sysid
stringlengths
1
6
title
stringlengths
8
870
txt
stringlengths
0
257k
666383
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. 2554 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยที่องค์กรอัยการเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่มีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น โดยมีอัยการสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชา และมีภารกิจด้านการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐ การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน รวมทั้งภารกิจที่สำคัญอื่นตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ ในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นหน่วยงานสนับสนุนงานธุรการของพนักงานอัยการให้สำเร็จลุล่วงไป โดยมีอิสระในการบริหารงานบุคคล การเงิน และการงบประมาณ โดยปราศจากการแทรกแซงจากฝ่ายใด ดังนั้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ข้าราชการธุรการสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปราศจากอคติหรือสิ่งจูงใจจากปัจจัยภายนอก รวมทั้งการรักษาความลับของสำนวนคดีโดยอาศัยความซื่อสัตย์สุจริต และเที่ยงธรรมเช่นเดียวกับพนักงานอัยการ จึงเห็นสมควรกำหนดให้มีเงินค่าตอบแทนพิเศษให้แก่ข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อให้เหมาะสมกับภารกิจขององค์กรในปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๐ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “ข้าราชการธุรการ” หมายความว่า ข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ “ก.อ.” หมายความว่า คณะกรรมการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้อ ๔[๒] ให้ข้าราชการธุรการได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษเป็นรายเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในระเบียบนี้ ข้อ ๕ อัตราเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการ ประเภทและระดับต่าง ๆ ให้เป็นไปตามบัญชีแนบท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๖[๓] ข้าราชการธุรการที่จะได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษ กรณีบรรจุใหม่ ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษตั้งแต่วันที่พ้นการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ข้าราชการธุรการที่เคยรับราชการในสำนักงานอัยการสูงสุดและโอนกลับมาหรือได้รับการบรรจุกลับ ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษภายหลังกลับมาปฏิบัติราชการในสำนักงานอัยการสูงสุดใหม่เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหกเดือนนับตั้งแต่วันที่มารายงานตัวและปฏิบัติราชการ ข้าราชการธุรการที่รับโอนจากส่วนราชการอื่น ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษภายหลังปฏิบัติราชการในสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหกเดือนนับตั้งแต่วันที่มารายงานตัวและปฏิบัติราชการ ข้อ ๗[๔] ข้าราชการธุรการที่จะได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษจะต้องผ่านการพัฒนาศักยภาพบุคคลในการปฏิบัติงาน และผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานจากผู้บังคับบัญชาตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด ข้าราชการธุรการที่ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษมาแล้วจะต้องผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด ข้าราชการธุรการที่ไม่ผ่านการประเมินตามวรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง ให้งดเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษจนกว่าข้าราชการธุรการผู้นั้นจะผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ข้อ ๘ ในกรณีที่กำหนดให้ตำแหน่งระดับใดได้รับค่าตอบแทนพิเศษหลายอัตราในระดับเดียวกัน เมื่อผู้ดำรงตำแหน่งนั้นดำรงตำแหน่งโดยมีระยะเวลาครบถ้วนตามบัญชีแนบท้ายระเบียบนี้ และผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานจากผู้บังคับบัญชาแล้ว ให้มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนพิเศษในอัตราที่สูงขึ้นได้นับแต่วันที่ดำรงตำแหน่งโดยมีระยะเวลาครบถ้วน ข้อ ๙[๕] ข้าราชการธุรการที่ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (๑) กรณีข้าราชการธุรการที่ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษในอัตราของตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง (๒) กรณีข้าราชการธุรการที่ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษในอัตราที่ได้รับอยู่เดิมขณะที่ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป และไม่เกินอัตราสูงสุดของตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ข้อ ๑๐ ข้าราชการธุรการผู้ใดมีเวลาปฏิบัติหน้าที่ราชการไม่ถึงสองในสามของจำนวนวันทำการในเดือนใด ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษสำหรับเดือนนั้น ข้าราชการธุรการผู้ใดขาดราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือละทิ้งหน้าที่ราชการในเดือนใด ห้ามมิให้จ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษสำหรับวันที่ขาดราชการหรือละทิ้งหน้าที่ราชการดังกล่าว ให้ผู้บังคับบัญชาตรวจสอบและแจ้งจำนวนวันที่ปฏิบัติราชการของข้าราชการธุรการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ไปยังหน่วยงานที่ทำหน้าที่เบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษ เพื่อประกอบการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษในแต่ละเดือน ข้อ ๑๑ ข้าราชการธุรการซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้ไปประชุม สัมมนา ดูงาน หรือเข้ารับการอบรมตามแผนการฝึกอบรมของสำนักงานอัยการสูงสุดถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ การอบรมที่จัดโดยหน่วยงานภายนอกไม่ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ เว้นแต่สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นผู้อนุมัติให้ไปอบรมและเป็นไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ข้อ ๑๒ ข้าราชการธุรการผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจรรยาบรรณ อัยการสูงสุดอาจสั่งให้งดจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษแก่ข้าราชการธุรการผู้นั้นเป็นเวลาไม่เกินสามเดือนนับแต่วันที่มีคำสั่ง ข้อ ๑๓ ข้าราชการธุรการผู้ใดถูกสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ให้งดจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษแก่ข้าราชการธุรการผู้นั้น เป็นเวลาหกเดือนนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ลงโทษ ข้าราชการธุรการผู้ใดถูกสั่งลงโทษตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือน ให้งดจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษแก่ข้าราชการธุรการผู้นั้น เป็นเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งลงโทษ ข้อ ๑๔ ข้าราชการธุรการผู้ใดถูกสั่งพักราชการ ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน และผู้ที่อยู่ในระหว่างการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษในระหว่างถูกสั่งพักราชการ ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนหรือในระหว่างการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง ข้อ ๑๕ ข้าราชการธุรการผู้ใดได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษไปโดยไม่มีสิทธิที่จะได้รับตามระเบียบนี้ ให้ข้าราชการธุรการผู้นั้นคืนเงินค่าตอบแทนพิเศษภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่รู้ถึงการไม่มีสิทธินั้น ข้อ ๑๖ ในกรณีพ้นจากการเป็นข้าราชการธุรการ ให้งดการจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษตั้งแต่วันที่มีคำสั่งให้ข้าราชการธุรการผู้นั้นพ้นจากการเป็นข้าราชการธุรการ ข้อ ๑๗ หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษสำหรับข้าราชการธุรการ กรณีใดที่มิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้นำหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจ่ายเงินเดือนของข้าราชการพลเรือน ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน และระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเดือน เงินปี และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๘ เพื่อประโยชน์ในการนับระยะเวลาของการได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษ ให้นำระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งของข้าราชการธุรการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ก่อนมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างตำแหน่งของข้าราชการธุรการใหม่ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ มานับรวมเป็นระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งของข้าราชการธุรการผู้นั้น เพื่อให้ได้รับค่าตอบแทนพิเศษตามบัญชีแนบท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๑๙ หลักเกณฑ์ตามข้อ ๑๓ ไม่ให้ใช้บังคับกับข้าราชการธุรการที่ถูกสั่งลงโทษก่อนวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๒๐ เงินค่าตอบแทนพิเศษตามระเบียบนี้ ให้เริ่มจ่ายได้ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ข้อ ๒๑ ให้ ก.อ. มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ข้อ ๒๒ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่ง หลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ โอภาส อรุณินท์ ประธานคณะกรรมการอัยการ [เอกสารแนบท้าย] ๑.[๖] บัญชีอัตราค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕[๗] ข้อ ๔ ข้าราชการธุรการผู้ใดซึ่งมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษตามระเบียบนี้ และมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษอื่นด้วย ให้ข้าราชการธุรการผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มดังกล่าวตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖[๘] ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๔ เงินค่าตอบแทนพิเศษตามระเบียบนี้ ให้เริ่มจ่ายได้ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๓[๙] ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๗ เงินค่าตอบแทนพิเศษตามระเบียบนี้ ให้เริ่มจ่ายได้ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป ปณตภร/ผู้จัดทำ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๕ พิไลภรณ์/เพิ่มเติม ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๓ ปริญสินีย์/ตรวจ ๒ ธันวาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๓๐ ก/หน้า ๒๔/๒๙ เมษายน ๒๕๕๔ [๒] ข้อ ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๓] ข้อ ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๓ [๔] ข้อ ๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๓ [๕] ข้อ ๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๓ [๖] บัญชีอัตราค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๓ [๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๓๑ ก/หน้า ๒๕/๔ เมษายน ๒๕๕๕ [๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๑๙ ก/หน้า ๑๓/๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ [๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนที่ ๓๖ ก/หน้า ๒๓/๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๓
687756
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. 2555 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติ ของผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “ก.อ.” หมายความว่า คณะกรรมการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ “ผู้สมัคร” หมายความว่า ผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ “คณะกรรมการแพทย์” หมายความว่า คณะกรรมการแพทย์ซึ่ง ก.อ. กำหนดตามความในมาตรา ๔๙ ก. (๖) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ข้อ ๔ ผู้สมัครต้องยื่นใบสมัครตามแบบที่ ก.อ. กำหนดท้ายระเบียบนี้ด้วยตนเองต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับสมัคร ณ สถานที่และวันเวลาตามที่จะได้กำหนดไว้ ผู้สมัครที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นข้าราชการตุลาการ จ่าศาล รองจ่าศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดี พนักงานคุมประพฤติของศาลยุติธรรม หรือนายทหารเหล่าพระธรรมนูญ ให้ใช้หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพตามแบบที่ ก.อ. กำหนดท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๕ ให้คณะกรรมการแพทย์จัดทำเกณฑ์ทางการแพทย์ที่จะใช้ในการตรวจร่างกายและจิตใจเพื่อให้ ก.อ. ให้ความเห็นชอบ เกณฑ์ทางการแพทย์ดังกล่าวอย่างน้อยต้องประกอบด้วยวิธีการที่จะใช้ในการทดสอบและลักษณะทางระบบจิตประสาทที่จะตรวจและประเมินความเหมาะสม ข้อ ๖ เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้รับสมัครในข้อ ๔ ได้รับใบสมัครไว้แล้ว ให้ผู้สมัครไปรับการตรวจร่างกายและจิตใจจากคณะกรรมการแพทย์ ณ สถานที่และวันเวลาที่ระบุโดยเจ้าหน้าที่ผู้รับสมัคร และผู้สมัครต้องชำระเงินค่าตรวจร่างกายและจิตใจด้วย คณะกรรมการแพทย์จะตรวจร่างกายและจิตใจของผู้สมัครเพื่อให้ได้บุคคลที่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการอัยการ ดังนี้ (๑) ตรวจร่างกายทั่วไป (๒) ตรวจทางห้องปฏิบัติการ ประกอบด้วย การตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือดและเอ็กซเรย์ เพื่อตรวจโรคทั่วไป และโรคตามที่ระบุไว้ในประกาศของ ก.อ. (๓) ตรวจสภาพจิตใจ ข้อ ๗ ให้ ก.อ. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัคร โดยให้มีอำนาจกำหนดวิธีการเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัคร ข้อ ๘ ให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครดำเนินการดังนี้ (๑) ก่อนประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบข้อเขียน (ก) ส่งบัญชีรายชื่อผู้สมัครทั้งหมดไปยังสภาทนายความเพื่อตรวจสอบว่าเป็นหรือเคยเป็นทนายความหรือเคยถูกกล่าวหาว่าประพฤติผิดมรรยาททนายความตามกฎหมายว่าด้วยทนายความหรือไม่ หรือส่งรายชื่อผู้สมัครที่ประกอบวิชาชีพอื่นไปยังหน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพที่ผู้สมัครเป็นหรือเคยเป็นสมาชิกเพื่อตรวจสอบว่าเป็นหรือเคยเป็นสมาชิกหรือเคยถูกกล่าวหาว่าประพฤติผิดจริยธรรมหรือมีข้อร้องเรียนในการประกอบวิชาชีพดังกล่าวหรือไม่ (ข) เรียกผู้สมัครมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมตามที่เห็นสมควรเพื่อประกอบการพิจารณา (๒) ภายหลังประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนสำหรับการสอบคัดเลือกหรือการทดสอบความรู้ และภายหลังประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านการประเมินความรู้ความสามารถและประสบการณ์สำหรับการคัดเลือกพิเศษ (ก) สอบถามคุณสมบัติของผู้ผ่านการสอบข้อเขียนไปยังผู้รับรอง ผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลอื่นใดตามที่เห็นสมควร หรือส่งรายชื่อผู้ผ่านการสอบข้อเขียนไปยังหน่วยงานต้นสังกัดที่ผู้สมัครทำงานหรือรับราชการอยู่เพื่อตรวจสอบว่า เคยถูกกล่าวหาว่าประพฤติผิดวินัยหรือมีข้อร้องเรียนในการทำงานหรือรับราชการหรือไม่ ตามที่เห็นสมควร (ข) ตรวจสอบประวัติบุคคลไปยังหน่วยงานภายนอกที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา เช่น สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรมบังคับคดี กรมคุมประพฤติ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ค) ตรวจสอบความประพฤติและลายพิมพ์นิ้วมือไปยังกองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานวิทยาการตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ง) ประกาศบัญชีรายชื่อผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนสำหรับการสอบคัดเลือก หรือการทดสอบความรู้ และประกาศบัญชีรายชื่อผู้ที่ผ่านการประเมินความรู้ความสามารถและประสบการณ์สำหรับการคัดเลือกพิเศษ ตามวิธีการที่คณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครกำหนด เพื่อให้บุคคลทั่วไปให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับคุณสมบัติ หรือความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งข้าราชการอัยการของผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนหรือการประเมินดังกล่าวโดยให้มีหนังสือถึงอธิบดีอัยการ สำนักงานคณะกรรมการอัยการ ภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่ประกาศเป็นต้นไป เพื่อเสนอคณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครและคณะบุคคลกลั่นกรองคุณสมบัติผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียน ทั้งนี้ขอให้ผู้ที่ประสงค์จะให้ข้อคิดเห็นระบุชื่อ นามสกุล และที่อยู่จริงที่สามารถติดต่อได้ (จ) ให้ผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนที่คณะกรรมการแพทย์มีข้อสังเกตเกี่ยวกับสภาพจิตใจไปรับการตรวจสภาพจิตใจจากคณะกรรมการแพทย์อีกครั้ง ณ สถานที่และวันเวลาที่สำนักงานคณะกรรมการอัยการกำหนด ให้ประธานอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครแต่งตั้งคณะบุคคลกลั่นกรองคุณสมบัติผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนหรือการประเมิน ทำหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมเพื่อกลั่นกรองคุณสมบัติของผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนหรือการประเมินอีกครั้งก่อนประกาศวันสอบปากเปล่า[๒] ข้อ ๙ เมื่อได้รับข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัคร และรายงานผลการตรวจร่างกายและจิตใจของคณะกรรมการแพทย์แล้ว ให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครพิจารณาและเสนอความเห็นไปยัง ก.อ. ก่อนบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ หากพบว่าผู้สมัครคนใดไม่มีสิทธิได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ ให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครพิจารณาและเสนอความเห็นไปยัง ก.อ.[๓] ข้อ ๑๐ ผู้สมัครที่ ก.อ. เคยประกาศรายชื่อเป็นผู้มีสิทธิเข้าสอบข้อเขียนอาจขอใช้ผลการตรวจร่างกายและจิตใจ และผลการตรวจสอบประวัติและความประพฤติในการสอบครั้งก่อน ซึ่งมีระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันประกาศรายชื่อถึงวันยื่นใบสมัครครั้งใหม่ โดยให้ผู้สมัครยื่นแบบขอใช้ผลการตรวจสอบคุณสมบัติครั้งก่อนเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัคร ตามแบบท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๑๑ การดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครซึ่งได้กระทำไปแล้วในขั้นตอนใดก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการในขั้นตอนต่อไปให้ปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้คณะอนุกรรมการพิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๕ ตามคำสั่งคณะกรรมการอัยการ ที่ ๕/๒๕๕๕ เป็นคณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๒ ให้ ก.อ. มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๓ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามระเบียบนี้ บรรดาระเบียบ ข้อกำหนด ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ [เอกสารแนบท้าย] ๑. ใบสมัครสอบเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ๒. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการ จ่าศาล รองจ่าศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดี พนักงานคุมประพฤติของศาลยุติธรรม หรือนายทหารเหล่าพระธรรมนูญ ๓. คำขอใช้ผลการตรวจสอบคุณสมบัติครั้งก่อน (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕[๔] ปณตภร/ผู้จัดทำ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๙๘ ก/หน้า ๔/๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ [๒] ข้อ ๘ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๓] ข้อ ๙ วรรคสอง เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๑๖ ก/หน้า ๓๕/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๕
788466
ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินรางวัลตอบแทนพิเศษเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเงินรางวัลตอบแทนพิเศษเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยที่สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นส่วนราชการที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น โดยมีอัยการสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชา และต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุดให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตามเป้าหมาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด รวมทั้งควบคุมดูแลและรับผิดชอบการบริหารราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผนและประเพณีปฏิบัติของทางราชการ และด้วยเหตุที่การปฏิบัติงานในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้มีความอ่อนไหวต่อการปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงานอัยการในพื้นที่ดังกล่าว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการสร้างแรงจูงใจให้ข้าราชการฝ่ายอัยการซึ่งมีความรู้ความสามารถอยู่ปฏิบัติราชการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติราชการ และบรรลุพันธกิจด้านการอำนวยความยุติธรรมในทางอรรถคดี การรักษาผลประโยชน์ของรัฐ และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภยันตรายจากสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น อันเป็นการเสริมสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาและประโยชน์สุขของประชาชนต่อการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด จึงเป็นการสมควรกำหนดให้มีระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเงินรางวัลตอบแทนพิเศษเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๐ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเงินรางวัลตอบแทนพิเศษเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “เงินรางวัลตอบแทนพิเศษ” หมายความว่า เงินค่าตอบแทนพิเศษที่สำนักงานอัยการสูงสุดจัดสรรให้แก่ข้าราชการฝ่ายอัยการซึ่งปฏิบัติราชการประจำในสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ “สำนักงานอัยการ” หมายความว่า สำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติราชการประจำหรือได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติราชการหรือช่วยราชการในลักษณะประจำในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ และให้หมายความรวมถึงข้าราชการฝ่ายอัยการสำนักงานคดีศาลสูงภาค ๙ ที่ได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติราชการในสำนักงานอัยการด้วย “ก.อ.” หมายความว่า คณะกรรมการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้อ ๔ เพื่อสร้างแรงจูงใจแก่ข้าราชการในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องและเกิดผลสัมฤทธิ์ของงาน ให้ข้าราชการได้รับเงินรางวัลตอบแทนพิเศษตามรอบการประเมินจากเงินงบประมาณรายจ่ายของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ อัตราเงินรางวัลตอบแทนพิเศษของข้าราชการ ให้เป็นไปตามบัญชีแนบท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๕ ให้สำนักงานอัยการสูงสุดดำเนินการดังต่อไปนี้ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการ ในการอำนวยความยุติธรรมในทางอรรถคดี การรักษาผลประโยชน์ของรัฐ และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพให้แก่ประชาชน รวมทั้งการให้บริการที่มีคุณภาพแก่ประชาชนซึ่งอยู่ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ (๑) ประกาศกำหนดสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ (๒) กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินการบริหารราชการแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์และหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินรางวัลตอบแทนพิเศษแก่ข้าราชการ ข้อ ๖[๒] ให้มีคณะทำงานประเมินการบริหารราชการแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ เรียกโดยย่อว่า “คปส.” ประกอบด้วย (๑) ผู้ตรวจการอัยการที่ได้รับมอบหมายให้ตรวจราชการในสำนักงานอัยการภาค ๙ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน (๒) อธิบดีอัยการภาค ๙ เป็นรองหัวหน้าคณะทำงาน (๓) อธิบดีอัยการสำนักงานคดีศาลสูงภาค ๙ อธิบดีอัยการสำนักงานคดีแรงงานภาค ๙ อธิบดีอัยการสำนักงานคดีปกครองสงขลา อธิบดีอัยการสำนักงานคดีปราบปรามการทุจริตภาค ๙ เป็นคณะทำงาน (๔) อัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๑ ภาค ๙ อัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๒ ภาค ๙ อัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่งภาค ๙ อัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายภาค ๙ อัยการพิเศษฝ่ายคดีแรงงานภาค ๙ เป็นคณะทำงาน (๕) อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา ภาค ๙ ที่มิได้ปฏิบัติงานในสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ เป็นคณะทำงาน (๖) ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการภาค ๙ เป็นคณะทำงาน ให้หัวหน้าคณะทำงานแต่งตั้งอัยการพิเศษฝ่ายตาม (๕) คนหนึ่งเป็นเลขานุการและอีกไม่เกินหนึ่งคน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ และแต่งตั้งผู้อำนวยการตาม (๖) เป็นผู้ช่วยเลขานุการและข้าราชการธุรการ ในสำนักอำนวยการภาค ๙ อีกคนหนึ่งเป็นคณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ ข้อ ๗ ให้ คปส. มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) ประเมินผลการปฏิบัติงานของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ (๒) เสนอผลการประเมินตาม (๑) และเสนอการจัดสรรเงินรางวัลตอบแทนพิเศษต่ออัยการสูงสุดเพื่อพิจารณาอนุมัติ (๓) เสนอความเห็นต่ออัยการสูงสุดในการปรับปรุงหรือแก้ไขหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้ (๔) ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามระเบียบนี้ และปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่อัยการสูงสุดมอบหมาย ข้อ ๘ ให้ คปส. ได้รับเบี้ยประชุมตามบัญชี ๔ ของระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ อนุกรรมการ การจ่ายเงินสมนาคุณและค่าตอบแทนบุคคลหรือคณะบุคคล ข้อ ๙ ข้าราชการที่จะได้รับเงินรางวัลตอบแทนพิเศษจะต้องมีเวลาปฏิบัติหน้าที่ราชการในสำนักงานอัยการไม่น้อยกว่าสองในสามของระยะเวลาตามรอบการประเมิน เว้นแต่ในกรณีที่ คปส. เห็นสมควรและอัยการสูงสุดพิจารณาอนุมัติ ห้ามมิให้จ่ายเงินรางวัลตอบแทนพิเศษแก่ข้าราชการที่ขาดราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือละทิ้งหน้าที่ราชการในรอบการประเมินนั้น ให้ผู้บังคับบัญชาตรวจสอบและแจ้งจำนวนวันปฏิบัติหน้าที่ราชการของข้าราชการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ไปยัง คปส. เพื่อประกอบการพิจารณาให้ความเห็นในการจัดสรรเงินรางวัลตอบแทนพิเศษในแต่ละรอบการประเมิน ข้อ ๑๐ กรณีที่อัยการสูงสุด หรืออธิบดีอัยการภาค ๙ แล้วแต่กรณี มีคำสั่งให้ข้าราชการสำนักงานอัยการใดไปช่วยราชการในสำนักงานอัยการอีกแห่งหนึ่ง ให้ถือว่าข้าราชการผู้นั้นมีเวลาปฏิบัติหน้าที่ราชการในสำนักงานอัยการอย่างต่อเนื่องและมีสิทธิได้รับเงินรางวัลตอบแทนพิเศษตามรอบการประเมินที่ข้าราชการผู้นั้นอยู่ปฏิบัติราชการตามข้อ ๙ ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาเห็นว่า ข้าราชการผู้ใดไม่มีส่วนร่วมในการดำเนินการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของงาน หรือมีเหตุอื่นที่ผู้นั้นไม่สมควรจะได้รับการจัดสรรเงินรางวัลตอบแทนพิเศษตามระเบียบนี้ ให้ผู้บังคับบัญชามีความเห็นตามลำดับชั้นถึงอธิบดีอัยการภาค ๙ หรืออธิบดีอัยการ แล้วแต่กรณี เพื่อเสนอ คปส. พิจารณา ข้อ ๑๒ ให้เริ่มประเมินเพื่อจ่ายเงินรางวัลตอบแทนพิเศษตามระเบียบนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ข้อ ๑๓ ให้ ก.อ. มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ เว้นแต่ปัญหาว่าข้าราชการผู้ใดมีสิทธิได้รับเงินรางวัลตอบแทนพิเศษหรือไม่ เพียงใด และจากสำนักงานอัยการใด ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจวินิจฉัย ข้อ ๑๔ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่ง หลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่ง ที่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ [เอกสารแนบท้าย] ๑.[๓] บัญชีอัตราเงินรางวัลตอบแทนพิเศษเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินรางวัลตอบแทนพิเศษเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗[๔] ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๕ การใดที่ คปส. ตามระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินรางวัลตอบแทนพิเศษเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๕ ได้ดำเนินการไปก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับเป็นอันใช้ได้ ข้อ ๖ ให้ คปส. ตามระเบียบนี้ ประเมินผลการปฏิบัติงานตามระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินรางวัลตอบแทนพิเศษเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๕ ดังต่อไปนี้ (๑) ประเมินผลการปฏิบัติงานของสำนักงานอัยการตามประกาศสำนักงานอัยการสูงสุด เรื่อง กำหนดสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ และประกาศสำนักงานอัยการสูงสุด เรื่อง กำหนดสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ ฉบับที่ ๒ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๗ (๒) ประเมินผลการปฏิบัติงานของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา ๒ ภาค ๙ ในรอบการประเมิน ระหว่างวันที่ ๑ ตุลาคม ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ข้อ ๗ ให้บัญชีอัตราเงินรางวัลตอบแทนพิเศษเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ ตามข้อ ๔ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินรางวัลตอบแทนพิเศษ เพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐[๕] ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๔ ในระหว่างที่ยังมิได้แต่งตั้งเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการตามข้อ 6 วรรคสองของระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเงินรางวัลตอบแทนพิเศษเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบนี้ ให้อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา ๑ ภาค ๙ และผู้อำนวยการสำนักอำนวยการภาค ๙ ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการตามระเบียบนี้ ปริญสินีย์/จัดทำ ๕ ตุลาคม ๒๕๐๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๓๑ ก/หน้า ๒๒/๔ เมษายน ๒๕๕๕ [๒] ข้อ ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินรางวัลตอบแทนพิเศษ เพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๓] บัญชีอัตราเงินรางวัลตอบแทนพิเศษเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินรางวัลตอบแทนพิเศษเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๓๒ ก/หน้า ๑๗/๑๗ มีนาคม ๒๕๕๗ [๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๘๑ ก/หน้า ๔๔/๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๐
765286
ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเครื่องแบบและการแต่งกายของข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2556 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเครื่องแบบและการแต่งกายของข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๖[๑] โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเครื่องแบบและการแต่งกายของข้าราชการฝ่ายอัยการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเครื่องแบบและการแต่งกายของข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้คณะกรรมการอัยการมีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ข้อ ๔ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่ง หลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งอื่นใด ซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน หมวด ๑ เครื่องแบบและการแต่งกายของข้าราชการอัยการ ข้อ ๕ เครื่องแบบข้าราชการอัยการ ให้มี ๓ ชนิด คือ (๑) เครื่องแบบปฏิบัติราชการ มี ๒ ประเภท (ก) เครื่องแบบสีกากีคอพับ (ข) เครื่องแบบสีกากีคอแบะ (๒) เครื่องแบบพิธีการ มี ๕ ประเภท (ก) เครื่องแบบปกติขาว (ข) เครื่องแบบปกติกากีคอตั้ง (ค) เครื่องแบบครึ่งยศ (ง) เครื่องแบบเต็มยศ (จ) เครื่องแบบสโมสร (๓) เครื่องแต่งกายปฏิบัติงานทั่วไป มี ๒ ประเภท (ก) เครื่องแต่งกายประจำสำนักงาน (ข) เครื่องแต่งกายปฏิบัติงาน ข้อ ๖ เครื่องแบบปฏิบัติราชการ ประกอบด้วย (๑) หมวก (๒) เสื้อ (๓) เครื่องหมายแสดงสังกัด (๔) อินทรธนู (๕) ป้ายชื่อและตำแหน่ง (๖) กางเกง กระโปรง (๗) เข็มขัด (๘) รองเท้า ถุงเท้า ข้อ ๗ หมวก สำหรับเครื่องแบบปฏิบัติราชการ ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้หมวกได้ ๒ แบบ แบบที่ ๑ หมวกทรงหม้อตาลสีกากี กะบังหน้าทำด้วยหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำ สายรัดคางหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำ มีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็กติดที่ข้างหมวกข้างละ ๑ ดุม ผ้าพันหมวกสีกากี ที่หน้าหมวกติดตราครุฑพ่าห์ในบัวกระหนกทำด้วยโลหะสีทองสูง ๖.๕ เซนติเมตร แบบที่ ๒ หมวกแก๊ปทรงอ่อนสีกากี ที่หน้าหมวกติดตราครุฑพ่าห์ปักดิ้นสีทองสูง ๔.๕ เซนติเมตร ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้หมวกได้ ๓ แบบ แบบที่ ๑ อนุโลมตามแบบหมวกของข้าราชการอัยการชาย แบบที่ ๑ แต่เป็นทรงอ่อน แบบที่ ๒ หมวกแก๊ปทรงอ่อนพับปีกสีกากี สายรัดคางสีทองกว้าง ๑ เซนติเมตร มีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็กติดที่ข้างหมวกข้างละ ๑ ดุม ผ้าพันหมวกสีกากี ที่หน้าหมวกติดตราครุฑพ่าห์ปักดิ้นสีทองสูง ๔.๕ เซนติเมตร บนหมอนสีกากี แบบที่ ๓ หมวกหนีบสีกากี ด้านหน้ามีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็ก ๒ ดุม ติดซ้อนกัน มีตราครุฑพ่าห์ในบัวกระหนกสูง ๔.๕ เซนติเมตร ติดที่ด้านซ้ายเหนือขอบหมวก ห่างจากมุมพับด้านหน้าหมวกประมาณ ๔ เซนติเมตร ข้าราชการอัยการหญิงมุสลิม หากจะใช้ผ้าคลุมศีรษะ ให้ใช้ผ้าคลุมศีรษะสีประเภทสีกากีหรือสีกลมกลืนกับเสื้อ กระโปรง หรือกางเกง โดยให้คลุมศีรษะทั้งหมดเว้นใบหน้า ชายผ้าคลุมศีรษะด้านข้างยาวถึงบ่า ด้านหน้ายาวถึงระดับอก ขอบผ้าคลุมเย็บเรียบ ในกรณีที่มีการสวมหมวกให้สวมหมวกทับผ้าคลุมศีรษะ การสวมหมวก ให้สวมในโอกาสอันควร ข้อ ๘ เสื้อ สำหรับเครื่องแบบปฏิบัติราชการ ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้เสื้อได้ ๒ แบบ แบบที่ ๑ เสื้อคอพับสีประเภทสีกากี แขนยาวรัดข้อมือ มีดุมที่ข้อมือข้างละ ๑ ดุม หรือแขนสั้นมีกระเป๋าเย็บติดที่หน้าอกเสื้อข้างละ ๑ กระเป๋า เป็นกระเป๋าเสื้อมีแถบอยู่ตรงกลางตามทางดิ่งกว้าง ๓.๕ เซนติเมตร มีใบปกกระเป๋ารูปมนชายกลางแหลมหรือเป็นกระเป๋าเสื้อชนิดไม่มีแถบกลางกระเป๋า และใบปกกระเป๋าเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มุมกระเป๋าและมุมปกกระเป๋าเป็นรูปตัดพองาม ที่ปากกระเป๋าทั้งสองข้างติดดุมข้างละ ๑ ดุม สำหรับขัดใบปกกระเป๋า ตัวเสื้อผ่าอกตลอดมีสาบกว้าง ๓.๕ เซนติเมตร ติดดุมตามแนวอกเสื้อ ๕ ดุม ระยะห่างกันพอสมควรและติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง ที่ไหล่เสื้อประดับอินทรธนูสีเดียวกับเสื้อยาวตามความยาวของบ่าเย็บติดกับเสื้อเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอ ปลายมน ด้านไหล่กว้าง ๔ เซนติเมตร ด้านคอ กว้าง ๓ เซนติเมตร ตอนปลายขัดดุมติดกับตัวเสื้อ ในโอกาสไปงานพิธี ให้ใช้เสื้อเชิ้ตแขนยาว ผูกผ้าผูกคอสีดำเงื่อนกลาสี สอดชายผ้าผูกคอไว้ภายในเสื้อใต้ดุมเม็ดที่สอง แบบที่ ๒ เสื้อคอแบะปล่อยเอวแบบคอตื้นสีประเภทสีกากี แขนสั้น ตัวเสื้อผ่าอกตลอดมีดุมที่อกเสื้อ ๔ ดุม มีกระเป๋าเย็บติดภายนอกเป็นกระเป๋าบนและล่างอย่างละ ๒ กระเป๋า กระเป๋าบนมีใบปกมนชายกลางแหลม มีแถบกว้าง ๓.๕ เซนติเมตร ตรงกึ่งกลางกระเป๋าทางดิ่ง กระเป๋าล่างเป็นกระเป๋าย่าม มีใบปกรูปตัด ที่ฝากระเป๋าทั้งสองกระเป๋า ติดดุมข้างละ ๑ ดุม สำหรับขัดกับใบปกกระเป๋าที่เอวด้านหลังคาดด้วยผ้าสีเดียวกับเสื้อขนาดกว้าง ๕ เซนติเมตร ชายเสื้อที่ตะเข็บกลางหลังเปิดไว้ถึงผ้าคาดเอว ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง ให้ใช้เสื้อแบบที่ ๒ แทนแบบที่ ๑ ในโอกาสอันควร ดุมที่ใช้กับเสื้อทั้งสองแบบมีลักษณะเป็นรูปกลมแบนทำด้วยวัตถุสีเดียวกับสีเสื้อ ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้ประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าบนซ้ายด้วย ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้เสื้อได้ ๔ แบบ แบบที่ ๑ อนุโลมตามแบบเสื้อของข้าราชการอัยการชาย แบบที่ ๑ แบบที่ ๒ เสื้อคอพับสีประเภทสีกากี สีอ่อนกว่ากระโปรงหรือสีเดียวกับกระโปรง ผ่าอกตลอดตัวเสื้อ มีสาบกว้างประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร แขนยาวรัดข้อมือ ขอบปลายแขนกว้างประมาณ ๕ เซนติเมตร หรือแขนสั้นเหนือข้อศอกเล็กน้อย ตลบชายกว้างประมาณ ๕ เซนติเมตร เดินคิ้วด้านหน้าเสื้อต่อจากเส้นบ่า มีตะเข็บผ่านกลางอกยาวตลอดตัวทั้งสองด้าน มีดุม ๕ ดุม ด้านหลังจากเส้นต่อบ่าหลังมีตะเข็บผ่านตามตัวเสื้อทั้งสองด้านเช่นเดียวกับด้านหน้า ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง ที่ไหล่เสื้อประดับอินทรธนูสีเดียวกับเสื้อยาวตามความยาวของบ่าเย็บติดกับเสื้อเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอปลายมน ด้านไหล่กว้าง ๔ เซนติเมตร ด้านคอกว้าง ๓ เซนติเมตร ตอนปลายขัดดุมติดกับตัวเสื้อ การสวมให้สอดชายเสื้อไว้ในขอบกระโปรง แบบที่ ๓ เสื้อคอพับปล่อยเอวสีประเภทสีกากี สีเดียวกับกระโปรงหรือกางเกง ผ่าอกตลอดตัวเสื้อไม่มีสาบ ด้านหน้ามีคิ้วตามสาบ มีดุม ๔ ดุม แขนยาวหรือแขนสั้นตลบชายกว้างประมาณ ๕ เซนติเมตร มีคิ้วหน้าหลังเช่นเดียวกับแบบที่ ๒ และมีเส้นแนวตะเข็บเช่นเดียวกับแบบที่ ๒ ทั้งหน้าหลัง ความยาวของเสื้อให้คลุมสะโพกพองาม ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง ที่ไหล่เสื้อประดับอินทรธนูสีเดียวกับเสื้อยาวตามความยาวของบ่าเย็บติดกับเสื้อเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอ ปลายมน ด้านไหล่กว้าง ๔ เซนติเมตร ด้านคอกว้าง ๓ เซนติเมตร ตอนปลายขัดดุมติดกับตัวเสื้อ แบบที่ ๔ เสื้อคอแบะปล่อยเอวสีประเภทสีกากี สีเดียวกับกระโปรงหรือกางเกง ผ่าอกตลอดตัวเสื้อ ไม่มีสาบ แขนยาวจรดข้อมือหรือแขนสั้นเหนือศอกเล็กน้อย ตลบชายกว้างประมาณ ๕ เซนติเมตร ด้านหน้าเป็นคิ้วตามสาบ ดุม ๓ ดุม ต่อด้านหน้าและด้านหลังยาวตามตัว ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอแบะทั้งสองข้าง และมีกระเป๋าล่างข้างละ ๑ กระเป๋า เป็นกระเป๋าเจาะเฉียงเล็กน้อย ไม่มีใบปกกระเป๋า ดุมที่ใช้กับเสื้อแบบที่ ๒ แบบที่ ๓ และแบบที่ ๔ มีลักษณะเป็นรูปกลมแบน สีกากี สีเดียวกับสีเสื้อ การสวมเสื้อแบบที่ ๓ และแบบที่ ๔ ให้ปล่อยชายเสื้อทับกระโปรงหรือกางเกงและคาดเข็มขัดตามข้อ ๑๓ แบบที่ ๒ ทับเอวเสื้อ ในโอกาสไปงานพิธี ให้ใช้เสื้อแบบที่ ๑ หรือแบบที่ ๒ โดยใช้เสื้อเชิ้ตแขนยาว ผูกผ้าผูกคอสีดำเงื่อนกลาสี สอดชายผ้าผูกคอไว้ภายในเสื้อใต้ดุมเม็ดที่สอง ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้ประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าบนซ้ายด้วย ข้อ ๙ เครื่องหมายแสดงสังกัด สำหรับเครื่องแบบปฏิบัติราชการ ข้าราชการอัยการชาย ให้มีเครื่องหมายแสดงสังกัดทำด้วยโลหะโปร่งสีทองรูปพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐานเหนือพระแว่นสุริยกานต์และตราชูรูปพระขรรค์รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์ไม่มีขอบสูง ๒.๔ เซนติเมตร ติดที่ปกคอเสื้อตอนหน้าทั้งสองข้าง ตามแบบท้ายระเบียบแบบที่ ๑ ข้าราชการอัยการหญิง ให้มีเครื่องหมายแสดงสังกัดเช่นเดียวกับข้าราชการอัยการชายติดที่ปกคอด้านหน้าทั้งสองข้างของเสื้อแบบที่ ๑ แบบที่ ๒ และแบบที่ ๓ สำหรับเสื้อแบบที่ ๔ ให้ติดที่ปกคอแบะทั้งสองข้างเหนือแนวเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ข้อ ๑๐ อินทรธนู สำหรับเครื่องแบบปฏิบัติราชการ ข้าราชการอัยการตั้งแต่ตำแหน่งอัยการประจำกองหรืออัยการจังหวัดผู้ช่วยขึ้นไป และอัยการอาวุโส ให้ใช้อินทรธนูอ่อนมีแถบสีเหลืองหรือสีทองขนาดกว้างแถบละ ๑ เซนติเมตร ติดทางต้นอินทรธนู ๑ แถบ แถบกลางประกอบเป็น ๓ แถบ ติดเรียงกันไปโดยไม่ต้องเว้นระยะห่าง และแถบบนขมวดเป็นวงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางวงใน ๒ เซนติเมตร การติดแถบให้ติดตามขวางที่ต้นอินทรธนูแถบแรกให้ห่างจากต้นอินทรธนู ๕ มิลลิเมตร โดยให้แถบแรกเว้นระยะห่างจากแถบกลาง ๕ มิลลิเมตร และแถบกลางเว้นระยะห่างจากแถบบน ๕ มิลลิเมตร มีรูปพระไพศรพณ์ทำด้วยโลหะสีทอง ขนาดสูง ๓ เซนติเมตร ประทับอยู่บนพื้นอินทรธนูภายในขมวดวงกลม ฐานของรูปพระไพศรพณ์อยู่เหนือแถบกลางตามแบบท้ายระเบียบแบบที่ ๒ ข้าราชการอัยการตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ให้ใช้อินทรธนูอ่อนมีแถบสีเหลืองหรือสีทองขนาดกว้างแถบละ ๑ เซนติเมตร ติดทางต้นอินทรธนูแถบล่างประกอบเป็น ๓ แถบ ติดเรียงกันไปโดยไม่ต้องเว้นระยะห่าง และให้แถบบนขมวดเป็นวงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางวงใน ๒ เซนติเมตร การติดแถบให้ติดตามขวางที่ต้นอินทรธนู แถบแรกให้ห่างจากต้นอินทรธนู ๕ มิลลิเมตร และห่างจากแถบบนอีก ๕ มิลลิเมตร มีรูปพระไพศรพณ์ทำด้วยโลหะสีทองขนาดสูง ๓ เซนติเมตร ประทับอยู่บนพื้นอินทรธนูภายในขมวดวงกลม ฐานของรูปพระไพศรพณ์อยู่เหนือแถบล่าง ตามแบบท้ายระเบียบแบบที่ ๓ ข้อ ๑๑ ป้ายชื่อและตำแหน่ง สำหรับเครื่องแบบปฏิบัติราชการ ให้มีป้ายชื่อพื้นสีดำมีขอบสีทอง ขนาดกว้างไม่เกิน ๒.๕ เซนติเมตร ยาวไม่เกิน ๗.๕ เซนติเมตร แสดงชื่อตัว ชื่อสกุล และชื่อตำแหน่งด้วยตัวอักษรสีทองประดับที่อกเสื้อด้านบนขวาหรือเหนือกระเป๋าบนขวาของเสื้อเครื่องแบบ ข้อ ๑๒ กางเกง กระโปรง สำหรับเครื่องแบบปฏิบัติราชการ ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้กางเกงแบบราชการสีประเภทสีกากี ไม่พับปลายขา ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้กางเกงหรือกระโปรงสีประเภทสีกากีได้ ๕ แบบ แบบที่ ๑ กางเกง อนุโลมตามแบบของข้าราชการอัยการชาย แบบที่ ๒ กางเกงขายาว ขาตรง ไม่มีลวดลาย ขอบกางเกงกว้างประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร มีหรือไม่มีกระเป๋าก็ได้ มีซิบด้านหน้าหรือด้านข้าง ไม่พับปลายขา แบบที่ ๓ กระโปรงยาวปิดเข่า ปลายบานเล็กน้อย แบบที่ ๔ กระโปรง มีตะเข็บหน้า ๒ ตะเข็บ ตะเข็บหลัง ๒ ตะเข็บ ยาวครึ่งเข่า ปลายบานเล็กน้อย แบบที่ ๕ กระโปรงกางเกง แบบกางเกงยาวครึ่งเข่า มีตะเข็บหน้า ๒ ตะเข็บ ตะเข็บหลัง ๒ ตะเข็บ มีจีบกระทบด้านหน้าและด้านหลัง ข้าราชการอัยการหญิงมุสลิม หากจะใช้กระโปรง หรือกระโปรงกางเกง ตามแบบที่ ๓ แบบที่ ๔ หรือแบบที่ ๕ จะให้ยาวคลุมข้อเท้าก็ได้ ข้อ ๑๓ เข็มขัด สำหรับเครื่องแบบปฏิบัติราชการ ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้เข็มขัดทำด้วยด้ายถักสีกากี กว้าง ๓ เซนติเมตร หัวเข็มขัดทำด้วยโลหะสีทองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทางนอน ปลายมน กว้าง ๓.๕ เซนติเมตร ยาว ๕ เซนติเมตร มีรูปครุฑดุนนูนอยู่กึ่งกลางหัวเข็มขัด ไม่มีเข็มสำหรับสอดรู ปลายเข็มขัดหุ้มด้วยโลหะสีทองกว้าง ๑ เซนติเมตร ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้เข็มขัดได้ ๒ แบบ แบบที่ ๑ ใช้คาดทับขอบกระโปรง โดยใช้เข็มขัดอนุโลมตามแบบของข้าราชการอัยการชาย แบบที่ ๒ ใช้คาดทับเสื้อ โดยใช้เข็มขัดผ้าสีประเภทสีกากีสีเดียวกับเสื้อกว้าง ๒.๕ เซนติเมตรหัวสี่เหลี่ยมหุ้มผ้า ข้อ ๑๔ รองเท้า ถุงเท้า สำหรับเครื่องแบบปฏิบัติราชการ ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้รองเท้าหุ้มส้นหรือหุ้มข้อหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำหรือสีน้ำตาลไม่มีลวดลาย ถุงเท้าสีเดียวกับรองเท้า ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้รองเท้าหุ้มส้นหรือรัดส้นหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำหรือสีน้ำตาลแบบปิดปลายเท้า ไม่มีลวดลาย ส้นสูงไม่เกิน ๑๐ เซนติเมตร และจะใช้ถุงเท้ายาวสีเนื้อด้วยก็ได้ ข้อ ๑๕ เครื่องแบบพิธีการ ประเภทเครื่องแบบปกติขาว ประกอบด้วย (๑) หมวก (๒) เสื้อ (๓) เครื่องหมายแสดงสังกัด (๔) อินทรธนู (๕) กางเกง กระโปรง (๖) รองเท้า ถุงเท้า ข้อ ๑๖ หมวก สำหรับเครื่องแบบปกติขาว ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้หมวกทรงหม้อตาลสีขาว กะบังหน้าทำด้วยหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำ สายรัดคางสีทองกว้าง ๑ เซนติเมตร มีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็กติดที่ข้างหมวกข้างละ ๑ ดุม ผ้าพันหมวกสีขาว ที่หน้าหมวกติดตราครุฑพ่าห์ปักดิ้นสีทองสูง ๕ เซนติเมตร บนหมอนสักหลาดสีขาว ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้หมวกได้ ๒ แบบ แบบที่ ๑ อนุโลมตามแบบหมวกของข้าราชการอัยการชาย แต่เป็นทรงอ่อน แบบที่ ๒ หมวกแก๊ปทรงอ่อนพับปีกสีขาว สายรัดคางสีทอง มีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ ขนาดเล็กติดที่ข้างหมวกข้างละ ๑ ดุม ผ้าพันหมวกสีขาว ที่หน้าหมวกติดตราครุฑพ่าห์ปักดิ้นสีทองสูง ๔.๕ เซนติเมตร บนหมอนสักหลาดสีขาว ข้าราชการอัยการหญิงมุสลิม หากจะใช้ผ้าคลุมศีรษะ ให้ใช้ผ้าคลุมศีรษะสีดำ โดยให้คลุมศีรษะทั้งหมด เว้นใบหน้า ชายผ้าคลุมศีรษะสอดไว้ในปกเสื้อคอพับ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ในกรณีที่มีการสวมหมวก ให้สวมหมวกทับผ้าคลุมศีรษะ การสวมหมวก ให้สวมในโอกาสอันควร ข้อ ๑๗ เสื้อ สำหรับเครื่องแบบปกติขาว ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้เสื้อแบบราชการสีขาว ใช้ดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดใหญ่ ๕ ดุม ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่คอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าบนซ้ายด้วย ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้เสื้อนอกคอแบะสีขาวแบบคอแหลมหรือคอป้าน แขนยาวถึงข้อมือมีตะเข็บหลัง ๔ ตะเข็บ ที่แนวสาบอกมีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑.๕ เซนติเมตร ๓ ดุม สำหรับแบบเสื้อคอแหลม และ ๕ ดุม สำหรับแบบเสื้อคอป้าน มีกระเป๋าล่างข้างละ ๑ กระเป๋า เป็นกระเป๋าเจาะเฉียงเล็กน้อย ไม่มีใบปกกระเป๋า และให้ใช้เสื้อคอพับแขนยาวสีขาวผูกผ้าผูกคอสีดำเงื่อนกลาสี ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่คอแบะของเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้างเหนือแนวเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเบื้องซ้ายด้วย ข้อ ๑๘ เครื่องหมายแสดงสังกัด สำหรับเครื่องแบบปกติขาว ข้าราชการอัยการชาย ให้มีเครื่องหมายแสดงสังกัดเช่นเดียวกับเครื่องแบบปฏิบัติราชการติดที่ปกคอเสื้อตอนหน้าทั้งสองข้าง ข้าราชการอัยการหญิง ให้มีเครื่องหมายแสดงสังกัดเช่นเดียวกับข้าราชการอัยการชาย ติดที่คอแบะของเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้างเหนือแนวเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ข้อ ๑๙ อินทรธนู สำหรับเครื่องแบบปกติขาว ให้ใช้อินทรธนูแข็ง กว้าง ๔ เซนติเมตร ยาวตามความยาวของบ่า พื้นกำมะหยี่หรือสักหลาดสีดำติดทับเสื้อเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอ ด้านคอปลายมนติดดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็กอินทรธนูมีลาย ดังต่อไปนี้ (๑) ข้าราชการอัยการตั้งแต่ตำแหน่งอัยการประจำกองหรืออัยการจังหวัดผู้ช่วยขึ้นไป และอัยการอาวุโส ให้ใช้อินทรธนูมีลายปักดิ้นสีทองลายช่อชัยพฤกษ์ ๙ ช่อเต็มแผ่นอินทรธนู มีรูปพระไพศรพณ์ทำด้วยโลหะสีทองขนาดสูง ๓ เซนติเมตร ประทับอยู่บนอินทรธนูค่อนมาทางด้านไหล่ ตามแบบท้ายระเบียบแบบที่ ๔ (๒) ข้าราชการอัยการตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ให้ใช้อินทรธนูมีลายปักดิ้นสีทองลายดอกชัยพฤกษ์ จำนวน ๙ ดอกเต็มแผ่นอินทรธนู มีรูปพระไพศรพณ์ทำด้วยโลหะสีทองขนาดสูง ๓ เซนติเมตร ประทับอยู่บนอินทรธนูค่อนมาทางด้านไหล่ ตามแบบท้ายระเบียบแบบที่ ๕ ข้อ ๒๐ กางเกง กระโปรง สำหรับเครื่องแบบปกติขาว ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้กางเกงแบบราชการสีขาว ขายาว ไม่พับปลายขา ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้กระโปรงสีขาว ตีเกล็ดด้านหน้า ๒ เกล็ด และด้านหลัง ๒ เกล็ด ยาวปิดเข่า ปลายบานเล็กน้อย ใช้กับแบบเสื้อคอแหลม หรือกระโปรงสีขาวยาวปิดเข่า ปลายบานเล็กน้อยใช้กับแบบเสื้อคอป้าน ข้าราชการอัยการหญิงมุสลิม กระโปรงทั้งสองแบบดังกล่าว จะให้ยาวคลุมข้อเท้าก็ได้ ข้อ ๒๑ รองเท้า ถุงเท้า สำหรับเครื่องแบบปกติขาว ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้รองเท้าหุ้มส้นหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำชนิดผูก ถุงเท้าสีดำ ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้รองเท้าหุ้มส้นหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำ แบบปิดปลายเท้าไม่มีลวดลาย ส้นสูงไม่เกิน ๑๐ เซนติเมตร ถุงเท้ายาวสีเนื้อ ข้อ ๒๒ เครื่องแบบปกติกากีคอตั้ง ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบปกติขาว เว้นแต่สีของหมวก ผ้าพันหมวก หมอนสักหลาดสำหรับปักครุฑพ่าห์ เสื้อและกางเกงหรือกระโปรงเป็นสีประเภทสีกากี ข้อ ๒๓ เครื่องแบบครึ่งยศ ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบปกติขาว เว้นแต่กางเกงหรือกระโปรง ให้ใช้ผ้าสักหลาดหรือเสิร์จสีดำ ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ข้อ ๒๔ เครื่องแบบเต็มยศ ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบครึ่งยศ สวมสายสะพาย ข้อ ๒๕ เครื่องแบบสโมสร เครื่องแบบสโมสรสำหรับข้าราชการอัยการชาย มี ๓ แบบ คือ (๑) เครื่องแบบสโมสร ก. ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบเต็มยศ (๒) เครื่องแบบสโมสร ข. ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบสโมสร ก. เว้นแต่ เสื้อ ให้ใช้เสื้อสโมสรสีขาว ทำด้วยผ้าสักหลาดหรือเสิร์จเปิดอก ปาดเอว มีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็กติดที่ข้อมือข้างละ ๓ ดุม ที่ระหว่างอกกับเอวข้างละ ๓ ดุม และที่บรรจบเสื้อมีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดใหญ่ข้างละ ๑ ดุม ดุมคู่นี้มีสายสร้อยสีทองร้อยติดกัน ประกอบด้วยเสื้อกั๊กสีขาวดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ ๓ ดุม และเสื้อเชิ้ตสีขาว อกแข็ง ข้อมือแข็ง คอเชิ้ตชั้นเดียวแบบปีกผีเสื้อ ผูกผ้า ผูกคอสีดำเงื่อนหูกระต่าย เครื่องหมายแสดงสังกัด ให้ติดที่คอแบะของเสื้อตอนบนทั้งสองข้างเหนือแนวเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในฤดูร้อน ให้ใช้กางเกงสีขาวแทนกางเกงสีดำได้ (๓) เครื่องแบบสโมสร ค. ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบสโมสร ข. เว้นแต่เสื้อเชิ้ตอกแข็งให้ใช้เสื้อเชิ้ตอกอ่อนสีขาว และเสื้อกั๊กให้ใช้แพรแถบสีเดียวกับกางเกงรัดเอวแทน แพรแถบนี้ส่วนกลางด้านหน้ากว้าง ๑๒ เซนติเมตร ปลายทั้งสองข้างเรียวกว้าง ๑๑ เซนติเมตร ที่ปลายมีขอเกี่ยวติดกันในขณะคาดทางด้านหลัง ข้าราชการอัยการหญิง ให้แต่งตามสมัยนิยม ข้อ ๒๖ เครื่องแต่งกายปฏิบัติงานทั่วไป สำหรับการปฏิบัติราชการตามปกติของสำนักงานอัยการสูงสุด มี ๒ แบบ ดังนี้ (๑) เครื่องแต่งกายประจำสำนักงาน ประกอบด้วย (ก) เสื้อตัวนอก ข้าราชการอัยการให้ใช้เสื้อสูทสีสุภาพ (ข) เสื้อตัวใน ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้เสื้อเชิ้ตแขนยาวสีสุภาพ ผูกผ้าผูกคอเงื่อนกลาสี สีดำหรือสีอื่นที่สุภาพ ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้เสื้อสีสุภาพ (ค) เครื่องหมายแสดงสังกัด ข้าราชการอัยการจะติดเครื่องหมายแสดงสังกัดบริเวณอกเสื้อตัวนอกด้านซ้ายด้วยก็ได้ (ง) กางเกง กระโปรง ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้กางเกงขายาวสีดำหรือสีกรมท่าเข้มหรือสีสุภาพ ไม่พับปลายขาทรงสุภาพ คาดเข็มขัดแบบสุภาพ ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้กระโปรงทรงสอบหรือทรงตรง ความยาวระดับเข่า หรือกางเกงขายาวสีดำหรือสีกรมท่าเข้มหรือสีสุภาพ (จ) รองเท้า ถุงเท้า ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้รองเท้าหุ้มส้นหรือหุ้มข้อสีดำหรือสีสุภาพ ถุงเท้าสีเดียวกับรองเท้า ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้รองเท้าหุ้มส้นหรือรัดส้นสีดำหรือสีสุภาพ ส้นสูงหรือส้นเตี้ย ในกรณีปฏิบัติงานทั่วไป จะแต่งกายด้วยชุดสุภาพ ตามแบบที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนดก็ได้ (๒) เครื่องแต่งกายปฏิบัติงาน ประกอบด้วย (ก) เสื้อคลุม ให้ใช้ผ้าสีดำ กระเป๋าหน้าอกด้านซ้ายปักตราสัญลักษณ์สำนักงานอัยการสูงสุดขนาดสูง ๕.๕ เซนติเมตร และปักอักษรคำว่า “สำนักงานอัยการสูงสุด” ไว้ด้านล่าง ตามแบบท้ายระเบียบแบบที่ ๖ (ข) เสื้อตัวใน ให้ใช้เสื้อเชิ้ตแขนยาว เสื้อหรือชุดสีสุภาพ (ค) อินทรธนู ให้ใช้อินทรธนูอ่อนทำด้วยสักหลาดสีดำ เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้างประมาณ ๔ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๙.๕ เซนติเมตร ปักไหมทองหรือวัตถุเทียมไหมทองรูปพระไพศรพณ์ขนาดสูง ๒.๕ เซนติเมตร ค่อนมาทางด้านไหล่ ฐานของอินทรธนูปักไหมทองหรือวัตถุเทียมไหมทอง รูปช่อชัยพฤกษ์ ตามแบบท้ายระเบียบแบบที่ ๗ (ง) กางเกง กระโปรง ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้กางเกงขายาวสีดำหรือสีกรมท่าเข้มหรือสีสุภาพ ไม่พับปลายขาทรงสุภาพ คาดเข็มขัดแบบสุภาพ ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้กระโปรงทรงสอบหรือทรงตรง ความยาวระดับเข่า หรือกางเกงขายาวสีดำหรือสีกรมท่าเข้มหรือสีสุภาพ (จ) รองเท้า ถุงเท้า ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้รองเท้าหุ้มส้นหรือหุ้มข้อสีดำหรือสีสุภาพ ถุงเท้าสีเดียวกับรองเท้า ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้รองเท้าหุ้มส้นหรือรัดส้นสีดำหรือสีสุภาพ ส้นสูงหรือส้นเตี้ย การแต่งเครื่องแต่งกายปฏิบัติงานตาม (๒) ให้เป็นไปตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด ข้อ ๒๗ การแต่งเครื่องแบบข้าราชการที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เป็นไปตามหมายกำหนดการหรือประกาศของสำนักงานอัยการสูงสุด ข้อ ๒๘ หากข้าราชการอัยการประสงค์จะแต่งเครื่องแบบหรือเครื่องแต่งกายแตกต่างจากที่ระเบียบนี้กำหนดอันเนื่องมาจากความเชื่อทางศาสนา ขนบธรรมเนียมเฉพาะกลุ่ม หรือเหตุอื่นอันสมควรให้ยื่นคำขออนุญาตต่ออัยการสูงสุดเป็นรายกรณี การแต่งกายอื่นใดตามเทศกาลหรือตามที่หน่วยงานอื่นขอความร่วมมือ ให้แต่งได้โดยความเห็นชอบของอัยการจังหวัด อธิบดีอัยการภาค อธิบดีอัยการ หรืออัยการสูงสุด แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๙ การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แพรแถบย่อของเครื่องราชอิสริยาภรณ์และดุมเสื้อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในประเภท ตระกูล และชั้นตราใด ให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้น ข้อ ๓๐ ข้าราชการอัยการซึ่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้นในเวลาแต่งเครื่องแบบครึ่งยศโดยไม่สวมสายสะพาย ส่วนในเวลาแต่งเครื่องแบบเต็มยศ ให้สวมสายสะพายด้วย สำหรับเวลาแต่งเครื่องแบบสโมสร จะประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จำลองขนาดย่อมก็ได้และถ้าในหมายกำหนดการหรือบัตรเชิญทางราชการกำหนดให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้ประดับอย่างแต่งเครื่องแบบครึ่งยศ หรือถ้ากำหนดให้สวมสายสะพาย ให้สวมสายสะพายด้วย ข้อ ๓๑ ข้าราชการอัยการซึ่งสำเร็จการศึกษาหรือการฝึกอบรมจากสถาบันการศึกษาอบรมของทางราชการหรือที่ราชการรับรอง ให้ติดเข็มหรือเครื่องหมายแสดงวิทยฐานะของสถาบันการศึกษาอบรมนั้นตามระเบียบของสถาบันการศึกษาอบรมดังกล่าว ในกรณีที่ไม่มีระเบียบกำหนดไว้ ให้ติดที่กึ่งกลางกระเป๋าบนข้างขวาของเครื่องแบบข้าราชการอัยการ กรณีไม่มีกระเป๋าบนให้ติดที่กึ่งกลางใต้อกเบื้องขวา ถ้ามีเข็มหรือเครื่องหมายแสดงวิทยฐานะดังกล่าวมากกว่าหนึ่งเข็มหรือหนึ่งเครื่องหมายให้ประดับได้เพียงเข็มหรือเครื่องหมายเดียว การประดับเข็มหรือเครื่องหมายแสดงวิทยฐานะแบบย่อ ให้ประดับบนปกเสื้อชุดสากลด้านบนข้างซ้าย ข้อ ๓๒ ข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเครื่องหมายแสดงความสามารถพิเศษหรือเครื่องหมายเชิดชูเกียรติของทางราชการฝ่ายทหาร ฝ่ายตำรวจ หรือฝ่ายพลเรือน ซึ่งมีระเบียบหรือหลักเกณฑ์ให้ประดับกับเครื่องแบบได้ ให้ใช้เครื่องหมายดังกล่าวประดับกับเครื่องแบบข้าราชการอัยการได้ทุกชนิดการประดับให้เป็นไปตามระเบียบหรือหลักเกณฑ์ของราชการฝ่ายนั้น ข้อ ๓๓ ข้าราชการอัยการซึ่งมีเสมาอนุสรณ์มหาราช ให้ใช้ประกอบกับเครื่องแบบข้าราชการอัยการได้ทุกชนิด ดังนี้ (๑) เครื่องแบบปกติสีกากีคอพับ ให้ประดับเสมาอนุสรณ์มหาราชที่ดุมกระเป๋าเสื้อด้านซ้าย (๒) เครื่องแบบสีกากีคอแบะ และเครื่องแบบสโมสร ให้ประดับเสมาอนุสรณ์มหาราชที่ดุมเสื้อเม็ดที่หนึ่งตามแนวบรรจบเสื้อด้านบน (๓) เครื่องแบบปกติขาว เครื่องแบบปกติกากีคอตั้ง เครื่องแบบครึ่งยศ และเครื่องแบบเต็มยศให้ประดับเสมาอนุสรณ์มหาราชที่ดุมเสื้อเม็ดที่สองจากคอเสื้อตามแนวบรรจบเสื้อ ข้อ ๓๔[๒] อดีตข้าราชการอัยการ ให้ใช้เครื่องแบบเช่นเดียวกับข้าราชการอัยการ เว้นแต่ให้ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าข้างซ้าย และเครื่องหมายอักษร นก ทำด้วยโลหะโปร่งสีทองไม่มีขอบสูง ๒ เซนติเมตร ที่ปกคอเสื้อด้านหน้าข้างขวา ข้อ ๓๕ อดีตข้าราชการอัยการผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ ไม่มีสิทธิแต่งเครื่องแบบข้าราชการอัยการ (๑) เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือบุคคลเสมือนไร้ความสามารถ (๒) เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นจากคดี (๓) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก (๔) ประพฤติตนในทางที่อาจเป็นการเสื่อมเสียเกียรติของสำนักงานอัยการสูงสุดและอัยการสูงสุดสั่งให้ผู้นั้นงดแต่งเครื่องแบบสำหรับอดีตข้าราชการอัยการในระยะเวลาที่กำหนดหรือตลอดไป หมวด ๒ เครื่องแบบและการแต่งกายของข้าราชการธุรการ ข้อ ๓๖ ให้นำเครื่องแบบและการแต่งกายของข้าราชการอัยการในหมวด ๑ มาใช้บังคับกับข้าราชการธุรการโดยอนุโลม เว้นแต่อินทรธนูสำหรับข้าราชการธุรการให้ใช้ดังนี้ (๑) เครื่องแบบปฏิบัติราชการ (ก) ข้าราชการธุรการ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญและทรงคุณวุฒิ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับสูง และตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้นและระดับสูง ให้ใช้อินทรธนูอ่อนมีแถบสีเหลืองหรือสีทองขนาดกว้างแถบละ ๑ เซนติเมตร ติดทางต้นอินทรธนู แถบล่างประกอบเป็น ๓ แถบ ติดเรียงกันไปโดยไม่ต้องเว้นระยะห่าง และให้แถบบนขมวดเป็นวงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางวงใน ๑ เซนติเมตร การติดแถบให้ติดตามขวางที่ต้นอินทรธนูแถบแรกให้ห่างจากต้นอินทรธนู ๕ มิลลิเมตร และห่างจากแถบบนอีก ๕ มิลลิเมตร มีตราสัญลักษณ์สำนักงานอัยการสูงสุดทำด้วยโลหะสีทองสูง ๒.๕ เซนติเมตร ทับอยู่บนกึ่งกลางแถบล่าง ตามแบบท้ายระเบียบแบบที่ ๘ (ข) ข้าราชการธุรการ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการและระดับชำนาญการพิเศษ และตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้น ให้ใช้อินทรธนูอ่อนเช่นเดียวกับ (ก) (ค) ข้าราชการธุรการ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน และตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ให้ใช้อินทรธนูอ่อนมีแถบสีเหลืองหรือสีทองขนาดกว้างแถบละ ๑ เซนติเมตร ติดทางต้นอินทรธนู ๑ แถบ แถบกลางอีก ๑ แถบ และแถบบนขมวดเป็นวงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางวงใน ๑ เซนติเมตร การติดแถบให้ติดตามขวางที่ต้นอินทรธนู แถบแรกให้ห่างจากต้นอินทรธนู ๕ มิลลิเมตร (ง) ข้าราชการธุรการ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ให้ใช้อินทรธนูอ่อนมีแถบสีเหลืองหรือสีทองขนาดกว้างแถบละ ๑ เซนติเมตร ติดทางต้นอินทรธนู ๑ แถบ และแถบบนขมวดเป็นวงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางวงใน ๑ เซนติเมตร การติดแถบให้ติดตามขวางที่ต้นอินทรธนูแถบแรกให้ห่างจากต้นอินทรธนู ๕ มิลลิเมตร อินทรธนูของเครื่องแบบปฏิบัติราชการในประเภทตำแหน่งและระดับตามข้อ ๓๖ (๑) (ข) (ค) และ (ง) ให้มีตราสัญลักษณ์สำนักงานอัยการสูงสุดทำด้วยโลหะสีทองขนาดสูง ๒.๕ เซนติเมตร ทับอยู่บนพื้นอินทรธนูภายในขมวดวงกลม ฐานของตราสัญลักษณ์สำนักงานอัยการสูงสุดอยู่เหนือแถบล่าง ตามแบบท้ายระเบียบแบบที่ ๙ - ๑๑ (๒) เครื่องแบบพิธีการ ให้มีอินทรธนูแข็งกว้าง ๔ เซนติเมตร ยาวตามความยาวของบ่าพื้นสักหลาดสีดำ ติดทับเสื้อเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอ ด้านคอปลายมนติดดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็ก อินทรธนูมีลายดังนี้ (ก) ข้าราชการธุรการ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญและระดับทรงคุณวุฒิ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับสูง และตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้นและระดับสูง มีแถบสีทองกว้าง ๕ มิลลิเมตร เป็นขอบ และปักดิ้นสีทองลายช่อชัยพฤกษ์ยาวตลอดส่วนกลางของอินทรธนู และให้มีแถบสีทองกว้าง ๕ มิลลิเมตร ปิดที่ฐานด้านล่างของอินทรธนู (ข) ข้าราชการธุรการ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการและระดับชำนาญการพิเศษ และตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้น มีแถบสีทองกว้าง ๕ มิลลิเมตร เป็นขอบ และปักดิ้นสีทองลายช่อชัยพฤกษ์ยาวตลอดส่วนกลางของอินทรธนู (ค) ข้าราชการธุรการ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน และตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ มีแถบสีทองกว้าง ๑ เซนติเมตร เป็นขอบ และปักดิ้นสีทองลายช่อชัยพฤกษ์มีดอก ๓ ดอก เรียงตามส่วนยาวของอินทรธนู ไม่เกิน ๓ ใน ๔ ส่วนของอินทรธนู (ง) ข้าราชการธุรการ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน มีแถบสีทองกว้าง ๑ เซนติเมตร เป็นขอบ และปักดิ้นสีทองลายช่อชัยพฤกษ์มีดอก ๒ ดอก เรียงตามส่วนยาวของอินทรธนู ไม่เกินครึ่งหนึ่งของอินทรธนู อินทรธนูของเครื่องแบบพิธีการ ทุกประเภทตำแหน่งและทุกระดับ ให้มีตราสัญลักษณ์สำนักงานอัยการสูงสุดทำด้วยโลหะสีทองขนาดสูง ๓ เซนติเมตร ทับอยู่บนอินทรธนูค่อนมาทางด้านไหล่ตามแบบท้ายระเบียบแบบที่ ๑๒ - ๑๕ (๓) เครื่องแต่งกายปฏิบัติงานทั่วไป ประเภทเครื่องแต่งกายปฏิบัติงาน (ก) ข้าราชการธุรการ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญและระดับทรงคุณวุฒิ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับสูง และตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้นและระดับสูง ให้ใช้อินทรธนูอ่อนทำด้วยสักหลาดสีดำ เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้างประมาณ ๔ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๙.๕ เซนติเมตร ปักไหมทองหรือวัตถุเทียมไหมทองตราสัญลักษณ์สำนักงานอัยการสูงสุดขนาดสูง ๒.๕ เซนติเมตร ค่อนมาทางด้านไหล่ ฐานของอินทรธนูปักไหมทองหรือวัตถุเทียมไหมทองรูปช่อชัยพฤกษ์ ตามแบบท้ายระเบียบแบบที่ ๑๖ (ข) ข้าราชการธุรการในตำแหน่งและระดับอื่นนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ใน (ก) ให้ใช้อินทรธนูอ่อนทำด้วยสักหลาดสีดำ เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้างประมาณ ๔ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๙.๕ เซนติเมตร ปักไหมทองหรือวัตถุเทียมไหมทองตราสัญลักษณ์สำนักงานอัยการสูงสุดขนาดสูง ๒.๕ เซนติเมตร ค่อนมาทางด้านไหล่ ตามแบบท้ายระเบียบแบบที่ ๑๗ บทเฉพาะกาล ข้อ ๓๗ ให้เครื่องแบบและการแต่งกายตามพระราชกฤษฎีกาเครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง พ.ศ. ๒๕๒๔ ยังคงใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะปฏิบัติตามระเบียบนี้ได้ซึ่งต้องไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ [เอกสารแนบท้าย] ๑. เครื่องหมายแสดงสังกัด ๒. อินทรธนูเครื่องแบบปฏิบัติราชการข้าราชการอัยการ ๓. อินทรธนูเครื่องแบบพิธีการข้าราชการอัยการ ๔. เครื่องแต่งกายปฏิบัติงานข้าราชการอัยการ ๕. อินทรธนูเครื่องแบบปฏิบัติราชการข้าราชการธุรการ ๖. อินทรธนูเครื่องแบบพิธีการข้าราชการธุรการ ๗. อินทรธนูเครื่องแต่งกายปฏิบัติงานข้าราชการธุรการ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเครื่องแบบและการแต่งกายของข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙[๓] ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ มีนาคม ๒๕๕๖ ชาญ/ผู้ตรวจ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๖ วิศนี/เพิ่มเติม ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๙ ปริญสินีย์/ตรวจ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๑๙ ก/หน้า ๑๔/๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ [๒] ข้อ ๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเครื่องแบบและการแต่งกายของข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๙๙ ก/หน้า ๓๔/๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
703509
ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินรางวัลตอบแทนพิเศษเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเงินรางวัลตอบแทนพิเศษเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินรางวัลตอบแทนพิเศษเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๕ ให้เหมาะสม อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา ๓๐ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินรางวัลตอบแทนพิเศษเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (๔) และ (๕) ของข้อ ๖ แห่งระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินรางวัลตอบแทนพิเศษเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน (๔) อัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๑ ภาค ๙ อัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๒ ภาค ๙ อัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่งภาค ๙ อัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายภาค ๙ อัยการพิเศษฝ่ายคดีแรงงานภาค ๙ อัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองสงขลา เป็นคณะทำงาน (๕) อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา ๑ ภาค ๙ เป็นคณะทำงานและเลขานุการ ข้อ ๔ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินรางวัลตอบแทนพิเศษเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ท้ายระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินรางวัลตอบแทนพิเศษเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๕ และให้ใช้บัญชีอัตราเงินรางวัลตอบแทนพิเศษเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ท้ายระเบียบนี้แทน ข้อ ๕ การใดที่ คปส. ตามระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินรางวัลตอบแทนพิเศษเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๕ ได้ดำเนินการไปก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับเป็นอันใช้ได้ ข้อ ๖ ให้ คปส. ตามระเบียบนี้ ประเมินผลการปฏิบัติงานตามระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินรางวัลตอบแทนพิเศษเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๕ ดังต่อไปนี้ (๑) ประเมินผลการปฏิบัติงานของสำนักงานอัยการตามประกาศสำนักงานอัยการสูงสุด เรื่อง กำหนดสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ และประกาศสำนักงานอัยการสูงสุด เรื่อง กำหนดสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ ฉบับที่ ๒ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๗ (๒) ประเมินผลการปฏิบัติงานของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา ๒ ภาค ๙ ในรอบการประเมิน ระหว่างวันที่ ๑ ตุลาคม ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ข้อ ๗ ให้บัญชีอัตราเงินรางวัลตอบแทนพิเศษเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ ตามข้อ ๔ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ อรรถพล ใหญ่สว่าง อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราเงินรางวัลตอบแทนพิเศษเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๗ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๙ เมษายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๓๒ ก/หน้า ๑๗/๑๗ มีนาคม ๒๕๕๗
824822
ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยการเข้าชื่อ การลงมติ และการถอดถอนประธาน ก.อ.หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. 2561
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยการเข้าชื่อ การลงมติ และการถอดถอนประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการมีเจตนารมณ์ให้มีการถอดถอนผู้ใดที่มีพฤติการณ์ไม่เหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิที่ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คุณธรรม และจริยธรรม หรือกระทำการใด ๆ อันมีลักษณะเป็นการหาเสียงเพื่อให้ข้าราชการอัยการลงคะแนนหรืองดเว้นลงคะแนน จึงสมควรให้มีระเบียบว่าด้วยการเข้าชื่อ การลงมติ และการถอดถอนประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕/๑ วรรคหก แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ คณะกรรมการอัยการ จึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยการเข้าชื่อ การลงมติและการถอดถอนประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. ๒๕๖๑” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ” หมายความว่า กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) และ (๕) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ “ผู้มีสิทธิลงคะแนนถอดถอน” หมายความว่า ข้าราชการอัยการทั้งหมด เว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย “บัตรลงคะแนน” หมายความว่า บัตรลงคะแนนถอดถอนประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ “คณะกรรมการดำเนินการลงมติ” หมายความว่า คณะกรรมการดำเนินการลงมติเพื่อถอดถอนประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ “สกอ.” หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการอัยการ ข้อ ๔ เมื่อปรากฏว่าประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ใดมีพฤติการณ์ไม่เหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คุณธรรมและจริยธรรม หรือกระทำการใด ๆ อันมีลักษณะเป็นการหาเสียงเพื่อให้ข้าราชการอัยการลงคะแนนหรืองดเว้นลงคะแนน ข้าราชการอัยการไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนข้าราชการอัยการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ในขณะนั้น เว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย เข้าชื่อขอให้ถอดถอนประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิผู้นั้นต่ออัยการสูงสุดเพื่อจัดให้มีการลงมติถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ ข้อ ๕ คำร้องขอให้มีการลงมติถอดถอนประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ ๔ ต้องมีรายละเอียด ดังนี้ (๑) รายชื่อ ตำแหน่ง หน่วยงานภายในที่รับราชการ และลายมือชื่อของผู้เข้าชื่อทุกคน พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐที่รับรองความถูกต้อง (๒) รายละเอียดของข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ตามข้อ ๔ ที่แสดงให้เห็นว่าประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ประสงค์จะให้ลงมติถอดถอนนั้นไม่สมควรดำรงตำแหน่งต่อไป (๓) รายชื่อผู้แทนของผู้เข้าชื่อขอให้ถอดถอนตามข้อ ๔ จำนวน ๓ คน ที่จะมีอำนาจดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับการจัดให้มีการเข้าชื่อและลงมติเพื่อถอดถอนประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ข้อ ๖ เมื่ออัยการสูงสุดได้รับคำร้องตามข้อ ๕ แล้ว ให้ สกอ. ตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสารดังกล่าว ถ้าเห็นว่าครบถ้วนแล้วให้อัยการสูงสุดจัดให้มีการปิดประกาศคำร้องและรายชื่อผู้เข้าชื่อดังกล่าวไว้ ณ ที่ทำการของสำนักงานอัยการทั่วประเทศ และลงในเว็บไซต์ของสำนักงานอัยการสูงสุด ในกรณีที่ผู้ใดมีชื่อเป็นผู้เข้าชื่อดังกล่าวตามประกาศในวรรคหนึ่งโดยมิได้ร่วมเข้าชื่อด้วยหรือประสงค์จะถอนการเข้าชื่อในภายหลัง ให้ผู้นั้นมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านหรือขอถอนการเข้าชื่อต่ออัยการสูงสุด หรือบุคคลที่อัยการสูงสุดแต่งตั้ง เพื่อให้ขีดฆ่าชื่อตนเองออกจากบัญชีรายชื่อผู้เข้าชื่อดังกล่าวได้ภายในยี่สิบวันนับแต่วันประกาศตามวรรคหนึ่ง เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาคัดค้านตามวรรคสองแล้ว ให้ถือว่ารายชื่อของผู้เข้าชื่อที่ไม่มีการคัดค้านเป็นรายชื่อที่ถูกต้อง และถ้ามีจำนวนไม่ครบตามข้อ ๔ ให้อัยการสูงสุดแจ้งให้ผู้แทนของผู้เข้าชื่อตามข้อ ๕ (๓) ทราบ ถ้ามิได้ดำเนินการจัดให้มีการเข้าชื่อเพิ่มเติมให้ครบตามข้อ ๔ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งดังกล่าว ให้อัยการสูงสุดจำหน่ายเรื่อง เมื่อมีการเข้าชื่อโดยถูกต้องตามวรรคสองและวรรคสาม และครบตามจำนวนในข้อ ๔ แล้ว ให้ถือว่าการเข้าชื่อนั้นมีผลสมบูรณ์ แม้ในภายหลังจะมีผู้เข้าชื่อบางคนขอถอนการเข้าชื่อจนทำให้จำนวนผู้เข้าชื่อที่เหลืออยู่ไม่ครบหนึ่งในห้าของจำนวนข้าราชการอัยการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ในขณะนั้น เว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ข้อ ๗ เมื่อคำร้องครบถ้วนและพ้นกำหนดเวลาคัดค้านตามข้อ ๖ แล้ว ไม่มีการคัดค้านถือว่ามีการเข้าชื่อครบถ้วนตามมาตรา ๒๕/๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ แล้ว ให้อัยการสูงสุดดำเนินการจัดส่งคำร้องไปให้ประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ถูกร้องขอให้ถอดถอนภายในเจ็ดวัน เพื่อให้ประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นั้นมีโอกาสจัดทำคำชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อแก้ข้อกล่าวหาตามคำร้องยื่นต่ออัยการสูงสุดภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำร้องจากอัยการสูงสุด เมื่ออัยการสูงสุดได้รับคำชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อแก้ข้อกล่าวหาของประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ตามวรรคหนึ่งแล้ว หรือเมื่อครบกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้แจ้งคำร้องให้ทราบตามวรรคหนึ่ง ให้อัยการสูงสุดจัดให้มีการปิดประกาศคำชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อแก้ข้อกล่าวหาของประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒินั้น หรือประกาศว่าไม่มีการยื่นคำชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อแก้ข้อกล่าวหาภายในระยะเวลาที่กำหนด แล้วแต่กรณี ณ ที่ทำการของสำนักงานอัยการสูงสุดทั่วประเทศและลงในเว็บไซต์ของสำนักงานอัยการสูงสุด แล้วดำเนินการโดยเร็วเพื่อจัดให้มีการลงมติเพื่อถอดถอนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่อัยการสูงสุดประกาศให้มีการลงคะแนนถอดถอน ข้อ ๘ ให้ สกอ. จัดส่งรายชื่อประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ถูกร้องขอให้ถอดถอนตามข้อ ๗ ไปยังผู้มีสิทธิลงคะแนนถอดถอน พร้อมด้วยบัตรลงคะแนน และกำหนดวันที่จะต้องส่งบัตรลงคะแนนให้ถึง สกอ. รวมตลอดถึงกำหนดวัน เวลา และสถานที่ที่จะทำการตรวจนับคะแนนการถอดถอนประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิไว้ด้วย ก่อนกำหนดวันสุดท้ายที่จะต้องส่งบัตรลงคะแนนให้ถึง สกอ. เจ็ดวัน ถ้าผู้มีสิทธิลงคะแนนถอดถอนประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิผู้ใดยังไม่ได้รับบัตรลงคะแนนให้ผู้นั้นแจ้ง สกอ. ทราบ เพื่อดำเนินการให้ตนมีโอกาสใช้สิทธิลงคะแนนถอดถอนภายในกำหนดวันที่จะต้องส่งบัตรลงคะแนนให้ถึง สกอ. ข้อ ๙ ให้อัยการสูงสุดแต่งตั้งข้าราชการอัยการไม่น้อยกว่าสามคนเป็นคณะกรรมการควบคุมการส่งบัตรลงคะแนน เพื่อดำเนินการตรวจสอบบัตรลงคะแนนดังกล่าวให้ถูกต้องก่อนที่จะจัดส่งไปยังผู้มีสิทธิลงคะแนนถอดถอน บัตรลงคะแนนให้เป็นไปตามแบบท้ายระเบียบนี้ และบัตรทุกบัตรต้องมีลายมือชื่อของกรรมการควบคุมการส่งบัตรจำนวนสามคนกำกับเป็นหลักฐาน การส่งบัตรลงคะแนนให้ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังผู้มีสิทธิลงคะแนนถอดถอนก่อนถึงกำหนดวันสุดท้ายที่จะส่งบัตรลงคะแนนดังกล่าวไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน ข้อ ๑๐ ในการลงคะแนนถอดถอนประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิให้ผู้มีสิทธิลงคะแนนถอดถอนออกเสียงลงคะแนนโดยวิธีลับ โดยให้กรอกรายชื่อผู้ซึ่งตนลงคะแนนถอดถอนและทำเครื่องหมายลงคะแนนด้วยลายมือของตนเองลงในบัตรลงคะแนนด้วยตัวบรรจง ทั้งนี้ ห้ามลงลายมือชื่อและตำแหน่งของตน แล้วใส่ซองปิดผนึกส่งไปยัง สกอ. ถ้าจะส่งทางไปรษณีย์ให้ส่งโดยลงทะเบียนให้ถึง สกอ. ภายในวันที่กำหนดตามข้อ ๘ วรรคหนึ่ง ข้อ ๑๑ ให้อัยการสูงสุดแต่งตั้งข้าราชการอัยการไม่น้อยกว่าสามคนเป็นคณะกรรมการรับบัตรลงคะแนน เพื่อดำเนินการตรวจรับ รวบรวม และเก็บรักษาบัตรลงคะแนนที่ส่งมายัง สกอ. เพื่อส่งมอบให้คณะกรรมการดำเนินการลงมติ ในวันตรวจนับคะแนน ข้อ ๑๒ ให้มีคณะกรรมการดำเนินการลงมติเพื่อถอดถอนประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิคณะหนึ่ง มีจำนวนไม่เกินเจ็ดคน ประกอบด้วยรองอัยการสูงสุดและผู้ตรวจการอัยการตามลำดับอาวุโส ซึ่งมิได้เป็นกรรมการอัยการ เป็นกรรมการ โดยให้ผู้มีลำดับอาวุโสสูงสุดเป็นประธานและให้อธิบดีอัยการ สกอ. เป็นเลขานุการ ข้อ ๑๓ คณะกรรมการดำเนินการลงมติมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) รักษาความสงบเรียบร้อยในสถานที่ตรวจนับคะแนน (๒) ตรวจสอบบัตรลงคะแนน และการอื่นใดอันเกี่ยวกับการถอดถอนประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้การนับคะแนนถอดถอนประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย บริสุทธิ์และยุติธรรม (๓) ดำเนินการเกี่ยวกับการลงคะแนนถอดถอนประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตรวจนับคะแนนและประกาศผลการตรวจนับคะแนน ข้อ ๑๔ ในการตรวจนับคะแนน ให้คณะกรรมการดำเนินการลงมติดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) เปิดซองบัตรลงคะแนนและวินิจฉัยว่าบัตรลงคะแนนนั้นเป็นบัตรดีหรือบัตรเสียแล้วดำเนินการนับคะแนนสำหรับบัตรดี (๒) กรณีบัตรเสีย ให้สลักหลังว่า “เสีย” แล้วให้คณะกรรมการดำเนินการลงมติไม่น้อยกว่าสามคนลงลายมือชื่อกำกับไว้ (๓) เมื่อการตรวจนับคะแนนสิ้นสุดลงแล้ว ให้เก็บบัตรลงคะแนนโดยแยกบรรจุซองบัตรดีและบัตรเสียแล้วปิดผนึกซองพร้อมลงลายมือชื่อคณะกรรมการดำเนินการลงมติไม่น้อยกว่าสามคนกำกับไว้ที่ผนึกซอง และเก็บบัตรลงคะแนนทั้งหมดไว้ในหีบโดยปิดหีบใส่กุญแจไว้ เพื่อส่งมอบให้คณะกรรมการรับบัตรลงคะแนนถอดถอนประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ดำเนินการต่อไปตามข้อ ๑๙ การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้กระทำในวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนดในข้อ ๘ วรรคหนึ่ง โดยเปิดเผยให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้าร่วมสังเกตการณ์ได้ และให้แล้วเสร็จในคราวเดียวกัน ข้อ ๑๕ เพื่อประโยชน์ในการตรวจนับคะแนน คณะกรรมการดำเนินการลงมติ อาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนคณะหนึ่ง ประกอบด้วยกรรมการดำเนินการลงมติเพื่อถอดถอนประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิคนหนึ่ง เป็นประธาน และข้าราชการอัยการซึ่งต้องไม่เป็นบุคคลเดียวกับกรรมการตามข้อ ๙ วรรคหนึ่ง และข้อ ๑๑ ไม่น้อยกว่าสี่คนเป็นอนุกรรมการ ในกรณีที่ประธานอนุกรรมการตามวรรคหนึ่งไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนเลือกอนุกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธาน ในการปฏิบัติหน้าที่ต้องมีอนุกรรมการอยู่พร้อมกันไม่น้อยกว่าสามคน ข้อ ๑๖ บัตรลงคะแนนต่อไปนี้ ให้ถือเป็นบัตรเสียและไม่ให้นับคะแนน (๑) บัตรที่มิใช่บัตรที่ สกอ. ส่งไป หรือไม่มีลายมือชื่อของกรรมการควบคุมการส่งบัตรลงคะแนนจำนวนสามคนกำกับเป็นหลักฐาน (๒) บัตรที่มิได้ทำเครื่องหมายลงคะแนน หรือทำเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์อื่นนอกจากที่กำหนดในบัตรลงคะแนน (๓) บัตรที่ผู้ลงคะแนนมิได้กรอกรายชื่อผู้ซึ่งตนลงคะแนนถอดถอนและทำเครื่องหมายให้ถอดถอนหรือไม่ให้ถอดถอนด้วยลายมือของตนเอง (๔) บัตรที่กรอกรายชื่อผู้ซึ่งตนลงคะแนนถอดถอนและทำเครื่องหมายให้ถอดถอนหรือไม่ให้ถอดถอนเลอะเลือนหรือไม่ชัดเจนจนไม่สามารถทราบเจตนาอันแท้จริงของผู้ลงคะแนน (๕) บัตรที่ส่งถึง สกอ. พ้นกำหนดวันที่ สกอ. กำหนดตามข้อ ๘ วรรคหนึ่ง ข้อ ๑๗ มติที่ให้ถอดถอนประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิผู้ใดออกจากตำแหน่งให้ถือเอาคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิลงคะแนนถอดถอนเท่าที่มีอยู่ในขณะนั้นในวันที่นับคะแนนเสร็จสิ้น และให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่มีมติให้ถอดถอน มติตามวรรคหนึ่งให้เป็นที่สุด และจะมีการขอให้ถอดถอนผู้นั้นโดยเหตุเดียวกันอีกไม่ได้ ข้อ ๑๘ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการลงมติทราบผลการลงมติเพื่อถอดถอนประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ให้ประธานกรรมการดำเนินการลงมติ ประกาศผลการลงมติโดยเปิดเผย ณ สถานที่ที่ทำการตรวจนับคะแนน แล้วปิดประกาศไว้ ณ สถานที่นั้นด้วย และรีบรายงานผลการลงมติพร้อมทั้งส่งประกาศผลการลงมติไปยังอัยการสูงสุดภายในวันนั้นหรือวันถัดจากวันทราบผลนั้นเป็นอย่างช้า เมื่ออัยการสูงสุดได้รับรายงานผลการลงมติตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ดำเนินการประกาศผลการลงมติเพื่อถอดถอนประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ และรายงานผลการลงมติดังกล่าวต่อคณะกรรมการอัยการเพื่อทราบต่อไป ข้อ ๑๙ ให้คณะกรรมการ ตามข้อ ๑๑ ดำเนินการเก็บรักษาบัตรลงคะแนนไว้ไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่อัยการสูงสุดประกาศผลการลงมติเพื่อถอดถอนประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ข้อ ๒๐ ให้อัยการสูงสุดแต่งตั้งข้าราชการอัยการไม่น้อยกว่าสามคนเป็นคณะกรรมการทำลายบัตรลงคะแนนเพื่อดำเนินการทำลายบัตรลงคะแนน เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาการเก็บรักษาบัตรตามข้อ ๑๙ ข้อ ๒๑ คณะกรรมการอัยการมีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ข้อ ๒๒ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามระเบียบนี้ ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อช่วยดำเนินการตามระเบียบนี้ได้ บรรดาระเบียบ ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เข็มชัย ชุติวงศ์ อัยการสูงสุด ปฏิบัติหน้าที่ ประธานคณะกรรมการอัยการ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัตรลงคะแนนถอดถอนประธาน ก.อ. ๒. บัตรลงคะแนนถอดถอนกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พิไลภรณ์/ผู้จัดทำ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๓ ก/หน้า ๑๐/๔ มกราคม ๒๕๖๒
783475
ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินรางวัลตอบแทนพิเศษเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเงินรางวัลตอบแทนพิเศษเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเงินรางวัลตอบแทนพิเศษ เพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๕ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๐ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินรางวัลตอบแทนพิเศษ เพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๖ ของระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินรางวัลตอบแทนพิเศษเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินรางวัลตอบแทนพิเศษเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๖ ให้มีคณะทำงานประเมินการบริหารราชการแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ เรียกโดยย่อว่า “คปส.” ประกอบด้วย (๑) ผู้ตรวจการอัยการที่ได้รับมอบหมายให้ตรวจราชการในสำนักงานอัยการภาค ๙ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน (๒) อธิบดีอัยการภาค ๙ เป็นรองหัวหน้าคณะทำงาน (๓) อธิบดีอัยการสำนักงานคดีศาลสูงภาค ๙ อธิบดีอัยการสำนักงานคดีแรงงานภาค ๙ อธิบดีอัยการสำนักงานคดีปกครองสงขลา อธิบดีอัยการสำนักงานคดีปราบปรามการทุจริตภาค ๙ เป็นคณะทำงาน (๔) อัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๑ ภาค ๙ อัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลสูง ๒ ภาค ๙ อัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่งภาค ๙ อัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายภาค ๙ อัยการพิเศษฝ่ายคดีแรงงานภาค ๙ เป็นคณะทำงาน (๕) อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา ภาค ๙ ที่มิได้ปฏิบัติงานในสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ เป็นคณะทำงาน (๖) ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการภาค ๙ เป็นคณะทำงาน ให้หัวหน้าคณะทำงานแต่งตั้งอัยการพิเศษฝ่ายตาม (๕) คนหนึ่งเป็นเลขานุการและอีกไม่เกินหนึ่งคน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ และแต่งตั้งผู้อำนวยการตาม (๖) เป็นผู้ช่วยเลขานุการและข้าราชการธุรการ ในสำนักอำนวยการภาค ๙ อีกคนหนึ่งเป็นคณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ” ข้อ ๔ ในระหว่างที่ยังมิได้แต่งตั้งเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการตามข้อ 6 วรรคสองของระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเงินรางวัลตอบแทนพิเศษเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบนี้ ให้อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา ๑ ภาค ๙ และผู้อำนวยการสำนักอำนวยการภาค ๙ ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ร้อยตำรวจตรี พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ ปวันวิทย์/อัญชลี/จัดทำ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๘๑ ก/หน้า ๔๔/๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๐
736100
ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. 2558
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๐ วรรคสาม มาตรา ๕๑ วรรคสี่ และมาตรา ๕๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการ จึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๔ (๒) ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ (๓) ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗ (๔) ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๔ (๕) ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ (๖) ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗ ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “ก.อ.” หมายความว่า คณะกรรมการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ “คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้ ที่ ก.อ. แต่งตั้งขึ้นเพื่อทำการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้ผู้สมัคร “ผู้สมัคร” หมายความว่า ผู้สมัครสอบคัดเลือกและผู้สมัครทดสอบความรู้ตามความในมาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๑ ซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ข้อ ๕ ให้ ก.อ. มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ข้อ ๖ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่ง หลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ บรรดาระเบียบ ข้อกำหนด ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งอื่นใด ซึ่งขัดหรือแย้งระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๗ เมื่อสมควรจะมีการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้เมื่อใด ให้สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ ก.อ. เพื่อมีมติให้จัดให้มีการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้ โดยให้ ก.อ. กำหนดวัน เวลารับสมัครและแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้ขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานอนุกรรมการ รองประธานอนุกรรมการ และอนุกรรมการ ตามจำนวนที่จำเป็น ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงคุณสมบัติ ความรู้ความสามารถหรือประสบการณ์เกี่ยวกับการสอบของผู้ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งเป็นส่วนสำคัญ ในการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้ตามวรรคหนึ่ง ก.อ. อาจกำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุก็ได้ ข้อ ๘ เพื่อประโยชน์แห่งราชการสำนักงานอัยการสูงสุด ก.อ. อาจกำหนดให้มีการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้แต่ละคราวมีเพียงการสอบคัดเลือกของผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ หรือมีการทดสอบความรู้ของผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) หรือ (ซ) ข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ และการทดสอบความรู้ของผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ก) (ข) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ หรือมีทั้งการสอบคัดเลือกและการทดสอบความรู้ ข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อในคราวเดียวกันก็ได้ ในกรณีที่ ก.อ. กำหนดให้มีการสอบคัดเลือกของผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ กับการทดสอบความรู้ของผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) หรือ (ซ) และผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ก) (ข) ในคราวเดียวกัน ให้ประธานอนุกรรมการจัดให้มีการสอบผู้สมัครทุกประเภทในวันเดียวกัน โดยมีข้อสอบสำหรับผู้สมัครแต่ละประเภทแยกต่างหากจากกันตามหลักเกณฑ์และวิธีการออกข้อสอบที่กำหนดในระเบียบนี้ ในกรณีที่ผู้สมัครมีคุณสมบัติในการสมัครสอบประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทให้ผู้สมัครแสดงความจำนงว่าจะสมัครสอบคัดเลือกหรือทดสอบความรู้ประเภทใดในวันยื่นใบสมัคร ข้อ ๙ ในกรณีที่ระเบียบนี้มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น คณะอนุกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลคณะบุคคล ออกประกาศ หรือกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้ตามที่เห็นสมควร ข้อ ๑๐ ให้ผู้สมัครยื่นใบสมัครสอบต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับสมัคร ซึ่งได้กำหนดไว้ในประกาศสอบด้วยตนเองหรือด้วยวิธีการอื่นที่ ก.อ. กำหนด หมวด ๒ การสอบคัดเลือก ข้อ ๑๑ การสอบคัดเลือกของผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ ให้มีทั้งการสอบข้อเขียนและการสอบปากเปล่า วิชาที่สอบคัดเลือก คือ กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายพยานหลักฐาน กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง หรือกฎหมายว่าด้วยศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวหรือกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค กฎหมายล้มละลายหรือกฎหมายภาษีอากรหรือกฎหมายแรงงาน กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาหรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ และภาษาอังกฤษ ข้อ ๑๒ การสอบข้อเขียนมี ๓ วัน คือ (๑) วันที่หนึ่ง วิชากฎหมายอาญา จำนวน ๖ ข้อ และกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๔ ข้อ จำนวนข้อสอบรวม ๑๐ ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง ๑๐ นาที คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน (๒) วันที่สอง วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำนวน ๖ ข้อ และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จำนวน ๔ ข้อ จำนวนข้อสอบรวม ๑๐ ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง ๑๐ นาที คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน (๓) วันที่สาม วิชากฎหมายพยานหลักฐาน จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายรัฐธรรมนูญ จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายปกครอง จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงหรือกฎหมายว่าด้วยศาลเยาวชน และครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวหรือกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายล้มละลายหรือกฎหมายภาษีอากรหรือกฎหมายแรงงาน จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาหรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ จำนวน ๑ ข้อ จำนวนข้อสอบรวม ๘ ข้อ เวลา ๓ ชั่วโมง ๒๐ นาที คะแนนเต็ม ๘๐ คะแนน และวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน ๒ ข้อ เวลา ๑ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน วิชาภาษาอังกฤษตามวรรคหนึ่ง (๓) ให้ออกข้อสอบ ๒ ข้อ โดยให้ออกข้อสอบข้อที่หนึ่งเป็นคำถามที่ให้แปลข้อความภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และข้อที่สองเป็นคำถามที่ให้แปลข้อความภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ หมวด ๓ การทดสอบความรู้ ส่วนที่ ๑ คุณวุฒิ ข้อ ๑๓ ผู้สมัครทดสอบความรู้ตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ก) (ข) หรือ (ง) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ต้องได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายต่อไปนี้จากต่างประเทศหรือในการศึกษาปริญญาโททางกฎหมายในประเทศไทย แล้วแต่กรณีด้วย คือ (๑) กฎหมายอาญา (๒) กฎหมายแพ่ง ลักษณะสัญญาและลักษณะละเมิด (๓) กฎหมายพยานหลักฐาน หรือกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือกฎหมายล้มละลาย และ (๔) กฎหมายแพ่งลักษณะอื่นและกฎหมายพิเศษ ดังนี้ (ก) กฎหมายแพ่งลักษณะอื่น ซึ่งเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๓ วิชา หรือ (ข) กฎหมายแพ่งลักษณะอื่น ซึ่งเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๑ วิชา กับกฎหมายพิเศษดังต่อไปนี้ จำนวน ๒ วิชา ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายมหาชน นิติปรัชญา กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารกระบวนการยุติธรรม กฎหมายพาณิชย์นาวี กฎหมายทะเล กฎหมายอากาศ กฎหมายอวกาศ กฎหมายโทรคมนาคม กฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎหมายทรัพยากรธรรมชาติ กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีระหว่างประเทศ กฎหมายเครื่องหมายการค้า กฎหมายสิทธิบัตร กฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายเด็กและเยาวชน นิติเวชศาสตร์ อาชญาวิทยา กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางธุรกิจ กฎหมายแรงงาน กฎหมายภาษีอากร กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายอาญาระหว่างประเทศ การขัดกันแห่งกฎหมาย กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการ กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ กฎหมายธุรกิจ กฎหมายว่าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายเกี่ยวกับการลงทุน กฎหมายเกี่ยวกับการเงินการธนาคาร กฎหมายหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายป้องกันการผูกขาดหรือการแข่งขันทางการค้า กฎหมายการเกษตรและกฎหมายพลังงาน ผู้สมัครที่ได้ศึกษาและสอบไล่ได้ตามหลักสูตรการศึกษากฎหมายดังต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องศึกษาวิชากฎหมายตามวรรคหนึ่ง (๑) ผู้สมัครที่ได้ศึกษาและสอบไล่ได้ตามหลักสูตรการศึกษากฎหมายที่จัดไว้เป็นหลักสูตรเฉพาะด้านในวิชากฎหมายเด็กและเยาวชน กฎหมายแรงงาน กฎหมายสิทธิมนุษยชน กฎหมายภาษีอากร กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศ กฎหมายการเงินการธนาคาร กฎหมายพาณิชย์นาวี กฎหมายล้มละลาย กฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค และกฎหมายระหว่างประเทศ (๒) ผู้สมัครที่ได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายที่อยู่ในกลุ่มวิชากฎหมายกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งตามวรรคสอง (๑) ไม่น้อยกว่า ๔ วิชา และได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งอีกไม่น้อยกว่า ๒ วิชา โดยในจำนวนนี้อย่างน้อย ๑ วิชา ต้องเป็นวิชาตาม (๑) หรือ (๓) หรือกฎหมายแพ่ง ซึ่งพอเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้นั้นไปศึกษาวิชากฎหมายจากต่างประเทศด้วยทุนรัฐบาลทุนของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางกฎหมาย ข้อ ๑๔ เพื่อประโยชน์ในการคำนวณจำนวนวิชาที่กำหนดในข้อ ๑๓ วรรคหนึ่ง (๔) และวรรคสอง (๒) ถ้าผู้สมัครคนใดได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายในระบบการจัดการศึกษาที่กำหนดให้มีการเรียนการสอนวิชากฎหมายนั้นตลอดปีการศึกษาและมีการวัดผลเมื่อสิ้นปีการศึกษาให้ถือว่าผู้นั้นได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายตามที่กำหนดไว้ในข้อดังกล่าว ๒ วิชา ข้อ ๑๕ ผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ง) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ต้องสอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย โดยมีหลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่าสองปี หรือหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่าสองปี หรือสอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศซึ่ง ก.พ. รับรองโดยมีหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่าสองปี ส่วนที่ ๒ การทดสอบความรู้ ของผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) หรือ (ซ) ข้อ ๑๖ การทดสอบความรู้ของผู้สมัครให้มีทั้งการสอบข้อเขียนและการสอบปากเปล่า วิชาที่ทดสอบ คือ กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายพยานหลักฐาน กฎหมายรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายปกครอง กฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงหรือกฎหมายว่าด้วยศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว หรือกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค กฎหมายล้มละลายหรือกฎหมายภาษีอากรหรือกฎหมายแรงงานหรือกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาหรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ และภาษาอังกฤษ ข้อ ๑๗ การสอบข้อเขียนมี ๓ วันคือ (๑) วันที่หนึ่ง วิชากฎหมายอาญา จำนวน ๓ ข้อ และกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๒ ข้อ จำนวนข้อสอบรวม ๕ ข้อ เวลา ๒ ชั่วโมง ๕ นาที คะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน (๒) วันที่สอง วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำนวน ๓ ข้อ และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จำนวน ๒ ข้อ จำนวนข้อสอบรวม ๕ ข้อ เวลา ๒ ชั่วโมง ๕ นาที คะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน (๓) วันที่สาม วิชากฎหมายพยานหลักฐาน จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายปกครอง จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงหรือกฎหมายว่าด้วยศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวหรือกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายล้มละลายหรือกฎหมายภาษีอากรหรือกฎหมายแรงงานหรือกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาหรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ จำนวน ๑ ข้อ จำนวนข้อสอบ รวม ๕ ข้อ เวลา ๒ ชั่วโมง ๕ นาที คะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน และวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน ๒ ข้อ เวลา ๑ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๒๐ คะแนน ข้อ ๑๘ ในกรณีที่ ก.อ. กำหนดให้มีการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้ในคราวเดียวกันตามข้อ ๘ ให้เลือกข้อสอบของผู้สมัครสอบคัดเลือกในหมวด ๒ ยกเว้นวิชาภาษาอังกฤษ เป็นข้อสอบของผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) หรือ (ซ) และออกข้อสอบดังนี้ (๑) วิชากฎหมายอาญา จำนวน ๒ ข้อ และให้ออกข้อสอบเพิ่มอีก ๑ ข้อ เป็นคำถามเกี่ยวกับแนวคิดทางกฎหมาย หลักกฎหมาย หรือปัญหาเชิงทฤษฎีให้ผู้สมัครแสดงทักษะในการให้เหตุผลและวิเคราะห์ (๒) วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๒ ข้อ (๓) วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำนวน ๓ ข้อ และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จำนวน ๒ ข้อ (๔) วิชากฎหมายพยานหลักฐาน จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายรัฐธรรมนูญ จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายปกครอง จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายว่าด้วยศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายล้มละลาย จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายภาษีอากร จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายแรงงาน จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ จำนวน ๑ ข้อ (๕) วิชาภาษาอังกฤษให้ออกข้อสอบ ๒ ข้อ โดยให้ออกข้อสอบข้อที่หนึ่งเป็นคำถามที่ให้แปลข้อความภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ และข้อที่สองเป็นคำถามภาษาอังกฤษที่ทดสอบความเข้าใจในการอ่านบทความกฎหมายภาษาอังกฤษ ข้อ ๑๙ ในกรณีที่ผู้สมัครเป็นผู้ไปศึกษาต่างประเทศด้วยทุนรัฐบาลตามความต้องการของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือทุนของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางกฎหมายจากต่างประเทศที่ ก.อ. รับรอง ให้ประธานอนุกรรมการจัดให้มีการทดสอบความรู้โดยการสอบปากเปล่าตามข้อ ๓๒ ส่วนที่ ๓ การทดสอบความรู้ ของผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ก) หรือ (ข) ข้อ ๒๐ การทดสอบความรู้ของผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ก) หรือ (ข) ให้มีทั้งการสอบข้อเขียนและการสอบปากเปล่า วิชาที่ทดสอบ คือ กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายพยานหลักฐาน กฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการและภาษาอังกฤษ ข้อ ๒๑ การสอบข้อเขียนมี ๓ วัน คือ (๑) วันที่หนึ่ง วิชากฎหมายอาญา จำนวน ๓ ข้อ และกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๒ ข้อ จำนวนข้อสอบรวม ๕ ข้อ เวลา ๒ ชั่วโมง ๕ นาที คะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน (๒) วันที่สอง วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำนวน ๒ ข้อ และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จำนวน ๒ ข้อ จำนวนข้อสอบรวม ๔ ข้อ เวลา ๑ ชั่วโมง ๔๐ นาที คะแนนเต็ม ๔๐ คะแนน (๓) วันที่สาม วิชากฎหมายพยานหลักฐาน จำนวน ๑ ข้อ และกฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ จำนวน ๑ ข้อ จำนวนข้อสอบรวม ๒ ข้อ เวลา ๕๐ นาที คะแนนเต็ม ๒๐ คะแนนและวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน ๓ ข้อ เวลา ๓ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๖๐ คะแนน ในการออกข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษตามวรรคหนึ่ง (๓) ประธานอนุกรรมการอาจกำหนดให้ออกข้อสอบเป็นภาษาต่างประเทศอื่นแทนวิชาภาษาอังกฤษให้ผู้สมัครเลือกตอบก็ได้ ข้อ ๒๒ ในกรณีที่ ก.อ. กำหนดให้มีการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้ในคราวเดียวกันตามข้อ ๘ ให้เลือกข้อสอบของผู้สมัครสอบคัดเลือกในหมวด ๒ ยกเว้นวิชาภาษาอังกฤษเป็นข้อสอบของผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ก) หรือ (ข) และออกข้อสอบ ดังนี้ (๑) วิชากฎหมายอาญา จำนวน ๒ ข้อ และให้ออกข้อสอบเพิ่มอีก ๑ ข้อ เป็นคำถามเกี่ยวกับแนวคิดทางกฎหมาย หลักกฎหมาย หรือปัญหาเชิงทฤษฎีให้ผู้สมัครแสดงทักษะในการให้เหตุผลและวิเคราะห์ (๒) วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๒ ข้อ (๓) วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง วิชาละ ๒ ข้อ (๔) วิชากฎหมายพยานหลักฐาน จำนวน ๑ ข้อ (๕) วิชากฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ จำนวน ๑ ข้อ (๖) วิชาภาษาอังกฤษให้ออกข้อสอบ ๓ ข้อ โดยให้ออกข้อสอบข้อที่หนึ่งเป็นคำถามที่ให้แปลข้อความภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ข้อที่สองเป็นคำถามภาษาอังกฤษที่ทดสอบความเข้าใจในการอ่านบทความกฎหมายภาษาอังกฤษ และข้อที่สามเป็นคำถามที่ให้ผู้สมัครอธิบายหรือวินิจฉัยปัญหากฎหมายเป็นภาษาอังกฤษ ข้อ ๒๓ ในกรณีที่ผู้สมัครเป็นผู้ไปศึกษาต่างประเทศด้วยทุนรัฐบาลตามความต้องการของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือทุนของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางกฎหมายจากต่างประเทศที่ ก.อ. รับรอง ให้ประธานอนุกรรมการจัดให้มีการทดสอบความรู้โดยการสอบปากเปล่าตามข้อ ๓๒ หมวด ๔ การสอบข้อเขียน การตรวจคำตอบ การสอบปากเปล่า เกณฑ์ในการบรรจุ และอัตราส่วนในการบรรจุ ข้อ ๒๔ ให้ประธานอนุกรรมการกำหนดวัน เวลา และสถานที่สอบข้อเขียนแล้วประกาศให้ทราบล่วงหน้าก่อนวันเริ่มสอบอย่างน้อย ๑๕ วัน การออกข้อสอบให้เป็นไปตามที่ประธานอนุกรรมการจะได้กำหนด ข้อ ๒๕ ผู้สมัครต้องปฏิบัติตามข้อบังคับการสอบข้อเขียนท้ายระเบียบนี้โดยเคร่งครัดและให้ประธานอนุกรรมการรับผิดชอบในการจัดทำรหัสสมุดคำตอบของผู้สมัครทุกคนแยกตามวันที่สอบโดยไม่ให้รหัสซ้ำกันแล้วเก็บรักษารหัสดังกล่าวไว้ด้วยตนเอง ข้อ ๒๖ ประธานอนุกรรมการอาจจัดตัวบทกฎหมายที่ไม่มีข้อความอื่นใดไว้ให้ผู้สมัครใช้ประกอบการสอบวิชาใดในห้องสอบก็ได้ ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ผู้สมัครทำข้อสอบในวิชาที่ให้เลือกตอบเกินกว่าที่กำหนด ให้ถือข้อที่ได้คะแนนน้อยที่สุดเป็นข้อที่กำหนดให้ทำ ข้อ ๒๘ ในการตรวจคำตอบแต่ละข้อ ให้องค์คณะซึ่งประกอบด้วยผู้ตรวจคำตอบอย่างน้อยสองคนตรวจ แล้วให้คะแนนคำตอบตามหลักเกณฑ์การตรวจและการให้คะแนนที่กำหนดท้ายระเบียบนี้และให้ผู้สมัครได้คะแนนคำตอบตามค่าเฉลี่ยที่คำนวณจากคะแนนที่ผู้ตรวจคำตอบแต่ละคนกำหนดให้ ในกรณีที่ผู้ตรวจคำตอบสองคนให้คะแนนในข้อนั้น ๆ ต่างกันตั้งแต่สี่คะแนนขึ้นไป ให้ประธานอนุกรรมการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ตรวจและให้คะแนนใหม่ และให้ถือเป็นที่สุด ข้อ ๒๙ ผู้สมัครต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ของคะแนนสอบข้อเขียนทั้งหมด เว้นแต่ในกรณี ก.อ. กำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุไว้ตามข้อ ๗ วรรคสอง ผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงซึ่งได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ เรียงตามลำดับเมื่อรวมกันแล้วไม่เกินจำนวนที่ ก.อ. กำหนดจึงจะได้รับการประกาศให้ทราบ เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมกลั่นกรองอีกครั้ง เมื่อดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมกลั่นกรองตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ประธานอนุกรรมการกำหนดวัน เวลา และสถานที่สอบปากเปล่า แล้วประกาศรายชื่อผู้ไม่ขาดคุณสมบัติจากการตรวจคุณสมบัติเพิ่มเติมกลั่นกรองเพื่อเข้าสอบปากเปล่า ให้ทราบล่วงหน้าก่อนวันสอบปากเปล่าอย่างน้อย ๗ วัน ข้อ ๓๐ ในกรณี ก.อ. กำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุไว้ตามข้อ ๗ วรรคสอง ถ้าผู้สอบข้อเขียนผ่านที่ได้ลำดับสุดท้ายมีหลายคน ซึ่งหากจะบรรจุทุกคนจะทำให้เกินจำนวนที่ ก.อ. กำหนดให้จัดลำดับผู้ที่สอบผ่านในกลุ่มนี้ ดังนี้ (๑) ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายอาญาอยู่ในลำดับก่อน (๒) หากคะแนนในวิชากฎหมายอาญาเท่ากัน ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอยู่ในลำดับก่อน (๓) ในกรณีตาม (๒) หากคะแนนในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเท่ากัน ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์อยู่ในลำดับก่อน (๔) ในกรณีตาม (๓) หากคะแนนในวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่ากัน ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอยู่ในลำดับก่อน (๕) ในกรณีตาม (๔) หากคะแนนในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเท่ากัน ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการอยู่ในลำดับก่อน ให้ใช้วิธีการดังกล่าวจัดลำดับผู้สอบผ่านให้ได้จำนวนเท่ากับที่ ก.อ. กำหนด หรือในกรณีหากเทียบคะแนนจนถึงรายวิชาสุดท้ายแล้วยังมีผู้ที่ได้คะแนนเท่ากันเมื่อรวมกันแล้วเกินจำนวนที่ ก.อ. กำหนดให้ผู้สอบผ่านที่ยังคงมีคะแนนเท่ากันดังกล่าวทุกคนได้รับการประกาศให้ทราบ เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมกลั่นกรองอีกครั้ง ข้อ ๓๑ การสอบปากเปล่าให้กระทำโดยวิธีถามผู้สมัครเรียงตัว ในลักษณะวิชาตามข้อ ๑๑ ข้อ ๑๖ หรือข้อ ๒๐ แล้วแต่กรณี การประเมินผลการสอบปากเปล่า ให้ประเมินผลว่าสอบได้หรือสอบตกเท่านั้น ผู้สมัครที่ผ่านการสอบปากเปล่าในเกณฑ์สอบได้ จึงจะถือว่าเป็นผู้สอบคัดเลือกหรือทดสอบความรู้ได้ ข้อ ๓๒ ในกรณีที่ ก.อ. มีมติให้จัดให้มีการทดสอบความรู้เฉพาะผู้สมัครที่ไปศึกษาต่างประเทศด้วยทุนรัฐบาลตามความต้องการของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือทุนของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางกฎหมายจากต่างประเทศที่ ก.อ. รับรอง ตามข้อ ๑๙ และข้อ ๒๓ ให้ผู้สมัครไปรับการตรวจร่างกายและจิตใจจากคณะกรรมการแพทย์ซึ่ง ก.อ. กำหนดตามความในมาตรา ๔๙ ก. (๖) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ เมื่อคณะกรรมการแพทย์ได้ตรวจร่างกายและจิตใจผู้สมัครแล้ว ให้คณะอนุกรรมการดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติตามวิธีการที่กำหนดไว้ในระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติ เมื่อคณะอนุกรรมการเห็นว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน ให้คณะอนุกรรมการทำการทดสอบความรู้โดยการสอบปากเปล่าตามที่ประธานอนุกรรมการทดสอบความรู้เห็นสมควร โดยมีคะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน และต้องได้คะแนนสอบปากเปล่าไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ จึงจะอยู่ในเกณฑ์จะได้รับการบรรจุเมื่อคณะอนุกรรมการได้ดำเนินการแล้ว ให้รายงานเสนอความเห็นไปยัง ก.อ. เพื่อพิจารณา ข้อ ๓๓ การบรรจุผู้ทดสอบความรู้ได้ตามมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยนั้น ให้บรรจุได้ในอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ไม่เกินหนึ่งต่อสี่ แต่ถ้าขณะใดไม่มีผู้สอบคัดเลือกได้อยู่แล้วก็ให้บรรจุได้โดยไม่มีอัตราส่วน ภายใต้บังคับวรรคหนึ่ง การบรรจุข้าราชการอัยการตามมาตรา ๕๑ (๒) (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) หรือ (ซ) ซึ่งมีคุณวุฒิต่างกัน ให้บรรจุได้ในอัตราส่วนของผู้ทดสอบความรู้ได้และจะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยแต่ละคุณวุฒิตามที่ ก.อ. กำหนด ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ ก.อ. มีมติให้จัดให้มีการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้ในคราวเดียวกัน ข้อ ๓๔ ในกรณีที่ ก.อ. เห็นชอบให้มีการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้ในคราวเดียวกันให้บรรจุผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ ผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) หรือ (ซ) และผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ก) หรือ (ข) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ตามลำดับ ข้อ ๓๕ ความในข้อ ๓๓ และข้อ ๓๔ มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ ก.อ. มีมติให้จัดให้มีการทดสอบความรู้ตามข้อ ๓๒ ข้อ ๓๖ เมื่อได้มีการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้เสร็จแล้ว ก.อ. จะประกาศรายชื่อผู้สอบคัดเลือกและทดสอบความรู้ได้และจะได้รับการบรรจุเรียงตามประเภทของการสอบและลำดับคะแนนไว้ ณ สำนักงานอัยการสูงสุด โดย ก.อ. อาจเรียกบรรจุผู้สอบคัดเลือกหรือผู้ทดสอบความรู้ได้ดังกล่าวไม่พร้อมกันก็ได้ ตามที่ ก.อ. เห็นสมควร ในกรณี ก.อ. กำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุไว้ตามข้อ ๗ วรรคสอง ถ้ามีผู้สอบคัดเลือกหรือผู้ทดสอบความรู้ได้เกินจำนวนที่ ก.อ. กำหนด ให้เสนอ ก.อ. เป็นผู้พิจารณารับบรรจุบุคคลดังกล่าวในเวลาที่ ก.อ. เห็นสมควร ข้อ ๓๗ ในกรณี ก.อ. กำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุไว้ตามข้อ ๗ วรรคสองแต่มีผู้เข้ารับการบรรจุไม่ครบจำนวนเนื่องจากมีผู้ไม่มารายงานตัวเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติ มีผู้ขาดคุณสมบัติจากการตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมกลั่นกรอง หรือผู้มีสิทธิเข้าสอบปากเปล่าไม่เข้าสอบปากเปล่าหรือสอบปากเปล่าตก หรือผู้สอบคัดเลือกหรือผู้ทดสอบความรู้ได้ไม่รายงานตัวเพื่อเข้ารับการบรรจุให้ประธานอนุกรรมการเสนอ ก.อ. เพื่อทราบถึงจำนวนที่อาจบรรจุได้อีก ในการนี้ ก.อ. อาจพิจารณาให้ประธานอนุกรรมการประกาศผู้สอบข้อเขียนผ่านที่ได้คะแนนสูงซึ่งได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ในลำดับถัดลงไปให้ทราบเพื่อดำเนินการตามข้อ ๒๙ และตามหลักเกณฑ์ข้อ ๓๐ โดยให้นำความในข้อ ๓๑ มาใช้บังคับ เพื่อให้ได้บุคคลที่จะได้รับการบรรจุตามจำนวนที่ ก.อ. กำหนดไว้ เมื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้นำความในข้อ ๓๖ มาใช้โดยอนุโลม บทเฉพาะกาล ข้อ ๓๘ การดำเนินการเกี่ยวกับการสอบคัดเลือกหรือทดสอบความรู้ในขั้นตอนใดซึ่งได้กระทำไปแล้วก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการในขั้นตอนต่อไปให้ปฏิบัติตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ตระกูล วินิจนัยภาค อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ [เอกสารแนบท้าย] ๑. หลักเกณฑ์การตรวจและการให้คะแนนในการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ๒. ข้อบังคับการสอบข้อเขียนสำหรับการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๘ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๙๔ ก/หน้า ๙/๓๐ กันยายน ๒๕๕๘
707738
ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2557
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือก เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๔ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๐ วรรคสาม และมาตรา ๕๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๖ ของระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๖ ให้ผู้สมัครยื่นใบสมัครสอบคัดเลือกต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับสมัคร ซึ่งได้กำหนดไว้ในประกาศสอบคัดเลือก ด้วยตนเองหรือด้วยวิธีการอื่นที่ ก.อ. กำหนด” ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ อรรถพล ใหญ่สว่าง อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๗ นุสรา/ผู้ตรวจ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๕๑ ก/หน้า ๑๔/๕ มิถุนายน ๒๕๕๗
707736
ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. 2557
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๗” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๕ (๒) ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “ก.อ.” หมายความว่า คณะกรรมการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ “ผู้สมัคร” หมายความว่า ผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ “คณะกรรมการแพทย์” หมายความว่า คณะกรรมการแพทย์ซึ่ง ก.อ. กำหนดตามความในมาตรา ๔๙ ก. (๖) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ข้อ ๕ ให้ผู้สมัครยื่นใบสมัครต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับสมัครซึ่งได้กำหนดไว้ในประกาศสอบคัดเลือก ประกาศทดสอบความรู้ หรือประกาศคัดเลือกพิเศษ ด้วยตนเองหรือด้วยวิธีการอื่นที่ ก.อ. กำหนด ทั้งนี้ ผู้สมัครที่ผ่านการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบคัดเลือก ทดสอบความรู้ หรือเข้ารับการคัดเลือกพิเศษจะมีสิทธิได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยก็ต่อเมื่อได้ผ่านการดำเนินการตามข้อ ๖ ถึงข้อ ๙ ของระเบียบนี้แล้ว ผู้สมัครที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นข้าราชการตุลาการ จ่าศาล รองจ่าศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดี พนักงานคุมประพฤติของศาลยุติธรรม หรือนายทหารเหล่าพระธรรมนูญ ให้ใช้หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๖ ให้ ก.อ. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัคร โดยให้มีอำนาจกำหนดวิธีการเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัคร ข้อ ๗ ให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครดำเนินการ ดังนี้ (๑) ก่อนประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบข้อเขียน ให้เรียกผู้สมัครมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมตามที่เห็นสมควรเพื่อประกอบการพิจารณา (๒) ภายหลังประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียน (ก) ให้ผู้ผ่านการสอบข้อเขียนยื่นแบบรายการประวัติและเอกสารหลักฐานตามที่ได้กำหนดไว้ในประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียน (ข) ส่งบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการสอบข้อเขียนไปยังหน่วยงานต่าง ๆ เช่น เนติบัณฑิตยสภาและสภาทนายความ เพื่อตรวจสอบถึงความเป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา และตรวจสอบว่าเป็นหรือเคยเป็นทนายความหรือเคยถูกกล่าวหาว่าประพฤติผิดมรรยาททนายความตามกฎหมายว่าด้วยทนายความหรือไม่ (ค) ส่งบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการสอบข้อเขียนที่ประกอบวิชาชีพอื่นไปยังหน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพที่ผู้ผ่านการสอบข้อเขียนเป็นหรือเคยเป็นสมาชิกเพื่อตรวจสอบว่าเป็นหรือเคยเป็นสมาชิก หรือเคยถูกกล่าวหาว่าประพฤติผิดจริยธรรม หรือมีข้อร้องเรียนในการประกอบวิชาชีพดังกล่าวหรือไม่ (ง) สอบถามคุณสมบัติของผู้ผ่านการสอบข้อเขียนไปยังผู้รับรอง ผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลอื่นใด ตามที่เห็นสมควร หรือส่งรายชื่อผู้ผ่านการสอบข้อเขียนไปยังหน่วยงานต้นสังกัดที่ผู้สมัครทำงานหรือรับราชการอยู่เพื่อตรวจสอบว่าเคยถูกกล่าวหาว่าประพฤติผิดวินัย หรือมีข้อร้องเรียนในการทำงานหรือรับราชการหรือไม่ ตามที่เห็นสมควร (จ) ตรวจสอบประวัติบุคคลไปยังหน่วยงานภายนอกที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา เช่น สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรมบังคับคดี กรมคุมประพฤติ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ฉ) ตรวจสอบความประพฤติและลายพิมพ์นิ้วมือไปยังกองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานวิทยาการตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ช) ประกาศบัญชีรายชื่อผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนสำหรับการสอบคัดเลือก หรือการทดสอบความรู้ และประกาศบัญชีรายชื่อผู้ที่ผ่านการประเมินความรู้ความสามารถและประสบการณ์สำหรับการคัดเลือกพิเศษ ตามวิธีการที่คณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครกำหนดเพื่อให้บุคคลทั่วไปให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับคุณสมบัติหรือความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งข้าราชการอัยการของผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนหรือการประเมินดังกล่าว โดยให้มีหนังสือถึงอธิบดีอัยการ สำนักงานคณะกรรมการอัยการภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ประกาศเป็นต้นไป เพื่อเสนอคณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครและคณะบุคคลกลั่นกรองคุณสมบัติผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียน ทั้งนี้ ขอให้ผู้ที่ประสงค์จะให้ข้อคิดเห็นระบุชื่อ นามสกุล และที่อยู่จริงที่สามารถติดต่อได้ (ซ) ให้ผู้ผ่านการสอบข้อเขียนไปรับการตรวจร่างกายและจิตใจจากคณะกรรมการแพทย์ตามวัน เวลาและสถานที่ที่สำนักงานคณะกรรมการอัยการกำหนด และผู้สมัครต้องชำระเงินค่าตรวจร่างกายและจิตใจด้วย ให้ประธานอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครแต่งตั้งคณะบุคคลกลั่นกรองคุณสมบัติผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนหรือการประเมินทำหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมเพื่อกลั่นกรองคุณสมบัติของผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนหรือการประเมินอีกครั้งก่อนประกาศวันสอบปากเปล่า ข้อ ๘ ให้คณะกรรมการแพทย์จัดทำเกณฑ์ทางการแพทย์ที่จะใช้ในการตรวจร่างกายและจิตใจเพื่อให้ ก.อ. ให้ความเห็นชอบ เกณฑ์ทางการแพทย์ดังกล่าวอย่างน้อยต้องประกอบด้วยวิธีการที่จะใช้ในการทดสอบและลักษณะทางระบบจิตประสาทที่จะตรวจและประเมินความเหมาะสม คณะกรรมการแพทย์จะตรวจร่างกายและจิตใจของผู้ผ่านการสอบข้อเขียนเพื่อให้ได้บุคคลที่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการอัยการ ดังนี้ (๑) ตรวจร่างกายทั่วไป (๒) ตรวจทางห้องปฏิบัติการ ประกอบด้วย การตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด และเอ็กซเรย์เพื่อตรวจโรคทั่วไป และโรคตามที่ระบุไว้ในประกาศของ ก.อ. (๓) ตรวจสภาพจิตใจ ข้อ ๙ เมื่อได้รับข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัคร และรายงานผลการตรวจร่างกายและจิตใจของคณะกรรมการแพทย์แล้ว ให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครพิจารณาแล้วเสนอความเห็นไปยัง ก.อ. ก่อนบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ หากพบว่าผู้สมัครคนใดไม่มีสิทธิได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ ให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครพิจารณาและเสนอความเห็นไปยัง ก.อ. ข้อ ๑๐ การดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครซึ่งได้กระทำไปแล้วในขั้นตอนใดก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการในขั้นตอนต่อไปให้ปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๗ ตามคำสั่งคณะกรรมการอัยการที่ ๒๐/๒๕๕๖ เป็นคณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๑ ให้ ก.อ. มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๒ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามระเบียบนี้ บรรดาระเบียบ ข้อกำหนด ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ อรรถพล ใหญ่สว่าง อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ [เอกสารแนบท้าย] หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการ จ่าศาล รองจ่าศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดี พนักงานคุมประพฤติของศาลยุติธรรม หรือนายทหารเหล่าพระธรรมนูญ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๗ นุสรา/ผู้ตรวจ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๕๑ ก/หน้า ๑๐/๕ มิถุนายน ๒๕๕๗
712151
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการอัยการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗[๑] โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการอัยการ เพื่อให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจและอัตราค่าครองชีพในปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๐ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ข้าราชการอัยการซึ่งรับเงินเดือนในชั้นเงินเดือนชั้น ๓ ชั้น ๔ ชั้น ๕ ชั้น ๖ ชั้น ๗ และชั้น ๘ ได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวเป็นรายเดือนตามบัญชีอัตราเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๔ ให้อัยการอาวุโสได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวเป็นรายเดือนในอัตราเท่ากับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวของข้าราชการอัยการตามชั้นและขั้นเงินเดือนซึ่งได้รับอยู่เดิมก่อนการดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส ข้อ ๕ การให้เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามระเบียบนี้เป็นการให้ชั่วคราว หากมีการปรับโครงสร้างเงินเดือนของข้าราชการอัยการ คณะกรรมการอัยการอาจแก้ไขหรือยกเลิกเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวเพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างเงินเดือนของข้าราชการอัยการที่ปรับใหม่ได้ ข้อ ๖ วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงิน และการอื่นที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการเงิน ข้อ ๗ คณะกรรมการอัยการมีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ข้อ ๘ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ตระกูล วินิจนัยภาค อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๖๖ ก/หน้า ๑/๑๑ กันยายน ๒๕๕๗
763034
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเครื่องแบบและการแต่งกายของข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเครื่องแบบและการแต่งกายของข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเครื่องแบบและการแต่งกายของข้าราชการฝ่ายอัยการให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเครื่องแบบและการแต่งกายของข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓๔ ของระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเครื่องแบบและการแต่งกายของข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๓๔ อดีตข้าราชการอัยการ ให้ใช้เครื่องแบบเช่นเดียวกับข้าราชการอัยการ เว้นแต่ให้ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าข้างซ้าย และเครื่องหมายอักษร นก ทำด้วยโลหะโปร่งสีทองไม่มีขอบสูง ๒ เซนติเมตร ที่ปกคอเสื้อด้านหน้าข้างขวา” ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ร้อยตำรวจตรี พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร อัยการสูงสุด วิศนี/ปริยานุช/จัดทำ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๙๙ ก/หน้า ๓๔/๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
845994
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๐ วรรคสาม มาตรา ๕๑ วรรคสี่ และมาตรา ๕๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการ จึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๓ แห่งระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกและทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๓ ผู้สมัครทดสอบความรู้ตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ก) (ข) หรือ (ง) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ต้องได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายต่อไปนี้จากต่างประเทศหรือในการศึกษาปริญญาโททางกฎหมายในประเทศไทย แล้วแต่กรณี ด้วย คือ (๑) กฎหมายอาญา ซึ่งพอเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายอาญา (๒) กฎหมายแพ่ง ซึ่งพอเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ รวม ๔ วิชา หรือกฎหมายแพ่ง ซึ่งพอเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๒ วิชา และกฎหมายพิเศษตามที่ระบุท้ายระเบียบนี้ จำนวน ๒ วิชา และ (๓) กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน หรือกฎหมายล้มละลาย หรือกฎหมายวิธีพิจารณาความ เช่น กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ผู้สมัครที่ได้ศึกษาและสอบไล่ได้ตามหลักสูตรการศึกษากฎหมายดังต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องศึกษาวิชากฎหมายตามวรรคหนึ่ง (๑) ผู้สมัครที่ได้ศึกษาและสอบไล่ได้ตามหลักสูตรการศึกษากฎหมายที่จัดไว้เป็นหลักสูตรเฉพาะด้านในวิชากฎหมายเด็กและเยาวชน กฎหมายแรงงาน กฎหมายสิทธิมนุษยชน กฎหมายภาษีอากร กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศ กฎหมายการเงินการธนาคาร กฎหมายพาณิชย์นาวี กฎหมายล้มละลาย กฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายว่าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายเทคโนโลยีทางการเงิน กฎหมายการแข่งขันทางการค้า กฎหมายการคลัง กฎหมายเศรษฐกิจ กฎหมายหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายการค้าและการลงทุน กฎหมายพลังงาน กฎหมายความรับผิดของผู้ประกอบวิชาชีพ และกฎหมายกระบวนการยุติธรรมทางอาญา (๒) ผู้สมัครที่ได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายที่อยู่ในกลุ่มวิชากฎหมายกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งตามวรรคสอง (๑) ไม่น้อยกว่า ๔ วิชา และได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งอีกไม่น้อยกว่า ๒ วิชา โดยในจำนวนนี้อย่างน้อย ๑ วิชา ต้องเป็นวิชาตาม (๑) หรือ (๓) หรือกฎหมายแพ่ง ซึ่งพอเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้นั้นไปศึกษาวิชากฎหมายจากต่างประเทศด้วยทุนรัฐบาล ทุนของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางกฎหมาย” ข้อ ๔ การดำเนินการเกี่ยวกับการทดสอบความรู้ในขั้นตอนใดซึ่งได้กระทำไปแล้วก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการในขั้นตอนต่อไปให้ปฏิบัติตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ อรรถพล ใหญ่สว่าง ประธานคณะกรรมการอัยการ พัชรภรณ์/จัดทำ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ วิชพงษ์/ตรวจ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๑๑๖ ก/หน้า ๑๖/๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๒
824817
ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ และการห้ามหาเสียงในการเลือกประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. 2561 และระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยการเข้าชื่อ การลงมติ และการถอดถอนประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. 2561 พ.ศ. 256
ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการเลือกประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ และการห้ามหาเสียง ในการเลือกประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. ๒๕๖๑ และระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยการเข้าชื่อ การลงมติ และการถอดถอนประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. ๒๕๖๑ พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๘ (๓) พ.ศ. ๒๕๕๔ เพื่อให้สอดคล้องและครอบคลุมกับการแก้ไขเพิ่มเติมการเลือกประธาน ก.อ. กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ และการลงมติถอดถอนประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง (๓) และวรรคสาม และมาตรา ๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกอบมาตรา ๒๑ และมาตรา ๒๕/๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ อัยการสูงสุดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอัยการ จึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ และการห้ามหาเสียงในการเลือกประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. ๒๕๖๑ และระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยการเข้าชื่อ การลงมติ และการถอดถอนประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. ๒๕๖๑ พ.ศ. ๒๕๖๑” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๘ (๓) พ.ศ. ๒๕๕๔ ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “คณะกรรมการควบคุมการส่งบัตรลงคะแนน” หมายความว่า คณะกรรมการควบคุมการส่งบัตรลงคะแนนตามระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ และการห้ามหาเสียงในการเลือกประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการ ผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้อ ๑๒ และระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยการเข้าชื่อ การลงมติและการถอดถอนประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้อ ๙ “คณะกรรมการตรวจนับคะแนน” หมายความว่า คณะกรรมการตรวจนับคะแนนตามระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิและการห้ามหาเสียงในการเลือกประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้อ ๑๕ “คณะกรรมการดำเนินการลงมติ” หมายความว่า คณะกรรมการดำเนินการลงมติเพื่อถอดถอนประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ตามระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยการเข้าชื่อการลงมติ และการถอดถอนประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้อ ๑๒ “คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนน” หมายความว่า คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนที่คณะกรรมการดำเนินการลงมติแต่งตั้งตามระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยการเข้าชื่อ การลงมติและการถอดถอนประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้อ ๑๕ “คณะทำงาน” หมายความว่า คณะทำงานซึ่งอัยการสูงสุดแต่งตั้งขึ้นเพื่อช่วยคณะกรรมการควบคุมการส่งบัตรลงคะแนน คณะกรรมการตรวจนับคะแนน และคณะกรรมการดำเนินการลงมติ ข้อ ๕ ในการดำเนินการเลือกหรือการลงมติถอดถอนประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เบิกค่าใช้จ่ายสำหรับคณะกรรมการควบคุมการส่งบัตรลงคะแนน คณะกรรมการตรวจนับคะแนน คณะกรรมการดำเนินการลงมติ คณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนน และคณะทำงานเป็นค่าอาหาร ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ดังนี้ (๑) ค่าอาหาร ให้เบิกได้ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน ๖๐๐ บาทต่อคนต่อวัน (๒) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ให้เบิกได้ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน ๑๐๐ บาทต่อคนต่อวัน ในกรณีที่มีผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์ซึ่งได้รับเชิญจากคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้เบิกค่าอาหาร ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มตามที่จ่ายจริงได้ตาม (๑) และ (๒) ค่าใช้จ่ายตามข้อนี้ ให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จำเป็น ตามความเหมาะสม ประหยัด และเพื่อประโยชน์ของทางราชการ ข้อ ๖ อัยการสูงสุดเป็นผู้มีอานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ข้อ ๗ อัยการสูงสุดรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่ง หลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เข็มชัย ชุติวงศ์ อัยการสูงสุด พิไลภรณ์/ผู้จัดทำ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๓ ก/หน้า ๑/๔ มกราคม ๒๕๖๒
787172
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินสมรรถภาพข้าราชการอัยการในปีงบประมาณซึ่งจะมีอายุครบหกสิบห้าปี พ.ศ. 2560
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินสมรรถภาพข้าราชการอัยการ ในปีงบประมาณซึ่งจะมีอายุครบหกสิบห้าปี พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่การประเมินสมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการอัยการในปีงบประมาณซึ่งจะมีอายุครบหกสิบห้าปีเป็นมาตรการสำคัญในการตรวจสอบและดูแลให้ข้าราชการอัยการดังกล่าวอยู่ในสถานะที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นหลักประกันว่าข้าราชการอัยการผู้นั้นสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยสมบูรณ์ไม่แตกต่างจากข้าราชการอัยการทั่วไป ทั้งนี้ ในการประเมินจึงต้องมีการทดสอบสมรรถภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ และพิจารณาผลการประเมินการปฏิบัติราชการประจำปีด้วย จึงเป็นการสมควรให้มีระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินสมรรถภาพข้าราชการอัยการในปีงบประมาณซึ่งจะมีอายุครบหกสิบห้าปี อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ คณะกรรมการอัยการ จึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินสมรรถภาพข้าราชการอัยการในปีงบประมาณซึ่งจะมีอายุครบหกสิบห้าปี พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยคุณสมบัติและเงื่อนไขการขอดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส พ.ศ. ๒๕๕๔ ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “ข้าราชการอัยการ” หมายความว่า ข้าราชการอัยการซึ่งจะมีอายุครบหกสิบห้าปีตามปีงบประมาณ ข้อ ๕ การประเมินสมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการอัยการ ให้ประเมินจากการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจโดยคณะกรรมการแพทย์ ให้คณะกรรมการแพทย์ที่ ก.อ. กำหนดตามมาตรา ๔๙ ก. (๖) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นผู้ทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจตามระเบียบนี้ การประเมินตามวรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึงผลการประเมินการปฏิบัติราชการประจำปีประกอบด้วย ข้อ ๖ ให้คณะกรรมการแพทย์ทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจตามเกณฑ์ทางการแพทย์ที่จะใช้ในการทดสอบซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยวิธีการที่จะใช้ในการทดสอบและลักษณะทางระบบจิตประสาทที่จะตรวจและประเมินความเหมาะสมดังนี้ (๑) ตรวจพิเคราะห์ทางกายจากแพทย์ (๒) ตรวจพิเคราะห์ทางจิตจากจิตแพทย์ (๓) ตรวจทางห้องปฏิบัติการ ประกอบด้วย การตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด และเอกซเรย์เพื่อตรวจโรคทั่วไป และโรคตามที่ระบุไว้ในประกาศ ก.อ. ตามมาตรา ๔๙ ข. (๖) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ข้อ ๗ ให้สำนักงานคณะกรรมการอัยการเสนอรายชื่อข้าราชการอัยการ ดังต่อไปนี้ ต่ออัยการสูงสุด เพื่อให้ ก.อ. จัดให้มีการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจโดยคณะกรรมการแพทย์ (๑) ข้าราชการอัยการตำแหน่งอัยการอาวุโสซึ่งมีอายุครบหกสิบห้าปี (๒) ข้าราชการอัยการซึ่งจะไปดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสเมื่ออายุครบหกสิบห้าปี ข้อ ๘ เมื่อได้รับผลการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจแล้ว ให้สำนักงานคณะกรรมการอัยการเสนอผลการทดสอบดังกล่าว พร้อมผลการประเมินการปฏิบัติราชการประจำปีล่าสุดย้อนหลังสองครั้งและเอกสารที่เกี่ยวข้องต่ออัยการสูงสุด เพื่อเสนอผลการประเมินสมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการอัยการผู้นั้นให้ ก.อ. พิจารณาให้ข้าราชการอัยการตามข้อ ๗ (๑) ปฏิบัติหน้าที่อัยการอาวุโสต่อไป สำหรับข้าราชการอัยการตามข้อ ๗ (๒) เมื่อได้รับความเห็นชอบจาก ก.อ. ให้ดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสแล้ว จึงนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป ข้อ ๙ มิให้นำบทบัญญัติข้อ ๗ (๑) มาใช้บังคับแก่ข้าราชการอัยการที่ดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสอยู่ในวันก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ หรือที่ได้ผ่านการประเมินสมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสในปีงบประมาณ ๒๕๖๑ ให้ถือว่าการประเมินสมรรถภาพข้าราชการอัยการในการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ เป็นการประเมินสมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๐ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่ง หลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ บรรดาระเบียบ ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ร้อยตำรวจตรี พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๐ ปุณิกา/ตรวจ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๐๐ ก/หน้า ๒๔/๒๙ กันยายน ๒๕๖๐
707740
ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2557
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๔ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๑ วรรคสี่ และมาตรา ๕๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๘ ของระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๘ ให้ผู้สมัครยื่นใบสมัครทดสอบความรู้ต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับสมัครซึ่งได้กำหนดไว้ในประกาศทดสอบความรู้ ด้วยตนเองหรือด้วยวิธีการอื่นที่ ก.อ. กำหนด” ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ อรรถพล ใหญ่สว่าง อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๗ นุสรา/ผู้ตรวจ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๕๑ ก/หน้า ๑๕/๕ มิถุนายน ๒๕๕๗
859433
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2563
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. ๒๕๕๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๐ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๓” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๖ ของระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๖ ข้าราชการธุรการที่จะได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษ กรณีบรรจุใหม่ ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษตั้งแต่วันที่พ้นการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ข้าราชการธุรการที่เคยรับราชการในสำนักงานอัยการสูงสุดและโอนกลับมาหรือได้รับการบรรจุกลับ ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษภายหลังกลับมาปฏิบัติราชการในสำนักงานอัยการสูงสุดใหม่เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหกเดือนนับตั้งแต่วันที่มารายงานตัวและปฏิบัติราชการ ข้าราชการธุรการที่รับโอนจากส่วนราชการอื่น ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษภายหลังปฏิบัติราชการในสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหกเดือนนับตั้งแต่วันที่มารายงานตัวและปฏิบัติราชการ” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗ ของระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๗ ข้าราชการธุรการที่จะได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษจะต้องผ่านการพัฒนาศักยภาพบุคคลในการปฏิบัติงาน และผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานจากผู้บังคับบัญชาตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด ข้าราชการธุรการที่ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษมาแล้วจะต้องผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด ข้าราชการธุรการที่ไม่ผ่านการประเมินตามวรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง ให้งดเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษจนกว่าข้าราชการธุรการผู้นั้นจะผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงาน” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๙ ของระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๙ ข้าราชการธุรการที่ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (๑) กรณีข้าราชการธุรการที่ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษในอัตราของตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง (๒) กรณีข้าราชการธุรการที่ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษในอัตราที่ได้รับอยู่เดิมขณะที่ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป และไม่เกินอัตราสูงสุดของตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ” ข้อ ๖ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการแนบท้ายระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. ๒๕๕๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖ และให้ใช้บัญชีอัตราค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการท้ายระเบียบนี้แทน ข้อ ๗ เงินค่าตอบแทนพิเศษตามระเบียบนี้ ให้เริ่มจ่ายได้ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ อรรถพล ใหญ่สว่าง ประธานคณะกรรมการอัยการ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พิไลภรณ์/จัดทำ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๓ ปริญสินีย์/ตรวจ ๒ ธันวาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนที่ ๓๖ ก/หน้า ๒๓/๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๓
824820
ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ และการห้ามหาเสียงในการเลือกประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. 2561
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ และการห้ามหาเสียงในการเลือกประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง วิธีการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๘ (๓) พ.ศ. ๒๕๕๔ เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งได้กำหนดให้มีการเลือกประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ และห้ามผู้ใดกระทำการอันมีลักษณะเป็นการหาเสียงเพื่อให้ข้าราชการอัยการลงคะแนนหรืองดเว้นการลงคะแนนในการเลือกประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิไว้ด้วย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ คณะกรรมการอัยการ จึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ และการห้ามหาเสียงในการเลือกประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. ๒๕๖๑” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง วิธีการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๘ (๓) พ.ศ. ๒๕๕๔ ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “คณะกรรมการรับสมัครหรือทาบทามบุคคล” หมายความว่า คณะกรรมการรับสมัครหรือทาบทามบุคคลที่สมควรได้รับเลือกเป็นประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๕) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ “ผู้มีสิทธิเลือก” หมายความว่า ข้าราชการอัยการเว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย “บัตรลงคะแนน” หมายความว่า บัตรลงคะแนนเลือกประธาน ก.อ. และบัตรลงคะแนนเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ “สกอ.” หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการอัยการ ข้อ ๕ คณะกรรมการอัยการมีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ข้อ ๖ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามระเบียบนี้ ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อช่วยดำเนินการตามระเบียบนี้ได้ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน หมวด ๑ หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ข้อ ๗ ให้อัยการสูงสุดดำเนินการให้มีการเลือกประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ กรณีดังต่อไปนี้ (๑) กรณีครบกำหนดวาระ ภายในหกสิบวันก่อนวันครบกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ (๒) กรณีตำแหน่งว่างลงก่อนครบกำหนดวาระ ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุต้องเลือก ดังนี้ (ก) วันที่คณะกรรมการอัยการมีมติเห็นชอบให้กลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการอัยการซึ่งทำให้ตำแหน่งประธาน ก.อ. หรือตำแหน่งกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) (ข) ว่างลงตามมาตรา ๒๕ (๕) (ข) วันที่คณะกรรมการอัยการมีมติแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส หรือวันที่พ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการ หรือวันที่เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่ง ซึ่งทำให้ตำแหน่งกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) (ก) ว่างลงตามมาตรา ๒๕ (๔) (ค) วันที่ประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ว่างลงก่อนครบกำหนดวาระ กรณีอื่นที่มิใช่กรณีตาม (ก) หรือ (ข) อัยการสูงสุดอาจมีคำสั่งให้ สกอ. เตรียมความพร้อมสาหรับดำเนินการให้มีการเลือกประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ก่อนกำหนดระยะเวลาตาม (๑) ก็ได้ กรณีตาม (๒) หากวาระการอยู่ในตำแหน่งที่ว่างลงนั้นเหลือไม่ถึงเก้าสิบวันจะไม่สั่งให้ดำเนินการเลือกแทนตำแหน่งที่ว่างลงก่อนครบกำหนดวาระก็ได้ ข้อ ๘ ให้อัยการสูงสุดแต่งตั้งคณะกรรมการรับสมัครหรือทาบทามบุคคล ประกอบด้วยรองอัยการสูงสุดและผู้ตรวจการอัยการ ซึ่งมิได้เป็นกรรมการอัยการ จำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน เป็นกรรมการ โดยให้ผู้มีลำดับอาวุโสสูงสุดเป็นประธาน และให้อธิบดีอัยการ สกอ. เป็นเลขานุการ รองอธิบดีอัยการ สกอ. เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ดำเนินการดังนี้ เพื่อเสนอคณะกรรมการอัยการพิจารณา (๑) รับสมัครหรือทาบทามบุคคลที่สมควรได้รับเลือกเป็นประธาน ก.อ. ไม่น้อยกว่าห้ารายชื่อ (๒) รับสมัครหรือทาบทามบุคคลที่สมควรได้รับเลือกเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๕) ไม่น้อยกว่าสามเท่าของจำนวนกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าว (๓) ตรวจสอบประวัติคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคคลตาม (๑) และ (๒) (๔) จัดทำบัญชีรายชื่อของบุคคลตาม (๑) และ (๒) ทั้งหมดโดยจัดเรียงลำดับตามตัวอักษร (๕) ดำเนินการตามข้อ ๒๕ การทาบทามบุคคลตามวรรคหนึ่ง (๑) และ (๒) ประธาน ก.อ. รองประธาน ก.อ. กรรมการอัยการ และคณะกรรมการรับสมัครหรือทาบทามบุคคล มีอิสระในการเสนอชื่อบุคคลที่เห็นสมควรที่จะได้รับเลือกเป็นประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ โดยให้เสนอชื่อภายในกำหนดระยะเวลาดำเนินการรับสมัครหรือทาบทามบุคคลตามประกาศสำนักงานอัยการสูงสุด ทั้งนี้ ให้แจ้งเลขานุการคณะกรรมการรับสมัครหรือทาบทามบุคคล ดำเนินการตามข้อนี้ เพื่อเสนอคณะกรรมการอัยการพิจารณา ผู้สมัครหรือบุคคลที่รับการทาบทามที่ประสงค์จะได้รับเลือกเป็นประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนดในวันสมัคร การดำเนินการ วิธีการรับสมัครหรือทาบทาม ให้เป็นไปตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดประกาศกำหนด ข้อ ๙ ให้คณะกรรมการอัยการจัดทำบัญชีรายชื่อบุคคลที่เห็นสมควรได้รับเลือกเป็นประธาน ก.อ. ตามมาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง และบัญชีรายชื่อบุคคลที่เห็นสมควรได้รับเลือกเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ตามมาตรา ๒๐ วรรคสอง หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแต่กรณี โดยให้จัดเรียงลำดับตามตัวอักษร ข้อ ๑๐ เพื่อประโยชน์ในการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) (ก) และ (ข) ให้ สกอ. จัดทำบัญชีรายชื่อบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ตามมาตรา ๑๘ (๔) (ก) จากข้าราชการอัยการชั้น ๕ ขึ้นไป ซึ่งมิได้เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่ง และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ตามมาตรา ๑๘ (๔) (ข) จากผู้รับบำเหน็จหรือบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการมาแล้ว ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ เพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกเป็นผู้เลือก ข้อ ๑๑ ให้ สกอ. ส่งบัญชีรายชื่อบุคคลตามข้อ ๙ และข้อ ๑๐ แล้วแต่กรณี ไปยังผู้มีสิทธิเลือก พร้อมด้วยบัตรลงคะแนน โดยกำหนดวันสุดท้ายที่จะส่งบัตรลงคะแนนให้ถึง สกอ. ไว้ด้วย ในการเลือกแทนตำแหน่งที่ว่างลงก่อนครบกำหนดวาระ ให้ สกอ. แจ้งตำแหน่ง ประเภทและจำนวนตำแหน่งที่ว่างด้วย บัตรลงคะแนนให้เป็นไปตามแบบท้ายระเบียบนี้ บัตรลงคะแนนทุกบัตรต้องมีลายมือชื่อของกรรมการควบคุมการส่งบัตรจำนวนสามคนกำกับเป็นหลักฐาน การส่งบัญชีรายชื่อพร้อมด้วยบัตรลงคะแนนตามวรรคหนึ่ง ให้ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังผู้มีสิทธิเลือกก่อนถึงกำหนดวันสุดท้ายที่จะส่งบัตรลงคะแนนไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน ข้อ ๑๒ ให้อัยการสูงสุดแต่งตั้งข้าราชการอัยการไม่น้อยกว่าสามคนเป็นคณะกรรมการควบคุมการส่งบัตรลงคะแนน ทำหน้าที่ตรวจสอบบัตรลงคะแนนให้ถูกต้องตามที่กำหนดในข้อ ๑๑ ก่อนที่จะจัดส่งไปยังผู้มีสิทธิเลือก ข้อ ๑๓ การเลือกประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้ข้าราชการอัยการผู้มีสิทธิเลือกออกเสียงลงคะแนนโดยวิธีลับ โดยให้กรอกเฉพาะรายชื่อผู้ซึ่งตนเลือกด้วยลายมือของตนเองลงในบัตรลงคะแนนด้วยตัวบรรจง ทั้งนี้ ห้ามลงลายมือชื่อและตำแหน่งของตน แล้วใส่ซองปิดผนึกส่งไปยัง สกอ. ถ้าจะส่งทางไปรษณีย์ให้ส่งโดยลงทะเบียน ให้ถึง สกอ. ภายในวันที่กำหนดตามข้อ ๑๑ วรรคหนึ่ง ข้อ ๑๔ ให้อัยการสูงสุดแต่งตั้งข้าราชการอัยการไม่น้อยกว่าสามคนเป็นคณะกรรมการเก็บรักษาบัตรลงคะแนน ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งเก็บรักษาบัตรลงคะแนนไว้ในหีบโดยปิดหีบใส่กุญแจและให้กรรมการแต่ละคนเก็บรักษาลูกกุญแจหีบบัตรลงคะแนนไว้คนละหนึ่งดอก เมื่อถึงวันนับคะแนนให้เปิดหีบเก็บรักษาบัตรลงคะแนนต่อหน้าคณะกรรมการตรวจนับคะแนน พร้อมส่งมอบบัตรลงคะแนนให้แก่คณะกรรมการตรวจนับคะแนนเพื่อดำเนินการต่อไป ข้อ ๑๕ ให้อัยการสูงสุดแต่งตั้งข้าราชการอัยการไม่น้อยกว่าสามคนเป็นคณะกรรมการตรวจนับคะแนนการเลือกประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ เปิดซองบรรจุบัตรลงคะแนนทำการตรวจบัตรลงคะแนนและนับคะแนนโดยเปิดเผย แล้วรายงานผลไปยังอัยการสูงสุด ในการตรวจนับคะแนน ต้องมีกรรมการอยู่พร้อมกันไม่น้อยกว่าสามคน เมื่อดำเนินการตรวจนับคะแนนเสร็จสิ้นแล้ว ให้ส่งมอบบัตรลงคะแนนแก่คณะกรรมการเก็บรักษาบัตรลงคะแนนเพื่อดำเนินการตามข้อ ๒๒ ต่อไป ข้อ ๑๖ บัตรลงคะแนนต่อไปนี้ ให้ถือเป็นบัตรเสียและไม่ให้นับคะแนน (๑) บัตรที่มิใช่บัตรที่ สกอ. ส่งไป หรือไม่มีลายมือชื่อของกรรมการควบคุมการส่งบัตรจำนวนสามคนกำกับเป็นหลักฐาน (๒) บัตรที่ระบุชื่อผู้รับเลือกประธาน ก.อ. เกินหนึ่งชื่อ หรือระบุชื่อบุคคลอื่นเป็นประธานก.อ. นอกเหนือจากบัญชีรายชื่อที่คณะกรรมการอัยการกำหนด (๓) บัตรที่ผู้มีสิทธิเลือกมิได้กรอกรายชื่อผู้ซึ่งตนเลือกด้วยลายมือของตนเอง (๔) บัตรที่ผู้มีสิทธิเลือกลงลายมือชื่อ หรือตำแหน่งในบัตร (๕) บัตรที่ส่งถึง สกอ. พ้นกำหนดวันที่ สกอ. กำหนดตามข้อ ๑๑ วรรคหนึ่ง ข้อ ๑๗ บัตรลงคะแนนที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ส่วนที่เลอะเลือน หรือเขียนชื่อผู้ซึ่งตนเลือกไม่ถูกต้อง จนไม่สามารถทราบเจตนาอันแท้จริงของผู้เลือกได้ ให้ถือเป็นบัตรเสียเฉพาะส่วน (๒) ส่วนที่ระบุชื่อกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) (ก) (ข) หรือ (๕) เกินจำนวนตำแหน่งกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) (ก) (ข) หรือ (๕) หรือ เกินจำนวนตำแหน่งที่ว่างลงในกรณีการเลือกแทนตำแหน่งที่ว่างลงก่อนครบกำหนดวาระ ให้ถือเป็นบัตรเสียเฉพาะส่วนตามมาตรา ๑๘ (๔) (ก) หรือ (ข) หรือ (๕) แล้วแต่กรณี สาหรับประเภทนั้น ๆ (๓) ส่วนที่เลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) (ก) (ข) ที่ระบุชื่อบุคคลอื่นที่มิได้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๘ (๔) (ก) (ข) แต่ไม่เกินจำนวนที่ต้องเลือก ให้ถือเป็นบัตรเสียเฉพาะส่วนของรายชื่อบุคคลอื่นดังกล่าวนั้น (๔) ส่วนที่เลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๕) ที่ระบุชื่อบุคคลอื่นนอกเหนือจากบัญชีรายชื่อที่คณะกรรมการอัยการกำหนด แต่ไม่เกินจำนวนที่ต้องเลือก ให้ถือเป็นบัตรเสียเฉพาะส่วนของรายชื่อบุคคลอื่นที่อยู่นอกเหนือบัญชีรายชื่อดังกล่าว (๕) ส่วนที่กรอกชื่อผู้รับเลือกที่เป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) (ก) ในช่องสำหรับกรอกชื่อผู้รับเลือกที่เป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) (ข) หรือในช่องสำหรับกรอกชื่อผู้รับเลือกที่เป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๕) หรือสลับกัน ให้ถือว่าบัตรนั้นเสียเฉพาะส่วนของรายชื่อบุคคลที่กรอกสลับกันนั้น การที่จะถือว่าบุคคลผู้รับเลือกผู้ใดเป็นข้าราชการอัยการชั้น ๕ ขึ้นไป หรือเป็นผู้รับบำเหน็จหรือบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ตามวรรคหนึ่ง ให้ถือตามความเป็นจริงในวันตรวจนับคะแนน ข้อ ๑๘ ในการเลือกประธาน ก.อ. ตามวาระหรือก่อนครบกำหนดวาระ ให้ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดเป็นผู้ได้รับเลือกเป็นประธาน ก.อ. ข้อ ๑๙ ในการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามวาระ ให้ผู้ที่ได้คะแนนสูงกว่าผู้อื่นเป็นผู้ได้รับเลือก ดังนี้ (๑) กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) (ก) ที่ได้คะแนนสูงกว่าผู้อื่น จำนวนสี่คน (๒) กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) (ข) ที่ได้คะแนนสูงกว่าผู้อื่น จำนวนสองคน (๓) กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๕) ที่ได้คะแนนสูงกว่าผู้อื่น จำนวนสองคน ให้นำความในวรรคหนึ่ง มาใช้กับการเลือกแทนตำแหน่งกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิที่ว่างลงก่อนครบกาหนดวาระโดยอนุโลม ข้อ ๒๐ ในการเลือกประธาน ก.อ. ตามข้อ ๑๘ หรือการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ ๑๙ ถ้าในประเภทใดมีผู้ได้คะแนนเท่ากันอยู่ในเกณฑ์ที่ได้รับเลือกเกินจำนวนที่กำหนดดังกล่าว ให้จับสลากระหว่างผู้ที่ได้คะแนนเท่ากันอันทำให้มีจำนวนเกินไปนั้นว่าผู้ใดจะได้รับเลือก โดยให้อัยการสูงสุดเป็นผู้จับสลากต่อหน้ากรรมการตรวจนับคะแนนไม่น้อยกว่าสามคน ข้อ ๒๑ ให้อัยการสูงสุดประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นประธาน ก.อ. ตามข้อ ๑๘ และให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เมื่ออัยการสูงสุดประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ ๑๙ แล้วให้ประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๒๒ ให้คณะกรรมการเก็บรักษาบัตรลงคะแนน เก็บรักษาบัตรลงคะแนนไว้ไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่อัยการสูงสุดลงนามในประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วแต่กรณี ให้อัยการสูงสุดแต่งตั้งข้าราชการอัยการไม่น้อยกว่าสามคนเป็นคณะกรรมการทำลายบัตรลงคะแนน เพื่อดำเนินการทำลายบัตรลงคะแนน เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง หมวด ๒ หลักเกณฑ์การห้ามหาเสียงในการเลือกประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ข้อ ๒๓ ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการใด ๆ อันมีลักษณะเป็นการหาเสียง หรือการกระทำใด ๆ อันมีลักษณะเป็นการจูงใจไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม ให้ผู้ใดลงคะแนนหรืองดเว้นลงคะแนนแก่ตนเองหรือบุคคลอื่นเพื่อเป็นประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ เช่น (๑) กระทำการใด ๆ โดยระบุขอให้เลือกตนเองหรือผู้อื่น (๒) จัดทำ ให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้ประโยชน์ใด ๆ ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อมแก่ข้าราชการอัยการเพื่อการหาเสียง (๓) โฆษณาเพื่อการหาเสียงไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม เช่น บอกกล่าว แจกแผ่นพับ แผ่นปลิวเสนอตัว ใช้โทรศัพท์ หรือส่งข้อความ สัญลักษณ์ หรือรูปภาพ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่ออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๔) เลี้ยงหรือรับจะจัดเลี้ยงผู้ใดเพื่อการหาเสียง (๕) อาศัยตำแหน่งหน้าที่โดยเจตนาสร้างความนิยมเพื่อให้ได้มาซึ่งคะแนนเสียง (๖) รู้หรือควรรู้ว่ามีบุคคลใดช่วยในการหาเสียงให้แก่ตนแต่เพิกเฉยไม่ห้ามปราม (๗) ปรากฏตัวตามงานราชการต่าง ๆ โดยไม่มีอำนาจและหน้าที่เพื่อการหาเสียง (๘) หลอกลวง ใส่ร้าย หรือจูงใจให้ไม่เลือก หรือทำให้เข้าใจผิดในความนิยมของผู้สมัครรับเลือก ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการแนะนำตัว เผยแพร่ประวัติการทำงาน ผลงาน และวิสัยทัศน์ตามข้อ ๒๔ ข้อ ๒๔ ให้ สกอ. เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินการแนะนำตัว เผยแพร่ประวัติการทำงาน ผลงาน และวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ของผู้สมัครรับเลือกตามข้อ ๘ และผู้มีสิทธิรับเลือกตามข้อ ๑๐ ที่มีความประสงค์ให้เผยแพร่ข้อมูลแก่ผู้มีสิทธิเลือกอย่างเสมอภาค รวดเร็วและเป็นธรรม การแนะนำตัว เผยแพร่ประวัติการทำงาน ผลงาน และวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดประกาศกำหนด ข้อ ๒๕ กรณีที่การแสดงวิสัยทัศน์มีข้อความอันมีลักษณะเป็นการหาเสียงฝ่าฝืนข้อ ๒๓ ให้คณะกรรมการรับสมัครหรือทาบทามบุคคลพิจารณาแจ้งให้ผู้สมัครรับเลือกทำการแก้ไขข้อความดังกล่าวเพื่อส่งให้ สกอ. ดำเนินการตามข้อ ๒๔ ต่อไป หากผู้สมัครไม่ยินยอมแก้ไข หรือแก้ไขแล้วยังมีข้อความอันมีลักษณะเป็นการหาเสียงฝ่าฝืนข้อ ๒๓ ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งแจ้งให้ สกอ. งดการเผยแพร่วิสัยทัศน์ และแจ้งให้ผู้สมัครทราบด้วย ให้นำความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้กับผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๔) (ก) (ข) ที่มีความประสงค์จะขอให้มีการแสดงวิสัยทัศน์ด้วยโดยอนุโลม ข้อ ๒๖ กรณีเป็นที่สงสัยโดยมีผู้ร้องเรียนว่ามีผู้ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ในหมวดนี้ ให้ สกอ. ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เข็มชัย ชุติวงศ์ อัยการสูงสุด ปฏิบัติหน้าที่ ประธานคณะกรรมการอัยการ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัตรลงคะแนนเลือกประธาน ก.อ. ๒. บัตรลงคะแนนเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พิไลภรณ์/ผู้จัดทำ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๓ ก/หน้า ๓/๔ มกราคม ๒๕๖๒
682306
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2556
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. ๒๕๕๔ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๐ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการแนบท้ายระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้บัญชีอัตราค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการท้ายระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ เงินค่าตอบแทนพิเศษตามระเบียบนี้ ให้เริ่มจ่ายได้ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ มีนาคม ๒๕๕๖ ชาญ/ผู้ตรวจ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๑๙ ก/หน้า ๑๓/๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
684258
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นและเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครสอบคัดเลือกและผู้สมัครทดสอบความรู้ พ.ศ. 2556
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครสอบคัดเลือกและผู้สมัครทดสอบความรู้ พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นและเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครสอบคัดเลือกและผู้สมัครทดสอบความรู้ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๐ วรรคหนึ่ง (๓) และวรรคสอง และมาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง (๒) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) และวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบมาตรา ๓๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นและเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครสอบคัดเลือกและผู้สมัครทดสอบความรู้ พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “ก.อ.” หมายความว่า คณะกรรมการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้อ ๔ ให้ ก.อ. มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ข้อ ๕ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามระเบียบนี้ บรรดาระเบียบ ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน หมวด ๑ การประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครสอบคัดเลือก ข้อ ๖ การประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๒ ปี และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครสอบคัดเลือก คือ (๑) เป็นหรือเคยเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ หรือภาควิชานิติศาสตร์ หรือสาขาวิชานิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ ซึ่งคณบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่ารับรองว่าได้สอนวิชากฎหมายตามหลักสูตรในคณะนิติศาสตร์ หรือภาควิชานิติศาสตร์ หรือสาขาวิชานิติศาสตร์มาแล้ว ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ (๒) เป็นหรือเคยเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือข้าราชการตำรวจ ซึ่งทำหน้าที่พนักงานสอบสวนและผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่พนักงานสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒๐ เรื่อง ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ (๓) เป็นหรือเคยเป็นเจ้าพนักงานคดี สำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานสายงานนิติการที่ ก.อ. กำหนดหรือข้าราชการศาลยุติธรรมตำแหน่งเจ้าพนักงานศาลยุติธรรม (วุฒิทางกฎหมาย) หรือเจ้าพนักงานคดี สำนักงานศาลยุติธรรม ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรมกำหนด ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ (๔) เป็นหรือเคยเป็นนายทหารซึ่งทำหน้าที่นายทหารสืบสวนสอบสวน หรือนายทหารสารวัตรสืบสวนสอบสวน กระทรวงกลาโหม ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานสอบสวนคดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลทหารมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒๐ เรื่อง ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ (๕) เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการตำแหน่งเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานสอบสวนคดียาเสพติดมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒๐ เรื่อง ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ (๖) เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการตำแหน่งเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบทรัพย์สิน หรือไต่สวนและวินิจฉัยคดีที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ (๗) เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการตำแหน่งนักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือนักวิชาการที่ดิน (วุฒิทางกฎหมาย) กรมที่ดิน ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่ ก.พ. กำหนด ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ (๘) เป็นหรือเคยเป็นเจ้าพนักงานการเลือกตั้ง (งานนิติการ) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่ ก.พ. กำหนด หรือเป็นเจ้าพนักงานการเลือกตั้ง (งานวินิจฉัยหรืองานสืบสวนสอบสวน) หรือพนักงานสืบสวนสอบสวน สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานพิจารณาวินิจฉัยหรือสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒๐ เรื่อง ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ (๙) เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างในกระทรวงยุติธรรม ทำหน้าที่พนักงานคุมประพฤติซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานในสายงานคุมประพฤติที่ ก.พ. กำหนดตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ (๑๐) เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ตำแหน่งนิติกร ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร ตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่ ก.พ. กำหนด ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ (๑๑) เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ พนักงานในองค์กรของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การมหาชน ตำแหน่งนิติกร ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกรตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ (๑๒) เป็นหรือเคยเป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมาย โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรอง ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ (๑๓) เป็นหรือเคยเป็นนักวิชาการแรงงาน (วุฒิทางกฎหมาย) ซึ่งทำหน้าที่ฟ้องคดีหรือแก้ต่างคดีแรงงานให้แก่ลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตาย ตามมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ และได้ว่าความในศาลแรงงานโดยทำหน้าที่หรือมีส่วนร่วมทำหน้าที่ทนายความกรณีศาลออกนั่งพิจารณามาแล้วไม่น้อยกว่า ๒๐ เรื่อง โดยมีหนังสือรับรองของผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณามาแสดงว่าได้ทำหน้าที่ดังกล่าวอย่างแท้จริง ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ (๑๔) เป็นหรือเคยเป็นพนักงานราชการของส่วนราชการ ตำแหน่งนิติกร ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร ตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่ ก.พ. กำหนด ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ (๑๕) เป็นหรือเคยเป็นพนักงานปฏิบัติการของสำนักกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปฏิบัติงานในหน้าที่ผู้ปฏิบัติการทางกฎหมายในสำนักกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ผู้ปฏิบัติการตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ (๑๖) เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือลูกจ้างในหน่วยงานของรัฐ หรือผู้รับจ้างตามสัญญาจ้างเหมาบริการ (นิติกร) ในสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร ตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่ ก.พ. หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่นกำหนด แล้วแต่กรณี ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ (๑๗) เป็นหรือเคยเป็นพนักงานของสถาบันการเงินที่ ก.อ. รับรอง ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ (๑๘) เป็นหรือเคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายประจำวิชาของคณะนิติศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่กระทรวงศึกษาธิการให้การรับรองมาตรฐานการศึกษาของหลักสูตรนิติศาสตร์ ซึ่งคณบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่ารับรองว่าได้สอนวิชากฎหมายตามหลักสูตรในคณะนิติศาสตร์มาแล้วในวิชาใดวิชาหนึ่งหรือหลายวิชา ดังนี้ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายพยานหลักฐาน กฎหมายล้มละลาย พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายพาณิชย์นาวี หรือกฎหมายระหว่างประเทศ ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ (๑๙) เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญกำหนด ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ (๒๐) เป็นหรือเคยเป็นนักวิจัยหรือผู้ช่วยนักวิจัย (วุฒิทางกฎหมาย) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกำหนด ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ (๒๑) เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการตำรวจซึ่งทำหน้าที่นิติกร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร ตามมาตรฐานในสายงานนิติการ ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนด ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ (๒๒) เป็นหรือเคยเป็นพนักงานคดีปกครอง (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานศาลปกครอง ซึ่งได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่พนักงานคดีปกครองตามประกาศประธานศาลปกครองสูงสุด เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานคดีปกครองและการมอบหมายงานระหว่างตุลาการศาลปกครองกับพนักงานคดีปกครอง ฉบับลงวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรอง หรือผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานที่สำนักงานศาลปกครองกำหนด ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ (๒๓) เป็นหรือเคยเป็นพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ หรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษ (วุฒิทางกฎหมาย) กรมสอบสวนคดีพิเศษ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานที่กรมสอบสวนคดีพิเศษกำหนด ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ (๒๔) เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานสอบสวนคดีเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มาแล้วไม่น้อยกว่า ๒๐ เรื่อง ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ (๒๕) เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ตำแหน่งนิติกร หรือเจ้าหน้าที่สอบสวน ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร หรือเจ้าหน้าที่สอบสวนตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ (๒๖) เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านสืบสวนสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒๐ เรื่อง ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ (๒๗) เป็นหรือเคยเป็นพนักงานคดี (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานสายงานคดีที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกำหนด ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ (๒๘) เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่สิทธิมนุษยชน (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านสืบสวนสอบสวน สรุปสำนวนคำร้องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒๐ เรื่อง ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ (๒๙) เป็นหรือเคยเป็นนักการทูต (วุฒิทางกฎหมาย) กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายระหว่างประเทศ การส่งผู้ร้ายข้ามแดน หรือความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญาอย่างแท้จริง ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ (๓๐) เป็นหรือเคยเป็นนักกฎหมายกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานตามมาตรฐานในสายงานนักกฎหมายกฤษฎีกาที่ ก.พ. กำหนด ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๗ นอกจากวิชาชีพที่กำหนดในข้อ ๖ การประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นให้รวมถึงวิชาชีพอย่างอื่นที่ได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายในลักษณะทำนองเดียวกันหรือเทียบได้กับวิชาชีพตามข้อ ๖ ที่ ก.อ. รับรอง ทั้งนี้ ตามเงื่อนไขการประกอบวิชาชีพที่ ก.อ. กำหนด การรับรองของผู้บังคับบัญชาว่าผู้สมัครได้ประกอบวิชาชีพที่ ก.อ. รับรองให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๘ ผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ซึ่งได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นทนายความจะต้องได้ว่าความในศาล โดยทำหน้าที่หรือมีส่วนร่วมทำหน้าที่ทนายความในการที่ศาลออกนั่งพิจารณามาแล้วไม่น้อยกว่า ๒๐ เรื่อง ในจำนวนนี้ต้องเป็นคดีแพ่งไม่น้อยกว่า ๕ เรื่อง โดยมีหนังสือรับรองของผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณา ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้มาแสดงว่าได้ทำหน้าที่ดังกล่าวอย่างแท้จริง ผู้สมัครซึ่งได้ว่าความในศาลตามความในวรรคหนึ่งก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ และไม่อาจให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณารับรองการว่าความได้ ให้มีหนังสือรับรองของศาล ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้มาแสดงว่าได้ทำหน้าที่ดังกล่าวอย่างแท้จริง หมวด ๒ เงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครทดสอบความรู้ ข้อ ๙ ผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (จ) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ต้องได้สอนวิชากฎหมายตามหลักสูตรในคณะนิติศาสตร์ หรือภาควิชานิติศาสตร์ หรือสาขาวิชานิติศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่ง ก.อ. รับรองมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๕ ปี ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๑๐ ผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ฉ) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ต้องเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่ง (๑) นิติกร ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่ ก.อ. กำหนดมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๖ ปี ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ หรือ (๒) เจ้าพนักงานคดี ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในด้านกฎหมายอย่างแท้จริงตามมาตรฐานสายงานนิติการที่ ก.อ. กำหนดมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๖ ปี ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ ทั้งนี้ ผู้สมัครตามวรรคหนึ่งจะต้องเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งนิติกรหรือเจ้าพนักงานคดีไม่ต่ำกว่าระดับชำนาญการหรือเทียบเท่า และอัยการสูงสุดรับรองว่ามีความซื่อสัตย์สุจริตมีความรู้ความสามารถดี และมีความประพฤติดีเป็นที่ไว้วางใจว่าจะปฏิบัติหน้าที่ข้าราชการอัยการได้ เพื่อประโยชน์ในการนับระยะเวลาการปฏิบัติงานของผู้สมัครตามวรรคหนึ่ง (๑) และ (๒) ให้นับระยะเวลาที่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งและได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนั้นรวมกันได้ ข้อ ๑๑ ผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ช) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ต้องสอบไล่ได้ปริญญาโทหรือปริญญาเอกหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ พยาบาลศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ หรือการบัญชี และได้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม เภสัชกรรม การสัตวแพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ การพยาบาล วิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรือเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแล้วแต่กรณี มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ปี หรือได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นตามหมวด ๑ ตามเงื่อนไขในหมวด ๓ ข้อ ๑๔ มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ปี ข้อ ๑๒ ผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ซ) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ต้องสอบไล่ได้ปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ พยาบาลศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ หรือการบัญชี และได้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม เภสัชกรรม การสัตวแพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ การพยาบาล วิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรือเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต แล้วแต่กรณี มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี ผู้สมัครตามวรรคหนึ่งต้องส่งหลักฐานที่แสดงประสบการณ์ในการทำงาน ผลงาน หรือความรู้เฉพาะด้านในวิชาการด้านนั้น ๆ เพื่อประกอบการประเมินความรู้ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพของคณะอนุกรรมการประเมินที่ ก.อ. แต่งตั้ง ผู้ผ่านการประเมินจึงจะเป็นผู้มีสิทธิเข้ารับการทดสอบความรู้ ข้อ ๑๓ ผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ช) (ซ) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม เภสัชกรรม การสัตวแพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ การพยาบาล วิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรือเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน จะต้องมีหนังสือรับรองของผู้บังคับบัญชามาแสดงว่าได้ประกอบวิชาชีพดังกล่าวอย่างแท้จริง ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ ผู้สมัครตามวรรคหนึ่งซึ่งมิได้ประกอบวิชาชีพดังกล่าวในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนจะต้องมีหนังสือรับรองตนเองมาแสดงว่าได้ประกอบวิชาชีพดังกล่าวอย่างแท้จริง ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ หมวด ๓ เงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นของผู้สมัครทดสอบความรู้ ข้อ ๑๔ ผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ข) (ค) (ง) หรือ (ช) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นทนายความพนักงานฝ่ายปกครองหรือข้าราชการตำรวจ นายทหารซึ่งทำหน้าที่นายทหารสืบสวนสอบสวนหรือนายทหารสารวัตรสืบสวนสอบสวน เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือเจ้าพนักงานการเลือกตั้ง (งานวินิจฉัยหรืองานสืบสวนสอบสวน) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งตามหมวด ๑ จะต้องได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ดังกล่าวไม่น้อยกว่าที่กำหนด ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นทนายความจะต้องได้ว่าความในศาลโดยทำหน้าที่หรือมีส่วนร่วมทำหน้าที่ทนายความในการที่ศาลออกนั่งพิจารณามาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๕๑ (๒) (ข) (ค) หรือ (ง) และไม่น้อยกว่า ๓๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๕๑ (๒) (ช) ซึ่งในจำนวนนี้ ต้องเป็นคดีแพ่งไม่น้อยกว่า ๕ เรื่อง (๒) ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นพนักงานฝ่ายปกครอง หรือข้าราชการตำรวจต้องปฏิบัติงานในหน้าที่พนักงานสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๕๑ (๒) (ข) (ค) หรือ (ง) และไม่น้อยกว่า ๓๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๕๑ (๒) (ช) (๓) ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นนายทหารซึ่งทำหน้าที่นายทหารสืบสวนสอบสวนหรือนายทหารสารวัตรสืบสวนสอบสวน กระทรวงกลาโหม ต้องได้ปฏิบัติงานสอบสวนคดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลทหารมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๕๑ (๒) (ข) (ค) หรือ (ง) และไม่น้อยกว่า ๓๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๕๑ (๒) (ช) (๔) ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ต้องปฏิบัติงานสอบสวนคดียาเสพติดมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๕๑ (๒) (ข) (ค) หรือ (ง) และไม่น้อยกว่า ๓๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๕๑ (๒) (ช) (๕) ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นเจ้าพนักงานการเลือกตั้ง (งานวินิจฉัยหรืองานสืบสวนสอบสวน) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ต้องปฏิบัติงานพิจารณาวินิจฉัยหรือสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๕๑ (๒) (ข) (ค) หรือ (ง) และไม่น้อยกว่า ๓๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๕๑ (๒) (ช) ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้นั้นไปศึกษาต่อต่างประเทศด้วยทุนรัฐบาลตามความต้องการของสำนักงานอัยการสูงสุด ข้อ ๑๕ ผู้สมัครที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นตามข้อ ๑๔ ต้องมีหนังสือรับรองของผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณา หรือหนังสือรับรองของศาล หรือของผู้บังคับบัญชา แล้วแต่กรณี มาแสดงว่าได้ทำหน้าที่นั้นอย่างแท้จริง ตามแบบที่กำหนดในหมวด ๑ บทเฉพาะกาล ข้อ ๑๖ ผู้ที่มีคุณสมบัติและปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วนหรือแต่เพียงบางส่วนตามข้อกำหนด ก.อ. เรื่อง กำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นและเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพตามมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ฉบับลงวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๔๕ ฉบับลงวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๔๖ ฉบับลงวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ฉบับลงวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๐ หรือฉบับลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๑ ซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่ก่อนระเบียบนี้ ให้ถือว่าได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นและปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ครบถ้วนแล้ว หรือแต่เพียงส่วนนั้น แล้วแต่กรณี ตามที่ ก.อ. กำหนดตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๗ ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งรองจ่าศาลอยู่ก่อนวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๔ และยังคงปฏิบัติหน้าที่เดิมในตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสำนักงานศาลยุติธรรม โดยมีผู้บังคับบัญชารับรอง ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ ให้ถือว่าการปฏิบัติหน้าที่เดิมต่อมานั้นเป็นการประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นและได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพนั้น ๆ โดยให้นับระยะเวลาต่อเนื่องกันไป ข้อ ๑๘ ในระหว่างที่ ก.อ. ยังมิได้กำหนดมาตรฐานในสายงานนิติการตามข้อ ๑๐ (๑) ให้นำมาตรฐานในสายงานนิติการที่ ก.พ. กำหนดมาใช้บังคับเป็นมาตรฐานในสายงานนิติการของนิติกร ตามข้อ ๑๐ (๑) ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ [เอกสารแนบท้าย] ๑. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ หรือภาควิชานิติศาสตร์ หรือสาขาวิชานิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ (วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น (แบบ ๑)) ๒. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือข้าราชการตำรวจ (วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น (แบบ ๒)) ๓. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานคดี สำนักงานอัยการสูงสุด หรือเป็นข้าราชการศาลยุติธรรมตำแหน่งเจ้าพนักงานศาลยุติธรรม (วุฒิทางกฎหมาย) หรือเจ้าพนักงานคดี สำนักงานศาลยุติธรรม (วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น (แบบ ๓)) ๔. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นนายทหารทำหน้าที่นายทหารสืบสวนสอบสวน หรือนายทหารสารวัตรสืบสวนสอบสวน กระทรวงกลาโหม (วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น (แบบ ๔)) ๕. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นข้าราชการตำแหน่งเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น (แบบ ๕)) ๖. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นข้าราชการตำแหน่งเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น (แบบ ๖)) ๗. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นข้าราชการตำแหน่งนักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือนักวิชาการที่ดิน (วุฒิทางกฎหมาย) กรมที่ดิน (วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น (แบบ ๗)) ๘. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานการเลือกตั้ง (งานนิติการ) หรือเป็นเจ้าพนักงานการเลือกตั้ง (งานวินิจฉัยหรืองานสืบสวนสอบสวน) หรือพนักงานสืบสวนสอบสวน สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น (แบบ ๘)) ๙. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างในกระทรวงยุติธรรม ทำหน้าที่พนักงานคุมประพฤติ (วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น (แบบ ๙)) ๑๐. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ตำแหน่งนิติกร (วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น (แบบ ๑๐)) ๑๑ หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ พนักงานในองค์กรของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การมหาชน ตำแหน่งนิติกร (วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น (แบบ ๑๑)) ๑๒. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมาย โรงเรียนนายร้อยตำรวจ (วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น (แบบ ๑๒)) ๑๓. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นนักวิชาการแรงงาน (วุฒิทางกฎหมาย) ซึ่งทำหน้าที่ฟ้องคดีหรือแก้ต่างคดีแรงงานให้แก่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตาย (วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น (แบบ ๑๓)) ๑๔. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นพนักงานราชการ ตำแหน่งนิติกร (วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น (แบบ ๑๔)) ๑๕. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นพนักงานปฏิบัติการของสำนักกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น (แบบ ๑๕)) ๑๖. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือลูกจ้างในหน่วยงานของรัฐ หรือผู้รับจ้างตามสัญญาจ้างเหมาบริการ(นิติกร) ในสำนักงานอัยการสูงสุด ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร (วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น (แบบ ๑๖)) ๑๗. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นพนักงานของสถาบันการเงินที่ ก.อ. รับรอง ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร (วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น (แบบ ๑๗)) ๑๘. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นอาจารย์ผู้บรรยายประจำวิชาของคณะนิติศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่กระทรวงศึกษาธิการให้การรับรองมาตรฐานการศึกษาของหลักสูตรนิติศาสตร์ (วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น (แบบ ๑๘)) ๑๙. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ (วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น (แบบ ๑๙)) ๒๐. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นนักวิจัยหรือผู้ช่วยนักวิจัย (วุฒิทางกฎหมาย) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น (แบบ ๒๐)) ๒๑. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นข้าราชการตำรวจทำหน้าที่นิติกร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น (แบบ ๒๑)) ๒๒. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นพนักงานคดีปกครอง (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานศาลปกครอง (วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น (แบบ ๒๒)) ๒๓. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ หรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษ (วุฒิทางกฎหมาย) กรมสอบสวนคดีพิเศษ (วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น (แบบ ๒๓)) ๒๔. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น (แบบ ๒๔)) ๒๕. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ตำแหน่งนิติกร หรือเจ้าหน้าที่สอบสวน (วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น (แบบ ๒๕)) ๒๖. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น (แบบ ๒๖)) ๒๗. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นพนักงานคดี (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น (แบบ ๒๗)) ๒๘. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สิทธิมนุษยชน (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น (แบบ ๒๘)) ๒๙. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นนักการทูต (วุฒิทางกฎหมาย) กระทรวงการต่างประเทศ (วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น (แบบ ๒๙)) ๓๐. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นนักกฎหมายกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น (แบบ ๓๐)) ๓๑. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ (วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น (แบบตามข้อ ๗)) ๓๒. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นทนายความ (สำหรับคดีหลังวันถัดจากวันที่ระเบียบประกาศในราชกิจจานุเบกษา) (วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น (แบบตามข้อ ๘ วรรคหนึ่ง)) ๓๓. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นทนายความ (สำหรับคดีก่อนและในวันที่ระเบียบประกาศในราชกิจจานุเบกษา) (วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น (แบบตามข้อ ๘ วรรคสอง)) ๓๔. บัญชีรายละเอียดการว่าความคดีอาญา ๓๕. บัญชีรายละเอียดการว่าความคดีแพ่ง ๓๖. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑(๒)(จ) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมายตามหลักสูตรในคณะนิติศาสตร์ หรือภาควิชานิติศาสตร์ หรือสาขาวิชานิติศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาซึ่ง ก.อ.รับรอง (สนามเล็ก (แบบ ๑)) ๓๗. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑(๒)(ฉ) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นข้าราชการฝ่ายอัยการ ตำแหน่งนิติกร/เจ้าพนักงานคดี (สนามเล็ก (แบบ ๒)) ๓๘. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑(๒)(ช) (ซ) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งได้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม เภสัชกรรม การสัตวแพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ การพยาบาล วิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรือเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน (สนามเล็ก (แบบ ๓)) ๓๙. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑(๒)(ช) (ซ) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งได้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม เภสัชกรรม การสัตวแพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ การพยาบาล วิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรือเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ซึ่งมิได้ประกอบวิชาชีพในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน(สนามเล็ก (แบบ ๔)) ๔๐. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเคยเป็นรองจ่าศาลและปฏิบัติหน้าที่เดิมต่อมานับแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๔ (วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น (แบบตามข้อ ๑๗)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ เมษายน ๒๕๕๖ ชาญ/ผู้ตรวจ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๓๐ ก/หน้า ๔๓/๒๙ มีนาคม ๒๕๕๖
