sysid
stringlengths 1
6
| title
stringlengths 8
870
| txt
stringlengths 0
257k
|
---|---|---|
665778 | พระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ พ.ศ. 2552 (ฉบับ Update ล่าสุด) | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น
ของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
พ.ศ. ๒๕๕๒
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ กันยายน
พ.ศ. ๒๕๕๒
เป็นปีที่ ๖๔
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๒
มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ได้รับเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มเป็นรายเดือน
ตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
ตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
มาตรา ๔ ให้กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลหรือการประกันสุขภาพตามที่จ่ายจริงในอัตราเบี้ยประกันคนละไม่เกินสามหมื่นบาทต่อปี
ให้นำพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลและระเบียบกระทรวงการคลังซึ่งออกตามความในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาใช้บังคับแก่ค่ารักษาพยาบาลของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามพระราชกฤษฎีกานี้ โดยอนุโลม
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกานี้
คำว่า การประกันสุขภาพ ให้หมายถึง การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองทางด้านการเงินเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายต่าง
ๆ สำหรับการรักษาตัวในสถานพยาบาลหรือคลินิก
หรือเข้ารับการผ่าตัดโดยแพทย์ในกรณีเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ
มาตรา ๕ ในกรณีที่กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ซึ่งขอรับการประกันสุขภาพเป็นผู้ซึ่งได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญ
ให้ได้รับการชดเชยค่ารักษาพยาบาลจากการประกันสุขภาพก่อน
และมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลจากทางราชการเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่จากส่วนราชการเจ้าสังกัดที่ผู้นั้นรับเบี้ยหวัดหรือบำนาญอยู่
มาตรา ๖ ให้กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่น้อยกว่าหนึ่งปีบริบูรณ์
มีสิทธิได้รับบำเหน็จตอบแทนเป็นเงินซึ่งจ่ายครั้งเดียวเมื่อพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง
ดังต่อไปนี้
(๑)
ออกตามวาระ
(๒)
ลาออก
(๓)
มีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
ในการคำนวณบำเหน็จตอบแทนนั้น
ให้นำอัตราเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชกฤษฎีกานี้คูณด้วยระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง
การนับระยะเวลาดำรงตำแหน่งเพื่อคำนวณบำเหน็จตอบแทนตามวรรคหนึ่งนั้นให้นับตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่สิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่
โดยให้นับจำนวนปีรวมทั้งเศษของปีด้วย
การคำนวณเศษของปีที่เป็นเดือนหรือเป็นวันให้เป็นปีนั้นให้นำเศษที่เป็นเดือนหารด้วยสิบสอง
และเศษที่เป็นวันหารด้วยสามสิบได้ผลลัพธ์เท่าใดจึงหารด้วยสิบสอง
ในการคำนวณให้ใช้ทศนิยมสองตำแหน่ง และให้นำจำนวนที่คำนวณได้มารวมกันเป็นระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งซึ่งเป็นจำนวนปี
สิทธิในบำเหน็จตอบแทนนั้น
เป็นสิทธิเฉพาะตัว จะโอนไม่ได้
มาตรา ๗ ในกรณีที่กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์พ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุถึงแก่ความตาย
ไม่ว่าผู้นั้นจะดำรงตำแหน่งครบหนึ่งปีบริบูรณ์หรือไม่
ให้จ่ายบำเหน็จตอบแทนเป็นเงินซึ่งจ่ายครั้งเดียวตามระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งโดยใช้เกณฑ์คำนวณตามมาตรา
๖ วรรคสอง และวรรคสาม โดยอนุโลม
ให้แก่ทายาทโดยธรรมซึ่งเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๘ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
[เอกสารแนบท้าย]
๑.[๒]
บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๓๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
บัญญัติให้กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ได้รับเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔[๓]
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับบัญชีเงินเดือน ค่าจ้าง
และค่าตอบแทนรายเดือนของบุคลากรภาครัฐ
โดยปรับเพิ่มเงินประจำตำแหน่งในอัตราร้อยละห้า จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๕ เมษายน ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๗๐ ก/หน้า ๑๖/๒๓ กันยายน ๒๕๕๒
[๒] บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔
[๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๘๒ ก/หน้า ๔/๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ |
565682 | พระราชกฤษฎีกากำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาชีพเฉพาะและประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ พ.ศ. 2535 (ฉบับ Update ล่าสุด) | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
กำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาชีพเฉพาะ
และประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ
พ.ศ. ๒๕๓๕[๑]
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙
กันยายน พ.ศ.๒๕๓๕
เป็นปีที่ ๔๗
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาชีพเฉพาะ
และประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา
๓๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๓๕ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดตำแหน่ง ข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาชีพเฉพาะและประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ
พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๒
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นไป
มาตรา ๓[๒] ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ ได้แก่
ตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๗ ขึ้นไป ดังต่อไปนี้
(ก)
ตำแหน่งที่มีลักษณะงานวิชาชีพซึ่งต้องปฏิบัติโดยผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาที่ไม่อาจมอบหมายให้ผู้มีคุณวุฒิอย่างอื่นปฏิบัติงานแทนได้
และเป็นงานที่มีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างเห็นได้ชัด
โดยมีองค์กรตามกฎหมายทำหน้าที่ตรวจสอบ กลั่นกรอง และรับรองการประกอบวิชาชีพ
รวมทั้งลงโทษผู้กระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพดังกล่าว ซึ่งได้แก่
ตำแหน่งที่ปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพเฉพาะ ดังต่อไปนี้
(๑) วิชาชีพเฉพาะกายภาพบำบัด
(๒) วิชาชีพเฉพาะการทันตแพทย์
(๓) วิชาชีพเฉพาะการพยาบาล
(๔) วิชาชีพเฉพาะการแพทย์
(๕) วิชาชีพเฉพาะการสัตวแพทย์
(๖) วิชาชีพเฉพาะเภสัชกรรม
(๗) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมเครื่องกล
(๘) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมไฟฟ้า
(๙) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร
(๑๐) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมโยธา
(๑๑) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมเหมืองแร่
(๑๒) วิชาชีพเฉพาะสถาปัตยกรรม
(๑๓) วิชาชีพเฉพาะอื่นที่ ก.พ. กำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
(ข)
ตำแหน่งที่มีลักษณะงานวิชาชีพซึ่งต้องปฏิบัติโดยผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาที่ไม่อาจมอบหมายให้ผู้มีคุณวุฒิอย่างอื่นปฏิบัติงานแทนได้
และเป็นงานที่มีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างเห็นได้ชัด
อีกทั้งเป็นงานที่ขาดแคลนกำลังคนในภาคราชการ
ซึ่งได้แก่ตำแหน่งที่ปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพเฉพาะ ดังต่อไปนี้
(๑) วิชาชีพเฉพาะรังสีการแพทย์
(๒) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมชลประทาน
(๓) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมนิวเคลียร์
(๔) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมปิโตรเลียม
(๕) วิชาชีพเฉพาะอื่นที่ ก.พ. กำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
(ค)
ตำแหน่งที่มีลักษณะงานวิชาชีพซึ่งต้องปฏิบัติโดยผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาที่ไม่อาจมอบหมายให้ผู้มีคุณวุฒิอย่างอื่นปฏิบัติงานแทนได้
และเป็นงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งมีลักษณะในเชิงวิจัยและพัฒนา
อีกทั้งเป็นงานที่ขาดแคลนกำลังคนในภาคราชการ
ซึ่งได้แก่ตำแหน่งที่ปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพเฉพาะ ดังต่อไปนี้
(๑) วิชาชีพเฉพาะวิทยาการคอมพิวเตอร์
(๒) วิชาชีพเฉพาะอื่นที่ ก.พ. กำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๔[๓] ตำแหน่งประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ ได้แก่
ตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๙ ขึ้นไป ซึ่งต้องปฏิบัติงานที่เป็นงานหลักของหน่วยงาน
โดยอาศัยพื้นฐานของความรู้ ประสบการณ์ การฝึกฝนทฤษฎี หรือหลักวิชาการอันเกี่ยวข้องกับงาน
และเป็นงานเชิงพัฒนาระบบหรือมาตรฐานของงาน งานอนุรักษ์ตามภารกิจ
หรืองานที่ต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถ
หรือประสบการณ์เป็นอย่างสูงเฉพาะด้าน
อันเป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการหรือวงการด้านนั้น ๆ ซึ่งได้แก่
ตำแหน่งที่ปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ดังต่อไปนี้
(๑) ด้านการข่าว
(๒) ด้านการเจ้าหน้าที่
(๓) ด้านการผังเมือง
(๔) ด้านการฝึกอบรม
(๕) ด้านการสืบสวนสอบสวน
(๖) ด้านกีฏวิทยา
(๗) ด้านคดีพิเศษ
(๘) ด้านคุมประพฤติ
(๙) ด้านจัดการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
(๑๐) ด้านจิตวิทยา
(๑๑) ด้านช่างศิลปกรรม
(๑๒) ด้านเดินเรือระหว่างประเทศ
(๑๓) ด้านตรวจสอบบัญชี
(๑๔) ด้านตรวจสอบภายใน
(๑๕) ด้านตรวจสอบศุลกากร
(๑๖) ด้านทำแผนที่ภาพถ่าย
(๑๗) ด้านนิติการ
(๑๘) ด้านนิติวิทยาศาสตร์
(๑๙) ด้านโบราณคดี
(๒๐) ด้านประเมินอากร
(๒๑) ด้านพัฒนาการกีฬา
(๒๒) ด้านพัฒนาการท่องเที่ยว
(๒๓) ด้านพัฒนาทรัพยากรบุคคล
(๒๔) ด้านพัฒนาระบบราชการ
(๒๕) ด้านพัฒนาสังคม
(๒๖) ด้านภูมิสถาปัตยกรรม
(๒๗) ด้านวิเคราะห์งบประมาณ
(๒๘) ด้านวิเคราะห์งานทะเบียนการค้า
(๒๙) ด้านวิเคราะห์งานบุคคล
(๓๐) ด้านวิเคราะห์นโยบายและแผน
(๓๑) ด้านวิจัยสังคมศาสตร์
(๓๒) ด้านวิชาการกษาปณ์
(๓๓) ด้านวิชาการเกษตร
(๓๔) ด้านวิชาการขนส่ง
(๓๕) ด้านวิชาการคลัง
(๓๖) ด้านวิชาการควบคุมโรค
(๓๗) ด้านวิชาการเงินและบัญชี
(๓๘) ด้านวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน
(๓๙) ด้านวิชาการตรวจสอบบัญชี
(๔๐) ด้านวิชาการตรวจสอบภาษี
(๔๑) ด้านวิชาการทรัพยากรธรณี
(๔๒) ด้านวิชาการทัณฑวิทยา
(๔๓) ด้านวิชาการที่ดิน
(๔๔) ด้านวิชาการธรณีวิทยา
(๔๕) ด้านวิชาการบัญชี
(๔๖) ด้านวิชาการประกันภัย
(๔๗) ด้านวิชาการประชาสัมพันธ์
(๔๘) ด้านวิชาการประมง
(๔๙) ด้านวิชาการประมงทะเล
(๕๐) ด้านวิชาการป่าไม้
(๕๑) ด้านวิชาการผลิตภัณฑ์อาหาร
(๕๒) ด้านวิชาการพัฒนาชุมชน
(๕๓) ด้านวิชาการพาณิชย์
(๕๔) ด้านวิชาการภาษี
(๕๕) ด้านวิชาการมาตรฐาน
(๕๖) ด้านวิชาการมาตรฐานสินค้า
(๕๗) ด้านวิชาการยุติธรรม
(๕๘) ด้านวิชาการแรงงาน
(๕๙) ด้านวิชาการโรคพืช
(๖๐) ด้านวิชาการละครและดนตรี
(๖๑) ด้านวิชาการวัฒนธรรม
(๖๒) ด้านวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์
(๖๓) ด้านวิชาการศาสนา
(๖๔) ด้านวิชาการศึกษา
(๖๕) ด้านวิชาการศึกษาพิเศษ
(๖๖) ด้านวิชาการเศรษฐกิจ
(๖๗) ด้านวิชาการส่งเสริมการเกษตร
(๖๘) ด้านวิชาการสถิติ
(๖๙) ด้านวิชาการสรรพสามิต
(๗๐) ด้านวิชาการสรรพากร
(๗๑) ด้านวิชาการสหกรณ์
(๗๒) ด้านวิชาการสอบ
(๗๓) ด้านวิชาการสัตวบาล
(๗๔) ด้านวิชาการสาธารณสุข
(๗๕) ด้านวิชาการสิ่งแวดล้อม
(๗๖) ด้านวิชาการสุขศึกษา
(๗๗) ด้านวิชาการสุขาภิบาล
(๗๘) ด้านวิชาการอาหารและยา
(๗๙) ด้านวิชาการอุทกวิทยา
(๘๐) ด้านวิทยาศาสตร์
(๘๑) ด้านวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์
(๘๒) ด้านวิเทศสหการ
(๘๓) ด้านวิศวกรรม
(๘๔) ด้านวิศวกรรมสำรวจ
(๘๕) ด้านส่งเสริมและสอนการพลศึกษา
(๘๖) ด้านสถิติเศรษฐสังคม
(๘๗) ด้านสอบสวนคดีพิเศษ
(๘๘) ด้านสังคมสงเคราะห์
(๘๙) ด้านสัตววิทยา
(๙๐) ด้านสำรวจดิน
(๙๑) ด้านอักษรศาสตร์
(๙๒) ด้านอาลักษณ์
(๙๓) ด้านอุตุนิยมวิทยา
(๙๔) ด้านอื่นที่ ก.พ.
กำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๕
ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
อานันท์ ปันยารชุน
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ บัญญัติให้ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมี ๓ ประเภท ได้แก่
ตำแหน่งประเภททั่วไป ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะและตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือบริหารระดับกลางตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาและโดยที่มาตรา
๔๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
บัญญัติให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
ซึ่งออกตามมาตรา ๓๙ ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ
หรือเชี่ยวชาญเฉพาะตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือนท้ายพระราชบัญญัติดัง
กล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาชีพเฉพาะและประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๐[๔]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๑๒
วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๓๘ และมาตรา ๕
แห่งพระราชกฤษฎีกาการได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการและผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารซึ่งไม่เป็นข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๘ บัญญัติให้ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนตั้งแต่ระดับ ๗ ขึ้นไปรับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะได้
สมควรแก้ไขมาตรา ๓ แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาชีพเฉพาะและประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ
พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้สอดคล้องกัน
จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาชีพเฉพาะและประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐[๕]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนมีมติกำหนดให้ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในสายงานด้านการเจ้าหน้าที่
ด้านคดีพิเศษ ด้านคุมประพฤติ ด้านจัดการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ด้านจิตวิทยา
ด้านเดินเรือระหว่างประเทศ ด้านตรวจสอบภายใน ด้านตรวจสอบศุลกากร
ด้านทำแผนที่ภาพถ่าย ด้านนิติวิทยาศาสตร์ ด้านพัฒนาการกีฬา ด้านพัฒนาการท่องเที่ยว
ด้านพัฒนาทรัพยากรบุคคล ด้านพัฒนาระบบราชการ ด้านพัฒนาสังคม ด้านภูมิสถาปัตยกรรม
ด้านวิชาการเงินและบัญชี ด้านวิชาการทรัพยากรธรณี ด้านวิชาการที่ดิน
ด้านวิชาการยุติธรรม ด้านวิชาการวัฒนธรรม ด้านวิชาการศาสนา ด้านวิชาการศึกษาพิเศษ
ด้านวิชาการส่งเสริมการเกษตร ด้านวิชาการสรรพสามิต ด้านวิชาการสรรพากร
ด้านวิชาการอุทกวิทยา ด้านวิศวกรรมสำรวจ ด้านสอบสวนคดีพิเศษ และด้านอาลักษณ์
เป็นตำแหน่งประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ
และคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติได้พิจารณาเห็นชอบให้เป็นตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะตามพระราชกฤษฎีกาการได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการและผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารซึ่งไม่เป็นข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๘ แล้ว
สมควรกำหนดให้ตำแหน่งดังกล่าวเป็นตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะเพิ่มเติม
เพื่อประโยชน์ในการได้รับเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งต่อไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๐๐/หน้า ๗/๒๓ กันยายน ๒๕๓๕
[๒] มาตรา ๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาชีพเฉพาะและประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๐
[๓] มาตรา ๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาชีพเฉพาะและประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๖ ก/หน้า ๑๐/๑๙ มีนาคม ๒๕๔๐
[๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๑๑ ก/หน้า ๕/๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ |
595330 | พระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม พ.ศ. 2551
| พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น
ของกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม
พ.ศ. ๒๕๕๑
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ ธันวาคม
พ.ศ. ๒๕๕๑
เป็นปีที่ ๖๓
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า
พระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม
พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้กรรมการ
ก.พ.ค. ได้รับเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มเป็นรายเดือน ตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มของกรรมการ
ก.พ.ค. ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ตั้งแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
มาตรา ๔ ให้กรรมการ
ก.พ.ค. มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาล หรือการประกันสุขภาพตามที่จ่ายจริงในอัตราเบี้ยประกันคนละไม่เกินสามหมื่นบาทต่อปี
ให้นำพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลและระเบียบกระทรวงการคลังซึ่งออกตามความในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาใช้บังคับแก่ค่ารักษาพยาบาลของกรรมการ
ก.พ.ค. ตามพระราชกฤษฎีกานี้โดยอนุโลม
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกานี้
คำว่า การประกันสุขภาพ ให้หมายถึง การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองทางด้านการเงินเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายต่าง
ๆ สำหรับการรักษาตัวในสถานพยาบาลหรือคลินิก
หรือเข้ารับการผ่าตัดโดยแพทย์ในกรณีเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ
มาตรา ๕ ในกรณีที่กรรมการ ก.พ.ค.
ซึ่งขอรับการประกันสุขภาพเป็นผู้ซึ่งได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญ
ให้ได้รับการชดเชยค่ารักษาพยาบาลจากการประกันสุขภาพก่อนและมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลจากทางราชการเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่จากส่วนราชการเจ้าสังกัดที่ผู้นั้นรับเบี้ยหวัดหรือบำนาญอยู่
มาตรา ๖ ให้กรรมการ ก.พ.ค.
ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่น้อยกว่าหนึ่งปีบริบูรณ์
มีสิทธิได้รับบำเหน็จตอบแทนเป็นเงินซึ่งจ่ายครั้งเดียวเมื่อพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง
ดังต่อไปนี้
(๑)
ออกตามวาระ
(๒)
ลาออก
(๓)
มีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
ในการคำนวณบำเหน็จตอบแทนนั้น
ให้นำอัตราเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชกฤษฎีกาคูณด้วยระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง
การนับระยะเวลาดำรงตำแหน่งเพื่อคำนวณบำเหน็จตอบแทนตามวรรคหนึ่งนั้น
ให้นับตั้งแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่สิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่
โดยให้นับจำนวนปีรวมทั้งเศษของปีด้วย
การคำนวณเศษของปีที่เป็นเดือนหรือเป็นวันให้เป็นปีนั้น
ให้นำเศษที่เป็นเดือนหารด้วยสิบสอง
และเศษที่เป็นวันหารด้วยสามสิบได้ผลลัพธ์เท่าใดจึงหารด้วยสิบสอง ในการคำนวณให้ใช้ทศนิยมสองตำแหน่ง
และให้นำจำนวนที่คำนวณได้มารวมกันเป็นระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งซึ่งเป็นจำนวนปี
สิทธิในบำเหน็จตอบแทนนั้น
เป็นสิทธิเฉพาะตัว จะโอนไม่ได้
มาตรา ๗ ในกรณีที่กรรมการ ก.พ.ค.
พ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุถึงแก่ความตาย ไม่ว่าผู้นั้นจะดำรงตำแหน่งครบหนึ่งปีบริบูรณ์หรือไม่
ให้จ่ายบำเหน็จตอบแทนเป็นเงินซึ่งจ่ายครั้งเดียวตามระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง
โดยใช้เกณฑ์คำนวณตามมาตรา ๖ วรรคสอง และวรรคสาม โดยอนุโลม
ให้แก่ทายาทโดยธรรมซึ่งเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๘ ให้กรรมการ ก.พ.ค.
ซึ่งได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอยู่แล้วในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นตามพระราชกฤษฎีกานี้นับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
มาตรา ๙ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
สมชาย วงศ์สวัสดิ์
นายกรัฐมนตรี
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มของกรรมการ ก.พ.ค.
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๓๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ บัญญัติให้กรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม
ได้รับเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ปณตภร/ปรับปรุง
๕ เมษายน ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๑๓๘ ก/หน้า ๗๔/๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ |
530676 | พระราชกฤษฎีกากำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาชีพเฉพาะ และประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550
| พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
กำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาชีพเฉพาะ
และประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๐
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๖
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐
เป็นปีที่ ๖๒
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาชีพเฉพาะและประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ และมาตรา ๓๙
(๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า
พระราชกฤษฎีกากำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาชีพเฉพาะและประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา
๔
แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาชีพเฉพาะและประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ
พ.ศ. ๒๕๓๕ และใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๔ ตำแหน่งประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ ได้แก่
ตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๙ ขึ้นไป ซึ่งต้องปฏิบัติงานที่เป็นงานหลักของหน่วยงาน
โดยอาศัยพื้นฐานของความรู้ ประสบการณ์ การฝึกฝนทฤษฎี
หรือหลักวิชาการอันเกี่ยวข้องกับงาน และเป็นงานเชิงพัฒนาระบบหรือมาตรฐานของงาน งานอนุรักษ์ตามภารกิจ
หรืองานที่ต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถ
หรือประสบการณ์เป็นอย่างสูงเฉพาะด้าน
อันเป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการหรือวงการด้านนั้น ๆ ซึ่งได้แก่
ตำแหน่งที่ปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ดังต่อไปนี้
(๑)
ด้านการข่าว
(๒)
ด้านการเจ้าหน้าที่
(๓)
ด้านการผังเมือง
(๔)
ด้านการฝึกอบรม
(๕)
ด้านการสืบสวนสอบสวน
(๖)
ด้านกีฏวิทยา
(๗)
ด้านคดีพิเศษ
(๘)
ด้านคุมประพฤติ
(๙)
ด้านจัดการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
(๑๐)
ด้านจิตวิทยา
(๑๑)
ด้านช่างศิลปกรรม
(๑๒)
ด้านเดินเรือระหว่างประเทศ
(๑๓)
ด้านตรวจสอบบัญชี
(๑๔)
ด้านตรวจสอบภายใน
(๑๕)
ด้านตรวจสอบศุลกากร
(๑๖)
ด้านทำแผนที่ภาพถ่าย
(๑๗)
ด้านนิติการ
(๑๘)
ด้านนิติวิทยาศาสตร์
(๑๙)
ด้านโบราณคดี
(๒๐)
ด้านประเมินอากร
(๒๑)
ด้านพัฒนาการกีฬา
(๒๒)
ด้านพัฒนาการท่องเที่ยว
(๒๓)
ด้านพัฒนาทรัพยากรบุคคล
(๒๔)
ด้านพัฒนาระบบราชการ
(๒๕)
ด้านพัฒนาสังคม
(๒๖)
ด้านภูมิสถาปัตยกรรม
(๒๗)
ด้านวิเคราะห์งบประมาณ
(๒๘)
ด้านวิเคราะห์งานทะเบียนการค้า
(๒๙)
ด้านวิเคราะห์งานบุคคล
(๓๐)
ด้านวิเคราะห์นโยบายและแผน
(๓๑)
ด้านวิจัยสังคมศาสตร์
(๓๒)
ด้านวิชาการกษาปณ์
(๓๓)
ด้านวิชาการเกษตร
(๓๔)
ด้านวิชาการขนส่ง
(๓๕)
ด้านวิชาการคลัง
(๓๖)
ด้านวิชาการควบคุมโรค
(๓๗)
ด้านวิชาการเงินและบัญชี
(๓๘)
ด้านวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน
(๓๙)
ด้านวิชาการตรวจสอบบัญชี
(๔๐)
ด้านวิชาการตรวจสอบภาษี
(๔๑)
ด้านวิชาการทรัพยากรธรณี
(๔๒)
ด้านวิชาการทัณฑวิทยา
(๔๓)
ด้านวิชาการที่ดิน
(๔๔)
ด้านวิชาการธรณีวิทยา
(๔๕)
ด้านวิชาการบัญชี
(๔๖)
ด้านวิชาการประกันภัย
(๔๗)
ด้านวิชาการประชาสัมพันธ์
(๔๘)
ด้านวิชาการประมง
(๔๙)
ด้านวิชาการประมงทะเล
(๕๐)
ด้านวิชาการป่าไม้
(๕๑)
ด้านวิชาการผลิตภัณฑ์อาหาร
(๕๒)
ด้านวิชาการพัฒนาชุมชน
(๕๓)
ด้านวิชาการพาณิชย์
(๕๔)
ด้านวิชาการภาษี
(๕๕)
ด้านวิชาการมาตรฐาน
(๕๖)
ด้านวิชาการมาตรฐานสินค้า
(๕๗)
ด้านวิชาการยุติธรรม
(๕๘)
ด้านวิชาการแรงงาน
(๕๙)
ด้านวิชาการโรคพืช
(๖๐)
ด้านวิชาการละครและดนตรี
(๖๑)
ด้านวิชาการวัฒนธรรม
(๖๒)
ด้านวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์
(๖๓)
ด้านวิชาการศาสนา
(๖๔)
ด้านวิชาการศึกษา
(๖๕)
ด้านวิชาการศึกษาพิเศษ
(๖๖)
ด้านวิชาการเศรษฐกิจ
(๖๗)
ด้านวิชาการส่งเสริมการเกษตร
(๖๘)
ด้านวิชาการสถิติ
(๖๙)
ด้านวิชาการสรรพสามิต
(๗๐)
ด้านวิชาการสรรพากร
(๗๑)
ด้านวิชาการสหกรณ์
(๗๒)
ด้านวิชาการสอบ
(๗๓)
ด้านวิชาการสัตวบาล
(๗๔)
ด้านวิชาการสาธารณสุข
(๗๕)
ด้านวิชาการสิ่งแวดล้อม
(๗๖)
ด้านวิชาการสุขศึกษา
(๗๗)
ด้านวิชาการสุขาภิบาล
(๗๘)
ด้านวิชาการอาหารและยา
(๗๙)
ด้านวิชาการอุทกวิทยา
(๘๐)
ด้านวิทยาศาสตร์
(๘๑)
ด้านวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์
(๘๒)
ด้านวิเทศสหการ
(๘๓)
ด้านวิศวกรรม
(๘๔)
ด้านวิศวกรรมสำรวจ
(๘๕)
ด้านส่งเสริมและสอนการพลศึกษา
(๘๖)
ด้านสถิติเศรษฐสังคม
(๘๗)
ด้านสอบสวนคดีพิเศษ
(๘๘)
ด้านสังคมสงเคราะห์
(๘๙)
ด้านสัตววิทยา
(๙๐)
ด้านสำรวจดิน
(๙๑)
ด้านอักษรศาสตร์
(๙๒)
ด้านอาลักษณ์
(๙๓)
ด้านอุตุนิยมวิทยา
(๙๔)
ด้านอื่นที่ ก.พ. กำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนมีมติกำหนดให้ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในสายงานด้านการเจ้าหน้าที่
ด้านคดีพิเศษ ด้านคุมประพฤติ ด้านจัดการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ด้านจิตวิทยา
ด้านเดินเรือระหว่างประเทศ ด้านตรวจสอบภายใน ด้านตรวจสอบศุลกากร
ด้านทำแผนที่ภาพถ่าย ด้านนิติวิทยาศาสตร์ ด้านพัฒนาการกีฬา ด้านพัฒนาการท่องเที่ยว
ด้านพัฒนาทรัพยากรบุคคล ด้านพัฒนาระบบราชการ ด้านพัฒนาสังคม ด้านภูมิสถาปัตยกรรม
ด้านวิชาการเงินและบัญชี ด้านวิชาการทรัพยากรธรณี ด้านวิชาการที่ดิน
ด้านวิชาการยุติธรรม ด้านวิชาการวัฒนธรรม ด้านวิชาการศาสนา ด้านวิชาการศึกษาพิเศษ
ด้านวิชาการส่งเสริมการเกษตร ด้านวิชาการสรรพสามิต ด้านวิชาการสรรพากร ด้านวิชาการอุทกวิทยา
ด้านวิศวกรรมสำรวจ ด้านสอบสวนคดีพิเศษ และด้านอาลักษณ์ เป็นตำแหน่งประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ
และคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติได้พิจารณาเห็นชอบให้เป็นตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะตามพระราชกฤษฎีกาการได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการและผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารซึ่งไม่เป็นข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๘ แล้ว สมควรกำหนดให้ตำแหน่งดังกล่าวเป็นตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะเพิ่มเติม
เพื่อประโยชน์ในการได้รับเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งต่อไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๑๑ ก/หน้า ๕/๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ |
657173 | พระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
| พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น
ของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๔
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้ ณ
วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔
เป็นปีที่ ๖๖
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔
มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ท้ายพระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๒
และให้ใช้บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้แทน
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับบัญชีเงินเดือน ค่าจ้าง
และค่าตอบแทนรายเดือนของบุคลากรภาครัฐ
โดยปรับเพิ่มเงินประจำตำแหน่งในอัตราร้อยละห้า จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๑ พฤศจิกายน
๒๕๕๔
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๒๑ พฤศจิกายน
๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๘๒ ก/หน้า ๔/๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ |
586084 | พระราชกฤษฎีกากำหนดการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอย่างอื่น หรือดำรงตำแหน่งหรือประกอบการใด ๆ หรือเป็นกรรมการ ในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน อันขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ ของกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม พ.ศ. 2551
| พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
กำหนดการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอย่างอื่น
หรือดำรงตำแหน่งหรือประกอบการใด
ๆ หรือเป็นกรรมการ
ในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน
อันขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่
ของกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม
พ.ศ. ๒๕๕๑
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๗ สิงหาคม
พ.ศ. ๒๕๕๑
เป็นปีที่ ๖๓
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอย่างอื่นหรือดำรงตำแหน่งหรือประกอบการใดๆ
หรือเป็นกรรมการในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน อันขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๗ (๖) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา
๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอย่างอื่นหรือดำรงตำแหน่งหรือประกอบการใดๆ
หรือเป็นกรรมการในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน
อันขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา
๒[๑]
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา
๓ ในพระราชกฤษฎีกานี้
หน่วยงานของรัฐ หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม
ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค
ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครอง
มาตรา
๔ การประกอบอาชีพหรือวิชาชีพหรือดำรงตำแหน่งหรือประกอบการใดๆ
หรือเป็นกรรมการในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนดังต่อไปนี้
เป็นการขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ ก.พ.ค.
(๑) เป็นทนายความ
(๒) เป็นที่ปรึกษากฎหมายในเรื่องเกี่ยวกับวินัย การอุทธรณ์ การร้องทุกข์
จรรยาข้าราชการหรือการดำเนินการเกี่ยวกับข้อพิพาทในเรื่องดังกล่าว
(๓) เป็นตุลาการหรือผู้พิพากษาสมทบ
(๔) เป็นที่ปรึกษาของพรรคการเมือง
(๕) รับสัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ
ที่มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน
สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค
หรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
(๖) เป็นกรรมการหรือที่ปรึกษาในหน่วยงานของรัฐ
เว้นแต่เป็นกรรมการกฤษฎีกาหรือได้รับอนุมัติจาก ก.พ.ค.
(๗) เป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ซึ่งได้รับแต่งตั้งหรือเลือกตั้งตามกฎหมายมีอำนาจหน้าที่เฉพาะและปฏิบัติงานประจำอยู่ในสังกัดหน่วยงานของรัฐ
โดยได้รับค่าตอบแทนหรือค่าจ้างเป็นรายเดือน เว้นแต่เป็นผู้สอนหรือผู้บรรยายพิเศษในสถาบันอุดมศึกษาหรือผู้ทำการวิจัย
(๘) เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือที่ปรึกษา
หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดในห้างหุ้นส่วนบริษัท
มาตรา
๕ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
สมัคร สุนทรเวช
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๒๗ (๖)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้บัญญัติลักษณะต้องห้ามของกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอย่างอื่นหรือดำรงตำแหน่งหรือประกอบการใดๆ
หรือเป็นกรรมการในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน
อันขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๙๕ ก/หน้า ๑/๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๑ |
315693 | พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544 | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๔๔[๑]
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔
เป็นปีที่ ๕๖
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับมาตรา ๒๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ และมาตรา ๑๓๑
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔"
มาตรา ๒
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๒ เป็นต้นไป
มาตรา ๓
ให้ยกเลิกความใน (๙) และ (๑๐) ของมาตรา ๗ แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์
พ.ศ. ๒๕๓๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๙) ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งเทียบเท่าผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง
หรือผู้ช่วยราชเลขาธิการ ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ ท. ๙
ผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง
ผู้ช่วยราชเลขาธิการหรือเทียบเท่าที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ ท. ๙ ถึงอันดับ ท. ๑๐
(๑๐)
ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งเทียบเท่ารองเลขาธิการพระราชวัง หรือรองราชเลขาธิการให้ได้รับเงินเดือนอันดับ
ท. ๑๐
รองเลขาธิการพระราชวัง รองราชเลขาธิการหรือเทียบเท่าที่
ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ ท. ๑๐
ถึงอันดับ ท. ๑๑
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน พ.ศ. ๒๕๔๔
กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในระดับ ๙
ที่มิใช่ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่สูงกว่ากองในกรม ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท. ๙
ถึงอันดับ ท. ๑๐ และกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในระดับ ๑๐
ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท. ๑๐ ถึงอันดับ ท. ๑๑ แต่มาตรา ๗ (๙) และ (๑๐) แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชพลเรือนในพระองค์
พ.ศ. ๒๕๓๙ กำหนดให้ผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง ผู้ช่วยราชเลขาธิการ หรือเทียบเท่า
ได้รับเงินเดือนอันดับ ท. ๙ และกำหนดให้รองเลขาธิการพระราชวัง รองราชเลขาธิการ
หรือเทียบเท่า ได้รับเงินเดือนอันดับ ท. ๑๐ สมควรปรับปรุงการให้ได้รับเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในพระองค์ซึ่งดำรงตำแหน่งดังกล่าวให้เป็นไปในลักษณะเดียวกันกับข้าราชการพลเรือนสามัญ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนที่ ๑๑๒
ก/หน้า ๔๓/๔ ธันวาคม ๒๕๔๔ |
653998 | พระราชกฤษฎีกากำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาชีพเฉพาะและประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ พ.ศ. 2535 (ฉบับ Update ณ วันที่ 19/03/2540)
| พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
กำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาชีพเฉพาะ
และประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ
พ.ศ. ๒๕๓๕[๑]
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙
กันยายน พ.ศ.๒๕๓๕
เป็นปีที่ ๔๗
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาชีพเฉพาะ
และประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา
๓๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๓๕ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดตำแหน่ง ข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาชีพเฉพาะและประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ
พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๒
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นไป
มาตรา ๓[๒] ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ ได้แก่
ตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๗ ขึ้นไป ดังต่อไปนี้
(ก)
ตำแหน่งที่มีลักษณะงานวิชาชีพซึ่งต้องปฏิบัติโดยผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาที่ไม่อาจมอบหมายให้ผู้มีคุณวุฒิอย่างอื่นปฏิบัติงานแทนได้
และเป็นงานที่มีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างเห็นได้ชัด
โดยมีองค์กรตามกฎหมายทำหน้าที่ตรวจสอบ กลั่นกรอง และรับรองการประกอบวิชาชีพ
รวมทั้งลงโทษผู้กระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพดังกล่าว ซึ่งได้แก่
ตำแหน่งที่ปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพเฉพาะ ดังต่อไปนี้
(๑) วิชาชีพเฉพาะกายภาพบำบัด
(๒) วิชาชีพเฉพาะการทันตแพทย์
(๓) วิชาชีพเฉพาะการพยาบาล
(๔) วิชาชีพเฉพาะการแพทย์
(๕) วิชาชีพเฉพาะการสัตวแพทย์
(๖) วิชาชีพเฉพาะเภสัชกรรม
(๗) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมเครื่องกล
(๘) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมไฟฟ้า
(๙) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร
(๑๐) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมโยธา
(๑๑) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมเหมืองแร่
(๑๒) วิชาชีพเฉพาะสถาปัตยกรรม
(๑๓) วิชาชีพเฉพาะอื่นที่ ก.พ. กำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
(ข)
ตำแหน่งที่มีลักษณะงานวิชาชีพซึ่งต้องปฏิบัติโดยผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาที่ไม่อาจมอบหมายให้ผู้มีคุณวุฒิอย่างอื่นปฏิบัติงานแทนได้
และเป็นงานที่มีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างเห็นได้ชัด
อีกทั้งเป็นงานที่ขาดแคลนกำลังคนในภาคราชการ
ซึ่งได้แก่ตำแหน่งที่ปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพเฉพาะ ดังต่อไปนี้
(๑) วิชาชีพเฉพาะรังสีการแพทย์
(๒) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมชลประทาน
(๓) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมนิวเคลียร์
(๔) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมปิโตรเลียม
(๕) วิชาชีพเฉพาะอื่นที่ ก.พ. กำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
(ค)
ตำแหน่งที่มีลักษณะงานวิชาชีพซึ่งต้องปฏิบัติโดยผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาที่ไม่อาจมอบหมายให้ผู้มีคุณวุฒิอย่างอื่นปฏิบัติงานแทนได้
และเป็นงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งมีลักษณะในเชิงวิจัยและพัฒนา
อีกทั้งเป็นงานที่ขาดแคลนกำลังคนในภาคราชการ
ซึ่งได้แก่ตำแหน่งที่ปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพเฉพาะ ดังต่อไปนี้
(๑) วิชาชีพเฉพาะวิทยาการคอมพิวเตอร์
(๒) วิชาชีพเฉพาะอื่นที่ ก.พ. กำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๔
ตำแหน่งประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ ได้แก่ ตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๙ ขึ้นไป ซึ่งต้องปฏิบัติงานที่เป็นงานหลักของหน่วยงาน
โดยอาศัยพื้นฐานของความรู้ ประสบการณ์ การฝึกฝน ทฤษฎีหรือหลักวิชาอันเกี่ยวข้องกับงาน
และเป็นงานเชิงพัฒนาระบบหรือมาตรฐานของงาน งานอนุรักษ์ ตามภารกิจ
หรืองานที่ต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถ หรือประสบการณ์เป็นอย่างสูงเฉพาะด้าน
อันเป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการหรือวงการด้านนั้น ๆ ซึ่งได้แก่
ตำแหน่งที่ปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ดังต่อไปนี้
(๑) ด้านการข่าว
(๒) ด้านการผังเมือง
(๓) ด้านการฝึกอบรม
(๔) ด้านการสืบสวนสอบสวน
(๕) ด้านกีฏวิทยา
(๖) ด้านช่างศิลปกรรม
(๗) ด้านตรวจสอบบัญชี
(๘) ด้านนิติการ
(๙) ด้านโบราณคดี
(๑๐) ด้านประเมินอากร
(๑๑) ด้านวิเคราะห์งบประมาณ
(๑๒) ด้านวิเคราะห์งานทะเบียนการค้า
(๑๓) ด้านวิเคราะห์งานบุคคล
(๑๔) ด้านวิเคราะห์นโยบายและแผน
(๑๕) ด้านวิจัยสังคมศาสตร์
(๑๖) ด้านวิชาการกษาปณ์
(๑๗) ด้านวิชาการเกษตร
(๑๘) ด้านวิชาการขนส่ง
(๑๙) ด้านวิชาการคลัง
(๒๐) ด้านวิชาการควบคุมโรค
(๒๑) ด้านวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน
(๒๒) ด้านวิชาการตรวจสอบบัญชี
(๒๓) ด้านวิชาการตรวจสอบภาษี
(๒๔) ด้านวิชาการทัณฑวิทยา
(๒๕) ด้านวิชาการธรณีวิทยา
(๒๖) ด้านวิชาการบัญชี
(๒๗) ด้านวิชาการประกันภัย
(๒๘) ด้านวิชาการประชาสัมพันธ์
(๒๙) ด้านวิชาการประมง
(๓๐) ด้านวิชาการประมงทะเล
(๓๑) ด้านวิชาการป่าไม้
(๓๒) ด้านวิชาการผลิตภัณฑ์อาหาร
(๓๓) ด้านวิชาการพัฒนาชุมชน
(๓๔) ด้านวิชาการพาณิชย์
(๓๕) ด้านวิชาการภาษี
(๓๖) ด้านวิชาการมาตรฐาน
(๓๗) ด้านวิชาการมาตรฐานสินค้า
(๓๘) ด้านวิชาการแรงงาน
(๓๙) ด้านวิชาการโรคพืช
(๔๐) ด้านวิชาการละครและดนตรี
(๔๑) ด้านวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์
(๔๒) ด้านวิชาการศึกษา
(๔๓) ด้านวิชาการเศรษฐกิจ
(๔๔) ด้านวิชาการสหกรณ์
(๔๕) ด้านวิชาการสอบ
(๔๖) ด้านวิชาการสถิติ
(๔๗) ด้านวิชาการสัตวบาล
(๔๘) ด้านวิชาการสาธารณสุข
(๔๙) ด้านวิชาการสิ่งแวดล้อม
(๕๐) ด้านวิชาการสุขศึกษา
(๕๑) ด้านวิชาการสุขาภิบาล
(๕๒) ด้านวิชาการอาหารและยา
(๕๓) ด้านวิทยาศาสตร์
(๕๔) ด้านวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์
(๕๕) ด้านวิเทศสหการ
(๕๖) ด้านวิศวกรรม
(๕๗) ด้านส่งเสริมและการสอนการพลศึกษา
(๕๘) ด้านสังคมสงเคราะห์
(๕๙) ด้านสัตววิทยา
(๖๐) ด้านสถิติเศรษฐสังคม
(๖๑) ด้านสำรวจดิน
(๖๒) ด้านอักษรศาสตร์
(๖๓) ด้านอุตุนิยมวิทยา
(๖๔) ด้านอื่นที่ ก.พ.
กำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๕
ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
อานันท์ ปันยารชุน
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ บัญญัติให้ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมี ๓ ประเภท ได้แก่
ตำแหน่งประเภททั่วไป ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะและตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือบริหารระดับกลางตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาและโดยที่มาตรา
๔๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
บัญญัติให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
ซึ่งออกตามมาตรา ๓๙ ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ
หรือเชี่ยวชาญเฉพาะตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือนท้ายพระราชบัญญัติดัง
กล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาชีพเฉพาะและประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๐[๓]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๑๒
วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๓๘ และมาตรา ๕
แห่งพระราชกฤษฎีกาการได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการและผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารซึ่งไม่เป็นข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๘ บัญญัติให้ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนตั้งแต่ระดับ ๗ ขึ้นไปรับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะได้
สมควรแก้ไขมาตรา ๓ แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาชีพเฉพาะและประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ
พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้สอดคล้องกัน
จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๐๐/หน้า ๗/๒๓ กันยายน ๒๕๓๕
[๒] มาตรา ๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาชีพเฉพาะและประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๐
[๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๖ ก/หน้า ๑๐/๑๙ มีนาคม ๒๕๔๐ |
565684 | พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์ พ.ศ. 2539 (ฉบับ Update ล่าสุด) | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์
พ.ศ. ๒๕๓๙[๑]
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๙
เป็นปีที่ ๕๑
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๘
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕) พุทธศักราช ๒๕๓๘ ประกอบกับมาตรา ๒๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ และมาตรา ๑๓๑
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า
"พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์ พ.ศ. ๒๕๓๙"
มาตรา ๒
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นต้นไป
มาตรา ๓
ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์ พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๔
ให้มีคณะอนุกรรมการสามัญทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง สำหรับข้าราชการพลเรือนในพระองค์ดังนี้
(๑) คณะอนุกรรมการสามัญประจำสำนักพระราชวังทำหน้าที่ อ.ก.พ.
กระทรวง เรียกโดยย่อว่า อ.ก.พ. สำนักพระราชวังทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง
ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีในตำแหน่งบังคับบัญชาสำนักพระราชวังหรือรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน
เลขาธิการพระราชวัง รองเลขาธิการพระราชวัง ผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง
ผู้อำนวยการกอง หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง และเลขานุการกรมเป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่ง
และให้ อ.ก.พ. สำนักพระราชวังทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวงตั้งเลขานุการหนึ่งคน
(๒) คณะอนุกรรมการสามัญประจำสำนักราชเลขาธิการทำหน้าที่
อ.ก.พ. กระทรวง เรียกโดยย่อว่า อ.ก.พ. สำนักราชเลขาธิการทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง
ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีในตำแหน่งบังคับบัญชาสำนักราชเลขาธิการหรือรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน
ราชเลขาธิการ รองราชเลขาธิการ ผู้ช่วยราชเลขาธิการ ผู้อำนวยการกอง
และหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกองเป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่ง และให้ อ.ก.พ.
สำนักราชเลขาธิการทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวงตั้งเลขานุการหนึ่งคน
มาตรา ๕
ให้มีคณะอนุกรรมการสามัญทำหน้าที่ อ.ก.พ. กรม สำหรับข้าราชการพลเรือนในพระองค์ดังนี้
(๑) คณะอนุกรรมการสามัญประจำสำนักพระราชวัง เรียกโดยย่อว่า อ.ก.พ.
สำนักพระราชวัง ประกอบด้วยเลขาธิการพระราชวังเป็นประธาน รองเลขาธิการพระราชวัง
ผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง ผู้อำนวยการกอง หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง
และเลขานุการกรม เป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่ง และให้ อ.ก.พ.
สำนักพระราชวังตั้งเลขานุการหนึ่งคน
(๒) คณะอนุกรรมการสามัญประจำสำนักราชเลขาธิการ
เรียกโดยย่อว่า อ.ก.พ. สำนักราชเลขาธิการ" ประกอบด้วยราชเลขาธิการเป็นประธาน
รองราชเลขาธิการ ผู้ช่วยราชเลขาธิการ ผู้อำนวยการกอง
และหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกองเป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่ง และให้ อ.ก.พ.
สำนักราชเลขาธิการตั้งเลขานุการหนึ่งคน
มาตรา ๖
ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ได้แก่ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสังกัดสำนักพระราชวังและสำนักราชเลขาธิการ
ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับงานในพระองค์พระมหากษัตริย์ดังต่อไปนี้ คือ
เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ เจ้าพนักงานในพระองค์ เจ้าหน้าที่บริหารงานในพระองค์
หัวหน้าหมวด หัวหน้าแผนก หัวหน้างาน หัวหน้าฝ่าย ผู้อำนวยการกอง ผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง
ผู้ช่วยราชเลขาธิการ รองเลขาธิการพระราชวัง รองราชเลขาธิการ ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่ง
ก.พ. กำหนดเทียบกับตำแหน่งดังกล่าว เลขาธิการพระราชวัง และราชเลขาธิการ
ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในพระองค์ตำแหน่งใดจะมีในส่วนราชการใดจำนวนเท่าใดให้เป็นไปตามที่
ก.พ. กำหนด และให้ ก.พ. กำหนดด้วยว่าตำแหน่งใดเป็นตำแหน่งประเภททั่วไป
ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ และตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือบริหารระดับกลางตามมาตรา
๓๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๗
ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ให้ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๕๓๘ ดังต่อไปนี้
(๑) เจ้าหน้าที่งานในพระองค์หรือเทียบเท่า
ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ ท. ๑ ถึงอันดับ ท. ๓
(๒) เจ้าพนักงานในพระองค์หรือเทียบเท่า
ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ ท. ๒ ถึงอันดับ ท. ๔
(๓) เจ้าหน้าที่บริหารงานในพระองค์หรือเทียบเท่า
ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ ท. ๓ ถึงอันดับ ท. ๕
(๔) หัวหน้าหมวดหรือเทียบเท่า ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ ท.
๔
(๕) หัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่า ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ ท.
๕
(๖) หัวหน้างานหรือเทียบเท่า ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ ท. ๖
(๗) หัวหน้าฝ่ายหรือเทียบเท่า ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ ท.
๗
(๘) ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่า ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ
ท. ๘
(๙)[๒]
ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งเทียบเท่าผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง
หรือผู้ช่วยราชเลขาธิการ ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ ท. ๙
ผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง
ผู้ช่วยราชเลขาธิการหรือเทียบเท่าที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ ท. ๙ ถึงอันดับ ท. ๑๐
(๑๐)[๓] ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งเทียบเท่ารองเลขาธิการพระราชวัง
หรือรองราชเลขาธิการให้ได้รับเงินเดือนอันดับ ท. ๑๐
รองเลขาธิการพระราชวัง รองราชเลขาธิการหรือเทียบเท่าที่
ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ ท. ๑๐
ถึงอันดับ ท. ๑๑
(๑๑) เลขาธิการพระราชวัง ราชเลขาธิการ
ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ ท. ๑๑
มาตรา ๘
การให้ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งตามมาตรา ๗
และการให้ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ผู้ดำรงตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ
และตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือบริหารระดับกลางได้รับเงินประจำตำแหน่ง
ให้เป็นไปตามมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕
โดยอนุโลม
ในกรณีที่ตำแหน่งใดได้รับเงินเดือนหลายอันดับ
การให้ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นได้รับเงินเดือนในอันดับถัดไป
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด
มาตรา ๙
ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในพระองค์ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป
หรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ และมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งเจ้าหน้าที่งานในพระองค์หรือเทียบเท่า
ต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถตามที่ อ.ก.พ. สำนักพระราชวัง หรือ อ.ก.พ.
สำนักราชเลขาธิการกำหนด
(๒) ตำแหน่งเจ้าพนักงานในพระองค์หรือเทียบเท่า
ต้องเป็นผู้ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
ในสาขาวิชาที่ อ.ก.พ. สำนักพระราชวังหรือ อ.ก.พ. สำนักราชเลขาธิการกำหนด
(๓) ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานในพระองค์หรือเทียบเท่า
ต้องเป็นผู้ได้รับปริญญา หรือเทียบเท่าได้ไม่ต่ำกว่านี้ ในสาขาวิชาที่ อ.ก.พ.
สำนักพระราชวัง หรือ อ.ก.พ. สำนักราชเลขาธิการกำหนด
(๔) ตำแหน่งหัวหน้าหมวดหรือเทียบเท่า
ต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถตามที่ อ.ก.พ. สำนักพระราชวัง หรือ อ.ก.พ.
สำนักราชเลขาธิการกำหนด
(๕) ตำแหน่งอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ใน (๑) (๒) (๓) และ (๔)
ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด
มาตรา ๑๐ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในพระองค์
และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่าลงมา
ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้ได้รับคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ อ.ก.พ.
สำนักพระราชวัง หรือ อ.ก.พ. สำนักราชเลขาธิการกำหนด
มาตรา ๑๑ การบรรจุและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในพระองค์ให้ดำรงตำแหน่ง
ให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้เป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง
(๑)
การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพระราชวังและราชเลขาธิการ
ให้นายกรัฐมนตรีในตำแหน่งบังคับบัญชาสำนักพระราชวังและสำนักราชเลขาธิการเป็นผู้สั่งบรรจุและนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้ง
(๒)
การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพระราชวัง รองราชเลขาธิการ
ผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง ผู้ช่วยราชเลขาธิการ หรือเทียบเท่า ให้นายกรัฐมนตรีในตำแหน่งบังคับบัญชาสำนักพระราชวังและสำนักราชเลขาธิการ
เป็นผู้สั่งบรรจุและให้เลขาธิการพระราชวังหรือราชเลขาธิการ แล้วแต่กรณี
นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
(๓) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกอง
หัวหน้าฝ่าย หัวหน้างานหรือเทียบเท่า ให้เลขาธิการพระราชวังหรือราชเลขาธิการ
แล้วแต่กรณี เป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้งโดยพระบรมราชานุมัติ
(๔)
การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่หัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่าลงมา
ให้เลขาธิการพระราชวังหรือราชเลขาธิการ แล้วแต่กรณี
เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
มาตรา ๑๒
ผู้ใดได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในพระองค์ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดตามมาตรา
๑๐ ให้ผู้นั้นทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งนั้นตามมาตรา ๕๔
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยอนุโลม เว้นแต่กำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามที่
อ.ก.พ. สำนักพระราชวัง หรือ อ.ก.พ. สำนักราชเลขาธิการกำหนด
มาตรา ๑๓
ให้นำมาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕
มาใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือนในพระองค์โดยอนุโลม เว้นแต่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๕๒ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ให้เป็นอำนาจของเลขาธิการพระราชวังหรือราชเลขาธิการ
แล้วแต่กรณี
มาตรา ๑๔
การเลื่อนข้าราชการพลเรือนในพระองค์ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ที่อยู่ในเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
(๑)
การเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าหมวดหรือเทียบเท่า ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่งานในพระองค์หรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าปี
กำหนดเวลาเก้าปี
ให้ลดเป็นเจ็ดปีสำหรับผู้ได้รับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
ให้ลดเป็นหกปีสำหรับผู้ได้รับประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
ให้ลดเป็นห้าปีสำหรับผู้ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
ให้ลดเป็นสี่ปีสำหรับผู้ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
และให้ลดเป็นสองปีสำหรับผู้ได้รับปริญญาหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
(๒) การเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่า
ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานในพระองค์หรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าเจ็ดปีกำหนดเวลาเจ็ดปี
ให้ลดเป็นหกปีสำหรับผู้ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้และให้ลดเป็นสี่ปีสำหรับผู้ได้รับปริญญาหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
หรือจากผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าหมวดหรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี
(๓)
การเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานหรือเทียบเท่า ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานในพระองค์หรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกปี
กำหนดเวลาหกปีให้ลดเป็นห้าปีสำหรับผู้ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ที่มีหลักสูตรกำหนดระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่าห้าปี
และให้ลดเป็นสี่ปีสำหรับผู้ได้รับปริญญาโทหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้หรือจากผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าหมวดหรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่ปี
หรือจากผู้ที่ได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี
(๔)
การเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายหรือเทียบเท่า ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่ปี
หรือจากผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานหรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี
(๕)
การเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่า ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานหรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่ปี
หรือจากผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายหรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี
(๖)
การเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง ผู้ช่วยราชเลขาธิการหรือเทียบเท่า
ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายหรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่ปี
หรือจากผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี
(๗)
การเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพระราชวัง รองราชเลขาธิการหรือเทียบเท่า
ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี
หรือจากผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง ผู้ช่วยราชเลขาธิการหรือเทียบเท่า
แล้วแต่กรณี มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
(๘) การเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพระราชวัง
ราชเลขาธิการ ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพระราชวัง
รองราชเลขาธิการหรือเทียบเท่า แล้วแต่กรณี มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
การดำเนินการเพื่อเลื่อนข้าราชการพลเรือนในพระองค์ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นตาม
(๑) (๒) (๓) และ (๔) ให้ อ.ก.พ. สำนักพระราชวัง หรือ อ.ก.พ. สำนักราชเลขาธิการ
เป็นผู้พิจารณาแต่สำหรับ (๓) และ (๔) จะต้องได้รับพระบรมราชานุมัติ
การดำเนินการเพื่อเลื่อนข้าราชการพลเรือนในพระองค์ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นตาม
(๕) (๖) และ (๗) ให้เลขาธิการพระราชวังหรือราชเลขาธิการ แล้วแต่กรณี นำความกราบบังคมทูลเพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุมัติ
การดำเนินการเพื่อเลื่อนข้าราชการพลเรือนในพระองค์ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นตาม
(๘) ให้นายกรัฐมนตรีในตำแหน่งบังคับบัญชาสำนักพระราชวังและสำนักราชเลขาธิการ
นำความกราบบังคมทูลเพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุมัติ
มาตรา ๑๕
การออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนในพระองค์ให้เป็นไปตามลักษณะ ๓
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยอนุโลม เว้นแต่
(๑)
การออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนในพระองค์ตำแหน่งตั้งแต่ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไป
ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง
(๒) ความในมาตรา ๑๑๒ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕
มิให้นำมาใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือนในพระองค์
มาตรา ๑๖
ในกรณีที่ให้เป็นไปตามลักษณะ ๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยอนุโลมนั้น บรรดาอำนาจหน้าที่ของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๑๑ และสำหรับการเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในพระองค์ตำแหน่งตั้งแต่รองเลขาธิการพระราชวัง
รองราชเลขาธิการหรือเทียบเท่าลงมา ให้เลขาธิการพระราชวังหรือราชเลขาธิการ
แล้วแต่กรณี เป็นผู้สั่งเลื่อน
มาตรา ๑๗
การกำหนดตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง การบรรจุการแต่งตั้ง
การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ วินัยและการรักษาวินัย
การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ของข้าราชการพลเรือนในพระองค์
จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นพิเศษเฉพาะราย โดยมีนายกรัฐมนตรีในตำแหน่งบังคับบัญชาสำนักพระราชวังและสำนักราชเลขาธิการรับสนองพระบรมราชโองการก็ได้
มาตรา ๑๘
ในระหว่างที่ยังมิได้กำหนดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในพระองค์ตามมาตรา
๙ หลักการ วิธีการคัดเลือกตามมาตรา ๑๐ หรือกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามมาตรา
๑๒ ให้นำคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง หลักการ วิธีการคัดเลือก
หรือระยะเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการที่ใช้อยู่เดิมมาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๑๙
ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
บรรหาร ศิลปอาชา
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๑๓๑
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗
บัญญัติว่า การให้มี อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง และ อ.ก.พ.
ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมของข้าราชการพลเรือนในพระองค์ให้เป็นไปตามลักษณะ ๑
และลักษณะ ๓ ของกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนเว้นแต่จะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดไว้เป็นพิเศษ
และมาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๓๘
บัญญัติให้อัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในพระองค์ให้เป็นไปตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๕๓๘ สมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์
เพื่อกำหนดองค์ประกอบของ อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง และ อ.ก.พ. ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมของข้าราชการพลเรือนในพระองค์
ปรับปรุงอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
และปรับปรุงการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในพระองค์เสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔[๔]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน พ.ศ. ๒๕๔๔
กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในระดับ ๙
ที่มิใช่ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่สูงกว่ากองในกรม ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท. ๙
ถึงอันดับ ท. ๑๐ และกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในระดับ ๑๐
ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท. ๑๐ ถึงอันดับ ท. ๑๑ แต่มาตรา ๗ (๙) และ (๑๐)
แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชพลเรือนในพระองค์ พ.ศ. ๒๕๓๙ กำหนดให้ผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง
ผู้ช่วยราชเลขาธิการ หรือเทียบเท่า ได้รับเงินเดือนอันดับ ท. ๙
และกำหนดให้รองเลขาธิการพระราชวัง รองราชเลขาธิการ หรือเทียบเท่า
ได้รับเงินเดือนอันดับ ท. ๑๐
สมควรปรับปรุงการให้ได้รับเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในพระองค์ซึ่งดำรงตำแหน่งดังกล่าวให้เป็นไปในลักษณะเดียวกันกับข้าราชการพลเรือนสามัญ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอน ๖๔ ก/หน้า ๑๐/๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๙
[๒] มาตรา ๗ (๙)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์ (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๔๔
[๓] มาตรา ๗ (๑๐)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์ (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๔๔
[๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนที่ ๑๑๒
ก/หน้า ๔๓/๔ ธันวาคม ๒๕๔๔ |
621421 | พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์ พ.ศ. 2552 | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์
พ.ศ. ๒๕๕๒
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ ธันวาคม
พ.ศ. ๒๕๕๒
เป็นปีที่ ๖๔
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการกำหนดตำแหน่ง
การให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง การบรรจุ การแต่งตั้ง
การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ การรักษาจรรยา
การรักษาวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์ การร้องทุกข์ และการอื่นตามที่จำเป็นของข้าราชการพลเรือนในพระองค์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับมาตรา ๓๕ (๒) และมาตรา ๑๒๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์
พ.ศ. ๒๕๕๒
มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ มิให้นำความในมาตรา
๕๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาใช้บังคับกับข้าราชการพลเรือนในพระองค์
มาตรา ๔ ในสำนักพระราชวัง
ให้มีคณะอนุกรรมการสามัญประจำกระทรวงและคณะอนุกรรมการสามัญประจำกรม ดังต่อไปนี้
(๑)
คณะอนุกรรมการสามัญประจำกระทรวงของสำนักพระราชวัง เรียกโดยย่อว่า อ.ก.พ. กระทรวงของสำนักพระราชวัง
ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีในตำแหน่งบังคับบัญชาสำนักพระราชวัง เป็นประธาน
เลขาธิการพระราชวัง รองเลขาธิการพระราชวัง
และหัวหน้าส่วนราชการของส่วนราชการที่ปรากฏในการแบ่งส่วนราชการของสำนักพระราชวัง
เป็นอนุกรรมการ และให้ อ.ก.พ. นี้ แต่งตั้งเลขานุการหนึ่งคน
ในการนี้นายกรัฐมนตรีอาจมอบหมายให้เลขาธิการพระราชวัง ปฏิบัติหน้าที่ประธาน อ.ก.พ.
กระทรวงของสำนักพระราชวังแทนได้
(๒)
คณะอนุกรรมการสามัญประจำกรมของสำนักพระราชวัง เรียกโดยย่อว่า อ.ก.พ. สำนักพระราชวัง
ประกอบด้วย เลขาธิการพระราชวัง เป็นประธาน
รองเลขาธิการพระราชวังและหัวหน้าส่วนราชการของส่วนราชการที่ปรากฏในการแบ่งส่วนราชการของสำนักพระราชวัง
เป็นอนุกรรมการ และให้ อ.ก.พ. นี้ แต่งตั้งเลขานุการหนึ่งคน
มาตรา ๕ ในสำนักราชเลขาธิการ
ให้มีคณะอนุกรรมการสามัญประจำกระทรวงและคณะอนุกรรมการสามัญประจำกรม ดังต่อไปนี้
(๑)
คณะอนุกรรมการสามัญประจำกระทรวงของสำนักราชเลขาธิการ เรียกโดยย่อว่า อ.ก.พ. กระทรวงของสำนักราชเลขาธิการ
ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีในตำแหน่งบังคับบัญชาสำนักราชเลขาธิการ เป็นประธาน
ราชเลขาธิการ รองราชเลขาธิการ
และหัวหน้าส่วนราชการของส่วนราชการที่ปรากฏในการแบ่งส่วนราชการของสำนักราชเลขาธิการ
เป็นอนุกรรมการ และให้ อ.ก.พ. นี้ แต่งตั้งเลขานุการหนึ่งคน ในการนี้นายกรัฐมนตรีอาจมอบหมายให้ราชเลขาธิการปฏิบัติหน้าที่ประธาน
อ.ก.พ. กระทรวงของสำนักราชเลขาธิการแทนได้
(๒)
คณะอนุกรรมการสามัญประจำกรมของสำนักราชเลขาธิการ เรียกโดยย่อว่า อ.ก.พ. สำนักราชเลขาธิการ
ประกอบด้วย ราชเลขาธิการ เป็นประธาน
รองราชเลขาธิการและหัวหน้าส่วนราชการของส่วนราชการที่ปรากฏในการแบ่งส่วนราชการของสำนักราชเลขาธิการ
เป็นอนุกรรมการ และให้ อ.ก.พ. นี้ แต่งตั้งเลขานุการหนึ่งคน
มาตรา ๖ ให้
อ.ก.พ. กระทรวงของสำนักพระราชวัง และ อ.ก.พ. กระทรวงของสำนักราชเลขาธิการ
มีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้
อ.ก.พ. สำนักพระราชวัง และ อ.ก.พ. สำนักราชเลขาธิการมีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๗ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ในสำนักพระราชวังมีดังต่อไปนี้
(๑)
เลขาธิการพระราชวัง
(๒)
รองเลขาธิการพระราชวัง
(๓)
กรมวังผู้ใหญ่
(๔)
ที่ปรึกษาสำนักพระราชวัง
(๕)
ราชเลขานุการในพระองค์
(๖)
ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ
(๗)
ผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง
(๘)
รองราชเลขานุการในพระองค์
(๙)
ผู้อำนวยการ
(๑๐)
ตำแหน่งอื่น ตามที่ อ.ก.พ. กระทรวงของสำนักพระราชวังกำหนด และแจ้งให้ ก.พ. ทราบ
มาตรา ๘ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในพระองค์
ในสำนักราชเลขาธิการมีดังต่อไปนี้
(๑)
ราชเลขาธิการ
(๒)
รองราชเลขาธิการ
(๓)
ราชเลขานุการในพระองค์
(๔)
รองราชเลขานุการในพระองค์
(๕)
เลขาธิการคณะองคมนตรี
(๖)
ที่ปรึกษาสำนักราชเลขาธิการ
(๗)
ผู้ช่วยราชเลขาธิการ
(๘)
ผู้ช่วยราชเลขานุการในพระองค์
(๙)
ผู้ช่วยเลขาธิการคณะองคมนตรี
(๑๐)
ผู้อำนวยการ
(๑๑)
ตำแหน่งอื่น ตามที่ อ.ก.พ. กระทรวงของสำนักราชเลขาธิการกำหนด และแจ้งให้ ก.พ. ทราบ
มาตรา ๙ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในพระองค์
ในสำนักพระราชวังตามมาตรา ๗ และในสำนักราชเลขาธิการ ตามมาตรา ๘ จะมีจำนวนเท่าใด
และเป็นตำแหน่งประเภทใด สายงานใดและระดับใด ให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ.
กระทรวงของสำนักพระราชวัง หรือ อ.ก.พ. กระทรวงของสำนักราชเลขาธิการกำหนด ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ.
กำหนด และต้องเป็นไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามที่ ก.พ. กำหนด
มาตรา ๑๐ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในพระองค์และการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสำนักพระราชวัง
หรือสำนักราชเลขาธิการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ อ.ก.พ. สำนักพระราชวัง
หรือ อ.ก.พ. สำนักราชเลขาธิการกำหนด
มาตรา ๑๑ การบรรจุและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในพระองค์ให้ดำรงตำแหน่งให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้เป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง
(๑)
การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพระราชวัง หรือราชเลขาธิการ ให้นายกรัฐมนตรีในตำแหน่งบังคับบัญชาสำนักพระราชวัง
หรือสำนักราชเลขาธิการ เป็นผู้สั่งบรรจุ
(๒)
การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารนอกจาก (๑) ตำแหน่งประเภทอำนวยการ
ระดับสูง ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ ระดับทรงคุณวุฒิ
และตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ ในสำนักพระราชวัง
ให้นายกรัฐมนตรีในตำแหน่งบังคับบัญชาสำนักพระราชวัง เป็นผู้สั่งบรรจุ
ส่วนในสำนักราชเลขาธิการ ให้ราชเลขาธิการเป็นผู้สั่งบรรจุ
(๓)
การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้น ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ
และตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส ให้เลขาธิการพระราชวัง
หรือราชเลขาธิการเป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง
(๔)
การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ
ระดับชำนาญการและตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ระดับชำนาญงาน
ให้เลขาธิการพระราชวัง หรือราชเลขาธิการเป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง
ในการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในพระองค์ตาม
(๑) และ (๒)
ให้สำนักพระราชวังหรือสำนักราชเลขาธิการนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้ง ส่วนการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในพระองค์ตาม (๓) ให้สำนักพระราชวังหรือสำนักราชเลขาธิการนำความกราบบังคมทูลเพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุมัติ
และการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในพระองค์ตาม (๔)
ให้สำนักพระราชวังหรือสำนักราชเลขาธิการรวบรวมรายชื่อข้าราชการพลเรือนในพระองค์นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
มาตรา ๑๒ ผู้ใดได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในพระองค์เฉพาะกรณีที่แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป
ระดับปฏิบัติงาน และตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการตามมาตรา ๑๐
ให้ผู้นั้นทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและให้ได้รับการพัฒนา เพื่อให้รู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการและเป็นข้าราชการที่ดีตามมาตรา
๕๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
ส่วนหลักเกณฑ์และวิธีการให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ. สำนักพระราชวัง หรือ อ.ก.พ. สำนักราชเลขาธิการกำหนด
มาตรา ๑๓ การย้าย การโอน หรือการเลื่อนข้าราชการพลเรือนในพระองค์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
อ.ก.พ. สำนักพระราชวัง หรือ อ.ก.พ. สำนักราชเลขาธิการกำหนด
มาตรา ๑๔ ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๑๑
เป็นผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในพระองค์
เว้นแต่ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ในสำนักพระราชวังตามมาตรา ๑๑ (๒) ให้เลขาธิการพระราชวังเป็นผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือน
มาตรา ๑๕ นอกจากตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตามระเบียบที่
ก.พ. กำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๓๘
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ แล้ว ข้าราชการพลเรือนในพระองค์อาจได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษอื่นตามระเบียบที่สำนักพระราชวังหรือสำนักราชเลขาธิการกำหนดโดยความเห็นชอบของ
ก.พ. และกระทรวงการคลัง
มาตรา ๑๖ การออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนในพระองค์ตำแหน่งประเภทบริหาร
ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับสูง ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ
ระดับทรงคุณวุฒิ และตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ
ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พ้นจากตำแหน่ง
สำหรับการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนในพระองค์ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น
ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ และตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส ให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
มาตรา ๑๗ ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ผู้ใดถูกสั่งลงโทษทางวินัยหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการและประสงค์จะยื่นอุทธรณ์
ให้ผู้นั้นยื่นอุทธรณ์ต่อ อ.ก.พ. กระทรวงของสำนักพระราชวัง หรือ อ.ก.พ.
กระทรวงของสำนักราชเลขาธิการ
เมื่อ
อ.ก.พ. กระทรวงของสำนักพระราชวัง หรือ อ.ก.พ.
กระทรวงของสำนักราชเลขาธิการมีมติในเรื่องอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งแล้ว
ให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
การอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ อ.ก.พ. กระทรวงของสำนักพระราชวัง หรือ อ.ก.พ.
กระทรวงของสำนักราชเลขาธิการกำหนด
มาตรา ๑๘ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ผู้ใดมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชา
และเป็นกรณีที่ไม่อาจอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๗ ได้ ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ได้
การร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยร้องทุกข์ตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ อ.ก.พ. กระทรวงของสำนักพระราชวัง หรือ อ.ก.พ.
กระทรวงของสำนักราชเลขาธิการกำหนด
มาตรา ๑๙ การกำหนดตำแหน่ง
การให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง การบรรจุ การแต่งตั้ง
การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ การรักษาจรรยา การรักษาวินัย
การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์ การร้องทุกข์
และการอื่นของข้าราชการพลเรือนในพระองค์ หากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นประการใด
ให้นายกรัฐมนตรีในตำแหน่งบังคับบัญชาสำนักพระราชวังและสำนักราชเลขาธิการรับสนองพระบรมราชโองการ
มาตรา ๒๐ ในวาระเริ่มแรกให้ ก.พ.
จัดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในพระองค์ของสำนักพระราชวังและสำนักราชเลขาธิการ
เข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
และให้เลขาธิการพระราชวังหรือราชเลขาธิการ แล้วแต่กรณี สั่งแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งใหม่ต่อไป
ในการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในพระองค์ตามวรรคหนึ่ง
หากมีเหตุผลและความจำเป็น ก.พ.
อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในพระองค์ผู้มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะตัวได้
มาตรา ๒๑ ในระหว่างที่ยังมิได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ
หรือกรณีใดเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการ
หรือกรณีต่าง ๆ
ที่ได้ใช้บังคับกับข้าราชการพลเรือนในพระองค์อยู่แล้วก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับมาใช้บังคับไปพลางก่อนเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชกฤษฎีกานี้
ในกรณีที่ไม่อาจนำหลักเกณฑ์และวิธีการ
หรือกรณีใด มาใช้บังคับได้ตามวรรคหนึ่ง การจะดำเนินการประการใดให้เป็นไปตามที่
อ.ก.พ. กระทรวงของสำนักพระราชวัง หรือ อ.ก.พ. กระทรวงของสำนักราชเลขาธิการกำหนด
มาตรา ๒๒ เรื่องอุทธรณ์หรือเรื่องร้องทุกข์ของข้าราชการพลเรือนในพระองค์ที่ได้ยื่นตามกฎหมายไว้แล้วก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับและอยู่ในระหว่างการพิจารณาของ
อ.ก.พ. สามัญ ก.พ. หรือ ก.พ.ค. แล้วแต่กรณี
ให้โอนเรื่องอุทธรณ์หรือเรื่องร้องทุกข์ดังกล่าวให้ อ.ก.พ.
กระทรวงของสำนักพระราชวัง หรือ อ.ก.พ.
กระทรวงของสำนักราชเลขาธิการเพื่อดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกานี้ต่อไป
มาตรา ๒๓ การใดที่อยู่ระหว่างดำเนินการหรือเคยดำเนินการได้ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์
พ.ศ. ๒๕๓๙ และมิได้บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ หรือมีกรณีที่ไม่อาจดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกานี้
การดำเนินการต่อไปในเรื่องนั้นจะสมควรดำเนินการประการใด ให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ.
กระทรวงของสำนักพระราชวัง หรือ อ.ก.พ. กระทรวงของสำนักราชเลขาธิการกำหนด
มาตรา ๒๔ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๓๕ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ บัญญัติว่า
ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการ
โดยได้รับบรรจุแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในพระองค์พระมหากษัตริย์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
และมาตรา ๑๒๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
บัญญัติให้การบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในพระองค์
ให้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการกำหนดตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
การบรรจุ การแต่งตั้ง
การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ การรักษาจรรยา
การรักษาวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์ การร้องทุกข์
และการอื่นตามที่จำเป็นของข้าราชการพลเรือนในพระองค์ โดยจะกำหนดให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ ทั้งหมด
หรือบางส่วนมาใช้บังคับหรือจะกำหนดให้แตกต่างจากที่บัญญัติในพระราชบัญญัตินี้ก็ได้
ดังนั้น
เพื่อให้การบริหารงานบุคคลของสำนักพระราชวังและสำนักราชเลขาธิการเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ
จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๐๐ ก/หน้า ๔/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๒ |
306857 | พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์ พ.ศ. 2539 | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์
พ.ศ. ๒๕๓๙[๑]
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๙
เป็นปีที่ ๕๑
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๘
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕) พุทธศักราช ๒๕๓๘ ประกอบกับมาตรา ๒๙ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ และมาตรา ๑๓๑
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า
"พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์ พ.ศ. ๒๕๓๙"
มาตรา ๒
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นต้นไป
มาตรา ๓
ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์ พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๔
ให้มีคณะอนุกรรมการสามัญทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง สำหรับข้าราชการพลเรือนในพระองค์ดังนี้
(๑) คณะอนุกรรมการสามัญประจำสำนักพระราชวังทำหน้าที่ อ.ก.พ.
กระทรวง เรียกโดยย่อว่า อ.ก.พ. สำนักพระราชวังทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง
ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีในตำแหน่งบังคับบัญชาสำนักพระราชวังหรือรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน
เลขาธิการพระราชวัง รองเลขาธิการพระราชวัง ผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง
ผู้อำนวยการกอง หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง และเลขานุการกรมเป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่ง
และให้ อ.ก.พ. สำนักพระราชวังทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวงตั้งเลขานุการหนึ่งคน
(๒) คณะอนุกรรมการสามัญประจำสำนักราชเลขาธิการทำหน้าที่
อ.ก.พ. กระทรวง เรียกโดยย่อว่า อ.ก.พ. สำนักราชเลขาธิการทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง
ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีในตำแหน่งบังคับบัญชาสำนักราชเลขาธิการหรือรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน
ราชเลขาธิการ รองราชเลขาธิการ ผู้ช่วยราชเลขาธิการ ผู้อำนวยการกอง
และหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกองเป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่ง และให้ อ.ก.พ.
สำนักราชเลขาธิการทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวงตั้งเลขานุการหนึ่งคน
มาตรา ๕
ให้มีคณะอนุกรรมการสามัญทำหน้าที่ อ.ก.พ. กรม สำหรับข้าราชการพลเรือนในพระองค์ดังนี้
(๑) คณะอนุกรรมการสามัญประจำสำนักพระราชวัง เรียกโดยย่อว่า อ.ก.พ.
สำนักพระราชวัง ประกอบด้วยเลขาธิการพระราชวังเป็นประธาน รองเลขาธิการพระราชวัง
ผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง ผู้อำนวยการกอง หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง
และเลขานุการกรม เป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่ง และให้ อ.ก.พ.
สำนักพระราชวังตั้งเลขานุการหนึ่งคน
(๒) คณะอนุกรรมการสามัญประจำสำนักราชเลขาธิการ
เรียกโดยย่อว่า อ.ก.พ. สำนักราชเลขาธิการ" ประกอบด้วยราชเลขาธิการเป็นประธาน
รองราชเลขาธิการ ผู้ช่วยราชเลขาธิการ ผู้อำนวยการกอง
และหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกองเป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่ง และให้ อ.ก.พ.
สำนักราชเลขาธิการตั้งเลขานุการหนึ่งคน
มาตรา ๖
ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ได้แก่ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสังกัดสำนักพระราชวังและสำนักราชเลขาธิการ
ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับงานในพระองค์พระมหากษัตริย์ดังต่อไปนี้ คือ
เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ เจ้าพนักงานในพระองค์ เจ้าหน้าที่บริหารงานในพระองค์
หัวหน้าหมวด หัวหน้าแผนก หัวหน้างาน หัวหน้าฝ่าย ผู้อำนวยการกอง ผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง
ผู้ช่วยราชเลขาธิการ รองเลขาธิการพระราชวัง รองราชเลขาธิการ ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่ง
ก.พ. กำหนดเทียบกับตำแหน่งดังกล่าว เลขาธิการพระราชวัง และราชเลขาธิการ
ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในพระองค์ตำแหน่งใดจะมีในส่วนราชการใดจำนวนเท่าใดให้เป็นไปตามที่
ก.พ. กำหนด และให้ ก.พ. กำหนดด้วยว่าตำแหน่งใดเป็นตำแหน่งประเภททั่วไป
ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ และตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือบริหารระดับกลางตามมาตรา
๓๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๗
ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ให้ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๕๓๘ ดังต่อไปนี้
(๑) เจ้าหน้าที่งานในพระองค์หรือเทียบเท่า
ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ ท. ๑ ถึงอันดับ ท. ๓
(๒) เจ้าพนักงานในพระองค์หรือเทียบเท่า
ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ ท. ๒ ถึงอันดับ ท. ๔
(๓) เจ้าหน้าที่บริหารงานในพระองค์หรือเทียบเท่า
ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ ท. ๓ ถึงอันดับ ท. ๕
(๔) หัวหน้าหมวดหรือเทียบเท่า ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ ท. ๔
(๕) หัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่า ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ ท. ๕
(๖) หัวหน้างานหรือเทียบเท่า ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ ท. ๖
(๗) หัวหน้าฝ่ายหรือเทียบเท่า ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ ท. ๗
(๘) ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่า ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ
ท. ๘
(๙) ผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง ผู้ช่วยราชเลขาธิการหรือเทียบเท่า
ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ ท. ๙
(๑๐) รองเลขาธิการพระราชวัง รองราชเลขาธิการหรือเทียบเท่า
ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ ท. ๑๐
(๑๑) เลขาธิการพระราชวัง ราชเลขาธิการ
ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ ท. ๑๑
มาตรา ๘ การให้ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งตามมาตรา
๗ และการให้ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ผู้ดำรงตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ
และตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือบริหารระดับกลางได้รับเงินประจำตำแหน่ง
ให้เป็นไปตามมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕
โดยอนุโลม
ในกรณีที่ตำแหน่งใดได้รับเงินเดือนหลายอันดับ
การให้ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นได้รับเงินเดือนในอันดับถัดไป
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด
มาตรา ๙
ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในพระองค์ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป
หรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ และมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งเจ้าหน้าที่งานในพระองค์หรือเทียบเท่า
ต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถตามที่ อ.ก.พ. สำนักพระราชวัง หรือ อ.ก.พ.
สำนักราชเลขาธิการกำหนด
(๒) ตำแหน่งเจ้าพนักงานในพระองค์หรือเทียบเท่า
ต้องเป็นผู้ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
ในสาขาวิชาที่ อ.ก.พ. สำนักพระราชวังหรือ อ.ก.พ. สำนักราชเลขาธิการกำหนด
(๓) ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานในพระองค์หรือเทียบเท่า
ต้องเป็นผู้ได้รับปริญญา หรือเทียบเท่าได้ไม่ต่ำกว่านี้ ในสาขาวิชาที่ อ.ก.พ.
สำนักพระราชวัง หรือ อ.ก.พ. สำนักราชเลขาธิการกำหนด
(๔) ตำแหน่งหัวหน้าหมวดหรือเทียบเท่า
ต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถตามที่ อ.ก.พ. สำนักพระราชวัง หรือ อ.ก.พ.
สำนักราชเลขาธิการกำหนด
(๕) ตำแหน่งอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ใน (๑) (๒) (๓) และ (๔)
ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด
มาตรา ๑๐
การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในพระองค์ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่าลงมา
ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้ได้รับคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ อ.ก.พ.
สำนักพระราชวัง หรือ อ.ก.พ. สำนักราชเลขาธิการกำหนด
มาตรา ๑๑
การบรรจุและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในพระองค์ให้ดำรงตำแหน่ง
ให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้เป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง
(๑) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพระราชวังและราชเลขาธิการ
ให้นายกรัฐมนตรีในตำแหน่งบังคับบัญชาสำนักพระราชวังและสำนักราชเลขาธิการเป็นผู้สั่งบรรจุและนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้ง
(๒) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพระราชวัง
รองราชเลขาธิการ ผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง ผู้ช่วยราชเลขาธิการ หรือเทียบเท่า
ให้นายกรัฐมนตรีในตำแหน่งบังคับบัญชาสำนักพระราชวังและสำนักราชเลขาธิการ
เป็นผู้สั่งบรรจุและให้เลขาธิการพระราชวังหรือราชเลขาธิการ แล้วแต่กรณี
นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
(๓) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกอง
หัวหน้าฝ่าย หัวหน้างานหรือเทียบเท่า ให้เลขาธิการพระราชวังหรือราชเลขาธิการ
แล้วแต่กรณี เป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้งโดยพระบรมราชานุมัติ
(๔) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่หัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่าลงมา
ให้เลขาธิการพระราชวังหรือราชเลขาธิการ แล้วแต่กรณี
เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
มาตรา ๑๒
ผู้ใดได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในพระองค์ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดตามมาตรา
๑๐ ให้ผู้นั้นทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งนั้นตามมาตรา ๕๔
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยอนุโลม เว้นแต่กำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามที่
อ.ก.พ. สำนักพระราชวัง หรือ อ.ก.พ. สำนักราชเลขาธิการกำหนด
มาตรา ๑๓
ให้นำมาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕
มาใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือนในพระองค์โดยอนุโลม เว้นแต่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๕๒ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ให้เป็นอำนาจของเลขาธิการพระราชวังหรือราชเลขาธิการ
แล้วแต่กรณี
มาตรา ๑๔
การเลื่อนข้าราชการพลเรือนในพระองค์ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ที่อยู่ในเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
(๑)
การเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าหมวดหรือเทียบเท่า ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่งานในพระองค์หรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าปี
กำหนดเวลาเก้าปี ให้ลดเป็นเจ็ดปีสำหรับผู้ได้รับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
ให้ลดเป็นหกปีสำหรับผู้ได้รับประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
ให้ลดเป็นห้าปีสำหรับผู้ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
ให้ลดเป็นสี่ปีสำหรับผู้ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
และให้ลดเป็นสองปีสำหรับผู้ได้รับปริญญาหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
(๒)
การเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่า ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานในพระองค์หรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าเจ็ดปีกำหนดเวลาเจ็ดปี
ให้ลดเป็นหกปีสำหรับผู้ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้และให้ลดเป็นสี่ปีสำหรับผู้ได้รับปริญญาหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
หรือจากผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าหมวดหรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี
(๓)
การเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานหรือเทียบเท่า ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานในพระองค์หรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกปี
กำหนดเวลาหกปีให้ลดเป็นห้าปีสำหรับผู้ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ที่มีหลักสูตรกำหนดระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่าห้าปี
และให้ลดเป็นสี่ปีสำหรับผู้ได้รับปริญญาโทหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้หรือจากผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าหมวดหรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่ปี
หรือจากผู้ที่ได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี
(๔)
การเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายหรือเทียบเท่า ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่ปี
หรือจากผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานหรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี
(๕)
การเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่า ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานหรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่ปี
หรือจากผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายหรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี
(๖)
การเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง ผู้ช่วยราชเลขาธิการหรือเทียบเท่า
ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายหรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่ปี
หรือจากผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี
(๗)
การเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพระราชวัง รองราชเลขาธิการหรือเทียบเท่า
ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี
หรือจากผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง ผู้ช่วยราชเลขาธิการหรือเทียบเท่า
แล้วแต่กรณี มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
(๘) การเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพระราชวัง
ราชเลขาธิการ ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพระราชวัง
รองราชเลขาธิการหรือเทียบเท่า แล้วแต่กรณี มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
การดำเนินการเพื่อเลื่อนข้าราชการพลเรือนในพระองค์ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นตาม
(๑) (๒) (๓) และ (๔) ให้ อ.ก.พ. สำนักพระราชวัง หรือ อ.ก.พ. สำนักราชเลขาธิการ
เป็นผู้พิจารณาแต่สำหรับ (๓) และ (๔) จะต้องได้รับพระบรมราชานุมัติ
การดำเนินการเพื่อเลื่อนข้าราชการพลเรือนในพระองค์ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นตาม
(๕) (๖) และ (๗) ให้เลขาธิการพระราชวังหรือราชเลขาธิการ แล้วแต่กรณี นำความกราบบังคมทูลเพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุมัติ
การดำเนินการเพื่อเลื่อนข้าราชการพลเรือนในพระองค์ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นตาม
(๘) ให้นายกรัฐมนตรีในตำแหน่งบังคับบัญชาสำนักพระราชวังและสำนักราชเลขาธิการ
นำความกราบบังคมทูลเพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุมัติ
มาตรา ๑๕
การออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนในพระองค์ให้เป็นไปตามลักษณะ ๓
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยอนุโลม เว้นแต่
(๑)
การออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนในพระองค์ตำแหน่งตั้งแต่ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไป
ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง
(๒) ความในมาตรา ๑๑๒ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕
มิให้นำมาใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือนในพระองค์
มาตรา ๑๖
ในกรณีที่ให้เป็นไปตามลักษณะ ๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยอนุโลมนั้น บรรดาอำนาจหน้าที่ของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๑๑ และสำหรับการเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในพระองค์ตำแหน่งตั้งแต่รองเลขาธิการพระราชวัง
รองราชเลขาธิการหรือเทียบเท่าลงมา ให้เลขาธิการพระราชวังหรือราชเลขาธิการ
แล้วแต่กรณี เป็นผู้สั่งเลื่อน
มาตรา ๑๗
การกำหนดตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง การบรรจุการแต่งตั้ง
การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ วินัยและการรักษาวินัย
การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ของข้าราชการพลเรือนในพระองค์
จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นพิเศษเฉพาะราย โดยมีนายกรัฐมนตรีในตำแหน่งบังคับบัญชาสำนักพระราชวังและสำนักราชเลขาธิการรับสนองพระบรมราชโองการก็ได้
มาตรา ๑๘
ในระหว่างที่ยังมิได้กำหนดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในพระองค์ตามมาตรา
๙ หลักการ วิธีการคัดเลือกตามมาตรา ๑๐ หรือกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามมาตรา
๑๒ ให้นำคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง หลักการ วิธีการคัดเลือก
หรือระยะเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการที่ใช้อยู่เดิมมาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๑๙
ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
บรรหาร ศิลปอาชา
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๑๓๑
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗ บัญญัติว่า การให้มี อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง และ
อ.ก.พ. ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมของข้าราชการพลเรือนในพระองค์ให้เป็นไปตามลักษณะ
๑ และลักษณะ ๓ ของกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนเว้นแต่จะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดไว้เป็นพิเศษ
และมาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๓๘
บัญญัติให้อัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในพระองค์ให้เป็นไปตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๕๓๘ สมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์
เพื่อกำหนดองค์ประกอบของ อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง และ อ.ก.พ. ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมของข้าราชการพลเรือนในพระองค์
ปรับปรุงอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง และปรับปรุงการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในพระองค์เสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอน ๖๔ ก/หน้า ๑๐/๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ |
304181 | พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์ พ.ศ. 2535 | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์
พ.ศ. ๒๕๓๕[๑]
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙
กันยายน พ.ศ.๒๕๓๕
เป็นปีที่ ๔๗
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดตำแหน่ง
การให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง การบรรจุ การแต่งตั้ง
การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ วินัยและการรักษาวินัย
การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ของข้าราชการพลเรือนในพระองค์ไว้เป็นพิเศษ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ประกอบกับมาตรา ๒๙ (๒) และมาตรา ๑๓๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือ พ.ศ.
๒๕๓๕ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์
พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๒
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๕ เป็นต้นไป
มาตรา ๓
ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ได้แก่ ตำแหน่งข้าราชการ พลเรือนในสังกัดสำนักพระราชวังและสำนักราชเลขาธิการ
ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับงานในพระองค์พระมหากษัตริย์ดังต่อไปนี้ คือ
เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ เจ้าพนักงานในพระองค์ เจ้าหน้าที่บริหารงานในพระองค์
หัวหน้าหมวด หัวหน้าแผนก หัวหน้างาน หัวหน้าฝ่าย ผู้อำนวยการกอง ผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง
ผู้ช่วยราชเลขาธิการ รองเลขาธิการพระราชวัง รองราชเลขาธิการ เลขาธิการพระราชวัง
ราชเลขาธิการและตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่ง ก.พ. กำหนด เทียบกับตำแหน่งดังกล่าว
ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในพระองค์ตำแหน่งใดจะมีในส่วนราชการใดจำนวนเท่าใด
ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด และให้ ก.พ. กำหนดด้วยว่าตำแหน่งใดเป็นตำแหน่งประเภททั่วไป
ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ
และตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือบริหารระดับกลาง ตามมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๔
ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ให้ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งตามบัญชี อัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ดังต่อไปนี้
(๑) เจ้าหน้าที่งานในพระองค์หรือเทียบเท่า
ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ ๑ถึง อันดับ ๓
(๒) เจ้าพนักงานในพระองค์หรือเทียบเท่า
ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ ๒ ถึงอันดับ ๔
(๓) เจ้าหน้าที่บริหารงานในพระองค์หรือเทียบเท่า
ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ ๓ ถึงอันดับ ๕
(๔) หัวหน้าหมวดหรือเทียบเท่า ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ ๔
(๕) หัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่า ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ ๕
(๖) หัวหน้างานหรือเทียบเท่า ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ ๖
(๗) หัวหน้าฝ่ายหรือเทียบเท่า ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ ๗
(๘) ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่า ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ ๘
(๙) ผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง
ผู้ช่วยราชเลขาธิการหรือเทียบเท่า ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ ๙
(๑๐) รองเลขาธิการพระราชวัง รองเลขาธิการหรือเทียบเท่า
ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ ๑๐
(๑๑) เลขาธิการพระราชวัง ราชเลขาธิการ
ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ ๑๑
มาตรา ๕
การให้ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งตามมาตรา ๔ และการให้ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ผู้ดำรงตำแหน่งที่
ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ
และตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือ บริหารระดับกลางได้รับเงินประจำตำแหน่ง ให้เป็นไปตามมาตรา
๔๕ แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๓๕ โดยอนุโลม
ในกรณีที่ตำแหน่งใดได้รับเงินเดือนหลายอันดับ
การให้ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นได้รับเงินเดือนในอันดับถัดไป
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด
มาตรา ๖
ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในพระองค์ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปหรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา
๓๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕
และมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งเจ้าหน้าที่งานในพระองค์หรือเทียบเท่า
ต้องเป็นผู้มีความรู้ความ สามารถตามที่อ.ก.พ. สำนักพระราชวัง หรือ อ.ก.พ.
สำนักราชเลขาธิการกำหนด
(๒) ตำแหน่งเจ้าพนักงานในพระองค์หรือเทียบเท่า ต้องเป็นผู้ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค
หรือเทียบเท่าได้ไม่ต่ำกว่านี้ ในสาขาวิชาที่ อ.ก.พ. สำนักพระราชวัง หรือ อ.ก.พ.
สำนักราชเลขาธิการกำหนด
(๓) ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานในพระองค์หรือเทียบเท่า
ต้องเป็นผู้ได้รับปริญญา หรือเทียบเท่าได้ไม่ต่ำกว่านี้ ในสาขาวิชาที่ อ.ก.พ.
สำนักพระราชวัง หรือ อ.ก.พ. สำนักราชเลขาธิการกำหนด
(๔) ตำแหน่งหัวหน้าหมวดหรือเทียบเท่า
ต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถตามที่ อ.ก.พ. สำนักพระราชวัง หรือ อ.ก.พ.
สำนักราชเลขาธิการกำหนด
(๕) ตำแหน่งอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ใน (๑) (๒) (๓) และ (๔)
ให้เป็นไป ตามที่ ก.พ. กำหนด
มาตรา ๗
การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในพระองค์และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่หัวหน้าหมวดหรือเทียบเท่าลงมา
ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้ได้รับคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ อ.ก.พ.
สำนักพระราชวัง หรือ อ.ก.พ. สำนักราชเลขาธิการ กำหนด
มาตรา ๘
การบรรจุและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในพระองค์ให้ดำรงตำแหน่ง ให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้เป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง
(๑) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพระราชวังและราชเลขาธิการ
ให้นายกรัฐมนตรีในตำแหน่งบังคับบัญชาสำนักพระราชวังและสำนักราชเลขาธิการเป็นผู้สั่งบรรจุและนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้ง
(๒) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพระราชวัง
รองราชเลขาธิการ ผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง ผู้ช่วยราชเลขาธิการ หรือเทียบเท่า
ให้นายกรัฐมนตรีในตำแหน่งบังคับบัญชาสำนักพระราชวังและสำนักราชเลขาธิการเป็นผู้สั่งบรรจุ
และให้เลขาธิการพระราชวังหรือราชเลขาธิการ แล้วแต่กรณี
นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
(๓) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกอง
หัวหน้าฝ่ายหัวหน้างาน หรือเทียบเท่า ให้เลขาธิการพระราชวังหรือราชเลขาธิการ
แล้วแต่กรณี เป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้งโดยพระบรมราชานุมัติ
(๔) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่หัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่าลงมา
ให้เลขาธิการพระราชวังหรือราชเลขาธิการ แล้วแต่กรณี เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
มาตรา ๙
ผู้ใดได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในพระองค์และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดตามมาตรา
๗ ให้ผู้นั้นทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งนั้นตามมาตรา ๕๔
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยอนุโลม เว้นแต่กำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามที่
อ.ก.พ. สำนักพระราชวัง หรือ อ.ก.พ. สำนักราชเลขาธิการกำหนด
มาตรา ๑๐
ให้นำมาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ มาใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือนในพระองค์โดยอนุโลม
เว้นแต่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตาม มาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
ให้เป็นอำนาจของเลขาธิการพระราชวังหรือราชเลขาธิการ แล้วแต่กรณี
มาตรา ๑๑
การเลื่อนข้าราชการพลเรือนในพระองค์ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น
ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ที่อยู่ในเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) การเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าหมวดหรือเทียบเท่าให้เลื่อน
และแต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่งานในพระองค์หรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าปี
กำหนดเวลาเก้าปีให้ลดเป็นเจ็ดปีสำหรับผู้ได้รับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
ให้ลดเป็นห้าปีสำหรับผู้ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
ให้ลดเป็นสี่ปีสำหรับผู้ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
และให้ลดเป็นสองปีสำหรับผู้ได้รับปริญญาหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
(๒) การเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่าให้เลื่อน
และแต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานในพระองค์หรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าเจ็ดปี
กำหนดเวลาเจ็ดปีให้ลดเป็นหกปีสำหรับผู้ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
ให้ลดเป็นสี่ปีสำหรับผู้ได้รับปริญญาหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ หรือนอกจากผู้ดำรง
ตำแหน่งหัวหน้าหมวดหรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี
(๓) การเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานหรือเทียบเท่าให้เลื่อน
และแต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานในพระองค์หรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกปี
กำหนดเวลาหกปีให้ลดเป็นห้าปีสำหรับผู้ได้รับปริญญาตรีหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ที่มีหลักสูตรกำหนดระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า
๕ ปี และให้ลดเป็น ๔ ปีสำหรับผู้ได้รับปริญญาโทหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
หรือจากผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าหมวดหรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๔ ปี
หรือจากผู้ที่ได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี
(๔) การเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายหรือเทียบเท่า
ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่ปี
หรือจากผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานหรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี
(๕) การเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานหรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่ปี
หรือจากผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานหรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี
(๖) การเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวังผู้ช่วยราชเลขาธิการหรือเทียบเท่า
ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายหรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่ปี
หรือจากผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี
(๗) การเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพระราชวัง
รองราชเลขาธิการหรือเทียบเท่า
ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี
หรือจากผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง ผู้ช่วยราชเลขาธิการหรือเทียบเท่า
แล้วแต่กรณี มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
(๘) การเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพระราชวัง
ราชเลขาธิการ ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพระราชวัง รองราชเลขาธิการหรือเทียบเท่า
แล้วแต่กรณี มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
การดำเนินการเพื่อเลื่อนข้าราชการพลเรือนในพระองค์ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นตาม
(๑) (๒) (๓) และ (๔) ให้ อ.ก.พ. สำนักพระราชวัง หรือ อ.ก.พ. สำนักราชเลขาธิการ
เป็นผู้พิจารณา แต่สำหรับ (๓) และ (๔) จะต้องได้รับพระบรมราชานุมัติ
การดำเนินการเพื่อเลื่อนข้าราชการพลเรือนในพระองค์ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นตาม
(๕) (๖) และ (๗) ให้เลขาธิการพระราชวังหรือราชเลขาธิการ แล้วแต่กรณี นำความกราบบังคมทูลเพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุมัติ
การดำเนินการเพื่อเลื่อนข้าราชการพลเรือนในพระองค์ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นตาม
(๘) ให้นายกรัฐมนตรีในตำแหน่งบังคับบัญชาสำนักพระราชวังและสำนักราชเลขาธิการนำความกราบบังคมทูลเพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุมัติ
มาตรา ๑๒
การออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนในพระองค์ให้เป็นไปตามลักษณะ ๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ.๒๕๓๕ โดยอนุโลม เว้นแต่
(๑) การออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนในพระองค์ตำแหน่งตั้งแต่ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไป
ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง
(๒) ความในมาตรา ๑๑๒ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ
ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ มิให้นำมาใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือนในพระองค์
มาตรา ๑๓
ในกรณีที่ให้เป็นไปตามลักษณะ ๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ.๒๕๓๕ โดยอนุโลมนั้น บรรดาอำนาจหน้าที่ของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๘
และสำหรับการเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในพระองค์ตำแหน่งตั้งแต่รองเลขาธิการพระราชวัง
รองราชเลขาธิการหรือเทียบเท่าลงมา ให้เลขาธิการพระราชวังหรือราชเลขาธิการ
แล้วแต่กรณี เป็นผู้สั่งเลื่อน
มาตรา ๑๔
การกำหนดตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง การบรรจุ การแต่งตั้ง
การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ วินัยและการรักษาวินัย
การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ของข้าราชการพลเรือนในพระองค์
จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นพิเศษเฉพาะราย โดยมีนายกรัฐมนตรีในตำแหน่งบังคับบัญชาสำนักพระราชวังและสำนักราชเลขาธิการรับสนอง
พระบรมราชโองการก็ได้
มาตรา ๑๕
ในระหว่างที่ยังมิได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือกำหนดกรณีใดเพื่อปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกานี้
ให้นำหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือกรณีที่กำหนดไว้แล้วซึ่งใช้อยู่เดิมมาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๑๖
ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
อานันท์ ปันยารชุน
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๒๙
(๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕
บัญญัติว่าข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในพระองค์พระมหากษัตริย์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
และโดยที่เป็นการสมควรกำหนดตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือนและ เงินประจำตำแหน่ง
การบรรจุ การแต่งตั้ง การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ
วินัยและการรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ของข้าราชการพลเรือนในพระองค์ไว้เป็นพิเศษ
ตามมาตรา ๑๓๑ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๐๐/หน้า ๑๖/๒๓ กันยายน ๒๕๓๕ |
304182 | พระราชกฤษฎีกากำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาชีพเฉพาะและประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540 | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
กำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาชีพเฉพาะ
และประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๔๐[๑]
ภูมิพลอดุยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
เป็นปีที่ ๕๒
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จประปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาชีพเฉพาะ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕)
พุทธศักราช ๒๕๓๘ และมาตรา ๓๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.
๒๕๓๕ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาชีพเฉพาะและประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๐
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓ แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาชีพเฉพาะและประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ
พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๓ ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ
ได้แก่ ตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๗ ขึ้นไป ดังต่อไปนี้
(ก)
ตำแหน่งที่มีลักษณะงานวิชาชีพซึ่งต้องปฏิบัติโดยผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาที่ไม่อาจมอบหมายให้ผู้มีคุณวุฒิอย่างอื่นปฏิบัติงานแทนได้
และเป็นงานที่มีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างเห็นได้ชัด
โดยมีองค์กรตามกฎหมายทำหน้าที่ตรวจสอบ กลั่นกรอง และรับรองการประกอบวิชาชีพ
รวมทั้งลงโทษผู้กระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพดังกล่าว ซึ่งได้แก่
ตำแหน่งที่ปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพเฉพาะ ดังต่อไปนี้
(๑) วิชาชีพเฉพาะกายภาพบำบัด
(๒) วิชาชีพเฉพาะการทันตแพทย์
(๓) วิชาชีพเฉพาะการพยาบาล
(๔) วิชาชีพเฉพาะการแพทย์
(๕) วิชาชีพเฉพาะการสัตวแพทย์
(๖) วิชาชีพเฉพาะเภสัชกรรม
(๗) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมเครื่องกล
(๘) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมไฟฟ้า
(๙) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร
(๑๐) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมโยธา
(๑๑) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมเหมืองแร่
(๑๒) วิชาชีพเฉพาะสถาปัตยกรรม
(๑๓) วิชาชีพเฉพาะอื่นที่ ก.พ. กำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
(ข)
ตำแหน่งที่มีลักษณะงานวิชาชีพซึ่งต้องปฏิบัติโดยผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาที่ไม่อาจมอบหมายให้ผู้มีคุณวุฒิอย่างอื่นปฏิบัติงานแทนได้
และเป็นงานที่มีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างเห็นได้ชัด
อีกทั้งเป็นงานที่ขาดแคลนกำลังคนในภาคราชการ
ซึ่งได้แก่ตำแหน่งที่ปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพเฉพาะ ดังต่อไปนี้
(๑) วิชาชีพเฉพาะรังสีการแพทย์
(๒) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมชลประทาน
(๓) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมนิวเคลียร์
(๔) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมปิโตรเลียม
(๕) วิชาชีพเฉพาะอื่นที่ ก.พ. กำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
(ค)
ตำแหน่งที่มีลักษณะงานวิชาชีพซึ่งต้องปฏิบัติโดยผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาที่ไม่อาจมอบหมายให้ผู้มีคุณวุฒิอย่างอื่นปฏิบัติงานแทนได้
และเป็นงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งมีลักษณะในเชิงวิจัยและพัฒนา
อีกทั้งเป็นงานที่ขาดแคลนกำลังคนในภาคราชการ
ซึ่งได้แก่ตำแหน่งที่ปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพเฉพาะ ดังต่อไปนี้
(๑) วิชาชีพเฉพาะวิทยาการคอมพิวเตอร์
(๒) วิชาชีพเฉพาะอื่นที่ ก.พ. กำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๑๒
วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๓๘ และมาตรา ๕
แห่งพระราชกฤษฎีกาการได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการและผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารซึ่งไม่เป็นข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๘ บัญญัติให้ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนตั้งแต่ระดับ ๗ ขึ้นไปรับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะได้
สมควรแก้ไขมาตรา ๓ แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาชีพเฉพาะและประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ
พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้สอดคล้องกัน
จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๖ ก/หน้า ๑๐/๑๙ มีนาคม ๒๕๔๐ |
304180 | พระราชกฤษฎีกากำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูงและประเภทบริหารระดับกลาง พ.ศ. 2535 | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
กำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง
และประเภทบริหารระดับกลาง
พ.ศ.๒๕๓๕[๑]
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙
กันยายน พ.ศ.๒๕๓๕
เป็นปีที่ ๔๗
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูงและประเภทบริหารระดับกลาง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา
๓๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดตำแหน่ง ข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูงและประเภทบริหารระดับกลาง
พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๒
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นไป
มาตรา ๓
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ได้แก่ ตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๙ ขึ้นไป ที่มีฐานะและหน้าที่ในการบริหารงานเป็น
(๑) หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัด
(๒) รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัด
(๓) ผู้ช่วยหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง หรือทบวง
(๔) ผู้ช่วยหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวง
แต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี หรือผู้ช่วยหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
(๕) ผู้ตรวจราชการกระทรวงหรือผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
(๖) หัวหน้าสถานเอกอัครราชทูต
หัวหน้าคณะทูตถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ
หัวหน้าคณะทูตถาวรแห่งประเทศไทยประจำสำนักงานสหประชาชาติ รองหัวหน้าสถานเอกอัครราชทูต
รองหัวหน้าคณะทูตถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ หรือรองหัวหน้าคณะทูตถาวรแห่งประเทศไทยประจำสำนักงานสหประชาชาติ
(๗) หัวหน้าสถานกงสุล
(๘) หัวหน้าส่วนราชการที่สูงกว่ากองในกรม
(๙) ตำแหน่งอื่นที่ ก.พ.
กำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะนายกรัฐมนตรี
มาตรา ๔
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับกลาง ได้แก่ ตำแหน่งระดับ ๘ ที่มีฐานะและหน้าที่ในการบริหารงานเป็น
(๑) หัวหน้าส่วนราชการที่เป็นกองหรือมีฐานะเทียบกอง
(๒) หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด
(๓) ผู้ตรวจราชการระดับกรม
(๔) หัวหน้าหน่วยงานอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่าหัวหน้าส่วนราชการที่เป็นกอง
ตามที่ ก.พ. กำหนด
(๕) ตำแหน่งอื่นที่ ก.พ.
กำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๕
ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
อานันท์ ปันยารชุน
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๓๙
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๓๕
บัญญัติให้ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมี ๓ ประเภท ได้แก่ ตำแหน่งประเภททั่วไป
ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะและตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือบริหารระดับกลางตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาและโดยที่มาตรา
๔๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
บัญญัติให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือบริหารระดับกลางตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
ซึ่งออกตามมาตรา ๓๙ ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเงินประจำตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือบริหารระดับกลางตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือนท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๐๐/หน้า ๑๓/๒๓ กันยายน ๒๕๓๕ |
562067 | กฎ ก.พ. ฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ว่าด้วยการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ (ฉบับ Update ล่าสุด) | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ฉบับที่ ๒๑ (พ.ศ. ๒๕๔๒)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕
ว่าด้วยการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) และมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ก.พ. จึงออกกฎ ก.พ. ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.พ.นี้
ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสี่สิบห้าวัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในกฎ
ก.พ.นี้
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ส่วนราชการ หมายความว่า กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม
และให้หมายความรวมถึงสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีด้วย
ข้อ ๓
ภายใต้บังคับข้อ ๑๒ (๒) ให้ผู้ได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา
๔๖ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๕๐
และข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนและเป็นผู้ที่อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการพนักงานเทศบาล
หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติงาน
ซึ่งโอนมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา
๖๑ ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งเป็นเวลาหกเดือนนับแต่วันเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นต้นไป
ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาดำเนินการในเรื่องการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างจริงจัง
มีความเที่ยงธรรมและได้มาตรฐานในอันที่จะให้การทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นกระบวนการเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อ ๔
ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดกำหนดรายการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ตามความเหมาะสม
แต่อย่างน้อยต้องประกอบด้วยความรู้ที่ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่
ความสามารถในการปฏิบัติงาน ปริมาณงาน คุณภาพของงาน ความอุตสาหะ ความรับผิดชอบ
ความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น ความสนใจที่จะพัฒนาตนเอง คุณธรรม
การปฏิบัติตนตามกรอบของจรรยาบรรณ และการรักษาวินัย
วิธีการประเมินและมาตรฐานหรือเกณฑ์การประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราช
การให้เป็นไปตามที่ส่วนราชการเจ้าสังกัดกำหนด แล้วรายงานให้ อ.ก.พ. กระทรวงทราบ
ข้อ ๕
ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีหน้าที่พัฒนาตามมาตรา ๗๖ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้มีหน้าที่ดูแลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ให้ผู้มีหน้าที่ดูแลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมอบหมายงานให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการปฏิบัติ
และแจ้งให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการทราบอย่างชัดเจนเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงาน
การประพฤติตน รายการประเมิน วิธีการประเมิน
และมาตรฐานหรือเกณฑ์การประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ข้อ ๖
ให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการทำรายงานการปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนเสนอผู้มีหน้าที่ดูแลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามแบบและวิธีการที่ส่วนราชการเจ้าสังกัดกำหนด
ข้อ ๗
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ประกอบด้วยประธานกรรมการและกรรมการอีกจำนวนสองคน ซึ่งอย่างน้อยต้องแต่งตั้งจากผู้มีหน้าที่ดูแลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการหนึ่งคน
และข้าราชการผู้เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการอีกหนึ่งคน
ข้อ ๘
ให้คณะกรรมการทำหน้าที่ประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการของผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามรายการประเมิน
วิธีการประเมิน และมาตรฐานหรือเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ในข้อ ๔
ทำการประเมินสองครั้ง โดยประเมินครั้งแรกเมื่อทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมาแล้วเป็นเวลาสามเดือน
และประเมินครั้งที่สอง เมื่อทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการครบหกเดือน เว้นแต่คณะกรรมการไม่อาจประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในแต่ละครั้งได้อย่างชัดแจ้ง
เนื่องจากผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ลาคลอดบุตร ลาป่วยซึ่งจำเป็นต้องรักษาตัวเป็นเวลานาน
ลาป่วยเพราะประสบอันตรายในขณะปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือในขณะเดินทางไปหรือกลับจากปฏิบัติราชการตามหน้าที่
หรือลาเข้ารับการตรวจเลือก หรือเข้ารับการเตรียมพล คณะกรรมการจะประเมินผลรวมเมื่อทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการครบหกเดือนแล้วก็ได้
ในกรณีที่มีการขยายระยะเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามข้อ
๑๒ (๒) เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ขยายแล้วให้ประเมินอีกครั้งหนึ่ง
ข้อ ๙
ผลการประเมินของคณะกรรมการให้เป็นไปตามเสียงข้างมาก กรรมการที่ไม่เห็นด้วยอาจทำความเห็นแย้งรวมไว้ก็ได้
ข้อ ๑๐
เมื่อคณะกรรมการได้ดำเนินการตามข้อ ๘ แล้ว ให้ประธานกรรมการรายงานผลการประเมินต่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามแบบหมายเลข
๑ ท้ายกฎ ก.พ. นี้ ดังนี้
(๑) ในกรณีที่ผลการประเมินไม่ต่ำกว่าเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้ในข้อ
๔ ให้รายงานเมื่อทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการครบหกเดือนหรือเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาที่ขยายตามข้อ
๑๒ (๒) แล้ว
(๒) ในกรณีที่ผลการประเมินต่ำกว่าเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้ในข้อ
๔ ให้รายงานเมื่อเสร็จสิ้นการประเมินแต่ละครั้ง
ข้อ ๑๑
เมื่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุได้รับรายงานตามข้อ ๑๐ (๑) แล้ว ให้ประกาศว่าผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการนั้นเป็นผู้ผ่านการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการพร้อมแจ้งให้ผู้นั้นทราบ
และรายงานตามแบบหมายเลข ๒ ท้ายกฎ ก.พ. นี้ ไปยัง ก.พ.
ภายในห้าวันทำการนับแต่วันประกาศ
ข้อ ๑๒
เมื่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุได้รับรายงานตามข้อ ๑๐ (๒) ให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ในกรณีที่เห็นควรให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการออกจากราชการ
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุแสดงความเห็นในแบบหมายเลข ๑ ท้ายกฎ ก.พ. นี้ และมีคำสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการภายในห้าวันทำการนับแต่วันที่ได้รับรายงานพร้อมกับแจ้งให้ผู้นั้นทราบและส่งสำเนาคำสั่งให้ออกไปยัง
ก.พ.ภายในห้าวันทำการนับแต่วันที่มีคำสั่ง
(๒) ในกรณีที่เห็นควรให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปจนครบหกเดือน
หรือควรขยายเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปอีกระยะหนึ่งเป็นเวลาสามเดือน
แล้วแต่กรณี ให้แสดงความเห็นในแบบหมายเลข ๑ ท้ายกฎ ก.พ. นี้
แล้วแจ้งให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ผู้มีหน้าที่ดูแลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
และคณะกรรมการทราบ เพื่อทำการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไป
ในกรณีที่ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการจนสิ้นสุดระยะเวลาที่ขยายแล้ว
และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุได้รับรายงานว่าผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการของผู้นั้นยังต่ำกว่าเกณฑ์หรือมาตรฐานอีก
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุมีคำสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ โดยนำความใน (๑)
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๓
การนับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นเดือนตามกฎ ก.พ. นี้
ให้นับวันที่ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการไม่ได้มาปฏิบัติงานรวมเป็นเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วย
และให้นับวันเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการวันแรกเป็นวันเริ่มต้น
และนับวันก่อนหน้าจะถึงวันที่ตรงกับวันเริ่มต้นนั้นของเดือนสุดท้ายแห่งระยะเวลาเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลา
ถ้าไม่มีวันตรงกันในเดือนสุดท้าย ให้ถือเอาวันสุดท้ายของเดือนนั้นเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลา
ข้อ ๑๔
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งอยู่ในระหว่างการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นตามวุฒิ
ย้าย โอน หรือออกจากราชการไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารแล้วได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญอีก
ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและนับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการดังนี้
(๑) กรณีได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับสูงขึ้นในสายงานเดิมตามวุฒิที่ได้รับเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้น
ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและนับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อเนื่องไปกับตำแหน่งเดิม
ถ้าได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับสูงขึ้นในต่างสายงานให้เริ่มทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและนับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการใหม่
(๒) กรณีย้ายไปดำรงตำแหน่งในสายงานเดิม
ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและนับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อเนื่องกับตำแหน่งเดิม
ถ้าย้ายไปดำรงตำแหน่งในต่างสายงาน ให้เริ่มทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและนับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการใหม่
(๓) กรณีโอนมาดำรงตำแหน่งใหม่
ให้เริ่มทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและนับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการใหม่
เว้นแต่กรณีโอนโดยบทบัญญัติของกฎหมายให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและนับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อเนื่องกับตำแหน่งเดิม
(๔) กรณีออกจากราชการไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
เมื่อได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา ๖๓ แล้ว ไม่ว่าในสายงานเดิมหรือต่างสายงาน
ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและนับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อเนื่องกับตำแหน่งเดิม
ข้อ ๑๔/๑[๒]
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดได้รับการคัดเลือกบรรจุตามมาตรา ๕๐
จากพนักงานของรัฐตามที่ ก.พ. กำหนด
โดยแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่อเนื่องกันไปในสายงานเดิม
หากผู้นั้นอยู่ระหว่างการทดลองปฏิบัติงานในขณะเป็นพนักงานของรัฐ ให้นับเวลาที่ปฏิบัติงานในสายงานเดิมเป็นเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อเนื่องตามกฎ
ก.พ. นี้
สำหรับผู้ซึ่งผ่านการทดลองปฏิบัติงานในขณะเป็นพนักงานของรัฐตามวรรคหนึ่ง
ซึ่งมีลักษณะเทียบได้กับการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามกฎ ก.พ. นี้
ครบระยะเวลาแล้ว ให้นับเวลาที่ทดลองปฏิบัติงานนั้น เป็นเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามกฎ
ก.พ. นี้ ได้เต็มเวลา
ความในวรรคหนึ่งและวรรคสองให้นำไปใช้บังคับแก่กรณีพนักงานของรัฐตามที่
ก.พ. กำหนดซึ่งบรรจุเข้ารับราชการตามมาตรา ๔๖ ด้วย โดยอนุโลม
ข้อ ๑๔/๒[๓] กรณีนอกเหนือจากที่กำหนดในกฎ ก.พ. นี้
ให้เสนอ ก.พ. พิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป
ข้อ ๑๕
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามกฎ
ก.พ. ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๑๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๑๘ ว่าด้วยการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในวันที่กฎ ก.พ. ฉบับนี้ใช้บังคับ
ให้ผู้นั้นทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามกฎ ก.พ. ฉบับดังกล่าวต่อไป
ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๒
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แบบหมายเลข ๑ แบบรายงานผลการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
๒.
