่เป็นผู้เคยรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษ สำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๑๑) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือจิต ฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือมีกายหรือจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการอัยการ หรือเป็นโรค ที่ระบุไว้ในกฎกระทรวง และ (๑๒) เป็นผู้ที่คณะกรรมการแพทย์มีจำนวนไม่น้อยกว่าสามคน ซึ่ง ก.อ. จะได้ กำหนดได้ตรวจร่างกายและจิตใจแล้ว และ ก.อ. ได้พิจารณารายงานของแพทย์ เห็นว่าสมควรรับ สมัครได้ ให้ ก.อ. มีอำนาจวางระเบียบเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบ คัดเลือกก่อนที่จะรับสมัครได้ มาตรา ๓๔ ให้ ก.อ. มีอำนาจกำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกตาม มาตรา ๓๓ ตลอดจนวางเงื่อนไขในการรับสมัคร เมื่อสมควรจะมีการสอบคัดเลือกเมื่อใด ให้กรมอัยการเสนอต่อ ก.อ. ให้ ก.อ. จัด ให้มีการสอบคัดเลือก เมื่อได้มีการสอบใหม่ และได้ประกาศผลของการสอบแล้ว บัญชีสอบคัดเลือก คราวก่อนเป็นอันยกเลิก มาตรา ๓๕ ผู้สอบคัดเลือกที่ได้คะแนนสูงให้ได้รับบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยก่อนผู้ที่ได้รับคะแนนต่ำลงมาตามลำดับแห่งบัญชีสอบ คัดเลือก หากได้คะแนนเท่ากันให้ใช้วิธีจับสลากเพื่อจัดลำดับที่ระหว่างผู้ที่ได้คะแนนเท่ากันนั้น ผู้สอบคัดเลือกได้ผู้ใด หากขาดคุณสมบัติหรือลักษณะข้อใดข้อหนึ่งตาม มาตรา ๓๓ หรือเป็นบุคคลที่ ก.อ. เห็นว่ามีชื่อเสียงหรือความประพฤติหรือเหตุอื่น ๆ ที่ไม่เหมาะสมจะเป็นข้าราชการอัยการผู้นั้นเป็นอันหมดสิทธิเข้ารับราชการตามผลของการสอบคัดเลือกนั้น หมวด ๓ การพ้นจากตำแหน่ง มาตรา ๓๖ ข้าราชการอัยการพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๓) ได้รับอนุญาตให้ลาออก (๔) โอนไปรับราชการทางอื่น (๕) ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการ ทหาร (๖) ถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๒๖ หรือมาตรา ๓๗ หรือมาตรา ๓๙ (๗) ถูกสั่งลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก การพ้นจากตำแหน่งของข้าราชการอัยการ เว้นแต่ตำแหน่งอัยการผู้ช่วย หาก เป็นกรณีตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ แต่ถ้าเป็นการพ้นจาก ตำแหน่งตาม (๔) (๕) (๖) หรือ (๗) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง พระบรมราชโองการดังกล่าวให้มีผลตั้งแต่วันโอนหรือวันออกจากราชการแล้วแต่กรณี มาตรา ๓๗ ผู้ได้รับบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด หากภายหลังปรากฏต่อ ก.อ. ว่าขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๕ หรือมาตรา ๓๓ ตั้งแต่ก่อนได้รับ การบรรจุ ให้รัฐมนตรีด้วยความเห็นชอบของ ก.อ.สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ แต่ทั้งนี้ไม่กระทบ กระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใด ที่รับจากทางราชการก่อนมีคำสั่งให้ออกนั้น และถ้าการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้วให้ถือว่า เป็นการสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ มาตรา ๓๘ ข้าราชการอัยการผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการให้ยื่นหนังสือ ขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งเพื่อให้รัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณา เมื่อรัฐมนตรีสั่ง อนุญาตแล้วให้ถือว่าพ้นจากตำแหน่ง ในกรณีที่ข้าราชการอัยการขอลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเพื่อ สมัครรับเลือกตั้ง ให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก นอกจากกรณีตามวรรคสอง ถ้ารัฐมนตรีเห็นว่า จำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการ จะยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกินสามเดือนนับแต่วันขอลาออกก็ได้ มาตรา ๓๙ เมื่อรัฐมนตรีเห็นสมควรให้ข้าราชการอัยการผู้ใดออกจากราชการ เพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน เหตุทุพพลภาพ หรือเหตุรับราชการนาน ตามกฎหมายว่าด้วย บำเหน็จบำนาญข้าราชการ ให้ทำได้ด้วยความเห็นชอบของ ก.อ. แต่การให้ออกจากราชการเพื่อรับ บำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน ให้ทำได้เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และได้ ดำเนินการสอบสวนตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในลักษณะ ๔ หมวด ๒ แล้ว ไม่ได้ความเป็นสัตย์ว่า กระทำผิดที่จะต้องถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก แต่ผู้นั้นมีมลทินหรือมัวหมอง จะให้รับ ราชการต่อไป จะเป็นการเสียหายแก่ราชการ (๒) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดบกพร่องต่อหน้าที่ หรือหย่อนความสามารถ ในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่สมควรที่จะให้คงเป็นข้าราชการอัยการต่อไป (๓) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการได้โดย สม่ำเสมอ แต่ไม่ถึงเหตุทุพพลภาพ หรือ (๔) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๓๓ (๒) หรือ (๑๑) หรือเป็นสมาชิกรัฐสภาซึ่งมาจากการเลือกตั้ง หรือเป็นข้าราชการการเมือง เว้นแต่กรณีตาม มาตรา ๒๙ วรรคสาม ลักษณะ ๔ วินัย การรักษาวินัย และการลงโทษ หมวด ๑ วินัย มาตรา ๔๐ ข้าราชการอัยการต้องรักษาวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้โดย เคร่งครัด ผู้ใดฝ่าฝืนจักต้องได้รับโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๓ แห่งลักษณะนี้ มาตรา ๔๑ ข้าราชการอัยการต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย ตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ มาตรา ๔๒ ข้าราชการอัยการจะเป็นกรรมการพรรคการเมือง สมาชิกพรรค การเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมืองไม่ได้ ในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา หรือผู้แทนทางการเมืองอื่นใดข้าราชการอัยการ จะเข้าเป็นตัวกระทำการ ร่วมกระทำการ หรือสนับสนุนในการโฆษณาหรือชักชวนใด ๆ ไม่ได้ มาตรา ๔๓ ข้าราชการอัยการต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งใน หน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย ห้ามมิให้ขัดขืนหลีกเลี่ยง ถ้าไม่เห็นพ้องด้วยคำสั่งนั้นจะเสนอ ความเห็นทัดทานเป็นหนังสือก็ได้ แต่ต้องเสนอโดยด่วน และเมื่อได้ทัดทานดังกล่าวแล้วผู้บังคับ บัญชามิได้สั่งถอนหรือแก้คำสั่งที่สั่งไป ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม แต่ให้ผู้บังคับบัญชารีบ รายงานขึ้นไปยังอธิบดีตามลำดับ ในการปฏิบัติราชการ ห้ามมิให้กระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ จะได้รับอนุญาต มาตรา ๔๔ ข้าราชการอัยการต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความระมัดระวัง มิให้เสียหายแก่ราชการ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม มาตรา ๔๕ ข้าราชการอัยการต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงาน โดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องบอกถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย มาตรา ๔๖ ข้าราชการอัยการต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการจะละทิ้งหรือ ทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้ ข้าราชการอัยการต้องไม่ประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพ หรือกระทำกิจการใดอัน เป็นการกระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ หรือเสื่อมเสียถึงเกียรติศักดิ์แห่งตำแหน่งหน้าที่ ราชการ ข้าราชการอัยการต้องไม่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือที่ปรึกษากฎหมาย หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนบริษัท ข้าราชการอัยการต้องไม่เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐใน ทำนองเดียวกัน เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจาก ก.อ. มาตรา ๔๗ ข้าราชการอัยการต้องไม่กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว เช่น ประพฤติตนเป็นคนเสเพล มีหนี้สินรุงรัง เสพของมึนเมาจนไม่สามารถครองสติได้ เล่นการพนันเป็นอาจิณ กระทำความผิดอาญา หรือกระทำการอื่นใด ซึ่งความประพฤติหรือการกระทำดังกล่าวแล้วอาจทำให้เสียเกียรติศักดิ์แห่งตำแหน่งหน้าที่ราชการ มาตรา ๔๘ ข้าราชการอัยการต้องต้อนรับ ให้ความสะดวก และให้ความ สงเคราะห์ต่อประชาชนผู้มาติดต่อในกิจการอันเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตนโดยไม่ชักช้า ห้ามมิให้ดูหมิ่นเหยียดหยามบุคคลใด ๆ และต้องสุภาพเรียบร้อยต่อประชาชน มาตรา ๔๙ ข้าราชการอัยการต้องถือและปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทาง ราชการ มาตรา ๕๐ ข้าราชการอัยการต้องสุภาพเรียบร้อยและรักษาความสามัคคี ระหว่างข้าราชการและต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหน้าที่ราชการ มาตรา ๕๑ ข้าราชการอัยการต้องรักษาความลับของทางราชการ มาตรา ๕๒ ผู้บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดรู้ว่าผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา กระทำผิดวินัยแล้วไม่จัดการสอบสวนพิจารณาและดำเนินการตามความในหมวด ๒ และหมวด ๓ แห่งลักษณะนี้ หรือตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน แล้วแต่กรณี หรือไม่จัดการ ลงโทษตามอำนาจและหน้าที่หรือจัดการลงโทษโดยไม่สุจริต ให้ถือว่าผู้บังคับบัญชาผู้นั้นกระทำ ผิดวินัย หมวด ๒ การรักษาวินัย มาตรา ๕๓ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่า กระทำผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการสอบสวนชั้นต้นโดยมิชักช้า วิธีการสอบสวนชั้นต้นจะทำโดยให้ผู้มีกรณีเกี่ยวข้องชี้แจ้งเรื่องราวเป็นหนังสือ หรือโดยบันทึกเรื่องราวและความเห็นก็ได้ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สอบสวนชั้นต้นแล้ว เห็นว่า ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำ ผิดวินัยไม่ร้ายแรง ให้ดำเนินการตามมาตรา ๖๓ แต่ถ้าเห็นว่าเป็นกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ดำเนินการตามมาตรา ๕๔ หรือมาตรา ๕๖ แล้วแต่กรณี แต่ถ้าเกินอำนาจของตนให้รายงานไป ยังผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปตามลำดับเพื่อดำเนินการตามควรแก่กรณี มาตรา ๕๔ ข้าราชการอัยการผู้ใดซึ่งผู้บังคับบัญชาเห็นว่ากระทำผิดวินัย อย่างร้ายแรงที่มีโทษถึงไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก ให้ผู้บังคับบัญชาต่อไปนี้แต่งตั้งคณะ กรรมการขึ้นอย่างน้อยสามคน เพื่อทำการสอบสวน คือ (๑) รัฐมนตรี สำหรับข้าราชการอัยการทุกชั้น (๒) อธิบดี สำหรับข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๑ และชั้น ๒ กรรมการตามวรรคหนึ่งต้องเป็นข้าราชการอัยการ ในการสอบสวนนั้น คณะกรรมการสอบสวนต้องแจ้งข้อกล่าวหา และ รายละเอียดเท่าที่มีอยู่ให้ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยทราบ และต้องให้โอกาสแก่ผู้ถูกกล่าวหาว่า กระทำผิดวินัยชี้แจงและนำพยานหลักฐานเข้าสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ด้วย ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวนให้เสร็จโดยเร็วกำหนดอย่างช้า ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันได้รับแต่งตั้ง ถ้ามีความจำเป็น ซึ่งจะสอบสวนไม่ทันภายในกำหนดนั้นก็ ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง แต่ละครั้งเป็นเวลาไม่เกินสิบห้าวัน และต้องแสดงเหตุที่ ต้องขยายเวลาไว้ด้วยทุกครั้ง แต่ถ้าขยายเวลาแล้วยังสอบสวนไม่เสร็จ จะขยายเวลาต่อไปอีกได้ต่อ เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้แต่งตั้ง หลักเกณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวกับการสอบสวนให้เป็นไปตามที่ ก.อ. กำหนด เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้ทำการสอบสวนเสร็จแล้ว ให้รายงานเสนอ ความเห็นต่ออธิบดี โดยให้ผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกกล่าวหาตามลำดับได้แสดงความเห็นเสียก่อน ด้วย ถ้าคณะกรรมการหรือผู้บังคับบัญชาดังกล่าว หรืออธิบดี เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัย ก็ ให้อธิบดีทำความเห็นรายงานไปยัง ก.อ. เมื่อ ก.อ. ได้พิจารณาเห็นสมควรลงโทษ ไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ จึงให้รัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีสั่งไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการต่อไป ในกรณีข้าราชการอัยการถูกฟ้องคดีอาญา จะใช้คำพิพากษาถึงที่สุดของศาล ประกอบการพิจารณาของ ก.อ. โดยไม่ต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนก็ได้ มาตรา ๕๕ ให้กรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพียง เท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของกรรมการสอบสวน และโดยเฉพาะให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วยคือ (๑) เรียกให้กระทรวงทบวงกรม หน่วยราชการ หรือรัฐวิสาหกิจชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐาน ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน (๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำ หรือ ให้ส่งเอกสารและ หลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน มาตรา ๕๖ ข้าราชการอัยการผู้ใด กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และเป็นกรณี ความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่ ก.อ. กำหนด หรือได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับ บัญชาหรือต่อคณะกรรมการสอบสวน รัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรี จะพิจารณาสั่งลงโทษโดยไม่ต้องสอบสวนก็ได้ ทั้งนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบของ ก.อ. ก่อน มาตรา ๕๗ ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือถูกฟ้องคดีอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือ ความผิดลหุโทษ ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่าจะให้อยู่ในหน้าที่ราชการระหว่างสอบสวนหรือพิจารณา จะเป็นการเสียหายแก่ราชการ จะสั่งให้พักราชการก็ได้ ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจสั่งให้พักราชการ คือ (๑) รัฐมนตรี สำหรับข้าราชการอัยการทุกชั้น (๒) อธิบดี สำหรับข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๑ และชั้น ๒ การให้พักราชการนั้น ให้พักตลอดเวลาที่สอบสวนพิจารณา หรือตลอดเวลาที่ คดียังไม่ถึงที่สุดเมื่อสอบสวนพิจารณาเสร็จแล้ว หรือคดีถึงที่สุดแล้ว ถ้าปรากฏว่าผู้ถูกสั่งให้พัก ราชการมิได้กระทำความผิดและไม่มีมลทิน หรือมัวหมอง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจสั่งให้พัก ราชการสั่งให้รับราชการตามเดิม เงินเดือนของผู้ถูกสั่งให้พักราชการดังกล่าว ให้เป็นไปตาม กฎหมายว่าด้วยการนั้น มาตรา ๕๘ ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา หรือถูกฟ้องคดีอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดย ประมาทหรือความผิดลหุโทษ แม้ภายหลังผู้นั้นจะพันจากตำแหน่งข้าราชการอัยการไปแล้ว ก็อาจมี การสอบสวนหรือพิจารณาเพื่อลงโทษ หรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้เป็นไปตามลักษณะนี้ได้ เว้นแต่ ข้าราชการอัยการผู้นั้นจะพ้นจากตำแหน่งเพราะตาย หมวด ๓ การลงโทษ มาตรา ๕๙ โทษผิดวินัยมี ๕ สถาน คือ (๑) ไล่ออก (๒) ปลดออก (๓) ให้ออก (๔) งดบำเหน็จความชอบ (๕) ภาคทัณฑ์ การสั่งลงโทษข้าราชการอัยการในสถานไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกนั้น จะกระทำได้เมื่อได้ดำเนินการสอบสวนพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๒ แห่งลักษณะนี้แล้ว มาตรา ๖๐ การไล่ออกนั้นรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมาย จากรัฐมนตรีจะสั่งลงโทษได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงดังต่อไปนี้ (๑) ทุจริตต่อหน้าที่ราชการ (๒) ทำความผิดอาญาและต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก เว้นแต่ เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๓) ต้องคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายทุจริตตามกฎหมายว่าด้วย ล้มละลาย (๔) เปิดเผยความลับของทางราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการ อย่างร้ายแรง (๕) ละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นเหตุให้เสียหายแก่ ราชการอย่างร้ายแรง หรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดย ไม่มีเหตุผลอันสมควร (๖) ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย และการขัดคำสั่งนั้น อาจเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๗) ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการหรือปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือระเบียบของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๘) ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง มาตรา ๖๑ การปลดออกนั้น รัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมาย จากรัฐมนตรีจะสั่งลงโทษได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่ยังไม่ถึง ขนาดที่จะต้องถูกไล่ออกจากราชการ หรือถึงขนาดที่จะต้องไล่ออก แต่มีเหตุอันควรลดหย่อน มาตรา ๖๒ การให้ออกนั้น รัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมาย จากรัฐมนตรีจะสั่งลงโทษได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่ยังไม่ถึง ขนาดที่จะต้องถูกปลดออก หรือถึงขนาดที่จะต้องถูกปลดออก แต่มีเหตุอันควรลดหย่อน ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรานี้ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ เสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ มาตรา ๖๓ ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง และผู้บังคับบัญชา สอบสวนพิจารณาแล้วเห็นว่าสมควรลงโทษเพียงสถานงดบำเหน็จความชอบเป็นเวลาไม่เกินสามปี หรือถ้ามีเหตุสมควรปรานี จะลงโทษเพียงภาคทัณฑ์โดยจะให้ทำทัณฑ์บนไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้ ก็ให้ผู้ บังคับบัญชารายงานตามลำดับถึงอธิบดีเพื่อเสนอ ก.อ. เมื่อ ก.อ. พิจารณาเห็นสมควรลงโทษสถาน ใด ก็ให้รายงานไปยังรัฐมนตรีเพื่อสั่ง มาตรา ๖๔ ในคำสั่งลงโทษ ให้แสดงว่าผู้รับโทษนั้นกระทำผิดวินัยในกรณีใด ตามมาตราใด มาตรา ๖๕ ถ้าปรากฏว่าคำสั่งลงโทษทางวินัยได้สั่งไปโดยผิดหลงให้รัฐมนตรีมี อำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นคุณแก่ผู้ถูกลงโทษได้ แต่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช่นว่านี้ จะต้องได้ รับอนุมัติจาก ก.อ. ก่อน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ให้กระทำได้ภายในกำหนด สองปีนับแต่วันสั่งลงโทษ ลักษณะ ๕ ข้าราชการธุรการ มาตรา ๖๖ ในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการธุรการ ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนสามัญ มาใช้บังคับ ตำแหน่งข้าราชการอัยการใดเป็นตำแหน่งผู้บังคับบัญชาข้าราชการธุรการ โดยเทียบกับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งใด ให้กำหนดโดยกฎ ก.พ. บทเฉพาะกาล มาตรา ๖๗ ให้กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งอยู่ในตำแหน่งในวันที่พระราช บัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาคงอยู่ในตำแหน่งต่อไป จนกว่าจะได้มีการเลือกกรรมการ อัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัตินี้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ ใช้บังคับ มาตรา ๖๘ ผู้ใดเป็นข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้นั้นเป็น ข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไป โดยให้ได้รับเงินเดือนในอัตราเท่ากับเงินเดือนที่ได้รับ อยู่ เว้นแต่ผู้ที่ได้รับเงินเดือนไม่ถึงขั้นต่ำของชั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้ ผู้นั้นได้รับเงินเดือนขั้นต่ำของชั้นนั้น มาตรา ๖๙ ผู้ใดเป็นข้าราชการธุรการสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้ นั้นเป็นข้าราชการธุรการตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไป มาตรา ๗๐ ผู้ใดเป็นข้าราชการธุรการวิสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้ นั้นเป็นข้าราชการธุรการวิสามัญต่อไป และให้นำมาตรา ๑๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๗๑ ข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยในขณะที่พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ใช้บังคับ และผู้บังคับบัญชาได้สั่งให้ดำเนินการสอบ สวนแล้ว ถ้าการสั่งและการสอบสวนพิจารณาที่ได้กระทำไปแล้วถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ใน ขณะนั้น ให้ถือว่าเป็นอันสมบูรณ์ ถ้ากรณียังค้างระหว่างการสอบสวน ก็ให้ดำเนินการสอบสวนตาม กฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะเสร็จ แต่การพิจารณาและการสั่งลงโทษให้ดำเนินการตามพระราช บัญญัตินี้ มาตรา ๗๒ ผู้ที่ได้ยื่นใบสมัครเข้าเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการ ผู้ช่วยไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงถือคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ผู้ที่ ก.อ. ได้ลงมติให้รับเข้าเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ตาม มาตรา ๑๔ และผู้สอบคัดเลือกได้ตามมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่าย อัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงมีสิทธิได้รับบรรจุเป็นข้าราชการ อัยการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยต่อไป มาตรา ๗๓ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ ที่จะได้ประกาศใช้ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๒๐ มิให้นำความใน มาตรา ๓๙ (๔) ในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการการเมืองมาใช้บังคับแก่ข้าราชการอัยการ มาตรา ๗๔ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาบรรจุบุคคลซึ่งเคยรับราชการ และออกจากราชการไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เข้ารับราชการ ให้ปรับเงินเดือนที่ผู้นั้น ได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้เข้าชั้น และขั้นตามบัญชีที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่กลับเข้ารับราชการ ในกรณีที่ผู้เข้ารับราชการเป็นผู้ซึ่งออกจากราชการก่อนมีการปรับอัตราเงินเดือน ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๗ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๐ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๖๐ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ หรือพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๑๗ ให้ปรับเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการ ตามพระราชบัญญัติและ ประกาศนั้น ๆ เสียก่อน แล้วจึงปรับเงินเดือนตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่มีการปรับเงินเดือนของผู้ที่กลับเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งและ วรรคสองแล้วยังปรากฏว่าผู้เข้ารับราชการได้รับเงินเดือนไม่ถึงขั้นต่ำของชั้นตามบัญชีอัตรา เงินเดือนข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้ ก.อ. เป็นผู้พิจารณาว่าผู้นั้นสมควรได้รับการ บรรจุในชั้นหรือขั้นใด ทั้งนี้ ก.อ. จะกำหนดให้ได้รับเงินเดือนในชั้นที่ต่ำกว่าขั้นต่ำของชั้นเป็นกรณี เฉพาะรายก็ได้ มาตรา ๗๕ ข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญ หรือ ข้าราชการซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือพนักงานเทศบาลที่ไม่ใช่พนักงาน เทศบาลวิสามัญซึ่งสอบคัดเลือก หรือทดสอบความรู้เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการอัยการใน ตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ และ เจ้าสังกัดได้ทำความตกลงกับกรมอัยการให้โอนมาบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการ ผู้ช่วยก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้นับเวลาราชการหรือเวลาทำงานของตนในขณะที่เป็น ข้าราชการ หรือพนักงานเทศบาลเป็นเวลาราชการของข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย มาตรา ๗๖ ในระหว่างที่ยังมิได้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ กฎหมายว่าด้วยเงินเดือนของข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการ และกฎหมายว่าด้วยบัตร ประจำตัวข้าราชการ พนักงานเทศบาล พนักงานสุขาภิบาล และพนักงานองค์การของรัฐเพื่อให้มีผล บังคับรวมถึงข้าราชการฝ่ายอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าข้าราชการฝ่ายอัยการเป็น ข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กฎหมายว่าด้วยเงินเดือนของ ข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการและกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวข้าราชการ พนักงานเทศบาล พนักงานสุขาภิบาล และพนักงานองค์การของรัฐอยู่ต่อไป มาตรา ๗๗ ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกา ออกกฎกระทรวง กฎ ก.พ. ข้อกำหนด ข้อบังคับ ระเบียบ หรือประกาศ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง กฎ ก.พ. ข้อกำหนด ข้อบังคับ ระเบียบหรือประกาศที่ใช้อยู่ในวันที่ พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษามาใช้บังคับโดยอนุโลมเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับ บทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรี บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ* [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] *[บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ได้ใช้บังคับมานานแล้ว แม้จะได้ปรับปรุงแก้ไขมาหลายครั้ง ก็ยังมีบทบัญญัติหลายมาตราไม่เหมาะสมกับกาลสมัย และเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการบริหารงานบุคคลในปัจจุบัน สมควรจะได้ปรับปรุงแก้ไขเสียใหม่ อันจะทำให้ราชการของกรมอัยการดำเนินไปได้ผลดียิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๕ การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้เข้าชั้นและขั้นตามบัญชี อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๑ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรี กำหนด แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่ต่ำกว่าชั้นและขั้นที่ข้าราชการอัยการผู้นั้นดำรงอยู่และได้รับอยู่เดิม มาตรา ๖ เพื่อประโยชน์ในการบรรจุบุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการอัยการและ ออกจากราชการไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับกลับเข้ารับราชการ ให้ปรับอัตราเงินเดือนที่ ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้ตรงกับชั้นและขั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ที่ใช้อยู่ในขณะกลับเข้ารับราชการ และให้นำมาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือน ข้าราชการอัยการที่ปรับปรุงใหม่ไม่ได้ส่วนสัมพันธ์กับอัตราเงินเดือนของข้าราชการประเภทอื่น ๆ ที่ได้รับการปรับปรุงแล้ว สมควรแก้ไขอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้อง ตราพระราชบัญญัตินี้ [รก.๒๕๒๑/๑๐๓/๓๘พ/๒๗ กันยายน ๒๕๒๑] พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ มาตรา ๕ ตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ข้าราชการอัยการได้รับ เงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ โดยให้ปรับ อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ได้รับตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ ให้เข้าชั้นและขั้นตาม บัญชีอัตราเงินเดือนดังกล่าว ตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการท้าย พระราชบัญญัตินี้ เมื่อได้ปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามวรรคหนึ่งแล้วข้าราชการ อัยการผู้ใดได้รับเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำของชั้น เมื่อจะพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนในปีงบประมาณ ต่อไป ให้ปรับให้ข้าราชการอัยการผู้นั้นได้รับเงินเดือนสูงขึ้น ๑ ขั้น ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ของปี งบประมาณนั้นแล้วจึงพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีตามปกติ มาตรา ๖ เพื่อประโยชน์ในการบรรจุบุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการอัยการ และ ออกจากราชการไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ กลับเข้ารับราชการ ให้ปรับอัตราเงินเดือนที่ ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้ตรงกับชั้นและขั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ที่ใช้อยู่ในขณะกลับเข้ารับราชการ และให้นำมาตรา ๗๔ วรรคสอง และ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และมาตรา ๖ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราช บัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือน ข้าราชการอัยการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่ได้ส่วนสัมพันธ์กับอัตราเงินเดือนของข้าราชการประเภทอื่น สมควรแก้ไขอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ [รก.๒๕๒๔/๑๗๕/๑พ/๒๒ ตุลาคม ๒๕๒๔] พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑ มาตรา ๕ การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้เข้าชั้นและขั้นเงินเดือน ตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ก. บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ข. บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ค. หรือ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ง. ท้ายพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการ อัยการและตามระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกำหนด เมื่อปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามวรรคหนึ่งแล้ว เฉพาะข้าราชการ อัยการผู้ได้รับเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำหรือสูงกว่าขั้นสูงของชั้น ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นตามที่กำหนดไว้ในบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ ข้าราชการอัยการซึ่งได้เลื่อนตำแหน่งนับแต่วันปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการ อัยการตามวรรคหนึ่ง ถ้าได้รับเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำของชั้นที่ได้เลื่อนตามบัญชีกำหนดการปรับ อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำของบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือน ข้าราชการอัยการ แต่ถ้าได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของชั้นที่ได้เลื่อนตามบัญชีกำหนดการปรับ อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการก็ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นที่ได้รับอยู่ ผู้ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยนับแต่วันปรับอัตรา เงินเดือนข้าราชการอัยการตามวรรคหนึ่ง ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำตามบัญชีกำหนดการปรับอัตรา เงินเดือนข้าราชการอัยการ การรับเงินเดือนในขั้นต่อ ๆ ไปของข้าราชการอัยการตามวรรคสองวรรคสาม และวรรคสี่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๖ การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามมาตรา ๕ ให้มีผลเป็น การปรับขั้นเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ได้รับอยู่ตามไปด้วย มาตรา ๗ เพื่อประโยชน์ในการบรรจุบุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการอัยการตาม พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และออกจากราชการไปก่อนวันที่บัญชี อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับกลับเข้ารับราชการ ให้ปรับ อัตราเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้เข้าชั้นและขั้นเงินเดือนตามบัญชีกำหนดการ ปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา ๕ และให้นำมาตรา ๗๔ วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และ มาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ มาใช้บังคับ โดยอนุโลมด้วย มาตรา ๘ ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือน ข้าราชการอัยการ บัญชี ก. ตามมาตรา ๖ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่าย อัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ให้นำบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการ อัยการ หมายเลข ๓ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่ม เติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ มาใช้บังคับ ไปพลางก่อน มาตรา ๙ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือน ข้าราชการอัยการในบัญชีอัตราเงินเดือนท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้ใช้มาเป็นเวลานานไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพ ในปัจจุบัน จำเป็นต้องกำหนดจำนวนขั้นเงินเดือน อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการแต่ละชั้น และ ปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการเสียใหม่ รวมทั้งให้มีการให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือน แต่ละบัญชีได้ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตรา พระราชบัญญัตินี้ [รก.๒๕๓๑/๑๘๐/๕๐พ/๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๑] ดวงใจ/แก้ไข ๐๕/๐๓/๔๕
511222
ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 35 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521
ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓๕ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ โดยที่เป็นการสมควรปรับระบบการบริหารงานยุติธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับงานของอัยการให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ และแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องบางประการในทางปฏิบัติ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๘ ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการอัยการตามมาตรา ๑๕ ว่างลง และมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการโดยรีบด่วน ก็ให้กรรมการอัยการที่เหลืออยู่ดำเนินการไปได้ แต่ต้องมีกรรมการอัยการพอที่จะเป็นองค์ประชุม” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๗ การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งนอกจากตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ให้ประธาน ก.อ. เสนอ ก.อ. โดยคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ ความรับผิดชอบ ประวัติการปฏิบัติราชการของบุคคลนั้น เทียบกับงานในตำแหน่งข้าราชการอัยการที่จะได้รับแต่งตั้งนั้นๆ เพื่อให้ความเห็นชอบก่อน แต่ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิกรรมการอัยการคนหนึ่งคนใดที่จะเสนอ เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว จึงนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง” ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป[๑] ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นันทนา/ผู้จัดทำ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๐๖ ก/หน้า ๒/๔ ตุลาคม ๒๕๔๙
315395
ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 49 เรื่อง การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ
ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่อง การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ โดยที่ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๗ จัดตั้ง สำนักงานอัยการสูงสุดขึ้นเป็นส่วนราชการภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี โดยให้โอน บรรดาอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกรมอัยการ กระทรวงมหาดไทยไปเป็นของสำนักงาน อัยการสูงสุด ในการนี้จำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ให้สอดคล้องกัน หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “ข้าราชการฝ่ายอัยการ” หมายความว่า ข้าราชการซึ่งรับราชการในสำนักงาน อัยการสูงสุดโดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนในสำนักงานอัยการสูงสุด “ก.อ.” หมายความว่า คณะกรรมการอัยการ” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๐ ข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการการเมืองข้าราชการวิสามัญ หรือ ข้าราชการซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือพนักงานเทศบาลที่ไม่ใช่พนักงาน เทศบาลวิสามัญ ซึ่งสอบคัดเลือก หรือทดสอบความรู้เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการอัยการใน ตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ตามพระราชบัญญัตินี้ หากประสงค์จะโอนมาบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ ในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเพื่อนับเวลาราชการหรือเวลาทำงานของตนในขณะที่เป็นข้าราชการ หรือ พนักงานเทศบาลเป็นเวลาราชการของข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย ก็ให้กระทำ ได้โดยสำนักงานอัยการสูงสุดทำความตกลงกับเจ้าสังกัด” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๔ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ มีอำนาจกำหนดค่าธรรมเนียมการสอบเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และออกกฎกระทรวงเพื่อ ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๕ ให้มีคณะกรรมการอัยการคณะหนึ่งเรียกโดยย่อว่า ก.อ. ประกอบ ด้วย (๑) ประธานกรรมการ ซึ่งเลือกตั้งจากผู้รับบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จ บำนาญข้าราชการซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการมาแล้วในตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอธิบดี กรมอัยการหรืออัยการสูงสุด หรือผู้ทรงคุณวุฒิในทางกฎหมาย ซึ่งเป็นผู้รับบำนาญตามกฎหมาย ว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการและเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้น ไป ทั้งนี้ ต้องไม่เคยเป็นสมาชิกหรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมืองในระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมาและไม่เป็น ข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภาหรือทนายความ (๒) อัยการสูงสุดเป็นรองประธาน (๓) รองอัยการสูงสุด อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดี และอัยการ พิเศษฝ่ายวิชาการ เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่ง และ (๔) กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิหกคนซึ่งข้าราชการอัยการที่ได้รับเงินเดือน ตั้งแต่ชั้น ๒ ขึ้นไปเป็นผู้เลือกจาก (ก) ข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนตั้งแต่ชั้น ๔ ขึ้นไป และมิได้เป็น กรรมการอัยการโดยตำแหน่งอยู่แล้วสามคน (ข) ผู้รับบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการซึ่งเคยรับ ราชการเป็นข้าราชการอัยการมาแล้ว และต้องไม่เป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภา กรรมการ พรรคการเมืองเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง หรือทนายความ สามคน ให้ ก.อ. แต่งตั้งข้าราชการฝ่ายอัยการคนหนึ่งเป็นเลขานุการ ก.อ.” ข้อ ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๕ ทวิ และมาตรา ๑๕ ตรี แห่งพระราช บัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ “มาตรา ๑๕ ทวิ ในการเลือกประธาน ก.อ. ตามมาตรา ๑๕ (๑) ให้กรรมการ อัยการตามมาตรา ๑๕ (๒) (๓) และ (๔) ประชุมกันกำหนดรายชื่อบุคคลที่เห็นสมควรเป็นประธานไม่น้อยกว่าห้าชื่อส่งให้ข้าราชการอัยการผู้มีสิทธิเลือกตามมาตรา ๑๕ (๔) ทำการเลือกจากรายชื่อดังกล่าว เมื่อผลการเลือกเป็นประการใด ให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรง พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง มาตรา ๑๕ ตรี ประธาน ก.อ. อยู่ในตำแหน่งคราวละสามปีนับแต่วันที่ทรง พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง และอาจได้รับเลือกเพื่อโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งอีกได้ไม่เกินสองคราว ติดต่อกัน นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้ประธาน ก.อ. พ้นจากตำแหน่งเมื่อ ตาย ลาออก หรือขาดคุณสมบัติมาตรา ๑๕ (๑) ในกรณีที่ประธาน ก.อ. พ้นจากตำแหน่งตามวาระ หรือพ้นจากตำแหน่ง ด้วยเหตุอื่น ให้ดำเนินการเลือกให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง ในระหว่างที่ประธาน ก.อ. พ้นจากตำแหน่ง ให้รองประธาน ก.อ. ทำหน้าที่ ประธาน ก.อ.” ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ข้อ ๗ ให้แก้ไขคำว่า “รัฐมนตรี หรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมาย จากรัฐมนตรี หรือคำว่า “รัฐมนตรี” ในมาตรา ๑๖ มาตรา ๑๗ มาตรา ๒๕ มาตรา ๒๖ มาตรา ๓๘ และมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็น นายก รัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี” และแก้ไขคำว่า “รัฐมนตรี หรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรี” หรือคำว่า “รัฐมนตรี” ในมาตรา ๒๗ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๖ มาตรา ๕๗ มาตรา ๖๐ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็น “ประธาน ก.อ.” ข้อ ๘ ให้แก้ไขคำว่า “อธิบดี” และ “รองอธิบดี” ในพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็น “อัยการสูงสุด” และ “รองอัยการสูงสุด” ตามลำดับ ข้อ ๙ ให้นายกรัฐมนตรีสั่งให้มีการเลือกประธานกรรมการอัยการภายในเก้าสิบ วันนับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ และในระหว่างที่ยังมิได้เลือกประธานกรรมการอัยการ ให้รองประธานกรรมการอัยการทำหน้าที่ประธานกรรมการอัยการ ข้อ ๑๐ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ให้กรรมการข้าราชการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันที่ ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะครบวาระ ข้อ ๑๑ ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามประกาศคณะรักษาความสงบ เรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ ข้อ ๑๒* ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป *[รก.๒๕๓๔/๓๗/๕๕พ/๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔] ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ภคินี/แก้ไข ๑/๒/๒๕๔๕ A+B
304143
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2538
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นปีที่ ๕๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำ และยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๘” มาตรา ๒* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นต้นไป *[รก.๒๕๓๘/๑ก/๔๔/๑ มกราคม ๒๕๓๘] มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๖ อัตราเงินเดือน อัตราเงินประจำตำแหน่งและการรับเงินประจำ ตำแหน่งของข้าราชการฝ่ายอัยการ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง สำหรับข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เมื่อเทียบกับ ตำแหน่งใดก็ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการตามตำแหน่งนั้น อัตราเงินเดือน อัตราเงินประจำตำแหน่งและการรับเงินประจำตำแหน่งของ ข้าราชการธุรการ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งที่กำหนดไว้ สำหรับข้าราชการพลเรือน” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่าย อัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่าย อัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๓ ตำแหน่งข้าราชการอัยการมีดังนี้ อัยการสูงสุด รองอัยการสูงสุด อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ อัยการพิเศษฝ่าย อัยการ พิเศษประจำเขต อัยการพิเศษประจำกรม อัยการจังหวัดประจำกรม อัยการจังหวัด อัยการประจำ กรม รองอัยการจังหวัด อัยการประจำกอง อัยการจังหวัดผู้ช่วย และอัยการผู้ช่วย นอกจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง อาจให้มีตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่อ อย่างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงได้ ตำแหน่งดังกล่าวจะเทียบกับตำแหน่งใดตามวรรคหนึ่งให้กำหนดไว้ในกฎกระทรวง การกำหนดตำแหน่งและการเทียบตำแหน่งตามวรรคสองต้องได้รับความเห็น ชอบของ ก.อ.” มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่าย อัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๓) อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ อัยการพิเศษฝ่าย และอัยการพิเศษประจำเขต ให้ได้รับเงินเดือนชั้น ๖” มาตรา ๗ ให้ยกเลิกมาตรา ๒๔ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๘ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการและบัญชีอัตราเงิน ประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีการแยกบัญชีอัตรา เงินเดือนและบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการอัยการไปบัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วย เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะแล้ว สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ภคินี/แก้ไข ๑/๒/๒๕๔๕ A+B
785735
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๒ ข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสไม่มีสิทธิได้รับเลือกเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.อ.” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความใน (๔) ของวรรคหนึ่งของมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๔) เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่ง ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส หรือพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการ ในกรณีที่เป็นกรรมการอัยการตามมาตรา ๑๘ (๓) (ก)” มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๓๙ ข้าราชการอัยการซึ่งมีอายุครบหกสิบปีขึ้นไปในปีงบประมาณใดอาจขอไปดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสได้ หากเป็นผู้ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่มาแล้วไม่น้อยกว่ายี่สิบปีในปีงบประมาณก่อนปีงบประมาณที่จะขอไปดำรงตำแหน่ง โดยให้แจ้งเป็นหนังสือต่ออัยการสูงสุดไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันก่อนเริ่มปีงบประมาณที่จะดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส ข้าราชการอัยการซึ่งมีอายุครบหกสิบห้าปีในปีงบประมาณใด ให้พ้นจากตำแหน่งที่ดำรงอยู่เมื่อสิ้นปีงบประมาณนั้น และให้ไปดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสจนกว่าจะพ้นจากราชการตามมาตรา ๕๖” มาตรา ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ “มาตรา ๓๙/๑ ข้าราชการอัยการซึ่งจะมีอายุครบหกสิบห้าปีในปีงบประมาณใด ให้ ก.อ. จัดให้มีการประเมินสมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการอัยการในปีงบประมาณนั้น แล้วเสนอผลการประเมินให้ ก.อ. พิจารณาประกอบการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่อไป หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินสมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบ ที่ ก.อ. กำหนด” มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสจะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหรือรักษาการในตำแหน่งตามมาตรา ๓๒ อีกไม่ได้ รวมทั้งไม่อาจเป็นผู้รักษาราชการแทนหรือปฏิบัติราชการแทน” มาตรา ๘ ให้ยกเลิกมาตรา ๑๐๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๙ ข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสผู้ใดเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะครบกำหนดวาระ มาตรา ๑๐ มิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ มาใช้บังคับแก่ข้าราชการอัยการที่ดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสหรือผ่านการประเมินสมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๑ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้ข้าราชการอัยการซึ่งมีอายุครบหกสิบห้าปีไปดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสเพื่อทำหน้าที่ในทางวิชาชีพพนักงานอัยการโดยไม่ดำรงตำแหน่งด้านบริหารจนกว่าจะพ้นจากราชการ นอกจากนั้น สมควรปรับปรุงบทบาทและอำนาจหน้าที่ของอัยการอาวุโสให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๐ วิชพงษ์/ตรวจ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๙๓ ก/หน้า ๓๒/๑๓ กันยายน ๒๕๖๐
819998
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2561
พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นปีที่ ๓ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ มาตรา ๒๐ และมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๘ ให้มีคณะกรรมการอัยการคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.อ.” ประกอบด้วย (๑) ประธาน ก.อ. ซึ่งข้าราชการอัยการเว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเป็นผู้เลือกจากผู้รับบำเหน็จหรือบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการมาแล้วในตำแหน่งไม่ต่ากว่าอธิบดีอัยการหรืออธิบดีอัยการภาคหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่า ทั้งนี้ ต้องไม่เคยเป็นสมาชิกหรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมืองในระยะสิบปีก่อนได้รับเลือก (๒) อัยการสูงสุดเป็นรองประธาน ก.อ. (๓) รองอัยการสูงสุดตามลำดับอาวุโสจำนวนห้าคนเป็นกรรมการอัยการ (๔) กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนหกคน ซึ่งข้าราชการอัยการเว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเป็นผู้เลือกจาก (ก) ข้าราชการอัยการชั้น ๕ ขึ้นไป ซึ่งมิได้เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่งอยู่แล้วจำนวนสี่คน (ข) ผู้รับบำเหน็จหรือบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการมาแล้วจำนวนสองคน (๕) กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสองคน ซึ่งข้าราชการอัยการเว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเป็นผู้เลือกจากผู้ซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการอัยการมาก่อน และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการงบประมาณ ด้านการพัฒนาองค์กร หรือด้านการบริหารจัดการ ให้อธิบดีอัยการ สำนักงานคณะกรรมการอัยการ เป็นเลขานุการ ก.อ. มาตรา ๑๙ ประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) (ข) และ (๕) ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ ก. คุณสมบัติทั่วไป (๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปี (๓) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ข. ลักษณะต้องห้าม (๑) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ ข. (๑) (๒) (๓) (๔) หรือ (๕) (๒) เป็นสมาชิกรัฐสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่นกรรมการพรรคการเมือง สมาชิกพรรคการเมือง หรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นของพรรคการเมือง (๓) เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง กรรมการการเลือกตั้งกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือกรรมการในคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองหรือศาลอื่น (๔) เป็นข้าราชการอัยการ ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม ตุลาการศาลทหาร หรือทนายความ (๕) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ (๖) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ (๗) ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอื่นใดอันเป็นการกระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ (๘) เคยเป็นประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ เว้นแต่เป็นกรณีตามมาตรา ๒๓ วรรคสาม ซึ่งไม่ให้นับเป็นวาระการดำรงตำแหน่ง มาตรา ๒๐ ในการเลือกประธาน ก.อ. ให้ ก.อ. ประชุมพิจารณาจัดทาบัญชีรายชื่อบุคคลที่มาสมัครหรือที่ ก.อ. เห็นสมควรเป็นประธาน ก.อ. ไม่น้อยกว่าห้ารายชื่อ เพื่อให้ข้าราชการอัยการเว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเป็นผู้เลือกจากรายชื่อดังกล่าว การเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๕) ให้ ก.อ. ประชุมพิจารณาจัดทำบัญชีรายชื่อบุคคลที่มาสมัครหรือที่ ก.อ. เห็นสมควรเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่น้อยกว่าสามเท่าของกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๕) เพื่อให้ข้าราชการอัยการเว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเป็นผู้เลือกจากรายชื่อดังกล่าว มาตรา ๒๑ ให้อัยการสูงสุดดำเนินการให้มีการเลือกประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิภายในหกสิบวันก่อนวันครบกำหนดวาระหรือภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุต้องเลือกและการออกเสียงลงคะแนนต้องกระทำโดยวิธีลับ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด เมื่อผลการเลือกประธาน ก.อ. ตามที่อัยการสูงสุดประกาศรายชื่อเป็นประการใด ให้นาความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง กรณีอัยการสูงสุดประกาศรายชื่อกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ให้ประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกในราชกิจจานุเบกษา ในกรณีที่มีการฟ้องคดีเกี่ยวกับการเลือกประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิต่อศาลการฟ้องคดีดังกล่าวไม่เป็นเหตุให้ระงับหรือชะลอการดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการเลือกที่ได้ดำเนินการไปแล้ว เว้นแต่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น ในการนี้ หากศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งใด ๆ อันเป็นผลให้บุคคลที่ได้รับการเลือกขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม หรือได้รับการเลือกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีเช่นว่านี้ ไม่มีผลกระทบต่อการที่บุคคลนั้นได้กระทาไว้แล้วก่อนมีคาพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าว ในการเลือกประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ห้ามผู้ใดกระทำการใด ๆ อันมีลักษณะเป็นการหาเสียงเพื่อให้ข้าราชการอัยการลงคะแนนหรืองดเว้นลงคะแนน ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๓ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๓ ประธาน ก.อ. มีวาระการดำรงตำแหน่งสองปีนับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งสองปีนับแต่วันที่อัยการสูงสุดประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว ถ้าตำแหน่งประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่งว่างลงก่อนครบวาระให้อัยการสูงสุดสั่งให้ดำเนินการเลือก เว้นแต่วาระการอยู่ในตำแหน่งของประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิจะเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน จะไม่ดำเนินการเลือกก็ได้ ประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกตามวรรคสอง อยู่ในตำแหน่งได้เพียงวาระของผู้ซึ่งตนแทน และหากมีวาระเหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งปีนับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งหรือวันที่อัยการสูงสุดประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือก แล้วแต่กรณี ไม่ให้นับเป็นวาระการดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๒๔ ในกรณีที่ประธาน ก.อ. พ้นจากตำแหน่งไม่ว่าด้วยเหตุใด เว้นแต่กรณีครบกำหนดวาระตามวรรคสาม ให้รองประธาน ก.อ. ทำหน้าที่ประธาน ก.อ. ในกรณีที่ประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนครบกำหนดวาระและยังไม่มีกรรมการอัยการแทนตำแหน่งที่ว่างลง ให้ ก.อ. ประกอบด้วยกรรมการอัยการเท่าที่เหลืออยู่และให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ แต่ถ้าเหลือเพียงกรรมการอัยการโดยตำแหน่ง ให้กรรมการอัยการโดยตำแหน่งเป็นองค์ประชุมและให้กระทำได้แต่เฉพาะเท่าที่จำเป็นไปพลางก่อน ในกรณีที่ประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิครบกำหนดวาระ ให้ประธาน ก.อ.หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่เท่าที่จำเป็นไปพลางก่อนจนกว่าประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกใหม่เข้ารับหน้าที่” มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๕ ประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ พ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ครบกำหนดวาระ (๒) ตาย (๓) ลาออก (๔) เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่ง ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส หรือพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการ ในกรณีที่เป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) (ก) (๕) กลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการอัยการ ในกรณีที่เป็นประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) (ข) (๖) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๘ (๑) หรือมาตรา ๑๙ ในกรณีที่เป็นประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) (ข) หรือ (๕) (๗) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ ข. ในกรณีที่เป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) (ก) (๘) ถูกถอดถอนจากตำแหน่งตามมาตรา ๒๕/๑ ในกรณีที่เป็นประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) หรือ (๕) ในกรณีเป็นที่สงสัยว่าประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิผู้ใดพ้นจากตำแหน่งประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิหรือไม่ ให้ ก.อ. มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาด” มาตรา ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒๕/๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ “มาตรา ๒๕/๑ ประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) หรือ (๕) ผู้ใดมีพฤติการณ์ไม่เหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับคุณธรรม และจริยธรรม หรือกระทำการฝ่าฝืนมาตรา ๒๑ วรรคห้า ข้าราชการอัยการไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจานวนข้าราชการอัยการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ในขณะนั้น เว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเข้าชื่อขอให้ถอดถอนประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) หรือ (๕)ผู้นั้นออกจากตำแหน่งได้ เมื่อมีการเข้าชื่อถอดถอนตามวรรคหนึ่ง ให้อัยการสูงสุดจัดให้มีการลงมติภายในสามสิบวันและในระหว่างนี้ประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิผู้นั้นจะทำหน้าที่ประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิมิได้ มติที่ให้ถอดถอนผู้ใดออกจากตำแหน่ง ให้ถือเอาคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของข้าราชการอัยการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ในขณะนั้น เว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย และการออกเสียงลงคะแนนต้องกระทำโดยวิธีลับ ผู้ใดถูกถอดถอนจากตำแหน่ง ให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่มีมติให้ถอดถอนตามวรรคสาม มติของข้าราชการอัยการตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด และจะมีการขอให้ถอดถอนบุคคลดังกล่าวโดยเหตุเดียวกันอีกไม่ได้ การเข้าชื่อ การลงมติ และการถอดถอน ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด” มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในวรรคสี่ของมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ในกรณีที่การประชุมของ ก.อ. เป็นการพิจารณาดำเนินการตามมาตรา ๕๙ วรรคสองหรือมาตรา ๘๒ กับผู้ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุดหรือรองอัยการสูงสุด ซึ่งเป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่งตามมาตรา ๑๘ (๒) หรือ (๓) ด้วย ห้ามมิให้อัยการสูงสุดหรือรองอัยการสูงสุดผู้นั้นเข้าร่วมพิจารณาเรื่องดังกล่าว และให้ถือว่า ก.อ. ประกอบไปด้วยกรรมการอัยการเท่าที่เหลืออยู่” มาตรา ๘ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคห้าของมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ “ในกรณีที่การประชุมของ ก.อ. เป็นการพิจารณาดำเนินการตามมาตรา ๕๙ วรรคหนึ่ง หรือการดำเนินการทางวินัยและการสั่งลงโทษทางวินัยกับอธิบดีอัยการ สำนักงานคณะกรรมการอัยการซึ่งเป็นเลขานุการ ก.อ. ตามมาตรา ๑๘ วรรคสอง หรือเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) (ก) ห้ามมิให้อธิบดีอัยการ สำนักงานคณะกรรมการอัยการเข้าร่วมพิจารณาเรื่องดังกล่าว และให้ถือว่า ก.อ. ประกอบไปด้วยกรรมการอัยการเท่าที่เหลืออยู่” มาตรา ๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๖๒/๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ “มาตรา ๖๒/๑ ข้าราชการอัยการต้องไม่กระทำการใด ๆ อันมีลักษณะเป็นการหาเสียงตามมาตรา ๒๑ วรรคห้า” มาตรา ๑๐ ให้ยกเลิกความใน (๕) และ (๖) ของมาตรา ๖๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๕) ไม่เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจหรือกิจการอื่นของรัฐในทำนองเดียวกัน (๖) ไม่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ ที่ปรึกษากฎหมาย หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทหรือกิจการอื่นใดที่มีลักษณะทำนองเดียวกับห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่มีวัตถุประสงค์มุ่งหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นที่ปรึกษาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดในลักษณะเดียวกัน” มาตรา ๑๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๐๒/๑ ของหมวด ๔ วินัย การรักษาวินัยการดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ ของลักษณะ ๕ ข้าราชการธุรการ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ “มาตรา ๑๐๒/๑ ข้าราชการธุรการผู้ใดฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา ๒๑ วรรคห้า ผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัย” มาตรา ๑๒ ให้คณะกรรมการอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) และ (๕) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ต้องดำเนินการเลือกภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการอัยการตามวรรคหนึ่งว่างลง และมีกรรมการอัยการเหลืออยู่ไม่พอที่จะเป็นองค์ประชุม แต่มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน ให้กรรมการอัยการที่เหลืออยู่ดำเนินการตามอำนาจและหน้าที่ต่อไปได้ มาตรา ๑๓ มิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๙ ข. (๘) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ มาใช้บังคับแก่ผู้เคยเป็นประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ อยู่ก่อนในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เมื่อมีการเลือกประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิครั้งแรกภายหลังวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๑๒ ที่ประสงค์จะสมัครรับเลือกเป็นประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ต้องลาออกจากตำแหน่งกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๔ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๒๔๘ วรรคสามของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้กำหนดหลักการในเรื่ององค์ประกอบของคณะกรรมการอัยการและการได้มาซึ่งกรรมการอัยการ นอกจากนี้ มาตรา ๒๔๘ วรรคสี่ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดให้ต้องมีมาตรการป้องกันมิให้พนักงานอัยการกระทำการหรือดำรงตำแหน่งใดอันอาจมีผลให้การสั่งคดีหรือการปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นไปโดยรวดเร็ว เที่ยงธรรม และปราศจากอคติทั้งปวง หรืออาจทาให้มีการขัดกันแห่งผลประโยชน์ สมควรต้องปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการอัยการและกำหนดห้ามพนักงานอัยการกระทำการหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ปวันวิทย์/ธนบดี/จัดทำ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๙๗ ก/หน้า ๑๗/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
304141
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2531
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็นปีที่ ๔๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำ และยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑” มาตรา ๒* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็นต้นไป *[รก.๒๕๓๑/๑๘๐/๕๐พ/๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๑] มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๖ อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้แบ่งเป็น ๖ ชั้นแต่ละชั้นมีขั้นไม่ เกินจำนวนขั้นที่กำหนดดังต่อไปนี้ ชั้น ๑ มี ๕ ขั้น ชั้น ๒ มี ๑๓ ขั้น ชั้น ๓ มี ๑๓ ขั้น ชั้น ๔ มี ๑๑ ขั้น ชั้น ๕ มี ๑๐ ขั้น ชั้น ๖ มี ๖ ขั้น อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามชั้นและขั้นดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ให้เป็นไป ตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ก. บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ข. บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ค. หรือบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ง. ท้ายพระราชบัญญัตินี้ การให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามวรรคสองแต่ละบัญชี ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา อัตราเงินเดือนข้าราชการธุรการให้เป็นไปตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการ พลเรือนที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๑ บัญชี อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ และบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๓ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราช บัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ และให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือน ข้าราชการอัยการ บัญชี ก. บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ข. บัญชีอัตราเงินเดือน ข้าราชการอัยการ บัญชี ค. และบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ง.ท้ายพระราชบัญญัติ นี้แทน มาตรา ๕ การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้เข้าชั้นและขั้นเงินเดือน ตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ก. บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ข. บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ค. หรือ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ง. ท้ายพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการ อัยการและตามระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกำหนด เมื่อปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามวรรคหนึ่งแล้ว เฉพาะข้าราชการ อัยการผู้ได้รับเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำหรือสูงกว่าขั้นสูงของชั้น ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นตามที่กำหนดไว้ในบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ ข้าราชการอัยการซึ่งได้เลื่อนตำแหน่งนับแต่วันปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการ อัยการตามวรรคหนึ่ง ถ้าได้รับเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำของชั้นที่ได้เลื่อนตามบัญชีกำหนดการปรับ อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำของบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือน ข้าราชการอัยการ แต่ถ้าได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของชั้นที่ได้เลื่อนตามบัญชีกำหนดการปรับ อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการก็ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นที่ได้รับอยู่ ผู้ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยนับแต่วันปรับอัตรา เงินเดือนข้าราชการอัยการตามวรรคหนึ่ง ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำตามบัญชีกำหนดการปรับอัตรา เงินเดือนข้าราชการอัยการ การรับเงินเดือนในขั้นต่อ ๆ ไปของข้าราชการอัยการตามวรรคสองวรรคสาม และวรรคสี่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๖ การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามมาตรา ๕ ให้มีผลเป็น การปรับขั้นเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ได้รับอยู่ตามไปด้วย มาตรา ๗ เพื่อประโยชน์ในการบรรจุบุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการอัยการตาม พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และออกจากราชการไปก่อนวันที่บัญชี อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับกลับเข้ารับราชการ ให้ปรับ อัตราเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้เข้าชั้นและขั้นเงินเดือนตามบัญชีกำหนดการ ปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา ๕ และให้นำมาตรา ๗๔ วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และ มาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ มาใช้บังคับ โดยอนุโลมด้วย มาตรา ๘ ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือน ข้าราชการอัยการ บัญชี ก. ตามมาตรา ๖ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่าย อัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ให้นำบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการ อัยการ หมายเลข ๓ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่ม เติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ มาใช้บังคับ ไปพลางก่อน มาตรา ๙ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัติ นี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ก. [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ข. [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ค. [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ง. [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือน ข้าราชการอัยการในบัญชีอัตราเงินเดือนท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้ใช้มาเป็นเวลานานไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพ ในปัจจุบัน จำเป็นต้องกำหนดจำนวนขั้นเงินเดือน อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการแต่ละชั้น และ ปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการเสียใหม่ รวมทั้งให้มีการให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือน แต่ละบัญชีได้ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตรา พระราชบัญญัตินี้ ภคินี/แก้ไข ๑/๒/๒๕๔๕ A+B(C)
304142
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2535
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นปีที่ ๔๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำ และยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕” มาตรา ๒* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นไป *[รก.๒๕๓๕/๓๕/๓๐/๓ เมษายน ๒๕๓๕] มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๖ อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้แบ่งเป็น ๘ ชั้น แต่ละชั้นมีขั้นไม่ เกินจำนวนขั้นที่กำหนดดังต่อไปนี้ ชั้น ๑ มี ๕ ขั้น ชั้น ๒ มี ๑๓ ขั้น ชั้น ๓ มี ๑๓ ขั้น ชั้น ๔ มี ๑๒ ขั้น ชั้น ๕ มี ๑๔ ขั้น ชั้น ๖ มี ๑๓ ขั้น ชั้น ๗ มี ๑๒ ขั้น ชั้น ๘ มี ๘ ขั้น อัตราเงินเดือนและอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการให้เป็นไปตาม บัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการ อัยการหมายเลข ๑ และบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ หมายเลข ๑ และให้ เปลี่ยนไปใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ และบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่ง ข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๓ และบัญชีอัตรา เงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ หมายเลข ๓ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๔ และบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ หมายเลข ๔ หรือบัญชีอัตราเงินเดือน ข้าราชการอัยการ หมายเลข ๕ ตามความเหมาะสมโดยเปลี่ยนไปใช้บัญชีอัตราเงินเดือนและบัญชี อัตราเงินประจำตำแหน่งในลำดับถัดไปลำดับใดก็ได้ ตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้เข้าชั้นและขั้นเงินเดือนตามบัญชี อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามบัญชีกำหนดการปรับอัตรา เงินเดือนข้าราชการอัยการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด และให้มีผลเป็นการปรับขั้นเงินเดือนข้าราชการ อัยการที่ได้รับอยู่ตามไปด้วย เงินประจำตำแหน่งตามมาตรานี้ไม่ถือเป็นเงินเดือนเพื่อเป็นเกณฑ์ในการ คำนวณบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ อัตราเงินเดือนและอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการธุรการให้เป็นไปตาม บัญชีอัตราเงินเดือนและบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือนที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ ท้ายพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑ และให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๑ และบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ หมายเลข ๑ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการ อัยการ หมายเลข ๒ และบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ บัญชีอัตรา เงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๓ และบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ หมายเลข ๓ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๔ และบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่ง ข้าราชการอัยการ หมายเลข ๔ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๕ ท้ายพระราช บัญญัตินี้แทน มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๓ ตำแหน่งข้าราชการอัยการมีดังนี้ อัยการสูงสุด รองอัยการสูงสุด อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ อัยการพิเศษประจำเขต อัยการพิเศษประจำกรม อัยการจังหวัดประจำกรม อัยการจังหวัด อัยการประจำกรม รองอัยการ จังหวัด อัยการประจำกอง อัยการจังหวัดผู้ช่วย และอัยการผู้ช่วย นอกจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง อาจให้มีตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่อ อย่างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงได้ ตำแหน่งดังกล่าวจะเทียบกับตำแหน่งใดตามวรรคหนึ่ง ให้ กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนั้นด้วยความเห็นชอบของ ก.อ.” มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราช การฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๔ ข้าราชการอัยการให้ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง ดังต่อไปนี้ (๑) อัยการสูงสุด ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น ๘ (๒) รองอัยการสูงสุด ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น ๗ (๓) อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ และอัยการพิเศษประจำเขต ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น ๖ (๔) อัยการพิเศษประจำกรม ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น ๕ (๕) อัยการจังหวัดประจำกรม และอัยการจังหวัด ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น ๔ (๖) อัยการประจำกรม และรองอัยการจังหวัด ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น ๓ (๗) อัยการประจำกอง และอัยการจังหวัดผู้ช่วย ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น ๒ (๘) อัยการผู้ช่วย ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น ๑ สำหรับข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เมื่อเทียบกับ ตำแหน่งใดก็ให้ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งนั้น ในกรณีข้าราชการอัยการได้เลื่อนตำแหน่ง ให้รับเงินเดือนในชั้นที่สูงขึ้นตาม ตำแหน่ง และให้ได้รับเงินเดือนในอัตราขั้นต่ำของชั้นนั้น แต่ถ้าผู้นั้นได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของ ชั้นที่เลื่อนขึ้น ก็ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นของชั้นนั้น ซึ่งมีจำนวนเท่ากับเงินเดือนที่ได้รับอยู่ ในกรณีที่ เงินเดือนในขั้นของชั้นที่เลื่อนขึ้นไม่มีจำนวนที่เท่ากับเงินเดือนที่ได้รับอยู่ก็ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นซึ่ง มีจำนวนสูงมากกว่าเงินเดือนที่ได้รับอยู่น้อยที่สุด” มาตรา ๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒๔ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ “มาตรา ๒๔ ทวิ ให้ข้าราชการอัยการได้รับเงินประจำตำแหน่งตามตำแหน่งที่ได้ รับแต่งตั้ง ดังต่อไปนี้ (๑) อัยการสูงสุด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่ง ชั้น ๘ (๒) รองอัยการสูงสุด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่ง ชั้น ๗ (๓) อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ และอัยการพิเศษประจำเขต ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่ง ชั้น ๖ (๔) อัยการพิเศษประจำกรม ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่ง ชั้น ๕ (๕) อัยการจังหวัดประจำกรมและอัยการจังหวัด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่ง ชั้น ๔ (๖) อัยการประจำกรมและรองอัยการจังหวัด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่ง ชั้น ๓ (๗) อัยการประจำกองและอัยการจังหวัดผู้ช่วย ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่ง ชั้น ๒ สำหรับข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เมื่อเทียบกับ ตำแหน่งใดก็ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งนั้น” มาตรา ๘ เพื่อประโยชน์ในการบรรจุบุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการอัยการตาม พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และออกจากราชการไปก่อนวันที่บัญชี อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับกลับเข้ารับราชการให้ปรับ อัตราเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้เข้าชั้น และขั้นเงินเดือนตามที่คณะรัฐมนตรี กำหนดตามมาตรา ๓ และให้นำมาตรา ๗๔ วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่าย อัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย มาตรา ๙ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๑ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ หมายเลข ๑ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๓ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ หมายเลข ๓ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๔ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ หมายเลข ๔ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๕ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากการกำหนดตำแหน่ง และชั้นเงินเดือนของข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ยังไม่เหมาะสม และอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการในบัญชีอัตราเงินเดือนท้าย พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑ ไม่สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคา ผู้บริโภค และยังไม่สอดคล้องกับอัตราค่าจ้างในกลุ่มวิชาชีพต่าง ๆ ทั้ง ๆ ที่ข้าราชการอัยการเป็นผู้ ประกอบวิชาชีพในทางกฎหมายมีหน้าที่บริหารงานกระบวนการยุติธรรม ให้ความเป็นธรรมแก่ ประชาชนและรักษาผลประโยชน์ของรัฐ ซึ่งนับว่าเป็นอำนาจหน้าที่ที่มีความสำคัญยิ่ง ประกอบกับ ขณะนี้ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างอัตราเงินเดือนข้าราชการฝ่ายอื่น ๆ ให้เหมาะสม จึงเห็นสมควร ปรับปรุงกำหนดจำนวนชั้นและขั้นอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการเสียใหม่ และเห็นควรกำหนด ให้มีเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการด้วย เพื่อความเหมาะสมกับสภาวะค่าครองชีพในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ภคินี/แก้ไข ๒๒/๒/๒๕๔๕ A+B(C)
304144
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 (Update ณ วันที่ 01/01/2538)
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นปีที่ ๓๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ (๒) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๐๕ (๓) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๗ (๔) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๐ (๕) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๖๐ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ (๖) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๑๗ (๗) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๑๙ บรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่น ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน ลักษณะ ๑ บททั่วไป มาตรา ๔[๒] ในพระราชบัญญัตินี้ “ข้าราชการฝ่ายอัยการ” หมายความว่า ข้าราชการซึ่งรับราชการในสำนักงานอัยการสูงสุดโดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนในสำนักงานอัยการสูงสุด “ก.อ.” หมายความว่า คณะกรรมการอัยการ มาตรา ๕ ข้าราชการฝ่ายอัยการได้แก่ (๑) ข้าราชการอัยการ คือข้าราชการผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการดำเนินคดีตามกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ (๒) ข้าราชการธุรการ คือ ข้าราชการผู้มีหน้าที่ในทางธุรการ มาตรา ๖[๓] อัตราเงินเดือน อัตราเงินประจำตำแหน่งและการรับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการอัยการ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง สำหรับข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เมื่อเทียบกับตำแหน่งใดก็ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการตามตำแหน่งนั้น อัตราเงินเดือน อัตราเงินประจำตำแหน่งและการรับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการธุรการ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งที่กำหนดไว้สำหรับข้าราชการพลเรือน มาตรา ๗ เพื่อประโยชน์ในการออมทรัพย์ของข้าราชการอัยการ คณะรัฐมนตรีจะวางระเบียบและวิธีการให้กระทรวงการคลังหักเงินเดือนของข้าราชการอัยการไว้เป็นเงินสะสมก็ได้ โดยคิดดอกเบี้ยจากเงินสะสมนั้นให้ในอัตราไม่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทประจำของธนาคารพาณิชย์ เงินสะสมและดอกเบี้ยนี้ให้จ่ายคืนหรือให้กู้ยืมเพื่อดำเนินการตามโครงการสวัสดิการสำหรับข้าราชการอัยการตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๘ ข้าราชการอัยการอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๙[๔] (ยกเลิก) มาตรา ๑๐[๕] ข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการการเมืองข้าราชการวิสามัญ หรือข้าราชการซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือพนักงานเทศบาลที่ไม่ใช่พนักงานเทศบาลวิสามัญ ซึ่งสอบคัดเลือกหรือทดสอบความรู้เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ตามพระราชบัญญัตินี้ หากประสงค์จะโอนมาบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเพื่อนับเวลาราชการหรือเวลาทำงานของตนในขณะที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานเทศบาลเป็นเวลาราชการของข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย ก็ให้กระทำได้โดยสำนักงานอัยการสูงสุดทำความตกลงกับเจ้าสังกัด มาตรา ๑๑ บำเหน็จบำนาญของข้าราชการอัยการ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ข้าราชการอัยการผู้ใดถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการคณะรัฐมนตรีจะพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญก็ได้ มาตรา ๑๒ เครื่องแบบของข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่งให้เป็นไปตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๑๓ วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการอัยการ ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๑๔[๖] ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจกำหนดค่าธรรมเนียมการสอบเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ ลักษณะ ๒ คณะกรรมการอัยการ มาตรา ๑๕[๗] ให้มีคณะกรรมการอัยการคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า ก.อ. ประกอบด้วย (๑) ประธานกรรมการ ซึ่งเลือกจากผู้รับบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการมาแล้วในตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอธิบดีกรมอัยการหรือรองอัยการสูงสุด หรือผู้ทรงคุณวุฒิในทางกฎหมายซึ่งเป็นผู้รับบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการและเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไป ทั้งนี้ ต้องไม่เคยเป็นสมาชิกหรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมืองในระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมา และไม่เป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภาหรือทนายความ (๒) อัยการสูงสุดเป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่ง (๓) รองอัยการสูงสุดตามลำดับอาวุโสจำนวนไม่เกินสี่คนเป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่ง (๔) กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิหกคน ซึ่งข้าราชการอัยการที่ได้รับเงินเดือนตั้งแต่ชั้น ๒ ขึ้นไปเป็นผู้เลือกจาก (ก) ข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนตั้งแต่ชั้น ๔ ขึ้นไป และมิได้เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่งอยู่แล้ว สามคน (ข) ผู้รับบำเหน็จหรือบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการมาแล้ว และต้องไม่เป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภา กรรมการพรรคการเมือง เจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง หรือทนายความ สามคน (๕) กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภาจำนวนสองคนและคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนหนึ่งคน ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นรองประธาน ให้ ก.อ. แต่งตั้งข้าราชการฝ่ายอัยการคนหนึ่งเป็นเลขานุการ ก.อ. มาตรา ๑๕ ทวิ[๘] ในการเลือกประธาน ก.อ. ตามมาตรา ๑๕ (๑) ให้กรรมการอัยการ ตามมาตรา ๑๕ (๒) (๓) (๔) และ (๕) ประชุมกันกำหนดรายชื่อบุคคลที่เห็นสมควรเป็นประธานไม่น้อยกว่าห้าชื่อส่งให้ข้าราชการอัยการผู้มีสิทธิเลือกตามมาตรา ๑๕ (๔) ทำการเลือกรายชื่อดังกล่าว เมื่อผลการเลือกเป็นประการใด ให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง มาตรา ๑๕ ตรี[๙] ประธาน ก.อ. อยู่ในตำแหน่งคราวละสามปีนับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และอาจได้รับเลือกเพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอีกได้ไม่เกินสองคราวติดต่อกัน นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้ประธาน ก.อ. พ้นจากตำแหน่งเมื่อตาย ลาออก หรือขาดคุณสมบัติมาตรา ๑๕ (๑) ในกรณีที่ประธาน ก.อ. พ้นจากตำแหน่งตามวาระ หรือพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุอื่น ให้ดำเนินการเลือกให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง ในระหว่างที่ประธาน ก.อ. พ้นจากตำแหน่ง ให้รองประธาน ก.อ. ทำหน้าที่ประธาน ก.อ. มาตรา ๑๕ จัตวา[๑๐] รองประธาน ก.อ. อยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี นับแต่วันที่ได้รับเลือก นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้รองประธาน ก.อ. พ้นจากตำแหน่งเมื่อตาย ลาออก หรือขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๕ (๔) (ข) หรือมาตรา ๑๕ เบญจ แล้วแต่กรณี มาตรา ๑๕ เบญจ[๑๑] กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๕ (๕) ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (๑) เป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๓ (๒) (๖) (๗) (๘) (๙) หรือ (๑๐) (๒) ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการพรรคการเมือง สมาชิกพรรคการเมือง หรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นของพรรคการเมือง (๓) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์ (๔) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า (๕) ไม่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง กรรมการการเลือกตั้ง กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือกรรมการในคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองหรือศาลอื่น (๖) ไม่เป็นข้าราชการอัยการ ทนายความ ข้าราชการตำรวจ หรือข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม (๗) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ (๘) ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ (๙) ไม่ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอื่นใดอันเป็นการกระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ มาตรา ๑๕ ฉ[๑๒] การเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๕ (๕) ให้วุฒิสภาตั้งคณะกรรมาธิการสามัญขึ้นคณะหนึ่งเพื่อพิจารณาเสนอรายชื่อบุคคลที่เห็นสมควรจำนวนสี่คนต่อวุฒิสภาเพื่อพิจารณาเลือกต่อไป มาตรา ๑๖ เมื่อจะมีการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่ง วิธีการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีประกาศชื่อผู้ได้รับเลือกในราชกิจจานุเบกษา [คำว่า “นายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๗ แห่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่อง การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] มาตรา ๑๗[๑๓] กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งได้คราวละสองปี และอาจได้รับเลือกหรือแต่งตั้งใหม่ได้ แต่จะดำรงตำแหน่งได้ไม่เกินสองคราวติดต่อกัน ถ้าตำแหน่งว่างลงก่อนถึงกำหนดวาระ ให้นายกรัฐมนตรีสั่งให้ดำเนินการเลือกซ่อมหรือวุฒิสภาเลือกซ่อมหรือคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งซ่อม เว้นแต่วาระการอยู่ในตำแหน่งของกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิจะเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน นายกรัฐมนตรีจะไม่สั่งให้ดำเนินการเลือกซ่อมหรือวุฒิสภาจะไม่เลือกซ่อมหรือคณะรัฐมนตรีจะไม่แต่งตั้งซ่อมก็ได้ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกซ่อมหรือแต่งตั้งซ่อมตามวรรคสองอยู่ในตำแหน่งได้เพียงวาระของผู้ที่ตนแทน มาตรา ๑๘[๑๔] ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการอัยการตามมาตรา ๑๕ ว่างลง และมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการโดยรีบด่วน ก็ให้กรรมการอัยการที่เหลืออยู่ดำเนินการไปได้ แต่ต้องมีกรรมการอัยการพอที่จะเป็นองค์ประชุม มาตรา ๑๙ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ครบกำหนดวาระ (๒) ตาย (๓) ลาออก (๔) เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่ง หรือพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการในกรณีที่เป็นกรรมการอัยการตามมาตรา ๑๕ (๔) (ก) (๕) กลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการอัยการ ในกรณีที่เป็นกรรมการอัยการตามมาตรา ๑๕ (๔) (ข) (๖) ไปเป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภา ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง กรรมการพรรคการเมือง เจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง หรือทนายความ ในกรณีเป็นที่สงสัยว่า กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิผู้ใดพ้นจากตำแหน่งกรรมการอัยการหรือไม่ ให้อัยการสูงสุดเสนอ ก.อ. เพื่อวินิจฉัยชี้ขาด [คำว่า “อัยการสูงสุด” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๘ แห่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่อง การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] มาตรา ๒๐ การประชุมของ ก.อ. ต้องมีกรรมการอัยการมาประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดคนจึงเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานและรองประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการอัยการในที่ประชุมเลือกกรรมการอัยการคนหนึ่งเป็นประธาน หากกรรมการอัยการโดยตำแหน่งว่างลง หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้รักษาราชการแทน หรือผู้รักษาการในตำแหน่งตามกฎหมาย ทำหน้าที่กรรมการอัยการแทนในระหว่างนั้น ในการประชุมของ ก.อ. ถ้ามีการพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับกรรมการอัยการผู้ใดโดยเฉพาะ ผู้นั้นไม่มีสิทธิเข้าประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือเสียงข้างมาก ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ก.อ. มีอำนาจออกข้อบังคับว่าด้วยระเบียบการประชุมและการลงมติ มาตรา ๒๑ ในกรณีที่ ก.อ. มีหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้อัยการสูงสุดเป็นผู้เสนอเรื่องต่อ ก.อ. แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิกรรมการอัยการคนหนึ่งคนใดที่จะเสนอ [คำว่า “อัยการสูงสุด” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๘ แห่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่อง การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] มาตรา ๒๒ ก.อ. มีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการให้ทำการใด ๆ แทนได้ ลักษณะ ๓ ข้าราชการอัยการ หมวด ๑ การบรรจุ การแต่งตั้ง และการเลื่อนขั้นเงินเดือน มาตรา ๒๓[๑๕] ตำแหน่งข้าราชการอัยการมีดังนี้ อัยการสูงสุด รองอัยการสูงสุด อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ อัยการพิเศษฝ่าย อัยการพิเศษประจำเขต อัยการพิเศษประจำกรม อัยการจังหวัดประจำกรม อัยการจังหวัด อัยการประจำกรม รองอัยการจังหวัด อัยการประจำกอง อัยการจังหวัดผู้ช่วย และอัยการผู้ช่วย นอกจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง อาจให้มีตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงได้ ตำแหน่งดังกล่าวจะเทียบกับตำแหน่งใดตามวรรคหนึ่งให้กำหนดไว้ในกฎกระทรวง การกำหนดตำแหน่งและการเทียบตำแหน่งตามวรรคสองต้องได้รับความเห็นชอบของ ก.อ. มาตรา ๒๔[๑๖] ข้าราชการอัยการให้ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งดังต่อไปนี้ (๑) อัยการสูงสุด ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น ๘ (๒) รองอัยการสูงสุด ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น ๗ (๓)[๑๗] อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ อัยการพิเศษฝ่าย และอัยการพิเศษประจำเขต ให้ได้รับเงินเดือนชั้น ๖ (๔)[๑๘] อัยการพิเศษประจำกรม ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น ๕ - ๖ (๕) อัยการจังหวัดประจำกรม และอัยการจังหวัด ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น ๔ (๖) อัยการประจำกรม และรองอัยการจังหวัด ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น ๓ (๗) อัยการประจำกอง และอัยการจังหวัดผู้ช่วย ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น ๒ (๘) อัยการผู้ช่วย ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น ๑ สำหรับข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เมื่อเทียบกับตำแหน่งใดก็ให้ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งนั้น ในกรณีข้าราชการอัยการได้เลื่อนตำแหน่ง ให้รับเงินเดือนในชั้นที่สูงขึ้นตามตำแหน่ง และให้ได้รับเงินเดือนในอัตราขั้นต่ำของชั้นนั้น แต่ถ้าผู้นั้นได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของชั้นที่เลื่อนขึ้น ก็ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นของชั้นนั้น ซึ่งมีจำนวนเท่ากับเงินเดือนที่ได้รับอยู่ ในกรณีที่เงินเดือนในขั้นของชั้นที่เลื่อนขึ้นไม่มีจำนวนที่เท่ากับเงินเดือนที่ได้รับอยู่ก็ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นซึ่งมีจำนวนสูงมากกว่าเงินเดือนที่ได้รับอยู่น้อยที่สุด มาตรา ๒๔ ทวิ[๑๙] (ยกเลิก) มาตรา ๒๕ การบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่ง โดยวิธีการสอบคัดเลือกตามความในหมวด ๒ แห่งลักษณะนี้ แต่ถ้าผู้ใด (๑) สอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ โดยมีหลักสูตรการศึกษาเดียวไม่น้อยกว่าสามปี ซึ่ง ก.อ. เทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และสอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (๒) สอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ โดยมีหลักสูตรการศึกษาหลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่าสองปี หรือหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่าสองปี ซึ่ง ก.อ. เทียบว่า ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และสอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (๓) สอบไล่ได้เป็นธรรมศาสตร์บัณฑิตหรือนิติศาสตร์บัณฑิต และสอบไล่ได้ชั้นเกียรตินิยมตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และได้ประกอบวิชาชีพ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือ (๔) สอบไล่ได้ปริญญาโทหรือปริญญาเอกทางกฎหมายในประเทศไทย และสอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี เมื่อ ก.อ. พิจารณาเห็นว่า เป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๓๓ (๒) ถึง (๑๒) และได้ทำการทดสอบความรู้ในวิชากฎหมายแล้ว เห็นสมควรที่จะให้เข้ารับราชการ ก็ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีสั่งบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ตามที่ ก.อ. กำหนด การบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ให้บรรจุให้ได้รับเงินเดือนในอัตราขั้นต่ำของชั้น [คำว่า “นายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๗ แห่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่อง การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] มาตรา ๒๖ อัยการผู้ช่วยที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดผู้ช่วยจะต้องได้รับการอบรมจากกรมอัยการมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และผลของการอบรมเป็นที่พอใจของ ก.อ. ว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และความประพฤติ เหมาะสมที่จะเป็นอัยการจังหวัดผู้ช่วย อัยการผู้ช่วยซึ่งได้รับการอบรมจากกรมอัยการมาแล้วหนึ่งปี แต่ผลของการอบรมยังไม่เป็นที่พอใจของ ก.อ. ว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และความประพฤติ เหมาะสมที่จะเป็นอัยการจังหวัดผู้ช่วย ก็ให้ได้รับการอบรมจากกรมอัยการต่อไปอีกหนึ่งปี เมื่อครบกำหนดดังกล่าวแล้วหากผลของการอบรมยังไม่เป็นที่พอใจของ ก.อ. ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ออกจากราชการ ในระหว่างเวลาปีแรกที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดผู้ช่วย หากปรากฏว่าผู้ได้รับแต่งตั้งไม่เหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งต่อไป ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีด้วยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจสั่งให้ออกจากราชการ [คำว่า “นายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๗ แห่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่อง การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] มาตรา ๒๗[๒๐] การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งนอกจากตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ให้ประธาน ก.อ. เสนอ ก.อ. โดยคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ ความรับผิดชอบ ประวัติการปฏิบัติราชการของบุคคลนั้น เทียบกับงานในตำแหน่งข้าราชการอัยการที่จะได้รับแต่งตั้งนั้นๆ เพื่อให้ความเห็นชอบก่อน แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิกรรมการอัยการคนหนึ่งคนใดที่จะเสนอ เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วจึงนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง มาตรา ๒๘ การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการอัยการในชั้นหนึ่ง ๆ ให้รัฐมนตรีเป็นผู้สั่งเลื่อน ในเมื่อได้รับความเห็นชอบของ ก.อ. แล้ว โดยปกติปีละหนึ่งขั้น โดยคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณงานของตำแหน่งและผลของงานที่ได้ปฏิบัติมา การรักษาวินัย ตลอดจนความสามารถและความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด ให้ออกเป็นกฎกระทรวง มาตรา ๒๙ การโอนข้าราชการอัยการไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการธุรการ โดยให้ได้รับเงินเดือนไม่สูงกว่าในขณะที่โอน ให้รัฐมนตรีสั่งได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้นั้นยินยอม และ ก.อ. เห็นชอบ การโอนข้าราชการอัยการไปเป็นข้าราชการพลเรือนหรือข้าราชการฝ่ายอื่น ให้รัฐมนตรีสั่งได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้นั้นยินยอม และ ก.อ.เห็นชอบ วรรคสาม[๒๑] (ยกเลิก) มาตรา ๓๐ การโอนข้าราชการธุรการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการอัยการโดยให้ได้รับเงินเดือนไม่สูงกว่าในขณะที่โอนมา อาจทำได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ แต่ข้าราชการธุรการผู้นั้นอย่างน้อยต้องเคยเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการประจำกอง หรืออัยการจังหวัดผู้ช่วยมาแล้ว มาตรา ๓๑ ข้าราชการอัยการผู้ใดพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการไปโดยมิได้มีความผิดหรือมีมลทินหรือมัวหมองในราชการ หรือไปรับราชการในกระทรวงทบวงกรมอื่น เมื่อจะกลับเข้ารับตำแหน่งข้าราชการอัยการโดยรับเงินเดือนไม่สูงกว่าขณะพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการ ถ้าไม่เป็นผู้ขาดคุณสมบัติ ตามมาตรา ๓๓ (๒) ถึง (๑๒) ก็ให้รัฐมนตรีสั่งบรรจุได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ มาตรา ๓๒ ข้าราชการอัยการผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร เมื่อผู้นั้นพ้นจากราชการทหาร โดยไม่มีความเสียหาย และประสงค์จะกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งข้าราชการอัยการ โดยรับเงินเดือนเท่าที่ได้รับอยู่ในขณะที่ไปรับราชการทหาร ให้ยื่นคำขอภายในกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันพ้นจากราชการทหารในกรณีเช่นว่านี้ ให้รัฐมนตรีสั่งบรรจุได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ แต่ถ้าจะบรรจุให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าขณะที่ไปรับราชการทหารให้บรรจุได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ซึ่ง ก.อ. จะได้กำหนด หมวด ๒ การสอบคัดเลือก มาตรา ๓๓ ผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (๑) (ก) สอบไล่ได้เป็นธรรมศาสตร์บัณฑิต หรือนิติศาสตร์บัณฑิต หรือสอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ ซึ่ง ก.อ. เทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี (ข) สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาและ (ค) ได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นข้าราชการตุลาการ จ่าศาล รองจ่าศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดี พนักงานคุมประพฤติ นายทหารเหล่าพระธรรมนูญ หรือทนายความ หรือได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นตามที่ ก.อ. กำหนด ทั้งนี้ เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี และให้ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ด้วย (๒) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด (๓) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปี (๔) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ (๕) เป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา (๖) ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี (๗) ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว (๘) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งให้พักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ หรือตามกฎหมายอื่น (๙) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ (๑๐) ไม่เป็นผู้เคยรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๑๑) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือมีกายหรือจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการอัยการ หรือเป็นโรคที่ระบุไว้ในกฎกระทรวง และ (๑๒) เป็นผู้ที่คณะกรรมการแพทย์มีจำนวนไม่น้อยกว่าสามคน ซึ่ง ก.อ. จะได้กำหนดได้ตรวจร่างกายและจิตใจแล้ว และ ก.อ. ได้พิจารณารายงานของแพทย์ เห็นว่าสมควรรับสมัครได้ ให้ ก.อ. มีอำนาจวางระเบียบเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกก่อนที่จะรับสมัครได้ มาตรา ๓๔ ให้ ก.อ. มีอำนาจกำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกตามมาตรา ๓๓ ตลอดจนวางเงื่อนไขในการรับสมัคร เมื่อสมควรจะมีการสอบคัดเลือกเมื่อใด ให้กรมอัยการเสนอต่อ ก.อ. ให้ ก.อ. จัดให้มีการสอบคัดเลือก เมื่อได้มีการสอบใหม่ และได้ประกาศผลของการสอบแล้ว บัญชีสอบคัดเลือกคราวก่อนเป็นอันยกเลิก มาตรา ๓๕ ผู้สอบคัดเลือกที่ได้คะแนนสูงให้ได้รับบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยก่อนผู้ที่ได้รับคะแนนต่ำลงมาตามลำดับแห่งบัญชีสอบคัดเลือก หากได้คะแนนเท่ากันให้ใช้วิธีจับสลากเพื่อจัดลำดับที่ระหว่างผู้ที่ได้คะแนนเท่ากันนั้น ผู้สอบคัดเลือกได้ผู้ใด หากขาดคุณสมบัติหรือลักษณะข้อใดข้อหนึ่งตามมาตรา ๓๓ หรือเป็นบุคคลที่ ก.อ. เห็นว่ามีชื่อเสียงหรือความประพฤติหรือเหตุอื่น ๆ ที่ไม่เหมาะสมจะเป็นข้าราชการอัยการ ผู้นั้นเป็นอันหมดสิทธิเข้ารับราชการตามผลของการสอบคัดเลือกนั้น หมวด ๓ การพ้นจากตำแหน่ง มาตรา ๓๖ ข้าราชการอัยการพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๓) ได้รับอนุญาตให้ลาออก (๔) โอนไปรับราชการทางอื่น (๕) ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร (๖) ถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๒๖ หรือมาตรา ๓๗ หรือมาตรา ๓๙ (๗) ถูกสั่งลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก การพ้นจากตำแหน่งของข้าราชการอัยการ เว้นแต่ตำแหน่งอัยการผู้ช่วย หากเป็นกรณีตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ แต่ถ้าเป็นการพ้นจากตำแหน่งตาม (๔) (๕) (๖) หรือ (๗) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง พระบรมราชโองการดังกล่าวให้มีผลตั้งแต่วันโอนหรือวันออกจากราชการแล้วแต่กรณี มาตรา ๓๗ ผู้ได้รับบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดหากภายหลังปรากฏต่อ ก.อ. ว่าขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๕ หรือมาตรา ๓๓ ตั้งแต่ก่อนได้รับการบรรจุ ให้รัฐมนตรีด้วยความเห็นชอบของ ก.อ. สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่รับจากทางราชการก่อนมีคำสั่งให้ออกนั้น และถ้าการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้วให้ถือว่าเป็นการสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา ๓๘ ข้าราชการอัยการผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งเพื่อให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณา เมื่อนายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีสั่งอนุญาตแล้วให้ถือว่าพ้นจากตำแหน่ง ในกรณีที่ข้าราชการอัยการขอลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้ง ให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก นอกจากกรณีตามวรรคสอง ถ้านายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีเห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการจะยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกินสามเดือนนับแต่วันขอลาออกก็ได้ [คำว่า “นายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๗ แห่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่อง การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] มาตรา ๓๙ เมื่อนายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีเห็นสมควรให้ข้าราชการอัยการผู้ใดออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน เหตุทุพพลภาพ หรือเหตุรับราชการนาน ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ให้ทำได้ด้วยความเห็นชอบของ ก.อ. แต่การให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน ให้ทำได้เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และได้ดำเนินการสอบสวนตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในลักษณะ ๔ หมวด ๒ แล้ว ไม่ได้ความเป็นสัตย์ว่ากระทำผิดที่จะต้องถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก แต่ผู้นั้นมีมลทินหรือมัวหมอง จะให้รับราชการต่อไป จะเป็นการเสียหายแก่ราชการ (๒) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดบกพร่องต่อหน้าที่ หรือหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่สมควรที่จะให้คงเป็นข้าราชการอัยการต่อไป (๓) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการได้โดยสม่ำเสมอ แต่ไม่ถึงเหตุทุพพลภาพ หรือ (๔) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๓๓ (๒) หรือ (๑๑) หรือเป็นสมาชิกรัฐสภาซึ่งมาจากการเลือกตั้ง หรือเป็นข้าราชการการเมือง เว้นแต่กรณีตามมาตรา ๒๙ วรรคสาม [คำว่า “นายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๗ แห่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่อง การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] ลักษณะ ๔ วินัย การรักษาวินัย และการลงโทษ หมวด ๑ วินัย มาตรา ๔๐ ข้าราชการอัยการต้องรักษาวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัด ผู้ใดฝ่าฝืนจักต้องได้รับโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๓ แห่งลักษณะนี้ มาตรา ๔๑ ข้าราชการอัยการต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ มาตรา ๔๒ ข้าราชการอัยการจะเป็นกรรมการพรรคการเมือง สมาชิกพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมืองไม่ได้ ในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา หรือผู้แทนทางการเมืองอื่นใดข้าราชการอัยการจะเข้าเป็นตัวกระทำการ ร่วมกระทำการ หรือสนับสนุนในการโฆษณาหรือชักชวนใด ๆ ไม่ได้ มาตรา ๔๓ ข้าราชการอัยการต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย ห้ามมิให้ขัดขืนหลีกเลี่ยง ถ้าไม่เห็นพ้องด้วยคำสั่งนั้นจะเสนอความเห็นทัดทานเป็นหนังสือก็ได้ แต่ต้องเสนอโดยด่วน และเมื่อได้ทัดทานดังกล่าวแล้วผู้บังคับบัญชามิได้สั่งถอนหรือแก้คำสั่งที่สั่งไป ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม แต่ให้ผู้บังคับบัญชารีบรายงานขึ้นไปยังอัยการสูงสุดตามลำดับ ในการปฏิบัติราชการ ห้ามมิให้กระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่จะได้รับอนุญาต [คำว่า “อัยการสูงสุด” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๘ แห่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่อง การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] มาตรา ๔๔ ข้าราชการอัยการต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความระมัดระวังมิให้เสียหายแก่ราชการ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม มาตรา ๔๕ ข้าราชการอัยการต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องบอกถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย มาตรา ๔๖ ข้าราชการอัยการต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการจะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้ ข้าราชการอัยการต้องไม่ประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพ หรือกระทำกิจการใดอันเป็นการกระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ หรือเสื่อมเสียถึงเกียรติศักดิ์แห่งตำแหน่งหน้าที่ราชการ ข้าราชการอัยการต้องไม่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือที่ปรึกษากฎหมายหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนบริษัท ข้าราชการอัยการต้องไม่เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐในทำนองเดียวกัน เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจาก ก.อ. มาตรา ๔๗ ข้าราชการอัยการต้องไม่กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว เช่น ประพฤติตนเป็นคนเสเพล มีหนี้สินรุงรัง เสพของมึนเมาจนไม่สามารถครองสติได้ เล่นการพนันเป็นอาจิณ กระทำความผิดอาญา หรือกระทำการอื่นใด ซึ่งความประพฤติหรือการกระทำดังกล่าวแล้วอาจทำให้เสียเกียรติศักดิ์แห่งตำแหน่งหน้าที่ราชการ มาตรา ๔๘ ข้าราชการอัยการต้องต้อนรับ ให้ความสะดวก และให้ความสงเคราะห์ต่อประชาชนผู้มาติดต่อในกิจการอันเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตนโดยไม่ชักช้า ห้ามมิให้ดูหมิ่นเหยียดหยามบุคคลใด ๆ และต้องสุภาพเรียบร้อยต่อประชาชน มาตรา ๔๙ ข้าราชการอัยการต้องถือและปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ มาตรา ๕๐ ข้าราชการอัยการต้องสุภาพเรียบร้อยและรักษาความสามัคคีระหว่างข้าราชการและต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหน้าที่ราชการ มาตรา ๕๑ ข้าราชการอัยการต้องรักษาความลับของทางราชการ มาตรา ๕๒ ผู้บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดรู้ว่าผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัยแล้วไม่จัดการสอบสวนพิจารณาและดำเนินการตามความในหมวด ๒ และหมวด ๓ แห่งลักษณะนี้ หรือตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน แล้วแต่กรณี หรือไม่จัดการลงโทษตามอำนาจและหน้าที่หรือจัดการลงโทษโดยไม่สุจริต ให้ถือว่าผู้บังคับบัญชาผู้นั้นกระทำผิดวินัย หมวด ๒ การรักษาวินัย มาตรา ๕๓ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการสอบสวนชั้นต้นโดยมิชักช้า วิธีการสอบสวนชั้นต้นจะทำโดยให้ผู้มีกรณีเกี่ยวข้องชี้แจ้งเรื่องราวเป็นหนังสือหรือโดยบันทึกเรื่องราวและความเห็นก็ได้ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สอบสวนชั้นต้นแล้ว เห็นว่า ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง ให้ดำเนินการตามมาตรา ๖๓ แต่ถ้าเห็นว่าเป็นกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้ดำเนินการตามมาตรา ๕๔ หรือมาตรา ๕๖ แล้วแต่กรณี แต่ถ้าเกินอำนาจของตนให้รายงานไปยังผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปตามลำดับเพื่อดำเนินการตามควรแก่กรณี มาตรา ๕๔ ข้าราชการอัยการผู้ใดซึ่งผู้บังคับบัญชาเห็นว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงที่มีโทษถึงไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก ให้ผู้บังคับบัญชาต่อไปนี้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นอย่างน้อยสามคน เพื่อทำการสอบสวน คือ (๑) ประธาน ก.