682308
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเครื่องแบบและการแต่งกายของข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2556
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเครื่องแบบและการแต่งกายของข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๖[๑] โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเครื่องแบบและการแต่งกายของข้าราชการฝ่ายอัยการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเครื่องแบบและการแต่งกายของข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้คณะกรรมการอัยการมีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ข้อ ๔ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่ง หลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งอื่นใด ซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน หมวด ๑ เครื่องแบบและการแต่งกายของข้าราชการอัยการ ข้อ ๕ เครื่องแบบข้าราชการอัยการ ให้มี ๓ ชนิด คือ (๑) เครื่องแบบปฏิบัติราชการ มี ๒ ประเภท (ก) เครื่องแบบสีกากีคอพับ (ข) เครื่องแบบสีกากีคอแบะ (๒) เครื่องแบบพิธีการ มี ๕ ประเภท (ก) เครื่องแบบปกติขาว (ข) เครื่องแบบปกติกากีคอตั้ง (ค) เครื่องแบบครึ่งยศ (ง) เครื่องแบบเต็มยศ (จ) เครื่องแบบสโมสร (๓) เครื่องแต่งกายปฏิบัติงานทั่วไป มี ๒ ประเภท (ก) เครื่องแต่งกายประจำสำนักงาน (ข) เครื่องแต่งกายปฏิบัติงาน ข้อ ๖ เครื่องแบบปฏิบัติราชการ ประกอบด้วย (๑) หมวก (๒) เสื้อ (๓) เครื่องหมายแสดงสังกัด (๔) อินทรธนู (๕) ป้ายชื่อและตำแหน่ง (๖) กางเกง กระโปรง (๗) เข็มขัด (๘) รองเท้า ถุงเท้า ข้อ ๗ หมวก สำหรับเครื่องแบบปฏิบัติราชการ ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้หมวกได้ ๒ แบบ แบบที่ ๑ หมวกทรงหม้อตาลสีกากี กะบังหน้าทำด้วยหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำ สายรัดคางหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำ มีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็กติดที่ข้างหมวกข้างละ ๑ ดุม ผ้าพันหมวกสีกากี ที่หน้าหมวกติดตราครุฑพ่าห์ในบัวกระหนกทำด้วยโลหะสีทองสูง ๖.๕ เซนติเมตร แบบที่ ๒ หมวกแก๊ปทรงอ่อนสีกากี ที่หน้าหมวกติดตราครุฑพ่าห์ปักดิ้นสีทองสูง ๔.๕ เซนติเมตร ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้หมวกได้ ๓ แบบ แบบที่ ๑ อนุโลมตามแบบหมวกของข้าราชการอัยการชาย แบบที่ ๑ แต่เป็นทรงอ่อน แบบที่ ๒ หมวกแก๊ปทรงอ่อนพับปีกสีกากี สายรัดคางสีทองกว้าง ๑ เซนติเมตร มีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็กติดที่ข้างหมวกข้างละ ๑ ดุม ผ้าพันหมวกสีกากี ที่หน้าหมวกติดตราครุฑพ่าห์ปักดิ้นสีทองสูง ๔.๕ เซนติเมตร บนหมอนสีกากี แบบที่ ๓ หมวกหนีบสีกากี ด้านหน้ามีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็ก ๒ ดุม ติดซ้อนกัน มีตราครุฑพ่าห์ในบัวกระหนกสูง ๔.๕ เซนติเมตร ติดที่ด้านซ้ายเหนือขอบหมวก ห่างจากมุมพับด้านหน้าหมวกประมาณ ๔ เซนติเมตร ข้าราชการอัยการหญิงมุสลิม หากจะใช้ผ้าคลุมศีรษะ ให้ใช้ผ้าคลุมศีรษะสีประเภทสีกากีหรือสีกลมกลืนกับเสื้อ กระโปรง หรือกางเกง โดยให้คลุมศีรษะทั้งหมดเว้นใบหน้า ชายผ้าคลุมศีรษะด้านข้างยาวถึงบ่า ด้านหน้ายาวถึงระดับอก ขอบผ้าคลุมเย็บเรียบ ในกรณีที่มีการสวมหมวกให้สวมหมวกทับผ้าคลุมศีรษะ การสวมหมวก ให้สวมในโอกาสอันควร ข้อ ๘ เสื้อ สำหรับเครื่องแบบปฏิบัติราชการ ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้เสื้อได้ ๒ แบบ แบบที่ ๑ เสื้อคอพับสีประเภทสีกากี แขนยาวรัดข้อมือ มีดุมที่ข้อมือข้างละ ๑ ดุม หรือแขนสั้นมีกระเป๋าเย็บติดที่หน้าอกเสื้อข้างละ ๑ กระเป๋า เป็นกระเป๋าเสื้อมีแถบอยู่ตรงกลางตามทางดิ่งกว้าง ๓.๕ เซนติเมตร มีใบปกกระเป๋ารูปมนชายกลางแหลมหรือเป็นกระเป๋าเสื้อชนิดไม่มีแถบกลางกระเป๋า และใบปกกระเป๋าเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มุมกระเป๋าและมุมปกกระเป๋าเป็นรูปตัดพองาม ที่ปากกระเป๋าทั้งสองข้างติดดุมข้างละ ๑ ดุม สำหรับขัดใบปกกระเป๋า ตัวเสื้อผ่าอกตลอดมีสาบกว้าง ๓.๕ เซนติเมตร ติดดุมตามแนวอกเสื้อ ๕ ดุม ระยะห่างกันพอสมควรและติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง ที่ไหล่เสื้อประดับอินทรธนูสีเดียวกับเสื้อยาวตามความยาวของบ่าเย็บติดกับเสื้อเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอ ปลายมน ด้านไหล่กว้าง ๔ เซนติเมตร ด้านคอ กว้าง ๓ เซนติเมตร ตอนปลายขัดดุมติดกับตัวเสื้อ ในโอกาสไปงานพิธี ให้ใช้เสื้อเชิ้ตแขนยาว ผูกผ้าผูกคอสีดำเงื่อนกลาสี สอดชายผ้าผูกคอไว้ภายในเสื้อใต้ดุมเม็ดที่สอง แบบที่ ๒ เสื้อคอแบะปล่อยเอวแบบคอตื้นสีประเภทสีกากี แขนสั้น ตัวเสื้อผ่าอกตลอดมีดุมที่อกเสื้อ ๔ ดุม มีกระเป๋าเย็บติดภายนอกเป็นกระเป๋าบนและล่างอย่างละ ๒ กระเป๋า กระเป๋าบนมีใบปกมนชายกลางแหลม มีแถบกว้าง ๓.๕ เซนติเมตร ตรงกึ่งกลางกระเป๋าทางดิ่ง กระเป๋าล่างเป็นกระเป๋าย่าม มีใบปกรูปตัด ที่ฝากระเป๋าทั้งสองกระเป๋า ติดดุมข้างละ ๑ ดุม สำหรับขัดกับใบปกกระเป๋าที่เอวด้านหลังคาดด้วยผ้าสีเดียวกับเสื้อขนาดกว้าง ๕ เซนติเมตร ชายเสื้อที่ตะเข็บกลางหลังเปิดไว้ถึงผ้าคาดเอว ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง ให้ใช้เสื้อแบบที่ ๒ แทนแบบที่ ๑ ในโอกาสอันควร ดุมที่ใช้กับเสื้อทั้งสองแบบมีลักษณะเป็นรูปกลมแบนทำด้วยวัตถุสีเดียวกับสีเสื้อ ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้ประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าบนซ้ายด้วย ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้เสื้อได้ ๔ แบบ แบบที่ ๑ อนุโลมตามแบบเสื้อของข้าราชการอัยการชาย แบบที่ ๑ แบบที่ ๒ เสื้อคอพับสีประเภทสีกากี สีอ่อนกว่ากระโปรงหรือสีเดียวกับกระโปรง ผ่าอกตลอดตัวเสื้อ มีสาบกว้างประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร แขนยาวรัดข้อมือ ขอบปลายแขนกว้างประมาณ ๕ เซนติเมตร หรือแขนสั้นเหนือข้อศอกเล็กน้อย ตลบชายกว้างประมาณ ๕ เซนติเมตร เดินคิ้วด้านหน้าเสื้อต่อจากเส้นบ่า มีตะเข็บผ่านกลางอกยาวตลอดตัวทั้งสองด้าน มีดุม ๕ ดุม ด้านหลังจากเส้นต่อบ่าหลังมีตะเข็บผ่านตามตัวเสื้อทั้งสองด้านเช่นเดียวกับด้านหน้า ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง ที่ไหล่เสื้อประดับอินทรธนูสีเดียวกับเสื้อยาวตามความยาวของบ่าเย็บติดกับเสื้อเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอปลายมน ด้านไหล่กว้าง ๔ เซนติเมตร ด้านคอกว้าง ๓ เซนติเมตร ตอนปลายขัดดุมติดกับตัวเสื้อ การสวมให้สอดชายเสื้อไว้ในขอบกระโปรง แบบที่ ๓ เสื้อคอพับปล่อยเอวสีประเภทสีกากี สีเดียวกับกระโปรงหรือกางเกง ผ่าอกตลอดตัวเสื้อไม่มีสาบ ด้านหน้ามีคิ้วตามสาบ มีดุม ๔ ดุม แขนยาวหรือแขนสั้นตลบชายกว้างประมาณ ๕ เซนติเมตร มีคิ้วหน้าหลังเช่นเดียวกับแบบที่ ๒ และมีเส้นแนวตะเข็บเช่นเดียวกับแบบที่ ๒ ทั้งหน้าหลัง ความยาวของเสื้อให้คลุมสะโพกพองาม ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง ที่ไหล่เสื้อประดับอินทรธนูสีเดียวกับเสื้อยาวตามความยาวของบ่าเย็บติดกับเสื้อเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอ ปลายมน ด้านไหล่กว้าง ๔ เซนติเมตร ด้านคอกว้าง ๓ เซนติเมตร ตอนปลายขัดดุมติดกับตัวเสื้อ แบบที่ ๔ เสื้อคอแบะปล่อยเอวสีประเภทสีกากี สีเดียวกับกระโปรงหรือกางเกง ผ่าอกตลอดตัวเสื้อ ไม่มีสาบ แขนยาวจรดข้อมือหรือแขนสั้นเหนือศอกเล็กน้อย ตลบชายกว้างประมาณ ๕ เซนติเมตร ด้านหน้าเป็นคิ้วตามสาบ ดุม ๓ ดุม ต่อด้านหน้าและด้านหลังยาวตามตัว ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอแบะทั้งสองข้าง และมีกระเป๋าล่างข้างละ ๑ กระเป๋า เป็นกระเป๋าเจาะเฉียงเล็กน้อย ไม่มีใบปกกระเป๋า ดุมที่ใช้กับเสื้อแบบที่ ๒ แบบที่ ๓ และแบบที่ ๔ มีลักษณะเป็นรูปกลมแบน สีกากี สีเดียวกับสีเสื้อ การสวมเสื้อแบบที่ ๓ และแบบที่ ๔ ให้ปล่อยชายเสื้อทับกระโปรงหรือกางเกงและคาดเข็มขัดตามข้อ ๑๓ แบบที่ ๒ ทับเอวเสื้อ ในโอกาสไปงานพิธี ให้ใช้เสื้อแบบที่ ๑ หรือแบบที่ ๒ โดยใช้เสื้อเชิ้ตแขนยาว ผูกผ้าผูกคอสีดำเงื่อนกลาสี สอดชายผ้าผูกคอไว้ภายในเสื้อใต้ดุมเม็ดที่สอง ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้ประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าบนซ้ายด้วย ข้อ ๙ เครื่องหมายแสดงสังกัด สำหรับเครื่องแบบปฏิบัติราชการ ข้าราชการอัยการชาย ให้มีเครื่องหมายแสดงสังกัดทำด้วยโลหะโปร่งสีทองรูปพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐานเหนือพระแว่นสุริยกานต์และตราชูรูปพระขรรค์รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์ไม่มีขอบสูง ๒.๔ เซนติเมตร ติดที่ปกคอเสื้อตอนหน้าทั้งสองข้าง ตามแบบท้ายระเบียบแบบที่ ๑ ข้าราชการอัยการหญิง ให้มีเครื่องหมายแสดงสังกัดเช่นเดียวกับข้าราชการอัยการชายติดที่ปกคอด้านหน้าทั้งสองข้างของเสื้อแบบที่ ๑ แบบที่ ๒ และแบบที่ ๓ สำหรับเสื้อแบบที่ ๔ ให้ติดที่ปกคอแบะทั้งสองข้างเหนือแนวเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ข้อ ๑๐ อินทรธนู สำหรับเครื่องแบบปฏิบัติราชการ ข้าราชการอัยการตั้งแต่ตำแหน่งอัยการประจำกองหรืออัยการจังหวัดผู้ช่วยขึ้นไป และอัยการอาวุโส ให้ใช้อินทรธนูอ่อนมีแถบสีเหลืองหรือสีทองขนาดกว้างแถบละ ๑ เซนติเมตร ติดทางต้นอินทรธนู ๑ แถบ แถบกลางประกอบเป็น ๓ แถบ ติดเรียงกันไปโดยไม่ต้องเว้นระยะห่าง และแถบบนขมวดเป็นวงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางวงใน ๒ เซนติเมตร การติดแถบให้ติดตามขวางที่ต้นอินทรธนูแถบแรกให้ห่างจากต้นอินทรธนู ๕ มิลลิเมตร โดยให้แถบแรกเว้นระยะห่างจากแถบกลาง ๕ มิลลิเมตร และแถบกลางเว้นระยะห่างจากแถบบน ๕ มิลลิเมตร มีรูปพระไพศรพณ์ทำด้วยโลหะสีทอง ขนาดสูง ๓ เซนติเมตร ประทับอยู่บนพื้นอินทรธนูภายในขมวดวงกลม ฐานของรูปพระไพศรพณ์อยู่เหนือแถบกลางตามแบบท้ายระเบียบแบบที่ ๒ ข้าราชการอัยการตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ให้ใช้อินทรธนูอ่อนมีแถบสีเหลืองหรือสีทองขนาดกว้างแถบละ ๑ เซนติเมตร ติดทางต้นอินทรธนูแถบล่างประกอบเป็น ๓ แถบ ติดเรียงกันไปโดยไม่ต้องเว้นระยะห่าง และให้แถบบนขมวดเป็นวงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางวงใน ๒ เซนติเมตร การติดแถบให้ติดตามขวางที่ต้นอินทรธนู แถบแรกให้ห่างจากต้นอินทรธนู ๕ มิลลิเมตร และห่างจากแถบบนอีก ๕ มิลลิเมตร มีรูปพระไพศรพณ์ทำด้วยโลหะสีทองขนาดสูง ๓ เซนติเมตร ประทับอยู่บนพื้นอินทรธนูภายในขมวดวงกลม ฐานของรูปพระไพศรพณ์อยู่เหนือแถบล่าง ตามแบบท้ายระเบียบแบบที่ ๓ ข้อ ๑๑ ป้ายชื่อและตำแหน่ง สำหรับเครื่องแบบปฏิบัติราชการ ให้มีป้ายชื่อพื้นสีดำมีขอบสีทอง ขนาดกว้างไม่เกิน ๒.๕ เซนติเมตร ยาวไม่เกิน ๗.๕ เซนติเมตร แสดงชื่อตัว ชื่อสกุล และชื่อตำแหน่งด้วยตัวอักษรสีทองประดับที่อกเสื้อด้านบนขวาหรือเหนือกระเป๋าบนขวาของเสื้อเครื่องแบบ ข้อ ๑๒ กางเกง กระโปรง สำหรับเครื่องแบบปฏิบัติราชการ ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้กางเกงแบบราชการสีประเภทสีกากี ไม่พับปลายขา ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้กางเกงหรือกระโปรงสีประเภทสีกากีได้ ๕ แบบ แบบที่ ๑ กางเกง อนุโลมตามแบบของข้าราชการอัยการชาย แบบที่ ๒ กางเกงขายาว ขาตรง ไม่มีลวดลาย ขอบกางเกงกว้างประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร มีหรือไม่มีกระเป๋าก็ได้ มีซิบด้านหน้าหรือด้านข้าง ไม่พับปลายขา แบบที่ ๓ กระโปรงยาวปิดเข่า ปลายบานเล็กน้อย แบบที่ ๔ กระโปรง มีตะเข็บหน้า ๒ ตะเข็บ ตะเข็บหลัง ๒ ตะเข็บ ยาวครึ่งเข่า ปลายบานเล็กน้อย แบบที่ ๕ กระโปรงกางเกง แบบกางเกงยาวครึ่งเข่า มีตะเข็บหน้า ๒ ตะเข็บ ตะเข็บหลัง ๒ ตะเข็บ มีจีบกระทบด้านหน้าและด้านหลัง ข้าราชการอัยการหญิงมุสลิม หากจะใช้กระโปรง หรือกระโปรงกางเกง ตามแบบที่ ๓ แบบที่ ๔ หรือแบบที่ ๕ จะให้ยาวคลุมข้อเท้าก็ได้ ข้อ ๑๓ เข็มขัด สำหรับเครื่องแบบปฏิบัติราชการ ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้เข็มขัดทำด้วยด้ายถักสีกากี กว้าง ๓ เซนติเมตร หัวเข็มขัดทำด้วยโลหะสีทองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทางนอน ปลายมน กว้าง ๓.๕ เซนติเมตร ยาว ๕ เซนติเมตร มีรูปครุฑดุนนูนอยู่กึ่งกลางหัวเข็มขัด ไม่มีเข็มสำหรับสอดรู ปลายเข็มขัดหุ้มด้วยโลหะสีทองกว้าง ๑ เซนติเมตร ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้เข็มขัดได้ ๒ แบบ แบบที่ ๑ ใช้คาดทับขอบกระโปรง โดยใช้เข็มขัดอนุโลมตามแบบของข้าราชการอัยการชาย แบบที่ ๒ ใช้คาดทับเสื้อ โดยใช้เข็มขัดผ้าสีประเภทสีกากีสีเดียวกับเสื้อกว้าง ๒.๕ เซนติเมตรหัวสี่เหลี่ยมหุ้มผ้า ข้อ ๑๔ รองเท้า ถุงเท้า สำหรับเครื่องแบบปฏิบัติราชการ ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้รองเท้าหุ้มส้นหรือหุ้มข้อหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำหรือสีน้ำตาลไม่มีลวดลาย ถุงเท้าสีเดียวกับรองเท้า ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้รองเท้าหุ้มส้นหรือรัดส้นหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำหรือสีน้ำตาลแบบปิดปลายเท้า ไม่มีลวดลาย ส้นสูงไม่เกิน ๑๐ เซนติเมตร และจะใช้ถุงเท้ายาวสีเนื้อด้วยก็ได้ ข้อ ๑๕ เครื่องแบบพิธีการ ประเภทเครื่องแบบปกติขาว ประกอบด้วย (๑) หมวก (๒) เสื้อ (๓) เครื่องหมายแสดงสังกัด (๔) อินทรธนู (๕) กางเกง กระโปรง (๖) รองเท้า ถุงเท้า ข้อ ๑๖ หมวก สำหรับเครื่องแบบปกติขาว ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้หมวกทรงหม้อตาลสีขาว กะบังหน้าทำด้วยหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำ สายรัดคางสีทองกว้าง ๑ เซนติเมตร มีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็กติดที่ข้างหมวกข้างละ ๑ ดุม ผ้าพันหมวกสีขาว ที่หน้าหมวกติดตราครุฑพ่าห์ปักดิ้นสีทองสูง ๕ เซนติเมตร บนหมอนสักหลาดสีขาว ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้หมวกได้ ๒ แบบ แบบที่ ๑ อนุโลมตามแบบหมวกของข้าราชการอัยการชาย แต่เป็นทรงอ่อน แบบที่ ๒ หมวกแก๊ปทรงอ่อนพับปีกสีขาว สายรัดคางสีทอง มีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ ขนาดเล็กติดที่ข้างหมวกข้างละ ๑ ดุม ผ้าพันหมวกสีขาว ที่หน้าหมวกติดตราครุฑพ่าห์ปักดิ้นสีทองสูง ๔.๕ เซนติเมตร บนหมอนสักหลาดสีขาว ข้าราชการอัยการหญิงมุสลิม หากจะใช้ผ้าคลุมศีรษะ ให้ใช้ผ้าคลุมศีรษะสีดำ โดยให้คลุมศีรษะทั้งหมด เว้นใบหน้า ชายผ้าคลุมศีรษะสอดไว้ในปกเสื้อคอพับ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ในกรณีที่มีการสวมหมวก ให้สวมหมวกทับผ้าคลุมศีรษะ การสวมหมวก ให้สวมในโอกาสอันควร ข้อ ๑๗ เสื้อ สำหรับเครื่องแบบปกติขาว ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้เสื้อแบบราชการสีขาว ใช้ดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดใหญ่ ๕ ดุม ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่คอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าบนซ้ายด้วย ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้เสื้อนอกคอแบะสีขาวแบบคอแหลมหรือคอป้าน แขนยาวถึงข้อมือมีตะเข็บหลัง ๔ ตะเข็บ ที่แนวสาบอกมีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑.๕ เซนติเมตร ๓ ดุม สำหรับแบบเสื้อคอแหลม และ ๕ ดุม สำหรับแบบเสื้อคอป้าน มีกระเป๋าล่างข้างละ ๑ กระเป๋า เป็นกระเป๋าเจาะเฉียงเล็กน้อย ไม่มีใบปกกระเป๋า และให้ใช้เสื้อคอพับแขนยาวสีขาวผูกผ้าผูกคอสีดำเงื่อนกลาสี ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่คอแบะของเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้างเหนือแนวเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเบื้องซ้ายด้วย ข้อ ๑๘ เครื่องหมายแสดงสังกัด สำหรับเครื่องแบบปกติขาว ข้าราชการอัยการชาย ให้มีเครื่องหมายแสดงสังกัดเช่นเดียวกับเครื่องแบบปฏิบัติราชการติดที่ปกคอเสื้อตอนหน้าทั้งสองข้าง ข้าราชการอัยการหญิง ให้มีเครื่องหมายแสดงสังกัดเช่นเดียวกับข้าราชการอัยการชาย ติดที่คอแบะของเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้างเหนือแนวเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ข้อ ๑๙ อินทรธนู สำหรับเครื่องแบบปกติขาว ให้ใช้อินทรธนูแข็ง กว้าง ๔ เซนติเมตร ยาวตามความยาวของบ่า พื้นกำมะหยี่หรือสักหลาดสีดำติดทับเสื้อเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอ ด้านคอปลายมนติดดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็กอินทรธนูมีลาย ดังต่อไปนี้ (๑) ข้าราชการอัยการตั้งแต่ตำแหน่งอัยการประจำกองหรืออัยการจังหวัดผู้ช่วยขึ้นไป และอัยการอาวุโส ให้ใช้อินทรธนูมีลายปักดิ้นสีทองลายช่อชัยพฤกษ์ ๙ ช่อเต็มแผ่นอินทรธนู มีรูปพระไพศรพณ์ทำด้วยโลหะสีทองขนาดสูง ๓ เซนติเมตร ประทับอยู่บนอินทรธนูค่อนมาทางด้านไหล่ ตามแบบท้ายระเบียบแบบที่ ๔ (๒) ข้าราชการอัยการตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ให้ใช้อินทรธนูมีลายปักดิ้นสีทองลายดอกชัยพฤกษ์ จำนวน ๙ ดอกเต็มแผ่นอินทรธนู มีรูปพระไพศรพณ์ทำด้วยโลหะสีทองขนาดสูง ๓ เซนติเมตร ประทับอยู่บนอินทรธนูค่อนมาทางด้านไหล่ ตามแบบท้ายระเบียบแบบที่ ๕ ข้อ ๒๐ กางเกง กระโปรง สำหรับเครื่องแบบปกติขาว ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้กางเกงแบบราชการสีขาว ขายาว ไม่พับปลายขา ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้กระโปรงสีขาว ตีเกล็ดด้านหน้า ๒ เกล็ด และด้านหลัง ๒ เกล็ด ยาวปิดเข่า ปลายบานเล็กน้อย ใช้กับแบบเสื้อคอแหลม หรือกระโปรงสีขาวยาวปิดเข่า ปลายบานเล็กน้อยใช้กับแบบเสื้อคอป้าน ข้าราชการอัยการหญิงมุสลิม กระโปรงทั้งสองแบบดังกล่าว จะให้ยาวคลุมข้อเท้าก็ได้ ข้อ ๒๑ รองเท้า ถุงเท้า สำหรับเครื่องแบบปกติขาว ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้รองเท้าหุ้มส้นหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำชนิดผูก ถุงเท้าสีดำ ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้รองเท้าหุ้มส้นหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำ แบบปิดปลายเท้าไม่มีลวดลาย ส้นสูงไม่เกิน ๑๐ เซนติเมตร ถุงเท้ายาวสีเนื้อ ข้อ ๒๒ เครื่องแบบปกติกากีคอตั้ง ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบปกติขาว เว้นแต่สีของหมวก ผ้าพันหมวก หมอนสักหลาดสำหรับปักครุฑพ่าห์ เสื้อและกางเกงหรือกระโปรงเป็นสีประเภทสีกากี ข้อ ๒๓ เครื่องแบบครึ่งยศ ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบปกติขาว เว้นแต่กางเกงหรือกระโปรง ให้ใช้ผ้าสักหลาดหรือเสิร์จสีดำ ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ข้อ ๒๔ เครื่องแบบเต็มยศ ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบครึ่งยศ สวมสายสะพาย ข้อ ๒๕ เครื่องแบบสโมสร เครื่องแบบสโมสรสำหรับข้าราชการอัยการชาย มี ๓ แบบ คือ (๑) เครื่องแบบสโมสร ก. ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบเต็มยศ (๒) เครื่องแบบสโมสร ข. ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบสโมสร ก. เว้นแต่ เสื้อ ให้ใช้เสื้อสโมสรสีขาว ทำด้วยผ้าสักหลาดหรือเสิร์จเปิดอก ปาดเอว มีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็กติดที่ข้อมือข้างละ ๓ ดุม ที่ระหว่างอกกับเอวข้างละ ๓ ดุม และที่บรรจบเสื้อมีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดใหญ่ข้างละ ๑ ดุม ดุมคู่นี้มีสายสร้อยสีทองร้อยติดกัน ประกอบด้วยเสื้อกั๊กสีขาวดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ ๓ ดุม และเสื้อเชิ้ตสีขาว อกแข็ง ข้อมือแข็ง คอเชิ้ตชั้นเดียวแบบปีกผีเสื้อ ผูกผ้า ผูกคอสีดำเงื่อนหูกระต่าย เครื่องหมายแสดงสังกัด ให้ติดที่คอแบะของเสื้อตอนบนทั้งสองข้างเหนือแนวเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในฤดูร้อน ให้ใช้กางเกงสีขาวแทนกางเกงสีดำได้ (๓) เครื่องแบบสโมสร ค. ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบสโมสร ข. เว้นแต่เสื้อเชิ้ตอกแข็งให้ใช้เสื้อเชิ้ตอกอ่อนสีขาว และเสื้อกั๊กให้ใช้แพรแถบสีเดียวกับกางเกงรัดเอวแทน แพรแถบนี้ส่วนกลางด้านหน้ากว้าง ๑๒ เซนติเมตร ปลายทั้งสองข้างเรียวกว้าง ๑๑ เซนติเมตร ที่ปลายมีขอเกี่ยวติดกันในขณะคาดทางด้านหลัง ข้าราชการอัยการหญิง ให้แต่งตามสมัยนิยม ข้อ ๒๖ เครื่องแต่งกายปฏิบัติงานทั่วไป สำหรับการปฏิบัติราชการตามปกติของสำนักงานอัยการสูงสุด มี ๒ แบบ ดังนี้ (๑) เครื่องแต่งกายประจำสำนักงาน ประกอบด้วย (ก) เสื้อตัวนอก ข้าราชการอัยการให้ใช้เสื้อสูทสีสุภาพ (ข) เสื้อตัวใน ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้เสื้อเชิ้ตแขนยาวสีสุภาพ ผูกผ้าผูกคอเงื่อนกลาสี สีดำหรือสีอื่นที่สุภาพ ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้เสื้อสีสุภาพ (ค) เครื่องหมายแสดงสังกัด ข้าราชการอัยการจะติดเครื่องหมายแสดงสังกัดบริเวณอกเสื้อตัวนอกด้านซ้ายด้วยก็ได้ (ง) กางเกง กระโปรง ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้กางเกงขายาวสีดำหรือสีกรมท่าเข้มหรือสีสุภาพ ไม่พับปลายขาทรงสุภาพ คาดเข็มขัดแบบสุภาพ ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้กระโปรงทรงสอบหรือทรงตรง ความยาวระดับเข่า หรือกางเกงขายาวสีดำหรือสีกรมท่าเข้มหรือสีสุภาพ (จ) รองเท้า ถุงเท้า ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้รองเท้าหุ้มส้นหรือหุ้มข้อสีดำหรือสีสุภาพ ถุงเท้าสีเดียวกับรองเท้า ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้รองเท้าหุ้มส้นหรือรัดส้นสีดำหรือสีสุภาพ ส้นสูงหรือส้นเตี้ย ในกรณีปฏิบัติงานทั่วไป จะแต่งกายด้วยชุดสุภาพ ตามแบบที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนดก็ได้ (๒) เครื่องแต่งกายปฏิบัติงาน ประกอบด้วย (ก) เสื้อคลุม ให้ใช้ผ้าสีดำ กระเป๋าหน้าอกด้านซ้ายปักตราสัญลักษณ์สำนักงานอัยการสูงสุดขนาดสูง ๕.๕ เซนติเมตร และปักอักษรคำว่า “สำนักงานอัยการสูงสุด” ไว้ด้านล่าง ตามแบบท้ายระเบียบแบบที่ ๖ (ข) เสื้อตัวใน ให้ใช้เสื้อเชิ้ตแขนยาว เสื้อหรือชุดสีสุภาพ (ค) อินทรธนู ให้ใช้อินทรธนูอ่อนทำด้วยสักหลาดสีดำ เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้างประมาณ ๔ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๙.๕ เซนติเมตร ปักไหมทองหรือวัตถุเทียมไหมทองรูปพระไพศรพณ์ขนาดสูง ๒.๕ เซนติเมตร ค่อนมาทางด้านไหล่ ฐานของอินทรธนูปักไหมทองหรือวัตถุเทียมไหมทอง รูปช่อชัยพฤกษ์ ตามแบบท้ายระเบียบแบบที่ ๗ (ง) กางเกง กระโปรง ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้กางเกงขายาวสีดำหรือสีกรมท่าเข้มหรือสีสุภาพ ไม่พับปลายขาทรงสุภาพ คาดเข็มขัดแบบสุภาพ ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้กระโปรงทรงสอบหรือทรงตรง ความยาวระดับเข่า หรือกางเกงขายาวสีดำหรือสีกรมท่าเข้มหรือสีสุภาพ (จ) รองเท้า ถุงเท้า ข้าราชการอัยการชาย ให้ใช้รองเท้าหุ้มส้นหรือหุ้มข้อสีดำหรือสีสุภาพ ถุงเท้าสีเดียวกับรองเท้า ข้าราชการอัยการหญิง ให้ใช้รองเท้าหุ้มส้นหรือรัดส้นสีดำหรือสีสุภาพ ส้นสูงหรือส้นเตี้ย การแต่งเครื่องแต่งกายปฏิบัติงานตาม (๒) ให้เป็นไปตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด ข้อ ๒๗ การแต่งเครื่องแบบข้าราชการที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เป็นไปตามหมายกำหนดการหรือประกาศของสำนักงานอัยการสูงสุด ข้อ ๒๘ หากข้าราชการอัยการประสงค์จะแต่งเครื่องแบบหรือเครื่องแต่งกายแตกต่างจากที่ระเบียบนี้กำหนดอันเนื่องมาจากความเชื่อทางศาสนา ขนบธรรมเนียมเฉพาะกลุ่ม หรือเหตุอื่นอันสมควรให้ยื่นคำขออนุญาตต่ออัยการสูงสุดเป็นรายกรณี การแต่งกายอื่นใดตามเทศกาลหรือตามที่หน่วยงานอื่นขอความร่วมมือ ให้แต่งได้โดยความเห็นชอบของอัยการจังหวัด อธิบดีอัยการภาค อธิบดีอัยการ หรืออัยการสูงสุด แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๙ การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แพรแถบย่อของเครื่องราชอิสริยาภรณ์และดุมเสื้อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในประเภท ตระกูล และชั้นตราใด ให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้น ข้อ ๓๐ ข้าราชการอัยการซึ่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้นในเวลาแต่งเครื่องแบบครึ่งยศโดยไม่สวมสายสะพาย ส่วนในเวลาแต่งเครื่องแบบเต็มยศ ให้สวมสายสะพายด้วย สำหรับเวลาแต่งเครื่องแบบสโมสร จะประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จำลองขนาดย่อมก็ได้และถ้าในหมายกำหนดการหรือบัตรเชิญทางราชการกำหนดให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้ประดับอย่างแต่งเครื่องแบบครึ่งยศ หรือถ้ากำหนดให้สวมสายสะพาย ให้สวมสายสะพายด้วย ข้อ ๓๑ ข้าราชการอัยการซึ่งสำเร็จการศึกษาหรือการฝึกอบรมจากสถาบันการศึกษาอบรมของทางราชการหรือที่ราชการรับรอง ให้ติดเข็มหรือเครื่องหมายแสดงวิทยฐานะของสถาบันการศึกษาอบรมนั้นตามระเบียบของสถาบันการศึกษาอบรมดังกล่าว ในกรณีที่ไม่มีระเบียบกำหนดไว้ ให้ติดที่กึ่งกลางกระเป๋าบนข้างขวาของเครื่องแบบข้าราชการอัยการ กรณีไม่มีกระเป๋าบนให้ติดที่กึ่งกลางใต้อกเบื้องขวา ถ้ามีเข็มหรือเครื่องหมายแสดงวิทยฐานะดังกล่าวมากกว่าหนึ่งเข็มหรือหนึ่งเครื่องหมายให้ประดับได้เพียงเข็มหรือเครื่องหมายเดียว การประดับเข็มหรือเครื่องหมายแสดงวิทยฐานะแบบย่อ ให้ประดับบนปกเสื้อชุดสากลด้านบนข้างซ้าย ข้อ ๓๒ ข้าราชการอัยการซึ่งได้รับเครื่องหมายแสดงความสามารถพิเศษหรือเครื่องหมายเชิดชูเกียรติของทางราชการฝ่ายทหาร ฝ่ายตำรวจ หรือฝ่ายพลเรือน ซึ่งมีระเบียบหรือหลักเกณฑ์ให้ประดับกับเครื่องแบบได้ ให้ใช้เครื่องหมายดังกล่าวประดับกับเครื่องแบบข้าราชการอัยการได้ทุกชนิดการประดับให้เป็นไปตามระเบียบหรือหลักเกณฑ์ของราชการฝ่ายนั้น ข้อ ๓๓ ข้าราชการอัยการซึ่งมีเสมาอนุสรณ์มหาราช ให้ใช้ประกอบกับเครื่องแบบข้าราชการอัยการได้ทุกชนิด ดังนี้ (๑) เครื่องแบบปกติสีกากีคอพับ ให้ประดับเสมาอนุสรณ์มหาราชที่ดุมกระเป๋าเสื้อด้านซ้าย (๒) เครื่องแบบสีกากีคอแบะ และเครื่องแบบสโมสร ให้ประดับเสมาอนุสรณ์มหาราชที่ดุมเสื้อเม็ดที่หนึ่งตามแนวบรรจบเสื้อด้านบน (๓) เครื่องแบบปกติขาว เครื่องแบบปกติกากีคอตั้ง เครื่องแบบครึ่งยศ และเครื่องแบบเต็มยศให้ประดับเสมาอนุสรณ์มหาราชที่ดุมเสื้อเม็ดที่สองจากคอเสื้อตามแนวบรรจบเสื้อ ข้อ ๓๔ อดีตข้าราชการอัยการ ให้แต่งเครื่องแบบเช่นเดียวกับข้าราชการอัยการ เว้นแต่เครื่องหมายแสดงสังกัด ให้ติดที่อกเสื้อเบื้องขวา ข้อ ๓๕ อดีตข้าราชการอัยการผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ ไม่มีสิทธิแต่งเครื่องแบบข้าราชการอัยการ (๑) เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือบุคคลเสมือนไร้ความสามารถ (๒) เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นจากคดี (๓) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก (๔) ประพฤติตนในทางที่อาจเป็นการเสื่อมเสียเกียรติของสำนักงานอัยการสูงสุดและอัยการสูงสุดสั่งให้ผู้นั้นงดแต่งเครื่องแบบสำหรับอดีตข้าราชการอัยการในระยะเวลาที่กำหนดหรือตลอดไป หมวด ๒ เครื่องแบบและการแต่งกายของข้าราชการธุรการ ข้อ ๓๖ ให้นำเครื่องแบบและการแต่งกายของข้าราชการอัยการในหมวด ๑ มาใช้บังคับกับข้าราชการธุรการโดยอนุโลม เว้นแต่อินทรธนูสำหรับข้าราชการธุรการให้ใช้ดังนี้ (๑) เครื่องแบบปฏิบัติราชการ (ก) ข้าราชการธุรการ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญและทรงคุณวุฒิ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับสูง และตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้นและระดับสูง ให้ใช้อินทรธนูอ่อนมีแถบสีเหลืองหรือสีทองขนาดกว้างแถบละ ๑ เซนติเมตร ติดทางต้นอินทรธนู แถบล่างประกอบเป็น ๓ แถบ ติดเรียงกันไปโดยไม่ต้องเว้นระยะห่าง และให้แถบบนขมวดเป็นวงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางวงใน ๑ เซนติเมตร การติดแถบให้ติดตามขวางที่ต้นอินทรธนูแถบแรกให้ห่างจากต้นอินทรธนู ๕ มิลลิเมตร และห่างจากแถบบนอีก ๕ มิลลิเมตร มีตราสัญลักษณ์สำนักงานอัยการสูงสุดทำด้วยโลหะสีทองสูง ๒.๕ เซนติเมตร ทับอยู่บนกึ่งกลางแถบล่าง ตามแบบท้ายระเบียบแบบที่ ๘ (ข) ข้าราชการธุรการ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการและระดับชำนาญการพิเศษ และตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้น ให้ใช้อินทรธนูอ่อนเช่นเดียวกับ (ก) (ค) ข้าราชการธุรการ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน และตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ให้ใช้อินทรธนูอ่อนมีแถบสีเหลืองหรือสีทองขนาดกว้างแถบละ ๑ เซนติเมตร ติดทางต้นอินทรธนู ๑ แถบ แถบกลางอีก ๑ แถบ และแถบบนขมวดเป็นวงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางวงใน ๑ เซนติเมตร การติดแถบให้ติดตามขวางที่ต้นอินทรธนู แถบแรกให้ห่างจากต้นอินทรธนู ๕ มิลลิเมตร (ง) ข้าราชการธุรการ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ให้ใช้อินทรธนูอ่อนมีแถบสีเหลืองหรือสีทองขนาดกว้างแถบละ ๑ เซนติเมตร ติดทางต้นอินทรธนู ๑ แถบ และแถบบนขมวดเป็นวงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางวงใน ๑ เซนติเมตร การติดแถบให้ติดตามขวางที่ต้นอินทรธนูแถบแรกให้ห่างจากต้นอินทรธนู ๕ มิลลิเมตร อินทรธนูของเครื่องแบบปฏิบัติราชการในประเภทตำแหน่งและระดับตามข้อ ๓๖ (๑) (ข) (ค) และ (ง) ให้มีตราสัญลักษณ์สำนักงานอัยการสูงสุดทำด้วยโลหะสีทองขนาดสูง ๒.๕ เซนติเมตร ทับอยู่บนพื้นอินทรธนูภายในขมวดวงกลม ฐานของตราสัญลักษณ์สำนักงานอัยการสูงสุดอยู่เหนือแถบล่าง ตามแบบท้ายระเบียบแบบที่ ๙ - ๑๑ (๒) เครื่องแบบพิธีการ ให้มีอินทรธนูแข็งกว้าง ๔ เซนติเมตร ยาวตามความยาวของบ่าพื้นสักหลาดสีดำ ติดทับเสื้อเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอ ด้านคอปลายมนติดดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็ก อินทรธนูมีลายดังนี้ (ก) ข้าราชการธุรการ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญและระดับทรงคุณวุฒิ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับสูง และตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้นและระดับสูง มีแถบสีทองกว้าง ๕ มิลลิเมตร เป็นขอบ และปักดิ้นสีทองลายช่อชัยพฤกษ์ยาวตลอดส่วนกลางของอินทรธนู และให้มีแถบสีทองกว้าง ๕ มิลลิเมตร ปิดที่ฐานด้านล่างของอินทรธนู (ข) ข้าราชการธุรการ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการและระดับชำนาญการพิเศษ และตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้น มีแถบสีทองกว้าง ๕ มิลลิเมตร เป็นขอบ และปักดิ้นสีทองลายช่อชัยพฤกษ์ยาวตลอดส่วนกลางของอินทรธนู (ค) ข้าราชการธุรการ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน และตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ มีแถบสีทองกว้าง ๑ เซนติเมตร เป็นขอบ และปักดิ้นสีทองลายช่อชัยพฤกษ์มีดอก ๓ ดอก เรียงตามส่วนยาวของอินทรธนู ไม่เกิน ๓ ใน ๔ ส่วนของอินทรธนู (ง) ข้าราชการธุรการ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน มีแถบสีทองกว้าง ๑ เซนติเมตร เป็นขอบ และปักดิ้นสีทองลายช่อชัยพฤกษ์มีดอก ๒ ดอก เรียงตามส่วนยาวของอินทรธนู ไม่เกินครึ่งหนึ่งของอินทรธนู อินทรธนูของเครื่องแบบพิธีการ ทุกประเภทตำแหน่งและทุกระดับ ให้มีตราสัญลักษณ์สำนักงานอัยการสูงสุดทำด้วยโลหะสีทองขนาดสูง ๓ เซนติเมตร ทับอยู่บนอินทรธนูค่อนมาทางด้านไหล่ตามแบบท้ายระเบียบแบบที่ ๑๒ - ๑๕ (๓) เครื่องแต่งกายปฏิบัติงานทั่วไป ประเภทเครื่องแต่งกายปฏิบัติงาน (ก) ข้าราชการธุรการ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญและระดับทรงคุณวุฒิ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับสูง และตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้นและระดับสูง ให้ใช้อินทรธนูอ่อนทำด้วยสักหลาดสีดำ เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้างประมาณ ๔ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๙.๕ เซนติเมตร ปักไหมทองหรือวัตถุเทียมไหมทองตราสัญลักษณ์สำนักงานอัยการสูงสุดขนาดสูง ๒.๕ เซนติเมตร ค่อนมาทางด้านไหล่ ฐานของอินทรธนูปักไหมทองหรือวัตถุเทียมไหมทองรูปช่อชัยพฤกษ์ ตามแบบท้ายระเบียบแบบที่ ๑๖ (ข) ข้าราชการธุรการในตำแหน่งและระดับอื่นนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ใน (ก) ให้ใช้อินทรธนูอ่อนทำด้วยสักหลาดสีดำ เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้างประมาณ ๔ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๙.๕ เซนติเมตร ปักไหมทองหรือวัตถุเทียมไหมทองตราสัญลักษณ์สำนักงานอัยการสูงสุดขนาดสูง ๒.๕ เซนติเมตร ค่อนมาทางด้านไหล่ ตามแบบท้ายระเบียบแบบที่ ๑๗ บทเฉพาะกาล ข้อ ๓๗ ให้เครื่องแบบและการแต่งกายตามพระราชกฤษฎีกาเครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง พ.ศ. ๒๕๒๔ ยังคงใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะปฏิบัติตามระเบียบนี้ได้ซึ่งต้องไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ [เอกสารแนบท้าย] ๑. เครื่องหมายแสดงสังกัด ๒. อินทรธนูเครื่องแบบปฏิบัติราชการข้าราชการอัยการ ๓. อินทรธนูเครื่องแบบพิธีการข้าราชการอัยการ ๔. เครื่องแต่งกายปฏิบัติงานข้าราชการอัยการ ๕. อินทรธนูเครื่องแบบปฏิบัติราชการข้าราชการธุรการ ๖. อินทรธนูเครื่องแบบพิธีการข้าราชการธุรการ ๗. อินทรธนูเครื่องแต่งกายปฏิบัติงานข้าราชการธุรการ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑ มีนาคม ๒๕๕๖ ชาญ/ผู้ตรวจ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๑๙ ก/หน้า ๑๔/๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
872001
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. 2554 (ฉบับ Update ณ วันที่ 04/04/2555)
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยที่องค์กรอัยการเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่มีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น โดยมีอัยการสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชา และมีภารกิจด้านการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐ การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน รวมทั้งภารกิจที่สำคัญอื่นตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ ในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นหน่วยงานสนับสนุนงานธุรการของพนักงานอัยการให้สำเร็จลุล่วงไป โดยมีอิสระในการบริหารงานบุคคล การเงิน และการงบประมาณ โดยปราศจากการแทรกแซงจากฝ่ายใด ดังนั้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ข้าราชการธุรการสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปราศจากอคติหรือสิ่งจูงใจจากปัจจัยภายนอก รวมทั้งการรักษาความลับของสำนวนคดีโดยอาศัยความซื่อสัตย์สุจริต และเที่ยงธรรมเช่นเดียวกับพนักงานอัยการ จึงเห็นสมควรกำหนดให้มีเงินค่าตอบแทนพิเศษให้แก่ข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อให้เหมาะสมกับภารกิจขององค์กรในปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๐ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “ข้าราชการธุรการ” หมายความว่า ข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ “ก.อ.” หมายความว่า คณะกรรมการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้อ ๔[๒] ให้ข้าราชการธุรการได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษเป็นรายเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในระเบียบนี้ ข้อ ๕ อัตราเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการ ประเภทและระดับต่าง ๆ ให้เป็นไปตามบัญชีแนบท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๖ ข้าราชการธุรการที่จะได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษจะต้องรับราชการในสำนักงานอัยการสูงสุดมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสองปี ข้อ ๗ ข้าราชการธุรการที่จะได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษจะต้องผ่านการพัฒนาศักยภาพบุคคลในการปฏิบัติงานหรือผ่านการทดสอบในการปฏิบัติงาน และผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานจากผู้บังคับบัญชาตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด ข้าราชการธุรการที่ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษตามวรรคหนึ่งมาครบหนึ่งปีจะต้องได้รับการประเมินผลการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด ผู้ใดไม่ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานดังกล่าว ให้งดการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษจนกว่าข้าราชการธุรการผู้นั้นจะผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ข้อ ๘ ในกรณีที่กำหนดให้ตำแหน่งระดับใดได้รับค่าตอบแทนพิเศษหลายอัตราในระดับเดียวกัน เมื่อผู้ดำรงตำแหน่งนั้นดำรงตำแหน่งโดยมีระยะเวลาครบถ้วนตามบัญชีแนบท้ายระเบียบนี้ และผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานจากผู้บังคับบัญชาแล้ว ให้มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนพิเศษในอัตราที่สูงขึ้นได้นับแต่วันที่ดำรงตำแหน่งโดยมีระยะเวลาครบถ้วน ข้อ ๙ ข้าราชการธุรการที่ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการให้ได้รับค่าตอบแทนพิเศษตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) กรณีข้าราชการธุรการที่ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษในอัตราที่ได้รับอยู่เดิมขณะที่ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ข้าราชการธุรการที่ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ที่ปฏิบัติงานยังไม่ครบสองปี และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ เมื่อรวมระยะเวลาปฏิบัติงานครบสองปีแล้ว ให้ได้รับค่าตอบแทนพิเศษในอัตราต่ำสุดของตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ (๒) กรณีข้าราชการธุรการที่ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษในอัตราที่ได้รับอยู่เดิมขณะที่ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป และไม่เกินอัตราสูงสุดของตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ข้อ ๑๐ ข้าราชการธุรการผู้ใดมีเวลาปฏิบัติหน้าที่ราชการไม่ถึงสองในสามของจำนวนวันทำการในเดือนใด ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษสำหรับเดือนนั้น ข้าราชการธุรการผู้ใดขาดราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือละทิ้งหน้าที่ราชการในเดือนใด ห้ามมิให้จ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษสำหรับวันที่ขาดราชการหรือละทิ้งหน้าที่ราชการดังกล่าว ให้ผู้บังคับบัญชาตรวจสอบและแจ้งจำนวนวันที่ปฏิบัติราชการของข้าราชการธุรการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ไปยังหน่วยงานที่ทำหน้าที่เบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษ เพื่อประกอบการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษในแต่ละเดือน ข้อ ๑๑ ข้าราชการธุรการซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้ไปประชุม สัมมนา ดูงาน หรือเข้ารับการอบรมตามแผนการฝึกอบรมของสำนักงานอัยการสูงสุดถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ การอบรมที่จัดโดยหน่วยงานภายนอกไม่ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ เว้นแต่สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นผู้อนุมัติให้ไปอบรมและเป็นไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ข้อ ๑๒ ข้าราชการธุรการผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจรรยาบรรณ อัยการสูงสุดอาจสั่งให้งดจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษแก่ข้าราชการธุรการผู้นั้นเป็นเวลาไม่เกินสามเดือนนับแต่วันที่มีคำสั่ง ข้อ ๑๓ ข้าราชการธุรการผู้ใดถูกสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ให้งดจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษแก่ข้าราชการธุรการผู้นั้น เป็นเวลาหกเดือนนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ลงโทษ ข้าราชการธุรการผู้ใดถูกสั่งลงโทษตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือน ให้งดจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษแก่ข้าราชการธุรการผู้นั้น เป็นเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งลงโทษ ข้อ ๑๔ ข้าราชการธุรการผู้ใดถูกสั่งพักราชการ ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน และผู้ที่อยู่ในระหว่างการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษในระหว่างถูกสั่งพักราชการ ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนหรือในระหว่างการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง ข้อ ๑๕ ข้าราชการธุรการผู้ใดได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษไปโดยไม่มีสิทธิที่จะได้รับตามระเบียบนี้ ให้ข้าราชการธุรการผู้นั้นคืนเงินค่าตอบแทนพิเศษภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่รู้ถึงการไม่มีสิทธินั้น ข้อ ๑๖ ในกรณีพ้นจากการเป็นข้าราชการธุรการ ให้งดการจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษตั้งแต่วันที่มีคำสั่งให้ข้าราชการธุรการผู้นั้นพ้นจากการเป็นข้าราชการธุรการ ข้อ ๑๗ หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษสำหรับข้าราชการธุรการ กรณีใดที่มิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้นำหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจ่ายเงินเดือนของข้าราชการพลเรือน ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน และระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเดือน เงินปี และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๘ เพื่อประโยชน์ในการนับระยะเวลาของการได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษ ให้นำระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งของข้าราชการธุรการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ก่อนมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างตำแหน่งของข้าราชการธุรการใหม่ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ มานับรวมเป็นระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งของข้าราชการธุรการผู้นั้น เพื่อให้ได้รับค่าตอบแทนพิเศษตามบัญชีแนบท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๑๙ หลักเกณฑ์ตามข้อ ๑๓ ไม่ให้ใช้บังคับกับข้าราชการธุรการที่ถูกสั่งลงโทษก่อนวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๒๐ เงินค่าตอบแทนพิเศษตามระเบียบนี้ ให้เริ่มจ่ายได้ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ข้อ ๒๑ ให้ ก.อ. มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ข้อ ๒๒ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่ง หลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ โอภาส อรุณินท์ ประธานคณะกรรมการอัยการ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕[๓] ข้อ ๔ ข้าราชการธุรการผู้ใดซึ่งมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษตามระเบียบนี้ และมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษอื่นด้วย ให้ข้าราชการธุรการผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มดังกล่าวตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ปณตภร/ผู้จัดทำ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๓๐ ก/หน้า ๒๔/๒๙ เมษายน ๒๕๕๔ [๒] ข้อ ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๓๑ ก/หน้า ๒๕/๔ เมษายน ๒๕๕๕
691862
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการอัยการ พ.ศ. 2556
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๖[๑] โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการอัยการเพื่อให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจและอัตราค่าครองชีพในปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๐ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวของอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อ ๔ ให้ข้าราชการอัยการผู้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย อัยการประจำกอง อัยการจังหวัดผู้ช่วยอัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด และรองอัยการจังหวัด ได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวเป็นรายเดือนตามบัญชีอัตราเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๕ การให้เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามระเบียบนี้เป็นการให้ชั่วคราว หากมีการปรับโครงสร้างเงินเดือนของข้าราชการอัยการ คณะกรรมการอัยการอาจแก้ไขหรือยกเลิกเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวเพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างเงินเดือนของข้าราชการอัยการที่ปรับใหม่ได้ ข้อ ๖ วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงิน และการอื่นที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๔ ข้อ ๗ ให้อัยการผู้ช่วยซึ่งได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวของอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๕ มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวเฉพาะในส่วนที่เพิ่มขึ้นตามระเบียบนี้ ข้อ ๘ คณะกรรมการอัยการมีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ข้อ ๙ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๖ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๗๘ ก/หน้า ๓/๖ กันยายน ๒๕๕๖
700390
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นและเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครสอบคัดเลือกและผู้สมัครทดสอบความรู้ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครสอบคัดเลือกและผู้สมัครทดสอบความรู้ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นและเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครสอบคัดเลือกและผู้สมัครทดสอบความรู้ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๐ วรรคหนึ่ง (๓) และวรรคสอง และมาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง (๒) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) และวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบมาตรา ๓๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นและเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครสอบคัดเลือกและผู้สมัครทดสอบความรู้ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๔ แห่งระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยกำหนดการประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นและเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครสอบคัดเลือกและผู้สมัครทดสอบความรู้ พ.ศ. ๒๕๕๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๔ ผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ข) (ค) (ง) หรือ (ช) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นหรือเคยเป็นทนายความ พนักงานฝ่ายปกครองหรือข้าราชการตำรวจ นายทหารซึ่งทำหน้าที่นายทหารสืบสวนสอบสวนหรือนายทหารสารวัตรสืบสวนสอบสวน เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เจ้าพนักงานการเลือกตั้ง (งานวินิจฉัยหรืองานสืบสวนสอบสวน) พนักงานสืบสวนสอบสวน สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง นักวิชาการแรงงาน (วุฒิทางกฎหมาย) เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือเจ้าหน้าที่สิทธิมนุษยชน (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตามหมวด ๑ จะต้องได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ดังกล่าวไม่น้อยกว่าที่กำหนด ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นหรือเคยเป็นทนายความจะต้องได้ว่าความในศาลโดยทำหน้าที่หรือมีส่วนร่วมทำหน้าที่ทนายความในการที่ศาลออกนั่งพิจารณามาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๕๑ (๒) (ข) (ค) หรือ (ง) และไม่น้อยกว่า ๓๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๕๑ (๒) (ช) ซึ่งในจำนวนนี้ ต้องเป็นคดีแพ่งไม่น้อยกว่า ๕ เรื่อง (๒) ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นหรือเคยเป็นพนักงานฝ่ายปกครอง หรือข้าราชการตำรวจต้องปฏิบัติงานในหน้าที่พนักงานสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๕๑ (๒) (ข) (ค) หรือ (ง) และไม่น้อยกว่า ๓๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๕๑ (๒) (ช) (๓) ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นหรือเคยเป็นนายทหารซึ่งทำหน้าที่นายทหารสืบสวนสอบสวน หรือนายทหารสารวัตรสืบสวนสอบสวน กระทรวงกลาโหม ต้องปฏิบัติงานสอบสวนคดีอาญา ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลทหารมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๕๑ (๒) (ข) (ค) หรือ (ง) และไม่น้อยกว่า ๓๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๕๑ (๒) (ช) (๔) ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ต้องปฏิบัติงานสอบสวนคดียาเสพติดมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๕๑ (๒) (ข) (ค) หรือ (ง) และไม่น้อยกว่า ๓๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๕๑ (๒) (ช) (๕) ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นหรือเคยเป็นเจ้าพนักงานการเลือกตั้ง (งานวินิจฉัยหรืองานสืบสวนสอบสวน) หรือพนักงานสืบสวนสอบสวน สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องปฏิบัติงานพิจารณาวินิจฉัยหรือสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๕๑ (๒) (ข) (ค) หรือ (ง) และไม่น้อยกว่า ๓๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๕๑ (๒) (ช) (๖) ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นหรือเคยเป็นนักวิชาการแรงงาน (วุฒิทางกฎหมาย) ซึ่งทำหน้าที่ฟ้องคดีหรือแก้ต่างคดีแรงงาน และได้ว่าความในศาลแรงงานมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๕๑ (๒) (ข) (ค) หรือ (ง) และไม่น้อยกว่า ๓๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๕๑ (๒) (ช) (๗) ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ต้องปฏิบัติงานสอบสวนคดีเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๕๑ (๒) (ข) (ค) หรือ (ง) และไม่น้อยกว่า ๓๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๕๑ (๒) (ช) (๘) ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ต้องปฏิบัติงานด้านสืบสวนสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๕๑ (๒) (ข) (ค) หรือ (ง) และไม่น้อยกว่า ๓๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๕๑ (๒) (ช) (๙) ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่สิทธิมนุษยชน (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ต้องปฏิบัติงานด้านสืบสวนสอบสวน สรุปสำนวนคำร้องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๕๑ (๒) (ข) (ค) หรือ (ง) และไม่น้อยกว่า ๓๐ เรื่อง สำหรับผู้สมัครตามมาตรา ๕๑ (๒) (ช) ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้นั้นไปศึกษาต่อต่างประเทศด้วยทุนรัฐบาลตามความต้องการของสำนักงานอัยการสูงสุด” ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ อรรถพล ใหญ่สว่าง อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๖ มกราคม ๒๕๕๗ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๑๒๕ ก/หน้า ๒/๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
659109
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรงข้าราชการอัยการ พ.ศ. 2554
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรงข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรงข้าราชการอัยการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๖ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ และมาตรา ๔๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรงข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ หากมิได้กำหนดไว้โดยเฉพาะเป็นอย่างอื่น “ก.อ.” หมายความว่า คณะกรรมการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ “คณะกรรมการสอบสวน” หมายความว่า คณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรงข้าราชการอัยการ ซึ่ง ก.อ. แต่งตั้งตามมาตรา ๗๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ “ประธานกรรมการ” หมายความว่า ประธานของคณะกรรมการสอบสวน “กรรมการ” หมายความว่า กรรมการของคณะกรรมการสอบสวน “การสอบสวนทางวินัย” หมายความว่า การสอบสวนโดยคณะกรรมการสอบสวน ซึ่ง ก.อ. แต่งตั้งตามมาตรา ๗๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ข้อ ๔ ให้ ก.อ. มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ข้อ ๕ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามระเบียบนี้ บรรดาระเบียบ ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน หมวด ๑ หลักเกณฑ์การสอบสวน ข้อ ๖ ในการสอบสวนทางวินัย ให้ ก.อ. แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการจากข้าราชการอัยการซึ่งมีอาวุโสไม่ต่ำกว่าผู้ถูกกล่าวหา เว้นแต่มีความจำเป็นจะแต่งตั้งกรรมการจากข้าราชการอัยการซึ่งมีอาวุโสต่ำกว่าผู้ถูกกล่าวหาก็ได้ ข้อ ๗ คณะกรรมการสอบสวนประกอบด้วย ประธานกรรมการหนึ่งคนและกรรมการอย่างน้อยอีกสองคน โดยให้กรรมการคนหนึ่งเป็นเลขานุการ ในกรณีจำเป็นจะให้มีผู้ช่วยเลขานุการซึ่งเป็นข้าราชการฝ่ายอัยการด้วยก็ได้ เมื่อมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว หากมีเหตุสมควรหรือจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการสอบสวน ให้ประธาน ก.อ. นำเสนอ ก.อ. พิจารณาเปลี่ยนแปลงได้ และให้นำความในข้อ ๖ มาใช้บังคับด้วย การเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการสอบสวน หรือการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง หรืออาวุโสของบุคคลดังกล่าวไม่กระทบกระเทือนถึงการแต่งตั้งหรือการสอบสวน ข้อ ๘ คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้ประธาน ก.อ. เป็นผู้ลงนามแทน โดยต้องระบุชื่อและตำแหน่งของผู้ถูกกล่าวหา เรื่องที่กล่าวหา ชื่อและตำแหน่งของคณะกรรมการสอบสวน ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามแบบ วน.๑ ท้ายระเบียบนี้ ให้สำนักงานคณะกรรมการอัยการส่งสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้คณะกรรมการสอบสวน และส่งเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวหาให้ประธานกรรมการ และให้ประธานกรรมการลงลายมือชื่อและวันเดือนปีที่รับทราบไว้เป็นหลักฐาน ให้สำนักงานคณะกรรมการอัยการแจ้งคำสั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยเร็ว โดยให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อและวันเดือนปีที่รับทราบไว้เป็นหลักฐาน ในการนี้ ให้มอบสำเนาคำสั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาหนึ่งฉบับด้วย ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่ยอมรับทราบคำสั่ง หรือไม่อาจแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบได้ ให้ส่งสำเนาคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูกกล่าวหา ณ ที่อยู่ของผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ ในกรณีเช่นนี้ เมื่อล่วงพ้นสิบห้าวันนับแต่วันที่ส่งสำเนาคำสั่งดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาได้รับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว โดยให้ส่งหลักฐานการรับทราบหรือถือว่ารับทราบให้ประธานกรรมการต่อไป ข้อ ๙ ผู้ถูกกล่าวหาอาจคัดค้านคณะกรรมการสอบสวนคนหนึ่งคนใดได้ โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อ ก.อ. ภายในสิบห้าวันนับแต่วันทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน หรือถ้าทราบเหตุที่พึงคัดค้านในระหว่างการสอบสวน ก็ให้ยื่นหนังสือคัดค้านต่อ ก.อ. ภายในสิบห้าวันนับแต่วันทราบเหตุแห่งการคัดค้าน ให้ ก.อ. พิจารณาโดยเร็ว โดยให้สำนักงานคณะกรรมการอัยการแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้คัดค้านและคณะกรรมการสอบสวนทราบ ผลการพิจารณาให้เป็นที่สุด เหตุแห่งการคัดค้านคณะกรรมการสอบสวน มีดังนี้ (๑) มีผลประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องอยู่ในเรื่องที่สอบสวนนั้น (๒) เป็นคู่หมั้น คู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมบิดา หรือร่วมมารดาของคู่กรณี (๓) เป็นผู้ที่ได้ถูกอ้างเป็นพยานโดยที่ได้รู้เห็นเหตุการณ์ หรือโดยเป็นผู้เชี่ยวชาญ มีความรู้เป็นพิเศษเกี่ยวข้องกับเรื่องที่สอบสวน (๔) เป็นผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้แทน หรือได้เป็นทนายความของคู่กรณีมาแล้ว (๕) เป็นพนักงานอัยการผู้ตรวจพิจารณา มีคำสั่งคดี หรือดำเนินคดี หรือเป็นอนุญาโตตุลาการในคดีเกี่ยวข้องกับเรื่องที่สอบสวน (๖) ถ้ามีอีกเรื่องหนึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินคดี ซึ่งกรรมการนั้นเอง หรือคู่สมรส หรือญาติทางสืบสายโลหิตตรงขึ้นไปหรือตรงลงมาของกรรมการนั้นฝ่ายหนึ่งพิพาทกับคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือคู่สมรสหรือญาติทางสืบสายโลหิตตรงขึ้นไปหรือตรงลงมาของคู่กรณีฝ่ายนั้นอีกฝ่ายหนึ่ง (๗) เป็นเจ้าหนี้ หรือลูกหนี้ หรือเป็นนายจ้างของคู่กรณี (๘) เป็นผู้มีสาเหตุโกรธเคืองกับคู่กรณี หรือเป็นคู่กรณีเอง (๙) มีเหตุอื่นซึ่งอาจทำให้การสอบสวนเสียความเป็นธรรม ข้อ ๑๐ คณะกรรมการสอบสวนผู้ใดมีเหตุอันอาจถูกคัดค้านได้ตามข้อ ๙ ให้ผู้นั้นรายงานต่อ ก.อ. เพื่อพิจารณาตามข้อ ๙ ข้อ ๑๑ ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่า ผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในเรื่องอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ให้คณะกรรมการสอบสวนรายงานให้ ก.อ. ทราบโดยเร็ว หาก ก.อ. เห็นว่า กรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ ก.อ. แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนสำหรับเรื่องนั้น โดยจะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนคณะเดิมเป็นผู้ทำการสอบสวน หรือจะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนใหม่ก็ได้ ข้อ ๑๒ ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าการสอบสวนมีมูลพาดพิงถึงข้าราชการฝ่ายอัยการผู้อื่นว่าเป็นผู้มีส่วนร่วมกระทำผิดในเรื่องนี้ด้วย ให้ประธานกรรมการรายงานไปยัง ก.อ. หรืออัยการสูงสุด แล้วแต่กรณี เพื่อดำเนินการต่อไปตามควรแก่กรณี ข้อ ๑๓ ในกรณีที่มีคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดชี้ขาดเกี่ยวกับผู้ถูกกล่าวหาคนใด ถ้าคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาได้ความประจักษ์อยู่แล้ว คณะกรรมการสอบสวนจะฟังข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษานั้นเพื่อประกอบการพิจารณาก็ได้ แต่ต้องแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบและให้มีโอกาสชี้แจงก่อน หมวด ๒ วิธีการสอบสวน ข้อ ๑๔ เมื่อประธานกรรมการได้รับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว ให้บันทึกวันที่ได้รับทราบคำสั่งนั้นไว้ในสำนวนการสอบสวน และให้ประธานกรรมการเรียกประชุมคณะกรรมการสอบสวนเพื่อกำหนดแนวทางการสอบสวนต่อไป ข้อ ๑๕ ในการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวน ต้องมีกรรมการร่วมสอบสวนอย่างน้อยสองคนจึงจะเป็นองค์คณะทำการสอบสวนได้ ในการประชุมปรึกษาต้องมีประธานกรรมการและกรรมการอื่นมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดแต่ไม่น้อยกว่าสามคนจึงจะเป็นองค์คณะดำเนินการประชุมปรึกษาได้ การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนนและห้ามมิให้งดออกเสียง ถ้ามีคะแนนเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ข้อ ๑๖ ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวนให้เสร็จโดยเร็วไม่ช้ากว่าเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับแต่งตั้ง ถ้ามีความจำเป็นซึ่งจะสอบสวนไม่ทันภายในกำหนดเวลานั้น ก็ให้ขออนุมัติจากประธาน ก.อ. ในฐานะผู้แต่งตั้ง ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง แต่ละครั้งเป็นเวลาไม่เกินสามสิบวัน และต้องแสดงเหตุที่ต้องขยายเวลาไว้ด้วยทุกครั้ง แต่ถ้าขยายเวลาตามวรรคหนึ่งแล้ว คณะกรรมการสอบสวนยังสอบสวนไม่เสร็จ ประธาน ก.อ. ในฐานะผู้แต่งตั้ง จะอนุมัติให้ขยายเวลาต่อไปอีกได้ต่อเมื่อได้แจ้งให้ ก.อ. ทราบแล้ว ข้อ ๑๗ ให้คณะกรรมการสอบสวนเรียกผู้ถูกกล่าวหามาแจ้ง และอธิบายข้อกล่าวหาที่ปรากฏตามเรื่องที่กล่าวหาให้ทราบว่า ผู้ถูกกล่าวหากระทำการใด เมื่อใด อย่างไร พร้อมทั้งแจ้งให้ทราบด้วยว่าผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิที่จะได้รับแจ้งสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา และมีสิทธิที่จะชี้แจงหรือให้ถ้อยคำหรือโต้แย้งแก้ข้อกล่าวหา ตลอดจนอ้างพยานหลักฐานหรือนำพยานหลักฐานเข้าสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ตามวิธีการในหมวดนี้ ทั้งนี้ บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาดังกล่าวให้เป็นไปตามแบบ วน.๒ ท้ายระเบียบนี้ ในการแจ้งรายละเอียดตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้คณะกรรมการสอบสวนส่งหนังสือร้องเรียนถ้ามีให้แก่ผู้ถูกกล่าวหา แต่ต้องสรุปสาระสำคัญของหนังสือร้องเรียนให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยมิให้แจ้งข้อมูลใดที่จะทำให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบถึงตัวบุคคลผู้ร้องเรียน ข้อ ๑๘ การแจ้งข้อกล่าวหาตามแบบ วน.๒ ตามข้อ ๑๗ ให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อรับทราบไว้และให้สำเนาให้ผู้ถูกกล่าวหาหนึ่งฉบับ แล้วให้ถามผู้ถูกกล่าวหาว่า ได้กระทำการตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ จะชี้แจงหรือให้ถ้อยคำอย่างไรบ้าง แล้วบันทึกถ้อยคำของผู้ถูกกล่าวหาไว้ หากผู้ถูกกล่าวหาไม่ยอมลงลายมือชื่อรับทราบ ให้คณะกรรมการสอบสวนจดแจ้งเหตุที่ไม่มีลายมือชื่อนั้นไว้แทนการลงลายมือชื่อ ถ้าผู้ถูกกล่าวหาไม่ให้ถ้อยคำก็ให้บันทึกรายงานไว้ และดำเนินการสอบสวนต่อไป ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาให้ถ้อยคำรับว่าได้กระทำการตามที่ถูกกล่าวหา ให้คณะกรรมการสอบสวนบันทึกถ้อยคำรับ รวมทั้งเหตุผล สาเหตุแห่งการกระทำ และข้อเท็จจริงอื่นที่เกี่ยวข้องไว้ ตามแบบ วน.๓ ท้ายระเบียบนี้ ในกรณีนี้ คณะกรรมการสอบสวนจะไม่สอบสวนต่อไปก็ได้ หรือจะสอบสวนต่อไปตามควรเพื่อทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์เกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวหาก็ได้ แล้วให้ดำเนินการตามข้อ ๒๕ ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหามิได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพ ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวน เพื่อรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหาต่อไป ข้อ ๑๙ เมื่อได้รับทราบบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาอาจให้ถ้อยคำ หรือทำคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการสอบสวนภายในสิบห้าวัน ถ้าผู้ถูกกล่าวหาไม่ให้ถ้อยคำ หรือไม่ได้ยื่นคำชี้แจงภายในกำหนดระยะเวลา ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวนต่อไปโดยไม่ต้องสอบสวนตัวผู้ถูกกล่าวหา แต่ต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ในสำนวนการสอบสวน ผู้ถูกกล่าวหาอาจยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาเพิ่มเติมต่อคณะกรรมการสอบสวนได้ก่อนการสอบสวนเสร็จสิ้น ทั้งนี้ คณะกรรมการสอบสวนมีอำนาจให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร ถ้าผู้ถูกกล่าวหายื่นคำชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวนนั้นต่อ ก.อ. ก็ให้รับคำชี้แจงไว้พิจารณา ข้อ ๒๐ ผู้ถูกกล่าวหาหรือคู่กรณีที่มาให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการสอบสวน มีสิทธินำที่ปรึกษาซึ่งอาจเป็นทนายความหรือบุคคลที่ตนไว้วางใจเข้ามาฟังการให้ถ้อยคำของตนได้ และให้ที่ปรึกษาลงลายมือชื่อไว้ด้วย ถ้าที่ปรึกษาไม่สามารถหรือไม่ยอมลงลายมือชื่อ ให้คณะกรรมการสอบสวนจดแจ้งเหตุที่ไม่มีลายมือชื่อนั้นไว้แทนการลงลายมือชื่อ ข้อ ๒๑ ภายใต้บังคับข้อ ๒๐ ในการสอบสวน ให้คณะกรรมการสอบสวนเรียกผู้ซึ่งจะถูกสอบปากคำเข้ามาในที่สอบสวนคราวละหนึ่งคน และห้ามมิให้บุคคลอื่นอยู่ในที่สอบสวน เว้นแต่บุคคลซึ่งคณะกรรมการสอบสวนอนุญาตให้อยู่ในที่สอบสวนเพื่อประโยชน์แห่งการสอบสวน การสอบปากคำผู้กล่าวหาหรือพยาน ให้บันทึกถ้อยคำไว้ตามแบบ วน.๔ หรือ วน. ๕ ท้ายระเบียบนี้ แล้วแต่กรณี แล้วให้อ่านให้ผู้ให้ถ้อยคำฟัง และให้ผู้ให้ถ้อยคำลงลายมือชื่อไว้ ถ้าผู้ให้ถ้อยคำไม่สามารถหรือไม่ยอมลงลายมือชื่อ ให้คณะกรรมการสอบสวนจดแจ้งเหตุที่ไม่มีลายมือชื่อนั้นไว้แทนการลงลายมือชื่อ ข้อ ๒๒ กรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และมีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพียงเท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของกรรมการสอบสวน และโดยเฉพาะมีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย คือ (๑) เรียกให้หน่วยงานของรัฐชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐาน ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน (๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน ในกรณีไม่สามารถเรียกพยานมาให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการสอบสวน หรือคณะกรรมการสอบสวนเรียกพยานไม่ได้ภายในเวลาอันสมควร คณะกรรมการสอบสวนจะไม่สอบสวนพยานนั้นก็ได้ แต่ต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ในสำนวนการสอบสวนด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่ามีเหตุผลสมควรที่พยานไม่สามารถมาได้ตามกำหนด หรือได้ตัวพยานมาให้ถ้อยคำก่อนการสอบสวนพยานสิ้นสุดลง ก็ให้ผ่อนผันได้ตามควรแก่กรณี ข้อ ๒๓ ก่อนเริ่มสอบปากคำพยาน ให้คณะกรรมการสอบสวนแจ้งให้พยานทราบว่ากรรมการมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา การให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อกรรมการอาจเป็นความผิดตามกฎหมาย ข้อ ๒๔ ในการนำเอกสารหรือวัตถุมาใช้เป็นพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวน ให้บันทึกที่มาของพยานหลักฐานดังกล่าวไว้เท่าที่จะทำได้ด้วยว่าเป็นพยานหลักฐานที่ได้มาอย่างไร จากผู้ใด และเมื่อใด การอ้างพยานเอกสารให้ใช้ต้นฉบับเอกสาร เว้นแต่ไม่อาจนำต้นฉบับมาได้ สำเนาที่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบหรือผู้อ้างเอกสารรับรองว่าถูกต้องก็อ้างเป็นพยานได้ ข้อ ๒๕ เมื่อเสร็จสิ้นการรวบรวมพยานหลักฐานของฝ่ายผู้กล่าวหาแล้ว ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการประชุมเพื่อพิจารณาว่ามีพยานหลักฐานใดสนับสนุนข้อกล่าวหาว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำการใด เมื่อใด อย่างไร และเป็นความผิดวินัยกรณีใด ตามมาตราใด ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ แล้วให้คณะกรรมการสอบสวนเรียกผู้ถูกกล่าวหามาพบเพื่อแจ้งข้อกล่าวหา โดยระบุข้อกล่าวหาที่ปรากฏตามพยานหลักฐานว่าเป็นความผิดวินัยกรณีใด ตามมาตราใด ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ทราบ โดยระบุวัน เวลา สถานที่ และการกระทำ ที่มีลักษณะเป็นการสนับสนุนข้อกล่าวหา โดยไม่ต้องระบุชื่อพยาน การแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาตามวรรคหนึ่ง ให้ทำบันทึกมีสาระสำคัญตามแบบ วน.๖ ท้ายระเบียบนี้ โดยทำเป็นสองฉบับ เพื่อมอบให้ผู้ถูกกล่าวหาหนึ่งฉบับ เก็บไว้ในสำนวนการสอบสวนหนึ่งฉบับ และให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อและวันเดือนปีที่รับทราบไว้เป็นหลักฐานด้วย ในกรณีคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาพยานหลักฐานฝ่ายผู้ถูกกล่าวหาแล้วเห็นว่าการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาไม่เป็นความผิดวินัย ก็ให้ดำเนินการตามข้อ ๒๙ โดยอนุโลม ข้อ ๒๖ ในการสอบสวน ให้คณะกรรมการสอบสวนให้โอกาสแก่ผู้ถูกกล่าวหาที่จะชี้แจง ตลอดจนนำพยานหลักฐานเข้าสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ ทั้งนี้ ภายในกำหนดระยะเวลาอันสมควร ผู้ถูกกล่าวหาจะนำพยานหลักฐานมาเอง หรือจะขอให้คณะกรรมการสอบสวนเรียกพยานหลักฐานนั้นมาก็ได้ ข้อ ๒๗ หากคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่า การสอบสวนพยานหลักฐานใดจะทำให้การสอบสวนต้องล่าช้าไปโดยไม่จำเป็น หรือมิใช่พยานหลักฐานในประเด็นสำคัญ คณะกรรมการสอบสวนจะงดการสอบสวนพยานหลักฐานนั้นเสียก็ได้ แต่ต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ในสำนวนการสอบสวนด้วย ข้อ ๒๘ ในการบันทึกถ้อยคำ ถ้ามีการแก้ไขข้อความที่ได้บันทึกไว้แล้ว ให้กรรมการผู้ร่วมสอบสวนอย่างน้อยหนึ่งคนกับผู้ให้ถ้อยคำลงลายมือชื่อกำกับไว้ทุกแห่งที่มีการแก้ไข ถ้าบันทึกถ้อยคำมีหลายหน้า ให้กรรมการอย่างน้อยหนึ่งคนกับผู้ให้ถ้อยคำลงลายมือชื่อกำกับไว้ทุกหน้า ข้อ ๒๙ เมื่อรวบรวมพยานหลักฐานเสร็จแล้ว ให้คณะกรรมการสอบสวนประชุมปรึกษาทำรายงานการสอบสวนสรุปข้อเท็จจริงพร้อมทั้งแสดงความเห็นว่า ผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยตามเรื่องที่กล่าวหาหรือไม่ กรณีใด ตามมาตราใด และควรลงโทษสถานใด ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ตามแบบ วน. ๗ ท้ายระเบียบนี้ ถ้ากรรมการคนใดมีความเห็นแย้งจะทำความเห็นแย้งติดไว้กับสำนวนการสอบสวนก็ได้ แล้วให้คณะกรรมการสอบสวนรายงานผลการสอบสวนและความเห็นต่อ ก.อ. ภายในกำหนดเวลาตามข้อ ๑๖ เพื่อพิจารณา ข้อ ๓๐ ในการสอบสวน ประธานกรรมการจะให้ข้าราชการฝ่ายอัยการเป็นผู้ช่วยเหลือในการรวบรวมเอกสาร การบันทึกคำให้การ หรือดำเนินการอื่นตามที่ประธานกรรมการเห็นสมควรก็ได้ ข้อ ๓๑ ในกรณีคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าข้าราชการอัยการผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง ตามข้อกำหนดคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยความผิดที่ปรากฎชัดแจ้ง หรือได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาหรือต่อคณะกรรมการสอบสวน คณะกรรมการสอบสวนจะไม่สอบสวนต่อไปก็ได้ แล้วทำรายงานผลการสอบสวนและความเห็นตามข้อ ๒๙ ต่อ ก.อ. เพื่อพิจารณา ข้อ ๓๒ เมื่อ ก.อ. ได้พิจารณารายงานผลการสอบสวนและความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนแล้ว มีมติว่าข้าราชการอัยการผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงสมควรไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หรือมีมติเป็นประการอื่นใด ให้ประธาน ก.อ. มีคำสั่งให้เป็นไปตามมตินั้น ข้อ ๓๓ ในกรณีที่ปรากฏว่าการสอบสวนตอนใดทำไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์หรือวิธีการที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ไม่ทำให้สำนวนสอบสวนทั้งหมดเสียไป หากมิใช่สาระสำคัญอันจะทำให้เสียความเป็นธรรม ก.อ. จะสั่งให้แก้ไขหรือดำเนินการให้ถูกต้องหรือไม่ก็ได้ แต่หากการสอบสวนตอนนั้นเป็นสาระสำคัญอันจะทำให้เสียความเป็นธรรม ให้ ก.อ. สั่งให้คณะกรรมการสอบสวนแก้ไขหรือดำเนินการสอบสวนตอนนั้นให้ถูกต้องโดยเร็ว บทเฉพาะกาล ข้อ ๓๔ การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยการสอบสวนทางวินัย ประกอบพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๐๗ ต่อไปจนกว่าจะเสร็จ ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนได้สอบสวนเสร็จแล้ว ให้ดำเนินการตามวิธีการในข้อ ๒๙ ประกาศ ณ วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน (แบบ วน.๑) ๒. บันทึกการแจ้งและรับทราบข้อกล่าวหา (แบบ วน.๒) ๓. บันทึกถ้อยคำของผู้ถูกกล่าวหา (แบบ วน.๓) ๔. บันทึกถ้อยคำผู้กล่าวหา (แบบ วน.๔) ๕. บันทึกถ้อยคำพยาน (แบบ วน.๕) ๖. บันทึกการแจ้งและรับทราบข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา (แบบ วน.๖) ๗. รายงานการสอบสวน (แบบ วน.๗) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๔ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๙๑ ก/หน้า ๒/๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๔
656820
ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ อนุกรรมการ การจ่ายเงินสมนาคุณและค่าตอบแทนบุคคลหรือคณะบุคคล พ.ศ. 2554
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ อนุกรรมการ การจ่ายเงินสมนาคุณและค่าตอบแทนบุคคลหรือคณะบุคคล พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ อนุกรรมการ การจ่ายเงินสมนาคุณและค่าตอบแทนบุคคลหรือคณะบุคคล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ ประกอบมาตรา ๓๑ มาตรา ๗๕ และมาตรา ๑๐๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ อนุกรรมการ การจ่ายเงินสมนาคุณและค่าตอบแทนบุคคลหรือคณะบุคคล พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “ก.อ.” หมายความว่า คณะกรรมการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ “อ.ว.ธ.” หมายความว่า คณะอนุกรรมการอัยการเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการออกจากราชการของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด ตามระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยคณะอนุกรรมการอัยการเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการออกจากราชการของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด “อนุกรรมการ อ.ว.ธ.” หมายความว่า อนุกรรมการอัยการใน อ.ว.ธ. “คณะกรรมการสอบสวน” หมายความว่า คณะบุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งโดย ก.อ. เพื่อทำการสอบสวนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ “กรรมการสอบสวน” หมายความว่า กรรมการสอบสวนในคณะกรรมการสอบสวน “คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดย ก.อ. และให้หมายความรวมถึงคณะอนุกรรมการซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามระเบียบคณะกรรมการอัยการ “อนุกรรมการ” หมายความว่า อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการ “บุคคลหรือคณะบุคคล” หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคล ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดย ก.อ. เพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ ก.อ. มอบหมาย ข้อ ๔ “กรรมการอัยการ” “อนุกรรมการ อ.ว.ธ.” “กรรมการสอบสวน” “อนุกรรมการ” “บุคคลหรือคณะบุคคล” “เลขานุการ ก.อ.” “ผู้ช่วยเลขานุการ ก.อ.” “เลขานุการ อ.ว.ธ.” “ผู้ช่วยเลขานุการ อ.ว.ธ.” “เลขานุการคณะกรรมการสอบสวน” “ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการสอบสวน” “เลขานุการคณะอนุกรรมการ” และ “ผู้ช่วยเลขานุการคณะอนุกรรมการ” ให้ได้รับเบี้ยประชุม เงินสมนาคุณ หรือค่าตอบแทนตามหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายตามระเบียบนี้ ข้อ ๕ ประธาน ก.อ. รองประธาน ก.อ. และกรรมการอัยการ ให้ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนตามอัตราการจ่ายในบัญชี ๑ ท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๖ ประธานอนุกรรมการ อ.ว.ธ. และอนุกรรมการ อ.ว.ธ. ให้ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนตามอัตราการจ่ายในบัญชี ๒ ท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๗ ประธานกรรมการสอบสวน และกรรมการสอบสวน ให้ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งตามอัตราการจ่ายในบัญชี ๓ ท้ายระเบียบนี้ ประธานกรรมการสอบสวน และกรรมการสอบสวนในคณะกรรมการสอบสวนคณะหนึ่ง ให้ได้รับเบี้ยประชุมสำหรับการประชุมคณะกรรมการสอบสวนนั้นเพียงครั้งเดียวในวันหนึ่ง ข้อ ๘ ประธานอนุกรรมการ และอนุกรรมการ ให้ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งตามอัตราการจ่ายในบัญชี ๔ ท้ายระเบียบนี้ ประธานอนุกรรมการ และอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการคณะหนึ่ง ให้ได้รับเบี้ยประชุมสำหรับการประชุมคณะอนุกรรมการนั้นเพียงครั้งเดียวในวันหนึ่ง ข้อ ๙ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ ก.อ. เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการสอบสวน เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการคณะอนุกรรมการ ให้ได้รับเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับกรรมการอัยการ กรรมการสอบสวน หรืออนุกรรมการ แล้วแต่กรณี โดยให้นำความในข้อ ๕ ข้อ ๗ และข้อ ๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ อ.ว.ธ. ให้ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งตามอัตราการจ่ายเบี้ยประชุมอนุกรรมการในบัญชี ๔ ท้ายระเบียบนี้ และให้ได้รับเบี้ยประชุมสำหรับการประชุมนั้นเพียงครั้งเดียวในวันหนึ่ง ผู้ช่วยเลขานุการ ก.อ. มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมไม่เกินสามคน ผู้ช่วยเลขานุการ อ.ว.ธ. ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการสอบสวน และผู้ช่วยเลขานุการคณะอนุกรรมการ แล้วแต่กรณี มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมไม่เกินสองคน ถ้ากรรมการอัยการผู้ใดเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการ ก.อ. กรรมการสอบสวนผู้ใดเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการสอบสวน หรืออนุกรรมการผู้ใดเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการคณะอนุกรรมการด้วย ให้ได้รับเบี้ยประชุมได้เพียงตำแหน่งเดียว ข้อ ๑๐ ประธาน ก.อ. รองประธาน ก.อ. กรรมการอัยการ ประธานอนุกรรมการ อ.ว.ธ. และอนุกรรมการ อ.ว.ธ. ซึ่งได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือน ให้ได้รับเบี้ยประชุมเฉพาะเดือนที่เข้าประชุม ทั้งนี้ เดือนใดไม่มีการประชุมหรือมีการประชุมแต่ไม่เข้าประชุม ให้งดจ่าย ภายใต้บังคับวรรคหนึ่ง ประธาน ก.อ. รองประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการ คณะหนึ่ง ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ครบเดือน เพราะการพ้นจากตำแหน่งหรือเข้าดำรงตำแหน่งใหม่ ให้ได้รับเบี้ยประชุมในเดือนนั้นเต็มจำนวน แต่ถ้าประธาน ก.อ. รองประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการ ซึ่งเข้าดำรงตำแหน่งใหม่ใน ก.อ. คณะนั้นได้รับเบี้ยประชุมในเดือนนั้นเต็มจำนวนไปแล้วไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมอีก เว้นแต่รองประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการ ซึ่งเข้าดำรงตำแหน่งประธาน ก.อ. หรือรองประธาน ก.อ. แล้วแต่กรณี ให้ได้รับเบี้ยประชุมเพิ่มในตำแหน่งประธาน ก.อ. หรือรองประธาน ก.อ. ข้อ ๑๑ การประชุม ก.อ. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่าแปดคน สำหรับการประชุม อ.ว.ธ. คณะกรรมการสอบสวน หรือคณะอนุกรรมการ ต้องมีอนุกรรมการ อ.ว.ธ. กรรมการสอบสวน หรืออนุกรรมการมาประชุมอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนอนุกรรมการ อ.ว.ธ. กรรมการสอบสวน หรืออนุกรรมการทั้งหมด จึงเป็นองค์ประชุมและมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมตามระเบียบนี้ เว้นแต่บทบัญญัติแห่งกฎหมาย ระเบียบ หรือคำสั่งจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น การประชุมตามวรรคหนึ่ง ให้สามารถใช้วิธีการติดต่อสื่อสารด้วยเทคโนโลยีที่สามารถถ่ายทอดภาพและเสียงได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้กรรมการอัยการ อนุกรรมการ อ.ว.ธ. กรรมการสอบสวน หรืออนุกรรมการไม่จำเป็นต้องปรากฏตัวในที่ประชุมด้วย โดยให้ถือว่ากรรมการอัยการ อนุกรรมการ อ.ว.ธ. กรรมการสอบสวน หรืออนุกรรมการซึ่งใช้วิธีการติดต่อสื่อสารด้วยเทคโนโลยีดังกล่าว ร่วมประชุม ก.อ. อ.ว.ธ. คณะกรรมการสอบสวน หรือคณะอนุกรรมการนั้น และมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม ข้อ ๑๒ ในกรณีที่อนุกรรมการซึ่งเป็นการแต่งตั้งโดยตำแหน่งไม่สามารถเข้าประชุมได้ แต่ได้มอบหมายให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทน โดยทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานการมอบหมาย ให้ถือว่าผู้ได้รับมอบหมายปฏิบัติหน้าที่ในฐานะอนุกรรมการแทนผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ๆ และให้นับเป็นองค์ประชุม ตลอดจนมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมในอัตราเดียวกับอนุกรรมการ ข้อ ๑๓ กรรมการอัยการซึ่งมิได้เป็นข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงานหรือลูกจ้างของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือมิได้เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจให้ได้รับเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าของอัตราเบี้ยประชุมกรรมการอัยการที่ผู้นั้นมีสิทธิได้รับซึ่งกำหนดไว้ตามอัตราการจ่ายในบัญชี ๑ ท้ายระเบียบนี้ อนุกรรมการซึ่งมิได้เป็นข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงานหรือลูกจ้างของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือมิได้เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจให้ได้รับเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าของอัตราเบี้ยประชุมอนุกรรมการที่ผู้นั้นมีสิทธิได้รับซึ่งกำหนดไว้ตามอัตราการจ่ายในบัญชี ๔ ท้ายระเบียบนี้ โดยอนุกรรมการให้ได้รับเบี้ยประชุมไม่เกิน ๘,๐๐๐ บาทต่อเดือน ข้อ ๑๔ กรณีกรรมการสอบสวน หรืออนุกรรมการที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมแทนประธานกรรมการสอบสวน หรือประธานอนุกรรมการในระหว่างการประชุม ให้ได้รับเบี้ยประชุมในตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่เท่านั้น ข้อ ๑๕ เพื่อประโยชน์ในราชการของ ก.อ. และสำนักงานอัยการสูงสุด ก.อ. จะแต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคล เพื่อพิจารณาให้ความเห็นหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ ก.อ. มอบหมายได้ โดยให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาเสนอ ก.อ. เพื่ออนุมัติจ่ายเงินสมนาคุณ ค่าตอบแทน หรือเบี้ยประชุมแก่บุคคลหรือคณะบุคคลนั้นเป็นคราว ๆ ไป หรือตามจำนวนครั้งที่ประชุม ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงลักษณะงาน และระยะเวลาที่บุคคลหรือคณะบุคคลต้องกระทำ ข้อ ๑๖ ให้ ก.อ. มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๗ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่ง หลักเกณฑ์ และวิธีการเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งอื่น ซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ [เอกสารแนบท้าย] ๑. อัตราการจ่ายเบี้ยประชุม (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๗๙ ก/หน้า ๑๓/๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๔
678449
ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือก เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๔ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๐ วรรคสาม และมาตรา ๕๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๑ ของระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๑ ผู้สอบต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ของคะแนนสอบข้อเขียนทั้งหมด เว้นแต่ในกรณี ก.อ. กำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุไว้ตามข้อ ๔ วรรคสอง ผู้สอบที่ได้คะแนนสูงซึ่งได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ เรียงตามลำดับเมื่อรวมกันแล้วไม่เกินจำนวนที่ ก.อ. กำหนด จึงจะได้รับการประกาศให้ทราบ เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมกลั่นกรองอีกครั้ง เมื่อดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมกลั่นกรองตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ประธานอนุกรรมการสอบคัดเลือกกำหนดวัน เวลา และสถานที่สอบปากเปล่า แล้วประกาศรายชื่อผู้ไม่ขาดคุณสมบัติจากการตรวจคุณสมบัติเพิ่มเติมกลั่นกรองเพื่อเข้าสอบปากเปล่า ให้ทราบล่วงหน้าก่อนวันสอบปากเปล่าอย่างน้อย ๗ วัน ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๑๑/๑ ของระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๔ “ข้อ ๑๑/๑ ในกรณี ก.อ. กำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุไว้ตามข้อ ๔ วรรคสอง ถ้าผู้สอบข้อเขียนผ่านที่ได้ลำดับสุดท้ายมีหลายคน ซึ่งหากจะบรรจุทุกคนจะทำให้เกินจำนวนที่ ก.อ. กำหนด ให้จัดลำดับผู้ที่สอบผ่านในกลุ่มนี้ดังนี้ (๑) ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายอาญาอยู่ในลำดับก่อน (๒) หากคะแนนในวิชากฎหมายอาญาเท่ากัน ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอยู่ในลำดับก่อน (๓) ในกรณีตาม (๒) หากคะแนนในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเท่ากัน ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์อยู่ในลำดับก่อน (๔) ในกรณีตาม (๓) หากคะแนนในวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่ากัน ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอยู่ในลำดับก่อน (๕) ในกรณีตาม (๔) หากคะแนนในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเท่ากัน ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการอยู่ในลำดับก่อน ให้ใช้วิธีการดังกล่าวจัดลำดับผู้สอบผ่านให้ได้จำนวนเท่ากับที่ ก.อ. กำหนด หรือในกรณีหากเทียบคะแนนจนถึงรายวิชาสุดท้ายแล้วยังมีผู้ที่ได้คะแนนเท่ากันเมื่อรวมกันแล้วเกินจำนวนที่ ก.อ. กำหนด ให้ผู้สอบผ่านที่ยังคงมีคะแนนเท่ากันดังกล่าวทุกคนได้รับการประกาศให้ทราบ เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมกลั่นกรองอีกครั้ง” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๓ ของระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๓ เมื่อได้มีการสอบคัดเลือกเสร็จแล้ว ก.อ. จะประกาศรายชื่อผู้สอบคัดเลือกได้และจะได้รับการบรรจุเรียงตามลำดับคะแนนไว้ ณ สำนักงานอัยการสูงสุด โดย ก.อ. อาจเรียกบรรจุผู้สอบคัดเลือกได้ดังกล่าวไม่พร้อมกันก็ได้ ตามที่ ก.อ. เห็นสมควร ในกรณี ก.อ. กำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุไว้ตามข้อ ๔ วรรคสอง ถ้ามีผู้สอบคัดเลือกได้เกินจำนวนที่ ก.อ. กำหนด ให้เสนอ ก.อ. เป็นผู้พิจารณารับบรรจุบุคคลดังกล่าวในเวลาที่ ก.อ. เห็นสมควร” ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๔ ของระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๔ ในกรณี ก.อ. กำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุไว้ตามข้อ ๔ วรรคสอง แต่มีผู้เข้ารับการบรรจุไม่ครบจำนวนเนื่องจากมีผู้ขาดคุณสมบัติจากการตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมกลั่นกรอง หรือผู้มีสิทธิเข้าสอบปากเปล่าไม่เข้าสอบปากเปล่าหรือสอบปากเปล่าตก หรือผู้สอบคัดเลือกได้ไม่รายงานตัวเพื่อเข้ารับการบรรจุ ให้ประธานอนุกรรมการสอบคัดเลือกเสนอ ก.อ. เพื่อทราบถึงจำนวนที่อาจบรรจุได้อีก ในการนี้ ก.อ. อาจพิจารณาให้ประธานอนุกรรมการสอบคัดเลือกประกาศผู้สอบที่ได้คะแนนสูงซึ่งได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ในลำดับถัดลงไปให้ทราบเพื่อดำเนินการตามข้อ ๑๑ และตามหลักเกณฑ์ข้อ ๑๑/๑ โดยให้นำความในข้อ ๑๒ มาใช้บังคับ เพื่อให้ได้บุคคลที่จะได้รับการบรรจุตามจำนวนที่ ก.อ. กำหนดไว้ เมื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้นำความในข้อ ๑๓ มาใช้โดยอนุโลม” ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๑๖ ก/หน้า ๓๖/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๕
716214
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. 2554 (ฉบับ Update ณ วันที่ 11/12/2555)
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๑ วรรคสี่ และมาตรา ๕๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “ก.อ.” หมายความว่า คณะกรรมการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ “คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการทดสอบความรู้ที่ ก.อ. แต่งตั้งขึ้นเพื่อทำการทดสอบความรู้ผู้สมัคร “ผู้สมัคร” หมายความว่า ผู้สมัครทดสอบความรู้ตามมาตรา ๕๑ ซึ่งมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ “ผู้สอบ” หมายความว่า ผู้สมัครซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติให้มีสิทธิเข้าสอบและได้เข้าสอบ ข้อ ๔ ให้ ก.อ. มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ข้อ ๕ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่งหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ บรรดาระเบียบ ข้อกำหนด ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งอื่นใด ซึ่งขัดหรือแย้งระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๖ เมื่อสมควรจะมีการทดสอบความรู้เมื่อใด ให้สำนักงานอัยการสูงสุด เสนอ ก.อ. เพื่อมีมติให้จัดให้มีการทดสอบความรู้เฉพาะผู้มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างตามมาตรา ๕๑ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ให้ ก.อ. กำหนดวัน เวลายื่นใบสมัครทดสอบความรู้ และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการทดสอบความรู้ขึ้นคณะหนึ่งประกอบด้วยประธานอนุกรรมการ รองประธานอนุกรรมการ และอนุกรรมการ ตามจำนวนที่จำเป็น ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงคุณสมบัติ ความรู้ความสามารถ หรือประสบการณ์เกี่ยวกับการสอบของผู้ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งเป็นส่วนสำคัญ ในการทดสอบความรู้ตามวรรคหนึ่ง ก.อ. อาจกำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุก็ได้ ข้อ ๗ ในกรณีที่ระเบียบนี้มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น คณะอนุกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งบุคคล คณะบุคคล ออกประกาศ หรือกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสมัครและการทดสอบความรู้ตามที่เห็นสมควร ข้อ ๘ ผู้สมัครต้องยื่นใบสมัครทดสอบความรู้ด้วยตนเอง ต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับสมัคร ณ สถานที่และวัน เวลาตามที่กำหนด พร้อมหลักฐานในการสมัครทดสอบความรู้ ดังนี้ (๑) ภาพถ่ายปริญญาบัตรนิติศาสตรบัณฑิต หรือภาพถ่ายปริญญาบัตรหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ ซึ่ง ก.อ. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี โดยแสดงต้นฉบับด้วย (๒) ภาพถ่ายปริญญาบัตรปริญญาตรีหรือปริญญาโทหรือปริญญาเอก หรือหลักฐานอื่นซึ่งแสดงว่าเป็นผู้สอบไล่ได้ปริญญาดังกล่าวตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดเห็นชอบ โดยแสดงต้นฉบับด้วย (๓) ภาพถ่ายใบรับรองคะแนนรายวิชาในกรณีระดับปริญญาตรีทางกฎหมายหรือปริญญาโททางกฎหมายหรือปริญญาเอกทางกฎหมาย โดยแสดงต้นฉบับด้วย กรณีหลักฐานตาม (๑) (๒) และ (๓) เป็นภาษาต่างประเทศให้ผู้สมัครจัดทำคำแปลเป็นภาษาไทย โดยรับรองความถูกต้องของคำแปลนั้นด้วย (๔) วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ หรือเอกสารอื่นในทำนองเดียวกัน จำนวน ๑ เล่ม (ถ้ามี) (๕) ภาพถ่ายประกาศนียบัตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา หรือหนังสือสำคัญของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ซึ่งแสดงว่าเป็นผู้สอบไล่ได้ความรู้ชั้นเนติบัณฑิต ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา โดยแสดงต้นฉบับด้วย (๖) สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน โดยถ่ายเอกสารทั้งสองหน้าในแผ่นเดียวกันและแสดงต้นฉบับด้วย (๗) หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพ กรณีเป็นทนายความต้องมีหนังสือรับรองการเป็นทนายความจากสภาทนายความด้วย (๘) ใบรับรองสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา ออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน (๙) รูปถ่ายขนาด ๑ นิ้ว ถ่ายไว้ไม่เกิน ๖ เดือน จำนวน ๔ รูป เป็นรูปถ่ายหน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่ใส่แว่นดำ (๑๐) เงินค่าธรรมเนียมการสมัครทดสอบความรู้ (๑๑) หลักฐานอื่น ๆ ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดประกาศกำหนด หมวด ๒ คุณวุฒิ ข้อ ๙ ผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ก) (ข) หรือ (ง) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ต้องได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายต่อไปนี้จากต่างประเทศหรือในการศึกษาปริญญาโททางกฎหมายในประเทศไทย แล้วแต่กรณีด้วย คือ (๑) กฎหมายอาญา (๒) กฎหมายแพ่ง ลักษณะสัญญาและลักษณะละเมิด (๓) กฎหมายพยานหลักฐาน หรือกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือกฎหมายล้มละลาย และ (๔) กฎหมายแพ่งลักษณะอื่นและกฎหมายพิเศษ ดังนี้ (ก) กฎหมายแพ่งลักษณะอื่น ซึ่งเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๓ วิชา หรือ (ข) กฎหมายแพ่งลักษณะอื่น ซึ่งเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๑ วิชา กับกฎหมายพิเศษดังต่อไปนี้ จำนวน ๒ วิชา ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายมหาชน นิติปรัชญา กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารกระบวนการยุติธรรม กฎหมายพาณิชย์นาวี กฎหมายทะเล กฎหมายอากาศ กฎหมายอวกาศ กฎหมายโทรคมนาคม กฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎหมายทรัพยากรธรรมชาติ กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีระหว่างประเทศ กฎหมายเครื่องหมายการค้า กฎหมายสิทธิบัตร กฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายเด็กและเยาวชน นิติเวชศาสตร์ อาชญาวิทยา กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางธุรกิจ กฎหมายแรงงาน กฎหมายภาษีอากร กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายอาญาระหว่างประเทศ การขัดกันแห่งกฎหมาย กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการ กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ กฎหมายธุรกิจ กฎหมายว่าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายเกี่ยวกับการลงทุน กฎหมายเกี่ยวกับการเงินการธนาคาร กฎหมายหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายป้องกันการผูกขาดหรือการแข่งขันทางการค้า กฎหมายการเกษตร และกฎหมายพลังงาน ผู้สมัครที่ได้ศึกษาและสอบไล่ได้ตามหลักสูตรการศึกษากฎหมายดังต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องศึกษาวิชากฎหมายตามวรรคหนึ่ง (๑) ผู้สมัครที่ได้ศึกษาและสอบไล่ได้ตามหลักสูตรการศึกษากฎหมายที่จัดไว้เป็นหลักสูตรเฉพาะด้านในวิชากฎหมายเด็กและเยาวชน กฎหมายแรงงาน กฎหมายสิทธิมนุษยชน กฎหมายภาษีอากร กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศ กฎหมายการเงินการธนาคาร กฎหมายพาณิชย์นาวี กฎหมายล้มละลาย กฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค และกฎหมายระหว่างประเทศ (๒) ผู้สมัครที่ได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายที่อยู่ในกลุ่มวิชากฎหมายกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งตามวรรคสอง (๑) ไม่น้อยกว่า ๔ วิชา และได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งอีกไม่น้อยกว่า ๒ วิชา โดยในจำนวนนี้อย่างน้อย ๑ วิชา ต้องเป็นวิชาตาม (๑) หรือ (๓) หรือกฎหมายแพ่ง ซึ่งพอเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้นั้นไปศึกษาวิชากฎหมายจากต่างประเทศด้วยทุนรัฐบาล ทุนของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางกฎหมาย ข้อ ๑๐ เพื่อประโยชน์ในการคำนวณจำนวนวิชาที่กำหนดในข้อ ๙ วรรคหนึ่ง (๔) และวรรคสอง (๒) ถ้าผู้สมัครคนใดได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายในระบบการจัดการศึกษาที่กำหนดให้มีการเรียนการสอนวิชากฎหมายนั้นตลอดปีการศึกษาและมีการวัดผลเมื่อสิ้นปีการศึกษา ให้ถือว่าผู้นั้นได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายตามที่กำหนดไว้ในข้อดังกล่าว ๒ วิชา ข้อ ๑๑ ผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ง) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ต้องสอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทยโดยมีหลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่าสองปี หรือหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่าสองปี หรือสอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ซึ่ง ก.พ. รับรอง โดยมีหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่าสองปี หมวด ๓ หลักเกณฑ์การทดสอบความรู้ ข้อ ๑๒ การทดสอบความรู้ให้มีทั้งการสอบข้อเขียนและการสอบปากเปล่า การออกข้อสอบให้เป็นไปตามที่ประธานอนุกรรมการทดสอบความรู้จะได้กำหนด ภายใต้บังคับข้อ ๑๔ และข้อ ๒๑ วิชาที่ทดสอบ คือ กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายพยานหลักฐาน กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงหรือกฎหมายว่าด้วยศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว กฎหมายล้มละลายหรือกฎหมายภาษีอากรหรือกฎหมายแรงงาน กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาหรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ และภาษาอังกฤษ ข้อ ๑๓ การสอบข้อเขียนมี ๒ วัน คือ (๑) วันที่หนึ่ง วิชากฎหมายอาญา จำนวน ๓ ข้อ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำนวน ๓ ข้อ กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จำนวน ๒ ข้อ จำนวนข้อสอบรวม ๑๐ ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน (๒) วันที่สอง วิชากฎหมายพยานหลักฐาน จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายรัฐธรรมนูญ จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายปกครอง จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงหรือกฎหมายว่าด้วยศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายล้มละลายหรือกฎหมายภาษีอากรหรือกฎหมายแรงงาน จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาหรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ จำนวน ๑ ข้อ จำนวนข้อสอบ รวม ๘ ข้อ เวลา ๓ ชั่วโมง ๓๐ นาที คะแนนเต็ม ๘๐ คะแนน และวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน ๒ ข้อ เวลา ๑ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๒๐ คะแนน ผู้สอบต้องปฏิบัติตามข้อบังคับการสอบข้อเขียนท้ายระเบียบนี้โดยเคร่งครัด และให้ประธานอนุกรรมการทดสอบความรู้รับผิดชอบในการจัดทำรหัสสมุดคำตอบของผู้สอบทุกคนแยกตามวันที่สอบโดยไม่ให้รหัสซ้ำกันแล้วเก็บรักษารหัสดังกล่าวไว้ด้วยตนเอง ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ ก.อ. มีมติให้จัดให้มีการทดสอบความรู้เฉพาะผู้มีคุณวุฒิตามมาตรา ๕๑ (๒) (ก) หรือ (ข) การสอบข้อเขียนมี ๒ วัน คือ (๑) วันที่หนึ่ง วิชากฎหมายอาญา จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายพยานหลักฐาน จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ จำนวน ๑ ข้อ จำนวนข้อสอบ รวม ๑๐ ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน (๒) วันที่สอง วิชาภาษาอังกฤษ จำนวน ๓ ข้อ เวลา ๓ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๖๐ คะแนน วิชาภาษาอังกฤษตามวรรคหนึ่ง (๒) ให้ออกข้อสอบเป็นคำถามที่ทดสอบการแปล จำนวน ๑ ข้อ เป็นคำถามที่ทดสอบความเข้าใจในการอ่านบทความกฎหมายภาษาอังกฤษ จำนวน ๑ ข้อ และเป็นคำถามที่ให้ผู้สมัครเขียนอธิบาย หรือวินิจฉัยปัญหากฎหมายเป็นภาษาอังกฤษ จำนวน ๑ ข้อ ในการออกข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษตามวรรคหนึ่ง (๒) ประธานอนุกรรมการทดสอบความรู้อาจกำหนดให้ออกข้อสอบเป็นภาษาต่างประเทศอื่นแทนวิชาภาษาอังกฤษให้ผู้สอบเลือกสอบก็ได้ ในกรณีที่ผู้สมัครเป็นผู้ไปศึกษาต่างประเทศด้วยทุนรัฐบาลตามความต้องการของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือทุนสำนักงานอัยการสูงสุด หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางกฎหมายจากต่างประเทศที่ ก.อ. รับรอง ให้คณะอนุกรรมการทำการทดสอบความรู้โดยการสอบปากเปล่าตามข้อ ๒๑ ข้อ ๑๕ ในการตรวจคำตอบแต่ละข้อ ให้องค์คณะซึ่งประกอบด้วยผู้ตรวจคำตอบอย่างน้อยสองคนตรวจ แล้วให้คะแนนคำตอบตามหลักเกณฑ์การตรวจและการให้คะแนนที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ และให้ผู้สอบได้คะแนนคำตอบตามค่าเฉลี่ยที่คำนวณจากคะแนนที่ผู้ตรวจคำตอบแต่ละคนกำหนดให้ ในกรณีที่ผู้ตรวจคำตอบสองคนและคะแนนในข้อนั้นๆ ต่างกันตั้งแต่ ๔ คะแนนขึ้นไป ให้ประธานอนุกรรมการทดสอบความรู้หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ตรวจและให้คะแนนใหม่ และให้ถือเป็นที่สุด ข้อ ๑๖ ให้ประธานอนุกรรมการทดสอบความรู้กำหนดวัน เวลา และสถานที่สอบข้อเขียนแล้วประกาศให้ทราบล่วงหน้าก่อนวันเริ่มสอบอย่างน้อย ๑๕ วัน ข้อ ๑๗[๒] ผู้สอบต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ของคะแนนสอบข้อเขียนทั้งหมด เว้นแต่ในกรณี ก.อ. กำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุไว้ตามข้อ ๖ วรรคสอง ผู้สอบที่ได้คะแนนสูงซึ่งได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ เรียงตามลำดับเมื่อรวมกันแล้วไม่เกินจำนวนที่ ก.อ. กำหนดจึงจะได้รับการประกาศให้ทราบ เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมกลั่นกรองอีกครั้ง เมื่อดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมกลั่นกรองตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ประธานอนุกรรมการทดสอบความรู้กำหนดวัน เวลา และสถานที่สอบปากเปล่า แล้วประกาศรายชื่อผู้ไม่ขาดคุณสมบัติจากการตรวจคุณสมบัติเพิ่มเติมกลั่นกรองเพื่อเข้าสอบปากเปล่า ให้ทราบล่วงหน้าก่อนวันสอบปากเปล่าอย่างน้อย ๗ วัน ข้อ ๑๗/๑[๓] ในกรณี ก.อ. กำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุไว้ตามข้อ ๖ วรรคสอง ถ้าผู้สอบข้อเขียนผ่านที่ได้ลำดับสุดท้ายมีหลายคน ซึ่งหากจะบรรจุทุกคนจะทำให้เกินจำนวนที่ ก.อ. กำหนด ให้จัดลำดับผู้ที่สอบผ่านในกลุ่มนี้ดังนี้ (๑) ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายอาญาอยู่ในลำดับก่อน (๒) หากคะแนนในวิชากฎหมายอาญาเท่ากัน ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอยู่ในลำดับก่อน (๓) ในกรณีตาม (๒) หากคะแนนในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเท่ากัน ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์อยู่ในลำดับก่อน (๔) ในกรณีตาม (๓) หากคะแนนในวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่ากัน ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอยู่ในลำดับก่อน (๕) ในกรณีตาม (๔) หากคะแนนในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเท่ากัน ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการอยู่ในลำดับก่อน ให้ใช้วิธีการดังกล่าวจัดลำดับผู้สอบผ่านให้ได้จำนวนเท่ากับที่ ก.อ. กำหนด หรือในกรณีหากเทียบคะแนนจนถึงรายวิชาสุดท้ายแล้วยังมีผู้ที่ได้คะแนนเท่ากันเมื่อรวมกันแล้วเกินจำนวนที่ ก.อ. กำหนด ให้ผู้สอบผ่านที่ยังคงมีคะแนนเท่ากันดังกล่าวทุกคนได้รับการประกาศให้ทราบ เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมกลั่นกรองอีกครั้ง ข้อ ๑๘ การสอบปากเปล่าตามข้อ ๑๗ ให้กระทำโดยวิธีถามผู้สอบเรียงตัวในลักษณะวิชาดังกล่าวในข้อ ๑๒ หรือข้อ ๑๔ วรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี ตามที่ประธานอนุกรรมการทดสอบความรู้เห็นสมควร การประเมินผลการสอบปากเปล่า ให้ประเมินผลว่าสอบได้หรือสอบตกเท่านั้น ผู้สอบที่ผ่านการสอบปากเปล่าในเกณฑ์สอบได้ จึงจะถือว่าเป็นผู้ทดสอบความรู้ได้ ข้อ ๑๙[๔] เมื่อได้มีการทดสอบความรู้เสร็จแล้ว ก.อ. จะประกาศรายชื่อผู้ทดสอบความรู้ได้และจะได้รับการบรรจุเรียงตามลำดับคะแนนไว้ ณ สำนักงานอัยการสูงสุด โดย ก.อ. อาจเรียกบรรจุผู้ทดสอบความรู้ได้ดังกล่าวไม่พร้อมกันก็ได้ ตามที่ ก.อ. เห็นสมควร ในกรณี ก.อ. กำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุไว้ตามข้อ ๖ วรรคสอง ถ้ามีผู้ทดสอบความรู้ได้เกินจำนวนที่ ก.อ. กำหนด ให้เสนอ ก.อ. เป็นผู้พิจารณารับบรรจุบุคคลดังกล่าวในเวลาที่ ก.อ. เห็นสมควร ข้อ ๒๐[๕] ในกรณี ก.อ. กำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุไว้ตามข้อ ๖ วรรคสอง แต่มีผู้เข้ารับการบรรจุไม่ครบจำนวนเนื่องจากมีผู้ขาดคุณสมบัติจากการตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมกลั่นกรอง หรือผู้มีสิทธิเข้าสอบปากเปล่าไม่เข้าสอบปากเปล่าหรือสอบปากเปล่าตก หรือผู้ทดสอบความรู้ได้ไม่รายงานตัวเพื่อเข้ารับการบรรจุ ให้ประธานอนุกรรมการทดสอบความรู้เสนอ ก.อ. เพื่อทราบถึงจำนวนที่อาจบรรจุได้อีก ในการนี้ ก.อ. อาจพิจารณาให้ประธานอนุกรรมการทดสอบความรู้ประกาศผู้สอบที่ได้คะแนนสูงซึ่งได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ในลำดับถัดลงไปให้ทราบเพื่อดำเนินการตามข้อ ๑๗ และตามหลักเกณฑ์ข้อ ๑๗/๑ โดยให้นำความในข้อ ๑๘ มาใช้บังคับ เพื่อให้ได้บุคคลที่จะได้รับการบรรจุตามจำนวนที่ ก.อ. กำหนดไว้ เมื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้นำความในข้อ ๑๙ มาใช้โดยอนุโลม ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ ก.อ. มีมติให้จัดให้มีการทดสอบความรู้เฉพาะผู้สมัครที่ไปศึกษาวิชากฎหมายจากต่างประเทศด้วยทุนรัฐบาลตามความต้องการของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือทุนของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางกฎหมายจากต่างประเทศที่ ก.อ. รับรอง ตามข้อ ๑๔ วรรคสี่ ให้ผู้สมัครไปรับการตรวจร่างกายและจิตใจจากคณะกรรมการแพทย์ ซึ่ง ก.อ. กำหนดตามความในมาตรา ๔๙ ก.(๖) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ เมื่อคณะกรรมการแพทย์ได้ตรวจร่างกายและจิตใจผู้สมัครแล้ว ให้คณะอนุกรรมการดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติตามวิธีการที่กำหนดไว้ในระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติ เมื่อคณะอนุกรรมการเห็นว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน ให้คณะอนุกรรมการทำการทดสอบความรู้โดยการสอบปากเปล่าตามที่ประธานอนุกรรมการทดสอบความรู้เห็นสมควร โดยมีคะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน และต้องได้คะแนนสอบปากเปล่าไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ จึงจะอยู่ในเกณฑ์จะได้รับการบรรจุ เมื่อคณะอนุกรรมการได้ดำเนินการแล้ว ให้รายงานเสนอความเห็นไปยัง ก.อ. เพื่อพิจารณา หมวด ๔ อัตราส่วนในการบรรจุ ข้อ ๒๒ การบรรจุผู้ทดสอบความรู้ได้ตามมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยนั้น ให้บรรจุได้ในอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ไม่เกินหนึ่งต่อสี่ แต่ถ้าขณะใดไม่มีผู้สอบคัดเลือกได้อยู่แล้ว ก็ให้บรรจุได้โดยไม่มีอัตราส่วน ภายใต้บังคับวรรคหนึ่ง การบรรจุข้าราชการอัยการตามมาตรา ๕๑ (๒) (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) หรือ (ซ) ซึ่งมีคุณวุฒิต่างกัน ให้บรรจุได้ในอัตราส่วนของผู้ทดสอบความรู้ได้และจะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยแต่ละคุณวุฒิตามที่ ก.อ. กำหนด ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ ก.อ. มีมติให้จัดให้มีการทดสอบความรู้ตามข้อ ๒๑ บทเฉพาะกาล ข้อ ๒๓ การดำเนินการเกี่ยวกับการทดสอบความรู้ซึ่งได้กระทำไปแล้วในขั้นตอนใดก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการในขั้นตอนต่อไปให้ปฏิบัติตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕[๖] ปณตภร/ผู้จัดทำ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๗๓ ก/หน้า ๓/๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ [๒] ข้อ ๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๓] ข้อ ๑๗/๑ เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๔] ข้อ ๑๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๕] ข้อ ๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๑๖ ก/หน้า ๓๘/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๕
659113
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนชั้นต้นกรณีข้าราชการอัยการถูกกล่าวหาหรือเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดวินัย และการรายงานผลการสอบสวนชั้นต้นที่ปรากฏว่ามีมูลเป็นกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง พ.ศ. 2554
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนชั้นต้น กรณีข้าราชการอัยการถูกกล่าวหาหรือเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดวินัย และการรายงาน ผลการสอบสวนชั้นต้นที่ปรากฏว่ามีมูลเป็นกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้มีระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนชั้นต้นกรณีข้าราชการอัยการถูกกล่าวหาหรือเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดวินัย และการรายงานผลการสอบสวนชั้นต้นที่ปรากฏว่ามีมูลเป็นกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๔ วรรคสอง และมาตรา ๗๕ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ และมาตรา ๔๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนชั้นต้นกรณีข้าราชการอัยการถูกกล่าวหาหรือเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดวินัย และการรายงานผลการสอบสวนชั้นต้นที่ปรากฏว่ามีมูลเป็นกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ผู้บังคับบัญชาดังต่อไปนี้ มีอำนาจดำเนินการสอบสวนชั้นต้น (๑) อัยการสูงสุด สำหรับข้าราชการอัยการทุกตำแหน่ง ยกเว้นรองอัยการสูงสุด (๒) อธิบดีอัยการ อธิบดีอัยการภาค หรืออัยการจังหวัด สำหรับข้าราชการอัยการทุกตำแหน่งซึ่งอยู่ในบังคับบัญชา ข้อ ๔ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาตามข้อ ๓ พิจารณาดำเนินการสอบสวนชั้นต้นเพื่อให้ได้ความจริงและเป็นธรรมโดยมิชักช้า การดำเนินการสอบสวนชั้นต้นโดยผู้บังคับบัญชาตามข้อ ๓ (๒) ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวรายงานสำนักงานอัยการสูงสุดทราบทันที การกล่าวหาดังต่อไปนี้ ผู้บังคับบัญชาอาจไม่ดำเนินการสอบสวนก็ได้ (๑) การกล่าวหาเป็นบัตรสนเท่ห์ซึ่งไม่มีพยานหลักฐานแวดล้อมปรากฏชัดแจ้ง ตลอดจนไม่ชี้พยานบุคคลแน่นอนพอที่จะสอบสวนได้ (๒) การกล่าวหาไม่มีข้อมูล หรือไม่มีสาระเพียงพอให้สอบสวนหาความจริงได้ ข้อ ๕ ในกรณีที่มีผู้ถูกกล่าวหาหลายคน ถ้าผู้ถูกกล่าวหาบางคนไม่ได้อยู่ในบังคับบัญชาของตน ผู้บังคับบัญชานั้นไม่มีอำนาจดำเนินการสอบสวนชั้นต้น ทั้งนี้ ให้รีบรายงานผู้บังคับบัญชาเหนือตนที่มีอำนาจเพื่อพิจารณาดำเนินการ ข้อ ๖ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาพิจารณาเห็นว่าการกล่าวหาหรือกรณีเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดวินัยตามข้อ ๔ เป็นกรณีที่จะดำเนินการสอบสวนได้ ผู้บังคับบัญชาอาจมอบหมายให้ข้าราชการอัยการซึ่งมีอาวุโสไม่ต่ำกว่าผู้ถูกกล่าวหา หรือแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนชั้นต้นเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนชั้นต้นแทนก็ได้ ในกรณีที่ไม่อาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้ ให้ผู้บังคับบัญชานั้นรายงานผู้บังคับบัญชาเหนือตนที่มีอำนาจเพื่อพิจารณาดำเนินการ ข้อ ๗ คณะกรรมการสอบสวนชั้นต้นประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคนและกรรมการอย่างน้อยอีกสองคนที่เป็นข้าราชการอัยการซึ่งมีอาวุโสไม่ต่ำกว่าผู้ถูกกล่าวหา เว้นแต่มีความจำเป็นจะแต่งตั้งกรรมการจากข้าราชการอัยการซึ่งมีอาวุโสต่ำกว่าผู้ถูกกล่าวหาก็ได้ โดยให้กรรมการคนหนึ่งเป็นเลขานุการ ในกรณีจำเป็นจะให้มีผู้ช่วยเลขานุการซึ่งเป็นข้าราชการฝ่ายอัยการด้วยก็ได้ เมื่อมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนชั้นต้นแล้ว หากมีเหตุสมควรหรือจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการสอบสวนชั้นต้น ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจแต่งตั้งมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงได้และให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับด้วย การเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการสอบสวนชั้นต้น หรือการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง หรืออาวุโสของบุคคลดังกล่าว ไม่กระทบกระเทือนถึงการแต่งตั้งหรือการสอบสวนชั้นต้น ข้อ ๘ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้มอบหมาย หรือแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนชั้นต้น ให้ผู้บังคับบัญชาแจ้งการมอบหมายหรือคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ได้รับมอบหมายหรือคณะกรรมการสอบสวนชั้นต้นและผู้ถูกกล่าวหาทราบ และให้ผู้ได้รับมอบหมายหรือประธานกรรมการสอบสวนชั้นต้นลงลายมือชื่อและวันเดือนปีที่รับทราบไว้เป็นหลักฐาน ให้ผู้ได้รับมอบหมายหรือคณะกรรมการสอบสวนชั้นต้นดำเนินการสอบสวน และรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง แล้วสรุปความเห็นรวมทั้งความเห็นแย้งถ้ามี เสนอต่อผู้บังคับบัญชาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับมอบหมายหรือแต่งตั้ง แล้วแต่กรณี ถ้ามีความจำเป็นซึ่งจะสอบสวนไม่ทันภายในกำหนดเวลานั้น ก็ให้ขออนุมัติต่อผู้บังคับบัญชาขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้งแต่ละครั้งเป็นเวลาไม่เกินสามสิบวัน และต้องแสดงเหตุที่ต้องขยายเวลาไว้ด้วยทุกครั้ง แต่ถ้าขยายเวลาแล้วผู้ได้รับมอบหมายหรือคณะกรรมการสอบสวนชั้นต้นยังสอบสวนไม่เสร็จ ให้รายงานผู้บังคับบัญชาพร้อมแสดงเหตุ ทั้งนี้ ผู้บังคับบัญชาจะให้สอบสวนภายในเวลาที่กำหนดตามที่จำเป็นก็ได้ ข้อ ๙ การดำเนินการสอบสวนชั้นต้นจะทำโดยให้คู่กรณีที่เกี่ยวข้องชี้แจงเรื่องราวเป็นหนังสือหรือสอบสวนข้อเท็จจริง หรือบันทึกเรื่องราวและความเห็นก็ได้ ห้ามมิให้ผู้ดำเนินการสอบสวนชั้นต้นส่งหนังสือร้องเรียน ถ้ามี ให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาแต่ต้องสรุปสาระสำคัญของหนังสือร้องเรียนให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ โดยมิให้แจ้งข้อมูลใดที่จะทำให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบถึงตัวบุคคลผู้ร้องเรียน ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาให้ถ้อยคำรับว่าได้กระทำการตามที่ถูกกล่าวหา ให้ผู้ดำเนินการสอบสวนชั้นต้นบันทึกถ้อยคำรับ รวมทั้งเหตุผล สาเหตุแห่งการกระทำ และข้อเท็จจริงอื่นที่เกี่ยวข้องไว้ ในกรณีนี้ผู้ดำเนินการสอบสวนชั้นต้นจะไม่ทำการสอบสวนต่อไปก็ได้ หรือจะสอบสวนต่อไปตามควรเพื่อทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์เกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวหาก็ได้ ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหามิได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพ ให้ผู้ดำเนินการสอบสวนชั้นต้นดำเนินการสอบสวนเพื่อรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหาต่อไป ให้ผู้ดำเนินการสอบสวนชั้นต้นสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ โดยไม่ต้องระบุชื่อพยาน เพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหามีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ ข้อ ๑๑ ให้ผู้ดำเนินการสอบสวนชั้นต้นให้โอกาสแก่ผู้ถูกกล่าวหาที่จะชี้แจง ตลอดจนนำพยานหลักฐานเข้าสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ ทั้งนี้ ภายในกำหนดระยะเวลาอันสมควร โดยผู้ถูกกล่าวหาจะนำพยานหลักฐานมาเอง หรือจะขอให้ผู้ดำเนินการสอบสวนเรียกพยานหลักฐานนั้นมาก็ได้ หากผู้ดำเนินการสอบสวนชั้นต้นเห็นว่า การสอบสวนพยานหลักฐานใดจะทำให้การสอบสวนข้อเท็จจริงในชั้นต้นต้องล่าช้าไปโดยไม่จำเป็น หรือมิใช่พยานหลักฐานในประเด็นสำคัญ ผู้ดำเนินการสอบสวนชั้นต้นจะงดการสอบสวนพยานหลักฐานนั้นเสียก็ได้ แต่ต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ในสำนวนการสอบสวนชั้นต้น ข้อ ๑๒ ให้ผู้ดำเนินการสอบสวนชั้นต้นทำรายงานการสอบสวน โดยสรุปข้อเท็จจริงพร้อมทั้งแสดงความเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยกรณีใดหรือไม่ ตามมาตราใด และควรลงโทษสถานใด ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาตามข้อ ๓ พิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ถูกกล่าวหามิได้กระทำผิดวินัยหรือการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาไม่เป็นความผิดวินัย ให้สั่งยุติเรื่อง แล้วรายงานอัยการสูงสุดเพื่อทราบและพิจารณา แต่ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง ให้รายงานตามลำดับถึงอัยการสูงสุดเพื่อเสนอคณะกรรมการอัยการพิจารณา เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการทางวินัย อัยการสูงสุดอาจสั่งให้ผู้บังคับบัญชาตามวรรคหนึ่งดำเนินการสอบสวนชั้นต้นเพิ่มเติมก็ได้ การรายงานตามลำดับถึงอัยการสูงสุดตามวรรคหนึ่ง หากอัยการสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำผิดวินัยหรือการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาไม่เป็นความผิดวินัย ให้สั่งยุติเรื่องได้ หรือหากเห็นว่าเป็นกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้ ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาตามข้อ ๓ เห็นว่าการกระทำของผู้ถูกกล่าวหามีมูลเป็นกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาผู้ดำเนินการสอบสวนชั้นต้นสรุปข้อเท็จจริง ทั้งแสดงความเห็นว่ามีมูลเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงกรณีใด ตามมาตราใด ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ แล้วให้รายงานตามลำดับถึงอัยการสูงสุด เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการทางวินัย อัยการสูงสุดอาจสั่งให้ผู้บังคับบัญชาตามวรรคหนึ่งดำเนินการสอบสวนชั้นต้นเพิ่มเติมก็ได้ หากอัยการสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำผิดวินัยหรือการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาไม่เป็นความผิดวินัย ให้สั่งยุติเรื่องได้ หรือหากเห็นว่าเป็นกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้ ข้อ ๑๕ ในกรณีที่อัยการสูงสุดเห็นว่าการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาตามข้อ ๑๓ หรือข้อ ๑๔ มีมูลเป็นกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้รายงานประธานคณะกรรมการอัยการ เพื่อเสนอคณะกรรมการอัยการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนต่อไป โดยให้สำนักงานคณะกรรมการอัยการเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนด้วย ข้อ ๑๖ เมื่อผู้บังคับบัญชาตามข้อ ๓ ได้ดำเนินการสอบสวนชั้นต้นแล้วเห็นว่าข้าราชการอัยการนั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงและเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง ตามข้อกำหนดคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง หรือได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชา ให้รีบรายงานตามลำดับจนถึงอัยการสูงสุด เพื่อนำเสนอประธานคณะกรรมการอัยการดำเนินการตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ต่อไป ข้อ ๑๗ การดำเนินการสอบสวนชั้นต้นที่กระทำไปโดยถูกต้องตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ให้ถือว่าเป็นอันสมบูรณ์และเป็นการสอบสวนชั้นต้นตามระเบียบนี้ ถ้ากรณียังค้างระหว่างการดำเนินการใด ก็ให้ดำเนินการต่อไปจนกว่าจะเสร็จ แต่การพิจารณาและการสั่งลงโทษให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ข้อ ๑๘ ให้คณะกรรมการอัยการมีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๙ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามระเบียบนี้ บรรดาระเบียบ ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๔ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๙๑ ก/หน้า ๙/๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๔
670754
ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวของอัยการผู้ช่วย พ.ศ. 2555
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวของอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยที่องค์กรอัยการเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่มีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น โดยมีอัยการสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชา และเนื่องจากค่าครองชีพในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่สอดคล้องกับเงินเดือนของอัยการผู้ช่วย จึงสมควรกำหนดให้มีเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวของอัยการผู้ช่วย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๐ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวของอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ข้าราชการอัยการผู้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวเป็นรายเดือน เดือนละ ๑๒,๔๔๐ บาท ตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่ดำรงตำแหน่งครบหนึ่งปี และคณะกรรมการอัยการมีมติเห็นชอบแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการประจำกองหรืออัยการจังหวัดผู้ช่วย กรณีอัยการผู้ช่วยผู้ใดไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการอัยการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการประจำกองหรืออัยการจังหวัดผู้ช่วย และต้องได้รับการอบรมจากสำนักงานอัยการสูงสุดต่อไปอีกตามระยะเวลาที่คณะกรรมการอัยการกำหนด ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวต่อไปจนกว่าคณะกรรมการอัยการมีมติเห็นชอบแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการประจำกองหรืออัยการจังหวัดผู้ช่วย ข้อ ๔ การให้เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามระเบียบนี้ เป็นการให้ชั่วคราว หากมีการปรับโครงสร้างเงินเดือนของข้าราชการอัยการ คณะกรรมการอัยการอาจแก้ไขหรือยกเลิกเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวเพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างเงินเดือนของอัยการผู้ช่วยที่ปรับใหม่ได้ ข้อ ๕ การจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวต้องมีหลักฐานการจ่ายเงินตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการเงินไว้เพื่อให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบ ข้อ ๖ หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวของอัยการผู้ช่วยกรณีใดที่มิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้นำหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจ่ายเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน และระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเดือน เงินปี และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๗ เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามระเบียบนี้ ให้เริ่มจ่ายได้ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ข้อ ๘ ให้คณะกรรมการอัยการมีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ข้อ ๙ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๖๕ ก/หน้า ๒๕/๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕
678453
ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๔ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๑ วรรคสี่ และมาตรา ๕๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๗ ของระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๗ ผู้สอบต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ของคะแนนสอบข้อเขียนทั้งหมด เว้นแต่ในกรณี ก.อ. กำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุไว้ตามข้อ ๖ วรรคสอง ผู้สอบที่ได้คะแนนสูงซึ่งได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ เรียงตามลำดับเมื่อรวมกันแล้วไม่เกินจำนวนที่ ก.อ. กำหนดจึงจะได้รับการประกาศให้ทราบ เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมกลั่นกรองอีกครั้ง เมื่อดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมกลั่นกรองตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ประธานอนุกรรมการทดสอบความรู้กำหนดวัน เวลา และสถานที่สอบปากเปล่า แล้วประกาศรายชื่อผู้ไม่ขาดคุณสมบัติจากการตรวจคุณสมบัติเพิ่มเติมกลั่นกรองเพื่อเข้าสอบปากเปล่า ให้ทราบล่วงหน้าก่อนวันสอบปากเปล่าอย่างน้อย ๗ วัน ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๑๗/๑ ของระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๔ “ข้อ ๑๗/๑ ในกรณี ก.อ. กำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุไว้ตามข้อ ๖ วรรคสอง ถ้าผู้สอบข้อเขียนผ่านที่ได้ลำดับสุดท้ายมีหลายคน ซึ่งหากจะบรรจุทุกคนจะทำให้เกินจำนวนที่ ก.อ. กำหนด ให้จัดลำดับผู้ที่สอบผ่านในกลุ่มนี้ดังนี้ (๑) ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายอาญาอยู่ในลำดับก่อน (๒) หากคะแนนในวิชากฎหมายอาญาเท่ากัน ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอยู่ในลำดับก่อน (๓) ในกรณีตาม (๒) หากคะแนนในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเท่ากัน ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์อยู่ในลำดับก่อน (๔) ในกรณีตาม (๓) หากคะแนนในวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่ากัน ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอยู่ในลำดับก่อน (๕) ในกรณีตาม (๔) หากคะแนนในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเท่ากัน ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการอยู่ในลำดับก่อน ให้ใช้วิธีการดังกล่าวจัดลำดับผู้สอบผ่านให้ได้จำนวนเท่ากับที่ ก.อ. กำหนด หรือในกรณีหากเทียบคะแนนจนถึงรายวิชาสุดท้ายแล้วยังมีผู้ที่ได้คะแนนเท่ากันเมื่อรวมกันแล้วเกินจำนวนที่ ก.อ. กำหนด ให้ผู้สอบผ่านที่ยังคงมีคะแนนเท่ากันดังกล่าวทุกคนได้รับการประกาศให้ทราบ เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมกลั่นกรองอีกครั้ง” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๙ ของระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๙ เมื่อได้มีการทดสอบความรู้เสร็จแล้ว ก.อ. จะประกาศรายชื่อผู้ทดสอบความรู้ได้และจะได้รับการบรรจุเรียงตามลำดับคะแนนไว้ ณ สำนักงานอัยการสูงสุด โดย ก.อ. อาจเรียกบรรจุผู้ทดสอบความรู้ได้ดังกล่าวไม่พร้อมกันก็ได้ ตามที่ ก.อ. เห็นสมควร ในกรณี ก.อ. กำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุไว้ตามข้อ ๖ วรรคสอง ถ้ามีผู้ทดสอบความรู้ได้เกินจำนวนที่ ก.อ. กำหนด ให้เสนอ ก.อ. เป็นผู้พิจารณารับบรรจุบุคคลดังกล่าวในเวลาที่ ก.อ. เห็นสมควร” ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๐ ของระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๒๐ ในกรณี ก.อ. กำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุไว้ตามข้อ ๖ วรรคสอง แต่มีผู้เข้ารับการบรรจุไม่ครบจำนวนเนื่องจากมีผู้ขาดคุณสมบัติจากการตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมกลั่นกรอง หรือผู้มีสิทธิเข้าสอบปากเปล่าไม่เข้าสอบปากเปล่าหรือสอบปากเปล่าตก หรือผู้ทดสอบความรู้ได้ไม่รายงานตัวเพื่อเข้ารับการบรรจุ ให้ประธานอนุกรรมการทดสอบความรู้เสนอ ก.อ. เพื่อทราบถึงจำนวนที่อาจบรรจุได้อีก ในการนี้ ก.อ. อาจพิจารณาให้ประธานอนุกรรมการทดสอบความรู้ประกาศผู้สอบที่ได้คะแนนสูงซึ่งได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ในลำดับถัดลงไปให้ทราบเพื่อดำเนินการตามข้อ ๑๗ และตามหลักเกณฑ์ข้อ ๑๗/๑ โดยให้นำความในข้อ ๑๘ มาใช้บังคับ เพื่อให้ได้บุคคลที่จะได้รับการบรรจุตามจำนวนที่ ก.อ. กำหนดไว้ เมื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้นำความในข้อ ๑๙ มาใช้โดยอนุโลม” ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๑๖ ก/หน้า ๓๘/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๕
672978
ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยการลาหยุดราชการของข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2555
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยการลาหยุดราชการของข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยการลาหยุดราชการของข้าราชการฝ่ายอัยการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยการลาหยุดราชการของข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ “ก.อ.” หมายความว่า คณะกรรมการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้อ ๔ การลาทุกประเภทตามระเบียบนี้ ถ้ามีกฎหมาย ระเบียบ ก.อ. หรือมติ ก.อ. กำหนดเกี่ยวกับการลาประเภทใดไว้เป็นพิเศษ ผู้ลาและผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตการลาจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ก.อ. หรือมติ ก.อ. เกี่ยวกับการลาประเภทนั้นด้วย กรณีที่มีมติคณะรัฐมนตรีกำหนดเกี่ยวกับการลาประเภทใดไว้เป็นพิเศษ ผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตการลาอาจพิจารณาหรืออนุญาตตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวได้ตามความเหมาะสมและจำเป็นที่จะอนุญาตให้ลาได้ โดยมิให้เสียหายแก่การปฏิบัติราชการ ข้อ ๕ ผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตการลา และการใช้อำนาจพิจารณาหรืออนุญาตการลาสำหรับข้าราชการ ให้เป็นไปตามตารางที่กำหนดไว้ท้ายระเบียบนี้ ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตการลา มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตการลาสำหรับข้าราชการที่อยู่ในสังกัด ในกรณีที่ผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตการลาไม่อาจหรือไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ ให้ข้าราชการในสำนักงานผู้มีลำดับอาวุโสตามระเบียบแบบแผนเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาต ผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตการลาอาจมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นเป็นผู้พิจารณาหรืออนุญาตแทนก็ได้ โดยให้คำนึงถึงระดับตำแหน่งและความรับผิดชอบของผู้รับมอบอำนาจเป็นสำคัญ การลาในช่วงก่อนและหลังวันหยุดราชการประจำสัปดาห์หรือวันหยุดราชการประจำปีเพื่อให้มีวันหยุดต่อเนื่องกัน ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตการลาใช้ดุลพินิจตามความเหมาะสมและจำเป็นที่จะอนุญาตให้ลาได้ โดยมิให้เสียหายแก่การปฏิบัติราชการ ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ให้จัดทำบัญชีลงเวลาการปฏิบัติราชการของข้าราชการในสังกัด ตามแบบท้ายระเบียบนี้ หรือจะใช้เครื่องบันทึกเวลาการปฏิบัติราชการแทนก็ได้ ในกรณีจำเป็น อัยการสูงสุดจะกำหนดวิธีลงเวลาปฏิบัติราชการ หรือวิธีควบคุมการปฏิบัติราชการของข้าราชการที่มีการปฏิบัติราชการในลักษณะพิเศษเป็นอย่างอื่นตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่ต้องมีหลักฐานให้สามารถตรวจสอบวันเวลาการปฏิบัติราชการได้ด้วย ข้อ ๗ การลาให้ใช้ใบลาตามแบบท้ายระเบียบนี้ เว้นแต่ในกรณีจำเป็นหรือรีบด่วนจะใช้ใบลาที่มีข้อความไม่ครบถ้วนตามแบบหรือจะลาโดยวิธีการอย่างอื่นก็ได้ แต่ต้องส่งใบลาตามแบบในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ แบบรายงานลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล แบบรายงานผลเกี่ยวกับการลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ และแบบใบขอยกเลิกวันลา ให้ใช้ตามแบบท้ายระเบียบนี้ สำนักงานอัยการสูงสุดอาจนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้ในการเสนอใบลา อนุญาตให้ลาและยกเลิกวันลา สำหรับการลาป่วย ลาพักผ่อน หรือลากิจส่วนตัวซึ่งมิใช่ลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ทั้งนี้ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวจะต้องเป็นระบบที่มีความปลอดภัย รัดกุม สามารถตรวจสอบตัวบุคคลและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการลาเป็นหลักฐานในราชการได้ ข้อ ๘ ข้าราชการซึ่งประสงค์จะไปต่างประเทศในระหว่างการลาตามระเบียบนี้ หรือในระหว่างวันหยุดราชการ ให้เสนอขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงอัยการสูงสุด ข้อ ๙ การขออนุญาตไปต่างประเทศซึ่งอยู่ติดเขตแดนประเทศไทย ให้อัยการจังหวัดในท้องที่ที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศใด มีอำนาจอนุญาตให้ข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในสำนักงานอัยการจังหวัดนั้น ๆ ไปประเทศดังกล่าวได้ครั้งหนึ่งไม่เกิน ๗ วัน และเมื่ออนุญาตแล้ว ให้รายงานต่ออัยการสูงสุดเพื่อทราบ ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ผู้มีอำนาจอนุญาตตามข้อ ๘ หรือข้อ ๙ ไม่อาจหรือไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ ให้ข้าราชการอัยการในสำนักงานผู้มีลำดับอาวุโสตามระเบียบแบบแผนเป็นผู้มีอำนาจอนุญาต ผู้มีอำนาจอนุญาตตามวรรคหนึ่ง อาจมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นเป็นผู้อนุญาตแทนก็ได้ ข้อ ๑๑ การลาทุกประเภทและการไปต่างประเทศของอัยการสูงสุด ให้อยู่ในดุลพินิจของอัยการสูงสุด โดยแจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการอัยการทราบ ข้อ ๑๒ นอกจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ การลาหยุดราชการของข้าราชการฝ่ายอัยการให้นำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการลาของข้าราชการมาใช้โดยอนุโลม ทั้งนี้ คำว่า “รัฐมนตรีเจ้าสังกัด” “ปลัดกระทรวง” “หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง” และ “หัวหน้าส่วนราชการ” ให้หมายถึง “อัยการสูงสุด” ข้อ ๑๓ การพิจารณาหรืออนุญาตการลาก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นอันสมบูรณ์ตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๔ ให้ ก.อ. มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๕ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่ง หลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งอื่นใด ซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตารางการลาหยุดราชการของข้าราชการฝ่ายอัยการ ๒. บัญชีลงเวลาการปฏิบัติราชการของข้าราชการ ๓. แบบใบลาป่วย ลาคลอดบุตร ลากิจส่วนตัว ๔. แบบใบลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร ๕. แบบใบลาพักผ่อน ๖. แบบใบลาอุปสมบท ๗. แบบใบลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ๘. แบบรายงานลาเข้ารับการตรวจเลือก หรือเข้ารับการเตรียมพล ๙. แบบใบลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย และดูงาน ๑๐. แบบใบลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ ๑๑. แบบรายงานผลเกี่ยวกับการลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ ๑๒. แบบใบลาติดตามคู่สมรส ๑๓. แบบใบลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ ๑๔. แบบใบขอยกเลิกวันลา (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ กันยายน ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๘ กันยายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๘๓ ก/หน้า ๑๐/๑ กันยายน ๒๕๕๕
656818
ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยการประชุมและการลงมติ พ.ศ. 2554
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยการประชุมและการลงมติ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยการประชุมและการลงมติ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยการประชุมและการลงมติ พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้คณะกรรมการอัยการมีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ข้อ ๔ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่ง หลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งอื่นใด ซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน หมวด ๑ ประธานในที่ประชุม อำนาจและหน้าที่ของประธานคณะกรรมการอัยการ และหน้าที่ของเลขานุการคณะกรรมการอัยการ ข้อ ๕ ให้ประธานคณะกรรมการอัยการ เป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการอัยการ ในกรณีที่ประธานคณะกรรมการอัยการไม่มาประชุม หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานคณะกรรมการอัยการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานคณะกรรมการอัยการและรองประธานคณะกรรมการอัยการไม่มาประชุม หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการอัยการในที่ประชุมเลือกกรรมการอัยการคนหนึ่งเป็นประธาน ในกรณีประธานในที่ประชุมไม่อยู่ในที่ประชุมจนไม่อาจดำเนินการประชุมต่อไปได้ ให้นำความในวรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๖ ประธานคณะกรรมการอัยการ มีอำนาจและหน้าที่ดังนี้ (๑) เรียกประชุมคณะกรรมการอัยการ หรือสั่งให้เลขานุการคณะกรรมการอัยการเรียกหรือนัดประชุมคณะกรรมการอัยการ (๒) ควบคุมและดำเนินการประชุมให้เป็นไปโดยเรียบร้อย (๓) รักษาความสงบเรียบร้อยในที่ประชุมคณะกรรมการอัยการ ตลอดถึงบริเวณที่ประชุมคณะกรรมการอัยการ (๔) แต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการตามมติของที่ประชุม (๕) อำนาจและหน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้หรือตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ข้อ ๗ ให้เลขานุการคณะกรรมการอัยการ เป็นเลขานุการในที่ประชุมคณะกรรมการอัยการ โดยมีหน้าที่ดังนี้ (๑) ดำเนินการเรียกหรือนัดประชุมคณะกรรมการอัยการตามคำสั่งของประธานคณะกรรมการอัยการ (๒) จัดระเบียบวาระการประชุม และจัดเตรียมสรรพเอกสารที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการอัยการในที่ประชุม (๓) เสนอให้มีการเลือกประธานในที่ประชุมตามข้อ ๕ วรรคสอง (๔) ช่วยประธานในที่ประชุมในการนับคะแนนเสียง (๕) รับผิดชอบและควบคุมการทำรายงานการประชุม (๖) แจ้งหรือยืนยันมติของที่ประชุมไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง (๗) ปฏิบัติการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ระเบียบ ข้อกำหนด ประกาศ หรือตามที่ประธานในที่ประชุมคณะกรรมการอัยการมอบหมาย หมวด ๒ การประชุมคณะกรรมการอัยการ ข้อ ๘ ในการประชุมคณะกรรมการอัยการ ผู้ที่จะอยู่ในที่ประชุมได้เฉพาะแต่คณะกรรมการอัยการ เลขานุการคณะกรรมการอัยการ ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการอัยการ และผู้ที่ได้รับอนุญาตจากประธานในที่ประชุม ข้อ ๙ ในการประชุมคณะกรรมการอัยการ ย่อมเป็นไปตามกำหนดที่ประธานคณะกรรมการอัยการเรียกประชุมไว้ แต่ประธานคณะกรรมการอัยการจะสั่งเลื่อนหรืองดการประชุมตามที่เรียกหรือนัดไว้แล้วก็ได้ เมื่อเห็นว่ามีเหตุอันสมควร หรือไม่มีเรื่องที่สมควรจะบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุม ในกรณีที่ประธานคณะกรรมการอัยการเห็นสมควรเรียกประชุมเป็นพิเศษ ก็ให้เรียกประชุมได้ ข้อ ๑๐ การนัดประชุมต้องทำเป็นหนังสือและให้นัดล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน ประธานคณะกรรมการอัยการอาจนัดเร็วกว่านั้นหรือนัดประชุมโดยวิธีการอื่นใดหรืออาจให้คณะกรรมการอัยการลงมติโดยใช้มติเวียนก็ได้ เมื่อเห็นว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน เรื่องจำเป็น หรือมีเหตุสมควรประการอื่น มติเวียนให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อคณะกรรมการอัยการเห็นชอบเป็นเอกฉันท์เท่านั้นและให้รายงานที่ประชุมคณะกรรมการอัยการทราบในวันประชุมครั้งต่อไป ข้อ ๑๑ ให้เลขานุการคณะกรรมการอัยการส่งระเบียบวาระการประชุมกับเอกสารที่เกี่ยวข้องไปให้กรรมการอัยการก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าสามวัน เว้นแต่เป็นกรณีการนัดประชุมตามข้อ ๑๐ วรรคสอง และหากมีเหตุจำเป็นจะส่งเพิ่มเติมอีกในเวลาใดก็ได้ตามที่เห็นสมควร ข้อ ๑๒ การจัดระเบียบวาระการประชุมให้จัดลำดับดังนี้ (๑) เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม (๒) รับรองรายงานการประชุม (๓) เรื่องแจ้งเพื่อทราบ (๔) เรื่องที่ค้างพิจารณา (๕) เรื่องเพื่อพิจารณา (๖) เรื่องอื่น ๆ ในกรณีที่ประธานคณะกรรมการอัยการเห็นสมควรจะจัดลำดับระเบียบวาระการประชุมเป็นอย่างอื่นก็ได้ ข้อ ๑๓ ให้ผู้มาประชุมลงลายมือชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มาประชุมที่จัดเตรียมไว้ก่อนเข้าประชุมทุกครั้ง กรรมการอัยการผู้ใดไม่อาจมาประชุมตามที่กำหนด ให้แจ้งต่อเลขานุการคณะกรรมการอัยการเพื่อรายงานประธานในที่ประชุมก่อนเริ่มการประชุม ข้อ ๑๔ การประชุมคณะกรรมการอัยการต้องมีกรรมการอัยการมาประชุมไม่น้อยกว่าแปดคนจึงเป็นองค์ประชุม ในการประชุมของคณะกรรมการอัยการ ถ้ามีการพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับกรรมการอัยการผู้ใดโดยเฉพาะ ผู้นั้นไม่มีสิทธิอยู่ในที่ประชุม แต่เพื่อประโยชน์ในการนับองค์ประชุม ถ้าผู้นั้นได้เข้าประชุมแล้วและต้องออกจากที่ประชุม ให้นับผู้นั้นเป็นองค์ประชุมด้วย เมื่อพ้นกำหนดเวลานัดประชุมไปสามสิบนาทีแล้วจำนวนกรรมการอัยการยังไม่ครบองค์ประชุม ประธานในที่ประชุมจะสั่งให้เลื่อนการประชุมไปก็ได้ ข้อ ๑๕ ในการประชุมคณะกรรมการอัยการ ให้ที่ประชุมพิจารณาไปตามลำดับที่จัดไว้ในระเบียบวาระการประชุมทุกเรื่อง การเปลี่ยนลำดับระเบียบวาระการประชุม การเลื่อนการประชุม การปิดประชุม หรือการยกเลิกประชุม ก่อนเสร็จสิ้นระเบียบวาระการประชุมจะกระทำได้โดยความเห็นชอบของที่ประชุมเท่านั้น ประธานในที่ประชุมมีอำนาจปรึกษาที่ประชุมในปัญหาใด ๆ หรือสั่งพักการประชุมได้ตามที่เห็นสมควร หมวด ๓ การลงมติ ข้อ ๑๖ การลงมติของคณะกรรมการอัยการให้ถือเสียงข้างมากในที่ประชุม กรรมการอัยการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด การออกเสียงลงมติให้กระทำโดยเปิดเผย เว้นแต่ที่ประชุมโดยเสียงข้างมากมีมติให้กระทำโดยวิธีการลงคะแนนลับ ส่วนวิธีการลงคะแนนลับให้เป็นไปตามที่ประธานในที่ประชุมกำหนด ข้อ ๑๗ ประธานในที่ประชุมจะสั่งให้รวมหรือแยกประเด็นในการพิจารณาหรือลงมติก็ได้ เว้นแต่ที่ประชุมเห็นเป็นอย่างอื่น หมวด ๔ การเผยแพร่รายงานการประชุม ข้อ ๑๘ ให้เลขานุการคณะกรรมการอัยการจัดทำรายงานการประชุมคณะกรรมการอัยการ โดยบันทึกประเด็นที่ประชุมพิจารณาพร้อมด้วยความเห็นทั้งที่เป็นความเห็นของเสียงข้างมากและความเห็นของเสียงข้างน้อย และมติของคณะกรรมการอัยการ ข้อ ๑๙ ให้ทำสำเนารายงานการประชุมของคณะกรรมการอัยการ ซึ่งที่ประชุมรับรองแล้วไว้อย่างน้อยสองชุด ณ สำนักงานอัยการสูงสุด รายงานการประชุมของคณะกรรมการอัยการทุกครั้งจะต้องมีรายชื่อกรรมการอัยการที่มาประชุม และที่ไม่มาประชุม ข้อ ๒๐ การเปิดเผยหรืองดเปิดเผยรายงานการประชุมทั้งหมดหรือบางส่วน ให้เป็นไปตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาภายใต้กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ ประกาศ ณ วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๗๙ ก/หน้า ๙/๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๔
665627
ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. ๒๕๕๔ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๐ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔ ของระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๔ ให้ข้าราชการธุรการได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษเป็นรายเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในระเบียบนี้” ข้อ ๔ ข้าราชการธุรการผู้ใดซึ่งมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษตามระเบียบนี้ และมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษอื่นด้วย ให้ข้าราชการธุรการผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มดังกล่าวตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๕ เมษายน ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๓๑ ก/หน้า ๒๕/๔ เมษายน ๒๕๕๕
672976
ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยการจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่งข้าราชการฝ่ายอัยการประเภทข้าราชการธุรการ พ.ศ. 2555
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยการจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง ข้าราชการฝ่ายอัยการประเภทข้าราชการธุรการ พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยที่เป็นการสมควรให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่งข้าราชการฝ่ายอัยการประเภทข้าราชการธุรการ ให้สอดคล้องกับระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยการแบ่งหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุด อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๓๐ (๑๑) ประกอบมาตรา ๙๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยการจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่งข้าราชการฝ่ายอัยการประเภทข้าราชการธุรการ พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “ก.อ.” หมายความว่า คณะกรรมการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้อ ๔ ตำแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่ ตำแหน่งในฐานะผู้บังคับบัญชาหน่วยงานราชการธุรการที่มีอำนาจและหน้าที่ในการช่วยอัยการสูงสุดในการบริหารงาน กำหนดนโยบาย พันธกิจและทิศทางการดำเนินงานของข้าราชการธุรการของสำนักงานอัยการสูงสุด รวมทั้งกำกับ ควบคุม ให้คำแนะนำ ตัดสินใจ โดยทั่วไปซึ่งราชการของข้าราชการธุรการให้เป็นไปตามกฎหมาย และระเบียบของทางราชการ หรือตำแหน่งอื่นที่ ก.อ. ประกาศกำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ข้อ ๕ ตำแหน่งประเภทบริหาร มี ๒ ระดับ ดังต่อไปนี้ (๑) ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น ได้แก่ (ก) ตำแหน่งผู้บังคับบัญชาหน่วยงานราชการธุรการของสำนักงานอัยการสูงสุดที่มีอำนาจและหน้าที่ในการช่วยบริหารงาน กำหนดนโยบาย พันธกิจ และทิศทางการดำเนินงานของข้าราชการธุรการ ลูกจ้างและพนักงานราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด รวมทั้งกำกับ ควบคุม ให้คำแนะนำ ตัดสินใจ โดยทั่วไปซึ่งราชการของหน่วยงานราชการธุรการ โดยมีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมาก (ข) ตำแหน่งอื่นที่ ก.อ. ประกาศกำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น (๒) ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ได้แก่ (ก) ตำแหน่งผู้บังคับบัญชาหน่วยงานราชการธุรการของสำนักงานอัยการสูงสุดที่มีอำนาจและหน้าที่ในการช่วยบริหารงาน กำหนดนโยบาย พันธกิจ และทิศทางการดำเนินงานของข้าราชการธุรการ ลูกจ้างและพนักงานราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด รวมทั้งกำกับ ควบคุม ให้คำแนะนำ ตัดสินใจ โดยทั่วไปซึ่งราชการของหน่วยงานราชการธุรการ โดยมีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมากเป็นพิเศษ (ข) ตำแหน่งอื่นที่ ก.อ. ประกาศกำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ข้อ ๖ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ได้แก่ ตำแหน่งข้าราชการธุรการที่เป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยงานธุรการในหน่วยงานราชการอัยการ หรือที่เป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยงานธุรการในหน่วยงานราชการธุรการที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยการแบ่งหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุด โดยเป็นหน่วยงานที่มีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมาก หรือสูงมากเป็นพิเศษ หรือตำแหน่งอื่นที่ ก.อ. ประกาศกำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการ ข้อ ๗ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ มี ๒ ระดับ ดังต่อไปนี้ (๑) ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้น ได้แก่ ตำแหน่งที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมาก ดังต่อไปนี้ (ก) ตำแหน่งข้าราชการธุรการที่เป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยงานธุรการในหน่วยงานราชการอัยการ หรือที่เป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยงานธุรการในหน่วยงานราชการธุรการ ที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยการแบ่งหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุด (ข) ตำแหน่งอื่นที่ ก.อ. ประกาศกำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้น (๒) ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับสูง ได้แก่ ตำแหน่งที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมากเป็นพิเศษ ดังต่อไปนี้ (ก) ตำแหน่งข้าราชการธุรการที่เป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยงานธุรการในหน่วยงานราชการอัยการ หรือที่เป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยงานธุรการในหน่วยงานราชการธุรการ ที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยการแบ่งหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุด (ข) ตำแหน่งอื่นที่ ก.อ. ประกาศกำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับสูง ข้อ ๘ ตำแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่ ตำแหน่งในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่ใช้ความรู้ในทางวิชาการ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาที่มีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.อ. กำหนด เพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำแหน่งนั้น โดยมีการจำแนกตามลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานเป็นหลัก หรือตำแหน่งอื่นที่ ก.อ. ประกาศกำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภทวิชาการ ข้อ ๙ ตำแหน่งประเภทวิชาการ มี ๕ ระดับ ดังต่อไปนี้ (๑) ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ได้แก่ ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับต้น โดยใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับแนะนำ ตรวจสอบ (๒) ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้ (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงในงานวิชาการ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก (ข) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงในงานวิชาการ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก (๓) ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้ (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงมากในงานวิชาการ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก (ข) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงมากในงานวิชาการปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก (๔) ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้ (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีความเชี่ยวชาญในงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาการ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมาก และมีผลกระทบในวงกว้าง (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานให้คำปรึกษาของหน่วยงานราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในทางวิชาการ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมาก และมีผลกระทบในวงกว้าง (๕) ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้ (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถ เป็นที่ยอมรับในสำนักงานอัยการสูงสุด ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมากเป็นพิเศษ และมีผลกระทบในวงกว้างระดับนโยบายของสำนักงานอัยการสูงสุด (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานให้คำปรึกษาของหน่วยงานราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งมีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถ เป็นที่ยอมรับในสำนักงานอัยการสูงสุด ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมากเป็นพิเศษ และมีผลกระทบในวงกว้างระดับนโยบายของสำนักงานอัยการสูงสุด ข้อ ๑๐ ตำแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่ ตำแหน่งซึ่งมิใช่ตำแหน่งประเภทบริหาร ประเภทอำนวยการ และประเภทวิชาการ แต่เป็นตำแหน่งในฐานะผู้ปฏิบัติงานซึ่งเน้นการใช้ทักษะ ฝีมือในการปฏิบัติงาน โดยมีการจำแนกตามลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานเป็นหลัก และในกรณีที่เห็นสมควร ก.อ. จะกำหนดว่าตำแหน่งใดต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำแหน่งนั้นด้วยก็ได้ หรือตำแหน่งอื่นที่ ก.อ. ประกาศกำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภททั่วไป ข้อ ๑๑ ตำแหน่งประเภททั่วไป มี ๔ ระดับ ดังต่อไปนี้ (๑) ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ได้แก่ ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งปฏิบัติงานตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ (๒) ตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงาน ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้ (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงาน ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ค่อนข้างยาก (ข) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงาน ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ค่อนข้างยาก (๓) ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้ (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานค่อนข้างสูง ในงานเทคนิคเฉพาะด้าน หรืองานที่ใช้ทักษะและความชำนาญเฉพาะตัว ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ค่อนข้างยากมาก (ข) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานค่อนข้างสูง มีงานในความรับผิดชอบที่หลากหลาย ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจ หรือแก้ปัญหาที่ค่อนข้างยากมาก (๔) ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ ได้แก่ ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีทักษะพิเศษเฉพาะตัว โดยมีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถในงานที่ใช้ทักษะและความชำนาญเฉพาะตัวสูงมาก ปฏิบัติงานที่ต้องคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ด้วยตนเอง และเป็นที่ยอมรับในสำนักงานอัยการสูงสุด ข้อ ๑๒ การปฏิบัติงานใดที่จะเป็นการปฏิบัติงานที่มีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูง หรือต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานที่ยุ่งยากซับซ้อน หรือต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหา หรือมีผลกระทบของงาน ในระดับใด ให้เป็นไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ข้อ ๑๓ ให้ ก.อ. มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๔ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่ง หลักเกณฑ์ และวิธีการเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งอื่น ซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ กันยายน ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๘ กันยายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๘๓ ก/หน้า ๖/๑ กันยายน ๒๕๕๕
665625
ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินรางวัลตอบแทนพิเศษเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเงินรางวัลตอบแทนพิเศษเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยที่สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นส่วนราชการที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น โดยมีอัยการสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชา และต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุดให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตามเป้าหมาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด รวมทั้งควบคุมดูแลและรับผิดชอบการบริหารราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผนและประเพณีปฏิบัติของทางราชการ และด้วยเหตุที่การปฏิบัติงานในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้มีความอ่อนไหวต่อการปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงานอัยการในพื้นที่ดังกล่าว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการสร้างแรงจูงใจให้ข้าราชการฝ่ายอัยการซึ่งมีความรู้ความสามารถอยู่ปฏิบัติราชการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติราชการ และบรรลุพันธกิจด้านการอำนวยความยุติธรรมในทางอรรถคดี การรักษาผลประโยชน์ของรัฐ และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภยันตรายจากสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น อันเป็นการเสริมสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาและประโยชน์สุขของประชาชนต่อการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด จึงเป็นการสมควรกำหนดให้มีระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเงินรางวัลตอบแทนพิเศษเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๐ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเงินรางวัลตอบแทนพิเศษเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “เงินรางวัลตอบแทนพิเศษ” หมายความว่า เงินค่าตอบแทนพิเศษที่สำนักงานอัยการสูงสุดจัดสรรให้แก่ข้าราชการฝ่ายอัยการซึ่งปฏิบัติราชการประจำในสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ “สำนักงานอัยการ” หมายความว่า สำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติราชการประจำหรือได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติราชการหรือช่วยราชการในลักษณะประจำในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ และให้หมายความรวมถึงข้าราชการฝ่ายอัยการสำนักงานคดีศาลสูงภาค ๙ ที่ได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติราชการในสำนักงานอัยการด้วย “ก.อ.” หมายความว่า คณะกรรมการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้อ ๔ เพื่อสร้างแรงจูงใจแก่ข้าราชการในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องและเกิดผลสัมฤทธิ์ของงาน ให้ข้าราชการได้รับเงินรางวัลตอบแทนพิเศษตามรอบการประเมินจากเงินงบประมาณรายจ่ายของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ อัตราเงินรางวัลตอบแทนพิเศษของข้าราชการ ให้เป็นไปตามบัญชีแนบท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๕ ให้สำนักงานอัยการสูงสุดดำเนินการดังต่อไปนี้ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการ ในการอำนวยความยุติธรรมในทางอรรถคดี การรักษาผลประโยชน์ของรัฐ และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพให้แก่ประชาชน รวมทั้งการให้บริการที่มีคุณภาพแก่ประชาชนซึ่งอยู่ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ (๑) ประกาศกำหนดสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ (๒) กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินการบริหารราชการแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์และหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินรางวัลตอบแทนพิเศษแก่ข้าราชการ ข้อ ๖ ให้มีคณะทำงานประเมินการบริหารราชการแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ เรียกโดยย่อว่า “คปส.” ประกอบด้วย (๑) ผู้ตรวจการอัยการที่ได้รับมอบหมายให้ตรวจราชการในสำนักงานอัยการภาค ๙ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน (๒) อธิบดีอัยการภาค ๙ เป็นรองหัวหน้าคณะทำงาน (๓) อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูงภาค ๙ อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีแรงงานภาค ๙ อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีปกครองสงขลา เป็นคณะทำงาน (๔) อัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่งภาค ๙ อัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายภาค ๙ อัยการพิเศษฝ่ายคดีแรงงานภาค ๙ อัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองสงขลา เป็นคณะทำงาน (๕) อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญาภาค ๙ เป็นคณะทำงานและเลขานุการ (๖) ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการภาค ๙ เป็นคณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ ข้อ ๗ ให้ คปส. มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) ประเมินผลการปฏิบัติงานของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ (๒) เสนอผลการประเมินตาม (๑) และเสนอการจัดสรรเงินรางวัลตอบแทนพิเศษต่ออัยการสูงสุดเพื่อพิจารณาอนุมัติ (๓) เสนอความเห็นต่ออัยการสูงสุดในการปรับปรุงหรือแก้ไขหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้ (๔) ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามระเบียบนี้ และปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่อัยการสูงสุดมอบหมาย ข้อ ๘ ให้ คปส. ได้รับเบี้ยประชุมตามบัญชี ๔ ของระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ อนุกรรมการ การจ่ายเงินสมนาคุณและค่าตอบแทนบุคคลหรือคณะบุคคล ข้อ ๙ ข้าราชการที่จะได้รับเงินรางวัลตอบแทนพิเศษจะต้องมีเวลาปฏิบัติหน้าที่ราชการในสำนักงานอัยการไม่น้อยกว่าสองในสามของระยะเวลาตามรอบการประเมิน เว้นแต่ในกรณีที่ คปส. เห็นสมควรและอัยการสูงสุดพิจารณาอนุมัติ ห้ามมิให้จ่ายเงินรางวัลตอบแทนพิเศษแก่ข้าราชการที่ขาดราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือละทิ้งหน้าที่ราชการในรอบการประเมินนั้น ให้ผู้บังคับบัญชาตรวจสอบและแจ้งจำนวนวันปฏิบัติหน้าที่ราชการของข้าราชการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ไปยัง คปส. เพื่อประกอบการพิจารณาให้ความเห็นในการจัดสรรเงินรางวัลตอบแทนพิเศษในแต่ละรอบการประเมิน ข้อ ๑๐ กรณีที่อัยการสูงสุด หรืออธิบดีอัยการภาค ๙ แล้วแต่กรณี มีคำสั่งให้ข้าราชการสำนักงานอัยการใดไปช่วยราชการในสำนักงานอัยการอีกแห่งหนึ่ง ให้ถือว่าข้าราชการผู้นั้นมีเวลาปฏิบัติหน้าที่ราชการในสำนักงานอัยการอย่างต่อเนื่องและมีสิทธิได้รับเงินรางวัลตอบแทนพิเศษตามรอบการประเมินที่ข้าราชการผู้นั้นอยู่ปฏิบัติราชการตามข้อ ๙ ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาเห็นว่า ข้าราชการผู้ใดไม่มีส่วนร่วมในการดำเนินการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของงาน หรือมีเหตุอื่นที่ผู้นั้นไม่สมควรจะได้รับการจัดสรรเงินรางวัลตอบแทนพิเศษตามระเบียบนี้ ให้ผู้บังคับบัญชามีความเห็นตามลำดับชั้นถึงอธิบดีอัยการภาค ๙ หรืออธิบดีอัยการ แล้วแต่กรณี เพื่อเสนอ คปส. พิจารณา ข้อ ๑๒ ให้เริ่มประเมินเพื่อจ่ายเงินรางวัลตอบแทนพิเศษตามระเบียบนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ข้อ ๑๓ ให้ ก.อ. มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ เว้นแต่ปัญหาว่าข้าราชการผู้ใดมีสิทธิได้รับเงินรางวัลตอบแทนพิเศษหรือไม่ เพียงใด และจากสำนักงานอัยการใด ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจวินิจฉัย ข้อ ๑๔ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่ง หลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่ง ที่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราเงินรางวัลตอบแทนพิเศษเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๕ เมษายน ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๓๑ ก/หน้า ๒๒/๔ เมษายน ๒๕๕๕
675480
ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. 2555
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติ ของผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “ก.อ.” หมายความว่า คณะกรรมการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ “ผู้สมัคร” หมายความว่า ผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ “คณะกรรมการแพทย์” หมายความว่า คณะกรรมการแพทย์ซึ่ง ก.อ. กำหนดตามความในมาตรา ๔๙ ก. (๖) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ข้อ ๔ ผู้สมัครต้องยื่นใบสมัครตามแบบที่ ก.อ. กำหนดท้ายระเบียบนี้ด้วยตนเองต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับสมัคร ณ สถานที่และวันเวลาตามที่จะได้กำหนดไว้ ผู้สมัครที่ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นข้าราชการตุลาการ จ่าศาล รองจ่าศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดี พนักงานคุมประพฤติของศาลยุติธรรม หรือนายทหารเหล่าพระธรรมนูญ ให้ใช้หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพตามแบบที่ ก.อ. กำหนดท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๕ ให้คณะกรรมการแพทย์จัดทำเกณฑ์ทางการแพทย์ที่จะใช้ในการตรวจร่างกายและจิตใจเพื่อให้ ก.อ. ให้ความเห็นชอบ เกณฑ์ทางการแพทย์ดังกล่าวอย่างน้อยต้องประกอบด้วยวิธีการที่จะใช้ในการทดสอบและลักษณะทางระบบจิตประสาทที่จะตรวจและประเมินความเหมาะสม ข้อ ๖ เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้รับสมัครในข้อ ๔ ได้รับใบสมัครไว้แล้ว ให้ผู้สมัครไปรับการตรวจร่างกายและจิตใจจากคณะกรรมการแพทย์ ณ สถานที่และวันเวลาที่ระบุโดยเจ้าหน้าที่ผู้รับสมัคร และผู้สมัครต้องชำระเงินค่าตรวจร่างกายและจิตใจด้วย คณะกรรมการแพทย์จะตรวจร่างกายและจิตใจของผู้สมัครเพื่อให้ได้บุคคลที่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการอัยการ ดังนี้ (๑) ตรวจร่างกายทั่วไป (๒) ตรวจทางห้องปฏิบัติการ ประกอบด้วย การตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือดและเอ็กซเรย์ เพื่อตรวจโรคทั่วไป และโรคตามที่ระบุไว้ในประกาศของ ก.อ. (๓) ตรวจสภาพจิตใจ ข้อ ๗ ให้ ก.อ. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัคร โดยให้มีอำนาจกำหนดวิธีการเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัคร ข้อ ๘ ให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครดำเนินการดังนี้ (๑) ก่อนประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบข้อเขียน (ก) ส่งบัญชีรายชื่อผู้สมัครทั้งหมดไปยังสภาทนายความเพื่อตรวจสอบว่าเป็นหรือเคยเป็นทนายความหรือเคยถูกกล่าวหาว่าประพฤติผิดมรรยาททนายความตามกฎหมายว่าด้วยทนายความหรือไม่ หรือส่งรายชื่อผู้สมัครที่ประกอบวิชาชีพอื่นไปยังหน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพที่ผู้สมัครเป็นหรือเคยเป็นสมาชิกเพื่อตรวจสอบว่าเป็นหรือเคยเป็นสมาชิกหรือเคยถูกกล่าวหาว่าประพฤติผิดจริยธรรมหรือมีข้อร้องเรียนในการประกอบวิชาชีพดังกล่าวหรือไม่ (ข) เรียกผู้สมัครมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมตามที่เห็นสมควรเพื่อประกอบการพิจารณา (๒) ภายหลังประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนสำหรับการสอบคัดเลือกหรือการทดสอบความรู้ และภายหลังประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านการประเมินความรู้ความสามารถและประสบการณ์สำหรับการคัดเลือกพิเศษ (ก) สอบถามคุณสมบัติของผู้ผ่านการสอบข้อเขียนไปยังผู้รับรอง ผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลอื่นใดตามที่เห็นสมควร หรือส่งรายชื่อผู้ผ่านการสอบข้อเขียนไปยังหน่วยงานต้นสังกัดที่ผู้สมัครทำงานหรือรับราชการอยู่เพื่อตรวจสอบว่า เคยถูกกล่าวหาว่าประพฤติผิดวินัยหรือมีข้อร้องเรียนในการทำงานหรือรับราชการหรือไม่ ตามที่เห็นสมควร (ข) ตรวจสอบประวัติบุคคลไปยังหน่วยงานภายนอกที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา เช่น สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรมบังคับคดี กรมคุมประพฤติ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ค) ตรวจสอบความประพฤติและลายพิมพ์นิ้วมือไปยังกองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานวิทยาการตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ง) ประกาศบัญชีรายชื่อผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนสำหรับการสอบคัดเลือก หรือการทดสอบความรู้ และประกาศบัญชีรายชื่อผู้ที่ผ่านการประเมินความรู้ความสามารถและประสบการณ์สำหรับการคัดเลือกพิเศษ ตามวิธีการที่คณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครกำหนด เพื่อให้บุคคลทั่วไปให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับคุณสมบัติ หรือความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งข้าราชการอัยการของผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนหรือการประเมินดังกล่าวโดยให้มีหนังสือถึงอธิบดีอัยการ สำนักงานคณะกรรมการอัยการ ภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่ประกาศเป็นต้นไป เพื่อเสนอคณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครและคณะบุคคลกลั่นกรองคุณสมบัติผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียน ทั้งนี้ขอให้ผู้ที่ประสงค์จะให้ข้อคิดเห็นระบุชื่อ นามสกุล และที่อยู่จริงที่สามารถติดต่อได้ (จ) ให้ผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนที่คณะกรรมการแพทย์มีข้อสังเกตเกี่ยวกับสภาพจิตใจไปรับการตรวจสภาพจิตใจจากคณะกรรมการแพทย์อีกครั้ง ณ สถานที่และวันเวลาที่สำนักงานคณะกรรมการอัยการกำหนด ให้ประธานอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครแต่งตั้งคณะบุคคลกลั่นกรองคุณสมบัติผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนหรือการประเมินทำหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมเพื่อกลั่นกรองคุณสมบัติของผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนหรือการประเมินอีกครั้งก่อนบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ ข้อ ๙ เมื่อได้รับข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัคร และรายงานผลการตรวจร่างกายและจิตใจของคณะกรรมการแพทย์แล้ว ให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครพิจารณาและเสนอความเห็นไปยัง ก.อ. ข้อ ๑๐ ผู้สมัครที่ ก.อ. เคยประกาศรายชื่อเป็นผู้มีสิทธิเข้าสอบข้อเขียนอาจขอใช้ผลการตรวจร่างกายและจิตใจ และผลการตรวจสอบประวัติและความประพฤติในการสอบครั้งก่อน ซึ่งมีระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันประกาศรายชื่อถึงวันยื่นใบสมัครครั้งใหม่ โดยให้ผู้สมัครยื่นแบบขอใช้ผลการตรวจสอบคุณสมบัติครั้งก่อนเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัคร ตามแบบท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๑๑ การดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครซึ่งได้กระทำไปแล้วในขั้นตอนใดก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการในขั้นตอนต่อไปให้ปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้คณะอนุกรรมการพิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๕ ตามคำสั่งคณะกรรมการอัยการ ที่ ๕/๒๕๕๕ เป็นคณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๒ ให้ ก.อ. มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๓ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามระเบียบนี้ บรรดาระเบียบ ข้อกำหนด ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ [เอกสารแนบท้าย] ๑. ใบสมัครสอบเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ๒. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการ จ่าศาล รองจ่าศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดี พนักงานคุมประพฤติของศาลยุติธรรม หรือนายทหารเหล่าพระธรรมนูญ ๓. คำขอใช้ผลการตรวจสอบคุณสมบัติครั้งก่อน (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๙๘ ก/หน้า ๔/๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๕
678447
ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติ ของผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๕ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ ๘ แห่งระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ให้ประธานอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครแต่งตั้งคณะบุคคลกลั่นกรองคุณสมบัติผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนหรือการประเมิน ทำหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติมเพื่อกลั่นกรองคุณสมบัติของผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนหรือการประเมินอีกครั้งก่อนประกาศวันสอบปากเปล่า” ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ ๙ แห่งระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๕ “ก่อนบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ หากพบว่าผู้สมัครคนใดไม่มีสิทธิได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ ให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครพิจารณาและเสนอความเห็นไปยัง ก.อ.” ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๑๖ ก/หน้า ๓๕/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๕
655560
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. 2554
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือก เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๐ วรรคสาม และมาตรา ๕๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “ก.อ.” หมายความว่า คณะกรรมการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ “คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการสอบคัดเลือกที่ ก.อ. แต่งตั้งขึ้นเพื่อทำการสอบคัดเลือกผู้สมัคร “ผู้สมัคร” หมายความว่า ผู้สมัครสอบคัดเลือกตามมาตรา ๕๐ ซึ่งมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ “ผู้สอบ” หมายความว่า ผู้สมัครซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติให้มีสิทธิเข้าสอบและได้เข้าสอบ ข้อ ๔ เมื่อสมควรจะมีการสอบคัดเลือกเมื่อใด ให้สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ ก.อ. เพื่อมีมติให้จัดให้มีการสอบคัดเลือก ให้ ก.อ. กำหนดวัน เวลายื่นใบสมัครสอบคัดเลือก และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสอบคัดเลือกขึ้นคณะหนึ่งประกอบด้วยประธานอนุกรรมการ รองประธานอนุกรรมการ และอนุกรรมการ ตามจำนวนที่จำเป็น ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงคุณสมบัติ ความรู้ความสามารถ หรือประสบการณ์เกี่ยวกับการสอบของผู้ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งเป็นสำคัญ ในการสอบคัดเลือกตามวรรคหนึ่ง ก.อ. อาจกำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุก็ได้ ข้อ ๕ ในกรณีที่ระเบียบนี้มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น คณะอนุกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งบุคคล คณะบุคคล ออกประกาศ หรือกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสมัครและการสอบคัดเลือกตามที่เห็นสมควร ข้อ ๖ ผู้สมัครต้องยื่นใบสมัครสอบคัดเลือกด้วยตนเอง ต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับสมัคร ณ สถานที่และวัน เวลาตามที่กำหนด พร้อมหลักฐานในการสมัครสอบคัดเลือก ดังนี้ (๑) ภาพถ่ายปริญญาบัตรนิติศาสตรบัณฑิต หรือภาพถ่ายปริญญาบัตร หรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศซึ่ง ก.อ. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี โดยแสดงต้นฉบับ กรณีเป็นภาษาต่างประเทศ ให้ผู้สมัครจัดทำคำแปลเป็นภาษาไทย และรับรองความถูกต้องของคำแปลนั้นด้วย (๒) ภาพถ่ายประกาศนียบัตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาหรือหนังสือสำคัญของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ซึ่งแสดงว่าเป็นผู้สอบไล่ได้ความรู้ชั้นเนติบัณฑิต ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา โดยแสดงต้นฉบับด้วย (๓) สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน โดยถ่ายเอกสารทั้งสองหน้าในแผ่นเดียวกันและแสดงต้นฉบับด้วย (๔) หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพ กรณีเป็นทนายความต้องมีหนังสือรับรองการเป็นทนายความจากสภาทนายความด้วย (๕) ใบรับรองสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา ออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน (๖) รูปถ่ายขนาด ๑ นิ้ว ถ่ายไว้ไม่เกิน ๖ เดือน จำนวน ๔ รูป เป็นรูปถ่ายหน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่ใส่แว่นดำ (๗) เงินค่าธรรมเนียมการสมัครสอบคัดเลือก (๘) หลักฐานอื่น ๆ ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดประกาศกำหนด ข้อ ๗ การสอบคัดเลือกให้มีทั้งการสอบข้อเขียนและการสอบปากเปล่า การออกข้อสอบให้เป็นไปตามที่ประธานอนุกรรมการสอบคัดเลือกจะได้กำหนด วิชาที่สอบคัดเลือก คือ กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายพยานหลักฐาน กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงหรือกฎหมายว่าด้วยศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว กฎหมายล้มละลายหรือกฎหมายภาษีอากรหรือกฎหมายแรงงาน กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาหรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ และภาษาอังกฤษ ข้อ ๘ การสอบข้อเขียนมี ๓ วัน คือ (๑) วันที่หนึ่ง วิชากฎหมายอาญา จำนวน ๖ ข้อ และกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๔ ข้อ จำนวนข้อสอบรวม ๑๐ ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน (๒) วันที่สอง วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำนวน ๖ ข้อ และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จำนวน ๔ ข้อ จำนวนข้อสอบรวม ๑๐ ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน (๓) วันที่สาม วิชากฎหมายพยานหลักฐาน จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายรัฐธรรมนูญ จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายปกครอง จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงหรือกฎหมายว่าด้วยศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายล้มละลายหรือกฎหมายภาษีอากรหรือกฎหมายแรงงาน จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาหรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ จำนวน ๑ ข้อ จำนวนข้อสอบ รวม ๘ ข้อ เวลา ๓ ชั่วโมง ๓๐ นาที คะแนนเต็ม ๘๐ คะแนน และวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน ๒ ข้อ เวลา ๑ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๒๐ คะแนน ผู้สอบต้องปฏิบัติตามข้อบังคับการสอบข้อเขียนท้ายระเบียบนี้โดยเคร่งครัด และให้ประธานอนุกรรมการสอบคัดเลือกรับผิดชอบในการจัดทำรหัสสมุดคำตอบของผู้สอบทุกคนแยกตามวันที่สอบโดยไม่ให้รหัสซํ้ากันแล้วเก็บรักษารหัสดังกล่าวไว้ด้วยตนเอง ข้อ ๙ ในการตรวจคำตอบแต่ละข้อ ให้องค์คณะซึ่งประกอบด้วยผู้ตรวจคำตอบอย่างน้อยสองคนตรวจแล้วให้คะแนนคำตอบตามหลักเกณฑ์การตรวจและการให้คะแนนที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ และให้ผู้สอบได้คะแนนคำตอบตามค่าเฉลี่ยที่คำนวณจากคะแนนที่ผู้ตรวจคำตอบแต่ละคนกำหนดให้ ในกรณีที่ผู้ตรวจคำตอบสองคนให้คะแนนในข้อนั้น ๆ ต่างกันตั้งแต่สี่คะแนนขึ้นไป ให้ประธานอนุกรรมการสอบคัดเลือกหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ตรวจและให้คะแนนใหม่ และให้ถือเป็นที่สุด ข้อ ๑๐ ให้ประธานอนุกรรมการสอบคัดเลือกกำหนดวัน เวลา และสถานที่สอบข้อเขียนแล้วประกาศให้ทราบล่วงหน้าก่อนวันเริ่มสอบอย่างน้อย ๑๕ วัน ข้อ ๑๑ ผู้สอบต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ของคะแนนสอบข้อเขียนทั้งหมดจึงจะมีสิทธิเข้าสอบปากเปล่า เว้นแต่ในกรณี ก.อ. กำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุไว้ตามข้อ ๔ วรรคสอง ผู้สอบที่ได้คะแนนสูงซึ่งได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ เรียงตามลำดับเมื่อรวมกันแล้วไม่เกินจำนวนที่ ก.อ. กำหนด จึงจะมีสิทธิเข้าสอบปากเปล่า ในกรณี ก.อ. กำหนดจำนวนตามวรรคหนึ่ง ถ้าผู้สอบข้อเขียนผ่านที่ได้ลำดับสุดท้ายมีหลายคน ซึ่งหากจะบรรจุทุกคนจะทำให้เกินจำนวนที่ ก.อ. กำหนด ให้จัดลำดับผู้ที่สอบผ่านในกลุ่มนี้ดังนี้ (๑) ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายอาญาอยู่ในลำดับก่อน (๒) หากคะแนนในวิชากฎหมายอาญาเท่ากัน ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอยู่ในลำดับก่อน (๓) ในกรณีตาม (๒) หากคะแนนในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเท่ากัน ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์อยู่ในลำดับก่อน (๔) ในกรณีตาม (๓) หากคะแนนในวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่ากัน ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอยู่ในลำดับก่อน (๕) ในกรณีตาม (๔) หากคะแนนในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเท่ากัน ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการอยู่ในลำดับก่อน ให้ใช้วิธีการดังกล่าวจัดลำดับผู้สอบผ่านให้ได้จำนวนเท่ากับที่ ก.อ. กำหนด เป็นผู้มีสิทธิเข้าสอบปากเปล่า หากเทียบคะแนนจนถึงรายวิชาสุดท้ายแล้วยังมีผู้ที่ได้คะแนนเท่ากันเมื่อรวมกันแล้วเกินจำนวนที่ ก.อ. กำหนด ให้ผู้สอบผ่านที่ยังคงมีคะแนนเท่ากันดังกล่าวเป็นผู้มีสิทธิเข้าสอบปากเปล่าทุกคน ข้อ ๑๒ การสอบปากเปล่า ให้กระทำโดยวิธีถามผู้สอบเรียงตัวในลักษณะวิชาดังกล่าวในข้อ ๗ ตามที่ประธานอนุกรรมการสอบคัดเลือกเห็นสมควร การประเมินผลการสอบปากเปล่า ให้ประเมินผลว่าสอบได้หรือสอบตกเท่านั้น ผู้สอบที่ผ่านการสอบปากเปล่าในเกณฑ์สอบได้ จึงจะถือว่าเป็นผู้สอบคัดเลือกได้ ข้อ ๑๓ ในกรณีผู้มีสิทธิเข้าสอบปากเปล่าไม่เข้าสอบปากเปล่า หรือกรณีที่ผู้สอบคัดเลือกได้ไม่รายงานตัวเพื่อเข้ารับการบรรจุ ประธานอนุกรรมการสอบคัดเลือกอาจเรียกผู้สอบที่ได้คะแนนสูงซึ่งได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ในลำดับถัดลงไป ตามหลักเกณฑ์ข้อ ๑๑ เข้าสอบปากเปล่า โดยให้นำความในข้อ ๑๒ มาใช้บังคับ ข้อ ๑๔ เมื่อได้มีการสอบคัดเลือกเสร็จแล้ว ก.อ. จะประกาศรายชื่อผู้สอบคัดเลือกได้และจะได้รับการบรรจุเรียงตามลำดับคะแนนไว้ ณ สำนักงานอัยการสูงสุด โดย ก.อ. อาจเรียกบรรจุผู้สอบคัดเลือกได้ดังกล่าวไม่พร้อมกันก็ได้ ตามที่ ก.อ. เห็นสมควร ในกรณี ก.อ. กำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุไว้ตามข้อ ๔ วรรคสอง ถ้ามีผู้สอบคัดเลือกได้เกินจำนวนที่ ก.อ. กำหนด ให้เสนอ ก.อ. เป็นผู้พิจารณารับบรรจุบุคคลดังกล่าวในเวลาที่ ก.อ. เห็นสมควร ข้อ ๑๕ การดำเนินการเกี่ยวกับการสอบคัดเลือกซึ่งได้กระทำไปแล้วในขั้นตอนใดก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการในขั้นตอนต่อไปให้ปฏิบัติตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๖ ให้ ก.อ. มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๗ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่ง หลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ บรรดาระเบียบ ข้อกำหนด ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งอื่นใด ซึ่งขัดหรือแย้งระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ [เอกสารแนบท้าย] ๑. หลักเกณฑ์การตรวจและการให้คะแนนในการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ๒. ข้อบังคับการสอบข้อเขียนสำหรับการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๗๒ ก/หน้า ๖/๓๐ กันยายน ๒๕๕๔