แบบหมายเลข ๒ แบบรายงาน ก.พ.
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ.ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ กำหนดให้ผู้ได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา
๔๖ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๕๐ และข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนและเป็นผู้ที่อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
พนักงานเทศบาล หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติงาน
ซึ่งโอนมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา
๖๑ ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นเวลาตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. และให้มีการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ
ก.พ. รวมทั้งการนับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ
ก.พ. จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ.นี้
กฎ ก.พ. ฉบับที่ ๒๗ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่าด้วยการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ[๔]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ
โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ ก.พ.
กำหนดตำแหน่งเพื่อบรรจุพนักงานของรัฐในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
เข้าเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๔๗
และส่วนราชการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขได้บรรจุและแต่งตั้งพนักงานของรัฐดังกล่าวเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญไปแล้ว
ดังนั้น เพื่อให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ
ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งพนักงานของรัฐในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีผลต่อเนื่องเสมือนดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ
และเพื่อให้การดำเนินการดังกล่าว สามารถกระทำได้กับพนักงานของรัฐประเภทอื่นตามที่
ก.พ. กำหนดด้วย จึงจำเป็นต้องออกกฎ
ก.พ. ฉบับนี้
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๑๙ ก/หน้า ๕/๒๓ มีนาคม ๒๕๔๒
[๒] ข้อ ๑๔/๑ เพิ่มโดยกฎ
ก.พ. ฉบับที่ ๒๗ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่าด้วยการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
[๓] ข้อ ๑๔/๒ เพิ่มโดยกฎ
ก.พ. ฉบับที่ ๒๗ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่าด้วยการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
[๔]
ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๖๓ ก/หน้า ๑๑/๔ สิงหาคม ๒๕๔๘ |
562059 | กฎ ก.พ. ฉบับที่ 19 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญรับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทน (ฉบับ Update ล่าสุด) | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ฉบับที่ ๑๙ (พ.ศ. ๒๕๔๑)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕
ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญรับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) และมาตรา ๗๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ก.พ.
โดยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีจึงออกกฎ ก พ. ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ กระทรวง
ทบวง กรมเจ้าสังกัด อาจขออนุมัติกำหนดอัตรากำลังทดแทนต่อ ก.พ. ได้ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นและไม่เกินกำหนดระยะเวลา
ดังต่อไปนี้
(๑)
เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับอนุญาตให้ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
ให้ขอกำหนดอัตรากำลังทดแทนได้ไม่เกินกำหนดระยะเวลาที่ข้าราชการพลเรือนผู้นั้นได้รับอนุญาตให้ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศตามระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ
(๒)
เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับอนุญาตให้ลาติดตามคู่สมรสซึ่งไปปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ
ให้ขอกำหนดอัตรากำลังทดแทนได้ไม่เกินกำหนดระยะเวลาที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นได้รับอนุญาตให้ลาติดตามคู่สมรสไปปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือไปปฏิบัติงานในต่างประเทศตามระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ
(๓) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับทุนรัฐบาลตามระเบียบ
ก.พ. ว่าด้วยทุนของรัฐบาลให้ไปศึกษาหรือฝึกอบรมในต่างประเทศ
ให้ขอกำหนดอัตรากำลังทดแทนได้ไม่เกินกำหนดระยะเวลาที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษาหรือฝึกอบรมตามระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ
(๔) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ
๗ ขึ้นไป ผู้ใดจะพ้นจากราชการเพราะเกษียณอายุและมีระยะเวลาในการรับราชการเหลืออยู่ไม่เกินหกเดือน
ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่ามีเหตุผลความจำเป็นที่จะต้องให้ผู้อื่นเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งซึ่งข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นดำรงตำแหน่งอยู่ให้ขอกำหนดอัตรากำลังทดแทนได้ไม่เกินกำหนดระยะเวลาราชการที่เหลืออยู่ของผู้ที่จะเกษียณอายุ
(๕)[๒]
เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญมีกรณีต้องโยกย้ายถ่ายโอนไปส่วนราชการอื่นหรือได้รับการพิจารณาให้ไปพัฒนาหรือฝึกทักษะใหม่เพื่อรองรับการปรับบทบาท
ภารกิจ โครงสร้างส่วนราชการและปรับระบบงานใหม่ตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง
ทบวง กรม และกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ให้ขอกำหนดอัตรากำลังทดแทนได้ไม่เกินกำหนดระยะเวลาหกเดือนหากมีเหตุผลความจำเป็นให้ขยายเวลาได้อีกไม่เกินหกเดือน
และต้องมีการวางแผนบริหารตำแหน่งรองรับข้าราชการดังกล่าวด้วย
(๖)[๓]
เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญมีกรณีที่ไม่อาจปฏิบัติงานให้สัมฤทธิผลได้ตามเป้าหมายที่กำหนดในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
หรือละเลยเพิกเฉยไม่ให้ความร่วมมือในเรื่องนี้
หรือมีเหตุอันควรสงสัยอย่างยิ่งว่ามีพฤติกรรมในการผลิต การค้า การเสพ
หรือการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
ให้ขอกำหนดอัตรากำลังทดแทนได้ไม่เกินกำหนดระยะเวลาหกเดือน
หากมีเหตุผลความจำเป็นให้ขยายเวลาได้อีกไม่เกินหกเดือน
และต้องมีการวางแผนบริหารตำแหน่งรองรับข้าราชการดังกล่าวด้วย
(๗)[๔]
เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๙ ลงมา
ได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติงานช่วยสนับสนุนภารกิจของนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ขอกำหนดอัตรากำลังทดแทนได้ไม่เกินกำหนดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี
รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี จำนวน หลักเกณฑ์
และวิธีการในการขอกำหนดอัตรากำลังทดแทนให้เป็นไปตามมติ ก.พ.
ข้อ ๓
การขอให้ ก.พ. พิจารณาอนุมัติกำหนดอัตรากำลังทดแทนให้แสดงรายละเอียด
ดังต่อไปนี้
(๑) คำชี้แจง เหตุผลความจำเป็น
และกำหนดระยะเวลาที่จะสั่งให้รับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทน
(๒)[๕]
หน้าที่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการที่จะมอบหมายให้ผู้รับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทนตามข้อ
๒ (๔) (๕) หรือ (๖) ซึ่งจะต้องให้เหมาะสมกับระดับตำแหน่งที่เคยดำรงอยู่เดิม
ข้อ ๔ เมื่อ
ก.พ. อนุมัติให้กำหนดอัตรากำลังทดแทนสำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญในกรณีใดแล้ว
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ สั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญในกรณีนั้นพ้นจากตำแหน่งหน้าที่และขาดจากอัตราเงินเดือนในตำแหน่งเดิมโดยให้รับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทนตามที่ได้รับอนุมัติจาก
ก.พ.
ข้อ ๕[๖]
เมื่อได้สั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดรับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทนตามที่
ก.พ. กำหนด ตามข้อ ๒ (๑) (๒) หรือ (๓) แล้ว ถ้าผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒
เห็นว่ายังมีเหตุผลความจำเป็นที่จะต้องสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นรับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทนต่อไปอีกเกินกำหนดระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจาก
ก.พ. ก็ให้ขออนุมัติขยายเวลาต่อ ก.พ. ได้อีกครั้งละไม่เกินหนึ่งปี ทั้งนี้ ให้ขอขยายเวลาก่อนวันครบกำหนดระยะเวลาเดิมไม่น้อยกว่าสามสิบวัน
เว้นแต่กรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นพิเศษอาจขออนุมัติขยายเวลาต่อ ก.พ.
น้อยกว่าสามสิบวันได้
การขออนุมัติขยายเวลาต่อ ก.พ. ตามวรรคหนึ่ง
ให้แสดงรายละเอียดตามข้อ ๓ ด้วยโดยอนุโลม
ข้อ ๖
ในกรณีการกำหนดอัตรากำลังทดแทนสำหรับกรณีตามข้อ ๒ (๑) (๒) และ (๓)
ถ้ากระทรวง ทบวง กรมใดมีตำแหน่งและอัตราเงินเดือนว่างและประสงค์จะนำอัตราเงินเดือนของตำแหน่งนั้นมาเป็นอัตรากำลังทดแทน
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ของส่วนราชการนั้น
นำอัตราเงินเดือนของตำแหน่งที่ว่างอยู่ดังกล่าวมากำหนดเป็นอัตรากำลังทดแทนและสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญรับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทนได้ ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาที่ข้าราชการผู้นั้นได้รับอนุญาตให้ลาตามระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ
เมื่อกระทรวง ทบวง กรมใดได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว
ให้รายงานต่อ ก.พ. ภายในเจ็ดวัน
ข้อ ๗
เมื่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ สั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดรับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทนโดยมีเหตุผลความจำเป็นในกรณีใดแล้ว
เมื่อหมดความจำเป็นหรือครบกำหนดระยะเวลาตามข้อ ๔ ข้อ ๕ หรือข้อ ๖ แล้วแต่กรณี
ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นพ้นจากการรับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทน
และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งในระดับเดียวกันกับที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น
ข้อ ๘
การให้พ้นจากตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือน การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน
การดำเนินการทางวินัย และการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญที่ถูกสั่งให้รับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทนตามกฎ
ก.พ. นี้ ให้ถือเสมือนว่าข้าราชการพลเรือนสามัญที่ถูกสั่งนั้นดำรงตำแหน่งเดิม
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๑
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๗๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ บัญญัติว่า
ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็น ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒
มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญพ้นจากตำแหน่งหน้าที่และขาดจากอัตราเงินเดือนในตำแหน่งเดิม
โดยให้รับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทนที่ ก.พ. กำหนดได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ
ก.พ. การให้พ้นจากตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือน การแต่งตั้ง
การเลื่อนขั้นเงินเดือน การดำเนินการทางวินัยและการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญดังกล่าว
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ ก.พ. ฉบับที่ ๒๕ (พ.ศ. ๒๕๔๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญรับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทน[๗]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ
โดยที่มีความจำเป็นต้องโยกย้ายถ่ายโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปส่วนราชการอื่น
หรือให้ไปพัฒนาหรือฝึกทักษะใหม่ เพื่อรองรับการปรับบทบาท ภารกิจ
โครงสร้างส่วนราชการและปรับระบบงานใหม่ตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง
กรม และกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
และโดยที่มีกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญไม่อาจปฏิบัติงานให้สัมฤทธิผลได้ตามเป้าหมายที่กำหนดในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดหรือละเลยเพิกเฉยไม่ให้ความร่วมมือในเรื่องนี้
หรือมีเหตุอันควรสงสัยอย่างยิ่งว่ามีพฤติกรรมในการผลิต การค้า การเสพ
หรือเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด สมควรกำหนดให้กระทรวง ทบวง
กรมเจ้าสังกัดอาจขอกำหนดอัตรากำลังทดแทนสำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นจากที่ได้กำหนดไว้แล้วตาม
กฎ ก.พ. ฉบับที่ ๑๙ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕
ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญรับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทน จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ ก.พ. ฉบับที่ ๒๖ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญรับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทน[๘]
หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ
โดยที่มีความจำเป็นต้องมีข้าราชการเพื่อปฏิบัติงานสนับสนุนในภารกิจของนายกรัฐมนตรี
รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ซึ่งเป็นภารกิจที่มีความหลากหลาย
และเพื่อให้ส่วนราชการต้นสังกัดมีกำลังคนสำหรับปฏิบัติงาน
โดยเฉพาะในตำแหน่งสำคัญที่มีผลกระทบสูง สมควรกำหนดให้กระทรวง ทบวง กรมเจ้าสังกัด
อาจขอกำหนดอัตรากำลังทดแทนสำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากที่ได้กำหนดไว้แล้วตามกฎ
ก.พ. ฉบับที่ ๑๙ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญรับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทน
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย กฎ ก.พ. ฉบับที่ ๒๕ (พ.ศ. ๒๕๔๖)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญรับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทน จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๔๔ ก/หน้า ๖/๒๔ กรกฎาคม ๒๕๔๑
[๒] ข้อ ๒ (๕)
เพิ่มโดยกฎ ก.พ. ฉบับที่ ๒๕ (พ.ศ. ๒๕๔๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญรับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทน
[๓] ข้อ ๒ (๖)
เพิ่มโดยกฎ ก.พ. ฉบับที่ ๒๕ (พ.ศ. ๒๕๔๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญรับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทน
[๔] ข้อ ๒ (๗)
เพิ่มโดยกฎ ก.พ. ฉบับที่ ๒๖ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญรับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทน
[๕] ข้อ ๓ (๒)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ. ฉบับที่ ๒๕ (พ.ศ. ๒๕๔๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญรับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทน
[๖] ข้อ ๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ. ฉบับที่ ๒๕ (พ.ศ. ๒๕๔๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญรับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทน
[๗] ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม
๑๒๐/ตอนที่ ๕๗ ก/หน้า ๑๙/๑๙ มิถุนายน ๒๕๔๖
[๘] ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม
๑๒๒/ตอนที่ ๓๗ ก/หน้า ๒๒/๖ พฤษภาคม ๒๕๔๘ |
317596 | พระราชกฤษฎีกากำหนดอัตราเงินเดือนข้าราชการตำรวจที่มียศ พ.ศ. 2519 | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
กำหนดอัตราเงินเดือนข้าราชการตำรวจที่มียศ
พ.ศ. ๒๕๑๙
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้ ณ
วันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๙
เป็นปีที่ ๓๑
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดอัตราเงินเดือนข้าราชการตำรวจที่มียศเสียใหม่
ให้เหมาะสม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และมาตรา ๒๕ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดอัตราเงินเดือนข้าราชการตำรวจที่มียศ
พ.ศ. ๒๕๑๘
มาตรา ๒[๑]
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓
ให้ยกเลิกบัญชีหมายเลข ๑ อัตราเงินเดือนข้าราชการตำรวจที่มียศ
ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดอัตราเงินเดือน กำหนดคุณสมบัติ พื้นความรู้ วิธีคัดเลือก
วิธีสอบคัดเลือก การบรรจุ การเลื่อนเงินเดือน การแต่งตั้ง
และการออกจากราชการของข้าราชการตำรวจ พ.ศ. ๒๕๐๐
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดอัตราเงินเดือน กำหนดคุณสมบัติ พื้นความรู้
วิธีคัดเลือก วิธีสอบคัดเลือก การบรรจุ การเลื่อนเงินเดือน การแต่งตั้ง
และการออกจากราชการของข้าราชการตำรวจ (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๑๗
มาตรา ๔
อัตราเงินเดือนข้าราชการตำรวจที่มียศ
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
มาตรา ๕
ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
นายกรัฐมนตรี
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการตำรวจที่มียศ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๒๕ (๒)
ของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้บัญญัติว่า
อัตราเงินเดือนข้าราชการตำรวจที่มียศเป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๓/ตอนที่ ๑๑๕/หน้า ๓๙๙/๒๘ กันยายน ๒๕๑๙ |
562061 | กฎ ก.พ. ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2536) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ว่าด้วยอำนาจการลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน (ฉบับ Update ล่าสุด) | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๓๖)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕
ว่าด้วยอำนาจการลงโทษภาคทัณฑ์
ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) และมาตรา ๑๐๓
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ก.พ. จึงออกกฎ ก.พ.
ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในกฎ
ก.พ. นี้
หัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่ากอง หมายความว่า
ข้าราชการพลเรือนซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าส่วนราชการและดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ
๕ ลงมา และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายตามมาตรา ๔๓
ให้บังคับบัญชาส่วนราชการหรือหน่วยงานในฐานะหัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่ากองด้วย
ผู้อำนวยการกองหรือหัวหน้ากอง
หมายความรวมถึงหัวหน้าส่วนราชการซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ ๘ ระดับ ๗ หรือระดับ ๖
หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายตามมาตรา ๔๓ ให้บังคับบัญชาส่วนราชการหรือหน่วยงานในฐานะผู้อำนวยการกองหรือหัวหน้ากองด้วย
หัวหน้าส่วนราชการที่สูงกว่ากอง หมายความว่า
ข้าราชการพลเรือนที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าส่วนราชการและดำรงตำแหน่งระดับ ๙
และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายตามมาตรา ๔๓
ให้บังคับบัญชาส่วนราชการหรือหน่วยงานในฐานะหัวหน้าส่วนราชการที่สูงกว่ากองด้วย
ข้อ ๓
เลขานุการกรม ผู้อำนวยการกองหรือหัวหน้ากอง และหัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่ากองซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้กระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
มีอำนาจสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ หรือตัดเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกิน ๕%
และเป็นเวลาไม่เกินหนึ่งเดือน
ข้อ ๔[๒]
เลขานุการรัฐมนตรีและหัวหน้าส่วนราชการที่สูงกว่ากอง
ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้กระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
มีอำนาจสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ หรือตัดเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกิน ๕ %
และเป็นเวลาไม่เกินสองเดือน
ข้อ ๕
นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล และรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ปลัดกระทรวง อธิบดีและผู้ว่าราชการจังหวัด
และผู้ซึ่งได้รับมอบหมายตามมาตรา ๔๓ ให้บังคับบัญชาส่วนราชการ
หรือหน่วยงานในฐานะอธิบดี
ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้กระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
มีอำนาจสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ หรือตัดเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกิน ๕% และเป็นเวลาไม่เกินสามเดือน
หรือลดขั้นเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกินหนึ่งขั้น
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๖
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้คือ โดยที่มาตรา ๑๐๓
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ บัญญัติว่า การลงโทษภาคทัณฑ์
ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน
ผู้บังคับบัญชาใดจะมีอำนาจสั่งลงโทษผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ในสถานโทษและอัตราโทษใด
ได้เพียงใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ ก.พ. ฉบับที่ ๒๘ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่าด้วยอำนาจการลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน[๓]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ
โดยที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินบัญญัติให้เลขานุการรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานรัฐมนตรี
จึงสมควรเพิ่มเติมในกฎ ก.พ. ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ว่าด้วยอำนาจการลงโทษภาคทัณฑ์
ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน
ให้เลขานุการรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งลงโทษทางวินัยแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัด จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๖๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑/๒๕ ตุลาคม ๒๕๓๖
[๒] ข้อ ๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ. ฉบับที่ ๒๘ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่าด้วยอำนาจการลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน
[๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๙๘ ก/หน้า ๓๐/๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๘ |
317219 | พระราชกฤษฎีกา ให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน บัญชี ข. ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2518 พ.ศ.2533 | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
ให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
บัญชี ข.
ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๑๘
พ.ศ. ๒๕๓๓[๑]
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๖
เมษายน พ.ศ.๒๕๓๓
เป็นปีที่ ๔๕
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
บัญชี ข.ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๕
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ.๒๕๓๑ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกาให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
บัญชี ข. ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ พ.ศ. ๒๕๓๓
มาตรา ๒
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๓ เป็นต้นไป
มาตรา ๓
ให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน บัญชี ข.ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ.๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๖)
พ.ศ. ๒๕๓๑ แทนบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน บัญชี ก.ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๖)
พ.ศ.๒๕๓๑
มาตรา ๔
ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัน
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
โดยที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบันขยายตัว
รายได้ประชาชาติและดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้น สมควรปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ดังกล่าว
และเนื่องจากมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๑
บัญญัติว่า การให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนแต่ละบัญชี
ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๕๖/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๙ เมษายน ๒๕๓๓ |
317860 | พระราชกฤษฎีกา ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์ พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2521 | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบ
ข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์
พ.ศ. ๒๕๑๙
พ.ศ. ๒๕๒๑
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๕
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๑
เป็นปีที่ ๓๓
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์
พ.ศ. ๒๕๑๙
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕
แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๒๐ มาตรา ๒๓ (๓) และมาตรา ๑๐๙
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ
ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์
พ.ศ. ๒๕๑๙ พ.ศ. ๒๕๒๑
มาตรา ๒[๑]
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓
ภายใต้บังคับมาตรา ๔ ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์
พ.ศ. ๒๕๑๙
มาตรา ๔
ในระหว่างดำเนินการกำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในกรมไปรษณีย์โทรเลข
และแต่งตั้งให้ข้าราชการในกรมไปรษณีย์โทรเลขให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๑๘ ให้ถือว่าข้าราชการในกรมไปรษณีย์โทรเลขยังคงเป็นข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์และให้บทบัญญัติแห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการนี้ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ต่อไปจนกว่าจะได้แต่งตั้งให้ข้าราชการดังกล่าวดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามที่
ก.พ. กำหนด
มาตรา ๕
ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ส. โหตระกิตย์
รองนายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๑๙
ได้บัญญัติให้จัดตั้งการสื่อสารแห่งประเทศไทย มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจขึ้น
โดยให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้ ข้าราชการและลูกจ้างของกรมไปรษณีย์โทรเลข
นอกจากสำนักงานเลขานุการกรม กองสื่อสารระหว่างประเทศ กองแผนงาน และสำนักงานบริหารความถี่
วิทยุ ไปเป็นของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ดังนั้น งานของกรมไปรษณีย์โทรเลขที่เหลืออยู่
๔ กอง ดังกล่าว จึงมีลักษณะงานเช่นเดียวกันกับส่วนราชการอื่นที่มีข้าราชการพลเรือนสามัญเป็นผู้ปฏิบัติ
สมควรยกเลิกตำแหน่งข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์ในกรมไปรษณีย์โทรเลขเพื่อกำหนดให้เป็นตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญขึ้นแทนตำแหน่งที่ยกเลิกไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น
[๑] ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม ๙๕/ตอนที่ ๘๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๘/๑๗ สิงหาคม ๒๕๒๑ |
690425 | กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2552
| กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
แบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
สำนักนายกรัฐมนตรี
พ.ศ. ๒๕๕๒[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ ฉ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๔๓ นายกรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๒
ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน มีภารกิจเกี่ยวกับการเสนอแนะนโยบาย
ให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีตลอดจนส่วนราชการในการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ
เป็นหน่วยงานประเมินผลการบริหารงานของส่วนราชการ
รวมทั้งเป็นองค์กรกลางในการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ทั้งนี้
เพื่อให้ภาครัฐมีกำลังคนที่มีประสิทธิภาพและทำงานให้มุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานในหน้าที่ของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม
และดำเนินการตามที่ ก.พ. หรือ ก.พ.ค. มอบหมาย
(๒)
เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่กระทรวง ทบวง กรม เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ
และแนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ
(๓)
พัฒนา ส่งเสริม วิเคราะห์ และวิจัยเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ระบบ หลักเกณฑ์
วิธีการ และมาตรฐานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน
(๔)
ติดตามและประเมินผลการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน
(๕)
ดำเนินการเกี่ยวกับแผนกำลังคนของข้าราชการพลเรือน
(๖)
เป็นศูนย์กลางข้อมูลทรัพยากรบุคคลภาครัฐ
(๗)
จัดทำยุทธศาสตร์
ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือน
(๘)
ส่งเสริม ประสานงาน เผยแพร่ ให้คำปรึกษาแนะนำ
และดำเนินการเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการและการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตสำหรับทรัพยากรบุคคลภาครัฐ
(๙)
ดำเนินการเกี่ยวกับทุนเล่าเรียนหลวงและทุนของรัฐบาลตามนโยบายและระเบียบที่ ก.พ.
กำหนด ให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือน
ตลอดจนจัดสรรผู้รับทุนที่สำเร็จการศึกษาแล้วเข้ารับราชการในกระทรวง ทบวง กรม
หรือหน่วยงานของรัฐ
(๑๐)
ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการการศึกษา การควบคุมดูแล
และการให้ความช่วยเหลือบุคลากรภาครัฐและนักเรียนทุนที่อยู่ในความดูแลของ ก.พ.
ตลอดจนการเก็บเงินชดเชยค่าใช้จ่ายในการดูแลจัดการการศึกษาตามข้อบังคับหรือระเบียบที่
ก.พ. กำหนด
(๑๑)
ดำเนินการเกี่ยวกับการรับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ
หรือคุณวุฒิอย่างอื่นเพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือน
และการกำหนดอัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทน
รวมทั้งระดับตำแหน่งและประเภทตำแหน่งสำหรับคุณวุฒิดังกล่าว
(๑๒)
ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาทะเบียนประวัติและการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการพลเรือน
(๑๓)
จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการพลเรือนเสนอต่อ ก.พ.
และคณะรัฐมนตรี
(๑๔)
ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน ก.พ.
หรือตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือ ก.พ. มอบหมาย
ข้อ ๓
ให้แบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขาธิการ
(๒)
ศูนย์จัดการศึกษาในต่างประเทศและบริหารความรู้
(๓)
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(๔)
ศูนย์นักบริหารระดับสูง
(๕)
ศูนย์สรรหาและเลือกสรร
(๖)
สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน
(๗)
สำนักกฎหมาย
(๘)
สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนในต่างประเทศ
(๙)
สำนักตรวจสอบและประเมินผลกำลังคน
(๑๐)
สำนักพัฒนาระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทน
(๑๑)
สำนักพิทักษ์ระบบคุณธรรม
(๑๒)
สำนักมาตรฐานวินัย
(๑๓)
สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล
ข้อ ๔
ในสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ให้มีกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
เพื่อทำหน้าที่หลักในการพัฒนาการบริหารของสำนักงาน ก.พ. ให้เกิดผลสัมฤทธิ์
มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่า รับผิดชอบงานขึ้นตรงต่อเลขาธิการ ก.พ. โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
เสนอแนะให้คำปรึกษาแก่เลขาธิการ ก.พ.
เกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการภายในสำนักงาน ก.พ.
(๒)
ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการในสำนักงาน ก.พ.
(๓)
ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการร่วมกับหน่วยงานกลางต่าง ๆ
และหน่วยงานภายในสำนักงาน ก.พ.
(๔)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๕
ในสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ให้มีกลุ่มตรวจสอบภายใน
เพื่อทำหน้าที่หลักในการตรวจสอบการดำเนินงานภายในสำนักงาน ก.พ.
และสนับสนุนการปฏิบัติงานของสำนักงาน ก.พ. รับผิดชอบงานขึ้นตรงต่อเลขาธิการ ก.พ.
โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และการบัญชี ของสำนักงาน ก.พ.
(๒)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๖
สำนักงานเลขาธิการ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
ปฏิบัติงานสารบรรณของสำนักงาน ก.พ.
(๒)
ดำเนินการเกี่ยวกับงานโรงพิมพ์ งานห้องสมุด งานรักษาความปลอดภัย
และงานประสานและอำนวยการในพิธีการต่าง ๆ
(๓)
ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การงบประมาณ การพัสดุ อาคารสถานที่
และยานพาหนะ
(๔)
จัดระบบงานและบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงาน ก.พ.
(๕)
ดำเนินการประสานสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
และเสริมสร้างให้ประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติงานของสำนักงาน
ก.พ.
(๖)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๗
ศูนย์จัดการศึกษาในต่างประเทศและบริหารความรู้ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
ศึกษา วิเคราะห์
และพัฒนาระบบการดูแลและการจัดการการศึกษาของนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง
นักเรียนทุนของรัฐบาล นักเรียนทุนอื่น ๆ และบุคลากรภาครัฐ
(๒)
ดูแลและจัดการการศึกษาให้แก่นักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง นักเรียนทุนของรัฐบาล
นักเรียนทุนอื่น ๆ และบุคลากรภาครัฐที่ลาศึกษาหรือฝึกอบรมในต่างประเทศ
(๓)
ดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน
และติดตามผลการศึกษาของนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง นักเรียนทุนของรัฐบาล
นักเรียนทุนอื่น ๆ และบุคลากรภาครัฐที่ลาศึกษาหรือฝึกอบรมในต่างประเทศ
(๔)
ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับระบบการศึกษาในต่างประเทศ
และเป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการศึกษาในต่างประเทศ
(๕)
เป็นศูนย์รวมข้อมูลกำลังคนภาครัฐซึ่งกำลังศึกษาในสาขาวิชาต่าง ๆ ในต่างประเทศ
(๖)
เป็นศูนย์รวบรวมองค์ความรู้ของนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง นักเรียนทุนของรัฐบาล
นักเรียนทุนอื่น ๆ และบุคลากรภาครัฐที่ลาศึกษาหรือฝึกอบรมในต่างประเทศ
(๗)
ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานกับภาคเอกชนและส่วนราชการของต่างประเทศในการจัดระบบการดูแลและการจัดการการศึกษา
การแนะแนวการศึกษา
และการป้องปรามการแสวงหาประโยชน์ในการดูแลและการจัดการการศึกษาของหน่วยงานเอกชน
(๘)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๘
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
ศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารกำลังคนภาครัฐ
(๒)
ส่งเสริม ประสานงาน เผยแพร่
และให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการพัฒนาระบบสารสนเทศและการบริหารข้อมูลกำลังคนภาครัฐ
(๓)
ดำเนินการเกี่ยวกับการวางระบบหรือพัฒนาระบบข้อมูลและประมวลผลข้อมูลและข้อสนเทศต่าง
ๆ
(๔)
ดำเนินการเกี่ยวกับการวางระบบหรือพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
(๕)
ดำเนินการเกี่ยวกับการเผยแพร่ การให้บริการข้อมูลและข้อสนเทศต่าง ๆ
รวมทั้งการให้คำปรึกษาแนะนำ หรือฝึกอบรมการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
(๖)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๙
ศูนย์นักบริหารระดับสูง มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
ศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนาระบบการกำหนดตำแหน่งและค่าตอบแทนของนักบริหารระดับสูง
(๒)
ดำเนินการประเมินสมรรถนะ จัดทำข้อมูลกำลังคน และบริหารบัญชี
(๓)
ดำเนินการเกี่ยวกับการประเมินผลงานทางวิชาการของตำแหน่งระดับสูง
(๔)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๐
ศูนย์สรรหาและเลือกสรร มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
พัฒนาและกำหนดนโยบาย ระบบ และรูปแบบการสรรหาและเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการ
(๒)
ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ส่วนราชการเกี่ยวกับการดำเนินการสรรหาและเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการ
(๓)
ดำเนินการเกี่ยวกับการสร้างและพัฒนาเครื่องมือการสรรหาและการสอบรวมทั้งการเป็นศูนย์กลางในการประสานการสรรหาบุคคลเข้ารับราชการในส่วนราชการและวิสาหกิจ
(๔)
ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดสรรทุนของรัฐบาล และการสอบแข่งขัน
หรือคัดเลือกบุคคลเพื่อรับทุนเล่าเรียนหลวงและทุนของรัฐบาล
(๕)
จัดทำมาตรฐาน หลักเกณฑ์ แนวทาง และการพิจารณารับรองคุณวุฒิเพื่อการบรรจุและแต่งตั้ง
(๖)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๑
สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาเกี่ยวกับการพัฒนาและฝึกอบรมทรัพยากรบุคคลภาครัฐ
รวมทั้งการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม การผลิต
และให้บริการสื่อหรือเทคโนโลยีการฝึกอบรม
(๒)
ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเกี่ยวกับนโยบาย ระบบ หรือแนวทางการพัฒนาข้าราชการพลเรือน
รวมทั้งการติดตามและประเมินผลการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในราชการฝ่ายพลเรือน
(๓)
ดำเนินการจัดและสนับสนุนการจัดการฝึกอบรมและการพัฒนาข้าราชการ
(๔)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๒
สำนักกฎหมาย มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
ศึกษา วิเคราะห์ และดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนากฎหมายต่าง ๆ ของสำนักงาน ก.พ.
ให้ทันสมัย
(๒)
ดำเนินการเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาแนะนำ ตลอดจนการเสนอความเห็นเกี่ยวกับกฎหมาย กฎ
ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง และหนังสือเวียนที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงาน ก.พ.
แก่คณะรัฐมนตรี หน่วยงานของรัฐ และองค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่น ๆ
(๓)
ดำเนินการเกี่ยวกับงานนิติกรรมและสัญญา งานเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่ง อาญา
งานคดีปกครอง และงานคดีอื่นที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน ก.พ.
(๔)
ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง
และหนังสือเวียนที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงาน ก.พ.
(๕)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๓
สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนในต่างประเทศ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานเกี่ยวกับการจัดการศึกษา ฝึกอบรม หรือดูงานในต่างประเทศสำหรับนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง
นักเรียนทุนของรัฐบาล นักเรียนทุนอื่น ๆ และบุคลากรภาครัฐที่ลาศึกษา ฝึกอบรม
หรือดูงานในต่างประเทศ
(๒)
ดูแล จัดการ และให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการศึกษา
ความเป็นอยู่และการเงินแก่นักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง นักเรียนทุนของรัฐบาล
นักเรียนทุนอื่น ๆ และบุคลากรภาครัฐที่ลาศึกษาหรือฝึกอบรมในต่างประเทศ
(๓)
ส่งเสริม สนับสนุน ประสานงาน
และสร้างแรงจูงใจให้คนไทยที่ศึกษาในต่างประเทศกลับมาทำงานในประเทศไทย
(๔)
ดำเนินการเกี่ยวกับการเป็นศูนย์เผยแพร่ข้อมูลการศึกษาและวัฒนธรรมของไทยในต่างประเทศ
รวมทั้งการประสานงานและจัดหาข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาในต่างประเทศ
เพื่อประโยชน์ในการบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการฝ่ายพลเรือน
(๕)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๔
สำนักตรวจสอบและประเมินผลกำลังคน มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
ตรวจสอบ วิเคราะห์ และประเมินผลการบริหารตำแหน่งของส่วนราชการต่าง ๆ
(๒)
วิเคราะห์ความเหมาะสมการใช้กำลังคนของส่วนราชการต่าง ๆ
(๓)
ตรวจสอบและให้ความเห็นเกี่ยวกับคำสั่งการบริหารทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการต่าง ๆ
เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด
(๔)
รักษาทะเบียนประวัติข้าราชการพลเรือน ควบคุมเกษียณอายุราชการ และข้อมูลกำลังคน
(๕)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๕
สำนักพัฒนาระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทน มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
และพัฒนาระบบค่าตอบแทนและประโยชน์เกื้อกูลให้สอดคล้องกับผลงานและค่าครองชีพ
(๒)
ศึกษาและวิเคราะห์เพื่อจำแนกตำแหน่ง ประเมินค่างาน
และจัดทำบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
(๓)
ศึกษาและพัฒนาระบบจูงใจในการทำงานเพื่อยกระดับคุณภาพและประเมินกำลังคน
(๔)
ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเกี่ยวกับนโยบาย ระบบ
หรือมาตรฐานการจัดและพัฒนาการกำหนดตำแหน่งในราชการฝ่ายพลเรือน
(๕)
ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือแนวทางปฏิบัติ
รวมทั้งการติดตาม ประเมินผลการจัดกรอบอัตรากำลัง
และการกำหนดตำแหน่งในราชการฝ่ายพลเรือน
(๖)
ศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับการกำหนดชื่อตำแหน่ง
หน้าที่ความรับผิดชอบและกรอบอัตรากำลังลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวต่างประเทศ
(๗)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๖
สำนักพิทักษ์ระบบคุณธรรม มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
ศึกษา วิเคราะห์
และวิจัยเพื่อสนับสนุนการบริหารทรัพยากรบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักเกณฑ์
วิธีการ กฎ ระเบียบ แนวทางการดำเนินการด้านอุทธรณ์ ร้องทุกข์ และการคุ้มครองระบบคุณธรรม
(๒)
ดำเนินการสืบสวน รวบรวมข้อมูล รวมทั้งการวิเคราะห์การจัดทำสำนวน และจัดทำความเห็น
(๓)
ดำเนินการเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาแนะนำ สนับสนุน
ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการอุทธรณ์และร้องทุกข์
และการรักษาระบบคุณธรรมในกระทรวง ทบวง กรม
(๔)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๗
สำนักมาตรฐานวินัย มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
ดำเนินการสืบสวน รวบรวมข้อมูล รวมทั้งการวิเคราะห์การจัดทำสำนวน และจัดทำความเห็น
(๒)
ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาหลักเกณฑ์ วิธีการ กฎ ระเบียบ
และแนวทางการดำเนินการด้านวินัย
(๓)
ดำเนินการเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาแนะนำ สนับสนุน
ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการเสริมสร้างวินัย การพัฒนาคุณธรรม
จริยธรรมและจรรยาบรรณของข้าราชการ การดำเนินการทางวินัย
และมาตรฐานการลงโทษในกระทรวง ทบวง กรม
(๔)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๘
สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
และเสนอแนะนโยบายและกลยุทธ์ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการฝ่ายพลเรือนต่อคณะรัฐมนตรีและคณะกรรมการระดับชาติที่เกี่ยวข้อง
(๒)
ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเกี่ยวกับองค์ความรู้และหลักการบริหารทรัพยากรบุคคลใหม่ ๆ
(๓)
ศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนาระบบ กลยุทธ์ หลักเกณฑ์
และวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการฝ่ายพลเรือนและทรัพยากรบุคคลพิเศษ เช่น
นักเรียนทุนของรัฐบาล คนพิการ หรือกำลังคนในพื้นที่เฉพาะ
(๔)
ส่งเสริม สนับสนุน
และให้คำปรึกษาแนะนำแก่ส่วนราชการในการจัดทำแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล
(๕)
ศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับมาตรฐานการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือน
(๖)
ส่งเสริม สนับสนุน ให้คำปรึกษาแนะนำ
และติดตามประเมินผลให้การบริหารทรัพยากรบุคคลในส่วนราชการเป็นไปตามระบบคุณธรรมและหลักการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่
(๗)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
ให้ไว้ ณ วันที่ ๙
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการและอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
สำนักนายกรัฐมนตรี ตลอดจนปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการเพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจที่เพิ่มขึ้นและเหมาะสมกับสภาพของงานที่เปลี่ยนแปลงไป
อันจะทำให้การปฏิบัติภารกิจตามอำนาจหน้าที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓๐ มีนาคม ๒๕๕๒
ปณตภร/ปรับปรุง
๗ สิงหาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๘ ก/หน้า ๑/๒๗ มีนาคม ๒๕๕๒ |
326584 | พระราชกฤษฎีกา ระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2520 | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
ระเบียบข้าราชการครู
พ.ศ. ๒๕๒๐
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๐
เป็นปีที่ ๓๒
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบราชการครู
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กับมาตรา
๒๓ (๔) และมาตรา ๑๑๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีการะเบียบข้าราชการครู พ.ศ. ๒๕๒๐
มาตรา ๒[๑]
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓
ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. ๒๕๑๘
มาตรา ๔
ตำแหน่งข้าราชการครู มีดังนี้
(ก) ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้สอนในสถานศึกษา
ในกระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(๑) ครู ๑
(๒) ครู ๒
(๓) อาจารย์ ๑
(๔) อาจารย์ ๒
(๕) อาจารย์ ๓
(๖) ผู้ช่วยศาสตราจารย์
(๗) รองศาสตราจารย์
(๘) ศาสตราจารย์
ตำแหน่งใน (๑) ถึง (๕) จะมีในสถานศึกษาใด ของกระทรวงศึกษาธิการก็ได้
แต่สำหรับตำแหน่งใน (๕)
จะมีได้ก็ต่อเมื่อมีปริมาณและคุณภาพของงานสูงเป็นพิเศษตามเกณฑ์ที่คุรุสภากำหนด
ส่วนตำแหน่งใน (๖) ถึง (๘) ให้มีในสถาบันอุดมศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการเท่านั้น
(ข)
ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้บริหารและให้การศึกษาในสถานศึกษา ในกระทรวงศึกษาธิการ
ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ช่วยครูใหญ่
(๒) ครูใหญ่
(๓) ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่
(๔) อาจารย์ใหญ่
(๕)
ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนหรือผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัย
(๖) ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือผู้อำนวยการวิทยาลัย
(๗) ตำแหน่งซึ่งเป็นผู้บริหารในสถานศึกษาในกระทรวงศึกษาธิการที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่คุรุสภากำหนดเทียบกับตำแหน่งใน
(๑) ถึง (๖)
(ค) ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการให้การศึกษา
ซึ่งไม่สังกัดสถานศึกษา ในกระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่
ตำแหน่งที่มีชื่อในการบริหารงาน ดังต่อไปนี้
(๑) สารวัตรนักเรียนและนักศึกษา
(๒) ศึกษานิเทศก์
(๓) ผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอ
(๔) ศึกษาธิการอำเภอ
(๕) ผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัด
(๖) ศึกษาธิการจังหวัด
(๗) ผู้ช่วยศึกษาธิการเขต
(๘) ศึกษาธิการเขต
(๙)
ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่กระทรวงศึกษาธิการทำความตกลงกับ ก.พ.
กำหนดให้เป็นตำแหน่งข้าราชการครู
มาตรา ๕
ตำแหน่งข้าราชการครูตามมาตรา ๔ (ก) และ (ข) ตำแหน่งใดจะมีในสถานศึกษาใด
จำนวนเท่าใด และต้องใช้ผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งอย่างใด ให้เป็นไปตามที่คุรุสภากำหนดโดยให้คำนึงถึงลักษณะ
หน้าที่และความรับผิดชอบ ปริมาณและคุณภาพของงาน ทั้งนี้
ให้คุรุสภาจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งไว้เป็นบรรทัดฐานในการกำหนดตำแหน่งข้าราชการครูทุกตำแหน่ง
โดยแสดงชื่อของตำแหน่งหน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่ง
ลักษณะงานที่ปฏิบัติและคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ผู้ดำรงตำแหน่งจะต้องมีด้วย
ตำแหน่งข้าราชการครูตามมาตรา ๔ (ค) จะมีตำแหน่งใดระดับใด
ในสายงานใด อยู่ในส่วนราชการใด
จำนวนเท่าใดและต้องใช้ผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งอย่างใด ให้เป็นไปตามที่คุรุสภากำหนด
โดยให้คำนึงถึงลักษณะ หน้าที่และความรับผิดชอบ ปริมาณและคุณภาพของงานตามหลักเกณฑ์ในมาตรา
๓๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘
และให้คุรุสภาจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งไว้เป็นบรรทัดฐานในการกำหนดตำแหน่งดังกล่าว
ตามมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ ด้วย
ในกรณีที่ลักษณะ หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปริมาณและคุณภาพของงานของตำแหน่งข้าราชการครูตำแหน่งใดที่คุรุสภากำหนดเปลี่ยนแปลงไป
ให้คุรุสภาพิจารณาปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งนั้นเสียใหม่ให้เหมาะสม
มาตรา ๖
ตำแหน่งใดบังคับบัญชาข้าราชการครูในส่วนราชการหรือหน่วยงานใด ในฐานะใด
ให้นำมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๗
ข้าราชการครูจะได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง ดังต่อไปนี้
(ก) ตำแหน่งตามมาตรา ๔ (ก)
(๑) ครู ๑ ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ๑ ถึงระดับ ๒
(๒) ครู ๒ ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ๒ ถึงระดับ ๔
(๓) อาจารย์ ๑ ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ๓ ถึงระดับ ๕
(๔) อาจารย์ ๒ ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ๕ ถึงระดับ ๖
(๕) อาจารย์ ๓ ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ๖ ถึงระดับ ๗
(๖) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ๕ ถึงระดับ
๗ และถ้าผู้ช่วยศาสตราจารย์ผู้ใดเป็นผู้ชำนาญการและมีผลงานทางวิชาการตามหลักเกณฑ์ที่คุรุสภากำหนดและได้ผ่านการประเมินตามวิธีการที่คุรุสภากำหนดแล้วก็ให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนระดับ
๘ ได้เมื่อได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของระดับ ๘
(๗) รองศาสตราจารย์ ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ๖ ถึงระดับ ๘
และถ้ารองศาสตราจารย์ผู้ใดเป็นเชี่ยวชาญและมีผลงานทางวิชาการตามหลักเกณฑ์ที่คุรุสภากำหนดและได้ผ่านการประเมินตามวิธีการที่คุรุสภากำหนดแล้วก็ให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนระดับ
๙ ได้เมื่อได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของระดับ ๙
(๘) ศาสตราจารย์ ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ๗ ถึงระดับ ๙
และถ้าศาสตราจารย์ผู้ใดเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษและมีผลงานทางวิชาการตามหลักเกณฑ์ที่คุรุสภากำหนดและได้ผ่านการประเมินตามวิธีการที่คุรุสภากำหนดแล้วก็ให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนระดับ
๑๐ ได้ เมื่อได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของระดับ ๑๐
(ข) ตำแหน่งตามมาตรา ๔ (ข)
(๑)
ผู้ช่วยครูใหญ่หรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่คุรุสภาเทียบเท่า ให้ได้รับเงินเดือนระดับ
๒ ถึงระดับ ๔ และถ้าผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวผู้ใดมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งอาจารย์
๑ และดำรงตำแหน่งที่มีปริมาณและคุณภาพของงานสูงถึงเกณฑ์ที่คุรุสภากำหนดและได้ผ่านการประเมินตามวิธีการที่คุรุสภากำหนดแล้วก็ให้ผู้นั้นรับเงินเดือนระดับ
๕ ได้เมื่อได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของระดับ ๕
(๒)
ครูใหญ่หรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่คุรุสภาเทียบเท่าให้ได้รับเงินเดือนระดับ
๓ ถึงระดับ ๕ และถ้าผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวผู้ใดมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งอาจารย์
๒ และดำรงตำแหน่งที่มีปริมาณและคุณภาพของงานสูงถึงเกณฑ์ที่คุรุสภากำหนด
และได้ผ่านการประเมินตามวิธีการที่คุรุสภากำหนดแล้วก็ให้ผู้นั้นรับเงินเดือนระดับ
๖ ได้เมื่อได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของระดับ ๖
(๓)
ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่หรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่คุรุสภาเทียบเท่าให้ได้รับเงินเดือนระดับ
๓ ถึงระดับ ๕ และถ้าผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวผู้ใดมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งอาจารย์
๒ และดำรงตำแหน่งที่มีปริมาณและคุณภาพของงานสูงถึงเกณฑ์ที่คุรุสภากำหนดและได้ผ่านการประเมินตามวิธีการที่คุรุสภากำหนดแล้วก็ให้ผู้นั้นรับเงินเดือนระดับ
๖ ได้เมื่อได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของระดับ ๖
(๔)
อาจารย์ใหญ่หรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่คุรุสภาเทียบเท่าให้ได้รับเงินเดือนระดับ
๕ ถึงระดับ ๖ และถ้าผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวผู้ใดมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งอาจารย์
๓ และดำรงตำแหน่งที่มีปริมาณและคุณภาพของงานสูงถึงเกณฑ์ที่คุรุสภากำหนดและได้ผ่านการประเมินตามวิธีการที่คุรุสภากำหนดแล้วก็ให้ผู้นั้นรับเงินเดือนระดับ
๗ ได้เมื่อได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของระดับ ๗
(๕) ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนหรือผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัย
หรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่คุรุสภาเทียบเท่า ให้ได้รับเงินเดือนระดับ
๕ ถึงระดับ ๖ และถ้าผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวผู้ใดมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งอาจารย์
๓ และดำรงตำแหน่งที่มีปริมาณและคุณภาพของงานสูงถึงเกณฑ์ที่คุรุสภากำหนด และได้ผ่านการประเมินตามวิธีการที่คุรุสภากำหนดแล้ว
ก็ให้ผู้นั้นรับเงินเดือนระดับ ๗ ได้ เมื่อได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของระดับ ๗
(๖) ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือผู้อำนวยการวิทยาลัย
หรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่คุรุสภาเทียบเท่า ให้ได้รับเงินเดือนระดับ
๗
(ค) ตำแหน่งตามมาตรา ๔ (ค)
ที่คุรุสภากำหนดเป็นตำแหน่งระดับใด ให้ได้รับเงินเดือนระดับนั้น
การให้ข้าราชการครูได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งตามมาตรานี้
ให้เป็นไปตามมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘
โดยอนุโลม
ในกรณีที่ตำแหน่งใดได้รับเงินเดือนหลายระดับ
เมื่อข้าราชการครูผู้ดำรงตำแหน่งนั้นได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของระดับถัดไป
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.
๒๕๑๘ มีคำสั่งให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนในระดับถัดไป ทั้งนี้ ภายใต้หลักเกณฑ์และวิธีการตามมาตรานี้
มาตรา ๘
การบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน วินัยและการรักษาวินัย การออกจากราชการ
การร้องทุกข์ และการอุทธรณ์ของข้าราชการครู นอกจากที่กำหนดไว้แล้วในพระราชกฤษฎีกานี้
ให้เป็นไปตามลักษณะ ๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ โดยอนุโลม ทั้งนี้
(๑) สำหรับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการโดยอนุมัติคุรุสภา เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ
และเสนอชื่อต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรายงานนายกรัฐมนตรี เพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้ง
(๒)
สำหรับการออกจากราชการของข้าราชการครูตำแหน่งศาสตราจารย์
ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง นับแต่วันออกจากราชการ
(๓)
สำหรับผู้ที่จะได้เลื่อนขั้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๔ (ก) (๓) ถึง (๘)
จะต้องเป็นผู้ที่มีผลงานตามหน้าที่ ความรับผิดชอบและลักษณะงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คุรุสภากำหนด
มาตรา ๙
ในระหว่างที่คุรุสภายังมิได้กำหนดตำแหน่งข้าราชการครูตามมาตรา ๕
ในส่วนราชการใด ให้นำพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. ๒๕๑๘ มาใช้บังคับแก่ข้าราชการครูในส่วนราชการนั้นไปพลางก่อน ทั้งนี้ ไม่เกินหนึ่งปี
นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๑๐
การใดที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู
พ.ศ. ๒๕๑๘ ในวันที่คุรุสภากำหนดตำแหน่งข้าราชการครูตามมาตรา ๕
การดำเนินการต่อไปสำหรับการนั้น ให้เป็นไปตามที่คุรุสภากำหนด
มาตรา ๑๑
ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ธานินทร์ กรัยวิเชียร
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากบทบัญญัติของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู
พ.ศ. ๒๕๑๘ มีความไม่เหมาะสมกับทางปฏิบัติและก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในหมู่ข้าราชการครูหลายอย่างหลายประการ
สมควรปรับปรุงแก้ไขเสียใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับทางปฏิบัติและเกิดความเป็นธรรมแก่ข้าราชการครูโดยทั่วถึงกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม
๙๔/ตอนที่ ๙๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓/๑๙ ตุลาคม ๒๕๒๐ |
325820 | พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์ พ.ศ. 2519 | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์
พ.ศ. ๒๕๑๙
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๙
เป็นปีที่ ๓๑
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในพระองค์
และวางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ได้รับเงินเดือนการบรรจุ การแต่งตั้ง
การเลื่อนขั้นเงินเดือน วินัยและการรักษาวินัย การออกจากราชการ การร้องทุกข์
และการอุทธรณ์ของข้าราชการพลเรือนในพระองค์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
กับมาตรา ๒๓ (๒) และมาตรา ๑๐๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์
พ.ศ. ๒๕๑๙
มาตรา ๒[๑]
พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓
ในพระราชกฤษฎีกานี้ คำว่า อ.ก.พ. สำนัก หมายความว่า อ.ก.พ. สำนักพระราชวัง
หรือ อ.ก.พ. สำนักราชเลขาธิการ แล้วแต่กรณี
มาตรา ๔
ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ได้แก่ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสังกัดสำนักพระราชวังและสำนักราชเลขาธิการ
ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับงานในพระองค์พระมหากษัตริย์ดังต่อไปนี้ คือ
เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ หัวหน้าหมวด หัวหน้าแผนก หัวหน้ากอง ผู้อำนวยการกอง
ผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง ผู้ช่วยราชเลขาธิการ รองเลขาธิการพระราชวัง รองราชเลขาธิการ
เลขาธิการพระราชวัง ราชเลขาธิการ และที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตำแหน่งใดจะเทียบกับตำแหน่งดังกล่าวในวรรคหนึ่ง
ตำแหน่งใด ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด
ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในพระองค์จะมีในส่วนราชการใด
จำนวนเท่าใด ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด
มาตรา ๕
ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ให้ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่ง ดังต่อไปนี้
(๑) เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ หรือเทียบเท่า
ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ๑ ถึงระดับ ๒
(๒) หัวหน้าหมวด หรือเทียบเท่า ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ๓
(๓) หัวหน้าแผนก หรือเทียบเท่า ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ๔
ถึงระดับ ๕
(๔) หัวหน้ากอง หรือเทียบเท่า ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ๖
(๕) ผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่า ให้ได้รับเงินเดือนระดับ
๗ ถึงระดับ ๘
(๖) ผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง ผู้ช่วยราชเลขาธิการ หรือเทียบเท่าให้ได้รับเงินเดือนระดับ
๘ ถึงระดับ ๙
(๗) รองเลขาธิการพระราชวัง รองราชเลขาธิการ หรือเทียบเท่า
ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ๙ ถึงระดับ ๑๐
(๘) เลขาธิการพระราชวัง ราชเลขาธิการ
ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ๑๐ ถึงระดับ ๑๑
ทั้งนี้ ตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๑๘
มาตรา ๖
การให้ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งตามมาตรา ๕
ให้เป็นไปตามมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘
โดยอนุโลม
ในกรณีที่ตำแหน่งใดได้รับเงินเดือนหลายระดับ
เมื่อข้าราชการพลเรือนในพระองค์ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของระดับถัดไป
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ ตามมาตรา ๙
มีคำสั่งให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนในระดับถัดไปนั้น
มาตรา ๗
ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป
หรือได้รับการยกเว้น ในกรณีที่ขาดคุณสมบัติ ตามมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๑๘ และมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่ อ.ก.พ. สำนักกำหนดตามเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งเจ้าหน้าที่งานในพระองค์
หรือเทียบเท่าต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถตามที่ อ.ก.พ. สำนักเห็นสมควร
(๒) ตำแหน่งหัวหน้าหมวด หรือเทียบเท่า
ต้องเป็นผู้ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพเทียบได้ไม่ต่ำกว่าปริญญา
ในสาขาวิชาที่ อ.ก.พ. สำนักกำหนด
(๓) ตำแหน่งหัวหน้าแผนก หรือเทียบเท่า
ต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถตามที่ ก.พ กำหนด
มาตรา ๘
การบรรจุบุคคลเข้ารับข้าราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในพระองค์เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่หัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่าลงมา
ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่ง ซึ่ง อ.ก.พ.
สำนักคัดเลือกตามวิธีการที่ อ.ก.พ. สำนักกำหนด
มาตรา ๙
การบรรจุและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในพระองค์ให้ดำรงตำแหน่ง
ให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้เป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง
(๑)
นายกรัฐมนตรีในตำแหน่งบังคับบัญชาสำนักพระราชวังและสำนักราชเลขาธิการ
เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ และนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
สำหรับตำแหน่งตั้งแต่ผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่าขึ้นไป
(๒)
นายกรัฐมนตรีในตำแหน่งบังคับบัญชาสำนักพระราชวังและสำนักราชเลขาธิการ
เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง สำหรับตำแหน่งหัวหน้ากอง หรือเทียบเท่า โดยพระบรมราชานุมัติ
(๓) เลขาธิการพระราชวัง หรือราชเลขาธิการ แล้วแต่กรณี
เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
สำหรับตำแหน่งตั้งแต่หัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่าลงมา
มาตรา ๑๐
ผู้ใดได้รับบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดตามมาตรา ๘
ให้ผู้นั้นทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งนั้นตามมาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชกรพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๑๘ โดยอนุโลม เว้นแต่กำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้เป็นไปตามที่
อ.ก.พ. สำนักกำหนด
มาตรา ๑๑
ให้นำมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘
มาใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ โดยอนุโลม เว้นแต่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๔ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ให้เป็นอำนาจเลขาธิการพระราชวังหรือราชเลขาธิการ
แล้วแต่กรณี
มาตรา ๑๒
การเลื่อนข้าราชการพลเรือนในพระองค์ขึ้นเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น
ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ที่อยู่ในเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑)
การเลื่อนขึ้นเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าหมวดหรือเทียบเท่า ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ที่ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่งานในพระองค์หรือเทียบเท่า
มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าเจ็ดปี
กำหนดเวลาเจ็ดปีให้ลดเป็นสี่ปีสำหรับผู้ได้รับประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
และให้ลดเป็นสองปีสำหรับผู้ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
(๒)
การเลื่อนขึ้นเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่า ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ที่ได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าหมวดหรือเทียบเท่า
มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี
กำหนดเวลาสองปีให้ลดเป็นหนึ่งปีสำหรับผู้ได้รับปริญญาโทหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
(๓)
การเลื่อนขึ้นเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองหรือเทียบเท่า ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ที่ได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่า
มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่ปี
(๔)
การเลื่อนขึ้นเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่า ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ที่ได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองหรือเทียบเท่า
มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี
(๕) การเลื่อนขึ้นเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง
ผู้ช่วยเลขาธิการ หรือเทียบเท่า
ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ที่ได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากอง หรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี
หรือจากผู้ที่ได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่า มาแล้ว
(๖) การเลื่อนขึ้นเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพระราชวัง
รองราชเลขาธิการหรือเทียบเท่า
ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ที่ได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกอง ผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง
ผู้ช่วยราชเลขาธิการ หรือเทียบเท่า แล้วแต่กรณี มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
(๗) การเลื่อนขึ้นเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพระราชวัง
หรือราชเลขาธิการ
ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ที่ได้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพระราชวัง
รองราชเลขาธิการหรือเทียบเท่า แล้วแต่กรณี มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
การเลื่อนข้าราชการพลเรือนในพระองค์ขึ้นเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นตาม
(๑) (๒) และ (๓) ให้ อ.ก.พ. สำนักเป็นผู้พิจารณา แต่สำหรับ (๓) นั้น จะต้องได้รับพระบรมราชานุมัติ
การเลื่อนข้าราชการพลเรือนในพระองค์ขึ้นเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นตาม
(๔) (๕) และ (๖) ให้เลขาธิการพระราชวังหรือราชเลขาธิการ แล้วแต่กรณี เป็นผู้พิจารณาและให้นำความกราบบังคมทูล
เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุมัติ
การเลื่อนข้าราชการพลเรือนในพระองค์เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นตาม
(๗) ให้นายกรัฐมนตรีในตำแหน่งบังคับบัญชาสำนักพระราชวังและสำนักราชเลขาธิการนำความกราบบังคมทูล
เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุมัติ
มาตรา ๑๓
การออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ให้เป็นไปตามลักษณะ ๓
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ โดยอนุโลม เว้นแต่
(๑) การออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนในพระองค์
ตำแหน่งตั้งแต่ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไป
ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง
(๒) ความในมาตรา ๙๔ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘
มิให้นำมาใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือนในพระองค์
มาตรา ๑๔
ในกรณีที่ให้เป็นไปตามลักษณะ ๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๑๘ โดยอนุโลมนั้น บรรดาอำนาจหน้าที่ของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๔
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๙
มาตรา ๑๕
ให้นำบทบัญญัติในหมวด ๒ ว่าด้วยการบรรจุและการแต่งตั้งหมวด ๓
ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน หมวด ๔ ว่าด้วยวินัยและการรักษาวินัย หมวด ๕
ว่าด้วยการออกจากราชการ และหมวด ๖ ว่าด้วยการร้องทุกข์ ของลักษณะ ๓
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘
มาใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือนพระองค์ โดยอนุโลม เว้นแต่ที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้
มาตรา ๑๖
การกำหนดตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือน การบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน
วินัยและการรักษาวินัย และการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนในพระองค์ตามพระราชกฤษฎีกานี้
จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นพิเศษเฉพาะราย โดยมีนายกรัฐมนตรีในตำแหน่งบังคับบัญชาสำนักพระราชวังและสำนักราชเลขาธิการรับสนองพระบรมราชโองการก็ได้
มาตรา ๑๗
ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เพื่อกำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในพระองค์
และเพื่อวางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ได้รับเงินเดือน การบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน
วินัยและการรักษาวินัย การออกจากราชการ การร้องทุกข์และการอุทธรณ์ของข้าราชการพลเรือนในพระองค์
ตามนัยมาตรา ๒๓ (๒) และมาตรา ๑๐๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.
๒๕๑๘ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม
๙๓/ตอนที่ ๒๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙ |
317217 | พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2533 | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ.๒๕๓๓
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๓
เป็นปีที่ ๔๕
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กับมาตรา ๒๓ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๒๓ และมาตรา ๑๐๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๓
มาตรา ๒[๑]
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓
ให้ยกเลิกความใน (๔) ของมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์
พ.ศ.๒๕๑๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๔) หัวหน้ากองหรือเทียบเท่า ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ๖
ระดับ ๖ ถึงระดับ ๗ หรือระดับ ๗ ตามที่ ก.พ. กำหนด
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พงส์ สารสิน
รองนายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์ พ.ศ. ๒๕๑๙
ได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ได้รับเงินเดือนของตำแหน่งหัวหน้ากองหรือเทียบเท่าไว้ไม่เหมาะสมกับปริมาณและคุณภาพของงานของตำแหน่งที่หัวหน้ากองหรือเทียบเท่าปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน
สมควรแก้ไขหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ได้รับเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในพระองค์
ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองหรือเทียบเท่า ให้ได้รับเงินเดือนในมาตรฐานเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญในส่วนราชการอื่น
ๆ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๑๑๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๔/๖ กรกฎาคม ๒๕๓๓ |
317578 | พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์ พ.ศ. 2519 | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์
พ.ศ. ๒๕๑๙[๑]
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๕
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๙
เป็นปีที่ ๓๑
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์
และวางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ได้รับเงินเดือน การบรรจุ การแต่งตั้ง
การเลื่อนขั้นเงินเดือน วินัยและการรักษาวินัย การออกจากราชการ การร้องทุกข์
และการอุทธรณ์ของข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์ เป็นอย่างอื่น ตามที่กระทรวงคมนาคมได้ทำความตกลงกับ
ก.พ. แล้ว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙๒
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กับมาตรา ๒๓ (๓) และมาตรา ๑๐๙
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์
พ.ศ. ๒๕๑๙
มาตรา ๒
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๙
เป็นต้นไป
มาตรา ๓
ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์ ได้แก่ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสังกัดกรมไปรษณีย์โทรเลข
กระทรวงคมนาคม ดังต่อไปนี้ เสมียนพนักงาน ประจำแผนก หัวหน้าแผนก หัวหน้ากอง
ผู้อำนวยการกอง รองอธิบดี อธิบดี และที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.พ. กำหนด
ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตำแหน่งใดจะเทียบกับตำแหน่งดังกล่าวในวรรคหนึ่ง
ตำแหน่งใด ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด
มาตรา ๔
ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์
ตามมาตรา ๓ จะมีส่วนราชการใด จำนวนเท่าใด และจะบังคับบัญชาข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์ในส่วนราชการหรือหน่วยงานใด
ในฐานะใด ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด
มาตรา ๕
การให้ได้รับเงินเดือนและการบรรจุของข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๔๙๗ กฎ ก.พ. และระเบียบที่ออกตามพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยอนุโลม
มาตรา ๖
การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน วินัยและการรักษาวินัย การออกจากราชการ
การร้องทุกข์ และการอุทธรณ์ ของข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์ ให้เป็นไปตามลักษณะ ๓
แห่งพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ โดยอนุโลม
มาตรา ๗
ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์
และวางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ได้รับเงินเดือน การบรรจุ การแต่งตั้ง
การเลื่อนขั้นเงินเดือน วินัยและการรักษาวินัย การออกจากราชการ การร้องทุกข์
และการอุทธรณ์ ของข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์ เป็นอย่างอื่น ตามที่กระทรวงคมนาคมได้ทำความตกลงกับ
ก.พ. แล้ว
จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม
๙๓/ตอนที่ ๒๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙ |
562065 | กฎ ก.พ. ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ว่าด้วยการสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน (ฉบับ Update ล่าสุด) | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๓๘)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕
ว่าด้วยการสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) และมาตรา ๑๐๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ก.พ. จึงออกกฎ ก.พ.
ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒
การสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณา
ระยะเวลาให้พักราชการและให้ออกจากราชการไว้ก่อน และการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามผลการสอบสวนพิจารณาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ
ก.พ. นี้
ข้อ ๓
เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน
หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท
หรือความผิดลหุโทษ ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสาม วรรคสี่ หรือวรรคห้า มาตรา ๑๐๔
วรรคสาม หรือมาตรา ๑๐๙ วรรคสาม แล้วแต่กรณี จะสั่งให้ผู้นั้นพักราชการได้ก็ต่อเมื่อมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด
ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้นั้นถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือถูกฟ้องคดีอาญา
หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา ในเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ
หรือเกี่ยวกับความประพฤติหรือพฤติการณ์อันไม่น่าไว้วางใจ
และผู้ที่ถูกฟ้องนั้นพนักงานอัยการมิได้รับเป็นทนายแก้ต่างให้ และผู้มีอำนาจดังกล่าวพิจารณาเห็นว่าถ้าให้ผู้นั้นคงอยู่ในหน้าที่ราชการอาจเกิดการเสียหายแก่ราชการ
(๒)
ผู้นั้นมีพฤติการณ์ที่แสดงว่าถ้าคงอยู่ในหน้าที่ราชการจะเป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนพิจารณา
หรือจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้น
(๓) ผู้นั้นอยู่ในระหว่างถูกควบคุมหรือขังโดยเป็นผู้ถูกจับในคดีอาญาหรือต้องจำคุกโดยคำพิพากษา
และได้ถูกควบคุม ขัง หรือต้องจำคุก เป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่าสิบห้าวันแล้ว
(๔)
ผู้นั้นถูกตั้งกรรมการสอบสวนและต่อมามีคำพิพากษาถึงที่สุด ว่าเป็นผู้กระทำความผิดอาญาในเรื่องที่สอบสวนนั้น
หรือผู้นั้นถูกตั้งกรรมการสอบสวนภายหลังที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำความผิดอาญาในเรื่องที่สอบสวนนั้น
และผู้มีอำนาจดังกล่าวพิจารณาเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำพิพากษาถึงที่สุดนั้น
ได้ความประจักษ์ชัดอยู่แล้วว่าการกระทำความผิดอาญาของผู้นั้นเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ข้อ ๔[๒]
การสั่งพักราชการให้สั่งพักตลอดเวลาที่สอบสวนพิจารณา
เว้นแต่ผู้ถูกสั่งพักราชการผู้ใดได้ร้องทุกข์ตามมาตรา ๑๓๐
และผู้มีอำนาจพิจารณาคำร้องทุกข์เห็นว่าสมควรสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนการสอบสวนพิจารณาเสร็จสิ้น
เนื่องจากพฤติการณ์ของผู้ถูกสั่งพักราชการไม่เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนพิจารณา
และไม่ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยต่อไป
หรือเนื่องจากการสอบสวนทางวินัยไม่สามารถดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่เหมาะสม
ซึ่งไม่ควรเกินหนึ่งปีนับแต่วันพักราชการ ผู้มีอำนาจสั่งพักราชการอาจสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนการสอบสวนพิจารณาเสร็จสิ้นได้
ข้อ ๕
ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวนหลายสำนวน
หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาหลายคดี
เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ หรือผู้ที่ถูกฟ้องนั้น
พนักงานอัยการรับเป็นทนายแก้ต่างให้ ถ้าจะสั่งพักราชการให้สั่งพักทุกสำนวนและทุกคดี
ในกรณีที่ได้สั่งพักราชการในสำนวนใดหรือคดีใดไว้แล้ว
ภายหลังปรากฏว่าผู้ถูกสั่งพักราชการนั้นมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวนในสำนวนอื่น
หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาในคดีอื่นเพิ่มขึ้นอีก เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท
หรือความผิดลหุโทษ หรือผู้ที่ถูกฟ้องนั้นพนักงานอัยการรับเป็นทนายแก้ต่างให้
ก็ให้สั่งพักราชการในสำนวนหรือคดีอื่นที่เพิ่มขึ้นนั้นด้วย
ข้อ ๖
การสั่งพักราชการ ห้ามมิให้สั่งพักย้อนหลังไปก่อนวันออกคำสั่งเว้นแต่
(๑)
ผู้ซึ่งจะถูกสั่งพักราชการอยู่ในระหว่างถูกควบคุมหรือขังโดยเป็นผู้ถูกจับในคดีอาญา
หรือต้องจำคุกโดยคำพิพากษา การสั่งพักราชการในเรื่องนั้นให้สั่งพักย้อนหลังไปถึงวันที่ถูกควบคุม
ขัง หรือต้องจำคุก
(๒)
ในกรณีที่ได้มีการสั่งพักราชการไว้แล้วถ้าจะต้องสั่งใหม่เพราะคำสั่งเดิมไม่ชอบหรือไม่ถูกต้อง
ให้สั่งพักตั้งแต่วันให้พักราชการตามคำสั่งเดิม หรือตามวันที่ควรต้องพักราชการในขณะที่ออกคำสั่งเดิม
ข้อ ๗
คำสั่งพักราชการต้องระบุชื่อและตำแหน่งของผู้ถูกสั่งพัก ตลอดจนกรณีและเหตุที่สั่งให้พักราชการ
เมื่อได้มีคำสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดพักราชการแล้ว
ให้แจ้งคำสั่งให้ผู้นั้นทราบพร้อมทั้งส่งสำเนาคำสั่งให้ด้วยโดยพลัน
ในกรณีที่ไม่อาจแจ้งให้ผู้นั้นทราบได้ หรือผู้นั้นไม่ยอมรับทราบคำสั่ง
ให้ปิดสำเนาคำสั่งไว้ ณ ที่ทำการที่ผู้นั้นรับราชการอยู่และมีหนังสือแจ้งพร้อมกับส่งสำเนาคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปให้ผู้นั้น
ณ ที่อยู่ของผู้นั้นซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ
ในกรณีเช่นนี้เมื่อล่วงพ้นสิบวันนับแต่วันที่ได้ดำเนินการดังกล่าว
ให้ถือว่าผู้นั้นได้ทราบคำสั่งพักราชการแล้ว
ข้อ ๘
เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีเหตุที่อาจถูกสั่งพักราชการตามข้อ ๓ และผู้มีอำนาจตามมาตรา
๑๐๒ วรรคสาม วรรคสี่ หรือวรรคห้า มาตรา ๑๐๔ วรรคสาม หรือมาตรา ๑๐๙ วรรคสาม
แล้วแต่กรณี พิจารณาเห็นว่าการสอบสวนพิจารณา หรือการพิจารณาคดีที่เป็นเหตุที่อาจถูกสั่งพักราชการนั้นจะไม่แล้วเสร็จโดยเร็ว
ผู้มีอำนาจดังกล่าวจะสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการไว้ก่อนก็ได้
ให้นำข้อ ๔ ข้อ ๕ และข้อ ๗
มาใช้บังคับแก่การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนโดยอนุโลม
ข้อ ๙ เมื่อได้สั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดพักราชการไว้แล้ว
ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสาม วรรคสี่ หรือวรรคห้า มาตรา ๑๐๔ วรรคสาม หรือมาตรา
๑๐๙ วรรคสาม แล้วแต่กรณี จะพิจารณาตามข้อ ๘
และสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการไว้ก่อนอีกชั้นหนึ่งก็ได้
ข้อ ๑๐
การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน จะสั่งให้ออกตั้งแต่วันใด ให้นำข้อ ๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
แต่สำหรับการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนในกรณีตามข้อ ๙ ให้สั่งให้ออกตั้งแต่วันพักราชการเป็นต้นไป
ข้อ ๑๑
การสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๑๐ ขึ้นไป ออกจากราชการไว้ก่อน
ให้ดำเนินการนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่งนับแต่วันออกจากราชการไว้ก่อน
ข้อ ๑๒
เมื่อได้สั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณา
ถ้าภายหลังปรากฏผลการสอบสวนพิจารณาเป็นประการใดแล้วให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ก็ให้สั่งลงโทษให้เป็นไปตามมาตรา ๑๐๔ หรือมาตรา ๑๓๘ แล้วแต่กรณี
(๒)
ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ถูกสั่งพักราชการนั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง และไม่มีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการ
ก็ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งเดิม
หรือตำแหน่งในระดับเดียวกันที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น ทั้งนี้
สำหรับการสั่งให้ผู้ถูกสั่งพักราชการกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งในระดับเดียวกันที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น
ซึ่งเป็นตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๑๐ ขึ้นไป
ให้ดำเนินการนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งแล้วดำเนินการตามมาตรา
๑๐๓ หรือมาตรา ๑๓๘ แล้วแต่กรณี
(๓) ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนนั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
และไม่มีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการ
ก็ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งในระดับเดียวกันที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น ทั้งนี้
สำหรับการสั่งให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิม
หรือตำแหน่งในระดับเดียวกันที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น
ซึ่งเป็นตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๑๐ ขึ้นไป
ให้ดำเนินการนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งแล้วดำเนินการตามมาตรา ๑๐๓ หรือมาตรา ๑๓๘ แล้วแต่กรณี
(๔)
ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ถูกสั่งพักราชการนั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง และไม่มีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น
แต่ไม่อาจสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการได้เนื่องจากมีอายุครบหกสิบปีบริบูณ์และได้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้ว
ก็ให้ดำเนินการตามมาตรา ๑๐๓ หรือมาตรา ๑๓๘ แล้วแต่กรณี โดยไม่ต้องสั่งให้กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ
การดำเนินการตามมาตรา ๑๐๓ หรือมาตรา ๑๓๘
ในกรณีที่จะสั่งลงโทษตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือน การสั่งลงโทษดังกล่าวให้สั่งย้อนหลังไปถึงวันสุดท้ายก่อนวันพ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(๕)
ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนนั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
และไม่มีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่นแต่ไม่อาจสั่งให้กลับเข้ารับราชการได้เนื่องจากมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์และสิ้นปีงบประมาณที่มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์นั้นแล้ว
ก็ให้ดำเนินการตามมาตรา ๑๐๓ หรือมาตรา ๑๓๘ แล้วแต่กรณี และมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อให้ผู้นั้นเป็นผู้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
และให้นำ (๔) วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(๖) ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
แต่มีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น ก็ให้ดำเนินการตามมาตรา ๑๐๓
หรือมาตรา ๑๓๘ แล้วแต่กรณี แล้วสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามเหตุนั้นโดยไม่ต้องสั่งให้กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือกลับเข้ารับราชการ
และให้นำ (๔) วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(๗) ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิดวินัย
และไม่มีกรณีที่จะต้องออกจากราชการ ก็ให้สั่งยุติเรื่อง
และให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือกลับเข้ารับราชการตาม (๒) หรือ (๓)
แล้วแต่กรณี
(๘)
ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ถูกสั่งพักราชการนั้นมิได้กระทำผิดวินัยและไม่มีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น
แต่ไม่อาจสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการได้เนื่องจากมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์และได้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้ว
ก็ให้สั่งยุติเรื่อง
(๙)
ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนนั้นมิได้กระทำผิดวินัยและไม่มีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น
แต่ไม่อาจสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการได้เนื่องจากมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์และสิ้นปีงบประมาณที่มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์นั้นแล้ว
ก็ให้สั่งยุติเรื่องและมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อให้ผู้นั้นเป็นผู้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(๑๐) ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิดวินัย
แต่มีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น
ก็ให้สั่งให้ออกจากราชการตามเหตุนั้นโดยไม่ต้องสั่งให้กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือกลับเข้ารับราชการ
ข้อ ๑๓
การออกคำสั่งพักราชการ คำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน หรือคำสั่งให้กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือกลับเข้ารับราชการ
ให้มีสาระสำคัญตามแบบ พอก. ๑ พอก. ๒ พอก. ๓ หรือ พอก. ๔ แล้วแต่กรณี ท้ายกฎ ก.พ.
นี้
ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๘
บรรหาร ศิลปอาชา
นายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แบบ พอก. ๑
๒. แบบ พอก. ๒
๓. แบบ พอก. ๓
๔. แบบ พอก. ๔
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๑๐๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ บัญญัติว่า
การสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ ก.พ. ฉบับที่ ๒๙ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่าด้วยการสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน[๓]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ
โดยที่การสั่งให้ข้าราชการพักราชการและการสั่งให้ข้าราชการออกจากราชการไว้ก่อนเป็นเวลานาน
อาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกสอบสวนทางวินัยสมควรให้สั่งให้ผู้ถูกสั่งพักราชการและผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนการสอบสวนพิจารณาเสร็จสิ้นได้
เมื่อผู้ถูกสั่งพักราชการและผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนร้องทุกข์
และผู้มีอำนาจพิจารณาคำร้องทุกข์เห็นว่าการสอบสวนทางวินัยไม่สามารถดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่เหมาะสมซึ่งไม่ควรเกินหนึ่งปีนับแต่วันพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อน จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๕๒ ก/หน้า ๑๐/๒๐ ธันวาคม ๒๕๓๘
[๒] ข้อ ๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ. ฉบับที่ ๒๙ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่าด้วยการสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
[๓]
ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๒๒ ก/หน้า ๒๒/๒๒ ธันวาคม ๒๕๔๘ |
304179 | พระราชกฤษฎีกา กำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาชีพเฉพาะและประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ พ.ศ. 2535 | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
กำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาชีพเฉพาะ
และประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ
พ.ศ. ๒๕๓๕[๑]
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙
กันยายน พ.ศ.๒๕๓๕
เป็นปีที่ ๔๗
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาชีพเฉพาะ
และประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา
๓๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๓๕ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดตำแหน่ง ข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาชีพเฉพาะและประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ
พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๒
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นไป
มาตรา ๓
ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ ได้แก่ ตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๘ ขึ้นไป ดัง ต่อไปนี้
ก.
ตำแหน่งที่มีลักษณะงานวิชาชีพซึ่งต้องปฏิบัติโดยผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาที่ไม่อาจมอบหมายให้ผู้มีคุณวุฒิอย่างอื่นปฏิบัติงานแทนได้
และเป็นงานที่มีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างเห็นได้ชัด
โดยมีองค์กรตามกฎหมายทำหน้าที่ตรวจสอบกลั่นกรองและรับรองการประกอบวิชาชีพ
รวมทั้งลงโทษผู้กระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพดังกล่าว
ซึ่งได้แก่ตำแหน่งที่ปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพเฉพาะ ดังต่อไปนี้
(๑) วิชาชีพเฉพาะกายภาพบำบัด
(๒) วิชาชีพเฉพาะการทันตแพทย์
(๓) วิชาชีพเฉพาะการพยาบาล
(๔) วิชาชีพเฉพาะการแพทย์
(๕) วิชาชีพเฉพาะการสัตวแพทย์
(๖) วิชาชีพเฉพาะเภสัชกรรม
(๗) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมเครื่องกล
(๘) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมไฟฟ้า
(๙) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร
(๑๐) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมโยธา
(๑๑) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมเหมืองแร่
(๑๒) วิชาชีพเฉพาะสถาปัตยกรรม
(๑๓) วิชาชีพเฉพาะอื่นที่ ก.พ.
กำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
ข.
ตำแหน่งที่มีลักษณะงานวิชาชีพซึ่งต้องปฏิบัติโดยผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาที่ไม่อาจมอบหมายให้ผู้มีคุณวุฒิอย่างอื่นปฏิบัติงานแทนได้
และเป็นงานที่มีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างเห็นได้ชัด
อีกทั้งเป็นงานที่ขาดแคลนกำลังคนในภาคราชการ
ซึ่งได้แก่ตำแหน่งที่ปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพเฉพาะ ดังต่อไปนี้
(๑) วิชาชีพเฉพาะรังสีการแพทย์
(๒) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมชลประทาน
(๓) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมนิวเคลียร์
(๔) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมปิโตรเลียม
(๕) วิชาชีพเฉพาะอื่นที่ ก.พ.
กำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
ค.
ตำแหน่งที่มีลักษณะงานวิชาชีพซึ่งต้องปฏิบัติโดยผู้สำเร็จการศึกษาใน
ระดับปริญญาที่ไม่อาจมอบหมายให้ผู้มีคุณวุฒิอย่างอื่นปฏิบัติงานแทนได้
และเป็นงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งมีลักษณะในเชิงวิจัยและพัฒนา
อีกทั้งเป็นงานที่ขาดแคลนกำลังคนในภาคราชการ
ซึ่งได้แก่ตำแหน่งที่ปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพเฉพาะดังต่อไปนี้
(๑) วิชาชีพเฉพาะวิทยาการคอมพิวเตอร์
(๒) วิชาชีพเฉพาะอื่นที่ ก.พ.
กำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๔
ตำแหน่งประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ ได้แก่ ตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๙ ขึ้นไป ซึ่งต้องปฏิบัติงานที่เป็นงานหลักของหน่วยงาน
โดยอาศัยพื้นฐานของความรู้ ประสบการณ์ การฝึกฝน
ทฤษฎีหรือหลักวิชาอันเกี่ยวข้องกับงาน และเป็นงานเชิงพัฒนาระบบหรือมาตรฐานของงาน งานอนุรักษ์
ตามภารกิจ หรืองานที่ต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถ หรือประสบการณ์เป็นอย่างสูงเฉพาะด้าน
อันเป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการหรือวงการด้านนั้น ๆ ซึ่งได้แก่
ตำแหน่งที่ปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ดังต่อไปนี้
(๑) ด้านการข่าว
(๒) ด้านการผังเมือง
(๓) ด้านการฝึกอบรม
(๔) ด้านการสืบสวนสอบสวน
(๕) ด้านกีฏวิทยา
(๖) ด้านช่างศิลปกรรม
(๗) ด้านตรวจสอบบัญชี
(๘) ด้านนิติการ
(๙) ด้านโบราณคดี
(๑๐) ด้านประเมินอากร
(๑๑) ด้านวิเคราะห์งบประมาณ
(๑๒) ด้านวิเคราะห์งานทะเบียนการค้า
(๑๓) ด้านวิเคราะห์งานบุคคล
(๑๔) ด้านวิเคราะห์นโยบายและแผน
(๑๕) ด้านวิจัยสังคมศาสตร์
(๑๖) ด้านวิชาการกษาปณ์
(๑๗) ด้านวิชาการเกษตร
(๑๘) ด้านวิชาการขนส่ง
(๑๙) ด้านวิชาการคลัง
(๒๐) ด้านวิชาการควบคุมโรค
(๒๑) ด้านวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน
(๒๒) ด้านวิชาการตรวจสอบบัญชี
(๒๓) ด้านวิชาการตรวจสอบภาษี
(๒๔) ด้านวิชาการทัณฑวิทยา
(๒๕) ด้านวิชาการธรณีวิทยา
(๒๖) ด้านวิชาการบัญชี
(๒๗) ด้านวิชาการประกันภัย
(๒๘) ด้านวิชาการประชาสัมพันธ์
(๒๙) ด้านวิชาการประมง
(๓๐) ด้านวิชาการประมงทะเล
(๓๑) ด้านวิชาการป่าไม้
(๓๒) ด้านวิชาการผลิตภัณฑ์อาหาร
(๓๓) ด้านวิชาการพัฒนาชุมชน
(๓๔) ด้านวิชาการพาณิชย์
(๓๕) ด้านวิชาการภาษี
(๓๖) ด้านวิชาการมาตรฐาน
(๓๗) ด้านวิชาการมาตรฐานสินค้า
(๓๘) ด้านวิชาการแรงงาน
(๓๙) ด้านวิชาการโรคพืช
(๔๐) ด้านวิชาการละครและดนตรี
(๔๑) ด้านวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์
(๔๒) ด้านวิชาการศึกษา
(๔๓) ด้านวิชาการเศรษฐกิจ
(๔๔) ด้านวิชาการสหกรณ์
(๔๕) ด้านวิชาการสอบ
(๔๖) ด้านวิชาการสถิติ
(๔๗) ด้านวิชาการสัตวบาล
(๔๘) ด้านวิชาการสาธารณสุข
(๔๙) ด้านวิชาการสิ่งแวดล้อม
(๕๐) ด้านวิชาการสุขศึกษา
(๕๑) ด้านวิชาการสุขาภิบาล
(๕๒) ด้านวิชาการอาหารและยา
(๕๓) ด้านวิทยาศาสตร์
(๕๔) ด้านวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์
(๕๕) ด้านวิเทศสหการ
(๕๖) ด้านวิศวกรรม
(๕๗) ด้านส่งเสริมและการสอนการพลศึกษา
(๕๘) ด้านสังคมสงเคราะห์
(๕๙) ด้านสัตววิทยา
(๖๐) ด้านสถิติเศรษฐสังคม
(๖๑) ด้านสำรวจดิน
(๖๒) ด้านอักษรศาสตร์
(๖๓) ด้านอุตุนิยมวิทยา
(๖๔) ด้านอื่นที่ ก.พ.
กำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๕
ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
อานันท์ ปันยารชุน
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ บัญญัติให้ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมี ๓ ประเภท ได้แก่
ตำแหน่งประเภททั่วไป ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะและตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือบริหารระดับกลางตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาและโดยที่มาตรา
๔๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
บัญญัติให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
ซึ่งออกตามมาตรา ๓๙ ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ
หรือเชี่ยวชาญเฉพาะตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือนท้ายพระราชบัญญัติดัง
กล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๐๐/หน้า ๗/๒๓ กันยายน ๒๕๓๕ |
689597 | กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 | กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
แบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
สำนักนายกรัฐมนตรี
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๖[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ ฉ
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๔๓ นายกรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๕/๑
แห่งกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักนายกรัฐมนตรี
พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ ๕/๑
ในสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ให้มีศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต
เพื่อทำหน้าที่หลักในการบูรณาการและขับเคลื่อนแผนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและการส่งเสริมคุ้มครองจริยธรรมในสำนักงาน
ก.พ. รับผิดชอบงานขึ้นตรงต่อเลขาธิการ ก.พ. โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) เสนอแนะแก่เลขาธิการ ก.พ. เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของสำนักงาน
ก.พ.
รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
มาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ และนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง
เสนอต่อเลขาธิการ ก.พ.
(๒) ประสานงาน เร่งรัด และกำกับให้ส่วนราชการในสำนักงาน ก.พ.
ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการ
(๓) รับข้อร้องเรียนเรื่องการทุจริต
การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ในสำนักงาน ก.พ.
และส่งต่อไปยังส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๔) คุ้มครองจริยธรรมตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน
(๕) ประสานงาน เร่งรัด และติดตามเกี่ยวกับการดำเนินการตาม (๓) และ
(๔) และร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบกับส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๖) ติดตาม ประเมินผล
และจัดทำรายงานการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของสำนักงาน ก.พ.
และการคุ้มครองจริยธรรม เสนอต่อเลขาธิการ ก.พ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๗) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
ให้ไว้
ณ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้มีศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตขึ้นในสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
สำนักนายกรัฐมนตรี
เพื่อทำหน้าที่ในการบูรณาการและขับเคลื่อนแผนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและการส่งเสริมคุ้มครองจริยธรรม
อันจะทำให้การปฏิบัติราชการมีความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๖ กรกฎาคม
๒๕๕๖
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๒ สิงหาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๖๕ ก/หน้า ๒๐/๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖ |
690423 | กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2552 (ฉบับ Update ล่าสุด) | กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
แบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
สำนักนายกรัฐมนตรี
พ.ศ. ๒๕๕๒[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ ฉ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๔๓ นายกรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๒
ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน มีภารกิจเกี่ยวกับการเสนอแนะนโยบาย
ให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีตลอดจนส่วนราชการในการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ
เป็นหน่วยงานประเมินผลการบริหารงานของส่วนราชการ
รวมทั้งเป็นองค์กรกลางในการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ทั้งนี้
เพื่อให้ภาครัฐมีกำลังคนที่มีประสิทธิภาพและทำงานให้มุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานในหน้าที่ของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม
และดำเนินการตามที่ ก.พ. หรือ ก.พ.ค. มอบหมาย
(๒)
เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่กระทรวง ทบวง กรม เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ
และแนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ
(๓)
พัฒนา ส่งเสริม วิเคราะห์ และวิจัยเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ระบบ หลักเกณฑ์
วิธีการ และมาตรฐานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน
(๔)
ติดตามและประเมินผลการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน
(๕)
ดำเนินการเกี่ยวกับแผนกำลังคนของข้าราชการพลเรือน
(๖)
เป็นศูนย์กลางข้อมูลทรัพยากรบุคคลภาครัฐ
(๗)
จัดทำยุทธศาสตร์
ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือน
(๘)
ส่งเสริม ประสานงาน เผยแพร่ ให้คำปรึกษาแนะนำ
และดำเนินการเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการและการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตสำหรับทรัพยากรบุคคลภาครัฐ
(๙)
ดำเนินการเกี่ยวกับทุนเล่าเรียนหลวงและทุนของรัฐบาลตามนโยบายและระเบียบที่ ก.พ.
กำหนด ให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือน
ตลอดจนจัดสรรผู้รับทุนที่สำเร็จการศึกษาแล้วเข้ารับราชการในกระทรวง ทบวง กรม
หรือหน่วยงานของรัฐ
(๑๐)
ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการการศึกษา การควบคุมดูแล
และการให้ความช่วยเหลือบุคลากรภาครัฐและนักเรียนทุนที่อยู่ในความดูแลของ ก.พ.
ตลอดจนการเก็บเงินชดเชยค่าใช้จ่ายในการดูแลจัดการการศึกษาตามข้อบังคับหรือระเบียบที่
ก.พ. กำหนด
(๑๑)
ดำเนินการเกี่ยวกับการรับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ
หรือคุณวุฒิอย่างอื่นเพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือน
และการกำหนดอัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทน
รวมทั้งระดับตำแหน่งและประเภทตำแหน่งสำหรับคุณวุฒิดังกล่าว
(๑๒)
ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาทะเบียนประวัติและการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการพลเรือน
(๑๓)
จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการพลเรือนเสนอต่อ ก.พ.
และคณะรัฐมนตรี
(๑๔)
ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน ก.พ.
หรือตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือ ก.พ. มอบหมาย
ข้อ ๓
ให้แบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขาธิการ
(๒)
ศูนย์จัดการศึกษาในต่างประเทศและบริหารความรู้
(๓)
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(๔)
ศูนย์นักบริหารระดับสูง
(๕)
ศูนย์สรรหาและเลือกสรร
(๖)
สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน
(๗)
สำนักกฎหมาย
(๘)
สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนในต่างประเทศ
(๙)
สำนักตรวจสอบและประเมินผลกำลังคน
(๑๐)
สำนักพัฒนาระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทน
(๑๑)
สำนักพิทักษ์ระบบคุณธรรม
(๑๒)
สำนักมาตรฐานวินัย
(๑๓)
สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล
ข้อ ๔
ในสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ให้มีกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
เพื่อทำหน้าที่หลักในการพัฒนาการบริหารของสำนักงาน ก.พ. ให้เกิดผลสัมฤทธิ์
มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่า รับผิดชอบงานขึ้นตรงต่อเลขาธิการ ก.พ. โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
เสนอแนะให้คำปรึกษาแก่เลขาธิการ ก.พ.
เกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการภายในสำนักงาน ก.พ.
(๒)
ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการในสำนักงาน ก.พ.
(๓)
ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการร่วมกับหน่วยงานกลางต่าง ๆ
และหน่วยงานภายในสำนักงาน ก.พ.
(๔)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๕
ในสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ให้มีกลุ่มตรวจสอบภายใน
เพื่อทำหน้าที่หลักในการตรวจสอบการดำเนินงานภายในสำนักงาน ก.พ.
และสนับสนุนการปฏิบัติงานของสำนักงาน ก.พ. รับผิดชอบงานขึ้นตรงต่อเลขาธิการ ก.พ.
โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และการบัญชี ของสำนักงาน ก.พ.
(๒)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๕/๑[๒] ในสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
ให้มีศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต
เพื่อทำหน้าที่หลักในการบูรณาการและขับเคลื่อนแผนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและการส่งเสริมคุ้มครองจริยธรรมในสำนักงาน
ก.พ. รับผิดชอบงานขึ้นตรงต่อเลขาธิการ ก.พ. โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) เสนอแนะแก่เลขาธิการ ก.พ.
เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของสำนักงาน ก.พ.
รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
มาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ และนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง
เสนอต่อเลขาธิการ ก.พ.
(๒) ประสานงาน เร่งรัด และกำกับให้ส่วนราชการในสำนักงาน ก.พ.
ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการ
(๓) รับข้อร้องเรียนเรื่องการทุจริต
การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ในสำนักงาน ก.พ.
และส่งต่อไปยังส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๔) คุ้มครองจริยธรรมตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน
(๕) ประสานงาน เร่งรัด และติดตามเกี่ยวกับการดำเนินการตาม (๓) และ
(๔)
และร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบกับส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๖) ติดตาม ประเมินผล
และจัดทำรายงานการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของสำนักงาน ก.พ.
และการคุ้มครองจริยธรรม เสนอต่อเลขาธิการ ก.พ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๗)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๖
สำนักงานเลขาธิการ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
ปฏิบัติงานสารบรรณของสำนักงาน ก.พ.
(๒)
ดำเนินการเกี่ยวกับงานโรงพิมพ์ งานห้องสมุด งานรักษาความปลอดภัย
และงานประสานและอำนวยการในพิธีการต่าง ๆ
(๓)
ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การงบประมาณ การพัสดุ อาคารสถานที่
และยานพาหนะ
(๔)
จัดระบบงานและบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงาน ก.พ.
(๕)
ดำเนินการประสานสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และเสริมสร้างให้ประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติงานของสำนักงาน
ก.พ.
(๖)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๗
ศูนย์จัดการศึกษาในต่างประเทศและบริหารความรู้ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
ศึกษา วิเคราะห์
และพัฒนาระบบการดูแลและการจัดการการศึกษาของนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง
นักเรียนทุนของรัฐบาล นักเรียนทุนอื่น ๆ และบุคลากรภาครัฐ
(๒)
ดูแลและจัดการการศึกษาให้แก่นักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง นักเรียนทุนของรัฐบาล
นักเรียนทุนอื่น ๆ และบุคลากรภาครัฐที่ลาศึกษาหรือฝึกอบรมในต่างประเทศ
(๓)
ดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน
และติดตามผลการศึกษาของนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง นักเรียนทุนของรัฐบาล
นักเรียนทุนอื่น ๆ และบุคลากรภาครัฐที่ลาศึกษาหรือฝึกอบรมในต่างประเทศ
(๔)
ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับระบบการศึกษาในต่างประเทศ
และเป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการศึกษาในต่างประเทศ
(๕)
เป็นศูนย์รวมข้อมูลกำลังคนภาครัฐซึ่งกำลังศึกษาในสาขาวิชาต่าง ๆ ในต่างประเทศ
(๖)
เป็นศูนย์รวบรวมองค์ความรู้ของนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง นักเรียนทุนของรัฐบาล
นักเรียนทุนอื่น ๆ และบุคลากรภาครัฐที่ลาศึกษาหรือฝึกอบรมในต่างประเทศ
(๗)
ส่งเสริม สนับสนุน
และประสานงานกับภาคเอกชนและส่วนราชการของต่างประเทศในการจัดระบบการดูแลและการจัดการการศึกษา
การแนะแนวการศึกษา
และการป้องปรามการแสวงหาประโยชน์ในการดูแลและการจัดการการศึกษาของหน่วยงานเอกชน
(๘)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๘
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
ศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารกำลังคนภาครัฐ
(๒)
ส่งเสริม ประสานงาน เผยแพร่ และให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการพัฒนาระบบสารสนเทศและการบริหารข้อมูลกำลังคนภาครัฐ
(๓)
ดำเนินการเกี่ยวกับการวางระบบหรือพัฒนาระบบข้อมูลและประมวลผลข้อมูลและข้อสนเทศต่าง
ๆ
(๔)
ดำเนินการเกี่ยวกับการวางระบบหรือพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
(๕)
ดำเนินการเกี่ยวกับการเผยแพร่ การให้บริการข้อมูลและข้อสนเทศต่าง ๆ
รวมทั้งการให้คำปรึกษาแนะนำ
หรือฝึกอบรมการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
(๖)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๙
ศูนย์นักบริหารระดับสูง มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
ศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนาระบบการกำหนดตำแหน่งและค่าตอบแทนของนักบริหารระดับสูง
(๒)
ดำเนินการประเมินสมรรถนะ จัดทำข้อมูลกำลังคน และบริหารบัญชี
(๓)
ดำเนินการเกี่ยวกับการประเมินผลงานทางวิชาการของตำแหน่งระดับสูง
(๔)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๐
ศูนย์สรรหาและเลือกสรร มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
พัฒนาและกำหนดนโยบาย ระบบ และรูปแบบการสรรหาและเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการ
(๒)
ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ส่วนราชการเกี่ยวกับการดำเนินการสรรหาและเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการ
(๓)
ดำเนินการเกี่ยวกับการสร้างและพัฒนาเครื่องมือการสรรหาและการสอบรวมทั้งการเป็นศูนย์กลางในการประสานการสรรหาบุคคลเข้ารับราชการในส่วนราชการและวิสาหกิจ
(๔)
ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดสรรทุนของรัฐบาล และการสอบแข่งขัน
หรือคัดเลือกบุคคลเพื่อรับทุนเล่าเรียนหลวงและทุนของรัฐบาล
(๕)
จัดทำมาตรฐาน หลักเกณฑ์ แนวทาง
และการพิจารณารับรองคุณวุฒิเพื่อการบรรจุและแต่งตั้ง
(๖)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๑
สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาเกี่ยวกับการพัฒนาและฝึกอบรมทรัพยากรบุคคลภาครัฐ
รวมทั้งการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม การผลิต
และให้บริการสื่อหรือเทคโนโลยีการฝึกอบรม
(๒)
ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเกี่ยวกับนโยบาย ระบบ หรือแนวทางการพัฒนาข้าราชการพลเรือน
รวมทั้งการติดตามและประเมินผลการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในราชการฝ่ายพลเรือน
(๓)
ดำเนินการจัดและสนับสนุนการจัดการฝึกอบรมและการพัฒนาข้าราชการ
(๔)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๒
สำนักกฎหมาย มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
ศึกษา วิเคราะห์ และดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนากฎหมายต่าง ๆ ของสำนักงาน ก.พ.
ให้ทันสมัย
(๒)
ดำเนินการเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาแนะนำ ตลอดจนการเสนอความเห็นเกี่ยวกับกฎหมาย กฎ
ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง และหนังสือเวียนที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงาน ก.พ.
แก่คณะรัฐมนตรี หน่วยงานของรัฐ และองค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่น ๆ
(๓)
ดำเนินการเกี่ยวกับงานนิติกรรมและสัญญา งานเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่ง อาญา
งานคดีปกครอง และงานคดีอื่นที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน ก.พ.
(๔)
ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง
และหนังสือเวียนที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงาน ก.พ.
(๕)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๓
สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนในต่างประเทศ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานเกี่ยวกับการจัดการศึกษา ฝึกอบรม
หรือดูงานในต่างประเทศสำหรับนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง นักเรียนทุนของรัฐบาล
นักเรียนทุนอื่น ๆ และบุคลากรภาครัฐที่ลาศึกษา ฝึกอบรม หรือดูงานในต่างประเทศ
(๒)
ดูแล จัดการ และให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการศึกษา
ความเป็นอยู่และการเงินแก่นักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง นักเรียนทุนของรัฐบาล
นักเรียนทุนอื่น ๆ และบุคลากรภาครัฐที่ลาศึกษาหรือฝึกอบรมในต่างประเทศ
(๓)
ส่งเสริม สนับสนุน ประสานงาน และสร้างแรงจูงใจให้คนไทยที่ศึกษาในต่างประเทศกลับมาทำงานในประเทศไทย
(๔)
ดำเนินการเกี่ยวกับการเป็นศูนย์เผยแพร่ข้อมูลการศึกษาและวัฒนธรรมของไทยในต่างประเทศ
รวมทั้งการประสานงานและจัดหาข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาในต่างประเทศ
เพื่อประโยชน์ในการบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการฝ่ายพลเรือน
(๕)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๔
สำนักตรวจสอบและประเมินผลกำลังคน มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
ตรวจสอบ วิเคราะห์ และประเมินผลการบริหารตำแหน่งของส่วนราชการต่าง ๆ
(๒)
วิเคราะห์ความเหมาะสมการใช้กำลังคนของส่วนราชการต่าง ๆ
(๓)
ตรวจสอบและให้ความเห็นเกี่ยวกับคำสั่งการบริหารทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการต่าง ๆ
เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด
(๔)
รักษาทะเบียนประวัติข้าราชการพลเรือน ควบคุมเกษียณอายุราชการ และข้อมูลกำลังคน
(๕)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๕
สำนักพัฒนาระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทน มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
และพัฒนาระบบค่าตอบแทนและประโยชน์เกื้อกูลให้สอดคล้องกับผลงานและค่าครองชีพ
(๒)
ศึกษาและวิเคราะห์เพื่อจำแนกตำแหน่ง ประเมินค่างาน
และจัดทำบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
(๓)
ศึกษาและพัฒนาระบบจูงใจในการทำงานเพื่อยกระดับคุณภาพและประเมินกำลังคน
(๔)
ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเกี่ยวกับนโยบาย ระบบ หรือมาตรฐานการจัดและพัฒนาการกำหนดตำแหน่งในราชการฝ่ายพลเรือน
(๕)
ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือแนวทางปฏิบัติ
รวมทั้งการติดตาม ประเมินผลการจัดกรอบอัตรากำลัง
และการกำหนดตำแหน่งในราชการฝ่ายพลเรือน
(๖)
ศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับการกำหนดชื่อตำแหน่ง หน้าที่ความรับผิดชอบและกรอบอัตรากำลังลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวต่างประเทศ
(๗)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๖
สำนักพิทักษ์ระบบคุณธรรม มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเพื่อสนับสนุนการบริหารทรัพยากรบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักเกณฑ์
วิธีการ กฎ ระเบียบ แนวทางการดำเนินการด้านอุทธรณ์ ร้องทุกข์
และการคุ้มครองระบบคุณธรรม
(๒)
ดำเนินการสืบสวน รวบรวมข้อมูล รวมทั้งการวิเคราะห์การจัดทำสำนวน และจัดทำความเห็น
(๓)
ดำเนินการเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาแนะนำ สนับสนุน
ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการอุทธรณ์และร้องทุกข์
และการรักษาระบบคุณธรรมในกระทรวง ทบวง กรม
(๔)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๗
สำนักมาตรฐานวินัย มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
ดำเนินการสืบสวน รวบรวมข้อมูล รวมทั้งการวิเคราะห์การจัดทำสำนวน และจัดทำความเห็น
(๒)
ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาหลักเกณฑ์ วิธีการ กฎ ระเบียบ
และแนวทางการดำเนินการด้านวินัย
(๓)
ดำเนินการเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาแนะนำ สนับสนุน ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการเสริมสร้างวินัย
การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณของข้าราชการ การดำเนินการทางวินัย
และมาตรฐานการลงโทษในกระทรวง ทบวง กรม
(๔)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๘
สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
และเสนอแนะนโยบายและกลยุทธ์ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการฝ่ายพลเรือนต่อคณะรัฐมนตรีและคณะกรรมการระดับชาติที่เกี่ยวข้อง
(๒)
ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเกี่ยวกับองค์ความรู้และหลักการบริหารทรัพยากรบุคคลใหม่ ๆ
(๓)
ศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนาระบบ กลยุทธ์ หลักเกณฑ์
และวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการฝ่ายพลเรือนและทรัพยากรบุคคลพิเศษ เช่น
นักเรียนทุนของรัฐบาล คนพิการ หรือกำลังคนในพื้นที่เฉพาะ
(๔)
ส่งเสริม สนับสนุน และให้คำปรึกษาแนะนำแก่ส่วนราชการในการจัดทำแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล
(๕)
ศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับมาตรฐานการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือน
(๖)
ส่งเสริม สนับสนุน ให้คำปรึกษาแนะนำ
และติดตามประเมินผลให้การบริหารทรัพยากรบุคคลในส่วนราชการเป็นไปตามระบบคุณธรรมและหลักการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่
(๗)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
ให้ไว้ ณ วันที่ ๙
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการและอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
สำนักนายกรัฐมนตรี
ตลอดจนปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการเพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจที่เพิ่มขึ้นและเหมาะสมกับสภาพของงานที่เปลี่ยนแปลงไป
อันจะทำให้การปฏิบัติภารกิจตามอำนาจหน้าที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
สำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖[๓]
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้มีศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตขึ้นในสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
สำนักนายกรัฐมนตรี
เพื่อทำหน้าที่ในการบูรณาการและขับเคลื่อนแผนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและการส่งเสริมคุ้มครองจริยธรรม
อันจะทำให้การปฏิบัติราชการมีความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๗ สิงหาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๑๘ ก/หน้า ๑/๒๗ มีนาคม ๒๕๕๒
[๒] ข้อ ๕/๑ เพิ่มโดยกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
สำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๖๕ ก/หน้า ๒๐/๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖ |
562063 | กฎ ก.พ. (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นกรรมการข้าราชการพลเรือน (ฉบับ Update ล่าสุด) | กฎ ก
กฎ ก.พ.
(พ.ศ. ๒๕๓๕)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕
ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือน
เพื่อเป็นกรรมการข้าราชการพลเรือน[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๘ (๕)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ก.พ. จึงออกกฎ ก.พ.
ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงแต่ละกระทรวง
ทบวงที่มีฐานะเทียบเท่ากระทรวงแต่ละทบวง
และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงแต่ละส่วนราชการเป็นหน่วยเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นกรรมการข้าราชการพลเรือนตามมาตรา
๖ (๒)
ข้อ ๒
การเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นกรรมการข้าราชการพลเรือนตามมาตรา ๖ (๒) ในกรณีครบวาระการดำรงตำแหน่ง
ให้ดำเนินการก่อนที่กรรมการข้าราชการพลเรือนซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งไว้แล้วจะพ้นจากตำแหน่งตามวาระไม่น้อยกว่าหกสิบวัน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังนี้
(๑) ให้สำนักงาน ก.พ.
จัดทำบัญชีรายชื่อข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ตามมาตรา ๖ (๒)
อยู่ในวันที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด โดยแยกเป็นแต่ละหน่วยเลือก แล้วส่งบัญชีรายชื่อของแต่ละหน่วยเลือกไปให้ผู้มีชื่อในบัญชีรายชื่อนั้น
ๆ ทราบ
(๒) ในกรณีที่ในหน่วยเลือกของสำนักนายกรัฐมนตรีและหน่วยเลือกของกระทรวงหรือของทบวงใดตามข้อ
๑ มีผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อหน่วยเลือกละไม่เกินสามคนหรือในหน่วยเลือกของส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงใดมีผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อหน่วยเลือกละหนึ่งคน
ให้ผู้มีชื่อในบัญชีรายชื่อนั้นเป็นผู้เลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นกรรมการข้าราชการพลเรือนตามมาตรา
๖ (๒)
(๓) ในกรณีที่หน่วยเลือกใดมีผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อเกินกว่าจำนวนใน
(๒) ให้ผู้มีชื่อในบัญชีรายชื่อของหน่วยเลือกนั้นเลือกกันเองเพื่อให้มีจำนวนตาม (๒)
โดยให้สำนักงาน ก.พ. ส่งบัตรเลือกข้าราชการพลเรือนตามแบบท้ายกฎ ก.พ. นี้
ซึ่งลงลายมือชื่อของเลขาธิการ ก.พ.
แล้วไปให้ผู้มีชื่อในบัญชีรายชื่อของหน่วยเลือกนั้น เพื่อให้เลือกข้าราชการพลเรือนจากรายชื่อในบัญชีดังกล่าว
โดยเขียนชื่อและนามสกุลของผู้ซึ่งตนเลือกไม่เกินจำนวนใน (๒)
พร้อมกับลงลายมือชื่อของผู้เลือกลงในบัตรเลือกข้าราชการพลเรือนแล้วส่งบัตรดังกล่าวพร้อมกับภาพถ่ายบัตรประจำตัวข้าราชการของผู้เลือกกลับคืนให้สำนักงาน
ก.พ. ภายในวันที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด
ทั้งนี้ ในกรณีที่ส่งบัตรกลับคืนสำนักงานก.พ. โดยตรง ให้ถือวันที่สำนักงาน
ก.พ. ได้รับบัตรเป็นวันส่ง ในกรณีที่ส่งบัตรกลับคืนทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
ให้ถือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์รับลงทะเบียนเป็นวันส่ง ในกรณีที่ส่งบัตรกลับคืนทางไปรษณีย์ไม่ลงทะเบียน
ให้ถือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางประทับตราไปรษณีย์เป็นวันส่ง
(๔) ให้สำนักงาน ก.พ.
รวบรวมบัตรเลือกข้าราชการพลเรือนที่ได้รับกลับคืนตาม (๓) เพื่อดำเนินการตรวจนับคะแนน
โดยให้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจนับคะแนนขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ
๘ ขึ้นไป จำนวนไม่น้อยกว่าสามคน
(๕) การตรวจนับคะแนนของคณะกรรมการตาม (๔)
ให้กระทำโดยเปิดเผยและต้องมีกรรมการอยู่พร้อมกันไม่น้อยกว่าสามคน
บัตรเลือกข้าราชการพลเรือนที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
ให้ถือเป็นบัตรเสีย และไม่ให้นับเป็นคะแนน คือ
(ก) บัตรที่ไม่มีตราชื่อส่วนราชการสำนักงาน ก.พ.
(ข) บัตรที่ไม่มีลายมือชื่อของเลขาธิการ ก.พ.
(ค) บัตรที่เลือกเกินจำนวนตาม (๒)
(ง) บัตรที่มีรอยขูด ลบ ขีดฆ่า ตกเติม หรือเขียนซ้ำ
โดยไม่ลงลายมือชื่อผู้
เลือกกำกับ
(จ) บัตรที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อผู้เลือก
(ฉ) บัตรที่ส่งกลับคืนช้ากว่าวันที่สำนักงาน ก.พ. กำหนดตาม (๓)
เมื่อตรวจนับคะแนนเสร็จแล้ว
ให้คณะกรรมการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ได้รับเลือกโดยเรียงตามลำดับคะแนนจากสูงไปหาต่ำเป็นรายหน่วยเลือก
พร้อมกับแสดงคะแนนของแต่ละคนไว้ในบัญชีด้วย ในกรณีที่มีผู้ได้คะแนนเท่ากัน
ให้เลขาธิการ ก.พ. จับสลากชื่อผู้ได้คะแนนเท่ากันนั้นต่อหน้าคณะกรรมการตรวจนับคะแนนเพื่อเรียงลำดับที่
บัญชีรายชื่อดังกล่าวให้มีกรรมการไม่น้อยกว่าสามคนลงลายมือชื่อรับรอง
(๖) ให้เลขาธิการ ก.พ.
ประกาศรายชื่อผู้ที่อยู่ในลำดับที่หนึ่งถึงที่สามในบัญชีรายชื่อตาม (๕)
ในหน่วยเลือกของสำนักนายกรัฐมนตรี ของกระทรวงแต่ละกระทรวง ของทบวงแต่ละทบวง
และผู้ที่อยู่ในลำดับที่หนึ่งในหน่วยเลือกของส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวง
หรือทบวงแต่ละส่วนราชการ เป็นผู้ได้รับเลือกให้เป็นผู้เลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นกรรมการข้าราชการพลเรือนตามมาตรา
๖ (๒) โดยปิดไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงาน ก.พ.
(๗) ให้สำนักงาน ก.พ. นำรายชื่อข้าราชการพลเรือนตาม (๒) และ
(๖) มากำหนดหมายเลขประจำตัวของแต่ละคน
แล้วทำบัญชีรวมรายชื่อข้าราชการพลเรือนดังกล่าวส่งให้ผู้มีชื่อในบัญชีรายชื่อนั้นทุกคนก่อนวันเลือกตาม
(๘) ไม่น้อยกว่าห้าวันทำการ
(๘) ให้สำนักงาน ก.พ. มีหนังสือนัดผู้มีชื่อในบัญชีรวมรายชื่อตาม
(๗) ไปออกเสียงลงคะแนนตามวัน เวลา สถานที่ และวิธีการที่สำนักงาน ก.พ.
กำหนดเพื่อเลือกผู้มีชื่อในบัญชีรวมรายชื่อนั้นเป็นกรรมการข้าราชการพลเรือนตามมาตรา
๖ (๒)
(๙) ในการออกเสียงลงคะแนนตาม (๘) ให้สำนักงาน ก.พ.
แจกบัตรออกเสียงลงคะแนนเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นกรรมการข้าราชการพลเรือนแก่ผู้มีชื่อในบัญชีรวมรายชื่อตาม
(๗) ที่มาออกเสียงลงคะแนน เมื่อผู้มีชื่อดังกล่าวออกเสียงลงคะแนนแล้ว ให้สำนัก งาน
ก.พ. ดำเนินการตรวจนับคะแนนและเรียงลำดับที่ตามวิธีการใน (๔) และ (๕) โดยอนุโลม
และจัดทำบัญชีรวมรายชื่อผู้ได้รับพร้อมด้วยคะแนนที่ได้รับเรียงตามลำดับคะแนนจากสูงไปหาต่ำ
แล้วให้เลขาธิการ ก.พ. ประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกโดยปิดไว้ในที่เปิดเผย ณ
สำนักงาน ก.พ.
(๑๐) ให้สำนักงาน ก.พ.
ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ได้รับเลือกตาม (๙) เพื่อให้ได้ผู้ได้รับเลือกที่ได้คะแนนสูงตามลำดับห้าคนซึ่งอยู่ต่างหน่วยเลือกกัน
และมีคุณสมบัติตามที่กำหนดในมาตรา ๖
เพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการข้าราชการพลเรือนต่อไป
ข้อ ๓
ในกรณีที่กรรมการข้าราชการพลเรือนซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตามมาตรา
๖ (๒) พ้นจากตำแหน่งก่อนครบกำหนดตามวาระ และจะต้องแต่งตั้งกรรมการแทนให้ สำนักงาน ก.พ.
นำรายชื่อผู้ได้รับเลือกตามข้อ ๒ (๙) ที่เหลืออยู่ในบัญชีรวมรายชื่อมาตรวจสอบคุณสมบัติเพื่อให้ได้ผู้ได้รับเลือกที่ได้คะแนนสูงตามลำดับ
ซึ่งอยู่ต่างหน่วยเลือกกับผู้ที่เป็นกรรมการข้าราชการพลเรือนตามมาตรา ๖ (๒)
อยู่แล้วเพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งเป็นกรรมการข้าราชการพลเรือนแทนต่อไป ในกรณีที่ไม่มีผู้ได้รับเลือกซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนเหลืออยู่ในบัญชีรวมรายชื่อดังกล่าว
ให้ดำเนินการเลือกใหม่ตามหลักเกณฑ์และวิธีการในข้อ ๒
ข้อ ๔[๒] การสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ
เพื่อแต่งตั้งเป็นกรรมการข้าราชการพลเรือนตามมาตรา ๖ (๑)
ในกรณีครบวาระการดำรงตำแหน่ง ให้ดำเนินการก่อนที่กรรมการข้าราชการพลเรือนซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งไว้แล้วจะพ้นจากตำแหน่งตามวาระไม่น้อยกว่าหกสิบวัน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังนี้
(๑) ให้ประธาน ก.พ.
แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสามคน ประกอบด้วยกรรมการข้าราชการพลเรือนโดยตำแหน่งซึ่งเลือกกันเองหนึ่งคน
กรรมการข้าราชการพลเรือนซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนที่จะพ้นจากตำแหน่งตามวาระซึ่งเลือกกันเองหนึ่งคน
และเลขาธิการ ก.พ. ทั้งนี้
ให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นเลขานุการ
(๒)
ให้คณะกรรมการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิดำเนินการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ ตามมาตรา ๖
(๑) จากผู้ที่ดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่าและมิได้เป็นกรรมการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่น้อยกว่าสองคนแต่ไม่เกินสี่คน
และจากผู้ที่ไม่เคยเป็นข้าราชการหรือเคยเป็นข้าราชการแต่ดำรงตำแหน่งต่ำกว่าอธิบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่าจำนวนสามคน
เพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพร้อมกับผู้ได้รับเลือกตามข้อ
๒ (๑๐)
คณะกรรมการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งทำหน้าที่สรรหาผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อแต่งตั้งเป็นกรรมการข้าราชการพลเรือนชุดใด
ให้อยู่ในตำแหน่งได้ตามวาระของกรรมการข้าราชการพลเรือนชุดนั้น
ข้อ ๕
ในกรณีที่กรรมการข้าราชการพลเรือนซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในด้านใดพ้นจากตำแหน่งก่อนครบกำหนดตามวาระ
และจะต้องแต่งตั้งกรรมการแทน ให้ดำเนินการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิในด้านนั้นใหม่ตามหลักเกณฑ์และวิธีการในข้อ
๔ โดยอนุโลม เพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งเป็นกรรมการข้าราชการพลเรือนแทนต่อไป
ข้อ ๖
การสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นกรรมการข้าราชการพลเรือนตามมาตรา
๖ (๑) และ (๒) ในระยะเริ่มแรกที่ใช้บังคับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้ดำเนินการตามกฎ ก.พ. นี้ โดยอนุโลม
ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
เกษม สุวรรณกุล
รองนายกรัฐมนตรี
ผู้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
ตราชื่อส่วนราชการสำนักงาน
ก.พ.