อ. สำหรับข้าราชการอัยการทุกชั้น (๒) อัยการสูงสุด สำหรับข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๑ และชั้น ๒ กรรมการตามวรรคหนึ่งต้องเป็นข้าราชการอัยการ ในการสอบสวนนั้น คณะกรรมการสอบสวนต้องแจ้งข้อกล่าวหา และรายละเอียดเท่าที่มีอยู่ให้ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยทราบ และต้องให้โอกาสแก่ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยชี้แจงและนำพยานหลักฐานเข้าสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ด้วย ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวนให้เสร็จโดยเร็วกำหนดอย่างช้าไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันได้รับแต่งตั้ง ถ้ามีความจำเป็นซึ่งจะสอบสวนไม่ทันภายในกำหนดนั้นก็ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง แต่ละครั้งเป็นเวลาไม่เกินสิบห้าวัน และต้องแสดงเหตุที่ต้องขยายเวลาไว้ด้วยทุกครั้ง แต่ถ้าขยายเวลาแล้วยังสอบสวนไม่เสร็จ จะขยายเวลาต่อไปอีกได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากผู้แต่งตั้ง หลักเกณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวกับการสอบสวนให้เป็นไปตามที่ ก.อ. กำหนด เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้ทำการสอบสวนเสร็จแล้ว ให้รายงานเสนอความเห็นต่ออัยการสูงสุด โดยให้ผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกกล่าวหาตามลำดับได้แสดงความเห็นเสียก่อนด้วย ถ้าคณะกรรมการหรือผู้บังคับบัญชาดังกล่าว หรืออัยการสูงสุด เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัย ก็ให้อัยการสูงสุดทำความเห็นรายงานไปยัง ก.อ. เมื่อ ก.อ. ได้พิจารณาเห็นสมควรลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ จึงให้ประธาน ก.อ. สั่งไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการต่อไป ในกรณีข้าราชการอัยการถูกฟ้องคดีอาญา จะใช้คำพิพากษาถึงที่สุดของศาลประกอบการพิจารณาของ ก.อ. โดยไม่ต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนก็ได้ [คำว่า “ประธาน ก.อ.” และ “อัยการสูงสุด” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๗ และข้อ ๘ แห่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่องการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] มาตรา ๕๕ ให้กรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาและให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพียงเท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของกรรมการสอบสวน และโดยเฉพาะให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วยคือ (๑) เรียกให้กระทรวงทบวงกรม หน่วยราชการ หรือรัฐวิสาหกิจชี้แจงข้อเท็จจริงส่งเอกสารและหลักฐาน ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน (๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน มาตรา ๕๖ ข้าราชการอัยการผู้ใด กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่ ก.อ. กำหนด หรือได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาหรือต่อคณะกรรมการสอบสวน ประธาน ก.อ. จะพิจารณาสั่งลงโทษโดยไม่ต้องสอบสวนก็ได้ ทั้งนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบของ ก.อ. ก่อน [คำว่า “ประธาน ก.อ.” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๗ แห่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่องการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๕๗ ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือถูกฟ้องคดีอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่าจะให้อยู่ในหน้าที่ราชการระหว่างสอบสวนหรือพิจารณาจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ จะสั่งให้พักราชการก็ได้ ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจสั่งให้พักราชการ คือ (๑) ประธาน ก.อ. สำหรับข้าราชการอัยการทุกชั้น (๒) อัยการสูงสุด สำหรับข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๑ และชั้น ๒ การให้พักราชการนั้น ให้พักตลอดเวลาที่สอบสวนพิจารณา หรือตลอดเวลาที่คดียังไม่ถึงที่สุด เมื่อสอบสวนพิจารณาเสร็จแล้ว หรือคดีถึงที่สุดแล้ว ถ้าปรากฏว่าผู้ถูกสั่งให้พักราชการมิได้กระทำความผิดและไม่มีมลทิน หรือมัวหมอง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจสั่งให้พักราชการสั่งให้รับราชการตามเดิม เงินเดือนของผู้ถูกสั่งให้พักราชการดังกล่าว ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น [คำว่า “ประธาน ก.อ.” และ “อัยการสูงสุด” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๗ และข้อ ๘ แห่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่องการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] มาตรา ๕๘ ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา หรือถูกฟ้องคดีอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ แม้ภายหลังผู้นั้นจะพันจากตำแหน่งข้าราชการอัยการไปแล้ว ก็อาจมีการสอบสวนหรือพิจารณาเพื่อลงโทษ หรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้เป็นไปตามลักษณะนี้ได้ เว้นแต่ข้าราชการอัยการผู้นั้นจะพ้นจากตำแหน่งเพราะตาย หมวด ๓ การลงโทษ มาตรา ๕๙ โทษผิดวินัยมี ๕ สถาน คือ (๑) ไล่ออก (๒) ปลดออก (๓) ให้ออก (๔) งดบำเหน็จความชอบ (๕) ภาคทัณฑ์ การสั่งลงโทษข้าราชการอัยการในสถานไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกนั้นจะกระทำได้เมื่อได้ดำเนินการสอบสวนพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๒ แห่งลักษณะนี้แล้ว มาตรา ๖๐ การไล่ออกนั้นประธาน ก.อ. จะสั่งลงโทษได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงดังต่อไปนี้ (๑) ทุจริตต่อหน้าที่ราชการ (๒) ทำความผิดอาญาและต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๓) ต้องคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย (๔) เปิดเผยความลับของทางราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๕) ละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง หรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร (๖) ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย และการขัดคำสั่งนั้นอาจเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๗) ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการหรือปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือระเบียบของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๘) ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง [คำว่า “ประธาน ก.อ.” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๗ แห่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่องการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] มาตรา ๖๑ การปลดออกนั้น ประธาน ก.อ. จะสั่งลงโทษได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่ยังไม่ถึงขนาดที่จะต้องถูกไล่ออกจากราชการ หรือถึงขนาดที่จะต้องไล่ออก แต่มีเหตุอันควรลดหย่อน [คำว่า “ประธาน ก.อ.” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๗ แห่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่องการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] มาตรา ๖๒ การให้ออกนั้น ประธาน ก.อ. จะสั่งลงโทษได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่ยังไม่ถึงขนาดที่จะต้องถูกปลดออก หรือถึงขนาดที่จะต้องถูกปลดออก แต่มีเหตุอันควรลดหย่อน ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรานี้ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ [คำว่า “ประธาน ก.อ.” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๗ แห่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่องการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] มาตรา ๖๓ ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง และผู้บังคับบัญชาสอบสวนพิจารณาแล้วเห็นว่าสมควรลงโทษเพียงสถานงดบำเหน็จความชอบเป็นเวลาไม่เกินสามปี หรือถ้ามีเหตุสมควรปรานี จะลงโทษเพียงภาคทัณฑ์โดยจะให้ทำทัณฑ์บนไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้ ก็ให้ผู้บังคับบัญชารายงานตามลำดับถึงอัยการสูงสุดเพื่อเสนอ ก.อ. เมื่อ ก.อ. พิจารณาเห็นสมควรลงโทษสถานใด ก็ให้รายงานไปยังประธาน ก.อ. เพื่อสั่ง [คำว่า “ประธาน ก.อ.” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๗ แห่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่องการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] มาตรา ๖๔ ในคำสั่งลงโทษ ให้แสดงว่าผู้รับโทษนั้นกระทำผิดวินัยในกรณีใดตามมาตราใด มาตรา ๖๕ ถ้าปรากฏว่าคำสั่งลงโทษทางวินัยได้สั่งไปโดยผิดหลงให้ประธาน ก.อ. มีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นคุณแก่ผู้ถูกลงโทษได้ แต่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช่นว่านี้ จะต้องได้รับอนุมัติจาก ก.อ. ก่อน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ให้กระทำได้ภายในกำหนดสองปีนับแต่วันสั่งลงโทษ [คำว่า “ประธาน ก.อ.” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๗ แห่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่องการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] ลักษณะ ๕ ข้าราชการธุรการ มาตรา ๖๖ ในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการธุรการ ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนสามัญ มาใช้บังคับ ตำแหน่งข้าราชการอัยการใดเป็นตำแหน่งผู้บังคับบัญชาข้าราชการธุรการ โดยเทียบกับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งใด ให้กำหนดโดยกฎ ก.พ. บทเฉพาะกาล มาตรา ๖๗ ให้กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งอยู่ในตำแหน่งในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาคงอยู่ในตำแหน่งต่อไป จนกว่าจะได้มีการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัตินี้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๖๘ ผู้ใดเป็นข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไป โดยให้ได้รับเงินเดือนในอัตราเท่ากับเงินเดือนที่ได้รับอยู่ เว้นแต่ผู้ที่ได้รับเงินเดือนไม่ถึงขั้นต่ำของชั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนขั้นต่ำของชั้นนั้น มาตรา ๖๙ ผู้ใดเป็นข้าราชการธุรการสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการธุรการตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไป มาตรา ๗๐ ผู้ใดเป็นข้าราชการธุรการวิสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการธุรการวิสามัญต่อไป และให้นำมาตรา ๑๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๗๑ ข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยในขณะที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ใช้บังคับ และผู้บังคับบัญชาได้สั่งให้ดำเนินการสอบสวนแล้ว ถ้าการสั่งและการสอบสวนพิจารณาที่ได้กระทำไปแล้วถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ให้ถือว่าเป็นอันสมบูรณ์ ถ้ากรณียังค้างระหว่างการสอบสวน ก็ให้ดำเนินการสอบสวนตามกฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะเสร็จ แต่การพิจารณาและการสั่งลงโทษให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๗๒ ผู้ที่ได้ยื่นใบสมัครเข้าเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงถือคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ผู้ที่ ก.อ. ได้ลงมติให้รับเข้าเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ตามมาตรา ๑๔ และผู้สอบคัดเลือกได้ตามมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงมีสิทธิได้รับบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยต่อไป มาตรา ๗๓ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญที่จะได้ประกาศใช้ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๒๐ มิให้นำความในมาตรา ๓๙ (๔) ในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการการเมืองมาใช้บังคับแก่ข้าราชการอัยการ มาตรา ๗๔ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาบรรจุบุคคลซึ่งเคยรับราชการและออกจากราชการไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เข้ารับราชการ ให้ปรับเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้เข้าชั้นและขั้นตามบัญชีที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่กลับเข้ารับราชการ ในกรณีที่ผู้เข้ารับราชการเป็นผู้ซึ่งออกจากราชการก่อนมีการปรับอัตราเงินเดือนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๗ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๐ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๖๐ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ หรือพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๑๗ ให้ปรับเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการ ตามพระราชบัญญัติและประกาศนั้น ๆ เสียก่อน แล้วจึงปรับเงินเดือนตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่มีการปรับเงินเดือนของผู้ที่กลับเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองแล้วยังปรากฏว่าผู้เข้ารับราชการได้รับเงินเดือนไม่ถึงขั้นต่ำของชั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้ ก.อ. เป็นผู้พิจารณาว่าผู้นั้นสมควรได้รับการบรรจุในชั้นหรือขั้นใด ทั้งนี้ ก.อ. จะกำหนดให้ได้รับเงินเดือนในชั้นที่ต่ำกว่าขั้นต่ำของชั้นเป็นกรณีเฉพาะรายก็ได้ มาตรา ๗๕ ข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญ หรือข้าราชการซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือพนักงานเทศบาลที่ไม่ใช่พนักงานเทศบาลวิสามัญซึ่งสอบคัดเลือก หรือทดสอบความรู้เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ และเจ้าสังกัดได้ทำความตกลงกับกรมอัยการให้โอนมาบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้นับเวลาราชการหรือเวลาทำงานของตนในขณะที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานเทศบาลเป็นเวลาราชการของข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย มาตรา ๗๖ ในระหว่างที่ยังมิได้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กฎหมายว่าด้วยเงินเดือนของข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการ และกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวข้าราชการ พนักงานเทศบาล พนักงานสุขาภิบาล และพนักงานองค์การของรัฐเพื่อให้มีผลบังคับรวมถึงข้าราชการฝ่ายอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าข้าราชการฝ่ายอัยการเป็นข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กฎหมายว่าด้วยเงินเดือนของข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการ และกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวข้าราชการ พนักงานเทศบาล พนักงานสุขาภิบาล และพนักงานองค์การของรัฐอยู่ต่อไป มาตรา ๗๗ ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกา ออกกฎกระทรวง กฎ ก.พ. ข้อกำหนด ข้อบังคับ ระเบียบ หรือประกาศ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง กฎ ก.พ. ข้อกำหนด ข้อบังคับ ระเบียบหรือประกาศที่ใช้อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษามาใช้บังคับโดยอนุโลมเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ได้ใช้บังคับมานานแล้ว แม้จะได้ปรับปรุงแก้ไขมาหลายครั้ง ก็ยังมีบทบัญญัติหลายมาตราไม่เหมาะสมกับกาลสมัย และเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการบริหารงานบุคคลในปัจจุบัน สมควรจะได้ปรับปรุงแก้ไขเสียใหม่ อันจะทำให้ราชการของกรมอัยการดำเนินไปได้ผลดียิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑[๒๒] มาตรา ๔ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๑ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ และบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๓ ท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา ๕ การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้เข้าชั้นและขั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๑ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่ต่ำกว่าชั้นและขั้นที่ข้าราชการอัยการผู้นั้นดำรงอยู่และได้รับอยู่เดิม มาตรา ๖ เพื่อประโยชน์ในการบรรจุบุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการอัยการและออกจากราชการไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับกลับเข้ารับราชการ ให้ปรับอัตราเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้ตรงกับชั้นและขั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ที่ใช้อยู่ในขณะกลับเข้ารับราชการ และให้นำมาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ปรับปรุงใหม่ไม่ได้ส่วนสัมพันธ์กับอัตราเงินเดือนของข้าราชการประเภทอื่น ๆ ที่ได้รับการปรับปรุงแล้ว สมควรแก้ไขอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔[๒๓] มาตรา ๔ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๑ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๓ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ และให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๑ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๓ ท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา ๕ ตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ข้าราชการอัยการได้รับเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ โดยให้ปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ได้รับตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ ให้เข้าชั้นและขั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนดังกล่าว ตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัตินี้ เมื่อได้ปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามวรรคหนึ่งแล้ว ข้าราชการอัยการผู้ใดได้รับเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำของชั้น เมื่อจะพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนในปีงบประมาณต่อไป ให้ปรับให้ข้าราชการอัยการผู้นั้นได้รับเงินเดือนสูงขึ้น ๑ ขั้น ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ของปีงบประมาณนั้นแล้วจึงพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีตามปกติ มาตรา ๖ เพื่อประโยชน์ในการบรรจุบุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการอัยการ และออกจากราชการไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ กลับเข้ารับราชการ ให้ปรับอัตราเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้ตรงกับชั้นและขั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัตินี้ที่ใช้อยู่ในขณะกลับเข้ารับราชการ และให้นำมาตรา ๗๔ วรรคสอง และวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่ได้ส่วนสัมพันธ์กับอัตราเงินเดือนของข้าราชการประเภทอื่น สมควรแก้ไขอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑[๒๔] มาตรา ๔ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๑ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ และบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๓ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ และให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ก. บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ข. บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ค. และบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ง.ท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา ๕ การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้เข้าชั้นและขั้นเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ก. บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ข. บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ค. หรือ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ง. ท้ายพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการและตามระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกำหนด เมื่อปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามวรรคหนึ่งแล้ว เฉพาะข้าราชการอัยการผู้ได้รับเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำหรือสูงกว่าขั้นสูงของชั้น ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นตามที่กำหนดไว้ในบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ ข้าราชการอัยการซึ่งได้เลื่อนตำแหน่งนับแต่วันปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามวรรคหนึ่ง ถ้าได้รับเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำของชั้นที่ได้เลื่อนตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำของบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ แต่ถ้าได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของชั้นที่ได้เลื่อนตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการก็ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นที่ได้รับอยู่ ผู้ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยนับแต่วันปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามวรรคหนึ่ง ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ การรับเงินเดือนในขั้นต่อ ๆ ไปของข้าราชการอัยการตามวรรคสองวรรคสามและวรรคสี่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๖ การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามมาตรา ๕ ให้มีผลเป็นการปรับขั้นเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ได้รับอยู่ตามไปด้วย มาตรา ๗ เพื่อประโยชน์ในการบรรจุบุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และออกจากราชการไปก่อนวันที่บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับกลับเข้ารับราชการ ให้ปรับอัตราเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้เข้าชั้นและขั้นเงินเดือนตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา ๕ และให้นำมาตรา ๗๔ วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ มาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย มาตรา ๘ ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ก. ตามมาตรา ๖ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ให้นำบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๓ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ มาใช้บังคับไปพลางก่อน หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการในบัญชีอัตราเงินเดือนท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้ใช้มาเป็นเวลานานไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน จำเป็นต้องกำหนดจำนวนขั้นเงินเดือน อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการแต่ละชั้น และปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการเสียใหม่ รวมทั้งให้มีการให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนแต่ละบัญชีได้ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่อง การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔[๒๕] ข้อ ๗ ให้แก้ไขคำว่า “รัฐมนตรี หรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรี” หรือคำว่า “รัฐมนตรี” ในมาตรา ๑๖ มาตรา ๑๗ มาตรา ๒๕ มาตรา ๒๖ มาตรา ๓๘ และมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็น “นายกรัฐมนตรี หรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี” และแก้ไขคำว่า “รัฐมนตรี หรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรี” หรือคำว่า “รัฐมนตรี” ในมาตรา ๑๕ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๖ มาตรา ๕๗ มาตรา ๖๐ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็น “ประธาน ก.อ.” ข้อ ๘ ให้แก้ไขคำว่า “อธิบดี” และ “รองอธิบดี” ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็น “อัยการสูงสุด” และ “รองอัยการสูงสุด” ตามลำดับ ข้อ ๙ ให้นายกรัฐมนตรีสั่งให้มีการเลือกประธานกรรมการอัยการภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ และในระหว่างที่ยังมิได้เลือกประธานกรรมการอัยการ ให้รองประธานกรรมการอัยการทำหน้าที่ประธานกรรมการอัยการ ข้อ ๑๐ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ให้กรรมการข้าราชการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะครบวาระ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕[๒๖] มาตรา ๔ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑ และให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๑ และบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ หมายเลข ๑ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ และบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๓ และบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ หมายเลข ๓ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๔ และบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ หมายเลข ๔ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๕ ท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา ๘ เพื่อประโยชน์ในการบรรจุบุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และออกจากราชการไปก่อนวันที่บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับกลับเข้ารับราชการ ให้ปรับอัตราเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้เข้าชั้น และขั้นเงินเดือนตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา ๓ และให้นำมาตรา ๗๔ วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากการกำหนดตำแหน่งและชั้นเงินเดือนของข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ยังไม่เหมาะสม และอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการในบัญชีอัตราเงินเดือนท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑ ไม่สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาผู้บริโภค และยังไม่สอดคล้องกับอัตราค่าจ้างในกลุ่มวิชาชีพต่าง ๆ ทั้ง ๆ ที่ข้าราชการอัยการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพในทางกฎหมายมีหน้าที่บริหารงานกระบวนการยุติธรรม ให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนและรักษาผลประโยชน์ของรัฐ ซึ่งนับว่าเป็นอำนาจหน้าที่ที่มีความสำคัญยิ่ง ประกอบกับขณะนี้ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างอัตราเงินเดือนข้าราชการฝ่ายอื่น ๆ ให้เหมาะสม จึงเห็นสมควรปรับปรุงกำหนดจำนวนชั้นและขั้นอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการเสียใหม่ และเห็นควรกำหนดให้มีเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการด้วย เพื่อความเหมาะสมกับสภาวะค่าครองชีพในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๘[๒๗] มาตรา ๘ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการและบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีการแยกบัญชีอัตราเงินเดือนและบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการอัยการไปบัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะแล้ว สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๕[๒๘] มาตรา ๗ ให้คณะกรรมการอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นคณะกรรมการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ จนกว่ากรรมการอัยการตามวรรคสามจะเข้ารับหน้าที่ ให้ประธาน ก.อ. ดำรงตำแหน่งต่อไปเท่าที่วาระการดำรงตำแหน่งเหลืออยู่ ในวาระเริ่มแรก ให้มีการเลือกและแต่งตั้งกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๕ (๔) และ (๕) ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติใช้บังคับ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากองค์ประกอบของคณะกรรมการอัยการในปัจจุบันมีกรรมการจากผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการอัยการหรือเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการ โดยมิได้มีบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นกรรมการ เว้นแต่ประธาน ก.อ. ซึ่งอาจเลือกมาจากผู้ทรงคุณวุฒิในทางกฎหมายซึ่งเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไปได้ สมควรให้คณะกรรมการอัยการเป็นองค์กรที่มีบุคคลภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการอัยการ นอกจากนี้โดยที่ได้มีการตรากฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ สมควรแก้ไขบทบัญญัติในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓๕ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙[๒๙] วศิน/ตรวจ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๕/ตอนที่ ๕๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒/๓๑ พฤษภาคม ๒๕๒๑ [๒] มาตรา ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่อง การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ [๓] มาตรา ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๘ [๔] มาตรา ๙ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๘ [๕] มาตรา ๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่อง การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ [๖] มาตรา ๑๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่อง การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ [๗] มาตรา ๑๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๕ [๘] มาตรา ๑๕ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๕ [๙] มาตรา ๑๕ ตรี เพิ่มโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่อง การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ [๑๐] มาตรา ๑๕ จัตวา เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๕ [๑๑] มาตรา ๑๕ เบญจ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๕ [๑๒] มาตรา ๑๕ ฉ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๕ [๑๓] มาตรา ๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๕ [๑๔] มาตรา ๑๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓๕ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ [๑๕] มาตรา ๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๘ [๑๖] มาตรา ๒๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๑๗] มาตรา ๒๔ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๘ [๑๘] มาตรา ๒๔ (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๕ [๑๙] มาตรา ๒๔ ทวิ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๘ [๒๐] มาตรา ๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓๕ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ [๒๑] มาตรา ๒๙ วรรคสาม ยกเลิกโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่อง การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ [๒๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๕/ตอนที่ ๑๐๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘/๒๗ กันยายน ๒๕๒๑ [๒๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๘/ตอนที่ ๑๗๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒๒ ตุลาคม ๒๕๒๔ [๒๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๑๘๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๕๐/๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๑ [๒๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๓๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๕๕/๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ [๒๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๓๕/หน้า ๓๐/๓ เมษายน ๒๕๓๕ [๒๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑ ก/หน้า ๔๔/๑ มกราคม ๒๕๓๘ [๒๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๖๖ ก/หน้า ๑/๑๕ กรกฎาคม ๒๕๔๕ [๒๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๐๖ ก/หน้า ๒/๔ ตุลาคม ๒๕๔๙
640691
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553
พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นปีที่ ๖๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ (๒) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ (๓) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ (๔) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑ (๕) ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่อง การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ (๖) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ (๗) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๘ (๘) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๕ (๙) ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓๕ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๙ (๑๐) พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส พ.ศ. ๒๕๔๓ (๑๑) พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ (๑๒) พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๔๔ (๑๓) พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “ข้าราชการฝ่ายอัยการ” หมายความว่า ข้าราชการซึ่งรับราชการในสำนักงานอัยการสูงสุดโดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนในสำนักงานอัยการสูงสุด “ก.อ.” หมายความว่า คณะกรรมการอัยการ มาตรา ๕ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ลักษณะ ๑ บททั่วไป มาตรา ๖ ข้าราชการฝ่ายอัยการ แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ (๑) ข้าราชการอัยการ ได้แก่ ข้าราชการผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพนักงานอัยการตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ (๒) ข้าราชการธุรการ ได้แก่ ข้าราชการในสำนักงานอัยการสูงสุดนอกจาก (๑) มาตรา ๗ ให้นำระบบบัญชีเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตุลาการมาใช้กับข้าราชการอัยการโดยอนุโลม อัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการอัยการ ให้เป็นไปตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่สมควรปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ถ้าการปรับอัตราเงินเดือนดังกล่าวเป็นการปรับเพิ่มเป็นร้อยละเท่ากันทุกอัตราและไม่เกินร้อยละสิบของอัตราที่ใช้บังคับอยู่ การปรับให้กระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาและให้ถือว่าบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชกฤษฎีกาเป็นบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ในกรณีที่การปรับเป็นร้อยละเท่ากันทุกอัตราหากทำให้อัตราหนึ่งอัตราใดมีเศษไม่ถึงสิบบาท ให้ปรับตัวเลขเงินเดือนของอัตราดังกล่าวให้เพิ่มขึ้นเป็นสิบบาท และมิให้ถือว่าเป็นการปรับอัตราร้อยละที่แตกต่างกัน มาตรา ๘ การกำหนดตำแหน่ง อัตราเงินเดือน อัตราเงินประจำตำแหน่ง การรับเงินเดือน การรับเงินประจำตำแหน่ง การปรับขั้นต่ำขั้นสูงของเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง และเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการธุรการ ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนสามัญมาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ คำว่า “ก.พ.” และ “อ.ก.พ. กระทรวง” ให้หมายถึง “ก.อ.” และคำว่า “กระทรวง” ให้หมายถึง “สำนักงานอัยการสูงสุด” นอกจากตำแหน่งที่กำหนดขึ้นตามวรรคหนึ่ง ก.อ. อาจออกประกาศกำหนดให้มีตำแหน่งข้าราชการธุรการที่แตกต่างไปจากตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนก็ได้ ตำแหน่งดังกล่าวจะให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในอัตราเท่าใดและจะเทียบกับตำแหน่งใดตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดในประกาศนั้นด้วย มาตรา ๙ ในกรณีคณะรัฐมนตรีกำหนดเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นการทั่วไป ให้ข้าราชการฝ่ายอัยการได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวในหลักเกณฑ์เดียวกันด้วย มาตรา ๑๐ ข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการการเมืองหรือข้าราชการซึ่งอยู่ในระหว่างการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งสอบคัดเลือก หรือทดสอบความรู้หรือคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ตามพระราชบัญญัตินี้ หากประสงค์จะโอนมาบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเพื่อนับเวลาราชการหรือเวลาทำงานของตนในขณะที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเป็นเวลาราชการของข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย ก็ให้กระทำได้โดยสำนักงานอัยการสูงสุดทำความตกลงกับเจ้าสังกัด มาตรา ๑๑ บำเหน็จบำนาญของข้าราชการฝ่ายอัยการ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดถึงแก่ความตาย หรือได้รับอันตรายถึงทุพพลภาพเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการจนต้องออกจากราชการเพราะเหตุทุพพลภาพตามพระราชบัญญัตินี้ ก.อ. จะพิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญก็ได้ มาตรา ๑๒ เครื่องแบบ และการแต่งกายของข้าราชการฝ่ายอัยการ การกำหนดให้มีตราสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายใดเพื่อใช้ในการบริหารราชการสำนักงานอัยการสูงสุด รวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำและใช้ตราสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายนั้น ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๑๓ วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี และวันหยุดประจำปีของข้าราชการฝ่ายอัยการ ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดสำหรับข้าราชการพลเรือน เว้นแต่ ก.อ. จะกำหนดเป็นอย่างอื่น การลาหยุดราชการของข้าราชการฝ่ายอัยการ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๑๔ ประมวลจริยธรรมของข้าราชการฝ่ายอัยการให้เป็นไปตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ. สำนักงานอัยการสูงสุดโดยความเห็นชอบของ ก.อ. จะต้องจัดให้มีประมวลจรรยาบรรณสำหรับข้าราชการฝ่ายอัยการ ประมวลจริยธรรมตามวรรคหนึ่ง และประมวลจรรยาบรรณตามวรรคสอง เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ มาตรา ๑๕ ข้าราชการฝ่ายอัยการมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแต่ทั้งนี้ต้องไม่กระทบประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะ และต้องไม่มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรวมกลุ่มตามวรรคหนึ่ง เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามข้อเสนอแนะของ ก.อ. มาตรา ๑๖ การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ การพัฒนาคุณภาพชีวิต การเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติราชการ การปฏิบัติระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา การให้ไปศึกษาเพิ่มเติม ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย การประเมินผลการปฏิบัติราชการ ให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด มาตรา ๑๗ ในกรณีที่พระราชบัญญัตินี้กำหนดให้เป็นไปตามที่ ก.อ. กำหนด ให้ ก.อ. ทำเป็นระเบียบ ข้อกำหนด หรือประกาศ ตามที่เห็นสมควร ระเบียบ ข้อกำหนด และประกาศ ของ ก.อ. ตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ ลักษณะ ๒ คณะกรรมการอัยการ มาตรา ๑๘ ให้มีคณะกรรมการอัยการคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.อ.” ประกอบด้วย (๑) อัยการสูงสุดเป็นประธาน (๒) รองอัยการสูงสุดตามลำดับอาวุโสจำนวนไม่เกินสี่คนเป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่ง ทั้งนี้ ให้รองอัยการสูงสุดที่มีอาวุโสสูงสุดเป็นรองประธาน (๓) กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนหกคน ซึ่งข้าราชการอัยการชั้น ๒ ขึ้นไปเป็นผู้เลือกจาก (ก) ข้าราชการอัยการชั้น ๖ ขึ้นไป และมิได้เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่งอยู่แล้วสามคน (ข) ผู้รับบำเหน็จหรือบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการมาแล้วและต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๙ ข. (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) และ (๗) สามคน (๔) กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภาจำนวนสองคนและคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนหนึ่งคน (๕) กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการงบประมาณ ด้านการพัฒนาองค์กร หรือด้านการบริหารจัดการ ซึ่งประธานและกรรมการตาม (๒) (๓) และ (๔) เป็นผู้เลือกจากบุคคลซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการฝ่ายอัยการจำนวนหนึ่งคน ให้ ก.อ. แต่งตั้งข้าราชการอัยการคนหนึ่งเป็นเลขานุการ ก.อ. มาตรา ๑๙ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) และ (๕) ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ ก. คุณสมบัติทั่วไป (๑) เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปี (๓) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ข. ลักษณะต้องห้าม (๑) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ ข. (๑) (๒) (๓) (๔) หรือ (๕) (๒) เป็นสมาชิกรัฐสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการพรรคการเมือง สมาชิกพรรคการเมือง หรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นของพรรคการเมือง (๓) เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง กรรมการการเลือกตั้ง กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือกรรมการในคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองหรือศาลอื่น (๔) เป็นข้าราชการอัยการ ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม ตุลาการศาลทหารหรือทนายความ (๕) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ (๖) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ (๗) ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอื่นใดอันเป็นการกระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ มาตรา ๒๐ การเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภาตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้วุฒิสภาตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อพิจารณาเสนอรายชื่อบุคคลที่เห็นสมควรจำนวนสองเท่าของกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิที่จะต้องเลือกต่อวุฒิสภาเพื่อพิจารณาเลือกต่อไป มาตรา ๒๑ ให้อัยการสูงสุดดำเนินการให้มีการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๓) ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุต้องเลือก ตามวิธีการที่ ก.อ. ประกาศกำหนด ให้ประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๒ เพื่อประโยชน์ในการรับเลือกเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๓) (ก) อัยการอาวุโสผู้ใดเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการอัยการในชั้นใดก่อนปีงบประมาณที่จะดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส ให้ถือว่าเป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการอัยการในชั้นนั้น มาตรา ๒๓ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปีและอาจได้รับเลือกหรือแต่งตั้งใหม่ได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ ถ้าตำแหน่งว่างลงก่อนถึงกำหนดวาระ ให้อัยการสูงสุดสั่งให้ดำเนินการเลือกซ่อมหรือขอให้วุฒิสภาเลือกซ่อมหรือคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งซ่อม แล้วแต่กรณี เว้นแต่วาระการอยู่ในตำแหน่งของกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิจะเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน จะไม่ดำเนินการเลือกซ่อมหรือแต่งตั้งซ่อมก็ได้ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกซ่อมหรือแต่งตั้งซ่อมตามวรรคสองอยู่ในตำแหน่งได้เพียงวาระของผู้ซึ่งตนแทน กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิที่ดำรงตำแหน่งแทนตามวรรคสอง หากมีวาระเหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งปีนับแต่วันเลือกหรือแต่งตั้ง ไม่ให้นับเป็นวาระการดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๒๔ ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการอัยการว่างลง ถ้ายังมีกรรมการอัยการพอที่จะเป็นองค์ประชุม ให้กรรมการอัยการที่เหลืออยู่ดำเนินการตามอำนาจและหน้าที่ต่อไปได้ มาตรา ๒๕ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ครบกำหนดวาระ (๒) ตาย (๓) ลาออก (๔) เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่ง หรือพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการในกรณีที่เป็นกรรมการอัยการตามมาตรา ๑๘ (๓) (ก) (๕) กลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการอัยการ ในกรณีที่เป็นกรรมการอัยการตามมาตรา ๑๘ (๓) (ข) (๖) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา ๑๘ (๓) (ข) หรือมาตรา ๑๙ แล้วแต่กรณี ในกรณีเป็นที่สงสัยว่ากรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิผู้ใดพ้นจากตำแหน่งกรรมการอัยการหรือไม่ ให้อัยการสูงสุดเสนอ ก.อ. เพื่อวินิจฉัยชี้ขาด มาตรา ๒๖ การประชุม ก.อ. ต้องมีกรรมการอัยการมาประชุมไม่น้อยกว่าแปดคนจึงเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานและรองประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการอัยการในที่ประชุมเลือกกรรมการอัยการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม หากกรรมการอัยการโดยตำแหน่งว่างลง หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้รักษาราชการแทนหรือผู้รักษาการในตำแหน่งตามกฎหมาย ทำหน้าที่กรรมการอัยการแทนในระหว่างนั้น มาตรา ๒๗ ในการประชุมของ ก.อ. ถ้ามีการพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับกรรมการอัยการผู้ใดโดยเฉพาะ ผู้นั้นไม่มีสิทธิอยู่ในที่ประชุม แต่เพื่อประโยชน์ในการนับองค์ประชุม ถ้าผู้นั้นได้เข้าประชุมแล้วและต้องออกจากที่ประชุม ให้นับผู้นั้นเป็นองค์ประชุมด้วย การวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือเสียงข้างมาก ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ให้ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบว่าด้วยการประชุมและการลงมติ ในกรณีที่การประชุมของ ก.อ. เป็นการพิจารณาดำเนินการตามมาตรา ๕๙ วรรคสองหรือมาตรา ๘๒ ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีที่เป็นการดำเนินการกับผู้ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุด ห้ามมิให้ประธาน ก.อ. ตามมาตรา ๑๘ (๑) เข้าร่วมพิจารณาเรื่องดังกล่าว โดยให้ถือว่า ก.อ. ประกอบไปด้วยกรรมการอัยการเท่าที่เหลืออยู่ และให้กรรมการอัยการที่เหลืออยู่นั้นเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๓) (ข) หรือ (๔) คนหนึ่ง ทำหน้าที่ประธาน (๒) ในกรณีที่เป็นการดำเนินการกับผู้ดำรงตำแหน่งรองอัยการสูงสุดและเป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่งตามมาตรา ๑๘ (๒) ด้วย ห้ามมิให้รองอัยการสูงสุดผู้นั้นเข้าร่วมพิจารณาเรื่องดังกล่าว และให้ถือว่า ก.อ. ประกอบไปด้วยกรรมการอัยการเท่าที่เหลืออยู่ มาตรา ๒๘ หลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมนาคุณ เบี้ยประชุม หรือค่าตอบแทนของ ก.อ. รวมทั้งอนุกรรมการ บุคคล และคณะบุคคลที่ ก.อ. แต่งตั้ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๒๙ ภายใต้บังคับมาตรา ๓๘ ในกรณีที่ ก.อ. มีหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้อัยการสูงสุดเป็นผู้เสนอเรื่องต่อ ก.อ. แต่กรรมการอัยการคนหนึ่งคนใดจะเสนอเรื่องที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของ ก.อ. เพื่อให้ ก.อ. พิจารณาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนดก็ได้ มาตรา ๓๐ นอกจากอำนาจและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น ให้ ก.อ. มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ให้ความเห็นชอบกรอบอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่งข้าราชการฝ่ายอัยการ (๒) เป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมการเกษียณอายุของข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๓) ออกระเบียบเกี่ยวกับการจัดระบบ การแก้ไข และการรักษาทะเบียนประวัติและควบคุมการเกษียณอายุของข้าราชการฝ่ายอัยการ (๔) ออกระเบียบเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการ การสงเคราะห์อื่น เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว และเงินค่าตอบแทนพิเศษอื่นแก่ข้าราชการฝ่ายอัยการ (๕) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการการจัดลำดับอาวุโสของข้าราชการอัยการ (๖) ออกระเบียบเกี่ยวกับการรักษาราชการแทน การปฏิบัติราชการแทนและการรักษาการในตำแหน่งของข้าราชการฝ่ายอัยการ (๗) ออกระเบียบเกี่ยวกับการร้องทุกข์ของข้าราชการฝ่ายอัยการ (๘) พิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยข้าราชการฝ่ายอัยการ และการสั่งให้ข้าราชการฝ่ายอัยการออกจากราชการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (๙) ออกระเบียบเกี่ยวกับการสรรหา การบรรจุ การแต่งตั้ง การทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ การโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การรับเงินเดือน การเลื่อนเงินเดือน การรักษาจริยธรรม การออกจากราชการ การคุ้มครองระบบคุณธรรม และการจัดระเบียบข้าราชการธุรการ (๑๐) แต่งตั้งอนุกรรมการ บุคคล หรือคณะบุคคลเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ ก.อ. มอบหมาย (๑๑) ออกระเบียบหรือประกาศเพื่อกำหนดการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการฝ่ายอัยการ มาตรา ๓๑ ในการพิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยข้าราชการธุรการ ให้ ก.อ. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการ ซึ่งจะต้องมีข้าราชการธุรการไม่น้อยกว่าสองคนร่วมเป็นคณะอนุกรรมการด้วย จำนวน คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่ง รวมตลอดทั้งวิธีการได้มา วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด ลักษณะ ๓ ข้าราชการอัยการ หมวด ๑ การบรรจุ การแต่งตั้ง และการเลื่อนขั้นเงินเดือน มาตรา ๓๒ ตำแหน่งข้าราชการอัยการ มี ๘ ชั้น ดังนี้ (๑) อัยการสูงสุดเป็นข้าราชการอัยการชั้น ๘ (๒) รองอัยการสูงสุด และผู้ตรวจการอัยการ เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๗ (๓) อธิบดีอัยการ อธิบดีอัยการภาค รองอธิบดีอัยการ รองอธิบดีอัยการภาคอัยการพิเศษฝ่ายและอัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๖ (๔) อัยการผู้เชี่ยวชาญ เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๕ (๕) อัยการจังหวัด และอัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๔ (๖) อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด และรองอัยการจังหวัด เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๓ (๗) อัยการประจำกอง และอัยการจังหวัดผู้ช่วย เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๒ (๘) อัยการผู้ช่วย เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๑ มาตรา ๓๓ นอกจากตำแหน่งข้าราชการอัยการตามมาตรา ๓๒ ให้มีตำแหน่งอัยการอาวุโสด้วย มาตรา ๓๔ ข้าราชการอัยการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ดังต่อไปนี้ (๑) อัยการสูงสุด ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๘ (๒) รองอัยการสูงสุด และผู้ตรวจการอัยการ ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๗ (๓) อธิบดีอัยการ อธิบดีอัยการภาค รองอธิบดีอัยการ รองอธิบดีอัยการภาค อัยการพิเศษฝ่ายและอัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๖ - ๗ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้น ๖ (๔) อัยการผู้เชี่ยวชาญ ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๕ - ๖ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้น ๕ (๕) อัยการจังหวัด และอัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๔ - ๕ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในขั้นต่ำของชั้น ๔ (๖) อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด และรองอัยการจังหวัด ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๓ - ๔ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในขั้นต่ำของชั้น ๓ (๗) อัยการประจำกอง และอัยการจังหวัดผู้ช่วย ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๒ - ๓ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในขั้นต่ำของชั้น ๒ (๘) อัยการผู้ช่วย ให้ได้รับเงินเดือนในชั้น ๑ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนในขั้นต่ำของชั้น ๑ (๙) อัยการอาวุโส ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเท่ากับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเดิมที่ได้รับอยู่ก่อนดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส เว้นแต่ผู้ซึ่งได้รับเงินเดือนขั้นสูงสุดของชั้นอยู่ก่อนแล้ว จึงให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าเงินเดือนเดิมหนึ่งขั้น และให้ปรับเงินเดือนขึ้นปีละหนึ่งขั้นแต่ไม่เกินอัตราเงินเดือนของชั้น ๘ และเมื่อปรับเงินเดือนดังกล่าวสูงกว่าขั้นสูงสุดของชั้นเดิมแล้วให้ปรับเงินประจำตำแหน่งให้เท่ากับเงินประจำตำแหน่งของชั้นถัดไป ให้ข้าราชการอัยการได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว เงินประจำตำแหน่งไม่ถือเป็นเงินเดือน ข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เมื่อเทียบกับตำแหน่งใดก็ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามตำแหน่งนั้น มาตรา ๓๕ การบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยให้อัยการสูงสุดเป็นผู้สั่งโดยวิธีการสอบคัดเลือก การทดสอบความรู้ หรือการคัดเลือกพิเศษ ตามความในหมวด ๒ แห่งลักษณะนี้ โดยให้ผู้ได้รับบรรจุได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำของชั้น ๑ มาตรา ๓๖ อัยการผู้ช่วยที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการประจำกองหรืออัยการจังหวัดผู้ช่วยจะต้องได้รับการอบรมจากสำนักงานอัยการสูงสุดมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปีและผลของการอบรมเป็นที่พอใจของ ก.อ. ว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และความประพฤติเหมาะสมที่จะเป็นอัยการประจำกองหรืออัยการจังหวัดผู้ช่วย อัยการผู้ช่วยซึ่งได้รับการอบรมจากสำนักงานอัยการสูงสุดมาแล้วตามวรรคหนึ่ง และผลของการอบรมยังไม่เป็นที่พอใจของ ก.อ. ว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และความประพฤติเหมาะสมที่จะเป็นอัยการประจำกองหรืออัยการจังหวัดผู้ช่วย ก็ให้ได้รับการอบรมจากสำนักงานอัยการสูงสุดต่อไปอีกไม่น้อยกว่าหนึ่งปี เมื่อครบกำหนดดังกล่าวแล้วหากผลของการอบรมยังไม่เป็นที่พอใจของ ก.อ. ให้อัยการสูงสุดสั่งให้ออกจากราชการ ในระหว่างเวลาปีแรกที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการประจำกองหรืออัยการจังหวัดผู้ช่วย หากปรากฏว่าผู้ได้รับแต่งตั้งไม่เหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งต่อไป อัยการสูงสุดด้วยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจสั่งให้ออกจากราชการได้ มาตรา ๓๗ ก่อนเข้ารับหน้าที่ อัยการประจำกองและอัยการจังหวัดผู้ช่วยต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคำ ดังต่อไปนี้ “ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรมโดยปราศจากอคติทั้งปวงเพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ประชาชน และความสงบสุขแห่งราชอาณาจักร ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมายทุกประการ” มาตรา ๓๘ การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งนอกจากตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ตำแหน่งอัยการอาวุโส ตำแหน่งรองอัยการสูงสุด และตำแหน่งอัยการสูงสุด ให้ประธาน ก.อ. เสนอ ก.อ. โดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถ ความรับผิดชอบ ประวัติการปฏิบัติราชการ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลนั้นเทียบกับงานในตำแหน่งข้าราชการอัยการที่จะได้รับแต่งตั้งนั้น ๆ เพื่อให้ความเห็นชอบก่อน เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว จึงนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ในกรณีที่ ก.อ. ไม่ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดตามที่ประธาน ก.อ. เสนอตามวรรคหนึ่ง ให้ประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการคนหนึ่งคนใด เสนอชื่อบุคคลอื่นเพื่อให้ ก.อ. ให้ความเห็นชอบได้และในกรณีที่มีการเสนอบุคคลหลายคนให้ดำรงตำแหน่งเดียวกัน ให้ ก.อ. พิจารณาผู้ได้รับการเสนอชื่อเรียงเป็นรายบุคคลตามลำดับอาวุโสเพื่อให้ความเห็นชอบ ผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งใด ถ้าเป็นกรรมการอัยการด้วย ให้ผู้ได้รับการเสนอชื่อออกจากที่ประชุมในระหว่างการพิจารณาเพื่อให้ความเห็นชอบ แต่ให้นับเป็นองค์ประชุมด้วย มาตรา ๓๙ ข้าราชการอัยการซึ่งมีอายุครบหกสิบปีขึ้นไป หากประสงค์จะดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสในปีงบประมาณใด ให้แจ้งเป็นหนังสือต่ออัยการสูงสุดไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันก่อนเริ่มปีงบประมาณนั้น คุณสมบัติและเงื่อนไขการขอดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๔๐ การแต่งตั้งข้าราชการอัยการไปดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสให้อัยการสูงสุดเสนอรายชื่อผู้ซึ่งจะได้รับแต่งตั้งต่อ ก.อ. เพื่อให้ความเห็นชอบ เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วจึงนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป ข้าราชการอัยการผู้ใดซึ่งไปดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสแล้วจะกลับไปดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๓๒ อีกไม่ได้ มาตรา ๔๑ การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งรองอัยการสูงสุด ให้ประธาน ก.อ. เสนอ ก.อ. เพื่อให้ความเห็นชอบ เมื่อ ก.อ. ให้ความเห็นชอบแล้วจึงนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๔๒ วรรคสองและวรรคสามและมาตรา ๓๘ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๔๒ การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุด ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ ในการเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุดเพื่อขอความเห็นชอบจาก ก.อ. ให้ประธาน ก.อ. เป็นผู้เสนอ โดยคำนึงถึงอาวุโส ความรู้ความสามารถ ความรับผิดชอบ ประวัติการปฏิบัติราชการ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลนั้น ในกรณีที่ ก.อ. ไม่ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลตามที่ประธาน ก.อ. เสนอตามวรรคสอง ให้ประธาน ก.อ. เสนอชื่อบุคคลอื่นโดยเรียงตามลำดับอาวุโส และให้ ก.อ. พิจารณาตามหลักเกณฑ์ตามวรรคสอง ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๘ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๔๓ ให้ข้าราชการอัยการที่ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ได้รับการเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัตินี้ โดยความเห็นชอบของ ก.อ. ภายในระยะเวลา ดังต่อไปนี้ (๑) อธิบดีอัยการ อธิบดีอัยการภาค รองอธิบดีอัยการ รองอธิบดีอัยการภาค อัยการพิเศษฝ่ายและอัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ เมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้น ๖ มาครบสี่ปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นเงินเดือนชั้น ๗ (๒) อัยการผู้เชี่ยวชาญ เมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้น ๕ มาครบเจ็ดปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นเงินเดือนชั้น ๖ (๓) อัยการจังหวัด และอัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด เมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นเงินเดือนชั้น ๔ มาครบสามปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๔ และเมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๔ มาครบหนึ่งปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นเงินเดือนชั้น ๕ (๔) อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด และรองอัยการจังหวัด เมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นเงินเดือนชั้น ๓ มาครบห้าปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๓ และเมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๓ มาครบหนึ่งปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นเงินเดือนชั้น ๔ และเมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นเงินเดือนชั้น ๔ มาครบสามปีแล้ว ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๔ ได้ (๕) อัยการประจำกอง และอัยการจังหวัดผู้ช่วย เมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๒ มาครบหนึ่งปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นเงินเดือนชั้น ๓ และเมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นเงินเดือนชั้น ๓ มาครบห้าปีแล้ว ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๓ ได้ ให้ปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการในชั้นเงินเดือนชั้น ๑ ชั้นเงินเดือนชั้น ๒ และชั้นเงินเดือนชั้น ๓ สูงขึ้นหนึ่งขั้นทุกปี โดยความเห็นชอบของ ก.อ. จนกว่าจะได้รับเงินเดือนในขั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือน เว้นแต่ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกลงโทษทางวินัยในปีใด ก.อ. จะมีมติไม่ให้ปรับอัตราเงินเดือนให้ข้าราชการอัยการผู้นั้นสำหรับปีนั้นก็ได้ ในการปรับอัตราเงินเดือนตามวรรคสอง ถ้า ก.อ. พิจารณาเห็นว่าข้าราชการอัยการผู้ใดมีผลงานดีเด่นเป็นอย่างยิ่ง และเมื่อคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณงาน การรักษาวินัย ความประพฤติ คุณธรรม จริยธรรม แล้ว ก.อ. จะให้ปรับอัตราเงินเดือนให้ข้าราชการอัยการผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษเกินหนึ่งขั้นก็ได้ ความในวรรคสองมิให้ใช้บังคับกับข้าราชการอัยการที่ลาไปศึกษาต่อหรือลาเพื่อการอื่นใด ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๔๔ การโอนข้าราชการอัยการไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการธุรการโดยให้ได้รับเงินเดือนไม่สูงกว่าในขณะที่โอน ให้อัยการสูงสุดสั่งได้เมื่อข้าราชการอัยการผู้นั้นยินยอมและ ก.อ. เห็นชอบ การโอนข้าราชการอัยการไปเป็นข้าราชการพลเรือน หรือข้าราชการฝ่ายอื่นให้อัยการสูงสุดสั่งได้เมื่อข้าราชการอัยการผู้นั้นยินยอมและ ก.อ. เห็นชอบ มาตรา ๔๕ การโอนข้าราชการธุรการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการอัยการอาจทำได้เมื่อ ก.อ เห็นชอบ แต่ข้าราชการธุรการผู้นั้นอย่างน้อยต้องเคยเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการประจำกอง หรืออัยการจังหวัดผู้ช่วยมาแล้ว มาตรา ๔๖ ภายใต้บังคับมาตรา ๔๗ ข้าราชการอัยการผู้ใดพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการไปโดยมิได้มีความผิดหรือมีมลทินหรือมัวหมองในราชการ หรือไปรับราชการ หรือไปปฏิบัติงานในกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เมื่อประสงค์จะกลับเข้ารับตำแหน่งข้าราชการอัยการ ถ้าไม่เป็นผู้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจสั่งบรรจุได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ โดยบรรจุให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งซึ่งปรับให้เข้ากับอัตราที่เทียบได้ไม่สูงกว่าขณะพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการ ในกรณีที่ปรับเงินเดือนของผู้ที่กลับเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งให้เข้ากับอัตราหรือขั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่กลับเข้ารับราชการไม่ได้ ให้ ก.อ. เป็นผู้พิจารณาว่าผู้นั้นสมควรได้รับการบรรจุในอัตราหรือขั้นใด มาตรา ๔๗ ข้าราชการอัยการซึ่งไปรับราชการหรือไปปฏิบัติงานในกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หากได้รับการบรรจุกลับเข้ารับตำแหน่งข้าราชการอัยการตามมาตรา ๔๖ และ ก.อ. เห็นว่าการไปรับราชการหรือไปปฏิบัติงานในกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นของรัฐนั้นเป็นประโยชน์ต่อราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด ก.อ. จะปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการนั้นให้เป็นกรณีพิเศษก็ได้ มาตรา ๔๘ ข้าราชการอัยการผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร เมื่อผู้นั้นพ้นจากราชการทหาร โดยไม่มีความเสียหาย และประสงค์จะกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งข้าราชการอัยการ โดยรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในอัตราเท่าที่ได้รับอยู่ในขณะที่ไปรับราชการทหาร ให้ยื่นคำขอภายในกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันพ้นจากราชการทหาร ในกรณีเช่นว่านี้ให้อัยการสูงสุดสั่งบรรจุได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ แต่ถ้าจะบรรจุให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในอัตราสูงกว่าขณะที่ไปรับราชการทหารให้บรรจุได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด หมวด ๒ การสอบคัดเลือก การทดสอบความรู้ และการคัดเลือกพิเศษ มาตรา ๔๙ ผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ ก. คุณสมบัติทั่วไป (๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด (๒) ผู้สมัครสอบคัดเลือกหรือผู้สมัครทดสอบความรู้ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปี ผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปี (๓) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ (๔) เป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา (๕) เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต (๖) เป็นผู้ที่ผ่านการตรวจร่างกายและจิตใจโดยคณะกรรมการแพทย์จำนวนไม่น้อยกว่าสามคน ซึ่ง ก.อ. กำหนด และ ก.อ. ได้พิจารณารายงานของคณะกรรมการแพทย์แล้วเห็นสมควรรับสมัครได้ ข. ลักษณะต้องห้าม (๑) เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี (๒) เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว (๓) เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งให้พักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายอื่น (๔) เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (๕) เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๖) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรือมีจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการอัยการ หรือเป็นโรคตามที่ ก.อ. ประกาศกำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด ให้ ก.อ. มีอำนาจกำหนดค่าธรรมเนียมการสมัครสอบคัดเลือก สมัครทดสอบความรู้ และสมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ มาตรา ๕๐ ผู้สมัครสอบคัดเลือกตามมาตรา ๔๙ ต้องมีคุณวุฒิและได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นนิติศาสตรบัณฑิต หรือสอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ ซึ่ง ก.อ. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี (๒) สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (๓) ได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นข้าราชการตุลาการ จ่าศาล รองจ่าศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดี พนักงานคุมประพฤติ นายทหารเหล่าพระธรรมนูญหรือทนายความ หรือได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นตามที่ ก.อ. กำหนด ทั้งนี้ เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี การประกอบวิชาชีพทางกฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ ก.อ. กำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการสมัครสอบคัดเลือกให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๕๑ ผู้สมัครทดสอบความรู้ตามมาตรา ๔๙ ต้องมีคุณวุฒิและได้ประกอบวิชาชีพ ดังต่อไปนี้ (๑) สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (๒) มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (ก) สอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศโดยมีหลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่าสามปี ซึ่ง ก.อ. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือสอบไล่ได้ปริญญาเอกทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ซึ่ง ก.อ. รับรอง (ข) สอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศโดยมีหลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่าสองปี หรือหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่าสองปี ซึ่ง ก.อ. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐ (๓) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (ค) สอบไล่ได้นิติศาสตรบัณฑิต และสอบไล่ได้ชั้นเกียรตินิยมตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาและได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐ (๓) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (ง) สอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ซึ่ง ก.อ. รับรองและได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐ (๓) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (จ) เป็นนิติศาสตรบัณฑิตชั้นเกียรตินิยมและได้ประกอบวิชาชีพเป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมายในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่ง ก.อ. รับรองเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี (ฉ) เป็นนิติศาสตรบัณฑิตและเป็นข้าราชการฝ่ายอัยการที่ได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายในตำแหน่งตามที่ ก.อ. กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกปี และอัยการสูงสุดรับรองว่ามีความซื่อสัตย์สุจริต มีความรู้ความสามารถดีและมีความประพฤติดีเป็นที่ไว้วางใจว่าจะปฏิบัติหน้าที่ข้าราชการอัยการได้ (ช) สอบไล่ได้ปริญญาโทหรือปริญญาเอกในสาขาวิชาที่ ก.อ. กำหนดและเป็นนิติศาสตรบัณฑิต และได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐ (๓) หรือได้ประกอบวิชาชีพตามที่ ก.อ. กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี (ซ) สอบไล่ได้ปริญญาตรีหรือที่ ก.อ. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีในสาขาวิชาที่ ก.อ. กำหนด และได้ประกอบวิชาชีพตามที่ ก.อ. กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปีจนมีความรู้ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพนั้นและเป็นนิติศาสตรบัณฑิต เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการ ในการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในแต่ละครั้ง สำนักงานอัยการสูงสุดโดยความเห็นชอบของ ก.อ. อาจกำหนดให้รับสมัครเฉพาะผู้มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างตาม (๒) ก็ได้ ให้ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพตาม (๒) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการสมัครทดสอบความรู้ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๕๒ ผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษตามมาตรา ๔๙ ต้องมีคุณวุฒิและประสบการณ์ ดังต่อไปนี้ (๑) สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (๒) มีประสบการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (ก) เป็นหรือเคยเป็นศาสตราจารย์หรือรองศาสตราจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่ง ก.อ. รับรอง (ข) เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญหรือข้าราชการประเภทอื่นในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไป (ค) เป็นหรือเคยเป็นทนายความมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปี (๓) เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ดีเด่นในสาขาวิชาที่ ก.อ. กำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการสมัครคัดเลือกพิเศษ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๕๓ เมื่อสมควรจะมีการสอบคัดเลือก การทดสอบความรู้ หรือการคัดเลือกพิเศษเมื่อใด ให้สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ ก.อ. เพื่อมีมติให้จัดให้มีการสอบคัดเลือก การทดสอบความรู้หรือการคัดเลือกพิเศษ ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวในแต่ละครั้ง ก.อ. อาจกำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุก็ได้ ให้ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบกำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกการทดสอบความรู้และการคัดเลือกพิเศษ ตลอดจนการกำหนดอัตราส่วนการบรรจุระหว่างผู้ที่สอบคัดเลือกได้ ผู้ที่ทดสอบความรู้ได้ และผู้ที่ผ่านการคัดเลือกพิเศษ เมื่อได้ประกาศผลการสอบคัดเลือก การทดสอบความรู้ หรือการคัดเลือกพิเศษแล้วให้บัญชีสอบคัดเลือก ทดสอบความรู้ หรือคัดเลือกพิเศษคราวก่อนเป็นอันยกเลิก มาตรา ๕๔ ให้ผู้สอบคัดเลือกที่ได้คะแนนสูงได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยก่อนผู้ที่ได้รับคะแนนต่ำลงมาตามลำดับแห่งบัญชีสอบคัดเลือก หากได้คะแนนเท่ากันให้จับสลากเพื่อจัดลำดับในระหว่างผู้ที่ได้คะแนนเท่ากันนั้น ผู้สอบคัดเลือกคนใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ หรือขาดคุณวุฒิหรือมิได้ประกอบวิชาชีพตามมาตรา ๕๐ หรือเป็นบุคคลที่ ก.อ. เห็นว่ามีชื่อเสียงหรือความประพฤติหรือเหตุอื่น ๆ อันไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการอัยการให้ผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการอัยการตามผลการสอบคัดเลือกนั้น ให้นำความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับกับการบรรจุและแต่งตั้งผู้ที่ผ่านการทดสอบความรู้ และผู้ที่ผ่านการคัดเลือกพิเศษโดยอนุโลม หมวด ๓ การพ้นจากตำแหน่ง มาตรา ๕๕ ข้าราชการอัยการพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) พ้นจากราชการตามมาตรา ๕๖ (๓) ได้รับอนุญาตให้ลาออก (๔) โอนไปรับราชการเป็นข้าราชการธุรการหรือข้าราชการฝ่ายอื่น (๕) ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร (๖) ถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๓๖ มาตรา ๕๗ หรือมาตรา ๕๙ (๗) ถูกสั่งลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก การพ้นจากตำแหน่งของข้าราชการอัยการ เว้นแต่ตำแหน่งอัยการผู้ช่วย หากเป็นกรณีตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ แต่ถ้าเป็นการพ้นจากตำแหน่งตาม (๔) (๕) (๖) หรือ (๗) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง พระบรมราชโองการดังกล่าวให้มีผลตั้งแต่วันโอนหรือวันออกจากราชการ แล้วแต่กรณี การพ้นจากตำแหน่งของอัยการสูงสุดตาม (๔) (๖) หรือ (๗) ให้เสนอวุฒิสภาเพื่อให้ความเห็นชอบ มาตรา ๕๖ ข้าราชการอัยการซึ่งมีอายุครบเจ็ดสิบปีแล้ว เป็นอันพ้นจากราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ข้าราชการอัยการผู้นั้นมีอายุครบเจ็ดสิบปี มาตรา ๕๗ ผู้ได้รับบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด หากภายหลังปรากฏว่าขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ หรือขาดคุณวุฒิหรือมิได้ประกอบวิชาชีพหรือไม่มีประสบการณ์ตามมาตรา ๕๐ มาตรา ๕๑ หรือมาตรา ๕๒ แล้วแต่กรณี ตั้งแต่ก่อนได้รับการบรรจุ ให้อัยการสูงสุดด้วยความเห็นชอบของ ก.อ. สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่รับจากทางราชการก่อนมีคำสั่งให้ออก และถ้าการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้วให้ถือว่าเป็นการสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา ๕๘ ข้าราชการอัยการผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งเพื่อให้อัยการสูงสุดเป็นผู้พิจารณา เมื่ออัยการสูงสุดสั่งอนุญาตแล้วให้ถือว่าพ้นจากตำแหน่ง ในกรณีที่ข้าราชการอัยการขอลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งหรือรับการเสนอชื่อเพื่อสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา หรือเพื่อไปดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก นอกจากกรณีตามวรรคสอง ถ้าอัยการสูงสุดเห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการจะยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกินสามเดือนนับแต่วันขอลาออกก็ได้ ในกรณีที่อัยการสูงสุดประสงค์จะลาออกจากราชการให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อ ก.อ. เพื่อให้ ก.อ. เป็นผู้พิจารณา มาตรา ๕๙ เมื่ออัยการสูงสุดเห็นสมควรให้ข้าราชการอัยการผู้ใดออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน เหตุทุพพลภาพ หรือเหตุรับราชการนานตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ให้ทำได้ด้วยความเห็นชอบของ ก.อ. แต่การให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน ให้ทำได้เฉพาะในกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และได้ดำเนินการสอบสวนตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในลักษณะ ๔ หมวด ๒ แล้ว ไม่ได้ความเป็นสัตย์ว่ากระทำผิดที่จะถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก แต่ผู้นั้นมีมลทินหรือมัวหมอง จะให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ (๒) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดบกพร่องต่อหน้าที่ หรือหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่สมควรที่จะให้คงเป็นข้าราชการอัยการต่อไป (๓) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการได้โดยสม่ำเสมอแต่ไม่ถึงเหตุทุพพลภาพ หรือ (๔) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ ก. (๑) หรือ ข. (๖) ในกรณีที่ข้าราชการอัยการซึ่งสมควรออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุดหรือรองอัยการสูงสุด ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของ ก.อ. พิจารณาดำเนินการ ลักษณะ ๔ วินัย การดำเนินการทางวินัย และการลงโทษ หมวด ๑ วินัย มาตรา ๖๐ ข้าราชการอัยการต้องรักษาวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัด ผู้ใดฝ่าฝืนจักต้องได้รับโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๔ แห่งลักษณะนี้ มาตรา ๖๑ ข้าราชการอัยการต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ มาตรา ๖๒ ข้าราชการอัยการจะเป็นสมาชิกพรรคการเมืองไม่ได้ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้แทนทางการเมืองอื่นใด กำนัน หรือผู้ใหญ่บ้าน ข้าราชการอัยการจะเข้าเป็นผู้กระทำการ ร่วมกระทำการหรือสนับสนุนในการโฆษณาหรือชักชวนใด ๆ อันเป็นคุณหรือเป็นโทษต่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ได้ มาตรา ๖๓ ข้าราชการอัยการต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับการพิจารณาสั่งคดี ห้ามมิให้ขัดขืนหลีกเลี่ยง ถ้าไม่เห็นพ้องด้วยคำสั่งนั้นจะเสนอความเห็นทัดทานเป็นหนังสือก็ได้ แต่ต้องเสนอโดยด่วน และเมื่อได้ทัดทานดังกล่าวแล้วผู้บังคับบัญชามิได้สั่งถอนหรือแก้คำสั่งที่สั่งไป ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม แต่ให้ผู้บังคับบัญชารีบรายงานขึ้นไปยังอัยการสูงสุดตามลำดับ ในการปฏิบัติราชการ ห้ามมิให้กระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่จะได้รับอนุญาต มาตรา ๖๔ ข้าราชการอัยการต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความระมัดระวัง มิให้เสียหายแก่ราชการ และด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม มาตรา ๖๕ ข้าราชการอัยการต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความที่ควรต้องแจ้งถือว่าเป็นการรายงานเท็จ มาตรา ๖๖ ข้าราชการอัยการต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการจะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้ มาตรา ๖๗ ข้าราชการอัยการต้อง (๑) ไม่ประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพ หรือกระทำกิจการใดอันเป็นการกระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ หรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งตำแหน่งหน้าที่ราชการตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด (๒) ไม่เป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (๓) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง กรรมการการเลือกตั้ง กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือตำแหน่งอื่นตามที่ ก.อ. กำหนด (๔) ไม่เป็นข้าราชการอื่นซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ (๕) ไม่เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐในทำนองเดียวกัน เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจาก ก.อ. ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.อ. กำหนด (๖) ไม่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือที่ปรึกษากฎหมายหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานทำนองเดียวกันนั้นในห้างหุ้นส่วนบริษัท มาตรา ๖๘ ข้าราชการอัยการต้องไม่ประพฤติตนเป็นคนเสเพล มีหนี้สินรุงรัง เสพของมึนเมาจนไม่สามารถครองสติได้ เล่นการพนันเป็นอาจิณ กระทำความผิดอาญา หรือกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว หรือกระทำการอื่นใดอันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งตำแหน่งหน้าที่ราชการ มาตรา ๖๙ ข้าราชการอัยการต้องสุภาพเรียบร้อยและห้ามมิให้ดูหมิ่นเหยียดหยามบุคคลใด ข้าราชการอัยการต้องต้อนรับ ให้ความสะดวก และให้ความสงเคราะห์ต่อประชาชนผู้มาติดต่อในกิจการอันเกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของตนโดยไม่ชักช้า มาตรา ๗๐ ข้าราชการอัยการต้องรักษาความสามัคคีระหว่างข้าราชการและต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหน้าที่ราชการ มาตรา ๗๑ ข้าราชการอัยการต้องถือและปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ มาตรา ๗๒ ข้าราชการอัยการต้องรักษาความลับของทางราชการ มาตรา ๗๓ ผู้บังคับบัญชาผู้ใดรู้ว่าผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัยแล้วไม่จัดการสอบสวนพิจารณาและดำเนินการตามความในหมวด ๒ และหมวด ๔ แห่งลักษณะนี้หรือไม่จัดการลงโทษตามอำนาจและหน้าที่หรือจัดการลงโทษโดยไม่สุจริต ให้ถือว่าผู้บังคับบัญชาผู้นั้นกระทำผิดวินัย หมวด ๒ การดำเนินการทางวินัย มาตรา ๗๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๘๒ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการสอบสวนชั้นต้นโดยมิชักช้า ผู้บังคับบัญชาระดับใดมีอำนาจดำเนินการสอบสวนชั้นต้นข้าราชการอัยการระดับใดรวมตลอดทั้งวิธีการสอบสวนชั้นต้น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สอบสวนชั้นต้นแล้ว เห็นว่า ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง ให้ดำเนินการตามมาตรา ๘๘ แต่ถ้าเห็นว่าเป็นกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้ดำเนินการตามมาตรา ๗๕ หรือมาตรา ๗๙ แล้วแต่กรณี แต่ถ้าเกินอำนาจของตนให้รายงานไปยังผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปตามลำดับเพื่อดำเนินการตามควรแก่กรณี มาตรา ๗๕ ในกรณีที่ผลการสอบสวนชั้นต้นปรากฏว่ามีมูลเป็นกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชารายงานประธาน ก.อ. และให้ ก.อ. แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนอย่างน้อยสามคนเพื่อทำการสอบสวน กรรมการสอบสวนตามวรรคหนึ่งต้องเป็นข้าราชการอัยการ การรายงานประธาน ก.อ. ตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด ในกรณีที่การสอบสวนชั้นต้นเกิดจากการร้องเรียนของบุคคลใด หากผลการสอบสวนชั้นต้นปรากฏว่ามีมูลตามที่ร้องเรียน ผู้ใดจะกล่าวหาฟ้องร้องผู้ร้องเรียนนั้นในความผิดทางอาญาหรือทางแพ่งเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการร้องเรียนที่มีมูลนั้นมิได้ มาตรา ๗๖ ในการสอบสวนตามมาตรา ๗๕ คณะกรรมการสอบสวนต้องแจ้งข้อกล่าวหาและรายละเอียดเท่าที่มีอยู่ให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ และต้องให้โอกาสแก่ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำพยานหลักฐานเข้าสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ด้วย ในการแจ้งรายละเอียดตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้คณะกรรมการสอบสวนส่งหนังสือร้องเรียน ถ้ามี ให้แก่ผู้ถูกกล่าวหา แต่ต้องสรุปสาระสำคัญของหนังสือร้องเรียนให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยมิให้แจ้งข้อมูลใดที่จะทำให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบถึงตัวบุคคลผู้ร้องเรียน ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวนให้เสร็จโดยเร็วไม่ช้ากว่าเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับแต่งตั้ง ถ้ามีความจำเป็นซึ่งจะสอบสวนไม่ทันภายในกำหนดนั้นก็ให้ขออนุมัติจากผู้แต่งตั้งขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง แต่ละครั้งเป็นเวลาไม่เกินสามสิบวัน และต้องแสดงเหตุที่ต้องขยายเวลาไว้ด้วยทุกครั้ง แต่ถ้าขยายเวลาแล้วยังสอบสวนไม่เสร็จ ผู้แต่งตั้งจะอนุมัติให้ขยายเวลาต่อไปอีกได้ต่อเมื่อได้แจ้งให้ ก.อ. ทราบแล้ว หลักเกณฑ์และวิธีการการสอบสวน ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๗๗ เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้ทำการสอบสวนเสร็จแล้ว ให้รายงานผลการสอบสวนและความเห็นต่อ ก.อ. เพื่อพิจารณาต่อไป และเมื่อ ก.อ. มีมติเป็นประการใด ให้ประธาน ก.อ. มีคำสั่งให้เป็นไปตามมตินั้น มาตรา ๗๘ ให้กรรมการสอบสวนตามมาตรา ๗๕ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาและให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพียงเท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของกรรมการสอบสวน และโดยเฉพาะให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย (๑) เรียกให้หน่วยงานของรัฐชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐาน ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน (๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน มาตรา ๗๙ ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงและเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่ ก.อ. กำหนด หรือได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาหรือต่อคณะกรรมการสอบสวน เมื่อได้สอบสวนชั้นต้นตามมาตรา ๗๔ แล้ว ประธาน ก.อ. โดยความเห็นชอบของ ก.อ. จะพิจารณาสั่งลงโทษโดยไม่ต้องสอบสวนก็ได้ มาตรา ๘๐ ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือถูกฟ้องคดีอาญา ที่มิใช่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ ถ้าอัยการสูงสุดเห็นว่าจะให้อยู่ในหน้าที่ราชการระหว่างสอบสวน หรือพิจารณาจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ อัยการสูงสุดโดยความเห็นชอบของ ก.อ. จะสั่งให้พักราชการก็ได้ การให้พักราชการนั้น ให้พักตลอดเวลาที่สอบสวนพิจารณา หรือตลอดเวลาที่คดียังไม่ถึงที่สุด เมื่อสอบสวนพิจารณาเสร็จแล้ว หรือคดีถึงที่สุดแล้ว ถ้าปรากฏว่าผู้ถูกสั่งให้พักราชการมิได้กระทำความผิดและไม่มีมลทินหรือมัวหมอง ให้อัยการสูงสุดสั่งให้รับราชการตามเดิม ให้นำกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนของข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการมาใช้บังคับแก่ข้าราชการอัยการผู้ถูกสั่งให้พักจากราชการโดยอนุโลม ทั้งนี้ คำว่า “เจ้ากระทรวง” ให้หมายถึง “ก.อ.” มาตรา ๘๑ ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา หรือถูกฟ้องคดีอาญา ที่มิใช่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ แม้ภายหลังผู้นั้นจะพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการไปแล้วโดยมิใช่เพราะเหตุตาย ให้ดำเนินการสอบสวนหรือพิจารณาเพื่อลงโทษ หรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้เป็นไปตามลักษณะนี้ต่อไปได้แต่ต้องเริ่มดำเนินการภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันและดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามร้อยหกสิบวัน ทั้งนี้ นับแต่วันที่ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่ง ในกรณีตามวรรคหนึ่งถ้าผลการสอบสวนหรือพิจารณาปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรงก็ให้งดโทษ มาตรา ๘๒ การดำเนินการทางวินัยและสั่งลงโทษทางวินัยสำหรับอัยการสูงสุดและรองอัยการสูงสุด ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของ ก.อ. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด หมวด ๓ การรักษาจริยธรรมและจรรยา มาตรา ๘๓ ข้าราชการอัยการต้องถือและปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและประมวลจรรยาบรรณ การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัย การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจรรยาบรรณ ให้ผู้บังคับบัญชารายงานให้ ก.อ. ทราบและให้ ก.อ. นำมาประกอบการพิจารณาในการแต่งตั้ง หมวด ๔ การลงโทษ มาตรา ๘๔ โทษผิดวินัยมี ๕ สถาน คือ (๑) ไล่ออก (๒) ปลดออก (๓) ให้ออก (๔) งดการเลื่อนตำแหน่ง หรืองดเลื่อนชั้นหรือขั้นเงินเดือน (๕) ภาคทัณฑ์ ภายใต้บังคับมาตรา ๗๙ การสั่งลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกนั้นจะกระทำได้เมื่อได้ดำเนินการสอบสวนพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๒ แห่งลักษณะนี้แล้ว มาตรา ๘๕ การไล่ออกนั้น ก.อ. จะมีมติให้ลงโทษได้เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ดังต่อไปนี้ (๑) ทุจริตต่อหน้าที่ราชการ (๒) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิดอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๓) ต้องคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย (๔) เปิดเผยความลับของทางราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๕) ละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรงหรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร (๖) ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย และการขัดคำสั่งนั้นอาจเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๗) ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ หรือปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๘) ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง มาตรา ๘๖ การปลดออกนั้น ก.อ. จะมีมติให้ลงโทษได้เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่ยังไม่ถึงขนาดที่จะต้องถูกไล่ออกจากราชการ หรือถึงขนาดที่จะต้องถูกไล่ออกแต่มีเหตุอันควรลดหย่อน มาตรา ๘๗ การให้ออกนั้น ก.อ. จะมีมติให้ลงโทษได้เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่ยังไม่ถึงขนาดที่จะต้องถูกปลดออก หรือถึงขนาดที่จะต้องถูกปลดออกแต่มีเหตุอันควรลดหย่อน ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรานี้ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ มาตรา ๘๘ ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง ผู้บังคับบัญชาจะเสนอ ก.อ. เพื่อมีมติลงโทษงดการเลื่อนตำแหน่งหรืองดเลื่อนชั้นหรือขั้นเงินเดือน เป็นเวลาไม่เกินสามปีหรือลงโทษภาคทัณฑ์โดยจะให้ทำทัณฑ์บนไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้ เมื่อ ก.อ. พิจารณาเห็นสมควรลงโทษสถานใด ก็ให้ประธาน ก.อ. สั่งตามมตินั้น ในกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้ การเสนอ ก.อ. ตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้บังคับบัญชารายงานตามลำดับถึงอัยการสูงสุดเพื่อนำเสนอ ก.อ. ต่อไป โดยให้นำบทบัญญัติมาตรา ๗๔ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๘๙ ในคำสั่งลงโทษ ให้แสดงว่าผู้รับโทษนั้นกระทำผิดวินัยในกรณีใดตามมาตราใด มาตรา ๙๐ ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๓๖ มาตรา ๕๗ หรือมาตรา ๕๙ หรือถูกสั่งให้พักราชการตามมาตรา ๘๐ หากไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของประธาน ก.อ. หรืออัยการสูงสุด ให้ฟ้องคดีต่อศาลปกครองสูงสุดภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ทราบหรือถือว่าทราบคำสั่งของประธาน ก.อ. หรืออัยการสูงสุด แล้วแต่กรณี ลักษณะ ๕ ข้าราชการธุรการ หมวด ๑ บททั่วไป มาตรา ๙๑ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการธุรการต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ ก. คุณสมบัติทั่วไป (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี (๓) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ ข. ลักษณะต้องห้าม (๑) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (๒) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่ ก.อ. ประกาศกำหนด (๓) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น (๔) เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม (๕) เป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (๖) เป็นบุคคลล้มละลาย (๗) เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิดทางอาญา เว้นแต่โทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๘) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (๙) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออก เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น (๑๐) เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออกเพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น (๑๑) เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการหรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการธุรการซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตาม ข. (๔) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) หรือ (๑๑) ก.อ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ แต่ถ้าเป็นกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (๘) หรือ (๙) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้ว และในกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (๑๐) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว และต้องมิใช่กรณีออกจากงานหรือออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่ มติของ ก.อ. ในการยกเว้นดังกล่าว ต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการที่มาประชุม การลงมติให้กระทำโดยลับ การขอยกเว้นตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด กรณีตามวรรคสอง ก.อ. จะยกเว้นให้เป็นการเฉพาะราย หรือจะประกาศยกเว้นให้เป็นการทั่วไปก็ได้ มาตรา ๙๒ การพิจารณา สรรหา กลั่นกรอง หรือแต่งตั้งบุคคลใดเข้าสู่ตำแหน่ง รวมทั้งการโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน และการลงโทษบุคคลนั้น จะต้องคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ ความเสมอภาค ความเป็นธรรม พฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลดังกล่าวและประโยชน์ของทางราชการด้วย หมวด ๒ การสรรหา การบรรจุ และการแต่งตั้ง มาตรา ๙๓ ภายใต้บังคับมาตรา ๙๔ การสรรหาเพื่อให้ได้บุคคลมาบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการธุรการอาจทำได้โดยวิธีสอบแข่งขัน สอบคัดเลือก หรือคัดเลือก ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๙๔ ในกรณีมีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่ง สำนักงานอัยการสูงสุดจะบรรจุบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และความชำนาญสูงเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ หรือทรงคุณวุฒิ หรือตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๙๕ ผู้ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการธุรการตำแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามที่ ก.อ. กำหนด ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็น ก.อ. อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการธุรการที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งก็ได้ ในกรณีที่ ก.อ. กำหนดให้ปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิใด เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ให้หมายถึงปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน หรือ ก.อ. รับรอง มาตรา ๙๖ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการธุรการ และการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ให้อัยการสูงสุดหรือผู้ที่อัยการสูงสุดมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง มาตรา ๙๗ การโอนข้าราชการธุรการไปบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการตามกฎหมายอื่นหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น หรือการโอนข้าราชการตามกฎหมายอื่น หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นมาบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการธุรการ อาจกระทำได้ถ้าเจ้าตัวสมัครใจโดยผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งทำความตกลงกับเจ้าสังกัด และปฏิบัติตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นที่โอนมาเป็นข้าราชการธุรการตามวรรคหนึ่ง ให้ดำรงตำแหน่งระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเท่าใด ให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด แต่เงินเดือนที่จะให้ได้รับจะต้องไม่สูงกว่าข้าราชการธุรการที่มีคุณวุฒิ ความสามารถ และความชำนาญงานในระดับเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้ที่โอนมาเป็นข้าราชการธุรการตามวรรคหนึ่งในขณะที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นนั้น เป็นเวลาราชการของข้าราชการธุรการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย การโอนข้าราชการการเมือง และข้าราชการที่อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมาเป็นข้าราชการธุรการตามพระราชบัญญัตินี้จะกระทำมิได้ มาตรา ๙๘ การบรรจุข้าราชการธุรการที่ได้ออกจากราชการไปเนื่องจากถูกสั่งให้ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ไปปฏิบัติงานใดซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการ หรือออกจากราชการไปที่มิใช่เป็นการออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ กลับเข้ารับราชการ ตลอดจนจะสั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ กำหนด เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการตามพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ข้าราชการธุรการที่ได้ออกจากราชการไปเนื่องจากถูกสั่งให้ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ไปปฏิบัติงานใดซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการเมื่อได้บรรจุกลับเข้ารับราชการให้มีสิทธินับวันรับราชการก่อนถูกสั่งให้ออกจากราชการรวมกับวันรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารหรือวันที่ได้ปฏิบัติงานใดตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี และวันรับราชการเมื่อได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการเป็นเวลาราชการติดต่อกันเสมือนว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกสั่งให้ออกจากราชการ สำหรับผู้ซึ่งออกจากราชการไปที่มิใช่เป็นการออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการซึ่งได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่ง ให้มีสิทธินับเวลาราชการก่อนออกจากราชการเพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๙๙ การทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ การให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการออกจากราชการ การสั่งให้ผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไปหรือมีลักษณะต้องห้ามออกจากราชการ การย้าย การโอน การเลื่อนตำแหน่ง การสั่งให้ประจำส่วนราชการ การเยียวยาแก้ไข หรือการดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลปกครอง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๑๐๐ พนักงานส่วนท้องถิ่น ข้าราชการธุรการ หรือข้าราชการตามกฎหมายอื่นซึ่งไม่ใช่ข้าราชการการเมือง ผู้ใดออกจากงานหรือออกจากราชการไปแล้ว ถ้าสมัครเข้ารับราชการเป็นข้าราชการธุรการและสำนักงานอัยการสูงสุดต้องการจะรับผู้นั้นเข้ารับราชการให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๙๖ พิจารณาโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับ ทั้งนี้ จะบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับผู้ซึ่งออกจากงานหรือออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติงานหรือปฏิบัติหน้าที่ราชการ เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้เข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งในขณะที่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นเวลาราชการของข้าราชการธุรการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย หมวด ๓ การพัฒนาคุณภาพในการดำเนินคดี มาตรา ๑๐๑ เพื่อประโยชน์แก่การพัฒนาคุณภาพในการดำเนินคดีของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้มีตำแหน่งเจ้าพนักงานคดี ซึ่งเป็นข้าราชการธุรการที่มีความรู้และประสบการณ์ในทางกฎหมายและงานคดี เพื่อปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือพนักงานอัยการในด้านการดำเนินคดีตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด ให้เจ้าพนักงานคดีได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งในอัตราที่สำนักงานอัยการสูงสุดและกระทรวงการคลังร่วมกันกำหนด เจ้าพนักงานคดีจะมีจำนวนเท่าใดในส่วนราชการใด ให้เป็นไปตามที่ ก.อ. กำหนดด้วยความเห็นชอบของสำนักงบประมาณ ในกรณีที่เจ้าพนักงานคดีผู้ใดปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐานหน้าที่และความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติของเจ้าพนักงานคดี อัยการสูงสุดอาจพิจารณาให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งเจ้าพนักงานคดีได้ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการเข้าสู่ตำแหน่ง การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่ง สำหรับตำแหน่งเจ้าพนักงานคดี ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด หมวด ๔ วินัย การรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ มาตรา ๑๐๒ นอกจากที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ วินัย การรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ของข้าราชการธุรการ ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนสามัญ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ คำว่า “ก.พ.ค.” ให้หมายถึง “ก.อ.” คำว่า “ก.พ.” “อ.ก.พ. กระทรวง” และ “อ.ก.พ. กรม” ให้หมายถึง “อนุกรรมการที่ ก.อ. แต่งตั้งตามมาตรา ๓๑” คำว่า “กระทรวง” ให้หมายถึง “สำนักงานอัยการสูงสุด” และคำว่า “รัฐมนตรี” ให้หมายถึง “อัยการสูงสุด” หมวด ๕ การรักษาจริยธรรมและจรรยา มาตรา ๑๐๓ ข้าราชการธุรการต้องถือและปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและประมวลจรรยาบรรณ การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัย การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจรรยาบรรณ ให้ผู้บังคับบัญชารายงานให้อัยการสูงสุดทราบและให้อัยการสูงสุดนำมาประกอบการพิจารณาในการแต่งตั้งและเลื่อนเงินเดือนด้วย บทเฉพาะกาล มาตรา ๑๐๔ ภายในระยะสิบปีแรกนับแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๑ มิให้นำมาตรา ๕๖ มาใช้บังคับกับข้าราชการอัยการซึ่งมีอายุครบหกสิบปีในปีงบประมาณ ๒๕๕๑ และในปีถัด ๆ ไป โดยให้ข้าราชการอัยการพ้นจากราชการเป็นลำดับในแต่ละปีต่อเนื่องกันไปตามระยะเวลาที่กำหนดตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๒๕) พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้าราชการอัยการซึ่งจะพ้นจากราชการตามวรรคหนึ่ง อาจไปดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสได้ในปีงบประมาณถัดไป โดยให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลมและให้พ้นจากราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบเจ็ดสิบปี ในกรณีที่ข้าราชการอัยการผู้ใดไม่ประสงค์จะดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสดังกล่าว ก็ให้อัยการสูงสุดดำเนินการให้ข้าราชการอัยการผู้นั้นพ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณนั้น บทบัญญัติมาตรานี้ไม่ตัดสิทธิข้าราชการอัยการตามวรรคหนึ่งที่จะขอไปดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสตามพระราชบัญญัตินี้เมื่อมีอายุครบหกสิบปีหรือในระหว่างเวลาใด ๆ ภายหลังจากอายุครบหกสิบปี แต่ต้องแจ้งเป็นหนังสือต่ออัยการสูงสุดก่อนพ้นจากราชการตามวรรคหนึ่งตามระยะเวลาที่กำหนดตามมาตรา ๓๙ มาตรา ๑๐๕ ให้คณะกรรมการอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีการเลือกและแต่งตั้งกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๓) และ (๔) ครบถ้วนแล้ว ซึ่งต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เพื่อประโยชน์ในการนับวาระการดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.อ. ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๖ ให้ข้าราชการฝ่ายอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นข้าราชการฝ่ายอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๗ ข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยในขณะที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ใช้บังคับ ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยตามพระราชบัญญัตินี้แต่ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งให้ดำเนินการใดแล้ว ถ้าการสั่งและการดำเนินการนั้นได้กระทำไปโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ให้ถือว่าเป็นอันสมบูรณ์ ถ้ากรณียังค้างระหว่างการสอบสวนก็ให้ดำเนินการสอบสวนตามกฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะเสร็จ แต่การพิจารณาและการสั่งลงโทษให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๘ ข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดอยู่ระหว่างถูกสั่งให้พักราชการ หรืออยู่ระหว่างถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าข้าราชการฝ่ายอัยการผู้นั้นถูกสั่งให้พักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๙ ผู้ที่ได้ยื่นใบสมัครสอบคัดเลือกหรือทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงถือคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ผู้ที่สอบคัดเลือกหรือทดสอบความรู้ได้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และบัญชีการสอบคัดเลือก หรือบัญชีทดสอบความรู้ แล้วแต่กรณี ยังมิได้ยกเลิกตามมาตรา ๕๓ วรรคสาม ให้คงมีสิทธิได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยต่อไป มาตรา ๑๑๐ มิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๗ มาใช้บังคับกับข้าราชการอัยการซึ่งได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการประจำกอง หรืออัยการจังหวัดผู้ช่วยก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๑๑ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาบรรจุบุคคลซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการและออกจากราชการไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเข้ารับราชการให้ปรับเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้เข้ากับอัตราหรือขั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่กลับเข้ารับราชการ ในกรณีที่ผู้เข้ารับราชการเป็นผู้ซึ่งออกจากราชการก่อนมีการปรับอัตราเงินเดือนตามพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๔๔ พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ และพระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้ปรับเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการตามพระราชบัญญัตินั้น ๆ เสียก่อน แล้วจึงปรับเงินเดือนตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่ปรับเงินเดือนของผู้ที่กลับเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้เข้ากับอัตราหรือขั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่กลับเข้ารับราชการไม่ได้ ให้ ก.อ. เป็นผู้พิจารณาว่าผู้นั้นสมควรได้รับการบรรจุในอัตราหรือขั้นใด มาตรา ๑๑๒ บรรดาพระราชกฤษฎีกา กฎ ระเบียบ ข้อกำหนด ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง และมติคณะรัฐมนตรีที่ได้ออกตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการและกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีพระราชกฤษฎีกา กฎ ระเบียบ ข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับแทน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติให้องค์กรอัยการเป็นองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ และมีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น รวมทั้งบัญญัติให้มีการตรากฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ให้พนักงานอัยการดำรงตำแหน่งได้จนถึงอายุครบเจ็ดสิบปี ในการนี้สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการให้สอดคล้องกับบทบัญญัติดังกล่าว ประกอบกับสมควรนำหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสตามกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส รวมทั้งอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ มากำหนดรวมไว้ในพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายเกี่ยวกับข้าราชการประเภทต่าง ๆ และเพื่อให้การบริหารงานบุคคลของข้าราชการฝ่ายอัยการมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ ศรินรัตน์/ปรับปรุง ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๓ อรญา/ตรวจ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๗๕ ก/หน้า ๑/๗ ธันวาคม ๒๕๕๓
315777
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 (Update ณ วันที่ 28/02/2534)