651009
ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยการรักษาราชการแทน การปฏิบัติราชการแทน และการรักษาการในตำแหน่งของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2554
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยการรักษาราชการแทน การปฏิบัติราชการแทน และการรักษาการ ในตำแหน่งของพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยการรักษาราชการแทน การปฏิบัติราชการแทน และการรักษาการในตำแหน่งของพนักงานอัยการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ และมาตรา ๓๐ (๖) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยการรักษาราชการแทนการปฏิบัติราชการแทน และการรักษาการในตำแหน่งของพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “รักษาราชการแทน” หมายความว่า การที่พนักงานอัยการผู้หนึ่งผู้ใดทำการแทนกรณีพนักงานอัยการผู้ดำรงตำแหน่งไม่อาจหรือไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ “ปฏิบัติราชการแทน” หมายความว่า การที่พนักงานอัยการผู้หนึ่งผู้ใดทำการแทนตามที่ได้รับมอบอำนาจจากพนักงานอัยการผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้รักษาการในตำแหน่ง “รักษาการในตำแหน่ง” หมายความว่า การที่พนักงานอัยการผู้หนึ่งผู้ใดทำการแทนกรณีไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งหรือในกรณีที่ตำแหน่งว่างลง ข้อ ๔ ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการในตำแหน่งอัยการสูงสุดไม่อาจหรือไม่สามารถปฏิบัติราชการได้และไม่ได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้รองอัยการสูงสุดผู้หนึ่งผู้ใดรักษาราชการแทน ให้รองอัยการสูงสุดผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนรักษาราชการแทน ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีอัยการ อธิบดีอัยการภาค อัยการพิเศษฝ่าย หรืออัยการจังหวัด ไม่อาจหรือไม่สามารถปฏิบัติราชการได้และไม่ได้มีคำสั่งแต่งตั้งพนักงานอัยการผู้หนึ่งผู้ใดรักษาราชการแทน ให้พนักงานอัยการในสำนักงานผู้มีลำดับอาวุโสตามระเบียบแบบแผนรักษาราชการแทน ทั้งนี้ อัยการสูงสุดอาจสั่งเปลี่ยนแปลงได้ ข้อ ๕ อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการอื่นที่พนักงานอัยการผู้ดำรงตำแหน่งใดจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะกรรมการอัยการในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งนั้น หรือมติของคณะกรรมการอัยการในเรื่องนั้นมิได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่นหรือมิได้ห้ามเรื่องการมอบอำนาจไว้ ผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้รักษาการในตำแหน่งนั้นอาจมอบอำนาจให้พนักงานอัยการผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทนได้ ดังต่อไปนี้ (๑) อัยการสูงสุดอาจมอบอำนาจให้รองอัยการสูงสุด ผู้ตรวจการอัยการ อธิบดีอัยการ อธิบดีอัยการภาค หรือพนักงานอัยการผู้หนึ่งผู้ใดตามที่เห็นสมควร (๒) อธิบดีอัยการหรืออธิบดีอัยการภาค อาจมอบอำนาจให้รองอธิบดีอัยการ รองอธิบดีอัยการภาค หรือพนักงานอัยการผู้หนึ่งผู้ใดตามที่เห็นสมควร (๓) อัยการพิเศษฝ่ายอาจมอบอำนาจให้อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ อัยการผู้เชี่ยวชาญ หรือพนักงานอัยการผู้หนึ่งผู้ใดตามที่เห็นสมควร (๔) อัยการจังหวัดอาจมอบอำนาจให้อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด รองอัยการจังหวัด หรือพนักงานอัยการผู้หนึ่งผู้ใดตามที่เห็นสมควร การมอบอำนาจตามวรรคหนึ่ง มิให้มอบอำนาจให้แก่อัยการอาวุโส การมอบอำนาจให้ทำเป็นหนังสือ อัยการสูงสุดอาจกำหนดให้มีการมอบอำนาจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไข ในการมอบอำนาจให้ผู้มอบอำนาจหรือผู้รับมอบอำนาจตามวรรคหนึ่งต้องปฏิบัติก็ได้ ข้อ ๖ เมื่อมีการมอบอำนาจตามข้อ ๕ โดยชอบแล้ว ผู้รับมอบอำนาจมีหน้าที่ต้องปฏิบัติราชการตามที่ได้รับมอบอำนาจนั้นและจะมอบอำนาจนั้นให้แก่ผู้อื่นต่อไปไม่ได้ ข้อ ๗ การมอบอำนาจตามข้อ ๕ ให้ผู้มอบอำนาจพิจารณาถึงความรวดเร็วในการปฏิบัติราชการ การกระจายความรับผิดชอบตามสภาพของตำแหน่งของผู้รับมอบอำนาจ และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน เมื่อได้มอบอำนาจแล้ว ผู้มอบอำนาจมีหน้าที่กำกับติดตามผลการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอำนาจ และให้มีอำนาจแนะนำหรือแก้ไขการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอำนาจได้ ข้อ ๘ ให้ผู้รักษาราชการแทนหรือผู้ปฏิบัติราชการแทนตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนรักษาราชการแทนหรือปฏิบัติราชการแทน ในกรณีที่มีกฎหมายแต่งตั้งให้พนักงานอัยการผู้ดำรงตำแหน่งใดเป็นกรรมการหรือให้มีอำนาจและหน้าที่อย่างใด ให้ผู้รักษาราชการแทนหรือผู้ปฏิบัติราชการแทนมีอำนาจและหน้าที่เป็นกรรมการหรือมีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งนั้นในการรักษาราชการแทนหรือปฏิบัติราชการแทนด้วย แล้วแต่กรณี ข้อ ๙ ในกรณีตำแหน่งอัยการสูงสุดว่างลง ให้รองอัยการสูงสุดผู้มีลำดับอาวุโสตามระเบียบแบบแผนรักษาการในตำแหน่งอัยการสูงสุด ถ้าตำแหน่งรองอัยการสูงสุดว่างลงทั้งหมด ให้ผู้ตรวจการอัยการผู้มีลำดับอาวุโสตามระเบียบแบบแผนรักษาการในตำแหน่งอัยการสูงสุด และหากตำแหน่งผู้ตรวจการอัยการว่างลงทั้งหมดด้วย ให้อธิบดีอัยการ อธิบดีอัยการภาค ผู้มีลำดับอาวุโสตามระเบียบแบบแผนรักษาการในตำแหน่งอัยการสูงสุด ในกรณีไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งหรือตำแหน่งที่ว่างลงเป็นตำแหน่งรองอัยการสูงสุด ผู้ตรวจการอัยการ อธิบดีอัยการ อธิบดีอัยการภาค อัยการพิเศษฝ่าย หรืออัยการจังหวัด ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานอัยการผู้หนึ่งผู้ใดรักษาการในตำแหน่งนั้นได้ ให้ผู้รักษาการในตำแหน่งตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง มีอำนาจและหน้าที่ตามตำแหน่งที่รักษาการนั้น ในกรณีที่มีกฎหมายแต่งตั้งให้พนักงานอัยการผู้ดำรงตำแหน่งใดเป็นกรรมการหรือให้มีอำนาจและหน้าที่อย่างใด ให้ผู้รักษาการในตำแหน่งมีอำนาจและหน้าที่เป็นกรรมการหรือมีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งนั้นในการรักษาการในตำแหน่งด้วย ข้อ ๑๐ ให้คณะกรรมการอัยการมีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๑ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่ง หลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ บรรดาระเบียบ ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๕๘ ก/หน้า ๓/๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔
656063
ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. 2554
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๑ วรรคสี่ และมาตรา ๕๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสมัคร หลักสูตรและวิธีการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “ก.อ.” หมายความว่า คณะกรรมการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ “คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการทดสอบความรู้ที่ ก.อ. แต่งตั้งขึ้นเพื่อทำการทดสอบความรู้ผู้สมัคร “ผู้สมัคร” หมายความว่า ผู้สมัครทดสอบความรู้ตามมาตรา ๕๑ ซึ่งมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ “ผู้สอบ” หมายความว่า ผู้สมัครซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติให้มีสิทธิเข้าสอบและได้เข้าสอบ ข้อ ๔ ให้ ก.อ. มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ข้อ ๕ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่งหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ บรรดาระเบียบ ข้อกำหนด ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งอื่นใด ซึ่งขัดหรือแย้งระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๖ เมื่อสมควรจะมีการทดสอบความรู้เมื่อใด ให้สำนักงานอัยการสูงสุด เสนอ ก.อ. เพื่อมีมติให้จัดให้มีการทดสอบความรู้เฉพาะผู้มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างตามมาตรา ๕๑ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ให้ ก.อ. กำหนดวัน เวลายื่นใบสมัครทดสอบความรู้ และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการทดสอบความรู้ขึ้นคณะหนึ่งประกอบด้วยประธานอนุกรรมการ รองประธานอนุกรรมการ และอนุกรรมการ ตามจำนวนที่จำเป็น ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงคุณสมบัติ ความรู้ความสามารถ หรือประสบการณ์เกี่ยวกับการสอบของผู้ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งเป็นส่วนสำคัญ ในการทดสอบความรู้ตามวรรคหนึ่ง ก.อ. อาจกำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุก็ได้ ข้อ ๗ ในกรณีที่ระเบียบนี้มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น คณะอนุกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งบุคคล คณะบุคคล ออกประกาศ หรือกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสมัครและการทดสอบความรู้ตามที่เห็นสมควร ข้อ ๘ ผู้สมัครต้องยื่นใบสมัครทดสอบความรู้ด้วยตนเอง ต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับสมัคร ณ สถานที่และวัน เวลาตามที่กำหนด พร้อมหลักฐานในการสมัครทดสอบความรู้ ดังนี้ (๑) ภาพถ่ายปริญญาบัตรนิติศาสตรบัณฑิต หรือภาพถ่ายปริญญาบัตรหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ ซึ่ง ก.อ. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี โดยแสดงต้นฉบับด้วย (๒) ภาพถ่ายปริญญาบัตรปริญญาตรีหรือปริญญาโทหรือปริญญาเอก หรือหลักฐานอื่นซึ่งแสดงว่าเป็นผู้สอบไล่ได้ปริญญาดังกล่าวตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดเห็นชอบ โดยแสดงต้นฉบับด้วย (๓) ภาพถ่ายใบรับรองคะแนนรายวิชาในกรณีระดับปริญญาตรีทางกฎหมายหรือปริญญาโททางกฎหมายหรือปริญญาเอกทางกฎหมาย โดยแสดงต้นฉบับด้วย กรณีหลักฐานตาม (๑) (๒) และ (๓) เป็นภาษาต่างประเทศให้ผู้สมัครจัดทำคำแปลเป็นภาษาไทย โดยรับรองความถูกต้องของคำแปลนั้นด้วย (๔) วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ หรือเอกสารอื่นในทำนองเดียวกัน จำนวน ๑ เล่ม (ถ้ามี) (๕) ภาพถ่ายประกาศนียบัตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา หรือหนังสือสำคัญของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ซึ่งแสดงว่าเป็นผู้สอบไล่ได้ความรู้ชั้นเนติบัณฑิต ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา โดยแสดงต้นฉบับด้วย (๖) สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน โดยถ่ายเอกสารทั้งสองหน้าในแผ่นเดียวกันและแสดงต้นฉบับด้วย (๗) หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพ กรณีเป็นทนายความต้องมีหนังสือรับรองการเป็นทนายความจากสภาทนายความด้วย (๘) ใบรับรองสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา ออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน (๙) รูปถ่ายขนาด ๑ นิ้ว ถ่ายไว้ไม่เกิน ๖ เดือน จำนวน ๔ รูป เป็นรูปถ่ายหน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่ใส่แว่นดำ (๑๐) เงินค่าธรรมเนียมการสมัครทดสอบความรู้ (๑๑) หลักฐานอื่น ๆ ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดประกาศกำหนด หมวด ๒ คุณวุฒิ ข้อ ๙ ผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ก) (ข) หรือ (ง) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ต้องได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายต่อไปนี้จากต่างประเทศหรือในการศึกษาปริญญาโททางกฎหมายในประเทศไทย แล้วแต่กรณีด้วย คือ (๑) กฎหมายอาญา (๒) กฎหมายแพ่ง ลักษณะสัญญาและลักษณะละเมิด (๓) กฎหมายพยานหลักฐาน หรือกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือกฎหมายล้มละลาย และ (๔) กฎหมายแพ่งลักษณะอื่นและกฎหมายพิเศษ ดังนี้ (ก) กฎหมายแพ่งลักษณะอื่น ซึ่งเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๓ วิชา หรือ (ข) กฎหมายแพ่งลักษณะอื่น ซึ่งเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๑ วิชา กับกฎหมายพิเศษดังต่อไปนี้ จำนวน ๒ วิชา ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายมหาชน นิติปรัชญา กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารกระบวนการยุติธรรม กฎหมายพาณิชย์นาวี กฎหมายทะเล กฎหมายอากาศ กฎหมายอวกาศ กฎหมายโทรคมนาคม กฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎหมายทรัพยากรธรรมชาติ กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีระหว่างประเทศ กฎหมายเครื่องหมายการค้า กฎหมายสิทธิบัตร กฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายเด็กและเยาวชน นิติเวชศาสตร์ อาชญาวิทยา กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางธุรกิจ กฎหมายแรงงาน กฎหมายภาษีอากร กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายอาญาระหว่างประเทศ การขัดกันแห่งกฎหมาย กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการ กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ กฎหมายธุรกิจ กฎหมายว่าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายเกี่ยวกับการลงทุน กฎหมายเกี่ยวกับการเงินการธนาคาร กฎหมายหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายป้องกันการผูกขาดหรือการแข่งขันทางการค้า กฎหมายการเกษตร และกฎหมายพลังงาน ผู้สมัครที่ได้ศึกษาและสอบไล่ได้ตามหลักสูตรการศึกษากฎหมายดังต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องศึกษาวิชากฎหมายตามวรรคหนึ่ง (๑) ผู้สมัครที่ได้ศึกษาและสอบไล่ได้ตามหลักสูตรการศึกษากฎหมายที่จัดไว้เป็นหลักสูตรเฉพาะด้านในวิชากฎหมายเด็กและเยาวชน กฎหมายแรงงาน กฎหมายสิทธิมนุษยชน กฎหมายภาษีอากร กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศ กฎหมายการเงินการธนาคาร กฎหมายพาณิชย์นาวี กฎหมายล้มละลาย กฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค และกฎหมายระหว่างประเทศ (๒) ผู้สมัครที่ได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายที่อยู่ในกลุ่มวิชากฎหมายกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งตามวรรคสอง (๑) ไม่น้อยกว่า ๔ วิชา และได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งอีกไม่น้อยกว่า ๒ วิชา โดยในจำนวนนี้อย่างน้อย ๑ วิชา ต้องเป็นวิชาตาม (๑) หรือ (๓) หรือกฎหมายแพ่ง ซึ่งพอเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้นั้นไปศึกษาวิชากฎหมายจากต่างประเทศด้วยทุนรัฐบาล ทุนของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางกฎหมาย ข้อ ๑๐ เพื่อประโยชน์ในการคำนวณจำนวนวิชาที่กำหนดในข้อ ๙ วรรคหนึ่ง (๔) และวรรคสอง (๒) ถ้าผู้สมัครคนใดได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายในระบบการจัดการศึกษาที่กำหนดให้มีการเรียนการสอนวิชากฎหมายนั้นตลอดปีการศึกษาและมีการวัดผลเมื่อสิ้นปีการศึกษา ให้ถือว่าผู้นั้นได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายตามที่กำหนดไว้ในข้อดังกล่าว ๒ วิชา ข้อ ๑๑ ผู้สมัครตามความในมาตรา ๕๑ (๒) (ง) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ต้องสอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทยโดยมีหลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่าสองปี หรือหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่าสองปี หรือสอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ซึ่ง ก.พ. รับรอง โดยมีหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่าสองปี หมวด ๓ หลักเกณฑ์การทดสอบความรู้ ข้อ ๑๒ การทดสอบความรู้ให้มีทั้งการสอบข้อเขียนและการสอบปากเปล่า การออกข้อสอบให้เป็นไปตามที่ประธานอนุกรรมการทดสอบความรู้จะได้กำหนด ภายใต้บังคับข้อ ๑๔ และข้อ ๒๑ วิชาที่ทดสอบ คือ กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายพยานหลักฐาน กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงหรือกฎหมายว่าด้วยศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว กฎหมายล้มละลายหรือกฎหมายภาษีอากรหรือกฎหมายแรงงาน กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาหรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ และภาษาอังกฤษ ข้อ ๑๓ การสอบข้อเขียนมี ๒ วัน คือ (๑) วันที่หนึ่ง วิชากฎหมายอาญา จำนวน ๓ ข้อ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำนวน ๓ ข้อ กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จำนวน ๒ ข้อ จำนวนข้อสอบรวม ๑๐ ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน (๒) วันที่สอง วิชากฎหมายพยานหลักฐาน จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายรัฐธรรมนูญ จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายปกครอง จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงหรือกฎหมายว่าด้วยศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายล้มละลายหรือกฎหมายภาษีอากรหรือกฎหมายแรงงาน จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาหรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ จำนวน ๑ ข้อ จำนวนข้อสอบ รวม ๘ ข้อ เวลา ๓ ชั่วโมง ๓๐ นาที คะแนนเต็ม ๘๐ คะแนน และวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน ๒ ข้อ เวลา ๑ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๒๐ คะแนน ผู้สอบต้องปฏิบัติตามข้อบังคับการสอบข้อเขียนท้ายระเบียบนี้โดยเคร่งครัด และให้ประธานอนุกรรมการทดสอบความรู้รับผิดชอบในการจัดทำรหัสสมุดคำตอบของผู้สอบทุกคนแยกตามวันที่สอบโดยไม่ให้รหัสซ้ำกันแล้วเก็บรักษารหัสดังกล่าวไว้ด้วยตนเอง ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ ก.อ. มีมติให้จัดให้มีการทดสอบความรู้เฉพาะผู้มีคุณวุฒิตามมาตรา ๕๑ (๒) (ก) หรือ (ข) การสอบข้อเขียนมี ๒ วัน คือ (๑) วันที่หนึ่ง วิชากฎหมายอาญา จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จำนวน ๒ ข้อ กฎหมายพยานหลักฐาน จำนวน ๑ ข้อ กฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ จำนวน ๑ ข้อ จำนวนข้อสอบ รวม ๑๐ ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน (๒) วันที่สอง วิชาภาษาอังกฤษ จำนวน ๓ ข้อ เวลา ๓ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๖๐ คะแนน วิชาภาษาอังกฤษตามวรรคหนึ่ง (๒) ให้ออกข้อสอบเป็นคำถามที่ทดสอบการแปล จำนวน ๑ ข้อ เป็นคำถามที่ทดสอบความเข้าใจในการอ่านบทความกฎหมายภาษาอังกฤษ จำนวน ๑ ข้อ และเป็นคำถามที่ให้ผู้สมัครเขียนอธิบาย หรือวินิจฉัยปัญหากฎหมายเป็นภาษาอังกฤษ จำนวน ๑ ข้อ ในการออกข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษตามวรรคหนึ่ง (๒) ประธานอนุกรรมการทดสอบความรู้อาจกำหนดให้ออกข้อสอบเป็นภาษาต่างประเทศอื่นแทนวิชาภาษาอังกฤษให้ผู้สอบเลือกสอบก็ได้ ในกรณีที่ผู้สมัครเป็นผู้ไปศึกษาต่างประเทศด้วยทุนรัฐบาลตามความต้องการของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือทุนสำนักงานอัยการสูงสุด หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางกฎหมายจากต่างประเทศที่ ก.อ. รับรอง ให้คณะอนุกรรมการทำการทดสอบความรู้โดยการสอบปากเปล่าตามข้อ ๒๑ ข้อ ๑๕ ในการตรวจคำตอบแต่ละข้อ ให้องค์คณะซึ่งประกอบด้วยผู้ตรวจคำตอบอย่างน้อยสองคนตรวจ แล้วให้คะแนนคำตอบตามหลักเกณฑ์การตรวจและการให้คะแนนที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ และให้ผู้สอบได้คะแนนคำตอบตามค่าเฉลี่ยที่คำนวณจากคะแนนที่ผู้ตรวจคำตอบแต่ละคนกำหนดให้ ในกรณีที่ผู้ตรวจคำตอบสองคนและคะแนนในข้อนั้นๆ ต่างกันตั้งแต่ ๔ คะแนนขึ้นไป ให้ประธานอนุกรรมการทดสอบความรู้หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ตรวจและให้คะแนนใหม่ และให้ถือเป็นที่สุด ข้อ ๑๖ ให้ประธานอนุกรรมการทดสอบความรู้กำหนดวัน เวลา และสถานที่สอบข้อเขียนแล้วประกาศให้ทราบล่วงหน้าก่อนวันเริ่มสอบอย่างน้อย ๑๕ วัน ข้อ ๑๗ ผู้สอบต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ของคะแนนสอบข้อเขียนทั้งหมด จึงจะมีสิทธิเข้าสอบปากเปล่า เว้นแต่ในกรณี ก.อ. กำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุไว้ตามข้อ ๖ วรรคสอง ผู้สอบที่ได้คะแนนสูงซึ่งได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ เรียงตามลำดับเมื่อรวมกันแล้วไม่เกินจำนวนที่ ก.อ. กำหนด จึงจะมีสิทธิเข้าสอบปากเปล่า ในกรณี ก.อ. กำหนดจำนวนตามวรรคหนึ่ง ถ้าผู้สอบข้อเขียนผ่านที่ได้ลำดับสุดท้ายมีหลายคน ซึ่งหากจะบรรจุทุกคนจะทำให้เกินจำนวนที่ ก.อ. กำหนด ให้จัดลำดับผู้ที่สอบผ่านในกลุ่มนี้ ดังนี้ (๑) ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายอาญาอยู่ในลำดับก่อน (๒) หากคะแนนในวิชากฎหมายอาญาเท่ากัน ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอยู่ในลำดับก่อน (๓) ในกรณีตาม (๒) หากคะแนนในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเท่ากัน ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์อยู่ในลำดับก่อน (๔) ในกรณีตาม (๓) หากคะแนนในวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่ากัน ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอยู่ในลำดับก่อน (๕) ในกรณีตาม (๔) หากคะแนนในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเท่ากัน ผู้สอบผ่านที่ได้คะแนนสูงกว่าในวิชากฎหมายองค์กรอัยการและพนักงานอัยการอยู่ในลำดับก่อน ให้ใช้วิธีการดังกล่าวจัดลำดับผู้สอบผ่านให้ได้จำนวนเท่ากับที่ ก.อ. กำหนด เป็นผู้มีสิทธิเข้าสอบปากเปล่า หากเทียบคะแนนจนถึงรายวิชาสุดท้ายแล้วยังมีผู้ที่ได้คะแนนเท่ากันเมื่อรวมกันแล้วเกินจำนวนที่ ก.อ. กำหนด ให้ผู้สอบผ่านที่ยังคงมีคะแนนเท่ากันดังกล่าวเป็นผู้มีสิทธิเข้าสอบปากเปล่าทุกคน ข้อ ๑๘ การสอบปากเปล่าตามข้อ ๑๗ ให้กระทำโดยวิธีถามผู้สอบเรียงตัวในลักษณะวิชาดังกล่าวในข้อ ๑๒ หรือข้อ ๑๔ วรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี ตามที่ประธานอนุกรรมการทดสอบความรู้เห็นสมควร การประเมินผลการสอบปากเปล่า ให้ประเมินผลว่าสอบได้หรือสอบตกเท่านั้น ผู้สอบที่ผ่านการสอบปากเปล่าในเกณฑ์สอบได้ จึงจะถือว่าเป็นผู้ทดสอบความรู้ได้ ข้อ ๑๙ ในกรณีผู้มีสิทธิเข้าสอบปากเปล่าไม่เข้าสอบปากเปล่า หรือกรณีที่ผู้ทดสอบความรู้ได้ไม่รายงานตัวเพื่อเข้ารับการบรรจุ ประธานอนุกรรมการทดสอบความรู้อาจเรียกผู้สอบที่ได้คะแนนสูงซึ่งได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ในลำดับถัดลงไป ตามหลักเกณฑ์ข้อ ๑๗ เข้าสอบปากเปล่า โดยให้นำความในข้อ ๑๘ มาใช้บังคับ ข้อ ๒๐ เมื่อได้มีการทดสอบความรู้เสร็จแล้ว ก.อ. จะประกาศรายชื่อผู้ทดสอบความรู้ได้ และจะได้รับการบรรจุเรียงตามลำดับคะแนนไว้ ณ สำนักงานอัยการสูงสุด โดย ก.อ. อาจเรียกบรรจุผู้ทดสอบความรู้ได้ดังกล่าวไม่พร้อมกันก็ได้ ตามที่ ก.อ. เห็นสมควร ในกรณี ก.อ. กำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุไว้ตามข้อ ๖ วรรคสอง ถ้ามีผู้ทดสอบความรู้ได้เกินจำนวนที่ ก.อ. กำหนด ให้เสนอ ก.อ. เป็นผู้พิจารณารับบรรจุบุคคลดังกล่าวในเวลาที่ ก.อ. เห็นสมควร ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ ก.อ. มีมติให้จัดให้มีการทดสอบความรู้เฉพาะผู้สมัครที่ไปศึกษาวิชากฎหมายจากต่างประเทศด้วยทุนรัฐบาลตามความต้องการของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือทุนของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางกฎหมายจากต่างประเทศที่ ก.อ. รับรอง ตามข้อ ๑๔ วรรคสี่ ให้ผู้สมัครไปรับการตรวจร่างกายและจิตใจจากคณะกรรมการแพทย์ ซึ่ง ก.อ. กำหนดตามความในมาตรา ๔๙ ก.(๖) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ เมื่อคณะกรรมการแพทย์ได้ตรวจร่างกายและจิตใจผู้สมัครแล้ว ให้คณะอนุกรรมการดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติตามวิธีการที่กำหนดไว้ในระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติ เมื่อคณะอนุกรรมการเห็นว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน ให้คณะอนุกรรมการทำการทดสอบความรู้โดยการสอบปากเปล่าตามที่ประธานอนุกรรมการทดสอบความรู้เห็นสมควร โดยมีคะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน และต้องได้คะแนนสอบปากเปล่าไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ จึงจะอยู่ในเกณฑ์จะได้รับการบรรจุ เมื่อคณะอนุกรรมการได้ดำเนินการแล้ว ให้รายงานเสนอความเห็นไปยัง ก.อ. เพื่อพิจารณา หมวด ๔ อัตราส่วนในการบรรจุ ข้อ ๒๒ การบรรจุผู้ทดสอบความรู้ได้ตามมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยนั้น ให้บรรจุได้ในอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ไม่เกินหนึ่งต่อสี่ แต่ถ้าขณะใดไม่มีผู้สอบคัดเลือกได้อยู่แล้ว ก็ให้บรรจุได้โดยไม่มีอัตราส่วน ภายใต้บังคับวรรคหนึ่ง การบรรจุข้าราชการอัยการตามมาตรา ๕๑ (๒) (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) หรือ (ซ) ซึ่งมีคุณวุฒิต่างกัน ให้บรรจุได้ในอัตราส่วนของผู้ทดสอบความรู้ได้และจะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยแต่ละคุณวุฒิตามที่ ก.อ. กำหนด ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ ก.อ. มีมติให้จัดให้มีการทดสอบความรู้ตามข้อ ๒๑ บทเฉพาะกาล ข้อ ๒๓ การดำเนินการเกี่ยวกับการทดสอบความรู้ซึ่งได้กระทำไปแล้วในขั้นตอนใดก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการในขั้นตอนต่อไปให้ปฏิบัติตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๔ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๗๓ ก/หน้า ๓/๗ ตุลาคม ๒๕๕๔
651001
ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 18 (3) พ.ศ. 2554
ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๘ (๓) พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยที่สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นส่วนราชการที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณและการดำเนินการอื่น โดยมีอัยการสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชา จึงเป็นการสมควรกำหนดให้มีระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๘ (๓) อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง (๓) และวรรคสาม และมาตรา ๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกอบมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ อัยการสูงสุดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอัยการ จึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๘ (๓) พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ” หมายความว่า กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๘ (๓) “การดำเนินการเลือกกรรมการ” หมายความว่า การดำเนินการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามวาระหรือเลือกซ่อม แล้วแต่กรณี “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการควบคุมการส่งบัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ และคณะกรรมการตรวจนับคะแนนการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งแต่งตั้งขึ้นตามประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง วิธีการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๘ (๓) “คณะทำงาน” หมายความว่า คณะทำงานซึ่งอัยการสูงสุดแต่งตั้งขึ้นเพื่อช่วยในการควบคุมการส่งบัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิและดำเนินการตรวจนับคะแนนการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ข้อ ๔ การดำเนินการเลือกกรรมการในวันควบคุมการส่งบัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิและในวันตรวจนับคะแนนการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เบิกค่าใช้จ่ายสำหรับคณะกรรมการและคณะทำงานได้ดังนี้ (๑) ค่าอาหารให้เบิกได้ตามที่จ่ายจริงไม่เกินคนละ วันละ ๕๐๐ บาท (๒) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มให้เบิกได้ตามที่จ่ายจริงไม่เกินคนละ วันละ ๑๐๐ บาท ข้อ ๕ ในวันควบคุมการส่งบัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิและในวันตรวจนับคะแนนการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์ซึ่งได้รับเชิญจากคณะกรรมการควบคุมการส่งบัตรเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิและคณะกรรมการตรวจนับคะแนนการเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วแต่กรณี ให้เบิกค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มได้ตามที่จ่ายจริงไม่เกินคนละ วันละ ๑๐๐ บาท ข้อ ๖ ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ข้อ ๗ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่ง หลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๕๘ ก/หน้า ๑/๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔
656826
ข้อกำหนดคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการจัดลำดับอาวุโสของข้าราชการอัยการ พ.ศ. 2554
ข้อกำหนดคณะกรรมการอัยการ ข้อกำหนดคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการจัดลำดับอาวุโสของข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยที่เป็นการสมควรให้มีข้อกำหนดคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการจัดลำดับอาวุโสของข้าราชการอัยการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๐ (๕) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อกำหนดนี้เรียกว่า “ข้อกำหนดคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการจัดลำดับอาวุโสของข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ข้อกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ การจัดลำดับอาวุโสของข้าราชการอัยการยกเว้นผู้ดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสให้เริ่มตั้งแต่การบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้อ ๔ ข้าราชการอัยการผู้ดำรงตำแหน่งสูงกว่า มีอาวุโสกว่าผู้ที่ดำรงตำแหน่งต่ำกว่า โดยเรียงลำดับดังนี้ (๑) อัยการสูงสุด ข้าราชการอัยการชั้น ๘ (๒) รองอัยการสูงสุด ข้าราชการอัยการชั้น ๗ (๓) ผู้ตรวจการอัยการ ข้าราชการอัยการชั้น ๗ (๔) อธิบดีอัยการ และอธิบดีอัยการภาค ข้าราชการอัยการชั้น ๖ (๕) รองอธิบดีอัยการ และรองอธิบดีอัยการภาค ข้าราชการอัยการชั้น ๖ (๖) อัยการพิเศษฝ่าย ข้าราชการอัยการชั้น ๖ (๗) อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ข้าราชการอัยการชั้น ๖ (๘) อัยการผู้เชี่ยวชาญ ข้าราชการอัยการชั้น ๕ (๙) อัยการจังหวัด และอัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ข้าราชการอัยการชั้น ๔ (๑๐) อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด และรองอัยการจังหวัด ข้าราชการอัยการชั้น ๓ (๑๑) อัยการประจำกอง และอัยการจังหวัดผู้ช่วย ข้าราชการอัยการชั้น ๒ (๑๒) อัยการผู้ช่วย ข้าราชการอัยการชั้น ๑ สำหรับข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เมื่อเทียบกับตำแหน่งใด ก็ให้มีอาวุโสในตำแหน่งที่เทียบนั้น ข้อ ๕ ข้าราชการอัยการตำแหน่งเดียวกันหรือตำแหน่งในระดับเดียวกันตามข้อ ๔ ผู้ที่ครองชั้นหรือขั้นเงินเดือนสูงกว่า มีลำดับอาวุโสสูงกว่าผู้ที่ครองชั้นหรือขั้นเงินเดือนต่ำกว่า ข้าราชการอัยการตำแหน่งเดียวกันหรือตำแหน่งในระดับเดียวกันตามข้อ ๔ และชั้นหรือขั้นเงินเดือนเดียวกัน ผู้ที่ครองชั้นหรือขั้นเงินเดือนดังกล่าวก่อนมีลำดับอาวุโสสูงกว่า ในกรณีที่ครองชั้นหรือขั้นเงินเดือนดังกล่าวพร้อมกัน ให้จัดลำดับอาวุโสตามลำดับที่คณะกรรมการอัยการมีมติแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและเลื่อนชั้นหรือขั้นเงินเดือน ข้อ ๖ ในกรณีข้าราชการอัยการได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย ซึ่งไม่ได้รับการพิจารณาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหรือเลื่อนชั้นหรือปรับขั้นเงินเดือน หากสำเร็จการศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย ภายในเวลาตามระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ลา ให้อัยการสูงสุดจัดให้เข้าปฏิบัติราชการในลำดับอาวุโสเดิมก่อนได้รับอนุญาตให้ลา หากมีการเลื่อนตำแหน่งในลำดับอาวุโสเดิมไปก่อนหน้าจนไม่สามารถจัดให้อยู่ในลำดับอาวุโสเดิมได้ ให้อัยการสูงสุดจัดให้เข้าปฏิบัติราชการในลำดับอาวุโสแรกของตำแหน่งเดิมก่อนได้รับอนุญาตให้ลา การดำเนินการตามวรรคสอง เมื่อมีการเลื่อนตำแหน่ง ให้อัยการสูงสุดจัดให้เข้าปฏิบัติราชการในลำดับอาวุโสแรกของตำแหน่งจนกว่าจะอยู่ในลำดับอาวุโสเดิมก่อนได้รับอนุญาตให้ลา ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีข้าราชการอัยการผู้นั้นถูกลงโทษทางวินัย ข้อ ๗ ข้าราชการอัยการผู้ใดโอนมาจากข้าราชการธุรการหรือกลับเข้ารับตำแหน่งข้าราชการอัยการตามที่อัยการสูงสุดสั่งบรรจุ เมื่อคณะกรรมการอัยการเห็นชอบตามมาตรา ๔๕ มาตรา ๔๖ มาตรา ๔๗ หรือมาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ แล้วแต่กรณี ให้ข้าราชการอัยการผู้นั้นอยู่ในลำดับอาวุโสสุดท้ายของข้าราชการอัยการในตำแหน่งและชั้นหรือขั้นเงินเดือนนั้น เว้นแต่คณะกรรมการอัยการมีมติเป็นอย่างอื่น โดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถและประโยชน์ต่อราชการของสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นสำคัญ ข้อ ๘ ให้สำนักงานอัยการสูงสุดจัดทำบัญชีลำดับอาวุโสข้าราชการอัยการและให้บัญชีลำดับอาวุโสดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอัยการ โดยข้าราชการอัยการสามารถขอตรวจสอบดูได้ การเผยแพร่บัญชีลำดับอาวุโสตามวรรคหนึ่ง ให้กระทำได้โดยให้อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอัยการ ข้อ ๙ ลำดับอาวุโสของข้าราชการอัยการที่ถูกกำหนดไว้แล้วโดยกฎหมาย มติคณะกรรมการอัยการ หรือธรรมเนียมปฏิบัติทางราชการ ก่อนหรือในวันที่ข้อกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้มีผลใช้บังคับต่อไปโดยไม่ถูกกระทบจากข้อกำหนดนี้ ข้อ ๑๐ ให้คณะกรรมการอัยการมีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อกำหนดนี้ ข้อ ๑๑ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามข้อกำหนดนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่ง หลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อกำหนดนี้ บรรดาระเบียบ ข้อกำหนด ข้อบังคับ และคำสั่งอื่นใด ซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อกำหนดนี้ ให้ใช้ข้อกำหนดนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๗๙ ก/หน้า ๒๐/๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๔
605700
ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ ในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยและอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ ตามมาตรา 25 วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ข้อกำหนด ก ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ ในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยและอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ ตามมาตรา ๒๕ วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ก.อ. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยตามความในมาตรา ๒๕ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยและอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ตามมาตรา ๒๕ วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ฉบับลงวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ และฉบับลงวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ข้อกำหนด ก.อ. ฉบับนี้แทน ข้อ ๒ ผู้สมัครเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ตามความในมาตรา ๒๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ จะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามความในมาตรา ๓๓ (๒) ถึง (๑๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ข้อ ๓ ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๕ วรรคสอง (๒) (๓) หรือ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นทนายความ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ จะต้องได้ว่าความในศาลยุติธรรมมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ เรื่อง ในจำนวนนี้ต้องเป็นคดีแพ่งไม่น้อยกว่า ๕ เรื่อง โดยมีหนังสือรับรองของผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณามาแสดงว่าได้ทำหน้าที่ดังกล่าวอย่างแท้จริง ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้นั้นไปศึกษาต่อต่างประเทศด้วยทุนรัฐบาลตามความต้องการของสำนักงานอัยการสูงสุด ข้อ ๔ ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๕ วรรคสอง (๑) (๒) หรือ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ต้องได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายต่อไปนี้จากต่างประเทศหรือในการศึกษาปริญญาโททางกฎหมายในประเทศไทย แล้วแต่กรณีด้วย คือ (๑) กฎหมายอาญา (๒) กฎหมายแพ่ง ลักษณะสัญญาและลักษณะละเมิด (๓) กฎหมายลักษณะพยาน หรือกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือกฎหมายลักษณะล้มละลาย (๔) กฎหมายแพ่งลักษณะอื่น ซึ่งเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ๓ วิชา หรือกฎหมายแพ่งลักษณะอื่นซึ่งเทียบได้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ๑ วิชา กับกฎหมายพิเศษดังต่อไปนี้ ๒ วิชา ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายพาณิชย์นาวี กฎหมายทะเล กฎหมายอากาศ กฎหมายอวกาศ กฎหมายโทรคมนาคม กฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎหมายทรัพยากรธรรมชาติ กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีระหว่างประเทศ กฎหมายเครื่องหมายการค้า กฎหมายสิทธิบัตร กฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายเด็กและเยาวชน อาชญาวิทยา กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางธุรกิจ กฎหมายแรงงาน กฎหมายภาษีอากร กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายอาญาระหว่างประเทศ กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการ กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ กฎหมายธุรกิจ กฎหมายว่าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายเกี่ยวกับการลงทุน กฎหมายเกี่ยวกับการเงินการธนาคาร กฎหมายหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายป้องกันการผูกขาดหรือการแข่งขันทางการค้า กฎหมายการเกษตร กฎหมายพลังงาน ผู้สมัครที่ได้ศึกษาและสอบไล่ได้ตามหลักสูตรการศึกษากฎหมายดังต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องศึกษาวิชากฎหมายตามวรรคหนึ่ง (๑) ผู้สมัครที่ได้ศึกษาและสอบไล่ได้ตามหลักสูตรการศึกษากฎหมายที่จัดไว้เป็นหลักสูตรเฉพาะด้านในวิชากฎหมายเด็กและเยาวชน กฎหมายแรงงาน กฎหมายภาษีอากร กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายพาณิชย์นาวี กฎหมายล้มละลาย (๒) ผู้สมัครที่ได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายที่อยู่ในกลุ่มวิชากฎหมายกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งตามวรรคสอง (๑) ไม่น้อยกว่า ๔ วิชา และได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งอีกไม่น้อยกว่า ๒ วิชา โดยในจำนวนนี้อย่างน้อย ๑ วิชา ต้องเป็นวิชาตาม (๑) (๓) หรือกฎหมายแพ่ง ซึ่งพอเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้นั้นไปศึกษาวิชากฎหมายจากต่างประเทศด้วยทุนรัฐบาลหรือผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางกฎหมาย ข้อ ๔/๑[๒] ผู้สมัครซึ่งสอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายในประเทศไทยตามความในมาตรา ๒๕ วรรคสอง (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ต้องสอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย โดยมีหลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่าสองปี หรือหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่าสองปี หรือสอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศซึ่ง ก.พ. รับรอง โดยมีหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่าสองปี ข้อ ๕ ให้ผู้สมัครยื่นใบสมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ต่อเลขานุการ ก.อ. ณ สำนักงาน ก.อ. สำนักงานอัยการสูงสุด พร้อมหลักฐานในการสมัครสอบ ดังนี้ (๑) ภาพถ่ายปริญญานิติศาสตรบัณฑิต/นิติศาสตรมหาบัณฑิต (แสดงต้นฉบับด้วย) (๒) ภาพถ่ายประกาศนียบัตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (แสดงต้นฉบับด้วย) (๓) สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน (ถ่ายเอกสารทั้งสองหน้าในแผ่นเดียวกันและแสดงต้นฉบับด้วย) (๔) หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย (กรณีเป็นทนายความต้องมีหนังสือรับรองการเป็นทนายความจากสภาทนายความมายื่นด้วย) (๕) ใบรับรองสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา (ออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน) (๖) รูปถ่ายขนาด ๑ นิ้ว ถ่ายไว้ไม่เกิน ๖ เดือน จำนวน ๔ รูป (เขียนชื่อ - สกุลด้านหลัง) (๗) เงินค่าธรรมเนียมการสอบ ข้อ ๖ ให้เลขานุการ ก.อ. ส่งผู้สมัครไปให้คณะกรรมการแพทย์ ซึ่ง ก.อ. แต่งตั้งขึ้นตามความในมาตรา ๓๓ (๑๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ตรวจร่างกายและจิตใจ ข้อ ๗ เมื่อคณะกรรมการแพทย์ได้ตรวจร่างกายและจิตใจผู้สมัครแล้วและอัยการสูงสุดเห็นสมควรดำเนินการต่อไป ให้ส่งเรื่องไปให้อนุกรรมการซึ่ง ก.อ. แต่งตั้งขึ้น เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ตรวจสอบคุณสมบัติตามวิธีการที่กำหนดไว้เช่นเดียวกับการตรวจคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก ในการนี้ให้อนุกรรมการทำการทดสอบความรู้ในวิชากฎหมายด้วย เมื่ออนุกรรมการได้ดำเนินการแล้ว ให้รายงานเสนอความเห็นไปยัง ก.อ. ข้อ ๘ การทดสอบความรู้ในวิชากฎหมาย ให้มีทั้งการสอบข้อเขียนและการสอบปากเปล่า วิชากฎหมายที่สอบ คือ กฎหมายอาญา ๒ ข้อ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ๒ ข้อ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ๒ ข้อ กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ๒ ข้อ พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ๑ ข้อ กฎหมายว่าด้วยพนักงานอัยการ ๑ ข้อ หรือกฎหมายลักษณะวิชาอื่นใดตามที่อนุกรรมการเห็นสมควร การสอบข้อเขียน จำนวนข้อสอบ ๑๐ ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน ผู้สมัครต้องสอบได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ของคะแนนสอบข้อเขียนทั้งหมด จึงมีสิทธิเข้าสอบปากเปล่า และต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนกับสอบปากเปล่ารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ของคะแนนทั้งสองอย่างรวมกัน การสอบปากเปล่า ให้กระทำโดยวิธีถามผู้สมัครเรียงตัว กำหนดเวลาสอบคนละประมาณ ๑๕ นาที คะแนนเต็ม ๔๐ คะแนน ในกรณีที่ผู้สมัครเป็นผู้ไปศึกษาต่างประเทศด้วยทุนรัฐบาลตามความต้องการของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางกฎหมาย ให้อนุกรรมการทำการทดสอบความรู้ในวิชากฎหมายเฉพาะการสอบปากเปล่า[๓] ข้อ ๙ ในกรณีที่อนุกรรมการทำการทดสอบความรู้ในวิชากฎหมายของผู้สมัครผู้ใดแล้วปรากฏว่าผู้สมัครนั้นได้คะแนนในการทดสอบไม่ถึงร้อยละ ๖๐ ให้ถือว่าผู้สมัครนั้นยังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับบรรจุเป็นข้าราชการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย และผู้นั้นจะยื่นใบสมัครอีกมิได้จนกว่าจะล่วงพ้นระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันที่ ก.อ. พิจารณารายงานความเห็นของอนุกรรมการ ข้อ ๑๐ การบรรจุข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ตามความในมาตรา ๒๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ นั้น ให้บรรจุได้ในอัตราส่วนของจำนวนผู้ที่สอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ไม่เกินหนึ่งในสี่ แต่ถ้าขณะใดไม่มีผู้ที่สอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยอยู่แล้ว ก็ให้บรรจุได้โดยไม่มีอัตราส่วน ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้นั้นไปศึกษาต่างประเทศด้วยทุนรัฐบาลตามความต้องการของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางกฎหมาย[๔] ข้อ ๑๑ ผู้ที่มีคุณสมบัติและปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วนตามข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยและอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ ตามมาตรา ๒๕ วรรคสองและวรรคสามแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ฉบับลงวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ และฉบับลงวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๘ ซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่ก่อนข้อกำหนดนี้ ให้ถือว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติและปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วนตามนัยข้อกำหนดนี้ ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕ คนึง ฦาไชย ประธาน ก.อ. ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยและอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ ตามมาตรา ๒๕ วรรคสอง และวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘[๕] ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยและอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ ตามมาตรา ๒๕ วรรคสอง และวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘[๖] อุรารักษ์/จัดทำ ๑๑/มิ.ย./๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๕๒ ง/หน้า ๔๙/๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๕ [๒] ข้อ ๔/๑ เพิ่มโดยข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยและอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ ตามมาตรา ๒๕ วรรคสอง และวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๒ [๓] ข้อ ๘ วรรคห้า แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยและอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ ตามมาตรา ๒๕ วรรคสอง และวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๔] ข้อ ๑๐ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยและอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ ตามมาตรา ๒๕ วรรคสอง และวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๕๒ ง/หน้า ๒๓/๑๔ กรกฎาคม ๒๕๔๘ [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔๐ ง/หน้า ๕๑/๑๗ มีนาคม ๒๕๕๒
653906
ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยคณะอนุกรรมการอัยการเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการออกจากราชการของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. 2554
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยคณะอนุกรรมการอัยการเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการออกจากราชการ ของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยคณะอนุกรรมการอัยการเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการออกจากราชการของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๐ (๘) (๑๐) (๑๑) มาตรา ๓๑ วรรคสอง และมาตรา ๑๐๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยคณะอนุกรรมการอัยการเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการออกจากราชการของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “ก.อ.” หมายความว่า คณะกรรมการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ “อ.ว.ธ.” หมายความว่า คณะอนุกรรมการอัยการเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการออกจากราชการของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด “อนุกรรมการ” หมายความว่า อนุกรรมการอัยการเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการออกจากราชการของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด ข้อ ๔ ให้ ก.อ. มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ข้อ ๕ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามระเบียบนี้ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งอื่นใด ซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน หมวด ๑ คณะอนุกรรมการ ข้อ ๖ ให้มีคณะอนุกรรมการอัยการเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการออกจากราชการของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด เรียกโดยย่อว่า “อ.ว.ธ.” ประกอบด้วย (๑) รองอัยการสูงสุดหรือผู้ตรวจการอัยการ จำนวน ๑ คน เป็นประธาน (๒) ข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่อัยการพิเศษฝ่ายขึ้นไป จำนวน ๓ คน (๓) ข้าราชการธุรการซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษหรือประเภทอำนวยการ ระดับต้น จำนวน ๒ คน (๔) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย หรือด้านการบริหารงานบุคคล หรือด้านการบริหารและการจัดการซึ่งมิได้เป็นข้าราชการฝ่ายอัยการ จำนวนไม่เกิน ๓ คน ให้หัวหน้างานวินัย ฝ่ายการเจ้าหน้าที่ เป็นเลขานุการ และให้นิติกรงานวินัย ฝ่ายการเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจาก อ.ว.ธ. จำนวน ๒ คน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ทั้งนี้ อ.ว.ธ. ตาม (๑) (๒) (๔) ต้องไม่เป็นกรรมการอัยการ หมวด ๒ หลักเกณฑ์และการแต่งตั้ง ข้อ ๗ ให้ ก.อ. แต่งตั้ง อ.ว.ธ. ตามข้อ ๖ การแต่งตั้งอนุกรรมการตามข้อ ๖ ให้อัยการสูงสุดเสนอรายชื่อบุคคลที่เห็นสมควรจำนวนสองเท่าของอนุกรรมการที่จะต้องแต่งตั้งต่อ ก.อ. เพื่อพิจารณาเลือกบุคคลที่เหมาะสมและแต่งตั้งต่อไป ข้อ ๘ ให้อนุกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งตามข้อ ๗ เข้ารับหน้าที่ตั้งแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นต้นไป ข้อ ๙ อนุกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามข้อ ๗ มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี อนุกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งใหม่ได้ แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้ ในกรณีที่ อ.ว.ธ. พ้นจากตำแหน่งเพราะครบวาระ ให้คงทำหน้าที่เท่าที่จำเป็นต่อไปจนกว่า อ.ว.ธ. คณะใหม่เข้ารับหน้าที่ ข้อ ๑๐ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามข้อ ๙ ให้อนุกรรมการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) กระทำผิดวินัยนับแต่วันที่มีคำสั่งลงโทษทางวินัย (๔) มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๖ วรรคสาม (๕) ถูกถอดถอนจากตำแหน่งตามข้อ ๑๑ (๖) มีเหตุตามข้อ ๑๒ ข้อ ๑๑ ให้ ก.อ. มีอำนาจถอดถอนอนุกรรมการออกจากตำแหน่งได้ในกรณีดังนี้ (๑) มีพฤติการณ์ไม่เหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่อนุกรรมการ (๒) ปฏิบัติหน้าที่ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายระเบียบ ข้อบังคับ คุณธรรมและจริยธรรม หรือ (๓) กระทำการอันมีมูลเป็นความผิดวินัย ถูกกล่าวหา หรือกรณีเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดทางวินัย ในการพิจารณาถอดถอนตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ที่ถูกพิจารณาถอดถอนมีสิทธิเข้าชี้แจงข้อเท็จจริงต่อ ก.อ. ในระหว่างการพิจารณาถอดถอนตามวรรคสอง ผู้นั้นจะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปไม่ได้ ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ ก.อ. เห็นว่ามีเหตุผลและความจำเป็น เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของ อ.ว.ธ. ให้ ก.อ. พิจารณาให้อนุกรรมการพ้นจากตำแหน่งได้ในกรณีดังนี้ (๑) ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ (๒) ได้รับการแต่งตั้งโยกย้ายอันเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ (๓) ขาดการประชุมติดต่อกันเกินกว่า ๓ ครั้ง (๔) เหตุอื่นใดตามที่ ก.อ. เห็นสมควร ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ตำแหน่งอนุกรรมการว่างลง ถ้ายังมีอนุกรรมการพอที่จะเป็นองค์ประชุม ให้ อ.ว.ธ. ที่เหลืออยู่ดำเนินการตามอำนาจและหน้าที่ต่อไปได้ ข้อ ๑๔ ในการแต่งตั้งอนุกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างลงก่อนครบวาระ ให้นำความในข้อ ๗ และข้อ ๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม และให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งได้เท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน อนุกรรมการที่ดำรงตำแหน่งแทนตามวรรคหนึ่ง หากมีวาระเหลืออยู่ไม่ถึง ๑ ปี ไม่ให้นับเป็นวาระการดำรงตำแหน่งตามข้อ ๙ หมวด ๓ อำนาจและหน้าที่ ข้อ ๑๕ ให้ อ.ว.ธ. ทำหน้าที่ในการดำเนินการทางวินัยและการออกจากราชการของข้าราชการธุรการ ตามระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการร้องทุกข์และการอุทธรณ์ นอกจากการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบนี้ อ.ว.ธ. อาจปฏิบัติหน้าที่อื่นได้ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดมอบหมาย ข้อ ๑๖ การประชุม อ.ว.ธ. ต้องมีอนุกรรมการมาประชุมอย่างน้อยกึ่งหนึ่งจึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธาน อ.ว.ธ. ไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้อนุกรรมการในที่ประชุมเลือกอนุกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม ให้นำระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยการประชุมและการลงมติมาใช้บังคับโดยอนุโลม เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ข้อ ๑๗ เมื่อ อ.ว.ธ. มีมติเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย หรือการออกจากราชการแล้วให้ประธาน อ.ว.ธ. รายงานให้ ก.อ. ทราบ และให้สำนักงานอัยการสูงสุดดำเนินการออกคำสั่งหรือปฏิบัติตามมติของ อ.ว.ธ. ข้อ ๑๘ เบี้ยประชุมหรืออัตราค่าตอบแทนของอนุกรรมการ เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ อนุกรรมการและค่าตอบแทนบุคคลหรือคณะบุคคล ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๖ กันยายน ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๖ กันยายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๖๖ ก/หน้า ๓/๒ กันยายน ๒๕๕๔
648351
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. 2554
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยที่องค์กรอัยการเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่มีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น โดยมีอัยการสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชา และมีภารกิจด้านการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐ การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน รวมทั้งภารกิจที่สำคัญอื่นตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ ในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นหน่วยงานสนับสนุนงานธุรการของพนักงานอัยการให้สำเร็จลุล่วงไป โดยมีอิสระในการบริหารงานบุคคล การเงิน และการงบประมาณ โดยปราศจากการแทรกแซงจากฝ่ายใด ดังนั้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ข้าราชการธุรการสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปราศจากอคติหรือสิ่งจูงใจจากปัจจัยภายนอก รวมทั้งการรักษาความลับของสำนวนคดีโดยอาศัยความซื่อสัตย์สุจริต และเที่ยงธรรมเช่นเดียวกับพนักงานอัยการ จึงเห็นสมควรกำหนดให้มีเงินค่าตอบแทนพิเศษให้แก่ข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อให้เหมาะสมกับภารกิจขององค์กรในปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๐ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “ข้าราชการธุรการ” หมายความว่า ข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ “ก.อ.” หมายความว่า คณะกรรมการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้อ ๔ ให้ข้าราชการธุรการได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษเป็นรายเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในระเบียบนี้ ข้าราชการธุรการซึ่งมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษผู้ใดมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษอื่น หรือเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งเจ้าพนักงานคดีอยู่ด้วย ให้มีสิทธิเลือกที่จะรับเงินค่าตอบแทนพิเศษ หรือเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษอื่น หรือเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งเจ้าพนักงานคดีเพียงอัตราเดียว เว้นแต่เงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ หรือเงินตามมติคณะรัฐมนตรีในลักษณะเดียวกันนั้น ข้อ ๕ อัตราเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการ ประเภทและระดับต่าง ๆ ให้เป็นไปตามบัญชีแนบท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๖ ข้าราชการธุรการที่จะได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษจะต้องรับราชการในสำนักงานอัยการสูงสุดมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสองปี ข้อ ๗ ข้าราชการธุรการที่จะได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษจะต้องผ่านการพัฒนาศักยภาพบุคคลในการปฏิบัติงานหรือผ่านการทดสอบในการปฏิบัติงาน และผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานจากผู้บังคับบัญชาตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด ข้าราชการธุรการที่ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษตามวรรคหนึ่งมาครบหนึ่งปีจะต้องได้รับการประเมินผลการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด ผู้ใดไม่ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานดังกล่าว ให้งดการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษจนกว่าข้าราชการธุรการผู้นั้นจะผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ข้อ ๘ ในกรณีที่กำหนดให้ตำแหน่งระดับใดได้รับค่าตอบแทนพิเศษหลายอัตราในระดับเดียวกัน เมื่อผู้ดำรงตำแหน่งนั้นดำรงตำแหน่งโดยมีระยะเวลาครบถ้วนตามบัญชีแนบท้ายระเบียบนี้ และผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานจากผู้บังคับบัญชาแล้ว ให้มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนพิเศษในอัตราที่สูงขึ้นได้นับแต่วันที่ดำรงตำแหน่งโดยมีระยะเวลาครบถ้วน ข้อ ๙ ข้าราชการธุรการที่ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการให้ได้รับค่าตอบแทนพิเศษตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) กรณีข้าราชการธุรการที่ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษในอัตราที่ได้รับอยู่เดิมขณะที่ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ข้าราชการธุรการที่ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ที่ปฏิบัติงานยังไม่ครบสองปี และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ เมื่อรวมระยะเวลาปฏิบัติงานครบสองปีแล้ว ให้ได้รับค่าตอบแทนพิเศษในอัตราต่ำสุดของตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ (๒) กรณีข้าราชการธุรการที่ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษในอัตราที่ได้รับอยู่เดิมขณะที่ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป และไม่เกินอัตราสูงสุดของตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ข้อ ๑๐ ข้าราชการธุรการผู้ใดมีเวลาปฏิบัติหน้าที่ราชการไม่ถึงสองในสามของจำนวนวันทำการในเดือนใด ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษสำหรับเดือนนั้น ข้าราชการธุรการผู้ใดขาดราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือละทิ้งหน้าที่ราชการในเดือนใด ห้ามมิให้จ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษสำหรับวันที่ขาดราชการหรือละทิ้งหน้าที่ราชการดังกล่าว ให้ผู้บังคับบัญชาตรวจสอบและแจ้งจำนวนวันที่ปฏิบัติราชการของข้าราชการธุรการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ไปยังหน่วยงานที่ทำหน้าที่เบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษ เพื่อประกอบการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษในแต่ละเดือน ข้อ ๑๑ ข้าราชการธุรการซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้ไปประชุม สัมมนา ดูงาน หรือเข้ารับการอบรมตามแผนการฝึกอบรมของสำนักงานอัยการสูงสุดถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ การอบรมที่จัดโดยหน่วยงานภายนอกไม่ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ เว้นแต่สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นผู้อนุมัติให้ไปอบรมและเป็นไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ข้อ ๑๒ ข้าราชการธุรการผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจรรยาบรรณ อัยการสูงสุดอาจสั่งให้งดจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษแก่ข้าราชการธุรการผู้นั้นเป็นเวลาไม่เกินสามเดือนนับแต่วันที่มีคำสั่ง ข้อ ๑๓ ข้าราชการธุรการผู้ใดถูกสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ให้งดจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษแก่ข้าราชการธุรการผู้นั้น เป็นเวลาหกเดือนนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ลงโทษ ข้าราชการธุรการผู้ใดถูกสั่งลงโทษตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือน ให้งดจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษแก่ข้าราชการธุรการผู้นั้น เป็นเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งลงโทษ ข้อ ๑๔ ข้าราชการธุรการผู้ใดถูกสั่งพักราชการ ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน และผู้ที่อยู่ในระหว่างการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษในระหว่างถูกสั่งพักราชการ ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนหรือในระหว่างการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง ข้อ ๑๕ ข้าราชการธุรการผู้ใดได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษไปโดยไม่มีสิทธิที่จะได้รับตามระเบียบนี้ ให้ข้าราชการธุรการผู้นั้นคืนเงินค่าตอบแทนพิเศษภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่รู้ถึงการไม่มีสิทธินั้น ข้อ ๑๖ ในกรณีพ้นจากการเป็นข้าราชการธุรการ ให้งดการจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษตั้งแต่วันที่มีคำสั่งให้ข้าราชการธุรการผู้นั้นพ้นจากการเป็นข้าราชการธุรการ ข้อ ๑๗ หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษสำหรับข้าราชการธุรการ กรณีใดที่มิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้นำหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจ่ายเงินเดือนของข้าราชการพลเรือน ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน และระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเดือน เงินปี และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๘ เพื่อประโยชน์ในการนับระยะเวลาของการได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษ ให้นำระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งของข้าราชการธุรการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ก่อนมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างตำแหน่งของข้าราชการธุรการใหม่ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ มานับรวมเป็นระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งของข้าราชการธุรการผู้นั้น เพื่อให้ได้รับค่าตอบแทนพิเศษตามบัญชีแนบท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๑๙ หลักเกณฑ์ตามข้อ ๑๓ ไม่ให้ใช้บังคับกับข้าราชการธุรการที่ถูกสั่งลงโทษก่อนวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๒๐ เงินค่าตอบแทนพิเศษตามระเบียบนี้ ให้เริ่มจ่ายได้ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ข้อ ๒๑ ให้ ก.อ. มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ข้อ ๒๒ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่ง หลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ โอภาส อรุณินท์ ประธานคณะกรรมการอัยการ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ปณตภร/ปรับปรุง ๒๓ เมษายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๓๐ ก/หน้า ๒๔/๒๙ เมษายน ๒๕๕๔
601336
ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย และอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ ตามมาตรา 25 วรรคสอง และวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2552
ข้อกำหนด ก ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย และอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ตามมาตรา ๒๕ วรรคสอง และวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยและอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ ตามมาตรา ๒๕ วรรคสอง และวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ลงวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ก.อ. จึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยตามความในมาตรา ๒๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้เพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ข้อ ๔/๑ แห่งข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยและอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ ตามมาตรา ๒๕ วรรคสอง และวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ลงวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕ “ข้อ ๔/๑ ผู้สมัครซึ่งสอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายในประเทศไทยตามความในมาตรา ๒๕ วรรคสอง (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ต้องสอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย โดยมีหลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่าสองปี หรือหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่าสองปี หรือสอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศซึ่ง ก.พ. รับรอง โดยมีหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่าสองปี” ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ โอภาส อรุณินท์ ประธาน ก.อ. ดลธี/ผู้จัดทำ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔๐ ง/หน้า ๕๑/๑๗ มีนาคม ๒๕๕๒
624500
ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 ว่าด้วยความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง
ข้อกำหนด ก ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ก.อ. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ การกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงอันเป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำความผิดดังต่อไปนี้ ให้ถือว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงอันเป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง คือ (๑) ทำความผิดต้องรับโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือให้รับโทษที่หนักกว่าจำคุก เว้นแต่ความผิดลหุโทษหรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาทที่ไม่เสียหายแก่ราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตน (๒) ต้องคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย (๓) กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และให้ถ้อยคำรับสารภาพต่อผู้บังคับบัญชา หรือต่อคณะกรรมการสอบสวน ซึ่งผู้บังคับบัญชาแต่งตั้งตามมาตรา ๕๔ (๔) ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวัน และผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการสอบสวนแล้ว เห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควร ข้อ ๒ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง หรือสอบสวนชั้นต้นแล้วให้รีบรายงานเสนอตามลำดับจนถึงอัยการสูงสุด ถ้าผู้บังคับบัญชาหรืออัยการสูงสุดเห็นว่า ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง อันเป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง ก็ให้อัยการสูงสุดนำเสนอประธาน ก.อ. พิจารณาสั่งลงโทษโดยไม่ต้องสอบสวนก็ได้ ทั้งนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบของ ก.อ. ก่อน ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ โอภาส อรุณินท์ ประธาน ก.อ. ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๘ มีนาคม ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๔ ก/หน้า ๑๒๓/๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
642091
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของข้าราชการธุรการ สำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. 2553
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของข้าราชการธุรการ สำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้มีระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๐ (๓) (๙) (๑๑) มาตรา ๙๑ วรรคสาม มาตรา ๙๓ มาตรา ๙๔ มาตรา ๙๕ วรรคหนึ่ง มาตรา ๙๘ วรรคหนึ่ง มาตรา ๙๙ และมาตรา ๑๐๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. ๒๕๕๓” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ภายใต้บังคับมาตรา ๘ มาตรา ๑๐๑ และมาตรา ๑๐๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ การบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุดในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดระเบียบข้าราชการธุรการ การกำหนดคุณสมบัติและมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง การขอยกเว้นลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการธุรการ การสรรหา การบรรจุ การแต่งตั้ง การทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ การให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการออกจากราชการ การสั่งให้ผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไปหรือมีลักษณะต้องห้ามออกจากราชการ การโยกย้าย การโอน การเลื่อนตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การสั่งให้ประจำส่วนราชการ การรับเงินเดือน การเลื่อนเงินเดือน การออกจากราชการ การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน การบรรจุกลับ การคุ้มครองระบบคุณธรรม การเยียวยาแก้ไขหรือดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลปกครอง และการจัดระบบ การแก้ไขและการรักษาทะเบียนประวัติและควบคุมการเกษียณอายุ ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน พระราชกฤษฎีกา กฎ ก.พ. ระเบียบ ข้อบังคับ ซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนมาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ คำว่า “ก.พ.” “ก.พ.ค.” “อ.ก.พ. กระทรวง” และ “อ.ก.พ. กรม” ให้หมายถึง “ก.อ.” คำว่า “กระทรวง” “กรม” ให้หมายถึง “สำนักงานอัยการสูงสุด” และคำว่า “รัฐมนตรีเจ้าสังกัด” “ปลัดกระทรวง” “อธิบดี” ให้หมายถึง “อัยการสูงสุด” ข้อ ๔ ในการนำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนมาบังคับใช้ตามข้อ ๓ ให้นำมาบังคับใช้ในระหว่างที่คณะกรรมการอัยการยังมิได้ออกระเบียบ ข้อกำหนด หรือประกาศกำหนดการบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด ในส่วนที่เกี่ยวกับการนั้นขึ้นใหม่และนำมาใช้เฉพาะเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้อ ๕ การใดอันเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลตามข้อ ๓ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จและให้มีผลสมบูรณ์ตามระเบียบนี้ ข้อ ๖ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ โอภาส อรุณินท์ ประธานคณะกรรมการอัยการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๑ ก/หน้า ๘/๗ มกราคม ๒๕๕๔
459473
ระเบียบ ก.อ. ว่าด้วยการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548
ระเบียบ ก ระเบียบ ก.อ. ว่าด้วยการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงระเบียบ ก.อ. ว่าด้วยการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ก.อ. จึงวางระเบียบการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.อ. ว่าด้วยการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๓/๑ แห่งระเบียบ ก.อ. ว่าด้วยการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. ๒๕๔๕ “ข้อ ๓/๑ ผู้สมัครที่ ก.อ. เคยประกาศรายชื่อเป็นผู้มีสิทธิเข้าสอบข้อเขียน อาจขอใช้ผลการตรวจร่างกายและจิตใจของคณะกรรมการแพทย์ในการสอบครั้งก่อนซึ่งมีระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันประกาศรายชื่อถึงวันยื่นใบสมัครครั้งใหม่โดยให้ผู้สมัครยื่นแบบคำขอใช้ผลการตรวจร่างกายและจิตใจครั้งก่อนเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัคร ตามแบบท้ายระเบียบนี้” ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ พิมล รัฐปัตย์ ประธาน ก.อ. [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำขอใช้ผลการตรวจร่างกายและจิตใจของคณะกรรมการแพทย์ฯ ครั้งก่อน (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ดลธี/ผู้จัดทำ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๓๗/๒๙ กรกฎาคม ๒๕๔๘
327726
ระเบียบ ก.อ. ว่าด้วยการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย
ระเบียบ ก ระเบียบ ก.อ. ว่าด้วยการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ก.อ. วางระเบียบการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ผู้สมัครสอบคัดเลือกต้องยื่นใบสมัครสอบคัดเลือกตามแบบของ ก.อ. ด้วยตนเองต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับใบสมัครซึ่ง ก.อ. จะได้กำหนดไว้ในประกาศการสอบคัดเลือก ข้อ ๒ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับใบสมัครสอบคัดเลือกไว้แล้วดังกล่าวในข้อ ๑ ให้จัดส่งผู้สมัครสอบคัดเลือกไปให้คณะกรรมการแพทย์ซึ่ง ก.อ. จะได้กำหนดตามความในมาตรา ๒๓ (๑๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ตรวจร่างกายและจิตใจ โดยกำหนดวันตรวจนั้นให้ใกล้ชิดกับวันยื่นใบสมัคร และผู้สมัครต้องเสียค่าตรวจโรคด้วย ข้อ ๓ ให้อนุกรรมการซึ่ง ก.อ. แต่งตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก มีอำนาจกำหนดวิธีการเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกตามความในมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ วิธีการเช่นว่านี้ ให้ได้รับความเห็นชอบของ ก.อ. ก่อน ข้อ ๔ เมื่อได้รับข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกและรายงานของแพทย์ดังกล่าวแล้ว ให้อนุกรรมการซึ่ง ก.อ. แต่งตั้งขึ้นตามความในข้อ ๓ นั้น พิจารณาและเสนอความเห็นไปยัง ก.อ. ข้อ ๕ ข้าราชการอัยการผู้มีสิทธิเข้าสอบคัดเลือกตามความในมาตรา ๖๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบการดังกล่าวข้างต้น แต่ต้องยื่นแสดงความจำนงสมัครสอบต่อเลขานุการ ก.อ. ภายในระยะเวลาตามที่ ก.อ. ได้กำหนด ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๔ พลเอก ป. จารุเสถียร ประธาน ก.อ. ดลธี/ผู้จัดทำ ๙ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๘/ตอนที่ ๓๖/หน้า ๔๔๖/๒๕ เมษายน ๒๕๐๔
659117
ข้อกำหนดคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง พ.ศ. 2554
ข้อกำหนดคณะกรรมการอัยการ ข้อกำหนดคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยที่เป็นการสมควรให้มีข้อกำหนดคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ และมาตรา ๔๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการอัยการจึงออกข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อกำหนดนี้เรียกว่า “ข้อกำหนดคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ข้อกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงในกรณีดังต่อไปนี้ ถือเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง (๑) ได้รับโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือให้รับโทษที่หนักกว่าจำคุกเพราะกระทำความผิดอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๒) ต้องคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย (๓) กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาหรือต่อคณะกรรมการสอบสวน เมื่อได้สอบสวนชั้นต้นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการแล้ว (๔) ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินสิบห้าวัน และผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการสอบสวนแล้ว เห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควร ข้อ ๔ ให้คณะกรรมการอัยการมีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อกำหนดนี้ ข้อ ๕ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามข้อกำหนดนี้ บรรดาระเบียบ ข้อกำหนด ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อกำหนดนี้ ให้ใช้ข้อกำหนดนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมการอัยการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๔ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๙๑ ก/หน้า ๑๖/๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๔
339654
ระเบียบ ก.อ. ว่าด้วยการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย
ระเบียบ ก ระเบียบ ก.อ. ว่าด้วยการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ก.อ. จึงวางระเบียบการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกระเบียบ ก.อ. ว่าด้วยการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ลงวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๔ และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ลงวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ระเบียบ ก.อ. ฉบับนี้แทน ข้อ ๒ ผู้สมัครสอบคัดเลือกต้องยื่นใบสมัครสอบคัดเลือกตามแบบของ ก.อ. ด้วยตนเองต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับใบสมัคร ซึ่ง ก.อ. จะได้กำหนดไว้ในประกาศการสอบคัดเลือก ข้อ ๓ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับใบสมัครสอบคัดเลือกดังกล่าวในข้อ ๒ ไว้แล้วให้จัดส่งผู้สมัครสอบคัดเลือกไปให้คณะกรรมการแพทย์ซึ่ง ก.อ. จะได้กำหนดตามความในมาตรา ๓๓ (๑๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ตรวจร่างกายและจิตใจ โดยกำหนดวันตรวจนั้นให้ใกล้ชิดกับวันยื่นใบสมัคร และผู้สมัครต้องเสียค่าตรวจร่างกายและจิตใจด้วย ข้อ ๔ ให้อนุกรรมการซึ่ง ก.อ. แต่งตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกทำการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก โดยให้ดำเนินการดังนี้ (๑) คุณสมบัติตามรายการในใบสมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการที่ผู้สมัครสอบคัดเลือกได้ยื่นไว้แล้วนั้น ให้ถือว่าเป็นหลักฐานที่จะนำมาประกอบการพิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกด้วย (๒) ผู้สมัครสอบคัดเลือกที่เป็นข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐในองค์กรอิสระตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด หรือพนักงานในองค์กรของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ถ้ารับราชการหรือปฏิบัติหน้าที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้สอบถามคุณสมบัติไปยังกรม หรือสำนักงาน หรือองค์กร หรือรัฐวิสาหกิจ เจ้าสังกัด ถ้ารับราชการหรือปฏิบัติหน้าที่อยู่ในจังหวัดอื่นให้สอบถามไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด และสอบถามไปยังอัยการจังหวัดในเขตที่ผู้สมัครสอบคัดเลือกรับราชการหรือปฏิบัติหน้าที่อยู่ (๓) ผู้สมัครสอบคัดเลือกที่เป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงกลาโหม ให้สอบถามคุณสมบัติไปยังผู้บังคับบัญชาเทียบชั้นผู้บังคับการกรมขึ้นไปที่ผู้สมัครสอบคัดเลือกนั้นสังกัดอยู่ (๔) ผู้สมัครสอบคัดเลือกที่เป็นข้าราชการสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้สอบถามคุณสมบัติไปยังผู้บังคับบัญชาเทียบชั้นผู้บังคับการขึ้นไปที่ผู้สมัครสอบคัดเลือกนั้นสังกัดอยู่ (๕) ผู้สมัครสอบคัดเลือกที่มีอาชีพเป็นทนายความซึ่งมีสำนักงานอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้สอบถามคุณสมบัติไปยังสภาทนายความ และสำนักงานทนายความซึ่งผู้สมัครสอบคัดเลือกปฏิบัติงานประจำอยู่ด้วย สำหรับผู้สมัครสอบคัดเลือกที่มีอาชีพเป็นทนายความซึ่งมีสำนักงานอยู่ในเขตจังหวัดใด ๆ นอกจากกรุงเทพมหานครให้สอบถามคุณสมบัติไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด อัยการจังหวัดในเขตที่ผู้สมัครสอบคัดเลือกนั้นมีสำนักงานอยู่ และสำนักงานทนายความซึ่งผู้สมัครสอบคัดเลือกปฏิบัติงานประจำอยู่ด้วย (๖) ผู้สมัครสอบคัดเลือกที่ทำงานอยู่ในสำนักงาน องค์การ บริษัท ห้างร้านสโมสร หรือสมาคมใด ให้สอบถามคุณสมบัติไปยังเลขาธิการ ผู้อำนวยการ ผู้จัดการ นายกสโมสรนายกสมาคม หรือประธานกรรมการของสำนักงานที่ผู้สมัครสอบคัดเลือกนั้นทำงานอยู่ตามที่เห็นสมควร แล้วแต่กรณี (๗) ถ้าผู้สมัครสอบคัดเลือกรายใดเคยรับราชการในกระทรวง ทบวง กรม หรือองค์กรอิสระตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเคยทำงานในที่ใด ๆ ตาม (๖) มาก่อน แล้วออกจากส่วนราชการหรือองค์กรอิสระตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด หรือรัฐวิสาหกิจ หรือที่ทำการนั้น ๆ ไป ให้สอบถามคุณสมบัติไปยังกระทรวง ทบวง กรม องค์กรอิสระตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด รัฐวิสาหกิจ เจ้าสังกัด หรือที่ทำงานที่ผู้สมัครสอบคัดเลือกเคยทำงานอยู่เดิมนั้นด้วย (๘) ให้ส่งรายชื่อผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการไปยังกองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อตรวจสอบว่าผู้สมัครสอบคัดเลือกรายใดเคยเป็นผู้กระทำผิดมาก่อนหรือไม่ (๙) เพื่อให้การตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกรายหนึ่งรายใดได้ผลยิ่งขึ้น ถ้าเห็นเป็นการสมควร จะสอบถามและสดับตรับฟังข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกบุคคลใด ๆ นอกจากที่กล่าวมาแล้ว หรือจะเรียกให้ผู้สมัครสอบคัดเลือกมาสอบถามหรือสัมภาษณ์ด้วยก็ได้ (๑๐) เพื่อประโยชน์ในการตรวจคุณสมบัติเกี่ยวกับพื้นความรู้ของผู้สมัครสอบคัดเลือก ตามความในมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ จะสอบถามข้อเท็จจริงไปยังสำนักศึกษาหรือสถาบันที่เกี่ยวข้องตามที่ได้ระบุไว้ในประกาศนียบัตรหรือปริญญาบัตรของผู้สมัครสอบคัดเลือกที่ได้นำยื่นไว้แล้วนั้น ๆ ก็ได้ (๑๑) ในกรณีที่ผู้สมัครสอบคัดเลือกรายใดเคยสมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการตำแหน่งอัยการผู้ช่วยครั้งอื่นมาก่อนแล้ว ภายในระยะเวลาไม่เกินสองปี นับจนถึงวันประกาศกำหนดเวลาขอรับใบสมัครและยื่นใบสมัครสอบคัดเลือกครั้งใหม่ หากอนุกรรมการตรวจพิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกเห็นสมควร จะสอบถามคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกรายนั้นไปยังบุคคลที่กล่าวไว้ในข้อ (๒) ถึง (๑๐) เพียงรายเดียวก็ได้ ข้อ ๕ เมื่อได้รับข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกและรายงานของแพทย์ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ให้อนุกรรมการซึ่ง ก.อ. แต่งตั้งขึ้นตามความในข้อ ๔ นั้นพิจารณาและเสนอความเห็นไปยัง ก.อ. เพื่อพิจารณาต่อไป ให้ไว้ ณ วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ คนึง ฦาไชย ประธาน ก.อ. ดลธี/ผู้จัดทำ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๙๑ ง/หน้า ๓๙/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
648349
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยคุณสมบัติและเงื่อนไขการขอดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส พ.ศ. 2554
ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยคุณสมบัติและเงื่อนไขการขอดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบว่าด้วยคุณสมบัติและเงื่อนไขการขอดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๙ ประกอบมาตรา ๔๐ และมาตรา ๑๐๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ และมาตรา ๓๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยคุณสมบัติและเงื่อนไขการขอดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ข้าราชการอัยการซึ่งมีอายุครบหกสิบปีขึ้นไปและได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นข้าราชการอัยการมาแล้วไม่น้อยกว่ายี่สิบปีในปีงบประมาณก่อนปีงบประมาณที่จะดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส หากประสงค์จะดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสในปีงบประมาณใด ให้แจ้งเป็นหนังสือต่ออัยการสูงสุดไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันก่อนเริ่มปีงบประมาณนั้น ข้อ ๔ ข้าราชการอัยการที่ประสงค์จะดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสจะต้องผ่านการประเมินสมรรถภาพตามที่สำนักงานคณะกรรมการอัยการจัดให้มีการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ โดยคณะกรรมการแพทย์ที่คณะกรรมการอัยการแต่งตั้ง ข้อ ๕ ให้สำนักงานคณะกรรมการอัยการเสนอผลการทดสอบสมรรถภาพตามข้อ ๔ และผลการประเมินจากแบบประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการอัยการประจำปีล่าสุดย้อนหลังสองครั้งของผู้ประสงค์จะดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส พร้อมด้วยเอกสารที่เกี่ยวข้องต่ออัยการสูงสุดเพื่อเสนอรายชื่อผู้ซึ่งจะได้รับแต่งตั้งต่อคณะกรรมการอัยการเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว จึงนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งต่อไป ข้อ ๖ สำหรับข้าราชการอัยการผู้ซึ่งจะทยอยพ้นจากตำแหน่งเป็นลำดับในแต่ละปีต่อเนื่องกันไป ที่จะขอไปดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสเมื่อมีอายุครบหกสิบปีหรือในระหว่างเวลาใด ๆ ภายหลังจากอายุครบหกสิบปี ตามมาตรา ๑๐๔ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ หากประสงค์จะดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสในปีงบประมาณถัดไปให้นำความในข้อ ๓ ข้อ ๔ และข้อ ๕ มาใช้โดยอนุโลม ข้อ ๗ การแต่งตั้งข้าราชการอัยการผู้ซึ่งจะทยอยพ้นจากตำแหน่งเป็นลำดับในแต่ละปีต่อเนื่องกันไป ให้ดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส ตามมาตรา ๑๐๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ให้อัยการสูงสุดเสนอรายชื่อผู้ซึ่งจะได้รับแต่งตั้งต่อคณะกรรมการอัยการเพื่อให้ความเห็นชอบ เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว จึงนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป ข้อ ๘ ให้คณะกรรมการอัยการมีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ข้อ ๙ ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่ง หลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ บรรดาระเบียบ ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งอื่นใด ซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ โอภาส อรุณินท์ ประธานคณะกรรมการอัยการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๓๐ ก/หน้า ๒๒/๒๙ เมษายน ๒๕๕๔
563815
ข้อกำหนด ก.อ. เรื่อง กำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ ตามมาตรา 33 (1) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 (ฉบับที่ 4)
ข้อกำหนด ก ข้อกำหนด ก.อ. เรื่อง กำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ ตามมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ (ฉบับที่ ๔)[๑] ตามที่ ก.อ. ได้มีข้อกำหนด ก.อ. เรื่อง กำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น และ เงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ ตามมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ฉบับลงวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๔๕ ไว้แล้ว นั้น ปรากฏว่ามีผู้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นซึ่งอาจเทียบได้กับวิชาชีพตามข้อกำหนด ก.อ. ดังกล่าวเพิ่มขึ้นอีก จึงสมควรที่จะกำหนดวิชาชีพทางกฎหมายเหล่านั้นเป็นวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นตามนัยมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ เพิ่มเติม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ประกอบข้อ ๒ (๑๑) ของข้อกำหนด ก.อ. เรื่อง กำหนดวิชาชีพทางกฎหมาย อย่างอื่นและเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ ตามมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ก.อ. จึงกำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ที่ได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายในลักษณะทำนองเดียวกันหรือเทียบได้กับวิชาชีพตามข้อ ๒ (๑) - (๑๐) ของข้อกำหนด ก.อ. ว่าด้วยการกำหนดวิชาชีพอย่างอื่น เงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ ตามมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เป็นพนักงานราชการของส่วนราชการ ตำแหน่งนิติกร ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร ตามมาตรฐานในสายงานนิติกรที่ ก.พ. กำหนด ตามแบบที่กำหนดท้ายข้อกำหนดนี้ (๑) ข้อ ๒ เป็นพนักงานปฏิบัติการของสำนักกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปฏิบัติงานในหน้าที่ผู้ปฏิบัติการทางกฎหมายในสำนักกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ผู้ปฏิบัติการตามแบบที่กำหนดท้ายข้อกำหนดนี้ (๒) ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ พิมล รัฐปัตย์ ประธาน ก.อ. [เอกสารแนบท้าย] ๑. (๑) หนังสือรับรองการประเมินวิชาชีพของผู้สมัครสอบ ซึ่งเป็นพนักงานราชการ ตำแหน่งนิติกร ๒. (๒) หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครสอบ ซึ่งเป็นพนักงานของสำนักกฎหมาย (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ตำแหน่งพนักงานปฏิบัติการ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ดลธี/ผู้จัดทำ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๔๖ ง/หน้า ๒๙/๒๙ กันยายน ๒๕๕๐
593399
ข้อกำหนด ก.อ. เรื่อง กำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ ตามมาตรา 33 (1) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 (ฉบับที่ 5)
ข้อกำหนด ก ข้อกำหนด ก.อ. เรื่อง กำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ ตามมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ (ฉบับที่ ๕)[๑] ตามที่ ก.อ. ได้มีข้อกำหนด ก.อ. เรื่อง กำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ ตามมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ฉบับลงวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๔๕ ไว้แล้ว นั้น ปรากฏว่ามีผู้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นซึ่งอาจเทียบได้กับวิชาชีพตามข้อกำหนด ก.อ. ดังกล่าวเพิ่มขึ้นอีก จึงสมควรที่จะกำหนดวิชาชีพทางกฎหมายเหล่านั้นเป็นวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น ตามนัยมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ เพิ่มเติม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ประกอบข้อ ๒ (๑๑) ของข้อกำหนด ก.อ. เรื่อง กำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นและเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ ตามมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ก.อ. จึงกำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมายที่ได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายในลักษณะทำนองเดียวกันหรือเทียบได้กับวิชาชีพตามข้อ ๒ (๑) - (๑๐) ของข้อกำหนด ก.อ. ว่าด้วยการกำหนดวิชาชีพอย่างอื่น และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ ตามมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ลูกจ้างในหน่วยงานของรัฐ หรือผู้รับจ้างตามสัญญาจ้างเหมาบริการ (นิติกร) ในสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกรตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่ ก.พ. หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่นกำหนด แล้วแต่กรณี ตามแบบที่กำหนดท้ายข้อกำหนดนี้ (แบบ ๑) ข้อ ๒ เป็นข้าราชการศาลยุติธรรมตำแหน่งเจ้าพนักงานศาลยุติธรรม (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานศาลยุติธรรม ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่ ก.ศ. กำหนด ตามแบบที่กำหนดท้ายข้อกำหนดนี้ (แบบ ๒) ข้อ ๓ เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างในกระทรวงยุติธรรม ทำหน้าที่พนักงานคุมประพฤติซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานในสายงานคุมประพฤติที่ ก.พ. กำหนด ตามแบบที่กำหนดท้ายข้อกำหนดนี้ (แบบ ๓) ข้อ ๔ เป็นตำรวจซึ่งทำหน้าที่นิติกร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกรตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนดตามแบบที่กำหนดท้ายข้อกำหนดนี้ (แบบ ๔) ข้อ ๕ เป็นพนักงานคดีปกครอง (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานศาลปกครองซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานที่สำนักงานศาลปกครองกำหนด ตามแบบที่กำหนดท้ายข้อกำหนดนี้ (แบบ ๕) ข้อ ๖ เป็นพนักงานสอบสวนคดีพิเศษหรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษ (วุฒิทางกฎหมาย) กรมสอบสวนคดีพิเศษ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานที่กรมสอบสวนคดีพิเศษกำหนด ตามแบบที่กำหนดท้ายข้อกำหนดนี้ (แบบ ๖) ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ โอภาส อรุณินท์ ประธาน ก.อ. [เอกสารแนบท้าย] ๑. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นสำหรับผู้สมัครสอบตามมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ลูกจ้างในหน่วยงานของรัฐ หรือผู้รับจ้างตามสัญญาจ้างเหมาบริการ (นิติกร) ในสำนักงานอัยการสูงสุดปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร (วิชาชีพอย่างอื่นฯ (แบบ ๑)) ๒. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นสำหรับผู้สมัครสอบตามมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งเป็นข้าราชการศาลยุติธรรมตำแหน่งเจ้าพนักงานศาลยุติธรรม (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานศาลยุติธรรม (วิชาชีพอยางอื่นฯ (แบบ ๒)) ๓. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นสำหรับผู้สมัครสอบตามมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างทำหน้าที่พนักงานคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม (วิชาชีพอย่างอื่นฯ (แบบ ๓)) ๔. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นสำหรับผู้สมัครสอบตามมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งเป็นข้าราชการตำรวจทำหน้าที่นิติกร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ (แบบ ๔)) ๕. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นสำหรับผู้สมัครสอบตามมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งเป็นข้าราชการตำแหน่งพนักงานคดีปกครอง (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานศาลปกครอง (วิชาชีพอย่างอื่นฯ (แบบ ๕)) ๖. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นสำหรับผู้สมัครสอบตามมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งเป็นข้าราชการตำแหน่งพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ หรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษ (วุฒิทางกฎหมาย) กรมสอบสวนคดีพิเศษ (วิชาชีพอย่างอื่นฯ (แบบ ๖)) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ดลธี/ผู้จัดทำ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๘๙ ง/หน้า ๖๓/๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๑
624498
ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนทางวินัย
ข้อกำหนด ก ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนทางวินัย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ก.อ. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนทางวินัยไว้ ดังต่อไปนี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๑[๑] ข้อกำหนดนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ ในข้อกำหนดนี้ “คณะกรรมการสอบสวน” หมายความว่า คณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ซึ่งประธาน ก.อ. หรืออัยการสูงสุด แต่งตั้งตามมาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ “ประธานกรรมการ” หมายความว่า ประธานของคณะกรรมการสอบสวน “กรรมการ” หมายความว่า กรรมการของคณะกรรมการสอบสวน “การสอบสวนทางวินัย” หมายความว่า การสอบสวนโดยคณะกรรมการสอบสวน ซึ่งประธาน ก.อ. หรืออัยการสูงสุด แต่งตั้งตามมาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ หมวด ๒ หลักเกณฑ์การสอบสวน ข้อ ๓ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สอบสวนชั้นต้นแล้ว เห็นว่า ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงที่มีโทษถึงไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก ให้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้าราชการอัยการนั้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนทางวินัยที่กำหนดในข้อกำหนดนี้ ข้อ ๔ การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อทำการสอบสวน ให้ตั้งประธานกรรมการจากข้าราชการอัยการที่ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้ถูกกล่าวหา ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนจะตั้งตนเองเป็นประธานกรรมการก็ได้ ส่วนกรรมการอื่นให้ตั้งจากข้าราชการอัยการที่ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้ถูกกล่าวหา เว้นแต่มีความจำเป็นจะตั้งกรรมการจากข้าราชการอัยการที่ดำรงตำแหน่งต่ำกว่าผู้ถูกกล่าวหาก็ได้ ข้อ ๕ คณะกรรมการสอบสวน ประกอบด้วยกรรมการอย่างน้อยสามคน โดยมีประธานกรรมการหนึ่งคนและกรรมการอย่างน้อยอีกสองคน และให้กรรมการคนหนึ่งเป็นเลขานุการ ในกรณีจำเป็นจะให้มีผู้ช่วยเลขานุการซึ่งเป็นข้าราชการฝ่ายอัยการด้วยก็ได้ เมื่อมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว หากมีเหตุสมควรหรือจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการสอบสวน ให้ผู้มีคำสั่งแต่งตั้งมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงได้ โดยให้สำนักงานคณะกรรมการอัยการแจ้งคำสั่งตามวิธีการในข้อ ๖ การเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการสอบสวน หรือการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหรืออาวุโสของบุคคลดังกล่าว ไม่กระทบกระเทือนถึงการแต่งตั้งหรือการสอบสวน ข้อ ๖ คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนต้องระบุชื่อและตำแหน่งของผู้ถูกกล่าวหาเรื่องที่กล่าวหา ชื่อและตำแหน่งของคณะกรรมการสอบสวน ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามแบบ วน.๑ ท้ายข้อกำหนดนี้ ให้สำนักงานคณะกรรมการอัยการส่งสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้คณะกรรมการสอบสวน และส่งเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวหาให้ประธานกรรมการและให้ประธานกรรมการลงลายมือชื่อและวันเดือนปีที่รับทราบไว้เป็นหลักฐาน ให้สำนักงานคณะกรรมการอัยการแจ้งคำสั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยเร็ว โดยให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อและวันที่รับทราบไว้เป็นหลักฐาน ในการนี้ ให้มอบสำเนาคำสั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาหนึ่งฉบับด้วย ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่ยอมรับทราบคำสั่ง หรือไม่อาจแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบได้ให้ส่งสำเนาคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูกกล่าวหา ณ ที่อยู่ของผู้ถูกกล่าวหาซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ ในกรณีเช่นนี้ เมื่อล่วงพ้นสิบห้าวันนับแต่วันที่ส่งสำเนาคำสั่งดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาได้รับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว และให้ส่งหลักฐานการรับทราบหรือถือว่ารับทราบให้ประธานกรรมการต่อไป ข้อ ๗ ผู้ถูกกล่าวหาอาจคัดค้านคณะกรรมการสอบสวนคนหนึ่งคนใดได้ โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนภายในสิบห้าวันนับแต่วันทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน หรือถ้าทราบเหตุที่พึงคัดค้านในระหว่างการสอบสวน ก็ให้ยื่นหนังสือคัดค้านต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนภายในสิบห้าวันนับแต่วันทราบเหตุแห่งการคัดค้านเหตุแห่งการคัดค้านคณะกรรมการสอบสวนมีดังนี้ (๑) มีผลประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องอยู่ในเรื่องที่สอบสวนนั้น (๒) เป็นคู่หมั้น คู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมบิดาหรือมารดาของคู่กรณี (๓) เป็นผู้ที่ได้ถูกอ้างเป็นพยานโดยที่ได้รู้เห็นเหตุการณ์ หรือโดยเป็นผู้เชี่ยวชาญ มีความรู้เป็นพิเศษเกี่ยวข้องกับเรื่องที่สอบสวน (๔) เป็นผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้แทน หรือได้เป็นทนายความของคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาแล้ว (๕) เป็นพนักงานอัยการผู้ตรวจพิจารณา มีคำสั่งคดี หรือดำเนินคดี หรือเป็นอนุญาโตตุลาการในคดีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สอบสวน (๖) ถ้ามีคดีอีกเรื่องหนึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินคดี ซึ่งกรรมการนั้นเอง หรือคู่สมรสหรือญาติทางสืบสายโลหิตตรงขึ้นไปหรือตรงลงมาของกรรมการนั้นฝ่ายหนึ่งพิพาทกับคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือคู่สมรส หรือญาติทางสืบสายโลหิตตรงขึ้นไปหรือตรงลงมาของคู่กรณีฝ่ายนั้นอีกฝ่ายหนึ่ง (๗) กรรมการนั้นเป็นเจ้าหนี้ หรือลูกหนี้ หรือเป็นนายจ้างของคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง (๘) เป็นผู้มีสาเหตุโกรธเคืองกับคู่กรณี หรือเป็นคู่กรณีเอง เมื่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาเห็นว่า การคัดค้านนั้นมีเหตุฟังได้ ก็ให้สั่งเปลี่ยนแปลงตามควรแก่กรณีโดยด่วน และถ้าเห็นว่าการคัดค้านนั้นไม่มีเหตุอันควรฟังได้ หรือเห็นว่าแม้จะให้กรรมการผู้ถูกคัดค้านนั้นร่วมสอบสวนก็ไม่ทำให้เสียความเป็นธรรมแต่ประการใด จะสั่งยกคำคัดค้านนั้นก็ได้ ทั้งนี้ ให้แสดงเหตุผลในการพิจารณาสั่งการดังกล่าวด้วย พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้คัดค้านทราบ แล้วส่งเรื่องให้คณะกรรมการสอบสวนรวมไว้ในสำนวนการสอบสวนโดยเร็ว การสั่งยกคำคัดค้านให้เป็นที่สุด ข้อ ๘ กรรมการผู้ใดมีเหตุอันอาจถูกคัดค้านได้ตามข้อ ๗ ให้ผู้นั้นรายงานต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อพิจารณาและสั่งการตามความในข้อ ๗ นั้น โดยอนุโลม ข้อ ๙ ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่า ผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในเรื่องอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ให้คณะกรรมการสอบสวนรายงาน ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทราบโดยเร็ว หากผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่า กรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนสำหรับเรื่องนั้น โดยจะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนคณะเดิมเป็นผู้ทำการสอบสวน หรือจะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนใหม่ก็ได้ ข้อ ๑๐ ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าการสอบสวนมีมูลพาดพิงถึงข้าราชการอัยการผู้อื่นที่มิได้ระบุตัวเป็นผู้ถูกกล่าวหาตามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนนั้น ว่าเป็นผู้มีส่วนร่วมกระทำผิดในเรื่องนี้ด้วย ให้ประธานกรรมการรายงานไปยังผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนนั้น เพื่อดำเนินการต่อไปตามควรแก่กรณี ถ้าผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่า ควรให้คณะกรรมการสอบสวนที่ได้แต่งตั้งไว้แล้ว ทำการสอบสวนผู้ที่มีส่วนร่วมกระทำผิดในเรื่องนั้นด้วย ทั้งคณะกรรมการนั้นก็เข้าเกณฑ์ตามข้อ ๔ ก็ให้ดำเนินการตามความในข้อ ๖ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ใช้พยานหลักฐานที่ได้ดำเนินการสอบสวนมาแล้วนั้นประกอบการพิจารณาความผิดของผู้มีส่วนร่วมกระทำผิดนั้นได้เท่าที่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าไม่ทำให้เสียความเป็นธรรม และการสอบสวนที่จะดำเนินการต่อไป ก็ให้ดำเนินการสอบสวนร่วมกันได้ ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาตามที่ปรากฏจากการสอบสวนมาแล้วนั้นให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ร่วมกระทำผิดนั้นทราบ เมื่อมีกรณีตามวรรคแรก และผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนคณะใหม่ขึ้น เพราะคณะกรรมการสอบสวนคณะเดิมนั้นไม่เข้าเกณฑ์ตามข้อ ๔ ให้ใช้พยานหลักฐานที่คณะกรรมการสอบสวนคณะเดิมได้ดำเนินการสอบสวนมาแล้วนั้นประกอบการพิจารณาความผิดของผู้ที่มีส่วนร่วมกระทำผิดนั้นได้เท่าที่คณะกรรมการสอบสวนจะใช้ดุลพินิจเห็นว่าไม่ทำให้เสียความเป็นธรรม ข้อ ๑๑ ในกรณีที่มีคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดชี้ขาดเกี่ยวกับผู้ถูกกล่าวหาคนใดถ้าคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาได้ความประจักษ์อยู่แล้วคณะกรรมการสอบสวนจะฟังข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษานั้น โดยจะไม่สอบสวนผู้ถูกกล่าวหาและพยานหลักฐานก็ได้ แต่ต้องแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบและให้มีโอกาสชี้แจงก่อน หมวด ๓ วิธีการสอบสวน ข้อ ๑๒ เมื่อประธานกรรมการได้รับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้วให้บันทึกวันที่ได้รับทราบคำสั่งนั้นไว้ในสำนวนการสอบสวน และให้ประธานกรรมการเรียกประชุมคณะกรรมการสอบสวนเพื่อกำหนดแนวทางการสอบสวนต่อไป ข้อ ๑๓ ในการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวน ต้องมีกรรมการร่วมสอบสวนอย่างน้อยสองคน จึงจะเป็นองค์คณะทำการสอบสวนได้ ในการประชุมปรึกษาต้องมีประธานกรรมการ และกรรมการอื่นมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด แต่ไม่น้อยกว่าสามคน จึงจะเป็นองค์คณะดำเนินการประชุมปรึกษาได้ การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่ง ในการลงคะแนนและห้ามมิให้งดออกเสียง ถ้ามีคะแนนเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ข้อ ๑๔ ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวนให้เสร็จโดยเร็ว กำหนดอย่างช้าไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันได้รับแต่งตั้ง ถ้ามีเหตุจำเป็นซึ่งจะสอบสวนไม่ทันภายในกำหนดนั้นคณะกรรมการสอบสวนอาจขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง โดยแต่ละครั้งเป็นเวลาไม่เกินสิบห้าวัน และต้องแสดงเหตุที่ต้องขยายเวลาไว้ด้วยทุกครั้ง หากพ้นกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่งแล้ว คณะกรรมการสอบสวนยังดำเนินการสอบสวนไม่เสร็จ จะขยายเวลาต่อไปอีกก็ได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากผู้แต่งตั้ง ข้อ ๑๕ ให้คณะกรรมการสอบสวนเรียกผู้ถูกกล่าวหามาแจ้ง และอธิบายข้อกล่าวหาที่ปรากฏตามเรื่องที่กล่าวหา ให้ทราบว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำการใด เมื่อใด อย่างไร พร้อมทั้ง แจ้งให้ทราบด้วยว่า ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิที่จะได้รับแจ้งสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา และมีสิทธิที่จะชี้แจง หรือให้ถ้อยคำ หรือโต้แย้งข้อกล่าวหา ตลอดจนอ้างพยานหลักฐาน หรือนำพยานหลักฐานมาสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ ตามวิธีการในหมวดนี้ ข้อ ๑๖ บันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาตามข้อ ๑๕ ให้เป็นไปตามแบบ วน.๒ ท้ายข้อกำหนดนี้โดยให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อรับทราบไว้และให้สำเนาให้ผู้ถูกกล่าวหาหนึ่งฉบับ แล้วให้ถามผู้ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำการตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ จะชี้แจงหรือให้ถ้อยคำอย่างไรบ้าง แล้วบันทึกถ้อยคำของผู้ถูกกล่าวหาไว้ หากผู้ถูกกล่าวหาไม่ยอมลงลายมือชื่อรับทราบ ให้คณะกรรมการสอบสวนจดแจ้งเหตุที่ไม่มีลายมือชื่อนั้นไว้แทนการลงลายมือชื่อ ถ้าผู้ถูกกล่าวหาไม่ให้ถ้อยคำก็ให้บันทึกรายงานไว้ และดำเนินการสอบสวนต่อไป ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาให้ถ้อยคำรับว่าได้กระทำการตามที่ถูกกล่าวหา ให้คณะกรรมการสอบสวนบันทึกถ้อยคำรับ รวมทั้งเหตุผล สาเหตุแห่งการกระทำ และข้อเท็จจริงอื่นที่เกี่ยวข้องไว้ตามแบบ วน.๕ ท้ายข้อกำหนดนี้ ในกรณีนี้ คณะกรรมการสอบสวนจะไม่ทำการสอบสวนต่อไปก็ได้หรือจะสอบสวนต่อไปตามควรเพื่อทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์เกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวหาก็ได้แล้วให้ดำเนินการตามข้อ ๒๔ ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหามิได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพ ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวน เพื่อรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหาต่อไป ข้อ ๑๗ เมื่อได้รับทราบบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาอาจให้ถ้อยคำ หรือทำคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการสอบสวนภายในสิบห้าวัน ถ้าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้ยื่นคำชี้แจงภายในกำหนดระยะเวลา ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวนต่อไป โดยไม่ต้องสอบสวนตัวผู้ถูกกล่าวหาแต่ต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ในสำนวนการสอบสวน ผู้ถูกกล่าวหาอาจยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาเพิ่มเติมต่อคณะกรรมการสอบสวนได้ก่อนการสอบสวนเสร็จสิ้น ทั้งนี้ คณะกรรมการสอบสวนมีอำนาจให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร ข้อ ๑๘ ถ้าผู้ถูกกล่าวหายื่นคำชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวนนั้นต่อผู้มีอำนาจพิจารณาหรือต่อ ก.อ. ก็ให้รับคำชี้แจงนั้นไว้พิจารณา ข้อ ๑๙ คู่กรณีที่มาให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการสอบสวน มีสิทธินำทนายความ หรือที่ปรึกษาของตนเข้ามาฟังการให้ถ้อยคำของตนได้ และให้นำความในข้อ ๒๐ วรรคสอง มาใช้บังคับกับทนายความหรือที่ปรึกษาโดยอนุโลม ข้อ ๒๐ ภายใต้บังคับข้อ ๑๙ ในการสอบสวน ให้คณะกรรมการสอบสวนเรียกผู้ซึ่งจะถูกสอบปากคำเข้ามาในที่สอบสวนคราวละหนึ่งคน และห้ามมิให้บุคคลอื่นอยู่ในที่สอบสวน เว้นแต่บุคคลซึ่งคณะกรรมการสอบสวนอนุญาตให้อยู่ในที่สอบสวนเพื่อประโยชน์แห่งการสอบสวน การสอบปากคำผู้กล่าวหาหรือพยาน ให้บันทึกถ้อยคำไว้ตามแบบ วน.๓ ท้ายข้อกำหนดนี้แล้วให้อ่านให้ผู้ให้ถ้อยคำฟัง และให้ผู้ให้ถ้อยคำลงลายมือชื่อไว้ ถ้าผู้ให้ถ้อยคำไม่สามารถหรือไม่ยอมลงลายมือชื่อ ให้คณะกรรมการสอบสวนจดแจ้งเหตุที่ไม่มีลายมือชื่อนั้นไว้แทนการลงลายมือชื่อ ข้อ ๒๑ ให้กรรมการเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพียงเท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของกรรมการ และโดยเฉพาะให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย คือ (๑) เรียกให้กระทรวง ทบวง กรม หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐหรือห้างหุ้นส่วน บริษัท ชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ตรวจพิสูจน์พยานหลักฐาน และทำความเห็นในเรื่องดังกล่าว ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน (๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาชี้แจง หรือให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน ในกรณีไม่สามารถเรียกพยานมาให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการสอบสวน หรือคณะกรรมการสอบสวนเรียกพยานไม่ได้ภายในเวลาอันสมควร คณะกรรมการสอบสวนจะไม่สอบสวนพยานนั้นก็ได้แต่ต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ในสำนวนการสอบสวนด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่ามีเหตุผลสมควรที่พยานไม่สามารถมาได้ตามกำหนด หรือได้ตัวพยานมาให้ถ้อยคำก่อนการสอบสวนพยานสิ้นสุดลง ก็ให้ผ่อนผันได้ตามควรแก่กรณี ข้อ ๒๒ ก่อนเริ่มสอบปากคำพยาน ให้กรรมการแจ้งพยานทราบว่ากรรมการเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา การให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อกรรมการอาจเป็นความผิดตามกฎหมาย ข้อ ๒๓ การนำเอกสารหรือวัตถุมาใช้เป็นพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวน ให้บันทึกที่มาของพยานหลักฐานดังกล่าวไว้เท่าที่จะทำได้ด้วยว่าเป็นพยานหลักฐานที่ได้มาอย่างไร จากผู้ใดและเมื่อใด การอ้างเอกสารให้ใช้ต้นฉบับเอกสาร เว้นแต่ไม่อาจนำต้นฉบับมาได้ สำเนาที่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบหรือผู้อ้างเอกสารรับรองว่าถูกต้องก็อ้างเป็นพยานได้ ข้อ ๒๔ เมื่อเสร็จสิ้นการรวบรวมพยานหลักฐานของฝ่ายผู้กล่าวหาแล้ว ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการประชุม เพื่อพิจารณาว่ามีพยานหลักฐานใดสนับสนุนข้อกล่าวหาว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำการใด เมื่อใด อย่างไร และเป็นความผิดวินัยกรณีใด ตามมาตราใด แล้วให้คณะกรรมการสอบสวนเรียกผู้ถูกกล่าวหามาพบเพื่อแจ้งข้อกล่าวหา โดยระบุข้อกล่าวหาที่ปรากฏตามพยานหลักฐานว่าเป็นความผิดวินัยกรณีใด ตามมาตราใด และสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ทราบโดยระบุวัน เวลา สถานที่ และการกระทำที่มีลักษณะเป็นการสนับสนุนข้อกล่าวหาโดยไม่ต้องระบุชื่อพยาน การแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาตามวรรคแรก ให้ทำบันทึกมีสาระสำคัญตามแบบ วน.๔ ท้ายข้อกำหนดนี้ โดยทำเป็นสองฉบับ เพื่อมอบให้ผู้ถูกกล่าวหาหนึ่งฉบับ เก็บไว้ในสำนวนการสอบสวนหนึ่งฉบับ และให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อและวันเดือนปีที่รับทราบไว้เป็นหลักฐานด้วย ในกรณีคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาพยานหลักฐานฝ่ายผู้กล่าวหาแล้วเห็นว่า การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาไม่เป็นความผิดวินัย ก็ให้ดำเนินการตามข้อ ๒๘ ข้อ ๒๕ ในการสอบสวน ให้คณะกรรมการสอบสวนให้โอกาสแก่ผู้ถูกกล่าวหาที่จะชี้แจงข้อกล่าวหา ตลอดจนนำพยานหลักฐานมาสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ ทั้งนี้ ภายในกำหนดระยะเวลาอันสมควร ผู้ถูกกล่าวหาจะนำพยานหลักฐานมาเอง หรือจะขอให้คณะกรรมการสอบสวนเรียกพยานหลักฐานนั้นมาก็ได้ ข้อ ๒๖ หากคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่า การสอบสวนพยานหลักฐานใดจะทำให้การสอบสวนต้องล่าช้าไปโดยไม่จำเป็น หรือมิใช่พยานหลักฐานในประเด็นสำคัญ คณะกรรมการสอบสวนจะงดการสอบสวนพยานหลักฐานนั้นเสียก็ได้ แต่ต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ในสำนวนการสอบสวนด้วย ข้อ ๒๗ ในการบันทึกถ้อยคำ ถ้ามีการแก้ไขข้อความที่ได้บันทึกไว้แล้ว ให้กรรมการผู้ร่วมสอบสวนอย่างน้อยหนึ่งคน กับผู้ให้ถ้อยคำลงลายมือชื่อกำกับไว้ทุกแห่งที่มีการแก้ไข ถ้าบันทึกถ้อยคำมีหลายหน้า ให้กรรมการอย่างน้อยหนึ่งคน กับผู้ให้ถ้อยคำลงลายมือชื่อกำกับไว้ทุกหน้า ข้อ ๒๘ เมื่อรวบรวมพยานหลักฐานเสร็จแล้ว ให้คณะกรรมการสอบสวนประชุมปรึกษาทำรายงานการสอบสวนสรุปข้อเท็จจริงพร้อมทั้งแสดงความเห็นว่า ผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยตามเรื่องที่กล่าวหากรณีใด ตามมาตราใด และควรลงโทษสถานใดหรือไม่ ตามแบบ วน.๖ ท้ายข้อกำหนดนี้ ถ้ากรรมการคนใดมีความเห็นแย้ง จะทำความเห็นแย้งติดไว้กับสำนวนการสอบสวนก็ได้ และให้คณะกรรมการสอบสวนเสนอสำนวนการสอบสวนพร้อมทั้งความเห็นต่ออัยการสูงสุดภายในกำหนดเวลาตามข้อ ๑๔ ให้สำนักงานคณะกรรมการอัยการส่งสำนวนการสอบสวนให้ผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกกล่าวหาตามลำดับได้แสดงความเห็นก่อนนำเสนออัยการสูงสุด เพื่อพิจารณานำเสนอ ก.อ. พิจารณา ถ้าอัยการสูงสุด หรือ ก.อ. เห็นสมควรให้สอบสวนเพิ่มเติมประการใด ก็ให้สั่งคณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติมได้ ข้อ ๒๙ เมื่อ ก.อ. ได้พิจารณารายงานความเห็นตามข้อ ๒๘ แล้ว มีมติว่าข้าราชการอัยการ ผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงสมควรไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หรือมีมติเป็นประการอื่นใด ให้ประธาน ก.อ. มีคำสั่งให้เป็นไปตามนั้น ข้อ ๓๐ การสอบสวนใดที่ทำไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามข้อกำหนด ก.อ. นี้ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญอันที่จะทำให้เสียความเป็นธรรม ไม่ทำให้สำนวนการสอบสวนทั้งหมดเสียไป ในกรณีเช่นนี้ ผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนจะสั่งให้ดำเนินการเสียใหม่เฉพาะตอนที่ไม่ถูกต้องนั้นก็ได้ แต่หากการสอบสวนตอนนั้นเป็นสาระสำคัญอันจะทำให้เสียความเป็นธรรมให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้ง สั่งให้คณะกรรมการสอบสวนแก้ไข หรือดำเนินการสอบสวนตอนนั้นให้ถูกต้องโดยเร็ว หมวด ๔ บทเฉพาะกาล ข้อ ๓๑ การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนก่อนวันที่ข้อกำหนดนี้ใช้บังคับ ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ว่าด้วยการสอบสวนทางวินัย ประกอบพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๗๗ ต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนได้ทำการสอบสวนเสร็จแล้ว ให้ดำเนินการตามวิธีการในข้อ ๒๘ ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ โอภาส อรุณินท์ ประธาน ก.อ. [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำสั่ง ก.อ./คำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุด ที่......./.............. (เลขปีพุทธศักราชที่ออกคำสั่ง) เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย (แบบ วน.๑) ๒. บันทึกการแจ้งและรับทราบข้อกล่าวหา (แบบ วน.๒) ๓. บันทึกถ้อยคำผู้กล่าวหา/พยาน (แบบ วน.๓) ๔. บันทึกการแจ้งและรับทราบข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา (แบบ วน.๔) ๕. บันทึกถ้อยคำของผู้ถูกกล่าวหา (แบบ วน.๕) ๖. รายงานการสอบสวน (แบบ วน.๖) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๘ มีนาคม ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๔ ก/หน้า ๑๑๔/๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
458957
ข้อกำหนด ก.อ.ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยและอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ตามมาตรา 25 วรรคสอง และวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548
ข้อกำหนด ก ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ ในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยและอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ ตามมาตรา ๒๕ วรรคสอง และวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘[๑] โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยและอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ ตามมาตรา ๒๕ วรรคสอง และวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ลงวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ก.อ. จึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยตามความในมาตรา ๒๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคท้ายของข้อ ๘ แห่งข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยและอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ ตามมาตรา ๒๕ วรรคสอง และวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ลงวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ในกรณีที่ผู้สมัครเป็นผู้ไปศึกษาต่างประเทศด้วยทุนรัฐบาลตามความต้องการของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางกฎหมาย ให้อนุกรรมการทำการทดสอบความรู้ในวิชากฎหมายเฉพาะการสอบปากเปล่า” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคท้ายของข้อ ๑๐ แห่งข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยและอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ ตามมาตรา ๒๕ วรรคสอง และวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ลงวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้นั้นไปศึกษาต่างประเทศด้วยทุนรัฐบาลตามความต้องการของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางกฎหมาย” ให้ไว้ ณ วันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ พิมล รัฐปัตย์ ประธาน ก.อ. ดลธี/ผู้จัดทำ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๕๒ ง/หน้า ๒๓/๑๔ กรกฎาคม ๒๕๔๘
641814
ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 ว่าด้วยหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเป็นอัยการผู้ช่วย
ข้อกำหนด ก ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเป็นอัยการผู้ช่วย[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ก.อ. กำหนดให้แก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนด ก.อ. ว่าด้วยหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกข้อ ๘ ของข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๑๑ ว่าด้วยหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเป็นอัยการผู้ช่วย ลงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๘ ผู้สอบต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ของคะแนนสอบข้อเขียนทั้งหมดจึงจะมีสิทธิเข้าสอบปากเปล่า และต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนกับปากเปล่ารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ของคะแนนทั้งสองอย่างรวมกันถึงจะถือว่าเป็นผู้สอบคัดเลือกได้ การบรรจุผู้สอบคัดเลือกได้ตามวรรคแรก ให้บรรจุตามอัตราตำแหน่งที่ว่างในกรณีที่มีผู้สอบได้เกินกว่าอัตราตำแหน่งที่ว่าง และผู้สอบได้ในลำดับสุดท้ายของอัตราตำแหน่งที่ว่างมีคะแนนเท่ากันหลายคน ให้คณะกรรมการสอบคัดเลือกดำเนินการจับสลากให้ได้ผู้รับการบรรจุเท่ากับอัตราตำแหน่งที่ว่าง ส่วนผู้ที่มีคะแนนต่ำกว่านั้นเป็นอันไม่ได้รับเลือกให้รับการบรรจุ” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกข้อ ๑๑ ของข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเป็นอัยการผู้ช่วย ลงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๑ เมื่อได้มีการสอบคัดเลือกแล้ว ก.อ. จะได้ประกาศรายชื่อผู้สอบคัดเลือกได้และได้รับการบรรจุเรียงตามลำดับคะแนนไว้ ณ สำนักงานอัยการสูงสุด” ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ประเทือง กีรติบุตร ประธาน ก.อ. ดลธี/ผู้จัดทำ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๗๓ ง/หน้า ๓๑/๑๑ กันยายน ๒๕๔๐
590504
ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 ว่าด้วยหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเป็นอัยการผู้ช่วย
ข้อกำหนด ก ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเป็นอัยการผู้ช่วย[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ก.อ. กำหนดให้แก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนด ก.อ. ว่าด้วยหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือก เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกข้อ ๘ ของข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเป็นอัยการผู้ช่วย ฉบับลงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อกำหนด ก.อ. ฉบับลงวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๘ ผู้สอบต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำว่าร้อยละ ๕๐ ของคะแนนสอบข้อเขียนทั้งหมดจึงจะสิทธิเข้าสอบปากเปล่า และต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนกับสอบปากเปล่ารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ของคะแนนทั้งสองอย่างรวมกัน จึงจะถือว่าเป็นผู้สอบคัดเลือกได้” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกข้อ ๑๑ ของข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเป็นอัยการผู้ช่วย ฉบับลงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อกำหนด ก.อ. ฉบับลงวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๑ เมื่อได้มีการสอบคัดเลือกแล้ว ก.อ. จะได้ประกาศรายชื่อผู้สอบคัดเลือกได้เรียงตามลำดับคะแนนไว้ ณ สำนักงานอัยการสูงสุด” ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ คนึง ฦาไชย ประธาน ก.อ. ดลธี/ผู้จัดทำ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๖๔ ง/หน้า ๖๕/๒๔ กรกฎาคม ๒๕๔๑
326604
ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2503 ว่าด้วยหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเป็นอัยการผู้ช่วย
ข้อกำหนด ก ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ว่าด้วยหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเป็นอัยการผู้ช่วย[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ก.อ. กำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือก เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ลักษณะวิชาที่กำหนดให้สอบ คือ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายลักษณะพยานพระธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายว่าด้วยพนักงานอัยการ และภาษาอังกฤษ ข้อ ๒ ก.อ. จะได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบคัดเลือกขึ้นชุดหนึ่ง ประกอบด้วยประธานกรรมการและกรรมการตามจำนวนที่เห็นสมควร ข้อ ๓ ให้มีทั้งการสอบเขียนและการสอบปากเปล่า ข้อ ๔ การสอบเขียนมี ๓ วัน คือ ก. กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา และกฎหมายว่าด้วยพนักงานอัยการ จำนวนข้อสอบรวม ๑๐ ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๑๐๐ ข. กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม และกฎหมายลักษณะพยาน จำนวนข้อสอบรวม ๑๐ ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๑๐๐ ค. ภาษาอังกฤษ จำนวนข้อสอบสุดแต่คณะกรรมการสอบคัดเลือกเห็นสมควรเวลา ๒ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๒๐ ข้อ ๕ การสอบปากเปล่าให้กระทำโดยวิธีถามผู้สอบเรียงตัวในลักษณะวิชาดังกล่าวในข้อ ๑ ตามแต่กรรมการจะเห็นสมควร กำหนดเวลาคนละไม่เกิน ๑๕ นาที คะแนนเต็ม ๑๐๐ ข้อ ๖ การออกข้อสอบและวิธีการตรวจ ให้เป็นไปตามที่ประธานกรรมการสอบคัดเลือกจะได้กำหนด ข้อ ๗ ผู้สอบต้องได้คะแนนสอบเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ของคะแนนสอบเขียนทั้งหมด จึงจะมีสิทธิเข้าสอบปากเปล่า และต้องได้คะแนนสอบเขียนกับสอบปากเปล่ารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ของคะแนนทั้งสองอย่างรวมกัน จึงจะถือว่าเป็นผู้สอบคัดเลือกได้ ข้อ ๘ ก.อ. จะได้กำหนดเวลายื่นใบสมัครสอบ สถานที่และวันสอบเขียน และประกาศให้ทราบล่วงหน้าก่อนวันเริ่มสอบอย่างน้อย ๑๕ วัน ส่วนวันสอบปากเปล่าให้คณะกรรมการสอบคัดเลือกเป็นผู้กำหนด ข้อ ๙ ผู้สมัครสอบต้องยื่นใบสมัครตามแบบของ ก.อ. ต่อเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่และวันเวลาตามที่จะได้กำหนดไว้ ข้อ ๑๐ เมื่อได้มีการสอบคัดเลือกเสร็จแล้ว ก.อ. จะได้ประกาศรายชื่อผู้สอบคัดเลือกได้โดยแยกประเภทเป็นบัญชีผู้สอบคัดเลือกตามมาตรา ๒๔ และบัญชีผู้สอบคัดเลือกตามมาตรา ๖๘ เรียงตามลำดับคะแนนไว้ ณ กรมอัยการ ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๔ พลเอก ป. จารุเสถียร ประธาน ก.อ. ดลธี/ผู้จัดทำ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๘/ตอนที่ ๓๖/หน้า ๔๔๘/๒๕ เมษายน ๒๕๐๔
441248
ข้อกำหนด ก.อ. เรื่อง กำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ ตามมาตรา 33 (1) (ค) แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 (ฉบับที่ 3)
ข้อกำหนด ก ข้อกำหนด ก.อ. เรื่อง กำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น และเงื่อนไขเกี่ยวกับ การประกอบวิชาชีพ ตามมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ (ฉบับที่ ๓)[๑] ตามที่ ก.อ. ได้มีข้อกำหนด ก.อ. เรื่องกำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นและเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ ตามมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ฉบับลงวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ไว้แล้ว นั้น ปรากฏว่ามีผู้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นซึ่งอาจเทียบได้กับวิชาชีพตามข้อกำหนด ก.อ. ดังกล่าวเพิ่มขึ้นอีก จึงสมควรที่จะกำหนดวิชาชีพทางกฎหมายเหล่านั้นเป็นวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นเพิ่มเติมตามนัยมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ประกอบกับข้อ ๒ (๑๑) ของข้อกำหนด ก.อ. เรื่องกำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพตามมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ก.อ. จึงกำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมายที่ได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายในลักษณะทำนองเดียวกันหรือเทียบได้กับวิชาชีพตามข้อ ๒ (๑) - (๑๐) ของข้อกำหนด ก.อ. ว่าด้วยการกำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เป็นอาจารย์ส่วนวิชากฎหมายโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรอง ตามแบบที่กำหนดท้ายข้อกำหนดนี้ ข้อ ๒ เป็นนักวิชาการแรงงาน (วุฒิทางกฎหมาย) ซึ่งทำหน้าที่ฟ้องคดีหรือแก้ต่างคดีแรงงานให้แก่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตาย ตามมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ และได้ว่าความในศาลแรงงานโดยทำหน้าที่หรือมีส่วนร่วมทำหน้าที่ทนายความกรณีศาลออกนั่งพิจารณามาแล้วไม่น้อยกว่า ๒๐ เรื่อง โดยมีหนังสือรับรองของผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณามาแสดงว่าได้ทำหน้าที่ดังกล่าวอย่างแท้จริงตามแบบที่กำหนดท้ายข้อกำหนดนี้ ข้อ ๓ เป็นพนักงานคดีปกครอง (วุฒิทางกฎหมาย) ซึ่งได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่พนักงานคดีปกครองตามประกาศประธานศาลปกครองสูงสุด เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานคดีปกครองและการมอบหมายงานระหว่างตุลาการศาลปกครองกับพนักงานคดีปกครอง ฉบับลงวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรอง ตามแบบที่กำหนดท้ายข้อกำหนดนี้ ข้อ ๔ เป็นเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานสอบสวนคดีที่เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒๐ เรื่อง ตามแบบที่กำหนดท้ายข้อกำหนดนี้ ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ คนึง ฦาไชย ประธาน ก.อ. [เอกสารแนบท้าย] ๑. (๑๑) หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครสอบซึ่งเป็นอาจารย์ส่วนวิชากฎหมายโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ๒. (๑๒) หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครสอบซึ่งเป็นนักวิชาการแรงงาน (วุฒิทางกฎหมาย) ซึ่งทำหน้าที่ฟ้องคดีหรือแก้ต่างคดีแรงงานให้แก่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตาย ๓. (๑๓) หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครสอบซึ่งเป็นข้าราชการตำแหน่งพนักงานคดีปกครอง (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานศาลปกครอง ๔. (๑๔) หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครสอบซึ่งเป็นข้าราชการตำแหน่งเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ดลธี/ผู้จัดทำ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๖๗ ง/หน้า ๗๕/๑๘ มิถุนายน ๒๕๔๗
326610
ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2503 ว่าด้วยความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง
ข้อกำหนด ก ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ว่าด้วยความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ก.อ. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง อันเป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำความผิดดังต่อไปนี้ ให้ถือว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง อันเป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง คือ (๑) ทำความผิดต้องรับโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด ให้จำคุกหรือให้รับโทษที่หนักกว่าจำคุก เว้นแต่ความผิดลหุโทษ หรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาทที่ไม่เสียหายแก่ราชการ เกี่ยวกับหน้าที่ของตน (๒) ต้องคำพิพากษาให้เป็นคนล้มละลายเพราะทำหนี้สินขึ้นด้วยความทุจริต (๓) ทุจริตต่อหน้าที่ราชการ และให้ถ้อยคำรับสารภาพต่อผู้บังคับบัญชาหรือต่อคณะกรรมการสอบสวน ซึ่งผู้บังคับบัญชาแต่งตั้งตามมาตรา ๕๘ (๔) ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันและผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการสืบสวนแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควร ข้อ ๒ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการสืบสวนหรือสอบสวนชั้นต้นแล้ว ให้รีบรายงานเสนอตามลำดับจนถึงอธิบดี ถ้าผู้บังคับบัญชาหรืออธิบดีเห็นว่า ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรง อันเป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง ก็ให้เสนอรัฐมนตรีหรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีพิจารณาสั่งไล่ออก หรือปลดออกจากราชการโดยความเห็นชอบของ ก.อ. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๔ พลเอก ป. จารุเสถียร ประธาน ก.อ. ดลธี/ผู้จัดทำ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๘/ตอนที่ ๓๕/หน้า ๔๒๑/๑๘ เมษายน ๒๕๐๔
641816
ข้อกำหนด ก.อ. เรื่อง กำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นและเงื่อนไข เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพตามมาตรา 33 (1) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521
ข้อกำหนด ก ข้อกำหนด ก.อ. เรื่อง กำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นและเงื่อนไข เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพตามมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ คณะกรรมการอัยการกำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นและเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ เรื่อง กำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นและเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพตามมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ฉบับลงวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๒ และให้ใช้ข้อกำหนด ก.อ. ฉบับนี้แทน ข้อ ๒ วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น คือ (๑) อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ ซึ่งคณบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่ารับรองว่าได้สอนวิชากฎหมายในคณะนิติศาสตร์ ในวิชาใดวิชาหนึ่งหรือหลายวิชาดังนี้ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน กฎหมายล้มละลาย พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง กฎหมายปกครอง กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน หรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศมาแล้วตามแบบที่กำหนดท้ายข้อกำหนดนี้ (๒) ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ตำแหน่งนิติกร ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกรตามมาตรฐานในสายงานนิติกร ที่ ก.พ. กำหนด ตามแบบที่กำหนดท้ายข้อกำหนดนี้ (๓) พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำแหน่งซึ่งทำหน้าที่พนักงานสอบสวนและผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่พนักงานสอบสวนมาแล้ว ไม่น้อยกว่า ๒๐ เรื่อง ตามแบบที่กำหนดท้ายข้อกำหนดนี้ (๔) ข้าราชการตำแหน่งเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนมาแล้ว ไม่น้อยกว่า ๒๐ เรื่อง ตามแบบที่กำหนดท้ายข้อกำหนดนี้ (๕) ข้าราชการตำแหน่งนักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน (วุฒิทางกฎหมาย) ตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่ ก.พ. กำหนด ตามแบบที่กำหนดท้ายข้อกำหนดนี้ (๖) เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจตำแหน่งนิติกร ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร ตามแบบที่กำหนดท้ายข้อกำหนดนี้ ข้อ ๓ ผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยซึ่งได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นทนายความ จะต้องได้ว่าความในศาลโดยทำหน้าที่หรือมีส่วนร่วมทำหน้าที่ทนายความในการที่ศาลออกนั่งพิจารณามาแล้ว ไม่น้อยกว่า ๒๐ เรื่อง ในจำนวนนี้ต้องเป็นคดีแพ่งไม่น้อยกว่า ๕ เรื่อง โดยมีหนังสือรับรองของผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณามาแสดงว่าได้ทำหน้าที่ดังกล่าว ข้อ ๔ ผู้ที่มีคุณสมบัติและปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วนตามข้อกำหนด ก.อ. เรื่อง กำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นและเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพตามมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ฉบับลงวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือฉบับลงวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๒ หรือปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวแต่เพียงบางส่วนก่อนข้อกำหนด ก.อ. ฉบับนี้ใช้บังคับนั้น ให้ถือว่าได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นและปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ครบถ้วนแล้วหรือแต่เพียงบางส่วนนั้น แล้วแต่กรณี ตามที่คณะกรรมการอัยการกำหนดตามนัยข้อกำหนดนี้ ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๐ ประเทือง กีรติบุตร ประธาน ก.อ. [เอกสารแนบท้าย] ๑. (๑) หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครสอบซึ่งเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ ๒. (๒) หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครสอบซึ่งเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นตำแหน่งนิติกร ๓. (๓) หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครสอบซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ๔. (๔) หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครสอบซึ่งเป็นข้าราชการตำแหน่งเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ๕. (๕) หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครสอบซึ่งเป็นข้าราชการตำแหน่งนักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ๖. (๖) หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครสอบซึ่งเป็นพนักงานในรัฐวิสาหกิจตำแหน่งนิติกร (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ดลธี/ผู้จัดทำ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๒๒/๘ กันยายน ๒๕๔๐
322939
ข้อกำหนด ก.อ. เรื่อง กำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นและเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบอาชีพตามมาตรา 33 (1) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542
ข้อกำหนด ก ข้อกำหนด ก.อ. เรื่อง กำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพตามมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒[๑] โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนด ก.อ. เรื่อง กำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพตามมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ลงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๓ (๑) (ค)แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ก.อ. จึงออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพอย่างอื่นเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ ให้เพิ่มเติมความต่อไปนี้เป็น (๗) ของข้อ ๒ แห่งข้อกำหนด ก.อ. เรื่อง กำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นและเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพฯลงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๐ “(๗) เป็นนายทหารสืบสวนสอบสวนกองทับบก นายทหารสารวัตรสืบสวนสอบสวนกองทัพบก สารวัตรทหารเรือชั้นสัญญาบัตร และสารวัตรทหารอากาศชั้นสัญญาบัตร (วุฒิทางกฎหมาย) ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่สอบสวนคดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหารมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒๐ เรื่องตามแบบที่กำหนดท้ายข้อกำหนดนี้” ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๒ คะนึง ฦาไชย ประธาน ก.อ. [เอกสารแนบท้าย] ๑. (๗) หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครสอบซึ่งเป็นนายทหารสืบสวนสอบสวนกองทัพบก นายทหารสารวัตรสืบสวนสอบสวนกองทัพบก นายทหารสารวัตรทหารเรือ และนายทหารสารวัตรทหารอากาศ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ดลธี/ผู้จัดทำ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๘ ง/หน้า ๑๑/๒๕ มกราคม ๒๕๔๓
413226
ข้อกำหนด ก.อ. เรื่อง กำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพตามมาตรา 33 (1) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 (ฉบับที่ 2)
ข้อกำหนด ก ข้อกำหนด ก.อ. เรื่อง กำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น และเงื่อนไข เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพตามมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ (ฉบับที่ ๒)[๑] ตามที่ ก.อ. ได้มีข้อกำหนด ก.อ. เรื่องกำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นและเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ ตามมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ฉบับลงวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ไว้แล้ว นั้น ปรากฏว่ามีผู้ประกอบวิชาชีพอย่างอื่นทางกฎหมายซึ่งอาจเทียบได้กับวิชาชีพตามข้อกำหนด ก.อ. ดังกล่าวเพิ่มขึ้นอีก จึงสมควรที่จะกำหนดวิชาชีพทางกฎหมายเหล่านั้นเป็นวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นตามนัยมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ เพิ่มเติม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๑ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ประกอบกับข้อ ๒ (๑๑) ของข้อกำหนด ก.อ. เรื่องกำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพตามมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ก.อ. จึงกำหนดเพิ่มเติมวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมายที่ได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายในลักษณะทำนองเดียวกันหรือเทียบได้กับวิชาชีพตามข้อ ๒ (๑) - (๑๐) ของข้อกำหนด ก.อ. ว่าด้วยการกำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ ตามมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานผู้ตรวจการรัฐสภา ตำแหน่งนิติกร ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร ข้อ ๒ เป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานผู้ตรวจการรัฐสภา ตำแหน่งเจ้าหน้าที่สอบสวน ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่เจ้าหน้าที่สอบสวน ข้อ ๓ เป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ (วุฒิทางกฎหมาย) ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ (วุฒิทางกฎหมาย) ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๖ คนึง ฦาไชย ประธาน ก.อ. [เอกสารแนบท้าย] ๑. (๑๐) หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครสอบ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ดลธี/ผู้จัดทำ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๖๒ ง/หน้า ๑๗/๒ มิถุนายน ๒๕๔๖
317407
ข้อกำหนด ก.อ.ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 ว่าด้วยหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเป็นอัยการผู้ช่วย
ข้อกำหนด ก ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเป็นอัยการผู้ช่วย[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ก.อ. กำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเป็นอัยการผู้ช่วย ลงวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ และให้ใช้ข้อกำหนด ก.อ. ฉบับนี้แทน ข้อ ๒ ลักษณะวิชาที่กำหนดให้สอบ คือ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายลักษณะพยาน พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายลักษณะล้มละลาย กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน และกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร กฎหมายว่าด้วยพนักงานอัยการ และภาษาอังกฤษ ข้อ ๓ เมื่อกรมอัยการเสนอ ก.อ. เพื่อจัดให้มีการสอบคัดเลือก ให้ ก.อ. กำหนดวันและเวลายื่นใบสมัครสอบ และแต่งตั้งคณะกรรมการสอบคัดเลือกขึ้นชุดหนึ่ง ประกอบด้วยประธานกรรมการและกรรมการตามจำนวนที่จำเป็น ข้อ ๔ ให้มีทั้งการสอบข้อเขียนและการสอบปากเปล่า ข้อ ๕ การสอบข้อเขียนมี ๔ วัน โดยให้มีการเว้นวันในระหว่างการสอบตามที่คณะกรรมการสอบคัดเลือกเห็นสมควร คือ ก. วันที่หนึ่ง กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายอาญา จำนวนข้อสอบรวม ๑๐ ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๑๐๐ ข. วันที่สอง กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายลักษณะพยาน จำนวนข้อสอบรวม ๑๐ ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๑๐๐ ค. วันที่สาม พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายลักษณะล้มละลาย กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน และกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร และกฎหมายว่าด้วยพนักงานอัยการ จำนวนข้อสอบรวม ๑๐ ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๑๐๐ ง. วันที่สี่ ภาษาอังกฤษ จำนวนข้อสอบสุดแต่คณะกรรมการสอบคัดเลือกเห็นสมควร เวลา ๒ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๒๐ ข้อ ๖ การสอบปากเปล่าให้กระทำโดยวิธีถามผู้สอบเรียงตัวในลักษณะวิชาดังกล่าว ในข้อ ๒ ตามแต่กรรมการจะเห็นสมควร กำหนดเวลาคนละไม่เกิน ๑๕ นาที คะแนนเต็ม ๑๐๐ ข้อ ๗ การออกข้อสอบและวิธีการตรวจ ให้เป็นไปตามที่ประธานกรรมการสอบคัดเลือกจะได้กำหนด ข้อ ๘ ผู้สอบต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ของคะแนนสอบข้อเขียนทั้งหมดจึงจะมีสิทธิเข้าสอบปากเปล่า และต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนกับสอบปากเปล่ารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ของคะแนนทั้งสองอย่างรวมกัน จึงจะถือว่าเป็นผู้สอบคัดเลือกได้ ข้อ ๙ ให้ประธานกรรมการสอบคัดเลือกกำหนดวัน เวลา และสถานที่สอบข้อเขียน แล้วประกาศให้ทราบล่วงหน้าก่อนวันเริ่มสอบอย่างน้อย ๑๕ วัน ให้ประธานกรรมการสอบคัดเลือกกำหนดวัน เวลา และสถานที่สอบปากเปล่า แล้วประกาศให้ทราบล่วงหน้าก่อนวันเริ่มสอบอย่างน้อย ๗ วัน ข้อ ๑๐ ผู้สมัครสอบต้องยื่นใบสมัครตามแบบของกรมอัยการต่อเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่และวันเวลาตามที่จะได้กำหนดไว้ ข้อ ๑๑ เมื่อได้มีการสอบคัดเลือกแล้ว ก.อ. จะได้ประกาศรายชื่อผู้สอบคัดเลือกได้เรียงตามลำดับคะแนนไว้ ณ กรมอัยการ ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ พลเอก ประจวบ สุนทรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ประธาน ก.อ. ดลธี/ผู้จัดทำ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๑๙๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๓๐/๒๕ กันยายน ๒๕๓๐
327792
ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยและอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ ตามมาตรา 25 วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ
ข้อกำหนด ก ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ ในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยและอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ ตามมาตรา ๒๕ วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ก.อ. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยตามความในมาตรา ๒๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยและอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ตามมาตรา ๒๕ วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ฉบับลงวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ และฉบับลงวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ข้อกำหนด ก.อ. ฉบับนี้แทน ข้อ ๒ ผู้สมัครเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ตามความในมาตรา ๒๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ จะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามความในมาตรา ๓๓ (๒) ถึง (๑๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ข้อ ๓ ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๕ วรรคสอง (๒) (๓) หรือ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นทนายความ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ จะต้องได้ว่าความในศาลยุติธรรมมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ เรื่อง ในจำนวนนี้ต้องเป็นคดีแพ่งไม่น้อยกว่า ๕ เรื่อง โดยมีหนังสือรับรองของผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณามาแสดงว่าได้ทำหน้าที่ดังกล่าวอย่างแท้จริง ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้นั้นไปศึกษาต่อต่างประเทศด้วยทุนรัฐบาลตามความต้องการของสำนักงานอัยการสูงสุด ข้อ ๔ ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๕ วรรคสอง (๑) (๒) หรือ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ต้องได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายต่อไปนี้จากต่างประเทศหรือในการศึกษาปริญญาโททางกฎหมายในประเทศไทย แล้วแต่กรณีด้วย คือ (๑) กฎหมายอาญา (๒) กฎหมายแพ่ง ลักษณะสัญญาและลักษณะละเมิด (๓) กฎหมายลักษณะพยาน หรือกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือกฎหมายลักษณะล้มละลาย (๔) กฎหมายแพ่งลักษณะอื่น ซึ่งเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ๓ วิชา หรือกฎหมายแพ่งลักษณะอื่นซึ่งเทียบได้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ๑ วิชา กับกฎหมายพิเศษดังต่อไปนี้ ๒ วิชา ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายพาณิชย์นาวี กฎหมายทะเล กฎหมายอากาศ กฎหมายอวกาศ กฎหมายโทรคมนาคม กฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎหมายทรัพยากรธรรมชาติ กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีระหว่างประเทศ กฎหมายเครื่องหมายการค้า กฎหมายสิทธิบัตร กฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายเด็กและเยาวชน อาชญาวิทยา กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางธุรกิจ กฎหมายแรงงาน กฎหมายภาษีอากร กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายอาญาระหว่างประเทศ กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการ กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ กฎหมายธุรกิจ กฎหมายว่าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายเกี่ยวกับการลงทุน กฎหมายเกี่ยวกับการเงินการธนาคาร กฎหมายหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายป้องกันการผูกขาดหรือการแข่งขันทางการค้า กฎหมายการเกษตร กฎหมายพลังงาน ผู้สมัครที่ได้ศึกษาและสอบไล่ได้ตามหลักสูตรการศึกษากฎหมายดังต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องศึกษาวิชากฎหมายตามวรรคหนึ่ง (๑) ผู้สมัครที่ได้ศึกษาและสอบไล่ได้ตามหลักสูตรการศึกษากฎหมายที่จัดไว้เป็นหลักสูตรเฉพาะด้านในวิชากฎหมายเด็กและเยาวชน กฎหมายแรงงาน กฎหมายภาษีอากร กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายพาณิชย์นาวี กฎหมายล้มละลาย (๒) ผู้สมัครที่ได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายที่อยู่ในกลุ่มวิชากฎหมายกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งตามวรรคสอง (๑) ไม่น้อยกว่า ๔ วิชา และได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งอีกไม่น้อยกว่า ๒ วิชา โดยในจำนวนนี้อย่างน้อย ๑ วิชา ต้องเป็นวิชาตาม (๑) (๓) หรือกฎหมายแพ่ง ซึ่งพอเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้นั้นไปศึกษาวิชากฎหมายจากต่างประเทศด้วยทุนรัฐบาลหรือผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางกฎหมาย ข้อ ๕ ให้ผู้สมัครยื่นใบสมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ต่อเลขานุการ ก.อ. ณ สำนักงาน ก.อ. สำนักงานอัยการสูงสุด พร้อมหลักฐานในการสมัครสอบ ดังนี้ (๑) ภาพถ่ายปริญญานิติศาสตรบัณฑิต/นิติศาสตรมหาบัณฑิต (แสดงต้นฉบับด้วย) (๒) ภาพถ่ายประกาศนียบัตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (แสดงต้นฉบับด้วย) (๓) สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน (ถ่ายเอกสารทั้งสองหน้าในแผ่นเดียวกันและแสดงต้นฉบับด้วย) (๔) หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย (กรณีเป็นทนายความต้องมีหนังสือรับรองการเป็นทนายความจากสภาทนายความมายื่นด้วย) (๕) ใบรับรองสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา (ออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน) (๖) รูปถ่ายขนาด ๑ นิ้ว ถ่ายไว้ไม่เกิน ๖ เดือน จำนวน ๔ รูป (เขียนชื่อ - สกุลด้านหลัง) (๗) เงินค่าธรรมเนียมการสอบ ข้อ ๖ ให้เลขานุการ ก.อ. ส่งผู้สมัครไปให้คณะกรรมการแพทย์ ซึ่ง ก.อ. แต่งตั้งขึ้นตามความในมาตรา ๓๓ (๑๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ตรวจร่างกายและจิตใจ ข้อ ๗ เมื่อคณะกรรมการแพทย์ได้ตรวจร่างกายและจิตใจผู้สมัครแล้วและอัยการสูงสุดเห็นสมควรดำเนินการต่อไป ให้ส่งเรื่องไปให้อนุกรรมการซึ่ง ก.อ. แต่งตั้งขึ้น เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ตรวจสอบคุณสมบัติตามวิธีการที่กำหนดไว้เช่นเดียวกับการตรวจคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก ในการนี้ให้อนุกรรมการทำการทดสอบความรู้ในวิชากฎหมายด้วย เมื่ออนุกรรมการได้ดำเนินการแล้ว ให้รายงานเสนอความเห็นไปยัง ก.อ. ข้อ ๘ การทดสอบความรู้ในวิชากฎหมาย ให้มีทั้งการสอบข้อเขียนและการสอบปากเปล่า วิชากฎหมายที่สอบ คือ กฎหมายอาญา ๒ ข้อ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ๒ ข้อ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ๒ ข้อ กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ๒ ข้อ พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ๑ ข้อ กฎหมายว่าด้วยพนักงานอัยการ ๑ ข้อ หรือกฎหมายลักษณะวิชาอื่นใดตามที่อนุกรรมการเห็นสมควร การสอบข้อเขียน จำนวนข้อสอบ ๑๐ ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน ผู้สมัครต้องสอบได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ของคะแนนสอบข้อเขียนทั้งหมด จึงมีสิทธิเข้าสอบปากเปล่า และต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนกับสอบปากเปล่ารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ของคะแนนทั้งสองอย่างรวมกัน การสอบปากเปล่า ให้กระทำโดยวิธีถามผู้สมัครเรียงตัว กำหนดเวลาสอบคนละประมาณ ๑๕ นาที คะแนนเต็ม ๔๐ คะแนน ในกรณีที่ผู้สมัครเป็นผู้ไปศึกษาต่างประเทศด้วยทุนรัฐบาลตามความต้องการของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้อนุกรรมการทำการทดสอบความรู้ในวิชากฎหมายเฉพาะการสอบปากเปล่า ข้อ ๙ ในกรณีที่อนุกรรมการทำการทดสอบความรู้ในวิชากฎหมายของผู้สมัครผู้ใดแล้วปรากฏว่าผู้สมัครนั้นได้คะแนนในการทดสอบไม่ถึงร้อยละ ๖๐ ให้ถือว่าผู้สมัครนั้นยังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับบรรจุเป็นข้าราชการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย และผู้นั้นจะยื่นใบสมัครอีกมิได้จนกว่าจะล่วงพ้นระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันที่ ก.อ. พิจารณารายงานความเห็นของอนุกรรมการ ข้อ ๑๐ การบรรจุข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ตามความในมาตรา ๒๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ นั้น ให้บรรจุได้ในอัตราส่วนของจำนวนผู้ที่สอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ไม่เกินหนึ่งในสี่ แต่ถ้าขณะใดไม่มีผู้ที่สอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยอยู่แล้ว ก็ให้บรรจุได้โดยไม่มีอัตราส่วน ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้นั้นไปศึกษาต่างประเทศด้วยทุนรัฐบาลตามความต้องการของสำนักงานอัยการสูงสุด ข้อ ๑๑ ผู้ที่มีคุณสมบัติและปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วนตามข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยและอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ ตามมาตรา ๒๕ วรรคสองและวรรคสามแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ฉบับลงวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ และฉบับลงวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๘ ซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่ก่อนข้อกำหนดนี้ ให้ถือว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติและปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วนตามนัยข้อกำหนดนี้ ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕ คนึง ฦาไชย ประธาน ก.อ. ดลธี/ผู้จัดทำ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๕๒ ง/หน้า ๔๙/๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๕
322943
ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยและอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ ตามมาตรา 25 วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ
ข้อกำหนด ก ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ ในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยและอัตราส่วนของจำนวน ผู้สอบคัดเลือกได้ ตามมาตรา ๒๕ วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ก.อ. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ตามความในมาตรา ๒๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ เพื่อบรรจุเป็นอัยการผู้ช่วยโดยไม่ต้องสอบคัดเลือก ลงวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ และให้ใช้ข้อกำหนดนี้แทน ข้อ ๒ ผู้สมัครเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยตามความในมาตรา ๒๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ จะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ตามความในมาตรา ๓๓ (๒) ถึง (๑๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ข้อ ๓ ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๕ วรรคสอง (๒) (๓) หรือ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นทนายความ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ จะต้องได้ว่าความในศาลมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ เรื่อง ในจำนวนนี้ต้องเป็นคดีแพ่งไม่น้อยกว่า ๕ เรื่อง โดยมีหนังสือรับรองจากจ่าศาลมาแสดง ข้อ ๔ ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๕ วรรคสอง (๑) หรือ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ หรือผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๕ วรรคสอง (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งสอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายในประเทศไทย จะต้องได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายต่อไปนี้มาจากต่างประเทศ หรือในการศึกษาปริญญาโททางกฎหมายในประเทศไทย แล้วแต่กรณีด้วย คือ ๑. กฎหมายอาญา ๒. กฎหมายแพ่ง ลักษณะสัญญาและลักษณะละเมิด ๓. กฎหมายแพ่งลักษณะอื่นซึ่งเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ๒ ลักษณะ หรือ ๑ ลักษณะ กับกฎหมายปกครอง กฎหมายทะเล กฎหมายอากาศ หรือกฎหมายเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ เด็กและเยาวชน แรงงาน หรือภาษีอากร หรืออาชญาวิทยา หรือทัณฑวิทยา อีก ๑ ลักษณะ ๔. กฎหมายลักษณะพยาน และ ๕. กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือกฎหมายลักษณะล้มละลาย ข้อ ๕ ให้ผู้สมัครยื่นใบสมัครตามแบบใบสมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ ในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยต่อเลขานุการ ก.อ. ณ สำนักงาน ก.อ. กรมอัยการ พร้อมด้วยรูปถ่ายขนาด ๒ ๑/๒ x ๒ นิ้ว จำนวน ๒ รูป และค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบ ข้อ ๖ ให้เลขานุการ ก.อ. ส่งผู้สมัครไปให้คณะกรรมการแพทย์ซึ่ง ก.อ. แต่งตั้งขึ้น ตามความในมาตรา ๓๓ (๑๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ตรวจร่างกายและจิตใจ ข้อ ๗ เมื่อคณะกรรมการแพทย์ได้ตรวจร่างกายและจิตใจผู้สมัครแล้ว และอธิบดีกรมอัยการเห็นสมควรดำเนินการต่อไป ให้ส่งเรื่องไปให้อนุกรรมการ ซึ่ง ก.อ. แต่งตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยตรวจสอบคุณสมบัติตามวิธีการที่กำหนดไว้เช่นเดียวกับการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก ในการนี้ให้อนุกรรมการทำการทดสอบความรู้ในวิชากฎหมายด้วย เมื่ออนุกรรมการได้ดำเนินการแล้ว ให้รายงานเสนอความเห็นไปยัง ก.อ. ข้อ ๘ การทดสอบความรู้ในวิชากฎหมายให้มีทั้งการสอบข้อเขียนและการสอบปากเปล่า วิชากฎหมายที่ทดสอบ คือ กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายว่าด้วยพนักงานอัยการ หรือกฎหมายลักษณะวิชาอื่นใด ตามที่อนุกรรมการเห็นสมควร การสอบข้อเขียน จำนวนข้อสอบ ๖ ข้อ เวลา ๒ ชั่วโมง ครึ่ง คะแนนเต็ม ๑๒๐ การสอบปากเปล่า ให้กระทำโดยวิธีถามผู้สมัครเรียงตัวกำหนดเวลาสอบประมาณคนละ ๑๕ นาที คะแนนเต็ม ๖๐ ข้อ ๙ ในกรณีที่อนุกรรมการทำการทดสอบความรู้ในวิชากฎหมายของผู้สมัครผู้ใดแล้ว ปรากฏว่าผู้สมัครนั้นได้คะแนนในการทดสอบไม่ถึงร้อยละ ๖๐ ให้ถือว่าผู้สมัครนั้นยังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับบรรจุเป็นข้าราชการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย และผู้นั้นจะยื่นใบสมัครอีกมิได้จนกว่าจะล่วงพ้นระยะเวลาหกเดือน นับแต่วันที่ ก.อ. พิจารณารายงานความเห็นของอนุกรรมการ ข้อ ๑๐ การบรรจุข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ตามความในมาตรา ๒๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ นั้น ให้บรรจุได้ในอัตราส่วนของจำนวนผู้ที่สอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ไม่เกินหนึ่งในสี่ แต่ถ้าขณะใดไม่มีผู้ที่สอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยอยู่แล้ว ก็ให้บรรจุได้โดยไม่มีอัตราส่วน ข้อ ๑๑ ให้ใช้ข้อความในข้อ ๔ บังคับแก่ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๕ วรรคสอง (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งสอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายในประเทศไทย ที่ยื่นใบสมัครตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๗ เป็นต้นไป ให้ไว้ ณ วันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ พลเอก สิทธิ จิรโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ดลธี/ผู้จัดทำ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๐/ตอนที่ ๑๔๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๓๑ สิงหาคม ๒๕๒๖
641809
ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่ง อัยการผู้ช่วย และอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ ตามมาตรา 25 วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521
ข้อกำหนด ก ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่ง อัยการผู้ช่วย และอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ ตามมาตรา ๒๕ วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ก.อ. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ตามความในมาตรา ๒๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย และอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ ตามมาตรา ๒๕ วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ฉบับลงวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๒๖ และให้ใช้ข้อกำหนด ก.อ. ฉบับนี้แทน ข้อ ๒ ผู้สมัครเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยตามความในมาตรา ๒๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ จะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ตามความในมาตรา ๓๓ (๒) ถึง (๑๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ข้อ ๓ ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๕ วรรคสอง (๒) (๓) หรือ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นทนายความ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติตามระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ จะต้องได้ว่าความในศาลมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ เรื่องในจำนวนนี้ต้องเป็นคดีแพ่งไม่น้อยกว่า ๕ เรื่อง โดยมีหนังสือรับรองจากจ่าศาลมาแสดง ข้อ ๔ ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๕ วรรคสอง (๑) หรือ ๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ หรือผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๕ วรรคสอง (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งสอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายในประเทศไทย จะต้องได้ศึกษาและสอบไล่ได้ในวิชากฎหมายต่อไปนี้มาจากต่างประเทศ หรือในการศึกษาปริญญาโททางกฎหมายในประเทศไทย แล้วแต่กรณีด้วย คือ ๑. กฎหมายอาญา ๒. กฎหมายแพ่ง ลักษณะสัญญาและลักษณะละเมิด ๓. กฎหมายแพ่ง ลักษณะอื่น ซึ่งเทียบได้กับลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ๒ ลักษณะ หรือ ๑ ลักษณะ กับกฎหมายปกครอง กฎหมายทะเล กฎหมายอากาศ หรือกฎหมายเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ เด็กและเยาวชน แรงงาน หรือภาษีอากรหรืออาชญาวิทยา หรือทัณฑวิทยา อีก ๑ ลักษณะ ๔. กฎหมายลักษณะพยาน และ ๕. กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือกฎหมายลักษณะล้มละลาย ความในข้อนี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้นั้นไปศึกษาต่างประเทศด้วยทุนรัฐบาลตามความต้องการของกรมอัยการ ข้อ ๕ ให้ผู้สมัครยื่นใบสมัครตามแบบใบสมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ต่อเลขานุการ ก.อ. ณ สำนักงาน ก.อ. กรมอัยการ พร้อมด้วยรูปถ่ายขนาด ๒ ๑/๒ x ๒ นิ้ว จำนวน ๒ รูป และค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบ ข้อ ๖ ให้เลขานุการ ก.อ. ส่งผู้สมัครไปให้คณะกรรมการแพทย์ซึ่ง ก.อ. แต่งตั้งขึ้นตามความในมาตรา ๓๓ (๑๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ตรวจร่างกายและจิตใจ ข้อ ๗ เมื่อคณะกรรมการแพทย์ได้ตรวจร่างกายและจิตใจผู้สมัครแล้ว และอธิบดีกรมอัยการเห็นสมควรดำเนินการต่อไป ให้ส่งเรื่องไปให้อนุกรรมการ ซึ่ง ก.อ. แต่งตั้งขึ้น เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ตรวจสอบคุณสมบัติตามวิธีการที่กำหนดไว้เช่นเดียวกับการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก ในการนี้ให้อนุกรรมการทำการทดสอบความรู้ในวิชากฎหมายด้วย เมื่ออนุกรรมการได้ดำเนินการแล้ว ให้รายงานเสนอความเห็นไปยัง ก.อ. ข้อ ๘ การทดสอบความรู้ในวิชากฎหมายให้มีทั้งการสอบข้อเขียนและการสอบปากเปล่า วิชากฎหมายที่ทดสอบ คือ กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายว่าด้วยพนักงานอัยการ หรือกฎหมายลักษณะวิชาอื่นใด ตามที่อนุกรรมการเห็นสมควร การสอบข้อเขียน จำนวนข้อสอบ ๖ ข้อ เวลา ๒ ชั่วโมงครึ่ง คะแนนเต็ม ๑๒๐ การสอบปากเปล่า ให้กระทำโดยวิธีถามผู้สมัครเรียงตัว กำหนดเวลาสอบประมาณคนละ ๑๕ นาที คะแนนเต็ม ๖๐ ข้อ ๙ ในกรณีที่อนุกรรมการทำการทดสอบความรู้ในวิชากฎหมายของผู้สมัครผู้ใดแล้ว ปรากฏว่า ผู้สมัครนั้นได้คะแนนในการทดสอบไม่ถึงร้อยละ ๖๐ ให้ถือว่าผู้สมัครนั้นยังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับบรรจุเป็นข้าราชการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย และผู้นั้นจะยื่นใบสมัครอีกมิได้จนกว่าจะล่วงพ้นระยะเวลาหกเดือน นับแต่วันที่ ก.อ. พิจารณารายงานความเห็นของอนุกรรมการ ข้อ ๑๐ การบรรจุข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยตามความในมาตรา ๒๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ นั้น ให้บรรจุได้ในอัตราส่วนของจำนวนผู้ที่สอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ไม่เกินหนึ่งในสี่ แต่ถ้าขณะใดไม่มีผู้ที่สอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยอยู่แล้ว ก็ให้บรรจุได้โดยไม่มีอัตราส่วน ข้อ ๑๑ ให้ใช้ข้อความในข้อ ๔ บังคับแก่ผู้สมัครตามความในมาตรา ๒๕ วรรคสอง (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งสอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายในประเทศไทยที่ยื่นใบสมัครตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๗ เป็นต้นไป ให้ไว้ ณ วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๒๗ พลเอก สิทธิ จิรโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยและอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ ตามมาตรา ๒๕ วรรคสองและวรรคสามแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๘[๒] ดลธี/ผู้จัดทำ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๑/ตอนที่ ๑๔๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓/๑๘ ตุลาคม ๒๕๒๗ [๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๓๙ ง/หน้า ๑๙/๖ ตุลาคม ๒๕๓๘
326741
ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 ว่าด้วยหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเป็นอัยการผู้ช่วย
ข้อกำหนด ก ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเป็นอัยการผู้ช่วย[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ก.อ. กำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเป็นอัยการผู้ช่วย ฉบับลงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๑, ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ และ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ และให้ใช้ข้อกำหนด ก.อ. ฉบับนี้แทน ข้อ ๒ เมื่อสำนักงานอัยการสูงสุดเห็นสมควรจะมีการสอบคัดเลือกเมื่อใดให้เสนอ ก.อ. เพื่อจัดให้มีการสอบคัดเลือก ให้ ก.อ. กำหนดวันและเวลายื่นใบสมัครสอบและแต่งตั้งคณะกรรมการสอบคัดเลือกขึ้นชุดหนึ่ง ประกอบด้วยประธานกรรมการและกรรมการตามจำนวนที่จำเป็น ข้อ ๓ การสอบคัดเลือกให้มีทั้งการสอบข้อเขียนและการสอบปากเปล่า ข้อ ๔ ลักษณะวิชาที่กำหนดให้สอบ คือ กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายลักษณะพยาน พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายลักษณะล้มละลาย กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงหรือกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว กฎหมายปกครอง กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาหรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายว่าด้วยพนักงานอัยการ และภาษาอังกฤษ ข้อ ๕ การสอบข้อเขียนมี ๓ วัน โดยให้มีการเว้นวันในระหว่างการสอบตามที่คณะกรรมการสอบคัดเลือกเห็นสมควร คือ (๑) วันที่หนึ่ง กฎหมายอาญา ๖ ข้อ และกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ๔ ข้อ จำนวนข้อสอบรวม ๑๐ ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน (๒) วันที่สอง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ๖ ข้อ และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ๔ ข้อ จำนวนข้อสอบรวม ๑๐ ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน (๓) วันที่สาม กฎหมายลักษณะพยาน ๑ ข้อ พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ๑ ข้อ กฎหมายลักษณะล้มละลาย ๑ ข้อ กฎหมายรัฐธรรมนูญ ๑ ข้อ กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง หรือกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ๑ ข้อ กฎหมายปกครอง ๑ ข้อ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา หรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ ๑ ข้อ กฎหมายว่าด้วยพนักงานอัยการ ๑ ข้อ จำนวนข้อสอบรวม ๘ ข้อ เวลา ๓ ชั่วโมง ๓๐ นาที คะแนนเต็ม ๘๐ คะแนน และวิชาภาษาอังกฤษ จำนวนข้อสอบสุดแต่คณะกรรมการสอบคัดเลือกเห็นสมควร เวลา ๑ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๒๐ คะแนน ข้อ ๖ การออกข้อสอบและวิธีการตรวจ ให้เป็นไปตามที่ประธานกรรมการสอบคัดเลือกจะได้กำหนด ข้อ ๗ ให้ประธานกรรมการสอบคัดเลือกกำหนดวัน เวลา และสถานที่สอบข้อเขียน แล้วประกาศให้ทราบล่วงหน้าก่อนวันเริ่มสอบอย่างน้อย ๑๕ วัน ข้อ ๘ ผู้สอบต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ของคะแนนสอบข้อเขียนทั้งหมด จึงจะมีสิทธิเข้าสอบปากเปล่า และต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนกับสอบปากเปล่ารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ของคะแนนทั้งสองอย่างรวมกันจึงจะถือว่าเป็นผู้สอบคัดเลือกได้ ข้อ ๙ การสอบปากเปล่า ให้กระทำโดยวิธีถามผู้สอบเรียงตัวในลักษณะวิชาดังกล่าวในข้อ ๔ ตามแต่กรรมการจะเห็นสมควร กำหนดเวลาคนละไม่เกิน ๑๕ นาที คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน ให้ประธานกรรมการสอบคัดเลือกกำหนดวัน เวลา และสถานที่สอบปากเปล่าแล้วประกาศให้ทราบล่วงหน้าก่อนเข้าสอบอย่างน้อย ๗ วัน ข้อ ๑๐ ผู้สมัครสอบต้องยื่นใบสมัครตามแบบของสำนักงานอัยการสูงสุดต่อเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่และวันเวลาตามที่จะได้กำหนดไว้ พร้อมหลักฐานในการสมัครสอบ ดังนี้ (๑) ภาพถ่ายปริญญานิติศาสตรบัณฑิต (แสดงต้นฉบับด้วย) (๒) ภาพถ่ายประกาศนียบัตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (แสดงต้นฉบับด้วย) (๓) สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน (ถ่ายเอกสารทั้งสองหน้าในแผ่นเดียวกันและแสดงต้นฉบับด้วย) (๔) มีหนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย (กรณีเป็นทนายความต้องมีหนังสือรับรองการเป็นทนายความจากสภาทนายความมายื่นด้วย) (๕) ใบรับรองสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา (ออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน) (๖) รูปถ่ายขนาด ๑ นิ้ว ถ่ายไว้ไม่เกิน ๖ เดือน จำนวน ๔ รูป (เขียนชื่อ - สกุลด้านหลัง) (๗) เงินค่าธรรมเนียมการสอบ ข้อ ๑๑ เมื่อได้มีการสอบคัดเลือกแล้ว ก.อ. จะได้ประกาศรายชื่อผู้สอบคัดเลือกได้และได้รับการบรรจุเรียงตามลำดับคะแนนไว้ ณ สำนักงานอัยการสูงสุด ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕ คนึง ฦาไชย ประธาน ก.อ. ดลธี/ผู้จัดทำ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๕๒ ง/หน้า ๕๖/๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๕
575014
ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยและอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ ตามมาตรา 25 วรรคสอบและวรรคสามแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 (ฉบับที่ 2)
ข้อกำหนด ก ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่ง อัยการผู้ช่วยและอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ ตามมาตรา ๒๕ วรรคสองและวรรคสามแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ ฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๘[๑] โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยและอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ ตามมาตรา ๒๕ วรรคสองและวรรคสามแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ลงวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ก.อ. จึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยตามความในมาตรา ๒๕ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ และ อัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ ๓ แห่งข้อกำหนด ก.อ. ลงวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ “ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้นั้นไปศึกษาต่างประเทศด้วยทุนรัฐบาลตามความต้องการของสำนักงานอัยการสูงสุด” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสี่ของข้อ ๘ แห่งข้อกำหนด ก.อ. ลงวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ “ในกรณีที่ผู้สมัครเป็นผู้ไปศึกษาต่างประเทศด้วยทุนรัฐบาลตามความต้องการของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้อนุกรรมการทำการทดสอบความรู้ในวิชากฎหมายเฉพาะการสอบปากเปล่า” ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ ๑๐ แห่งข้อกำหนด ก.อ. ลงวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ “ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้นั้นไปศึกษาต่างประเทศด้วยทุนรัฐบาลตามความต้องการของสำนักงานอัยการสูงสุด” ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นต้นไป ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๘ ประเทือง กีรติบุตร ประธาน ก.อ. ดลธี/ผู้จัดทำ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๓๙ ง/หน้า ๑๙/๖ ตุลาคม ๒๕๓๘
327856
ข้อกำหนด ก.อ. เรื่อง กำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ ตามมาตรา 33 (1) (ค) แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521
ข้อกำหนด ก ข้อกำหนด ก.อ. เรื่อง กำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น และเงื่อนไขเกี่ยวกับ การประกอบวิชาชีพ ตามมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ก.อ. กำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นและเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ เรื่อง กำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ ตามมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ฉบับลงวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๒ ฉบับลงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๐ และฉบับลงวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ข้อกำหนด ก.อ. ฉบับนี้แทน ข้อ ๒ วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น คือ (๑) เป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ ซึ่งคณบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่ารับรองว่าได้สอนวิชากฎหมายตามหลักสูตรในคณะนิติศาสตร์หรือภาควิชานิติศาสตร์หรือสาขาวิชานิติศาสตร์มาแล้ว ตามแบบที่กำหนดท้ายข้อกำหนดนี้ (๒) เป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ตำแหน่งนิติกรซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกรตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่ ก.พ. กำหนด ตามแบบที่กำหนดท้ายข้อกำหนดนี้ (๓) เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งทำหน้าที่พนักงานสอบสวนและผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่พนักงานสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒๐ เรื่อง ตามแบบที่กำหนดท้ายข้อกำหนดนี้ (๔) เป็นนายทหารซึ่งทำหน้าที่นายทหารสืบสวนสอบสวนหรือนายทหารสารวัตรสืบสวนสอบสวน กระทรวงกลาโหม ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานสอบสวนคดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลทหารมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒๐ เรื่อง ตามแบบที่กำหนดท้ายข้อกำหนดนี้ (๕) เป็นข้าราชการตำแหน่งเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานสอบสวนคดียาเสพติดมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒๐ เรื่อง ตามแบบที่กำหนดท้ายข้อกำหนดนี้ (๖) เป็นข้าราชการตำแหน่งเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบทรัพย์สิน หรือไต่สวนและวินิจฉัยคดีที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติตามแบบที่กำหนดท้ายข้อกำหนดนี้ (๗) เป็นข้าราชการตำแหน่งนักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือนักวิชาการที่ดิน (วุฒิทางกฎหมาย) กรมที่ดิน ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่ ก.พ. กำหนดตามแบบที่กำหนดท้ายข้อกำหนดนี้ (๘) เป็นเจ้าพนักงานการเลือกตั้ง (งานนิติการ) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าว ตามมาตรฐานสายงานนิติการที่ ก.พ. กำหนด หรือเจ้าพนักงานการเลือกตั้ง (งานวินิจฉัยหรืองานสืบสวนสอบสวน) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานพิจารณาวินิจฉัยหรือสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒๐ เรื่อง ตามแบบที่กำหนดท้ายข้อกำหนดนี้ (๙) เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในองค์กรอิสระตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด หรือพนักงานในองค์กรของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ตำแหน่งนิติกร ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกรตามแบบที่กำหนดท้ายข้อกำหนดนี้ (๑๐) เป็นอาจารย์ผู้บรรยายประจำวิชาของคณะนิติศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ทบวงมหาวิทยาลัยให้การรับรองมาตรฐานการศึกษาของหลักสูตรนิติศาสตร์ ซึ่งคณบดีหรือตำแหน่งเทียบเท่ารับรองว่าได้สอนวิชากฎหมายตามหลักสูตรในคณะนิติศาสตร์มาแล้วในวิชาใดวิชาหนึ่งหรือหลายวิชา ดังนี้ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน กฎหมายล้มละลาย พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายพาณิชย์นาวี หรือกฎหมายระหว่างประเทศ ตามแบบที่กำหนดท้ายข้อกำหนดนี้ (๑๑) เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมายที่ได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายในลักษณะทำนองเดียวกันหรือเทียบได้กับวิชาชีพตาม (๑) - (๑๐) ซึ่ง ก.อ. รับรองเป็นรายกรณี ข้อ ๓ ผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ซึ่งได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นทนายความจะต้องได้ว่าความในศาลยุติธรรมโดยทำหน้าที่หรือมีส่วนร่วมทำหน้าที่ทนายความในการที่ศาลออกนั่งพิจารณามาแล้วไม่น้อยกว่า ๒๐ เรื่อง ในจำนวนนี้ต้องเป็นคดีแพ่งไม่น้อยกว่า ๕ เรื่อง โดยมีหนังสือรับรองของผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาตามแบบที่กำหนดตามท้ายข้อกำหนดนี้มาแสดงว่าได้ทำหน้าที่ดังกล่าวอย่างแท้จริง ข้อ ๔ ผู้ที่มีคุณสมบัติและปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วนตามข้อกำหนด ก.อ. เรื่องกำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นและเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพตามมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ฉบับลงวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๒ ฉบับลงวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๒ ฉบับลงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๐ หรือฉบับลงวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๒ หรือปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวแต่เพียงบางส่วนก่อนข้อกำหนด ก.อ. ฉบับนี้ใช้บังคับนั้นให้ถือว่าได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นและปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ครบถ้วนแล้ว หรือแต่เพียงบางส่วนนั้น แล้วแต่กรณี ตามที่ ก.อ. กำหนดตามนัยข้อกำหนดนี้ ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕ คนึง ฦาไชย ประธาน ก.อ. [เอกสารแนบท้าย] ๑. (๑) หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครสอบซึ่งเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์หรือภาควิชานิติศาสตร์หรือสาขาวิชานิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ ๒. (๒) หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครสอบซึ่งเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นตำแหน่งนิติกร ๓. (๓) หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครสอบซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ๔. (๔) หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครสอบซึ่งเป็นนายทหารทำหน้าที่นายทหารสืบสวนสอบสวนหรือนายทหารสารวัตรสืบสวนสอบสวน กระทรวงกลาโหม ๕. (๕) หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครสอบซึ่งเป็นข้าราชการตำแหน่งเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ๖. (๖) หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครสอบซึ่งเป็นข้าราชการตำแหน่งเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ๗. (๗) หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครสอบซึ่งเป็นข้าราชการตำแหน่งนักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ๘. (๗) หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครสอบซึ่งเป็นข้าราชการตำแหน่งนักวิชาการที่ดิน (วุฒิทางกฎหมาย) กรมที่ดิน ๙. (๘) หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครสอบซึ่งเป็นเจ้าพนักงานการเลือกตั้ง (งานนิติการ) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ๑๐. (๘) หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครสอบซึ่งเป็นเจ้าพนักงานการเลือกตั้ง (งานวินิจฉัยหรืองานสืบสวนสอบสวน) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ๑๑. (๙) หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครสอบซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในองค์กรอิสระตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดหรือพนักงานในองค์กรของรัฐในตำแหน่งนิติกร ๑๒. (๙) หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครสอบซึ่งเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจในตำแหน่งนิติกร ๑๓. (๑๐) หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพของผู้สมัครสอบซึ่งเป็นอาจารย์ผู้บรรยายประจำวิชาของคณะนิติศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ทบวงมหาวิทยาลัยให้การรับรองมาตรฐานการศึกษา ๑๔. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งเคยเป็นรองจ่าศาลและปฏิบัติหน้าที่เดิมต่อมานับแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๔ ๑๕. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งเป็นทนายความ (สำหรับคดีหลังวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๓๑) ๑๖. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพสำหรับผู้สมัครตามความในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งเป็นทนายความ (สำหรับคดีก่อนวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๓๑) ๑๗. บัญชีรายละเอียดการว่าความคดีแพ่ง ๑๘. บัญชีรายละเอียดการว่าความคดีอาญา (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ดลธี/ผู้จัดทำ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๕๒ ง/หน้า ๖๐/๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๕