บัตรเลือกข้าราชการพลเรือน
เพื่อเลือกเป็นกรรมการข้าราชการพลเรือน
ท้ายกฎ ก.พ. (พ.ศ.
๒๕๓๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติ
ระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือก
ข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นกรรมการข้าราชการพลเรือน
ข้าพเจ้า.................................... เลือกผู้มีชื่อข้างท้ายนี้
เพื่อเลือกเป็นกรรมการข้าราชการพลเรือนคือ
๑. .............................................
๒. .............................................
๓. .............................................
(ลายมือชื่อ)
............................................ ผู้เลือก
(......................................... )
(ลายมือชื่อ) ............................................
(........................................... )
เลขาธิการ ก.พ.
หมายเหตุ ๑.
ในสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวงที่มีฐานะเทียบเท่ากระทรวงเลือกได้หน่วยละไม่เกิน
๓ ชื่อ
๒.
ในส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงให้เลือกได้ไม่เกินหน่วยละ
๑ ชื่อ
๓.
ให้ส่งภาพถ่ายบัตรประจำตัวข้าราชการของผู้เลือกไปยังสำนักงาน ก.พ. พร้อมกับบัตรเลือกนี้ภายในวันที่
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕
บัญญัติให้การสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งเป็นกรรมการข้าราชการพลเรือน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ
ก.พ. จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ ก.พ. ฉบับที่ ๒๓ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นกรรมการข้าราชการพลเรือน[๓]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๖
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕
มีเจตนารมณ์ที่จะให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนประกอบด้วยกรรมการโดยตำแหน่งกรรมการที่ได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง
และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นข้าราชการและไม่เป็นข้าราชการ แต่ในการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อเป็นกรรมการข้าราชการพลเรือนที่ผ่านมายังไม่ได้ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งไม่เป็นข้าราชการในจำนวนที่เหมาะสมตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
สมควรแก้ไขหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อเป็นกรรมการข้าราชการพลเรือนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๘๓/หน้า ๑/๓ สิงหาคม ๒๕๓๕
[๒] ข้อ ๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ. ฉบับที่ ๒๓ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นกรรมการข้าราชการพลเรือน
[๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๙๓ ก/หน้า ๖/๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๓ |
654029 | กฎ ก.พ. ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน (ฉบับ Update ล่าสุด) | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ฉบับที่ ๑๐
(พ.ศ.๒๕๓๘)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕
ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน
เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ปฏิบัติราชการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในระดับอันเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ
ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน
ตลอดจนรักษาวินัยและปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ
ได้รับบำเหน็จความชอบโดยการเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี
ก.พ.จึงเห็นสมควรวางหลักเกณฑ์และวิธีการเลื่อนขั้นเงินเดือน
เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาดำเนินการเลื่อนขั้นเงินเดือนให้เกิดความเป็นธรรม
ได้มาตรฐาน
และเป็นสิ่งจูงใจให้ข้าราชการเกิดความกระตือรือร้นที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดียิ่งขึ้น
รวมทั้งดำเนินการเพื่อให้ผู้ที่ไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือมีความประพฤติที่ไม่เหมาะสมได้เกิดความสำนึก
โดยได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างจากผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
รักษาวินัย และปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) และมาตรา ๗๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ก.พ.จึงออกกฎ ก.พ. ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในกฎ ก.พ. นี้
."ปี" หมายความว่า ปีงบประมาณ
"รอบปีที่แล้วมา" หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑
กรกฎาคมของปีหนึ่ง ถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายนของปีถัดไป
"อธิบดี" หมายความรวมถึงหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม
และรัฐมนตรีเจ้าสังกัดสำหรับสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี และราชบัณฑิตสถานด้วย
ข้อ ๓ การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญประจำปี
ให้เลื่อนตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคมของปีที่ได้เลื่อนนั้น
ข้อ ๔ การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญ
ให้เลื่อนได้ไม่เกินขั้นสูงของอันดับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง
เว้นแต่ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับต่ำกว่าเดิม
โดยได้รับเงินเดือนในอันดับและขั้นที่ได้รับอยู่เดิม ให้เลื่อนได้ไม่เกินขั้นสูงของอันดับเงินเดือนเดิม
ข้อ ๕ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งจะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีครึ่งขั้นต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ประการใดประการหนึ่ง
ดังต่อไปนี้
(๑)
เป็นผู้อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีหนึ่งขั้นตามข้อ
๖ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) และ(๘)
และในรอบปีที่แล้วมามีผลการปฏิบัติงานซึ่งผู้บังคับบัญชาได้พิจารณาประเมินตามมาตรา
๗๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕
แล้วเห็นว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สมควรจะได้เลื่อนขั้นเงินเดือนครึ่งขั้น
(๒) เป็นผู้ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีหนึ่งขั้นตามข้อ
๖ (๓) (๗) หรือ (๘) แต่มีเวลาปฏิบัติราชการในรอบปีที่แล้วมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือนตลอดจนอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีหนึ่งขั้นตามข้อ๖
(๒) (๔) (๕) และ (๖)
และในรอบปีที่แล้วมามีผลการปฏิบัติงานซึ่งผู้บังคับบัญชาได้พิจารณาประเมินตามมาตรา
๗๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ ๒๕๓๕
แล้วเห็นว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สมควรจะได้เลื่อนขั้นเงินเดือนไม่น้อยกว่าหนึ่งขั้น
ข้อ ๖ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งจะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีหนึ่งขั้นต้องอยู่ในหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
(๑) ในรอบปีที่แล้วมาได้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตนด้วยความสามารถ
และด้วยความอุตสาหะจนเกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการ
ซึ่งผู้บังคับบัญชาได้พิจารณาประเมินตามมาตรา ๗๙ แห่งประราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ แล้วเห็นว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สมควรจะได้เลื่อนขั้นเงินเดือนหนึ่งขั้น
(๒)
ในรอบปีที่แล้วมาจนถึงวันออกคำสั่งเลื่อยขั้นเงินเดือนต้องไม่ถูกลงโทษทางวินัยที่หนักกว่าโทษภาคทัณฑ์
หรือไม่ถูกศาลพิพากษาในคดีอาญาให้ลงโทษในความผิดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
หรือความผิดที่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน
ซึ่งมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ในกรณีราชการพลเรือนสามัญผู้ใดอยู่ในหลักเกณฑ์ที่สมควรได้เลื่อนขั้นเงินเดือน
และได้ถูกงดเลื่อนขั้นเงินเดือนเพราะถูกลงโทษทางวินัยหรือถูกศาลพิพากษาในคดีอาญาให้ลงโทษในกรณีนั้นมาแล้ว
ให้ผู้บังคับบัญชาเลื่อนขั้นเงินเอนประจำปีต่อไปให้ผู้นั้นตั้งแต่วันที่ ๑
ตุลาคมของปีที่จะได้เลื่อนเป็นต้นไป
(๓) ในรอบปีที่แล้วมาต้องไม่ถูกสั่งพักราชการเกินกว่าสี่เดือน
(๔) ในรอบปีที่แล้วมาต้องไม่ขาดราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
(๕)
ในปีที่แล้วมาได้รับบรรจุเข้ารับราชการมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าแปดเดือน
(๖) ในรอบปีที่แล้วมาถ้าเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาในประเทศ
หรือไปศึกษา ฝึกอบรม หรือดูงาน ณ ต่างประเทศ ตามระเบียบว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษา
ฝึกอบรม และดูงาน ณ ต่างประเทศ
ต้องได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการในรอบปีที่แล้วมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าแปดเดือน
(๗) ในรอบปีที่แล้วมาต้องไม่ลาหรือมาทำงานสายเกินจำนวนครั้งที่อธิบดีผู้บังคับบัญชาหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากอธิบดีกำหนดเป็นหนังสือไว้ก่อนแล้ว
โดยคำนึงถึงลักษณะงานและสภาพท้องที่อันเป็นที่ตั้งของแต่ละส่วนราชการหรือหน่วยงาน
(๘)[๒]
ในรอบปีที่แล้วมาต้องมีเวลาปฏิบัติราชการสิบสองเดือน
โดยไม่มีวันลาเกินกว่าสี่สิบห้าวัน แต่ไม่รวมถึงวันลา ดังต่อไปนี้
(ก) ลาอุปสมบท หรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย
เฉพาะวันลาที่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลาตามกฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน
(ข) ลาคลอดบุตรไม่เกินเก้าสิบวัน
(ค) ลาป่วยซึ่งจำเป็นต้องรักษาตัวเป็นเวลานานไม่ว่าคราวเดียว
หรือหลายคราวรวมกันไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันทำการ
(ง) ลาป่วยเพราะประสบอันตรายในขณะที่ปฏิบัติราชการตามหน้าที่
หรือในขณะเดินทางไปหรือกลับจากปฏิบัติราชการตามหน้าที่
(จ) ลาพักผ่อน
(ฉ) ลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล
(ช) ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
การนับจำนวนวันลาไม่เกินสี่สิบห้าวันสำหรับวันลากิจส่วนตัวและวันลาป่วยที่ไม่ใช่วันลาป่วยตาม
(ง) ให้นับเฉพาะวันทำการ
ข้อ ๗ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งจะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี
หนึ่งขั้นครึ่ง
ต้องเป็นผู้อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีหนึ่งขั้น
ตามข้อ ๖ และอยู่ในหลักเกณฑ์ประการใดประการหนึ่งหรือหลายประการดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) ปฏิบัติงานตามหน้าที่ได้ผลดี มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
อันก่อให้เกิดประโยชน์และผลดีต่อทางราชการและสังคม
(๒) ปฏิบัติงานโดยมีความคิดริเริ่มในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
หรือได้ค้นคว้าหรือประดิษฐ์สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ
(๓) ปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่มีสถานการณ์ตรากตรำเสี่ยงอันตราย
หรือมีการต่อสู้ที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของชีวิต
(๔)
ปฏิบัติงานที่มีภาระหน้าที่หนักเกินกว่าระดับตำแหน่งจนเกิดประโยชน์ต่อทางราชการและปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ของตนเป็นผลดีด้วย
(๕) ปฏิบัติงานตามตำแหน่งหน้าที่ด้วยความตรากตรำเหน็ดเหนื่อย
ยากลำบาก และงานนั้นได้ผลดีเป็นประโยชน์ต่อทางราชการและสังคม
(๖) ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้กระทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งจนสำเร็จเป็นผลดีแก่ประเทศชาติ
ข้อ ๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งจะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีสองขั้นต้องเป็นผู้อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีหนึ่งขั้นตามข้อ
๖ และอยู่ในหลักเกณฑ์ประการใดประการหนึ่งหรือหลายประการดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) ปฏิบัติงานตามหน้าที่ได้ผลดีเด่น มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
อันก่อให้เกิดประโยชน์และผลดียิ่งต่อทางราชการและสังคมจนถือเป็นตัวอย่างที่ดีได้
(๒) ปฏิบัติงานโดยมีความคิดริเริ่มในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
หรือได้ค้นคว้าหรือประดิษฐ์สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทางราชการเป็นพิเศษ
และทางราชการได้ดำเนินการตามความคิดริเริ่มหรือได้รับรองให้ใช้การค้นคว้าหรือสิ่งประดิษฐ์นั้น
(๓) ปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่มีสถานการณ์ตรากตรำเสี่ยงอันตรายมาก
หรือมีการต่อสู้ที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของชีวิตเป็นกรณีพิเศษ
(๔)
ปฏิบัติงานที่มีภาระหน้าที่หนักเกินกว่าระดับตำแหน่งจนเกิดประโยชน์ต่อทางราชการเป็นพิเศษ
และปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ของตนเป็นผลดีด้วย
(๕) ปฏิบัติงานตามตำแหน่งหน้าที่ด้วยความตรากตรำเหน็ดเหนื่อย
ยากลำบากเป็นพิเศษและงานนั้นได้ผลดียิ่งเป็นประโยชน์ต่อทางราชการและสังคม
(๖) ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้กระทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งจนสำเร็จเป็นผลดียิ่งแก่ประเทศชาติ
ข้อ ๙ การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญประจำปีตามข้อ
๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ และข้อ ๘
ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายนำผลการประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรา
๗๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ และข้อมูลเกี่ยวกับการลา
พฤติกรรมการมาทำงาน การรักษาวินัย การปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ
และข้อควรพิจารณาอื่น ๆ ของผู้นั้น มาประกอบการพิจารณาอย่างรอบคอบ
แล้วรายงานผลการพิจารณานั้นพร้อมด้วยข้อมูลดังกล่าวต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน
ในการพิจารณารายงานตามวรรคหนึ่ง
ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือแต่ละระดับที่ได้รับรายงานเสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนด้วย
ข้อ ๑๐[๓] การพิจารณาผลการปฏิบัติงาน
ให้นับช่วงเวลาการปฏิบัติราชการและการปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศตามข้อ ๖
(๘) (ช) ในรอบปีที่แล้วมาเป็นเกณฑ์ เว้นแต่ผู้อยู่ในหลักเกณฑ์ตามข้อ ๖ (๕) หรือ
(๖) ให้นับช่วงเวลาปฏิบัติราชการไม่น้อยกว่าแปดเดือนเป็นเกณฑ์พิจารณา
ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดโอน เลื่อนตำแหน่ง ย้าย
สับเปลี่ยนหน้าที่ ไปช่วยราชการในต่างกระทรวง ทบวง กรม
ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานนอกเหนือหน้าที่หรืองานพิเศษอื่นใดหรือลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศตามข้อ
๖ (๘) (ช) ในรอบปีที่แล้วมา
ให้นำผลการปฏิบัติราชการและการปฏิบัติงานของผู้นั้นทุกตำแหน่งและทุกแห่งมาประกอบการพิจารณาด้วย
ข้อ ๑๑ เมื่อผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนได้รับรายงานผลการพิจารณาจากผู้บังคับบัญชาตามข้อ
๙ แล้วเห็นว่า ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีครึ่งขั้นตามข้อ
๕ และปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ
ให้เลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้นั้นครึ่งขั้น
ถ้าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีหนึ่งขั้นตามข้อ
๖ และปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ
ให้เลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้นั้นหนึ่งขั้น และถ้าข้าราชการผู้นั้นมีผลการปฏิบัติงานอยู่ในหลักเกณฑ์ตามข้อ
๗ ด้วยก็ให้เลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้นั้นหนึ่งขั้นครึ่ง
หรือถ้าข้าราชการผู้นั้นมีผลการปฏิบัติงานอยู่ในหลักเกณฑ์ตามข้อ ๘ ด้วย
จะให้เลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้นั้นสองขั้นก็ได้
ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพิจารณาเห็นว่า
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ได้จะได้รับพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีครึ่งขั้นตามข้อ
๕ หรือปฏิบัติตนไม่เหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ
ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนสำหรับผู้นั้น แต่ต้องแจ้งเหตุผลให้ผู้นั้นทราบด้วย
ข้อ ๑๒[๔]
การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีให้แก่ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งในรอบปีที่แล้วมาได้รับอนุญาตให้ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศตามข้อ
๖ (๘) (ช) ให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพิจารณาสั่งเลื่อนได้ปีละไม่เกินหนึ่งขั้นเมื่อผู้นั้นกลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการ
โดยให้สั่งเลื่อนย้อนหลังไปในแต่ละปีที่ควรจะได้เลื่อน ทั้งนี้
ให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีผู้บังคับบัญชากำหนด
ข้อ ๑๓ ในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี
ถ้าผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเห็นสมควรให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดได้เลื่อนขั้นเงินเดือน
แต่ปรากฎว่าได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้าราชการผู้นั้นว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงก่อนมีคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน
ให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนรอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ก่อน
และให้กันเงินสำหรับเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ด้วย เมื่อผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนได้รับรายงานการสอบสวนและมีคำสั่งว่าผู้นั้นไม่มีความผิด
หรือมีคำสั่งลงโทษ หรือมีคำสั่งให้ออกจากราชการเพราะมีมลทินหรือมัวหมอง ให้ผู้อำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพิจารณาดังนี้
(๑) ถ้ามีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนมีคำสั่งว่าผู้นั้นไม่มีความผิด
หรือมีคำสั่งลงโดยภาคทัณฑ์ ให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้ได้
ถ้ารอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้เกินหนึ่งปี
ให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนย้อนหลังไปในแต่ละปีที่ได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้แม้ว่าผู้นั้นจะได้ออกจากราชการไปแล้วก็ตาม
(๒) ถ้าผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนมีคำสั่งลงโดยตัดเงินเดือน
หรือลดขั้นเงินเดือน ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้
ถ้าได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้เกินหนึ่งปี
ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้ในปีที่ถูกลงโทษ
ถ้าผู้นั้นได้ออกจากราชการไปแล้วด้วยเหตุอื่นที่มิใช่เพราะเหตุเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนในปีที่จะได้เลื่อนขั้นเงินเดือนปีสุดท้าย
แต่ถ้าเป็นผู้พ้นจากราชการไปเพราะเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่ผู้อำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ในวันที่
๓๐ กันยายนของปีสุดท้ายก่อนผู้นั้นจะพ้นจากราชการ
ส่วนในปีอื่นให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนย้อนหลังไปในแต่ละปีที่ได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้
(๓) ถ้าผู้มีอำนาจแต่งตั้งคระกรรมการสอบสวนมีคำสั่งลงโทษปลดออก
หรือไล่ออกจากราชการ หรือคำสั่งให้ออกจากราชการเพราะมีมลทินหรือมัวหมอง
ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนทุกปีที่ได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้
การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนตาม (๑) (๒) และ (๓)
สำหรับผู้ที่ถูกแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงหลายกรณี
ให้แยกพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป
ข้อ ๑๔ ในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี
ถ้าผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเห็นสมควรให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดได้เลื่อนขั้นเงินเดือน
แต่ปรากฏว่าผู้นั้นถูกฟ้องคดีอาญาในความผิดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
หรือความผิดที่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน
ซึ่งมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ
หรือความผิดที่พนักงานอัยการรับเป็นทนายแก่ต่างให้ และศาลได้ประทับฟ้องคดีนั้นแล้วก่อนมีคำสั่งเลื่อนเงินเดือน
ให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนรอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ก่อน
และให้กับเงินสำหรับเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ก่อน เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว
ให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพิจารณาดังนี้
(๑) ถ้าศาลพิพากษาว่าผู้นั้นไม่มีความผิด
ให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้ได้
ถ้าได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้เกินหนึ่งปี
ให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนย้อนหลังไปในแต่ละปีที่ได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้
แม้ว่าผู้นั้นจะได้ออกจากราชการไปแล้วก็ตาม
(๒) ถ้าศาลพิพากษาให้ลงโทษเบากว่าโทษจำคุก
ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้
ถ้าได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้เกินหนึ่งปี ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้ในปีที่ศาลพิพากษาให้ลงโทษ
ถ้าผู้นั้นได้ออกจากราชการไปแล้วด้วยเหตุอื่นที่มิใช่เพราะเหตุเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จนาญข้าราชการ
ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนในปีที่จะได้เลื่อนขั้นเงินเดือนเงินเดือนปีสุดท้าย
แต่ถ้าเป็นผู้พ้นจากราชการไปเพราะเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อยขั้นเงินเดือนได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ในวันที่
๓๐ กันยายนของปีสุดท้ายก่อนที่ผู้นั้นจะพ้นจากราชการ
ส่วนในปีอื่นให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนย้อนหลังไปในแต่ละปีที่ได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้
(๓) ถ้าศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าจำคุก
ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนทุกปีที่รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้
การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนตาม (๑) (๒) และ (๓)
สำหรับผู้ที่ถูกฟ้องคดีอาญาหลายคดี ให้แยกพิจารณาเป็นคดี ๆ ไป
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนได้รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไว้เพราะเหตุถูกแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามข้อ
๑๓ และเหตุถูกฟ้องคดีอาญาตามข้อ ๑๔
ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวรอการเลื่อนขั้นเงินเดือนผู้นั้นไว้จนกว่าผู้อำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนได้รับรายงานการสอบสวนและมีคำสั่งว่าผู้นั้นไม่มีความผิด
หรือคำสั่งลงโทษ หรือมีคำสั่งให้ออกจากราชการเพราะมีมลทินหรือมัวหมอง
และจนกว่าศาลมีคำพิพากษาแล้วจึงให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพิจารณาการเลื่อนขั้นเงินเดือนตามข้อ
๑๓ (๑) (๒) หรือ (๓) หรือตามข้อ ๑๔ (๑) (๒) หรือ (๓) แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ โดยถือเกณฑ์
จำนวนปีที่จะต้องงดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่มากกว่าเป็นหลักในการพิจารณา
เว้นแต่ผู้นั้นได้พ้นจากราชการไปแล้วตามผลของการถูกแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามข้อ
๑๓ หรือตามผลของการถูกฟ้องคดีอาญาตามข้อ ๑๔ กรณีใดกรณีหนึ่ง
จึงจะพิจารณาการเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้ได้ตามผลของกรณีนั้นโดยไม่ต้องรอผลของอีกกรณีหนึ่ง
ข้อ ๑๖ ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพิจารณาเห็นสมควรเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใด
แต่ผู้นั้นจะต้องพ้นจากราชการไปเพราะเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญให้ผู้นั้นในวันที่
๓๐ กันยายนของปีสุดท้ายก่อนที่จะพ้นจากราชการ
ข้อ ๑๗ ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพิจารณาเห็นสมควรเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ข้าราชกรพลเรือนสามัญผู้ใด
แต่ผู้นั้นได้ตายหรือออกจากราชการไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ หลังวันที่ ๑ ตุลาคม
แต่ก่อนที่จะมีคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีตามปกติ
ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนจะสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ผู้นั้นย้อนหลังไปถึงวันที่
๑ ตุลาคมของปีที่จะได้เลื่อนนั้นก็ได้
แต่ถ้าผู้นั้นได้พ้นจากราชการเพราะเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการไปก่อนที่จะมีคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญ
ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนจะสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ผู้นั้นย้อนหลังไปถึงวันที่
๓๐ กันยายนของปีที่จะได้เลื่อนนั้นก็ได้
ข้อ ๑๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะเลื่อนขั้นเงินเดือนได้ครึ่งขั้นตามข้อ
๕ หรือหนึ่งขั้นตามข้อ ๖ เนื่องจากขาดคุณสมบัติเกี่ยวกับระยะเวลาการปฏิบัติราชการ
การลา หรือการมาทำงานสายตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. นี้
แต่ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพิจารณาเห็นสมควรเลื่อนขั้นเงินเดือนให้โดยมีเหตุผลเป็นกรณีพิเศษ
ให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเสนอ อ.ก.พ. กระทรวง
เพื่อพิจารณาอนุมัติให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นการเฉพาะรายได้ครึ่งขั้น
สำหรับผู้ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะเลื่อนขั้นเงินเดือนได้ตามข้อ ๕
และหนึ่งขั้นสำหรับผู้ม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะเลื่อนขั้นเงินเดือนได้ตามข้อ ๖
นอกจากกรณีตามวรรคหนึ่ง
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะเลื่อนขั้นเงินเดือนได้ตามกฎ
ก.พ. นี้
แต่ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพิจารณาเห็นสมควรเลื่อนขั้นเงินเดือนให้โดยมีเหตุผลเป็นกรณีพิเศษ
ให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเสนอ ก.พ.
เพื่อพิจารณาอนุมัติให้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นการเฉพาะราย
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๑๙ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกรอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ก่อนกฎ
ก.พ. นี้ ใช้บังคับ เนื่องจากอยู่ในระหว่างถูกแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนว่ากระทำผิดวินัยหรือถูกฟ้องคดีอาญา
ถ้าการสอบสวนพิจารณากรณีทางวินัยปรากฏว่าผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนมีคำสั่งว่าผู้นั้นไม่มีความผิด
หรือมีคำสั่งลงโทษ
หรือมีคำสั่งให้ออกจากราชการเพราะมีมลทินหรือมัวหมองหรือคดีอาญาศาลมีคำพิพากษาเมื่อกฎ
ก.พ. นี้ ใช้บังคับแล้ว และเป็นเวลาภายหลังปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๘
การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้สำหรับผู้นั้น
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. นี้
แต่ถ้าการสอบสวนพิจารณากรณีทางวินัยหรือคดีอาญานั้นเสร็จสิ้นลงก่อนสิ้นปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๓๘ การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอการเลื่อนไว้สำหรับผู้นั้น
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๑๙)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘
ข้อ ๒๐ การเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๓๙ ให้นำผลการปฏิบัติงานและข้อมูลเกี่ยวกับการลา พฤติกรรมการมาทำงาน
การรักษาวินัย การปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ และข้อควรพิจารณาอื่น ๆ
ในรอบปีที่แล้วมาที่ข้าราชการผู้นั้นมีอยู่ก่อนที่กฎ ก.พ. นี้ ใช้บังคับ
และผู้บังคับบัญชาได้พิจารณาไว้แล้วตามกฎ ก.พ. ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๑๙)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๘
มาประกอบการพิจารณาการเลื่อนขั้นตามกฎ ก.พ. นี้ ได้
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๘
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
ประธาน
ก.พ.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ บัญญัติว่า
การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญ
ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโดยคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณงาน
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานที่ได้ปฏิบัติมา ความสามารถและความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน
ตลอดจนการรักษาวินัยและการปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ.
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎกระทรวง
ฉบับที่ ๑๔ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.
๒๕๓๕ ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน[๕]
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ระเบียบ
ว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ.๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ
ว่าด้วยการลาของข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๙
กำหนดให้ข้าราชการมีสิทธิลาคลอดบุตรโดยได้รับเงินเดือนครั้งหนึ่งได้ไม่เกินเก้าสิบวัน
และได้ยกเลิกสิทธิการลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องจากการลาคลอดโดยได้รับเงินเดือนไม่เกินสามสิบวันทำการ
เพื่อให้หลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีของข้าราชการพลเรือนสามัญมีความสอดคล้องกับระเบียบดังกล่าว จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๒๓ ก/หน้า ๗/๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๘
[๒] ข้อ ๖ (๘)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ ๑๔ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน
[๓] ข้อ ๑๐
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ ๑๔ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน
[๔] ข้อ ๑๒
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ ๑๔ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน
[๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๗๑ ก/หน้า ๓๐/๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ |
654025 | กฎ ก.พ. ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2518) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชพลเรือน พ.ศ. 2518 ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำหรือสูงกว่าขั้นสูงของเงินเดือนสำหรับตำแหน่ง (ฉบับ Update ล่าสุด) | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๘)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๑๘
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำ
หรือสูงกว่าขั้นสูงของเงินเดือนสำหรับตำแหน่ง[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) และมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๑๘ ก.พ. ออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๒]
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับใด
ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำของเงินเดือนสำหรับตำแหน่งระดับนั้น เว้นแต่
(๑) ผู้นั้นได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของระดับนั้นอยู่แล้ว
ให้ได้รับเงินเดือนในอัตราเท่ากับเงินเดือนที่ได้รับอยู่
(๒) ผู้นั้นได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ ซึ่ง ก.พ.
รับรองว่าเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งใด ระดับใด
และกำหนดเงินเดือนที่ควรได้รับในขั้นใด ให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนในขั้นที่ ก.พ.
กำหนดนั้น แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ด้วย คือ
(ก) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑
ให้ได้รับเงินเดือนไม่สูงกว่าขั้น ๑,๒๒๐ บาท
(ข) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๒
ให้ได้รับเงินเดือนไม่สูงกว่าขั้น ๑,๕๕๐ บาท
(ค) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๓
ให้ได้รับเงินเดือนไม่สูงกว่าขั้น ๒,๓๗๐ บาท
ในกรณีที่ ก.พ.
รับรองคุณวุฒิของผู้ใดว่าเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งใด ระดับใด
และกำหนดเงินเดือนที่ควรได้รับแตกต่างไปจากหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน (ก) (ข) และ (ค)
ให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนในขั้นที่ ก.พ. กำหนด
(๓)
ผู้นั้นได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้น และ ก.พ.
รับรองว่าปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพที่ได้รับเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้นนั้นเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง
อธิบดีผู้บังคับบัญชาหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดีอาจปรับให้ได้รับเงินเดือนในขั้นตามที่
ก.พ. อนุมัติได้ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน (๒)
(๔) ในกรณีที่ ก.พ.
ได้กำหนดเงินเดือนขั้นต้นสำหรับตำแหน่งระดับใด ในสายงานใด
ไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งสูงกว่าเงินเดือนขั้นต่ำของระดับนั้น ให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนในขั้นที่
ก.พ. กำหนด
(๕) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น
ถ้าได้รับเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำของเงินเดือนสำหรับตำแหน่ง
ให้ได้รับเงินเดือนในอัตราเท่ากับเงินเดือนที่ได้รับอยู่ไปก่อน เว้นแต่ ก.พ.
จะได้พิจารณากำหนดเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๒ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับใด
ถ้าได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นสูงของระดับนั้นอยู่แล้ว
ให้ได้รับเงินเดือนในอัตราเท่ากับเงินเดือนที่ได้รับอยู่
ข้อ ๓
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๔๓ มาตรา ๕๒
มาตรา ๕๓ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๖ มาตรา ๕๗ มาตรา ๕๘ และมาตรา ๖๑ แห่งพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน
พ.ศ.๒๕๑๘ ให้ได้รับเงินเดือนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ
ข้อ ๔
กรณีอื่นนอกจากที่ได้กำหนดไว้ในกฎ ก.พ. นี้ ให้เสนอ ก.พ.
พิจารณาอนุมัติเป็นราย ๆ ไป
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๕ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับใดเป็นครั้งแรก
ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘
ให้ได้รับเงินเดือนในอัตราเท่ากับเงินเดือนที่ได้รับอยู่
สำหรับผู้ที่ได้รับเงินเดือนยังไม่ถึงขั้นต่ำของเงินเดือนสำหรับตำแหน่ง
ก.พ.จะได้กำหนดการปรับอัตราเงินเดือนให้ได้รับเพิ่มขึ้นเป็นรายปีทุก ๆ ปี
ตามกำลังเงินงบประมาณแผ่นดินจนกว่าจะเข้าขั้นต่ำตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๑๘
ให้ไว้ ณ วันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๘
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
นายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ.
กฎ ก.พ. ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๑๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๑๘
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำหรือสูงกว่าขั้นสูงของเงินเดือนสำหรับตำแหน่ง[๓]
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๒/ตอนที่ ๑๘๖/ฉบับพิเศษ หน้า ๓/๙ กันยายน ๒๕๑๘
[๒] ข้อ ๑
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ. ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๑๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๑๘ ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำหรือสูงกว่าขั้นสูงของเงินเดือนสำหรับตำแหน่ง
[๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๓/ตอนที่ ๓๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙ |
654027 | กฎ ก.พ. ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำ หรือสูงกว่าขั้นสูงของเงินเดือนสำหรับตำแหน่ง (ฉบับ Update ล่าสุด) | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ฉบับที่ ๑๗
(พ.ศ. ๒๕๒๗)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๑๘
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำ
หรือสูงกว่าขั้นสูงของเงินเดือนสำหรับตำแหน่ง[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๑๙ ลงวันที่ ๘
พฤศจิกายน ๒๕๒๐ และมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘
ก.พ. จึงออกกฎ ก.พ. ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(๑) กฎ ก.พ. ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๘)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘
(๒) กฎ ก.พ. ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๑๙)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘
ข้อ ๒[๒]
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับใด ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำของเงินเดือนสำหรับตำแหน่งระดับนั้น
เว้นแต่
(๑) ผู้นั้นได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของระดับนั้นอยู่แล้ว
ให้ได้รับเงินเดือนในอัตราเท่ากับเงินเดือนที่ได้รับอยู่
(๒) ผู้นั้นได้รับประกาศนียบัตรประโยคมัธยมวิสามัญศึกษาตอนปลาย
(ม.๖) ประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนต้นสายสามัญ (ม.ศ.๓)
ประกาศนียบัตรมัธยมศึกษา ตอนต้น (ม.๓) ประกาศนียบัตรประโยคเตรียมอุดมศึกษา (ม.๘)
ประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอบปลายสายสามัญ (ม.ศ.๕)
ประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอบปลาย (ม.๖) หรือ ประกาศนียบัตรตามหลักสูตรอื่นใดที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่าให้ได้รับเงินเดือนในขั้นที่
ก.พ. กำหนด แต่ต้องไม่สูงกว่า ๓,๐๕๐ บาท
(๓) ผู้นั้นได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ และ ก.พ.
รับรองว่า ปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพนั้นเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งใด
ระดับใด และ กำหนดเงินเดือนที่ควบได้รับในขั้นใด ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นที่ ก.พ.
กำหนด แต่ต้องอยู่ในหลัก เกณฑ์ดังต่อไปนี้ด้วย คือ
(ก) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑
ให้ได้รับเงินเดือน ไม่สูงกว่าขั้น ๓,๐๕๐ บาท
(ข) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๒ ให้ได้รับเงินเดือน
ไม่สูงกว่าขั้น ๓,๘๐๐ บาท
(ค) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๓
ให้ได้รับเงินเดือน ไม่สูงกว่าขั้น ๕,๙๐๐ บาท
ในกรณีที่ ก.พ.
รับรองคุณวุฒิของผู้ใดว่าเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งใด ระดับใด
และกำหนดเงินเดือนที่ควรได้รับแตกต่างไปจากหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน (ก) (ข) และ (ค)
ให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนในขั้นที่ ก.พ. กำหนด
(๔) ผู้นั้นได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้น
และ ก.พ.
รับรองว่าปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพที่รับเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้นนั้นเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง
อธิบดีผู้บังคับบัญชาหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดีอาจปรับให้ได้รับเงินเดือนในขั้นตามที่
ก.พ. อนุมัติได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน (๓)
(๕) ในกรณีที่ ก.พ.
ได้กำหนดเงินเดือนขั้นต้นสำหรับตำแหน่งระดับใดใน สายงานใดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งสูงกว่าเงินเดือนขั้นต่ำของระดับนั้น
ให้ผู้นั้นได้รับเงิน เดือนในขั้นที่ ก.พ. กำหนด
(๖) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น
ถ้าได้รับเงินเดือนต่ำกว่าขั้นต่ำของเงินเดือนสำหรับตำแหน่ง
ให้ได้รับเงินเดือนในอัตราเท่ากับเงินเดือนที่ได้รับอยู่ เว้นแต่ ก.พ. จะได้พิจารณากำหนดเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๓
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับใด
ถ้าได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นสูงของระดับนั้นอยู่แล้ว
ให้ได้รับเงินเดือนในอัตราเท่ากับเงินเดือนที่ได้รับอยู่
ข้อ ๔
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๔๓ มาตรา
๕๒ มาตรา ๕๓ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๖ มาตรา ๕๗ มาตรา ๕๘ และมาตรา ๖๑
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘
ให้ได้รับเงินเดือนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ
ข้อ ๕
กรณีอื่นนอกจากที่ได้กำหนดไว้ในกฎ ก.พ. นี้ ให้เสนอ ก.พ. พิจารณาอนุมัติเป็นราย
ๆ ไป
ให้ไว้
ณ วันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๗
พลตรี
ประจวบ สุนทรางกูร
รองนายกรัฐมนตรี
สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ประธาน
ก.พ.
กฎ
ก.พ. ฉบับที่ ๑๙ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๑๘ ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำหรือสูงกว่าขั้นสูงของเงินเดือนสำหรับตำแหน่ง[๓]
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๑/ตอนที่ ๑๑๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒๒ สิงหาคม ๒๕๒๗
[๒] ข้อ ๒
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ. ฉบับที่ ๑๙ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๑๘ ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำหรือสูงกว่าขั้นสูงของเงินเดือนสำหรับตำแหน่ง
[๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๑๘/หน้า ๕๑๘/๔ กรกฎาคม ๒๕๓๔ |
654023 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน พ.ศ. 2544 (ฉบับ Update ล่าสุด) | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน
พ.ศ. ๒๕๔๔[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ และมาตรา ๔๕
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๘ ก.พ. จึงออกกฎ ก.พ. ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๒ เป็นต้นไป
ข้อ ๒
ให้ยกเลิก
(๑) กฎ ก.พ. ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๓๘)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน
(๒) กฎ ก.พ. ฉบับที่ ๒๔ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน
ข้อ ๓
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ระดับใด ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๕๓๘ ดังนี้
(๑) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดในระดับ ๑
ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท ๑
(๒) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดในระดับ ๒
ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท ๒
(๓) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดในระดับ ๓
ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท ๓
(๔) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดในระดับ ๔
ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท ๔
(๕) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดในระดับ ๕
ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท ๕
(๖) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดในระดับ ๖
ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท ๖
(๗) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดในระดับ ๗
ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท ๗
(๘) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดในระดับ ๘ ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ
ท ๘
(๙) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดในระดับ ๙
ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท ๙
ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในระดับ
๙ ที่มิใช่ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่สูงกว่ากองในกรม ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ
ท ๙ ถึงอันดับ ท ๑๐
(๑๐)ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดในระดับ ๑๐
ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท ๑๐
ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในระดับ
๑๐ ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท ๑๐ ถึงอันดับ ท ๑๑
(๑๑) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดในระดับ ๑๑
ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท ๑๑
(๑๒) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
ในระดับ ๑๑ ตำแหน่งปลัดกระทรวง ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดทบวง เลขาธิการ
ผู้อำนวยการ ราชเลขาธิการ ที่ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๑ ให้ได้รับเงินเดือนอันดับ บ ๑๑
ข้อ ๔
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ระดับใด โดยได้รับเงินเดือนในอันดับใดตามข้อ
๓ ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำของอันดับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งนั้น เว้นแต่
(๑)
ผู้นั้นได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของอันดับนั้นอยู่แล้ว ให้ได้รับเงินเดือนเท่าเดิม
(๒) ผู้นั้นได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรการศึกษาหรือวิชาชีพ
และ ก.พ.
รับรองว่าปริญญาหรือประกาศนียบัตรการศึกษาหรือวิชาชีพนั้นเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งและกำหนดเงินเดือนที่ควรได้รับในอันดับและขั้นใดให้ได้รับเงินเดือนในอันดับและขั้นที่
ก.พ. กำหนด
(๓) ผู้นั้นได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรการศึกษาหรือวิชาชีพเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้นและ
ก.พ. รับรองว่าปริญญาหรือประกาศนียบัตรการศึกษาหรือวิชาชีพที่ได้รับเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้นนั้น
เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งและกำหนดเงินเดือนที่ควรได้รับในอันดับและขั้นใดอธิบดีผู้บังคับบัญชาหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากอธิบดีอาจปรับให้ได้รับเงินเดือนอันดับและขั้นที่
ก.พ. กำหนดได้
(๔) ผู้นั้นได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสายงานใดที่ ก.พ.
กำหนดในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้ตำแหน่งในสายงานนั้นได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของอันดับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งระดับนั้น
ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับและขั้นที่ ก.พ. กำหนด
(๕)
ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดในระดับที่ต่ำกว่าตำแหน่งเดิมให้ได้รับเงินเดือนในแต่ละกรณีดังนี้
(ก)
ในกรณีที่เป็นการแต่งตั้งเพื่อประโยชน์ของทางราชการให้ได้รับเงินเดือนในอันดับและขั้นที่ได้รับอยู่เดิม
(ข) ในกรณีที่เป็นการแต่งตั้งโดยเป็นความประสงค์ของตัวข้าราชการ
ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งในขั้นที่เทียบได้ตรงกันกับขั้นเงินเดือนของอันดับเดิม
ตามตารางเทียบขั้นเงินเดือนแต่ละอันดับที่ข้าราชการจะได้รับเมื่อได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งท้ายกฎ
ก.พ. นี้ แต่ถ้าผู้นั้นได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นสูงของอันดับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งอยู่แล้ว
ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นสูงของอันดับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง
(๖) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นตำแหน่งใด
ถ้าได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของอันดับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งนั้นอยู่แล้ว
ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งในขั้นที่เทียบได้ตรงกันกับขั้นเงินเดือนของอันดับเดิม
ตามตารางเทียบขั้นเงินเดือนแต่ละอันดับที่ข้าราชการจะได้รับเมื่อได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งท้ายกฎ
ก.พ. นี้
ข้อ ๕[๒]
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงที่รับเงินเดือนในอันดับ
ท๙ ถึงอันดับ ท๑๐ หรืออันดับ ท๑๐ ถึงอันดับ ท๑๑ ผู้ใดได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงของอันดับ
ท๙ หรืออันดับ ท๑๐ แล้วแต่กรณี
ให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนในอันดับที่สูงขึ้นในขั้นที่เทียบได้ตรงกันกับขั้นเงินเดือนของอันดับเดิม
ตามตารางเทียบขั้นเงินเดือนแต่ละอันดับที่ข้าราชการจะได้รับเมื่อได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งท้ายกฎ
ก.พ. นี้ ในวันแรกที่ได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงของอันดับ ท๙ หรืออันดับ ท๑๐
แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งจะได้รับเงินเดือนสูงขึ้นในอันดับ
ท ๑๐ หรืออันดับ ท ๑๑ ตามวรรคหนึ่งผู้ใดต้องพ้นจากราชการเพราะเหตุเกษียณอายุ
ให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนในอันดับที่สูงขึ้นดังกล่าวในวันที่ ๓๐
กันยายนของปีสุดท้ายก่อนที่จะพ้นจากราชการเพราะเหตุเกษียณอายุ
ข้อ ๖
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงที่รับเงินเดือนในอันดับ
ท ๙ ถึงอันดับ ท ๑๐ หรืออันดับ ท๑๐ ถึงอันดับ ท ๑๑ และได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงของอันดับ
ท ๙ หรืออันดับ ท ๑๐ แล้วแต่กรณี ก่อนวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๒ ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับที่สูงขึ้นตามกฎ
ก.พ. นี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๒ เป็นต้นไป ส่วนผู้ได้รับเงินเดือนในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๒ ถึงขั้นสูงของอันดับ ท ๙ หรืออันดับ ท ๑๐ แล้วแต่กรณี
และต้องพ้นจากราชการเพราะเหตุเกษียณอายุในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๒ ให้ได้รับตั้งแต่วันที่
๓๐ กันยายน ๒๕๔๒
ข้อ ๗
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับเงินเดือนในอันดับที่สูงขึ้นตามข้อ ๕ และข้อ
๖ ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนอาจพิจารณาให้เลื่อนขั้นเงินเดือนตามกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือนได้ตั้งแต่วันที่ได้รับเงินเดือนในอันดับที่สูงขึ้น
ข้อ ๘
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๕๑ มาตรา
๖๐ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ มาตรา ๖๕ มาตรา ๖๖ มาตรา ๖๙ และมาตรา ๗๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๔ ให้ได้รับเงินเดือนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ
ข้อ ๙
กรณีอื่นนอกจากที่ได้กำหนดไว้ในกฎ ก.พ. นี้ให้เสนอ ก.พ. พิจารณาอนุมัติเป็นราย
ๆ ไป
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๔
ปองพล อดิเรกสาร
รองนายกรัฐมนตรี
ผู้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
[เอกสารแนบท้าย]
๑.[๓]
ตารางเทียบขั้นเงินเดือนแต่ละอันดับที่ข้าราชการจะได้รับเมื่อได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
(แก้ไขเพิ่มเติม)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๔๕
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๘
บัญญัติให้การรับเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญ เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ
ก.พ. ซึ่ง ก.พ. ได้ออกกฎ ก.พ. เรื่องนี้ไว้ตามกฎ ก.พ. ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๓๘)
และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ. ฉบับที่ ๒๔ (พ.ศ. ๒๕๔๓) การมีกฎ ก.พ.
หลายฉบับทำให้ไม่สะดวกในทางปฏิบัติ ประกอบกับต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงวันเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการเป็นให้เลื่อนปีละสองครั้งในวันที่
๑ เมษายน และวันที่ ๑ ตุลาคม ซึ่งมีผลกระทบต่อวันเริ่มรับเงินเดือนในอันดับที่สูงขึ้นตามกฎ
ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนดังกล่าว ดังนั้น
เพื่อให้การรับเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญสะดวกในทางปฏิบัติ
สอดคล้องกับการเลื่อนขั้นเงินเดือน และเพื่อให้ผู้ได้รับเงินเดือนในอันดับที่สูงขึ้นได้รับเงินเดือนในขั้นที่เทียบได้ตรงกันกับขั้นเงินเดือนของอันดับเดิม จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๔๗[๔]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗
กำหนดให้ปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๕๓๘ ให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นต้นไป ดังนั้น
จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมตารางเทียบขั้นเงินเดือนแต่ละอันดับที่ข้าราชการจะได้รับเมื่อได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งท้ายกฎ
ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน พ.ศ. ๒๕๔๔
ให้สอดคล้องกับการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.
๒๕๔๗[๕]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน พ.ศ. ๒๕๔๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗
ได้กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงที่รับเงินเดือนในอันดับ
ท๙ ถึงอันดับ ท๑๐ หรืออันดับ ท๑๐ ถึงอันดับ ท๑๑
ซึ่งได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงของอันดับ ท๙ หรืออันดับ ท๑๐ แล้วแต่กรณี
ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับที่สูงขึ้นในวันแรกของการเลื่อนขั้นเงินเดือนครั้งถัดไป
จากหลักเกณฑ์ดังกล่าวทำให้ข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงที่ได้รับเงินเดือนก่อนถึงขั้นสูงของตำแหน่งแม้จะมีผลการประเมินการปฏิบัติราชการเพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือนในระดับดีเด่นแต่ก็ไม่สามารถพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ได้
โดยต้องรอในวันแรกของการเลื่อนขั้นเงินเดือนครั้งถัดไป
ข้าราชการดังกล่าวจึงสามารถรับเงินเดือนในอันดับสูงขึ้นได้ ดังนั้น
เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์และเกิดความเป็นธรรม จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๔๘[๖]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘
กำหนดให้ปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราเงินเดือนท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๘ ดังนั้น
จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมตารางเทียบขั้นเงินเดือนแต่ละอันดับที่ข้าราชการจะได้รับเมื่อได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งท้ายกฎ
ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนให้สอดคล้องกับการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.
๒๕๕๐[๗]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
กำหนดให้ปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๔๘ ให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราเงินเดือนท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ ดังนั้น
จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมตารางเทียบขั้นเงินเดือนแต่ละอันดับที่ข้าราชการจะได้รับเมื่อได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งท้ายกฎ
ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนให้สอดคล้องกับการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๘/ตอนที่ ๘๓ ก/หน้า ๑/๒๔ กันยายน ๒๕๔๔
[๒] ข้อ ๕ วรรคหนึ่ง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗
[๓] ตารางเทียบขั้นเงินเดือนแต่ละอันดับที่ข้าราชการจะได้รับเมื่อได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๔] ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๒๗ ก/หน้า ๑๑/๒๙ มิถุนายน ๒๕๔๗
[๕] ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๕๗ ก/หน้า ๑/๒๙ กันยายน ๒๕๔๗
[๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๘๙ ก/หน้า ๑/๓๐ กันยายน ๒๕๔๘
[๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๗๓ ก/หน้า ๘/๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๐ |
654032 | กฎ ก.พ. ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน (ฉบับ Update ล่าสุด) | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๓๘)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ และมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๘
ก.พ. จึงออกกฎ ก.พ. ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๓๗ เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกกฎ
ก.พ. ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๓
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ระดับใดให้ได้รบเงินเดือนในอันดับตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๕๓๘ ดังนี้
(๑) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดในระดับ ๑
ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท ๑
(๒) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดในระดับ ๒
ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท ๒
(๓) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดในระดับ ๓
ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท ๓
(๔) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดในระดับ ๔
ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท ๔
(๕) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดในระดับ ๕
ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท ๕
(๖) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดในระดับ ๖
ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท ๖
(๗) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดในระดับ ๗
ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท ๗
(๘) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดในระดับ ๘
ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท ๘
(๙)[๒]
ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดในระดับ ๙ ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท ๙
ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในระดับ
๙ ที่มิใช่ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่สูงกว่ากองในกรม ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ
ท ๙ ถึงอันดับ ท ๑๐
(๑๐)[๓]
ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดในระดับ ๑๐ ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท ๑๐
ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในระดับ
๑๐ ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท ๑๐ ถึงอันดับ ท ๑๑(๑๑) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดในระดับ
๑๑ ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท ๑๑
(๑๒) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในระดับ
๑๑ ตำแหน่งปลัดกระทรวง ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดทบวง เลขาธิการ ผู้อำนวยการ
ราชเลขาธิการ ที่ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๑ ให้รับเงินเดือนอันดับ บ.๑๑
ข้อ ๔
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ระดับใด
โดยได้รับเงินเดือนในอันดับใดตามข้อ ๓ ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำของอันดับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งนั้น
เว้นแต่
(๑) ผู้นั้นได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของอันดับนั้นอยู่แล้ว
ให้ได้รับเงินเดือนเท่าเดิม
(๒) ผู้นั้นได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรการศึกษาหรือวิชาชีพ
และ ก.พ.
รับรองว่าปริญญาหรือประกาศนียบัตรการศึกษาหรือวิชาชีพนั้นเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง
และกำหนดเงินเดือนที่ควรได้รับในอันดับและขั้นใดให้ได้รับเงินเดือนในอันดับและขั้นที่
ก.พ. กำหนด
(๓) ผู้นั้นได้รับปริญญาหรือประกาศนีบัตรการศึกษาหรือวิชาชีพเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้น
และ ก.พ. รับรองว่าปริญญาหรือประกาศนียบัตรการศึกษาหรือวิชาชีพที่ได้รับเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้นนั้นเป็นคุณสมบัติเฉพาะ
สำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งและกำหนดเงินเดือนที่ควรได้รับในอันดับและขั้นใด
อธิบดีผู้บังคับบัญชาหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากอธิบดีอาจปรับให้ได้รับเงินเดือนในอันดับและขั้นที่
ก.พ. กำหนดให้
(๔) ผู้นั้นได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสายงานใดที่ ก.พ.
กำหนดในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ให้ตำแหน่งในสายงานนั้นได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของอันดับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งระดับนั้นให้ได้รับเงินเดือนในอันดับและขั้นที่
ก.พ. กำหนด
(๕) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดในระดับที่ต่ำกว่าตำแหน่งเดิม
ให้ได้รับเงินเดือนในแต่ละกรณีดังนี้
(ก) ในกรณีที่เป็นการแต่งตั้งเพื่อประโยชน์ของทางราชการ ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับและขั้นที่ได้รับอยู่เดิม
(ข) ในกรณีที่เป็นการแต่งตั้งโดยเป็นความประสงค์ของตัวข้าราชการ
ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งในขั้นที่เทียบได้ตรงกันกับขั้นเงินเดือนของอันดับเดิม
ตามตารางเทียบขั้นเงินเดือนแต่ละอันดับที่ข้าราชการจะได้รับเมื่อได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งท้าย
กฎ ก.พ. นี้ แต่ถ้าผู้นั้นได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นสูงของอันอับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งอยู่แล้ว
ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นสูงของอันดับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง
(๖) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นตำแหน่งใด
ถ้าได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของอันดับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งนั้นอยู่แล้ว
ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งในขั้นที่เทียบได้ตรงกันกับขั้นเงินเดือนของอันดับเดิม
ตามตารางเทียบขั้นเงินเดือนแต่ละอันดับที่ข้าราชการจะได้รับเมื่อได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งท้าย
กฎ ก.พ. นี้
ข้อ ๔ ทวิ[๔] ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงที่รับเงินเดือนในอันดับ
ท ๙ ถึงอันดับ ท ๑๐ หรืออันดับ ท ๑๐ ถึงอันดับ ท ๑๑
ผู้ใดได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงของอันดับ ท ๙ หรืออันดับ ท ๑๐ แล้วแต่กรณี
ให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนในอันดับที่สูงขึ้นดังนี้
(๑) ผู้ได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงของอันดับ ท ๙ ขั้น ๔๔,๙๓๐
บาท ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท ๑๐ ขั้น ๔๔,๙๔๐ บาท ในวันแรกของปีงบประมาณถัดไป
(๒) ผู้ได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงของอันดับ ท ๑๐ ขั้น ๕๓,๑๓๐
บาท ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท ๑๑ ขั้น ๕๓,๓๙๐ บาท ในวันแรกของปีงบประมาณถัดไป
ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งจะได้รับเงินเดือนสูงขึ้นในอันดับ
ท ๑๐ ขั้น ๔๔,๙๔๐ บาท หรืออันดับ ท ๑๑ ขั้น ๕๓,๓๙๐ บาท
ตามวรรคหนึ่งผู้ใดต้องพ้นจากราชการเพราะเหตุเกษียณอายุ
ให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนในอันดับที่สูงขึ้นดังกล่าวในวันที่ ๓๐ กันยายนของปีสุดท้ายก่อนที่จะพ้นจากราชการเพราะเหตุเกษียณอายุ
ข้อ ๕
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๕๑ มาตรา
๖๐ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ มาตรา ๖๕ มาตรา ๖๖ มาตรา ๖๙ และมาตรา ๗๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕
ให้ได้รับเงินเดือนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ
ข้อ ๖
กรณีอื่นนอกจากที่ได้กำหนดไว้ในกฎ ก.พ. นี้ ให้เสนอ ก.พ. พิจารณาอนุมัติเป็นราย
ๆ ไป
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๘
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
ตารางเทียบขั้นเงินเดือนแต่ละอันดับที่ข้าราชการจะได้รับเมื่อได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประการประกาศใช้กฎ ก.พ.ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๔๕
วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๘
บัญญัติว่า ข้าราชการพลเรือนสามัญจะได้รับเงินเดือนตามตำแหน่ง
ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ระดับใด จะได้รับเงินเดือนในอันดับใดตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งให้เป็นไปตามที่
ก.พ. กำหนดโดยให้ได้รับในขั้นต่ำของอันดับ ในกรณีที่จะให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำหรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ
ก.พ. จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ ก.พ. ฉบับที่ ๒๔ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน[๕]
ข้อ ๔
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในระดับ
๙ หรือระดับ ๑๐ และได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงของอันดับ ท ๙ ขั้น ๔๔,๙๓๐ บาท
หรืออันดับ ท ๑๐ ขั้น ๕๓,๑๓๐ บาท แล้วแต่กรณี ก่อนวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๒
ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับที่สูงขึ้นตามกฎ ก.พ. นี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๒
เป็นต้นไป ส่วนผู้ได้รับเงินเดือนในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒ ถึงขั้นสูงของอันดับ ท ๙
ขั้น ๔๔,๙๓๐ บาท หรืออันดับ ท ๑๐ ขั้น ๕๓,๑๓๐ บาท แล้วแต่กรณี
และต้องพ้นจากราชการเพราะเหตุเกษียณอายุในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๒
ให้ได้รับตั้งแต่วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๒
ข้อ ๕
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับเงินเดือนในอันดับที่สูงขึ้นตามข้อ ๓
และข้อ ๔ ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน อาจพิจารณาให้เลื่อนขั้นเงินเดือนตามกฎ
ก.พ.
ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือนได้ตั้งแต่วันที่ได้รับเงินเดือนในอันดับที่สูงขึ้น
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๔๕
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๘
บัญญัติว่า ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนตามตำแหน่ง
ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ระดับใด
จะได้รับเงินเดือนในอันดับใดตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งให้เป็นไปตามที่
ก.พ. กำหนด โดยให้ได้รับในขั้นต่ำของอันดับ
ในกรณีที่จะให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำหรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ
ก.พ.
ประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติเห็นชอบในหลักการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในระดับ
๙ และระดับ ๑๐
ซึ่งได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงของอันดับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งที่ดำรงอยู่แล้วรับเงินเดือนสูงขึ้นได้อีกหนึ่งอันดับ
และปัจจุบันมีข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในระดับ ๙
และระดับ ๑๐ ที่ได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงของอันดับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งที่ดำรงอยู่
ซึ่งสมควรกำหนดให้ได้รับเงินเดือนสูงขึ้นอีกหนึ่งอันดับ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๙ ก/หน้า ๑๐/๓๑ พฤษภาคม ๒๕๓๘
[๒] ข้อ ๓ (๙)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ. ฉบับที่ ๒๔ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน
[๓] ข้อ ๓ (๑๐)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ. ฉบับที่ ๒๔ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน
[๔] ข้อ ๔ ทวิ
เพิ่มโดยกฎ ก.พ. ฉบับที่ ๒๔ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน
[๕]ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๑๐๙ ก/หน้า ๑/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ |
654038 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป พ.ศ. 2552 (ฉบับ Update ล่าสุด) | กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป
พ.ศ. ๒๕๕๒[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๕) และมาตรา ๑๐๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.พ.
โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในปีงบประมาณใดและดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับเชี่ยวชาญ หรือระดับทรงคุณวุฒิ หรือดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส
หรือระดับทักษะพิเศษ
รับราชการต่อไปเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ตามกฎ ก.พ.
นี้ จะต้องเป็นกรณีที่
(๑)
มีเหตุผลและความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
(๒)
ตำแหน่งที่จะให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปต้องเป็นตำแหน่งที่ ก.พ.
กำหนดให้เป็นตำแหน่งที่มีความขาดแคลนบุคลากรในเชิงปริมาณ หรือเชิงคุณภาพ
และหาผู้อื่นปฏิบัติงานแทนได้ยากเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในทางวิชาการหรือหน้าที่ที่จะต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัว
และ
(๓)[๒] (ยกเลิก)
ข้อ ๒ กำหนดเวลาที่จะให้รับราชการต่อไปตามกฎ ก.พ.
นี้ ให้กระทำได้ตามความจำเป็นโดยในครั้งแรกให้สั่งให้รับราชการต่อไปได้ไม่เกินสี่ปี
และถ้ายังมีเหตุผลและความจำเป็นจะให้รับราชการต่อไปอีกได้ครั้งละไม่เกินสามปี
แต่เมื่อรวมกันแล้วระยะเวลาทั้งหมดต้องไม่เกินสิบปี
เมื่อครบกำหนดเวลาที่สั่งให้รับราชการต่อไปตามวรรคหนึ่ง
ให้สั่งให้ผู้นั้นพ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แต่ถ้าความจำเป็นที่ให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปหมดลงก่อนครบกำหนดเวลาดังกล่าว
จะสั่งให้ผู้นั้นพ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการก่อนครบกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้
แต่ต้องแจ้งให้ผู้นั้นทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวัน
ข้อ ๓ ส่วนราชการใดมีความจำเป็นที่จะให้ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งจะมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไปเมื่อสิ้นปีงบประมาณนั้น
ให้ส่วนราชการนั้นจัดทำข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาดังนี้
(๑)
แผนงาน โครงการ ตลอดจนภารกิจที่มีความจำเป็นจะให้ผู้นั้นปฏิบัติ จำแนกเป็นรายปี
(๒)
สภาวะการขาดแคลนบุคลากรในเชิงปริมาณ
หรือเชิงคุณภาพทั้งในส่วนราชการนั้นเองและในภาพรวม ความสามารถในทางวิชาการ
หรือความสามารถเฉพาะตัวของผู้นั้น และความยากในการหาผู้ที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสม
มาปฏิบัติหน้าที่แทนผู้นั้น
(๓)
เหตุผลและความจำเป็นที่จำต้องให้ผู้นั้นปฏิบัติภารกิจ ตาม (๑)
(๔)
ระยะเวลาที่จะให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป
(๕)
ข้อมูลเกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นตามข้อ ๔
ข้อ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์แล้ว
ที่จะให้รับราชการต่อไปได้ตามข้อ ๑ ต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑)[๓] ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับเชี่ยวชาญขึ้นไปหรือประเภททั่วไป ระดับอาวุโสขึ้นไป แล้วแต่กรณี ต่อเนื่องกันมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
(๒)
มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ ทักษะ ประสบการณ์
และมีผลงานหรือผลการปฏิบัติงานในตำแหน่งดังกล่าวเป็นที่ประจักษ์ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนั้นต่อไปได้
(๓)
ไม่อยู่ในระหว่างการถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนในกรณีที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
(๔)
ผ่านการตรวจสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการแพทย์ที่
ก.พ. แต่งตั้งกำหนด
ข้อ ๕ การให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับเชี่ยวชาญ หรือระดับทรงคุณวุฒิตามข้อ ๑ (๒)
ได้รับราชการต่อไปเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ ให้
อ.ก.พ. กระทรวง เป็นผู้พิจารณา
การให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดซึ่งดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป
ระดับอาวุโส หรือระดับทักษะพิเศษตามข้อ ๑ (๒) ได้รับราชการต่อไปเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์
ให้ อ.ก.พ. กรม เป็นผู้พิจารณา
ข้อ ๖ ให้ส่วนราชการดำเนินการตามข้อ ๕
ภายในเดือนมีนาคมของปีงบประมาณที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นจะมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์
และให้ อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. กรม แล้วแต่กรณี พิจารณาข้อเสนอของส่วนราชการ
ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายนของปีงบประมาณนั้น
ข้อ ๗ ในกรณีที่ อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. กรม
แล้วแต่กรณี เห็นชอบให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดรับราชการต่อไปได้เมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีคำสั่งให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป และส่งสำเนาคำสั่งให้สำนักงาน
ก.พ. และกรมบัญชีกลางทราบ เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ข้อ ๘ การสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญรับราชการต่อไปเป็นครั้งแรกนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์
ให้มีคำสั่งภายในวันที่ ๓๐ กันยายน ของปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์
ในกรณีที่ครบกำหนดเวลาที่ให้รับราชการต่อไปแล้ว
ถ้าได้รับความเห็นชอบให้รับราชการต่อไปอีก
ให้มีคำสั่งก่อนวันครบกำหนดเวลาที่ให้รับราชการต่อไปในครั้งก่อน
ข้อ ๙ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับราชการต่อไปตามกฎ
ก.พ. นี้
จะต้องดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่เฉพาะตำแหน่งที่ให้รับราชการต่อไปเท่านั้น
จะย้าย โอน หรือเลื่อนไปดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ประเภทอำนวยการ หรือตำแหน่งอื่น
หรือจะรักษาราชการแทน รักษาการในตำแหน่ง รับมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทน
ไปช่วยราชการ หรือไปช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่งอื่นไม่ได้
ข้อ
๙/๑[๔] ในกรณีที่ส่วนราชการใดไม่อาจดำเนินการตามข้อ
๑ ได้ เพราะเหตุที่ตำแหน่งที่ประสงค์จะให้ข้าราชการพลเรือนสามัญรับราชการต่อไป ไม่ได้เป็นตำแหน่งที่
ก.พ. กำหนดให้ไว้ก่อนตามข้อ ๑ (๒) ให้ส่วนราชการนั้นระบุตำแหน่งและตัวบุคคลที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว
พร้อมทั้งจัดทำข้อมูลตามข้อ ๓ เสนอ อ.ก.พ.กรม หรือ อ.ก.พ. กระทรวง แล้วแต่กรณี และ
ก.พ. เพื่อพิจารณาตามลำดับโดยต้องเสนอให้ ก.พ. พิจารณาภายในเดือนมิถุนายนของปีงบประมาณนั้น ทั้งนี้ ให้ ก.พ. พิจารณาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดใน
กฎ ก.พ. นี้ และเมื่อได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ. แล้ว ให้ดำเนินการตามข้อ ๘
ข้อ ๑๐ ความในข้อ ๖
ไม่ใช้บังคับกับข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในปีงบประมาณ
๒๕๕๒
ให้ไว้
ณ วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒
อภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ประธาน
ก.พ.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๑๐๘
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ บัญญัติว่า ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์
ถ้าทางราชการมีความจำเป็นจะให้รับราชการต่อไปเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่อายุครบหกสิบปีบริบูรณ์
เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในทางวิชาการหรือหน้าที่ที่ต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัว
ในตำแหน่งตามมาตรา ๔๖ (๓) (ง) หรือ (จ) หรือ (๔) (ค) หรือ (ง)
อีกไม่เกินสิบปีได้ตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. สมควรกำหนดหลักเกณฑ์ให้การที่จะให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดรับราชการต่อไปนั้น
เป็นความประสงค์ของทางราชการโดยให้คำนึงถึงความสมัครใจของข้าราชการผู้นั้นด้วย
และตำแหน่งที่จะให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปต้องเป็นตำแหน่งที่มีอยู่เดิม
ไม่ได้เป็นการกำหนดตำแหน่งเพิ่มใหม่ จึงจำเป็นต้องออกกฎ
ก.พ. นี้
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๕๓[๕]
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป พ.ศ.
๒๕๕๒ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ให้ส่วนราชการสามารถดำเนินการให้ข้าราชการที่มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์และเข้าหลักเกณฑ์ในเรื่องอื่นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้อีกไม่เกินสิบปี
ในกรณีที่ ก.พ. ยังไม่ได้กำหนดตำแหน่งของข้าราชการดังกล่าวให้เป็นตำแหน่งที่จะให้ข้าราชการรับราชการได้ต่อไปไว้ก่อน จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒[๖]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป
พ.ศ. ๒๕๕๒ เพื่อให้สามารถนำระยะเวลาของการเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับเชี่ยวชาญขึ้นไป หรือประเภททั่วไป ระดับอาวุโสขึ้นไป
ซึ่งมีระยะเวลาต่อเนื่องกันมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี มาใช้เป็นคุณสมบัติในการได้รับการพิจารณาให้สามารถรับราชการต่อไปเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ได้อันเป็นการบรรเทาปัญหาความขาดแคลนบุคลากรในสาขาที่เป็นภารกิจสำคัญของรัฐ
และเพื่อรองรับปัญหาการเข้าสู่สังคมสูงวัย จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
วิวรรธน์/เพิ่มเติม
๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๖๙ ก/หน้า ๕/๑๗ กันยายน ๒๕๕๒
[๒] ข้อ ๑ (๓) ยกเลิกโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒
[๓] ข้อ ๔ (๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒
[๔] ข้อ
๙/๑ เพิ่มโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓
[๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๕๕ ก/หน้า ๒๖/๙ กันยายน ๒๕๕๓
[๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๗๘ ก/หน้า ๑๓/๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๒ |
836520 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 | กฎ
ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป
(ฉบับที่ ๓)
พ.ศ.
๒๕๖๒
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๕) และมาตรา ๑๐๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๖ ประกอบกับมาตรา ๒๗ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๐ และมาตรา ๔๓
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑]
กฎ ก.พ. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของข้อ ๑ ของกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป
พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน
(๑) ของข้อ ๔ ของกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป
พ.ศ. ๒๕๕๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑) ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับเชี่ยวชาญขึ้นไปหรือประเภททั่วไป ระดับอาวุโสขึ้นไป แล้วแต่กรณี
ต่อเนื่องกันมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
ให้ไว้
ณ วันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๒
วิษณุ
เครืองาม
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน
ก.พ.
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป
พ.ศ. ๒๕๕๒ เพื่อให้สามารถนำระยะเวลาของการเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับเชี่ยวชาญขึ้นไป หรือประเภททั่วไป ระดับอาวุโสขึ้นไป
ซึ่งมีระยะเวลาต่อเนื่องกันมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี มาใช้เป็นคุณสมบัติในการได้รับการพิจารณาให้สามารถรับราชการต่อไปเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ได้อันเป็นการบรรเทาปัญหาความขาดแคลนบุคลากรในสาขาที่เป็นภารกิจสำคัญของรัฐ
และเพื่อรองรับปัญหาการเข้าสู่สังคมสูงวัย จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
วิวรรธน์/จัดทำ
๖
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๗๘ ก/หน้า ๑๓/๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๒ |
684758 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน พ.ศ. 2552 (ฉบับ Update ล่าสุด) | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน
พ.ศ. ๒๕๕๒[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๕) และมาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.พ.
โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีจึงออกกฎ ก.พ.ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
กฎ ก.พ. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป
ข้อ ๒
ในกฎ ก.พ. นี้
ปี หมายความว่า ปีงบประมาณ
ครึ่งปีแรก หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑
ตุลาคม ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม
ครึ่งปีหลัง หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑
เมษายน ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน
ครึ่งปีที่แล้วมา หมายความว่า
ระยะเวลาครึ่งปีแรกหรือครึ่งปีหลัง ที่ผ่านมา แล้วแต่กรณี
ค่ากลาง หมายความว่า
ผลรวมของเงินเดือนต่ำสุดกับเงินเดือนสูงสุดที่ข้าราชการพลเรือนสามัญแต่ละประเภท
แต่ละสายงาน และแต่ละระดับได้รับตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ. กำหนด หารด้วยสอง
เพื่อให้ได้ตัวเลขที่จะนำไปใช้คิดฐานในการคำนวณ
ฐานในการคำนวณ หมายความว่า ตัวเลขที่จะนำไปใช้ในการคิดคำนวณเพื่อเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญแต่ละประเภท
แต่ละสายงาน และแต่ละระดับ โดยแบ่งออกเป็น
(๑)
ฐานในการคำนวณระดับล่าง ได้แก่ ผลรวมของเงินเดือนต่ำสุดตามที่ ก.พ.
กำหนดกับค่ากลาง หารด้วยสอง
(๒)
ฐานในการคำนวณระดับบน ได้แก่ ผลรวมของเงินเดือนสูงสุดตามที่ ก.พ. กำหนดกับค่ากลาง
หารด้วยสอง
ในกรณีที่คำนวณตามวิธีการดังกล่าวแล้ว
มีผลทำให้ฐานในการคำนวณระดับล่างของระดับตำแหน่งที่สูงกว่า
มีค่าต่ำกว่าหรือเท่ากับฐานในการคำนวณระดับบนของระดับตำแหน่งที่ต่ำกว่าซึ่งอยู่ถัดลงไป
ก.พ. อาจปรับฐานในการคำนวณระดับล่างของระดับตำแหน่งที่สูงกว่านั้นเสียใหม่ให้สูงขึ้นได้
โดยต้องนำภาพรวมของฐานในการคำนวณเพื่อเลื่อนเงินเดือนทั้งระบบมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา
ช่วงเงินเดือน หมายความว่า
ช่วงของเงินเดือนระหว่างเงินเดือนขั้นต่ำถึงค่ากลาง หรือระหว่างค่ากลางถึงเงินเดือนขั้นสูง
แล้วแต่กรณี และช่วงเงินเดือนที่ ก.พ. ปรับให้สอดคล้องกับฐานในการคำนวณด้วย
ข้อ ๓
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา ๕๗
เป็นผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือน
ข้อ ๔
การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎ
ก.พ. นี้
และให้นำผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการที่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๗๖ มาประกอบการพิจารณา
โดยให้เลื่อนได้ไม่เกินวงเงินที่ส่วนราชการได้รับการจัดสรรให้ใช้ในการเลื่อนเงินเดือน
การเลื่อนเงินเดือนให้ข้าราชการพลเรือนสามัญแต่ละคนในแต่ละครั้ง
ให้เลื่อนได้ไม่เกินเงินเดือนสูงสุดที่ ก.พ. กำหนดสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง
การเลื่อนเงินเดือนให้ข้าราชการพลเรือนสามัญโดยมิได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
แต่ใช้วิธีการหารเฉลี่ยเพื่อให้ข้าราชการพลเรือนสามัญทุกคนได้รับการเลื่อนเงินเดือนในอัตราร้อยละที่เท่ากัน
จะกระทำมิได้
การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญแต่ละคนในแต่ละครั้ง
ให้เลื่อนได้ในอัตราไม่เกินร้อยละหกของฐานในการคำนวณ
และให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนประกาศอัตราร้อยละของฐานในการคำนวณที่ได้ใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณเพื่อเลื่อนเงินเดือน
โดยต้องประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไปอย่างช้าที่สุดพร้อมกับการมีคำสั่งเลื่อนเงินเดือน
การคำนวณจำนวนเงินสำหรับการเลื่อนเงินเดือนถ้ามีเศษไม่ถึงสิบบาทให้ปัดเป็นสิบบาท
ข้อ ๕
การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญโดยปกติให้เลื่อนปีละสองครั้ง
ดังนี้
(๑)
ครั้งที่หนึ่ง เป็นการเลื่อนเงินเดือนสำหรับการปฏิบัติราชการในครึ่งปีแรก
โดยให้เลื่อนในวันที่ ๑ เมษายนของปีที่ได้เลื่อน
(๒)
ครั้งที่สอง เป็นการเลื่อนเงินเดือนสำหรับการปฏิบัติราชการในครึ่งปีหลัง
โดยให้เลื่อนในวันที่ ๑ ตุลาคมของปีถัดไป
ข้อ ๖
ให้ ก.พ. กำหนดค่ากลาง ฐานในการคำนวณ และช่วงเงินเดือนตามกฎ ก.พ. นี้
แล้วให้สำนักงาน ก.พ. แจ้งส่วนราชการและจังหวัดทราบเป็นการล่วงหน้า
ข้อ ๗
ผลการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญแต่ละคนในแต่ละครั้ง
ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนจัดให้มีการแจ้งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญทราบเป็นข้อมูลเฉพาะแต่ละบุคคล
การแจ้งผลการเลื่อนเงินเดือนตามวรรคหนึ่งให้ประกอบด้วย
อัตราร้อยละที่ได้รับการเลื่อน ฐานในการคำนวณ จำนวนเงินที่ได้รับการเลื่อน
และเงินเดือนที่พึงได้รับเมื่อได้รับการเลื่อนตามผลการเลื่อนเงินเดือนนั้น
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่ได้รับการเลื่อนเงินเดือนให้แจ้งเหตุผลที่ไม่ได้เลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นทราบด้วย
ข้อ ๘
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งจะได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนในแต่ละครั้งต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑)
ในครึ่งปีที่แล้วมามีผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าระดับพอใช้หรือร้อยละหกสิบ
(๒)
ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ถูกสั่งลงโทษทางวินัยที่หนักกว่าโทษภาคทัณฑ์
หรือไม่ถูกศาลพิพากษาในคดีอาญาให้ลงโทษในความผิดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
หรือความผิดที่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน
ซึ่งมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๓)
ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ถูกสั่งพักราชการเกินกว่าสองเดือน
(๔)
ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ขาดราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
(๕)
ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องได้รับการบรรจุเข้ารับราชการมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่เดือนหรือได้ปฏิบัติราชการมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่เดือนก่อนถึงแก่ความตาย
(๖)
ในครึ่งปีที่แล้วมา สำหรับผู้ได้รับอนุญาตให้ไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน
หรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศหรือต่างประเทศ ต้องมีเวลาปฏิบัติราชการไม่น้อยกว่าสี่เดือน
(๗)
ในครึ่งปีที่แล้วมา
สำหรับผู้ได้รับอนุญาตให้ลาติดตามคู่สมรสไปปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานในต่างประเทศ
ต้องมีเวลาปฏิบัติราชการไม่น้อยกว่าสี่เดือน
(๘)
ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ลา
หรือมาทำงานสายเกินจำนวนครั้งที่ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายกำหนดเป็นหนังสือไว้ก่อนแล้ว
โดยคำนึงถึงลักษณะงานและสภาพท้องที่อันเป็นที่ตั้งของแต่ละส่วนราชการหรือหน่วยงาน
(๙)
ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องมีเวลาปฏิบัติราชการ โดยมีวันลาไม่เกินยี่สิบสามวัน
แต่ไม่รวมถึงวันลาตาม (๖) หรือ (๗) และวันลาดังต่อไปนี้
(ก)
ลาอุปสมบท หรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย
เฉพาะวันลาที่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลาตามกฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน
(ข)
ลาคลอดบุตรไม่เกินเก้าสิบวัน
(ค)
ลาป่วยซึ่งจำเป็นต้องรักษาตัวเป็นเวลานานไม่ว่าคราวเดียวหรือหลายคราวรวมกันไม่เกินหกสิบวันทำการ
(ง)
ลาป่วยเพราะประสบอันตรายในขณะปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือในขณะเดินทางไปหรือกลับจากการปฏิบัติราชการตามหน้าที่
(จ)
ลาพักผ่อน
(ฉ)
ลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล
(ช)
ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
(ซ)[๒]
ลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร
เฉพาะวันลาที่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลาตามกฎหมาย
(ฌ)[๓]
ลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ
การนับจำนวนวันลาสำหรับการลาป่วยและการลากิจส่วนตัว
ให้นับเฉพาะวันทำการ
ข้อ ๙
ในการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน ให้นำข้อมูลการลา พฤติกรรมการมาทำงาน
การรักษาวินัย การปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ
และข้อควรพิจารณาอื่นมาประกอบการพิจารณาด้วย
ข้อ ๑๐
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งโอน เลื่อนตำแหน่ง ย้าย สับเปลี่ยนหน้าที่
ไปช่วยราชการในต่างกระทรวง ทบวง กรม
ได้รับมอบหมายหรือได้รับอนุญาตให้ไปปฏิบัติงานนอกเหนือหน้าที่หรืองานพิเศษอื่นใด
หรือไปช่วยงานในหน่วยงานอื่นของรัฐ
ให้นำผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการและปฏิบัติงานในครึ่งปีที่แล้วมาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นทุกตำแหน่งและทุกแห่งมาประกอบการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนด้วย
ข้อ ๑๑[๔] ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดได้รับอนุญาตให้ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
หรือถูกสั่งให้ไปทำการใดซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ
หรือได้รับอนุญาตให้ลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพเนื่องจากได้รับอันตรายหรือการป่วยเจ็บเพราะเหตุปฏิบัติราชการในหน้าที่หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทำการตามหน้าที่
จนทำให้ตกเป็นผู้ทุพพลภาพหรือพิการ
เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นกลับมาปฏิบัติราชการ
ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนพิจารณาสั่งให้มีการคำนวณเพื่อหาอัตราเงินเดือนที่ข้าราชการผู้นั้นจะได้รับเมื่อกลับมาปฏิบัติราชการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ.
กำหนด
ข้อ ๑๒
ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนจะนำเอาเหตุที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนในกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือถูกฟ้องคดีอาญา
มาเป็นเหตุในการไม่พิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นไม่ได้
ข้อ ๑๓
ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกสั่งลงโทษทางวินัยที่หนักกว่าโทษภาคทัณฑ์
และถูกศาลพิพากษาในคดีอาญาให้ลงโทษในความผิดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือความผิดที่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน
ซึ่งมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
และเป็นการถูกลงโทษจากการกระทำความผิดเดียวกัน
ถ้าถูกสั่งไม่เลื่อนเงินเดือนมาแล้วเพราะเหตุที่ถูกลงโทษทางวินัยหรือถูกศาลพิพากษาในคดีอาญาให้ลงโทษ
จะสั่งไม่เลื่อนเงินเดือนซ้ำอีกครั้งหนึ่งเพราะเหตุจากการกระทำความผิดเดียวกันนั้นไม่ได้
ข้อ ๑๔
ในกรณีที่ผลการพิจารณาโทษทางวินัยหรือโทษทางอาญาที่ถึงที่สุดแล้วมีผลทำให้การเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎ
ก.พ. นี้ ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนพิจารณาสั่งเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นเสียใหม่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎ
ก.พ. นี้
ข้อ ๑๕
ในครึ่งปีที่แล้วมาถ้าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้เลื่อนเงินเดือนแต่ผู้นั้นจะต้องพ้นจากราชการไปเพราะเหตุเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนสั่งเลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญในวันที่
๓๐ กันยายนของปีที่จะพ้นจากราชการ
ข้อ ๑๖
ในครึ่งปีที่แล้วมาถ้าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้เลื่อนเงินเดือนแต่ผู้นั้นถึงแก่ความตายก่อนหรือในวันที่
๑ เมษายนหรือ ๑ ตุลาคม
ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนสั่งเลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญโดยให้มีผลในวันที่ผู้นั้นถึงแก่ความตาย
ข้อ ๑๗
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดได้รับเงินเดือนถึงระดับเงินเดือนสูงสุดที่ ก.พ.
กำหนดสำหรับตำแหน่งที่ดำรงอยู่แล้ว
หากผู้นั้นได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นและเงินเดือนที่ได้รับอยู่นั้นต่ำกว่าเงินเดือนสูงสุดตามที่
ก.พ. กำหนดสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งใหม่นั้น
ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนสั่งเลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษได้
โดยให้นำผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการครั้งหลังสุดมาใช้ในการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนดังกล่าว
โดยให้เลื่อนเงินเดือนตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนั้น
ข้อ ๑๘
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการเลื่อนเงินเดือนตามข้อ
๘ เพราะเหตุเกี่ยวกับระยะเวลาการปฏิบัติราชการ การลา หรือการมาทำงานสาย
แต่ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนพิจารณาแล้วเห็นว่า
มีเหตุผลพิเศษที่สมควรเลื่อนเงินเดือนให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้น
ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนนำเสนอ อ.ก.พ. กระทรวง
พร้อมด้วยเหตุผลเพื่อพิจารณาเป็นการเฉพาะราย ถ้า อ.ก.พ. กระทรวง
เห็นชอบด้วยจึงจะสั่งเลื่อนเงินเดือนได้
ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการเลื่อนเงินเดือนเพราะเหตุอื่นนอกจากกรณีตามวรรคหนึ่ง
แต่ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุผลพิเศษที่สมควรเลื่อนเงินเดือนให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้น
ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนนำเสนอ อ.ก.พ.
กระทรวงพร้อมด้วยเหตุผลเพื่อพิจารณาเป็นการเฉพาะราย ถ้า อ.ก.พ.
กระทรวงเห็นชอบด้วยให้นำเสนอ ก.พ. เพื่อพิจารณา ถ้า ก.พ.
เห็นชอบด้วยจึงจะสั่งเลื่อนเงินเดือนได้
ข้อ ๑๙
ในวันที่กฎ ก.พ. นี้ใช้บังคับ
ถ้าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้เลื่อนเงินเดือน
แต่ต้องรอการเลื่อนเงินเดือนไว้เพราะเหตุที่ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนในกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือถูกฟ้องคดีอาญา ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่กฎ ก.พ. นี้ใช้บังคับ
ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนมีคำสั่งเลื่อนเงินเดือนข้าราชการผู้นั้นที่ได้รอไว้ทั้งหมด
ข้อ ๒๐
ในกรณีที่เงินเดือนขั้นต่ำชั่วคราวของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทใด
ระดับใด ยังมีผลใช้บังคับอยู่ คำว่า เงินเดือนขั้นต่ำ ตามกฎ ก.พ. นี้ ให้หมายความถึงเงินเดือนขั้นตํ่าชั่วคราว
ข้อ ๒๑
การเลื่อนเงินเดือนในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ สำหรับครึ่งปีหลังของปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๕๒ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่กฎ ก.พ.
นี้ใช้บังคับ
ข้อ ๒๒
ผู้ที่ได้รับการยกเว้นเป็นการเฉพาะรายให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าเงินเดือนขั้นสูงของประเภทตำแหน่ง
สายงาน และระดับตามที่กำหนดไว้ในกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ในสายงานที่กำหนดให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน
๓๖,๐๒๐ บาท
(๒)
ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
ในสายงานที่กำหนดให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน ๖๔,๓๔๐ บาท
ให้ได้รับการเลื่อนเงินเดือนเป็นการเฉพาะรายโดยใช้ฐานในการคำนวณและช่วงเงินเดือนที่กำหนดไว้สำหรับการเลื่อนเงินเดือนขั้นสูงของประเภทตำแหน่ง
และระดับ
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๗๔
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ประพฤติตนอยู่ในจรรยาและระเบียบวินัยและปฏิบัติราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนตามควรแก่กรณีตามที่กำหนดในกฎ
ก.พ.
สมควรกำหนดให้การเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญเป็นไปตามหลักการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติราชการ
และการประพฤติตน จึงจำเป็นต้องออกกฎ
ก.พ. นี้
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖[๕]
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๕ ได้กำหนดประเภทการลาขึ้นใหม่ ๒ ประเภท คือ
การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร และการลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ
จึงเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การเลื่อนเงินเดือนให้ครอบคลุมถึงข้าราชการที่ใช้สิทธิการลาดังกล่าว
ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๑๘ เมษายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๗๘ ก/หน้า ๙/๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๒
[๒] ข้อ ๘ วรรคหนึ่ง
(๙) (ซ) เพิ่มโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๓] ข้อ ๘ วรรคหนึ่ง
(๙) (ฌ) เพิ่มโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๔] ข้อ ๑๑
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๓๐/ตอนที่ ๓๑ ก/หน้า ๓๕/๓ เมษายน ๒๕๕๖ |
799403 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2561 | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๑๑)
พ.ศ. ๒๕๖๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๕) และมาตรา ๕๐ วรรคสามและวรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑]
กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ๑๒๗.
ของตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับเชี่ยวชาญในบัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งท้ายกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
๑๒๗.
สายงานวิศวกรรมรังวัด
ให้ไว้ ณ วันที่ ๘
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
วิษณุ เครืองาม
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้สายงานวิศวกรรมรังวัดระดับเชี่ยวชาญ
เป็นสายงานและระดับที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ประกอบกับตามมาตรา ๕๐ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
บัญญัติให้ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด จะได้รับเงินประจำตำแหน่ง
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. จึงจำเป็นต้องออกกฎ
ก.พ. นี้
ปวันวิทย์/จัดทำ
๒๐ เมษายน ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอน ๑๗ ก/หน้า ๑/๑๖ มีนาคม ๒๕๖๑ |
802353 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2551 (ฉบับ Update ณ วันที่ 11/11/2559) | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๕๕๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) และมาตรา ๕๐
วรรคสามและวรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ.
โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒
ข้าราชการพลเรือนสามัญอาจได้รับเงินประจำตำแหน่งตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในประเภท สายงาน
และระดับตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. นี้
และปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งดังกล่าวให้มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(๒)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งผู้ใด
หากได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่อื่นและมิได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่
ไม่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งตั้งแต่วันที่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่
เว้นแต่ในกรณีที่ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการหรือประเภททั่วไปและได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่อื่นที่มีลักษณะเป็นงานวิชาชีพหรืองานเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเหมือนหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่เดิม
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดิมของตำแหน่งต่อไป
(๓)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งนั้นไม่เต็มเดือนในเดือนใด
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งสำหรับเดือนนั้นตามส่วนจำนวนวันที่ได้ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งดังกล่าว
(๔)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งนั้นเกินหนึ่งตำแหน่ง
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งสำหรับตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงสุดเพียงตำแหน่งเดียว
(๕)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประเภทเดียวกันที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้ปฏิบัติหน้าที่หลักในตำแหน่งที่ตนไปปฏิบัติหน้าที่ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามอัตราเดิมของตนต่อไป
ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่
หรือรักษาราชการแทน
หรือรักษาการในตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งต่างประเภทกัน
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราของตำแหน่งเดิมต่อไปนับแต่วันที่เข้าปฏิบัติหน้าที่หลักในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่
หรือรักษาราชการแทน หรือรักษาการในตำแหน่ง แล้วแต่กรณี
แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินหกเดือน
(๖)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศตามระเบียบ ก.พ.
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการโดยการให้ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศ
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราของตำแหน่งเดิมต่อไป
ข้อ ๓
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสายงานตามบัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งท้ายกฎ
ก.พ. นี้ ในตำแหน่งประเภทใด ระดับใด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญในอัตราดังนี้
(๑)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๐,๐๐๐ บาท
(๒)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ดังต่อไปนี้ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๔,๕๐๐ บาท
(ก)
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมซึ่งมิใช่หัวหน้าส่วนราชการตาม (๓) (ข) (ค) (ง)
และ (จ)
(ข)
ผู้ว่าราชการจังหวัด
(ค)
เอกอัครราชทูตที่เป็นหัวหน้าสถานเอกอัครราชทูต
หัวหน้าคณะผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ
หัวหน้าคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก และเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง
(ง)
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ได้แก่ รองปลัดกระทรวง
และรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(จ)[๒]
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในสำนักนายกรัฐมนตรี และอยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(ฉ)[๓]
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง
และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ได้แก่
รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
และรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
(ช)
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการ และขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี
ได้แก่ รองเลขาธิการสภาการศึกษา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
(ซ)
หัวหน้าส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีผู้บังคับบัญชาเป็นอธิบดีหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี
ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เลขาธิการสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
และเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
(ฌ)
ผู้ตรวจราชการของส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง
(ญ)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตามที่ ก.พ.
กำหนดให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดียวกันนี้
(๓)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ดังต่อไปนี้ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๒๑,๐๐๐ บาท
(ก)
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ได้แก่ ปลัดกระทรวง
และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(ข)[๔]
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในสำนักนายกรัฐมนตรี
และอยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(ค)[๕]
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี
ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
และเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
(ง)
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการ และขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี
ได้แก่ เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
(จ)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตามที่ ก.พ.
กำหนดให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดียวกันนี้
(๔)
ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๕,๖๐๐ บาท
(๕)
ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๐,๐๐๐ บาท
(๖)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ที่มีประสบการณ์ ทักษะ และสมรรถนะ
ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๓,๕๐๐ บาท
(๗)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๕,๖๐๐ บาท
(๘)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๙,๙๐๐ บาท
(๙)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๓,๐๐๐ บาท
(๑๐) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ที่มีประสบการณ์
ทักษะ และสมรรถนะ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๕,๖๐๐ บาท
(๑๑)
ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๙,๙๐๐ บาท
ข้อ ๔
การกำหนดประเภทตำแหน่ง สายงาน ระดับ
และจำนวนตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งเพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่แล้วในวันก่อนวันที่กฎ
ก.พ. นี้ใช้บังคับ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ. ก่อน
ข้อ ๕
กรณีอื่นนอกจากที่ได้กำหนดไว้ในกฎ ก.พ. นี้ ให้เสนอ ก.พ.
พิจารณาอนุมัติเป็นราย ๆ ไป
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
บัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
ท้ายกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕[๖]
ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ได้แก่
๑. สายงานบริหาร
๒. สายงานบริหารการทูต
๓. สายงานบริหารงานปกครอง
๔. สายงานตรวจราชการกระทรวง
ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น ได้แก่
๑. สายงานบริหาร
๒. สายงานบริหารการทูต
๓. สายงานบริหารงานปกครอง
ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับสูง ได้แก่
๑. สายงานอำนวยการ
๒. สายงานอำนวยการเฉพาะด้าน
๓. สายงานตรวจราชการกรม
ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้น ได้แก่
๑. สายงานอำนวยการ
๒. สายงานอำนวยการเฉพาะด้าน
๒
ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ ได้แก่
๑. สายงานการข่าว
๒. สายงานทรัพยากรบุคคล
๓. สายงานการผังเมือง
๔. สายงานวิชาการศุลกากร
๕. สายงานนิติการ
๖. สายงานกฎหมายกฤษฎีกา
๗. สายงานโบราณคดี
๘. สายงานนักพัฒนาระบบราชการ
๙. สายงานวิเคราะห์งบประมาณ
๑๐. สายงานวิเคราะห์นโยบายและแผน
๑๑. สายงานวิชาการส่งเสริมการลงทุน
๑๒. สายงานวิชาการเกษตร
๑๓. สายงานวิชาการขนส่ง
๑๔. สายงานวิชาการคลัง
๑๕. สายงานวิเคราะห์รัฐวิสาหกิจ
๑๖. สายงานวิชาการบัญชี
๑๗. สายงานวิชาการประมง
๑๘. สายงานวิชาการป่าไม้
๑๙. สายงานวิชาการพาณิชย์
๒๐. สายงานวิชาการภาษี
๒๑. สายงานวิชาการมาตรฐาน
๒๒. สายงานวิชาการแรงงาน
๒๓. สายงานวิชาการละครและดนตรี
๒๔. สายงานวิทยาศาสตร์การแพทย์
๒๕. สายงานวิชาการศึกษา
๒๖. สายงานวิชาการเศรษฐกิจ
๒๗. สายงานวิชาการสรรพสามิต
๒๘. สายงานวิชาการสรรพากร
๒๙. สายงานวิชาการสาธารณสุข
๓
๓๐. สายงานวิชาการอาหารและยา
๓๑. สายงานวิทยาศาสตร์
๓๒. สายงานวิศวกรรมสำรวจ
๓๓. สายงานอักษรศาสตร์
๓๔. สายงานประติมากรรม
๓๕. สายงานทันตแพทย์
๓๖. สายงานแพทย์
๓๗. สายงานนายสัตวแพทย์
๓๘. สายงานวิศวกรรมโยธา
๓๙. สายงานสถาปัตยกรรม
๔๐. สายงานวิศวกรรมชลประทาน
๔๑. สายงานวิชาการคอมพิวเตอร์
๔๒. สายงานวิศวกรรมการเกษตร
๔๓. สายงานวิชาการช่างศิลป์
๔๔. สายงานมัณฑนศิลป์
๔๕. สายงานจิตรกรรม
๔๖. สายงานเภสัชกรรม
๔๗. สายงานพยาบาลวิชาชีพ
๔๘.[๗]
สายงานอุตุนิยมวิทยา
๔๙.[๘]
สายงานวิชาการสหกรณ์
ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ ได้แก่
๑. สายงานการข่าว
๒. สายงานทรัพยากรบุคคล
๓. สายงานการผังเมือง
๔. สายงานวิเคราะห์ผังเมือง
๕. สายงานสืบสวนสอบสวน
๖. สายงานกีฏวิทยา
๗. สายงานเจ้าหน้าที่คดีพิเศษ
๘. สายงานคุมประพฤติ
๙. สายงานวิชาการปฏิรูปที่ดิน
๑๐. สายงานจิตวิทยา
๔
๑๑. สายงานนักเดินเรือ
๑๒. สายงานตรวจสอบบัญชี
๑๓. สายงานวิชาการตรวจสอบภายใน
๑๔. สายงานวิชาการศุลกากร
๑๕. สายงานวิชาการแผนที่ภาพถ่าย
๑๖. สายงานนิติการ
๑๗. สายงานกฎหมายกฤษฎีกา
๑๘. สายงานนิติวิทยาศาสตร์
๑๙. สายงานโบราณคดี
๒๐. สายงานภัณฑารักษ์
๒๑. สายงานพัฒนาการกีฬา
๒๒. สายงานพัฒนาการท่องเที่ยว
๒๓. สายงานพัฒนาระบบราชการ
๒๔. สายงานพัฒนาสังคม
๒๕. สายงานภูมิสถาปัตยกรรม
๒๖. สายงานวิเคราะห์งบประมาณ
๒๗. สายงานวิเคราะห์นโยบายและแผน
๒๘. สายงานประเมินราคาทรัพย์สิน
๒๙. สายงานวิชาการอุตสาหกรรม
๓๐. สายงานวิชาการส่งเสริมการลงทุน
๓๑. สายงานวิเทศสัมพันธ์
๓๒. สายงานวิชาการพลังงาน
๓๓. สายงานเจ้าหน้าที่จัดผลประโยชน์
๓๔. สายงานวิชาการกษาปณ์
๓๕. สายงานวิชาการเกษตร
๓๖. สายงานวิชาการขนส่ง
๓๗. สายงานวิชาการคลัง
๓๘. สายงานวิเคราะห์รัฐวิสาหกิจ
๓๙. สายงานวิชาการเงินและบัญชี
๔๐. สายงานวิชาการตรวจสอบบัญชี
๕
๔๑. สายงานตรวจสอบภาษี
๔๒. สายงานวิชาการทรัพยากรธรณี
๔๓. สายงานวิชาการทัณฑวิทยา
๔๔. สายงานวิชาการที่ดิน
๔๕. สายงานธรณีวิทยา
๔๖. สายงานวิชาการบัญชี
๔๗. สายงานประชาสัมพันธ์
๔๘. สายงานวิชาการประมง
๔๙. สายงานวิชาการป่าไม้
๕๐. สายงานวิชาการผลิตภัณฑ์อาหาร
๕๑. สายงานวิชาการพัฒนาชุมชน
๕๒. สายงานวิชาการพาณิชย์
๕๓. สายงานวิชาการภาษี
๕๔. สายงานวิชาการมาตรฐาน
๕๕. สายงานวิชาการยุติธรรม
๕๖. สายงานวิชาการแรงงาน
๕๗. สายงานวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงาน
๕๘. สายงานวิชาการโรคพืช
๕๙. สายงานวิชาการละครและดนตรี
๖๐. สายงานวิชาการวัฒนธรรม
๖๑. สายงานวิทยาศาสตร์การแพทย์
๖๒. สายงานวิชาการศาสนา
๖๓. สายงานวิชาการศึกษา
๖๔. สายงานวิทยาจารย์
๖๕. สายงานวิชาการศึกษาพิเศษ
๖๖. สายงานวิชาการเศรษฐกิจ
๖๗. สายงานวิชาการส่งเสริมการเกษตร
๖๘. สายงานวิชาการสถิติ
๖๙. สายงานวิชาการสรรพสามิต
๗๐. สายงานวิชาการสรรพากร
๖
๗๑. สายงานวิชาการสหกรณ์
๗๒. สายงานวิชาการสัตวบาล
๗๓. สายงานวิชาการสาธารณสุข
๗๔. สายงานโภชนาการ
๗๕. สายงานวิชาการสิ่งแวดล้อม
๗๖. สายงานวิชาการอาหารและยา
๗๗. สายงานวิชาการอุทกวิทยา
๗๘. สายงานวิทยาศาสตร์
๗๙. สายงานวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์
๘๐. สายงานวิเทศสหการ
๘๑. สายงานวิศวกรรม
๘๒. สายงานวิศวกรรมสำรวจ
๘๓. สายงานสถิติ
๘๔. สายงานพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ
๘๕. สายงานสังคมสงเคราะห์
๘๖. สายงานสัตววิทยา
๘๗. สายงานสำรวจดิน
๘๘. สายงานอักษรศาสตร์
๘๙. สายงานภาษาโบราณ
๙๐. สายงานวรรณศิลป์
๙๑. สายงานอาลักษณ์
๙๒. สายงานอุตุนิยมวิทยา
๙๓. สายงานวิชาการช่างศิลป์
๙๔. สายงานจิตรกรรม
๙๕. สายงานมัณฑนศิลป์
๙๖. สายงานประติมากรรม
๙๗. สายงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
๙๘. สายงานกายภาพบำบัด
๙๙. สายงานทันตแพทย์
๑๐๐. สายงานพยาบาลวิชาชีพ
๗
๑๐๑. สายงานแพทย์
๑๐๒. สายงานนายสัตวแพทย์
๑๐๓. สายงานเทคนิคการแพทย์
๑๐๔. สายงานเภสัชกรรม
๑๐๕. สายงานวิศวกรรมเครื่องกล
๑๐๖. สายงานวิศวกรรมไฟฟ้า
๑๐๗. สายงานวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร
๑๐๘. สายงานวิศวกรรมโยธา
๑๐๙. สายงานวิศวกรรมเหมืองแร่
๑๑๐. สายงานสถาปัตยกรรม
๑๑๑. สายงานฟิสิกส์รังสี
๑๑๒. สายงานรังสีการแพทย์
๑๑๓. สายงานวิศวกรรมชลประทาน
๑๑๔. สายงานวิศวกรรมนิวเคลียร์
๑๑๕. สายงานวิศวกรรมปิโตรเลียม
๑๑๖. สายงานวิศวกรรมโลหการ
๑๑๗. สายงานชีววิทยารังสี
๑๑๘. สายงานนิวเคลียร์เคมี
๑๑๙. สายงานนิวเคลียร์ฟิสิกส์
๑๒๐. สายงานวิชาการคอมพิวเตอร์
๑๒๑. สายงานวิศวกรรมการเกษตร
๑๒๒. สายงานกิจกรรมบำบัด
๑๒๓. สายงานเวชศาสตร์การสื่อความหมาย
๑๒๔. สายงานจิตวิทยาคลินิก
๑๒๕[๙].
สายงานจดหมายเหตุ
๑๒๖[๑๐].
สายงานวิชาการชั่งตวงวัด
๘
ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ และระดับชำนาญการพิเศษ ได้แก่
๑. สายงานกายภาพบำบัด
๒. สายงานทันตแพทย์
๓. สายงานพยาบาลวิชาชีพ
๔. สายงานแพทย์
๕. สายงานนายสัตวแพทย์
๖. สายงานเทคนิคการแพทย์
๗. สายงานเภสัชกรรม
๘. สายงานวิศวกรรมเครื่องกล
๙. สายงานวิศวกรรมไฟฟ้า
๑๐. สายงานวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร
๑๑. สายงานวิศวกรรมโยธา
๑๒. สายงานวิศวกรรมเหมืองแร่
๑๓. สายงานสถาปัตยกรรม
๑๔. สายงานฟิสิกส์รังสี
๑๕. สายงานรังสีการแพทย์
๑๖. สายงานวิศวกรรมชลประทาน
๑๗. สายงานวิศวกรรมนิวเคลียร์
๑๘. สายงานวิศวกรรมปิโตรเลียม
๑๙. สายงานวิศวกรรมโลหการ
๒๐. สายงานชีววิทยารังสี
๒๑. สายงานนิวเคลียร์เคมี
๒๒. สายงานนิวเคลียร์ฟิสิกส์
๒๓. สายงานวิชาการคอมพิวเตอร์
๒๔. สายงานวิศวกรรมการเกษตร
๒๕. สายงานกิจกรรมบำบัด
๒๖. สายงานเวชศาสตร์การสื่อความหมาย
๒๗. สายงานแพทย์แผนไทย
๒๘. สายงานจิตวิทยาคลินิก
๒๙.[๑๑]
สายงานกายอุปกรณ์
๓๐.[๑๒]
สายงานเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก
๙
ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ ได้แก่
๑. สายงานปฏิบัติงานช่างศิลปกรรม
๒. สายงานนาฏศิลป์
๓. สายงานดุริยางคศิลป์
๔. สายงานคีตศิลป์
-------------------
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๕๐ วรรคสามและวรรคสี่
บัญญัติว่า
ข้าราชการพลเรือนสามัญอาจได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ.
กำหนด และผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด
จะได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ในอัตราใด
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕[๑๓]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้สายงานวิชาการช่างศิลป์ สายงานมัณฑนศิลป์ สายงานจิตรกรรม
สายงานเภสัชกรรม และสายงานพยาบาลวิชาชีพเฉพาะ
เป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ
กำหนดให้สายงานแพทย์แผนไทยเป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับชำนาญการ และระดับชำนาญการพิเศษ
และกำหนดให้สายงานนักจิตวิทยาคลินิกเป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ
และระดับเชี่ยวชาญ จึงจำเป็นต้องออกกฎ
ก.พ. นี้
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖[๑๔]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้สายงานกายอุปกรณ์เป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับชำนาญการ และระดับชำนาญการพิเศษ
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ
ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๕๘[๑๕]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๔,๕๐๐ บาท และตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
เป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๒๑,๐๐๐ บาท จึงจำเป็นต้องออกกฎ
ก.พ. นี้
กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘[๑๖]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้สายงานอุตุนิยมวิทยาระดับทรงคุณวุฒิ และสายงานเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก
ระดับชำนาญการ
และระดับชำนาญการพิเศษเป็นสายงานและระดับที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ประกอบกับตามมาตรา ๕๐ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
บัญญัติให้ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด จะได้รับเงินประจำตำแหน่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ
ก.พ. จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ
ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๖) พ.ศ.
๒๕๕๘[๑๗]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้สายงานจดหมายเหตุระดับเชี่ยวชาญ และสายงานวิชาการชั่งตวงวัด
ระดับเชี่ยวชาญ เป็นสายงานและระดับที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ประกอบกับตามมาตรา ๕๐ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
บัญญัติให้ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด
จะได้รับเงินประจำตำแหน่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ
ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๗) พ.ศ.
๒๕๕๙[๑๘]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้ตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๒๑,๐๐๐ บาท
เนื่องจากเป็นตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการ ซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี มีลักษณะการเข้าสู่ตำแหน่งและวาระการดำรงตำแหน่งแตกต่างจากหัวหน้าส่วนราชการโดยทั่วไป
ตลอดจนหน้าที่และความรับผิดชอบตามบทบาทภารกิจและลักษณะงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมีความสำคัญในระดับชาติที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ
ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อความเชื่อมั่นขององค์กรระหว่างประเทศ
และได้กำหนดให้ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร
ระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๔,๕๐๐ บาท จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ
ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๘) พ.ศ.
๒๕๕๙[๑๙]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้ตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๒๑,๐๐๐ บาท
เนื่องจากเป็นตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการ ซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี
มีลักษณะการเข้าสู่ตำแหน่งแตกต่างจากหัวหน้าส่วนราชการโดยทั่วไป
ตลอดจนหน้าที่และความรับผิดชอบตามบทบาทภารกิจและลักษณะงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐมีความสำคัญในระดับชาติที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ
ซึ่งมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นขององค์กรระหว่างประเทศ
และได้กำหนดให้ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐเป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๔,๕๐๐ บาท จึงจำเป็นต้องออกกฎ
ก.พ. นี้
กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๙[๒๐]
ข้อ
๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้สายงานวิชาการสหกรณ์ ระดับทรงคุณวุฒิ เป็นสายงานและระดับที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ประกอบกับตามมาตรา ๕๐ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
บัญญัติให้ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด จะได้รับเงินประจำตำแหน่ง
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. จึงจำเป็นต้องออกกฎ
ก.พ. นี้
วิศนี/เพิ่มเติม
๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
นุสรา/ตรวจ
๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
ปุณิกา/เพิ่มเติม
๗ ธันวาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๑๒๘ ก/หน้า ๑๓/๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๑
[๒] ข้อ ๓ (๒) (จ)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๓] ข้อ ๓ (๒) (ฉ) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๙
[๔] ข้อ ๓ (๓) (ข) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๕] ข้อ ๓ (๓) (ค) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๙
[๖] บัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง ท้ายกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕
[๗] ๔๘. สายงานอุตุนิยมวิทยา เพิ่มโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๘] ๔๙. สายงานวิชาการสหกรณ์ เพิ่มโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๙
[๙] ๑๒๕. เพิ่มโดยกฎ
ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๖) พ.ศ.
๒๕๕๘
[๑๐] ๑๒๖. เพิ่มโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๑๑] ๒๙. สายงานกายอุปกรณ์ เพิ่มโดยกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๑๒] ๓๐. สายงานเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก เพิ่มโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๑๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๖๔ ก/หน้า ๕/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๕
[๑๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๗๘ ก/หน้า ๑/๖ กันยายน ๒๕๕๖
[๑๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๔๓ ก/หน้า ๔๔/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๖๒ ก/หน้า ๑๙/๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๑๒๑ ก/หน้า ๑/๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๘
[๑๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๒๐ ก/หน้า ๓/๒ มีนาคม ๒๕๕๙
[๑๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๙๐ ก/หน้า ๓/๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
[๒๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๙๕ ก/หน้า ๑/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ |
816599 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง พ.ศ. 2551 (ฉบับ Updateณ วันที่ 13/10/2559) | กฎ ก.พ.
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๕๕๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๕) มาตรา ๔๕ มาตรา ๔๖ และมาตรา ๑๓๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๒ ตำแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่
ตำแหน่งที่มีอำนาจและหน้าที่ในการบริหารงานในฐานะที่เป็นหัวหน้าส่วนราชการหรือรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือกรม
ตำแหน่งที่มีฐานะเป็นผู้ปฏิบัติงานตรวจและแนะนำการปฏิบัติราชการของส่วนราชการระดับกระทรวง
และตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการหรือรองหัวหน้าส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีผู้บังคับบัญชาเป็นอธิบดีหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี
หรือตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภทบริหารตามหลักเกณฑ์ในกฎ ก.พ.
นี้
ข้อ
๓ ตำแหน่งประเภทบริหาร มี ๒ ระดับ
ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(ก) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ซึ่งไม่ใช่ตำแหน่งตาม (๒) (ฉ)
(ช) (ซ) และ (ฌ)
(ข) รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(ค) อัครราชทูตที่เป็นรองหัวหน้าสถานเอกอัครราชทูต
รองหัวหน้าคณะผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ
รองหัวหน้าคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก และหัวหน้าสถานกงสุลใหญ่
(ง)
รองหัวหน้าส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีผู้บังคับบัญชาเป็นอธิบดีหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี
ได้แก่ รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
รองเลขาธิการสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
รองผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
และรองเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
(จ) ตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น
(๒) ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(ก) หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง
ได้แก่ ปลัดกระทรวง และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(ข) หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม
(ค) ผู้ว่าราชการจังหวัด
(ง) เอกอัครราชทูตที่เป็นหัวหน้าสถานเอกอัครราชทูต
หัวหน้าคณะผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ
หัวหน้าคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก และเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง
(จ) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ได้แก่ รองปลัดกระทรวง
และรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(ฉ)[๒] รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในสำนักนายกรัฐมนตรี
และอยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(ช)[๓] รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวง หรือทบวง และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ได้แก่
รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
และรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
(ซ) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการ
และขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี ได้แก่ รองเลขาธิการสภาการศึกษา
รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
และรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
(ฌ)
หัวหน้าส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีผู้บังคับบัญชาเป็นอธิบดีหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี
ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เลขาธิการสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
และเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
(ญ) ผู้ตรวจราชการของส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง
(ฎ) ตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
ข้อ
๔ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ได้แก่
ตำแหน่งที่มีอำนาจและหน้าที่ในการบริหารงานในฐานะหัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรม
ซึ่งมีการแบ่งส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
หรือตำแหน่งอื่นที่มีลักษณะเป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการ ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมากหรือสูงมากเป็นพิเศษที่
ก.พ. กำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการตามหลักเกณฑ์ในกฎ ก.พ. นี้
ข้อ
๕ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ มี ๒ ระดับ
ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ได้แก่
ตำแหน่งที่มีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมาก ดังต่อไปนี้
(ก)
หัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรมซึ่งแบ่งส่วนราชการภายในกรมในราชการบริหารส่วนกลางตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(ข)
หัวหน้าสำนักงานจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(ค) นายอำเภอ
(ง) ตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น
(๒) ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ได้แก่
ตำแหน่งที่มีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมากเป็นพิเศษ
ดังต่อไปนี้
(ก) หัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรมซึ่งแบ่งส่วนราชการภายในกรมในราชการบริหารส่วนกลางตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(ข)
หัวหน้าสำนักงานจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(ค) นายอำเภอ
(ง) ผู้ตรวจราชการของส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม
(จ) ตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง
ข้อ
๖ ตำแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่
ตำแหน่งในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่ใช้ความรู้ ในทางวิชาการซึ่ง ก.พ.
กำหนดว่าต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำแหน่งนั้น โดยมีการจำแนกตามลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานเป็นหลัก
หรือตำแหน่งอื่นที่กำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภทวิชาการตามกฎ ก.พ. นี้
ข้อ
๗ ตำแหน่งประเภทวิชาการ มี ๕ ระดับ
ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ได้แก่
ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับต้น โดยใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน
ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ
(๒) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ
ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงในงานวิชาการ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก
(ข) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ
ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์
และความชำนาญงานสูงในงานวิชาการ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก
(๓) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ
ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงมากในงานวิชาการ
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก
(ข) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ
ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์
และความชำนาญงานสูงมากในงานวิชาการ
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก
(๔) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ได้แก่
ตำแหน่งที่ต้องดำเนินการศึกษา วิจัย สั่งสมความรู้หรือผลการศึกษาวิจัยในลักษณะต่าง
ๆ เพื่อให้มีการค้นคว้าอ้างอิงต่อไปได้ และสอน ฝึกอบรม
หรือเผยแพร่ความรู้ในระดับกรม ดังต่อไปนี้
(ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีความเชี่ยวชาญในงาน โดยใช้ความรู้
ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาการ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมาก
และมีผลกระทบในวงกว้าง
(ข) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานให้คำปรึกษาของส่วนราชการระดับกระทรวง
หรือกรม ซึ่งใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาการ
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมาก
และมีผลกระทบในวงกว้าง
(๕) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ได้แก่
ตำแหน่งที่ต้องดำเนินการศึกษา วิจัย สั่งสมความรู้หรือผลการศึกษาวิจัยในลักษณะต่าง
ๆ เพื่อให้มีการค้นคว้าอ้างอิงต่อไปได้ และสอน ฝึกอบรม หรือเผยแพร่ความรู้ในระดับกระทรวง
และระดับชาติ ดังต่อไปนี้
(ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีความรู้ ความสามารถ
ประสบการณ์ และผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถ เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมากเป็นพิเศษ และมีผลกระทบในวงกว้างระดับนโยบายกระทรวงหรือระดับชาติ
(ข) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานให้คำปรึกษาของส่วนราชการระดับกระทรวง
ซึ่งมีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถ
เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมากเป็นพิเศษ
และมีผลกระทบในวงกว้างระดับนโยบายกระทรวงหรือระดับชาติ
ข้อ
๘ ตำแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่
ตำแหน่งซึ่งมิใช่ตำแหน่งประเภทบริหาร ประเภทอำนวยการ และประเภทวิชาการ
แต่เป็นตำแหน่งในฐานะผู้ปฏิบัติงานซึ่งเน้นการใช้ทักษะ ฝีมือในการปฏิบัติงาน
โดยมีการจำแนกตามลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานเป็นหลัก
และในกรณีที่เห็นสมควร ก.พ.
จะกำหนดว่าตำแหน่งใดต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำแหน่งนั้นด้วยก็ได้
หรือตำแหน่งอื่นที่กำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภททั่วไปตาม กฎ ก.พ. นี้
ข้อ
๙ ตำแหน่งประเภททั่วไป มี ๔ ระดับ
ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ได้แก่
ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งปฏิบัติงานตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน
และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ
(๒) ตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงาน ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ
ประสบการณ์ และความชำนาญงาน ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ค่อนข้างยาก
(ข) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน
โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงาน
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ค่อนข้างยาก
(๓) ตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ
ประสบการณ์ และความชำนาญงานค่อนข้างสูง ในงานเทคนิคเฉพาะด้าน
หรืองานที่ใช้ทักษะและความชำนาญเฉพาะตัว
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในงานที่ค่อนข้างยากมาก
(ข) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ
ประสบการณ์ และความชำนาญงานค่อนข้างสูง มีงานในความรับผิดชอบที่หลากหลาย
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในงานที่ค่อนข้างยากมาก
(๔) ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ได้แก่
ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีทักษะพิเศษเฉพาะตัว
โดยมีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และผลงานเป็นที่ประจักษ์ ในความสามารถ
ในงานที่ใช้ทักษะและความชำนาญเฉพาะตัวสูงมาก ปฏิบัติงานที่ต้องคิดริเริ่มสร้างสรรค์ด้วยตนเองและเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ
ข้อ ๑๐ ให้ตำแหน่งที่
ก.พ. กำหนดให้เทียบเป็นตำแหน่งประเภทบริหารตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา
๓๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ไว้แล้วก่อนวันที่ กฎ
ก.พ. นี้ใช้บังคับ เป็นตำแหน่งตามประเภท และระดับ ตามกฎ ก.พ. นี้ ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดให้เทียบเป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับกลาง ให้เป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น
(๒) ตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดให้เทียบเป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
ให้เป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง
ข้อ
๑๑ ในกรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุผลอันสมควร
ให้ ก.พ. มีอำนาจกำหนดให้ตำแหน่งอื่นใดนอกจากที่กำหนดไว้แล้วในกฎ ก.พ. นี้
เป็นตำแหน่งประเภทใด ระดับใด ตามกฎ ก.พ. นี้ ก็ได้
ข้อ
๑๒ การปฏิบัติงานใดที่จะเป็นการปฏิบัติงานที่มีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูง
หรือต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานที่ยุ่งยาก ซับซ้อน
หรือต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหา หรือมีผลกระทบของงาน ในระดับใด
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๔๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ
๑๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะหรือวิชาชีพเฉพาะระดับ
๙ ระดับ ๑๐ หรือระดับ ๑๑ ตามมาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ อยู่แล้วในวันก่อนวันที่ กฎ
ก.พ. นี้ใช้บังคับ และได้รับการจัดเข้าสู่ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ
หรือระดับทรงคุณวุฒิ ตามกฎ ก.พ. นี้ ให้ถือว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ตามกฎ ก.พ.