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นปีที่ ๓๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและ ยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑” มาตรา ๒* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป *[รก.๒๕๒๑/๕๙/๔๒พ/๓๑ พฤษภาคม ๒๕๒๑] มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ (๒) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๐๕ (๓) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๗ (๔) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๐ (๕) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๖๐ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ (๖) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๑๗ (๗) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๑๙ บรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่น ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราช บัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน ลักษณะ ๑ บททั่วไป มาตรา ๔* ในพระราชบัญญัตินี้ “ข้าราชการฝ่ายอัยการ” หมายความว่า ข้าราชการซึ่งรับราชการในสำนักงาน อัยการสูงสุดโดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนในสำนักงานอัยการสูงสุด “ก.อ.” หมายความว่า คณะกรรมการอัยการ *[มาตรา ๔ แก้ไขโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] มาตรา ๕ ข้าราชการฝ่ายอัยการได้แก่ (๑) ข้าราชการอัยการ คือข้าราชการผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการดำเนินคดีตาม กฎหมายซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ (๒) ข้าราชการธุรการ คือ ข้าราชการผู้มีหน้าที่ในทางธุรการ มาตรา ๖* อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้แบ่งเป็น ๖ ชั้นแต่ละชั้นมีขั้นไม่ เกินจำนวนขั้นที่กำหนดดังต่อไปนี้ ชั้น ๑ มี ๕ ขั้น ชั้น ๒ มี ๑๓ ขั้น ชั้น ๓ มี ๑๓ ขั้น ชั้น ๔ มี ๑๑ ขั้น ชั้น ๕ มี ๑๐ ขั้น ชั้น ๖ มี ๖ ขั้น อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามชั้นและขั้นดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ให้เป็นไป ตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ก. บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ข. บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ค. หรือบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ง. ท้ายพระราชบัญญัตินี้ การให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามวรรคสองแต่ละบัญชี ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา อัตราเงินเดือนข้าราชการธุรการให้เป็นไปตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการ พลเรือนที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน *[มาตรา ๖ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑] มาตรา ๗ เพื่อประโยชน์ในการออมทรัพย์ของข้าราชการอัยการ คณะรัฐมนตรี จะวางระเบียบและวิธีการให้กระทรวงการคลังหักเงินเดือนของข้าราชการอัยการไว้เป็นเงินสะสมก็ ได้ โดยคิดดอกเบี้ยจากเงินสะสมนั้นให้ในอัตราไม่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทประจำของ ธนาคารพาณิชย์ เงินสะสมและดอกเบี้ยนี้ให้จ่ายคืนหรือให้กู้ยืมเพื่อดำเนินการตามโครงการ สวัสดิการสำหรับข้าราชการอัยการตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๘ ข้าราชการอัยการอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะ เศรษฐกิจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๙ ในกรณีที่มีเหตุที่จะต้องจัดให้มีหรือปรับปรุงเงินเพิ่มค่าครองชีพตาม มาตรา ๘ หรือปรับขั้นเงินเดือนตามมาตรา ๖ วรรคสอง ให้รัฐมนตรีรายงานไปยังคณะรัฐมนตรี ดำเนินการต่อไป มาตรา ๑๐* ข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการการเมืองข้าราชการวิสามัญ หรือ ข้าราชการซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือพนักงานเทศบาลที่ไม่ใช่พนักงาน เทศบาลวิสามัญ ซึ่งสอบคัดเลือก หรือทดสอบความรู้เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการอัยการใน ตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ตามพระราชบัญญัตินี้ หากประสงค์จะโอนมาบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ ในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเพื่อนับเวลาราชการหรือเวลาทำงานของตนในขณะที่เป็นข้าราชการ หรือ พนักงานเทศบาลเป็นเวลาราชการของข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย ก็ให้กระทำ ได้โดยสำนักงานอัยการสูงสุดทำความตกลงกับเจ้าสังกัด *[มาตรา ๑๐ แก้ไขโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] มาตรา ๑๑ บำเหน็จบำนาญของข้าราชการอัยการ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ว่าด้วยการนั้น ข้าราชการอัยการผู้ใดถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์ในการคำนวณ บำเหน็จบำนาญก็ได้ มาตรา ๑๒ เครื่องแบบของข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่งให้เป็นไป ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๑๓ วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการอัยการ ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๑๔* ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ มีอำนาจกำหนดค่าธรรมเนียมการสอบเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และออกกฎกระทรวงเพื่อ ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ *[มาตรา ๑๔ แก้ไขโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] ลักษณะ ๒ คณะกรรมการอัยการ มาตรา ๑๕* ให้มีคณะกรรมการอัยการคณะหนึ่งเรียกโดยย่อว่า ก.อ. ประกอบ ด้วย (๑) ประธานกรรมการ ซึ่งเลือกตั้งจากผู้รับบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จ บำนาญข้าราชการซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการมาแล้วในตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอธิบดี อัยการสูงสุดหรืออัยการสูงสุด หรือผู้ทรงคุณวุฒิในทางกฎหมาย ซึ่งเป็นผู้รับบำนาญตามกฎหมาย ว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการและเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอัยการสูงสุดหรือเทียบเท่าขึ้นไป ทั้งนี้ ต้องไม่เคยเป็นสมาชิกหรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมืองในระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมาและไม่เป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภาหรือทนายความ (๒) อัยการสูงสุดเป็นรองประธาน (๓) รองอัยการสูงสุด อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดี และอัยการ พิเศษฝ่ายวิชาการ เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่ง และ (๔) กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิหกคนซึ่งข้าราชการอัยการที่ได้รับเงินเดือน ตั้งแต่ชั้น ๒ ขึ้นไปเป็นผู้เลือกจาก (ก) ข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนตั้งแต่ชั้น ๔ ขึ้นไป และมิได้เป็น กรรมการอัยการโดยตำแหน่งอยู่แล้วสามคน (ข) ผู้รับบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งเคยรับ ราชการเป็นข้าราชการอัยการมาแล้ว และต้องไม่เป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภา กรรมการ พรรคการเมืองเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง หรือทนายความ สามคน ให้ ก.อ. แต่งตั้งข้าราชการฝ่ายอัยการคนหนึ่งเป็นเลขานุการ ก.อ. *[มาตรา ๑๕ แก้ไขโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] มาตรา ๑๕ ทวิ* ในการเลือกประธาน ก.อ. ตามมาตรา ๑๕ (๑) ให้กรรมการ อัยการตามมาตรา ๑๕ (๒) (๓) และ (๔) ประชุมกันกำหนดรายชื่อบุคคลที่เห็นสมควรเป็นประธานไม่น้อยกว่าห้าชื่อส่งให้ข้าราชการอัยการผู้มีสิทธิเลือกตามมาตรา ๑๕ (๔) ทำการเลือกจากรายชื่อดังกล่าว เมื่อผลการเลือกเป็นประการใด ให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรง พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง *[มาตรา ๑๕ ทวิ เพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] มาตรา ๑๕ ตรี* ประธาน ก.อ. อยู่ในตำแหน่งคราวละสามปีนับแต่วันที่ทรง พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง และอาจได้รับเลือกเพื่อโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งอีกได้ไม่เกินสองคราว ติดต่อกัน นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้ประธาน ก.อ. พ้นจากตำแหน่งเมื่อ ตาย ลาออก หรือขาดคุณสมบัติมาตรา ๑๕ (๑) ในกรณีที่ประธาน ก.อ. พ้นจากตำแหน่งตามวาระ หรือพ้นจากตำแหน่ง ด้วยเหตุอื่น ให้ดำเนินการเลือกให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง ในระหว่างที่ประธาน ก.อ. พ้นจากตำแหน่ง ให้รองประธาน ก.อ. ทำหน้าที่ ประธาน ก.อ. *[มาตรา ๑๕ ตรี เพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] มาตรา ๑๖ เมื่อจะมีการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้นายกรัฐมนตรี หรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่ง วิธีการเลือกกรรมการอัยการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับ มอบหมายจากนายกรัฐมนตรีประกาศชื่อผู้ได้รับเลือกในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๗ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งได้คราวละสองปี และ อาจได้รับเลือกใหม่ ถ้าตำแหน่งว่างลงก่อนถึงกำหนดวาระ ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีสั่งให้ดำเนินการเลือกซ่อมเว้นแต่วาระการอยู่ในตำแหน่งของ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิจะเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน นายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับ มอบหมายจากนายกรัฐมนตรีจะไม่สั่งให้ดำเนินการเลือกซ่อมก็ได้ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกซ่อมอยู่ในตำแหน่งได้เพียงวาระของ ผู้ที่ตนแทน มาตรา ๑๘ ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการอัยการว่างลง นอกจากการพ้นจาก ตำแหน่งของกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามวาระ และมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการโดย รีบด่วน ก็ให้กรรมการอัยการที่เหลือดำเนินการไปได้ แต่ต้องมีกรรมการอัยการพอที่จะเป็น องค์ประชุม มาตรา ๑๙ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ครบกำหนดวาระ (๒) ตาย (๓) ลาออก (๔) เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่ง หรือพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการ ในกรณีที่เป็นกรรมการอัยการตามมาตรา ๑๕ (๔) (ก) (๕) กลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการอัยการ ในกรณีที่เป็นกรรมการอัยการ ตามมาตรา ๑๕ (๔) (ข) (๖) ไปเป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภา ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง กรรมการ พรรคการเมือง เจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง หรือทนายความ ในกรณีเป็นที่สงสัยว่า กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิผู้ใดพ้นจากตำแหน่ง กรรมการอัยการหรือไม่ ให้อัยการสูงสุดเสนอ ก.อ. เพื่อวินิจฉัยชี้ขาด มาตรา ๒๐ การประชุมของ ก.อ. ต้องมีกรรมการอัยการมาประชุมไม่น้อยกว่า เจ็ดคนจึงเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานเป็นประธาน ในที่ประชุม ถ้าประธานและรองประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการ อัยการในที่ประชุมเลือกกรรมการอัยการคนหนึ่งเป็นประธาน หากกรรมการอัยการโดยตำแหน่งว่างลง หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้รักษา ราชการแทน หรือผู้รักษาการในตำแหน่งตามกฎหมาย ทำหน้าที่กรรมการอัยการแทนในระหว่างนั้น ในการประชุมของ ก.อ. ถ้ามีการพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับกรรมการอัยการผู้ใด โดยเฉพาะ ผู้นั้นไม่มีสิทธิเข้าประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือเสียงข้างมาก ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ก.อ. มีอำนาจออกข้อบังคับว่าด้วยระเบียบการประชุมและการลงมติ มาตรา ๒๑ ในกรณีที่ ก.อ. มีหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้อัยการสูงสุดเป็นผู้เสนอเรื่องต่อ ก.อ. แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิกรรมการอัยการคนหนึ่งคนใดที่จะเสนอ มาตรา ๒๒ ก.อ. มีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการให้ทำการใด ๆ แทนได้ ลักษณะ ๓ ข้าราชการอัยการ หมวด ๑ การบรรจุ การแต่งตั้ง และการเลื่อนขั้นเงินเดือน มาตรา ๒๓ ตำแหน่งข้าราชการอัยการมีดังนี้ อัยการสูงสุด รองอัยการสูงสุด อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ อัยการพิเศษประจำเขต อัยการประจำกรม อัยการจังหวัด อัยการประจำกอง อัยการจังหวัดผู้ช่วย และอัยการผู้ช่วย นอกจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง อาจให้มีตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่อ อย่างอื่น ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงได้ ตำแหน่งดังกล่าวจะเทียบกับตำแหน่งใดตามวรรคหนึ่งให้ กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนั้นด้วย กฎกระทรวงเช่นว่านี้ให้ได้รับความเห็นชอบของ ก.อ. ก่อน มาตรา ๒๔ ข้าราชการอัยการจะได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง ดังต่อไปนี้ (๑) อัยการสูงสุด ให้ได้รับเงินเดือนชั้น ๖ (๒) รองอัยการสูงสุด ให้ได้รับเงินเดือนชั้น ๕ (๓) อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ และอัยการพิเศษประจำเขต ให้ได้รับเงินเดือนชั้น ๔ (๔) อัยการประจำกรม และอัยการจังหวัด ให้ได้รับเงินเดือนชั้น ๓ (๕) อัยการประจำกอง และอัยการจังหวัดผู้ช่วย ให้ได้รับเงินเดือนชั้น ๒ (๖) อัยการผู้ช่วย ให้ได้รับเงินเดือนชั้น ๑ สำหรับข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เมื่อเทียบกับ ตำแหน่งใดก็ให้ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งนั้น ในกรณีที่ข้าราชการอัยการได้เลื่อนขึ้นรับเงินเดือนในชั้นถัดไป ให้ได้รับเงินเดือน ในอัตราขั้นต่ำของชั้นนั้น แต่ถ้าผู้นั้นได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของชั้นที่เลื่อนขึ้นก็ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นของชั้นนั้น ซึ่งมีจำนวนเท่ากับเงินเดือนที่ได้รับอยู่ มาตรา ๒๕ การบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง อัยการผู้ช่วย ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่ง โดยวิธีการสอบคัดเลือกตามความในหมวด ๒ แห่งลักษณะนี้ แต่ถ้าผู้ใด (๑) สอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ โดย มีหลักสูตรการศึกษาเดียวไม่น้อยกว่าสามปี ซึ่ง ก.อ. เทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และสอบไล่ได้ ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (๒) สอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ โดยมีหลักสูตรการศึกษาหลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่าสองปี หรือหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่า สองปี ซึ่ง ก.อ. เทียบว่า ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และสอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษา กฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (๓) สอบไล่ได้เป็นธรรมศาสตร์บัณฑิต หรือนิติศาสตร์บัณฑิตและสอบไล่ได้ ชั้นเกียรตินิยมตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และได้ประกอบ วิชาชีพ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือ (๔) สอบไล่ได้ปริญญาโทหรือปริญญาเอกทางกฎหมายในประเทศไทย และ สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และได้ประกอบ วิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี เมื่อ ก.อ.พิจารณาเห็นว่า เป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๓๓ (๒) ถึง (๑๒) และได้ทำการทดสอบความรู้ในวิชากฎหมายแล้ว เห็นสมควรที่จะให้เข้ารับราชการ ก็ให้ นายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีสั่งบรรจุเป็นข้าราชการ อัยการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และอัตราส่วน ของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ตามที่ ก.อ. กำหนด การบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ให้บรรจุให้ได้รับ เงินเดือนในอัตราขั้นต่ำของชั้น มาตรา ๒๖ อัยการผู้ช่วยที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัด ผู้ช่วยจะต้องได้รับการอบรมจากกรมอัยการมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และผลของการอบรมเป็นที่ พอใจของ ก.อ. ว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และความประพฤติ เหมาะสมที่จะเป็นอัยการ จังหวัดผู้ช่วย อัยการผู้ช่วยซึ่งได้รับการอบรมจากกรมอัยการมาแล้วหนึ่งปี แต่ผลของการ อบรมยังไม่เป็นที่พอใจของ ก.อ. ว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และความประพฤติ เหมาะสมที่ จะเป็นอัยการจังหวัดผู้ช่วย ก็ให้ได้รับการอบรมจากกรมอัยการต่อไปอีกหนึ่งปี เมื่อครบกำหนด ดังกล่าวแล้วหากผลของการอบรมยังไม่เป็นที่พอใจของ ก.อ. ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชา ที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ออกจากราชการ ในระหว่างเวลาปีแรกที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดผู้ช่วย หากปรากฏว่าผู้ได้รับแต่งตั้งไม่เหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งต่อไปให้นายกรัฐมนตรีหรือ ผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีด้วยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจสั่งให้ ออกจากราชการ มาตรา ๒๗ การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งนอกจากตำแหน่ง อัยการผู้ช่วยให้ประธาน ก.อ.เสนอ ก.อ. โดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถ ความรับผิดชอบ ประวัติการปฏิบัติราชการของบุคคลนั้นเทียบกับงานในตำแหน่งข้าราชการอัยการที่จะได้รับ แต่งตั้งนั้น ๆ เพื่อให้ความเห็นชอบก่อนเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว จึงนำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง มาตรา ๒๘ การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการอัยการในชั้นหนึ่ง ๆ ให้รัฐมนตรี เป็นผู้สั่งเลื่อน ในเมื่อได้รับความเห็นชอบของ ก.อ. แล้ว โดยปกติปีละหนึ่งขั้น โดยคำนึงถึงคุณภาพ และปริมาณงานของตำแหน่งและผลของงานที่ได้ปฏิบัติมา การรักษาวินัย ตลอดจนความสามารถ และความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด ให้ออกเป็นกฎกระทรวง มาตรา ๒๙ การโอนข้าราชการอัยการไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการ ธุรการ โดยให้ได้รับเงินเดือนไม่สูงกว่าในขณะที่โอน ให้รัฐมนตรีสั่งได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้นั้น ยินยอม และ ก.อ. เห็นชอบ การโอนข้าราชการอัยการไปเป็นข้าราชการพลเรือน หรือข้าราชการฝ่ายอื่นให้ รัฐมนตรีสั่งได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้นั้นยินยอม และ ก.อ.เห็นชอบ *วรรคสาม *[มาตรา ๒๙ วรรคสาม ยกเลิกโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ ๔๙ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] มาตรา ๓๐ การโอนข้าราชการธุรการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการ อัยการโดยให้ได้รับเงินเดือนไม่สูงกว่าในขณะที่โอนมา อาจทำได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ แต่ข้าราชการ ธุรการผู้นั้นอย่างน้อยต้องเคยเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการประจำกอง หรืออัยการจังหวัดผู้ช่วยมาแล้ว มาตรา ๓๑ ข้าราชการอัยการผู้ใดพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการไปโดยมิได้ มีความผิด หรือมีมลทินหรือมัวหมองในราชการ หรือไปรับราชการ ในกระทรวงทบวงกรมอื่นเมื่อจะกลับเข้ารับตำแหน่งข้าราชการอัยการโดยรับเงินเดือนไม่สูงกว่าขณะพ้นจากตำแหน่งข้าราชการ อัยการ ถ้าไม่เป็นผู้ขาดคุณสมบัติ ตามมาตรา ๓๓ (๒) ถึง (๑๒) ก็ให้รัฐมนตรีสั่งบรรจุได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ มาตรา ๓๒ ข้าราชการอัยการผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการ รับราชการทหาร เมื่อผู้นั้นพ้นจากราชการทหาร โดยไม่มีความเสียหาย และประสงค์จะกลับเข้ารับ ราชการในตำแหน่งข้าราชการอัยการ โดยรับเงินเดือนเท่าที่ได้รับอยู่ในขณะที่ไปรับราชการทหาร ให้ ยื่นคำขอภายในกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันพ้นจากราชการทหารในกรณีเช่นว่านี้ ให้ รัฐมนตรีสั่งบรรจุได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ แต่ถ้าจะบรรจุให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าขณะที่ไปรับราชการ ทหารให้บรรจุได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ซึ่ง ก.อ. จะได้กำหนด หมวด ๒ การสอบคัดเลือก มาตรา ๓๓ ผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (๑) (ก) สอบไล่ได้เป็นธรรมศาสตร์บัณฑิต หรือนิติศาสตร์บัณฑิต หรือสอบไล่ได้ ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ ซึ่ง ก.อ. เทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี (ข) สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่ง เนติบัณฑิตยสภาและ (ค) ได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นข้าราชการตุลาการจ่าศาล รองจ่าศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดี พนักงานคุมประพฤติ นายทหารเหล่า พระธรรมนูญ หรือทนายความ หรือได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นตามที่ ก.อ. กำหนด ทั้งนี้ เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี และให้ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการ ประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ด้วย (๒) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด (๓) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปี (๔) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ (๕) เป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา (๖) ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี (๗) ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว (๘) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งให้พักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ ก่อนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ หรือตามกฎหมายอื่น (๙) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ (๑๐) ไม่เป็นผู้เคยรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษ สำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๑๑) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือจิต ฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือมีกายหรือจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการอัยการ หรือเป็นโรค ที่ระบุไว้ในกฎกระทรวง และ (๑๒) เป็นผู้ที่คณะกรรมการแพทย์มีจำนวนไม่น้อยกว่าสามคน ซึ่ง ก.อ. จะได้ กำหนดได้ตรวจร่างกายและจิตใจแล้ว และ ก.อ. ได้พิจารณารายงานของแพทย์ เห็นว่าสมควรรับ สมัครได้ ให้ ก.อ. มีอำนาจวางระเบียบเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบ คัดเลือกก่อนที่จะรับสมัครได้ มาตรา ๓๔ ให้ ก.อ. มีอำนาจกำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกตาม มาตรา ๓๓ ตลอดจนวางเงื่อนไขในการรับสมัคร เมื่อสมควรจะมีการสอบคัดเลือกเมื่อใด ให้กรมอัยการเสนอต่อ ก.อ. ให้ ก.อ. จัด ให้มีการสอบคัดเลือก เมื่อได้มีการสอบใหม่ และได้ประกาศผลของการสอบแล้ว บัญชีสอบคัดเลือก คราวก่อนเป็นอันยกเลิก มาตรา ๓๕ ผู้สอบคัดเลือกที่ได้คะแนนสูงให้ได้รับบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยก่อนผู้ที่ได้รับคะแนนต่ำลงมาตามลำดับแห่งบัญชีสอบ คัดเลือก หากได้คะแนนเท่ากันให้ใช้วิธีจับสลากเพื่อจัดลำดับที่ระหว่างผู้ที่ได้คะแนนเท่ากันนั้น ผู้สอบคัดเลือกได้ผู้ใด หากขาดคุณสมบัติหรือลักษณะข้อใดข้อหนึ่งตาม มาตรา ๓๓ หรือเป็นบุคคลที่ ก.อ. เห็นว่ามีชื่อเสียงหรือความประพฤติหรือเหตุอื่น ๆ ที่ไม่เหมาะสมจะเป็นข้าราชการอัยการผู้นั้นเป็นอันหมดสิทธิเข้ารับราชการตามผลของการสอบคัดเลือกนั้น หมวด ๓ การพ้นจากตำแหน่ง มาตรา ๓๖ ข้าราชการอัยการพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๓) ได้รับอนุญาตให้ลาออก (๔) โอนไปรับราชการทางอื่น (๕) ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการ ทหาร (๖) ถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๒๖ หรือมาตรา ๓๗ หรือมาตรา ๓๙ (๗) ถูกสั่งลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก การพ้นจากตำแหน่งของข้าราชการอัยการ เว้นแต่ตำแหน่งอัยการผู้ช่วย หาก เป็นกรณีตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ แต่ถ้าเป็นการพ้นจาก ตำแหน่งตาม (๔) (๕) (๖) หรือ (๗) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง พระบรมราชโองการดังกล่าวให้มีผลตั้งแต่วันโอนหรือวันออกจากราชการ แล้วแต่กรณี มาตรา ๓๗ ผู้ได้รับบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด หากภายหลังปรากฏต่อ ก.อ. ว่าขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๕ หรือมาตรา ๓๓ ตั้งแต่ก่อนได้รับ การบรรจุ ให้รัฐมนตรีด้วยความเห็นชอบของ ก.อ.สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ แต่ทั้งนี้ไม่กระทบ กระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใด ที่รับจากทางราชการก่อนมีคำสั่งให้ออกนั้น และถ้าการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้วให้ถือว่า เป็นการสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ มาตรา ๓๘ ข้าราชการอัยการผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการให้ยื่นหนังสือ ขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งเพื่อให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับ มอบหมายจากนายกรัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณา เมื่อนายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีสั่งอนุญาตแล้วให้ถือ ว่าพ้นจากตำแหน่ง ในกรณีที่ข้าราชการอัยการขอลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเพื่อ สมัครรับเลือกตั้ง ให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก นอกจากกรณีตามวรรคสอง ถ้านายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมาย จากนายกรัฐมนตรีเห็นว่า จำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการ จะยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกินสามเดือนนับแต่วันขอลาออกก็ได้ มาตรา ๓๙ เมื่อนายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจาก นายกรัฐมนตรีเห็นสมควรให้ข้าราชการอัยการผู้ใดออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญ เหตุทดแทน เหตุทุพพลภาพ หรือเหตุรับราชการนาน ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ ให้ทำได้ด้วยความเห็นชอบของ ก.อ. แต่การให้ออกจากราชการเพื่อรับ บำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน ให้ทำได้เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และได้ ดำเนินการสอบสวนตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในลักษณะ ๔ หมวด ๒ แล้ว ไม่ได้ความเป็นสัตย์ว่า กระทำผิดที่จะต้องถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก แต่ผู้นั้นมีมลทินหรือมัวหมอง จะให้รับ ราชการต่อไป จะเป็นการเสียหายแก่ราชการ (๒) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดบกพร่องต่อหน้าที่ หรือหย่อนความสามารถ ในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่สมควรที่จะให้คงเป็นข้าราชการอัยการต่อไป (๓) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการได้โดย สม่ำเสมอ แต่ไม่ถึงเหตุทุพพลภาพ หรือ (๔) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๓๓ (๒) หรือ (๑๑) หรือเป็นสมาชิกรัฐสภาซึ่งมาจากการเลือกตั้ง หรือเป็นข้าราชการการเมือง เว้นแต่กรณีตาม มาตรา ๒๙ วรรคสาม ลักษณะ ๔ วินัย การรักษาวินัย และการลงโทษ หมวด ๑ วินัย มาตรา ๔๐ ข้าราชการอัยการต้องรักษาวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้โดย เคร่งครัด ผู้ใดฝ่าฝืนจักต้องได้รับโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๓ แห่งลักษณะนี้ มาตรา ๔๑ ข้าราชการอัยการต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย ตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ มาตรา ๔๒ ข้าราชการอัยการจะเป็นกรรมการพรรคการเมือง สมาชิกพรรค การเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมืองไม่ได้ ในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา หรือผู้แทนทางการเมืองอื่นใดข้าราชการอัยการ จะเข้าเป็นตัวกระทำการ ร่วมกระทำการ หรือสนับสนุนในการโฆษณาหรือชักชวนใด ๆ ไม่ได้ มาตรา ๔๓ ข้าราชการอัยการต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งใน หน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย ห้ามมิให้ขัดขืนหลีกเลี่ยง ถ้าไม่เห็นพ้องด้วยคำสั่งนั้นจะเสนอ ความเห็นทัดทานเป็นหนังสือก็ได้ แต่ต้องเสนอโดยด่วน และเมื่อได้ทัดทานดังกล่าวแล้วผู้บังคับ บัญชามิได้สั่งถอนหรือแก้คำสั่งที่สั่งไป ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม แต่ให้ผู้บังคับบัญชารีบ รายงานขึ้นไปยังอัยการสูงสุดตามลำดับ ในการปฏิบัติราชการ ห้ามมิให้กระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ จะได้รับอนุญาต มาตรา ๔๔ ข้าราชการอัยการต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความระมัดระวัง มิให้เสียหายแก่ราชการ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม มาตรา ๔๕ ข้าราชการอัยการต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงาน โดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องบอกถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย มาตรา ๔๖ ข้าราชการอัยการต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการจะละทิ้งหรือ ทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้ ข้าราชการอัยการต้องไม่ประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพ หรือกระทำกิจการใดอัน เป็นการกระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ หรือเสื่อมเสียถึงเกียรติศักดิ์แห่งตำแหน่งหน้าที่ ราชการ ข้าราชการอัยการต้องไม่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือที่ปรึกษากฎหมาย หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนบริษัท ข้าราชการอัยการต้องไม่เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐใน ทำนองเดียวกัน เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจาก ก.อ. มาตรา ๔๗ ข้าราชการอัยการต้องไม่กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว เช่น ประพฤติตนเป็นคนเสเพล มีหนี้สินรุงรัง เสพของมึนเมาจนไม่สามารถครองสติได้ เล่นการพนันเป็นอาจิณ กระทำความผิดอาญา หรือกระทำการอื่นใด ซึ่งความประพฤติหรือการกระทำดังกล่าวแล้วอาจทำให้เสียเกียรติศักดิ์แห่งตำแหน่งหน้าที่ราชการ มาตรา ๔๘ ข้าราชการอัยการต้องต้อนรับ ให้ความสะดวก และให้ความ สงเคราะห์ต่อประชาชนผู้มาติดต่อในกิจการอันเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตนโดยไม่ชักช้า ห้ามมิให้ดูหมิ่นเหยียดหยามบุคคลใด ๆ และต้องสุภาพเรียบร้อยต่อประชาชน มาตรา ๔๙ ข้าราชการอัยการต้องถือและปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทาง ราชการ มาตรา ๕๐ ข้าราชการอัยการต้องสุภาพเรียบร้อยและรักษาความสามัคคี ระหว่างข้าราชการและต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหน้าที่ราชการ มาตรา ๕๑ ข้าราชการอัยการต้องรักษาความลับของทางราชการ มาตรา ๕๒ ผู้บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดรู้ว่าผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา กระทำผิดวินัยแล้วไม่จัดการสอบสวนพิจารณาและดำเนินการตามความในหมวด ๒ และหมวด ๓ แห่งลักษณะนี้ หรือตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน แล้วแต่กรณี หรือไม่จัดการ ลงโทษตามอำนาจและหน้าที่หรือจัดการลงโทษโดยไม่สุจริต ให้ถือว่าผู้บังคับบัญชาผู้นั้นกระทำ ผิดวินัย หมวด ๒ การรักษาวินัย มาตรา ๕๓ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่า กระทำผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการสอบสวนชั้นต้นโดยมิชักช้า วิธีการสอบสวนชั้นต้นจะทำโดยให้ผู้มีกรณีเกี่ยวข้องชี้แจ้งเรื่องราวเป็นหนังสือ หรือโดยบันทึกเรื่องราวและความเห็นก็ได้ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สอบสวนชั้นต้นแล้ว เห็นว่า ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำ ผิดวินัยไม่ร้ายแรง ให้ดำเนินการตามมาตรา ๖๓ แต่ถ้าเห็นว่าเป็นกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ดำเนินการตามมาตรา ๕๔ หรือมาตรา ๕๖ แล้วแต่กรณี แต่ถ้าเกินอำนาจของตนให้รายงานไป ยังผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปตามลำดับเพื่อดำเนินการตามควรแก่กรณี มาตรา ๕๔ ข้าราชการอัยการผู้ใดซึ่งผู้บังคับบัญชาเห็นว่ากระทำผิดวินัย อย่างร้ายแรงที่มีโทษถึงไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก ให้ผู้บังคับบัญชาต่อไปนี้แต่งตั้งคณะ กรรมการขึ้นอย่างน้อยสามคน เพื่อทำการสอบสวน คือ (๑) ประธาน ก.อ. สำหรับข้าราชการอัยการทุกชั้น (๒) อัยการสูงสุด สำหรับข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๑ และชั้น ๒ กรรมการตามวรรคหนึ่งต้องเป็นข้าราชการอัยการ ในการสอบสวนนั้น คณะกรรมการสอบสวนต้องแจ้งข้อกล่าวหา และ รายละเอียดเท่าที่มีอยู่ให้ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยทราบ และต้องให้โอกาสแก่ผู้ถูกกล่าวหาว่า กระทำผิดวินัยชี้แจงและนำพยานหลักฐานเข้าสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ด้วย ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวนให้เสร็จโดยเร็วกำหนดอย่างช้า ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันได้รับแต่งตั้ง ถ้ามีความจำเป็น ซึ่งจะสอบสวนไม่ทันภายในกำหนดนั้นก็ ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง แต่ละครั้งเป็นเวลาไม่เกินสิบห้าวัน และต้องแสดงเหตุที่ ต้องขยายเวลาไว้ด้วยทุกครั้ง แต่ถ้าขยายเวลาแล้วยังสอบสวนไม่เสร็จ จะขยายเวลาต่อไปอีกได้ต่อ เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้แต่งตั้ง หลักเกณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวกับการสอบสวนให้เป็นไปตามที่ ก.อ. กำหนด เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้ทำการสอบสวนเสร็จแล้ว ให้รายงานเสนอ ความเห็นต่ออัยการสูงสุด โดยให้ผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกกล่าวหาตามลำดับได้แสดงความเห็นเสียก่อนด้วย ถ้าคณะกรรมการหรือผู้บังคับบัญชาดังกล่าว หรืออัยการสูงสุด เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัย ก็ให้อัยการสูงสุดทำความเห็นรายงานไปยัง ก.อ. เมื่อ ก.อ. ได้พิจารณาเห็นสมควรลงโทษ ไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ จึงให้ประธาน ก.อ.สั่งไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการต่อไป ในกรณีข้าราชการอัยการถูกฟ้องคดีอาญา จะใช้คำพิพากษาถึงที่สุดของศาล ประกอบการพิจารณาของ ก.อ. โดยไม่ต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนก็ได้ มาตรา ๕๕ ให้กรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพียง เท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของกรรมการสอบสวน และโดยเฉพาะให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วยคือ (๑) เรียกให้กระทรวงทบวงกรม หน่วยราชการ หรือรัฐวิสาหกิจชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐาน ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน (๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำ หรือ ให้ส่งเอกสารและ หลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน มาตรา ๕๖ ข้าราชการอัยการผู้ใด กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และเป็นกรณี ความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่ ก.อ. กำหนด หรือได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับ บัญชาหรือต่อคณะกรรมการสอบสวน ประธาน ก.อ. จะพิจารณาสั่งลงโทษโดยไม่ต้องสอบสวนก็ได้ ทั้งนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบของ ก.อ. ก่อน มาตรา ๕๗ ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือถูกฟ้องคดีอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือ ความผิดลหุโทษ ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่าจะให้อยู่ในหน้าที่ราชการระหว่างสอบสวนหรือพิจารณา จะเป็นการเสียหายแก่ราชการ จะสั่งให้พักราชการก็ได้ ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจสั่งให้พักราชการ คือ (๑) ประธาน ก.อ. สำหรับข้าราชการอัยการทุกชั้น (๒) อัยการสูงสุด สำหรับข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๑ และชั้น ๒ การให้พักราชการนั้น ให้พักตลอดเวลาที่สอบสวนพิจารณา หรือตลอดเวลาที่ คดียังไม่ถึงที่สุดเมื่อสอบสวนพิจารณาเสร็จแล้ว หรือคดีถึงที่สุดแล้ว ถ้าปรากฏว่าผู้ถูกสั่งให้พัก ราชการมิได้กระทำความผิดและไม่มีมลทิน หรือมัวหมอง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจสั่งให้พัก ราชการสั่งให้รับราชการตามเดิม เงินเดือนของผู้ถูกสั่งให้พักราชการดังกล่าว ให้เป็นไปตาม กฎหมายว่าด้วยการนั้น มาตรา ๕๘ ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา หรือถูกฟ้องคดีอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดย ประมาทหรือความผิดลหุโทษ แม้ภายหลังผู้นั้นจะพันจากตำแหน่งข้าราชการอัยการไปแล้ว ก็อาจมี การสอบสวนหรือพิจารณาเพื่อลงโทษ หรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้เป็นไปตามลักษณะนี้ได้ เว้นแต่ ข้าราชการอัยการผู้นั้นจะพ้นจากตำแหน่งเพราะตาย หมวด ๓ การลงโทษ มาตรา ๕๙ โทษผิดวินัยมี ๕ สถาน คือ (๑) ไล่ออก (๒) ปลดออก (๓) ให้ออก (๔) งดบำเหน็จความชอบ (๕) ภาคทัณฑ์ การสั่งลงโทษข้าราชการอัยการในสถานไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกนั้น จะกระทำได้เมื่อได้ดำเนินการสอบสวนพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๒ แห่งลักษณะนี้แล้ว มาตรา ๖๐ การไล่ออกนั้นประธาน ก.อ.จะสั่งลงโทษได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงดังต่อไปนี้ (๑) ทุจริตต่อหน้าที่ราชการ (๒) ทำความผิดอาญาและต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก เว้นแต่ เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๓) ต้องคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายทุจริตตามกฎหมายว่าด้วย ล้มละลาย (๔) เปิดเผยความลับของทางราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการ อย่างร้ายแรง (๕) ละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นเหตุให้เสียหายแก่ ราชการอย่างร้ายแรง หรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร (๖) ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย และการขัดคำสั่งนั้น อาจเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๗) ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการหรือปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือระเบียบของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๘) ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง มาตรา ๖๑ การปลดออกนั้น ประธาน ก.อ.จะสั่งลงโทษได้ เมื่อข้าราชการอัยการ ผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่ยังไม่ถึงขนาดที่จะต้องถูกไล่ออกจากราชการ หรือถึงขนาด ที่จะต้องไล่ออก แต่มีเหตุอันควรลดหย่อน มาตรา ๖๒ การให้ออกนั้น ประธาน ก.อ.จะสั่งลงโทษได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่ยังไม่ถึงขนาดที่จะต้องถูกปลดออก หรือถึงขนาดที่จะต้องถูกปลดออก แต่มีเหตุอันควรลดหย่อน ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรานี้ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ เสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ มาตรา ๖๓ ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง และผู้บังคับบัญชา สอบสวนพิจารณาแล้วเห็นว่าสมควรลงโทษเพียงสถานงดบำเหน็จความชอบเป็นเวลาไม่เกินสามปี หรือถ้ามีเหตุสมควรปรานี จะลงโทษเพียงภาคทัณฑ์โดยจะให้ทำทัณฑ์บนไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้ ก็ให้ผู้ บังคับบัญชารายงานตามลำดับถึงอัยการสูงสุดเพื่อเสนอ ก.อ. เมื่อ ก.อ. พิจารณาเห็นสมควรลงโทษสถานใด ก็ให้รายงานไปยังประธาน ก.อ.เพื่อสั่ง มาตรา ๖๔ ในคำสั่งลงโทษ ให้แสดงว่าผู้รับโทษนั้นกระทำผิดวินัยในกรณีใด ตามมาตราใด มาตรา ๖๕ ถ้าปรากฏว่าคำสั่งลงโทษทางวินัยได้สั่งไปโดยผิดหลงให้ประธาน ก.อ.มีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นคุณแก่ผู้ถูกลงโทษได้ แต่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช่นว่านี้ จะต้องได้รับอนุมัติจาก ก.อ. ก่อน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ให้กระทำได้ภายในกำหนด สองปีนับแต่วันสั่งลงโทษ ลักษณะ ๕ ข้าราชการธุรการ มาตรา ๖๖ ในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการธุรการ ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนสามัญ มาใช้บังคับ ตำแหน่งข้าราชการอัยการใดเป็นตำแหน่งผู้บังคับบัญชาข้าราชการธุรการ โดยเทียบกับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งใด ให้กำหนดโดยกฎ ก.พ. บทเฉพาะกาล มาตรา ๖๗ ให้กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งอยู่ในตำแหน่งในวันที่พระราช บัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาคงอยู่ในตำแหน่งต่อไป จนกว่าจะได้มีการเลือกกรรมการ อัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัตินี้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ ใช้บังคับ มาตรา ๖๘ ผู้ใดเป็นข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้นั้นเป็น ข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไป โดยให้ได้รับเงินเดือนในอัตราเท่ากับเงินเดือนที่ได้รับ อยู่ เว้นแต่ผู้ที่ได้รับเงินเดือนไม่ถึงขั้นต่ำของชั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้ ผู้นั้นได้รับเงินเดือนขั้นต่ำของชั้นนั้น มาตรา ๖๙ ผู้ใดเป็นข้าราชการธุรการสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการธุรการตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไป มาตรา ๗๐ ผู้ใดเป็นข้าราชการธุรการวิสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการธุรการวิสามัญต่อไป และให้นำมาตรา ๑๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๗๑ ข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยในขณะที่พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ใช้บังคับ และผู้บังคับบัญชาได้สั่งให้ดำเนินการสอบ สวนแล้ว ถ้าการสั่งและการสอบสวนพิจารณาที่ได้กระทำไปแล้วถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ใน ขณะนั้น ให้ถือว่าเป็นอันสมบูรณ์ ถ้ากรณียังค้างระหว่างการสอบสวน ก็ให้ดำเนินการสอบสวนตาม กฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะเสร็จ แต่การพิจารณาและการสั่งลงโทษให้ดำเนินการตามพระราช บัญญัตินี้ มาตรา ๗๒ ผู้ที่ได้ยื่นใบสมัครเข้าเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการ ผู้ช่วยไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงถือคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ผู้ที่ ก.อ. ได้ลงมติให้รับเข้าเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ตาม มาตรา ๑๔ และผู้สอบคัดเลือกได้ตามมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่าย อัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงมีสิทธิได้รับบรรจุเป็นข้าราชการ อัยการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยต่อไป มาตรา ๗๓ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ ที่จะได้ประกาศใช้ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๒๐ มิให้นำความใน มาตรา ๓๙ (๔) ในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการการเมืองมาใช้บังคับแก่ข้าราชการอัยการ มาตรา ๗๔ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาบรรจุบุคคลซึ่งเคยรับราชการ และออกจากราชการไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เข้ารับราชการ ให้ปรับเงินเดือนที่ผู้นั้น ได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้เข้าชั้น และขั้นตามบัญชีที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่กลับเข้ารับราชการ ในกรณีที่ผู้เข้ารับราชการเป็นผู้ซึ่งออกจากราชการก่อนมีการปรับอัตราเงินเดือน ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๗ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๐ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๖๐ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ หรือพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๑๗ ให้ปรับเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการ ตามพระราชบัญญัติและ ประกาศนั้น ๆ เสียก่อน แล้วจึงปรับเงินเดือนตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่มีการปรับเงินเดือนของผู้ที่กลับเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งและ วรรคสองแล้วยังปรากฏว่าผู้เข้ารับราชการได้รับเงินเดือนไม่ถึงขั้นต่ำของชั้นตามบัญชีอัตรา เงินเดือนข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้ ก.อ. เป็นผู้พิจารณาว่าผู้นั้นสมควรได้รับการ บรรจุในชั้นหรือขั้นใด ทั้งนี้ ก.อ. จะกำหนดให้ได้รับเงินเดือนในชั้นที่ต่ำกว่าขั้นต่ำของชั้นเป็นกรณี เฉพาะรายก็ได้ มาตรา ๗๕ ข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญ หรือ ข้าราชการซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือพนักงานเทศบาลที่ไม่ใช่พนักงาน เทศบาลวิสามัญซึ่งสอบคัดเลือก หรือทดสอบความรู้เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการอัยการใน ตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ และ เจ้าสังกัดได้ทำความตกลงกับกรมอัยการให้โอนมาบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการ ผู้ช่วยก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้นับเวลาราชการหรือเวลาทำงานของตนในขณะที่เป็น ข้าราชการ หรือพนักงานเทศบาลเป็นเวลาราชการของข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย มาตรา ๗๖ ในระหว่างที่ยังมิได้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ กฎหมายว่าด้วยเงินเดือนของข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการ และกฎหมายว่าด้วยบัตร ประจำตัวข้าราชการ พนักงานเทศบาล พนักงานสุขาภิบาล และพนักงานองค์การของรัฐเพื่อให้มีผล บังคับรวมถึงข้าราชการฝ่ายอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าข้าราชการฝ่ายอัยการเป็น ข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กฎหมายว่าด้วยเงินเดือนของ ข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการและกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวข้าราชการ พนักงานเทศบาล พนักงานสุขาภิบาล และพนักงานองค์การของรัฐอยู่ต่อไป มาตรา ๗๗ ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกา ออกกฎกระทรวง กฎ ก.พ. ข้อกำหนด ข้อบังคับ ระเบียบ หรือประกาศ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง กฎ ก.พ. ข้อกำหนด ข้อบังคับ ระเบียบหรือประกาศที่ใช้อยู่ในวันที่ พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษามาใช้บังคับโดยอนุโลมเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับ บทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรี บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ* [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] *[บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ได้ใช้บังคับมานานแล้ว แม้จะได้ปรับปรุงแก้ไขมาหลายครั้ง ก็ยังมีบทบัญญัติหลายมาตราไม่เหมาะสมกับกาลสมัย และเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการบริหารงานบุคคลในปัจจุบัน สมควรจะได้ปรับปรุงแก้ไขเสียใหม่ อันจะทำให้ราชการของกรมอัยการดำเนินไปได้ผลดียิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๕ การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้เข้าชั้นและขั้นตามบัญชี อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๑ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรี กำหนด แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่ต่ำกว่าชั้นและขั้นที่ข้าราชการอัยการผู้นั้นดำรงอยู่และได้รับอยู่เดิม มาตรา ๖ เพื่อประโยชน์ในการบรรจุบุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการอัยการและ ออกจากราชการไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับกลับเข้ารับราชการ ให้ปรับอัตราเงินเดือนที่ ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้ตรงกับชั้นและขั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ที่ใช้อยู่ในขณะกลับเข้ารับราชการ และให้นำมาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือน ข้าราชการอัยการที่ปรับปรุงใหม่ไม่ได้ส่วนสัมพันธ์กับอัตราเงินเดือนของข้าราชการประเภทอื่น ๆ ที่ได้รับการปรับปรุงแล้ว สมควรแก้ไขอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้อง ตราพระราชบัญญัตินี้ [รก.๒๕๒๑/๑๐๓/๓๘พ/๒๗ กันยายน ๒๕๒๑] พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ มาตรา ๕ ตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ข้าราชการอัยการได้รับ เงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ โดยให้ปรับ อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ได้รับตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ ให้เข้าชั้นและขั้นตาม บัญชีอัตราเงินเดือนดังกล่าว ตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการท้าย พระราชบัญญัตินี้ เมื่อได้ปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามวรรคหนึ่งแล้วข้าราชการ อัยการผู้ใดได้รับเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำของชั้น เมื่อจะพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนในปีงบประมาณ ต่อไป ให้ปรับให้ข้าราชการอัยการผู้นั้นได้รับเงินเดือนสูงขึ้น ๑ ขั้น ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ของปี งบประมาณนั้นแล้วจึงพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีตามปกติ มาตรา ๖ เพื่อประโยชน์ในการบรรจุบุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการอัยการ และ ออกจากราชการไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ กลับเข้ารับราชการ ให้ปรับอัตราเงินเดือนที่ ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้ตรงกับชั้นและขั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ที่ใช้อยู่ในขณะกลับเข้ารับราชการ และให้นำมาตรา ๗๔ วรรคสอง และ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และมาตรา ๖ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราช บัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือน ข้าราชการอัยการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่ได้ส่วนสัมพันธ์กับอัตราเงินเดือนของข้าราชการประเภทอื่น สมควรแก้ไขอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ [รก.๒๕๒๔/๑๗๕/๑พ/๒๒ ตุลาคม ๒๕๒๔] พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑ มาตรา ๕ การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้เข้าชั้นและขั้นเงินเดือน ตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ก. บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ข. บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ค. หรือ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ง. ท้ายพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการ อัยการและตามระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกำหนด เมื่อปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามวรรคหนึ่งแล้ว เฉพาะข้าราชการ อัยการผู้ได้รับเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำหรือสูงกว่าขั้นสูงของชั้น ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นตามที่กำหนดไว้ในบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ ข้าราชการอัยการซึ่งได้เลื่อนตำแหน่งนับแต่วันปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการ อัยการตามวรรคหนึ่ง ถ้าได้รับเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำของชั้นที่ได้เลื่อนตามบัญชีกำหนดการปรับ อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำของบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือน ข้าราชการอัยการ แต่ถ้าได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของชั้นที่ได้เลื่อนตามบัญชีกำหนดการปรับ อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการก็ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นที่ได้รับอยู่ ผู้ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยนับแต่วันปรับอัตรา เงินเดือนข้าราชการอัยการตามวรรคหนึ่ง ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำตามบัญชีกำหนดการปรับอัตรา เงินเดือนข้าราชการอัยการ การรับเงินเดือนในขั้นต่อ ๆ ไปของข้าราชการอัยการตามวรรคสองวรรคสาม และวรรคสี่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๖ การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามมาตรา ๕ ให้มีผลเป็น การปรับขั้นเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ได้รับอยู่ตามไปด้วย มาตรา ๗ เพื่อประโยชน์ในการบรรจุบุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการอัยการตาม พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และออกจากราชการไปก่อนวันที่บัญชี อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับกลับเข้ารับราชการ ให้ปรับ อัตราเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้เข้าชั้นและขั้นเงินเดือนตามบัญชีกำหนดการ ปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา ๕ และให้นำมาตรา ๗๔ วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และ มาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ มาใช้บังคับ โดยอนุโลมด้วย มาตรา ๘ ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือน ข้าราชการอัยการ บัญชี ก. ตามมาตรา ๖ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่าย อัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ให้นำบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการ อัยการ หมายเลข ๓ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่ม เติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ มาใช้บังคับ ไปพลางก่อน มาตรา ๙ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือน ข้าราชการอัยการในบัญชีอัตราเงินเดือนท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้ใช้มาเป็นเวลานานไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพ ในปัจจุบัน จำเป็นต้องกำหนดจำนวนขั้นเงินเดือน อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการแต่ละชั้น และ ปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการเสียใหม่ รวมทั้งให้มีการให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือน แต่ละบัญชีได้ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตรา พระราชบัญญัตินี้ [รก.๒๕๓๑/๑๘๐/๕๐พ/๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๑] ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ ข้อ ๗ ให้แก้ไขคำว่า “รัฐมนตรี หรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมาย จากรัฐมนตรี หรือคำว่า “รัฐมนตรี” ในมาตรา ๑๖ มาตรา ๑๗ มาตรา ๒๕ มาตรา ๒๖ มาตรา ๓๘ และมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็น นายก รัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี” และแก้ไขคำว่า “รัฐมนตรี หรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรี” หรือคำว่า “รัฐมนตรี” ในมาตรา ๒๗ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๖ มาตรา ๕๗ มาตรา ๖๐ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็น “ประธาน ก.อ.” ข้อ ๘ ให้แก้ไขคำว่า “อธิบดี” และ “รองอธิบดี” ในพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็น “อัยการสูงสุด” และ “รองอัยการสูงสุด” ตามลำดับ ข้อ ๙ ให้นายกรัฐมนตรีสั่งให้มีการเลือกประธานกรรมการอัยการภายในเก้าสิบ วันนับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ และในระหว่างที่ยังมิได้เลือกประธานกรรมการอัยการ ให้รองประธานกรรมการอัยการทำหน้าที่ประธานกรรมการอัยการ ข้อ ๑๐ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ให้กรรมการข้าราชการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันที่ ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะครบวาระ ข้อ ๑๑ ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามประกาศคณะรักษาความสงบ เรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ ข้อ ๑๒ ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป [รก.๒๕๓๔/๓๗/๕๕พ/๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔] ดวงใจ/แก้ไข ๐๕/๐๓/๔๕
315774
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 (Update ณ วันที่22/10/2524)
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นปีที่ ๓๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและ ยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑” มาตรา ๒* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป *[รก.๒๕๒๑/๕๙/๔๒พ/๓๑ พฤษภาคม ๒๕๒๑] มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ (๒) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๐๕ (๓) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๗ (๔) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๐ (๕) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๖๐ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ (๖) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๑๗ (๗) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๑๙ บรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่น ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราช บัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน ลักษณะ ๑ บททั่วไป มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “ข้าราชการฝ่ายอัยการ” หมายความว่า ข้าราชการซึ่งรับราชการในกรมอัยการ โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในกรมอัยการ “รองอธิบดี” หมายความว่า รองอธิบดีกรมอัยการ “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมอัยการ “ก.อ.” หมายความว่า คณะกรรมการอัยการ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕ ข้าราชการฝ่ายอัยการได้แก่ (๑) ข้าราชการอัยการ คือข้าราชการผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการดำเนินคดีตาม กฎหมายซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ (๒) ข้าราชการธุรการ คือ ข้าราชการผู้มีหน้าที่ในทางธุรการ มาตรา ๖* อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้แบ่งเป็น ๖ ชั้น แต่ละชั้นมี จำนวนขั้น ดังนี้ ชั้น ๑ มี ๕ ขั้น ชั้น ๒ มี ๑๓ ขั้น ชั้น ๓ มี ๑๐ ขั้น ชั้น ๔ มี ๙ ขั้น ชั้น ๕ มี ๗ ขั้น ชั้น ๖ มี ๔ ขั้น อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้เป็นไปตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการ อัยการ หมายเลข ๑ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ และเมื่อปรากฏว่าเงินเดือนหรือค่าจ้างทั่วไปในประเทศ เพิ่มขึ้น หรือค่าครองชีพสูงขึ้น หรืออัตราเงินเดือนที่ใช้อยู่ไม่เหมาะสม ก็ให้มีการปรับใช้อัตรา เงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ หรือบัญชีอัตราเงินเดือน ข้าราชการอัยการ หมายเลข ๓ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี ได้ตามความเหมาะสม โดย ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา การปรับใช้อัตราเงินเดือนดังกล่าว ให้มีผลเป็นการปรับขั้นเงินเดือน ข้าราชการอัยการที่ได้รับอยู่ตามไปด้วย อัตราเงินเดือนข้าราชการธุรการให้เป็นไปตามบัญชีซึ่งกำหนดไว้ในกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญ *[มาตรา ๖ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔] มาตรา ๗ เพื่อประโยชน์ในการออมทรัพย์ของข้าราชการอัยการ คณะรัฐมนตรี จะวางระเบียบและวิธีการให้กระทรวงการคลังหักเงินเดือนของข้าราชการอัยการไว้เป็นเงินสะสมก็ ได้ โดยคิดดอกเบี้ยจากเงินสะสมนั้นให้ในอัตราไม่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทประจำของ ธนาคารพาณิชย์ เงินสะสมและดอกเบี้ยนี้ให้จ่ายคืนหรือให้กู้ยืมเพื่อดำเนินการตามโครงการ สวัสดิการสำหรับข้าราชการอัยการตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๘ ข้าราชการอัยการอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะ เศรษฐกิจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๙ ในกรณีที่มีเหตุที่จะต้องจัดให้มีหรือปรับปรุงเงินเพิ่มค่าครองชีพตาม มาตรา ๘ หรือปรับขั้นเงินเดือนตามมาตรา ๖ วรรคสอง ให้รัฐมนตรีรายงานไปยังคณะรัฐมนตรี ดำเนินการต่อไป มาตรา ๑๐ ข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญ หรือ ข้าราชการซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือพนักงานเทศบาลที่ไม่ใช่พนักงาน เทศบาลวิสามัญ ซึ่งสอบคัดเลือกหรือทดสอบความรู้เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการอัยการใน ตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ตามพระราชบัญญัตินี้ หากประสงค์จะโอนมาบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ ในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเพื่อนับเวลาราชการหรือเวลาทำงานของตนในขณะที่เป็นข้าราชการหรือ พนักงานเทศบาลเป็นเวลาราชการของข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย ก็ให้กระทำได้ โดยกรมอัยการทำความตกลงกับเจ้าสังกัด มาตรา ๑๑ บำเหน็จบำนาญของข้าราชการอัยการ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ว่าด้วยการนั้น ข้าราชการอัยการผู้ใดถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์ในการคำนวณ บำเหน็จบำนาญก็ได้ มาตรา ๑๒ เครื่องแบบของข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่งให้เป็นไป ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๑๓ วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการอัยการ ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๑๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราช บัญญัตินี้ และให้มีอำนาจกำหนดค่าธรรมเนียมการสอบเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และออก กฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ ลักษณะ ๒ คณะกรรมการอัยการ มาตรา ๑๕ ให้มีคณะกรรมการอัยการคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า ก.อ. ประกอบด้วย (๑) รัฐมนตรีเป็นประธาน (๒) อธิบดีเป็นรองประธาน (๓) รองอธิบดี อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดีและอัยการพิเศษ ฝ่ายวิชาการ เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่ง และ (๔) กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิหกคน ซึ่งข้าราชการอัยการที่ได้รับเงินเดือน ตั้งแต่ ชั้น ๒ ขึ้นไป เป็นผู้เลือกจาก (ก) ข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนตั้งแต่ชั้น ๔ ขึ้นไปและมิได้เป็น กรรมการอัยการโดยตำแหน่งอยู่แล้ว สามคน (ข) ผู้รับบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งเคยรับ ราชการเป็นข้าราชการอัยการมาแล้ว และต้องไม่เป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภาซึ่งมาจาก การเลือกตั้ง กรรมการพรรคการเมือง เจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง หรือทนายความสามคน ให้ ก.อ. แต่งตั้งข้าราชการฝ่ายอัยการคนหนึ่งเป็นเลขานุการ ก.อ. มาตรา ๑๖ เมื่อจะมีการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้รัฐมนตรีเป็นผู้ สั่ง วิธีการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้รัฐมนตรี ประกาศชื่อผู้ได้รับเลือกในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๗ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งได้คราวละสองปี และ อาจได้รับเลือกใหม่ ถ้าตำแหน่งว่างลงก่อนถึงกำหนดวาระ ให้รัฐมนตรีสั่งให้ดำเนินการเลือกซ่อม เว้นแต่วาระการอยู่ในตำแหน่งของกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิจะเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน รัฐมนตรี จะไม่สั่งให้ดำเนินการเลือกซ่อมก็ได้ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกซ่อมอยู่ในตำแหน่งได้เพียงวาระของ ผู้ที่ตนแทน มาตรา ๑๘ ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการอัยการว่างลง นอกจากการพ้นจาก ตำแหน่งของกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามวาระ และมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการโดย รีบด่วน ก็ให้กรรมการอัยการที่เหลือดำเนินการไปได้ แต่ต้องมีกรรมการอัยการพอที่จะเป็น องค์ประชุม มาตรา ๑๙ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ครบกำหนดวาระ (๒) ตาย (๓) ลาออก (๔) เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่ง หรือพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการ ในกรณีที่เป็นกรรมการอัยการตามมาตรา ๑๕ (๔) (ก) (๕) กลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการอัยการ ในกรณีที่เป็นกรรมการอัยการ ตามมาตรา ๑๕ (๔) (ข) (๖) ไปเป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภา ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง กรรมการ พรรคการเมือง เจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง หรือทนายความ ในกรณีเป็นที่สงสัยว่า กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิผู้ใดพ้นจากตำแหน่ง กรรมการอัยการหรือไม่ ให้อธิบดีเสนอ ก.อ. เพื่อวินิจฉัยชี้ขาด มาตรา ๒๐ การประชุมของ ก.อ. ต้องมีกรรมการอัยการมาประชุมไม่น้อยกว่า เจ็ดคนจึงเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานเป็นประธาน ในที่ประชุม ถ้าประธานและรองประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการ อัยการในที่ประชุมเลือกกรรมการอัยการคนหนึ่งเป็นประธาน หากกรรมการอัยการโดยตำแหน่งว่างลง หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้รักษา ราชการแทน หรือผู้รักษาการในตำแหน่งตามกฎหมาย ทำหน้าที่กรรมการอัยการแทนในระหว่างนั้น ในการประชุมของ ก.อ. ถ้ามีการพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับกรรมการอัยการผู้ใด โดยเฉพาะ ผู้นั้นไม่มีสิทธิเข้าประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือเสียงข้างมาก ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ก.อ. มีอำนาจออกข้อบังคับว่าด้วยระเบียบการประชุมและการลงมติ มาตรา ๒๑ ในกรณีที่ ก.อ. มีหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้อธิบดีเป็นผู้เสนอเรื่องต่อ ก.อ. แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิกรรมการอัยการคนหนึ่งคนใดที่จะเสนอ มาตรา ๒๒ ก.อ. มีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการให้ทำการใด ๆ แทนได้ ลักษณะ ๓ ข้าราชการอัยการ หมวด ๑ การบรรจุ การแต่งตั้ง และการเลื่อนขั้นเงินเดือน มาตรา ๒๓ ตำแหน่งข้าราชการอัยการมีดังนี้ อธิบดี รองอธิบดี อัยการพิเศษ ฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ อัยการพิเศษประจำเขต อัยการประจำ กรม อัยการจังหวัด อัยการประจำกอง อัยการจังหวัดผู้ช่วย และอัยการผู้ช่วย นอกจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง อาจให้มีตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่อ อย่างอื่น ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงได้ ตำแหน่งดังกล่าวจะเทียบกับตำแหน่งใดตามวรรคหนึ่งให้ กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนั้นด้วย กฎกระทรวงเช่นว่านี้ให้ได้รับความเห็นชอบของ ก.อ. ก่อน มาตรา ๒๔ ข้าราชการอัยการจะได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง ดังต่อไปนี้ (๑) อธิบดี ให้ได้รับเงินเดือนชั้น ๖ (๒) รองอธิบดี ให้ได้รับเงินเดือนชั้น ๕ (๓) อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ และอัยการพิเศษประจำเขต ให้ได้รับเงินเดือนชั้น ๔ (๔) อัยการประจำกรม และอัยการจังหวัด ให้ได้รับเงินเดือนชั้น ๓ (๕) อัยการประจำกอง และอัยการจังหวัดผู้ช่วย ให้ได้รับเงินเดือนชั้น ๒ (๖) อัยการผู้ช่วย ให้ได้รับเงินเดือนชั้น ๑ สำหรับข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เมื่อเทียบกับ ตำแหน่งใดก็ให้ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งนั้น ในกรณีที่ข้าราชการอัยการได้เลื่อนขึ้นรับเงินเดือนในชั้นถัดไป ให้ได้รับเงินเดือน ในอัตราขั้นต่ำของชั้นนั้น แต่ถ้าผู้นั้นได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของชั้นที่เลื่อนขึ้นก็ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นของชั้นนั้น ซึ่งมีจำนวนเท่ากับเงินเดือนที่ได้รับอยู่ มาตรา ๒๕ การบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง อัยการผู้ช่วย ให้รัฐมนตรีเป็นผู้สั่ง โดยวิธีการสอบคัดเลือกตามความในหมวด ๒ แห่งลักษณะนี้ แต่ถ้าผู้ใด (๑) สอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ โดย มีหลักสูตรการศึกษาเดียวไม่น้อยกว่าสามปี ซึ่ง ก.อ. เทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และสอบไล่ได้ ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (๒) สอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ โดยมีหลักสูตรการศึกษาหลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่าสองปี หรือหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่า สองปี ซึ่ง ก.อ. เทียบว่า ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และสอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษา กฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (๓) สอบไล่ได้เป็นธรรมศาสตร์บัณฑิต หรือนิติศาสตร์บัณฑิตและสอบไล่ได้ ชั้นเกียรตินิยมตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และได้ประกอบ วิชาชีพ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือ (๔) สอบไล่ได้ปริญญาโทหรือปริญญาเอกทางกฎหมายในประเทศไทย และ สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และได้ประกอบ วิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี เมื่อ ก.อ.พิจารณาเห็นว่า เป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๓๓ (๒) ถึง (๑๒) และได้ทำการทดสอบความรู้ในวิชากฎหมายแล้ว เห็นสมควรที่จะให้เข้ารับราชการ ก็ให้รัฐมนตรีสั่ง บรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ตามที่ ก.อ. กำหนด การบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ให้บรรจุให้ได้รับ เงินเดือนในอัตราขั้นต่ำของชั้น มาตรา ๒๖ อัยการผู้ช่วยที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัด ผู้ช่วยจะต้องได้รับการอบรมจากกรมอัยการมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และผลของการอบรมเป็นที่ พอใจของ ก.อ. ว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และความประพฤติ เหมาะสมที่จะเป็นอัยการ จังหวัดผู้ช่วย อัยการผู้ช่วยซึ่งได้รับการอบรมจากกรมอัยการมาแล้วหนึ่งปี แต่ผลของการ อบรมยังไม่เป็นที่พอใจของ ก.อ. ว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และความประพฤติ เหมาะสมที่ จะเป็นอัยการจังหวัดผู้ช่วย ก็ให้ได้รับการอบรมจากกรมอัยการต่อไปอีกหนึ่งปี เมื่อครบกำหนด ดังกล่าวแล้วหากผลของการอบรมยังไม่เป็นที่พอใจของ ก.อ. ให้รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ออกจาก ราชการ ในระหว่างเวลาปีแรกที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดผู้ช่วย หากปรากฏว่าผู้ได้รับแต่งตั้งไม่เหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งต่อไปให้รัฐมนตรีด้วยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจสั่งให้ออกจากราชการ มาตรา ๒๗ การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งนอกจากตำแหน่ง อัยการผู้ช่วยให้รัฐมนตรีเสนอ ก.อ. โดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถ ความรับผิดชอบ ประวัติการ ปฏิบัติราชการของบุคคลนั้นเทียบกับงานในตำแหน่งข้าราชการอัยการที่จะได้รับแต่งตั้งนั้น ๆ เพื่อ ให้ความเห็นชอบก่อนเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว จึงนำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง มาตรา ๒๘ การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการอัยการในชั้นหนึ่ง ๆ ให้รัฐมนตรี เป็นผู้สั่งเลื่อน ในเมื่อได้รับความเห็นชอบของ ก.อ. แล้ว โดยปกติปีละหนึ่งขั้น โดยคำนึงถึงคุณภาพ และปริมาณงานของตำแหน่งและผลของงานที่ได้ปฏิบัติมา การรักษาวินัย ตลอดจนความสามารถ และความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด ให้ออกเป็นกฎกระทรวง มาตรา ๒๙ การโอนข้าราชการอัยการไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการ ธุรการ โดยให้ได้รับเงินเดือนไม่สูงกว่าในขณะที่โอน ให้รัฐมนตรีสั่งได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้นั้น ยินยอม และ ก.อ. เห็นชอบ การโอนข้าราชการอัยการไปเป็นข้าราชการพลเรือน หรือข้าราชการฝ่ายอื่นให้ รัฐมนตรีสั่งได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้นั้นยินยอม และ ก.อ.เห็นชอบ การให้ข้าราชการอัยการไปทำงานในตำแหน่งข้าราชการธุรการหรือตำแหน่ง การเมืองในกระทรวงมหาดไทย ให้รัฐมนตรีสั่งได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ ในระหว่างที่ปฏิบัติงานเช่นว่านี้ข้าราชการอัยการผู้นั้นจะทำการเกี่ยวกับการดำเนินคดีในหน้าที่ของพนักงานอัยการไม่ได้ มาตรา ๓๐ การโอนข้าราชการธุรการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการ อัยการโดยให้ได้รับเงินเดือนไม่สูงกว่าในขณะที่โอนมา อาจทำได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ แต่ข้าราชการ ธุรการผู้นั้นอย่างน้อยต้องเคยเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการประจำกอง หรืออัยการจังหวัดผู้ช่วยมาแล้ว มาตรา ๓๑ ข้าราชการอัยการผู้ใดพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการไปโดยมิได้ มีความผิด หรือมีมลทินหรือมัวหมองในราชการ หรือไปรับราชการ ในกระทรวงทบวงกรมอื่นเมื่อจะกลับเข้ารับตำแหน่งข้าราชการอัยการโดยรับเงินเดือนไม่สูงกว่าขณะพ้นจากตำแหน่งข้าราชการ อัยการ ถ้าไม่เป็นผู้ขาดคุณสมบัติ ตามมาตรา ๓๓ (๒) ถึง (๑๒) ก็ให้รัฐมนตรีสั่งบรรจุได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ มาตรา ๓๒ ข้าราชการอัยการผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการ รับราชการทหาร เมื่อผู้นั้นพ้นจากราชการทหาร โดยไม่มีความเสียหาย และประสงค์จะกลับเข้ารับ ราชการในตำแหน่งข้าราชการอัยการ โดยรับเงินเดือนเท่าที่ได้รับอยู่ในขณะที่ไปรับราชการทหาร ให้ ยื่นคำขอภายในกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันพ้นจากราชการทหารในกรณีเช่นว่านี้ ให้ รัฐมนตรีสั่งบรรจุได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ แต่ถ้าจะบรรจุให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าขณะที่ไปรับราชการ ทหารให้บรรจุได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ซึ่ง ก.อ. จะได้กำหนด หมวด ๒ การสอบคัดเลือก มาตรา ๓๓ ผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (๑) (ก) สอบไล่ได้เป็นธรรมศาสตร์บัณฑิต หรือนิติศาสตร์บัณฑิต หรือสอบไล่ได้ ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ ซึ่ง ก.อ. เทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี (ข) สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่ง เนติบัณฑิตยสภาและ (ค) ได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นข้าราชการตุลาการจ่าศาล รองจ่าศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดี พนักงานคุมประพฤติ นายทหารเหล่า พระธรรมนูญ หรือทนายความ หรือได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นตามที่ ก.อ. กำหนด ทั้งนี้ เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี และให้ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการ ประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ด้วย (๒) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด (๓) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปี (๔) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ (๕) เป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา (๖) ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี (๗) ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว (๘) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งให้พักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ ก่อนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ หรือตามกฎหมายอื่น (๙) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ (๑๐) ไม่เป็นผู้เคยรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษ สำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๑๑) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือจิต ฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือมีกายหรือจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการอัยการ หรือเป็นโรค ที่ระบุไว้ในกฎกระทรวง และ (๑๒) เป็นผู้ที่คณะกรรมการแพทย์มีจำนวนไม่น้อยกว่าสามคน ซึ่ง ก.อ. จะได้ กำหนดได้ตรวจร่างกายและจิตใจแล้ว และ ก.อ. ได้พิจารณารายงานของแพทย์ เห็นว่าสมควรรับ สมัครได้ ให้ ก.อ. มีอำนาจวางระเบียบเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบ คัดเลือกก่อนที่จะรับสมัครได้ มาตรา ๓๔ ให้ ก.อ. มีอำนาจกำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกตาม มาตรา ๓๓ ตลอดจนวางเงื่อนไขในการรับสมัคร เมื่อสมควรจะมีการสอบคัดเลือกเมื่อใด ให้กรมอัยการเสนอต่อ ก.อ. ให้ ก.อ. จัด ให้มีการสอบคัดเลือก เมื่อได้มีการสอบใหม่ และได้ประกาศผลของการสอบแล้ว บัญชีสอบคัดเลือก คราวก่อนเป็นอันยกเลิก มาตรา ๓๕ ผู้สอบคัดเลือกที่ได้คะแนนสูงให้ได้รับบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยก่อนผู้ที่ได้รับคะแนนต่ำลงมาตามลำดับแห่งบัญชีสอบ คัดเลือก หากได้คะแนนเท่ากันให้ใช้วิธีจับสลากเพื่อจัดลำดับที่ระหว่างผู้ที่ได้คะแนนเท่ากันนั้น ผู้สอบคัดเลือกได้ผู้ใด หากขาดคุณสมบัติหรือลักษณะข้อใดข้อหนึ่งตาม มาตรา ๓๓ หรือเป็นบุคคลที่ ก.อ. เห็นว่ามีชื่อเสียงหรือความประพฤติหรือเหตุอื่น ๆ ที่ไม่เหมาะสม จะเป็นข้าราชการอัยการผู้นั้นเป็นอันหมดสิทธิเข้ารับราชการตามผลของการสอบคัดเลือกนั้น หมวด ๓ การพ้นจากตำแหน่ง มาตรา ๓๖ ข้าราชการอัยการพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๓) ได้รับอนุญาตให้ลาออก (๔) โอนไปรับราชการทางอื่น (๕) ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการ ทหาร (๖) ถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๒๖ หรือมาตรา ๓๗ หรือมาตรา ๓๙ (๗) ถูกสั่งลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก การพ้นจากตำแหน่งของข้าราชการอัยการ เว้นแต่ตำแหน่งอัยการผู้ช่วย หาก เป็นกรณีตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ แต่ถ้าเป็นการพ้นจาก ตำแหน่งตาม (๔) (๕) (๖) หรือ (๗) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง พระบรมราชโองการดังกล่าวให้มีผลตั้งแต่วันโอนหรือวันออกจากราชการแล้วแต่กรณี มาตรา ๓๗ ผู้ได้รับบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด หากภายหลังปรากฏต่อ ก.อ. ว่าขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๕ หรือมาตรา ๓๓ ตั้งแต่ก่อนได้รับ การบรรจุ ให้รัฐมนตรีด้วยความเห็นชอบของ ก.อ.สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ แต่ทั้งนี้ไม่กระทบ กระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใด ที่รับจากทางราชการก่อนมีคำสั่งให้ออกนั้น และถ้าการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้วให้ถือว่า เป็นการสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ มาตรา ๓๘ ข้าราชการอัยการผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการให้ยื่นหนังสือ ขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งเพื่อให้รัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณา เมื่อรัฐมนตรีสั่ง อนุญาตแล้วให้ถือว่าพ้นจากตำแหน่ง ในกรณีที่ข้าราชการอัยการขอลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเพื่อ สมัครรับเลือกตั้ง ให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก นอกจากกรณีตามวรรคสอง ถ้ารัฐมนตรีเห็นว่า จำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการ จะยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกินสามเดือนนับแต่วันขอลาออกก็ได้ มาตรา ๓๙ เมื่อรัฐมนตรีเห็นสมควรให้ข้าราชการอัยการผู้ใดออกจากราชการ เพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน เหตุทุพพลภาพ หรือเหตุรับราชการนาน ตามกฎหมายว่าด้วย บำเหน็จบำนาญข้าราชการ ให้ทำได้ด้วยความเห็นชอบของ ก.อ. แต่การให้ออกจากราชการเพื่อรับ บำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน ให้ทำได้เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และได้ ดำเนินการสอบสวนตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในลักษณะ ๔ หมวด ๒ แล้ว ไม่ได้ความเป็นสัตย์ว่า กระทำผิดที่จะต้องถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก แต่ผู้นั้นมีมลทินหรือมัวหมอง จะให้รับ ราชการต่อไป จะเป็นการเสียหายแก่ราชการ (๒) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดบกพร่องต่อหน้าที่ หรือหย่อนความสามารถ ในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่สมควรที่จะให้คงเป็นข้าราชการอัยการต่อไป (๓) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการได้โดย สม่ำเสมอ แต่ไม่ถึงเหตุทุพพลภาพ หรือ (๔) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๓๓ (๒) หรือ (๑๑) หรือเป็นสมาชิกรัฐสภาซึ่งมาจากการเลือกตั้ง หรือเป็นข้าราชการการเมือง เว้นแต่กรณีตาม มาตรา ๒๙ วรรคสาม ลักษณะ ๔ วินัย การรักษาวินัย และการลงโทษ หมวด ๑ วินัย มาตรา ๔๐ ข้าราชการอัยการต้องรักษาวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้โดย เคร่งครัด ผู้ใดฝ่าฝืนจักต้องได้รับโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๓ แห่งลักษณะนี้ มาตรา ๔๑ ข้าราชการอัยการต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย ตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ มาตรา ๔๒ ข้าราชการอัยการจะเป็นกรรมการพรรคการเมือง สมาชิกพรรค การเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมืองไม่ได้ ในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา หรือผู้แทนทางการเมืองอื่นใดข้าราชการอัยการ จะเข้าเป็นตัวกระทำการ ร่วมกระทำการ หรือสนับสนุนในการโฆษณาหรือชักชวนใด ๆ ไม่ได้ มาตรา ๔๓ ข้าราชการอัยการต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งใน หน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย ห้ามมิให้ขัดขืนหลีกเลี่ยง ถ้าไม่เห็นพ้องด้วยคำสั่งนั้นจะเสนอ ความเห็นทัดทานเป็นหนังสือก็ได้ แต่ต้องเสนอโดยด่วน และเมื่อได้ทัดทานดังกล่าวแล้วผู้บังคับ บัญชามิได้สั่งถอนหรือแก้คำสั่งที่สั่งไป ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม แต่ให้ผู้บังคับบัญชารีบ รายงานขึ้นไปยังอธิบดีตามลำดับ ในการปฏิบัติราชการ ห้ามมิให้กระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ จะได้รับอนุญาต มาตรา ๔๔ ข้าราชการอัยการต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความระมัดระวัง มิให้เสียหายแก่ราชการ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม มาตรา ๔๕ ข้าราชการอัยการต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงาน โดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องบอกถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย มาตรา ๔๖ ข้าราชการอัยการต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการจะละทิ้งหรือ ทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้ ข้าราชการอัยการต้องไม่ประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพ หรือกระทำกิจการใดอัน เป็นการกระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ หรือเสื่อมเสียถึงเกียรติศักดิ์แห่งตำแหน่งหน้าที่ ราชการ ข้าราชการอัยการต้องไม่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือที่ปรึกษากฎหมาย หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนบริษัท ข้าราชการอัยการต้องไม่เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐใน ทำนองเดียวกัน เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจาก ก.อ. มาตรา ๔๗ ข้าราชการอัยการต้องไม่กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว เช่น ประพฤติตนเป็นคนเสเพล มีหนี้สินรุงรัง เสพของมึนเมาจนไม่สามารถครองสติได้ เล่นการพนันเป็นอาจิณ กระทำความผิดอาญา หรือกระทำการอื่นใด ซึ่งความประพฤติหรือการกระทำดังกล่าวแล้วอาจทำให้เสียเกียรติศักดิ์แห่งตำแหน่งหน้าที่ราชการ มาตรา ๔๘ ข้าราชการอัยการต้องต้อนรับ ให้ความสะดวก และให้ความ สงเคราะห์ต่อประชาชนผู้มาติดต่อในกิจการอันเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตนโดยไม่ชักช้า ห้ามมิให้ดูหมิ่นเหยียดหยามบุคคลใด ๆ และต้องสุภาพเรียบร้อยต่อประชาชน มาตรา ๔๙ ข้าราชการอัยการต้องถือและปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทาง ราชการ มาตรา ๕๐ ข้าราชการอัยการต้องสุภาพเรียบร้อยและรักษาความสามัคคี ระหว่างข้าราชการและต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหน้าที่ราชการ มาตรา ๕๑ ข้าราชการอัยการต้องรักษาความลับของทางราชการ มาตรา ๕๒ ผู้บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดรู้ว่าผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา กระทำผิดวินัยแล้วไม่จัดการสอบสวนพิจารณาและดำเนินการตามความในหมวด ๒ และหมวด ๓ แห่งลักษณะนี้ หรือตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน แล้วแต่กรณี หรือไม่จัดการ ลงโทษตามอำนาจและหน้าที่หรือจัดการลงโทษโดยไม่สุจริต ให้ถือว่าผู้บังคับบัญชาผู้นั้นกระทำ ผิดวินัย หมวด ๒ การรักษาวินัย มาตรา ๕๓ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่า กระทำผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการสอบสวนชั้นต้นโดยมิชักช้า วิธีการสอบสวนชั้นต้นจะทำโดยให้ผู้มีกรณีเกี่ยวข้องชี้แจ้งเรื่องราวเป็นหนังสือ หรือโดยบันทึกเรื่องราวและความเห็นก็ได้ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สอบสวนชั้นต้นแล้ว เห็นว่า ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำ ผิดวินัยไม่ร้ายแรง ให้ดำเนินการตามมาตรา ๖๓ แต่ถ้าเห็นว่าเป็นกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ดำเนินการตามมาตรา ๕๔ หรือมาตรา ๕๖ แล้วแต่กรณี แต่ถ้าเกินอำนาจของตนให้รายงานไป ยังผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปตามลำดับเพื่อดำเนินการตามควรแก่กรณี มาตรา ๕๔ ข้าราชการอัยการผู้ใดซึ่งผู้บังคับบัญชาเห็นว่ากระทำผิดวินัย อย่างร้ายแรงที่มีโทษถึงไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก ให้ผู้บังคับบัญชาต่อไปนี้แต่งตั้งคณะ กรรมการขึ้นอย่างน้อยสามคน เพื่อทำการสอบสวน คือ (๑) รัฐมนตรี สำหรับข้าราชการอัยการทุกชั้น (๒) อธิบดี สำหรับข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๑ และชั้น ๒ กรรมการตามวรรคหนึ่งต้องเป็นข้าราชการอัยการ ในการสอบสวนนั้น คณะกรรมการสอบสวนต้องแจ้งข้อกล่าวหา และ รายละเอียดเท่าที่มีอยู่ให้ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยทราบ และต้องให้โอกาสแก่ผู้ถูกกล่าวหาว่า กระทำผิดวินัยชี้แจงและนำพยานหลักฐานเข้าสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ด้วย ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวนให้เสร็จโดยเร็วกำหนดอย่างช้า ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันได้รับแต่งตั้ง ถ้ามีความจำเป็น ซึ่งจะสอบสวนไม่ทันภายในกำหนดนั้นก็ ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง แต่ละครั้งเป็นเวลาไม่เกินสิบห้าวัน และต้องแสดงเหตุที่ ต้องขยายเวลาไว้ด้วยทุกครั้ง แต่ถ้าขยายเวลาแล้วยังสอบสวนไม่เสร็จ จะขยายเวลาต่อไปอีกได้ต่อ เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้แต่งตั้ง หลักเกณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวกับการสอบสวนให้เป็นไปตามที่ ก.อ. กำหนด เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้ทำการสอบสวนเสร็จแล้ว ให้รายงานเสนอ ความเห็นต่ออธิบดี โดยให้ผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกกล่าวหาตามลำดับได้แสดงความเห็นเสียก่อน ด้วย ถ้าคณะกรรมการหรือผู้บังคับบัญชาดังกล่าว หรืออธิบดี เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัย ก็ ให้อธิบดีทำความเห็นรายงานไปยัง ก.อ. เมื่อ ก.อ. ได้พิจารณาเห็นสมควรลงโทษ ไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ จึงให้รัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีสั่งไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการต่อไป ในกรณีข้าราชการอัยการถูกฟ้องคดีอาญา จะใช้คำพิพากษาถึงที่สุดของศาล ประกอบการพิจารณาของ ก.อ. โดยไม่ต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนก็ได้ มาตรา ๕๕ ให้กรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพียง เท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของกรรมการสอบสวน และโดยเฉพาะให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วยคือ (๑) เรียกให้กระทรวงทบวงกรม หน่วยราชการ หรือรัฐวิสาหกิจชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐาน ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน (๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำ หรือ ให้ส่งเอกสารและ หลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน มาตรา ๕๖ ข้าราชการอัยการผู้ใด กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และเป็นกรณี ความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่ ก.อ. กำหนด หรือได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับ บัญชาหรือต่อคณะกรรมการสอบสวน รัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรี จะพิจารณาสั่งลงโทษโดยไม่ต้องสอบสวนก็ได้ ทั้งนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบของ ก.อ. ก่อน มาตรา ๕๗ ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือถูกฟ้องคดีอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือ ความผิดลหุโทษ ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่าจะให้อยู่ในหน้าที่ราชการระหว่างสอบสวนหรือพิจารณา จะเป็นการเสียหายแก่ราชการ จะสั่งให้พักราชการก็ได้ ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจสั่งให้พักราชการ คือ (๑) รัฐมนตรี สำหรับข้าราชการอัยการทุกชั้น (๒) อธิบดี สำหรับข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๑ และชั้น ๒ การให้พักราชการนั้น ให้พักตลอดเวลาที่สอบสวนพิจารณา หรือตลอดเวลาที่ คดียังไม่ถึงที่สุดเมื่อสอบสวนพิจารณาเสร็จแล้ว หรือคดีถึงที่สุดแล้ว ถ้าปรากฏว่าผู้ถูกสั่งให้พัก ราชการมิได้กระทำความผิดและไม่มีมลทิน หรือมัวหมอง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจสั่งให้พัก ราชการสั่งให้รับราชการตามเดิม เงินเดือนของผู้ถูกสั่งให้พักราชการดังกล่าว ให้เป็นไปตาม กฎหมายว่าด้วยการนั้น มาตรา ๕๘ ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา หรือถูกฟ้องคดีอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดย ประมาทหรือความผิดลหุโทษ แม้ภายหลังผู้นั้นจะพันจากตำแหน่งข้าราชการอัยการไปแล้ว ก็อาจมี การสอบสวนหรือพิจารณาเพื่อลงโทษ หรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้เป็นไปตามลักษณะนี้ได้ เว้นแต่ ข้าราชการอัยการผู้นั้นจะพ้นจากตำแหน่งเพราะตาย หมวด ๓ การลงโทษ มาตรา ๕๙ โทษผิดวินัยมี ๕ สถาน คือ (๑) ไล่ออก (๒) ปลดออก (๓) ให้ออก (๔) งดบำเหน็จความชอบ (๕) ภาคทัณฑ์ การสั่งลงโทษข้าราชการอัยการในสถานไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกนั้น จะกระทำได้เมื่อได้ดำเนินการสอบสวนพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๒ แห่งลักษณะนี้แล้ว มาตรา ๖๐ การไล่ออกนั้นรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมาย จากรัฐมนตรีจะสั่งลงโทษได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงดังต่อไปนี้ (๑) ทุจริตต่อหน้าที่ราชการ (๒) ทำความผิดอาญาและต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก เว้นแต่ เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๓) ต้องคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายทุจริตตามกฎหมายว่าด้วย ล้มละลาย (๔) เปิดเผยความลับของทางราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการ อย่างร้ายแรง (๕) ละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นเหตุให้เสียหายแก่ ราชการอย่างร้ายแรง หรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดย ไม่มีเหตุผลอันสมควร (๖) ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย และการขัดคำสั่งนั้น อาจเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๗) ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการหรือปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือระเบียบของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๘) ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง มาตรา ๖๑ การปลดออกนั้น รัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมาย จากรัฐมนตรีจะสั่งลงโทษได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่ยังไม่ถึง ขนาดที่จะต้องถูกไล่ออกจากราชการ หรือถึงขนาดที่จะต้องไล่ออก แต่มีเหตุอันควรลดหย่อน มาตรา ๖๒ การให้ออกนั้น รัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมาย จากรัฐมนตรีจะสั่งลงโทษได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่ยังไม่ถึง ขนาดที่จะต้องถูกปลดออก หรือถึงขนาดที่จะต้องถูกปลดออก แต่มีเหตุอันควรลดหย่อน ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรานี้ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ เสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ มาตรา ๖๓ ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง และผู้บังคับบัญชา สอบสวนพิจารณาแล้วเห็นว่าสมควรลงโทษเพียงสถานงดบำเหน็จความชอบเป็นเวลาไม่เกินสามปี หรือถ้ามีเหตุสมควรปรานี จะลงโทษเพียงภาคทัณฑ์โดยจะให้ทำทัณฑ์บนไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้ ก็ให้ผู้ บังคับบัญชารายงานตามลำดับถึงอธิบดีเพื่อเสนอ ก.อ. เมื่อ ก.อ. พิจารณาเห็นสมควรลงโทษสถาน ใด ก็ให้รายงานไปยังรัฐมนตรีเพื่อสั่ง มาตรา ๖๔ ในคำสั่งลงโทษ ให้แสดงว่าผู้รับโทษนั้นกระทำผิดวินัยในกรณีใด ตามมาตราใด มาตรา ๖๕ ถ้าปรากฏว่าคำสั่งลงโทษทางวินัยได้สั่งไปโดยผิดหลงให้รัฐมนตรีมี อำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นคุณแก่ผู้ถูกลงโทษได้ แต่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช่นว่านี้ จะต้องได้ รับอนุมัติจาก ก.อ. ก่อน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ให้กระทำได้ภายในกำหนด สองปีนับแต่วันสั่งลงโทษ ลักษณะ ๕ ข้าราชการธุรการ มาตรา ๖๖ ในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการธุรการ ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนสามัญ มาใช้บังคับ ตำแหน่งข้าราชการอัยการใดเป็นตำแหน่งผู้บังคับบัญชาข้าราชการธุรการ โดยเทียบกับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งใด ให้กำหนดโดยกฎ ก.พ. บทเฉพาะกาล มาตรา ๖๗ ให้กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งอยู่ในตำแหน่งในวันที่พระราช บัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาคงอยู่ในตำแหน่งต่อไป จนกว่าจะได้มีการเลือกกรรมการ อัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัตินี้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ ใช้บังคับ มาตรา ๖๘ ผู้ใดเป็นข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้นั้นเป็น ข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไป โดยให้ได้รับเงินเดือนในอัตราเท่ากับเงินเดือนที่ได้รับ อยู่ เว้นแต่ผู้ที่ได้รับเงินเดือนไม่ถึงขั้นต่ำของชั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้ ผู้นั้นได้รับเงินเดือนขั้นต่ำของชั้นนั้น มาตรา ๖๙ ผู้ใดเป็นข้าราชการธุรการสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้ นั้นเป็นข้าราชการธุรการตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไป มาตรา ๗๐ ผู้ใดเป็นข้าราชการธุรการวิสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้ นั้นเป็นข้าราชการธุรการวิสามัญต่อไป และให้นำมาตรา ๑๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๗๑ ข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยในขณะที่พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ใช้บังคับ และผู้บังคับบัญชาได้สั่งให้ดำเนินการสอบ สวนแล้ว ถ้าการสั่งและการสอบสวนพิจารณาที่ได้กระทำไปแล้วถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ใน ขณะนั้น ให้ถือว่าเป็นอันสมบูรณ์ ถ้ากรณียังค้างระหว่างการสอบสวน ก็ให้ดำเนินการสอบสวนตาม กฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะเสร็จ แต่การพิจารณาและการสั่งลงโทษให้ดำเนินการตามพระราช บัญญัตินี้ มาตรา ๗๒ ผู้ที่ได้ยื่นใบสมัครเข้าเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการ ผู้ช่วยไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงถือคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ผู้ที่ ก.อ. ได้ลงมติให้รับเข้าเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ตาม มาตรา ๑๔ และผู้สอบคัดเลือกได้ตามมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่าย อัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงมีสิทธิได้รับบรรจุเป็นข้าราชการ อัยการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยต่อไป มาตรา ๗๓ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ ที่จะได้ประกาศใช้ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๒๐ มิให้นำความใน มาตรา ๓๙ (๔) ในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการการเมืองมาใช้บังคับแก่ข้าราชการอัยการ มาตรา ๗๔ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาบรรจุบุคคลซึ่งเคยรับราชการ และออกจากราชการไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เข้ารับราชการ ให้ปรับเงินเดือนที่ผู้นั้น ได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้เข้าชั้น และขั้นตามบัญชีที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่กลับเข้ารับราชการ ในกรณีที่ผู้เข้ารับราชการเป็นผู้ซึ่งออกจากราชการก่อนมีการปรับอัตราเงินเดือน ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๗ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๐ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๖๐ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ หรือพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๑๗ ให้ปรับเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการ ตามพระราชบัญญัติและ ประกาศนั้น ๆ เสียก่อน แล้วจึงปรับเงินเดือนตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่มีการปรับเงินเดือนของผู้ที่กลับเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งและ วรรคสองแล้วยังปรากฏว่าผู้เข้ารับราชการได้รับเงินเดือนไม่ถึงขั้นต่ำของชั้นตามบัญชีอัตรา เงินเดือนข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้ ก.อ. เป็นผู้พิจารณาว่าผู้นั้นสมควรได้รับการ บรรจุในชั้นหรือขั้นใด ทั้งนี้ ก.อ. จะกำหนดให้ได้รับเงินเดือนในชั้นที่ต่ำกว่าขั้นต่ำของชั้นเป็นกรณี เฉพาะรายก็ได้ มาตรา ๗๕ ข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญ หรือ ข้าราชการซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือพนักงานเทศบาลที่ไม่ใช่พนักงาน เทศบาลวิสามัญซึ่งสอบคัดเลือก หรือทดสอบความรู้เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการอัยการใน ตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ และ เจ้าสังกัดได้ทำความตกลงกับกรมอัยการให้โอนมาบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการ ผู้ช่วยก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้นับเวลาราชการหรือเวลาทำงานของตนในขณะที่เป็น ข้าราชการ หรือพนักงานเทศบาลเป็นเวลาราชการของข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย มาตรา ๗๖ ในระหว่างที่ยังมิได้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ กฎหมายว่าด้วยเงินเดือนของข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการ และกฎหมายว่าด้วยบัตร ประจำตัวข้าราชการ พนักงานเทศบาล พนักงานสุขาภิบาล และพนักงานองค์การของรัฐเพื่อให้มีผล บังคับรวมถึงข้าราชการฝ่ายอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าข้าราชการฝ่ายอัยการเป็น ข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กฎหมายว่าด้วยเงินเดือนของ ข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการและกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวข้าราชการ พนักงานเทศบาล พนักงานสุขาภิบาล และพนักงานองค์การของรัฐอยู่ต่อไป มาตรา ๗๗ ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกา ออกกฎกระทรวง กฎ ก.พ. ข้อกำหนด ข้อบังคับ ระเบียบ หรือประกาศ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง กฎ ก.พ. ข้อกำหนด ข้อบังคับ ระเบียบหรือประกาศที่ใช้อยู่ในวันที่ พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษามาใช้บังคับโดยอนุโลมเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับ บทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรี บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ* [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] *[บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ได้ใช้บังคับมานานแล้ว แม้จะได้ปรับปรุงแก้ไขมาหลายครั้ง ก็ยังมีบทบัญญัติหลายมาตราไม่เหมาะสมกับกาลสมัย และเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการบริหารงานบุคคลในปัจจุบัน สมควรจะได้ปรับปรุงแก้ไขเสียใหม่ อันจะทำให้ราชการของกรมอัยการดำเนินไปได้ผลดียิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๕ การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้เข้าชั้นและขั้นตามบัญชี อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๑ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรี กำหนด แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่ต่ำกว่าชั้นและขั้นที่ข้าราชการอัยการผู้นั้นดำรงอยู่และได้รับอยู่เดิม มาตรา ๖ เพื่อประโยชน์ในการบรรจุบุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการอัยการและ ออกจากราชการไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับกลับเข้ารับราชการ ให้ปรับอัตราเงินเดือนที่ ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้ตรงกับชั้นและขั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ที่ใช้อยู่ในขณะกลับเข้ารับราชการ และให้นำมาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือน ข้าราชการอัยการที่ปรับปรุงใหม่ไม่ได้ส่วนสัมพันธ์กับอัตราเงินเดือนของข้าราชการประเภทอื่น ๆ ที่ได้รับการปรับปรุงแล้ว สมควรแก้ไขอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้อง ตราพระราชบัญญัตินี้ [รก.๒๕๒๑/๑๐๓/๓๘พ/๒๗ กันยายน ๒๕๒๑] พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ มาตรา ๕ ตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ข้าราชการอัยการได้รับ เงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ โดยให้ปรับ อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ได้รับตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ ให้เข้าชั้นและขั้นตาม บัญชีอัตราเงินเดือนดังกล่าว ตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการท้าย พระราชบัญญัตินี้ เมื่อได้ปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามวรรคหนึ่งแล้วข้าราชการ อัยการผู้ใดได้รับเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำของชั้น เมื่อจะพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนในปีงบประมาณ ต่อไป ให้ปรับให้ข้าราชการอัยการผู้นั้นได้รับเงินเดือนสูงขึ้น ๑ ขั้น ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ของปี งบประมาณนั้นแล้วจึงพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีตามปกติ มาตรา ๖ เพื่อประโยชน์ในการบรรจุบุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการอัยการ และ ออกจากราชการไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ กลับเข้ารับราชการ ให้ปรับอัตราเงินเดือนที่ ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้ตรงกับชั้นและขั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ที่ใช้อยู่ในขณะกลับเข้ารับราชการ และให้นำมาตรา ๗๔ วรรคสอง และ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และมาตรา ๖ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราช บัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือน ข้าราชการอัยการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่ได้ส่วนสัมพันธ์กับอัตราเงินเดือนของข้าราชการประเภทอื่น สมควรแก้ไขอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ [รก.๒๕๒๔/๑๗๕/๑พ/๒๒ ตุลาคม ๒๕๒๔] ดวงใจ/แก้ไข ๐๕/๐๓/๔๕
785904
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 (ฉบับ Update ณ วันที่ 31/03/2554)
พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นปีที่ ๖๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ (๒) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ (๓) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ (๔) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑ (๕) ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่อง การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ (๖) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ (๗) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๘ (๘) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๕ (๙) ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓๕ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๙ (๑๐) พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส พ.ศ. ๒๕๔๓ (๑๑) พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ (๑๒) พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๔๔ (๑๓) พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “ข้าราชการฝ่ายอัยการ” หมายความว่า ข้าราชการซึ่งรับราชการในสำนักงานอัยการสูงสุดโดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนในสำนักงานอัยการสูงสุด “ก.อ.” หมายความว่า คณะกรรมการอัยการ มาตรา ๕ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ลักษณะ ๑ บททั่วไป มาตรา ๖ ข้าราชการฝ่ายอัยการ แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ (๑) ข้าราชการอัยการ ได้แก่ ข้าราชการผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพนักงานอัยการตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ (๒) ข้าราชการธุรการ ได้แก่ ข้าราชการในสำนักงานอัยการสูงสุดนอกจาก (๑) มาตรา ๗ ให้นำระบบบัญชีเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตุลาการมาใช้กับข้าราชการอัยการโดยอนุโลม อัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการอัยการ ให้เป็นไปตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่สมควรปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ถ้าการปรับอัตราเงินเดือนดังกล่าวเป็นการปรับเพิ่มเป็นร้อยละเท่ากันทุกอัตราและไม่เกินร้อยละสิบของอัตราที่ใช้บังคับอยู่ การปรับให้กระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาและให้ถือว่าบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชกฤษฎีกาเป็นบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ในกรณีที่การปรับเป็นร้อยละเท่ากันทุกอัตราหากทำให้อัตราหนึ่งอัตราใดมีเศษไม่ถึงสิบบาท ให้ปรับตัวเลขเงินเดือนของอัตราดังกล่าวให้เพิ่มขึ้นเป็นสิบบาท และมิให้ถือว่าเป็นการปรับอัตราร้อยละที่แตกต่างกัน มาตรา ๘ การกำหนดตำแหน่ง อัตราเงินเดือน อัตราเงินประจำตำแหน่ง การรับเงินเดือนการรับเงินประจำตำแหน่ง การปรับขั้นต่ำขั้นสูงของเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง และเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการธุรการ ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนสามัญมาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ คำว่า “ก.พ.” และ “อ.ก.พ. กระทรวง” ให้หมายถึง “ก.อ.”และคำว่า “กระทรวง” ให้หมายถึง “สำนักงานอัยการสูงสุด” นอกจากตำแหน่งที่กำหนดขึ้นตามวรรคหนึ่ง ก.อ. อาจออกประกาศกำหนดให้มีตำแหน่งข้าราชการธุรการที่แตกต่างไปจากตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนก็ได้ ตำแหน่งดังกล่าวจะให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในอัตราเท่าใดและจะเทียบกับตำแหน่งใดตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดในประกาศนั้นด้วย มาตรา ๙ ในกรณีคณะรัฐมนตรีกำหนดเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นการทั่วไป ให้ข้าราชการฝ่ายอัยการได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวในหลักเกณฑ์เดียวกันด้วย มาตรา ๑๐ ข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการการเมืองหรือข้าราชการซึ่งอยู่ในระหว่างการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งสอบคัดเลือก หรือทดสอบความรู้หรือคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ตามพระราชบัญญัตินี้ หากประสงค์จะโอนมาบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเพื่อนับเวลาราชการหรือเวลาทำงานของตนในขณะที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเป็นเวลาราชการของข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย ก็ให้กระทำได้โดยสำนักงานอัยการสูงสุดทำความตกลงกับเจ้าสังกัด มาตรา ๑๑ บำเหน็จบำนาญของข้าราชการฝ่ายอัยการ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดถึงแก่ความตาย หรือได้รับอันตรายถึงทุพพลภาพเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการจนต้องออกจากราชการเพราะเหตุทุพพลภาพตามพระราชบัญญัตินี้ ก.อ. จะพิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญก็ได้ มาตรา ๑๒ เครื่องแบบ และการแต่งกายของข้าราชการฝ่ายอัยการ การกำหนดให้มีตราสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายใดเพื่อใช้ในการบริหารราชการสำนักงานอัยการสูงสุด รวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำและใช้ตราสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายนั้น ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๑๓ วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี และวันหยุดประจำปีของข้าราชการฝ่ายอัยการ ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดสำหรับข้าราชการพลเรือน เว้นแต่ ก.อ. จะกำหนดเป็นอย่างอื่น การลาหยุดราชการของข้าราชการฝ่ายอัยการ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๑๔ ประมวลจริยธรรมของข้าราชการฝ่ายอัยการให้เป็นไปตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ. สำนักงานอัยการสูงสุดโดยความเห็นชอบของ ก.อ. จะต้องจัดให้มีประมวลจรรยาบรรณสำหรับข้าราชการฝ่ายอัยการ ประมวลจริยธรรมตามวรรคหนึ่ง และประมวลจรรยาบรรณตามวรรคสอง เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ มาตรา ๑๕ ข้าราชการฝ่ายอัยการมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแต่ทั้งนี้ต้องไม่กระทบประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะ และต้องไม่มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรวมกลุ่มตามวรรคหนึ่ง เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามข้อเสนอแนะของ ก.อ. มาตรา ๑๖ การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการการพัฒนาคุณภาพชีวิต การเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติราชการ การปฏิบัติระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา การให้ไปศึกษาเพิ่มเติม ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด มาตรา ๑๗ ในกรณีที่พระราชบัญญัตินี้กำหนดให้เป็นไปตามที่ ก.อ. กำหนด ให้ ก.อ. ทำเป็นระเบียบ ข้อกำหนด หรือประกาศ ตามที่เห็นสมควร ระเบียบ ข้อกำหนด และประกาศ ของ ก.อ. ตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ ลักษณะ ๒ คณะกรรมการอัยการ มาตรา ๑๘ ให้มีคณะกรรมการอัยการคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.อ.” ประกอบด้วย (๑) อัยการสูงสุดเป็นประธาน (๒) รองอัยการสูงสุดตามลำดับอาวุโสจำนวนไม่เกินสี่คนเป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่ง ทั้งนี้ ให้รองอัยการสูงสุดที่มีอาวุโสสูงสุดเป็นรองประธาน (๓) กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนหกคน ซึ่งข้าราชการอัยการชั้น ๒ ขึ้นไปเป็นผู้เลือกจาก (ก) ข้าราชการอัยการชั้น ๖ ขึ้นไป และมิได้เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่งอยู่แล้วสามคน (ข) ผู้รับบำเหน็จหรือบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการมาแล้วและต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๙ ข. (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) และ (๗) สามคน (๔) กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภาจำนวนสองคนและคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนหนึ่งคน (๕) กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการงบประมาณ ด้านการพัฒนาองค์กร หรือด้านการบริหารจัดการ ซึ่งประธานและกรรมการตาม (๒) (๓) และ (๔) เป็นผู้เลือกจากบุคคลซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการฝ่ายอัยการจำนวนหนึ่งคน ให้ ก.อ. แต่งตั้งข้าราชการอัยการคนหนึ่งเป็นเลขานุการ ก.อ. มาตรา ๑๙ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) และ (๕) ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ ก. คุณสมบัติทั่วไป (๑) เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปี (๓) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ข. ลักษณะต้องห้าม (๑) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ ข. (๑) (๒) (๓) (๔) หรือ (๕) (๒) เป็นสมาชิกรัฐสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการพรรคการเมือง สมาชิกพรรคการเมือง หรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นของพรรคการเมือง (๓) เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง กรรมการการเลือกตั้ง กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือกรรมการในคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองหรือศาลอื่น (๔) เป็นข้าราชการอัยการ ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม ตุลาการศาลทหารหรือทนายความ (๕) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ (๖) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ (๗) ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอื่นใดอันเป็นการกระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ มาตรา ๒๐ การเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภาตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้วุฒิสภาตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อพิจารณาเสนอรายชื่อบุคคลที่เห็นสมควรจำนวนสองเท่าของกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิที่จะต้องเลือกต่อวุฒิสภาเพื่อพิจารณาเลือกต่อไป มาตรา ๒๑ ให้อัยการสูงสุดดำเนินการให้มีการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๓) ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุต้องเลือก ตามวิธีการที่ ก.อ. ประกาศกำหนด ให้ประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๒ เพื่อประโยชน์ในการรับเลือกเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๓) (ก) อัยการอาวุโสผู้ใดเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการอัยการในชั้นใดก่อนปีงบประมาณที่จะดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส ให้ถือว่าเป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการอัยการในชั้นนั้น มาตรา ๒๓ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปีและอาจได้รับเลือกหรือแต่งตั้งใหม่ได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ ถ้าตำแหน่งว่างลงก่อนถึงกำหนดวาระ ให้อัยการสูงสุดสั่งให้ดำเนินการเลือกซ่อมหรือขอให้วุฒิสภาเลือกซ่อมหรือคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งซ่อม แล้วแต่กรณี เว้นแต่วาระการอยู่ในตำแหน่งของกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิจะเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน จะไม่ดำเนินการเลือกซ่อมหรือแต่งตั้งซ่อมก็ได้ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกซ่อมหรือแต่งตั้งซ่อมตามวรรคสองอยู่ในตำแหน่งได้เพียงวาระของผู้ซึ่งตนแทน กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิที่ดำรงตำแหน่งแทนตามวรรคสอง หากมีวาระเหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งปีนับแต่วันเลือกหรือแต่งตั้ง ไม่ให้นับเป็นวาระการดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๒๔ ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการอัยการว่างลง ถ้ายังมีกรรมการอัยการพอที่จะเป็นองค์ประชุม ให้กรรมการอัยการที่เหลืออยู่ดำเนินการตามอำนาจและหน้าที่ต่อไปได้ มาตรา ๒๕ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ครบกำหนดวาระ (๒) ตาย (๓) ลาออก (๔) เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่ง หรือพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการในกรณีที่เป็นกรรมการอัยการตามมาตรา ๑๘ (๓) (ก) (๕) กลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการอัยการ ในกรณีที่เป็นกรรมการอัยการตามมาตรา ๑๘ (๓) (ข) (๖) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา ๑๘ (๓) (ข) หรือมาตรา ๑๙ แล้วแต่กรณี ในกรณีเป็นที่สงสัยว่ากรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิผู้ใดพ้นจากตำแหน่งกรรมการอัยการหรือไม่ ให้อัยการสูงสุดเสนอ ก.อ. เพื่อวินิจฉัยชี้ขาด มาตรา ๒๖ การประชุม ก.อ. ต้องมีกรรมการอัยการมาประชุมไม่น้อยกว่าแปดคนจึงเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานเป็นประธานในที่ประชุมถ้าประธานและรองประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการอัยการในที่ประชุมเลือกกรรมการอัยการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม หากกรรมการอัยการโดยตำแหน่งว่างลง หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้รักษาราชการแทนหรือผู้รักษาการในตำแหน่งตามกฎหมาย ทำหน้าที่กรรมการอัยการแทนในระหว่างนั้น มาตรา ๒๗ ในการประชุมของ ก.อ. ถ้ามีการพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับกรรมการอัยการผู้ใดโดยเฉพาะ ผู้นั้นไม่มีสิทธิอยู่ในที่ประชุม แต่เพื่อประโยชน์ในการนับองค์ประชุม ถ้าผู้นั้นได้เข้าประชุมแล้วและต้องออกจากที่ประชุม ให้นับผู้นั้นเป็นองค์ประชุมด้วย การวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือเสียงข้างมาก ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ให้ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบว่าด้วยการประชุมและการลงมติ ในกรณีที่การประชุมของ ก.อ. เป็นการพิจารณาดำเนินการตามมาตรา ๕๙ วรรคสองหรือมาตรา ๘๒ ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีที่เป็นการดำเนินการกับผู้ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุด ห้ามมิให้ประธาน ก.อ. ตามมาตรา ๑๘ (๑) เข้าร่วมพิจารณาเรื่องดังกล่าว โดยให้ถือว่า ก.อ. ประกอบไปด้วยกรรมการอัยการเท่าที่เหลืออยู่ และให้กรรมการอัยการที่เหลืออยู่นั้นเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๓) (ข) หรือ (๔) คนหนึ่ง ทำหน้าที่ประธาน (๒) ในกรณีที่เป็นการดำเนินการกับผู้ดำรงตำแหน่งรองอัยการสูงสุดและเป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่งตามมาตรา ๑๘ (๒) ด้วย ห้ามมิให้รองอัยการสูงสุดผู้นั้นเข้าร่วมพิจารณาเรื่องดังกล่าว และให้ถือว่า ก.อ. ประกอบไปด้วยกรรมการอัยการเท่าที่เหลืออยู่ มาตรา ๒๘ หลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมนาคุณ เบี้ยประชุม หรือค่าตอบแทนของ ก.อ. รวมทั้งอนุกรรมการ บุคคล และคณะบุคคลที่ ก.อ. แต่งตั้ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๒๙ ภายใต้บังคับมาตรา ๓๘ ในกรณีที่ ก.อ. มีหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้อัยการสูงสุดเป็นผู้เสนอเรื่องต่อ ก.อ. แต่กรรมการอัยการคนหนึ่งคนใดจะเสนอเรื่องที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของ ก.อ. เพื่อให้ ก.อ. พิจารณาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนดก็ได้ มาตรา ๓๐ นอกจากอำนาจและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น ให้ ก.อ. มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ให้ความเห็นชอบกรอบอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่งข้าราชการฝ่ายอัยการ (๒) เป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมการเกษียณอายุของข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๓) ออกระเบียบเกี่ยวกับการจัดระบบ การแก้ไข และการรักษาทะเบียนประวัติและควบคุมการเกษียณอายุของข้าราชการฝ่ายอัยการ (๔) ออกระเบียบเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการ การสงเคราะห์อื่น เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว และเงินค่าตอบแทนพิเศษอื่นแก่ข้าราชการฝ่ายอัยการ (๕) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการการจัดลำดับอาวุโสของข้าราชการอัยการ (๖) ออกระเบียบเกี่ยวกับการรักษาราชการแทน การปฏิบัติราชการแทนและการรักษาการในตำแหน่งของข้าราชการฝ่ายอัยการ (๗) ออกระเบียบเกี่ยวกับการร้องทุกข์ของข้าราชการฝ่ายอัยการ (๘) พิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยข้าราชการฝ่ายอัยการ และการสั่งให้ข้าราชการฝ่ายอัยการออกจากราชการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (๙) ออกระเบียบเกี่ยวกับการสรรหา การบรรจุ การแต่งตั้ง การทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ การโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การรับเงินเดือน การเลื่อนเงินเดือน การรักษาจริยธรรม การออกจากราชการ การคุ้มครองระบบคุณธรรม และการจัดระเบียบข้าราชการธุรการ (๑๐) แต่งตั้งอนุกรรมการ บุคคล หรือคณะบุคคลเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ ก.อ. มอบหมาย (๑๑) ออกระเบียบหรือประกาศเพื่อกำหนดการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการฝ่ายอัยการ มาตรา ๓๑ ในการพิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยข้าราชการธุรการ ให้ ก.อ. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการ ซึ่งจะต้องมีข้าราชการธุรการไม่น้อยกว่าสองคนร่วมเป็นคณะอนุกรรมการด้วย จำนวน คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่ง รวมตลอดทั้งวิธีการได้มา วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด ลักษณะ ๓ ข้าราชการอัยการ หมวด ๑ การบรรจุ การแต่งตั้ง และการเลื่อนขั้นเงินเดือน มาตรา ๓๒ ตำแหน่งข้าราชการอัยการ มี ๘ ชั้นดังนี้ (๑) อัยการสูงสุดเป็นข้าราชการอัยการชั้น ๘ (๒) รองอัยการสูงสุด และผู้ตรวจการอัยการ เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๗ (๓) อธิบดีอัยการ อธิบดีอัยการภาค รองอธิบดีอัยการ รองอธิบดีอัยการภาคอัยการพิเศษฝ่ายและอัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๖ (๔) อัยการผู้เชี่ยวชาญ เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๕ (๕) อัยการจังหวัด และอัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๔ (๖) อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด และรองอัยการจังหวัด เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๓ (๗) อัยการประจำกอง และอัยการจังหวัดผู้ช่วย เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๒ (๘) อัยการผู้ช่วย เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๑ มาตรา ๓๓ นอกจากตำแหน่งข้าราชการอัยการตามมาตรา ๓๒ ให้มีตำแหน่งอัยการอาวุโสด้วย มาตรา ๓๔ ข้าราชการอัยการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ดังต่อไปนี้ (๑) อัยการสูงสุด ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๘ (๒) รองอัยการสูงสุด และผู้ตรวจการอัยการ ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๗ (๓) อธิบดีอัยการ อธิบดีอัยการภาค รองอธิบดีอัยการ รองอธิบดีอัยการภาค อัยการพิเศษฝ่ายและอัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๖ - ๗ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้น ๖ (๔) อัยการผู้เชี่ยวชาญ ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๕ - ๖ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้น ๕ (๕) อัยการจังหวัด และอัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๔ - ๕ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในขั้นต่ำของชั้น ๔ (๖) อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด และรองอัยการจังหวัด ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๓ - ๔ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในขั้นต่ำของชั้น ๓ (๗) อัยการประจำกอง และอัยการจังหวัดผู้ช่วย ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๒ - ๓ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในขั้นต่ำของชั้น ๒ (๘) อัยการผู้ช่วย ให้ได้รับเงินเดือนในชั้น ๑ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนในขั้นต่ำของชั้น ๑ (๙) อัยการอาวุโส ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเท่ากับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเดิมที่ได้รับอยู่ก่อนดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส เว้นแต่ผู้ซึ่งได้รับเงินเดือนขั้นสูงสุดของชั้นอยู่ก่อนแล้ว จึงให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าเงินเดือนเดิมหนึ่งขั้น และให้ปรับเงินเดือนขึ้นปีละหนึ่งขั้นแต่ไม่เกินอัตราเงินเดือนของชั้น ๘ และเมื่อปรับเงินเดือนดังกล่าวสูงกว่าขั้นสูงสุดของชั้นเดิมแล้วให้ปรับเงินประจำตำแหน่งให้เท่ากับเงินประจำตำแหน่งของชั้นถัดไป ให้ข้าราชการอัยการได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว เงินประจำตำแหน่งไม่ถือเป็นเงินเดือน ข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เมื่อเทียบกับตำแหน่งใดก็ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามตำแหน่งนั้น มาตรา ๓๕ การบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยให้อัยการสูงสุดเป็นผู้สั่งโดยวิธีการสอบคัดเลือก การทดสอบความรู้ หรือการคัดเลือกพิเศษ ตามความในหมวด ๒ แห่งลักษณะนี้ โดยให้ผู้ได้รับบรรจุได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำของชั้น ๑ มาตรา ๓๖ อัยการผู้ช่วยที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการประจำกองหรืออัยการจังหวัดผู้ช่วยจะต้องได้รับการอบรมจากสำนักงานอัยการสูงสุดมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปีและผลของการอบรมเป็นที่พอใจของ ก.อ. ว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และความประพฤติเหมาะสมที่จะเป็นอัยการประจำกองหรืออัยการจังหวัดผู้ช่วย อัยการผู้ช่วยซึ่งได้รับการอบรมจากสำนักงานอัยการสูงสุดมาแล้วตามวรรคหนึ่ง และผลของการอบรมยังไม่เป็นที่พอใจของ ก.อ. ว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และความประพฤติเหมาะสมที่จะเป็นอัยการประจำกองหรืออัยการจังหวัดผู้ช่วย ก็ให้ได้รับการอบรมจากสำนักงานอัยการสูงสุดต่อไปอีกไม่น้อยกว่าหนึ่งปี เมื่อครบกำหนดดังกล่าวแล้วหากผลของการอบรมยังไม่เป็นที่พอใจของ ก.อ. ให้อัยการสูงสุดสั่งให้ออกจากราชการ ในระหว่างเวลาปีแรกที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการประจำกองหรืออัยการจังหวัดผู้ช่วย หากปรากฏว่าผู้ได้รับแต่งตั้งไม่เหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งต่อไป อัยการสูงสุดด้วยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจสั่งให้ออกจากราชการได้ มาตรา ๓๗ ก่อนเข้ารับหน้าที่ อัยการประจำกองและอัยการจังหวัดผู้ช่วยต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคำ ดังต่อไปนี้ “ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรมโดยปราศจากอคติทั้งปวงเพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ประชาชน และความสงบสุขแห่งราชอาณาจักร ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมายทุกประการ” มาตรา ๓๘ การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งนอกจากตำแหน่งอัยการผู้ช่วยตำแหน่งอัยการอาวุโส ตำแหน่งรองอัยการสูงสุด และตำแหน่งอัยการสูงสุด ให้ประธาน ก.อ. เสนอ ก.อ. โดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถ ความรับผิดชอบ ประวัติการปฏิบัติราชการ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลนั้นเทียบกับงานในตำแหน่งข้าราชการอัยการที่จะได้รับแต่งตั้งนั้น ๆ เพื่อให้ความเห็นชอบก่อนเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว จึงนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ในกรณีที่ ก.อ. ไม่ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดตามที่ประธาน ก.อ. เสนอตามวรรคหนึ่งให้ประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการคนหนึ่งคนใด เสนอชื่อบุคคลอื่นเพื่อให้ ก.อ. ให้ความเห็นชอบได้และในกรณีที่มีการเสนอบุคคลหลายคนให้ดำรงตำแหน่งเดียวกัน ให้ ก.อ. พิจารณาผู้ได้รับการเสนอชื่อเรียงเป็นรายบุคคลตามลำดับอาวุโสเพื่อให้ความเห็นชอบ ผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งใด ถ้าเป็นกรรมการอัยการด้วย ให้ผู้ได้รับการเสนอชื่อออกจากที่ประชุมในระหว่างการพิจารณาเพื่อให้ความเห็นชอบ แต่ให้นับเป็นองค์ประชุมด้วย มาตรา ๓๙ ข้าราชการอัยการซึ่งมีอายุครบหกสิบปีขึ้นไป หากประสงค์จะดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสในปีงบประมาณใด ให้แจ้งเป็นหนังสือต่ออัยการสูงสุดไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันก่อนเริ่มปีงบประมาณนั้น คุณสมบัติและเงื่อนไขการขอดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๔๐ การแต่งตั้งข้าราชการอัยการไปดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสให้อัยการสูงสุดเสนอรายชื่อผู้ซึ่งจะได้รับแต่งตั้งต่อ ก.อ. เพื่อให้ความเห็นชอบ เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วจึงนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งต่อไป ข้าราชการอัยการผู้ใดซึ่งไปดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสแล้วจะกลับไปดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๓๒ อีกไม่ได้ มาตรา ๔๑ การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งรองอัยการสูงสุด ให้ประธาน ก.อ. เสนอ ก.อ. เพื่อให้ความเห็นชอบ เมื่อ ก.อ. ให้ความเห็นชอบแล้วจึงนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๔๒ วรรคสองและวรรคสามและมาตรา ๓๘ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๔๒ การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุด ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ ในการเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุดเพื่อขอความเห็นชอบจาก ก.อ. ให้ประธาน ก.อ. เป็นผู้เสนอ โดยคำนึงถึงอาวุโส ความรู้ความสามารถ ความรับผิดชอบ ประวัติการปฏิบัติราชการ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลนั้น ในกรณีที่ ก.อ. ไม่ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลตามที่ประธาน ก.อ. เสนอตามวรรคสอง ให้ประธาน ก.อ. เสนอชื่อบุคคลอื่นโดยเรียงตามลำดับอาวุโส และให้ ก.อ. พิจารณาตามหลักเกณฑ์ตามวรรคสอง ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๘ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๔๓ ให้ข้าราชการอัยการที่ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ได้รับการเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัตินี้ โดยความเห็นชอบของ ก.อ. ภายในระยะเวลา ดังต่อไปนี้ (๑) อธิบดีอัยการ อธิบดีอัยการภาค รองอธิบดีอัยการ รองอธิบดีอัยการภาค อัยการพิเศษฝ่ายและอัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ เมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้น ๖ มาครบสี่ปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นเงินเดือนชั้น ๗ (๒) อัยการผู้เชี่ยวชาญ เมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้น ๕ มาครบเจ็ดปีให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นเงินเดือนชั้น ๖ (๓) อัยการจังหวัด และอัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด เมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นเงินเดือนชั้น ๔ มาครบสามปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๔ และเมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๔ มาครบหนึ่งปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นเงินเดือนชั้น ๕ (๔) อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด และรองอัยการจังหวัด เมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นเงินเดือนชั้น ๓ มาครบห้าปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๓ และเมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๓ มาครบหนึ่งปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นเงินเดือนชั้น ๔ และเมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นเงินเดือนชั้น ๔ มาครบสามปีแล้ว ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๔ ได้ (๕) อัยการประจำกอง และอัยการจังหวัดผู้ช่วย เมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๒ มาครบหนึ่งปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นเงินเดือนชั้น ๓ และเมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นเงินเดือนชั้น ๓ มาครบห้าปีแล้ว ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๓ ได้ ให้ปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการในชั้นเงินเดือนชั้น ๑ ชั้นเงินเดือนชั้น ๒ และชั้นเงินเดือนชั้น ๓ สูงขึ้นหนึ่งขั้นทุกปี โดยความเห็นชอบของ ก.อ. จนกว่าจะได้รับเงินเดือนในขั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือน เว้นแต่ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกลงโทษทางวินัยในปีใด ก.อ. จะมีมติไม่ให้ปรับอัตราเงินเดือนให้ข้าราชการอัยการผู้นั้นสำหรับปีนั้นก็ได้ ในการปรับอัตราเงินเดือนตามวรรคสอง ถ้า ก.อ. พิจารณาเห็นว่าข้าราชการอัยการผู้ใดมีผลงานดีเด่นเป็นอย่างยิ่ง และเมื่อคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณงาน การรักษาวินัย ความประพฤติ คุณธรรม จริยธรรม แล้ว ก.อ. จะให้ปรับอัตราเงินเดือนให้ข้าราชการอัยการผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษเกินหนึ่งขั้นก็ได้ ความในวรรคสองมิให้ใช้บังคับกับข้าราชการอัยการที่ลาไปศึกษาต่อหรือลาเพื่อการอื่นใด ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๔๔ การโอนข้าราชการอัยการไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการธุรการโดยให้ได้รับเงินเดือนไม่สูงกว่าในขณะที่โอน ให้อัยการสูงสุดสั่งได้เมื่อข้าราชการอัยการผู้นั้นยินยอมและก.อ. เห็นชอบ การโอนข้าราชการอัยการไปเป็นข้าราชการพลเรือน หรือข้าราชการฝ่ายอื่นให้อัยการสูงสุดสั่งได้เมื่อข้าราชการอัยการผู้นั้นยินยอมและ ก.อ. เห็นชอบ มาตรา ๔๕ การโอนข้าราชการธุรการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการอัยการอาจทำได้เมื่อ ก.อ เห็นชอบ แต่ข้าราชการธุรการผู้นั้นอย่างน้อยต้องเคยเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการประจำกอง หรืออัยการจังหวัดผู้ช่วยมาแล้ว มาตรา ๔๖ ภายใต้บังคับมาตรา ๔๗ ข้าราชการอัยการผู้ใดพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการไปโดยมิได้มีความผิดหรือมีมลทินหรือมัวหมองในราชการ หรือไปรับราชการ หรือไปปฏิบัติงานในกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เมื่อประสงค์จะกลับเข้ารับตำแหน่งข้าราชการอัยการ ถ้าไม่เป็นผู้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจสั่งบรรจุได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ โดยบรรจุให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งซึ่งปรับให้เข้ากับอัตราที่เทียบได้ไม่สูงกว่าขณะพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการ ในกรณีที่ปรับเงินเดือนของผู้ที่กลับเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งให้เข้ากับอัตราหรือขั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่กลับเข้ารับราชการไม่ได้ ให้ ก.อ. เป็นผู้พิจารณาว่าผู้นั้นสมควรได้รับการบรรจุในอัตราหรือขั้นใด มาตรา ๔๗ ข้าราชการอัยการซึ่งไปรับราชการหรือไปปฏิบัติงานในกระทรวง ทบวง กรมหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หากได้รับการบรรจุกลับเข้ารับตำแหน่งข้าราชการอัยการตามมาตรา ๔๖ และ ก.อ. เห็นว่าการไปรับราชการหรือไปปฏิบัติงานในกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นของรัฐนั้นเป็นประโยชน์ต่อราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด ก.อ. จะปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการนั้นให้เป็นกรณีพิเศษก็ได้ มาตรา ๔๘ ข้าราชการอัยการผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร เมื่อผู้นั้นพ้นจากราชการทหาร โดยไม่มีความเสียหาย และประสงค์จะกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งข้าราชการอัยการ โดยรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในอัตราเท่าที่ได้รับอยู่ในขณะที่ไปรับราชการทหาร ให้ยื่นคำขอภายในกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันพ้นจากราชการทหาร ในกรณีเช่นว่านี้ให้อัยการสูงสุดสั่งบรรจุได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ แต่ถ้าจะบรรจุให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในอัตราสูงกว่าขณะที่ไปรับราชการทหารให้บรรจุได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด หมวด ๒ การสอบคัดเลือก การทดสอบความรู้ และการคัดเลือกพิเศษ มาตรา ๔๙ ผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ ก. คุณสมบัติทั่วไป (๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด (๒) ผู้สมัครสอบคัดเลือกหรือผู้สมัครทดสอบความรู้ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปี ผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปี (๓) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ (๔) เป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา (๕) เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต (๖) เป็นผู้ที่ผ่านการตรวจร่างกายและจิตใจโดยคณะกรรมการแพทย์จำนวนไม่น้อยกว่าสามคน ซึ่ง ก.อ. กำหนด และ ก.อ. ได้พิจารณารายงานของคณะกรรมการแพทย์แล้วเห็นสมควรรับสมัครได้ ข. ลักษณะต้องห้าม (๑) เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี (๒) เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว (๓) เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งให้พักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายอื่น (๔) เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (๕) เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๖) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือมีจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการอัยการ หรือเป็นโรคตามที่ ก.อ. ประกาศกำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด ให้ ก.อ. มีอำนาจกำหนดค่าธรรมเนียมการสมัครสอบคัดเลือก สมัครทดสอบความรู้ และสมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ มาตรา ๕๐ ผู้สมัครสอบคัดเลือกตามมาตรา ๔๙ ต้องมีคุณวุฒิและได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นนิติศาสตรบัณฑิต หรือสอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ ซึ่ง ก.อ. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี (๒) สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (๓) ได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นข้าราชการตุลาการ จ่าศาล รองจ่าศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดี พนักงานคุมประพฤติ นายทหารเหล่าพระธรรมนูญหรือทนายความ หรือได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นตามที่ ก.อ. กำหนด ทั้งนี้ เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี การประกอบวิชาชีพทางกฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ ก.อ. กำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการสมัครสอบคัดเลือกให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๕๑ ผู้สมัครทดสอบความรู้ตามมาตรา ๔๙ ต้องมีคุณวุฒิและได้ประกอบวิชาชีพ ดังต่อไปนี้ (๑) สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (๒) มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (ก) สอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศโดยมีหลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่าสามปี ซึ่ง ก.อ. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือสอบไล่ได้ปริญญาเอกทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ซึ่ง ก.อ. รับรอง (ข) สอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศโดยมีหลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่าสองปี หรือหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่าสองปี ซึ่ง ก.อ. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐ (๓) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (ค) สอบไล่ได้นิติศาสตรบัณฑิต และสอบไล่ได้ชั้นเกียรตินิยมตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาและได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐ (๓) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (ง) สอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ซึ่ง ก.อ. รับรองและได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐ (๓) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (จ) เป็นนิติศาสตรบัณฑิตชั้นเกียรตินิยมและได้ประกอบวิชาชีพเป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมายในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่ง ก.อ. รับรองเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี (ฉ) เป็นนิติศาสตรบัณฑิตและเป็นข้าราชการฝ่ายอัยการที่ได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายในตำแหน่งตามที่ ก.อ. กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกปี และอัยการสูงสุดรับรองว่ามีความซื่อสัตย์สุจริต มีความรู้ความสามารถดีและมีความประพฤติดีเป็นที่ไว้วางใจว่าจะปฏิบัติหน้าที่ข้าราชการอัยการได้ (ช) สอบไล่ได้ปริญญาโทหรือปริญญาเอกในสาขาวิชาที่ ก.อ. กำหนดและเป็นนิติศาสตรบัณฑิต และได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐ (๓) หรือได้ประกอบวิชาชีพตามที่ ก.อ. กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี (ซ) สอบไล่ได้ปริญญาตรีหรือที่ ก.อ. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีในสาขาวิชาที่ ก.อ. กำหนด และได้ประกอบวิชาชีพตามที่ ก.อ. กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปีจนมีความรู้ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพนั้นและเป็นนิติศาสตรบัณฑิต เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการ ในการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในแต่ละครั้ง สำนักงานอัยการสูงสุดโดยความเห็นชอบของ ก.อ. อาจกำหนดให้รับสมัครเฉพาะผู้มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างตาม (๒) ก็ได้ ให้ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพตาม (๒) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการสมัครทดสอบความรู้ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๕๒ ผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษตามมาตรา ๔๙ ต้องมีคุณวุฒิและประสบการณ์ ดังต่อไปนี้ (๑) สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (๒) มีประสบการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (ก) เป็นหรือเคยเป็นศาสตราจารย์หรือรองศาสตราจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่ง ก.อ. รับรอง (ข) เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญหรือข้าราชการประเภทอื่นในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไป (ค) เป็นหรือเคยเป็นทนายความมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปี (๓) เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ดีเด่นในสาขาวิชาที่ ก.อ. กำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการสมัครคัดเลือกพิเศษ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๕๓ เมื่อสมควรจะมีการสอบคัดเลือก การทดสอบความรู้ หรือการคัดเลือกพิเศษเมื่อใด ให้สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ ก.อ. เพื่อมีมติให้จัดให้มีการสอบคัดเลือก การทดสอบความรู้หรือการคัดเลือกพิเศษ ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวในแต่ละครั้ง ก.อ. อาจกำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุก็ได้ ให้ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบกำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกการทดสอบความรู้และการคัดเลือกพิเศษ ตลอดจนการกำหนดอัตราส่วนการบรรจุระหว่างผู้ที่สอบคัดเลือกได้ ผู้ที่ทดสอบความรู้ได้ และผู้ที่ผ่านการคัดเลือกพิเศษ เมื่อได้ประกาศผลการสอบคัดเลือก การทดสอบความรู้ หรือการคัดเลือกพิเศษแล้วให้บัญชีสอบคัดเลือก ทดสอบความรู้ หรือคัดเลือกพิเศษคราวก่อนเป็นอันยกเลิก มาตรา ๕๔ ให้ผู้สอบคัดเลือกที่ได้คะแนนสูงได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยก่อนผู้ที่ได้รับคะแนนต่ำลงมาตามลำดับแห่งบัญชีสอบคัดเลือกหากได้คะแนนเท่ากันให้จับสลากเพื่อจัดลำดับในระหว่างผู้ที่ได้คะแนนเท่ากันนั้น ผู้สอบคัดเลือกคนใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ หรือขาดคุณวุฒิหรือมิได้ประกอบวิชาชีพตามมาตรา ๕๐ หรือเป็นบุคคลที่ ก.อ. เห็นว่ามีชื่อเสียงหรือความประพฤติหรือเหตุอื่น ๆ อันไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการอัยการให้ผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการอัยการตามผลการสอบคัดเลือกนั้น ให้นำความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับกับการบรรจุและแต่งตั้งผู้ที่ผ่านการทดสอบความรู้ และผู้ที่ผ่านการคัดเลือกพิเศษโดยอนุโลม หมวด ๓ การพ้นจากตำแหน่ง มาตรา ๕๕ ข้าราชการอัยการพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) พ้นจากราชการตามมาตรา ๕๖ (๓) ได้รับอนุญาตให้ลาออก (๔) โอนไปรับราชการเป็นข้าราชการธุรการหรือข้าราชการฝ่ายอื่น (๕) ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร (๖) ถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๓๖ มาตรา ๕๗ หรือมาตรา ๕๙ (๗) ถูกสั่งลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก การพ้นจากตำแหน่งของข้าราชการอัยการ เว้นแต่ตำแหน่งอัยการผู้ช่วย หากเป็นกรณีตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ แต่ถ้าเป็นการพ้นจากตำแหน่งตาม (๔) (๕) (๖) หรือ (๗) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง พระบรมราชโองการดังกล่าวให้มีผลตั้งแต่วันโอนหรือวันออกจากราชการ แล้วแต่กรณี การพ้นจากตำแหน่งของอัยการสูงสุดตาม (๔) (๖) หรือ (๗) ให้เสนอวุฒิสภาเพื่อให้ความเห็นชอบ มาตรา ๕๖ ข้าราชการอัยการซึ่งมีอายุครบเจ็ดสิบปีแล้ว เป็นอันพ้นจากราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ข้าราชการอัยการผู้นั้นมีอายุครบเจ็ดสิบปี มาตรา ๕๗ ผู้ได้รับบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด หากภายหลังปรากฏว่าขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ หรือขาดคุณวุฒิหรือมิได้ประกอบวิชาชีพหรือไม่มีประสบการณ์ตามมาตรา ๕๐ มาตรา ๕๑ หรือมาตรา ๕๒ แล้วแต่กรณี ตั้งแต่ก่อนได้รับการบรรจุ ให้อัยการสูงสุดด้วยความเห็นชอบของ ก.อ. สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่รับจากทางราชการก่อนมีคำสั่งให้ออก และถ้าการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้วให้ถือว่าเป็นการสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา ๕๘ ข้าราชการอัยการผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งเพื่อให้อัยการสูงสุดเป็นผู้พิจารณา เมื่ออัยการสูงสุดสั่งอนุญาตแล้วให้ถือว่าพ้นจากตำแหน่ง ในกรณีที่ข้าราชการอัยการขอลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งหรือรับการเสนอชื่อเพื่อสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา หรือเพื่อไปดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก นอกจากกรณีตามวรรคสอง ถ้าอัยการสูงสุดเห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการจะยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกินสามเดือนนับแต่วันขอลาออกก็ได้ ในกรณีที่อัยการสูงสุดประสงค์จะลาออกจากราชการให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อ ก.อ. เพื่อให้ ก.อ. เป็นผู้พิจารณา มาตรา ๕๙ เมื่ออัยการสูงสุดเห็นสมควรให้ข้าราชการอัยการผู้ใดออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน เหตุทุพพลภาพ หรือเหตุรับราชการนานตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ให้ทำได้ด้วยความเห็นชอบของ ก.อ. แต่การให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน ให้ทำได้เฉพาะในกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และได้ดำเนินการสอบสวนตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในลักษณะ ๔ หมวด ๒ แล้ว ไม่ได้ความเป็นสัตย์ว่ากระทำผิดที่จะถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก แต่ผู้นั้นมีมลทินหรือมัวหมอง จะให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ (๒) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดบกพร่องต่อหน้าที่ หรือหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่สมควรที่จะให้คงเป็นข้าราชการอัยการต่อไป (๓) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการได้โดยสม่ำเสมอแต่ไม่ถึงเหตุทุพพลภาพ หรือ (๔) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ ก. (๑) หรือ ข. (๖) ในกรณีที่ข้าราชการอัยการซึ่งสมควรออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุดหรือรองอัยการสูงสุด ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของ ก.อ. พิจารณาดำเนินการ ลักษณะ ๔ วินัย การดำเนินการทางวินัย และการลงโทษ หมวด ๑ วินัย มาตรา ๖๐ ข้าราชการอัยการต้องรักษาวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัด ผู้ใดฝ่าฝืนจักต้องได้รับโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๔ แห่งลักษณะนี้ มาตรา ๖๑ ข้าราชการอัยการต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ มาตรา ๖๒ ข้าราชการอัยการจะเป็นสมาชิกพรรคการเมืองไม่ได้ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่นผู้แทนทางการเมืองอื่นใด กำนัน หรือผู้ใหญ่บ้าน ข้าราชการอัยการจะเข้าเป็นผู้กระทำการ ร่วมกระทำการหรือสนับสนุนในการโฆษณาหรือชักชวนใด ๆ อันเป็นคุณหรือเป็นโทษต่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ได้ มาตรา ๖๓ ข้าราชการอัยการต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับการพิจารณาสั่งคดี ห้ามมิให้ขัดขืนหลีกเลี่ยง ถ้าไม่เห็นพ้องด้วยคำสั่งนั้นจะเสนอความเห็นทัดทานเป็นหนังสือก็ได้ แต่ต้องเสนอโดยด่วน และเมื่อได้ทัดทานดังกล่าวแล้วผู้บังคับบัญชามิได้สั่งถอนหรือแก้คำสั่งที่สั่งไป ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตามแต่ให้ผู้บังคับบัญชารีบรายงานขึ้นไปยังอัยการสูงสุดตามลำดับ ในการปฏิบัติราชการ ห้ามมิให้กระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่จะได้รับอนุญาต มาตรา ๖๔ ข้าราชการอัยการต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความระมัดระวัง มิให้เสียหายแก่ราชการ และด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม มาตรา ๖๕ ข้าราชการอัยการต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความที่ควรต้องแจ้งถือว่าเป็นการรายงานเท็จ มาตรา ๖๖ ข้าราชการอัยการต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการจะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้ มาตรา ๖๗ ข้าราชการอัยการต้อง (๑) ไม่ประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพ หรือกระทำกิจการใดอันเป็นการกระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ หรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งตำแหน่งหน้าที่ราชการตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด (๒) ไม่เป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (๓) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครองกรรมการการเลือกตั้ง กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือตำแหน่งอื่นตามที่ ก.อ. กำหนด (๔) ไม่เป็นข้าราชการอื่นซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ (๕) ไม่เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐในทำนองเดียวกัน เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจาก ก.อ. ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.อ. กำหนด (๖) ไม่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือที่ปรึกษากฎหมายหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานทำนองเดียวกันนั้นในห้างหุ้นส่วนบริษัท มาตรา ๖๘ ข้าราชการอัยการต้องไม่ประพฤติตนเป็นคนเสเพล มีหนี้สินรุงรัง เสพของมึนเมาจนไม่สามารถครองสติได้ เล่นการพนันเป็นอาจิณ กระทำความผิดอาญา หรือกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว หรือกระทำการอื่นใดอันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งตำแหน่งหน้าที่ราชการ มาตรา ๖๙ ข้าราชการอัยการต้องสุภาพเรียบร้อยและห้ามมิให้ดูหมิ่นเหยียดหยามบุคคลใด ข้าราชการอัยการต้องต้อนรับ ให้ความสะดวก และให้ความสงเคราะห์ต่อประชาชนผู้มาติดต่อในกิจการอันเกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของตนโดยไม่ชักช้า มาตรา ๗๐ ข้าราชการอัยการต้องรักษาความสามัคคีระหว่างข้าราชการและต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหน้าที่ราชการ มาตรา ๗๑ ข้าราชการอัยการต้องถือและปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ มาตรา ๗๒ ข้าราชการอัยการต้องรักษาความลับของทางราชการ มาตรา ๗๓ ผู้บังคับบัญชาผู้ใดรู้ว่าผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัยแล้วไม่จัดการสอบสวนพิจารณาและดำเนินการตามความในหมวด ๒ และหมวด ๔ แห่งลักษณะนี้หรือไม่จัดการลงโทษตามอำนาจและหน้าที่หรือจัดการลงโทษโดยไม่สุจริต ให้ถือว่าผู้บังคับบัญชาผู้นั้นกระทำผิดวินัย หมวด ๒ การดำเนินการทางวินัย มาตรา ๗๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๘๒ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการสอบสวนชั้นต้นโดยมิชักช้า ผู้บังคับบัญชาระดับใดมีอำนาจดำเนินการสอบสวนชั้นต้นข้าราชการอัยการระดับใดรวมตลอดทั้งวิธีการสอบสวนชั้นต้น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สอบสวนชั้นต้นแล้ว เห็นว่า ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง ให้ดำเนินการตามมาตรา ๘๘ แต่ถ้าเห็นว่าเป็นกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้ดำเนินการตามมาตรา ๗๕ หรือมาตรา ๗๙ แล้วแต่กรณี แต่ถ้าเกินอำนาจของตนให้รายงานไปยังผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปตามลำดับเพื่อดำเนินการตามควรแก่กรณี มาตรา ๗๕ ในกรณีที่ผลการสอบสวนชั้นต้นปรากฏว่ามีมูลเป็นกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชารายงานประธาน ก.อ. และให้ ก.อ. แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนอย่างน้อยสามคนเพื่อทำการสอบสวน กรรมการสอบสวนตามวรรคหนึ่งต้องเป็นข้าราชการอัยการ การรายงานประธาน ก.อ. ตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด ในกรณีที่การสอบสวนชั้นต้นเกิดจากการร้องเรียนของบุคคลใด หากผลการสอบสวนชั้นต้นปรากฏว่ามีมูลตามที่ร้องเรียน ผู้ใดจะกล่าวหาฟ้องร้องผู้ร้องเรียนนั้นในความผิดทางอาญาหรือทางแพ่งเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการร้องเรียนที่มีมูลนั้นมิได้ มาตรา ๗๖ ในการสอบสวนตามมาตรา ๗๕ คณะกรรมการสอบสวนต้องแจ้งข้อกล่าวหาและรายละเอียดเท่าที่มีอยู่ให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ และต้องให้โอกาสแก่ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำพยานหลักฐานเข้าสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ด้วย ในการแจ้งรายละเอียดตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้คณะกรรมการสอบสวนส่งหนังสือร้องเรียนถ้ามี ให้แก่ผู้ถูกกล่าวหา แต่ต้องสรุปสาระสำคัญของหนังสือร้องเรียนให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยมิให้แจ้งข้อมูลใดที่จะทำให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบถึงตัวบุคคลผู้ร้องเรียน ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวนให้เสร็จโดยเร็วไม่ช้ากว่าเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับแต่งตั้ง ถ้ามีความจำเป็นซึ่งจะสอบสวนไม่ทันภายในกำหนดนั้นก็ให้ขออนุมัติจากผู้แต่งตั้งขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง แต่ละครั้งเป็นเวลาไม่เกินสามสิบวัน และต้องแสดงเหตุที่ต้องขยายเวลาไว้ด้วยทุกครั้ง แต่ถ้าขยายเวลาแล้วยังสอบสวนไม่เสร็จ ผู้แต่งตั้งจะอนุมัติให้ขยายเวลาต่อไปอีกได้ต่อเมื่อได้แจ้งให้ ก.อ. ทราบแล้ว หลักเกณฑ์และวิธีการการสอบสวน ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๗๗ เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้ทำการสอบสวนเสร็จแล้ว ให้รายงานผลการสอบสวนและความเห็นต่อ ก.อ. เพื่อพิจารณาต่อไป และเมื่อ ก.อ. มีมติเป็นประการใด ให้ประธาน ก.อ. มีคำสั่งให้เป็นไปตามมตินั้น มาตรา ๗๘ ให้กรรมการสอบสวนตามมาตรา ๗๕ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาและให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพียงเท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของกรรมการสอบสวน และโดยเฉพาะให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย (๑) เรียกให้หน่วยงานของรัฐชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐาน ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน (๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน มาตรา ๗๙ ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงและเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่ ก.อ. กำหนด หรือได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาหรือต่อคณะกรรมการสอบสวน เมื่อได้สอบสวนชั้นต้นตามมาตรา ๗๔ แล้ว ประธาน ก.อ. โดยความเห็นชอบของ ก.อ. จะพิจารณาสั่งลงโทษโดยไม่ต้องสอบสวนก็ได้ มาตรา ๘๐ ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือถูกฟ้องคดีอาญา ที่มิใช่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ ถ้าอัยการสูงสุดเห็นว่าจะให้อยู่ในหน้าที่ราชการระหว่างสอบสวน หรือพิจารณาจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ อัยการสูงสุดโดยความเห็นชอบของ ก.อ. จะสั่งให้พักราชการก็ได้ การให้พักราชการนั้น ให้พักตลอดเวลาที่สอบสวนพิจารณา หรือตลอดเวลาที่คดียังไม่ถึงที่สุด เมื่อสอบสวนพิจารณาเสร็จแล้ว หรือคดีถึงที่สุดแล้ว ถ้าปรากฏว่าผู้ถูกสั่งให้พักราชการมิได้กระทำความผิดและไม่มีมลทินหรือมัวหมอง ให้อัยการสูงสุดสั่งให้รับราชการตามเดิม ให้นำกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนของข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการมาใช้บังคับแก่ข้าราชการอัยการผู้ถูกสั่งให้พักจากราชการโดยอนุโลม ทั้งนี้ คำว่า “เจ้ากระทรวง” ให้หมายถึง “ก.อ.” มาตรา ๘๑ ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา หรือถูกฟ้องคดีอาญา ที่มิใช่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ แม้ภายหลังผู้นั้นจะพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการไปแล้วโดยมิใช่เพราะเหตุตาย ให้ดำเนินการสอบสวนหรือพิจารณาเพื่อลงโทษ หรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้เป็นไปตามลักษณะนี้ต่อไปได้แต่ต้องเริ่มดำเนินการภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันและดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามร้อยหกสิบวัน ทั้งนี้ นับแต่วันที่ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่ง ในกรณีตามวรรคหนึ่งถ้าผลการสอบสวนหรือพิจารณาปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรงก็ให้งดโทษ มาตรา ๘๒ การดำเนินการทางวินัยและสั่งลงโทษทางวินัยสำหรับอัยการสูงสุดและรองอัยการสูงสุด ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของ ก.อ. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด หมวด ๓ การรักษาจริยธรรมและจรรยา มาตรา ๘๓ ข้าราชการอัยการต้องถือและปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและประมวลจรรยาบรรณ การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัย การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจรรยาบรรณ ให้ผู้บังคับบัญชารายงานให้ ก.อ. ทราบและให้ ก.อ. นำมาประกอบการพิจารณาในการแต่งตั้ง หมวด ๔ การลงโทษ มาตรา ๘๔ โทษผิดวินัยมี ๕ สถาน คือ (๑) ไล่ออก (๒) ปลดออก (๓) ให้ออก (๔) งดการเลื่อนตำแหน่ง หรืองดเลื่อนชั้นหรือขั้นเงินเดือน (๕) ภาคทัณฑ์ ภายใต้บังคับมาตรา ๗๙ การสั่งลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกนั้นจะกระทำได้เมื่อได้ดำเนินการสอบสวนพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๒ แห่งลักษณะนี้แล้ว มาตรา ๘๕ การไล่ออกนั้น ก.อ. จะมีมติให้ลงโทษได้เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ดังต่อไปนี้ (๑) ทุจริตต่อหน้าที่ราชการ (๒) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิดอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๓) ต้องคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย (๔) เปิดเผยความลับของทางราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๕) ละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรงหรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร (๖) ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย และการขัดคำสั่งนั้นอาจเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๗) ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ หรือปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๘) ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง มาตรา ๘๖ การปลดออกนั้น ก.อ. จะมีมติให้ลงโทษได้เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่ยังไม่ถึงขนาดที่จะต้องถูกไล่ออกจากราชการ หรือถึงขนาดที่จะต้องถูกไล่ออกแต่มีเหตุอันควรลดหย่อน มาตรา ๘๗ การให้ออกนั้น ก.อ. จะมีมติให้ลงโทษได้เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่ยังไม่ถึงขนาดที่จะต้องถูกปลดออก หรือถึงขนาดที่จะต้องถูกปลดออกแต่มีเหตุอันควรลดหย่อน ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรานี้ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ มาตรา ๘๘ ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง ผู้บังคับบัญชาจะเสนอ ก.อ. เพื่อมีมติลงโทษงดการเลื่อนตำแหน่งหรืองดเลื่อนชั้นหรือขั้นเงินเดือน เป็นเวลาไม่เกินสามปีหรือลงโทษภาคทัณฑ์โดยจะให้ทำทัณฑ์บนไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้ เมื่อ ก.อ. พิจารณาเห็นสมควรลงโทษสถานใด ก็ให้ประธาน ก.อ. สั่งตามมตินั้น ในกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้ การเสนอ ก.อ. ตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้บังคับบัญชารายงานตามลำดับถึงอัยการสูงสุดเพื่อนำเสนอ ก.อ. ต่อไป โดยให้นำบทบัญญัติมาตรา ๗๔ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๘๙ ในคำสั่งลงโทษ ให้แสดงว่าผู้รับโทษนั้นกระทำผิดวินัยในกรณีใดตามมาตราใด มาตรา ๙๐ ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๓๖ มาตรา ๕๗ หรือมาตรา ๕๙ หรือถูกสั่งให้พักราชการตามมาตรา ๘๐ หากไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของประธาน ก.อ. หรืออัยการสูงสุด ให้ฟ้องคดีต่อศาลปกครองสูงสุดภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ทราบหรือถือว่าทราบคำสั่งของประธาน ก.อ.หรืออัยการสูงสุด แล้วแต่กรณี ลักษณะ ๕ ข้าราชการธุรการ หมวด ๑ บททั่วไป มาตรา ๙๑ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการธุรการต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ ก. คุณสมบัติทั่วไป (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี (๓) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ ข. ลักษณะต้องห้าม (๑) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (๒) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่ ก.อ. ประกาศกำหนด (๓) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น (๔) เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม (๕) เป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (๖) เป็นบุคคลล้มละลาย (๗) เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิดทางอาญา เว้นแต่โทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๘) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (๙) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออก เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น (๑๐) เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออกเพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น (๑๑) เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการหรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการธุรการซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตาม ข. (๔) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) หรือ (๑๑) ก.อ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ แต่ถ้าเป็นกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (๘) หรือ (๙) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้ว และในกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (๑๐) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว และต้องมิใช่กรณีออกจากงานหรือออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่ มติของ ก.อ. ในการยกเว้นดังกล่าว ต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการที่มาประชุม การลงมติให้กระทำโดยลับ การขอยกเว้นตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด กรณีตามวรรคสอง ก.อ. จะยกเว้นให้เป็นการเฉพาะราย หรือจะประกาศยกเว้นให้เป็นการทั่วไปก็ได้ มาตรา ๙๒ การพิจารณา สรรหา กลั่นกรอง หรือแต่งตั้งบุคคลใดเข้าสู่ตำแหน่ง รวมทั้งการโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน และการลงโทษบุคคลนั้น จะต้องคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ ความเสมอภาค ความเป็นธรรม พฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลดังกล่าวและประโยชน์ของทางราชการด้วย หมวด ๒ การสรรหา การบรรจุ และการแต่งตั้ง มาตรา ๙๓ ภายใต้บังคับมาตรา ๙๔ การสรรหาเพื่อให้ได้บุคคลมาบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการธุรการอาจทำได้โดยวิธีสอบแข่งขัน สอบคัดเลือก หรือคัดเลือก ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๙๔ ในกรณีมีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่ง สำนักงานอัยการสูงสุดจะบรรจุบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และความชำนาญสูงเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ หรือทรงคุณวุฒิ หรือตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๙๕ ผู้ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการธุรการตำแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามที่ ก.อ. กำหนด ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็น ก.อ. อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการธุรการที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งก็ได้ ในกรณีที่ ก.อ. กำหนดให้ปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิใด เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ให้หมายถึงปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน หรือ ก.อ. รับรอง มาตรา ๙๖ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการธุรการ และการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งให้อัยการสูงสุดหรือผู้ที่อัยการสูงสุดมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง มาตรา ๙๗ การโอนข้าราชการธุรการไปบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการตามกฎหมายอื่นหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น หรือการโอนข้าราชการตามกฎหมายอื่น หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นมาบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการธุรการ อาจกระทำได้ถ้าเจ้าตัวสมัครใจโดยผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งทำความตกลงกับเจ้าสังกัด และปฏิบัติตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นที่โอนมาเป็นข้าราชการธุรการตามวรรคหนึ่ง ให้ดำรงตำแหน่งระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเท่าใดให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด แต่เงินเดือนที่จะให้ได้รับจะต้องไม่สูงกว่าข้าราชการธุรการที่มีคุณวุฒิ ความสามารถ และความชำนาญงานในระดับเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้ที่โอนมาเป็นข้าราชการธุรการตามวรรคหนึ่งในขณะที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นนั้น เป็นเวลาราชการของข้าราชการธุรการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย การโอนข้าราชการการเมือง และข้าราชการที่อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมาเป็นข้าราชการธุรการตามพระราชบัญญัตินี้จะกระทำมิได้ มาตรา ๙๘ การบรรจุข้าราชการธุรการที่ได้ออกจากราชการไปเนื่องจากถูกสั่งให้ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ไปปฏิบัติงานใดซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการ หรือออกจากราชการไปที่มิใช่เป็นการออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ กลับเข้ารับราชการ ตลอดจนจะสั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใดระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ กำหนด เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการตามพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ข้าราชการธุรการที่ได้ออกจากราชการไปเนื่องจากถูกสั่งให้ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ไปปฏิบัติงานใดซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการเมื่อได้บรรจุกลับเข้ารับราชการให้มีสิทธินับวันรับราชการก่อนถูกสั่งให้ออกจากราชการรวมกับวันรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารหรือวันที่ได้ปฏิบัติงานใดตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี และวันรับราชการเมื่อได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการเป็นเวลาราชการติดต่อกันเสมือนว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกสั่งให้ออกจากราชการ สำหรับผู้ซึ่งออกจากราชการไปที่มิใช่เป็นการออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการซึ่งได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่ง ให้มีสิทธินับเวลาราชการก่อนออกจากราชการเพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๙๙ การทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ การให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการออกจากราชการ การสั่งให้ผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไปหรือมีลักษณะต้องห้ามออกจากราชการ การย้าย การโอน การเลื่อนตำแหน่ง การสั่งให้ประจำส่วนราชการ การเยียวยาแก้ไข หรือการดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลปกครอง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๑๐๐ พนักงานส่วนท้องถิ่น ข้าราชการธุรการ หรือข้าราชการตามกฎหมายอื่น ซึ่งไม่ใช่ข้าราชการการเมือง ผู้ใดออกจากงานหรือออกจากราชการไปแล้ว ถ้าสมัครเข้ารับราชการเป็นข้าราชการธุรการและสำนักงานอัยการสูงสุดต้องการจะรับผู้นั้นเข้ารับราชการให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๙๖ พิจารณาโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับ ทั้งนี้ จะบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับผู้ซึ่งออกจากงานหรือออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติงานหรือปฏิบัติหน้าที่ราชการ เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้เข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งในขณะที่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นเวลาราชการของข้าราชการธุรการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย หมวด ๓ การพัฒนาคุณภาพในการดำเนินคดี มาตรา ๑๐๑ เพื่อประโยชน์แก่การพัฒนาคุณภาพในการดำเนินคดีของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้มีตำแหน่งเจ้าพนักงานคดี ซึ่งเป็นข้าราชการธุรการที่มีความรู้และประสบการณ์ในทางกฎหมายและงานคดี เพื่อปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือพนักงานอัยการในด้านการดำเนินคดีตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด ให้เจ้าพนักงานคดีได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งในอัตราที่สำนักงานอัยการสูงสุดและกระทรวงการคลังร่วมกันกำหนด เจ้าพนักงานคดีจะมีจำนวนเท่าใดในส่วนราชการใด ให้เป็นไปตามที่ ก.อ. กำหนดด้วยความเห็นชอบของสำนักงบประมาณ ในกรณีที่เจ้าพนักงานคดีผู้ใดปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐานหน้าที่และความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติของเจ้าพนักงานคดี อัยการสูงสุดอาจพิจารณาให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งเจ้าพนักงานคดีได้ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการเข้าสู่ตำแหน่ง การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่ง สำหรับตำแหน่งเจ้าพนักงานคดี ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด หมวด ๔ วินัย การรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ มาตรา ๑๐๒ นอกจากที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ วินัย การรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ของข้าราชการธุรการ ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนสามัญ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ คำว่า “ก.พ.ค.” ให้หมายถึง “ก.อ.” คำว่า “ก.พ.” “อ.ก.พ. กระทรวง” และ “อ.ก.พ. กรม” ให้หมายถึง “อนุกรรมการที่ ก.อ. แต่งตั้งตามมาตรา ๓๑” คำว่า “กระทรวง” ให้หมายถึง “สำนักงานอัยการสูงสุด” และคำว่า “รัฐมนตรี” ให้หมายถึง “อัยการสูงสุด” หมวด ๕ การรักษาจริยธรรมและจรรยา มาตรา ๑๐๓ ข้าราชการธุรการต้องถือและปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและประมวลจรรยาบรรณ การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัย การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจรรยาบรรณ ให้ผู้บังคับบัญชารายงานให้อัยการสูงสุดทราบและให้อัยการสูงสุดนำมาประกอบการพิจารณาในการแต่งตั้งและเลื่อนเงินเดือนด้วย บทเฉพาะกาล มาตรา ๑๐๔ ภายในระยะสิบปีแรกนับแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๑ มิให้นำมาตรา ๕๖ มาใช้บังคับกับข้าราชการอัยการซึ่งมีอายุครบหกสิบปีในปีงบประมาณ ๒๕๕๑ และในปีถัด ๆ ไป โดยให้ข้าราชการอัยการพ้นจากราชการเป็นลำดับในแต่ละปีต่อเนื่องกันไปตามระยะเวลาที่กำหนดตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๒๕) พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้าราชการอัยการซึ่งจะพ้นจากราชการตามวรรคหนึ่ง อาจไปดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสได้ในปีงบประมาณถัดไป โดยให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลมและให้พ้นจากราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบเจ็ดสิบปี ในกรณีที่ข้าราชการอัยการผู้ใดไม่ประสงค์จะดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสดังกล่าว ก็ให้อัยการสูงสุดดำเนินการให้ข้าราชการอัยการผู้นั้นพ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณนั้น บทบัญญัติมาตรานี้ไม่ตัดสิทธิข้าราชการอัยการตามวรรคหนึ่งที่จะขอไปดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสตามพระราชบัญญัตินี้เมื่อมีอายุครบหกสิบปีหรือในระหว่างเวลาใด ๆ ภายหลังจากอายุครบหกสิบปี แต่ต้องแจ้งเป็นหนังสือต่ออัยการสูงสุดก่อนพ้นจากราชการตามวรรคหนึ่งตามระยะเวลาที่กำหนดตามมาตรา ๓๙ มาตรา ๑๐๕ ให้คณะกรรมการอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีการเลือกและแต่งตั้งกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๓) และ (๔) ครบถ้วนแล้ว ซึ่งต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เพื่อประโยชน์ในการนับวาระการดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.อ. ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๖ ให้ข้าราชการฝ่ายอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นข้าราชการฝ่ายอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๗ ข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยในขณะที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ใช้บังคับ ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยตามพระราชบัญญัตินี้แต่ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งให้ดำเนินการใดแล้ว ถ้าการสั่งและการดำเนินการนั้นได้กระทำไปโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ให้ถือว่าเป็นอันสมบูรณ์ ถ้ากรณียังค้างระหว่างการสอบสวนก็ให้ดำเนินการสอบสวนตามกฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะเสร็จ แต่การพิจารณาและการสั่งลงโทษให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๘ ข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดอยู่ระหว่างถูกสั่งให้พักราชการ หรืออยู่ระหว่างถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าข้าราชการฝ่ายอัยการผู้นั้นถูกสั่งให้พักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๙ ผู้ที่ได้ยื่นใบสมัครสอบคัดเลือกหรือทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงถือคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ผู้ที่สอบคัดเลือกหรือทดสอบความรู้ได้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และบัญชีการสอบคัดเลือก หรือบัญชีทดสอบความรู้ แล้วแต่กรณี ยังมิได้ยกเลิกตามมาตรา ๕๓ วรรคสาม ให้คงมีสิทธิได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยต่อไป มาตรา ๑๑๐ มิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๗ มาใช้บังคับกับข้าราชการอัยการซึ่งได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการประจำกอง หรืออัยการจังหวัดผู้ช่วยก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๑๑ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาบรรจุบุคคลซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการและออกจากราชการไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเข้ารับราชการให้ปรับเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้เข้ากับอัตราหรือขั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่กลับเข้ารับราชการ ในกรณีที่ผู้เข้ารับราชการเป็นผู้ซึ่งออกจากราชการก่อนมีการปรับอัตราเงินเดือนตามพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๔๔ พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ และพระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้ปรับเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการตามพระราชบัญญัตินั้น ๆ เสียก่อน แล้วจึงปรับเงินเดือนตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่ปรับเงินเดือนของผู้ที่กลับเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้เข้ากับอัตราหรือขั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่กลับเข้ารับราชการไม่ได้ให้ ก.อ. เป็นผู้พิจารณาว่าผู้นั้นสมควรได้รับการบรรจุในอัตราหรือขั้นใด มาตรา ๑๑๒ บรรดาพระราชกฤษฎีกา กฎ ระเบียบ ข้อกำหนด ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่งและมติคณะรัฐมนตรีที่ได้ออกตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการและกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีพระราชกฤษฎีกา กฎ ระเบียบ ข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับแทน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ[๒] ชั้นเงินเดือน เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง ๘ ๗๓,๒๔๐ ๔๒,๕๐๐ ๗ ๗๒,๐๖๐ ๔๒,๐๐๐ ๖ ๗๐,๘๗๐ ๔๑,๕๐๐ ๕ ๖๙,๘๑๐ ๔๑,๐๐๐ ๔ ๖๘,๖๙๐ ๔๐,๐๐๐ ๖๗,๕๖๐ ๓๐,๐๐๐ ๓ ๖๖,๔๔๐ ๒๙,๐๐๐ ๕๓,๐๖๐ ๒๓,๓๐๐ ๔๘,๒๐๐ ๒๓,๓๐๐ ๔๐,๘๙๐ ๒๓,๓๐๐ ๓๖,๔๑๐ ๒๓,๓๐๐ ๓๒,๑๑๐ ๒๓,๓๐๐ ๒ ๒๙,๙๘๐ ๗,๙๐๐ ๒๗,๘๕๐ ๗,๙๐๐ ๒๕,๗๗๐ ๗,๙๐๐ ๑ ๑๘,๙๕๐ ๑๗,๕๖๐ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติให้องค์กรอัยการเป็นองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ และมีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น รวมทั้งบัญญัติให้มีการตรากฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ให้พนักงานอัยการดำรงตำแหน่งได้จนถึงอายุครบเจ็ดสิบปี ในการนี้สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการให้สอดคล้องกับบทบัญญัติดังกล่าว ประกอบกับสมควรนำหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสตามกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส รวมทั้งอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ มากำหนดรวมไว้ในพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายเกี่ยวกับข้าราชการประเภทต่าง ๆ และเพื่อให้การบริหารงานบุคคลของข้าราชการฝ่ายอัยการมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๔[๓] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ บัญญัติให้ในกรณีที่สมควรปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ถ้าการปรับอัตราเงินเดือนดังกล่าวเป็นการปรับเพิ่มเป็นร้อยละเท่ากันทุกอัตราและไม่เกินร้อยละสิบของอัตราที่ใช้บังคับอยู่ การปรับให้กระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ประกอบกับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการในปัจจุบันไม่เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น สมควรปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยปรับเพิ่มในอัตราร้อยละห้าเท่ากันทุกอัตรา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ศรินรัตน์/ปรับปรุง ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๓ อรญา/ตรวจ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๗๕ ก/หน้า ๑/๗ ธันวาคม ๒๕๕๓ [๒] บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๔ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๒๒ ก/หน้า ๑๘/๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔
820301
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 (ฉบับ Update ณ วันที่ 13/09/2560)
พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นปีที่ ๖๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ (๒) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ (๓) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ (๔) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑ (๕) ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่อง การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ (๖) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ (๗) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๘ (๘) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๕ (๙) ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓๕ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๙ (๑๐) พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส พ.ศ. ๒๕๔๓ (๑๑) พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ (๑๒) พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๔๔ (๑๓) พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “ข้าราชการฝ่ายอัยการ” หมายความว่า ข้าราชการซึ่งรับราชการในสำนักงานอัยการสูงสุดโดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนในสำนักงานอัยการสูงสุด “ก.อ.” หมายความว่า คณะกรรมการอัยการ มาตรา ๕ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ลักษณะ ๑ บททั่วไป มาตรา ๖ ข้าราชการฝ่ายอัยการ แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ (๑) ข้าราชการอัยการ ได้แก่ ข้าราชการผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพนักงานอัยการตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ (๒) ข้าราชการธุรการ ได้แก่ ข้าราชการในสำนักงานอัยการสูงสุดนอกจาก (๑) มาตรา ๗ ให้นำระบบบัญชีเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตุลาการมาใช้กับข้าราชการอัยการโดยอนุโลม อัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการอัยการ ให้เป็นไปตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่สมควรปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ถ้าการปรับอัตราเงินเดือนดังกล่าวเป็นการปรับเพิ่มเป็นร้อยละเท่ากันทุกอัตราและไม่เกินร้อยละสิบของอัตราที่ใช้บังคับอยู่ การปรับให้กระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาและให้ถือว่าบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชกฤษฎีกาเป็นบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ในกรณีที่การปรับเป็นร้อยละเท่ากันทุกอัตราหากทำให้อัตราหนึ่งอัตราใดมีเศษไม่ถึงสิบบาท ให้ปรับตัวเลขเงินเดือนของอัตราดังกล่าวให้เพิ่มขึ้นเป็นสิบบาท และมิให้ถือว่าเป็นการปรับอัตราร้อยละที่แตกต่างกัน มาตรา ๘ การกำหนดตำแหน่ง อัตราเงินเดือน อัตราเงินประจำตำแหน่ง การรับเงินเดือนการรับเงินประจำตำแหน่ง การปรับขั้นต่ำขั้นสูงของเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง และเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการธุรการ ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนสามัญมาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ คำว่า “ก.พ.” และ “อ.ก.พ. กระทรวง” ให้หมายถึง “ก.อ.”และคำว่า “กระทรวง” ให้หมายถึง “สำนักงานอัยการสูงสุด” นอกจากตำแหน่งที่กำหนดขึ้นตามวรรคหนึ่ง ก.อ. อาจออกประกาศกำหนดให้มีตำแหน่งข้าราชการธุรการที่แตกต่างไปจากตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนก็ได้ ตำแหน่งดังกล่าวจะให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในอัตราเท่าใดและจะเทียบกับตำแหน่งใดตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดในประกาศนั้นด้วย มาตรา ๙ ในกรณีคณะรัฐมนตรีกำหนดเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นการทั่วไป ให้ข้าราชการฝ่ายอัยการได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวในหลักเกณฑ์เดียวกันด้วย มาตรา ๑๐ ข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการการเมืองหรือข้าราชการซึ่งอยู่ในระหว่างการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งสอบคัดเลือก หรือทดสอบความรู้หรือคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ตามพระราชบัญญัตินี้ หากประสงค์จะโอนมาบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเพื่อนับเวลาราชการหรือเวลาทำงานของตนในขณะที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเป็นเวลาราชการของข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย ก็ให้กระทำได้โดยสำนักงานอัยการสูงสุดทำความตกลงกับเจ้าสังกัด มาตรา ๑๑ บำเหน็จบำนาญของข้าราชการฝ่ายอัยการ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดถึงแก่ความตาย หรือได้รับอันตรายถึงทุพพลภาพเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการจนต้องออกจากราชการเพราะเหตุทุพพลภาพตามพระราชบัญญัตินี้ ก.อ. จะพิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญก็ได้ มาตรา ๑๒ เครื่องแบบ และการแต่งกายของข้าราชการฝ่ายอัยการ การกำหนดให้มีตราสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายใดเพื่อใช้ในการบริหารราชการสำนักงานอัยการสูงสุด รวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำและใช้ตราสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายนั้น ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๑๓ วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี และวันหยุดประจำปีของข้าราชการฝ่ายอัยการ ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดสำหรับข้าราชการพลเรือน เว้นแต่ ก.อ. จะกำหนดเป็นอย่างอื่น การลาหยุดราชการของข้าราชการฝ่ายอัยการ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๑๔ ประมวลจริยธรรมของข้าราชการฝ่ายอัยการให้เป็นไปตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ. สำนักงานอัยการสูงสุดโดยความเห็นชอบของ ก.อ. จะต้องจัดให้มีประมวลจรรยาบรรณสำหรับข้าราชการฝ่ายอัยการ ประมวลจริยธรรมตามวรรคหนึ่ง และประมวลจรรยาบรรณตามวรรคสอง เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ มาตรา ๑๕ ข้าราชการฝ่ายอัยการมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแต่ทั้งนี้ต้องไม่กระทบประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะ และต้องไม่มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรวมกลุ่มตามวรรคหนึ่ง เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามข้อเสนอแนะของ ก.อ. มาตรา ๑๖ การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการการพัฒนาคุณภาพชีวิต การเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติราชการ การปฏิบัติระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา การให้ไปศึกษาเพิ่มเติม ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด มาตรา ๑๗ ในกรณีที่พระราชบัญญัตินี้กำหนดให้เป็นไปตามที่ ก.อ. กำหนด ให้ ก.อ. ทำเป็นระเบียบ ข้อกำหนด หรือประกาศ ตามที่เห็นสมควร ระเบียบ ข้อกำหนด และประกาศ ของ ก.อ. ตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ ลักษณะ ๒ คณะกรรมการอัยการ มาตรา ๑๘ ให้มีคณะกรรมการอัยการคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.อ.” ประกอบด้วย (๑) อัยการสูงสุดเป็นประธาน (๒) รองอัยการสูงสุดตามลำดับอาวุโสจำนวนไม่เกินสี่คนเป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่ง ทั้งนี้ ให้รองอัยการสูงสุดที่มีอาวุโสสูงสุดเป็นรองประธาน (๓) กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนหกคน ซึ่งข้าราชการอัยการชั้น ๒ ขึ้นไปเป็นผู้เลือกจาก (ก) ข้าราชการอัยการชั้น ๖ ขึ้นไป และมิได้เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่งอยู่แล้วสามคน (ข) ผู้รับบำเหน็จหรือบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการมาแล้วและต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๙ ข. (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) และ (๗) สามคน (๔) กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภาจำนวนสองคนและคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนหนึ่งคน (๕) กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการงบประมาณ ด้านการพัฒนาองค์กร หรือด้านการบริหารจัดการ ซึ่งประธานและกรรมการตาม (๒) (๓) และ (๔) เป็นผู้เลือกจากบุคคลซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการฝ่ายอัยการจำนวนหนึ่งคน ให้ ก.อ. แต่งตั้งข้าราชการอัยการคนหนึ่งเป็นเลขานุการ ก.อ. มาตรา ๑๙ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) และ (๕) ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ ก. คุณสมบัติทั่วไป (๑) เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปี (๓) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ข. ลักษณะต้องห้าม (๑) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ ข. (๑) (๒) (๓) (๔) หรือ (๕) (๒) เป็นสมาชิกรัฐสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการพรรคการเมือง สมาชิกพรรคการเมือง หรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นของพรรคการเมือง (๓) เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง กรรมการการเลือกตั้ง กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือกรรมการในคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองหรือศาลอื่น (๔) เป็นข้าราชการอัยการ ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม ตุลาการศาลทหารหรือทนายความ (๕) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ (๖) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ (๗) ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอื่นใดอันเป็นการกระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ มาตรา ๒๐ การเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภาตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้วุฒิสภาตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อพิจารณาเสนอรายชื่อบุคคลที่เห็นสมควรจำนวนสองเท่าของกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิที่จะต้องเลือกต่อวุฒิสภาเพื่อพิจารณาเลือกต่อไป มาตรา ๒๑ ให้อัยการสูงสุดดำเนินการให้มีการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๓) ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุต้องเลือก ตามวิธีการที่ ก.อ. ประกาศกำหนด ให้ประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๒[๒] ข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสไม่มีสิทธิได้รับเลือกเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.อ. มาตรา ๒๓ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปีและอาจได้รับเลือกหรือแต่งตั้งใหม่ได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ ถ้าตำแหน่งว่างลงก่อนถึงกำหนดวาระ ให้อัยการสูงสุดสั่งให้ดำเนินการเลือกซ่อมหรือขอให้วุฒิสภาเลือกซ่อมหรือคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งซ่อม แล้วแต่กรณี เว้นแต่วาระการอยู่ในตำแหน่งของกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิจะเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน จะไม่ดำเนินการเลือกซ่อมหรือแต่งตั้งซ่อมก็ได้ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกซ่อมหรือแต่งตั้งซ่อมตามวรรคสองอยู่ในตำแหน่งได้เพียงวาระของผู้ซึ่งตนแทน กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิที่ดำรงตำแหน่งแทนตามวรรคสอง หากมีวาระเหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งปีนับแต่วันเลือกหรือแต่งตั้ง ไม่ให้นับเป็นวาระการดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๒๔ ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการอัยการว่างลง ถ้ายังมีกรรมการอัยการพอที่จะเป็นองค์ประชุม ให้กรรมการอัยการที่เหลืออยู่ดำเนินการตามอำนาจและหน้าที่ต่อไปได้ มาตรา ๒๕ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ครบกำหนดวาระ (๒) ตาย (๓) ลาออก (๔)[๓] เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่ง ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส หรือพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการ ในกรณีที่เป็นกรรมการอัยการตามมาตรา ๑๘ (๓) (ก) (๕) กลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการอัยการ ในกรณีที่เป็นกรรมการอัยการตามมาตรา ๑๘ (๓) (ข) (๖) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา ๑๘ (๓) (ข) หรือมาตรา ๑๙ แล้วแต่กรณี ในกรณีเป็นที่สงสัยว่ากรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิผู้ใดพ้นจากตำแหน่งกรรมการอัยการหรือไม่ ให้อัยการสูงสุดเสนอ ก.อ. เพื่อวินิจฉัยชี้ขาด มาตรา ๒๖ การประชุม ก.อ. ต้องมีกรรมการอัยการมาประชุมไม่น้อยกว่าแปดคนจึงเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานเป็นประธานในที่ประชุมถ้าประธานและรองประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการอัยการในที่ประชุมเลือกกรรมการอัยการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม หากกรรมการอัยการโดยตำแหน่งว่างลง หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้รักษาราชการแทนหรือผู้รักษาการในตำแหน่งตามกฎหมาย ทำหน้าที่กรรมการอัยการแทนในระหว่างนั้น มาตรา ๒๗ ในการประชุมของ ก.อ. ถ้ามีการพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับกรรมการอัยการผู้ใดโดยเฉพาะ ผู้นั้นไม่มีสิทธิอยู่ในที่ประชุม แต่เพื่อประโยชน์ในการนับองค์ประชุม ถ้าผู้นั้นได้เข้าประชุมแล้วและต้องออกจากที่ประชุม ให้นับผู้นั้นเป็นองค์ประชุมด้วย การวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือเสียงข้างมาก ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ให้ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบว่าด้วยการประชุมและการลงมติ ในกรณีที่การประชุมของ ก.อ. เป็นการพิจารณาดำเนินการตามมาตรา ๕๙ วรรคสองหรือมาตรา ๘๒ ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีที่เป็นการดำเนินการกับผู้ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุด ห้ามมิให้ประธาน ก.อ. ตามมาตรา ๑๘ (๑) เข้าร่วมพิจารณาเรื่องดังกล่าว โดยให้ถือว่า ก.อ. ประกอบไปด้วยกรรมการอัยการเท่าที่เหลืออยู่ และให้กรรมการอัยการที่เหลืออยู่นั้นเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๓) (ข) หรือ (๔) คนหนึ่ง ทำหน้าที่ประธาน (๒) ในกรณีที่เป็นการดำเนินการกับผู้ดำรงตำแหน่งรองอัยการสูงสุดและเป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่งตามมาตรา ๑๘ (๒) ด้วย ห้ามมิให้รองอัยการสูงสุดผู้นั้นเข้าร่วมพิจารณาเรื่องดังกล่าว และให้ถือว่า ก.อ. ประกอบไปด้วยกรรมการอัยการเท่าที่เหลืออยู่ มาตรา ๒๘ หลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมนาคุณ เบี้ยประชุม หรือค่าตอบแทนของ ก.อ. รวมทั้งอนุกรรมการ บุคคล และคณะบุคคลที่ ก.อ. แต่งตั้ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๒๙ ภายใต้บังคับมาตรา ๓๘ ในกรณีที่ ก.อ. มีหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้อัยการสูงสุดเป็นผู้เสนอเรื่องต่อ ก.อ. แต่กรรมการอัยการคนหนึ่งคนใดจะเสนอเรื่องที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของ ก.อ. เพื่อให้ ก.อ. พิจารณาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนดก็ได้ มาตรา ๓๐ นอกจากอำนาจและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น ให้ ก.อ. มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ให้ความเห็นชอบกรอบอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่งข้าราชการฝ่ายอัยการ (๒) เป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมการเกษียณอายุของข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๓) ออกระเบียบเกี่ยวกับการจัดระบบ การแก้ไข และการรักษาทะเบียนประวัติและควบคุมการเกษียณอายุของข้าราชการฝ่ายอัยการ (๔) ออกระเบียบเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการ การสงเคราะห์อื่น เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว และเงินค่าตอบแทนพิเศษอื่นแก่ข้าราชการฝ่ายอัยการ (๕) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการการจัดลำดับอาวุโสของข้าราชการอัยการ (๖) ออกระเบียบเกี่ยวกับการรักษาราชการแทน การปฏิบัติราชการแทนและการรักษาการในตำแหน่งของข้าราชการฝ่ายอัยการ (๗) ออกระเบียบเกี่ยวกับการร้องทุกข์ของข้าราชการฝ่ายอัยการ (๘) พิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยข้าราชการฝ่ายอัยการ และการสั่งให้ข้าราชการฝ่ายอัยการออกจากราชการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (๙) ออกระเบียบเกี่ยวกับการสรรหา การบรรจุ การแต่งตั้ง การทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ การโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การรับเงินเดือน การเลื่อนเงินเดือน การรักษาจริยธรรม การออกจากราชการ การคุ้มครองระบบคุณธรรม และการจัดระเบียบข้าราชการธุรการ (๑๐) แต่งตั้งอนุกรรมการ บุคคล หรือคณะบุคคลเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ ก.อ. มอบหมาย (๑๑) ออกระเบียบหรือประกาศเพื่อกำหนดการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการฝ่ายอัยการ มาตรา ๓๑ ในการพิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยข้าราชการธุรการ ให้ ก.อ. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการ ซึ่งจะต้องมีข้าราชการธุรการไม่น้อยกว่าสองคนร่วมเป็นคณะอนุกรรมการด้วย จำนวน คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่ง รวมตลอดทั้งวิธีการได้มา วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด ลักษณะ ๓ ข้าราชการอัยการ หมวด ๑ การบรรจุ การแต่งตั้ง และการเลื่อนขั้นเงินเดือน มาตรา ๓๒ ตำแหน่งข้าราชการอัยการ มี ๘ ชั้น ดังนี้ (๑) อัยการสูงสุดเป็นข้าราชการอัยการชั้น ๘ (๒) รองอัยการสูงสุด และผู้ตรวจการอัยการ เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๗ (๓) อธิบดีอัยการ อธิบดีอัยการภาค รองอธิบดีอัยการ รองอธิบดีอัยการภาคอัยการพิเศษฝ่ายและอัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๖ (๔) อัยการผู้เชี่ยวชาญ เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๕ (๕) อัยการจังหวัด และอัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๔ (๖) อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด และรองอัยการจังหวัด เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๓ (๗) อัยการประจำกอง และอัยการจังหวัดผู้ช่วย เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๒ (๘) อัยการผู้ช่วย เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๑ มาตรา ๓๓ นอกจากตำแหน่งข้าราชการอัยการตามมาตรา ๓๒ ให้มีตำแหน่งอัยการอาวุโสด้วย มาตรา ๓๔ ข้าราชการอัยการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ดังต่อไปนี้ (๑) อัยการสูงสุด ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๘ (๒) รองอัยการสูงสุด และผู้ตรวจการอัยการ ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๗ (๓) อธิบดีอัยการ อธิบดีอัยการภาค รองอธิบดีอัยการ รองอธิบดีอัยการภาค อัยการพิเศษฝ่ายและอัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๖ - ๗ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้น ๖ (๔) อัยการผู้เชี่ยวชาญ ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๕ - ๖ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้น ๕ (๕) อัยการจังหวัด และอัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๔ - ๕ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในขั้นต่ำของชั้น ๔ (๖) อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด และรองอัยการจังหวัด ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๓ - ๔ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในขั้นต่ำของชั้น ๓ (๗) อัยการประจำกอง และอัยการจังหวัดผู้ช่วย ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๒ - ๓ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในขั้นต่ำของชั้น ๒ (๘) อัยการผู้ช่วย ให้ได้รับเงินเดือนในชั้น ๑ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนในขั้นต่ำของชั้น ๑ (๙) อัยการอาวุโส ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเท่ากับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเดิมที่ได้รับอยู่ก่อนดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส เว้นแต่ผู้ซึ่งได้รับเงินเดือนขั้นสูงสุดของชั้นอยู่ก่อนแล้ว จึงให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าเงินเดือนเดิมหนึ่งขั้น และให้ปรับเงินเดือนขึ้นปีละหนึ่งขั้นแต่ไม่เกินอัตราเงินเดือนของชั้น ๘ และเมื่อปรับเงินเดือนดังกล่าวสูงกว่าขั้นสูงสุดของชั้นเดิมแล้วให้ปรับเงินประจำตำแหน่งให้เท่ากับเงินประจำตำแหน่งของชั้นถัดไป ให้ข้าราชการอัยการได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว เงินประจำตำแหน่งไม่ถือเป็นเงินเดือน ข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เมื่อเทียบกับตำแหน่งใดก็ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามตำแหน่งนั้น มาตรา ๓๕ การบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยให้อัยการสูงสุดเป็นผู้สั่งโดยวิธีการสอบคัดเลือก การทดสอบความรู้ หรือการคัดเลือกพิเศษ ตามความในหมวด ๒ แห่งลักษณะนี้ โดยให้ผู้ได้รับบรรจุได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำของชั้น ๑ มาตรา ๓๖ อัยการผู้ช่วยที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการประจำกองหรืออัยการจังหวัดผู้ช่วยจะต้องได้รับการอบรมจากสำนักงานอัยการสูงสุดมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปีและผลของการอบรมเป็นที่พอใจของ ก.อ. ว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และความประพฤติเหมาะสมที่จะเป็นอัยการประจำกองหรืออัยการจังหวัดผู้ช่วย อัยการผู้ช่วยซึ่งได้รับการอบรมจากสำนักงานอัยการสูงสุดมาแล้วตามวรรคหนึ่ง และผลของการอบรมยังไม่เป็นที่พอใจของ ก.อ. ว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และความประพฤติเหมาะสมที่จะเป็นอัยการประจำกองหรืออัยการจังหวัดผู้ช่วย ก็ให้ได้รับการอบรมจากสำนักงานอัยการสูงสุดต่อไปอีกไม่น้อยกว่าหนึ่งปี เมื่อครบกำหนดดังกล่าวแล้วหากผลของการอบรมยังไม่เป็นที่พอใจของ ก.อ. ให้อัยการสูงสุดสั่งให้ออกจากราชการ ในระหว่างเวลาปีแรกที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการประจำกองหรืออัยการจังหวัดผู้ช่วย หากปรากฏว่าผู้ได้รับแต่งตั้งไม่เหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งต่อไป อัยการสูงสุดด้วยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจสั่งให้ออกจากราชการได้ มาตรา ๓๗ ก่อนเข้ารับหน้าที่ อัยการประจำกองและอัยการจังหวัดผู้ช่วยต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคำ ดังต่อไปนี้ “ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรมโดยปราศจากอคติทั้งปวงเพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ประชาชน และความสงบสุขแห่งราชอาณาจักร ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมายทุกประการ” มาตรา ๓๘ การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งนอกจากตำแหน่งอัยการผู้ช่วยตำแหน่งอัยการอาวุโส ตำแหน่งรองอัยการสูงสุด และตำแหน่งอัยการสูงสุด ให้ประธาน ก.อ. เสนอ ก.อ. โดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถ ความรับผิดชอบ ประวัติการปฏิบัติราชการ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลนั้นเทียบกับงานในตำแหน่งข้าราชการอัยการที่จะได้รับแต่งตั้งนั้น ๆ เพื่อให้ความเห็นชอบก่อนเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว จึงนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ในกรณีที่ ก.อ. ไม่ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดตามที่ประธาน ก.อ. เสนอตามวรรคหนึ่งให้ประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการคนหนึ่งคนใด เสนอชื่อบุคคลอื่นเพื่อให้ ก.อ. ให้ความเห็นชอบได้และในกรณีที่มีการเสนอบุคคลหลายคนให้ดำรงตำแหน่งเดียวกัน ให้ ก.อ. พิจารณาผู้ได้รับการเสนอชื่อเรียงเป็นรายบุคคลตามลำดับอาวุโสเพื่อให้ความเห็นชอบ ผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งใด ถ้าเป็นกรรมการอัยการด้วย ให้ผู้ได้รับการเสนอชื่อออกจากที่ประชุมในระหว่างการพิจารณาเพื่อให้ความเห็นชอบ แต่ให้นับเป็นองค์ประชุมด้วย มาตรา ๓๙[๔] ข้าราชการอัยการซึ่งมีอายุครบหกสิบปีขึ้นไปในปีงบประมาณใดอาจขอไปดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสได้ หากเป็นผู้ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่มาแล้วไม่น้อยกว่ายี่สิบปีในปีงบประมาณก่อนปีงบประมาณที่จะขอไปดำรงตำแหน่ง โดยให้แจ้งเป็นหนังสือต่ออัยการสูงสุดไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันก่อนเริ่มปีงบประมาณที่จะดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส ข้าราชการอัยการซึ่งมีอายุครบหกสิบห้าปีในปีงบประมาณใด ให้พ้นจากตำแหน่งที่ดำรงอยู่เมื่อสิ้นปีงบประมาณนั้น และให้ไปดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสจนกว่าจะพ้นจากราชการตามมาตรา ๕๖ มาตรา ๓๙/๑[๕] ข้าราชการอัยการซึ่งจะมีอายุครบหกสิบห้าปีในปีงบประมาณใด ให้ ก.อ. จัดให้มีการประเมินสมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการอัยการในปีงบประมาณนั้น แล้วเสนอผลการประเมินให้ ก.อ. พิจารณาประกอบการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่อไป หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินสมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบ ที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๔๐ การแต่งตั้งข้าราชการอัยการไปดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสให้อัยการสูงสุดเสนอรายชื่อผู้ซึ่งจะได้รับแต่งตั้งต่อ ก.อ. เพื่อให้ความเห็นชอบ เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วจึงนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป ข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสจะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหรือรักษาการในตำแหน่งตามมาตรา ๓๒ อีกไม่ได้ รวมทั้งไม่อาจเป็นผู้รักษาราชการแทนหรือปฏิบัติราชการแทน[๖] มาตรา ๔๑ การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งรองอัยการสูงสุด ให้ประธาน ก.อ. เสนอ ก.อ. เพื่อให้ความเห็นชอบ เมื่อ ก.อ. ให้ความเห็นชอบแล้วจึงนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๔๒ วรรคสองและวรรคสามและมาตรา ๓๘ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๔๒ การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุด ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ ในการเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุดเพื่อขอความเห็นชอบจาก ก.อ. ให้ประธาน ก.อ. เป็นผู้เสนอ โดยคำนึงถึงอาวุโส ความรู้ความสามารถ ความรับผิดชอบ ประวัติการปฏิบัติราชการ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลนั้น ในกรณีที่ ก.อ. ไม่ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลตามที่ประธาน ก.อ. เสนอตามวรรคสอง ให้ประธาน ก.อ. เสนอชื่อบุคคลอื่นโดยเรียงตามลำดับอาวุโส และให้ ก.อ. พิจารณาตามหลักเกณฑ์ตามวรรคสอง ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๘ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๔๓ ให้ข้าราชการอัยการที่ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ได้รับการเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัตินี้ โดยความเห็นชอบของ ก.อ. ภายในระยะเวลา ดังต่อไปนี้ (๑) อธิบดีอัยการ อธิบดีอัยการภาค รองอธิบดีอัยการ รองอธิบดีอัยการภาค อัยการพิเศษฝ่ายและอัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ เมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้น ๖ มาครบสี่ปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นเงินเดือนชั้น ๗ (๒) อัยการผู้เชี่ยวชาญ เมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้น ๕ มาครบเจ็ดปีให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นเงินเดือนชั้น ๖ (๓) อัยการจังหวัด และอัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด เมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นเงินเดือนชั้น ๔ มาครบสามปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๔ และเมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๔ มาครบหนึ่งปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นเงินเดือนชั้น ๕ (๔) อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด และรองอัยการจังหวัด เมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นเงินเดือนชั้น ๓ มาครบห้าปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๓ และเมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๓ มาครบหนึ่งปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นเงินเดือนชั้น ๔ และเมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นเงินเดือนชั้น ๔ มาครบสามปีแล้ว ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๔ ได้ (๕) อัยการประจำกอง และอัยการจังหวัดผู้ช่วย เมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๒ มาครบหนึ่งปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นเงินเดือนชั้น ๓ และเมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นเงินเดือนชั้น ๓ มาครบห้าปีแล้ว ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๓ ได้ ให้ปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการในชั้นเงินเดือนชั้น ๑ ชั้นเงินเดือนชั้น ๒ และชั้นเงินเดือนชั้น ๓ สูงขึ้นหนึ่งขั้นทุกปี โดยความเห็นชอบของ ก.อ. จนกว่าจะได้รับเงินเดือนในขั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือน เว้นแต่ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกลงโทษทางวินัยในปีใด ก.อ. จะมีมติไม่ให้ปรับอัตราเงินเดือนให้ข้าราชการอัยการผู้นั้นสำหรับปีนั้นก็ได้ ในการปรับอัตราเงินเดือนตามวรรคสอง ถ้า ก.อ. พิจารณาเห็นว่าข้าราชการอัยการผู้ใดมีผลงานดีเด่นเป็นอย่างยิ่ง และเมื่อคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณงาน การรักษาวินัย ความประพฤติ คุณธรรม จริยธรรม แล้ว ก.อ. จะให้ปรับอัตราเงินเดือนให้ข้าราชการอัยการผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษเกินหนึ่งขั้นก็ได้ ความในวรรคสองมิให้ใช้บังคับกับข้าราชการอัยการที่ลาไปศึกษาต่อหรือลาเพื่อการอื่นใด ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๔๔ การโอนข้าราชการอัยการไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการธุรการโดยให้ได้รับเงินเดือนไม่สูงกว่าในขณะที่โอน ให้อัยการสูงสุดสั่งได้เมื่อข้าราชการอัยการผู้นั้นยินยอมและก.อ. เห็นชอบ การโอนข้าราชการอัยการไปเป็นข้าราชการพลเรือน หรือข้าราชการฝ่ายอื่นให้อัยการสูงสุดสั่งได้เมื่อข้าราชการอัยการผู้นั้นยินยอมและ ก.อ. เห็นชอบ มาตรา ๔๕ การโอนข้าราชการธุรการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการอัยการอาจทำได้เมื่อ ก.อ เห็นชอบ แต่ข้าราชการธุรการผู้นั้นอย่างน้อยต้องเคยเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการประจำกอง หรืออัยการจังหวัดผู้ช่วยมาแล้ว มาตรา ๔๖ ภายใต้บังคับมาตรา ๔๗ ข้าราชการอัยการผู้ใดพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการไปโดยมิได้มีความผิดหรือมีมลทินหรือมัวหมองในราชการ หรือไปรับราชการ หรือไปปฏิบัติงานในกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เมื่อประสงค์จะกลับเข้ารับตำแหน่งข้าราชการอัยการ ถ้าไม่เป็นผู้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจสั่งบรรจุได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ โดยบรรจุให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งซึ่งปรับให้เข้ากับอัตราที่เทียบได้ไม่สูงกว่าขณะพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการ ในกรณีที่ปรับเงินเดือนของผู้ที่กลับเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งให้เข้ากับอัตราหรือขั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่กลับเข้ารับราชการไม่ได้ ให้ ก.อ. เป็นผู้พิจารณาว่าผู้นั้นสมควรได้รับการบรรจุในอัตราหรือขั้นใด มาตรา ๔๗ ข้าราชการอัยการซึ่งไปรับราชการหรือไปปฏิบัติงานในกระทรวง ทบวง กรมหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หากได้รับการบรรจุกลับเข้ารับตำแหน่งข้าราชการอัยการตามมาตรา ๔๖ และ ก.อ. เห็นว่าการไปรับราชการหรือไปปฏิบัติงานในกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นของรัฐนั้นเป็นประโยชน์ต่อราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด ก.อ. จะปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการนั้นให้เป็นกรณีพิเศษก็ได้ มาตรา ๔๘ ข้าราชการอัยการผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร เมื่อผู้นั้นพ้นจากราชการทหาร โดยไม่มีความเสียหาย และประสงค์จะกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งข้าราชการอัยการ โดยรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในอัตราเท่าที่ได้รับอยู่ในขณะที่ไปรับราชการทหาร ให้ยื่นคำขอภายในกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันพ้นจากราชการทหาร ในกรณีเช่นว่านี้ให้อัยการสูงสุดสั่งบรรจุได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ แต่ถ้าจะบรรจุให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในอัตราสูงกว่าขณะที่ไปรับราชการทหารให้บรรจุได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด หมวด ๒ การสอบคัดเลือก การทดสอบความรู้ และการคัดเลือกพิเศษ มาตรา ๔๙ ผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ ก. คุณสมบัติทั่วไป (๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด (๒) ผู้สมัครสอบคัดเลือกหรือผู้สมัครทดสอบความรู้ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปี ผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปี (๓) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ (๔) เป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา (๕) เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต (๖) เป็นผู้ที่ผ่านการตรวจร่างกายและจิตใจโดยคณะกรรมการแพทย์จำนวนไม่น้อยกว่าสามคน ซึ่ง ก.อ. กำหนด และ ก.อ. ได้พิจารณารายงานของคณะกรรมการแพทย์แล้วเห็นสมควรรับสมัครได้ ข. ลักษณะต้องห้าม (๑) เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี (๒) เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว (๓) เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งให้พักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายอื่น (๔) เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (๕) เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๖) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือมีจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการอัยการ หรือเป็นโรคตามที่ ก.อ. ประกาศกำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด ให้ ก.อ. มีอำนาจกำหนดค่าธรรมเนียมการสมัครสอบคัดเลือก สมัครทดสอบความรู้ และสมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ มาตรา ๕๐ ผู้สมัครสอบคัดเลือกตามมาตรา ๔๙ ต้องมีคุณวุฒิและได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นนิติศาสตรบัณฑิต หรือสอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ ซึ่ง ก.อ. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี (๒) สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (๓) ได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นข้าราชการตุลาการ จ่าศาล รองจ่าศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดี พนักงานคุมประพฤติ นายทหารเหล่าพระธรรมนูญหรือทนายความ หรือได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นตามที่ ก.อ. กำหนด ทั้งนี้ เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี การประกอบวิชาชีพทางกฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ ก.อ. กำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการสมัครสอบคัดเลือกให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๕๑ ผู้สมัครทดสอบความรู้ตามมาตรา ๔๙ ต้องมีคุณวุฒิและได้ประกอบวิชาชีพ ดังต่อไปนี้ (๑) สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (๒) มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (ก) สอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศโดยมีหลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่าสามปี ซึ่ง ก.อ. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือสอบไล่ได้ปริญญาเอกทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ซึ่ง ก.อ. รับรอง (ข) สอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศโดยมีหลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่าสองปี หรือหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่าสองปี ซึ่ง ก.อ. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐ (๓) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (ค) สอบไล่ได้นิติศาสตรบัณฑิต และสอบไล่ได้ชั้นเกียรตินิยมตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาและได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐ (๓) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (ง) สอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ซึ่ง ก.อ. รับรองและได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐ (๓) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (จ) เป็นนิติศาสตรบัณฑิตชั้นเกียรตินิยมและได้ประกอบวิชาชีพเป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมายในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่ง ก.อ. รับรองเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี (ฉ) เป็นนิติศาสตรบัณฑิตและเป็นข้าราชการฝ่ายอัยการที่ได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายในตำแหน่งตามที่ ก.อ. กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกปี และอัยการสูงสุดรับรองว่ามีความซื่อสัตย์สุจริต มีความรู้ความสามารถดีและมีความประพฤติดีเป็นที่ไว้วางใจว่าจะปฏิบัติหน้าที่ข้าราชการอัยการได้ (ช) สอบไล่ได้ปริญญาโทหรือปริญญาเอกในสาขาวิชาที่ ก.อ. กำหนดและเป็นนิติศาสตรบัณฑิต และได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐ (๓) หรือได้ประกอบวิชาชีพตามที่ ก.อ. กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี (ซ) สอบไล่ได้ปริญญาตรีหรือที่ ก.อ. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีในสาขาวิชาที่ ก.อ. กำหนด และได้ประกอบวิชาชีพตามที่ ก.อ. กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปีจนมีความรู้ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพนั้นและเป็นนิติศาสตรบัณฑิต เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการ ในการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในแต่ละครั้ง สำนักงานอัยการสูงสุดโดยความเห็นชอบของ ก.อ. อาจกำหนดให้รับสมัครเฉพาะผู้มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างตาม (๒) ก็ได้ ให้ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพตาม (๒) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการสมัครทดสอบความรู้ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๕๒ ผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษตามมาตรา ๔๙ ต้องมีคุณวุฒิและประสบการณ์ ดังต่อไปนี้ (๑) สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (๒) มีประสบการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (ก) เป็นหรือเคยเป็นศาสตราจารย์หรือรองศาสตราจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่ง ก.อ. รับรอง (ข) เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญหรือข้าราชการประเภทอื่นในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไป (ค) เป็นหรือเคยเป็นทนายความมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปี (๓) เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ดีเด่นในสาขาวิชาที่ ก.อ. กำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการสมัครคัดเลือกพิเศษ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๕๓ เมื่อสมควรจะมีการสอบคัดเลือก การทดสอบความรู้ หรือการคัดเลือกพิเศษเมื่อใด ให้สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ ก.อ. เพื่อมีมติให้จัดให้มีการสอบคัดเลือก การทดสอบความรู้หรือการคัดเลือกพิเศษ ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวในแต่ละครั้ง ก.อ. อาจกำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุก็ได้ ให้ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบกำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกการทดสอบความรู้และการคัดเลือกพิเศษ ตลอดจนการกำหนดอัตราส่วนการบรรจุระหว่างผู้ที่สอบคัดเลือกได้ ผู้ที่ทดสอบความรู้ได้ และผู้ที่ผ่านการคัดเลือกพิเศษ เมื่อได้ประกาศผลการสอบคัดเลือก การทดสอบความรู้ หรือการคัดเลือกพิเศษแล้วให้บัญชีสอบคัดเลือก ทดสอบความรู้ หรือคัดเลือกพิเศษคราวก่อนเป็นอันยกเลิก มาตรา ๕๔ ให้ผู้สอบคัดเลือกที่ได้คะแนนสูงได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยก่อนผู้ที่ได้รับคะแนนต่ำลงมาตามลำดับแห่งบัญชีสอบคัดเลือกหากได้คะแนนเท่ากันให้จับสลากเพื่อจัดลำดับในระหว่างผู้ที่ได้คะแนนเท่ากันนั้น ผู้สอบคัดเลือกคนใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ หรือขาดคุณวุฒิหรือมิได้ประกอบวิชาชีพตามมาตรา ๕๐ หรือเป็นบุคคลที่ ก.อ. เห็นว่ามีชื่อเสียงหรือความประพฤติหรือเหตุอื่น ๆ อันไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการอัยการให้ผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการอัยการตามผลการสอบคัดเลือกนั้น ให้นำความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับกับการบรรจุและแต่งตั้งผู้ที่ผ่านการทดสอบความรู้ และผู้ที่ผ่านการคัดเลือกพิเศษโดยอนุโลม หมวด ๓ การพ้นจากตำแหน่ง มาตรา ๕๕ ข้าราชการอัยการพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) พ้นจากราชการตามมาตรา ๕๖ (๓) ได้รับอนุญาตให้ลาออก (๔) โอนไปรับราชการเป็นข้าราชการธุรการหรือข้าราชการฝ่ายอื่น (๕) ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร (๖) ถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๓๖ มาตรา ๕๗ หรือมาตรา ๕๙ (๗) ถูกสั่งลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก การพ้นจากตำแหน่งของข้าราชการอัยการ เว้นแต่ตำแหน่งอัยการผู้ช่วย หากเป็นกรณีตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ แต่ถ้าเป็นการพ้นจากตำแหน่งตาม (๔) (๕) (๖) หรือ (๗) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง พระบรมราชโองการดังกล่าวให้มีผลตั้งแต่วันโอนหรือวันออกจากราชการ แล้วแต่กรณี การพ้นจากตำแหน่งของอัยการสูงสุดตาม (๔) (๖) หรือ (๗) ให้เสนอวุฒิสภาเพื่อให้ความเห็นชอบ มาตรา ๕๖ ข้าราชการอัยการซึ่งมีอายุครบเจ็ดสิบปีแล้ว เป็นอันพ้นจากราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ข้าราชการอัยการผู้นั้นมีอายุครบเจ็ดสิบปี มาตรา ๕๗ ผู้ได้รับบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด หากภายหลังปรากฏว่าขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ หรือขาดคุณวุฒิหรือมิได้ประกอบวิชาชีพหรือไม่มีประสบการณ์ตามมาตรา ๕๐ มาตรา ๕๑ หรือมาตรา ๕๒ แล้วแต่กรณี ตั้งแต่ก่อนได้รับการบรรจุ ให้อัยการสูงสุดด้วยความเห็นชอบของ ก.อ. สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่รับจากทางราชการก่อนมีคำสั่งให้ออก และถ้าการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้วให้ถือว่าเป็นการสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา ๕๘ ข้าราชการอัยการผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งเพื่อให้อัยการสูงสุดเป็นผู้พิจารณา เมื่ออัยการสูงสุดสั่งอนุญาตแล้วให้ถือว่าพ้นจากตำแหน่ง ในกรณีที่ข้าราชการอัยการขอลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งหรือรับการเสนอชื่อเพื่อสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา หรือเพื่อไปดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก นอกจากกรณีตามวรรคสอง ถ้าอัยการสูงสุดเห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการจะยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกินสามเดือนนับแต่วันขอลาออกก็ได้ ในกรณีที่อัยการสูงสุดประสงค์จะลาออกจากราชการให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อ ก.อ. เพื่อให้ ก.อ. เป็นผู้พิจารณา มาตรา ๕๙ เมื่ออัยการสูงสุดเห็นสมควรให้ข้าราชการอัยการผู้ใดออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน เหตุทุพพลภาพ หรือเหตุรับราชการนานตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ให้ทำได้ด้วยความเห็นชอบของ ก.อ. แต่การให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน ให้ทำได้เฉพาะในกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และได้ดำเนินการสอบสวนตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในลักษณะ ๔ หมวด ๒ แล้ว ไม่ได้ความเป็นสัตย์ว่ากระทำผิดที่จะถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก แต่ผู้นั้นมีมลทินหรือมัวหมอง จะให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ (๒) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดบกพร่องต่อหน้าที่ หรือหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่สมควรที่จะให้คงเป็นข้าราชการอัยการต่อไป (๓) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการได้โดยสม่ำเสมอแต่ไม่ถึงเหตุทุพพลภาพ หรือ (๔) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ ก. (๑) หรือ ข. (๖) ในกรณีที่ข้าราชการอัยการซึ่งสมควรออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุดหรือรองอัยการสูงสุด ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของ ก.อ. พิจารณาดำเนินการ ลักษณะ ๔ วินัย การดำเนินการทางวินัย และการลงโทษ หมวด ๑ วินัย มาตรา ๖๐ ข้าราชการอัยการต้องรักษาวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัด ผู้ใดฝ่าฝืนจักต้องได้รับโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๔ แห่งลักษณะนี้ มาตรา ๖๑ ข้าราชการอัยการต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ มาตรา ๖๒ ข้าราชการอัยการจะเป็นสมาชิกพรรคการเมืองไม่ได้ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่นผู้แทนทางการเมืองอื่นใด กำนัน หรือผู้ใหญ่บ้าน ข้าราชการอัยการจะเข้าเป็นผู้กระทำการ ร่วมกระทำการหรือสนับสนุนในการโฆษณาหรือชักชวนใด ๆ อันเป็นคุณหรือเป็นโทษต่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ได้ มาตรา ๖๓ ข้าราชการอัยการต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับการพิจารณาสั่งคดี ห้ามมิให้ขัดขืนหลีกเลี่ยง ถ้าไม่เห็นพ้องด้วยคำสั่งนั้นจะเสนอความเห็นทัดทานเป็นหนังสือก็ได้ แต่ต้องเสนอโดยด่วน และเมื่อได้ทัดทานดังกล่าวแล้วผู้บังคับบัญชามิได้สั่งถอนหรือแก้คำสั่งที่สั่งไป ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตามแต่ให้ผู้บังคับบัญชารีบรายงานขึ้นไปยังอัยการสูงสุดตามลำดับ ในการปฏิบัติราชการ ห้ามมิให้กระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่จะได้รับอนุญาต มาตรา ๖๔ ข้าราชการอัยการต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความระมัดระวัง มิให้เสียหายแก่ราชการ และด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม มาตรา ๖๕ ข้าราชการอัยการต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความที่ควรต้องแจ้งถือว่าเป็นการรายงานเท็จ มาตรา ๖๖ ข้าราชการอัยการต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการจะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้ มาตรา ๖๗ ข้าราชการอัยการต้อง (๑) ไม่ประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพ หรือกระทำกิจการใดอันเป็นการกระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ หรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งตำแหน่งหน้าที่ราชการตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด (๒) ไม่เป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (๓) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครองกรรมการการเลือกตั้ง กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือตำแหน่งอื่นตามที่ ก.