575010
ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 ว่าด้วยหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเป็นอัยการผู้ช่วย
ข้อกำหนด ก ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเป็นอัยการผู้ช่วย[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ก.อ. กำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเป็นอัยการผู้ช่วย ลงวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ และให้ใช้ข้อกำหนด ก.อ. ฉบับนี้แทน ข้อ ๒ ลักษณะวิชาที่กำหนดให้สอบ คือ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายลักษณะพยาน พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายลักษณะล้มละลาย กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง กฎหมายว่าด้วยพนักงานอัยการ และภาษาอังกฤษ ข้อ ๓ เมื่อกรมอัยการเสนอ ก.อ. เพื่อจัดให้มีการสอบคัดเลือกให้ ก.อ. กำหนดวัน และเวลายื่นใบสมัครสอบ และแต่งตั้งคณะกรรมการสอบคัดเลือกขึ้นชุดหนึ่ง ประกอบด้วยประธานกรรมการ และกรรมการตามจำนวนที่จำเป็น ข้อ ๔ ให้มีทั้งการสอบข้อเขียนและการสอบปากเปล่า ข้อ ๕ การสอบข้อเขียนมี ๓ วัน โดยให้มีการเว้นวันในระหว่างการสอบตามที่คณะกรรมการสอบคัดเลือกเห็นสมควร คือ ก. วันที่หนึ่ง กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายอาญา จำนวนข้อสอบรวม ๑๐ ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๑๐๐ ข. วันที่สอง กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายลักษณะพยาน จำนวนข้อสอบรวม ๑๐ ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๑๐๐ ค. วันที่สาม พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายลักษณะล้มละลาย กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง กฎหมายว่าด้วยพนักงานอัยการ จำนวนข้อสอบรวม ๘ ข้อ เวลา ๓ ชั่วโมง ๓๐ นาที คะแนนเต็ม ๘๐ และวิชาภาษาอังกฤษ จำนวนข้อสอบสุดแต่คณะกรรมการสอบคัดเลือกเห็นสมควรเวลา ๑ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๒๐ ข้อ ๖ การสอบปากเปล่าให้กระทำโดยวิธีถามผู้สอบเรียงตัวในลักษณะวิชาดังกล่าวในข้อ ๒ ตามแต่กรรมการจะเห็นสมควร กำหนดเวลาคนละไม่เกิน ๑๕ นาที คะแนนเต็ม ๑๐๐ ข้อ ๗ การออกข้อสอบและวิธีการตรวจ ให้เป็นไปตามที่ประธานกรรมการสอบคัดเลือกจะได้กำหนด ข้อ ๘ ผู้สอบต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ของคะแนนสอบข้อเขียนทั้งหมดจึงจะมีสิทธิเข้าสอบปากเปล่า และต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนกับสอบปากเปล่ารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ของคะแนนทั้งสองอย่างรวมกัน จึงจะถือว่าเป็นผู้สอบคัดเลือกได้ ข้อ ๙ ให้ประธานกรรมการสอบคัดเลือกกำหนดวัน เวลา และสถานที่สอบข้อเขียน แล้วประกาศให้ทราบล่วงหน้าก่อนวันเริ่มสอบอย่างน้อย ๑๕ วัน ให้ประธานกรรมการสอบคัดเลือกกำหนดวัน เวลา และสถานที่สอบปากเปล่า แล้วประกาศให้ทราบล่วงหน้าก่อนวันเริ่มสอบอย่างน้อย ๗ วัน ข้อ ๑๐ ผู้สมัครสอบต้องยื่นใบสมัครตามแบบของกรมอัยการต่อเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่และวันเวลาตามที่จะได้กำหนดไว้ ข้อ ๑๑ เมื่อได้มีการสอบคัดเลือกแล้ว ก.อ. จะได้ประกาศรายชื่อผู้สอบคัดเลือกได้เรียงตามลำดับคะแนนไว้ ณ กรมอัยการ ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๑ พลเอก ประจวบ สุนทรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ประธาน ก.อ. ดลธี/ผู้จัดทำ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๓๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔/๔ มีนาคม ๒๕๓๑
322942
ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 ว่าด้วยหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเป็นอัยการผู้ช่วย
ข้อกำหนด ก ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ว่าด้วยหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเป็นอัยการผู้ช่วย[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ก.อ. กำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ว่าด้วยหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเป็นอัยการผู้ช่วย ลงวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๔ และให้ใช้ข้อกำหนด ก.อ. ฉบับนี้แทน ข้อ ๒ ลักษณะวิชาที่กำหนดให้สอบ คือ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายลักษณะพยาน พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายลักษณะล้มละลาย กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนและกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน กฎหมายว่าด้วยพนักงานอัยการ และภาษาอังกฤษ ข้อ ๓ เมื่อกรมอัยการเสนอ ก.อ. เพื่อจัดให้มีการสอบคัดเลือกให้ ก.อ. กำหนดวันและเวลายื่นใบสมัครสอบ และแต่งตั้งคณะกรรมการสอบคัดเลือกขึ้นชุดหนึ่ง ประกอบด้วยประธานกรรมการและกรรมการตามจำนวนที่จำเป็น ข้อ ๔ ให้มีทั้งการสอบข้อเขียนและการสอบปากเปล่า ข้อ ๕ การสอบข้อเขียนมี ๔ วัน โดยให้มีการเว้นวันในระหว่างการสอบตามที่คณะกรรมการสอบคัดเลือกเห็นสมควร คือ ก. วันที่หนึ่ง กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายอาญา จำนวนข้อสอบรวม ๑๐ ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๑๐๐ ข. วันที่สอง กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายลักษณะพยาน จำนวนข้อสอบรวม ๑๐ ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๑๐๐ ค. วันที่สาม พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนและกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน กฎหมายว่าด้วยพนักงานอัยการ และกฎหมายลักษณะล้มละลาย จำนวนข้อสอบรวม ๑๐ ข้อ เวลา ๔ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๑๐๐ ง. วันที่สี่ ภาษาอังกฤษ จำนวนข้อสอบสุดแต่คณะกรรมการสอบคัดเลือกเห็นสมควร เวลา ๒ ชั่วโมง คะแนนเต็ม ๒๐ ข้อ ๖ การสอบปากเปล่าให้กระทำโดยวิธีถามผู้สอบเรียงตัวในลักษณะวิชาดังกล่าวในข้อ ๒ ตามแต่กรรมการจะเห็นสมควร กำหนดเวลาคนละไม่เกิน ๑๕ นาที คะแนนเต็ม ๑๐๐ ข้อ ๗ การออกข้อสอบและวิธีการตรวจ ให้เป็นไปตามที่ประธานกรรมการสอบคัดเลือกจะได้กำหนด ข้อ ๘ ผู้สอบต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ของคะแนนสอบข้อเขียนทั้งหมดจึงจะมีสิทธิเข้าสอบปากเปล่า และต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนกับสอบปากเปล่ารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ของคะแนนทั้งสองอย่างรวมกัน จึงจะถือว่าเป็นผู้สอบคัดเลือกได้ ข้อ ๙ ให้ประธานกรรมการสอบคัดเลือกกำหนดวันเวลาและสถานที่สอบข้อเขียน แล้วประกาศให้ทราบล่วงหน้าก่อนวันเริ่มสอบอย่างน้อย ๑๕ วัน ให้ประธานกรรมการสอบคัดเลือกกำหนดวันเวลาและสถานที่สอบปากเปล่า แล้วประกาศให้ทราบล่วงหน้าก่อนวันเริ่มสอบอย่างน้อย ๗ วัน ข้อ ๑๐ ผู้สมัครสอบต้องยื่นใบสมัครตามแบบของกรมอัยการต่อเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่และวันเวลาตามที่จะได้กำหนดไว้ ข้อ ๑๑ เมื่อได้มีการสอบคัดเลือกเสร็จแล้ว ก.อ. จะได้ประกาศรายชื่อผู้สอบคัดเลือกได้เรียงตามลำดับคะแนนไว้ ณ กรมอัยการ ให้ไว้ ณ วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ พลเอก สิทธิ จิรโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ประธาน ก.อ. ดลธี/ผู้จัดทำ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๙/ตอนที่ ๑๖๙/หน้า ๑๕๗/๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๒๕
327725
ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2503 ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้เพื่อบรรจุเป็นอัยการผู้ช่วยโดยไม่ต้องสอบคัดเลือก
ข้อกำหนด ก ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราส่วน ของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้ เพื่อบรรจุเป็นอัยการผู้ช่วยโดยไม่ต้องสอบคัดเลือก[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ก.อ. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราส่วนของจำนวนผู้สอบคัดเลือกได้เพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยโดยไม่ต้องสอบคัดเลือกไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ผู้ที่จะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๓ และมีพื้นความรู้ตามมาตรา ๑๔ วรรค ๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ข้อ ๒ ให้ผู้สมัครยื่นใบสมัครตามแบบใบสมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยต่อเลขานุการ ก.อ. ณ กรมอัยการ พร้อมด้วยรูปถ่ายขนาด ๒ ๑/๒” x ๒” จำนวน ๒ รูป และค่าธรรมเนียมแพทย์ในการตรวจร่างกายและจิตใจ ข้อ ๓ ให้เลขานุการ ก.อ. ส่งผู้สมัครไปให้คณะกรรมการแพทย์ ซึ่ง อ.ก. ได้กำหนดตามมาตรา ๒๓ (๑๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ตรวจร่างกายและจิตใจ ข้อ ๔ เมื่อแพทย์ได้ตรวจร่างกายและจิตใจแล้ว ในกรณีที่อธิบดีกรมอัยการเห็นสมควรดำเนินการต่อไป ให้ส่งเรื่องไปให้อนุกรรมการซึ่ง ก.อ. แต่งตั้งขึ้น เพื่อพิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกตามมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ตรวจสอบคุณสมบัติตามวิธีการที่กำหนดไว้เช่นเดียวกับการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกและในการนี้ให้อนุกรรมการทำการทดสอบความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพทางกฎหมายนั้นด้วย เมื่ออนุกรรมการได้ดำเนินการแล้ว ให้รายงานเสนอความเห็นไปยัง ก.อ. ข้อ ๕ การบรรจุบุคคลดังกล่าวในข้อ ๑ ให้บรรจุได้ในอัตราส่วนของจำนวนผู้ที่สอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ไม่เกินหนึ่งในสี่ ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ พลเอก ป. จารุเสถียร ประธาน ก.อ. ดลธี/ผู้จัดทำ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๘/ตอนที่ ๗๑/หน้า ๑๐๑๗/๕ กันยายน ๒๕๐๔
641812
ข้อกำหนด ก.อ. เรื่อง กำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น และเงื่อนไข เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพตามมาตรา 33 (1) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521
ข้อกำหนด ก ข้อกำหนด ก.อ. เรื่อง กำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น และเงื่อนไข เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพตามมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ คณะกรรมการอัยการกำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นและเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ เรื่องกำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นและเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพตามมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ฉบับลงวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๒๒ และให้ใช้ข้อกำหนด อ.ก. ฉบับนี้แทน ข้อ ๒ วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น คือ (๑) อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐซึ่งคณบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่ารับรองว่าได้สอนวิชากฎหมายในคณะนิติศาสตร์ในวิชาใดวิชาหนึ่งหรือหลายวิชา ดังนี้ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายลักษณะพยาน กฎหมายล้มละลาย พระธรรมนูญศาลยุติธรรม หรือกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาแล้ว (๒) ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ตำแหน่งนิติกรซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกรตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่ ก.พ. กำหนด (๓) พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งทำหน้าที่พนักงานสอบสวนและผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่พนักงานสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒๐ เรื่อง ข้อ ๓ ผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ที่ได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นทนายความจะต้องได้ว่าความในศาลโดยทำหน้าที่หรือมีส่วนร่วมทำหน้าที่ทนายความในขณะที่ศาลออกนั่งพิจารณามาแล้วไม่น้อยกว่า ๒๐ เรื่อง ในจำนวนนี้ต้องเป็นคดีแพ่งไม่น้อยกว่า ๕ เรื่อง โดยมีหนังสือรับรองของผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณามาแสดงว่าได้ทำหน้าที่ดังกล่าวอย่างแท้จริง ข้อ ๔ ผู้ที่มีคุณสมบัติและปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วนตามข้อกำหนด ก.อ. เรื่อง กำหนดวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นและเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ ตามมาตรา ๓๓ (๑) (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ฉบับลงวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวแต่เพียงบางส่วน ก่อนข้อกำหนด อ.ก. ฉบับนี้ใช้บังคับนั้นให้ถือว่าได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่น และปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ครบถ้วนแล้ว หรือแต่เพียงส่วนนั้นแล้วแต่กรณีตามที่คณะกรรมการอัยการกำหนดตามนัยข้อกำหนดนี้ ให้ไว้ ณ วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๒ พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ประธาน ก.อ. ดลธี/ผู้จัดทำ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๒๐๔/หน้า ๕๓๓/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๒
326589
ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2503 ว่าด้วยการสอบสวนทางวินัย
ข้อกำหนด ก ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ว่าด้วยการสอบสวนทางวินัย[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ก.อ. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวน การตั้งกรรมการ การกำหนดองค์คณะกรรมการที่จะทำการสอบสวน การส่งประเด็นไปสอบสวนพยานบุคคลซึ่งอยู่ต่างท้องที่ การรวบรวมพยานหลักฐานและกิจการอื่น ๆ เพื่อให้ได้ความจริงและความยุติธรรม ในกรณีที่ข้าราชการอัยการซึ่งผู้บังคับบัญชาเห็นว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำการสอบสวน ให้ตั้งประธานกรรมการจากข้าราชการอัยการผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกกล่าวหา หรือจากข้าราชการอัยการที่ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้ถูกกล่าวหา ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนจะตั้งตนเองเป็นประธานกรรมการก็ได้ ส่วนกรรมการอื่นให้ตั้งจากข้าราชการอัยการที่ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้ถูกกล่าวหาเว้นแต่มีความจำเป็น จะตั้งกรรมการจากข้าราชการอัยการที่ดำรงตำแหน่งต่ำกว่าผู้ถูกกล่าวหาก็ได้ ข้อ ๒ คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้ทำเป็นคำสั่งตามแบบหนังสือราชการ และให้ระบุตัวผู้ถูกกล่าวหากับทั้งเรื่องที่ให้สอบสวนนั้นด้วย ข้อ ๓ เมื่อได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นแล้วให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนส่งเรื่องกล่าวหาให้ประธานกรรมการสอบสวนโดยเร็ว และแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนกับข้อที่ถูกสอบสวนนั้นด้วยแต่ถ้าไม่อาจแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบได้ ให้ปิดสำเนาคำสั่งไว้ ณ ที่ทำการของผู้ถูกกล่าวหา และแจ้งโดยหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังผู้ถูกกล่าวหา ณ ที่อยู่ของผู้ถูกกล่าวหาซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการด้วย ถ้าปรากฏจากการสอบสวนว่า ผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในเรื่องอื่นอีกก็ให้คณะกรรมการสอบสวนมีอำนาจทำการสอบสวนในเรื่องนั้นอีกด้วย แต่ทั้งนี้ต้องแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบเพื่อแก้ข้อกล่าวหานั้น ถ้าได้มีการดำเนินการตามวรรคนี้แล้ว ให้รายงานไปยังผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยมิชักช้า ถ้าผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนอนุมัติก็ให้เป็นอันใช้ได้ แต่ถ้าผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าควรแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นดำเนินการสอบสวนใหม่ก็ให้เป็นไปตามที่ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนจะสั่ง ข้อ ๔ ในกรณีที่การสอบสวนมีมูลพาดพิงถึงข้าราชการอัยการผู้อื่นที่มิได้ระบุตัวเป็นผู้ถูกกล่าวหาตามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนนั้น ว่าเป็นผู้มีส่วนร่วมกระทำผิดในเรื่องนี้ด้วย ให้ประธานกรรมการรายงานไปยังผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนนั้นเพื่อดำเนินการต่อไปตามควรแก่กรณี ถ้าผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าควรให้คณะกรรมการสอบสวนที่ได้แต่งตั้งไว้แล้วทำการสอบสวนผู้ที่มีส่วนร่วมกระทำผิดในเรื่องนั้นด้วย ทั้งคณะกรรมการนั้นก็เข้าเกณฑ์ตามข้อ ๑ ก็ให้ดำเนินการตามความในข้อ ๒ และข้อ ๓ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ใช้พยานหลักฐานที่ได้ดำเนินการสอบสวนมาแล้วนั้นประกอบการพิจารณาความผิดของผู้มีส่วนร่วมกระทำผิดนั้นได้เท่าที่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าไม่ทำให้เสียความเป็นธรรม และการสอบสวนที่จะดำเนินการต่อไปก็ให้ดำเนินการสอบสวนร่วมกันได้ ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาตามที่ปรากฏจากการสอบสวนมาแล้วนั้นให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ร่วมกระทำผิดนั้นทราบ เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่ง และผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนคณะใหม่ขึ้น เพราะคณะกรรมการสอบสวนคณะเดิมนั้นไม่เข้าเกณฑ์ตามข้อ ๑ ให้ใช้พยานหลักฐานที่คณะกรรมการสอบสวนคณะเดิมได้ดำเนินการสอบสวนมาแล้วนั้น ประกอบการพิจารณาความผิดของผู้มีส่วนร่วมกระทำผิดนั้นได้ เท่าที่คณะกรรมการสอบสวนจะใช้ดุลพินิจเห็นว่าไม่ทำให้เสียความเป็นธรรม ข้อ ๕ ถ้าปรากฏว่ากรรมการผู้ใดในคณะกรรมการสอบสวน มีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ผู้ถูกกล่าวหาอาจคัดค้านได้ คือ (๑) เป็นพยานที่ได้รู้ได้เห็นเหตุการณ์ในเรื่องที่สอบสวนนั้น (๒) เป็นผู้มีผลประโยชน์ได้เสียในเรื่องที่สอบสวนนั้น (๓) เป็นผู้มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ถูกกล่าวหา การคัดค้าน ให้ทำเป็นหนังสือแสดงเหตุที่คัดค้านนั้นยื่นต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนนั้นภายในสิบห้าวันนับแต่วันทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เมื่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาเห็นว่าการคัดค้านนั้นมีเหตุฟังได้ก็ให้สั่งเปลี่ยนแปลงตามควรแก่กรณีโดยด่วน และถ้าเห็นว่าการคัดค้านนั้นไม่มีเหตุอันควรฟังได้ หรือเห็นว่าแม้จะให้กรรมการผู้ถูกคัดค้านนั้นร่วมสอบสวน ก็ไม่ทำให้เสียความเป็นธรรมแต่ประการใด จะสั่งยกคำคัดค้านนั้นเสียก็ได้ ในการนี้ให้บันทึกเหตุผลนั้นติดสำนวนการสอบสวนไว้ด้วย ข้อ ๖ กรรมการผู้ใดมีเหตุอันอาจถูกคัดค้านได้ตามข้อ ๕ ให้ผู้นั้นรายงานต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อพิจารณาและสั่งการตามความในข้อ ๕ โดยอนุโลม ข้อ ๗ เมื่อได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นแล้วหากมีเหตุสมควรหรือจำเป็นต้องเปลี่ยนตัวประธานกรรมการหรือกรรมการบางคน หรือตั้งกรรมการเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนนั้นออกคำสั่งเปลี่ยนตัวประธานกรรมการหรือกรรมการ หรือตั้งกรรมการเพิ่มขึ้น ตามวิธีการในข้อ ๒ และแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบตามวิธีการในข้อ ๓ ด้วย การเปลี่ยนตัวประธานกรรมการหรือกรรมการ หรือตั้งกรรมการเพิ่มดังกล่าวนี้ไม่กระทบกระเทือนการสอบสวนที่ได้ดำเนินการไปก่อนแล้ว ข้อ ๘ เมื่อประธานกรรมการได้รับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว ให้บันทึกวันที่ได้รับทราบคำสั่งนั้นไว้ในสำนวนการสอบสวน ข้อ ๙ ในการสอบสวนปากคำบุคคล ต้องมีกรรมการนั่งสอบสวนอย่างน้อยสองคน จึงจะเป็นองค์คณะทำการสอบสวนได้ แต่ในการประชุมปรึกษาต้องมีประธานกรรมการและกรรมการมาประชุมไม่ต่ำกว่ากึ่งจำนวน แต่ไม่น้อยกว่าสามคน จึงจะเป็นองค์คณะดำเนินการประชุมปรึกษาได้ ความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนให้ถือเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานกรรมการออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ข้อ ๑๐ ให้คณะกรรมการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานเท่าที่สามารถจะทำได้ เพื่อทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่าง ๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เอกสารที่ใช้เป็นพยานหลักฐานให้ใช้ต้นฉบับที่แท้จริงหรือสำเนาที่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบหรือประธานกรรมการรับรองว่าเป็นสำเนาที่ถูกต้อง ข้อ ๑๑ ในการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหา ให้คณะกรรมการสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาเท่าที่ปรากฏให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบและให้โอกาสแก่ผู้ถูกกล่าวหาที่จะชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาตลอดจนนำพยานหลักฐานมาสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ตามควรแก่กรณีภายในเวลาอันสมควร ผู้ถูกกล่าวหาจะนำพยานหลักฐานมาเอง หรือจะขอให้คณะกรรมการสอบสวนเรียกพยานหลักฐานนั้นมาก็ได้ ข้อ ๑๒ ในการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ผู้ถูกกล่าวหาอาจให้ถ้อยคำหรือทำคำชี้แจงเป็นหนังสือลงลายมือชื่อยื่นต่อคณะกรรมการสอบสวนได้ คณะกรรมการสอบสวนมีอำนาจให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร ข้อ ๑๓ ถ้าผู้ถูกกล่าวหาไม่ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายในเวลาที่คณะกรรมการสอบสวนกำหนด ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวนไปโดยไม่ต้องสอบสวนตัวผู้ถูกกล่าวหาแต่ต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ในสำนวนการสอบสวนด้วย ข้อ ๑๔ ในการสอบสวนพยาน ถ้าพยานไม่มาหรือไม่ยอมให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการสอบสวนหรือคณะกรรมการสอบสวนเรียกพยานไม่ได้ภายในกำหนดเวลาอันสมควร คณะกรรมการสอบสวนจะไม่สอบสวนพยานนั้นก็ได้ แต่ต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ในสำนวนการสอบสวนด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่ามีเหตุผลสมควรที่พยานไม่สามารถมาได้ตามกำหนด หรือได้ตัวพยานมาให้ถ้อยคำก่อนการสอบสวนพยานสิ้นสุดลง ก็ให้ผ่อนผันได้ตามควรแก่กรณี ข้อ ๑๕ ในการสอบสวนพยาน ถ้าคณะกรรมการสอบสอบเห็นว่าการสอบสวนพยานหลักฐานใดจะทำให้การสอบสวนล่าช้าโดยไม่จำเป็น หรือมิใช่ประเด็นสำคัญ คณะกรรมการสอบสวนจะงดการสอบสวนพยานหลักฐานนั้นเสียก็ได้ แต่ต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ในสำนวนการสอบสวนด้วย ข้อ ๑๖ การสอบสวนพยานบุคคลซึ่งอยู่ต่างท้องที่ คณะกรรมการสอบสวนจะส่งประเด็นไปให้หัวหน้าอัยการแห่งท้องที่นั้นทำการสอบสวนแทนให้ก็ได้ ข้อ ๑๗ การสอบสวนปากคำผู้ถูกกล่าวหาหรือพยาน ให้บันทึกถ้อยคำเป็นหนังสือแล้วอ่านให้ผู้ให้ถ้อยคำฟัง เมื่อรับว่าถูกต้องแล้วก็ให้ลงลายมือชื่อไว้ และให้กรรมการผู้นั่งสอบสวนทุกคนลงลายมือชื่อกำกับด้วย ถ้าผู้ให้ถ้อยคำไม่สามารถหรือไม่ยอมลงลายมือชื่อ ให้บันทึกเหตุนั้นไว้ ข้อ ๑๘ ภายใต้บังคับข้อ ๑๖ ห้ามมิให้บุคคลอื่นนอกจากคณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวน ข้อ ๑๙ ในการสอบสวนทุกครั้งห้ามมิให้บุคคลอื่นเข้าฟังการสอบสวน เว้นแต่ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งมีตำแหน่งเหนือผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ข้อ ๒๐ ถ้าผู้ถูกกล่าวหายื่นคำชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวนนั้นต่อคณะกรรมการสอบสวน หรือต่อผู้มีอำนาจพิจารณา หรือต่อ ก.อ. ก็ให้รับคำชี้แจงนั้นไว้พิจารณา ข้อ ๒๑ เมื่อการสอบสวนเสร็จแล้ว ให้คณะกรรมการสอบสวนประชุมปรึกษาทำรายงานการสอบสวนสรุปข้อเท็จจริงพร้อมทั้งแสดงความเห็นว่า ผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยตามเรื่องที่กล่าวหาฐานใด มาตราใด และควรลงโทษสถานใดหรือไม่เสนอต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพร้อมทั้งสำนวนการสอบสวน ถ้ากรรมการสอบสวนคนใดมีความเห็นแย้งจะทำความเห็นแย้งติดไว้กับสำนวนการสอบสวนก็ได้ ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเสนอสำนวนการสอบสวนพร้อมทั้งความเห็นต่อไปตามลำดับ ถ้าอธิบดีหรือ ก.อ. เห็นสมควรให้สอบสวนเพิ่มเติมประการใด ก็ให้สั่งคณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น ข้อ ๒๒ ในกรณีที่มีคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดชี้ขาดเกี่ยวกับผู้ถูกกล่าวหาคนใด ถ้าคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาได้ความประจักษ์ชัดอยู่แล้ว คณะกรรมการสอบสวนจะฟังข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษานั้น โดยจะไม่สอบสวนผู้ถูกกล่าวหาและพยานหลักฐานก็ได้ ข้อ ๒๓ การสอบสวนใดที่ทำไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามข้อกำหนด ก.อ. นี้ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญอันจะทำให้เสียความเป็นธรรม ไม่ทำให้สำนวนการสอบสวนทั้งหมดเสียไป ในกรณีเช่นนี้ ผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนจะสั่งให้ดำเนินการเสียใหม่ เฉพาะตอนที่ไม่ถูกต้องนั้นก็ได้ ข้อ ๒๔ การสอบสวนใดที่ได้ตั้งกรรมการดำเนินการไปแล้วก่อนวันที่ข้อกำหนด ก.อ. นี้ใช้บังคับ ถ้าถูกต้องตามวิธีการตามนัยกฎ ก.พ. ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๔๙๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๔๙๗ ว่าด้วยการสอบสวนแล้ว ให้เป็นอันสมบูรณ์ ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๔ พลเอก ป. จารุเสถียร ประธาน ก.อ. ดลธี/ผู้จัดทำ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๘/ตอนที่ ๓๕/หน้า ๔๑๑/๑๘ เมษายน ๒๕๐๔
327208
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2544
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๔ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นปีที่ ๕๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและ ยินยอมของรัฐสภาดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๔” มาตรา ๒* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป *[รก. ๒๕๔๔/๑๐๔ก/๑๓/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๔] มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๙ ให้ราชบัณฑิตยสถานมี อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีในฐานะรัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน เลขาธิการราชบัณฑิตยสถานเป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. ซึ่งตั้งจาก ข้าราชการพลเรือนในสำนักงาน ก.พ. หนึ่งคน เป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่งและอนุกรรมการซึ่ง ประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการและ ด้านกฎหมายซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับการสรรหาตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนสามคน ทั้งนี้ จะต้องเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการซึ่งดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ ๙ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า (๒) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ ๙ ในราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนห้าคน ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน อนุกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งและได้รับเลือกตาม (๒) ถ้าออกจากราชการพลเรือน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นที่มิใช่ตำแหน่งตาม (๒) หรือโอนไปรับราชการนอกราชบัณฑิตยสถาน ให้พ้นจากตำแหน่งอนุกรรมการ” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการปรับปรุง กฎหมายว่าด้วยราชบัณฑิตยสถานเพื่อกำหนดระบบบริหารงานด้านวิชาการและด้านการบริหาร ของราชบัณฑิตยสถานขึ้นใหม่ โดยให้นายกราชบัณฑิตยสถานซึ่งมาจากการเลือกของบรรดา ราชบัณฑิตปฏิบัติงานแต่เฉพาะในด้านวิชาการ และให้เลขาธิการราชบัณฑิตยสถานเป็นผู้บังคับ บัญชาข้าราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของราชบัณฑิตยสถาน และปฏิบัติหน้าที่ตามที่ สภาราชบัณฑิตยสถานมอบหมาย จึงต้องแก้ไของค์ประกอบของ อ.ก.พ. ซึ่งทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวงของราชบัณฑิตยสถานให้สอดคล้องกัน และในการนี้เมื่อได้กำหนดให้เลขาธิการ ราชบัณฑิตยสถานเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของราชบัณฑิตยสถานแล้ว อ.ก.พ. กรมของ ราชบัณฑิตยสถานจึงมีองค์ประกอบเช่นเดียวกับ อ.ก.พ. กรมของส่วนราชการอื่นได้ โดยไม่ต้อง กำหนดให้ อ.ก.พ. กระทรวง ทำหน้าที่เป็น อ.ก.พ. กรมของราชบัณฑิตยสถานด้วย จึงจำเป็นต้อง ตราพระราชบัญญัตินี้ พรพิมล/แก้ไจ ๑๓/๓/๒๕๔๕ B+A (C)
472930
ข้อบังคับ ก.อ. ว่าด้วยระเบียบการประชุมและการลงมติ พ.ศ. 2548
ข้อบังคับ ก ข้อบังคับ ก.อ. ว่าด้วยระเบียบการประชุมและการลงมติ พ.ศ. ๒๕๔๘ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ วรรคหก แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ก.อ. ออกข้อบังคับว่าด้วยระเบียบการประชุมและการลงมติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับ ก.อ. ว่าด้วยระเบียบการประชุมและการลงมติ พ.ศ. ๒๕๔๘” ข้อ ๒[๑] ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมวด ๑ ประธานในที่ประชุม อำนาจและหน้าที่ของประธาน ก.อ. และหน้าที่ของเลขานุการ ก.อ. ข้อ ๓ ให้ประธาน ก.อ. เป็นประธานในที่ประชุม ก.อ. ในกรณีที่ประธานไม่มาประชุม ไม่อยู่ในที่ประชุมจนไม่อาจดำเนินการประชุมต่อไปได้หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานและรองประธานไม่มาประชุม หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการอัยการในที่ประชุมเลือกกรรมการอัยการคนหนึ่งเป็นประธาน ข้อ ๔ ประธาน ก.อ. มีอำนาจและหน้าที่ดังนี้ (๑) เรียกประชุม ก.อ. หรือสั่งให้เลขานุการ ก.อ. เรียกหรือนัดประชุม ก.อ. (๒) ควบคุมและดำเนินการประชุมให้เป็นไปโดยเรียบร้อย (๓) รักษาความสงบเรียบร้อยในที่ประชุม ก.อ. (๔) แต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการตามมติของที่ประชุม (๕) อำนาจและหน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้ ข้อ ๕ ให้เลขานุการ ก.อ. เป็นเลขานุการในที่ประชุม ก.อ. โดยมีหน้าที่ดังนี้ (๑) ดำเนินการเรียกหรือนัดประชุม ก.อ. ตามคำสั่งของประธาน ก.อ. (๒) จัดระเบียบวาระการประชุม และจัดเตรียมสรรพเอกสารที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของ ก.อ. ในที่ประชุม (๓) เสนอให้มีการเลือกประธานในที่ประชุมตามข้อ ๓ วรรคสอง (๔) ช่วยประธานในที่ประชุมในการนับคะแนนเสียง (๕) รับผิดชอบและควบคุมการทำรายงานการประชุม (๖) แจ้งหรือยืนยันมติของที่ประชุมไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง (๗) ปฏิบัติการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตามที่ประธานในที่ประชุม ก.อ. มอบหมาย หมวด ๒ การประชุม ก.อ. ข้อ ๖ ในการประชุม ก.อ. ผู้ที่จะอยู่ในที่ประชุมได้ก็เฉพาะแต่ ก.อ. เลขานุการ ก.อ. ผู้ช่วยเลขานุการ ก.อ. และผู้ที่ได้รับอนุญาตจากประธานในที่ประชุม ข้อ ๗ ในการประชุม ก.อ. ย่อมเป็นไปตามกำหนดที่ประธาน ก.อ. เรียกประชุมไว้ แต่ประธาน ก.อ. จะสั่งงดการประชุมตามที่เรียกหรือนัดไว้แล้วก็ได้เมื่อเห็นว่าไม่มีเรื่องที่สมควรจะบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุม ในกรณีที่ประธาน ก.อ. เห็นสมควรเรียกประชุมเป็นพิเศษ ก็ให้เรียกประชุมได้ ในระหว่างที่ประธาน ก.อ. พ้นจากตำแหน่งและไม่มีรองประธาน ก.อ. ทำหน้าที่ประธาน ก.อ. กรรมการอัยการจำนวนไม่น้อยกว่าสองคน อาจเข้าชื่อกันเรียกประชุม ก.อ. เพื่อดำเนินการตามมาตรา ๑๕ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้ โดยแจ้งให้เลขานุการ ก.อ. ออกหนังสือนัดประชุม ข้อ ๘ การนัดประชุมให้นัดล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน ประธาน ก.อ. จะนัดล่วงหน้า น้อยกว่านั้นก็ได้เมื่อเห็นว่าเป็นเรื่องด่วน เรื่องจำเป็นหรือมีเหตุสมควรประการอื่น ข้อ ๙ ให้เลขานุการ ก.อ. ส่งระเบียบวาระการประชุมกับเอกสารที่เกี่ยวข้องไปให้กรรมการอัยการก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าสามวัน เว้นแต่เป็นกรณีตามข้อ ๘ วรรคสอง และหากมีเหตุจำเป็นจะส่งเพิ่มเติมอีกในเวลาใดก็ได้ตามที่เห็นสมควร ข้อ ๑๐ การจัดระเบียบวาระการประชุมให้จัดลำดับดังนี้ (๑) เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม (๒) รับรองรายงานการประชุม (๓) เรื่องแจ้งเพื่อทราบ (๔) เรื่องที่ค้างพิจารณา (๕) เรื่องที่เสนอใหม่ (๖) เรื่องอื่น ๆ ในกรณีที่ประธาน ก.อ. เห็นสมควรจะจัดลำดับระเบียบวาระการประชุมเป็นอย่างอื่นก็ได้ ข้อ ๑๑ ให้ผู้มาประชุมลงลายมือชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มาประชุมที่จัดเตรียมไว้ก่อนเข้าประชุมทุกครั้ง กรรมการอัยการผู้ใดไม่อาจมาประชุมตามที่กำหนด ให้แจ้งต่อประธาน ก.อ. ก่อนเริ่มการประชุม ข้อ ๑๒ การประชุมของ ก.อ. ต้องมีกรรมการอัยการมาประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดคนจึงจะเป็นองค์ประชุม ในการประชุมของ ก.อ. ถ้ามีการพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับกรรมการอัยการผู้ใดโดยเฉพาะ ผู้นั้นไม่มีสิทธิเข้าประชุมและลงมติในเรื่องนั้น และมิให้นับผู้นั้นเป็นองค์ประชุมในเรื่องนั้นด้วย เมื่อพ้นกำหนดเวลานัดประชุมไปสามสิบนาทีแล้วจำนวนกรรมการอัยการยังไม่ครบองค์ประชุมประธานในที่ประชุมจะสั่งให้เลื่อนการประชุมไปก็ได้ ข้อ ๑๓ ในการประชุม ก.อ. ให้ที่ประชุมพิจารณาไปตามลำดับที่จัดไว้ในระเบียบวาระการประชุมทุกเรื่อง การเปลี่ยนลำดับระเบียบวาระการประชุม การเลื่อนการประชุม หรือการปิดประชุมหรือการยกเลิกประชุม ก่อนเสร็จสิ้นระเบียบวาระการประชุมจะกระทำได้โดยความเห็นชอบของที่ประชุมเท่านั้น หมวด ๓ การลงมติ และการตีความ ข้อ ๑๔ การลงมติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการอัยการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด การออกเสียงลงมติให้กระทำโดยเปิดเผย เว้นแต่ที่ประชุมโดยเสียงข้างมากมีมติให้กระทำโดยวิธีการลงคะแนนลับ ส่วนวิธีการลงคะแนนลับให้เป็นไปตามที่ประธานกำหนด หากกรณีจำเป็นเร่งด่วน กรรมการอัยการอาจลงมติโดยใช้มติเวียนก็ได้ ข้อ ๑๕ ประธานในที่ประชุมจะสั่งให้รวมหรือแยกประเด็นในการพิจารณาหรือลงมติก็ได้เว้นแต่ที่ประชุมเห็นเป็นอย่างอื่น ข้อ ๑๖ ถ้ามีปัญหาที่จะต้องตีความข้อบังคับนี้ ให้เป็นอำนาจของที่ประชุมที่จะวินิจฉัยและเมื่อที่ประชุมลงมติวินิจฉัยเป็นประการใดแล้ว ให้ถือว่าคำวินิจฉัยนั้นเป็นอันเด็ดขาด หมวด ๔ การเผยแพร่รายงานการประชุม ข้อ ๑๗ ให้เลขานุการ ก.อ. จัดทำรายงานการประชุม ก.อ. โดยบันทึกประเด็นที่ประชุมพิจารณาพร้อมด้วยความเห็นทั้งที่เป็นความเห็นของเสียงข้างมากและความเห็นของเสียงข้างน้อย และมติของ ก.อ. ข้อ ๑๘ ให้ทำสำเนารายงานการประชุมของ ก.อ. ซึ่งที่ประชุมรับรองแล้วไว้อย่างน้อยสองชุด ณ สำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อเผยแพร่ต่อข้าราชการอัยการ รายงานการประชุมของ ก.อ. ทุกครั้งจะต้องมีรายชื่อกรรมการอัยการที่มาประชุม และที่ไม่มาประชุม ข้อ ๑๙ การงดเผยแพร่รายงานการประชุมทั้งหมดหรือบางส่วน ในกรณีที่อาจเป็นที่เสียหายแก่ทางราชการหรืออาจกระทบกระเทือนต่อสิทธิของบุคคลใด ให้เป็นไปตามมติของที่ประชุม ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ พิมล รัฐปัตย์ ประธาน ก.อ. ดลธี/ผู้จัดทำ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๑๕๐ ง/หน้า ๑๐/๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๘
327719
ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ.2503 ว่าด้วยผู้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย
ข้อกำหนด ก ข้อกำหนด ก.อ. ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ว่าด้วยผู้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๐๓ ก.อ. กำหนดให้ทนายความชั้นหนึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ พลเอก ป. จารุเสถียร ประธาน ก.อ. ดลธี/ผู้จัดทำ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๓ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๘/ตอนที่ ๗๑/หน้า ๑๐๑๖/๕ กันยายน ๒๕๐๔
830834
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562
พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นปีที่ ๔ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๖ ประกอบกับมาตรา ๒๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อเป็นการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๐๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๐๐ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดซึ่งออกจากราชการอันมิใช่เพราะเหตุตาย มีกรณีถูกกล่าวหาเป็นหนังสือก่อนออกจากราชการว่า ขณะรับราชการได้กระทำหรือละเว้นกระทำการใดอันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ถ้าเป็นการกล่าวหาต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นหรือต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ หรือเป็นการกล่าวหาของผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น หรือมีกรณีถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญาก่อนออกจากราชการว่าในขณะรับราชการได้กระทำความผิดอาญาอันมิใช่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทที่ไม่เกี่ยวกับราชการหรือความผิดลหุโทษ ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยมีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณาดำเนินการทางวินัย และสั่งลงโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ แต่ต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ กรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นการกล่าวหา หรือฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญา หลังจากที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดออกจากราชการแล้ว ให้ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยมีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณา ดำเนินการทางวินัย และสั่งลงโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ โดยต้องเริ่มดำเนินการสอบสวนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการและต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ สำหรับกรณีที่เป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามมาตรา ๙๕ วรรคสอง จะต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ ในกรณีที่ศาลปกครองมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษ หรือองค์กรพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยหรือองค์กรตรวจสอบรายงานการดำเนินการทางวินัยมีคำวินิจฉัยถึงที่สุดหรือมีมติให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง เพราะเหตุกระบวนการดำเนินการทางวินัยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยดำเนินการทางวินัยให้แล้วเสร็จภายในสองปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด หรือมีคำวินิจฉัยถึงที่สุดหรือมีมติ แล้วแต่กรณี การดำเนินการทางวินัยตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม ถ้าผลการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงก็ให้งดโทษ ความในมาตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ตามมาตรา ๑๐๑” มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๐๐/๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๑๐๐/๑ ในกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐมีมติชี้มูลความผิดข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดซึ่งออกจากราชการแล้ว การดำเนินการทางวินัยและสั่งลงโทษแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตหรือกฎหมายว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แล้วแต่กรณี การดำเนินการทางวินัยตามวรรคหนึ่ง หากปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงก็ให้งดโทษ” ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันปรากฏปัญหาความไม่สอดคล้องกันระหว่างบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการฝ่ายพลเรือนประเภทต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรม และไม่เสมอภาคในการดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการซึ่งออกจากราชการไปแล้ว นอกจากนี้ ยังมีปัญหาความแตกต่างระหว่างกฎหมายว่าด้วยการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการฝ่ายพลเรือนกับกฎหมายขององค์กรตรวจสอบการทุจริต ซึ่งทำให้การดำเนินการทางวินัยเพื่อพิจารณาลงโทษแก่ข้าราชการที่ถูกองค์กรตรวจสอบการทุจริตชี้มูลความผิดหลังออกจากราชการไปแล้วในบางกรณีไม่อาจดำเนินการตามฐานความผิดที่ชี้มูลได้ ดังนั้น สมควรให้การดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ซึ่งออกจากราชการเป็นมาตรฐานเดียวกันและสอดคล้องกับกฎหมายขององค์กรตรวจสอบการทุจริต อันจะเป็นกลไกหนึ่งที่ทำให้การป้องกันและปราบปรามการทุจริตสัมฤทธิ์ผลมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ วิวรรธน์/จัดทำ ๙ เมษายน ๒๕๖๒ วิชพงษ์/ตรวจ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๔๓ ก/หน้า ๑/๕ เมษายน ๒๕๖๒
718979
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นปีที่ ๖๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗ (๓) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๘ (๔) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๔ มิให้นำคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่ ๓๘/๒๕๑๙ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๙ มาใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือน มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “ข้าราชการพลเรือน” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณในกระทรวง กรมฝ่ายพลเรือน “ข้าราชการฝ่ายพลเรือน” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือน และข้าราชการอื่นในกระทรวง กรมฝ่ายพลเรือน ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทนั้น “กระทรวง” หมายความรวมถึงสำนักนายกรัฐมนตรีและทบวง “รัฐมนตรีเจ้าสังกัด” หมายความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวง รัฐมนตรีว่าการทบวง และหมายความรวมถึงนายกรัฐมนตรีในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาสำนักนายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวง “ปลัดกระทรวง” หมายความรวมถึงปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและปลัดทบวง “กรม” หมายความรวมถึงส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม “อธิบดี” หมายความว่า หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่ากรม “ส่วนราชการ” หมายความว่า ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและมีฐานะไม่ต่ำกว่ากรม มาตรา ๕ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ลักษณะ ๑ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน มาตรา ๖ ให้มีคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.” ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธาน ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมายซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับการสรรหาตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน แต่ไม่เกินเจ็ดคน และให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการและเลขานุการ กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต้องไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมืองและมิได้เป็นกรรมการโดยตำแหน่งอยู่แล้ว มาตรา ๗ กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งได้คราวละสามปี ถ้าตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนดและยังมีกรรมการดังกล่าวเหลืออยู่อีกไม่น้อยกว่าสามคนให้กรรมการที่เหลือปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ เมื่อตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนดให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการแทนภายในกำหนดสามสิบวัน เว้นแต่วาระของกรรมการเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่แต่งตั้งกรรมการแทนก็ได้ ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการแทนนั้นให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่ง จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการอีกก็ได้ ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่ ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่ มาตรา ๘ ก.พ. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐในด้านมาตรฐานค่าตอบแทน การบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล รวมตลอดทั้งการวางแผนกำลังคนและด้านอื่น ๆ เพื่อให้ส่วนราชการใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ (๒) รายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาปรับปรุงเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่มค่าครองชีพ สวัสดิการ หรือประโยชน์เกื้อกูลอื่นสำหรับข้าราชการฝ่ายพลเรือนให้เหมาะสม (๓) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน เพื่อส่วนราชการใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ (๔) ให้ความเห็นชอบกรอบอัตรากำลังของส่วนราชการ (๕) ออกกฎ ก.พ. และระเบียบเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ รวมตลอดทั้งการให้คำแนะนำหรือวางแนวทางในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎ ก.พ. เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ (๖) ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ รวมตลอดทั้งกำหนดแนวทางปฏิบัติในกรณีที่เป็นปัญหา มติของ ก.พ. ตามข้อนี้ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย (๗) กำกับ ดูแล ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือนในกระทรวงและกรม เพื่อรักษาความเป็นธรรมและมาตรฐานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล รวมทั้งตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ในการนี้ ให้มีอำนาจเรียกเอกสารและหลักฐานจากส่วนราชการ หรือให้ผู้แทนส่วนราชการ ข้าราชการหรือบุคคลใด ๆ มาชี้แจงข้อเท็จจริง และให้มีอำนาจออกระเบียบให้กระทรวง และกรมรายงานเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือนที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ไปยัง ก.พ. (๘) กำหนดนโยบายและออกระเบียบเกี่ยวกับทุนเล่าเรียนหลวงและทุนของรัฐบาลให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือน ตลอดจนจัดสรรผู้รับทุนที่สำเร็จการศึกษาแล้วเข้ารับราชการในกระทรวงและกรมหรือหน่วยงานของรัฐ (๙) ออกข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการจัดการการศึกษาและควบคุมดูแลและการให้ความช่วยเหลือบุคลากรภาครัฐ นักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง นักเรียนทุนของรัฐบาล และนักเรียนทุนส่วนตัวที่อยู่ในความดูแลของ ก.พ. ตลอดจนการเก็บเงินชดเชยค่าใช้จ่ายในการดูแลจัดการการศึกษา ทั้งนี้ ให้ถือว่าเงินชดเชยค่าใช้จ่ายในการดูแลจัดการการศึกษาเป็นเงินรายรับของส่วนราชการที่เป็นสถานอำนวยบริการอันเป็นสาธารณประโยชน์ ตามความหมายในกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ (๑๐) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อรับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือน และการกำหนดอัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทน รวมทั้งระดับตำแหน่งและประเภทตำแหน่งสำหรับคุณวุฒิดังกล่าว (๑๑) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการปฏิบัติการเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ (๑๒) พิจารณาจัดระบบทะเบียนประวัติและแก้ไขทะเบียนประวัติเกี่ยวกับวัน เดือน ปีเกิด และการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการพลเรือน (๑๓) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น การออกกฎ ก.พ. ตาม (๕) ในกรณีที่เห็นสมควร ให้สำนักงาน ก.พ. หารือกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาของ ก.พ. ด้วย มาตรา ๙ ในกรณีที่ ก.พ. มีมติว่ากระทรวง กรม หรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือปฏิบัติการโดยขัดหรือแย้งกับแนวทางตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ ให้ ก.พ. แจ้งให้กระทรวง กรม หรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติดังกล่าวดำเนินการแก้ไข ยกเลิก หรือยุติการดำเนินการดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนดในกรณีที่กระทรวง กรม หรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติดังกล่าวไม่ดำเนินการตามมติ ก.พ. ภายในเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าปลัดกระทรวง อธิบดี หรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติดังกล่าว แล้วแต่กรณี กระทำผิดวินัย การดำเนินการทางวินัยตามวรรคหนึ่งและการสั่งลงโทษให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.พ. ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎ ก.พ. ในกรณีที่ผู้ไม่ปฏิบัติการตามมติ ก.พ. ตามวรรคหนึ่งเป็นรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ให้ ก.พ. รายงานนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการตามที่เห็นสมควรต่อไป มาตรา ๑๐ ในกรณีที่ ก.พ. เห็นว่าการบริหารทรัพยากรบุคคลในเรื่องใดที่ข้าราชการฝ่ายพลเรือนทุกประเภทหรือบางประเภทควรมีมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์เดียวกัน ให้ ก.พ. จัดให้มีการประชุมเพื่อหารือร่วมกันระหว่างผู้แทน ก.พ. ผู้แทน ก.พ.ร. และผู้แทนองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือนประเภทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์กลางการบริหารทรัพยากรบุคคลในเรื่องนั้นเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วให้ใช้บังคับมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์กลางดังกล่าวกับข้าราชการฝ่ายพลเรือนทุกประเภทหรือประเภทนั้น ๆ แล้วแต่กรณี ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคลของรัฐในเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยโดยอนุโลม มาตรา ๑๑ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับแก่การประชุม ก.พ. โดยอนุโลม เว้นแต่กรณีตามมาตรา ๓๖ วรรคสอง มาตรา ๑๒ ก.พ. มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิสามัญ เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ. วิสามัญ” เพื่อทำการใด ๆ แทนได้ จำนวน คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญ รวมตลอดทั้งวิธีการได้มา วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๓ ให้มีสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เรียกโดยย่อว่า “สำนักงาน ก.พ.” โดยมีเลขาธิการ ก.พ. เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและบริหารราชการของสำนักงาน ก.พ. ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี สำนักงาน ก.พ. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานในหน้าที่ของ ก.พ. และ ก.พ.ค. และดำเนินการตามที่ ก.พ. หรือ ก.พ.ค. มอบหมาย (๒) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่กระทรวง กรม เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และแนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ (๓) พัฒนา ส่งเสริม วิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ระบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน (๔) ติดตามและประเมินผลการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน (๕) ดำเนินการเกี่ยวกับแผนกำลังคนของข้าราชการพลเรือน (๖) เป็นศูนย์กลางข้อมูลทรัพยากรบุคคลภาครัฐ (๗) จัดทำยุทธศาสตร์ ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือน (๘) ส่งเสริม ประสานงาน เผยแพร่ ให้คำปรึกษาแนะนำ และดำเนินการเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการและการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตสำหรับทรัพยากรบุคคลภาครัฐ (๙) ดำเนินการเกี่ยวกับทุนเล่าเรียนหลวงและทุนของรัฐบาลตามนโยบายและระเบียบของ ก.พ. ตามมาตรา ๘ (๘) (๑๐) ดำเนินการเกี่ยวกับการดูแลบุคลากรภาครัฐและนักเรียนทุนตามข้อบังคับหรือระเบียบของ ก.พ. ตามมาตรา ๘ (๙) (๑๑) ดำเนินการเกี่ยวกับการรับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือน และการกำหนดอัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทน รวมทั้งระดับตำแหน่งและประเภทตำแหน่งสำหรับคุณวุฒิดังกล่าว (๑๒) ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาทะเบียนประวัติและการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการพลเรือน (๑๓) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการพลเรือนเสนอต่อ ก.พ. และคณะรัฐมนตรี (๑๔) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ กฎหมายอื่น หรือตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือ ก.พ. มอบหมาย มาตรา ๑๔ ให้มีคณะอนุกรรมการสามัญ เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ. สามัญ” เพื่อเป็นองค์กรบริหารทรัพยากรบุคคลในส่วนราชการต่าง ๆ ดังนี้ (๑) คณะอนุกรรมการสามัญประจำกระทรวง เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ. กระทรวง” โดยออกนามกระทรวง (๒) คณะอนุกรรมการสามัญประจำกรม เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ. กรม” โดยออกนามกรม (๓) คณะอนุกรรมการสามัญประจำจังหวัด เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ. จังหวัด” โดยออกนามจังหวัด (๔) คณะอนุกรรมการสามัญประจำส่วนราชการอื่นนอกจากส่วนราชการตาม (๑) (๒) และ (๓) การเรียกชื่อ องค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.พ. ตาม (๔) ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๕ อ.ก.พ. กระทรวง ประกอบด้วยรัฐมนตรีเจ้าสังกัด เป็นประธาน ปลัดกระทรวง เป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. ซึ่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนในสำนักงาน ก.พ. หนึ่งคน เป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่ง และอนุกรรมการซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และมิได้เป็นข้าราชการในกระทรวงนั้น จำนวนไม่เกินสามคน (๒) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกระทรวงนั้น ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว จำนวนไม่เกินห้าคน ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน มาตรา ๑๖ อ.ก.พ. กระทรวง มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณากำหนดนโยบาย ระบบ และระเบียบวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคลในกระทรวงซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๘ (๓) (๒) พิจารณาการเกลี่ยอัตรากำลังระหว่างส่วนราชการต่าง ๆ ภายในกระทรวง (๓) พิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการสั่งให้ออกจากราชการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (๔) ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้และช่วย ก.พ. ปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่ ก.พ. มอบหมาย มาตรา ๑๗ อ.ก.พ. กรม ประกอบด้วยอธิบดี เป็นประธาน รองอธิบดีที่อธิบดีมอบหมายหนึ่งคน เป็นรองประธาน และอนุกรรมการซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการและด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และมิได้เป็นข้าราชการในกรมนั้นจำนวนไม่เกินสามคน (๒) ข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทบริหารหรือประเภทอำนวยการในกรมนั้นซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว จำนวนไม่เกินหกคน ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน มาตรา ๑๘ อ.ก.พ. กรม มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณากำหนดนโยบาย ระบบ และระเบียบวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคลในกรมซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๘ (๓) และนโยบายและระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลที่ อ.ก.พ. กระทรวงกำหนดตามมาตรา ๑๖ (๑) (๒) พิจารณาการเกลี่ยอัตรากำลังระหว่างส่วนราชการต่าง ๆ ภายในกรม (๓) พิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการสั่งให้ออกจากราชการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (๔) ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้และช่วย ก.พ. ปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่ ก.พ. มอบหมาย มาตรา ๑๙ อ.ก.พ. จังหวัด ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายหนึ่งคน เป็นรองประธาน และอนุกรรมการ ซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และมิได้เป็นข้าราชการพลเรือนในจังหวัดนั้น จำนวนไม่เกินสามคน (๒) ข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทบริหารหรือประเภทอำนวยการ ซึ่งกระทรวงหรือกรมแต่งตั้งไปประจำจังหวัดนั้น และได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวจำนวนไม่เกินหกคน ซึ่งแต่ละคนต้องไม่สังกัดกระทรวงเดียวกัน ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน มาตรา ๒๐ อ.ก.พ. จังหวัด มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณากำหนดแนวทางและวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคล ซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๘ (๓) (๒) พิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการสั่งให้ออกจากราชการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (๓) ปฏิบัติตามที่ อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. กรม มอบหมาย (๔) ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้และช่วย ก.พ. ปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่ ก.พ. มอบหมาย มาตรา ๒๑ หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาหรือการเลือกบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการตามมาตรา ๑๕ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๗ (๑) และ (๒) และมาตรา ๑๙ (๑) และ (๒) วาระการดำรงตำแหน่ง และจำนวนขั้นต่ำของอนุกรรมการดังกล่าว ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๒๒ ในกรณีที่กระทรวงใดมีเหตุพิเศษ ก.พ. จะอนุมัติให้มีแต่ อ.ก.พ. กระทรวงเพื่อทำหน้าที่ อ.ก.พ. กรม ก็ได้ ในกรณีส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวง แต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี ให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.พ. กระทรวงเป็นอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.พ. กรมด้วย แต่ในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ให้มีรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นประธาน และอธิบดีเป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. ซึ่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนในสำนักงาน ก.พ.หนึ่งคน เป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่ง ในกรณีสำนักงานรัฐมนตรี ให้ อ.ก.พ. กรมของสำนักงานปลัดกระทรวงทำหน้าที่ อ.ก.พ. กรมของสำนักงานรัฐมนตรี มาตรา ๒๓ ให้นำมาตรา ๑๑ มาใช้บังคับแก่การประชุมของ อ.ก.พ. วิสามัญ และ อ.ก.พ. สามัญโดยอนุโลม ลักษณะ ๒ คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม มาตรา ๒๔ ให้มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.ค.” ประกอบด้วยกรรมการจำนวนเจ็ดคนซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตามมาตรา ๒๖ กรรมการ ก.พ.ค. ต้องทำงานเต็มเวลา ให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นเลขานุการของ ก.พ.ค. มาตรา ๒๕ ผู้จะได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ ก.พ.ค. ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบห้าปี (๓) มีคุณสมบัติอื่นอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (ก) เป็นหรือเคยเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน คณะกรรมการข้าราชการครู คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา หรือคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ข) เป็นหรือเคยเป็นกรรมการกฤษฎีกา (ค) รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์หรือเทียบเท่า หรือตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองชั้นต้น (ง) รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอัยการพิเศษประจำเขตหรือเทียบเท่า (จ) รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือเทียบเท่าตามที่ ก.พ. กำหนด (ฉ) เป็นหรือเคยเป็นผู้สอนวิชาในสาขานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือวิชาที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินในสถาบันอุดมศึกษา และดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ แต่ในกรณีที่ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ต้องดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี มาตรา ๒๖ ให้มีคณะกรรมการคัดเลือกกรรมการ ก.พ.ค. ประกอบด้วยประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธาน รองประธานศาลฎีกาที่ได้รับมอบหมายจากประธานศาลฎีกาหนึ่งคน กรรมการ ก.พ. ผู้ทรงคุณวุฒิหนึ่งคนซึ่งได้รับเลือกโดย ก.พ. และให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการและเลขานุการ ให้คณะกรรมการคัดเลือกมีหน้าที่คัดเลือกบุคคลผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๕ จำนวนเจ็ดคน ให้ผู้ได้รับคัดเลือกตามวรรคสองประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ ก.พ.ค. แล้วให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกกรรมการ ก.พ.ค. ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการคัดเลือกกำหนด มาตรา ๒๗ กรรมการ ก.พ.ค. ต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นข้าราชการ (๒) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลใด (๓) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง สมาชิกพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (๔) เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจ (๕) เป็นกรรมการในองค์กรกลางบริหารงานบุคคลในหน่วยงานของรัฐ (๖) ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอย่างอื่นหรือดำรงตำแหน่งหรือประกอบการใด ๆ หรือเป็นกรรมการในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน อันขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๒๘ ผู้ได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการ ก.พ.ค. ผู้ใดมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๗ ผู้นั้นต้องลาออกจากการเป็นบุคคลซึ่งมีลักษณะต้องห้ามหรือแสดงหลักฐานให้เป็นที่เชื่อได้ว่าตนได้เลิกการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพหรือการประกอบการอันมีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวต่อเลขานุการ ก.พ.ค. ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคัดเลือก ในกรณีที่ผู้ได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการ ก.พ.ค. มิได้ลาออกหรือเลิกการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพหรือการประกอบการดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้นั้นมิเคยได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการ ก.พ.ค. และให้ดำเนินการคัดเลือกกรรมการ ก.พ.ค. ขึ้นใหม่ มาตรา ๒๙ กรรมการ ก.พ.ค. มีวาระการดำรงตำแหน่งหกปีนับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว ให้กรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ อยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการ ก.พ.ค. ใหม่ มาตรา ๓๐ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการ ก.พ.ค. พ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) มีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ (๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๕ หรือมาตรา ๒๗ (๕) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก แม้จะมีการรอการลงโทษ เว้นแต่เป็นการรอการลงโทษในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท (๖) ไม่สามารถปฏิบัติงานได้เต็มเวลาอย่างสม่ำเสมอตามระเบียบของ ก.พ.ค. เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้กรรมการ ก.พ.ค. เท่าที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ และให้ถือว่า ก.พ.ค. ประกอบด้วยกรรมการ ก.พ.ค. เท่าที่เหลืออยู่ เว้นแต่มีกรรมการ ก.พ.ค. เหลืออยู่ไม่ถึงห้าคน เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่งหรือกรณีที่กรรมการ ก.พ.ค. พ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้คณะกรรมการคัดเลือกดำเนินการคัดเลือกกรรมการ ก.พ.ค. แทนกรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตำแหน่งโดยเร็ว มาตรา ๓๑ ก.พ.ค. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอแนะต่อ ก.พ. หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่น เพื่อให้ ก.พ. หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่น ดำเนินการจัดให้มีหรือปรับปรุงนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลในส่วนที่เกี่ยวกับการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (๒) พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๑๔ (๓) พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ตามมาตรา ๑๒๓ (๔) พิจารณาเรื่องการคุ้มครองระบบคุณธรรมตามมาตรา ๑๒๖ (๕) ออกกฎ ก.พ.ค. ระเบียบ หลักเกณฑ์ และวิธีการเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎ ก.พ.ค. เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ (๖) แต่งตั้งบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่ ก.พ.ค. กำหนด เพื่อเป็นกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์หรือเป็นกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ มาตรา ๓๒ ให้กรรมการ ก.พ.ค. กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ได้รับเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา และให้มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง มาตรา ๓๓ การประชุมของคณะกรรมการ ก.พ.ค. กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ.ค. กำหนด ลักษณะ ๓ บททั่วไป มาตรา ๓๔ การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนต้องเป็นไปเพื่อผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐความมีประสิทธิภาพ และความคุ้มค่า โดยให้ข้าราชการปฏิบัติราชการอย่างมีคุณภาพ คุณธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี มาตรา ๓๕ ข้าราชการพลเรือนมี ๒ ประเภท คือ (๑) ข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุแต่งตั้งตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ (๒) ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในพระองค์พระมหากษัตริย์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๓๖ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนต้องมีคุณสมบัติทั่วไป และไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ ก. คุณสมบัติทั่วไป (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี (๓) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ ข. ลักษณะต้องห้าม (๑) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (๒) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. (๓) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น (๔) เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม (๕) เป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (๖) เป็นบุคคลล้มละลาย (๗) เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิดทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๘) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (๙) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออก เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น (๑๐) เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายอื่น (๑๑) เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ หรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตาม ข. (๔) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) หรือ (๑๑) ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ แต่ถ้าเป็นกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (๘) หรือ (๙) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้ว และในกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (๑๐) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว และต้องมิใช่เป็นกรณีออกจากงานหรือออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่ มติของ ก.พ. ในการยกเว้นดังกล่าวต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการที่มาประชุม การลงมติให้กระทำโดยลับ การขอยกเว้นตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. กำหนด ในกรณีตามวรรคสอง ก.พ. จะยกเว้นให้เป็นการเฉพาะราย หรือจะประกาศยกเว้นให้เป็นการทั่วไปก็ได้ มาตรา ๓๗ การจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งให้ข้าราชการพลเรือนให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. กำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง มาตรา ๓๘ ข้าราชการพลเรือนอาจได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ ตำแหน่งในบางท้องที่ ตำแหน่งในบางสายงาน หรือตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตามระเบียบที่ ก.พ. กำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ข้าราชการพลเรือนอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ในการเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการตามวรรคสอง ให้ ก.พ. เสนอแนะสำหรับข้าราชการประเภทอื่นในคราวเดียวกันด้วย มาตรา ๓๙ วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการพลเรือน ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๔๐ เครื่องแบบของข้าราชการพลเรือนและระเบียบการแต่งเครื่องแบบให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น มาตรา ๔๑ บำเหน็จบำนาญข้าราชการพลเรือนให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ หมวด ๑ การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนสามัญ มาตรา ๔๒ การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คำนึงถึงระบบคุณธรรมดังต่อไปนี้ (๑) การรับบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถของบุคคล ความเสมอภาค ความเป็นธรรม และประโยชน์ของทางราชการ (๒) การบริหารทรัพยากรบุคคล ต้องคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพขององค์กรและลักษณะของงาน โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม (๓) การพิจารณาความดีความชอบ การเลื่อนตำแหน่ง และการให้ประโยชน์อื่นแก่ข้าราชการต้องเป็นไปอย่างเป็นธรรมโดยพิจารณาจากผลงาน ศักยภาพ และความประพฤติ และจะนำความคิดเห็นทางการเมืองหรือสังกัดพรรคการเมืองมาประกอบการพิจารณามิได้ (๔) การดำเนินการทางวินัย ต้องเป็นไปด้วยความยุติธรรมและโดยปราศจากอคติ (๕) การบริหารทรัพยากรบุคคลต้องมีความเป็นกลางทางการเมือง มาตรา ๔๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ทั้งนี้ต้องไม่กระทบประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะ และต้องไม่มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรวมกลุ่มตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา หมวด ๒ การกำหนดตำแหน่ง และการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง มาตรา ๔๔ นอกจากตำแหน่งที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแล้ว อ.ก.พ. กระทรวงอาจกำหนดตำแหน่งที่มีชื่ออย่างอื่นเพื่อประโยชน์ในการบริหารงาน และแจ้งให้ ก.พ. ทราบด้วย มาตรา ๔๕ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมี ๔ ประเภท ดังต่อไปนี้ (๑) ตำแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่ ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการและรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง กรม และตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหาร (๒) ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ได้แก่ ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรม และตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการ (๓) ตำแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่ ตำแหน่งที่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตามที่ ก.พ. กำหนดเพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำแหน่งนั้น (๔) ตำแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่ ตำแหน่งที่ไม่ใช่ตำแหน่งประเภทบริหาร ตำแหน่งประเภทอำนวยการ และตำแหน่งประเภทวิชาการ ทั้งนี้ ตามที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๔๖ ระดับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ มีดังต่อไปนี้ (๑) ตำแหน่งประเภทบริหาร มีระดับดังต่อไปนี้ (ก) ระดับต้น (ข) ระดับสูง (๒) ตำแหน่งประเภทอำนวยการ มีระดับดังต่อไปนี้ (ก) ระดับต้น (ข) ระดับสูง (๓) ตำแหน่งประเภทวิชาการ มีระดับดังต่อไปนี้ (ก) ระดับปฏิบัติการ (ข) ระดับชำนาญการ (ค) ระดับชำนาญการพิเศษ (ง) ระดับเชี่ยวชาญ (จ) ระดับทรงคุณวุฒิ (๔) ตำแหน่งประเภททั่วไป มีระดับดังต่อไปนี้ (ก) ระดับปฏิบัติงาน (ข) ระดับชำนาญงาน (ค) ระดับอาวุโส (ง) ระดับทักษะพิเศษ การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๔๗ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญจะมีในส่วนราชการใด จำนวนเท่าใด และเป็นตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด ให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ. กระทรวงกำหนด โดยต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความไม่ซ้ำซ้อนและประหยัดเป็นหลัก ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด และต้องเป็นไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามมาตรา ๔๘ มาตรา ๔๘ ให้ ก.พ. จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง โดยจำแนกตำแหน่งเป็นประเภทและสายงานตามลักษณะงาน และจัดตำแหน่งในประเภทเดียวกันและสายงานเดียวกันที่คุณภาพของงานเท่ากันโดยประมาณเป็นระดับเดียวกัน ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงาน ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้ระบุชื่อตำแหน่งในสายงาน หน้าที่ความรับผิดชอบหลักและคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งไว้ด้วย มาตรา ๔๙ ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตำแหน่งใดบังคับบัญชาข้าราชการพลเรือนในส่วนราชการหรือหน่วยงานใด ในฐานะใดให้เป็นไปตามที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ กำหนด โดยทำเป็นหนังสือตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๕๐ ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งในแต่ละประเภทตามที่กำหนดไว้ในบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด จะได้รับเงินเดือนเท่าใดตามบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ข้าราชการพลเรือนสามัญอาจได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด จะได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ในอัตราใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. เงินประจำตำแหน่งตามมาตรานี้ ไม่ถือเป็นเงินเดือนเพื่อเป็นเกณฑ์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา ๕๐/๑[๒] ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็น เพื่อเป็นการเยียวยาให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งที่เหมาะสมและเป็นธรรม ก.พ. อาจกำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับการเยียวยาโดยให้ได้รับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งตามที่เห็นสมควรเป็นกรณี ๆ ไปก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๕๑ คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงหรือเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญให้เหมาะสมยิ่งขึ้นตามความจำเป็นก็ได้ โดยหากเป็นการปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูง หรือเงินประจำตำแหน่งเพิ่มไม่เกินร้อยละสิบของเงินเดือน หรือเงินประจำตำแหน่งที่ใช้บังคับอยู่ ให้กระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และให้ถือว่าเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูง และเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เป็นเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูง และเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชบัญญัตินี้ เมื่อมีการปรับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง การปรับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้รับอยู่เดิมเข้าสู่อัตราในบัญชีที่ได้รับการปรับใหม่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด หมวด ๓ การสรรหา การบรรจุ และการแต่งตั้ง มาตรา ๕๒ การสรรหาเพื่อให้ได้บุคคลมาบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ต้องเป็นไปตามระบบคุณธรรมและคำนึงถึงพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลดังกล่าว ตลอดจนประโยชน์ของทางราชการ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในหมวดนี้ มาตรา ๕๓ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนั้น โดยบรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ การสอบแข่งขัน การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ และรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบแข่งขันให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการตามมาตรา ๕๕ มาตรา ๕๖ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ และมาตรา ๖๕ มาตรา ๕๔ ผู้สมัครสอบแข่งขันในตำแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม หรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๖ และต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งหรือได้รับอนุมัติจาก ก.พ. ตามมาตรา ๖๒ ด้วย สำหรับผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๖ ข. (๑) ให้มีสิทธิสมัครสอบแข่งขันได้แต่จะมีสิทธิได้รับบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญที่สอบแข่งขันได้ต่อเมื่อพ้นจากการเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว มาตรา ๕๕ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ อาจคัดเลือกบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งโดยไม่ต้องดำเนินการสอบแข่งขันตามมาตรา ๕๓ ก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๕๖ กระทรวงหรือกรมใดมีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่ง จะบรรจุบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และความชำนาญงานสูง เข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ หรือทรงคุณวุฒิ หรือตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๕๗ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ และการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๕๓ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๖ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ มาตรา ๖๕ และมาตรา ๖๖ ให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้ เป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๑) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้สั่งบรรจุ และให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง (๒) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตำแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี หรือตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ให้ปลัดกระทรวงผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี เสนอรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้ปลัดกระทรวงผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมดังกล่าวเป็นผู้สั่งบรรจุ และให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง (๓) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ให้ปลัดกระทรวงผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๔) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการ ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ และเชี่ยวชาญ และประเภททั่วไปในสำนักงานรัฐมนตรี ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๕) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ให้ปลัดกระทรวงผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๖) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชาเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งเมื่อได้รับความเห็นชอบจากปลัดกระทรวง ส่วนการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้นในส่วนราชการระดับกรมที่หัวหน้าส่วนราชการอยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี หรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชา เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๗) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้สั่งบรรจุ และให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง (๘) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ให้ปลัดกระทรวงหรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๙) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ และตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชา เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง เมื่อได้รับความเห็นชอบจากปลัดกระทรวง ส่วนการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ และตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษในส่วนราชการระดับกรมที่หัวหน้าส่วนราชการอยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชา เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๑๐) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ชำนาญการ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ชำนาญงาน และอาวุโส ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชา หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากอธิบดีผู้บังคับบัญชา เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๑๑) การบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา ๕๓ และการย้ายตามมาตรา ๖๓ ให้ดำรงตำแหน่งตาม (๙) ซึ่งไม่ใช่ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ และตำแหน่งตาม (๑๐) ในราชการบริหารส่วนภูมิภาค ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดผู้บังคับบัญชา เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง ในการเสนอเพื่อแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่ง ให้รายงานความสมควรพร้อมทั้งเหตุผล ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนดไปด้วย มาตรา ๕๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารผู้ใดปฏิบัติหน้าที่เดียวติดต่อกันเป็นเวลาครบสี่ปี ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ดำเนินการให้มีการสับเปลี่ยนหน้าที่ ย้าย หรือโอนไปปฏิบัติหน้าที่อื่น เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการจะขออนุมัติคณะรัฐมนตรีให้คงอยู่ปฏิบัติหน้าที่เดิมต่อไปเป็นเวลาไม่เกินสองปีก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด ความในวรรคหนึ่งไม่ให้ใช้บังคับแก่ผู้ดำรงตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดว่าเป็นตำแหน่งที่มีลักษณะงานเฉพาะอย่าง มาตรา ๕๙ ผู้ได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา ๕๓ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๕๕ ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและให้ได้รับการพัฒนาเพื่อให้รู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการและเป็นข้าราชการที่ดีตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามวรรคหนึ่งผู้ใดมีผลการประเมินทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ สั่งให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป ถ้าผู้นั้นมีผลการประเมินทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด ก็ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้ไม่ว่าจะครบกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการแล้วหรือไม่ก็ตาม ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคสอง ให้ถือเสมือนว่าผู้นั้นไม่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการในระหว่างผู้นั้นอยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ผู้อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการผู้ใดมีกรณีอันมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๗ การดำเนินการทางวินัย และถ้าผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องออกจากราชการตามวรรคสอง ก็ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการตามวรรคสองไปก่อน ความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสามให้ใช้บังคับกับข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งโอนมาตามมาตรา ๖๔ ในระหว่างที่ยังทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยโดยอนุโลม มาตรา ๖๐ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๑๑๑ และต่อมาปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๕๙ หรือตามมาตราอื่น ก็ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ หรือผู้มีอำนาจตามมาตราอื่นนั้น แล้วแต่กรณี มีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่ง เป็นให้ออกจากราชการตามมาตรา ๕๙ หรือตามมาตราอื่นนั้นได้ มาตรา ๖๑ การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งในสายงานที่ไม่มีกำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง จะกระทำมิได้ มาตรา ๖๒ ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งใดต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็น ก.พ. อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งก็ได้ ในกรณีที่ ก.พ. กำหนดให้ปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิใดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ให้หมายถึงปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิที่ ก.พ. รับรอง มาตรา ๖๓ การย้าย การโอน หรือการเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในหรือต่างกระทรวงหรือกรม แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญจากกระทรวงหรือกรมหนึ่ง ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในต่างประเทศสังกัดอีกกระทรวงหรือกรมหนึ่ง เป็นการชั่วคราวตามระยะเวลาที่กำหนด ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด การย้ายหรือการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ต่ำกว่าเดิมจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้น การบรรจุข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้ออกจากราชการไปเนื่องจากถูกสั่งให้ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ไปปฏิบัติงานใด ๆ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการหรือออกจากราชการไปที่มิใช่เป็นการออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการกลับเข้ารับราชการในกระทรวงหรือกรม ตลอดจนจะสั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการตามพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้ออกจากราชการไป เนื่องจากถูกสั่งให้ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ไปปฏิบัติงานใด ๆ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการ เมื่อได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการให้มีสิทธินับวันรับราชการก่อนถูกสั่งให้ออกจากราชการรวมกับวันรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือวันที่ได้ปฏิบัติงานใด ๆ ตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี และวันรับราชการเมื่อได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการเป็นเวลาราชการติดต่อกันเสมือนว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกสั่งให้ออกจากราชการ สำหรับผู้ซึ่งออกจากราชการไปที่มิใช่เป็นการออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการซึ่งได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการตามวรรคสี่ ให้มีสิทธินับเวลาราชการก่อนออกจากราชการเพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๖๔ การโอนพนักงานส่วนท้องถิ่น การโอนข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัตินี้และไม่ใช่ข้าราชการการเมือง และการโอนเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานอื่นของรัฐที่ ก.พ. กำหนด มาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตลอดจนจะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้ที่โอนมารับราชการตามวรรคหนึ่ง เป็นเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย มาตรา ๖๕ พนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งไม่ใช่ออกจากงานในระหว่างทดลองปฏิบัติงานหรือข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ และไม่ใช่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญ หรือข้าราชการซึ่งออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ผู้ใดออกจากงานหรือออกจากราชการไปแล้ว ถ้าสมัครเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและทางราชการต้องการจะรับผู้นั้นเข้ารับราชการให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ พิจารณาโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับ ทั้งนี้ จะบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้เข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งในขณะที่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย มาตรา ๖๖ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๖๒ แล้ว หากภายหลังปรากฏว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติไม่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ แต่งตั้งผู้นั้นให้กลับไปดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกันโดยพลัน แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับอยู่ก่อนได้รับคำสั่งให้กลับไปดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกัน การรับเงินเดือน สิทธิและประโยชน์ของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้กลับไปดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกันตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด ในกรณีที่ไม่สามารถแต่งตั้งให้กลับไปดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกันตามวรรคหนึ่งได้ ไม่ว่าด้วยเหตุใดให้ ก.พ. พิจารณาเป็นการเฉพาะราย มาตรา ๖๗ ผู้ได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดตามมาตรา ๕๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๖ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ และมาตรา ๖๕ หากภายหลังปรากฏว่าขาดคุณสมบัติทั่วไปหรือมีลักษณะต้องห้ามโดยไม่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๓๖ หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นโดยไม่ได้รับอนุมัติจาก ก.พ. ตามมาตรา ๖๒ อยู่ก่อนก็ดี มีกรณีต้องหาอยู่ก่อนและภายหลังเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเนื่องจากกรณีต้องหานั้นก็ดี ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการโดยพลัน แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการก่อนมีคำสั่งให้ออกนั้นและถ้าการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้วให้ถือว่าเป็นการสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา ๖๘ ในกรณีที่ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญว่างลง หรือผู้ดำรงตำแหน่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ และเป็นกรณีที่มิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนที่เห็นสมควรรักษาการในตำแหน่งนั้นได้ ผู้รักษาการในตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้มีอำนาจหน้าที่ตามตำแหน่งที่รักษาการนั้น ในกรณีที่มีกฎหมายอื่น กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ มติของคณะรัฐมนตรี มติคณะกรรมการตามกฎหมายหรือคำสั่งผู้บังคับบัญชา แต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ๆ เป็นกรรมการ หรือให้มีอำนาจหน้าที่อย่างใด ก็ให้ผู้รักษาการในตำแหน่งทำหน้าที่กรรมการ หรือมีอำนาจหน้าที่อย่างนั้นในระหว่างที่รักษาการในตำแหน่ง แล้วแต่กรณี มาตรา ๖๙ ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็น ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจสั่งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ประจำส่วนราชการเป็นการชั่วคราวโดยให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่เดิมได้ตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. การให้ได้รับเงินเดือน การแต่งตั้ง การเลื่อนเงินเดือน การดำเนินการทางวินัย และการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๗๐ ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็น ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญพ้นจากตำแหน่งหน้าที่และขาดจากอัตราเงินเดือนในตำแหน่งเดิมโดยให้รับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทนโดยมีระยะเวลาตามที่ ก.พ. กำหนดได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. การให้พ้นจากตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือน การแต่งตั้ง การเลื่อนเงินเดือน การดำเนินการทางวินัย และการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ในกรณีที่หมดความจำเป็นหรือครบกำหนดระยะเวลาการให้รับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทน ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ สั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นพ้นจากการรับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกัน มาตรา ๗๑ ในกรณีที่ศาลปกครองมีคำพิพากษาถึงที่สุดสั่งให้เพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้เป็นหน้าที่ของ ก.พ. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีในการสั่งการตามสมควรเพื่อเยียวยาและแก้ไขหรือดำเนินการตามที่เห็นสมควรได้ หมวด ๔ การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและ เสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ มาตรา ๗๒ ให้ส่วนราชการมีหน้าที่ดำเนินการให้มีการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญ เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนสามัญมีคุณภาพ คุณธรรม จริยธรรม คุณภาพชีวิต มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด ในกรณีที่เห็นสมควร และเพื่อการประหยัด สำนักงาน ก.พ. จะจัดให้มีการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจแทนส่วนราชการตามวรรคหนึ่งก็ได้ มาตรา ๗๓ ผู้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตนต่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาอย่างมีคุณธรรมและเที่ยงธรรมและเสริมสร้างแรงจูงใจให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาดำรงตนเป็นข้าราชการที่ดี มาตรา ๗๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประพฤติตนอยู่ในจรรยาและระเบียบวินัยและปฏิบัติราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ตามควรแก่กรณีตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. และจะให้บำเหน็จความชอบอย่างอื่นซึ่งอาจเป็นคำชมเชย เครื่องเชิดชูเกียรติ หรือรางวัลด้วยก็ได้ มาตรา ๗๕ การให้ข้าราชการพลเรือนสามัญไปศึกษาเพิ่มเติม ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศหรือต่างประเทศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๗๖ ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแต่งตั้ง และเลื่อนเงินเดือน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด ผลการประเมินตามวรรคหนึ่งให้นำไปใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาและเพิ่มพูนประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการด้วย มาตรา ๗๗ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญหรือให้ได้รับสิทธิประโยชน์อื่นตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด หมวด ๕ การรักษาจรรยาข้าราชการ มาตรา ๗๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาจรรยาข้าราชการตามที่ส่วนราชการกำหนดไว้โดยมุ่งประสงค์ให้เป็นข้าราชการที่ดี มีเกียรติและศักดิ์ศรีความเป็นข้าราชการ โดยเฉพาะในเรื่องดังต่อไปนี้ (๑) การยึดมั่นและยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง (๒) ความซื่อสัตย์สุจริตและความรับผิดชอบ (๓) การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ (๔) การปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม (๕) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน ให้ส่วนราชการกำหนดข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการเพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะของงานในส่วนราชการนั้นตามหลักวิชาและจรรยาวิชาชีพ ในการกำหนดข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการตามวรรคสอง ให้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของข้าราชการและประกาศให้ประชาชนทราบด้วย มาตรา ๗๙ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่ปฏิบัติตามจรรยาข้าราชการอันมิใช่เป็นความผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาตักเตือน นำไปประกอบการพิจารณาแต่งตั้งเลื่อนเงินเดือน หรือสั่งให้ข้าราชการผู้นั้นได้รับการพัฒนา หมวด ๖ วินัยและการรักษาวินัย มาตรา ๘๐ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาวินัยโดยกระทำการหรือไม่กระทำการตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัดอยู่เสมอ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ปฏิบัติราชการในต่างประเทศนอกจากต้องรักษาวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้แล้ว ต้องรักษาวินัยโดยกระทำการหรือไม่กระทำการตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ด้วย มาตรา ๘๑ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ มาตรา ๘๒ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องกระทำการอันเป็นข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้ (๑) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรม (๒) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบของทางราชการ มติของคณะรัฐมนตรี นโยบายของรัฐบาล และปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ (๓) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการด้วยความตั้งใจอุตสาหะ เอาใจใส่ และรักษาประโยชน์ของทางราชการ (๔) ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการ โดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ โดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเห็นว่าการปฏิบัติตามคำสั่งนั้นจะทำให้เสียหายแก่ราชการ หรือจะเป็นการไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการจะต้องเสนอความเห็นเป็นหนังสือทันทีเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนคำสั่งนั้น และเมื่อได้เสนอความเห็นแล้ว ถ้าผู้บังคับบัญชายืนยันให้ปฏิบัติตามคำสั่งเดิม ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม (๕) ต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้ (๖) ต้องรักษาความลับของทางราชการ (๗) ต้องสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคีและต้องช่วยเหลือกันในการปฏิบัติราชการระหว่างข้าราชการด้วยกันและผู้ร่วมปฏิบัติราชการ (๘) ต้องต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรม และให้การสงเคราะห์แก่ประชาชนผู้ติดต่อราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตน (๙) ต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ราชการและในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชน กับจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการว่าด้วยมารยาททางการเมืองของข้าราชการด้วย (๑๐) ต้องรักษาชื่อเสียงของตน และรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย (๑๑) กระทำการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๘๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่กระทำการใดอันเป็นข้อห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องแจ้งถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย (๒) ต้องไม่ปฏิบัติราชการอันเป็นการกระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้กระทำหรือได้รับอนุญาตเป็นพิเศษชั่วครั้งคราว (๓) ต้องไม่อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น (๔) ต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ (๕) ต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาผลประโยชน์อันอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรมหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน (๖) ต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท (๗) ต้องไม่กระทำการอย่างใดที่เป็นการกลั่นแกล้ง กดขี่ หรือข่มเหงกันในการปฏิบัติราชการ (๘) ต้องไม่กระทำการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. (๙) ต้องไม่ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงประชาชนผู้ติดต่อราชการ (๑๐) ไม่กระทำการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๘๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติตามมาตรา ๘๑ และมาตรา ๘๒ หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา ๘๓ ผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัย มาตรา ๘๕ การกระทำผิดวินัยในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง (๑) ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต (๒) ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๓) ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ (๔) กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง (๕) ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ ข่มเหง หรือทำร้ายประชาชนผู้ติดต่อราชการอย่างร้ายแรง (๖) กระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือให้รับโทษที่หนักกว่าโทษจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๗) ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๒ หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา ๘๓ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๘) ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๐ วรรคสองและมาตรา ๘๒ (๑๑) หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา ๘๓ (๑๐) ที่มีกฎ ก.พ. กำหนดให้เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๘๖ กฎ ก.พ. ตามมาตรา ๘๐ วรรคสอง มาตรา ๘๒ (๑๑) มาตรา ๘๓ (๘) และ (๑๐) และมาตรา ๘๕ (๘) ให้ใช้สำหรับการกระทำที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่กฎ ก.พ. ดังกล่าวใช้บังคับ มาตรา ๘๗ ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่เสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีวินัยและป้องกันมิให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๘๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัย จะต้องได้รับโทษทางวินัย เว้นแต่มีเหตุอันควรงดโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๗ การดำเนินการทางวินัย โทษทางวินัยมี ๕ สถาน ดังต่อไปนี้ (๑) ภาคทัณฑ์ (๒) ตัดเงินเดือน (๓) ลดเงินเดือน (๔) ปลดออก (๕) ไล่ออก มาตรา ๘๙ การลงโทษข้าราชการพลเรือนสามัญให้ทำเป็นคำสั่ง ผู้สั่งลงโทษต้องสั่งลงโทษให้เหมาะสมกับความผิดและต้องเป็นไปด้วยความยุติธรรมและโดยปราศจากอคติ โดยในคำสั่งลงโทษให้แสดงว่าผู้ถูกลงโทษกระทำผิดวินัยในกรณีใดและตามมาตราใด หมวด ๗ การดำเนินการทางวินัย มาตรา ๙๐ เมื่อมีการกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ทราบโดยเร็ว และให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้โดยเร็วด้วยความยุติธรรมและโดยปราศจากอคติ ผู้บังคับบัญชาหรือผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ผู้ใดละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง หรือปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สุจริตให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย อำนาจหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ตามหมวดนี้ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ จะมอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาระดับต่ำลงไปปฏิบัติแทนตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ. กำหนดก็ได้ มาตรา ๙๑ เมื่อได้รับรายงานตามมาตรา ๙๐ หรือความดังกล่าวปรากฏต่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ รีบดำเนินการหรือสั่งให้ดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณาในเบื้องต้นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยหรือไม่ ถ้าเห็นว่ากรณีไม่มีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยก็ให้ยุติเรื่องได้ ในกรณีที่เห็นว่ามีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยโดยมีพยานหลักฐานในเบื้องต้นอยู่แล้ว ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๙๒ หรือมาตรา ๙๓ แล้วแต่กรณี มาตรา ๙๒ ในกรณีที่ผลการสืบสวนหรือพิจารณาตามมาตรา ๙๑ ปรากฏว่ากรณีมีมูลถ้าความผิดนั้นมิใช่เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง และได้แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ พร้อมทั้งรับฟังคำชี้แจงของผู้ถูกกล่าวหาแล้วผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษตามควรแก่กรณีโดยไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวนก็ได้ ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งยุติเรื่อง มาตรา ๙๓ ในกรณีที่ผลการสืบสวนหรือพิจารณาตามมาตรา ๙๑ ปรากฏว่ากรณีมีมูลอันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ในการสอบสวนต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบพร้อมทั้งรับฟังคำชี้แจงของผู้ถูกกล่าวหา เมื่อคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการเสร็จ ให้รายงานผลการสอบสวนและความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ถ้าผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้สั่งยุติเรื่อง แต่ถ้าเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๙๖ หรือมาตรา ๙๗ แล้วแต่กรณี มาตรา ๙๔ การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนสำหรับกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งต่างกัน หรือต่างกรมหรือต่างกระทรวงกันถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกันให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญในกรมเดียวกัน ที่อธิบดีหรือปลัดกระทรวงถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ให้ปลัดกระทรวงหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวง แล้วแต่กรณี เป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน (๒) สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญต่างกรมในกระทรวงเดียวกันถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกัน ให้ปลัดกระทรวงเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เว้นแต่เป็นกรณีที่ปลัดกระทรวงถูกกล่าวหาร่วมด้วย ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน (๓) สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญต่างกระทรวงกันถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกันให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ร่วมกันแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เว้นแต่เป็นกรณีที่มีผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงร่วมด้วย ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน (๔) สำหรับกรณีอื่น ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๙๕ หลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ในกรณีที่เป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. จะดำเนินการทางวินัยโดยไม่ต้องสอบสวนก็ได้ มาตรา ๙๖ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ สั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด ในกรณีมีเหตุอันควรลดหย่อน จะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่สำหรับการลงโทษภาคทัณฑ์ให้ใช้เฉพาะกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย ในกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้ การลงโทษตามมาตรานี้ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ จะมีอำนาจสั่งลงโทษผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาในสถานโทษและอัตราโทษใดได้เพียงใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๙๗ ภายใต้บังคับวรรคสอง ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนหรือผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง หรือผู้มีอำนาจตามมาตรา ๙๔ เห็นว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. จังหวัด อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. กระทรวง ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาสังกัดอยู่ แล้วแต่กรณี พิจารณา เมื่อ อ.ก.พ. ดังกล่าวมีมติเป็นประการใด ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ สั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ไม่ใช้อำนาจตามมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๙๔ หรือมาตรานี้ ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๕๗ ระดับเหนือขึ้นไปมีอำนาจดำเนินการตามมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๙๔ หรือมาตรานี้ได้ ผู้ใดถูกลงโทษปลดออก ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ มาตรา ๙๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดให้ข้อมูลต่อผู้บังคับบัญชาหรือให้ถ้อยคำในฐานะพยานต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ อันเป็นประโยชน์และเป็นผลดียิ่งต่อทางราชการ ผู้บังคับบัญชาอาจพิจารณาให้บำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษได้ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดอยู่ในฐานะที่อาจจะถูกกล่าวหาว่าร่วมกระทำผิดวินัยกับข้าราชการอื่น ให้ข้อมูลต่อผู้บังคับบัญชา หรือให้ถ้อยคำต่อบุคคลหรือคณะบุคคลตามความในวรรคหนึ่งเกี่ยวกับการกระทำผิดวินัยที่ได้กระทำมา จนเป็นเหตุให้มีการสอบสวนพิจารณาทางวินัยแก่ผู้เป็นต้นเหตุแห่งการกระทำผิด ผู้บังคับบัญชาอาจใช้ดุลพินิจกันผู้นั้นไว้เป็นพยานหรือพิจารณาลดโทษทางวินัยตามควรแก่กรณีได้ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดให้ข้อมูลหรือให้ถ้อยคำในฐานะพยานตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองอันเป็นเท็จให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย หลักเกณฑ์และวิธีการการให้บำเหน็จความชอบ การกันเป็นพยาน การลดโทษ และการให้ความคุ้มครองพยาน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. กฎ ก.พ. ว่าด้วยการคุ้มครองพยานตามวรรคสี่ จะกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงาน ก.พ. หรือผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ จะดำเนินการย้าย โอน หรือดำเนินการอื่นใดโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมหรือเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชาของข้าราชการผู้นั้น และไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนหรือกระบวนการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ก็ได้ มาตรา ๙๙ ให้กรรมการสอบสวนตามมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาและให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพียงเท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของกรรมการสอบสวนและโดยเฉพาะให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วยคือ (๑) เรียกให้กระทรวง กรม ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ หรือห้างหุ้นส่วน บริษัท ชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน (๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน มาตรา ๑๐๐[๓] ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดซึ่งออกจากราชการอันมิใช่เพราะเหตุตาย มีกรณีถูกกล่าวหาเป็นหนังสือก่อนออกจากราชการว่า ขณะรับราชการได้กระทำหรือละเว้นกระทำการใดอันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ถ้าเป็นการกล่าวหาต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นหรือต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ หรือเป็นการกล่าวหาของผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น หรือมีกรณีถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญาก่อนออกจากราชการว่าในขณะรับราชการได้กระทำความผิดอาญาอันมิใช่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทที่ไม่เกี่ยวกับราชการหรือความผิดลหุโทษ ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยมีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณาดำเนินการทางวินัย และสั่งลงโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ แต่ต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ กรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นการกล่าวหา หรือฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญา หลังจากที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดออกจากราชการแล้ว ให้ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยมีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณา ดำเนินการทางวินัย และสั่งลงโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ โดยต้องเริ่มดำเนินการสอบสวนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการและต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ สำหรับกรณีที่เป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามมาตรา ๙๕ วรรคสอง จะต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ ในกรณีที่ศาลปกครองมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษ หรือองค์กรพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยหรือองค์กรตรวจสอบรายงานการดำเนินการทางวินัยมีคำวินิจฉัยถึงที่สุดหรือมีมติให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง เพราะเหตุกระบวนการดำเนินการทางวินัยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยดำเนินการทางวินัยให้แล้วเสร็จภายในสองปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด หรือมีคำวินิจฉัยถึงที่สุดหรือมีมติ แล้วแต่กรณี การดำเนินการทางวินัยตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม ถ้าผลการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงก็ให้งดโทษ ความในมาตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ตามมาตรา ๑๐๑ มาตรา ๑๐๐/๑[๔] ในกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐมีมติชี้มูลความผิดข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดซึ่งออกจากราชการแล้ว การดำเนินการทางวินัยและสั่งลงโทษแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตหรือกฎหมายว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แล้วแต่กรณี การดำเนินการทางวินัยตามวรรคหนึ่ง หากปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงก็ให้งดโทษ มาตรา ๑๐๑ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนหรือพิจารณา หรือผลแห่งคดีได้ ถ้าภายหลังปรากฏผลการสอบสวนหรือพิจารณาว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิดหรือกระทำผิดไม่ถึงกับจะถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก และไม่มีกรณีที่จะต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่น ก็ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติราชการหรือกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกันหรือในตำแหน่งประเภทและระดับที่ ก.พ. กำหนด ทั้งนี้ ผู้นั้นต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น เมื่อได้มีการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดพักราชการหรือออกจากราชการไว้ก่อนแล้วภายหลังปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในกรณีอื่นอีก ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณา และแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ๙๓ ตลอดจนดำเนินการทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ต่อไปได้ ในกรณีที่สั่งให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนกลับเข้ารับราชการ หรือสั่งให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนออกจากราชการด้วยเหตุอื่นที่มิใช่เป็นการลงโทษเพราะกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงก็ให้ผู้นั้นมีสถานภาพเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตลอดระยะเวลาระหว่างที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเสมือนว่าผู้นั้นเป็นผู้ถูกสั่งพักราชการ เงินเดือน เงินอื่นที่จ่ายเป็นรายเดือน และเงินช่วยเหลืออย่างอื่น และการจ่ายเงินดังกล่าวของผู้ถูกสั่งพักราชการ และผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น การสั่งพักราชการให้สั่งพักตลอดเวลาที่สอบสวนหรือพิจารณา เว้นแต่ผู้ถูกสั่งพักราชการผู้ใดได้ร้องทุกข์ตามมาตรา ๑๒๒ และผู้มีอำนาจพิจารณาคำร้องทุกข์เห็นว่าสมควรสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนการสอบสวนหรือพิจารณาเสร็จสิ้นเนื่องจากพฤติการณ์ของผู้ถูกสั่งพักราชการไม่เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนหรือพิจารณา และไม่ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยต่อไป หรือเนื่องจากการดำเนินการทางวินัยได้ล่วงพ้นหนึ่งปีนับแต่วันพักราชการแล้วยังไม่แล้วเสร็จและผู้ถูกสั่งพักราชการไม่มีพฤติกรรมดังกล่าว ให้ผู้มีอำนาจสั่งพักราชการสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนการสอบสวนหรือพิจารณาเสร็จสิ้น ให้นำความในวรรคหกมาใช้บังคับกับกรณีถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสั่งพักราชการ การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ระยะเวลาให้พักราชการและให้ออกจากราชการไว้ก่อน การให้กลับเข้าปฏิบัติราชการหรือกลับเข้ารับราชการและการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามผลการสอบสวนหรือพิจารณาให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๐๒ การลงโทษข้าราชการพลเรือนสามัญในส่วนราชการที่มีกฎหมายว่าด้วยวินัยข้าราชการโดยเฉพาะ ในกรณีเป็นความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงตามพระราชบัญญัตินี้จะลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้หรือลงทัณฑ์หรือลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยวินัยข้าราชการนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งตามควรแก่กรณีและพฤติการณ์ก็ได้ แต่ถ้าเป็นกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ว่าจะได้ลงทัณฑ์หรือลงโทษตามกฎหมายดังกล่าวแล้วหรือไม่ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๓ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้หรือลงทัณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยข้าราชการโดยเฉพาะ หรือสั่งยุติเรื่อง หรืองดโทษแล้ว ให้รายงาน อ.ก.พ. กระทรวงซึ่งผู้ถูกดำเนินการทางวินัยสังกัดอยู่เพื่อพิจารณา เว้นแต่เป็นกรณีดำเนินการทางวินัยกับข้าราชการต่างกระทรวงกัน หรือกรณีดำเนินการทางวินัยตามมติ อ.ก.พ. กระทรวง ตามมาตรา ๙๗ วรรคสอง ให้รายงาน ก.พ. ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ ก.พ. กำหนด ในกรณีที่ อ.ก.พ. กระทรวงหรือ ก.พ. เห็นว่าการดำเนินการทางวินัยเป็นการไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม หากมีมติเป็นประการใด ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ. กระทรวงหรือ ก.พ. มีมติ ในกรณีตามวรรคสองและในการดำเนินการตามมาตรา ๑๐๔ ให้ ก.พ. มีอำนาจสอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๙๕ มาตรา ๑๐๔ ในการดำเนินการของ อ.ก.พ. กระทรวงตามมาตรา ๙๗ วรรคสอง หรือมาตรา ๑๐๓ วรรคสอง หากผู้แทน ก.พ. ซึ่งเป็นกรรมการใน อ.ก.พ. กระทรวงดังกล่าวเห็นว่าการดำเนินการของผู้บังคับบัญชาหรือมติ อ.ก.พ. กระทรวง เป็นการไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้หรือปฏิบัติไม่เหมาะสม ให้รายงาน ก.พ. เพื่อพิจารณาดำเนินการตามควรแก่กรณีต่อไป และเมื่อ ก.พ. มีมติเป็นประการใด ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามที่ ก.พ. มีมติ ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้ถูกลงโทษได้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษของผู้บังคับบัญชาต่อ ก.พ.ค. ในกรณีเช่นนี้ให้ ก.พ. แจ้งมติต่อ ก.พ.ค. เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ มาตรา ๑๐๕ เมื่อมีกรณีเพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ ให้ผู้สั่งมีคำสั่งใหม่ และในคำสั่งดังกล่าวให้สั่งยกเลิกคำสั่งลงโทษเดิม พร้อมทั้งระบุวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับโทษที่ได้รับไปแล้ว ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๐๖ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งโอนมาตามมาตรา ๖๔ ผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยอยู่ก่อนวันโอนมาบรรจุ ให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นดำเนินการทางวินัยตามหมวดนี้โดยอนุโลม แต่ถ้าเป็นเรื่องที่อยู่ในระหว่างการสืบสวนหรือพิจารณา หรือสอบสวนของผู้บังคับบัญชาเดิมก่อนวันโอนก็ให้สืบสวนหรือพิจารณา หรือสอบสวนต่อไปจนเสร็จ แล้วส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นพิจารณาดำเนินการต่อไปตามหมวดนี้โดยอนุโลม แต่ทั้งนี้ ในการสั่งลงโทษทางวินัยให้พิจารณาตามความผิดและลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นหรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการที่โอนมานั้น แล้วแต่กรณี หมวด ๘ การออกจากราชการ มาตรา ๑๐๗ ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการเมื่อ (๑) ตาย (๒) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๓) ลาออกจากราชการและได้รับอนุญาตให้ลาออกหรือการลาออกมีผลตามมาตรา ๑๐๙ (๔) ถูกสั่งให้ออกตามมาตรา ๕๙ มาตรา ๖๗ มาตรา ๑๐๑ มาตรา ๑๑๐ หรือมาตรา ๑๑๑ หรือ (๕) ถูกสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก วันออกจากราชการตาม (๔) และ (๕) ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๑๐๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดเมื่ออายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในสิ้นปีงบประมาณและทางราชการมีความจำเป็นที่จะให้รับราชการต่อไปเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในทางวิชาการหรือหน้าที่ที่ต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัว ในตำแหน่งตามมาตรา ๔๖ (๓) (ง) หรือ (จ) หรือ (๔) (ค) หรือ (ง) จะให้รับราชการต่อไปอีกไม่เกินสิบปีก็ได้ตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๐๙ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งโดยยื่นล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกไม่น้อยกว่าสามสิบวันเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ เป็นผู้พิจารณาก่อนวันขอลาออก ในกรณีที่ผู้ประสงค์จะลาออกยื่นหนังสือขอลาออกล่วงหน้าน้อยกว่าสามสิบวัน และผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ เห็นว่ามีเหตุผลและความจำเป็นจะอนุญาตให้ลาออกตามวันที่ขอลาออกก็ได้ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ เห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการ จะยับยั้งการลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันขอลาออกก็ได้ ในกรณีเช่นนั้นถ้าผู้ขอลาออกมิได้ถอนใบลาออกก่อนครบกำหนดระยะเวลาการยับยั้งให้ถือว่าการลาออกนั้นมีผลเมื่อครบกำหนดเวลาตามที่ได้ยับยั้งไว้ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มิได้ยับยั้งตามวรรคสามให้การลาออกนั้นมีผลตั้งแต่วันขอลาออก ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการเพื่อดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ตำแหน่งทางการเมือง หรือตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนด หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาตามวรรคหนึ่ง และให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการลาออก การพิจารณาอนุญาตให้ลาออกและการยับยั้งการลาออกจากราชการ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๑๑๐ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอ (๒) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดสมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการ (๓) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๓๖ ก. (๑) หรือ (๓) หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๖ ข. (๑) (๓) (๖) หรือ (๗) (๔) เมื่อทางราชการเลิกหรือยุบหน่วยงานหรือตำแหน่งที่ข้าราชการพลเรือนสามัญปฏิบัติหน้าที่หรือดำรงอยู่ สำหรับผู้ที่ออกจากราชการในกรณีนี้ให้ได้รับเงินชดเชยตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนดด้วย (๕) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการ (๖) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ บกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ ถ้าให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ (๗) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกสอบสวนว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามมาตรา ๙๓ และผลการสอบสวนไม่ได้ความแน่ชัดพอที่จะฟังลงโทษตามมาตรา ๙๗ วรรคหนึ่ง แต่มีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวน ถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ (๘) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษหรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำสั่งของศาลซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก การสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๙๗ วรรคสอง มาใช้บังคับกับการสั่งให้ออกจากราชการตามกรณี (๓) เฉพาะมาตรา ๓๖ ก. (๓) กรณี (๖) และกรณี (๗) โดยอนุโลม เมื่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ สั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดออกจากราชการตามมาตรานี้แล้ว ให้รายงาน อ.ก.พ. กระทรวง หรือ ก.พ. แล้วแต่กรณี และให้นำมาตรา ๑๐๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๑๑ เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคหนึ่ง และต่อมาปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตราอื่นอยู่ก่อนไปรับราชการทหาร ก็ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ออกตามวรรคหนึ่งเป็นให้ออกจากราชการตามมาตราอื่นนั้นได้ มาตรา ๑๑๒ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ไม่ใช้อำนาจตามมาตรา ๑๑๐ โดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ระดับเหนือขึ้นไปมีอำนาจดำเนินการตามมาตรา ๑๑๐ ได้ มาตรา ๑๑๓ การออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่งนับแต่วันออกจากราชการ เว้นแต่ออกจากราชการเพราะความตายให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ หมวด ๙ การอุทธรณ์ มาตรา ๑๑๔ ผู้ใดถูกสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๑๑๐ (๑) (๓) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.พ.ค. ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคำสั่ง การอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.ค. มาตรา ๑๑๕ ในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ ก.พ.ค. จะพิจารณาวินิจฉัยเองหรือจะตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.ค. มาตรา ๑๑๖ เมื่อ ก.พ.ค. พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ดำเนินการให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยนั้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ ก.พ.ค. มีคำวินิจฉัย ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ก.พ.ค. ให้ฟ้องคดีต่อศาลปกครองสูงสุดภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ทราบหรือถือว่าทราบคำวินิจฉัยของ ก.พ.ค. ผู้บังคับบัญชาผู้ใดไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการจงใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น มาตรา ๑๑๗ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการ ก.พ.ค. และกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ (๑) สั่งให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งลงโทษหรือสั่งให้ออกจากราชการอันเป็นเหตุให้มีการอุทธรณ์ ส่งสำนวนการสอบสวนและการลงโทษให้ ก.พ.ค. ภายในเวลาที่กำหนด (๒) สั่งให้กระทรวง กรม ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐรวมตลอดทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องสอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมหรือส่งตัวข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ในสังกัดมาให้ถ้อยคำ ในการนี้จะกำหนดระยะเวลาในการสอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมไว้ด้วยก็ได้ (๓) มีคำสั่งให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของกระทรวง กรม ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือบุคคลใดที่เกี่ยวข้อง มาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (๔) เข้าไปในอาคาร หรือสถานที่ใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของ ก.พ.ค. ทั้งนี้ ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น (๕) สอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติม มาตรา ๑๑๘ การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๑๔ ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ เว้นแต่มีเหตุขัดข้องที่ทำให้การพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ก็ให้ขยายระยะเวลาได้อีกซึ่งไม่เกินสองครั้ง โดยแต่ละครั้งจะต้องไม่เกินหกสิบวัน และให้บันทึกเหตุขัดข้องให้ปรากฏไว้ด้วย มาตรา ๑๑๙ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งโอนมาตามมาตรา ๖๔ ผู้ใดถูกสั่งลงโทษทางวินัยอยู่ก่อนวันโอนมาบรรจุ และผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นหรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการที่โอนมาแต่ยังไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ตามกฎหมายดังกล่าว ก็ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๑๔ ได้ แต่ถ้าผู้นั้นได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นหรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการที่โอนมาไว้แล้วและในวันที่ผู้นั้นได้โอนมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ยังไม่แล้วเสร็จ ก็ให้ส่งเรื่องให้ ก.พ.ค. เป็นผู้พิจารณาอุทธรณ์ มาตรา ๑๒๐ ในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ ก.พ.ค. มีอำนาจไม่รับอุทธรณ์ ยกอุทธรณ์ หรือมีคำวินิจฉัยให้แก้ไขหรือยกเลิกคำสั่งลงโทษ และให้เยียวยาความเสียหายให้ผู้อุทธรณ์ หรือให้ดำเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ตามระเบียบที่ ก.พ.ค. กำหนด การวินิจฉัยให้แก้ไขหรือให้ดำเนินการอื่นตามวรรคหนึ่ง ก.พ.ค. จะให้เพิ่มโทษไม่ได้ เว้นแต่เป็นกรณีได้รับแจ้งจาก ก.พ. ตามมาตรา ๑๐๔ ว่าสมควรเพิ่มโทษ ในกรณีเช่นนั้น ก.พ.ค. มีอำนาจวินิจฉัยให้เพิ่มโทษได้ มาตรา ๑๒๑ เมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้ กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์อาจถูกคัดค้านได้ (๑) รู้เห็นเหตุการณ์ในการกระทำผิดวินัยที่ผู้อุทธรณ์ถูกลงโทษหรือการถูกสั่งให้ออกจากราชการ (๒) มีส่วนได้เสียในการกระทำผิดวินัยที่ผู้อุทธรณ์ถูกลงโทษหรือการถูกสั่งให้ออกจากราชการ (๓) มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้อุทธรณ์ (๔) เป็นผู้กล่าวหา หรือเป็นหรือเคยเป็นผู้บังคับบัญชาผู้สั่งลงโทษหรือสั่งให้ออกจากราชการ (๕) เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินการทางวินัยหรือการสั่งให้ออกจากราชการที่ผู้อุทธรณ์ถูกลงโทษหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการ (๖) มีความเกี่ยวพันทางเครือญาติหรือทางการสมรสกับบุคคลตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) อันอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้อุทธรณ์ กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ซึ่งมีกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้งต่อประธาน ก.พ.ค. และถอนตัวจากการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ การยื่นคำคัดค้าน และการพิจารณาคำคัดค้าน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.ค. หมวด ๑๐ การร้องทุกข์ มาตรา ๑๒๒ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชา และเป็นกรณีที่ไม่อาจอุทธรณ์ตามหมวด ๙ การอุทธรณ์ ได้ ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในหมวดนี้ มาตรา ๑๒๓ การร้องทุกข์ที่เหตุเกิดจากผู้บังคับบัญชา ให้ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไป ตามลำดับ การร้องทุกข์ที่เหตุเกิดจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงรัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรือนายกรัฐมนตรี ให้ร้องทุกข์ต่อ ก.พ.ค. เมื่อ ก.พ.ค. ได้พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ประการใดแล้ว ให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง รัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรือนายกรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ดำเนินการให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของ ก.พ.ค. การร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.ค. มาตรา ๑๒๔ ในการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ให้ ก.พ.ค. มีอำนาจไม่รับเรื่องร้องทุกข์ ยกคำร้องทุกข์ หรือมีคำวินิจฉัยให้แก้ไขหรือยกเลิกคำสั่ง และให้เยียวยาความเสียหายให้ผู้ร้องทุกข์ หรือให้ดำเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามระเบียบที่ ก.พ.ค. กำหนด ในการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ ก.พ.ค. จะพิจารณาวินิจฉัยเอง หรือจะตั้งกรรมการ ก.พ.ค. คนหนึ่ง หรือจะตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.ค. และในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และให้มีอำนาจตามมาตรา ๑๑๗ โดยอนุโลม มาตรา ๑๒๕ เมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้ กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์อาจถูกคัดค้านได้ (๑) เป็นผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุให้เกิดความคับข้องใจ หรือเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้บังคับบัญชาดังกล่าว (๒) มีส่วนได้เสียในเรื่องที่ร้องทุกข์ (๓) มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ร้องทุกข์ (๔) มีความเกี่ยวพันทางเครือญาติหรือทางการสมรสกับบุคคลตาม (๑) (๒) หรือ (๓) อันอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ร้องทุกข์ กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ซึ่งมีกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้งต่อประธาน ก.พ.ค. และถอนตัวจากการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ การยื่นคำคัดค้าน และการพิจารณาคำคัดค้าน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.ค. หมวด ๑๑ การคุ้มครองระบบคุณธรรม มาตรา ๑๒๖ ในกรณีที่ ก.พ.ค. เห็นว่ากฎ ระเบียบ หรือคำสั่งใดที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้และมุ่งหมายให้ใช้บังคับเป็นการทั่วไป ไม่สอดคล้องกับระบบคุณธรรมตามมาตรา ๔๒ ให้ ก.พ.ค. แจ้งให้หน่วยงานหรือผู้ออกกฎ ระเบียบ หรือคำสั่งดังกล่าวทราบ เพื่อดำเนินการแก้ไข หรือยกเลิกตามควรแก่กรณี ลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์[๕] (ยกเลิก) มาตรา ๑๒๗[๖] (ยกเลิก) บทเฉพาะกาล มาตรา ๑๒๘ ให้ ก.พ. อ.ก.พ. วิสามัญ และ อ.ก.พ. สามัญ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ก.พ. หรือจนกว่าจะได้แต่งตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญ หรืออนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญ แล้วแต่กรณี ตามพระราชบัญญัตินี้ การดำเนินการแต่งตั้ง ก.พ. ให้กระทำให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๒๙ ในระหว่างที่ยังมิได้ดำเนินการให้มี ก.พ.ค. ให้ ก.พ. ทำหน้าที่ ก.พ.ค. ตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อนจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ก.พ.ค. ตามพระราชบัญญัตินี้ การดำเนินการแต่งตั้ง ก.พ.ค. ให้กระทำให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๓๐ ผู้ใดเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ หรือข้าราชการพลเรือนในพระองค์ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ หรือข้าราชการพลเรือนในพระองค์ตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี ต่อไป มาตรา ๑๓๑ ในระหว่างที่ ก.พ. ยังมิได้จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามมาตรา ๔๘ บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ยังไม่ใช้บังคับ โดยให้นำบทบัญญัติในลักษณะ ๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตลอดจนบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนและบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือนท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๓๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญและข้าราชการพลเรือนในพระองค์ไปพลางก่อนจนกว่า ก.พ. จะจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งเสร็จ และจัดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญของทุกส่วนราชการเข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และประกาศให้ทราบ จึงให้นำบทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ก.พ. ประกาศเป็นต้นไป และให้ผู้บังคับบัญชาสั่งแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ ก.พ. ประกาศ ในการจัดตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญตามวรรคหนึ่ง หากมีเหตุผลและความจำเป็น ก.พ. อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญผู้มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะตัวได้ ให้ ก.พ. ดำเนินการประกาศตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๓๒ ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกา หรือออกกฎ ก.พ. ข้อบังคับ หรือระเบียบหรือกำหนดกรณีใด เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำพระราชกฤษฎีกา กฎ ก.พ. ข้อบังคับ หรือระเบียบหรือกรณีที่กำหนดไว้แล้วซึ่งใช้อยู่เดิมมาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ไม่อาจนำพระราชกฤษฎีกา กฎ ก.พ. ข้อบังคับ หรือระเบียบหรือกรณีที่กำหนดไว้แล้วมาใช้บังคับได้ตามวรรคหนึ่ง การจะดำเนินการประการใดให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๑๓๓ ข้าราชการพลเรือนผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยหรือกรณีที่สมควรให้ออกจากราชการอยู่ก่อนวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้บังคับบัญชาตามพระราชบัญญัตินี้มีอำนาจสั่งลงโทษผู้นั้นหรือสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ส่วนการสอบสวน การพิจารณา และการดำเนินการเพื่อลงโทษหรือให้ออกจากราชการ ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ (๑) กรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งให้สอบสวนโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นไปแล้วก่อนวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และยังสอบสวนไม่เสร็จก็ให้สอบสวนตามกฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ (๒) ในกรณีที่ได้มีการสอบสวนหรือพิจารณาโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นเสร็จไปแล้วก่อนวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้การสอบสวนหรือพิจารณา แล้วแต่กรณีนั้นเป็นอันใช้ได้ (๓) กรณีที่ได้มีการรายงานหรือส่งเรื่อง หรือนำสำนวนเสนอ หรือส่งให้ อ.ก.พ. สามัญใดพิจารณาโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น และ อ.ก.พ. สามัญพิจารณาเรื่องนั้นยังไม่เสร็จ ก็ให้ อ.ก.พ. สามัญ พิจารณาตามกฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ มาตรา ๑๓๔ ข้าราชการพลเรือนซึ่งโอนมาจากพนักงานส่วนท้องถิ่นหรือข้าราชการประเภทอื่นก่อนวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยหรือกรณีที่สมควรให้ออกจากงานหรือให้ออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นหรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการนั้นอยู่ก่อนวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้บังคับบัญชาตามพระราชบัญญัตินี้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยแก่ผู้นั้น หรือดำเนินการสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้ ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๑๐๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๓๕ ผู้ใดถูกสั่งลงโทษหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ถ้ายังมิได้ยื่นอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวและยังไม่พ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ในวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้มีสิทธิอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ตามพระราชบัญญัตินี้ได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๓๖ เรื่องอุทธรณ์และเรื่องร้องทุกข์ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและอยู่ในอำนาจการพิจารณาของ อ.ก.พ. สามัญ หรือ ก.พ. ให้ อ.ก.พ. สามัญ หรือ ก.พ. แล้วแต่กรณี พิจารณาต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ เรื่องอุทธรณ์และเรื่องร้องทุกข์ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ได้ยื่นต่อ อ.ก.พ. สามัญ หรือ ก.พ. ในวันหรือหลังวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและเป็นกรณีที่มีการลงโทษหรือสั่งการไว้ก่อนวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ ก.พ.ค. เป็นผู้พิจารณาดำเนินการต่อไป มาตรา ๑๓๗ การใดที่อยู่ระหว่างดำเนินการหรือเคยดำเนินการได้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ และมิได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือมีกรณีที่ไม่อาจดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ การดำเนินการต่อไปในเรื่องนั้นจะสมควรดำเนินการประการใดให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๑๓๘ การปรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญเข้าตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้รับเงินเดือนยังไม่ถึงขั้นต่ำของระดับตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ให้ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำชั่วคราวตามบัญชีท้ายตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ได้รับการปรับเงินเดือนจนได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำของระดับตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๑๓๙ ในกรณีที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทต่าง ๆ กำหนดให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการพลเรือนสามัญมาใช้บังคับหรือใช้บังคับโดยอนุโลม ให้ยังคงนำพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาใช้บังคับหรือใช้บังคับโดยอนุโลมต่อไป การให้นำพระราชบัญญัตินี้ไปใช้บังคับกับข้าราชการประเภทดังกล่าวทั้งหมดหรือบางส่วน ให้กระทำได้โดยมติขององค์กรกลางบริหารงานบุคคลหรือองค์กรที่ทำหน้าที่องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการประเภทนั้น ๆ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ[๗] ตำแหน่งประเภทบริหาร บาท บาท ขั้นสูง ๗๔,๓๒๐ ๗๖,๘๐๐ ขั้นต่ำ ๕๑,๑๔๐ ๕๖,๓๘๐ ขั้นต่ำชั่วคราว ๒๔,๔๐๐ ๒๙,๙๘๐ ระดับ ต้น สูง บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ บาท บาท ขั้นสูง ๕๙,๕๐๐ ๗๐,๓๖๐ ขั้นต่ำ ๒๖,๖๖๐ ๓๒,๘๕๐ ขั้นต่ำชั่วคราว ๑๙,๘๖๐ ๒๔,๔๐๐ ระดับ ต้น สูง บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภทวิชาการ บาท บาท บาท บาท บาท ขั้นสูง ๒๖,๙๐๐ ๔๓,๖๐๐ ๕๘,๓๙๐ ๖๙,๐๔๐ ๗๖,๘๐๐ ขั้นต่ำ ๘,๓๔๐ ๑๕,๐๕๐ ๒๒,๑๔๐ ๓๑,๔๐๐ ๔๓,๘๑๐ ขั้นต่ำชั่วคราว ๗,๑๔๐ ๑๓,๑๖๐ ๑๙,๘๖๐ ๒๔,๔๐๐ ๒๙,๙๘๐ ระดับ ปฏิบัติการ ชำนาญการ ชำนาญการ พิเศษ เชี่ยวชาญ ทรงคุณวุฒิ บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภททั่วไป บาท บาท บาท บาท ขั้นสูง ๒๑,๐๑๐ ๓๘,๗๕๐ ๕๔,๘๒๐ ๖๙,๐๔๐ ขั้นต่ำ ๔,๘๗๐ ๑๐,๑๙๐ ๑๕,๔๑๐ ๔๘,๒๒๐ ระดับ ปฏิบัติงาน ชำนาญงาน อาวุโส ทักษะพิเศษ ตารางบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ ๑. ประเภทบริหาร ระดับ อัตรา (บาท/เดือน) ระดับสูง ระดับต้น ๒๑,๐๐๐ ๑๔,๕๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๒. ประเภทอำนวยการ ระดับ อัตรา (บาท/เดือน) ระดับสูง ระดับต้น ๑๐,๐๐๐ ๕,๖๐๐ ๓. ประเภทวิชาการ ระดับ อัตรา (บาท/เดือน) ทรงคุณวุฒิ เชี่ยวชาญ ชำนาญการพิเศษ ชำนาญการ ๑๕,๖๐๐ ๑๓,๐๐๐ ๙,๙๐๐ ๕,๖๐๐ ๓,๕๐๐ ๔. ประเภททั่วไป ระดับ อัตรา (บาท/เดือน) ทักษะพิเศษ ๙,๙๐๐ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ บัญญัติให้ดำเนินการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน เพื่อกำหนดภารกิจของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนให้เหมาะสม ประกอบกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้ใช้บังคับมานาน บทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับพัฒนาการด้านการบริหารราชการที่เปลี่ยนไป ดังนั้น เพื่อกำหนดภารกิจของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนให้เหมาะสม และเพื่อให้การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐสอดคล้องกับทิศทางการบริหารราชการ สมควรปรับปรุงกฎหมายดังกล่าว โดยปรับบทบาทของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน จากเดิมที่เป็นทั้งผู้จัดการงานบุคคลของฝ่ายบริหาร ผู้พิทักษ์ระบบคุณธรรม และผู้จัดโครงสร้างส่วนราชการ ให้เป็นเพียงผู้จัดการงานบุคคลของฝ่ายบริหาร โดยมิให้ซ้ำซ้อนกับบทบาทของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ส่วนบทบาทในการพิทักษ์ระบบคุณธรรมให้เป็นของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ปรับบทบาทของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนจากเดิมที่เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ให้เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม และมิให้ซ้ำซ้อนกับบทบาทของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ปรับปรุงระบบตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญให้จำแนกตามกลุ่มลักษณะงาน ตลอดจนกระจายอำนาจการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดดำเนินการมากขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชกฤษฎีกาการปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. ๒๕๕๔[๘] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญให้เหมาะสมยิ่งขึ้นตามความจำเป็นก็ได้ โดยหากเป็นการปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงเพิ่มไม่เกินร้อยละสิบของเงินเดือนที่ใช้บังคับอยู่ ให้กระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ประกอบกับบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญในปัจจุบันไม่เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น สมควรปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยปรับเพิ่มบางอัตราและปรับเพิ่มเป็นร้อยละที่แตกต่างกันร้อยละห้าถึงร้อยละสิบ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘[๙] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป มาตรา ๕ ในวาระเริ่มแรก ให้ปรับเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้รับอยู่เดิมเข้าสู่อัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการและระดับชำนาญการและผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงานและระดับชำนาญงานได้รับเงินเดือนในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่ได้รับอยู่เดิมตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้อีกร้อยละสี่ของเงินเดือนที่ได้รับอยู่ ในกรณีที่การปรับเงินเดือนดังกล่าวทำให้มีเศษไม่ถึงสิบบาทให้ปรับตัวเลขเงินเดือนดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นสิบบาท มาตรา ๖ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญให้เหมาะสม เป็นธรรม และได้มาตรฐาน โดยคำนึงถึงค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไปค่าตอบแทนในภาคเอกชน ฐานะการคลังของประเทศ ความแตกต่างระหว่างรายได้ของข้าราชการระดับต่าง ๆ ในประเภทเดียวกันและต่างประเภทกัน และปัจจัยอื่นที่จำเป็น สมควรปรับบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และกำหนดมาตรการเยียวยาให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งที่เหมาะสมและเป็นธรรมตามควรแห่งกรณี ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. ๒๕๖๐[๑๐] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๖ เมื่อพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับแล้ว ให้ยกเลิก (๑) มาตรา ๔๖ (๑) และ (๒) แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ (๒) ลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ และมาตรา ๑๒๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ (๓) มาตรา ๑๐ (๓) และ (๔) มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๔/๑ และมาตรา ๔๒ (๖) (๗) และ (๘) แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๗ เมื่อพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับแล้ว (๑) ให้โอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้สิน และเงินงบประมาณ ของสำนักราชเลขาธิการและสำนักพระราชวังตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นของส่วนราชการในพระองค์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา และให้โอนข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง และผู้ปฏิบัติงานอื่นซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในสำนักราชเลขาธิการและสำนักพระราชวัง ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นข้าราชการในพระองค์ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในส่วนราชการในพระองค์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา (๒) ให้โอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ และทรัพย์สิน ของกรมราชองครักษ์ กระทรวงกลาโหม ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นของส่วนราชการในพระองค์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา และให้โอนอัตรากำลังพล และข้าราชการและผู้ปฏิบัติงานอื่นซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในกรมราชองครักษ์ กระทรวงกลาโหม ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นอัตรากำลังพล และข้าราชการในพระองค์หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในส่วนราชการในพระองค์ ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ส่วนเงินงบประมาณ สิทธิ และหนี้สินของกรมราชองครักษ์ กระทรวงกลาโหม ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ให้โอนไปเป็นของสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงกลาโหม เพื่อประโยชน์ของส่วนราชการในพระองค์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา เว้นแต่จะมีพระราชวินิจฉัยเป็นอย่างอื่น (๓) ให้โอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน สิทธิ และหนี้สิน ของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ กระทรวงกลาโหม ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นของส่วนราชการในพระองค์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา และให้โอนอัตรากำลังพล และข้าราชการและผู้ปฏิบัติงานอื่นซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ กระทรวงกลาโหม ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นอัตรากำลังพล และข้าราชการในพระองค์หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในส่วนราชการในพระองค์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา (๔) ให้โอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน สิทธิ และหนี้สิน ของสำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นของส่วนราชการในพระองค์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา และให้โอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการตำรวจในสำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการในพระองค์ในส่วนราชการในพระองค์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๘ เพื่อประโยชน์ในการได้รับบำเหน็จบำนาญ ให้ถือว่าข้าราชการในพระองค์เป็นข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แล้วแต่กรณี แต่การพ้นจากราชการให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย ทั้งนี้ เว้นแต่พระราชกฤษฎีกาจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น การรับบำเหน็จบำนาญ การรับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ของข้าราชการในพระองค์ให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๙ ในวาระเริ่มแรก การใดที่สำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง และกรมราชองครักษ์ หรือหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ กระทรวงกลาโหม และสำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ อยู่ในระหว่างการดำเนินการหรือเคยดำเนินการได้ตามกฎหมาย เมื่อได้โอนมาเป็นของส่วนราชการในพระองค์ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ยังคงดำเนินการต่อไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น เว้นแต่จะมีพระราชวินิจฉัยหรือมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ดำเนินการเป็นอย่างอื่น มาตรา ๑๐ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่สำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง และกรมราชองครักษ์และหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ กระทรวงกลาโหม เป็นส่วนราชการที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับราชการในพระองค์และพระราชกรณียกิจขององค์พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งต้องถวายงานตามโบราณราชประเพณีและพระราชอัธยาศัย การปฏิบัติราชการจึงแตกต่างจากส่วนราชการของฝ่ายบริหารทั่วไป กรณีจึงสมควรกำหนดฐานะของส่วนราชการดังกล่าวขึ้นใหม่ ให้เป็นส่วนราชการในพระองค์โดยปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ มีการจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลเป็นการเฉพาะให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย เพื่อให้การบริหารราชการในพระองค์เหมาะสมและสอดคล้องกับภารกิจของราชการในพระองค์ และสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒[๑๑] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันปรากฏปัญหาความไม่สอดคล้องกันระหว่างบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการฝ่ายพลเรือนประเภทต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรม และไม่เสมอภาคในการดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการซึ่งออกจากราชการไปแล้ว นอกจากนี้ ยังมีปัญหาความแตกต่างระหว่างกฎหมายว่าด้วยการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการฝ่ายพลเรือนกับกฎหมายขององค์กรตรวจสอบการทุจริต ซึ่งทำให้การดำเนินการทางวินัยเพื่อพิจารณาลงโทษแก่ข้าราชการที่ถูกองค์กรตรวจสอบการทุจริตชี้มูลความผิดหลังออกจากราชการไปแล้วในบางกรณีไม่อาจดำเนินการตามฐานความผิดที่ชี้มูลได้ ดังนั้น สมควรให้การดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ซึ่งออกจากราชการเป็นมาตรฐานเดียวกันและสอดคล้องกับกฎหมายขององค์กรตรวจสอบการทุจริต อันจะเป็นกลไกหนึ่งที่ทำให้การป้องกันและปราบปรามการทุจริตสัมฤทธิ์ผลมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ฐิติมา/ตรวจ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๒ ระพี/ปรับปรุง ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ วิชพงษ์/ตรวจ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ โชติกานต์/เพิ่มเติม ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๗ วริญา/เพิ่มเติม ปัญญา/ตรวจ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๘ นุสรา/เพิ่มเติม ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ วิวรรธน์/เพิ่มเติม ๙ เมษายน ๒๕๖๒ วิชพงษ์/ตรวจ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๒๒ ก/หน้า ๑/๒๕ มกราคม ๒๕๕๑ [๒] มาตรา ๕๐/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘ [๓] มาตรา ๑๐๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒ [๔] มาตรา ๑๐๐/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒ [๕] ลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ยกเลิกโดยมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. ๒๕๖๐ [๖] มาตรา ๑๒๗ ยกเลิกโดยมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. ๒๕๖๐ [๗] บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘ [๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๒๒ ก/หน้า ๙/๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ [๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๔๓ ก/หน้า ๑/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘ [๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๔๘ ก/หน้า ๑/๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๔๓ ก/หน้า ๑/๕ เมษายน ๒๕๖๒
304177
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2538
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๘ เป็นปีที่ ๕๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ พลเรือน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำ และยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๓๘” มาตรา ๒* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๗ เป็นต้นไป *[รก.๒๕๓๘/๑ก/๓๔/๑ มกราคม ๒๕๓๘] มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๓๑ อัตราเงินเดือน อัตราเงินประจำตำแหน่งและการรับเงิน ประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือน ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและ เงินประจำตำแหน่ง การจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งให้แก่ข้าราชการพลเรือน ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๔๕ ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนตามตำแหน่ง ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ระดับใด จะได้รับเงินเดือนในอันดับ ใดตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนดโดยให้ได้รับในขั้นต่ำของอันดับ ในกรณีที่จะให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่า ขั้นต่ำหรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ.” มาตรา ๕ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน และบัญชี อัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือนท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ.๒๕๓๕ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีการแยกบัญชีอัตราเงินเดือนและบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนไปบัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะแล้ว สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการพลเรือนให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พรพิมล/แก้ไข ๑๖ ม.ค ๔๕ _A+B(C)
304176
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นปีที่ ๔๙ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ พลเรือน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำ และยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗” มาตรา ๒* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป *[รก.๒๕๓๗/๖๔ก/๕/๓๑ ธันวาคม ๒๕๓๗] มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๓๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๓๑ ภายใต้บังคับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การให้มี อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง และ อ.ก.พ. ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม การกำหนดตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งการบรรจุ การแต่งตั้ง การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ วินัยและการรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ของข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ให้เป็นไปตามลักษณะ ๑ และลักษณะ ๓ เว้นแต่จะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดไว้เป็นพิเศษ” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ข้าราชการพลเรือนใน พระองค์และหน่วยงานที่ข้าราชการดังกล่าวสังกัดอยู่มีลักษณะพิเศษเกี่ยวพันกับราชการใน พระองค์โดยใกล้ชิด สมควรกำหนดให้มี อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง และ อ.ก.พ. ส่วน ราชการที่มีฐานะเป็นกรมที่แตกต่างจากข้าราชการพลเรือนสามัญ ทั้งนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับ ลักษณะพิเศษของข้าราชการดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พรพิมล/แก้ไข ๑๖ ม.ค ๔๕ A+B(C)
727728
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘” มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๕๐/๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ “มาตรา ๕๐/๑ ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็น เพื่อเป็นการเยียวยาให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งที่เหมาะสมและเป็นธรรม ก.พ. อาจกำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับการเยียวยาโดยให้ได้รับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งตามที่เห็นสมควรเป็นกรณี ๆ ไปก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา ๕ ในวาระเริ่มแรก ให้ปรับเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้รับอยู่เดิมเข้าสู่อัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการและระดับชำนาญการและผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงานและระดับชำนาญงานได้รับเงินเดือนในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่ได้รับอยู่เดิมตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้อีกร้อยละสี่ของเงินเดือนที่ได้รับอยู่ ในกรณีที่การปรับเงินเดือนดังกล่าวทำให้มีเศษไม่ถึงสิบบาทให้ปรับตัวเลขเงินเดือนดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นสิบบาท มาตรา ๖ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภทบริหาร บาท บาท ขั้นสูง ๗๔,๓๒๐ ๗๖,๘๐๐ ขั้นต่ำ ๕๑,๑๔๐ ๕๖,๓๘๐ ขั้นต่ำชั่วคราว ๒๔,๔๐๐ ๒๙,๙๘๐ ระดับ ต้น สูง บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ บาท บาท ขั้นสูง ๕๙,๕๐๐ ๗๐,๓๖๐ ขั้นต่ำ ๒๖,๖๖๐ ๓๒,๘๕๐ ขั้นต่ำชั่วคราว ๑๙,๘๖๐ ๒๔,๔๐๐ ระดับ ต้น สูง บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภทวิชาการ บาท บาท บาท บาท บาท ขั้นสูง ๒๖,๙๐๐ ๔๓,๖๐๐ ๕๘,๓๙๐ ๖๙,๐๔๐ ๗๖,๘๐๐ ขั้นต่ำ ๘,๓๔๐ ๑๕,๐๕๐ ๒๒,๑๔๐ ๓๑,๔๐๐ ๔๓,๘๑๐ ขั้นต่ำชั่วคราว ๗,๑๔๐ ๑๓,๑๖๐ ๑๙,๘๖๐ ๒๔,๔๐๐ ๒๙,๙๘๐ ระดับ ปฏิบัติการ ชำนาญการ ชำนาญการ พิเศษ เชี่ยวชาญ ทรงคุณวุฒิ บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภททั่วไป บาท บาท บาท บาท ขั้นสูง ๒๑,๐๑๐ ๓๘,๗๕๐ ๕๔,๘๒๐ ๖๙,๐๔๐ ขั้นต่ำ ๔,๘๗๐ ๑๐,๑๙๐ ๑๕,๔๑๐ ๔๘,๒๒๐ ระดับ ปฏิบัติงาน ชำนาญงาน อาวุโส ทักษะพิเศษ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญให้เหมาะสม เป็นธรรม และได้มาตรฐาน โดยคำนึงถึงค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไปค่าตอบแทนในภาคเอกชน ฐานะการคลังของประเทศ ความแตกต่างระหว่างรายได้ของข้าราชการระดับต่าง ๆ ในประเภทเดียวกันและต่างประเภทกัน และปัจจัยอื่นที่จำเป็น สมควรปรับบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และกำหนดมาตรการเยียวยาให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งที่เหมาะสมและเป็นธรรมตามควรแห่งกรณี ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘ วริญา/ผู้ตรวจ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๔๓ ก/หน้า ๑/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
569723