นี้แล้ว
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชวรัตน์
ชาญวีรกูล
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน
ก.พ.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ
เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๔๕
บัญญัติให้ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมี ๔ ประเภท ได้แก่ ตำแหน่งประเภทบริหาร
ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ตำแหน่งประเภทวิชาการ และตำแหน่งประเภททั่วไป
และมาตรา ๔๖ กำหนดระดับตำแหน่งในแต่ละประเภทตำแหน่งดังกล่าวไว้ด้วย
สำหรับการจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎ ก.พ. ดังนั้น เพื่อให้มีหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญสำหรับใช้เป็นบรรทัดฐานเทียบเคียง
การกำหนดตำแหน่งในส่วนราชการ จึงจำเป็นต้องออกกฎ
ก.พ. นี้
กฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘[๔]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเป็นตำแหน่งประเภทบริหาร
ระดับสูง จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ.
นี้
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙[๕]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง
เพื่อให้สอดคล้องกับหน้าที่และความรับผิดชอบตามบทบาทภารกิจและลักษณะงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่มีความสำคัญในระดับชาติเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ
ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อความเชื่อมั่นขององค์กรระหว่างประเทศ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๙[๖]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง
เพื่อให้สอดคล้องกับหน้าที่และความรับผิดชอบตามบทบาทภารกิจและลักษณะงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐที่มีความสำคัญในระดับชาติเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ
ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อความเชื่อมั่นขององค์กรระหว่างประเทศ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
วิศนี/เพิ่มเติม
๑ พฤศจิกายน
๒๕๕๙
นุสรา/ตรวจ
๓๐ พฤศจิกายน
๒๕๕๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๑๒๘ ก/หน้า ๑/๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๑
[๒]
ข้อ ๓ (๒) (ฉ) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๓]
ข้อ ๓ (๒) (ช) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๙
[๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๔๓ ก/หน้า ๔๒/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๒๐ ก/หน้า ๑/๒ มีนาคม ๒๕๕๙
[๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๙๐ ก/หน้า ๑/๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙ |
798664 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2561 | กฎ ก.พ.
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๖๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) มาตรา ๔๕
และมาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ.
โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ
ก.พ. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓ (๒) (ฉ) ของกฎ ก.พ.
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๑
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(ฉ)
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในสำนักนายกรัฐมนตรี
และอยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร
รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
และรองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑
วิษณุ เครืองาม
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ.
ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ. ได้กำหนดให้ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร
ระดับสูงเพื่อให้สอดคล้องกับหน้าที่และความรับผิดชอบตามบทบาทภารกิจและลักษณะงานของสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติในการเป็นหน่วยงานกลางด้านการบริหารจัดการน้ำของประเทศ
และต่อมาหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีคำสั่งที่ ๒/๒๕๖๑ สั่ง ณ
วันที่ ๒๒ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๑ เรื่อง
การจัดสรรภารกิจและบุคลากรของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ซึ่งข้อ ๑
ของคำสั่งดังกล่าวให้เปลี่ยนชื่อสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรนํ้าแห่งชาติ
ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ที่ ๔๖/๒๕๖๐ เรื่อง
การจัดตั้งสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ลงวันที่ ๒๕ ตุลาคม พุทธศักราช
๒๕๖๐ เป็นสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
และให้ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติเป็นเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
พรวิภา/จัดทำ
๙
มีนาคม ๒๕๖๑
นุสรา/ตรวจ
๑๖
ตุลาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๑๔ ก/หน้า ๑/๙ มีนาคม ๒๕๖๑ |
681772 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญ พ.ศ. 2552 (ฉบับ Update ล่าสุด) | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือน
เพื่อเป็นอนุกรรมการใน
อ.ก.พ. สามัญ
พ.ศ. ๒๕๕๒[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๕) และมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.พ.
โดยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้อนุกรรมการโดยตำแหน่งใน อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด
เป็นผู้พิจารณากำหนดจำนวนอนุกรรมการตามมาตรา ๑๕ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๗ (๑) และ (๒)
และมาตรา ๑๙ (๑) และ (๒) โดยให้มีจำนวนผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๕ (๑) มาตรา ๑๗ (๑)
และมาตรา ๑๙ (๑) ไม่น้อยกว่าสองคน แต่ไม่เกินสามคน
จำนวนข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือกตามมาตรา ๑๕ (๒) ไม่น้อยกว่าสามคน
แต่ไม่เกินห้าคน และจำนวนข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือกตามมาตรา ๑๗ (๒) และมาตรา
๑๙ (๒) ไม่น้อยกว่าสามคน แต่ไม่เกินหกคน
ข้อ ๒
การเลือกข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ตามมาตรา ๑๕ (๒) มาตรา ๑๗
(๒) หรือมาตรา ๑๙ (๒) เพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม
หรือ อ.ก.พ. จังหวัด ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ให้ส่วนราชการที่มี อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด
จัดทำบัญชีรายชื่อข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ตามมาตรา ๑๕ (๒) มาตรา ๑๗
(๒) หรือมาตรา ๑๙ (๒) โดยหัวหน้าส่วนราชการนั้น ๆ
จะมอบให้ส่วนราชการใดในสังกัดเป็นผู้จัดทำก็ได้
แล้วส่งบัญชีรายชื่อดังกล่าวไปให้ผู้มีชื่อในบัญชีรายชื่อนั้น ๆ ทราบ
(๒)
ในกรณีที่ส่วนราชการที่มี อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด
มีชื่อข้าราชการพลเรือนผู้มีคุณสมบัติที่จะแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ.
กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด ไม่เกินจำนวนที่อนุกรรมการโดยตำแหน่งใน
อ.ก.พ. สามัญนั้น ๆ กำหนดตามข้อ ๑ ให้ผู้มีชื่อดังกล่าวเป็นผู้ได้รับเลือกเป็นอนุกรรมการใน
อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัดต่อไป
(๓)
ในกรณีที่ส่วนราชการที่มี อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด
มีชื่อข้าราชการพลเรือนผู้มีคุณสมบัติที่จะแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ.
กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด เกินกว่าจำนวนที่อนุกรรมการโดยตำแหน่งใน
อ.ก.พ. สามัญนั้น ๆ กำหนดตามข้อ ๑
ให้ส่วนราชการจัดให้มีการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการใน
อ.ก.พ. สามัญนั้น ๆ โดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(ก)
นัดให้ผู้มีชื่อในบัญชีรายชื่อดังกล่าวไปออกเสียงลงคะแนนเลือกผู้มีชื่อในบัญชีรายชื่อนั้นเป็นอนุกรรมการใน
อ.ก.พ. สามัญประจำส่วนราชการนั้น ๆ ตามวัน เวลา
และสถานที่ที่กำหนดแล้วแจกบัตรเลือกข้าราชการพลเรือนตามแบบท้ายกฎ ก.พ. นี้
ซึ่งลงลายมือชื่อของหัวหน้าส่วนราชการแล้ว ให้ผู้มีชื่อในบัญชีรายชื่อดังกล่าวเลือกข้าราชการพลเรือนจากบัญชีรายชื่อนั้นเป็นอนุกรรมการใน
อ.ก.พ. สามัญประจำส่วนราชการนั้น ๆ แล้วแต่กรณี
โดยเขียนชื่อและนามสกุลของผู้ซึ่งตนเลือกไม่เกินจำนวนในข้อ ๑
พร้อมลงลายมือชื่อของผู้เลือกในบัตรเลือกข้าราชการพลเรือนแล้วหย่อนบัตรดังกล่าวลงในหีบบัตรเลือกข้าราชการพลเรือนที่ส่วนราชการนั้น
ๆ จัดไว้ให้ ภายในเวลาที่ส่วนราชการนั้น ๆ กำหนด หรือ
(ข)
ส่งบัตรเลือกข้าราชการพลเรือนตามแบบท้ายกฎ ก.พ. นี้
ซึ่งลงลายมือชื่อของหัวหน้าส่วนราชการแล้ว
ไปให้ผู้มีชื่อในบัญชีรายชื่อดังกล่าวเพื่อเลือกข้าราชการพลเรือนจากบัญชีรายชื่อนั้น
เป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญประจำส่วนราชการนั้น ๆ แล้วแต่กรณี
โดยเขียนชื่อและนามสกุลของผู้ซึ่งตนเลือกไม่เกินจำนวนในข้อ ๑
พร้อมลงลายมือชื่อของผู้เลือกในบัตรเลือกข้าราชการพลเรือน
แล้วส่งบัตรดังกล่าวพร้อมกับภาพถ่ายบัตรประจำตัวข้าราชการของผู้เลือกกลับคืนไปยังส่วนราชการภายในวันที่ส่วนราชการนั้น
ๆ กำหนด ทั้งนี้
ในกรณีที่ส่งบัตรกลับคืนส่วนราชการโดยตรง
ให้ถือวันที่ส่วนราชการได้รับบัตรเป็นวันส่งคืน
ในกรณีที่ส่งบัตรกลับคืนทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ให้ถือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์รับลงทะเบียนเป็นวันส่งคืน
ในกรณีที่ส่งบัตรกลับคืนทางไปรษณีย์ไม่ลงทะเบียน
ให้ถือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางประทับตราไปรษณีย์เป็นวันส่งคืน
(๔)
ให้ส่วนราชการรวบรวมบัตรเลือกข้าราชการพลเรือนตาม (๓) (ก) หรือ (ข) แล้วแต่กรณี
เพื่อดำเนินการตรวจนับคะแนน โดยให้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจนับคะแนนขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการ
หรือผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการที่มีตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับชำนาญการพิเศษ
จำนวนไม่น้อยกว่าสามคน เป็นผู้ตรวจนับคะแนน
(๕)
การตรวจนับคะแนนของคณะกรรมการตรวจนับคะแนน ให้กระทำโดยเปิดเผย
และต้องมีกรรมการอยู่พร้อมกันไม่น้อยกว่าสามคน
เมื่อตรวจนับคะแนนเสร็จแล้ว
ให้คณะกรรมการตรวจนับคะแนนจัดทำบัญชีรายชื่อข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือกโดยเรียงตามลำดับคะแนนจากสูงไปหาต่ำ
พร้อมกับแสดงคะแนนของแต่ละคนไว้ในบัญชีรายชื่อข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือกด้วย
ในกรณีที่มีผู้ได้คะแนนเท่ากัน
ให้หัวหน้าส่วนราชการจับสลากชื่อผู้ได้คะแนนเท่ากันนั้นต่อหน้าคณะกรรมการตรวจนับคะแนนเพื่อเรียงลำดับที่ในบัญชีรายชื่อดังกล่าว
โดยมีกรรมการไม่น้อยกว่าสามคนลงลายมือชื่อรับรอง
แล้วให้หัวหน้าส่วนราชการประกาศรายชื่อข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือก โดยปิดไว้ในที่เปิดเผย
ณ ส่วนราชการนั้น ๆ
(๖)
ให้ขึ้นบัญชีรายชื่อข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือกเป็นเวลาหนึ่งปี
(๗)
ให้ข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือกตามบัญชีรายชื่อใน (๖)
ที่ได้คะแนนสูงตามลำดับและมีคุณสมบัติที่จะแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ.
กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัดเป็นผู้ได้รับเลือก เพื่อเสนอประธาน อ.ก.พ.
แต่งตั้งเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญนั้น ๆ ต่อไป แต่ทั้งนี้
ต้องไม่เกินจำนวนที่กำหนดในข้อ ๑
(๘)
ในกรณีที่อนุกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตาม (๗) พ้นจากตำแหน่งก่อนครบกำหนดตามวาระ
และจะต้องแต่งตั้งอนุกรรมการแทน ให้ประธาน อ.ก.พ.
แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนจากบัญชีรายชื่อตาม (๖) ที่ได้คะแนนสูงตามลำดับ
และมีคุณสมบัติที่จะแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญประจำส่วนราชการนั้น ๆ
แทนต่อไป
แต่หากไม่มีรายชื่อข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือกซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนเหลืออยู่ในบัญชีรายชื่อดังกล่าวแล้ว
หรือบัญชีรายชื่อข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือกครบกำหนดหนึ่งปีตาม (๖) แล้ว
ให้ดำเนินการเลือกใหม่ตามหลักเกณฑ์และวิธีการใน (๑) ถึง (๗) โดยอนุโลม
ข้อ ๓[๒] การสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย ตามมาตรา ๑๕ (๑) มาตรา ๑๗ (๑) หรือมาตรา
๑๙ (๑) เพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ.
จังหวัด ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ให้มีคณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. กระทรวง ประกอบด้วย ประธาน
อ.ก.พ. กระทรวง เป็นประธาน อนุกรรมการโดยตำแหน่งใน อ.ก.พ. กระทรวง
และข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือกเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. กระทรวงตามข้อ ๒
เป็นกรรมการ
ให้ปลัดกระทรวงแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนผู้รับผิดชอบงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของกระทรวงเป็นเลขานุการ
(๒)
ให้มีคณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. กรม ประกอบด้วย ประธาน
อ.ก.พ. กรม เป็นประธาน อนุกรรมการโดยตำแหน่ง ใน อ.ก.พ. กรม
และข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือกเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. กรม ตามข้อ ๒
เป็นกรรมการ
ให้อธิบดีแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนผู้รับผิดชอบงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของกรมเป็นเลขานุการ
(๓)
ให้มีคณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. จังหวัด ประกอบด้วย ประธาน
อ.ก.พ. จังหวัด เป็นประธาน อนุกรรมการโดยตำแหน่ง ใน อ.ก.พ. จังหวัด
และข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือกเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. จังหวัดตามข้อ ๒
เป็นกรรมการ
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนผู้รับผิดชอบงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของจังหวัดเป็นเลขานุการ
(๔)
กรรมการสรรหาและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด
แต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย ไปยังเลขานุการคณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิของ
อ.ก.พ. สามัญนั้น ๆ ภายในระยะเวลาที่ส่วนราชการกำหนด
โดยจะเสนอชื่อผู้ใดเป็นผู้ทรงคุณวุฒิหลายด้านก็ได้
(๕)
ให้เลขานุการคณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม
หรือ อ.ก.พ. จังหวัด แล้วแต่กรณี จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับการเสนอชื่อตาม
(๔) รวมกับบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่เลขานุการคณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกได้สรรหาไว้ส่วนหนึ่ง พร้อมทั้งประวัติและผลงานโดยย่อ
แยกเป็นรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละด้าน ซึ่งแสดงถึงการเป็นผู้มีความรู้
ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ การไม่เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.พ.
และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๕ (๑) มาตรา ๑๗ (๑) หรือมาตรา ๑๙ (๑) ในกรณีที่ผู้ใดได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้ทรงคุณวุฒิหลายด้าน
ให้ระบุชื่อผู้นั้นไว้ทุกด้าน แล้วเสนอบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิให้คณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา
(๖)
ให้คณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ
อ.ก.พ. จังหวัด แล้วแต่กรณี พิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อตาม (๕) โดยพิจารณาเลือกผู้มีความรู้
ความสามารถ และมีความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์สูง
มีผลงานเป็นที่ประจักษ์และเป็นที่ยอมรับของบุคคลในด้านนั้น ๆ
และเป็นผู้มีความเป็นกลางทางการเมือง
ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการสรรหาและคัดเลือก พิจารณาเลือกผู้ทรงคุณวุฒิได้ไม่เกินจำนวนที่กำหนดไว้ในข้อ ๑
โดยจะต้องมีผู้ทรงคุณวุฒิครบในทุก ๆ ด้าน ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิคนหนึ่งจะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิสองด้านก็ได้
แล้วนำรายชื่อเสนอประธาน อ.ก.พ. สามัญเพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน
อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด แล้วแต่กรณี
และการเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวจะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ทรงคุณวุฒิก่อน
(๗)
ในกรณีที่คณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อแล้ว
ได้ผู้ทรงคุณวุฒิไม่ครบจำนวนหรือไม่ครบด้าน ให้คณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกแต่ละคน
เสนอรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิไปยังเลขานุการอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้มีการพิจารณาใหม่ ทั้งนี้ เฉพาะจำนวนที่ไม่ครบหรือด้านที่ไม่ครบ
โดยนำหลักเกณฑ์และวิธีการใน (๔) ถึง (๖) มาใช้บังคับ
(๘)
ในกรณีที่อนุกรรมการซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในด้านใดใน อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด
พ้นจากตำแหน่งก่อนครบกำหนดตามวาระ และจะต้องแต่งตั้งอนุกรรมการแทน ให้ดำเนินการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิในด้านนั้นใหม่
โดยนำหลักเกณฑ์และวิธีการใน (๑) ถึง (๖) มาใช้บังคับ
ข้อ ๔
ให้ส่วนราชการนำรายชื่อข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือกตามข้อ ๒
และรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการสรรหาตามข้อ ๓ เสนอประธาน อ.ก.พ. กระทรวง
อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด เพื่อแต่งตั้งต่อไป
อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ.
สามัญผู้ใดที่ได้รับการแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งแล้ว หากภายหลังไปดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน
ก.พ. ให้ผู้นั้นพ้นจากการเป็นอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. สามัญ[๓]
ข้อ ๕
ให้อนุกรรมการซึ่งได้รับการแต่งตั้ง มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี
เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง ให้อนุกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้แต่งตั้งอนุกรรมการใหม่[๔]
ให้อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน
อ.ก.พ. สามัญ ดำรงตำแหน่งตามวาระติดต่อกันในคณะเดิมได้ไม่เกินสองวาระ
และให้ดำรงตำแหน่งในเวลาเดียวกันได้ไม่เกินจำนวนสามคณะ[๕]
ข้อ ๖ ในกรณีที่อนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญนั้น ๆ
พ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้ดำเนินการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการใน
อ.ก.พ. สามัญนั้น ๆ ภายในหกสิบวัน
ข้อ ๗
ในกรณีที่อนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญนั้น ๆ
พ้นจากตำแหน่งก่อนครบกำหนดตามวาระ ให้ดำเนินการแต่งตั้งอนุกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างลงภายในสามสิบวันตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อ
๒ หรือข้อ ๓ โดยอนุโลม
อนุกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งแทนนั้นให้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
ในกรณีที่วาระของอนุกรรมการดังกล่าวเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
จะไม่แต่งตั้งอนุกรรมการแทนก็ได้
ข้อ ๘
ในกรณีที่กระทรวง กรม หรือจังหวัดใด ไม่อาจมีจำนวนอนุกรรมการใน อ.ก.พ.
กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด ตามที่กำหนดในข้อ ๑ ได้ ให้กระทรวง กรม
หรือจังหวัด นั้น ๆ เสนอ ก.พ. เพื่อพิจารณาอนุมัติให้กำหนดจำนวนอนุกรรมการเป็นกรณีพิเศษ
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๖
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัตรเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญ ท้ายกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน
อ.ก.พ. สามัญ พ.ศ. ๒๕๕๒
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๒๑
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
บัญญัติให้หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการใน
อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม และ อ.ก.พ. จังหวัด ตามมาตรา ๑๕ มาตรา ๑๗ และมาตรา ๑๙
วาระการดำรงตำแหน่ง และจำนวนขั้นต่ำของอนุกรรมการดังกล่าว
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. จึงจำเป็นต้องออกกฎ
ก.พ. นี้
กฎ
ก.พ. ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน
อ.ก.พ. สามัญ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖[๖]
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ
เนื่องจากการสรรหาและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการอาจส่งผลกระทบต่อการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ
สมควรให้อนุกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้จนกว่าจะได้แต่งตั้งอนุกรรมการใหม่ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ
ก.พ. ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน
อ.ก.พ. สามัญ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙[๗]
ข้อ ๔ ในวาระเริ่มแรก
ให้วาระการดำรงตำแหน่งของอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. สามัญที่ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันที่กฎ
ก.พ. นี้ใช้บังคับสิ้นสุดลง และให้ดำเนินการสรรหาอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ.
สามัญ ตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน
อ.ก.พ. สามัญ พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ. นี้ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่กฎ
ก.พ. นี้ใช้บังคับ ในระหว่างระยะเวลาสรรหาอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ให้อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่พ้นจากตำแหน่งปฏิบัติหน้าที่ต่อไปพลางก่อน
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ
โดยที่หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. สามัญตามกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญ พ.ศ. ๒๕๕๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
มีความซับซ้อนและมีกระบวนการที่ต้องใช้เวลาดำเนินการ ประกอบกับผู้ทรงคุณวุฒิใน
อ.ก.พ. สามัญ หลายท่านเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. หลายคณะ ซึ่งอาจมีปัญหาเรื่องประสิทธิภาพในการทำหน้าที่ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
นุสรา/ปรับปรุง
๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ก/หน้า ๖๔/๘ เมษายน ๒๕๕๒
[๒] ข้อ ๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน
อ.ก.พ. สามัญ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙
[๓] ข้อ ๔ วรรคสอง
เพิ่มโดยกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน
อ.ก.พ. สามัญ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙
[๔] ข้อ ๕ วรรคสอง เพิ่มโดยกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน
อ.ก.พ. สามัญ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๕] ข้อ ๕ วรรคสาม
เพิ่มโดยกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน
อ.ก.พ. สามัญ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙
[๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๕ ก/หน้า ๔/๑๗ มกราคม ๒๕๕๖
[๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๑๐๕ ก/หน้า ๑/๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๙ |
654034 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน พ.ศ. 2551 (ฉบับ Update ล่าสุด) | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน
พ.ศ. ๒๕๕๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๕) และมาตรา ๕๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีจึงออก กฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.พ. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด
สายงานใด ระดับใด ให้ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งประเภท สายงาน
และระดับนั้นในขั้นต่ำของระดับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งประเภท สายงาน และระดับ
ที่ได้รับแต่งตั้ง เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้
(๑) ผู้นั้นได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ ซึ่ง ก.พ.
รับรองว่าปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพนั้นเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง
และ ก.พ. กำหนดเงินเดือนที่ควรได้รับในตำแหน่งประเภท สายงาน ระดับ
และอัตรานั้นไว้แล้ว ให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งประเภท สายงาน ระดับ
และอัตราตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด
(๒) ผู้นั้นมีประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง และ
ก.พ. กำหนดเงินเดือนที่ควรได้รับในตำแหน่งประเภท สายงาน ระดับ และอัตรานั้นไว้แล้ว
ให้ได้รับเงินเดือน ตามตำแหน่งประเภท สายงาน ระดับ
และอัตราตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด
(๓) ผู้นั้นได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้นซึ่ง
ก.พ. รับรองว่าปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพที่ได้รับเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้นนั้นเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งและกำหนดเงินเดือนที่ควรได้รับในตำแหน่งประเภท
สายงาน ระดับ และอัตรานั้นไว้แล้ว
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งอาจปรับให้ได้รับเงินเดือนในตำแหน่งประเภท สายงาน
ระดับ และอัตราที่ ก.พ. กำหนดตาม (๑) ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) ผู้ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่าเพิ่มขึ้น
หรือสูงขึ้นจากประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
หรือเทียบเท่าจะต้องดำรงตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งโดยใช้วุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ
(ปวช.) หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
(ข) ผู้ได้รับปริญญาโทเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้นจากปริญญาตรีจะต้องดำรงตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งโดยใช้วุฒิปริญญาตรีมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
(ค)
ผู้ได้รับปริญญาเอกเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้นจากปริญญาโทจะต้องดำรงตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งโดยใช้วุฒิปริญญาโทมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี
(ง) ผู้ได้รับคุณวุฒิเพิ่มขึ้นและเป็นคุณวุฒิที่ ก.พ.
กำหนดให้เป็นคุณวุฒิที่ใช้คัดเลือกเพื่อบรรจุเข้ารับราชการ
ปรับให้ได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นไม่ก่อนวันที่ได้รับคุณวุฒิเพิ่มขึ้น
(๔) ผู้นั้นได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภท ระดับ สายงานที่ ก.พ.
กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข
และอัตราเงินเดือนที่จะได้รับหลังผ่านการทดลองปฏิบัติราชการไว้แล้ว
ให้ได้รับเงินเดือน ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตราที่ ก.พ. กำหนด
(๕) ภายใต้บังคับข้อ ๕
ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทเดิมหรือต่างประเภทในระดับใด
ให้ได้รับเงินเดือนในอัตราที่ได้รับอยู่เดิม
เว้นแต่ผู้นั้นได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับใดแต่เงินเดือนเดิมต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับนั้นให้ได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำของระดับที่ได้รับแต่งตั้ง
(๖) ผู้ได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ
ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ หรือทรงคุณวุฒิ หรือตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ
ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๕๖
ให้ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าค่ากึ่งกลางของเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของระดับที่ได้รับแต่งตั้งในอัตราที่
ก.พ. หรือผู้ที่ ก.พ. มอบหมายจะพิจารณากำหนด
ข้อ
๓[๒] ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ และตำแหน่งประเภท สายงาน และระดับอื่นที่ ก.พ.
กำหนด ให้ได้รับเงินเดือนดังนี้
(๑)
ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน ๓๗,๘๓๐ บาท หรือที่
ก.พ. กำหนด เว้นแต่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งในสายงานที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้ได้รับเงินเดือนขั้นสูง
กรณีที่ผู้ใดได้รับเงินเดือนสูงกว่าอัตรา ๓๗,๘๓๐ บาท ให้ได้รับเงินเดือนตามที่ได้รับอยู่
(๒)
ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน ๖๗,๕๖๐ บาท หรือที่
ก.พ. กำหนด เว้นแต่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งในสายงานที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้ได้รับเงินเดือนขั้นสูง
กรณีที่ผู้ใดได้รับเงินเดือนสูงกว่าอัตรา ๖๗,๕๖๐ บาท ให้ได้รับเงินเดือนตามที่ได้รับอยู่
(๓)
ผู้ดำรงตำแหน่งประเภท สายงาน และระดับอื่นที่ ก.พ. กำหนด ให้ได้รับเงินเดือนในอัตราที่
ก.พ. กำหนด
ข้อ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา
๖๓ มาตรา ๖๔ มาตรา ๖๕ หรือมาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.
๒๕๕๑ ให้ได้รับเงินเดือนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ
ข้อ ๕ ในกรณีที่อัตราเงินเดือนขั้นต่ำชั่วคราวยังมีผลใช้บังคับ
ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด
ถ้าเงินเดือนที่ได้รับต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับที่ได้รับแต่งตั้งให้ได้รับเงินเดือนในอัตราที่ได้รับอยู่เดิมและไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำชั่วคราว
ข้อ ๖ กรณีอื่นนอกจากที่ได้กำหนดไว้ในกฎ ก.พ. นี้
ให้เสนอ ก.พ. พิจารณาอนุมัติเป็นราย ๆ ไป
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบ
ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๔๕ กำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญไว้ ๔
ประเภท ได้แก่ ตำแหน่งประเภทบริหาร ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ตำแหน่งประเภทวิชาการ
และตำแหน่งประเภททั่วไป และมาตรา ๔๖
กำหนดระดับตำแหน่งให้สอดคล้องกับประเภทตำแหน่งทั้ง ๔ ประเภทไว้ ประกอบกับมาตรา ๕๐
กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งในแต่ละประเภทตามที่กำหนดไว้ในบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าว
โดยผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด
จะได้รับเงินเดือนเท่าใดตามบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ
ก.พ. ดังนั้น
เพื่อให้การรับเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญสอดคล้องกับการกำหนดตำแหน่ง
ตามมาตรา ๔๕ และมาตรา ๔๖
และเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔[๓]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ
ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๕๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
วรรคหนึ่ง กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งในแต่ละประเภทตามที่กำหนดไว้ในบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัติและวรรคสอง
กำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด จะได้รับเงินเดือนเท่าใดตามบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ดังนั้น เมื่อมีการประกาศพระราชกฤษฎีกาปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงข้าราชการพลเรือนสามัญของตำแหน่งแต่ละประเภทให้เหมาะสมยิ่งขึ้นตามความจำเป็น จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ.นี้ เพื่อให้ข้าราชการได้รับการปรับเงินเดือน
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๑๒๘ ก/หน้า ๙/๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๑
[๒] ข้อ ๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔
[๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๒๓ ก/หน้า ๕๐/๕ เมษายน ๒๕๕๔ |
729694 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง พ.ศ. 2551 (ฉบับ Update ล่าสุด) | กฎ ก.พ.
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๕๕๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๕) มาตรา ๔๕ มาตรา ๔๖ และมาตรา ๑๓๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๒ ตำแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่
ตำแหน่งที่มีอำนาจและหน้าที่ในการบริหารงานในฐานะที่เป็นหัวหน้าส่วนราชการหรือรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือกรม
ตำแหน่งที่มีฐานะเป็นผู้ปฏิบัติงานตรวจและแนะนำการปฏิบัติราชการของส่วนราชการระดับกระทรวง
และตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการหรือรองหัวหน้าส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีผู้บังคับบัญชาเป็นอธิบดีหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี
หรือตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภทบริหารตามหลักเกณฑ์ในกฎ ก.พ.
นี้
ข้อ
๓ ตำแหน่งประเภทบริหาร มี ๒ ระดับ
ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(ก) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ซึ่งไม่ใช่ตำแหน่งตาม (๒) (ฉ)
(ช) (ซ) และ (ฌ)
(ข) รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(ค) อัครราชทูตที่เป็นรองหัวหน้าสถานเอกอัครราชทูต
รองหัวหน้าคณะผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ
รองหัวหน้าคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก และหัวหน้าสถานกงสุลใหญ่
(ง)
รองหัวหน้าส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีผู้บังคับบัญชาเป็นอธิบดีหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี
ได้แก่ รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
รองเลขาธิการสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
รองผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
และรองเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
(จ) ตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น
(๒) ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(ก) หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง
ได้แก่ ปลัดกระทรวง และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(ข) หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม
(ค) ผู้ว่าราชการจังหวัด
(ง) เอกอัครราชทูตที่เป็นหัวหน้าสถานเอกอัครราชทูต
หัวหน้าคณะผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ
หัวหน้าคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก และเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง
(จ) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ได้แก่ รองปลัดกระทรวง
และรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(ฉ)[๒] รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในสำนักนายกรัฐมนตรี
และอยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร
รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
และรองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
(ช)[๓]
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง
และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ได้แก่
รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
และรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
(ซ) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการ
และขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี ได้แก่ รองเลขาธิการสภาการศึกษา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
และรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
(ฌ)
หัวหน้าส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีผู้บังคับบัญชาเป็นอธิบดีหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี
ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เลขาธิการสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
และเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
(ญ) ผู้ตรวจราชการของส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง
(ฎ) ตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
ข้อ
๔ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ได้แก่
ตำแหน่งที่มีอำนาจและหน้าที่ในการบริหารงานในฐานะหัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรม
ซึ่งมีการแบ่งส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
หรือตำแหน่งอื่นที่มีลักษณะเป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการ
ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมากหรือสูงมากเป็นพิเศษที่ ก.พ.
กำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการตามหลักเกณฑ์ในกฎ ก.พ. นี้
ข้อ
๕ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ มี ๒ ระดับ
ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ได้แก่
ตำแหน่งที่มีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมาก ดังต่อไปนี้
(ก)
หัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรมซึ่งแบ่งส่วนราชการภายในกรมในราชการบริหารส่วนกลางตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(ข) หัวหน้าสำนักงานจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(ค) นายอำเภอ
(ง) ตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น
(๒) ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ได้แก่
ตำแหน่งที่มีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมากเป็นพิเศษ
ดังต่อไปนี้
(ก) หัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรมซึ่งแบ่งส่วนราชการภายในกรมในราชการบริหารส่วนกลางตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(ข)
หัวหน้าสำนักงานจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(ค) นายอำเภอ
(ง) ผู้ตรวจราชการของส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม
(จ) ตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง
ข้อ
๖ ตำแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่
ตำแหน่งในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่ใช้ความรู้ ในทางวิชาการซึ่ง ก.พ.
กำหนดว่าต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำแหน่งนั้น
โดยมีการจำแนกตามลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานเป็นหลัก หรือตำแหน่งอื่นที่กำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภทวิชาการตามกฎ
ก.พ. นี้
ข้อ
๗ ตำแหน่งประเภทวิชาการ มี ๕ ระดับ
ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ได้แก่ ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับต้น
โดยใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ แนะนำ
ตรวจสอบ
(๒) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ
ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงในงานวิชาการ
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก
(ข) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ
ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์
และความชำนาญงานสูงในงานวิชาการ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก
(๓) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ
ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงมากในงานวิชาการ
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก
(ข) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ
ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์
และความชำนาญงานสูงมากในงานวิชาการ
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก
(๔) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ได้แก่ ตำแหน่งที่ต้องดำเนินการศึกษา
วิจัย สั่งสมความรู้หรือผลการศึกษาวิจัยในลักษณะต่าง ๆ
เพื่อให้มีการค้นคว้าอ้างอิงต่อไปได้ และสอน ฝึกอบรม หรือเผยแพร่ความรู้ในระดับกรม
ดังต่อไปนี้
(ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีความเชี่ยวชาญในงาน โดยใช้ความรู้
ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาการ
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมาก
และมีผลกระทบในวงกว้าง
(ข) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานให้คำปรึกษาของส่วนราชการระดับกระทรวง
หรือกรม ซึ่งใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาการ
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมาก
และมีผลกระทบในวงกว้าง
(๕) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ได้แก่
ตำแหน่งที่ต้องดำเนินการศึกษา วิจัย สั่งสมความรู้หรือผลการศึกษาวิจัยในลักษณะต่าง
ๆ เพื่อให้มีการค้นคว้าอ้างอิงต่อไปได้ และสอน ฝึกอบรม
หรือเผยแพร่ความรู้ในระดับกระทรวง และระดับชาติ ดังต่อไปนี้
(ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีความรู้ ความสามารถ
ประสบการณ์ และผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถ เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมากเป็นพิเศษ
และมีผลกระทบในวงกว้างระดับนโยบายกระทรวงหรือระดับชาติ
(ข) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานให้คำปรึกษาของส่วนราชการระดับกระทรวง
ซึ่งมีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถ
เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมากเป็นพิเศษ
และมีผลกระทบในวงกว้างระดับนโยบายกระทรวงหรือระดับชาติ
ข้อ
๘ ตำแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่
ตำแหน่งซึ่งมิใช่ตำแหน่งประเภทบริหาร ประเภทอำนวยการ และประเภทวิชาการ
แต่เป็นตำแหน่งในฐานะผู้ปฏิบัติงานซึ่งเน้นการใช้ทักษะ ฝีมือในการปฏิบัติงาน
โดยมีการจำแนกตามลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานเป็นหลัก
และในกรณีที่เห็นสมควร ก.พ.
จะกำหนดว่าตำแหน่งใดต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำแหน่งนั้นด้วยก็ได้
หรือตำแหน่งอื่นที่กำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภททั่วไปตาม กฎ ก.พ. นี้
ข้อ
๙ ตำแหน่งประเภททั่วไป มี ๔ ระดับ
ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ได้แก่
ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งปฏิบัติงานตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน
และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ
(๒) ตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงาน ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ
ประสบการณ์ และความชำนาญงาน ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ค่อนข้างยาก
(ข) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ
ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์
และความชำนาญงาน ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ค่อนข้างยาก
(๓) ตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ
ประสบการณ์ และความชำนาญงานค่อนข้างสูง ในงานเทคนิคเฉพาะด้าน
หรืองานที่ใช้ทักษะและความชำนาญเฉพาะตัว
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในงานที่ค่อนข้างยากมาก
(ข) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ
ประสบการณ์ และความชำนาญงานค่อนข้างสูง มีงานในความรับผิดชอบที่หลากหลาย
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในงานที่ค่อนข้างยากมาก
(๔) ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ได้แก่
ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีทักษะพิเศษเฉพาะตัว
โดยมีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และผลงานเป็นที่ประจักษ์ ในความสามารถ
ในงานที่ใช้ทักษะและความชำนาญเฉพาะตัวสูงมาก
ปฏิบัติงานที่ต้องคิดริเริ่มสร้างสรรค์ด้วยตนเองและเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ
ข้อ ๑๐
ให้ตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดให้เทียบเป็นตำแหน่งประเภทบริหารตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา
๓๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ไว้แล้วก่อนวันที่ กฎ
ก.พ. นี้ใช้บังคับ เป็นตำแหน่งตามประเภท และระดับ ตามกฎ ก.พ. นี้ ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดให้เทียบเป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับกลาง
ให้เป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น
(๒) ตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดให้เทียบเป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
ให้เป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง
ข้อ
๑๑ ในกรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุผลอันสมควร
ให้ ก.พ. มีอำนาจกำหนดให้ตำแหน่งอื่นใดนอกจากที่กำหนดไว้แล้วในกฎ ก.พ. นี้
เป็นตำแหน่งประเภทใด ระดับใด ตามกฎ ก.พ. นี้ ก็ได้
ข้อ
๑๒
การปฏิบัติงานใดที่จะเป็นการปฏิบัติงานที่มีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูง
หรือต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานที่ยุ่งยาก ซับซ้อน
หรือต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหา หรือมีผลกระทบของงาน ในระดับใด
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๔๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ
๑๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะหรือวิชาชีพเฉพาะระดับ
๙ ระดับ ๑๐ หรือระดับ ๑๑ ตามมาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ อยู่แล้วในวันก่อนวันที่ กฎ
ก.พ. นี้ใช้บังคับ และได้รับการจัดเข้าสู่ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ
หรือระดับทรงคุณวุฒิ ตามกฎ ก.พ. นี้ ให้ถือว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ตามกฎ ก.พ.
นี้แล้ว
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน
ก.พ.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๔๕ บัญญัติให้ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมี ๔ ประเภท ได้แก่
ตำแหน่งประเภทบริหาร ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ตำแหน่งประเภทวิชาการ และตำแหน่งประเภททั่วไป และมาตรา ๔๖
กำหนดระดับตำแหน่งในแต่ละประเภทตำแหน่งดังกล่าวไว้ด้วย สำหรับการจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎ ก.พ.
ดังนั้น
เพื่อให้มีหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญสำหรับใช้เป็นบรรทัดฐานเทียบเคียง
การกำหนดตำแหน่งในส่วนราชการ
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘[๔]
ข้อ ๑
กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเป็นตำแหน่งประเภทบริหาร
ระดับสูง จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ.
นี้
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙[๕]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง
เพื่อให้สอดคล้องกับหน้าที่และความรับผิดชอบตามบทบาทภารกิจและลักษณะงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่มีความสำคัญในระดับชาติเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ
ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อความเชื่อมั่นขององค์กรระหว่างประเทศ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๙[๖]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง เพื่อให้สอดคล้องกับหน้าที่และความรับผิดชอบตามบทบาทภารกิจและลักษณะงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐที่มีความสำคัญในระดับชาติเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ
ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อความเชื่อมั่นขององค์กรระหว่างประเทศ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๑[๗]
ข้อ ๑
กฎ ก.พ. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร
ระดับสูงเพื่อให้สอดคล้องกับหน้าที่และความรับผิดชอบตามบทบาทภารกิจและลักษณะงานของสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติในการเป็นหน่วยงานกลางด้านการบริหารจัดการน้ำของประเทศ
และต่อมาหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีคำสั่งที่ ๒/๒๕๖๑ สั่ง ณ
วันที่ ๒๒ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๑ เรื่อง
การจัดสรรภารกิจและบุคลากรของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ซึ่งข้อ ๑
ของคำสั่งดังกล่าวให้เปลี่ยนชื่อสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรนํ้าแห่งชาติ ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ที่ ๔๖/๒๕๖๐ เรื่อง การจัดตั้งสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ลงวันที่
๒๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐ เป็นสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
และให้ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติเป็นเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
นุสรา/ปรับปรุง
๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๑๒๘ ก/หน้า ๑/๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๑
[๒]
ข้อ ๓ (๒)
(ฉ)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง (ฉบับที่
๕) พ.ศ. ๒๕๖๑
[๓]
ข้อ ๓ (๒) (ช) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๙
[๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๔๓ ก/หน้า ๔๒/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๒๐ ก/หน้า ๑/๒ มีนาคม ๒๕๕๙
[๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๙๐ ก/หน้า ๑/๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
[๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๑๔ ก/หน้า ๑/๙ มีนาคม
๒๕๖๑ |
816580 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2551 (ฉบับ Update ณ วันที่ 09/03/2561) | กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๕๕๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) และมาตรา ๕๐
วรรคสามและวรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.
๒๕๕๑ ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒
ข้าราชการพลเรือนสามัญอาจได้รับเงินประจำตำแหน่งตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข
ดังต่อไปนี้
(๑)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในประเภท สายงาน
และระดับตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. นี้
และปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งดังกล่าวให้มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(๒)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งผู้ใด
หากได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่อื่นและมิได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่
ไม่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งตั้งแต่วันที่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่
เว้นแต่ในกรณีที่ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการหรือประเภททั่วไปและได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่อื่นที่มีลักษณะเป็นงานวิชาชีพหรืองานเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเหมือนหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่เดิม
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดิมของตำแหน่งต่อไป
(๓)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งนั้นไม่เต็มเดือนในเดือนใด
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งสำหรับเดือนนั้นตามส่วนจำนวนวันที่ได้ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งดังกล่าว
(๔)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งนั้นเกินหนึ่งตำแหน่ง
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งสำหรับตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงสุดเพียงตำแหน่งเดียว
(๕)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประเภทเดียวกันที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้ปฏิบัติหน้าที่หลักในตำแหน่งที่ตนไปปฏิบัติหน้าที่ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามอัตราเดิมของตนต่อไป
ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่
หรือรักษาราชการแทน
หรือรักษาการในตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งต่างประเภทกัน
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราของตำแหน่งเดิมต่อไปนับแต่วันที่เข้าปฏิบัติหน้าที่หลักในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่
หรือรักษาราชการแทน หรือรักษาการในตำแหน่ง แล้วแต่กรณี
แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินหกเดือน
(๖)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศตามระเบียบ ก.พ.
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการโดยการให้ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศ
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราของตำแหน่งเดิมต่อไป
ข้อ ๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสายงานตามบัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งท้ายกฎ
ก.พ. นี้ ในตำแหน่งประเภทใด ระดับใด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญในอัตราดังนี้
(๑)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๐,๐๐๐ บาท
(๒)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ดังต่อไปนี้ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๔,๕๐๐ บาท
(ก)
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมซึ่งมิใช่หัวหน้าส่วนราชการตาม (๓) (ข) (ค) (ง)
และ (จ)
(ข)
ผู้ว่าราชการจังหวัด
(ค)
เอกอัครราชทูตที่เป็นหัวหน้าสถานเอกอัครราชทูต
หัวหน้าคณะผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ
หัวหน้าคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก และเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง
(ง)
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ได้แก่ รองปลัดกระทรวง
และรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(จ)[๒] รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในสำนักนายกรัฐมนตรี
และอยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
และรองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
(ฉ)[๓] รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวงหรือทบวง และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ได้แก่
รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
(ช)
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการ และขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี
ได้แก่ รองเลขาธิการสภาการศึกษา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
(ซ)
หัวหน้าส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีผู้บังคับบัญชาเป็นอธิบดีหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี
ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เลขาธิการสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
และเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
(ฌ)
ผู้ตรวจราชการของส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง
(ญ)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตามที่ ก.พ. กำหนดให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดียวกันนี้
(๓)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ดังต่อไปนี้ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๒๑,๐๐๐ บาท
(ก)
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ได้แก่ ปลัดกระทรวง
และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(ข)[๔]
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในสำนักนายกรัฐมนตรี และอยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
ได้แก่ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
และเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
(ค)[๕]
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง
และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
และเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
(ง)
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการ และขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี
ได้แก่ เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
(จ)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตามที่ ก.พ.
กำหนดให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดียวกันนี้
(๔)
ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๕,๖๐๐ บาท
(๕)
ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๐,๐๐๐ บาท
(๖)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ที่มีประสบการณ์ ทักษะ และสมรรถนะ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๓,๕๐๐
บาท
(๗)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๕,๖๐๐ บาท
(๘)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๙,๙๐๐ บาท
(๙)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๓,๐๐๐ บาท
(๑๐) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ที่มีประสบการณ์
ทักษะ และสมรรถนะ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๕,๖๐๐
บาท
(๑๑)
ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๙,๙๐๐ บาท
ข้อ ๔ การกำหนดประเภทตำแหน่ง สายงาน ระดับ
และจำนวนตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งเพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่แล้วในวันก่อนวันที่กฎ
ก.พ. นี้ใช้บังคับ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ. ก่อน
ข้อ ๕ กรณีอื่นนอกจากที่ได้กำหนดไว้ในกฎ ก.พ.
นี้ ให้เสนอ ก.พ. พิจารณาอนุมัติเป็นราย ๆ ไป
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน
ก.พ.
บัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
ท้ายกฎ
ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๕๕[๖]
ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ได้แก่
๑. สายงานบริหาร
๒. สายงานบริหารการทูต
๓. สายงานบริหารงานปกครอง
๔. สายงานตรวจราชการกระทรวง
ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น ได้แก่
๑. สายงานบริหาร
๒. สายงานบริหารการทูต
๓. สายงานบริหารงานปกครอง
ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับสูง ได้แก่
๑. สายงานอำนวยการ
๒. สายงานอำนวยการเฉพาะด้าน
๓. สายงานตรวจราชการกรม
ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้น ได้แก่
๑. สายงานอำนวยการ
๒. สายงานอำนวยการเฉพาะด้าน
๒
ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ ได้แก่
๑. สายงานการข่าว
๒. สายงานทรัพยากรบุคคล
๓. สายงานการผังเมือง
๔. สายงานวิชาการศุลกากร
๕. สายงานนิติการ
๖. สายงานกฎหมายกฤษฎีกา
๗. สายงานโบราณคดี
๘. สายงานนักพัฒนาระบบราชการ
๙. สายงานวิเคราะห์งบประมาณ
๑๐. สายงานวิเคราะห์นโยบายและแผน
๑๑. สายงานวิชาการส่งเสริมการลงทุน
๑๒. สายงานวิชาการเกษตร
๑๓. สายงานวิชาการขนส่ง
๑๔. สายงานวิชาการคลัง
๑๕. สายงานวิเคราะห์รัฐวิสาหกิจ
๑๖. สายงานวิชาการบัญชี
๑๗. สายงานวิชาการประมง
๑๘. สายงานวิชาการป่าไม้
๑๙. สายงานวิชาการพาณิชย์
๒๐. สายงานวิชาการภาษี
๒๑. สายงานวิชาการมาตรฐาน
๒๒. สายงานวิชาการแรงงาน
๒๓. สายงานวิชาการละครและดนตรี
๒๔. สายงานวิทยาศาสตร์การแพทย์
๒๕. สายงานวิชาการศึกษา
๒๖. สายงานวิชาการเศรษฐกิจ
๒๗. สายงานวิชาการสรรพสามิต
๒๘. สายงานวิชาการสรรพากร
๒๙. สายงานวิชาการสาธารณสุข
๓
๓๐. สายงานวิชาการอาหารและยา
๓๑. สายงานวิทยาศาสตร์
๓๒. สายงานวิศวกรรมสำรวจ
๓๓. สายงานอักษรศาสตร์
๓๔. สายงานประติมากรรม
๓๕. สายงานทันตแพทย์
๓๖. สายงานแพทย์
๓๗. สายงานนายสัตวแพทย์
๓๘. สายงานวิศวกรรมโยธา
๓๙. สายงานสถาปัตยกรรม
๔๐. สายงานวิศวกรรมชลประทาน
๔๑. สายงานวิชาการคอมพิวเตอร์
๔๒. สายงานวิศวกรรมการเกษตร
๔๓. สายงานวิชาการช่างศิลป์
๔๔. สายงานมัณฑนศิลป์
๔๕. สายงานจิตรกรรม
๔๖. สายงานเภสัชกรรม
๔๗. สายงานพยาบาลวิชาชีพ
๔๘.[๗] สายงานอุตุนิยมวิทยา
๔๙.[๘]
สายงานวิชาการสหกรณ์
ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ ได้แก่
๑. สายงานการข่าว
๒. สายงานทรัพยากรบุคคล
๓. สายงานการผังเมือง
๔. สายงานวิเคราะห์ผังเมือง
๕. สายงานสืบสวนสอบสวน
๖. สายงานกีฏวิทยา
๗. สายงานเจ้าหน้าที่คดีพิเศษ
๘. สายงานคุมประพฤติ
๙. สายงานวิชาการปฏิรูปที่ดิน
๑๐. สายงานจิตวิทยา
๔
๑๑. สายงานนักเดินเรือ
๑๒. สายงานตรวจสอบบัญชี
๑๓. สายงานวิชาการตรวจสอบภายใน
๑๔. สายงานวิชาการศุลกากร
๑๕. สายงานวิชาการแผนที่ภาพถ่าย
๑๖. สายงานนิติการ
๑๗. สายงานกฎหมายกฤษฎีกา
๑๘. สายงานนิติวิทยาศาสตร์
๑๙. สายงานโบราณคดี
๒๐. สายงานภัณฑารักษ์
๒๑. สายงานพัฒนาการกีฬา
๒๒. สายงานพัฒนาการท่องเที่ยว
๒๓. สายงานพัฒนาระบบราชการ
๒๔. สายงานพัฒนาสังคม
๒๕. สายงานภูมิสถาปัตยกรรม
๒๖. สายงานวิเคราะห์งบประมาณ
๒๗. สายงานวิเคราะห์นโยบายและแผน
๒๘. สายงานประเมินราคาทรัพย์สิน
๒๙. สายงานวิชาการอุตสาหกรรม
๓๐. สายงานวิชาการส่งเสริมการลงทุน
๓๑. สายงานวิเทศสัมพันธ์
๓๒. สายงานวิชาการพลังงาน
๓๓. สายงานเจ้าหน้าที่จัดผลประโยชน์
๓๔. สายงานวิชาการกษาปณ์
๓๕. สายงานวิชาการเกษตร
๓๖. สายงานวิชาการขนส่ง
๓๗. สายงานวิชาการคลัง
๓๘. สายงานวิเคราะห์รัฐวิสาหกิจ
๓๙. สายงานวิชาการเงินและบัญชี
๔๐. สายงานวิชาการตรวจสอบบัญชี
๕
๔๑. สายงานตรวจสอบภาษี
๔๒. สายงานวิชาการทรัพยากรธรณี
๔๓. สายงานวิชาการทัณฑวิทยา
๔๔. สายงานวิชาการที่ดิน
๔๕. สายงานธรณีวิทยา
๔๖. สายงานวิชาการบัญชี
๔๗. สายงานประชาสัมพันธ์
๔๘. สายงานวิชาการประมง
๔๙. สายงานวิชาการป่าไม้
๕๐. สายงานวิชาการผลิตภัณฑ์อาหาร
๕๑. สายงานวิชาการพัฒนาชุมชน
๕๒. สายงานวิชาการพาณิชย์
๕๓. สายงานวิชาการภาษี
๕๔. สายงานวิชาการมาตรฐาน
๕๕. สายงานวิชาการยุติธรรม
๕๖. สายงานวิชาการแรงงาน
๕๗. สายงานวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงาน
๕๘. สายงานวิชาการโรคพืช
๕๙. สายงานวิชาการละครและดนตรี
๖๐. สายงานวิชาการวัฒนธรรม
๖๑. สายงานวิทยาศาสตร์การแพทย์
๖๒. สายงานวิชาการศาสนา
๖๓. สายงานวิชาการศึกษา
๖๔. สายงานวิทยาจารย์
๖๕. สายงานวิชาการศึกษาพิเศษ
๖๖. สายงานวิชาการเศรษฐกิจ
๖๗. สายงานวิชาการส่งเสริมการเกษตร
๖๘. สายงานวิชาการสถิติ
๖๙. สายงานวิชาการสรรพสามิต
๗๐. สายงานวิชาการสรรพากร
๖
๗๑. สายงานวิชาการสหกรณ์
๗๒. สายงานวิชาการสัตวบาล
๗๓. สายงานวิชาการสาธารณสุข
๗๔. สายงานโภชนาการ
๗๕. สายงานวิชาการสิ่งแวดล้อม
๗๖. สายงานวิชาการอาหารและยา
๗๗. สายงานวิชาการอุทกวิทยา
๗๘. สายงานวิทยาศาสตร์
๗๙. สายงานวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์
๘๐. สายงานวิเทศสหการ
๘๑. สายงานวิศวกรรม
๘๒. สายงานวิศวกรรมสำรวจ
๘๓. สายงานสถิติ
๘๔. สายงานพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ
๘๕. สายงานสังคมสงเคราะห์
๘๖. สายงานสัตววิทยา
๘๗. สายงานสำรวจดิน
๘๘. สายงานอักษรศาสตร์
๘๙. สายงานภาษาโบราณ
๙๐. สายงานวรรณศิลป์
๙๑. สายงานอาลักษณ์
๙๒. สายงานอุตุนิยมวิทยา
๙๓. สายงานวิชาการช่างศิลป์
๙๔. สายงานจิตรกรรม
๙๕. สายงานมัณฑนศิลป์
๙๖. สายงานประติมากรรม
๙๗. สายงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
๙๘. สายงานกายภาพบำบัด
๙๙. สายงานทันตแพทย์
๑๐๐. สายงานพยาบาลวิชาชีพ
๗
๑๐๑. สายงานแพทย์
๑๐๒. สายงานนายสัตวแพทย์
๑๐๓. สายงานเทคนิคการแพทย์
๑๐๔. สายงานเภสัชกรรม
๑๐๕. สายงานวิศวกรรมเครื่องกล
๑๐๖. สายงานวิศวกรรมไฟฟ้า
๑๐๗. สายงานวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร
๑๐๘. สายงานวิศวกรรมโยธา
๑๐๙. สายงานวิศวกรรมเหมืองแร่
๑๑๐. สายงานสถาปัตยกรรม
๑๑๑. สายงานฟิสิกส์รังสี
๑๑๒. สายงานรังสีการแพทย์
๑๑๓. สายงานวิศวกรรมชลประทาน
๑๑๔. สายงานวิศวกรรมนิวเคลียร์
๑๑๕. สายงานวิศวกรรมปิโตรเลียม
๑๑๖. สายงานวิศวกรรมโลหการ
๑๑๗. สายงานชีววิทยารังสี
๑๑๘. สายงานนิวเคลียร์เคมี
๑๑๙. สายงานนิวเคลียร์ฟิสิกส์
๑๒๐. สายงานวิชาการคอมพิวเตอร์
๑๒๑. สายงานวิศวกรรมการเกษตร
๑๒๒. สายงานกิจกรรมบำบัด
๑๒๓. สายงานเวชศาสตร์การสื่อความหมาย
๑๒๔. สายงานจิตวิทยาคลินิก
๑๒๕[๙].
สายงานจดหมายเหตุ
๑๒๖[๑๐].
สายงานวิชาการชั่งตวงวัด
๘
ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ และระดับชำนาญการพิเศษ ได้แก่
๑. สายงานกายภาพบำบัด
๒. สายงานทันตแพทย์
๓. สายงานพยาบาลวิชาชีพ
๔. สายงานแพทย์
๕. สายงานนายสัตวแพทย์
๖. สายงานเทคนิคการแพทย์
๗. สายงานเภสัชกรรม
๘. สายงานวิศวกรรมเครื่องกล
๙. สายงานวิศวกรรมไฟฟ้า
๑๐. สายงานวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร
๑๑. สายงานวิศวกรรมโยธา
๑๒. สายงานวิศวกรรมเหมืองแร่
๑๓. สายงานสถาปัตยกรรม
๑๔. สายงานฟิสิกส์รังสี
๑๕. สายงานรังสีการแพทย์
๑๖. สายงานวิศวกรรมชลประทาน
๑๗. สายงานวิศวกรรมนิวเคลียร์
๑๘. สายงานวิศวกรรมปิโตรเลียม
๑๙. สายงานวิศวกรรมโลหการ
๒๐. สายงานชีววิทยารังสี
๒๑. สายงานนิวเคลียร์เคมี
๒๒. สายงานนิวเคลียร์ฟิสิกส์
๒๓. สายงานวิชาการคอมพิวเตอร์
๒๔. สายงานวิศวกรรมการเกษตร
๒๕. สายงานกิจกรรมบำบัด
๒๖. สายงานเวชศาสตร์การสื่อความหมาย
๒๗. สายงานแพทย์แผนไทย
๒๘. สายงานจิตวิทยาคลินิก
๒๙.[๑๑] สายงานกายอุปกรณ์
๓๐.[๑๒] สายงานเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก
๙
ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ ได้แก่
๑. สายงานปฏิบัติงานช่างศิลปกรรม
๒. สายงานนาฏศิลป์
๓. สายงานดุริยางคศิลป์
๔. สายงานคีตศิลป์
-------------------
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๕๐ วรรคสามและวรรคสี่ บัญญัติว่า
ข้าราชการพลเรือนสามัญอาจได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ.
กำหนด และผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด
จะได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ในอัตราใด
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ
ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๕๕[๑๓]
ข้อ ๑
กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้สายงานวิชาการช่างศิลป์ สายงานมัณฑนศิลป์ สายงานจิตรกรรม สายงานเภสัชกรรม
และสายงานพยาบาลวิชาชีพเฉพาะ
เป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ
กำหนดให้สายงานแพทย์แผนไทยเป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับชำนาญการ และระดับชำนาญการพิเศษ และกำหนดให้สายงานนักจิตวิทยาคลินิกเป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ
ระดับชำนาญการพิเศษ และระดับเชี่ยวชาญ
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ
ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.
๒๕๕๖[๑๔]
ข้อ ๑
กฎ ก.พ. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้สายงานกายอุปกรณ์เป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับชำนาญการ และระดับชำนาญการพิเศษ
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘[๑๕]
ข้อ ๑
กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๔,๕๐๐
บาท และตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๒๑,๐๐๐ บาท จึงจำเป็นต้องออกกฎ
ก.พ. นี้
กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘[๑๖]
ข้อ ๑
กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้สายงานอุตุนิยมวิทยาระดับทรงคุณวุฒิ และสายงานเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก
ระดับชำนาญการ
และระดับชำนาญการพิเศษเป็นสายงานและระดับที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ประกอบกับตามมาตรา ๕๐ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
บัญญัติให้ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด จะได้รับเงินประจำตำแหน่ง
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๘[๑๗]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้สายงานจดหมายเหตุระดับเชี่ยวชาญ และสายงานวิชาการชั่งตวงวัด
ระดับเชี่ยวชาญ เป็นสายงานและระดับที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ประกอบกับตามมาตรา ๕๐ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
บัญญัติให้ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด
จะได้รับเงินประจำตำแหน่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๙[๑๘]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้ตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๒๑,๐๐๐ บาท เนื่องจากเป็นตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการ
ซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี
มีลักษณะการเข้าสู่ตำแหน่งและวาระการดำรงตำแหน่งแตกต่างจากหัวหน้าส่วนราชการโดยทั่วไป
ตลอดจนหน้าที่และความรับผิดชอบตามบทบาทภารกิจและลักษณะงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมีความสำคัญในระดับชาติที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ
ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อความเชื่อมั่นขององค์กรระหว่างประเทศ
และได้กำหนดให้ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๔,๕๐๐ บาท จึงจำเป็นต้องออกกฎ
ก.พ. นี้
กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๙[๑๙]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้ตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๒๑,๐๐๐ บาท เนื่องจากเป็นตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการ
ซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี
มีลักษณะการเข้าสู่ตำแหน่งแตกต่างจากหัวหน้าส่วนราชการโดยทั่วไป
ตลอดจนหน้าที่และความรับผิดชอบตามบทบาทภารกิจและลักษณะงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐมีความสำคัญในระดับชาติที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ
ซึ่งมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นขององค์กรระหว่างประเทศ
และได้กำหนดให้ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐเป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๔,๕๐๐ บาท
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ
ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๙) พ.ศ.
๒๕๕๙[๒๐]
ข้อ
๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้สายงานวิชาการสหกรณ์ ระดับทรงคุณวุฒิ
เป็นสายงานและระดับที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ประกอบกับตามมาตรา ๕๐ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
บัญญัติให้ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด จะได้รับเงินประจำตำแหน่ง
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๖๑[๒๑]
ข้อ ๑
กฎ ก.พ. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา
๒๑,๐๐๐ บาท
เนื่องจากเป็นตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการ ซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรีมีหน้าที่ความรับผิดชอบตามบทบาทภารกิจและลักษณะงานของสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติที่มีความสำคัญในการเป็นหน่วยงานกลางด้านการบริหารจัดการน้ำของประเทศ
และได้กำหนดให้ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๔,๕๐๐ บาท และต่อมาหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีคำสั่งที่
๒/๒๕๖๑ สั่ง ณ วันที่ ๒๒ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๑ เรื่อง
การจัดสรรภารกิจและบุคลากรของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ซึ่งข้อ ๑
ของคำสั่งดังกล่าว ให้เปลี่ยนชื่อสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๔๖/๒๕๖๐ เรื่อง
การจัดตั้งสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ลงวันที่ ๒๕ ตุลาคม พุทธศักราช
๒๕๖๐ เป็นสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และให้ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติเป็นเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
นุสรา/เพิ่มเติม
๑๖ ตุลาคม
๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๑๒๘ ก/หน้า ๑๓/๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๑
[๒]
ข้อ ๓ (๒) (จ) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๖๑
[๓]
ข้อ ๓ (๒) (ฉ) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๙
[๔]
ข้อ ๓ (๓) (ข) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๖๑
[๕]
ข้อ ๓ (๓) (ค) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๙
[๖]
บัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง ท้ายกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕
[๗]
๔๘. สายงานอุตุนิยมวิทยา เพิ่มโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๘]
๔๙. สายงานวิชาการสหกรณ์ เพิ่มโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๙
[๙] ๑๒๕.
เพิ่มโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๑๐]
๑๒๖. เพิ่มโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๑๑]
๒๙. สายงานกายอุปกรณ์ เพิ่มโดยกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๑๒]
๓๐. สายงานเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก เพิ่มโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๑๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๖๔ ก/หน้า ๕/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๕
[๑๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๗๘ ก/หน้า ๑/๖ กันยายน ๒๕๕๖
[๑๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๔๓ ก/หน้า ๔๔/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๖๒ ก/หน้า ๑๙/๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๑๒๑ ก/หน้า ๑/๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๘
[๑๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๒๐ ก/หน้า ๓/๒ มีนาคม ๒๕๕๙
[๑๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๙๐ ก/หน้า ๓/๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
[๒๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๙๕ ก/หน้า ๑/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
[๒๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๑๔ ก/หน้า ๓/๙ มีนาคม
๒๕๖๑ |
671590 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2551 (ฉบับ Update ล่าสุด) | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๕๕๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) และมาตรา ๕๐
วรรคสามและวรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ.
โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒
ข้าราชการพลเรือนสามัญอาจได้รับเงินประจำตำแหน่งตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในประเภท สายงาน
และระดับตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. นี้
และปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งดังกล่าวให้มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(๒)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งผู้ใด
หากได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่อื่นและมิได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่
ไม่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งตั้งแต่วันที่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่
เว้นแต่ในกรณีที่ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการหรือประเภททั่วไปและได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่อื่นที่มีลักษณะเป็นงานวิชาชีพหรืองานเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเหมือนหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่เดิม
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดิมของตำแหน่งต่อไป
(๓)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งนั้นไม่เต็มเดือนในเดือนใด
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งสำหรับเดือนนั้นตามส่วนจำนวนวันที่ได้ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งดังกล่าว
(๔)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งนั้นเกินหนึ่งตำแหน่ง
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งสำหรับตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงสุดเพียงตำแหน่งเดียว
(๕)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประเภทเดียวกันที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้ปฏิบัติหน้าที่หลักในตำแหน่งที่ตนไปปฏิบัติหน้าที่ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามอัตราเดิมของตนต่อไป
ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่
หรือรักษาราชการแทน
หรือรักษาการในตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งต่างประเภทกัน
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราของตำแหน่งเดิมต่อไปนับแต่วันที่เข้าปฏิบัติหน้าที่หลักในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่
หรือรักษาราชการแทน หรือรักษาการในตำแหน่ง แล้วแต่กรณี
แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินหกเดือน
(๖)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศตามระเบียบ ก.พ.
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการโดยการให้ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศ
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราของตำแหน่งเดิมต่อไป
ข้อ ๓
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสายงานตามบัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งท้ายกฎ
ก.พ. นี้ ในตำแหน่งประเภทใด ระดับใด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญในอัตราดังนี้
(๑)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๐,๐๐๐ บาท
(๒)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ดังต่อไปนี้ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๔,๕๐๐ บาท
(ก)
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมซึ่งมิใช่หัวหน้าส่วนราชการตาม (๓) (ข) (ค) (ง)
และ (จ)
(ข)
ผู้ว่าราชการจังหวัด
(ค)
เอกอัครราชทูตที่เป็นหัวหน้าสถานเอกอัครราชทูต
หัวหน้าคณะผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ
หัวหน้าคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก และเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง
(ง)
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ได้แก่ รองปลัดกระทรวง
และรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(จ)[๒]
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในสำนักนายกรัฐมนตรี และอยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร
รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และรองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
(ฉ)[๓]
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง
และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ได้แก่
รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
(ช)
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการ และขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี
ได้แก่ รองเลขาธิการสภาการศึกษา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
(ซ)
หัวหน้าส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีผู้บังคับบัญชาเป็นอธิบดีหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี
ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เลขาธิการสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
และเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
(ฌ)
ผู้ตรวจราชการของส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง
(ญ)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตามที่ ก.พ. กำหนดให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดียวกันนี้
(๓)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ดังต่อไปนี้ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๒๑,๐๐๐ บาท
(ก)
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ได้แก่ ปลัดกระทรวง
และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(ข)[๔]
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในสำนักนายกรัฐมนตรี และอยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
ได้แก่ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
(ค)[๕]
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี
ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
และเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
(ง)
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการ และขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี
ได้แก่ เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
(จ)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตามที่ ก.พ.
กำหนดให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดียวกันนี้
(๔)
ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๕,๖๐๐ บาท
(๕)
ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๐,๐๐๐ บาท
(๖)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ที่มีประสบการณ์ ทักษะ และสมรรถนะ
ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๓,๕๐๐ บาท
(๗)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๕,๖๐๐ บาท
(๘)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๙,๙๐๐ บาท
(๙)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๓,๐๐๐ บาท
(๑๐) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ที่มีประสบการณ์
ทักษะ และสมรรถนะ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๕,๖๐๐ บาท
(๑๑)
ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๙,๙๐๐ บาท
ข้อ ๔
การกำหนดประเภทตำแหน่ง สายงาน ระดับ
และจำนวนตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งเพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่แล้วในวันก่อนวันที่กฎ
ก.พ. นี้ใช้บังคับ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ. ก่อน
ข้อ ๕
กรณีอื่นนอกจากที่ได้กำหนดไว้ในกฎ ก.พ. นี้ ให้เสนอ ก.พ.
พิจารณาอนุมัติเป็นราย ๆ ไป
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
บัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
ท้ายกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕[๖]
ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ได้แก่
๑. สายงานบริหาร
๒. สายงานบริหารการทูต
๓. สายงานบริหารงานปกครอง
๔. สายงานตรวจราชการกระทรวง
ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น ได้แก่
๑. สายงานบริหาร
๒. สายงานบริหารการทูต
๓. สายงานบริหารงานปกครอง
ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับสูง ได้แก่
๑. สายงานอำนวยการ
๒. สายงานอำนวยการเฉพาะด้าน
๓. สายงานตรวจราชการกรม
ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้น ได้แก่
๑. สายงานอำนวยการ
๒. สายงานอำนวยการเฉพาะด้าน
๒
ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ ได้แก่
๑. สายงานการข่าว
๒. สายงานทรัพยากรบุคคล
๓. สายงานการผังเมือง
๔. สายงานวิชาการศุลกากร
๕. สายงานนิติการ
๖. สายงานกฎหมายกฤษฎีกา
๗. สายงานโบราณคดี
๘. สายงานนักพัฒนาระบบราชการ
๙. สายงานวิเคราะห์งบประมาณ
๑๐. สายงานวิเคราะห์นโยบายและแผน
๑๑. สายงานวิชาการส่งเสริมการลงทุน
๑๒. สายงานวิชาการเกษตร
๑๓. สายงานวิชาการขนส่ง
๑๔. สายงานวิชาการคลัง
๑๕. สายงานวิเคราะห์รัฐวิสาหกิจ
๑๖. สายงานวิชาการบัญชี
๑๗. สายงานวิชาการประมง
๑๘. สายงานวิชาการป่าไม้
๑๙. สายงานวิชาการพาณิชย์
๒๐. สายงานวิชาการภาษี
๒๑. สายงานวิชาการมาตรฐาน
๒๒. สายงานวิชาการแรงงาน
๒๓. สายงานวิชาการละครและดนตรี
๒๔. สายงานวิทยาศาสตร์การแพทย์
๒๕. สายงานวิชาการศึกษา
๒๖. สายงานวิชาการเศรษฐกิจ
๒๗. สายงานวิชาการสรรพสามิต
๒๘. สายงานวิชาการสรรพากร
๒๙. สายงานวิชาการสาธารณสุข
๓
๓๐. สายงานวิชาการอาหารและยา
๓๑. สายงานวิทยาศาสตร์
๓๒. สายงานวิศวกรรมสำรวจ
๓๓. สายงานอักษรศาสตร์
๓๔. สายงานประติมากรรม
๓๕. สายงานทันตแพทย์
๓๖. สายงานแพทย์
๓๗. สายงานนายสัตวแพทย์
๓๘. สายงานวิศวกรรมโยธา
๓๙. สายงานสถาปัตยกรรม
๔๐. สายงานวิศวกรรมชลประทาน
๔๑. สายงานวิชาการคอมพิวเตอร์
๔๒. สายงานวิศวกรรมการเกษตร
๔๓. สายงานวิชาการช่างศิลป์
๔๔. สายงานมัณฑนศิลป์
๔๕. สายงานจิตรกรรม
๔๖. สายงานเภสัชกรรม
๔๗. สายงานพยาบาลวิชาชีพ
๔๘.[๗]
สายงานอุตุนิยมวิทยา
๔๙.[๘]
สายงานวิชาการสหกรณ์
ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ ได้แก่
๑. สายงานการข่าว
๒. สายงานทรัพยากรบุคคล
๓. สายงานการผังเมือง
๔. สายงานวิเคราะห์ผังเมือง
๕. สายงานสืบสวนสอบสวน
๖. สายงานกีฏวิทยา
๗. สายงานเจ้าหน้าที่คดีพิเศษ
๘. สายงานคุมประพฤติ
๙. สายงานวิชาการปฏิรูปที่ดิน
๑๐. สายงานจิตวิทยา
๔
๑๑. สายงานนักเดินเรือ
๑๒. สายงานตรวจสอบบัญชี
๑๓. สายงานวิชาการตรวจสอบภายใน
๑๔. สายงานวิชาการศุลกากร
๑๕. สายงานวิชาการแผนที่ภาพถ่าย
๑๖. สายงานนิติการ
๑๗. สายงานกฎหมายกฤษฎีกา
๑๘. สายงานนิติวิทยาศาสตร์
๑๙. สายงานโบราณคดี
๒๐. สายงานภัณฑารักษ์
๒๑. สายงานพัฒนาการกีฬา
๒๒. สายงานพัฒนาการท่องเที่ยว
๒๓. สายงานพัฒนาระบบราชการ
๒๔. สายงานพัฒนาสังคม
๒๕. สายงานภูมิสถาปัตยกรรม
๒๖. สายงานวิเคราะห์งบประมาณ
๒๗. สายงานวิเคราะห์นโยบายและแผน
๒๘. สายงานประเมินราคาทรัพย์สิน
๒๙. สายงานวิชาการอุตสาหกรรม
๓๐. สายงานวิชาการส่งเสริมการลงทุน
๓๑. สายงานวิเทศสัมพันธ์
๓๒. สายงานวิชาการพลังงาน
๓๓. สายงานเจ้าหน้าที่จัดผลประโยชน์
๓๔. สายงานวิชาการกษาปณ์
๓๕. สายงานวิชาการเกษตร
๓๖. สายงานวิชาการขนส่ง
๓๗. สายงานวิชาการคลัง
๓๘. สายงานวิเคราะห์รัฐวิสาหกิจ
๓๙. สายงานวิชาการเงินและบัญชี
๔๐. สายงานวิชาการตรวจสอบบัญชี
๕
๔๑. สายงานตรวจสอบภาษี
๔๒. สายงานวิชาการทรัพยากรธรณี
๔๓. สายงานวิชาการทัณฑวิทยา
๔๔. สายงานวิชาการที่ดิน
๔๕. สายงานธรณีวิทยา
๔๖. สายงานวิชาการบัญชี
๔๗. สายงานประชาสัมพันธ์
๔๘. สายงานวิชาการประมง
๔๙. สายงานวิชาการป่าไม้
๕๐. สายงานวิชาการผลิตภัณฑ์อาหาร
๕๑. สายงานวิชาการพัฒนาชุมชน
๕๒. สายงานวิชาการพาณิชย์
๕๓. สายงานวิชาการภาษี
๕๔. สายงานวิชาการมาตรฐาน
๕๕. สายงานวิชาการยุติธรรม
๕๖. สายงานวิชาการแรงงาน
๕๗. สายงานวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงาน
๕๘. สายงานวิชาการโรคพืช
๕๙. สายงานวิชาการละครและดนตรี
๖๐. สายงานวิชาการวัฒนธรรม
๖๑. สายงานวิทยาศาสตร์การแพทย์
๖๒. สายงานวิชาการศาสนา
๖๓. สายงานวิชาการศึกษา
๖๔. สายงานวิทยาจารย์
๖๕. สายงานวิชาการศึกษาพิเศษ
๖๖. สายงานวิชาการเศรษฐกิจ
๖๗. สายงานวิชาการส่งเสริมการเกษตร
๖๘. สายงานวิชาการสถิติ
๖๙. สายงานวิชาการสรรพสามิต
๗๐. สายงานวิชาการสรรพากร
๖
๗๑. สายงานวิชาการสหกรณ์
๗๒. สายงานวิชาการสัตวบาล
๗๓. สายงานวิชาการสาธารณสุข
๗๔. สายงานโภชนาการ
๗๕. สายงานวิชาการสิ่งแวดล้อม
๗๖. สายงานวิชาการอาหารและยา
๗๗. สายงานวิชาการอุทกวิทยา
๗๘. สายงานวิทยาศาสตร์
๗๙. สายงานวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์
๘๐. สายงานวิเทศสหการ
๘๑. สายงานวิศวกรรม
๘๒. สายงานวิศวกรรมสำรวจ
๘๓. สายงานสถิติ
๘๔. สายงานพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ
๘๕. สายงานสังคมสงเคราะห์
๘๖. สายงานสัตววิทยา
๘๗. สายงานสำรวจดิน
๘๘. สายงานอักษรศาสตร์
๘๙. สายงานภาษาโบราณ
๙๐. สายงานวรรณศิลป์
๙๑. สายงานอาลักษณ์
๙๒. สายงานอุตุนิยมวิทยา
๙๓. สายงานวิชาการช่างศิลป์
๙๔. สายงานจิตรกรรม
๙๕. สายงานมัณฑนศิลป์
๙๖. สายงานประติมากรรม
๙๗. สายงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
๙๘. สายงานกายภาพบำบัด
๙๙. สายงานทันตแพทย์
๑๐๐. สายงานพยาบาลวิชาชีพ
๗
๑๐๑. สายงานแพทย์
๑๐๒. สายงานนายสัตวแพทย์
๑๐๓. สายงานเทคนิคการแพทย์
๑๐๔. สายงานเภสัชกรรม
๑๐๕. สายงานวิศวกรรมเครื่องกล
๑๐๖. สายงานวิศวกรรมไฟฟ้า
๑๐๗. สายงานวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร
๑๐๘. สายงานวิศวกรรมโยธา
๑๐๙. สายงานวิศวกรรมเหมืองแร่
๑๑๐. สายงานสถาปัตยกรรม
๑๑๑. สายงานฟิสิกส์รังสี
๑๑๒. สายงานรังสีการแพทย์
๑๑๓. สายงานวิศวกรรมชลประทาน
๑๑๔. สายงานวิศวกรรมนิวเคลียร์
๑๑๕. สายงานวิศวกรรมปิโตรเลียม
๑๑๖. สายงานวิศวกรรมโลหการ
๑๑๗. สายงานชีววิทยารังสี
๑๑๘. สายงานนิวเคลียร์เคมี
๑๑๙. สายงานนิวเคลียร์ฟิสิกส์
๑๒๐. สายงานวิชาการคอมพิวเตอร์
๑๒๑. สายงานวิศวกรรมการเกษตร
๑๒๒. สายงานกิจกรรมบำบัด
๑๒๓. สายงานเวชศาสตร์การสื่อความหมาย
๑๒๔. สายงานจิตวิทยาคลินิก
๑๒๕[๙].
สายงานจดหมายเหตุ
๑๒๖[๑๐].
สายงานวิชาการชั่งตวงวัด
๑๒๗[๑๑].
สายงานวิศวกรรมรังวัด
๘
ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ และระดับชำนาญการพิเศษ ได้แก่
๑. สายงานกายภาพบำบัด
๒. สายงานทันตแพทย์
๓. สายงานพยาบาลวิชาชีพ
๔. สายงานแพทย์
๕. สายงานนายสัตวแพทย์
๖. สายงานเทคนิคการแพทย์
๗. สายงานเภสัชกรรม
๘. สายงานวิศวกรรมเครื่องกล
๙. สายงานวิศวกรรมไฟฟ้า
๑๐. สายงานวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร
๑๑. สายงานวิศวกรรมโยธา
๑๒. สายงานวิศวกรรมเหมืองแร่
๑๓. สายงานสถาปัตยกรรม
๑๔. สายงานฟิสิกส์รังสี
๑๕. สายงานรังสีการแพทย์
๑๖. สายงานวิศวกรรมชลประทาน
๑๗. สายงานวิศวกรรมนิวเคลียร์
๑๘. สายงานวิศวกรรมปิโตรเลียม
๑๙. สายงานวิศวกรรมโลหการ
๒๐. สายงานชีววิทยารังสี
๒๑. สายงานนิวเคลียร์เคมี
๒๒. สายงานนิวเคลียร์ฟิสิกส์
๒๓. สายงานวิชาการคอมพิวเตอร์
๒๔. สายงานวิศวกรรมการเกษตร
๒๕. สายงานกิจกรรมบำบัด
๒๖. สายงานเวชศาสตร์การสื่อความหมาย
๒๗. สายงานแพทย์แผนไทย
๒๘. สายงานจิตวิทยาคลินิก
๒๙.[๑๒]
สายงานกายอุปกรณ์
๓๐.[๑๓]
สายงานเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก
๙
ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ ได้แก่
๑. สายงานปฏิบัติงานช่างศิลปกรรม
๒. สายงานนาฏศิลป์
๓. สายงานดุริยางคศิลป์
๔. สายงานคีตศิลป์
-------------------
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๕๐ วรรคสามและวรรคสี่
บัญญัติว่า
ข้าราชการพลเรือนสามัญอาจได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ.
กำหนด และผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด
จะได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ในอัตราใด
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕[๑๔]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้สายงานวิชาการช่างศิลป์ สายงานมัณฑนศิลป์ สายงานจิตรกรรม
สายงานเภสัชกรรม และสายงานพยาบาลวิชาชีพเฉพาะ
เป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ
กำหนดให้สายงานแพทย์แผนไทยเป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับชำนาญการ และระดับชำนาญการพิเศษ และกำหนดให้สายงานนักจิตวิทยาคลินิกเป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ
ระดับชำนาญการพิเศษ และระดับเชี่ยวชาญ
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖[๑๕]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้สายงานกายอุปกรณ์เป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับชำนาญการ และระดับชำนาญการพิเศษ
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ
ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๕๘[๑๖]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๔,๕๐๐ บาท และตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
เป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๒๑,๐๐๐ บาท จึงจำเป็นต้องออกกฎ
ก.พ. นี้
กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘[๑๗]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้สายงานอุตุนิยมวิทยาระดับทรงคุณวุฒิ และสายงานเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก
ระดับชำนาญการ
และระดับชำนาญการพิเศษเป็นสายงานและระดับที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ประกอบกับตามมาตรา ๕๐ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
บัญญัติให้ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด จะได้รับเงินประจำตำแหน่ง
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ
ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๖) พ.ศ.
๒๕๕๘[๑๘]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้สายงานจดหมายเหตุระดับเชี่ยวชาญ และสายงานวิชาการชั่งตวงวัด
ระดับเชี่ยวชาญ เป็นสายงานและระดับที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ประกอบกับตามมาตรา ๕๐ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
บัญญัติให้ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด
จะได้รับเงินประจำตำแหน่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ
ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๗) พ.ศ.
๒๕๕๙[๑๙]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ. ได้กำหนดให้ตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๒๑,๐๐๐ บาท
เนื่องจากเป็นตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการ ซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี มีลักษณะการเข้าสู่ตำแหน่งและวาระการดำรงตำแหน่งแตกต่างจากหัวหน้าส่วนราชการโดยทั่วไป
ตลอดจนหน้าที่และความรับผิดชอบตามบทบาทภารกิจและลักษณะงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมีความสำคัญในระดับชาติที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ
ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อความเชื่อมั่นขององค์กรระหว่างประเทศ และได้กำหนดให้ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๔,๕๐๐ บาท จึงจำเป็นต้องออกกฎ
ก.พ. นี้
กฎ
ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๘) พ.ศ.
๒๕๕๙[๒๐]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้ตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๒๑,๐๐๐ บาท
เนื่องจากเป็นตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการ ซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี
มีลักษณะการเข้าสู่ตำแหน่งแตกต่างจากหัวหน้าส่วนราชการโดยทั่วไป
ตลอดจนหน้าที่และความรับผิดชอบตามบทบาทภารกิจและลักษณะงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐมีความสำคัญในระดับชาติที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ
ซึ่งมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นขององค์กรระหว่างประเทศ
และได้กำหนดให้ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐเป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา
๑๔,๕๐๐ บาท จึงจำเป็นต้องออกกฎ
ก.พ. นี้
กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๙[๒๑]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้สายงานวิชาการสหกรณ์ ระดับทรงคุณวุฒิ
เป็นสายงานและระดับที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ประกอบกับตามมาตรา ๕๐ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
บัญญัติให้ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด จะได้รับเงินประจำตำแหน่ง
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. จึงจำเป็นต้องออกกฎ
ก.พ. นี้
กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่
๑๐) พ.ศ. ๒๕๖๑[๒๒]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๒๑,๐๐๐ บาท เนื่องจากเป็นตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการ
ซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรีมีหน้าที่ความรับผิดชอบตามบทบาทภารกิจและลักษณะงานของสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติที่มีความสำคัญในการเป็นหน่วยงานกลางด้านการบริหารจัดการน้ำของประเทศ
และได้กำหนดให้ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๔,๕๐๐ บาท และต่อมาหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีคำสั่งที่
๒/๒๕๖๑ สั่ง ณ วันที่ ๒๒ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๑ เรื่อง
การจัดสรรภารกิจและบุคลากรของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ซึ่งข้อ ๑
ของคำสั่งดังกล่าว ให้เปลี่ยนชื่อสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๔๖/๒๕๖๐ เรื่อง
การจัดตั้งสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ลงวันที่ ๒๕ ตุลาคม พุทธศักราช
๒๕๖๐ เป็นสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
และให้ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติเป็นเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ ก.พ.ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๖๑[๒๓]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้สายงานวิศวกรรมรังวัดระดับเชี่ยวชาญ
เป็นสายงานและระดับที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ ประกอบกับตามมาตรา
๕๐ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
บัญญัติให้ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด จะได้รับเงินประจำตำแหน่ง
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. จึงจำเป็นต้องออกกฎ
ก.พ. นี้
วิศนี/เพิ่มเติม
๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
นุสรา/ตรวจ
๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
ปุณิกา/เพิ่มเติม
๗ ธันวาคม ๒๕๕๙
พรวิภา/เพิ่มเติม
๒๑ มีนาคม ๒๕๖๑
ปวันวิทย์/เพิ่มเติม
๒๐ เมษายน ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๑๒๘ ก/หน้า ๑๓/๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๑
[๒] ข้อ ๓ (๒) (จ) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๖๑
[๓] ข้อ ๓ (๒) (ฉ) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๙
[๔] ข้อ ๓ (๓) (ข) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๖๑
[๕] ข้อ ๓ (๓) (ค) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๙
[๖] บัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง ท้ายกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕
[๗] ๔๘. สายงานอุตุนิยมวิทยา เพิ่มโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๘] ๔๙. สายงานวิชาการสหกรณ์ เพิ่มโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๙
[๙] ๑๒๕. เพิ่มโดยกฎ
ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๖) พ.ศ.
๒๕๕๘
[๑๐] ๑๒๖. เพิ่มโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๑๑] ๑๒๗ เพิ่มโดยกฎ
ก.พ.ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ.
๒๕๖๑
[๑๒] ๒๙. สายงานกายอุปกรณ์ เพิ่มโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๑๓] ๓๐. สายงานเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก เพิ่มโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๑๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๖๔ ก/หน้า ๕/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๕
[๑๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๗๘ ก/หน้า ๑/๖ กันยายน ๒๕๕๖
[๑๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๔๓ ก/หน้า ๔๔/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๖๒ ก/หน้า ๑๙/๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๑๒๑ ก/หน้า ๑/๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๘
[๑๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๒๐ ก/หน้า ๓/๒ มีนาคม ๒๕๕๙
[๒๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๙๐ ก/หน้า ๓/๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
[๒๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๙๕ ก/หน้า ๑/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
[๒๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๑๔ ก/หน้า ๓/๙
มีนาคม ๒๕๖๑
[๒๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอน ๑๗ ก/หน้า ๑/๑๖ มีนาคม ๒๕๖๑ |
798666 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2561 | กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๑๐)
พ.ศ. ๒๕๖๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) และมาตรา ๕๐
วรรคสามและวรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓ (๒) (จ) ของกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๑
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(จ)
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในสำนักนายกรัฐมนตรี
และอยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
และรองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓ (๓) (ข) ของกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๑
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(ข)
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในสำนักนายกรัฐมนตรี
และอยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑
วิษณุ เครืองาม
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๒๑,๐๐๐ บาท เนื่องจากเป็นตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการ
ซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรีมีหน้าที่ความรับผิดชอบตามบทบาทภารกิจและลักษณะงานของสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติที่มีความสำคัญในการเป็นหน่วยงานกลางด้านการบริหารจัดการน้ำของประเทศ
และได้กำหนดให้ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๔,๕๐๐ บาท และต่อมาหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีคำสั่งที่
๒/๒๕๖๑ สั่ง ณ วันที่ ๒๒ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๑ เรื่อง
การจัดสรรภารกิจและบุคลากรของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ซึ่งข้อ ๑
ของคำสั่งดังกล่าว ให้เปลี่ยนชื่อสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๔๖/๒๕๖๐ เรื่อง
การจัดตั้งสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ลงวันที่ ๒๕ ตุลาคม พุทธศักราช
๒๕๖๐ เป็นสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
และให้ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติเป็นเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
พรวิภา/จัดทำ
๙
มีนาคม ๒๕๖๑
นุสรา/ตรวจ
๑๖
ตุลาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๑๔ ก/หน้า ๓/๙ มีนาคม ๒๕๖๑ |
682617 | กฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. 2551 (ฉบับ Update ล่าสุด) | กฎ ก
กฎ ก.พ.ค.
ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
พ.ศ. ๒๕๕๑
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๓๑ (๕) มาตรา ๑๒๓ มาตรา ๑๒๔ และมาตรา ๑๒๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ.ค. จึงออกกฎ ก.พ.ค. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ กฎ ก.พ.ค. นี้เรียกว่า กฎ ก.พ.ค.
ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ
๒[๑]
กฎ ก.พ.ค.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓[๒]
ในกฎ ก.พ.ค. นี้
คู่กรณี หมายความว่า
ผู้ร้องทุกข์และคู่กรณีในการร้องทุกข์
ผู้ร้องทุกข์ หมายความว่า
ผู้มีสิทธิร้องทุกข์ตามกฎหมาย และให้หมายความรวมถึงผู้ที่ได้รับมอบหมายด้วย
คู่กรณีในการร้องทุกข์ หมายความว่า
ผู้บังคับบัญชาที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์
พนักงานผู้รับคำร้องทุกข์ หมายความว่า
เจ้าหน้าที่ที่สำนักงาน ก.พ.
มอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการรับคำร้องทุกข์ การตรวจคำร้องทุกข์
และการดำเนินงานธุรการอย่างอื่นตามกฎ ก.พ.ค. นี้
และให้หมายความรวมถึงเจ้าหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาหรือของผู้บังคับบัญชาที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์
หรือของผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์
ที่มีหน้าที่รับหนังสือตามระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณ ด้วย
พนักงานผู้รับผิดชอบสำนวน หมายความว่า
เจ้าหน้าที่ที่สำนักงาน ก.พ. และ ก.พ.ค. มอบหมายให้รับผิดชอบสำนวนเรื่องร้องทุกข์
องค์คณะวินิจฉัย หมายความว่า
ก.พ.ค. หรือกรรมการ ก.พ.ค. คนหนึ่ง หรือคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ที่ ก.พ.ค.
ตั้ง เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
ในกรณีที่เป็นคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
ต้องมีกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์อย่างน้อยสองคนจึงจะเป็นองค์คณะวินิจฉัย
กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ หมายความว่า
บุคคลหนึ่งบุคคลใดในองค์คณะวินิจฉัย
กรรมการเจ้าของสำนวน หมายความว่า
บุคคลหนึ่งบุคคลใดในองค์คณะวินิจฉัยที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รับผิดชอบสำนวนเรื่องร้องทุกข์
ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ หมายความว่า
องค์คณะวินิจฉัย
และให้หมายความรวมถึงผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปที่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ตามกฎ
ก.พ.ค. นี้ ด้วย
ข้อ
๔ ให้ประธาน ก.พ.ค. รักษาการตามกฎ
ก.พ.ค. นี้ และให้มีอำนาจออกประกาศหรือคำสั่งเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามกฎ
ก.พ.ค. นี้
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎ
ก.พ.ค. นี้ ประธาน ก.พ.ค. อาจหารือที่ประชุม ก.พ.ค.
เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยก็ได้ คำวินิจฉัยนั้นให้เป็นที่สุด
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ
๕ การร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ของข้าราชการพลเรือนสามัญ
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ.ค. นี้
ข้อ
๖ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา
เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นระหว่างกัน ควรจะได้ปรึกษาหารือทำความเข้าใจกัน ฉะนั้น
เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชา
หากแสดงความประสงค์จะปรึกษาหารือกับผู้บังคับบัญชา ให้ผู้บังคับบัญชานั้น
ให้โอกาสและรับฟัง
หรือสอบถามเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวเพื่อเป็นทางแห่งการทำความเข้าใจและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นต้น
ถ้าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้มีความคับข้องใจนั้น
ไม่ประสงค์จะปรึกษาหารือ หรือปรึกษาหารือแล้วไม่ได้รับคำชี้แจง
หรือได้รับคำชี้แจงแล้วไม่เป็นที่พอใจ ก็ให้ร้องทุกข์ตามกฎ ก.พ.ค. นี้
ข้อ
๗[๓] ภายใต้บังคับข้อ ๖ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีความคับข้องใจ
อันเกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชา และเป็นกรณีที่ไม่อาจอุทธรณ์
ตามหมวด ๙ การอุทธรณ์ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้ ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ
ก.พ.ค. นี้
การปฏิบัติ
หรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชา ซึ่งทำให้เกิดความคับข้องใจ อันเป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์นั้น
ต้องมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
(๑)
ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่ง หรือปฏิบัติ หรือไม่ปฏิบัติอื่นใดโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น
หรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นหรือสร้างภาระให้เกิดขึ้นเกินสมควร
หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
(๒)
ไม่มอบหมายงานให้ปฏิบัติ
(๓)
ประวิงเวลา หรือหน่วงเหนี่ยวการดำเนินการบางเรื่องอันเป็นเหตุให้เสียสิทธิ หรือไม่ได้รับสิทธิประโยชน์อันพึงมีพึงได้ในเวลาอันสมควร
(๔)
ไม่เป็นไปตาม หรือขัดกับระบบคุณธรรม ตามมาตรา ๔๒
ข้อ
๘ การร้องทุกข์ให้ร้องได้สำหรับตนเองเท่านั้น
จะร้องทุกข์สำหรับผู้อื่นไม่ได้
และให้ทำคำร้องทุกข์เป็นหนังสือยื่นต่อผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบเหตุแห่งการร้องทุกข์ตามข้อ
๗
คำร้องทุกข์ให้ใช้ถ้อยคำสุภาพและอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังนี้
(๑)
ชื่อ ตำแหน่ง สังกัด และที่อยู่สำหรับการติดต่อเกี่ยวกับการร้องทุกข์ของผู้ร้องทุกข์
(๒)
การปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์
(๓)
ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ผู้ร้องทุกข์เห็นว่าเป็นปัญหาของเรื่องร้องทุกข์
(๔)
คำขอของผู้ร้องทุกข์
(๕)
ลายมือชื่อของผู้ร้องทุกข์ หรือผู้ได้รับมอบหมายให้ร้องทุกข์แทนกรณีที่จำเป็นตามข้อ
๑๐
ข้อ
๙ ในการยื่นคำร้องทุกข์ให้แนบหลักฐานที่เกี่ยวข้องพร้อมคำร้องทุกข์ด้วย
กรณีที่ไม่อาจแนบพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องได้
เพราะพยานหลักฐานอยู่ในความครอบครองของหน่วยงานทางปกครอง เจ้าหน้าที่ของรัฐ
หรือบุคคลอื่น หรือเพราะเหตุอื่นใด ให้ระบุเหตุที่ไม่อาจแนบพยานหลักฐานไว้ด้วย
ให้ผู้ร้องทุกข์ทำสำเนาคำร้องทุกข์และหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
โดยให้ผู้ร้องทุกข์รับรองสำเนาถูกต้อง ๑ ชุด แนบพร้อมคำร้องทุกข์ด้วย
กรณีที่มีเหตุจำเป็นต้องมอบหมายให้บุคคลอื่นร้องทุกข์แทนตามข้อ ๑๐ ก็ดี
กรณีที่มีการแต่งตั้งทนายความหรือบุคคลอื่นดำเนินการแทนในขั้นตอนใด ๆ
ในกระบวนการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ตามข้อ ๑๑ ก็ดี
ให้แนบหลักฐานการมอบหมายหรือหลักฐานการแต่งตั้ง ทั้งนี้ ตามที่กฎ ก.พ.ค. นี้ กำหนด
ถ้าผู้ร้องทุกข์ประสงค์จะแถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นพิจารณาของผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์
ให้แสดงความประสงค์ไว้ในคำร้องทุกข์ด้วย
หรือจะทำเป็นหนังสือต่างหากก็ได้แต่ต้องยื่นหนังสือก่อนที่ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์เริ่มพิจารณา
ข้อ
๑๐ ผู้มีสิทธิร้องทุกข์จะมอบหมายให้บุคคลอื่นร้องทุกข์แทนได้
ในกรณีมีเหตุจำเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑)
เจ็บป่วยจนไม่สามารถร้องทุกข์ได้ด้วยตนเอง
(๒)
อยู่ในต่างประเทศและคาดหมายได้ว่าไม่อาจร้องทุกข์ได้ทันภายในเวลาที่กำหนด
(๓)
มีเหตุจำเป็นอย่างอื่นที่ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์เห็นสมควร
การมอบหมายตามวรรคหนึ่ง
จะต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้มีสิทธิร้องทุกข์
พร้อมทั้งหลักฐานแสดงเหตุจำเป็นข้างต้น ถ้าไม่สามารถลงลายมือชื่อได้
ให้พิมพ์ลายนิ้วมือโดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรองอย่างน้อยสองคน
ข้อ ๑๑[๔]
ภายใต้บังคับข้อ ๘
คู่กรณีอาจมีหนังสือแต่งตั้งให้ทนายความหรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะ
กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่กำหนดแทนตนในกระบวนพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ขั้นตอนใด
ๆ ก็ได้ โดยให้แนบหนังสือแต่งตั้ง
หลักฐานแสดงตนของทนายความหรือบุคคลผู้ได้รับแต่งตั้งพร้อมคำร้องทุกข์หรือจะยื่นในภายหลังก่อนการดำเนินการในขั้นตอนนั้น
ๆ ก็ได้
ข้อ
๑๒ คำร้องทุกข์ให้ยื่นต่อพนักงานผู้รับคำร้องทุกข์
ในการนี้ อาจยื่นคำร้องทุกข์โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้
และให้ถือว่าวันที่ยื่นคำร้องทุกข์ต่อพนักงานผู้รับคำร้องทุกข์หรือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางประทับตรารับที่ซองหนังสือร้องทุกข์
แล้วแต่กรณี เป็นวันยื่นคำร้องทุกข์
ข้อ
๑๓ เพื่อประโยชน์ในการนับระยะเวลาร้องทุกข์
การนับวันทราบหรือถือว่าทราบเหตุแห่งการร้องทุกข์นั้น ให้ถือปฏิบัติดังนี้
(๑)
ในกรณีที่เหตุแห่งการร้องทุกข์เกิดจากการที่ผู้บังคับบัญชามีคำสั่งเป็นหนังสือ
ให้ถือว่าวันที่ผู้มีสิทธิร้องทุกข์ลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งเป็นวันทราบเหตุแห่งการร้องทุกข์
(๒)
ในกรณีที่ไม่มีการลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งตาม (๑)
แต่มีการแจ้งคำสั่งให้ทราบพร้อมสำเนาคำสั่ง และทำบันทึกวันเดือนปี เวลา
สถานที่ที่แจ้ง โดยลงลายมือชื่อผู้แจ้งพร้อมทั้งพยานรู้เห็นไว้เป็นหลักฐานแล้ว
ให้ถือวันที่แจ้งนั้นเป็นวันทราบเหตุแห่งการร้องทุกข์
(๓)
ในกรณีที่ไม่อาจแจ้งคำสั่งตาม (๒)
และได้แจ้งเป็นหนังสือส่งสำเนาคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ณ
ที่อยู่ซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ
ให้ส่งสำเนาคำสั่งไปสองฉบับเพื่อให้เก็บไว้เป็นหลักฐานหนึ่งฉบับ
และให้ลงลายมือชื่อและวันเดือนปีที่รับทราบคำสั่งแล้วส่งกลับคืนเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานหนึ่งฉบับ
กรณีเช่นนี้เมื่อล่วงพ้นสามสิบวันนับแต่วันที่ปรากฏในใบตอบรับทางไปรษณีย์ลงทะเบียนว่ามีผู้รับแล้ว
แม้ยังไม่ได้รับสำเนาคำสั่งฉบับที่ให้ลงลายมือชื่อและวันเดือนปีที่รับทราบคำสั่งกลับคืนมา
ก็ให้ถือว่าผู้มีสิทธิร้องทุกข์ได้รับทราบคำสั่งอันเป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์แล้ว
(๔)
ในกรณีที่เหตุแห่งการร้องทุกข์เกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาโดยไม่มีคำสั่งเป็นหนังสือ
ให้ถือวันที่มีหลักฐานยืนยันว่าผู้มีสิทธิร้องทุกข์รับทราบหรือควรรับทราบคำสั่งที่ไม่เป็นหนังสือนั้น
เป็นวันทราบเหตุแห่งการร้องทุกข์
(๕)
ในกรณีที่เหตุแห่งการร้องทุกข์เกิดจากการปฏิบัติ
หรือไม่ปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาโดยไม่ได้มีคำสั่งอย่างใด
ให้ถือวันที่ผู้ร้องทุกข์ควรได้ทราบถึงการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาดังกล่าว
เป็นวันทราบเหตุแห่งการร้องทุกข์
ข้อ
๑๔ ผู้ร้องทุกข์อาจถอนคำร้องทุกข์ที่ยื่นไว้แล้วในเวลาใด
ๆ
ก่อนที่ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์จะมีคำวินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดในเรื่องร้องทุกข์นั้น
ก็ได้
การถอนคำร้องทุกข์ต้องทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้ร้องทุกข์
แต่ถ้าผู้ร้องทุกข์ถอนคำร้องทุกข์ด้วยวาจาต่อผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์
ให้ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์บันทึกไว้
และให้ผู้ร้องทุกข์ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน
เมื่อมีการถอนคำร้องทุกข์
ให้ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์อนุญาต และสั่งจำหน่ายคำร้องทุกข์ออกจากสารบบ
ข้อ
๑๕ ในการพิจารณาวินิจฉัยร้องทุกข์
ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์มีอำนาจแสวงหาข้อเท็จจริงได้ตามความเหมาะสม ในกรณีนี้
ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์อาจแสวงหาข้อเท็จจริงจากพยานบุคคล พยานเอกสาร
หรือพยานหลักฐานอื่นนอกเหนือจากพยานหลักฐานของคู่กรณีที่ปรากฏในคำร้องทุกข์
คำแก้คำร้องทุกข์ ก็ได้ ในการแสวงหาข้อเท็จจริงเช่นว่านี้
ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์อาจดำเนินการตามที่กำหนดในหมวด ๓ ส่วนที่ ๒
หรือตามที่เห็นสมควร
ในกรณีที่ข้อเท็จจริงซึ่งได้มาจากการแสวงหาเพิ่มเติมตามวรรคหนึ่งอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี
ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ต้องให้คู่กรณีได้รับทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน
ข้อ
๑๖ คำวินิจฉัยในเรื่องร้องทุกข์ของผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์
อย่างน้อยต้องประกอบด้วย
(๑)
ชื่อผู้ร้องทุกข์
(๒)
ชื่อคู่กรณีในการร้องทุกข์
(๓)
สรุปคำร้องทุกข์และคำขอของผู้ร้องทุกข์
(๔)
สรุปคำแก้คำร้องทุกข์
(๕)
ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย
(๖)
คำวินิจฉัยของผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์พร้อมทั้งเหตุผล
(๗)
สรุปคำวินิจฉัยหรือคำสั่งที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องปฏิบัติหรือดำเนินการต่อไป
(๘)
ข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีดำเนินการให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยหรือคำสั่งนั้น
(ถ้ามี)
คำวินิจฉัยในเรื่องร้องทุกข์ตามวรรคหนึ่งต้องลงลายมือชื่อของผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ที่วินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์นั้น
ถ้าผู้ใดมีเหตุจำเป็นไม่สามารถลงลายมือชื่อได้
ให้จดแจ้งเหตุดังกล่าวไว้ในคำวินิจฉัยนั้น ด้วย
ข้อ
๑๗ ระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในกฎ
ก.พ.ค. นี้ เมื่อผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์เห็นสมควรหรือเมื่อคู่กรณีมีคำขอ
ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์มีอำนาจย่นหรือขยายระยะเวลาได้ตามความจำเป็น
เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ข้อ
๑๘ การนับระยะเวลาตามกฎ ก.พ.ค. นี้
สำหรับเวลาเริ่มต้นให้นับวันถัดจากวันแรกแห่งเวลานั้นเป็นวันเริ่มนับระยะเวลา
ส่วนเวลาสิ้นสุด ถ้าวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาตรงกับวันหยุดราชการ
ให้นับวันเริ่มเปิดทำการใหม่เป็นวันสุดท้ายแห่งระยะเวลา
ข้อ
๑๙ หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในหมวด ๑
ให้ใช้บังคับกับการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ในหมวดอื่นด้วย
เว้นแต่จะมีหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ก็ให้ปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น
หมวด ๒
การร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไป
ข้อ
๒๐ การร้องทุกข์ที่เหตุแห่งการร้องทุกข์เกิดจากผู้บังคับบัญชา
และกฎหมาย ไม่ได้บัญญัติให้ร้องทุกข์ต่อ ก.พ.ค.
แต่ให้ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปตามลำดับ นั้น
ให้ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาดังนี้
(๑)
ในกรณีที่เหตุแห่งการร้องทุกข์เกิดจากผู้บังคับบัญชาในราชการบริหารส่วนภูมิภาคที่ต่ำกว่าผู้ว่าราชการจังหวัด
ให้ร้องทุกข์ต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์
(๒)
ในกรณีที่เหตุแห่งการร้องทุกข์เกิดจากผู้บังคับบัญชาในราชการบริหารส่วนกลางที่ต่ำกว่าอธิบดี
ให้ร้องทุกข์ต่ออธิบดี และให้อธิบดีเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์
(๓)
ในกรณีที่เหตุแห่งการร้องทุกข์เกิดจากผู้ว่าราชการจังหวัดหรืออธิบดี
ให้ร้องทุกข์ต่อปลัดกระทรวงซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของผู้ร้องทุกข์
และให้ปลัดกระทรวงเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์
ข้อ
๒๑ การยื่นคำร้องทุกข์อาจยื่นผ่านผู้บังคับบัญชาหรือผู้บังคับบัญชาที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ก็ได้
และให้นำความในข้อ ๑๒ หมวด ๑ มาใช้บังคับกับการยื่นคำร้องทุกข์ดังกล่าวด้วย
ข้อ
๒๒ เมื่อผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ได้รับคำร้องทุกข์แล้ว
ให้มีหนังสือแจ้งพร้อมทั้งส่งสำเนาคำร้องทุกข์ให้ผู้บังคับบัญชาที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ทราบโดยเร็ว
และให้ผู้บังคับบัญชาที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์นั้นส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
และคำชี้แจงของตน (ถ้ามี)
ให้ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ประกอบการพิจารณาภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องทุกข์
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้รับคำร้องทุกข์
ให้ผู้บังคับบัญชานั้นส่งคำร้องทุกข์พร้อมทั้งสำเนาต่อไปยังผู้บังคับบัญชาที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องทุกข์
เมื่อผู้บังคับบัญชาที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ได้รับคำร้องทุกข์ที่ยนผ่านตามข้อ
๒๑ หรือ ส่งตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้จัดส่งคำร้องทุกข์พร้อมทั้งสำเนาและเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
และคำชี้แจงของตน (ถ้ามี)
ไปยังผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องทุกข์
ข้อ
๒๓ การพิจารณาเรื่องร้องทุกข์
ให้ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์พิจารณาจากเรื่องราวการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์ของผู้บังคับบัญชาที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์
ในกรณีที่จำเป็นและสมควร อาจจะขอเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
รวมทั้งคำชี้แจงจากหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ ห้างหุ้นส่วน
บริษัท ข้าราชการ หรือบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำหรือชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการพิจารณาได้
ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์ขอแถลงการณ์ด้วยวาจา
หากผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์เห็นว่าการแถลงการณ์ด้วยวาจาไม่จำเป็นแก่การพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
จะไม่ให้แถลงการณ์ด้วยวาจาก็ได้ แต่ให้บันทึกเหตุผลไว้ด้วย
ในกรณีที่นัดให้ผู้ร้องทุกข์มาแถลงการณ์ด้วยวาจา
ให้แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ทราบด้วยว่า
ถ้าประสงค์จะแถลงแก้ก็ให้มาแถลงหรือมอบหมายเป็นหนังสือ
ให้ข้าราชการที่เกี่ยวข้องเป็นผู้แทนมาแถลงแก้ด้วยวาจาในการพิจารณาครั้งนั้นได้ ทั้งนี้ ให้แจ้งล่วงหน้าตามควรแก่กรณี
และเพื่อประโยชน์ในการแถลงแก้ดังกล่าว
ให้ผู้บังคับบัญชาที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์หรือผู้แทน (ถ้ามี)
เข้าฟังการแถลงการณ์ด้วยวาจาของผู้ร้องทุกข์ได้
ข้อ
๒๔ ให้ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันได้รับคำร้องทุกข์ แต่ถ้ามีความจำเป็นไม่อาจพิจารณา
ให้แล้วเสร็จภายในเวลาดังกล่าว ให้ขยายเวลาได้อีกไม่เกินสามสิบวัน และให้บันทึกแสดงเหตุผลความจำเป็นที่ต้องขยายเวลาไว้ด้วย[๕]
ในกรณีที่ขอขยายเวลาตามวรรคหนึ่งแล้วการพิจารณายังไม่แล้วเสร็จ
ให้ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ขยายเวลาพิจารณาได้อีกไม่เกินสามสิบวัน
และให้พิจารณากำหนดมาตรการที่จะทำให้การพิจารณาแล้วเสร็จโดยเร็วและบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
และให้ส่งหลักฐานดังกล่าวไปยังผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปของผู้ร้องทุกข์ภายในสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนดขยายเวลาตามวรรคหนึ่ง
เพื่อที่ผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปจะได้ติดตามแนะนำและชี้แจงให้การพิจารณาแล้วเสร็จโดยเร็ว
แต่ถ้าปลัดกระทรวงเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยร้องทุกข์
ให้ส่งหลักฐานดังกล่าวไปยังเลขาธิการ ก.พ. ในฐานะเลขานุการของ ก.พ.ค.
เพื่อดำเนินการต่อไป
ข้อ
๒๕ ในการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
ให้ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ มีอำนาจไม่รับเรื่องร้องทุกข์ ยกคำร้องทุกข์
หรือมีคำวินิจฉัยให้แก้ไขหรือยกเลิกคำสั่ง และให้เยียวยาความเสียหาย
ให้ผู้ร้องทุกข์ หรือให้ดำเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
โดยให้นำระเบียบที่ ก.พ.ค. กำหนดในเรื่องเดียวกันนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม
เมื่อผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ได้พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ประการใดแล้ว
ให้ผู้บังคับบัญชาที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ดำเนินการให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยนั้นในโอกาสแรกที่ทำได้
และเมื่อได้ดำเนินการตามคำวินิจฉัยดังกล่าวแล้ว
ให้แจ้งให้ผู้ร้องทุกข์ทราบเป็นหนังสือโดยเร็ว
คำวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ของผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ให้เป็นที่สุด
ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยนั้น
มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองชั้นต้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองต่อไปได้
ข้อ
๒๖ ในกรณีที่ยังไม่มีระเบียบ ก.พ.ค.
เรื่องการเยียวยาความเสียหายให้ผู้ร้องทุกข์หรือให้ดำเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมใช้บังคับ
ให้ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์สั่งการในเรื่องการเยียวยาและดำเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมไปพลางก่อนตามที่เห็นสมควรได้โดยให้นำประโยชน์ของทางราชการมาประกอบการพิจารณาด้วย
เมื่อมีระเบียบ
ก.พ.ค. ในเรื่องเดียวกันนี้ใช้บังคับแล้ว
หากการดำเนินการตามที่ได้สั่งการไปนั้นมีมาตรฐานต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดในระเบียบ
ก.พ.ค. ก็ให้ดำเนินการเพิ่มเติมให้ครบถ้วนเท่าที่ทำได้
และให้ถือว่าเป็นการเยียวยาหรือดำเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามระเบียบ
ก.พ.ค. แล้ว
ข้อ
๒๗ ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์อาจถูกคัดค้านได้
โดยให้นำความในหมวด ๓ ข้อ ๕๘ มาใช้บังคับกับเหตุแห่งการคัดค้านและการยื่นคำคัดค้าน
โดยอนุโลม
ข้อ
๒๘ ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์คัดค้านผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์
ให้ผู้บังคับบัญชาของผู้ร้องทุกข์เหนือผู้ถูกคัดค้านเป็นผู้พิจารณาคำคัดค้าน
ถ้าเห็นว่าคำคัดค้านไม่มีเหตุผลก็ให้มีคำสั่งยกคำคัดค้าน คำสั่งดังกล่าวให้เป็นที่สุด
และแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการต่อไป
แต่ถ้าเห็นว่าคำคัดค้านมีเหตุผลรับฟังได้ให้แจ้งให้ผู้ถูกคัดค้านกับผู้ร้องทุกข์ทราบ
กรณีนี้ให้ผู้พิจารณาคำคัดค้านเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์แทน
และให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการในเรื่องการพิจารณาวินิจฉัยร้องทุกข์ข้างต้น
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๒๙ ในกรณีที่ปลัดกระทรวงเป็นผู้ถูกคัดค้าน
ให้ส่งคำคัดค้านไปที่เลขาธิการ ก.พ. ในฐานะเลขานุการ ก.พ.ค. และให้ ก.พ.ค.
เป็นผู้พิจารณาคำคัดค้าน ถ้าเห็นว่าคำคัดค้านไม่มีเหตุผลก็ให้มีคำสั่งยกคำคัดค้าน
คำสั่งดังกล่าวให้เป็นที่สุด และแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการต่อไป
แต่ถ้าเห็นว่าคำคัดค้านมีเหตุผลรับฟังได้ก็ให้แจ้งให้ผู้ร้องทุกข์ทราบและแนะนำผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ให้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำหน้าที่พิจารณาเรื่องร้องทุกข์
ประกอบด้วยผู้แทนผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์หนึ่งคน
ผู้แทนผู้ร้องทุกข์หนึ่งคน
ผู้แทนผู้บังคับบัญชาที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์หนึ่งคน ทั้งนี้ ให้เลขาธิการ ก.พ.
ตั้งข้าราชการสำนักงาน ก.พ. หนึ่งคนร่วมเป็นกรรมการ ด้วย
และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการดังกล่าวประชุมและเลือกกันเองคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ
และให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต้นสังกัดเป็นเลขานุการและจะให้มีผู้ช่วยเลขานุการ
ก็ได้
เมื่อคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งพิจารณามีมติประการใด
ให้เสนอต่อปลัดกระทรวงผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยตามที่เห็นสมควร
และการทำคำวินิจฉัยในกรณีนี้ ให้นำข้อ ๑๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๓๐ เมื่อผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ได้พจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์เสร็จสิ้นลงแล้ว
ให้รายงานผลการดำเนินการตามคำวินิจฉัยพร้อมทั้งสำเนาคำวินิจฉัยไปยัง ก.พ.ค.
ภายในสิบห้าวันนับแต่ได้รับแจ้งผลการดำเนินการตามคำวินิจฉัยนั้นแล้ว
เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยและพัฒนาระบบพิทักษ์ระบบคุณธรรม ต่อไป
หมวด ๓
การร้องทุกข์ต่อ ก.พ.ค.
ส่วนที่ ๑
การยื่นคำร้องทุกข์
การตรวจคำร้องทุกข์ การตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
การจ่ายสำนวน และการสั่งรับหรือไม่รับคำร้องทุกข์ไว้พิจารณา
ข้อ
๓๑ ในกรณีที่เหตุแห่งการร้องทุกข์เกิดจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี
ปลัดกระทรวง รัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรือนายกรัฐมนตรี ให้ร้องทุกข์ตอ ก.พ.ค.
โดยยื่นคำร้องทุกข์ต่อพนักงานผู้รับคำร้องทุกข์ที่สำนักงาน ก.พ.
หรือจะส่งคำร้องทุกข์ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังสำนักงาน ก.พ. ก็ได้
ข้อ
๓๒ คำร้องทุกข์ที่ยื่นที่สำนักงาน
ก.พ. ให้พนักงานผู้รับคำร้องทุกข์ออกใบรับคำร้องทุกข์ และลงทะเบียนรับคำร้องทุกข์ไว้เป็นหลักฐานในวันที่รับคำร้องทุกข์ตามระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณ
และให้ถือวันที่รับคำร้องทุกข์ตามหลักฐานดังกล่าวเป็นวันยื่นคำร้องทุกข์
ข้อ
๓๓ คำร้องทุกข์ที่พนักงานผู้รับคำร้องทุกข์ได้รับไว้แล้ว
ให้ลงทะเบียนเรื่องร้องทุกข์ในสารบบ และตรวจคำร้องทุกข์ในเบื้องต้น
(๑)
ถ้าเห็นว่าเป็นคำร้องทุกข์ที่มีการดำเนินการโดยถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหมวด
๑ ให้เสนอคำร้องทุกข์ดังกล่าวต่อประธาน ก.พ.ค. เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
(๒)
ถ้าเห็นว่าเป็นคำร้องทุกข์ที่มีการดำเนินการโดยไม่สมบูรณ์ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหมวด
๑
ให้พนักงานผู้รับคำร้องทุกข์แนะนำให้ผู้ร้องทุกข์แก้ไขให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(๓)
ถ้าเห็นว่าเป็นคำร้องทุกข์ที่ไม่อยู่ในอำนาจของ ก.พ.ค. จะรับไว้พิจารณาได้
หรือเป็นกรณีตาม (๒) แต่ผู้ร้องทุกข์ไม่แก้ไขภายในเวลาที่กำหนด
ให้บันทึกไว้แล้วเสนอคำร้องทุกข์ดังกล่าวต่อประธาน ก.พ.ค.
เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
ข้อ
๓๔ ให้ ก.พ.ค.
ตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ขึ้นคณะหนึ่งหรือหลายคณะเป็นองค์คณะวินิจฉัยก็ได้
แต่ละคณะประกอบด้วยกรรมการ ก.พ.ค. คนหนึ่งเป็นประธาน
และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์อีกสองคนเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยร้องทุกข์
โดยจะกำหนดให้ประธาน ก.พ.ค. หรือกรรมการ ก.พ.ค.