อ. กำหนด (๔) ไม่เป็นข้าราชการอื่นซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ (๕) ไม่เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐในทำนองเดียวกัน เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจาก ก.อ. ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.อ. กำหนด (๖) ไม่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือที่ปรึกษากฎหมายหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานทำนองเดียวกันนั้นในห้างหุ้นส่วนบริษัท มาตรา ๖๘ ข้าราชการอัยการต้องไม่ประพฤติตนเป็นคนเสเพล มีหนี้สินรุงรัง เสพของมึนเมาจนไม่สามารถครองสติได้ เล่นการพนันเป็นอาจิณ กระทำความผิดอาญา หรือกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว หรือกระทำการอื่นใดอันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งตำแหน่งหน้าที่ราชการ มาตรา ๖๙ ข้าราชการอัยการต้องสุภาพเรียบร้อยและห้ามมิให้ดูหมิ่นเหยียดหยามบุคคลใด ข้าราชการอัยการต้องต้อนรับ ให้ความสะดวก และให้ความสงเคราะห์ต่อประชาชนผู้มาติดต่อในกิจการอันเกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของตนโดยไม่ชักช้า มาตรา ๗๐ ข้าราชการอัยการต้องรักษาความสามัคคีระหว่างข้าราชการและต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหน้าที่ราชการ มาตรา ๗๑ ข้าราชการอัยการต้องถือและปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ มาตรา ๗๒ ข้าราชการอัยการต้องรักษาความลับของทางราชการ มาตรา ๗๓ ผู้บังคับบัญชาผู้ใดรู้ว่าผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัยแล้วไม่จัดการสอบสวนพิจารณาและดำเนินการตามความในหมวด ๒ และหมวด ๔ แห่งลักษณะนี้หรือไม่จัดการลงโทษตามอำนาจและหน้าที่หรือจัดการลงโทษโดยไม่สุจริต ให้ถือว่าผู้บังคับบัญชาผู้นั้นกระทำผิดวินัย หมวด ๒ การดำเนินการทางวินัย มาตรา ๗๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๘๒ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการสอบสวนชั้นต้นโดยมิชักช้า ผู้บังคับบัญชาระดับใดมีอำนาจดำเนินการสอบสวนชั้นต้นข้าราชการอัยการระดับใดรวมตลอดทั้งวิธีการสอบสวนชั้นต้น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สอบสวนชั้นต้นแล้ว เห็นว่า ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง ให้ดำเนินการตามมาตรา ๘๘ แต่ถ้าเห็นว่าเป็นกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้ดำเนินการตามมาตรา ๗๕ หรือมาตรา ๗๙ แล้วแต่กรณี แต่ถ้าเกินอำนาจของตนให้รายงานไปยังผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปตามลำดับเพื่อดำเนินการตามควรแก่กรณี มาตรา ๗๕ ในกรณีที่ผลการสอบสวนชั้นต้นปรากฏว่ามีมูลเป็นกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชารายงานประธาน ก.อ. และให้ ก.อ. แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนอย่างน้อยสามคนเพื่อทำการสอบสวน กรรมการสอบสวนตามวรรคหนึ่งต้องเป็นข้าราชการอัยการ การรายงานประธาน ก.อ. ตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด ในกรณีที่การสอบสวนชั้นต้นเกิดจากการร้องเรียนของบุคคลใด หากผลการสอบสวนชั้นต้นปรากฏว่ามีมูลตามที่ร้องเรียน ผู้ใดจะกล่าวหาฟ้องร้องผู้ร้องเรียนนั้นในความผิดทางอาญาหรือทางแพ่งเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการร้องเรียนที่มีมูลนั้นมิได้ มาตรา ๗๖ ในการสอบสวนตามมาตรา ๗๕ คณะกรรมการสอบสวนต้องแจ้งข้อกล่าวหาและรายละเอียดเท่าที่มีอยู่ให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ และต้องให้โอกาสแก่ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำพยานหลักฐานเข้าสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ด้วย ในการแจ้งรายละเอียดตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้คณะกรรมการสอบสวนส่งหนังสือร้องเรียนถ้ามี ให้แก่ผู้ถูกกล่าวหา แต่ต้องสรุปสาระสำคัญของหนังสือร้องเรียนให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยมิให้แจ้งข้อมูลใดที่จะทำให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบถึงตัวบุคคลผู้ร้องเรียน ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวนให้เสร็จโดยเร็วไม่ช้ากว่าเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับแต่งตั้ง ถ้ามีความจำเป็นซึ่งจะสอบสวนไม่ทันภายในกำหนดนั้นก็ให้ขออนุมัติจากผู้แต่งตั้งขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง แต่ละครั้งเป็นเวลาไม่เกินสามสิบวัน และต้องแสดงเหตุที่ต้องขยายเวลาไว้ด้วยทุกครั้ง แต่ถ้าขยายเวลาแล้วยังสอบสวนไม่เสร็จ ผู้แต่งตั้งจะอนุมัติให้ขยายเวลาต่อไปอีกได้ต่อเมื่อได้แจ้งให้ ก.อ. ทราบแล้ว หลักเกณฑ์และวิธีการการสอบสวน ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๗๗ เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้ทำการสอบสวนเสร็จแล้ว ให้รายงานผลการสอบสวนและความเห็นต่อ ก.อ. เพื่อพิจารณาต่อไป และเมื่อ ก.อ. มีมติเป็นประการใด ให้ประธาน ก.อ. มีคำสั่งให้เป็นไปตามมตินั้น มาตรา ๗๘ ให้กรรมการสอบสวนตามมาตรา ๗๕ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาและให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพียงเท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของกรรมการสอบสวน และโดยเฉพาะให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย (๑) เรียกให้หน่วยงานของรัฐชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐาน ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน (๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน มาตรา ๗๙ ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงและเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่ ก.อ. กำหนด หรือได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาหรือต่อคณะกรรมการสอบสวน เมื่อได้สอบสวนชั้นต้นตามมาตรา ๗๔ แล้ว ประธาน ก.อ. โดยความเห็นชอบของ ก.อ. จะพิจารณาสั่งลงโทษโดยไม่ต้องสอบสวนก็ได้ มาตรา ๘๐ ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือถูกฟ้องคดีอาญา ที่มิใช่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ ถ้าอัยการสูงสุดเห็นว่าจะให้อยู่ในหน้าที่ราชการระหว่างสอบสวน หรือพิจารณาจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ อัยการสูงสุดโดยความเห็นชอบของ ก.อ. จะสั่งให้พักราชการก็ได้ การให้พักราชการนั้น ให้พักตลอดเวลาที่สอบสวนพิจารณา หรือตลอดเวลาที่คดียังไม่ถึงที่สุด เมื่อสอบสวนพิจารณาเสร็จแล้ว หรือคดีถึงที่สุดแล้ว ถ้าปรากฏว่าผู้ถูกสั่งให้พักราชการมิได้กระทำความผิดและไม่มีมลทินหรือมัวหมอง ให้อัยการสูงสุดสั่งให้รับราชการตามเดิม ให้นำกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนของข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการมาใช้บังคับแก่ข้าราชการอัยการผู้ถูกสั่งให้พักจากราชการโดยอนุโลม ทั้งนี้ คำว่า “เจ้ากระทรวง” ให้หมายถึง “ก.อ.” มาตรา ๘๑ ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา หรือถูกฟ้องคดีอาญา ที่มิใช่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ แม้ภายหลังผู้นั้นจะพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการไปแล้วโดยมิใช่เพราะเหตุตาย ให้ดำเนินการสอบสวนหรือพิจารณาเพื่อลงโทษ หรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้เป็นไปตามลักษณะนี้ต่อไปได้แต่ต้องเริ่มดำเนินการภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันและดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามร้อยหกสิบวัน ทั้งนี้ นับแต่วันที่ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่ง ในกรณีตามวรรคหนึ่งถ้าผลการสอบสวนหรือพิจารณาปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรงก็ให้งดโทษ มาตรา ๘๒ การดำเนินการทางวินัยและสั่งลงโทษทางวินัยสำหรับอัยการสูงสุดและรองอัยการสูงสุด ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของ ก.อ. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด หมวด ๓ การรักษาจริยธรรมและจรรยา มาตรา ๘๓ ข้าราชการอัยการต้องถือและปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและประมวลจรรยาบรรณ การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัย การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจรรยาบรรณ ให้ผู้บังคับบัญชารายงานให้ ก.อ. ทราบและให้ ก.อ. นำมาประกอบการพิจารณาในการแต่งตั้ง หมวด ๔ การลงโทษ มาตรา ๘๔ โทษผิดวินัยมี ๕ สถาน คือ (๑) ไล่ออก (๒) ปลดออก (๓) ให้ออก (๔) งดการเลื่อนตำแหน่ง หรืองดเลื่อนชั้นหรือขั้นเงินเดือน (๕) ภาคทัณฑ์ ภายใต้บังคับมาตรา ๗๙ การสั่งลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกนั้นจะกระทำได้เมื่อได้ดำเนินการสอบสวนพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๒ แห่งลักษณะนี้แล้ว มาตรา ๘๕ การไล่ออกนั้น ก.อ. จะมีมติให้ลงโทษได้เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ดังต่อไปนี้ (๑) ทุจริตต่อหน้าที่ราชการ (๒) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิดอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๓) ต้องคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย (๔) เปิดเผยความลับของทางราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๕) ละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรงหรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร (๖) ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย และการขัดคำสั่งนั้นอาจเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๗) ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ หรือปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๘) ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง มาตรา ๘๖ การปลดออกนั้น ก.อ. จะมีมติให้ลงโทษได้เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่ยังไม่ถึงขนาดที่จะต้องถูกไล่ออกจากราชการ หรือถึงขนาดที่จะต้องถูกไล่ออกแต่มีเหตุอันควรลดหย่อน มาตรา ๘๗ การให้ออกนั้น ก.อ. จะมีมติให้ลงโทษได้เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่ยังไม่ถึงขนาดที่จะต้องถูกปลดออก หรือถึงขนาดที่จะต้องถูกปลดออกแต่มีเหตุอันควรลดหย่อน ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรานี้ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ มาตรา ๘๘ ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง ผู้บังคับบัญชาจะเสนอ ก.อ. เพื่อมีมติลงโทษงดการเลื่อนตำแหน่งหรืองดเลื่อนชั้นหรือขั้นเงินเดือน เป็นเวลาไม่เกินสามปีหรือลงโทษภาคทัณฑ์โดยจะให้ทำทัณฑ์บนไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้ เมื่อ ก.อ. พิจารณาเห็นสมควรลงโทษสถานใด ก็ให้ประธาน ก.อ. สั่งตามมตินั้น ในกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้ การเสนอ ก.อ. ตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้บังคับบัญชารายงานตามลำดับถึงอัยการสูงสุดเพื่อนำเสนอ ก.อ. ต่อไป โดยให้นำบทบัญญัติมาตรา ๗๔ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๘๙ ในคำสั่งลงโทษ ให้แสดงว่าผู้รับโทษนั้นกระทำผิดวินัยในกรณีใดตามมาตราใด มาตรา ๙๐ ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๓๖ มาตรา ๕๗ หรือมาตรา ๕๙ หรือถูกสั่งให้พักราชการตามมาตรา ๘๐ หากไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของประธาน ก.อ. หรืออัยการสูงสุด ให้ฟ้องคดีต่อศาลปกครองสูงสุดภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ทราบหรือถือว่าทราบคำสั่งของประธาน ก.อ.หรืออัยการสูงสุด แล้วแต่กรณี ลักษณะ ๕ ข้าราชการธุรการ หมวด ๑ บททั่วไป มาตรา ๙๑ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการธุรการต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ ก. คุณสมบัติทั่วไป (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี (๓) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ ข. ลักษณะต้องห้าม (๑) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (๒) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่ ก.อ. ประกาศกำหนด (๓) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น (๔) เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม (๕) เป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (๖) เป็นบุคคลล้มละลาย (๗) เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิดทางอาญา เว้นแต่โทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๘) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (๙) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออก เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น (๑๐) เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออกเพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น (๑๑) เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการหรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการธุรการซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตาม ข. (๔) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) หรือ (๑๑) ก.อ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ แต่ถ้าเป็นกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (๘) หรือ (๙) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้ว และในกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (๑๐) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว และต้องมิใช่กรณีออกจากงานหรือออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่ มติของ ก.อ. ในการยกเว้นดังกล่าว ต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการที่มาประชุม การลงมติให้กระทำโดยลับ การขอยกเว้นตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด กรณีตามวรรคสอง ก.อ. จะยกเว้นให้เป็นการเฉพาะราย หรือจะประกาศยกเว้นให้เป็นการทั่วไปก็ได้ มาตรา ๙๒ การพิจารณา สรรหา กลั่นกรอง หรือแต่งตั้งบุคคลใดเข้าสู่ตำแหน่ง รวมทั้งการโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน และการลงโทษบุคคลนั้น จะต้องคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ ความเสมอภาค ความเป็นธรรม พฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลดังกล่าวและประโยชน์ของทางราชการด้วย หมวด ๒ การสรรหา การบรรจุ และการแต่งตั้ง มาตรา ๙๓ ภายใต้บังคับมาตรา ๙๔ การสรรหาเพื่อให้ได้บุคคลมาบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการธุรการอาจทำได้โดยวิธีสอบแข่งขัน สอบคัดเลือก หรือคัดเลือก ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๙๔ ในกรณีมีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่ง สำนักงานอัยการสูงสุดจะบรรจุบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และความชำนาญสูงเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ หรือทรงคุณวุฒิ หรือตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๙๕ ผู้ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการธุรการตำแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามที่ ก.อ. กำหนด ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็น ก.อ. อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการธุรการที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งก็ได้ ในกรณีที่ ก.อ. กำหนดให้ปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิใด เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ให้หมายถึงปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน หรือ ก.อ. รับรอง มาตรา ๙๖ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการธุรการ และการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งให้อัยการสูงสุดหรือผู้ที่อัยการสูงสุดมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง มาตรา ๙๗ การโอนข้าราชการธุรการไปบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการตามกฎหมายอื่นหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น หรือการโอนข้าราชการตามกฎหมายอื่น หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นมาบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการธุรการ อาจกระทำได้ถ้าเจ้าตัวสมัครใจโดยผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งทำความตกลงกับเจ้าสังกัด และปฏิบัติตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นที่โอนมาเป็นข้าราชการธุรการตามวรรคหนึ่ง ให้ดำรงตำแหน่งระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเท่าใดให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด แต่เงินเดือนที่จะให้ได้รับจะต้องไม่สูงกว่าข้าราชการธุรการที่มีคุณวุฒิ ความสามารถ และความชำนาญงานในระดับเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้ที่โอนมาเป็นข้าราชการธุรการตามวรรคหนึ่งในขณะที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นนั้น เป็นเวลาราชการของข้าราชการธุรการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย การโอนข้าราชการการเมือง และข้าราชการที่อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมาเป็นข้าราชการธุรการตามพระราชบัญญัตินี้จะกระทำมิได้ มาตรา ๙๘ การบรรจุข้าราชการธุรการที่ได้ออกจากราชการไปเนื่องจากถูกสั่งให้ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ไปปฏิบัติงานใดซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการ หรือออกจากราชการไปที่มิใช่เป็นการออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ กลับเข้ารับราชการ ตลอดจนจะสั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใดระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ กำหนด เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการตามพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ข้าราชการธุรการที่ได้ออกจากราชการไปเนื่องจากถูกสั่งให้ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ไปปฏิบัติงานใดซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการเมื่อได้บรรจุกลับเข้ารับราชการให้มีสิทธินับวันรับราชการก่อนถูกสั่งให้ออกจากราชการรวมกับวันรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารหรือวันที่ได้ปฏิบัติงานใดตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี และวันรับราชการเมื่อได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการเป็นเวลาราชการติดต่อกันเสมือนว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกสั่งให้ออกจากราชการ สำหรับผู้ซึ่งออกจากราชการไปที่มิใช่เป็นการออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการซึ่งได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่ง ให้มีสิทธินับเวลาราชการก่อนออกจากราชการเพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๙๙ การทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ การให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการออกจากราชการ การสั่งให้ผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไปหรือมีลักษณะต้องห้ามออกจากราชการ การย้าย การโอน การเลื่อนตำแหน่ง การสั่งให้ประจำส่วนราชการ การเยียวยาแก้ไข หรือการดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลปกครอง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด มาตรา ๑๐๐ พนักงานส่วนท้องถิ่น ข้าราชการธุรการ หรือข้าราชการตามกฎหมายอื่น ซึ่งไม่ใช่ข้าราชการการเมือง ผู้ใดออกจากงานหรือออกจากราชการไปแล้ว ถ้าสมัครเข้ารับราชการเป็นข้าราชการธุรการและสำนักงานอัยการสูงสุดต้องการจะรับผู้นั้นเข้ารับราชการให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๙๖ พิจารณาโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับ ทั้งนี้ จะบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับผู้ซึ่งออกจากงานหรือออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติงานหรือปฏิบัติหน้าที่ราชการ เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้เข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งในขณะที่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นเวลาราชการของข้าราชการธุรการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย หมวด ๓ การพัฒนาคุณภาพในการดำเนินคดี มาตรา ๑๐๑ เพื่อประโยชน์แก่การพัฒนาคุณภาพในการดำเนินคดีของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้มีตำแหน่งเจ้าพนักงานคดี ซึ่งเป็นข้าราชการธุรการที่มีความรู้และประสบการณ์ในทางกฎหมายและงานคดี เพื่อปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือพนักงานอัยการในด้านการดำเนินคดีตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด ให้เจ้าพนักงานคดีได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งในอัตราที่สำนักงานอัยการสูงสุดและกระทรวงการคลังร่วมกันกำหนด เจ้าพนักงานคดีจะมีจำนวนเท่าใดในส่วนราชการใด ให้เป็นไปตามที่ ก.อ. กำหนดด้วยความเห็นชอบของสำนักงบประมาณ ในกรณีที่เจ้าพนักงานคดีผู้ใดปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐานหน้าที่และความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติของเจ้าพนักงานคดี อัยการสูงสุดอาจพิจารณาให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งเจ้าพนักงานคดีได้ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการเข้าสู่ตำแหน่ง การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่ง สำหรับตำแหน่งเจ้าพนักงานคดี ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด หมวด ๔ วินัย การรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ มาตรา ๑๐๒ นอกจากที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ วินัย การรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ของข้าราชการธุรการ ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนสามัญ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ คำว่า “ก.พ.ค.” ให้หมายถึง “ก.อ.” คำว่า “ก.พ.” “อ.ก.พ. กระทรวง” และ “อ.ก.พ. กรม” ให้หมายถึง “อนุกรรมการที่ ก.อ. แต่งตั้งตามมาตรา ๓๑” คำว่า “กระทรวง” ให้หมายถึง “สำนักงานอัยการสูงสุด” และคำว่า “รัฐมนตรี” ให้หมายถึง “อัยการสูงสุด” หมวด ๕ การรักษาจริยธรรมและจรรยา มาตรา ๑๐๓ ข้าราชการธุรการต้องถือและปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและประมวลจรรยาบรรณ การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัย การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจรรยาบรรณ ให้ผู้บังคับบัญชารายงานให้อัยการสูงสุดทราบและให้อัยการสูงสุดนำมาประกอบการพิจารณาในการแต่งตั้งและเลื่อนเงินเดือนด้วย บทเฉพาะกาล มาตรา ๑๐๔[๗] (ยกเลิก) มาตรา ๑๐๕ ให้คณะกรรมการอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีการเลือกและแต่งตั้งกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๓) และ (๔) ครบถ้วนแล้ว ซึ่งต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เพื่อประโยชน์ในการนับวาระการดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.อ. ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๖ ให้ข้าราชการฝ่ายอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นข้าราชการฝ่ายอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๗ ข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยในขณะที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ใช้บังคับ ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยตามพระราชบัญญัตินี้แต่ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งให้ดำเนินการใดแล้ว ถ้าการสั่งและการดำเนินการนั้นได้กระทำไปโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ให้ถือว่าเป็นอันสมบูรณ์ ถ้ากรณียังค้างระหว่างการสอบสวนก็ให้ดำเนินการสอบสวนตามกฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะเสร็จ แต่การพิจารณาและการสั่งลงโทษให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๘ ข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดอยู่ระหว่างถูกสั่งให้พักราชการ หรืออยู่ระหว่างถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าข้าราชการฝ่ายอัยการผู้นั้นถูกสั่งให้พักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๙ ผู้ที่ได้ยื่นใบสมัครสอบคัดเลือกหรือทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงถือคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ผู้ที่สอบคัดเลือกหรือทดสอบความรู้ได้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และบัญชีการสอบคัดเลือก หรือบัญชีทดสอบความรู้ แล้วแต่กรณี ยังมิได้ยกเลิกตามมาตรา ๕๓ วรรคสาม ให้คงมีสิทธิได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยต่อไป มาตรา ๑๑๐ มิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๗ มาใช้บังคับกับข้าราชการอัยการซึ่งได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการประจำกอง หรืออัยการจังหวัดผู้ช่วยก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๑๑ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาบรรจุบุคคลซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการและออกจากราชการไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเข้ารับราชการให้ปรับเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้เข้ากับอัตราหรือขั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่กลับเข้ารับราชการ ในกรณีที่ผู้เข้ารับราชการเป็นผู้ซึ่งออกจากราชการก่อนมีการปรับอัตราเงินเดือนตามพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๔๔ พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ และพระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้ปรับเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการตามพระราชบัญญัตินั้น ๆ เสียก่อน แล้วจึงปรับเงินเดือนตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่ปรับเงินเดือนของผู้ที่กลับเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้เข้ากับอัตราหรือขั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่กลับเข้ารับราชการไม่ได้ให้ ก.อ. เป็นผู้พิจารณาว่าผู้นั้นสมควรได้รับการบรรจุในอัตราหรือขั้นใด มาตรา ๑๑๒ บรรดาพระราชกฤษฎีกา กฎ ระเบียบ ข้อกำหนด ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่งและมติคณะรัฐมนตรีที่ได้ออกตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการและกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีพระราชกฤษฎีกา กฎ ระเบียบ ข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับแทน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ[๘] ชั้นเงินเดือน เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง ๘ ๗๓,๒๔๐ ๔๒,๕๐๐ ๗ ๗๒,๐๖๐ ๔๒,๐๐๐ ๖ ๗๐,๘๗๐ ๔๑,๕๐๐ ๕ ๖๙,๘๑๐ ๔๑,๐๐๐ ๔ ๖๘,๖๙๐ ๔๐,๐๐๐ ๖๗,๕๖๐ ๓๐,๐๐๐ ๓ ๖๖,๔๔๐ ๒๙,๐๐๐ ๕๓,๐๖๐ ๒๓,๓๐๐ ๔๘,๒๐๐ ๒๓,๓๐๐ ๔๐,๘๙๐ ๒๓,๓๐๐ ๓๖,๔๑๐ ๒๓,๓๐๐ ๓๒,๑๑๐ ๒๓,๓๐๐ ๒ ๒๙,๙๘๐ ๗,๙๐๐ ๒๗,๘๕๐ ๗,๙๐๐ ๒๕,๗๗๐ ๗,๙๐๐ ๑ ๑๘,๙๕๐ ๑๗,๕๖๐ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติให้องค์กรอัยการเป็นองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ และมีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น รวมทั้งบัญญัติให้มีการตรากฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ให้พนักงานอัยการดำรงตำแหน่งได้จนถึงอายุครบเจ็ดสิบปี ในการนี้สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการให้สอดคล้องกับบทบัญญัติดังกล่าว ประกอบกับสมควรนำหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสตามกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส รวมทั้งอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ มากำหนดรวมไว้ในพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายเกี่ยวกับข้าราชการประเภทต่าง ๆ และเพื่อให้การบริหารงานบุคคลของข้าราชการฝ่ายอัยการมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๔[๙] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ บัญญัติให้ในกรณีที่สมควรปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ถ้าการปรับอัตราเงินเดือนดังกล่าวเป็นการปรับเพิ่มเป็นร้อยละเท่ากันทุกอัตราและไม่เกินร้อยละสิบของอัตราที่ใช้บังคับอยู่ การปรับให้กระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ประกอบกับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการในปัจจุบันไม่เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น สมควรปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยปรับเพิ่มในอัตราร้อยละห้าเท่ากันทุกอัตรา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๑๐] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๙ ข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสผู้ใดเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะครบกำหนดวาระ มาตรา ๑๐ มิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ มาใช้บังคับแก่ข้าราชการอัยการที่ดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสหรือผ่านการประเมินสมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๑ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้ข้าราชการอัยการซึ่งมีอายุครบหกสิบห้าปีไปดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสเพื่อทำหน้าที่ในทางวิชาชีพพนักงานอัยการโดยไม่ดำรงตำแหน่งด้านบริหารจนกว่าจะพ้นจากราชการ นอกจากนั้น สมควรปรับปรุงบทบาทและอำนาจหน้าที่ของอัยการอาวุโสให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ วิชพงษ์/ปรับปรุง ๑๔ กันยายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๗๕ ก/หน้า ๑/๗ ธันวาคม ๒๕๕๓ [๒] มาตรา ๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๓] มาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๔] มาตรา ๓๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๕] มาตรา ๓๙/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๖] มาตรา ๔๐ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๗] มาตรา ๑๐๔ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๘] บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๔ [๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๒๒ ก/หน้า ๑๘/๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ [๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๙๓ ก/หน้า ๓๒/๑๓ กันยายน ๒๕๖๐
315778
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 (Update ณ วันที่ 03/04/2535)
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นปีที่ ๓๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและ ยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑” มาตรา ๒* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป *[รก.๒๕๒๑/๕๙/๔๒พ/๓๑ พฤษภาคม ๒๕๒๑] มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ (๒) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๐๕ (๓) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๗ (๔) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๐ (๕) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๖๐ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ (๖) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๑๗ (๗) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๑๙ บรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่น ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราช บัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน ลักษณะ ๑ บททั่วไป มาตรา ๔* ในพระราชบัญญัตินี้ “ข้าราชการฝ่ายอัยการ” หมายความว่า ข้าราชการซึ่งรับราชการในสำนักงาน อัยการสูงสุดโดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนในสำนักงานอัยการสูงสุด “ก.อ.” หมายความว่า คณะกรรมการอัยการ *[มาตรา ๔ แก้ไขโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] มาตรา ๕ ข้าราชการฝ่ายอัยการได้แก่ (๑) ข้าราชการอัยการ คือข้าราชการผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการดำเนินคดีตาม กฎหมายซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ (๒) ข้าราชการธุรการ คือ ข้าราชการผู้มีหน้าที่ในทางธุรการ มาตรา ๖* อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้แบ่งเป็น ๘ ชั้น แต่ละชั้นมีขั้น ไม่เกินจำนวนขั้นที่กำหนดดังต่อไปนี้ ชั้น ๑ มี ๕ ขั้น ชั้น ๒ มี ๑๓ ขั้น ชั้น ๓ มี ๑๓ ขั้น ชั้น ๔ มี ๑๒ ขั้น ชั้น ๕ มี ๑๔ ขั้น ชั้น ๖ มี ๑๓ ขั้น ชั้น ๗ มี ๑๒ ขั้น ชั้น ๘ มี ๘ ขั้น อัตราเงินเดือนและอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการให้เป็นไปตาม บัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการ อัยการหมายเลข ๑ และบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ หมายเลข ๑ และให้ เปลี่ยนไปใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ และบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่ง ข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๓ และบัญชีอัตรา เงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ หมายเลข ๓ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๔ และบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ หมายเลข ๔ หรือบัญชีอัตราเงินเดือน ข้าราชการอัยการ หมายเลข ๕ ตามความเหมาะสมโดยเปลี่ยนไปใช้บัญชีอัตราเงินเดือนและบัญชี อัตราเงินประจำตำแหน่งในลำดับถัดไปลำดับใดก็ได้ ตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้เข้าชั้นและขั้นเงินเดือนตามบัญชี อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามบัญชีกำหนดการปรับอัตรา เงินเดือนข้าราชการอัยการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด และให้มีผลเป็นการปรับขั้นเงินเดือนข้าราชการ อัยการที่ได้รับอยู่ตามไปด้วย เงินประจำตำแหน่งตามมาตรานี้ไม่ถือเป็นเงินเดือนเพื่อเป็นเกณฑ์ในการ คำนวณบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ อัตราเงินเดือนและอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการธุรการให้เป็นไปตาม บัญชีอัตราเงินเดือนและบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือนที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน *[มาตรา ๖ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕] มาตรา ๗ เพื่อประโยชน์ในการออมทรัพย์ของข้าราชการอัยการ คณะรัฐมนตรี จะวางระเบียบและวิธีการให้กระทรวงการคลังหักเงินเดือนของข้าราชการอัยการไว้เป็นเงินสะสมก็ ได้ โดยคิดดอกเบี้ยจากเงินสะสมนั้นให้ในอัตราไม่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทประจำของ ธนาคารพาณิชย์ เงินสะสมและดอกเบี้ยนี้ให้จ่ายคืนหรือให้กู้ยืมเพื่อดำเนินการตามโครงการ สวัสดิการสำหรับข้าราชการอัยการตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๘ ข้าราชการอัยการอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะ เศรษฐกิจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๙ ในกรณีที่มีเหตุที่จะต้องจัดให้มีหรือปรับปรุงเงินเพิ่มค่าครองชีพตาม มาตรา ๘ หรือปรับขั้นเงินเดือนตามมาตรา ๖ วรรคสอง ให้รัฐมนตรีรายงานไปยังคณะรัฐมนตรี ดำเนินการต่อไป มาตรา ๑๐* ข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการการเมืองข้าราชการวิสามัญ หรือ ข้าราชการซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือพนักงานเทศบาลที่ไม่ใช่พนักงาน เทศบาลวิสามัญ ซึ่งสอบคัดเลือก หรือทดสอบความรู้เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการอัยการใน ตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ตามพระราชบัญญัตินี้ หากประสงค์จะโอนมาบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ ในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเพื่อนับเวลาราชการหรือเวลาทำงานของตนในขณะที่เป็นข้าราชการ หรือ พนักงานเทศบาลเป็นเวลาราชการของข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย ก็ให้กระทำ ได้โดยสำนักงานอัยการสูงสุดทำความตกลงกับเจ้าสังกัด *[มาตรา ๑๐ แก้ไขโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] มาตรา ๑๑ บำเหน็จบำนาญของข้าราชการอัยการ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ว่าด้วยการนั้น ข้าราชการอัยการผู้ใดถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์ในการคำนวณ บำเหน็จบำนาญก็ได้ มาตรา ๑๒ เครื่องแบบของข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่งให้เป็นไป ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๑๓ วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการอัยการ ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๑๔* ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ มีอำนาจกำหนดค่าธรรมเนียมการสอบเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และออกกฎกระทรวงเพื่อ ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ *[มาตรา ๑๔ แก้ไขโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] ลักษณะ ๒ คณะกรรมการอัยการ มาตรา ๑๕* ให้มีคณะกรรมการอัยการคณะหนึ่งเรียกโดยย่อว่า ก.อ. ประกอบ ด้วย (๑) ประธานกรรมการ ซึ่งเลือกตั้งจากผู้รับบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จ บำนาญข้าราชการซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการมาแล้วในตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอัยการสูงสุด กรมอัยการหรืออัยการสูงสุด หรือผู้ทรงคุณวุฒิในทางกฎหมาย ซึ่งเป็นผู้รับบำนาญตามกฎหมาย ว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการและเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอัยการสูงสุดหรือเทียบเท่า ขึ้นไป ทั้งนี้ ต้องไม่เคยเป็นสมาชิกหรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมืองในระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมาและไม่เป็น ข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภาหรือทนายความ (๒) อัยการสูงสุดเป็นรองประธาน (๓) รองอัยการสูงสุด อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดี และอัยการ พิเศษฝ่ายวิชาการ เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่ง และ (๔) กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิหกคนซึ่งข้าราชการอัยการที่ได้รับเงินเดือน ตั้งแต่ชั้น ๒ ขึ้นไปเป็นผู้เลือกจาก (ก) ข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนตั้งแต่ชั้น ๔ ขึ้นไป และมิได้เป็น กรรมการอัยการโดยตำแหน่งอยู่แล้วสามคน (ข) ผู้รับบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการซึ่งเคยรับ ราชการเป็นข้าราชการอัยการมาแล้ว และต้องไม่เป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภา กรรมการ พรรคการเมืองเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง หรือทนายความ สามคน ให้ ก.อ. แต่งตั้งข้าราชการฝ่ายอัยการคนหนึ่งเป็นเลขานุการ ก.อ. *[มาตรา ๑๕ แก้ไขโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] มาตรา ๑๕ ทวิ* ในการเลือกประธาน ก.อ. ตามมาตรา ๑๕ (๑) ให้กรรมการ อัยการตามมาตรา ๑๕ (๒) (๓) และ (๔) ประชุมกันกำหนดรายชื่อบุคคลที่เห็นสมควรเป็นประธาน ไม่น้อยกว่าห้าชื่อส่งให้ข้าราชการอัยการผู้มีสิทธิเลือกตามมาตรา ๑๕ (๔) ทำการเลือกจากรายชื่อ ดังกล่าว เมื่อผลการเลือกเป็นประการใด ให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรง พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง *[มาตรา ๑๕ ทวิ เพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] มาตรา ๑๕ ตรี* ประธาน ก.อ. อยู่ในตำแหน่งคราวละสามปีนับแต่วันที่ทรง พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง และอาจได้รับเลือกเพื่อโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งอีกได้ไม่เกินสองคราว ติดต่อกัน นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้ประธาน ก.อ. พ้นจากตำแหน่งเมื่อ ตาย ลาออก หรือขาดคุณสมบัติมาตรา ๑๕ (๑) ในกรณีที่ประธาน ก.อ. พ้นจากตำแหน่งตามวาระ หรือพ้นจากตำแหน่ง ด้วยเหตุอื่น ให้ดำเนินการเลือกให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง ในระหว่างที่ประธาน ก.อ. พ้นจากตำแหน่ง ให้รองประธาน ก.อ. ทำหน้าที่ ประธาน ก.อ. *[มาตรา ๑๕ ตรี เพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] มาตรา ๑๖ เมื่อจะมีการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้นายกรัฐมนตรี หรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่ง วิธีการเลือกกรรมการอัยการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับ มอบหมายจากนายกรัฐมนตรีประกาศชื่อผู้ได้รับเลือกในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๗ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งได้คราวละสองปี และ อาจได้รับเลือกใหม่ ถ้าตำแหน่งว่างลงก่อนถึงกำหนดวาระ ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับ มอบหมายจากนายกรัฐมนตรีสั่งให้ดำเนินการเลือกซ่อมเว้นแต่วาระการอยู่ในตำแหน่งของ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิจะเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน นายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับ มอบหมายจากนายกรัฐมนตรีจะไม่สั่งให้ดำเนินการเลือกซ่อมก็ได้ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกซ่อมอยู่ในตำแหน่งได้เพียงวาระของ ผู้ที่ตนแทน มาตรา ๑๘ ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการอัยการว่างลง นอกจากการพ้นจาก ตำแหน่งของกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามวาระ และมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการโดย รีบด่วน ก็ให้กรรมการอัยการที่เหลือดำเนินการไปได้ แต่ต้องมีกรรมการอัยการพอที่จะเป็น องค์ประชุม มาตรา ๑๙ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ครบกำหนดวาระ (๒) ตาย (๓) ลาออก (๔) เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่ง หรือพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการ ในกรณีที่เป็นกรรมการอัยการตามมาตรา ๑๕ (๔) (ก) (๕) กลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการอัยการ ในกรณีที่เป็นกรรมการอัยการ ตามมาตรา ๑๕ (๔) (ข) (๖) ไปเป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภา ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง กรรมการ พรรคการเมือง เจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง หรือทนายความ ในกรณีเป็นที่สงสัยว่า กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิผู้ใดพ้นจากตำแหน่ง กรรมการอัยการหรือไม่ ให้อัยการสูงสุดเสนอ ก.อ. เพื่อวินิจฉัยชี้ขาด มาตรา ๒๐ การประชุมของ ก.อ. ต้องมีกรรมการอัยการมาประชุมไม่น้อยกว่า เจ็ดคนจึงเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานเป็นประธาน ในที่ประชุม ถ้าประธานและรองประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการ อัยการในที่ประชุมเลือกกรรมการอัยการคนหนึ่งเป็นประธาน หากกรรมการอัยการโดยตำแหน่งว่างลง หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้รักษา ราชการแทน หรือผู้รักษาการในตำแหน่งตามกฎหมาย ทำหน้าที่กรรมการอัยการแทนในระหว่างนั้น ในการประชุมของ ก.อ. ถ้ามีการพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับกรรมการอัยการผู้ใด โดยเฉพาะ ผู้นั้นไม่มีสิทธิเข้าประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือเสียงข้างมาก ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ก.อ. มีอำนาจออกข้อบังคับว่าด้วยระเบียบการประชุมและการลงมติ มาตรา ๒๑ ในกรณีที่ ก.อ. มีหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้อัยการสูงสุดเป็นผู้เสนอเรื่องต่อ ก.อ. แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิกรรมการอัยการคนหนึ่งคนใดที่จะเสนอ มาตรา ๒๒ ก.อ. มีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการให้ทำการใด ๆ แทนได้ ลักษณะ ๓ ข้าราชการอัยการ หมวด ๑ การบรรจุ การแต่งตั้ง และการเลื่อนขั้นเงินเดือน มาตรา ๒๓* ตำแหน่งข้าราชการอัยการมีดังนี้ อัยการสูงสุด รองอัยการสูงสุด อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ อัยการพิเศษประจำเขต อัยการพิเศษประจำกรม อัยการจังหวัดประจำกรม อัยการจังหวัด อัยการประจำกรม รองอัยการ จังหวัด อัยการประจำกอง อัยการจังหวัดผู้ช่วย และอัยการผู้ช่วย นอกจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง อาจให้มีตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่อ อย่างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงได้ ตำแหน่งดังกล่าวจะเทียบกับตำแหน่งใดตามวรรคหนึ่ง ให้ กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนั้นด้วยความเห็นชอบของ ก.อ. *[มาตรา ๒๓ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕] มาตรา ๒๔* ข้าราชการอัยการให้ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง ดังต่อไปนี้ (๑) อัยการสูงสุด ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น ๘ (๒) รองอัยการสูงสุด ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น ๗ (๓) อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ และอัยการพิเศษประจำเขต ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น ๖ (๔) อัยการพิเศษประจำกรม ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น ๕ (๕) อัยการจังหวัดประจำกรม และอัยการจังหวัด ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น ๔ (๖) อัยการประจำกรม และรองอัยการจังหวัด ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น ๓ (๗) อัยการประจำกอง และอัยการจังหวัดผู้ช่วย ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น ๒ (๘) อัยการผู้ช่วย ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น ๑ สำหรับข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เมื่อเทียบกับ ตำแหน่งใดก็ให้ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งนั้น ในกรณีข้าราชการอัยการได้เลื่อนตำแหน่ง ให้รับเงินเดือนในชั้นที่สูงขึ้นตาม ตำแหน่ง และให้ได้รับเงินเดือนในอัตราขั้นต่ำของชั้นนั้น แต่ถ้าผู้นั้นได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของ ชั้นที่เลื่อนขึ้น ก็ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นของชั้นนั้น ซึ่งมีจำนวนเท่ากับเงินเดือนที่ได้รับอยู่ ในกรณีที่ เงินเดือนในขั้นของชั้นที่เลื่อนขึ้นไม่มีจำนวนที่เท่ากับเงินเดือนที่ได้รับอยู่ก็ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นซึ่ง มีจำนวนสูงมากกว่าเงินเดือนที่ได้รับอยู่น้อยที่สุด *[มาตรา ๒๔ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕] มาตรา ๒๔ ทวิ* ให้ข้าราชการอัยการได้รับเงินประจำตำแหน่งตามตำแหน่งที่ได้ รับแต่งตั้ง ดังต่อไปนี้ (๑) อัยการสูงสุด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่ง ชั้น ๘ (๒) รองอัยการสูงสุด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่ง ชั้น ๗ (๓) อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ และอัยการพิเศษประจำเขต ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่ง ชั้น ๖ (๔) อัยการพิเศษประจำกรม ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่ง ชั้น ๕ (๕) อัยการจังหวัดประจำกรมและอัยการจังหวัด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่ง ชั้น ๔ (๖) อัยการประจำกรมและรองอัยการจังหวัด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่ง ชั้น ๓ (๗) อัยการประจำกองและอัยการจังหวัดผู้ช่วย ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่ง ชั้น ๒ สำหรับข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เมื่อเทียบกับ ตำแหน่งใดก็ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งนั้น *[มาตรา ๒๔ ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕] มาตรา ๒๕ การบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง อัยการผู้ช่วย ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่ง โดยวิธีการสอบคัดเลือกตามความในหมวด ๒ แห่งลักษณะนี้ แต่ถ้าผู้ใด (๑) สอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ โดย มีหลักสูตรการศึกษาเดียวไม่น้อยกว่าสามปี ซึ่ง ก.อ. เทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และสอบไล่ได้ ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (๒) สอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ โดยมีหลักสูตรการศึกษาหลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่าสองปี หรือหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่า สองปี ซึ่ง ก.อ. เทียบว่า ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และสอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษา กฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) เป็นเวลา ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (๓) สอบไล่ได้เป็นธรรมศาสตร์บัณฑิต หรือนิติศาสตร์บัณฑิตและสอบไล่ได้ ชั้นเกียรตินิยมตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และได้ประกอบ วิชาชีพ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือ (๔) สอบไล่ได้ปริญญาโทหรือปริญญาเอกทางกฎหมายในประเทศไทย และ สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และได้ประกอบ วิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี เมื่อ ก.อ.พิจารณาเห็นว่า เป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๓๓ (๒) ถึง (๑๒) และได้ทำการทดสอบความรู้ในวิชากฎหมายแล้ว เห็นสมควรที่จะให้เข้ารับราชการ ก็ให้ นายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีสั่งบรรจุเป็นข้าราชการ อัยการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และอัตราส่วน ของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ตามที่ ก.อ. กำหนด การบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ให้บรรจุให้ได้รับ เงินเดือนในอัตราขั้นต่ำของชั้น มาตรา ๒๖ อัยการผู้ช่วยที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัด ผู้ช่วยจะต้องได้รับการอบรมจากกรมอัยการมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และผลของการอบรมเป็นที่ พอใจของ ก.อ. ว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และความประพฤติ เหมาะสมที่จะเป็นอัยการ จังหวัดผู้ช่วย อัยการผู้ช่วยซึ่งได้รับการอบรมจากกรมอัยการมาแล้วหนึ่งปี แต่ผลของการ อบรมยังไม่เป็นที่พอใจของ ก.อ. ว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และความประพฤติ เหมาะสมที่ จะเป็นอัยการจังหวัดผู้ช่วย ก็ให้ได้รับการอบรมจากกรมอัยการต่อไปอีกหนึ่งปี เมื่อครบกำหนด ดังกล่าวแล้วหากผลของการอบรมยังไม่เป็นที่พอใจของ ก.อ. ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชา ที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ออกจากราชการ ในระหว่างเวลาปีแรกที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดผู้ช่วย หากปรากฏว่าผู้ได้รับแต่งตั้งไม่เหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งต่อไปให้นายกรัฐมนตรีหรือ ผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีด้วยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจสั่งให้ ออกจากราชการ มาตรา ๒๗ การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งนอกจากตำแหน่ง อัยการผู้ช่วยให้ประธาน ก.อ.เสนอ ก.อ. โดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถ ความรับผิดชอบ ประวัติการปฏิบัติราชการของบุคคลนั้นเทียบกับงานในตำแหน่งข้าราชการอัยการที่จะได้รับ แต่งตั้งนั้น ๆ เพื่อให้ความเห็นชอบก่อนเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว จึงนำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง มาตรา ๒๘ การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการอัยการในชั้นหนึ่ง ๆ ให้รัฐมนตรี เป็นผู้สั่งเลื่อน ในเมื่อได้รับความเห็นชอบของ ก.อ. แล้ว โดยปกติปีละหนึ่งขั้น โดยคำนึงถึงคุณภาพ และปริมาณงานของตำแหน่งและผลของงานที่ได้ปฏิบัติมา การรักษาวินัย ตลอดจนความสามารถ และความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด ให้ออกเป็นกฎกระทรวง มาตรา ๒๙ การโอนข้าราชการอัยการไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการ ธุรการ โดยให้ได้รับเงินเดือนไม่สูงกว่าในขณะที่โอน ให้รัฐมนตรีสั่งได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้นั้น ยินยอม และ ก.อ. เห็นชอบ การโอนข้าราชการอัยการไปเป็นข้าราชการพลเรือน หรือข้าราชการฝ่ายอื่นให้ รัฐมนตรีสั่งได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้นั้นยินยอม และ ก.อ.เห็นชอบ *วรรคสาม *[มาตรา ๒๙ วรรคสาม ยกเลิกโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔] มาตรา ๓๐ การโอนข้าราชการธุรการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการ อัยการโดยให้ได้รับเงินเดือนไม่สูงกว่าในขณะที่โอนมา อาจทำได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ แต่ข้าราชการ ธุรการผู้นั้นอย่างน้อยต้องเคยเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการประจำกอง หรืออัยการจังหวัด ผู้ช่วยมาแล้ว มาตรา ๓๑ ข้าราชการอัยการผู้ใดพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการไปโดยมิได้ มีความผิด หรือมีมลทินหรือมัวหมองในราชการ หรือไปรับราชการ ในกระทรวงทบวงกรมอื่นเมื่อจะ กลับเข้ารับตำแหน่งข้าราชการอัยการโดยรับเงินเดือนไม่สูงกว่าขณะพ้นจากตำแหน่งข้าราชการ อัยการ ถ้าไม่เป็นผู้ขาดคุณสมบัติ ตามมาตรา ๓๓ (๒) ถึง (๑๒) ก็ให้รัฐมนตรีสั่งบรรจุได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ มาตรา ๓๒ ข้าราชการอัยการผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการ รับราชการทหาร เมื่อผู้นั้นพ้นจากราชการทหาร โดยไม่มีความเสียหาย และประสงค์จะกลับเข้ารับ ราชการในตำแหน่งข้าราชการอัยการ โดยรับเงินเดือนเท่าที่ได้รับอยู่ในขณะที่ไปรับราชการทหาร ให้ ยื่นคำขอภายในกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันพ้นจากราชการทหารในกรณีเช่นว่านี้ ให้ รัฐมนตรีสั่งบรรจุได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ แต่ถ้าจะบรรจุให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าขณะที่ไปรับราชการ ทหารให้บรรจุได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ซึ่ง ก.อ. จะได้กำหนด หมวด ๒ การสอบคัดเลือก มาตรา ๓๓ ผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (๑) (ก) สอบไล่ได้เป็นธรรมศาสตร์บัณฑิต หรือนิติศาสตร์บัณฑิต หรือสอบไล่ได้ ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ ซึ่ง ก.อ. เทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี (ข) สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่ง เนติบัณฑิตยสภาและ (ค) ได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นข้าราชการตุลาการจ่าศาล รองจ่าศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดี พนักงานคุมประพฤติ นายทหารเหล่า พระธรรมนูญ หรือทนายความ หรือได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นตามที่ ก.อ. กำหนด ทั้งนี้ เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี และให้ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการ ประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ด้วย (๒) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด (๓) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปี (๔) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ (๕) เป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา (๖) ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี (๗) ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว (๘) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งให้พักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ ก่อนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ หรือตามกฎหมายอื่น (๙) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ (๑๐) ไม่เป็นผู้เคยรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษ สำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๑๑) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือจิต ฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือมีกายหรือจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการอัยการ หรือเป็นโรค ที่ระบุไว้ในกฎกระทรวง และ (๑๒) เป็นผู้ที่คณะกรรมการแพทย์มีจำนวนไม่น้อยกว่าสามคน ซึ่ง ก.อ. จะได้ กำหนดได้ตรวจร่างกายและจิตใจแล้ว และ ก.อ. ได้พิจารณารายงานของแพทย์ เห็นว่าสมควรรับ สมัครได้ ให้ ก.อ. มีอำนาจวางระเบียบเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบ คัดเลือกก่อนที่จะรับสมัครได้ มาตรา ๓๔ ให้ ก.อ. มีอำนาจกำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกตาม มาตรา ๓๓ ตลอดจนวางเงื่อนไขในการรับสมัคร เมื่อสมควรจะมีการสอบคัดเลือกเมื่อใด ให้กรมอัยการเสนอต่อ ก.อ. ให้ ก.อ. จัด ให้มีการสอบคัดเลือก เมื่อได้มีการสอบใหม่ และได้ประกาศผลของการสอบแล้ว บัญชีสอบคัดเลือก คราวก่อนเป็นอันยกเลิก มาตรา ๓๕ ผู้สอบคัดเลือกที่ได้คะแนนสูงให้ได้รับบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยก่อนผู้ที่ได้รับคะแนนต่ำลงมาตามลำดับแห่งบัญชีสอบ คัดเลือก หากได้คะแนนเท่ากันให้ใช้วิธีจับสลากเพื่อจัดลำดับที่ระหว่างผู้ที่ได้คะแนนเท่ากันนั้น ผู้สอบคัดเลือกได้ผู้ใด หากขาดคุณสมบัติหรือลักษณะข้อใดข้อหนึ่งตาม มาตรา ๓๓ หรือเป็นบุคคลที่ ก.อ. เห็นว่ามีชื่อเสียงหรือความประพฤติหรือเหตุอื่น ๆ ที่ไม่เหมาะสม จะเป็นข้าราชการอัยการผู้นั้นเป็นอันหมดสิทธิเข้ารับราชการตามผลของการสอบคัดเลือกนั้น หมวด ๓ การพ้นจากตำแหน่ง มาตรา ๓๖ ข้าราชการอัยการพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๓) ได้รับอนุญาตให้ลาออก (๔) โอนไปรับราชการทางอื่น (๕) ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการ ทหาร (๖) ถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๒๖ หรือมาตรา ๓๗ หรือมาตรา ๓๙ (๗) ถูกสั่งลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก การพ้นจากตำแหน่งของข้าราชการอัยการ เว้นแต่ตำแหน่งอัยการผู้ช่วย หาก เป็นกรณีตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ แต่ถ้าเป็นการพ้นจาก ตำแหน่งตาม (๔) (๕) (๖) หรือ (๗) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้ พ้นจากตำแหน่ง พระบรมราชโองการดังกล่าวให้มีผลตั้งแต่วันโอนหรือวันออกจากราชการ แล้วแต่กรณี มาตรา ๓๗ ผู้ได้รับบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด หากภายหลังปรากฏต่อ ก.อ. ว่าขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๕ หรือมาตรา ๓๓ ตั้งแต่ก่อนได้รับ การบรรจุ ให้รัฐมนตรีด้วยความเห็นชอบของ ก.อ.สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ แต่ทั้งนี้ไม่กระทบ กระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใด ที่รับจากทางราชการก่อนมีคำสั่งให้ออกนั้น และถ้าการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้วให้ถือว่า เป็นการสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ มาตรา ๓๘ ข้าราชการอัยการผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการให้ยื่นหนังสือ ขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งเพื่อให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับ มอบหมายจากนายกรัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณา เมื่อนายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมาย จากนายกรัฐมนตรีสั่งอนุญาตแล้วให้ถือว่าพ้นจากตำแหน่ง ในกรณีที่ข้าราชการอัยการขอลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเพื่อ สมัครรับเลือกตั้ง ให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก นอกจากกรณีตามวรรคสอง ถ้านายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมาย จากนายกรัฐมนตรีเห็นว่า จำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการ จะยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกไว้เป็นเวลา ไม่เกินสามเดือนนับแต่วันขอลาออกก็ได้ มาตรา ๓๙ เมื่อนายกรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจาก นายกรัฐมนตรีเห็นสมควรให้ข้าราชการอัยการผู้ใดออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญ เหตุทดแทน เหตุทุพพลภาพ หรือเหตุรับราชการนาน ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ ให้ทำได้ด้วยความเห็นชอบของ ก.อ. แต่การให้ออกจากราชการเพื่อรับ บำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน ให้ทำได้เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และได้ ดำเนินการสอบสวนตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในลักษณะ ๔ หมวด ๒ แล้ว ไม่ได้ความเป็นสัตย์ว่า กระทำผิดที่จะต้องถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก แต่ผู้นั้นมีมลทินหรือมัวหมอง จะให้รับ ราชการต่อไป จะเป็นการเสียหายแก่ราชการ (๒) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดบกพร่องต่อหน้าที่ หรือหย่อนความสามารถ ในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่สมควรที่จะให้คงเป็นข้าราชการอัยการต่อไป (๓) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการได้โดย สม่ำเสมอ แต่ไม่ถึงเหตุทุพพลภาพ หรือ (๔) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๓๓ (๒) หรือ (๑๑) หรือเป็นสมาชิกรัฐสภาซึ่งมาจากการเลือกตั้ง หรือเป็นข้าราชการการเมือง เว้นแต่กรณีตาม มาตรา ๒๙ วรรคสาม ลักษณะ ๔ วินัย การรักษาวินัย และการลงโทษ หมวด ๑ วินัย มาตรา ๔๐ ข้าราชการอัยการต้องรักษาวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้โดย เคร่งครัด ผู้ใดฝ่าฝืนจักต้องได้รับโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๓ แห่งลักษณะนี้ มาตรา ๔๑ ข้าราชการอัยการต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย ตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ มาตรา ๔๒ ข้าราชการอัยการจะเป็นกรรมการพรรคการเมือง สมาชิกพรรค การเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมืองไม่ได้ ในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา หรือผู้แทนทางการเมืองอื่นใดข้าราชการอัยการ จะเข้าเป็นตัวกระทำการ ร่วมกระทำการ หรือสนับสนุนในการโฆษณาหรือชักชวนใด ๆ ไม่ได้ มาตรา ๔๓ ข้าราชการอัยการต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งใน หน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย ห้ามมิให้ขัดขืนหลีกเลี่ยง ถ้าไม่เห็นพ้องด้วยคำสั่งนั้นจะเสนอ ความเห็นทัดทานเป็นหนังสือก็ได้ แต่ต้องเสนอโดยด่วน และเมื่อได้ทัดทานดังกล่าวแล้วผู้บังคับ บัญชามิได้สั่งถอนหรือแก้คำสั่งที่สั่งไป ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม แต่ให้ผู้บังคับบัญชารีบ รายงานขึ้นไปยังอัยการสูงสุดตามลำดับ ในการปฏิบัติราชการ ห้ามมิให้กระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ จะได้รับอนุญาต มาตรา ๔๔ ข้าราชการอัยการต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความระมัดระวัง มิให้เสียหายแก่ราชการ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม มาตรา ๔๕ ข้าราชการอัยการต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงาน โดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องบอกถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย มาตรา ๔๖ ข้าราชการอัยการต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการจะละทิ้งหรือ ทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้ ข้าราชการอัยการต้องไม่ประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพ หรือกระทำกิจการใดอัน เป็นการกระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ หรือเสื่อมเสียถึงเกียรติศักดิ์แห่งตำแหน่งหน้าที่ ราชการ ข้าราชการอัยการต้องไม่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือที่ปรึกษากฎหมาย หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนบริษัท ข้าราชการอัยการต้องไม่เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐใน ทำนองเดียวกัน เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจาก ก.อ. มาตรา ๔๗ ข้าราชการอัยการต้องไม่กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว เช่น ประพฤติตนเป็นคนเสเพล มีหนี้สินรุงรัง เสพของมึนเมาจนไม่สามารถครองสติได้ เล่นการพนัน เป็นอาจิณ กระทำความผิดอาญา หรือกระทำการอื่นใด ซึ่งความประพฤติหรือการกระทำดังกล่าว แล้วอาจทำให้เสียเกียรติศักดิ์แห่งตำแหน่งหน้าที่ราชการ มาตรา ๔๘ ข้าราชการอัยการต้องต้อนรับ ให้ความสะดวก และให้ความ สงเคราะห์ต่อประชาชนผู้มาติดต่อในกิจการอันเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตนโดยไม่ชักช้า ห้ามมิให้ดูหมิ่นเหยียดหยามบุคคลใด ๆ และต้องสุภาพเรียบร้อยต่อประชาชน มาตรา ๔๙ ข้าราชการอัยการต้องถือและปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทาง ราชการ มาตรา ๕๐ ข้าราชการอัยการต้องสุภาพเรียบร้อยและรักษาความสามัคคี ระหว่างข้าราชการและต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหน้าที่ราชการ มาตรา ๕๑ ข้าราชการอัยการต้องรักษาความลับของทางราชการ มาตรา ๕๒ ผู้บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดรู้ว่าผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา กระทำผิดวินัยแล้วไม่จัดการสอบสวนพิจารณาและดำเนินการตามความในหมวด ๒ และหมวด ๓ แห่งลักษณะนี้ หรือตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน แล้วแต่กรณี หรือไม่จัดการ ลงโทษตามอำนาจและหน้าที่หรือจัดการลงโทษโดยไม่สุจริต ให้ถือว่าผู้บังคับบัญชาผู้นั้นกระทำ ผิดวินัย หมวด ๒ การรักษาวินัย มาตรา ๕๓ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่า กระทำผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการสอบสวนชั้นต้นโดยมิชักช้า วิธีการสอบสวนชั้นต้นจะทำโดยให้ผู้มีกรณีเกี่ยวข้องชี้แจ้งเรื่องราวเป็นหนังสือ หรือโดยบันทึกเรื่องราวและความเห็นก็ได้ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สอบสวนชั้นต้นแล้ว เห็นว่า ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำ ผิดวินัยไม่ร้ายแรง ให้ดำเนินการตามมาตรา ๖๓ แต่ถ้าเห็นว่าเป็นกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ดำเนินการตามมาตรา ๕๔ หรือมาตรา ๕๖ แล้วแต่กรณี แต่ถ้าเกินอำนาจของตนให้รายงานไป ยังผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปตามลำดับเพื่อดำเนินการตามควรแก่กรณี มาตรา ๕๔ ข้าราชการอัยการผู้ใดซึ่งผู้บังคับบัญชาเห็นว่ากระทำผิดวินัย อย่างร้ายแรงที่มีโทษถึงไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก ให้ผู้บังคับบัญชาต่อไปนี้แต่งตั้งคณะ กรรมการขึ้นอย่างน้อยสามคน เพื่อทำการสอบสวน คือ (๑) ประธาน ก.อ. สำหรับข้าราชการอัยการทุกชั้น (๒) อัยการสูงสุด สำหรับข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๑ และชั้น ๒ กรรมการตามวรรคหนึ่งต้องเป็นข้าราชการอัยการ ในการสอบสวนนั้น คณะกรรมการสอบสวนต้องแจ้งข้อกล่าวหา และ รายละเอียดเท่าที่มีอยู่ให้ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยทราบ และต้องให้โอกาสแก่ผู้ถูกกล่าวหาว่า กระทำผิดวินัยชี้แจงและนำพยานหลักฐานเข้าสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ด้วย ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวนให้เสร็จโดยเร็วกำหนดอย่างช้า ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันได้รับแต่งตั้ง ถ้ามีความจำเป็น ซึ่งจะสอบสวนไม่ทันภายในกำหนดนั้นก็ ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง แต่ละครั้งเป็นเวลาไม่เกินสิบห้าวัน และต้องแสดงเหตุที่ ต้องขยายเวลาไว้ด้วยทุกครั้ง แต่ถ้าขยายเวลาแล้วยังสอบสวนไม่เสร็จ จะขยายเวลาต่อไปอีกได้ต่อ เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้แต่งตั้ง หลักเกณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวกับการสอบสวนให้เป็นไปตามที่ ก.อ. กำหนด เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้ทำการสอบสวนเสร็จแล้ว ให้รายงานเสนอ ความเห็นต่ออัยการสูงสุด โดยให้ผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกกล่าวหาตามลำดับได้แสดงความเห็นเสียก่อน ด้วย ถ้าคณะกรรมการหรือผู้บังคับบัญชาดังกล่าว หรืออัยการสูงสุด เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิด วินัย ก็ให้อัยการสูงสุดทำความเห็นรายงานไปยัง ก.อ. เมื่อ ก.อ. ได้พิจารณาเห็นสมควรลงโทษ ไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ จึงให้ประธาน ก.อ.สั่งไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการต่อไป ในกรณีข้าราชการอัยการถูกฟ้องคดีอาญา จะใช้คำพิพากษาถึงที่สุดของศาล ประกอบการพิจารณาของ ก.อ. โดยไม่ต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนก็ได้ มาตรา ๕๕ ให้กรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพียง เท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของกรรมการสอบสวน และโดยเฉพาะให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วยคือ (๑) เรียกให้กระทรวงทบวงกรม หน่วยราชการ หรือรัฐวิสาหกิจชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐาน ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน (๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำ หรือ ให้ส่งเอกสารและ หลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน มาตรา ๕๖ ข้าราชการอัยการผู้ใด กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และเป็นกรณี ความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่ ก.อ. กำหนด หรือได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับ บัญชาหรือต่อคณะกรรมการสอบสวน ประธาน ก.อ. จะพิจารณาสั่งลงโทษโดยไม่ต้องสอบสวนก็ได้ ทั้งนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบของ ก.อ. ก่อน มาตรา ๕๗ ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือถูกฟ้องคดีอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือ ความผิดลหุโทษ ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่าจะให้อยู่ในหน้าที่ราชการระหว่างสอบสวนหรือพิจารณา จะเป็นการเสียหายแก่ราชการ จะสั่งให้พักราชการก็ได้ ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจสั่งให้พักราชการ คือ (๑) ประธาน ก.อ. สำหรับข้าราชการอัยการทุกชั้น (๒) อัยการสูงสุด สำหรับข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๑ และชั้น ๒ การให้พักราชการนั้น ให้พักตลอดเวลาที่สอบสวนพิจารณา หรือตลอดเวลาที่ คดียังไม่ถึงที่สุดเมื่อสอบสวนพิจารณาเสร็จแล้ว หรือคดีถึงที่สุดแล้ว ถ้าปรากฏว่าผู้ถูกสั่งให้พัก ราชการมิได้กระทำความผิดและไม่มีมลทิน หรือมัวหมอง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจสั่งให้พัก ราชการสั่งให้รับราชการตามเดิม เงินเดือนของผู้ถูกสั่งให้พักราชการดังกล่าว ให้เป็นไปตาม กฎหมายว่าด้วยการนั้น มาตรา ๕๘ ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา หรือถูกฟ้องคดีอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดย ประมาทหรือความผิดลหุโทษ แม้ภายหลังผู้นั้นจะพันจากตำแหน่งข้าราชการอัยการไปแล้ว ก็อาจมี การสอบสวนหรือพิจารณาเพื่อลงโทษ หรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้เป็นไปตามลักษณะนี้ได้ เว้นแต่ ข้าราชการอัยการผู้นั้นจะพ้นจากตำแหน่งเพราะตาย หมวด ๓ การลงโทษ มาตรา ๕๙ โทษผิดวินัยมี ๕ สถาน คือ (๑) ไล่ออก (๒) ปลดออก (๓) ให้ออก (๔) งดบำเหน็จความชอบ (๕) ภาคทัณฑ์ การสั่งลงโทษข้าราชการอัยการในสถานไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกนั้น จะกระทำได้เมื่อได้ดำเนินการสอบสวนพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๒ แห่งลักษณะนี้แล้ว มาตรา ๖๐ การไล่ออกนั้นประธาน ก.อ.จะสั่งลงโทษได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใด กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงดังต่อไปนี้ (๑) ทุจริตต่อหน้าที่ราชการ (๒) ทำความผิดอาญาและต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก เว้นแต่ เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๓) ต้องคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายทุจริตตามกฎหมายว่าด้วย ล้มละลาย (๔) เปิดเผยความลับของทางราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการ อย่างร้ายแรง (๕) ละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นเหตุให้เสียหายแก่ ราชการอย่างร้ายแรง หรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดย ไม่มีเหตุผลอันสมควร (๖) ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย และการขัดคำสั่งนั้น อาจเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๗) ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการหรือปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือระเบียบของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๘) ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง มาตรา ๖๑ การปลดออกนั้น ประธาน ก.อ.จะสั่งลงโทษได้ เมื่อข้าราชการอัยการ ผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่ยังไม่ถึงขนาดที่จะต้องถูกไล่ออกจากราชการ หรือถึงขนาดที่จะ ต้องไล่ออก แต่มีเหตุอันควรลดหย่อน มาตรา ๖๒ การให้ออกนั้น ประธาน ก.อ.จะสั่งลงโทษได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใด กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่ยังไม่ถึงขนาดที่จะต้องถูกปลดออก หรือถึงขนาดที่จะต้องถูกปลดออก แต่มีเหตุอันควรลดหย่อน ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรานี้ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ เสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ มาตรา ๖๓ ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง และผู้บังคับบัญชา สอบสวนพิจารณาแล้วเห็นว่าสมควรลงโทษเพียงสถานงดบำเหน็จความชอบเป็นเวลาไม่เกินสามปี หรือถ้ามีเหตุสมควรปรานี จะลงโทษเพียงภาคทัณฑ์โดยจะให้ทำทัณฑ์บนไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้ ก็ให้ผู้ บังคับบัญชารายงานตามลำดับถึงอัยการสูงสุดเพื่อเสนอ ก.อ. เมื่อ ก.อ. พิจารณาเห็นสมควรลงโทษ สถาน ใด ก็ให้รายงานไปยังประธาน ก.อ.เพื่อสั่ง มาตรา ๖๔ ในคำสั่งลงโทษ ให้แสดงว่าผู้รับโทษนั้นกระทำผิดวินัยในกรณีใด ตามมาตราใด มาตรา ๖๕ ถ้าปรากฏว่าคำสั่งลงโทษทางวินัยได้สั่งไปโดยผิดหลงให้ประธาน ก.อ.มี อำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นคุณแก่ผู้ถูกลงโทษได้ แต่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช่นว่านี้ จะต้องได้ รับอนุมัติจาก ก.อ. ก่อน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ให้กระทำได้ภายในกำหนด สองปีนับแต่วันสั่งลงโทษ ลักษณะ ๕ ข้าราชการธุรการ มาตรา ๖๖ ในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการธุรการ ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนสามัญ มาใช้บังคับ ตำแหน่งข้าราชการอัยการใดเป็นตำแหน่งผู้บังคับบัญชาข้าราชการธุรการ โดยเทียบกับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งใด ให้กำหนดโดยกฎ ก.พ. บทเฉพาะกาล มาตรา ๖๗ ให้กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งอยู่ในตำแหน่งในวันที่พระราช บัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาคงอยู่ในตำแหน่งต่อไป จนกว่าจะได้มีการเลือกกรรมการ อัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัตินี้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ ใช้บังคับ มาตรา ๖๘ ผู้ใดเป็นข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้นั้นเป็น ข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไป โดยให้ได้รับเงินเดือนในอัตราเท่ากับเงินเดือนที่ได้รับ อยู่ เว้นแต่ผู้ที่ได้รับเงินเดือนไม่ถึงขั้นต่ำของชั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้ ผู้นั้นได้รับเงินเดือนขั้นต่ำของชั้นนั้น มาตรา ๖๙ ผู้ใดเป็นข้าราชการธุรการสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้ นั้นเป็นข้าราชการธุรการตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไป มาตรา ๗๐ ผู้ใดเป็นข้าราชการธุรการวิสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้ นั้นเป็นข้าราชการธุรการวิสามัญต่อไป และให้นำมาตรา ๑๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๗๑ ข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยในขณะที่พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ใช้บังคับ และผู้บังคับบัญชาได้สั่งให้ดำเนินการสอบ สวนแล้ว ถ้าการสั่งและการสอบสวนพิจารณาที่ได้กระทำไปแล้วถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ใน ขณะนั้น ให้ถือว่าเป็นอันสมบูรณ์ ถ้ากรณียังค้างระหว่างการสอบสวน ก็ให้ดำเนินการสอบสวนตาม กฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะเสร็จ แต่การพิจารณาและการสั่งลงโทษให้ดำเนินการตามพระราช บัญญัตินี้ มาตรา ๗๒ ผู้ที่ได้ยื่นใบสมัครเข้าเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการ ผู้ช่วยไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงถือคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ผู้ที่ ก.อ. ได้ลงมติให้รับเข้าเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ตาม มาตรา ๑๔ และผู้สอบคัดเลือกได้ตามมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่าย อัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงมีสิทธิได้รับบรรจุเป็นข้าราชการ อัยการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยต่อไป มาตรา ๗๓ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ ที่จะได้ประกาศใช้ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๒๐ มิให้นำความใน มาตรา ๓๙ (๔) ในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการการเมืองมาใช้บังคับแก่ข้าราชการอัยการ มาตรา ๗๔ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาบรรจุบุคคลซึ่งเคยรับราชการ และออกจากราชการไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เข้ารับราชการ ให้ปรับเงินเดือนที่ผู้นั้น ได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้เข้าชั้น และขั้นตามบัญชีที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่กลับเข้ารับราชการ ในกรณีที่ผู้เข้ารับราชการเป็นผู้ซึ่งออกจากราชการก่อนมีการปรับอัตราเงินเดือน ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๗ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๐ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๖๐ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ หรือพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๑๗ ให้ปรับเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการ ตามพระราชบัญญัติและ ประกาศนั้น ๆ เสียก่อน แล้วจึงปรับเงินเดือนตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่มีการปรับเงินเดือนของผู้ที่กลับเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งและ วรรคสองแล้วยังปรากฏว่าผู้เข้ารับราชการได้รับเงินเดือนไม่ถึงขั้นต่ำของชั้นตามบัญชีอัตรา เงินเดือนข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้ ก.อ. เป็นผู้พิจารณาว่าผู้นั้นสมควรได้รับการ บรรจุในชั้นหรือขั้นใด ทั้งนี้ ก.อ. จะกำหนดให้ได้รับเงินเดือนในชั้นที่ต่ำกว่าขั้นต่ำของชั้นเป็นกรณี เฉพาะรายก็ได้ มาตรา ๗๕ ข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญ หรือ ข้าราชการซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือพนักงานเทศบาลที่ไม่ใช่พนักงาน เทศบาลวิสามัญซึ่งสอบคัดเลือก หรือทดสอบความรู้เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการอัยการใน ตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ และ เจ้าสังกัดได้ทำความตกลงกับกรมอัยการให้โอนมาบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการ ผู้ช่วยก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้นับเวลาราชการหรือเวลาทำงานของตนในขณะที่เป็น ข้าราชการ หรือพนักงานเทศบาลเป็นเวลาราชการของข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย มาตรา ๗๖ ในระหว่างที่ยังมิได้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ กฎหมายว่าด้วยเงินเดือนของข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการ และกฎหมายว่าด้วยบัตร ประจำตัวข้าราชการ พนักงานเทศบาล พนักงานสุขาภิบาล และพนักงานองค์การของรัฐเพื่อให้มีผล บังคับรวมถึงข้าราชการฝ่ายอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าข้าราชการฝ่ายอัยการเป็น ข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กฎหมายว่าด้วยเงินเดือนของ ข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการและกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวข้าราชการ พนักงานเทศบาล พนักงานสุขาภิบาล และพนักงานองค์การของรัฐอยู่ต่อไป มาตรา ๗๗ ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกา ออกกฎกระทรวง กฎ ก.พ. ข้อกำหนด ข้อบังคับ ระเบียบ หรือประกาศ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง กฎ ก.พ. ข้อกำหนด ข้อบังคับ ระเบียบหรือประกาศที่ใช้อยู่ในวันที่ พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษามาใช้บังคับโดยอนุโลมเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับ บทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรี บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ* [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] *[บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ได้ใช้บังคับมานานแล้ว แม้จะได้ปรับปรุงแก้ไขมาหลายครั้ง ก็ ยังมีบทบัญญัติหลายมาตราไม่เหมาะสมกับกาลสมัย และเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการบริหารงาน บุคคลในปัจจุบัน สมควรจะได้ปรับปรุงแก้ไขเสียใหม่ อันจะทำให้ราชการของกรมอัยการดำเนินไป ได้ผลดียิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๕ การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้เข้าชั้นและขั้นตามบัญชี อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๑ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรี กำหนด แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่ต่ำกว่าชั้นและขั้นที่ข้าราชการอัยการผู้นั้นดำรงอยู่และได้รับอยู่เดิม มาตรา ๖ เพื่อประโยชน์ในการบรรจุบุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการอัยการและ ออกจากราชการไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับกลับเข้ารับราชการ ให้ปรับอัตราเงินเดือนที่ ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้ตรงกับชั้นและขั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ที่ใช้อยู่ในขณะกลับเข้ารับราชการ และให้นำมาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือน ข้าราชการอัยการที่ปรับปรุงใหม่ไม่ได้ส่วนสัมพันธ์กับอัตราเงินเดือนของข้าราชการประเภทอื่น ๆ ที่ได้รับการปรับปรุงแล้ว สมควรแก้ไขอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้อง ตราพระราชบัญญัตินี้ [รก.๒๕๒๑/๑๐๓/๓๘พ/๒๗ กันยายน ๒๕๒๑] พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ มาตรา ๕ ตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ข้าราชการอัยการได้รับ เงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ โดยให้ปรับ อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ได้รับตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ ให้เข้าชั้นและขั้นตาม บัญชีอัตราเงินเดือนดังกล่าว ตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการท้าย พระราชบัญญัตินี้ เมื่อได้ปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามวรรคหนึ่งแล้วข้าราชการ อัยการผู้ใดได้รับเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำของชั้น เมื่อจะพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนในปีงบประมาณ ต่อไป ให้ปรับให้ข้าราชการอัยการผู้นั้นได้รับเงินเดือนสูงขึ้น ๑ ขั้น ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ของปี งบประมาณนั้นแล้วจึงพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีตามปกติ มาตรา ๖ เพื่อประโยชน์ในการบรรจุบุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการอัยการ และ ออกจากราชการไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ กลับเข้ารับราชการ ให้ปรับอัตราเงินเดือนที่ ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้ตรงกับชั้นและขั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ที่ใช้อยู่ในขณะกลับเข้ารับราชการ และให้นำมาตรา ๗๔ วรรคสอง และ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และมาตรา ๖ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราช บัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือน ข้าราชการอัยการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่ได้ส่วนสัมพันธ์กับอัตราเงินเดือนของข้าราชการประเภทอื่น สมควรแก้ไขอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ [รก.๒๕๒๔/๑๗๕/๑พ/๒๒ ตุลาคม ๒๕๒๔] พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑ มาตรา ๕ การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้เข้าชั้นและขั้นเงินเดือน ตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ก. บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ข. บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ค. หรือ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ง. ท้ายพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการ อัยการและตามระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกำหนด เมื่อปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามวรรคหนึ่งแล้ว เฉพาะข้าราชการ อัยการผู้ได้รับเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำหรือสูงกว่าขั้นสูงของชั้น ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นตามที่กำหนดไว้ ในบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ ข้าราชการอัยการซึ่งได้เลื่อนตำแหน่งนับแต่วันปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการ อัยการตามวรรคหนึ่ง ถ้าได้รับเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำของชั้นที่ได้เลื่อนตามบัญชีกำหนดการปรับ อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำของบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือน ข้าราชการอัยการ แต่ถ้าได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของชั้นที่ได้เลื่อนตามบัญชีกำหนดการปรับ อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการก็ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นที่ได้รับอยู่ ผู้ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยนับแต่วันปรับอัตรา เงินเดือนข้าราชการอัยการตามวรรคหนึ่ง ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำตามบัญชีกำหนดการปรับอัตรา เงินเดือนข้าราชการอัยการ การรับเงินเดือนในขั้นต่อ ๆ ไปของข้าราชการอัยการตามวรรคสองวรรคสาม และวรรคสี่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๖ การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามมาตรา ๕ ให้มีผลเป็น การปรับขั้นเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ได้รับอยู่ตามไปด้วย มาตรา ๗ เพื่อประโยชน์ในการบรรจุบุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการอัยการตาม พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และออกจากราชการไปก่อนวันที่บัญชี อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับกลับเข้ารับราชการ ให้ปรับ อัตราเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้เข้าชั้นและขั้นเงินเดือนตามบัญชีกำหนดการ ปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา ๕ และให้นำมาตรา ๗๔ วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และ มาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ มาใช้บังคับ โดยอนุโลมด้วย มาตรา ๘ ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือน ข้าราชการอัยการ บัญชี ก. ตามมาตรา ๖ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่าย อัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ให้นำบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการ อัยการ หมายเลข ๓ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่ม เติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ มาใช้บังคับ ไปพลางก่อน มาตรา ๙ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือน ข้าราชการอัยการในบัญชีอัตราเงินเดือนท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้ใช้มาเป็นเวลานานไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพ ในปัจจุบัน จำเป็นต้องกำหนดจำนวนขั้นเงินเดือน อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการแต่ละชั้น และ ปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการเสียใหม่ รวมทั้งให้มีการให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือน แต่ละบัญชีได้ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตรา พระราชบัญญัตินี้ [รก.๒๕๓๑/๑๘๐/๕๐พ/๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๑] ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ ข้อ ๗ ให้แก้ไขคำว่า “รัฐมนตรี หรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมาย จากรัฐมนตรี หรือคำว่า “รัฐมนตรี” ในมาตรา ๑๖ มาตรา ๑๗ มาตรา ๒๕ มาตรา ๒๖ มาตรา ๓๘ และมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็น นายก รัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี” และแก้ไขคำว่า “รัฐมนตรี หรือผู้ บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรี” หรือคำว่า “รัฐมนตรี” ในมาตรา ๒๗ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๖ มาตรา ๕๗ มาตรา ๖๐ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็น “ประธาน ก.อ.” ข้อ ๘ ให้แก้ไขคำว่า “อธิบดี” และ “รองอธิบดี” ในพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็น “อัยการสูงสุด” และ “รองอัยการสูงสุด” ตามลำดับ ข้อ ๙ ให้นายกรัฐมนตรีสั่งให้มีการเลือกประธานกรรมการอัยการภายในเก้าสิบ วันนับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ และในระหว่างที่ยังมิได้เลือกประธานกรรมการอัยการ ให้รอง ประธานกรรมการอัยการทำหน้าที่ประธานกรรมการอัยการ ข้อ ๑๐ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ให้กรรมการข้าราชการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันที่ ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะครบวาระ ข้อ ๑๑ ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามประกาศคณะรักษาความสงบ เรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ ข้อ ๑๒ ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป [รก.๒๕๓๔/๓๗/๕๕พ/๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔] พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๘ เพื่อประโยชน์ในการบรรจุบุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการอัยการตาม พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และออกจากราชการไปก่อนวันที่บัญชี อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับกลับเข้ารับราชการให้ปรับ อัตราเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้เข้าชั้น และขั้นเงินเดือนตามที่คณะรัฐมนตรี กำหนดตามมาตรา ๓ และให้นำมาตรา ๗๔ วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่าย อัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย มาตรา ๙ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากการกำหนดตำแหน่ง และชั้นเงินเดือนของข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ยังไม่เหมาะสม และอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการในบัญชีอัตราเงินเดือนท้าย พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑ ไม่สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคา ผู้บริโภค และยังไม่สอดคล้องกับอัตราค่าจ้างในกลุ่มวิชาชีพต่าง ๆ ทั้ง ๆ ที่ข้าราชการอัยการเป็นผู้ ประกอบวิชาชีพในทางกฎหมายมีหน้าที่บริหารงานกระบวนการยุติธรรม ให้ความเป็นธรรมแก่ ประชาชนและรักษาผลประโยชน์ของรัฐ ซึ่งนับว่าเป็นอำนาจหน้าที่ที่มีความสำคัญยิ่ง ประกอบกับ ขณะนี้ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างอัตราเงินเดือนข้าราชการฝ่ายอื่น ๆ ให้เหมาะสม จึงเห็นสมควร ปรับปรุงกำหนดจำนวนชั้นและขั้นอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการเสียใหม่ และเห็นควรกำหนด ให้มีเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการด้วย เพื่อความเหมาะสมกับสภาวะค่าครองชีพในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ [รก.๒๕๓๕/๓๕/๓๐/๓ เมษายน ๒๕๓๕] ดวงใจ/แก้ไข ๐๕/๐๓/๔๕
304140
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2524
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ เป็นปีที่ ๓๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำ และยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔” มาตรา ๒* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป *[รก.๒๕๒๔/๑๗๕/๑พ/๒๒ ตุลาคม ๒๕๒๔] มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๖ อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้แบ่งเป็น ๖ ชั้น แต่ละชั้นมี จำนวนขั้น ดังนี้ ชั้น ๑ มี ๕ ขั้น ชั้น ๒ มี ๑๓ ขั้น ชั้น ๓ มี ๑๐ ขั้น ชั้น ๔ มี ๙ ขั้น ชั้น ๕ มี ๗ ขั้น ชั้น ๖ มี ๔ ขั้น อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้เป็นไปตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการ อัยการ หมายเลข ๑ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ และเมื่อปรากฏว่าเงินเดือนหรือค่าจ้างทั่วไปในประเทศ เพิ่มขึ้น หรือค่าครองชีพสูงขึ้น หรืออัตราเงินเดือนที่ใช้อยู่ไม่เหมาะสม ก็ให้มีการปรับใช้อัตรา เงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ หรือบัญชีอัตราเงินเดือน ข้าราชการอัยการ หมายเลข ๓ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี ได้ตามความเหมาะสม โดยตรา เป็นพระราชกฤษฎีกา การปรับใช้อัตราเงินเดือนดังกล่าว ให้มีผลเป็นการปรับขั้นเงินเดือน ข้าราชการอัยการที่ได้รับอยู่ตามไปด้วย อัตราเงินเดือนข้าราชการธุรการให้เป็นไปตามบัญชีซึ่งกำหนดไว้ในกฎหมายว่า ด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญ” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๑ บัญชี อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๓ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ และให้ใช้บัญชีอัตรา เงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๑ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ บัญชี อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๓ ท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา ๕ ตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ข้าราชการอัยการได้รับ เงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ โดยให้ปรับ อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ได้รับตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ ให้เข้าชั้นและขั้นตาม บัญชีอัตราเงินเดือนดังกล่าว ตามบัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการท้าย พระราชบัญญัตินี้ เมื่อได้ปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามวรรคหนึ่งแล้วข้าราชการ อัยการผู้ใดได้รับเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำของชั้น เมื่อจะพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนในปีงบประมาณ ต่อไป ให้ปรับให้ข้าราชการอัยการผู้นั้นได้รับเงินเดือนสูงขึ้น ๑ ขั้น ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ของปี งบประมาณนั้นแล้วจึงพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีตามปกติ มาตรา ๖ เพื่อประโยชน์ในการบรรจุบุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการอัยการ และ ออกจากราชการไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ กลับเข้ารับราชการ ให้ปรับอัตราเงินเดือนที่ ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้ตรงกับชั้นและขั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ที่ใช้อยู่ในขณะกลับเข้ารับราชการ และให้นำมาตรา ๗๔ วรรคสอง และ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และมาตรา ๖ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราช บัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๑ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๓ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] บัญชีกำหนดการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือน ข้าราชการอัยการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่ได้ส่วนสัมพันธ์กับอัตราเงินเดือนของข้าราชการประเภทอื่น สมควรแก้ไขอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ภคินี/แก้ไข ๑/๒/๒๕๔๕ A+B(C)
319577