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นปีที่ ๖๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗ (๓) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๘ (๔) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๔ มิให้นำคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่ ๓๘/๒๕๑๙ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๙ มาใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือน มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “ข้าราชการพลเรือน” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณในกระทรวง กรมฝ่ายพลเรือน “ข้าราชการฝ่ายพลเรือน” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือน และข้าราชการอื่นในกระทรวง กรมฝ่ายพลเรือน ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทนั้น “กระทรวง” หมายความรวมถึงสำนักนายกรัฐมนตรีและทบวง “รัฐมนตรีเจ้าสังกัด” หมายความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวง รัฐมนตรีว่าการทบวง และหมายความรวมถึงนายกรัฐมนตรีในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาสำนักนายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวง “ปลัดกระทรวง” หมายความรวมถึงปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและปลัดทบวง “กรม” หมายความรวมถึงส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม “อธิบดี” หมายความว่า หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่ากรม “ส่วนราชการ” หมายความว่า ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและมีฐานะไม่ต่ำกว่ากรม มาตรา ๕ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ลักษณะ ๑ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน มาตรา ๖ ให้มีคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.” ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธาน ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมายซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับการสรรหาตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน แต่ไม่เกินเจ็ดคน และให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการและเลขานุการ กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต้องไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมืองและมิได้เป็นกรรมการโดยตำแหน่งอยู่แล้ว มาตรา ๗ กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งได้คราวละสามปี ถ้าตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนดและยังมีกรรมการดังกล่าวเหลืออยู่อีกไม่น้อยกว่าสามคนให้กรรมการที่เหลือปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ เมื่อตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนดให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการแทนภายในกำหนดสามสิบวัน เว้นแต่วาระของกรรมการเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่แต่งตั้งกรรมการแทนก็ได้ ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการแทนนั้นให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่ง จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการอีกก็ได้ ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่ ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่ มาตรา ๘ ก.พ. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐในด้านมาตรฐานค่าตอบแทน การบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล รวมตลอดทั้งการวางแผนกำลังคนและด้านอื่น ๆ เพื่อให้ส่วนราชการใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ (๒) รายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาปรับปรุงเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่มค่าครองชีพ สวัสดิการ หรือประโยชน์เกื้อกูลอื่นสำหรับข้าราชการฝ่ายพลเรือนให้เหมาะสม (๓) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน เพื่อส่วนราชการใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ (๔) ให้ความเห็นชอบกรอบอัตรากำลังของส่วนราชการ (๕) ออกกฎ ก.พ. และระเบียบเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ รวมตลอดทั้งการให้คำแนะนำหรือวางแนวทางในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎ ก.พ. เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ (๖) ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ รวมตลอดทั้งกำหนดแนวทางปฏิบัติในกรณีที่เป็นปัญหา มติของ ก.พ. ตามข้อนี้ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย (๗) กำกับ ดูแล ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือนในกระทรวงและกรม เพื่อรักษาความเป็นธรรมและมาตรฐานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล รวมทั้งตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ในการนี้ ให้มีอำนาจเรียกเอกสารและหลักฐานจากส่วนราชการ หรือให้ผู้แทนส่วนราชการ ข้าราชการหรือบุคคลใด ๆ มาชี้แจงข้อเท็จจริง และให้มีอำนาจออกระเบียบให้กระทรวง และกรมรายงานเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือนที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ไปยัง ก.พ. (๘) กำหนดนโยบายและออกระเบียบเกี่ยวกับทุนเล่าเรียนหลวงและทุนของรัฐบาลให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือน ตลอดจนจัดสรรผู้รับทุนที่สำเร็จการศึกษาแล้วเข้ารับราชการในกระทรวงและกรมหรือหน่วยงานของรัฐ (๙) ออกข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการจัดการการศึกษาและควบคุมดูแลและการให้ความช่วยเหลือบุคลากรภาครัฐ นักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง นักเรียนทุนของรัฐบาล และนักเรียนทุนส่วนตัวที่อยู่ในความดูแลของ ก.พ. ตลอดจนการเก็บเงินชดเชยค่าใช้จ่ายในการดูแลจัดการการศึกษา ทั้งนี้ ให้ถือว่าเงินชดเชยค่าใช้จ่ายในการดูแลจัดการการศึกษาเป็นเงินรายรับของส่วนราชการที่เป็นสถานอำนวยบริการอันเป็นสาธารณประโยชน์ ตามความหมายในกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ (๑๐) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อรับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือน และการกำหนดอัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทน รวมทั้งระดับตำแหน่งและประเภทตำแหน่งสำหรับคุณวุฒิดังกล่าว (๑๑) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการปฏิบัติการเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ (๑๒) พิจารณาจัดระบบทะเบียนประวัติและแก้ไขทะเบียนประวัติเกี่ยวกับวัน เดือน ปีเกิด และการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการพลเรือน (๑๓) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น การออกกฎ ก.พ. ตาม (๕) ในกรณีที่เห็นสมควร ให้สำนักงาน ก.พ. หารือกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาของ ก.พ. ด้วย มาตรา ๙ ในกรณีที่ ก.พ. มีมติว่ากระทรวง กรม หรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือปฏิบัติการโดยขัดหรือแย้งกับแนวทางตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ ให้ ก.พ. แจ้งให้กระทรวง กรม หรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติดังกล่าวดำเนินการแก้ไข ยกเลิก หรือยุติการดำเนินการดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนดในกรณีที่กระทรวง กรม หรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติดังกล่าวไม่ดำเนินการตามมติ ก.พ. ภายในเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าปลัดกระทรวง อธิบดี หรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติดังกล่าว แล้วแต่กรณี กระทำผิดวินัย การดำเนินการทางวินัยตามวรรคหนึ่งและการสั่งลงโทษให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.พ. ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎ ก.พ. ในกรณีที่ผู้ไม่ปฏิบัติการตามมติ ก.พ. ตามวรรคหนึ่งเป็นรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ให้ ก.พ. รายงานนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการตามที่เห็นสมควรต่อไป มาตรา ๑๐ ในกรณีที่ ก.พ. เห็นว่าการบริหารทรัพยากรบุคคลในเรื่องใดที่ข้าราชการฝ่ายพลเรือนทุกประเภทหรือบางประเภทควรมีมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์เดียวกัน ให้ ก.พ. จัดให้มีการประชุมเพื่อหารือร่วมกันระหว่างผู้แทน ก.พ. ผู้แทน ก.พ.ร. และผู้แทนองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือนประเภทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์กลางการบริหารทรัพยากรบุคคลในเรื่องนั้นเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วให้ใช้บังคับมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์กลางดังกล่าวกับข้าราชการฝ่ายพลเรือนทุกประเภทหรือประเภทนั้น ๆ แล้วแต่กรณี ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคลของรัฐในเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยโดยอนุโลม มาตรา ๑๑ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับแก่การประชุม ก.พ. โดยอนุโลม เว้นแต่กรณีตามมาตรา ๓๖ วรรคสอง มาตรา ๑๒ ก.พ. มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิสามัญ เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ. วิสามัญ” เพื่อทำการใด ๆ แทนได้ จำนวน คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญ รวมตลอดทั้งวิธีการได้มา วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๓ ให้มีสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เรียกโดยย่อว่า “สำนักงาน ก.พ.” โดยมีเลขาธิการ ก.พ. เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและบริหารราชการของสำนักงาน ก.พ. ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี สำนักงาน ก.พ. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานในหน้าที่ของ ก.พ. และ ก.พ.ค. และดำเนินการตามที่ ก.พ. หรือ ก.พ.ค. มอบหมาย (๒) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่กระทรวง กรม เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และแนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ (๓) พัฒนา ส่งเสริม วิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ระบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน (๔) ติดตามและประเมินผลการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน (๕) ดำเนินการเกี่ยวกับแผนกำลังคนของข้าราชการพลเรือน (๖) เป็นศูนย์กลางข้อมูลทรัพยากรบุคคลภาครัฐ (๗) จัดทำยุทธศาสตร์ ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือน (๘) ส่งเสริม ประสานงาน เผยแพร่ ให้คำปรึกษาแนะนำ และดำเนินการเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการและการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตสำหรับทรัพยากรบุคคลภาครัฐ (๙) ดำเนินการเกี่ยวกับทุนเล่าเรียนหลวงและทุนของรัฐบาลตามนโยบายและระเบียบของ ก.พ. ตามมาตรา ๘ (๘) (๑๐) ดำเนินการเกี่ยวกับการดูแลบุคลากรภาครัฐและนักเรียนทุนตามข้อบังคับหรือระเบียบของ ก.พ. ตามมาตรา ๘ (๙) (๑๑) ดำเนินการเกี่ยวกับการรับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือน และการกำหนดอัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทน รวมทั้งระดับตำแหน่งและประเภทตำแหน่งสำหรับคุณวุฒิดังกล่าว (๑๒) ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาทะเบียนประวัติและการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการพลเรือน (๑๓) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการพลเรือนเสนอต่อ ก.พ. และคณะรัฐมนตรี (๑๔) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ กฎหมายอื่น หรือตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือ ก.พ. มอบหมาย มาตรา ๑๔ ให้มีคณะอนุกรรมการสามัญ เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ. สามัญ” เพื่อเป็นองค์กรบริหารทรัพยากรบุคคลในส่วนราชการต่าง ๆ ดังนี้ (๑) คณะอนุกรรมการสามัญประจำกระทรวง เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ. กระทรวง” โดยออกนามกระทรวง (๒) คณะอนุกรรมการสามัญประจำกรม เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ. กรม” โดยออกนามกรม (๓) คณะอนุกรรมการสามัญประจำจังหวัด เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ. จังหวัด” โดยออกนามจังหวัด (๔) คณะอนุกรรมการสามัญประจำส่วนราชการอื่นนอกจากส่วนราชการตาม (๑) (๒) และ (๓) การเรียกชื่อ องค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.พ. ตาม (๔) ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๕ อ.ก.พ. กระทรวง ประกอบด้วยรัฐมนตรีเจ้าสังกัด เป็นประธาน ปลัดกระทรวง เป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. ซึ่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนในสำนักงาน ก.พ. หนึ่งคน เป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่ง และอนุกรรมการซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และมิได้เป็นข้าราชการในกระทรวงนั้น จำนวนไม่เกินสามคน (๒) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกระทรวงนั้น ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว จำนวนไม่เกินห้าคน ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน มาตรา ๑๖ อ.ก.พ. กระทรวง มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณากำหนดนโยบาย ระบบ และระเบียบวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคลในกระทรวงซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๘ (๓) (๒) พิจารณาการเกลี่ยอัตรากำลังระหว่างส่วนราชการต่าง ๆ ภายในกระทรวง (๓) พิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการสั่งให้ออกจากราชการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (๔) ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้และช่วย ก.พ. ปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่ ก.พ. มอบหมาย มาตรา ๑๗ อ.ก.พ. กรม ประกอบด้วยอธิบดี เป็นประธาน รองอธิบดีที่อธิบดีมอบหมายหนึ่งคน เป็นรองประธาน และอนุกรรมการซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการและด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และมิได้เป็นข้าราชการในกรมนั้นจำนวนไม่เกินสามคน (๒) ข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทบริหารหรือประเภทอำนวยการในกรมนั้นซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว จำนวนไม่เกินหกคน ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน มาตรา ๑๘ อ.ก.พ. กรม มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณากำหนดนโยบาย ระบบ และระเบียบวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคลในกรมซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๘ (๓) และนโยบายและระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลที่ อ.ก.พ. กระทรวงกำหนดตามมาตรา ๑๖ (๑) (๒) พิจารณาการเกลี่ยอัตรากำลังระหว่างส่วนราชการต่าง ๆ ภายในกรม (๓) พิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการสั่งให้ออกจากราชการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (๔) ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้และช่วย ก.พ. ปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่ ก.พ. มอบหมาย มาตรา ๑๙ อ.ก.พ. จังหวัด ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายหนึ่งคน เป็นรองประธาน และอนุกรรมการ ซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และมิได้เป็นข้าราชการพลเรือนในจังหวัดนั้น จำนวนไม่เกินสามคน (๒) ข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทบริหารหรือประเภทอำนวยการ ซึ่งกระทรวงหรือกรมแต่งตั้งไปประจำจังหวัดนั้น และได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวจำนวนไม่เกินหกคน ซึ่งแต่ละคนต้องไม่สังกัดกระทรวงเดียวกัน ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน มาตรา ๒๐ อ.ก.พ. จังหวัด มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณากำหนดแนวทางและวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคล ซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๘ (๓) (๒) พิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการสั่งให้ออกจากราชการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (๓) ปฏิบัติตามที่ อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. กรม มอบหมาย (๔) ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้และช่วย ก.พ. ปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่ ก.พ. มอบหมาย มาตรา ๒๑ หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาหรือการเลือกบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการตามมาตรา ๑๕ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๗ (๑) และ (๒) และมาตรา ๑๙ (๑) และ (๒) วาระการดำรงตำแหน่ง และจำนวนขั้นต่ำของอนุกรรมการดังกล่าว ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๒๒ ในกรณีที่กระทรวงใดมีเหตุพิเศษ ก.พ. จะอนุมัติให้มีแต่ อ.ก.พ. กระทรวงเพื่อทำหน้าที่ อ.ก.พ. กรม ก็ได้ ในกรณีส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวง แต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี ให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.พ. กระทรวงเป็นอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.พ. กรมด้วย แต่ในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ให้มีรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นประธาน และอธิบดีเป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. ซึ่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนในสำนักงาน ก.พ.หนึ่งคน เป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่ง ในกรณีสำนักงานรัฐมนตรี ให้ อ.ก.พ. กรมของสำนักงานปลัดกระทรวงทำหน้าที่ อ.ก.พ. กรมของสำนักงานรัฐมนตรี มาตรา ๒๓ ให้นำมาตรา ๑๑ มาใช้บังคับแก่การประชุมของ อ.ก.พ. วิสามัญ และ อ.ก.พ. สามัญโดยอนุโลม ลักษณะ ๒ คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม มาตรา ๒๔ ให้มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.ค.” ประกอบด้วยกรรมการจำนวนเจ็ดคนซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตามมาตรา ๒๖ กรรมการ ก.พ.ค. ต้องทำงานเต็มเวลา ให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นเลขานุการของ ก.พ.ค. มาตรา ๒๕ ผู้จะได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ ก.พ.ค. ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบห้าปี (๓) มีคุณสมบัติอื่นอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (ก) เป็นหรือเคยเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน คณะกรรมการข้าราชการครู คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา หรือคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ข) เป็นหรือเคยเป็นกรรมการกฤษฎีกา (ค) รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์หรือเทียบเท่า หรือตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองชั้นต้น (ง) รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอัยการพิเศษประจำเขตหรือเทียบเท่า (จ) รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือเทียบเท่าตามที่ ก.พ. กำหนด (ฉ) เป็นหรือเคยเป็นผู้สอนวิชาในสาขานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือวิชาที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินในสถาบันอุดมศึกษา และดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ แต่ในกรณีที่ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ต้องดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี มาตรา ๒๖ ให้มีคณะกรรมการคัดเลือกกรรมการ ก.พ.ค. ประกอบด้วยประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธาน รองประธานศาลฎีกาที่ได้รับมอบหมายจากประธานศาลฎีกาหนึ่งคน กรรมการ ก.พ. ผู้ทรงคุณวุฒิหนึ่งคนซึ่งได้รับเลือกโดย ก.พ. และให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการและเลขานุการ ให้คณะกรรมการคัดเลือกมีหน้าที่คัดเลือกบุคคลผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๕ จำนวนเจ็ดคน ให้ผู้ได้รับคัดเลือกตามวรรคสองประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ ก.พ.ค. แล้วให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกกรรมการ ก.พ.ค. ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการคัดเลือกกำหนด มาตรา ๒๗ กรรมการ ก.พ.ค. ต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นข้าราชการ (๒) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลใด (๓) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง สมาชิกพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (๔) เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจ (๕) เป็นกรรมการในองค์กรกลางบริหารงานบุคคลในหน่วยงานของรัฐ (๖) ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอย่างอื่นหรือดำรงตำแหน่งหรือประกอบการใด ๆ หรือเป็นกรรมการในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน อันขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๒๘ ผู้ได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการ ก.พ.ค. ผู้ใดมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๗ ผู้นั้นต้องลาออกจากการเป็นบุคคลซึ่งมีลักษณะต้องห้ามหรือแสดงหลักฐานให้เป็นที่เชื่อได้ว่าตนได้เลิกการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพหรือการประกอบการอันมีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวต่อเลขานุการ ก.พ.ค. ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคัดเลือก ในกรณีที่ผู้ได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการ ก.พ.ค. มิได้ลาออกหรือเลิกการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพหรือการประกอบการดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้นั้นมิเคยได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการ ก.พ.ค. และให้ดำเนินการคัดเลือกกรรมการ ก.พ.ค. ขึ้นใหม่ มาตรา ๒๙ กรรมการ ก.พ.ค. มีวาระการดำรงตำแหน่งหกปีนับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว ให้กรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ อยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการ ก.พ.ค. ใหม่ มาตรา ๓๐ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการ ก.พ.ค. พ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) มีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ (๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๕ หรือมาตรา ๒๗ (๕) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก แม้จะมีการรอการลงโทษ เว้นแต่เป็นการรอการลงโทษในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท (๖) ไม่สามารถปฏิบัติงานได้เต็มเวลาอย่างสม่ำเสมอตามระเบียบของ ก.พ.ค. เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้กรรมการ ก.พ.ค. เท่าที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ และให้ถือว่า ก.พ.ค. ประกอบด้วยกรรมการ ก.พ.ค. เท่าที่เหลืออยู่ เว้นแต่มีกรรมการ ก.พ.ค. เหลืออยู่ไม่ถึงห้าคน เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่งหรือกรณีที่กรรมการ ก.พ.ค. พ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้คณะกรรมการคัดเลือกดำเนินการคัดเลือกกรรมการ ก.พ.ค. แทนกรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตำแหน่งโดยเร็ว มาตรา ๓๑ ก.พ.ค. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอแนะต่อ ก.พ. หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่น เพื่อให้ ก.พ. หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่น ดำเนินการจัดให้มีหรือปรับปรุงนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลในส่วนที่เกี่ยวกับการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (๒) พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๑๔ (๓) พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ตามมาตรา ๑๒๓ (๔) พิจารณาเรื่องการคุ้มครองระบบคุณธรรมตามมาตรา ๑๒๖ (๕) ออกกฎ ก.พ.ค. ระเบียบ หลักเกณฑ์ และวิธีการเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎ ก.พ.ค. เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ (๖) แต่งตั้งบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่ ก.พ.ค. กำหนด เพื่อเป็นกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์หรือเป็นกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ มาตรา ๓๒ ให้กรรมการ ก.พ.ค. กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ได้รับเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา และให้มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง มาตรา ๓๓ การประชุมของคณะกรรมการ ก.พ.ค. กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ.ค. กำหนด ลักษณะ ๓ บททั่วไป มาตรา ๓๔ การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนต้องเป็นไปเพื่อผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐความมีประสิทธิภาพ และความคุ้มค่า โดยให้ข้าราชการปฏิบัติราชการอย่างมีคุณภาพ คุณธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี มาตรา ๓๕ ข้าราชการพลเรือนมี ๒ ประเภท คือ (๑) ข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุแต่งตั้งตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ (๒) ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในพระองค์พระมหากษัตริย์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๓๖ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนต้องมีคุณสมบัติทั่วไป และไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ ก. คุณสมบัติทั่วไป (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี (๓) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ ข. ลักษณะต้องห้าม (๑) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (๒) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. (๓) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น (๔) เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม (๕) เป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (๖) เป็นบุคคลล้มละลาย (๗) เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิดทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๘) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (๙) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออก เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น (๑๐) เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายอื่น (๑๑) เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ หรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตาม ข. (๔) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) หรือ (๑๑) ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ แต่ถ้าเป็นกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (๘) หรือ (๙) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้ว และในกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (๑๐) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว และต้องมิใช่เป็นกรณีออกจากงานหรือออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่ มติของ ก.พ. ในการยกเว้นดังกล่าวต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการที่มาประชุม การลงมติให้กระทำโดยลับ การขอยกเว้นตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. กำหนด ในกรณีตามวรรคสอง ก.พ. จะยกเว้นให้เป็นการเฉพาะราย หรือจะประกาศยกเว้นให้เป็นการทั่วไปก็ได้ มาตรา ๓๗ การจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งให้ข้าราชการพลเรือนให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. กำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง มาตรา ๓๘ ข้าราชการพลเรือนอาจได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ ตำแหน่งในบางท้องที่ ตำแหน่งในบางสายงาน หรือตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตามระเบียบที่ ก.พ. กำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ข้าราชการพลเรือนอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ในการเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการตามวรรคสอง ให้ ก.พ. เสนอแนะสำหรับข้าราชการประเภทอื่นในคราวเดียวกันด้วย มาตรา ๓๙ วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการพลเรือน ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๔๐ เครื่องแบบของข้าราชการพลเรือนและระเบียบการแต่งเครื่องแบบให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น มาตรา ๔๑ บำเหน็จบำนาญข้าราชการพลเรือนให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ หมวด ๑ การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนสามัญ มาตรา ๔๒ การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คำนึงถึงระบบคุณธรรมดังต่อไปนี้ (๑) การรับบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถของบุคคล ความเสมอภาค ความเป็นธรรม และประโยชน์ของทางราชการ (๒) การบริหารทรัพยากรบุคคล ต้องคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพขององค์กรและลักษณะของงาน โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม (๓) การพิจารณาความดีความชอบ การเลื่อนตำแหน่ง และการให้ประโยชน์อื่นแก่ข้าราชการต้องเป็นไปอย่างเป็นธรรมโดยพิจารณาจากผลงาน ศักยภาพ และความประพฤติ และจะนำความคิดเห็นทางการเมืองหรือสังกัดพรรคการเมืองมาประกอบการพิจารณามิได้ (๔) การดำเนินการทางวินัย ต้องเป็นไปด้วยความยุติธรรมและโดยปราศจากอคติ (๕) การบริหารทรัพยากรบุคคลต้องมีความเป็นกลางทางการเมือง มาตรา ๔๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ทั้งนี้ต้องไม่กระทบประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะ และต้องไม่มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรวมกลุ่มตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา หมวด ๒ การกำหนดตำแหน่ง และการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง มาตรา ๔๔ นอกจากตำแหน่งที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแล้ว อ.ก.พ. กระทรวงอาจกำหนดตำแหน่งที่มีชื่ออย่างอื่นเพื่อประโยชน์ในการบริหารงาน และแจ้งให้ ก.พ. ทราบด้วย มาตรา ๔๕ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมี ๔ ประเภท ดังต่อไปนี้ (๑) ตำแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่ ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการและรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง กรม และตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหาร (๒) ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ได้แก่ ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรม และตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการ (๓) ตำแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่ ตำแหน่งที่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตามที่ ก.พ. กำหนดเพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำแหน่งนั้น (๔) ตำแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่ ตำแหน่งที่ไม่ใช่ตำแหน่งประเภทบริหาร ตำแหน่งประเภทอำนวยการ และตำแหน่งประเภทวิชาการ ทั้งนี้ ตามที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๔๖ ระดับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ มีดังต่อไปนี้ (๑) ตำแหน่งประเภทบริหาร มีระดับดังต่อไปนี้ (ก) ระดับต้น (ข) ระดับสูง (๒) ตำแหน่งประเภทอำนวยการ มีระดับดังต่อไปนี้ (ก) ระดับต้น (ข) ระดับสูง (๓) ตำแหน่งประเภทวิชาการ มีระดับดังต่อไปนี้ (ก) ระดับปฏิบัติการ (ข) ระดับชำนาญการ (ค) ระดับชำนาญการพิเศษ (ง) ระดับเชี่ยวชาญ (จ) ระดับทรงคุณวุฒิ (๔) ตำแหน่งประเภททั่วไป มีระดับดังต่อไปนี้ (ก) ระดับปฏิบัติงาน (ข) ระดับชำนาญงาน (ค) ระดับอาวุโส (ง) ระดับทักษะพิเศษ การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๔๗ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญจะมีในส่วนราชการใด จำนวนเท่าใด และเป็นตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด ให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ. กระทรวงกำหนด โดยต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความไม่ซ้ำซ้อนและประหยัดเป็นหลัก ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด และต้องเป็นไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามมาตรา ๔๘ มาตรา ๔๘ ให้ ก.พ. จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง โดยจำแนกตำแหน่งเป็นประเภทและสายงานตามลักษณะงาน และจัดตำแหน่งในประเภทเดียวกันและสายงานเดียวกันที่คุณภาพของงานเท่ากันโดยประมาณเป็นระดับเดียวกัน ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงาน ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้ระบุชื่อตำแหน่งในสายงาน หน้าที่ความรับผิดชอบหลักและคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งไว้ด้วย มาตรา ๔๙ ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตำแหน่งใดบังคับบัญชาข้าราชการพลเรือนในส่วนราชการหรือหน่วยงานใด ในฐานะใดให้เป็นไปตามที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ กำหนด โดยทำเป็นหนังสือตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๕๐ ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งในแต่ละประเภทตามที่กำหนดไว้ในบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด จะได้รับเงินเดือนเท่าใดตามบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ข้าราชการพลเรือนสามัญอาจได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด จะได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ในอัตราใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. เงินประจำตำแหน่งตามมาตรานี้ ไม่ถือเป็นเงินเดือนเพื่อเป็นเกณฑ์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา ๕๑ คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงหรือเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญให้เหมาะสมยิ่งขึ้นตามความจำเป็นก็ได้ โดยหากเป็นการปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูง หรือเงินประจำตำแหน่งเพิ่มไม่เกินร้อยละสิบของเงินเดือน หรือเงินประจำตำแหน่งที่ใช้บังคับอยู่ ให้กระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และให้ถือว่าเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูง และเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เป็นเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูง และเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชบัญญัตินี้ เมื่อมีการปรับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง การปรับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้รับอยู่เดิมเข้าสู่อัตราในบัญชีที่ได้รับการปรับใหม่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด หมวด ๓ การสรรหา การบรรจุ และการแต่งตั้ง มาตรา ๕๒ การสรรหาเพื่อให้ได้บุคคลมาบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ต้องเป็นไปตามระบบคุณธรรมและคำนึงถึงพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลดังกล่าว ตลอดจนประโยชน์ของทางราชการ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในหมวดนี้ มาตรา ๕๓ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนั้น โดยบรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ การสอบแข่งขัน การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ และรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบแข่งขันให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการตามมาตรา ๕๕ มาตรา ๕๖ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ และมาตรา ๖๕ มาตรา ๕๔ ผู้สมัครสอบแข่งขันในตำแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม หรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๖ และต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งหรือได้รับอนุมัติจาก ก.พ. ตามมาตรา ๖๒ ด้วย สำหรับผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๖ ข. (๑) ให้มีสิทธิสมัครสอบแข่งขันได้แต่จะมีสิทธิได้รับบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญที่สอบแข่งขันได้ต่อเมื่อพ้นจากการเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว มาตรา ๕๕ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ อาจคัดเลือกบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งโดยไม่ต้องดำเนินการสอบแข่งขันตามมาตรา ๕๓ ก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๕๖ กระทรวงหรือกรมใดมีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่ง จะบรรจุบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และความชำนาญงานสูง เข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ หรือทรงคุณวุฒิ หรือตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๕๗ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ และการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๕๓ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๖ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ มาตรา ๖๕ และมาตรา ๖๖ ให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้ เป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๑) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้สั่งบรรจุ และให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง (๒) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตำแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี หรือตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ให้ปลัดกระทรวงผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี เสนอรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้ปลัดกระทรวงผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมดังกล่าวเป็นผู้สั่งบรรจุ และให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง (๓) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ให้ปลัดกระทรวงผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๔) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการ ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ และเชี่ยวชาญ และประเภททั่วไปในสำนักงานรัฐมนตรี ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๕) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ให้ปลัดกระทรวงผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๖) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชาเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งเมื่อได้รับความเห็นชอบจากปลัดกระทรวง ส่วนการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้นในส่วนราชการระดับกรมที่หัวหน้าส่วนราชการอยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี หรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชา เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๗) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้สั่งบรรจุ และให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง (๘) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ให้ปลัดกระทรวงหรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๙) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ และตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชา เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง เมื่อได้รับความเห็นชอบจากปลัดกระทรวง ส่วนการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ และตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษในส่วนราชการระดับกรมที่หัวหน้าส่วนราชการอยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชา เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๑๐) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ชำนาญการ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ชำนาญงาน และอาวุโส ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชา หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากอธิบดีผู้บังคับบัญชา เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๑๑) การบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา ๕๓ และการย้ายตามมาตรา ๖๓ ให้ดำรงตำแหน่งตาม (๙) ซึ่งไม่ใช่ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ และตำแหน่งตาม (๑๐) ในราชการบริหารส่วนภูมิภาค ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดผู้บังคับบัญชา เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง ในการเสนอเพื่อแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่ง ให้รายงานความสมควรพร้อมทั้งเหตุผล ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนดไปด้วย มาตรา ๕๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารผู้ใดปฏิบัติหน้าที่เดียวติดต่อกันเป็นเวลาครบสี่ปี ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ดำเนินการให้มีการสับเปลี่ยนหน้าที่ ย้าย หรือโอนไปปฏิบัติหน้าที่อื่น เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการจะขออนุมัติคณะรัฐมนตรีให้คงอยู่ปฏิบัติหน้าที่เดิมต่อไปเป็นเวลาไม่เกินสองปีก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด ความในวรรคหนึ่งไม่ให้ใช้บังคับแก่ผู้ดำรงตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดว่าเป็นตำแหน่งที่มีลักษณะงานเฉพาะอย่าง มาตรา ๕๙ ผู้ได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา ๕๓ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๕๕ ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและให้ได้รับการพัฒนาเพื่อให้รู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการและเป็นข้าราชการที่ดีตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามวรรคหนึ่งผู้ใดมีผลการประเมินทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ สั่งให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป ถ้าผู้นั้นมีผลการประเมินทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด ก็ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้ไม่ว่าจะครบกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการแล้วหรือไม่ก็ตาม ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคสอง ให้ถือเสมือนว่าผู้นั้นไม่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการในระหว่างผู้นั้นอยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ผู้อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการผู้ใดมีกรณีอันมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๗ การดำเนินการทางวินัย และถ้าผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องออกจากราชการตามวรรคสอง ก็ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการตามวรรคสองไปก่อน ความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสามให้ใช้บังคับกับข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งโอนมาตามมาตรา ๖๔ ในระหว่างที่ยังทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยโดยอนุโลม มาตรา ๖๐ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๑๑๑ และต่อมาปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๕๙ หรือตามมาตราอื่น ก็ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ หรือผู้มีอำนาจตามมาตราอื่นนั้น แล้วแต่กรณี มีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่ง เป็นให้ออกจากราชการตามมาตรา ๕๙ หรือตามมาตราอื่นนั้นได้ มาตรา ๖๑ การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งในสายงานที่ไม่มีกำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง จะกระทำมิได้ มาตรา ๖๒ ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งใดต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็น ก.พ. อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งก็ได้ ในกรณีที่ ก.พ. กำหนดให้ปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิใดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ให้หมายถึงปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิที่ ก.พ. รับรอง มาตรา ๖๓ การย้าย การโอน หรือการเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในหรือต่างกระทรวงหรือกรม แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญจากกระทรวงหรือกรมหนึ่ง ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในต่างประเทศสังกัดอีกกระทรวงหรือกรมหนึ่ง เป็นการชั่วคราวตามระยะเวลาที่กำหนด ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด การย้ายหรือการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ต่ำกว่าเดิมจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้น การบรรจุข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้ออกจากราชการไปเนื่องจากถูกสั่งให้ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ไปปฏิบัติงานใด ๆ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการหรือออกจากราชการไปที่มิใช่เป็นการออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการกลับเข้ารับราชการในกระทรวงหรือกรม ตลอดจนจะสั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการตามพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้ออกจากราชการไป เนื่องจากถูกสั่งให้ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ไปปฏิบัติงานใด ๆ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการ เมื่อได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการให้มีสิทธินับวันรับราชการก่อนถูกสั่งให้ออกจากราชการรวมกับวันรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือวันที่ได้ปฏิบัติงานใด ๆ ตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี และวันรับราชการเมื่อได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการเป็นเวลาราชการติดต่อกันเสมือนว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกสั่งให้ออกจากราชการ สำหรับผู้ซึ่งออกจากราชการไปที่มิใช่เป็นการออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการซึ่งได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการตามวรรคสี่ ให้มีสิทธินับเวลาราชการก่อนออกจากราชการเพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๖๔ การโอนพนักงานส่วนท้องถิ่น การโอนข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัตินี้และไม่ใช่ข้าราชการการเมือง และการโอนเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานอื่นของรัฐที่ ก.พ. กำหนด มาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตลอดจนจะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้ที่โอนมารับราชการตามวรรคหนึ่ง เป็นเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย มาตรา ๖๕ พนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งไม่ใช่ออกจากงานในระหว่างทดลองปฏิบัติงานหรือข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ และไม่ใช่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญ หรือข้าราชการซึ่งออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ผู้ใดออกจากงานหรือออกจากราชการไปแล้ว ถ้าสมัครเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและทางราชการต้องการจะรับผู้นั้นเข้ารับราชการให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ พิจารณาโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับ ทั้งนี้ จะบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้เข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งในขณะที่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย มาตรา ๖๖ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๖๒ แล้ว หากภายหลังปรากฏว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติไม่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ แต่งตั้งผู้นั้นให้กลับไปดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกันโดยพลัน แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับอยู่ก่อนได้รับคำสั่งให้กลับไปดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกัน การรับเงินเดือน สิทธิและประโยชน์ของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้กลับไปดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกันตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด ในกรณีที่ไม่สามารถแต่งตั้งให้กลับไปดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกันตามวรรคหนึ่งได้ ไม่ว่าด้วยเหตุใดให้ ก.พ. พิจารณาเป็นการเฉพาะราย มาตรา ๖๗ ผู้ได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดตามมาตรา ๕๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๖ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ และมาตรา ๖๕ หากภายหลังปรากฏว่าขาดคุณสมบัติทั่วไปหรือมีลักษณะต้องห้ามโดยไม่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๓๖ หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นโดยไม่ได้รับอนุมัติจาก ก.พ. ตามมาตรา ๖๒ อยู่ก่อนก็ดี มีกรณีต้องหาอยู่ก่อนและภายหลังเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเนื่องจากกรณีต้องหานั้นก็ดี ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการโดยพลัน แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการก่อนมีคำสั่งให้ออกนั้นและถ้าการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้วให้ถือว่าเป็นการสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา ๖๘ ในกรณีที่ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญว่างลง หรือผู้ดำรงตำแหน่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ และเป็นกรณีที่มิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนที่เห็นสมควรรักษาการในตำแหน่งนั้นได้ ผู้รักษาการในตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้มีอำนาจหน้าที่ตามตำแหน่งที่รักษาการนั้น ในกรณีที่มีกฎหมายอื่น กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ มติของคณะรัฐมนตรี มติคณะกรรมการตามกฎหมายหรือคำสั่งผู้บังคับบัญชา แต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ๆ เป็นกรรมการ หรือให้มีอำนาจหน้าที่อย่างใด ก็ให้ผู้รักษาการในตำแหน่งทำหน้าที่กรรมการ หรือมีอำนาจหน้าที่อย่างนั้นในระหว่างที่รักษาการในตำแหน่ง แล้วแต่กรณี มาตรา ๖๙ ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็น ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจสั่งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ประจำส่วนราชการเป็นการชั่วคราวโดยให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่เดิมได้ตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. การให้ได้รับเงินเดือน การแต่งตั้ง การเลื่อนเงินเดือน การดำเนินการทางวินัย และการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๗๐ ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็น ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญพ้นจากตำแหน่งหน้าที่และขาดจากอัตราเงินเดือนในตำแหน่งเดิมโดยให้รับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทนโดยมีระยะเวลาตามที่ ก.พ. กำหนดได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. การให้พ้นจากตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือน การแต่งตั้ง การเลื่อนเงินเดือน การดำเนินการทางวินัย และการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ในกรณีที่หมดความจำเป็นหรือครบกำหนดระยะเวลาการให้รับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทน ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ สั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นพ้นจากการรับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกัน มาตรา ๗๑ ในกรณีที่ศาลปกครองมีคำพิพากษาถึงที่สุดสั่งให้เพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้เป็นหน้าที่ของ ก.พ. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีในการสั่งการตามสมควรเพื่อเยียวยาและแก้ไขหรือดำเนินการตามที่เห็นสมควรได้ หมวด ๔ การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและ เสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ มาตรา ๗๒ ให้ส่วนราชการมีหน้าที่ดำเนินการให้มีการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญ เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนสามัญมีคุณภาพ คุณธรรม จริยธรรม คุณภาพชีวิต มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด ในกรณีที่เห็นสมควร และเพื่อการประหยัด สำนักงาน ก.พ. จะจัดให้มีการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจแทนส่วนราชการตามวรรคหนึ่งก็ได้ มาตรา ๗๓ ผู้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตนต่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาอย่างมีคุณธรรมและเที่ยงธรรมและเสริมสร้างแรงจูงใจให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาดำรงตนเป็นข้าราชการที่ดี มาตรา ๗๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประพฤติตนอยู่ในจรรยาและระเบียบวินัยและปฏิบัติราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ตามควรแก่กรณีตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. และจะให้บำเหน็จความชอบอย่างอื่นซึ่งอาจเป็นคำชมเชย เครื่องเชิดชูเกียรติ หรือรางวัลด้วยก็ได้ มาตรา ๗๕ การให้ข้าราชการพลเรือนสามัญไปศึกษาเพิ่มเติม ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศหรือต่างประเทศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๗๖ ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแต่งตั้ง และเลื่อนเงินเดือน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด ผลการประเมินตามวรรคหนึ่งให้นำไปใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาและเพิ่มพูนประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการด้วย มาตรา ๗๗ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญหรือให้ได้รับสิทธิประโยชน์อื่นตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด หมวด ๕ การรักษาจรรยาข้าราชการ มาตรา ๗๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาจรรยาข้าราชการตามที่ส่วนราชการกำหนดไว้โดยมุ่งประสงค์ให้เป็นข้าราชการที่ดี มีเกียรติและศักดิ์ศรีความเป็นข้าราชการ โดยเฉพาะในเรื่องดังต่อไปนี้ (๑) การยึดมั่นและยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง (๒) ความซื่อสัตย์สุจริตและความรับผิดชอบ (๓) การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ (๔) การปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม (๕) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน ให้ส่วนราชการกำหนดข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการเพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะของงานในส่วนราชการนั้นตามหลักวิชาและจรรยาวิชาชีพ ในการกำหนดข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการตามวรรคสอง ให้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของข้าราชการและประกาศให้ประชาชนทราบด้วย มาตรา ๗๙ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่ปฏิบัติตามจรรยาข้าราชการอันมิใช่เป็นความผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาตักเตือน นำไปประกอบการพิจารณาแต่งตั้งเลื่อนเงินเดือน หรือสั่งให้ข้าราชการผู้นั้นได้รับการพัฒนา หมวด ๖ วินัยและการรักษาวินัย มาตรา ๘๐ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาวินัยโดยกระทำการหรือไม่กระทำการตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัดอยู่เสมอ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ปฏิบัติราชการในต่างประเทศนอกจากต้องรักษาวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้แล้ว ต้องรักษาวินัยโดยกระทำการหรือไม่กระทำการตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ด้วย มาตรา ๘๑ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ มาตรา ๘๒ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องกระทำการอันเป็นข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้ (๑) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรม (๒) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบของทางราชการ มติของคณะรัฐมนตรี นโยบายของรัฐบาล และปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ (๓) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการด้วยความตั้งใจอุตสาหะ เอาใจใส่ และรักษาประโยชน์ของทางราชการ (๔) ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการ โดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ โดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเห็นว่าการปฏิบัติตามคำสั่งนั้นจะทำให้เสียหายแก่ราชการ หรือจะเป็นการไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการจะต้องเสนอความเห็นเป็นหนังสือทันทีเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนคำสั่งนั้น และเมื่อได้เสนอความเห็นแล้ว ถ้าผู้บังคับบัญชายืนยันให้ปฏิบัติตามคำสั่งเดิม ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม (๕) ต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้ (๖) ต้องรักษาความลับของทางราชการ (๗) ต้องสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคีและต้องช่วยเหลือกันในการปฏิบัติราชการระหว่างข้าราชการด้วยกันและผู้ร่วมปฏิบัติราชการ (๘) ต้องต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรม และให้การสงเคราะห์แก่ประชาชนผู้ติดต่อราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตน (๙) ต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ราชการและในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชน กับจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการว่าด้วยมารยาททางการเมืองของข้าราชการด้วย (๑๐) ต้องรักษาชื่อเสียงของตน และรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย (๑๑) กระทำการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๘๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่กระทำการใดอันเป็นข้อห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องแจ้งถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย (๒) ต้องไม่ปฏิบัติราชการอันเป็นการกระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้กระทำหรือได้รับอนุญาตเป็นพิเศษชั่วครั้งคราว (๓) ต้องไม่อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น (๔) ต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ (๕) ต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาผลประโยชน์อันอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรมหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน (๖) ต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท (๗) ต้องไม่กระทำการอย่างใดที่เป็นการกลั่นแกล้ง กดขี่ หรือข่มเหงกันในการปฏิบัติราชการ (๘) ต้องไม่กระทำการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. (๙) ต้องไม่ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงประชาชนผู้ติดต่อราชการ (๑๐) ไม่กระทำการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๘๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติตามมาตรา ๘๑ และมาตรา ๘๒ หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา ๘๓ ผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัย มาตรา ๘๕ การกระทำผิดวินัยในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง (๑) ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต (๒) ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๓) ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ (๔) กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง (๕) ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ ข่มเหง หรือทำร้ายประชาชนผู้ติดต่อราชการอย่างร้ายแรง (๖) กระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือให้รับโทษที่หนักกว่าโทษจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๗) ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๒ หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา ๘๓ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๘) ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๐ วรรคสองและมาตรา ๘๒ (๑๑) หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา ๘๓ (๑๐) ที่มีกฎ ก.พ. กำหนดให้เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๘๖ กฎ ก.พ. ตามมาตรา ๘๐ วรรคสอง มาตรา ๘๒ (๑๑) มาตรา ๘๓ (๘) และ (๑๐) และมาตรา ๘๕ (๘) ให้ใช้สำหรับการกระทำที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่กฎ ก.พ. ดังกล่าวใช้บังคับ มาตรา ๘๗ ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่เสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีวินัยและป้องกันมิให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๘๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัย จะต้องได้รับโทษทางวินัย เว้นแต่มีเหตุอันควรงดโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๗ การดำเนินการทางวินัย โทษทางวินัยมี ๕ สถาน ดังต่อไปนี้ (๑) ภาคทัณฑ์ (๒) ตัดเงินเดือน (๓) ลดเงินเดือน (๔) ปลดออก (๕) ไล่ออก มาตรา ๘๙ การลงโทษข้าราชการพลเรือนสามัญให้ทำเป็นคำสั่ง ผู้สั่งลงโทษต้องสั่งลงโทษให้เหมาะสมกับความผิดและต้องเป็นไปด้วยความยุติธรรมและโดยปราศจากอคติ โดยในคำสั่งลงโทษให้แสดงว่าผู้ถูกลงโทษกระทำผิดวินัยในกรณีใดและตามมาตราใด หมวด ๗ การดำเนินการทางวินัย มาตรา ๙๐ เมื่อมีการกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ทราบโดยเร็ว และให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้โดยเร็วด้วยความยุติธรรมและโดยปราศจากอคติ ผู้บังคับบัญชาหรือผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ผู้ใดละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง หรือปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สุจริตให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย อำนาจหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ตามหมวดนี้ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ จะมอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาระดับต่ำลงไปปฏิบัติแทนตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ. กำหนดก็ได้ มาตรา ๙๑ เมื่อได้รับรายงานตามมาตรา ๙๐ หรือความดังกล่าวปรากฏต่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ รีบดำเนินการหรือสั่งให้ดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณาในเบื้องต้นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยหรือไม่ ถ้าเห็นว่ากรณีไม่มีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยก็ให้ยุติเรื่องได้ ในกรณีที่เห็นว่ามีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยโดยมีพยานหลักฐานในเบื้องต้นอยู่แล้ว ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๙๒ หรือมาตรา ๙๓ แล้วแต่กรณี มาตรา ๙๒ ในกรณีที่ผลการสืบสวนหรือพิจารณาตามมาตรา ๙๑ ปรากฏว่ากรณีมีมูลถ้าความผิดนั้นมิใช่เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง และได้แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ พร้อมทั้งรับฟังคำชี้แจงของผู้ถูกกล่าวหาแล้วผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษตามควรแก่กรณีโดยไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวนก็ได้ ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งยุติเรื่อง มาตรา ๙๓ ในกรณีที่ผลการสืบสวนหรือพิจารณาตามมาตรา ๙๑ ปรากฏว่ากรณีมีมูลอันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ในการสอบสวนต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบพร้อมทั้งรับฟังคำชี้แจงของผู้ถูกกล่าวหา เมื่อคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการเสร็จ ให้รายงานผลการสอบสวนและความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ถ้าผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้สั่งยุติเรื่อง แต่ถ้าเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๙๖ หรือมาตรา ๙๗ แล้วแต่กรณี มาตรา ๙๔ การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนสำหรับกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งต่างกัน หรือต่างกรมหรือต่างกระทรวงกันถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกันให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญในกรมเดียวกัน ที่อธิบดีหรือปลัดกระทรวงถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ให้ปลัดกระทรวงหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวง แล้วแต่กรณี เป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน (๒) สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญต่างกรมในกระทรวงเดียวกันถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกัน ให้ปลัดกระทรวงเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เว้นแต่เป็นกรณีที่ปลัดกระทรวงถูกกล่าวหาร่วมด้วย ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน (๓) สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญต่างกระทรวงกันถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกันให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ร่วมกันแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เว้นแต่เป็นกรณีที่มีผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงร่วมด้วย ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน (๔) สำหรับกรณีอื่น ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๙๕ หลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ในกรณีที่เป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. จะดำเนินการทางวินัยโดยไม่ต้องสอบสวนก็ได้ มาตรา ๙๖ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ สั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด ในกรณีมีเหตุอันควรลดหย่อน จะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่สำหรับการลงโทษภาคทัณฑ์ให้ใช้เฉพาะกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย ในกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้ การลงโทษตามมาตรานี้ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ จะมีอำนาจสั่งลงโทษผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาในสถานโทษและอัตราโทษใดได้เพียงใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๙๗ ภายใต้บังคับวรรคสอง ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนหรือผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง หรือผู้มีอำนาจตามมาตรา ๙๔ เห็นว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. จังหวัด อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. กระทรวง ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาสังกัดอยู่ แล้วแต่กรณี พิจารณา เมื่อ อ.ก.พ. ดังกล่าวมีมติเป็นประการใด ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ สั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ไม่ใช้อำนาจตามมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๙๔ หรือมาตรานี้ ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๕๗ ระดับเหนือขึ้นไปมีอำนาจดำเนินการตามมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๙๔ หรือมาตรานี้ได้ ผู้ใดถูกลงโทษปลดออก ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ มาตรา ๙๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดให้ข้อมูลต่อผู้บังคับบัญชาหรือให้ถ้อยคำในฐานะพยานต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ อันเป็นประโยชน์และเป็นผลดียิ่งต่อทางราชการ ผู้บังคับบัญชาอาจพิจารณาให้บำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษได้ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดอยู่ในฐานะที่อาจจะถูกกล่าวหาว่าร่วมกระทำผิดวินัยกับข้าราชการอื่น ให้ข้อมูลต่อผู้บังคับบัญชา หรือให้ถ้อยคำต่อบุคคลหรือคณะบุคคลตามความในวรรคหนึ่งเกี่ยวกับการกระทำผิดวินัยที่ได้กระทำมา จนเป็นเหตุให้มีการสอบสวนพิจารณาทางวินัยแก่ผู้เป็นต้นเหตุแห่งการกระทำผิด ผู้บังคับบัญชาอาจใช้ดุลพินิจกันผู้นั้นไว้เป็นพยานหรือพิจารณาลดโทษทางวินัยตามควรแก่กรณีได้ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดให้ข้อมูลหรือให้ถ้อยคำในฐานะพยานตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองอันเป็นเท็จให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย หลักเกณฑ์และวิธีการการให้บำเหน็จความชอบ การกันเป็นพยาน การลดโทษ และการให้ความคุ้มครองพยาน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. กฎ ก.พ. ว่าด้วยการคุ้มครองพยานตามวรรคสี่ จะกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงาน ก.พ. หรือผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ จะดำเนินการย้าย โอน หรือดำเนินการอื่นใดโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมหรือเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชาของข้าราชการผู้นั้น และไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนหรือกระบวนการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ก็ได้ มาตรา ๙๙ ให้กรรมการสอบสวนตามมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาและให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพียงเท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของกรรมการสอบสวนและโดยเฉพาะให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วยคือ (๑) เรียกให้กระทรวง กรม ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ หรือห้างหุ้นส่วน บริษัท ชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน (๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน มาตรา ๑๐๐ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาเป็นหนังสือว่ากระทำหรือละเว้นกระทำการใดที่เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ถ้าเป็นการกล่าวหาต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นหรือต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ หรือเป็นการกล่าวหาโดยผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น หรือมีกรณีถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาอันมิใช่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทที่ไม่เกี่ยวกับราชการหรือความผิดลหุโทษ แม้ภายหลังผู้นั้นจะออกจากราชการไปแล้ว โดยมิใช่เพราะเหตุตาย ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยมีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณา และดำเนินการทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ แต่ทั้งนี้ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ต้องดำเนินการสอบสวนตามมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ผู้นั้นพ้นจากราชการ ในกรณีตามวรรคหนึ่งถ้าผลการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงก็ให้งดโทษ มาตรา ๑๐๑ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนหรือพิจารณา หรือผลแห่งคดีได้ ถ้าภายหลังปรากฏผลการสอบสวนหรือพิจารณาว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิดหรือกระทำผิดไม่ถึงกับจะถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก และไม่มีกรณีที่จะต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่น ก็ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติราชการหรือกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกันหรือในตำแหน่งประเภทและระดับที่ ก.พ. กำหนด ทั้งนี้ ผู้นั้นต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น เมื่อได้มีการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดพักราชการหรือออกจากราชการไว้ก่อนแล้วภายหลังปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในกรณีอื่นอีก ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณา และแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ๙๓ ตลอดจนดำเนินการทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ต่อไปได้ ในกรณีที่สั่งให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนกลับเข้ารับราชการ หรือสั่งให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนออกจากราชการด้วยเหตุอื่นที่มิใช่เป็นการลงโทษเพราะกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงก็ให้ผู้นั้นมีสถานภาพเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตลอดระยะเวลาระหว่างที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเสมือนว่าผู้นั้นเป็นผู้ถูกสั่งพักราชการ เงินเดือน เงินอื่นที่จ่ายเป็นรายเดือน และเงินช่วยเหลืออย่างอื่น และการจ่ายเงินดังกล่าวของผู้ถูกสั่งพักราชการ และผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น การสั่งพักราชการให้สั่งพักตลอดเวลาที่สอบสวนหรือพิจารณา เว้นแต่ผู้ถูกสั่งพักราชการผู้ใดได้ร้องทุกข์ตามมาตรา ๑๒๒ และผู้มีอำนาจพิจารณาคำร้องทุกข์เห็นว่าสมควรสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนการสอบสวนหรือพิจารณาเสร็จสิ้นเนื่องจากพฤติการณ์ของผู้ถูกสั่งพักราชการไม่เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนหรือพิจารณา และไม่ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยต่อไป หรือเนื่องจากการดำเนินการทางวินัยได้ล่วงพ้นหนึ่งปีนับแต่วันพักราชการแล้วยังไม่แล้วเสร็จและผู้ถูกสั่งพักราชการไม่มีพฤติกรรมดังกล่าว ให้ผู้มีอำนาจสั่งพักราชการสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนการสอบสวนหรือพิจารณาเสร็จสิ้น ให้นำความในวรรคหกมาใช้บังคับกับกรณีถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสั่งพักราชการ การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ระยะเวลาให้พักราชการและให้ออกจากราชการไว้ก่อน การให้กลับเข้าปฏิบัติราชการหรือกลับเข้ารับราชการและการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามผลการสอบสวนหรือพิจารณาให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๐๒ การลงโทษข้าราชการพลเรือนสามัญในส่วนราชการที่มีกฎหมายว่าด้วยวินัยข้าราชการโดยเฉพาะ ในกรณีเป็นความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงตามพระราชบัญญัตินี้จะลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้หรือลงทัณฑ์หรือลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยวินัยข้าราชการนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งตามควรแก่กรณีและพฤติการณ์ก็ได้ แต่ถ้าเป็นกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ว่าจะได้ลงทัณฑ์หรือลงโทษตามกฎหมายดังกล่าวแล้วหรือไม่ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๓ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้หรือลงทัณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยข้าราชการโดยเฉพาะ หรือสั่งยุติเรื่อง หรืองดโทษแล้ว ให้รายงาน อ.ก.พ. กระทรวงซึ่งผู้ถูกดำเนินการทางวินัยสังกัดอยู่เพื่อพิจารณา เว้นแต่เป็นกรณีดำเนินการทางวินัยกับข้าราชการต่างกระทรวงกัน หรือกรณีดำเนินการทางวินัยตามมติ อ.ก.พ. กระทรวง ตามมาตรา ๙๗ วรรคสอง ให้รายงาน ก.พ. ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ ก.พ. กำหนด ในกรณีที่ อ.ก.พ. กระทรวงหรือ ก.พ. เห็นว่าการดำเนินการทางวินัยเป็นการไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม หากมีมติเป็นประการใด ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ. กระทรวงหรือ ก.พ. มีมติ ในกรณีตามวรรคสองและในการดำเนินการตามมาตรา ๑๐๔ ให้ ก.พ. มีอำนาจสอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๙๕ มาตรา ๑๐๔ ในการดำเนินการของ อ.ก.พ. กระทรวงตามมาตรา ๙๗ วรรคสอง หรือมาตรา ๑๐๓ วรรคสอง หากผู้แทน ก.พ. ซึ่งเป็นกรรมการใน อ.ก.พ. กระทรวงดังกล่าวเห็นว่าการดำเนินการของผู้บังคับบัญชาหรือมติ อ.ก.พ. กระทรวง เป็นการไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้หรือปฏิบัติไม่เหมาะสม ให้รายงาน ก.พ. เพื่อพิจารณาดำเนินการตามควรแก่กรณีต่อไป และเมื่อ ก.พ. มีมติเป็นประการใด ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามที่ ก.พ. มีมติ ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้ถูกลงโทษได้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษของผู้บังคับบัญชาต่อ ก.พ.ค. ในกรณีเช่นนี้ให้ ก.พ. แจ้งมติต่อ ก.พ.ค. เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ มาตรา ๑๐๕ เมื่อมีกรณีเพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ ให้ผู้สั่งมีคำสั่งใหม่ และในคำสั่งดังกล่าวให้สั่งยกเลิกคำสั่งลงโทษเดิม พร้อมทั้งระบุวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับโทษที่ได้รับไปแล้ว ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๐๖ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งโอนมาตามมาตรา ๖๔ ผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยอยู่ก่อนวันโอนมาบรรจุ ให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นดำเนินการทางวินัยตามหมวดนี้โดยอนุโลม แต่ถ้าเป็นเรื่องที่อยู่ในระหว่างการสืบสวนหรือพิจารณา หรือสอบสวนของผู้บังคับบัญชาเดิมก่อนวันโอนก็ให้สืบสวนหรือพิจารณา หรือสอบสวนต่อไปจนเสร็จ แล้วส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นพิจารณาดำเนินการต่อไปตามหมวดนี้โดยอนุโลม แต่ทั้งนี้ ในการสั่งลงโทษทางวินัยให้พิจารณาตามความผิดและลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นหรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการที่โอนมานั้น แล้วแต่กรณี หมวด ๘ การออกจากราชการ มาตรา ๑๐๗ ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการเมื่อ (๑) ตาย (๒) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๓) ลาออกจากราชการและได้รับอนุญาตให้ลาออกหรือการลาออกมีผลตามมาตรา ๑๐๙ (๔) ถูกสั่งให้ออกตามมาตรา ๕๙ มาตรา ๖๗ มาตรา ๑๐๑ มาตรา ๑๑๐ หรือมาตรา ๑๑๑ หรือ (๕) ถูกสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก วันออกจากราชการตาม (๔) และ (๕) ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๑๐๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดเมื่ออายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในสิ้นปีงบประมาณและทางราชการมีความจำเป็นที่จะให้รับราชการต่อไปเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในทางวิชาการหรือหน้าที่ที่ต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัว ในตำแหน่งตามมาตรา ๔๖ (๓) (ง) หรือ (จ) หรือ (๔) (ค) หรือ (ง) จะให้รับราชการต่อไปอีกไม่เกินสิบปีก็ได้ตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๐๙ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งโดยยื่นล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกไม่น้อยกว่าสามสิบวันเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ เป็นผู้พิจารณาก่อนวันขอลาออก ในกรณีที่ผู้ประสงค์จะลาออกยื่นหนังสือขอลาออกล่วงหน้าน้อยกว่าสามสิบวัน และผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ เห็นว่ามีเหตุผลและความจำเป็นจะอนุญาตให้ลาออกตามวันที่ขอลาออกก็ได้ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ เห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการ จะยับยั้งการลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันขอลาออกก็ได้ ในกรณีเช่นนั้นถ้าผู้ขอลาออกมิได้ถอนใบลาออกก่อนครบกำหนดระยะเวลาการยับยั้งให้ถือว่าการลาออกนั้นมีผลเมื่อครบกำหนดเวลาตามที่ได้ยับยั้งไว้ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มิได้ยับยั้งตามวรรคสามให้การลาออกนั้นมีผลตั้งแต่วันขอลาออก ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการเพื่อดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ตำแหน่งทางการเมือง หรือตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนด หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาตามวรรคหนึ่ง และให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการลาออก การพิจารณาอนุญาตให้ลาออกและการยับยั้งการลาออกจากราชการ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๑๑๐ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอ (๒) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดสมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการ (๓) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๓๖ ก. (๑) หรือ (๓) หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๖ ข. (๑) (๓) (๖) หรือ (๗) (๔) เมื่อทางราชการเลิกหรือยุบหน่วยงานหรือตำแหน่งที่ข้าราชการพลเรือนสามัญปฏิบัติหน้าที่หรือดำรงอยู่ สำหรับผู้ที่ออกจากราชการในกรณีนี้ให้ได้รับเงินชดเชยตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนดด้วย (๕) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการ (๖) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ บกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ ถ้าให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ (๗) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกสอบสวนว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามมาตรา ๙๓ และผลการสอบสวนไม่ได้ความแน่ชัดพอที่จะฟังลงโทษตามมาตรา ๙๗ วรรคหนึ่ง แต่มีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวน ถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ (๘) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษหรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำสั่งของศาลซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก การสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๙๗ วรรคสอง มาใช้บังคับกับการสั่งให้ออกจากราชการตามกรณี (๓) เฉพาะมาตรา ๓๖ ก. (๓) กรณี (๖) และกรณี (๗) โดยอนุโลม เมื่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ สั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดออกจากราชการตามมาตรานี้แล้ว ให้รายงาน อ.ก.พ. กระทรวง หรือ ก.พ. แล้วแต่กรณี และให้นำมาตรา ๑๐๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๑๑ เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคหนึ่ง และต่อมาปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตราอื่นอยู่ก่อนไปรับราชการทหาร ก็ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ออกตามวรรคหนึ่งเป็นให้ออกจากราชการตามมาตราอื่นนั้นได้ มาตรา ๑๑๒ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ไม่ใช้อำนาจตามมาตรา ๑๑๐ โดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ระดับเหนือขึ้นไปมีอำนาจดำเนินการตามมาตรา ๑๑๐ ได้ มาตรา ๑๑๓ การออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่งนับแต่วันออกจากราชการ เว้นแต่ออกจากราชการเพราะความตายให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ หมวด ๙ การอุทธรณ์ มาตรา ๑๑๔ ผู้ใดถูกสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๑๑๐ (๑) (๓) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.พ.ค. ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคำสั่ง การอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.ค. มาตรา ๑๑๕ ในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ ก.พ.ค. จะพิจารณาวินิจฉัยเองหรือจะตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.ค. มาตรา ๑๑๖ เมื่อ ก.พ.ค. พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ดำเนินการให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยนั้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ ก.พ.ค. มีคำวินิจฉัย ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ก.พ.ค. ให้ฟ้องคดีต่อศาลปกครองสูงสุดภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ทราบหรือถือว่าทราบคำวินิจฉัยของ ก.พ.ค. ผู้บังคับบัญชาผู้ใดไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการจงใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น มาตรา ๑๑๗ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการ ก.พ.ค. และกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ (๑) สั่งให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งลงโทษหรือสั่งให้ออกจากราชการอันเป็นเหตุให้มีการอุทธรณ์ ส่งสำนวนการสอบสวนและการลงโทษให้ ก.พ.ค. ภายในเวลาที่กำหนด (๒) สั่งให้กระทรวง กรม ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐรวมตลอดทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องสอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมหรือส่งตัวข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ในสังกัดมาให้ถ้อยคำ ในการนี้จะกำหนดระยะเวลาในการสอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมไว้ด้วยก็ได้ (๓) มีคำสั่งให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของกระทรวง กรม ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือบุคคลใดที่เกี่ยวข้อง มาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (๔) เข้าไปในอาคาร หรือสถานที่ใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของ ก.พ.ค. ทั้งนี้ ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น (๕) สอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติม มาตรา ๑๑๘ การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๑๔ ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ เว้นแต่มีเหตุขัดข้องที่ทำให้การพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ก็ให้ขยายระยะเวลาได้อีกซึ่งไม่เกินสองครั้ง โดยแต่ละครั้งจะต้องไม่เกินหกสิบวัน และให้บันทึกเหตุขัดข้องให้ปรากฏไว้ด้วย มาตรา ๑๑๙ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งโอนมาตามมาตรา ๖๔ ผู้ใดถูกสั่งลงโทษทางวินัยอยู่ก่อนวันโอนมาบรรจุ และผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นหรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการที่โอนมาแต่ยังไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ตามกฎหมายดังกล่าว ก็ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๑๔ ได้ แต่ถ้าผู้นั้นได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นหรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการที่โอนมาไว้แล้วและในวันที่ผู้นั้นได้โอนมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ยังไม่แล้วเสร็จ ก็ให้ส่งเรื่องให้ ก.พ.ค. เป็นผู้พิจารณาอุทธรณ์ มาตรา ๑๒๐ ในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ ก.พ.ค. มีอำนาจไม่รับอุทธรณ์ ยกอุทธรณ์ หรือมีคำวินิจฉัยให้แก้ไขหรือยกเลิกคำสั่งลงโทษ และให้เยียวยาความเสียหายให้ผู้อุทธรณ์ หรือให้ดำเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ตามระเบียบที่ ก.พ.ค. กำหนด การวินิจฉัยให้แก้ไขหรือให้ดำเนินการอื่นตามวรรคหนึ่ง ก.พ.ค. จะให้เพิ่มโทษไม่ได้ เว้นแต่เป็นกรณีได้รับแจ้งจาก ก.พ. ตามมาตรา ๑๐๔ ว่าสมควรเพิ่มโทษ ในกรณีเช่นนั้น ก.พ.ค. มีอำนาจวินิจฉัยให้เพิ่มโทษได้ มาตรา ๑๒๑ เมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้ กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์อาจถูกคัดค้านได้ (๑) รู้เห็นเหตุการณ์ในการกระทำผิดวินัยที่ผู้อุทธรณ์ถูกลงโทษหรือการถูกสั่งให้ออกจากราชการ (๒) มีส่วนได้เสียในการกระทำผิดวินัยที่ผู้อุทธรณ์ถูกลงโทษหรือการถูกสั่งให้ออกจากราชการ (๓) มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้อุทธรณ์ (๔) เป็นผู้กล่าวหา หรือเป็นหรือเคยเป็นผู้บังคับบัญชาผู้สั่งลงโทษหรือสั่งให้ออกจากราชการ (๕) เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินการทางวินัยหรือการสั่งให้ออกจากราชการที่ผู้อุทธรณ์ถูกลงโทษหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการ (๖) มีความเกี่ยวพันทางเครือญาติหรือทางการสมรสกับบุคคลตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) อันอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้อุทธรณ์ กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ซึ่งมีกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้งต่อประธาน ก.พ.ค. และถอนตัวจากการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ การยื่นคำคัดค้าน และการพิจารณาคำคัดค้าน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.ค. หมวด ๑๐ การร้องทุกข์ มาตรา ๑๒๒ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชา และเป็นกรณีที่ไม่อาจอุทธรณ์ตามหมวด ๙ การอุทธรณ์ ได้ ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในหมวดนี้ มาตรา ๑๒๓ การร้องทุกข์ที่เหตุเกิดจากผู้บังคับบัญชา ให้ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไป ตามลำดับ การร้องทุกข์ที่เหตุเกิดจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงรัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรือนายกรัฐมนตรี ให้ร้องทุกข์ต่อ ก.พ.ค. เมื่อ ก.พ.ค. ได้พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ประการใดแล้ว ให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง รัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรือนายกรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ดำเนินการให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของ ก.พ.ค. การร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.ค. มาตรา ๑๒๔ ในการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ให้ ก.พ.ค. มีอำนาจไม่รับเรื่องร้องทุกข์ ยกคำร้องทุกข์ หรือมีคำวินิจฉัยให้แก้ไขหรือยกเลิกคำสั่ง และให้เยียวยาความเสียหายให้ผู้ร้องทุกข์ หรือให้ดำเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามระเบียบที่ ก.พ.ค. กำหนด ในการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ ก.พ.ค. จะพิจารณาวินิจฉัยเอง หรือจะตั้งกรรมการ ก.พ.ค. คนหนึ่ง หรือจะตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.ค. และในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และให้มีอำนาจตามมาตรา ๑๑๗ โดยอนุโลม มาตรา ๑๒๕ เมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้ กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์อาจถูกคัดค้านได้ (๑) เป็นผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุให้เกิดความคับข้องใจ หรือเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้บังคับบัญชาดังกล่าว (๒) มีส่วนได้เสียในเรื่องที่ร้องทุกข์ (๓) มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ร้องทุกข์ (๔) มีความเกี่ยวพันทางเครือญาติหรือทางการสมรสกับบุคคลตาม (๑) (๒) หรือ (๓) อันอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ร้องทุกข์ กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ซึ่งมีกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้งต่อประธาน ก.พ.ค. และถอนตัวจากการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ การยื่นคำคัดค้าน และการพิจารณาคำคัดค้าน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.ค. หมวด ๑๑ การคุ้มครองระบบคุณธรรม มาตรา ๑๒๖ ในกรณีที่ ก.พ.ค. เห็นว่ากฎ ระเบียบ หรือคำสั่งใดที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้และมุ่งหมายให้ใช้บังคับเป็นการทั่วไป ไม่สอดคล้องกับระบบคุณธรรมตามมาตรา ๔๒ ให้ ก.พ.ค. แจ้งให้หน่วยงานหรือผู้ออกกฎ ระเบียบ หรือคำสั่งดังกล่าวทราบ เพื่อดำเนินการแก้ไข หรือยกเลิกตามควรแก่กรณี ลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ มาตรา ๑๒๗ การแต่งตั้งและการให้ข้าราชการพลเรือนในพระองค์พ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคลจะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการเกี่ยวกับการกำหนดตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง การบรรจุ การแต่งตั้ง การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ การรักษาจรรยา การรักษาวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์ การร้องทุกข์ และการอื่นตามที่จำเป็นของข้าราชการพลเรือนในพระองค์ก็ได้ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่กระทบต่อพระราชอำนาจตามวรรคหนึ่ง พระราชกฤษฎีกาตามวรรคสองจะกำหนดให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ทั้งหมดหรือบางส่วน มาใช้บังคับหรือจะกำหนดให้แตกต่างจากที่บัญญัติในพระราชบัญญัตินี้ก็ได้ บทเฉพาะกาล มาตรา ๑๒๘ ให้ ก.พ. อ.ก.พ. วิสามัญ และ อ.ก.พ. สามัญ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ก.พ. หรือจนกว่าจะได้แต่งตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญ หรืออนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญ แล้วแต่กรณี ตามพระราชบัญญัตินี้ การดำเนินการแต่งตั้ง ก.พ. ให้กระทำให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๒๙ ในระหว่างที่ยังมิได้ดำเนินการให้มี ก.พ.ค. ให้ ก.พ. ทำหน้าที่ ก.พ.ค. ตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อนจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ก.พ.ค. ตามพระราชบัญญัตินี้ การดำเนินการแต่งตั้ง ก.พ.ค. ให้กระทำให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๓๐ ผู้ใดเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ หรือข้าราชการพลเรือนในพระองค์ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ หรือข้าราชการพลเรือนในพระองค์ตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี ต่อไป มาตรา ๑๓๑ ในระหว่างที่ ก.พ. ยังมิได้จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามมาตรา ๔๘ บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ยังไม่ใช้บังคับ โดยให้นำบทบัญญัติในลักษณะ ๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตลอดจนบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนและบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือนท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๓๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญและข้าราชการพลเรือนในพระองค์ไปพลางก่อนจนกว่า ก.พ. จะจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งเสร็จ และจัดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญของทุกส่วนราชการเข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และประกาศให้ทราบ จึงให้นำบทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ก.พ. ประกาศเป็นต้นไป และให้ผู้บังคับบัญชาสั่งแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ ก.พ. ประกาศ ในการจัดตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญตามวรรคหนึ่ง หากมีเหตุผลและความจำเป็น ก.พ. อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญผู้มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะตัวได้ ให้ ก.พ. ดำเนินการประกาศตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๓๒ ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกา หรือออกกฎ ก.พ. ข้อบังคับ หรือระเบียบหรือกำหนดกรณีใด เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำพระราชกฤษฎีกา กฎ ก.พ. ข้อบังคับ หรือระเบียบหรือกรณีที่กำหนดไว้แล้วซึ่งใช้อยู่เดิมมาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ไม่อาจนำพระราชกฤษฎีกา กฎ ก.พ. ข้อบังคับ หรือระเบียบหรือกรณีที่กำหนดไว้แล้วมาใช้บังคับได้ตามวรรคหนึ่ง การจะดำเนินการประการใดให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๑๓๓ ข้าราชการพลเรือนผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยหรือกรณีที่สมควรให้ออกจากราชการอยู่ก่อนวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้บังคับบัญชาตามพระราชบัญญัตินี้มีอำนาจสั่งลงโทษผู้นั้นหรือสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ส่วนการสอบสวน การพิจารณา และการดำเนินการเพื่อลงโทษหรือให้ออกจากราชการ ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ (๑) กรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งให้สอบสวนโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นไปแล้วก่อนวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และยังสอบสวนไม่เสร็จก็ให้สอบสวนตามกฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ (๒) ในกรณีที่ได้มีการสอบสวนหรือพิจารณาโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นเสร็จไปแล้วก่อนวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้การสอบสวนหรือพิจารณา แล้วแต่กรณีนั้นเป็นอันใช้ได้ (๓) กรณีที่ได้มีการรายงานหรือส่งเรื่อง หรือนำสำนวนเสนอ หรือส่งให้ อ.ก.พ. สามัญใดพิจารณาโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น และ อ.ก.พ. สามัญพิจารณาเรื่องนั้นยังไม่เสร็จ ก็ให้ อ.ก.พ. สามัญ พิจารณาตามกฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ มาตรา ๑๓๔ ข้าราชการพลเรือนซึ่งโอนมาจากพนักงานส่วนท้องถิ่นหรือข้าราชการประเภทอื่นก่อนวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยหรือกรณีที่สมควรให้ออกจากงานหรือให้ออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นหรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการนั้นอยู่ก่อนวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้บังคับบัญชาตามพระราชบัญญัตินี้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยแก่ผู้นั้น หรือดำเนินการสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้ ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๑๐๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๓๕ ผู้ใดถูกสั่งลงโทษหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ถ้ายังมิได้ยื่นอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวและยังไม่พ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ในวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้มีสิทธิอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ตามพระราชบัญญัตินี้ได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๓๖ เรื่องอุทธรณ์และเรื่องร้องทุกข์ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและอยู่ในอำนาจการพิจารณาของ อ.ก.พ. สามัญ หรือ ก.พ. ให้ อ.ก.พ. สามัญ หรือ ก.พ. แล้วแต่กรณี พิจารณาต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ เรื่องอุทธรณ์และเรื่องร้องทุกข์ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ได้ยื่นต่อ อ.ก.พ. สามัญ หรือ ก.พ. ในวันหรือหลังวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและเป็นกรณีที่มีการลงโทษหรือสั่งการไว้ก่อนวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ ก.พ.ค. เป็นผู้พิจารณาดำเนินการต่อไป มาตรา ๑๓๗ การใดที่อยู่ระหว่างดำเนินการหรือเคยดำเนินการได้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ และมิได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือมีกรณีที่ไม่อาจดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ การดำเนินการต่อไปในเรื่องนั้นจะสมควรดำเนินการประการใดให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๑๓๘ การปรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญเข้าตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้รับเงินเดือนยังไม่ถึงขั้นต่ำของระดับตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ให้ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำชั่วคราวตามบัญชีท้ายตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ได้รับการปรับเงินเดือนจนได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำของระดับตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๑๓๙ ในกรณีที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทต่าง ๆ กำหนดให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการพลเรือนสามัญมาใช้บังคับหรือใช้บังคับโดยอนุโลม ให้ยังคงนำพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาใช้บังคับหรือใช้บังคับโดยอนุโลมต่อไป การให้นำพระราชบัญญัตินี้ไปใช้บังคับกับข้าราชการประเภทดังกล่าวทั้งหมดหรือบางส่วน ให้กระทำได้โดยมติขององค์กรกลางบริหารงานบุคคลหรือองค์กรที่ทำหน้าที่องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการประเภทนั้น ๆ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภทบริหาร บาท บาท ขั้นสูง ๖๔,๓๔๐ ๖๖,๔๘๐ ขั้นต่ำ ๔๘,๗๐๐ ๕๓,๖๙๐ ขั้นต่ำชั่วคราว ๒๓,๒๓๐ ๒๘,๕๕๐ ระดับ ต้น สูง บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ บาท บาท ขั้นสูง ๕๐,๕๕๐ ๕๙,๗๗๐ ขั้นต่ำ ๒๕,๓๙๐ ๓๑,๒๘๐ ขั้นต่ำชั่วคราว ๑๘,๙๑๐ ๒๓,๒๓๐ ระดับ ต้น สูง บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภทวิชาการ บาท บาท บาท บาท บาท ขั้นสูง ๒๒,๒๒๐ ๓๖,๐๒๐ ๕๐,๕๕๐ ๕๙,๗๗๐ ๖๖,๔๘๐ ขั้นต่ำ ๗,๙๔๐ ๑๔,๓๓๐ ๒๑,๐๘๐ ๒๙,๙๐๐ ๔๑,๗๒๐ ขั้นต่ำชั่วคราว ๖,๘๐๐ ๑๒,๕๓๐ ๑๘,๙๑๐ ๒๓,๒๓๐ ๒๘,๕๕๐ ระดับ ปฏิบัติการ ชำนาญการ ชำนาญการ พิเศษ เชี่ยวชาญ ทรงคุณวุติ บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภททั่วไป บาท บาท บาท บาท ขั้นสูง ๑๘,๑๙๐ ๓๓,๕๔๐ ๔๗,๔๕๐ ๕๙,๗๗๐ ขั้นต่ำ ๔,๖๓๐ ๑๐,๑๙๐ ๑๕,๔๑๐ ๔๘,๒๒๐ ระดับ ปฏิบัติงาน ชำนาญงาน อาวุโส ทักษะพิเศษ บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ ๑. ประเภทบริหาร ระดับ อัตรา (บาท/เดือน) ระดับสูง ๒๑,๐๐๐ ๑๔,๕๐๐ ระดับต้น ๑๐,๐๐๐ ๒. ประเภทอำนวยการ ระดับ อัตรา (บาท/เดือน) ระดับสูง ๑๐,๐๐๐ ระดับต้น ๕,๖๐๐ ๓. ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับ อัตรา (บาท/เดือน) ทรงคุณวุฒิ ๑๕,๖๐๐ ๑๓,๐๐๐ เชี่ยวชาญ ๙,๙๐๐ ชำนาญการพิเศษ ๕,๖๐๐ ชำนาญการ ๓,๕๐๐ ๔. ประเภททั่วไป ระดับ อัตรา (บาท/เดือน) ทักษะพิเศษ ๙,๙๐๐ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ บัญญัติให้ดำเนินการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน เพื่อกำหนดภารกิจของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนให้เหมาะสม ประกอบกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้ใช้บังคับมานาน บทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับพัฒนาการด้านการบริหารราชการที่เปลี่ยนไป ดังนั้น เพื่อกำหนดภารกิจของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนให้เหมาะสม และเพื่อให้การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐสอดคล้องกับทิศทางการบริหารราชการ สมควรปรับปรุงกฎหมายดังกล่าว โดยปรับบทบาทของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน จากเดิมที่เป็นทั้งผู้จัดการงานบุคคลของฝ่ายบริหาร ผู้พิทักษ์ระบบคุณธรรม และผู้จัดโครงสร้างส่วนราชการ ให้เป็นเพียงผู้จัดการงานบุคคลของฝ่ายบริหาร โดยมิให้ซ้ำซ้อนกับบทบาทของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ส่วนบทบาทในการพิทักษ์ระบบคุณธรรมให้เป็นของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ปรับบทบาทของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนจากเดิมที่เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ให้เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม และมิให้ซ้ำซ้อนกับบทบาทของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ปรับปรุงระบบตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญให้จำแนกตามกลุ่มลักษณะงาน ตลอดจนกระจายอำนาจการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดดำเนินการมากขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ฐิติมา/ตรวจ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๒ ระพี/ปรับปรุง ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ วิชพงษ์/ตรวจ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๒๒ ก/หน้า ๑/๒๕ มกราคม ๒๕๕๑
728568
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 (ฉบับ Update ณ วันที่ 31/03/2554)
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นปีที่ ๖๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗ (๓) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๘ (๔) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๔ มิให้นำคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่ ๓๘/๒๕๑๙ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๙ มาใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือน มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “ข้าราชการพลเรือน” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณในกระทรวง กรมฝ่ายพลเรือน “ข้าราชการฝ่ายพลเรือน” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือน และข้าราชการอื่นในกระทรวง กรมฝ่ายพลเรือน ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทนั้น “กระทรวง” หมายความรวมถึงสำนักนายกรัฐมนตรีและทบวง “รัฐมนตรีเจ้าสังกัด” หมายความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวง รัฐมนตรีว่าการทบวง และหมายความรวมถึงนายกรัฐมนตรีในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาสำนักนายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวง “ปลัดกระทรวง” หมายความรวมถึงปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและปลัดทบวง “กรม” หมายความรวมถึงส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม “อธิบดี” หมายความว่า หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่ากรม “ส่วนราชการ” หมายความว่า ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและมีฐานะไม่ต่ำกว่ากรม มาตรา ๕ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ลักษณะ ๑ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน มาตรา ๖ ให้มีคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.” ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธาน ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมายซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับการสรรหาตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน แต่ไม่เกินเจ็ดคน และให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการและเลขานุการ กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต้องไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมืองและมิได้เป็นกรรมการโดยตำแหน่งอยู่แล้ว มาตรา ๗ กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งได้คราวละสามปี ถ้าตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนดและยังมีกรรมการดังกล่าวเหลืออยู่อีกไม่น้อยกว่าสามคนให้กรรมการที่เหลือปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ เมื่อตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนดให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการแทนภายในกำหนดสามสิบวัน เว้นแต่วาระของกรรมการเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่แต่งตั้งกรรมการแทนก็ได้ ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการแทนนั้นให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่ง จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการอีกก็ได้ ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่ ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่ มาตรา ๘ ก.พ. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐในด้านมาตรฐานค่าตอบแทน การบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล รวมตลอดทั้งการวางแผนกำลังคนและด้านอื่น ๆ เพื่อให้ส่วนราชการใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ (๒) รายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาปรับปรุงเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่มค่าครองชีพ สวัสดิการ หรือประโยชน์เกื้อกูลอื่นสำหรับข้าราชการฝ่ายพลเรือนให้เหมาะสม (๓) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน เพื่อส่วนราชการใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ (๔) ให้ความเห็นชอบกรอบอัตรากำลังของส่วนราชการ (๕) ออกกฎ ก.พ. และระเบียบเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ รวมตลอดทั้งการให้คำแนะนำหรือวางแนวทางในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎ ก.พ. เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ (๖) ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ รวมตลอดทั้งกำหนดแนวทางปฏิบัติในกรณีที่เป็นปัญหา มติของ ก.พ. ตามข้อนี้ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย (๗) กำกับ ดูแล ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือนในกระทรวงและกรม เพื่อรักษาความเป็นธรรมและมาตรฐานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล รวมทั้งตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ในการนี้ ให้มีอำนาจเรียกเอกสารและหลักฐานจากส่วนราชการ หรือให้ผู้แทนส่วนราชการ ข้าราชการหรือบุคคลใด ๆ มาชี้แจงข้อเท็จจริง และให้มีอำนาจออกระเบียบให้กระทรวง และกรมรายงานเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือนที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ไปยัง ก.พ. (๘) กำหนดนโยบายและออกระเบียบเกี่ยวกับทุนเล่าเรียนหลวงและทุนของรัฐบาลให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือน ตลอดจนจัดสรรผู้รับทุนที่สำเร็จการศึกษาแล้วเข้ารับราชการในกระทรวงและกรมหรือหน่วยงานของรัฐ (๙) ออกข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการจัดการการศึกษาและควบคุมดูแลและการให้ความช่วยเหลือบุคลากรภาครัฐ นักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง นักเรียนทุนของรัฐบาล และนักเรียนทุนส่วนตัวที่อยู่ในความดูแลของ ก.พ. ตลอดจนการเก็บเงินชดเชยค่าใช้จ่ายในการดูแลจัดการการศึกษา ทั้งนี้ ให้ถือว่าเงินชดเชยค่าใช้จ่ายในการดูแลจัดการการศึกษาเป็นเงินรายรับของส่วนราชการที่เป็นสถานอำนวยบริการอันเป็นสาธารณประโยชน์ ตามความหมายในกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ (๑๐) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อรับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือน และการกำหนดอัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทน รวมทั้งระดับตำแหน่งและประเภทตำแหน่งสำหรับคุณวุฒิดังกล่าว (๑๑) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการปฏิบัติการเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ (๑๒) พิจารณาจัดระบบทะเบียนประวัติและแก้ไขทะเบียนประวัติเกี่ยวกับวัน เดือน ปีเกิด และการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการพลเรือน (๑๓) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น การออกกฎ ก.พ. ตาม (๕) ในกรณีที่เห็นสมควร ให้สำนักงาน ก.พ. หารือกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาของ ก.พ. ด้วย มาตรา ๙ ในกรณีที่ ก.พ. มีมติว่ากระทรวง กรม หรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือปฏิบัติการโดยขัดหรือแย้งกับแนวทางตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ ให้ ก.พ. แจ้งให้กระทรวง กรม หรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติดังกล่าวดำเนินการแก้ไข ยกเลิก หรือยุติการดำเนินการดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนดในกรณีที่กระทรวง กรม หรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติดังกล่าวไม่ดำเนินการตามมติ ก.พ. ภายในเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าปลัดกระทรวง อธิบดี หรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติดังกล่าว แล้วแต่กรณี กระทำผิดวินัย การดำเนินการทางวินัยตามวรรคหนึ่งและการสั่งลงโทษให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.พ. ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎ ก.พ. ในกรณีที่ผู้ไม่ปฏิบัติการตามมติ ก.พ. ตามวรรคหนึ่งเป็นรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ให้ ก.พ. รายงานนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการตามที่เห็นสมควรต่อไป มาตรา ๑๐ ในกรณีที่ ก.พ. เห็นว่าการบริหารทรัพยากรบุคคลในเรื่องใดที่ข้าราชการฝ่ายพลเรือนทุกประเภทหรือบางประเภทควรมีมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์เดียวกัน ให้ ก.พ. จัดให้มีการประชุมเพื่อหารือร่วมกันระหว่างผู้แทน ก.พ. ผู้แทน ก.พ.ร. และผู้แทนองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือนประเภทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์กลางการบริหารทรัพยากรบุคคลในเรื่องนั้นเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วให้ใช้บังคับมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์กลางดังกล่าวกับข้าราชการฝ่ายพลเรือนทุกประเภทหรือประเภทนั้น ๆ แล้วแต่กรณี ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคลของรัฐในเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยโดยอนุโลม มาตรา ๑๑ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับแก่การประชุม ก.พ. โดยอนุโลม เว้นแต่กรณีตามมาตรา ๓๖ วรรคสอง มาตรา ๑๒ ก.พ. มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิสามัญ เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ. วิสามัญ” เพื่อทำการใด ๆ แทนได้ จำนวน คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญ รวมตลอดทั้งวิธีการได้มา วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๓ ให้มีสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เรียกโดยย่อว่า “สำนักงาน ก.พ.” โดยมีเลขาธิการ ก.พ. เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและบริหารราชการของสำนักงาน ก.พ. ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี สำนักงาน ก.พ. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานในหน้าที่ของ ก.พ. และ ก.พ.ค. และดำเนินการตามที่ ก.พ. หรือ ก.พ.ค. มอบหมาย (๒) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่กระทรวง กรม เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และแนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ (๓) พัฒนา ส่งเสริม วิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ระบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน (๔) ติดตามและประเมินผลการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน (๕) ดำเนินการเกี่ยวกับแผนกำลังคนของข้าราชการพลเรือน (๖) เป็นศูนย์กลางข้อมูลทรัพยากรบุคคลภาครัฐ (๗) จัดทำยุทธศาสตร์ ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือน (๘) ส่งเสริม ประสานงาน เผยแพร่ ให้คำปรึกษาแนะนำ และดำเนินการเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการและการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตสำหรับทรัพยากรบุคคลภาครัฐ (๙) ดำเนินการเกี่ยวกับทุนเล่าเรียนหลวงและทุนของรัฐบาลตามนโยบายและระเบียบของ ก.พ. ตามมาตรา ๘ (๘) (๑๐) ดำเนินการเกี่ยวกับการดูแลบุคลากรภาครัฐและนักเรียนทุนตามข้อบังคับหรือระเบียบของ ก.พ. ตามมาตรา ๘ (๙) (๑๑) ดำเนินการเกี่ยวกับการรับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือน และการกำหนดอัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทน รวมทั้งระดับตำแหน่งและประเภทตำแหน่งสำหรับคุณวุฒิดังกล่าว (๑๒) ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาทะเบียนประวัติและการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการพลเรือน (๑๓) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการพลเรือนเสนอต่อ ก.พ. และคณะรัฐมนตรี (๑๔) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ กฎหมายอื่น หรือตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือ ก.พ. มอบหมาย มาตรา ๑๔ ให้มีคณะอนุกรรมการสามัญ เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ. สามัญ” เพื่อเป็นองค์กรบริหารทรัพยากรบุคคลในส่วนราชการต่าง ๆ ดังนี้ (๑) คณะอนุกรรมการสามัญประจำกระทรวง เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ. กระทรวง” โดยออกนามกระทรวง (๒) คณะอนุกรรมการสามัญประจำกรม เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ. กรม” โดยออกนามกรม (๓) คณะอนุกรรมการสามัญประจำจังหวัด เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ. จังหวัด” โดยออกนามจังหวัด (๔) คณะอนุกรรมการสามัญประจำส่วนราชการอื่นนอกจากส่วนราชการตาม (๑) (๒) และ (๓) การเรียกชื่อ องค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.พ. ตาม (๔) ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๕ อ.ก.พ. กระทรวง ประกอบด้วยรัฐมนตรีเจ้าสังกัด เป็นประธาน ปลัดกระทรวง เป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. ซึ่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนในสำนักงาน ก.พ. หนึ่งคน เป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่ง และอนุกรรมการซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และมิได้เป็นข้าราชการในกระทรวงนั้น จำนวนไม่เกินสามคน (๒) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกระทรวงนั้น ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว จำนวนไม่เกินห้าคน ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน มาตรา ๑๖ อ.ก.พ. กระทรวง มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณากำหนดนโยบาย ระบบ และระเบียบวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคลในกระทรวงซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๘ (๓) (๒) พิจารณาการเกลี่ยอัตรากำลังระหว่างส่วนราชการต่าง ๆ ภายในกระทรวง (๓) พิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการสั่งให้ออกจากราชการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (๔) ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้และช่วย ก.พ. ปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่ ก.พ. มอบหมาย มาตรา ๑๗ อ.ก.พ. กรม ประกอบด้วยอธิบดี เป็นประธาน รองอธิบดีที่อธิบดีมอบหมายหนึ่งคน เป็นรองประธาน และอนุกรรมการซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการและด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และมิได้เป็นข้าราชการในกรมนั้นจำนวนไม่เกินสามคน (๒) ข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทบริหารหรือประเภทอำนวยการในกรมนั้นซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว จำนวนไม่เกินหกคน ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน มาตรา ๑๘ อ.ก.พ. กรม มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณากำหนดนโยบาย ระบบ และระเบียบวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคลในกรมซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๘ (๓) และนโยบายและระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลที่ อ.ก.พ. กระทรวงกำหนดตามมาตรา ๑๖ (๑) (๒) พิจารณาการเกลี่ยอัตรากำลังระหว่างส่วนราชการต่าง ๆ ภายในกรม (๓) พิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการสั่งให้ออกจากราชการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (๔) ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้และช่วย ก.พ. ปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่ ก.พ. มอบหมาย มาตรา ๑๙ อ.ก.พ. จังหวัด ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายหนึ่งคน เป็นรองประธาน และอนุกรรมการ ซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และมิได้เป็นข้าราชการพลเรือนในจังหวัดนั้น จำนวนไม่เกินสามคน (๒) ข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทบริหารหรือประเภทอำนวยการ ซึ่งกระทรวงหรือกรมแต่งตั้งไปประจำจังหวัดนั้น และได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวจำนวนไม่เกินหกคน ซึ่งแต่ละคนต้องไม่สังกัดกระทรวงเดียวกัน ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน มาตรา ๒๐ อ.ก.พ. จังหวัด มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณากำหนดแนวทางและวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคล ซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๘ (๓) (๒) พิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการสั่งให้ออกจากราชการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (๓) ปฏิบัติตามที่ อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. กรม มอบหมาย (๔) ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้และช่วย ก.พ. ปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่ ก.พ. มอบหมาย มาตรา ๒๑ หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาหรือการเลือกบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการตามมาตรา ๑๕ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๗ (๑) และ (๒) และมาตรา ๑๙ (๑) และ (๒) วาระการดำรงตำแหน่ง และจำนวนขั้นต่ำของอนุกรรมการดังกล่าว ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๒๒ ในกรณีที่กระทรวงใดมีเหตุพิเศษ ก.พ. จะอนุมัติให้มีแต่ อ.ก.พ. กระทรวงเพื่อทำหน้าที่ อ.ก.พ. กรม ก็ได้ ในกรณีส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวง แต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี ให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.พ. กระทรวงเป็นอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.พ. กรมด้วย แต่ในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ให้มีรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นประธาน และอธิบดีเป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. ซึ่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนในสำนักงาน ก.พ.หนึ่งคน เป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่ง ในกรณีสำนักงานรัฐมนตรี ให้ อ.ก.พ. กรมของสำนักงานปลัดกระทรวงทำหน้าที่ อ.ก.พ. กรมของสำนักงานรัฐมนตรี มาตรา ๒๓ ให้นำมาตรา ๑๑ มาใช้บังคับแก่การประชุมของ อ.ก.พ. วิสามัญ และ อ.ก.พ. สามัญโดยอนุโลม ลักษณะ ๒ คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม มาตรา ๒๔ ให้มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.ค.” ประกอบด้วยกรรมการจำนวนเจ็ดคนซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตามมาตรา ๒๖ กรรมการ ก.พ.ค. ต้องทำงานเต็มเวลา ให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นเลขานุการของ ก.พ.ค. มาตรา ๒๕ ผู้จะได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ ก.พ.ค. ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบห้าปี (๓) มีคุณสมบัติอื่นอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (ก) เป็นหรือเคยเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน คณะกรรมการข้าราชการครู คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา หรือคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ข) เป็นหรือเคยเป็นกรรมการกฤษฎีกา (ค) รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์หรือเทียบเท่า หรือตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองชั้นต้น (ง) รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอัยการพิเศษประจำเขตหรือเทียบเท่า (จ) รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือเทียบเท่าตามที่ ก.พ. กำหนด (ฉ) เป็นหรือเคยเป็นผู้สอนวิชาในสาขานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือวิชาที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินในสถาบันอุดมศึกษา และดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ แต่ในกรณีที่ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ต้องดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี มาตรา ๒๖ ให้มีคณะกรรมการคัดเลือกกรรมการ ก.พ.ค. ประกอบด้วยประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธาน รองประธานศาลฎีกาที่ได้รับมอบหมายจากประธานศาลฎีกาหนึ่งคน กรรมการ ก.พ. ผู้ทรงคุณวุฒิหนึ่งคนซึ่งได้รับเลือกโดย ก.พ. และให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการและเลขานุการ ให้คณะกรรมการคัดเลือกมีหน้าที่คัดเลือกบุคคลผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๕ จำนวนเจ็ดคน ให้ผู้ได้รับคัดเลือกตามวรรคสองประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ ก.พ.ค. แล้วให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกกรรมการ ก.พ.ค. ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการคัดเลือกกำหนด มาตรา ๒๗ กรรมการ ก.พ.ค. ต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นข้าราชการ (๒) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลใด (๓) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง สมาชิกพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (๔) เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจ (๕) เป็นกรรมการในองค์กรกลางบริหารงานบุคคลในหน่วยงานของรัฐ (๖) ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอย่างอื่นหรือดำรงตำแหน่งหรือประกอบการใด ๆ หรือเป็นกรรมการในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน อันขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๒๘ ผู้ได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการ ก.พ.ค. ผู้ใดมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๗ ผู้นั้นต้องลาออกจากการเป็นบุคคลซึ่งมีลักษณะต้องห้ามหรือแสดงหลักฐานให้เป็นที่เชื่อได้ว่าตนได้เลิกการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพหรือการประกอบการอันมีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวต่อเลขานุการ ก.พ.ค. ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคัดเลือก ในกรณีที่ผู้ได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการ ก.พ.ค. มิได้ลาออกหรือเลิกการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพหรือการประกอบการดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้นั้นมิเคยได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการ ก.พ.ค. และให้ดำเนินการคัดเลือกกรรมการ ก.พ.ค. ขึ้นใหม่ มาตรา ๒๙ กรรมการ ก.พ.ค. มีวาระการดำรงตำแหน่งหกปีนับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว ให้กรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ อยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการ ก.พ.ค. ใหม่ มาตรา ๓๐ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการ ก.พ.ค. พ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) มีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ (๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๕ หรือมาตรา ๒๗ (๕) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก แม้จะมีการรอการลงโทษ เว้นแต่เป็นการรอการลงโทษในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท (๖) ไม่สามารถปฏิบัติงานได้เต็มเวลาอย่างสม่ำเสมอตามระเบียบของ ก.พ.ค. เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้กรรมการ ก.พ.ค. เท่าที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ และให้ถือว่า ก.พ.ค. ประกอบด้วยกรรมการ ก.พ.ค. เท่าที่เหลืออยู่ เว้นแต่มีกรรมการ ก.พ.ค. เหลืออยู่ไม่ถึงห้าคน เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่งหรือกรณีที่กรรมการ ก.พ.ค. พ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้คณะกรรมการคัดเลือกดำเนินการคัดเลือกกรรมการ ก.พ.ค. แทนกรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตำแหน่งโดยเร็ว มาตรา ๓๑ ก.พ.ค. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอแนะต่อ ก.พ. หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่น เพื่อให้ ก.พ. หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่น ดำเนินการจัดให้มีหรือปรับปรุงนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลในส่วนที่เกี่ยวกับการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (๒) พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๑๔ (๓) พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ตามมาตรา ๑๒๓ (๔) พิจารณาเรื่องการคุ้มครองระบบคุณธรรมตามมาตรา ๑๒๖ (๕) ออกกฎ ก.พ.ค. ระเบียบ หลักเกณฑ์ และวิธีการเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎ ก.พ.ค. เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ (๖) แต่งตั้งบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่ ก.พ.ค. กำหนด เพื่อเป็นกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์หรือเป็นกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ มาตรา ๓๒ ให้กรรมการ ก.พ.ค. กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ได้รับเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา และให้มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง มาตรา ๓๓ การประชุมของคณะกรรมการ ก.พ.ค. กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ.ค. กำหนด ลักษณะ ๓ บททั่วไป มาตรา ๓๔ การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนต้องเป็นไปเพื่อผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐความมีประสิทธิภาพ และความคุ้มค่า โดยให้ข้าราชการปฏิบัติราชการอย่างมีคุณภาพ คุณธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี มาตรา ๓๕ ข้าราชการพลเรือนมี ๒ ประเภท คือ (๑) ข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุแต่งตั้งตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ (๒) ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในพระองค์พระมหากษัตริย์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๓๖ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนต้องมีคุณสมบัติทั่วไป และไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ ก. คุณสมบัติทั่วไป (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี (๓) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ ข. ลักษณะต้องห้าม (๑) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (๒) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. (๓) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น (๔) เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม (๕) เป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (๖) เป็นบุคคลล้มละลาย (๗) เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิดทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๘) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (๙) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออก เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น (๑๐) เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายอื่น (๑๑) เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ หรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตาม ข. (๔) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) หรือ (๑๑) ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ แต่ถ้าเป็นกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (๘) หรือ (๙) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้ว และในกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (๑๐) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว และต้องมิใช่เป็นกรณีออกจากงานหรือออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่ มติของ ก.พ. ในการยกเว้นดังกล่าวต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการที่มาประชุม การลงมติให้กระทำโดยลับ การขอยกเว้นตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. กำหนด ในกรณีตามวรรคสอง ก.พ. จะยกเว้นให้เป็นการเฉพาะราย หรือจะประกาศยกเว้นให้เป็นการทั่วไปก็ได้ มาตรา ๓๗ การจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งให้ข้าราชการพลเรือนให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. กำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง มาตรา ๓๘ ข้าราชการพลเรือนอาจได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ ตำแหน่งในบางท้องที่ ตำแหน่งในบางสายงาน หรือตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตามระเบียบที่ ก.พ. กำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ข้าราชการพลเรือนอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ในการเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการตามวรรคสอง ให้ ก.พ. เสนอแนะสำหรับข้าราชการประเภทอื่นในคราวเดียวกันด้วย มาตรา ๓๙ วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการพลเรือน ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๔๐ เครื่องแบบของข้าราชการพลเรือนและระเบียบการแต่งเครื่องแบบให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น มาตรา ๔๑ บำเหน็จบำนาญข้าราชการพลเรือนให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ หมวด ๑ การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนสามัญ มาตรา ๔๒ การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คำนึงถึงระบบคุณธรรมดังต่อไปนี้ (๑) การรับบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถของบุคคล ความเสมอภาค ความเป็นธรรม และประโยชน์ของทางราชการ (๒) การบริหารทรัพยากรบุคคล ต้องคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพขององค์กรและลักษณะของงาน โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม (๓) การพิจารณาความดีความชอบ การเลื่อนตำแหน่ง และการให้ประโยชน์อื่นแก่ข้าราชการต้องเป็นไปอย่างเป็นธรรมโดยพิจารณาจากผลงาน ศักยภาพ และความประพฤติ และจะนำความคิดเห็นทางการเมืองหรือสังกัดพรรคการเมืองมาประกอบการพิจารณามิได้ (๔) การดำเนินการทางวินัย ต้องเป็นไปด้วยความยุติธรรมและโดยปราศจากอคติ (๕) การบริหารทรัพยากรบุคคลต้องมีความเป็นกลางทางการเมือง มาตรา ๔๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ทั้งนี้ต้องไม่กระทบประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะ และต้องไม่มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรวมกลุ่มตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา หมวด ๒ การกำหนดตำแหน่ง และการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง มาตรา ๔๔ นอกจากตำแหน่งที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแล้ว อ.ก.พ. กระทรวงอาจกำหนดตำแหน่งที่มีชื่ออย่างอื่นเพื่อประโยชน์ในการบริหารงาน และแจ้งให้ ก.พ. ทราบด้วย มาตรา ๔๕ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมี ๔ ประเภท ดังต่อไปนี้ (๑) ตำแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่ ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการและรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง กรม และตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหาร (๒) ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ได้แก่ ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรม และตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการ (๓) ตำแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่ ตำแหน่งที่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตามที่ ก.พ. กำหนดเพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำแหน่งนั้น (๔) ตำแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่ ตำแหน่งที่ไม่ใช่ตำแหน่งประเภทบริหาร ตำแหน่งประเภทอำนวยการ และตำแหน่งประเภทวิชาการ ทั้งนี้ ตามที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๔๖ ระดับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ มีดังต่อไปนี้ (๑) ตำแหน่งประเภทบริหาร มีระดับดังต่อไปนี้ (ก) ระดับต้น (ข) ระดับสูง (๒) ตำแหน่งประเภทอำนวยการ มีระดับดังต่อไปนี้ (ก) ระดับต้น (ข) ระดับสูง (๓) ตำแหน่งประเภทวิชาการ มีระดับดังต่อไปนี้ (ก) ระดับปฏิบัติการ (ข) ระดับชำนาญการ (ค) ระดับชำนาญการพิเศษ (ง) ระดับเชี่ยวชาญ (จ) ระดับทรงคุณวุฒิ (๔) ตำแหน่งประเภททั่วไป มีระดับดังต่อไปนี้ (ก) ระดับปฏิบัติงาน (ข) ระดับชำนาญงาน (ค) ระดับอาวุโส (ง) ระดับทักษะพิเศษ การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๔๗ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญจะมีในส่วนราชการใด จำนวนเท่าใด และเป็นตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด ให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ. กระทรวงกำหนด โดยต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความไม่ซ้ำซ้อนและประหยัดเป็นหลัก ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด และต้องเป็นไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามมาตรา ๔๘ มาตรา ๔๘ ให้ ก.พ. จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง โดยจำแนกตำแหน่งเป็นประเภทและสายงานตามลักษณะงาน และจัดตำแหน่งในประเภทเดียวกันและสายงานเดียวกันที่คุณภาพของงานเท่ากันโดยประมาณเป็นระดับเดียวกัน ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงาน ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้ระบุชื่อตำแหน่งในสายงาน หน้าที่ความรับผิดชอบหลักและคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งไว้ด้วย มาตรา ๔๙ ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตำแหน่งใดบังคับบัญชาข้าราชการพลเรือนในส่วนราชการหรือหน่วยงานใด ในฐานะใดให้เป็นไปตามที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ กำหนด โดยทำเป็นหนังสือตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๕๐ ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งในแต่ละประเภทตามที่กำหนดไว้ในบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด จะได้รับเงินเดือนเท่าใดตามบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ข้าราชการพลเรือนสามัญอาจได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด จะได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ในอัตราใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. เงินประจำตำแหน่งตามมาตรานี้ ไม่ถือเป็นเงินเดือนเพื่อเป็นเกณฑ์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา ๕๑ คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงหรือเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญให้เหมาะสมยิ่งขึ้นตามความจำเป็นก็ได้ โดยหากเป็นการปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูง หรือเงินประจำตำแหน่งเพิ่มไม่เกินร้อยละสิบของเงินเดือน หรือเงินประจำตำแหน่งที่ใช้บังคับอยู่ ให้กระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และให้ถือว่าเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูง และเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เป็นเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูง และเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชบัญญัตินี้ เมื่อมีการปรับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง การปรับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้รับอยู่เดิมเข้าสู่อัตราในบัญชีที่ได้รับการปรับใหม่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด หมวด ๓ การสรรหา การบรรจุ และการแต่งตั้ง มาตรา ๕๒ การสรรหาเพื่อให้ได้บุคคลมาบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ต้องเป็นไปตามระบบคุณธรรมและคำนึงถึงพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลดังกล่าว ตลอดจนประโยชน์ของทางราชการ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในหมวดนี้ มาตรา ๕๓ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนั้น โดยบรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ การสอบแข่งขัน การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ และรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบแข่งขันให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการตามมาตรา ๕๕ มาตรา ๕๖ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ และมาตรา ๖๕ มาตรา ๕๔ ผู้สมัครสอบแข่งขันในตำแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม หรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๖ และต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งหรือได้รับอนุมัติจาก ก.พ. ตามมาตรา ๖๒ ด้วย สำหรับผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๖ ข. (๑) ให้มีสิทธิสมัครสอบแข่งขันได้แต่จะมีสิทธิได้รับบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญที่สอบแข่งขันได้ต่อเมื่อพ้นจากการเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว มาตรา ๕๕ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ อาจคัดเลือกบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งโดยไม่ต้องดำเนินการสอบแข่งขันตามมาตรา ๕๓ ก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๕๖ กระทรวงหรือกรมใดมีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่ง จะบรรจุบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และความชำนาญงานสูง เข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ หรือทรงคุณวุฒิ หรือตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๕๗ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ และการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๕๓ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๖ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ มาตรา ๖๕ และมาตรา ๖๖ ให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้ เป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๑) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้สั่งบรรจุ และให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง (๒) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตำแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี หรือตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ให้ปลัดกระทรวงผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี เสนอรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้ปลัดกระทรวงผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมดังกล่าวเป็นผู้สั่งบรรจุ และให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง (๓) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ให้ปลัดกระทรวงผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๔) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการ ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ และเชี่ยวชาญ และประเภททั่วไปในสำนักงานรัฐมนตรี ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๕) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ให้ปลัดกระทรวงผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๖) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชาเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งเมื่อได้รับความเห็นชอบจากปลัดกระทรวง ส่วนการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้นในส่วนราชการระดับกรมที่หัวหน้าส่วนราชการอยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี หรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชา เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๗) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้สั่งบรรจุ และให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง (๘) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ให้ปลัดกระทรวงหรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๙) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ และตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชา เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง เมื่อได้รับความเห็นชอบจากปลัดกระทรวง ส่วนการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ และตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษในส่วนราชการระดับกรมที่หัวหน้าส่วนราชการอยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชา เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๑๐) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ชำนาญการ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ชำนาญงาน และอาวุโส ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชา หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากอธิบดีผู้บังคับบัญชา เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๑๑) การบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา ๕๓ และการย้ายตามมาตรา ๖๓ ให้ดำรงตำแหน่งตาม (๙) ซึ่งไม่ใช่ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ และตำแหน่งตาม (๑๐) ในราชการบริหารส่วนภูมิภาค ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดผู้บังคับบัญชา เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง ในการเสนอเพื่อแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่ง ให้รายงานความสมควรพร้อมทั้งเหตุผล ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนดไปด้วย มาตรา ๕๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารผู้ใดปฏิบัติหน้าที่เดียวติดต่อกันเป็นเวลาครบสี่ปี ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ดำเนินการให้มีการสับเปลี่ยนหน้าที่ ย้าย หรือโอนไปปฏิบัติหน้าที่อื่น เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการจะขออนุมัติคณะรัฐมนตรีให้คงอยู่ปฏิบัติหน้าที่เดิมต่อไปเป็นเวลาไม่เกินสองปีก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด ความในวรรคหนึ่งไม่ให้ใช้บังคับแก่ผู้ดำรงตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดว่าเป็นตำแหน่งที่มีลักษณะงานเฉพาะอย่าง มาตรา ๕๙ ผู้ได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา ๕๓ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๕๕ ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและให้ได้รับการพัฒนาเพื่อให้รู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการและเป็นข้าราชการที่ดีตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามวรรคหนึ่งผู้ใดมีผลการประเมินทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ สั่งให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป ถ้าผู้นั้นมีผลการประเมินทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด ก็ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้ไม่ว่าจะครบกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการแล้วหรือไม่ก็ตาม ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคสอง ให้ถือเสมือนว่าผู้นั้นไม่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการในระหว่างผู้นั้นอยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ผู้อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการผู้ใดมีกรณีอันมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๗ การดำเนินการทางวินัย และถ้าผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องออกจากราชการตามวรรคสอง ก็ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการตามวรรคสองไปก่อน ความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสามให้ใช้บังคับกับข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งโอนมาตามมาตรา ๖๔ ในระหว่างที่ยังทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยโดยอนุโลม มาตรา ๖๐ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๑๑๑ และต่อมาปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๕๙ หรือตามมาตราอื่น ก็ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ หรือผู้มีอำนาจตามมาตราอื่นนั้น แล้วแต่กรณี มีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่ง เป็นให้ออกจากราชการตามมาตรา ๕๙ หรือตามมาตราอื่นนั้นได้ มาตรา ๖๑ การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งในสายงานที่ไม่มีกำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง จะกระทำมิได้ มาตรา ๖๒ ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งใดต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็น ก.พ. อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งก็ได้ ในกรณีที่ ก.พ. กำหนดให้ปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิใดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ให้หมายถึงปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิที่ ก.พ. รับรอง มาตรา ๖๓ การย้าย การโอน หรือการเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในหรือต่างกระทรวงหรือกรม แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญจากกระทรวงหรือกรมหนึ่ง ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในต่างประเทศสังกัดอีกกระทรวงหรือกรมหนึ่ง เป็นการชั่วคราวตามระยะเวลาที่กำหนด ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด การย้ายหรือการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ต่ำกว่าเดิมจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้น การบรรจุข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้ออกจากราชการไปเนื่องจากถูกสั่งให้ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ไปปฏิบัติงานใด ๆ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการหรือออกจากราชการไปที่มิใช่เป็นการออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการกลับเข้ารับราชการในกระทรวงหรือกรม ตลอดจนจะสั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการตามพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้ออกจากราชการไป เนื่องจากถูกสั่งให้ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ไปปฏิบัติงานใด ๆ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการ เมื่อได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการให้มีสิทธินับวันรับราชการก่อนถูกสั่งให้ออกจากราชการรวมกับวันรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือวันที่ได้ปฏิบัติงานใด ๆ ตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี และวันรับราชการเมื่อได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการเป็นเวลาราชการติดต่อกันเสมือนว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกสั่งให้ออกจากราชการ สำหรับผู้ซึ่งออกจากราชการไปที่มิใช่เป็นการออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการซึ่งได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการตามวรรคสี่ ให้มีสิทธินับเวลาราชการก่อนออกจากราชการเพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๖๔ การโอนพนักงานส่วนท้องถิ่น การโอนข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัตินี้และไม่ใช่ข้าราชการการเมือง และการโอนเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานอื่นของรัฐที่ ก.พ. กำหนด มาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตลอดจนจะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้ที่โอนมารับราชการตามวรรคหนึ่ง เป็นเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย มาตรา ๖๕ พนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งไม่ใช่ออกจากงานในระหว่างทดลองปฏิบัติงานหรือข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ และไม่ใช่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญ หรือข้าราชการซึ่งออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ผู้ใดออกจากงานหรือออกจากราชการไปแล้ว ถ้าสมัครเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและทางราชการต้องการจะรับผู้นั้นเข้ารับราชการให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ พิจารณาโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับ ทั้งนี้ จะบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้เข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งในขณะที่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย มาตรา ๖๖ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๖๒ แล้ว หากภายหลังปรากฏว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติไม่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ แต่งตั้งผู้นั้นให้กลับไปดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกันโดยพลัน แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับอยู่ก่อนได้รับคำสั่งให้กลับไปดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกัน การรับเงินเดือน สิทธิและประโยชน์ของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้กลับไปดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกันตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด ในกรณีที่ไม่สามารถแต่งตั้งให้กลับไปดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกันตามวรรคหนึ่งได้ ไม่ว่าด้วยเหตุใดให้ ก.พ. พิจารณาเป็นการเฉพาะราย มาตรา ๖๗ ผู้ได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดตามมาตรา ๕๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๖ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ และมาตรา ๖๕ หากภายหลังปรากฏว่าขาดคุณสมบัติทั่วไปหรือมีลักษณะต้องห้ามโดยไม่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๓๖ หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นโดยไม่ได้รับอนุมัติจาก ก.พ. ตามมาตรา ๖๒ อยู่ก่อนก็ดี มีกรณีต้องหาอยู่ก่อนและภายหลังเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเนื่องจากกรณีต้องหานั้นก็ดี ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการโดยพลัน แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการก่อนมีคำสั่งให้ออกนั้นและถ้าการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้วให้ถือว่าเป็นการสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา ๖๘ ในกรณีที่ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญว่างลง หรือผู้ดำรงตำแหน่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ และเป็นกรณีที่มิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนที่เห็นสมควรรักษาการในตำแหน่งนั้นได้ ผู้รักษาการในตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้มีอำนาจหน้าที่ตามตำแหน่งที่รักษาการนั้น ในกรณีที่มีกฎหมายอื่น กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ มติของคณะรัฐมนตรี มติคณะกรรมการตามกฎหมายหรือคำสั่งผู้บังคับบัญชา แต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ๆ เป็นกรรมการ หรือให้มีอำนาจหน้าที่อย่างใด ก็ให้ผู้รักษาการในตำแหน่งทำหน้าที่กรรมการ หรือมีอำนาจหน้าที่อย่างนั้นในระหว่างที่รักษาการในตำแหน่ง แล้วแต่กรณี มาตรา ๖๙ ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็น ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจสั่งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ประจำส่วนราชการเป็นการชั่วคราวโดยให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่เดิมได้ตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. การให้ได้รับเงินเดือน การแต่งตั้ง การเลื่อนเงินเดือน การดำเนินการทางวินัย และการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๗๐ ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็น ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญพ้นจากตำแหน่งหน้าที่และขาดจากอัตราเงินเดือนในตำแหน่งเดิมโดยให้รับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทนโดยมีระยะเวลาตามที่ ก.พ. กำหนดได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. การให้พ้นจากตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือน การแต่งตั้ง การเลื่อนเงินเดือน การดำเนินการทางวินัย และการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ในกรณีที่หมดความจำเป็นหรือครบกำหนดระยะเวลาการให้รับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทน ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ สั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นพ้นจากการรับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกัน มาตรา ๗๑ ในกรณีที่ศาลปกครองมีคำพิพากษาถึงที่สุดสั่งให้เพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้เป็นหน้าที่ของ ก.พ. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีในการสั่งการตามสมควรเพื่อเยียวยาและแก้ไขหรือดำเนินการตามที่เห็นสมควรได้ หมวด ๔ การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและ เสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ มาตรา ๗๒ ให้ส่วนราชการมีหน้าที่ดำเนินการให้มีการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญ เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนสามัญมีคุณภาพ คุณธรรม จริยธรรม คุณภาพชีวิต มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด ในกรณีที่เห็นสมควร และเพื่อการประหยัด สำนักงาน ก.พ. จะจัดให้มีการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจแทนส่วนราชการตามวรรคหนึ่งก็ได้ มาตรา ๗๓ ผู้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตนต่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาอย่างมีคุณธรรมและเที่ยงธรรมและเสริมสร้างแรงจูงใจให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาดำรงตนเป็นข้าราชการที่ดี มาตรา ๗๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประพฤติตนอยู่ในจรรยาและระเบียบวินัยและปฏิบัติราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ตามควรแก่กรณีตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. และจะให้บำเหน็จความชอบอย่างอื่นซึ่งอาจเป็นคำชมเชย เครื่องเชิดชูเกียรติ หรือรางวัลด้วยก็ได้ มาตรา ๗๕ การให้ข้าราชการพลเรือนสามัญไปศึกษาเพิ่มเติม ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศหรือต่างประเทศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๗๖ ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแต่งตั้ง และเลื่อนเงินเดือน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด ผลการประเมินตามวรรคหนึ่งให้นำไปใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาและเพิ่มพูนประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการด้วย มาตรา ๗๗ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญหรือให้ได้รับสิทธิประโยชน์อื่นตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด หมวด ๕ การรักษาจรรยาข้าราชการ มาตรา ๗๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาจรรยาข้าราชการตามที่ส่วนราชการกำหนดไว้โดยมุ่งประสงค์ให้เป็นข้าราชการที่ดี มีเกียรติและศักดิ์ศรีความเป็นข้าราชการ โดยเฉพาะในเรื่องดังต่อไปนี้ (๑) การยึดมั่นและยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง (๒) ความซื่อสัตย์สุจริตและความรับผิดชอบ (๓) การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ (๔) การปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม (๕) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน ให้ส่วนราชการกำหนดข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการเพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะของงานในส่วนราชการนั้นตามหลักวิชาและจรรยาวิชาชีพ ในการกำหนดข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการตามวรรคสอง ให้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของข้าราชการและประกาศให้ประชาชนทราบด้วย มาตรา ๗๙ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่ปฏิบัติตามจรรยาข้าราชการอันมิใช่เป็นความผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาตักเตือน นำไปประกอบการพิจารณาแต่งตั้งเลื่อนเงินเดือน หรือสั่งให้ข้าราชการผู้นั้นได้รับการพัฒนา หมวด ๖ วินัยและการรักษาวินัย มาตรา ๘๐ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาวินัยโดยกระทำการหรือไม่กระทำการตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัดอยู่เสมอ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ปฏิบัติราชการในต่างประเทศนอกจากต้องรักษาวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้แล้ว ต้องรักษาวินัยโดยกระทำการหรือไม่กระทำการตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ด้วย มาตรา ๘๑ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ มาตรา ๘๒ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องกระทำการอันเป็นข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้ (๑) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรม (๒) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบของทางราชการ มติของคณะรัฐมนตรี นโยบายของรัฐบาล และปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ (๓) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการด้วยความตั้งใจอุตสาหะ เอาใจใส่ และรักษาประโยชน์ของทางราชการ (๔) ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการ โดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ โดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเห็นว่าการปฏิบัติตามคำสั่งนั้นจะทำให้เสียหายแก่ราชการ หรือจะเป็นการไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการจะต้องเสนอความเห็นเป็นหนังสือทันทีเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนคำสั่งนั้น และเมื่อได้เสนอความเห็นแล้ว ถ้าผู้บังคับบัญชายืนยันให้ปฏิบัติตามคำสั่งเดิม ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม (๕) ต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้ (๖) ต้องรักษาความลับของทางราชการ (๗) ต้องสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคีและต้องช่วยเหลือกันในการปฏิบัติราชการระหว่างข้าราชการด้วยกันและผู้ร่วมปฏิบัติราชการ (๘) ต้องต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรม และให้การสงเคราะห์แก่ประชาชนผู้ติดต่อราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตน (๙) ต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ราชการและในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชน กับจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการว่าด้วยมารยาททางการเมืองของข้าราชการด้วย (๑๐) ต้องรักษาชื่อเสียงของตน และรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย (๑๑) กระทำการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๘๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่กระทำการใดอันเป็นข้อห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องแจ้งถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย (๒) ต้องไม่ปฏิบัติราชการอันเป็นการกระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้กระทำหรือได้รับอนุญาตเป็นพิเศษชั่วครั้งคราว (๓) ต้องไม่อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น (๔) ต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ (๕) ต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาผลประโยชน์อันอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรมหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน (๖) ต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท (๗) ต้องไม่กระทำการอย่างใดที่เป็นการกลั่นแกล้ง กดขี่ หรือข่มเหงกันในการปฏิบัติราชการ (๘) ต้องไม่กระทำการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. (๙) ต้องไม่ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงประชาชนผู้ติดต่อราชการ (๑๐) ไม่กระทำการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๘๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติตามมาตรา ๘๑ และมาตรา ๘๒ หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา ๘๓ ผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัย มาตรา ๘๕ การกระทำผิดวินัยในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง (๑) ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต (๒) ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๓) ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ (๔) กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง (๕) ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ ข่มเหง หรือทำร้ายประชาชนผู้ติดต่อราชการอย่างร้ายแรง (๖) กระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือให้รับโทษที่หนักกว่าโทษจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๗) ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๒ หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา ๘๓ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๘) ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๐ วรรคสองและมาตรา ๘๒ (๑๑) หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา ๘๓ (๑๐) ที่มีกฎ ก.พ. กำหนดให้เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๘๖ กฎ ก.พ. ตามมาตรา ๘๐ วรรคสอง มาตรา ๘๒ (๑๑) มาตรา ๘๓ (๘) และ (๑๐) และมาตรา ๘๕ (๘) ให้ใช้สำหรับการกระทำที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่กฎ ก.พ. ดังกล่าวใช้บังคับ มาตรา ๘๗ ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่เสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีวินัยและป้องกันมิให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๘๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัย จะต้องได้รับโทษทางวินัย เว้นแต่มีเหตุอันควรงดโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๗ การดำเนินการทางวินัย โทษทางวินัยมี ๕ สถาน ดังต่อไปนี้ (๑) ภาคทัณฑ์ (๒) ตัดเงินเดือน (๓) ลดเงินเดือน (๔) ปลดออก (๕) ไล่ออก มาตรา ๘๙ การลงโทษข้าราชการพลเรือนสามัญให้ทำเป็นคำสั่ง ผู้สั่งลงโทษต้องสั่งลงโทษให้เหมาะสมกับความผิดและต้องเป็นไปด้วยความยุติธรรมและโดยปราศจากอคติ โดยในคำสั่งลงโทษให้แสดงว่าผู้ถูกลงโทษกระทำผิดวินัยในกรณีใดและตามมาตราใด หมวด ๗ การดำเนินการทางวินัย มาตรา ๙๐ เมื่อมีการกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ทราบโดยเร็ว และให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้โดยเร็วด้วยความยุติธรรมและโดยปราศจากอคติ ผู้บังคับบัญชาหรือผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ผู้ใดละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง หรือปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สุจริตให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย อำนาจหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ตามหมวดนี้ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ จะมอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาระดับต่ำลงไปปฏิบัติแทนตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ. กำหนดก็ได้ มาตรา ๙๑ เมื่อได้รับรายงานตามมาตรา ๙๐ หรือความดังกล่าวปรากฏต่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ รีบดำเนินการหรือสั่งให้ดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณาในเบื้องต้นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยหรือไม่ ถ้าเห็นว่ากรณีไม่มีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยก็ให้ยุติเรื่องได้ ในกรณีที่เห็นว่ามีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยโดยมีพยานหลักฐานในเบื้องต้นอยู่แล้ว ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๙๒ หรือมาตรา ๙๓ แล้วแต่กรณี มาตรา ๙๒ ในกรณีที่ผลการสืบสวนหรือพิจารณาตามมาตรา ๙๑ ปรากฏว่ากรณีมีมูลถ้าความผิดนั้นมิใช่เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง และได้แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ พร้อมทั้งรับฟังคำชี้แจงของผู้ถูกกล่าวหาแล้วผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษตามควรแก่กรณีโดยไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวนก็ได้ ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งยุติเรื่อง มาตรา ๙๓ ในกรณีที่ผลการสืบสวนหรือพิจารณาตามมาตรา ๙๑ ปรากฏว่ากรณีมีมูลอันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ในการสอบสวนต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบพร้อมทั้งรับฟังคำชี้แจงของผู้ถูกกล่าวหา เมื่อคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการเสร็จ ให้รายงานผลการสอบสวนและความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ถ้าผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้สั่งยุติเรื่อง แต่ถ้าเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๙๖ หรือมาตรา ๙๗ แล้วแต่กรณี มาตรา ๙๔ การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนสำหรับกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งต่างกัน หรือต่างกรมหรือต่างกระทรวงกันถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกันให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญในกรมเดียวกัน ที่อธิบดีหรือปลัดกระทรวงถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ให้ปลัดกระทรวงหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวง แล้วแต่กรณี เป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน (๒) สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญต่างกรมในกระทรวงเดียวกันถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกัน ให้ปลัดกระทรวงเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เว้นแต่เป็นกรณีที่ปลัดกระทรวงถูกกล่าวหาร่วมด้วย ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน (๓) สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญต่างกระทรวงกันถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกันให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ร่วมกันแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เว้นแต่เป็นกรณีที่มีผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงร่วมด้วย ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน (๔) สำหรับกรณีอื่น ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๙๕ หลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ในกรณีที่เป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. จะดำเนินการทางวินัยโดยไม่ต้องสอบสวนก็ได้ มาตรา ๙๖ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ สั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด ในกรณีมีเหตุอันควรลดหย่อน จะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่สำหรับการลงโทษภาคทัณฑ์ให้ใช้เฉพาะกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย ในกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้ การลงโทษตามมาตรานี้ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ จะมีอำนาจสั่งลงโทษผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาในสถานโทษและอัตราโทษใดได้เพียงใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๙๗ ภายใต้บังคับวรรคสอง ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนหรือผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง หรือผู้มีอำนาจตามมาตรา ๙๔ เห็นว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. จังหวัด อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. กระทรวง ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาสังกัดอยู่ แล้วแต่กรณี พิจารณา เมื่อ อ.ก.พ. ดังกล่าวมีมติเป็นประการใด ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ สั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ไม่ใช้อำนาจตามมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๙๔ หรือมาตรานี้ ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๕๗ ระดับเหนือขึ้นไปมีอำนาจดำเนินการตามมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๙๔ หรือมาตรานี้ได้ ผู้ใดถูกลงโทษปลดออก ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ มาตรา ๙๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดให้ข้อมูลต่อผู้บังคับบัญชาหรือให้ถ้อยคำในฐานะพยานต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ อันเป็นประโยชน์และเป็นผลดียิ่งต่อทางราชการ ผู้บังคับบัญชาอาจพิจารณาให้บำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษได้ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดอยู่ในฐานะที่อาจจะถูกกล่าวหาว่าร่วมกระทำผิดวินัยกับข้าราชการอื่น ให้ข้อมูลต่อผู้บังคับบัญชา หรือให้ถ้อยคำต่อบุคคลหรือคณะบุคคลตามความในวรรคหนึ่งเกี่ยวกับการกระทำผิดวินัยที่ได้กระทำมา จนเป็นเหตุให้มีการสอบสวนพิจารณาทางวินัยแก่ผู้เป็นต้นเหตุแห่งการกระทำผิด ผู้บังคับบัญชาอาจใช้ดุลพินิจกันผู้นั้นไว้เป็นพยานหรือพิจารณาลดโทษทางวินัยตามควรแก่กรณีได้ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดให้ข้อมูลหรือให้ถ้อยคำในฐานะพยานตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองอันเป็นเท็จให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย หลักเกณฑ์และวิธีการการให้บำเหน็จความชอบ การกันเป็นพยาน การลดโทษ และการให้ความคุ้มครองพยาน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. กฎ ก.พ. ว่าด้วยการคุ้มครองพยานตามวรรคสี่ จะกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงาน ก.พ. หรือผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ จะดำเนินการย้าย โอน หรือดำเนินการอื่นใดโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมหรือเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชาของข้าราชการผู้นั้น และไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนหรือกระบวนการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ก็ได้ มาตรา ๙๙ ให้กรรมการสอบสวนตามมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาและให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพียงเท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของกรรมการสอบสวนและโดยเฉพาะให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วยคือ (๑) เรียกให้กระทรวง กรม ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ หรือห้างหุ้นส่วน บริษัท ชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน (๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน มาตรา ๑๐๐ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาเป็นหนังสือว่ากระทำหรือละเว้นกระทำการใดที่เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ถ้าเป็นการกล่าวหาต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นหรือต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ หรือเป็นการกล่าวหาโดยผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น หรือมีกรณีถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาอันมิใช่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทที่ไม่เกี่ยวกับราชการหรือความผิดลหุโทษ แม้ภายหลังผู้นั้นจะออกจากราชการไปแล้ว โดยมิใช่เพราะเหตุตาย ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยมีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณา และดำเนินการทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ แต่ทั้งนี้ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ต้องดำเนินการสอบสวนตามมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ผู้นั้นพ้นจากราชการ ในกรณีตามวรรคหนึ่งถ้าผลการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงก็ให้งดโทษ มาตรา ๑๐๑ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนหรือพิจารณา หรือผลแห่งคดีได้ ถ้าภายหลังปรากฏผลการสอบสวนหรือพิจารณาว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิดหรือกระทำผิดไม่ถึงกับจะถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก และไม่มีกรณีที่จะต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่น ก็ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติราชการหรือกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกันหรือในตำแหน่งประเภทและระดับที่ ก.พ. กำหนด ทั้งนี้ ผู้นั้นต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น เมื่อได้มีการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดพักราชการหรือออกจากราชการไว้ก่อนแล้วภายหลังปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในกรณีอื่นอีก ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณา และแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ๙๓ ตลอดจนดำเนินการทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ต่อไปได้ ในกรณีที่สั่งให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนกลับเข้ารับราชการ หรือสั่งให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนออกจากราชการด้วยเหตุอื่นที่มิใช่เป็นการลงโทษเพราะกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงก็ให้ผู้นั้นมีสถานภาพเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตลอดระยะเวลาระหว่างที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเสมือนว่าผู้นั้นเป็นผู้ถูกสั่งพักราชการ เงินเดือน เงินอื่นที่จ่ายเป็นรายเดือน และเงินช่วยเหลืออย่างอื่น และการจ่ายเงินดังกล่าวของผู้ถูกสั่งพักราชการ และผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น การสั่งพักราชการให้สั่งพักตลอดเวลาที่สอบสวนหรือพิจารณา เว้นแต่ผู้ถูกสั่งพักราชการผู้ใดได้ร้องทุกข์ตามมาตรา ๑๒๒ และผู้มีอำนาจพิจารณาคำร้องทุกข์เห็นว่าสมควรสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนการสอบสวนหรือพิจารณาเสร็จสิ้นเนื่องจากพฤติการณ์ของผู้ถูกสั่งพักราชการไม่เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนหรือพิจารณา และไม่ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยต่อไป หรือเนื่องจากการดำเนินการทางวินัยได้ล่วงพ้นหนึ่งปีนับแต่วันพักราชการแล้วยังไม่แล้วเสร็จและผู้ถูกสั่งพักราชการไม่มีพฤติกรรมดังกล่าว ให้ผู้มีอำนาจสั่งพักราชการสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนการสอบสวนหรือพิจารณาเสร็จสิ้น ให้นำความในวรรคหกมาใช้บังคับกับกรณีถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสั่งพักราชการ การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ระยะเวลาให้พักราชการและให้ออกจากราชการไว้ก่อน การให้กลับเข้าปฏิบัติราชการหรือกลับเข้ารับราชการและการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามผลการสอบสวนหรือพิจารณาให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๐๒ การลงโทษข้าราชการพลเรือนสามัญในส่วนราชการที่มีกฎหมายว่าด้วยวินัยข้าราชการโดยเฉพาะ ในกรณีเป็นความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงตามพระราชบัญญัตินี้จะลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้หรือลงทัณฑ์หรือลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยวินัยข้าราชการนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งตามควรแก่กรณีและพฤติการณ์ก็ได้ แต่ถ้าเป็นกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ว่าจะได้ลงทัณฑ์หรือลงโทษตามกฎหมายดังกล่าวแล้วหรือไม่ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๓ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้หรือลงทัณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยข้าราชการโดยเฉพาะ หรือสั่งยุติเรื่อง หรืองดโทษแล้ว ให้รายงาน อ.ก.พ. กระทรวงซึ่งผู้ถูกดำเนินการทางวินัยสังกัดอยู่เพื่อพิจารณา เว้นแต่เป็นกรณีดำเนินการทางวินัยกับข้าราชการต่างกระทรวงกัน หรือกรณีดำเนินการทางวินัยตามมติ อ.ก.พ. กระทรวง ตามมาตรา ๙๗ วรรคสอง ให้รายงาน ก.พ. ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ ก.พ. กำหนด ในกรณีที่ อ.ก.พ. กระทรวงหรือ ก.พ. เห็นว่าการดำเนินการทางวินัยเป็นการไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม หากมีมติเป็นประการใด ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ. กระทรวงหรือ ก.พ. มีมติ ในกรณีตามวรรคสองและในการดำเนินการตามมาตรา ๑๐๔ ให้ ก.พ. มีอำนาจสอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๙๕ มาตรา ๑๐๔ ในการดำเนินการของ อ.ก.พ. กระทรวงตามมาตรา ๙๗ วรรคสอง หรือมาตรา ๑๐๓ วรรคสอง หากผู้แทน ก.พ. ซึ่งเป็นกรรมการใน อ.ก.พ. กระทรวงดังกล่าวเห็นว่าการดำเนินการของผู้บังคับบัญชาหรือมติ อ.ก.พ. กระทรวง เป็นการไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้หรือปฏิบัติไม่เหมาะสม ให้รายงาน ก.พ. เพื่อพิจารณาดำเนินการตามควรแก่กรณีต่อไป และเมื่อ ก.พ. มีมติเป็นประการใด ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามที่ ก.พ. มีมติ ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้ถูกลงโทษได้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษของผู้บังคับบัญชาต่อ ก.พ.ค. ในกรณีเช่นนี้ให้ ก.พ. แจ้งมติต่อ ก.พ.ค. เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ มาตรา ๑๐๕ เมื่อมีกรณีเพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ ให้ผู้สั่งมีคำสั่งใหม่ และในคำสั่งดังกล่าวให้สั่งยกเลิกคำสั่งลงโทษเดิม พร้อมทั้งระบุวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับโทษที่ได้รับไปแล้ว ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๐๖ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งโอนมาตามมาตรา ๖๔ ผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยอยู่ก่อนวันโอนมาบรรจุ ให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นดำเนินการทางวินัยตามหมวดนี้โดยอนุโลม แต่ถ้าเป็นเรื่องที่อยู่ในระหว่างการสืบสวนหรือพิจารณา หรือสอบสวนของผู้บังคับบัญชาเดิมก่อนวันโอนก็ให้สืบสวนหรือพิจารณา หรือสอบสวนต่อไปจนเสร็จ แล้วส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นพิจารณาดำเนินการต่อไปตามหมวดนี้โดยอนุโลม แต่ทั้งนี้ ในการสั่งลงโทษทางวินัยให้พิจารณาตามความผิดและลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นหรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการที่โอนมานั้น แล้วแต่กรณี หมวด ๘ การออกจากราชการ มาตรา ๑๐๗ ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการเมื่อ (๑) ตาย (๒) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๓) ลาออกจากราชการและได้รับอนุญาตให้ลาออกหรือการลาออกมีผลตามมาตรา ๑๐๙ (๔) ถูกสั่งให้ออกตามมาตรา ๕๙ มาตรา ๖๗ มาตรา ๑๐๑ มาตรา ๑๑๐ หรือมาตรา ๑๑๑ หรือ (๕) ถูกสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก วันออกจากราชการตาม (๔) และ (๕) ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๑๐๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดเมื่ออายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในสิ้นปีงบประมาณและทางราชการมีความจำเป็นที่จะให้รับราชการต่อไปเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในทางวิชาการหรือหน้าที่ที่ต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัว ในตำแหน่งตามมาตรา ๔๖ (๓) (ง) หรือ (จ) หรือ (๔) (ค) หรือ (ง) จะให้รับราชการต่อไปอีกไม่เกินสิบปีก็ได้ตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๐๙ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งโดยยื่นล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกไม่น้อยกว่าสามสิบวันเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ เป็นผู้พิจารณาก่อนวันขอลาออก ในกรณีที่ผู้ประสงค์จะลาออกยื่นหนังสือขอลาออกล่วงหน้าน้อยกว่าสามสิบวัน และผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ เห็นว่ามีเหตุผลและความจำเป็นจะอนุญาตให้ลาออกตามวันที่ขอลาออกก็ได้ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ เห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการ จะยับยั้งการลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันขอลาออกก็ได้ ในกรณีเช่นนั้นถ้าผู้ขอลาออกมิได้ถอนใบลาออกก่อนครบกำหนดระยะเวลาการยับยั้งให้ถือว่าการลาออกนั้นมีผลเมื่อครบกำหนดเวลาตามที่ได้ยับยั้งไว้ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มิได้ยับยั้งตามวรรคสามให้การลาออกนั้นมีผลตั้งแต่วันขอลาออก ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการเพื่อดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ตำแหน่งทางการเมือง หรือตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนด หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาตามวรรคหนึ่ง และให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการลาออก การพิจารณาอนุญาตให้ลาออกและการยับยั้งการลาออกจากราชการ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๑๑๐ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอ (๒) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดสมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการ (๓) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๓๖ ก. (๑) หรือ (๓) หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๖ ข. (๑) (๓) (๖) หรือ (๗) (๔) เมื่อทางราชการเลิกหรือยุบหน่วยงานหรือตำแหน่งที่ข้าราชการพลเรือนสามัญปฏิบัติหน้าที่หรือดำรงอยู่ สำหรับผู้ที่ออกจากราชการในกรณีนี้ให้ได้รับเงินชดเชยตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนดด้วย (๕) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการ (๖) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ บกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ ถ้าให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ (๗) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกสอบสวนว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามมาตรา ๙๓ และผลการสอบสวนไม่ได้ความแน่ชัดพอที่จะฟังลงโทษตามมาตรา ๙๗ วรรคหนึ่ง แต่มีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวน ถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ (๘) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษหรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำสั่งของศาลซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก การสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๙๗ วรรคสอง มาใช้บังคับกับการสั่งให้ออกจากราชการตามกรณี (๓) เฉพาะมาตรา ๓๖ ก. (๓) กรณี (๖) และกรณี (๗) โดยอนุโลม เมื่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ สั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดออกจากราชการตามมาตรานี้แล้ว ให้รายงาน อ.ก.พ. กระทรวง หรือ ก.พ. แล้วแต่กรณี และให้นำมาตรา ๑๐๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๑๑ เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคหนึ่ง และต่อมาปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตราอื่นอยู่ก่อนไปรับราชการทหาร ก็ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ออกตามวรรคหนึ่งเป็นให้ออกจากราชการตามมาตราอื่นนั้นได้ มาตรา ๑๑๒ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ไม่ใช้อำนาจตามมาตรา ๑๑๐ โดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ระดับเหนือขึ้นไปมีอำนาจดำเนินการตามมาตรา ๑๑๐ ได้ มาตรา ๑๑๓ การออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่งนับแต่วันออกจากราชการ เว้นแต่ออกจากราชการเพราะความตายให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ หมวด ๙ การอุทธรณ์ มาตรา ๑๑๔ ผู้ใดถูกสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๑๑๐ (๑) (๓) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.พ.ค. ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคำสั่ง การอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.ค. มาตรา ๑๑๕ ในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ ก.พ.ค. จะพิจารณาวินิจฉัยเองหรือจะตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.ค. มาตรา ๑๑๖ เมื่อ ก.พ.ค. พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ดำเนินการให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยนั้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ ก.พ.ค. มีคำวินิจฉัย ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ก.พ.ค. ให้ฟ้องคดีต่อศาลปกครองสูงสุดภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ทราบหรือถือว่าทราบคำวินิจฉัยของ ก.พ.ค. ผู้บังคับบัญชาผู้ใดไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการจงใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น มาตรา ๑๑๗ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการ ก.พ.ค. และกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ (๑) สั่งให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งลงโทษหรือสั่งให้ออกจากราชการอันเป็นเหตุให้มีการอุทธรณ์ ส่งสำนวนการสอบสวนและการลงโทษให้ ก.พ.ค. ภายในเวลาที่กำหนด (๒) สั่งให้กระทรวง กรม ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐรวมตลอดทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องสอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมหรือส่งตัวข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ในสังกัดมาให้ถ้อยคำ ในการนี้จะกำหนดระยะเวลาในการสอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมไว้ด้วยก็ได้ (๓) มีคำสั่งให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของกระทรวง กรม ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือบุคคลใดที่เกี่ยวข้อง มาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (๔) เข้าไปในอาคาร หรือสถานที่ใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของ ก.พ.ค. ทั้งนี้ ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น (๕) สอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติม มาตรา ๑๑๘ การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๑๔ ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ เว้นแต่มีเหตุขัดข้องที่ทำให้การพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ก็ให้ขยายระยะเวลาได้อีกซึ่งไม่เกินสองครั้ง โดยแต่ละครั้งจะต้องไม่เกินหกสิบวัน และให้บันทึกเหตุขัดข้องให้ปรากฏไว้ด้วย มาตรา ๑๑๙ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งโอนมาตามมาตรา ๖๔ ผู้ใดถูกสั่งลงโทษทางวินัยอยู่ก่อนวันโอนมาบรรจุ และผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นหรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการที่โอนมาแต่ยังไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ตามกฎหมายดังกล่าว ก็ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๑๔ ได้ แต่ถ้าผู้นั้นได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นหรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการที่โอนมาไว้แล้วและในวันที่ผู้นั้นได้โอนมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ยังไม่แล้วเสร็จ ก็ให้ส่งเรื่องให้ ก.พ.ค. เป็นผู้พิจารณาอุทธรณ์ มาตรา ๑๒๐ ในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ ก.พ.ค. มีอำนาจไม่รับอุทธรณ์ ยกอุทธรณ์ หรือมีคำวินิจฉัยให้แก้ไขหรือยกเลิกคำสั่งลงโทษ และให้เยียวยาความเสียหายให้ผู้อุทธรณ์ หรือให้ดำเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ตามระเบียบที่ ก.พ.ค. กำหนด การวินิจฉัยให้แก้ไขหรือให้ดำเนินการอื่นตามวรรคหนึ่ง ก.พ.ค. จะให้เพิ่มโทษไม่ได้ เว้นแต่เป็นกรณีได้รับแจ้งจาก ก.พ. ตามมาตรา ๑๐๔ ว่าสมควรเพิ่มโทษ ในกรณีเช่นนั้น ก.พ.ค. มีอำนาจวินิจฉัยให้เพิ่มโทษได้ มาตรา ๑๒๑ เมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้ กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์อาจถูกคัดค้านได้ (๑) รู้เห็นเหตุการณ์ในการกระทำผิดวินัยที่ผู้อุทธรณ์ถูกลงโทษหรือการถูกสั่งให้ออกจากราชการ (๒) มีส่วนได้เสียในการกระทำผิดวินัยที่ผู้อุทธรณ์ถูกลงโทษหรือการถูกสั่งให้ออกจากราชการ (๓) มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้อุทธรณ์ (๔) เป็นผู้กล่าวหา หรือเป็นหรือเคยเป็นผู้บังคับบัญชาผู้สั่งลงโทษหรือสั่งให้ออกจากราชการ (๕) เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินการทางวินัยหรือการสั่งให้ออกจากราชการที่ผู้อุทธรณ์ถูกลงโทษหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการ (๖) มีความเกี่ยวพันทางเครือญาติหรือทางการสมรสกับบุคคลตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) อันอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้อุทธรณ์ กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ซึ่งมีกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้งต่อประธาน ก.พ.ค. และถอนตัวจากการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ การยื่นคำคัดค้าน และการพิจารณาคำคัดค้าน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.ค. หมวด ๑๐ การร้องทุกข์ มาตรา ๑๒๒ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชา และเป็นกรณีที่ไม่อาจอุทธรณ์ตามหมวด ๙ การอุทธรณ์ ได้ ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในหมวดนี้ มาตรา ๑๒๓ การร้องทุกข์ที่เหตุเกิดจากผู้บังคับบัญชา ให้ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไป ตามลำดับ การร้องทุกข์ที่เหตุเกิดจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงรัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรือนายกรัฐมนตรี ให้ร้องทุกข์ต่อ ก.พ.ค. เมื่อ ก.พ.ค. ได้พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ประการใดแล้ว ให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง รัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรือนายกรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ดำเนินการให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของ ก.พ.ค. การร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.ค. มาตรา ๑๒๔ ในการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ให้ ก.พ.ค. มีอำนาจไม่รับเรื่องร้องทุกข์ ยกคำร้องทุกข์ หรือมีคำวินิจฉัยให้แก้ไขหรือยกเลิกคำสั่ง และให้เยียวยาความเสียหายให้ผู้ร้องทุกข์ หรือให้ดำเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามระเบียบที่ ก.พ.ค. กำหนด ในการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ ก.พ.ค. จะพิจารณาวินิจฉัยเอง หรือจะตั้งกรรมการ ก.พ.ค. คนหนึ่ง หรือจะตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.ค. และในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และให้มีอำนาจตามมาตรา ๑๑๗ โดยอนุโลม มาตรา ๑๒๕ เมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้ กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์อาจถูกคัดค้านได้ (๑) เป็นผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุให้เกิดความคับข้องใจ หรือเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้บังคับบัญชาดังกล่าว (๒) มีส่วนได้เสียในเรื่องที่ร้องทุกข์ (๓) มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ร้องทุกข์ (๔) มีความเกี่ยวพันทางเครือญาติหรือทางการสมรสกับบุคคลตาม (๑) (๒) หรือ (๓) อันอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ร้องทุกข์ กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ซึ่งมีกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้งต่อประธาน ก.พ.ค. และถอนตัวจากการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ การยื่นคำคัดค้าน และการพิจารณาคำคัดค้าน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.ค. หมวด ๑๑ การคุ้มครองระบบคุณธรรม มาตรา ๑๒๖ ในกรณีที่ ก.พ.ค. เห็นว่ากฎ ระเบียบ หรือคำสั่งใดที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้และมุ่งหมายให้ใช้บังคับเป็นการทั่วไป ไม่สอดคล้องกับระบบคุณธรรมตามมาตรา ๔๒ ให้ ก.พ.ค. แจ้งให้หน่วยงานหรือผู้ออกกฎ ระเบียบ หรือคำสั่งดังกล่าวทราบ เพื่อดำเนินการแก้ไข หรือยกเลิกตามควรแก่กรณี ลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ มาตรา ๑๒๗ การแต่งตั้งและการให้ข้าราชการพลเรือนในพระองค์พ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคลจะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการเกี่ยวกับการกำหนดตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง การบรรจุ การแต่งตั้ง การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ การรักษาจรรยา การรักษาวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์ การร้องทุกข์ และการอื่นตามที่จำเป็นของข้าราชการพลเรือนในพระองค์ก็ได้ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่กระทบต่อพระราชอำนาจตามวรรคหนึ่ง พระราชกฤษฎีกาตามวรรคสองจะกำหนดให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ทั้งหมดหรือบางส่วน มาใช้บังคับหรือจะกำหนดให้แตกต่างจากที่บัญญัติในพระราชบัญญัตินี้ก็ได้ บทเฉพาะกาล มาตรา ๑๒๘ ให้ ก.พ. อ.ก.พ. วิสามัญ และ อ.ก.พ. สามัญ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ก.พ. หรือจนกว่าจะได้แต่งตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญ หรืออนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญ แล้วแต่กรณี ตามพระราชบัญญัตินี้ การดำเนินการแต่งตั้ง ก.พ. ให้กระทำให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๒๙ ในระหว่างที่ยังมิได้ดำเนินการให้มี ก.พ.ค. ให้ ก.พ. ทำหน้าที่ ก.พ.ค. ตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อนจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ก.พ.ค. ตามพระราชบัญญัตินี้ การดำเนินการแต่งตั้ง ก.พ.ค. ให้กระทำให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๓๐ ผู้ใดเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ หรือข้าราชการพลเรือนในพระองค์ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ หรือข้าราชการพลเรือนในพระองค์ตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี ต่อไป มาตรา ๑๓๑ ในระหว่างที่ ก.พ. ยังมิได้จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามมาตรา ๔๘ บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ยังไม่ใช้บังคับ โดยให้นำบทบัญญัติในลักษณะ ๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตลอดจนบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนและบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือนท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๓๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญและข้าราชการพลเรือนในพระองค์ไปพลางก่อนจนกว่า ก.พ. จะจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งเสร็จ และจัดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญของทุกส่วนราชการเข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และประกาศให้ทราบ จึงให้นำบทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ก.พ. ประกาศเป็นต้นไป และให้ผู้บังคับบัญชาสั่งแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ ก.พ. ประกาศ ในการจัดตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญตามวรรคหนึ่ง หากมีเหตุผลและความจำเป็น ก.พ. อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญผู้มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะตัวได้ ให้ ก.พ. ดำเนินการประกาศตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๓๒ ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกา หรือออกกฎ ก.พ. ข้อบังคับ หรือระเบียบหรือกำหนดกรณีใด เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำพระราชกฤษฎีกา กฎ ก.พ. ข้อบังคับ หรือระเบียบหรือกรณีที่กำหนดไว้แล้วซึ่งใช้อยู่เดิมมาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ไม่อาจนำพระราชกฤษฎีกา กฎ ก.พ. ข้อบังคับ หรือระเบียบหรือกรณีที่กำหนดไว้แล้วมาใช้บังคับได้ตามวรรคหนึ่ง การจะดำเนินการประการใดให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๑๓๓ ข้าราชการพลเรือนผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยหรือกรณีที่สมควรให้ออกจากราชการอยู่ก่อนวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้บังคับบัญชาตามพระราชบัญญัตินี้มีอำนาจสั่งลงโทษผู้นั้นหรือสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ส่วนการสอบสวน การพิจารณา และการดำเนินการเพื่อลงโทษหรือให้ออกจากราชการ ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ (๑) กรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งให้สอบสวนโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นไปแล้วก่อนวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และยังสอบสวนไม่เสร็จก็ให้สอบสวนตามกฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ (๒) ในกรณีที่ได้มีการสอบสวนหรือพิจารณาโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นเสร็จไปแล้วก่อนวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้การสอบสวนหรือพิจารณา แล้วแต่กรณีนั้นเป็นอันใช้ได้ (๓) กรณีที่ได้มีการรายงานหรือส่งเรื่อง หรือนำสำนวนเสนอ หรือส่งให้ อ.ก.พ. สามัญใดพิจารณาโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น และ อ.ก.พ. สามัญพิจารณาเรื่องนั้นยังไม่เสร็จ ก็ให้ อ.ก.พ. สามัญ พิจารณาตามกฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ มาตรา ๑๓๔ ข้าราชการพลเรือนซึ่งโอนมาจากพนักงานส่วนท้องถิ่นหรือข้าราชการประเภทอื่นก่อนวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยหรือกรณีที่สมควรให้ออกจากงานหรือให้ออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นหรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการนั้นอยู่ก่อนวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้บังคับบัญชาตามพระราชบัญญัตินี้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยแก่ผู้นั้น หรือดำเนินการสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้ ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๑๐๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๓๕ ผู้ใดถูกสั่งลงโทษหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ถ้ายังมิได้ยื่นอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวและยังไม่พ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ในวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้มีสิทธิอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ตามพระราชบัญญัตินี้ได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๓๖ เรื่องอุทธรณ์และเรื่องร้องทุกข์ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและอยู่ในอำนาจการพิจารณาของ อ.ก.พ. สามัญ หรือ ก.พ. ให้ อ.ก.พ. สามัญ หรือ ก.พ. แล้วแต่กรณี พิจารณาต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ เรื่องอุทธรณ์และเรื่องร้องทุกข์ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ได้ยื่นต่อ อ.ก.พ. สามัญ หรือ ก.พ. ในวันหรือหลังวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและเป็นกรณีที่มีการลงโทษหรือสั่งการไว้ก่อนวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ ก.พ.ค. เป็นผู้พิจารณาดำเนินการต่อไป มาตรา ๑๓๗ การใดที่อยู่ระหว่างดำเนินการหรือเคยดำเนินการได้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ และมิได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือมีกรณีที่ไม่อาจดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ การดำเนินการต่อไปในเรื่องนั้นจะสมควรดำเนินการประการใดให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๑๓๘ การปรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญเข้าตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้รับเงินเดือนยังไม่ถึงขั้นต่ำของระดับตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ให้ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำชั่วคราวตามบัญชีท้ายตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ได้รับการปรับเงินเดือนจนได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำของระดับตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๑๓๙ ในกรณีที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทต่าง ๆ กำหนดให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการพลเรือนสามัญมาใช้บังคับหรือใช้บังคับโดยอนุโลม ให้ยังคงนำพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาใช้บังคับหรือใช้บังคับโดยอนุโลมต่อไป การให้นำพระราชบัญญัตินี้ไปใช้บังคับกับข้าราชการประเภทดังกล่าวทั้งหมดหรือบางส่วน ให้กระทำได้โดยมติขององค์กรกลางบริหารงานบุคคลหรือองค์กรที่ทำหน้าที่องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการประเภทนั้น ๆ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑.[๒] ตารางบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ (แก้ไขเพิ่มเติม) ๒. ตารางบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ บัญญัติให้ดำเนินการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน เพื่อกำหนดภารกิจของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนให้เหมาะสม ประกอบกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้ใช้บังคับมานาน บทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับพัฒนาการด้านการบริหารราชการที่เปลี่ยนไป ดังนั้น เพื่อกำหนดภารกิจของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนให้เหมาะสม และเพื่อให้การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐสอดคล้องกับทิศทางการบริหารราชการ สมควรปรับปรุงกฎหมายดังกล่าว โดยปรับบทบาทของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน จากเดิมที่เป็นทั้งผู้จัดการงานบุคคลของฝ่ายบริหาร ผู้พิทักษ์ระบบคุณธรรม และผู้จัดโครงสร้างส่วนราชการ ให้เป็นเพียงผู้จัดการงานบุคคลของฝ่ายบริหาร โดยมิให้ซ้ำซ้อนกับบทบาทของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ส่วนบทบาทในการพิทักษ์ระบบคุณธรรมให้เป็นของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ปรับบทบาทของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนจากเดิมที่เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ให้เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม และมิให้ซ้ำซ้อนกับบทบาทของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ปรับปรุงระบบตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญให้จำแนกตามกลุ่มลักษณะงาน ตลอดจนกระจายอำนาจการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดดำเนินการมากขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชกฤษฎีกาการปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. ๒๕๕๔[๓] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญให้เหมาะสมยิ่งขึ้นตามความจำเป็นก็ได้ โดยหากเป็นการปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงเพิ่มไม่เกินร้อยละสิบของเงินเดือนที่ใช้บังคับอยู่ ให้กระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ประกอบกับบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญในปัจจุบันไม่เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น สมควรปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยปรับเพิ่มบางอัตราและปรับเพิ่มเป็นร้อยละที่แตกต่างกันร้อยละห้าถึงร้อยละสิบ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ฐิติมา/ตรวจ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๒ ระพี/ปรับปรุง ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ วิชพงษ์/ตรวจ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ โชติกานต์/เพิ่มเติม ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๒๒ ก/หน้า ๑/๒๕ มกราคม ๒๕๕๑ [๒] ตารางบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาการปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. ๒๕๕๔ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๒๒ ก/หน้า ๙/๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔
776864
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 (ฉบับ Update ณ วันที่ 25/01/2551 )
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นปีที่ ๖๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗ (๓) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๘ (๔) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๔ มิให้นำคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่ ๓๘/๒๕๑๙ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๙ มาใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือน มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “ข้าราชการพลเรือน” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณในกระทรวง กรมฝ่ายพลเรือน “ข้าราชการฝ่ายพลเรือน” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือน และข้าราชการอื่นในกระทรวง กรมฝ่ายพลเรือน ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทนั้น “กระทรวง” หมายความรวมถึงสำนักนายกรัฐมนตรีและทบวง “รัฐมนตรีเจ้าสังกัด” หมายความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวง รัฐมนตรีว่าการทบวง และหมายความรวมถึงนายกรัฐมนตรีในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาสำนักนายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวง “ปลัดกระทรวง” หมายความรวมถึงปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและปลัดทบวง “กรม” หมายความรวมถึงส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม “อธิบดี” หมายความว่า หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่ากรม “ส่วนราชการ” หมายความว่า ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและมีฐานะไม่ต่ำกว่ากรม มาตรา ๕ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ลักษณะ ๑ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน มาตรา ๖ ให้มีคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.” ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธาน ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมายซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับการสรรหาตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน แต่ไม่เกินเจ็ดคน และให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการและเลขานุการ กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต้องไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมืองและมิได้เป็นกรรมการโดยตำแหน่งอยู่แล้ว มาตรา ๗ กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งได้คราวละสามปี ถ้าตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนดและยังมีกรรมการดังกล่าวเหลืออยู่อีกไม่น้อยกว่าสามคนให้กรรมการที่เหลือปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ เมื่อตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนดให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการแทนภายในกำหนดสามสิบวัน เว้นแต่วาระของกรรมการเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่แต่งตั้งกรรมการแทนก็ได้ ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการแทนนั้นให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่ง จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการอีกก็ได้ ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่ ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่ มาตรา ๘ ก.พ. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐในด้านมาตรฐานค่าตอบแทน การบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล รวมตลอดทั้งการวางแผนกำลังคนและด้านอื่น ๆ เพื่อให้ส่วนราชการใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ (๒) รายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาปรับปรุงเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่มค่าครองชีพ สวัสดิการ หรือประโยชน์เกื้อกูลอื่นสำหรับข้าราชการฝ่ายพลเรือนให้เหมาะสม (๓) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน เพื่อส่วนราชการใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ (๔) ให้ความเห็นชอบกรอบอัตรากำลังของส่วนราชการ (๕) ออกกฎ ก.พ. และระเบียบเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ รวมตลอดทั้งการให้คำแนะนำหรือวางแนวทางในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎ ก.พ. เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ (๖) ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ รวมตลอดทั้งกำหนดแนวทางปฏิบัติในกรณีที่เป็นปัญหา มติของ ก.พ. ตามข้อนี้ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย (๗) กำกับ ดูแล ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือนในกระทรวงและกรม เพื่อรักษาความเป็นธรรมและมาตรฐานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล รวมทั้งตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ในการนี้ ให้มีอำนาจเรียกเอกสารและหลักฐานจากส่วนราชการ หรือให้ผู้แทนส่วนราชการ ข้าราชการหรือบุคคลใด ๆ มาชี้แจงข้อเท็จจริง และให้มีอำนาจออกระเบียบให้กระทรวง และกรมรายงานเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือนที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ไปยัง ก.พ. (๘) กำหนดนโยบายและออกระเบียบเกี่ยวกับทุนเล่าเรียนหลวงและทุนของรัฐบาลให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือน ตลอดจนจัดสรรผู้รับทุนที่สำเร็จการศึกษาแล้วเข้ารับราชการในกระทรวงและกรมหรือหน่วยงานของรัฐ (๙) ออกข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการจัดการการศึกษาและควบคุมดูแลและการให้ความช่วยเหลือบุคลากรภาครัฐ นักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง นักเรียนทุนของรัฐบาล และนักเรียนทุนส่วนตัวที่อยู่ในความดูแลของ ก.พ. ตลอดจนการเก็บเงินชดเชยค่าใช้จ่ายในการดูแลจัดการการศึกษา ทั้งนี้ ให้ถือว่าเงินชดเชยค่าใช้จ่ายในการดูแลจัดการการศึกษาเป็นเงินรายรับของส่วนราชการที่เป็นสถานอำนวยบริการอันเป็นสาธารณประโยชน์ ตามความหมายในกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ (๑๐) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อรับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือน และการกำหนดอัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทน รวมทั้งระดับตำแหน่งและประเภทตำแหน่งสำหรับคุณวุฒิดังกล่าว (๑๑) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการปฏิบัติการเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ (๑๒) พิจารณาจัดระบบทะเบียนประวัติและแก้ไขทะเบียนประวัติเกี่ยวกับวัน เดือน ปีเกิด และการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการพลเรือน (๑๓) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น การออกกฎ ก.พ. ตาม (๕) ในกรณีที่เห็นสมควร ให้สำนักงาน ก.พ. หารือกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาของ ก.พ. ด้วย มาตรา ๙ ในกรณีที่ ก.พ. มีมติว่ากระทรวง กรม หรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือปฏิบัติการโดยขัดหรือแย้งกับแนวทางตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ ให้ ก.พ. แจ้งให้กระทรวง กรม หรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติดังกล่าวดำเนินการแก้ไข ยกเลิก หรือยุติการดำเนินการดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนดในกรณีที่กระทรวง กรม หรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติดังกล่าวไม่ดำเนินการตามมติ ก.พ. ภายในเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าปลัดกระทรวง อธิบดี หรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติดังกล่าว แล้วแต่กรณี กระทำผิดวินัย การดำเนินการทางวินัยตามวรรคหนึ่งและการสั่งลงโทษให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.พ. ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎ ก.พ. ในกรณีที่ผู้ไม่ปฏิบัติการตามมติ ก.พ. ตามวรรคหนึ่งเป็นรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ให้ ก.พ. รายงานนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการตามที่เห็นสมควรต่อไป มาตรา ๑๐ ในกรณีที่ ก.พ. เห็นว่าการบริหารทรัพยากรบุคคลในเรื่องใดที่ข้าราชการฝ่ายพลเรือนทุกประเภทหรือบางประเภทควรมีมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์เดียวกัน ให้ ก.พ. จัดให้มีการประชุมเพื่อหารือร่วมกันระหว่างผู้แทน ก.พ. ผู้แทน ก.พ.ร. และผู้แทนองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือนประเภทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์กลางการบริหารทรัพยากรบุคคลในเรื่องนั้นเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วให้ใช้บังคับมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์กลางดังกล่าวกับข้าราชการฝ่ายพลเรือนทุกประเภทหรือประเภทนั้น ๆ แล้วแต่กรณี ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคลของรัฐในเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยโดยอนุโลม มาตรา ๑๑ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับแก่การประชุม ก.พ. โดยอนุโลม เว้นแต่กรณีตามมาตรา ๓๖ วรรคสอง มาตรา ๑๒ ก.พ. มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิสามัญ เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ. วิสามัญ” เพื่อทำการใด ๆ แทนได้ จำนวน คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญ รวมตลอดทั้งวิธีการได้มา วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๓ ให้มีสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เรียกโดยย่อว่า “สำนักงาน ก.พ.” โดยมีเลขาธิการ ก.พ. เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและบริหารราชการของสำนักงาน ก.พ. ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี สำนักงาน ก.พ. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานในหน้าที่ของ ก.พ. และ ก.พ.ค. และดำเนินการตามที่ ก.พ. หรือ ก.พ.ค. มอบหมาย (๒) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่กระทรวง กรม เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และแนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ (๓) พัฒนา ส่งเสริม วิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ระบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน (๔) ติดตามและประเมินผลการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน (๕) ดำเนินการเกี่ยวกับแผนกำลังคนของข้าราชการพลเรือน (๖) เป็นศูนย์กลางข้อมูลทรัพยากรบุคคลภาครัฐ (๗) จัดทำยุทธศาสตร์ ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือน (๘) ส่งเสริม ประสานงาน เผยแพร่ ให้คำปรึกษาแนะนำ และดำเนินการเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการและการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตสำหรับทรัพยากรบุคคลภาครัฐ (๙) ดำเนินการเกี่ยวกับทุนเล่าเรียนหลวงและทุนของรัฐบาลตามนโยบายและระเบียบของ ก.พ. ตามมาตรา ๘ (๘) (๑๐) ดำเนินการเกี่ยวกับการดูแลบุคลากรภาครัฐและนักเรียนทุนตามข้อบังคับหรือระเบียบของ ก.พ. ตามมาตรา ๘ (๙) (๑๑) ดำเนินการเกี่ยวกับการรับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือน และการกำหนดอัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทน รวมทั้งระดับตำแหน่งและประเภทตำแหน่งสำหรับคุณวุฒิดังกล่าว (๑๒) ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาทะเบียนประวัติและการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการพลเรือน (๑๓) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการพลเรือนเสนอต่อ ก.พ. และคณะรัฐมนตรี (๑๔) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ กฎหมายอื่น หรือตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือ ก.พ. มอบหมาย มาตรา ๑๔ ให้มีคณะอนุกรรมการสามัญ เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ. สามัญ” เพื่อเป็นองค์กรบริหารทรัพยากรบุคคลในส่วนราชการต่าง ๆ ดังนี้ (๑) คณะอนุกรรมการสามัญประจำกระทรวง เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ. กระทรวง” โดยออกนามกระทรวง (๒) คณะอนุกรรมการสามัญประจำกรม เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ. กรม” โดยออกนามกรม (๓) คณะอนุกรรมการสามัญประจำจังหวัด เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ. จังหวัด” โดยออกนามจังหวัด (๔) คณะอนุกรรมการสามัญประจำส่วนราชการอื่นนอกจากส่วนราชการตาม (๑) (๒) และ (๓) การเรียกชื่อ องค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.พ. ตาม (๔) ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๕ อ.ก.พ. กระทรวง ประกอบด้วยรัฐมนตรีเจ้าสังกัด เป็นประธาน ปลัดกระทรวง เป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. ซึ่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนในสำนักงาน ก.พ. หนึ่งคน เป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่ง และอนุกรรมการซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และมิได้เป็นข้าราชการในกระทรวงนั้น จำนวนไม่เกินสามคน (๒) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกระทรวงนั้น ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว จำนวนไม่เกินห้าคน ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน มาตรา ๑๖ อ.ก.พ. กระทรวง มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณากำหนดนโยบาย ระบบ และระเบียบวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคลในกระทรวงซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๘ (๓) (๒) พิจารณาการเกลี่ยอัตรากำลังระหว่างส่วนราชการต่าง ๆ ภายในกระทรวง (๓) พิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการสั่งให้ออกจากราชการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (๔) ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้และช่วย ก.พ. ปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่ ก.พ. มอบหมาย มาตรา ๑๗ อ.ก.พ. กรม ประกอบด้วยอธิบดี เป็นประธาน รองอธิบดีที่อธิบดีมอบหมายหนึ่งคน เป็นรองประธาน และอนุกรรมการซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการและด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และมิได้เป็นข้าราชการในกรมนั้นจำนวนไม่เกินสามคน (๒) ข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทบริหารหรือประเภทอำนวยการในกรมนั้นซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว จำนวนไม่เกินหกคน ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน มาตรา ๑๘ อ.ก.พ. กรม มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณากำหนดนโยบาย ระบบ และระเบียบวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคลในกรมซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๘ (๓) และนโยบายและระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลที่ อ.ก.พ. กระทรวงกำหนดตามมาตรา ๑๖ (๑) (๒) พิจารณาการเกลี่ยอัตรากำลังระหว่างส่วนราชการต่าง ๆ ภายในกรม (๓) พิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการสั่งให้ออกจากราชการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (๔) ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้และช่วย ก.พ. ปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่ ก.พ. มอบหมาย มาตรา ๑๙ อ.ก.พ. จังหวัด ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายหนึ่งคน เป็นรองประธาน และอนุกรรมการ ซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และมิได้เป็นข้าราชการพลเรือนในจังหวัดนั้น จำนวนไม่เกินสามคน (๒) ข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทบริหารหรือประเภทอำนวยการ ซึ่งกระทรวงหรือกรมแต่งตั้งไปประจำจังหวัดนั้น และได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวจำนวนไม่เกินหกคน ซึ่งแต่ละคนต้องไม่สังกัดกระทรวงเดียวกัน ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน มาตรา ๒๐ อ.ก.พ. จังหวัด มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณากำหนดแนวทางและวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคล ซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๘ (๓) (๒) พิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการสั่งให้ออกจากราชการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (๓) ปฏิบัติตามที่ อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. กรม มอบหมาย (๔) ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้และช่วย ก.พ. ปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่ ก.พ. มอบหมาย มาตรา ๒๑ หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาหรือการเลือกบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการตามมาตรา ๑๕ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๗ (๑) และ (๒) และมาตรา ๑๙ (๑) และ (๒) วาระการดำรงตำแหน่ง และจำนวนขั้นต่ำของอนุกรรมการดังกล่าว ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๒๒ ในกรณีที่กระทรวงใดมีเหตุพิเศษ ก.พ. จะอนุมัติให้มีแต่ อ.ก.พ. กระทรวงเพื่อทำหน้าที่ อ.ก.พ. กรม ก็ได้ ในกรณีส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวง แต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี ให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.พ. กระทรวงเป็นอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.พ. กรมด้วย แต่ในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ให้มีรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นประธาน และอธิบดีเป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. ซึ่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนในสำนักงาน ก.พ.หนึ่งคน เป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่ง ในกรณีสำนักงานรัฐมนตรี ให้ อ.ก.พ. กรมของสำนักงานปลัดกระทรวงทำหน้าที่ อ.ก.พ. กรมของสำนักงานรัฐมนตรี มาตรา ๒๓ ให้นำมาตรา ๑๑ มาใช้บังคับแก่การประชุมของ อ.ก.พ. วิสามัญ และ อ.ก.พ. สามัญโดยอนุโลม ลักษณะ ๒ คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม มาตรา ๒๔ ให้มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.ค.” ประกอบด้วยกรรมการจำนวนเจ็ดคนซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตามมาตรา ๒๖ กรรมการ ก.พ.ค. ต้องทำงานเต็มเวลา ให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นเลขานุการของ ก.พ.ค. มาตรา ๒๕ ผู้จะได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ ก.พ.ค. ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบห้าปี (๓) มีคุณสมบัติอื่นอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (ก) เป็นหรือเคยเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน คณะกรรมการข้าราชการครู คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา หรือคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ข) เป็นหรือเคยเป็นกรรมการกฤษฎีกา (ค) รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์หรือเทียบเท่า หรือตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองชั้นต้น (ง) รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอัยการพิเศษประจำเขตหรือเทียบเท่า (จ) รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือเทียบเท่าตามที่ ก.พ. กำหนด (ฉ) เป็นหรือเคยเป็นผู้สอนวิชาในสาขานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือวิชาที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินในสถาบันอุดมศึกษา และดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ แต่ในกรณีที่ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ต้องดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี มาตรา ๒๖ ให้มีคณะกรรมการคัดเลือกกรรมการ ก.พ.ค. ประกอบด้วยประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธาน รองประธานศาลฎีกาที่ได้รับมอบหมายจากประธานศาลฎีกาหนึ่งคน กรรมการ ก.พ. ผู้ทรงคุณวุฒิหนึ่งคนซึ่งได้รับเลือกโดย ก.พ. และให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการและเลขานุการ ให้คณะกรรมการคัดเลือกมีหน้าที่คัดเลือกบุคคลผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๕ จำนวนเจ็ดคน ให้ผู้ได้รับคัดเลือกตามวรรคสองประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ ก.พ.ค. แล้วให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกกรรมการ ก.พ.ค. ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการคัดเลือกกำหนด มาตรา ๒๗ กรรมการ ก.พ.ค. ต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นข้าราชการ (๒) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลใด (๓) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง สมาชิกพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (๔) เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจ (๕) เป็นกรรมการในองค์กรกลางบริหารงานบุคคลในหน่วยงานของรัฐ (๖) ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอย่างอื่นหรือดำรงตำแหน่งหรือประกอบการใด ๆ หรือเป็นกรรมการในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน อันขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๒๘ ผู้ได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการ ก.พ.ค. ผู้ใดมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๗ ผู้นั้นต้องลาออกจากการเป็นบุคคลซึ่งมีลักษณะต้องห้ามหรือแสดงหลักฐานให้เป็นที่เชื่อได้ว่าตนได้เลิกการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพหรือการประกอบการอันมีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวต่อเลขานุการ ก.พ.ค. ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคัดเลือก ในกรณีที่ผู้ได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการ ก.พ.ค. มิได้ลาออกหรือเลิกการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพหรือการประกอบการดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้นั้นมิเคยได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการ ก.พ.ค. และให้ดำเนินการคัดเลือกกรรมการ ก.พ.ค. ขึ้นใหม่ มาตรา ๒๙ กรรมการ ก.พ.ค. มีวาระการดำรงตำแหน่งหกปีนับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว ให้กรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ อยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการ ก.พ.ค. ใหม่ มาตรา ๓๐ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการ ก.พ.ค. พ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) มีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ (๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๕ หรือมาตรา ๒๗ (๕) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก แม้จะมีการรอการลงโทษ เว้นแต่เป็นการรอการลงโทษในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท (๖) ไม่สามารถปฏิบัติงานได้เต็มเวลาอย่างสม่ำเสมอตามระเบียบของ ก.พ.ค. เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้กรรมการ ก.พ.ค. เท่าที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ และให้ถือว่า ก.พ.ค. ประกอบด้วยกรรมการ ก.พ.ค. เท่าที่เหลืออยู่ เว้นแต่มีกรรมการ ก.พ.ค. เหลืออยู่ไม่ถึงห้าคน เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่งหรือกรณีที่กรรมการ ก.พ.ค. พ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้คณะกรรมการคัดเลือกดำเนินการคัดเลือกกรรมการ ก.พ.ค. แทนกรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตำแหน่งโดยเร็ว มาตรา ๓๑ ก.พ.ค. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอแนะต่อ ก.พ. หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่น เพื่อให้ ก.พ. หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่น ดำเนินการจัดให้มีหรือปรับปรุงนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลในส่วนที่เกี่ยวกับการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (๒) พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๑๔ (๓) พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ตามมาตรา ๑๒๓ (๔) พิจารณาเรื่องการคุ้มครองระบบคุณธรรมตามมาตรา ๑๒๖ (๕) ออกกฎ ก.พ.ค. ระเบียบ หลักเกณฑ์ และวิธีการเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎ ก.พ.ค. เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ (๖) แต่งตั้งบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่ ก.พ.ค. กำหนด เพื่อเป็นกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์หรือเป็นกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ มาตรา ๓๒ ให้กรรมการ ก.พ.ค. กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ได้รับเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา และให้มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง มาตรา ๓๓ การประชุมของคณะกรรมการ ก.พ.ค. กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ.ค. กำหนด ลักษณะ ๓ บททั่วไป มาตรา ๓๔ การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนต้องเป็นไปเพื่อผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐความมีประสิทธิภาพ และความคุ้มค่า โดยให้ข้าราชการปฏิบัติราชการอย่างมีคุณภาพ คุณธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี มาตรา ๓๕ ข้าราชการพลเรือนมี ๒ ประเภท คือ (๑) ข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุแต่งตั้งตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ (๒) ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในพระองค์พระมหากษัตริย์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๓๖ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนต้องมีคุณสมบัติทั่วไป และไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ ก. คุณสมบัติทั่วไป (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี (๓) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ ข. ลักษณะต้องห้าม (๑) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (๒) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. (๓) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น (๔) เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม (๕) เป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (๖) เป็นบุคคลล้มละลาย (๗) เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิดทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๘) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (๙) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออก เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น (๑๐) เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายอื่น (๑๑) เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ หรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตาม ข. (๔) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) หรือ (๑๑) ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ แต่ถ้าเป็นกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (๘) หรือ (๙) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้ว และในกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (๑๐) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว และต้องมิใช่เป็นกรณีออกจากงานหรือออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่ มติของ ก.พ. ในการยกเว้นดังกล่าวต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการที่มาประชุม การลงมติให้กระทำโดยลับ การขอยกเว้นตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. กำหนด ในกรณีตามวรรคสอง ก.พ. จะยกเว้นให้เป็นการเฉพาะราย หรือจะประกาศยกเว้นให้เป็นการทั่วไปก็ได้ มาตรา ๓๗ การจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งให้ข้าราชการพลเรือนให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. กำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง มาตรา ๓๘ ข้าราชการพลเรือนอาจได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ ตำแหน่งในบางท้องที่ ตำแหน่งในบางสายงาน หรือตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตามระเบียบที่ ก.พ. กำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ข้าราชการพลเรือนอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ในการเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการตามวรรคสอง ให้ ก.พ. เสนอแนะสำหรับข้าราชการประเภทอื่นในคราวเดียวกันด้วย มาตรา ๓๙ วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการพลเรือน ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๔๐ เครื่องแบบของข้าราชการพลเรือนและระเบียบการแต่งเครื่องแบบให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น มาตรา ๔๑ บำเหน็จบำนาญข้าราชการพลเรือนให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ หมวด ๑ การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนสามัญ มาตรา ๔๒ การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คำนึงถึงระบบคุณธรรมดังต่อไปนี้ (๑) การรับบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถของบุคคล ความเสมอภาค ความเป็นธรรม และประโยชน์ของทางราชการ (๒) การบริหารทรัพยากรบุคคล ต้องคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพขององค์กรและลักษณะของงาน โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม (๓) การพิจารณาความดีความชอบ การเลื่อนตำแหน่ง และการให้ประโยชน์อื่นแก่ข้าราชการต้องเป็นไปอย่างเป็นธรรมโดยพิจารณาจากผลงาน ศักยภาพ และความประพฤติ และจะนำความคิดเห็นทางการเมืองหรือสังกัดพรรคการเมืองมาประกอบการพิจารณามิได้ (๔) การดำเนินการทางวินัย ต้องเป็นไปด้วยความยุติธรรมและโดยปราศจากอคติ (๕) การบริหารทรัพยากรบุคคลต้องมีความเป็นกลางทางการเมือง มาตรา ๔๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ทั้งนี้ต้องไม่กระทบประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะ และต้องไม่มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรวมกลุ่มตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา หมวด ๒ การกำหนดตำแหน่ง และการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง มาตรา ๔๔ นอกจากตำแหน่งที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแล้ว อ.ก.พ. กระทรวงอาจกำหนดตำแหน่งที่มีชื่ออย่างอื่นเพื่อประโยชน์ในการบริหารงาน และแจ้งให้ ก.พ. ทราบด้วย มาตรา ๔๕ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมี ๔ ประเภท ดังต่อไปนี้ (๑) ตำแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่ ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการและรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง กรม และตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหาร (๒) ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ได้แก่ ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรม และตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการ (๓) ตำแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่ ตำแหน่งที่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตามที่ ก.พ. กำหนดเพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำแหน่งนั้น (๔) ตำแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่ ตำแหน่งที่ไม่ใช่ตำแหน่งประเภทบริหาร ตำแหน่งประเภทอำนวยการ และตำแหน่งประเภทวิชาการ ทั้งนี้ ตามที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๔๖ ระดับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ มีดังต่อไปนี้ (๑) ตำแหน่งประเภทบริหาร มีระดับดังต่อไปนี้ (ก) ระดับต้น (ข) ระดับสูง (๒) ตำแหน่งประเภทอำนวยการ มีระดับดังต่อไปนี้ (ก) ระดับต้น (ข) ระดับสูง (๓) ตำแหน่งประเภทวิชาการ มีระดับดังต่อไปนี้ (ก) ระดับปฏิบัติการ (ข) ระดับชำนาญการ (ค) ระดับชำนาญการพิเศษ (ง) ระดับเชี่ยวชาญ (จ) ระดับทรงคุณวุฒิ (๔) ตำแหน่งประเภททั่วไป มีระดับดังต่อไปนี้ (ก) ระดับปฏิบัติงาน (ข) ระดับชำนาญงาน (ค) ระดับอาวุโส (ง) ระดับทักษะพิเศษ การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๔๗ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญจะมีในส่วนราชการใด จำนวนเท่าใด และเป็นตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด ให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ. กระทรวงกำหนด โดยต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความไม่ซ้ำซ้อนและประหยัดเป็นหลัก ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด และต้องเป็นไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามมาตรา ๔๘ มาตรา ๔๘ ให้ ก.พ. จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง โดยจำแนกตำแหน่งเป็นประเภทและสายงานตามลักษณะงาน และจัดตำแหน่งในประเภทเดียวกันและสายงานเดียวกันที่คุณภาพของงานเท่ากันโดยประมาณเป็นระดับเดียวกัน ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงาน ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้ระบุชื่อตำแหน่งในสายงาน หน้าที่ความรับผิดชอบหลักและคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งไว้ด้วย มาตรา ๔๙ ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตำแหน่งใดบังคับบัญชาข้าราชการพลเรือนในส่วนราชการหรือหน่วยงานใด ในฐานะใดให้เป็นไปตามที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ กำหนด โดยทำเป็นหนังสือตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๕๐ ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งในแต่ละประเภทตามที่กำหนดไว้ในบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด จะได้รับเงินเดือนเท่าใดตามบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ข้าราชการพลเรือนสามัญอาจได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด จะได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ในอัตราใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. เงินประจำตำแหน่งตามมาตรานี้ ไม่ถือเป็นเงินเดือนเพื่อเป็นเกณฑ์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา ๕๐/๑[๒] ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็น เพื่อเป็นการเยียวยาให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งที่เหมาะสมและเป็นธรรม ก.พ. อาจกำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับการเยียวยาโดยให้ได้รับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งตามที่เห็นสมควรเป็นกรณี ๆ ไปก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๕๑ คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงหรือเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญให้เหมาะสมยิ่งขึ้นตามความจำเป็นก็ได้ โดยหากเป็นการปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูง หรือเงินประจำตำแหน่งเพิ่มไม่เกินร้อยละสิบของเงินเดือน หรือเงินประจำตำแหน่งที่ใช้บังคับอยู่ ให้กระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และให้ถือว่าเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูง และเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เป็นเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูง และเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชบัญญัตินี้ เมื่อมีการปรับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง การปรับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้รับอยู่เดิมเข้าสู่อัตราในบัญชีที่ได้รับการปรับใหม่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด หมวด ๓ การสรรหา การบรรจุ และการแต่งตั้ง มาตรา ๕๒ การสรรหาเพื่อให้ได้บุคคลมาบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ต้องเป็นไปตามระบบคุณธรรมและคำนึงถึงพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลดังกล่าว ตลอดจนประโยชน์ของทางราชการ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในหมวดนี้ มาตรา ๕๓ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนั้น โดยบรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ การสอบแข่งขัน การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ และรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบแข่งขันให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการตามมาตรา ๕๕ มาตรา ๕๖ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ และมาตรา ๖๕ มาตรา ๕๔ ผู้สมัครสอบแข่งขันในตำแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม หรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๖ และต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งหรือได้รับอนุมัติจาก ก.พ. ตามมาตรา ๖๒ ด้วย สำหรับผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๖ ข. (๑) ให้มีสิทธิสมัครสอบแข่งขันได้แต่จะมีสิทธิได้รับบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญที่สอบแข่งขันได้ต่อเมื่อพ้นจากการเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว มาตรา ๕๕ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ อาจคัดเลือกบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งโดยไม่ต้องดำเนินการสอบแข่งขันตามมาตรา ๕๓ ก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๕๖ กระทรวงหรือกรมใดมีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่ง จะบรรจุบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และความชำนาญงานสูง เข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ หรือทรงคุณวุฒิ หรือตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๕๗ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ และการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๕๓ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๖ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ มาตรา ๖๕ และมาตรา ๖๖ ให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้ เป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๑) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้สั่งบรรจุ และให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง (๒) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตำแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี หรือตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ให้ปลัดกระทรวงผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี เสนอรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้ปลัดกระทรวงผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมดังกล่าวเป็นผู้สั่งบรรจุ และให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง (๓) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ให้ปลัดกระทรวงผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๔) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการ ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ และเชี่ยวชาญ และประเภททั่วไปในสำนักงานรัฐมนตรี ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๕) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ให้ปลัดกระทรวงผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๖) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชาเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งเมื่อได้รับความเห็นชอบจากปลัดกระทรวง ส่วนการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้นในส่วนราชการระดับกรมที่หัวหน้าส่วนราชการอยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี หรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชา เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๗) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้สั่งบรรจุ และให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง (๘) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ให้ปลัดกระทรวงหรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๙) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ และตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชา เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง เมื่อได้รับความเห็นชอบจากปลัดกระทรวง ส่วนการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ และตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษในส่วนราชการระดับกรมที่หัวหน้าส่วนราชการอยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชา เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๑๐) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ชำนาญการ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ชำนาญงาน และอาวุโส ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชา หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากอธิบดีผู้บังคับบัญชา เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๑๑) การบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา ๕๓ และการย้ายตามมาตรา ๖๓ ให้ดำรงตำแหน่งตาม (๙) ซึ่งไม่ใช่ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ และตำแหน่งตาม (๑๐) ในราชการบริหารส่วนภูมิภาค ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดผู้บังคับบัญชา เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง ในการเสนอเพื่อแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่ง ให้รายงานความสมควรพร้อมทั้งเหตุผล ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนดไปด้วย มาตรา ๕๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารผู้ใดปฏิบัติหน้าที่เดียวติดต่อกันเป็นเวลาครบสี่ปี ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ดำเนินการให้มีการสับเปลี่ยนหน้าที่ ย้าย หรือโอนไปปฏิบัติหน้าที่อื่น เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการจะขออนุมัติคณะรัฐมนตรีให้คงอยู่ปฏิบัติหน้าที่เดิมต่อไปเป็นเวลาไม่เกินสองปีก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด ความในวรรคหนึ่งไม่ให้ใช้บังคับแก่ผู้ดำรงตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดว่าเป็นตำแหน่งที่มีลักษณะงานเฉพาะอย่าง มาตรา ๕๙ ผู้ได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา ๕๓ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๕๕ ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและให้ได้รับการพัฒนาเพื่อให้รู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการและเป็นข้าราชการที่ดีตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามวรรคหนึ่งผู้ใดมีผลการประเมินทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ สั่งให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป ถ้าผู้นั้นมีผลการประเมินทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด ก็ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้ไม่ว่าจะครบกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการแล้วหรือไม่ก็ตาม ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคสอง ให้ถือเสมือนว่าผู้นั้นไม่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการในระหว่างผู้นั้นอยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ผู้อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการผู้ใดมีกรณีอันมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๗ การดำเนินการทางวินัย และถ้าผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องออกจากราชการตามวรรคสอง ก็ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการตามวรรคสองไปก่อน ความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสามให้ใช้บังคับกับข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งโอนมาตามมาตรา ๖๔ ในระหว่างที่ยังทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยโดยอนุโลม มาตรา ๖๐ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๑๑๑ และต่อมาปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๕๙ หรือตามมาตราอื่น ก็ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ หรือผู้มีอำนาจตามมาตราอื่นนั้น แล้วแต่กรณี มีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่ง เป็นให้ออกจากราชการตามมาตรา ๕๙ หรือตามมาตราอื่นนั้นได้ มาตรา ๖๑ การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งในสายงานที่ไม่มีกำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง จะกระทำมิได้ มาตรา ๖๒ ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งใดต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็น ก.พ. อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งก็ได้ ในกรณีที่ ก.พ. กำหนดให้ปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิใดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ให้หมายถึงปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิที่ ก.พ. รับรอง มาตรา ๖๓ การย้าย การโอน หรือการเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในหรือต่างกระทรวงหรือกรม แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญจากกระทรวงหรือกรมหนึ่ง ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในต่างประเทศสังกัดอีกกระทรวงหรือกรมหนึ่ง เป็นการชั่วคราวตามระยะเวลาที่กำหนด ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด การย้ายหรือการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ต่ำกว่าเดิมจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้น การบรรจุข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้ออกจากราชการไปเนื่องจากถูกสั่งให้ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ไปปฏิบัติงานใด ๆ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการหรือออกจากราชการไปที่มิใช่เป็นการออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการกลับเข้ารับราชการในกระทรวงหรือกรม ตลอดจนจะสั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการตามพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้ออกจากราชการไป เนื่องจากถูกสั่งให้ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ไปปฏิบัติงานใด ๆ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการ เมื่อได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการให้มีสิทธินับวันรับราชการก่อนถูกสั่งให้ออกจากราชการรวมกับวันรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือวันที่ได้ปฏิบัติงานใด ๆ ตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี และวันรับราชการเมื่อได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการเป็นเวลาราชการติดต่อกันเสมือนว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกสั่งให้ออกจากราชการ สำหรับผู้ซึ่งออกจากราชการไปที่มิใช่เป็นการออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการซึ่งได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการตามวรรคสี่ ให้มีสิทธินับเวลาราชการก่อนออกจากราชการเพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๖๔ การโอนพนักงานส่วนท้องถิ่น การโอนข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัตินี้และไม่ใช่ข้าราชการการเมือง และการโอนเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานอื่นของรัฐที่ ก.พ. กำหนด มาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตลอดจนจะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้ที่โอนมารับราชการตามวรรคหนึ่ง เป็นเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย มาตรา ๖๕ พนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งไม่ใช่ออกจากงานในระหว่างทดลองปฏิบัติงานหรือข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ และไม่ใช่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญ หรือข้าราชการซึ่งออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ผู้ใดออกจากงานหรือออกจากราชการไปแล้ว ถ้าสมัครเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและทางราชการต้องการจะรับผู้นั้นเข้ารับราชการให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ พิจารณาโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับ ทั้งนี้ จะบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้เข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งในขณะที่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย มาตรา ๖๖ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๖๒ แล้ว หากภายหลังปรากฏว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติไม่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ แต่งตั้งผู้นั้นให้กลับไปดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกันโดยพลัน แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับอยู่ก่อนได้รับคำสั่งให้กลับไปดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกัน การรับเงินเดือน สิทธิและประโยชน์ของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้กลับไปดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกันตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด ในกรณีที่ไม่สามารถแต่งตั้งให้กลับไปดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกันตามวรรคหนึ่งได้ ไม่ว่าด้วยเหตุใดให้ ก.พ. พิจารณาเป็นการเฉพาะราย มาตรา ๖๗ ผู้ได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดตามมาตรา ๕๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๖ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ และมาตรา ๖๕ หากภายหลังปรากฏว่าขาดคุณสมบัติทั่วไปหรือมีลักษณะต้องห้ามโดยไม่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๓๖ หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นโดยไม่ได้รับอนุมัติจาก ก.พ. ตามมาตรา ๖๒ อยู่ก่อนก็ดี มีกรณีต้องหาอยู่ก่อนและภายหลังเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเนื่องจากกรณีต้องหานั้นก็ดี ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการโดยพลัน แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการก่อนมีคำสั่งให้ออกนั้นและถ้าการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้วให้ถือว่าเป็นการสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา ๖๘ ในกรณีที่ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญว่างลง หรือผู้ดำรงตำแหน่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ และเป็นกรณีที่มิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนที่เห็นสมควรรักษาการในตำแหน่งนั้นได้ ผู้รักษาการในตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้มีอำนาจหน้าที่ตามตำแหน่งที่รักษาการนั้น ในกรณีที่มีกฎหมายอื่น กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ มติของคณะรัฐมนตรี มติคณะกรรมการตามกฎหมายหรือคำสั่งผู้บังคับบัญชา แต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ๆ เป็นกรรมการ หรือให้มีอำนาจหน้าที่อย่างใด ก็ให้ผู้รักษาการในตำแหน่งทำหน้าที่กรรมการ หรือมีอำนาจหน้าที่อย่างนั้นในระหว่างที่รักษาการในตำแหน่ง แล้วแต่กรณี มาตรา ๖๙ ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็น ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจสั่งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ประจำส่วนราชการเป็นการชั่วคราวโดยให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่เดิมได้ตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. การให้ได้รับเงินเดือน การแต่งตั้ง การเลื่อนเงินเดือน การดำเนินการทางวินัย และการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๗๐ ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็น ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญพ้นจากตำแหน่งหน้าที่และขาดจากอัตราเงินเดือนในตำแหน่งเดิมโดยให้รับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทนโดยมีระยะเวลาตามที่ ก.พ. กำหนดได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. การให้พ้นจากตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือน การแต่งตั้ง การเลื่อนเงินเดือน การดำเนินการทางวินัย และการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ในกรณีที่หมดความจำเป็นหรือครบกำหนดระยะเวลาการให้รับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทน ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ สั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นพ้นจากการรับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกัน มาตรา ๗๑ ในกรณีที่ศาลปกครองมีคำพิพากษาถึงที่สุดสั่งให้เพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้เป็นหน้าที่ของ ก.พ. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีในการสั่งการตามสมควรเพื่อเยียวยาและแก้ไขหรือดำเนินการตามที่เห็นสมควรได้ หมวด ๔ การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและ เสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ มาตรา ๗๒ ให้ส่วนราชการมีหน้าที่ดำเนินการให้มีการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญ เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนสามัญมีคุณภาพ คุณธรรม จริยธรรม คุณภาพชีวิต มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด ในกรณีที่เห็นสมควร และเพื่อการประหยัด สำนักงาน ก.พ. จะจัดให้มีการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจแทนส่วนราชการตามวรรคหนึ่งก็ได้ มาตรา ๗๓ ผู้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตนต่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาอย่างมีคุณธรรมและเที่ยงธรรมและเสริมสร้างแรงจูงใจให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาดำรงตนเป็นข้าราชการที่ดี มาตรา ๗๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประพฤติตนอยู่ในจรรยาและระเบียบวินัยและปฏิบัติราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ตามควรแก่กรณีตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. และจะให้บำเหน็จความชอบอย่างอื่นซึ่งอาจเป็นคำชมเชย เครื่องเชิดชูเกียรติ หรือรางวัลด้วยก็ได้ มาตรา ๗๕ การให้ข้าราชการพลเรือนสามัญไปศึกษาเพิ่มเติม ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศหรือต่างประเทศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๗๖ ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแต่งตั้ง และเลื่อนเงินเดือน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด ผลการประเมินตามวรรคหนึ่งให้นำไปใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาและเพิ่มพูนประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการด้วย มาตรา ๗๗ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญหรือให้ได้รับสิทธิประโยชน์อื่นตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด หมวด ๕ การรักษาจรรยาข้าราชการ มาตรา ๗๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาจรรยาข้าราชการตามที่ส่วนราชการกำหนดไว้โดยมุ่งประสงค์ให้เป็นข้าราชการที่ดี มีเกียรติและศักดิ์ศรีความเป็นข้าราชการ โดยเฉพาะในเรื่องดังต่อไปนี้ (๑) การยึดมั่นและยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง (๒) ความซื่อสัตย์สุจริตและความรับผิดชอบ (๓) การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ (๔) การปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม (๕) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน ให้ส่วนราชการกำหนดข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการเพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะของงานในส่วนราชการนั้นตามหลักวิชาและจรรยาวิชาชีพ ในการกำหนดข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการตามวรรคสอง ให้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของข้าราชการและประกาศให้ประชาชนทราบด้วย มาตรา ๗๙ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่ปฏิบัติตามจรรยาข้าราชการอันมิใช่เป็นความผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาตักเตือน นำไปประกอบการพิจารณาแต่งตั้งเลื่อนเงินเดือน หรือสั่งให้ข้าราชการผู้นั้นได้รับการพัฒนา หมวด ๖ วินัยและการรักษาวินัย มาตรา ๘๐ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาวินัยโดยกระทำการหรือไม่กระทำการตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัดอยู่เสมอ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ปฏิบัติราชการในต่างประเทศนอกจากต้องรักษาวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้แล้ว ต้องรักษาวินัยโดยกระทำการหรือไม่กระทำการตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ด้วย มาตรา ๘๑ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ มาตรา ๘๒ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องกระทำการอันเป็นข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้ (๑) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรม (๒) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบของทางราชการ มติของคณะรัฐมนตรี นโยบายของรัฐบาล และปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ (๓) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการด้วยความตั้งใจอุตสาหะ เอาใจใส่ และรักษาประโยชน์ของทางราชการ (๔) ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการ โดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ โดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเห็นว่าการปฏิบัติตามคำสั่งนั้นจะทำให้เสียหายแก่ราชการ หรือจะเป็นการไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการจะต้องเสนอความเห็นเป็นหนังสือทันทีเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนคำสั่งนั้น และเมื่อได้เสนอความเห็นแล้ว ถ้าผู้บังคับบัญชายืนยันให้ปฏิบัติตามคำสั่งเดิม ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม (๕) ต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้ (๖) ต้องรักษาความลับของทางราชการ (๗) ต้องสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคีและต้องช่วยเหลือกันในการปฏิบัติราชการระหว่างข้าราชการด้วยกันและผู้ร่วมปฏิบัติราชการ (๘) ต้องต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรม และให้การสงเคราะห์แก่ประชาชนผู้ติดต่อราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตน (๙) ต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ราชการและในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชน กับจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการว่าด้วยมารยาททางการเมืองของข้าราชการด้วย (๑๐) ต้องรักษาชื่อเสียงของตน และรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย (๑๑) กระทำการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๘๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่กระทำการใดอันเป็นข้อห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องแจ้งถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย (๒) ต้องไม่ปฏิบัติราชการอันเป็นการกระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้กระทำหรือได้รับอนุญาตเป็นพิเศษชั่วครั้งคราว (๓) ต้องไม่อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น (๔) ต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ (๕) ต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาผลประโยชน์อันอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรมหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน (๖) ต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท (๗) ต้องไม่กระทำการอย่างใดที่เป็นการกลั่นแกล้ง กดขี่ หรือข่มเหงกันในการปฏิบัติราชการ (๘) ต้องไม่กระทำการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. (๙) ต้องไม่ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงประชาชนผู้ติดต่อราชการ (๑๐) ไม่กระทำการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๘๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติตามมาตรา ๘๑ และมาตรา ๘๒ หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา ๘๓ ผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัย มาตรา ๘๕ การกระทำผิดวินัยในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง (๑) ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต (๒) ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๓) ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ (๔) กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง (๕) ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ ข่มเหง หรือทำร้ายประชาชนผู้ติดต่อราชการอย่างร้ายแรง (๖) กระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือให้รับโทษที่หนักกว่าโทษจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๗) ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๒ หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา ๘๓ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๘) ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๐ วรรคสองและมาตรา ๘๒ (๑๑) หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา ๘๓ (๑๐) ที่มีกฎ ก.พ. กำหนดให้เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๘๖ กฎ ก.พ. ตามมาตรา ๘๐ วรรคสอง มาตรา ๘๒ (๑๑) มาตรา ๘๓ (๘) และ (๑๐) และมาตรา ๘๕ (๘) ให้ใช้สำหรับการกระทำที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่กฎ ก.พ. ดังกล่าวใช้บังคับ มาตรา ๘๗ ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่เสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีวินัยและป้องกันมิให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๘๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัย จะต้องได้รับโทษทางวินัย เว้นแต่มีเหตุอันควรงดโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๗ การดำเนินการทางวินัย โทษทางวินัยมี ๕ สถาน ดังต่อไปนี้ (๑) ภาคทัณฑ์ (๒) ตัดเงินเดือน (๓) ลดเงินเดือน (๔) ปลดออก (๕) ไล่ออก มาตรา ๘๙ การลงโทษข้าราชการพลเรือนสามัญให้ทำเป็นคำสั่ง ผู้สั่งลงโทษต้องสั่งลงโทษให้เหมาะสมกับความผิดและต้องเป็นไปด้วยความยุติธรรมและโดยปราศจากอคติ โดยในคำสั่งลงโทษให้แสดงว่าผู้ถูกลงโทษกระทำผิดวินัยในกรณีใดและตามมาตราใด หมวด ๗ การดำเนินการทางวินัย มาตรา ๙๐ เมื่อมีการกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ทราบโดยเร็ว และให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้โดยเร็วด้วยความยุติธรรมและโดยปราศจากอคติ ผู้บังคับบัญชาหรือผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ผู้ใดละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง หรือปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สุจริตให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย อำนาจหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ตามหมวดนี้ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ จะมอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาระดับต่ำลงไปปฏิบัติแทนตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ. กำหนดก็ได้ มาตรา ๙๑ เมื่อได้รับรายงานตามมาตรา ๙๐ หรือความดังกล่าวปรากฏต่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ รีบดำเนินการหรือสั่งให้ดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณาในเบื้องต้นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยหรือไม่ ถ้าเห็นว่ากรณีไม่มีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยก็ให้ยุติเรื่องได้ ในกรณีที่เห็นว่ามีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยโดยมีพยานหลักฐานในเบื้องต้นอยู่แล้ว ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๙๒ หรือมาตรา ๙๓ แล้วแต่กรณี มาตรา ๙๒ ในกรณีที่ผลการสืบสวนหรือพิจารณาตามมาตรา ๙๑ ปรากฏว่ากรณีมีมูลถ้าความผิดนั้นมิใช่เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง และได้แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ พร้อมทั้งรับฟังคำชี้แจงของผู้ถูกกล่าวหาแล้วผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษตามควรแก่กรณีโดยไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวนก็ได้ ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งยุติเรื่อง มาตรา ๙๓ ในกรณีที่ผลการสืบสวนหรือพิจารณาตามมาตรา ๙๑ ปรากฏว่ากรณีมีมูลอันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ในการสอบสวนต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบพร้อมทั้งรับฟังคำชี้แจงของผู้ถูกกล่าวหา เมื่อคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการเสร็จ ให้รายงานผลการสอบสวนและความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ถ้าผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้สั่งยุติเรื่อง แต่ถ้าเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๙๖ หรือมาตรา ๙๗ แล้วแต่กรณี มาตรา ๙๔ การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนสำหรับกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งต่างกัน หรือต่างกรมหรือต่างกระทรวงกันถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกันให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญในกรมเดียวกัน ที่อธิบดีหรือปลัดกระทรวงถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ให้ปลัดกระทรวงหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวง แล้วแต่กรณี เป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน (๒) สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญต่างกรมในกระทรวงเดียวกันถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกัน ให้ปลัดกระทรวงเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เว้นแต่เป็นกรณีที่ปลัดกระทรวงถูกกล่าวหาร่วมด้วย ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน (๓) สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญต่างกระทรวงกันถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกันให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ร่วมกันแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เว้นแต่เป็นกรณีที่มีผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงร่วมด้วย ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน (๔) สำหรับกรณีอื่น ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๙๕ หลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ในกรณีที่เป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. จะดำเนินการทางวินัยโดยไม่ต้องสอบสวนก็ได้ มาตรา ๙๖ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ สั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด ในกรณีมีเหตุอันควรลดหย่อน จะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่สำหรับการลงโทษภาคทัณฑ์ให้ใช้เฉพาะกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย ในกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้ การลงโทษตามมาตรานี้ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ จะมีอำนาจสั่งลงโทษผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาในสถานโทษและอัตราโทษใดได้เพียงใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๙๗ ภายใต้บังคับวรรคสอง ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนหรือผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง หรือผู้มีอำนาจตามมาตรา ๙๔ เห็นว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. จังหวัด อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. กระทรวง ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาสังกัดอยู่ แล้วแต่กรณี พิจารณา เมื่อ อ.ก.พ. ดังกล่าวมีมติเป็นประการใด ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ สั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ไม่ใช้อำนาจตามมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๙๔ หรือมาตรานี้ ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๕๗ ระดับเหนือขึ้นไปมีอำนาจดำเนินการตามมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๙๔ หรือมาตรานี้ได้ ผู้ใดถูกลงโทษปลดออก ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ มาตรา ๙๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดให้ข้อมูลต่อผู้บังคับบัญชาหรือให้ถ้อยคำในฐานะพยานต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ อันเป็นประโยชน์และเป็นผลดียิ่งต่อทางราชการ ผู้บังคับบัญชาอาจพิจารณาให้บำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษได้ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดอยู่ในฐานะที่อาจจะถูกกล่าวหาว่าร่วมกระทำผิดวินัยกับข้าราชการอื่น ให้ข้อมูลต่อผู้บังคับบัญชา หรือให้ถ้อยคำต่อบุคคลหรือคณะบุคคลตามความในวรรคหนึ่งเกี่ยวกับการกระทำผิดวินัยที่ได้กระทำมา จนเป็นเหตุให้มีการสอบสวนพิจารณาทางวินัยแก่ผู้เป็นต้นเหตุแห่งการกระทำผิด ผู้บังคับบัญชาอาจใช้ดุลพินิจกันผู้นั้นไว้เป็นพยานหรือพิจารณาลดโทษทางวินัยตามควรแก่กรณีได้ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดให้ข้อมูลหรือให้ถ้อยคำในฐานะพยานตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองอันเป็นเท็จให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย หลักเกณฑ์และวิธีการการให้บำเหน็จความชอบ การกันเป็นพยาน การลดโทษ และการให้ความคุ้มครองพยาน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. กฎ ก.พ. ว่าด้วยการคุ้มครองพยานตามวรรคสี่ จะกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงาน ก.พ. หรือผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ จะดำเนินการย้าย โอน หรือดำเนินการอื่นใดโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมหรือเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชาของข้าราชการผู้นั้น และไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนหรือกระบวนการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ก็ได้ มาตรา ๙๙ ให้กรรมการสอบสวนตามมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาและให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพียงเท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของกรรมการสอบสวนและโดยเฉพาะให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วยคือ (๑) เรียกให้กระทรวง กรม ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ หรือห้างหุ้นส่วน บริษัท ชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน (๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน มาตรา ๑๐๐ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาเป็นหนังสือว่ากระทำหรือละเว้นกระทำการใดที่เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ถ้าเป็นการกล่าวหาต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นหรือต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ หรือเป็นการกล่าวหาโดยผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น หรือมีกรณีถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาอันมิใช่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทที่ไม่เกี่ยวกับราชการหรือความผิดลหุโทษ แม้ภายหลังผู้นั้นจะออกจากราชการไปแล้ว โดยมิใช่เพราะเหตุตาย ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยมีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณา และดำเนินการทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ แต่ทั้งนี้ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ต้องดำเนินการสอบสวนตามมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ผู้นั้นพ้นจากราชการ ในกรณีตามวรรคหนึ่งถ้าผลการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงก็ให้งดโทษ มาตรา ๑๐๑ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนหรือพิจารณา หรือผลแห่งคดีได้ ถ้าภายหลังปรากฏผลการสอบสวนหรือพิจารณาว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิดหรือกระทำผิดไม่ถึงกับจะถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก และไม่มีกรณีที่จะต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่น ก็ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติราชการหรือกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกันหรือในตำแหน่งประเภทและระดับที่ ก.พ. กำหนด ทั้งนี้ ผู้นั้นต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น เมื่อได้มีการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดพักราชการหรือออกจากราชการไว้ก่อนแล้วภายหลังปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในกรณีอื่นอีก ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณา และแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ๙๓ ตลอดจนดำเนินการทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ต่อไปได้ ในกรณีที่สั่งให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนกลับเข้ารับราชการ หรือสั่งให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนออกจากราชการด้วยเหตุอื่นที่มิใช่เป็นการลงโทษเพราะกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงก็ให้ผู้นั้นมีสถานภาพเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตลอดระยะเวลาระหว่างที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเสมือนว่าผู้นั้นเป็นผู้ถูกสั่งพักราชการ เงินเดือน เงินอื่นที่จ่ายเป็นรายเดือน และเงินช่วยเหลืออย่างอื่น และการจ่ายเงินดังกล่าวของผู้ถูกสั่งพักราชการ และผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น การสั่งพักราชการให้สั่งพักตลอดเวลาที่สอบสวนหรือพิจารณา เว้นแต่ผู้ถูกสั่งพักราชการผู้ใดได้ร้องทุกข์ตามมาตรา ๑๒๒ และผู้มีอำนาจพิจารณาคำร้องทุกข์เห็นว่าสมควรสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนการสอบสวนหรือพิจารณาเสร็จสิ้นเนื่องจากพฤติการณ์ของผู้ถูกสั่งพักราชการไม่เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนหรือพิจารณา และไม่ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยต่อไป หรือเนื่องจากการดำเนินการทางวินัยได้ล่วงพ้นหนึ่งปีนับแต่วันพักราชการแล้วยังไม่แล้วเสร็จและผู้ถูกสั่งพักราชการไม่มีพฤติกรรมดังกล่าว ให้ผู้มีอำนาจสั่งพักราชการสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนการสอบสวนหรือพิจารณาเสร็จสิ้น ให้นำความในวรรคหกมาใช้บังคับกับกรณีถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสั่งพักราชการ การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ระยะเวลาให้พักราชการและให้ออกจากราชการไว้ก่อน การให้กลับเข้าปฏิบัติราชการหรือกลับเข้ารับราชการและการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามผลการสอบสวนหรือพิจารณาให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๐๒ การลงโทษข้าราชการพลเรือนสามัญในส่วนราชการที่มีกฎหมายว่าด้วยวินัยข้าราชการโดยเฉพาะ ในกรณีเป็นความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงตามพระราชบัญญัตินี้จะลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้หรือลงทัณฑ์หรือลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยวินัยข้าราชการนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งตามควรแก่กรณีและพฤติการณ์ก็ได้ แต่ถ้าเป็นกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ว่าจะได้ลงทัณฑ์หรือลงโทษตามกฎหมายดังกล่าวแล้วหรือไม่ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๓ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้หรือลงทัณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยข้าราชการโดยเฉพาะ หรือสั่งยุติเรื่อง หรืองดโทษแล้ว ให้รายงาน อ.ก.พ. กระทรวงซึ่งผู้ถูกดำเนินการทางวินัยสังกัดอยู่เพื่อพิจารณา เว้นแต่เป็นกรณีดำเนินการทางวินัยกับข้าราชการต่างกระทรวงกัน หรือกรณีดำเนินการทางวินัยตามมติ อ.ก.พ. กระทรวง ตามมาตรา ๙๗ วรรคสอง ให้รายงาน ก.พ. ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ ก.พ. กำหนด ในกรณีที่ อ.ก.พ. กระทรวงหรือ ก.พ. เห็นว่าการดำเนินการทางวินัยเป็นการไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม หากมีมติเป็นประการใด ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ. กระทรวงหรือ ก.พ. มีมติ ในกรณีตามวรรคสองและในการดำเนินการตามมาตรา ๑๐๔ ให้ ก.พ. มีอำนาจสอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๙๕ มาตรา ๑๐๔ ในการดำเนินการของ อ.ก.พ. กระทรวงตามมาตรา ๙๗ วรรคสอง หรือมาตรา ๑๐๓ วรรคสอง หากผู้แทน ก.พ. ซึ่งเป็นกรรมการใน อ.ก.พ. กระทรวงดังกล่าวเห็นว่าการดำเนินการของผู้บังคับบัญชาหรือมติ อ.ก.พ. กระทรวง เป็นการไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้หรือปฏิบัติไม่เหมาะสม ให้รายงาน ก.พ. เพื่อพิจารณาดำเนินการตามควรแก่กรณีต่อไป และเมื่อ ก.พ. มีมติเป็นประการใด ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามที่ ก.พ. มีมติ ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้ถูกลงโทษได้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษของผู้บังคับบัญชาต่อ ก.พ.ค. ในกรณีเช่นนี้ให้ ก.พ. แจ้งมติต่อ ก.พ.ค. เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ มาตรา ๑๐๕ เมื่อมีกรณีเพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ ให้ผู้สั่งมีคำสั่งใหม่ และในคำสั่งดังกล่าวให้สั่งยกเลิกคำสั่งลงโทษเดิม พร้อมทั้งระบุวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับโทษที่ได้รับไปแล้ว ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๐๖ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งโอนมาตามมาตรา ๖๔ ผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยอยู่ก่อนวันโอนมาบรรจุ ให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นดำเนินการทางวินัยตามหมวดนี้โดยอนุโลม แต่ถ้าเป็นเรื่องที่อยู่ในระหว่างการสืบสวนหรือพิจารณา หรือสอบสวนของผู้บังคับบัญชาเดิมก่อนวันโอนก็ให้สืบสวนหรือพิจารณา หรือสอบสวนต่อไปจนเสร็จ แล้วส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นพิจารณาดำเนินการต่อไปตามหมวดนี้โดยอนุโลม แต่ทั้งนี้ ในการสั่งลงโทษทางวินัยให้พิจารณาตามความผิดและลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นหรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการที่โอนมานั้น แล้วแต่กรณี หมวด ๘ การออกจากราชการ มาตรา ๑๐๗ ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการเมื่อ (๑) ตาย (๒) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๓) ลาออกจากราชการและได้รับอนุญาตให้ลาออกหรือการลาออกมีผลตามมาตรา ๑๐๙ (๔) ถูกสั่งให้ออกตามมาตรา ๕๙ มาตรา ๖๗ มาตรา ๑๐๑ มาตรา ๑๑๐ หรือมาตรา ๑๑๑ หรือ (๕) ถูกสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก วันออกจากราชการตาม (๔) และ (๕) ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๑๐๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดเมื่ออายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในสิ้นปีงบประมาณและทางราชการมีความจำเป็นที่จะให้รับราชการต่อไปเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในทางวิชาการหรือหน้าที่ที่ต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัว ในตำแหน่งตามมาตรา ๔๖ (๓) (ง) หรือ (จ) หรือ (๔) (ค) หรือ (ง) จะให้รับราชการต่อไปอีกไม่เกินสิบปีก็ได้ตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๐๙ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งโดยยื่นล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกไม่น้อยกว่าสามสิบวันเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ เป็นผู้พิจารณาก่อนวันขอลาออก ในกรณีที่ผู้ประสงค์จะลาออกยื่นหนังสือขอลาออกล่วงหน้าน้อยกว่าสามสิบวัน และผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ เห็นว่ามีเหตุผลและความจำเป็นจะอนุญาตให้ลาออกตามวันที่ขอลาออกก็ได้ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ เห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการ จะยับยั้งการลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันขอลาออกก็ได้ ในกรณีเช่นนั้นถ้าผู้ขอลาออกมิได้ถอนใบลาออกก่อนครบกำหนดระยะเวลาการยับยั้งให้ถือว่าการลาออกนั้นมีผลเมื่อครบกำหนดเวลาตามที่ได้ยับยั้งไว้ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มิได้ยับยั้งตามวรรคสามให้การลาออกนั้นมีผลตั้งแต่วันขอลาออก ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการเพื่อดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ตำแหน่งทางการเมือง หรือตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนด หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาตามวรรคหนึ่ง และให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการลาออก การพิจารณาอนุญาตให้ลาออกและการยับยั้งการลาออกจากราชการ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๑๑๐ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอ (๒) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดสมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการ (๓) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๓๖ ก. (๑) หรือ (๓) หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๖ ข. (๑) (๓) (๖) หรือ (๗) (๔) เมื่อทางราชการเลิกหรือยุบหน่วยงานหรือตำแหน่งที่ข้าราชการพลเรือนสามัญปฏิบัติหน้าที่หรือดำรงอยู่ สำหรับผู้ที่ออกจากราชการในกรณีนี้ให้ได้รับเงินชดเชยตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนดด้วย (๕) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการ (๖) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ บกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ ถ้าให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ (๗) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกสอบสวนว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามมาตรา ๙๓ และผลการสอบสวนไม่ได้ความแน่ชัดพอที่จะฟังลงโทษตามมาตรา ๙๗ วรรคหนึ่ง แต่มีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวน ถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ (๘) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษหรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำสั่งของศาลซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก การสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๙๗ วรรคสอง มาใช้บังคับกับการสั่งให้ออกจากราชการตามกรณี (๓) เฉพาะมาตรา ๓๖ ก. (๓) กรณี (๖) และกรณี (๗) โดยอนุโลม เมื่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ สั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดออกจากราชการตามมาตรานี้แล้ว ให้รายงาน อ.ก.พ. กระทรวง หรือ ก.พ. แล้วแต่กรณี และให้นำมาตรา ๑๐๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๑๑ เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคหนึ่ง และต่อมาปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตราอื่นอยู่ก่อนไปรับราชการทหาร ก็ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ออกตามวรรคหนึ่งเป็นให้ออกจากราชการตามมาตราอื่นนั้นได้ มาตรา ๑๑๒ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ไม่ใช้อำนาจตามมาตรา ๑๑๐ โดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ระดับเหนือขึ้นไปมีอำนาจดำเนินการตามมาตรา ๑๑๐ ได้ มาตรา ๑๑๓ การออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่งนับแต่วันออกจากราชการ เว้นแต่ออกจากราชการเพราะความตายให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ หมวด ๙ การอุทธรณ์ มาตรา ๑๑๔ ผู้ใดถูกสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๑๑๐ (๑) (๓) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.พ.ค. ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคำสั่ง การอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.ค. มาตรา ๑๑๕ ในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ ก.พ.ค. จะพิจารณาวินิจฉัยเองหรือจะตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.ค. มาตรา ๑๑๖ เมื่อ ก.พ.ค. พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ดำเนินการให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยนั้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ ก.พ.ค. มีคำวินิจฉัย ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ก.พ.ค. ให้ฟ้องคดีต่อศาลปกครองสูงสุดภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ทราบหรือถือว่าทราบคำวินิจฉัยของ ก.พ.ค. ผู้บังคับบัญชาผู้ใดไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการจงใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น มาตรา ๑๑๗ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการ ก.พ.ค. และกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ (๑) สั่งให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งลงโทษหรือสั่งให้ออกจากราชการอันเป็นเหตุให้มีการอุทธรณ์ ส่งสำนวนการสอบสวนและการลงโทษให้ ก.พ.ค. ภายในเวลาที่กำหนด (๒) สั่งให้กระทรวง กรม ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐรวมตลอดทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องสอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมหรือส่งตัวข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ในสังกัดมาให้ถ้อยคำ ในการนี้จะกำหนดระยะเวลาในการสอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมไว้ด้วยก็ได้ (๓) มีคำสั่งให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของกระทรวง กรม ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือบุคคลใดที่เกี่ยวข้อง มาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (๔) เข้าไปในอาคาร หรือสถานที่ใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของ ก.พ.ค. ทั้งนี้ ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น (๕) สอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติม มาตรา ๑๑๘ การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๑๔ ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ เว้นแต่มีเหตุขัดข้องที่ทำให้การพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ก็ให้ขยายระยะเวลาได้อีกซึ่งไม่เกินสองครั้ง โดยแต่ละครั้งจะต้องไม่เกินหกสิบวัน และให้บันทึกเหตุขัดข้องให้ปรากฏไว้ด้วย มาตรา ๑๑๙ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งโอนมาตามมาตรา ๖๔ ผู้ใดถูกสั่งลงโทษทางวินัยอยู่ก่อนวันโอนมาบรรจุ และผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นหรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการที่โอนมาแต่ยังไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ตามกฎหมายดังกล่าว ก็ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๑๔ ได้ แต่ถ้าผู้นั้นได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นหรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการที่โอนมาไว้แล้วและในวันที่ผู้นั้นได้โอนมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ยังไม่แล้วเสร็จ ก็ให้ส่งเรื่องให้ ก.พ.ค. เป็นผู้พิจารณาอุทธรณ์ มาตรา ๑๒๐ ในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ ก.พ.ค. มีอำนาจไม่รับอุทธรณ์ ยกอุทธรณ์ หรือมีคำวินิจฉัยให้แก้ไขหรือยกเลิกคำสั่งลงโทษ และให้เยียวยาความเสียหายให้ผู้อุทธรณ์ หรือให้ดำเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ตามระเบียบที่ ก.พ.ค. กำหนด การวินิจฉัยให้แก้ไขหรือให้ดำเนินการอื่นตามวรรคหนึ่ง ก.พ.ค. จะให้เพิ่มโทษไม่ได้ เว้นแต่เป็นกรณีได้รับแจ้งจาก ก.พ. ตามมาตรา ๑๐๔ ว่าสมควรเพิ่มโทษ ในกรณีเช่นนั้น ก.พ.ค. มีอำนาจวินิจฉัยให้เพิ่มโทษได้ มาตรา ๑๒๑ เมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้ กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์อาจถูกคัดค้านได้ (๑) รู้เห็นเหตุการณ์ในการกระทำผิดวินัยที่ผู้อุทธรณ์ถูกลงโทษหรือการถูกสั่งให้ออกจากราชการ (๒) มีส่วนได้เสียในการกระทำผิดวินัยที่ผู้อุทธรณ์ถูกลงโทษหรือการถูกสั่งให้ออกจากราชการ (๓) มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้อุทธรณ์ (๔) เป็นผู้กล่าวหา หรือเป็นหรือเคยเป็นผู้บังคับบัญชาผู้สั่งลงโทษหรือสั่งให้ออกจากราชการ (๕) เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินการทางวินัยหรือการสั่งให้ออกจากราชการที่ผู้อุทธรณ์ถูกลงโทษหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการ (๖) มีความเกี่ยวพันทางเครือญาติหรือทางการสมรสกับบุคคลตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) อันอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้อุทธรณ์ กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ซึ่งมีกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้งต่อประธาน ก.พ.ค. และถอนตัวจากการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ การยื่นคำคัดค้าน และการพิจารณาคำคัดค้าน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.ค. หมวด ๑๐ การร้องทุกข์ มาตรา ๑๒๒ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชา และเป็นกรณีที่ไม่อาจอุทธรณ์ตามหมวด ๙ การอุทธรณ์ ได้ ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในหมวดนี้ มาตรา ๑๒๓ การร้องทุกข์ที่เหตุเกิดจากผู้บังคับบัญชา ให้ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไป ตามลำดับ การร้องทุกข์ที่เหตุเกิดจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงรัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรือนายกรัฐมนตรี ให้ร้องทุกข์ต่อ ก.พ.ค. เมื่อ ก.พ.ค. ได้พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ประการใดแล้ว ให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง รัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรือนายกรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ดำเนินการให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของ ก.พ.ค. การร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.ค. มาตรา ๑๒๔ ในการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ให้ ก.พ.ค. มีอำนาจไม่รับเรื่องร้องทุกข์ ยกคำร้องทุกข์ หรือมีคำวินิจฉัยให้แก้ไขหรือยกเลิกคำสั่ง และให้เยียวยาความเสียหายให้ผู้ร้องทุกข์ หรือให้ดำเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามระเบียบที่ ก.พ.ค. กำหนด ในการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ ก.พ.ค. จะพิจารณาวินิจฉัยเอง หรือจะตั้งกรรมการ ก.พ.ค. คนหนึ่ง หรือจะตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.ค. และในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และให้มีอำนาจตามมาตรา ๑๑๗ โดยอนุโลม มาตรา ๑๒๕ เมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้ กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์อาจถูกคัดค้านได้ (๑) เป็นผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุให้เกิดความคับข้องใจ หรือเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้บังคับบัญชาดังกล่าว (๒) มีส่วนได้เสียในเรื่องที่ร้องทุกข์ (๓) มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ร้องทุกข์ (๔) มีความเกี่ยวพันทางเครือญาติหรือทางการสมรสกับบุคคลตาม (๑) (๒) หรือ (๓) อันอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ร้องทุกข์ กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ซึ่งมีกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้งต่อประธาน ก.พ.ค. และถอนตัวจากการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ การยื่นคำคัดค้าน และการพิจารณาคำคัดค้าน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.ค. หมวด ๑๑ การคุ้มครองระบบคุณธรรม มาตรา ๑๒๖ ในกรณีที่ ก.พ.ค. เห็นว่ากฎ ระเบียบ หรือคำสั่งใดที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้และมุ่งหมายให้ใช้บังคับเป็นการทั่วไป ไม่สอดคล้องกับระบบคุณธรรมตามมาตรา ๔๒ ให้ ก.พ.ค. แจ้งให้หน่วยงานหรือผู้ออกกฎ ระเบียบ หรือคำสั่งดังกล่าวทราบ เพื่อดำเนินการแก้ไข หรือยกเลิกตามควรแก่กรณี ลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ มาตรา ๑๒๗ การแต่งตั้งและการให้ข้าราชการพลเรือนในพระองค์พ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคลจะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการเกี่ยวกับการกำหนดตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง การบรรจุ การแต่งตั้ง การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ การรักษาจรรยา การรักษาวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์ การร้องทุกข์ และการอื่นตามที่จำเป็นของข้าราชการพลเรือนในพระองค์ก็ได้ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่กระทบต่อพระราชอำนาจตามวรรคหนึ่ง พระราชกฤษฎีกาตามวรรคสองจะกำหนดให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ทั้งหมดหรือบางส่วน มาใช้บังคับหรือจะกำหนดให้แตกต่างจากที่บัญญัติในพระราชบัญญัตินี้ก็ได้ บทเฉพาะกาล มาตรา ๑๒๘ ให้ ก.พ. อ.ก.พ. วิสามัญ และ อ.ก.พ. สามัญ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ก.พ. หรือจนกว่าจะได้แต่งตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญ หรืออนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญ แล้วแต่กรณี ตามพระราชบัญญัตินี้ การดำเนินการแต่งตั้ง ก.พ. ให้กระทำให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๒๙ ในระหว่างที่ยังมิได้ดำเนินการให้มี ก.พ.ค. ให้ ก.พ. ทำหน้าที่ ก.พ.ค. ตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อนจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ก.พ.ค. ตามพระราชบัญญัตินี้ การดำเนินการแต่งตั้ง ก.พ.ค. ให้กระทำให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๓๐ ผู้ใดเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ หรือข้าราชการพลเรือนในพระองค์ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ หรือข้าราชการพลเรือนในพระองค์ตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี ต่อไป มาตรา ๑๓๑ ในระหว่างที่ ก.พ. ยังมิได้จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามมาตรา ๔๘ บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ยังไม่ใช้บังคับ โดยให้นำบทบัญญัติในลักษณะ ๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตลอดจนบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนและบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือนท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๓๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญและข้าราชการพลเรือนในพระองค์ไปพลางก่อนจนกว่า ก.พ. จะจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งเสร็จ และจัดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญของทุกส่วนราชการเข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และประกาศให้ทราบ จึงให้นำบทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ก.พ. ประกาศเป็นต้นไป และให้ผู้บังคับบัญชาสั่งแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ ก.พ. ประกาศ ในการจัดตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญตามวรรคหนึ่ง หากมีเหตุผลและความจำเป็น ก.พ. อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญผู้มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะตัวได้ ให้ ก.พ. ดำเนินการประกาศตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๓๒ ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกา หรือออกกฎ ก.พ. ข้อบังคับ หรือระเบียบหรือกำหนดกรณีใด เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำพระราชกฤษฎีกา กฎ ก.พ. ข้อบังคับ หรือระเบียบหรือกรณีที่กำหนดไว้แล้วซึ่งใช้อยู่เดิมมาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ไม่อาจนำพระราชกฤษฎีกา กฎ ก.พ. ข้อบังคับ หรือระเบียบหรือกรณีที่กำหนดไว้แล้วมาใช้บังคับได้ตามวรรคหนึ่ง การจะดำเนินการประการใดให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๑๓๓ ข้าราชการพลเรือนผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยหรือกรณีที่สมควรให้ออกจากราชการอยู่ก่อนวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้บังคับบัญชาตามพระราชบัญญัตินี้มีอำนาจสั่งลงโทษผู้นั้นหรือสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ส่วนการสอบสวน การพิจารณา และการดำเนินการเพื่อลงโทษหรือให้ออกจากราชการ ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ (๑) กรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งให้สอบสวนโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นไปแล้วก่อนวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และยังสอบสวนไม่เสร็จก็ให้สอบสวนตามกฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ (๒) ในกรณีที่ได้มีการสอบสวนหรือพิจารณาโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นเสร็จไปแล้วก่อนวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้การสอบสวนหรือพิจารณา แล้วแต่กรณีนั้นเป็นอันใช้ได้ (๓) กรณีที่ได้มีการรายงานหรือส่งเรื่อง หรือนำสำนวนเสนอ หรือส่งให้ อ.ก.พ. สามัญใดพิจารณาโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น และ อ.ก.พ. สามัญพิจารณาเรื่องนั้นยังไม่เสร็จ ก็ให้ อ.ก.พ. สามัญ พิจารณาตามกฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ มาตรา ๑๓๔ ข้าราชการพลเรือนซึ่งโอนมาจากพนักงานส่วนท้องถิ่นหรือข้าราชการประเภทอื่นก่อนวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยหรือกรณีที่สมควรให้ออกจากงานหรือให้ออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นหรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการนั้นอยู่ก่อนวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้บังคับบัญชาตามพระราชบัญญัตินี้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยแก่ผู้นั้น หรือดำเนินการสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้ ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๑๐๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๓๕ ผู้ใดถูกสั่งลงโทษหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ถ้ายังมิได้ยื่นอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวและยังไม่พ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ในวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้มีสิทธิอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ตามพระราชบัญญัตินี้ได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๓๖ เรื่องอุทธรณ์และเรื่องร้องทุกข์ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและอยู่ในอำนาจการพิจารณาของ อ.ก.พ. สามัญ หรือ ก.พ. ให้ อ.ก.พ. สามัญ หรือ ก.พ. แล้วแต่กรณี พิจารณาต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ เรื่องอุทธรณ์และเรื่องร้องทุกข์ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ได้ยื่นต่อ อ.ก.พ. สามัญ หรือ ก.พ. ในวันหรือหลังวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและเป็นกรณีที่มีการลงโทษหรือสั่งการไว้ก่อนวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ ก.พ.ค. เป็นผู้พิจารณาดำเนินการต่อไป มาตรา ๑๓๗ การใดที่อยู่ระหว่างดำเนินการหรือเคยดำเนินการได้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ และมิได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือมีกรณีที่ไม่อาจดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ การดำเนินการต่อไปในเรื่องนั้นจะสมควรดำเนินการประการใดให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๑๓๘ การปรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญเข้าตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้รับเงินเดือนยังไม่ถึงขั้นต่ำของระดับตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ให้ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำชั่วคราวตามบัญชีท้ายตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ได้รับการปรับเงินเดือนจนได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำของระดับตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๑๓๙ ในกรณีที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทต่าง ๆ กำหนดให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการพลเรือนสามัญมาใช้บังคับหรือใช้บังคับโดยอนุโลม ให้ยังคงนำพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาใช้บังคับหรือใช้บังคับโดยอนุโลมต่อไป การให้นำพระราชบัญญัตินี้ไปใช้บังคับกับข้าราชการประเภทดังกล่าวทั้งหมดหรือบางส่วน ให้กระทำได้โดยมติขององค์กรกลางบริหารงานบุคคลหรือองค์กรที่ทำหน้าที่องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการประเภทนั้น ๆ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ[๓] ตำแหน่งประเภทบริหาร บาท บาท ขั้นสูง ๗๔,๓๒๐ ๗๖,๘๐๐ ขั้นต่ำ ๕๑,๑๔๐ ๕๖,๓๘๐ ขั้นต่ำชั่วคราว ๒๔,๔๐๐ ๒๙,๙๘๐ ระดับ ต้น สูง บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ บาท บาท ขั้นสูง ๕๙,๕๐๐ ๗๐,๓๖๐ ขั้นต่ำ ๒๖,๖๖๐ ๓๒,๘๕๐ ขั้นต่ำชั่วคราว ๑๙,๘๖๐ ๒๔,๔๐๐ ระดับ ต้น สูง บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภทวิชาการ บาท บาท บาท บาท บาท ขั้นสูง ๒๖,๙๐๐ ๔๓,๖๐๐ ๕๘,๓๙๐ ๖๙,๐๔๐ ๗๖,๘๐๐ ขั้นต่ำ ๘,๓๔๐ ๑๕,๐๕๐ ๒๒,๑๔๐ ๓๑,๔๐๐ ๔๓,๘๑๐ ขั้นต่ำชั่วคราว ๗,๑๔๐ ๑๓,๑๖๐ ๑๙,๘๖๐ ๒๔,๔๐๐ ๒๙,๙๘๐ ระดับ ปฏิบัติการ ชำนาญการ ชำนาญการ พิเศษ เชี่ยวชาญ ทรงคุณวุฒิ บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภททั่วไป บาท บาท บาท บาท ขั้นสูง ๒๑,๐๑๐ ๓๘,๗๕๐ ๕๔,๘๒๐ ๖๙,๐๔๐ ขั้นต่ำ ๔,๘๗๐ ๑๐,๑๙๐ ๑๕,๔๑๐ ๔๘,๒๒๐ ระดับ ปฏิบัติงาน ชำนาญงาน อาวุโส ทักษะพิเศษ ตารางบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ ๑. ประเภทบริหาร ระดับ อัตรา (บาท/เดือน) ระดับสูง ระดับต้น ๒๑,๐๐๐ ๑๔,๕๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๒. ประเภทอำนวยการ ระดับ อัตรา (บาท/เดือน) ระดับสูง ระดับต้น ๑๐,๐๐๐ ๕,๖๐๐ ๓. ประเภทวิชาการ ระดับ อัตรา (บาท/เดือน) ทรงคุณวุฒิ เชี่ยวชาญ ชำนาญการพิเศษ ชำนาญการ ๑๕,๖๐๐ ๑๓,๐๐๐ ๙,๙๐๐ ๕,๖๐๐ ๓,๕๐๐ ๔. ประเภททั่วไป ระดับ อัตรา (บาท/เดือน) ทักษะพิเศษ ๙,๙๐๐ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ บัญญัติให้ดำเนินการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน เพื่อกำหนดภารกิจของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนให้เหมาะสม ประกอบกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้ใช้บังคับมานาน บทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับพัฒนาการด้านการบริหารราชการที่เปลี่ยนไป ดังนั้น เพื่อกำหนดภารกิจของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนให้เหมาะสม และเพื่อให้การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐสอดคล้องกับทิศทางการบริหารราชการ สมควรปรับปรุงกฎหมายดังกล่าว โดยปรับบทบาทของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน จากเดิมที่เป็นทั้งผู้จัดการงานบุคคลของฝ่ายบริหาร ผู้พิทักษ์ระบบคุณธรรม และผู้จัดโครงสร้างส่วนราชการ ให้เป็นเพียงผู้จัดการงานบุคคลของฝ่ายบริหาร โดยมิให้ซ้ำซ้อนกับบทบาทของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ส่วนบทบาทในการพิทักษ์ระบบคุณธรรมให้เป็นของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ปรับบทบาทของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนจากเดิมที่เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ให้เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม และมิให้ซ้ำซ้อนกับบทบาทของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ปรับปรุงระบบตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญให้จำแนกตามกลุ่มลักษณะงาน ตลอดจนกระจายอำนาจการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดดำเนินการมากขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชกฤษฎีกาการปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. ๒๕๕๔[๔] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญให้เหมาะสมยิ่งขึ้นตามความจำเป็นก็ได้ โดยหากเป็นการปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงเพิ่มไม่เกินร้อยละสิบของเงินเดือนที่ใช้บังคับอยู่ ให้กระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ประกอบกับบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญในปัจจุบันไม่เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น สมควรปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยปรับเพิ่มบางอัตราและปรับเพิ่มเป็นร้อยละที่แตกต่างกันร้อยละห้าถึงร้อยละสิบ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘[๕] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป มาตรา ๕ ในวาระเริ่มแรก ให้ปรับเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้รับอยู่เดิมเข้าสู่อัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการและระดับชำนาญการและผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงานและระดับชำนาญงานได้รับเงินเดือนในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่ได้รับอยู่เดิมตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้อีกร้อยละสี่ของเงินเดือนที่ได้รับอยู่ ในกรณีที่การปรับเงินเดือนดังกล่าวทำให้มีเศษไม่ถึงสิบบาทให้ปรับตัวเลขเงินเดือนดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นสิบบาท มาตรา ๖ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญให้เหมาะสม เป็นธรรม และได้มาตรฐาน โดยคำนึงถึงค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไปค่าตอบแทนในภาคเอกชน ฐานะการคลังของประเทศ ความแตกต่างระหว่างรายได้ของข้าราชการระดับต่าง ๆ ในประเภทเดียวกันและต่างประเภทกัน และปัจจัยอื่นที่จำเป็น สมควรปรับบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และกำหนดมาตรการเยียวยาให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งที่เหมาะสมและเป็นธรรมตามควรแห่งกรณี ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ฐิติมา/ตรวจ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๒ ระพี/ปรับปรุง ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ วิชพงษ์/ตรวจ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ โชติกานต์/เพิ่มเติม ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๗ วริญา/เพิ่มเติม ปัญญา/ตรวจ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๒๒ ก/หน้า ๑/๒๕ มกราคม ๒๕๕๑ [๒] มาตรา ๕๐/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘ [๓] บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๒๒ ก/หน้า ๙/๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ [๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๔๓ ก/หน้า ๑/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
304178
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นปีที่ ๔๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ (๒) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๙ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๐ (๓) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ (๔) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๑ (๕) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๒๓ (๗) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๑ (๘) ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๓๕ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ บรรดากฎหมาย กฎ ข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน และมิให้นำคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่ ๓๘/๒๕๑๙ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๙ มาใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือน มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “ข้าราชการพลเรือน” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในกระทรวงบวง กรมฝ่ายพลเรือน “ข้าราชการฝ่ายพลเรือน” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามกฎหมายให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือน ในกระทรวง ทบวงกรมฝ่ายพลเรือน “กระทรวง” หมายความรวมถึงส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวงหรือมีฐานะเทียบเท่ากระทรวงด้วย “รัฐมนตรีเจ้าสังกัด” หมายความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงรัฐมนตรีว่าการทบวงและหมายความรวมถึงนายกรัฐมนตรีในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาสำนักนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงด้วย “ปลัดกระทรวง” หมายความรวมถึงปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและปลัดทบวงด้วย “รองปลัดกระทรวง” หมายความรวมถึงรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและรองปลัดทบวงด้วย “กรม” หมายความรวมถึงส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมด้วย “อธิบดี” หมายความรวมถึงหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมด้วย “รองอธิบดี” หมายความรวมถึงรองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมด้วย “ผู้ช่วยอธิบดี” หมายความรวมถึงผู้ช่วยหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมด้วย “ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี” หมายความว่า ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ซึ่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินบัญญัติให้หัวหน้าส่วนราชการนั้นรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี มาตรา ๕ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ลักษณะ ๑ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน มาตรา ๖ ให้มีคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.” ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและเลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านระบบราชการและการจัดส่วนราชการ ด้านการพัฒนาองค์การ ด้านการบริหารและการจัดการและด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับการสรรหาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ.จำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน แต่ไม่เกินเจ็ดคน ทั้งนี้ ต้องเป็นผู้ที่ดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า แต่ถ้าจะแต่งตั้งผู้ที่ไม่เคยเป็นข้าราชการหรือเคยเป็นข้าราชการแต่ดำรงตำแหน่งต่ำกว่าอธิบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่าจะดำเนินการเพื่อแต่งตั้งได้ไม่เกินสามคน (๒) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวง หัวหน้าหรือรองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวง หัวหน้าหรือรองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี อธิบดี หรือผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวในกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนห้าคน ซึ่งแต่ละคนสังกัดอยู่ต่างกระทรวง ทบวง หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวง กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง ต้องไม่เป็นข้าราชการการเมืองสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรรมการพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง และมิได้เป็นกรรมการโดยตำแหน่งอยู่แล้ว กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งตาม (๒) ผู้ใดออกจากราชการพลเรือน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นที่มิใช่ตำแหน่งตาม(๒) หรือโอนไปสังกัดกระทรวง ทบวง หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม และไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงอื่นที่มีกรรมการตาม (๒) สังกัดอยู่แล้ว ให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งกรรมการ มาตรา ๗ กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งได้คราวละสองปี ถ้าตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนดและยังมีกรรมการดังกล่าวเหลืออยู่อีกไม่น้อยกว่าห้าคน ให้กรรมการที่เหลือปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ เมื่อตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนดให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการแทนภายในกำหนดสามสิบวัน เว้นแต่วาระของกรรมการเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่แต่งตั้งกรรมการแทนก็ได้ ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการแทนนั้น ให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่ง จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการอีกก็ได้ ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่ ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ไปก่อนจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่ มาตรา ๘ ก.พ. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือน และการจัดระบบราชการพลเรือน (๒) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับมาตรฐานการบริหารงานบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือน (๓) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการปรับปรุงกระทรวงทบวง กรมฝ่ายพลเรือน การจัดและการพัฒนาส่วนราชการและวิธีปฏิบัติราชการของข้าราชการฝ่ายพลเรือน (๔) พิจารณากำหนดนโยบายเกี่ยวกับการวางแผนกำลังคนในราชการพลเรือน (๕) ออกกฎ ก.พ. ข้อบังคับ หรือระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้กฎ ก.พ. เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ (๖) ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้มติของ ก.พ. ตามข้อนี้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วให้ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย (๗) กำกับ ดูแล ตรวจสอบ แนะนำและชี้แจงเพื่อให้กระทรวงทบวง กรม ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ในการนี้ ให้มีอำนาจเรียกเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ ห้างหุ้นส่วนบริษัท หรือบุคคลใด ๆ หรือให้ผู้แทนหน่วยราชการรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ ห้างหุ้นส่วนบริษัท ข้าราชการหรือบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำหรือชี้แจงข้อเท็จจริง และให้มีอำนาจออกระเบียบให้กระทรวง ทบวง กรมรายงานเกี่ยวกับการสอบการบรรจุ การแต่งตั้งการเลื่อนขั้นเงินเดือน การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการตลอดจนการรายงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่งและของส่วนราชการ การเปลี่ยนแปลงการใช้ตำแหน่งทะเบียนประวัติของข้าราชการพลเรือน และการปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ไปยัง ก.พ. (๘) รายงานนายกรัฐมนตรีในกรณีที่ปรากฏว่ากระทรวง ทบวงกรม ไม่ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ หรือปฏิบัติการโดยไม่เหมาะสมเพื่อนายกรัฐมนตรีจะได้พิจารณาและสั่งการต่อไป (๙) รายงานคณะรัฐมนตรีในกรณีที่ค่าครองชีพเปลี่ยนแปลงไปมากหรือการจัดสวัสดิการหรือประโยชน์เกื้อกูลสำหรับข้าราชการยังไม่เหมาะสมเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาในอันที่จะปรับปรุงเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งเงินเพิ่มค่าครองชีพ สวัสดิการ หรือประโยชน์เกื้อกูลสำหรับข้าราชการพลเรือนให้เหมาะสม (๑๐) กำหนดนโยบายและออกระเบียบเกี่ยวกับทุนของรัฐบาลเพื่อสนองความต้องการกำลังคนของกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือน และทุนเล่าเรียนหลวง ตลอดจนการจัดสรรผู้รับทุนของรัฐบาลที่สำเร็จการศึกษาแล้วเข้ารับราชการในส่วนราชการต่าง ๆ (๑๑) ออกข้อบังคับหรือระเบียบเพื่อควบคุมดูแลข้าราชการฝ่ายพลเรือนที่ศึกษาหรือฝึกอบรมในต่างประเทศ และเพื่อดูแลจัดการการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศรวมทั้งเพื่อควบคุมการศึกษา ความประพฤติ และการใช้จ่าย ตลอดจนการเก็บเงินชดเชยค่าใช้จ่ายในการดูแลจัดการการศึกษา การกำหนดวินัย และการลงโทษสำหรับนักเรียนดังกล่าว ทั้งนี้ ให้ถือว่าเงินชดเชยค่าใช้จ่ายในการดูแลจัดการการศึกษาเป็นเงินรายรับของส่วนราชการที่เป็นสถานอำนวยบริการอันเป็นสาธารณประโยชน์ตามความหมายในกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ (๑๒) พิจารณารับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นเพื่อประโยชน์ในการบรรจุและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน และกำหนดเงินเดือนที่ควรได้รับและระดับตำแหน่งที่ควรแต่งตั้ง (๑๓) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ (๑๔) พิจารณาการแก้ไขทะเบียนประวัติเกี่ยวกับวันเดือนปีเกิดและการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการพลเรือน (๑๕) ปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้ในมาตราอื่นแห่งพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น มาตรา ๙ เมื่อนายกรัฐมนตรีได้รับรายงานของ ก.พ. ตามมาตรา ๘ (๘) ให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาสั่งให้กระทรวง ทบวง กรม ปฏิบัติการให้ถูกต้องหรือเหมาะสมต่อไป และให้กระทรวง ทบวง กรม ปฏิบัติให้เป็นไปตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่เห็นด้วยกับมติของ ก.พ. ที่รายงานตามมาตรา ๘ (๘)ให้ส่งความเห็นของนายกรัฐมนตรีให้ ก.พ. พิจารณาและถ้า ก.พ. พิจารณาแล้วยังยืนยันตามมติเดิม ให้ ก.พ. รายงานต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาวินิจฉัยและเมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติประการใด ให้ ก.พ. และกระทรวง ทบวง กรม ปฏิบัติให้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรี มาตรา ๑๐ การประชุม ก.พ. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ในการประชุม ก.พ. ถ้าประธานไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธาน ในการประชุม ก.พ. ถ้ามีการพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับตัวกรรมการผู้ใดโดยเฉพาะผู้นั้นไม่มีสิทธิเข้าประชุม ภายใต้บังคับมาตรา ๓๐ การวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือเสียงข้างมาก ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๑๑ ก.พ. มีอำนาจตั้งคณะอนุกรรมการวิสามัญ เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ. วิสามัญ” เพื่อทำการใด ๆ แทนได้ การตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญเพื่อทำหน้าที่พิจารณาเรื่องการดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์หรือการร้องทุกข์ ให้ตั้งจากกรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯแต่งตั้งอย่างน้อยสองคนและข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนอนุกรรมการทั้งหมด อนุกรรมการซึ่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือน ถ้าออกจากราชการพลเรือน ให้พ้นจากตำแหน่ง ในกรณีที่กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง พ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้ อ.ก.พ. วิสามัญที่ได้รับแต่งตั้งจาก ก.พ. คณะนั้นพ้นจากตำแหน่งไปด้วย ในระหว่างที่ยังมิได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่ ให้ อ.ก.พ. วิสามัญปฏิบัติหน้าที่ไปก่อนจนกว่าจะได้มีการแต่งตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญใหม่ มาตรา ๑๒ ให้มีสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนเรียกโดยย่อว่า “สำนักงาน ก.พ.” โดยมีเลขาธิการ ก.พ. เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและบริหารราชการของสำนักงาน ก.พ. ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี สำนักงาน ก.พ. มีหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานในหน้าที่ของ ก.พ. และดำเนินการตามที่ ก.พ. มอบหมาย (๒) วิเคราะห์วิจัยเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและการจัดระบบราชการพลเรือน (๓) ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับมาตรฐานการบริหารงานบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือน (๔) ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือนการจัดและการพัฒนาส่วนราชการ และวิธีปฏิบัติราชการของข้าราชการฝ่ายพลเรือน (๕) พัฒนาระบบข้อมูลและจัดทำแผนกำลังคนในราชการพลเรือน (๖) ส่งเสริม ประสานงาน เผยแพร่ ให้คำปรึกษาแนะนำ และดำเนินการเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสำหรับข้าราชการพลเรือน (๗) ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาข้าราชการพลเรือน (๘) ดำเนินการเกี่ยวกับทุนของรัฐบาลเพื่อสนองความต้องการกำลังคนของกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือน และทุนเล่าเรียนหลวง ตลอดจนการจัดสรรผู้รับทุนของรัฐบาลที่สำเร็จการศึกษาแล้วเข้ารับราชการในส่วนราชการต่าง ๆ ตามนโยบายและระเบียบที่ ก.พ. กำหนด (๙) ดำเนินการเกี่ยวกับการดูแลข้าราชการฝ่ายพลเรือนที่ศึกษาหรือฝึกอบรมในต่างประเทศ และการดูแลจัดการการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศ (๑๐) ดำเนินการเกี่ยวกับการรับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน และการกำหนดเงินเดือนที่ควรได้รับและระดับตำแหน่งที่ควรแต่งตั้ง (๑๑) ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาทะเบียนประวัติและการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการพลเรือน (๑๒) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในราชการพลเรือนเสนอต่อ ก.พ. มาตรา ๑๓ ให้มีคณะอนุกรรมการสามัญเรียกโดยย่อว่า อ.ก.พ. สามัญดังนี้ (๑) คณะอนุกรรมการสามัญประจำกระทรวง ทบวง หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง เรียกโดยย่อว่า อ.ก.พ. กระทรวง ทบวง หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวงโดยออกนามกระทรวง ทบวง หรือส่วนราชการนั้น ๆ (๒) คณะอนุกรรมการสามัญประจำกรม หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมเรียกโดยย่อว่า อ.ก.พ. กรม หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม โดยออกนามกรมหรือส่วนราชการนั้นๆ (๓) คณะอนุกรรมการสามัญประจำจังหวัด เรียกโดยย่อว่า อ.ก.พ. จังหวัด โดยออกนามจังหวัดนั้น ๆ มาตรา ๑๔ อ.ก.พ. กระทรวง ประกอบด้วยรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นประธานปลัดกระทรวงเป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. ซึ่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนในสำนักงาน ก.พ.หนึ่งคน เป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่ง และอนุกรรมการซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับการสรรหาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนสามคน ทั้งนี้ จะต้องเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการซึ่งดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า (๒) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง อธิบดีหรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไปในกระทรวงนั้น ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนห้าคน ในกรณีที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทอื่นบัญญัติให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนไปใช้บังคับแก่ข้าราชการประเภทใด คำว่า “ข้าราชการพลเรือน” ให้หมายถึงข้าราชการประเภทนั้น ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน อนุกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งและได้รับเลือกตาม (๒) ถ้าออกจากราชการพลเรือน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นที่มิใช่ตำแหน่งตาม (๒) หรือโอนไปรับราชการนอกกระทรวงเดิม ให้พ้นจากตำแหน่งอนุกรรมการ มาตรา ๑๕ อ.ก.พ. กระทรวง มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณากำหนดนโยบายและระบบการบริหารงานบุคคลตลอดจนระเบียบวิธีปฏิบัติราชการในกระทรวง (๒) พิจารณาการกำหนดและการเกลี่ยอัตรากำลังระหว่างส่วนราชการต่าง ๆภายในกระทรวง (๓) พิจารณาปรับปรุงโครงสร้าง การบริหารงาน การจัดและการพัฒนาส่วนราชการในกระทรวง (๔) พิจารณากำหนดนโยบาย กำกับดูแล และส่งเสริมเกี่ยวกับการพัฒนาข้าราชการภายในกระทรวง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดี คุณธรรมและจริยธรรม อันจะทำให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ (๕) พิจารณาเกี่ยวกับเรื่องการดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (๖) พิจารณาให้ความเห็นแก่รัฐมนตรีเจ้าสังกัดตามที่รัฐมนตรีเจ้าสังกัดปรึกษา (๗) ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ และช่วย ก.พ. ปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่ ก.พ. มอบหมาย (๘) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของ อ.ก.พ. กระทรวงเสนอต่อ ก.พ. มาตรา ๑๖ อ.ก.พ. สำนักนายกรัฐมนตรีประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. ซึ่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนในสำนักงาน ก.พ. หนึ่งคนเป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่ง และอนุกรรมการซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับการสรรหาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนสามคน ทั้งนี้ จะต้องเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการซึ่งดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า (๒) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี อธิบดี หรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไปในสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนห้าคน ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน และให้ อ.ก.พ. นี้ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง อนุกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งและได้รับเลือกตาม (๒) ถ้าออกจากราชการพลเรือน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นที่มิใช่ตำแหน่งตาม (๒) หรือโอนไปรับราชการนอกสำนักนายกรัฐมนตรี ให้พ้นจากตำแหน่งอนุกรรมการ มาตรา ๑๗ อ.ก.พ. ทบวง ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการทบวงเป็นประธาน ปลัดทบวงเป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. ซึ่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนในสำนักงาน ก.พ. หนึ่งคน เป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่ง และอนุกรรมการซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับการสรรหาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนสามคน ทั้งนี้ จะต้องเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการซึ่งดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า (๒) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งรองปลัดทบวง อธิบดีหรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไปในทบวงนั้น ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนห้าคน ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน และให้ อ.ก.พ. นี้ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง อนุกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งและได้รับเลือกตาม (๒) ถ้าออกจากราชการ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นที่มิใช่ตำแหน่งตาม (๒) หรือโอนไปรับราชการนอกทบวงเดิม ให้พ้นจากตำแหน่งอนุกรรมการ มาตรา ๑๘ ให้ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวง แต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี มี อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวงประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีในฐานะรัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือรองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน หัวหน้าส่วนราชการนั้นเป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. ซึ่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนในสำนักงาน ก.พ. หนึ่งคน เป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่ง และอนุกรรมการซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับการสรรหาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนสามคน ทั้งนี้ จะต้องเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการซึ่งดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ ๙ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า (๒) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไปในส่วนราชการนั้น ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือน ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนห้าคน ในกรณีที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทอื่นบัญญัติให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนไปใช้บังคับแก่ข้าราชการประเภทใด คำว่า “ข้าราชการพลเรือน” ให้หมายถึงข้าราชการประเภทนั้น ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน อนุกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งและได้รับเลือกตาม (๒) ถ้าออกจากราชการพลเรือน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นที่มิใช่ตำแหน่งตาม (๒) หรือโอนไปรับราชการนอกส่วนราชการเดิม ให้พ้นจากตำแหน่งอนุกรรมการ มาตรา ๑๙[๒] ให้ราชบัณฑิตยสถานมี อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีในฐานะรัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน เลขาธิการราชบัณฑิตยสถานเป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. ซึ่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนในสำนักงาน ก.พ. หนึ่งคน เป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่งและอนุกรรมการซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการและด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับการสรรหาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนสามคน ทั้งนี้ จะต้องเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการซึ่งดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ ๙ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า (๒) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ ๙ ในราชบัณฑิตยสถานซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนห้าคน ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน อนุกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งและได้รับเลือกตาม (๒) ถ้าออกจากราชการพลเรือน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นที่มิใช่ตำแหน่งตาม (๒) หรือโอนไปรับราชการนอกราชบัณฑิตยสถาน ให้พ้นจากตำแหน่งอนุกรรมการ มาตรา ๒๐ ให้นำความในมาตรา ๑๕ มาใช้บังคับแก่ อ.ก.พ. สำนักนายกรัฐมนตรีตามมาตรา ๑๖ อ.ก.พ. ทบวงตามมาตรา ๑๗ อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง ตามมาตรา ๑๘ และมาตรา ๑๙ โดยอนุโลม มาตรา ๒๑ อ.ก.พ. กรมและ อ.ก.พ. ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ประกอบด้วยอธิบดีเป็นประธาน รองอธิบดีที่อธิบดีมอบหมายหนึ่งคนเป็นรองประธานและอนุกรรมการซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับการสรรหาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนสามคน ทั้งนี้ จะต้องเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการซึ่งดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกองหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า (๒) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีที่มิได้รับมอบหมายให้เป็นรองประธาน ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไป ผู้ช่วยอธิบดี ผู้อำนวยการกอง หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่ากองหรือเลขานุการกรมในกรมนั้น ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนหกคน ในกรณีที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทอื่นบัญญัติให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนไปใช้บังคับแก่ข้าราชการประเภทใด คำว่า “ข้าราชการพลเรือน” ให้หมายถึงข้าราชการประเภทนั้น สำหรับสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง และสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวง ให้ อ.ก.พ. สำนักงานปลัดกระทรวง หรือ อ.ก.พ. สำนักงานปลัดทบวง แล้วแต่กรณี ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กรม (วรรคสาม ยกเลิก)[๓] ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน อนุกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งและได้รับเลือกตาม (๒) ถ้าออกจากราชการพลเรือน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นที่มิใช่ตำแหน่งตาม (๒) หรือโอนไปรับราชการนอกกรมเดิม ให้พ้นจากตำแหน่งอนุกรรมการ มาตรา ๒๒ อ.ก.พ. กรมและ อ.ก.พ. ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณากำหนดนโยบายและระบบการบริหารงานบุคคลตลอดจนระเบียบวิธีการปฏิบัติราชการในกรม (๒) พิจารณาการกำหนดและการเกลี่ยอัตรากำลังระหว่างส่วนราชการต่าง ๆภายในกรม (๓) พิจารณาปรับปรุงโครงสร้าง การบริหารงาน การจัดและการพัฒนาส่วนราชการในกรม (๔) พิจารณากำหนดนโยบาย กำกับดูแล และส่งเสริมเกี่ยวกับการพัฒนาข้าราชการภายในกรม เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดี คุณธรรมและจริยธรรม อันจะทำให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ (๕) พิจารณาเกี่ยวกับเรื่องการดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (๖) พิจารณาให้ความเห็นแก่อธิบดีตามที่อธิบดีปรึกษา (๗) ปฏิบัติการตามที่ อ.ก.พ. กระทรวงมอบหมาย (๘) ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ และช่วย ก.พ. ปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่ ก.พ. มอบหมาย (๙) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของ อ.ก.พ. กรม เสนอต่อกระทรวงเจ้าสังกัด และ ก.พ. มาตรา ๒๓ อ.ก.พ. จังหวัด ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายหนึ่งคนเป็นรองประธาน และอนุกรรมการซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับการสรรหาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนสามคน ทั้งนี้ จะต้องเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการซึ่งดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกองหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า (๒) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดที่มิได้รับมอบหมายให้เป็นรองประธาน ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด หรือหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดที่กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ แต่งตั้งไปประจำจังหวัดนั้น ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนหกคน ซึ่งแต่ละคนสังกัดอยู่ต่างกระทรวง ทบวง หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวง ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน อนุกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งและได้รับเลือกตาม (๒) ผู้ใดออกจากราชการพลเรือน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นที่มิใช่ตำแหน่งตาม (๒) ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในจังหวัดอื่น หรือโอนไปสังกัดกระทรวง ทบวง หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงอื่นที่มีอนุกรรมการตาม (๒) สังกัดอยู่แล้ว ให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งอนุกรรมการ มาตรา ๒๔ อ.ก.พ. จังหวัด มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณากำหนดนโยบายและระบบการบริหารงานบุคคลตลอดจนระเบียบวิธีปฏิบัติราชการในจังหวัด (๒) พิจารณากำหนดนโยบาย และประสานการพัฒนาข้าราชการในจังหวัดให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวง ทบวง กรม ตลอดจนกำกับดูแลและส่งเสริมเกี่ยวกับการพัฒนาข้าราชการในจังหวัด เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดี คุณธรรมและจริยธรรม อันจะทำให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ (๓) พิจารณาเกี่ยวกับเรื่องการดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (๔) พิจารณาให้ความเห็นแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดปรึกษา (๕) ปฏิบัติการตามที่ อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. ทบวง หรือ อ.ก.พ. กรมมอบหมาย (๖) ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ และช่วย ก.พ. ปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่ ก.พ. มอบหมาย (๗) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของ อ.ก.พ. จังหวัดเสนอต่อกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และ ก.พ. มาตรา ๒๕ อนุกรรมการตามมาตรา ๑๔ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๖ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๗ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๘ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๙ (๑) และ (๒) มาตรา ๒๑ (๑) และ (๒) และมาตรา ๒๓ (๑) และ (๒) ให้อยู่ในตำแหน่งได้คราวละสองปี ถ้าตำแหน่งอนุกรรมการว่างลงก่อนกำหนดและยังมีอนุกรรมการเหลืออยู่อีกไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของอนุกรรมการตามมาตรา ๑๔ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๖ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๗ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๘ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๙ (๑) และ (๒) มาตรา ๒๑ (๑) และ (๒) หรือมาตรา ๒๓ (๑) และ (๒) แล้วแต่กรณีรวมกัน ให้อนุกรรมการที่เหลือปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ เมื่อตำแหน่งอนุกรรมการว่างลงก่อนกำหนดให้ดำเนินการแต่งตั้งอนุกรรมการแทนภายในกำหนดสามสิบวัน เว้นแต่วาระของอนุกรรมการเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่แต่งตั้งอนุกรรมการแทนก็ได้ ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการแทนนั้นให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน อนุกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่ง จะแต่งตั้งให้เป็นอนุกรรมการอีกก็ได้ ในกรณีที่อนุกรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้แต่งตั้งอนุกรรมการใหม่ให้อนุกรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ไปก่อนจนกว่าจะได้แต่งตั้งอนุกรรมการใหม่ มาตรา ๒๖ กระทรวงหรือทบวงใดมีเหตุพิเศษ ก.พ. จะอนุมัติให้มีแต่ อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. ทบวง แล้วแต่กรณีก็ได้ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ.ทบวง ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กรมด้วย มาตรา ๒๗ กระทรวง ทบวง กรมใดมีเหตุพิเศษ ก.พ. จะกำหนดจำนวนอนุกรรมการตามมาตรา ๑๔ (๒) มาตรา ๑๖ (๒) มาตรา ๑๗ (๒) มาตรา ๑๘ (๒) มาตรา ๑๙ (๒) มาตรา ๒๑ (๒) หรือมาตรา ๒๓ (๒) แล้วแต่กรณี ให้น้อยกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ในมาตรานั้น ๆ ก็ได้ มาตรา ๒๘ ให้นำมาตรา ๑๐ มาใช้บังคับแก่การประชุมของ อ.ก.พ. วิสามัญและ อ.ก.พ. สามัญ โดยอนุโลม ลักษณะ ๒ บททั่วไป มาตรา ๒๙ ข้าราชการพลเรือนมี ๓ ประเภท (๑) ข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนในอัตราสามัญ และได้รับแต่งตั้งตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะ ๓ (๒) ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในพระองค์พระมหากษัตริย์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา (๓) ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในต่างประเทศในกรณีพิเศษโดยเหตุผลทางการเมืองตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะ ๕ มาตรา ๓๐ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนต้องมีคุณสมบัติทั่วไปดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี (๓) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธิ์ใจ (๔) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง (๕) ไม่เป็นผู้มีกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไร้ความสามารถหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. (๖) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งให้พักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือตามกฎหมายอื่น (๗) ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม (๘) ไม่เป็นกรรมการพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (๙) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย (๑๐) ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิดทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๑๑) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (๑๒) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออก เพราะกระทำผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือตามกฎหมายอื่น (๑๓) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก เพราะกระทำผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือตามกฎหมายอื่น (๑๔) ไม่เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนซึ่งขาดคุณสมบัติตาม (๗) (๙) (๑๐) หรือ (๑๔) ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ ส่วนผู้ที่ขาดคุณสมบัติตาม (๑๑) หรือ (๑๒) ถ้าผู้นั้นได้ออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้วหรือผู้ที่ขาดคุณสมบัติตาม (๑๓) ถ้าผู้นั้นได้ออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว และมิใช่เป็นกรณีออกจากงานหรือออกจากราชการเพราะกระทำผิดในกรณีทุจริตต่อหน้าที่ ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ มติของ ก.พ. ในการประชุมปรึกษายกเว้นเช่นนี้ต้องได้คะแนนเสียงสี่ในห้าของจำนวนกรรมการในที่ประชุม การลงมติให้กระทำโดยลับ การขอยกเว้นและการพิจารณายกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติทั่วไป ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. วางไว้ ผู้ที่เป็นข้าราชการพลเรือนต้องมีคุณสมบัติทั่วไปตามวรรคหนึ่งตลอดเวลาที่รับราชการ เว้นแต่คุณสมบัติตาม (๖) หรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามวรรคสอง มาตรา ๓๑[๔] อัตราเงินเดือน อัตราเงินประจำตำแหน่งและการรับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือน ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง การจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งให้แก่ข้าราชการพลเรือนให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น มาตรา ๓๒ เพื่อประโยชน์ในการออมทรัพย์ของข้าราชการพลเรือน คณะรัฐมนตรีจะวางระเบียบและวิธีการให้กระทรวงการคลังหักเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนไว้เป็นเงินสะสมก็ได้ โดยคิดดอกเบี้ยจากเงินสะสมนั้นให้ในอัตราไม่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทประจำของธนาคารพาณิชย์ เงินสะสมและดอกเบี้ยนี้ให้จ่ายคืนหรือให้กู้ยืมเพื่อดำเนินการตามโครงการสวัสดิการสำหรับข้าราชการพลเรือนตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๓๓ ข้าราชการพลเรือนอาจได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ หรือตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตามระเบียบที่ ก.พ. และกระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๓๔ ข้าราชการพลเรือนอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๓๕ วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการพลเรือน ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๓๖ เครื่องแบบของข้าราชการพลเรือนและระเบียบการแต่งเครื่องแบบให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น มาตรา ๓๗ บำเหน็จบำนาญข้าราชการพลเรือนให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ลักษณะ ๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญ หมวด ๑ การกำหนดตำแหน่ง และการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง มาตรา ๓๘ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมีชื่อในการบริหารงานตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และอาจมีตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานตามที่กระทรวง ทบวง กรม ทำความตกลงกับ ก.พ. อีกก็ได้ มาตรา ๓๙ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมี ๓ ประเภท (๑) ตำแหน่งประเภททั่วไป (๒) ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา (๓) ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือบริหารระดับกลาง ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๔๐ ระดับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมี ๑๑ ระดับ คือระดับ ๑ระดับ ๒ ระดับ ๓ ระดับ ๔ ระดับ ๕ ระดับ ๖ ระดับ ๗ ระดับ ๘ ระดับ ๙ ระดับ ๑๐ และระดับ ๑๑ โดยตำแหน่งระดับ ๑ เป็นระดับต่ำสุด เรียงสูงขึ้นไป เป็นลำดับตามความยากและคุณภาพของงานจนถึงตำแหน่งระดับ ๑๑ เป็นระดับสูงสุด ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญจะมีตำแหน่งใด ระดับใด อยู่ในส่วนราชการใด จำนวนเท่าใด ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด ทั้งนี้ ก.พ. จะมอบหมายให้องค์กรหรือส่วนราชการใดเป็นผู้กำหนดแทนตามหลักเกณฑ์ มาตรฐานและวิธีการที่ ก.พ. กำหนดก็ได้ การกำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งใดเป็นตำแหน่งระดับใดให้ประเมินความยากและคุณภาพของงานในตำแหน่งนั้นแล้วปรับเทียบกับบรรทัดฐานในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.พ. จัดทำไว้ตามมาตรา ๔๒ การปรับตำแหน่งเทียบกับบรรทัดฐานในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ให้จัดตำแหน่งที่มีลักษณะงานอย่างเดียวกันเข้าประเภทและสายงานเดียวกัน และจัดตำแหน่งในสายงานเดียวกัน ที่มีความยากและคุณภาพของงานอยู่ในระดับเดียวกันโดยประมาณเข้ากลุ่มตำแหน่งเดียวกันและระดับเดียวกัน ในกรณีที่ส่วนราชการใดเห็นว่า ก.พ. กำหนดจำนวนตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญในส่วนราชการนั้นไม่เหมาะสม ส่วนราชการนั้นจะเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาก็ได้ ถ้าคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรแก้ไขการกำหนดจำนวนตำแหน่งนั้น ให้ส่งเรื่องให้ ก.พ.พิจารณาทบทวนใหม่ มาตรา ๔๑ เมื่อ ก.พ. กำหนดให้มีตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งใด ระดับใด ในส่วนราชการใด จำนวนเท่าใด ตามมาตรา ๔๐ แล้วให้สำนักงาน ก.พ. ประสานกับสำนักงบประมาณเพื่อจัดสรรเงินงบประมาณในแต่ละปี สำหรับตั้งเป็นอัตราเงินเดือนของตำแหน่งดังกล่าวให้สอดคล้องกัน มาตรา ๔๒ ให้ ก.พ. จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งไว้เป็นบรรทัดฐานในการกำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญทุกตำแหน่ง โดยจำแนกตำแหน่งเป็นประเภทและสายงานตามลักษณะงาน และจัดตำแหน่งในประเภทเดียวกันและสายงานเดียวกันที่คุณภาพของงานอยู่ในระดับเดียวกันโดยประมาณเป็นกลุ่มเดียวกันและระดับเดียวกัน ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) ตำแหน่งระดับ ๑ ได้แก่ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับต้น มีลักษณะงานที่ไม่ยาก ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ ตรวจสอบ หรือสอนงานอย่างใกล้ชิด หรือปฏิบัติงานตามคำสั่ง แบบอย่าง หรือแนวทางปฏิบัติที่มีอยู่อย่างแน่ชัด ละเอียดถี่ถ้วนซึ่งปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ความสามารถระดับพื้นฐานขั้นต้น (๒) ตำแหน่งระดับ ๒ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับต้น มีลักษณะงานที่ค่อนข้างยาก ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ ตรวจสอบ หรือสอนงานเป็นระยะหรือปฏิบัติงานตามคำสั่ง แบบอย่าง หรือแนวทางปฏิบัติที่มีอยู่อย่างกว้าง ๆ ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ความสามารถระดับพื้นฐานขั้นสูง หรือ (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ มีลักษณะงานที่ค่อนข้างยากปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ ตรวจสอบ หรือสอนงานเป็นระยะ หรือปฏิบัติงานตามคำสั่ง แบบอย่างหรือแนวทางปฏิบัติที่มีอยู่อย่างกว้าง ๆ ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้ได้รับการอบรมหรือมีประสบการณ์การปฏิบัติงานในงานที่ไม่ยากมาแล้ว (๓) ตำแหน่งระดับ ๓ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับต้น มีลักษณะงานที่ยากพอสมควรปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบบ้าง หรือปฏิบัติงานตามคำสั่ง แบบอย่างหรือแนวทางปฏิบัติที่มีอยู่บ้าง ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาที่ ก.พ. รับรองให้บรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งระดับนี้ หรือ (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ มีลักษณะงานที่ยากพอสมควร ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ ตรวจสอบ หรือแนะนำบ้าง หรือปฏิบัติงานตามคำสั่ง แบบอย่าง หรือแนวทางปฏิบัติที่มีอยู่บ้าง ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้ได้รับการอบรมหรือมีประสบการณ์การปฏิบัติงานในงานที่ค่อนข้างยากมาแล้ว (๔) ตำแหน่งระดับ ๔ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับต้น มีลักษณะงานที่ยาก ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ ตรวจสอบ หรือแนะนำเฉพาะในบางกรณีที่จำเป็น ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาที่ ก.พ. รับรองให้บรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งระดับนี้ (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ มีลักษณะงานที่ยาก ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ ตรวจสอบ หรือแนะนำเฉพาะในบางกรณีที่จำเป็นในการปฏิบัติงานจำเป็นต้องแก้ปัญหาค่อนข้างบ่อย ต้องประยุกต์ประสบการณ์และความชำนาญงาน เพื่อปรับวิธีการและแนวดำเนินการให้เหมาะสมกับสถานการณ์ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้ได้รับการอบรมหรือมีประสบการณ์การปฏิบัติงานในงานที่ยากพอสมควรมาแล้ว หรือ (ค) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้าหน่วยงานระดับต้นในงานสนับสนุนมีลักษณะงานต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และควบคุมผู้ปฏิบัติงานจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานสูงพอสมควร (๕) ตำแหน่งระดับ ๕ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานซึ่งมีลักษณะงานที่ค่อนข้างยากมาก ปฏิบัติงานโดยไม่จำเป็นต้องมีการกำกับ ตรวจสอบ หรือแนะนำ ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาที่ ก.พ. รับรองให้บรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งระดับนี้ (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ มีลักษณะงานที่ค่อนข้างยากมาก ปฏิบัติงานโดยไม่จำเป็นต้องมีการกำกับ ตรวจสอบ หรือแนะนำ ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้ได้รับการอบรมหรือมีประสบการณ์การปฏิบัติงานในงานที่ยากมาแล้ว หรือ (ค) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้าหน่วยงานในงานเทคนิค งานสนับสนุน งานช่างฝีมือหรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ มีลักษณะงานต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และควบคุมผู้ปฏิบัติงานจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานสูง (๖) ตำแหน่งระดับ ๖ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ มีลักษณะงานที่ยากมากปฏิบัติงานโดยจำเป็นต้องมีการตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในงานที่รับผิดชอบค่อนข้างมาก ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญงานและประสบการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าสามารถปฏิบัติงานในความรับผิดชอบด้วยตนเองได้ (ข) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้าหน่วยงานเทียบเท่ากองในงานสนับสนุนของส่วนราชการ หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด หรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ มีลักษณะงานต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และบังคับบัญชาผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานค่อนข้างสูงมากหรือตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานเทียบได้ระดับเดียวกัน หรือ (ค) ตำแหน่งสำหรับลักษณะงานวิชาชีพเฉพาะ ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญงาน และประสบการณ์สูงในงานวิชาชีพเฉพาะ (๗) ตำแหน่งระดับ ๗ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้าหน่วยงานที่เป็นกอง มีลักษณะงานจัดการ และต้องกำกับ ตรวจสอบ และบังคับบัญชาผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำนวนมากพอสมควร ซึ่งเป็นงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานสูงมาก หรือตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานเทียบเท่ากอง หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ หรือหัวหน้าหน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานสูงมากเทียบได้ระดับเดียวกัน (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ มีลักษณะงานที่ยากเป็นพิเศษ ปฏิบัติงานโดยจำเป็นต้องมีการตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในงานที่รับผิดชอบมากซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญงาน และประสบการณ์สูงมากหรือลักษณะงานตรวจและแนะนำการปฏิบัติราชการ หรือลักษณะงานตรวจการในงานเทคนิคเฉพาะด้าน หรือตรวจการในงานหลักตามอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการระดับกรม หรือ (ค) ตำแหน่งสำหรับลักษณะงานวิชาชีพเฉพาะ ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญงาน และประสบการณ์สูงมากในงานวิชาชีพเฉพาะ (๘) ตำแหน่งระดับ ๘ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้าหน่วยงานที่เป็นกอง มีลักษณะงานจัดการ และต้องกำกับ ตรวจสอบ และบังคับบัญชาผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำนวนมากพอสมควร ซึ่งเป็นงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานสูงมากเป็นพิเศษ หรือตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานเทียบเท่ากอง หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด หรือหัวหน้าหน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานสูงมากเป็นพิเศษเทียบได้ระดับเดียวกัน (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ มีลักษณะงานที่ยากมากเป็นพิเศษ ปฏิบัติงานโดยจำเป็นต้องมีการตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในงานที่รับผิดชอบเป็นประจำ หรือลักษณะงานช่วยหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม หรือลักษณะงานตรวจและแนะนำการปฏิบัติราชการ หรือตรวจการในงานเทคนิคเฉพาะด้าน หรือตรวจการในงานหลักตามอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการระดับกรม ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญงาน และประสบการณ์สูงมากเป็นพิเศษ หรือ (ค) ตำแหน่งสำหรับลักษณะงานวิชาชีพเฉพาะ ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญงาน และประสบการณ์สูงมากเป็นพิเศษในงานวิชาชีพเฉพาะ (๙) ตำแหน่งระดับ ๙ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้บริหารระดับสูง ในฐานะรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือจังหวัด (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้บริหารระดับสูง ในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือทบวง ผู้ช่วยหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงแต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี หรือผู้ช่วยหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี (ค) ตำแหน่งสำหรับลักษณะงานวิชาชีพเฉพาะหรือลักษณะงานเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูง และมีความเชี่ยวชาญและผลงานเป็นที่ยอมรับในวงการด้านนั้น (ง) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้าหน่วยงานที่สูงกว่ากอง ซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบในงานหลักตามอำนาจหน้าที่ของกรม และเป็นงานที่มีความหลากหลาย ความยาก และมีคุณภาพของงานสูงมากกว่ากองหรือ (จ) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งมีลักษณะงานตรวจและแนะนำการปฏิบัติราชการ หรือลักษณะงานให้คำปรึกษาของส่วนราชการระดับกระทรวง ทบวง หรือลักษณะงานอื่นที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานเทียบได้ระดับเดียวกัน (๑๐) ตำแหน่งระดับ ๑๐ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้บริหารระดับสูง ในฐานะหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือจังหวัด (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้บริหารระดับสูง ในฐานะรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือทบวง รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงแต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี หรือรองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี (ค) ตำแหน่งสำหรับลักษณะงานวิชาชีพเฉพาะหรือลักษณะงานเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงมาก และมีความเชี่ยวชาญและผลงานเป็นที่ยอมรับในวงการด้านนั้น (ง) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้าส่วนราชการระดับสถานเอกอัครราชทูตหรือเทียบเท่า (จ) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานซึ่งมีลักษณะงานตรวจและแนะนำการปฏิบัติราชการ หรือลักษณะงานให้คำปรึกษาของส่วนราชการระดับกระทรวง ทบวง ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องมาแล้ว หรือลักษณะงานอื่นที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานเทียบได้ระดับเดียวกัน (๑๑) ตำแหน่งระดับ ๑๑ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้บริหารระดับสูง ในฐานะหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือทบวง (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้บริหารระดับสูง ในฐานะหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงแต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี หรือหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี (ค) ตำแหน่งสำหรับลักษณะงานวิชาชีพเฉพาะหรือลักษณะงานเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ตามอำนาจหน้าที่หลักของกระทรวงหรือทบวง ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงมากเป็นพิเศษ อีกทั้งทรงคุณวุฒิและมีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ หรือ (ง) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่รายงานตรงต่อนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานสูงมากเป็นพิเศษเทียบได้ระดับเดียวกับตำแหน่งอื่นในระดับนี้ ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้แสดงประเภทตำแหน่ง ชื่อของสายงาน ลักษณะงานโดยทั่วไปของสายงาน ชื่อของกลุ่มตำแหน่ง หน้าที่และความรับผิดชอบของกลุ่มตำแหน่ง ลักษณะงานที่ปฏิบัติ คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ผู้ดำรงตำแหน่งจะต้องมี และระดับของตำแหน่งในกลุ่มนั้นด้วย มาตรา ๔๓ ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตำแหน่งใดบังคับบัญชาข้าราชการพลเรือนในส่วนราชการหรือหน่วยงานใด ในฐานะใดให้เป็นไปตามที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ มอบหมายโดยทำเป็นหนังสือ มาตรา ๔๔ ให้ ก.พ. ตรวจสอบการกำหนดตำแหน่งและการใช้ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญให้เหมาะสม ในกรณีที่ปรากฏว่าการกำหนดตำแหน่งใดไม่เหมาะสมก็ดีการใช้ตำแหน่งใดไม่เหมาะสมตามที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๔๐ ก็ดี หรือลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบ ปริมาณและคุณภาพของงานของตำแหน่งใดที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๔๐เปลี่ยนแปลงไปก็ดี ให้ ก.พ. พิจารณาปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งนั้นเสียใหม่ให้เหมาะสม ทั้งนี้ก.พ. จะมอบหมายให้องค์กรหรือส่วนราชการใดดำเนินการแทนก็ได้ ในการปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้ ก.พ. หรือผู้ที่ ก.พ.มอบหมายมีอำนาจยุบเลิกตำแหน่งหรือตัดโอนตำแหน่งหรือตัดโอนข้าราชการพลเรือนสามัญ หรือตัดโอนตำแหน่งและข้าราชการพลเรือนสามัญที่เกินอยู่ในส่วนราชการใดไปไว้ในส่วนราชการอื่นได้ตามความจำเป็น โดย ก.พ. หรือผู้ที่ ก.พ. มอบหมายอาจเปลี่ยนชื่อตำแหน่ง สายงาน หรือระดับตำแหน่งเป็นอย่างอื่นได้ตามความเหมาะสม เมื่อ ก.พ. หรือผู้ที่ ก.พ. มอบหมายมีมติหรือสั่งตามวรรคสอง ให้ส่วนราชการฝ่ายรับโอนและส่วนราชการเดิมดำเนินการให้เป็นไปตามมติหรือคำสั่งนั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด การดำเนินการตามวรรคสาม หากจะต้องตัดโอนอัตราเงินเดือนของตำแหน่งไปด้วย ให้ส่วนราชการฝ่ายรับโอนและส่วนราชการเดิมดำเนินการได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกำหนด และให้ถือว่าการตัดโอนอัตราเงินเดือนดังกล่าวเป็นการโอนงบประมาณรายจ่ายตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ มาตรา ๔๕[๕] ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนตามตำแหน่ง ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ระดับใด จะได้รับเงินเดือนในอันดับใดตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนดโดยให้ได้รับในขั้นต่ำของอันดับ ในกรณีที่จะให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำหรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. หมวด ๒ การบรรจุและการแต่งตั้ง มาตรา ๔๖ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนั้น โดยบรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับสำหรับการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการตามมาตรา๕๐ มาตรา ๕๑ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ มาตรา ๖๕ และมาตรา ๖๖ มาตรา ๔๗ ผู้สมัครสอบแข่งขันในตำแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป หรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๓๐ และต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามที่ ก.พ. กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งหรือได้รับอนุมัติจาก ก.พ. ตามมาตรา ๕๖ ด้วย สำหรับผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๓๐ (๔) ให้มีสิทธิสมัครสอบแข่งขันได้แต่จะมีสิทธิได้รับบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญในตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้ต่อเมื่อพ้นจากตำแหน่งข้าราชการการเมืองแล้ว มาตรา ๔๘ ให้ ก.พ. เป็นผู้ดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในการนี้ ก.พ. จะมอบหมายให้องค์กรหรือส่วนราชการใดเป็นผู้ดำเนินการสอบแทนก็ได้ ทั้งนี้ ก.พ. จะกำหนดให้มีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุในกระทรวง ทบวง กรม เป็นการทั่วไปหรือในหน่วยราชการใด หรือในท้องที่ใดเป็นการเฉพาะแห่ง และจะกำหนดให้รับสมัครสอบแข่งขันเฉพาะผู้มีคุณสมบัติอย่างใด สำหรับการสอบแข่งขันครั้งใดก็ได้ หลักสูตร วิธีการสอบแข่งขัน และวิธีดำเนินการเกี่ยวกับการสอบแข่งขัน ตลอดจนเกณฑ์การตัดสิน การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ การนำรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งหนึ่งไปขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งอื่น และการยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๔๙ ผู้สอบแข่งขันได้ซึ่งอยู่ในลำดับที่ที่จะได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ถ้าปรากฏว่าขาดคุณสมบัติทั่วไปโดยไม่ได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๓๐ หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งโดยไม่ได้รับอนุมัติจาก ก.พ. ตามมาตรา ๕๖ อยู่ก่อนหรือภายหลังการสอบแข่งขัน จะบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนั้นไม่ได้ มาตรา ๕๐ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษที่ ก.พ. เห็นว่าไม่จำเป็นต้องดำเนินการสอบแข่งขัน ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๒ อาจคัดเลือกบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งได้ ทั้งนี้ ตามกรณี หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๕๑ กระทรวง ทบวง กรมใดมีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อประโยชน์แก่ราชการที่จะต้องบรรจุบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และความชำนาญงานสูง เข้ารับราชการในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ชำนาญการ ให้กระทรวง ทบวง กรมนั้น ดำเนินการขออนุมัติ ก.พ. เมื่อ ก.พ. ได้พิจารณาอนุมัติให้บรรจุ และได้กำหนดระดับของตำแหน่งที่จะแต่งตั้งและเงินเดือนที่จะให้ได้รับแล้ว ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๒ บรรจุและแต่งตั้งได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๕๒ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ และการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ให้ดำเนินการตามมาตรา ๔๖ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๑ มาตรา ๕๗มาตรา ๕๘ มาตรา ๕๙ มาตรา ๖๐ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ มาตรา ๖๕หรือมาตรา ๖๖ แล้วแต่กรณี และให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้เป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๑) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๑ ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้สั่งบรรจุ และให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง (๒) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๐ ให้ปลัดกระทรวงผู้บังคับบัญชาเสนอรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้ปลัดกระทรวงผู้บังคับบัญชาเป็นผู้สั่งบรรจุและให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง ยกเว้นการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๐ ที่ระบุไว้ใน (๓) ส่วนการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๐ ในส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงแต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี หรือในส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีให้อธิบดีผู้บังคับบัญชาเสนอรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชาเป็นผู้สั่งบรรจุ และให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง (๓) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๐ ในส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงแต่อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรี หรือในสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้วให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้สั่งบรรจุ และให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง (๔) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ ให้ปลัดกระทรวงผู้บังคับบัญชาเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง ส่วนการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ ในส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงแต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรีหรือในส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชาเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง สำหรับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๙ ลงมาในส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม และไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงแต่อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรี หรือในสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๕) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๘ ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชาเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งเมื่อได้รับความเห็นชอบจากปลัดกระทรวง ส่วนการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๘ ในส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงแต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี หรือในส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชาเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๖) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๗ ลงมาให้อธิบดีผู้บังคับบัญชาหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากอธิบดีตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนดเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๗) การบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา ๔๖ และการแต่งตั้งตามมาตรา ๕๗ ให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๗ ลงมาในราชการบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งมิใช่หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดผู้บังคับบัญชาเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง ในการเสนอเพื่อแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งให้รายงานความสมควรพร้อมทั้งเหตุผลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนดไปด้วย มาตรา ๕๓ ภายใต้บังคับมาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๖๐ ให้มีการสับเปลี่ยนหน้าที่ ย้ายหรือโอนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ ระดับ ๑๐ และระดับ ๑๑ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีลักษณะบริหารตามที่ ก.พ. กำหนด โดยมิควรให้อยู่ปฏิบัติหน้าที่เดียวติดต่อกันเป็นเวลานานเกินกว่าสี่ปี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด ความในมาตรานี้ไม่ให้ใช้บังคับแก่ผู้ดำรงตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดว่าเป็นตำแหน่งที่มีลักษณะงานเฉพาะอย่าง มาตรา ๕๔ ผู้ได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๔๖ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๕๐ และข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนและเป็นผู้ที่อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ พนักงานเทศบาล หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติงาน ซึ่งโอนมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๖๑ ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นเวลาตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. โดยอยู่ในความดูแลของผู้บังคับบัญชาผู้มีหน้าที่พัฒนาตามมาตรา ๗๖ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย และให้มีการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. เพื่อให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ พิจารณาว่า ผู้นั้นมีความเหมาะสมที่จะให้รับราชการต่อไปหรือไม่ ถ้าผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ เห็นว่าผู้นั้นมีผลการประเมินต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด ไม่ควรให้รับราชการต่อไป ก็ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้ ไม่ว่าจะครบกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการแล้วหรือไม่ก็ตาม ถ้าพ้นกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการดังกล่าวแล้ว และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ เห็นว่าควรให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป ก็ให้รายงานต่อไปตามลำดับจนถึงผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๑๐๙ วรรคหนึ่ง และ ก.พ. ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๑๑๘ และต่อมาปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคหนึ่งหรือตามมาตราอื่น ก็ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ หรือผู้มีอำนาจตามมาตราอื่นนั้นแล้วแต่กรณี มีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ออกตามมาตรา ๑๑๘ เป็นให้ออกจากราชการตามวรรคหนึ่ง หรือตามมาตราอื่นนั้นได้ ผู้อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการผู้ใดมีกรณีอันมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๕ และถ้าผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องออกจากราชการตามวรรคหนึ่ง ก็ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการตามวรรคหนึ่งไปก่อน หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง และการนับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้ถือเสมือนว่าผู้นั้นไม่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการในระหว่างที่ผู้นั้นอยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ มาตรา ๕๕ การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งที่ ก.พ. ยังมิได้กำหนดตามมาตรา ๔๐ จะกระทำมิได้ มาตรา ๕๖ ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งใดต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามที่ ก.พ. กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็น ก.พ. อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งก็ได้ ในกรณีที่ ก.พ. กำหนดให้ปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิใดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ให้หมายถึงปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิที่ ก.พ.รับรอง มาตรา ๕๗ การย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งใดไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นในกรมเดียวกัน ต้องย้ายไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับเดียวกัน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด การย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ต่ำกว่าเดิม และการย้ายข้าราชการพลเรือนผู้มิได้ดำรงตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๔๐ ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๔๐ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจาก ก.