คนหนึ่งทำหน้าที่ประธานในคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์หลายคณะพร้อมกันก็ได้
และให้มีเจ้าหน้าที่สำนักงาน ก.พ. ที่ได้รับมอบหมายเป็นเลขานุการ
และผู้ช่วยเลขานุการได้ตามความจำเป็น
ในกรณีที่มีความจำเป็น
ก.พ.ค.
อาจแต่งตั้งให้คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์หรือกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์คนใดทำหน้าที่วินิจฉัยเรื่องอุทธรณ์ก็ได้
ข้อ
๓๕ เมื่อได้มีการตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์และได้มีการจ่ายสำนวนแล้ว
ให้ประธานกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์แจ้งคำสั่งตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ให้ผู้ร้องทุกข์ทราบ
โดยให้ผู้ร้องทุกข์ลงลายมือชื่อและวันที่รับทราบไว้เป็นหลักฐาน
แล้วมอบสำเนาคำสั่งให้ไว้หนึ่งฉบับ
หรือจะส่งสำเนาคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ร้องทุกข์ ณ
ที่อยู่ซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการก็ได้ ในกรณีนี้เมื่อล่วงพ้นสิบห้าวันนับแต่วันส่งสำเนาคำสั่งดังกล่าว
ให้ถือว่าผู้ร้องทุกข์ได้รับทราบคำสั่งตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์แล้ว
ให้นำความตามวรรคหนึ่งใช้บังคับกับกรณีที่กรรมการ
ก.พ.ค. คนหนึ่งเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ด้วย
ข้อ
๓๖ เมื่อประธาน ก.พ.ค.
ได้รับคำร้องทุกข์แล้ว ให้พิจารณาจ่ายสำนวนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ ๓๗ ถึงข้อ
๔๓
ข้อ
๓๗ ในกรณีที่ประธาน ก.พ.ค.
เห็นว่าคำร้องทุกข์ใดมีปัญหาข้อกฎหมายที่สำคัญ หรือผลการวินิจฉัยอาจกระทบต่อวิถีทางปฏิบัติราชการ
หรือจะเป็นการวางบรรทัดฐานในการปฏิบัติราชการ
หรือเป็นกรณีสำคัญที่เกี่ยวข้องกับระบบคุณธรรมที่ ก.พ.ค.
สมควรเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยเอง ก็ให้จ่ายสำนวนคำร้องทุกข์นั้นให้ ก.พ.ค.
เป็นองค์คณะวินิจฉัย โดยให้ประธาน ก.พ.ค. ตั้งกรรมการ ก.พ.ค.
คนหนึ่งเป็นกรรมการเจ้าของสำนวน และมีพนักงานผู้รับผิดชอบสำนวนเป็นผู้ช่วย
ข้อ
๓๘ ในกรณีที่ประธาน ก.พ.ค.
เห็นว่าคำร้องทุกข์ใดเป็นกรณีทั่วไปที่ไม่มีลักษณะตามข้อ ๓๗
ให้จ่ายสำนวนคำร้องทุกข์นั้นให้กรรมการ ก.พ.ค. คนหนึ่งหรือคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์คณะหนึ่งคณะใดเป็นองค์คณะวินิจฉัยก็ได้
ในกรณีที่กรรมการ
ก.พ.ค. คนหนึ่งเป็นองค์คณะวินิจฉัย ให้ผู้นั้นเป็นกรรมการเจ้าของสำนวน
และมีพนักงานผู้รับผิดชอบสำนวนเป็นผู้ช่วย
ในกรณีที่คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์คณะหนึ่งคณะใดเป็นองค์คณะวินิจฉัย
ให้ประธานกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์คณะนั้นตั้งกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ในคณะคนหนึ่งเป็นกรรมการเจ้าของสำนวน
และมีพนักงานผู้รับผิดชอบสำนวนเป็นผู้ช่วย
ข้อ
๓๙ ในกรณีที่ประธาน ก.พ.ค.
เห็นว่าคำร้องทุกข์เรื่องใดเป็นร้องทุกข์ที่ไม่อาจรับไว้พิจารณาได้
ให้จ่ายสำนวนคำร้องทุกข์นั้นให้กรรมการ ก.พ.ค. คนหนึ่งเป็นกรรมการเจ้าของสำนวน
หรือจะจ่ายให้คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์คณะหนึ่งทำหน้าที่เป็นองค์คณะวินิจฉัย
ก็ได้
ข้อ
๔๐ ในกรณีที่ประธาน ก.พ.ค.
เห็นว่าคำร้องทุกข์เรื่องใดเป็นร้องทุกข์ที่รับไว้พิจารณาได้
ให้จ่ายสำนวนคำร้องทุกข์ให้แก่กรรมการ ก.พ.ค. คนหนึ่ง
หรือคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ เป็นองค์คณะวินิจฉัย
หากมีการตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ขึ้นหลายคณะ ให้ประธาน ก.พ.ค.
จ่ายสำนวนตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑)
ถ้ามีการตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
แยกตามความเชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ
ให้จ่ายสำนวนให้ตรงกับความเชี่ยวชาญของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ที่ตั้งไว้
(๒)
ถ้ามีการตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
แยกตามกลุ่มของส่วนราชการหรือพื้นที่ตั้งของส่วนราชการใด
ให้จ่ายสำนวนให้ตรงกับกลุ่มหรือพื้นที่ตั้งของส่วนราชการนั้น
(๓)
ในกรณีที่ไม่มีการตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตาม (๑) หรือ (๒)
หรือมีการตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตาม (๑) หรือ (๒)
ในลักษณะเดียวกันหลายคณะ หรือคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตาม (๑) หรือ (๒)
มีคำร้องทุกข์ค้างการพิจารณาอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งหากจ่ายสำนวนให้แก่คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์นั้นอีก
จะทำให้การพิจารณาล่าช้าหรือกระทบต่อความยุติธรรม
ให้จ่ายสำนวนคำร้องทุกข์ตามที่ประธาน ก.พ.ค. เห็นสมควร
ข้อ
๔๑ กรรมการเจ้าของสำนวนอาจกำหนดประเด็นให้พนักงานผู้รับผิดชอบสำนวนวิเคราะห์และพิจารณาทำความเห็นเสนอในเบื้องต้นประกอบการพิจารณาขององค์คณะวินิจฉัย
เพื่อพิจารณาสั่งรับหรือไม่รับคำร้องทุกข์ไว้พิจารณาดังนี้
(๑)
ถ้าเห็นว่าเป็นคำร้องทุกข์ที่มีการดำเนินการโดยถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหมวด
๑ และเป็นคำร้องทุกข์ที่รับไว้พิจารณาได้
ก็ให้องค์คณะวินิจฉัยมีคำสั่งรับคำร้องทุกข์นั้นไว้พิจารณา
แล้วดำเนินการตามกระบวนพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ต่อไป
(๒)
ถ้าเห็นว่าเป็นคำร้องทุกข์ที่ยังไม่ชัดเจนหรือที่ยังมีการดำเนินการโดยไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหมวด
๑ ก็ให้มีคำสั่งให้ผู้ร้องทุกข์ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนด
หากไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนด
ก็ให้เสนอองค์คณะวินิจฉัยเพื่อพิจารณามีคำวินิจฉัยต่อไป
(๓)
ถ้าเห็นว่าเป็นคำร้องทุกข์ที่ไม่อาจรับไว้พิจารณาได้ตามข้อ ๔๒
ก็ให้เสนอองค์คณะวินิจฉัยเพื่อพิจารณามีคำวินิจฉัยต่อไป
ข้อ ๔๒[๖]
ห้ามมิให้รับคำร้องทุกข์ดังต่อไปนี้ไว้พิจารณา
(๑) เป็นคำร้องทุกข์ที่ไม่อยู่ในอำนาจการวินิจฉัยของ ก.พ.ค. ตามข้อ ๗
(๒) ผู้ร้องทุกข์มิใช่เป็นผู้มีสิทธิร้องทุกข์ตามข้อ ๗
(๓)
ผู้ร้องทุกข์มิใช่เป็นบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากผู้มีสิทธิร้องทุกข์แทนตามข้อ ๑๐
(๔) เป็นคำร้องทุกข์ที่ร้องทุกข์เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันตามข้อ ๘
เว้นแต่ ก.พ.ค. เห็นควรรับไว้พิจารณาเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
(๕)
เป็นเรื่องที่ได้เคยมีการร้องทุกข์และได้มีคำวินิจฉัยหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว
(๖) เป็นกรณีตามข้อ ๔๑ (๒)
ข้อ
๔๓ เมื่อได้รับความเห็นของกรรมการเจ้าของสำนวนตามข้อ
๔๑ (๒) หรือ (๓) ให้องค์คณะวินิจฉัยพิจารณามีคำวินิจฉัยดังนี้
(๑)[๗]
ถ้าเห็นว่าเป็นคำร้องทุกข์ที่รับไว้พิจารณาไม่ได้ตามข้อ ๔๒
ก็ให้มีคำวินิจฉัยไม่รับเรื่องร้องทุกข์นั้นไว้พิจารณาและสั่งจำหน่ายเรื่องร้องทุกข์ดังกล่าวออกจากสารบบ
หรือให้มีคำวินิจฉัยยกเลิกกระบวนพิจารณาเรื่องร้องทุกข์นั้น
และสั่งจำหน่ายเรื่องร้องทุกข์ดังกล่าวออกจากสารบบ
คำวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
หรือกรรมการ ก.พ.ค. เจ้าของสำนวนตามวรรคหนึ่ง ให้นำเสนอ ก.พ.ค.
เพื่อพิจารณาวินิจฉัยต่อไปด้วย
(๒)
ถ้าเห็นว่าเป็นคำร้องทุกข์ที่อาจรับไว้พิจารณาได้ ก็ให้มีคำสั่งให้กรรมการเจ้าของสำนวนดำเนินการตามกระบวนพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ต่อไป
ส่วนที่ ๒
กระบวนพิจารณาเรื่องร้องทุกข์
ข้อ
๔๔[๘] เมื่อได้มีการสั่งรับคำร้องทุกข์ไว้พิจารณาแล้ว
ให้กรรมการเจ้าของสำนวนมีคำสั่งให้คู่กรณีในการร้องทุกข์ทำคำแก้คำร้องทุกข์ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งหรือภายในระยะเวลาที่กำหนด
โดยส่งสำเนาคำร้องทุกข์และสำเนาหลักฐานที่เกี่ยวข้องไปให้ด้วย ในกรณีที่เห็นสมควร กรรมการเจ้าของสำนวนจะกำหนดประเด็น
ที่คู่กรณีในการร้องทุกข์ต้องชี้แจงหรือกำหนดให้จัดส่งพยานหลักฐานที่จะเป็นประโยชน์
ต่อการพิจารณาวินิจฉัยร้องทุกข์ไปให้ด้วยก็ได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่กำหนดไว้ในข้อ ๔๙
ข้อ
๔๕ ให้คู่กรณีในการร้องทุกข์ทำคำแก้คำร้องทุกข์และคำชี้แจงตามประเด็นที่กำหนดให้โดยชัดแจ้งและครบถ้วน
พร้อมส่งพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง และหลักฐานการรับทราบหรือควรได้ทราบเหตุของการร้องทุกข์
โดยจัดทำสำเนาคำแก้คำร้องทุกข์ สำเนาคำชี้แจง
และสำเนาพยานหลักฐานตามจำนวนที่กรรมการเจ้าของสำนวนกำหนด ยื่นภายในระยะเวลาตามข้อ
๔๔ วรรคหนึ่ง
ข้อ
๔๖ ในกรณีที่กรรมการเจ้าของสำนวนเห็นว่าคำแก้คำร้องทุกข์หรือคำชี้แจงของคู่กรณีในการร้องทุกข์
หรือพยานหลักฐานที่ส่งมาให้ยังไม่ครบถ้วนหรือชัดเจนเพียงพอ
ให้สั่งให้คู่กรณีในการร้องทุกข์แก้ไขเพิ่มเติมคำแก้คำร้องทุกข์หรือจัดทำคำชี้แจงเพิ่มเติม
หรือส่งพยานหลักฐานเพิ่มเติมมาให้ภายในระยะเวลาที่กำหนด
ข้อ
๔๗ ในกรณีที่คู่กรณีในการร้องทุกข์มิได้จัดทำคำแก้คำร้องทุกข์และคำชี้แจงตามประเด็นที่กำหนดให้ชัดเจน
พร้อมทั้งพยานหลักฐานยื่นต่อกรรมการเจ้าของสำนวนในระยะเวลาที่กำหนด
ให้ถือว่าคู่กรณีในการร้องทุกข์ยอมรับข้อเท็จจริงตามข้อร้องทุกข์ของผู้ร้องทุกข์
และให้กรรมการเจ้าของสำนวนพิจารณาดำเนินการต่อไปตามที่เห็นเป็นการยุติธรรม
ข้อ
๔๘ การพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ให้กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์พิจารณา
จากพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินเรื่องนั้น
ประกอบกับคำร้องทุกข์และคำแก้คำร้องทุกข์ ในกรณีจำเป็นและสมควร
ให้กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์มีอำนาจดำเนินการแสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมได้ ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๑๑๗
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ส่วนที่ ๓
การสรุปสำนวน
และการประชุมวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
ข้อ
๔๙[๙] เมื่อรับคำร้องทุกข์ไว้พิจารณาดำเนินการแล้ว
หากกรรมการเจ้าของสำนวนเห็นว่าสามารถวินิจฉัยได้จากข้อเท็จจริงในคำร้องทุกข์นั้น โดยไม่ต้องดำเนินการแสวงหาข้อเท็จจริงอีกหรือเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ได้จากคำแก้คำร้องทุกข์
เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการเรื่องนั้นหรือข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการแสวงหาเพิ่มเติม
(ถ้ามี) เพียงพอต่อการวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์นั้นแล้ว ให้กรรมการเจ้าของสำนวนทำบันทึกของกรรมการเจ้าของสำนวนสรุปเสนอองค์คณะวินิจฉัยเพื่อพิจารณาวินิจฉัยต่อไป
บันทึกสรุปสำนวนตามวรรคหนึ่ง
อย่างน้อยต้องประกอบด้วย
(๑)
ชื่อผู้ร้องทุกข์และคู่กรณีในการร้องทุกข์
(๒)
สรุปคำร้องทุกข์
(๓)
สรุปคำแก้คำร้องทุกข์ (ถ้ามี)
(๔)
สรุปข้อเท็จจริงที่กรรมการเจ้าของสำนวนแสวงหาเพิ่มเติม (ถ้ามี)
(๕)
ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยทั้งข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง
(๖)
ความเห็นของกรรมการเจ้าของสำนวนเกี่ยวกับประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย และคำขอของผู้ร้องทุกข์
ให้กรรมการเจ้าของสำนวนเสนอบันทึกสรุปสำนวนตามวรรคหนึ่งและสำนวนพร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับเรื่องร้องทุกข์นั้นทั้งหมดให้องค์คณะวินิจฉัยพิจารณาวินิจฉัยต่อไป
ข้อ
๕๐ เมื่อองค์คณะวินิจฉัยได้พิจารณาบันทึกสรุปสำนวนของกรรมการเจ้าของสำนวน
หากเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ได้มายังไม่เพียงพอหรือมีข้อที่ควรปรับปรุง
ก็ให้กรรมการเจ้าของสำนวนรับไปดำเนินการแสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมหรือดำเนินการปรับปรุงตามความเห็นขององค์คณะวินิจฉัย
แล้วนำผลการดำเนินการเสนอให้องค์คณะวินิจฉัยเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
ในกรณีที่องค์คณะวินิจฉัยพิจารณาตามวรรคหนึ่งแล้ว
เห็นว่าข้อเท็จจริงที่ได้มาเพียงพอต่อการวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์นั้น ก็ให้ดำเนินการตามข้อ
๕๑ ต่อไป
ข้อ ๕๑ ในการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
ให้องค์คณะวินิจฉัยจัดให้มีการพิจารณาหรือประชุมพิจารณาเรื่องร้องทุกข์อย่างน้อยหนึ่งครั้ง
เพื่อให้ผู้ร้องทุกข์หรือคู่กรณีในการร้องทุกข์มีโอกาสมาแถลงด้วยวาจาต่อหน้าองค์คณะวินิจฉัย
เว้นแต่ในกรณีที่องค์คณะวินิจฉัยเห็นว่าเรื่องร้องทุกข์นั้นมีข้อเท็จจริงชัดเจนเพียงพอต่อการพิจารณาวินิจฉัยแล้วหรือมีข้อเท็จจริงและประเด็นวินิจฉัยไม่ซับซ้อน
และการมาแถลงด้วยวาจาไม่จำเป็นแก่การพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
จะให้งดการแถลงด้วยวาจาเสียก็ได้[๑๐]
ในกรณีที่มีการประชุมและให้มีการแถลงตามวรรคหนึ่ง
เมื่อองค์คณะวินิจฉัยได้กำหนดวันประชุมพิจารณาเรื่องร้องทุกข์แล้ว
ให้กรรมการเจ้าของสำนวนแจ้งกำหนดวันประชุมพิจารณาเรื่องร้องทุกข์พร้อมทั้งส่งสรุปคำร้องทุกข์และสรุปคำแก้คำร้องทุกข์
ตลอดจนสรุปข้อเท็จจริงที่กรรมการเจ้าของสำนวนแสวงหาเพิ่มเติม (ถ้ามี)
ให้แก่คู่กรณีทราบล่วงหน้าก่อนวันประชุมพิจารณาไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
เพื่อเปิดโอกาสให้คู่กรณีได้แถลงสรุปคำร้องทุกข์และคำแก้คำร้องทุกข์ของตน ทั้งนี้
คู่กรณีจะไม่มาในวันประชุมพิจารณาก็ได้
หากในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์หรือคู่กรณีในการร้องทุกข์ไม่มาในวันประชุมพิจารณา
ก็ให้พิจารณาลับหลังไปได้และให้บันทึกไว้เป็นหลักฐานด้วย
ข้อ
๕๒ ในกรณีที่มีการประชุมพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ตามข้อ
๕๑ วรรคหนึ่ง เมื่อเริ่มการประชุม
ให้กรรมการเจ้าของสำนวนเสนอสรุปข้อเท็จจริงและประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย
แล้วให้ผู้ร้องทุกข์และคู่กรณีในการร้องทุกข์แถลงด้วยวาจาเพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัย
คำแถลงด้วยวาจาของผู้ร้องทุกข์และของคู่กรณีในการร้องทุกข์ต้องกระชับและอยู่ในประเด็น
โดยไม่อาจยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอื่นนอกจากที่ปรากฏในคำร้องทุกข์และคำแก้คำร้องทุกข์ได้
ส่วนที่ ๔
การทำคำวินิจฉัย
ข้อ
๕๓ ในการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
ให้องค์คณะวินิจฉัยมีคำวินิจฉัยไม่รับเรื่องร้องทุกข์ไว้พิจารณาตามข้อ ๔๓ (๑)
หรือมีคำวินิจฉัยเป็นอย่างอื่น ดังนี้ ยกคำร้องทุกข์
หรือมีคำวินิจฉัยให้แก้ไขหรือยกเลิกคำสั่ง และให้เยียวยาความเสียหายให้ผู้ร้องทุกข์
หรือให้ดำเนินการอื่นใด เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามระเบียบที่ ก.พ.ค. กำหนด
ข้อ ๕๔[๑๑]
คำวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ขององค์คณะวินิจฉัย
ให้นำความในข้อ ๑๖ หมวด ๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
คำวินิจฉัยขององค์คณะวินิจฉัย ให้นำเสนอ ก.พ.ค. เพื่อพิจารณา เมื่อ ก.พ.ค.
มีความเห็นประการใดแล้ว ให้องค์คณะวินิจฉัยดำเนินการเพื่อให้มีคำวินิจฉัยของ
ก.พ.ค. ต่อไป
การเยียวยา หรือการดำเนินการอื่นใด เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ระหว่างที่ยังไม่มีระเบียบ ก.พ.ค. ในเรื่องดังกล่าว ให้นำความในข้อ ๒๖
มาใช้บังคับโดยอนุโลมไปพลางก่อน
ข้อ
๕๕[๑๒] การพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ ที่ร้องต่อ
ก.พ.ค. ให้องค์คณะวินิจฉัยดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับคำร้องทุกข์
ถ้ามีความจำเป็นไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในเวลาดังกล่าวได้ ให้ขยายเวลาได้อีกสองครั้ง
ครั้งละไม่เกินสามสิบวัน โดยให้บันทึกเหตุผลความจำเป็นไว้ด้วย แต่ถ้าขยายเวลาแล้วก็ยังไม่แล้วเสร็จ
ให้ประธาน ก.พ.ค. พิจารณากำหนดมาตรการที่จะทำให้การพิจารณาวินิจฉัยแล้วเสร็จโดยเร็ว
และบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ
๕๖ เมื่อได้วินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์และดำเนินการตามข้อ
๕๔ วรรคสองแล้ว ให้แจ้งให้คู่กรณีทราบเป็นหนังสือโดยเร็ว
คำวินิจฉัยนั้นให้เป็นที่สุด
ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ตามวรรคหนึ่ง
มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองชั้นต้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองต่อไปได้
ข้อ ๕๗[๑๓]
คำวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ให้ผูกพันคู่กรณีในการร้องทุกข์และผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำวินิจฉัย
หรือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยในโอกาสแรกที่สามารถทำได้นับแต่ได้รับคำวินิจฉัย
ส่วนที่ ๕
การคัดค้านกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
ข้อ
๕๘ ผู้ร้องทุกข์หรือคู่กรณีในการร้องทุกข์อาจคัดค้านกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
ถ้าผู้นั้นมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑)
เป็นผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุให้เกิดความคับข้องใจ
หรือเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้บังคับบัญชาดังกล่าว
(๒)
มีส่วนได้เสียในเรื่องที่ร้องทุกข์
(๓)
มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ร้องทุกข์
(๔)
มีความเกี่ยวพันทางเครือญาติหรือทางสมรสกับบุคคลตาม (๑) (๒) หรือ (๓)
อันอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ร้องทุกข์
การคัดค้านดังกล่าวต้องทำเป็นหนังสือยื่นต่อประธาน
ก.พ.ค. ภายในเจ็ดวันนับแต่วันรับทราบหรือถือว่าทราบคำสั่งตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
โดยแสดงข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุแห่งการคัดค้านไว้ในหนังสือคัดค้านว่า
จะทำให้การพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ไม่ได้รับความจริงและความยุติธรรมอย่างไรด้วย
ข้อ
๕๙ เมื่อมีการยื่นคำคัดค้านกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์คนใด
ให้ประธาน ก.พ.ค.
แจ้งให้กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ที่ถูกคัดค้านงดการปฏิบติหน้าที่ไว้จนกว่าประธาน
ก.พ.ค. จะได้มีการชี้ขาดในเรื่องการคัดค้านนั้นแล้ว
ในการพิจารณาคำคัดค้านให้ประธาน
ก.พ.ค.
พิจารณาจากคำคัดค้านและบันทึกชี้แจงของกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ผู้ถูกคัดค้าน
หากประธาน ก.พ.ค.
เห็นว่ามิได้เป็นไปตามคำคัดค้านและมีเหตุผลสมควรที่จะให้ผู้ถูกคัดค้านปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
ให้นำเรื่องเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ ก.พ.ค. เพื่อพิจารณา
ถ้าที่ประชุมมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของกรรมการที่ไม่ถูกคัดค้าน
ก็ให้กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้
มติดังกล่าวให้กระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ แล้วให้เป็นที่สุด
ในกรณีที่ประธาน
ก.พ.ค. เห็นว่าคำคัดค้านฟังขึ้น
หรือมีเหตุผลพอที่จะฟังได้ว่าหากให้ผู้ถูกคัดค้านปฏิบัติหน้าที่ต่อไปอาจทำให้การพิจารณาไม่ได้ความจริงและความยุติธรรม
ให้มีคำสั่งให้ผู้ถูกคัดค้านพ้นจากการเป็นกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์เรื่องนั้น
แล้วแจ้งให้ผู้คัดค้านทราบด้วย
ในกรณีที่ประธาน
ก.พ.ค. สั่งให้กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ที่ถูกคัดค้านถอนตัวจากการพิจารณา
ให้ประธาน ก.พ.ค. แต่งตั้งกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์จากคณะหนึ่งคณะใดหรือตนเองปฏิบัติหน้าที่แทนตามความจำเป็น
ข้อ
๖๐ กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ผู้ใดเห็นว่าตนมีกรณีอันอาจถูกคัดค้านได้ตามข้อ
๔๐ หรือเห็นว่ามีเหตุอื่นที่อาจจะมีการกล่าวอ้างในภายหลังได้ว่า
ตนไม่อยู่ในฐานะที่จะปฏิบัติหน้าที่โดยเที่ยงธรรม ให้แจ้งต่อประธาน ก.พ.ค. และถอนตัวจากการพิจารณาวินิจฉัยร้องทุกข์
และให้นำข้อ ๕๘ และข้อ ๕๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๖๑ การที่กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ผู้ถูกคัดค้านที่ถูกสั่งให้งดการปฏิบัติหน้าที่หรือกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ที่ถูกสั่งให้ถอนตัวเพราะมีเหตุอันอาจถูกคัดค้านนั้น
ย่อมไม่กระทบถึงการกระทำใด ๆ ที่ได้กระทำไปแล้ว
แม้ว่าจะได้ดำเนินการหลังจากที่ได้มีการยื่นคำคัดค้าน
ส่วนที่ ๖
การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานผู้รับคำร้องทุกข์และพนักงานผู้รับผิดชอบสำนวน
ข้อ
๖๒ ให้เลขาธิการ ก.พ.
แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน ก.พ. เป็นพนักงานผู้รับคำร้องทุกข์
เพื่อปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรับคำร้องทุกข์ การตรวจคำร้องทุกข์
และการดำเนินการทางธุรการอย่างอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ
๖๓ ให้เลขาธิการ ก.พ.
แต่งตั้งพนักงานผู้รับผิดชอบสำนวนทำหน้าที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินงานของกรรมการเจ้าของสำนวน
เกี่ยวกับการพิจารณาวินิจฉัยร้องทุกข์และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
ประกาศ ณ วันที่ ๙
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ศราวุธ เมนะเศวต
ประธานกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ.ค. ฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๑๒๓ และมาตรา ๑๒๕
กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปตามลำดับ
หรือ ก.พ.ค. แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่เกิดความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชา
และเป็นกรณีที่ไม่อาจอุทธรณ์ตามหมวด ๙ การอุทธรณ์ ได้
และบัญญัติให้คัดค้านกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ได้ด้วย ทั้งนี้
โดยให้การร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ การยื่นคัดค้าน
และการพิจารณาคำคัดค้าน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.ค. จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ.ค. นี้
กฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒[๑๔]
ข้อ
๘ กรณีที่ได้ดำเนินการตามกฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
พ.ศ. ๒๕๕๑ มาแล้วโดยชอบให้เป็นอันใช้ได้ สำหรับกรณีที่อยู่ระหว่างดำเนินการให้พิจารณาดำเนินการตามกฎ
ก.พ.ค. นี้
กฎ
ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.
๒๕๕๖[๑๕]
ข้อ ๑๐ เรื่องร้องทุกข์เรื่องใดที่ได้มีการพิจารณาดำเนินการโดยถูกต้องตามกฎ
ก.พ.ค.ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ
ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๕๒ เสร็จไปแล้วก่อนวันที่ กฎ ก.พ.ค. ฉบับนี้ใช้บังคับ
ให้การพิจารณาดำเนินการดังกล่าวเป็นอันใช้ได้
ถ้าเรื่องร้องทุกข์ใดอยู่ในระหว่างดำเนินการ ให้พิจารณาดำเนินการตามกฎ ก.พ.ค.
ฉบับนี้
ชาญ/ผู้จัดทำ
๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๑๒๙ ก/หน้า ๓๐/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑
[๒] ข้อ ๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.ค.
ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๓] ข้อ ๗
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.ค.
ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒
[๔] ข้อ ๑๑
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.ค.
ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๕] ข้อ ๒๔ วรรคหนึ่ง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.ค.
ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒
[๖] ข้อ ๔๒
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.ค.
ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๗] ข้อ ๔๓ (๑)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๘] ข้อ ๔๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.ค.
ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒
[๙] ข้อ ๔๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒
[๑๐] ข้อ ๕๑ วรรคหนึ่ง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.ค.
ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๑๑] ข้อ ๕๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.ค.
ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๑๒] ข้อ ๕๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.ค.
ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒
[๑๓] ข้อ ๕๗
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.ค.
ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๑๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๘๐ ก/หน้า ๑๖/๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๒
[๑๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๙ ก/หน้า ๓/๓๑ มกราคม ๒๕๕๖ |
761449 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2559 | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๙)
พ.ศ. ๒๕๕๙
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๕) และมาตรา ๕๐ วรรคสามและวรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑[๑] กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ๔๙.
ของตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ ในบัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งท้ายกฎ
ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๑
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ และกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘
๔๙. สายงานวิชาการสหกรณ์
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๓
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
วิษณุ เครืองาม
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้สายงานวิชาการสหกรณ์ ระดับทรงคุณวุฒิ
เป็นสายงานและระดับที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ประกอบกับตามมาตรา ๕๐ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
บัญญัติให้ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด จะได้รับเงินประจำตำแหน่ง
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. จึงจำเป็นต้องออกกฎ
ก.พ. นี้
ปริยานุช/จัดทำ
๑๔ พฤศจิกายน
๒๕๕๙
ปุณิกา/ตรวจ
๑๔ พฤศจิกายน
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๙๕ ก/หน้า ๑/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ |
762725 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง พ.ศ. 2551 (ฉบับ Update ณ วันที่ 02/03/2559) | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๕๕๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๕) มาตรา ๔๕ มาตรา ๔๖ และมาตรา ๑๓๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑[๑]
กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๒ ตำแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่
ตำแหน่งที่มีอำนาจและหน้าที่ในการบริหารงานในฐานะที่เป็นหัวหน้าส่วนราชการหรือรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือกรม
ตำแหน่งที่มีฐานะเป็นผู้ปฏิบัติงานตรวจและแนะนำการปฏิบัติราชการของส่วนราชการระดับกระทรวง
และตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการหรือรองหัวหน้าส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีผู้บังคับบัญชาเป็นอธิบดีหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี
หรือตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภทบริหารตามหลักเกณฑ์ในกฎ ก.พ.
นี้
ข้อ
๓ ตำแหน่งประเภทบริหาร มี ๒ ระดับ
ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(ก) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ซึ่งไม่ใช่ตำแหน่งตาม (๒) (ฉ)
(ช) (ซ) และ (ฌ)
(ข) รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(ค) อัครราชทูตที่เป็นรองหัวหน้าสถานเอกอัครราชทูต
รองหัวหน้าคณะผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ
รองหัวหน้าคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก และหัวหน้าสถานกงสุลใหญ่
(ง)
รองหัวหน้าส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีผู้บังคับบัญชาเป็นอธิบดีหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี
ได้แก่ รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
รองเลขาธิการสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
รองผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
และรองเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
(จ) ตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น
(๒) ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(ก) หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ได้แก่ ปลัดกระทรวง
และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(ข) หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม
(ค) ผู้ว่าราชการจังหวัด
(ง) เอกอัครราชทูตที่เป็นหัวหน้าสถานเอกอัครราชทูต
หัวหน้าคณะผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ
หัวหน้าคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก และเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง
(จ) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ได้แก่ รองปลัดกระทรวง
และรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(ฉ)[๒]
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในสำนักนายกรัฐมนตรี
และอยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(ช)[๓]
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง
และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ได้แก่
รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
และรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
(ซ) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการ
และขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี ได้แก่ รองเลขาธิการสภาการศึกษา
รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
และรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
(ฌ)
หัวหน้าส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีผู้บังคับบัญชาเป็นอธิบดีหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี
ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เลขาธิการสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
และเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
(ญ) ผู้ตรวจราชการของส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง
(ฎ) ตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
ข้อ
๔ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ได้แก่
ตำแหน่งที่มีอำนาจและหน้าที่ในการบริหารงานในฐานะหัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรม
ซึ่งมีการแบ่งส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
หรือตำแหน่งอื่นที่มีลักษณะเป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการ
ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมากหรือสูงมากเป็นพิเศษที่ ก.พ.
กำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการตามหลักเกณฑ์ในกฎ ก.พ. นี้
ข้อ
๕ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ มี ๒ ระดับ
ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ได้แก่
ตำแหน่งที่มีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมาก ดังต่อไปนี้
(ก) หัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรมซึ่งแบ่งส่วนราชการภายในกรมในราชการบริหารส่วนกลางตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(ข)
หัวหน้าสำนักงานจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(ค) นายอำเภอ
(ง) ตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น
(๒) ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ได้แก่
ตำแหน่งที่มีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมากเป็นพิเศษ
ดังต่อไปนี้
(ก)
หัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรมซึ่งแบ่งส่วนราชการภายในกรมในราชการบริหารส่วนกลางตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(ข)
หัวหน้าสำนักงานจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(ค) นายอำเภอ
(ง) ผู้ตรวจราชการของส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม
(จ) ตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง
ข้อ
๖ ตำแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่
ตำแหน่งในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่ใช้ความรู้ ในทางวิชาการซึ่ง ก.พ.
กำหนดว่าต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่
ของตำแหน่งนั้น โดยมีการจำแนกตามลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานเป็นหลัก
หรือตำแหน่งอื่นที่กำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภทวิชาการตามกฎ ก.พ. นี้
ข้อ
๗ ตำแหน่งประเภทวิชาการ มี ๕ ระดับ
ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ได้แก่
ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับต้น โดยใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน
ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ
(๒) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ
ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงในงานวิชาการ
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก
(ข) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ
ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์
และความชำนาญงานสูงในงานวิชาการ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก
(๓) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ
ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงมากในงานวิชาการ
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก
(ข) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ
ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์
และความชำนาญงานสูงมากในงานวิชาการ
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก
(๔) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ได้แก่
ตำแหน่งที่ต้องดำเนินการศึกษา วิจัย สั่งสมความรู้หรือผลการศึกษาวิจัยในลักษณะต่าง
ๆ เพื่อให้มีการค้นคว้าอ้างอิงต่อไปได้ และสอน ฝึกอบรม
หรือเผยแพร่ความรู้ในระดับกรม ดังต่อไปนี้
(ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีความเชี่ยวชาญในงาน โดยใช้ความรู้
ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาการ
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมาก
และมีผลกระทบในวงกว้าง
(ข) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานให้คำปรึกษาของส่วนราชการระดับกระทรวง
หรือกรม ซึ่งใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาการ
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมาก
และมีผลกระทบในวงกว้าง
(๕) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ได้แก่
ตำแหน่งที่ต้องดำเนินการศึกษา วิจัย สั่งสมความรู้หรือผลการศึกษาวิจัยในลักษณะต่าง
ๆ เพื่อให้มีการค้นคว้าอ้างอิงต่อไปได้ และสอน ฝึกอบรม
หรือเผยแพร่ความรู้ในระดับกระทรวง และระดับชาติ ดังต่อไปนี้
(ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีความรู้ ความสามารถ
ประสบการณ์ และผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถ เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมากเป็นพิเศษ
และมีผลกระทบในวงกว้างระดับนโยบายกระทรวงหรือระดับชาติ
(ข) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานให้คำปรึกษาของส่วนราชการระดับกระทรวง
ซึ่งมีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถ
เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมากเป็นพิเศษ
และมีผลกระทบในวงกว้างระดับนโยบายกระทรวงหรือระดับชาติ
ข้อ
๘ ตำแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่
ตำแหน่งซึ่งมิใช่ตำแหน่งประเภทบริหาร ประเภทอำนวยการ และประเภทวิชาการ
แต่เป็นตำแหน่งในฐานะผู้ปฏิบัติงานซึ่งเน้นการใช้ทักษะ ฝีมือในการปฏิบัติงาน
โดยมีการจำแนกตามลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานเป็นหลัก
และในกรณีที่เห็นสมควร ก.พ.
จะกำหนดว่าตำแหน่งใดต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำแหน่งนั้นด้วยก็ได้
หรือตำแหน่งอื่นที่กำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภททั่วไปตาม กฎ ก.พ. นี้
ข้อ
๙ ตำแหน่งประเภททั่วไป มี ๔ ระดับ ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ได้แก่
ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งปฏิบัติงานตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน
และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ
(๒) ตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงาน ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ
ประสบการณ์ และความชำนาญงาน ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ค่อนข้างยาก
(ข) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ
ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์
และความชำนาญงาน ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ค่อนข้างยาก
(๓) ตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ
ประสบการณ์ และความชำนาญงานค่อนข้างสูง ในงานเทคนิคเฉพาะด้าน
หรืองานที่ใช้ทักษะและความชำนาญเฉพาะตัว
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในงานที่ค่อนข้างยากมาก
(ข) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ
ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์
และความชำนาญงานค่อนข้างสูง มีงานในความรับผิดชอบที่หลากหลาย
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในงานที่ค่อนข้างยากมาก
(๔) ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ได้แก่
ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีทักษะพิเศษเฉพาะตัว โดยมีความรู้ ความสามารถ
ประสบการณ์ และผลงานเป็นที่ประจักษ์ ในความสามารถ
ในงานที่ใช้ทักษะและความชำนาญเฉพาะตัวสูงมาก ปฏิบัติงานที่ต้องคิดริเริ่มสร้างสรรค์ด้วยตนเองและเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ
ข้อ
๑๐ ให้ตำแหน่งที่ ก.พ.
กำหนดให้เทียบเป็นตำแหน่งประเภทบริหารตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๓๙ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ไว้แล้วก่อนวันที่ กฎ ก.พ.
นี้ใช้บังคับ เป็นตำแหน่งตามประเภท และระดับ ตามกฎ ก.พ. นี้ ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดให้เทียบเป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับกลาง
ให้เป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น
(๒) ตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดให้เทียบเป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
ให้เป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง
ข้อ
๑๑ ในกรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุผลอันสมควร
ให้ ก.พ. มีอำนาจกำหนดให้ตำแหน่งอื่นใดนอกจากที่กำหนดไว้แล้วในกฎ ก.พ. นี้
เป็นตำแหน่งประเภทใด ระดับใด ตามกฎ ก.พ. นี้ ก็ได้
ข้อ
๑๒ การปฏิบัติงานใดที่จะเป็นการปฏิบัติงานที่มีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูง
หรือต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานที่ยุ่งยาก ซับซ้อน
หรือต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหา หรือมีผลกระทบของงาน ในระดับใด
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๔๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ
๑๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะหรือวิชาชีพเฉพาะระดับ
๙ ระดับ ๑๐ หรือระดับ ๑๑ ตามมาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ อยู่แล้วในวันก่อนวันที่ กฎ
ก.พ. นี้ใช้บังคับ และได้รับการจัดเข้าสู่ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ
หรือระดับทรงคุณวุฒิ ตามกฎ ก.พ. นี้ ให้ถือว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ตามกฎ ก.พ.
นี้แล้ว
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ
เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๔๕
บัญญัติให้ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมี ๔ ประเภท ได้แก่ ตำแหน่งประเภทบริหาร
ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ตำแหน่งประเภทวิชาการ และตำแหน่งประเภททั่วไป และมาตรา ๔๖
กำหนดระดับตำแหน่งในแต่ละประเภทตำแหน่งดังกล่าวไว้ด้วย
สำหรับการจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎ ก.พ.
ดังนั้น เพื่อให้มีหลักเกณฑ์ การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญสำหรับใช้เป็นบรรทัดฐานเทียบเคียง
การกำหนดตำแหน่งในส่วนราชการ จึงจำเป็นต้องออกกฎ
ก.พ. นี้
กฎ
ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘[๔]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเป็นตำแหน่งประเภทบริหาร
ระดับสูง จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ.
นี้
กฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙[๕]
ข้อ
๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง
เพื่อให้สอดคล้องกับหน้าที่และความรับผิดชอบตามบทบาทภารกิจและลักษณะงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่มีความสำคัญในระดับชาติเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ
ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อความเชื่อมั่นขององค์กรระหว่างประเทศ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
วริญา/ผู้จัดทำ
ปัญญา/ตรวจ
๘ มิถุนายน ๒๕๕๘
วริญา/เพิ่มเติม
๗ มีนาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๑๒๘ ก/หน้า ๑/๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๑
[๒] ข้อ ๓ (๒) (ฉ) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๓] ข้อ ๓ (๒) (ช) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙
[๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๔๓ ก/หน้า ๔๒/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๒๐ ก/หน้า ๑/๒ มีนาคม ๒๕๕๙ |
762749 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2551 (ฉบับ Update ณ วันที่ 02/03/2559) | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๕๕๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๕) และมาตรา ๕๐ วรรคสามและวรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒
ข้าราชการพลเรือนสามัญอาจได้รับเงินประจำตำแหน่งตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในประเภท สายงาน
และระดับตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. นี้
และปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งดังกล่าวให้มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(๒)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งผู้ใด
หากได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่อื่นและมิได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่
ไม่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งตั้งแต่วันที่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่
เว้นแต่ในกรณีที่ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการหรือประเภททั่วไปและได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่อื่นที่มีลักษณะเป็นงานวิชาชีพหรืองานเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเหมือนหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่เดิม
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดิมของตำแหน่งต่อไป
(๓)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งนั้นไม่เต็มเดือนในเดือนใด
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งสำหรับเดือนนั้นตามส่วนจำนวนวันที่ได้ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งดังกล่าว
(๔)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งนั้นเกินหนึ่งตำแหน่ง
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งสำหรับตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงสุดเพียงตำแหน่งเดียว
(๕)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประเภทเดียวกันที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้ปฏิบัติหน้าที่หลักในตำแหน่งที่ตนไปปฏิบัติหน้าที่ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามอัตราเดิมของตนต่อไป
ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่
หรือรักษาราชการแทน
หรือรักษาการในตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งต่างประเภทกัน
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราของตำแหน่งเดิมต่อไปนับแต่วันที่เข้าปฏิบัติหน้าที่หลักในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่
หรือรักษาราชการแทน หรือรักษาการในตำแหน่ง แล้วแต่กรณี
แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินหกเดือน
(๖)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศตามระเบียบ ก.พ.
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการโดยการให้ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศ
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราของตำแหน่งเดิมต่อไป
ข้อ ๓
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสายงานตามบัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งท้ายกฎ
ก.พ. นี้ ในตำแหน่งประเภทใด ระดับใด
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญในอัตราดังนี้
(๑)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๐,๐๐๐ บาท
(๒)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ดังต่อไปนี้ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๔,๕๐๐ บาท
(ก)
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมซึ่งมิใช่หัวหน้าส่วนราชการตาม (๓) (ข) (ค) (ง)
และ (จ)
(ข)
ผู้ว่าราชการจังหวัด
(ค)
เอกอัครราชทูตที่เป็นหัวหน้าสถานเอกอัครราชทูต
หัวหน้าคณะผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ
หัวหน้าคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก และเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง
(ง)
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ได้แก่ รองปลัดกระทรวง
และรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(จ)[๒]
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในสำนักนายกรัฐมนตรี
และอยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(ฉ)[๓]
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง
และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ได้แก่
รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
และรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
(ช)
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการ และขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี
ได้แก่ รองเลขาธิการสภาการศึกษา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
(ซ)
หัวหน้าส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีผู้บังคับบัญชาเป็นอธิบดีหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี
ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เลขาธิการสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
และเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
(ฌ)
ผู้ตรวจราชการของส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง
(ญ)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตามที่ ก.พ.
กำหนดให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดียวกันนี้
(๓)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ดังต่อไปนี้ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๒๑,๐๐๐ บาท
(ก)
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ได้แก่ ปลัดกระทรวง
และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(ข)[๔]
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในสำนักนายกรัฐมนตรี
และอยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(ค)[๕]
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี
ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
และเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
(ง)
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการ และขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี
ได้แก่ เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
(จ)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตามที่ ก.พ. กำหนดให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดียวกันนี้
(๔)
ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๕,๖๐๐ บาท
(๕)
ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๐,๐๐๐ บาท
(๖)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ที่มีประสบการณ์ ทักษะ และสมรรถนะ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่
ก.พ. กำหนด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๓,๕๐๐ บาท
(๗)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๕,๖๐๐ บาท
(๘)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๙,๙๐๐ บาท
(๙)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๓,๐๐๐ บาท
(๑๐)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ที่มีประสบการณ์ ทักษะ และสมรรถนะ
ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๕,๖๐๐ บาท
(๑๑)
ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๙,๙๐๐ บาท
ข้อ ๔
การกำหนดประเภทตำแหน่ง สายงาน ระดับ
และจำนวนตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งเพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่แล้วในวันก่อนวันที่กฎ
ก.พ. นี้ใช้บังคับ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ. ก่อน
ข้อ ๕
กรณีอื่นนอกจากที่ได้กำหนดไว้ในกฎ ก.พ. นี้ ให้เสนอ ก.พ.
พิจารณาอนุมัติเป็นราย ๆ ไป
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
บัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
ท้ายกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕[๖]
ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ได้แก่
๑. สายงานบริหาร
๒. สายงานบริหารการทูต
๓. สายงานบริหารงานปกครอง
๔. สายงานตรวจราชการกระทรวง
ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น ได้แก่
๑. สายงานบริหาร
๒. สายงานบริหารการทูต
๓. สายงานบริหารงานปกครอง
ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับสูง ได้แก่
๑. สายงานอำนวยการ
๒. สายงานอำนวยการเฉพาะด้าน
๓. สายงานตรวจราชการกรม
ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้น ได้แก่
๑. สายงานอำนวยการ
๒. สายงานอำนวยการเฉพาะด้าน
๒
ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ ได้แก่
๑. สายงานการข่าว
๒. สายงานทรัพยากรบุคคล
๓. สายงานการผังเมือง
๔. สายงานวิชาการศุลกากร
๕. สายงานนิติการ
๖. สายงานกฎหมายกฤษฎีกา
๗. สายงานโบราณคดี
๘. สายงานนักพัฒนาระบบราชการ
๙. สายงานวิเคราะห์งบประมาณ
๑๐. สายงานวิเคราะห์นโยบายและแผน
๑๑. สายงานวิชาการส่งเสริมการลงทุน
๑๒. สายงานวิชาการเกษตร
๑๓. สายงานวิชาการขนส่ง
๑๔. สายงานวิชาการคลัง
๑๕. สายงานวิเคราะห์รัฐวิสาหกิจ
๑๖. สายงานวิชาการบัญชี
๑๗. สายงานวิชาการประมง
๑๘. สายงานวิชาการป่าไม้
๑๙. สายงานวิชาการพาณิชย์
๒๐. สายงานวิชาการภาษี
๒๑. สายงานวิชาการมาตรฐาน
๒๒. สายงานวิชาการแรงงาน
๒๓. สายงานวิชาการละครและดนตรี
๒๔. สายงานวิทยาศาสตร์การแพทย์
๒๕. สายงานวิชาการศึกษา
๒๖. สายงานวิชาการเศรษฐกิจ
๒๗. สายงานวิชาการสรรพสามิต
๒๘. สายงานวิชาการสรรพากร
๒๙. สายงานวิชาการสาธารณสุข
๓
๓๐. สายงานวิชาการอาหารและยา
๓๑. สายงานวิทยาศาสตร์
๓๒. สายงานวิศวกรรมสำรวจ
๓๓. สายงานอักษรศาสตร์
๓๔. สายงานประติมากรรม
๓๕. สายงานทันตแพทย์
๓๖. สายงานแพทย์
๓๗. สายงานนายสัตวแพทย์
๓๘. สายงานวิศวกรรมโยธา
๓๙. สายงานสถาปัตยกรรม
๔๐. สายงานวิศวกรรมชลประทาน
๔๑. สายงานวิชาการคอมพิวเตอร์
๔๒. สายงานวิศวกรรมการเกษตร
๔๓. สายงานวิชาการช่างศิลป์
๔๔. สายงานมัณฑนศิลป์
๔๕. สายงานจิตรกรรม
๔๖. สายงานเภสัชกรรม
๔๗. สายงานพยาบาลวิชาชีพ
๔๘.[๗]
สายงานอุตุนิยมวิทยา
ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ ได้แก่
๑. สายงานการข่าว
๒. สายงานทรัพยากรบุคคล
๓. สายงานการผังเมือง
๔. สายงานวิเคราะห์ผังเมือง
๕. สายงานสืบสวนสอบสวน
๖. สายงานกีฏวิทยา
๗. สายงานเจ้าหน้าที่คดีพิเศษ
๘. สายงานคุมประพฤติ
๙. สายงานวิชาการปฏิรูปที่ดิน
๑๐. สายงานจิตวิทยา
๔
๑๑. สายงานนักเดินเรือ
๑๒. สายงานตรวจสอบบัญชี
๑๓. สายงานวิชาการตรวจสอบภายใน
๑๔. สายงานวิชาการศุลกากร
๑๕. สายงานวิชาการแผนที่ภาพถ่าย
๑๖. สายงานนิติการ
๑๗. สายงานกฎหมายกฤษฎีกา
๑๘. สายงานนิติวิทยาศาสตร์
๑๙. สายงานโบราณคดี
๒๐. สายงานภัณฑารักษ์
๒๑. สายงานพัฒนาการกีฬา
๒๒. สายงานพัฒนาการท่องเที่ยว
๒๓. สายงานพัฒนาระบบราชการ
๒๔. สายงานพัฒนาสังคม
๒๕. สายงานภูมิสถาปัตยกรรม
๒๖. สายงานวิเคราะห์งบประมาณ
๒๗. สายงานวิเคราะห์นโยบายและแผน
๒๘. สายงานประเมินราคาทรัพย์สิน
๒๙. สายงานวิชาการอุตสาหกรรม
๓๐. สายงานวิชาการส่งเสริมการลงทุน
๓๑. สายงานวิเทศสัมพันธ์
๓๒. สายงานวิชาการพลังงาน
๓๓. สายงานเจ้าหน้าที่จัดผลประโยชน์
๓๔. สายงานวิชาการกษาปณ์
๓๕. สายงานวิชาการเกษตร
๓๖. สายงานวิชาการขนส่ง
๓๗. สายงานวิชาการคลัง
๓๘. สายงานวิเคราะห์รัฐวิสาหกิจ
๓๙. สายงานวิชาการเงินและบัญชี
๔๐. สายงานวิชาการตรวจสอบบัญชี
๕
๔๑. สายงานตรวจสอบภาษี
๔๒. สายงานวิชาการทรัพยากรธรณี
๔๓. สายงานวิชาการทัณฑวิทยา
๔๔. สายงานวิชาการที่ดิน
๔๕. สายงานธรณีวิทยา
๔๖. สายงานวิชาการบัญชี
๔๗. สายงานประชาสัมพันธ์
๔๘. สายงานวิชาการประมง
๔๙. สายงานวิชาการป่าไม้
๕๐. สายงานวิชาการผลิตภัณฑ์อาหาร
๕๑. สายงานวิชาการพัฒนาชุมชน
๕๒. สายงานวิชาการพาณิชย์
๕๓. สายงานวิชาการภาษี
๕๔. สายงานวิชาการมาตรฐาน
๕๕. สายงานวิชาการยุติธรรม
๕๖. สายงานวิชาการแรงงาน
๕๗. สายงานวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงาน
๕๘. สายงานวิชาการโรคพืช
๕๙. สายงานวิชาการละครและดนตรี
๖๐. สายงานวิชาการวัฒนธรรม
๖๑. สายงานวิทยาศาสตร์การแพทย์
๖๒. สายงานวิชาการศาสนา
๖๓. สายงานวิชาการศึกษา
๖๔. สายงานวิทยาจารย์
๖๕. สายงานวิชาการศึกษาพิเศษ
๖๖. สายงานวิชาการเศรษฐกิจ
๖๗. สายงานวิชาการส่งเสริมการเกษตร
๖๘. สายงานวิชาการสถิติ
๖๙. สายงานวิชาการสรรพสามิต
๗๐. สายงานวิชาการสรรพากร
๖
๗๑. สายงานวิชาการสหกรณ์
๗๒. สายงานวิชาการสัตวบาล
๗๓. สายงานวิชาการสาธารณสุข
๗๔. สายงานโภชนาการ
๗๕. สายงานวิชาการสิ่งแวดล้อม
๗๖. สายงานวิชาการอาหารและยา
๗๗. สายงานวิชาการอุทกวิทยา
๗๘. สายงานวิทยาศาสตร์
๗๙. สายงานวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์
๘๐. สายงานวิเทศสหการ
๘๑. สายงานวิศวกรรม
๘๒. สายงานวิศวกรรมสำรวจ
๘๓. สายงานสถิติ
๘๔. สายงานพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ
๘๕. สายงานสังคมสงเคราะห์
๘๖. สายงานสัตววิทยา
๘๗. สายงานสำรวจดิน
๘๘. สายงานอักษรศาสตร์
๘๙. สายงานภาษาโบราณ
๙๐. สายงานวรรณศิลป์
๙๑. สายงานอาลักษณ์
๙๒. สายงานอุตุนิยมวิทยา
๙๓. สายงานวิชาการช่างศิลป์
๙๔. สายงานจิตรกรรม
๙๕. สายงานมัณฑนศิลป์
๙๖. สายงานประติมากรรม
๙๗. สายงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
๙๘. สายงานกายภาพบำบัด
๙๙. สายงานทันตแพทย์
๑๐๐. สายงานพยาบาลวิชาชีพ
๗
๑๐๑. สายงานแพทย์
๑๐๒. สายงานนายสัตวแพทย์
๑๐๓. สายงานเทคนิคการแพทย์
๑๐๔. สายงานเภสัชกรรม
๑๐๕. สายงานวิศวกรรมเครื่องกล
๑๐๖. สายงานวิศวกรรมไฟฟ้า
๑๐๗. สายงานวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร
๑๐๘. สายงานวิศวกรรมโยธา
๑๐๙. สายงานวิศวกรรมเหมืองแร่
๑๑๐. สายงานสถาปัตยกรรม
๑๑๑. สายงานฟิสิกส์รังสี
๑๑๒. สายงานรังสีการแพทย์
๑๑๓. สายงานวิศวกรรมชลประทาน
๑๑๔. สายงานวิศวกรรมนิวเคลียร์
๑๑๕. สายงานวิศวกรรมปิโตรเลียม
๑๑๖. สายงานวิศวกรรมโลหการ
๑๑๗. สายงานชีววิทยารังสี
๑๑๘. สายงานนิวเคลียร์เคมี
๑๑๙. สายงานนิวเคลียร์ฟิสิกส์
๑๒๐. สายงานวิชาการคอมพิวเตอร์
๑๒๑. สายงานวิศวกรรมการเกษตร
๑๒๒. สายงานกิจกรรมบำบัด
๑๒๓. สายงานเวชศาสตร์การสื่อความหมาย
๑๒๔. สายงานจิตวิทยาคลินิก
๑๒๕[๘].
สายงานจดหมายเหตุ
๑๒๖[๙].
สายงานวิชาการชั่งตวงวัด
๘
ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ และระดับชำนาญการพิเศษ ได้แก่
๑. สายงานกายภาพบำบัด
๒. สายงานทันตแพทย์
๓. สายงานพยาบาลวิชาชีพ
๔. สายงานแพทย์
๕. สายงานนายสัตวแพทย์
๖. สายงานเทคนิคการแพทย์
๗. สายงานเภสัชกรรม
๘. สายงานวิศวกรรมเครื่องกล
๙. สายงานวิศวกรรมไฟฟ้า
๑๐. สายงานวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร
๑๑. สายงานวิศวกรรมโยธา
๑๒. สายงานวิศวกรรมเหมืองแร่
๑๓. สายงานสถาปัตยกรรม
๑๔. สายงานฟิสิกส์รังสี
๑๕. สายงานรังสีการแพทย์
๑๖. สายงานวิศวกรรมชลประทาน
๑๗. สายงานวิศวกรรมนิวเคลียร์
๑๘. สายงานวิศวกรรมปิโตรเลียม
๑๙. สายงานวิศวกรรมโลหการ
๒๐. สายงานชีววิทยารังสี
๒๑. สายงานนิวเคลียร์เคมี
๒๒. สายงานนิวเคลียร์ฟิสิกส์
๒๓. สายงานวิชาการคอมพิวเตอร์
๒๔. สายงานวิศวกรรมการเกษตร
๒๕. สายงานกิจกรรมบำบัด
๒๖. สายงานเวชศาสตร์การสื่อความหมาย
๒๗. สายงานแพทย์แผนไทย
๒๘. สายงานจิตวิทยาคลินิก
๒๙.[๑๐]
สายงานกายอุปกรณ์
๓๐.[๑๑]
สายงานเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก
๙
ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ ได้แก่
๑. สายงานปฏิบัติงานช่างศิลปกรรม
๒. สายงานนาฏศิลป์
๓. สายงานดุริยางคศิลป์
๔. สายงานคีตศิลป์
-------------------
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๕๐ วรรคสามและวรรคสี่
บัญญัติว่า
ข้าราชการพลเรือนสามัญอาจได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่
ก.พ. กำหนด และผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด
จะได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ในอัตราใด
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕[๑๒]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้สายงานวิชาการช่างศิลป์ สายงานมัณฑนศิลป์ สายงานจิตรกรรม
สายงานเภสัชกรรม และสายงานพยาบาลวิชาชีพเฉพาะ
เป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ
กำหนดให้สายงานแพทย์แผนไทยเป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับชำนาญการ และระดับชำนาญการพิเศษ
และกำหนดให้สายงานนักจิตวิทยาคลินิกเป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ และระดับเชี่ยวชาญ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖[๑๓]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้สายงานกายอุปกรณ์เป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับชำนาญการ และระดับชำนาญการพิเศษ
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ
ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๕๘[๑๔]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๔,๕๐๐ บาท และตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
เป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๒๑,๐๐๐ บาท จึงจำเป็นต้องออกกฎ
ก.พ. นี้
กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘[๑๕]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้สายงานอุตุนิยมวิทยาระดับทรงคุณวุฒิ และสายงานเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก
ระดับชำนาญการ
และระดับชำนาญการพิเศษเป็นสายงานและระดับที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ประกอบกับตามมาตรา ๕๐ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
บัญญัติให้ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด จะได้รับเงินประจำตำแหน่ง
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ
ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๖) พ.ศ.
๒๕๕๘[๑๖]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้สายงานจดหมายเหตุระดับเชี่ยวชาญ และสายงานวิชาการชั่งตวงวัด
ระดับเชี่ยวชาญ เป็นสายงานและระดับที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ประกอบกับตามมาตรา ๕๐ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
บัญญัติให้ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด
จะได้รับเงินประจำตำแหน่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ
ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๗) พ.ศ.
๒๕๕๙[๑๗]
ข้อ
๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ. ได้กำหนดให้ตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๒๑,๐๐๐ บาท
เนื่องจากเป็นตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการ ซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี มีลักษณะการเข้าสู่ตำแหน่งและวาระการดำรงตำแหน่งแตกต่างจากหัวหน้าส่วนราชการโดยทั่วไป
ตลอดจนหน้าที่และความรับผิดชอบตามบทบาทภารกิจและลักษณะงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมีความสำคัญในระดับชาติที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ
ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อความเชื่อมั่นขององค์กรระหว่างประเทศ และได้กำหนดให้ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๔,๕๐๐ บาท จึงจำเป็นต้องออกกฎ
ก.พ. นี้
กัญฑรัตน์/เพิ่มเติม
๑๓ มกราคม ๒๕๕๙
นุสรา/ตรวจ
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
วริญา/เพิ่มเติม
๗ มีนาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๑๒๘ ก/หน้า ๑๓/๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๑
[๒] ข้อ ๓ (๒) (จ)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๓] ข้อ ๓ (๒) (ฉ) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๙
[๔] ข้อ ๓ (๓) (ข) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๕] ข้อ ๓ (๓) (ค) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๙
[๖] บัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง ท้ายกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕
[๗] ๔๘. สายงานอุตุนิยมวิทยา เพิ่มโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๘] ๑๒๕. เพิ่มโดยกฎ
ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๖) พ.ศ.
๒๕๕๘
[๙] ๑๒๖. เพิ่มโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๑๐] ๒๙. สายงานกายอุปกรณ์ เพิ่มโดยกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๑๑] ๓๐. สายงานเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก เพิ่มโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๑๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๖๔ ก/หน้า ๕/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๕
[๑๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๗๘ ก/หน้า ๑/๖ กันยายน ๒๕๕๖
[๑๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๔๓ ก/หน้า ๔๔/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๖๒ ก/หน้า ๑๙/๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๑๒๑ ก/หน้า ๑/๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๘
[๑๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๒๐ ก/หน้า ๓/๒ มีนาคม ๒๕๕๙ |
763683 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559 | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือน
เพื่อเป็นอนุกรรมการใน
อ.ก.พ. สามัญ (ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๕๙[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๕) และมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ.
โดยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓ แห่งกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน
อ.ก.พ. สามัญ พ.ศ. ๒๕๕๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๓ การสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย ตามมาตรา ๑๕ (๑) มาตรา ๑๗ (๑) หรือมาตรา
๑๙ (๑) เพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ.
จังหวัด ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ให้มีคณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. กระทรวง ประกอบด้วย ประธาน
อ.ก.พ. กระทรวง เป็นประธาน อนุกรรมการโดยตำแหน่งใน อ.ก.พ. กระทรวง
และข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือกเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. กระทรวงตามข้อ ๒
เป็นกรรมการ
ให้ปลัดกระทรวงแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนผู้รับผิดชอบงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของกระทรวงเป็นเลขานุการ
(๒)
ให้มีคณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. กรม ประกอบด้วย ประธาน
อ.ก.พ. กรม เป็นประธาน อนุกรรมการโดยตำแหน่ง ใน อ.ก.พ. กรม
และข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือกเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. กรม ตามข้อ ๒
เป็นกรรมการ
ให้อธิบดีแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนผู้รับผิดชอบงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของกรมเป็นเลขานุการ
(๓)
ให้มีคณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. จังหวัด ประกอบด้วย ประธาน
อ.ก.พ. จังหวัด เป็นประธาน อนุกรรมการโดยตำแหน่ง ใน อ.ก.พ. จังหวัด
และข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือกเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. จังหวัดตามข้อ ๒
เป็นกรรมการ
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนผู้รับผิดชอบงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของจังหวัดเป็นเลขานุการ
(๔)
กรรมการสรรหาและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด
แต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย ไปยังเลขานุการคณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิของ
อ.ก.พ. สามัญนั้น ๆ ภายในระยะเวลาที่ส่วนราชการกำหนด
โดยจะเสนอชื่อผู้ใดเป็นผู้ทรงคุณวุฒิหลายด้านก็ได้
(๕)
ให้เลขานุการคณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม
หรือ อ.ก.พ. จังหวัด แล้วแต่กรณี จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับการเสนอชื่อตาม
(๔) รวมกับบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่เลขานุการคณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกได้สรรหาไว้ส่วนหนึ่ง พร้อมทั้งประวัติและผลงานโดยย่อ
แยกเป็นรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละด้าน ซึ่งแสดงถึงการเป็นผู้มีความรู้
ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ การไม่เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.พ.
และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๕ (๑) มาตรา ๑๗ (๑) หรือมาตรา ๑๙ (๑) ในกรณีที่ผู้ใดได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้ทรงคุณวุฒิหลายด้าน
ให้ระบุชื่อผู้นั้นไว้ทุกด้าน แล้วเสนอบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิให้คณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา
(๖)
ให้คณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ
อ.ก.พ. จังหวัด แล้วแต่กรณี พิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อตาม (๕) โดยพิจารณาเลือกผู้มีความรู้
ความสามารถ และมีความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์สูง
มีผลงานเป็นที่ประจักษ์และเป็นที่ยอมรับของบุคคลในด้านนั้น ๆ
และเป็นผู้มีความเป็นกลางทางการเมือง
ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการสรรหาและคัดเลือก พิจารณาเลือกผู้ทรงคุณวุฒิได้ไม่เกินจำนวนที่กำหนดไว้ในข้อ ๑
โดยจะต้องมีผู้ทรงคุณวุฒิครบในทุก ๆ ด้าน ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิคนหนึ่งจะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิสองด้านก็ได้
แล้วนำรายชื่อเสนอประธาน อ.ก.พ. สามัญเพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน
อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด แล้วแต่กรณี
และการเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวจะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ทรงคุณวุฒิก่อน
(๗)
ในกรณีที่คณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อแล้ว
ได้ผู้ทรงคุณวุฒิไม่ครบจำนวนหรือไม่ครบด้าน ให้คณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกแต่ละคน
เสนอรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิไปยังเลขานุการอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้มีการพิจารณาใหม่ ทั้งนี้ เฉพาะจำนวนที่ไม่ครบหรือด้านที่ไม่ครบ
โดยนำหลักเกณฑ์และวิธีการใน (๔) ถึง (๖) มาใช้บังคับ
(๘)
ในกรณีที่อนุกรรมการซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในด้านใดใน อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด
พ้นจากตำแหน่งก่อนครบกำหนดตามวาระ และจะต้องแต่งตั้งอนุกรรมการแทน ให้ดำเนินการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิในด้านนั้นใหม่
โดยนำหลักเกณฑ์และวิธีการใน (๑) ถึง (๖) มาใช้บังคับ
ข้อ
๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ ๔
แห่งกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน
อ.ก.พ. สามัญ พ.ศ. ๒๕๕๒
อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ.
สามัญผู้ใดที่ได้รับการแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งแล้ว หากภายหลังไปดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน
ก.พ. ให้ผู้นั้นพ้นจากการเป็นอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. สามัญ
ข้อ
๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ ๕
แห่งกฎ ก.พ. ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน
อ.ก.พ. สามัญ พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน
อ.ก.พ. สามัญ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖
ให้อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. สามัญ
ดำรงตำแหน่งตามวาระติดต่อกันในคณะเดิมได้ไม่เกินสองวาระ และให้ดำรงตำแหน่งในเวลาเดียวกันได้ไม่เกินจำนวนสามคณะ
ข้อ
๔ ในวาระเริ่มแรก
ให้วาระการดำรงตำแหน่งของอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. สามัญที่ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันที่กฎ
ก.พ. นี้ใช้บังคับสิ้นสุดลง และให้ดำเนินการสรรหาอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ.
สามัญ ตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน
อ.ก.พ. สามัญ พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ. นี้ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่กฎ
ก.พ. นี้ใช้บังคับ ในระหว่างระยะเวลาสรรหาอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ให้อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่พ้นจากตำแหน่งปฏิบัติหน้าที่ต่อไปพลางก่อน
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๔
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
วิษณุ เครืองาม
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิใน
อ.ก.พ. สามัญตามกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน
อ.ก.พ. สามัญ พ.ศ. ๒๕๕๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
มีความซับซ้อนและมีกระบวนการที่ต้องใช้เวลาดำเนินการ ประกอบกับผู้ทรงคุณวุฒิใน
อ.ก.พ. สามัญ หลายท่านเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. หลายคณะ ซึ่งอาจมีปัญหาเรื่องประสิทธิภาพในการทำหน้าที่ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
ปุณิกา/ปริยานุช/จัดทำ
๑๕ ธันวาคม
๒๕๕๙
นุสรา/ตรวจ
๑๙ ธันวาคม
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๑๐๕ ก/หน้า ๑/๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๙ |
764219 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญ พ.ศ. 2552 (ฉบับ Update ณ วันที่ 17/01/2556)
| กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือน
เพื่อเป็นอนุกรรมการใน
อ.ก.พ. สามัญ
พ.ศ. ๒๕๕๒[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๕) และมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.พ.
โดยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้อนุกรรมการโดยตำแหน่งใน อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด
เป็นผู้พิจารณากำหนดจำนวนอนุกรรมการตามมาตรา ๑๕ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๗ (๑) และ (๒)
และมาตรา ๑๙ (๑) และ (๒) โดยให้มีจำนวนผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๕ (๑) มาตรา ๑๗ (๑)
และมาตรา ๑๙ (๑) ไม่น้อยกว่าสองคน แต่ไม่เกินสามคน
จำนวนข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือกตามมาตรา ๑๕ (๒) ไม่น้อยกว่าสามคน
แต่ไม่เกินห้าคน และจำนวนข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือกตามมาตรา ๑๗ (๒) และมาตรา
๑๙ (๒) ไม่น้อยกว่าสามคน แต่ไม่เกินหกคน
ข้อ ๒
การเลือกข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ตามมาตรา ๑๕ (๒) มาตรา ๑๗
(๒) หรือมาตรา ๑๙ (๒) เพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม
หรือ อ.ก.พ. จังหวัด ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ให้ส่วนราชการที่มี อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด
จัดทำบัญชีรายชื่อข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ตามมาตรา ๑๕ (๒) มาตรา ๑๗
(๒) หรือมาตรา ๑๙ (๒) โดยหัวหน้าส่วนราชการนั้น ๆ
จะมอบให้ส่วนราชการใดในสังกัดเป็นผู้จัดทำก็ได้
แล้วส่งบัญชีรายชื่อดังกล่าวไปให้ผู้มีชื่อในบัญชีรายชื่อนั้น ๆ ทราบ
(๒)
ในกรณีที่ส่วนราชการที่มี อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด
มีชื่อข้าราชการพลเรือนผู้มีคุณสมบัติที่จะแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ.
กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด ไม่เกินจำนวนที่อนุกรรมการโดยตำแหน่งใน
อ.ก.พ. สามัญนั้น ๆ กำหนดตามข้อ ๑ ให้ผู้มีชื่อดังกล่าวเป็นผู้ได้รับเลือกเป็นอนุกรรมการใน
อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัดต่อไป
(๓)
ในกรณีที่ส่วนราชการที่มี อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด
มีชื่อข้าราชการพลเรือนผู้มีคุณสมบัติที่จะแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ.
กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด เกินกว่าจำนวนที่อนุกรรมการโดยตำแหน่งใน
อ.ก.พ. สามัญนั้น ๆ กำหนดตามข้อ ๑
ให้ส่วนราชการจัดให้มีการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการใน
อ.ก.พ. สามัญนั้น ๆ โดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(ก)
นัดให้ผู้มีชื่อในบัญชีรายชื่อดังกล่าวไปออกเสียงลงคะแนนเลือกผู้มีชื่อในบัญชีรายชื่อนั้นเป็นอนุกรรมการใน
อ.ก.พ. สามัญประจำส่วนราชการนั้น ๆ ตามวัน เวลา
และสถานที่ที่กำหนดแล้วแจกบัตรเลือกข้าราชการพลเรือนตามแบบท้ายกฎ ก.พ. นี้
ซึ่งลงลายมือชื่อของหัวหน้าส่วนราชการแล้ว ให้ผู้มีชื่อในบัญชีรายชื่อดังกล่าวเลือกข้าราชการพลเรือนจากบัญชีรายชื่อนั้นเป็นอนุกรรมการใน
อ.ก.พ. สามัญประจำส่วนราชการนั้น ๆ แล้วแต่กรณี
โดยเขียนชื่อและนามสกุลของผู้ซึ่งตนเลือกไม่เกินจำนวนในข้อ ๑
พร้อมลงลายมือชื่อของผู้เลือกในบัตรเลือกข้าราชการพลเรือนแล้วหย่อนบัตรดังกล่าวลงในหีบบัตรเลือกข้าราชการพลเรือนที่ส่วนราชการนั้น
ๆ จัดไว้ให้ ภายในเวลาที่ส่วนราชการนั้น ๆ กำหนด หรือ
(ข)
ส่งบัตรเลือกข้าราชการพลเรือนตามแบบท้ายกฎ ก.พ. นี้
ซึ่งลงลายมือชื่อของหัวหน้าส่วนราชการแล้ว
ไปให้ผู้มีชื่อในบัญชีรายชื่อดังกล่าวเพื่อเลือกข้าราชการพลเรือนจากบัญชีรายชื่อนั้น
เป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญประจำส่วนราชการนั้น ๆ แล้วแต่กรณี
โดยเขียนชื่อและนามสกุลของผู้ซึ่งตนเลือกไม่เกินจำนวนในข้อ ๑
พร้อมลงลายมือชื่อของผู้เลือกในบัตรเลือกข้าราชการพลเรือน
แล้วส่งบัตรดังกล่าวพร้อมกับภาพถ่ายบัตรประจำตัวข้าราชการของผู้เลือกกลับคืนไปยังส่วนราชการภายในวันที่ส่วนราชการนั้น
ๆ กำหนด ทั้งนี้
ในกรณีที่ส่งบัตรกลับคืนส่วนราชการโดยตรง
ให้ถือวันที่ส่วนราชการได้รับบัตรเป็นวันส่งคืน
ในกรณีที่ส่งบัตรกลับคืนทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ให้ถือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์รับลงทะเบียนเป็นวันส่งคืน
ในกรณีที่ส่งบัตรกลับคืนทางไปรษณีย์ไม่ลงทะเบียน
ให้ถือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางประทับตราไปรษณีย์เป็นวันส่งคืน
(๔)
ให้ส่วนราชการรวบรวมบัตรเลือกข้าราชการพลเรือนตาม (๓) (ก) หรือ (ข) แล้วแต่กรณี
เพื่อดำเนินการตรวจนับคะแนน โดยให้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจนับคะแนนขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการ
หรือผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการที่มีตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับชำนาญการพิเศษ
จำนวนไม่น้อยกว่าสามคน เป็นผู้ตรวจนับคะแนน
(๕)
การตรวจนับคะแนนของคณะกรรมการตรวจนับคะแนน ให้กระทำโดยเปิดเผย
และต้องมีกรรมการอยู่พร้อมกันไม่น้อยกว่าสามคน
เมื่อตรวจนับคะแนนเสร็จแล้ว
ให้คณะกรรมการตรวจนับคะแนนจัดทำบัญชีรายชื่อข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือกโดยเรียงตามลำดับคะแนนจากสูงไปหาต่ำ
พร้อมกับแสดงคะแนนของแต่ละคนไว้ในบัญชีรายชื่อข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือกด้วย
ในกรณีที่มีผู้ได้คะแนนเท่ากัน
ให้หัวหน้าส่วนราชการจับสลากชื่อผู้ได้คะแนนเท่ากันนั้นต่อหน้าคณะกรรมการตรวจนับคะแนนเพื่อเรียงลำดับที่ในบัญชีรายชื่อดังกล่าว
โดยมีกรรมการไม่น้อยกว่าสามคนลงลายมือชื่อรับรอง
แล้วให้หัวหน้าส่วนราชการประกาศรายชื่อข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือก โดยปิดไว้ในที่เปิดเผย
ณ ส่วนราชการนั้น ๆ
(๖)
ให้ขึ้นบัญชีรายชื่อข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือกเป็นเวลาหนึ่งปี
(๗)
ให้ข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือกตามบัญชีรายชื่อใน (๖)
ที่ได้คะแนนสูงตามลำดับและมีคุณสมบัติที่จะแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ.
กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัดเป็นผู้ได้รับเลือก เพื่อเสนอประธาน อ.ก.พ.
แต่งตั้งเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญนั้น ๆ ต่อไป แต่ทั้งนี้
ต้องไม่เกินจำนวนที่กำหนดในข้อ ๑
(๘)
ในกรณีที่อนุกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตาม (๗) พ้นจากตำแหน่งก่อนครบกำหนดตามวาระ
และจะต้องแต่งตั้งอนุกรรมการแทน ให้ประธาน อ.ก.พ.
แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนจากบัญชีรายชื่อตาม (๖) ที่ได้คะแนนสูงตามลำดับ
และมีคุณสมบัติที่จะแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญประจำส่วนราชการนั้น ๆ
แทนต่อไป
แต่หากไม่มีรายชื่อข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือกซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนเหลืออยู่ในบัญชีรายชื่อดังกล่าวแล้ว
หรือบัญชีรายชื่อข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือกครบกำหนดหนึ่งปีตาม (๖) แล้ว
ให้ดำเนินการเลือกใหม่ตามหลักเกณฑ์และวิธีการใน (๑) ถึง (๗) โดยอนุโลม
ข้อ ๓
การสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
ด้านการบริหารและการจัดการและด้านกฎหมาย ตามมาตรา ๑๕ (๑) มาตรา ๑๗ (๑) หรือมาตรา
๑๙ (๑) เพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ.
จังหวัด ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ให้มีคณะกรรมการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. กระทรวง ประกอบด้วย รองปลัดกระทรวงที่รับผิดชอบงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
เป็นประธาน และกรรมการอื่นซึ่งปลัดกระทรวงเป็นผู้แต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้
ความชำนาญและประสบการณ์ด้านการบริหาร ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล หรือด้านกฎหมาย
จำนวนสองคน โดยผู้ได้รับการแต่งตั้งจะต้องมีความเป็นกลางทางการเมือง
หากจะแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชนเป็นกรรมการ ให้แต่งตั้งได้หนึ่งคน
ให้ปลัดกระทรวงแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนผู้รับผิดชอบงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของกระทรวง
เป็นเลขานุการ
(๒)
ให้มีคณะกรรมการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. กรม ประกอบด้วย รองอธิบดีที่รับผิดชอบงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
เป็นประธาน และกรรมการอื่นซึ่งอธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้
ความชำนาญและประสบการณ์ด้านการบริหาร ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลหรือด้านกฎหมาย
จำนวนสองคน โดยผู้ได้รับการแต่งตั้งจะต้องมีความเป็นกลางทางการเมือง หากจะแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชนเป็นกรรมการ
ให้แต่งตั้งได้หนึ่งคน
ให้อธิบดีแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนผู้รับผิดชอบงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของกรม
เป็นเลขานุการ
(๓)
ให้มีคณะกรรมการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. จังหวัด ประกอบด้วย
รองผู้ว่าราชการจังหวัดที่รับผิดชอบงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล เป็นประธาน
และกรรมการอื่นซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้
ความชำนาญและประสบการณ์ด้านการบริหาร ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล หรือด้านกฎหมาย
จำนวนสองคน โดยผู้ได้รับการแต่งตั้งจะต้องมีความเป็นกลางทางการเมือง
หากจะแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชนเป็นกรรมการ ให้แต่งตั้งได้หนึ่งคน
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนผู้รับผิดชอบงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของจังหวัด
เป็นเลขานุการ
ทั้งนี้
กรรมการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งปลัดกระทรวง อธิบดี หรือผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งใน
(๑) (๒) และ (๓) มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี
(๔)
กรรมการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด
แต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
ด้านการบริหารและการจัดการและด้านกฎหมาย ไปยังเลขานุการคณะกรรมการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิใน
อ.ก.พ. สามัญนั้น ๆ ภายในระยะเวลาที่ส่วนราชการกำหนด
โดยจะเสนอชื่อผู้ใดเป็นผู้ทรงคุณวุฒิไว้ในหลายด้านก็ได้
(๕)
ให้เลขานุการคณะกรรมการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรืออ.ก.พ.
จังหวัด จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับการเสนอชื่อตาม (๔)
รวมกับบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่เลขานุการคณะกรรมการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิรวบรวมจากแหล่งข้อมูลอื่น
โดยแยกเป็นบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิแต่ละด้านตามมาตรา ๑๕ (๑) มาตรา ๑๗ (๑)
หรือมาตรา ๑๙ (๑) พร้อมทั้งประวัติและผลงานโดยย่อของผู้ได้รับการเสนอชื่อแต่ละคนไว้ด้วย
ในกรณีที่ผู้ใดได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้ทรงคุณวุฒิหลายด้าน
ให้ระบุชื่อผู้นั้นไว้ทุกด้าน
เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิ
(๖)
ให้คณะกรรมการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด
เลือกผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อตาม (๕) ด้านละไม่น้อยกว่าสองคน
โดยจะต้องเลือกผู้ซึ่งมีความรู้ ประสบการณ์
มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว
เป็นผู้มีความเป็นกลางทางการเมืองและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดตามมาตรา ๑๕
(๑) มาตรา ๑๗ (๑) หรือมาตรา ๑๙ (๑) เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ
โดยจะเสนอชื่อผู้ใดเป็นผู้ทรงคุณวุฒิไว้ในหลายด้านก็ได้
(๗)
ให้มีคณะกรรมการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. สามัญ ประกอบด้วย ประธาน อ.ก.พ.
กระทรวง ประธาน อ.ก.พ. กรม หรือประธาน อ.ก.พ. จังหวัด เป็นประธาน อนุกรรมการโดยตำแหน่ง
และข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือกใน อ.ก.พ. สามัญนั้น ๆ ตามข้อ ๒ เป็นกรรมการ
ให้เลขานุการคณะกรรมการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิใน
อ.ก.พ. สามัญนั้น ๆ เป็นเลขานุการ
(๘)
ให้คณะกรรมการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิใน
อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด เสนอตาม (๖)
และให้เลือกผู้ทรงคุณวุฒิได้ไม่เกินจำนวนที่กำหนดไว้ในข้อ ๑
โดยจะต้องมีผู้ทรงคุณวุฒิครบในทุก ๆ ด้าน
ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิคนหนึ่งจะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิสองด้านก็ได้ เพื่อเสนอประธาน อ.ก.พ.
แต่งตั้งเป็นอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. สามัญนั้น ๆ ต่อไป ทั้งนี้
จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ได้รับเลือกนั้นด้วย
(๙)
ในกรณีที่คณะกรรมการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิเสนอแล้ว
ได้ผู้ทรงคุณวุฒิไม่ครบจำนวนหรือไม่ครบด้าน
ให้คณะกรรมการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิแจ้งคณะกรรมการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิทราบ
เพื่อให้เสนอรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิให้คณะกรรมการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาใหม่ ทั้งนี้
เฉพาะจำนวนที่ไม่ครบหรือด้านที่ไม่ครบ โดยนำหลักเกณฑ์และวิธีการใน (๔) ถึง (๘)
มาใช้บังคับ
(๑๐)
ในกรณีที่อนุกรรมการซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในด้านใดใน อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม
หรือ อ.ก.พ. จังหวัด พ้นจากตำแหน่งก่อนครบกำหนดตามวาระ
และจะต้องแต่งตั้งอนุกรรมการแทน ให้ดำเนินการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิในด้านนั้นใหม่
โดยนำหลักเกณฑ์และวิธีการใน (๑) ถึง (๘) มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๔
ให้ส่วนราชการนำรายชื่อข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือกตามข้อ ๒
และรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการสรรหาตามข้อ ๓ เสนอประธาน อ.ก.พ. กระทรวง
อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด เพื่อแต่งตั้งต่อไป
ข้อ ๕
ให้อนุกรรมการซึ่งได้รับการแต่งตั้ง มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี
เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง
ให้อนุกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้แต่งตั้งอนุกรรมการใหม่[๒]
ข้อ ๖
ในกรณีที่อนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญนั้น ๆ พ้นจากตำแหน่งตามวาระ
ให้ดำเนินการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการใน
อ.ก.พ. สามัญนั้น ๆ ภายในหกสิบวัน
ข้อ ๗
ในกรณีที่อนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญนั้น ๆ
พ้นจากตำแหน่งก่อนครบกำหนดตามวาระ
ให้ดำเนินการแต่งตั้งอนุกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างลงภายในสามสิบวันตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อ
๒ หรือข้อ ๓ โดยอนุโลม
อนุกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งแทนนั้นให้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
ในกรณีที่วาระของอนุกรรมการดังกล่าวเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
จะไม่แต่งตั้งอนุกรรมการแทนก็ได้
ข้อ ๘
ในกรณีที่กระทรวง กรม หรือจังหวัดใด ไม่อาจมีจำนวนอนุกรรมการใน อ.ก.พ.
กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด ตามที่กำหนดในข้อ ๑ ได้ ให้กระทรวง กรม
หรือจังหวัด นั้น ๆ เสนอ ก.พ. เพื่อพิจารณาอนุมัติให้กำหนดจำนวนอนุกรรมการเป็นกรณีพิเศษ
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๖
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัตรเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญ ท้ายกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน
อ.ก.พ. สามัญ พ.ศ. ๒๕๕๒
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๒๑
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
บัญญัติให้หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการใน
อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม และ อ.ก.พ. จังหวัด ตามมาตรา ๑๕ มาตรา ๑๗ และมาตรา ๑๙
วาระการดำรงตำแหน่ง และจำนวนขั้นต่ำของอนุกรรมการดังกล่าว
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ
ก.พ. ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน
อ.ก.พ.สามัญ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖[๓]
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ
เนื่องจากการสรรหาและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน
อ.ก.พ.สามัญต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการอาจส่งผลกระทบต่อการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ
สมควรให้อนุกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้จนกว่าจะได้แต่งตั้งอนุกรรมการใหม่ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
ณัฐพร/ผู้จัดทำ
๗ กุมภาพันธ์
๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๓ ก/หน้า ๖๔/๘ เมษายน ๒๕๕๒
[๒] ข้อ ๕ วรรคสอง เพิ่มโดยกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน
อ.ก.พ.สามัญ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๕ ก/หน้า ๔/๑๗ มกราคม ๒๕๕๖ |
691860 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2556 | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๕๖
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) และมาตรา ๕๐ วรรคสามและวรรคสี่
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.พ. โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี
จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.พ. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้
เป็น ๒๙. ของตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการและระดับชำนาญการพิเศษ
ในบัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งท้ายกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕
๒๙. สายงานกายอุปกรณ์
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
พงศ์เทพ
เทพกาญจนา
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน
ก.พ.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้สายงานกายอุปกรณ์เป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับชำนาญการ และระดับชำนาญการพิเศษ
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๐ กันยายน
๒๕๕๖
เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ
๑๑ กันยายน
๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๗๘ ก/หน้า ๑/๖ กันยายน ๒๕๕๖ |
746588 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559 | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๕๙
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๕) มาตรา ๔๕ และมาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑[๑] กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓ (๒) (ช)
แห่งกฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๑
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(ช) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวง หรือทบวง และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ได้แก่
รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
และรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
วิษณุ เครืองาม
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง
เพื่อให้สอดคล้องกับหน้าที่และความรับผิดชอบตามบทบาทภารกิจและลักษณะงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่มีความสำคัญในระดับชาติเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ
ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อความเชื่อมั่นขององค์กรระหว่างประเทศ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
ปริยานุช/จัดทำ
๗ มีนาคม ๒๕๕๙
วริญา/ตรวจ
๗ มีนาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๒๐ ก/หน้า ๑/๒ มีนาคม ๒๕๕๙ |
741828 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2558 | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๖)
พ.ศ. ๒๕๕๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๕) และมาตรา ๕๐ วรรคสามและวรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ๑๒๕. และ
๑๒๖. ของตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับเชี่ยวชาญในบัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งท้ายกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๑
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕
๑๒๕. สายงานจดหมายเหตุ
๑๒๖.
สายงานวิชาการชั่งตวงวัด
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
วิษณุ เครืองาม
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้สายงานจดหมายเหตุระดับเชี่ยวชาญ และสายงานวิชาการชั่งตวงวัด
ระดับเชี่ยวชาญ เป็นสายงานและระดับที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ประกอบกับตามมาตรา ๕๐ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
บัญญัติให้ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด
จะได้รับเงินประจำตำแหน่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
ปริยานุช/จัดทำ
๒๒ ธันวาคม
๒๕๕๘
กัญฑรัตน์/ตรวจ
๒๒ ธันวาคม
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๑๒๑ ก/หน้า ๑/๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๘ |
687421 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการ กรณีขาดคุณสมบัติทั่วไปหรือมีลักษณะต้องห้าม กรณีหย่อนความสามารถ บกพร่องในหน้าที่ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสม กรณีมีมลทินหรือมัวหมอง และกรณีต้องรับโทษจำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำสั่งของศาล พ.ศ. 2556 | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการ
กรณีขาดคุณสมบัติทั่วไป
หรือมีลักษณะต้องห้าม
กรณีหย่อนความสามารถ บกพร่องในหน้าที่ หรือประพฤติตน
ไม่เหมาะสม
กรณีมีมลทินหรือมัวหมอง และกรณีต้องรับโทษจำคุกในความผิดที่ได้กระทำ
โดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
หรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำสั่งของศาล
พ.ศ. ๒๕๕๖
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) และมาตรา ๑๑๐ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีจึงออกกฎ
ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ เมื่อมีกรณีที่จะต้องสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการเพราะเหตุดังต่อไปนี้
ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗
ต้องให้ผู้นั้นมีโอกาสได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ
และมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน
(๑) ขาดคุณสมบัติทั่วไปเนื่องจากไม่มีสัญชาติไทยตามมาตรา ๓๖ ก. (๑)
(๒) มีลักษณะต้องห้ามเนื่องจากดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา ๓๖ ข.
(๑)
(๓) เป็นบุคคลล้มละลายตามมาตรา ๓๖ ข. (๖)
(๔) ต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
หรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำสั่งของศาลซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
หากผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗
พิจารณาหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้วเห็นว่ามีเหตุตามวรรคหนึ่ง
ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามมาตรา ๑๑๐ (๓) หรือ (๘) เพราะเหตุดังกล่าว
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓ เมื่อมีกรณีที่จะต้องสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
เพราะเหตุดังต่อไปนี้ ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗
สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อทำการสอบสวนโดยไม่ชักช้า
(๑)
ขาดคุณสมบัติทั่วไปเนื่องจากไม่เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามมาตรา
๓๖ ก. (๓)
(๒) หย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ
บกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการตามมาตรา
๑๑๐ (๖)
การสอบสวนตามวรรคหนึ่งและการสั่งให้ออกจากราชการ ให้นำความในมาตรา ๙๕
วรรคหนึ่ง และมาตรา ๙๗ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๔ เมื่อมีกรณีที่จะต้องสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
เพราะเหตุที่มีกรณีถูกสอบสวนว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามมาตรา ๙๓
และผลการสอบสวนไม่ได้ความแน่ชัดพอที่จะฟังลงโทษตามมาตรา ๙๗ วรรคหนึ่ง หากผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๕๗
เห็นว่ามีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวนถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ
ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามมาตรา ๑๑๐ (๗) โดยให้นำมาตรา ๙๗ วรรคสอง
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๕ การสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการตามกฎ
ก.พ. นี้ ให้ทำเป็นคำสั่งระบุเหตุแห่งการสั่งให้ออกจากราชการ
ระบุวันที่จะให้ออกจากราชการซึ่งต้องเป็นไปตามระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยวันออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญ
รวมทั้งต้องแจ้งสิทธิและระยะเวลาในการอุทธรณ์ไว้ในคำสั่งนั้นด้วย
เมื่อได้มีคำสั่งตามวรรคหนึ่งแล้วให้แจ้งให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการทราบภายในเจ็ดวัน
นับแต่วันที่มีคำสั่งให้ออกจากราชการ และให้รายงาน อ.ก.พ.กระทรวง หรือ ก.พ.
แล้วแต่กรณี ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ออกจากราชการ
ข้อ ๖ ในกรณีที่มีการดำเนินการเพื่อสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการ
เพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
เพราะเหตุตามที่กำหนดไว้ในกฎ ก.พ.นี้ ก่อนวันที่กฎ ก.พ.นี้ใช้บังคับ
แต่ยังไม่แล้วเสร็จ
ให้คงดำเนินการต่อไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น และเมื่อได้มีคำสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการแล้วให้ดำเนินการตามมาตรา
๑๑๐ วรรคสาม ต่อไป
ให้ไว้
ณ วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
พงศ์เทพ
เทพกาญจนา
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน
ก.พ.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๑๑๐ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
บัญญัติให้การสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ตามมาตรา ๑๑๐ (๓) กรณีขาดคุณสมบัติทั่วไป หรือมีลักษณะต้องห้าม มาตรา ๑๑๐ (๖)
กรณีหย่อนความสามารถบกพร่องในหน้าที่หรือประพฤติตนไม่เหมาะสม มาตรา ๑๑๐ (๗)
กรณีมีมลทินหรือมัวหมอง และมาตรา ๑๑๐ (๘)
กรณีต้องรับโทษจำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
หรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำสั่งของศาล
ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ดังนั้น
เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปด้วยความยุติธรรมและปราศจากอคติ
โดยคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพของทางราชการ
และเป็นหลักประกันความเป็นธรรมแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญ
สมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการดำเนินการดังกล่าว จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๐ มิถุนายน
๒๕๕๖
ณัฐพร/ผู้ตรวจ
๑๐ มิถุนายน
๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๔๙ ก/หน้า ๔/๗ มิถุนายน ๒๕๕๖ |
729696 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2551 (ฉบับ Update ณ วันที่ 06/09/2556) | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๕๕๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๕) และมาตรา ๕๐ วรรคสามและวรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒
ข้าราชการพลเรือนสามัญอาจได้รับเงินประจำตำแหน่งตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในประเภท สายงาน
และระดับตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. นี้
และปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งดังกล่าวให้มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(๒)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งผู้ใด
หากได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่อื่นและมิได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่
ไม่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งตั้งแต่วันที่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่
เว้นแต่ในกรณีที่ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการหรือประเภททั่วไปและได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่อื่นที่มีลักษณะเป็นงานวิชาชีพหรืองานเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเหมือนหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่เดิม
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดิมของตำแหน่งต่อไป
(๓)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งนั้นไม่เต็มเดือนในเดือนใด
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งสำหรับเดือนนั้นตามส่วนจำนวนวันที่ได้ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งดังกล่าว
(๔)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งนั้นเกินหนึ่งตำแหน่ง
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งสำหรับตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงสุดเพียงตำแหน่งเดียว
(๕)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประเภทเดียวกันที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้ปฏิบัติหน้าที่หลักในตำแหน่งที่ตนไปปฏิบัติหน้าที่ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามอัตราเดิมของตนต่อไป
ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่
หรือรักษาราชการแทน
หรือรักษาการในตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งต่างประเภทกัน
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราของตำแหน่งเดิมต่อไปนับแต่วันที่เข้าปฏิบัติหน้าที่หลักในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่
หรือรักษาราชการแทน หรือรักษาการในตำแหน่ง แล้วแต่กรณี
แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินหกเดือน
(๖)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศตามระเบียบ ก.พ.
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการโดยการให้ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศ
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราของตำแหน่งเดิมต่อไป
ข้อ ๓
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสายงานตามบัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งท้ายกฎ
ก.พ. นี้ ในตำแหน่งประเภทใด ระดับใด
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญในอัตราดังนี้
(๑)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๐,๐๐๐ บาท
(๒)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ดังต่อไปนี้ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๔,๕๐๐ บาท
(ก)
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมซึ่งมิใช่หัวหน้าส่วนราชการตาม (๓) (ข) (ค) (ง)
และ (จ)
(ข)
ผู้ว่าราชการจังหวัด
(ค)
เอกอัครราชทูตที่เป็นหัวหน้าสถานเอกอัครราชทูต
หัวหน้าคณะผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ
หัวหน้าคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก และเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง
(ง)
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ได้แก่ รองปลัดกระทรวง
และรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(จ)
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในสำนักนายกรัฐมนตรี
และอยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และรองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
(ฉ)
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง
และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ได้แก่
รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(ช)
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการ และขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี
ได้แก่ รองเลขาธิการสภาการศึกษา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
(ซ)
หัวหน้าส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีผู้บังคับบัญชาเป็นอธิบดีหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี
ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เลขาธิการสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
และเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
(ฌ)
ผู้ตรวจราชการของส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง
(ญ)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตามที่ ก.พ.
กำหนดให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดียวกันนี้
(๓)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ดังต่อไปนี้ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๒๑,๐๐๐ บาท
(ก)
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ได้แก่ ปลัดกระทรวง
และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(ข)
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในสำนักนายกรัฐมนตรี
และอยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
(ค)
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง
และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(ง)
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการ และขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี
ได้แก่ เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
(จ)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตามที่ ก.พ.
กำหนดให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดียวกันนี้
(๔)
ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๕,๖๐๐ บาท
(๕)
ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๐,๐๐๐ บาท
(๖)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ที่มีประสบการณ์ ทักษะ และสมรรถนะ
ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๓,๕๐๐ บาท
(๗)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๕,๖๐๐ บาท
(๘)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๙,๙๐๐ บาท
(๙)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๓,๐๐๐ บาท
(๑๐)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ที่มีประสบการณ์ ทักษะ และสมรรถนะ
ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๕,๖๐๐ บาท
(๑๑)
ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๙,๙๐๐ บาท
ข้อ ๔
การกำหนดประเภทตำแหน่ง สายงาน ระดับ
และจำนวนตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งเพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่แล้วในวันก่อนวันที่กฎ
ก.พ. นี้ใช้บังคับ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ. ก่อน
ข้อ ๕
กรณีอื่นนอกจากที่ได้กำหนดไว้ในกฎ ก.พ. นี้ ให้เสนอ ก.พ.
พิจารณาอนุมัติเป็นราย ๆ ไป
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
[เอกสารแนบท้าย]
๑.[๒]
บัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง ท้ายกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๕๐ วรรคสามและวรรคสี่
บัญญัติว่า
ข้าราชการพลเรือนสามัญอาจได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่
ก.พ. กำหนด และผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด จะได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ในอัตราใด
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕[๓]
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้สายงานวิชาการช่างศิลป์ สายงานมัณฑนศิลป์ สายงานจิตรกรรม
สายงานเภสัชกรรม และสายงานพยาบาลวิชาชีพเฉพาะ
เป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ
กำหนดให้สายงานแพทย์แผนไทยเป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับชำนาญการ และระดับชำนาญการพิเศษ
และกำหนดให้สายงานนักจิตวิทยาคลินิกเป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ และระดับเชี่ยวชาญ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖[๔]
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้สายงานกายอุปกรณ์เป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับชำนาญการ และระดับชำนาญการพิเศษ
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
เอกฤทธิ์/ผู้จัดทำ
๑๖ กันยายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๑๒๘ ก/หน้า ๑๓/๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๑
[๒] บัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง ท้ายกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕
๒๙. สายงานกายอุปกรณ์ ของตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการและระดับชำนาญการพิเศษ ในบัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
ท้ายกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ เพิ่มโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๖๔ ก/หน้า ๕/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๕
[๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๗๘ ก/หน้า ๑/๖ กันยายน ๒๕๕๖ |
728128 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๕๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) มาตรา ๕๐ วรรคสามและวรรคสี่
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี
จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓ (๒) (จ) ของกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๑
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(จ) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในสำนักนายกรัฐมนตรี
และอยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ
๓ (๓) (ข) ของกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(ข)
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในสำนักนายกรัฐมนตรี
และอยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
ให้ไว้
ณ วันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
วิษณุ เครืองาม
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน
ก.พ.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๔,๕๐๐ บาท และตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
เป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๒๑,๐๐๐ บาท จึงจำเป็นต้องออกกฎ
ก.พ. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๘ พฤษภาคม
๒๕๕๘
วริญา/ผู้ตรวจ
๘ มิถุนายน
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๔๓ ก/หน้า ๔๔/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘ |
759615 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2559 | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๘)
พ.ศ. ๒๕๕๙
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๕) และมาตรา ๕๐ วรรคสามและวรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓ (๒) (ฉ)
แห่งกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๑
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(ฉ) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวงหรือทบวง และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ได้แก่
รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
และรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓ (๓) (ค)
แห่งกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๑
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(ค) หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง
หรือทบวง และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ได้แก่
เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
และเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
ให้ไว้ ณ วันที่ ๕
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
วิษณุ เครืองาม
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้ตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๒๑,๐๐๐ บาท
เนื่องจากเป็นตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการ ซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี
มีลักษณะการเข้าสู่ตำแหน่งแตกต่างจากหัวหน้าส่วนราชการโดยทั่วไป
ตลอดจนหน้าที่และความรับผิดชอบตามบทบาทภารกิจและลักษณะงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐมีความสำคัญในระดับชาติที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ
ซึ่งมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นขององค์กรระหว่างประเทศ
และได้กำหนดให้ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐเป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๔,๕๐๐ บาท จึงจำเป็นต้องออกกฎ
ก.พ. นี้
วิศนี/ปริยานุช/จัดทำ
๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๙
นุสรา/ตรวจ
๒๘ พฤศจิกายน
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๙๐ ก/หน้า ๓/๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙ |
733358 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2551 (ฉบับ Update ณ วันที่ 21/05/2558) | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๕๕๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๕) และมาตรา ๕๐ วรรคสามและวรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒
ข้าราชการพลเรือนสามัญอาจได้รับเงินประจำตำแหน่งตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในประเภท สายงาน
และระดับตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. นี้
และปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งดังกล่าวให้มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(๒)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งผู้ใด
หากได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่อื่นและมิได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่
ไม่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งตั้งแต่วันที่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่
เว้นแต่ในกรณีที่ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการหรือประเภททั่วไปและได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่อื่นที่มีลักษณะเป็นงานวิชาชีพหรืองานเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเหมือนหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่เดิม
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดิมของตำแหน่งต่อไป
(๓)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งนั้นไม่เต็มเดือนในเดือนใด
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งสำหรับเดือนนั้นตามส่วนจำนวนวันที่ได้ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งดังกล่าว
(๔)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งนั้นเกินหนึ่งตำแหน่ง
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งสำหรับตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงสุดเพียงตำแหน่งเดียว
(๕)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประเภทเดียวกันที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้ปฏิบัติหน้าที่หลักในตำแหน่งที่ตนไปปฏิบัติหน้าที่ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามอัตราเดิมของตนต่อไป
ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่
หรือรักษาราชการแทน
หรือรักษาการในตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งต่างประเภทกัน
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราของตำแหน่งเดิมต่อไปนับแต่วันที่เข้าปฏิบัติหน้าที่หลักในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่
หรือรักษาราชการแทน หรือรักษาการในตำแหน่ง แล้วแต่กรณี
แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินหกเดือน
(๖)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศตามระเบียบ ก.พ.
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการโดยการให้ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศ
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราของตำแหน่งเดิมต่อไป
ข้อ ๓
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสายงานตามบัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งท้ายกฎ
ก.พ. นี้ ในตำแหน่งประเภทใด ระดับใด
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญในอัตราดังนี้
(๑)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๐,๐๐๐ บาท
(๒)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ดังต่อไปนี้ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๔,๕๐๐ บาท
(ก)
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมซึ่งมิใช่หัวหน้าส่วนราชการตาม (๓) (ข) (ค) (ง)
และ (จ)
(ข)
ผู้ว่าราชการจังหวัด
(ค)
เอกอัครราชทูตที่เป็นหัวหน้าสถานเอกอัครราชทูต
หัวหน้าคณะผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ
หัวหน้าคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก และเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง
(ง)
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ได้แก่ รองปลัดกระทรวง
และรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(จ)[๒]
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในสำนักนายกรัฐมนตรี
และอยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(ฉ)
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง
และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ได้แก่
รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(ช)
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการ และขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี
ได้แก่ รองเลขาธิการสภาการศึกษา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
(ซ)
หัวหน้าส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีผู้บังคับบัญชาเป็นอธิบดีหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี
ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เลขาธิการสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
และเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
(ฌ)
ผู้ตรวจราชการของส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง
(ญ)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตามที่ ก.พ.
กำหนดให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดียวกันนี้
(๓)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ดังต่อไปนี้ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๒๑,๐๐๐ บาท
(ก)
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ได้แก่ ปลัดกระทรวง
และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(ข)[๓]
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในสำนักนายกรัฐมนตรี
และอยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(ค)
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง
และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ได้แก่
เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(ง)
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการ และขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี
ได้แก่ เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
(จ)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตามที่ ก.พ.
กำหนดให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดียวกันนี้
(๔)
ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๕,๖๐๐ บาท
(๕)
ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๐,๐๐๐ บาท
(๖)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ที่มีประสบการณ์ ทักษะ และสมรรถนะ
ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๓,๕๐๐ บาท
(๗)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๕,๖๐๐ บาท
(๘)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๙,๙๐๐ บาท
(๙)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๓,๐๐๐ บาท
(๑๐)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ที่มีประสบการณ์ ทักษะ และสมรรถนะ
ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๕,๖๐๐ บาท
(๑๑)
ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๙,๙๐๐ บาท
ข้อ ๔
การกำหนดประเภทตำแหน่ง สายงาน ระดับ และจำนวนตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งเพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่แล้วในวันก่อนวันที่กฎ
ก.พ. นี้ใช้บังคับ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ. ก่อน
ข้อ ๕
กรณีอื่นนอกจากที่ได้กำหนดไว้ในกฎ ก.พ. นี้ ให้เสนอ ก.พ.
พิจารณาอนุมัติเป็นราย ๆ ไป
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
[เอกสารแนบท้าย]
๑.[๔]
บัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง ท้ายกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๕๐ วรรคสามและวรรคสี่
บัญญัติว่า
ข้าราชการพลเรือนสามัญอาจได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่
ก.พ. กำหนด และผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด
จะได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ในอัตราใด
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕[๕]
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้สายงานวิชาการช่างศิลป์ สายงานมัณฑนศิลป์ สายงานจิตรกรรม
สายงานเภสัชกรรม และสายงานพยาบาลวิชาชีพเฉพาะ
เป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ
กำหนดให้สายงานแพทย์แผนไทยเป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับชำนาญการ และระดับชำนาญการพิเศษ
และกำหนดให้สายงานนักจิตวิทยาคลินิกเป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ และระดับเชี่ยวชาญ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖[๖]
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้สายงานกายอุปกรณ์เป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับชำนาญการ และระดับชำนาญการพิเศษ
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ
ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๕๘[๗]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๔,๕๐๐ บาท และตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
เป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๒๑,๐๐๐ บาท จึงจำเป็นต้องออกกฎ
ก.พ. นี้
เอกฤทธิ์/ผู้จัดทำ
๑๖ กันยายน ๒๕๕๖
วริญา/เพิ่มเติม
ปัญญา/ตรวจ
๘ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๑๒๘ ก/หน้า ๑๓/๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๑
[๒] ข้อ ๓ (๒) (จ)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๓] ข้อ ๓ (๓) (ข) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๔] บัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง ท้ายกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕
๒๙. สายงานกายอุปกรณ์ ของตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการและระดับชำนาญการพิเศษ ในบัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
ท้ายกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ เพิ่มโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๖๔ ก/หน้า ๕/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๕
[๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๗๘ ก/หน้า ๑/๖ กันยายน ๒๕๕๖
[๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๔๓ ก/หน้า ๔๔/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘ |
759613 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๕๙
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๕) มาตรา ๔๕ และมาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓ (๒) (ช)
แห่งกฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๑
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(ช) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวง หรือทบวง และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ได้แก่
รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
และรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
ให้ไว้ ณ วันที่ ๕
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
วิษณุ เครืองาม
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง
เพื่อให้สอดคล้องกับหน้าที่และความรับผิดชอบตามบทบาทภารกิจและลักษณะงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐที่มีความสำคัญในระดับชาติเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ
ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อความเชื่อมั่นขององค์กรระหว่างประเทศ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
วิศนี/ปริยานุช/จัดทำ
๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๙
นุสรา/ตรวจ
๒๘ พฤศจิกายน
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๙๐ ก/หน้า ๑/๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙ |
751352 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง พ.ศ. 2551 (ฉบับ Update ณ วันที่ 21/05/2558) | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๕๕๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๕) มาตรา ๔๕ มาตรา ๔๖ และมาตรา ๑๓๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑[๑]
กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๒ ตำแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่
ตำแหน่งที่มีอำนาจและหน้าที่ในการบริหารงานในฐานะที่เป็นหัวหน้าส่วนราชการหรือรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือกรม
ตำแหน่งที่มีฐานะเป็นผู้ปฏิบัติงานตรวจและแนะนำการปฏิบัติราชการของส่วนราชการระดับกระทรวง
และตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการหรือรองหัวหน้าส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีผู้บังคับบัญชาเป็นอธิบดีหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี
หรือตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภทบริหารตามหลักเกณฑ์ในกฎ ก.พ.
นี้
ข้อ
๓ ตำแหน่งประเภทบริหาร มี ๒ ระดับ
ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(ก) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ซึ่งไม่ใช่ตำแหน่งตาม (๒) (ฉ)
(ช) (ซ) และ (ฌ)
(ข) รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(ค) อัครราชทูตที่เป็นรองหัวหน้าสถานเอกอัครราชทูต
รองหัวหน้าคณะผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ
รองหัวหน้าคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก และหัวหน้าสถานกงสุลใหญ่
(ง)
รองหัวหน้าส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีผู้บังคับบัญชาเป็นอธิบดีหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี
ได้แก่ รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
รองเลขาธิการสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
รองผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
และรองเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
(จ) ตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น
(๒) ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(ก) หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ได้แก่ ปลัดกระทรวง
และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(ข) หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม
(ค) ผู้ว่าราชการจังหวัด
(ง) เอกอัครราชทูตที่เป็นหัวหน้าสถานเอกอัครราชทูต
หัวหน้าคณะผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ
หัวหน้าคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก และเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง
(จ) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ได้แก่ รองปลัดกระทรวง
และรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(ฉ)[๒]
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในสำนักนายกรัฐมนตรี
และอยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(ช) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวง หรือทบวง และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ได้แก่
รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(ซ) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการ
และขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี ได้แก่ รองเลขาธิการสภาการศึกษา
รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
และรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
(ฌ) หัวหน้าส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีผู้บังคับบัญชาเป็นอธิบดีหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี
ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เลขาธิการสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ และเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
(ญ) ผู้ตรวจราชการของส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง
(ฎ) ตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
ข้อ
๔ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ได้แก่
ตำแหน่งที่มีอำนาจและหน้าที่ในการบริหารงานในฐานะหัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรม
ซึ่งมีการแบ่งส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
หรือตำแหน่งอื่นที่มีลักษณะเป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการ
ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมากหรือสูงมากเป็นพิเศษที่ ก.พ.
กำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการตามหลักเกณฑ์ในกฎ ก.พ. นี้
ข้อ
๕ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ มี ๒ ระดับ
ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ได้แก่
ตำแหน่งที่มีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมาก ดังต่อไปนี้
(ก)
หัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรมซึ่งแบ่งส่วนราชการภายในกรมในราชการบริหารส่วนกลางตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(ข)
หัวหน้าสำนักงานจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(ค) นายอำเภอ
(ง) ตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น
(๒) ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ได้แก่
ตำแหน่งที่มีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมากเป็นพิเศษ
ดังต่อไปนี้
(ก)
หัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรมซึ่งแบ่งส่วนราชการภายในกรมในราชการบริหารส่วนกลางตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(ข) หัวหน้าสำนักงานจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(ค) นายอำเภอ
(ง) ผู้ตรวจราชการของส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม
(จ) ตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง
ข้อ
๖ ตำแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่
ตำแหน่งในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่ใช้ความรู้ ในทางวิชาการซึ่ง ก.พ.
กำหนดว่าต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่
ของตำแหน่งนั้น
โดยมีการจำแนกตามลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานเป็นหลัก
หรือตำแหน่งอื่นที่กำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภทวิชาการตามกฎ ก.พ. นี้
ข้อ
๗ ตำแหน่งประเภทวิชาการ มี ๕ ระดับ
ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ได้แก่
ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับต้น โดยใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน
ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ
(๒) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ
ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงในงานวิชาการ
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก
(ข) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ
ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์
และความชำนาญงานสูงในงานวิชาการ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก
(๓) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ
ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงมากในงานวิชาการ
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก
(ข) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ
ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์
และความชำนาญงานสูงมากในงานวิชาการ
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก
(๔) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ได้แก่
ตำแหน่งที่ต้องดำเนินการศึกษา วิจัย สั่งสมความรู้หรือผลการศึกษาวิจัยในลักษณะต่าง
ๆ เพื่อให้มีการค้นคว้าอ้างอิงต่อไปได้ และสอน ฝึกอบรม
หรือเผยแพร่ความรู้ในระดับกรม ดังต่อไปนี้
(ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีความเชี่ยวชาญในงาน โดยใช้ความรู้
ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาการ
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมาก
และมีผลกระทบในวงกว้าง
(ข) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานให้คำปรึกษาของส่วนราชการระดับกระทรวง
หรือกรม ซึ่งใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาการ
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมาก
และมีผลกระทบในวงกว้าง
(๕) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ตำแหน่งที่ต้องดำเนินการศึกษา
วิจัย สั่งสมความรู้หรือผลการศึกษาวิจัยในลักษณะต่าง ๆ
เพื่อให้มีการค้นคว้าอ้างอิงต่อไปได้ และสอน ฝึกอบรม
หรือเผยแพร่ความรู้ในระดับกระทรวง และระดับชาติ ดังต่อไปนี้
(ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีความรู้ ความสามารถ
ประสบการณ์ และผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถ เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมากเป็นพิเศษ
และมีผลกระทบในวงกว้างระดับนโยบายกระทรวงหรือระดับชาติ
(ข) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานให้คำปรึกษาของส่วนราชการระดับกระทรวง
ซึ่งมีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถ
เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมากเป็นพิเศษ
และมีผลกระทบในวงกว้างระดับนโยบายกระทรวงหรือระดับชาติ
ข้อ
๘ ตำแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่
ตำแหน่งซึ่งมิใช่ตำแหน่งประเภทบริหาร ประเภทอำนวยการ และประเภทวิชาการ
แต่เป็นตำแหน่งในฐานะผู้ปฏิบัติงานซึ่งเน้นการใช้ทักษะ ฝีมือในการปฏิบัติงาน
โดยมีการจำแนกตามลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานเป็นหลัก
และในกรณีที่เห็นสมควร ก.พ. จะกำหนดว่าตำแหน่งใดต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำแหน่งนั้นด้วยก็ได้
หรือตำแหน่งอื่นที่กำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภททั่วไปตาม กฎ ก.พ. นี้
ข้อ
๙ ตำแหน่งประเภททั่วไป มี ๔ ระดับ
ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ได้แก่
ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งปฏิบัติงานตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน
และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ
(๒) ตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงาน ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ
ประสบการณ์ และความชำนาญงาน ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ค่อนข้างยาก
(ข) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ
ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์
และความชำนาญงาน ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ค่อนข้างยาก
(๓) ตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ
ประสบการณ์ และความชำนาญงานค่อนข้างสูง ในงานเทคนิคเฉพาะด้าน หรืองานที่ใช้ทักษะและความชำนาญเฉพาะตัว
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในงานที่ค่อนข้างยากมาก
(ข) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ
ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์
และความชำนาญงานค่อนข้างสูง มีงานในความรับผิดชอบที่หลากหลาย
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในงานที่ค่อนข้างยากมาก
(๔) ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ได้แก่
ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีทักษะพิเศษเฉพาะตัว โดยมีความรู้ ความสามารถ
ประสบการณ์ และผลงานเป็นที่ประจักษ์ ในความสามารถ ในงานที่ใช้ทักษะและความชำนาญเฉพาะตัวสูงมาก
ปฏิบัติงานที่ต้องคิดริเริ่มสร้างสรรค์ด้วยตนเองและเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ
ข้อ
๑๐ ให้ตำแหน่งที่ ก.พ.
กำหนดให้เทียบเป็นตำแหน่งประเภทบริหารตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๓๙ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ไว้แล้วก่อนวันที่ กฎ ก.พ.
นี้ใช้บังคับ เป็นตำแหน่งตามประเภท และระดับ ตามกฎ ก.พ. นี้ ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดให้เทียบเป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับกลาง
ให้เป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น
(๒) ตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดให้เทียบเป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
ให้เป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง
ข้อ
๑๑ ในกรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุผลอันสมควร
ให้ ก.พ. มีอำนาจกำหนดให้ตำแหน่งอื่นใดนอกจากที่กำหนดไว้แล้วในกฎ ก.พ. นี้
เป็นตำแหน่งประเภทใด ระดับใด ตามกฎ ก.พ. นี้ ก็ได้
ข้อ
๑๒ การปฏิบัติงานใดที่จะเป็นการปฏิบัติงานที่มีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูง
หรือต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานที่ยุ่งยาก ซับซ้อน
หรือต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหา หรือมีผลกระทบของงาน ในระดับใด
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๔๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ
๑๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะหรือวิชาชีพเฉพาะระดับ
๙ ระดับ ๑๐ หรือระดับ ๑๑ ตามมาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ อยู่แล้วในวันก่อนวันที่ กฎ
ก.พ. นี้ใช้บังคับ และได้รับการจัดเข้าสู่ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ
หรือระดับทรงคุณวุฒิ ตามกฎ ก.พ. นี้ ให้ถือว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ตามกฎ ก.พ.
นี้แล้ว
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ
เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๔๕
บัญญัติให้ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมี ๔ ประเภท ได้แก่ ตำแหน่งประเภทบริหาร
ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ตำแหน่งประเภทวิชาการ และตำแหน่งประเภททั่วไป และมาตรา ๔๖
กำหนดระดับตำแหน่งในแต่ละประเภทตำแหน่งดังกล่าวไว้ด้วย
สำหรับการจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎ ก.พ.