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ----------- ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นปีที่ ๓๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและ ยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑" มาตรา ๒* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป *[รก.๒๕๒๑/๕๙/๔๒พ/๓๑ พฤษภาคม ๒๕๒๑] มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ (๒) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๐๕ (๓) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๗ (๔) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๐ (๕) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๖๐ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ (๖) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๑๗ (๗) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๑๙ บรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่น ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราช บัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน ลักษณะ ๑ บททั่วไป ----------- มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ "ข้าราชการฝ่ายอัยการ" หมายความว่า ข้าราชการซึ่งรับราชการในกรมอัยการ โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในกรมอัยการ "รองอธิบดี" หมายความว่า รองอธิบดีกรมอัยการ "อธิบดี" หมายความว่า อธิบดีกรมอัยการ "ก.อ." หมายความว่า คณะกรรมการอัยการ "รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕ ข้าราชการฝ่ายอัยการได้แก่ (๑) ข้าราชการอัยการ คือข้าราชการผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการดำเนินคดีตาม กฎหมายซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ (๒) ข้าราชการธุรการ คือ ข้าราชการผู้มีหน้าที่ในทางธุรการ มาตรา ๖ อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้เป็นไปตามบัญชีท้ายพระราช บัญญัตินี้ โดยให้แบ่งเป็น ๖ ชั้น แต่ละชั้นมีจำนวนขั้นดังนี้ ชั้น ๑ มี ๔ ขั้น ชั้น ๒ มี ๑๒ ขั้น ชั้น ๓ มี ๙ ขั้น ชั้น ๔ มี ๙ ขั้น ชั้น ๕ มี ๗ ขั้น ชั้น ๖ มี ๕ ขั้น ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ใช้ขั้นเงินเดือนของข้าราชการอัยการตาม อัตรา ก. และเมื่อปรากฏว่าเงินเดือนหรือค่าจ้างทั่วไปในประเทศเพิ่มขึ้น หรือค่าครองชีพสูงขึ้น หรือ อัตราเงินเดือนที่ใช้อยู่ไม่เหมาะสม ก็ให้มีการปรับขั้นเงินเดือนเป็นอัตรา ข. อัตรา ค. อัตรา ง. อัตรา จ. หรืออัตรา ฉ. ตามความเหมาะสม โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา การปรับขั้นเงินเดือนดังกล่าวให้ มีผลเป็นการปรับขั้นเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ได้รับอยู่ตามไปด้วย อัตราเงินเดือนข้าราชการธุรการให้เป็นไปตามบัญชีซึ่งกำหนดไว้ในกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญ มาตรา ๗ เพื่อประโยชน์ในการออมทรัพย์ของข้าราชการอัยการ คณะรัฐมนตรี จะวางระเบียบและวิธีการให้กระทรวงการคลังหักเงินเดือนของข้าราชการอัยการไว้เป็นเงินสะสมก็ ได้ โดยคิดดอกเบี้ยจากเงินสะสมนั้นให้ในอัตราไม่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทประจำของ ธนาคารพาณิชย์ เงินสะสมและดอกเบี้ยนี้ให้จ่ายคืนหรือให้กู้ยืมเพื่อดำเนินการตามโครงการ สวัสดิการสำหรับข้าราชการอัยการตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๘ ข้าราชการอัยการอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะ เศรษฐกิจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๙ ในกรณีที่มีเหตุที่จะต้องจัดให้มีหรือปรับปรุงเงินเพิ่มค่าครองชีพตาม มาตรา ๘ หรือปรับขั้นเงินเดือนตามมาตรา ๖ วรรคสอง ให้รัฐมนตรีรายงานไปยังคณะรัฐมนตรี ดำเนินการต่อไป มาตรา ๑๐ ข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญ หรือ ข้าราชการซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือพนักงานเทศบาลที่ไม่ใช่พนักงาน เทศบาลวิสามัญ ซึ่งสอบคัดเลือกหรือทดสอบความรู้เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการอัยการใน ตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ตามพระราชบัญญัตินี้ หากประสงค์จะโอนมาบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ ในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเพื่อนับเวลาราชการหรือเวลาทำงานของตนในขณะที่เป็นข้าราชการหรือ พนักงานเทศบาลเป็นเวลาราชการของข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย ก็ให้กระทำได้ โดยกรมอัยการทำความตกลงกับเจ้าสังกัด มาตรา ๑๑ บำเหน็จบำนาญของข้าราชการอัยการ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ว่าด้วยการนั้น ข้าราชการอัยการผู้ใดถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์ในการคำนวณ บำเหน็จบำนาญก็ได้ มาตรา ๑๒ เครื่องแบบของข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่งให้เป็นไป ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๑๓ วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการอัยการ ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๑๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราช บัญญัตินี้ และให้มีอำนาจกำหนดค่าธรรมเนียมการสอบเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และออก กฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ ลักษณะ ๒ คณะกรรมการอัยการ ------- มาตรา ๑๕ ให้มีคณะกรรมการอัยการคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า ก.อ. ประกอบด้วย (๑) รัฐมนตรีเป็นประธาน (๒) อธิบดีเป็นรองประธาน (๓) รองอธิบดี อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดีและอัยการพิเศษ ฝ่ายวิชาการ เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่ง และ (๔) กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิหกคน ซึ่งข้าราชการอัยการที่ได้รับเงินเดือน ตั้งแต่ ชั้น ๒ ขึ้นไป เป็นผู้เลือกจาก (ก) ข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนตั้งแต่ชั้น ๔ ขึ้นไปและมิได้เป็น กรรมการอัยการโดยตำแหน่งอยู่แล้ว สามคน (ข) ผู้รับบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งเคยรับ ราชการเป็นข้าราชการอัยการมาแล้ว และต้องไม่เป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภาซึ่งมาจาก การเลือกตั้ง กรรมการพรรคการเมือง เจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง หรือทนายความสามคน ให้ ก.อ. แต่งตั้งข้าราชการฝ่ายอัยการคนหนึ่งเป็นเลขานุการ ก.อ. มาตรา ๑๖ เมื่อจะมีการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้รัฐมนตรีเป็นผู้ สั่ง วิธีการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้รัฐมนตรี ประกาศชื่อผู้ได้รับเลือกในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๗ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งได้คราวละสองปี และ อาจได้รับเลือกใหม่ ถ้าตำแหน่งว่างลงก่อนถึงกำหนดวาระ ให้รัฐมนตรีสั่งให้ดำเนินการเลือกซ่อม เว้นแต่วาระการอยู่ในตำแหน่งของกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิจะเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน รัฐมนตรี จะไม่สั่งให้ดำเนินการเลือกซ่อมก็ได้ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกซ่อมอยู่ในตำแหน่งได้เพียงวาระของ ผู้ที่ตนแทน มาตรา ๑๘ ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการอัยการว่างลง นอกจากการพ้นจาก ตำแหน่งของกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามวาระ และมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการโดย รีบด่วน ก็ให้กรรมการอัยการที่เหลือดำเนินการไปได้ แต่ต้องมีกรรมการอัยการพอที่จะเป็น องค์ประชุม มาตรา ๑๙ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ครบกำหนดวาระ (๒) ตาย (๓) ลาออก (๔) เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่ง หรือพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการ ในกรณีที่เป็นกรรมการอัยการตามมาตรา ๑๕ (๔) (ก) (๕) กลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการอัยการ ในกรณีที่เป็นกรรมการอัยการ ตามมาตรา ๑๕ (๔) (ข) (๖) ไปเป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภา ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง กรรมการ พรรคการเมือง เจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง หรือทนายความ ในกรณีเป็นที่สงสัยว่า กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิผู้ใดพ้นจากตำแหน่ง กรรมการอัยการหรือไม่ ให้อธิบดีเสนอ ก.อ. เพื่อวินิจฉัยชี้ขาด มาตรา ๒๐ การประชุมของ ก.อ. ต้องมีกรรมการอัยการมาประชุมไม่น้อยกว่า เจ็ดคนจึงเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานเป็นประธาน ในที่ประชุม ถ้าประธานและรองประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการ อัยการในที่ประชุมเลือกกรรมการอัยการคนหนึ่งเป็นประธาน หากกรรมการอัยการโดยตำแหน่งว่างลง หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้รักษา ราชการแทน หรือผู้รักษาการในตำแหน่งตามกฎหมาย ทำหน้าที่กรรมการอัยการแทนในระหว่างนั้น ในการประชุมของ ก.อ. ถ้ามีการพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับกรรมการอัยการผู้ใด โดยเฉพาะ ผู้นั้นไม่มีสิทธิเข้าประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือเสียงข้างมาก ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ก.อ. มีอำนาจออกข้อบังคับว่าด้วยระเบียบการประชุมและการลงมติ มาตรา ๒๑ ในกรณีที่ ก.อ. มีหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้อธิบดีเป็นผู้เสนอเรื่องต่อ ก.อ. แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิกรรมการอัยการคนหนึ่งคนใดที่จะเสนอ มาตรา ๒๒ ก.อ. มีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการให้ทำการใด ๆ แทนได้ ลักษณะ ๓ ข้าราชการอัยการ ---------- หมวด ๑ การบรรจุ การแต่งตั้ง และการเลื่อนขั้นเงินเดือน --------- มาตรา ๒๓ ตำแหน่งข้าราชการอัยการมีดังนี้ อธิบดี รองอธิบดี อัยการพิเศษ ฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ อัยการพิเศษประจำเขต อัยการประจำ กรม อัยการจังหวัด อัยการประจำกอง อัยการจังหวัดผู้ช่วย และอัยการผู้ช่วย นอกจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง อาจให้มีตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่อ อย่างอื่น ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงได้ ตำแหน่งดังกล่าวจะเทียบกับตำแหน่งใดตามวรรคหนึ่งให้ กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนั้นด้วย กฎกระทรวงเช่นว่านี้ให้ได้รับความเห็นชอบของ ก.อ. ก่อน มาตรา ๒๔ ข้าราชการอัยการจะได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง ดังต่อไปนี้ (๑) อธิบดี ให้ได้รับเงินเดือนชั้น ๖ (๒) รองอธิบดี ให้ได้รับเงินเดือนชั้น ๕ (๓) อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ และอัยการพิเศษประจำเขต ให้ได้รับเงินเดือนชั้น ๔ (๔) อัยการประจำกรม และอัยการจังหวัด ให้ได้รับเงินเดือนชั้น ๓ (๕) อัยการประจำกอง และอัยการจังหวัดผู้ช่วย ให้ได้รับเงินเดือนชั้น ๒ (๖) อัยการผู้ช่วย ให้ได้รับเงินเดือนชั้น ๑ สำหรับข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เมื่อเทียบกับ ตำแหน่งใดก็ให้ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งนั้น ในกรณีที่ข้าราชการอัยการได้เลื่อนขึ้นรับเงินเดือนในชั้นถัดไป ให้ได้รับเงินเดือน ในอัตราขั้นต่ำของชั้นนั้น แต่ถ้าผู้นั้นได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของชั้นที่เลื่อนขึ้นก็ให้ได้รับเงินเดือน ในขั้นของชั้นนั้น ซึ่งมีจำนวนเท่ากับเงินเดือนที่ได้รับอยู่ มาตรา ๒๕ การบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง อัยการผู้ช่วย ให้รัฐมนตรีเป็นผู้สั่ง โดยวิธีการสอบคัดเลือกตามความในหมวด ๒ แห่งลักษณะนี้ แต่ถ้าผู้ใด (๑) สอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ โดย มีหลักสูตรการศึกษาเดียวไม่น้อยกว่าสามปี ซึ่ง ก.อ. เทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และสอบไล่ได้ ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (๒) สอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ โดยมีหลักสูตรการศึกษาหลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่าสองปี หรือหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่า สองปี ซึ่ง ก.อ. เทียบว่า ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และสอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษา กฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) เป็นเวลา ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (๓) สอบไล่ได้เป็นธรรมศาสตร์บัณฑิต หรือนิติศาสตร์บัณฑิตและสอบไล่ได้ ชั้นเกียรตินิยมตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และได้ประกอบ วิชาชีพ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือ (๔) สอบไล่ได้ปริญญาโทหรือปริญญาเอกทางกฎหมายในประเทศไทย และ สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และได้ประกอบ วิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี เมื่อ ก.อ.พิจารณาเห็นว่า เป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๓๓ (๒) ถึง (๑๒) และได้ทำการทดสอบความรู้ในวิชากฎหมายแล้ว เห็นสมควรที่จะให้เข้ารับราชการ ก็ให้รัฐมนตรีสั่ง บรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ตามที่ ก.อ. กำหนด การบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ให้บรรจุให้ได้รับ เงินเดือนในอัตราขั้นต่ำของชั้น มาตรา ๒๖ อัยการผู้ช่วยที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัด ผู้ช่วยจะต้องได้รับการอบรมจากกรมอัยการมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และผลของการอบรมเป็นที่ พอใจของ ก.อ. ว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และความประพฤติ เหมาะสมที่จะเป็นอัยการ จังหวัดผู้ช่วย อัยการผู้ช่วยซึ่งได้รับการอบรมจากกรมอัยการมาแล้วหนึ่งปี แต่ผลของการ อบรมยังไม่เป็นที่พอใจของ ก.อ. ว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และความประพฤติ เหมาะสมที่ จะเป็นอัยการจังหวัดผู้ช่วย ก็ให้ได้รับการอบรมจากกรมอัยการต่อไปอีกหนึ่งปี เมื่อครบกำหนด ดังกล่าวแล้วหากผลของการอบรมยังไม่เป็นที่พอใจของ ก.อ. ให้รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ออกจาก ราชการ ในระหว่างเวลาปีแรกที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดผู้ช่วย หากปรากฏว่าผู้ได้รับแต่งตั้งไม่เหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งต่อไปให้รัฐมนตรีด้วยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจสั่งให้ออกจากราชการ มาตรา ๒๗ การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งนอกจากตำแหน่ง อัยการผู้ช่วยให้รัฐมนตรีเสนอ ก.อ. โดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถ ความรับผิดชอบ ประวัติการ ปฏิบัติราชการของบุคคลนั้นเทียบกับงานในตำแหน่งข้าราชการอัยการที่จะได้รับแต่งตั้งนั้น ๆ เพื่อ ให้ความเห็นชอบก่อนเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว จึงนำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง มาตรา ๒๘ การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการอัยการในชั้นหนึ่ง ๆ ให้รัฐมนตรี เป็นผู้สั่งเลื่อน ในเมื่อได้รับความเห็นชอบของ ก.อ. แล้ว โดยปกติปีละหนึ่งขั้น โดยคำนึงถึงคุณภาพ และปริมาณงานของตำแหน่งและผลของงานที่ได้ปฏิบัติมา การรักษาวินัย ตลอดจนความสามารถ และความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด ให้ออกเป็นกฎกระทรวง มาตรา ๒๙ การโอนข้าราชการอัยการไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการ ธุรการ โดยให้ได้รับเงินเดือนไม่สูงกว่าในขณะที่โอน ให้รัฐมนตรีสั่งได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้นั้น ยินยอม และ ก.อ. เห็นชอบ การโอนข้าราชการอัยการไปเป็นข้าราชการพลเรือน หรือข้าราชการฝ่ายอื่นให้ รัฐมนตรีสั่งได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้นั้นยินยอม และ ก.อ.เห็นชอบ การให้ข้าราชการอัยการไปทำงานในตำแหน่งข้าราชการธุรการหรือตำแหน่ง การเมืองในกระทรวงมหาดไทย ให้รัฐมนตรีสั่งได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ ในระหว่างที่ปฏิบัติงานเช่นว่านี้ ข้าราชการอัยการผู้นั้นจะทำการเกี่ยวกับการดำเนินคดีในหน้าที่ของพนักงานอัยการไม่ได้ มาตรา ๓๐ การโอนข้าราชการธุรการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการ อัยการโดยให้ได้รับเงินเดือนไม่สูงกว่าในขณะที่โอนมา อาจทำได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ แต่ข้าราชการ ธุรการผู้นั้นอย่างน้อยต้องเคยเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการประจำกอง หรืออัยการจังหวัด ผู้ช่วยมาแล้ว มาตรา ๓๑ ข้าราชการอัยการผู้ใดพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการไปโดยมิได้ มีความผิด หรือมีมลทินหรือมัวหมองในราชการ หรือไปรับราชการ ในกระทรวงทบวงกรมอื่นเมื่อจะ กลับเข้ารับตำแหน่งข้าราชการอัยการโดยรับเงินเดือนไม่สูงกว่าขณะพ้นจากตำแหน่งข้าราชการ อัยการ ถ้าไม่เป็นผู้ขาดคุณสมบัติ ตามมาตรา ๓๓ (๒) ถึง (๑๒) ก็ให้รัฐมนตรีสั่งบรรจุได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ มาตรา ๓๒ ข้าราชการอัยการผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการ รับราชการทหาร เมื่อผู้นั้นพ้นจากราชการทหาร โดยไม่มีความเสียหาย และประสงค์จะกลับเข้ารับ ราชการในตำแหน่งข้าราชการอัยการ โดยรับเงินเดือนเท่าที่ได้รับอยู่ในขณะที่ไปรับราชการทหาร ให้ ยื่นคำขอภายในกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันพ้นจากราชการทหารในกรณีเช่นว่านี้ ให้ รัฐมนตรีสั่งบรรจุได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ แต่ถ้าจะบรรจุให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าขณะที่ไปรับราชการ ทหารให้บรรจุได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ซึ่ง ก.อ. จะได้กำหนด หมวด ๒ การสอบคัดเลือก -------- มาตรา ๓๓ ผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (๑) (ก) สอบไล่ได้เป็นธรรมศาสตร์บัณฑิต หรือนิติศาสตร์บัณฑิต หรือสอบไล่ได้ ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ ซึ่ง ก.อ. เทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี (ข) สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่ง เนติบัณฑิตยสภาและ (ค) ได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นข้าราชการตุลาการจ่าศาล รองจ่าศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดี พนักงานคุมประพฤติ นายทหารเหล่า พระธรรมนูญ หรือทนายความ หรือได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นตามที่ ก.อ. กำหนด ทั้งนี้ เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี และให้ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการ ประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ด้วย (๒) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด (๓) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปี (๔) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ (๕) เป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา (๖) ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี (๗) ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว (๘) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งให้พักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ ก่อนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ หรือตามกฎหมายอื่น (๙) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ (๑๐) ไม่เป็นผู้เคยรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษ สำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๑๑) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือจิต ฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือมีกายหรือจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการอัยการ หรือเป็นโรค ที่ระบุไว้ในกฎกระทรวง และ (๑๒) เป็นผู้ที่คณะกรรมการแพทย์มีจำนวนไม่น้อยกว่าสามคน ซึ่ง ก.อ. จะได้ กำหนดได้ตรวจร่างกายและจิตใจแล้ว และ ก.อ. ได้พิจารณารายงานของแพทย์ เห็นว่าสมควรรับ สมัครได้ ให้ ก.อ. มีอำนาจวางระเบียบเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบ คัดเลือกก่อนที่จะรับสมัครได้ มาตรา ๓๔ ให้ ก.อ. มีอำนาจกำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกตาม มาตรา ๓๓ ตลอดจนวางเงื่อนไขในการรับสมัคร เมื่อสมควรจะมีการสอบคัดเลือกเมื่อใด ให้กรมอัยการเสนอต่อ ก.อ. ให้ ก.อ. จัด ให้มีการสอบคัดเลือก เมื่อได้มีการสอบใหม่ และได้ประกาศผลของการสอบแล้ว บัญชีสอบคัดเลือก คราวก่อนเป็นอันยกเลิก มาตรา ๓๕ ผู้สอบคัดเลือกที่ได้คะแนนสูงให้ได้รับบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยก่อนผู้ที่ได้รับคะแนนต่ำลงมาตามลำดับแห่งบัญชีสอบ คัดเลือก หากได้คะแนนเท่ากันให้ใช้วิธีจับสลากเพื่อจัดลำดับที่ระหว่างผู้ที่ได้คะแนนเท่ากันนั้น ผู้สอบคัดเลือกได้ผู้ใด หากขาดคุณสมบัติหรือลักษณะข้อใดข้อหนึ่งตาม มาตรา ๓๓ หรือเป็นบุคคลที่ ก.อ. เห็นว่ามีชื่อเสียงหรือความประพฤติหรือเหตุอื่น ๆ ที่ไม่เหมาะสม จะเป็นข้าราชการอัยการผู้นั้นเป็นอันหมดสิทธิเข้ารับราชการตามผลของการสอบคัดเลือกนั้น หมวด ๓ การพ้นจากตำแหน่ง ---------- มาตรา ๓๖ ข้าราชการอัยการพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๓) ได้รับอนุญาตให้ลาออก (๔) โอนไปรับราชการทางอื่น (๕) ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการ ทหาร (๖) ถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๒๖ หรือมาตรา ๓๗ หรือมาตรา ๓๙ (๗) ถูกสั่งลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก การพ้นจากตำแหน่งของข้าราชการอัยการ เว้นแต่ตำแหน่งอัยการผู้ช่วย หาก เป็นกรณีตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ แต่ถ้าเป็นการพ้นจาก ตำแหน่งตาม (๔) (๕) (๖) หรือ (๗) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้น จากตำแหน่ง พระบรมราชโองการดังกล่าวให้มีผลตั้งแต่วันโอนหรือวันออกจากราชการแล้วแต่กรณี มาตรา ๓๗ ผู้ได้รับบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด หากภายหลังปรากฏต่อ ก.อ. ว่าขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๕ หรือมาตรา ๓๓ ตั้งแต่ก่อนได้รับ การบรรจุ ให้รัฐมนตรีด้วยความเห็นชอบของ ก.อ.สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ แต่ทั้งนี้ไม่กระทบ กระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใด ที่รับจากทางราชการก่อนมีคำสั่งให้ออกนั้น และถ้าการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้วให้ถือว่า เป็นการสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ มาตรา ๓๘ ข้าราชการอัยการผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการให้ยื่นหนังสือ ขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งเพื่อให้รัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณา เมื่อรัฐมนตรีสั่ง อนุญาตแล้วให้ถือว่าพ้นจากตำแหน่ง ในกรณีที่ข้าราชการอัยการขอลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเพื่อ สมัครรับเลือกตั้ง ให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก นอกจากกรณีตามวรรคสอง ถ้ารัฐมนตรีเห็นว่า จำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการ จะยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกินสามเดือนนับแต่วันขอลาออกก็ได้ มาตรา ๓๙ เมื่อรัฐมนตรีเห็นสมควรให้ข้าราชการอัยการผู้ใดออกจากราชการ เพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน เหตุทุพพลภาพ หรือเหตุรับราชการนาน ตามกฎหมายว่าด้วย บำเหน็จบำนาญข้าราชการ ให้ทำได้ด้วยความเห็นชอบของ ก.อ. แต่การให้ออกจากราชการเพื่อรับ บำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน ให้ทำได้เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และได้ ดำเนินการสอบสวนตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในลักษณะ ๔ หมวด ๒ แล้ว ไม่ได้ความเป็นสัตย์ว่า กระทำผิดที่จะต้องถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก แต่ผู้นั้นมีมลทินหรือมัวหมอง จะให้รับ ราชการต่อไป จะเป็นการเสียหายแก่ราชการ (๒) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดบกพร่องต่อหน้าที่ หรือหย่อนความสามารถ ในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่สมควรที่จะให้คงเป็นข้าราชการอัยการต่อไป (๓) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการได้โดย สม่ำเสมอ แต่ไม่ถึงเหตุทุพพลภาพ หรือ (๔) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๓๓ (๒) หรือ (๑๑) หรือเป็นสมาชิกรัฐสภาซึ่งมาจากการเลือกตั้ง หรือเป็นข้าราชการการเมือง เว้นแต่กรณีตาม มาตรา ๒๙ วรรคสาม ลักษณะ ๔ วินัย การรักษาวินัย และการลงโทษ --------- หมวด ๑ วินัย --------- มาตรา ๔๐ ข้าราชการอัยการต้องรักษาวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้โดย เคร่งครัด ผู้ใดฝ่าฝืนจักต้องได้รับโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๓ แห่งลักษณะนี้ มาตรา ๔๑ ข้าราชการอัยการต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย ตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ มาตรา ๔๒ ข้าราชการอัยการจะเป็นกรรมการพรรคการเมือง สมาชิกพรรค การเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมืองไม่ได้ ในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา หรือผู้แทนทางการเมืองอื่นใดข้าราชการอัยการ จะเข้าเป็นตัวกระทำการ ร่วมกระทำการ หรือสนับสนุนในการโฆษณาหรือชักชวนใด ๆ ไม่ได้ มาตรา ๔๓ ข้าราชการอัยการต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งใน หน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย ห้ามมิให้ขัดขืนหลีกเลี่ยง ถ้าไม่เห็นพ้องด้วยคำสั่งนั้นจะเสนอ ความเห็นทัดทานเป็นหนังสือก็ได้ แต่ต้องเสนอโดยด่วน และเมื่อได้ทัดทานดังกล่าวแล้วผู้บังคับ บัญชามิได้สั่งถอนหรือแก้คำสั่งที่สั่งไป ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม แต่ให้ผู้บังคับบัญชารีบ รายงานขึ้นไปยังอธิบดีตามลำดับ ในการปฏิบัติราชการ ห้ามมิให้กระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ จะได้รับอนุญาต มาตรา ๔๔ ข้าราชการอัยการต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความระมัดระวัง มิให้เสียหายแก่ราชการ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม มาตรา ๔๕ ข้าราชการอัยการต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงาน โดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องบอกถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย มาตรา ๔๖ ข้าราชการอัยการต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการจะละทิ้งหรือ ทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้ ข้าราชการอัยการต้องไม่ประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพ หรือกระทำกิจการใดอัน เป็นการกระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ หรือเสื่อมเสียถึงเกียรติศักดิ์แห่งตำแหน่งหน้าที่ ราชการ ข้าราชการอัยการต้องไม่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือที่ปรึกษากฎหมาย หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนบริษัท ข้าราชการอัยการต้องไม่เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐใน ทำนองเดียวกัน เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจาก ก.อ. มาตรา ๔๗ ข้าราชการอัยการต้องไม่กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว เช่น ประพฤติตนเป็นคนเสเพล มีหนี้สินรุงรัง เสพของมึนเมาจนไม่สามารถครองสติได้ เล่นการพนัน เป็นอาจิณ กระทำความผิดอาญา หรือกระทำการอื่นใด ซึ่งความประพฤติหรือการกระทำดังกล่าว แล้วอาจทำให้เสียเกียรติศักดิ์แห่งตำแหน่งหน้าที่ราชการ มาตรา ๔๘ ข้าราชการอัยการต้องต้อนรับ ให้ความสะดวก และให้ความ สงเคราะห์ต่อประชาชนผู้มาติดต่อในกิจการอันเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตนโดยไม่ชักช้า ห้ามมิให้ดูหมิ่นเหยียดหยามบุคคลใด ๆ และต้องสุภาพเรียบร้อยต่อประชาชน มาตรา ๔๙ ข้าราชการอัยการต้องถือและปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทาง ราชการ มาตรา ๕๐ ข้าราชการอัยการต้องสุภาพเรียบร้อยและรักษาความสามัคคี ระหว่างข้าราชการและต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหน้าที่ราชการ มาตรา ๕๑ ข้าราชการอัยการต้องรักษาความลับของทางราชการ มาตรา ๕๒ ผู้บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดรู้ว่าผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา กระทำผิดวินัยแล้วไม่จัดการสอบสวนพิจารณาและดำเนินการตามความในหมวด ๒ และหมวด ๓ แห่งลักษณะนี้ หรือตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน แล้วแต่กรณี หรือไม่จัดการ ลงโทษตามอำนาจและหน้าที่หรือจัดการลงโทษโดยไม่สุจริต ให้ถือว่าผู้บังคับบัญชาผู้นั้นกระทำ ผิดวินัย หมวด ๒ การรักษาวินัย -------- มาตรา ๕๓ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่า กระทำผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการสอบสวนชั้นต้นโดยมิชักช้า วิธีการสอบสวนชั้นต้นจะทำโดยให้ผู้มีกรณีเกี่ยวข้องชี้แจ้งเรื่องราวเป็นหนังสือ หรือโดยบันทึกเรื่องราวและความเห็นก็ได้ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สอบสวนชั้นต้นแล้ว เห็นว่า ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำ ผิดวินัยไม่ร้ายแรง ให้ดำเนินการตามมาตรา ๖๓ แต่ถ้าเห็นว่าเป็นกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ดำเนินการตามมาตรา ๕๔ หรือมาตรา ๕๖ แล้วแต่กรณี แต่ถ้าเกินอำนาจของตนให้รายงานไป ยังผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปตามลำดับเพื่อดำเนินการตามควรแก่กรณี มาตรา ๕๔ ข้าราชการอัยการผู้ใดซึ่งผู้บังคับบัญชาเห็นว่ากระทำผิดวินัย อย่างร้ายแรงที่มีโทษถึงไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก ให้ผู้บังคับบัญชาต่อไปนี้แต่งตั้งคณะ กรรมการขึ้นอย่างน้อยสามคน เพื่อทำการสอบสวน คือ (๑) รัฐมนตรี สำหรับข้าราชการอัยการทุกชั้น (๒) อธิบดี สำหรับข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๑ และชั้น ๒ กรรมการตามวรรคหนึ่งต้องเป็นข้าราชการอัยการ ในการสอบสวนนั้น คณะกรรมการสอบสวนต้องแจ้งข้อกล่าวหา และ รายละเอียดเท่าที่มีอยู่ให้ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยทราบ และต้องให้โอกาสแก่ผู้ถูกกล่าวหาว่า กระทำผิดวินัยชี้แจงและนำพยานหลักฐานเข้าสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ด้วย ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวนให้เสร็จโดยเร็วกำหนดอย่างช้า ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันได้รับแต่งตั้ง ถ้ามีความจำเป็น ซึ่งจะสอบสวนไม่ทันภายในกำหนดนั้นก็ ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง แต่ละครั้งเป็นเวลาไม่เกินสิบห้าวัน และต้องแสดงเหตุที่ ต้องขยายเวลาไว้ด้วยทุกครั้ง แต่ถ้าขยายเวลาแล้วยังสอบสวนไม่เสร็จ จะขยายเวลาต่อไปอีกได้ต่อ เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้แต่งตั้ง หลักเกณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวกับการสอบสวนให้เป็นไปตามที่ ก.อ. กำหนด เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้ทำการสอบสวนเสร็จแล้ว ให้รายงานเสนอ ความเห็นต่ออธิบดี โดยให้ผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกกล่าวหาตามลำดับได้แสดงความเห็นเสียก่อน ด้วย ถ้าคณะกรรมการหรือผู้บังคับบัญชาดังกล่าว หรืออธิบดี เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัย ก็ ให้อธิบดีทำความเห็นรายงานไปยัง ก.อ. เมื่อ ก.อ. ได้พิจารณาเห็นสมควรลงโทษ ไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ จึงให้รัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีสั่งไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการต่อไป ในกรณีข้าราชการอัยการถูกฟ้องคดีอาญา จะใช้คำพิพากษาถึงที่สุดของศาล ประกอบการพิจารณาของ ก.อ. โดยไม่ต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนก็ได้ มาตรา ๕๕ ให้กรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพียง เท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของกรรมการสอบสวน และโดยเฉพาะให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วยคือ (๑) เรียกให้กระทรวงทบวงกรม หน่วยราชการ หรือรัฐวิสาหกิจชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐาน ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน (๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำ หรือ ให้ส่งเอกสารและ หลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน มาตรา ๕๖ ข้าราชการอัยการผู้ใด กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และเป็นกรณี ความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่ ก.อ. กำหนด หรือได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับ บัญชาหรือต่อคณะกรรมการสอบสวน รัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรี จะพิจารณาสั่งลงโทษโดยไม่ต้องสอบสวนก็ได้ ทั้งนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบของ ก.อ. ก่อน มาตรา ๕๗ ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือถูกฟ้องคดีอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือ ความผิดลหุโทษ ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่าจะให้อยู่ในหน้าที่ราชการระหว่างสอบสวนหรือพิจารณา จะเป็นการเสียหายแก่ราชการ จะสั่งให้พักราชการก็ได้ ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจสั่งให้พักราชการ คือ (๑) รัฐมนตรี สำหรับข้าราชการอัยการทุกชั้น (๒) อธิบดี สำหรับข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๑ และชั้น ๒ การให้พักราชการนั้น ให้พักตลอดเวลาที่สอบสวนพิจารณา หรือตลอดเวลาที่ คดียังไม่ถึงที่สุดเมื่อสอบสวนพิจารณาเสร็จแล้ว หรือคดีถึงที่สุดแล้ว ถ้าปรากฏว่าผู้ถูกสั่งให้พัก ราชการมิได้กระทำความผิดและไม่มีมลทิน หรือมัวหมอง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจสั่งให้พัก ราชการสั่งให้รับราชการตามเดิม เงินเดือนของผู้ถูกสั่งให้พักราชการดังกล่าว ให้เป็นไปตาม กฎหมายว่าด้วยการนั้น มาตรา ๕๘ ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา หรือถูกฟ้องคดีอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดย ประมาทหรือความผิดลหุโทษ แม้ภายหลังผู้นั้นจะพันจากตำแหน่งข้าราชการอัยการไปแล้ว ก็อาจมี การสอบสวนหรือพิจารณาเพื่อลงโทษ หรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้เป็นไปตามลักษณะนี้ได้ เว้นแต่ ข้าราชการอัยการผู้นั้นจะพ้นจากตำแหน่งเพราะตาย หมวด ๓ การลงโทษ ---------- มาตรา ๕๙ โทษผิดวินัยมี ๕ สถาน คือ (๑) ไล่ออก (๒) ปลดออก (๓) ให้ออก (๔) งดบำเหน็จความชอบ (๕) ภาคทัณฑ์ การสั่งลงโทษข้าราชการอัยการในสถานไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกนั้น จะกระทำได้เมื่อได้ดำเนินการสอบสวนพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๒ แห่งลักษณะนี้แล้ว มาตรา ๖๐ การไล่ออกนั้นรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมาย จากรัฐมนตรีจะสั่งลงโทษได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงดังต่อไปนี้ (๑) ทุจริตต่อหน้าที่ราชการ (๒) ทำความผิดอาญาและต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก เว้นแต่ เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๓) ต้องคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายทุจริตตามกฎหมายว่าด้วย ล้มละลาย (๔) เปิดเผยความลับของทางราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการ อย่างร้ายแรง (๕) ละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นเหตุให้เสียหายแก่ ราชการอย่างร้ายแรง หรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดย ไม่มีเหตุผลอันสมควร (๖) ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย และการขัดคำสั่งนั้น อาจเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๗) ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการหรือปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือระเบียบของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๘) ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง มาตรา ๖๑ การปลดออกนั้น รัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมาย จากรัฐมนตรีจะสั่งลงโทษได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่ยังไม่ถึง ขนาดที่จะต้องถูกไล่ออกจากราชการ หรือถึงขนาดที่จะต้องไล่ออก แต่มีเหตุอันควรลดหย่อน มาตรา ๖๒ การให้ออกนั้น รัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมาย จากรัฐมนตรีจะสั่งลงโทษได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่ยังไม่ถึง ขนาดที่จะต้องถูกปลดออก หรือถึงขนาดที่จะต้องถูกปลดออก แต่มีเหตุอันควรลดหย่อน ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรานี้ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ เสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ มาตรา ๖๓ ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง และผู้บังคับบัญชา สอบสวนพิจารณาแล้วเห็นว่าสมควรลงโทษเพียงสถานงดบำเหน็จความชอบเป็นเวลาไม่เกินสามปี หรือถ้ามีเหตุสมควรปรานี จะลงโทษเพียงภาคทัณฑ์โดยจะให้ทำทัณฑ์บนไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้ ก็ให้ผู้ บังคับบัญชารายงานตามลำดับถึงอธิบดีเพื่อเสนอ ก.อ. เมื่อ ก.อ. พิจารณาเห็นสมควรลงโทษสถาน ใด ก็ให้รายงานไปยังรัฐมนตรีเพื่อสั่ง มาตรา ๖๔ ในคำสั่งลงโทษ ให้แสดงว่าผู้รับโทษนั้นกระทำผิดวินัยในกรณีใด ตามมาตราใด มาตรา ๖๕ ถ้าปรากฏว่าคำสั่งลงโทษทางวินัยได้สั่งไปโดยผิดหลงให้รัฐมนตรีมี อำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นคุณแก่ผู้ถูกลงโทษได้ แต่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช่นว่านี้ จะต้องได้ รับอนุมัติจาก ก.อ. ก่อน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ให้กระทำได้ภายในกำหนด สองปีนับแต่วันสั่งลงโทษ ลักษณะ ๕ ข้าราชการธุรการ -------- มาตรา ๖๖ ในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการธุรการ ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนสามัญ มาใช้บังคับ ตำแหน่งข้าราชการอัยการใดเป็นตำแหน่งผู้บังคับบัญชาข้าราชการธุรการ โดยเทียบกับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งใด ให้กำหนดโดยกฎ ก.พ. บทเฉพาะกาล --------- มาตรา ๖๗ ให้กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งอยู่ในตำแหน่งในวันที่พระราช บัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาคงอยู่ในตำแหน่งต่อไป จนกว่าจะได้มีการเลือกกรรมการ อัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัตินี้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ ใช้บังคับ มาตรา ๖๘ ผู้ใดเป็นข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้นั้นเป็น ข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไป โดยให้ได้รับเงินเดือนในอัตราเท่ากับเงินเดือนที่ได้รับ อยู่ เว้นแต่ผู้ที่ได้รับเงินเดือนไม่ถึงขั้นต่ำของชั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้ ผู้นั้นได้รับเงินเดือนขั้นต่ำของชั้นนั้น มาตรา ๖๙ ผู้ใดเป็นข้าราชการธุรการสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้ นั้นเป็นข้าราชการธุรการตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไป มาตรา ๗๐ ผู้ใดเป็นข้าราชการธุรการวิสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้ นั้นเป็นข้าราชการธุรการวิสามัญต่อไป และให้นำมาตรา ๑๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๗๑ ข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยในขณะที่พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ใช้บังคับ และผู้บังคับบัญชาได้สั่งให้ดำเนินการสอบ สวนแล้ว ถ้าการสั่งและการสอบสวนพิจารณาที่ได้กระทำไปแล้วถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ใน ขณะนั้น ให้ถือว่าเป็นอันสมบูรณ์ ถ้ากรณียังค้างระหว่างการสอบสวน ก็ให้ดำเนินการสอบสวนตาม กฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะเสร็จ แต่การพิจารณาและการสั่งลงโทษให้ดำเนินการตามพระราช บัญญัตินี้ มาตรา ๗๒ ผู้ที่ได้ยื่นใบสมัครเข้าเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการ ผู้ช่วยไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงถือคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ผู้ที่ ก.อ. ได้ลงมติให้รับเข้าเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ตาม มาตรา ๑๔ และผู้สอบคัดเลือกได้ตามมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่าย อัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงมีสิทธิได้รับบรรจุเป็นข้าราชการ อัยการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยต่อไป มาตรา ๗๓ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ ที่จะได้ประกาศใช้ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๒๐ มิให้นำความใน มาตรา ๓๙ (๔) ในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการการเมืองมาใช้บังคับแก่ข้าราชการอัยการ มาตรา ๗๔ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาบรรจุบุคคลซึ่งเคยรับราชการ และออกจากราชการไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เข้ารับราชการ ให้ปรับเงินเดือนที่ผู้นั้น ได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้เข้าชั้น และขั้นตามบัญชีที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่กลับเข้ารับราชการ ในกรณีที่ผู้เข้ารับราชการเป็นผู้ซึ่งออกจากราชการก่อนมีการปรับอัตราเงินเดือน ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๗ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๐ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๖๐ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ หรือพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๑๗ ให้ปรับเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการ ตามพระราชบัญญัติและ ประกาศนั้น ๆ เสียก่อน แล้วจึงปรับเงินเดือนตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่มีการปรับเงินเดือนของผู้ที่กลับเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งและ วรรคสองแล้วยังปรากฏว่าผู้เข้ารับราชการได้รับเงินเดือนไม่ถึงขั้นต่ำของชั้นตามบัญชีอัตรา เงินเดือนข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้ ก.อ. เป็นผู้พิจารณาว่าผู้นั้นสมควรได้รับการ บรรจุในชั้นหรือขั้นใด ทั้งนี้ ก.อ. จะกำหนดให้ได้รับเงินเดือนในชั้นที่ต่ำกว่าขั้นต่ำของชั้นเป็นกรณี เฉพาะรายก็ได้ มาตรา ๗๕ ข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญ หรือ ข้าราชการซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือพนักงานเทศบาลที่ไม่ใช่พนักงาน เทศบาลวิสามัญซึ่งสอบคัดเลือก หรือทดสอบความรู้เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการอัยการใน ตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ และ เจ้าสังกัดได้ทำความตกลงกับกรมอัยการให้โอนมาบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการ ผู้ช่วยก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้นับเวลาราชการหรือเวลาทำงานของตนในขณะที่เป็น ข้าราชการ หรือพนักงานเทศบาลเป็นเวลาราชการของข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย มาตรา ๗๖ ในระหว่างที่ยังมิได้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ กฎหมายว่าด้วยเงินเดือนของข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการ และกฎหมายว่าด้วยบัตร ประจำตัวข้าราชการ พนักงานเทศบาล พนักงานสุขาภิบาล และพนักงานองค์การของรัฐเพื่อให้มีผล บังคับรวมถึงข้าราชการฝ่ายอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าข้าราชการฝ่ายอัยการเป็น ข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กฎหมายว่าด้วยเงินเดือนของ ข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการและกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวข้าราชการ พนักงานเทศบาล พนักงานสุขาภิบาล และพนักงานองค์การของรัฐอยู่ต่อไป มาตรา ๗๗ ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกา ออกกฎกระทรวง กฎ ก.พ. ข้อกำหนด ข้อบังคับ ระเบียบ หรือประกาศ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง กฎ ก.พ. ข้อกำหนด ข้อบังคับ ระเบียบหรือประกาศที่ใช้อยู่ในวันที่ พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษามาใช้บังคับโดยอนุโลมเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับ บทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรี บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] ---------------------------------------------------------------------------------------------------- หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ได้ใช้บังคับมานานแล้ว แม้จะได้ปรับปรุงแก้ไขมาหลายครั้ง ก็ ยังมีบทบัญญัติหลายมาตราไม่เหมาะสมกับกาลสมัย และเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการบริหารงาน บุคคลในปัจจุบัน สมควรจะได้ปรับปรุงแก้ไขเสียใหม่ อันจะทำให้ราชการของกรมอัยการดำเนินไป ได้ผลดียิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น ภคินี/แก้ไข ๑/๒/๒๕๔๕ A+B(C)
647153
พระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการ พ.ศ. 2554
พระราชกฤษฎีกา การปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๔ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นปีที่ ๖๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๔” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการตามบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ บัญญัติให้ในกรณีที่สมควรปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ถ้าการปรับอัตราเงินเดือนดังกล่าวเป็นการปรับเพิ่มเป็นร้อยละเท่ากันทุกอัตราและไม่เกินร้อยละสิบของอัตราที่ใช้บังคับอยู่ การปรับให้กระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ประกอบกับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการในปัจจุบันไม่เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น สมควรปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยปรับเพิ่มในอัตราร้อยละห้าเท่ากันทุกอัตรา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๔ เมษายน ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๔ เมษายน ๒๕๕๔ ศรินรัตน์/ปรับปรุง ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๓ อรญา/ตรวจ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๒๒ ก/หน้า ๑๘/๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔
304137
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2519
พระบรมราชโองการ พระบรมราชโองการ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2519 ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2519 เป็นปีที่ 31 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาที่ ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ดังต่อไปนี้ มาตรา1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า ` พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2519' มาตรา2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา3 ให้ยกเลิกความใน (จ) ของ (1) ในมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ.2503 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2507 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน `(จ) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใด ก.อ. ได้สอบสวนพิจารณาเห็นว่าขาดคุณสมบัติตามมาตรา 23 (1) หรือ (11) หรือขาดจากสมาชิกภาพแห่งเนติบัณฑิตยสภา หรือไปดำรงตำแหน่งการเมืองเว้นแต่กรณีดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน' ผู้รับสนองพระบรมราชการโองการ ธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ:-เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้กำหนดให้สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินมีหน้าที่แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เพื่อวางรากฐานการปกครองที่เหมาะสมแก่ภาวะทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ และสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินจะปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญได้ สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินจะต้องประกอบด้วยสมาชิกซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาการ หรือเป็นผู้มีประสบการณ์ในการประกอบการต่าง ๆ จึงสมควรให้ข้าราชการอัยการซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาหนึ่ง มีสิทธิได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินได้เช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนซึ่งมีสิทธิอยู่
875864
กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 (ฉบับ Update ล่าสุด)
กฎกระทรวง ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้ “ปี” หมายความว่า ปีงบประมาณ “รอบปีที่แล้วมา” หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ของปีหนึ่ง ถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ของปีถัดไป ข้อ ๒ การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการอัยการประจำปี โดยปกติให้เลื่อนตั้งแต่วันที่ ๑ ของปีที่ได้เลื่อนนั้น ข้อ ๓ การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการอัยการในชั้นหนึ่ง ๆ โดยปกติให้สั่งเลื่อนได้ปีละหนึ่งขั้น และผู้ซึ่งจะได้เลื่อนขั้นเงินเดือนต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นผู้ซึ่งมีวัฒนธรรม (๒) เป็นผู้ซึ่งปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนตามที่ทางราชการได้กำหนดไว้และรักษาวินัยโดยเคร่งครัด (๓) เป็นผู้ซึ่งมีความรู้ความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่และมีความอุตสาหะบากบั่นในการปฏิบัติหน้าที่ของตน ทั้งงานที่ได้กระทำไปนั้นเรียบร้อยเป็นผลดีแก่ทางราชการ (๔) เป็นผู้ซึ่งได้ปฏิบัติงานที่มีคุณภาพและปริมาณงานของตำแหน่งสมควรที่จะเลื่อนขั้นเงินเดือน (๕) เป็นผู้ซึ่งได้รับบรรจุเข้ารับราชการมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าแปดเดือนในปีที่แล้วมา การบรรจุเข้ารับราชการไม่ว่าในวันใดของเดือน ให้ถือว่าเป็นการบรรจุเข้ารับราชการในเดือนนั้นเต็มเดือน (๖) ในรอบปีที่แล้วมา ต้องไม่เป็นผู้ซึ่งมีวันลารวมทั้งลากิจและลาป่วยเกินสี่สิบห้าวัน เว้นแต่ (ก) ลาอุปสมบทหรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย โดยได้รับเงินเดือนระหว่างลา (ข)[๒] ลาคลอดบุตรไม่เกินเก้าสิบวัน (ค) ลาป่วยซึ่งจำเป็นต้องรักษาตัวเป็นเวลานานคราวเดียวหรือหลายคราวรวมกันไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน หรือ (ง) ลาป่วยเพราะประสบอันตรายในขณะปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือในขณะเดินทางไปหรือกลับจากปฏิบัติราชการตามหน้าที่ (๗) ในรอบปีที่แล้วมาต้องไม่เป็นผู้ซึ่งลาบ่อยครั้ง หรือมารับราชการสายกว่าเวลาที่ทางราชการกำหนดเนือง ๆ (๘) ในรอบปีที่แล้วมาต้องไม่เป็นผู้ซึ่งขาดราชการ เว้นแต่เพราะเหตุสุดวิสัย (๙) ในรอบปีที่แล้วมาจนถึงวันออกคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน ต้องไม่เป็นผู้ถูกลงโทษทางวินัย เว้นแต่ถูกลงโทษภาคทัณฑ์ (๑๐) ในรอบปีที่แล้วมาต้องไม่เป็นผู้ซึ่งถูกสั่งพักราชการเกินสี่เดือน ข้อ ๔ การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการอัยการเป็นกรณีพิเศษเกินหนึ่งขั้นให้พิจารณาคัดเลือกจากผู้ซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์ตามข้อ ๓ และต้องเป็นผู้ซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์ประการหนึ่งประการใด ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติงานในหน้าที่ราชการได้ผลดีเด่นจนถือเป็นตัวอย่างที่ดีได้ (๒) ปฏิบัติงานในหน้าที่ราชการที่ต้องเสี่ยงอันตรายเป็นกรณีพิเศษ (๓) ปฏิบัติงานเกินตำแหน่งหน้าที่ จนเกิดประโยชน์ต่อราชการเป็นพิเศษ และปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ของตนเป็นผลดีด้วย (๔) ปฏิบัติงานโดยมีความคิดริเริ่มในเรื่องหนึ่งเรื่องใด หรือได้ค้นคว้าสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการเป็นพิเศษ และทางราชการได้ดำเนินการตามความคิดริเริ่ม หรือได้รับรองให้ใช้การค้นคว้านั้น (๕) ปฏิบัติงานในหน้าที่ราชการด้วยความตรากตรำเหน็ดเหนื่อยเป็นพิเศษและงานนั้นได้ผลดียิ่ง (๖) ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้กระทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดจนสำเร็จเป็นผลดียิ่งแก่ประเทศชาติ (๗) ปฏิบัติงานที่มีคุณภาพและปริมาณงานของตำแหน่งสูงกว่าอัตราเงินเดือนที่ได้รับอยู่ และได้ผลดีสมความมุ่งหมาย ทั้งนี้ ให้พิจารณาหลักฐานโดยละเอียดรอบคอบว่า ข้าราชการอัยการผู้นั้นได้ปฏิบัติงานถึงขนาดที่สมควรจะเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษเกินหนึ่งขั้นหรือไม่ ถ้าเห็นว่าเป็นการสมควร ก็ให้สั่งเลื่อนได้ไม่เกินสองขั้น แต่ถ้าเห็นว่าสมควรเลื่อนขั้นเงินเดือนให้เกินสองขั้น จะสั่งเลื่อนเป็นพิเศษเฉพาะรายก็ได้ คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษนั้น ให้ระบุด้วยว่าผู้นั้นได้ปฏิบัติงานเป็นกรณีพิเศษเข้าในหลักเกณฑ์ประการใดในกฎกระทรวงข้อนี้ด้วย ข้อ ๕[๓] ผู้ซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์สมควรได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ถ้าผู้นั้นอยู่ในระหว่างถูกสอบสวนว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงก่อนมีคำสั่งให้เลื่อนขั้นเงินเดือนให้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ก่อนและให้กันเงินสำหรับเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ด้วย เมื่อสอบสวนพิจารณาเสร็จแล้วในปีใดผู้นั้นไม่ถูกลงโทษทางวินัย เว้นแต่ถูกลงโทษภาคทัณฑ์หรือไม่มีมลทินหรือมัวหมอง ก็ให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนในปีนั้นได้และให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนย้อนหลังไปในแต่ละปีที่ต้องรอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ให้ตามสิทธิด้วย ผู้ซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์สมควรได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ถ้าผู้นั้นถูกฟ้องคดีอาญาในความผิดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือความผิดที่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนซึ่งมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่พนักงานอัยการรับเป็นทนายแก้ต่างให้และศาลได้ประทับฟ้องคดีนั้นแล้ว ก่อนมีคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน ให้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ก่อนและให้กันเงินสำหรับเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ด้วย เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาแล้วให้พิจารณาดำเนินการดังนี้ (๑) ถ้าศาลพิพากษาว่าผู้นั้นไม่มีความผิด ให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้ได้ ถ้าได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้เกินหนึ่งปี ให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนย้อนหลังไปในแต่ละปีที่ได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้แม้ว่าผู้นั้นจะได้ออกจากราชการไปแล้วก็ตาม (๒) ถ้าศาลพิพากษาให้ลงโทษเบากว่าโทษจำคุก ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้ ถ้าได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้เกินหนึ่งปี ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้ในปีที่ศาลพิพากษาให้ลงโทษ ถ้าผู้นั้นออกจากราชการไปแล้วด้วยเหตุอื่นที่มิใช่เพราะเหตุเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนในปีที่จะได้เลื่อนขั้นเงินเดือนปีสุดท้าย แต่ถ้าเป็นผู้พ้นจากราชการไปเพราะเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่ได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ในวันที่ ๓๐ กันยายน ของปีสุดท้ายก่อนที่ผู้นั้นจะพ้นจากราชการ ส่วนในปีอื่นให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนย้อนหลังไปในแต่ละปีที่ได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ (๓) ถ้าศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าจำคุก ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนทุกปีที่ได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนตาม (๑) (๒) และ (๓) สำหรับผู้ที่ถูกฟ้องคดีอาญาหลายคดีให้แยกพิจารณาเป็นคดี ๆ ไป ข้อ ๖ ผู้ซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์สมควรได้เลื่อนขั้นเงินเดือน แต่ได้ถึงแก่กรรมอันมิใช่เกิดขึ้นเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของตนหรือต้องไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือต้องออกจากราชการไปเพราะเจ็บป่วย ซึ่งแพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจแล้วเห็นว่าไม่สามารถรับราชการต่อไปได้ ก่อนที่จะมีคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีตามปกติ จะสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ผู้นั้นย้อนหลังไปถึงวันที่ ๑ ของปีที่มีสิทธิจะได้เลื่อนนั้นก็ได้ ข้อ ๗ ผู้ซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์สมควรได้เลื่อนขั้นเงินเดือน แต่จะต้องพ้นจากราชการไปเพราะเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ รัฐมนตรีจะสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญให้ผู้นั้นในวันสิ้นปีก่อนที่จะพ้นจากราชการก็ได้ ข้อ ๘ การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการอัยการ นอกจากตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้ หรือที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้ แต่รัฐมนตรีพิจารณาเห็นว่าสมควรเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้นั้นโดยมีเหตุผลเป็นกรณีพิเศษ ก็ให้รัฐมนตรีเสนอ ก.อ. เพื่อพิจารณาอนุมัติเลื่อนขั้นเงินเดือนให้เป็นพิเศษเฉพาะราย ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๒ พลเอก เล็ก แนวมาลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ บัญญัติว่า การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการอัยการในชั้นหนึ่ง ๆ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้สั่งเลื่อนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด และบัญญัติด้วยว่า หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนดนั้น ให้ออกเป็นกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑[๔] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการอัยการในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิลาคลอดบุตร ยังไม่สอดคล้องกับระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๙ ที่กำหนดให้ข้าราชการมีสิทธิลาคลอดบุตรโดยได้รับเงินเดือนครั้งหนึ่งได้ไม่เกินเก้าสิบวัน นอกจากนี้หลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการอัยการในกรณีที่ถูกฟ้องคดีอาญายังไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกับข้าราชการประเภทอื่น สมควรกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ถูกฟ้องคดีอาญาในความผิดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือความผิดที่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนซึ่งมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่พนักงานอัยการรับเป็นทนายแก้ต่างให้ เพื่อให้อยู่ในบรรทัดฐานเดียวกับข้าราชการประเภทอื่น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ศรินรัตน์/จัดทำ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๓ อรญา/ตรวจ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๖/ตอนที่ ๑๗๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑ ตุลาคม ๒๕๒๒ [๒] ข้อ ๓ (๖) (ข) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ [๓] ข้อ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๑๐ ก/หน้า ๕/๔ มีนาคม ๒๕๔๑
304149
พระราชกฤษฎีกาให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ก. ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 พ.ศ. 2531
พระราชกฤษฎีกา ให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ก. ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ พ.ศ. ๒๕๓๑ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็นปีที่ ๔๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ก. ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ก. ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ พ.ศ. ๒๕๓๑” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ก. ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑ แทนบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๓ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีการกำหนดจำนวนขั้นเงินเดือนข้าราชการอัยการใหม่ พร้อมทั้งได้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และเนื่องจากมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑ บัญญัติว่า การให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการแต่ละบัญชีให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ดลธี/ผู้จัดทำ ๗ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ศรินรัตน์/ปรับปรุง ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๓ อรญา/ตรวจ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๒๐๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓/๗ ธันวาคม ๒๕๓๑
304136
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2503
ตราพระบรมราชโองการ ตราพระบรมราชโองการ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2503 ในพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สังวาลย์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ให้ไว้ ณ วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2503 เป็นปีที่ 15 ในรัชกาลปัจจุบัน โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พระมหากษัตริย์โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาร่างรัฐธรรมนูญในฐานะรัฐสภา จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ลักษณะ 1 ข้อความเบื้องต้น ------------ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า `พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2503' มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้ `ข้าราชการฝ่ายอัยการ' หมายความว่า ข้าราชการซึ่งรับราชการในกรมอัยการ โดยได้รับ เงินเดือนจากเงินงบประมาณประเภทเงินเดือนในกระทรวงมหาดไทย `รัฐมนตรี' หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ `อธิบดี' หมายความว่า อธิบดีกรมอัยการ `รองอธิบดี' หมายความว่า รองอธิบดีกรมอัยการ มาตรา 4 ข้าราชการฝ่ายอัยการมี 2 ประเภท (1) ข้าราชการอัยการ คือ ข้าราชการผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการดำเนินคดีตามกฎหมายซึ่ง บัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ (2) ข้าราชการธุรการซึ่งแบ่งออกเป็น (ก) ข้าราชการธุรการสามัญ คือ ข้าราชการผู้มีหน้าที่ในทางธุรการโดยได้รับเงินเดือน ในอัตราสามัญ (ข) ข้าราชการธุรการวิสามัญ คือ ข้าราชการผู้มีหน้าที่ในทางธุรการโดยได้รับเงิน เดือนในอัตราวิสามัญ มาตรา 5 ข้าราชการอัยการจะได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 และตาม อัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ในปีหนึ่ง ให้สำนักงบประมาณกำหนดเงินในงบประมาณไว้สำหรับเลื่อนเงินเดือนข้าราชการอัยการตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ เพื่อประโยชน์ในการออมทรัพย์ของข้าราชการอัยการคณะรัฐมนตรีจะวางระเบียบและวิธีการให้ กระทรวงการคลังหักเงินเดือนของข้าราชการอัยการไว้เป็นเงินสะสมและคิดดอกเบี้ยจากเงินสะสมนั้นให้ด้วยก็ได้ เงินสะสมและดอกเบี้ยนี้ให้จ่ายคืนเมื่อออกจากราชการ มาตรา 6 เครื่องแบบของข้าราชการอัยการ และระเบียบการแต่งให้เป็นไปตามที่กำหนดโดย พระราชกฤษฎีกา มาตรา 7 ข้าราชการอัยการผู้ไปรับราชการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร เมื่อออก จากราชการที่ไปรับนั้นโดยไม่มีความเสียหายแล้ว ประสงค์จะเข้ารับราชการโดยรับเงินเดือนเท่าที่ได้รับอยู่ในขณะที่ไปรับราชการตามกฎหมายนั้นก็ให้ยื่นคำขอภายในกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันพ้นการรับราชการทหาร ให้รัฐมนตรีรับบรรจุทีเดียว แต่ถ้าจะบรรจุให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าขณะที่ไปรับราชการทหาร ให้บรรจุได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการซึ่ง ก.อ. จะได้กำหนด มาตรา 8 การบังคับบัญชาข้าราชการอัยการ ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการ แผ่นดินและกฎหมายว่าด้วยพนักงานอัยการมาใช้บังคับเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทแห่งพระราชบัญญัตินี้เว้นแต่การบังคับบัญชาข้าราชการอัยการในกองอัยการ กองคดีและกองวิชาการ ให้อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดีและอัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ เป็นผู้บังคับบัญชารองจากรองอธิบดีตามลำดับส่วนการบังคับบัญชาข้าราชการอัยการในเขต ให้อัยการพิเศษประจำเขตนั้น ๆ เป็นผู้บังคับบัญชารองจากรองอธิบดี มาตรา 9 ให้ข้าราชการธุรการเป็นข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ พลเรือน และให้ใช้กฎหมายนั้นบังคับแก่ข้าราชการธุรการทุกประการ ตำแหน่งข้าราชการอัยการใดเป็นตำแหน่งผู้บังคับบัญชาข้าราชการธุรการ โดยเทียบกับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งใด ให้กำหนดโดยกฎ ก.พ. มาตรา 10 ให้ถือว่าข้าราชการอัยการเป็นข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จ บำนาญข้าราชการ มาตรา 11 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจกำหนดค่าธรรมเนียมการสอบครั้งหนึ่งไม่เกินหนึ่งร้อยบาท และออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ ลักษณะ 2 ข้าราชการอัยการ ------------- หมวด 1 การบรรจุ การแต่งตั้ง และการเลื่อน --------------------------- มาตรา 12 ตำแหน่งข้าราชการอัยการมีดังนี้ อธิบดี รองอธิบดี อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ อัยการพิเศษประจำเขต อัยการประจำกรม อัยการประจำกอง อัยการจังหวัดและอัยการผู้ช่วย นอกจากตำแหน่งดังกล่าวแล้ว อาจให้มีตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งจะได้มีกฎกระทรวงกำหนดเทียบกับตำแหน่งดังกล่าวแล้ว กฎกระทรวงเช่นว่านี้ให้ได้รับความเห็นชอบของ ก.อ. ก่อน มาตรา 13 ข้าราชการอัยการให้ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งดังต่อไปนี้ (1) อธิบดี ให้ได้รับเงินเดือนชั้น 6 (2) รองอธิบดี ให้ได้รับเงินเดือนชั้น 5 (3) อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดีอัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ อัยการพิเศษ ประจำเขต ให้ได้รับเงินเดือนชั้น 4 (4) อัยการประจำกรม ให้ได้รับเงินเดือนชั้น 3 (5) อัยการประจำกอง อัยการจังหวัด ให้ได้รับเงินเดือนชั้น 2 (6) อัยการผู้ช่วย ให้ได้รับเงินเดือนชั้น 1 ในกรณีที่ข้าราชการอัยการได้เลื่อนตำแหน่งให้ได้รับเงินเดือนในอัตราขั้นต่ำของชั้นที่กำหนดไว้ สำหรับตำแหน่งที่เลื่อนขึ้น แต่ถ้าผู้นั้นได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของชั้นที่กำหนดไว้สำหรับตำแหน่งดังกล่าว ก็ให้รับเงินเดือนในขั้นของชั้นที่กำหนดไว้สำหรับตำแหน่งนั้น ซึ่งมีจำนวนเท่ากับเงินเดือนที่ได้รับอยู่ มาตรา 14 การบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ให้รัฐมนตรีบรรจุ โดยวิธีการสอบคัดเลือกตามความในหมวด 2 แห่งลักษณะนี้ แต่ถ้าผู้ใด (1) สอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ ซึ่ง ก.อ. เทียบว่าไม่ ต่ำกว่าปริญญาตรี และสอบไล่ได้เป็นธรรมศาสตร์บัณฑิตหรือนิติศาสตร์บัณฑิตหรือสอบไล่ได้ทางสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (2) เป็นธรรมศาสตร์บัณฑิตหรือนิติศาสตร์บัณฑิตหรือสอบไล่ได้วิชากฎหมายชั้นเนติบัณฑิตจากโรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม หรือสอบไล่สำเร็จวิชากฎหมายจากคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใน พ.ศ. 2476 และสองไล่ได้ชั้นเกียรตินิยมทางสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา หรือสอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายไทย แล้วได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายตามที่ ก.อ. กำหนด เป็นเวลาไม่ต่ำกว่าสองปี หรือ (3) สอบไล่ได้ปริญญาเอกทางกฎหมายไทย เมื่อ ก.อ. ได้พิจารณาและสอบสวนเห็นว่า เป็นผู้มีคุณสมบัติและพื้นความรู้ตามมาตรา 23 และสมควรที่จะรับก็ให้รัฐมนตรีบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ ซึ่ง ก.อ. จะได้กำหนด มาตรา 15 การบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ให้บรรจุให้ได้รับเงิน เดือนในอัตราขั้นต่ำของชั้น เว้นแต่ผู้ได้รับการคัดเลือกหรือสอบคัดเลือกผู้ใดเป็นผู้ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศด้วย และปริญญาหรือประกาศนียบัตรนั้น ก.อ. เทียบว่าสูงกว่าปริญญาตรี ก็ให้บรรจุให้ได้รับเงินเดือนในอัตราสูงกว่าขั้นต่ำได้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการซึ่งก.อ. จะได้กำหนด มาตรา 16 การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย อัยการจังหวัด อัยการ ประจำกองและตำแหน่งที่เทียบกับตำแหน่งดังกล่าว ให้รัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งโดยความเห็นชอบของ ก.อ. อัยการผู้ช่วยผู้ได้รับแต่งตั้งโดยการคัดเลือกหรือสอบคัดเลือก จะคงดำรงตำแหน่งอยู่ได้ต่อเมื่อได้รับการอบรมจากรมอัยการมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และผลของการอบรมเป็นที่พอใจของ ก.อ.ว่าอัยการผู้ช่วยดังกล่าวมีความรู้ความสามารถและความประพฤติเหมาะสมที่จะเป็นอัยการผู้ช่วย อัยการผู้ช่วยผู้ใดเป็นอัยการผู้ช่วยมาแล้วเป็นเวลาสองปีและผลของการอบรมยังไม่เป็นที่พอใจของก.อ. ดังกล่าวในวรรคก่อน หรือปรากฏว่าผู้ได้รับแต่งตั้งไม่เหมาะสมที่จะเป็นอัยการผู้ช่วย ให้ รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ออกจากราชการได้ มาตรา 17 การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งอัยการประจำกรม อัยการพิเศษ ประจำเขต อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา รองอธิบดี อธิบดีและตำแหน่งที่เทียบกับตำแหน่งดังกล่าว ให้รัฐมนตรีเสนอ ก.อ. เพื่อให้ความเห็นชอบก่อน เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว จึงนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้ง มาตรา 18 การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการอัยการในชั้นหนึ่ง ๆ ให้รัฐมนตรีเป็นผู้สั่งเลื่อน ในเมื่อได้รับความเห็นชอบของ ก.อ. แล้ว โดยปกติปีละหนึ่งขั้น โดยคำนึงถึงความอุตสาหะ ความสามารถ และการปฏิบัติตามวินัย ตลอดจนคุณภาพและปริมาณแห่งราชการตำแหน่งนั้น ๆ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง กฎกระทรวงเช่นว่านี้ให้ได้รับความเห็นชอบของก.อ. ก่อน มาตรา 19 ข้าราชการอัยการผู้ใดถึงแก่ความตายเนื่องจากปฏิบัติหน้าที่ราชการ คณะรัฐมนตรี จะพิจารณาเลื่อนขั้นหรือชั้นเงินเดือนเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญก็ได้ มาตรา 20 การโอนข้าราชการอัยการเป็นข้าราชการธุรการหรือการโอนข้าราชการอัยการไป เป็นข้าราชการในกระทรวงทบวงกรมอื่น ให้รัฐมนตรีสั่งได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้นั้นยินยอมและ ก.อ. เห็นชอบด้วยแล้ว มาตรา 21 การแต่งตั้งข้าราชการธุรการไปเป็นข้าราชการอัยการ โดยได้รับเงินเดือนซึ่งไม่ สูงกว่าเดิมอาจทำได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบด้วย แต่ข้าราชการธุรการผู้นั้นต้องเคยดำรงตำแหน่งข้าราช การอัยการมาแล้ว มาตรา 22 ข้าราชการอัยการผู้ใดพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการไปโดยมิได้มีความผิดหรือ มลทินในราชการ หรือไปรับราชการในกระทรวงทบวงกรมอื่น เมื่อจะกลับเข้ารับตำแหน่งข้าราชการอัยการโดยได้รับเงินเดือนซึ่งไม่สูงกว่าขณะพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการ ถ้ามีคุณสมบัติและพื้นความรู้ตามมาตรา 23 รัฐมนตรีจะสั่งรับเพื่อบรรจุเมื่อได้รับความเห็นชอบของ ก.อ. แล้วก็ได้ หมวด 2 การสอบคัดเลือก ------------ มาตรา 23 ผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ต้อง (1) มีสัญชาติไทย (2) อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบสามปี (3) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ (4) (ก) เป็นธรรมศาสตร์บัณฑิตหรือนิติศาสตร์บัณฑิต หรือสอบไล่ได้วิชากฎหมายชั้นเนติบัณฑิตจากโรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม หรือสอบไล่สำเร็จวิชากฎหมายจากคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใน พ.ศ. 2476 หรือสอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ ซึ่ง ก.อ. เทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และ (ข) สอบไล่ได้วิชากฎหมายจากสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (5) เป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา (6) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกพักราชการ (7) ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี (8) ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว (9) ไม่เป็นผู้เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ เพราะกระทำผิดวินัย (10) ไม่เป็นผู้เคยรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก (11) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบหรือมีกายทุพพลภาพ หรือเป็นโรคที่ระบุไว้ในกฎกระทรวง (12) เป็นผู้ที่คณะกรรมการแพทย์มีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน ซึ่ง ก.อ. จะได้กำหนดตัว ได้ ตรวจร่างการและจิตใจแล้ว และ ก.อ. ได้พิจารณารายงานของแพทย์เห็นว่าสมควรรับสมัครได้ ให้ ก.อ. มีอำนาจวางระเบียบเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกก่อนที่จะรับสมัครได้ มาตรา 24 ให้ ก.อ. มีอำนาจกำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกตลอดจนวางเงื่อนไขใน การรับสมัคร เมื่อสมควรจะมีการสอบคัดเลือกเมื่อใด ให้อธิบดีเสนอต่อ ก.อ. และให้ ก.อ. จัดให้มีการ สอบคัดเลือก เมื่อได้มีการสอบใหม่และได้ประกาศผลของการสอบแล้ว บัญชีสอบคัดเลือกคราวก่อนเป็นอันล้มเลิก มาตรา 25 ตำแหน่งข้าราชการอัยการใดที่โดยลักษณะปริมาณ หรือคุณภาพของงานไม่เหมาะสมแก่การแต่งตั้งสตรีเข้ารับราชการ ให้กำหนดโดยกฎกระทรวง ซึ่งออกโดยความเห็นชอบของ ก.อมิให้สตรีเข้ารับราชการในตำแหน่งนั้น มาตรา 26 ผู้ที่สอบได้คะแนนสูงให้ได้รับบรรจุก่อนผู้ที่ได้คะแนนต่ำลงมาตามลำดับแห่งบัญชีสอบคัดเลือก ผู้สอบคัดเลือกได้คนใด หากขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งตามมาตรา 23 หรือเป็นบุคคลซึ่ง ก.อ.เห็นว่ามีชื่อเสียงหรือความประพฤติหรือเหตุอื่น ๆ ที่ไม่เหมาะสมจะเป็นข้าราชการอัยการ เป็นอันหมดสิทธิเข้ารับราชการตามการสอบคัดเลือกนั้น ผู้สอบคัดเลือกได้คนใดได้รับบรรจุเข้ารับราชการแล้วหากภายหลังปรากฏต่อ ก.อ. ว่าผู้นั้นขาด คุณสมบัติหรือพื้นความรู้ตามมาตรา 23 ตั้งแต่ก่อนได้รับการบรรจุก็ดี หรือมีกรณีต้องหาอยู่ก่อนและภายหลังเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเนื่องจากกรณีต้องหานั้นก็ดี ถ้าเป็นข้าราชการอัยการนอกจากตำแหน่งอัยการผู้ช่วยอัยการจังหวัด และอัยการประจำกอง ก็ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงถอดถอน สำหรับตำแหน่งอัยการผู้ช่วย อัยการจังหวัด และอัยการประจำกอง ให้รัฐมนตรีสั่งถอดถอน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เป็นการกระทบกระทั่งถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ และการได้รับเงินเดือนก่อนถอดถอน หมวด 3 การพ้นจากตำแหน่ง -------------- มาตรา 27 ข้าราชการอัยการพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (1) โอนไปรับราชการทางอื่น (2) ตาย (3) ลาออก (4) ให้ออก (5) ปลดออก (6) ไล่ออก การพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการตาม (1) (2) หรือ (3) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อ ทรงทราบ แต่ถ้าเป็นการพ้นจากตำแหน่งตาม (4) (5) หรือ (6) ต้องนำความกราบบังคมทูลเพื่อ ทรงถอดถอน ทั้งนี้ เว้นแต่ตำแหน่งอัยการผู้ช่วยอัยการจังหวัดและอัยการประจำกอง มาตรา 28 ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ข้าราชการอัยการผู้ใด ประสงค์จะลาออกจากราชการก็ย่อมทำได้ เมื่อรัฐมนตรีได้สอบสวนพิจารณาและอนุญาตแล้ว ให้ถือว่าพ้นจากตำแหน่ง ถ้ารัฐมนตรีเห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการ จะยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกไว้เป็นเวลา ไม่เกินหนึ่งปี นับแต่วันยื่นหนังสือขอลาออกก็ได้ ในกรณีผู้ขอลาออกมีเรื่องถูกกล่าวหาว่าทำผิดวินัย และอยู่ในระหว่างการสอบสวนหรือการพิจารณาทางวินัย รัฐมนตรีจะยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกไว้เพื่อรอฟังผลของเรื่องที่ถูกกล่าวหาว่าทำผิดวินัยก็ได้แต่ในกรณีที่ผู้ขอลาออกมีกรณีถูกกล่าวหาว่าทำผิดคดีอาญาซึ่งมิใช่ความผิดลหุโทษ หรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือมีกรณีต้องหาว่าทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ห้ามมิให้รัฐมนตรีอนุญาตการลาออก แต่เมื่อเรื่องถึงที่สุดแล้ว ผู้ขอลาออกไม่ถูกลงโทษไล่ออก ปลดออกหรือถูกสั่งให้ออก จะยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกเพราะเหตุนั้นอีกต่อไปไม่ได้ มาตรา 29 เมื่อรัฐมนตรีเห็นสมควรให้ข้าราชการอัยการผู้ใดพ้นจากตำแหน่งโดยให้ออกจาก ราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญ จะกราบบังคมทูลเพื่อให้ผู้นั้นออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการก็ได้ แต่ (1) การให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเพราะเหตุทดแทน ให้ทำได้เฉพาะเหตุดังนี้ (ก) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงและได้ดำเนินการ สอบสวนพิจารณาตามวิธีการที่ได้บัญญัติไว้ในลักษณะ 4 หมวด 3 แล้ว ไม่ได้ความเป็นสัตย์ว่ากระทำผิดที่จะต้องถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก แต่ ก.อ. เห็นว่าผู้นั้นมีมลทินหรือมัวหมอง จะให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ และเห็นสมควรให้ออกจากราชการ (ข) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดสำหรับความผิด ลหุโทษ หรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท และ ก.อ. ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ออกจากราชการ (ค) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดบกพร่องต่อหน้าที่หรือหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติ หน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่สมควรที่จะให้คงเป็นข้าราชการต่อไป และ ก.อ. ได้พิจารณาเห็น สมควรให้ออกจากราชการ (ง) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการสม่ำเสมอแต่ไม่ถึง ทุพพลภาพ และ ก.อ. ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ออกจากราชการ (จ) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใด ก.อ. ได้สอบสวนพิจารณาเห็นว่าขาดคุณสมบัติตามมาตรา 23 (1) หรือ (11) หรือขาดจากสมาชิกภาพแห่งเนติบัณฑิตยสภา หรือไปดำรงตำแหน่งการเมือง (2) การให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเพราะเหตุทุพพลภาพ หรือเพราะเหตุรับราชการนาน ให้ทำได้เมื่อ ก.อ. ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ออกจากราชการ ทั้งนี้ สำหรับตำแหน่งอัยการผู้ช่วย อัยการจังหวัดและอัยการประจำกองไม่ต้องนำความกราบ บังคมทูลในการให้ออกจากราชการ มาตรา 30 เมื่อเจ้าหน้าที่ควบคุมเกษียณอายุข้าราชการได้ยื่นบัญชีรายชื่อข้าราชการอัยการผู้มี สิทธิจะได้รับบำเหน็จบำนาญ ซึ่งมีอายุจะครบกำหนดพ้นจากราชการ เพราะเหตุสูงอายุในปีถัดไปต่อเจ้ากระทรวงตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้ว ให้เจ้ากระทรวงเสนอเรื่องไปให้ก.อ. พิจารณา ถ้า ก.อ. เห็นว่าข้าราชการผู้ใดสมควรได้รับการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเพื่อต่อเวลาราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ก็ให้เจ้ากระทรวงดำเนินการต่อไป มาตรา 31 การไล่ออก การปลดออก และการให้ออกจากราชการ ให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ ในลักษณะ 5 ลักษณะ 3 คณะกรรมการอัยการ --------------- มาตรา 32 ให้มีคณะกรรมการอัยการคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า ก.อ. ประกอบด้วยรัฐมนตรี เป็นประธาน อธิบดีเป็นรองประธาน รองอธิบดี อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดี และอัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่ง และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิอีกสามคน ซึ่งจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง ให้ ก.อ. แต่งตั้งข้าราชการฝ่ายอัยการคนหนึ่งเป็นเลขานุการ และให้มีเจ้าหน้าที่ตามสมควร มาตรา 33 กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิให้อยู่ในตำแหน่งได้คราวละสองปี และอาจได้รับแต่งตั้งใหม่ หากตำแหน่งกรรมการดังกล่าวว่างลงก่อนถึงกำหนด รัฐมนตรีอาจดำเนินการให้มีการแต่งตั้งเพื่อซ่อม กรรมการซึ่งได้รับเลือกซ่อมอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระของกรรมการที่ตนแทน กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิต้องเป็นผู้มีคุณวุฒิตามมาตรา 23 (4) (ก) เป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภาไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าปี และเป็นข้าราชการบำนาญซึ่งเคยทำงานในหน้าที่พนักงานอัยการ มาแล้ว มาตรา 34 กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (1) ครบกำหนดวาระ (2) ตาย (3) ลาออก (4) กลับเข้ารับราชการ (5) ขาดจากสมาชิกภาพแห่งเนติบัณฑิตยสภา มาตรา 35 การประชุมของ ก.อ. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง จึงเป็นองค์ ประชุม ถ้าประธานไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานทำหน้าที่แทน ถ้า ประธานและรองประธานไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกันเองเป็นประธานสำหรับในการประชุมคราวนั้น การวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือเสียงข้างมาก ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานแห่งที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา 36 ภายใต้บังคับมาตรา 17 ในกรณีที่ ก.อ. มีหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ให้อธิบดีเป็นผู้เสนอเรื่องต่อ ก.อ. มาตรา 37 ก.อ. มีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการให้ทำการใด ๆ ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของ ก.อ. เพื่อเสนอ ก.อ. ได้ ลักษณะ 4 วินัยและการลงโทษข้าราชการอัยการ --------------------------- หมวด 1 วินัย --- มาตรา 38 ข้าราชการอัยการจักต้องรักษาวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัด ผู้ใดฝ่าฝืนจักต้องได้รับโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 2 แห่งลักษณะนี้ มาตรา 39 ข้าราชการอัยการต้องสนับสนุนการปกครองตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ มาตรา 40 ข้าราชการอัยการต้องดำรงตนอยู่ในมารยาทอันดีงาม เหมาะสมแก่ตำแหน่งหน้าที่ ทนายแผ่นดิน และต้องอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนตามอำนาจหน้าที่ ต้องไม่ปฏิบัติการอันใดซึ่งเป็นปฏิปักษ์แก่อำนาจหน้าที่นั้น มาตรา 41 ข้าราชการอัยการจะเป็นสมาชิกในพรรคการเมืองไม่ได้ มาตรา 42 ข้าราชการอัยการต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายห้ามมิให้ขัดขืนหลักเลี่ยง ถ้าไม่เห็นพ้องด้วยคำสั่งนั้น จะเสนอความเห็นทัดทานเป็นหนังสือก็ได้ แต่ต้องเสนอโดยด่วนและเมื่อได้ทัดทานดังกล่าวมานั้นแล้ว ผู้บังคับบัญชามิได้สั่งถอนหรือแก้คำสั่งที่สั่งไป ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตามแต่ให้ผู้บังคับบัญชารีบรายงานตามลำดับจนถึงรัฐมนตรี ในการปฏิบัติราชการ ห้ามมิให้กระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่จะได้รับอนุญาต มาตรา 43 ข้าราชการอัยการต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความระมัดระวังมิให้เสียหายแก่ราช การและด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ห้ามมิให้อาศัยหรือยอมให้คนอื่นอาศัยอำนาจหน้าที่ราชการของตน ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อมหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือแก่ผู้อื่น ห้ามมิให้รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา มาตรา 44 ข้าราชการอัยการต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ ราชการไม่ได้ ห้ามมิให้เป็นตัวกระทำการในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนอกจากทางราชการเป็นผู้สั่ง หรือได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรี มาตรา 45 ข้าราชการอัยการต้องรักษาชื่อเสียงมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามมิให้ประพฤติเป็นคนเสเพล มีหนี้สินรุงรัง เสพสุรายาเมา หรือเล่นการพนันเป็นอาจิณ กระทำความผิดอาญาหรือกระทำการอื่นใดซึ่งความประพฤติหรือการกระทำดังกล่าวแล้วอาจทำให้เสียเกียรติศักดิ์แห่งตำแหน่งหน้าที่ราชการ มาตรา 46 ข้าราชการอัยการต้องต้อนรับ ให้ความสะดวกและให้ความสงเคราะห์ต่อประชาชน ผู้มาติดต่อในกิจการอันเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตนโดยไม่ชักช้า ห้ามมิให้ดูหมิ่นเหยียดหยามบุคคลใด ๆ และต้องสุภาพเรียบร้อยต่อประชาชน มาตรา 47 ข้าราชการอัยการต้องถือและปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ และต้องสุภาพเรียบร้อยต่อผู้บังคับบัญชา มาตรา 48 ข้าราชการอัยการต้องไม่กระทำการอันเป็นเหตุให้แตกความสามัคคีระหว่างข้าราช การ และต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหน้าที่ราชการ มาตรา 49 ข้าราชการอัยการต้องอุตสาหะและอำนวยความสะดวกในหน้าที่ราชการ มาตรา 50 ข้าราชการอัยการต้องรักษาความลับในราชการ มาตรา 51 ผู้บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดรู้ว่าผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัยแล้ว ไม่จัดการสอบสวนพิจารณาและดำเนินการตามความในหมวด 2 และหมวด 3 แห่งลักษณะนี้ หรือตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน แล้วแต่กรณี หรือไม่จัดการลงโทษตามอำนาจและหน้าที่หรือจัดการลงโทษโดยไม่สุจริต ให้ถือว่าผู้บังคับบัญชานั้นกระทำผิดวินัย หมวด 2 การลงโทษ -------- มาตรา 52 โทษผิดวินัย มี 5 สถาน (1) ไล่ออก (2) ปลดออก (3) ให้ออก (4) ตัดเงินเดือน (5) ภาคทัณฑ์ การสั่งลงโทษข้าราชการอัยการในสถานไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกนั้น จะกระทำได้เมื่อได้ ดำเนินการสอบสวนพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 3 แห่งลักษณะนี้แล้ว มาตรา 53 ภายใต้บังคับมาตรา 27 วรรคสอง การไล่ออกนั้น รัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีจะสั่งลงโทษได้เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ดังต่อไปนี้ (ก) ทุจริตต่อหน้าที่ราชการ (ข) ทำความผิดต้องรับโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก หรือให้รับโทษที่หนักกว่าจำคุก เว้นแต่ความผิดลหุโทษ หรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาทที่ไม่เสีย หายแก่ราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตน (ค) ต้องคำพิพากษาให้เป็นคนล้มละลายเพราะทำหนี้สินขึ้นด้วยความทุจริต หรือต้องคำ พิพากษาในคดีแพ่งอันแสดงว่าเป็นการเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งตำแหน่งหน้าที่อย่างร้ายแรง (ง) ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย และการขัดคำสั่งนั้นอาจเป็นเหตุ ให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (จ) เปิดเผยความลับของราชการเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (ฉ) ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (ช) ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง มาตรา 54 ภายใต้บังคับมาตรา 27 วรรคสอง การปลดออกนั้น รัฐมนตรี หรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีจะสั่งลงโทษได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงแต่ยังไม่ถึงกับจะต้องถูกไล่ออกหรือมีเหตุอันควรลดหย่อน มาตรา 55 ภายใต้บังคับมาตรา 27 วรรคสอง การลงโทษให้ออกนั้นจะกระทำได้ เมื่อข้า ราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่ยังไม่ถึงกับจะต้องถูกปลดออกหรือมีเหตุอันควร ลดหย่อน การสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรานี้ ให้ถือว่าเป็นกรณีมีคำสั่งให้ออกโดยไม่มีความผิดตามความหมายแห่งกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา 56 การลงโทษตัดเงินเดือนจะกระทำได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยไม่ ร้ายแรงถึงขนาดที่จะไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หรือถ้าเห็นว่ามีเหตุอันควรลดหย่อนหรือในกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย จะสั่งลงโทษภาคทัณฑ์โดยแสดงความผิดของผู้นั้นให้ปรากฏเป็นหนังสือและจะให้ทำทัณฑ์บนไว้ด้วยก็ได้ โทษตัดเงินเดือนจะลงโทษผู้กระทำผิดวินัยได้ครั้งหนึ่งไม่เกินร้อยละยี่สิบของเงินเดือน และไม่เกินกำหนดเวลาสิบสองเดือน หมวด 3 การรักษาวินัย ---------- มาตรา 57 เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาหรือกรณีเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการสอบสวนชั้นต้นโดยมิชักช้า วิธีสอบสวนชั้นต้นนี้ จะทำโดยให้มีผู้มีกรณีเกี่ยวข้องชี้แจงเรื่องราวเป็นหนังสือ หรือโดยบันทึก เรื่องราวและความเห็นก็ได้ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สอบสวนชั้นต้นแล้ว เห็นว่าข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง ให้ดำเนินการตามมาตรา 61 แต่ถ้าเห็นว่าเป็นกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้ดำเนินการตามมาตรา58 หรือมาตรา 60 แล้วแต่กรณี แต่ถ้าเกินอำนาจของตนให้รายงานไปยังผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปตามลำดับ เพื่อดำเนินการตามควรแก่กรณี มาตรา 58 ข้าราชการอัยการผู้ใดซึ่งผู้บังคับบัญชาเห็นว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาต่อไปนี้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นอย่างน้อยสามคนเพื่อทำการสอบสวน คือ (1) รัฐมนตรี สำหรับข้าราชการอัยการทุกชั้น (2) อธิบดี สำหรับข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น 1 และชั้น 2 (3) อัยการพิเศษประจำเขต สำหรับข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น 1 และชั้น 2 ภายในเขตอำนาจและหน้าที่ ผู้ที่เป็นกรรมการต้องเป็นข้าราชการอัยการ คณะกรรมการสอบสวนต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย ให้คำชี้แจง แล้วรีบดำเนิน การสอบสวนให้เสร็จโดยเร็ว กำหนดอย่างช้าไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันได้รับแต่งตั้ง ถ้ามีความจำเป็นซึ่งจะสอบสวนให้ทันภายในกำหนดนั้นไม่ได้ ก็ให้ขยายเวลาได้อีกไม่เกินสองครั้ง แต่ละครั้งเป็นเวลาไม่เกินสิบห้าวัน และต้องแสดงเหตุที่ต้องขยายเวลาไว้ด้วยทุกครั้ง แต่ถ้าขยายเวลาแล้วยังสอบสวนไม่เสร็จ จะขยายเวลาต่อไปอีกได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากผู้แต่งตั้ง ให้ ก.อ. มีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนการตั้งกรรมการ การกำหนดองค์คณะ กรรมการที่จะทำการสอบสวน การส่งประเด็นไปสอบสวนพยานบุคคลซึ่งอยู่ต่างท้องที่ การรวบรวม พยานหลักฐานและกิจการอื่น ๆ เพื่อให้ได้ความจริงและความยุติธรรม เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้ทำการสอบสวนเสร็จแล้วให้รายงานเสนอความเห็นต่ออธิบดี ทั้งนี้ โดยให้ผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกกล่าวหาตามลำดับได้มีโอกาสแสดงความเห็นด้วยถ้าคณะกรรมการ ผู้บังคับบัญชาหรืออธิบดีเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาทำผิดวินัยก็ให้อธิบดีทำความเห็นรายงานไปยัง ก.อ. เมื่อ ก.อ. ได้พิจารณาเห็นสมควรไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ จึงให้สั่งไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการต่อไป ทั้งนี้ ภายใต้บังคับมาตรา 27 วรรคสอง สำหรับกรณีข้าราชการอัยการต้องหาคดีอาญานั้น จะใช้คำพิพากษาของศาลประกอบการพิจารณา ตามความในวรรคก่อนโดยไม่ต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนก็ได้ มาตรา 59 ให้คณะกรรมการตามมาตรา 58 เป็นเจ้าพนักงานตามความหมายของประมวล กฎหมายอาญา และให้มีอำนาจอย่างพนักงานสอบสวนตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา เพียงเท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ และโดยเฉพาะให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย คือ (1) มีหนังสือสอบถามกระทรวงทบวงกรม เทศบาลหรือสุขาภิบาลที่เกี่ยวข้องให้ชี้แจงข้อเท็จจริง และการปฏิบัติพร้อมทั้งเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน (2) ให้กระทรวงทบวงกรม เทศบาลหรือสุขาภิบาลที่เกี่ยวข้องส่งเอกสารหลักฐานหรือสั่งบุคคล ในสังกัดมาให้ถ้อยคำประกอบการพิจารณา (3) ให้กระทรวงทบวงกรม เทศบาลหรือสุขาภิบาลที่เกี่ยวข้องส่งผู้แทนมาชี้แจง (4) มีหนังสือเรียกผู้ถูกกล่าวหามาทำการสอบสวนหรือให้ส่งเอกสารหลักฐานมาประกอบการ พิจารณา (5) เรียกบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำ หรือส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับกรณีนั้น มาตรา 60 ภายใต้บังคับมาตรา 27 วรรคสอง ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้าย แรงอันเป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งดังระบุไว้ในหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด ให้รัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีพิจารณาสั่งไล่ออกหรือปลดออกจากราชการได้โดยไม่ต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนและพิจารณาตามมาตรา 58 แต่ต้องได้รับความเห็นชอบของ ก.อ. ก่อน มาตรา 61 ข้าราชการอัยการผู้ใด กระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง และผู้บังคับบัญชาสอบสวน พิจารณาแล้ว เห็นว่าสมควรลงโทษเพียงสถานตัดเงินเดือนหรือภาคทัณฑ์ ก็ให้ผู้บังคับบัญชารายงานตามลำดับถึงอธิบดีเพื่อเสนอ ก.อ. เมื่อ ก.อ. พิจารณาเห็นสมควรลงโทษสถานใด ก็ให้รายงานไปยัง รัฐมนตรีเพื่อสั่ง มาตรา 62 ในคำสั่งลงโทษให้แสดงว่าผู้รับโทษนั้นกระทำความผิดเรื่องใด ฐานใด มาตราใด มาตรา 63 เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดถูกสอบสวนในกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง หรือถูก ฟ้องคดีอาญา เว้นแต่ความผิดลหุโทษหรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่าจะให้อยู่ในหน้าที่ราชการระหว่างสอบสวนหรือพิจารณาจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ จะสั่งให้พักราชการก็ได้ ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจสั่งให้พักราชการตามความในวรรคก่อนนั้น คือ (1) รัฐมนตรี สำหรับข้าราชการอัยการทุกชั้น (2) อธิบดี สำหรับข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น 1 และชั้น 2 (3) อัยการพิเศษประจำเขต สำหรับข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น 1 และชั้น 2 ภายในเขตอำนาจและหน้าที่ การให้พักราชการนั้น ให้พักตลอดเวลาที่สอบสวนพิจารณา หรือตลอดเวลาที่คดียังไม่ถึงที่สุด เมื่อสอบสวนพิจารณาเสร็จแล้วหรือคดีถึงที่สุดแล้ว ถ้าปรากฏว่าผู้ถูกสั่งให้พักมิได้กระทำความผิดและไม่มีมลทินหรือมัวหมอง ผู้บังคับบัญชาที่สั่งพักราชการต้องสั่งให้ผู้นั้นเข้ารับราชการตามเดิม เงินเดือนของผู้ที่ถูกสั่งให้พักราชการดังกล่าวมานั้น ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น มาตรา 64 ในกรณีที่อาจสั่งพักราชการได้ตามมาตรา 63 ถ้ารัฐมนตรีพิจารณาเห็นว่า ข้าราช การอัยการผู้ถูกสอบสวนในกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง หรือถูกฟ้องคดีอาญานั้น มีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่พิจารณาสอบสวนหรือในคดีนั้นจะให้คงอยู่ในหน้าที่ราชการระหว่างพิจารณาหรือสอบสวนจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ เมื่อได้รับความเห็นชอบจาก ก.อ. แล้ว จะสั่งให้ออกจากราชการโดยให้รอการพิจารณาจ่ายบำเหน็จบำนาญไว้ก่อนก็ได้ แต่ถ้าภายหลังการสอบสวนพิจารณาได้ความเป็นสัตย์ หรือศาลพิพากษาว่ามีความผิดที่จะต้องลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก ก็ให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ตรงตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ถ้าปรากฏว่าไม่มีมลทินหรือมัวหมอง ให้รัฐมนตรีสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการ และให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่างที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนนั้นเสมือนว่าผู้นั้นถูกสั่งให้พักราชการ มาตรา 65 ถ้าปรากฏว่าคำสั่งลงโทษทางวินัยได้สั่งไปโดยผิดหลง ให้รัฐมนตรีมีอำนาจแก้ไข เปลี่ยนแปลงให้เป็นคุณแก่ผู้ถูกลงโทษได้ แต่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช่นว่านี้ จะต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.อ. เสียก่อน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งดังกล่าวในวรรคก่อน ให้กระทำได้ภายในกำหนดสองปีนับแต่วันสั่ง ลงโทษ ลักษณะ 5 บทเฉพาะกาล ---------- มาตรา 66 ให้ข้าราชการสังกัดกรมอัยการซึ่งเป็นพนักงานอัยการตามกฎหมายว่าด้วยพนักงาน อัยการอยู่แล้วในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นข้าราชการอัยการ และให้ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างเดียวกันกับตำแหน่งตามพระราชบัญญัตินี้ ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างเดียวกันนั้น เว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการประจำกรม ให้ดำรงตำแหน่งอัยการประจำกอง ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดเอกให้ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัด ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการประจำกอง และผู้ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดผู้ช่วย ให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ข้าราชการอัยการตามวรรคก่อนผู้ใดจะได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้ ก.อ. เป็นผู้กำหนดภายใน วงเงินงบประมาณ แล้วเสนอรัฐมนตรีเพื่อสั่งตามมติของ ก.อ.นั้น แต่ทั้งนี้ต้องไม่ต่ำกว่าที่ได้รับอยู่แล้วในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้า ก.อ. ยังมิได้กำหนดก็ให้ได้รับเงินเดือนไปตามเดิมก่อน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2504 ข้าราชการอัยการตนใดยังไม่ได้รับเงินเดือนในอัตราขั้นต่ำของ ตำแหน่ง และไม่มีเหตุอันไม่สมควรให้ได้รับการขึ้นเงินเดือน ให้ปรับให้ได้รับเงินเดือนขั้นต่ำของ ตำแหน่งแทนการขึ้นเงินเดือน แต่ถ้าการปรับให้รับอัตราขั้นต่ำของตำแหน่ง จะเป็นการให้ได้รับการ เลื่อนเงินเดือนสูงกว่าสองขั้น ก็ให้ได้รับเลื่อนเงินเดือนในปีนั้นเพียงสองขั้น และในปีต่อไปถ้าเงินเดือนยังไม่ถึงอัตราขั้นต่ำของตำแหน่ง ให้ได้รับเลื่อนเงินเดือนปีละสองขั้นจนกว่าจะถึงขั้นต่ำของตำแหน่งขั้นเงินเดือนชั้นใดไม่อยู่ในบัญชีอัตราเงินเดือนท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้ขั้นแห่งอัตราเงินเดือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการอัยการผู้ใดได้เลื่อนขึ้นรับตำแหน่งในชั้นสูงขึ้นหากมีผู้ดำรงตำแหน่งและชั้นนั้น ยังได้รับเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำของชั้น ก.อ. อาจกำหนดให้ข้าราชการอัยการผู้ได้เลื่อนตำแหน่งนั้นได้รับเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำของตำแหน่งก็ได้ มาตรา 67 ข้าราชการธุรการและผู้สอบคัดเลือกเป็นผู้ฝึกหัดราชการในกรมอัยการได้ ซึ่งมีสิทธิ ได้รับการคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นอัยการผู้ช่วยตามกฎ ก.พ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 อยู่แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และมีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบสามปี ให้มีสิทธิสอบคัดเลือกเป็นอัยการผู้ช่วยตามพระราชบัญญัตินี้ได้ภายในเวลาสี่ปีนับจากวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา 68 ในการสอบคัดเลือกบุคคลเป็นอัยการผู้ช่วยตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ข้าราชการอัยการซึ่งมาตรา 66 บัญญัติให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย และมีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบสามปี แต่ยังไม่ได้รับเงินเดือนขั้นต่ำของตำแหน่งอัยการผู้ช่วย มีสิทธิเข้าสอบคัดเลือกเพื่อรับการบรรจุให้ได้รับเงินเดือนขั้นต่ำในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยนั้นได้ด้วย ในกรณีเช่นว่านี้มิให้นำมาตรา 16 มาใช้บังคับ มาตรา 69 ข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ พลเรือนก่อนวันใช้พระราชบัญญัตินี้ ให้พิจารณาดำเนินการและสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้ แต่ถ้าผู้บังคับบัญชาได้สั่งให้ดำเนินการสอบสวนไปแล้ว หากการสั่งและสอบสวนพิจารณาที่ได้กระทำไปแล้วถูกต้องตามวิธีการที่ใช้อยู่ขณะนั้น ให้ถือว่าเป็นอันสมบูรณ์ ถ้ากรณียังค้างระหว่างการสอบสวน ก็ให้ดำเนินการสอบสวนตามวิธีการนั้นต่อไปจนกว่าจะเสร็จ แต่การพิจารณาและสั่งลงโทษให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 70 ให้มีการแต่งตั้งกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 32 เป็นครั้งแรกภายใน สามสิบวัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งให้กรรมการอัยการโดยตำแหน่งตามมาตรา 32 ทำหน้าที่คณะกรรมการอัยการไปจนกว่าจะได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มาตรา 71 ในระหว่างที่ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 6 ใช้บังคับ ให้นำกฎหมายว่าด้วย เครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือนมาใช้บังคับแก่ข้าราชการอัยการโดยอนุโลม ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ จอมพล ส.ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พนักงานอัยการมีตำแหน่ง หน้าที่เป็นทนายแผ่นดิน และมีกฎหมายบัญญัติให้มีอำนาจปฏิบัติการเกี่ยวกับการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนไว้มากหมาย ซึ่งจำเป็นต้องใช้บุคคลที่มีคุณสมบัติ ความรู้และความสามารถอย่างเดียวกันกับข้าราชการตุลาการ และโดยที่การปฏิบัติงานของพนักงานอัยการเป็นไปโดยอิสระตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายทำนองเดียวกับงานของตุลาการ จึงสมควรกำหนดระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่เป็นพนักงานอัยการไว้ใช้บังคับแก่พนักงานอัยการ ทำนองเดียวกับข้าราชการตุลาการ เพื่อส่งเสริมระบบการยุติธรรมของประเทศให้ดียิ่งขึ้น
304153
พระราชกฤษฎีกาเครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535
พระราชกฤษฎีกา เครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นปีที่ ๔๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๕” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความใน (๗) ของมาตรา ๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาเครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง พ.ศ. ๒๕๒๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๗) เครื่องหมายแสดงสังกัด ข้าราชการอัยการชาย ให้มีเครื่องหมายแสดงสังกัดทำด้วยโลหะโปร่งสีทองรูปพระมหาพิชัยมงกุฎ ประดิษฐานเหนือพระแว่นสุริยกานต์และตราชูรูปพระขรรค์รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์ไม่มีขอบ สูง ๒.๔ เซนติเมตร ติดที่คอเสื้อตอนหน้าทั้งสองข้าง ข้าราชการอัยการหญิง ให้มีเครื่องหมายแสดงสังกัดเช่นเดียวกับข้าราชการอัยการชาย เสื้อแบบที่ ๑ แบบที่ ๒ และแบบที่ ๓ ติดที่ปกเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง เสื้อแบบที่ ๔ ติดที่ปกคอแบะทั้งสองข้างเหนือแนวเครื่องราชอิสริยาภรณ์” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖ แห่งพระราชกฤษฎีกาเครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง พ.ศ. ๒๕๒๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๖ การแต่งเครื่องแบบตามมาตรา ๔ และมาตรา ๕ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสำนักงานอัยการสูงสุด และหมายกำหนดการ” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๓๔ กำหนดให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง สมควรกำหนดเครื่องหมายแสดงสังกัดของข้าราชการอัยการเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ดลธี/ผู้จัดทำ ๗ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ศรินรัตน์/ปรับปรุง ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๓ อรญา/ตรวจ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๔๐/หน้า ๕๘/๗ เมษายน ๒๕๓๕
612744
กฎกระทรวงกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นกับตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. 2552
กฎกระทรวง กฎกระทรวง กำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นกับตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ และมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๘ ประกอบกับมาตรา ๔๖ และมาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมโดยความเห็นชอบของ ก.อ. ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (๑) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น (๒) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๒๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นกับตำแหน่งข้าราชการอัยการ (๓) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๓๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นกับตำแหน่งข้าราชการอัยการ (๔) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นกับตำแหน่งข้าราชการอัยการ (๕) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นกับตำแหน่งข้าราชการอัยการ (๖) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นกับตำแหน่งข้าราชการอัยการ (๗) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นกับตำแหน่งข้าราชการอัยการ (๘) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นกับตำแหน่งข้าราชการอัยการ (๙) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นกับตำแหน่งข้าราชการอัยการ (๑๐) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๔ (พ.ศ. ๒๕๔๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นกับตำแหน่งข้าราชการอัยการ (๑๑) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๕ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นกับตำแหน่งข้าราชการอัยการ ข้อ ๒ ให้มีตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยเทียบกับตำแหน่งข้าราชการอัยการตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เทียบกับตำแหน่ง (๑) ผู้ตรวจราชการอัยการ รองอัยการสูงสุด (๒) อธิบดีอัยการฝ่ายต่างประเทศ อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา (๓) อธิบดีอัยการฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา (๔) อธิบดีอัยการฝ่ายการยุติการดำเนินคดีแพ่ง อัยการพิเศษฝ่ายคดี และอนุญาโตตุลาการ (๕) อธิบดีอัยการฝ่ายคดีทรัพย์สินทางปัญญา อัยการพิเศษฝ่ายคดี และการค้าระหว่างประเทศ ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เทียบกับตำแหน่ง (๖) อธิบดีอัยการฝ่ายคดีปกครอง อัยการพิเศษฝ่ายคดี (๗) อธิบดีอัยการฝ่ายคดีปกครองขอนแก่น อัยการพิเศษฝ่ายคดี (๘) อธิบดีอัยการฝ่ายคดีปกครองเชียงใหม่ อัยการพิเศษฝ่ายคดี (๙) อธิบดีอัยการฝ่ายคดีปกครองนครราชสีมา อัยการพิเศษฝ่ายคดี (๑๐) อธิบดีอัยการฝ่ายคดีปกครองนครศรีธรรมราช อัยการพิเศษฝ่ายคดี (๑๑) อธิบดีอัยการฝ่ายคดีปกครองพิษณุโลก อัยการพิเศษฝ่ายคดี (๑๒) อธิบดีอัยการฝ่ายคดีปกครองระยอง อัยการพิเศษฝ่ายคดี (๑๓) อธิบดีอัยการฝ่ายคดีปกครองสงขลา อัยการพิเศษฝ่ายคดี (๑๔) อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ อัยการพิเศษฝ่ายคดี (๑๕) อธิบดีอัยการฝ่ายคดีแพ่ง อัยการพิเศษฝ่ายคดี (๑๖) อธิบดีอัยการฝ่ายคดีแพ่งกรุงเทพใต้ อัยการพิเศษฝ่ายคดี (๑๗) อธิบดีอัยการฝ่ายคดีแพ่งธนบุรี อัยการพิเศษฝ่ายคดี (๑๘) อธิบดีอัยการฝ่ายคดีภาษีอากร อัยการพิเศษฝ่ายคดี (๑๙) อธิบดีอัยการฝ่ายคดียาเสพติด อัยการพิเศษฝ่ายคดี (๒๐) อธิบดีอัยการฝ่ายคดีเยาวชนและครอบครัว อัยการพิเศษฝ่ายคดี (๒๑) อธิบดีอัยการฝ่ายคดีแรงงาน อัยการพิเศษฝ่ายคดี (๒๒) อธิบดีอัยการฝ่ายคดีแรงงานเขต อัยการพิเศษฝ่ายคดี (๒๓) อธิบดีอัยการฝ่ายคดีล้มละลาย อัยการพิเศษฝ่ายคดี (๒๔) อธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลแขวง อัยการพิเศษฝ่ายคดี (๒๕) อธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูง อัยการพิเศษฝ่ายคดี (๒๖) อธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขต อัยการพิเศษฝ่ายคดี (๒๗) อธิบดีอัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร อัยการพิเศษฝ่ายคดี (๒๘) อธิบดีอัยการฝ่ายคดีอัยการสูงสุด อัยการพิเศษฝ่ายคดี (๒๙) อธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญา อัยการพิเศษฝ่ายคดี (๓๐) อธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ อัยการพิเศษฝ่ายคดี (๓๑) อธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญาธนบุรี อัยการพิเศษฝ่ายคดี (๓๒) อธิบดีอัยการฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย อัยการพิเศษฝ่ายคดี (๓๓) อธิบดีอัยการฝ่ายคณะกรรมการอัยการ อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ (๓๔) อธิบดีอัยการฝ่ายพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ (๓๕) อธิบดีอัยการฝ่ายวิชาการ อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ (๓๖) อธิบดีอัยการเขต อัยการพิเศษประจำเขต (๓๗) รองอธิบดีอัยการเขต อัยการพิเศษฝ่าย (๓๘) รองอธิบดีอัยการฝ่าย อัยการพิเศษฝ่าย (๓๙) เลขานุการอัยการสูงสุด อัยการพิเศษฝ่าย (๔๐) อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ อัยการพิเศษฝ่าย (๔๑) รองเลขานุการอัยการสูงสุด อัยการพิเศษประจำกรม (๔๒) รองอัยการพิเศษฝ่าย อัยการพิเศษประจำกรม (๔๓) อัยการผู้เชี่ยวชาญ อัยการพิเศษประจำกรม (๔๔) ผู้ช่วยเลขานุการอัยการสูงสุด อัยการจังหวัด ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่ตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นกับตำแหน่งข้าราชการอัยการตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวงหลายฉบับทำให้ไม่สะดวกในการใช้เพื่อตรวจสอบและอ้างอิง ประกอบกับในปัจจุบันตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นบางตำแหน่ง สำนักงานอัยการสูงสุดมิได้ใช้ บางตำแหน่งมีการเปลี่ยนแปลงไปและบางตำแหน่งกำหนดไว้ในมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ แล้ว รวมทั้งมีการเพิ่มตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นบางตำแหน่ง เพื่อให้สอดคล้องกับการแบ่งส่วนราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด สมควรปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นกับตำแหน่งข้าราชการอัยการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ดลธี/ผู้จัดทำ ๙ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๖๗ ก/หน้า ๓๐/๘ กันยายน ๒๕๕๒
319580
พระราชกฤษฎีกาเครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง พ.ศ. 2524
พระราชกฤษฎีกา เครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง พ.ศ. ๒๕๒๔ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๔ เป็นปีที่ ๓๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง พ.ศ. ๒๕๒๔” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ เครื่องแบบข้าราชการอัยการ ให้มี ๒ ชนิด คือ (๑) เครื่องแบบปฏิบัติราชการ มี ๒ ประเภท ก. เครื่องแบบสีกากีคอพับ ข. เครื่องแบบสีกากีคอแบะ (๒) เครื่องแบบพิธีการ มี ๕ ประเภท ก. เครื่องแบบปกติขาว ข. เครื่องแบบปกติกากีคอตั้ง ค. เครื่องแบบครึ่งยศ ง. เครื่องแบบเต็มยศ จ. เครื่องแบบสโมสร มาตรา ๔ เครื่องแบบปฏิบัติราชการ ประกอบด้วย (๑) หมวก ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้หมวกได้ ๒ แบบ แบบที่ ๑ หมวกทรงหม้อตาลสีกากี กะบังหน้าทำด้วยหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำ สายรัดคางหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำ มีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็กติดที่ข้างหมวกข้างละ ๑ ดุม ผ้าพันหมวกสีกากี ที่หน้าหมวกติดตราครุฑพ่าห์ในบัวกระหนกทำด้วยโลหะสีทอง สูง ๖.๕ เซนติเมตร แบบที่ ๒ หมวกแก๊ปทรงอ่อนสีกากี ที่หน้าหมวกติดตราครุฑพ่าห์ปักดิ้นสีทอง สูง ๔.๕ เซนติเมตร ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้หมวกได้ ๓ แบบ แบบที่ ๑ อนุโลมตามแบบหมวกของข้าราชการอัยการชาย แบบที่ ๑ แต่เป็นทรงอ่อน แบบที่ ๒ หมวกแก๊ปทรงอ่อนพับปีกสีกากี สายรัดคางสีทอง กว้าง ๑ เซนติเมตร มีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็กติดที่ข้างหมวกข้างละ ๑ ดุม ผ้าพันหมวกสีกากี ที่หน้าหมวกติดตราครุฑพ่าห์ปักดิ้นสีทองสูง ๔.๕ เซนติเมตร บนหมอนสีกากี แบบที่ ๓ หมวกหนีบสีกากี ด้านหน้ามีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็ก ๒ ดุม ติดซ้อนกัน มีตราครุฑพ่าห์ในบัวกระหนกสูง ๔.๕ เซนติเมตร ติดที่ด้านซ้ายเหนือขอบหมวกห่างจากมุมพับด้านหน้าหมวกประมาณ ๔ เซนติเมตร การสวมหมวก ให้สวมในโอกาสอันควร (๒) เสื้อ ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้เสื้อได้ ๒ แบบ แบบที่ ๑ เสื้อคอพับสีประเภทสีกากีแขนยาวรัดข้อมือ มีดุมที่ข้อมือข้างละ ๑ ดุม หรือแขนสั้น มีกระเป๋าเย็บติดที่หน้าอกเสื้อข้างละ ๑ กระเป๋า เป็นกระเป๋าเสื้อมีแถบอยู่ตรงกลางตามทางดิ่ง กว้าง ๓.๕ เซนติเมตร มีใบปกกระเป๋ารูปมนชายกลางแหลมหรือเป็นกระเป๋าเสื้อชนิดไม่มีแถบกลางกระเป๋า และใบปกกระเป๋าเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มุมกระเป๋าและมุมปกกระเป๋าเป็นรูปตัดพองาม ที่ปากกระเป๋าทั้งสองข้างติดดุมข้างละ ๑ ดุม สำหรับขัดกับใบปกกระเป๋า ตัวเสื้อผ่าอกตลอด มีสาบกว้าง ๓.๕ เซนติเมตร ติดดุมตามแนวอกเสื้อ ๕ ดุม ระยะห่างกันพอสมควรและติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง ที่ไหล่เสื้อประดับอินทรธนูสีเดียวกับเสื้อยาวตามความยาวของบ่า เย็บติดกับเสื้อเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอ ปลายมน ด้านไหล่กว้าง ๔ เซนติเมตร ด้านคอกว้าง ๓ เซนติเมตร ตอนปลายขัดดุมติดกับตัวเสื้อ ในโอกาสไปงานพิธี ให้ใช้เสื้อเชิ้ตแขนยาว ผูกผ้าพันคอสีดำ เงื่อนกลาสี สอดชายผ้าผูกคอไว้ภายในเสื้อใต้ดุมเม็ดที่สอง แบบที่ ๒ เสื้อคอแบะปล่อยเอว แบบคอตื้น สีประเภทสีกากี แขนสั้น ตัวเสื้อผ่าอกตลอด มีดุมที่อกเสื้อ ๔ ดุม มีกระเป๋าเย็บติดภายนอกเป็นกระเป๋าบนและล่าง อย่างละ ๒ กระเป๋า กระเป๋าบนมีใบปกมนชายกลางแหลม มีแถบกว้าง ๓.๕ เซนติเมตร ตรงกึ่งกลาง กระเป๋าทางดิ่ง กระเป๋าล่างเป็นกระเป๋าย่ามมีใบปกรูปตัด ที่ฝากระเป๋าทั้งสองกระเป๋าติดดุมข้างละ ๑ ดุม สำหรับขัดกับใบปกกระเป๋า ที่เอวด้านหลังคาดด้วยผ้าสีเดียวกับเสื้อขนาดกว้าง ๕ เซนติเมตร ชายเสื้อที่ตะเข็บกลางหลังเปิดไว้ถึงผ้าคาดเอว ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง ให้ใช้เสื้อแบบที่ ๒ แทนแบบที่ ๑ ในโอกาสอันควร ดุมที่ใช้กับเสื้อทั้งสองแบบมีลักษณะเป็นรูปกลมแบนทำด้วยวัตถุสีเดียวกับสีเสื้อ ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้ประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าบนซ้าย ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้เสื้อได้ ๔ แบบ แบบที่ ๑ อนุโลมตามแบบเสื้อของข้าราชการอัยการชาย แบบที่ ๑ แบบที่ ๒ เสื้อคอพับสีประเภทสีกากี สีอ่อนกว่ากระโปรงหรือสีเดียวกับกระโปรง ผ่าอกตลอดตัวเสื้อ มีสาบกว้างประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร แขนยาวรัดข้อมือ ขอบปลายแขนกว้างประมาณ ๕ เซนติเมตร หรือแขนสั้นเหนือข้อศอกเล็กน้อย ตลบชายกว้างประมาณ ๕ เซนติเมตร เดินคิ้วด้านหน้าเสื้อต่อจากเส้นบ่า มีตะเข็บผ่านกลางอกยาวตลอดตัวทั้งสองด้าน มีดุม ๕ ดุม ด้านหลังจากเส้นต่อบ่าหลังมีตะเข็บผ่านตามตัวเสื้อทั้งสองด้านเช่นเดียวกับด้านหน้า ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง ที่ไหล่เสื้อประดับอินทรธนูสีเดียวกับเสื้อยาวตามความยาวของบ่าเย็บติดกับเสื้อเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอ ปลายมน ด้านไหล่กว้าง ๔ เซนติเมตร ด้านคอกว้าง ๓ เซนติเมตร ตอนปลายขัดดุมติดกับตัวเสื้อ การสวมสอดชายเสื้อไว้ในขอบกระโปรง แบบที่ ๓ เสื้อคอพับปล่อยเอว สีประเภทสีกากี สีเดียวกับกระโปรงหรือกางเกง ผ่าอกตลอดตัวเสื้อ ไม่มีสาบ ด้านหน้ามีคิ้วตามสาบ มีดุม ๔ ดุม แขนยาวหรือแขนสั้นตลบชายกว้างประมาณ ๕ เซนติเมตร มีคิ้วหน้าหลังเช่นเดียวกับแบบที่ ๒ และมีเส้นแนวตะเข็บเช่นเดียวกับแบบที่ ๒ ทั้งหน้าหลัง ความยาวของเสื้อให้คลุมสะโพกพองาม ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง ที่ไหล่เสื้อประดับอินทรธนูสีเดียวกับเสื้อยาวตามความยาวของบ่าเย็บติดกับเสื้อเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอ ปลายมน ด้านไหล่กว้าง ๔ เซนติเมตร ด้านคอกว้าง ๓ เซนติเมตร ตอนปลายขัดดุมติดกับตัวเสื้อ แบบที่ ๔ เสื้อคอแบะปล่อยเอวสีประเภทสีกากี สีเดียวกับกระโปรงหรือกางเกง ผ่าอกตลอดตัวเสื้อ ไม่มีสาบ แขนยาวจรดข้อมือ หรือแขนสั้นเหนือศอกเล็กน้อย ตลบชายกว้างประมาณ ๕ เซนติเมตร ด้านหน้าเป็นคิ้วตามสาบ ดุม ๓ ดุม ต่อด้านหน้าและด้านหลังยาวตามตัวติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอแบะทั้งสองข้าง และมีกระเป๋าล่างข้างละ ๑ กระเป๋า เป็นกระเป๋าเจาะเฉียงเล็กน้อย ไม่มีใบปกกระเป๋า ดุมที่ใช้กับเสื้อแบบที่ ๒ แบบที่ ๓ และแบบที่ ๔ เป็นดุมสีน้ำตาลสีเดียวกับสีเสื้อ การสวมเสื้อแบบที่ ๓ และแบบที่ ๔ ให้ปล่อยชายเสื้อทับกระโปรงหรือกางเกงและคาดเข็มขัดตาม (๕) แบบที่ ๒ ทับเอวเสื้อ ในโอกาสไปงานพิธี ให้ใช้เสื้อแบบที่ ๑ หรือแบบที่ ๒ โดยใช้เสื้อเชิ้ตแขนยาว ผูกผ้าผูกคอสีดำเงื่อนกลาสี สอดชายผ้าผูกคอไว้ภายในเสื้อใต้ดุมเม็ดที่สอง ผู้ซึ่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้ประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าบนซ้ายด้วย (๓) อินทรธนูให้ใช้อินทรธนูอ่อน มีเครื่องหมายชั้นบนอินทรธนู ดังต่อไปนี้ ข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๓ ชั้น ๔ ชั้น ๕ และชั้น ๖ มีแถบกว้าง ๓ เซนติเมตร ติดทางต้นอินทรธนู ๑ แถบ และแถบกว้าง ๑ เซนติเมตร ติดเรียงถัดไปอีก ๑ แถบ แถบบนขมวดเป็นวงกลม ขนาดวัดเส้นผ่าศูนย์กลางวงใน ๑ เซนติเมตร เว้นฐานด้านล่างของวงกลมไว้ ๑.๗ เซนติเมตร ภายในขมวดวงกลมมีรูปพระไพศรพณ์โลหะสีทองประดับทับอยู่บนพื้นอินทรธนู ฐานของรูปพระไพศรพณ์อยู่เหนือแถบต้น ข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๑ และชั้น ๒ มีแถบกว้าง ๑ เซนติเมตร ๓ แถบ แถบบนขมวดเป็นวงกลม ขนาดวัดเส้นผ่าศูนย์กลางวงใน ๑ เซนติเมตร เว้นฐานด้านล่างของวงกลมไว้ ๑.๗ เซนติเมตร ภายในขมวดวงกลมมีรูปพระไพศรพณ์โลหะสีทองประดับทับอยู่บนพื้นอินทรธนู ฐานของรูปพระไพศรพณ์อยู่เหนือแถบที่สอง (๔) กางเกง กระโปรง ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้กางเกงแบบราชการสีประเภทสีกากี ไม่พับปลายขา ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้กางเกงหรือกระโปรงสีประเภทสีกากีได้ ๕ แบบ แบบที่ ๑ กางเกง อนุโลมตามแบบของข้าราชการอัยการชาย แบบที่ ๒ กางเกงขายาว ขาตรง ไม่มีลวดลาย ขอบกางเกงกว้างประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร มีหรือไม่มีกระเป๋าก็ได้ มีซิบด้านหน้าหรือด้านข้าง ไม่พับปลายขา แบบที่ ๓ กระโปรงยาวปิดเข่า ปลายบานเล็กน้อย แบบที่ ๔ กระโปรง มีตะเข็บหน้า ๒ ตะเข็บ ตะเข็บหลัง ๒ ตะเข็บ ยาวครึ่งเข่า ปลายบานเล็กน้อย แบบที่ ๕ กระโปรงกางเกง แบบกางเกงยาวครึ่งเข่า มีตะเข็บหน้า ๒ ตะเข็บ ตะเข็บหลัง ๒ ตะเข็บ มีจีบกระทบด้านหน้าและด้านหลัง (๕) เข็มขัด ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้เข็มขัดทำด้วยด้ายถักสีกากี กว้าง ๓ เซนติเมตร หัวเข็มขัดทำด้วยโลหะสีทองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทางนอน ปลายมน กว้าง ๓.๕ เซนติเมตร ยาว ๕ เซนติเมตร มีรูปครุฑดุนนูนอยู่กึ่งกลางหัวเข็มขัด ไม่มีเข็มสำหรับสอดรู ปลายเข็มขัดหุ้มด้วยโลหะสีทองกว้าง ๑ เซนติเมตร ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้เข็มขัดได้ ๒ แบบ แบบที่ ๑ ใช้คาดทับขอบกระโปรง โดยใช้เข็มขัดอนุโลมตามแบบข้าราชการอัยการชาย แบบที่ ๒ ใช้คาดทับเสื้อ โดยใช้เข็มขัดผ้าสีประเภทสีกากีสีเดียวกับเสื้อ กว้าง ๒.๕ เซนติเมตร หัวสี่เหลี่ยมหุ้มผ้า (๖) รองเท้า ถุงเท้า ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้รองเท้าหุ้มส้นหรือหุ้มข้อหนังหรือวัตถุเทียม หนังสีดำหรือสีน้ำตาล ไม่มีลวดลาย ถุงเท้าสีเดียวกับรองเท้า ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้รองเท้าหุ้มส้นหรือรัดส้นหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำหรือสีน้ำตาลแบบปิดปลายเท้า ไม่มีลวดลาย ส้นสูงไม่เกิน ๑๐ เซนติเมตร และจะใช้ถุงเท้ายาวสีเนื้อด้วยก็ได้ (๗) เครื่องหมายแสดงสังกัด ข้าราชการอัยการชาย ให้มีเครื่องหมายแสดงสังกัดทำด้วยโลหะโปร่งสีทอง รูปตราราชสีห์ ไม่มีขอบ สูง ๒ เซนติเมตร ติดที่คอเสื้อตอนหน้าทั้งสองข้าง ข้าราชการอัยการหญิง ให้มีเครื่องหมายแสดงสังกัดเช่นเดียวกับข้าราชการอัยการชาย เสื้อแบบที่ ๑ แบบที่ ๒ และแบบที่ ๓ ติดที่ปกเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง เสื้อแบบที่ ๔ ติดที่ปกคอแบะทั้งสองข้างเหนือแนวเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (๘) ป้ายชื่อและตำแหน่ง ให้มีป้ายชื่อพื้นสีดำ ขนาดกว้างไม่เกิน ๒.๕ เซนติเมตร ยาวไม่เกิน ๗.๕ เซนติเมตร แสดงชื่อตัว ชื่อสกุล และชื่อตำแหน่ง ประดับที่อกเสื้อ หรือเหนือกระเป๋าบนขวาของเสื้อคอแบะปล่อยเอว มาตรา ๕ เครื่องแบบพิธีการ ก. เครื่องแบบปกติขาว ประกอบด้วย (๑) หมวก ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้หมวกทรงหม้อตาลสีขาว กะบังหน้าทำด้วยหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำ สายรัดคางสีทองกว้าง ๑ เซนติเมตร มีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็กติดที่ข้างหมวกข้างละ ๑ ดุม ผ้าพันหมวกสีขาว ที่หน้าหมวกติดตราครุฑพ่าห์ปักดิ้นสีทองสูง ๕ เซนติเมตร บนหมอนสักหลาดสีขาว ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้หมวกได้ ๒ แบบ แบบที่ ๑ อนุโลมตามแบบหมวกของข้าราชการอัยการชาย แต่เป็นทรงอ่อน แบบที่ ๒ หมวกแก๊ปทรงอ่อนพับปีกสีขาว สายรัดคางสีทอง มีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็กติดที่ข้างหมวกข้างละ ๑ ดุม ผ้าพันหมวกสีขาว ที่หน้าหมวกติดตราครุฑพ่าห์ปักดิ้นสีทองสูง ๔.๕ เซนติเมตร บนหมอนสักหลาดสีขาว การสวมหมวก ให้สวมในโอกาสอันควร (๒) เสื้อ ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้เสื้อแบบราชการสีขาว ใช้ดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดใหญ่ ๕ ดุม ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าบนซ้ายด้วย ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้เสื้อนอกคอแบะสีขาว แบบคอแหลมหรือคอป้านแขนยาวถึงข้อมือ มีตะเข็บหลัง ๔ ตะเข็บ ที่แนวสาบอกมีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๕ เซนติเมตร ๓ ดุม สำหรับแบบเสื้อคอแหลม และ ๕ ดุม สำหรับแบบเสื้อคอป้านมีกระเป๋าล่างข้างละ ๑ กระเป๋า เป็นกระเป๋าเจาะเฉียงเล็กน้อย ไม่มีใบปกกระเป๋า และให้ใช้เสื้อคอพับแขนยาวสีขาว ผูกผ้าพันคอสีดำเงื่อนกลาสี ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเบื้องซ้ายด้วย (๓) อินทรธนู ให้ใช้อินทรธนูแข็งกว้าง ๔ เซนติเมตร ยาวตามความยาวของบ่า พื้นกำมะหยี่หรือสักหลาดสีดำ ติดทับเสื้อเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอ ด้านคอปลายมน ติดดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็ก อินทรธนูมีลาย ดังต่อไปนี้ ข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๓ ชั้น ๔ ชั้น ๕ และชั้น ๖ มีแถบสีทองกว้าง ๕ มิลลิเมตรเป็นขอบ และปักดิ้นสีทองลายช่อชัยพฤกษ์ ยาวตลอดส่วนกลางของอินทรธนูและมีรูปพระไพศรพณ์โลหะสีทองทับอยู่บนอินทรธนูค่อนมาทางด้านไหล่ ข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๑ และชั้น ๒ มีแถบสีทองกว้าง ๑ เซนติเมตรเป็นขอบ และปักดิ้นสีทองลายช่อชัยพฤกษ์มีดอก ๓ ดอก เรียงตามส่วนยาวของอินทรธนูไม่เกิน ๓ ใน ๔ ส่วนของอินทรธนู และมีรูปพระไพศรพณ์โลหะสีทองทับอยู่บนอินทรธนูค่อนมาทางด้านไหล่ (๔) กางเกง กระโปรง ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้กางเกงแบบราชการสีขาว ขายาว ไม่พับปลายขา ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้กระโปรงสีขาว ตีเกล็ดด้านหน้า ๒ เกล็ด และด้านหลัง ๒ เกล็ด ยาวปิดเข่า ปลายบานเล็กน้อย ใช้กับแบบเสื้อคอแหลม หรือกระโปรงสีขาวยาวปิดเข่า ปลายบานเล็กน้อย ใช้กับแบบเสื้อคอป้าน (๕) รองเท้า ถุงเท้า ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้รองเท้าหุ้มส้นหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำชนิดผูกถุงเท้าสีดำ ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้รองเท้าหุ้มส้นหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำแบบปิดปลายเท้า ไม่มีลวดลาย ส้นสูงไม่เกิน ๑๐ เซนติเมตร ถุงเท้ายาวสีเนื้อ (๖) เครื่องหมายแสดงสังกัด ข้าราชการอัยการชาย ให้มีเครื่องหมายแสดงสังกัดเช่นเดียวกับเครื่องแบบปฏิบัติราชการ ติดที่คอเสื้อตอนหน้าทั้งสองข้าง ข้าราชการอัยการหญิง ให้มีเครื่องหมายแสดงสังกัดเช่นเดียวกับข้าราชการอัยการชาย ติดที่คอแบะของเสื้อตอนบนทั้งสองข้าง เหนือแนวเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ข. เครื่องแบบปกติกากีคอตั้ง ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบปกติขาว เว้นแต่สีของหมวก ผ้าพันหมวก หมอนสักหลาด สำหรับปักครุฑพ่าห์ เสื้อและกางเกงหรือกระโปรงเป็นสีประเภทสีกากี ค. เครื่องแบบครึ่งยศ ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบปกติขาว เว้นแต่กางเกงหรือกระโปรงให้ใช้ผ้าสักหลาดหรือเสิร์จสีดำประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ง. เครื่องแบบเต็มยศ ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบครึ่งยศ สวมสายสะพาย จ. เครื่องแบบสโมสร เครื่องแบบสโมสรสำหรับข้าราชการอัยการชาย มี ๓ แบบ คือ (๑) เครื่องแบบสโมสร ก. ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบเต็มยศ (๒) เครื่องแบบสโมสร ข. ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบสโมสร ก. เว้นแต่ เสื้อ ให้ใช้เสื้อสโมสรสีขาว ทำด้วยผ้าสักหลาดหรือเสิร์จเปิดอก ปาดเอว มีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็กติดที่ข้อมือข้างละ ๓ ดุม ที่ระหว่างอกกับเอวข้างละ ๓ ดุม และที่บรรจบเสื้อมีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดใหญ่ข้างละ ๑ ดุม ดุมคู่นี้มีสายสร้อยสีทองร้อยติดกัน ประกอบด้วยเสื้อกั๊กสีขาว ดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ ๓ ดุม และเสื้อเชิ้ตสีขาว อกแข็ง ข้อมือแข็ง คอเชิ้ตชั้นเดียวแบบปีกผีเสื้อผูกผ้าผูกคอสีดำเงื่อนหูกระต่าย เครื่องหมายแสดงสังกัด ให้ติดที่คอแบะของเสื้อตอนบนทั้งสองข้างเหนือแนวเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในฤดูร้อน ให้ใช้กางเกงสีขาวแทนกางเกงสีดำได้ (๓) เครื่องแบบสโมสร ค. ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบสโมสร ข. เว้นแต่เสื้อเชิ้ตอกแข็งให้ใช้เสื้อเชิ้ตอกอ่อนสีขาว และเสื้อกั๊กให้ใช้แพรแถบสีเดียวกับกางเกงรัดเอวแทน แพรแถบนี้ส่วนกลางด้านหน้ากว้าง ๑๒ เซนติเมตร ปลายทั้งสองข้างเรียวกว้าง ๑๑ เซนติเมตร ที่ปลายมีขอเกี่ยวติดกันในขณะคาดทางด้านหลัง สำหรับข้าราชการอัยการหญิง ให้แต่งตามสมัยนิยม มาตรา ๖ การแต่งเครื่องแบบตามมาตรา ๔ และมาตรา ๕ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทย และหมายกำหนดการ มาตรา ๗ ข้าราชการอัยการซึ่งสำเร็จการศึกษาหรือการฝึกอบรมจากสถาบันการศึกษาอบรมของทางราชการหรือที่ราชการรับรอง ให้ติดเครื่องหมายแสดงวิทยฐานะของสถาบันการศึกษาอบรมนั้นตามระเบียบของสถาบันการศึกษาอบรมดังกล่าว ในกรณีที่ไม่มีระเบียบ ให้ติดที่กึ่งกลางกระเป๋าบนข้างขวาของเครื่องแบบข้าราชการอัยการได้ ถ้ามีเครื่องหมายแสดงวิทยฐานะดังกล่าวมากกว่าหนึ่งเครื่องหมายให้ติดเพียงเครื่องหมายเดียว มาตรา ๘ ข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเครื่องหมายแสดงความสามารถพิเศษหรือเครื่องหมายเชิดชูเกียรติของทางราชการฝ่ายทหาร ฝ่ายตำรวจ หรือฝ่ายพลเรือน ซึ่งมีระเบียบให้ประดับกับเครื่องแต่งตัวหรือเครื่องแบบได้ ให้ใช้เครื่องหมายดังกล่าวประดับกับเครื่องแบบข้าราชการอัยการได้ทุกชนิด การประดับให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการนั้น มาตรา ๙ ข้าราชการอัยการนอกประจำการให้ใช้เครื่องแบบเหมือนข้าราชการอัยการประจำการ เว้นแต่เครื่องหมายแสดงสังกัดให้ติดที่อกเสื้อเบื้องขวา การจะแต่งเมื่อใด และโดยเงื่อนไขอย่างใดให้เป็นไปตามข้อบังคับว่าด้วยการแต่งเครื่องแบบข้าราชการนอกประจำการ ออกตามความในกฎหมายว่าด้วยเครื่องแบบข้าราชการพลเรือน โดยอนุโลม มาตรา ๑๐ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ บัญญัติว่าเครื่องแบบของข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่งให้เป็นไปตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา และโดยที่ได้มีการประกาศใช้กฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ ๗๑ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช ๒๔๗๘ แก้ไขเพิ่มเติมเครื่องแบบข้าราชการพลเรือนบางประการประกอบกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้ให้สตรีรับราชการเป็นพนักงานอัยการได้ สมควรกำหนดเครื่องแบบข้าราชการอัยการชายและเครื่องแบบข้าราชการอัยการหญิงให้สอดคล้องกับเครื่องแบบข้าราชการพลเรือนดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น ดลธี/ผู้จัดทำ ๗ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ศรินรัตน์/ปรับปรุง ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๓ อรญา/ตรวจ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๘/ตอนที่ ๖๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓/๒๙ เมษายน ๒๕๒๔