ดังนั้น เพื่อให้มีหลักเกณฑ์
การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญสำหรับใช้เป็นบรรทัดฐานเทียบเคียง
การกำหนดตำแหน่งในส่วนราชการ จึงจำเป็นต้องออกกฎ
ก.พ. นี้
กฎ
ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘[๓]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเป็นตำแหน่งประเภทบริหาร
ระดับสูง จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ.
นี้
วริญา/ผู้จัดทำ
ปัญญา/ตรวจ
๘ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๑๒๘ ก/หน้า ๑/๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๑
[๒] ข้อ ๓ (๒) (ฉ)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๔๓ ก/หน้า ๔๒/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘ |
728113 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) มาตรา ๔๕ และมาตรา ๔๖
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี
จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓ (๒) (ฉ) ของกฎ ก.พ.
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๑
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(ฉ) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในสำนักนายกรัฐมนตรี
และอยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
ให้ไว้
ณ วันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
วิษณุ เครืองาม
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน
ก.พ.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเป็นตำแหน่งประเภทบริหาร
ระดับสูง จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ.
นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๘ พฤษภาคม
๒๕๕๘
วริญา/ผู้ตรวจ
๘ มิถุนายน
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๔๓ ก/หน้า ๔๒/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘ |
731553 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558 | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๕๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) และมาตรา ๕๐ วรรคสามและวรรคสี่
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ.
โดยได้รับอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น
๔๘. ของตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ
ในบัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งท้ายกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๑
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕
๔๘. สายงานอุตุนิยมวิทยา
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น
๓๐. ของตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ และระดับชำนาญการพิเศษ
ในบัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งท้ายกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๑
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖
๓๐. สายงานเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก
ให้ไว้
ณ วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
วิษณุ เครืองาม
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน
ก.พ.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้สายงานอุตุนิยมวิทยาระดับทรงคุณวุฒิ และสายงานเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก
ระดับชำนาญการ
และระดับชำนาญการพิเศษเป็นสายงานและระดับที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ประกอบกับตามมาตรา ๕๐ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
บัญญัติให้ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด จะได้รับเงินประจำตำแหน่ง
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๑ กรกฎาคม
๒๕๕๘
ปัญจพร/ผู้ตรวจ
๒๑ กรกฎาคม
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๖๒ ก/หน้า ๑๙/๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๘ |
684414 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๖[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) และมาตรา ๗๔
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีจึงออกกฎ
ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น
(ซ) และ (ฌ) ของข้อ ๘ (๙) แห่ง กฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน พ.ศ. ๒๕๕๒
(ซ) ลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร
เฉพาะวันลาที่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลาตามกฎหมาย
(ฌ) ลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๑ แห่ง กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน พ.ศ. ๒๕๕๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๑ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดได้รับอนุญาตให้ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
หรือถูกสั่งให้ไปทำการใดซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ
หรือได้รับอนุญาตให้ลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพเนื่องจากได้รับอันตรายหรือการป่วยเจ็บเพราะเหตุปฏิบัติราชการในหน้าที่หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทำการตามหน้าที่
จนทำให้ตกเป็นผู้ทุพพลภาพหรือพิการ เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นกลับมาปฏิบัติราชการ
ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนพิจารณาสั่งให้มีการคำนวณเพื่อหาอัตราเงินเดือนที่ข้าราชการผู้นั้นจะได้รับเมื่อกลับมาปฏิบัติราชการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ.
กำหนด
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
พงศ์เทพ
เทพกาญจนา
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน
ก.พ.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการลาของข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๕ ได้กำหนดประเภทการลาขึ้นใหม่ ๒ ประเภท คือ
การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร และการลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ
จึงเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การเลื่อนเงินเดือนให้ครอบคลุมถึงข้าราชการที่ใช้สิทธิการลาดังกล่าว
ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๔ เมษายน ๒๕๕๖
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๐ เมษายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๓๑ ก/หน้า ๓๕/๓ เมษายน ๒๕๕๖ |
746590 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2559 | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๗)
พ.ศ. ๒๕๕๙
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๕) และมาตรา ๕๐ วรรคสาม และวรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑[๑] กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓ (๒) (ฉ)
แห่งกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๑
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(ฉ) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวง หรือทบวง และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ได้แก่
รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
และรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓ (๓) (ค)
แห่งกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๑
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(ค) หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง
หรือทบวง และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
และเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
วิษณุ เครืองาม
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ. ได้กำหนดให้ตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๒๑,๐๐๐ บาท
เนื่องจากเป็นตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี มีลักษณะการเข้าสู่ตำแหน่งและวาระการดำรงตำแหน่งแตกต่างจากหัวหน้าส่วนราชการโดยทั่วไป
ตลอดจนหน้าที่และความรับผิดชอบตามบทบาทภารกิจและลักษณะงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมีความสำคัญในระดับชาติที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ
ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อความเชื่อมั่นขององค์กรระหว่างประเทศ และได้กำหนดให้ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๔,๕๐๐ บาท จึงจำเป็นต้องออกกฎ
ก.พ. นี้
ปริยานุช/จัดทำ
๗ มีนาคม ๒๕๕๙
วริญา/ตรวจ
๗ มีนาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๒๐ ก/หน้า ๓/๒ มีนาคม ๒๕๕๙ |
700480 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย พ.ศ. 2556 | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย
พ.ศ. ๒๕๕๖
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) มาตรา ๙๔ มาตรา ๙๕ มาตรา ๙๖ มาตรา ๙๗
มาตรา ๑๐๑ และมาตรา ๑๐๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.พ. นี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
หมวด ๑
การดำเนินการเมื่อมีการกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่ามีการกระทำผิดวินัย
ข้อ ๒ เมื่อมีการกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นมีหน้าที่ต้องรายงานตามลำดับชั้นให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๕๗ ทราบโดยเร็ว โดยทำเป็นหนังสือ ซึ่งอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อผู้กล่าวหา (ถ้ามี)
(๒) ชื่อและตำแหน่งของผู้ถูกกล่าวหา
(๓) ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์แห่งการกระทำที่กล่าวหาหรือเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดวินัย
(๔) พยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องเท่าที่มี
ข้อ ๓ การกล่าวหาที่จะดำเนินการตามกฎ
ก.พ. นี้ ถ้าเป็นการกล่าวหาเป็นหนังสือให้มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
(๑) ระบุชื่อของผู้กล่าวหา และลงลายมือชื่อผู้กล่าวหา
(๒) ระบุชื่อหรือตำแหน่งของผู้ถูกกล่าวหา
หรือข้อเท็จจริงที่เพียงพอให้ทราบว่าเป็นการกล่าวหาข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใด
(๓)
ระบุข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งการกระทำที่มีการกล่าวหาเพียงพอที่จะเข้าใจได้
หรือแสดงพยานหลักฐานเพียงพอที่จะสืบสวนสอบสวนต่อไปได้
ในกรณีที่เป็นการกล่าวหาด้วยวาจา ให้ผู้บังคับบัญชาผู้ได้รับฟังการกล่าวหาจัดให้มีการทำบันทึกคำกล่าวหาที่มีรายละเอียดตามวรรคหนึ่ง
และให้ผู้กล่าวหาลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ ๔ กรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยที่จะดำเนินการตามกฎ
ก.พ. นี้ อาจมีลักษณะดังนี้
(๑) มีการกล่าวหาที่ไม่ได้ระบุชื่อผู้กล่าวหา
ไม่ได้ลงลายมือชื่อผู้กล่าวหา แต่ระบุชื่อหรือตำแหน่งของผู้ถูกกล่าวหา
หรือข้อเท็จจริงที่ปรากฏนั้นเพียงพอที่จะทราบว่ากล่าวหาข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดและข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์นั้นเพียงพอที่จะสืบสวนสอบสวนต่อไปได้
หรือ
(๒) มีข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ปรากฏต่อผู้บังคับบัญชาอันเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัย
โดยมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะสืบสวนสอบสวนต่อไปได้
หมวด ๒
การสืบสวนหรือพิจารณาในเบื้องต้น
ข้อ ๕ เมื่อได้รับรายงานตามข้อ ๒
หรือความปรากฏต่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗
ว่ามีการกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้โดยเร็ว
(๑)
พิจารณาในเบื้องต้นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยหรือไม่
(๒) ดำเนินการสืบสวนหรือสั่งให้ดำเนินการสืบสวน
และพิจารณาว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยหรือไม่ ในการนี้
ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗
อาจสืบสวนเองหรือให้ข้าราชการพลเรือนสามัญหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องดำเนินการสืบสวนแล้วรายงานมาเพื่อประกอบการพิจารณาก็ได้
ในกรณีที่เห็นว่ามีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัย
หรือเป็นกรณีที่มีพยานหลักฐานในเบื้องต้นอยู่แล้วและเห็นว่ามีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยให้ดำเนินการตามข้อ
๖ ต่อไป
ข้อ ๖ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๕๗
พิจารณาเห็นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
ให้ดำเนินการต่อไปตามหมวด ๓
ถ้าพิจารณาเห็นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ให้ดำเนินการต่อไปตามหมวด ๔
แต่ถ้าพิจารณาเห็นว่ากรณีไม่มีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัย
ให้ยุติเรื่อง
ข้อ ๗ กรณีที่ถือว่าไม่มีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยและผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๕๗ สั่งให้ยุติเรื่องได้ อาจเป็นกรณีดังต่อไปนี้
(๑)
ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์แวดล้อมและพยานหลักฐานไม่เพียงพอให้ทราบว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดเป็นผู้กระทำผิดวินัย
(๒)
ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์แวดล้อมและพยานหลักฐานไม่เพียงพอที่จะทำให้เข้าใจได้ว่ามีการกระทำผิดวินัย
หรือไม่เพียงพอที่จะดำเนินการสืบสวนสอบสวนต่อไปได้
(๓) พฤติการณ์แห่งการกระทำนั้นไม่เป็นความผิดทางวินัย
หมวด ๓
การดำเนินการในกรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
ข้อ ๘ ในกรณีที่ผลการสืบสวนหรือพิจารณาตามข้อ ๕
และข้อ ๖
ปรากฏว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ดำเนินการต่อไปตามหมวดนี้
โดยไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวนก็ได้ แต่ถ้าได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว
ต้องดำเนินการตามข้อ ๑๒ ข้อ ๑๓ และข้อ ๑๔ จนแล้วเสร็จ
ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๕๗ ดำเนินการทางวินัยโดยไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ต้องดำเนินการตามหมวดนี้ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
ทั้งนี้ต้องไม่เกินสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่พิจารณาเห็นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเวลาดังกล่าว
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ขยายเวลาได้ตามความจำเป็น
โดยแสดงเหตุผลความจำเป็นไว้ด้วย
ข้อ ๑๐ ในการดำเนินการตามข้อ
๙ ต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเป็นหนังสือให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
และต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาได้ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายในระยะเวลาที่กำหนด
ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายในเวลาที่กำหนด
ให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ประสงค์จะชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา
ข้อ ๑๑ เมื่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๕๗ ได้ดำเนินการตามข้อ ๑๐ แล้ว ให้พิจารณาสั่งหรือดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำผิดวินัยตามข้อกล่าวหา
ให้สั่งยุติเรื่องตามมาตรา ๙๒ วรรคสอง โดยทำเป็นคำสั่งตามข้อ ๖๖
(๒) ในกรณีที่เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
ให้สั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือน
ตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิดตามมาตรา ๙๖ และที่กำหนดไว้ในข้อ ๖๗
โดยทำเป็นคำสั่งตามข้อ ๖๙
(๓) ในกรณีที่เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยเล็กน้อย และมีเหตุอันควรงดโทษ
จะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนตามมาตรา ๙๖ ก็ได้
โดยทำเป็นคำสั่งงดโทษตามข้อ ๗๑
(๔) ในกรณีที่เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ให้ดำเนินการตามหมวด ๔ ต่อไป
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗
ดำเนินการทางวินัยโดยแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
และการคัดค้านกรรมการสอบสวน ให้นำข้อ ๑๘ วรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสี่ ข้อ ๑๙ ข้อ ๒๐
ข้อ ๒๑ ข้อ ๒๒ ข้อ ๒๓ ข้อ ๒๔ และข้อ ๒๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งต่างกัน หรือต่างกรม
หรือต่างกระทรวงกันถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกัน
การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามมาตรา ๙๔ และที่กำหนดในข้อ ๑๖
และข้อ ๑๗
ข้อ ๑๓ คณะกรรมการสอบสวนตามข้อ
๑๒ ต้องดำเนินการสอบสวน รวบรวมข้อเท็จจริงข้อกฎหมาย และพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบรับฟังคำชี้แจงของผู้ถูกกล่าวหา
แล้วเก็บรวบรวมไว้ในสำนวนการสอบสวน
และทำรายงานการสอบสวนพร้อมความเห็นเสนอผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ทั้งนี้
ต้องให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประธานกรรมการรับทราบคำสั่ง
ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนมีเหตุผลและความจำเป็นไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
ให้ประธานกรรมการรายงานต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อขอขยายเวลาตามความจำเป็น
ในการนี้ ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนจะขยายเวลาให้ตามที่เห็นสมควรโดยต้องแสดงเหตุผลไว้ด้วย
หรือจะสั่งให้คณะกรรมการสอบสวนยุติการดำเนินการแล้วพิจารณาสั่งหรือดำเนินการตามข้อ
๑๑ ต่อไปก็ได้
ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่มาให้ถ้อยคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาหรือไม่ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายในเวลาที่คณะกรรมการสอบสวนกำหนด
ให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ประสงค์จะชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา เว้นแต่คณะกรรมการสอบสวนจะเห็นควรดำเนินการเป็นอย่างอื่นเพื่อประโยชน์แห่งความเป็นธรรม
ข้อ ๑๔ เมื่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนได้รับรายงานการสอบสวนและสำนวนการสอบสวนตามข้อ
๑๓ แล้ว ให้พิจารณาสั่งหรือดำเนินการตามข้อ ๑๑ หรือสั่งหรือดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่เห็นว่าควรรวบรวมข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานเพิ่มเติม
ให้กำหนดประเด็นหรือข้อสำคัญที่ต้องการให้คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติม
(๒) ในกรณีที่เห็นว่าการดำเนินการใดไม่ถูกต้อง
ให้สั่งให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการให้ถูกต้องโดยเร็ว
หมวด ๔
การดำเนินการในกรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ผลการสืบสวนหรือพิจารณาตามข้อ
๕ และข้อ ๖
ปรากฏว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ หรือผู้มีอำนาจตามมาตรา ๙๔
แล้วแต่กรณี แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อดำเนินการสอบสวนต่อไป
ในกรณีที่เป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากการดำเนินการตามข้อ ๑๑ (๔)
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ หรือผู้มีอำนาจตามมาตรา ๙๔
แล้วแต่กรณี แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นใหม่เพื่อดำเนินการต่อไปตามหมวดนี้
ส่วนข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนตามข้อ ๑๓
จะนำมาใช้ในการสอบสวนนี้หรือไม่เพียงใด ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการสอบสวน
ข้อ ๑๖ การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งต่างกันหรือต่างกรม
หรือต่างกระทรวงกัน ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกัน สำหรับกรณีอื่นตามมาตรา ๙๔
(๔) ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑)
กรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญในกรมเดียวกันถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกันถ้าผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๕๗ ของข้าราชการดังกล่าวต่างกัน
ให้อธิบดีหรือผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุที่มีตำแหน่งเหนือกว่าเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
แล้วแต่กรณี
(๒) กรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญในสำนักงานรัฐมนตรี
หรือส่วนราชการที่ไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีหัวหน้าส่วนราชการเป็นอธิบดีหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี
ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกับข้าราชการพลเรือนสามัญในส่วนราชการอื่น
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗
ร่วมกันแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เว้นแต่เป็นกรณีที่มีผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมด้วย
ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
(๓)
กรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญในส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงแต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีหรือในส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี
ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกับข้าราชการพลเรือนสามัญในส่วนราชการอื่น
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ร่วมกันแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
เว้นแต่เป็นกรณีที่มีผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมด้วย
ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
(๔)
กรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญในราชการบริหารส่วนภูมิภาคจังหวัดเดียวกัน
แต่อยู่ต่างกรมหรือต่างกระทรวงกัน ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกัน
ถ้าผู้ถูกกล่าวหาทุกคนดำรงตำแหน่งที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๕๗ (๑๑) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ข้อ ๑๗ ในกรณีร่วมกันแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ให้ผู้มีอำนาจสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนของแต่ละส่วนราชการทำความตกลงกันเพื่อกำหนดตัวบุคคลเป็นกรรมการสอบสวน
แล้วให้แต่ละส่วนราชการมีคำสั่งแต่งตั้งบุคคลนั้นเป็นคณะกรรมการสอบสวน
ข้อ ๑๘ การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ให้แต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนสามัญ ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอื่นอีกอย่างน้อยสองคน
โดยให้กรรมการคนหนึ่งเป็นเลขานุการในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นจะแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการจากข้าราชการฝ่ายพลเรือนซึ่งมิใช่ข้าราชการการเมืองก็ได้
ในขณะที่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ประธานกรรมการต้องดำรงตำแหน่งตามที่ ก.พ. กำหนด
กรรมการสอบสวนอย่างน้อยหนึ่งคนต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งนิติกร
หรือผู้ได้รับปริญญาทางกฎหมายหรือผู้ได้รับการฝึกอบรมตามหลักสูตรการดำเนินการทางวินัย
หรือผู้มีประสบการณ์ด้านการดำเนินการทางวินัย
เพื่อประโยชน์ในการสอบสวนจะให้มีผู้ช่วยเลขานุการที่แต่งตั้งจากข้าราชการฝ่ายพลเรือนซึ่งมิใช่ข้าราชการการเมืองหรือแต่งตั้งจากพนักงานราชการหรือลูกจ้างประจำด้วยก็ได้
และให้นำข้อ ๒๐ ข้อ ๒๒ ข้อ ๒๓ ข้อ ๒๔ ข้อ ๒๕ และข้อ ๓๓
มาใช้บังคับกับผู้ช่วยเลขานุการโดยอนุโลม
ข้อ ๑๙ คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้ระบุชื่อและตำแหน่งของผู้ถูกกล่าวหา
เรื่องที่กล่าวหาชื่อของประธานกรรมการ และกรรมการ ทั้งนี้ ตามแบบที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด
ในกรณีที่มีการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการ
ให้ระบุชื่อผู้ช่วยเลขานุการไว้ในคำสั่งนั้นด้วย
ข้อ ๒๐ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการสอบสวน
ให้ดำเนินการโดยทำเป็นคำสั่งตามแบบที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด
และให้แจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบต่อไป
การเปลี่ยนแปลงกรรมการสอบสวนตามวรรคหนึ่ง
ไม่กระทบกระเทือนถึงการสอบสวนที่ได้ดำเนินการไปแล้ว
ข้อ ๒๑ เมื่อได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว
ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) แจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบคำสั่งโดยเร็ว
และให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อและวันที่รับทราบไว้เป็นหลักฐาน ในการนี้
ให้แจ้งตำแหน่งของประธานกรรมการ กรรมการ และผู้ช่วยเลขานุการ (ถ้ามี) รวมทั้งสิทธิที่จะคัดค้านกรรมการสอบสวนไปพร้อมกัน
และให้มอบสำเนาคำสั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาไว้หนึ่งฉบับด้วยในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่ยอมลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่ง
ถ้าได้ทำบันทึกลงวันที่และสถานที่ที่แจ้งและลงลายมือชื่อผู้แจ้ง
พร้อมทั้งพยานรู้เห็นไว้เป็นหลักฐานแล้ว ให้ถือวันที่แจ้งนั้นเป็นวันรับทราบ
การแจ้งตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยตรงก่อน
แต่ถ้าไม่อาจแจ้งให้ทราบโดยตรงได้หรือมีเหตุจำเป็นอื่น
ให้แจ้งเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูกกล่าวหา ณ
ที่อยู่ซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ ในกรณีเช่นนี้
ให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาได้รับแจ้งเมื่อครบกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันส่งสำหรับกรณีส่งในประเทศ
หรือเมื่อครบสิบห้าวันนับแต่วันส่งสำหรับกรณีส่งไปยังต่างประเทศ
(๒)
ส่งสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กล่าวหาให้ประธานกรรมการโดยเร็ว
แล้วให้ประธานกรรมการลงลายมือชื่อและวันเดือนปีที่ได้รับแล้วเก็บรวมไว้ในสำนวนการสอบสวน
และส่งสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้กรรมการทราบเป็นรายบุคคล
(๓)
ส่งหลักฐานการรับทราบหรือถือว่าทราบคำสั่งของผู้ถูกกล่าวหาไปให้ประธานกรรมการเพื่อเก็บรวมไว้ในสำนวนการสอบสวน
ข้อ ๒๒ เมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้ กรรมการสอบสวนอาจถูกคัดค้านได้
(๑) เป็นผู้กล่าวหาตามข้อ ๓
(๒) เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของผู้กล่าวหาตามข้อ ๓
(๓) เป็นญาติของผู้กล่าวหาตามข้อ ๓ คือ
เป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานไม่ว่าชั้นใด ๆ
หรือเป็นพี่น้องหรือลูกพี่ลูกน้องนับได้เพียงสามชั้น หรือเป็นญาติเกี่ยวพันทางการสมรสนับได้เพียงสองชั้น
(๔)
เป็นผู้มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ถูกกล่าวหาหรือกับคู่หมั้นหรือคู่สมรสของผู้ถูกกล่าวหา
(๕) เป็นผู้มีประโยชน์ได้เสียในเรื่องที่สอบสวน
(๖) เป็นผู้รู้เห็นเหตุการณ์ในขณะกระทำผิดตามเรื่องที่กล่าวหา
(๗) เป็นผู้ที่มีเหตุอื่นซึ่งมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การสอบสวนไม่เป็นกลางหรือเสียความเป็นธรรม
ข้อ ๒๓ การคัดค้านกรรมการสอบสวนต้องทำเป็นหนังสือยื่นต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนภายในเจ็ดวันนับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหรือนับแต่วันที่ทราบว่ามีกรณีตามข้อ
๒๒ โดยหนังสือคัดค้านต้องแสดงข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่เป็นเหตุแห่งการคัดค้านตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๒๒
ในกรณีที่ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าการคัดค้านเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง
ให้ส่งสำเนาหนังสือคัดค้านไปให้ประธานกรรมการเพื่อทราบและเก็บรวบรวมไว้ในสำนวนการสอบสวน
รวมทั้งแจ้งให้ผู้ถูกคัดค้านทราบ
และต้องให้โอกาสผู้ถูกคัดค้านได้ชี้แจงเป็นหนังสือต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้ถูกคัดค้านได้ลงลายมือชื่อและวันที่ที่ได้รับแจ้งไว้เป็นหลักฐาน
ในการนี้ ผู้ถูกคัดค้านต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่กรรมการสอบสวนตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งนั้นแต่ถ้าเห็นว่าการคัดค้านไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนสั่งไม่รับคำคัดค้านนั้นและแจ้งให้ผู้คัดค้านทราบ
ข้อ ๒๔ เมื่อได้ดำเนินการตามข้อ
๒๓ แล้ว ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาสั่งการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่เห็นว่าคำคัดค้านรับฟังได้
ให้สั่งให้ผู้ถูกคัดค้านพ้นจากหน้าที่ในการเป็นกรรมการสอบสวนในกรณีที่เห็นสมควรจะแต่งตั้งผู้อื่นให้เป็นกรรมการสอบสวนแทนผู้ถูกคัดค้านก็ได้
แต่ถ้ากรรมการสอบสวนที่เหลืออยู่มีจำนวนน้อยกว่าสามคนให้แต่งตั้งผู้อื่นให้เป็นกรรมการสอบสวนแทนผู้ถูกคัดค้าน
และให้นำข้อ ๒๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(๒) ในกรณีที่เห็นว่าคำคัดค้านไม่อาจรับฟังได้ ให้สั่งยกคำคัดค้าน
และมีหนังสือแจ้งให้ผู้คัดค้าน ผู้ถูกคัดค้าน และประธานกรรมการทราบโดยเร็ว
คำสั่งยกคำคัดค้านให้เป็นที่สุด
ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนต้องพิจารณาและสั่งการตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำคัดค้าน
ถ้าไม่ได้สั่งภายในกำหนดเวลาดังกล่าว
ให้ผู้ถูกคัดค้านนั้นพ้นจากการเป็นกรรมการสอบสวนนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว
และให้ดำเนินการตาม (๑) ต่อไป
ข้อ ๒๕ ในกรณีที่กรรมการสอบสวนผู้ใดเห็นว่าตนมีกรณีตามข้อ
๒๒ ให้ผู้นั้นแจ้งให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทราบ
และให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาสั่งการตามข้อ ๒๔ โดยอนุโลมต่อไป
ข้อ ๒๖ คณะกรรมการสอบสวนมีหน้าที่สอบสวนและพิจารณาตามหลักเกณฑ์
วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดในกฎ ก.พ. นี้
เพื่อแสวงหาความจริงในเรื่องที่กล่าวหาและดูแลให้บังเกิดความยุติธรรมตลอดกระบวนการสอบสวน
ในการนี้
ให้คณะกรรมการสอบสวนรวบรวมประวัติและความประพฤติของผู้ถูกกล่าวหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กล่าวหาเท่าที่จำเป็นเพื่อประกอบการพิจารณา
และจัดทำบันทึกประจำวันที่มีการสอบสวนไว้ทุกครั้งด้วย
ในการสอบสวนและพิจารณาห้ามมิให้มีบุคคลอื่นอยู่หรือร่วมด้วย
เว้นแต่เป็นการสอบปากคำตามข้อ ๓๒ หรือเป็นกรณีที่กฎ ก.พ. นี้
กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ข้อ ๒๗ ให้ประธานกรรมการจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการสอบสวนครั้งแรกภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ประธานกรรมการรับเรื่องตามข้อ
๒๑ (๒) และ (๓)
ในกรณีที่ไม่อาจจัดประชุมได้ภายในกำหนดให้รายงานเหตุผลและความจำเป็นให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทราบ
ในการประชุมคณะกรรมการสอบสวนตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการสอบสวนกำหนดประเด็นและวางแนวทางการสอบสวนและการรวบรวมพยานหลักฐาน
ข้อ ๒๘ เมื่อได้วางแนวทางการสอบสวนและการรวบรวมพยานหลักฐานตามข้อ
๒๗ แล้วให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) รวบรวมข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(๒) แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
(๓)
ให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาได้ชี้แจงแสดงพยานหลักฐานเพื่อแก้ข้อกล่าวหา
(๔) พิจารณาทำความเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน
(๕)
ทำรายงานการสอบสวนพร้อมความเห็นเสนอต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ข้อ ๒๙ ให้คณะกรรมการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานทั้งปวงที่เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่การสอบสวนโดยไม่รับฟังแต่เพียงข้ออ้างหรือพยานหลักฐานของผู้กล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวหาเท่านั้น
ในกรณีที่ปรากฏว่ามีข้อเท็จจริงใดที่กล่าวอ้างหรือพาดพิงถึงบุคคล
เอกสาร หรือวัตถุใดที่จะเป็นประโยชน์แก่การสอบสวน ให้คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานนั้นไว้ให้ครบถ้วน
ถ้าไม่อาจเข้าถึงหรือได้มาซึ่งพยานหลักฐานดังกล่าว ให้บันทึกเหตุนั้นไว้ด้วย
ข้อ ๓๐ ในการสอบปากคำผู้ถูกกล่าวหาหรือพยานให้สอบปากคำคราวละหนึ่งคน
และในการสอบปากคำพยาน ต้องแจ้งให้พยานทราบว่ากรรมการสอบสวนมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
การให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จอาจเป็นความผิดตามกฎหมาย
การสอบปากคำตามวรรคหนึ่ง
ต้องมีกรรมการสอบสวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการสอบสวนทั้งหมดจึงจะทำการสอบปากคำได้
แต่ในกรณีที่กึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการสอบสวนทั้งหมดมีมากกว่าสามคน
จะให้กรรมการสอบสวนไม่น้อยกว่าสามคนทำการสอบปากคำก็ได้
ข้อ ๓๑ การสอบปากคำตามข้อ ๓๐
ต้องมีการบันทึกถ้อยคำของผู้ให้ถ้อยคำตามแบบที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด
แล้วอ่านให้ผู้ให้ถ้อยคำฟังหรือให้ผู้ให้ถ้อยคำอ่านเองก็ได้
แล้วให้ผู้ให้ถ้อยคำผู้บันทึกถ้อยคำ
และกรรมการสอบสวนซึ่งอยู่ร่วมในการสอบปากคำลงลายมือชื่อในบันทึกถ้อยคำนั้นไว้เป็นหลักฐาน
ในกรณีที่บันทึกถ้อยคำใดมีหลายหน้า
ให้ผู้ให้ถ้อยคำและกรรมการสอบสวนซึ่งอยู่ร่วมในการสอบปากคำหนึ่งคนลงลายมือชื่อกำกับไว้ในบันทึกถ้อยคำทุกหน้า
ในการบันทึกถ้อยคำ ห้ามมิให้ขูด ลบ
หรือบันทึกข้อความทับข้อความที่ได้บันทึกไว้ในบันทึกถ้อยคำแล้ว
ถ้าจะต้องแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อความที่บันทึกไว้
ให้ใช้วิธีขีดฆ่าข้อความเดิมและเพิ่มเติมข้อความใหม่ด้วยวิธีตกเติม
แล้วให้ผู้ให้ถ้อยคำและกรรมการสอบสวนซึ่งอยู่ร่วมในการสอบปากคำหนึ่งคนลงลายมือชื่อกำกับไว้ตรงที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นทุกแห่ง
ในกรณีที่ผู้ให้ถ้อยคำไม่ยอมลงลายมือชื่อ
ให้บันทึกเหตุที่ไม่ลงลายมือชื่อนั้นไว้ในบันทึกถ้อยคำด้วย
ในกรณีที่ผู้ให้ถ้อยคำไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ ให้ดำเนินการตามมาตรา
๙ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ข้อ ๓๒ ในการสอบปากคำ
ห้ามมิให้บุคคลอื่นอยู่ในที่สอบปากคำ
เว้นแต่เป็นบุคคลซึ่งกรรมการสอบสวนที่ทำการสอบปากคำอนุญาตให้อยู่ในที่สอบสวนเพื่อประโยชน์ในการสอบสวน
หรือเป็นทนายความหรือที่ปรึกษาของผู้ถูกกล่าวหาตามจำนวนที่กรรมการสอบสวนที่ทำการสอบปากคำเห็นสมควรให้เข้ามาในการสอบปากคำผู้ถูกกล่าวหา
ข้อ ๓๓ ห้ามมิให้กรรมการสอบสวนทำหรือจัดให้ทำการใด
ๆ ซึ่งเป็นการให้คำมั่นสัญญาขู่เข็ญ หลอกลวง บังคับ
หรือกระทำโดยมิชอบไม่ว่าด้วยประการใด
เพื่อจูงใจให้ผู้ถูกกล่าวหาหรือพยานให้ถ้อยคำอย่างใด
ข้อ ๓๔ การนำเอกสารหรือวัตถุมาใช้เป็นพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวน
ให้คณะกรรมการสอบสวนจัดให้มีการบันทึกไว้ด้วยว่าได้มาอย่างไร จากผู้ใด และเมื่อใด
เอกสารที่ใช้เป็นพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนให้ใช้ต้นฉบับ
แต่ถ้าไม่อาจนำต้นฉบับมาได้จะใช้สำเนาที่กรรมการสอบสวนหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบรับรองว่าเป็นสำเนาถูกต้องก็ได้
ในกรณีที่ไม่สามารถหาต้นฉบับเอกสารได้เพราะสูญหายหรือถูกทำลายหรือโดยเหตุประการอื่นคณะกรรมการสอบสวนจะสืบจากสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลแทนก็ได้
ข้อ ๓๕ ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนเรียกบุคคลใดมาเป็นพยานเพื่อชี้แจงหรือให้ถ้อยคำตามวัน
เวลา และสถานที่ที่กำหนดแล้ว แต่บุคคลนั้นไม่มาหรือมาแต่ไม่ชี้แจงหรือไม่ให้ถ้อยคำ
หรือในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนไม่อาจเรียกบุคคลใดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำได้ภายในเวลาอันควร
คณะกรรมการสอบสวนจะไม่สอบสวนบุคคลนั้นก็ได้
แต่ต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ในบันทึกประจำวันที่มีการสอบสวน และในรายงานการสอบสวนด้วย
ข้อ ๓๖ ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าการสอบสวนพยานบุคคลใดหรือการรวบรวมพยานเอกสารหรือวัตถุใดจะทำให้การสอบสวนล่าช้าโดยไม่จำเป็น
หรือพยานหลักฐานนั้นมิใช่สาระสำคัญจะงดสอบสวนหรือไม่รวบรวมพยานหลักฐานนั้นก็ได้
แต่ต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ในบันทึกประจำวันที่มีการสอบสวน และในรายงานการสอบสวนด้วย
ข้อ ๓๗ ในกรณีที่จะต้องสอบปากคำพยานหรือรวบรวมพยานหลักฐานซึ่งอยู่ต่างท้องที่ประธานกรรมการจะรายงานต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อขอให้มอบหมายให้หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานในท้องที่นั้นที่เป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือนสอบปากคำพยานหรือรวบรวมพยานหลักฐานแทนก็ได้
โดยกำหนดประเด็นหรือข้อสำคัญที่จะต้องสอบสวนไปให้ กรณีเช่นนี้
ถ้าผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นควรจะมอบหมายให้หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานนั้นดำเนินการตามที่คณะกรรมการสอบสวนร้องขอก็ได้
ในการสอบปากคำพยานและรวบรวมพยานหลักฐานตามวรรคหนึ่ง
ให้หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายเลือกข้าราชการฝ่ายพลเรือนที่เห็นสมควรอย่างน้อยอีกสองคนมาร่วมเป็นคณะทำการสอบสวน
และให้คณะทำการสอบสวนมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการสอบสวนตามกฎ ก.พ. นี้
ข้อ ๓๘ เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้รวบรวมข้อเท็จจริง
ข้อกฎหมาย และพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ตามข้อ ๒๘ (๑) แล้ว
ให้มีการประชุมคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาทำความเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยในเรื่องที่สอบสวนหรือไม่
ถ้าคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำผิดวินัยในเรื่องที่สอบสวน
ให้รายงานผลการสอบสวนพร้อมความเห็นเสนอต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
แต่ถ้าคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าจากข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย รวมทั้งพยานหลักฐานที่รวบรวมได้เพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยในเรื่องที่สอบสวนให้แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
การประชุมตามวรรคหนึ่ง
ต้องมีกรรมการสอบสวนมาประชุมไม่น้อยกว่าสามคนและไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการสอบสวนทั้งหมด
ข้อ ๓๙ ในกรณีที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดหรือต้องรับผิดในคดีเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน
ถ้าคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำพิพากษาถึงที่สุดนั้นได้ความประจักษ์ชัดอยู่แล้วว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดตามข้อกล่าวหา
คณะกรรมการสอบสวนจะนำเอาคำพิพากษาถึงที่สุดนั้นมาใช้เป็นพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาโดยไม่ต้องรวบรวมพยานหลักฐานอื่นก็ได้แต่ต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดนั้น
เพื่อใช้เป็นสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบด้วย
ข้อ ๔๐ การแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา
ให้ทำเป็นบันทึกระบุข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำการใด
เมื่อใด อย่างไร เป็นความผิดวินัยในกรณีใด
และสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา โดยจะระบุชื่อพยานด้วยหรือไม่ก็ได้
รวมทั้งแจ้งให้ทราบสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาที่จะให้ถ้อยคำหรือยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาเป็นหนังสือ
สิทธิที่จะแสดงพยานหลักฐานหรือจะอ้างพยานหลักฐานเพื่อขอให้เรียกพยานหลักฐานนั้นมาได้
แล้วแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
บันทึกตามวรรคหนึ่ง ให้ทำตามแบบที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด
โดยให้ทำเป็นสองฉบับมีข้อความตรงกัน ให้ประธานกรรมการและกรรมการอีกอย่างน้อยหนึ่งคนลงลายมือชื่อในบันทึกนั้นด้วย
ข้อ ๔๑ เมื่อได้จัดทำบันทึกตามข้อ ๔๐ แล้ว
ให้คณะกรรมการสอบสวนมีหนังสือเรียกผู้ถูกกล่าวหามาพบตามวัน เวลา
และสถานที่ที่คณะกรรมการสอบสวนกำหนด
เพื่อแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
เมื่อผู้ถูกกล่าวหาได้มาพบคณะกรรมการสอบสวนแล้ว
ให้คณะกรรมการสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาพร้อมทั้งอธิบายข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
และให้ผู้ถูกกล่าวหารับทราบข้อกล่าวหาโดยลงลายมือชื่อพร้อมทั้งวันเดือนปีในบันทึกนั้น
แล้วมอบบันทึกนั้นให้ผู้ถูกกล่าวหาหนึ่งฉบับ
และอีกฉบับหนึ่งเก็บไว้ในสำนวนการสอบสวน
ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่ยอมลงลายมือชื่อในบันทึกเพื่อรับทราบข้อกล่าวหา
ให้คณะกรรมการสอบสวนบันทึกข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ดังกล่าวไว้ในบันทึกนั้น
ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาได้รับทราบข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานตั้งแต่วันที่มาพบคณะกรรมการสอบสวนแล้ว
และให้มอบบันทึกนั้นให้ผู้ถูกกล่าวหาหนึ่งฉบับ
และอีกฉบับหนึ่งเก็บไว้ในสำนวนการสอบสวน
แต่ถ้าผู้ถูกกล่าวหาไม่ยอมรับบันทึกดังกล่าว
ให้ส่งบันทึกนั้นทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูกกล่าวหา ณ
ที่อยู่ซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ
ข้อ ๔๒ เมื่อได้แจ้งข้อกล่าวหาและผู้ถูกกล่าวหาได้รับทราบตามข้อ
๔๑ แล้ว ให้คณะกรรมการสอบสวนแจ้งกำหนดวัน เวลา สถานที่
และวิธีการที่จะให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาในวันที่มาพบคณะกรรมการสอบสวน
หรือแจ้งเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูกกล่าวหา ณ
ที่อยู่ซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการก็ได้
ในกรณีแจ้งเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ
ให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาได้รับทราบตั้งแต่วันที่ครบกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ส่งหนังสือดังกล่าวทางไปรษณีย์
ข้อ ๔๓ ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่มาพบตามที่กำหนดในข้อ
๔๑ ให้ส่งบันทึกตามข้อ ๔๐ จำนวนหนึ่งฉบับทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูกกล่าวหา
ณ ที่อยู่ซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ ในกรณีเช่นนี้
ให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาได้รับทราบข้อกล่าวหาตั้งแต่วันที่ครบกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ส่งบันทึกดังกล่าวทางไปรษณีย์
คณะกรรมการสอบสวนจะส่งหนังสือกำหนดวัน เวลา สถานที่
และวิธีการที่จะให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาและชี้แจงว่าได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาหรือไม่
อย่างไร เพราะเหตุใด ไปพร้อมกับบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาตามวรรคหนึ่งก็ได้
ข้อ ๔๔ ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่อาจชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาได้ตามวัน
เวลา สถานที่และวิธีการที่กำหนดตามข้อ ๔๒ หรือข้อ ๔๓
โดยได้อ้างเหตุผลหรือความจำเป็น หรือในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่ามีเหตุจำเป็น
จะกำหนดวัน เวลา สถานที่ หรือวิธีการเสียใหม่เพื่อประโยชน์แห่งความเป็นธรรมก็ได้
ข้อ ๔๕ ในการสอบสวนให้คณะกรรมการสอบสวนถามผู้ถูกกล่าวหาด้วยว่าได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาหรือไม่
อย่างไร เพราะเหตุใด
คณะกรรมการสอบสวนจะดำเนินการตามวรรคหนึ่งไปในคราวเดียวกันกับที่ได้ดำเนินการตามข้อ
๔๑ ก็ได้
ข้อ ๔๖ ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหารับสารภาพว่าได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาใด
ให้คณะกรรมการสอบสวนบันทึกการรับสารภาพตามข้อกล่าวหานั้นไว้เป็นหนังสือ
ในกรณีเช่นนี้ คณะกรรมการสอบสวนจะไม่ทำการสอบสวนในข้อกล่าวหานั้นก็ได้
แล้วดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ข้อ ๔๗ ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่มาให้ถ้อยคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาหรือไม่ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาเป็นหนังสือภายในเวลาที่กำหนดตามข้อ
๔๒ และข้อ ๔๓ ให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ประสงค์จะชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา
เว้นแต่คณะกรรมการสอบสวนจะเห็นควรดำเนินการเป็นอย่างอื่นเพื่อประโยชน์แห่งความเป็นธรรม
ข้อ ๔๘ ในกรณีที่ปรากฏพยานหลักฐานเพิ่มเติมหลังจากที่คณะกรรมการสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาในเรื่องที่สอบสวนแล้ว
ถ้าคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าพยานหลักฐานที่เพิ่มเติมนั้นมีน้ำหนักสนับสนุนข้อกล่าวหา
ให้แจ้งสรุปพยานหลักฐานเพิ่มเติมนั้นให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
แต่ถ้าเห็นว่าพยานหลักฐานเพิ่มเติมนั้นมีผลทำให้ข้อกล่าวหาในเรื่องที่สอบสวนนั้นเปลี่ยนแปลงไปหรือต้องเพิ่มข้อกล่าวหา
ให้กำหนดข้อกล่าวหาใหม่หรือกำหนดข้อกล่าวหาเพิ่มเติมแล้วแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหานั้นให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
ทั้งนี้ ให้นำความในข้อ ๔๐ ข้อ ๔๑
ข้อ ๔๒ ข้อ ๔๓ ข้อ ๔๔ และข้อ ๔๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๔๙ ในการสอบสวน
ถ้าคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่ามีพยานหลักฐานที่ควรกล่าวหาว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยในเรื่องอื่นด้วย
ให้ประธานกรรมการรายงานต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยเร็ว
เมื่อได้รับรายงานตามวรรคหนึ่งแล้ว
ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ถ้าเห็นว่ากรณีไม่มีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยในเรื่องอื่นด้วย
ให้ยุติไม่ต้องดำเนินการทางวินัยสำหรับเรื่องอื่นนั้น
(๒)
ถ้าเห็นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยในเรื่องอื่นด้วย
ให้ดำเนินการทางวินัยในเรื่องอื่นนั้นด้วยตามกฎ ก.พ. นี้
ในกรณีที่การกระทำผิดวินัยในเรื่องอื่นนั้นเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
จะแต่งตั้งให้คณะกรรมการสอบสวนคณะเดิมหรือจะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนคณะใหม่ดำเนินการสอบสวนและพิจารณาในเรื่องอื่นนั้นก็ได้
ข้อ ๕๐ ในกรณีที่การสอบสวนพาดพิงไปถึงข้าราชการพลเรือนผู้อื่น
ถ้าคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาเห็นว่าผู้นั้นมีส่วนร่วมกระทำการในเรื่องที่สอบสวนนั้นด้วย
ให้คณะกรรมการสอบสวนรายงานต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยเร็วเพื่อพิจารณาดำเนินการตามกฎ
ก.พ. นี้ ต่อไป
ในกรณีที่การสอบสวนพาดพิงไปถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่นหรือบุคคลอื่น
ถ้าคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาเห็นว่าผู้นั้นมีส่วนร่วมกระทำการในเรื่องที่สอบสวนนั้นด้วย
ให้คณะกรรมการสอบสวนรายงานต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยเร็วเพื่อพิจารณาตามที่เห็นสมควรต่อไป
ข้อ ๕๑ ในกรณีที่ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการพลเรือนผู้อื่นร่วมกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในเรื่องที่สอบสวนตามข้อ
๕๐ วรรคหนึ่ง ให้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อทำการสอบสวนผู้นั้น
โดยจะแต่งตั้งให้คณะกรรมการสอบสวนคณะเดิมหรือจะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนคณะใหม่ดำเนินการสอบสวนและพิจารณาก็ได้
แต่ถ้าเป็นกรณีที่มีผลทำให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗
เปลี่ยนไป ให้ส่งเรื่องไปยังผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗
หรือผู้มีอำนาจตามมาตรา ๙๔ แล้วแต่กรณี
ของข้าราชการพลเรือนผู้นั้นเพื่อดำเนินการต่อไป
พยานหลักฐานที่ได้จากการสอบสวนในเรื่องที่สอบสวนเดิม
คณะกรรมการสอบสวนจะใช้ประกอบการพิจารณาดำเนินการทางวินัยแก่บุคคลตามวรรคหนึ่งได้ต่อเมื่อได้แจ้งให้ผู้นั้นทราบและให้โอกาสผู้นั้นได้ใช้สิทธิตามกฎ
ก.พ. นี้แล้ว
ข้อ ๕๒ เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
ได้ให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา
และได้รวบรวมพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาได้แล้ว ให้คณะกรรมการสอบสวนประชุมเพื่อพิจารณาทำความเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน
ในการพิจารณาทำความเห็นตามวรรคหนึ่ง
คณะกรรมการสอบสวนต้องพิจารณาทั้งข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย
และพิจารณามีมติในเรื่องที่สอบสวนให้ครบทุกข้อกล่าวหาและทุกประเด็น
ว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยในเรื่องที่สอบสวนหรือไม่
ถ้าเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดวินัย
ต้องพิจารณาให้ได้ความด้วยว่าเป็นความผิดวินัยกรณีใด ตามมาตราใด
ควรได้รับโทษสถานใด และมีเหตุอันควรลดหย่อนหรือไม่ เพียงใด
ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าผลการสอบสวนยังไม่ได้ความแน่ชัดพอที่จะลงโทษเพราะกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
แต่เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการบกพร่องในหน้าที่ราชการ
ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ
หรือมีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวน
ถ้าให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการตามมาตรา ๑๑๐ (๖) หรือ (๗)
แล้วแต่กรณี ก็ให้ทำความเห็นเสนอไว้ในรายงานการสอบสวนด้วย
การประชุมเพื่อพิจารณาทำความเห็นตามข้อนี้
ต้องมีกรรมการสอบสวนมาประชุมไม่น้อยกว่าสามคนและไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการสอบสวนทั้งหมด
ข้อ ๕๓ เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้ดำเนินการตามข้อ
๕๒ แล้ว
ให้จัดทำรายงานการสอบสวนเสนอต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามแบบที่สำนักงาน
ก.พ. กำหนด โดยให้เสนอไปพร้อมสำนวนการสอบสวน
รายงานการสอบสวนตามวรรคหนึ่ง
อย่างน้อยต้องประกอบด้วยเรื่องที่สอบสวนข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อกล่าวหา พยานหลักฐานที่สนับสนุนหรือหักล้างข้อกล่าวหา
ประเด็นที่ต้องพิจารณาความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนตามข้อ ๕๒ วรรคสอง และวรรคสาม
และลายมือชื่อกรรมการสอบสวนทุกคน
รวมทั้งให้ประธานกรรมการลงลายมือชื่อกำกับไว้ในรายงานการสอบสวนหน้าอื่นด้วยทุกหน้าในกรณีที่กรรมการสอบสวนคนใดมีเหตุจำเป็นไม่อาจลงลายมือชื่อได้
ให้ประธานกรรมการสอบสวนบันทึกเหตุจำเป็นดังกล่าวไว้ด้วย
และในกรณีที่กรรมการสอบสวนผู้ใดมีความเห็นแย้ง
ให้แสดงชื่อและสรุปความเห็นแย้งของผู้นั้นไว้ในรายงานการสอบสวนด้วย ในการนี้
ผู้มีความเห็นแย้งนั้นจะทำบันทึกรายละเอียดความเห็นแย้งและลงลายมือชื่อของตนแนบไว้กับรายงานการสอบสวนด้วยก็ได้
ข้อ ๕๔ ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวนและจัดทำรายงานการสอบสวนพร้อมทั้งสำนวนการสอบสวนเสนอต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่มีการประชุมคณะกรรมการสอบสวนครั้งแรกตามข้อ
๒๗
ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนมีเหตุผลและความจำเป็นไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
ให้ประธานกรรมการรายงานต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อขอขยายเวลาสอบสวนตามความจำเป็น
และให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาขยายเวลาได้ครั้งละไม่เกินหกสิบวัน
ในกรณีที่ได้มีการขยายเวลาจนทำให้การสอบสวนดำเนินการเกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่มีการประชุมคณะกรรมการสอบสวนครั้งแรกตามข้อ
๒๗ ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนรายงาน อ.ก.พ.
กระทรวงที่ผู้ถูกกล่าวหาสังกัดอยู่ทราบ เพื่อติดตามเร่งรัดให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วต่อไป
ข้อ ๕๕ เมื่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนได้รับรายงานการสอบสวนและสำนวนการสอบสวนแล้ว
ให้พิจารณาตรวจสอบความถูกต้องของการสอบสวน ถ้าเห็นว่าการสอบสวนถูกต้องครบถ้วนแล้ว
ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการตามข้อ ๕๖
แต่ถ้าเห็นว่าการสอบสวนยังไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน
ก็ให้สั่งหรือดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ในกรณีที่เห็นว่ายังไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาหรือการแจ้งข้อกล่าวหายังไม่ครบถ้วน
ให้สั่งให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหาหรือแจ้งข้อกล่าวหาให้ครบถ้วนโดยเร็ว
(๒) ในกรณีที่เห็นว่าควรรวบรวมข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานเพิ่มเติม
ให้กำหนดประเด็นหรือข้อสำคัญที่ต้องการให้คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติมโดยไม่ต้องทำความเห็น
(๓) ในกรณีที่เห็นว่าการดำเนินการใดไม่ถูกต้อง
ให้สั่งให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการให้ถูกต้องโดยเร็ว
ข้อ ๕๖ เมื่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าการสอบสวนถูกต้องครบถ้วนแล้วให้พิจารณามีความเห็นเพื่อสั่งหรือดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำผิดวินัย
หรือกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ถ้าผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงหรือไม่ได้กระทำผิดวินัย
ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไปแต่ถ้าเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงก็ให้ดำเนินการตาม
(๒)
(๒) ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือไม่
และไม่ว่าผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนจะเห็นด้วยกับความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนหรือไม่ก็ตามให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๕๗ ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. จังหวัด อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. กระทรวง
ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาสังกัดอยู่ตามที่กำหนดในข้อ ๕๘ แล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาต่อไป
(๓)
ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าผลการสอบสวนยังไม่ได้ความแน่ชัดพอที่จะลงโทษเพราะกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
แต่เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ
บกพร่องในหน้าที่ราชการ ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ
หรือมีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวน
ถ้าให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ
ถ้าผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นด้วยกับความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนให้พิจารณาดำเนินการตามมาตรา
๑๑๐ (๖) หรือ (๗) ต่อไป แต่ถ้าเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำผิดวินัย
หรือกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
และถ้าเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงก็ให้ดำเนินการตาม (๒)
ข้อ ๕๗ ในกรณีที่มีการย้าย
การโอน หรือการเลื่อนผู้ถูกกล่าวหา
อันมีผลทำให้ผู้มีอำนาจสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเปลี่ยนไป
ให้คณะกรรมการสอบสวนที่ได้แต่งตั้งไว้แล้วนั้น ดำเนินการต่อไปจนเสร็จ
และทำรายงานการสอบสวนเสนอไปพร้อมกับสำนวนการสอบสวนต่อผู้บังคับบัญชาเดิมที่เป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตรวจสอบความถูกต้องของการดำเนินการเพื่อส่งไปยังผู้บังคับบัญชาใหม่ที่เป็นผู้ซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๕๗ หรือผู้มีอำนาจตามมาตรา ๙๔ พิจารณาสั่งหรือดำเนินการตามข้อ ๕๕ ต่อไป
และถ้าในระหว่างการสอบสวนมีกรณีที่ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนต้องสั่งการอย่างใดเพื่อให้การสอบสวนนั้นดำเนินการต่อไปได้
ให้ผู้บังคับบัญชาเดิมส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาใหม่ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาต่อไป
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาใหม่ซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗
หรือผู้มีอำนาจตามมาตรา ๙๔ ตามวรรคหนึ่ง เห็นสมควรให้ดำเนินการตามข้อ ๕๕
จะสั่งให้คณะกรรมการสอบสวนคณะเดิมดำเนินการหรือในกรณีที่เห็นเป็นการสมควร
จะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นใหม่เพื่อดำเนินการก็ได้ โดยให้นำข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙
มาใช้บังคับ
ข้อ ๕๘ การส่งเรื่องให้
อ.ก.พ. จังหวัด อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. กระทรวง พิจารณาตามข้อ ๕๖ (๒)
ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ให้ส่งเรื่องให้
อ.ก.พ. จังหวัด ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาสังกัดอยู่ เป็นผู้พิจารณา
(๒) ในกรณีที่อธิบดี ปลัดกระทรวงในฐานะอธิบดี หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา
ซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ (๖) (๙) หรือ (๑๐)
เป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ให้ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. กรม
ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาสังกัดอยู่ เป็นผู้พิจารณา
(๓) ในกรณีที่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีเจ้าสังกัด
ปลัดกระทรวงสำหรับกรณีอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ใน (๒)
หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๕๗ (๒) (๓) (๕) หรือ (๘) เป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ให้ส่งเรื่องให้
อ.ก.พ. กระทรวง ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาสังกัดอยู่ เป็นผู้พิจารณา
ในกรณีที่มีการย้าย การโอน หรือการเลื่อนผู้ถูกกล่าวหาอันมีผลให้
อ.ก.พ. จังหวัด อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. กระทรวง
ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาสังกัดอยู่เปลี่ยนแปลงไป ให้ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. จังหวัด อ.ก.พ. กรม
หรือ อ.ก.พ. กระทรวง ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาสังกัดอยู่หลังจากการย้าย การโอน
หรือการเลื่อนนั้นเป็นผู้พิจารณา
ข้อ ๕๙ เมื่อได้รับเรื่องตามข้อ ๕๘ แล้ว อ.ก.พ.
จังหวัด อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. กระทรวง แล้วแต่กรณี
อาจพิจารณามีมติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ให้มีมติว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงกรณีใด ตามมาตราใด และให้ลงโทษสถานใด
เพราะเหตุใด โดยจะต้องมีข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญด้วยว่ามีการกระทำอย่างใด
(๒) ในกรณีที่เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
ให้มีมติว่าเป็นความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงกรณีใด ตามมาตราใด
และให้ลงโทษสถานโทษใดและอัตราโทษใด เพราะเหตุใด
หรือถ้าเห็นว่าเป็นความผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษ จะมีมติงดโทษ
โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้ ทั้งนี้
จะต้องมีข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญด้วยว่ามีการกระทำอย่างใด
(๓)
ในกรณีที่เห็นว่ายังไม่ได้ความแน่ชัดพอที่จะลงโทษกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงถ้ามีข้อเท็จจริงอันเป็นกรณีที่สมควรให้ออกจากราชการตามมาตรา
๑๑๐ (๖) หรือ (๗) ให้มีมติให้ผู้นั้นออกจากราชการ
โดยจะต้องมีข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญด้วยว่ามีการกระทำอย่างใด
มีกรณีที่สมควรให้ออกจากราชการเพราะเหตุใด ตามมาตราใด
และถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการอย่างใด
(๔) ในกรณีที่เห็นว่าการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาไม่เป็นความผิดวินัย
ให้มีมติให้สั่งยุติเรื่องหรือถ้าเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยแต่เป็นกรณีที่ไม่อาจลงโทษได้
ให้มีมติให้งดโทษ
(๕)
ในกรณีที่เห็นว่าข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอหรือการดำเนินการใดยังไม่ถูกต้องครบถ้วนให้มีมติให้สอบสวนเพิ่มเติม
แก้ไข หรือดำเนินการให้ถูกต้องตามควรแก่กรณี
ข้อ ๖๐ ในกรณีที่ปรากฏว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนไม่ถูกต้องตามข้อ
๑๘ ให้การสอบสวนทั้งหมดเสียไป และให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๕๗ หรือผู้มีอำนาจตามมาตรา ๙๔ แล้วแต่กรณี แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อดำเนินการสอบสวนใหม่ให้ถูกต้อง
ข้อ ๖๑ ในกรณีที่ปรากฏว่าการดำเนินการใดไม่ถูกต้องตามกฎ
ก.พ. นี้ ให้เฉพาะการดำเนินการนั้นเสียไป
และถ้าการดำเนินการนั้นเป็นสาระสำคัญที่ต้องดำเนินการหรือหากไม่ดำเนินการจะทำให้เสียความเป็นธรรม
ให้แก้ไขหรือดำเนินการนั้นเสียใหม่ให้ถูกต้องโดยเร็ว
ข้อ ๖๒ ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาผู้ใดตายในระหว่างการสอบสวน
ให้การดำเนินการทางวินัยแก่ผู้นั้นเป็นอันยุติ
แต่ให้คณะกรรมการสอบสวนและผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องต่อไปเท่าที่สามารถจะกระทำได้
แล้วทำความเห็นเสนอต่อกระทรวงเจ้าสังกัดเพื่อพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๖๓ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการสอบสวนโดยอนุโลม
เว้นแต่องค์ประชุมกรรมการสอบสวนตามข้อ ๓๘ และข้อ ๕๒
หมวด ๕
กรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง
ข้อ ๖๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
และได้รับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชา
หรือได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพและได้มีการบันทึกถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือหรือมีหนังสือรับสารภาพต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือคณะกรรมการสอบสวนตามกฎ
ก.พ. นี้ ถือเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง
ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ จะพิจารณาดำเนินการทางวินัยโดยไม่ต้องสอบสวนหรืองดการสอบสวนก็ได้
ข้อ ๖๕ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในกรณีดังต่อไปนี้
ถือเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗
หรือผู้มีอำนาจตามมาตรา ๙๔ แล้วแต่กรณี
จะดำเนินการทางวินัยโดยไม่ต้องสอบสวนหรืองดการสอบสวนก็ได้
(๑)
ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวัน
โดยไม่กลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการอีกเลย
และผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗
ได้ดำเนินการหรือสั่งให้ดำเนินการสืบสวนแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควร
หรือมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ
(๒)
กระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือให้รับโทษที่หนักกว่าจำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๓)
กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงและได้รับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชา
หรือได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพและได้มีการบันทึกถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือหรือมีหนังสือรับสารภาพต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือคณะกรรมการสอบสวนตามกฎ
ก.พ. นี้
หมวด ๖
การสั่งยุติเรื่อง
ลงโทษ หรืองดโทษ
ข้อ ๖๖ การสั่งยุติเรื่องตามมาตรา ๙๒ วรรคสอง
มาตรา ๙๓ วรรคสอง หรือมาตรา ๙๗ วรรคสอง ให้ทำเป็นคำสั่ง
ระบุชื่อและตำแหน่งของผู้ถูกกล่าวหา เรื่องที่ถูกกล่าวหาและผลการพิจารณา ทั้งนี้ ตามแบบที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด
และให้ลงลายมือชื่อและตำแหน่งของผู้สั่ง และวันเดือนปีที่ออกคำสั่งไว้ด้วย
ข้อ ๖๗ โทษสำหรับกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงตามมาตรา
๙๖ ที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจสั่งลงโทษได้
มีดังต่อไปนี้
(๑) ภาคทัณฑ์
(๒) ตัดเงินเดือนได้ครั้งหนึ่งในอัตราร้อยละ ๒ หรือร้อยละ ๔
ของเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับในวันที่มีคำสั่งลงโทษเป็นเวลาหนึ่งเดือน สองเดือน
หรือสามเดือน
(๓) ลดเงินเดือนได้ครั้งหนึ่งในอัตราร้อยละ ๒ หรือร้อยละ ๔
ของเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับในวันที่มีคำสั่งลงโทษ
การสั่งลงโทษตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือน
ถ้าจำนวนเงินที่จะต้องตัดหรือลดมีเศษไม่ถึงสิบบาทให้ปัดเศษทิ้ง
ข้อ ๖๘ โทษสำหรับกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามมาตรา
๙๗ ที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจสั่งลงโทษได้
มีดังต่อไปนี้
(๑) ปลดออก
(๒) ไล่ออก
ข้อ ๖๙ การสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน
ลดเงินเดือน ปลดออก หรือไล่ออก ให้ทำเป็นคำสั่งระบุชื่อและตำแหน่งของผู้ถูกลงโทษ
แสดงข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญว่าผู้ถูกลงโทษกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงหรืออย่างร้ายแรงในกรณีใด
ตามมาตราใด พร้อมทั้งสิทธิในการอุทธรณ์และระยะเวลาในการอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๑๔
ไว้ในคำสั่งนั้นด้วย ทั้งนี้
ตามแบบที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด และให้ลงลายมือชื่อและตำแหน่งของผู้สั่ง
และวันเดือนปีที่ออกคำสั่งไว้ด้วย
ข้อ ๗๐ การสั่งลงโทษ
ให้สั่งให้มีผลตั้งแต่วันหรือระยะเวลาดังต่อไปนี้
(๑) การสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ให้สั่งให้มีผลตั้งแต่วันที่มีคำสั่ง
(๒) การสั่งลงโทษตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือน
ให้สั่งให้มีผลตั้งแต่เดือนที่มีคำสั่ง
(๓) การสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก ให้สั่งให้มีผลตามระเบียบที่ ก.พ.
กำหนดตามมาตรา ๑๐๗ วรรคสอง
ข้อ ๗๑ การสั่งงดโทษตามมาตรา
๙๖ วรรคสาม ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ทำเป็นคำสั่ง
และให้ระบุไว้ในคำสั่งด้วยว่าให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือน ทั้งนี้ ตามแบบที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด
ข้อ ๗๒ การสั่งงดโทษตามมาตรา ๑๐๐ วรรคสอง
สำหรับกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งออกจากราชการไปแล้วแต่มีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงอยู่ก่อนตามมาตรา
๑๐๐ วรรคหนึ่ง และผลการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ สั่งงดโทษ ทั้งนี้ ตามแบบที่สำนักงาน
ก.พ. กำหนด
ข้อ ๗๓ เมื่อได้มีคำสั่งยุติเรื่อง ลงโทษ
หรืองดโทษแล้ว ให้ดำเนินการแจ้งคำสั่งให้ผู้ถูกลงโทษหรือผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยเร็ว
และให้ผู้ถูกลงโทษหรือผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อและวันที่รับทราบไว้เป็นหลักฐานและให้มอบสำเนาคำสั่งให้ผู้ถูกลงโทษหรือผู้ถูกกล่าวหาไว้หนึ่งฉบับด้วย
ถ้าผู้ถูกลงโทษหรือผู้ถูกกล่าวหาไม่ยอมลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่ง
เมื่อได้ทำบันทึกลงวันที่และสถานที่ที่แจ้งและลงลายมือชื่อผู้แจ้งพร้อมทั้งพยานรู้เห็นไว้เป็นหลักฐานแล้ว
ให้ถือวันที่แจ้งนั้นเป็นวันรับทราบ
ในกรณีที่ไม่อาจแจ้งให้ทราบตามวรรคหนึ่งได้หรือมีเหตุจำเป็นอื่น
ให้ส่งสำเนาคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูกลงโทษหรือผู้ถูกกล่าวหา ณ
ที่อยู่ของผู้ถูกลงโทษหรือผู้ถูกกล่าวหาซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ
ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าผู้ถูกลงโทษหรือผู้ถูกกล่าวหาได้รับแจ้งเมื่อครบกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันส่งสำหรับกรณีส่งในประเทศ
หรือเมื่อครบสิบห้าวันนับแต่วันส่งสำหรับกรณีส่งไปยังต่างประเทศ
หมวด ๗
การมีคำสั่งใหม่กรณีมีการเพิ่มโทษ
ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ
ข้อ ๗๔ ในกรณีที่มีการเพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษ
หรือยกโทษ ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีคำสั่งใหม่
โดยให้สั่งยกเลิกคำสั่งลงโทษเดิม แล้วสั่งใหม่ให้เป็นไปตามนั้น
คำสั่งใหม่ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด
โดยอย่างน้อยให้มีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้
(๑) อ้างถึงคำสั่งลงโทษเดิมก่อนมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ
(๒) อ้างถึงมติของ อ.ก.พ. กระทรวง หรือของ ก.พ. หรือคำวินิจฉัยของ
ก.พ.ค. หรือขององค์กรตามกฎหมายอื่น ที่ให้เพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ
แล้วแต่กรณี โดยแสดงสาระสำคัญโดยสรุปไว้ด้วย
(๓) สั่งให้ยกเลิกคำสั่งลงโทษเดิมตาม (๑)
และมีคำสั่งใหม่ให้เป็นไปตาม (๒)
(๔) ระบุวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับโทษที่ได้รับไปแล้ว
ข้อ ๗๕ ในกรณีที่คำสั่งเดิมเป็นคำสั่งลงโทษไล่ออกหรือปลดออก
ถ้ามีการลดโทษเป็นปลดออกหรือเพิ่มโทษเป็นไล่ออก
จะสั่งให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันใด ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา
๑๐๗ วรรคสอง
ข้อ ๗๖ ในกรณีที่คำสั่งเดิมเป็นคำสั่งลงโทษไล่ออกหรือปลดออก
ถ้ามีการลดโทษเพื่อจะสั่งลงโทษใหม่ในความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง งดโทษ หรือยกโทษ
ในคำสั่งใหม่ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการและสั่งลงโทษใหม่ในความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
งดโทษ หรือยกโทษ แล้วแต่กรณี
การสั่งให้กลับเข้ารับราชการ ให้สั่งให้ผู้นั้นดำรงตำแหน่งตามเดิม
หรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกันหรือในตำแหน่งประเภทและระดับที่
ก.พ. กำหนด ทั้งนี้ ผู้นั้นต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น
ในกรณีที่ไม่อาจสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการได้
เพราะเหตุที่ก่อนที่จะมีคำสั่งใหม่นั้น
ผู้นั้นพ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ตาย
หรือออกจากราชการเนื่องจากเหตุอื่นให้สั่งงดโทษ หรือสั่งยุติเรื่อง แล้วแต่กรณี
แล้วให้แสดงเหตุที่ไม่อาจสั่งให้กลับเข้ารับราชการไว้ในคำสั่งนั้นด้วย
ในคำสั่งใหม่ให้ระบุด้วยว่าเงินเดือนระหว่างที่ถูกไล่ออกหรือปลดออกให้เบิกจ่ายให้ผู้นั้นตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น
ข้อ ๗๗ ในกรณีที่คำสั่งลงโทษเดิมเป็นคำสั่งลงโทษในความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
ถ้ามีการเพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ ในคำสั่งใหม่ให้ระบุการดำเนินการเกี่ยวกับโทษที่ได้รับไปแล้วดังต่อไปนี้
(๑) ถ้าเป็นกรณียกโทษ ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยได้รับโทษทางวินัยมาก่อน
และให้ผู้นั้นกลับคืนสู่สถานะเดิมก่อนมีการลงโทษ
ในกรณีที่ได้มีการตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือนผู้นั้นไปเท่าใด
ให้คืนเงินที่ได้ตัดหรือลดไว้ดังกล่าวให้ผู้นั้น
(๒) ถ้าเป็นกรณีงดโทษ
ในกรณีที่ได้มีการตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือนผู้นั้นไปเท่าใด
ให้คืนเงินที่ได้ตัดหรือลดไว้ดังกล่าวให้ผู้นั้น
(๓) ถ้าเป็นกรณีที่มีผลให้ยังคงต้องลงโทษผู้นั้นอยู่
ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มโทษหรือลดโทษก็ตามให้ดำเนินการดังนี้
(ก) ถ้าเป็นการเพิ่มโทษให้เป็นโทษตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือน
ให้คิดคำนวณจำนวนเงินเดือนที่จะตัดหรือลดตามอัตราโทษใหม่จากเงินเดือนเดิมในขณะที่มีคำสั่งลงโทษเดิม
และให้คืนเงินที่ได้ตัดหรือลดไปแล้วนั้นให้ผู้นั้น
(ข) ถ้าเป็นการเพิ่มโทษจากโทษตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือนเป็นปลดออกหรือไล่ออกให้คืนเงินที่ได้ตัดหรือลดไปแล้วนั้นให้ผู้นั้น
(ค) ถ้าเป็นการลดโทษให้เป็นโทษภาคทัณฑ์ ให้ลงโทษให้เป็นไปตามนั้น
ในกรณีที่ได้มีการตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือนผู้นั้นไปเท่าใด
ให้คืนเงินที่ได้ตัดหรือลดไว้ดังกล่าวให้ผู้นั้น
(ง) ถ้าเป็นการลดโทษให้เป็นโทษตัดเงินเดือน
ให้คิดคำนวณจำนวนเงินที่จะตัดตามอัตราโทษใหม่จากเงินเดือนเดิมในขณะที่มีคำสั่งลงโทษเดิม
และให้คืนเงินที่ได้ลดไปแล้วนั้นให้ผู้นั้น
(จ) ถ้าเป็นการเพิ่มหรือลดอัตราโทษของโทษตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือน
ให้คิดคำนวณจำนวนเงินที่จะตัดหรือลดตามอัตราโทษใหม่จากเงินเดือนเดิมในขณะที่มีคำสั่งลงโทษเดิม
ในกรณีที่จำนวนเงินที่จะต้องตัดหรือลดตามคำสั่งลงโทษใหม่
ต่ำกว่าจำนวนเงินที่ได้ถูกตัดหรือลดตามคำสั่งลงโทษเดิมให้คืนเงินส่วนที่ได้ตัดหรือลดไว้เกินนั้นให้ผู้นั้น
หมวด ๘
การสั่งพักราชการและให้ออกจากราชการไว้ก่อน
ข้อ ๗๘ เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน
หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา
เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๕๗ จะสั่งให้ผู้นั้นพักราชการเพื่อรอฟังผลการสอบสวนหรือพิจารณา
หรือผลแห่งคดีได้ต่อเมื่อมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้นั้นถูกตั้งกรรมการสอบสวน
และผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ พิจารณาเห็นว่าถ้าผู้นั้นคงอยู่ในหน้าที่ราชการต่อไปอาจเกิดการเสียหายแก่ราชการ
(๒) ผู้นั้นถูกฟ้องคดีอาญา
หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาในเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต
หรือเกี่ยวกับความประพฤติหรือพฤติการณ์อันไม่น่าไว้วางใจโดยพนักงานอัยการมิได้รับเป็นทนายแก้ต่างให้
และผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ พิจารณาเห็นว่าถ้าผู้นั้นคงอยู่ในหน้าที่ราชการอาจเกิดการเสียหายแก่ราชการ
(๓)
ผู้นั้นมีพฤติการณ์ที่แสดงว่าถ้าคงอยู่ในหน้าที่ราชการจะเป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนพิจารณาหรือจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้น
(๔) ผู้นั้นอยู่ในระหว่างถูกควบคุมหรือขังโดยเป็นผู้ถูกจับในคดีอาญาหรือต้องจำคุกโดยคำพิพากษาและได้ถูกควบคุม
ขัง หรือต้องจำคุก เป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่าสิบห้าวันแล้ว
(๕)
ผู้นั้นถูกตั้งกรรมการสอบสวนและต่อมามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำความผิดอาญาในเรื่องที่สอบสวนนั้น
หรือผู้นั้นถูกตั้งกรรมการสอบสวนภายหลังที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำความผิดอาญาในเรื่องที่สอบสวนนั้น
และผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗
พิจารณาเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำพิพากษาถึงที่สุดนั้น
ได้ความประจักษ์ชัดอยู่แล้วว่าการกระทำความผิดอาญาของผู้นั้นเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ข้อ ๗๙ การสั่งพักราชการให้สั่งพักตลอดเวลาที่สอบสวนหรือพิจารณา
เว้นแต่ผู้ถูกสั่งพักราชการผู้ใดได้ร้องทุกข์ตามมาตรา ๑๒๒
และผู้มีอำนาจพิจารณาคำร้องทุกข์เห็นว่าสมควรสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนการสอบสวนหรือพิจารณาเสร็จสิ้น
เนื่องจากพฤติการณ์ของผู้ถูกสั่งพักราชการไม่เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนหรือพิจารณา
และไม่ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยต่อไป
หรือเนื่องจากการดำเนินการทางวินัยได้ล่วงพ้นหนึ่งปีนับแต่วันพักราชการแล้วยังไม่แล้วเสร็จและผู้ถูกสั่งพักราชการไม่มีพฤติกรรมดังกล่าว
ให้ผู้มีอำนาจสั่งพักราชการสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนการสอบสวนหรือพิจารณาเสร็จสิ้น
ข้อ ๘๐ ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวนหลายสำนวน
หรือถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาว่ากระทำความผิดในคดีอาญาหลายคดีถ้าจะสั่งพักราชการในสำนวนหรือคดีใดที่เข้าลักษณะตามข้อ
๗๘ ให้สั่งพักราชการในสำนวนหรือคดีอื่นทุกสำนวนหรือทุกคดีที่เข้าลักษณะตามข้อ ๗๘
ด้วย
ในกรณีที่ได้สั่งพักราชการในสำนวนใดหรือคดีใดไว้แล้ว
ถ้าภายหลังปรากฏว่าผู้ถูกสั่งพักนั้นมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวนในสำนวนอื่น
หรือถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาในคดีอาญาในคดีอื่นเพิ่มขึ้น
ก็ให้สั่งพักราชการในสำนวนหรือคดีอื่นที่เพิ่มขึ้นและเข้าลักษณะตามข้อ ๗๘ นั้นด้วย
ข้อ ๘๑ การสั่งพักราชการ ให้สั่งพักตั้งแต่วันออกคำสั่ง
เว้นแต่
(๑)
ผู้ซึ่งจะถูกสั่งพักราชการอยู่ในระหว่างถูกควบคุมหรือขังโดยเป็นผู้ถูกจับในคดีอาญาหรือต้องจำคุกโดยคำพิพากษา
การสั่งพักราชการในเรื่องนั้นให้สั่งพักย้อนหลังไปถึงวันที่ถูกควบคุม
ขังหรือต้องจำคุก
(๒) ในกรณีที่ได้มีการสั่งพักราชการไว้แล้ว
ถ้าจะต้องสั่งใหม่เพราะคำสั่งเดิมไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องให้สั่งพักตั้งแต่วันให้พักราชการตามคำสั่งเดิม
หรือตามวันที่ควรต้องพักราชการในขณะที่ออกคำสั่งเดิม
ข้อ ๘๒ คำสั่งพักราชการต้องระบุชื่อและตำแหน่งของผู้ถูกสั่งพักราชการ
ตลอดจนกรณีและเหตุที่สั่งพักราชการ และวันที่คำสั่งมีผลใช้บังคับ
เมื่อได้มีคำสั่งให้ผู้ใดพักราชการ ให้แจ้งคำสั่งให้ผู้นั้นทราบ
และให้นำข้อ ๗๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๘๓ ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีเหตุที่อาจถูกสั่งพักราชการตามข้อ
๗๘ และผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗
พิจารณาเห็นว่าการสอบสวนหรือพิจารณา หรือการดำเนินคดีนั้น จะไม่แล้วเสร็จโดยเร็ว
ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวจะสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการไว้ก่อนก็ได้
ในกรณีที่ได้สั่งพักราชการไว้แล้ว
จะพิจารณาตามวรรคหนึ่งและสั่งให้ผู้ถูกสั่งพักราชการนั้นออกจากราชการไว้ก่อนแทนการสั่งพักราชการก็ได้
ข้อ ๘๔ การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
ให้สั่งให้มีผลตั้งแต่วันออกคำสั่ง
แต่ถ้าเป็นกรณีที่ได้สั่งให้พักราชการไว้ก่อนแล้ว
ให้สั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตั้งแต่วันสั่งพักราชการเป็นต้นไป
หรือในกรณีที่มีเหตุตามข้อ ๘๑ ให้สั่งให้มีผลตั้งแต่วันที่กำหนดไว้ในข้อ ๘๑ นั้น
ให้นำข้อ ๗๙ ข้อ ๘๐ และข้อ ๘๒
มาใช้บังคับแก่การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนโดยอนุโลม
ข้อ ๘๕ การสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
หรือประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิออกจากราชการไว้ก่อน ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่งนับแต่วันออกจากราชการไว้ก่อน
ข้อ ๘๖ เมื่อได้สั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดพักราชการในกรณีที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน
และปรากฏผลการสอบสวนหรือพิจารณาแล้วให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่ผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ดำเนินการตามมาตรา
๙๗
(๒) ในกรณีที่ผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการตามข้อ ๙๑ แล้วดำเนินการตามมาตรา ๙๖
แต่หากมีกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้สั่งงดโทษตามมาตรา ๑๐๐ วรรคสอง
โดยไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ
และแสดงกรณีกระทำผิดวินัยนั้นไว้ในคำสั่งด้วย
(ก)
ผู้นั้นได้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้ว
(ข) ผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการ
(ค) ผู้นั้นได้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่นไปแล้ว โดยมิใช่เพราะเหตุตาย
(๓) ในกรณีที่ผู้นั้นมิได้กระทำผิดวินัย
ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการตามข้อ ๙๑ และสั่งยุติเรื่อง
แต่หากมีกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
ให้สั่งยุติเรื่องโดยไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ และแสดงเหตุที่ไม่สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการไว้ในคำสั่งนั้นด้วย
(ก)
ผู้นั้นได้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้ว
(ข) ผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการ
(ค) ผู้นั้นได้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่นไปแล้ว โดยมิใช่เพราะเหตุตาย
(๔)
ในกรณีที่ผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงหรือมิได้กระทำผิดวินัยแต่มีกรณีอื่นที่ผู้นั้นถูกสั่งพักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนด้วย
ถ้าจะดำเนินการตามมาตรา ๙๖
ให้รอฟังผลการสอบสวนหรือพิจารณาหรือผลแห่งคดีกรณีอื่นนั้น
โดยยังไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ
แต่ถ้าเป็นการสั่งยุติเรื่อง
ให้สั่งยุติเรื่องโดยไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการและแสดงเหตุที่ไม่สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการไว้ในคำสั่งนั้นด้วย
ข้อ ๘๗ เมื่อได้สั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดออกจากราชการไว้ก่อนในกรณีที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน
และปรากฏผลการสอบสวนหรือพิจารณาแล้วให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่ผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ดำเนินการตามมาตรา
๙๗
(๒) ในกรณีที่ผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
และไม่มีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น
ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการตามข้อ ๙๑ แล้วดำเนินการตามมาตรา ๙๖
แต่หากมีกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้สั่งงดโทษตามมาตรา ๑๐๐ วรรคสอง
โดยไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการและแสดงกรณีกระทำผิดวินัยนั้นไว้ในคำสั่งด้วย
(ก) ผู้นั้นต้องพ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ข) ผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการ
(ค) ผู้นั้นได้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่นไปแล้ว โดยมิใช่เพราะเหตุตาย
(๓) ในกรณีที่ผู้นั้นมิได้กระทำผิดวินัย ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการตามข้อ
๙๑ และสั่งยุติเรื่องแต่หากมีกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
ให้สั่งยุติเรื่องโดยไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการ
และแสดงเหตุที่ไม่สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการไว้ในคำสั่งนั้นด้วย
(ก) ผู้นั้นต้องพ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ข) ผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการ
(ค) ผู้นั้นได้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่นไปแล้ว โดยมิใช่เพราะเหตุตาย
(๔)
ในกรณีที่ผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงหรือมิได้กระทำผิดวินัย
แต่มีกรณีอื่นที่ผู้นั้นถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนด้วย ถ้าจะดำเนินการตามมาตรา
๙๖ ให้รอฟังผลการสอบสวนหรือพิจารณาหรือผลแห่งคดีกรณีอื่นนั้น
โดยยังไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการ
แต่ถ้าเป็นการสั่งยุติเรื่องให้สั่งยุติเรื่องโดยไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการ
และแสดงเหตุที่ไม่สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการไว้ในคำสั่งนั้นด้วย
(๕) ในกรณีที่ผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
แต่มีกรณีที่ผู้นั้นถูกสั่งพักราชการในกรณีอื่นด้วยให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการโดยให้แสดงไว้ในคำสั่งด้วยว่าผู้นั้นยังไม่อาจกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการได้เนื่องจากอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการในกรณีอื่น
ส่วนการดำเนินการตามมาตรา ๙๖
ให้รอฟังผลการสอบสวนหรือพิจารณาหรือผลแห่งคดีกรณีอื่นนั้น
(๖) ในกรณีที่ผู้นั้นมิได้กระทำผิดวินัย
แต่มีกรณีที่ผู้นั้นถูกสั่งพักราชการในกรณีอื่นด้วยให้สั่งยุติเรื่อง
และสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการโดยให้แสดงไว้ในคำสั่งด้วยว่าผู้นั้นยังไม่อาจกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการได้เนื่องจากอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการในกรณีอื่นนั้น
ข้อ ๘๘ เมื่อได้สั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดพักราชการในกรณีที่ถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา
และปรากฏผลแห่งคดีถึงที่สุดแล้ว ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ในกรณีที่ผู้นั้นกระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ให้ดำเนินการตามมาตรา ๙๗ โดยไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ
(๒)
ในกรณีที่ผู้นั้นกระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษหรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำสั่งของศาล
ให้ดำเนินการตามมาตรา ๙๓ หรือมาตรา ๑๑๐ (๘) แล้วแต่กรณี โดยไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ
(๓) ในกรณีที่ผู้นั้นกระทำผิดอาญาจนได้รับโทษตาม (๑) หรือ (๒)
แต่ศาลรอการกำหนดโทษหรือให้รอการลงโทษ หรือได้รับโทษอย่างอื่นนอกจาก (๑) หรือ (๒)
ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการตามข้อ ๙๑
และดำเนินการทางวินัยตามกฎ ก.พ. นี้ต่อไป
(๔)
ในกรณีที่ในคำพิพากษาถึงที่สุดมิได้วินิจฉัยว่าผู้นั้นกระทำผิดอาญา
หรือมิได้มีการฟ้องคดีอาญาในกรณีที่ต้องหาว่ากระทำผิดอาญา
ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการตามข้อ ๙๑ และถ้าการกระทำดังกล่าวมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยก็ให้ดำเนินการตามกฎ
ก.พ. นี้ต่อไป
ในกรณีที่ผู้ถูกสั่งพักราชการตาม (๓) หรือ (๔)
ได้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
หรือมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น
หรือได้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่นไปแล้ว
หรือมีกรณีอื่นที่ผู้นั้นถูกสั่งพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อน
ไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ
แต่ให้แสดงเหตุที่ไม่สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการไว้ด้วย
ข้อ ๘๙ เมื่อได้สั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดออกจากราชการไว้ก่อนในกรณีที่ถูกฟ้องคดีอาญา
หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา และปรากฏผลแห่งคดีถึงที่สุดแล้ว
ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ในกรณีที่ผู้นั้นกระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ให้ดำเนินการตามมาตรา ๙๗ โดยไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการ
(๒)
ในกรณีที่ผู้นั้นกระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษหรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำสั่งของศาล
ให้ดำเนินการตามมาตรา ๙๓ หรือมาตรา ๑๑๐ (๘) แล้วแต่กรณี โดยไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการ
(๓) ในกรณีที่ผู้นั้นกระทำผิดอาญาจนได้รับโทษตาม (๑) หรือ (๒)
แต่ศาลรอการกำหนดโทษหรือให้รอการลงโทษ หรือได้รับโทษอย่างอื่นนอกจาก (๑) หรือ (๒)
ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการตามข้อ ๙๑ และดำเนินการทางวินัยตามกฎ ก.พ.
นี้ต่อไป
(๔) ในกรณีที่ในคำพิพากษาถึงที่สุดมิได้วินิจฉัยว่าผู้นั้นกระทำผิดอาญา
หรือมิได้มีการฟ้องคดีอาญาในกรณีที่ต้องหาว่ากระทำผิดอาญา
ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการตามข้อ ๙๑
และถ้าการกระทำดังกล่าวมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยก็ให้ดำเนินการตามกฎ
ก.พ. นี้ต่อไป
ในกรณีที่ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตาม (๓) หรือ (๔)
มีกรณีอื่นที่ถูกสั่งพักราชการด้วยให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการโดยให้แสดงไว้ในคำสั่งด้วยว่าผู้นั้นยังไม่อาจกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการได้เนื่องจากอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการในกรณีอื่น
แต่ถ้าผู้นั้นได้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
หรือมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น
หรือได้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่นไปแล้ว
หรือมีกรณีอื่นที่ผู้นั้นถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
ไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการแต่ให้แสดงเหตุที่ไม่สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการไว้ด้วย
ข้อ ๙๐ ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีที่ถูกดำเนินการทางวินัย
หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาที่ไม่เข้าลักษณะตามข้อ ๗๘
และมีกรณีอื่นที่ผู้นั้นถูกสั่งพักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
เมื่อปรากฏผลการสอบสวนพิจารณาหรือผลแห่งคดีถึงที่สุดในเรื่องที่มิได้มีคำสั่งพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อน
ให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ในกรณีที่ผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
หรือผู้นั้นกระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดเว้นแต่เป็นโทษจำคุกสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ให้ดำเนินการตามมาตรา ๙๗
(๒) ในกรณีที่ผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
ให้รอการดำเนินการตามมาตรา ๙๖
ไว้ก่อนจนกว่าจะปรากฏผลการสอบสวนพิจารณาหรือผลแห่งคดีถึงที่สุดในกรณีอื่นนั้นจึงดำเนินการตามควรแก่กรณีต่อไป
(๓) ในกรณีที่สมควรให้ผู้นั้นออกจากราชการตามมาตรา ๑๑๐ (๖) (๗) หรือ
(๘) ให้ดำเนินการให้ผู้นั้นออกจากราชการได้
(๔) ในกรณีที่ผู้นั้นมิได้กระทำผิดวินัยในเรื่องนั้น
ให้สั่งยุติเรื่อง
ข้อ ๙๑ ในกรณีที่จะต้องสั่งให้ผู้ถูกสั่งพักราชการผู้ใดกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ
หรือต้องสั่งให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนผู้ใดกลับเข้ารับราชการ
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗
สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกัน
หรือในตำแหน่งประเภทและระดับที่ ก.พ. กำหนด
ทั้งนี้ ผู้นั้นต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น
ในกรณีที่สั่งให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
ให้ดำเนินการนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
ข้อ ๙๒ คำสั่งพักราชการ
คำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
คำสั่งให้กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือคำสั่งให้กลับเข้ารับราชการ
ให้มีสาระสำคัญตามแบบที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด
หมวด ๙
การนับระยะเวลา
ข้อ ๙๓ การนับระยะเวลาตามกฎ ก.พ. นี้
ถ้ากำหนดเวลาเป็นวัน สัปดาห์ หรือเดือน มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วย
เว้นแต่คณะกรรมการสอบสวนหรือผู้ซึ่งต้องใช้อำนาจตามกฎ ก.พ.
นี้จะได้เริ่มการในวันนั้น
ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนหรือผู้ซึ่งต้องใช้อำนาจตามกฎ ก.พ. นี้
ต้องกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดภายในระยะเวลาที่กำหนด
ให้นับวันสิ้นสุดของระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยแม้ว่าวันสุดท้ายเป็นวันหยุดราชการ
ในกรณีที่บุคคลอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ในวรรคสองต้องทำการอย่างหนึ่งอย่างใดภายในระยะเวลาที่กำหนด
ถ้าวันสุดท้ายเป็นวันหยุดราชการ
ให้ถือว่าระยะเวลานั้นสิ้นสุดในวันทำงานที่ถัดจากวันหยุดนั้น
หมวด ๑๐
บทเบ็ดเตล็ด
ข้อ ๙๔ ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นเป็นพิเศษที่ไม่อาจนำหลักเกณฑ์
วิธีการ และระยะเวลาที่กำหนดในกฎ ก.พ. นี้มาใช้บังคับได้
การดำเนินการในเรื่องนั้นจะสมควรดำเนินการประการใดให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๙๕ ในกรณีที่ได้มีการสั่งให้สอบสวนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดโดยถูกต้องตามกฎหมายกฎ
ระเบียบหรือหลักเกณฑ์ที่ใช้อยู่ก่อนวันที่กฎ ก.พ. นี้ใช้บังคับ
และการสอบสวนนั้นยังไม่แล้วเสร็จให้ดำเนินการสอบสวนผู้นั้นตามกฎหมาย กฎ
ระเบียบหรือหลักเกณฑ์ที่ใช้อยู่ในขณะนั้นต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ
ส่วนการพิจารณาและดำเนินการต่อไปให้ดำเนินการตามกฎ ก.พ. นี้
ข้อ ๙๖ ในกรณีที่ได้มีการสอบสวนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดโดยถูกต้องตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ หรือหลักเกณฑ์ที่ใช้อยู่ในขณะนั้นเสร็จไปแล้วในวันก่อนวันที่กฎ ก.พ.
นี้ใช้บังคับ
แต่ยังมิได้มีการพิจารณาและดำเนินการต่อไปหรือการพิจารณาดำเนินการยังไม่แล้วเสร็จ
ให้การสอบสวนนั้นเป็นอันใช้ได้ส่วนการพิจารณาและดำเนินการต่อไปให้ดำเนินการตามกฎ
ก.พ. นี้
ข้อ ๙๗ ในกรณีที่ได้มีการสอบสวนและพิจารณาโดยถูกต้องตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ หรือหลักเกณฑ์ที่ใช้อยู่ในขณะนั้นเสร็จไปแล้วก่อนวันที่กฎ ก.พ.
นี้ใช้บังคับ แต่ยังมิได้ดำเนินการให้เป็นไปตามผลการพิจารณาดังกล่าว
ให้การสอบสวนและพิจารณานั้นเป็นอันใช้ได้ ส่วนการดำเนินการต่อไปให้ดำเนินการตามกฎ
ก.พ. นี้
ในกรณีที่จะต้องสั่งลงโทษตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้กระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงก่อนวันที่กฎ
ก.พ. นี้ใช้บังคับ แต่ยังไม่ได้สั่งลงโทษ ให้สั่งลงโทษตามข้อ ๖๗ (๒) หรือ (๓)
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๙๘ ในกรณีที่ได้มีการสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนโดยถูกต้องตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ หรือหลักเกณฑ์ที่ใช้อยู่ก่อนวันที่กฎ ก.พ. นี้ใช้บังคับ
และการสอบสวนหรือการพิจารณานั้นยังไม่เสร็จ
ให้การสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนนั้นมีผลต่อไปตามกฎ ก.พ. นี้
จนกว่าจะมีการสั่งการเป็นอย่างอื่นตามกฎ ก.พ. นี้
ให้ไว้
ณ วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
พงศ์เทพ
เทพกาญจนา
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน
ก.พ.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๙๔ (๔) มาตรา ๙๕
มาตรา ๙๖ วรรคสี่ มาตรา ๙๗ วรรคสอง มาตรา ๑๐๑ วรรคแปด และมาตรา ๑๐๕
บัญญัติให้การดำเนินการทางวินัยเป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. จึงจำเป็นต้องออก กฎ ก.พ. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๖ มกราคม ๒๕๕๗
เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ
๑๑ กุมภาพันธ์
๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๑๒๖ ก/หน้า ๑๑/๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๖ |
751333 | กฎ ก.ก. ว่าด้วยการสอบคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ พ.ศ. 2559 | กฎ ก
กฎ ก.ก.
ว่าด้วยการสอบคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ
ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับปฏิบัติการ
พ.ศ. ๒๕๕๙
อาศัยอำนาจตามมาตรา
๑๔ (๓) และมาตรา ๔๔
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๔
ประกอบมาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.ก. จึงออกกฎ
ก.ก. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑[๑] กฎ ก.ก.
นี้ให้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๒ ในกฎ ก.ก. นี้
การสอบคัดเลือกข้าราชการ หมายความว่า
การสอบคัดเลือกข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับปฏิบัติการ
ข้อ
๓ เมื่อกรุงเทพมหานครมีตำแหน่งว่าง
หรือกรุงเทพมหานครกำหนดให้ปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งจากตำแหน่งประเภททั่วไป
เป็นตำแหน่งประเภทวิชาการ ให้กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานครสำรวจตำแหน่ง
สายงาน และจำนวนตำแหน่ง
นำเสนอปลัดกรุงเทพมหานครเพื่ออนุมัติให้จัดสอบคัดเลือกข้าราชการ
และดำเนินการสอบคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ก. นี้
ข้อ
๔ ในการกำหนดตำแหน่งและสายงานที่จะดำเนินการสอบคัดเลือกข้าราชการ
ตามข้อ ๓ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑)
ไม่เป็นตำแหน่งที่ใช้คุณวุฒิที่ ก.ก.
กำหนดให้คัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ
(๒)
ไม่เป็นตำแหน่งที่มีการขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ และ
(๓)
เป็นตำแหน่งที่กรุงเทพมหานครกำหนดให้ปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งจากตำแหน่งประเภททั่วไป
เป็นตำแหน่งประเภทวิชาการ เพื่อให้สอดคล้องกับบทบาท ภารกิจของหน่วยงาน
หน้าที่และความรับผิดชอบ และลักษณะงานที่ปฏิบัติของตำแหน่ง
ที่มีผู้ดำรงตำแหน่งอยู่เดิมที่มีคุณสมบัติ ความรู้ความสามารถ
หรือประสบการณ์ตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งนั้น ซึ่งปลัดกรุงเทพมหานคร อาจกำหนดจำนวนตำแหน่งที่จะดำเนินการสอบคัดเลือกข้าราชการได้เท่ากับจำนวนตำแหน่งที่กรุงเทพมหานครกำหนด
ให้ปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งก็ได้ หรือ
(๔)
เป็นตำแหน่งที่กรุงเทพมหานครมีความจำเป็นต้องใช้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถ
ทักษะและประสบการณ์ที่สั่งสมมานานเพื่อให้ภารกิจของกรุงเทพมหานครสำเร็จลุล่วง
และไม่สามารถสรรหาผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และทักษะดังกล่าวจากบุคคลภายนอกได้
หรืออาจรับสมัครจากบุคคลภายนอกได้แต่ต้องใช้เวลานานจึงจะสามารถพัฒนาความรู้
และทักษะได้ ซึ่งปลัดกรุงเทพมหานครอาจกำหนดจำนวนตำแหน่งโดยพิจารณาสัดส่วนในการสอบคัดเลือกข้าราชการได้ไม่เกินร้อยละ
๕๐ ของจำนวนตำแหน่งว่างทั้งหมด
ข้อ
๕ ให้กองการเจ้าหน้าที่
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร จัดทำประกาศรับสมัครสอบคัดเลือกข้าราชการ
และนำเสนอปลัดกรุงเทพมหานครเพื่อลงนาม โดยระบุตำแหน่ง และจำนวนตำแหน่งที่จะสอบคัดเลือก
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครสอบคัดเลือก กำหนดการ วิธีการรับสมัคร หลักสูตร
วิธีการสอบ และรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
รวมถึงการดำเนินการรับสมัครสอบคัดเลือกข้าราชการ
ข้อ
๖ ในการสอบคัดเลือกข้าราชการผู้มีสิทธิสมัครสอบต้องเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญผู้ที่ได้รับวุฒิปริญญาเพิ่มขึ้น
หรือมีวุฒิอยู่เดิม แต่มิได้ดำรงตำแหน่ง และไม่เคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับปฏิบัติการ ประสงค์จะได้รับการแต่งตั้งไปดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ
ข้อ
๗ ในการสอบคัดเลือกข้าราชการผู้มีสิทธิสมัครสอบสำหรับตำแหน่งใดต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งนั้น
และมีคุณสมบัติครบถ้วนนับถึงวันปิดรับสมัครดังนี้
(๑)
เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป
ระดับปฏิบัติงานโดยมีระยะเวลาขั้นต่ำในการดำรงตำแหน่งในสายงานตามคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง
ดังต่อไปนี้
(ก) คุณวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือต่ำกว่า
หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า ๔ ปี
(ข) คุณวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค
หรืออนุปริญญาหลักสูตร ๒ ปี หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า ๓ ปี
(ค) คุณวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
หรืออนุปริญญาหลักสูตร ๓ ปี หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี หรือ
(๒)
เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน และ
(๓)
ได้รับคุณวุฒิปริญญาตรี
หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ข้อ
๘ ให้กองการเจ้าหน้าที่
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร นำเสนอปลัดกรุงเทพมหานคร แต่งตั้งคณะกรรมการสอบคัดเลือกขึ้นคณะหนึ่ง
ประกอบด้วยประธานกรรมการ และกรรมการอื่นจำนวนไม่น้อยกว่า ๔ คน
รวมถึงการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ
ตามความจำเป็นและความเหมาะสม
ข้อ
๙ ให้คณะกรรมการสอบคัดเลือกดำเนินการสอบคัดเลือกข้าราชการตามหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกตามที่กำหนดท้ายกฎ
ก.ก. นี้ ประกอบด้วย เอกสารหมายเลข ๑ เอกสารหมายเลข ๒ และเอกสารหมายเลข ๓
โดยคณะกรรมการสอบคัดเลือกอาจแต่งตั้งคณะกรรมการออกข้อสอบและตรวจกระดาษคำตอบ
คณะกรรมการสัมภาษณ์ หรือคณะกรรมการอื่น
ข้อ
๑๐ เกณฑ์การตัดสินว่าผู้ใดเป็นผู้สอบคัดเลือกได้
ผู้นั้นต้องได้คะแนนในแต่ละภาคไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐
ข้อ
๑๑ ถ้าปรากฏว่ามีการทุจริตหรือส่อไปในทางทุจริตอันอาจทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการสอบคัดเลือก
ให้รายงานคณะกรรมการสอบคัดเลือกเพื่อพิจารณาว่าจะสมควรตัดสิทธิผู้ทุจริตหรือส่อไปในทางทุจริตในการสอบ
หรือจะสมควรยกเลิกการสอบคัดเลือกครั้งนั้นทั้งหมด
หรือจะพิจารณายกเลิกการสอบเฉพาะภาค
หากคณะกรรมการสอบคัดเลือกให้ยกเลิกการสอบเฉพาะตำแหน่งในภาคใดแล้ว
ก็ให้ดำเนินการสอบคัดเลือกเฉพาะตำแหน่งหรือเฉพาะภาคใหม่ สำหรับผู้ที่ทุจริต
หรือส่อไปในทางทุจริต และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต
หรือส่อไปในทางทุจริตให้พิจารณาดำเนินการทางวินัย
และตัดสิทธิในการสอบครั้งนั้นเมื่อผลการพิจารณาเป็นประการใดให้รายงานปลัดกรุงเทพมหานครทราบ
ข้อ
๑๒ เมื่อได้ดำเนินการสอบคัดเลือกข้าราชการเสร็จแล้ว
ให้คณะกรรมการสอบคัดเลือกจัดทำประกาศผลการสอบคัดเลือก
นำเสนอปลัดกรุงเทพมหานครเพื่อลงนาม โดยเรียงลำดับรายชื่อผู้สอบคัดเลือกได้ตามผลคะแนนดังนี้
(๑)
ให้ผู้สอบคัดเลือกได้คะแนนรวมสูงสุดอยู่ในลำดับก่อน
(๒)
ในกรณีที่มีผู้สอบคัดเลือกได้คะแนนรวมเท่ากัน
ให้ผู้ที่ได้คะแนนจากการสอบภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งมากกว่าอยู่ในลำดับก่อน
(๓)
ในกรณีที่มีผลคะแนนรวมเท่ากัน
และคะแนนภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งเท่ากันอีก
ให้ผู้ที่ได้รับเลขประจำตัวสอบก่อนเป็นผู้อยู่ในลำดับก่อน
ข้อ
๑๓ การบรรจุและแต่งตั้งผู้สอบคัดเลือกได้
และการให้ได้รับเงินเดือน
(๑)
ให้กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร นำเสนอผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๕๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ.
๒๕๕๔ เพื่อดำเนินการสั่งบรรจุและแต่งตั้งผู้สอบคัดเลือกได้ตามลำดับที่ในบัญชีประกาศผลการสอบคัดเลือกข้าราชการเมื่อแต่งตั้งบุคคลในตำแหน่งที่สอบคัดเลือกได้ตามที่กองการเจ้าหน้าที่
สำนักปลัดกรุงเทพมหานครนำเสนอปลัดกรุงเทพมหานครอนุมัติให้จัดสอบคัดเลือกข้าราชการแล้ว
ประกาศผลการสอบคัดเลือกข้าราชการเป็นอันยกเลิก
(๒)
กรณีที่ผู้สอบคัดเลือกสอบผ่านการคัดเลือกและอยู่ในลำดับที่ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งได้มากกว่าหนึ่งตำแหน่งในคราวเดียวกัน
ให้กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานครนำเสนอผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๔
เพื่อดำเนินการสั่งบรรจุและแต่งตั้งผู้สอบคัดเลือกได้ในตำแหน่งที่สอบได้คะแนนรวมสูงสุดอยู่ในลำดับก่อน
หากผู้สอบคัดเลือกสอบได้ในลำดับที่เท่ากันให้สั่งบรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งที่สอบได้คะแนนภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งอยู่ในลำดับก่อน
(๓) ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ ตามมาตรา ๕๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๔
ดำเนินการแต่งตั้งผู้สอบคัดเลือกได้ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ
ในตำแหน่งที่สอบคัดเลือกได้ และให้ได้รับเงินเดือนดังนี้
(ก) ถ้าผู้นั้นได้รับเงินเดือนต่ำกว่า
หรือเท่าคุณวุฒิ ให้ได้รับเงินเดือนตามคุณวุฒิ
(ข) ถ้าผู้นั้นได้รับเงินเดือนสูงกว่าคุณวุฒิ
ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นที่เท่ากับเงินเดือนที่ได้รับอยู่เดิม ทั้งนี้
ต้องไม่เกินเงินเดือนสูงสุดของตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ
ข้อ
๑๔ กรณีที่ต้องดำเนินการต่างไปจากที่ได้กำหนดไว้ในกฎ
ก.ก. นี้ให้เสนอ ก.ก. พิจารณาอนุมัติก่อนดำเนินการเป็นกรณีไป
ข้อ
๑๕ เมื่อได้ดำเนินการเป็นประการใดแล้ว
ให้รายงาน ก.ก. ทราบ
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์
บริพัตร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประธาน ก.ก.
[เอกสารแนบท้าย]
๑. เอกสารหมายเลข ๑ หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือก
แนบท้ายกฎ ก.ก.
ว่าด้วยการสอบคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับปฏิบัติการ
๒. เอกสารหมายเลข ๒ แบบให้คะแนนภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง
คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
๓.
เอกสารหมายเลข ๓ แบบประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งในการสอบคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับปฏิบัติการ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ก. ฉบับนี้ คือ
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับปฏิบัติการ เพื่อเป็นการสนับสนุนข้าราชการของกรุงเทพมหานครที่ได้รับวุฒิปริญญาเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้นให้มีโอกาสได้รับความก้าวหน้าในสายอาชีพ
ซึ่งมาตรา ๔๔
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๔
ประกอบกับมาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
กำหนดให้การย้าย การโอน
หรือการเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในหรือต่างกระทรวงหรือกรม
แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.ก. นี้
ปริยานุช/จัดทำ
๓๐ พฤษภาคม
๒๕๕๙
วิศนี/ตรวจ
๓๐ พฤษภาคม
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๔๗ ก/หน้า ๓๓/๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๙ |
751360 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2551 (ฉบับ Update ณ วันที่ 17/12/2558) | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๕๕๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๕) และมาตรา ๕๐ วรรคสามและวรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒
ข้าราชการพลเรือนสามัญอาจได้รับเงินประจำตำแหน่งตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในประเภท สายงาน
และระดับตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. นี้
และปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งดังกล่าวให้มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(๒)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งผู้ใด
หากได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่อื่นและมิได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่
ไม่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งตั้งแต่วันที่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่
เว้นแต่ในกรณีที่ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการหรือประเภททั่วไปและได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่อื่นที่มีลักษณะเป็นงานวิชาชีพหรืองานเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเหมือนหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่เดิม
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดิมของตำแหน่งต่อไป
(๓)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งนั้นไม่เต็มเดือนในเดือนใด
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งสำหรับเดือนนั้นตามส่วนจำนวนวันที่ได้ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งดังกล่าว
(๔)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งนั้นเกินหนึ่งตำแหน่ง
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งสำหรับตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงสุดเพียงตำแหน่งเดียว
(๕)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประเภทเดียวกันที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้ปฏิบัติหน้าที่หลักในตำแหน่งที่ตนไปปฏิบัติหน้าที่ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามอัตราเดิมของตนต่อไป
ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่
หรือรักษาราชการแทน
หรือรักษาการในตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งต่างประเภทกัน
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราของตำแหน่งเดิมต่อไปนับแต่วันที่เข้าปฏิบัติหน้าที่หลักในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่
หรือรักษาราชการแทน หรือรักษาการในตำแหน่ง แล้วแต่กรณี
แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินหกเดือน
(๖)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศตามระเบียบ ก.พ.
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการโดยการให้ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศ
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราของตำแหน่งเดิมต่อไป
ข้อ ๓
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสายงานตามบัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งท้ายกฎ
ก.พ. นี้ ในตำแหน่งประเภทใด ระดับใด
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญในอัตราดังนี้
(๑)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๐,๐๐๐ บาท
(๒)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ดังต่อไปนี้ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๔,๕๐๐ บาท
(ก)
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมซึ่งมิใช่หัวหน้าส่วนราชการตาม (๓) (ข) (ค) (ง)
และ (จ)
(ข)
ผู้ว่าราชการจังหวัด
(ค)
เอกอัครราชทูตที่เป็นหัวหน้าสถานเอกอัครราชทูต
หัวหน้าคณะผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ
หัวหน้าคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก และเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง
(ง)
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ได้แก่ รองปลัดกระทรวง
และรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(จ)[๒]
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในสำนักนายกรัฐมนตรี
และอยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(ฉ)
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง
และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ได้แก่
รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(ช)
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการ และขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี
ได้แก่ รองเลขาธิการสภาการศึกษา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
(ซ)
หัวหน้าส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีผู้บังคับบัญชาเป็นอธิบดีหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี
ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เลขาธิการสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
และเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
(ฌ)
ผู้ตรวจราชการของส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง
(ญ)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตามที่ ก.พ.
กำหนดให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดียวกันนี้
(๓)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ดังต่อไปนี้ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๒๑,๐๐๐ บาท
(ก)
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ได้แก่ ปลัดกระทรวง
และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(ข)[๓]
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในสำนักนายกรัฐมนตรี
และอยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(ค)
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง
และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ได้แก่
เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(ง)
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการ และขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี
ได้แก่ เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
(จ)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตามที่ ก.พ.
กำหนดให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดียวกันนี้
(๔)
ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๕,๖๐๐ บาท
(๕)
ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๐,๐๐๐ บาท
(๖)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ที่มีประสบการณ์ ทักษะ และสมรรถนะ
ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๓,๕๐๐ บาท
(๗)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๕,๖๐๐ บาท
(๘)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๙,๙๐๐ บาท
(๙)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๓,๐๐๐ บาท
(๑๐)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ที่มีประสบการณ์ ทักษะ และสมรรถนะ
ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๕,๖๐๐ บาท
(๑๑)
ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๙,๙๐๐ บาท
ข้อ ๔
การกำหนดประเภทตำแหน่ง สายงาน ระดับ และจำนวนตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งเพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่แล้วในวันก่อนวันที่กฎ
ก.พ. นี้ใช้บังคับ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ. ก่อน
ข้อ ๕
กรณีอื่นนอกจากที่ได้กำหนดไว้ในกฎ ก.พ. นี้ ให้เสนอ ก.พ.
พิจารณาอนุมัติเป็นราย ๆ ไป
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
บัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
ท้ายกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕[๔]
ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ได้แก่
๑. สายงานบริหาร
๒. สายงานบริหารการทูต
๓. สายงานบริหารงานปกครอง
๔. สายงานตรวจราชการกระทรวง
ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น ได้แก่
๑. สายงานบริหาร
๒. สายงานบริหารการทูต
๓. สายงานบริหารงานปกครอง
ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับสูง ได้แก่
๑. สายงานอำนวยการ
๒. สายงานอำนวยการเฉพาะด้าน
๓. สายงานตรวจราชการกรม
ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้น ได้แก่
๑. สายงานอำนวยการ
๒. สายงานอำนวยการเฉพาะด้าน
๒
ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ ได้แก่
๑. สายงานการข่าว
๒. สายงานทรัพยากรบุคคล
๓. สายงานการผังเมือง
๔. สายงานวิชาการศุลกากร
๕. สายงานนิติการ
๖. สายงานกฎหมายกฤษฎีกา
๗. สายงานโบราณคดี
๘. สายงานนักพัฒนาระบบราชการ
๙. สายงานวิเคราะห์งบประมาณ
๑๐. สายงานวิเคราะห์นโยบายและแผน
๑๑. สายงานวิชาการส่งเสริมการลงทุน
๑๒. สายงานวิชาการเกษตร
๑๓. สายงานวิชาการขนส่ง
๑๔. สายงานวิชาการคลัง
๑๕. สายงานวิเคราะห์รัฐวิสาหกิจ
๑๖. สายงานวิชาการบัญชี
๑๗. สายงานวิชาการประมง
๑๘. สายงานวิชาการป่าไม้
๑๙. สายงานวิชาการพาณิชย์
๒๐. สายงานวิชาการภาษี
๒๑. สายงานวิชาการมาตรฐาน
๒๒. สายงานวิชาการแรงงาน
๒๓. สายงานวิชาการละครและดนตรี
๒๔. สายงานวิทยาศาสตร์การแพทย์
๒๕. สายงานวิชาการศึกษา
๒๖. สายงานวิชาการเศรษฐกิจ
๒๗. สายงานวิชาการสรรพสามิต
๒๘. สายงานวิชาการสรรพากร
๒๙. สายงานวิชาการสาธารณสุข
๓
๓๐. สายงานวิชาการอาหารและยา
๓๑. สายงานวิทยาศาสตร์
๓๒. สายงานวิศวกรรมสำรวจ
๓๓. สายงานอักษรศาสตร์
๓๔. สายงานประติมากรรม
๓๕. สายงานทันตแพทย์
๓๖. สายงานแพทย์
๓๗. สายงานนายสัตวแพทย์
๓๘. สายงานวิศวกรรมโยธา
๓๙. สายงานสถาปัตยกรรม
๔๐. สายงานวิศวกรรมชลประทาน
๔๑. สายงานวิชาการคอมพิวเตอร์
๔๒. สายงานวิศวกรรมการเกษตร
๔๓. สายงานวิชาการช่างศิลป์
๔๔. สายงานมัณฑนศิลป์
๔๕. สายงานจิตรกรรม
๔๖. สายงานเภสัชกรรม
๔๗. สายงานพยาบาลวิชาชีพ
๔๘.[๕]
สายงานอุตุนิยมวิทยา
ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ ได้แก่
๑. สายงานการข่าว
๒. สายงานทรัพยากรบุคคล
๓. สายงานการผังเมือง
๔. สายงานวิเคราะห์ผังเมือง
๕. สายงานสืบสวนสอบสวน
๖. สายงานกีฏวิทยา
๗. สายงานเจ้าหน้าที่คดีพิเศษ
๘. สายงานคุมประพฤติ
๙. สายงานวิชาการปฏิรูปที่ดิน
๑๐. สายงานจิตวิทยา
๔
๑๑. สายงานนักเดินเรือ
๑๒. สายงานตรวจสอบบัญชี
๑๓. สายงานวิชาการตรวจสอบภายใน
๑๔. สายงานวิชาการศุลกากร
๑๕. สายงานวิชาการแผนที่ภาพถ่าย
๑๖. สายงานนิติการ
๑๗. สายงานกฎหมายกฤษฎีกา
๑๘. สายงานนิติวิทยาศาสตร์
๑๙. สายงานโบราณคดี
๒๐. สายงานภัณฑารักษ์
๒๑. สายงานพัฒนาการกีฬา
๒๒. สายงานพัฒนาการท่องเที่ยว
๒๓. สายงานพัฒนาระบบราชการ
๒๔. สายงานพัฒนาสังคม
๒๕. สายงานภูมิสถาปัตยกรรม
๒๖. สายงานวิเคราะห์งบประมาณ
๒๗. สายงานวิเคราะห์นโยบายและแผน
๒๘. สายงานประเมินราคาทรัพย์สิน
๒๙. สายงานวิชาการอุตสาหกรรม
๓๐. สายงานวิชาการส่งเสริมการลงทุน
๓๑. สายงานวิเทศสัมพันธ์
๓๒. สายงานวิชาการพลังงาน
๓๓. สายงานเจ้าหน้าที่จัดผลประโยชน์
๓๔. สายงานวิชาการกษาปณ์
๓๕. สายงานวิชาการเกษตร
๓๖. สายงานวิชาการขนส่ง
๓๗. สายงานวิชาการคลัง
๓๘. สายงานวิเคราะห์รัฐวิสาหกิจ
๓๙. สายงานวิชาการเงินและบัญชี
๔๐. สายงานวิชาการตรวจสอบบัญชี
๕
๔๑. สายงานตรวจสอบภาษี
๔๒. สายงานวิชาการทรัพยากรธรณี
๔๓. สายงานวิชาการทัณฑวิทยา
๔๔. สายงานวิชาการที่ดิน
๔๕. สายงานธรณีวิทยา
๔๖. สายงานวิชาการบัญชี
๔๗. สายงานประชาสัมพันธ์
๔๘. สายงานวิชาการประมง
๔๙. สายงานวิชาการป่าไม้
๕๐. สายงานวิชาการผลิตภัณฑ์อาหาร
๕๑. สายงานวิชาการพัฒนาชุมชน
๕๒. สายงานวิชาการพาณิชย์
๕๓. สายงานวิชาการภาษี
๕๔. สายงานวิชาการมาตรฐาน
๕๕. สายงานวิชาการยุติธรรม
๕๖. สายงานวิชาการแรงงาน
๕๗. สายงานวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงาน
๕๘. สายงานวิชาการโรคพืช
๕๙. สายงานวิชาการละครและดนตรี
๖๐. สายงานวิชาการวัฒนธรรม
๖๑. สายงานวิทยาศาสตร์การแพทย์
๖๒. สายงานวิชาการศาสนา
๖๓. สายงานวิชาการศึกษา
๖๔. สายงานวิทยาจารย์
๖๕. สายงานวิชาการศึกษาพิเศษ
๖๖. สายงานวิชาการเศรษฐกิจ
๖๗. สายงานวิชาการส่งเสริมการเกษตร
๖๘. สายงานวิชาการสถิติ
๖๙. สายงานวิชาการสรรพสามิต
๗๐. สายงานวิชาการสรรพากร
๖
๗๑. สายงานวิชาการสหกรณ์
๗๒. สายงานวิชาการสัตวบาล
๗๓. สายงานวิชาการสาธารณสุข
๗๔. สายงานโภชนาการ
๗๕. สายงานวิชาการสิ่งแวดล้อม
๗๖. สายงานวิชาการอาหารและยา
๗๗. สายงานวิชาการอุทกวิทยา
๗๘. สายงานวิทยาศาสตร์
๗๙. สายงานวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์
๘๐. สายงานวิเทศสหการ
๘๑. สายงานวิศวกรรม
๘๒. สายงานวิศวกรรมสำรวจ
๘๓. สายงานสถิติ
๘๔. สายงานพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ
๘๕. สายงานสังคมสงเคราะห์
๘๖. สายงานสัตววิทยา
๘๗. สายงานสำรวจดิน
๘๘. สายงานอักษรศาสตร์
๘๙. สายงานภาษาโบราณ
๙๐. สายงานวรรณศิลป์
๙๑. สายงานอาลักษณ์
๙๒. สายงานอุตุนิยมวิทยา
๙๓. สายงานวิชาการช่างศิลป์
๙๔. สายงานจิตรกรรม
๙๕. สายงานมัณฑนศิลป์
๙๖. สายงานประติมากรรม
๙๗. สายงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
๙๘. สายงานกายภาพบำบัด
๙๙. สายงานทันตแพทย์
๑๐๐. สายงานพยาบาลวิชาชีพ
๗
๑๐๑. สายงานแพทย์
๑๐๒. สายงานนายสัตวแพทย์
๑๐๓. สายงานเทคนิคการแพทย์
๑๐๔. สายงานเภสัชกรรม
๑๐๕. สายงานวิศวกรรมเครื่องกล
๑๐๖. สายงานวิศวกรรมไฟฟ้า
๑๐๗. สายงานวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร
๑๐๘. สายงานวิศวกรรมโยธา
๑๐๙. สายงานวิศวกรรมเหมืองแร่
๑๑๐. สายงานสถาปัตยกรรม
๑๑๑. สายงานฟิสิกส์รังสี
๑๑๒. สายงานรังสีการแพทย์
๑๑๓. สายงานวิศวกรรมชลประทาน
๑๑๔. สายงานวิศวกรรมนิวเคลียร์
๑๑๕. สายงานวิศวกรรมปิโตรเลียม
๑๑๖. สายงานวิศวกรรมโลหการ
๑๑๗. สายงานชีววิทยารังสี
๑๑๘. สายงานนิวเคลียร์เคมี
๑๑๙. สายงานนิวเคลียร์ฟิสิกส์
๑๒๐. สายงานวิชาการคอมพิวเตอร์
๑๒๑. สายงานวิศวกรรมการเกษตร
๑๒๒. สายงานกิจกรรมบำบัด
๑๒๓. สายงานเวชศาสตร์การสื่อความหมาย
๑๒๔. สายงานจิตวิทยาคลินิก
๑๒๕[๖].
สายงานจดหมายเหตุ
๑๒๖[๗].
สายงานวิชาการชั่งตวงวัด
๘
ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ และระดับชำนาญการพิเศษ ได้แก่
๑. สายงานกายภาพบำบัด
๒. สายงานทันตแพทย์
๓. สายงานพยาบาลวิชาชีพ
๔. สายงานแพทย์
๕. สายงานนายสัตวแพทย์
๖. สายงานเทคนิคการแพทย์
๗. สายงานเภสัชกรรม
๘. สายงานวิศวกรรมเครื่องกล
๙. สายงานวิศวกรรมไฟฟ้า
๑๐. สายงานวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร
๑๑. สายงานวิศวกรรมโยธา
๑๒. สายงานวิศวกรรมเหมืองแร่
๑๓. สายงานสถาปัตยกรรม
๑๔. สายงานฟิสิกส์รังสี
๑๕. สายงานรังสีการแพทย์
๑๖. สายงานวิศวกรรมชลประทาน
๑๗. สายงานวิศวกรรมนิวเคลียร์
๑๘. สายงานวิศวกรรมปิโตรเลียม
๑๙. สายงานวิศวกรรมโลหการ
๒๐. สายงานชีววิทยารังสี
๒๑. สายงานนิวเคลียร์เคมี
๒๒. สายงานนิวเคลียร์ฟิสิกส์
๒๓. สายงานวิชาการคอมพิวเตอร์
๒๔. สายงานวิศวกรรมการเกษตร
๒๕. สายงานกิจกรรมบำบัด
๒๖. สายงานเวชศาสตร์การสื่อความหมาย
๒๗. สายงานแพทย์แผนไทย
๒๘. สายงานจิตวิทยาคลินิก
๒๙.[๘]
สายงานกายอุปกรณ์
๓๐.[๙]
สายงานเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก
๙
ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ ได้แก่
๑. สายงานปฏิบัติงานช่างศิลปกรรม
๒. สายงานนาฏศิลป์
๓. สายงานดุริยางคศิลป์
๔. สายงานคีตศิลป์
-------------------
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๕๐ วรรคสามและวรรคสี่
บัญญัติว่า
ข้าราชการพลเรือนสามัญอาจได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่
ก.พ. กำหนด และผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด
จะได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ในอัตราใด
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕[๑๐]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้สายงานวิชาการช่างศิลป์ สายงานมัณฑนศิลป์ สายงานจิตรกรรม
สายงานเภสัชกรรม และสายงานพยาบาลวิชาชีพเฉพาะ
เป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ
กำหนดให้สายงานแพทย์แผนไทยเป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับชำนาญการ และระดับชำนาญการพิเศษ
และกำหนดให้สายงานนักจิตวิทยาคลินิกเป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ และระดับเชี่ยวชาญ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖[๑๑]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้สายงานกายอุปกรณ์เป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับชำนาญการ และระดับชำนาญการพิเศษ
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ
ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๕๘[๑๒]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร
ระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๔,๕๐๐ บาท
และตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๒๑,๐๐๐ บาท จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘[๑๓]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้สายงานอุตุนิยมวิทยาระดับทรงคุณวุฒิ และสายงานเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก
ระดับชำนาญการ
และระดับชำนาญการพิเศษเป็นสายงานและระดับที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ประกอบกับตามมาตรา ๕๐ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
บัญญัติให้ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด จะได้รับเงินประจำตำแหน่ง
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ
ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๖) พ.ศ.
๒๕๕๘[๑๔]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ
ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ. ได้กำหนดให้สายงานจดหมายเหตุระดับเชี่ยวชาญ
และสายงานวิชาการชั่งตวงวัด ระดับเชี่ยวชาญ
เป็นสายงานและระดับที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ประกอบกับตามมาตรา ๕๐ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
บัญญัติให้ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด จะได้รับเงินประจำตำแหน่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ
ก.พ. จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กัญฑรัตน์/เพิ่มเติม
๑๓ มกราคม ๒๕๕๙
นุสรา/ตรวจ
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๑๒๘ ก/หน้า ๑๓/๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๑
[๒] ข้อ ๓ (๒) (จ)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๓] ข้อ ๓ (๓) (ข) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๔] บัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง ท้ายกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕
[๕] ๔๘. สายงานอุตุนิยมวิทยา เพิ่มโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๖] ๑๒๕. เพิ่มโดยกฎ
ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๖) พ.ศ.
๒๕๕๘
[๗] ๑๒๖. เพิ่มโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๘] ๒๙. สายงานกายอุปกรณ์ เพิ่มโดยกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๙] ๓๐. สายงานเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก เพิ่มโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๖๔ ก/หน้า ๕/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๕
[๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๗๘ ก/หน้า ๑/๖ กันยายน ๒๕๕๖
[๑๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๔๓ ก/หน้า ๔๔/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๖๒ ก/หน้า ๑๙/๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๑๒๑ ก/หน้า ๑/๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๘ |
745643 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2551 (ฉบับ Update ณ วันที่ 14/07/2558) | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๕๕๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๕) และมาตรา ๕๐ วรรคสามและวรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒
ข้าราชการพลเรือนสามัญอาจได้รับเงินประจำตำแหน่งตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในประเภท สายงาน
และระดับตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. นี้
และปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งดังกล่าวให้มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(๒)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งผู้ใด
หากได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่อื่นและมิได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่
ไม่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งตั้งแต่วันที่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่
เว้นแต่ในกรณีที่ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการหรือประเภททั่วไปและได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่อื่นที่มีลักษณะเป็นงานวิชาชีพหรืองานเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเหมือนหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่เดิม
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดิมของตำแหน่งต่อไป
(๓)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งนั้นไม่เต็มเดือนในเดือนใด
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งสำหรับเดือนนั้นตามส่วนจำนวนวันที่ได้ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งดังกล่าว
(๔)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งนั้นเกินหนึ่งตำแหน่ง
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งสำหรับตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงสุดเพียงตำแหน่งเดียว
(๕)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประเภทเดียวกันที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้ปฏิบัติหน้าที่หลักในตำแหน่งที่ตนไปปฏิบัติหน้าที่ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามอัตราเดิมของตนต่อไป
ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่
หรือรักษาราชการแทน
หรือรักษาการในตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งต่างประเภทกัน
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราของตำแหน่งเดิมต่อไปนับแต่วันที่เข้าปฏิบัติหน้าที่หลักในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่
หรือรักษาราชการแทน หรือรักษาการในตำแหน่ง แล้วแต่กรณี
แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินหกเดือน
(๖)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศตามระเบียบ ก.พ.
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการโดยการให้ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศ
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราของตำแหน่งเดิมต่อไป
ข้อ ๓
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสายงานตามบัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งท้ายกฎ
ก.พ. นี้ ในตำแหน่งประเภทใด ระดับใด
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญในอัตราดังนี้
(๑)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๐,๐๐๐ บาท
(๒)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ดังต่อไปนี้ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๔,๕๐๐ บาท
(ก)
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมซึ่งมิใช่หัวหน้าส่วนราชการตาม (๓) (ข) (ค) (ง)
และ (จ)
(ข)
ผู้ว่าราชการจังหวัด
(ค)
เอกอัครราชทูตที่เป็นหัวหน้าสถานเอกอัครราชทูต
หัวหน้าคณะผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ
หัวหน้าคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก และเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง
(ง)
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ได้แก่ รองปลัดกระทรวง
และรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(จ)[๒]
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในสำนักนายกรัฐมนตรี
และอยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(ฉ)
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง
และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ได้แก่
รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(ช)
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการ และขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี
ได้แก่ รองเลขาธิการสภาการศึกษา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
(ซ)
หัวหน้าส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีผู้บังคับบัญชาเป็นอธิบดีหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี
ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เลขาธิการสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
และเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
(ฌ)
ผู้ตรวจราชการของส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง
(ญ)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตามที่ ก.พ.
กำหนดให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดียวกันนี้
(๓)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ดังต่อไปนี้ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๒๑,๐๐๐ บาท
(ก)
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ได้แก่ ปลัดกระทรวง
และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(ข)[๓]
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในสำนักนายกรัฐมนตรี
และอยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(ค)
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง
และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ได้แก่
เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(ง)
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการ และขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี
ได้แก่ เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
(จ)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตามที่ ก.พ.
กำหนดให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดียวกันนี้
(๔)
ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๕,๖๐๐ บาท
(๕)
ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๐,๐๐๐ บาท
(๖)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ที่มีประสบการณ์ ทักษะ และสมรรถนะ
ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๓,๕๐๐ บาท
(๗)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๕,๖๐๐ บาท
(๘)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๙,๙๐๐ บาท
(๙)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๓,๐๐๐ บาท
(๑๐)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ที่มีประสบการณ์ ทักษะ และสมรรถนะ
ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๕,๖๐๐ บาท
(๑๑)
ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๙,๙๐๐ บาท
ข้อ ๔
การกำหนดประเภทตำแหน่ง สายงาน ระดับ และจำนวนตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งเพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่แล้วในวันก่อนวันที่กฎ
ก.พ. นี้ใช้บังคับ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ. ก่อน
ข้อ ๕
กรณีอื่นนอกจากที่ได้กำหนดไว้ในกฎ ก.พ. นี้ ให้เสนอ ก.พ.
พิจารณาอนุมัติเป็นราย ๆ ไป
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
บัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
ท้ายกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕[๔]
ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ได้แก่
๑. สายงานบริหาร
๒. สายงานบริหารการทูต
๓. สายงานบริหารงานปกครอง
๔. สายงานตรวจราชการกระทรวง
ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น ได้แก่
๑. สายงานบริหาร
๒. สายงานบริหารการทูต
๓. สายงานบริหารงานปกครอง
ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับสูง ได้แก่
๑. สายงานอำนวยการ
๒. สายงานอำนวยการเฉพาะด้าน
๓. สายงานตรวจราชการกรม
ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้น ได้แก่
๑. สายงานอำนวยการ
๒. สายงานอำนวยการเฉพาะด้าน
๒
ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ ได้แก่
๑. สายงานการข่าว
๒. สายงานทรัพยากรบุคคล
๓. สายงานการผังเมือง
๔. สายงานวิชาการศุลกากร
๕. สายงานนิติการ
๖. สายงานกฎหมายกฤษฎีกา
๗. สายงานโบราณคดี
๘. สายงานนักพัฒนาระบบราชการ
๙. สายงานวิเคราะห์งบประมาณ
๑๐. สายงานวิเคราะห์นโยบายและแผน
๑๑. สายงานวิชาการส่งเสริมการลงทุน
๑๒. สายงานวิชาการเกษตร
๑๓. สายงานวิชาการขนส่ง
๑๔. สายงานวิชาการคลัง
๑๕. สายงานวิเคราะห์รัฐวิสาหกิจ
๑๖. สายงานวิชาการบัญชี
๑๗. สายงานวิชาการประมง
๑๘. สายงานวิชาการป่าไม้
๑๙. สายงานวิชาการพาณิชย์
๒๐. สายงานวิชาการภาษี
๒๑. สายงานวิชาการมาตรฐาน
๒๒. สายงานวิชาการแรงงาน
๒๓. สายงานวิชาการละครและดนตรี
๒๔. สายงานวิทยาศาสตร์การแพทย์
๒๕. สายงานวิชาการศึกษา
๒๖. สายงานวิชาการเศรษฐกิจ
๒๗. สายงานวิชาการสรรพสามิต
๒๘. สายงานวิชาการสรรพากร
๒๙. สายงานวิชาการสาธารณสุข
๓
๓๐. สายงานวิชาการอาหารและยา
๓๑. สายงานวิทยาศาสตร์
๓๒. สายงานวิศวกรรมสำรวจ
๓๓. สายงานอักษรศาสตร์
๓๔. สายงานประติมากรรม
๓๕. สายงานทันตแพทย์
๓๖. สายงานแพทย์
๓๗. สายงานนายสัตวแพทย์
๓๘. สายงานวิศวกรรมโยธา
๓๙. สายงานสถาปัตยกรรม
๔๐. สายงานวิศวกรรมชลประทาน
๔๑. สายงานวิชาการคอมพิวเตอร์
๔๒. สายงานวิศวกรรมการเกษตร
๔๓. สายงานวิชาการช่างศิลป์
๔๔. สายงานมัณฑนศิลป์
๔๕. สายงานจิตรกรรม
๔๖. สายงานเภสัชกรรม
๔๗. สายงานพยาบาลวิชาชีพ
๔๘.[๕]
สายงานอุตุนิยมวิทยา
ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ ได้แก่
๑. สายงานการข่าว
๒. สายงานทรัพยากรบุคคล
๓. สายงานการผังเมือง
๔. สายงานวิเคราะห์ผังเมือง
๕. สายงานสืบสวนสอบสวน
๖. สายงานกีฏวิทยา
๗. สายงานเจ้าหน้าที่คดีพิเศษ
๘. สายงานคุมประพฤติ
๙. สายงานวิชาการปฏิรูปที่ดิน
๑๐. สายงานจิตวิทยา
๔
๑๑. สายงานนักเดินเรือ
๑๒. สายงานตรวจสอบบัญชี
๑๓. สายงานวิชาการตรวจสอบภายใน
๑๔. สายงานวิชาการศุลกากร
๑๕. สายงานวิชาการแผนที่ภาพถ่าย
๑๖. สายงานนิติการ
๑๗. สายงานกฎหมายกฤษฎีกา
๑๘. สายงานนิติวิทยาศาสตร์
๑๙. สายงานโบราณคดี
๒๐. สายงานภัณฑารักษ์
๒๑. สายงานพัฒนาการกีฬา
๒๒. สายงานพัฒนาการท่องเที่ยว
๒๓. สายงานพัฒนาระบบราชการ
๒๔. สายงานพัฒนาสังคม
๒๕. สายงานภูมิสถาปัตยกรรม
๒๖. สายงานวิเคราะห์งบประมาณ
๒๗. สายงานวิเคราะห์นโยบายและแผน
๒๘. สายงานประเมินราคาทรัพย์สิน
๒๙. สายงานวิชาการอุตสาหกรรม
๓๐. สายงานวิชาการส่งเสริมการลงทุน
๓๑. สายงานวิเทศสัมพันธ์
๓๒. สายงานวิชาการพลังงาน
๓๓. สายงานเจ้าหน้าที่จัดผลประโยชน์
๓๔. สายงานวิชาการกษาปณ์
๓๕. สายงานวิชาการเกษตร
๓๖. สายงานวิชาการขนส่ง
๓๗. สายงานวิชาการคลัง
๓๘. สายงานวิเคราะห์รัฐวิสาหกิจ
๓๙. สายงานวิชาการเงินและบัญชี
๔๐. สายงานวิชาการตรวจสอบบัญชี
๕
๔๑. สายงานตรวจสอบภาษี
๔๒. สายงานวิชาการทรัพยากรธรณี
๔๓. สายงานวิชาการทัณฑวิทยา
๔๔. สายงานวิชาการที่ดิน
๔๕. สายงานธรณีวิทยา
๔๖. สายงานวิชาการบัญชี
๔๗. สายงานประชาสัมพันธ์
๔๘. สายงานวิชาการประมง
๔๙. สายงานวิชาการป่าไม้
๕๐. สายงานวิชาการผลิตภัณฑ์อาหาร
๕๑. สายงานวิชาการพัฒนาชุมชน
๕๒. สายงานวิชาการพาณิชย์
๕๓. สายงานวิชาการภาษี
๕๔. สายงานวิชาการมาตรฐาน
๕๕. สายงานวิชาการยุติธรรม
๕๖. สายงานวิชาการแรงงาน
๕๗. สายงานวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงาน
๕๘. สายงานวิชาการโรคพืช
๕๙. สายงานวิชาการละครและดนตรี
๖๐. สายงานวิชาการวัฒนธรรม
๖๑. สายงานวิทยาศาสตร์การแพทย์
๖๒. สายงานวิชาการศาสนา
๖๓. สายงานวิชาการศึกษา
๖๔. สายงานวิทยาจารย์
๖๕. สายงานวิชาการศึกษาพิเศษ
๖๖. สายงานวิชาการเศรษฐกิจ
๖๗. สายงานวิชาการส่งเสริมการเกษตร
๖๘. สายงานวิชาการสถิติ
๖๙. สายงานวิชาการสรรพสามิต
๗๐. สายงานวิชาการสรรพากร
๖
๗๑. สายงานวิชาการสหกรณ์
๗๒. สายงานวิชาการสัตวบาล
๗๓. สายงานวิชาการสาธารณสุข
๗๔. สายงานโภชนาการ
๗๕. สายงานวิชาการสิ่งแวดล้อม
๗๖. สายงานวิชาการอาหารและยา
๗๗. สายงานวิชาการอุทกวิทยา
๗๘. สายงานวิทยาศาสตร์
๗๙. สายงานวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์
๘๐. สายงานวิเทศสหการ
๘๑. สายงานวิศวกรรม
๘๒. สายงานวิศวกรรมสำรวจ
๘๓. สายงานสถิติ
๘๔. สายงานพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ
๘๕. สายงานสังคมสงเคราะห์
๘๖. สายงานสัตววิทยา
๘๗. สายงานสำรวจดิน
๘๘. สายงานอักษรศาสตร์
๘๙. สายงานภาษาโบราณ
๙๐. สายงานวรรณศิลป์
๙๑. สายงานอาลักษณ์
๙๒. สายงานอุตุนิยมวิทยา
๙๓. สายงานวิชาการช่างศิลป์
๙๔. สายงานจิตรกรรม
๙๕. สายงานมัณฑนศิลป์
๙๖. สายงานประติมากรรม
๙๗. สายงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
๙๘. สายงานกายภาพบำบัด
๙๙. สายงานทันตแพทย์
๑๐๐. สายงานพยาบาลวิชาชีพ
๗
๑๐๑. สายงานแพทย์
๑๐๒. สายงานนายสัตวแพทย์
๑๐๓. สายงานเทคนิคการแพทย์
๑๐๔. สายงานเภสัชกรรม
๑๐๕. สายงานวิศวกรรมเครื่องกล
๑๐๖. สายงานวิศวกรรมไฟฟ้า
๑๐๗. สายงานวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร
๑๐๘. สายงานวิศวกรรมโยธา
๑๐๙. สายงานวิศวกรรมเหมืองแร่
๑๑๐. สายงานสถาปัตยกรรม
๑๑๑. สายงานฟิสิกส์รังสี
๑๑๒. สายงานรังสีการแพทย์
๑๑๓. สายงานวิศวกรรมชลประทาน
๑๑๔. สายงานวิศวกรรมนิวเคลียร์
๑๑๕. สายงานวิศวกรรมปิโตรเลียม
๑๑๖. สายงานวิศวกรรมโลหการ
๑๑๗. สายงานชีววิทยารังสี
๑๑๘. สายงานนิวเคลียร์เคมี
๑๑๙. สายงานนิวเคลียร์ฟิสิกส์
๑๒๐. สายงานวิชาการคอมพิวเตอร์
๑๒๑. สายงานวิศวกรรมการเกษตร
๑๒๒. สายงานกิจกรรมบำบัด
๑๒๓. สายงานเวชศาสตร์การสื่อความหมาย
๑๒๔. สายงานจิตวิทยาคลินิก
๘
ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ และระดับชำนาญการพิเศษ
ได้แก่
๑. สายงานกายภาพบำบัด
๒. สายงานทันตแพทย์
๓. สายงานพยาบาลวิชาชีพ
๔. สายงานแพทย์
๕. สายงานนายสัตวแพทย์
๖. สายงานเทคนิคการแพทย์
๗. สายงานเภสัชกรรม
๘. สายงานวิศวกรรมเครื่องกล
๙. สายงานวิศวกรรมไฟฟ้า
๑๐. สายงานวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร
๑๑. สายงานวิศวกรรมโยธา
๑๒. สายงานวิศวกรรมเหมืองแร่
๑๓. สายงานสถาปัตยกรรม
๑๔. สายงานฟิสิกส์รังสี
๑๕. สายงานรังสีการแพทย์
๑๖. สายงานวิศวกรรมชลประทาน
๑๗. สายงานวิศวกรรมนิวเคลียร์
๑๘. สายงานวิศวกรรมปิโตรเลียม
๑๙. สายงานวิศวกรรมโลหการ
๒๐. สายงานชีววิทยารังสี
๒๑. สายงานนิวเคลียร์เคมี
๒๒. สายงานนิวเคลียร์ฟิสิกส์
๒๓. สายงานวิชาการคอมพิวเตอร์
๒๔. สายงานวิศวกรรมการเกษตร
๒๕. สายงานกิจกรรมบำบัด
๒๖. สายงานเวชศาสตร์การสื่อความหมาย
๒๗. สายงานแพทย์แผนไทย
๒๘. สายงานจิตวิทยาคลินิก
๒๙.[๖]
สายงานกายอุปกรณ์
๓๐.[๗]
สายงานเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก
๙
ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ ได้แก่
๑. สายงานปฏิบัติงานช่างศิลปกรรม
๒. สายงานนาฏศิลป์
๓. สายงานดุริยางคศิลป์
๔. สายงานคีตศิลป์
-------------------
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๕๐ วรรคสามและวรรคสี่
บัญญัติว่า ข้าราชการพลเรือนสามัญอาจได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่
ก.พ. กำหนด และผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด
จะได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ในอัตราใด
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕[๘]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้สายงานวิชาการช่างศิลป์ สายงานมัณฑนศิลป์ สายงานจิตรกรรม
สายงานเภสัชกรรม และสายงานพยาบาลวิชาชีพเฉพาะ
เป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ
กำหนดให้สายงานแพทย์แผนไทยเป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับชำนาญการ และระดับชำนาญการพิเศษ
และกำหนดให้สายงานนักจิตวิทยาคลินิกเป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ และระดับเชี่ยวชาญ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖[๙]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ. ได้กำหนดให้สายงานกายอุปกรณ์เป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับชำนาญการ และระดับชำนาญการพิเศษ
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ
ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๕๘[๑๐]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๔,๕๐๐ บาท และตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
เป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๒๑,๐๐๐ บาท จึงจำเป็นต้องออกกฎ
ก.พ. นี้
กฎ ก.พ.ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘[๑๑]
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้สายงานอุตุนิยมวิทยาระดับทรงคุณวุฒิ และสายงานเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก
ระดับชำนาญการ และระดับชำนาญการพิเศษเป็นสายงานและระดับที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ประกอบกับตามมาตรา ๕๐ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
บัญญัติให้ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด จะได้รับเงินประจำตำแหน่ง
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
เอกฤทธิ์/ผู้จัดทำ
๑๖ กันยายน ๒๕๕๖
วริญา/เพิ่มเติม
ปัญญา/ตรวจ
๘ มิถุนายน ๒๕๕๘
ปัญจพร/เพิ่มเติม
ปัญญา/ตรวจ
๗ สิงหาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๑๒๘ ก/หน้า ๑๓/๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๑
[๒] ข้อ ๓ (๒) (จ)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๓] ข้อ ๓ (๓) (ข) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๔] บัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง ท้ายกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕
[๕] ๔๘. สายงานอุตุนิยมวิทยา เพิ่มโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๖] ๒๙. สายงานกายอุปกรณ์ เพิ่มโดยกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๗] ๓๐. สายงานเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก เพิ่มโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๖๔ ก/หน้า ๕/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๕
[๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๗๘ ก/หน้า ๑/๖ กันยายน ๒๕๕๖
[๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๔๓ ก/หน้า ๔๔/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๖๒ ก/หน้า ๑๙/๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๘ |
703159 | กฎ ก.ก. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารและประเภทอำนวยการระดับสูง พ.ศ. 2557 | กฎ ก
กฎ ก.ก.
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ
ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารและประเภทอำนวยการระดับสูง
พ.ศ. ๒๕๕๗
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๓) มาตรา ๔๑ (๓) และมาตรา ๔๔
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๔
ประกอบกับมาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.ก. จึงออกกฎ ก.ก. ไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.ก.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒
การดำเนินการคัดเลือกข้าราชการเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารและประเภทอำนวยการระดับสูง
ให้ดำเนินการตามหลักการในมาตรา ๔๑ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๔
และกฎ ก.ก. นี้
ข้อ ๓
การคัดเลือกข้าราชการเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
ตำแหน่งปลัดกรุงเทพมหานคร
ให้ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้เสนอรายชื่อผู้ที่มีคุณสมบัติและมีความเหมาะสมตามจำนวนที่เห็นสมควร
พร้อมข้อมูลประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา การฝึกอบรม
ดูงาน ประสบการณ์ ความสามารถ ผลงานสำคัญพิเศษ ประวัติทางวินัย พฤติกรรมทางจริยธรรม
และความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมที่จะได้รับการแต่งตั้งเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ใช้ดุลยพินิจแล้วเห็นว่าบุคคลใดในรายชื่อที่ปลัดกรุงเทพมหานครเสนอเหมาะสม
ให้ดำเนินการตามมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๕๔ ต่อไป
กรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเห็นสมควรให้เสนอรายชื่อผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมเพิ่มเติม
ให้แจ้งปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณาทบทวน หากปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณาทบทวนแล้ว
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่เห็นชอบตามรายชื่อที่ปลัดกรุงเทพมหานครเสนอ
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสามารถเสนอชื่อผู้ที่เหมาะสม
แล้วดำเนินการตามขั้นตอนการแต่งตั้งตามมาตรา ๕๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๔
ต่อไป
ในกรณีที่ปลัดกรุงเทพมหานครไม่เสนอชื่อผู้ที่เหมาะสมต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือไม่มีผู้เสนอชื่อ
หรือผู้มีหน้าที่ต้องเสนอชื่อ เสนอเพียงชื่อตนเอง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสามารถเสนอชื่อผู้ที่เหมาะสม แล้วดำ
เนินการตามขั้นตอนการแต่งตั้งตามมาตรา ๕๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๔
ต่อไป
ข้อ ๔
การคัดเลือกข้าราชการเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร
ยกเว้นตำแหน่งปลัดกรุงเทพมหานคร
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกประกอบด้วย
(๑)
ปลัดกรุงเทพมหานคร ประธานกรรมการ
(๒) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
จำนวน ๓ คน กรรมการ
(๓)
ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคลตามรายชื่อ
ที่ ก.ก. กำหนด จำนวน ๑ คน กรรมการ
(๔) ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร เลขานุการ
(๕) เจ้าหน้าที่สังกัดกองการเจ้าหน้าที่
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
ที่ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
มอบหมาย จำนวน ๒ คน ผู้ช่วยเลขานุการ
ข้อ ๕
การคัดเลือกข้าราชการเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือก ประกอบด้วย
(๑) รองปลัดกรุงเทพมหานครที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย
ประธานกรรมการ
(๒) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
จำนวน ๓ คน กรรมการ
(๓) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคลตามรายชื่อ
ที่ ก.ก. กำหนด จำนวน ๑ คน กรรมการ
(๔) ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร เลขานุการ
(๕) เจ้าหน้าที่สังกัดกองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
ที่ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
มอบหมาย จำนวน ๒
คน ผู้ช่วยเลขานุการ
ข้อ ๖
คณะกรรมการคัดเลือกตามข้อ ๔ และข้อ ๕ มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาหน้าที่ความรับผิดชอบและความต้องการของตำแหน่งที่จะเลื่อนและแต่งตั้งเพื่อการพิจารณาประเมินบุคคลที่เหมาะสม
(๒) พิจารณาประเมินบุคคลให้เหมาะสมกับตำแหน่งที่จะเลื่อนและแต่งตั้ง
โดยคำนึงถึงผลงาน ศักยภาพ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรม
เป็นองค์ประกอบหลักในการประเมิน มีน้ำหนักคะแนน ๑๐๐ คะแนน
และต้องผ่านการประเมินในแต่ละองค์ประกอบไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ดังต่อไปนี้
(๒.๑) ผลงาน หมายถึง ผลงานที่โดดเด่น เช่น ผลงานด้านบริหารจัดการ
การวางนโยบาย การวางแผน การจัดระบบงาน และอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่งที่จะเลื่อนและแต่งตั้ง
จำนวนไม่เกิน ๓ เรื่อง คะแนนเต็ม ๓๐ คะแนน
(๒.๒) ศักยภาพ หมายถึง ความพร้อมที่จะรับงานที่ยากขึ้นในอนาคต
คะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน ประกอบด้วย
(ก) ประสบการณ์ในการทำงาน
พิจารณาจากประสบการณ์การดำรงตำแหน่งหรือประสบการณ์ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่จะเลื่อนและแต่งตั้ง
(ข) ความรู้ ความสามารถ และทักษะในการดำรงตำแหน่ง
พิจารณาจากความรู้ความสามารถของผู้ขอรับการคัดเลือกว่ามีความรู้ความสามารถใดบ้างตามที่กำหนดไว้
(ค) ข้อเสนอ แนวคิด
วิธีการเพื่อพัฒนางานหรือปรับปรุงงานในตำแหน่งที่จะเลื่อนและแต่งตั้งให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
พิจารณาจากวิสัยทัศน์ เป้าหมาย แนวทางการดำเนินการและประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
(ง) คุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง
พิจารณาจากสมรรถนะหรือคุณลักษณะของผู้ขอรับการคัดเลือกว่ามีความเหมาะสมกับตำแหน่งที่จะเลื่อนและแต่งตั้ง
(๒.๓) ความประพฤติ หมายถึง
การประพฤติและการปฏิบัติที่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่และภารกิจของส่วนราชการหรือหน่วยงาน
การปฏิบัติตนตามระเบียบแบบแผนของทางราชการและประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดีในการเคารพกฎระเบียบต่าง
ๆ คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน
(๒.๔) พฤติกรรมทางจริยธรรม หมายถึง การปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการอยู่ในกรอบจรรยาบรรณและค่านิยมของข้าราชการหรือหน่วยงาน
โดยพิจารณาจากคุณธรรม จริยธรรมการบริการที่ดี และการมุ่งผลสัมฤทธิ์ คะแนนเต็ม ๑๐
คะแนน
(๓)
ประเมินและคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่จะเลื่อนและแต่งตั้ง
โดยพิจารณาเทียบข้อมูลบุคคลตามข้อ ๖ (๒)
และอาจใช้วิธีการสัมภาษณ์ด้วยก็ได้แล้วคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมไว้ตำแหน่งละไม่เกิน ๓
คน
(๔)
ในกรณีที่เป็นการพิจารณาคัดเลือกเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งคราวละหลายตำแหน่งในระดับและสายงานเดียวกัน
และมีผู้เข้ารับการคัดเลือกเป็นจำนวนมาก
คณะกรรมการอาจคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมสำหรับตำแหน่งต่าง ๆ ได้ตามจำนวนที่เห็นสมควร
แต่จำนวนผู้ที่สมควรได้รับคัดเลือกต้องมากกว่าจำนวนตำแหน่งที่จะเลื่อนและแต่งตั้ง
(๕) ให้คะแนนโดยพิจารณาว่าอยู่ในระดับดีมาก ดี ปานกลาง น้อย น้อยมาก
โดยคณะกรรมการบันทึกเหตุผลในการพิจารณาแต่ละรายอย่างชัดเจน ตามแบบเอกสารหมายเลข
๕.๑ เอกสารหมายเลข ๕.๒ และเอกสารหมายเลข ๖ ท้ายกฎ ก.ก. นี้
(๖) กรณีการคัดเลือกบุคคลที่มีคะแนนรวมเท่ากัน ให้พิจารณาจัดลำดับ
ดังต่อไปนี้
(๖.๑) ให้ผู้ที่ได้คะแนนจากองค์ประกอบด้านศักยภาพมากกว่าอยู่ในลำดับที่สูงกว่า
(๖.๒) หากคะแนนในองค์ประกอบด้านศักยภาพเท่ากัน
ให้ผู้ที่ได้คะแนนในองค์ประกอบด้านผลงานมากกว่าอยู่ในลำดับที่สูงกว่า
(๖.๓) หากคะแนนในองค์ประกอบด้านผลงานเท่ากัน
ให้ผู้ที่ได้คะแนนในองค์ประกอบด้านความประพฤติมากกว่าอยู่ในลำดับที่สูงกว่า
(๖.๔) หากคะแนนในองค์ประกอบด้านความประพฤติเท่ากัน
ให้ผู้ที่ได้คะแนนในองค์ประกอบด้านพฤติกรรมทางจริยธรรมมากกว่าอยู่ในลำดับที่สูงกว่า
(๗) กรณีการตัดสิทธิของผู้ขอรับการคัดเลือก จะไม่รับพิจารณาในกรณี
ดังต่อไปนี้
(๗.๑) ไม่ส่งใบสมัครเข้ารับการคัดเลือกภายในระยะเวลาที่กำหนด
(๗.๒)
ไม่ระบุในใบสมัครและเอกสารให้ชัดเจนว่าต้องการสมัครเข้ารับการคัดเลือกในตำแหน่งใด
(๗.๓)
ไม่ส่งเอกสารตามที่กำหนดไว้ในประกาศการคัดเลือกเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารและประเภทอำนวยการระดับสูง
(๘) ให้คณะกรรมการคัดเลือกเสนอรายชื่อผู้ที่ได้รับการพิจารณาต่อปลัดกรุงเทพมหานคร
จำนวนไม่เกิน ๓ คนต่อตำแหน่งว่าง ๑ ตำแหน่ง ตามผลการให้คะแนน
พร้อมเหตุผลประกอบการพิจารณา โดยเรียงรายชื่อตามลำดับตัวอักษร
ข้อ ๗
กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑)
สำรวจจำนวนตำแหน่งประเภทบริหารและประเภทอำนวยการระดับสูงที่จะเลื่อนและแต่งตั้ง
(๒)
ประกาศการคัดเลือกเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารและประเภทอำนวยการระดับสูง
ให้ทุกหน่วยงานทราบ และกำหนดระยะเวลาให้หน่วยงานส่งรายชื่อผู้ขอรับการคัดเลือก
(๓) ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขอรับการคัดเลือก
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่จะคัดเลือก
(๔)
เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการคัดเลือกและดำเนินการตามที่คณะกรรมการคัดเลือกมอบหมาย
ข้อ ๘ หน่วยงาน
และส่วนราชการในสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ให้เสนอชื่อตำแหน่งและจำนวนตำแหน่งว่างหรือตำแหน่งที่จะว่างเนื่องจากการเกษียณอายุราชการ
โดยแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบและความต้องการของตำแหน่งที่จะเลื่อนและแต่งตั้ง
เช่น ขอบเขตของงานในหน้าที่ของตำแหน่ง ลักษณะงาน
การควบคุมบังคับบัญชาคุณลักษณะของบุคคลที่จะดำรงตำแหน่ง เป็นต้น
ตามแบบเอกสารหมายเลข ๑ ท้ายกฎ ก.ก. นี้ ส่งให้กองการเจ้าหน้าที่
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
(๒) ให้ส่วนราชการที่ปฏิบัติงานด้านการเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขอรับการคัดเลือกและรวบรวมรายชื่อผู้ขอรับการคัดเลือกที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่จะเลื่อนและแต่งตั้ง
พร้อมข้อมูลและรายละเอียดประกอบการพิจารณาตามแบบเอกสารหมายเลข ๒ เอกสารหมายเลข ๓
และเอกสารหมายเลข ๔ ท้ายกฎ ก.ก. นี้
(๓) ส่งรายชื่อผู้ขอรับการคัดเลือกกรณีตำแหน่งประเภทบริหาร
(ยกเว้นตำแหน่งปลัดกรุงเทพมหานคร) และประเภทอำนวยการระดับสูง ให้กองการเจ้าหน้าที่
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ดังต่อไปนี้
(๓.๑) ผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่จะเลื่อนและแต่งตั้ง
ให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกและจัดทำข้อมูลรายละเอียดประกอบการพิจารณา
ตามแบบเอกสารหมายเลข ๒ ท้ายกฎ ก.ก. ให้ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์
(๓.๒)
ผู้ขอรับการคัดเลือกมีสิทธิสมัครเข้ารับการคัดเลือกในตำแหน่งที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งได้ไม่เกิน
๓ ตำแหน่ง โดยให้เรียงลำดับความสำคัญของตำแหน่งที่จะเลื่อนและแต่งตั้ง
พร้อมทั้งแนบข้อมูลและรายละเอียดประกอบการพิจารณาทุกตำแหน่งที่ขอรับการคัดเลือก
ข้อ ๙
ผู้ขอรับการคัดเลือกที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่จะเลื่อนและแต่งตั้ง
จัดทำข้อมูลและรายละเอียดประกอบการพิจารณาให้ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ ส่งให้ส่วนราชการที่ปฏิบัติงานด้านการเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน
ประกอบด้วย
(๑) ประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงานและการรับราชการ
การฝึกอบรมและดูงาน ประวัติทางวินัย พฤติกรรมทางจริยธรรม ความสามารถพิเศษ
ความชำนาญพิเศษและทักษะที่ทำให้ประสบความสำเร็จ เหตุการณ์สำคัญ ๆ ในชีวิตราชการ
ตลอดจนสุขภาพกายและจิตใจที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่ง
ตามแบบเอกสารหมายเลข ๒ ท้ายกฎ ก.ก. นี้
(๒)
ผลงานที่โดดเด่นที่เกี่ยวข้องกับลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่งที่จะเลื่อนและแต่งตั้ง
จำนวนไม่เกิน ๓ เรื่อง ตามแบบเอกสารหมายเลข ๓ ท้ายกฎ ก.ก. นี้
(๓) ข้อเสนอ แนวคิด
วิธีการเพื่อพัฒนางานหรือปรับปรุงงานในตำแหน่งที่จะเลื่อนและแต่งตั้งให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
จำนวน ๑ เรื่อง ตามแบบเอกสารหมายเลข ๔ ท้ายกฎ ก.ก. นี้
ข้อ ๑๐
การพิจารณาของปลัดกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๑) กรณีปลัดกรุงเทพมหานครเป็นประธานการคัดเลือกตามข้อ ๔
ให้ปลัดกรุงเทพมหานครเสนอรายชื่อตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการคัดเลือกต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้ความเห็นชอบ ก็ให้ดำเนินการตามมาตรา ๕๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๔
(๒) กรณีที่รองปลัดกรุงเทพมหานครเป็นประธานการคัดเลือกตามข้อ ๕
ให้ปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณารายชื่อตามที่คณะกรรมการคัดเลือกเสนอ
โดยใช้ดุลยพินิจเสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสมจะได้รับการแต่งตั้งต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
โดยแนบรายชื่อพร้อมเหตุผลของผู้ที่คณะกรรมการคัดเลือกได้เสนอมาทั้งหมดต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
หากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้ความเห็นชอบ ก็ให้ดำเนินการตามมาตรา ๕๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๔
กรณีที่ปลัดกรุงเทพมหานครเห็นสมควรให้เสนอรายชื่อผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมเพิ่มเติมก็ให้ปรึกษากับประธานคณะกรรมการคัดเลือก
หรือส่งให้คณะกรรมการคัดเลือกพิจารณาใหม่ตามที่เห็นสมควร
แล้วดำเนินการตามวรรคหนึ่งใหม่
(๓) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีดุลยพินิจที่จะพิจารณาคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมต่างจากรายชื่อที่คณะกรรมการคัดเลือกตามข้อ
๔ เสนอ และหรือรายชื่อที่ปลัดกรุงเทพมหานครเสนอก็ได้
กรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเห็นสมควรให้เสนอรายชื่อผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมเพิ่มเติม
ให้ส่งเรื่องให้ปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณาทบทวน โดยปรึกษากับประธานกรรมการ
หรือส่งให้คณะกรรมการพิจารณาใหม่ แล้วดำเนินการตามข้อ ๑๐ (๑) หรือ (๒) ต่อไป
ข้อ ๑๑
กรณีที่ไม่สามารถดำเนินการตามกฎ ก.ก. นี้ ให้เสนอ ก.ก. พิจารณา
ให้ไว้
ณ วันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประธาน
ก.ก.
[เอกสารแนบท้าย]
๑. ข้อมูลและรายละเอียดประกอบการพิจารณา
๒.
รายละเอียดเกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบและความต้องการของตำแหน่งที่จะเลื่อนและแต่งตั้ง
(เอกสารหมายเลข ๑)
๓.
ข้อมูลบุคคลเพื่อการพิจารณาเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารและประเภทอำนวยการระดับสูง
(เอกสารหมายเลข ๒)
๔.
แบบแสดงผลงานประกอบการพิจารณาเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารและประเภทอำนวยการระดับสูง
(เอกสารหมายเลข ๓)
๕. แบบแสดงข้อเสนอ แนวคิด
วิธีการเพื่อพัฒนางานหรือปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (เอกสารหมายเลข ๔)
๖.
เกณฑ์การประเมินและคัดเลือกเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร
(เอกสารหมายเลข ๕.๑)
๗.
เกณฑ์การประเมินและคัดเลือกเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง
(เอกสารหมายเลข ๕.๒)
๘.
แบบสรุปผลการประเมินและคัดเลือกเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารและประเภทอำนวยการระดับสูง
(เอกสารหมายเลข ๖)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ก. ฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๔๑ (๓) และมาตรา ๔๔
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๔
ประกอบกับมาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
บัญญัติให้การเลื่อนและแต่งตั้งข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นต้องเป็นไปตามที่กำหนดในกฎ
ก.ก. ดังนั้น
จึงสมควรกำหนดให้มีหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารและประเภทอำนวยการระดับสูง จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.ก. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๕ มีนาคม ๒๕๕๗
ณัฐพร/ผู้ตรวจ
๒๕ มีนาคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๓๑ ก/หน้า ๓/๑๒ มีนาคม ๒๕๕๗ |
649024 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการสั่งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ประจำส่วนราชการเป็นการชั่วคราว พ.ศ. 2554 | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการสั่งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ประจำส่วนราชการเป็นการชั่วคราว
พ.ศ. ๒๕๕๔
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) และมาตรา ๖๙
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.พ.
โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑]
กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๕๗ มีอำนาจสั่งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ประจำกระทรวง ประจำกรม หรือประจำจังหวัด
แล้วแต่กรณี เป็นการชั่วคราว
โดยให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่เดิมได้ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็น ดังต่อไปนี้
(๑)
เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา
เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
หรือกรณีที่ถูกฟ้องนั้นพนักงานอัยการรับเป็นทนายแก้ต่างให้และถ้าให้ผู้นั้นคงอยู่ในตำแหน่งหน้าที่เดิมต่อไปจะเป็นอุปสรรคต่อการสืบสวน
สอบสวน หรืออาจเกิดความเสียหายแก่ราชการ
(๒)
เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญกระทำหรือละเว้นกระทำการใดจนต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำความผิดอาญา
และผู้มีอำนาจดังกล่าวพิจารณาเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำพิพากษาถึงที่สุดนั้นได้ความประจักษ์ชัดอยู่แล้วว่าการกระทำหรือละเว้นกระทำการนั้นเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
(๓) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการ
และผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการสืบสวนแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควร
และการละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการนั้นเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
(๔) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
และได้รับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชา
หรือให้ถ้อยคำรับสารภาพต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนหรือคณะกรรมการสอบสวนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
และได้มีการบันทึกถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือ
(๕)
เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญมีกรณีถูกสอบสวนเพราะหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ
บกพร่องในหน้าที่ราชการ
หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการถ้าให้ผู้นั้นอยู่ในราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการตามมาตรา
๑๑๐ (๖)
(๖)
เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งใดมีกรณีถูกกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่ามีพฤติการณ์ไม่เหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งนั้น
ซึ่งผู้บังคับบัญชาได้สืบสวนแล้วเห็นว่ากรณีมีมูล และถ้าให้ผู้นั้นคงอยู่ในตำแหน่งเดิมต่อไป
อาจเกิดความเสียหายแก่ราชการ
(๗)
กรณีอื่นที่มีเหตุผลความจำเป็นพิเศษเพื่อประโยชน์แก่ราชการโดยได้รับอนุมัติจาก
ก.พ.
ข้อ ๓ การขอให้ ก.พ.
พิจารณาอนุมัติกรณีตามข้อ ๒ (๗) ให้แสดงรายละเอียด ดังต่อไปนี้
(๑) คำชี้แจงเหตุผลความจำเป็นพิเศษเพื่อประโยชน์แก่ราชการ
และระยะเวลาที่จะสั่งให้ประจำกระทรวง ประจำกรม หรือประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี
(๒)
หน้าที่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการที่จะมอบหมายแก่ผู้ถูกสั่งให้ประจำกระทรวง
ประจำกรม หรือประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี
ข้อ ๔ การสั่งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ประจำกระทรวง
ประจำกรม หรือประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗
สั่งได้เป็นเวลาไม่เกินหกเดือนนับแต่วันที่ผู้นั้นถูกสั่ง เว้นแต่การสั่งตามข้อ ๒
(๗) ให้สั่งได้ไม่เกินกำหนดเวลาที่ได้รับอนุมัติจาก ก.พ. แต่ต้องไม่เกินหกเดือนนับแต่วันที่ผู้นั้นถูกสั่ง
เมื่อมีการสั่งข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดให้ประจำกระทรวง ประจำกรม
หรือประจำจังหวัดแล้วและผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗
เห็นว่ายังมีเหตุผลความจำเป็นเป็นพิเศษที่จะต้องให้ผู้นั้นประจำกระทรวง ประจำกรม
หรือประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี ต่อไปเกินกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งให้ขออนุมัติขยายเวลาต่อ
อ.ก.พ. กระทรวง หรือ ก.พ. แล้วแต่กรณีได้อีก
แต่กำหนดเวลาที่ขอขยายนั้นเมื่อรวมกับกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งแล้วต้องไม่เกินหนึ่งปีหกเดือนนับแต่วันที่ผู้นั้นถูกสั่งให้ประจำกระทรวง
ประจำกรม หรือประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี ทั้งนี้
ให้ขอขยายเวลาก่อนวันครบกำหนดเวลาเดิมไม่น้อยกว่าสามสิบวัน
การขออนุมัติขยายเวลาตามวรรคสองให้นำความข้อ ๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๕ การสั่งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ประจำกระทรวง
ให้สั่งได้สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
ข้อ ๖ การสั่งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ประจำกรม
ให้สั่งได้สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ตำแหน่งประเภทอำนวยการ
ตำแหน่งประเภทวิชาการ และตำแหน่งประเภททั่วไป
ข้อ ๗ การสั่งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ประจำจังหวัด
ให้สั่งได้สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ตำแหน่งประเภทอำนวยการ
ตำแหน่งประเภทวิชาการ และตำแหน่งประเภททั่วไป
ข้อ ๘ เมื่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๕๗ สั่งข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดให้ประจำกระทรวง ประจำกรม หรือประจำ จังหวัด
แล้วแต่กรณี โดยมีเหตุผลความจำเป็นในกรณีใดเมื่อหมดความจำเป็นหรือครบกำหนดเวลาตามข้อ
๔ แล้ว ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งหน้าที่เดิม
หรือแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกันที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น
ข้อ ๙ การให้ได้รับเงินเดือน การแต่งตั้ง
การเลื่อนเงินเดือน
การดำเนินการทางวินัยและการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญที่ถูกสั่งให้ประจำกระทรวง
ประจำกรมหรือประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี ตามกฎ ก.พ. นี้
ให้ดำเนินการโดยถือเสมือนว่าข้าราชการพลเรือนสามัญที่ถูกสั่งนั้นดำรงตำแหน่งเดิม
ข้อ ๑๐ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกสั่งให้ประจำกระทรวง
ประจำกรม ประจำกองหรือประจำจังหวัด อยู่ก่อนวันที่กฎ ก.พ. นี้ใช้บังคับ
ให้ดำเนินการกับกรณีดังกล่าวต่อไปตามกฎ ก.พ. ฉบับที่ ๑๕ (พ.ศ. ๒๕๔๐)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่าด้วยการสั่งข้าราชการพลเรือนสามัญ
ให้ประจำกระทรวง ประจำทบวง ประจำกรม ประจำกองหรือประจำจังหวัด
จนกว่าคำสั่งนั้นจะสิ้นผล
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔
อภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ประธาน
ก.พ.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๖๙
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ บัญญัติว่า
ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗
มีอำนาจสั่งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ประจำส่วนราชการเป็นการชั่วคราวโดยให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่เดิมได้ตามที่กำหนดใน
กฎ ก.พ. และการให้ได้รับเงินเดือน การแต่งตั้ง การเลื่อนเงินเดือน
การดำเนินการทางวินัย
และการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๘ พฤษภาคม
๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๑๘ พฤษภาคม
๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๓๕ ก/หน้า ๕๗/๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔ |
670679 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๕
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) และมาตรา ๕๐ วรรคสามและวรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.พ.
โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีจึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.พ. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกบัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
ท้ายกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๑
และให้ใช้บัญชีท้ายกฎ ก.พ. นี้แทน
ให้ไว้
ณ วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ยงยุทธ
วิชัยดิษฐ
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน
ก.พ.
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง ท้ายกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.
ได้กำหนดให้สายงานวิชาการช่างศิลป์ สายงานมัณฑนศิลป์ สายงานจิตรกรรม
สายงานเภสัชกรรม และสายงานพยาบาลวิชาชีพเฉพาะ
เป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ
กำหนดให้สายงานแพทย์แผนไทยเป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับชำนาญการ และระดับชำนาญการพิเศษ
และกำหนดให้สายงานนักจิตวิทยาคลินิกเป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ และระดับเชี่ยวชาญ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙ กรกฎาคม
๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๙ กรกฎาคม
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๖๔ ก/หน้า ๕/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๕ |
664645 | กฎ ก.ก. ว่าด้วยการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและการพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญที่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ พ.ศ. 2555 | กฎ ก
กฎ ก.ก.
ว่าด้วยการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและการพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ
ที่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๕
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๓) มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๔
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๔
และมาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
จึงออกกฎ ก.ก. ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.ก.
นี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในกฎ ก.ก. นี้
หน่วยงาน หมายความว่า
หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๓ ผู้ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ
และข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งโอนมาบรรจุเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญตามมาตรา
๕๗ ในระหว่างที่ยังทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งตามระยะเวลาที่หน่วยงานกำหนด
ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าหกเดือนแต่ไม่เกินหนึ่งปี
ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญผู้ใดทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไป
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ อาจขยายเวลาการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ไม่เกินสองครั้ง
ครั้งละไม่เกินสามเดือน
แต่เมื่อรวมกันแล้วระยะเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต้องไม่เกินหนึ่งปี
ในระหว่างการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ให้มีการพัฒนาข้าราชการเพื่อให้รู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการและเป็นข้าราชการที่ดี
โดยให้ถือว่าระยะเวลาในการพัฒนาดังกล่าวเป็นเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วย
ข้อ ๔ ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการในเรื่องการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและพัฒนาข้าราชการตามกฎ
ก.ก. นี้
ให้เป็นไปตามหลักการที่ว่าการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการที่มีประสิทธิภาพ
และเพื่อให้ข้าราชการที่ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการนั้น
รู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการและเป็นข้าราชการที่ดี
ข้อ ๕ ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติงานของข้าราชการที่ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมอบหมายงานเป็นลายลักษณ์อักษรให้ข้าราชการที่ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามข้อ
๓ ปฏิบัติ ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย ภารกิจ งานหรือกิจกรรมของงาน
และเป้าหมายในการปฏิบัติงาน
รวมทั้งต้องชี้แจงให้ข้าราชการที่ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเข้าใจอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการประพฤติตน
วิธีการปฏิบัติงาน รายการประเมิน วิธีการประเมิน
และเกณฑ์การประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
รวมทั้งผลที่จะเกิดขึ้นจากการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วย
ข้อ ๖ ให้ผู้บังคับบัญชาตามข้อ
๕ ดูแลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการทำหน้าที่สอนงานและให้คำปรึกษาแนะนำ
รวมทั้งติดตามประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
และจัดทำบันทึกผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการทุกสองเดือน
เพื่อประกอบการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ให้ผู้บังคับบัญชาตามข้อ ๕ มอบหมายให้ข้าราชการที่มีความรู้
ความเข้าใจในระเบียบแบบแผนของทางราชการและการเป็นข้าราชการที่ดี ทำหน้าที่ช่วยดูแลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ในการนี้ให้ผู้ได้รับมอบหมายจัดทำบันทึกผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามวรรคหนึ่งด้วย
ข้อ ๗ ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญผู้ใดอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ถ้าย้ายไปดำรงตำแหน่งซึ่งเป็นตำแหน่งประเภทเดียวกันและสายงานเดียวกัน
ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปโดยให้นับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อจากที่ได้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งเดิม
ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญผู้ใดอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ถ้าย้ายไปดำรงตำแหน่งซึ่งเป็นตำแหน่งประเภทเดียวกันแต่ต่างสายงาน
ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยให้เริ่มนับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการนับแต่วันที่ดำรงตำแหน่งใหม่
แต่ถ้าเป็นตำแหน่งประเภทเดียวกันแม้จะต่างสายงานแต่ตำแหน่งใหม่และตำแหน่งเดิมอยู่ในกลุ่มเดียวกันตามที่ได้รับการจัดกลุ่มสายงานไว้แล้วตามที่
ก.ก. กำหนด ให้นับระยะเวลาการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อจากที่ได้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งเดิมได้
ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญผู้ใดอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ถ้าย้ายไปดำรงตำแหน่งซึ่งเป็นตำแหน่งคนละประเภทกับตำแหน่งเดิม
ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยให้เริ่มนับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการนับแต่วันที่ดำรงตำแหน่งใหม่
ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญที่กรุงเทพมหานครรับโอนมาในขณะอยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยให้เริ่มนับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการนับแต่วันที่ดำรงตำแหน่งใหม่
แต่ถ้าเป็นการรับโอนโดยผลของกฎหมายให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปโดยให้นับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อจากที่ได้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งเดิม
ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญผู้ใดอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
และได้ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
ถ้าได้รับการบรรจุกลับเข้ารับราชการตามมาตรา ๖๓
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยอนุโลมให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปโดยให้นับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อจากที่ได้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งเดิม
ข้อ ๘ การพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญที่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเพื่อให้รู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการและเป็นข้าราชการที่ดี
ให้ดำเนินการในกระบวนการ ดังต่อไปนี้
(๑) การปฐมนิเทศเพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับโครงสร้าง อำนาจหน้าที่
ผู้บริหาร และวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานคร
รวมทั้งสร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้ที่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
สำนักปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้ดำเนินการ
(๒) การเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อให้มีความรู้ ทักษะ สมรรถนะของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญและระเบียบแบบแผนของทางราชการ
ให้สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ร่วมกับหน่วยงานต้นสังกัดเป็นผู้ดำเนินการ
(๓)
การอบรมสัมมนาร่วมกันเพื่อปลูกฝังการประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นข้าราชการที่ดี
ให้สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร สำนักปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้ดำเนินการ
(๔)
การพัฒนาอื่นใดตามที่หน่วยงานเห็นว่ามีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ให้หน่วยงานต้นสังกัดเป็นผู้ดำเนินการเพิ่มเติมได้
การดำเนินการพัฒนาตามวรรคหนึ่ง และการประเมินผลการพัฒนา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงาน
ก.ก. โดยความเห็นชอบของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด
ข้อ ๙ ให้มีการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการของผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างน้อยสองครั้ง
โดยครั้งแรกให้ประเมินเมื่อทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมาแล้วเป็นเวลาสามเดือน และครั้งที่สองให้ประเมินเมื่อทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมาแล้วเป็นเวลาหกเดือน
ในกรณีที่มีการกำหนดเวลาการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเกินกว่าหกเดือน
หรือมีการขยายเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ให้ประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวด้วย
ข้อ ๑๐ ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการถ้าผู้บังคับบัญชาตามข้อ
๖
ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการผู้ใดน่าจะมีผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด
อาจขอให้คณะกรรมการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการดำเนินการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนครบกำหนดเวลาประเมินที่กำหนดไว้
แล้วรายงานผลการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ พิจารณาสั่งการตามข้อ ๑๔ ก็ได้
ข้อ ๑๑ การประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ให้กระทำโดยผู้บังคับบัญชาตามข้อ ๕ และคณะกรรมการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ตามลำดับ
แล้วให้รายงานผลการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๕๒ เพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป
ข้อ ๑๒ ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๕๒ แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ประกอบด้วย
ประธานกรรมการ และกรรมการอีกจำนวนสองคน
โดยต้องแต่งตั้งจากผู้ทำหน้าที่ดูแลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามข้อ ๖ วรรคสอง
และข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับงานที่ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการได้รับมอบหมายตามข้อ
๕
ข้อ ๑๓ การประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการให้แบ่งการประเมินเป็น
๒ ส่วน
ส่วนที่ ๑ ประเมินจากผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ประกอบด้วย
ผลสัมฤทธิ์ของการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
และพฤติกรรมของผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ให้หน่วยงานกำหนดรายละเอียดของการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
โดยในส่วนของผลสัมฤทธิ์ของการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างน้อยต้องกำหนดให้ประกอบด้วย
ความรู้ ทักษะของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ความสามารถในการเรียนรู้งาน
ทักษะในการปรับใช้ความรู้กับงานในหน้าที่ และความสำเร็จของงานที่ได้รับมอบหมาย
สำหรับในส่วนของพฤติกรรมของผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างน้อยต้องประกอบด้วย
ความประพฤติ ความมีคุณธรรม จริยธรรม และการรักษาวินัย
คะแนนการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
และพฤติกรรมของผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้มีสัดส่วนเท่ากัน
และผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต้องได้คะแนนในแต่ละส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบ
จึงจะถือว่าผ่านการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามมาตรฐานที่กำหนด
ส่วนที่ ๒ ประเมินจากผลการพัฒนาข้าราชการที่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ประกอบด้วยการปฐมนิเทศ การเรียนรู้ด้วยตนเอง การอบรมสัมมนาร่วมกัน
และอาจเพิ่มเติมการพัฒนาตามข้อ ๘ (๔)
คะแนนการประเมินผลการพัฒนาข้าราชการที่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการจะต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบจึงจะถือว่าผ่านการประเมิน
ผู้ที่ผ่านการประเมินทั้งสองส่วนจึงจะถือว่าผ่านการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ข้อ ๑๔ เมื่อได้รับรายงานผลการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการแล้ว
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ดำเนินการดังนี้
(๑) ในกรณีที่ผลการประเมินไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด
ให้มีคำสั่งให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการนั้นรับราชการต่อไป
แล้วแจ้งให้ผู้นั้นทราบ
(๒) ในกรณีที่ผลการประเมินต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด
แต่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ เห็นควรขยายเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ให้สั่งขยายเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการออกไปได้ตามที่เห็นสมควร
แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินหนึ่งปีตามข้อ ๓ วรรคสอง ในการนี้
ให้แสดงเหตุผลหรือความเห็นไว้ด้วย
แล้วแจ้งให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและผู้เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการต่อไปตามกฎ
ก.ก. นี้
(๓) ในกรณีที่ประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนครบกำหนดเวลาประเมินและปรากฏว่าผลการประเมินต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด
แต่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ เห็นควรให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไป
ให้สั่งให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไป ในการนี้ ให้แสดงเหตุผลหรือความเห็นไว้ด้วย
แล้วแจ้งให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและผู้เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการต่อไปตามกฎ
ก.ก. นี้
(๔) ในกรณีที่ผลการประเมินต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด
และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ เห็นว่าไม่ควรให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปหรือไม่ควรขยายเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ให้มีคำสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการภายในห้าวันทำการ นับแต่วันที่ได้รับรายงาน
แล้วแจ้งให้ผู้นั้นทราบ และให้ส่งสำเนาคำสั่งให้ออกจากราชการให้สำนักงาน ก.ก.
ภายในห้าวันทำการนับแต่วันที่มีคำสั่ง ในการนี้ ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒
อาจสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้
โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ครบกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ข้อ ๑๕ ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญผู้ใดได้รับการบรรจุและแต่งตั้งก่อนวันที่
กฎ ก.ก.
นี้ใช้บังคับให้ดำเนินการให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญผู้นั้นทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตาม
กฎ ก.พ. ฉบับที่ ๒๑ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่าด้วยการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ให้ไว้
ณ วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕
หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์
บริพัตร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้ กฎ ก.ก. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๔๔
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๔
กำหนดให้การบริหารทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
หรือตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา เว้นแต่กรณีที่มิได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือมิได้กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา
ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนมาใช้บังคับกับการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ
ประกอบกับมาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
กำหนดให้ผู้ได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา ๕๓ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๕๕
ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและให้ได้รับการพัฒนาเพื่อให้รู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการ
และเป็นข้าราชการที่ดีตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. จึงเห็นสมควรกำหนดให้มีแนวทาง วิธีการและองค์ประกอบในการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและการพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญที่เหมาะสมกับบริบทและโครงสร้างการบริหารทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานคร จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.ก. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๕ มีนาคม ๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๙ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๒๕ ก/หน้า ๑๐/๑๔ มีนาคม ๒๕๕๕ |
647284 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๔[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) และมาตรา ๕๐ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.พ.
โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ
๓ แห่ง กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน พ.ศ. ๒๕๕๑
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ และตำแหน่งประเภท สายงาน และระดับอื่นที่
ก.พ. กำหนด ให้ได้รับเงินเดือนดังนี้
(๑) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส
ให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน ๓๗,๘๓๐ บาท หรือที่ ก.พ. กำหนด
เว้นแต่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งในสายงานที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้ได้รับเงินเดือนขั้นสูง
กรณีที่ผู้ใดได้รับเงินเดือนสูงกว่าอัตรา ๓๗,๘๓๐ บาท
ให้ได้รับเงินเดือนตามที่ได้รับอยู่
(๒) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
ให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน ๖๗,๕๖๐ บาท หรือที่ ก.พ. กำหนด
เว้นแต่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งในสายงานที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้ได้รับเงินเดือนขั้นสูง
กรณีที่ผู้ใดได้รับเงินเดือนสูงกว่าอัตรา ๖๗,๕๖๐ บาท
ให้ได้รับเงินเดือนตามที่ได้รับอยู่
(๓) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภท สายงาน และระดับอื่นที่ ก.พ. กำหนด
ให้ได้รับเงินเดือนในอัตราที่ ก.พ. กำหนด
ให้ไว้
ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
อภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ประธาน
ก.พ.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๕๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ วรรคหนึ่ง
กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งในแต่ละประเภทตามที่กำหนดไว้ในบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัติและวรรคสอง
กำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด
จะได้รับเงินเดือนเท่าใดตามบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ดังนั้น เมื่อมีการประกาศพระราชกฤษฎีกาปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงข้าราชการพลเรือนสามัญของตำแหน่งแต่ละประเภทให้เหมาะสมยิ่งขึ้นตามความจำเป็น
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ.นี้
เพื่อให้ข้าราชการได้รับการปรับเงินเดือน
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๒๓ ก/หน้า ๕๐/๕ เมษายน ๒๕๕๔ |
649259 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการดำเนินการทางวินัย และการสั่งลงโทษ กรณีไม่ปฏิบัติตามมติ ก.พ. ตามมาตรา 9 พ.ศ. 2554 | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการดำเนินการทางวินัย และการสั่งลงโทษ
กรณีไม่ปฏิบัติตามมติ
ก.พ. ตามมาตรา ๙
พ.ศ. ๒๕๕๔
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) และมาตรา ๙ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.พ.
โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑]
กฎ
ก.พ.นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ เมื่อมีกรณีตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง ให้ ก.พ.
เปิดโอกาสให้ปลัดกระทรวง
อธิบดีหรือผู้มีหน้าที่นั้นได้ชี้แจงถึงเหตุที่ไม่ปฏิบัติตามมติ ก.พ.
ดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนด
ข้อ ๓ เมื่อ ก.พ.
ได้พิจารณาจากพฤติการณ์และคำชี้แจงของปลัดกระทรวง อธิบดี หรือผู้มีหน้าที่ตามข้อ ๒
แล้ว ให้ ก.พ. มีมติอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
(๑) ในกรณีที่เห็นว่าการไม่ดำเนินการตามมติ ก.พ. ภายในเวลาที่กำหนด
หรือการดำเนินการตามมติ ก.พ. เมื่อล่วงพ้นเวลาที่กำหนดนั้น
เป็นไปโดยมีเหตุอันสมควร ให้มีมติให้ยุติเรื่อง
(๒) ในกรณีที่เห็นว่าการไม่ดำเนินการตามมติ ก.พ. ภายในเวลาที่กำหนด
หรือการดำเนินการตามมติ ก.พ. เมื่อล่วงพ้นเวลาที่กำหนดนั้น
เป็นไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้มีมติให้ลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน
หรือลดเงินเดือน ตามควรแก่กรณี หรือในกรณีที่มีเหตุอันควรงดโทษ
จะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือ หรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้
ข้อ ๔ เมื่อ ก.พ.
มีมติตามข้อ ๓ แล้ว ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะประธาน ก.พ. สั่งการตามมติ ก.พ. นั้น
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
อภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ประธาน
ก.พ.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๙
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ บัญญัติว่า ในกรณีที่ ก.พ.
มีมติว่า กระทรวง กรม
หรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้หรือปฏิบัติการโดยขัดหรือแย้งกับแนวทางตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
ซึ่ง ก.พ.ได้แจ้งให้ดำเนินการแก้ไข ยกเลิก
หรือยุติการดำเนินการดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนดแล้ว แต่ไม่ดำเนินการตามมติ ก.พ.
ภายในเวลาที่กำหนด โดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าปลัดกระทรวง อธิบดี
หรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติดังกล่าวกระทำผิดวินัย และให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.พ.
ในการดำเนินการทางวินัยและสั่งลงโทษผู้นั้น ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎ ก.พ. สมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการดำเนินการทางวินัยและการสั่งลงโทษเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าว
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๖ พฤษภาคม
๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๖ พฤษภาคม
๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๔๑ ก/หน้า ๘/๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๔ |
626989 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการกรณีทางราชการเลิกหรือยุบหน่วยงานหรือตำแหน่ง พ.ศ. 2553
| กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการ
กรณีทางราชการเลิกหรือยุบหน่วยงานหรือตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๕๕๓
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๕) และมาตรา ๑๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.พ.
โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีจึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ เมื่อมีกรณีที่ทางราชการเลิกหรือยุบหน่วยงานหรือตำแหน่งใดที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดปฏิบัติหน้าที่หรือดำรงตำแหน่งอยู่
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ แจ้งให้ข้าราชการผู้นั้นทราบและให้แสดงความประสงค์ว่าต้องการจะรับราชการต่อไปหรือไม่
ในกรณีที่ข้าราชการผู้นั้นไม่ประสงค์จะรับราชการต่อไป
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗
สั่งให้ข้าราชการผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการเพราะเหตุที่มีการเลิกหรือยุบหน่วยงานหรือตำแหน่งนั้นนับแต่วันที่หน่วยงานหรือตำแหน่งนั้นเลิกหรือถูกยุบ
และให้ข้าราชการผู้นั้นได้รับเงินชดเชยตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนดตามมาตรา ๑๑๐ (๔)
ในกรณีที่ข้าราชการผู้นั้นประสงค์จะรับราชการต่อไป
ให้ข้าราชการผู้นั้นแสดงความจำนงด้วยว่าได้แสดงความประสงค์จะขอย้ายหรือโอนไปรับราชการในตำแหน่งใดหรือที่หน่วยงานใดหรือส่วนราชการใด
ในกรณีที่ข้าราชการผู้ใดอยู่ในระหว่างการรับราชการชดใช้ทุน
ข้าราชการผู้นั้นไม่ต้องแสดงความประสงค์ตามวรรคหนึ่ง และให้ย้ายหรือโอนข้าราชการผู้นั้นไปรับราชการต่อไป
ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นพิเศษที่ไม่อาจดำเนินการดังกล่าวได้
การดำเนินการต่อไปในเรื่องนั้นจะสมควรดำเนินการประการใดให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด
ข้อ ๓ ในกรณีที่ข้าราชการตามข้อ ๒
แสดงความจำนงขอย้ายหรือโอน ให้ดำเนินการดังนี้
(๑)
การย้ายหรือโอนไปดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำเนินการตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยการนั้น
(๒)
การโอนไปดำรงตำแหน่งข้าราชการประเภทอื่นหรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้สำหรับการนั้น
ข้อ ๔ ในกรณีที่ขอย้ายให้ผู้บังคับบัญชาระดับต้น
หรือในกรณีที่ขอโอนให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗
เป็นผู้ให้ข้อมูลและความเห็นเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมาและคุณลักษณะส่วนบุคคลของข้าราชการตามข้อ
๒ เพื่อประกอบการพิจารณาของผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗
ในตำแหน่งที่ขอย้าย
หรือเพื่อประกอบการพิจารณาของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุในตำแหน่งที่ขอโอน แล้วแต่กรณี
ข้อ ๕ ในกรณีที่จะต้องดำเนินการย้ายหรือโอนข้าราชการตามข้อ
๒ ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ หรือผู้มีอำนาจสั่งบรรจุในตำแหน่งที่ขอโอน
แล้วแต่กรณี ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่หน่วยงานหรือตำแหน่งนั้นเลิกหรือถูกยุบ
เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดเวลาไว้เป็นอย่างอื่น
โดยให้การย้ายหรือโอนมีผลตั้งแต่วันที่หน่วยงานหรือตำแหน่งนั้นเลิกหรือถูกยุบ
แต่ถ้าไม่ต้องดำเนินการย้ายหรือโอนข้าราชการผู้นั้น
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗
ในตำแหน่งที่ข้าราชการผู้นั้นดำรงอยู่ก่อนวันที่หน่วยงานหรือตำแหน่งนั้นเลิกหรือถูกยุบ
มีคำสั่งให้ข้าราชการผู้นั้นออกจากราชการตามข้อ ๒ วรรคสอง
ข้อ ๖ ในกรณีที่ไม่อาจดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ
ก.พ. นี้ การดำเนินการต่อไปในเรื่องนั้นจะสมควรดำเนินการประการใดให้เป็นไปตามที่
ก.พ. กำหนด
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๑
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๑๑๐ (๔)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
บัญญัติให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
กรณีเมื่อทางราชการเลิกหรือยุบหน่วยงานหรือตำแหน่งที่ข้าราชการพลเรือนสามัญปฏิบัติหน้าที่หรือดำรงอยู่
และวรรคสองบัญญัติให้การสั่งให้ออกจากราชการในกรณีดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ
ก.พ. จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๒๓ ก/หน้า ๔๒/๒ เมษายน ๒๕๕๓ |
680032 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือน เพื่อเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือน
เพื่อเป็นอนุกรรมการใน
อ.ก.พ.สามัญ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๖[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) และมาตรา ๒๑
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี
จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสอง ของข้อ ๕ แห่งกฎ
ก.พ.ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน
อ.ก.พ.สามัญ พ.ศ. ๒๕๕๒
เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง
ให้อนุกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้แต่งตั้งอนุกรรมการใหม่
ให้ไว้
ณ วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖
พงศ์เทพ
เทพกาญจนา
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน
ก.พ.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ
เนื่องจากการสรรหาและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน
อ.ก.พ.สามัญต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการอาจส่งผลกระทบต่อการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ
สมควรให้อนุกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้จนกว่าจะได้แต่งตั้งอนุกรรมการใหม่
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๑ มกราคม ๒๕๕๖
ณัฐพร/ผู้ตรวจ
๒๑ มกราคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๕ ก/หน้า ๔/๑๗ มกราคม ๒๕๕๖ |
680615 | กฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2556 | กฎ ก
กฎ ก.พ.ค.
ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
(ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๕๖
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์และวิธีการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ให้เหมาะสมชัดเจนยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๑ (๕) มาตรา ๑๒๓ มาตรา ๑๒๔ และมาตรา ๑๒๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ก.พ.ค. จึงออกกฎ ก.พ.ค. ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.ค.
นี้เรียกว่า กฎ ก.พ.ค.
ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖
ข้อ ๒[๑] กฎ ก.พ.ค. นี้
ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓ ของกฎ ก.พ.ค.
ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๑
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๓ ในกฎ
ก.พ.ค. นี้
คู่กรณี หมายความว่า
ผู้ร้องทุกข์และคู่กรณีในการร้องทุกข์
ผู้ร้องทุกข์ หมายความว่า
ผู้มีสิทธิร้องทุกข์ตามกฎหมาย และให้หมายความรวมถึงผู้ที่ได้รับมอบหมายด้วย
คู่กรณีในการร้องทุกข์ หมายความว่า
ผู้บังคับบัญชาที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์
พนักงานผู้รับคำร้องทุกข์ หมายความว่า
เจ้าหน้าที่ที่สำนักงาน ก.พ. มอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการรับคำร้องทุกข์
การตรวจคำร้องทุกข์ และการดำเนินงานธุรการอย่างอื่นตามกฎ ก.พ.ค. นี้
และให้หมายความรวมถึงเจ้าหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาหรือของผู้บังคับบัญชาที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์
หรือของผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ ที่มีหน้าที่รับหนังสือตามระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณ
ด้วย
พนักงานผู้รับผิดชอบสำนวน หมายความว่า
เจ้าหน้าที่ที่สำนักงาน ก.พ. และ ก.พ.ค. มอบหมายให้รับผิดชอบสำนวนเรื่องร้องทุกข์
องค์คณะวินิจฉัย หมายความว่า
ก.พ.ค. หรือกรรมการ ก.พ.ค. คนหนึ่ง หรือคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ที่ ก.พ.ค.
ตั้ง เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
ในกรณีที่เป็นคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
ต้องมีกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์อย่างน้อยสองคนจึงจะเป็นองค์คณะวินิจฉัย
กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ หมายความว่า
บุคคลหนึ่งบุคคลใดในองค์คณะวินิจฉัย
กรรมการเจ้าของสำนวน หมายความว่า
บุคคลหนึ่งบุคคลใดในองค์คณะวินิจฉัยที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รับผิดชอบสำนวนเรื่องร้องทุกข์
ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ หมายความว่า
องค์คณะวินิจฉัย
และให้หมายความรวมถึงผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปที่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ตามกฎ
ก.พ.ค. นี้ ด้วย
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๑ ของกฎ ก.พ.ค.
ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๑
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๑ ภายใต้บังคับข้อ
๘ คู่กรณีอาจมีหนังสือแต่งตั้งให้ทนายความหรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะ
กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่กำหนดแทนตนในกระบวนพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ขั้นตอนใด
ๆ ก็ได้ โดยให้แนบหนังสือแต่งตั้ง
หลักฐานแสดงตนของทนายความหรือบุคคลผู้ได้รับแต่งตั้งพร้อมคำร้องทุกข์หรือจะยื่นในภายหลังก่อนการดำเนินการในขั้นตอนนั้น
ๆ ก็ได้
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔๒ ของกฎ ก.พ.ค.
ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๑
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๔๒ ห้ามมิให้รับคำร้องทุกข์ดังต่อไปนี้ไว้พิจารณา
(๑) เป็นคำร้องทุกข์ที่ไม่อยู่ในอำนาจการวินิจฉัยของ ก.พ.ค. ตามข้อ ๗
(๒) ผู้ร้องทุกข์มิใช่เป็นผู้มีสิทธิร้องทุกข์ตามข้อ ๗
(๓)
ผู้ร้องทุกข์มิใช่เป็นบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากผู้มีสิทธิร้องทุกข์แทนตามข้อ ๑๐
(๔) เป็นคำร้องทุกข์ที่ร้องทุกข์เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันตามข้อ ๘
เว้นแต่ ก.พ.ค. เห็นควรรับไว้พิจารณาเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
(๕)
เป็นเรื่องที่ได้เคยมีการร้องทุกข์และได้มีคำวินิจฉัยหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว
(๖) เป็นกรณีตามข้อ ๔๑ (๒)
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ
๔๓ (๑) ของกฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑) ถ้าเห็นว่าเป็นคำร้องทุกข์ที่รับไว้พิจารณาไม่ได้ตามข้อ
๔๒
ก็ให้มีคำวินิจฉัยไม่รับเรื่องร้องทุกข์นั้นไว้พิจารณาและสั่งจำหน่ายเรื่องร้องทุกข์ดังกล่าวออกจากสารบบ
หรือให้มีคำวินิจฉัยยกเลิกกระบวนพิจารณาเรื่องร้องทุกข์นั้น
และสั่งจำหน่ายเรื่องร้องทุกข์ดังกล่าวออกจากสารบบ
คำวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
หรือกรรมการ ก.พ.ค. เจ้าของสำนวนตามวรรคหนึ่ง ให้นำเสนอ ก.พ.ค.
เพื่อพิจารณาวินิจฉัยต่อไปด้วย
ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในข้อ
๕๑ วรรคหนึ่ง ของกฎ ก.พ.ค.
ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๑
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๕๑ ในการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
ให้องค์คณะวินิจฉัยจัดให้มีการพิจารณาหรือประชุมพิจารณาเรื่องร้องทุกข์อย่างน้อยหนึ่งครั้ง
เพื่อให้ผู้ร้องทุกข์หรือคู่กรณีในการร้องทุกข์มีโอกาสมาแถลงด้วยวาจาต่อหน้าองค์คณะวินิจฉัย
เว้นแต่ในกรณีที่องค์คณะวินิจฉัยเห็นว่าเรื่องร้องทุกข์นั้นมีข้อเท็จจริงชัดเจนเพียงพอต่อการพิจารณาวินิจฉัยแล้วหรือมีข้อเท็จจริงและประเด็นวินิจฉัยไม่ซับซ้อน
และการมาแถลงด้วยวาจาไม่จำเป็นแก่การพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
จะให้งดการแถลงด้วยวาจาเสียก็ได้
ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความในข้อ
๕๔ ของกฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ.
๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๕๔ คำวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ขององค์คณะวินิจฉัย
ให้นำความในข้อ ๑๖ หมวด ๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
คำวินิจฉัยขององค์คณะวินิจฉัย ให้นำเสนอ ก.พ.ค. เพื่อพิจารณา เมื่อ
ก.พ.ค. มีความเห็นประการใดแล้ว
ให้องค์คณะวินิจฉัยดำเนินการเพื่อให้มีคำวินิจฉัยของ ก.พ.ค. ต่อไป
การเยียวยา หรือการดำเนินการอื่นใด เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ระหว่างที่ยังไม่มีระเบียบ ก.พ.ค. ในเรื่องดังกล่าว ให้นำความในข้อ ๒๖
มาใช้บังคับโดยอนุโลมไปพลางก่อน
ข้อ ๙ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕๗ ของกฎ ก.พ.ค.
ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๑
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๕๗ คำวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ให้ผูกพันคู่กรณีในการร้องทุกข์และผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำวินิจฉัย
หรือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยในโอกาสแรกที่สามารถทำได้นับแต่ได้รับคำวินิจฉัย
ข้อ ๑๐ เรื่องร้องทุกข์เรื่องใดที่ได้มีการพิจารณาดำเนินการโดยถูกต้องตามกฎ
ก.พ.ค.ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๑
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒ เสร็จไปแล้วก่อนวันที่ กฎ ก.พ.ค. ฉบับนี้ใช้บังคับ
ให้การพิจารณาดำเนินการดังกล่าวเป็นอันใช้ได้ ถ้าเรื่องร้องทุกข์ใดอยู่ในระหว่างดำเนินการ
ให้พิจารณาดำเนินการตามกฎ ก.พ.ค. ฉบับนี้
ให้ไว้
ณ วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖
ศราวุธ
เมนะเศวต
ประธานกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๔ กุมภาพันธ์
๒๕๕๖
ชาญ/ผู้ตรวจ
๑๙ กุมภาพันธ์
๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๙ ก/หน้า ๓/๓๑ มกราคม ๒๕๕๖ |
634827 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553
| กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๓[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๕) และมาตรา ๑๐๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี
จึงออกกฎ ก.พ.ไว้ ดังต่อไปนี้
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ
๙/๑ แห่ง กฎ
ก.พ.ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป
พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ ๙/๑ ในกรณีที่ส่วนราชการใดไม่อาจดำเนินการตามข้อ
๑ ได้ เพราะเหตุที่ตำแหน่งที่ประสงค์จะให้ข้าราชการพลเรือนสามัญรับราชการต่อไป
ไม่ได้เป็นตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดให้ไว้ก่อนตามข้อ ๑ (๒)
ให้ส่วนราชการนั้นระบุตำแหน่งและตัวบุคคลที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว
พร้อมทั้งจัดทำข้อมูลตามข้อ ๓ เสนอ อ.ก.พ.กรม หรือ อ.ก.พ. กระทรวง แล้วแต่กรณี และ
ก.พ. เพื่อพิจารณาตามลำดับโดยต้องเสนอให้ ก.พ. พิจารณาภายในเดือนมิถุนายนของปีงบประมาณนั้น
ทั้งนี้ ให้ ก.พ.
พิจารณาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดใน กฎ ก.พ. นี้
และเมื่อได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ. แล้ว ให้ดำเนินการตามข้อ ๘
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป
พ.ศ. ๒๕๕๒ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ให้ส่วนราชการสามารถดำเนินการให้ข้าราชการที่มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์และเข้าหลักเกณฑ์ในเรื่องอื่นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้อีกไม่เกินสิบปี
ในกรณีที่ ก.พ.
ยังไม่ได้กำหนดตำแหน่งของข้าราชการดังกล่าวให้เป็นตำแหน่งที่จะให้ข้าราชการรับราชการได้ต่อไปไว้ก่อน
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๕๕ ก/หน้า ๒๖/๙ กันยายน ๒๕๕๓ |
628151 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการกรณีสมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการ พ.ศ. 2553
| กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการกรณีสมัครไปปฏิบัติงานใด
ๆ
ตามความประสงค์ของทางราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๓
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๕) และมาตรา ๑๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.พ.
โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑[๑]
กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๒ การสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนสำหรับกรณีที่ไปปฏิบัติงานใด
ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการ ตามมาตรา ๑๑๐ (๒) ให้สั่งได้เฉพาะการไปปฏิบัติงานในหน่วยงาน
ดังต่อไปนี้
(๑)
รัฐวิสาหกิจ
(๒)
องค์การมหาชน
(๓)
หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ
(๔)
หน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเฉพาะ
(๕)
หน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี
(๖)
หน่วยงานอื่นตามที่ ก.พ. กำหนด
หน่วยงานตามวรรคหนึ่งต้องเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งใหม่เป็นเวลาไม่เกินห้าปี
ข้อ
๓ การไปปฏิบัติงานตามความประสงค์ของทางราชการตามกฎ
ก.พ. นี้ หมายถึง การไปปฏิบัติงานตามความประสงค์ร่วมกันของหน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานตามข้อ
๒ และต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของทางราชการ โดยอาจเป็นไปเพื่อประโยชน์ของหน่วยงานต้นสังกัด
หน่วยงานตามข้อ ๒ หรือเป็นไปเพื่อประโยชน์ของทางราชการโดยรวมก็ได้
ข้อ
๔ การสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดออกจากราชการเพื่อไปปฏิบัติงานใด
ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการตามกฎ ก.พ. นี้
ให้สั่งได้เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้น
(๑)
ได้แสดงความสมัครใจเป็นลายลักษณ์อักษร
(๒)
มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(ก)
มีอายุไม่ถึงห้าสิบปีบริบูรณ์
(ข)
มีระยะเวลาในการรับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
(๓)
ไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(ก)
อยู่ระหว่างถูกดำเนินการทางวินัย
(ข)
อยู่ระหว่างรับราชการชดใช้ทุน
ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
ก.พ. จะพิจารณายกเว้นคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นการเฉพาะรายก็ได้
ให้ไว้ ณ วันที่ ๗
เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๑๑๐ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
บัญญัติให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
กรณีเมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดสมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ
ตามความประสงค์ของทางราชการ
และวรรคสองบัญญัติให้การสั่งให้ออกจากราชการในกรณีดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ
ก.พ. จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๗/ตอนที่ ๒๘ ก/หน้า ๒๘/๓๐ เมษายน ๒๕๕๓ |
636598 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการกระทำการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ พ.ศ. 2553 | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการกระทำการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ
พ.ศ. ๒๕๕๓
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๕) และมาตรา ๘๓ (๘) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.พ.
โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑[๑]
กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๒ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำการประการใดประการหนึ่งดังต่อไปนี้
ต่อข้าราชการด้วยกัน หรือผู้ร่วมปฏิบัติราชการ
ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในหรือนอกสถานที่ราชการโดยผู้ถูกกระทำมิได้ยินยอมต่อการกระทำนั้น
หรือทำให้ผู้ถูกกระทำเดือดร้อนรำคาญ
ถือว่าเป็นการกระทำอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ ตามมาตรา ๘๓ (๘)
(๑)
กระทำการด้วยการสัมผัสทางกายที่มีลักษณะส่อไปในทางเพศ เช่น การจูบ การโอบกอด การจับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง
เป็นต้น
(๒)
กระทำการด้วยวาจาที่ส่อไปในทางเพศ เช่น วิพากษ์วิจารณ์ร่างกาย พูดหยอกล้อ
พูดหยาบคาย เป็นต้น
(๓)
กระทำการด้วยอากัปกิริยาที่ส่อไปในทางเพศ เช่น การใช้สายตาลวนลาม
การทำสัญญาณหรือสัญลักษณ์ใด ๆ เป็นต้น
(๔)
การแสดงหรือสื่อสารด้วยวิธีการใด ๆ ที่ส่อไปในทางเพศ เช่น แสดงรูปลามกอนาจาร ส่งจดหมาย
ข้อความ หรือการสื่อสารรูปแบบอื่น เป็นต้น
(๕)
การแสดงพฤติกรรมอื่นใดที่ส่อไปในทางเพศ
ซึ่งผู้ถูกกระทำไม่พึงประสงค์หรือเดือดร้อนรำคาญ
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓
อภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ประธาน
ก.พ.
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๘๓ (๘) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑
บัญญัติว่าข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่กระทำการใดอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศตามที่กำหนดใน
กฎ ก.พ. สมควรกำหนดหลักเกณฑ์การกระทำการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๕๙ ก/หน้า ๑๔/๒๘ กันยายน ๒๕๕๓ |
692505 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2551 (ฉบับ Update ณ วันที่ 17/07/2555)
| กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๕๕๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) และมาตรา ๕๐
วรรคสามและวรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ.
โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ข้าราชการพลเรือนสามัญอาจได้รับเงินประจำตำแหน่งตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(๑)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในประเภท สายงาน
และระดับตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. นี้
และปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งดังกล่าวให้มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(๒)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งผู้ใด
หากได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่อื่นและมิได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่
ไม่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งตั้งแต่วันที่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่
เว้นแต่ในกรณีที่ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการหรือประเภททั่วไปและได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่อื่นที่มีลักษณะเป็นงานวิชาชีพหรืองานเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเหมือนหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่เดิม
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดิมของตำแหน่งต่อไป
(๓)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งนั้นไม่เต็มเดือนในเดือนใด
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งสำหรับเดือนนั้นตามส่วนจำนวนวันที่ได้ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งดังกล่าว
(๔)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งนั้นเกินหนึ่งตำแหน่ง
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งสำหรับตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงสุดเพียงตำแหน่งเดียว
(๕)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประเภทเดียวกันที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้ปฏิบัติหน้าที่หลักในตำแหน่งที่ตนไปปฏิบัติหน้าที่ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามอัตราเดิมของตนต่อไป
ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่
หรือรักษาราชการแทน
หรือรักษาการในตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งต่างประเภทกัน
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราของตำแหน่งเดิมต่อไปนับแต่วันที่เข้าปฏิบัติหน้าที่หลักในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่
หรือรักษาราชการแทน หรือรักษาการในตำแหน่ง แล้วแต่กรณี
แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินหกเดือน
(๖)
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศตามระเบียบ ก.พ.
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการโดยการให้ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศ
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราของตำแหน่งเดิมต่อไป
ข้อ ๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสายงานตามบัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งท้ายกฎ
ก.พ. นี้ ในตำแหน่งประเภทใด ระดับใด
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญในอัตราดังนี้
(๑)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๐,๐๐๐ บาท
(๒)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ดังต่อไปนี้ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๔,๕๐๐ บาท
(ก)
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมซึ่งมิใช่หัวหน้าส่วนราชการตาม (๓) (ข) (ค) (ง)
และ (จ)
(ข)
ผู้ว่าราชการจังหวัด
(ค)
เอกอัครราชทูตที่เป็นหัวหน้าสถานเอกอัครราชทูต
หัวหน้าคณะผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ
หัวหน้าคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก และเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง
(ง)
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ได้แก่ รองปลัดกระทรวง
และรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(จ)
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในสำนักนายกรัฐมนตรี
และอยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และรองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
(ฉ)
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง
และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ได้แก่
รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(ช)
รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการ และขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี
ได้แก่ รองเลขาธิการสภาการศึกษา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
(ซ)
หัวหน้าส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีผู้บังคับบัญชาเป็นอธิบดีหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี
ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เลขาธิการสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
และเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
(ฌ)
ผู้ตรวจราชการของส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง
(ญ)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตามที่ ก.พ.
กำหนดให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดียวกันนี้
(๓)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ดังต่อไปนี้ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๒๑,๐๐๐ บาท
(ก)
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ได้แก่ ปลัดกระทรวง
และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(ข)
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในสำนักนายกรัฐมนตรี
และอยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
(ค)
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง
และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(ง)
หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการ และขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี
ได้แก่ เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
(จ)
ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตามที่ ก.พ.
กำหนดให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดียวกันนี้
(๔)
ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๕,๖๐๐ บาท
(๕)
ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๐,๐๐๐ บาท
(๖)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ที่มีประสบการณ์ ทักษะ และสมรรถนะ
ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๓,๕๐๐ บาท
(๗)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๕,๖๐๐ บาท
(๘)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๙,๙๐๐ บาท
(๙)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๓,๐๐๐ บาท
(๑๐)
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ที่มีประสบการณ์ ทักษะ และสมรรถนะ
ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๕,๖๐๐ บาท
(๑๑)
ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๙,๙๐๐ บาท
ข้อ ๔ การกำหนดประเภทตำแหน่ง สายงาน ระดับ
และจำนวนตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งเพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่แล้วในวันก่อนวันที่กฎ
ก.พ. นี้ใช้บังคับ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ. ก่อน
ข้อ ๕ กรณีอื่นนอกจากที่ได้กำหนดไว้ในกฎ ก.พ. นี้
ให้เสนอ ก.พ. พิจารณาอนุมัติเป็นราย ๆ ไป
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
[เอกสารแนบท้าย]
๑.[๒]
บัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง ท้ายกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ (แก้ไขเพิ่มเติม)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๕๐ วรรคสามและวรรคสี่ บัญญัติว่า
ข้าราชการพลเรือนสามัญอาจได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่
ก.พ. กำหนด และผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด
จะได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ในอัตราใด
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. จึงจำเป็นต้องออกกฎ
ก.พ. นี้
กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕[๓]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ
ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ. ได้กำหนดให้สายงานวิชาการช่างศิลป์ สายงานมัณฑนศิลป์
สายงานจิตรกรรม สายงานเภสัชกรรม และสายงานพยาบาลวิชาชีพเฉพาะ เป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับทรงคุณวุฒิ กำหนดให้สายงานแพทย์แผนไทยเป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับชำนาญการ และระดับชำนาญการพิเศษ และกำหนดให้สายงานนักจิตวิทยาคลินิกเป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ และระดับเชี่ยวชาญ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๑๒๘ ก/หน้า ๑๓/๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๑
[๒] บัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง ท้ายกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๕๕๑ แก้ไขเพิ่มเติมเป็นบัญชีกำหนดสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง ท้ายกฎ
ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕
โดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๕
[๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๖๔ ก/หน้า ๕/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๕ |
681820 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการกรณีเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอ พ.ศ. 2556 | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการกรณีเจ็บป่วย
ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอ
พ.ศ. ๒๕๕๖
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) และมาตรา ๑๑๐ วรรคหนึ่ง (๑)
และวรรคสองแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้
โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออก กฎ ก.พ.
ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ การสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน
กรณีเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอตามมาตรา ๑๑๐ วรรคหนึ่ง
(๑) ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗
พิจารณาดำเนินการตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. นี้
ข้อ ๓ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๕๗
มีอำนาจพิจารณาดำเนินการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนกรณีเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอ
เมื่อปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) มีวันลาป่วยรวมกันในหนึ่งปีงบประมาณเกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันทำการ
หรือมีวันลาป่วย รวมกันเกินหกสิบวันทำการในแต่ละปีงบประมาณติดต่อกันสองปีงบประมาณ ทั้งนี้
ไม่รวมกรณีป่วยเจ็บเพราะเหตุปฏิบัติราชการในหน้าที่หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทำการตามหน้าที่
(๒)
ต้องเข้ารับการบำบัดรักษาในฐานะผู้ป่วยในตามกฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิตในสถานบำบัดรักษาทางสุขภาพจิต
หรือสถานที่อื่นที่คณะกรรมการสถานบำบัดรักษาตามกฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิตกำหนด ทั้งนี้
โดยมีระยะเวลารวมกันเกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน
ข้อ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีวันลาป่วยตามข้อ
๓ (๑) ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗
ส่งตัวผู้นั้นไปรับการตรวจจากสถานพยาบาลของรัฐเพื่อประกอบการพิจารณา
ข้อ ๕ เมื่อได้รับผลการตรวจตามข้อ
๔ แล้ว ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ต้องนำผลการตรวจ
รายละเอียดเกี่ยวกับโรค หรือความเจ็บป่วยของผู้นั้น
ระยะเวลาในการรักษาตัวและความเห็นของแพทย์มาประกอบการพิจารณา
แล้วดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) ถ้าเห็นว่าผู้นั้นต้องลาป่วยต่อไปอีกเป็นเวลานานจนไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการได้โดยสม่ำเสมอให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน
(๒)
ถ้าเห็นควรให้โอกาสผู้นั้นมีเวลาในการพักรักษาตัวต่อไปอีกระยะหนึ่ง
ให้กำหนดระยะเวลาให้ผู้นั้นลาป่วยอีกครั้งหนึ่งเพื่อพักรักษาตัวต่อไปได้ตามที่เห็นสมควร
แต่ต้องไม่เกินหกสิบวันทำการ และเมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วให้สั่งให้ผู้นั้นไปรับการตรวจจากสถานพยาบาลของรัฐตามข้อ
๔ อีกครั้งหนึ่ง ถ้าผลการตรวจของแพทย์เห็นว่าผู้นั้นยังคงต้องพักรักษาตัวต่อไปอีก
ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗
ให้โอกาสผู้นั้นพักรักษาตัวต่อไปตาม (๒) ถ้าผู้นั้นประสงค์ที่จะออกจากราชการ
ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน
ข้อ ๖ ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดแสดงความผิดปกติทางจิตตามกฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิตโดยมีพฤติกรรมที่แสดงออกโดยประการที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อชีวิต
ร่างกาย หรือทรัพย์สินของตนเองหรือผู้อื่น
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗
ส่งตัวผู้นั้นไปยังสถานพยาบาลของรัฐ เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและประเมินอาการ
ในกรณีที่สถานพยาบาลของรัฐเห็นว่าผู้นั้นต้องเข้ารับการบำบัดรักษาทางสุขภาพจิตในฐานะผู้ป่วยในตามกฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิตในสถานบำบัดรักษาทางสุขภาพจิต
หรือสถานที่อื่นที่คณะกรรมการสถานบำบัดรักษาตามกฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิตกำหนด และผู้นั้นเข้ารับการบำบัดรักษา
โดยมีระยะเวลารวมกันเกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ตามข้อ ๓ (๒)
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน
ข้อ ๗ ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดเป็นผู้ป่วยในตามกฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิตและเข้ารับการรักษาในสถานบำบัดรักษาทางสุขภาพจิตหรือสถานที่อื่นตามที่กฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิตกำหนดรวมกันเกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน
ตามข้อ ๓ (๒) ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗
สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน
ให้ไว้
ณ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖
พงศ์เทพ
เทพกาญจนา
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน
ก.พ.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๑๑๐ วรรคหนึ่ง (๑)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
บัญญัติให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
กรณีเมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอ
และวรรคสอง บัญญัติให้การสั่งให้ออกจากราชการในกรณีดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ
ก.พ. จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๘ กุมภาพันธ์
๒๕๕๖
ณัฐพร/ผู้ตรวจ
๑๘ กุมภาพันธ์
๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๑๗ ก/หน้า ๑/๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ |
616787 | กฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552
| กฎ ก
กฎ ก.พ.ค.
ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๒
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์และวิธีการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๓๑ (๕) มาตรา ๑๒๓ มาตรา ๑๒๔ และมาตรา ๑๒๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ.ค. จึงออก กฎ ก.พ.ค. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.ค. นี้เรียกว่า กฎ ก.พ.ค.
ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ ๒[๑] กฎ ก.พ.ค. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗ ของกฎ ก.พ.ค.
ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๑
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๗ ภายใต้บังคับข้อ ๖
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีความคับข้องใจ อันเกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชา
และเป็นกรณีที่ไม่อาจอุทธรณ์ ตามหมวด ๙ การอุทธรณ์
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้
ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ.ค. นี้
การปฏิบัติ
หรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชา ซึ่งทำให้เกิดความคับข้องใจ
อันเป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์นั้น ต้องมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
(๑)
ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่ง หรือปฏิบัติ
หรือไม่ปฏิบัติอื่นใดโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน
หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริต
หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นหรือสร้างภาระให้เกิดขึ้นเกินสมควร
หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
(๒)
ไม่มอบหมายงานให้ปฏิบัติ
(๓)
ประวิงเวลา หรือหน่วงเหนี่ยวการดำเนินการบางเรื่องอันเป็นเหตุให้เสียสิทธิ
หรือไม่ได้รับสิทธิประโยชน์อันพึงมีพึงได้ในเวลาอันสมควร
(๔)
ไม่เป็นไปตาม หรือขัดกับระบบคุณธรรม ตามมาตรา ๔๒
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๔ วรรคหนึ่ง ของกฎ
ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๑
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๒๔ ให้ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันได้รับคำร้องทุกข์
แต่ถ้ามีความจำเป็นไม่อาจพิจารณา ให้แล้วเสร็จภายในเวลาดังกล่าว
ให้ขยายเวลาได้อีกไม่เกินสามสิบวัน
และให้บันทึกแสดงเหตุผลความจำเป็นที่ต้องขยายเวลาไว้ด้วย
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔๔ ของกฎ ก.พ.ค.
ว่าด้วยการร้องทุกข์ และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๑
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๔๔ เมื่อได้มีการสั่งรับคำร้องทุกข์ไว้พิจารณาแล้ว
ให้กรรมการเจ้าของสำนวนมีคำสั่งให้คู่กรณีในการร้องทุกข์ทำคำแก้คำร้องทุกข์ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งหรือภายในระยะเวลาที่กำหนด
โดยส่งสำเนาคำร้องทุกข์และสำเนาหลักฐานที่เกี่ยวข้องไปให้ด้วย ในกรณีที่เห็นสมควร
กรรมการเจ้าของสำนวนจะกำหนดประเด็น
ที่คู่กรณีในการร้องทุกข์ต้องชี้แจงหรือกำหนดให้จัดส่งพยานหลักฐานที่จะเป็นประโยชน์
ต่อการพิจารณาวินิจฉัยร้องทุกข์ไปให้ด้วยก็ได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่กำหนดไว้ในข้อ ๔๙
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔๙ ของกฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๔๙ เมื่อรับคำร้องทุกข์ไว้พิจารณาดำเนินการแล้ว
หากกรรมการเจ้าของสำนวนเห็นว่าสามารถวินิจฉัยได้จากข้อเท็จจริงในคำร้องทุกข์นั้น
โดยไม่ต้องดำเนินการแสวงหาข้อเท็จจริงอีกหรือเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ได้จากคำแก้คำร้องทุกข์
เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการเรื่องนั้นหรือข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการแสวงหาเพิ่มเติม
(ถ้ามี) เพียงพอต่อการวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์นั้นแล้ว ให้กรรมการเจ้าของสำนวนทำบันทึกของกรรมการเจ้าของสำนวนสรุปเสนอองค์คณะวินิจฉัยเพื่อพิจารณาวินิจฉัยต่อไป
บันทึกสรุปสำนวนตามวรรคหนึ่ง
อย่างน้อยต้องประกอบด้วย
(๑)
ชื่อผู้ร้องทุกข์และคู่กรณีในการร้องทุกข์
(๒)
สรุปคำร้องทุกข์
(๓)
สรุปคำแก้คำร้องทุกข์ (ถ้ามี)
(๔)
สรุปข้อเท็จจริงที่กรรมการเจ้าของสำนวนแสวงหาเพิ่มเติม (ถ้ามี)
(๕)
ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยทั้งข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง
(๖)
ความเห็นของกรรมการเจ้าของสำนวนเกี่ยวกับประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย
และคำขอของผู้ร้องทุกข์
ให้กรรมการเจ้าของสำนวนเสนอบันทึกสรุปสำนวนตามวรรคหนึ่งและสำนวนพร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับเรื่องร้องทุกข์นั้นทั้งหมดให้องค์คณะวินิจฉัยพิจารณาวินิจฉัยต่อไป
ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕๕ ของกฎ ก.พ.ค.
ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๑
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๕๕ การพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
ที่ร้องต่อ ก.พ.ค. ให้องค์คณะวินิจฉัยดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับคำร้องทุกข์
ถ้ามีความจำเป็นไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในเวลาดังกล่าวได้
ให้ขยายเวลาได้อีกสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสามสิบวัน
โดยให้บันทึกเหตุผลความจำเป็นไว้ด้วย แต่ถ้าขยายเวลาแล้วก็ยังไม่แล้วเสร็จ
ให้ประธาน ก.พ.ค.
พิจารณากำหนดมาตรการที่จะทำให้การพิจารณาวินิจฉัยแล้วเสร็จโดยเร็ว
และบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ ๘ กรณีที่ได้ดำเนินการตามกฎ ก.พ.ค.
ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๑
มาแล้วโดยชอบให้เป็นอันใช้ได้ สำหรับกรณีที่อยู่ระหว่างดำเนินการให้พิจารณาดำเนินการตามกฎ
ก.พ.ค. นี้
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๑
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
ศราวุธ เมนะเศวต
ประธานกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๘๐ ก/หน้า ๑๖/๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๒ |
628173 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2553
| กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยโรค
พ.ศ. ๒๕๕๓
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๕) และมาตรา ๓๖ ข. (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.พ.
โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีจึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑[๑]
กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๒ โรคตามมาตรา ๓๖ ข. (๒) คือ
(๑)
วัณโรคในระยะแพร่กระจายเชื้อ
(๒)
โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
(๓)
โรคติดยาเสพติดให้โทษ
(๔)
โรคพิษสุราเรื้อรัง
(๕)
โรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือรุนแรงและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ตามที่
ก.พ. กำหนด
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖
เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๓๖ ข. (๒)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ กำหนดให้ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนต้องมีคุณสมบัติทั่วไป
และไม่มีลักษณะต้องห้าม คือ เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต
หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบหรือเป็นโรคตามที่กำหนดใน กฎ ก.พ. จึงต้องออกกฎ ก.พ. นี้
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๓๐ ก/หน้า ๒๓/๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓ |
855072 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป พ.ศ. 2552 (ฉบับ Update ณ วันที่ 09/09/2553) | กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป
พ.ศ. ๒๕๕๒[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๕) และมาตรา ๑๐๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.พ.
โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในปีงบประมาณใดและดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับเชี่ยวชาญ หรือระดับทรงคุณวุฒิ หรือดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส
หรือระดับทักษะพิเศษ
รับราชการต่อไปเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ตามกฎ ก.พ.
นี้ จะต้องเป็นกรณีที่
(๑)
มีเหตุผลและความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
(๒)
ตำแหน่งที่จะให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปต้องเป็นตำแหน่งที่ ก.พ.
กำหนดให้เป็นตำแหน่งที่มีความขาดแคลนบุคลากรในเชิงปริมาณ หรือเชิงคุณภาพ
และหาผู้อื่นปฏิบัติงานแทนได้ยากเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในทางวิชาการหรือหน้าที่ที่จะต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัว
และ
(๓)
ตำแหน่งที่จะให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปต้องเป็นตำแหน่งที่ผู้นั้นครองอยู่เดิม
ข้อ ๒ กำหนดเวลาที่จะให้รับราชการต่อไปตามกฎ ก.พ.
นี้ ให้กระทำได้ตามความจำเป็นโดยในครั้งแรกให้สั่งให้รับราชการต่อไปได้ไม่เกินสี่ปี
และถ้ายังมีเหตุผลและความจำเป็นจะให้รับราชการต่อไปอีกได้ครั้งละไม่เกินสามปี
แต่เมื่อรวมกันแล้วระยะเวลาทั้งหมดต้องไม่เกินสิบปี
เมื่อครบกำหนดเวลาที่สั่งให้รับราชการต่อไปตามวรรคหนึ่ง
ให้สั่งให้ผู้นั้นพ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แต่ถ้าความจำเป็นที่ให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปหมดลงก่อนครบกำหนดเวลาดังกล่าว
จะสั่งให้ผู้นั้นพ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการก่อนครบกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้
แต่ต้องแจ้งให้ผู้นั้นทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวัน
ข้อ ๓ ส่วนราชการใดมีความจำเป็นที่จะให้ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งจะมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไปเมื่อสิ้นปีงบประมาณนั้น
ให้ส่วนราชการนั้นจัดทำข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาดังนี้
(๑)
แผนงาน โครงการ ตลอดจนภารกิจที่มีความจำเป็นจะให้ผู้นั้นปฏิบัติ จำแนกเป็นรายปี
(๒)
สภาวะการขาดแคลนบุคลากรในเชิงปริมาณ
หรือเชิงคุณภาพทั้งในส่วนราชการนั้นเองและในภาพรวม ความสามารถในทางวิชาการ
หรือความสามารถเฉพาะตัวของผู้นั้น
และความยากในการหาผู้ที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสม มาปฏิบัติหน้าที่แทนผู้นั้น
(๓)
เหตุผลและความจำเป็นที่จำต้องให้ผู้นั้นปฏิบัติภารกิจ ตาม (๑)
(๔)
ระยะเวลาที่จะให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป
(๕)
ข้อมูลเกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นตามข้อ ๔
ข้อ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์แล้ว
ที่จะให้รับราชการต่อไปได้ตามข้อ ๑ ต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑)
ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญขึ้นไปหรือประเภททั่วไป ระดับอาวุโสขึ้นไป
แล้วแต่กรณี ต่อเนื่องกันมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันสิ้นปีงบประมาณนั้น
(๒)
มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ ทักษะ ประสบการณ์
และมีผลงานหรือผลการปฏิบัติงานในตำแหน่งดังกล่าวเป็นที่ประจักษ์ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนั้นต่อไปได้
(๓)
ไม่อยู่ในระหว่างการถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนในกรณีที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
(๔)
ผ่านการตรวจสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการแพทย์ที่
ก.พ. แต่งตั้งกำหนด
ข้อ ๕ การให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับเชี่ยวชาญ หรือระดับทรงคุณวุฒิตามข้อ ๑ (๒)
ได้รับราชการต่อไปเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ ให้
อ.ก.พ. กระทรวง เป็นผู้พิจารณา
การให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดซึ่งดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป
ระดับอาวุโส หรือระดับทักษะพิเศษตามข้อ ๑ (๒)
ได้รับราชการต่อไปเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ ให้
อ.ก.พ. กรม เป็นผู้พิจารณา
ข้อ ๖ ให้ส่วนราชการดำเนินการตามข้อ ๕
ภายในเดือนมีนาคมของปีงบประมาณที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นจะมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์
และให้ อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. กรม แล้วแต่กรณี พิจารณาข้อเสนอของส่วนราชการ
ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายนของปีงบประมาณนั้น
ข้อ ๗ ในกรณีที่ อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. กรม
แล้วแต่กรณี เห็นชอบให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดรับราชการต่อไปได้เมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีคำสั่งให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป
และส่งสำเนาคำสั่งให้สำนักงาน ก.พ. และกรมบัญชีกลางทราบ
เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ข้อ ๘ การสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญรับราชการต่อไปเป็นครั้งแรกนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์
ให้มีคำสั่งภายในวันที่ ๓๐ กันยายน
ของปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์
ในกรณีที่ครบกำหนดเวลาที่ให้รับราชการต่อไปแล้ว
ถ้าได้รับความเห็นชอบให้รับราชการต่อไปอีก ให้มีคำสั่งก่อนวันครบกำหนดเวลาที่ให้รับราชการต่อไปในครั้งก่อน
ข้อ ๙ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับราชการต่อไปตามกฎ
ก.พ. นี้
จะต้องดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่เฉพาะตำแหน่งที่ให้รับราชการต่อไปเท่านั้น
จะย้าย โอน หรือเลื่อนไปดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ประเภทอำนวยการ หรือตำแหน่งอื่น
หรือจะรักษาราชการแทน รักษาการในตำแหน่ง รับมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทน
ไปช่วยราชการ หรือไปช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่งอื่นไม่ได้
ข้อ
๙/๑[๒] ในกรณีที่ส่วนราชการใดไม่อาจดำเนินการตามข้อ
๑ ได้ เพราะเหตุที่ตำแหน่งที่ประสงค์จะให้ข้าราชการพลเรือนสามัญรับราชการต่อไป ไม่ได้เป็นตำแหน่งที่
ก.พ. กำหนดให้ไว้ก่อนตามข้อ ๑ (๒) ให้ส่วนราชการนั้นระบุตำแหน่งและตัวบุคคลที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว
พร้อมทั้งจัดทำข้อมูลตามข้อ ๓ เสนอ อ.ก.พ.กรม หรือ อ.ก.พ. กระทรวง แล้วแต่กรณี และ
ก.พ. เพื่อพิจารณาตามลำดับโดยต้องเสนอให้ ก.พ. พิจารณาภายในเดือนมิถุนายนของปีงบประมาณนั้น ทั้งนี้ ให้ ก.พ. พิจารณาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดใน
กฎ ก.พ. นี้ และเมื่อได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ. แล้ว ให้ดำเนินการตามข้อ ๘
ข้อ ๑๐ ความในข้อ ๖
ไม่ใช้บังคับกับข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในปีงบประมาณ
๒๕๕๒
ให้ไว้
ณ วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒
อภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ประธาน
ก.พ.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๑๐๘
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ บัญญัติว่า ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์
ถ้าทางราชการมีความจำเป็นจะให้รับราชการต่อไปเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่อายุครบหกสิบปีบริบูรณ์
เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในทางวิชาการหรือหน้าที่ที่ต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัว
ในตำแหน่งตามมาตรา ๔๖ (๓) (ง) หรือ (จ) หรือ (๔) (ค) หรือ (ง)
อีกไม่เกินสิบปีได้ตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.
สมควรกำหนดหลักเกณฑ์ให้การที่จะให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดรับราชการต่อไปนั้น
เป็นความประสงค์ของทางราชการโดยให้คำนึงถึงความสมัครใจของข้าราชการผู้นั้นด้วย
และตำแหน่งที่จะให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปต้องเป็นตำแหน่งที่มีอยู่เดิม
ไม่ได้เป็นการกำหนดตำแหน่งเพิ่มใหม่ จึงจำเป็นต้องออกกฎ
ก.พ. นี้
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๕๓[๓]
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป พ.ศ.
๒๕๕๒ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ให้ส่วนราชการสามารถดำเนินการให้ข้าราชการที่มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์และเข้าหลักเกณฑ์ในเรื่องอื่นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้อีกไม่เกินสิบปี
ในกรณีที่ ก.พ. ยังไม่ได้กำหนดตำแหน่งของข้าราชการดังกล่าวให้เป็นตำแหน่งที่จะให้ข้าราชการรับราชการได้ต่อไปไว้ก่อน จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๖๙ ก/หน้า ๕/๑๗ กันยายน ๒๕๕๒
[๒] ข้อ
๙/๑ เพิ่มโดยกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓
[๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๕๕ ก/หน้า ๒๖/๙ กันยายน ๒๕๕๓ |
635636 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการให้บำเหน็จความชอบ การกันเป็นพยาน การลดโทษ และการให้ความคุ้มครองพยาน พ.ศ. 2553
| กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการให้บำเหน็จความชอบ
การกันเป็นพยาน
การลดโทษ
และการให้ความคุ้มครองพยาน
พ.ศ. ๒๕๕๓
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๕) และมาตรา ๙๘ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีจึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑[๑]
กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๒ ในกฎ ก.พ. นี้
วินัย หมายความว่า วินัยอย่างร้ายแรงตามมาตรา ๘๕
(๑)
พยาน หมายความว่า
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ให้ข้อมูลหรือให้ถ้อยคำตามมาตรา ๙๘
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ
๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดให้ข้อมูลต่อผู้บังคับบัญชาหรือให้ถ้อยคำในฐานะพยานต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ
อันเป็นประโยชน์และเป็นผลดียิ่งต่อทางราชการ ให้ถือว่าผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ซึ่งได้รับความคุ้มครองพยานและอาจได้รับบำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษ ตามกฎ ก.พ.
นี้
ข้อมูลหรือถ้อยคำตามวรรคหนึ่งจะถือว่าเป็นประโยชน์และเป็นผลดียิ่งต่อทางราชการต่อเมื่อเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดำเนินการทางวินัยได้
หรือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลงโทษทางวินัยแก่ผู้กระทำความผิดได้
และมีผลทำให้สามารถประหยัดงบประมาณแผ่นดินเป็นอย่างมากหรือมีผลทำให้สามารถรักษาไว้ซึ่งระบบบริหารราชการที่ดีโดยรวมได้
ในกรณีที่ข้าราชการผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัยนั้นเสียเองหรืออาจจะถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในการกระทำผิดวินัยนั้นด้วย
ไม่ให้ได้รับบำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษตามข้อนี้
ข้อ
๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ที่อาจจะถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในการกระทำผิดวินัยกับข้าราชการอื่น
ถ้าได้ให้ข้อมูลต่อผู้บังคับบัญชา
หรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับการกระทำผิดวินัยที่ได้กระทำมาต่อบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ
และข้อมูลหรือถ้อยคำนั้นเป็นปัจจัยสำคัญจนเป็นเหตุให้มีการสอบสวนทางวินัยแก่ผู้เป็นต้นเหตุแห่งการกระทำผิด
อาจได้รับการกันเป็นพยาน การลดโทษ หรือการให้ความคุ้มครองพยานตามกฎ ก.พ. นี้
ข้อ
๕ การให้ข้อมูลหรือให้ถ้อยคำตามข้อ ๓
หรือข้อ ๔ ที่จะได้รับประโยชน์ตามกฎ ก.พ. นี้ จะต้องเป็นความเชื่อโดยสุจริตว่ามีการกระทำผิดวินัยหรือเป็นไปตามที่ตนเองเชื่อว่าเป็นความจริง
และไม่มีการกลับถ้อยคำนั้นในภายหลัง
การให้ข้อมูลหรือถ้อยคำตามวรรคหนึ่ง
ไม่ถือเป็นการเปิดเผยความลับของทางราชการและไม่เป็นการกระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน
ข้อ
๖ ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นที่ได้รับข้อมูลมีหน้าที่รายงานให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งเพื่อทราบและพิจารณาดำเนินการต่อไป
หมวด ๒
การคุ้มครองพยาน
ข้อ
๗ ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นและผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งมีหน้าที่ให้ความคุ้มครองพยาน
ดังต่อไปนี้
(๑)
ไม่เปิดเผยชื่อ หรือข้อมูลใด ๆ
ที่จะทำให้ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้ให้ข้อมูลหรือให้ถ้อยคำ
(๒)
ไม่ใช้อำนาจไม่ว่าในทางใดหรือกระทำการอื่นใดอันเป็นการกลั่นแกล้งหรือไม่เป็นธรรม ซึ่งอาจมีผลทำให้กระทบสิทธิหรือหน้าที่ของผู้นั้นในทางเสียหาย
(๓)
ให้ความคุ้มครองมิให้ผู้นั้นถูกกลั่นแกล้งหรือถูกข่มขู่เพราะเหตุที่มีการให้ข้อมูลหรือถ้อยคำ
(๔)
ประสานงานกับพนักงานอัยการเพื่อเป็นทนายแก้ต่างคดีให้ถ้าผู้นั้นถูกฟ้องเป็นคดีต่อศาล
ในกรณีที่พยานผู้ใดร้องขอเป็นหนังสือ
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งจะพิจารณาย้ายผู้นั้นหรือพิจารณาดำเนินการอื่นใดที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อให้ผู้นั้นได้รับความคุ้มครอง
โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมหรือเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น
และไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนหรือกระบวนการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ก็ได้
ข้อ
๘ พยานผู้ใดเห็นว่าผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นยังไม่ได้ให้การคุ้มครองตามข้อ
๗ หรือการให้การคุ้มครองดังกล่าวยังไม่เพียงพอ
อาจยื่นคำร้องเป็นหนังสือต่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งเพื่อพิจารณาดำเนินการ
ข้อ
๙ เมื่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งได้รับคำร้องตามข้อ
๘ แล้ว หากมีมูลน่าเชื่อว่าเป็นไปตามที่พยานกล่าวอ้าง
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งดำเนินการให้ความคุ้มครองพยานในโอกาสแรกที่สามารถกระทำได้
ข้อ
๑๐ พยานผู้ใดเห็นว่าผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งยังไม่ได้ให้การคุ้มครองตามหมวดนี้หรือการให้การคุ้มครองดังกล่าวยังไม่เพียงพอ
อาจยื่นคำร้องเป็นหนังสือต่อสำนักงาน ก.พ. ได้
ข้อ
๑๑ เมื่อสำนักงาน ก.พ.