304139
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2521
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นปีที่ ๓๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและ ยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๒๑” มาตรา ๒* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นต้นไป *[รก.๒๕๒๑/๑๐๓/๓๘พ/๒๗ กันยายน ๒๕๒๑] มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๖ อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้แบ่งเป็น ๖ ชั้นแต่ละชั้นมีจำนวน ขั้น ดังนี้ ชั้น ๑ มี ๔ ขั้น ชั้น ๒ มี ๑๒ ขั้น ชั้น ๓ มี ๙ ขั้น ชั้น ๔ มี ๙ ขั้น ชั้น ๕ มี ๗ ขั้น ชั้น ๖ มี ๕ ขั้น อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้เป็นไปตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการ อัยการ หมายเลข ๑ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ และเมื่อปรากฏว่าเงินเดือนหรือค่าจ้างทั่วไปในประเทศ เพิ่มขึ้นหรือค่าครองชีพสูงขึ้น หรืออัตราเงินเดือนที่ใช้อยู่ไม่เหมาะสม ก็ให้มีการปรับใช้อัตราเงิน เดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ หรือบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการ อัยการ หมายเลข ๓ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ได้ตามความเหมาะสม โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา การปรับใช้อัตราเงินเดือนดังกล่าวให้มีผลเป็นการปรับขั้นเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ได้รับอยู่ตาม ไปด้วย อัตราเงินเดือนข้าราชการธุรการให้เป็นไปตามบัญชีซึ่งกำหนดไว้ในกฎหมายว่า ด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญ” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ ท้ายพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๑ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ และบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการ อัยการ หมายเลข ๓ ท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา ๕ การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้เข้าชั้นและขั้นตามบัญชี อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๑ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรี กำหนด แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่ต่ำกว่าชั้นและขั้นที่ข้าราชการอัยการผู้นั้นดำรงอยู่และได้รับอยู่เดิม มาตรา ๖ เพื่อประโยชน์ในการบรรจุบุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการอัยการและ ออกจากราชการไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับกลับเข้ารับราชการ ให้ปรับอัตราเงินเดือนที่ ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้ตรงกับชั้นและขั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ที่ใช้อยู่ในขณะกลับเข้ารับราชการ และให้นำมาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราช บัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรี บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๑ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๓ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือน ข้าราชการอัยการที่ปรับปรุงใหม่ไม่ได้ส่วนสัมพันธ์กับอัตราเงินเดือนของข้าราชการประเภทอื่น ๆ ที่ได้รับการปรับปรุงแล้ว สมควรแก้ไขอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้อง ตราพระราชบัญญัตินี้ ภคินี/แก้ไข ๑/๒/๒๕๔๕ A+B(C)
875862
กฎกระทรวง ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 (ฉบับ Update ล่าสุด)
กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้สั่งให้มีการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้อธิบดีกรมอัยการเป็นผู้ดำเนินการ ข้อ ๒ ให้อธิบดีกรมอัยการจัดทำบัญชีรายชื่อบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยแยกออกเป็น ๒ ประเภท คือ เป็นประเภทข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนตั้งแต่ชั้น ๔ ขึ้นไป และต้องมิได้เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่งอยู่แล้ว กับประเภทผู้รับบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการมาแล้ว และต้องไม่เป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภาซึ่งมาจากการเลือกตั้ง กรรมการพรรคการเมือง เจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง หรือทนายความ ไปยังข้าราชการอัยการที่ได้รับเงินเดือนตั้งแต่ชั้น ๒ ขึ้นไป ผู้มีสิทธิเลือกทุกคน พร้อมด้วยบัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ และกำหนดวันสุดท้ายที่จะส่งบัตรเลือกให้ถึงกรมอัยการไว้ด้วย ในกรณีเลือกซ่อม ให้อธิบดีกรมอัยการแจ้งประเภทและจำนวนตำแหน่งที่ว่างไปด้วย ข้อ ๓[๒] บัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เป็นไปตามแบบท้ายกฎกระทรวงนี้ บัตรทุกบัตรต้องมีลายมือชื่อของอธิบดีกรมอัยการและกรรมการควบคุมการส่งบัตรจำนวนสามคนกำกับเป็นหลักฐาน การส่งบัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังผู้มีสิทธิเลือก ก่อนถึงกำหนดวันสุดท้ายที่จะส่งบัตรเลือกตามข้อ ๒ ไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน ข้อ ๔[๓] การเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้ข้าราชการอัยการผู้มีสิทธิเลือก กรอกรายชื่อผู้ซึ่งตนเลือกด้วยลายมือของตนเองลงในบัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิโดยไม่ต้องลงลายมือชื่อและตำแหน่งของตน แล้วใส่ซองปิดผนึกส่งไปยังอธิบดีกรมอัยการ ถ้าจะส่งทางไปรษณีย์ ให้ส่งโดยลงทะเบียน ข้อ ๕[๔] ให้อธิบดีกรมอัยการตั้งข้าราชการไม่น้อยกว่าสามคนเป็นกรรมการควบคุมการส่งบัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิและตั้งข้าราชการอัยการผู้อื่นอีกไม่น้อยกว่าสามคนเป็นกรรมการตรวจนับคะแนนการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้กรรมการควบคุมการส่งบัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบบัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิให้ถูกต้องตามที่กำหนดในข้อ ๓ ก่อนที่จะจัดส่งไปยังผู้มีสิทธิเลือก ให้กรรมการตรวจนับคะแนนเป็นผู้เปิดซองบรรจุบัตรเลือก ทำการตรวจบัตรเลือกและนับคะแนนโดยเปิดเผย แล้วรายงานผลไปยังอธิบดีกรมอัยการภายในเวลาที่อธิบดีกรมอัยการกำหนด ในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการตรวจนับคะแนน ต้องมีกรรมการอยู่พร้อมกันไม่น้อยกว่าสามคน ข้อ ๖[๕] บัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิต่อไปนี้ ให้ถือเป็นบัตรเสีย (๑) บัตรที่มิใช่บัตรที่อธิบดีกรมอัยการส่งไป หรือไม่มีลายมือชื่อของอธิบดีกรมอัยการและไม่มีลายมือชื่อของกรรมการควบคุมการส่งบัตรจำนวนสามคนกำกับเป็นหลักฐาน (๒) บัตรที่ระบุชื่อผู้รับเลือกเกินประเภทละสามคน หรือเกินจำนวนตำแหน่งที่ว่างในกรณีเลือกซ่อม (๓) บัตรซึ่งผู้มีสิทธิเลือกมิได้กรอกชื่อผู้ที่ตนเลือกด้วยลายมือของตนเอง (๔) บัตรซึ่งผู้มีสิทธิเลือกลงลายมือชื่อ หรือตำแหน่งในบัตร (๕) บัตรที่ส่งถึงกรมอัยการพ้นกำหนดวันที่อธิบดีกรมอัยการกำหนดตามข้อ ๒ ข้อ ๗ ในกรณีที่บัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิเลอะเลือน หรือเขียนชื่อผู้รับเลือกไม่ถูกต้อง จนไม่สามารถทราบเจตนาอันแท้จริงของผู้เลือกได้ หรือกรอกชื่อผู้รับเลือกที่เป็นข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนตั้งแต่ชั้น ๔ ขึ้นไป ในช่องสำหรับกรอกชื่อผู้รับเลือกที่เป็นผู้รับบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการมาแล้ว หรือกลับกัน ให้ถือว่าบัตรนั้นเสียเฉพาะส่วนที่กล่าวแล้ว การที่จะถือว่าผู้รับเลือกคนใด เป็นข้าราชการอัยการ ซึ่งได้รับเงินเดือนตั้งแต่ชั้น ๔ ขึ้นไป หรือเป็นผู้รับบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ให้ถือตามความเป็นจริงในขณะเปิดซองบรรจุบัตร ข้อ ๘ ในการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้ดำรงตำแหน่งตามวาระนั้น ข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนตั้งแต่ชั้น ๔ ขึ้นไป สามคนที่ได้คะแนนสูงกว่าผู้อื่น และผู้รับบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการมาแล้วสามคนที่ได้คะแนนสูงกว่าผู้อื่น เป็นผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ถ้าในประเภทใดมีผู้ได้คะแนนเท่ากันอยู่ในเกณฑ์ที่ได้รับเลือกเกินสามคน ให้จับสลากระหว่างผู้ที่ได้คะแนนเท่ากัน อันทำให้มีจำนวนเกินไปนั้นว่าผู้ใดจะได้รับเลือก การจับสลาก ให้อธิบดีกรมอัยการเป็นผู้จับต่อหน้ากรรมการตรวจนับคะแนนไม่น้อยกว่าสามคน ในการเลือกซ่อมกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้นำความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๙ ให้อธิบดีกรมอัยการรายงานผลการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อประกาศชื่อผู้ได้รับเลือกในราชกิจจานุเบกษา ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๒ พลเอก เล็ก แนวมาลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย [เอกสารแนบท้าย] ๑.[๖] แบบบัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๑๖ บัญญัติว่า วิธีการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑[๗] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เพื่อให้การเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิเป็นไปโดยเหมาะสมยิ่งขึ้นโดยปรับปรุงวิธีการเลือกให้ผู้เลือกสามารถใช้ดุลพินิจของตนได้อย่างอิสระ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ศรินรัตน์/จัดทำ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๓ อรญา/ตรวจ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๖/ตอนที่ ๑๐๖/หน้า ๒๑๗/๓ กรกฎาคม ๒๕๒๒ [๒] ข้อ ๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ [๓] ข้อ ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ [๔] ข้อ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ [๕] ข้อ ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ [๖] แบบบัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ [๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๘/ตอนที่ ๙๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๔/๑๕ มิถุนายน ๒๕๒๔
304145
พระราชกฤษฎีกาให้ปรับใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข 2 ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 พ.ศ. 2522
พระราชกฤษฎีกา ให้ปรับใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ พ.ศ. ๒๕๒๒ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นปีที่ ๓๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้ปรับใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาให้ปรับใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ พ.ศ. ๒๕๒๒” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ปรับใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ แทนบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๑ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ส. โหตระกิตย์ รองนายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันเงินเดือนและค่าจ้างทั่วไปในประเทศเพิ่มขึ้น ค่าครองชีพสูงขึ้น และอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ใช้อยู่ไม่เหมาะสม สมควรปรับใช้อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ แทนบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๑ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น ดลธี/ผู้จัดทำ ๗ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ศรินรัตน์/ปรับปรุง ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๓ อรญา/ตรวจ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๖/ตอนที่ ๒๑๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓/๒๐ ธันวาคม ๒๕๒๒
319581
พระราชกฤษฎีกาให้ปรับใชับัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข 3 ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 พ.ศ. 2524
พระราชกฤษฎีกา ให้ปรับใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๓ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ พ.ศ. ๒๕๒๔ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ เป็นปีที่ ๓๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้ปรับใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๓ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาให้ปรับใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๓ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ พ.ศ. ๒๕๒๔” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ปรับใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๓ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ แทนบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบัน ปรากฏว่า เงินเดือนและค่าจ้างทั่วไปในประเทศเพิ่มขึ้น ค่าครองชีพสูงขึ้น และอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ใช้อยู่ไม่เหมาะสม สมควรปรับใช้อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ ตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๓ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔ แทนบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ดลธี/ผู้จัดทำ ๗ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ศรินรัตน์/ปรับปรุง ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๓ อรญา/ตรวจ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๘/ตอนที่ ๒๐๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๘/๑๙ ธันวาคม ๒๕๒๔
460466
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการอัยการ พ.ศ. 2548
พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๔๘[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นปีที่ ๖๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวของข้าราชการอัยการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๔๘” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ข้าราชการอัยการได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวเป็นรายเดือนตามอัตราในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ให้อัยการอาวุโสได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวเป็นรายเดือนตามขั้นเงินเดือนที่ได้รับอยู่ตามอัตราในวรรคหนึ่ง มาตรา ๔ วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินและการอื่นที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการอัยการ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ กำหนดให้ข้าราชการอัยการอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา และเนื่องจากในปัจจุบันสภาวะเศรษฐกิจได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก สมควรให้ข้าราชการอัยการได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวเพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ดลธี/ผู้จัดทำ ๘ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ศรินรัตน์/ปรับปรุง ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๓ อรญา/ตรวจ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๖๘ ก/หน้า ๑/๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๘
304154
พระราชกฤษฎีกาเครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2541
พระราชกฤษฎีกา เครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๑ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นปีที่ ๕๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๑” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของมาตรา ๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาเครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง พ.ศ. ๒๕๒๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๓) อินทรธนู ให้ใช้อินทรธนูอ่อน มีเครื่องหมายชั้นบนอินทรธนู ดังต่อไปนี้ ข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป มีแถบกว้าง ๓ เซนติเมตร ติดทางต้นอินทรธนู ๑ แถบ และแถบกว้าง ๑ เซนติเมตร ติดเรียงถัดไปอีก ๑ แถบ แถบบนขมวดเป็นวงกลม ขนาดวัดเส้นผ่าศูนย์กลางวงใน ๑ เซนติเมตร เว้นฐานด้านล่างของวงกลมไว้ ๑.๗ เซนติเมตร ภายในขมวดวงกลมมีรูปพระไพศรพณ์โลหะสีทองประดับทับอยู่บนพื้นอินทรธนู ฐานของรูปพระไพศรพณ์อยู่เหนือแถบต้น ข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๑ มีแถบกว้าง ๑ เซนติเมตร ๓ แถบ แถบบนขมวดเป็นวงกลม ขนาดวัดเส้นผ่าศูนย์กลางวงใน ๑ เซนติเมตร เว้นฐานด้านล่างของวงกลมไว้ ๑.๗ เซนติเมตร ภายในขมวดวงกลมมีรูปพระไพศรพณ์โลหะสีทองประดับทับอยู่บนพื้นอินทรธนู ฐานของรูปพระไพศรพณ์อยู่เหนือแถบที่สอง” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาเครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง พ.ศ. ๒๕๒๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๓) อินทรธนู ให้ใช้อินทรธนูแข็งกว้าง ๔ เซนติเมตร ยาวตามความยาวของบ่า พื้นกำมะหยี่หรือสักหลาดสีดำ ติดทับเสื้อเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอ ด้านคอปลายมน ติดดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็ก อินทรธนูมีลาย ดังต่อไปนี้ ข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป มีแถบสีทองกว้าง ๕ มิลลิเมตร เป็นขอบและปักดิ้นสีทองลายช่อชัยพฤกษ์ยาวตลอดส่วนกลางของอินทรธนู และมีรูปพระไพศรพณ์โลหะสีทองทับอยู่บนอินทรธนูค่อนมาทางด้านไหล่ ข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๑ มีแถบสีทองกว้าง ๑ เซนติเมตร เป็นขอบ และปักดิ้นสีทองลายช่อชัยพฤกษ์มีดอก ๓ ดอก เรียงตามส่วนยาวของอินทรธนูไม่เกิน ๓ ใน ๔ ส่วน ของอินทรธนู และมีรูปพระไพศรพณ์โลหะสีทองทับอยู่บนอินทรธนูค่อนมาทางด้านไหล่” มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกฤษฎีกาเครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง พ.ศ. ๒๕๒๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๙ ข้าราชการอัยการนอกประจำการ ให้ใช้เครื่องแบบเช่นเดียวกับข้าราชการอัยการประจำการ เว้นแต่เครื่องหมายแสดงสังกัดให้ติดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าข้างซ้าย และเครื่องหมายอักษร นกทำด้วยโลหะโปร่งสีทองไม่มีขอบ สูง ๒ เซนติเมตร ที่ปกคอเสื้อด้านหน้าข้างขวา การจะแต่งเมื่อใด และโดยเงื่อนไขอย่างใดให้เป็นไปตามข้อบังคับว่าด้วยการแต่งเครื่องแบบข้าราชการนอกประจำการ ออกตามความในกฎหมายว่าด้วยเครื่องแบบข้าราชการพลเรือน โดยอนุโลม” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการกำหนดให้อัยการสูงสุดได้รับเงินเดือนชั้น ๘ และรองอัยการสูงสุดได้รับเงินเดือนชั้น ๗ ประกอบกับการติดเครื่องหมายแสดงสังกัดของข้าราชการอัยการนอกประจำการยังไม่เหมาะสม สมควรกำหนดเครื่องแบบข้าราชการอัยการให้ครอบคลุมถึงข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๗ และชั้น ๘ และกำหนดการติดเครื่องหมายแสดงสังกัดของข้าราชการอัยการนอกประจำการ เพื่อให้แตกต่างจากข้าราชการอัยการประจำการทำนองเดียวกับกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ ๘๑ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พ.ศ. ๒๔๗๘ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ดลธี/ผู้จัดทำ ๘ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ศรินรัตน์/ปรับปรุง ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๓ อรญา/ตรวจ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๓๐ ก/หน้า ๔/๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๑
319584
พระราชกฤษฎีกาให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ข. ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 พ.ศ. 2533
พระราชกฤษฎีกา ให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ข. ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ พ.ศ. ๒๕๓๓ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นปีที่ ๔๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ข. ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ข. ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ พ.ศ. ๒๕๓๓” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ข. ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑ แทนบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ บัญชี ก. ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑ มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบันขยายตัว รายได้ประชาชาติและดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้น สมควรปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ดังกล่าว และเนื่องจากมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑ บัญญัติว่า การให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการแต่ละบัญชี ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ดลธี/ผู้จัดทำ ๗ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ศรินรัตน์/ปรับปรุง ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๓ อรญา/ตรวจ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๕๖/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓/๙ เมษายน ๒๕๓๓
304151
พระราชกฤษฎีกาเครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2532
พระราชกฤษฎีกา เครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นปีที่ ๔๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของมาตรา ๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาเครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง พ.ศ. ๒๕๒๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๓) อินทรธนู ให้ใช้อินทรธนูอ่อน มีเครื่องหมายชั้นบนอินทรธนู ดังต่อไปนี้ ข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือน ชั้น ๒ ชั้น ๓ ชั้น ๔ ชั้น ๕ และชั้น ๖ มีแถบกว้าง ๓ เซนติเมตร ติดทางต้นอินทรธนู ๑ แถบ และแถบกว้าง ๑ เซนติเมตร ติดเรียงถัดไปอีก ๑ แถบ แถบบนขมวดเป็นวงกลม ขนาดวัดเส้นผ่าศูนย์กลางวงใน ๑ เซนติเมตร เว้นฐานด้านล่างของวงกลมไว้ ๑.๗ เซนติเมตร ภายในขมวดวงกลมมีรูปพระไพศรพณ์โลหะสีทองประดับทับอยู่บนพื้นอินทรธนู ฐานของรูปพระไพศรพณ์อยู่เหนือแถบต้น ข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๑ มีแถบกว้าง ๑ เซนติเมตร ๓ แถบ แถบบนขมวดเป็นวงกลม ขนาดวัดเส้นผ่าศูนย์กลางวงใน ๑ เซนติเมตร เว้นฐานด้านล่างของวงกลมไว้ ๑.๗ เซนติเมตร ภายในขมวดวงกลมมีรูปพระไพศรพณ์โลหะสีทองประดับทับอยู่บนพื้นอินทรธนู ฐานของรูปพระไพศรพณ์อยู่เหนือแถบที่สอง” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาเครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง พ.ศ. ๒๕๒๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๓) อินทรธนู ให้ใช้อินทรธนูแข็งกว้าง ๔ เซนติเมตร ยาวตามความยาวของบ่า พื้นกำมะหยี่หรือสักหลาดสีดำ ติดทับเสื้อเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอ ด้านคอปลายมน ติดดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็ก อินทรธนูมีลาย ดังต่อไปนี้ ข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๒ ชั้น ๓ ชั้น ๔ ชั้น ๕ และชั้น ๖ มีแถบสีทองกว้าง ๕ มิลลิเมตร เป็นขอบและปักดิ้นสีทองลายช่อชัยพฤกษ์ยาวตลอดส่วนกลางของอินทรธนู และมีรูปพระไพศรพณ์โลหะสีทองทับอยู่บนอินทรธนูค่อนมาทางด้านไหล่ ข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๑ มีแถบสีทองกว้าง ๑ เซนติเมตร เป็นขอบ และปักดิ้นสีทองลายช่อชัยพฤกษ์มีดอก ๓ ดอก เรียงตามส่วนยาวของอินทรธนูไม่เกิน ๓ ใน ๔ ส่วนของอินทรธนู และมีรูปพระไพศรพณ์โลหะสีทองทับอยู่บนอินทรธนูค่อนมาทางด้านไหล่” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พงส์ สารสิน รองนายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ บัญญัติว่า เครื่องแบบของข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่งให้เป็นไปตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา และโดยที่ได้มีพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑ กำหนดอัตราเงินเดือนขั้นต้นของข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๒ เท่ากับอัตราเงินเดือนขั้นต้นของข้าราชการพลเรือนสามัญ ระดับ ๗ สมควรกำหนดเครื่องแบบข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๒ ให้สอดคล้องกับเครื่องแบบข้าราชการพลเรือนสามัญ ระดับ ๗ ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ดลธี/ผู้จัดทำ ๗ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ศรินรัตน์/ปรับปรุง ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๓ อรญา/ตรวจ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๘๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒๐ ตุลาคม ๒๕๓๒
315773
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 (Update ณ วันที่ 27/09/2521)
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นปีที่ ๓๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและ ยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑” มาตรา ๒* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป *[รก.๒๕๒๑/๕๙/๔๒พ/๓๑ พฤษภาคม ๒๕๒๑] มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ (๒) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๐๕ (๓) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๗ (๔) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๐ (๕) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๖๐ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ (๖) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๑๗ (๗) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๑๙ บรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่น ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราช บัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน ลักษณะ ๑ บททั่วไป มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “ข้าราชการฝ่ายอัยการ” หมายความว่า ข้าราชการซึ่งรับราชการในกรมอัยการ โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในกรมอัยการ “รองอธิบดี” หมายความว่า รองอธิบดีกรมอัยการ “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมอัยการ “ก.อ.” หมายความว่า คณะกรรมการอัยการ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕ ข้าราชการฝ่ายอัยการได้แก่ (๑) ข้าราชการอัยการ คือข้าราชการผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการดำเนินคดีตาม กฎหมายซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ (๒) ข้าราชการธุรการ คือ ข้าราชการผู้มีหน้าที่ในทางธุรการ มาตรา ๖* อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้แบ่งเป็น ๖ ชั้นแต่ละชั้นมีจำนวน ขั้น ดังนี้ ชั้น ๑ มี ๔ ขั้น ชั้น ๒ มี ๑๒ ขั้น ชั้น ๓ มี ๙ ขั้น ชั้น ๔ มี ๙ ขั้น ชั้น ๕ มี ๗ ขั้น ชั้น ๖ มี ๕ ขั้น อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้เป็นไปตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการ อัยการ หมายเลข ๑ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ และเมื่อปรากฏว่าเงินเดือนหรือค่าจ้างทั่วไปในประเทศ เพิ่มขึ้นหรือค่าครองชีพสูงขึ้น หรืออัตราเงินเดือนที่ใช้อยู่ไม่เหมาะสม ก็ให้มีการปรับใช้อัตราเงิน เดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๒ หรือบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการ อัยการ หมายเลข ๓ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ได้ตามความเหมาะสม โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา การปรับใช้อัตราเงินเดือนดังกล่าวให้มีผลเป็นการปรับขั้นเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ได้รับ อยู่ตามไปด้วย อัตราเงินเดือนข้าราชการธุรการให้เป็นไปตามบัญชีซึ่งกำหนดไว้ในกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญ *[มาตรา ๖ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑] มาตรา ๗ เพื่อประโยชน์ในการออมทรัพย์ของข้าราชการอัยการ คณะรัฐมนตรี จะวางระเบียบและวิธีการให้กระทรวงการคลังหักเงินเดือนของข้าราชการอัยการไว้เป็นเงินสะสมก็ ได้ โดยคิดดอกเบี้ยจากเงินสะสมนั้นให้ในอัตราไม่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทประจำของ ธนาคารพาณิชย์ เงินสะสมและดอกเบี้ยนี้ให้จ่ายคืนหรือให้กู้ยืมเพื่อดำเนินการตามโครงการ สวัสดิการสำหรับข้าราชการอัยการตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๘ ข้าราชการอัยการอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะ เศรษฐกิจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๙ ในกรณีที่มีเหตุที่จะต้องจัดให้มีหรือปรับปรุงเงินเพิ่มค่าครองชีพตาม มาตรา ๘ หรือปรับขั้นเงินเดือนตามมาตรา ๖ วรรคสอง ให้รัฐมนตรีรายงานไปยังคณะรัฐมนตรี ดำเนินการต่อไป มาตรา ๑๐ ข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญ หรือ ข้าราชการซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือพนักงานเทศบาลที่ไม่ใช่พนักงาน เทศบาลวิสามัญ ซึ่งสอบคัดเลือกหรือทดสอบความรู้เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการอัยการใน ตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ตามพระราชบัญญัตินี้ หากประสงค์จะโอนมาบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ ในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเพื่อนับเวลาราชการหรือเวลาทำงานของตนในขณะที่เป็นข้าราชการหรือ พนักงานเทศบาลเป็นเวลาราชการของข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย ก็ให้กระทำได้ โดยกรมอัยการทำความตกลงกับเจ้าสังกัด มาตรา ๑๑ บำเหน็จบำนาญของข้าราชการอัยการ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ว่าด้วยการนั้น ข้าราชการอัยการผู้ใดถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์ในการคำนวณ บำเหน็จบำนาญก็ได้ มาตรา ๑๒ เครื่องแบบของข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่งให้เป็นไป ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๑๓ วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการอัยการ ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๑๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราช บัญญัตินี้ และให้มีอำนาจกำหนดค่าธรรมเนียมการสอบเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และออก กฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ ลักษณะ ๒ คณะกรรมการอัยการ มาตรา ๑๕ ให้มีคณะกรรมการอัยการคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า ก.อ. ประกอบด้วย (๑) รัฐมนตรีเป็นประธาน (๒) อธิบดีเป็นรองประธาน (๓) รองอธิบดี อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดีและอัยการพิเศษ ฝ่ายวิชาการ เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่ง และ (๔) กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิหกคน ซึ่งข้าราชการอัยการที่ได้รับเงินเดือน ตั้งแต่ ชั้น ๒ ขึ้นไป เป็นผู้เลือกจาก (ก) ข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนตั้งแต่ชั้น ๔ ขึ้นไปและมิได้เป็น กรรมการอัยการโดยตำแหน่งอยู่แล้ว สามคน (ข) ผู้รับบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งเคยรับ ราชการเป็นข้าราชการอัยการมาแล้ว และต้องไม่เป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภาซึ่งมาจาก การเลือกตั้ง กรรมการพรรคการเมือง เจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง หรือทนายความสามคน ให้ ก.อ. แต่งตั้งข้าราชการฝ่ายอัยการคนหนึ่งเป็นเลขานุการ ก.อ. มาตรา ๑๖ เมื่อจะมีการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้รัฐมนตรีเป็นผู้ สั่ง วิธีการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้รัฐมนตรี ประกาศชื่อผู้ได้รับเลือกในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๗ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งได้คราวละสองปี และ อาจได้รับเลือกใหม่ ถ้าตำแหน่งว่างลงก่อนถึงกำหนดวาระ ให้รัฐมนตรีสั่งให้ดำเนินการเลือกซ่อม เว้นแต่วาระการอยู่ในตำแหน่งของกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิจะเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน รัฐมนตรี จะไม่สั่งให้ดำเนินการเลือกซ่อมก็ได้ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกซ่อมอยู่ในตำแหน่งได้เพียงวาระของ ผู้ที่ตนแทน มาตรา ๑๘ ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการอัยการว่างลง นอกจากการพ้นจาก ตำแหน่งของกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามวาระ และมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการโดย รีบด่วน ก็ให้กรรมการอัยการที่เหลือดำเนินการไปได้ แต่ต้องมีกรรมการอัยการพอที่จะเป็น องค์ประชุม มาตรา ๑๙ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ครบกำหนดวาระ (๒) ตาย (๓) ลาออก (๔) เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่ง หรือพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการ ในกรณีที่เป็นกรรมการอัยการตามมาตรา ๑๕ (๔) (ก) (๕) กลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการอัยการ ในกรณีที่เป็นกรรมการอัยการ ตามมาตรา ๑๕ (๔) (ข) (๖) ไปเป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภา ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง กรรมการ พรรคการเมือง เจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง หรือทนายความ ในกรณีเป็นที่สงสัยว่า กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิผู้ใดพ้นจากตำแหน่ง กรรมการอัยการหรือไม่ ให้อธิบดีเสนอ ก.อ. เพื่อวินิจฉัยชี้ขาด มาตรา ๒๐ การประชุมของ ก.อ. ต้องมีกรรมการอัยการมาประชุมไม่น้อยกว่า เจ็ดคนจึงเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานเป็นประธาน ในที่ประชุม ถ้าประธานและรองประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการ อัยการในที่ประชุมเลือกกรรมการอัยการคนหนึ่งเป็นประธาน หากกรรมการอัยการโดยตำแหน่งว่างลง หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้รักษา ราชการแทน หรือผู้รักษาการในตำแหน่งตามกฎหมาย ทำหน้าที่กรรมการอัยการแทนในระหว่างนั้น ในการประชุมของ ก.อ. ถ้ามีการพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับกรรมการอัยการผู้ใด โดยเฉพาะ ผู้นั้นไม่มีสิทธิเข้าประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือเสียงข้างมาก ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ก.อ. มีอำนาจออกข้อบังคับว่าด้วยระเบียบการประชุมและการลงมติ มาตรา ๒๑ ในกรณีที่ ก.อ. มีหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้อธิบดีเป็นผู้เสนอเรื่องต่อ ก.อ. แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิกรรมการอัยการคนหนึ่งคนใดที่จะเสนอ มาตรา ๒๒ ก.อ. มีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการให้ทำการใด ๆ แทนได้ ลักษณะ ๓ ข้าราชการอัยการ หมวด ๑ การบรรจุ การแต่งตั้ง และการเลื่อนขั้นเงินเดือน มาตรา ๒๓ ตำแหน่งข้าราชการอัยการมีดังนี้ อธิบดี รองอธิบดี อัยการพิเศษ ฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ อัยการพิเศษประจำเขต อัยการประจำ กรม อัยการจังหวัด อัยการประจำกอง อัยการจังหวัดผู้ช่วย และอัยการผู้ช่วย นอกจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง อาจให้มีตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่อ อย่างอื่น ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงได้ ตำแหน่งดังกล่าวจะเทียบกับตำแหน่งใดตามวรรคหนึ่งให้ กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนั้นด้วย กฎกระทรวงเช่นว่านี้ให้ได้รับความเห็นชอบของ ก.อ. ก่อน มาตรา ๒๔ ข้าราชการอัยการจะได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง ดังต่อไปนี้ (๑) อธิบดี ให้ได้รับเงินเดือนชั้น ๖ (๒) รองอธิบดี ให้ได้รับเงินเดือนชั้น ๕ (๓) อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ และอัยการพิเศษประจำเขต ให้ได้รับเงินเดือนชั้น ๔ (๔) อัยการประจำกรม และอัยการจังหวัด ให้ได้รับเงินเดือนชั้น ๓ (๕) อัยการประจำกอง และอัยการจังหวัดผู้ช่วย ให้ได้รับเงินเดือนชั้น ๒ (๖) อัยการผู้ช่วย ให้ได้รับเงินเดือนชั้น ๑ สำหรับข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เมื่อเทียบกับ ตำแหน่งใดก็ให้ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งนั้น ในกรณีที่ข้าราชการอัยการได้เลื่อนขึ้นรับเงินเดือนในชั้นถัดไป ให้ได้รับเงินเดือน ในอัตราขั้นต่ำของชั้นนั้น แต่ถ้าผู้นั้นได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของชั้นที่เลื่อนขึ้นก็ให้ได้รับเงินเดือน ในขั้นของชั้นนั้น ซึ่งมีจำนวนเท่ากับเงินเดือนที่ได้รับอยู่ มาตรา ๒๕ การบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง อัยการผู้ช่วย ให้รัฐมนตรีเป็นผู้สั่ง โดยวิธีการสอบคัดเลือกตามความในหมวด ๒ แห่งลักษณะนี้ แต่ถ้าผู้ใด (๑) สอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ โดย มีหลักสูตรการศึกษาเดียวไม่น้อยกว่าสามปี ซึ่ง ก.อ. เทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และสอบไล่ได้ ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (๒) สอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ โดยมีหลักสูตรการศึกษาหลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่าสองปี หรือหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่า สองปี ซึ่ง ก.อ. เทียบว่า ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และสอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษา กฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) เป็นเวลา ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (๓) สอบไล่ได้เป็นธรรมศาสตร์บัณฑิต หรือนิติศาสตร์บัณฑิตและสอบไล่ได้ ชั้นเกียรตินิยมตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และได้ประกอบ วิชาชีพ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือ (๔) สอบไล่ได้ปริญญาโทหรือปริญญาเอกทางกฎหมายในประเทศไทย และ สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และได้ประกอบ วิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี เมื่อ ก.อ.พิจารณาเห็นว่า เป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๓๓ (๒) ถึง (๑๒) และได้ทำการทดสอบความรู้ในวิชากฎหมายแล้ว เห็นสมควรที่จะให้เข้ารับราชการ ก็ให้รัฐมนตรีสั่ง บรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ตามที่ ก.อ. กำหนด การบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ให้บรรจุให้ได้รับ เงินเดือนในอัตราขั้นต่ำของชั้น มาตรา ๒๖ อัยการผู้ช่วยที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัด ผู้ช่วยจะต้องได้รับการอบรมจากกรมอัยการมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และผลของการอบรมเป็นที่ พอใจของ ก.อ. ว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และความประพฤติ เหมาะสมที่จะเป็นอัยการ จังหวัดผู้ช่วย อัยการผู้ช่วยซึ่งได้รับการอบรมจากกรมอัยการมาแล้วหนึ่งปี แต่ผลของการ อบรมยังไม่เป็นที่พอใจของ ก.อ. ว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และความประพฤติ เหมาะสมที่ จะเป็นอัยการจังหวัดผู้ช่วย ก็ให้ได้รับการอบรมจากกรมอัยการต่อไปอีกหนึ่งปี เมื่อครบกำหนด ดังกล่าวแล้วหากผลของการอบรมยังไม่เป็นที่พอใจของ ก.อ. ให้รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ออกจาก ราชการ ในระหว่างเวลาปีแรกที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดผู้ช่วย หากปรากฏว่าผู้ได้รับแต่งตั้งไม่เหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งต่อไปให้รัฐมนตรีด้วยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจสั่งให้ออกจากราชการ มาตรา ๒๗ การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งนอกจากตำแหน่ง อัยการผู้ช่วยให้รัฐมนตรีเสนอ ก.อ. โดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถ ความรับผิดชอบ ประวัติการ ปฏิบัติราชการของบุคคลนั้นเทียบกับงานในตำแหน่งข้าราชการอัยการที่จะได้รับแต่งตั้งนั้น ๆ เพื่อ ให้ความเห็นชอบก่อนเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว จึงนำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง มาตรา ๒๘ การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการอัยการในชั้นหนึ่ง ๆ ให้รัฐมนตรี เป็นผู้สั่งเลื่อน ในเมื่อได้รับความเห็นชอบของ ก.อ. แล้ว โดยปกติปีละหนึ่งขั้น โดยคำนึงถึงคุณภาพ และปริมาณงานของตำแหน่งและผลของงานที่ได้ปฏิบัติมา การรักษาวินัย ตลอดจนความสามารถ และความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด ให้ออกเป็นกฎกระทรวง มาตรา ๒๙ การโอนข้าราชการอัยการไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการ ธุรการ โดยให้ได้รับเงินเดือนไม่สูงกว่าในขณะที่โอน ให้รัฐมนตรีสั่งได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้นั้น ยินยอม และ ก.อ. เห็นชอบ การโอนข้าราชการอัยการไปเป็นข้าราชการพลเรือน หรือข้าราชการฝ่ายอื่นให้ รัฐมนตรีสั่งได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้นั้นยินยอม และ ก.อ.เห็นชอบ การให้ข้าราชการอัยการไปทำงานในตำแหน่งข้าราชการธุรการหรือตำแหน่ง การเมืองในกระทรวงมหาดไทย ให้รัฐมนตรีสั่งได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ ในระหว่างที่ปฏิบัติงานเช่นว่านี้ ข้าราชการอัยการผู้นั้นจะทำการเกี่ยวกับการดำเนินคดีในหน้าที่ของพนักงานอัยการไม่ได้ มาตรา ๓๐ การโอนข้าราชการธุรการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการ อัยการโดยให้ได้รับเงินเดือนไม่สูงกว่าในขณะที่โอนมา อาจทำได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ แต่ข้าราชการ ธุรการผู้นั้นอย่างน้อยต้องเคยเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการประจำกอง หรืออัยการจังหวัด ผู้ช่วยมาแล้ว มาตรา ๓๑ ข้าราชการอัยการผู้ใดพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการไปโดยมิได้ มีความผิด หรือมีมลทินหรือมัวหมองในราชการ หรือไปรับราชการ ในกระทรวงทบวงกรมอื่นเมื่อจะ กลับเข้ารับตำแหน่งข้าราชการอัยการโดยรับเงินเดือนไม่สูงกว่าขณะพ้นจากตำแหน่งข้าราชการ อัยการ ถ้าไม่เป็นผู้ขาดคุณสมบัติ ตามมาตรา ๓๓ (๒) ถึง (๑๒) ก็ให้รัฐมนตรีสั่งบรรจุได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ มาตรา ๓๒ ข้าราชการอัยการผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการ รับราชการทหาร เมื่อผู้นั้นพ้นจากราชการทหาร โดยไม่มีความเสียหาย และประสงค์จะกลับเข้ารับ ราชการในตำแหน่งข้าราชการอัยการ โดยรับเงินเดือนเท่าที่ได้รับอยู่ในขณะที่ไปรับราชการทหาร ให้ ยื่นคำขอภายในกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันพ้นจากราชการทหารในกรณีเช่นว่านี้ ให้ รัฐมนตรีสั่งบรรจุได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ แต่ถ้าจะบรรจุให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าขณะที่ไปรับราชการ ทหารให้บรรจุได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ซึ่ง ก.อ. จะได้กำหนด หมวด ๒ การสอบคัดเลือก มาตรา ๓๓ ผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (๑) (ก) สอบไล่ได้เป็นธรรมศาสตร์บัณฑิต หรือนิติศาสตร์บัณฑิต หรือสอบไล่ได้ ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ ซึ่ง ก.อ. เทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี (ข) สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่ง เนติบัณฑิตยสภาและ (ค) ได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นข้าราชการตุลาการจ่าศาล รองจ่าศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดี พนักงานคุมประพฤติ นายทหารเหล่า พระธรรมนูญ หรือทนายความ หรือได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นตามที่ ก.อ. กำหนด ทั้งนี้ เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี และให้ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการ ประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ด้วย (๒) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด (๓) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปี (๔) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ (๕) เป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา (๖) ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี (๗) ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว (๘) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งให้พักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ ก่อนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ หรือตามกฎหมายอื่น (๙) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ (๑๐) ไม่เป็นผู้เคยรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษ สำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๑๑) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือจิต ฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือมีกายหรือจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการอัยการ หรือเป็นโรค ที่ระบุไว้ในกฎกระทรวง และ (๑๒) เป็นผู้ที่คณะกรรมการแพทย์มีจำนวนไม่น้อยกว่าสามคน ซึ่ง ก.อ. จะได้ กำหนดได้ตรวจร่างกายและจิตใจแล้ว และ ก.อ. ได้พิจารณารายงานของแพทย์ เห็นว่าสมควรรับ สมัครได้ ให้ ก.อ. มีอำนาจวางระเบียบเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบ คัดเลือกก่อนที่จะรับสมัครได้ มาตรา ๓๔ ให้ ก.อ. มีอำนาจกำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกตาม มาตรา ๓๓ ตลอดจนวางเงื่อนไขในการรับสมัคร เมื่อสมควรจะมีการสอบคัดเลือกเมื่อใด ให้กรมอัยการเสนอต่อ ก.อ. ให้ ก.อ. จัด ให้มีการสอบคัดเลือก เมื่อได้มีการสอบใหม่ และได้ประกาศผลของการสอบแล้ว บัญชีสอบคัดเลือก คราวก่อนเป็นอันยกเลิก มาตรา ๓๕ ผู้สอบคัดเลือกที่ได้คะแนนสูงให้ได้รับบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยก่อนผู้ที่ได้รับคะแนนต่ำลงมาตามลำดับแห่งบัญชีสอบ คัดเลือก หากได้คะแนนเท่ากันให้ใช้วิธีจับสลากเพื่อจัดลำดับที่ระหว่างผู้ที่ได้คะแนนเท่ากันนั้น ผู้สอบคัดเลือกได้ผู้ใด หากขาดคุณสมบัติหรือลักษณะข้อใดข้อหนึ่งตาม มาตรา ๓๓ หรือเป็นบุคคลที่ ก.อ. เห็นว่ามีชื่อเสียงหรือความประพฤติหรือเหตุอื่น ๆ ที่ไม่เหมาะสม จะเป็นข้าราชการอัยการผู้นั้นเป็นอันหมดสิทธิเข้ารับราชการตามผลของการสอบคัดเลือกนั้น หมวด ๓ การพ้นจากตำแหน่ง มาตรา ๓๖ ข้าราชการอัยการพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๓) ได้รับอนุญาตให้ลาออก (๔) โอนไปรับราชการทางอื่น (๕) ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการ ทหาร (๖) ถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๒๖ หรือมาตรา ๓๗ หรือมาตรา ๓๙ (๗) ถูกสั่งลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก การพ้นจากตำแหน่งของข้าราชการอัยการ เว้นแต่ตำแหน่งอัยการผู้ช่วย หาก เป็นกรณีตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ แต่ถ้าเป็นการพ้นจาก ตำแหน่งตาม (๔) (๕) (๖) หรือ (๗) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง พระบรมราชโองการดังกล่าวให้มีผลตั้งแต่วันโอนหรือวันออกจากราชการแล้วแต่กรณี มาตรา ๓๗ ผู้ได้รับบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด หากภายหลังปรากฏต่อ ก.อ. ว่าขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๕ หรือมาตรา ๓๓ ตั้งแต่ก่อนได้รับ การบรรจุ ให้รัฐมนตรีด้วยความเห็นชอบของ ก.อ.สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ แต่ทั้งนี้ไม่กระทบ กระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใด ที่รับจากทางราชการก่อนมีคำสั่งให้ออกนั้น และถ้าการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้วให้ถือว่า เป็นการสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ มาตรา ๓๘ ข้าราชการอัยการผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการให้ยื่นหนังสือ ขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งเพื่อให้รัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณา เมื่อรัฐมนตรีสั่ง อนุญาตแล้วให้ถือว่าพ้นจากตำแหน่ง ในกรณีที่ข้าราชการอัยการขอลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเพื่อ สมัครรับเลือกตั้ง ให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก นอกจากกรณีตามวรรคสอง ถ้ารัฐมนตรีเห็นว่า จำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการ จะยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกินสามเดือนนับแต่วันขอลาออกก็ได้ มาตรา ๓๙ เมื่อรัฐมนตรีเห็นสมควรให้ข้าราชการอัยการผู้ใดออกจากราชการ เพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน เหตุทุพพลภาพ หรือเหตุรับราชการนาน ตามกฎหมายว่าด้วย บำเหน็จบำนาญข้าราชการ ให้ทำได้ด้วยความเห็นชอบของ ก.อ. แต่การให้ออกจากราชการเพื่อรับ บำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน ให้ทำได้เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และได้ ดำเนินการสอบสวนตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในลักษณะ ๔ หมวด ๒ แล้ว ไม่ได้ความเป็นสัตย์ว่า กระทำผิดที่จะต้องถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก แต่ผู้นั้นมีมลทินหรือมัวหมอง จะให้รับ ราชการต่อไป จะเป็นการเสียหายแก่ราชการ (๒) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดบกพร่องต่อหน้าที่ หรือหย่อนความสามารถ ในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่สมควรที่จะให้คงเป็นข้าราชการอัยการต่อไป (๓) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการได้โดย สม่ำเสมอ แต่ไม่ถึงเหตุทุพพลภาพ หรือ (๔) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๓๓ (๒) หรือ (๑๑) หรือเป็นสมาชิกรัฐสภาซึ่งมาจากการเลือกตั้ง หรือเป็นข้าราชการการเมือง เว้นแต่กรณีตาม มาตรา ๒๙ วรรคสาม ลักษณะ ๔ วินัย การรักษาวินัย และการลงโทษ หมวด ๑ วินัย มาตรา ๔๐ ข้าราชการอัยการต้องรักษาวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้โดย เคร่งครัด ผู้ใดฝ่าฝืนจักต้องได้รับโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๓ แห่งลักษณะนี้ มาตรา ๔๑ ข้าราชการอัยการต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย ตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ มาตรา ๔๒ ข้าราชการอัยการจะเป็นกรรมการพรรคการเมือง สมาชิกพรรค การเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมืองไม่ได้ ในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา หรือผู้แทนทางการเมืองอื่นใดข้าราชการอัยการ จะเข้าเป็นตัวกระทำการ ร่วมกระทำการ หรือสนับสนุนในการโฆษณาหรือชักชวนใด ๆ ไม่ได้ มาตรา ๔๓ ข้าราชการอัยการต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งใน หน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย ห้ามมิให้ขัดขืนหลีกเลี่ยง ถ้าไม่เห็นพ้องด้วยคำสั่งนั้นจะเสนอ ความเห็นทัดทานเป็นหนังสือก็ได้ แต่ต้องเสนอโดยด่วน และเมื่อได้ทัดทานดังกล่าวแล้วผู้บังคับ บัญชามิได้สั่งถอนหรือแก้คำสั่งที่สั่งไป ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม แต่ให้ผู้บังคับบัญชารีบ รายงานขึ้นไปยังอธิบดีตามลำดับ ในการปฏิบัติราชการ ห้ามมิให้กระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ จะได้รับอนุญาต มาตรา ๔๔ ข้าราชการอัยการต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความระมัดระวัง มิให้เสียหายแก่ราชการ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม มาตรา ๔๕ ข้าราชการอัยการต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงาน โดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องบอกถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย มาตรา ๔๖ ข้าราชการอัยการต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการจะละทิ้งหรือ ทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้ ข้าราชการอัยการต้องไม่ประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพ หรือกระทำกิจการใดอัน เป็นการกระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ หรือเสื่อมเสียถึงเกียรติศักดิ์แห่งตำแหน่งหน้าที่ ราชการ ข้าราชการอัยการต้องไม่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือที่ปรึกษากฎหมาย หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนบริษัท ข้าราชการอัยการต้องไม่เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐใน ทำนองเดียวกัน เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจาก ก.อ. มาตรา ๔๗ ข้าราชการอัยการต้องไม่กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว เช่น ประพฤติตนเป็นคนเสเพล มีหนี้สินรุงรัง เสพของมึนเมาจนไม่สามารถครองสติได้ เล่นการพนัน เป็นอาจิณ กระทำความผิดอาญา หรือกระทำการอื่นใด ซึ่งความประพฤติหรือการกระทำดังกล่าว แล้วอาจทำให้เสียเกียรติศักดิ์แห่งตำแหน่งหน้าที่ราชการ มาตรา ๔๘ ข้าราชการอัยการต้องต้อนรับ ให้ความสะดวก และให้ความ สงเคราะห์ต่อประชาชนผู้มาติดต่อในกิจการอันเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตนโดยไม่ชักช้า ห้ามมิให้ดูหมิ่นเหยียดหยามบุคคลใด ๆ และต้องสุภาพเรียบร้อยต่อประชาชน มาตรา ๔๙ ข้าราชการอัยการต้องถือและปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทาง ราชการ มาตรา ๕๐ ข้าราชการอัยการต้องสุภาพเรียบร้อยและรักษาความสามัคคี ระหว่างข้าราชการและต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหน้าที่ราชการ มาตรา ๕๑ ข้าราชการอัยการต้องรักษาความลับของทางราชการ มาตรา ๕๒ ผู้บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดรู้ว่าผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา กระทำผิดวินัยแล้วไม่จัดการสอบสวนพิจารณาและดำเนินการตามความในหมวด ๒ และหมวด ๓ แห่งลักษณะนี้ หรือตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน แล้วแต่กรณี หรือไม่จัดการ ลงโทษตามอำนาจและหน้าที่หรือจัดการลงโทษโดยไม่สุจริต ให้ถือว่าผู้บังคับบัญชาผู้นั้นกระทำ ผิดวินัย หมวด ๒ การรักษาวินัย มาตรา ๕๓ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่า กระทำผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการสอบสวนชั้นต้นโดยมิชักช้า วิธีการสอบสวนชั้นต้นจะทำโดยให้ผู้มีกรณีเกี่ยวข้องชี้แจ้งเรื่องราวเป็นหนังสือ หรือโดยบันทึกเรื่องราวและความเห็นก็ได้ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สอบสวนชั้นต้นแล้ว เห็นว่า ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำ ผิดวินัยไม่ร้ายแรง ให้ดำเนินการตามมาตรา ๖๓ แต่ถ้าเห็นว่าเป็นกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ดำเนินการตามมาตรา ๕๔ หรือมาตรา ๕๖ แล้วแต่กรณี แต่ถ้าเกินอำนาจของตนให้รายงานไป ยังผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปตามลำดับเพื่อดำเนินการตามควรแก่กรณี มาตรา ๕๔ ข้าราชการอัยการผู้ใดซึ่งผู้บังคับบัญชาเห็นว่ากระทำผิดวินัย อย่างร้ายแรงที่มีโทษถึงไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก ให้ผู้บังคับบัญชาต่อไปนี้แต่งตั้งคณะ กรรมการขึ้นอย่างน้อยสามคน เพื่อทำการสอบสวน คือ (๑) รัฐมนตรี สำหรับข้าราชการอัยการทุกชั้น (๒) อธิบดี สำหรับข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๑ และชั้น ๒ กรรมการตามวรรคหนึ่งต้องเป็นข้าราชการอัยการ ในการสอบสวนนั้น คณะกรรมการสอบสวนต้องแจ้งข้อกล่าวหา และ รายละเอียดเท่าที่มีอยู่ให้ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยทราบ และต้องให้โอกาสแก่ผู้ถูกกล่าวหาว่า กระทำผิดวินัยชี้แจงและนำพยานหลักฐานเข้าสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ด้วย ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวนให้เสร็จโดยเร็วกำหนดอย่างช้า ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันได้รับแต่งตั้ง ถ้ามีความจำเป็น ซึ่งจะสอบสวนไม่ทันภายในกำหนดนั้นก็ ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง แต่ละครั้งเป็นเวลาไม่เกินสิบห้าวัน และต้องแสดงเหตุที่ ต้องขยายเวลาไว้ด้วยทุกครั้ง แต่ถ้าขยายเวลาแล้วยังสอบสวนไม่เสร็จ จะขยายเวลาต่อไปอีกได้ต่อ เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้แต่งตั้ง หลักเกณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวกับการสอบสวนให้เป็นไปตามที่ ก.อ. กำหนด เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้ทำการสอบสวนเสร็จแล้ว ให้รายงานเสนอ ความเห็นต่ออธิบดี โดยให้ผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกกล่าวหาตามลำดับได้แสดงความเห็นเสียก่อน ด้วย ถ้าคณะกรรมการหรือผู้บังคับบัญชาดังกล่าว หรืออธิบดี เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัย ก็ ให้อธิบดีทำความเห็นรายงานไปยัง ก.อ. เมื่อ ก.อ. ได้พิจารณาเห็นสมควรลงโทษ ไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ จึงให้รัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีสั่งไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการต่อไป ในกรณีข้าราชการอัยการถูกฟ้องคดีอาญา จะใช้คำพิพากษาถึงที่สุดของศาล ประกอบการพิจารณาของ ก.อ. โดยไม่ต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนก็ได้ มาตรา ๕๕ ให้กรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพียง เท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของกรรมการสอบสวน และโดยเฉพาะให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วยคือ (๑) เรียกให้กระทรวงทบวงกรม หน่วยราชการ หรือรัฐวิสาหกิจชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐาน ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน (๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำ หรือ ให้ส่งเอกสารและ หลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน มาตรา ๕๖ ข้าราชการอัยการผู้ใด กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และเป็นกรณี ความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่ ก.อ. กำหนด หรือได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับ บัญชาหรือต่อคณะกรรมการสอบสวน รัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรี จะพิจารณาสั่งลงโทษโดยไม่ต้องสอบสวนก็ได้ ทั้งนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบของ ก.อ. ก่อน มาตรา ๕๗ ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือถูกฟ้องคดีอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือ ความผิดลหุโทษ ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่าจะให้อยู่ในหน้าที่ราชการระหว่างสอบสวนหรือพิจารณา จะเป็นการเสียหายแก่ราชการ จะสั่งให้พักราชการก็ได้ ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจสั่งให้พักราชการ คือ (๑) รัฐมนตรี สำหรับข้าราชการอัยการทุกชั้น (๒) อธิบดี สำหรับข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๑ และชั้น ๒ การให้พักราชการนั้น ให้พักตลอดเวลาที่สอบสวนพิจารณา หรือตลอดเวลาที่ คดียังไม่ถึงที่สุดเมื่อสอบสวนพิจารณาเสร็จแล้ว หรือคดีถึงที่สุดแล้ว ถ้าปรากฏว่าผู้ถูกสั่งให้พัก ราชการมิได้กระทำความผิดและไม่มีมลทิน หรือมัวหมอง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจสั่งให้พัก ราชการสั่งให้รับราชการตามเดิม เงินเดือนของผู้ถูกสั่งให้พักราชการดังกล่าว ให้เป็นไปตาม กฎหมายว่าด้วยการนั้น มาตรา ๕๘ ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา หรือถูกฟ้องคดีอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดย ประมาทหรือความผิดลหุโทษ แม้ภายหลังผู้นั้นจะพันจากตำแหน่งข้าราชการอัยการไปแล้ว ก็อาจมี การสอบสวนหรือพิจารณาเพื่อลงโทษ หรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้เป็นไปตามลักษณะนี้ได้ เว้นแต่ ข้าราชการอัยการผู้นั้นจะพ้นจากตำแหน่งเพราะตาย หมวด ๓ การลงโทษ มาตรา ๕๙ โทษผิดวินัยมี ๕ สถาน คือ (๑) ไล่ออก (๒) ปลดออก (๓) ให้ออก (๔) งดบำเหน็จความชอบ (๕) ภาคทัณฑ์ การสั่งลงโทษข้าราชการอัยการในสถานไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกนั้น จะกระทำได้เมื่อได้ดำเนินการสอบสวนพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๒ แห่งลักษณะนี้แล้ว มาตรา ๖๐ การไล่ออกนั้นรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมาย จากรัฐมนตรีจะสั่งลงโทษได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงดังต่อไปนี้ (๑) ทุจริตต่อหน้าที่ราชการ (๒) ทำความผิดอาญาและต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก เว้นแต่ เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๓) ต้องคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายทุจริตตามกฎหมายว่าด้วย ล้มละลาย (๔) เปิดเผยความลับของทางราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการ อย่างร้ายแรง (๕) ละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นเหตุให้เสียหายแก่ ราชการอย่างร้ายแรง หรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดย ไม่มีเหตุผลอันสมควร (๖) ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย และการขัดคำสั่งนั้น อาจเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๗) ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการหรือปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือระเบียบของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๘) ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง มาตรา ๖๑ การปลดออกนั้น รัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมาย จากรัฐมนตรีจะสั่งลงโทษได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่ยังไม่ถึง ขนาดที่จะต้องถูกไล่ออกจากราชการ หรือถึงขนาดที่จะต้องไล่ออก แต่มีเหตุอันควรลดหย่อน มาตรา ๖๒ การให้ออกนั้น รัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมาย จากรัฐมนตรีจะสั่งลงโทษได้ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่ยังไม่ถึง ขนาดที่จะต้องถูกปลดออก หรือถึงขนาดที่จะต้องถูกปลดออก แต่มีเหตุอันควรลดหย่อน ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรานี้ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ เสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ มาตรา ๖๓ ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง และผู้บังคับบัญชา สอบสวนพิจารณาแล้วเห็นว่าสมควรลงโทษเพียงสถานงดบำเหน็จความชอบเป็นเวลาไม่เกินสามปี หรือถ้ามีเหตุสมควรปรานี จะลงโทษเพียงภาคทัณฑ์โดยจะให้ทำทัณฑ์บนไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้ ก็ให้ผู้ บังคับบัญชารายงานตามลำดับถึงอธิบดีเพื่อเสนอ ก.อ. เมื่อ ก.อ. พิจารณาเห็นสมควรลงโทษสถาน ใด ก็ให้รายงานไปยังรัฐมนตรีเพื่อสั่ง มาตรา ๖๔ ในคำสั่งลงโทษ ให้แสดงว่าผู้รับโทษนั้นกระทำผิดวินัยในกรณีใด ตามมาตราใด มาตรา ๖๕ ถ้าปรากฏว่าคำสั่งลงโทษทางวินัยได้สั่งไปโดยผิดหลงให้รัฐมนตรีมี อำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นคุณแก่ผู้ถูกลงโทษได้ แต่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช่นว่านี้ จะต้องได้ รับอนุมัติจาก ก.อ. ก่อน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ให้กระทำได้ภายในกำหนด สองปีนับแต่วันสั่งลงโทษ ลักษณะ ๕ ข้าราชการธุรการ มาตรา ๖๖ ในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการธุรการ ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนสามัญ มาใช้บังคับ ตำแหน่งข้าราชการอัยการใดเป็นตำแหน่งผู้บังคับบัญชาข้าราชการธุรการ โดยเทียบกับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งใด ให้กำหนดโดยกฎ ก.พ. บทเฉพาะกาล มาตรา ๖๗ ให้กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งอยู่ในตำแหน่งในวันที่พระราช บัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาคงอยู่ในตำแหน่งต่อไป จนกว่าจะได้มีการเลือกกรรมการ อัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัตินี้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ ใช้บังคับ มาตรา ๖๘ ผู้ใดเป็นข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้นั้นเป็น ข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไป โดยให้ได้รับเงินเดือนในอัตราเท่ากับเงินเดือนที่ได้รับ อยู่ เว้นแต่ผู้ที่ได้รับเงินเดือนไม่ถึงขั้นต่ำของชั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้ ผู้นั้นได้รับเงินเดือนขั้นต่ำของชั้นนั้น มาตรา ๖๙ ผู้ใดเป็นข้าราชการธุรการสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้ นั้นเป็นข้าราชการธุรการตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไป มาตรา ๗๐ ผู้ใดเป็นข้าราชการธุรการวิสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้ นั้นเป็นข้าราชการธุรการวิสามัญต่อไป และให้นำมาตรา ๑๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๗๑ ข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยในขณะที่พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ใช้บังคับ และผู้บังคับบัญชาได้สั่งให้ดำเนินการสอบ สวนแล้ว ถ้าการสั่งและการสอบสวนพิจารณาที่ได้กระทำไปแล้วถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ใน ขณะนั้น ให้ถือว่าเป็นอันสมบูรณ์ ถ้ากรณียังค้างระหว่างการสอบสวน ก็ให้ดำเนินการสอบสวนตาม กฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะเสร็จ แต่การพิจารณาและการสั่งลงโทษให้ดำเนินการตามพระราช บัญญัตินี้ มาตรา ๗๒ ผู้ที่ได้ยื่นใบสมัครเข้าเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการ ผู้ช่วยไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงถือคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ผู้ที่ ก.อ. ได้ลงมติให้รับเข้าเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ตาม มาตรา ๑๔ และผู้สอบคัดเลือกได้ตามมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่าย อัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงมีสิทธิได้รับบรรจุเป็นข้าราชการ อัยการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยต่อไป มาตรา ๗๓ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ ที่จะได้ประกาศใช้ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๒๐ มิให้นำความใน มาตรา ๓๙ (๔) ในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการการเมืองมาใช้บังคับแก่ข้าราชการอัยการ มาตรา ๗๔ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาบรรจุบุคคลซึ่งเคยรับราชการ และออกจากราชการไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เข้ารับราชการ ให้ปรับเงินเดือนที่ผู้นั้น ได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้เข้าชั้น และขั้นตามบัญชีที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่กลับเข้ารับราชการ ในกรณีที่ผู้เข้ารับราชการเป็นผู้ซึ่งออกจากราชการก่อนมีการปรับอัตราเงินเดือน ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๗ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๐ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๖๐ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ หรือพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๑๗ ให้ปรับเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการ ตามพระราชบัญญัติและ ประกาศนั้น ๆ เสียก่อน แล้วจึงปรับเงินเดือนตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่มีการปรับเงินเดือนของผู้ที่กลับเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งและ วรรคสองแล้วยังปรากฏว่าผู้เข้ารับราชการได้รับเงินเดือนไม่ถึงขั้นต่ำของชั้นตามบัญชีอัตรา เงินเดือนข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้ ก.อ. เป็นผู้พิจารณาว่าผู้นั้นสมควรได้รับการ บรรจุในชั้นหรือขั้นใด ทั้งนี้ ก.อ. จะกำหนดให้ได้รับเงินเดือนในชั้นที่ต่ำกว่าขั้นต่ำของชั้นเป็นกรณี เฉพาะรายก็ได้ มาตรา ๗๕ ข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญ หรือ ข้าราชการซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือพนักงานเทศบาลที่ไม่ใช่พนักงาน เทศบาลวิสามัญซึ่งสอบคัดเลือก หรือทดสอบความรู้เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการอัยการใน ตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ และ เจ้าสังกัดได้ทำความตกลงกับกรมอัยการให้โอนมาบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการ ผู้ช่วยก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้นับเวลาราชการหรือเวลาทำงานของตนในขณะที่เป็น ข้าราชการ หรือพนักงานเทศบาลเป็นเวลาราชการของข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย มาตรา ๗๖ ในระหว่างที่ยังมิได้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ กฎหมายว่าด้วยเงินเดือนของข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการ และกฎหมายว่าด้วยบัตร ประจำตัวข้าราชการ พนักงานเทศบาล พนักงานสุขาภิบาล และพนักงานองค์การของรัฐเพื่อให้มีผล บังคับรวมถึงข้าราชการฝ่ายอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าข้าราชการฝ่ายอัยการเป็น ข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กฎหมายว่าด้วยเงินเดือนของ ข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการและกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวข้าราชการ พนักงานเทศบาล พนักงานสุขาภิบาล และพนักงานองค์การของรัฐอยู่ต่อไป มาตรา ๗๗ ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกา ออกกฎกระทรวง กฎ ก.พ. ข้อกำหนด ข้อบังคับ ระเบียบ หรือประกาศ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง กฎ ก.พ. ข้อกำหนด ข้อบังคับ ระเบียบหรือประกาศที่ใช้อยู่ในวันที่ พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษามาใช้บังคับโดยอนุโลมเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับ บทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรี บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ* [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] *[บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ได้ใช้บังคับมานานแล้ว แม้จะได้ปรับปรุงแก้ไขมาหลายครั้ง ก็ ยังมีบทบัญญัติหลายมาตราไม่เหมาะสมกับกาลสมัย และเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการบริหารงาน บุคคลในปัจจุบัน สมควรจะได้ปรับปรุงแก้ไขเสียใหม่ อันจะทำให้ราชการของกรมอัยการดำเนินไป ได้ผลดียิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๕ การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้เข้าชั้นและขั้นตามบัญชี อัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ หมายเลข ๑ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรี กำหนด แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่ต่ำกว่าชั้นและขั้นที่ข้าราชการอัยการผู้นั้นดำรงอยู่และได้รับอยู่เดิม มาตรา ๖ เพื่อประโยชน์ในการบรรจุบุคคลซึ่งเคยเป็นข้าราชการอัยการและ ออกจากราชการไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับกลับเข้ารับราชการ ให้ปรับอัตราเงินเดือนที่ ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้ตรงกับชั้นและขั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ที่ใช้อยู่ในขณะกลับเข้ารับราชการ และให้นำมาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือน ข้าราชการอัยการที่ปรับปรุงใหม่ไม่ได้ส่วนสัมพันธ์กับอัตราเงินเดือนของข้าราชการประเภทอื่น ๆ ที่ได้รับการปรับปรุงแล้ว สมควรแก้ไขอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้อง ตราพระราชบัญญัตินี้ [รก.๒๕๒๑/๑๐๓/๓๘พ/๒๗ กันยายน ๒๕๒๑] ดวงใจ/แก้ไข ๐๕/๐๓/๔๕
565240
พระราชกฤษฎีกาเครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง พ.ศ. 2524 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง พ.ศ. ๒๕๒๔ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๔ เป็นปีที่ ๓๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง พ.ศ. ๒๕๒๔” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ เครื่องแบบข้าราชการอัยการ ให้มี ๒ ชนิด คือ (๑) เครื่องแบบปฏิบัติราชการ มี ๒ ประเภท ก. เครื่องแบบสีกากีคอพับ ข.เครื่องแบบสีกากีคอแบะ (๒) เครื่องแบบพิธีการ มี ๕ ประเภท ก. เครื่องแบบปกติขาว ข. เครื่องแบบปกติกากีคอตั้ง ค. เครื่องแบบครึ่งยศ ง. เครื่องแบบเต็มยศ จ. เครื่องแบบสโมสร มาตรา ๔ เครื่องแบบปฏิบัติราชการ ประกอบด้วย (๑) หมวก ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้หมวกได้ ๒ แบบ แบบที่ ๑ หมวกทรงหม้อตาลสีกากี กะบังหน้าทำด้วยหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำ สายรัดคางหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำ มีดุมโลหะทีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็กติดที่ข้างหมวกข้างละ ๑ ดุม ผ้าพันหมวกสีกากี ที่หน้าหมวกติดตราครุฑพ่าห์ในบัวกระหนกทำด้วยโลหะสีทอง สูง ๖.๕ เซนติเมตร แบบที่ ๒ หมวกแก๊ปทรงอ่อนสีกากี ที่หน้าหมวกติดตราครุฑพ่าห์ปักดิ้นสีทองสูง ๔.๕ เซนติเมตร ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้หมวกได้ ๓ แบบ แบบที่ ๑ อนุโลมตามแบบหมวกของข้าราชการอัยการชาย แบบที่ ๑ แต่เป็นทรงอ่อน แบบที่ ๒ หมวกแก๊ปทรงอ่อนพับปีกสีกากี สายรัดคางสีทอง กว้าง ๑ เซนติเมตรมีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็กติดที่ข้างหมวกข้างละ ๑ ดุม ผ้าพันหมวกสีกากี ที่หน้าหมวกติดตราครุฑพ่าห์ปักดิ้นสีทองสูง ๔.๕ เซนติเมตร บนหมอนสีกากี แบบที่ ๓ หมวกหนีบสีกากี ด้านหน้ามีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็ก๒ ดุม ติดซ้อนกัน มีตราครุฑพ่าห์ในบัวกระหนกสูง ๔.๕ เซนติเมตร ติดที่ด้านซ้ายเหนือขอบหมวกห่างจากมุมพับด้านหน้าหมวกประมาณ ๔ เซนติเมตร การสวมหมวก ให้สวมในโอกาสอันควร (๒) เสื้อ ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้เสื้อได้ ๒ แบบ แบบที่ ๑ เสื้อคอพับสีประเภทสีกากีแขนยาวรัดข้อมือ มีดุมที่ข้อมือข้างละ ๑ ดุม หรือแขนสั้น มีกระเป๋าเย็บติดที่หน้าอกเสื้อข้างละ ๑ กระเป๋า เป็นกระเป๋าเสื้อมีแถบอยู่ตรงกลางตามทางดิ่ง กว้าง ๓.๕ เซนติเมตร มีใบปกกระเป๋ารูปมนชายกลางแหลมหรือเป็นกระเป๋าเสื้อชนิดไม่มีแถบกลางกระเป๋า และใบปกกระเป๋าเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มุมกระเป๋าและมุมปกกระเป๋าเป็นรูปตัดพองาม ที่ปากกระเป๋าทั้งสองข้างติดดุมข้างละ ๑ ดุม สำหรับขัดกับใบปกกระเป๋า ตัวเสื้อผ่าอกตลอด มีสาบกว้าง ๓.๕ เซนติเมตร ติดดุมตามแนวอกเสื้อ ๕ ดุม ระยะห่างกันพอสมควรและติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้างที่ไหล่เสื้อประดับอินทรธนูสีเดียวกับเสื้อยาวตามความยาวของบ่า เย็บติดกับเสื้อเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอ ปลายมน ด้านไหล่กว้าง ๔ เซนติเมตร ด้านคอกว้าง ๓ เซนติเมตร ตอนปลายขัดดุมติดกับตัวเสื้อ ในโอกาสไปงานพิธี ให้ใช้เสื้อเชิ้ตแขนยาว ผูกผ้าพันคอสีดำ เงื่อนกลาสี สอดชายผ้าผูกคอไว้ภายในเสื้อใต้ดุมเม็ดที่สอง แบบที่ ๒ เสื้อคอแบะปล่อยเอว แบบคอตื้น สีประเภทสีกากีแขนสั้น ตัวเสื้อผ่าอกตลอด มีดุมที่อกเสื้อ ๔ ดุม มีกระเป๋าเย็บติดภายนอกเป็นกระเป๋าบนและล่างอย่างละ ๒ กระเป๋า กระเป๋าบนมีใบปกมนชายกลางแหลม มีแถบกว้าง ๓.๕ เซนติเมตร ตรงกึ่งกลางกระเป๋าทางดิ่งกระเป๋าล่างเป็นกระเป๋าย่ามมีใบปกรูปตัด ที่ฝากระเป๋าทั้งสองกระเป๋าติดดุมข้างละ ๑ ดุม สำหรับขัดกับใบปกกระเป๋า ที่เอวด้านหลังคาดด้วยผ้าสีเดียวกับเสื้อขนาดกว้าง ๕ เซนติเมตร ชายเสื้อที่ตะเข็บกลางหลังเปิดไว้ถึงผ้าคาดเอว ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง ให้ใช้เสื้อแบบที่ ๒ แทนแบบที่ ๑ ในโอกาสอันควร ดุมที่ใช้กับเสื้อทั้งสองแบบมีลักษณะเป็นรูปกลมแบนทำด้วยวัตถุสีเดียวกับสีเสื้อ ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้ประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าบนซ้าย ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้เสื้อได้ ๔ แบบ แบบที่ ๑ อนุโลมตามแบบเสื้อของข้าราชการอัยการชาย แบบที่ ๑ แบบที่ ๒ เสื้อคอพับสีประเภทสีกากี สีอ่อนกว่ากระโปรงหรือสีเดียวกับกระโปรง ผ่าอกตลอดตัวเสื้อ มีสาบกว้างประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร แขนยาวรัดข้อมือขอบปลายแขนกว้างประมาณ ๕ เซนติเมตร หรือแขนสั้นเหนือข้อศอกเล็กน้อย ตลบชายกว้างประมาณ ๕ เซนติเมตร เดินคิ้วด้านหน้าเสื้อต่อจากเส้นบ่า มีตะเข็บผ่ากลางอกยาว ตลอดตัวทั้งสองด้าน มีดุม ๕ ดุม ด้านหลังจากเส้นต่อบ่าหลังมีตะเข็บผ่านตามตัวเสื้อทั้งสองด้านเช่นเดียวกับด้านหน้า ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง ที่ไหล่เสื้อประดับอินทรธนูสีเดียวกับเสื้อยาวตามความยาวของบ่าเย็บติดกับเสื้อเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอปลายมนด้านไหล่กว้าง ๔ เซนติเมตร ด้านคอกว้าง ๓ เซนติเมตร ตอนปลายขัดดุมติดกับตัวเสื้อ การสวมสอดชายเสื้อไว้ในขอบกระโปรง แบบที่ ๓ เสื้อคอพับปล่อยเอว สีประเภทสีกากี สีเดียวกับกระโปรงหรือกางเกง ผ่าอกตลอดตัวเสื้อ ไม่มีสาบ ด้านหน้ามีคิ้วตามสาบ มีดุม ๔ ดุม แขนยาวหรือแขนสั้นตลบชายกว้างประมาณ ๕ เซนติเมตรมีคิ้วหน้าหลัง เช่นเดียวกับแบบที่ ๒ และมีเส้นแนวตะเข็บเช่นเดียวกับแบบที่ ๒ ทั้งหน้าหลังความยาวของเสื้อให้คลุมสะโพกพองาม ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง ที่ไหล่เสื้อประดับอินทรธนูสีเดียวกับเสื้อยาวตามความยาวของบ่าเย็บติดกับเสื้อเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอ ปลายมน ด้านไหล่กว้าง ๔ เซนติเมตร ด้านคอกว้าง ๓ เซนติเมตร ตอนปลายขัดดุมติดกับตัวเสื้อ แบบที่ ๔ เสื้อคอแบะปล่อยเอวสีประเภทสีกากี สีเดียวกับกระโปรงหรือกางเกง ผ่าอกตลอดตัวเสื้อ ไม่มีสาบ แขนยาวจรดข้อมือ หรือแขนสั้นเหนือศอกเล็กน้อย ตลบชายกว้างประมาณ ๕ เซนติเมตร ด้านหน้าเป็นคิ้วตามสาบ ดุม ๓ ดุม ต่อด้านหน้าและด้านหลังยาวตามตัวติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอแบะทั้งสองข้าง และมีกระเป๋าล่างข้างละ ๑ กระเป๋า เป็นกระเป๋าเจาะเฉียงเล็กน้อย ไม่มีใบปกกระเป๋า ดุมที่ใช้กับเสื้อแบบที่ ๒ แบบที่ ๓ และแบบที่ ๔ เป็นดุมสีน้ำตาลสีเดียวกับสีเสื้อ การสวมเสื้อแบบที่ ๓ และแบบที่ ๔ ให้ปล่อยชายเสื้อทับกระโปรงหรือกางเกงและคาดเข็มขัดตาม (๕) แบบที่ ๒ ทับเอวเสื้อ ในโอกาสไปงานพิธี ให้ใช้เสื้อแบบที่ ๑ หรือแบบที่ ๒ โดยใช้เสื้อเชิ้ตแขนยาวผูกผ้าผูกคอสีดำเงื่อนกลาสี สอดชายผ้าผูกคอไว้ภายในเสื้อใต้ดุมเม็ดที่สอง ผู้ซึ่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้ประดับแพรแถบครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าบนซ้ายด้าย (๓)[๑] อินทรธนู ให้ใช้อินทรธนูอ่อน มีเครื่องหมายชั้นบนอินทรธนู ดังต่อไปนี้ ข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป มีแถบกว้าง ๓ เซนติเมตร ติด ทางต้นอินทรธนู ๑ แถบ และแถบกว้าง ๑ เซนติเมตร ติดเรียงถัดไปอีก ๑ แถบ แถบบนขมวด เป็นวงกลม ขนาดวัดเส้นผ่าศูนย์กลางวงใน ๑ เซนติเมตร เว้นฐานด้านล่างของวงกลมไว้ ๑.๗ เซนติเมตร ภายในขมวดวงกลมมีรูปพระไพศรพณ์โลหะสีทองประดับทับอยู่บนพื้นอินทรธนู ฐานของรูปพระไพศรพณ์อยู่เหนือแถบต้น ข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๑ มีแถบกว้าง ๑ เซนติเมตร ๓ แถบ แถบบนขมวดเป็นวงกลม ขนาดวัดเส้นผ่านศูนย์กลางวงใน ๑ เซนติเมตร เว้นฐานด้านล่างของ วงกลมไว้ ๑.๗ เซนติเมตร ภายในขมวดวงกลมมีรูปพระไพศรพณ์โลหะสีทองประดับทับอยู่ บนพื้นอินทรธนู ฐานของรูปพระไพศรพณ์อยู่เหนือแถบที่สอง (๔) กางเกง กระโปรง ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้กางเกงแบบราชการสีประเภทสีกากี ไม่พับปลายขา ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้กางเกงหรือกระโปรงสีประเภทสีกากีได้ ๕ แบบ แบบที่ ๑ กางเกง อนุโลมตามแบบของข้าราชการอัยการชาย แบบที่ ๒ กางเกงขายาว ขาตรง ไม่มีลวดลาย ขอบกางเกงกว้าง ประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร มีหรือไม่มีกระเป๋าก็ได้ มีซิบด้านหน้าหรือด้านข้าง ไม่พับปลายขา แบบที่ ๓ กระโปรงยาวปิดเข่า ปลายบานเล็กน้อย แบบที่ ๔ กระโปรง มีตะเข็บหน้า ๒ ตะเข็บ ตะเข็บหลัง ๒ ตะเข็บ ยาวครึ่งเข่าปลายบานเล็กน้อย แบบที่ ๕ กระโปรงกางเกง แบบกางเกงยาวครึ่งเข่า มีตะเข็บหน้า ๒ ตะเข็บตะเข็บหลัง ๒ ตะเข็บ มีจีบกระทบด้านหน้าและด้านหลัง (๕) เข็มขัด ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้เข็มขัดทำด้วยด้ายถักสีกากี กว้าง ๓ เซนติเมตรหัวเข็มขัดทำด้วยโลหะสีทองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทางนอนปลายมน กว้าง ๓.๕ เซนติเมตรยาว ๕ เซนติเมตร มีรูปครุฑดุนนูนอยู่กึ่งกลางหัวเข็มขัด ไม่มีเข็มสำหรับสอดรู ปลายเข็มขัดหุ้มด้วยโลหะสีทองกว้าง ๑ เซนติเมตร ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้เข็มขัดได้ ๒ แบบ แบบที่ ๑ ใช้คาดทับขอบกระโปรง โดยใช้เข็มขัดอนุโลมตามแบบข้าราชการอัยการชาย แบบที่ ๒ ใช้คาดทับเสื้อ โดยใช้เข็มขัดผ้ามีประเภทสีกากีสีเดียวกับเสื้อกว้าง ๒.๕ เซนติเมตร หัวสี่เหลี่ยมหุ้มผ้า (๖) รองเท้า ถุงเท้า ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้รองเท้าหุ้มส้นหรือหุ้มข้อหนังหรือวัตถุเทียม หนังสีดำหรือสีน้ำตาลไม่มีลวดลาย ถุงเท้าสีเดียวกับรองเท้า ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้รองเท้าหุ้มส้นหรือรัดส้นหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำหรือสีน้ำตาลแบบปิดปลายเท้า ไม่มีลวดลาย ส้นสูงไม่เกิน ๑๐ เซนติเมตร และจะใช้ถุงเท้ายาวสีเนื้อด้วยก็ได้ (๗)[๒] เครื่องหมายแสดงสังกัด ข้าราชการอัยการขาย ให้มีเครื่องหมายแสดงสังกัดทำด้วยโลหะโปร่งสีทองรูป พระมหาพิชัยมงกุฎ ประดิษฐานเหนือพระแว่นสุริยากานต์และตราชูรูปพระขรรค์รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์ไม่มีขอบ สูง ๒.๔ เซนติเมตร ติดที่คอเสื้อตอนหน้าทั้งสองข้าง ข้าราชการอัยการหญิง ให้มีเครื่องหมายแสดงสังกัดเช่นเดียวกับข้าราชการอัยการชาย เสื้อแบบที่ ๑ แบบที่ ๒ และแบบที่ ๓ ติดที่ปกเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง เสื้อแบบที่ ๔ ติดที่ปกคอแบะทั้งสองข้างเหนือแนวเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (๘) ป้ายชื่อและตำแหน่ง ให้มีป้ายชื่อพื้นสีดำ ขนาดกว้างไม่เกิน ๒.๕ เซนติเมตร ยาว ไม่เกิน๗.๕ เซนติเมตร แสดงชื่อตัว ชื่อสกุล และชื่อตำแหน่ง ประดับที่อกเสื้อ หรือเหนือกระเป๋าบนขวาของเสื้อคอแบะปล่อยเอว มาตรา ๕ เครื่องแบบพิธีการ ก. เครื่องแบบปกติขาว ประกอบด้วย (๑) หมวก ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้หมวกทรงหม้อตาลสีขาว กะบังหน้าทำด้วยหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำ สายรัดคางสีทองกว้าง ๑ เซนติเมตร มีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็กติดที่ข้างหมวกข้างละ ๑ ดุม ผ้าพันหมวกสีขาว ที่หน้าหมวกติดตราครุฑพ่าห์ปักดิ้นสีทองสูง ๕ เซนติเมตร บนหมอนสักหลาดสีขาว ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้หมวกได้ ๒ แบบ แบบที่ ๑ อนุโลมตามแบบหมวกของข้าราชการอัยการชาย แต่เป็นทรงอ่อน แบบที่ ๒ หมวกแก๊ปทรงอ่อนพับปีกสีขาว สายรัดคางสีทอง มีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็กติดที่ข้างหมวกข้างละ ๑ ดุม ผ้าพันหมวกสีขาว ที่หน้าหมวกติดตราครุฑพ่าห์ปักดิ้นสีทองสูง ๔.๕ เซนติเมตร บนหมอนสักหลาดสีขาว การสวมหมวก ให้สวมในโอกาสอันควร (๒) เสื้อ ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้เสื้อแบบราชการสีขาว ใช้ดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดใหญ่ ๕ ดุม ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าบนซ้ายด้วย ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้เสื้อนอกคอแบะสีขาว แบบคอแหลมหรือคอป้านแขนยาวถึงข้อมือ มีตะเข็บหลัง ๔ ตะเข็บ ที่แนวสาบอกมีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๕ เซนติเมตร ๓ ดุม สำหรับแบบเสื้อคอแหลม และ ๕ ดุม สำหรับแบบเสื้อคอป้านมีกระเป๋าล่างข้างละ ๑ กระเป๋า เป็นกระเป๋าเจาะเฉียงเล็กน้อย ไม่มีใบปกกระเป๋า และให้ใช้เสื้อคอพับแขนยาวสีขาว ผูกผ้าพันคอสีดำเงื่อนกลาสี ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเบื้องซ้ายด้วย (๓)[๓] อินทรธนู ให้ใช้อินทรธนูแข็งกว้าง ๔ เซนติเมตร ยาวตามความยาวของบ่าพื้นกำมะหยี่หรือสักหลาดสีดำ ติดทับเสื้อเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอ ด้านคอปลายมนติดดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็ก อินทรธนูมีลาย ดังต่อไปนี้ ข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๒ ขึ้นไป มีแถบสีทองกว้าง ๕ มิลลิเมตร เป็นขอบและปักดิ้นสีทองลายช่อชัยพฤกษ์ยาวตลอดส่วนกลางของอินทรธนู และมีรูปพระไพศรพณ์โลหะสีทองทับอยู่บนอินทรธนูค่อนมาทางด้านไหล่ ข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๑ มีแถบสีทองกว้าง ๑ เซนติเมตร เป็นขอบ และปักดิ้นสีทองลายช่อชัยพฤกษ์มีดอก ๓ ดอก เรียงตามส่วนยาวของอินทรธนูไม่เกิน ๓ ใน ๔ ส่วน ของอินทรธนู และมีรูปพระไพศรพณ์โลหะสีทองทับ (๔) กางเกง กระโปรง ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้กางเกงแบบราชการสีขาว ขายาว ไม่พับปลายขา ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้กระโปรงสีขาว ตีเกล็ดด้านหน้า ๒ เกล็ด และด้านหลัง ๒ เกล็ดยาวปิดเข่า ปลายบานเล็กน้อย ใช้กับแบบเสื้อคอแหลม หรือกระโปรงสีขาวยาวปิดเข่า ปลายบานเล็กน้อย ใช้กับแบบเสื้อคอป้าน (๕) รองเท้า ถุงเท้า ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้รองเท้าหุ้มส้นหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำชนิดผูกถุงเท้าสีดำ ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้รองเท้าหุ้มส้นหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำแบบปิดปลายเท้า ไม่ลวดลาย ส้นสูงไม่เกิน ๑๐ เซนติเมตร ถุงเท้ายาวสีเนื้อ (๖) เครื่องหมายแสดงสังกัด ข้าราชการอัยการชาย ให้มีเครื่องหมายแสดงสังกัดเช่นเดียวกับเครื่องหมายแบบปฏิบัติราชการติดที่คอเสื้อตอนหน้าทั้งสองข้าง ข้าราชการอัยการหญิง ให้มีเครื่องหมายแสดงสังกัดเช่นเดียวกับข้าราชการอัยการชาย ติดที่คอแบะของเสื้อตอนบนทั้งสองข้าง เหนือแนวเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ข. เครื่องแบบปกติกากีคอตั้ง ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบปกติขาว เว้นแต่สีของหมวก ผ้าพันหมวก หมอนสักหลาด สำหรับปักครุฑพ่าห์ เสื้อและกางเกงหรือกระโปรงเป็นสีประเภทสีกากี ค. เครื่องแบบครึ่งยศ ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบปกติขาว เว้นแต่กางเกงหรือกระโปรงให้ใช้ผ้าสักหลาดหรือเสิร์จสีดำประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ง. เครื่องแบบเต็มยศ ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบครึ่งยศ สวมสายสะพาย จ. เครื่องแบบสโมสร เครื่องแบบสโมสรสำหรับข้าราชการอัยการชาย มี ๓ แบบ คือ (๑) เครื่องแบบสโมสร ก. ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบเต็มยศ (๒) เครื่องแบบสโมสร ข. ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบสโมสร ก. เว้นแต่ เสื้อ ให้ใช้เสื้อสโมสรสีขาว ทำด้วยผ้าสักหลาดหรือเสิร์จเปิดอก ปาดเอวมีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็กติดที่ข้อมือข้างละ ๓ ดุม ที่ระหว่างอกกับเอวข้างละ ๓ ดุม และที่บรรจบเสื้อมีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดใหญ่ข้างละ ๑ ดุม ดุมคู่นี้มีสายสร้อยสีทองร้อยติดกัน ประกอบด้วยเสื้อกั๊กสีขาว ดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ ๓ ดุม และเสื้อเชิ้ตสีขาว อกแข็ง ข้อมือแข็ง คอเชิ้ตชั้นเดียวแบบปีกผีเสื้อผูกผ้าผูกคอสีดำเงื่อนหูกระต่าย เครื่องหมายแสดงสังกัด ให้ติดที่คอแบะของเสื้อตอนบนทั้งสองข้างเหนือแนวเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในฤดูร้อน ให้ใช้กางเกงสีขาวแทนกางเกงสีดำได้ (๓) เครื่องแบบสโมสร ค. ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบสโมสร ข. เว้นแต่เสื้อเชิ้ตอกแข็งให้ใช้เสื้อเชิ้ตอกอ่อนสีขาว และเสื้อกั๊กให้ใช้แพรแถบสีเดียวกับกางเกงรัดเอวแทน แพรแถบนี้ส่วนกลางด้านหน้ากว้าง ๑๒ เซนติเมตร ปลายทั้งสองข้างเรียวกว้าง ๑๑ เซนติเมตร ที่ปลายมีขอเกี่ยวติดกันในขณะคาดทางด้านหลัง สำหรับข้าราชการอัยการหญิง ให้แต่งตามสมัยนิยม มาตรา ๖[๔] การแต่งเครื่องแบบตามมาตรา ๔ และมาตรา ๕ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสำนักงานอัยการสูงสุด และหมายกำหนดการ มาตรา ๗ ข้าราชการซึ่งสำเร็จการศึกษาหรือการฝึกอบรมจากสถาบันการศึกษาอบรมของทางราชการหรือที่ราชการรับรอง ให้ติดเครื่องหมายแสดงวิทยฐานะของสถาบันการศึกษาอบรมนั้นตามระเบียบของสถาบันการศึกษาอบรมดังกล่าว ในกรณีที่ไม่มีระเบียบ ให้ติดที่กึ่งกลางกระเป๋าบนข้างขวาของเครื่องแบบข้าราชการอัยการได้ ถ้ามีเครื่องหมายแสดงวิทยฐานะดังกล่าวมากกว่าหนึ่งเครื่องหมายให้ติดเพียงเครื่องหมายเดียว มาตรา ๘ ข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเครื่องหมายแสดงความสามารถพิเศษหรือเครื่องหมายเชิดชูเกียรติของทางราชการฝ่ายทหาร ฝ่ายตำรวจ หรือฝ่ายผลเรือน ซึ่งมีระเบียบให้ประดับกับเครื่องแต่งตัวหรือเครื่องแบบได้ ให้ใช้เครื่องหมายดังกล่าวประดับกับเครื่องแบบข้าราชการอัยการได้ทุกชนิด การประดับให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการนั้น มาตรา ๙[๕] ข้าราชการอัยการนอกประจำการ ให้ใช้เครื่องแบบเช่นเดียวกับข้าราชการอัยการประจำการ เว้นแต่เครื่องหมายแสดงสังกัดให้ติดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าข้างซ้ายและเครื่องหมาย อักษร นก ทำด้วยโลหะโปร่งสีทองไม่มีขอบ สูง ๒ เซนติเมตรที่ปกคอเสื้อด้านหน้าข้างขวา การจะแต่งเมื่อใด และโดยเงื่อนไขอย่างใดให้เป็นไปตามข้อบังคับว่าด้วยการแต่งเครื่องแบบข้าราชการนอกประจำการ ออกตามความในกฎหมายว่าด้วยเครื่องแบบข้าราชการพลเรือน โดยอนุโลม มาตรา ๑๐ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ป. ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ ุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ บัญญัติว่าเครื่องแบบของข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่งให้เป็นไปตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา และโดยที่ได้มีการประกาศใช้กฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ ๗๑ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช ๒๔๗๘ แก้ไขเพิ่มเติมเครื่องแบบข้าราชการพลเรือนบางประการประกอบกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้ให้สตรีรับราชการเป็นพนักงานอัยการได้ สมควรกำหนดเครื่องแบบข้าราชการอัยการชายและเครื่องแบบข้าราชการอัยการหญิงให้สอดคล้องกับเครื่องแบบข้าราชการพลเรือนดังกล่าวจึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น พระราชกฤษฎีกาเครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๕[๖] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534 กำหนดให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง สมควรกำหนดเครื่องหมายแสดงสังกัดของข้าราชการอัยการเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๑[๗] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการกำหนดให้อัยการสูงสุดได้รับเงินเดือนชั้น ๘ และรองอัยการสูงสุดได้รับเงินเดือนชั้น ๗ ประกอบกับการติดเครื่องหมายแสดงสังกัดของข้าราชการอัยการนอกประจำการยังไม่เหมาะสม สมควรกำหนดเครื่องแบบข้าราชการอัยการให้ครอบคลุมถึงข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนชั้น ๗ และชั้น ๘ และกำหนดการติดเครื่องหมายแสดงสังกัดของข้าราชการอัยการนอกประจำการ เพื่อให้แตกต่างจากข้าราชการอัยการประจำการทำนองเดียวกับกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ ๘๑ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พ.ศ. ๒๔๗๘ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ จำนงค์/จัดทำ/ปรับปรุง ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ [๑] มาตรา ๔ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา เครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๑ [๒] มาตรา ๔ (๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๓] มาตรา ๕ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๔] มาตรา ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๕ [๕] มาตรา ๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๑ [๖] ราชกิจจานุเบกษา/เล่มที่ ๑๐๙/ตอนที่ ๔๐/หน้า ๕๘./๗ เมษายน ๒๕๓๕ [๗] ราชกิจจานุเบกษา/เล่มที่ ๑๑๕/ตอนที่ ๓๐ ก/หน้า ๔/๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๑
322465
กฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2526) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นกับตำแหน่งข้าราชการอัยการ
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๒๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่าย อัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งข้าราชการ อัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและการเทียบตำแหน่งข้าราชการ อัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นกับตำแหน่งข้าราชการอัยการ[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยความเห็นชอบของ ก.อ. ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ให้มีตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยเทียบกับตำแหน่งข้าราชการอัยการตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เทียบกับตำแหน่ง อัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่ง อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่งธนบุรี อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายคดีแรงงาน อัยการพิเศษฝ่ายคดี ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๖ พลเอก สิทธิ จิรโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีการกำหนดตำแหน่งพนักงานอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น เพื่อดำเนินคดีในศาลแพ่ง ศาลแพ่งธนบุรี และศาลแรงงาน จึงต้องกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นให้มีหน้าที่ในการดำเนินคดีในศาลดังกล่าว และเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการนั้นกับตำแหน่งข้าราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ดลธี/ผู้จัดทำ ๙ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๐/ตอนที่ ๑๕๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗/๒๓ กันยายน ๒๕๒๖
304159
กฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2536) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการอัยการ พ.ศ. 2521 ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นกับตำแหน่งข้าราชการอัยการ
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และการเทียบ ตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นกับตำแหน่งข้าราชการอัยการ[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ และมาตรา ๒๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ นายกรัฐมนตรีด้วยความเห็นชอบของ ก.อ. ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ให้มีตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยเทียบกับตำแหน่งข้าราชการอัยการตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เทียบกับตำแหน่ง อัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่งกรุงเทพใต้ อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายคดีกรุงเทพใต้ อัยการพิเศษฝ่ายคดี ให้ไว้ ณ วันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้จัดตั้งสำนักงานคดีแพ่งกรุงเทพใต้และสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ และได้มีการกำหนดให้ตำแหน่งพนักงานอัยการผู้เป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าวเป็นตำแหน่งพนักงานอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๔๙๘ เพื่อให้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดี จึงจำต้องกำหนดให้ตำแหน่งพนักงานอัยการดังกล่าวเป็นตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นดังกล่าวกับตำแหน่งข้าราชการอัยการตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ และโดยที่มาตรา ๒๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า การกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นดังกล่าวกับตำแหน่งข้าราชการอัยการให้กระทำโดยกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ดลธี/ผู้จัดทำ ๙ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๖๑/หน้า ๕/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๓๖
322899
กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521
กฎกระทรวง ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้ “ปี” หมายความว่า ปีงบประมาณ “รอบปีที่แล้วมา” หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ของปีหนึ่ง ถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ของปีถัดไป ข้อ ๒ การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการอัยการประจำปี โดยปกติให้เลื่อนตั้งแต่วันที่ ๑ ของปีที่ได้เลื่อนนั้น ข้อ ๓ การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการอัยการในชั้นหนึ่ง ๆ โดยปกติให้สั่งเลื่อนได้ปีละหนึ่งขั้น และผู้ซึ่งจะได้เลื่อนขั้นเงินเดือนต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นผู้ซึ่งมีวัฒนธรรม (๒) เป็นผู้ซึ่งปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนตามที่ทางราชการได้กำหนดไว้และรักษาวินัยโดยเคร่งครัด (๓) เป็นผู้ซึ่งมีความรู้ความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่และมีความอุตสาหะบากบั่นในการปฏิบัติหน้าที่ของตน ทั้งงานที่ได้กระทำไปนั้นเรียบร้อยเป็นผลดีแก่ทางราชการ (๔) เป็นผู้ซึ่งได้ปฏิบัติงานที่มีคุณภาพและปริมาณงานของตำแหน่งสมควรที่จะเลื่อนขั้นเงินเดือน (๕) เป็นผู้ซึ่งได้รับบรรจุเข้ารับราชการมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าแปดเดือนในปีที่แล้วมา การบรรจุเข้ารับราชการไม่ว่าในวันใดของเดือน ให้ถือว่าเป็นการบรรจุเข้ารับราชการในเดือนนั้นเต็มเดือน (๖) ในรอบปีที่แล้วมา ต้องไม่เป็นผู้ซึ่งมีวันลารวมทั้งลากิจและลาป่วยเกินสี่สิบห้าวัน เว้นแต่ (ก) ลาอุปสมบทหรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย โดยได้รับเงินเดือนระหว่างลา (ข) ลาคลอดบุตรไม่เกินหกสิบวัน (ค) ลาป่วยซึ่งจำเป็นต้องรักษาตัวเป็นเวลานานคราวเดียวหรือหลายคราวรวมกันไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน หรือ (ง) ลาป่วยเพราะประสบอันตรายในขณะปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือในขณะเดินทางไปหรือกลับจากปฏิบัติราชการตามหน้าที่ (๗) ในรอบปีที่แล้วมาต้องไม่เป็นผู้ซึ่งลาบ่อยครั้ง หรือมารับราชการสายกว่าเวลาที่ทางราชการกำหนดเนือง ๆ (๘) ในรอบปีที่แล้วมาต้องไม่เป็นผู้ซึ่งขาดราชการ เว้นแต่เพราะเหตุสุดวิสัย (๙) ในรอบปีที่แล้วมาจนถึงวันออกคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน ต้องไม่เป็นผู้ถูกลงโทษทางวินัย เว้นแต่ถูกลงโทษภาคทัณฑ์ (๑๐) ในรอบปีที่แล้วมาต้องไม่เป็นผู้ซึ่งถูกสั่งพักราชการเกินสี่เดือน ข้อ ๔ การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการอัยการเป็นกรณีพิเศษเกินหนึ่งขั้นให้พิจารณาคัดเลือกจากผู้ซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์ตามข้อ ๓ และต้องเป็นผู้ซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์ประการหนึ่งประการใด ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติงานในหน้าที่ราชการได้ผลดีเด่นจนถือเป็นตัวอย่างที่ดีได้ (๒) ปฏิบัติงานในหน้าที่ราชการที่ต้องเสี่ยงอันตรายเป็นกรณีพิเศษ (๓) ปฏิบัติงานเกินตำแหน่งหน้าที่ จนเกิดประโยชน์ต่อราชการเป็นพิเศษ และปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ของตนเป็นผลดีด้วย (๔) ปฏิบัติงานโดยมีความคิดริเริ่มในเรื่องหนึ่งเรื่องใด หรือได้ค้นคว้าสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการเป็นพิเศษ และทางราชการได้ดำเนินการตามความคิดริเริ่ม หรือได้รับรองให้ใช้การค้นคว้านั้น (๕) ปฏิบัติงานในหน้าที่ราชการด้วยความตรากตรำเหน็ดเหนื่อยเป็นพิเศษและงานนั้นได้ผลดียิ่ง (๖) ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้กระทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดจนสำเร็จเป็นผลดียิ่งแก่ประเทศชาติ (๗) ปฏิบัติงานที่มีคุณภาพและปริมาณงานของตำแหน่งสูงกว่าอัตราเงินเดือนที่ได้รับอยู่ และได้ผลดีสมความมุ่งหมาย ทั้งนี้ ให้พิจารณาหลักฐานโดยละเอียดรอบคอบว่า ข้าราชการอัยการผู้นั้นได้ปฏิบัติงานถึงขนาดที่สมควรจะเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษเกินหนึ่งขั้นหรือไม่ ถ้าเห็นว่าเป็นการสมควร ก็ให้สั่งเลื่อนได้ไม่เกินสองขั้น แต่ถ้าเห็นว่าสมควรเลื่อนขั้นเงินเดือนให้เกินสองขั้น จะสั่งเลื่อนเป็นพิเศษเฉพาะรายก็ได้ คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษนั้น ให้ระบุด้วยว่าผู้นั้นได้ปฏิบัติงานเป็นกรณีพิเศษเข้าในหลักเกณฑ์ประการใดในกฎกระทรวงข้อนี้ด้วย ข้อ ๕ ผู้ซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์สมควรได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ถ้าผู้นั้นอยู่ในระหว่างถูกสอบสวนว่ากระทำผิดวินัย หรือถูกฟ้องในคดีอาญา ก่อนมีคำสั่งให้เลื่อนขั้นเงินเดือน ให้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ก่อน และให้กันเงินสำหรับเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ด้วย เมื่อสอบสวนพิจารณาเสร็จแล้ว ในปีใด ผู้นั้นไม่ถูกลงโทษทางวินัย เว้นแต่ถูกลงโทษภาคทัณฑ์ หรือไม่ถูกศาลพิพากษาให้ลงโทษ หรือไม่มีมลทิน หรือมัวหมอง ก็ให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนในปีนั้นได้ และให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนย้อนหลังไปในแต่ละปีที่ต้องรอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ให้ตามสิทธิด้วย ข้อ ๖ ผู้ซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์สมควรได้เลื่อนขั้นเงินเดือน แต่ได้ถึงแก่กรรมอันมิใช่เกิดขึ้นเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของตนหรือต้องไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือต้องออกจากราชการไปเพราะเจ็บป่วย ซึ่งแพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจแล้วเห็นว่าไม่สามารถรับราชการต่อไปได้ ก่อนที่จะมีคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีตามปกติ จะสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ผู้นั้นย้อนหลังไปถึงวันที่ ๑ ของปีที่มีสิทธิจะได้เลื่อนนั้นก็ได้ ข้อ ๗ ผู้ซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์สมควรได้เลื่อนขั้นเงินเดือน แต่จะต้องพ้นจากราชการไปเพราะเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ รัฐมนตรีจะสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญให้ผู้นั้นในวันสิ้นปีก่อนที่จะพ้นจากราชการก็ได้ ข้อ ๘ การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการอัยการ นอกจากตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้ หรือที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้ แต่รัฐมนตรีพิจารณาเห็นว่าสมควรเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้นั้นโดยมีเหตุผลเป็นกรณีพิเศษ ก็ให้รัฐมนตรีเสนอ ก.อ. เพื่อพิจารณาอนุมัติเลื่อนขั้นเงินเดือนให้เป็นพิเศษเฉพาะราย ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๒ พลเอก เล็ก แนวมาลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ บัญญัติว่า การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการอัยการในชั้นหนึ่ง ๆ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้สั่งเลื่อนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด และบัญญัติด้วยว่า หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนดนั้น ให้ออกเป็นกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ดลธี/ผู้จัดทำ ๙ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ศรินรัตน์/ปรับปรุง ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๓ อรญา/ตรวจ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๖/ตอนที่ ๑๗๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑ ตุลาคม ๒๕๒๒
327729
กฎกระทรวง (พ.ศ. 2504) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2503 ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการอัยการในชั้นหนึ่ง ๆ
กฎกระทรวง กฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๐๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการอัยการในชั้นหนึ่ง ๆ[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยได้รับความเห็นชอบของ ก.อ. ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้ คำว่า “ปี” หมายความว่า ปีงบประมาณ ข้อ ๒ การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการอัยการในชั้นหนึ่ง ๆ โดยปกติให้สั่งเลื่อนได้ปีละหนึ่งขั้น และผู้ซึ่งจะได้เลื่อนขั้นเงินเดือนต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นผู้ซึ่งมีวัฒนธรรม (๒) เป็นผู้ซึ่งปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนตามที่ทางราชการได้กำหนดไว้ และรักษาวินัยโดยเคร่งครัด (๓) เป็นผู้ซึ่งมีความรู้และความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่และมีความอุตสาหะบากบั่นในการปฏิบัติหน้าที่ของตน ทั้งงานที่ได้กระทำไปนั้นเรียบร้อยเป็นผลดีแก่ทางราชการ (๔) เป็นผู้ซึ่งได้ปฏิบัติงานในตำแหน่งที่มีคุณภาพและปริมาณของงานสมควรที่จะเลื่อนขั้นเงินเดือน (๕) เป็นผู้ซึ่งได้รับบรรจุเข้ารับราชการมาครบรอบปีนับตั้งแต่เดือนแรกของปีเป็นต้นไป หรือเลื่อนชั้นหรือเลื่อนขั้นเงินเดือนมาแล้ว ไม่ต่ำกว่าหกเดือน (๖) ในรอบปีที่แล้วมาต้องเป็นผู้ซึ่งไม่มีวันลามากโดยถือเกณฑ์วันลารวมทั้งลากิจและลาป่วยถึงสี่สิบห้าวัน เว้นแต่ (ก) ลาอุปสมบท โดยได้รับเงินเดือนระหว่างลา (ข) ลาป่วยซึ่งจำเป็นต้องรักษาตัวเป็นเวลานานคราวเดียว หรือหลายคราวรวมกันไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน หรือ (ค) ลาป่วยเพราะประสบอันตรายในขณะปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือในขณะเดินทางไปหรือกลับจากปฏิบัติราชการตามหน้าที่ (๗) ในรอบปีที่แล้วมาต้องเป็นผู้ซึ่งไม่ลาบ่อยครั้งหรือมารับราชการสายกว่าเวลาที่ทางราชการกำหนดเนือง ๆ (๘) ในรอบปีที่แล้วมาต้องเป็นผู้ซึ่งไม่ขาดราชการ เว้นแต่เพราะเหตุสุดวิสัย (๙) ในรอบปีที่แล้วมาจนถึงวันออกคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน ต้องเป็นผู้ไม่ถูกลงโทษทางวินัย เว้นแต่โทษภาคทัณฑ์ ในกรณีที่ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกงดเลื่อนเงินเดือน เพราะเป็นผู้ถูกลงโทษทางวินัย หรืออยู่ในระหว่างสอบสวน หรือถูกฟ้องในคดีอาญาในกรณีนั้นมาแล้ว ถ้าเป็นผู้ซึ่งอยู่ในเกณฑ์จะได้เลื่อนขั้นเงินเดือน จะเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ก็ได้ แต่ถ้าเป็นผู้ซึ่งถูกลงโทษตัดเงินเดือน จะเลื่อนขั้นเงินเดือนได้ต่อเมื่อพ้นโทษตัดเงินเดือนแล้ว (๑๐) ในรอบปีที่แล้วมาต้องเป็นผู้ซึ่งไม่ถูกสั่งพักราชการเกินกว่าหกเดือน ข้อ ๓ การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการอัยการเป็นกรณีพิเศษเกินกว่าหนึ่งขั้นนั้น ให้พิจารณาคัดเลือกจากผู้ซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์ดังกล่าวในข้อ ๒ และต้องเป็นผู้ซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์ประการใดประการหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติงานในหน้าที่ราชการได้ผลดียิ่ง จนถือเป็นตัวอย่างที่ดีได้ (๒) ปฏิบัติงานที่เสี่ยงอันตรายเป็นกรณีพิเศษ (๓) ปฏิบัติงานที่ท้องที่กันดาร และมีไข้ชุกชุมเป็นการเสี่ยงอันตรายต่อชีวิต และเป็นท้องที่ที่ทางราชการได้รับรองแล้ว (๔) ปฏิบัติงานเกินกว่าตำแหน่งหน้าที่ จนเกิดประโยชน์ต่อราชการเป็นพิเศษและปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ของตนเป็นผลดีด้วย (๕) ปฏิบัติงานโดยได้ค้นคว้าสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นประโยชน์ต่อราชการเป็นพิเศษและทางราชการได้รับรองให้ใช้การค้นคว้านั้น (๖) ปฏิบัติงานตรากตรำและรับผิดชอบการเงินเป็นจำนวนมาก (๗) ปฏิบัติงานในหน้าที่ราชการด้วยความตรากตรำเหน็ดเหนื่อยเป็นพิเศษและงานได้ผลดียิ่ง (๘) ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้กระทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดจนสำเร็จเป็นผลดียิ่งแก่ประเทศชาติ (๙) ปฏิบัติงานในตำแหน่งที่มีคุณภาพและปริมาณของงานสูงกว่าอัตราเงินเดือนที่ได้รับอยู่และได้ผลดีสมความมุ่งหมาย ทั้งนี้ ให้พิจารณาหลักฐานโดยละเอียดรอบคอบว่า ข้าราชการอัยการผู้นั้นได้ปฏิบัติงานถึงขนาดที่สมควรจะเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษเกินกว่าหนึ่งขั้นหรือไม่ ถ้าเห็นว่าเป็นการสมควรก็ให้สั่งเลื่อนได้ไม่เกินสองขั้น แต่ถ้าเห็นว่าสมควรให้เลื่อนขั้นเงินเดือนเกินกว่าสองขั้น จะสั่งเลื่อนเป็นพิเศษเฉพาะรายก็ได้ คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษนั้นให้ระบุด้วยว่าผู้นั้นได้ปฏิบัติงานเป็นกรณีพิเศษเข้าในหลักเกณฑ์ประการใดในกฎกระทรวงข้อนี้ด้วย ข้อ ๔ ผู้ซึ่งได้รับบรรจุและเข้ารับราชการไม่ครบรอบปีตามข้อ ๒ (๕) เป็นผู้สมควรได้เลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษเกินกว่าหนึ่งขั้นตามข้อ ๓ ถ้าในปีที่แล้วมาผู้นั้นได้รับบรรจุเข้ารับราชการตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป ให้เลื่อนขั้นเงินเดือนได้ไม่เกินหนึ่งขั้น ข้อ ๕ ผู้ซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์สมควรได้เลื่อนขั้นเงินเดือนถ้าผู้นั้นอยู่ในระหว่างถูกสอบสวนว่ากระทำผิดวินัยหรือถูกฟ้องในคดีอาญาอยู่ก่อนมีคำสั่งให้เลื่อนขั้นเงินเดือน ให้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ก่อน แต่ถ้าการสอบสวนพิจารณาเสร็จแล้วในปีใด และผู้นั้นไม่ถูกลงโทษทางวินัยหรือไม่ถูกศาลพิพากษาให้จำคุก หรือไม่มีมลทินหรือมัวหมอง ก็ให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนในปีนั้นได้ แต่ถ้าในระหว่างที่รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนนั้น ทางราชการได้กันเงินสำหรับเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ให้ ถ้าการสอบสวนพิจารณาเสร็จแล้วผู้นั้นไม่ถูกลงโทษทางวินัยหรือไม่ถูกศาลพิพากษาให้จำคุก หรือ ไม่มีมลทินหรือมัวหมอง ก็ให้นำเงินนั้นมาเลื่อนขั้นเงินเดือนในปีที่จะสั่งเลื่อนได้ การเลื่อนขั้นเงินเดือนให้เท่ากับเงินที่กันไว้ให้ ถ้าไม่เกินปีละหนึ่งขั้น ไม่ถือว่าเป็นการเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษตามความในข้อ ๓ แห่งกฎกระทรวงนี้ ข้อ ๖ ภายใต้บังคับแห่งข้อ ๒ (๙) การสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน ตามปกติให้เลื่อนขั้นเงินเดือนตั้งแต่วันที่ ๑ ของเดือนแรกของปีที่ได้เลื่อนนั้น ผู้ซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์สมควรได้เลื่อนขั้นเงินเดือน แต่ได้ออกจากราชการหรือไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร ก่อนที่จะมีคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน จะสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ผู้นั้นภายหลังย้อนไปถึงวันที่ ๑ ของเดือนแรกของปีที่ได้เลื่อนนั้นก็ได้ ข้อ ๗ การเลื่อนขั้นเงินเดือนตามกฎกระทรวงนี้ต้องมีเงินสำหรับเลื่อนขั้นภายในวงเงินงบประมาณประเภทเงินเดือนตามที่ได้รับอนุมัติไว้ ให้ไว้ ณ วันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ พลเอก ป. จารุเสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการอัยการ ซึ่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ มาตรา ๑๘ บัญญัติให้เลื่อนขั้นเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการในกฎกระทรวง ดลธี/ผู้จัดทำ ๘ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๘/ตอนที่ ๒๕/หน้า ๓๕๓/๒๑ มีนาคม ๒๕๐๔
304156
กฎกระทรวง ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521
กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้สั่งให้มีการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้อธิบดีกรมอัยการเป็นผู้ดำเนินการ ข้อ ๒ ให้อธิบดีกรมอัยการจัดทำบัญชีรายชื่อบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยแยกออกเป็น ๒ ประเภท คือ เป็นประเภทข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนตั้งแต่ชั้น ๔ ขึ้นไป และต้องมิได้เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่งอยู่แล้ว กับประเภทผู้รับบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการมาแล้ว และต้องไม่เป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภาซึ่งมาจากการเลือกตั้ง กรรมการพรรคการเมือง เจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง หรือทนายความ ไปยังข้าราชการอัยการที่ได้รับเงินเดือนตั้งแต่ชั้น ๒ ขึ้นไป ผู้มีสิทธิเลือกทุกคน พร้อมด้วยบัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ และกำหนดวันสุดท้ายที่จะส่งบัตรเลือกให้ถึงกรมอัยการไว้ด้วย ในกรณีเลือกซ่อม ให้อธิบดีกรมอัยการแจ้งประเภทและจำนวนตำแหน่งที่ว่างไปด้วย ข้อ ๓ บัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เป็นไปตามแบบท้ายกฎกระทรวงนี้บัตรทุกบัตรต้องมีลายมือชื่อของอธิบดีกรมอัยการกำกับเป็นหลักฐาน ข้อ ๔ การเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้ข้าราชการอัยการผู้มีสิทธิเลือกกรอกรายชื่อผู้ที่ตนเลือกลงในบัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ พร้อมกับลงลายมือชื่อและตำแหน่งของตน แล้วใส่ซองปิดผนึกส่งไปยังอธิบดีกรมอัยการ ข้อ ๕ ให้อธิบดีกรมอัยการตั้งข้าราชการอัยการไม่น้อยกว่าสามคนเป็นกรรมการตรวจนับคะแนนการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้กรรมการเป็นผู้เปิดซองบรรจุบัตรเลือก ทำการตรวจบัตรเลือก และนับคะแนนแล้วรายงานผลไปยังอธิบดีกรมอัยการภายในเวลาที่อธิบดีกรมอัยการกำหนด ในการปฏิบัติหน้าที่ ต้องมีกรรมการอยู่พร้อมกันไม่น้อยกว่าสามคน ข้อ ๖ บัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิต่อไปนี้ ให้ถือเป็นบัตรเสีย (๑) บัตรที่มิใช่บัตรที่อธิบดีกรมอัยการส่งไป หรือไม่มีลายมือชื่อของอธิบดีกรมอัยการกำกับเป็นหลักฐาน (๒) บัตรที่ระบุชื่อผู้รับเลือกเกินประเภทละสามคน หรือเกินจำนวนตำแหน่งที่ว่าง ในกรณีเลือกซ่อม (๓) บัตรที่ผู้เลือกไม่ลงลายมือชื่อและตำแหน่ง (๔) บัตรที่ส่งถึงกรมอัยการพ้นกำหนดวันที่อธิบดีกรมอัยการกำหนดตามข้อ ๒ ข้อ ๗ ในกรณีที่บัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิเลอะเลือน หรือเขียนชื่อผู้รับเลือกไม่ถูกต้อง จนไม่สามารถทราบเจตนาอันแท้จริงของผู้เลือกได้ หรือกรอกชื่อผู้รับเลือกที่เป็นข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนตั้งแต่ชั้น ๔ ขึ้นไป ในช่องสำหรับกรอกชื่อผู้รับเลือกที่เป็นผู้รับบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการมาแล้ว หรือกลับกัน ให้ถือว่าบัตรนั้นเสียเฉพาะส่วนที่กล่าวแล้ว การที่จะถือว่าผู้รับเลือกคนใด เป็นข้าราชการอัยการ ซึ่งได้รับเงินเดือนตั้งแต่ชั้น ๔ ขึ้นไป หรือเป็นผู้รับบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ให้ถือตามความเป็นจริงในขณะเปิดซองบรรจุบัตร ข้อ ๘ ในการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้ดำรงตำแหน่งตามวาระนั้น ข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเงินเดือนตั้งแต่ชั้น ๔ ขึ้นไป สามคนที่ได้คะแนนสูงกว่าผู้อื่น และผู้รับบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการมาแล้วสามคนที่ได้คะแนนสูงกว่าผู้อื่น เป็นผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ถ้าในประเภทใดมีผู้ได้คะแนนเท่ากันอยู่ในเกณฑ์ที่ได้รับเลือกเกินสามคน ให้จับสลากระหว่างผู้ที่ได้คะแนนเท่ากัน อันทำให้มีจำนวนเกินไปนั้นว่าผู้ใดจะได้รับเลือก การจับสลาก ให้อธิบดีกรมอัยการเป็นผู้จับต่อหน้ากรรมการตรวจนับคะแนนไม่น้อยกว่าสามคน ในการเลือกซ่อมกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้นำความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๙ ให้อธิบดีกรมอัยการรายงานผลการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อประกาศชื่อผู้ได้รับเลือกในราชกิจจานุเบกษา ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๒ พลเอก เล็ก แนวมาลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๑๖ บัญญัติว่า วิธีการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ดลธี/ผู้จัดทำ ๙ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ศรินรัตน์/ปรับปรุง ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๓ อรญา/ตรวจ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๖/ตอนที่ ๑๐๖/หน้า ๒๑๗/๓ กรกฎาคม ๒๕๒๒
304155
กฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2518) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2503 ว่าด้วยการแต่งตั้งสตรีเข้ารับราชการในตำแหน่งข้าราชการอัยการ
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๑๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ว่าด้วยการแต่งตั้งสตรีเข้ารับราชการในตำแหน่งข้าราชการอัยการ[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ และมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยความเห็นชอบของ ก.อ. ออกกฎกระทรวงไว้ดังต่อไปนี้ ให้ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๐๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ว่าด้วยการแต่งตั้งสตรีเข้ารับราชการในตำแหน่งข้าราชการอัยการ ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่กฎกระทรวง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๔ ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ กำหนดห้ามมิให้สตรีเข้ารับราชการในตำแหน่งข้าราชการอัยการ มีลักษณะเป็นการขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งกำหนดให้ชายหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน สมควรยกเลิกกฎกระทรวงดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงฉบับนี้ ดลธี/ผู้จัดทำ ๘ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๒/ตอนที่ ๒๒๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑ พฤศจิกายน ๒๕๑๘
327730
กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2504) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2503 ว่าด้วยโรค
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๐๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ว่าด้วยโรค[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ และมาตรา ๒๓ (๑๑) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ โรคตามมาตรา ๒๓ (๑๑) คือ (๑) โรคเรื้อน (๒) วัณโรคในระยะอันตราย (๓) โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม (๔) โรคยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง (๕) โรคพิษสุราเรื้อรัง ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ พลเอก ป. จารุเสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เพื่ออนุวัตตามมาตรา ๒๓ (๑๑) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ซึ่งบัญญัติว่า ผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยต้อง ฯลฯ (๑๑) ไม่เป็น ฯลฯ โรคที่ระบุไว้ในกฎกระทรวง ดลธี/ผู้จัดทำ ๘ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๘/ตอนที่ ๔๔/หน้า ๕๒๕/๒๓ พฤษภาคม ๒๕๐๔
438264
กฎกระทรวง ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2547) ออกตามความในระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พงศ. 2521 ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกขื่ออย่างอื่นและการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกขื่ออย่างอื่นกับตำแหน่งข้าราชการอัยการ
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๕ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นกับตำแหน่งข้าราชการอัยการ[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ และมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๘ ประกอบกับมาตรา ๔๖ และมาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมโดยความเห็นชอบของ ก.อ. ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ให้มีตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยเทียบกับตำแหน่งข้าราชการอัยการตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เทียบกับตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการอัยการ รองอัยการสูงสุด ให้ไว้ ณ วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗ พงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรที่จะมีตำแหน่งผู้ตรวจราชการอัยการ เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๗ เทียบได้กับตำแหน่งรองอัยการสูงสุด เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจและแนะนำการปฏิบัติราชการภายในส่วนราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด อันเป็นการบรรเทาภาระหน้าที่ของอัยการสูงสุดอีกทางหนึ่งด้วย และได้มีการกำหนดให้ตำแหน่งผู้ตรวจราชการอัยการดังกล่าวเป็นตำแหน่งพนักงานอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการบริหารราชการและการบังคับบัญชา และเพื่อให้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๔๙๘ จึงจำเป็นต้องกำหนดให้ตำแหน่งดังกล่าวเป็นตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการดังกล่าวกับตำแหน่งข้าราชการอัยการตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๘ และโดยที่มาตรา ๒๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า การกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นดังกล่าวกับตำแหน่งข้าราชการอัยการให้กระทำโดยกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ดลธี/ผู้จัดทำ ๙ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๑๖ ก/หน้า ๕/๒๓ เมษายน ๒๕๔๗
311501
กฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นกับตำแหน่งข้าราชการอัยการ
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นกับตำแหน่งข้าราชการอัยการ[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ และมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๘ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของ ก.อ. ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ให้มีตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นโดยเทียบกับตำแหน่งข้าราชการอัยการตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เทียบกับตำแหน่ง อธิบดีอัยการฝ่ายพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ อธิบดีอัยการฝ่ายคณะกรรมการอัยการ อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีแพ่ง อัยการพิเศษฝ่ายคดี อธิบดีอัยการฝ่ายคดีแพ่งธนบุรี อัยการพิเศษฝ่ายคดี อธิบดีอัยการฝ่ายคดีภาษีอากร อัยการพิเศษฝ่ายคดี อธิบดีอัยการฝ่ายคดียาเสพติด อัยการพิเศษฝ่ายคดี อธิบดีอัยการฝ่ายคดีเยาวชนและครอบครัว อัยการพิเศษฝ่ายคดี อธิบดีอัยการฝ่ายคดีแรงงาน อัยการพิเศษฝ่ายคดี อธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลแขวง อัยการพิเศษฝ่ายคดี อธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูง อัยการพิเศษฝ่ายคดี อธิบดีอัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร อัยการพิเศษฝ่ายคดี อธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญา อัยการพิเศษฝ่ายคดี อธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญาธนบุรี อัยการพิเศษฝ่ายคดี อธิบดีอัยการฝ่ายคดีอัยการสูงสุด อัยการพิเศษฝ่ายคดี อธิบดีอัยการฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย อัยการพิเศษฝ่ายคดี อธิบดีอัยการฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา อธิบดีอัยการฝ่ายวิชาการ อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีแพ่งกรุงเทพใต้ อัยการพิเศษฝ่ายคดี อธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ อัยการพิเศษฝ่ายคดี อธิบดีอัยการเขต อัยการพิเศษประจำเขต ให้ไว้ ณ วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้กำหนดให้ตำแหน่งอัยการพิเศษฝ่ายเป็นตำแหน่งข้าราชการอัยการและให้ได้รับเงินเดือนชั้น ๖ ชั้นเดียวกับตำแหน่งอัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ และอัยการพิเศษประจำเขต ซึ่งเป็นตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการผู้บังคับบัญชาอยู่เดิม และได้มีการกำหนดตำแหน่งให้ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่ปรับปรุงใหม่เป็นตำแหน่งพนักงานอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๔๙๘ เพื่อให้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดี จึงจำต้องกำหนดให้ตำแหน่งพนักงานอัยการดังกล่าวเป็นตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการนั้นกับตำแหน่งข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และโดยที่มาตรา ๒๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติว่า การกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นดังกล่าวกับตำแหน่งข้าราชการอัยการให้กระทำโดยกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ดลธี/ผู้จัดทำ ๙ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๓ ก/หน้า ๑๓/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙
319586
กฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการอัยการ พ.ศ. 2521 ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นกับตำแหน่งข้าราชการอัยการ
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และการเทียบ ตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นกับตำแหน่งข้าราชการอัยการ[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ และมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของ ก.อ. ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ให้มีตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยเทียบกับตำแหน่งข้าราชการอัยการตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เทียบกับตำแหน่ง อัยการพิเศษฝ่ายพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ อัยการพิเศษฝ่ายคณะกรรมการอัยการ อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ อัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายคดีเยาวชนและครอบครัว อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายคดีอัยการสูงสุด อัยการพิเศษฝ่ายคดี ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ พลตำรวจเอก เภา สารสิน รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทน นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. ๒๕๓๕ ปรับปรุงส่วนราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด โดยจัดตั้งสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานคณะกรรมการอัยการ สำนักงานคดียาเสพติด สำนักงานคดีเยาวชนและครอบครัว สำนักงานคดีศาลสูง และสำนักงานคดีอัยการสูงสุด เพิ่มขึ้น และได้มีการกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าวเป็นตำแหน่งพนักงานอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๔๙๘ เพื่อให้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดี จึงจำต้องกำหนดให้ตำแหน่งพนักงานอัยการดังกล่าวเป็นตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการนั้นกับตำแหน่งข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และโดยที่มาตรา ๒๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่าการกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นดังกล่าวกับตำแหน่งข้าราชการอัยการ ให้กระทำโดยกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ดลธี/ผู้จัดทำ ๙ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๙๗/หน้า ๑๕/๑๖ กันยายน ๒๕๓๕
311724
กฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการเรียกชื่ออย่างอื่น และการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นกับตำแหน่งข้าราชการอัยการ
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และการเทียบตำแหน่ง ข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นกับตำแหน่งข้าราชการอัยการ[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ และมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๘ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของ ก.อ. ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ให้มีตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยเทียบกับตำแหน่งข้าราชการอัยการ ตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เทียบกับตำแหน่ง อธิบดีอัยการฝ่ายคดีล้มละลาย อัยการพิเศษฝ่ายคดี ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๓ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. ๒๕๔๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้จัดตั้งสำนักงานคดีล้มละลายขึ้นในสำนักงานอัยการสูงสุด และได้มีการกำหนดตำแหน่งพนักงานอัยการผู้เป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าวเป็นตำแหน่งพนักงานอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการบริหารราชการและการบังคับบัญชา และเพื่อให้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดี ตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๔๙๘ จึงจำต้องกำหนดให้ตำแหน่งพนักงานอัยการดังกล่าวเป็นตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการดังกล่าวกับตำแหน่งข้าราชการอัยการตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๘ และโดยที่มาตรา ๒๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติว่า การกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นดังกล่าวกับตำแหน่งข้าราชการอัยการให้กระทำโดยกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ดลธี/ผู้จัดทำ ๙ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๓๖ ก/หน้า ๔๔/๒๖ เมษายน ๒๕๔๓
304160
กฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ.2521
กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ และมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ นายกรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงไว้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (ข) ของข้อ ๓ (๖) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ข) ลาคลอดบุตรไม่เกินเก้าสิบวัน” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๕ ผู้ซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์สมควรได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ถ้าผู้นั้นอยู่ในระหว่างถูกสอบสวนว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงก่อนมีคำสั่งให้เลื่อนขั้นเงินเดือนให้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ก่อนและให้กันเงินสำหรับเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ด้วย เมื่อสอบสวนพิจารณาเสร็จแล้วในปีใดผู้นั้นไม่ถูกลงโทษทางวินัย เว้นแต่ถูกลงโทษภาคทัณฑ์หรือไม่มีมลทินหรือมัวหมอง ก็ให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนในปีนั้นได้และให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนย้อนหลังไปในแต่ละปีที่ต้องรอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ให้ตามสิทธิด้วย ผู้ซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์สมควรได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ถ้าผู้นั้นถูกฟ้องคดีอาญาในความผิดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือความผิดที่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนซึ่งมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่พนักงานอัยการรับเป็นทนายแก้ต่างให้และศาลได้ประทับฟ้องคดีนั้นแล้ว ก่อนมีคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน ให้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ก่อนและให้กันเงินสำหรับเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ด้วย เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาแล้วให้พิจารณาดำเนินการดังนี้ (๑) ถ้าศาลพิพากษาว่าผู้นั้นไม่มีความผิด ให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้ได้ ถ้าได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้เกินหนึ่งปี ให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนย้อนหลังไปในแต่ละปีที่ได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้แม้ว่าผู้นั้นจะได้ออกจากราชการไปแล้วก็ตาม (๒) ถ้าศาลพิพากษาให้ลงโทษเบากว่าโทษจำคุก ได้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้ ถ้าได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้เกินหนึ่งปี ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้ในปีที่ศาลพิพากษาให้ลงโทษ ถ้าผู้นั้นออกจากราชการไปแล้วด้วยเหตุอื่นที่มิใช่เพราะเหตุเกษียณอายุตามกฏหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนในปีที่จะได้เลื่อนขั้นเงินเดือนปีสุดท้าย แต่ถ้าเป็นผู้พ้นจากราชการไปเพราะเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่ได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ในวันที่ ๓๐ กันยายน ของปีสุดท้ายก่อนที่ผู้นั้นจะพ้นจากราชการ ส่วนในปีอื่นให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนย้อนหลังไปในแต่ละปีที่ได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ (๓) ถ้าศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าจำคุก ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนทุกปีที่ได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนตาม (๑) (๒) และ (๓) สำหรับผู้ที่ถูกฟ้องคดีอาญาหลายคดีให้แยกพิจารณาเป็นคดี ๆ ไป” ให้ไว้ ณ วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๑ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการอัยการในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิลาคลอดบุตร ยังไม่สอดคล้องกับระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๙ ที่กำหนดให้ข้าราชการมีสิทธิลาคลอดบุตรโดยได้รับเงินเดือนครั้งหนึ่งได้ไม่เกินเก้าสิบวัน นอกจากนี้หลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการอัยการในกรณีที่ถูกฟ้องคดีอาญายังไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกับข้าราชการประเภทอื่น สมควรกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ถูกฟ้องคดีอาญาในความผิดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือความผิดที่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนซึ่งมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่พนักงานอัยการรับเป็นทนายแก้ต่างให้ เพื่อให้อยู่ในบรรทัดฐานเดียวกับข้าราชการประเภทอื่น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ดลธี/ผู้จัดทำ ๙ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ศรินรัตน์/ปรับปรุง ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๓ อรญา/ตรวจ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๑๐ ก/หน้า ๕/๔ มีนาคม ๒๕๔๑
319587
กฎกระทรวง ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอืนกับตำแหน่งข้าราชการอัยการ
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น กับตำแหน่งข้าราชการอัยการ[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ และมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๘ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของ ก.อ. ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ให้มีตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยเทียบกับตำแหน่งข้าราชการอัยการตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เทียบกับตำแหน่ง อธิบดีอัยการฝ่ายต่างประเทศ อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา รองอธิบดีอัยการฝ่าย อัยการพิเศษฝ่าย รองอธิบดีอัยการเขต อัยการพิเศษฝ่าย เลขานุการอัยการสูงสุด อัยการพิเศษฝ่าย อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ อัยการพิเศษฝ่าย รองเลขานุการอัยการสูงสุด อัยการพิเศษประจำกรม รองอัยการพิเศษฝ่าย อัยการพิเศษประจำกรม อัยการผู้เชี่ยวชาญ อัยการพิเศษประจำกรม ผู้ช่วยเลขานุการอัยการสูงสุด อัยการจังหวัด ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากสำนักงานอัยการสูงสุดได้ปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการขึ้นใหม่ เพื่อให้ภารกิจอันได้แก่ การอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐ และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ บรรลุประสิทธิผลและเป็นสากล เกิดประโยชน์ต่อรัฐและประชาชนอย่างแท้จริง และเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับปรุงดังกล่าว สมควรกำหนดตำแหน่งผู้เป็นหัวหน้าส่วนราชการ ผู้ช่วยหัวหน้าส่วนราชการและผู้ปฏิบัติงานประเภทผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ เป็นตำแหน่งพนักงานอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการบริหารราชการและการบังคับบัญชา และเพื่อให้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๔๙๘ จึงจำต้องกำหนดให้ตำแหน่งดังกล่าวเป็นตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการดังกล่าวกับตำแหน่งข้าราชการอัยการตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๘ และโดยที่มาตรา ๒๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า การกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นดังกล่าวกับตำแหน่งข้าราชการอัยการให้กระทำโดยกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ดลธี/ผู้จัดทำ ๙ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๓๙ ก/หน้า ๑๙/๑๓ สิงหาคม ๒๕๔๐
309312
กฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นกับตำแหน่งข้าราชการอัยการ
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นกับตำแหน่งข้าราชการอัยการ[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ และมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๘ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของ ก.อ. ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ให้มีตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยเทียบกับตำแหน่งข้าราชการอัยการตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เทียบกับตำแหน่ง อธิบดีอัยการฝ่ายคดีทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศ อัยการพิเศษฝ่ายคดี ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. ๒๕๔๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้จัดตั้งสำนักงานคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศขึ้นในสำนักงานอัยการสูงสุด และได้มีการกำหนดให้ตำแหน่งพนักงานอัยการผู้เป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าวเป็นตำแหน่งพนักงานอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการบริหารราชการและการบังคับบัญชา และเพื่อให้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๔๙๘ จึงจำต้องกำหนดให้ตำแหน่งดังกล่าวเป็นตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการดังกล่าวกับตำแหน่งข้าราชการอัยการตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๘ และโดยที่มาตรา ๒๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า การกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นดังกล่าวกับตำแหน่งข้าราชการอัยการให้กระทำโดยกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ดลธี/ผู้จัดทำ ๙ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๔๒ ก/หน้า ๖/๒๗ พฤษภาคม ๒๕๔๒
327019
กฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2531) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นกับตำแหน่งข้าราชการอัยการ
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๓๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการ ที่เรียกชื่ออย่างอื่น และการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการ ที่เรียกชื่ออย่างอื่นกับตำแหน่งข้าราชการอัยการ[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยความเห็นชอบของ ก.อ. ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ให้มีตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยเทียบกับตำแหน่งข้าราชการอัยการตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เทียบกับตำแหน่ง อัยการพิเศษฝ่ายคดีเด็กและเยาวชน อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายคดีภาษีอากร อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย อัยการพิเศษฝ่ายคดี ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ พลตรี ประมาณ อดิเรกสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมอัยการ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. ๒๕๓๑ ปรับปรุงส่วนราชการของกรมอัยการโดยจัดตั้งกองคดีเด็กและเยาวชน กองคดีภาษีอากร กองคดีศาลแขวง กองคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร และสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน เพิ่มขึ้น และได้มีการกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าวเป็นตำแหน่งพนักงานอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๔๙๘ เพื่อให้มีอำนาจและหน้าที่ในการดำเนินคดี จึงต้องกำหนดให้ตำแหน่งพนักงานอัยการดังกล่าวเป็นตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการนั้นกับตำแหน่งข้าราชการอัยการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และโดยที่มาตรา ๒๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ บัญญัติว่า ในการกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นดังกล่าว ให้กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ดลธี/ผู้จัดทำ ๙ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๑๗๐/หน้า ๓๑๑/๒๐ ตุลาคม ๒๕๓๑
304158
กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2524) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521
กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๓ บัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เป็นไปตามแบบท้ายกฎกระทรวงนี้ บัตรทุกบัตรต้องมีลายมือชื่อของอธิบดีกรมอัยการและกรรมการควบคุมการส่งบัตรจำนวนสามคนกำกับเป็นหลักฐาน การส่งบัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังผู้มีสิทธิเลือก ก่อนถึงกำหนดวันสุดท้ายที่จะส่งบัตรเลือกตามข้อ ๒ ไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๔ การเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้ข้าราชการอัยการผู้มีสิทธิเลือก กรอกรายชื่อผู้ซึ่งตนเลือกด้วยลายมือของตนเองลงในบัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิโดยไม่ต้องลงลายมือชื่อและตำแหน่งของตน แล้วใส่ซองปิดผนึกส่งไปยังอธิบดีกรมอัยการ ถ้าจะส่งทางไปรษณีย์ ให้ส่งโดยลงทะเบียน” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๕ ให้อธิบดีกรมอัยการตั้งข้าราชการไม่น้อยกว่าสามคนเป็นกรรมการควบคุมการส่งบัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ และตั้งข้าราชการอัยการผู้อื่นอีกไม่น้อยกว่าสามคนเป็นกรรมการตรวจนับคะแนนการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้กรรมการควบคุมการส่งบัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบบัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิให้ถูกต้องตามที่กำหนดในข้อ ๓ ก่อนที่จะจัดส่งไปยังผู้มีสิทธิเลือก ให้กรรมการตรวจนับคะแนนเป็นผู้เปิดซองบรรจุบัตรเลือก ทำการตรวจบัตรเลือกและนับคะแนนโดยเปิดเผย แล้วรายงานผลไปยังอธิบดีกรมอัยการภายในเวลาที่อธิบดีกรมอัยการกำหนด ในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการตรวจนับคะแนน ต้องมีกรรมการอยู่พร้อมกันไม่น้อยกว่าสามคน” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๖ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๖ บัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิต่อไปนี้ ให้ถือเป็นบัตรเสีย (๑) บัตรที่มิใช่บัตรที่อธิบดีกรมอัยการส่งไป หรือไม่มีลายมือชื่อของอธิบดีกรมอัยการและไม่มีลายมือชื่อของกรรมการควบคุมการส่งบัตรจำนวนสามคนกำกับเป็นหลักฐาน (๒) บัตรที่ระบุชื่อผู้รับเลือกเกินประเภทละสามคน หรือเกินจำนวนตำแหน่งที่ว่างในกรณีเลือกซ่อม (๓) บัตรซึ่งผู้มีสิทธิเลือกมิได้กรอกชื่อผู้ที่ตนเลือกด้วยลายมือของตนเอง (๔) บัตรซึ่งผู้มีสิทธิเลือกลงลายมือชื่อ หรือตำแหน่งในบัตร (๕) บัตรที่ส่งถึงกรมอัยการพ้นกำหนดวันที่อธิบดีกรมอัยการกำหนดตามข้อ ๒” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกแบบบัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ท้ายกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และให้ใช้แบบบัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิท้ายกฎกระทรวงนี้แทน ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๔ บัญญัติ บรรทัดฐาน รัฐมนตรีช่วยว่าการ รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เพื่อให้การเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิเป็นไปโดยเหมาะสมยิ่งขึ้นโดยปรับปรุงวิธีการเลือกให้ผู้เลือกสามารถใช้ดุลพินิจของตนได้อย่างอิสระ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ดลธี/ผู้จัดทำ ๙ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ศรินรัตน์/ปรับปรุง ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๓ อรญา/ตรวจ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๘/ตอนที่ ๙๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๔/๑๕ มิถุนายน ๒๕๒๔
304157
กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 ว่าด้วยการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ และมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยความเห็นชอบของ ก.อ. ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ให้กำหนดเทียบกับตำแหน่งข้าราชการอัยการดังต่อไปนี้ ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เทียบกับตำแหน่ง อัยการพิเศษฝ่ายฎีกา อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายอุทธรณ์ อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายคดีธนบุรี อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษประจำกรม อัยการพิเศษประจำเขต รองอัยการจังหวัด อัยการประจำกรม ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ ดำริ น้อยมณี รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีการกำหนดตำแหน่งพนักงานอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นขึ้นเพื่อดำเนินคดีในศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญาธนบุรี ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา และตำแหน่งรองอัยการจังหวัด เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ในการปฏิบัติราชการ จึงต้องเทียบตำแหน่งพนักงานอัยการที่มีหน้าที่ในการดำเนินคดีในศาลดังกล่าว กับตำแหน่งพนักงานอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ดลธี/ผู้จัดทำ ๙ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๖/ตอนที่ ๑๔๕/หน้า ๒๔๘/๒๑ สิงหาคม ๒๕๒๒
418955
กฎกระทรวง ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2546) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นกับตำแหน่งข้าราชการอัยการ
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๔ (พ.ศ. ๒๕๔๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น กับตำแหน่งข้าราชการอัยการ[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ และมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๘ ประกอบกับมาตรา ๔๖ และมาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมโดยความเห็นชอบของ ก.อ. ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ให้มีตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยเทียบกับตำแหน่งข้าราชการอัยการตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เทียบกับตำแหน่ง อธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขต อัยการพิเศษฝ่ายคดี อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ อัยการพิเศษฝ่ายคดี อธิบดีอัยการฝ่ายคดีปกครอง อัยการพิเศษฝ่ายคดี อธิบดีอัยการฝ่ายคดีปกครองเชียงใหม่ อัยการพิเศษฝ่ายคดี อธิบดีอัยการฝ่ายคดีปกครองสงขลา อัยการพิเศษฝ่ายคดี อธิบดีอัยการฝ่ายคดีปกครองนครราชสีมา อัยการพิเศษฝ่ายคดี อธิบดีอัยการฝ่ายคดีปกครองขอนแก่น อัยการพิเศษฝ่ายคดี อธิบดีอัยการฝ่ายคดีปกครองพิษณุโลก อัยการพิเศษฝ่ายคดี อธิบดีอัยการฝ่ายคดีปกครองระยอง อัยการพิเศษฝ่ายคดี อธิบดีอัยการฝ่ายคดีปกครองนครศรีธรรมราช อัยการพิเศษฝ่ายคดี อธิบดีอัยการฝ่ายคดีแรงงานเขต อัยการพิเศษฝ่ายคดี ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๖ พงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากสำนักงานอัยการสูงสุดได้ปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการ โดยจัดตั้งสำนักงานคดีศาลสูงเขต เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์และฎีกาซึ่งมีปริมาณคดีเพิ่มขึ้น จัดตั้งสำนักงานคดีพิเศษ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการดำเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ และกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน จัดตั้งสำนักงานคดีปกครองและสำนักงานคดีปกครองภูมิภาค เพื่อดำเนินคดีปกครองตามที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐมอบอำนาจให้พนักงานอัยการฟ้องคดีหรือดำเนินคดีปกครองแทน และจัดตั้งสำนักงานคดีแรงงานเขต เพื่อดำเนินคดีแรงงานที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานภาค และได้มีการกำหนดให้ตำแหน่งพนักงานอัยการผู้เป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าวเป็นตำแหน่งพนักงานอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการบริหารราชการและการบังคับบัญชา และเพื่อให้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๔๙๘ จึงจำเป็นต้องกำหนดให้ตำแหน่งดังกล่าวเป็นตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการดังกล่าวกับตำแหน่งข้าราชการอัยการตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๘ และโดยที่มาตรา ๒๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า การกำหนดตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและการเทียบตำแหน่งข้าราชการอัยการที่เรียกชื่ออย่างอื่นดังกล่าวกับตำแหน่งข้าราชการอัยการให้กระทำโดยกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ดลธี/ผู้จัดทำ ๙ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๑๑๗ ก/หน้า ๔๐/๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
674134
ประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง กำหนดโรคอันมีลักษณะต้องห้ามที่จะเป็นข้าราชการธุรการ พ.ศ. 2555
ประกาศคณะกรรมการอัยการ ประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง กำหนดโรคอันมีลักษณะต้องห้ามที่จะเป็นข้าราชการธุรการ พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยที่เป็นการสมควรให้มีประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง กำหนดโรคอันมีลักษณะต้องห้ามที่จะเป็นข้าราชการธุรการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙๑ ข. (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการอัยการจึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง กำหนดโรคอันมีลักษณะต้องห้ามที่จะเป็นข้าราชการธุรการ พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ โรคตามมาตรา ๙๑ ข. (๒) คือ (๑) วัณโรคระยะแพร่กระจายเชื้อ (๒) โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม (๓) โรคติดยาเสพติดให้โทษ (๔) โรคพิษสุราเรื้อรัง (๕) โรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือรุนแรงและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ตามที่คณะกรรมการอัยการประกาศกำหนด ข้อ ๔ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๙๑ ก/หน้า ๑๑/๒๑ กันยายน ๒๕๕๕
700402
ประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง กำหนดค่าธรรมเนียมการสมัครสอบคัดเลือก สมัครทดสอบความรู้ และสมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. 2556
ประกาศคณะกรรมการอัยการ ประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง กำหนดค่าธรรมเนียมการสมัครสอบคัดเลือก สมัครทดสอบความรู้ และสมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๖ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง กำหนดค่าธรรมเนียมการสมัครสอบคัดเลือก สมัครทดสอบความรู้ และสมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง กำหนดค่าธรรมเนียมการสมัครสอบคัดเลือกสมัครทดสอบความรู้ และสมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๓ ข้อ ๔ ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการสมัครสอบคัดเลือก สมัครทดสอบความรู้ และสมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยจากผู้สมัครสอบ คนละ ๑,๐๐๐ บาท ข้อ ๕ เงินค่าธรรมเนียมตามข้อ ๔ จะไม่คืนให้ไม่ว่ากรณีใด ๆ เว้นแต่คณะกรรมการอัยการจะไม่รับสมัครสอบด้วยเหตุบกพร่องในคุณสมบัติ คุณวุฒิ หรือการประกอบวิชาชีพตามที่ได้กำหนดไว้ในแต่ละกรณี ข้อ ๖ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ อรรถพล ใหญ่สว่าง อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๖ มกราคม ๒๕๕๗ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๑๒๕ ก/หน้า ๑๓/๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
642104
ประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง กำหนดค่าธรรมเนียมการสมัครสอบคัดเลือก สมัครทดสอบความรู้และสมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. 2553
ประกาศคณะกรรมการอัยการ ประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง กำหนดค่าธรรมเนียมการสมัครสอบคัดเลือก สมัครทดสอบความรู้ และสมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยที่เป็นการสมควรให้มีประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง กำหนดค่าธรรมเนียมการสมัครสอบคัดเลือก สมัครทดสอบความรู้ และสมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง กำหนดค่าธรรมเนียมการสมัครสอบคัดเลือก สมัครทดสอบความรู้ และสมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๓” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการสมัครสอบคัดเลือก สมัครทดสอบความรู้ และสมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยจากผู้สมัครสอบ คนละ ๕๐๐ บาท ข้อ ๔ เงินค่าธรรมเนียมตามข้อ ๓ จะไม่คืนให้ไม่ว่ากรณีใด ๆ เว้นแต่คณะกรรมการอัยการจะไม่รับสมัครด้วยเหตุบกพร่องในคุณสมบัติ คุณวุฒิ หรือการประกอบวิชาชีพตามที่ได้กำหนดไว้ในแต่ละกรณี ข้อ ๕ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ โอภาส อรุณินท์ ประธานคณะกรรมการอัยการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๑ ก/หน้า ๑๗/๗ มกราคม ๒๕๕๔
687762
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. 2554 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๑ วรรคสี่ และมาตรา ๕๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “ก.อ.” หมายความว่า คณะกรรมการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ “คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการทดสอบความรู้ที่ ก.อ. แต่งตั้งขึ้นเพื่อทำการทดสอบความรู้ผู้สมัคร “ผู้สมัคร” หมายความว่า ผู้สมัครทดสอบความรู้ตามมาตรา ๕๑ ซึ่งมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ “ผู้สอบ” หมายความว่า ผู้สมัครซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติให้มีสิทธิเข้าสอบและได้เข้าสอบ ข้อ ๔ ให้ ก.อ. มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ข้อ ๕ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่งหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ บรรดาระเบียบ ข้อกำหนด ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งอื่นใด ซึ่งขัดหรือแย้งระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๖ เมื่อสมควรจะมีการทดสอบความรู้เมื่อใด ให้สำนักงานอัยการสูงสุด เสนอ ก.อ. เพื่อมีมติให้จัดให้มีการทดสอบความรู้เฉพาะผู้มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างตามมาตรา ๕๑ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ให้ ก.อ. กำหนดวัน เวลายื่นใบสมัครทดสอบความรู้ และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการทดสอบความรู้ขึ้นคณะหนึ่งประกอบด้วยประธานอนุกรรมการ รองประธานอนุกรรมการ และอนุกรรมการ ตามจำนวนที่จำเป็น ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงคุณสมบัติ ความรู้ความสามารถ หรือประสบการณ์เกี่ยวกับการสอบของผู้ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งเป็นส่วนสำคัญ ในการทดสอบความรู้ตามวรรคหนึ่ง ก.อ. อาจกำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุก็ได้ ข้อ ๗ ในกรณีที่ระเบียบนี้มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น คณะอนุกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งบุคคล คณะบุคคล ออกประกาศ หรือกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสมัครและการทดสอบความรู้ตามที่เห็นสมควร ข้อ ๘[๒] ให้ผู้สมัครยื่นใบสมัครทดสอบความรู้ต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับสมัครซึ่งได้กำหนดไว้ในประกาศทดสอบความรู้ ด้วยตนเองหรือด้วยวิธีการอื่นที่ ก.อ. กำหนด หมวด ๒ คุณวุฒิ ข้อ ๙ ผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ก) (ข) หรือ (ง) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ต้องได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายต่อไปนี้จากต่างประเทศหรือในการศึกษาปริญญาโททางกฎหมายในประเทศไทย แล้วแต่กรณีด้วย คือ (๑) กฎหมายอาญา (๒) กฎหมายแพ่ง ลักษณะสัญญาและลักษณะละเมิด (๓) กฎหมายพยานหลักฐาน หรือกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือกฎหมายล้มละลาย และ (๔) กฎหมายแพ่งลักษณะอื่นและกฎหมายพิเศษ ดังนี้ (ก) กฎหมายแพ่งลักษณะอื่น ซึ่งเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๓ วิชา หรือ (ข) กฎหมายแพ่งลักษณะอื่น ซึ่งเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๑ วิชา กับกฎหมายพิเศษดังต่อไปนี้ จำนวน ๒ วิชา ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายมหาชน นิติปรัชญา กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารกระบวนการยุติธรรม กฎหมายพาณิชย์นาวี กฎหมายทะเล กฎหมายอากาศ กฎหมายอวกาศ กฎหมายโทรคมนาคม กฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎหมายทรัพยากรธรรมชาติ กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีระหว่างประเทศ กฎหมายเครื่องหมายการค้า กฎหมายสิทธิบัตร กฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายเด็กและเยาวชน นิติเวชศาสตร์ อาชญาวิทยา กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางธุรกิจ กฎหมายแรงงาน กฎหมายภาษีอากร กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายอาญาระหว่างประเทศ การขัดกันแห่งกฎหมาย กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการ กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ กฎหมายธุรกิจ กฎหมายว่าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายเกี่ยวกับการลงทุน กฎหมายเกี่ยวกับการเงินการธนาคาร กฎหมายหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายป้องกันการผูกขาดหรือการแข่งขันทางการค้า กฎหมายการเกษตร และกฎหมายพลังงาน ผู้สมัครที่ได้ศึกษาและสอบไล่ได้ตามหลักสูตรการศึกษากฎหมายดังต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องศึกษาวิชากฎหมายตามวรรคหนึ่ง (๑) ผู้สมัครที่ได้ศึกษาและสอบไล่ได้ตามหลักสูตรการศึกษากฎหมายที่จัดไว้เป็นหลักสูตรเฉพาะด้านในวิชากฎหมายเด็กและเยาวชน กฎหมายแรงงาน กฎหมายสิทธิมนุษยชน กฎหมายภาษีอากร กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศ กฎหมายการเงินการธนาคาร กฎหมายพาณิชย์นาวี กฎหมายล้มละลาย กฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค และกฎหมายระหว่างประเทศ (๒) ผู้สมัครที่ได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายที่อยู่ในกลุ่มวิชากฎหมายกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งตามวรรคสอง (๑) ไม่น้อยกว่า ๔ วิชา และได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งอีกไม่น้อยกว่า ๒ วิชา โดยในจำนวนนี้อย่างน้อย ๑ วิชา ต้องเป็นวิชาตาม (๑) หรือ (๓) หรือกฎหมายแพ่ง ซึ่งพอเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้นั้นไปศึกษาวิชากฎหมายจากต่างประเทศด้วยทุนรัฐบาล ทุนของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางกฎหมาย ข้อ ๑๐ เพื่อประโยชน์ในการคำนวณจำนวนวิชาที่กำหนดในข้อ ๙ วรรคหนึ่ง (๔) และวรรคสอง (๒) ถ้าผู้สมัครคนใดได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายในระบบการจัดการศึกษาที่กำหนดให้มีการเรียนการสอนวิชากฎหมายนั้นตลอดปีการศึกษาและมีการวัดผลเมื่อสิ้นปีการศึกษา ให้ถือว่าผู้นั้นได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายตามที่กำหนดไว้ในข้อดังกล่าว ๒ วิชา ข้อ ๑๑ ผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ง) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ต้องสอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทยโดยมีหลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่าสองปี หรือหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่าสองปี หรือสอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ซึ่ง ก.พ. รับรอง โดยมีหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่าสองปี หมวด ๓ หลักเกณฑ์การทดสอบความรู้ ข้อ ๑๒ การทดสอบความรู้ให้มีทั้งการสอบข้อเขียนและการสอบปากเปล่า การออกข้อสอบให้เป็นไปตามที่ประธานอนุกรรมการทดสอบความรู้จะได้กำหนด ภายใต้บังคับข้อ ๑๔ และข้อ ๒๑ วิชาที่ทดสอบ คือ กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายพยานหลักฐาน กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงหรือกฎหมายว่าด้วยศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว กฎหมายล้มละลายหรือกฎหมายภาษีอากรหรือกฎหมายแรงงาน กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาหรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ และภาษาอังกฤษ ข้อ ๑๓ การสอบข้อเขียนมี ๒ วัน คือ (๑) วันที่หนึ่ง วิชากฎหมายอาญา จำนวน ๓ ข้อ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำนวน ๓ ข้อ กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จำนวน ๒ ข้อ จำนวนข้อสอบรวม ๑๐ ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน (๒) วันที่สอง วิชากฎหมายพยานหลักฐาน จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายรัฐธรรมนูญ จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายปกครอง จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงหรือกฎหมายว่าด้วยศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายล้มละลายหรือกฎหมายภาษีอากรหรือกฎหมายแรงงาน จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาหรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ จำนวน ๑ ข้อ จำนวนข้อสอบ รวม ๘ ข้อ เวลา ๓ ชั่วโมง ๓๐ นาที คะแนนเต็ม ๘๐ คะแนน และวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน ๒ ข้อ เวลา ๑ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๒๐ คะแนน ผู้สอบต้องปฏิบัติตามข้อบังคับการสอบข้อเขียนท้ายระเบียบนี้โดยเคร่งครัด และให้ประธานอนุกรรมการทดสอบความรู้รับผิดชอบในการจัดทำรหัสสมุดคำตอบของผู้สอบทุกคนแยกตามวันที่สอบโดยไม่ให้รหัสซ้ำกันแล้วเก็บรักษารหัสดังกล่าวไว้ด้วยตนเอง ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ ก.อ. มีมติให้จัดให้มีการทดสอบความรู้เฉพาะผู้มีคุณวุฒิตามมาตรา ๕๑ (๒) (ก) หรือ (ข) การสอบข้อเขียนมี ๒ วัน คือ (๑) วันที่หนึ่ง วิชากฎหมายอาญา จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายพยานหลักฐาน จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ จำนวน ๑ ข้อ จำนวนข้อสอบ รวม ๑๐ ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน (๒) วันที่สอง วิชาภาษาอังกฤษ จำนวน ๓ ข้อ เวลา ๓ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๖๐ คะแนน วิชาภาษาอังกฤษตามวรรคหนึ่ง (๒) ให้ออกข้อสอบเป็นคำถามที่ทดสอบการแปล จำนวน ๑ ข้อ เป็นคำถามที่ทดสอบความเข้าใจในการอ่านบทความกฎหมายภาษาอังกฤษ จำนวน ๑ ข้อ และเป็นคำถามที่ให้ผู้สมัครเขียนอธิบาย หรือวินิจฉัยปัญหากฎหมายเป็นภาษาอังกฤษ จำนวน ๑ ข้อ ในการออกข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษตามวรรคหนึ่ง (๒) ประธานอนุกรรมการทดสอบความรู้อาจกำหนดให้ออกข้อสอบเป็นภาษาต่างประเทศอื่นแทนวิชาภาษาอังกฤษให้ผู้สอบเลือกสอบก็ได้ ในกรณีที่ผู้สมัครเป็นผู้ไปศึกษาต่างประเทศด้วยทุนรัฐบาลตามความต้องการของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือทุนสำนักงานอัยการสูงสุด หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางกฎหมายจากต่างประเทศที่ ก.อ. รับรอง ให้คณะอนุกรรมการทำการทดสอบความรู้โดยการสอบปากเปล่าตามข้อ ๒๑ ข้อ ๑๕ ในการตรวจคำตอบแต่ละข้อ ให้องค์คณะซึ่งประกอบด้วยผู้ตรวจคำตอบอย่างน้อยสองคนตรวจ แล้วให้คะแนนคำตอบตามหลักเกณฑ์การตรวจและการให้คะแนนที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ และให้ผู้สอบได้คะแนนคำตอบตามค่าเฉลี่ยที่คำนวณจากคะแนนที่ผู้ตรวจคำตอบแต่ละคนกำหนดให้ ในกรณีที่ผู้ตรวจคำตอบสองคนและคะแนนในข้อนั้นๆ ต่างกันตั้งแต่ ๔ คะแนนขึ้นไป ให้ประธานอนุกรรมการทดสอบความรู้หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ตรวจและให้คะแนนใหม่ และให้ถือเป็นที่สุด ข้อ ๑๖ ให้ประธานอนุกรรมการทดสอบความรู้กำหนดวัน เวลา และสถานที่สอบข้อเขียนแล้วประกาศให้ทราบล่วงหน้าก่อนวันเริ่มสอบอย่างน้อย ๑๕ วัน ข้อ ๑๗[๓] ผู้สอบต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ของคะแนนสอบข้อเขียนทั้งหมด เว้นแต่ในกรณี ก.อ. กำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุไว้ตามข้อ ๖ วรรคสอง ผู้สอบที่ได้คะแนนสูงซึ่งได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ เรียงตามลำดับเมื่อรวมกันแล้วไม่เกินจำนวนที่ ก.อ. กำหนดจึงจะได้รับการประกาศให้ทราบ เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมกลั่นกรองอีกครั้ง เมื่อดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมกลั่นกรองตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ประธานอนุกรรมการทดสอบความรู้กำหนดวัน เวลา และสถานที่สอบปากเปล่า แล้วประกาศรายชื่อผู้ไม่ขาดคุณสมบัติจากการตรวจคุณสมบัติเพิ่มเติมกลั่นกรองเพื่อเข้าสอบปากเปล่า ให้ทราบล่วงหน้าก่อนวันสอบปากเปล่าอย่างน้อย ๗ วัน ข้อ ๑๗/๑[๔] ในกรณี ก.อ. กำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุไว้ตามข้อ ๖ วรรคสอง ถ้าผู้สอบข้อเขียนผ่านที่ได้ลำดับสุดท้ายมีหลายคน ซึ่งหากจะบรรจุทุกคนจะทำให้เกินจำนวนที่ ก.อ. กำหนด ให้จัดลำดับผู้ที่สอบผ่านในกลุ่มนี้ดังนี้ (๑) ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายอาญาอยู่ในลำดับก่อน (๒) หากคะแนนในวิชากฎหมายอาญาเท่ากัน ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอยู่ในลำดับก่อน (๓) ในกรณีตาม (๒) หากคะแนนในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเท่ากัน ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์อยู่ในลำดับก่อน (๔) ในกรณีตาม (๓) หากคะแนนในวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่ากัน ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอยู่ในลำดับก่อน (๕) ในกรณีตาม (๔) หากคะแนนในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเท่ากัน ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการอยู่ในลำดับก่อน ให้ใช้วิธีการดังกล่าวจัดลำดับผู้สอบผ่านให้ได้จำนวนเท่ากับที่ ก.อ. กำหนด หรือในกรณีหากเทียบคะแนนจนถึงรายวิชาสุดท้ายแล้วยังมีผู้ที่ได้คะแนนเท่ากันเมื่อรวมกันแล้วเกินจำนวนที่ ก.อ. กำหนด ให้ผู้สอบผ่านที่ยังคงมีคะแนนเท่ากันดังกล่าวทุกคนได้รับการประกาศให้ทราบ เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมกลั่นกรองอีกครั้ง ข้อ ๑๘ การสอบปากเปล่าตามข้อ ๑๗ ให้กระทำโดยวิธีถามผู้สอบเรียงตัวในลักษณะวิชาดังกล่าวในข้อ ๑๒ หรือข้อ ๑๔ วรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี ตามที่ประธานอนุกรรมการทดสอบความรู้เห็นสมควร การประเมินผลการสอบปากเปล่า ให้ประเมินผลว่าสอบได้หรือสอบตกเท่านั้น ผู้สอบที่ผ่านการสอบปากเปล่าในเกณฑ์สอบได้ จึงจะถือว่าเป็นผู้ทดสอบความรู้ได้ ข้อ ๑๙[๕] เมื่อได้มีการทดสอบความรู้เสร็จแล้ว ก.อ. จะประกาศรายชื่อผู้ทดสอบความรู้ได้และจะได้รับการบรรจุเรียงตามลำดับคะแนนไว้ ณ สำนักงานอัยการสูงสุด โดย ก.อ. อาจเรียกบรรจุผู้ทดสอบความรู้ได้ดังกล่าวไม่พร้อมกันก็ได้ ตามที่ ก.อ. เห็นสมควร ในกรณี ก.อ. กำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุไว้ตามข้อ ๖ วรรคสอง ถ้ามีผู้ทดสอบความรู้ได้เกินจำนวนที่ ก.อ. กำหนด ให้เสนอ ก.อ. เป็นผู้พิจารณารับบรรจุบุคคลดังกล่าวในเวลาที่ ก.อ. เห็นสมควร ข้อ ๒๐[๖] ในกรณี ก.อ. กำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุไว้ตามข้อ ๖ วรรคสอง แต่มีผู้เข้ารับการบรรจุไม่ครบจำนวนเนื่องจากมีผู้ขาดคุณสมบัติจากการตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมกลั่นกรอง หรือผู้มีสิทธิเข้าสอบปากเปล่าไม่เข้าสอบปากเปล่าหรือสอบปากเปล่าตก หรือผู้ทดสอบความรู้ได้ไม่รายงานตัวเพื่อเข้ารับการบรรจุ ให้ประธานอนุกรรมการทดสอบความรู้เสนอ ก.อ. เพื่อทราบถึงจำนวนที่อาจบรรจุได้อีก ในการนี้ ก.อ. อาจพิจารณาให้ประธานอนุกรรมการทดสอบความรู้ประกาศผู้สอบที่ได้คะแนนสูงซึ่งได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ในลำดับถัดลงไปให้ทราบเพื่อดำเนินการตามข้อ ๑๗ และตามหลักเกณฑ์ข้อ ๑๗/๑ โดยให้นำความในข้อ ๑๘ มาใช้บังคับ เพื่อให้ได้บุคคลที่จะได้รับการบรรจุตามจำนวนที่ ก.อ. กำหนดไว้ เมื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้นำความในข้อ ๑๙ มาใช้โดยอนุโลม ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ ก.อ. มีมติให้จัดให้มีการทดสอบความรู้เฉพาะผู้สมัครที่ไปศึกษาวิชากฎหมายจากต่างประเทศด้วยทุนรัฐบาลตามความต้องการของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือทุนของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางกฎหมายจากต่างประเทศที่ ก.อ. รับรอง ตามข้อ ๑๔ วรรคสี่ ให้ผู้สมัครไปรับการตรวจร่างกายและจิตใจจากคณะกรรมการแพทย์ ซึ่ง ก.อ. กำหนดตามความในมาตรา ๔๙ ก.(๖) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ เมื่อคณะกรรมการแพทย์ได้ตรวจร่างกายและจิตใจผู้สมัครแล้ว ให้คณะอนุกรรมการดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติตามวิธีการที่กำหนดไว้ในระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติ เมื่อคณะอนุกรรมการเห็นว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน ให้คณะอนุกรรมการทำการทดสอบความรู้โดยการสอบปากเปล่าตามที่ประธานอนุกรรมการทดสอบความรู้เห็นสมควร โดยมีคะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน และต้องได้คะแนนสอบปากเปล่าไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ จึงจะอยู่ในเกณฑ์จะได้รับการบรรจุ เมื่อคณะอนุกรรมการได้ดำเนินการแล้ว ให้รายงานเสนอความเห็นไปยัง ก.อ. เพื่อพิจารณา หมวด ๔ อัตราส่วนในการบรรจุ ข้อ ๒๒ การบรรจุผู้ทดสอบความรู้ได้ตามมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยนั้น ให้บรรจุได้ในอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ไม่เกินหนึ่งต่อสี่ แต่ถ้าขณะใดไม่มีผู้สอบคัดเลือกได้อยู่แล้ว ก็ให้บรรจุได้โดยไม่มีอัตราส่วน ภายใต้บังคับวรรคหนึ่ง การบรรจุข้าราชการอัยการตามมาตรา ๕๑ (๒) (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) หรือ (ซ) ซึ่งมีคุณวุฒิต่างกัน ให้บรรจุได้ในอัตราส่วนของผู้ทดสอบความรู้ได้และจะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยแต่ละคุณวุฒิตามที่ ก.อ. กำหนด ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ ก.อ. มีมติให้จัดให้มีการทดสอบความรู้ตามข้อ ๒๑ บทเฉพาะกาล ข้อ ๒๓ การดำเนินการเกี่ยวกับการทดสอบความรู้ซึ่งได้กระทำไปแล้วในขั้นตอนใดก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการในขั้นตอนต่อไปให้ปฏิบัติตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕[๗] ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗[๘] ปณตภร/ผู้จัดทำ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๖ จุฑามาศ/เพิ่มเติม ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๗๓ ก/หน้า ๓/๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ [๒] ข้อ ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๓] ข้อ ๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๔] ข้อ ๑๗/๑ เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๕] ข้อ ๑๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๖] ข้อ ๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๑๖ ก/หน้า ๓๘/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ [๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๕๑ ก/หน้า ๑๕/๕ มิถุนายน ๒๕๕๗
674130
ประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง กำหนดให้มีตำแหน่งข้าราชการธุรการประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ ตำแหน่งสำหรับหัวหน้ากลุ่มงาน พ.ศ. 2555
ประกาศคณะกรรมการอัยการ ประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง กำหนดให้มีตำแหน่งข้าราชการธุรการประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ ตำแหน่งสำหรับหัวหน้ากลุ่มงาน พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้มีตำแหน่งข้าราชการธุรการประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญอื่น ตามระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยการจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่งข้าราชการฝ่ายอัยการประเภทข้าราชการธุรการ ตำแหน่งสำหรับหัวหน้ากลุ่มงาน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ วรรคสอง และมาตรา ๓๐ (๑๑) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง กำหนดให้มีตำแหน่งข้าราชการธุรการประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ ตำแหน่งสำหรับหัวหน้ากลุ่มงาน พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้มีตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ ตำแหน่งสำหรับหัวหน้ากลุ่มงาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาการ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมาก และมีผลกระทบในวงกว้าง ตำแหน่งสำหรับหัวหน้ากลุ่มงานตามวรรคหนึ่ง เทียบได้กับตำแหน่งตามข้อ ๙ (๔) (ข) ของระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยการจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่งข้าราชการฝ่ายอัยการประเภทข้าราชการธุรการ ให้ตำแหน่งสำหรับหัวหน้ากลุ่มงานได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดียวกับตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ ข้อ ๔ ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศนี้ ข้อ ๕ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามประกาศนี้ และให้มีอำนาจออกคำสั่ง หลักเกณฑ์ และวิธีการเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๙๑ ก/หน้า ๙/๒๑ กันยายน ๒๕๕๕
649805
ประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง กำหนดคณะกรรมการแพทย์ในการตรวจร่างกายและจิตใจของผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ พ.ศ. 2553
ประกาศคณะกรรมการอัยการ ประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง กำหนดคณะกรรมการแพทย์ในการตรวจร่างกายและจิตใจของผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้มีคณะกรรมการแพทย์ในการตรวจร่างกายและจิตใจของผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ ก. (๖) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง กำหนดคณะกรรมการแพทย์ในการตรวจร่างกายและจิตใจของผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ พ.ศ. ๒๕๕๓” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้บุคลากรของโรงพยาบาลตุลาการเฉลิมพระเกียรติดังต่อไปนี้ เป็นคณะกรรมการแพทย์ คือ ๑. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงคุณหญิงสุดสาคร ตู้จินดา ประธานคณะกรรมการแพทย์ ๒. แพทย์หญิงอำนวยศรี จามริก กรรมการแพทย์ ๓. นายแพทย์ประยุกต์ เสรีเสถียร กรรมการแพทย์ ๔. นายแพทย์สมชาติ สุทธิกาญจน์ กรรมการแพทย์ ๕. แพทย์หญิงดวงตา ไกรภัสสร์พงษ์ กรรมการแพทย์ ๖. แพทย์หญิงศุภรัตน์ เอกอัศวิน กรรมการแพทย์ ๗. นายแพทย์ชัยโชติ นุตกุล กรรมการแพทย์ ๘. เภสัชกรหญิงอาภรณ์ สายเชื้อ กรรมการและเลขานุการ ข้อ ๔ ในกรณีกรรมการแพทย์ตามข้อ ๓ ว่างลง ถ้ายังคงมีกรรมการแพทย์เหลืออยู่ไม่น้อยกว่าสามคน ให้คณะกรรมการแพทย์ตรวจร่างกายและจิตใจของผู้สมัครได้ ข้อ ๕ ให้คณะกรรมการแพทย์ตรวจร่างกายและจิตใจของผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยตามที่ได้รับแจ้งจากสำนักงานอัยการสูงสุด แล้วรายงานผลให้สำนักงานอัยการสูงสุดทราบ ข้อ ๖ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ โอภาส อรุณินท์ ประธานคณะกรรมการอัยการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๑ ก/หน้า ๑๘/๗ มกราคม ๒๕๕๔
674132
ประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง กำหนดโรคอันมีลักษณะต้องห้ามที่จะเป็นข้าราชการอัยการ พ.ศ. 2555
ประกาศคณะกรรมการอัยการ ประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง กำหนดโรคอันมีลักษณะต้องห้ามที่จะเป็นข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยที่เป็นการสมควรให้มีประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง กำหนดโรคอันมีลักษณะต้องห้ามที่จะเป็นข้าราชการอัยการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ ข. (๖) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการอัยการจึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง กำหนดโรคอันมีลักษณะต้องห้ามที่จะเป็นข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ โรคตามมาตรา ๔๙ ข. (๖) คือ (๑) โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม (๒) วัณโรคในระยะอันตราย (๓) โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม (๔) โรคติดยาเสพติดให้โทษ (๕) โรคพิษสุราเรื้อรัง (๖) โรคติดต่อที่เป็นเหตุให้ไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการอัยการ ข้อ ๔ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๙๑ ก/หน้า ๑๐/๒๑ กันยายน ๒๕๕๕
650023
ประกาศสำนักงานอัยการสูงสุด เรื่อง การเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ
ประกาศสำนักงานอัยการสูงสุด ประกาศสำนักงานอัยการสูงสุด เรื่อง การเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ[๑] ด้วยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๐๕ วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คณะกรรมการอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีการเลือกและแต่งตั้งกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๓) และ (๔) ครบถ้วนแล้ว ซึ่งต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ สำนักงานอัยการสูงสุดจึงได้ดำเนินการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิชุดใหม่ ตามความในมาตรา ๑๘ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ปรากฏผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ดังต่อไปนี้ ประเภทข้าราชการอัยการชั้น ๖ ขึ้นไป หรืออัยการอาวุโสผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งข้าราชการอัยการชั้น ๖ ขึ้นไป ก่อนปีงบประมาณที่จะดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส ๑. นายเรวัตร จันทร์ประเสริฐ ๒. ร้อยโท มนัส อุบลทิพย์ ๓. นายเข็มชัย ชุติวงศ์ ประเภทผู้รับบำเหน็จหรือบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการมาแล้ว ๑. นายดิเรก สุนทรเกตุ ๒. นายบดินทร์ เยี่ยมสมบัติ ๓. นายวิทยา ปัตตพงศ์ จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ถาวร พานิชพันธ์ รองอัยการสูงสุด รักษาราชการแทน อัยการสูงสุด ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๔๖ ก/หน้า ๕๙/๙ มิถุนายน ๒๕๕๔
856794
ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. 2558 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๐ วรรคสาม มาตรา ๕๑ วรรคสี่ และมาตรา ๕๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการ จึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๔ (๒) ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ (๓) ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗ (๔) ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๔ (๕) ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ (๖) ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗ ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “ก.อ.” หมายความว่า คณะกรรมการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ “คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้ ที่ ก.อ. แต่งตั้งขึ้นเพื่อทำการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้ผู้สมัคร “ผู้สมัคร” หมายความว่า ผู้สมัครสอบคัดเลือกและผู้สมัครทดสอบความรู้ตามความในมาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๑ ซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ข้อ ๕ ให้ ก.อ. มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ข้อ ๖ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่ง หลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ บรรดาระเบียบ ข้อกำหนด ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งอื่นใด ซึ่งขัดหรือแย้งระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๗ เมื่อสมควรจะมีการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้เมื่อใด ให้สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ ก.อ. เพื่อมีมติให้จัดให้มีการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้ โดยให้ ก.อ. กำหนดวัน เวลารับสมัครและแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้ขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานอนุกรรมการ รองประธานอนุกรรมการ และอนุกรรมการ ตามจำนวนที่จำเป็น ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงคุณสมบัติ ความรู้ความสามารถหรือประสบการณ์เกี่ยวกับการสอบของผู้ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งเป็นส่วนสำคัญ ในการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้ตามวรรคหนึ่ง ก.อ. อาจกำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุก็ได้ ข้อ ๘ เพื่อประโยชน์แห่งราชการสำนักงานอัยการสูงสุด ก.อ. อาจกำหนดให้มีการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้แต่ละคราวมีเพียงการสอบคัดเลือกของผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ หรือมีการทดสอบความรู้ของผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) หรือ (ซ) ข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ และการทดสอบความรู้ของผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ก) (ข) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ หรือมีทั้งการสอบคัดเลือกและการทดสอบความรู้ ข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อในคราวเดียวกันก็ได้ ในกรณีที่ ก.อ. กำหนดให้มีการสอบคัดเลือกของผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ กับการทดสอบความรู้ของผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) หรือ (ซ) และผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ก) (ข) ในคราวเดียวกัน ให้ประธานอนุกรรมการจัดให้มีการสอบผู้สมัครทุกประเภทในวันเดียวกัน โดยมีข้อสอบสำหรับผู้สมัครแต่ละประเภทแยกต่างหากจากกันตามหลักเกณฑ์และวิธีการออกข้อสอบที่กำหนดในระเบียบนี้ ในกรณีที่ผู้สมัครมีคุณสมบัติในการสมัครสอบประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทให้ผู้สมัครแสดงความจำนงว่าจะสมัครสอบคัดเลือกหรือทดสอบความรู้ประเภทใดในวันยื่นใบสมัคร ข้อ ๙ ในกรณีที่ระเบียบนี้มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น คณะอนุกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลคณะบุคคล ออกประกาศ หรือกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้ตามที่เห็นสมควร ข้อ ๑๐ ให้ผู้สมัครยื่นใบสมัครสอบต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับสมัคร ซึ่งได้กำหนดไว้ในประกาศสอบด้วยตนเองหรือด้วยวิธีการอื่นที่ ก.อ. กำหนด หมวด ๒ การสอบคัดเลือก ข้อ ๑๑ การสอบคัดเลือกของผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ ให้มีทั้งการสอบข้อเขียนและการสอบปากเปล่า วิชาที่สอบคัดเลือก คือ กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายพยานหลักฐาน กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง หรือกฎหมายว่าด้วยศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวหรือกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค กฎหมายล้มละลายหรือกฎหมายภาษีอากรหรือกฎหมายแรงงาน กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาหรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ และภาษาอังกฤษ ข้อ ๑๒ การสอบข้อเขียนมี ๓ วัน คือ (๑) วันที่หนึ่ง วิชากฎหมายอาญา จำนวน ๖ ข้อ และกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๔ ข้อ จำนวนข้อสอบรวม ๑๐ ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง ๑๐ นาที คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน (๒) วันที่สอง วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำนวน ๖ ข้อ และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จำนวน ๔ ข้อ จำนวนข้อสอบรวม ๑๐ ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง ๑๐ นาที คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน (๓) วันที่สาม วิชากฎหมายพยานหลักฐาน จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายรัฐธรรมนูญ จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายปกครอง จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงหรือกฎหมายว่าด้วยศาลเยาวชน และครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวหรือกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายล้มละลายหรือกฎหมายภาษีอากรหรือกฎหมายแรงงาน จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาหรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ จำนวน ๑ ข้อ จำนวนข้อสอบรวม ๘ ข้อ เวลา ๓ ชั่วโมง ๒๐ นาที คะแนนเต็ม ๘๐ คะแนน และวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน ๒ ข้อ เวลา ๑ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน วิชาภาษาอังกฤษตามวรรคหนึ่ง (๓) ให้ออกข้อสอบ ๒ ข้อ โดยให้ออกข้อสอบข้อที่หนึ่งเป็นคำถามที่ให้แปลข้อความภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และข้อที่สองเป็นคำถามที่ให้แปลข้อความภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ หมวด ๓ การทดสอบความรู้ ส่วนที่ ๑ คุณวุฒิ ข้อ ๑๓[๒] ผู้สมัครทดสอบความรู้ตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ก) (ข) หรือ (ง) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ต้องได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายต่อไปนี้จากต่างประเทศหรือในการศึกษาปริญญาโททางกฎหมายในประเทศไทย แล้วแต่กรณีด้วย คือ (๑) กฎหมายอาญา ซึ่งพอเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายอาญา (๒) กฎหมายแพ่ง ซึ่งพอเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ รวม ๔ วิชา หรือกฎหมายแพ่ง ซึ่งพอเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๒ วิชา และกฎหมายพิเศษตามที่ระบุท้ายระเบียบนี้ จำนวน ๒ วิชา และ (๓) กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน หรือกฎหมายล้มละลาย หรือกฎหมายวิธีพิจารณาความ เช่น กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ผู้สมัครที่ได้ศึกษาและสอบไล่ได้ตามหลักสูตรการศึกษากฎหมายดังต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องศึกษาวิชากฎหมายตามวรรคหนึ่ง (๑) ผู้สมัครที่ได้ศึกษาและสอบไล่ได้ตามหลักสูตรการศึกษากฎหมายที่จัดไว้เป็นหลักสูตรเฉพาะด้านในวิชากฎหมายเด็กและเยาวชน กฎหมายแรงงาน กฎหมายสิทธิมนุษยชน กฎหมายภาษีอากร กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศ กฎหมายการเงินการธนาคาร กฎหมายพาณิชย์นาวี กฎหมายล้มละลาย กฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายว่าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายเทคโนโลยีทางการเงิน กฎหมายการแข่งขันทางการค้า กฎหมายการคลัง กฎหมายเศรษฐกิจ กฎหมายหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายการค้าและการลงทุน กฎหมายพลังงาน กฎหมายความรับผิดของผู้ประกอบวิชาชีพ และกฎหมายกระบวนการยุติธรรมทางอาญา (๒) ผู้สมัครที่ได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายที่อยู่ในกลุ่มวิชากฎหมายกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งตามวรรคสอง (๑) ไม่น้อยกว่า ๔ วิชา และได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งอีกไม่น้อยกว่า ๒ วิชา โดยในจำนวนนี้อย่างน้อย ๑ วิชา ต้องเป็นวิชาตาม (๑) หรือ (๓) หรือกฎหมายแพ่ง ซึ่งพอเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้นั้นไปศึกษาวิชากฎหมายจากต่างประเทศด้วยทุนรัฐบาล ทุนของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางกฎหมาย ข้อ ๑๔ เพื่อประโยชน์ในการคำนวณจำนวนวิชาที่กำหนดในข้อ ๑๓ วรรคหนึ่ง (๔) และวรรคสอง (๒) ถ้าผู้สมัครคนใดได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายในระบบการจัดการศึกษาที่กำหนดให้มีการเรียนการสอนวิชากฎหมายนั้นตลอดปีการศึกษาและมีการวัดผลเมื่อสิ้นปีการศึกษาให้ถือว่าผู้นั้นได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายตามที่กำหนดไว้ในข้อดังกล่าว ๒ วิชา ข้อ ๑๕ ผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ง) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ต้องสอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย โดยมีหลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่าสองปี หรือหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่าสองปี หรือสอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศซึ่ง ก.พ. รับรองโดยมีหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่าสองปี ส่วนที่ ๒ การทดสอบความรู้ ของผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) หรือ (ซ) ข้อ ๑๖ การทดสอบความรู้ของผู้สมัครให้มีทั้งการสอบข้อเขียนและการสอบปากเปล่า วิชาที่ทดสอบ คือ กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายพยานหลักฐาน กฎหมายรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายปกครอง กฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงหรือกฎหมายว่าด้วยศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว หรือกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค กฎหมายล้มละลายหรือกฎหมายภาษีอากรหรือกฎหมายแรงงานหรือกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาหรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ และภาษาอังกฤษ ข้อ ๑๗ การสอบข้อเขียนมี ๓ วันคือ (๑) วันที่หนึ่ง วิชากฎหมายอาญา จำนวน ๓ ข้อ และกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๒ ข้อ จำนวนข้อสอบรวม ๕ ข้อ เวลา ๒ ชั่วโมง ๕ นาที คะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน (๒) วันที่สอง วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำนวน ๓ ข้อ และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จำนวน ๒ ข้อ จำนวนข้อสอบรวม ๕ ข้อ เวลา ๒ ชั่วโมง ๕ นาที คะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน (๓) วันที่สาม วิชากฎหมายพยานหลักฐาน จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายปกครอง จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงหรือกฎหมายว่าด้วยศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวหรือกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายล้มละลายหรือกฎหมายภาษีอากรหรือกฎหมายแรงงานหรือกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาหรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ จำนวน ๑ ข้อ จำนวนข้อสอบ รวม ๕ ข้อ เวลา ๒ ชั่วโมง ๕ นาที คะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน และวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน ๒ ข้อ เวลา ๑ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๒๐ คะแนน ข้อ ๑๘ ในกรณีที่ ก.อ. กำหนดให้มีการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้ในคราวเดียวกันตามข้อ ๘ ให้เลือกข้อสอบของผู้สมัครสอบคัดเลือกในหมวด ๒ ยกเว้นวิชาภาษาอังกฤษ เป็นข้อสอบของผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) หรือ (ซ) และออกข้อสอบดังนี้ (๑) วิชากฎหมายอาญา จำนวน ๒ ข้อ และให้ออกข้อสอบเพิ่มอีก ๑ ข้อ เป็นคำถามเกี่ยวกับแนวคิดทางกฎหมาย หลักกฎหมาย หรือปัญหาเชิงทฤษฎีให้ผู้สมัครแสดงทักษะในการให้เหตุผลและวิเคราะห์ (๒) วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๒ ข้อ (๓) วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำนวน ๓ ข้อ และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จำนวน ๒ ข้อ (๔) วิชากฎหมายพยานหลักฐาน จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายรัฐธรรมนูญ จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายปกครอง จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายว่าด้วยศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายล้มละลาย จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายภาษีอากร จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายแรงงาน จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ จำนวน ๑ ข้อ (๕) วิชาภาษาอังกฤษให้ออกข้อสอบ ๒ ข้อ โดยให้ออกข้อสอบข้อที่หนึ่งเป็นคำถามที่ให้แปลข้อความภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ และข้อที่สองเป็นคำถามภาษาอังกฤษที่ทดสอบความเข้าใจในการอ่านบทความกฎหมายภาษาอังกฤษ ข้อ ๑๙ ในกรณีที่ผู้สมัครเป็นผู้ไปศึกษาต่างประเทศด้วยทุนรัฐบาลตามความต้องการของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือทุนของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางกฎหมายจากต่างประเทศที่ ก.อ. รับรอง ให้ประธานอนุกรรมการจัดให้มีการทดสอบความรู้โดยการสอบปากเปล่าตามข้อ ๓๒ ส่วนที่ ๓ การทดสอบความรู้ ของผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ก) หรือ (ข) ข้อ ๒๐ การทดสอบความรู้ของผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ก) หรือ (ข) ให้มีทั้งการสอบข้อเขียนและการสอบปากเปล่า วิชาที่ทดสอบ คือ กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายพยานหลักฐาน กฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการและภาษาอังกฤษ ข้อ ๒๑ การสอบข้อเขียนมี ๓ วัน คือ (๑) วันที่หนึ่ง วิชากฎหมายอาญา จำนวน ๓ ข้อ และกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๒ ข้อ จำนวนข้อสอบรวม ๕ ข้อ เวลา ๒ ชั่วโมง ๕ นาที คะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน (๒) วันที่สอง วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำนวน ๒ ข้อ และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จำนวน ๒ ข้อ จำนวนข้อสอบรวม ๔ ข้อ เวลา ๑ ชั่วโมง ๔๐ นาที คะแนนเต็ม ๔๐ คะแนน (๓) วันที่สาม วิชากฎหมายพยานหลักฐาน จำนวน ๑ ข้อ และกฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ จำนวน ๑ ข้อ จำนวนข้อสอบรวม ๒ ข้อ เวลา ๕๐ นาที คะแนนเต็ม ๒๐ คะแนนและวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน ๓ ข้อ เวลา ๓ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๖๐ คะแนน ในการออกข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษตามวรรคหนึ่ง (๓) ประธานอนุกรรมการอาจกำหนดให้ออกข้อสอบเป็นภาษาต่างประเทศอื่นแทนวิชาภาษาอังกฤษให้ผู้สมัครเลือกตอบก็ได้ ข้อ ๒๒ ในกรณีที่ ก.อ. กำหนดให้มีการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้ในคราวเดียวกันตามข้อ ๘ ให้เลือกข้อสอบของผู้สมัครสอบคัดเลือกในหมวด ๒ ยกเว้นวิชาภาษาอังกฤษเป็นข้อสอบของผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ก) หรือ (ข) และออกข้อสอบ ดังนี้ (๑) วิชากฎหมายอาญา จำนวน ๒ ข้อ และให้ออกข้อสอบเพิ่มอีก ๑ ข้อ เป็นคำถามเกี่ยวกับแนวคิดทางกฎหมาย หลักกฎหมาย หรือปัญหาเชิงทฤษฎีให้ผู้สมัครแสดงทักษะในการให้เหตุผลและวิเคราะห์ (๒) วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๒ ข้อ (๓) วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง วิชาละ ๒ ข้อ (๔) วิชากฎหมายพยานหลักฐาน จำนวน ๑ ข้อ (๕) วิชากฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ จำนวน ๑ ข้อ (๖) วิชาภาษาอังกฤษให้ออกข้อสอบ ๓ ข้อ โดยให้ออกข้อสอบข้อที่หนึ่งเป็นคำถามที่ให้แปลข้อความภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ข้อที่สองเป็นคำถามภาษาอังกฤษที่ทดสอบความเข้าใจในการอ่านบทความกฎหมายภาษาอังกฤษ และข้อที่สามเป็นคำถามที่ให้ผู้สมัครอธิบายหรือวินิจฉัยปัญหากฎหมายเป็นภาษาอังกฤษ ข้อ ๒๓ ในกรณีที่ผู้สมัครเป็นผู้ไปศึกษาต่างประเทศด้วยทุนรัฐบาลตามความต้องการของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือทุนของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางกฎหมายจากต่างประเทศที่ ก.อ. รับรอง ให้ประธานอนุกรรมการจัดให้มีการทดสอบความรู้โดยการสอบปากเปล่าตามข้อ ๓๒ หมวด ๔ การสอบข้อเขียน การตรวจคำตอบ การสอบปากเปล่า เกณฑ์ในการบรรจุ และอัตราส่วนในการบรรจุ ข้อ ๒๔ ให้ประธานอนุกรรมการกำหนดวัน เวลา และสถานที่สอบข้อเขียนแล้วประกาศให้ทราบล่วงหน้าก่อนวันเริ่มสอบอย่างน้อย ๑๕ วัน การออกข้อสอบให้เป็นไปตามที่ประธานอนุกรรมการจะได้กำหนด ข้อ ๒๕ ผู้สมัครต้องปฏิบัติตามข้อบังคับการสอบข้อเขียนท้ายระเบียบนี้โดยเคร่งครัดและให้ประธานอนุกรรมการรับผิดชอบในการจัดทำรหัสสมุดคำตอบของผู้สมัครทุกคนแยกตามวันที่สอบโดยไม่ให้รหัสซ้ำกันแล้วเก็บรักษารหัสดังกล่าวไว้ด้วยตนเอง ข้อ ๒๖ ประธานอนุกรรมการอาจจัดตัวบทกฎหมายที่ไม่มีข้อความอื่นใดไว้ให้ผู้สมัครใช้ประกอบการสอบวิชาใดในห้องสอบก็ได้ ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ผู้สมัครทำข้อสอบในวิชาที่ให้เลือกตอบเกินกว่าที่กำหนด ให้ถือข้อที่ได้คะแนนน้อยที่สุดเป็นข้อที่กำหนดให้ทำ ข้อ ๒๘ ในการตรวจคำตอบแต่ละข้อ ให้องค์คณะซึ่งประกอบด้วยผู้ตรวจคำตอบอย่างน้อยสองคนตรวจ แล้วให้คะแนนคำตอบตามหลักเกณฑ์การตรวจและการให้คะแนนที่กำหนดท้ายระเบียบนี้และให้ผู้สมัครได้คะแนนคำตอบตามค่าเฉลี่ยที่คำนวณจากคะแนนที่ผู้ตรวจคำตอบแต่ละคนกำหนดให้ ในกรณีที่ผู้ตรวจคำตอบสองคนให้คะแนนในข้อนั้น ๆ ต่างกันตั้งแต่สี่คะแนนขึ้นไป ให้ประธานอนุกรรมการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ตรวจและให้คะแนนใหม่ และให้ถือเป็นที่สุด ข้อ ๒๙ ผู้สมัครต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ของคะแนนสอบข้อเขียนทั้งหมด เว้นแต่ในกรณี ก.อ. กำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุไว้ตามข้อ ๗ วรรคสอง ผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงซึ่งได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ เรียงตามลำดับเมื่อรวมกันแล้วไม่เกินจำนวนที่ ก.อ. กำหนดจึงจะได้รับการประกาศให้ทราบ เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมกลั่นกรองอีกครั้ง เมื่อดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมกลั่นกรองตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ประธานอนุกรรมการกำหนดวัน เวลา และสถานที่สอบปากเปล่า แล้วประกาศรายชื่อผู้ไม่ขาดคุณสมบัติจากการตรวจคุณสมบัติเพิ่มเติมกลั่นกรองเพื่อเข้าสอบปากเปล่า ให้ทราบล่วงหน้าก่อนวันสอบปากเปล่าอย่างน้อย ๗ วัน ข้อ ๓๐ ในกรณี ก.อ. กำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุไว้ตามข้อ ๗ วรรคสอง ถ้าผู้สอบข้อเขียนผ่านที่ได้ลำดับสุดท้ายมีหลายคน ซึ่งหากจะบรรจุทุกคนจะทำให้เกินจำนวนที่ ก.อ. กำหนดให้จัดลำดับผู้ที่สอบผ่านในกลุ่มนี้ ดังนี้ (๑) ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายอาญาอยู่ในลำดับก่อน (๒) หากคะแนนในวิชากฎหมายอาญาเท่ากัน ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอยู่ในลำดับก่อน (๓) ในกรณีตาม (๒) หากคะแนนในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเท่ากัน ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์อยู่ในลำดับก่อน (๔) ในกรณีตาม (๓) หากคะแนนในวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่ากัน ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอยู่ในลำดับก่อน (๕) ในกรณีตาม (๔) หากคะแนนในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเท่ากัน ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการอยู่ในลำดับก่อน ให้ใช้วิธีการดังกล่าวจัดลำดับผู้สอบผ่านให้ได้จำนวนเท่ากับที่ ก.อ. กำหนด หรือในกรณีหากเทียบคะแนนจนถึงรายวิชาสุดท้ายแล้วยังมีผู้ที่ได้คะแนนเท่ากันเมื่อรวมกันแล้วเกินจำนวนที่ ก.อ. กำหนดให้ผู้สอบผ่านที่ยังคงมีคะแนนเท่ากันดังกล่าวทุกคนได้รับการประกาศให้ทราบ เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมกลั่นกรองอีกครั้ง ข้อ ๓๑ การสอบปากเปล่าให้กระทำโดยวิธีถามผู้สมัครเรียงตัว ในลักษณะวิชาตามข้อ ๑๑ ข้อ ๑๖ หรือข้อ ๒๐ แล้วแต่กรณี การประเมินผลการสอบปากเปล่า ให้ประเมินผลว่าสอบได้หรือสอบตกเท่านั้น ผู้สมัครที่ผ่านการสอบปากเปล่าในเกณฑ์สอบได้ จึงจะถือว่าเป็นผู้สอบคัดเลือกหรือทดสอบความรู้ได้ ข้อ ๓๒ ในกรณีที่ ก.อ. มีมติให้จัดให้มีการทดสอบความรู้เฉพาะผู้สมัครที่ไปศึกษาต่างประเทศด้วยทุนรัฐบาลตามความต้องการของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือทุนของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางกฎหมายจากต่างประเทศที่ ก.อ. รับรอง ตามข้อ ๑๙ และข้อ ๒๓ ให้ผู้สมัครไปรับการตรวจร่างกายและจิตใจจากคณะกรรมการแพทย์ซึ่ง ก.อ. กำหนดตามความในมาตรา ๔๙ ก. (๖) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ เมื่อคณะกรรมการแพทย์ได้ตรวจร่างกายและจิตใจผู้สมัครแล้ว ให้คณะอนุกรรมการดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติตามวิธีการที่กำหนดไว้ในระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติ เมื่อคณะอนุกรรมการเห็นว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน ให้คณะอนุกรรมการทำการทดสอบความรู้โดยการสอบปากเปล่าตามที่ประธานอนุกรรมการทดสอบความรู้เห็นสมควร โดยมีคะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน และต้องได้คะแนนสอบปากเปล่าไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ จึงจะอยู่ในเกณฑ์จะได้รับการบรรจุเมื่อคณะอนุกรรมการได้ดำเนินการแล้ว ให้รายงานเสนอความเห็นไปยัง ก.อ. เพื่อพิจารณา ข้อ ๓๓ การบรรจุผู้ทดสอบความรู้ได้ตามมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยนั้น ให้บรรจุได้ในอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ไม่เกินหนึ่งต่อสี่ แต่ถ้าขณะใดไม่มีผู้สอบคัดเลือกได้อยู่แล้วก็ให้บรรจุได้โดยไม่มีอัตราส่วน ภายใต้บังคับวรรคหนึ่ง การบรรจุข้าราชการอัยการตามมาตรา ๕๑ (๒) (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) หรือ (ซ) ซึ่งมีคุณวุฒิต่างกัน ให้บรรจุได้ในอัตราส่วนของผู้ทดสอบความรู้ได้และจะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยแต่ละคุณวุฒิตามที่ ก.อ. กำหนด ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ ก.อ. มีมติให้จัดให้มีการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้ในคราวเดียวกัน ข้อ ๓๔ ในกรณีที่ ก.อ. เห็นชอบให้มีการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้ในคราวเดียวกันให้บรรจุผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ ผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) หรือ (ซ) และผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ก) หรือ (ข) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ตามลำดับ ข้อ ๓๕ ความในข้อ ๓๓ และข้อ ๓๔ มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ ก.อ. มีมติให้จัดให้มีการทดสอบความรู้ตามข้อ ๓๒ ข้อ ๓๖ เมื่อได้มีการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้เสร็จแล้ว ก.อ. จะประกาศรายชื่อผู้สอบคัดเลือกและทดสอบความรู้ได้และจะได้รับการบรรจุเรียงตามประเภทของการสอบและลำดับคะแนนไว้ ณ สำนักงานอัยการสูงสุด โดย ก.อ. อาจเรียกบรรจุผู้สอบคัดเลือกหรือผู้ทดสอบความรู้ได้ดังกล่าวไม่พร้อมกันก็ได้ ตามที่ ก.อ. เห็นสมควร ในกรณี ก.อ. กำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุไว้ตามข้อ ๗ วรรคสอง ถ้ามีผู้สอบคัดเลือกหรือผู้ทดสอบความรู้ได้เกินจำนวนที่ ก.อ. กำหนด ให้เสนอ ก.อ. เป็นผู้พิจารณารับบรรจุบุคคลดังกล่าวในเวลาที่ ก.อ. เห็นสมควร ข้อ ๓๗ ในกรณี ก.อ. กำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุไว้ตามข้อ ๗ วรรคสองแต่มีผู้เข้ารับการบรรจุไม่ครบจำนวนเนื่องจากมีผู้ไม่มารายงานตัวเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติ มีผู้ขาดคุณสมบัติจากการตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมกลั่นกรอง หรือผู้มีสิทธิเข้าสอบปากเปล่าไม่เข้าสอบปากเปล่าหรือสอบปากเปล่าตก หรือผู้สอบคัดเลือกหรือผู้ทดสอบความรู้ได้ไม่รายงานตัวเพื่อเข้ารับการบรรจุให้ประธานอนุกรรมการเสนอ ก.อ. เพื่อทราบถึงจำนวนที่อาจบรรจุได้อีก ในการนี้ ก.อ. อาจพิจารณาให้ประธานอนุกรรมการประกาศผู้สอบข้อเขียนผ่านที่ได้คะแนนสูงซึ่งได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ในลำดับถัดลงไปให้ทราบเพื่อดำเนินการตามข้อ ๒๙ และตามหลักเกณฑ์ข้อ ๓๐ โดยให้นำความในข้อ ๓๑ มาใช้บังคับ เพื่อให้ได้บุคคลที่จะได้รับการบรรจุตามจำนวนที่ ก.อ. กำหนดไว้ เมื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้นำความในข้อ ๓๖ มาใช้โดยอนุโลม บทเฉพาะกาล ข้อ ๓๘ การดำเนินการเกี่ยวกับการสอบคัดเลือกหรือทดสอบความรู้ในขั้นตอนใดซึ่งได้กระทำไปแล้วก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการในขั้นตอนต่อไปให้ปฏิบัติตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ตระกูล วินิจนัยภาค อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ [เอกสารแนบท้าย] ๑. หลักเกณฑ์การตรวจและการให้คะแนนในการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ๒. ข้อบังคับการสอบข้อเขียนสำหรับการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒[๓] ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๔ การดำเนินการเกี่ยวกับการทดสอบความรู้ในขั้นตอนใดซึ่งได้กระทำไปแล้วก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการในขั้นตอนต่อไปให้ปฏิบัติตามระเบียบนี้ ปริยานุช/จัดทำ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๘ ปริญสินีย์/ตรวจ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๘ พัชรภรณ์/เพิ่มเติม ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ วิชพงษ์/ตรวจ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๙๔ ก/หน้า ๙/๓๐ กันยายน ๒๕๕๘ [๒] ข้อ ๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๑๑๖ ก/หน้า ๑๖/๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๒
716212
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือก เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. 2554 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือก เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๐ วรรคสาม และมาตรา ๕๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “ก.อ.” หมายความว่า คณะกรรมการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ “คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการสอบคัดเลือกที่ ก.อ. แต่งตั้งขึ้นเพื่อทำการสอบคัดเลือกผู้สมัคร “ผู้สมัคร” หมายความว่า ผู้สมัครสอบคัดเลือกตามมาตรา ๕๐ ซึ่งมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ “ผู้สอบ” หมายความว่า ผู้สมัครซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติให้มีสิทธิเข้าสอบและได้เข้าสอบ ข้อ ๔ เมื่อสมควรจะมีการสอบคัดเลือกเมื่อใด ให้สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ ก.อ. เพื่อมีมติให้จัดให้มีการสอบคัดเลือก ให้ ก.อ. กำหนดวัน เวลายื่นใบสมัครสอบคัดเลือก และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสอบคัดเลือกขึ้นคณะหนึ่งประกอบด้วยประธานอนุกรรมการ รองประธานอนุกรรมการ และอนุกรรมการ ตามจำนวนที่จำเป็น ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงคุณสมบัติ ความรู้ความสามารถ หรือประสบการณ์เกี่ยวกับการสอบของผู้ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งเป็นสำคัญ ในการสอบคัดเลือกตามวรรคหนึ่ง ก.อ. อาจกำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุก็ได้ ข้อ ๕ ในกรณีที่ระเบียบนี้มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น คณะอนุกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งบุคคล คณะบุคคล ออกประกาศ หรือกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสมัครและการสอบคัดเลือกตามที่เห็นสมควร ข้อ ๖[๒] ให้ผู้สมัครยื่นใบสมัครสอบคัดเลือกต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับสมัคร ซึ่งได้กำหนดไว้ในประกาศสอบคัดเลือก ด้วยตนเองหรือด้วยวิธีการอื่นที่ ก.อ. กำหนด ข้อ ๗ การสอบคัดเลือกให้มีทั้งการสอบข้อเขียนและการสอบปากเปล่า การออกข้อสอบให้เป็นไปตามที่ประธานอนุกรรมการสอบคัดเลือกจะได้กำหนด วิชาที่สอบคัดเลือก คือ กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายพยานหลักฐาน กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงหรือกฎหมายว่าด้วยศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว กฎหมายล้มละลายหรือกฎหมายภาษีอากรหรือกฎหมายแรงงาน กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาหรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ และภาษาอังกฤษ ข้อ ๘ การสอบข้อเขียนมี ๓ วัน คือ (๑) วันที่หนึ่ง วิชากฎหมายอาญา จำนวน ๖ ข้อ และกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๔ ข้อ จำนวนข้อสอบรวม ๑๐ ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน (๒) วันที่สอง วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำนวน ๖ ข้อ และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จำนวน ๔ ข้อ จำนวนข้อสอบรวม ๑๐ ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน (๓) วันที่สาม วิชากฎหมายพยานหลักฐาน จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายรัฐธรรมนูญ จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายปกครอง จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงหรือกฎหมายว่าด้วยศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายล้มละลายหรือกฎหมายภาษีอากรหรือกฎหมายแรงงาน จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาหรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ จำนวน ๑ ข้อ จำนวนข้อสอบ รวม ๘ ข้อ เวลา ๓ ชั่วโมง ๓๐ นาที คะแนนเต็ม ๘๐ คะแนน และวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน ๒ ข้อ เวลา ๑ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๒๐ คะแนน ผู้สอบต้องปฏิบัติตามข้อบังคับการสอบข้อเขียนท้ายระเบียบนี้โดยเคร่งครัด และให้ประธานอนุกรรมการสอบคัดเลือกรับผิดชอบในการจัดทำรหัสสมุดคำตอบของผู้สอบทุกคนแยกตามวันที่สอบโดยไม่ให้รหัสซํ้ากันแล้วเก็บรักษารหัสดังกล่าวไว้ด้วยตนเอง ข้อ ๙ ในการตรวจคำตอบแต่ละข้อ ให้องค์คณะซึ่งประกอบด้วยผู้ตรวจคำตอบอย่างน้อยสองคนตรวจแล้วให้คะแนนคำตอบตามหลักเกณฑ์การตรวจและการให้คะแนนที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ และให้ผู้สอบได้คะแนนคำตอบตามค่าเฉลี่ยที่คำนวณจากคะแนนที่ผู้ตรวจคำตอบแต่ละคนกำหนดให้ ในกรณีที่ผู้ตรวจคำตอบสองคนให้คะแนนในข้อนั้น ๆ ต่างกันตั้งแต่สี่คะแนนขึ้นไป ให้ประธานอนุกรรมการสอบคัดเลือกหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ตรวจและให้คะแนนใหม่ และให้ถือเป็นที่สุด ข้อ ๑๐ ให้ประธานอนุกรรมการสอบคัดเลือกกำหนดวัน เวลา และสถานที่สอบข้อเขียนแล้วประกาศให้ทราบล่วงหน้าก่อนวันเริ่มสอบอย่างน้อย ๑๕ วัน ข้อ ๑๑[๓] ผู้สอบต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ของคะแนนสอบข้อเขียนทั้งหมด เว้นแต่ในกรณี ก.อ. กำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุไว้ตามข้อ ๔ วรรคสอง ผู้สอบที่ได้คะแนนสูงซึ่งได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ เรียงตามลำดับเมื่อรวมกันแล้วไม่เกินจำนวนที่ ก.อ. กำหนด จึงจะได้รับการประกาศให้ทราบ เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมกลั่นกรองอีกครั้ง เมื่อดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมกลั่นกรองตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ประธานอนุกรรมการสอบคัดเลือกกำหนดวัน เวลา และสถานที่สอบปากเปล่า แล้วประกาศรายชื่อผู้ไม่ขาดคุณสมบัติจากการตรวจคุณสมบัติเพิ่มเติมกลั่นกรองเพื่อเข้าสอบปากเปล่า ให้ทราบล่วงหน้าก่อนวันสอบปากเปล่าอย่างน้อย ๗ วัน ข้อ ๑๑/๑[๔] ในกรณี ก.อ. กำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุไว้ตามข้อ ๔ วรรคสอง ถ้าผู้สอบข้อเขียนผ่านที่ได้ลำดับสุดท้ายมีหลายคน ซึ่งหากจะบรรจุทุกคนจะทำให้เกินจำนวนที่ ก.อ. กำหนด ให้จัดลำดับผู้ที่สอบผ่านในกลุ่มนี้ดังนี้ (๑) ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายอาญาอยู่ในลำดับก่อน (๒) หากคะแนนในวิชากฎหมายอาญาเท่ากัน ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอยู่ในลำดับก่อน (๓) ในกรณีตาม (๒) หากคะแนนในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเท่ากัน ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์อยู่ในลำดับก่อน (๔) ในกรณีตาม (๓) หากคะแนนในวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่ากัน ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอยู่ในลำดับก่อน (๕) ในกรณีตาม (๔) หากคะแนนในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเท่ากัน ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการอยู่ในลำดับก่อน ให้ใช้วิธีการดังกล่าวจัดลำดับผู้สอบผ่านให้ได้จำนวนเท่ากับที่ ก.อ. กำหนด หรือในกรณีหากเทียบคะแนนจนถึงรายวิชาสุดท้ายแล้วยังมีผู้ที่ได้คะแนนเท่ากันเมื่อรวมกันแล้วเกินจำนวนที่ ก.อ. กำหนด ให้ผู้สอบผ่านที่ยังคงมีคะแนนเท่ากันดังกล่าวทุกคนได้รับการประกาศให้ทราบ เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมกลั่นกรองอีกครั้ง ข้อ ๑๒ การสอบปากเปล่า ให้กระทำโดยวิธีถามผู้สอบเรียงตัวในลักษณะวิชาดังกล่าวในข้อ ๗ ตามที่ประธานอนุกรรมการสอบคัดเลือกเห็นสมควร การประเมินผลการสอบปากเปล่า ให้ประเมินผลว่าสอบได้หรือสอบตกเท่านั้น ผู้สอบที่ผ่านการสอบปากเปล่าในเกณฑ์สอบได้ จึงจะถือว่าเป็นผู้สอบคัดเลือกได้ ข้อ ๑๓[๕] เมื่อได้มีการสอบคัดเลือกเสร็จแล้ว ก.อ. จะประกาศรายชื่อผู้สอบคัดเลือกได้และจะได้รับการบรรจุเรียงตามลำดับคะแนนไว้ ณ สำนักงานอัยการสูงสุด โดย ก.อ. อาจเรียกบรรจุผู้สอบคัดเลือกได้ดังกล่าวไม่พร้อมกันก็ได้ ตามที่ ก.อ. เห็นสมควร ในกรณี ก.อ. กำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุไว้ตามข้อ ๔ วรรคสอง ถ้ามีผู้สอบคัดเลือกได้เกินจำนวนที่ ก.อ. กำหนด ให้เสนอ ก.อ. เป็นผู้พิจารณารับบรรจุบุคคลดังกล่าวในเวลาที่ ก.อ. เห็นสมควร ข้อ ๑๔[๖] ในกรณี ก.อ. กำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุไว้ตามข้อ ๔ วรรคสอง แต่มีผู้เข้ารับการบรรจุไม่ครบจำนวนเนื่องจากมีผู้ขาดคุณสมบัติจากการตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมกลั่นกรอง หรือผู้มีสิทธิเข้าสอบปากเปล่าไม่เข้าสอบปากเปล่าหรือสอบปากเปล่าตก หรือผู้สอบคัดเลือกได้ไม่รายงานตัวเพื่อเข้ารับการบรรจุ ให้ประธานอนุกรรมการสอบคัดเลือกเสนอ ก.อ. เพื่อทราบถึงจำนวนที่อาจบรรจุได้อีก ในการนี้ ก.อ. อาจพิจารณาให้ประธานอนุกรรมการสอบคัดเลือกประกาศผู้สอบที่ได้คะแนนสูงซึ่งได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ในลำดับถัดลงไปให้ทราบเพื่อดำเนินการตามข้อ ๑๑ และตามหลักเกณฑ์ข้อ ๑๑/๑ โดยให้นำความในข้อ ๑๒ มาใช้บังคับ เพื่อให้ได้บุคคลที่จะได้รับการบรรจุตามจำนวนที่ ก.อ. กำหนดไว้ เมื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้นำความในข้อ ๑๓ มาใช้โดยอนุโลม ข้อ ๑๕ การดำเนินการเกี่ยวกับการสอบคัดเลือกซึ่งได้กระทำไปแล้วในขั้นตอนใดก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการในขั้นตอนต่อไปให้ปฏิบัติตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๖ ให้ ก.อ. มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๗ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่ง หลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ บรรดาระเบียบ ข้อกำหนด ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งอื่นใด ซึ่งขัดหรือแย้งระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ [เอกสารแนบท้าย] ๑. หลักเกณฑ์การตรวจและการให้คะแนนในการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ๒. ข้อบังคับการสอบข้อเขียนสำหรับการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕[๗] ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗[๘] ปณตภร/ผู้จัดทำ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๖ จุฑามาศ/เพิ่มเติม ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๗ นุสรา/ผู้ตรวจ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๗๒ ก/หน้า ๖/๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ [๒] ข้อ ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๓] ข้อ ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๔] ข้อ ๑๑/๑ เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๕] ข้อ ๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๖] ข้อ ๑๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๑๖ ก/หน้า ๓๖/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ [๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๕๑ ก/หน้า ๑๔/๕ มิถุนายน ๒๕๕๗
646150
ประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง วิธีการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 18 (3) พ.ศ. 2554
ประกาศคณะกรรมการอัยการ ประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง วิธีการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๘ (๓) พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยที่เป็นการสมควรให้มีวิธีการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๘ (๓) อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง วิธีการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๘ (๓) พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “การเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ” หมายความว่า การเลือกตามวาระ หรือการเลือกซ่อม แล้วแต่กรณี “การเลือกตามวาระ” หมายความว่า การเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้ดำรงตำแหน่งตามวาระ “การเลือกซ่อม” หมายความว่า การเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้ดำรงตำแหน่งแทนตำแหน่งที่ว่างลงก่อนครบวาระ ข้อ ๔ เมื่อมีการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้อัยการสูงสุดจัดทำบัญชีรายชื่อบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยแยกออกเป็น ๒ ประเภท คือ ประเภทข้าราชการอัยการชั้น ๖ ขึ้นไป ซึ่งมิได้เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่งอยู่แล้ว รวมถึงอัยการอาวุโสผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งข้าราชการอัยการชั้น ๖ ขึ้นไป ก่อนปีงบประมาณที่จะดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสกับประเภทผู้รับบำเหน็จหรือบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการมาแล้ว และต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๙ ข. (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) และ (๗) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ไปยังข้าราชการอัยการที่ดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการอัยการตั้งแต่ชั้น ๒ ขึ้นไปและอัยการอาวุโสผู้มีสิทธิเลือกทุกคน พร้อมด้วยบัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิและกำหนดวันสุดท้ายที่จะส่งบัตรเลือกให้ถึงสำนักงานอัยการสูงสุดไว้ด้วย ในการเลือกซ่อม ให้อัยการสูงสุดแจ้งประเภทและจำนวนตำแหน่งที่ว่างไปด้วย ข้อ ๕ บัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ บัตรทุกบัตรต้องมีลายมือชื่อของอัยการสูงสุดและกรรมการควบคุมการส่งบัตรจำนวนสามคนกำกับเป็นหลักฐาน การส่งบัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังผู้มีสิทธิเลือกก่อนถึงกำหนดวันสุดท้ายที่จะส่งบัตรเลือกตามข้อ ๔ ไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน ข้อ ๖ การเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้ข้าราชการอัยการผู้มีสิทธิเลือกกรอกรายชื่อผู้ซึ่งตนเลือกด้วยลายมือของตนเองลงในบัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิโดยไม่ต้องลงลายมือชื่อและตำแหน่งของตน แล้วใส่ซองปิดผนึกส่งไปยังอัยการสูงสุด ถ้าจะส่งทางไปรษณีย์ให้ส่งโดยลงทะเบียน ข้อ ๗ ให้อัยการสูงสุดแต่งตั้งข้าราชการอัยการไม่น้อยกว่าสามคนเป็นกรรมการควบคุมการส่งบัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ และแต่งตั้งข้าราชการอัยการผู้อื่นอีกไม่น้อยกว่าสามคนเป็นกรรมการตรวจนับคะแนนการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้กรรมการควบคุมการส่งบัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบบัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิให้ถูกต้องตามที่กำหนดในข้อ ๕ ก่อนที่จะจัดส่งไปยังผู้มีสิทธิเลือก ให้กรรมการตรวจนับคะแนนเป็นผู้เปิดซองบรรจุบัตรเลือก ทำการตรวจบัตรเลือกและนับคะแนนโดยเปิดเผย แล้วรายงานผลไปยังอัยการสูงสุดภายในเวลาที่อัยการสูงสุดกำหนด ในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการตรวจนับคะแนน ต้องมีกรรมการอยู่พร้อมกันไม่น้อยกว่าสามคน ข้อ ๘ บัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิต่อไปนี้ ให้ถือเป็นบัตรเสีย (๑) บัตรที่มิใช่บัตรที่อัยการสูงสุดส่งไป หรือไม่มีลายมือชื่อของอัยการสูงสุดและไม่มีลายมือชื่อของกรรมการควบคุมการส่งบัตรจำนวนสามคนกำกับเป็นหลักฐาน (๒) บัตรที่ระบุชื่อผู้รับเลือกเกินประเภทละสามคน หรือเกินจำนวนตำแหน่งที่ว่างในกรณีการเลือกซ่อม (๓) บัตรซึ่งผู้มีสิทธิเลือกมิได้กรอกชื่อผู้ที่ตนเลือกด้วยลายมือของตนเอง (๔) บัตรซึ่งผู้มีสิทธิเลือกลงลายมือชื่อ หรือตำแหน่งในบัตร (๕) บัตรที่ส่งถึงสำนักงานอัยการสูงสุดพ้นกำหนดวันที่อัยการสูงสุดกำหนดตามข้อ ๔ ข้อ ๙ ในกรณีที่บัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิเลอะเลือนหรือเขียนชื่อผู้รับเลือกไม่ถูกต้อง จนไม่สามารถทราบเจตนาอันแท้จริงของผู้เลือกได้ หรือกรอกชื่อผู้รับเลือกที่เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๖ ขึ้นไป หรืออัยการอาวุโสผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งข้าราชการอัยการชั้น ๖ ขึ้นไปก่อนปีงบประมาณที่จะดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส ในช่องสำหรับกรอกชื่อผู้รับเลือกที่เป็นผู้รับบำเหน็จหรือบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการมาแล้ว หรือกลับกัน ให้ถือว่าบัตรนั้นเสียเฉพาะส่วนที่กล่าวแล้ว การที่จะถือว่าผู้รับเลือกคนใด เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๖ ขึ้นไป หรืออัยการอาวุโสผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งข้าราชการอัยการชั้น ๖ ขึ้นไป ก่อนปีงบประมาณที่จะดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสหรือเป็นผู้รับบำเหน็จหรือบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ให้ถือตามความเป็นจริงในขณะเปิดซองบรรจุบัตร ข้อ ๑๐ ในการเลือกตามวาระนั้น ข้าราชการอัยการชั้น ๖ ขึ้นไป รวมถึงอัยการอาวุโสผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งข้าราชการอัยการชั้น ๖ ขึ้นไป ก่อนปีงบประมาณที่จะดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสสามคนที่ได้คะแนนสูงกว่าผู้อื่น และผู้รับบำเหน็จหรือบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการมาแล้วสามคนที่ได้คะแนนสูงกว่าผู้อื่น เป็นผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ถ้าในประเภทใดมีผู้ได้คะแนนเท่ากันอยู่ในเกณฑ์ที่ได้รับเลือกเกินสามคน ให้จับสลากระหว่างผู้ที่ได้คะแนนเท่ากัน อันทำให้มีจำนวนเกินไปนั้นว่าผู้ใดจะได้รับเลือก การจับสลาก ให้อัยการสูงสุดเป็นผู้จับต่อหน้ากรรมการตรวจนับคะแนนไม่น้อยกว่าสามคน ในการเลือกซ่อม ให้นำความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๑ ให้อัยการสูงสุดประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิและให้ผู้นั้นดำรงตำแหน่งกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ นับแต่วันที่อัยการสูงสุดลงนามในประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ กรณีกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับเลือกว่างลง หากกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกซ่อมมีวาระเหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งปีนับแต่วันเลือก ไม่ให้นับเป็นวาระการดำรงตำแหน่ง ให้นำประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๑๒ ให้อัยการสูงสุดแต่งตั้งข้าราชการอัยการไม่น้อยกว่าสามคนเป็นกรรมการเก็บรักษาบัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อเก็บรักษาบัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิไว้ไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่อัยการสูงสุดลงนามในประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้อัยการสูงสุดแต่งตั้งข้าราชการอัยการไม่น้อยกว่าสามคนเป็นกรรมการทำลายบัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิต่อไป ข้อ ๑๓ ให้คณะกรรมการอัยการมีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศนี้ ข้อ ๑๔ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ โอภาส อรุณินท์ ประธานคณะกรรมการอัยการ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๑๕ ก/หน้า ๙๐/๑๑ มีนาคม ๒๕๕๔