ได้รับคำร้องตามข้อ ๑๐ แล้ว หากมีมูลน่าเชื่อว่าเป็นไปตามที่พยานกล่าวอ้าง
ให้สำนักงาน ก.พ. ดำเนินการให้มีการย้ายหรือโอน หรือดำเนินการอื่นใดตามที่เห็นสมควรเพื่อให้ผู้นั้นได้รับความคุ้มครอง
โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมหรือเห็นชอบจากผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งก่อน
หรือไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนหรือกระบวนการตามที่กฎหมายกำหนด
ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งไม่ดำเนินการตามที่สำนักงาน
ก.พ. กำหนดตามวรรคหนึ่ง หรือในกรณีที่เห็นสมควร ให้สำนักงาน ก.พ. เสนอ ก.พ.
เพื่อพิจารณาดำเนินการตามมาตรา ๙ ต่อไป
ข้อ
๑๒ การให้ความคุ้มครองพยานตามหมวดนี้ให้พิจารณาดำเนินการในโอกาสแรกที่สามารถกระทำได้
และให้เริ่มตั้งแต่มีการให้ข้อมูลหรือให้ถ้อยคำตามข้อ ๓ หรือข้อ ๔ แล้วแต่กรณี จนกว่าจะมีการสั่งยุติเรื่องหรือการดำเนินการทางวินัยตามกฎหมายนี้แก่ผู้เป็นต้นเหตุเสร็จสิ้น
หมวด ๓
การกันเป็นพยาน และการลดโทษ
ข้อ
๑๓ ก่อนมีการแจ้งเรื่องกล่าวหาว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัย
ถ้าผู้ให้ข้อมูลหรือให้ถ้อยคำตามข้อ ๔ ไม่ใช่ผู้เป็นต้นเหตุแห่งการกระทำผิดวินัยในเรื่องนั้น
และเป็นกรณีที่ไม่อาจแสวงหาข้อมูลหรือพยานหลักฐานอื่นใดเพื่อดำเนินการทางวินัยแก่ผู้เป็นต้นเหตุแห่งการกระทำความผิดวินัยในเรื่องนั้นได้นอกจากจะได้ข้อมูลหรือพยานหลักฐานจากผู้นั้น
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งอาจกันผู้นั้นเป็นพยานได้
ข้อ
๑๔ ในกรณีที่ผู้ที่ถูกกันเป็นพยานตามข้อ ๑๓
ไม่มาให้ถ้อยคำต่อบุคคลหรือคณะบุคคลผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ
หรือมาแต่ไม่ให้ถ้อยคำหรือให้ถ้อยคำแต่ไม่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการ หรือให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จ
หรือกลับคำให้การให้การกันผู้นั้นไว้เป็นพยานเป็นอันสิ้นสุดลง
ข้อ
๑๕ ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งแจ้งเรื่องการกันข้าราชการพลเรือนสามัญ
ตามข้อ ๑๓ ไว้เป็นพยาน หรือการสิ้นสุดการกันเป็นพยานตามข้อ ๑๔
ให้บุคคลหรือคณะบุคคลที่มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการและข้าราชการผู้นั้นทราบ
ข้อ
๑๖ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ให้ข้อมูลหรือให้ถ้อยคำตามข้อ
๔
ผู้ใดได้ให้ข้อมูลหรือให้ถ้อยคำที่สำคัญจนเป็นเหตุให้ลงโทษทางวินัยแก่ผู้เป็นต้นเหตุแห่งการกระทำผิดได้
และผู้นั้นต้องถูกลงโทษทางวินัยเพราะเหตุที่ได้ร่วมกระทำผิดวินัยนั้นด้วย
ถ้าผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งพิจารณาเห็นว่าผู้นั้นมิได้เป็นต้นเหตุแห่งการกระทำความผิดวินัยนั้น
หรือได้ร่วมกระทำความผิดวินัยไปเพราะตกอยู่ในอำนาจบังคับ
หรือกระทำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งอาจพิจารณาลดโทษให้ผู้นั้นต่ำกว่าโทษที่ควรได้รับจริงได้
แต่ทั้งนี้ต้องไม่ต่ำกว่าการลดโทษที่อาจกระทำได้ตามที่กฎหมายกำหนด
หมวด ๔
การให้บำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษ
ข้อ
๑๗ ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งอาจพิจารณาให้บำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษแก่ผู้ให้ข้อมูลหรือถ้อยคำตามข้อ
๓ ได้ดังนี้
(๑)
ให้ถือว่าการให้ข้อมูลหรือให้ถ้อยคำนั้นเป็นข้อควรพิจารณาอื่นตามกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือนที่ผู้บังคับบัญชาต้องนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบในการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน
(๒)
เครื่องหมายที่เห็นสมควรเพื่อเป็นเครื่องเชิดชูเกียรติ
(๓)
รางวัล
(๔)
คำชมเชยเป็นหนังสือ
ข้อ
๑๘ ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งพิจารณาให้บำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษตามข้อ
๑๗ แก่ผู้ให้ข้อมูลหรือให้ถ้อยคำตามข้อ ๓
ตามระดับความมากน้อยของประโยชน์และผลดียิ่งต่อทางราชการที่ได้รับจากการให้ข้อมูลหรือถ้อยคำนั้น
ให้ไว้
ณ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓
อภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ประธาน
ก.พ.
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๙๘
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ บัญญัติว่า
หลักเกณฑ์และวิธีการการให้บำเหน็จความชอบ การกันเป็นพยาน การลดโทษ
และการให้ความคุ้มครองพยาน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. สมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไข ในการให้บำเหน็จความชอบ การกันเป็นพยาน การลดโทษ
และการให้ความคุ้มครองพยาน สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ให้ข้อมูลต่อผู้บังคับบัญชาหรือให้ถ้อยคำในฐานะพยานอันเป็นประโยชน์และเป็นผลดียิ่งต่อทางราชการ
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๕๗ ก/หน้า ๑๙/๑๗ กันยายน ๒๕๕๓ |
658800 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยคณะอนุกรรมการสามัญประจำศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2554 | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยคณะอนุกรรมการสามัญประจำศูนย์อำนวยการบริหาร
จังหวัดชายแดนภาคใต้
พ.ศ. ๒๕๕๔[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) และมาตรา ๑๔ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับมาตรา ๘
แห่งพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๓ ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี
จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้มีคณะอนุกรรมการสามัญประจำศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
เรียกโดยย่อว่า อ.ก.พ. ศอ.บต.
ข้อ ๒ อ.ก.พ. ศอ.บต.
ประกอบด้วยเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นประธาน
รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้มอบหมายหนึ่งคน
เป็นรองประธาน และอนุกรรมการ ซึ่งประธาน อ.ก.พ. ศอ.บต. แต่งตั้งจาก
(๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ
และด้านกฎหมายซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว
และมิได้เป็นข้าราชการในศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
ซึ่งได้รับการสรรหาจำนวนไม่เกินสามคน
(๒)
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารหรือประเภทอำนวยการในศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวจำนวนไม่เกินหกคน
ให้ อ.ก.พ. ศอ.บต. ตั้งเลขานุการหนึ่งคน
ข้อ ๓ ให้ อ.ก.พ.
ศอ.บต. มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับ อ.ก.พ. กรม
ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน และให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของ
อ.ก.พ. กระทรวงตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
เป็นอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.พ. ศอ.บต. ด้วยแต่ในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ อ.ก.พ.
กระทรวง ให้มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
และเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ.
ซึ่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนในสำนักงาน ก.พ. หนึ่งคน เป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่ง
ข้อ ๔ ให้นำกฎ ก.พ.
ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน
อ.ก.พ. สามัญ
มาใช้ในการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ.
ศอ.บต. ตามกฎ ก.พ. นี้ โดยอนุโลม
ข้อ ๕ ในวาระเริ่มแรก
หากมีกรณีใดที่ไม่อาจดำเนินการตามกฎ ก.พ. นี้ได้
การจะดำเนินการประการใดให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔
ยงยุทธ
วิชัยดิษฐ
รองนายกรัฐมนตรี
ปฏิบัติราชการแทน
นายกรัฐมนตรี
ประธาน
ก.พ.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๘
แห่งพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๓
บัญญัติให้มีศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เรียกโดยย่อว่า ศอ.บต. เป็นส่วนราชการรูปแบบเฉพาะที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวง หรือทบวง มีฐานะเป็นนิติบุคคล และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี
การบริหารราชการของ ศอ.บต.
ถ้ามิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในพระราชบัญญัตินี้หรือคณะรัฐมนตรีมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
และกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน และมาตรา ๑๔ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ บัญญัติให้มีคณะอนุกรรมการสามัญประจำส่วนราชการอื่นนอกจากกระทรวง กรม
และจังหวัด และวรรคสองบัญญัติให้การเรียกชื่อ องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.พ.
ตาม (๔) ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ก.พ.
เห็นสมควรกำหนดให้มีคณะอนุกรรมการสามัญประจำศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
เรียกโดยย่อว่า อ.ก.พ. ศอ.บต. และกำหนดองค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.พ.
คณะนี้ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๔ ธันวาคม
๒๕๕๔
ชาญ/ผู้ตรวจ
๑๔ ธันวาคม
๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๘๙ ก/หน้า ๕/๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๔ |
626986 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและการพัฒนาข้าราชการที่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ พ.ศ. 2553
| กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและการพัฒนาข้าราชการ
ที่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๓
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๕) และมาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.พ.
โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีจึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.พ. นี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในกฎ ก.พ. นี้
ส่วนราชการ หมายความว่า กรม
หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะไม่ต่ำกว่ากรมและให้หมายความรวมถึงสำนักงานรัฐมนตรีด้วย
ข้อ ๓ ผู้ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา ๕๓
วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๕๕ และข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งโอนมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตามมาตรา
๖๔ ในระหว่างที่ยังทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งตามระยะเวลาที่ส่วนราชการกำหนด
ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าหกเดือนแต่ไม่เกินหนึ่งปี
ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไป
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗
อาจขยายเวลาการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสามเดือน
แต่เมื่อรวมกันแล้วระยะเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต้องไม่เกินหนึ่งปี
ในระหว่างการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ให้มีการพัฒนาข้าราชการเพื่อให้รู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการและเป็นข้าราชการที่ดี
โดยให้ถือว่าระยะเวลาในการพัฒนาดังกล่าวเป็นเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วย
ข้อ ๔ ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการในเรื่องการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและพัฒนาข้าราชการตามกฎ
ก.พ. นี้
ให้เป็นไปตามหลักการที่ว่าการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการที่มีประสิทธิภาพ
และเพื่อให้ข้าราชการที่ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการนั้น
รู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการและเป็นข้าราชการที่ดี
ข้อ ๕ ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติงานของข้าราชการที่ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมอบหมายงานเป็นลายลักษณ์อักษรให้ข้าราชการที่ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามข้อ
๓ ปฏิบัติ ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยภารกิจ งานหรือกิจกรรมของงาน
และเป้าหมายในการปฏิบัติงาน
รวมทั้งต้องชี้แจงให้ข้าราชการที่ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเข้าใจอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการประพฤติตน
วิธีปฏิบัติงาน รายการประเมิน วิธีการประเมิน และเกณฑ์การประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
รวมทั้งผลที่จะเกิดขึ้นจากการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วย
ข้อ ๖ ให้ผู้บังคับบัญชาตามข้อ ๕
ดูแลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการทำหน้าที่สอนงานและให้คำปรึกษาแนะนำ
รวมทั้งติดตามประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
และจัดทำบันทึกผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการทุกสองเดือน
เพื่อประกอบการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ในกรณีที่เห็นสมควร
ผู้บังคับบัญชาตามข้อ ๕
อาจมอบหมายให้ข้าราชการที่มีความรู้ความเข้าใจในระเบียบแบบแผนของทางราชการและการเป็นข้าราชการที่ดี
ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามวรรคหนึ่งแทนได้ ในการนี้
ให้ผู้ได้รับมอบหมายจัดทำบันทึกผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๗ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ถ้าย้ายไปดำรงตำแหน่งซึ่งเป็นตำแหน่งประเภทเดียวกันและสายงานเดียวกัน ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปโดยให้นับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อจากที่ได้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งเดิม
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ถ้าย้ายไปดำรงตำแหน่งซึ่งเป็นตำแหน่งประเภทเดียวกันแต่ต่างสายงาน ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยให้เริ่มนับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการนับแต่วันที่ดำรงตำแหน่งใหม่
แต่ถ้าเป็นตำแหน่งประเภทเดียวกันแม้จะต่างสายงาน แต่ภารกิจ งานหรือกิจกรรมของงาน
และเป้าหมายในการปฏิบัติงานของตำแหน่งใหม่นั้นสอดคล้อง ใกล้เคียง
หรือไม่แตกต่างไปจากตำแหน่งเดิม
จะให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปโดยให้นับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อจากที่ได้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งเดิมก็ได้
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ถ้าย้ายไปดำรงตำแหน่งซึ่งเป็นตำแหน่งคนละประเภทกับตำแหน่งเดิม ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยให้เริ่มนับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการนับแต่วันที่ดำรงตำแหน่งใหม่
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ถ้าโอนไปดำรงตำแหน่งใหม่
ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยให้เริ่มนับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการนับแต่วันที่ดำรงตำแหน่งใหม่
แต่ถ้าเป็นการโอนโดยผลของกฎหมายให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปโดยให้นับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อจากที่ได้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งเดิม
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
และได้ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
ถ้าได้รับการบรรจุกลับเข้ารับราชการตามมาตรา ๖๓
ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปโดยให้นับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อจากที่ได้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งเดิม
ข้อ ๘ การพัฒนาข้าราชการพลเรือนสามัญที่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเพื่อให้รู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการและเป็นข้าราชการที่ดี
ให้ดำเนินการในกระบวนการ ดังต่อไปนี้
(๑)
การปฐมนิเทศเพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ ผู้บริหาร
และวัฒนธรรมของส่วนราชการ รวมทั้งสร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้ที่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
(๒)
การเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย กฎ
และระเบียบแบบแผนของทางราชการ
(๓)
การอบรมสัมมนาร่วมกันเพื่อปลูกฝังการประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นข้าราชการที่ดี
การดำเนินการพัฒนาตามวรรคหนึ่ง
และการประเมินผลการพัฒนา ให้เป็นไปตามที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด
ให้ส่วนราชการนำผลการพัฒนาตามวรรคหนึ่งไปใช้ประกอบการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วย
ข้อ ๙ ให้มีการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการของผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างน้อยสองครั้ง
โดยครั้งแรกให้ประเมินเมื่อทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมาแล้วเป็นเวลาสามเดือน
และครั้งที่สองให้ประเมินเมื่อทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมาแล้วเป็นเวลาหกเดือน
ในกรณีที่มีการกำหนดเวลาการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเกินกว่าหกเดือน
หรือมีการขยายเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ให้ประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวด้วย
ข้อ ๑๐ ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการถ้าผู้บังคับบัญชาตามข้อ
๖
ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการผู้ใดน่าจะมีผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด
อาจขอให้คณะกรรมการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการดำเนินการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนครบกำหนดเวลาประเมินที่กำหนดไว้
แล้วรายงานผลการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ พิจารณาสั่งการตามข้อ ๑๔ ก็ได้
ข้อ ๑๑ การประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ให้กระทำโดยผู้บังคับบัญชาตามข้อ ๕
และคณะกรรมการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ตามลำดับ
แล้วให้รายงานผลการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๕๗ เพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป
ข้อ ๑๒ ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗
แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ประกอบด้วย
ประธานกรรมการ และกรรมการอีกจำนวนสองคน
โดยต้องแต่งตั้งจากข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับงานที่ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการได้รับมอบหมายตามข้อ
๕
ข้อ ๑๓ การประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการให้ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ของการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
และพฤติกรรมของผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
โดยให้นำบันทึกผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามข้อ ๖ และผลการพัฒนาข้าราชการตามข้อ
๘ มาประกอบการประเมินด้วย
ให้ส่วนราชการกำหนดรายละเอียดของการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยในส่วนของผลสัมฤทธิ์ของการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างน้อยต้องกำหนดให้ประกอบด้วยความสามารถในการเรียนรู้งาน
ความสามารถในการปรับใช้ความรู้กับงานในหน้าที่ และความสำเร็จของงานที่ได้รับมอบหมาย
และในส่วนของพฤติกรรมของผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
อย่างน้อยต้องกำหนดให้ประกอบด้วย ความประพฤติ ความมีคุณธรรม จริยธรรม
และการรักษาวินัย
คะแนนการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
และพฤติกรรมของผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้มีสัดส่วนเท่ากัน
และผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต้องได้คะแนนในแต่ละส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบ
จึงจะถือว่าผ่านการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามมาตรฐานที่กำหนด
ข้อ ๑๔ เมื่อได้รับรายงานผลการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการแล้ว
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ดำเนินการดังนี้
(๑)
ในกรณีที่ผลการประเมินไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด
ให้มีคำสั่งให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการนั้นรับราชการต่อไป
แล้วแจ้งให้ผู้นั้นทราบ
(๒)
ในกรณีที่ผลการประเมินต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด แต่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ เห็นควรขยายเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ให้สั่งขยายเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการออกไปได้ตามที่เห็นสมควร
แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินหนึ่งปีตามข้อ ๓ วรรคสอง ในการนี้
ให้แสดงเหตุผลหรือความเห็นไว้ด้วย
แล้วแจ้งให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและผู้เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการต่อไปตามกฎ
ก.พ. นี้
(๓)
ในกรณีที่ประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนครบกำหนดเวลาประเมินและปรากฏว่าผลการประเมินต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด
แต่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ เห็นควรให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไป
ให้สั่งให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไป ในการนี้
ให้แสดงเหตุผลหรือความเห็นไว้ด้วย
แล้วแจ้งให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและผู้เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการต่อไปตามกฎ
ก.พ. นี้
(๔)
ในกรณีที่ผลการประเมินต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ เห็นว่าไม่ควรให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปหรือไม่ควรขยายเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ให้มีคำสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการภายในห้าวันทำการ นับแต่วันที่ได้รับรายงาน
แล้วแจ้งให้ผู้นั้นทราบและให้ส่งสำเนาคำสั่งให้ออกจากราชการให้สำนักงาน ก.พ.
ภายในห้าวันทำการนับแต่วันที่มีคำสั่ง ในการนี้ ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗
อาจสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้
โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ครบกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ข้อ ๑๕ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามกฎ
ก.พ. ฉบับที่ ๒๑ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่าด้วยการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ในวันที่ กฎ ก.พ. นี้ใช้บังคับ
ให้คงดำเนินการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปและประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามกฎ
ก.พ. ดังกล่าว
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๑
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ มาตรา ๕๙
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
กำหนดให้ผู้ได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๕๓ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา
๕๕ และข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น
ซึ่งโอนมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตามมาตรา ๖๔
ในระหว่างที่ยังทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและให้ได้รับการพัฒนาเพื่อให้รู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการและเป็นข้าราชการที่ดี
และมีผลการประเมินการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. จึงจำเป็นต้องออก กฎ ก.พ. นี้
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๒๓ ก/หน้า ๓๖/๒ เมษายน ๒๕๕๓ |
690466 | กฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. 2551 (ฉบับ Update ณ วันที่ 26/10/2552)
| กฎ ก
กฎ ก.พ.ค.
ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
พ.ศ. ๒๕๕๑
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๓๑ (๕) มาตรา ๑๒๓ มาตรา ๑๒๔ และมาตรา ๑๒๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ.ค. จึงออกกฎ ก.พ.ค. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ กฎ ก.พ.ค. นี้เรียกว่า กฎ ก.พ.ค.
ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ
๒[๑]
กฎ ก.พ.ค.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ในกฎ ก.พ.ค. นี้
คู่กรณี หมายความว่า
ผู้ร้องทุกข์และคู่กรณีในการร้องทุกข์
คู่กรณีในการร้องทุกข์ หมายความว่า
ผู้บังคับบัญชาที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์
พนักงานผู้รับคำร้องทุกข์ หมายความว่า
เจ้าหน้าที่ที่สำนักงาน ก.พ. มอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการรับคำร้องทุกข์
การตรวจคำร้องทุกข์ และการดำเนินงานธุรการอย่างอื่นตามกฎ ก.พ.ค. นี้
และให้หมายความรวมถึงเจ้าหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาหรือของผู้บังคับบัญชาที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์
หรือของผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ ที่มีหน้าที่รับหนังสือตามระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณ
ด้วย
พนักงานผู้รับผิดชอบสำนวน หมายความว่า
เจ้าหน้าที่ที่สำนักงาน ก.พ. มอบหมายให้รับผิดชอบสำนวนเรื่องร้องทุกข์
องค์คณะวินิจฉัย หมายความว่า ก.พ.ค. หรือกรรมการ
ก.พ.ค. คนหนึ่ง หรือคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ที่ ก.พ.ค. ตั้ง เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
ในกรณีที่เป็นคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
ต้องมีกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์อย่างน้อยสองคนจึงจะเป็นองค์คณะวินิจฉัย
กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ หมายความว่า
บุคคลหนึ่งบุคคลใดในองค์คณะวินิจฉัย
กรรมการเจ้าของสำนวน หมายความว่า บุคคลหนึ่งบุคคลใดในองค์คณะวินิจฉัยที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รับผิดชอบสำนวนเรื่องร้องทุกข์
ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ หมายความว่า
องค์คณะวินิจฉัย
และให้หมายความรวมถึงผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปที่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ตามกฎ
ก.พ.ค. นี้ ด้วย
ข้อ
๔ ให้ประธาน ก.พ.ค. รักษาการตามกฎ
ก.พ.ค. นี้ และให้มีอำนาจออกประกาศหรือคำสั่งเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามกฎ
ก.พ.ค. นี้
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎ
ก.พ.ค. นี้ ประธาน ก.พ.ค. อาจหารือที่ประชุม ก.พ.ค.
เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยก็ได้ คำวินิจฉัยนั้นให้เป็นที่สุด
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ
๕ การร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ของข้าราชการพลเรือนสามัญ
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ.ค. นี้
ข้อ
๖ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา
เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นระหว่างกัน ควรจะได้ปรึกษาหารือทำความเข้าใจกัน ฉะนั้น
เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชา
หากแสดงความประสงค์จะปรึกษาหารือกับผู้บังคับบัญชา ให้ผู้บังคับบัญชานั้น
ให้โอกาสและรับฟัง
หรือสอบถามเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวเพื่อเป็นทางแห่งการทำความเข้าใจและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นต้น
ถ้าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้มีความคับข้องใจนั้น
ไม่ประสงค์จะปรึกษาหารือ หรือปรึกษาหารือแล้วไม่ได้รับคำชี้แจง
หรือได้รับคำชี้แจงแล้วไม่เป็นที่พอใจ ก็ให้ร้องทุกข์ตามกฎ ก.พ.ค. นี้
ข้อ
๗[๒] ภายใต้บังคับข้อ ๖ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีความคับข้องใจ
อันเกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชา และเป็นกรณีที่ไม่อาจอุทธรณ์
ตามหมวด ๙ การอุทธรณ์ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้ ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ
ก.พ.ค. นี้
การปฏิบัติ
หรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชา ซึ่งทำให้เกิดความคับข้องใจ อันเป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์นั้น
ต้องมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
(๑)
ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่ง หรือปฏิบัติ หรือไม่ปฏิบัติอื่นใดโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น
หรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นหรือสร้างภาระให้เกิดขึ้นเกินสมควร
หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
(๒)
ไม่มอบหมายงานให้ปฏิบัติ
(๓)
ประวิงเวลา หรือหน่วงเหนี่ยวการดำเนินการบางเรื่องอันเป็นเหตุให้เสียสิทธิ หรือไม่ได้รับสิทธิประโยชน์อันพึงมีพึงได้ในเวลาอันสมควร
(๔)
ไม่เป็นไปตาม หรือขัดกับระบบคุณธรรม ตามมาตรา ๔๒
ข้อ
๘ การร้องทุกข์ให้ร้องได้สำหรับตนเองเท่านั้น
จะร้องทุกข์สำหรับผู้อื่นไม่ได้
และให้ทำคำร้องทุกข์เป็นหนังสือยื่นต่อผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบเหตุแห่งการร้องทุกข์ตามข้อ
๗
คำร้องทุกข์ให้ใช้ถ้อยคำสุภาพและอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังนี้
(๑)
ชื่อ ตำแหน่ง สังกัด
และที่อยู่สำหรับการติดต่อเกี่ยวกับการร้องทุกข์ของผู้ร้องทุกข์
(๒)
การปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์
(๓)
ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ผู้ร้องทุกข์เห็นว่าเป็นปัญหาของเรื่องร้องทุกข์
(๔)
คำขอของผู้ร้องทุกข์
(๕)
ลายมือชื่อของผู้ร้องทุกข์
หรือผู้ได้รับมอบหมายให้ร้องทุกข์แทนกรณีที่จำเป็นตามข้อ ๑๐
ข้อ
๙ ในการยื่นคำร้องทุกข์ให้แนบหลักฐานที่เกี่ยวข้องพร้อมคำร้องทุกข์ด้วย
กรณีที่ไม่อาจแนบพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องได้
เพราะพยานหลักฐานอยู่ในความครอบครองของหน่วยงานทางปกครอง เจ้าหน้าที่ของรัฐ
หรือบุคคลอื่น หรือเพราะเหตุอื่นใด ให้ระบุเหตุที่ไม่อาจแนบพยานหลักฐานไว้ด้วย
ให้ผู้ร้องทุกข์ทำสำเนาคำร้องทุกข์และหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
โดยให้ผู้ร้องทุกข์รับรองสำเนาถูกต้อง ๑ ชุด แนบพร้อมคำร้องทุกข์ด้วย
กรณีที่มีเหตุจำเป็นต้องมอบหมายให้บุคคลอื่นร้องทุกข์แทนตามข้อ ๑๐ ก็ดี
กรณีที่มีการแต่งตั้งทนายความหรือบุคคลอื่นดำเนินการแทนในขั้นตอนใด ๆ
ในกระบวนการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ตามข้อ ๑๑ ก็ดี ให้แนบหลักฐานการมอบหมายหรือหลักฐานการแต่งตั้ง
ทั้งนี้ ตามที่กฎ ก.พ.ค. นี้ กำหนด
ถ้าผู้ร้องทุกข์ประสงค์จะแถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นพิจารณาของผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์
ให้แสดงความประสงค์ไว้ในคำร้องทุกข์ด้วย
หรือจะทำเป็นหนังสือต่างหากก็ได้แต่ต้องยื่นหนังสือก่อนที่ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์เริ่มพิจารณา
ข้อ
๑๐ ผู้มีสิทธิร้องทุกข์จะมอบหมายให้บุคคลอื่นร้องทุกข์แทนได้
ในกรณีมีเหตุจำเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑)
เจ็บป่วยจนไม่สามารถร้องทุกข์ได้ด้วยตนเอง
(๒)
อยู่ในต่างประเทศและคาดหมายได้ว่าไม่อาจร้องทุกข์ได้ทันภายในเวลาที่กำหนด
(๓)
มีเหตุจำเป็นอย่างอื่นที่ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์เห็นสมควร
การมอบหมายตามวรรคหนึ่ง
จะต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้มีสิทธิร้องทุกข์
พร้อมทั้งหลักฐานแสดงเหตุจำเป็นข้างต้น ถ้าไม่สามารถลงลายมือชื่อได้
ให้พิมพ์ลายนิ้วมือโดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรองอย่างน้อยสองคน
ข้อ
๑๑ คู่กรณีอาจมีหนังสือแต่งตั้งให้ทนายความหรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่กำหนดแทนตนในกระบวนพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ขั้นตอนใด
ๆ ก็ได้ โดยให้แนบหนังสือแต่งตั้งหลักฐานแสดงตนของทนายความหรือบุคคลผู้ได้รับแต่งตั้ง
พร้อมคำร้องทุกข์หรือจะยื่นในภายหลังก่อนการดำเนินการในขั้นตอนนั้น ๆ
ข้อ
๑๒ คำร้องทุกข์ให้ยื่นต่อพนักงานผู้รับคำร้องทุกข์
ในการนี้ อาจยื่นคำร้องทุกข์โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้
และให้ถือว่าวันที่ยื่นคำร้องทุกข์ต่อพนักงานผู้รับคำร้องทุกข์หรือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางประทับตรารับที่ซองหนังสือร้องทุกข์
แล้วแต่กรณี เป็นวันยื่นคำร้องทุกข์
ข้อ
๑๓ เพื่อประโยชน์ในการนับระยะเวลาร้องทุกข์
การนับวันทราบหรือถือว่าทราบเหตุแห่งการร้องทุกข์นั้น ให้ถือปฏิบัติดังนี้
(๑)
ในกรณีที่เหตุแห่งการร้องทุกข์เกิดจากการที่ผู้บังคับบัญชามีคำสั่งเป็นหนังสือ
ให้ถือว่าวันที่ผู้มีสิทธิร้องทุกข์ลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งเป็นวันทราบเหตุแห่งการร้องทุกข์
(๒)
ในกรณีที่ไม่มีการลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งตาม (๑)
แต่มีการแจ้งคำสั่งให้ทราบพร้อมสำเนาคำสั่ง และทำบันทึกวันเดือนปี เวลา
สถานที่ที่แจ้ง โดยลงลายมือชื่อผู้แจ้งพร้อมทั้งพยานรู้เห็นไว้เป็นหลักฐานแล้ว
ให้ถือวันที่แจ้งนั้นเป็นวันทราบเหตุแห่งการร้องทุกข์
(๓)
ในกรณีที่ไม่อาจแจ้งคำสั่งตาม (๒)
และได้แจ้งเป็นหนังสือส่งสำเนาคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ณ ที่อยู่ซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ
ให้ส่งสำเนาคำสั่งไปสองฉบับเพื่อให้เก็บไว้เป็นหลักฐานหนึ่งฉบับ
และให้ลงลายมือชื่อและวันเดือนปีที่รับทราบคำสั่งแล้วส่งกลับคืนเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานหนึ่งฉบับ
กรณีเช่นนี้เมื่อล่วงพ้นสามสิบวันนับแต่วันที่ปรากฏในใบตอบรับทางไปรษณีย์ลงทะเบียนว่ามีผู้รับแล้ว
แม้ยังไม่ได้รับสำเนาคำสั่งฉบับที่ให้ลงลายมือชื่อและวันเดือนปีที่รับทราบคำสั่งกลับคืนมา
ก็ให้ถือว่าผู้มีสิทธิร้องทุกข์ได้รับทราบคำสั่งอันเป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์แล้ว
(๔)
ในกรณีที่เหตุแห่งการร้องทุกข์เกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาโดยไม่มีคำสั่งเป็นหนังสือ
ให้ถือวันที่มีหลักฐานยืนยันว่าผู้มีสิทธิร้องทุกข์รับทราบหรือควรรับทราบคำสั่งที่ไม่เป็นหนังสือนั้น
เป็นวันทราบเหตุแห่งการร้องทุกข์
(๕)
ในกรณีที่เหตุแห่งการร้องทุกข์เกิดจากการปฏิบัติ
หรือไม่ปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาโดยไม่ได้มีคำสั่งอย่างใด
ให้ถือวันที่ผู้ร้องทุกข์ควรได้ทราบถึงการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาดังกล่าว
เป็นวันทราบเหตุแห่งการร้องทุกข์
ข้อ
๑๔ ผู้ร้องทุกข์อาจถอนคำร้องทุกข์ที่ยื่นไว้แล้วในเวลาใด
ๆ ก่อนที่ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์จะมีคำวินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดในเรื่องร้องทุกข์นั้น
ก็ได้
การถอนคำร้องทุกข์ต้องทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้ร้องทุกข์
แต่ถ้าผู้ร้องทุกข์ถอนคำร้องทุกข์ด้วยวาจาต่อผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์
ให้ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์บันทึกไว้
และให้ผู้ร้องทุกข์ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน
เมื่อมีการถอนคำร้องทุกข์
ให้ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์อนุญาต และสั่งจำหน่ายคำร้องทุกข์ออกจากสารบบ
ข้อ
๑๕ ในการพิจารณาวินิจฉัยร้องทุกข์
ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์มีอำนาจแสวงหาข้อเท็จจริงได้ตามความเหมาะสม ในกรณีนี้
ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์อาจแสวงหาข้อเท็จจริงจากพยานบุคคล พยานเอกสาร
หรือพยานหลักฐานอื่นนอกเหนือจากพยานหลักฐานของคู่กรณีที่ปรากฏในคำร้องทุกข์
คำแก้คำร้องทุกข์ ก็ได้ ในการแสวงหาข้อเท็จจริงเช่นว่านี้
ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์อาจดำเนินการตามที่กำหนดในหมวด ๓ ส่วนที่ ๒
หรือตามที่เห็นสมควร
ในกรณีที่ข้อเท็จจริงซึ่งได้มาจากการแสวงหาเพิ่มเติมตามวรรคหนึ่งอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี
ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ต้องให้คู่กรณีได้รับทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน
ข้อ
๑๖ คำวินิจฉัยในเรื่องร้องทุกข์ของผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์
อย่างน้อยต้องประกอบด้วย
(๑)
ชื่อผู้ร้องทุกข์
(๒)
ชื่อคู่กรณีในการร้องทุกข์
(๓)
สรุปคำร้องทุกข์และคำขอของผู้ร้องทุกข์
(๔)
สรุปคำแก้คำร้องทุกข์
(๕)
ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย
(๖)
คำวินิจฉัยของผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์พร้อมทั้งเหตุผล
(๗)
สรุปคำวินิจฉัยหรือคำสั่งที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องปฏิบัติหรือดำเนินการต่อไป
(๘)
ข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีดำเนินการให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยหรือคำสั่งนั้น
(ถ้ามี)
คำวินิจฉัยในเรื่องร้องทุกข์ตามวรรคหนึ่งต้องลงลายมือชื่อของผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ที่วินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์นั้น
ถ้าผู้ใดมีเหตุจำเป็นไม่สามารถลงลายมือชื่อได้
ให้จดแจ้งเหตุดังกล่าวไว้ในคำวินิจฉัยนั้น ด้วย
ข้อ
๑๗ ระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในกฎ
ก.พ.ค. นี้ เมื่อผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์เห็นสมควรหรือเมื่อคู่กรณีมีคำขอ
ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์มีอำนาจย่นหรือขยายระยะเวลาได้ตามความจำเป็น
เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ข้อ
๑๘ การนับระยะเวลาตามกฎ ก.พ.ค. นี้
สำหรับเวลาเริ่มต้นให้นับวันถัดจากวันแรกแห่งเวลานั้นเป็นวันเริ่มนับระยะเวลา
ส่วนเวลาสิ้นสุด ถ้าวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาตรงกับวันหยุดราชการ ให้นับวันเริ่มเปิดทำการใหม่เป็นวันสุดท้ายแห่งระยะเวลา
ข้อ
๑๙ หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในหมวด ๑
ให้ใช้บังคับกับการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ในหมวดอื่นด้วย
เว้นแต่จะมีหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ก็ให้ปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น
หมวด ๒
การร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไป
ข้อ
๒๐ การร้องทุกข์ที่เหตุแห่งการร้องทุกข์เกิดจากผู้บังคับบัญชา
และกฎหมาย ไม่ได้บัญญัติให้ร้องทุกข์ต่อ ก.พ.ค.
แต่ให้ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปตามลำดับ นั้น
ให้ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาดังนี้
(๑)
ในกรณีที่เหตุแห่งการร้องทุกข์เกิดจากผู้บังคับบัญชาในราชการบริหารส่วนภูมิภาคที่ต่ำกว่าผู้ว่าราชการจังหวัด
ให้ร้องทุกข์ต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์
(๒)
ในกรณีที่เหตุแห่งการร้องทุกข์เกิดจากผู้บังคับบัญชาในราชการบริหารส่วนกลางที่ต่ำกว่าอธิบดี
ให้ร้องทุกข์ต่ออธิบดี และให้อธิบดีเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์
(๓)
ในกรณีที่เหตุแห่งการร้องทุกข์เกิดจากผู้ว่าราชการจังหวัดหรืออธิบดี
ให้ร้องทุกข์ต่อปลัดกระทรวงซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของผู้ร้องทุกข์ และให้ปลัดกระทรวงเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์
ข้อ
๒๑ การยื่นคำร้องทุกข์อาจยื่นผ่านผู้บังคับบัญชาหรือผู้บังคับบัญชาที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ก็ได้
และให้นำความในข้อ ๑๒ หมวด ๑ มาใช้บังคับกับการยื่นคำร้องทุกข์ดังกล่าวด้วย
ข้อ
๒๒ เมื่อผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ได้รับคำร้องทุกข์แล้ว
ให้มีหนังสือแจ้งพร้อมทั้งส่งสำเนาคำร้องทุกข์ให้ผู้บังคับบัญชาที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ทราบโดยเร็ว
และให้ผู้บังคับบัญชาที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์นั้นส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
และคำชี้แจงของตน (ถ้ามี) ให้ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ประกอบการพิจารณาภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องทุกข์
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้รับคำร้องทุกข์
ให้ผู้บังคับบัญชานั้นส่งคำร้องทุกข์พร้อมทั้งสำเนาต่อไปยังผู้บังคับบัญชาที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องทุกข์
เมื่อผู้บังคับบัญชาที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ได้รับคำร้องทุกข์ที่ยนผ่านตามข้อ
๒๑ หรือ ส่งตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
ให้จัดส่งคำร้องทุกข์พร้อมทั้งสำเนาและเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
และคำชี้แจงของตน (ถ้ามี) ไปยังผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องทุกข์
ข้อ
๒๓ การพิจารณาเรื่องร้องทุกข์
ให้ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์พิจารณาจากเรื่องราวการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์ของผู้บังคับบัญชาที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์
ในกรณีที่จำเป็นและสมควร อาจจะขอเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
รวมทั้งคำชี้แจงจากหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ ห้างหุ้นส่วน
บริษัท ข้าราชการ หรือบุคคลใด ๆ
มาให้ถ้อยคำหรือชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการพิจารณาได้
ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์ขอแถลงการณ์ด้วยวาจา
หากผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์เห็นว่าการแถลงการณ์ด้วยวาจาไม่จำเป็นแก่การพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
จะไม่ให้แถลงการณ์ด้วยวาจาก็ได้ แต่ให้บันทึกเหตุผลไว้ด้วย
ในกรณีที่นัดให้ผู้ร้องทุกข์มาแถลงการณ์ด้วยวาจา
ให้แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ทราบด้วยว่า
ถ้าประสงค์จะแถลงแก้ก็ให้มาแถลงหรือมอบหมายเป็นหนังสือ
ให้ข้าราชการที่เกี่ยวข้องเป็นผู้แทนมาแถลงแก้ด้วยวาจาในการพิจารณาครั้งนั้นได้ ทั้งนี้ ให้แจ้งล่วงหน้าตามควรแก่กรณี
และเพื่อประโยชน์ในการแถลงแก้ดังกล่าว
ให้ผู้บังคับบัญชาที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์หรือผู้แทน (ถ้ามี)
เข้าฟังการแถลงการณ์ด้วยวาจาของผู้ร้องทุกข์ได้
ข้อ
๒๔ ให้ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันได้รับคำร้องทุกข์ แต่ถ้ามีความจำเป็นไม่อาจพิจารณา
ให้แล้วเสร็จภายในเวลาดังกล่าว ให้ขยายเวลาได้อีกไม่เกินสามสิบวัน และให้บันทึกแสดงเหตุผลความจำเป็นที่ต้องขยายเวลาไว้ด้วย[๓]
ในกรณีที่ขอขยายเวลาตามวรรคหนึ่งแล้วการพิจารณายังไม่แล้วเสร็จ
ให้ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ขยายเวลาพิจารณาได้อีกไม่เกินสามสิบวัน
และให้พิจารณากำหนดมาตรการที่จะทำให้การพิจารณาแล้วเสร็จโดยเร็วและบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
และให้ส่งหลักฐานดังกล่าวไปยังผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปของผู้ร้องทุกข์ภายในสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนดขยายเวลาตามวรรคหนึ่ง
เพื่อที่ผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปจะได้ติดตามแนะนำและชี้แจงให้การพิจารณาแล้วเสร็จโดยเร็ว
แต่ถ้าปลัดกระทรวงเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยร้องทุกข์
ให้ส่งหลักฐานดังกล่าวไปยังเลขาธิการ ก.พ. ในฐานะเลขานุการของ ก.พ.ค.
เพื่อดำเนินการต่อไป
ข้อ
๒๕ ในการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
ให้ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ มีอำนาจไม่รับเรื่องร้องทุกข์ ยกคำร้องทุกข์
หรือมีคำวินิจฉัยให้แก้ไขหรือยกเลิกคำสั่ง และให้เยียวยาความเสียหาย
ให้ผู้ร้องทุกข์ หรือให้ดำเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
โดยให้นำระเบียบที่ ก.พ.ค. กำหนดในเรื่องเดียวกันนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม
เมื่อผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ได้พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ประการใดแล้ว
ให้ผู้บังคับบัญชาที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ดำเนินการให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยนั้นในโอกาสแรกที่ทำได้
และเมื่อได้ดำเนินการตามคำวินิจฉัยดังกล่าวแล้ว
ให้แจ้งให้ผู้ร้องทุกข์ทราบเป็นหนังสือโดยเร็ว
คำวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ของผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ให้เป็นที่สุด
ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยนั้น
มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองชั้นต้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองต่อไปได้
ข้อ
๒๖ ในกรณีที่ยังไม่มีระเบียบ ก.พ.ค.
เรื่องการเยียวยาความเสียหายให้ผู้ร้องทุกข์หรือให้ดำเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมใช้บังคับ
ให้ผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์สั่งการในเรื่องการเยียวยาและดำเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมไปพลางก่อนตามที่เห็นสมควรได้โดยให้นำประโยชน์ของทางราชการมาประกอบการพิจารณาด้วย
เมื่อมีระเบียบ
ก.พ.ค. ในเรื่องเดียวกันนี้ใช้บังคับแล้ว
หากการดำเนินการตามที่ได้สั่งการไปนั้นมีมาตรฐานต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดในระเบียบ
ก.พ.ค. ก็ให้ดำเนินการเพิ่มเติมให้ครบถ้วนเท่าที่ทำได้
และให้ถือว่าเป็นการเยียวยาหรือดำเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามระเบียบ
ก.พ.ค. แล้ว
ข้อ
๒๗ ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์อาจถูกคัดค้านได้
โดยให้นำความในหมวด ๓ ข้อ ๕๘ มาใช้บังคับกับเหตุแห่งการคัดค้านและการยื่นคำคัดค้าน
โดยอนุโลม
ข้อ
๒๘ ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์คัดค้านผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์
ให้ผู้บังคับบัญชาของผู้ร้องทุกข์เหนือผู้ถูกคัดค้านเป็นผู้พิจารณาคำคัดค้าน
ถ้าเห็นว่าคำคัดค้านไม่มีเหตุผลก็ให้มีคำสั่งยกคำคัดค้าน คำสั่งดังกล่าวให้เป็นที่สุด
และแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการต่อไป
แต่ถ้าเห็นว่าคำคัดค้านมีเหตุผลรับฟังได้ให้แจ้งให้ผู้ถูกคัดค้านกับผู้ร้องทุกข์ทราบ
กรณีนี้ให้ผู้พิจารณาคำคัดค้านเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์แทน
และให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการในเรื่องการพิจารณาวินิจฉัยร้องทุกข์ข้างต้น
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๒๙ ในกรณีที่ปลัดกระทรวงเป็นผู้ถูกคัดค้าน
ให้ส่งคำคัดค้านไปที่เลขาธิการ ก.พ. ในฐานะเลขานุการ ก.พ.ค. และให้ ก.พ.ค.
เป็นผู้พิจารณาคำคัดค้าน ถ้าเห็นว่าคำคัดค้านไม่มีเหตุผลก็ให้มีคำสั่งยกคำคัดค้าน
คำสั่งดังกล่าวให้เป็นที่สุด และแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการต่อไป
แต่ถ้าเห็นว่าคำคัดค้านมีเหตุผลรับฟังได้ก็ให้แจ้งให้ผู้ร้องทุกข์ทราบและแนะนำผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ให้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำหน้าที่พิจารณาเรื่องร้องทุกข์
ประกอบด้วยผู้แทนผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์หนึ่งคน
ผู้แทนผู้ร้องทุกข์หนึ่งคน
ผู้แทนผู้บังคับบัญชาที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์หนึ่งคน ทั้งนี้ ให้เลขาธิการ ก.พ.
ตั้งข้าราชการสำนักงาน ก.พ. หนึ่งคนร่วมเป็นกรรมการ ด้วย
และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการดังกล่าวประชุมและเลือกกันเองคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ
และให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต้นสังกัดเป็นเลขานุการและจะให้มีผู้ช่วยเลขานุการ
ก็ได้
เมื่อคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งพิจารณามีมติประการใด
ให้เสนอต่อปลัดกระทรวงผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยตามที่เห็นสมควร
และการทำคำวินิจฉัยในกรณีนี้ ให้นำข้อ ๑๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๓๐ เมื่อผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ได้พจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์เสร็จสิ้นลงแล้ว
ให้รายงานผลการดำเนินการตามคำวินิจฉัยพร้อมทั้งสำเนาคำวินิจฉัยไปยัง ก.พ.ค.
ภายในสิบห้าวันนับแต่ได้รับแจ้งผลการดำเนินการตามคำวินิจฉัยนั้นแล้ว
เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยและพัฒนาระบบพิทักษ์ระบบคุณธรรม ต่อไป
หมวด ๓
การร้องทุกข์ต่อ ก.พ.ค.
ส่วนที่ ๑
การยื่นคำร้องทุกข์
การตรวจคำร้องทุกข์ การตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
การจ่ายสำนวน
และการสั่งรับหรือไม่รับคำร้องทุกข์ไว้พิจารณา
ข้อ
๓๑ ในกรณีที่เหตุแห่งการร้องทุกข์เกิดจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี
ปลัดกระทรวง รัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรือนายกรัฐมนตรี ให้ร้องทุกข์ตอ ก.พ.ค.
โดยยื่นคำร้องทุกข์ต่อพนักงานผู้รับคำร้องทุกข์ที่สำนักงาน ก.พ.
หรือจะส่งคำร้องทุกข์ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังสำนักงาน ก.พ. ก็ได้
ข้อ
๓๒ คำร้องทุกข์ที่ยื่นที่สำนักงาน
ก.พ. ให้พนักงานผู้รับคำร้องทุกข์ออกใบรับคำร้องทุกข์
และลงทะเบียนรับคำร้องทุกข์ไว้เป็นหลักฐานในวันที่รับคำร้องทุกข์ตามระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณ
และให้ถือวันที่รับคำร้องทุกข์ตามหลักฐานดังกล่าวเป็นวันยื่นคำร้องทุกข์
ข้อ
๓๓ คำร้องทุกข์ที่พนักงานผู้รับคำร้องทุกข์ได้รับไว้แล้ว
ให้ลงทะเบียนเรื่องร้องทุกข์ในสารบบ และตรวจคำร้องทุกข์ในเบื้องต้น
(๑)
ถ้าเห็นว่าเป็นคำร้องทุกข์ที่มีการดำเนินการโดยถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหมวด
๑ ให้เสนอคำร้องทุกข์ดังกล่าวต่อประธาน ก.พ.ค. เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
(๒)
ถ้าเห็นว่าเป็นคำร้องทุกข์ที่มีการดำเนินการโดยไม่สมบูรณ์ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหมวด
๑
ให้พนักงานผู้รับคำร้องทุกข์แนะนำให้ผู้ร้องทุกข์แก้ไขให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(๓)
ถ้าเห็นว่าเป็นคำร้องทุกข์ที่ไม่อยู่ในอำนาจของ ก.พ.ค. จะรับไว้พิจารณาได้
หรือเป็นกรณีตาม (๒) แต่ผู้ร้องทุกข์ไม่แก้ไขภายในเวลาที่กำหนด
ให้บันทึกไว้แล้วเสนอคำร้องทุกข์ดังกล่าวต่อประธาน ก.พ.ค.
เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
ข้อ
๓๔ ให้ ก.พ.ค.
ตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ขึ้นคณะหนึ่งหรือหลายคณะเป็นองค์คณะวินิจฉัยก็ได้
แต่ละคณะประกอบด้วยกรรมการ ก.พ.ค. คนหนึ่งเป็นประธาน
และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์อีกสองคนเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยร้องทุกข์
โดยจะกำหนดให้ประธาน ก.พ.ค. หรือกรรมการ ก.พ.ค.
คนหนึ่งทำหน้าที่ประธานในคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์หลายคณะพร้อมกันก็ได้
และให้มีเจ้าหน้าที่สำนักงาน ก.พ. ที่ได้รับมอบหมายเป็นเลขานุการ
และผู้ช่วยเลขานุการได้ตามความจำเป็น
ในกรณีที่มีความจำเป็น
ก.พ.ค.
อาจแต่งตั้งให้คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์หรือกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์คนใดทำหน้าที่วินิจฉัยเรื่องอุทธรณ์ก็ได้
ข้อ
๓๕ เมื่อได้มีการตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์และได้มีการจ่ายสำนวนแล้ว
ให้ประธานกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์แจ้งคำสั่งตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ให้ผู้ร้องทุกข์ทราบ
โดยให้ผู้ร้องทุกข์ลงลายมือชื่อและวันที่รับทราบไว้เป็นหลักฐาน
แล้วมอบสำเนาคำสั่งให้ไว้หนึ่งฉบับ
หรือจะส่งสำเนาคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ร้องทุกข์ ณ
ที่อยู่ซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการก็ได้
ในกรณีนี้เมื่อล่วงพ้นสิบห้าวันนับแต่วันส่งสำเนาคำสั่งดังกล่าว
ให้ถือว่าผู้ร้องทุกข์ได้รับทราบคำสั่งตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์แล้ว
ให้นำความตามวรรคหนึ่งใช้บังคับกับกรณีที่กรรมการ
ก.พ.ค. คนหนึ่งเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยร้องทุกข์ด้วย
ข้อ
๓๖ เมื่อประธาน ก.พ.ค.
ได้รับคำร้องทุกข์แล้ว ให้พิจารณาจ่ายสำนวนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ ๓๗ ถึงข้อ
๔๓
ข้อ
๓๗ ในกรณีที่ประธาน ก.พ.ค.
เห็นว่าคำร้องทุกข์ใดมีปัญหาข้อกฎหมายที่สำคัญ
หรือผลการวินิจฉัยอาจกระทบต่อวิถีทางปฏิบัติราชการ
หรือจะเป็นการวางบรรทัดฐานในการปฏิบัติราชการ
หรือเป็นกรณีสำคัญที่เกี่ยวข้องกับระบบคุณธรรมที่ ก.พ.ค.
สมควรเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยเอง ก็ให้จ่ายสำนวนคำร้องทุกข์นั้นให้ ก.พ.ค.
เป็นองค์คณะวินิจฉัย โดยให้ประธาน ก.พ.ค. ตั้งกรรมการ ก.พ.ค.
คนหนึ่งเป็นกรรมการเจ้าของสำนวน และมีพนักงานผู้รับผิดชอบสำนวนเป็นผู้ช่วย
ข้อ
๓๘ ในกรณีที่ประธาน ก.พ.ค.
เห็นว่าคำร้องทุกข์ใดเป็นกรณีทั่วไปที่ไม่มีลักษณะตามข้อ ๓๗
ให้จ่ายสำนวนคำร้องทุกข์นั้นให้กรรมการ ก.พ.ค.
คนหนึ่งหรือคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์คณะหนึ่งคณะใดเป็นองค์คณะวินิจฉัยก็ได้
ในกรณีที่กรรมการ
ก.พ.ค. คนหนึ่งเป็นองค์คณะวินิจฉัย ให้ผู้นั้นเป็นกรรมการเจ้าของสำนวน
และมีพนักงานผู้รับผิดชอบสำนวนเป็นผู้ช่วย
ในกรณีที่คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์คณะหนึ่งคณะใดเป็นองค์คณะวินิจฉัย
ให้ประธานกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์คณะนั้นตั้งกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ในคณะคนหนึ่งเป็นกรรมการเจ้าของสำนวน
และมีพนักงานผู้รับผิดชอบสำนวนเป็นผู้ช่วย
ข้อ
๓๙ ในกรณีที่ประธาน ก.พ.ค.
เห็นว่าคำร้องทุกข์เรื่องใดเป็นร้องทุกข์ที่ไม่อาจรับไว้พิจารณาได้
ให้จ่ายสำนวนคำร้องทุกข์นั้นให้กรรมการ ก.พ.ค. คนหนึ่งเป็นกรรมการเจ้าของสำนวน
หรือจะจ่ายให้คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์คณะหนึ่งทำหน้าที่เป็นองค์คณะวินิจฉัย
ก็ได้
ข้อ
๔๐ ในกรณีที่ประธาน ก.พ.ค.
เห็นว่าคำร้องทุกข์เรื่องใดเป็นร้องทุกข์ที่รับไว้พิจารณาได้
ให้จ่ายสำนวนคำร้องทุกข์ให้แก่กรรมการ ก.พ.ค. คนหนึ่ง
หรือคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ เป็นองค์คณะวินิจฉัย
หากมีการตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ขึ้นหลายคณะ ให้ประธาน ก.พ.ค.
จ่ายสำนวนตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑)
ถ้ามีการตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
แยกตามความเชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ
ให้จ่ายสำนวนให้ตรงกับความเชี่ยวชาญของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ที่ตั้งไว้
(๒)
ถ้ามีการตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
แยกตามกลุ่มของส่วนราชการหรือพื้นที่ตั้งของส่วนราชการใด
ให้จ่ายสำนวนให้ตรงกับกลุ่มหรือพื้นที่ตั้งของส่วนราชการนั้น
(๓)
ในกรณีที่ไม่มีการตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตาม (๑) หรือ (๒)
หรือมีการตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตาม (๑) หรือ (๒)
ในลักษณะเดียวกันหลายคณะ หรือคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตาม (๑) หรือ (๒)
มีคำร้องทุกข์ค้างการพิจารณาอยู่เป็นจำนวนมาก
ซึ่งหากจ่ายสำนวนให้แก่คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์นั้นอีก
จะทำให้การพิจารณาล่าช้าหรือกระทบต่อความยุติธรรม
ให้จ่ายสำนวนคำร้องทุกข์ตามที่ประธาน ก.พ.ค. เห็นสมควร
ข้อ
๔๑ กรรมการเจ้าของสำนวนอาจกำหนดประเด็นให้พนักงานผู้รับผิดชอบสำนวนวิเคราะห์และพิจารณาทำความเห็นเสนอในเบื้องต้นประกอบการพิจารณาขององค์คณะวินิจฉัย
เพื่อพิจารณาสั่งรับหรือไม่รับคำร้องทุกข์ไว้พิจารณาดังนี้
(๑)
ถ้าเห็นว่าเป็นคำร้องทุกข์ที่มีการดำเนินการโดยถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหมวด
๑ และเป็นคำร้องทุกข์ที่รับไว้พิจารณาได้
ก็ให้องค์คณะวินิจฉัยมีคำสั่งรับคำร้องทุกข์นั้นไว้พิจารณา
แล้วดำเนินการตามกระบวนพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ต่อไป
(๒)
ถ้าเห็นว่าเป็นคำร้องทุกข์ที่ยังไม่ชัดเจนหรือที่ยังมีการดำเนินการโดยไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหมวด
๑ ก็ให้มีคำสั่งให้ผู้ร้องทุกข์ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนด
หากไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนด
ก็ให้เสนอองค์คณะวินิจฉัยเพื่อพิจารณามีคำวินิจฉัยต่อไป
(๓)
ถ้าเห็นว่าเป็นคำร้องทุกข์ที่ไม่อาจรับไว้พิจารณาได้ตามข้อ ๔๒ ก็ให้เสนอองค์คณะวินิจฉัยเพื่อพิจารณามีคำวินิจฉัยต่อไป
ข้อ
๔๒ ห้ามมิให้รับคำร้องทุกข์ดังต่อไปนี้ไว้พิจารณา
(๑)
เป็นกรณีที่ไม่อาจร้องทุกข์ต่อ ก.พ.ค. ได้ตามข้อ ๗
(๒)
ผู้ร้องทุกข์มิใช่เป็นผู้มีสิทธิร้องทุกข์ตามข้อ ๗
(๓)
ผู้ร้องทุกข์มิใช่เป็นบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากผู้มีสิทธิร้องทุกข์แทนตามข้อ ๑๐
(๔)
เป็นคำร้องทุกข์ที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ในข้อ ๘
(๕)
เป็นเรื่องที่ได้เคยมีการร้องทุกข์และได้มีคำวินิจฉัยหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว
(๖)
เป็นกรณีตามข้อ ๔๑ (๒)
ข้อ
๔๓ เมื่อได้รับความเห็นของกรรมการเจ้าของสำนวนตามข้อ
๔๑ (๒) หรือ (๓) ให้องค์คณะวินิจฉัยพิจารณามีคำวินิจฉัยดังนี้
(๑)
ถ้าเห็นว่าเป็นคำร้องทุกข์ที่รับไว้พิจารณาไม่ได้ตามข้อ ๔๒
ก็ให้มีคำวินิจฉัยไม่รับเรื่องร้องทุกข์นั้นไว้พิจารณาและสั่งจำหน่ายเรื่องร้องทุกข์นั้นออกจากสารบบ
ในกรณีที่กรรมการ
ก.พ.ค. เป็นกรรมการเจ้าของสำนวนหรือคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์เป็นองค์คณะวินิจฉัย
เมื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งเสร็จสิ้นแล้ว ให้รายงาน ก.พ.ค. เพื่อทราบต่อไปด้วย
(๒)
ถ้าเห็นว่าเป็นคำร้องทุกข์ที่อาจรับไว้พิจารณาได้
ก็ให้มีคำสั่งให้กรรมการเจ้าของสำนวนดำเนินการตามกระบวนพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ต่อไป
ส่วนที่ ๒
กระบวนพิจารณาเรื่องร้องทุกข์
ข้อ
๔๔[๔] เมื่อได้มีการสั่งรับคำร้องทุกข์ไว้พิจารณาแล้ว
ให้กรรมการเจ้าของสำนวนมีคำสั่งให้คู่กรณีในการร้องทุกข์ทำคำแก้คำร้องทุกข์ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งหรือภายในระยะเวลาที่กำหนด
โดยส่งสำเนาคำร้องทุกข์และสำเนาหลักฐานที่เกี่ยวข้องไปให้ด้วย ในกรณีที่เห็นสมควร กรรมการเจ้าของสำนวนจะกำหนดประเด็น
ที่คู่กรณีในการร้องทุกข์ต้องชี้แจงหรือกำหนดให้จัดส่งพยานหลักฐานที่จะเป็นประโยชน์
ต่อการพิจารณาวินิจฉัยร้องทุกข์ไปให้ด้วยก็ได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่กำหนดไว้ในข้อ ๔๙
ข้อ
๔๕ ให้คู่กรณีในการร้องทุกข์ทำคำแก้คำร้องทุกข์และคำชี้แจงตามประเด็นที่กำหนดให้โดยชัดแจ้งและครบถ้วน
พร้อมส่งพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
และหลักฐานการรับทราบหรือควรได้ทราบเหตุของการร้องทุกข์
โดยจัดทำสำเนาคำแก้คำร้องทุกข์ สำเนาคำชี้แจง และสำเนาพยานหลักฐานตามจำนวนที่กรรมการเจ้าของสำนวนกำหนด
ยื่นภายในระยะเวลาตามข้อ ๔๔ วรรคหนึ่ง
ข้อ
๔๖ ในกรณีที่กรรมการเจ้าของสำนวนเห็นว่าคำแก้คำร้องทุกข์หรือคำชี้แจงของคู่กรณีในการร้องทุกข์
หรือพยานหลักฐานที่ส่งมาให้ยังไม่ครบถ้วนหรือชัดเจนเพียงพอ
ให้สั่งให้คู่กรณีในการร้องทุกข์แก้ไขเพิ่มเติมคำแก้คำร้องทุกข์หรือจัดทำคำชี้แจงเพิ่มเติม
หรือส่งพยานหลักฐานเพิ่มเติมมาให้ภายในระยะเวลาที่กำหนด
ข้อ
๔๗ ในกรณีที่คู่กรณีในการร้องทุกข์มิได้จัดทำคำแก้คำร้องทุกข์และคำชี้แจงตามประเด็นที่กำหนดให้ชัดเจน
พร้อมทั้งพยานหลักฐานยื่นต่อกรรมการเจ้าของสำนวนในระยะเวลาที่กำหนด
ให้ถือว่าคู่กรณีในการร้องทุกข์ยอมรับข้อเท็จจริงตามข้อร้องทุกข์ของผู้ร้องทุกข์
และให้กรรมการเจ้าของสำนวนพิจารณาดำเนินการต่อไปตามที่เห็นเป็นการยุติธรรม
ข้อ
๔๘ การพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ให้กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์พิจารณา
จากพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินเรื่องนั้น
ประกอบกับคำร้องทุกข์และคำแก้คำร้องทุกข์ ในกรณีจำเป็นและสมควร
ให้กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์มีอำนาจดำเนินการแสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมได้ ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๑๑๗
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ส่วนที่ ๓
การสรุปสำนวน และการประชุมวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
ข้อ
๔๙[๕] เมื่อรับคำร้องทุกข์ไว้พิจารณาดำเนินการแล้ว
หากกรรมการเจ้าของสำนวนเห็นว่าสามารถวินิจฉัยได้จากข้อเท็จจริงในคำร้องทุกข์นั้น โดยไม่ต้องดำเนินการแสวงหาข้อเท็จจริงอีกหรือเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ได้จากคำแก้คำร้องทุกข์
เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการเรื่องนั้นหรือข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการแสวงหาเพิ่มเติม
(ถ้ามี) เพียงพอต่อการวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์นั้นแล้ว ให้กรรมการเจ้าของสำนวนทำบันทึกของกรรมการเจ้าของสำนวนสรุปเสนอองค์คณะวินิจฉัยเพื่อพิจารณาวินิจฉัยต่อไป
บันทึกสรุปสำนวนตามวรรคหนึ่ง
อย่างน้อยต้องประกอบด้วย
(๑)
ชื่อผู้ร้องทุกข์และคู่กรณีในการร้องทุกข์
(๒)
สรุปคำร้องทุกข์
(๓)
สรุปคำแก้คำร้องทุกข์ (ถ้ามี)
(๔)
สรุปข้อเท็จจริงที่กรรมการเจ้าของสำนวนแสวงหาเพิ่มเติม (ถ้ามี)
(๕)
ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยทั้งข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง
(๖)
ความเห็นของกรรมการเจ้าของสำนวนเกี่ยวกับประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย และคำขอของผู้ร้องทุกข์
ให้กรรมการเจ้าของสำนวนเสนอบันทึกสรุปสำนวนตามวรรคหนึ่งและสำนวนพร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับเรื่องร้องทุกข์นั้นทั้งหมดให้องค์คณะวินิจฉัยพิจารณาวินิจฉัยต่อไป
ข้อ
๕๐ เมื่อองค์คณะวินิจฉัยได้พิจารณาบันทึกสรุปสำนวนของกรรมการเจ้าของสำนวน
หากเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ได้มายังไม่เพียงพอหรือมีข้อที่ควรปรับปรุง
ก็ให้กรรมการเจ้าของสำนวนรับไปดำเนินการแสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมหรือดำเนินการปรับปรุงตามความเห็นขององค์คณะวินิจฉัย
แล้วนำผลการดำเนินการเสนอให้องค์คณะวินิจฉัยเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
ในกรณีที่องค์คณะวินิจฉัยพิจารณาตามวรรคหนึ่งแล้ว
เห็นว่าข้อเท็จจริงที่ได้มาเพียงพอต่อการวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์นั้น
ก็ให้ดำเนินการตามข้อ ๕๑ ต่อไป
ข้อ
๕๑ ในการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
ให้องค์คณะวินิจฉัยจัดให้มีการประชุมพิจารณาเรื่องร้องทุกข์อย่างน้อยหนึ่งครั้ง
เพื่อให้คู่กรณีมีโอกาสมาแถลงด้วยวาจาต่อหน้าองค์คณะวินิจฉัย
เว้นแต่ในกรณีที่องค์คณะวินิจฉัยเห็นว่าเรื่องร้องทุกข์นั้นมีข้อเท็จจริงชัดเจนเพียงพอต่อการพิจารณาวินิจฉัยแล้วหรือมีข้อเท็จจริงและประเด็นวินิจฉัยไม่ซับซ้อน
และการมาแถลงด้วยวาจาไม่จำเป็นแก่การพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
จะให้งดการแถลงด้วยวาจาเสียก็ได้
ในกรณีที่มีการประชุมและให้มีการแถลงตามวรรคหนึ่ง
เมื่อองค์คณะวินิจฉัยได้กำหนดวันประชุมพิจารณาเรื่องร้องทุกข์แล้ว
ให้กรรมการเจ้าของสำนวนแจ้งกำหนดวันประชุมพิจารณาเรื่องร้องทุกข์พร้อมทั้งส่งสรุปคำร้องทุกข์และสรุปคำแก้คำร้องทุกข์
ตลอดจนสรุปข้อเท็จจริงที่กรรมการเจ้าของสำนวนแสวงหาเพิ่มเติม (ถ้ามี)
ให้แก่คู่กรณีทราบล่วงหน้าก่อนวันประชุมพิจารณาไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
เพื่อเปิดโอกาสให้คู่กรณีได้แถลงสรุปคำร้องทุกข์และคำแก้คำร้องทุกข์ของตน ทั้งนี้
คู่กรณีจะไม่มาในวันประชุมพิจารณาก็ได้
หากในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์หรือคู่กรณีในการร้องทุกข์ไม่มาในวันประชุมพิจารณา
ก็ให้พิจารณาลับหลังไปได้และให้บันทึกไว้เป็นหลักฐานด้วย
ข้อ
๕๒ ในกรณีที่มีการประชุมพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ตามข้อ
๕๑ วรรคหนึ่ง เมื่อเริ่มการประชุม
ให้กรรมการเจ้าของสำนวนเสนอสรุปข้อเท็จจริงและประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย
แล้วให้ผู้ร้องทุกข์และคู่กรณีในการร้องทุกข์แถลงด้วยวาจาเพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัย
คำแถลงด้วยวาจาของผู้ร้องทุกข์และของคู่กรณีในการร้องทุกข์ต้องกระชับและอยู่ในประเด็น
โดยไม่อาจยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอื่นนอกจากที่ปรากฏในคำร้องทุกข์และคำแก้คำร้องทุกข์ได้
ส่วนที่ ๔
การทำคำวินิจฉัย
ข้อ
๕๓ ในการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
ให้องค์คณะวินิจฉัยมีคำวินิจฉัยไม่รับเรื่องร้องทุกข์ไว้พิจารณาตามข้อ ๔๓ (๑)
หรือมีคำวินิจฉัยเป็นอย่างอื่น ดังนี้ ยกคำร้องทุกข์
หรือมีคำวินิจฉัยให้แก้ไขหรือยกเลิกคำสั่ง
และให้เยียวยาความเสียหายให้ผู้ร้องทุกข์ หรือให้ดำเนินการอื่นใด
เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามระเบียบที่ ก.พ.ค. กำหนด
ข้อ
๕๔ คำวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ขององค์คณะวินิจฉัย
ให้นำความในข้อ ๑๖ หมวด ๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีที่คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
หรือกรรมการ ก.พ.ค. เจ้าของสำนวน เป็นองค์คณะวินิจฉัย
และได้จัดทำคำวินิจฉัยตามวรรคหนึ่งเสร็จสิ้นแล้ว ให้รายงาน ก.พ.ค. เพื่อทราบ
หากมีข้อแนะนำหรือข้อควรปรับปรุงประการใด ให้แก้ไขปรับปรุงตามความเห็นของ ก.พ.ค.
ต่อไป
ในกรณีที่องค์คณะวินิจฉัยพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์แล้วเห็นสมควรให้มีการเยียวยาแก่ผู้ร้องทุกข์
หรือดำเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
และอยู่ในระหว่างที่ยังไม่ได้มีระเบียบ ก.พ.ค. ในเรื่องดังกล่าวใช้บังคับ
ให้นำความตามข้อ ๒๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลมไปพลางก่อน
ข้อ
๕๕[๖] การพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ ที่ร้องต่อ
ก.พ.ค. ให้องค์คณะวินิจฉัยดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับคำร้องทุกข์
ถ้ามีความจำเป็นไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในเวลาดังกล่าวได้ ให้ขยายเวลาได้อีกสองครั้ง
ครั้งละไม่เกินสามสิบวัน โดยให้บันทึกเหตุผลความจำเป็นไว้ด้วย แต่ถ้าขยายเวลาแล้วก็ยังไม่แล้วเสร็จ
ให้ประธาน ก.พ.ค. พิจารณากำหนดมาตรการที่จะทำให้การพิจารณาวินิจฉัยแล้วเสร็จโดยเร็ว
และบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ
๕๖ เมื่อได้วินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์และดำเนินการตามข้อ
๕๔ วรรคสองแล้ว ให้แจ้งให้คู่กรณีทราบเป็นหนังสือโดยเร็ว
คำวินิจฉัยนั้นให้เป็นที่สุด
ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ตามวรรคหนึ่ง
มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองชั้นต้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองต่อไปได้
ข้อ
๕๗ คำวินิจฉัยร้องทุกข์ให้ผูกพันคู่กรณีในการร้องทุกข์และผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะต้องปฏิบัติตามนับแต่วันที่กำหนดไว้ในคำวินิจฉัยร้องทุกข์นั้น
ส่วนที่ ๕
การคัดค้านกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
ข้อ
๕๘ ผู้ร้องทุกข์หรือคู่กรณีในการร้องทุกข์อาจคัดค้านกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
ถ้าผู้นั้นมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑)
เป็นผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุให้เกิดความคับข้องใจ
หรือเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้บังคับบัญชาดังกล่าว
(๒)
มีส่วนได้เสียในเรื่องที่ร้องทุกข์
(๓)
มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ร้องทุกข์
(๔)
มีความเกี่ยวพันทางเครือญาติหรือทางสมรสกับบุคคลตาม (๑) (๒) หรือ (๓)
อันอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ร้องทุกข์
การคัดค้านดังกล่าวต้องทำเป็นหนังสือยื่นต่อประธาน
ก.พ.ค. ภายในเจ็ดวันนับแต่วันรับทราบหรือถือว่าทราบคำสั่งตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
โดยแสดงข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุแห่งการคัดค้านไว้ในหนังสือคัดค้านว่า
จะทำให้การพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ไม่ได้รับความจริงและความยุติธรรมอย่างไรด้วย
ข้อ
๕๙ เมื่อมีการยื่นคำคัดค้านกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์คนใด
ให้ประธาน ก.พ.ค.
แจ้งให้กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ที่ถูกคัดค้านงดการปฏิบติหน้าที่ไว้จนกว่าประธาน
ก.พ.ค. จะได้มีการชี้ขาดในเรื่องการคัดค้านนั้นแล้ว
ในการพิจารณาคำคัดค้านให้ประธาน
ก.พ.ค.
พิจารณาจากคำคัดค้านและบันทึกชี้แจงของกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ผู้ถูกคัดค้าน
หากประธาน ก.พ.ค.
เห็นว่ามิได้เป็นไปตามคำคัดค้านและมีเหตุผลสมควรที่จะให้ผู้ถูกคัดค้านปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
ให้นำเรื่องเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ ก.พ.ค. เพื่อพิจารณา
ถ้าที่ประชุมมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของกรรมการที่ไม่ถูกคัดค้าน
ก็ให้กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้
มติดังกล่าวให้กระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ แล้วให้เป็นที่สุด
ในกรณีที่ประธาน
ก.พ.ค. เห็นว่าคำคัดค้านฟังขึ้น
หรือมีเหตุผลพอที่จะฟังได้ว่าหากให้ผู้ถูกคัดค้านปฏิบัติหน้าที่ต่อไปอาจทำให้การพิจารณาไม่ได้ความจริงและความยุติธรรม
ให้มีคำสั่งให้ผู้ถูกคัดค้านพ้นจากการเป็นกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์เรื่องนั้น
แล้วแจ้งให้ผู้คัดค้านทราบด้วย
ในกรณีที่ประธาน
ก.พ.ค. สั่งให้กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ที่ถูกคัดค้านถอนตัวจากการพิจารณา
ให้ประธาน ก.พ.ค. แต่งตั้งกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์จากคณะหนึ่งคณะใดหรือตนเองปฏิบัติหน้าที่แทนตามความจำเป็น
ข้อ
๖๐ กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ผู้ใดเห็นว่าตนมีกรณีอันอาจถูกคัดค้านได้ตามข้อ
๔๐ หรือเห็นว่ามีเหตุอื่นที่อาจจะมีการกล่าวอ้างในภายหลังได้ว่า
ตนไม่อยู่ในฐานะที่จะปฏิบัติหน้าที่โดยเที่ยงธรรม ให้แจ้งต่อประธาน ก.พ.ค.
และถอนตัวจากการพิจารณาวินิจฉัยร้องทุกข์ และให้นำข้อ ๕๘ และข้อ ๕๙
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๖๑ การที่กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ผู้ถูกคัดค้านที่ถูกสั่งให้งดการปฏิบัติหน้าที่หรือกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ที่ถูกสั่งให้ถอนตัวเพราะมีเหตุอันอาจถูกคัดค้านนั้น
ย่อมไม่กระทบถึงการกระทำใด ๆ ที่ได้กระทำไปแล้ว
แม้ว่าจะได้ดำเนินการหลังจากที่ได้มีการยื่นคำคัดค้าน
ส่วนที่ ๖
การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานผู้รับคำร้องทุกข์และพนักงานผู้รับผิดชอบสำนวน
ข้อ
๖๒ ให้เลขาธิการ ก.พ.
แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน ก.พ. เป็นพนักงานผู้รับคำร้องทุกข์
เพื่อปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรับคำร้องทุกข์ การตรวจคำร้องทุกข์
และการดำเนินการทางธุรการอย่างอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ
๖๓ ให้เลขาธิการ ก.พ.
แต่งตั้งพนักงานผู้รับผิดชอบสำนวนทำหน้าที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินงานของกรรมการเจ้าของสำนวน
เกี่ยวกับการพิจารณาวินิจฉัยร้องทุกข์และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
ประกาศ ณ วันที่ ๙
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ศราวุธ เมนะเศวต
ประธานกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ.ค. ฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๑๒๓ และมาตรา ๑๒๕
กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปตามลำดับ
หรือ ก.พ.ค. แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่เกิดความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชา
และเป็นกรณีที่ไม่อาจอุทธรณ์ตามหมวด ๙ การอุทธรณ์ ได้
และบัญญัติให้คัดค้านกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ได้ด้วย ทั้งนี้
โดยให้การร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ การยื่นคัดค้าน
และการพิจารณาคำคัดค้าน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.ค. จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ.ค. นี้
กฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒[๗]
ข้อ
๘ กรณีที่ได้ดำเนินการตามกฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
พ.ศ. ๒๕๕๑ มาแล้วโดยชอบให้เป็นอันใช้ได้ สำหรับกรณีที่อยู่ระหว่างดำเนินการให้พิจารณาดำเนินการตามกฎ
ก.พ.ค. นี้
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๑๒๙ ก/หน้า ๓๐/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑
[๒] ข้อ ๗
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒
[๓] ข้อ ๒๔ วรรคหนึ่ง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒
[๔] ข้อ ๔๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒
[๕] ข้อ ๔๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒
[๖] ข้อ ๕๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒
[๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๘๐ ก/หน้า ๑๖/๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๒ |
589611 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยจำนวน คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้ง วิธีการได้มาวาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของ อ.ก.พ. วิสามัญ พ.ศ. 2551
| กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยจำนวน คุณสมบัติ
หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้ง วิธีการได้มา
วาระการดำรงตำแหน่ง
และการพ้นจากตำแหน่งของ อ.ก.พ. วิสามัญ
พ.ศ. ๒๕๕๑[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๕) และมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.พ.
โดยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ก.พ. อาจแต่งตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญ
เพื่อทำการใด ๆ แทนได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม แต่อย่างน้อยให้แต่งตั้ง อ.ก.พ.
วิสามัญ ดังต่อไปนี้
(๑)
อ.ก.พ. วิสามัญ เพื่อทำหน้าที่ตีความและวินิจฉัยข้อกฎหมายและระเบียบ
(๒)
อ.ก.พ. วิสามัญ เพื่อทำหน้าที่พิจารณาเรื่องการดำเนินการทางวินัย
ข้อ ๒ อ.ก.พ. วิสามัญ
แต่ละคณะให้มีจำนวนไม่เกินสิบห้าคน ประกอบด้วย
(๑)
ประธาน อ.ก.พ. วิสามัญ ซึ่งแต่งตั้งจากกรรมการ ก.พ. ในกรณีมีเหตุผลความจำเป็น ก.พ.
จะแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นประธาน อ.ก.พ. วิสามัญ ก็ได้ เว้นแต่ประธาน อ.ก.พ. วิสามัญ
ตามข้อ ๑ (๒)
(๒)
อนุกรรมการซึ่งประกอบด้วย
(ก)
อนุกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่มีงานเกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของ
อ.ก.พ. วิสามัญ คณะนั้น หรือ
(ข)
อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ
และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ
ด้านกฎหมาย และด้านอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ อ.ก.พ. วิสามัญ
คณะนั้น ทั้งนี้ ในกรณีที่จะแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดเป็นอนุกรรมการ
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นต้องดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
ให้เลขาธิการ
ก.พ. แต่งตั้งข้าราชการของสำนักงาน ก.พ. เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ และอาจให้มีผู้ช่วยเลขานุการด้วยก็ได้
การแต่งตั้ง
อ.ก.พ. วิสามัญ ตามข้อ ๑ (๒) ให้แต่งตั้งจากกรรมการ ก.พ. อย่างน้อยสองคน
ข้อ ๓ การแต่งตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญ ให้ดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
การแต่งตั้งประธาน อ.ก.พ. วิสามัญ ให้สำนักงาน ก.พ. เสนอชื่อกรรมการ ก.พ. คนหนึ่ง
หรือบุคคลอื่นที่เหมาะสมต่อ ก.พ. เพื่อพิจารณามีมติแต่งตั้ง
(๒)
การแต่งตั้งอนุกรรมการตามข้อ ๒ (๒) ให้บุคคลที่ ก.พ. มีมติแต่งตั้งเป็นประธาน อ.ก.พ.
วิสามัญ ร่วมกับเลขาธิการ ก.พ.
พิจารณาเสนอชื่อตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่เหมาะสมต่อ ก.พ.
เพื่อพิจารณา
เมื่อ
ก.พ. พิจารณาดำเนินการจนได้บุคคลที่เหมาะสมและมีมติแต่งตั้งเป็น อ.ก.พ.
วิสามัญทั้งคณะแล้ว ให้เสนอรายชื่อบุคคลดังกล่าวต่อประธาน ก.พ.
เพื่อลงนามประกาศแต่งตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญ
ข้อ ๔ อ.ก.พ.วิสามัญ
มีวาระการดำรงตำแหน่งตามวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการ ก.พ.
ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง
หากยังมิได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการ ก.พ. ขึ้นใหม่ ให้ อ.ก.พ.
วิสามัญ ซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้น
อยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งกรรมการ ก.พ. ใหม่
ข้อ ๕ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ประธาน
อ.ก.พ. วิสามัญและอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
(๔)
เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง
หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
(๕)
เป็นผู้ถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก เพราะกระทำผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
หรือตามกฎหมายอื่น
(๖)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท
หรือความผิดลหุโทษ
(๗)
พ้นจากตำแหน่งกรรมการ ก.พ. ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
ข้อ ๖ ในกรณีที่ประธาน อ.ก.พ. วิสามัญ
หรืออนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. วิสามัญ พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ
ให้ดำเนินการแต่งตั้งประธาน อ.ก.พ. วิสามัญ หรืออนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนโดยเร็ว
หรือในกรณีที่ ก.พ. แต่งตั้งอนุกรรมการเพิ่มขึ้นในระหว่างที่ อ.ก.พ. วิสามัญ
ซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง
ให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างหรือเป็นอนุกรรมการเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของประธาน
อ.ก.พ. วิสามัญหรืออนุกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
เว้นแต่วาระที่เหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่แต่งตั้งประธาน อ.ก.พ.
วิสามัญ หรืออนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนก็ได้
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๗
กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑
สมชาย วงศ์สวัสดิ์
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๑๒ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ บัญญัติให้การกำหนดจำนวน
คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญ รวมตลอดทั้งวิธีการได้มา
วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๑๑๒ ก/หน้า ๑๐/๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ |
592719 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง พ.ศ. 2551
| กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๕๕๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๕) มาตรา ๔๕ มาตรา ๔๖ และมาตรา ๑๓๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑[๑]
กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๒ ตำแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่
ตำแหน่งที่มีอำนาจและหน้าที่ในการบริหารงานในฐานะที่เป็นหัวหน้าส่วนราชการหรือรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือกรม
ตำแหน่งที่มีฐานะเป็นผู้ปฏิบัติงานตรวจและแนะนำการปฏิบัติราชการของส่วนราชการระดับกระทรวง
และตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการหรือรองหัวหน้าส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีผู้บังคับบัญชาเป็นอธิบดีหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี
หรือตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภทบริหารตามหลักเกณฑ์ในกฎ ก.พ.
นี้
ข้อ
๓ ตำแหน่งประเภทบริหาร มี ๒ ระดับ
ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(ก) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ซึ่งไม่ใช่ตำแหน่งตาม (๒) (ฉ)
(ช) (ซ) และ (ฌ)
(ข) รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(ค) อัครราชทูตที่เป็นรองหัวหน้าสถานเอกอัครราชทูต
รองหัวหน้าคณะผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ
รองหัวหน้าคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก และหัวหน้าสถานกงสุลใหญ่
(ง)
รองหัวหน้าส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีผู้บังคับบัญชาเป็นอธิบดีหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี
ได้แก่ รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
รองเลขาธิการสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
รองผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
และรองเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
(จ) ตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น
(๒) ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(ก) หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ได้แก่ ปลัดกระทรวง
และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(ข) หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม
(ค) ผู้ว่าราชการจังหวัด
(ง) เอกอัครราชทูตที่เป็นหัวหน้าสถานเอกอัครราชทูต
หัวหน้าคณะผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ
หัวหน้าคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก และเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง
(จ) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ได้แก่ รองปลัดกระทรวง
และรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(ฉ) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในสำนักนายกรัฐมนตรี และ
อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ
และรองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
(ช) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวง หรือทบวง และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ได้แก่
รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(ซ) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการ และขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี
ได้แก่ รองเลขาธิการสภาการศึกษา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน
รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
(ฌ)
หัวหน้าส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีผู้บังคับบัญชาเป็นอธิบดีหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี
ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เลขาธิการสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
และเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
(ญ) ผู้ตรวจราชการของส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง
(ฎ) ตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
ข้อ
๔ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ได้แก่
ตำแหน่งที่มีอำนาจและหน้าที่ในการบริหารงานในฐานะหัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรม
ซึ่งมีการแบ่งส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
หรือตำแหน่งอื่นที่มีลักษณะเป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการ
ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมากหรือสูงมากเป็นพิเศษที่ ก.พ.
กำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการตามหลักเกณฑ์ในกฎ ก.พ. นี้
ข้อ
๕ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ มี ๒ ระดับ
ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ได้แก่
ตำแหน่งที่มีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมาก ดังต่อไปนี้
(ก)
หัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรมซึ่งแบ่งส่วนราชการภายในกรมในราชการบริหารส่วนกลางตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(ข)
หัวหน้าสำนักงานจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(ค) นายอำเภอ
(ง) ตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น
(๒) ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ได้แก่ ตำแหน่งที่มีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมากเป็นพิเศษ
ดังต่อไปนี้
(ก)
หัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรมซึ่งแบ่งส่วนราชการภายในกรมในราชการบริหารส่วนกลางตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(ข) หัวหน้าสำนักงานจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(ค) นายอำเภอ
(ง) ผู้ตรวจราชการของส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม
(จ) ตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง
ข้อ
๖ ตำแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่
ตำแหน่งในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่ใช้ความรู้ ในทางวิชาการซึ่ง ก.พ.
กำหนดว่าต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่
ของตำแหน่งนั้น
โดยมีการจำแนกตามลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานเป็นหลัก
หรือตำแหน่งอื่นที่กำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภทวิชาการตามกฎ ก.พ. นี้
ข้อ
๗ ตำแหน่งประเภทวิชาการ มี ๕ ระดับ ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ได้แก่
ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับต้น โดยใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน
ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ
(๒) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ
ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงในงานวิชาการ
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก
(ข) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ
ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์
และความชำนาญงานสูงในงานวิชาการ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก
(๓) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ
ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงมากในงานวิชาการ
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก
(ข) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ
ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์
และความชำนาญงานสูงมากในงานวิชาการ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก
(๔) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ได้แก่
ตำแหน่งที่ต้องดำเนินการศึกษา วิจัย สั่งสมความรู้หรือผลการศึกษาวิจัยในลักษณะต่าง
ๆ เพื่อให้มีการค้นคว้าอ้างอิงต่อไปได้ และสอน ฝึกอบรม
หรือเผยแพร่ความรู้ในระดับกรม ดังต่อไปนี้
(ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีความเชี่ยวชาญในงาน โดยใช้ความรู้
ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาการ
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมาก
และมีผลกระทบในวงกว้าง
(ข) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานให้คำปรึกษาของส่วนราชการระดับกระทรวง หรือกรม
ซึ่งใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาการ
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมาก
และมีผลกระทบในวงกว้าง
(๕) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ได้แก่
ตำแหน่งที่ต้องดำเนินการศึกษา วิจัย สั่งสมความรู้หรือผลการศึกษาวิจัยในลักษณะต่าง
ๆ เพื่อให้มีการค้นคว้าอ้างอิงต่อไปได้ และสอน ฝึกอบรม
หรือเผยแพร่ความรู้ในระดับกระทรวง และระดับชาติ ดังต่อไปนี้
(ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีความรู้ ความสามารถ
ประสบการณ์ และผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถ เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมากเป็นพิเศษ
และมีผลกระทบในวงกว้างระดับนโยบายกระทรวงหรือระดับชาติ
(ข) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานให้คำปรึกษาของส่วนราชการระดับกระทรวง
ซึ่งมีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถ
เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมากเป็นพิเศษ
และมีผลกระทบในวงกว้างระดับนโยบายกระทรวงหรือระดับชาติ
ข้อ
๘ ตำแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่
ตำแหน่งซึ่งมิใช่ตำแหน่งประเภทบริหาร ประเภทอำนวยการ และประเภทวิชาการ
แต่เป็นตำแหน่งในฐานะผู้ปฏิบัติงานซึ่งเน้นการใช้ทักษะ ฝีมือในการปฏิบัติงาน
โดยมีการจำแนกตามลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานเป็นหลัก
และในกรณีที่เห็นสมควร ก.พ. จะกำหนดว่าตำแหน่งใดต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำแหน่งนั้นด้วยก็ได้
หรือตำแหน่งอื่นที่กำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภททั่วไปตาม กฎ ก.พ. นี้
ข้อ
๙ ตำแหน่งประเภททั่วไป มี ๔ ระดับ
ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ได้แก่
ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งปฏิบัติงานตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน
และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ
(๒) ตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงาน ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ
ประสบการณ์ และความชำนาญงาน ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ค่อนข้างยาก
(ข) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ
ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์
และความชำนาญงาน ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ค่อนข้างยาก
(๓) ตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ
ประสบการณ์ และความชำนาญงานค่อนข้างสูง ในงานเทคนิคเฉพาะด้าน
หรืองานที่ใช้ทักษะและความชำนาญเฉพาะตัว
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในงานที่ค่อนข้างยากมาก
(ข) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ
ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์
และความชำนาญงานค่อนข้างสูง มีงานในความรับผิดชอบที่หลากหลาย
ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในงานที่ค่อนข้างยากมาก
(๔) ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ได้แก่
ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีทักษะพิเศษเฉพาะตัว โดยมีความรู้ ความสามารถ
ประสบการณ์ และผลงานเป็นที่ประจักษ์ ในความสามารถ
ในงานที่ใช้ทักษะและความชำนาญเฉพาะตัวสูงมาก ปฏิบัติงานที่ต้องคิดริเริ่มสร้างสรรค์ด้วยตนเองและเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ
ข้อ
๑๐ ให้ตำแหน่งที่ ก.พ.
กำหนดให้เทียบเป็นตำแหน่งประเภทบริหารตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๓๙ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ไว้แล้วก่อนวันที่ กฎ ก.พ.
นี้ใช้บังคับ เป็นตำแหน่งตามประเภท และระดับ ตามกฎ ก.พ. นี้ ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดให้เทียบเป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับกลาง
ให้เป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น
(๒) ตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดให้เทียบเป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
ให้เป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง
ข้อ
๑๑ ในกรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุผลอันสมควร
ให้ ก.พ. มีอำนาจกำหนดให้ตำแหน่งอื่นใดนอกจากที่กำหนดไว้แล้วในกฎ ก.พ. นี้
เป็นตำแหน่งประเภทใด ระดับใด ตามกฎ ก.พ. นี้ ก็ได้
ข้อ
๑๒ การปฏิบัติงานใดที่จะเป็นการปฏิบัติงานที่มีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูง
หรือต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานที่ยุ่งยาก ซับซ้อน
หรือต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหา หรือมีผลกระทบของงาน ในระดับใด
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๔๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ
๑๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะหรือวิชาชีพเฉพาะระดับ
๙ ระดับ ๑๐ หรือระดับ ๑๑ ตามมาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ อยู่แล้วในวันก่อนวันที่ กฎ
ก.พ. นี้ใช้บังคับ และได้รับการจัดเข้าสู่ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ
หรือระดับทรงคุณวุฒิ ตามกฎ ก.พ. นี้ ให้ถือว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ตามกฎ ก.พ.
นี้แล้ว
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๔๕ บัญญัติให้ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมี ๔ ประเภท ได้แก่
ตำแหน่งประเภทบริหาร ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ตำแหน่งประเภทวิชาการ
และตำแหน่งประเภททั่วไป และมาตรา ๔๖
กำหนดระดับตำแหน่งในแต่ละประเภทตำแหน่งดังกล่าวไว้ด้วย สำหรับการจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎ ก.พ. ดังนั้น เพื่อให้มีหลักเกณฑ์
การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญสำหรับใช้เป็นบรรทัดฐานเทียบเคียง
การกำหนดตำแหน่งในส่วนราชการ จึงจำเป็นต้องออกกฎ
ก.พ. นี้
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๑๒๘ ก/หน้า ๑/๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๑ |
448671 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการกรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล พ.ศ. 2547
| กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการ
กรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
พ.ศ. ๒๕๔๗
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๕) และมาตรา ๑๑๔ (๖) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ก.พ.
โดยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีจึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑[๑] กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๒ ให้ยกเลิกกฎ ก.พ. ฉบับที่ ๒๐ (พ.ศ.
๒๕๔๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕
ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการกรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
ข้อ
๓ การสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการนั้น
ให้ส่วนราชการพิจารณาจากผลการปฏิบัติงานของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นเป็นหลัก
และให้ส่วนราชการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. นี้
ข้อ
๔
เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดตามมาตรา
๗๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ แล้ว
เห็นว่าข้าราชการผู้ใดมีผลการปฏิบัติงานในระดับสมควรให้ได้รับการพัฒนา
ให้แจ้งผลการประเมินหรือผลการพิจารณาและกำหนดให้ผู้นั้นเข้ารับการพัฒนาปรับปรุงตนเองโดยให้ลงลายมือชื่อรับทราบไว้เป็นหลักฐาน
ทั้งนี้
ผู้บังคับบัญชากับข้าราชการผู้นั้นจะต้องจัดทำคำรับรองการปฏิบัติงานโดยกำหนดเป้าหมายในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการทุกรายการให้ชัดเจนเพื่อใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานครั้งต่อไป
การประเมินผลการปฏิบัติงานและการพัฒนาปรับปรุงตนเองของข้าราชการตามวรรคหนึ่ง
ให้มีระยะเวลาสองปี
ข้อ
๕ เมื่อผู้บังคับบัญชาประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการที่ได้จัดทำคำรับรองการปฏิบัติงานที่กำหนดในข้อ
๔ แล้ว ปรากฏว่าไม่ผ่านในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการทุกรายการตามคำรับรอง ให้รายงานผลการประเมินดังกล่าวต่อหัวหน้าส่วนราชการ
เพื่อนำเสนอ อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. กระทรวง แล้วแต่กรณี พิจารณาให้ความเห็น
หรืออาจแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของหัวหน้าส่วนราชการในการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นออกจากราชการต่อไป
ข้อ
๖ การร้องทุกข์ในกรณีไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการปฏิบัติตาม
กฎ ก.พ. นี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อมีการสั่งให้ข้าราชการผู้นั้นออกจากราชการแล้ว
ข้อ
๗
ในกรณีที่ข้าราชการผู้ใดมีผลการปฏิบัติงานในระดับสมควรให้ได้รับการพัฒนาปรับปรุงตนเองตามข้อ
๔ และข้าราชการผู้นั้นประสงค์ที่จะออกจากราชการกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการ
ให้ยื่นคำขอต่อหัวหน้าส่วนราชการเพื่อสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๑๑๔ (๖)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕
ให้ไว้ ณ
วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
วิษณุ เครืองาม
รองนายกรัฐมนตรี
ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ประธาน
ก.พ.
หมายเหตุ
:-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๑๑๔ (๖)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ บัญญัติว่า
เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการได้
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒
สั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นออกจากราชการ ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. ซึ่ง ก.พ. ได้ออกกฎ ก.พ.
เรื่องนี้ไว้ตามกฎ ก.พ. ฉบับที่ ๒๐ (พ.ศ. ๒๕๔๑)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕
ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการ
กรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
แต่เนื่องจากได้มีการปรับปรุงระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นให้เลื่อนปีละสองครั้งในวันที่
๑ เมษายน และวันที่ ๑ ตุลาคม
ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายในการพัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบราชการ
จึงทำให้หลักเกณฑ์และวิธีการในกฎ ก.พ.
ดังกล่าวไม่สอดคล้องกับระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น
เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าว จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ
๖๓ ก/หน้า ๕/๑๘
ตุลาคม ๒๕๔๗ |
471964 | กฎ ก.พ. ฉบับที่ 29 (พ.ศ. 2548) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ว่าด้วยการสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
| กฎ ก
กฎ ก.พ.
ฉบับที่ ๒๙ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕
ว่าด้วยการสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๕) และมาตรา ๑๐๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ก.พ. จึงออกกฎ
ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑[๑]
กฎ ก.พ. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔ ของกฎ ก.พ. ฉบับที่
๑๑ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่าด้วยการสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๔ การสั่งพักราชการให้สั่งพักตลอดเวลาที่สอบสวนพิจารณา
เว้นแต่ผู้ถูกสั่งพักราชการผู้ใดได้ร้องทุกข์ตามมาตรา ๑๓๐ และผู้มีอำนาจพิจารณาคำร้องทุกข์เห็นว่าสมควรสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนการสอบสวนพิจารณาเสร็จสิ้น
เนื่องจากพฤติการณ์ของผู้ถูกสั่งพักราชการไม่เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนพิจารณา และไม่ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยต่อไป
หรือเนื่องจากการสอบสวนทางวินัยไม่สามารถดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่เหมาะสม
ซึ่งไม่ควรเกินหนึ่งปีนับแต่วันพักราชการ ผู้มีอำนาจสั่งพักราชการอาจสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนการสอบสวนพิจารณาเสร็จสิ้นได้
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘
วิษณุ เครืองาม
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ
ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่การสั่งให้ข้าราชการพักราชการและการสั่งให้ข้าราชการออกจากราชการไว้ก่อนเป็นเวลานาน
อาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกสอบสวนทางวินัยสมควรให้สั่งให้ผู้ถูกสั่งพักราชการและผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนการสอบสวนพิจารณาเสร็จสิ้นได้
เมื่อผู้ถูกสั่งพักราชการและผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนร้องทุกข์ และผู้มีอำนาจพิจารณาคำร้องทุกข์เห็นว่าการสอบสวนทางวินัยไม่สามารถดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่เหมาะสมซึ่งไม่ควรเกินหนึ่งปีนับแต่วันพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อน
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๒๒ ก/หน้า ๒๒/๒๒ ธันวาคม ๒๕๔๘ |
461869 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2548 | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน
(ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๔๘[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๕) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ และมาตรา ๔๕
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๘ ก.พ. จึงออกกฎ ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ กฎ ก.พ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นต้นไป
ข้อ
๒ ให้ยกเลิกตารางเทียบขั้นเงินเดือนแต่ละอันดับที่ข้าราชการจะได้รับเมื่อได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งท้ายกฎ
ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน พ.ศ. ๒๕๔๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ
ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗
และให้ใช้ตารางเทียบขั้นเงินเดือนแต่ละอันดับที่ข้าราชการจะได้รับเมื่อได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งท้ายกฎ
ก.พ. นี้แทน
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘
กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘
วิษณุ เครืองาม
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
ตารางเทียบขั้นเงินเดือนแต่ละอันดับที่ข้าราชการจะได้รับเมื่อได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘
กำหนดให้ปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๔๗
ให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราเงินเดือนท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๘ ดังนั้น
จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมตารางเทียบขั้นเงินเดือนแต่ละอันดับที่ข้าราชการจะได้รับเมื่อได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งท้ายกฎ
ก.พ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนให้สอดคล้องกับการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๘๙ ก/หน้า ๑/๓๐ กันยายน ๒๕๔๘ |
615879 | กฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน พ.ศ. 2552 | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน
พ.ศ. ๒๕๕๒[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๕) และมาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.พ.
โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีจึงออกกฎ ก.พ.ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
กฎ ก.พ. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป
ข้อ ๒
ในกฎ ก.พ. นี้
ปี หมายความว่า ปีงบประมาณ
ครึ่งปีแรก หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑
ตุลาคม ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม
ครึ่งปีหลัง หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑
เมษายน ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน
ครึ่งปีที่แล้วมา หมายความว่า
ระยะเวลาครึ่งปีแรกหรือครึ่งปีหลัง ที่ผ่านมา แล้วแต่กรณี
ค่ากลาง หมายความว่า
ผลรวมของเงินเดือนต่ำสุดกับเงินเดือนสูงสุดที่ข้าราชการพลเรือนสามัญแต่ละประเภท
แต่ละสายงาน และแต่ละระดับได้รับตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ. กำหนด หารด้วยสอง
เพื่อให้ได้ตัวเลขที่จะนำไปใช้คิดฐานในการคำนวณ
ฐานในการคำนวณ หมายความว่า ตัวเลขที่จะนำไปใช้ในการคิดคำนวณเพื่อเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญแต่ละประเภท
แต่ละสายงาน และแต่ละระดับ โดยแบ่งออกเป็น
(๑)
ฐานในการคำนวณระดับล่าง ได้แก่ ผลรวมของเงินเดือนต่ำสุดตามที่ ก.พ.
กำหนดกับค่ากลาง หารด้วยสอง
(๒)
ฐานในการคำนวณระดับบน ได้แก่ ผลรวมของเงินเดือนสูงสุดตามที่ ก.พ. กำหนดกับค่ากลาง
หารด้วยสอง
ในกรณีที่คำนวณตามวิธีการดังกล่าวแล้ว
มีผลทำให้ฐานในการคำนวณระดับล่างของระดับตำแหน่งที่สูงกว่า
มีค่าต่ำกว่าหรือเท่ากับฐานในการคำนวณระดับบนของระดับตำแหน่งที่ต่ำกว่าซึ่งอยู่ถัดลงไป
ก.พ. อาจปรับฐานในการคำนวณระดับล่างของระดับตำแหน่งที่สูงกว่านั้นเสียใหม่ให้สูงขึ้นได้
โดยต้องนำภาพรวมของฐานในการคำนวณเพื่อเลื่อนเงินเดือนทั้งระบบมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา
ช่วงเงินเดือน หมายความว่า
ช่วงของเงินเดือนระหว่างเงินเดือนขั้นต่ำถึงค่ากลาง หรือระหว่างค่ากลางถึงเงินเดือนขั้นสูง
แล้วแต่กรณี และช่วงเงินเดือนที่ ก.พ. ปรับให้สอดคล้องกับฐานในการคำนวณด้วย
ข้อ ๓
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา ๕๗
เป็นผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือน
ข้อ ๔
การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎ
ก.พ. นี้
และให้นำผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการที่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๗๖ มาประกอบการพิจารณา
โดยให้เลื่อนได้ไม่เกินวงเงินที่ส่วนราชการได้รับการจัดสรรให้ใช้ในการเลื่อนเงินเดือน
การเลื่อนเงินเดือนให้ข้าราชการพลเรือนสามัญแต่ละคนในแต่ละครั้ง
ให้เลื่อนได้ไม่เกินเงินเดือนสูงสุดที่ ก.พ. กำหนดสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง
การเลื่อนเงินเดือนให้ข้าราชการพลเรือนสามัญโดยมิได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
แต่ใช้วิธีการหารเฉลี่ยเพื่อให้ข้าราชการพลเรือนสามัญทุกคนได้รับการเลื่อนเงินเดือนในอัตราร้อยละที่เท่ากัน
จะกระทำมิได้
การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญแต่ละคนในแต่ละครั้ง
ให้เลื่อนได้ในอัตราไม่เกินร้อยละหกของฐานในการคำนวณ
และให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนประกาศอัตราร้อยละของฐานในการคำนวณที่ได้ใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณเพื่อเลื่อนเงินเดือน
โดยต้องประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไปอย่างช้าที่สุดพร้อมกับการมีคำสั่งเลื่อนเงินเดือน
การคำนวณจำนวนเงินสำหรับการเลื่อนเงินเดือนถ้ามีเศษไม่ถึงสิบบาทให้ปัดเป็นสิบบาท
ข้อ ๕
การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญโดยปกติให้เลื่อนปีละสองครั้ง
ดังนี้
(๑)
ครั้งที่หนึ่ง เป็นการเลื่อนเงินเดือนสำหรับการปฏิบัติราชการในครึ่งปีแรก
โดยให้เลื่อนในวันที่ ๑ เมษายนของปีที่ได้เลื่อน
(๒)
ครั้งที่สอง เป็นการเลื่อนเงินเดือนสำหรับการปฏิบัติราชการในครึ่งปีหลัง
โดยให้เลื่อนในวันที่ ๑ ตุลาคมของปีถัดไป
ข้อ ๖
ให้ ก.พ. กำหนดค่ากลาง ฐานในการคำนวณ และช่วงเงินเดือนตามกฎ ก.พ. นี้
แล้วให้สำนักงาน ก.พ. แจ้งส่วนราชการและจังหวัดทราบเป็นการล่วงหน้า
ข้อ ๗
ผลการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญแต่ละคนในแต่ละครั้ง
ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนจัดให้มีการแจ้งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญทราบเป็นข้อมูลเฉพาะแต่ละบุคคล
การแจ้งผลการเลื่อนเงินเดือนตามวรรคหนึ่งให้ประกอบด้วย
อัตราร้อยละที่ได้รับการเลื่อน ฐานในการคำนวณ จำนวนเงินที่ได้รับการเลื่อน
และเงินเดือนที่พึงได้รับเมื่อได้รับการเลื่อนตามผลการเลื่อนเงินเดือนนั้น
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่ได้รับการเลื่อนเงินเดือนให้แจ้งเหตุผลที่ไม่ได้เลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นทราบด้วย
ข้อ ๘
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งจะได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนในแต่ละครั้งต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑)
ในครึ่งปีที่แล้วมามีผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าระดับพอใช้หรือร้อยละหกสิบ
(๒)
ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ถูกสั่งลงโทษทางวินัยที่หนักกว่าโทษภาคทัณฑ์
หรือไม่ถูกศาลพิพากษาในคดีอาญาให้ลงโทษในความผิดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
หรือความผิดที่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน
ซึ่งมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๓)
ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ถูกสั่งพักราชการเกินกว่าสองเดือน
(๔)
ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ขาดราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
(๕)
ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องได้รับการบรรจุเข้ารับราชการมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่เดือนหรือได้ปฏิบัติราชการมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่เดือนก่อนถึงแก่ความตาย
(๖)
ในครึ่งปีที่แล้วมา สำหรับผู้ได้รับอนุญาตให้ไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน
หรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศหรือต่างประเทศ ต้องมีเวลาปฏิบัติราชการไม่น้อยกว่าสี่เดือน
(๗)
ในครึ่งปีที่แล้วมา
สำหรับผู้ได้รับอนุญาตให้ลาติดตามคู่สมรสไปปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานในต่างประเทศ
ต้องมีเวลาปฏิบัติราชการไม่น้อยกว่าสี่เดือน
(๘)
ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ลา
หรือมาทำงานสายเกินจำนวนครั้งที่ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายกำหนดเป็นหนังสือไว้ก่อนแล้ว
โดยคำนึงถึงลักษณะงานและสภาพท้องที่อันเป็นที่ตั้งของแต่ละส่วนราชการหรือหน่วยงาน
(๙)
ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องมีเวลาปฏิบัติราชการ โดยมีวันลาไม่เกินยี่สิบสามวัน
แต่ไม่รวมถึงวันลาตาม (๖) หรือ (๗) และวันลาดังต่อไปนี้
(ก)
ลาอุปสมบท หรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย
เฉพาะวันลาที่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลาตามกฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน
(ข)
ลาคลอดบุตรไม่เกินเก้าสิบวัน
(ค)
ลาป่วยซึ่งจำเป็นต้องรักษาตัวเป็นเวลานานไม่ว่าคราวเดียวหรือหลายคราวรวมกันไม่เกินหกสิบวันทำการ
(ง)
ลาป่วยเพราะประสบอันตรายในขณะปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือในขณะเดินทางไปหรือกลับจากการปฏิบัติราชการตามหน้าที่
(จ)
ลาพักผ่อน
(ฉ)
ลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล
(ช)
ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
การนับจำนวนวันลาสำหรับการลาป่วยและการลากิจส่วนตัว
ให้นับเฉพาะวันทำการ
ข้อ ๙
ในการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน ให้นำข้อมูลการลา พฤติกรรมการมาทำงาน
การรักษาวินัย การปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ
และข้อควรพิจารณาอื่นมาประกอบการพิจารณาด้วย
ข้อ ๑๐
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งโอน เลื่อนตำแหน่ง ย้าย สับเปลี่ยนหน้าที่
ไปช่วยราชการในต่างกระทรวง ทบวง กรม
ได้รับมอบหมายหรือได้รับอนุญาตให้ไปปฏิบัติงานนอกเหนือหน้าที่หรืองานพิเศษอื่นใด
หรือไปช่วยงานในหน่วยงานอื่นของรัฐ
ให้นำผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการและปฏิบัติงานในครึ่งปีที่แล้วมาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นทุกตำแหน่งและทุกแห่งมาประกอบการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนด้วย
ข้อ ๑๑
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดได้รับอนุญาตให้ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
หรือถูกสั่งให้ไปทำการใดซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นกลับมาปฏิบัติราชการให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนพิจารณาสั่งให้มีการคำนวณเพื่อหาอัตราเงินเดือนที่ข้าราชการผู้นั้นจะได้รับเมื่อกลับมาปฏิบัติราชการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ.
กำหนด
ข้อ ๑๒
ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนจะนำเอาเหตุที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนในกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือถูกฟ้องคดีอาญา
มาเป็นเหตุในการไม่พิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นไม่ได้
ข้อ ๑๓
ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกสั่งลงโทษทางวินัยที่หนักกว่าโทษภาคทัณฑ์
และถูกศาลพิพากษาในคดีอาญาให้ลงโทษในความผิดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือความผิดที่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน
ซึ่งมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
และเป็นการถูกลงโทษจากการกระทำความผิดเดียวกัน
ถ้าถูกสั่งไม่เลื่อนเงินเดือนมาแล้วเพราะเหตุที่ถูกลงโทษทางวินัยหรือถูกศาลพิพากษาในคดีอาญาให้ลงโทษ
จะสั่งไม่เลื่อนเงินเดือนซ้ำอีกครั้งหนึ่งเพราะเหตุจากการกระทำความผิดเดียวกันนั้นไม่ได้
ข้อ ๑๔
ในกรณีที่ผลการพิจารณาโทษทางวินัยหรือโทษทางอาญาที่ถึงที่สุดแล้วมีผลทำให้การเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎ
ก.พ. นี้ ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนพิจารณาสั่งเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นเสียใหม่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎ
ก.พ. นี้
ข้อ ๑๕
ในครึ่งปีที่แล้วมาถ้าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้เลื่อนเงินเดือนแต่ผู้นั้นจะต้องพ้นจากราชการไปเพราะเหตุเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนสั่งเลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญในวันที่
๓๐ กันยายนของปีที่จะพ้นจากราชการ
ข้อ ๑๖
ในครึ่งปีที่แล้วมาถ้าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้เลื่อนเงินเดือนแต่ผู้นั้นถึงแก่ความตายก่อนหรือในวันที่
๑ เมษายนหรือ ๑ ตุลาคม
ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนสั่งเลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญโดยให้มีผลในวันที่ผู้นั้นถึงแก่ความตาย
ข้อ ๑๗
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดได้รับเงินเดือนถึงระดับเงินเดือนสูงสุดที่ ก.พ.
กำหนดสำหรับตำแหน่งที่ดำรงอยู่แล้ว
หากผู้นั้นได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นและเงินเดือนที่ได้รับอยู่นั้นต่ำกว่าเงินเดือนสูงสุดตามที่
ก.พ. กำหนดสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งใหม่นั้น
ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนสั่งเลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษได้
โดยให้นำผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการครั้งหลังสุดมาใช้ในการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนดังกล่าว
โดยให้เลื่อนเงินเดือนตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนั้น
ข้อ ๑๘
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการเลื่อนเงินเดือนตามข้อ
๘ เพราะเหตุเกี่ยวกับระยะเวลาการปฏิบัติราชการ การลา หรือการมาทำงานสาย
แต่ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนพิจารณาแล้วเห็นว่า
มีเหตุผลพิเศษที่สมควรเลื่อนเงินเดือนให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้น
ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนนำเสนอ อ.ก.พ. กระทรวง
พร้อมด้วยเหตุผลเพื่อพิจารณาเป็นการเฉพาะราย ถ้า อ.ก.พ. กระทรวง
เห็นชอบด้วยจึงจะสั่งเลื่อนเงินเดือนได้
ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการเลื่อนเงินเดือนเพราะเหตุอื่นนอกจากกรณีตามวรรคหนึ่ง
แต่ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุผลพิเศษที่สมควรเลื่อนเงินเดือนให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้น
ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนนำเสนอ อ.ก.พ.
กระทรวงพร้อมด้วยเหตุผลเพื่อพิจารณาเป็นการเฉพาะราย ถ้า อ.ก.พ.
กระทรวงเห็นชอบด้วยให้นำเสนอ ก.พ. เพื่อพิจารณา ถ้า ก.พ.
เห็นชอบด้วยจึงจะสั่งเลื่อนเงินเดือนได้
ข้อ ๑๙
ในวันที่กฎ ก.พ. นี้ใช้บังคับ
ถ้าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้เลื่อนเงินเดือน
แต่ต้องรอการเลื่อนเงินเดือนไว้เพราะเหตุที่ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนในกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือถูกฟ้องคดีอาญา ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่กฎ ก.พ. นี้ใช้บังคับ
ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนมีคำสั่งเลื่อนเงินเดือนข้าราชการผู้นั้นที่ได้รอไว้ทั้งหมด
ข้อ ๒๐
ในกรณีที่เงินเดือนขั้นต่ำชั่วคราวของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทใด
ระดับใด ยังมีผลใช้บังคับอยู่ คำว่า เงินเดือนขั้นต่ำ ตามกฎ ก.พ. นี้ ให้หมายความถึงเงินเดือนขั้นตํ่าชั่วคราว
ข้อ ๒๑
การเลื่อนเงินเดือนในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ สำหรับครึ่งปีหลังของปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๕๒ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่กฎ ก.พ.
นี้ใช้บังคับ
ข้อ ๒๒
ผู้ที่ได้รับการยกเว้นเป็นการเฉพาะรายให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าเงินเดือนขั้นสูงของประเภทตำแหน่ง
สายงาน และระดับตามที่กำหนดไว้ในกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ ดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ในสายงานที่กำหนดให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน
๓๖,๐๒๐ บาท
(๒)
ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
ในสายงานที่กำหนดให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน ๖๔,๓๔๐ บาท
ให้ได้รับการเลื่อนเงินเดือนเป็นการเฉพาะรายโดยใช้ฐานในการคำนวณและช่วงเงินเดือนที่กำหนดไว้สำหรับการเลื่อนเงินเดือนขั้นสูงของประเภทตำแหน่ง
และระดับ
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๗๔
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ประพฤติตนอยู่ในจรรยาและระเบียบวินัยและปฏิบัติราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนตามควรแก่กรณีตามที่กำหนดในกฎ
ก.พ.
สมควรกำหนดให้การเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญเป็นไปตามหลักการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติราชการ
และการประพฤติตน จึงจำเป็นต้องออกกฎ
ก.พ. นี้
ปณตภร/ปรับปรุง
๑๘ เมษายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๗๘ ก/หน้า ๙/๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๒ |
654042 | กฎ ก.พ. ฉบับที่ 28 (พ.ศ. 2548) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ว่าด้วยอำนาจการลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน | กฎ ก
กฎ ก.พ.
ฉบับที่ ๒๘ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕
ว่าด้วยอำนาจการลงโทษภาคทัณฑ์
ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ (๕) และมาตรา ๑๐๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ก.พ. จึงออกกฎ
ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑[๑]
กฎ ก.พ. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔ แห่งกฎ ก.พ. ฉบับที่
๘ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่าด้วยอำนาจการลงโทษภาคทัณฑ์
ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๔ เลขานุการรัฐมนตรีและหัวหน้าส่วนราชการที่สูงกว่ากอง
ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้กระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง มีอำนาจสั่งลงโทษภาคทัณฑ์
หรือตัดเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกิน ๕ % และเป็นเวลาไม่เกินสองเดือน
ให้ไว้ ณ วันที่ ๖ ตุลาคม
พ.ศ. ๒๕๔๘
วิษณุ เครืองาม
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ
ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินบัญญัติให้เลขานุการรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานรัฐมนตรี
จึงสมควรเพิ่มเติมในกฎ ก.พ. ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ว่าด้วยอำนาจการลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน
หรือลดขั้นเงินเดือน ให้เลขานุการรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งลงโทษทางวินัยแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัด จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๙๘ ก/หน้า ๓๐/๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๘ |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.