พ. แล้ว มาตรา ๕๘ การเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันหรือผู้สอบคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งนั้นได้ หรือจากผู้ได้รับคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งนั้น กรณีใดจะเลื่อนและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ ผู้สอบคัดเลือกได้ หรือผู้ได้รับคัดเลือก ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด การสอบแข่งขัน ให้เป็นไปตามมาตรา ๔๘ ส่วนการสอบคัดเลือกและคัดเลือกให้กระทรวง ทบวง กรมเจ้าสังกัดเป็นผู้ดำเนินการ หลักสูตรและวิธีดำเนินการเกี่ยวกับการสอบคัดเลือก คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครสอบคัดเลือก เกณฑ์การตัดสิน การขึ้นบัญชีและการยกเลิกบัญชีผู้สอบคัดเลือกได้ตลอดจนวิธีดำเนินการเกี่ยวกับการคัดเลือก ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๕๙ การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๕๘ สำหรับผู้สอบแข่งขันได้ ให้แต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ สำหรับผู้สอบคัดเลือกได้หรือผู้ได้รับคัดเลือก ให้แต่งตั้งได้ตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ ความประพฤติ และประวัติการรับราชการ ซึ่งจะต้องเป็นผู้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๖๐ การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในต่างกระทรวง ทบวง กรม อาจทำได้เมื่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา๕๒ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนนั้นแล้ว โดยให้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ไม่สูงกว่าเดิมและรับเงินเดือนในขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นการโอนตามวรรคสอง วรรคสี่ วรรคหก และมาตรา ๔๔ การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๙ ขึ้นไป ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในกระทรวงเดียวกัน ให้โอนไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ไม่สูงกว่าเดิมและรับเงินเดือนในขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม เว้นแต่เป็นการโอนตามวรรคสาม การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งระดับ ๙ และระดับ ๑๐ ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี และการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งดังกล่าวซึ่งสังกัดส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในกรม หรือต่างส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีในกระทรวงเดียวกัน อาจทำได้เมื่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา๕๒ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนนั้นแล้ว ทั้งนี้ ให้โอนไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ไม่สูงกว่าเดิมและรับเงินเดือนในขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๑๐ ขึ้นไปไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในต่างกระทรวง ให้โอนไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ไม่สูงกว่าเดิมและรับเงินเดือนในขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม และต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี และการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญสังกัดสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในกรมหรือต่างสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี อาจทำได้เมื่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนนั้นแล้ว ทั้งนี้ ให้โอนไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ไม่สูงกว่าเดิม และรับเงินเดือนในขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้สอบแข่งขันได้ ผู้สอบคัดเลือกได้หรือผู้ได้รับคัดเลือก ให้ทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด การโอนข้าราชการพลเรือนผู้มิได้ดำรงตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๔๐ ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๔๐ ในต่างกระทรวง ทบวง กรม หรือต่างสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีหรือโอนจากกรมไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี หรือโอนจากสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในกรม จะทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจาก ก.พ. แล้ว ในการนี้ให้ ก.พ. พิจารณาโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับ และให้ ก.พ. กำหนดระดับของตำแหน่งที่จะแต่งตั้งและเงินเดือนที่จะให้ได้รับด้วย การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ต่ำกว่าเดิมต่างกระทรวง ทบวง กรม หรือต่างสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีหรือโอนจากกรมไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี หรือโอนจากสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในกรม จะทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจาก ก.พ. แล้ว ในการนี้ ให้ ก.พ.พิจารณาโดยคำนึงถึงเหตุผลความจำเป็นและประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับ และให้ ก.พ. กำหนดเงินเดือนที่จะให้ได้รับด้วย มาตรา ๖๑ การโอนพนักงานเทศบาลที่ไม่ใช่พนักงานเทศบาลวิสามัญและการโอนข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนตามพระราชบัญญัตินี้และไม่ใช่ข้าราชการการเมือง หรือข้าราชการวิสามัญมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญอาจทำได้ถ้าเจ้าตัวสมัครใจ โดยผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ของกระทรวง ทบวง กรมที่จะรับโอนทำความตกลงกับผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการหรือหน่วยงานสังกัดเดิม แล้วเสนอเรื่องไปให้ ก.พ. พิจารณาอนุมัติ ในการนี้ ให้ ก.พ. พิจารณาโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับ ส่วนจะบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับใด และจะให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้ ก.พ. เป็นผู้พิจารณากำหนด แต่จะต้องไม่สูงกว่าข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีคุณวุฒิ ความสามารถ และความชำนาญงานในระดับเดียวกัน ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นการโอนตามวรรคสาม การโอนข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนตามพระราชบัญญัตินี้และไม่ใช่ข้าราชการการเมืองหรือข้าราชการวิสามัญ มาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญในกรมเดียวกันหรือในส่วนราชการใดที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดเดิมด้วย ให้ทำได้ตามวรรคหนึ่ง โดยผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ไม่ต้องทำความตกลงในการโอน การโอนพนักงานเทศบาลและข้าราชการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ซึ่งเป็นผู้สอบแข่งขันได้หรือผู้ได้รับคัดเลือก มาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญให้ทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด การโอนพนักงานส่วนท้องถิ่นที่ระเบียบพนักงานนั้นบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา และไม่ใช่พนักงานวิสามัญมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญให้ทำได้เช่นเดียวกับการโอนพนักงานเทศบาล เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้ที่โอนมาตามมาตรานี้ในขณะที่เป็นข้าราชการ พนักงานเทศบาล หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นอื่นนั้นเป็นเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย มาตรา ๖๒ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๕๗ มาตรา ๕๘ หรือมาตรา ๖๐ แล้ว หากภายหลังปรากฏว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติไม่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๒ แต่งตั้งผู้นั้นให้กลับไปดำรงตำแหน่งเดิม หรือตำแหน่งอื่นในระดับเดียวกับตำแหน่งเดิมที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งโดยพลัน แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการในระหว่างที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติไม่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้กลับไปดำรงตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งอื่นตามวรรคหนึ่งให้รับเงินเดือนในขั้นที่พึงจะได้รับตามสถานภาพเดิม และให้ถือว่าผู้นั้นไม่มีสถานภาพอย่างใดในการที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ตนมีคุณสมบัติไม่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น มาตรา ๖๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร เมื่อผู้นั้นพ้นจากราชการทหาร โดยมิได้กระทำการใด ๆ ในระหว่างรับราชการทหารอันเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรงหรือได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง และผู้นั้นไม่เป็นผู้ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๓๐ และไม่ได้ถูกสั่งเปลี่ยนแปลงคำสั่งตามมาตรา ๑๑๘ วรรคสอง เป็นให้ออกจากราชการตามมาตราอื่น หากประสงค์จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญในกระทรวง ทบวง กรมเดิมภายในกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันพ้นจากราชการทหาร ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๒ สั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง และรับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับบรรจุเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่ง ให้มีสิทธิได้นับวันรับราชการก่อนถูกสั่งให้ออกจากราชการ รวมกับวันรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และวันรับราชการเมื่อได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการเป็นเวลาราชการติดต่อกันเพื่อประโยชน์ตามพระราชบัญญัตินี้ และตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการเสมือนว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกสั่งให้ออกจากราชการ มาตรา ๖๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ออกจากราชการไปปฏิบัติงานใด ๆ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ถ้าผู้นั้นกลับเข้ารับราชการภายในกำหนดเวลาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติแต่ไม่เกินสี่ปีนับแต่วันไปปฏิบัติงานดังกล่าวให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๒ สั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง และรับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๖๕ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดออกจากราชการไปแล้ว และไม่ใช่เป็นกรณีออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ถ้าสมัครเข้ารับราชการและทางราชการต้องการจะรับผู้นั้นเข้ารับราชการให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๒ สั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและรับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนดได้ มาตรา ๖๖ พนักงานเทศบาล พนักงานส่วนท้องถิ่นอื่นซึ่งระเบียบพนักงานนั้นบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา ที่ไม่ใช่พนักงานวิสามัญ หรือพนักงานซึ่งออกจากงานในระหว่างทดลองปฏิบัติงาน หรือข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ และไม่ใช่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญ หรือข้าราชการซึ่งออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ผู้ใดออกจากงานหรือออกจากราชการไปแล้ว ถ้าสมัครเข้ารับราชการในตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญและทางราชการต้องการจะรับผู้นั้นเข้ารับราชการ ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ของกระทรวง ทบวง กรมที่ต้องการจะรับเข้ารับราชการเสนอเรื่องไปให้ ก.พ. พิจารณาอนุมัติ ในการนี้ให้ ก.พ. พิจารณาโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับ ทั้งนี้จะบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับใด และจะให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้ ก.พ.เป็นผู้พิจารณากำหนด แต่จะต้องไม่สูงกว่าข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีคุณวุฒิ ความสามารถและความชำนาญงานในระดับเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้เข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งในขณะที่เป็นข้าราชการ พนักงานเทศบาล หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นอื่นนั้นเป็นเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย มาตรา ๖๗ ผู้ได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดตามมาตรา ๔๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๑ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ มาตรา ๖๕ และมาตรา ๖๖ หากภายหลังปรากฏว่าขาดคุณสมบัติทั่วไปโดยไม่ได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๓๐ หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นโดยไม่ได้รับอนุมัติจาก ก.พ. ตามมาตรา ๕๖ อยู่ก่อนก็ดี มีกรณีต้องหาอยู่ก่อนและภายหลังเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเนื่องจากกรณีต้องหานั้นก็ดีให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการโดยพลัน แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการก่อนมีคำสั่งให้ออกนั้นและถ้าการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้ว ให้ถือว่าเป็นการสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา ๖๘ ในกรณีที่ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญว่างลง หรือผู้ดำรงตำแหน่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ และเป็นกรณีที่มิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนที่เห็นสมควรรักษาการในตำแหน่งนั้นได้ ผู้รักษาการในตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้มีอำนาจหน้าที่ตามตำแหน่งที่รักษาการนั้น ในกรณีที่มีกฎหมายอื่น กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี มติคณะกรรมการตามกฎหมายหรือคำสั่งผู้บังคับบัญชา แต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ๆ เป็นกรรมการ หรือให้มีอำนาจหน้าที่อย่างใดก็ให้ผู้รักษาการในตำแหน่งทำหน้าที่กรรมการ หรือมีอำนาจหน้าที่อย่างนั้นในระหว่างที่รักษาการในตำแหน่งแล้วแต่กรณี มาตรา ๖๙ ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็น ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ มีอำนาจสั่งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ประจำกระทรวง ประจำทบวง ประจำกรม ประจำกองหรือประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี เป็นการชั่วคราว โดยให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่เดิมได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. การให้ได้รับเงินเดือน การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน การดำเนินการทางวินัยและการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๗๐ ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็น ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญพ้นจากตำแหน่งหน้าที่และขาดจากอัตราเงินเดือนในตำแหน่งเดิมโดยให้รับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทนที่ ก.พ. กำหนดได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. การให้พ้นจากตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือน การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือนการดำเนินการทางวินัย และการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. หมวด ๓ การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ มาตรา ๗๑ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการและปฏิบัติราชการมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการ ถือว่าผู้นั้นมีความชอบ จะได้รับบำเหน็จความชอบซึ่งอาจเป็นคำชมเชย เครื่องเชิดชูเกียรติ รางวัล หรือการได้เลื่อนขั้นเงินเดือนตามควรแก่กรณี มาตรา ๗๒ การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโดยคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณงาน ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานที่ได้ปฏิบัติมาความสามารถและความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน ตลอดจนการรักษาวินัยและการปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. การเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ข้าราชการพลเรือนสามัญที่อยู่ในหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาที่จะพิจารณา ในกรณีที่ไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดให้ผู้บังคับบัญชาแจ้งให้ผู้นั้นทราบพร้อมทั้งเหตุผลที่ไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนให้ มาตรา ๗๓ การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้ดำเนินการตามมาตรา ๗๒ และให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) หรือ (๖) แล้วแต่กรณี เป็นผู้สั่งเลื่อน การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญในราชการบริหารส่วนภูมิภาคให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งข้อเท็จจริงและความเห็นเกี่ยวกับการควรเลื่อนหรือไม่ควรเลื่อนไปยังอธิบดีผู้บังคับบัญชาเพื่อประกอบการพิจารณา สำหรับการเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๗ ลงมาในราชการบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งมิใช่หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด คณะรัฐมนตรีจะมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดผู้บังคับบัญชาสั่งเลื่อนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ.ตามมาตรา ๗๒ ก็ได้ มาตรา ๗๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญก็ได้ มาตรา ๗๕ ให้มีการพัฒนาผู้ได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตามมาตรา ๔๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๕๐ ก่อนมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติเพื่อให้รู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการ หลักและวิธีปฏิบัติราชการ บทบาทและหน้าที่ของข้าราชการในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และแนวทางปฏิบัติตนเพื่อเป็นข้าราชการที่ดี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๗๖ ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่พัฒนาผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดี คุณธรรมและจริยธรรม อันจะทำให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๗๗ ให้มีการพัฒนาข้าราชการพลเรือนก่อนเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งบางตำแหน่ง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดี คุณธรรมและจริยธรรมอันจะทำให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๗๘ การพัฒนาข้าราชการพลเรือนโดยการให้ไปศึกษาเพิ่มเติมในประเทศ และการให้ไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในต่างประเทศให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. วางไว้ เว้นแต่คณะรัฐมนตรีจะได้กำหนดเป็นอย่างอื่น มาตรา ๗๙ ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแต่งตั้ง เลื่อนขั้นเงินเดือน พัฒนาข้าราชการพลเรือนเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ และมีหน้าที่เสริมสร้างแรงจูงใจให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการและปฏิบัติราชการมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด หมวด ๔ วินัยและการรักษาวินัย มาตรา ๘๐ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาวินัยตามที่บัญญัติเป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติไว้ในหมวดนี้ โดยเคร่งครัดอยู่เสมอ มาตรา ๘๑ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธิ์ใจ มาตรา ๘๒ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม ห้ามมิให้อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจหน้าที่ราชการของตนไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อมหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการและเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๘๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการ มาตรา ๘๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความอุตสาหะ เอาใจใส่ระมัดระวังรักษาประโยชน์ของทางราชการ และต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ การประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๘๕ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี และนโยบายของรัฐบาลโดยไม่ให้เสียหายแก่ราชการ การปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของรัฐบาล อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรงเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๘๖ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องถือว่าเป็นหน้าที่พิเศษที่จะสนใจและรับทราบเหตุการณ์เคลื่อนไหวอันอาจเป็นภยันตรายต่อประเทศชาติและต้องป้องกันภยันตรายซึ่งจะบังเกิดแก่ประเทศชาติจนเต็มความสามารถ มาตรา ๘๗ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาความลับของทางราชการ การเปิดเผยความลับของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๘๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ โดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเห็นว่าการปฏิบัติตามคำสั่งนั้นจะทำให้เสียหายแก่ราชการ หรือจะเป็นการไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการ จะเสนอความเห็นเป็นหนังสือทันทีเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนคำสั่งนั้นก็ได้ และเมื่อได้เสนอความเห็นแล้ว ถ้าผู้บังคับบัญชายืนยันให้ปฏิบัติตามคำสั่งเดิม ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม การขัดคำสั่งหรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๘๙ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องปฏิบัติราชการโดยมิให้เป็นการกระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้กระทำหรือได้รับอนุญาตเป็นพิเศษชั่วครั้งคราว มาตรา ๙๐ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องแจ้ง ถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย การรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๙๑ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องถือและปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมของทางราชการ และจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือนตามข้อบังคับที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๙๒ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการจะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้ การละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง หรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๙๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคีและไม่กระทำการอย่างใดที่เป็นการกลั่นแกล้งกัน และต้องช่วยเหลือกันในการปฏิบัติราชการระหว่างข้าราชการด้วยกันและผู้ร่วมปฏิบัติราชการ มาตรา ๙๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรม และให้การสงเคราะห์แก่ประชาชนผู้ติดต่อราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตนโดยไม่ชักช้า และด้วยความสุภาพเรียบร้อย ห้ามมิให้ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงประชาชนผู้ติดต่อราชการ การดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงประชาชนผู้ติดต่อราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๙๕ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาผลประโยชน์อันอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรมหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน มาตรา ๙๖ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการหรือผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท มาตรา ๙๗ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ และในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชน กับจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการว่าด้วยมารยาททางการเมืองของข้าราชการด้วย มาตรา ๙๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาชื่อเสียงของตน และรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย โดยไม่กระทำการใด ๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว การกระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก หรือโทษที่หนักกว่าจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก หรือให้รับโทษที่หนักกว่าจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ หรือกระทำการอื่นใดอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๙๙ ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่เสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีวินัย ป้องกันมิให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัย และดำเนินการทางวินัยแก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาซึ่งมีกรณีอันมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย การเสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีวินัย ให้กระทำโดยการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี การฝึกอบรม การสร้างขวัญและกำลังใจ การจูงใจหรือการอื่นใดในอันที่จะเสริมสร้างและพัฒนาทัศนคติ จิตสำนึก และพฤติกรรมของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาให้เป็นไปในทางที่มีวินัย การป้องกันมิให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัย ให้กระทำโดยการเอาใจใส่สังเกตการณ์ และขจัดเหตุที่อาจก่อให้เกิดการกระทำผิดวินัยในเรื่องอันอยู่ในวิสัยที่จะดำเนินการป้องกันตามควรแก่กรณีได้ เมื่อปรากฏกรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยโดยมีพยานหลักฐานในเบื้องต้นอยู่แล้ว ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยทันที เมื่อมีการกล่าวหาโดยปรากฏตัวผู้กล่าวหา หรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยโดยยังไม่มีพยานหลักฐาน ให้ผู้บังคับบัญชารีบดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณาในเบื้องต้นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยหรือไม่ ถ้าเห็นว่ากรณีไม่มีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย จึงจะยุติเรื่องได้ ถ้าเห็นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย ก็ให้ดำเนินการทางวินัยทันที การดำเนินการทางวินัยแก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาซึ่งมีกรณีอันมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย ให้ดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๕ ผู้บังคับบัญชาผู้ใดละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรานี้ และตามหมวด ๕ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวโดยไม่สุจริต ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย มาตรา ๑๐๐ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดฝ่าฝืนข้อห้ามหรือไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ ผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัย จักต้องได้รับโทษทางวินัย เว้นแต่มีเหตุอันควรงดโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๕ โทษทางวินัยมี ๕ สถาน คือ (๑) ภาคทัณฑ์ (๒) ตัดเงินเดือน (๓) ลดขั้นเงินเดือน (๔) ปลดออก (๕) ไล่ออก มาตรา ๑๐๑ การลงโทษข้าราชการพลเรือนสามัญให้ทำเป็นคำสั่ง วิธีการออกคำสั่งเกี่ยวกับการลงโทษ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. วางไว้ ผู้สั่งลงโทษต้องสั่งลงโทษให้เหมาะสมกับความผิด และมิให้เป็นไปโดยพยาบาท โดยอคติ หรือโดยโทสะจริตหรือลงโทษผู้ที่ไม่มีความผิด ในคำสั่งลงโทษให้แสดงว่าผู้ถูกลงโทษกระทำผิดวินัยในกรณีใดตามมาตราใด หมวด ๕ การดำเนินการทางวินัย มาตรา ๑๐๒ การดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งมีกรณีอันมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย ให้สอบสวนเพื่อให้ได้ความจริงและยุติธรรมโดยไม่ชักช้า การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นกรณีกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ดำเนินการตามวิธีการที่ผู้บังคับบัญชาเห็นสมควร ถ้าเป็นกรณีกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวน และในการสอบสวนนี้ต้องแจ้งข้อกล่าวหา และสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ โดยจะระบุหรือไม่ระบุชื่อพยานก็ได้ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหา เมื่อดำเนินการแล้วถ้าฟังได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดวินัยก็ให้ดำเนินการตามมาตรา ๑๐๓ หรือมาตรา ๑๐๔ แล้วแต่กรณี ถ้ายังฟังไม่ได้ว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัย จึงจะยุติเรื่องได้ การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามวรรคสอง ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ เป็นผู้สั่งแต่งตั้ง ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งต่างระดับกันถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงร่วมกัน ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ สำหรับผู้ถูกกล่าวหาที่มีตำแหน่งในระดับสูงกว่าเป็นผู้ดำเนินการตามวรรคสามได้ นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามวรรคสองสำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญในทุกกระทรวง ทบวง กรม ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามวรรคสอง ในเรื่องที่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหาตามมาตรา ๑๑๔ (๔) หรือมาตรา ๑๑๕ และคณะกรรมการสอบสวนตามมาตราดังกล่าวได้สอบสวนไว้แล้ว คณะกรรมการสอบสวนตามวรรคสองจะนำสำนวนการสอบสวนตามมาตราดังกล่าวมาใช้เป็นสำนวนการสอบสวน และทำความเห็นเสนอผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยถือว่าได้มีการสอบสวนตามวรรคสองแล้วก็ได้ แต่ทั้งนี้ ต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยจะระบุหรือไม่ระบุชื่อพยานก็ได้ และต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณากรณีที่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ในกรณีที่เป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. จะดำเนินการทางวินัยโดยไม่สอบสวนก็ได้ มาตรา ๑๐๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อน จะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่สำหรับการลงโทษภาคทัณฑ์ให้ใช้เฉพาะกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย หรือมีเหตุอันควรลดหย่อน ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษตัดเงินเดือน ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่าผู้นั้นควรจะต้องได้รับโทษสูงกว่าที่ตนมีอำนาจสั่งลงโทษ ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นที่มีอำนาจเพื่อให้พิจารณาดำเนินการเพื่อลงโทษตามควรแก่กรณี ในกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย และมีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้ การลงโทษตามมาตรานี้ ผู้บังคับบัญชาใดจะมีอำนาจสั่งลงโทษผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ในสถานโทษและอัตราโทษใดได้เพียงใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๐๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก ตามความร้ายแรงแห่งกรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก ทั้งนี้ ภายใต้บังคับวรรคสอง ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนที่แต่งตั้งตามมาตรา ๑๐๒ หรือผู้มีอำนาจตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสาม วรรคสี่ หรือวรรคห้า แล้วแต่กรณี เห็นว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง สมควรลงโทษปลดออก หรือไล่ออก ให้ดำเนินการดังนี้ (๑) สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๑๑ ลงมาถึงระดับ ๘ และสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๗ ลงมาที่กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงร่วมกันกับผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๘ ขึ้นไป หรือที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ๑๐๒ วรรคห้า ในราชการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. กระทรวงซึ่งผู้ถูกกล่าวหาสังกัดอยู่พิจารณา และเมื่อ อ.ก.พ. กระทรวงมีมติเป็นประการใด ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้มีอำนาจสั่งบรรจุดังกล่าว แล้วแต่กรณี สั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น (๒) สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๗ ลงมา ในราชการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. กรมซึ่งผู้ถูกกล่าวหาสังกัดอยู่พิจารณา และเมื่อ อ.ก.พ. กรมมีมติเป็นประการใด ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุดังกล่าวสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น ทั้งนี้ ภายใต้บังคับ (๑) (๓) สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๗ ลงมาในราชการบริหารส่วนภูมิภาคซึ่งมิใช่หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ (๕) ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. จังหวัดซึ่งผู้ถูกกล่าวหาสังกัดอยู่พิจารณา และเมื่อ อ.ก.พ. จังหวัดมีมติเป็นประการใด ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุดังกล่าวสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๑๐๒วรรคสาม หรือตามมาตรานี้ ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๕๒ ระดับเหนือขึ้นไปมีอำนาจดำเนินการตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสาม หรือตามมาตรานี้ได้ ผู้ใดถูกลงโทษปลดออกตามมาตรานี้ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ มาตรา ๑๐๕ ให้กรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาและให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพียงเท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของกรรมการสอบสวน และโดยเฉพาะให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วยคือ (๑) เรียกให้กระทรวง ทบวง กรม หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ หรือห้างหุ้นส่วนบริษัท ชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจง หรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน (๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน มาตรา ๑๐๖ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำหรือละเว้นกระทำการใดที่พึงเห็นได้ว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง และเป็นการกล่าวหาเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น หรือต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวน หรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ หรือเป็นการกล่าวหาเป็นหนังสือโดยผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นหรือมีกรณีถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา เว้นแต่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทที่ไม่เกี่ยวกับราชการ หรือความผิดลหุโทษ แม้ภายหลังผู้นั้นจะออกจากราชการไปแล้ว เว้นแต่ออกจากราชการเพราะตาย ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสาม วรรคสี่ หรือวรรคห้า หรือมาตรา ๑๐๔ วรรคสาม แล้วแต่กรณี มีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณาตามมาตรา ๙๙ และดำเนินการทางวินัยตามที่บัญญัติในหมวดนี้ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ เว้นแต่กรณีที่ผลการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยที่จะต้องลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน ก็ให้งดโทษเสียได้ มาตรา ๑๐๗ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสาม วรรคสี่ หรือวรรคห้า แล้วแต่กรณี มีอำนาจสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาได้ แต่ถ้าภายหลังปรากฏผลการสอบสวนพิจารณาว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิด หรือกระทำผิดไม่ถึงกับจะถูกลงโทษปลดออก หรือไล่ออก และไม่มีกรณีที่จะต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่นก็ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิม หรือตำแหน่งในระดับเดียวกันที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๑๐๔ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม เมื่อได้มีการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดพักราชการหรือออกจากราชการไว้ก่อนตามวรรคหนึ่งแล้ว ภายหลังปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในกรณีอื่นอีก ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสาม วรรคสี่ หรือวรรคห้า หรือมาตรา ๑๐๔ วรรคสาม แล้วแต่กรณี มีอำนาจดำเนินการสืบสวน หรือพิจารณาตามมาตรา ๙๙ และแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสอง ตลอดจนดำเนินการทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ต่อไปได้ ในกรณีที่สั่งให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนกลับเข้ารับราชการ หรือสั่งให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนออกจากราชการด้วยเหตุอื่นที่มิใช่เป็นการลงโทษเพราะกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ก็ให้ผู้นั้นมีสถานภาพเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตลอดระยะเวลาระหว่างที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน เสมือนว่าผู้นั้นเป็นผู้ถูกสั่งพักราชการ เงินเดือน เงินอื่นที่จ่ายเป็นรายเดือน และเงินช่วยเหลืออย่างอื่นและการจ่ายเงินดังกล่าวของผู้ถูกสั่งพักราชการ และผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น สำหรับผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ถ้าไม่มีกฎหมายหรือระเบียบดังกล่าว ให้ถือเสมือนว่าผู้นั้นเป็นผู้ถูกสั่งพักราชการ หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสั่งพักราชการ การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ระยะเวลาให้พักราชการและให้ออกจากราชการไว้ก่อน และการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามผลการสอบสวนพิจารณา ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๐๘ การลงโทษข้าราชการพลเรือนสามัญในส่วนราชการที่มีกฎหมายว่าด้วยวินัยโดยเฉพาะ จะลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้ หรือลงทัณฑ์หรือลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยวินัยนั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามควรแก่กรณีและพฤติการณ์ก็ได้ แต่ถ้าเป็นกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามพระราชบัญญัตินี้ ก็ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๙ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการทางวินัยตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายว่าด้วยวินัยข้าราชการในส่วนราชการใดโดยเฉพาะ หรือดำเนินการสอบสวนตามมาตรา ๑๑๔ (๔) หรือมาตรา ๑๑๕ แก่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใด หรือสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดออกจากราชการไปแล้ว ให้รายงานการดำเนินการทางวินัยหรือการสอบสวนหรือการสั่งให้ออกจากราชการต่อผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นตามลำดับจนถึงอธิบดี ในกรณีที่เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญในสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีหรือราชบัณฑิตยสถาน ให้รายงานตามลำดับจนถึงรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ทั้งนี้ ตามระเบียบว่าด้วยการรายงานการดำเนินการทางวินัยที่ ก.พ. วางไว้ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาที่ได้รับรายงานตามวรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจตามมาตรา ๑๐๓ และมีตำแหน่งเหนือผู้ดำเนินการทางวินัยเห็นว่าการยุติเรื่องการงดโทษหรือการลงโทษที่มิใช่เป็นการลงโทษหรือลงทัณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยข้าราชการในส่วนราชการใดโดยเฉพาะ และมิใช่เป็นการดำเนินการตามมติของ อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัดเป็นการไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ก็ให้มีอำนาจสั่งลงโทษ เพิ่มโทษเป็นสถานโทษหรืออัตราโทษที่หนักขึ้นลดโทษลงเป็นสถานโทษหรืออัตราโทษที่เบาลง งดโทษโดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือน หรือยกโทษให้ถูกต้องหรือเหมาะสมตามควรแก่กรณี ตลอดจนแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในคำสั่งเดิมให้เป็นการถูกต้องเหมาะสมได้ด้วย และในกรณีที่เห็นว่าควรดำเนินการ อย่างใดเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาให้ได้ความจริงและยุติธรรม ก็ให้มีอำนาจดำเนินการหรือสั่งดำเนินการได้ตามควรแก่กรณี ทั้งนี้ การสั่งลงโทษหรือเพิ่มโทษเป็นสถานโทษที่หนักขึ้น ต้องไม่เกินอำนาจของตนตามมาตรา ๑๐๓ และการเพิ่มอัตราโทษเมื่อรวมกับอัตราโทษเดิมต้องไม่เกินอำนาจนั้นด้วย ถ้าเกินอำนาจของตนก็ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นตามลำดับเพื่อให้พิจารณาดำเนินการตามควรแก่กรณี ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษหรือลงทัณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยข้าราชการในส่วนราชการใดโดยเฉพาะหรือสั่งยุติเรื่อง งดโทษหรือสั่งลงโทษตามมาตรา ๑๐๓ หรือสั่งให้ออกจากราชการ ซึ่งมิใช่เป็นการดำเนินการตามมติของ อ.ก.พ. จังหวัด ตามมาตรา ๑๐๔ มาตรา ๑๑๔ (๔) มาตรา ๑๑๕ มาตรา ๑๑๖ หรือมาตรา ๑๒๕ แก่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไปแล้ว แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดหรืออธิบดีหรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดที่ได้รับรายงานตามวรรคหนึ่ง เห็นว่ากรณีเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงก็ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรืออธิบดีหรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด แล้วแต่กรณี มีอำนาจดำเนินการตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสาม และมาตรา ๑๐๔ วรรคสอง แต่ถ้าเป็นกรณีที่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสาม แล้ว ก็ให้ดำเนินการตามมาตรา ๑๐๔ วรรคสอง ในกรณีที่อธิบดีที่ได้รับรายงานตามวรรคหนึ่ง มีความเห็นขัดแย้งกับความเห็นของผู้ว่าราชการจังหวัด หรือความเห็นหรือมติของ อ.ก.พ. จังหวัด ตามมาตรา ๑๐๔ วรรคสองมาตรา ๑๑๔ (๔) มาตรา ๑๑๕ มาตรา ๑๑๖ หรือมาตรา ๑๒๕ เกี่ยวกับการพิจารณาข้อเท็จจริงข้อกฎหมาย หรือการอื่นใดตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ว่าจะในทางเป็นโทษหรือเป็นคุณแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใด ก็ให้ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. กระทรวงซึ่งผู้นั้นสังกัดอยู่พิจารณา เมื่อ อ.ก.พ. กระทรวงมีมติเป็นประการใด ให้อธิบดีหรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด แล้วแต่กรณี สั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น และในกรณีที่จะต้องสั่งให้ผู้ซึ่งออกจากราชการไปแล้วกลับเข้ารับราชการตามมติของ อ.ก.พ. กระทรวง ก็ให้นำมาตรา ๑๐๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม เมื่อได้มีคำสั่งเพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ ถ้าเพิ่มโทษเป็นสถานโทษที่หนักขึ้นหรือลดโทษเป็นสถานโทษที่เบาลง หรืองดโทษหรือยกโทษ คำสั่งลงโทษเดิมให้เป็นอันยกเลิก ถ้าลดโทษเป็นอัตราโทษที่เบาลง อัตราโทษส่วนที่เกินก็ให้เป็นอันยกเลิก ในกรณีที่คำสั่งลงโทษตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือนเป็นอันยกเลิก หรืออัตราโทษส่วนที่เกินเป็นอันยกเลิก ให้คืนเงินเดือนที่ได้ตัดหรือลดไปแล้วตามคำสั่งที่เป็นอันยกเลิก หรืออัตราโทษส่วนเกินที่เป็นอันยกเลิกนั้นให้แก่ผู้ถูกลงโทษ แต่ถ้าคำสั่งที่เป็นอันยกเลิกเป็นคำสั่งลงโทษหรือลงทัณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยข้าราชการในส่วนราชการใดโดยเฉพาะ และผู้ถูกสั่งลงโทษหรือลงทัณฑ์ได้รับโทษหรือทัณฑ์นั้นไปแล้ว ก็ให้เป็นอันพับไป เมื่ออธิบดีได้ดำเนินการทางวินัย หรือได้รับรายงานตามวรรคหนึ่งและได้พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่แล้ว ให้รายงานไปยัง อ.ก.พ. กระทรวง ซึ่งผู้ถูกดำเนินการทางวินัยสังกัดอยู่เพื่อพิจารณา ทั้งนี้ ตามกรณีที่กำหนดในระเบียบว่าด้วยการรายงานการดำเนินการทางวินัยที่ ก.พ. วางไว้ ในกรณีที่ อ.ก.พ. กระทรวงที่ได้รับรายงานตามวรรคหก เห็นว่าการดำเนินการทางวินัยเป็นการไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม และมีมติเป็นประการใด ให้อธิบดีสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น มาตรา ๑๑๐ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการทางวินัย หรือสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการในเรื่องใดไปแล้ว ถ้า ก.พ. พิจารณาเห็นเป็นการสมควรที่จะต้องสอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์แห่งความเป็นธรรม หรือเพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลให้กระทรวง ทบวง กรมปฏิบัติการตามหมวด ๔ และหมวดนี้ โดยถูกต้องและเหมาะสมตามความเป็นธรรม ก็ให้ ก.พ. มีอำนาจสอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมในเรื่องนั้นได้ตามความจำเป็น โดยจะสอบสวนเองหรือตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญหรือคณะกรรมการสอบสวน ให้สอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมแทนก็ได้ หรือกำหนดประเด็นหรือข้อสำคัญที่ต้องการทราบส่งไปเพื่อให้คณะกรรมการสอบสวนที่ผู้บังคับบัญชาได้แต่งตั้งไว้เดิมทำการสอบสวนเพิ่มเติมได้ด้วย ในกรณีที่ ก.พ. ตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญเพื่อทำหน้าที่พิจารณาเรื่องการดำเนินการทางวินัยหรือการออกจากราชการแทน ก.พ. ก็ให้ อ.ก.พ. วิสามัญนั้นมีอำนาจสอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมโดยจะสอบสวนเองหรือแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้สอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมแทนก็ได้ และมีอำนาจกำหนดประเด็นหรือข้อสำคัญที่ต้องการทราบส่งไปเพื่อให้คณะกรรมการสอบสวนที่ผู้บังคับบัญชาได้แต่งตั้งไว้เดิมทำการสอบสวนเพิ่มเติมได้ด้วย ในการสอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติม ถ้า ก.พ. หรือ อ.ก.พ. วิสามัญพิจารณาเห็นเป็นการสมควรส่งประเด็นหรือข้อสำคัญใดที่ต้องการทราบไปสอบสวนพยานหลักฐานซึ่งอยู่ต่างท้องที่ ก็ให้ ก.พ. และ อ.ก.พ. วิสามัญมีอำนาจกำหนดประเด็นหรือข้อสำคัญนั้นส่งไปเพื่อให้หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานในท้องที่นั้นทำการสอบสวนแทนได้ ในกรณีที่ ก.พ. หรือ อ.ก.พ. วิสามัญ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้สอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติม หรือส่งประเด็นหรือข้อสำคัญไปเพื่อให้คณะกรรมการสอบสวน หรือหัวหน้าส่วนราชการ หรือหัวหน้าหน่วยงานดำเนินการตามวรรคหนึ่ง วรรคสองและวรรคสาม ในเรื่องเกี่ยวกับกรณีกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสอง ให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณาตามมาตรา ๑๐๒ วรรคเจ็ด มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในการดำเนินการตามมาตรานี้ ให้นำมาตรา ๑๐๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย มาตรา ๑๑๑ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งโอนมาจากพนักงานเทศบาล พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือข้าราชการตามมาตรา ๖๑ ผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยอยู่ก่อนวันโอนมาบรรจุ ให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นดำเนินการทางวินัยตามหมวดนี้โดยอนุโลม แต่ถ้าเป็นเรื่องที่อยู่ในระหว่างการสืบสวนหรือสอบสวนของทางผู้บังคับบัญชาเดิมก่อนวันโอน ก็ให้สืบสวนหรือสอบสวนต่อไปจนเสร็จ แล้วส่งเรื่องไปให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นพิจารณาดำเนินการต่อไปตามหมวดนี้โดยอนุโลม และในกรณีที่จะต้องสั่งลงโทษทางวินัย ให้ปรับบทความผิดและลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบพนักงานเทศบาล พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือข้าราชการนั้นโดยอนุโลม หมวด ๖ การออกจากราชการ มาตรา ๑๑๒ ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการเมื่อ (๑) ตาย (๒) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๓) ลาออกจากราชการและได้รับอนุญาตให้ลาออกหรือการลาออกมีผลตามมาตรา ๑๑๓ (๔) ถูกสั่งให้ออกตามมาตรา ๕๔ มาตรา ๖๗ มาตรา ๑๐๗ มาตรา ๑๑๔ มาตรา ๑๑๕ มาตรา ๑๑๖ มาตรา ๑๑๗ มาตรา ๑๑๘ หรือมาตรา ๑๒๓ หรือ (๕) ถูกสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก วันออกจากราชการตาม (๔) และ (๕) ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. วางไว้ การต่อเวลาราชการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ต้องออกจากราชการตาม (๒)รับราชการต่อไป จะกระทำมิได้ มาตรา ๑๑๓ นอกจากกรณีตามวรรคสี่ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการ ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ เป็นผู้พิจารณาอนุญาต ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ พิจารณาเห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการจะยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกินเก้าสิบวันนับตั้งแต่วันขอลาออกก็ได้ แต่ต้องแจ้งการยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกพร้อมทั้งเหตุผลให้ผู้ขอลาออกทราบ และเมื่อครบกำหนดเวลาที่ยับยั้งแล้วให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันถัดจากวันครบกำหนดเวลาที่ยับยั้ง ถ้าผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ไม่ได้อนุญาตให้ลาออกตามวรรคหนึ่งและไม่ได้ยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกตามวรรคสอง ให้การลาออกนั้นมีผลตั้งแต่วันขอลาออก ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชา และให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการลาออก การพิจารณาอนุญาตให้ลาออกและการยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสี่ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. วางไว้ มาตรา ๑๑๔ ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้ในกรณีที่กฎหมายดังกล่าวบัญญัติให้ผู้ถูกสั่งให้ออกมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญแต่ในการสั่งให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุรับราชการนานจะต้องมีกรณีตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ด้วย และการสั่งให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน นอกจากให้ทำได้ในกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตราอื่นแห่งพระราชบัญญัตินี้และกรณีที่กฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการบัญญัติให้ผู้ถูกสั่งให้ออกมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนแล้ว ให้ทำได้ในกรณีต่อไปนี้ด้วย คือ (๑) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอ ถ้าผู้มีอำนาจดังกล่าวเห็นสมควรให้ออกจากราชการแล้ว ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้ (๒) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดสมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการ ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ (๓) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๓๐ (๑) (๔) (๕) (๘) หรือ (๙) ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ (๔) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๓๐ (๓) และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ เห็นว่ากรณีมีมูล ก็ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยไม่ชักช้า และให้นำมาตรา ๑๑๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่ อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด มีมติว่าผู้นั้นเป็นผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๓๐ (๓) ก็ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจาก ราชการ (๕) เมื่อทางราชการเลิกหรือยุบตำแหน่งใด ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งนั้นออกจากราชการได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด (๖) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการได้ ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๑๕ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหา หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ บกพร่องในหน้าที่ราชการหรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ เห็นว่ากรณีมีมูล ถ้าให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป จะเป็นการเสียหายแก่ราชการ ก็ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยไม่ชักช้า ในการสอบสวนนี้จะต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ โดยจะระบุหรือไม่ระบุชื่อพยานก็ได้และต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ด้วย ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๑๐๒ วรรคสี่ วรรคห้า และวรรคแปด มาตรา ๑๐๔ วรรคสอง และมาตรา ๑๐๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่ อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัดมีมติให้ผู้นั้นออกจากราชการ ก็ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหาตามมาตรา ๑๐๒ ในเรื่องที่จะต้องสอบสวนตามวรรคหนึ่ง และคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ๑๐๒ ได้สอบสวนไว้แล้ว ผู้มีอำนาจตามวรรคหนึ่งจะใช้สำนวนการสอบสวนนั้นพิจารณาดำเนินการโดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามวรรคหนึ่งก็ได้ หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณา ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ในกรณีที่เป็นกรณีที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. จะดำเนินการตามวรรคหนึ่งโดยไม่สอบสวนก็ได้ มาตรา ๑๑๖ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ๑๐๒ และคณะกรรมการสอบสวนหรือผู้มีอำนาจตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสามวรรคสี่ หรือวรรคห้า หรือมาตรา ๑๐๙ วรรคสาม แล้วแต่กรณี เห็นว่ากรณีมีเหตุอันควรสงสัยอย่างยิ่งว่าผู้นั้นได้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่การสอบสวนไม่ได้ความแน่ชัดพอที่จะฟังลงโทษตามมาตรา ๑๐๔ วรรคหนึ่ง ถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ ก็ให้ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด แล้วแต่กรณี พิจารณาให้ออกจากราชการ ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๑๐๔ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่ อ.ก.พ. ดังกล่าวมีมติให้ผู้นั้นออกจากราชการเพราะมีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวน ก็ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา ๑๑๗ เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดต้องรับโทษจำคุกโดยคำสั่งของศาล หรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออก หรือไล่ออก ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ จะสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการก็ได้ มาตรา ๑๑๘ เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคหนึ่ง และต่อมาปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตราอื่นอยู่ก่อนไปรับราชการทหาร ก็ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ มีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ออกตามวรรคหนึ่ง เป็นให้ออกจากราชการตามมาตราอื่นนั้นได้ มาตรา ๑๑๙ ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามหมวดนี้ หรือตามมาตรา ๕๔ หรือมาตรา ๖๗ ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๕๒ ระดับเหนือขึ้นไปมีอำนาจดำเนินการตามหมวดนี้ หรือตามมาตรา ๕๔ หรือมาตรา ๖๗ แล้วแต่กรณีได้ มาตรา ๑๒๐ การออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๑๐ ขึ้นไป ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่งนับแต่วันออกจากราชการ มาตรา ๑๒๑ ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัด อธิบดี หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดที่ได้รับรายงานตามมาตรา ๑๐๙ วรรคหนึ่ง เห็นว่าสมควรให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดออกจากราชการตามมาตรา ๑๑๔ (๔) หรือมาตรา ๑๑๕ ก็ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรืออธิบดี หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด แล้วแต่กรณี ดำเนินการตามมาตรา ๑๑๔ (๔) หรือมาตรา ๑๑๕ แต่ถ้าเป็นกรณีที่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตราดังกล่าว หรือมาตรา ๑๐๒ แล้ว ก็ให้ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. จังหวัด อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. กระทรวง แล้วแต่กรณี พิจารณา ในกรณีที่อธิบดีที่ได้รับรายงานตามมาตรา ๑๐๙ วรรคหนึ่ง มีความเห็นขัดแย้งกับความเห็นของผู้ว่าราชการจังหวัด หรือความเห็นหรือมติของ อ.ก.พ. จังหวัดตามมาตรา ๑๐๔วรรคสอง มาตรา ๑๐๙ วรรคสาม มาตรา ๑๑๔ (๔) มาตรา ๑๑๕ มาตรา ๑๑๖ หรือมาตรา ๑๒๕โดยเห็นสมควรให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดออกจากราชการตามหมวดนี้ หรือตามมาตรา ๕๔หรือมาตรา ๖๗ หรือเห็นสมควรให้ยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดออกจากราชการตามหมวดนี้ หรือมาตรา ๕๔ หรือมาตรา ๖๗ หรือเห็นสมควรให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการผู้ใดกลับเข้ารับราชการ ก็ให้ดำเนินการตามมาตรา ๑๐๙ วรรคสี่ โดยอนุโลม ในกรณีที่จะต้องสั่งให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการกลับเข้ารับราชการให้นำมาตรา ๑๐๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม เมื่ออธิบดีได้สั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการหรือดำเนินการตามมาตรา ๑๑๔ (๔) หรือมาตรา ๑๑๕ หรือได้รับรายงานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวตามมาตรา ๑๐๙วรรคหนึ่งและได้พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่แล้ว ให้รายงานไปยัง อ.ก.พ. กระทรวง ซึ่งผู้ถูกดำเนินการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการสังกัดอยู่เพื่อพิจารณา ทั้งนี้ ตามกรณีที่กำหนดในระเบียบว่าด้วยการรายงานเกี่ยวกับการดำเนินการให้ออกจากราชการที่ ก.พ. วางไว้ และให้นำมาตรา ๑๐๙ วรรคเจ็ด มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๒๒ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการทางวินัยหรือสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการในเรื่องใดไปแล้ว ถ้า ก.พ. พิจารณาเห็นเป็นการสมควรที่จะต้องสอบสวนใหม่ หรือสอบสวนเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์แห่งความเป็นธรรม หรือเพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลให้กระทรวง ทบวง กรมปฏิบัติการตามหมวดนี้ หรือตามมาตรา ๕๔ หรือมาตรา ๖๗โดยถูกต้องและเหมาะสมตามความเป็นธรรม ก็ให้ ก.พ. มีอำนาจสอบสวนใหม่ หรือสอบสวนเพิ่มเติมในเรื่องนั้นได้ตามความจำเป็น และให้นำมาตรา ๑๑๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่ ก.พ. หรือ อ.ก.พ. วิสามัญแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้สอบสวนใหม่ หรือสอบสวนเพิ่มเติม หรือส่งประเด็นหรือข้อสำคัญไปเพื่อให้คณะกรรมการสอบสวนที่ผู้บังคับบัญชาได้แต่งตั้งไว้เดิมทำการสอบสวนเพิ่มเติม หรือเพื่อให้หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานในต่างท้องที่ทำการสอบสวนแทนในเรื่องเกี่ยวกับกรณีตามมาตรา ๑๑๔ (๔) หรือมาตรา ๑๑๕ ให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณาตามมาตรา ๑๑๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๒๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งโอนมาจากพนักงานเทศบาล พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือข้าราชการตามมาตรา ๖๑ ผู้ใดมีกรณีที่สมควรให้ออกจากงานหรือออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบพนักงานเทศบาล พนักงานส่วนท้องถิ่นหรือข้าราชการนั้นอยู่ก่อนวันโอนมาบรรจุ ให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นมีอำนาจพิจารณาดำเนินการตามหมวดนี้ หรือตามมาตรา ๖๗ ได้โดยอนุโลม แต่ถ้าเป็นเรื่องที่อยู่ในระหว่างการสืบสวนหรือสอบสวนของทางผู้บังคับบัญชาเดิมก่อนวันโอนก็ให้สืบสวนหรือสอบสวนต่อไปจนเสร็จ แล้วส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นพิจารณาดำเนินการต่อไปตามหมวดนี้ หรือตามมาตรา ๖๗ แล้วแต่กรณีโดยอนุโลมและในกรณีที่จะต้องสั่งให้ออกจากราชการ ให้ปรับบทกรณีให้ออกตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบพนักงานเทศบาล พนักงานส่วนท้องถิ่นหรือข้าราชการนั้นโดยอนุโลม หมวด ๗ การอุทธรณ์ มาตรา ๑๒๔ ผู้ใดถูกสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ มาตรา ๑๒๕ การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน ให้อุทธรณ์ได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง โดยให้อุทธรณ์ดังนี้ (๑) การอุทธรณ์คำสั่งของผู้บังคับบัญชาในราชการบริหารส่วนภูมิภาคที่ต่ำกว่าผู้ว่าราชการจังหวัด ให้อุทธรณ์ต่อ อ.ก.พ. จังหวัด และให้ อ.ก.พ. จังหวัดเป็นผู้พิจารณาอุทธรณ์ เมื่อ อ.ก.พ. จังหวัดมีมติเป็นประการใด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น (๒) การอุทธรณ์คำสั่งของผู้บังคับบัญชาในราชการบริหารส่วนกลางที่ต่ำกว่าอธิบดี ให้อุทธรณ์ต่อ อ.ก.พ. กรม และให้ อ.ก.พ. กรมเป็นผู้พิจารณาอุทธรณ์ เมื่อ อ.ก.พ. กรมมีมติเป็นประการใด ให้อธิบดีสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น (๓) การอุทธรณ์คำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด หรืออธิบดี ให้อุทธรณ์ต่อ อ.ก.พ. กระทรวงเจ้าสังกัด และให้ อ.ก.พ. กระทรวงเป็นผู้พิจารณา เมื่อ อ.ก.พ. กระทรวงมีมติเป็นประการใด ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น (๔) การอุทธรณ์คำสั่งของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรือปลัดกระทรวงหรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีหรือตามมติของ อ.ก.พ. กระทรวงให้อุทธรณ์ต่อ ก.พ. และให้นำมาตรา ๑๒๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๒๖ การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก ให้อุทธรณ์ต่อ ก.พ.ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง เมื่อ ก.พ. ได้พิจารณาวินิจฉัยแล้ว ให้รายงานนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่เห็นด้วยกับมติของ ก.พ. และ ก.พ. พิจารณาความเห็นของนายกรัฐมนตรีแล้วยังยืนยันตามมติเดิม ให้ ก.พ. รายงานต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาวินิจฉัย การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีสั่งการหรือคณะรัฐมนตรีมีมติตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้อุทธรณ์กลับเข้ารับราชการ หรือให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งของผู้บังคับบัญชาหรือให้ดำเนินการประการใด ให้กระทรวง ทบวง กรมดำเนินการให้เป็นไปตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีหรือมติคณะรัฐมนตรี และเมื่อนายกรัฐมนตรีสั่งการหรือคณะรัฐมนตรีมีมติตามวรรคหนึ่งเป็นประการใดแล้วจะอุทธรณ์ต่อไปอีกมิได้ ในกรณีที่สั่งให้ผู้อุทธรณ์กลับเข้ารับราชการ ให้นำมาตรา ๑๐๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๒๗ ในการพิจารณาอุทธรณ์ ให้ ก.พ. มีอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๑๐ และมาตรา ๑๒๒ และในกรณีที่ ก.พ. ตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญเพื่อทำหน้าที่พิจารณาเรื่องการอุทธรณ์แทน ก.พ. ก็ให้ อ.ก.พ. วิสามัญนั้นมีอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๑๐ วรรคสอง และวรรคสาม และมาตรา ๑๒๒ และให้นำมาตรา ๑๐๕ มาตรา ๑๑๐ วรรคสี่ และมาตรา ๑๒๒ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๒๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งโอนมาจากพนักงานเทศบาล พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือข้าราชการตามมาตรา ๖๑ ผู้ใดถูกสั่งลงโทษทางวินัยอยู่ก่อนวันโอนมาบรรจุและผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบพนักงานเทศบาล ระเบียบพนักงานส่วนท้องถิ่น หรือระเบียบข้าราชการที่โอนมา แต่ยังมิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ตามกฎหมายดังกล่าว ก็ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๒๕ ได้ แต่ถ้าผู้นั้นได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบพนักงานเทศบาล ระเบียบพนักงานส่วนท้องถิ่นหรือระเบียบข้าราชการที่โอนมาไว้แล้ว และในวันที่ผู้นั้นได้โอนมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ยังไม่แล้วเสร็จ ก็ให้ส่งเรื่องให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๑๒๕ เป็นผู้พิจารณาอุทธรณ์ หมวด ๘ การร้องทุกข์ มาตรา ๑๒๙ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วยเหตุใด ๆ ให้ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ได้ การร้องทุกข์ตามวรรคหนึ่งให้ร้องทุกข์ต่อ ก.พ. ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง และให้นำมาตรา ๑๒๖ ตลอดจนหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. และมาตรา ๑๒๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๓๐ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๒๙ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดเห็นว่าผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติต่อตนโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติต่อตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย หรือมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาต่อตนในกรณีตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ผู้นั้นอาจร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชา อ.ก.พ. จังหวัด อ.ก.พ. กรม อ.ก.พ. กระทรวง หรือ ก.พ. แล้วแต่กรณี ตามที่กำหนดไว้ในกฎ ก.พ. เพื่อขอให้แก้ไขหรือแก้ความคับข้องใจได้ ทั้งนี้ เว้นแต่กรณีที่มีสิทธิอุทธรณ์ตามหมวด ๗ ซึ่งต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ตามที่กำหนดไว้ในหมวดนั้น การร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. ลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ มาตรา ๑๓๑[๖] ภายใต้บังคับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยการให้มี อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง และ อ.ก.พ. ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม การกำหนดตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง การบรรจุ การแต่งตั้ง การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ วินัยและการรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ของข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ให้เป็นไปตามลักษณะ ๑ และลักษณะ ๓ เว้นแต่จะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดไว้เป็นพิเศษ ลักษณะ ๕ ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ มาตรา ๑๓๒ ตำแหน่งเอกอัครราชทูต กงสุลใหญ่ กงสุล และตำแหน่งอื่นที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ในต่างประเทศตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. อาจแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนสามัญหรือข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษก็ได้ เมื่อมีเหตุผลสมควรในทางการเมือง รัฐมนตรีเจ้าสังกัดจะบรรจุบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติทั่วไปหรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๓๐ เข้ารับราชการเป็นข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่งเป็นกรณีพิเศษโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีก็ได้ สำหรับตำแหน่งเอกอัครราชทูตและตำแหน่งเทียบเท่าอธิบดี ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง ภายใต้บังคับมาตรา ๓๑ ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษผู้ดำรงตำแหน่งใดจะได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด ให้นำมาตรา ๔๓ มาตรา ๗๒ มาตรา ๗๓ มาตรา ๗๔ และหมวด ๔ แห่ง ลักษณะ ๓ มาใช้บังคับแก่ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษโดยอนุโลม ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษจะโอนไปหรือกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนประเภทอื่นมิได้ มาตรา ๑๓๓ ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษออกจากราชการเมื่อ (๑) ตาย (๒) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๓) ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัดให้ลาออก (๔) รัฐมนตรีเจ้าสังกัดมีคำสั่งให้ออกโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี ไม่ว่าจะเป็นการออกโดยมีความผิดหรือไม่มีความผิดก็ตาม ในกรณีที่เป็นการออกจากราชการเพราะกระทำผิดวินัยให้เป็นไปตามลักษณะ ๓ โดยอนุโลม (๕) คณะรัฐมนตรีที่อนุมัติให้แต่งตั้งออกจากตำแหน่งทั้งคณะ หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดออกจากตำแหน่ง (๖) ขาดคุณสมบัติทั่วไปโดยไม่ได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๓๐ การต่อเวลาราชการให้ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษที่ต้องออกจากราชการตาม (๒) รับราชการต่อไป จะกระทำมิได้ ให้นำมาตรา ๑๒๐ มาใช้บังคับแก่การออกจากราชการของข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษโดยอนุโลม บทเฉพาะกาล มาตรา ๑๓๔ ให้ ก.พ. อ.ก.พ. วิสามัญ และ อ.ก.พ. สามัญ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือจนกว่าจะได้แต่งตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญ หรืออนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญ แล้วแต่กรณี ตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๓๕ ผู้ใดเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์หรือข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ หรือข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ ตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี ต่อไป ผู้ใดเป็นข้าราชการพลเรือนวิสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการพลเรือนวิสามัญต่อไป และให้นำมาตรา ๑๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ มาใช้บังคับแก่ผู้นั้น เว้นแต่ข้าราชการพลเรือนวิสามัญผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งที่ ก.พ. พิจารณาเห็นว่าทำหน้าที่อย่างเดียวกับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ หรือข้าราชการพลเรือนในพระองค์ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ หรือข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี โดยให้ได้รับเงินเดือนในอัตราเท่ากับเงินเดือนที่ได้รับอยู่ ทั้งนี้ เฉพาะผู้ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๓๐ (ข) เป็นผู้ได้รับประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาหรือที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบได้ไม่ต่ำกว่าประโยคมัธยมศึกษา และเป็นข้าราชการพลเรือนวิสามัญในตำแหน่งที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ หรือข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ติดต่อกันมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี ผู้ใดเป็นข้าราชการพลเรือนวิสามัญตามวรรคสอง แต่ไม่อยู่ในเกณฑ์ตาม (ข) ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการพลเรือนวิสามัญไปพลางก่อน เมื่อเข้าเกณฑ์ตาม (ข) ก็ให้เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ หรือข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี โดยให้ได้รับเงินเดือนในอัตราเท่ากับเงินเดือนที่ได้รับอยู่ มาตรา ๑๓๖ ในระหว่างที่บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนตามพระราชบัญญัตินี้ยังไม่มีผลใช้บังคับ ให้ข้าราชการพลเรือนได้รับเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน บัญชี ข. ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๑ มาตรา ๑๓๗ ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกา หรือออก กฎ ก.พ.ข้อบังคับ หรือระเบียบ หรือจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง หรือกำหนดกรณีใดเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำพระราชกฤษฎีกากฎ ก.พ. ข้อบังคับ ระเบียบ มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง หรือกรณีที่กำหนดไว้แล้วซึ่งใช้อยู่เดิมมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๓๘ ข้าราชการพลเรือนผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยหรือกรณีที่สมควรให้ออกจากราชการอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้บังคับบัญชาตามพระราชบัญญัตินี้มีอำนาจสั่งลงโทษผู้นั้น หรือสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ส่วนการสอบสวน การพิจารณา และการดำเนินการเพื่อลงโทษหรือให้ออกจากราชการ ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ (๑) กรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งให้สอบสวนโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และยังสอบสวนไม่เสร็จ ก็ให้สอบสวนตามกฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะเสร็จ (๒) ในกรณีที่ได้มีการสอบสวนหรือพิจารณาโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นเสร็จไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้การสอบสวนหรือพิจารณา แล้วแต่กรณีนั้นเป็นอันใช้ได้ (๓) กรณีที่ได้มีการรายงานหรือส่งเรื่อง หรือนำสำนวนเสนอ หรือส่งให้ อ.ก.พ. กระทรวงพิจารณาโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น และ อ.ก.พ. กระทรวงพิจารณาเรื่องนั้นยังไม่เสร็จ ก็ให้ อ.ก.พ. กระทรวงพิจารณาตามกฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะเสร็จ มาตรา ๑๓๙ ข้าราชการพลเรือนซึ่งโอนมาจากพนักงานเทศบาล พนักงานส่วนท้องถิ่นหรือข้าราชการประเภทอื่นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยหรือกรณีที่สมควรให้ออกจากงานหรือให้ออกจากราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบพนักงานเทศบาล ระเบียบพนักงานส่วนท้องถิ่น หรือระเบียบข้าราชการนั้นอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้บังคับบัญชาตามพระราชบัญญัตินี้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยแก่ผู้นั้น หรือดำเนินการสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้ ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๑๑๑ และมาตรา ๑๒๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๔๐ ผู้ใดถูกสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. ๒๕๑๘ หรือตามมาตรา ๑๓๘ แห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามมาตรา ๑๒๕ หรือมาตรา ๑๒๖ แล้วแต่กรณี มาตรา ๑๔๑ ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๔๖ มาตรา ๕๙ มาตรา๙๐ มาตรา ๙๖ มาตรา ๙๗ มาตรา ๙๘ มาตรา ๙๙ มาตรา ๑๐๐ หรือมาตรา ๑๒๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ หรือตามมาตรา ๑๓๘ แห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ได้ตามมาตรา ๑๒๙ มาตรา ๑๔๒ การใดอยู่ระหว่างดำเนินการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ การดำเนินการต่อไป สำหรับการนั้น ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๑๔๓ การใดที่เคยดำเนินการได้ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้อยู่ก่อนวันใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ และมิได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ จะดำเนินการได้ประการใด ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนดโดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] (๑) บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน[๗] (๒) บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือน[๘] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวบางส่วนไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน เช่น ในส่วนที่เกี่ยวกับองค์ประกอบของ ก.พ. และ อ.ก.พ. สามัญ อำนาจหน้าที่ของ ก.พ. และ อ.ก.พ. สามัญ การกำหนดตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือน การบรรจุและแต่งตั้ง การบำเหน็จความชอบ วินัยและการรักษาวินัย การออกจากราชการการร้องทุกข์ การอุทธรณ์ สมควรแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น นอกจากนี้ สมควรที่จะให้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการเพื่อให้การปฏิบัติราชการของข้าราชการพลเรือนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗[๙] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ข้าราชการพลเรือนในพระองค์และหน่วยงานที่ข้าราชการดังกล่าวสังกัดอยู่มีลักษณะพิเศษเกี่ยวพันกับราชการในพระองค์โดยใกล้ชิด สมควรกำหนดให้มี อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง และ อ.ก.พ. ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมที่แตกต่างจากข้าราชการพลเรือนสามัญ ทั้งนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะพิเศษของข้าราชการดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พรพิมล/แก้ไข ๑๖ ม.ค ๔๕ A+B(C) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๘[๑๐] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีการแยกบัญชีอัตราเงินเดือนและบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนไปบัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะแล้ว สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พรพิมล/แก้ไข ๑๖ ม.ค ๔๕ A+B(C) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๔[๑๑] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยราชบัณฑิตยสถานเพื่อกำหนดระบบบริหารงานด้านวิชาการและด้านการบริหารของราชบัณฑิตยสถานขึ้นใหม่ โดยให้นายกราชบัณฑิตยสถานซึ่งมาจากการเลือกของบรรดาราชบัณฑิตปฏิบัติงานแต่เฉพาะในด้านวิชาการ และให้เลขาธิการราชบัณฑิตยสถานเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของราชบัณฑิตยสถาน และปฏิบัติหน้าที่ตามที่สภาราชบัณฑิตยสถานมอบหมาย จึงต้องแก้ไของค์ประกอบของ อ.ก.พ. ซึ่งทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวงของราชบัณฑิตยสถานให้สอดคล้องกัน และในการนี้เมื่อได้กำหนดให้เลขาธิการราชบัณฑิตยสถานเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของราชบัณฑิตยสถานแล้ว อ.ก.พ. กรมของราชบัณฑิตยสถานจึงมีองค์ประกอบเช่นเดียวกับ อ.ก.พ. กรมของส่วนราชการอื่นได้ โดยไม่ต้องกำหนดให้ อ.ก.พ. กระทรวง ทำหน้าที่เป็น อ.ก.พ. กรมของราชบัณฑิตยสถานด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พรพิมล/แก้ไข ๑๓/๓/๒๕๔๕ B+A (C) นิลวรรณ / ปาจรีย์ ผู้จัดทำ ๑๑ มี.ค.๔๖ มยุรี/พิมพ์ ศุภสรณ์/ตรวจ ๒๔ พ.ค. ๒๕๔๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๓๑/หน้า ๑/๓๑ มีนาคม ๒๕๓๕ [๒] มาตรา ๑๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๔ [๓] มาตรา ๒๑ วรรคสาม ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๔ [๔] มาตรา ๓๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๘ [๕] มาตรา ๔๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๘ [๖] มาตรา ๑๓๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗ [๗]บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๘ [๘] บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือน ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ( ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๘ [๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๖๔ ก/๕/๓๑ ธันวาคม ๒๕๓๗ [๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑ ก/๓๔/๑ มกราคม ๒๕๓๘ [๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนที่ ๑๐๔ ก/๑๓/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๔
830946
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 (ฉบับ Update ณ วันที่ 01/05/2560)
พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นปีที่ ๖๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗ (๓) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๘ (๔) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๔ มิให้นำคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่ ๓๘/๒๕๑๙ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๙ มาใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือน มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “ข้าราชการพลเรือน” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณในกระทรวง กรมฝ่ายพลเรือน “ข้าราชการฝ่ายพลเรือน” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือน และข้าราชการอื่นในกระทรวง กรมฝ่ายพลเรือน ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทนั้น “กระทรวง” หมายความรวมถึงสำนักนายกรัฐมนตรีและทบวง “รัฐมนตรีเจ้าสังกัด” หมายความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวง รัฐมนตรีว่าการทบวง และหมายความรวมถึงนายกรัฐมนตรีในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาสำนักนายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวง “ปลัดกระทรวง” หมายความรวมถึงปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและปลัดทบวง “กรม” หมายความรวมถึงส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม “อธิบดี” หมายความว่า หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่ากรม “ส่วนราชการ” หมายความว่า ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและมีฐานะไม่ต่ำกว่ากรม มาตรา ๕ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ลักษณะ ๑ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน มาตรา ๖ ให้มีคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.” ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธาน ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมายซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับการสรรหาตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน แต่ไม่เกินเจ็ดคน และให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการและเลขานุการ กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต้องไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมืองและมิได้เป็นกรรมการโดยตำแหน่งอยู่แล้ว มาตรา ๗ กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งได้คราวละสามปี ถ้าตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนดและยังมีกรรมการดังกล่าวเหลืออยู่อีกไม่น้อยกว่าสามคนให้กรรมการที่เหลือปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ เมื่อตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนดให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการแทนภายในกำหนดสามสิบวัน เว้นแต่วาระของกรรมการเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่แต่งตั้งกรรมการแทนก็ได้ ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการแทนนั้นให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่ง จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการอีกก็ได้ ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่ ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่ มาตรา ๘ ก.พ. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐในด้านมาตรฐานค่าตอบแทน การบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล รวมตลอดทั้งการวางแผนกำลังคนและด้านอื่น ๆ เพื่อให้ส่วนราชการใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ (๒) รายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาปรับปรุงเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่มค่าครองชีพ สวัสดิการ หรือประโยชน์เกื้อกูลอื่นสำหรับข้าราชการฝ่ายพลเรือนให้เหมาะสม (๓) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน เพื่อส่วนราชการใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ (๔) ให้ความเห็นชอบกรอบอัตรากำลังของส่วนราชการ (๕) ออกกฎ ก.พ. และระเบียบเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ รวมตลอดทั้งการให้คำแนะนำหรือวางแนวทางในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎ ก.พ. เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ (๖) ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ รวมตลอดทั้งกำหนดแนวทางปฏิบัติในกรณีที่เป็นปัญหา มติของ ก.พ. ตามข้อนี้ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย (๗) กำกับ ดูแล ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือนในกระทรวงและกรม เพื่อรักษาความเป็นธรรมและมาตรฐานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล รวมทั้งตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ในการนี้ ให้มีอำนาจเรียกเอกสารและหลักฐานจากส่วนราชการ หรือให้ผู้แทนส่วนราชการ ข้าราชการหรือบุคคลใด ๆ มาชี้แจงข้อเท็จจริง และให้มีอำนาจออกระเบียบให้กระทรวง และกรมรายงานเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือนที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ไปยัง ก.พ. (๘) กำหนดนโยบายและออกระเบียบเกี่ยวกับทุนเล่าเรียนหลวงและทุนของรัฐบาลให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือน ตลอดจนจัดสรรผู้รับทุนที่สำเร็จการศึกษาแล้วเข้ารับราชการในกระทรวงและกรมหรือหน่วยงานของรัฐ (๙) ออกข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการจัดการการศึกษาและควบคุมดูแลและการให้ความช่วยเหลือบุคลากรภาครัฐ นักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง นักเรียนทุนของรัฐบาล และนักเรียนทุนส่วนตัวที่อยู่ในความดูแลของ ก.พ. ตลอดจนการเก็บเงินชดเชยค่าใช้จ่ายในการดูแลจัดการการศึกษา ทั้งนี้ ให้ถือว่าเงินชดเชยค่าใช้จ่ายในการดูแลจัดการการศึกษาเป็นเงินรายรับของส่วนราชการที่เป็นสถานอำนวยบริการอันเป็นสาธารณประโยชน์ ตามความหมายในกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ (๑๐) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อรับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือน และการกำหนดอัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทน รวมทั้งระดับตำแหน่งและประเภทตำแหน่งสำหรับคุณวุฒิดังกล่าว (๑๑) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการปฏิบัติการเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ (๑๒) พิจารณาจัดระบบทะเบียนประวัติและแก้ไขทะเบียนประวัติเกี่ยวกับวัน เดือน ปีเกิด และการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการพลเรือน (๑๓) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น การออกกฎ ก.พ. ตาม (๕) ในกรณีที่เห็นสมควร ให้สำนักงาน ก.พ. หารือกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาของ ก.พ. ด้วย มาตรา ๙ ในกรณีที่ ก.พ. มีมติว่ากระทรวง กรม หรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือปฏิบัติการโดยขัดหรือแย้งกับแนวทางตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ ให้ ก.พ. แจ้งให้กระทรวง กรม หรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติดังกล่าวดำเนินการแก้ไข ยกเลิก หรือยุติการดำเนินการดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนดในกรณีที่กระทรวง กรม หรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติดังกล่าวไม่ดำเนินการตามมติ ก.พ. ภายในเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าปลัดกระทรวง อธิบดี หรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติดังกล่าว แล้วแต่กรณี กระทำผิดวินัย การดำเนินการทางวินัยตามวรรคหนึ่งและการสั่งลงโทษให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.พ. ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎ ก.พ. ในกรณีที่ผู้ไม่ปฏิบัติการตามมติ ก.พ. ตามวรรคหนึ่งเป็นรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ให้ ก.พ. รายงานนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการตามที่เห็นสมควรต่อไป มาตรา ๑๐ ในกรณีที่ ก.พ. เห็นว่าการบริหารทรัพยากรบุคคลในเรื่องใดที่ข้าราชการฝ่ายพลเรือนทุกประเภทหรือบางประเภทควรมีมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์เดียวกัน ให้ ก.พ. จัดให้มีการประชุมเพื่อหารือร่วมกันระหว่างผู้แทน ก.พ. ผู้แทน ก.พ.ร. และผู้แทนองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือนประเภทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์กลางการบริหารทรัพยากรบุคคลในเรื่องนั้นเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วให้ใช้บังคับมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์กลางดังกล่าวกับข้าราชการฝ่ายพลเรือนทุกประเภทหรือประเภทนั้น ๆ แล้วแต่กรณี ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคลของรัฐในเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยโดยอนุโลม มาตรา ๑๑ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับแก่การประชุม ก.พ. โดยอนุโลม เว้นแต่กรณีตามมาตรา ๓๖ วรรคสอง มาตรา ๑๒ ก.พ. มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิสามัญ เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ. วิสามัญ” เพื่อทำการใด ๆ แทนได้ จำนวน คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญ รวมตลอดทั้งวิธีการได้มา วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๓ ให้มีสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เรียกโดยย่อว่า “สำนักงาน ก.พ.” โดยมีเลขาธิการ ก.พ. เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและบริหารราชการของสำนักงาน ก.พ. ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี สำนักงาน ก.พ. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานในหน้าที่ของ ก.พ. และ ก.พ.ค. และดำเนินการตามที่ ก.พ. หรือ ก.พ.ค. มอบหมาย (๒) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่กระทรวง กรม เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และแนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ (๓) พัฒนา ส่งเสริม วิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ระบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน (๔) ติดตามและประเมินผลการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน (๕) ดำเนินการเกี่ยวกับแผนกำลังคนของข้าราชการพลเรือน (๖) เป็นศูนย์กลางข้อมูลทรัพยากรบุคคลภาครัฐ (๗) จัดทำยุทธศาสตร์ ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือน (๘) ส่งเสริม ประสานงาน เผยแพร่ ให้คำปรึกษาแนะนำ และดำเนินการเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการและการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตสำหรับทรัพยากรบุคคลภาครัฐ (๙) ดำเนินการเกี่ยวกับทุนเล่าเรียนหลวงและทุนของรัฐบาลตามนโยบายและระเบียบของ ก.พ. ตามมาตรา ๘ (๘) (๑๐) ดำเนินการเกี่ยวกับการดูแลบุคลากรภาครัฐและนักเรียนทุนตามข้อบังคับหรือระเบียบของ ก.พ. ตามมาตรา ๘ (๙) (๑๑) ดำเนินการเกี่ยวกับการรับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือน และการกำหนดอัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทน รวมทั้งระดับตำแหน่งและประเภทตำแหน่งสำหรับคุณวุฒิดังกล่าว (๑๒) ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาทะเบียนประวัติและการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการพลเรือน (๑๓) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการพลเรือนเสนอต่อ ก.พ. และคณะรัฐมนตรี (๑๔) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ กฎหมายอื่น หรือตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือ ก.พ. มอบหมาย มาตรา ๑๔ ให้มีคณะอนุกรรมการสามัญ เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ. สามัญ” เพื่อเป็นองค์กรบริหารทรัพยากรบุคคลในส่วนราชการต่าง ๆ ดังนี้ (๑) คณะอนุกรรมการสามัญประจำกระทรวง เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ. กระทรวง” โดยออกนามกระทรวง (๒) คณะอนุกรรมการสามัญประจำกรม เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ. กรม” โดยออกนามกรม (๓) คณะอนุกรรมการสามัญประจำจังหวัด เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ. จังหวัด” โดยออกนามจังหวัด (๔) คณะอนุกรรมการสามัญประจำส่วนราชการอื่นนอกจากส่วนราชการตาม (๑) (๒) และ (๓) การเรียกชื่อ องค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.พ. ตาม (๔) ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๕ อ.ก.พ. กระทรวง ประกอบด้วยรัฐมนตรีเจ้าสังกัด เป็นประธาน ปลัดกระทรวง เป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. ซึ่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนในสำนักงาน ก.พ. หนึ่งคน เป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่ง และอนุกรรมการซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และมิได้เป็นข้าราชการในกระทรวงนั้น จำนวนไม่เกินสามคน (๒) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกระทรวงนั้น ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว จำนวนไม่เกินห้าคน ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน มาตรา ๑๖ อ.ก.พ. กระทรวง มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณากำหนดนโยบาย ระบบ และระเบียบวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคลในกระทรวงซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๘ (๓) (๒) พิจารณาการเกลี่ยอัตรากำลังระหว่างส่วนราชการต่าง ๆ ภายในกระทรวง (๓) พิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการสั่งให้ออกจากราชการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (๔) ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้และช่วย ก.พ. ปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่ ก.พ. มอบหมาย มาตรา ๑๗ อ.ก.พ. กรม ประกอบด้วยอธิบดี เป็นประธาน รองอธิบดีที่อธิบดีมอบหมายหนึ่งคน เป็นรองประธาน และอนุกรรมการซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการและด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และมิได้เป็นข้าราชการในกรมนั้นจำนวนไม่เกินสามคน (๒) ข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทบริหารหรือประเภทอำนวยการในกรมนั้นซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว จำนวนไม่เกินหกคน ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน มาตรา ๑๘ อ.ก.พ. กรม มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณากำหนดนโยบาย ระบบ และระเบียบวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคลในกรมซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๘ (๓) และนโยบายและระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลที่ อ.ก.พ. กระทรวงกำหนดตามมาตรา ๑๖ (๑) (๒) พิจารณาการเกลี่ยอัตรากำลังระหว่างส่วนราชการต่าง ๆ ภายในกรม (๓) พิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการสั่งให้ออกจากราชการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (๔) ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้และช่วย ก.พ. ปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่ ก.พ. มอบหมาย มาตรา ๑๙ อ.ก.พ. จังหวัด ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายหนึ่งคน เป็นรองประธาน และอนุกรรมการ ซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และมิได้เป็นข้าราชการพลเรือนในจังหวัดนั้น จำนวนไม่เกินสามคน (๒) ข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทบริหารหรือประเภทอำนวยการ ซึ่งกระทรวงหรือกรมแต่งตั้งไปประจำจังหวัดนั้น และได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวจำนวนไม่เกินหกคน ซึ่งแต่ละคนต้องไม่สังกัดกระทรวงเดียวกัน ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน มาตรา ๒๐ อ.ก.พ. จังหวัด มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณากำหนดแนวทางและวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคล ซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๘ (๓) (๒) พิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการสั่งให้ออกจากราชการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (๓) ปฏิบัติตามที่ อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. กรม มอบหมาย (๔) ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้และช่วย ก.พ. ปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่ ก.พ. มอบหมาย มาตรา ๒๑ หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาหรือการเลือกบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการตามมาตรา ๑๕ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๗ (๑) และ (๒) และมาตรา ๑๙ (๑) และ (๒) วาระการดำรงตำแหน่ง และจำนวนขั้นต่ำของอนุกรรมการดังกล่าว ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๒๒ ในกรณีที่กระทรวงใดมีเหตุพิเศษ ก.พ. จะอนุมัติให้มีแต่ อ.ก.พ. กระทรวงเพื่อทำหน้าที่ อ.ก.พ. กรม ก็ได้ ในกรณีส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวง แต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี ให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.พ. กระทรวงเป็นอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.พ. กรมด้วย แต่ในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ให้มีรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นประธาน และอธิบดีเป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. ซึ่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนในสำนักงาน ก.พ.หนึ่งคน เป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่ง ในกรณีสำนักงานรัฐมนตรี ให้ อ.ก.พ. กรมของสำนักงานปลัดกระทรวงทำหน้าที่ อ.ก.พ. กรมของสำนักงานรัฐมนตรี มาตรา ๒๓ ให้นำมาตรา ๑๑ มาใช้บังคับแก่การประชุมของ อ.ก.พ. วิสามัญ และ อ.ก.พ. สามัญโดยอนุโลม ลักษณะ ๒ คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม มาตรา ๒๔ ให้มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.ค.” ประกอบด้วยกรรมการจำนวนเจ็ดคนซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตามมาตรา ๒๖ กรรมการ ก.พ.ค. ต้องทำงานเต็มเวลา ให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นเลขานุการของ ก.พ.ค. มาตรา ๒๕ ผู้จะได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ ก.พ.ค. ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบห้าปี (๓) มีคุณสมบัติอื่นอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (ก) เป็นหรือเคยเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน คณะกรรมการข้าราชการครู คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา หรือคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ข) เป็นหรือเคยเป็นกรรมการกฤษฎีกา (ค) รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์หรือเทียบเท่า หรือตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองชั้นต้น (ง) รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอัยการพิเศษประจำเขตหรือเทียบเท่า (จ) รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือเทียบเท่าตามที่ ก.พ. กำหนด (ฉ) เป็นหรือเคยเป็นผู้สอนวิชาในสาขานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือวิชาที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินในสถาบันอุดมศึกษา และดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ แต่ในกรณีที่ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ต้องดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี มาตรา ๒๖ ให้มีคณะกรรมการคัดเลือกกรรมการ ก.พ.ค. ประกอบด้วยประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธาน รองประธานศาลฎีกาที่ได้รับมอบหมายจากประธานศาลฎีกาหนึ่งคน กรรมการ ก.พ. ผู้ทรงคุณวุฒิหนึ่งคนซึ่งได้รับเลือกโดย ก.พ. และให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการและเลขานุการ ให้คณะกรรมการคัดเลือกมีหน้าที่คัดเลือกบุคคลผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๕ จำนวนเจ็ดคน ให้ผู้ได้รับคัดเลือกตามวรรคสองประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ ก.พ.ค. แล้วให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกกรรมการ ก.พ.ค. ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการคัดเลือกกำหนด มาตรา ๒๗ กรรมการ ก.พ.ค. ต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นข้าราชการ (๒) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลใด (๓) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง สมาชิกพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (๔) เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจ (๕) เป็นกรรมการในองค์กรกลางบริหารงานบุคคลในหน่วยงานของรัฐ (๖) ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอย่างอื่นหรือดำรงตำแหน่งหรือประกอบการใด ๆ หรือเป็นกรรมการในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน อันขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๒๘ ผู้ได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการ ก.พ.ค. ผู้ใดมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๗ ผู้นั้นต้องลาออกจากการเป็นบุคคลซึ่งมีลักษณะต้องห้ามหรือแสดงหลักฐานให้เป็นที่เชื่อได้ว่าตนได้เลิกการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพหรือการประกอบการอันมีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวต่อเลขานุการ ก.พ.ค. ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคัดเลือก ในกรณีที่ผู้ได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการ ก.พ.ค. มิได้ลาออกหรือเลิกการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพหรือการประกอบการดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้นั้นมิเคยได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการ ก.พ.ค. และให้ดำเนินการคัดเลือกกรรมการ ก.พ.ค. ขึ้นใหม่ มาตรา ๒๙ กรรมการ ก.พ.ค. มีวาระการดำรงตำแหน่งหกปีนับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว ให้กรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ อยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการ ก.พ.ค. ใหม่ มาตรา ๓๐ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการ ก.พ.ค. พ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) มีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ (๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๕ หรือมาตรา ๒๗ (๕) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก แม้จะมีการรอการลงโทษ เว้นแต่เป็นการรอการลงโทษในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท (๖) ไม่สามารถปฏิบัติงานได้เต็มเวลาอย่างสม่ำเสมอตามระเบียบของ ก.พ.ค. เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้กรรมการ ก.พ.ค. เท่าที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ และให้ถือว่า ก.พ.ค. ประกอบด้วยกรรมการ ก.พ.ค. เท่าที่เหลืออยู่ เว้นแต่มีกรรมการ ก.พ.ค. เหลืออยู่ไม่ถึงห้าคน เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่งหรือกรณีที่กรรมการ ก.พ.ค. พ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้คณะกรรมการคัดเลือกดำเนินการคัดเลือกกรรมการ ก.พ.ค. แทนกรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตำแหน่งโดยเร็ว มาตรา ๓๑ ก.พ.ค. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอแนะต่อ ก.พ. หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่น เพื่อให้ ก.พ. หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่น ดำเนินการจัดให้มีหรือปรับปรุงนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลในส่วนที่เกี่ยวกับการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (๒) พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๑๔ (๓) พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ตามมาตรา ๑๒๓ (๔) พิจารณาเรื่องการคุ้มครองระบบคุณธรรมตามมาตรา ๑๒๖ (๕) ออกกฎ ก.พ.ค. ระเบียบ หลักเกณฑ์ และวิธีการเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎ ก.พ.ค. เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ (๖) แต่งตั้งบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่ ก.พ.ค. กำหนด เพื่อเป็นกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์หรือเป็นกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ มาตรา ๓๒ ให้กรรมการ ก.พ.ค. กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ได้รับเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา และให้มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง มาตรา ๓๓ การประชุมของคณะกรรมการ ก.พ.ค. กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ.ค. กำหนด ลักษณะ ๓ บททั่วไป มาตรา ๓๔ การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนต้องเป็นไปเพื่อผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐความมีประสิทธิภาพ และความคุ้มค่า โดยให้ข้าราชการปฏิบัติราชการอย่างมีคุณภาพ คุณธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี มาตรา ๓๕ ข้าราชการพลเรือนมี ๒ ประเภท คือ (๑) ข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุแต่งตั้งตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ (๒) ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในพระองค์พระมหากษัตริย์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๓๖ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนต้องมีคุณสมบัติทั่วไป และไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ ก. คุณสมบัติทั่วไป (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี (๓) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ ข. ลักษณะต้องห้าม (๑) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (๒) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. (๓) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น (๔) เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม (๕) เป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (๖) เป็นบุคคลล้มละลาย (๗) เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิดทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๘) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (๙) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออก เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น (๑๐) เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายอื่น (๑๑) เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ หรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตาม ข. (๔) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) หรือ (๑๑) ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ แต่ถ้าเป็นกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (๘) หรือ (๙) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้ว และในกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (๑๐) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว และต้องมิใช่เป็นกรณีออกจากงานหรือออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่ มติของ ก.พ. ในการยกเว้นดังกล่าวต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการที่มาประชุม การลงมติให้กระทำโดยลับ การขอยกเว้นตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. กำหนด ในกรณีตามวรรคสอง ก.พ. จะยกเว้นให้เป็นการเฉพาะราย หรือจะประกาศยกเว้นให้เป็นการทั่วไปก็ได้ มาตรา ๓๗ การจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งให้ข้าราชการพลเรือนให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. กำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง มาตรา ๓๘ ข้าราชการพลเรือนอาจได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ ตำแหน่งในบางท้องที่ ตำแหน่งในบางสายงาน หรือตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตามระเบียบที่ ก.พ. กำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ข้าราชการพลเรือนอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ในการเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการตามวรรคสอง ให้ ก.พ. เสนอแนะสำหรับข้าราชการประเภทอื่นในคราวเดียวกันด้วย มาตรา ๓๙ วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการพลเรือน ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๔๐ เครื่องแบบของข้าราชการพลเรือนและระเบียบการแต่งเครื่องแบบให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น มาตรา ๔๑ บำเหน็จบำนาญข้าราชการพลเรือนให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ หมวด ๑ การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนสามัญ มาตรา ๔๒ การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คำนึงถึงระบบคุณธรรมดังต่อไปนี้ (๑) การรับบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถของบุคคล ความเสมอภาค ความเป็นธรรม และประโยชน์ของทางราชการ (๒) การบริหารทรัพยากรบุคคล ต้องคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพขององค์กรและลักษณะของงาน โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม (๓) การพิจารณาความดีความชอบ การเลื่อนตำแหน่ง และการให้ประโยชน์อื่นแก่ข้าราชการต้องเป็นไปอย่างเป็นธรรมโดยพิจารณาจากผลงาน ศักยภาพ และความประพฤติ และจะนำความคิดเห็นทางการเมืองหรือสังกัดพรรคการเมืองมาประกอบการพิจารณามิได้ (๔) การดำเนินการทางวินัย ต้องเป็นไปด้วยความยุติธรรมและโดยปราศจากอคติ (๕) การบริหารทรัพยากรบุคคลต้องมีความเป็นกลางทางการเมือง มาตรา ๔๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ทั้งนี้ต้องไม่กระทบประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะ และต้องไม่มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรวมกลุ่มตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา หมวด ๒ การกำหนดตำแหน่ง และการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง มาตรา ๔๔ นอกจากตำแหน่งที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแล้ว อ.ก.พ. กระทรวงอาจกำหนดตำแหน่งที่มีชื่ออย่างอื่นเพื่อประโยชน์ในการบริหารงาน และแจ้งให้ ก.พ. ทราบด้วย มาตรา ๔๕ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมี ๔ ประเภท ดังต่อไปนี้ (๑) ตำแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่ ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการและรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง กรม และตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหาร (๒) ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ได้แก่ ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรม และตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการ (๓) ตำแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่ ตำแหน่งที่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตามที่ ก.พ. กำหนดเพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำแหน่งนั้น (๔) ตำแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่ ตำแหน่งที่ไม่ใช่ตำแหน่งประเภทบริหาร ตำแหน่งประเภทอำนวยการ และตำแหน่งประเภทวิชาการ ทั้งนี้ ตามที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๔๖ ระดับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ มีดังต่อไปนี้ (๑) ตำแหน่งประเภทบริหาร มีระดับดังต่อไปนี้ (ก) ระดับต้น (ข) ระดับสูง (๒) ตำแหน่งประเภทอำนวยการ มีระดับดังต่อไปนี้ (ก) ระดับต้น (ข) ระดับสูง (๓) ตำแหน่งประเภทวิชาการ มีระดับดังต่อไปนี้ (ก) ระดับปฏิบัติการ (ข) ระดับชำนาญการ (ค) ระดับชำนาญการพิเศษ (ง) ระดับเชี่ยวชาญ (จ) ระดับทรงคุณวุฒิ (๔) ตำแหน่งประเภททั่วไป มีระดับดังต่อไปนี้ (ก) ระดับปฏิบัติงาน (ข) ระดับชำนาญงาน (ค) ระดับอาวุโส (ง) ระดับทักษะพิเศษ การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๔๗ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญจะมีในส่วนราชการใด จำนวนเท่าใด และเป็นตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด ให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ. กระทรวงกำหนด โดยต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความไม่ซ้ำซ้อนและประหยัดเป็นหลัก ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด และต้องเป็นไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามมาตรา ๔๘ มาตรา ๔๘ ให้ ก.พ. จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง โดยจำแนกตำแหน่งเป็นประเภทและสายงานตามลักษณะงาน และจัดตำแหน่งในประเภทเดียวกันและสายงานเดียวกันที่คุณภาพของงานเท่ากันโดยประมาณเป็นระดับเดียวกัน ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงาน ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้ระบุชื่อตำแหน่งในสายงาน หน้าที่ความรับผิดชอบหลักและคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งไว้ด้วย มาตรา ๔๙ ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตำแหน่งใดบังคับบัญชาข้าราชการพลเรือนในส่วนราชการหรือหน่วยงานใด ในฐานะใดให้เป็นไปตามที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ กำหนด โดยทำเป็นหนังสือตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๕๐ ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งในแต่ละประเภทตามที่กำหนดไว้ในบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด จะได้รับเงินเดือนเท่าใดตามบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ข้าราชการพลเรือนสามัญอาจได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด จะได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ในอัตราใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. เงินประจำตำแหน่งตามมาตรานี้ ไม่ถือเป็นเงินเดือนเพื่อเป็นเกณฑ์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา ๕๐/๑[๒] ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็น เพื่อเป็นการเยียวยาให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งที่เหมาะสมและเป็นธรรม ก.พ. อาจกำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับการเยียวยาโดยให้ได้รับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งตามที่เห็นสมควรเป็นกรณี ๆ ไปก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๕๑ คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงหรือเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญให้เหมาะสมยิ่งขึ้นตามความจำเป็นก็ได้ โดยหากเป็นการปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูง หรือเงินประจำตำแหน่งเพิ่มไม่เกินร้อยละสิบของเงินเดือน หรือเงินประจำตำแหน่งที่ใช้บังคับอยู่ ให้กระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และให้ถือว่าเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูง และเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เป็นเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูง และเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชบัญญัตินี้ เมื่อมีการปรับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง การปรับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้รับอยู่เดิมเข้าสู่อัตราในบัญชีที่ได้รับการปรับใหม่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด หมวด ๓ การสรรหา การบรรจุ และการแต่งตั้ง มาตรา ๕๒ การสรรหาเพื่อให้ได้บุคคลมาบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ต้องเป็นไปตามระบบคุณธรรมและคำนึงถึงพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลดังกล่าว ตลอดจนประโยชน์ของทางราชการ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในหมวดนี้ มาตรา ๕๓ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนั้น โดยบรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ การสอบแข่งขัน การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ และรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบแข่งขันให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการตามมาตรา ๕๕ มาตรา ๕๖ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ และมาตรา ๖๕ มาตรา ๕๔ ผู้สมัครสอบแข่งขันในตำแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม หรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๖ และต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งหรือได้รับอนุมัติจาก ก.พ. ตามมาตรา ๖๒ ด้วย สำหรับผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๖ ข. (๑) ให้มีสิทธิสมัครสอบแข่งขันได้แต่จะมีสิทธิได้รับบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญที่สอบแข่งขันได้ต่อเมื่อพ้นจากการเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว มาตรา ๕๕ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ อาจคัดเลือกบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งโดยไม่ต้องดำเนินการสอบแข่งขันตามมาตรา ๕๓ ก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๕๖ กระทรวงหรือกรมใดมีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่ง จะบรรจุบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และความชำนาญงานสูง เข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ หรือทรงคุณวุฒิ หรือตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๕๗ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ และการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๕๓ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๖ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ มาตรา ๖๕ และมาตรา ๖๖ ให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้ เป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๑) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้สั่งบรรจุ และให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง (๒) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตำแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี หรือตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ให้ปลัดกระทรวงผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี เสนอรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้ปลัดกระทรวงผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมดังกล่าวเป็นผู้สั่งบรรจุ และให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง (๓) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ให้ปลัดกระทรวงผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๔) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการ ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ และเชี่ยวชาญ และประเภททั่วไปในสำนักงานรัฐมนตรี ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๕) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ให้ปลัดกระทรวงผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๖) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชาเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งเมื่อได้รับความเห็นชอบจากปลัดกระทรวง ส่วนการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้นในส่วนราชการระดับกรมที่หัวหน้าส่วนราชการอยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี หรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชา เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๗) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้สั่งบรรจุ และให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง (๘) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ให้ปลัดกระทรวงหรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๙) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ และตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชา เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง เมื่อได้รับความเห็นชอบจากปลัดกระทรวง ส่วนการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ และตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษในส่วนราชการระดับกรมที่หัวหน้าส่วนราชการอยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชา เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๑๐) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ชำนาญการ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ชำนาญงาน และอาวุโส ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชา หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากอธิบดีผู้บังคับบัญชา เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๑๑) การบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา ๕๓ และการย้ายตามมาตรา ๖๓ ให้ดำรงตำแหน่งตาม (๙) ซึ่งไม่ใช่ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ และตำแหน่งตาม (๑๐) ในราชการบริหารส่วนภูมิภาค ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดผู้บังคับบัญชา เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง ในการเสนอเพื่อแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่ง ให้รายงานความสมควรพร้อมทั้งเหตุผล ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนดไปด้วย มาตรา ๕๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารผู้ใดปฏิบัติหน้าที่เดียวติดต่อกันเป็นเวลาครบสี่ปี ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ดำเนินการให้มีการสับเปลี่ยนหน้าที่ ย้าย หรือโอนไปปฏิบัติหน้าที่อื่น เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการจะขออนุมัติคณะรัฐมนตรีให้คงอยู่ปฏิบัติหน้าที่เดิมต่อไปเป็นเวลาไม่เกินสองปีก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด ความในวรรคหนึ่งไม่ให้ใช้บังคับแก่ผู้ดำรงตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดว่าเป็นตำแหน่งที่มีลักษณะงานเฉพาะอย่าง มาตรา ๕๙ ผู้ได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา ๕๓ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๕๕ ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและให้ได้รับการพัฒนาเพื่อให้รู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการและเป็นข้าราชการที่ดีตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามวรรคหนึ่งผู้ใดมีผลการประเมินทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ สั่งให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป ถ้าผู้นั้นมีผลการประเมินทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด ก็ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้ไม่ว่าจะครบกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการแล้วหรือไม่ก็ตาม ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคสอง ให้ถือเสมือนว่าผู้นั้นไม่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการในระหว่างผู้นั้นอยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ผู้อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการผู้ใดมีกรณีอันมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๗ การดำเนินการทางวินัย และถ้าผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องออกจากราชการตามวรรคสอง ก็ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการตามวรรคสองไปก่อน ความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสามให้ใช้บังคับกับข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งโอนมาตามมาตรา ๖๔ ในระหว่างที่ยังทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยโดยอนุโลม มาตรา ๖๐ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๑๑๑ และต่อมาปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๕๙ หรือตามมาตราอื่น ก็ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ หรือผู้มีอำนาจตามมาตราอื่นนั้น แล้วแต่กรณี มีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่ง เป็นให้ออกจากราชการตามมาตรา ๕๙ หรือตามมาตราอื่นนั้นได้ มาตรา ๖๑ การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งในสายงานที่ไม่มีกำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง จะกระทำมิได้ มาตรา ๖๒ ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งใดต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็น ก.พ. อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งก็ได้ ในกรณีที่ ก.พ. กำหนดให้ปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิใดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ให้หมายถึงปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิที่ ก.พ. รับรอง มาตรา ๖๓ การย้าย การโอน หรือการเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในหรือต่างกระทรวงหรือกรม แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญจากกระทรวงหรือกรมหนึ่ง ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในต่างประเทศสังกัดอีกกระทรวงหรือกรมหนึ่ง เป็นการชั่วคราวตามระยะเวลาที่กำหนด ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด การย้ายหรือการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ต่ำกว่าเดิมจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้น การบรรจุข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้ออกจากราชการไปเนื่องจากถูกสั่งให้ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ไปปฏิบัติงานใด ๆ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการหรือออกจากราชการไปที่มิใช่เป็นการออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการกลับเข้ารับราชการในกระทรวงหรือกรม ตลอดจนจะสั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการตามพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้ออกจากราชการไป เนื่องจากถูกสั่งให้ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ไปปฏิบัติงานใด ๆ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการ เมื่อได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการให้มีสิทธินับวันรับราชการก่อนถูกสั่งให้ออกจากราชการรวมกับวันรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือวันที่ได้ปฏิบัติงานใด ๆ ตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี และวันรับราชการเมื่อได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการเป็นเวลาราชการติดต่อกันเสมือนว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกสั่งให้ออกจากราชการ สำหรับผู้ซึ่งออกจากราชการไปที่มิใช่เป็นการออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการซึ่งได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการตามวรรคสี่ ให้มีสิทธินับเวลาราชการก่อนออกจากราชการเพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๖๔ การโอนพนักงานส่วนท้องถิ่น การโอนข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัตินี้และไม่ใช่ข้าราชการการเมือง และการโอนเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานอื่นของรัฐที่ ก.พ. กำหนด มาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตลอดจนจะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้ที่โอนมารับราชการตามวรรคหนึ่ง เป็นเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย มาตรา ๖๕ พนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งไม่ใช่ออกจากงานในระหว่างทดลองปฏิบัติงานหรือข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ และไม่ใช่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญ หรือข้าราชการซึ่งออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ผู้ใดออกจากงานหรือออกจากราชการไปแล้ว ถ้าสมัครเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและทางราชการต้องการจะรับผู้นั้นเข้ารับราชการให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ พิจารณาโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับ ทั้งนี้ จะบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้เข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งในขณะที่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย มาตรา ๖๖ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๖๒ แล้ว หากภายหลังปรากฏว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติไม่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ แต่งตั้งผู้นั้นให้กลับไปดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกันโดยพลัน แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับอยู่ก่อนได้รับคำสั่งให้กลับไปดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกัน การรับเงินเดือน สิทธิและประโยชน์ของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้กลับไปดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกันตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด ในกรณีที่ไม่สามารถแต่งตั้งให้กลับไปดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกันตามวรรคหนึ่งได้ ไม่ว่าด้วยเหตุใดให้ ก.พ. พิจารณาเป็นการเฉพาะราย มาตรา ๖๗ ผู้ได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดตามมาตรา ๕๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๖ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ และมาตรา ๖๕ หากภายหลังปรากฏว่าขาดคุณสมบัติทั่วไปหรือมีลักษณะต้องห้ามโดยไม่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๓๖ หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นโดยไม่ได้รับอนุมัติจาก ก.พ. ตามมาตรา ๖๒ อยู่ก่อนก็ดี มีกรณีต้องหาอยู่ก่อนและภายหลังเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเนื่องจากกรณีต้องหานั้นก็ดี ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการโดยพลัน แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการก่อนมีคำสั่งให้ออกนั้นและถ้าการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้วให้ถือว่าเป็นการสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา ๖๘ ในกรณีที่ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญว่างลง หรือผู้ดำรงตำแหน่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ และเป็นกรณีที่มิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนที่เห็นสมควรรักษาการในตำแหน่งนั้นได้ ผู้รักษาการในตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้มีอำนาจหน้าที่ตามตำแหน่งที่รักษาการนั้น ในกรณีที่มีกฎหมายอื่น กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ มติของคณะรัฐมนตรี มติคณะกรรมการตามกฎหมายหรือคำสั่งผู้บังคับบัญชา แต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ๆ เป็นกรรมการ หรือให้มีอำนาจหน้าที่อย่างใด ก็ให้ผู้รักษาการในตำแหน่งทำหน้าที่กรรมการ หรือมีอำนาจหน้าที่อย่างนั้นในระหว่างที่รักษาการในตำแหน่ง แล้วแต่กรณี มาตรา ๖๙ ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็น ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจสั่งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ประจำส่วนราชการเป็นการชั่วคราวโดยให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่เดิมได้ตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. การให้ได้รับเงินเดือน การแต่งตั้ง การเลื่อนเงินเดือน การดำเนินการทางวินัย และการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๗๐ ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็น ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญพ้นจากตำแหน่งหน้าที่และขาดจากอัตราเงินเดือนในตำแหน่งเดิมโดยให้รับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทนโดยมีระยะเวลาตามที่ ก.พ. กำหนดได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. การให้พ้นจากตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือน การแต่งตั้ง การเลื่อนเงินเดือน การดำเนินการทางวินัย และการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ในกรณีที่หมดความจำเป็นหรือครบกำหนดระยะเวลาการให้รับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทน ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ สั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นพ้นจากการรับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกัน มาตรา ๗๑ ในกรณีที่ศาลปกครองมีคำพิพากษาถึงที่สุดสั่งให้เพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้เป็นหน้าที่ของ ก.พ. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีในการสั่งการตามสมควรเพื่อเยียวยาและแก้ไขหรือดำเนินการตามที่เห็นสมควรได้ หมวด ๔ การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและ เสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ มาตรา ๗๒ ให้ส่วนราชการมีหน้าที่ดำเนินการให้มีการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญ เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนสามัญมีคุณภาพ คุณธรรม จริยธรรม คุณภาพชีวิต มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด ในกรณีที่เห็นสมควร และเพื่อการประหยัด สำนักงาน ก.พ. จะจัดให้มีการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจแทนส่วนราชการตามวรรคหนึ่งก็ได้ มาตรา ๗๓ ผู้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตนต่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาอย่างมีคุณธรรมและเที่ยงธรรมและเสริมสร้างแรงจูงใจให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาดำรงตนเป็นข้าราชการที่ดี มาตรา ๗๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประพฤติตนอยู่ในจรรยาและระเบียบวินัยและปฏิบัติราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ตามควรแก่กรณีตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. และจะให้บำเหน็จความชอบอย่างอื่นซึ่งอาจเป็นคำชมเชย เครื่องเชิดชูเกียรติ หรือรางวัลด้วยก็ได้ มาตรา ๗๕ การให้ข้าราชการพลเรือนสามัญไปศึกษาเพิ่มเติม ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศหรือต่างประเทศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๗๖ ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแต่งตั้ง และเลื่อนเงินเดือน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด ผลการประเมินตามวรรคหนึ่งให้นำไปใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาและเพิ่มพูนประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการด้วย มาตรา ๗๗ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญหรือให้ได้รับสิทธิประโยชน์อื่นตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด หมวด ๕ การรักษาจรรยาข้าราชการ มาตรา ๗๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาจรรยาข้าราชการตามที่ส่วนราชการกำหนดไว้โดยมุ่งประสงค์ให้เป็นข้าราชการที่ดี มีเกียรติและศักดิ์ศรีความเป็นข้าราชการ โดยเฉพาะในเรื่องดังต่อไปนี้ (๑) การยึดมั่นและยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง (๒) ความซื่อสัตย์สุจริตและความรับผิดชอบ (๓) การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ (๔) การปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม (๕) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน ให้ส่วนราชการกำหนดข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการเพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะของงานในส่วนราชการนั้นตามหลักวิชาและจรรยาวิชาชีพ ในการกำหนดข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการตามวรรคสอง ให้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของข้าราชการและประกาศให้ประชาชนทราบด้วย มาตรา ๗๙ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่ปฏิบัติตามจรรยาข้าราชการอันมิใช่เป็นความผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาตักเตือน นำไปประกอบการพิจารณาแต่งตั้งเลื่อนเงินเดือน หรือสั่งให้ข้าราชการผู้นั้นได้รับการพัฒนา หมวด ๖ วินัยและการรักษาวินัย มาตรา ๘๐ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาวินัยโดยกระทำการหรือไม่กระทำการตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัดอยู่เสมอ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ปฏิบัติราชการในต่างประเทศนอกจากต้องรักษาวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้แล้ว ต้องรักษาวินัยโดยกระทำการหรือไม่กระทำการตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ด้วย มาตรา ๘๑ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ มาตรา ๘๒ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องกระทำการอันเป็นข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้ (๑) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรม (๒) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบของทางราชการ มติของคณะรัฐมนตรี นโยบายของรัฐบาล และปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ (๓) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการด้วยความตั้งใจอุตสาหะ เอาใจใส่ และรักษาประโยชน์ของทางราชการ (๔) ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการ โดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ โดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเห็นว่าการปฏิบัติตามคำสั่งนั้นจะทำให้เสียหายแก่ราชการ หรือจะเป็นการไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการจะต้องเสนอความเห็นเป็นหนังสือทันทีเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนคำสั่งนั้น และเมื่อได้เสนอความเห็นแล้ว ถ้าผู้บังคับบัญชายืนยันให้ปฏิบัติตามคำสั่งเดิม ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม (๕) ต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้ (๖) ต้องรักษาความลับของทางราชการ (๗) ต้องสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคีและต้องช่วยเหลือกันในการปฏิบัติราชการระหว่างข้าราชการด้วยกันและผู้ร่วมปฏิบัติราชการ (๘) ต้องต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรม และให้การสงเคราะห์แก่ประชาชนผู้ติดต่อราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตน (๙) ต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ราชการและในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชน กับจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการว่าด้วยมารยาททางการเมืองของข้าราชการด้วย (๑๐) ต้องรักษาชื่อเสียงของตน และรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย (๑๑) กระทำการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๘๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่กระทำการใดอันเป็นข้อห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องแจ้งถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย (๒) ต้องไม่ปฏิบัติราชการอันเป็นการกระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้กระทำหรือได้รับอนุญาตเป็นพิเศษชั่วครั้งคราว (๓) ต้องไม่อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น (๔) ต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ (๕) ต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาผลประโยชน์อันอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรมหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน (๖) ต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท (๗) ต้องไม่กระทำการอย่างใดที่เป็นการกลั่นแกล้ง กดขี่ หรือข่มเหงกันในการปฏิบัติราชการ (๘) ต้องไม่กระทำการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. (๙) ต้องไม่ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงประชาชนผู้ติดต่อราชการ (๑๐) ไม่กระทำการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๘๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติตามมาตรา ๘๑ และมาตรา ๘๒ หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา ๘๓ ผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัย มาตรา ๘๕ การกระทำผิดวินัยในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง (๑) ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต (๒) ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๓) ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ (๔) กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง (๕) ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ ข่มเหง หรือทำร้ายประชาชนผู้ติดต่อราชการอย่างร้ายแรง (๖) กระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือให้รับโทษที่หนักกว่าโทษจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๗) ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๒ หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา ๘๓ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (๘) ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๐ วรรคสองและมาตรา ๘๒ (๑๑) หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา ๘๓ (๑๐) ที่มีกฎ ก.พ. กำหนดให้เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๘๖ กฎ ก.พ. ตามมาตรา ๘๐ วรรคสอง มาตรา ๘๒ (๑๑) มาตรา ๘๓ (๘) และ (๑๐) และมาตรา ๘๕ (๘) ให้ใช้สำหรับการกระทำที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่กฎ ก.พ. ดังกล่าวใช้บังคับ มาตรา ๘๗ ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่เสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีวินัยและป้องกันมิให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๘๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัย จะต้องได้รับโทษทางวินัย เว้นแต่มีเหตุอันควรงดโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๗ การดำเนินการทางวินัย โทษทางวินัยมี ๕ สถาน ดังต่อไปนี้ (๑) ภาคทัณฑ์ (๒) ตัดเงินเดือน (๓) ลดเงินเดือน (๔) ปลดออก (๕) ไล่ออก มาตรา ๘๙ การลงโทษข้าราชการพลเรือนสามัญให้ทำเป็นคำสั่ง ผู้สั่งลงโทษต้องสั่งลงโทษให้เหมาะสมกับความผิดและต้องเป็นไปด้วยความยุติธรรมและโดยปราศจากอคติ โดยในคำสั่งลงโทษให้แสดงว่าผู้ถูกลงโทษกระทำผิดวินัยในกรณีใดและตามมาตราใด หมวด ๗ การดำเนินการทางวินัย มาตรา ๙๐ เมื่อมีการกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ทราบโดยเร็ว และให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้โดยเร็วด้วยความยุติธรรมและโดยปราศจากอคติ ผู้บังคับบัญชาหรือผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ผู้ใดละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง หรือปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สุจริตให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย อำนาจหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ตามหมวดนี้ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ จะมอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาระดับต่ำลงไปปฏิบัติแทนตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ. กำหนดก็ได้ มาตรา ๙๑ เมื่อได้รับรายงานตามมาตรา ๙๐ หรือความดังกล่าวปรากฏต่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ รีบดำเนินการหรือสั่งให้ดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณาในเบื้องต้นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยหรือไม่ ถ้าเห็นว่ากรณีไม่มีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยก็ให้ยุติเรื่องได้ ในกรณีที่เห็นว่ามีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยโดยมีพยานหลักฐานในเบื้องต้นอยู่แล้ว ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๙๒ หรือมาตรา ๙๓ แล้วแต่กรณี มาตรา ๙๒ ในกรณีที่ผลการสืบสวนหรือพิจารณาตามมาตรา ๙๑ ปรากฏว่ากรณีมีมูลถ้าความผิดนั้นมิใช่เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง และได้แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ พร้อมทั้งรับฟังคำชี้แจงของผู้ถูกกล่าวหาแล้วผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษตามควรแก่กรณีโดยไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวนก็ได้ ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งยุติเรื่อง มาตรา ๙๓ ในกรณีที่ผลการสืบสวนหรือพิจารณาตามมาตรา ๙๑ ปรากฏว่ากรณีมีมูลอันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ในการสอบสวนต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบพร้อมทั้งรับฟังคำชี้แจงของผู้ถูกกล่าวหา เมื่อคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการเสร็จ ให้รายงานผลการสอบสวนและความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ถ้าผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้สั่งยุติเรื่อง แต่ถ้าเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๙๖ หรือมาตรา ๙๗ แล้วแต่กรณี มาตรา ๙๔ การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนสำหรับกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งต่างกัน หรือต่างกรมหรือต่างกระทรวงกันถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกันให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญในกรมเดียวกัน ที่อธิบดีหรือปลัดกระทรวงถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ให้ปลัดกระทรวงหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวง แล้วแต่กรณี เป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน (๒) สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญต่างกรมในกระทรวงเดียวกันถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกัน ให้ปลัดกระทรวงเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เว้นแต่เป็นกรณีที่ปลัดกระทรวงถูกกล่าวหาร่วมด้วย ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน (๓) สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญต่างกระทรวงกันถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกันให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ร่วมกันแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เว้นแต่เป็นกรณีที่มีผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงร่วมด้วย ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน (๔) สำหรับกรณีอื่น ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๙๕ หลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ในกรณีที่เป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. จะดำเนินการทางวินัยโดยไม่ต้องสอบสวนก็ได้ มาตรา ๙๖ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ สั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด ในกรณีมีเหตุอันควรลดหย่อน จะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่สำหรับการลงโทษภาคทัณฑ์ให้ใช้เฉพาะกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย ในกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้ การลงโทษตามมาตรานี้ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ จะมีอำนาจสั่งลงโทษผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาในสถานโทษและอัตราโทษใดได้เพียงใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๙๗ ภายใต้บังคับวรรคสอง ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนหรือผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง หรือผู้มีอำนาจตามมาตรา ๙๔ เห็นว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. จังหวัด อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. กระทรวง ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาสังกัดอยู่ แล้วแต่กรณี พิจารณา เมื่อ อ.ก.พ. ดังกล่าวมีมติเป็นประการใด ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ สั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ไม่ใช้อำนาจตามมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๙๔ หรือมาตรานี้ ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๕๗ ระดับเหนือขึ้นไปมีอำนาจดำเนินการตามมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๙๔ หรือมาตรานี้ได้ ผู้ใดถูกลงโทษปลดออก ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ มาตรา ๙๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดให้ข้อมูลต่อผู้บังคับบัญชาหรือให้ถ้อยคำในฐานะพยานต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ อันเป็นประโยชน์และเป็นผลดียิ่งต่อทางราชการ ผู้บังคับบัญชาอาจพิจารณาให้บำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษได้ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดอยู่ในฐานะที่อาจจะถูกกล่าวหาว่าร่วมกระทำผิดวินัยกับข้าราชการอื่น ให้ข้อมูลต่อผู้บังคับบัญชา หรือให้ถ้อยคำต่อบุคคลหรือคณะบุคคลตามความในวรรคหนึ่งเกี่ยวกับการกระทำผิดวินัยที่ได้กระทำมา จนเป็นเหตุให้มีการสอบสวนพิจารณาทางวินัยแก่ผู้เป็นต้นเหตุแห่งการกระทำผิด ผู้บังคับบัญชาอาจใช้ดุลพินิจกันผู้นั้นไว้เป็นพยานหรือพิจารณาลดโทษทางวินัยตามควรแก่กรณีได้ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดให้ข้อมูลหรือให้ถ้อยคำในฐานะพยานตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองอันเป็นเท็จให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย หลักเกณฑ์และวิธีการการให้บำเหน็จความชอบ การกันเป็นพยาน การลดโทษ และการให้ความคุ้มครองพยาน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. กฎ ก.พ. ว่าด้วยการคุ้มครองพยานตามวรรคสี่ จะกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงาน ก.พ. หรือผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ จะดำเนินการย้าย โอน หรือดำเนินการอื่นใดโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมหรือเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชาของข้าราชการผู้นั้น และไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนหรือกระบวนการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ก็ได้ มาตรา ๙๙ ให้กรรมการสอบสวนตามมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาและให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพียงเท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของกรรมการสอบสวนและโดยเฉพาะให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วยคือ (๑) เรียกให้กระทรวง กรม ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ หรือห้างหุ้นส่วน บริษัท ชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน (๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน มาตรา ๑๐๐ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาเป็นหนังสือว่ากระทำหรือละเว้นกระทำการใดที่เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ถ้าเป็นการกล่าวหาต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นหรือต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ หรือเป็นการกล่าวหาโดยผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น หรือมีกรณีถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาอันมิใช่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทที่ไม่เกี่ยวกับราชการหรือความผิดลหุโทษ แม้ภายหลังผู้นั้นจะออกจากราชการไปแล้ว โดยมิใช่เพราะเหตุตาย ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยมีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณา และดำเนินการทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ แต่ทั้งนี้ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ต้องดำเนินการสอบสวนตามมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ผู้นั้นพ้นจากราชการ ในกรณีตามวรรคหนึ่งถ้าผลการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงก็ให้งดโทษ มาตรา ๑๐๑ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนหรือพิจารณา หรือผลแห่งคดีได้ ถ้าภายหลังปรากฏผลการสอบสวนหรือพิจารณาว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิดหรือกระทำผิดไม่ถึงกับจะถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก และไม่มีกรณีที่จะต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่น ก็ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติราชการหรือกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกันหรือในตำแหน่งประเภทและระดับที่ ก.พ. กำหนด ทั้งนี้ ผู้นั้นต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น เมื่อได้มีการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดพักราชการหรือออกจากราชการไว้ก่อนแล้วภายหลังปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในกรณีอื่นอีก ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณา และแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ๙๓ ตลอดจนดำเนินการทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ต่อไปได้ ในกรณีที่สั่งให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนกลับเข้ารับราชการ หรือสั่งให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนออกจากราชการด้วยเหตุอื่นที่มิใช่เป็นการลงโทษเพราะกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงก็ให้ผู้นั้นมีสถานภาพเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตลอดระยะเวลาระหว่างที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเสมือนว่าผู้นั้นเป็นผู้ถูกสั่งพักราชการ เงินเดือน เงินอื่นที่จ่ายเป็นรายเดือน และเงินช่วยเหลืออย่างอื่น และการจ่ายเงินดังกล่าวของผู้ถูกสั่งพักราชการ และผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น การสั่งพักราชการให้สั่งพักตลอดเวลาที่สอบสวนหรือพิจารณา เว้นแต่ผู้ถูกสั่งพักราชการผู้ใดได้ร้องทุกข์ตามมาตรา ๑๒๒ และผู้มีอำนาจพิจารณาคำร้องทุกข์เห็นว่าสมควรสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนการสอบสวนหรือพิจารณาเสร็จสิ้นเนื่องจากพฤติการณ์ของผู้ถูกสั่งพักราชการไม่เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนหรือพิจารณา และไม่ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยต่อไป หรือเนื่องจากการดำเนินการทางวินัยได้ล่วงพ้นหนึ่งปีนับแต่วันพักราชการแล้วยังไม่แล้วเสร็จและผู้ถูกสั่งพักราชการไม่มีพฤติกรรมดังกล่าว ให้ผู้มีอำนาจสั่งพักราชการสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนการสอบสวนหรือพิจารณาเสร็จสิ้น ให้นำความในวรรคหกมาใช้บังคับกับกรณีถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสั่งพักราชการ การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ระยะเวลาให้พักราชการและให้ออกจากราชการไว้ก่อน การให้กลับเข้าปฏิบัติราชการหรือกลับเข้ารับราชการและการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามผลการสอบสวนหรือพิจารณาให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๐๒ การลงโทษข้าราชการพลเรือนสามัญในส่วนราชการที่มีกฎหมายว่าด้วยวินัยข้าราชการโดยเฉพาะ ในกรณีเป็นความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงตามพระราชบัญญัตินี้จะลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้หรือลงทัณฑ์หรือลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยวินัยข้าราชการนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งตามควรแก่กรณีและพฤติการณ์ก็ได้ แต่ถ้าเป็นกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ว่าจะได้ลงทัณฑ์หรือลงโทษตามกฎหมายดังกล่าวแล้วหรือไม่ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๓ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้หรือลงทัณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยข้าราชการโดยเฉพาะ หรือสั่งยุติเรื่อง หรืองดโทษแล้ว ให้รายงาน อ.ก.พ. กระทรวงซึ่งผู้ถูกดำเนินการทางวินัยสังกัดอยู่เพื่อพิจารณา เว้นแต่เป็นกรณีดำเนินการทางวินัยกับข้าราชการต่างกระทรวงกัน หรือกรณีดำเนินการทางวินัยตามมติ อ.ก.พ. กระทรวง ตามมาตรา ๙๗ วรรคสอง ให้รายงาน ก.พ. ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ ก.พ. กำหนด ในกรณีที่ อ.ก.พ. กระทรวงหรือ ก.พ. เห็นว่าการดำเนินการทางวินัยเป็นการไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม หากมีมติเป็นประการใด ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ. กระทรวงหรือ ก.พ. มีมติ ในกรณีตามวรรคสองและในการดำเนินการตามมาตรา ๑๐๔ ให้ ก.พ. มีอำนาจสอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๙๕ มาตรา ๑๐๔ ในการดำเนินการของ อ.ก.พ. กระทรวงตามมาตรา ๙๗ วรรคสอง หรือมาตรา ๑๐๓ วรรคสอง หากผู้แทน ก.พ. ซึ่งเป็นกรรมการใน อ.ก.พ. กระทรวงดังกล่าวเห็นว่าการดำเนินการของผู้บังคับบัญชาหรือมติ อ.ก.พ. กระทรวง เป็นการไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้หรือปฏิบัติไม่เหมาะสม ให้รายงาน ก.พ. เพื่อพิจารณาดำเนินการตามควรแก่กรณีต่อไป และเมื่อ ก.พ. มีมติเป็นประการใด ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามที่ ก.พ. มีมติ ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้ถูกลงโทษได้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษของผู้บังคับบัญชาต่อ ก.พ.ค. ในกรณีเช่นนี้ให้ ก.พ. แจ้งมติต่อ ก.พ.ค. เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ มาตรา ๑๐๕ เมื่อมีกรณีเพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ ให้ผู้สั่งมีคำสั่งใหม่ และในคำสั่งดังกล่าวให้สั่งยกเลิกคำสั่งลงโทษเดิม พร้อมทั้งระบุวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับโทษที่ได้รับไปแล้ว ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๐๖ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งโอนมาตามมาตรา ๖๔ ผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยอยู่ก่อนวันโอนมาบรรจุ ให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นดำเนินการทางวินัยตามหมวดนี้โดยอนุโลม แต่ถ้าเป็นเรื่องที่อยู่ในระหว่างการสืบสวนหรือพิจารณา หรือสอบสวนของผู้บังคับบัญชาเดิมก่อนวันโอนก็ให้สืบสวนหรือพิจารณา หรือสอบสวนต่อไปจนเสร็จ แล้วส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นพิจารณาดำเนินการต่อไปตามหมวดนี้โดยอนุโลม แต่ทั้งนี้ ในการสั่งลงโทษทางวินัยให้พิจารณาตามความผิดและลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นหรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการที่โอนมานั้น แล้วแต่กรณี หมวด ๘ การออกจากราชการ มาตรา ๑๐๗ ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการเมื่อ (๑) ตาย (๒) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๓) ลาออกจากราชการและได้รับอนุญาตให้ลาออกหรือการลาออกมีผลตามมาตรา ๑๐๙ (๔) ถูกสั่งให้ออกตามมาตรา ๕๙ มาตรา ๖๗ มาตรา ๑๐๑ มาตรา ๑๑๐ หรือมาตรา ๑๑๑ หรือ (๕) ถูกสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก วันออกจากราชการตาม (๔) และ (๕) ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๑๐๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดเมื่ออายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในสิ้นปีงบประมาณและทางราชการมีความจำเป็นที่จะให้รับราชการต่อไปเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในทางวิชาการหรือหน้าที่ที่ต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัว ในตำแหน่งตามมาตรา ๔๖ (๓) (ง) หรือ (จ) หรือ (๔) (ค) หรือ (ง) จะให้รับราชการต่อไปอีกไม่เกินสิบปีก็ได้ตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๐๙ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งโดยยื่นล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกไม่น้อยกว่าสามสิบวันเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ เป็นผู้พิจารณาก่อนวันขอลาออก ในกรณีที่ผู้ประสงค์จะลาออกยื่นหนังสือขอลาออกล่วงหน้าน้อยกว่าสามสิบวัน และผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ เห็นว่ามีเหตุผลและความจำเป็นจะอนุญาตให้ลาออกตามวันที่ขอลาออกก็ได้ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ เห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการ จะยับยั้งการลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันขอลาออกก็ได้ ในกรณีเช่นนั้นถ้าผู้ขอลาออกมิได้ถอนใบลาออกก่อนครบกำหนดระยะเวลาการยับยั้งให้ถือว่าการลาออกนั้นมีผลเมื่อครบกำหนดเวลาตามที่ได้ยับยั้งไว้ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มิได้ยับยั้งตามวรรคสามให้การลาออกนั้นมีผลตั้งแต่วันขอลาออก ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการเพื่อดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ตำแหน่งทางการเมือง หรือตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนด หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาตามวรรคหนึ่ง และให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการลาออก การพิจารณาอนุญาตให้ลาออกและการยับยั้งการลาออกจากราชการ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๑๑๐ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอ (๒) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดสมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการ (๓) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๓๖ ก. (๑) หรือ (๓) หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๖ ข. (๑) (๓) (๖) หรือ (๗) (๔) เมื่อทางราชการเลิกหรือยุบหน่วยงานหรือตำแหน่งที่ข้าราชการพลเรือนสามัญปฏิบัติหน้าที่หรือดำรงอยู่ สำหรับผู้ที่ออกจากราชการในกรณีนี้ให้ได้รับเงินชดเชยตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนดด้วย (๕) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการ (๖) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ บกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ ถ้าให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ (๗) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกสอบสวนว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามมาตรา ๙๓ และผลการสอบสวนไม่ได้ความแน่ชัดพอที่จะฟังลงโทษตามมาตรา ๙๗ วรรคหนึ่ง แต่มีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวน ถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ (๘) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษหรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำสั่งของศาลซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก การสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๙๗ วรรคสอง มาใช้บังคับกับการสั่งให้ออกจากราชการตามกรณี (๓) เฉพาะมาตรา ๓๖ ก. (๓) กรณี (๖) และกรณี (๗) โดยอนุโลม เมื่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ สั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดออกจากราชการตามมาตรานี้แล้ว ให้รายงาน อ.ก.พ. กระทรวง หรือ ก.พ. แล้วแต่กรณี และให้นำมาตรา ๑๐๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๑๑ เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคหนึ่ง และต่อมาปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตราอื่นอยู่ก่อนไปรับราชการทหาร ก็ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ มีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ออกตามวรรคหนึ่งเป็นให้ออกจากราชการตามมาตราอื่นนั้นได้ มาตรา ๑๑๒ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ไม่ใช้อำนาจตามมาตรา ๑๑๐ โดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ระดับเหนือขึ้นไปมีอำนาจดำเนินการตามมาตรา ๑๑๐ ได้ มาตรา ๑๑๓ การออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่งนับแต่วันออกจากราชการ เว้นแต่ออกจากราชการเพราะความตายให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ หมวด ๙ การอุทธรณ์ มาตรา ๑๑๔ ผู้ใดถูกสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๑๑๐ (๑) (๓) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.พ.ค. ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคำสั่ง การอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.ค. มาตรา ๑๑๕ ในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ ก.พ.ค. จะพิจารณาวินิจฉัยเองหรือจะตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.ค. มาตรา ๑๑๖ เมื่อ ก.พ.ค. พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ดำเนินการให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยนั้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ ก.พ.ค. มีคำวินิจฉัย ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ก.พ.ค. ให้ฟ้องคดีต่อศาลปกครองสูงสุดภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ทราบหรือถือว่าทราบคำวินิจฉัยของ ก.พ.ค. ผู้บังคับบัญชาผู้ใดไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการจงใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น มาตรา ๑๑๗ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการ ก.พ.ค. และกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ (๑) สั่งให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งลงโทษหรือสั่งให้ออกจากราชการอันเป็นเหตุให้มีการอุทธรณ์ ส่งสำนวนการสอบสวนและการลงโทษให้ ก.พ.ค. ภายในเวลาที่กำหนด (๒) สั่งให้กระทรวง กรม ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐรวมตลอดทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องสอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมหรือส่งตัวข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ในสังกัดมาให้ถ้อยคำ ในการนี้จะกำหนดระยะเวลาในการสอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมไว้ด้วยก็ได้ (๓) มีคำสั่งให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของกระทรวง กรม ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือบุคคลใดที่เกี่ยวข้อง มาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (๔) เข้าไปในอาคาร หรือสถานที่ใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของ ก.พ.ค. ทั้งนี้ ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น (๕) สอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติม มาตรา ๑๑๘ การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๑๔ ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ เว้นแต่มีเหตุขัดข้องที่ทำให้การพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ก็ให้ขยายระยะเวลาได้อีกซึ่งไม่เกินสองครั้ง โดยแต่ละครั้งจะต้องไม่เกินหกสิบวัน และให้บันทึกเหตุขัดข้องให้ปรากฏไว้ด้วย มาตรา ๑๑๙ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งโอนมาตามมาตรา ๖๔ ผู้ใดถูกสั่งลงโทษทางวินัยอยู่ก่อนวันโอนมาบรรจุ และผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นหรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการที่โอนมาแต่ยังไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ตามกฎหมายดังกล่าว ก็ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๑๔ ได้ แต่ถ้าผู้นั้นได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นหรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการที่โอนมาไว้แล้วและในวันที่ผู้นั้นได้โอนมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ยังไม่แล้วเสร็จ ก็ให้ส่งเรื่องให้ ก.พ.ค. เป็นผู้พิจารณาอุทธรณ์ มาตรา ๑๒๐ ในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ ก.พ.ค. มีอำนาจไม่รับอุทธรณ์ ยกอุทธรณ์ หรือมีคำวินิจฉัยให้แก้ไขหรือยกเลิกคำสั่งลงโทษ และให้เยียวยาความเสียหายให้ผู้อุทธรณ์ หรือให้ดำเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ตามระเบียบที่ ก.พ.ค. กำหนด การวินิจฉัยให้แก้ไขหรือให้ดำเนินการอื่นตามวรรคหนึ่ง ก.พ.ค. จะให้เพิ่มโทษไม่ได้ เว้นแต่เป็นกรณีได้รับแจ้งจาก ก.พ. ตามมาตรา ๑๐๔ ว่าสมควรเพิ่มโทษ ในกรณีเช่นนั้น ก.พ.ค. มีอำนาจวินิจฉัยให้เพิ่มโทษได้ มาตรา ๑๒๑ เมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้ กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์อาจถูกคัดค้านได้ (๑) รู้เห็นเหตุการณ์ในการกระทำผิดวินัยที่ผู้อุทธรณ์ถูกลงโทษหรือการถูกสั่งให้ออกจากราชการ (๒) มีส่วนได้เสียในการกระทำผิดวินัยที่ผู้อุทธรณ์ถูกลงโทษหรือการถูกสั่งให้ออกจากราชการ (๓) มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้อุทธรณ์ (๔) เป็นผู้กล่าวหา หรือเป็นหรือเคยเป็นผู้บังคับบัญชาผู้สั่งลงโทษหรือสั่งให้ออกจากราชการ (๕) เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินการทางวินัยหรือการสั่งให้ออกจากราชการที่ผู้อุทธรณ์ถูกลงโทษหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการ (๖) มีความเกี่ยวพันทางเครือญาติหรือทางการสมรสกับบุคคลตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) อันอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้อุทธรณ์ กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ซึ่งมีกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้งต่อประธาน ก.พ.ค. และถอนตัวจากการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ การยื่นคำคัดค้าน และการพิจารณาคำคัดค้าน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.ค. หมวด ๑๐ การร้องทุกข์ มาตรา ๑๒๒ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชา และเป็นกรณีที่ไม่อาจอุทธรณ์ตามหมวด ๙ การอุทธรณ์ ได้ ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในหมวดนี้ มาตรา ๑๒๓ การร้องทุกข์ที่เหตุเกิดจากผู้บังคับบัญชา ให้ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไป ตามลำดับ การร้องทุกข์ที่เหตุเกิดจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงรัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรือนายกรัฐมนตรี ให้ร้องทุกข์ต่อ ก.พ.ค. เมื่อ ก.พ.ค. ได้พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ประการใดแล้ว ให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง รัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรือนายกรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ดำเนินการให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของ ก.พ.ค. การร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.ค. มาตรา ๑๒๔ ในการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ให้ ก.พ.ค. มีอำนาจไม่รับเรื่องร้องทุกข์ ยกคำร้องทุกข์ หรือมีคำวินิจฉัยให้แก้ไขหรือยกเลิกคำสั่ง และให้เยียวยาความเสียหายให้ผู้ร้องทุกข์ หรือให้ดำเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามระเบียบที่ ก.พ.ค. กำหนด ในการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ ก.พ.ค. จะพิจารณาวินิจฉัยเอง หรือจะตั้งกรรมการ ก.พ.ค. คนหนึ่ง หรือจะตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.ค. และในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และให้มีอำนาจตามมาตรา ๑๑๗ โดยอนุโลม มาตรา ๑๒๕ เมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้ กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์อาจถูกคัดค้านได้ (๑) เป็นผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุให้เกิดความคับข้องใจ หรือเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้บังคับบัญชาดังกล่าว (๒) มีส่วนได้เสียในเรื่องที่ร้องทุกข์ (๓) มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ร้องทุกข์ (๔) มีความเกี่ยวพันทางเครือญาติหรือทางการสมรสกับบุคคลตาม (๑) (๒) หรือ (๓) อันอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ร้องทุกข์ กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ซึ่งมีกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้งต่อประธาน ก.พ.ค. และถอนตัวจากการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ การยื่นคำคัดค้าน และการพิจารณาคำคัดค้าน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.ค. หมวด ๑๑ การคุ้มครองระบบคุณธรรม มาตรา ๑๒๖ ในกรณีที่ ก.พ.ค. เห็นว่ากฎ ระเบียบ หรือคำสั่งใดที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้และมุ่งหมายให้ใช้บังคับเป็นการทั่วไป ไม่สอดคล้องกับระบบคุณธรรมตามมาตรา ๔๒ ให้ ก.พ.ค. แจ้งให้หน่วยงานหรือผู้ออกกฎ ระเบียบ หรือคำสั่งดังกล่าวทราบ เพื่อดำเนินการแก้ไข หรือยกเลิกตามควรแก่กรณี ลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์[๓] (ยกเลิก) มาตรา ๑๒๗[๔] (ยกเลิก) บทเฉพาะกาล มาตรา ๑๒๘ ให้ ก.พ. อ.ก.พ. วิสามัญ และ อ.ก.พ. สามัญ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ก.พ. หรือจนกว่าจะได้แต่งตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญ หรืออนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญ แล้วแต่กรณี ตามพระราชบัญญัตินี้ การดำเนินการแต่งตั้ง ก.พ. ให้กระทำให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๒๙ ในระหว่างที่ยังมิได้ดำเนินการให้มี ก.พ.ค. ให้ ก.พ. ทำหน้าที่ ก.พ.ค. ตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อนจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ก.พ.ค. ตามพระราชบัญญัตินี้ การดำเนินการแต่งตั้ง ก.พ.ค. ให้กระทำให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๓๐ ผู้ใดเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ หรือข้าราชการพลเรือนในพระองค์ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ หรือข้าราชการพลเรือนในพระองค์ตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี ต่อไป มาตรา ๑๓๑ ในระหว่างที่ ก.พ. ยังมิได้จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามมาตรา ๔๘ บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ยังไม่ใช้บังคับ โดยให้นำบทบัญญัติในลักษณะ ๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตลอดจนบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนและบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือนท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๓๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญและข้าราชการพลเรือนในพระองค์ไปพลางก่อนจนกว่า ก.พ. จะจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งเสร็จ และจัดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญของทุกส่วนราชการเข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และประกาศให้ทราบ จึงให้นำบทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ก.พ. ประกาศเป็นต้นไป และให้ผู้บังคับบัญชาสั่งแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ ก.พ. ประกาศ ในการจัดตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญตามวรรคหนึ่ง หากมีเหตุผลและความจำเป็น ก.พ. อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญผู้มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะตัวได้ ให้ ก.พ. ดำเนินการประกาศตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๓๒ ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกา หรือออกกฎ ก.พ. ข้อบังคับ หรือระเบียบหรือกำหนดกรณีใด เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำพระราชกฤษฎีกา กฎ ก.พ. ข้อบังคับ หรือระเบียบหรือกรณีที่กำหนดไว้แล้วซึ่งใช้อยู่เดิมมาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ไม่อาจนำพระราชกฤษฎีกา กฎ ก.พ. ข้อบังคับ หรือระเบียบหรือกรณีที่กำหนดไว้แล้วมาใช้บังคับได้ตามวรรคหนึ่ง การจะดำเนินการประการใดให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๑๓๓ ข้าราชการพลเรือนผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยหรือกรณีที่สมควรให้ออกจากราชการอยู่ก่อนวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้บังคับบัญชาตามพระราชบัญญัตินี้มีอำนาจสั่งลงโทษผู้นั้นหรือสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ส่วนการสอบสวน การพิจารณา และการดำเนินการเพื่อลงโทษหรือให้ออกจากราชการ ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ (๑) กรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งให้สอบสวนโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นไปแล้วก่อนวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และยังสอบสวนไม่เสร็จก็ให้สอบสวนตามกฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ (๒) ในกรณีที่ได้มีการสอบสวนหรือพิจารณาโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นเสร็จไปแล้วก่อนวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้การสอบสวนหรือพิจารณา แล้วแต่กรณีนั้นเป็นอันใช้ได้ (๓) กรณีที่ได้มีการรายงานหรือส่งเรื่อง หรือนำสำนวนเสนอ หรือส่งให้ อ.ก.พ. สามัญใดพิจารณาโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น และ อ.ก.พ. สามัญพิจารณาเรื่องนั้นยังไม่เสร็จ ก็ให้ อ.ก.พ. สามัญ พิจารณาตามกฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ มาตรา ๑๓๔ ข้าราชการพลเรือนซึ่งโอนมาจากพนักงานส่วนท้องถิ่นหรือข้าราชการประเภทอื่นก่อนวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยหรือกรณีที่สมควรให้ออกจากงานหรือให้ออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นหรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการนั้นอยู่ก่อนวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้บังคับบัญชาตามพระราชบัญญัตินี้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยแก่ผู้นั้น หรือดำเนินการสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้ ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๑๐๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๓๕ ผู้ใดถูกสั่งลงโทษหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ถ้ายังมิได้ยื่นอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวและยังไม่พ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ในวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้มีสิทธิอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ตามพระราชบัญญัตินี้ได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๓๖ เรื่องอุทธรณ์และเรื่องร้องทุกข์ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและอยู่ในอำนาจการพิจารณาของ อ.ก.พ. สามัญ หรือ ก.พ. ให้ อ.ก.พ. สามัญ หรือ ก.พ. แล้วแต่กรณี พิจารณาต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ เรื่องอุทธรณ์และเรื่องร้องทุกข์ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ได้ยื่นต่อ อ.ก.พ. สามัญ หรือ ก.พ. ในวันหรือหลังวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและเป็นกรณีที่มีการลงโทษหรือสั่งการไว้ก่อนวันที่บทบัญญัติในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ ก.พ.ค. เป็นผู้พิจารณาดำเนินการต่อไป มาตรา ๑๓๗ การใดที่อยู่ระหว่างดำเนินการหรือเคยดำเนินการได้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ และมิได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือมีกรณีที่ไม่อาจดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ การดำเนินการต่อไปในเรื่องนั้นจะสมควรดำเนินการประการใดให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๑๓๘ การปรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญเข้าตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้รับเงินเดือนยังไม่ถึงขั้นต่ำของระดับตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ให้ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำชั่วคราวตามบัญชีท้ายตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ได้รับการปรับเงินเดือนจนได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำของระดับตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๑๓๙ ในกรณีที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทต่าง ๆ กำหนดให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการพลเรือนสามัญมาใช้บังคับหรือใช้บังคับโดยอนุโลม ให้ยังคงนำพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาใช้บังคับหรือใช้บังคับโดยอนุโลมต่อไป การให้นำพระราชบัญญัตินี้ไปใช้บังคับกับข้าราชการประเภทดังกล่าวทั้งหมดหรือบางส่วน ให้กระทำได้โดยมติขององค์กรกลางบริหารงานบุคคลหรือองค์กรที่ทำหน้าที่องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการประเภทนั้น ๆ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ[๕] ตำแหน่งประเภทบริหาร บาท บาท ขั้นสูง ๗๔,๓๒๐ ๗๖,๘๐๐ ขั้นต่ำ ๕๑,๑๔๐ ๕๖,๓๘๐ ขั้นต่ำชั่วคราว ๒๔,๔๐๐ ๒๙,๙๘๐ ระดับ ต้น สูง บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ บาท บาท ขั้นสูง ๕๙,๕๐๐ ๗๐,๓๖๐ ขั้นต่ำ ๒๖,๖๖๐ ๓๒,๘๕๐ ขั้นต่ำชั่วคราว ๑๙,๘๖๐ ๒๔,๔๐๐ ระดับ ต้น สูง บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภทวิชาการ บาท บาท บาท บาท บาท ขั้นสูง ๒๖,๙๐๐ ๔๓,๖๐๐ ๕๘,๓๙๐ ๖๙,๐๔๐ ๗๖,๘๐๐ ขั้นต่ำ ๘,๓๔๐ ๑๕,๐๕๐ ๒๒,๑๔๐ ๓๑,๔๐๐ ๔๓,๘๑๐ ขั้นต่ำชั่วคราว ๗,๑๔๐ ๑๓,๑๖๐ ๑๙,๘๖๐ ๒๔,๔๐๐ ๒๙,๙๘๐ ระดับ ปฏิบัติการ ชำนาญการ ชำนาญการ พิเศษ เชี่ยวชาญ ทรงคุณวุฒิ บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภททั่วไป บาท บาท บาท บาท ขั้นสูง ๒๑,๐๑๐ ๓๘,๗๕๐ ๕๔,๘๒๐ ๖๙,๐๔๐ ขั้นต่ำ ๔,๘๗๐ ๑๐,๑๙๐ ๑๕,๔๑๐ ๔๘,๒๒๐ ระดับ ปฏิบัติงาน ชำนาญงาน อาวุโส ทักษะพิเศษ ตารางบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ ๑. ประเภทบริหาร ระดับ อัตรา (บาท/เดือน) ระดับสูง ระดับต้น ๒๑,๐๐๐ ๑๔,๕๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๒. ประเภทอำนวยการ ระดับ อัตรา (บาท/เดือน) ระดับสูง ระดับต้น ๑๐,๐๐๐ ๕,๖๐๐ ๓. ประเภทวิชาการ ระดับ อัตรา (บาท/เดือน) ทรงคุณวุฒิ เชี่ยวชาญ ชำนาญการพิเศษ ชำนาญการ ๑๕,๖๐๐ ๑๓,๐๐๐ ๙,๙๐๐ ๕,๖๐๐ ๓,๕๐๐ ๔. ประเภททั่วไป ระดับ อัตรา (บาท/เดือน) ทักษะพิเศษ ๙,๙๐๐ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ บัญญัติให้ดำเนินการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน เพื่อกำหนดภารกิจของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนให้เหมาะสม ประกอบกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้ใช้บังคับมานาน บทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับพัฒนาการด้านการบริหารราชการที่เปลี่ยนไป ดังนั้น เพื่อกำหนดภารกิจของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนให้เหมาะสม และเพื่อให้การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐสอดคล้องกับทิศทางการบริหารราชการ สมควรปรับปรุงกฎหมายดังกล่าว โดยปรับบทบาทของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน จากเดิมที่เป็นทั้งผู้จัดการงานบุคคลของฝ่ายบริหาร ผู้พิทักษ์ระบบคุณธรรม และผู้จัดโครงสร้างส่วนราชการ ให้เป็นเพียงผู้จัดการงานบุคคลของฝ่ายบริหาร โดยมิให้ซ้ำซ้อนกับบทบาทของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ส่วนบทบาทในการพิทักษ์ระบบคุณธรรมให้เป็นของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ปรับบทบาทของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนจากเดิมที่เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ให้เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม และมิให้ซ้ำซ้อนกับบทบาทของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ปรับปรุงระบบตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญให้จำแนกตามกลุ่มลักษณะงาน ตลอดจนกระจายอำนาจการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดดำเนินการมากขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชกฤษฎีกาการปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. ๒๕๕๔[๖] มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญให้เหมาะสมยิ่งขึ้นตามความจำเป็นก็ได้ โดยหากเป็นการปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงเพิ่มไม่เกินร้อยละสิบของเงินเดือนที่ใช้บังคับอยู่ ให้กระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ประกอบกับบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญในปัจจุบันไม่เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น สมควรปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยปรับเพิ่มบางอัตราและปรับเพิ่มเป็นร้อยละที่แตกต่างกันร้อยละห้าถึงร้อยละสิบ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘[๗] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป มาตรา ๕ ในวาระเริ่มแรก ให้ปรับเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้รับอยู่เดิมเข้าสู่อัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการและระดับชำนาญการและผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงานและระดับชำนาญงานได้รับเงินเดือนในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่ได้รับอยู่เดิมตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้อีกร้อยละสี่ของเงินเดือนที่ได้รับอยู่ ในกรณีที่การปรับเงินเดือนดังกล่าวทำให้มีเศษไม่ถึงสิบบาทให้ปรับตัวเลขเงินเดือนดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นสิบบาท มาตรา ๖ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญให้เหมาะสม เป็นธรรม และได้มาตรฐาน โดยคำนึงถึงค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไปค่าตอบแทนในภาคเอกชน ฐานะการคลังของประเทศ ความแตกต่างระหว่างรายได้ของข้าราชการระดับต่าง ๆ ในประเภทเดียวกันและต่างประเภทกัน และปัจจัยอื่นที่จำเป็น สมควรปรับบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และกำหนดมาตรการเยียวยาให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งที่เหมาะสมและเป็นธรรมตามควรแห่งกรณี ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. ๒๕๖๐[๘] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๖ เมื่อพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับแล้ว ให้ยกเลิก (๑) มาตรา ๔๖ (๑) และ (๒) แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ (๒) ลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ และมาตรา ๑๒๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ (๓) มาตรา ๑๐ (๓) และ (๔) มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๔/๑ และมาตรา ๔๒ (๖) (๗) และ (๘) แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๗ เมื่อพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับแล้ว (๑) ให้โอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้สิน และเงินงบประมาณ ของสำนักราชเลขาธิการและสำนักพระราชวังตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นของส่วนราชการในพระองค์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา และให้โอนข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง และผู้ปฏิบัติงานอื่นซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในสำนักราชเลขาธิการและสำนักพระราชวัง ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นข้าราชการในพระองค์ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในส่วนราชการในพระองค์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา (๒) ให้โอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ และทรัพย์สิน ของกรมราชองครักษ์ กระทรวงกลาโหม ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นของส่วนราชการในพระองค์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา และให้โอนอัตรากำลังพล และข้าราชการและผู้ปฏิบัติงานอื่นซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในกรมราชองครักษ์ กระทรวงกลาโหม ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นอัตรากำลังพล และข้าราชการในพระองค์หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในส่วนราชการในพระองค์ ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ส่วนเงินงบประมาณ สิทธิ และหนี้สินของกรมราชองครักษ์ กระทรวงกลาโหม ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ให้โอนไปเป็นของสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงกลาโหม เพื่อประโยชน์ของส่วนราชการในพระองค์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา เว้นแต่จะมีพระราชวินิจฉัยเป็นอย่างอื่น (๓) ให้โอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน สิทธิ และหนี้สิน ของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ กระทรวงกลาโหม ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นของส่วนราชการในพระองค์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา และให้โอนอัตรากำลังพล และข้าราชการและผู้ปฏิบัติงานอื่นซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ กระทรวงกลาโหม ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นอัตรากำลังพล และข้าราชการในพระองค์หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในส่วนราชการในพระองค์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา (๔) ให้โอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน สิทธิ และหนี้สิน ของสำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นของส่วนราชการในพระองค์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา และให้โอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการตำรวจในสำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการในพระองค์ในส่วนราชการในพระองค์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๘ เพื่อประโยชน์ในการได้รับบำเหน็จบำนาญ ให้ถือว่าข้าราชการในพระองค์เป็นข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แล้วแต่กรณี แต่การพ้นจากราชการให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย ทั้งนี้ เว้นแต่พระราชกฤษฎีกาจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น การรับบำเหน็จบำนาญ การรับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ของข้าราชการในพระองค์ให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๙ ในวาระเริ่มแรก การใดที่สำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง และกรมราชองครักษ์ หรือหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ กระทรวงกลาโหม และสำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ อยู่ในระหว่างการดำเนินการหรือเคยดำเนินการได้ตามกฎหมาย เมื่อได้โอนมาเป็นของส่วนราชการในพระองค์ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ยังคงดำเนินการต่อไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น เว้นแต่จะมีพระราชวินิจฉัยหรือมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ดำเนินการเป็นอย่างอื่น มาตรา ๑๐ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่สำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง และกรมราชองครักษ์และหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ กระทรวงกลาโหม เป็นส่วนราชการที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับราชการในพระองค์และพระราชกรณียกิจขององค์พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งต้องถวายงานตามโบราณราชประเพณีและพระราชอัธยาศัย การปฏิบัติราชการจึงแตกต่างจากส่วนราชการของฝ่ายบริหารทั่วไป กรณีจึงสมควรกำหนดฐานะของส่วนราชการดังกล่าวขึ้นใหม่ ให้เป็นส่วนราชการในพระองค์โดยปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ มีการจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลเป็นการเฉพาะให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย เพื่อให้การบริหารราชการในพระองค์เหมาะสมและสอดคล้องกับภารกิจของราชการในพระองค์ และสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ฐิติมา/ตรวจ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๒ ระพี/ปรับปรุง ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ วิชพงษ์/ตรวจ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ โชติกานต์/เพิ่มเติม ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๗ วริญา/เพิ่มเติม ปัญญา/ตรวจ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๘ นุสรา/เพิ่มเติม ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๒๒ ก/หน้า ๑/๒๕ มกราคม ๒๕๕๑ [๒] มาตรา ๕๐/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘ [๓] ลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ยกเลิกโดยมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. ๒๕๖๐ [๔] มาตรา ๑๒๗ ยกเลิกโดยมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. ๒๕๖๐ [๕] บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘ [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๒๒ ก/หน้า ๙/๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ [๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๔๓ ก/หน้า ๑/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘ [๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๔๘ ก/หน้า ๑/๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐
304175
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นปีที่ ๔๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำ และยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕” มาตรา ๒* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป *[รก.๒๕๓๕/๓๑/๑/๓๑ มีนาคม ๒๕๓๕] มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ (๒) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๙ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๐ (๓) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ (๔) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๑ (๕) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๒๓ (๗) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๑ (๘) ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๓๕ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ บรรดากฎหมาย กฎ ข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน และมิให้นำคำสั่ง หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่ ๓๘/๒๕๑๙ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๙ มาใช้บังคับ แก่ข้าราชการพลเรือน มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “ข้าราชการพลเรือน” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งตาม พระราชบัญญัตินี้ให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในกระทรวง บวง กรมฝ่ายพลเรือน “ข้าราชการฝ่ายพลเรือน” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งตาม กฎหมายให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือน ในกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือน “กระทรวง” หมายความรวมถึงส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวงหรือมีฐานะ เทียบเท่ากระทรวงด้วย “รัฐมนตรีเจ้าสังกัด” หมายความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงรัฐมนตรีว่าการ ทบวงและหมายความรวมถึงนายกรัฐมนตรีในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาสำนักนายกรัฐมนตรี นายก รัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัด กระทรวงหรือทบวงด้วย “ปลัดกระทรวง” หมายความรวมถึงปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและปลัดทบวงด้วย “รองปลัดกระทรวง” หมายความรวมถึงรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและ รองปลัดทบวงด้วย “กรม” หมายความรวมถึงส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมด้วย “อธิบดี” หมายความรวมถึงหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมด้วย “รองอธิบดี” หมายความรวมถึงรองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมด้วย “ผู้ช่วยอธิบดี” หมายความรวมถึงผู้ช่วยหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ด้วย “ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการ ปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี” หมายความว่า ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ซึ่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินบัญญัติให้หัวหน้าส่วนราชการนั้นรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี มาตรา ๕ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ลักษณะ ๑ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน มาตรา ๖ ให้มีคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.” ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและเลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านระบบราชการและการจัดส่วน ราชการ ด้านการพัฒนาองค์การ ด้านการบริหารและการจัดการและด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็น ที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับการสรรหาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ.จำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน แต่ไม่เกินเจ็ดคน ทั้งนี้ ต้องเป็นผู้ที่ดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า แต่ถ้าจะแต่งตั้งผู้ที่ไม่เคยเป็นข้าราชการหรือเคยเป็นข้าราชการแต่ดำรงตำแหน่งต่ำกว่าอธิบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่าจะดำเนินการเพื่อแต่งตั้งได้ไม่เกินสามคน (๒) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวง หัวหน้าหรือรองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวง หัวหน้าหรือรองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี อธิบดี หรือผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวในกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนห้าคน ซึ่งแต่ละคนสังกัดอยู่ต่างกระทรวง ทบวง หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวง กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง ต้องไม่เป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรรมการพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง และมิได้เป็น กรรมการโดยตำแหน่งอยู่แล้ว กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรง ตำแหน่งตาม (๒) ผู้ใดออกจากราชการพลเรือน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นที่มิใช่ตำแหน่งตาม (๒) หรือโอนไปสังกัดกระทรวง ทบวง หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม และไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงอื่นที่มีกรรมการตาม (๒) สังกัดอยู่แล้ว ให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งกรรมการ มาตรา ๗ กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งได้ คราวละสองปี ถ้าตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนดและยังมีกรรมการดังกล่าวเหลืออยู่อีกไม่ น้อยกว่าห้าคน ให้กรรมการที่เหลือปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ เมื่อตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนดให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการแทน ภายในกำหนดสามสิบวัน เว้นแต่วาระของกรรมการเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่แต่งตั้ง กรรมการแทนก็ได้ ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการแทนนั้น ให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่ง จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้เป็น กรรมการอีกก็ได้ ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่ ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ไปก่อนจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่ มาตรา ๘ ก.พ. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายการบริหาร งานบุคคลของข้าราชการพลเรือน และการจัดระบบราชการพลเรือน (๒) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับมาตรฐานการบริหาร งานบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือน (๓) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือน การจัดและการพัฒนาส่วนราชการและวิธีปฏิบัติราชการของข้าราชการ ฝ่ายพลเรือน (๔) พิจารณากำหนดนโยบายเกี่ยวกับการวางแผนกำลังคนในราชการพลเรือน (๕) ออกกฎ ก.พ. ข้อบังคับ หรือระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎ ก.พ. เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ (๖) ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ มติของ ก.พ. ตามข้อนี้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วให้ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย (๗) กำกับ ดูแล ตรวจสอบ แนะนำและชี้แจงเพื่อให้กระทรวงทบวง กรม ปฏิบัติ การตามพระราชบัญญัตินี้ ในการนี้ ให้มีอำนาจเรียกเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากหน่วย ราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ ห้างหุ้นส่วนบริษัท หรือบุคคลใด ๆ หรือให้ผู้แทนหน่วย ราชการรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ ห้างหุ้นส่วนบริษัท ข้าราชการหรือบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำหรือชี้แจงข้อเท็จจริง และให้มีอำนาจออกระเบียบให้กระทรวง ทบวง กรมรายงานเกี่ยวกับการสอบ การบรรจุ การแต่งตั้งการเลื่อนขั้นเงินเดือน การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ ตลอดจนการรายงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่ง และของส่วนราชการ การเปลี่ยนแปลงการใช้ตำแหน่งทะเบียนประวัติของข้าราชการพลเรือน และ การปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ไปยัง ก.พ. (๘) รายงานนายกรัฐมนตรีในกรณีที่ปรากฏว่ากระทรวง ทบวงกรม ไม่ปฏิบัติ การตามพระราชบัญญัตินี้ หรือปฏิบัติการโดยไม่เหมาะสมเพื่อนายกรัฐมนตรีจะได้พิจารณาและ สั่งการต่อไป (๙) รายงานคณะรัฐมนตรีในกรณีที่ค่าครองชีพเปลี่ยนแปลงไปมากหรือการ จัดสวัสดิการหรือประโยชน์เกื้อกูลสำหรับข้าราชการยังไม่เหมาะสมเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาใน อันที่จะปรับปรุงเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งเงินเพิ่มค่าครองชีพ สวัสดิการ หรือประโยชน์เกื้อกูล สำหรับข้าราชการพลเรือนให้เหมาะสม (๑๐) กำหนดนโยบายและออกระเบียบเกี่ยวกับทุนของรัฐบาลเพื่อสนองความ ต้องการกำลังคนของกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือน และทุนเล่าเรียนหลวง ตลอดจนการจัดสรรผู้รับทุนของรัฐบาลที่สำเร็จการศึกษาแล้วเข้ารับราชการในส่วนราชการต่าง ๆ (๑๑) ออกข้อบังคับหรือระเบียบเพื่อควบคุมดูแลข้าราชการฝ่ายพลเรือนที่ศึกษา หรือฝึกอบรมในต่างประเทศ และเพื่อดูแลจัดการการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศ รวมทั้งเพื่อควบคุมการศึกษา ความประพฤติ และการใช้จ่าย ตลอดจนการเก็บเงินชดเชยค่าใช้จ่ายในการดูแลจัดการการศึกษา การกำหนดวินัย และการลงโทษสำหรับนักเรียนดังกล่าว ทั้งนี้ ให้ถือว่าเงินชดเชยค่าใช้จ่ายในการดูแลจัดการการศึกษาเป็นเงินรายรับของส่วนราชการที่เป็นสถานอำนวยบริการอันเป็นสาธารณประโยชน์ตามความหมายในกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ (๑๒) พิจารณารับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือ คุณวุฒิอย่างอื่นเพื่อประโยชน์ในการบรรจุและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน และกำหนดเงินเดือนที่ควรได้รับและระดับตำแหน่งที่ควรแต่งตั้ง (๑๓) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ (๑๔) พิจารณาการแก้ไขทะเบียนประวัติเกี่ยวกับวันเดือนปีเกิดและการควบคุม เกษียณอายุของข้าราชการพลเรือน (๑๕) ปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้ในมาตราอื่นแห่งพระราช บัญญัตินี้และกฎหมายอื่น มาตรา ๙ เมื่อนายกรัฐมนตรีได้รับรายงานของ ก.พ. ตามมาตรา ๘ (๘) ให้ นายกรัฐมนตรีพิจารณาสั่งให้กระทรวง ทบวง กรมปฏิบัติการให้ถูกต้องหรือเหมาะสมต่อไป และให้กระทรวง ทบวง กรมปฏิบัติให้เป็นไปตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่เห็นด้วยกับมติของ ก.พ. ที่รายงานตามมาตรา ๘ (๘) ให้ส่งความเห็นของนายกรัฐมนตรีให้ ก.พ. พิจารณาและถ้า ก.พ. พิจารณาแล้วยังยืนยันตามมติ เดิม ให้ ก.พ. รายงานต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาวินิจฉัยและเมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติประการใด ให้ ก.พ. และกระทรวง ทบวง กรม ปฏิบัติให้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรี มาตรา ๑๐ การประชุม ก.พ. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของ จำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ในการประชุม ก.พ. ถ้าประธานไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธาน ในการประชุม ก.พ. ถ้ามีการพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับตัวกรรมการผู้ใดโดยเฉพาะ ผู้นั้นไม่มีสิทธิเข้าประชุม ภายใต้บังคับมาตรา ๓๐ การวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือเสียงข้างมากถ้ามีคะแนนเสียง เท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๑๑ ก.พ. มีอำนาจตั้งคณะอนุกรรมการวิสามัญ เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ. วิสามัญ” เพื่อทำการใด ๆ แทนได้ การตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญเพื่อทำหน้าที่พิจารณาเรื่องการดำเนินการทางวินัย การ ออกจากราชการ การอุทธรณ์หรือการร้องทุกข์ ให้ตั้งจากกรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งอย่างน้อยสองคนและข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนอนุกรรมการทั้งหมด อนุกรรมการซึ่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือน ถ้าออกจากราชการพลเรือน ให้พ้นจากตำแหน่ง ในกรณีที่กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง พ้นจากตำแหน่งตาม วาระ ให้ อ.ก.พ. วิสามัญที่ได้รับแต่งตั้งจาก ก.พ. คณะนั้นพ้นจากตำแหน่งไปด้วย ในระหว่างที่ยัง มิได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่ ให้ อ.ก.พ. วิสามัญปฏิบัติหน้าที่ไปก่อน จนกว่าจะได้มีการแต่งตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญใหม่ มาตรา ๑๒ ให้มีสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนเรียกโดยย่อว่า “สำนักงาน ก.พ.” โดยมีเลขาธิการ ก.พ. เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและบริหารราชการของสำนักงาน ก.พ. ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี สำนักงาน ก.พ. มีหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานในหน้าที่ของ ก.พ. และดำเนินการ ตามที่ ก.พ. มอบหมาย (๒) วิเคราะห์วิจัยเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและการจัดระบบราชการ พลเรือน (๓) ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับมาตรฐานการบริหารงานบุคคลของข้าราชการฝ่าย พลเรือน (๔) ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ฝ่ายพลเรือน การจัดและการพัฒนาส่วนราชการ และวิธีปฏิบัติราชการของข้าราชการฝ่ายพลเรือน (๕) พัฒนาระบบข้อมูลและจัดทำแผนกำลังคนในราชการพลเรือน (๖) ส่งเสริม ประสานงาน เผยแพร่ ให้คำปรึกษาแนะนำ และดำเนินการเกี่ยวกับ การจัดสวัสดิการสำหรับข้าราชการพลเรือน (๗) ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาข้าราชการพลเรือน (๘) ดำเนินการเกี่ยวกับทุนของรัฐบาลเพื่อสนองความต้องการกำลังคนของ กระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือน และทุนเล่าเรียนหลวงตลอดจนการจัดสรรผู้รับทุนของรัฐบาลที่ สำเร็จการศึกษาแล้วเข้ารับราชการในส่วนราชการต่าง ๆ ตามนโยบายและระเบียบที่ ก.พ. กำหนด (๙) ดำเนินการเกี่ยวกับการดูแลข้าราชการฝ่ายพลเรือนที่ศึกษาหรือฝึกอบรมใน ต่างประเทศ และการดูแลจัดการการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศ (๑๐) ดำเนินการเกี่ยวกับการรับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญาประกาศนียบัตร วิชาชีพ หรือคุณวุฒิอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน และ การกำหนดเงินเดือนที่ควรได้รับและระดับตำแหน่งที่ควรแต่งตั้ง (๑๑) ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาทะเบียนประวัติและการควบคุมเกษียณอายุ ของข้าราชการพลเรือน (๑๒) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในราชการพลเรือน เสนอต่อ ก.พ. มาตรา ๑๓ ให้มีคณะอนุกรรมการสามัญเรียกโดยย่อว่า อ.ก.พ.สามัญดังนี้ (๑) คณะอนุกรรมการสามัญประจำกระทรวง ทบวง หรือส่วนราชการที่มีฐานะ เป็นกระทรวง เรียกโดยย่อว่า อ.ก.พ. กระทรวง ทบวง หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวงโดย ออกนามกระทรวงทบวง หรือส่วนราชการนั้น ๆ (๒) คณะอนุกรรมการสามัญประจำกรม หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมเรียก โดยย่อว่า อ.ก.พ.กรม หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมโดยออกนามกรมหรือส่วนราชการนั้น ๆ (๓) คณะอนุกรรมการสามัญประจำจังหวัด เรียกโดยย่อว่า อ.ก.พ. จังหวัด โดย ออกนามจังหวัดนั้น ๆ มาตรา ๑๔ อ.ก.พ.กระทรวง ประกอบด้วยรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นประธาน ปลัดกระทรวงเป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. ซึ่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนในสำนักงาน ก.พ. หนึ่งคน เป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่ง และอนุกรรมการซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และ ด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับการสรรหาตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนสามคน ทั้งนี้ จะต้องเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการซึ่งดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า (๒) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง อธิบดีหรือผู้ดำรง ตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไปในกระทรวงนั้น ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่ง ดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนห้าคน ในกรณีที่กฎหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการประเภทอื่นบัญญัติให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนไปใช้บังคับ แก่ข้าราชการประเภทใด คำว่า "ข้าราชการพลเรือน"ให้หมายถึงข้าราชการประเภทนั้น ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน อนุกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งและได้รับเลือก ตาม (๒) ถ้าออกจากราชการพลเรือน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นที่มิใช่ตำแหน่งตาม (๒) หรือโอนไปรับราชการนอกกระทรวงเดิม ให้พ้นจากตำแหน่งอนุกรรมการ มาตรา ๑๕ อ.ก.พ. กระทรวง มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณากำหนดนโยบายและระบบการบริหารงานบุคคลตลอดจนระเบียบ วิธีปฏิบัติราชการในกระทรวง (๒) พิจารณาการกำหนดและการเกลี่ยอัตรากำลังระหว่างส่วนราชการต่าง ๆ ภายในกระทรวง (๓) พิจารณาปรับปรุงโครงสร้าง การบริหารงาน การจัดและการพัฒนาส่วน ราชการในกระทรวง (๔) พิจารณากำหนดนโยบาย กำกับดูแล และส่งเสริมเกี่ยวกับการพัฒนา ข้าราชการภายในกระทรวง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดี คุณธรรมและจริยธรรม อันจะทำให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ (๕) พิจารณาเกี่ยวกับเรื่องการดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (๖) พิจารณาให้ความเห็นแก่รัฐมนตรีเจ้าสังกัดตามที่รัฐมนตรีเจ้าสังกัดปรึกษา (๗) ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ และช่วย ก.พ. ปฏิบัติการให้เป็นไป ตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่ ก.พ. มอบหมาย (๘) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของ อ.ก.พ. กระทรวง เสนอต่อ ก.พ. มาตรา ๑๖ อ.ก.พ. สำนักนายกรัฐมนตรีประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็น ประธาน ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. ซึ่งตั้งจากข้าราชการพลเรือน ในสำนักงาน ก.พ.หนึ่งคนเป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่ง และอนุกรรมการซึ่งประธาน อ.ก.พ.แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และ ด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับการสรรหาตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนสามคน ทั้งนี้ จะต้องเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการซึ่งดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า (๒) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีอธิบดี หรือ ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไปในสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนห้าคน ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน และให้ อ.ก.พ. นี้ทำหน้าที่ อ.ก.พ.กระทรวง อนุกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งและได้รับเลือก ตาม (๒) ถ้าออกจากราชการพลเรือน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นที่มิใช่ตำแหน่งตาม (๒) หรือโอนไปรับราชการนอกสำนักนายกรัฐมนตรี ให้พ้นจากตำแหน่งอนุกรรมการ มาตรา ๑๗ อ.ก.พ. ทบวง ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการทบวงเป็นประธาน ปลัดทบวงเป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. ซึ่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนในสำนักงาน ก.พ. หนึ่งคน เป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่ง และอนุกรรมการซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และ ด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับการสรรหาตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนสามคน ทั้งนี้ จะต้องเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการซึ่งดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า (๒) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งรองปลัดทบวง อธิบดีหรือผู้ดำรง ตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไปในทบวงนั้น ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่ง ดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนห้าคน ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน และให้ อ.ก.พ. นี้ทำหน้าที่ อ.ก.พ.กระทรวง อนุกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งและได้รับเลือกตาม (๒) ถ้าออกจากราชการ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นที่มิใช่ตำแหน่งตาม (๒) หรือโอนไปรับราชการนอกทบวงเดิม ให้พ้นจากตำแหน่งอนุกรรมการ มาตรา ๑๘ ให้ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวง แต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วน ราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี มี อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวงประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีในฐานะรัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือรองนายกรัฐมนตรี หรือ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน หัวหน้าส่วนราชการ นั้นเป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. ซึ่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนในสำนักงาน ก.พ.หนึ่งคน เป็น อนุกรรมการโดยตำแหน่ง และอนุกรรมการซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และ ด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับการสรรหาตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนสามคน ทั้งนี้ จะต้องเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการซึ่งดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ ๙ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า (๒) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ดำรง ตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไปในส่วนราชการนั้น ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือน ผู้ดำรงตำแหน่ง ดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนห้าคน ในกรณีที่กฎหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการประเภทอื่นบัญญัติให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนไปใช้บังคับ แก่ข้าราชการประเภทใด คำว่า "ข้าราชการพลเรือน"ให้หมายถึงข้าราชการประเภทนั้น ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน อนุกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งและได้รับเลือก ตาม (๒) ถ้าออกจากราชการพลเรือน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นที่มิใช่ตำแหน่งตาม (๒) หรือโอนไปรับราชการนอกส่วนราชการเดิม ให้พ้นจากตำแหน่งอนุกรรมการ มาตรา ๑๙ ให้ราชบัณฑิตยสถาน มี อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง ประกอบด้วยรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นประธาน นายกราชบัณฑิตยสถานเป็นรองประธาน เลขาธิการ ราชบัณฑิตยสถาน และผู้แทน ก.พ. ซึ่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนในสำนักงาน ก.พ. หนึ่งคน เป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่ง และอนุกรรมการซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และ ด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับการสรรหาตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนสามคน ทั้งนี้ จะต้องเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการซึ่งดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ ๙ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า (๒) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ ๙ ในราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนห้าคน ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน อนุกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งและได้รับเลือก ตาม (๒) ถ้าออกจากราชการพลเรือน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นที่มิใช่ตำแหน่งตาม (๒) หรือโอนไปรับราชการนอกราชบัณฑิตยสถาน ให้พ้นจากตำแหน่งอนุกรรมการ มาตรา ๒๐ ให้นำความในมาตรา ๑๕ มาใช้บังคับแก่ อ.ก.พ. สำนักนายก รัฐมนตรีตามมาตรา ๑๖ อ.ก.พ. ทบวงตามมาตรา ๑๗ อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง ตาม มาตรา ๑๘ และมาตรา ๑๙ โดยอนุโลม มาตรา ๒๑ อ.ก.พ. กรมและ อ.ก.พ. ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ประกอบ ด้วยอธิบดีเป็นประธาน รองอธิบดีที่อธิบดีมอบหมายหนึ่งคนเป็นรองประธานและอนุกรรมการซึ่ง ประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการและ ด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับการสรรหาตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนสามคน ทั้งนี้ จะต้องเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการซึ่งดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกองหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า (๒) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีที่มิได้รับมอบหมายให้เป็น รองประธาน ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไป ผู้ช่วยอธิบดี ผู้อำนวยการกอง หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่ากองหรือเลขานุการกรมในกรมนั้น ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรง ตำแหน่งดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนหกคน ในกรณีที่กฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทอื่นบัญญัติให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนไปใช้ บังคับแก่ข้าราชการประเภทใด คำว่า "ข้าราชการพลเรือน" ให้หมายถึงข้าราชการประเภทนั้น สำหรับสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง และสำนักงานเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการทบวง ให้ อ.ก.พ. สำนักงานปลัดกระทรวง หรือ อ.ก.พ. สำนักงานปลัดทบวง แล้วแต่กรณี ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กรม ส่วนราชบัณฑิตยสถานให้ อ.ก.พ. ตามมาตรา ๑๙ ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กรม ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน อนุกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งและได้รับเลือก ตาม (๒) ถ้าออกจากราชการพลเรือน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นที่มิใช่ตำแหน่งตาม (๒) หรือโอนไปรับราชการนอกกรมเดิม ให้พ้นจากตำแหน่งอนุกรรมการ มาตรา ๒๒ อ.ก.พ. กรมและ อ.ก.พ. ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมมีอำนาจ หน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณากำหนดนโยบายและระบบการบริหารงานบุคคลตลอดจนระเบียบ วิธีการปฏิบัติราชการในกรม (๒) พิจารณาการกำหนดและการเกลี่ยอัตรากำลังระหว่างส่วนราชการต่าง ๆ ภายในกรม (๓) พิจารณาปรับปรุงโครงสร้าง การบริหารงาน การจัดและการพัฒนาส่วน ราชการในกรม (๔) พิจารณากำหนดนโยบาย กำกับดูแล และส่งเสริมเกี่ยวกับการพัฒนาข้า ราชการภายในกรม เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดีคุณธรรมและจริยธรรม อันจะทำให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ (๕) พิจารณาเกี่ยวกับเรื่องการดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การ อุทธรณ์ และการร้องทุกข์ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (๖) พิจารณาให้ความเห็นแก่อธิบดีตามที่อธิบดีปรึกษา (๗) ปฏิบัติการตามที่ อ.ก.พ. กระทรวงมอบหมาย (๘) ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ และช่วย ก.พ. ปฏิบัติการให้เป็นไป ตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่ ก.พ. มอบหมาย (๙) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของ อ.ก.พ. กรม เสนอ ต่อกระทรวงเจ้าสังกัด และ ก.พ. มาตรา ๒๓ อ.ก.พ.จังหวัด ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รอง ผู้ว่าราชการจังหวัดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายหนึ่งคนเป็นรองประธาน และอนุกรรมการซึ่ง ประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และ ด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับการสรรหาตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนสามคน ทั้งนี้ จะต้องเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการซึ่งดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกองหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า (๒) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดที่มิได้รับมอบ หมายให้เป็นรองประธาน ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด หรือหัวหน้าส่วนราชการประจำ จังหวัดที่กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ แต่งตั้งไปประจำจังหวัดนั้น ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการ พลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนหกคน ซึ่ง แต่ละคนสังกัดอยู่ต่างกระทรวง ทบวง หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวง ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน อนุกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งและได้รับเลือก ตาม (๒) ผู้ใดออกจากราชการพลเรือน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นที่มิใช่ตำแหน่งตาม (๒) ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในจังหวัดอื่น หรือโอนไปสังกัดกระทรวง ทบวง หรือส่วนราชการที่มี ฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงอื่นที่มีอนุกรรมการตาม (๒) สังกัดอยู่แล้ว ให้ผู้นั้น พ้นจากตำแหน่งอนุกรรมการ มาตรา ๒๔ อ.ก.พ.จังหวัด มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณากำหนดนโยบายและระบบการบริหารงานบุคคลตลอดจนระเบียบ วิธีปฏิบัติราชการในจังหวัด (๒) พิจารณากำหนดนโยบาย และประสานการพัฒนาข้าราชการในจังหวัด ให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวง ทบวง กรม ตลอดจนกำกับดูแลและส่งเสริมเกี่ยวกับการ พัฒนาข้าราชการในจังหวัด เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดี คุณธรรมและจริยธรรม อันจะทำให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ (๓) พิจารณาเกี่ยวกับเรื่องการดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (๔) พิจารณาให้ความเห็นแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัด ปรึกษา (๕) ปฏิบัติการตามที่ อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. ทบวง หรือ อ.ก.พ. กรม มอบหมาย (๖) ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ และช่วย ก.พ. ปฏิบัติการให้เป็นไป ตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่ ก.พ. มอบหมาย (๗) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของ อ.ก.พ. จังหวัด เสนอต่อกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และ ก.พ. มาตรา ๒๕ อนุกรรมการตามมาตรา ๑๔ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๖ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๗ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๘ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๙ (๑) และ (๒) มาตรา ๒๑ (๑) และ (๒) และมาตรา ๒๓ (๑) และ (๒) ให้อยู่ในตำแหน่งได้คราวละสองปี ถ้าตำแหน่งอนุกรรมการว่างลงก่อนกำหนดและยังมีอนุกรรมการเหลืออยู่อีกไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของอนุกรรมการตามมาตรา ๑๔ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๖ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๗ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๘ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๙ (๑) และ (๒) มาตรา ๒๑ (๑) และ (๒) หรือมาตรา ๒๓ (๑) และ (๒) แล้วแต่กรณี รวมกัน ให้อนุกรรมการที่เหลือปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ เมื่อตำแหน่งอนุกรรมการว่างลงก่อนกำหนดให้ดำเนินการแต่งตั้งอนุกรรมการ แทนภายในกำหนดสามสิบวัน เว้นแต่วาระของอนุกรรมการเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่ แต่งตั้งอนุกรรมการแทนก็ได้ ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการแทนนั้นให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียง เท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน อนุกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่ง จะแต่งตั้งให้เป็นอนุกรรมการอีกก็ได้ ในกรณีที่อนุกรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้แต่งตั้งอนุกรรมการ ใหม่ให้อนุกรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ไปก่อนจนกว่าจะได้แต่งตั้งอนุกรรมการใหม่ มาตรา ๒๖ กระทรวงหรือทบวงใดมีเหตุพิเศษ ก.พ. จะอนุมัติให้มีแต่ อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. ทบวง แล้วแต่กรณีก็ได้ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. ทบวง ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กรมด้วย มาตรา ๒๗ กระทรวง ทบวง กรมใดมีเหตุพิเศษ ก.พ. จะกำหนดจำนวน อนุกรรมการตามมาตรา ๑๔ (๒) มาตรา ๑๖ (๒) มาตรา ๑๗ (๒) มาตรา ๑๘ (๒) มาตรา ๑๙ (๒) มาตรา ๒๑ (๒) หรือมาตรา ๒๓ (๒) แล้วแต่กรณี ให้น้อยกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ในมาตรานั้น ๆ ก็ได้ มาตรา ๒๘ ให้นำมาตรา ๑๐ มาใช้บังคับแก่การประชุมของ อ.ก.พ.วิสามัญ และ อ.ก.พ. สามัญ โดยอนุโลม ลักษณะ ๒ บททั่วไป มาตรา ๒๙ ข้าราชการพลเรือนมี ๓ ประเภท (๑) ข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับ เงินเดือนในอัตราสามัญ และได้รับแต่งตั้งตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะ ๓ (๒) ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่งในพระองค์พระมหากษัตริย์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา (๓) ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งได้รับ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในต่างประเทศในกรณีพิเศษโดยเหตุผลทางการเมืองตามที่บัญญัติไว้ใน ลักษณะ ๕ มาตรา ๓๐ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนต้องมีคุณสมบัติทั่วไป ดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี (๓) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธิ์ใจ (๔) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง (๕) ไม่เป็นผู้มีกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. (๖) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งให้พักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ ก่อนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือตามกฎหมายอื่น (๗) ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม (๘) ไม่เป็นกรรมการพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (๙) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย (๑๐) ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เพราะกระทำความผิดทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือ ความผิดลหุโทษ (๑๑) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ หรือ หน่วยงานอื่นของรัฐ (๑๒) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออก เพราะกระทำผิดวินัยตาม กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือตามกฎหมายอื่น (๑๓) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก เพราะกระทำผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือตามกฎหมายอื่น (๑๔) ไม่เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนซึ่งขาดคุณสมบัติตาม (๗) (๙) (๑๐) หรือ (๑๔) ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ ส่วนผู้ที่ขาดคุณสมบัติตาม (๑๑) หรือ (๑๒) ถ้าผู้นั้นได้ออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้วหรือผู้ที่ขาดคุณสมบัติตาม (๑๓) ถ้าผู้นั้นได้ออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว และมิใช่เป็นกรณีออกจากงานหรือออกจากราชการเพราะกระทำผิดในกรณีทุจริตต่อหน้าที่ ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ มติของ ก.พ. ในการประชุมปรึกษายกเว้นเช่นนี้ต้องได้คะแนนเสียงสี่ในห้าของจำนวนกรรมการในที่ประชุม การลงมติให้กระทำโดยลับ การขอยกเว้นและการพิจารณายกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติทั่วไปให้เป็นไป ตามระเบียบที่ ก.พ. วางไว้ ผู้ที่เป็นข้าราชการพลเรือนต้องมีคุณสมบัติทั่วไปตามวรรคหนึ่งตลอดเวลาที่รับ ราชการ เว้นแต่คุณสมบัติตาม (๖) หรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามวรรคสอง มาตรา ๓๑ การให้ข้าราชการพลเรือนได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับข้าราชการพลเรือนแต่ละประเภท อัตราเงินเดือนและอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือนให้เป็นไปตาม บัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ภายใต้บังคับมาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๕ ให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการ พลเรือน หมายเลข ๑ และบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือน หมายเลข ๑ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๓๕ เป็นต้นไปและให้เปลี่ยนไปใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน หมายเลข ๒ และบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือน หมายเลข ๒ บัญชีอัตรา เงินเดือนข้าราชการพลเรือน หมายเลข ๓ และบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือน หมายเลข ๓ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน หมายเลข ๔ และบัญชีอัตราเงินประจำ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือน หมายเลข ๔ หรือบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน หมายเลข ๕ ตามความเหมาะสม โดยเปลี่ยนไปใช้บัญชีอัตราเงินเดือนและบัญชีอัตราเงินประจำ ตำแหน่งในลำดับถัดไปลำดับใดก็ได้ตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนให้เข้าอันดับและขั้นเงินเดือนตาม บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน หมายเลข ๑ และการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการ พลเรือนให้เข้าอันดับและขั้นเงินเดือนของตำแหน่งประเภททั่วไป ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ และตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือบริหารระดับกลาง ตามบัญชีอัตรา เงินเดือนข้าราชการพลเรือน หมายเลข ๕ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรี กำหนด ในกรณีมีการเปลี่ยนการใช้บัญชีอัตราเงินเดือนตามวรรคสาม หรือมีการปรับ อัตราเงินเดือนให้เข้าอันดับและขั้นเงินเดือนตามวรรคสี่ ให้มีผลเป็นการแก้ไขขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา กฎ ก.พ. ข้อบังคับ ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรีและมติ ก.พ. ซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนตามไปด้วย การจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งให้แก่ข้าราชการพลเรือนให้เป็นไปตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการนั้น เงินประจำตำแหน่งตามมาตรานี้ไม่ถือเป็นเงินเดือนเพื่อเป็นเกณฑ์ในการ คำนวณบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา ๓๒ เพื่อประโยชน์ในการออมทรัพย์ของข้าราชการพลเรือน คณะ รัฐมนตรีจะวางระเบียบและวิธีการให้กระทรวงการคลังหักเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนไว้เป็น เงินสะสมก็ได้ โดยคิดดอกเบี้ยจากเงินสะสมนั้นให้ในอัตราไม่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทประจำของธนาคารพาณิชย์ เงินสะสมและดอกเบี้ยนี้ให้จ่ายคืนหรือให้กู้ยืมเพื่อดำเนินการตามโครงการ สวัสดิการสำหรับข้าราชการพลเรือนตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๓๓ ข้าราชการพลเรือนอาจได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่ประจำอยู่ใน ต่างประเทศ หรือตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตามระเบียบที่ ก.พ. และกระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๓๔ ข้าราชการพลเรือนอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะ เศรษฐกิจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๓๕ วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการ ประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการพลเรือน ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๓๖ เครื่องแบบของข้าราชการพลเรือนและระเบียบการแต่งเครื่องแบบ ให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น มาตรา ๓๗ บำเหน็จบำนาญข้าราชการพลเรือนให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย การนั้น ลักษณะ ๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญ หมวด ๑ การกำหนดตำแหน่ง และการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง มาตรา ๓๘ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมีชื่อในการบริหารงานตามที่ กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และอาจมีตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานตามที่กระทรวง ทบวง กรม ทำความตกลงกับ ก.พ. อีกก็ได้ มาตรา ๓๙ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมี ๓ ประเภท (๑) ตำแหน่งประเภททั่วไป (๒) ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ตามที่กำหนดใน พระราชกฤษฎีกา (๓) ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือบริหารระดับกลาง ตามที่กำหนดใน พระราชกฤษฎีกา มาตรา ๔๐ ระดับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมี ๑๑ ระดับ คือระดับ ๑ ระดับ ๒ ระดับ ๓ ระดับ ๔ ระดับ ๕ ระดับ ๖ ระดับ ๗ ระดับ ๘ ระดับ ๙ ระดับ ๑๐ และระดับ ๑๑ โดยตำแหน่งระดับ ๑ เป็นระดับต่ำสุดเรียงสูงขึ้นไป เป็นลำดับตามความยากและคุณภาพของงานจนถึงตำแหน่งระดับ ๑๑ เป็นระดับสูงสุด ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญจะมีตำแหน่งใด ระดับใด อยู่ในส่วนราชการ ใด จำนวนเท่าใด ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด ทั้งนี้ ก.พ. จะมอบหมายให้องค์กรหรือส่วนราชการใดเป็นผู้กำหนดแทนตามหลักเกณฑ์มาตรฐานและวิธีการที่ ก.พ. กำหนดก็ได้ การกำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งใดเป็นตำแหน่งระดับใด ให้ประเมินความยากและคุณภาพของงานในตำแหน่งนั้นแล้วปรับเทียบกับบรรทัดฐานในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.พ. จัดทำไว้ตามมาตรา ๔๒ การปรับตำแหน่งเทียบกับบรรทัดฐานในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้จัดตำแหน่งที่มีลักษณะงานอย่างเดียวกันเข้าประเภทและสายงานเดียวกันและจัดตำแหน่งในสายงานเดียวกัน ที่มีความยากและคุณภาพของงานอยู่ในระดับเดียวกันโดยประมาณเข้ากลุ่มตำแหน่งเดียวกันและระดับเดียวกัน ในกรณีที่ส่วนราชการใดเห็นว่า ก.พ. กำหนดจำนวนตำแหน่งของข้าราชการ พลเรือนสามัญในส่วนราชการนั้นไม่เหมาะสม ส่วนราชการนั้นจะเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อ พิจารณาก็ได้ ถ้าคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรแก้ไขการกำหนดจำนวนตำแหน่งนั้น ให้ส่งเรื่องให้ ก.พ. พิจารณาทบทวนใหม่ มาตรา ๔๑ เมื่อ ก.พ. กำหนดให้มีตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่ง ใด ระดับใด ในส่วนราชการใด จำนวนเท่าใด ตามมาตรา ๔๐ แล้วให้สำนักงาน ก.พ. ประสานกับ สำนักงบประมาณเพื่อจัดสรรเงินงบประมาณในแต่ละปี สำหรับตั้งเป็นอัตราเงินเดือนของตำแหน่ง ดังกล่าวให้สอดคล้องกัน มาตรา ๔๒ ให้ ก.พ. จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งไว้เป็นบรรทัดฐานในการ กำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญทุกตำแหน่งโดยจำแนกตำแหน่งเป็นประเภทและ สายงานตามลักษณะงาน และจัดตำแหน่งในประเภทเดียวกันและสายงานเดียวกันที่คุณภาพของงานอยู่ในระดับเดียวกันโดยประมาณเป็นกลุ่มเดียวกันและระดับเดียวกัน ทั้งนี้โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) ตำแหน่งระดับ ๑ ได้แก่ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับต้นมีลักษณะงาน ที่ไม่ยาก ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ ตรวจสอบ หรือสอนงานอย่างใกล้ชิด หรือปฏิบัติงานตาม คำสั่ง แบบอย่าง หรือแนวทางปฏิบัติที่มีอยู่อย่างแน่ชัด ละเอียดถี่ถ้วนซึ่งปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถระดับพื้นฐานขั้นต้น (๒) ตำแหน่งระดับ ๒ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับต้น มีลักษณะงานที่ค่อนข้างยาก ปฏิบัติ งานภายใต้การกำกับ ตรวจสอบ หรือสอนงานเป็นระยะหรือปฏิบัติงานตามคำสั่ง แบบอย่าง หรือ แนวทางปฏิบัติที่มีอยู่อย่างกว้าง ๆ ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ความสามารถระดับพื้นฐาน ขั้นสูง หรือ (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ มีลักษณะงานที่ค่อนข้างยาก ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ ตรวจสอบ หรือสอนงานเป็นระยะ หรือปฏิบัติงานตามคำสั่ง แบบอย่างหรือแนวทางปฏิบัติที่มีอยู่อย่างกว้าง ๆ ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้ได้รับการอบรมหรือมีประสบการณ์การปฏิบัติงานในงานที่ไม่ยากมาแล้ว (๓) ตำแหน่งระดับ ๓ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับต้น มีลักษณะงานที่ยากพอสมควร ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบบ้าง หรือปฏิบัติงานตามคำสั่ง แบบอย่างหรือแนว ทางปฏิบัติที่มีอยู่บ้าง ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาที่ ก.พ. รับรองให้ บรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งระดับนี้ หรือ (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ มีลักษณะงานที่ยากพอ สมควร ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ ตรวจสอบ หรือแนะนำบ้างหรือปฏิบัติงานตามคำสั่ง แบบ อย่าง หรือแนวทางปฏิบัติที่มีอยู่บ้าง ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้ได้รับการอบรมหรือมีประสบการณ์การปฏิบัติงานในงานที่ค่อนข้างยากมาแล้ว (๔) ตำแหน่งระดับ ๔ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับต้น มีลักษณะงานที่ยากปฏิบัติงานภาย ใต้การกำกับ ตรวจสอบ หรือแนะนำเฉพาะในบางกรณีที่จำเป็นซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้สำเร็จ การศึกษาระดับปริญญาที่ ก.พ. รับรองให้บรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งระดับนี้ (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ มีลักษณะงานที่ยาก ปฏิบัติ งานภายใต้การกำกับ ตรวจสอบ หรือแนะนำเฉพาะในบางกรณีที่จำเป็นในการปฏิบัติงานจำเป็น ต้องแก้ปัญหาค่อนข้างบ่อย ต้องประยุกต์ประสบการณ์และความชำนาญงาน เพื่อปรับวิธีการและ แนวดำเนินการให้เหมาะสมกับสถานการณ์ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้ได้รับการอบรมหรือมี ประสบการณ์การปฏิบัติงานในงานที่ยากพอสมควรมาแล้ว หรือ (ค) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้าหน่วยงานระดับต้นในงานสนับสนุนมีลักษณะงาน ต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และควบคุมผู้ปฏิบัติงานจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นงานที่มีหน้าที่ความ รับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานสูงพอสมควร (๕) ตำแหน่งระดับ ๕ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานซึ่งมีลักษณะงานที่ค่อนข้างยากมาก ปฏิบัติงาน โดยไม่จำเป็นต้องมีการกำกับ ตรวจสอบ หรือแนะนำซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้สำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาที่ ก.พ. รับรองให้บรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งระดับนี้ (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ มีลักษณะงานที่ค่อนข้างยาก มาก ปฏิบัติงานโดยไม่จำเป็นต้องมีการกำกับ ตรวจสอบหรือแนะนำ ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้ได้ รับการอบรมหรือมีประสบการณ์การปฏิบัติงานในงานที่ยากมาแล้ว หรือ (ค) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้าหน่วยงานในงานเทคนิค งานสนับสนุน งานช่างฝีมือ หรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ มีลักษณะงานต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และควบคุม ผู้ปฏิบัติงานจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานสูง (๖) ตำแหน่งระดับ ๖ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ มีลักษณะงานที่ยากมาก ปฏิบัติงานโดยจำเป็นต้องมีการตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในงานที่รับผิดชอบค่อนข้างมาก ซึ่งจำเป็น ต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถความชำนาญงานและประสบการณ์ที่แสดงให้เห็นว่า สามารถปฏิบัติงานในความรับผิดชอบด้วยตนเองได้ (ข) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้าหน่วยงานเทียบเท่ากองในงานสนับสนุนของส่วน ราชการ หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด หรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ มีลักษณะงาน ต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบและบังคับบัญชาผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นงานที่มีหน้าที่ ความรับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานค่อนข้างสูงมากหรือตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานเทียบได้ระดับเดียวกัน หรือ (ค) ตำแหน่งสำหรับลักษณะงานวิชาชีพเฉพาะ ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มี ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญงาน และประสบการณ์สูงในงานวิชาชีพเฉพาะ (๗) ตำแหน่งระดับ ๗ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้าหน่วยงานที่เป็นกอง มีลักษณะงานจัดการ และต้อง กำกับ ตรวจสอบ และบังคับบัญชาผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำนวนมากพอสมควร ซึ่งเป็นงานที่มีหน้าที่ ความรับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานสูงมาก หรือตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานเทียบเท่า กอง หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ หรือหัวหน้าหน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานสูงมากเทียบได้ระดับเดียวกัน (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ มีลักษณะงานที่ยากเป็น พิเศษ ปฏิบัติงานโดยจำเป็นต้องมีการตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในงานที่รับผิดชอบมากซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถความชำนาญงาน และประสบการณ์สูงมากหรือลักษณะงานตรวจและแนะนำการปฏิบัติราชการ หรือลักษณะงานตรวจการในงานเทคนิคเฉพาะด้าน หรือตรวจการในงานหลักตามอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการระดับกรม หรือ (ค) ตำแหน่งสำหรับลักษณะงานวิชาชีพเฉพาะ ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดย ผู้มีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญงาน และประสบการณ์สูงมากในงานวิชาชีพเฉพาะ (๘) ตำแหน่งระดับ ๘ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้าหน่วยงานที่เป็นกอง มีลักษณะงานจัดการ และต้อง กำกับ ตรวจสอบ และบังคับบัญชาผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำนวนมากพอสมควร ซึ่งเป็นงานที่มีหน้าที่ ความรับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานสูงมากเป็นพิเศษ หรือตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงาน เทียบเท่ากองหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด หรือหัวหน้าหน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานสูงมากเป็นพิเศษเทียบได้ระดับเดียวกัน (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ มีลักษณะงานที่ยากมากเป็น พิเศษ ปฏิบัติงานโดยจำเป็นต้องมีการตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในงานที่รับผิดชอบเป็นประจำ หรือ ลักษณะงานช่วยหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม หรือลักษณะงานตรวจและแนะนำการปฏิบัติ ราชการ หรือตรวจการในงานเทคนิคเฉพาะด้าน หรือตรวจการในงานหลักตามอำนาจหน้าที่ของ ส่วนราชการระดับกรม ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถความชำนาญงาน และ ประสบการณ์สูงมากเป็นพิเศษ หรือ (ค) ตำแหน่งสำหรับลักษณะงานวิชาชีพเฉพาะ ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มี ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญงาน และประสบการณ์สูงมากเป็นพิเศษในงานวิชาชีพเฉพาะ (๙) ตำแหน่งระดับ ๙ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้บริหารระดับสูง ในฐานะรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม หรือจังหวัด (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้บริหารระดับสูง ในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าส่วนราชการระดับ กระทรวงหรือทบวง ผู้ช่วยหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงแต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี หรือผู้ช่วยหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมี หัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี (ค) ตำแหน่งสำหรับลักษณะงานวิชาชีพเฉพาะหรือลักษณะงานเชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ สูง และมีความเชี่ยวชาญและผลงานเป็นที่ยอมรับในวงการด้านนั้น (ง) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้าหน่วยงานที่สูงกว่ากอง ซึ่งมีหน้าที่และความรับผิด ชอบในงานหลักตามอำนาจหน้าที่ของกรม และเป็นงานที่มีความหลากหลาย ความยาก และมี คุณภาพของงานสูงมากกว่ากองหรือ (จ) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งมีลักษณะงานตรวจและแนะนำการปฏิบัติ ราชการ หรือลักษณะงานให้คำปรึกษาของส่วนราชการระดับกระทรวง ทบวง หรือลักษณะงานอื่นที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ความยากและคุณภาพของงานเทียบได้ระดับเดียวกัน (๑๐) ตำแหน่งระดับ ๑๐ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้บริหารระดับสูง ในฐานะหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม หรือจังหวัด (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้บริหารระดับสูง ในฐานะรองหัวหน้าส่วนราชการระดับ กระทรวงหรือทบวง รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงแต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี หรือรองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี (ค) ตำแหน่งสำหรับลักษณะงานวิชาชีพเฉพาะหรือลักษณะงานเชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ สูงมาก และมีความเชี่ยวชาญและผลงานเป็นที่ยอมรับในวงการด้านนั้น (ง) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้าส่วนราชการระดับสถานเอกอัครราชทูตหรือ เทียบเท่า (จ) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานซึ่งมีลักษณะงานตรวจและแนะนำการปฏิบัติ ราชการ หรือลักษณะงานให้คำปรึกษาของส่วนราชการระดับกระทรวง ทบวง ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติ โดยผู้มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องมาแล้ว หรือลักษณะงานอื่นที่มีหน้าที่ ความรับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานเทียบได้ระดับเดียวกัน (๑๑) ตำแหน่งระดับ ๑๑ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้บริหารระดับสูง ในฐานะหัวหน้าส่วนราชการระดับ กระทรวงหรือทบวง (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้บริหารระดับสูง ในฐานะหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็น กรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงแต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี หรือหัวหน้าส่วน ราชการที่มีฐานะเป็นกรมและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี (ค) ตำแหน่งสำหรับลักษณะงานวิชาชีพเฉพาะหรือลักษณะงานเชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน ตามอำนาจหน้าที่หลักของกระทรวงหรือทบวงซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงมากเป็นพิเศษ อีกทั้งทรงคุณวุฒิและมีผลงาน เป็นที่ยอมรับในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ หรือ (ง) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่รายงานตรงต่อนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีหน้าที่ ความรับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานสูงมากเป็นพิเศษเทียบได้ระดับเดียวกับตำแหน่ง อื่นในระดับนี้ ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้แสดงประเภทตำแหน่ง ชื่อของสายงาน ลักษณะงานโดยทั่วไปของสายงาน ชื่อของกลุ่มตำแหน่ง หน้าที่และความรับผิดชอบของกลุ่ม ตำแหน่ง ลักษณะงานที่ปฏิบัติ คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ผู้ดำรงตำแหน่งจะต้องมี และ ระดับของตำแหน่งในกลุ่มนั้นด้วย มาตรา ๔๓ ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ตำแหน่งใดบังคับบัญชาข้าราชการพลเรือนในส่วนราชการหรือหน่วยงานใด ในฐานะใดให้เป็นไป ตามที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ มอบหมายโดยทำเป็นหนังสือ มาตรา ๔๔ ให้ ก.พ. ตรวจสอบการกำหนดตำแหน่งและการใช้ตำแหน่ง ข้าราชการพลเรือนสามัญให้เหมาะสม ในกรณีที่ปรากฏว่าการกำหนดตำแหน่งใดไม่เหมาะสมก็ดี การใช้ตำแหน่งใดไม่เหมาะสมตามที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๔๐ ก็ดี หรือลักษณะหน้าที่และ ความรับผิดชอบปริมาณและคุณภาพของงานของตำแหน่งใดที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๔๐ เปลี่ยนแปลงไปก็ดี ให้ ก.พ. พิจารณาปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งนั้นเสียใหม่ให้เหมาะสม ทั้งนี้ ก.พ. จะมอบหมายให้องค์กรหรือส่วนราชการใดดำเนินการแทนก็ได้ ในการปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้ ก.พ. หรือผู้ที่ ก.พ. มอบหมายมีอำนาจยุบเลิกตำแหน่งหรือตัดโอนตำแหน่งหรือตัดโอนข้าราชการพลเรือนสามัญ หรือตัดโอนตำแหน่งและข้าราชการพลเรือนสามัญที่เกินอยู่ในส่วนราชการใดไปไว้ในส่วนราชการอื่นได้ตามความจำเป็น โดย ก.พ. หรือผู้ที่ ก.พ. มอบหมายอาจเปลี่ยนชื่อตำแหน่งสายงาน หรือระดับตำแหน่งเป็นอย่างอื่นได้ตามความเหมาะสม เมื่อ ก.พ. หรือผู้ที่ ก.พ. มอบหมายมีมติหรือสั่งตามวรรคสองให้ส่วนราชการ ฝ่ายรับโอนและส่วนราชการเดิมดำเนินการให้เป็นไปตามมติหรือคำสั่งนั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด การดำเนินการตามวรรคสาม หากจะต้องตัดโอนอัตราเงินเดือนของตำแหน่ง ไปด้วย ให้ส่วนราชการฝ่ายรับโอนและส่วนราชการเดิมดำเนินการได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกำหนด และให้ถือว่าการตัดโอนอัตราเงินเดือนดังกล่าวเป็นการโอน งบประมาณรายจ่ายตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ มาตรา ๔๕ ข้าราชการพลเรือนสามัญจะได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งผู้ได้รับ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ระดับใด จะได้รับเงินเดือนในอันดับใดตามบัญชีอัตราเงินเดือน ข้าราชการพลเรือนท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนดโดยให้ได้รับในขั้นต่ำ ของอันดับในกรณีที่จะให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำหรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้นอกจากจะได้รับเงินเดือน ตามตำแหน่งแล้ว ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งอีกส่วนหนึ่งดังนี้ (๑) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะตามที่กำหนด ในพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามมาตรา ๓๙ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือนท้ายพระราชบัญญัตินี้ นับตั้งแต่วันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ (๒) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือบริหารระดับกลางตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ซึ่งออกตามมาตรา ๓๙ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเงินประจำตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือบริหารระดับกลาง ตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่ง ข้าราชการพลเรือนท้ายพระราชบัญญัตินี้ นับตั้งแต่วันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดตำแหน่ง ประเภทบริหารระดับสูงหรือบริหารระดับกลาง การรับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะและ ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือบริหารระดับกลางตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. หมวด ๒ การบรรจุและการแต่งตั้ง มาตรา ๔๖ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนั้น โดยบรรจุและ แต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับสำหรับการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการตามมาตรา ๕๐ มาตรา ๕๑ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ มาตรา ๖๕ และมาตรา ๖๖ มาตรา ๔๗ ผู้สมัครสอบแข่งขันในตำแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปหรือได้รับ การยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๓๐ และต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น ตามที่ ก.พ. กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งหรือได้รับอนุมัติจาก ก.พ. ตามมาตรา ๕๖ ด้วย สำหรับผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๓๐ (๔) ให้มีสิทธิสมัครสอบแข่งขันได้ แต่จะมีสิทธิได้รับบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญในตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้ต่อเมื่อพ้นจากตำแหน่งข้าราชการการเมืองแล้ว มาตรา ๔๘ ให้ ก.พ. เป็นผู้ดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ ในการนี้ ก.พ. จะมอบหมายให้องค์กรหรือส่วนราชการใดเป็นผู้ดำเนินการสอบแทนก็ได้ ทั้งนี้ ก.พ. จะกำหนดให้มีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุในกระทรวง ทบวง กรม เป็นการทั่วไปหรือในหน่วยราชการใดหรือในท้องที่ใดเป็นการเฉพาะแห่ง และจะกำหนดให้รับสมัครสอบแข่งขันเฉพาะผู้มีคุณสมบัติอย่างใด สำหรับการสอบแข่งขันครั้งใดก็ได้ หลักสูตร วิธีการสอบแข่งขัน และวิธีดำเนินการเกี่ยวกับการสอบแข่งขัน ตลอด จนเกณฑ์การตัดสิน การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ การนำรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งหนึ่งไปขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งอื่นและการยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ให้เป็นไปตามที่ ก.พ.กำหนด มาตรา ๔๙ ผู้สอบแข่งขันได้ซึ่งอยู่ในลำดับที่ที่จะได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งใด ถ้าปรากฏว่าขาดคุณสมบัติทั่วไปโดยไม่ได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตาม มาตรา ๓๐ หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งโดยไม่ได้รับอนุมัติจาก ก.พ. ตามมาตรา ๕๖ อยู่ก่อนหรือภายหลังการสอบแข่งขัน จะบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนั้นไม่ได้ มาตรา ๕๐ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษที่ ก.พ. เห็นว่าไม่จำเป็นต้องดำเนินการ สอบแข่งขัน ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๒ อาจคัดเลือกบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งได้ ทั้งนี้ ตามกรณี หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๕๑ กระทรวง ทบวง กรมใดมีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อ ประโยชน์แก่ราชการที่จะต้องบรรจุบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถและความชำนาญงานสูง เข้ารับ ราชการในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ชำนาญการ ให้กระทรวง ทบวง กรมนั้น ดำเนินการขออนุมัติ ก.พ. เมื่อ ก.พ. ได้พิจารณาอนุมัติให้บรรจุ และได้กำหนดระดับของตำแหน่งที่จะแต่งตั้งและเงินเดือนที่จะให้ได้รับแล้ว ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๒ บรรจุและแต่งตั้งได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๕๒ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ และ การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ให้ดำเนินการตามมาตรา ๔๖ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๑ มาตรา ๕๗ มาตรา ๕๘ มาตรา ๕๙ มาตรา ๖๐ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ มาตรา ๖๕ หรือมาตรา ๖๖ แล้วแต่กรณี และให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้เป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๑) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๑ ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้สั่งบรรจุ และให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง (๒) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๐ ให้ปลัดกระทรวงผู้บังคับ บัญชาเสนอรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติเมื่อได้รับอนุมัติจากคณะ รัฐมนตรีแล้ว ให้ปลัดกระทรวงผู้บังคับบัญชาเป็นผู้สั่งบรรจุและให้นายกรัฐมนตรีนำความ กราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง ยกเว้นการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๐ ที่ระบุไว้ใน (๓) ส่วนการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๐ ในส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงแต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี หรือในส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีให้อธิบดีผู้บังคับบัญชาเสนอรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชาเป็นผู้สั่งบรรจุ และให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง (๓) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๐ ในส่วนราชการที่มีฐานะ เป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงแต่อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรี หรือในสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้วให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้สั่งบรรจุ และให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง (๔) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ ให้ปลัดกระทรวงผู้บังคับ บัญชาเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง ส่วนการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ ในส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงแต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี หรือในส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชาเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง สำหรับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๙ ลงมาในส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม และไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงแต่อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรี หรือในสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๕) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๘ ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชาเป็น ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งเมื่อได้รับความเห็นชอบจากปลัดกระทรวง ส่วนการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๘ ในส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงแต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี หรือในส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีให้อธิบดีผู้บังคับบัญชาเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๖) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๗ ลงมาให้อธิบดีผู้บังคับ บัญชาหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากอธิบดีตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนดเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๗) การบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา ๔๖ และการแต่งตั้งตามมาตรา ๕๗ ให้ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๗ ลงมาในราชการบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งมิใช่หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดผู้บังคับบัญชาเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง ในการเสนอเพื่อแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งให้รายงาน ความสมควรพร้อมทั้งเหตุผลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนดไปด้วย มาตรา ๕๓ ภายใต้บังคับมาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๖๐ ให้มีการ สับเปลี่ยนหน้าที่ ย้ายหรือโอนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ ระดับ ๑๐ และ ระดับ ๑๑ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีลักษณะบริหารตามที่ ก.พ. กำหนด โดยมิควรให้อยู่ปฏิบัติหน้าที่เดียวติดต่อกันเป็นเวลานานเกินกว่าสี่ปี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด ความในมาตรานี้ไม่ให้ใช้บังคับแก่ผู้ดำรงตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดว่าเป็น ตำแหน่งที่มีลักษณะงานเฉพาะอย่าง มาตรา ๕๔ ผู้ได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๔๖ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๕๐ และข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนและเป็นผู้ที่อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ พนักงานเทศบาล หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติงาน ซึ่งโอนมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๖๑ ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นเวลาตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. โดยอยู่ในความดูแลของผู้บังคับบัญชาผู้มีหน้าที่พัฒนาตามมาตรา ๗๖ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย และให้มีการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. เพื่อให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ พิจารณาว่า ผู้นั้นมีความเหมาะสมที่จะให้รับราชการต่อไปหรือไม่ ถ้าผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ เห็นว่าผู้นั้นมีผลการประเมินต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด ไม่ควรให้รับราชการต่อไป ก็ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้ไม่ว่าจะครบกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการแล้วหรือไม่ก็ตาม ถ้าพ้นกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการดังกล่าวแล้ว และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ เห็นว่าควรให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป ก็ให้รายงานต่อไปตามลำดับจนถึงผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๑๐๙ วรรคหนึ่ง และ ก.พ. ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการผู้ใด ถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๑๑๘ และต่อมาปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออก จากราชการตามวรรคหนึ่งหรือตามมาตราอื่นก็ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ หรือผู้มี อำนาจตามมาตราอื่นนั้นแล้วแต่กรณี มีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ออกตามมาตรา ๑๑๘ เป็นให้ ออกจากราชการตามวรรคหนึ่ง หรือตามมาตราอื่นนั้นได้ ผู้อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการผู้ใดมีกรณีอันมีมูลที่ควรกล่าวหาว่า กระทำผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๕ และถ้าผู้นั้นมีกรณี ที่จะต้องออกจากราชการตามวรรคหนึ่งก็ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการตามวรรคหนึ่งไปก่อน หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง และการนับเวลา ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้ถือเสมือนว่าผู้นั้น ไม่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือ การรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการในระหว่างที่ผู้นั้นอยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ มาตรา ๕๕ การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งที่ ก.พ. ยัง มิได้กำหนดตามมาตรา ๔๐ จะกระทำมิได้ มาตรา ๕๖ ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่ง ใดต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามที่ ก.พ. กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็น ก.พ. อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการ พลเรือนสามัญที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่กำหนดไว้ในมาตร ฐานกำหนดตำแหน่งก็ได้ ในกรณีที่ ก.พ. กำหนดให้ปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิใดเป็น คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ให้หมายถึงปริญญาประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิที่ ก.พ. รับรอง มาตรา ๕๗ การย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งใดไปแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งอื่นในกรมเดียวกัน ต้องย้ายไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับเดียวกัน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด การย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ต่ำกว่า เดิม และการย้ายข้าราชการพลเรือนผู้มิได้ดำรงตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๔๐ ไปแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๔๐ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจาก ก.พ. แล้ว มาตรา ๕๘ การเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใน ระดับที่สูงขึ้น ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันหรือผู้สอบคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งนั้นได้ หรือจากผู้ได้รับคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งนั้น กรณีใดจะเลื่อนและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ ผู้สอบคัดเลือกได้หรือผู้ได้รับ คัดเลือก ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด การสอบแข่งขัน ให้เป็นไปตามมาตรา ๔๘ ส่วนการสอบคัดเลือกและคัดเลือกให้ กระทรวง ทบวง กรมเจ้าสังกัดเป็นผู้ดำเนินการ หลักสูตรและวิธีดำเนินการเกี่ยวกับการสอบคัด เลือก คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครสอบคัดเลือก เกณฑ์การตัดสิน การขึ้นบัญชีและการยกเลิกบัญชีผู้สอบคัดเลือกได้ตลอดจนวิธีดำเนินการเกี่ยวกับการคัดเลือก ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๕๙ การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๕๘ สำหรับผู้สอบแข่งขันได้ ให้แต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ สำหรับผู้สอบคัดเลือก ได้หรือผู้ได้รับคัดเลือก ให้แต่งตั้งได้ตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ ความ ประพฤติและประวัติการรับราชการ ซึ่งจะต้องเป็นผู้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๖๐ การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ข้าราชการพลเรือนสามัญในต่างกระทรวง ทบวง กรม อาจทำได้เมื่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนนั้นแล้ว โดยให้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ ไม่สูงกว่าเดิมและรับเงินเดือนในขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นการโอนตามวรรคสองวรรคสี่ วรรคหก และมาตรา ๔๔ การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๙ ขึ้นไป ไปแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในกระทรวงเดียวกันให้โอนไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใน ระดับที่ไม่สูงกว่าเดิมและรับเงินเดือนในขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม เว้นแต่เป็นการโอนตามวรรคสาม การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งระดับ ๙ และระดับ ๑๐ ไปแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วน ราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี และการโอนข้าราชการพลเรือน สามัญตำแหน่งดังกล่าวซึ่งสังกัดส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบ ในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ ในกรม หรือต่างส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติ ราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีในกระทรวงเดียวกัน อาจทำได้เมื่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนนั้นแล้วทั้งนี้ ให้โอนไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ไม่สูงกว่าเดิมและรับเงินเดือนในขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๑๐ ขึ้นไปไปแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในต่างกระทรวง ให้โอนไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใน ระดับที่ไม่สูงกว่าเดิมและรับเงินเดือนในขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม และต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือน สามัญในสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี และการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญสังกัดสำนักงานเลขา นุการรัฐมนตรี ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในกรมหรือต่างสำนักงาน เลขานุการรัฐมนตรี อาจทำได้เมื่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนนั้นแล้ว ทั้งนี้ ให้โอนไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ไม่สูงกว่าเดิม และรับเงินเดือนในขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้สอบแข่งขันได้ ผู้สอบคัดเลือกได้หรือผู้ได้รับ คัดเลือก ให้ทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด การโอนข้าราชการพลเรือนผู้มิได้ดำรงตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๔๐ ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๔๐ ในต่าง กระทรวง ทบวง กรม หรือต่างสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีหรือโอนจากกรมไปแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งในสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี หรือโอนจากสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีไปแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่งในกรม จะทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจาก ก.พ. แล้ว ในการนี้ให้ ก.พ. พิจารณาโดย คำนึงถึงประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับ และให้ ก.พ. กำหนดระดับของตำแหน่งที่จะแต่งตั้งและ เงินเดือนที่จะให้ได้รับด้วย การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ต่ำกว่า เดิมต่างกระทรวง ทบวง กรม หรือต่างสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีหรือโอนจากกรมไปแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่งในสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี หรือโอนจากสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในกรม จะทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจาก ก.พ. แล้ว ในการนี้ ให้ ก.พ. พิจารณาโดยคำนึงถึงเหตุผลความจำเป็นและประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับ และให้ ก.พ. กำหนดเงินเดือนที่จะให้ได้รับด้วย มาตรา ๖๑ การโอนพนักงานเทศบาลที่ไม่ใช่พนักงานเทศบาลวิสามัญและ การโอนข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนตามพระราชบัญญัตินี้ และไม่ใช่ข้าราชการการเมือง หรือข้าราชการวิสามัญมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญอาจทำได้ถ้าเจ้าตัวสมัครใจ โดยผู้ มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ของกระทรวง ทบวง กรมที่จะรับโอนทำความตกลงกับผู้มีอำนาจ สั่งบรรจุของส่วนราชการหรือหน่วยงานสังกัดเดิม แล้วเสนอเรื่องไปให้ ก.พ. พิจารณาอนุมัติ ในการนี้ ให้ ก.พ. พิจารณาโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับ ส่วนจะบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับใด และจะให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้ ก.พ. เป็นผู้พิจารณากำหนด แต่จะต้องไม่สูงกว่าข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีคุณวุฒิ ความสามารถ และความชำนาญงานในระดับเดียวกัน ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นการโอนตามวรรคสาม การโอนข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนตามพระราชบัญญัตินี้และไม่ใช่ ข้าราชการการเมืองหรือข้าราชการวิสามัญ มาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญในกรมเดียวกัน หรือในส่วนราชการใดที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการ สังกัดเดิมด้วย ให้ทำได้ตามวรรคหนึ่ง โดยผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ไม่ต้องทำความตกลงในการโอน การโอนพนักงานเทศบาลและข้าราชการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ซึ่งเป็น ผู้สอบแข่งขันได้หรือผู้ได้รับคัดเลือก มาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญให้ทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด การโอนพนักงานส่วนท้องถิ่นที่ระเบียบพนักงานนั้นบัญญัติไว้ในพระราช บัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา และไม่ใช่พนักงานวิสามัญมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้ทำได้เช่นเดียวกับการโอนพนักงานเทศบาล เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้ที่ โอนมาตามมาตรานี้ในขณะที่เป็นข้าราชการ พนักงานเทศบาล หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นอื่นนั้นเป็นเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย มาตรา ๖๒ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ตามมาตรา ๕๗ มาตรา ๕๘ หรือมาตรา ๖๐ แล้ว หากภายหลังปรากฏว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติไม่ตรง ตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๒ แต่งตั้งผู้นั้นให้กลับไปดำรง ตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งอื่นในระดับเดียวกับตำแหน่งเดิมที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติ เฉพาะสำหรับตำแหน่งโดยพลัน แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการในระหว่างที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติไม่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้กลับไปดำรงตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งอื่นตามวรรคหนึ่งให้รับเงินเดือนในขั้นที่พึงจะได้รับตามสถานภาพเดิม และให้ถือว่าผู้นั้นไม่มีสถานภาพอย่างใดในการที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ตนมีคุณสมบัติไม่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น มาตรา ๖๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการเพื่อไปรับ ราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร เมื่อผู้นั้นพ้นจากราชการทหาร โดยมิได้ กระทำการใด ๆ ในระหว่างรับราชการทหารอันเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรงหรือได้ชื่อว่าเป็น ผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง และผู้นั้นไม่เป็นผู้ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๓๐ และไม่ได้ถูกสั่ง เปลี่ยนแปลงคำสั่งตามมาตรา ๑๑๘ วรรคสอง เป็นให้ออกจากราชการตามมาตราอื่น หากประสงค์จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญในกระทรวง ทบวง กรมเดิมภายในกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันพ้นจากราชการทหาร ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๒ สั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง และรับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับบรรจุเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่ง ให้มีสิทธิ ได้นับวันรับราชการก่อนถูกสั่งให้ออกจากราชการ รวมกับวันรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วย การรับราชการทหาร และวันรับราชการเมื่อได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการเป็นเวลาราชการติดต่อกันเพื่อประโยชน์ตามพระราชบัญญัตินี้ และตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เสมือนว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกสั่งให้ออกจากราชการ มาตรา ๖๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ออก จากราชการไปปฏิบัติงานใด ๆ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ถ้าผู้นั้นกลับเข้ารับราชการภายในกำหนดเวลาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติแต่ไม่เกินสี่ปีนับแต่วันไปปฏิบัติงานดังกล่าวให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๒ สั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง และรับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๖๕ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดออกจากราชการไปแล้ว และไม่ใช่ เป็นกรณีออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการถ้าสมัครเข้ารับราชการและทาง ราชการต้องการจะรับผู้นั้นเข้ารับราชการให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๒ สั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งและรับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนดได้ มาตรา ๖๖ พนักงานเทศบาล พนักงานส่วนท้องถิ่นอื่นซึ่งระเบียบพนักงานนั้น บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา ที่ไม่ใช่พนักงานวิสามัญ หรือพนักงานซึ่งออก จากงานในระหว่างทดลองปฏิบัติงาน หรือข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราช บัญญัตินี้ และไม่ใช่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญ หรือข้าราชการซึ่งออกจากราชการใน ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ผู้ใดออกจากงานหรือออกจากราชการไปแล้ว ถ้าสมัครเข้ารับ ราชการในตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญและทางราชการต้องการจะรับผู้นั้นเข้ารับราชการ ให้ ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ของกระทรวง ทบวง กรมที่ต้องการจะรับเข้ารับราชการเสนอ เรื่องไปให้ ก.พ. พิจารณาอนุมัติ ในการนี้ให้ ก.พ. พิจารณาโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ทางราชการจะ ได้รับ ทั้งนี้จะบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับใด และจะให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้ ก.พ. เป็นผู้พิจารณากำหนด แต่จะต้องไม่สูงกว่าข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีคุณวุฒิ ความสามารถและ ความชำนาญงานในระดับเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของ ผู้เข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งในขณะที่เป็นข้าราชการพนักงานเทศบาล หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น อื่นนั้นเป็นเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย มาตรา ๖๗ ผู้ได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดตามมาตรา ๔๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๑ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ มาตรา ๖๕ และมาตรา ๖๖ หากภายหลังปรากฏว่าขาดคุณสมบัติทั่วไปโดยไม่ได้ รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๓๐ หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นโดยไม่ได้รับอนุมัติจาก ก.พ. ตามมาตรา ๕๖ อยู่ก่อนก็ดี มีกรณีต้องหาอยู่ก่อนและภายหลังเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเนื่องจากกรณีต้องหานั้นก็ดีให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการโดยพลัน แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการก่อนมีคำสั่งให้ออกนั้นและถ้าการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้ว ให้ถือว่าเป็นการสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา ๖๘ ในกรณีที่ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญว่างลงหรือผู้ดำรง ตำแหน่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ และเป็นกรณีที่มิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วย ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการ พลเรือนที่เห็นสมควรรักษาการในตำแหน่งนั้นได้ ผู้รักษาการในตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้มีอำนาจหน้าที่ตามตำแหน่งที่รักษา การนั้น ในกรณีที่มีกฎหมายอื่น กฎ ระเบียบ ข้อบังคับมติคณะรัฐมนตรี มติคณะกรรมการตาม กฎหมายหรือคำสั่งผู้บังคับบัญชาแต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ๆ เป็นกรรมการ หรือให้มีอำนาจ หน้าที่อย่างใดก็ให้ผู้รักษาการในตำแหน่งทำหน้าที่กรรมการ หรือมีอำนาจหน้าที่อย่างนั้นในระหว่างที่รักษาการในตำแหน่งแล้วแต่กรณี มาตรา ๖๙ ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็น ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ มีอำนาจสั่งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ประจำกระทรวงประจำทบวง ประจำกรม ประจำกองหรือ ประจำจังหวัด แล้วแต่กรณีเป็นการชั่วคราว โดยให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่เดิมได้ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. การให้ได้รับเงินเดือน การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือนการดำเนินการทางวินัย และการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๗๐ ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็น ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญพ้นจากตำแหน่งหน้าที่และขาดจากอัตราเงินเดือนใน ตำแหน่งเดิมโดยให้รับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทนที่ ก.พ. กำหนดได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. การให้พ้นจากตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือน การแต่งตั้งการเลื่อนขั้นเงินเดือน การดำเนินการทางวินัย และการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. หมวด ๓ การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ มาตรา ๗๑ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็น ข้าราชการและปฏิบัติราชการมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทาง ราชการ ถือว่าผู้นั้นมีความชอบ จะได้รับบำเหน็จความชอบซึ่งอาจเป็นคำชมเชย เครื่องเชิดชูเกียรติ รางวัลหรือการได้เลื่อนขั้นเงินเดือนตามควรแก่กรณี มาตรา ๗๒ การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญให้ผู้บังคับบัญชา พิจารณาโดยคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณงาน ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานที่ได้ปฏิบัติมา ความสามารถและความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน ตลอดจนการรักษาวินัยและการปฏิบัติตน เหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. การเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ข้าราชการพลเรือนสามัญที่อยู่ในหลักเกณฑ์ตามวรรค หนึ่ง ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาที่จะพิจารณา ในกรณีที่ไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดให้ ผู้บังคับบัญชาแจ้งให้ผู้นั้นทราบพร้อมทั้งเหตุผลที่ไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนให้ มาตรา ๗๓ การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้ดำเนินการตาม มาตรา ๗๒ และให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) หรือ (๖) แล้วแต่กรณี เป็นผู้สั่งเลื่อน การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญในราชการบริหารส่วนภูมิภาคให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งข้อเท็จจริงและความเห็นเกี่ยวกับการควรเลื่อนหรือไม่ควรเลื่อนไปยังอธิบดีผู้บังคับบัญชาเพื่อประกอบการพิจารณา สำหรับการเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๗ ลงมาในราชการบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งมิใช่หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด คณะรัฐมนตรีจะมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดผู้บังคับบัญชาสั่งเลื่อนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. ตามมาตรา ๗๒ ก็ได้ มาตรา ๗๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติ หน้าที่ราชการ คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์ใน การคำนวณบำเหน็จบำนาญก็ได้ มาตรา ๗๕ ให้มีการพัฒนาผู้ได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน สามัญตามมาตรา ๔๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๕๐ ก่อนมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติเพื่อให้รู้ระเบียบ แบบแผนของทางราชการ หลักและวิธีปฏิบัติราชการ บทบาทและหน้าที่ของข้าราชการในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และแนวทางปฏิบัติตนเพื่อเป็นข้าราชการ ที่ดี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.กำหนด มาตรา ๗๖ ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่พัฒนาผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา เพื่อเพิ่มพูน ความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดี คุณธรรมและจริยธรรม อันจะทำให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ก.พ. กำหนด มาตรา ๗๗ ให้มีการพัฒนาข้าราชการพลเรือนก่อนเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งบางตำแหน่ง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดี คุณธรรมและจริยธรรมอันจะทำให้ ปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๗๘ การพัฒนาข้าราชการพลเรือนโดยการให้ไปศึกษาเพิ่มเติมใน ประเทศ และการให้ไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในต่างประเทศให้เป็นไปตาม ระเบียบที่ ก.พ. วางไว้ เว้นแต่คณะรัฐมนตรีจะได้กำหนดเป็นอย่างอื่น มาตรา ๗๙ ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้อยู่ใต้ บังคับบัญชาเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแต่งตั้ง เลื่อนขั้นเงินเดือน พัฒนาข้าราชการพลเรือน เพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ และมีหน้าที่เสริมสร้างแรงจูงใจให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการและปฏิบัติราชการมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด หมวด ๔ วินัยและการรักษาวินัย มาตรา ๘๐ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาวินัยตามที่บัญญัติเป็นข้อห้าม และข้อปฏิบัติไว้ในหมวดนี้ โดยเคร่งครัดอยู่เสมอ มาตรา ๘๑ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องสนับสนุนการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วย ความบริสุทธิ์ใจ มาตรา ๘๒ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความ ซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม ห้ามมิให้อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจหน้าที่ราชการของตนไม่ว่าจะโดย ทางตรงหรือทางอ้อมหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่น ได้ประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการและเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๘๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ราชการให้ เกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการ มาตรา ๘๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความ อุตสาหะ เอาใจใส่ระมัดระวังรักษาประโยชน์ของทางราชการและต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ ราชการ การประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่าง ร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๘๕ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตาม กฎหมาย ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี และนโยบายของรัฐบาลโดยไม่ให้เสียหาย แก่ราชการ การปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบของทาง ราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของรัฐบาล อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๘๖ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องถือว่าเป็นหน้าที่พิเศษที่จะสนใจและ รับทราบเหตุการณ์เคลื่อนไหวอันอาจเป็นภยันตรายต่อประเทศชาติและต้องป้องกันภยันตรายซึ่ง จะบังเกิดแก่ประเทศชาติจนเต็มความสามารถ มาตรา ๘๗ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาความลับของทางราชการ การเปิดเผยความลับของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่าง ร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๘๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ โดยไม่ขัดขืนหรือ หลีกเลี่ยง แต่ถ้าเห็นว่าการปฏิบัติตามคำสั่งนั้นจะทำให้เสียหายแก่ราชการ หรือจะเป็นการไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการ จะเสนอความเห็นเป็นหนังสือทันทีเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนคำสั่งนั้นก็ได้ และเมื่อได้เสนอความเห็นแล้วถ้าผู้บังคับบัญชายืนยันให้ปฏิบัติตามคำสั่งเดิม ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม การขัดคำสั่งหรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่าง ร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๘๙ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องปฏิบัติราชการโดยมิให้เป็น การกระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้กระทำหรือ ได้รับอนุญาตเป็นพิเศษชั่วครั้งคราว มาตรา ๙๐ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องแจ้ง ถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย การรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่าง ร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๙๑ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องถือและปฏิบัติตามระเบียบและแบบ ธรรมเนียมของทางราชการ และจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือนตามข้อบังคับที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๙๒ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการจะ ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้ การละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นเหตุให้ เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง หรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่า สิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตาม ระเบียบของทางราชการ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๙๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคี และไม่กระทำการอย่างใดที่เป็นการกลั่นแกล้งกัน และต้องช่วยเหลือกันในการปฏิบัติราชการ ระหว่างข้าราชการด้วยกันและผู้ร่วมปฏิบัติราชการ มาตรา ๙๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความ เป็นธรรม และให้การสงเคราะห์แก่ประชาชนผู้ติดต่อราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตนโดยไม่ชักช้า และด้วยความสุภาพเรียบร้อย ห้ามมิให้ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงประชาชนผู้ติดต่อ ราชการ การดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงประชาชนผู้ติดต่อราชการอย่าง ร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๙๕ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำ การหาผลประโยชน์อันอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรมหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ ราชการของตน มาตรา ๙๖ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการหรือ ผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท มาตรา ๙๗ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในการ ปฏิบัติหน้าที่ราชการ และในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชน กับจะต้องปฏิบัติตาม ระเบียบของทางราชการว่าด้วยมารยาททางการเมืองของข้าราชการด้วย มาตรา ๙๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาชื่อเสียงของตน และรักษา เกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสียโดยไม่กระทำการใด ๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว การกระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก หรือโทษที่หนักกว่าจำคุกโดย คำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก หรือให้รับโทษที่หนักกว่าจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้ กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ หรือกระทำการอื่นใดอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว อย่างร้ายแรงเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๙๙ ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่เสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้อยู่ใต้บังคับ บัญชามีวินัย ป้องกันมิให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัย และดำเนินการทางวินัยแก่ผู้อยู่ใต้ บังคับบัญชาซึ่งมีกรณีอันมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย การเสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีวินัย ให้กระทำโดยการปฏิบัติ ตนเป็นแบบอย่างที่ดี การฝึกอบรม การสร้างขวัญและกำลังใจ การจูงใจหรือการอื่นใดในอันที่จะ เสริมสร้างและพัฒนาทัศนคติ จิตสำนึก และพฤติกรรมของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาให้เป็นไปในทางที่ มีวินัย การป้องกันมิให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัย ให้กระทำโดยการเอาใจใส่ สังเกตการณ์ และขจัดเหตุที่อาจก่อให้เกิดการกระทำผิดวินัยในเรื่องอันอยู่ในวิสัยที่จะดำเนินการ ป้องกันตามควรแก่กรณีได้ เมื่อปรากฏกรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิด วินัยโดยมีพยานหลักฐานในเบื้องต้นอยู่แล้ว ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยทันที เมื่อมีการกล่าวหาโดยปรากฏตัวผู้กล่าวหา หรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการ พลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยโดยยังไม่มีพยานหลักฐานให้ผู้บังคับบัญชารีบดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณาในเบื้องต้นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยหรือไม่ ถ้าเห็นว่ากรณีไม่มีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย จึงจะยุติเรื่องได้ ถ้าเห็นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย ก็ให้ดำเนินการทางวินัยทันที การดำเนินการทางวินัยแก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาซึ่งมีกรณีอันมีมูลที่ควรกล่าวหา ว่ากระทำผิดวินัย ให้ดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๕ ผู้บังคับบัญชาผู้ใดละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรานี้ และตามหมวด ๕ หรือ ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวโดยไม่สุจริต ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย มาตรา ๑๐๐ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดฝ่าฝืนข้อห้ามหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ ปฏิบัติทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ ผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัย จักต้องได้รับโทษทางวินัย เว้นแต่มีเหตุอันควรงดโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๕ โทษทางวินัยมี ๕ สถาน คือ (๑) ภาคทัณฑ์ (๒) ตัดเงินเดือน (๓) ลดขั้นเงินเดือน (๔) ปลดออก (๕) ไล่ออก มาตรา ๑๐๑ การลงโทษข้าราชการพลเรือนสามัญให้ทำเป็นคำสั่ง วิธีการออก คำสั่งเกี่ยวกับการลงโทษ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. วางไว้ ผู้สั่งลงโทษต้องสั่งลงโทษให้ เหมาะสมกับความผิด และมิให้เป็นไปโดยพยาบาท โดยอคติ หรือโดยโทสะจริตหรือลงโทษผู้ที่ ไม่มีความผิด ในคำสั่งลงโทษให้แสดงว่าผู้ถูกลงโทษกระทำผิดวินัยในกรณีใดตามมาตราใด หมวด ๕ การดำเนินการทางวินัย มาตรา ๑๐๒ การดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งมีกรณี อันมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย ให้สอบสวนเพื่อให้ได้ความจริงและยุติธรรมโดยไม่ชักช้า การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นกรณีกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ ร้ายแรง ให้ดำเนินการตามวิธีการที่ผู้บังคับบัญชาเห็นสมควรถ้าเป็นกรณีกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย อย่างร้ายแรง ให้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวน และในการสอบสวนนี้ต้องแจ้งข้อ กล่าวหา และสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ โดยจะ ระบุหรือไม่ระบุชื่อพยานก็ได้ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหา เมื่อดำเนิน การแล้วถ้าฟังได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดวินัยก็ให้ดำเนินการตามมาตรา ๑๐๓ หรือมาตรา ๑๐๔ แล้วแต่กรณี ถ้ายังฟังไม่ได้ว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัย จึงจะยุติเรื่องได้ การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามวรรคสอง ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตาม มาตรา ๕๒ เป็นผู้สั่งแต่งตั้ง ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งต่างระดับกันถูกกล่าวหาว่ากระทำ ผิดวินัยอย่างร้ายแรงร่วมกัน ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ สำหรับผู้ถูกกล่าวหาที่มีตำแหน่งในระดับสูงกว่าเป็นผู้ดำเนินการตามวรรคสามได้ นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ตามวรรคสองสำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญในทุกกระทรวง ทบวง กรม ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนผู้ถูก กล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามวรรคสอง ในเรื่องที่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบ สวนผู้ถูกกล่าวหาตามมาตรา ๑๑๔ (๔) หรือมาตรา ๑๑๕ และคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ดังกล่าวได้สอบสวนไว้แล้ว คณะกรรมการสอบสวนตามวรรคสองจะนำสำนวนการสอบสวนตาม มาตราดังกล่าวมาใช้เป็นสำนวนการสอบสวน และทำความเห็นเสนอผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ สอบสวนโดยถือว่าได้มีการสอบสวนตามวรรคสองแล้วก็ได้ แต่ทั้งนี้ ต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุป พยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยจะระบุหรือไม่ระบุชื่อพยาน ก็ได้ และต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณากรณีที่ต้องแต่งตั้งคณะ กรรมการสอบสวนตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ในกรณีที่เป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. จะดำเนิน การทางวินัยโดยไม่สอบสวนก็ได้ มาตรา ๑๐๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงให้ ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสม กับความผิด ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่สำหรับการ ลงโทษภาคทัณฑ์ให้ใช้เฉพาะกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย หรือมีเหตุอันควรลดหย่อน ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษตัดเงินเดือน ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่าผู้นั้นควรจะต้องได้รับโทษสูงกว่าที่ตนมีอำนาจสั่งลงโทษ ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นที่มีอำนาจเพื่อให้พิจารณาดำเนินการเพื่อลงโทษตามควรแก่กรณี ในกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย และมีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยให้ทำ ทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้ การลงโทษตามมาตรานี้ ผู้บังคับบัญชาใดจะมีอำนาจสั่งลงโทษผู้อยู่ใต้บังคับ บัญชา ในสถานโทษและอัตราโทษใดได้เพียงใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๐๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้ ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก ตามความร้ายแรงแห่งกรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก ทั้งนี้ ภายใต้บังคับวรรคสอง ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนที่แต่งตั้งตามมาตรา ๑๐๒ หรือผู้มีอำนาจตาม มาตรา ๑๐๒ วรรคสาม วรรคสี่ หรือวรรคห้า แล้วแต่กรณี เห็นว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใด กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง สมควรลงโทษปลดออก หรือไล่ออก ให้ดำเนินการดังนี้ (๑) สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๑๑ ลงมาถึงระดับ ๘ และสำหรับผู้ดำรง ตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๗ ลงมาที่กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงร่วมกันกับผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๘ ขึ้นไป หรือที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ๑๐๒ วรรคห้า ในราชการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. กระทรวงซึ่งผู้ถูกกล่าวหาสังกัดอยู่พิจารณา และเมื่อ อ.ก.พ. กระทรวงมีมติเป็นประการใด ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้มีอำนาจสั่งบรรจุดังกล่าว แล้วแต่กรณี สั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น (๒) สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๗ ลงมา ในราชการบริหารส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. กรมซึ่งผู้ถูกกล่าวหาสังกัดอยู่พิจารณา และเมื่อ อ.ก.พ. กรมมีมติเป็นประการใด ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุดังกล่าวสั่งหรือ ปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น ทั้งนี้ ภายใต้บังคับ (๑) (๓) สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๗ ลงมาในราชการบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งมิใช่หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ (๕) ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. จังหวัดซึ่งผู้ถูกกล่าวหาสังกัดอยู่พิจารณา และเมื่อ อ.ก.พ.จังหวัดมีมติเป็นประการใด ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุดังกล่าวสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสาม หรือตามมาตรานี้ ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๕๒ ระดับเหนือขึ้นไปมีอำนาจดำเนินการตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสาม หรือตามมาตรานี้ได้ ผู้ใดถูกลงโทษปลดออกตามมาตรานี้ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่า ผู้นั้นลาออกจากราชการ มาตรา ๑๐๕ ให้กรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมาย อาญาและให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญาเพียงเท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของกรรมการสอบสวน และโดยเฉพาะให้มีอำนาจ ดังต่อไปนี้ด้วยคือ (๑) เรียกให้กระทรวง ทบวง กรม หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจหน่วยงานอื่นของ รัฐ หรือห้างหุ้นส่วนบริษัท ชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจง หรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน (๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำหรือให้ส่งเอกสาร และหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน มาตรา ๑๐๖ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำหรือ ละเว้นกระทำการใดที่พึงเห็นได้ว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง และเป็นการกล่าวหาเป็นหนังสือ ต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น หรือต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวน หรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือ ระเบียบของทางราชการ หรือเป็นการกล่าวหาเป็นหนังสือโดยผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นหรือมีกรณี ถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา เว้นแต่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทที่ ไม่เกี่ยวกับราชการ หรือความผิดลหุโทษแม้ภายหลังผู้นั้นจะออกจากราชการไปแล้ว เว้นแต่ออก จากราชการเพราะตาย ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสาม วรรคสี่ หรือวรรคห้า หรือมาตรา ๑๐๔ วรรคสาม แล้วแต่กรณี มีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณาตามมาตรา ๙๙ และดำเนิน การทางวินัยตามที่บัญญัติในหมวดนี้ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ เว้นแต่กรณีที่ ผลการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยที่จะต้องลงโทษภาคทัณฑ์ตัดเงินเดือน หรือ ลดขั้นเงินเดือน ก็ให้งดโทษเสียได้ มาตรา ๑๐๗ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย อย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสามวรรคสี่ หรือวรรคห้า แล้วแต่กรณี มีอำนาจสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาได้ แต่ถ้าภายหลังปรากฏผลการสอบสวนพิจารณาว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิด หรือกระทำผิดไม่ถึงกับจะถูกลงโทษปลดออก หรือไล่ออก และไม่มีกรณีที่จะต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่นก็ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิม หรือตำแหน่งในระดับเดียวกันที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๑๐๔ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม เมื่อได้มีการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดพักราชการหรือออกจากราชการ ไว้ก่อนตามวรรคหนึ่งแล้ว ภายหลังปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ในกรณีอื่นอีกผู้มีอำนาจตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสาม วรรคสี่ หรือวรรคห้า หรือมาตรา ๑๐๔ วรรค สามแล้วแต่กรณี มีอำนาจดำเนินการสืบสวน หรือพิจารณาตามมาตรา ๙๙ และแต่งตั้งคณะ กรรมการสอบสวนตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสอง ตลอดจนดำเนินการทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ใน หมวดนี้ต่อไปได้ ในกรณีที่สั่งให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนกลับเข้ารับราชการ หรือสั่งให้ ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนออกจากราชการด้วยเหตุอื่นที่มิใช่เป็นการลงโทษเพราะกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ก็ให้ผู้นั้นมีสถานภาพเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตลอดระยะเวลาระหว่างที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน เสมือนว่าผู้นั้นเป็นผู้ถูกสั่งพักราชการ เงินเดือน เงินอื่นที่จ่ายเป็นรายเดือน และเงินช่วยเหลืออย่างอื่นและการจ่ายเงิน ดังกล่าวของผู้ถูกสั่งพักราชการ และผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น สำหรับผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ถ้าไม่มีกฎหมายหรือระเบียบดังกล่าวให้ถือเสมือนว่าผู้นั้นเป็นผู้ถูกสั่งพักราชการ หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสั่งพักราชการ การสั่งให้ออกจากราชการไว้ ก่อน ระยะเวลาให้พักราชการและให้ออกจากราชการไว้ก่อน และการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามผลการสอบสวนพิจารณาให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๐๘ การลงโทษข้าราชการพลเรือนสามัญในส่วนราชการที่มีกฎหมาย ว่าด้วยวินัยโดยเฉพาะ จะลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้ หรือลงทัณฑ์หรือลงโทษตามกฎหมายว่า ด้วยวินัยนั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามควรแก่กรณีและพฤติการณ์ก็ได้ แต่ถ้าเป็นกรณีกระทำผิดวินัย อย่างร้ายแรงตามพระราชบัญญัตินี้ ก็ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาดำเนินการตามที่กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๙ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการทางวินัยตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายว่าด้วยวินัยข้าราชการในส่วนราชการใดโดยเฉพาะ หรือดำเนินการสอบสวนตาม มาตรา ๑๑๔ (๔) หรือมาตรา ๑๑๕ แก่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใด หรือสั่งให้ข้าราชการ พลเรือนสามัญผู้ใดออกจากราชการไปแล้ว ให้รายงานการดำเนินการทางวินัยหรือการสอบสวนหรือการสั่งให้ออกจากราชการต่อผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นตามลำดับจนถึงอธิบดี ในกรณีที่เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญในสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีหรือราชบัณฑิตยสถาน ให้รายงานตามลำดับจนถึงรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ทั้งนี้ ตามระเบียบว่าด้วย การรายงานการดำเนินการทางวินัยที่ ก.พ. วางไว้ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาที่ได้รับรายงานตามวรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจตาม มาตรา ๑๐๓ และมีตำแหน่งเหนือผู้ดำเนินการทางวินัยเห็นว่าการยุติเรื่องการงดโทษหรือการ ลงโทษที่มิใช่เป็นการลงโทษหรือลงทัณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยข้าราชการในส่วนราชการใดโดย เฉพาะ และมิใช่เป็นการดำเนินการตามมติของ อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรมหรือ อ.ก.พ. จังหวัด เป็นการไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ก็ให้มีอำนาจสั่งลงโทษ เพิ่มโทษเป็นสถานโทษหรืออัตราโทษที่หนักขึ้นลดโทษลงเป็นสถานโทษหรืออัตราโทษที่เบาลง งดโทษโดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือน หรือยกโทษให้ถูกต้องหรือเหมาะสมตามควรแก่กรณีตลอดจนแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในคำสั่งเดิมให้เป็นการถูกต้องเหมาะสมได้ด้วย และในกรณีที่เห็นว่าควรดำเนินการอย่างใดเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาให้ได้ความจริงและยุติธรรม ก็ให้มีอำนาจดำเนินการ หรือสั่งดำเนินการได้ตามควรแก่กรณี ทั้งนี้ การสั่งลงโทษหรือเพิ่มโทษเป็นสถานโทษที่หนักขึ้น ต้องไม่เกินอำนาจของตนตามมาตรา ๑๐๓ และการเพิ่มอัตราโทษเมื่อรวมกับอัตราโทษเดิมต้องไม่เกินอำนาจนั้นด้วย ถ้าเกินอำนาจของตนก็ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นตามลำดับเพื่อให้พิจารณาดำเนินการตามควรแก่กรณี ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษหรือลงทัณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยวินัย ข้าราชการในส่วนราชการใดโดยเฉพาะหรือสั่งยุติเรื่อง งดโทษหรือสั่งลงโทษตามมาตรา ๑๐๓ หรือสั่งให้ออกจากราชการ ซึ่งมิใช่เป็นการดำเนินการตามมติของ อ.ก.พ. จังหวัด ตามมาตรา ๑๐๔ มาตรา ๑๑๔ (๔) มาตรา ๑๑๕ มาตรา ๑๑๖ หรือมาตรา ๑๒๕ แก่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไปแล้ว แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดหรืออธิบดีหรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดที่ได้รับรายงานตามวรรคหนึ่ง เห็นว่ากรณีเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงก็ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรืออธิบดีหรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด แล้วแต่กรณี มีอำนาจดำเนินการตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสาม และมาตรา ๑๐๔ วรรคสอง แต่ถ้าเป็นกรณีที่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสาม แล้ว ก็ให้ดำเนินการตามมาตรา ๑๐๔ วรรคสอง ในกรณีที่อธิบดีที่ได้รับรายงานตามวรรคหนึ่ง มีความเห็นขัดแย้งกับความเห็น ของผู้ว่าราชการจังหวัด หรือความเห็นหรือมติของ อ.ก.พ. จังหวัด ตามมาตรา ๑๐๔ วรรคสอง มาตรา ๑๑๔ (๔) มาตรา ๑๑๕ มาตรา ๑๑๖ หรือมาตรา ๑๒๕ เกี่ยวกับการพิจารณาข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย หรือการอื่นใดตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ว่าจะในทางเป็นโทษหรือเป็นคุณแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใด ก็ให้ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. กระทรวงซึ่งผู้นั้นสังกัดอยู่พิจารณา เมื่อ อ.ก.พ. กระทรวงมีมติเป็นประการใด ให้อธิบดีหรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด แล้วแต่กรณี สั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น และในกรณีที่จะต้องสั่งให้ผู้ซึ่งออกจากราชการไปแล้วกลับเข้ารับราชการตามมติของ อ.ก.พ.กระทรวง ก็ให้นำมาตรา ๑๐๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม เมื่อได้มีคำสั่งเพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ ถ้าเพิ่มโทษเป็นสถานโทษ ที่หนักขึ้นหรือลดโทษเป็นสถานโทษที่เบาลง หรืองดโทษหรือยกโทษ คำสั่งลงโทษเดิมให้เป็นอัน ยกเลิก ถ้าลดโทษเป็นอัตราโทษที่เบาลง อัตราโทษส่วนที่เกินก็ให้เป็นอันยกเลิก ในกรณีที่คำสั่ง ลงโทษตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือนเป็นอันยกเลิก หรืออัตราโทษส่วนที่เกินเป็นอันยกเลิก ให้คืนเงินเดือนที่ได้ตัดหรือลดไปแล้วตามคำสั่งที่เป็นอันยกเลิก หรืออัตราโทษส่วนเกินที่เป็นอันยกเลิกนั้นให้แก่ผู้ถูกลงโทษ แต่ถ้าคำสั่งที่เป็นอันยกเลิกเป็นคำสั่งลงโทษหรือลงทัณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยข้าราชการในส่วนราชการใดโดยเฉพาะ และผู้ถูกสั่งลงโทษหรือลงทัณฑ์ได้รับโทษหรือทัณฑ์นั้นไปแล้ว ก็ให้เป็นอันพับไป เมื่ออธิบดีได้ดำเนินการทางวินัย หรือได้รับรายงานตามวรรคหนึ่งและได้ พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่แล้ว ให้รายงานไปยัง อ.ก.พ. กระทรวง ซึ่งผู้ถูกดำเนินการ ทางวินัยสังกัดอยู่เพื่อพิจารณา ทั้งนี้ ตามกรณีที่กำหนดในระเบียบว่าด้วยการรายงานการดำเนิน การทางวินัยที่ ก.พ. วางไว้ ในกรณีที่ อ.ก.พ. กระทรวงที่ได้รับรายงานตามวรรคหก เห็นว่าการดำเนินการ ทางวินัยเป็นการไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม และมีมติเป็นประการใด ให้อธิบดีสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น มาตรา ๑๑๐ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการทางวินัย หรือสั่งให้ข้าราชการ พลเรือนสามัญออกจากราชการในเรื่องใดไปแล้ว ถ้า ก.พ. พิจารณาเห็นเป็นการสมควรที่จะต้อง สอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์แห่งความเป็นธรรม หรือเพื่อประโยชน์ในการ ควบคุมดูแลให้กระทรวง ทบวง กรมปฏิบัติการตามหมวด ๔ และหมวดนี้โดยถูกต้องและ เหมาะสมตามความเป็นธรรม ก็ให้ ก.พ. มีอำนาจสอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมในเรื่องนั้นได้ตามความจำเป็น โดยจะสอบสวนเองหรือตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญหรือคณะกรรมการสอบสวน ให้สอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมแทนก็ได้ หรือกำหนดประเด็นหรือข้อสำคัญที่ต้องการทราบส่งไปเพื่อให้คณะกรรมการสอบสวนที่ผู้บังคับบัญชาได้แต่งตั้งไว้เดิมทำการสอบสวนเพิ่มเติมได้ด้วย ในกรณีที่ ก.พ. ตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญเพื่อทำหน้าที่พิจารณาเรื่องการดำเนินการ ทางวินัยหรือการออกจากราชการแทน ก.พ. ก็ให้ อ.ก.พ. วิสามัญนั้นมีอำนาจสอบสวนใหม่หรือ สอบสวนเพิ่มเติมโดยจะสอบสวนเองหรือแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้สอบสวนใหม่หรือ สอบสวนเพิ่มเติมแทนก็ได้ และมีอำนาจกำหนดประเด็นหรือข้อสำคัญที่ต้องการทราบส่งไปเพื่อให้ คณะกรรมการสอบสวนที่ผู้บังคับบัญชาได้แต่งตั้งไว้เดิมทำการสอบสวนเพิ่มเติมได้ด้วย ในการสอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติม ถ้า ก.พ. หรือ อ.ก.พ. วิสามัญ พิจารณาเห็นเป็นการสมควรส่งประเด็นหรือข้อสำคัญใดที่ต้องการทราบไปสอบสวนพยานหลักฐานซึ่งอยู่ต่างท้องที่ ก็ให้ ก.พ. และ อ.ก.พ.วิสามัญมีอำนาจกำหนดประเด็นหรือข้อสำคัญนั้นส่งไปเพื่อให้หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานในท้องที่นั้นทำการสอบสวนแทนได้ ในกรณีที่ ก.พ. หรือ อ.ก.พ. วิสามัญ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้สอบสวน ใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติม หรือส่งประเด็นหรือข้อสำคัญไปเพื่อให้คณะกรรมการสอบสวน หรือ หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานดำเนินการตามวรรคหนึ่ง วรรคสองและวรรคสาม ในเรื่องเกี่ยวกับกรณีกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสอง ให้นำหลัก เกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณาตามมาตรา ๑๐๒ วรรคเจ็ด มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในการดำเนินการตามมาตรานี้ ให้นำมาตรา ๑๐๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย มาตรา ๑๑๑ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งโอนมาจากพนักงานเทศบาล พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือข้าราชการตามมาตรา ๖๑ ผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยอยู่ก่อนวันโอนมาบรรจุ ให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นดำเนินการทางวินัยตามหมวดนี้โดยอนุโลม แต่ถ้าเป็นเรื่องที่อยู่ในระหว่างการสืบสวนหรือสอบสวนของทางผู้บังคับบัญชาเดิมก่อนวันโอน ก็ให้สืบสวนหรือสอบสวนต่อไปจนเสร็จ แล้วส่งเรื่องไปให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นพิจารณาดำเนินการต่อไปตามหมวดนี้โดยอนุโลม และในกรณีที่จะต้องสั่งลงโทษทางวินัย ให้ปรับบทความผิดและลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบพนักงานเทศบาล พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือข้าราชการนั้นโดยอนุโลม หมวด ๖ การออกจากราชการ มาตรา ๑๑๒ ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการเมื่อ (๑) ตาย (๒) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๓) ลาออกจากราชการและได้รับอนุญาตให้ลาออกหรือการลาออกมีผลตาม มาตรา ๑๑๓ (๔) ถูกสั่งให้ออกตามมาตรา ๕๔ มาตรา ๖๗ มาตรา ๑๐๗ มาตรา ๑๑๔ มาตรา ๑๑๕ มาตรา ๑๑๖ มาตรา ๑๑๗ มาตรา ๑๑๘ หรือมาตรา ๑๒๓ หรือ (๕) ถูกสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก วันออกจากราชการตาม (๔) และ (๕) ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. วางไว้ การต่อเวลาราชการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ต้องออกจากราชการตาม (๒) รับราชการต่อไป จะกระทำมิได้ มาตรา ๑๑๓ นอกจากกรณีตามวรรคสี่ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์ จะลาออกจากราชการ ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตาม มาตรา ๕๒ เป็นผู้พิจารณาอนุญาต ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ พิจารณาเห็นว่าจำเป็นเพื่อ ประโยชน์แก่ราชการจะยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกินเก้าสิบวันนับตั้งแต่วันขอลา ออกก็ได้ แต่ต้องแจ้งการยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกพร้อมทั้งเหตุผลให้ผู้ขอลาออกทราบ และเมื่อครบกำหนดเวลาที่ยับยั้งแล้วให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันถัดจากวันครบกำหนดเวลาที่ยับยั้ง ถ้าผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ไม่ได้อนุญาตให้ลาออกตามวรรคหนึ่ง และไม่ได้ยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกตามวรรคสอง ให้การลาออกนั้นมีผลตั้งแต่วันขอลาออก ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการเพื่อดำรง ตำแหน่งทางการเมือง หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือ ผู้บริหารท้องถิ่น ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชา และให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ ผู้นั้นขอลาออก หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการลาออก การพิจารณาอนุญาตให้ลาออกและ การยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสี่ให้เป็นไปตาม ระเบียบที่ ก.พ. วางไว้ มาตรา ๑๑๔ ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการ พลเรือนสามัญออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการได้ในกรณีที่กฎหมายดังกล่าวบัญญัติให้ผู้ถูกสั่งให้ออกมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญแต่ในการสั่งให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุรับราชการนานจะต้องมีกรณีตามที่กำหนด.ในกฎ ก.พ. ด้วย และการสั่งให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน นอกจากให้ทำได้ในกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตราอื่นแห่งพระราชบัญญัตินี้และกรณีที่กฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการบัญญัติให้ผู้ถูกสั่งให้ออกมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนแล้ว ให้ทำได้ในกรณีต่อไปนี้ด้วย คือ (๑) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของ ตนได้โดยสม่ำเสมอ ถ้าผู้มีอำนาจดังกล่าวเห็นสมควรให้ออกจากราชการแล้ว ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้ (๒) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดสมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความ ประสงค์ของทางราชการ ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ (๓) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๓๐ (๑) (๔) (๕) (๘) หรือ (๙) ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ (๔) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาหรือมีเหตุอันควรสงสัย ว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๓๐ (๓) และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ เห็นว่า กรณีมีมูล ก็ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยไม่ชักช้า และให้นำมาตรา ๑๑๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่ อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด มีมติว่าผู้นั้นเป็นผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๓๐ (๓) ก็ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจาก ราชการ (๕) เมื่อทางราชการเลิกหรือยุบตำแหน่งใด ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งนั้นออกจากราชการได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด (๖) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิ ภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการได้ ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๑๕ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาหรือมีเหตุอันควร สงสัยว่าหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการบกพร่องในหน้าที่ราชการหรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ เห็นว่ากรณีมีมูล ถ้าให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป จะเป็นการเสียหายแก่ราชการ ก็ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยไม่ชักช้า ในการสอบสวนนี้จะต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ โดยจะระบุหรือไม่ระบุชื่อพยานก็ได้และต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ด้วย ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๑๐๒ วรรคสี่ วรรคห้า และวรรคแปด มาตรา ๑๐๔ วรรคสองและมาตรา ๑๐๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่ อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ.กรม หรือ อ.ก.พ.จังหวัดมีมติให้ผู้นั้นออกจากราชการ ก็ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนผู้ถูกกล่าว หาตามมาตรา ๑๐๒ ในเรื่องที่จะต้องสอบสวนตามวรรคหนึ่งและคณะกรรมการสอบสวนตาม มาตรา ๑๐๒ ได้สอบสวนไว้แล้ว ผู้มีอำนาจตามวรรคหนึ่งจะใช้สำนวนการสอบสวนนั้นพิจารณา ดำเนินการโดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามวรรคหนึ่งก็ได้ หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณา ให้เป็นไปตามที่กำหนดใน กฎ ก.พ. ในกรณีที่เป็นกรณีที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. จะดำเนินการตาม วรรคหนึ่งโดยไม่สอบสวนก็ได้ มาตรา ๑๑๖ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกแต่งตั้งคณะกรรมการ สอบสวนตามมาตรา ๑๐๒ และคณะกรรมการสอบสวนหรือผู้มีอำนาจตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสาม วรรคสี่ หรือวรรคห้า หรือมาตรา ๑๐๙ วรรคสาม แล้วแต่กรณี เห็นว่ากรณีมีเหตุอันควรสงสัย อย่างยิ่งว่าผู้นั้นได้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่การสอบสวนไม่ได้ความแน่ชัดพอที่จะฟังลงโทษ ตามมาตรา ๑๐๔ วรรคหนึ่ง ถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ ก็ให้ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด แล้วแต่กรณี พิจารณาให้ออกจากราชการ ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๑๐๔ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลมในกรณีที่ อ.ก.พ. ดังกล่าวมีมติให้ผู้นั้นออกจากราชการเพราะมีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวน ก็ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา ๑๑๗ เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดต้องรับโทษจำคุกโดยคำสั่งของ ศาล หรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออก หรือไล่ออก ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ จะสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตาม กฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการก็ได้ มาตรา ๑๑๘ เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไปรับราชการทหารตาม กฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ สั่งให้ผู้นั้นออกจาก ราชการ ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคหนึ่ง และต่อมาปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีที่ จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตราอื่นอยู่ก่อนไปรับราชการทหาร ก็ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ ตามมาตรา ๕๒ มีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ออกตามวรรคหนึ่ง เป็นให้ออกจากราชการตาม มาตราอื่นนั้นได้ มาตรา ๑๑๙ ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตาม หมวดนี้ หรือตามมาตรา ๕๔ หรือมาตรา ๖๗ ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๕๒ ระดับเหนือขึ้นไปมีอำนาจดำเนินการตามหมวดนี้ หรือตามมาตรา ๕๔ หรือมาตรา ๖๗ แล้วแต่กรณีได้ มาตรา ๑๒๐ การอออกจากราชการของข้าราชการพลเรือสามัญตำแหน่งตั้งแต่ ระดับ ๑๐ ขึ้นไป ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่งนับแต่วันออกจากราชการ มาตรา ๑๒๑ ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัด อธิบดี หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดที่ได้รับ รายงานตามมาตรา ๑๐๙ วรรคหนึ่ง เห็นว่าสมควรให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดออกจาก ราชการตามมาตรา ๑๑๔ (๔) หรือมาตรา ๑๑๕ ก็ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรืออธิบดี หรือรัฐมนตรี เจ้าสังกัด แล้วแต่กรณี ดำเนินการตามมาตรา ๑๑๔ (๔) หรือมาตรา ๑๑๕ แต่ถ้าเป็นกรณีที่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตราดังกล่าวหรือมาตรา ๑๐๒ แล้ว ก็ให้ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. จังหวัด อ.ก.พ. กรมหรือ อ.ก.พ. กระทรวง แล้วแต่กรณี พิจารณา ในกรณีที่อธิบดีที่ได้รับรายงานตามมาตรา ๑๐๙ วรรคหนึ่งมีความเห็นขัดแย้ง กับความเห็นของผู้ว่าราชการจังหวัด หรือความเห็นหรือมติของ อ.ก.พ. จังหวัดตามมาตรา ๑๐๔ วรรคสอง มาตรา ๑๐๙ วรรคสาม มาตรา ๑๑๔ (๔) มาตรา ๑๑๕ มาตรา ๑๑๖ หรือมาตรา ๑๒๕ โดยเห็นสมควรให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดออกจากราชการตามหมวดนี้ หรือตามมาตรา ๕๔ หรือมาตรา ๖๗ หรือเห็นสมควรให้ยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใด ออกจากราชการตามหมวดนี้ หรือมาตรา ๕๔ หรือมาตรา ๖๗ หรือเห็นสมควรให้ผู้ถูกสั่ง ให้ออกจากราชการผู้ใดกลับเข้ารับราชการ ก็ให้ดำเนินการตามมาตรา ๑๐๙ วรรคสี่ โดยอนุโลม ในกรณีที่จะต้องสั่งให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการกลับเข้ารับราชการให้นำ มาตรา ๑๐๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม เมื่ออธิบดีได้สั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการหรือดำเนินการ ตามมาตรา ๑๑๔ (๔) หรือมาตรา ๑๑๕ หรือได้รับรายงานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวตามมาตรา ๑๐๙ วรรคหนึ่งและได้พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่แล้ว ให้รายงานไปยัง อ.ก.พ. กระทรวง ซึ่ง ผู้ถูกดำเนินการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการสังกัดอยู่เพื่อพิจารณา ทั้งนี้ ตามกรณีที่กำหนดใน ระเบียบว่าด้วยการรายงานเกี่ยวกับการดำเนินการให้ออกจากราชการที่ ก.พ. วางไว้ และให้นำ มาตรา ๑๐๙ วรรคเจ็ด มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๒๒ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการทางวินัยหรือสั่งให้ข้าราชการ พลเรือนสามัญออกจากราชการในเรื่องใดไปแล้ว ถ้าก.พ. พิจารณาเห็นเป็นการสมควรที่จะต้อง สอบสวนใหม่ หรือสอบสวนเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์แห่งความเป็นธรรม หรือเพื่อประโยชน์ในการ ควบคุมดูแลให้กระทรวง ทบวง กรมปฏิบัติการตามหมวดนี้ หรือตามมาตรา ๕๔ หรือมาตรา ๖๗ โดยถูกต้องและเหมาะสมตามความเป็นธรรม ก็ให้ ก.พ. มีอำนาจสอบสวนใหม่ หรือสอบสวน เพิ่มเติมในเรื่องนั้นได้ตามความจำเป็น และให้นำมาตรา ๑๑๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่ ก.พ. หรือ อ.ก.พ. วิสามัญแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้สอบสวน ใหม่ หรือสอบสวนเพิ่มเติม หรือส่งประเด็นหรือข้อสำคัญไปเพื่อให้คณะกรรมการสอบสวนที่ผู้บังคับบัญชาได้แต่งตั้งไว้เดิมทำการสอบสวนเพิ่มเติม หรือเพื่อให้หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานในต่างท้องที่ทำการสอบสวนแทนในเรื่องเกี่ยวกับกรณีตามมาตรา ๑๑๔ (๔) หรือมาตรา ๑๑๕ ให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณาตามมาตรา ๑๑๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๒๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งโอนมาจากพนักงานเทศบาล พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือข้าราชการตามมาตรา ๖๑ ผู้ใดมีกรณีที่สมควรให้ออกจากงานหรือออก จากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบพนักงานเทศบาล พนักงานส่วนท้องถิ่นหรือข้าราชการนั้น อยู่ก่อนวันโอนมาบรรจุ ให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นมีอำนาจพิจารณา ดำเนินการตามหมวดนี้ หรือตามมาตรา ๖๗ ได้โดยอนุโลม แต่ถ้าเป็นเรื่องที่อยู่ในระหว่างการ สืบสวนหรือสอบสวนของทางผู้บังคับบัญชาเดิมก่อนวันโอนก็ให้สืบสวนหรือสอบสวนต่อไป จนเสร็จ แล้วส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นพิจารณาดำเนินการต่อไป ตามหมวดนี้ หรือตามมาตรา ๖๗ แล้วแต่กรณีโดยอนุโลมและในกรณีที่จะต้องสั่งให้ออกจาก ราชการ ให้ปรับบทกรณีให้ออกตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบพนักงานเทศบาล พนักงานส่วน ท้องถิ่นหรือข้าราชการนั้นโดยอนุโลม หมวด ๗ การอุทธรณ์ มาตรา ๑๒๔ ผู้ใดถูกสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ มาตรา ๑๒๕ การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือนหรือลดขั้น เงินเดือน ให้อุทธรณ์ได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่งโดยให้อุทธรณ์ดังนี้ (๑) การอุทธรณ์คำสั่งของผู้บังคับบัญชาในราชการบริหารส่วนภูมิภาคที่ต่ำกว่า ผู้ว่าราชการจังหวัด ให้อุทธรณ์ต่อ อ.ก.พ. จังหวัดและให้ อ.ก.พ.จังหวัดเป็นผู้พิจารณาอุทธรณ์ เมื่อ อ.ก.พ.จังหวัดมีมติเป็นประการใด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น (๒) การอุทธรณ์คำสั่งของผู้บังคับบัญชาในราชการบริหารส่วนกลางที่ต่ำกว่า อธิบดี ให้อุทธรณ์ต่อ อ.ก.พ. กรม และให้ อ.ก.พ. กรมเป็นผู้พิจารณาอุทธรณ์ เมื่อ อ.ก.พ. กรมมีมติเป็นประการใด ให้อธิบดีสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น (๓) การอุทธรณ์คำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด หรืออธิบดี ให้อุทธรณ์ต่อ อ.ก.พ. กระทรวงเจ้าสังกัด และให้ อ.ก.พ. กระทรวงเป็นผู้พิจารณา เมื่อ อ.ก.พ. กระทรวงมีมติเป็นประการใด ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น (๔) การอุทธรณ์คำสั่งของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือปลัดกระทรวง หรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีหรือตามมติของ อ.ก.พ. กระทรวง ให้อุทธรณ์ต่อ ก.พ. และให้นำมาตรา ๑๒๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๒๖ การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออกให้อุทธรณ์ต่อ ก.พ. ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง เมื่อ ก.พ. ได้พิจารณาวินิจฉัยแล้ว ให้รายงานนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่เห็นด้วยกับมติของ ก.พ. และ ก.พ. พิจารณาความเห็นของนายกรัฐมนตรีแล้วยังยืนยันตามมติเดิม ให้ ก.พ. รายงานต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาวินิจฉัย การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีสั่งการหรือคณะรัฐมนตรีมีมติตามวรรคหนึ่ง ให้ ผู้อุทธรณ์กลับเข้ารับราชการ หรือให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งของผู้บังคับบัญชาหรือให้ดำเนินการประการใด ให้กระทรวง ทบวง กรมดำเนินการให้เป็นไปตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีหรือมติคณะรัฐมนตรี และเมื่อนายกรัฐมนตรีสั่งการหรือคณะรัฐมนตรีมีมติตามวรรคหนึ่งเป็นประการใดแล้วจะอุทธรณ์ต่อไปอีกมิได้ ในกรณีที่สั่งให้ผู้อุทธรณ์กลับเข้ารับราชการ ให้นำมาตรา ๑๐๗ มาใช้บังคับโดย อนุโลม มาตรา ๑๒๗ ในการพิจารณาอุทธรณ์ ให้ ก.พ. มีอำนาจตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ๑๑๐ และมาตรา ๑๒๒ และในกรณีที่ ก.พ. ตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญเพื่อทำหน้าที่พิจารณาเรื่องการอุทธรณ์แทน ก.พ. ก็ให้ อ.ก.พ. วิสามัญนั้นมีอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๑๐ วรรคสองและวรรคสาม และมาตรา ๑๒๒ และให้นำมาตรา ๑๐๕ มาตรา ๑๑๐ วรรคสี่ และมาตรา ๑๒๒ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๒๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งโอนมาจากพนักงานเทศบาล พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือข้าราชการตามมาตรา ๖๑ ผู้ใดถูกสั่งลงโทษทางวินัยอยู่ก่อนวันโอนมา บรรจุและผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบพนักงานเทศบาล ระเบียบพนักงาน ส่วนท้องถิ่น หรือระเบียบข้าราชการที่โอนมา แต่ยังมิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ตามกฎหมายดังกล่าว ก็ให้ ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๒๕ ได้ แต่ถ้าผู้นั้นได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ พนักงานเทศบาลระเบียบพนักงานส่วนท้องถิ่นหรือระเบียบข้าราชการที่โอนมาไว้แล้วและในวันที่ ผู้นั้นได้โอนมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ยังไม่แล้วเสร็จ ก็ให้ส่งเรื่องให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๑๒๕ เป็นผู้พิจารณาอุทธรณ์ หมวด ๘ การร้องทุกข์ มาตรา ๑๒๙ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตาม พระราชบัญญัตินี้ด้วยเหตุใด ๆ ให้ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ได้ การร้องทุกข์ตามวรรคหนึ่งให้ร้องทุกข์ต่อ ก.พ. ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบ คำสั่ง และให้นำมาตรา ๑๒๖ ตลอดจนหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. และมาตรา ๑๒๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๓๐ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๒๙ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดเห็นว่า ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติต่อตนโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติต่อตนให้ถูกต้องตาม กฎหมาย หรือมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาต่อตนในกรณีตามที่ กำหนดในกฎ ก.พ. ผู้นั้นอาจร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชา อ.ก.พ. จังหวัด อ.ก.พ. กรม อ.ก.พ. กระทรวง หรือ ก.พ. แล้วแต่กรณี ตามที่กำหนดไว้ในกฎ ก.พ. เพื่อขอให้แก้ไขหรือแก้ความคับข้องใจได้ ทั้งนี้ เว้นแต่กรณีที่มีสิทธิอุทธรณ์ตามหมวด ๗ ซึ่งต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ตามที่กำหนดไว้ในหมวดนั้น การร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่กำหนดในกฎ ก.พ. ลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ มาตรา ๑๓๑ ภายใต้บังคับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การกำหนดตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง การบรรจุ การแต่งตั้ง การ เพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ วินัยและการรักษาวินัยการ ดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ของข้าราชการพลเรือน ในพระองค์ ให้เป็นไปตามลักษณะ ๓ เว้นแต่จะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดไว้เป็นพิเศษ ลักษณะ ๕ ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ มาตรา ๑๓๒ ตำแหน่งเอกอัครราชทูต กงสุลใหญ่ กงสุล และตำแหน่งอื่นที่ต้อง ปฏิบัติหน้าที่ในต่างประเทศตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. อาจแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนสามัญหรือข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษก็ได้ เมื่อมีเหตุผลสมควรในทางการเมือง รัฐมนตรีเจ้าสังกัดจะบรรจุบุคคลซึ่งมี คุณสมบัติทั่วไปหรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๓๐ เข้ารับราชการเป็น ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่งเป็นกรณีพิเศษโดย อนุมัติคณะรัฐมนตรีก็ได้ สำหรับตำแหน่งเอกอัครราชทูตและตำแหน่งเทียบเท่าอธิบดี ให้นำความ กราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง ภายใต้บังคับมาตรา ๓๑ ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษผู้ดำรงตำแหน่งใด จะได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด ให้นำมาตรา ๔๓ มาตรา ๗๒ มาตรา ๗๓ มาตรา ๗๔ และหมวด ๔ แห่ง ลักษณะ ๓ มาใช้บังคับแก่ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษโดยอนุโลม ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษจะโอนไปหรือกลับเข้ารับราชการเป็น ข้าราชการพลเรือนประเภทอื่นมิได้ มาตรา ๑๓๓ ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษออกจากราชการเมื่อ (๑) ตาย (๒) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๓) ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัดให้ลาออก (๔) รัฐมนตรีเจ้าสังกัดมีคำสั่งให้ออกโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี ไม่ว่าจะเป็นการ ออกโดยมีความผิดหรือไม่มีความผิดก็ตาม ในกรณีที่เป็นการออกจากราชการเพราะกระทำผิดวินัย ให้เป็นไปตามลักษณะ ๓ โดยอนุโลม (๕) คณะรัฐมนตรีที่อนุมัติให้แต่งตั้งออกจากตำแหน่งทั้งคณะ หรือรัฐมนตรี เจ้าสังกัดออกจากตำแหน่ง (๖) ขาดคุณสมบัติทั่วไปโดยไม่ได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตาม มาตรา ๓๐ การต่อเวลาราชการให้ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษที่ต้องออกจาก ราชการตาม (๒) รับราชการต่อไป จะกระทำมิได้ ให้นำมาตรา ๑๒๐ มาใช้บังคับแก่การออกจากราชการของข้าราชการประจำ ต่างประเทศพิเศษโดยอนุโลม บทเฉพาะกาล มาตรา ๑๓๔ ให้ ก.พ. อ.ก.พ. วิสามัญ และ อ.ก.พ. สามัญ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรง พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือจนกว่าจะได้แต่งตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญ หรืออนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญ แล้วแต่กรณี ตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ไม่เกินหนึ่ง ร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๓๕ ผู้ใดเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ หรือข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการพลเรือน สามัญ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ หรือข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ ตามพระราช บัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี ต่อไป ผู้ใดเป็นข้าราชการพลเรือนวิสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้นั้นเป็น ข้าราชการพลเรือนวิสามัญต่อไป และให้นำมาตรา ๑๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ มาใช้บังคับแก่ผู้นั้น เว้นแต่ข้าราชการพลเรือนวิสามัญผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งที่ ก.พ. พิจารณาเห็นว่าทำหน้าที่อย่างเดียวกับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ หรือข้าราชการ พลเรือนในพระองค์ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้นั้นเป็น ข้าราชการพลเรือนสามัญ หรือข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี โดยให้ได้รับเงินเดือนในอัตราเท่ากับเงินเดือนที่ได้รับอยู่ ทั้งนี้ เฉพาะผู้ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๓๐ (ข) เป็นผู้ได้รับประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาหรือที่กระทรวงศึกษาธิการ เทียบได้ไม่ต่ำกว่าประโยคมัธยมศึกษา และเป็นข้าราชการพลเรือนวิสามัญในตำแหน่งที่ทำหน้าที่ อย่างเดียวกับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญหรือข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ติดต่อกันมา เป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี ผู้ใดเป็นข้าราชการพลเรือนวิสามัญตามวรรคสอง แต่ไม่อยู่ในเกณฑ์ตาม (ข) ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการพลเรือนวิสามัญไปพลางก่อน เมื่อเข้าเกณฑ์ตาม (ข) ก็ให้เป็นข้าราชการ พลเรือนสามัญ หรือข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี โดยให้ได้รับเงินเดือนในอัตราเท่ากับเงินเดือนที่ได้รับอยู่ มาตรา ๑๓๖ ในระหว่างที่บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนตามพระราช บัญญัตินี้ยังไม่มีผลใช้บังคับ ให้ข้าราชการพลเรือนได้รับเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือน ข้าราชการพลเรือน บัญชี ข. ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๑ มาตรา ๑๓๗ ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกา หรือออก กฎ ก.พ. ข้อบังคับ หรือระเบียบ หรือจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง หรือกำหนดกรณีใดเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำพระราชกฤษฎีกากฎ ก.พ. ข้อบังคับ ระเบียบ มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง หรือกรณีที่กำหนดไว้แล้วซึ่งใช้อยู่เดิมมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๓๘ ข้าราชการพลเรือนผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยหรือกรณีที่สมควร ให้ออกจากราชการอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้บังคับบัญชาตามพระราชบัญญัตินี้ มีอำนาจสั่งลงโทษผู้นั้น หรือสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ พลเรือนที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ส่วนการสอบสวน การพิจารณา และการดำเนินการเพื่อลงโทษหรือให้ ออกจากราชการ ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ (๑) กรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งให้สอบสวนโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ใน ขณะนั้นไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และยังสอบสวนไม่เสร็จ ก็ให้สอบสวนตาม กฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะเสร็จ (๒) ในกรณีที่ได้มีการสอบสวนหรือพิจารณาโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ใน ขณะนั้นเสร็จไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้การสอบสวนหรือพิจารณา แล้วแต่กรณีนั้นเป็นอันใช้ได้ (๓) กรณีที่ได้มีการรายงานหรือส่งเรื่อง หรือนำสำนวนเสนอ หรือส่งให้ อ.ก.พ. กระทรวงพิจารณาโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นและ อ.ก.พ. กระทรวงพิจารณาเรื่อง นั้นยังไม่เสร็จ ก็ให้ อ.ก.พ.กระทรวงพิจารณาตามกฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะเสร็จ มาตรา ๑๓๙ ข้าราชการพลเรือนซึ่งโอนมาจากพนักงานเทศบาลพนักงาน ส่วนท้องถิ่นหรือข้าราชการประเภทอื่นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ผู้ใดมีกรณีกระทำผิด วินัยหรือกรณีที่สมควรให้ออกจากงานหรือให้ออกจากราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ พนักงานเทศบาล ระเบียบพนักงานส่วนท้องถิ่น หรือระเบียบข้าราชการนั้นอยู่ก่อนวันที่พระราช บัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้บังคับบัญชาตามพระราชบัญญัตินี้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยแก่ผู้นั้น หรือดำเนินการสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้ ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๑๑๑ และมาตรา ๑๒๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๔๐ ผู้ใดถูกสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ หรือตามมาตรา ๑๓๘ แห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามมาตรา ๑๒๕ หรือมาตรา ๑๒๖ แล้วแต่กรณี มาตรา ๑๔๑ ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๔๖ มาตรา ๕๙ มาตรา ๙๐ มาตรา ๙๖ มาตรา ๙๗ มาตรา ๙๘ มาตรา ๙๙ มาตรา ๑๐๐ หรือมาตรา ๑๒๑ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ หรือตามมาตรา ๑๓๘ แห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ได้ตามมาตรา ๑๒๙ มาตรา ๑๔๒ การใดอยู่ระหว่างดำเนินการตามพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับการดำเนินการต่อไป สำหรับ การนั้น ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๑๔๓ การใดที่เคยดำเนินการได้ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ พลเรือนที่ใช้อยู่ก่อนวันใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ และมิได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ จะ ดำเนินการได้ประการใด ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนดโดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวบางส่วนไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน เช่น ในส่วนที่เกี่ยวกับองค์ประกอบของ ก.พ. และ อ.ก.พ. สามัญ อำนาจหน้าที่ของ ก.พ. และ อ.ก.พ. สามัญ การกำหนดตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือน การบรรจุและแต่งตั้ง การบำเหน็จความชอบ วินัยและการรักษาวินัย การออกจากราชการ การร้องทุกข์ การอุทธรณ์ สมควรแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น นอกจากนี้ สมควรที่จะให้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการเพื่อให้การปฏิบัติราชการของข้าราชการพลเรือนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ปรียนันท์/แก้ไข ๔ / ๓ / ๔๕ A+B(C)
318081
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 (Update ณ วันที่ 31/12/2537)
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นปีที่ ๔๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำ และยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕” มาตรา ๒* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป *[รก.๒๕๓๕/๓๑/๑/๓๑ มีนาคม ๒๕๓๕] มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ (๒) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๙ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๐ (๓) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ (๔) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๑ (๕) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๒๓ (๗) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๑ (๘) ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๓๕ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ บรรดากฎหมาย กฎ ข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน และมิให้นำคำสั่ง หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่ ๓๘/๒๕๑๙ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๙ มาใช้บังคับ แก่ข้าราชการพลเรือน มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “ข้าราชการพลเรือน” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งตาม พระราชบัญญัตินี้ให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือน “ข้าราชการฝ่ายพลเรือน” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้ง ตามกฎหมายให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือน ในกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือน “กระทรวง” หมายความรวมถึงส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวงหรือมีฐานะ เทียบเท่ากระทรวงด้วย “รัฐมนตรีเจ้าสังกัด” หมายความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงรัฐมนตรีว่าการ ทบวงและหมายความรวมถึงนายกรัฐมนตรีในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาสำนักนายกรัฐมนตรี นายก รัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัด กระทรวงหรือทบวงด้วย “ปลัดกระทรวง” หมายความรวมถึงปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและปลัดทบวงด้วย “รองปลัดกระทรวง” หมายความรวมถึงรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและ รองปลัดทบวงด้วย “กรม” หมายความรวมถึงส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมด้วย “อธิบดี” หมายความรวมถึงหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมด้วย “รองอธิบดี” หมายความรวมถึงรองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมด้วย “ผู้ช่วยอธิบดี” หมายความรวมถึงผู้ช่วยหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ด้วย “ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการ ปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี” หมายความว่า ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ซึ่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินบัญญัติให้หัวหน้าส่วนราชการนั้นรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี มาตรา ๕ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ลักษณะ ๑ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ------------ มาตรา ๖ ให้มีคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.” ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและเลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านระบบราชการและการจัดส่วน ราชการ ด้านการพัฒนาองค์การ ด้านการบริหารและการจัดการและด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็น ที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับการสรรหาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน แต่ไม่เกินเจ็ดคน ทั้งนี้ ต้องเป็นผู้ที่ดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า แต่ถ้าจะแต่งตั้งผู้ที่ไม่เคยเป็นข้าราชการหรือเคยเป็นข้าราชการแต่ดำรงตำแหน่งต่ำกว่าอธิบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่าจะดำเนินการเพื่อแต่งตั้งได้ไม่เกินสามคน (๒) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวง หัวหน้าหรือรองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวง หัวหน้าหรือรองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี อธิบดี หรือผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวในกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนห้าคน ซึ่งแต่ละคนสังกัดอยู่ต่างกระทรวง ทบวง หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวง กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง ต้องไม่เป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรรมการพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง และมิได้เป็น กรรมการโดยตำแหน่งอยู่แล้ว กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรง ตำแหน่งตาม (๒) ผู้ใดออกจากราชการพลเรือน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นที่มิใช่ตำแหน่งตาม (๒) หรือโอนไปสังกัดกระทรวง ทบวง หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม และไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงอื่นที่มีกรรมการตาม (๒) สังกัดอยู่แล้ว ให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งกรรมการ มาตรา ๗ กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งได้ คราวละสองปี ถ้าตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนดและยังมีกรรมการดังกล่าวเหลืออยู่อีกไม่ น้อยกว่าห้าคน ให้กรรมการที่เหลือปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ เมื่อตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนดให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการแทน ภายในกำหนดสามสิบวัน เว้นแต่วาระของกรรมการเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่แต่งตั้ง กรรมการแทนก็ได้ ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการแทนนั้น ให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่ง จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้เป็น กรรมการอีกก็ได้ ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่ ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ไปก่อนจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่ มาตรา ๘ ก.พ. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายการบริหาร งานบุคคลของข้าราชการพลเรือน และการจัดระบบราชการพลเรือน (๒) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับมาตรฐานการบริหาร งานบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือน (๓) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือน การจัดและการพัฒนาส่วนราชการและวิธีปฏิบัติราชการของข้าราชการ ฝ่ายพลเรือน (๔) พิจารณากำหนดนโยบายเกี่ยวกับการวางแผนกำลังคนในราชการพลเรือน (๕) ออกกฎ ก.พ. ข้อบังคับ หรือระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎ ก.พ. เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ (๖) ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ มติของ ก.พ. ตามข้อนี้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วให้ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย (๗) กำกับ ดูแล ตรวจสอบ แนะนำและชี้แจงเพื่อให้กระทรวงทบวง กรม ปฏิบัติ การตามพระราชบัญญัตินี้ ในการนี้ ให้มีอำนาจเรียกเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากหน่วย ราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ ห้างหุ้นส่วนบริษัท หรือบุคคลใด ๆ หรือให้ผู้แทนหน่วย ราชการรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ ห้างหุ้นส่วนบริษัท ข้าราชการหรือบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำหรือชี้แจงข้อเท็จจริง และให้มีอำนาจออกระเบียบให้กระทรวง ทบวง กรมรายงานเกี่ยวกับการสอบ การบรรจุ การแต่งตั้งการเลื่อนขั้นเงินเดือน การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ ตลอดจนการรายงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่งและของส่วนราชการ การเปลี่ยนแปลงการใช้ตำแหน่งทะเบียนประวัติของข้าราชการพลเรือน และการปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ไปยัง ก.พ. (๘) รายงานนายกรัฐมนตรีในกรณีที่ปรากฏว่ากระทรวง ทบวง กรม ไม่ปฏิบัติ การตามพระราชบัญญัตินี้ หรือปฏิบัติการโดยไม่เหมาะสมเพื่อนายกรัฐมนตรีจะได้พิจารณาและ สั่งการต่อไป (๙) รายงานคณะรัฐมนตรีในกรณีที่ค่าครองชีพเปลี่ยนแปลงไปมากหรือการ จัดสวัสดิการหรือประโยชน์เกื้อกูลสำหรับข้าราชการยังไม่เหมาะสมเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาใน อันที่จะปรับปรุงเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งเงินเพิ่มค่าครองชีพ สวัสดิการ หรือประโยชน์เกื้อกูล สำหรับข้าราชการพลเรือนให้เหมาะสม (๑๐) กำหนดนโยบายและออกระเบียบเกี่ยวกับทุนของรัฐบาลเพื่อสนองความ ต้องการกำลังคนของกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือน และทุนเล่าเรียนหลวง ตลอดจนการจัดสรรผู้รับทุนของรัฐบาลที่สำเร็จการศึกษาแล้วเข้ารับราชการในส่วนราชการต่าง ๆ (๑๑) ออกข้อบังคับหรือระเบียบเพื่อควบคุมดูแลข้าราชการฝ่ายพลเรือนที่ศึกษา หรือฝึกอบรมในต่างประเทศ และเพื่อดูแลจัดการการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศ รวมทั้งเพื่อควบคุมการศึกษา ความประพฤติ และการใช้จ่าย ตลอดจนการเก็บเงินชดเชยค่าใช้จ่ายในการดูแลจัดการการศึกษา การกำหนดวินัย และการลงโทษสำหรับนักเรียนดังกล่าว ทั้งนี้ ให้ถือว่าเงินชดเชยค่าใช้จ่ายในการดูแลจัดการการศึกษาเป็นเงินรายรับของส่วนราชการที่เป็นสถานอำนวยบริการอันเป็นสาธารณประโยชน์ตามความหมายในกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ (๑๒) พิจารณารับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือ คุณวุฒิอย่างอื่นเพื่อประโยชน์ในการบรรจุและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน และกำหนดเงินเดือนที่ควรได้รับและระดับตำแหน่งที่ควรแต่งตั้ง (๑๓) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ (๑๔) พิจารณาการแก้ไขทะเบียนประวัติเกี่ยวกับวันเดือนปีเกิดและการควบคุม เกษียณอายุของข้าราชการพลเรือน (๑๕) ปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้ในมาตราอื่นแห่งพระราชบัญญัติ นี้และกฎหมายอื่น มาตรา ๙ เมื่อนายกรัฐมนตรีได้รับรายงานของ ก.พ. ตามมาตรา ๘ (๘) ให้ นายกรัฐมนตรีพิจารณาสั่งให้กระทรวง ทบวง กรมปฏิบัติการให้ถูกต้องหรือเหมาะสมต่อไป และให้กระทรวง ทบวง กรม ปฏิบัติให้เป็นไปตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่เห็นด้วยกับมติของ ก.พ. ที่รายงานตามมาตรา ๘ (๘) ให้ส่งความเห็นของนายกรัฐมนตรีให้ ก.พ. พิจารณาและถ้า ก.พ. พิจารณาแล้วยังยืนยันตามมติ เดิม ให้ ก.พ. รายงานต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาวินิจฉัยและเมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติประการใด ให้ ก.พ. และกระทรวง ทบวง กรม ปฏิบัติให้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรี มาตรา ๑๐ การประชุม ก.พ. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม การประชุม ก.พ. ถ้าาประธานไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธาน ในการประชุม ก.พ. ถ้ามีการพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับตัวกรรมการผู้ใดโดยเฉพาะ ผู้นั้นไม่มีสิทธิเข้าประชุม ภายใต้บังคับมาตรา ๓๐ การวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือเสียงข้างมากถ้ามีคะแนนเสียง เท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๑๑ ก.พ. มีอำนาจตั้งคณะอนุกรรมการวิสามัญ เรียกโดยย่อว่า "อ.ก.พ. วิสามัญ" เพื่อทำการใด ๆ แทนได้ การตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญเพื่อทำหน้าที่พิจารณาเรื่องการดำเนินการทางวินัย การ ออกจากราชการ การอุทธรณ์หรือการร้องทุกข์ ให้ตั้งจากกรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งอย่างน้อยสองคนและข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนอนุกรรมการทั้งหมด อนุกรรมการซึ่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือน ถ้าออกจากราชการพลเรือน ให้พ้นจากตำแหน่ง ในกรณีที่กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง พ้นจากตำแหน่งตาม วาระ ให้ อ.ก.พ. วิสามัญที่ได้รับแต่งตั้งจาก ก.พ. คณะนั้นพ้นจากตำแหน่งไปด้วย ในระหว่างที่ยัง มิได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่ ให้ อ.ก.พ. วิสามัญปฏิบัติหน้าที่ไปก่อนจน กว่าจะได้มีการแต่งตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญใหม่ มาตรา ๑๒ ให้มีสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนเรียกโดยย่อว่า “สำนักงาน ก.พ.” โดยมีเลขาธิการ ก.พ. เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและบริหารราชการของสำนักงาน ก.พ. ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี สำนักงาน ก.พ. มีหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานในหน้าที่ของ ก.พ. และดำเนินการ ตามที่ ก.พ. มอบหมาย (๒) วิเคราะห์วิจัยเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและการจัดระบบราชการ พลเรือน (๓) ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับมาตรฐานการบริหารงานบุคคลของข้าราชการ ฝ่ายพลเรือน (๔) ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ฝ่ายพลเรือน การจัดและการพัฒนาส่วนราชการ และวิธีปฏิบัติราชการของข้าราชการฝ่ายพลเรือน (๕) พัฒนาระบบข้อมูลและจัดทำแผนกำลังคนในราชการพลเรือน (๖) ส่งเสริม ประสานงาน เผยแพร่ ให้คำปรึกษาแนะนำ และดำเนินการเกี่ยวกับ การจัดสวัสดิการสำหรับข้าราชการพลเรือน (๗) ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาข้าราชการพลเรือน (๘) ดำเนินการเกี่ยวกับทุนของรัฐบาลเพื่อสนองความต้องการกำลังคนของ กระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือน และทุนเล่าเรียนหลวงตลอดจนการจัดสรรผู้รับทุนของรัฐบาลที่ สำเร็จการศึกษาแล้วเข้ารับราชการในส่วนราชการต่าง ๆ ตามนโยบายและระเบียบที่ ก.พ. กำหนด (๙) ดำเนินการเกี่ยวกับการดูแลข้าราชการฝ่ายพลเรือนที่ศึกษาหรือฝึกอบรมใน ต่างประเทศ และการดูแลจัดการการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศ (๑๐) ดำเนินการเกี่ยวกับการรับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญาประกาศนียบัตร วิชาชีพ หรือคุณวุฒิอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน และการกำหนดเงินเดือนที่ควรได้รับและระดับตำแหน่งที่ควรแต่งตั้ง (๑๑) ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาทะเบียนประวัติและการควบคุมเกษียณอายุ ของข้าราชการพลเรือน (๑๒) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในราชการพลเรือน เสนอต่อ ก.พ. มาตรา ๑๓ ให้มีคณะอนุกรรมการสามัญเรียกโดยย่อว่า อ.ก.พ. สามัญดังนี้ (๑) คณะอนุกรรมการสามัญประจำกระทรวง ทบวง หรือส่วนราชการที่มีฐานะ เป็นกระทรวง เรียกโดยย่อว่า อ.ก.พ. กระทรวง ทบวง หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวงโดย ออกนามกระทรวง ทบวง หรือส่วนราชการนั้น ๆ (๒) คณะอนุกรรมการสามัญประจำกรม หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม เรียกโดยย่อว่า อ.ก.พ. กรม หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมโดยออกนามกรมหรือส่วนราชการ นั้น ๆ (๓) คณะอนุกรรมการสามัญประจำจังหวัด เรียกโดยย่อว่า อ.ก.พ. จังหวัด โดย ออกนามจังหวัดนั้น ๆ มาตรา ๑๔ อ.ก.พ. กระทรวง ประกอบด้วยรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นประธาน ปลัด กระทรวงเป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. ซึ่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนในสำนักงาน ก.พ. หนึ่งคน เป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่ง และอนุกรรมการซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการและ ด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับการสรรหาตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนสามคน ทั้งนี้ จะต้องเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการซึ่งดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า (๒) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง อธิบดหรือผู้ดำรง ตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไปในกระทรวงนั้น ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่ง ดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนห้าคน ในกรณีที่กฎหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการประเภทอื่นบัญญัติให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนไปใช้บังคับ แก่ข้าราชการประเภทใด คำว่า "ข้าราชการพลเรือน" ให้หมายถึงข้าราชการประเภทนั้น ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน อนุกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งและได้รับเลือก ตาม (๒) ถ้าออกจากราชการพลเรือน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นที่มิใช่ตำแหน่งตาม (๒) หรือโอนไปรับราชการนอกกระทรวงเดิม ให้พ้นจากตำแหน่งอนุกรรมการ มาตรา ๑๕ อ.ก.พ. กระทรวง มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณากำหนดนโยบายและระบบการบริหารงานบุคคลตลอดจนระเบียบ วิธีปฏิบัติราชการในกระทรวง (๒) พิจารณาการกำหนดและการเกลี่ยอัตรากำลังระหว่างส่วนราชการต่าง ๆ ภายในกระทรวง (๓) พิจารณาปรับปรุงโครงสร้าง การบริหารงาน การจัดและการพัฒนาส่วน ราชการในกระทรวง (๔) พิจารณากำหนดนโยบาย กำกับดูแล และส่งเสริมเกี่ยวกับการพัฒนา ข้าราชการภายในกระทรวง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดี คุณธรรมและจริยธรรม อันจะทำให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ (๕) พิจารณาเกี่ยวกับเรื่องการดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (๖) พิจารณาให้ความเห็นแก่รัฐมนตรีเจ้าสังกัดตามที่รัฐมนตรีเจ้าสังกัดปรึกษา (๗) ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ และช่วย ก.พ. ปฏิบัติการให้เป็นไป ตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่ ก.พ. มอบหมาย (๘) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของ อ.ก.พ. กระทรวง เสนอต่อ ก.พ. มาตรา ๑๖ อ.ก.พ. สำนักนายกรัฐมนตรีประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีหรือ รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. ซึ่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนในสำนักงาน ก.พ.หนึ่งคนเป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่ง และอนุกรรมการซึ่งประธาน อ.ก.พ.แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และ ด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับการสรรหาตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนสามคน ทั้งนี้ จะต้องเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการซึ่งดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า (๒) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีอธิบดี หรือ ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไปในสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนห้าคน ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน และให้ อ.ก.พ. นี้ทำหน้าที่อ.ก.พ.กระทรวง อนุกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งและได้รับเลือก ตาม (๒) ถ้าออกจากราชการพลเรือน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นที่มิใช่ตำแหน่งตาม (๒) หรือโอนไปรับราชการนอกสำนักนายกรัฐมนตรี ให้พ้นจากตำแหน่งอนุกรรมการ มาตรา ๑๗ อ.ก.พ. ทบวง ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการทบวงเป็นประธาน ปลัดทบวงเป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. ซึ่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนในสำนักงาน ก.พ. หนึ่งคน เป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่ง และอนุกรรมการซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และ ด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับการสรรหาตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนสามคน ทั้งนี้ จะต้องเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการซึ่งดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า (๒) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งรองปลัดทบวง อธิบดีหรือผู้ดำรง ตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไปในทบวงนั้น ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่ง ดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนห้าคน ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน และให้ อ.ก.พ. นี้ทำหน้าที่ อ.ก.พ.กระทรวง อนุกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งและได้รับเลือกตาม (๒) ถ้าออกจากราชการ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นที่มิใช่ตำแหน่งตาม (๒) หรือโอนไปรับราชการนอกทบวงเดิม ให้พ้นจากตำแหน่งอนุกรรมการ มาตรา ๑๘ ให้ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวง แต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วน ราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี มี อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวงประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีในฐานะรัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือรองนายกรัฐมนตรี หรือ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน หัวหน้าส่วนราชการ นั้นเป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. ซึ่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนในสำนักงาน ก.พ. หนึ่งคน เป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่ง และอนุกรรมการซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และ ด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับการสรรหาตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนสามคน ทั้งนี้ จะต้องเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการซึ่งดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ ๙ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า (๒) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ดำรง ตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไปในส่วนราชการนั้น ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือน ผู้ดำรงตำแหน่ง ดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนห้าคน ในกรณีที่กฎหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการประเภทอื่นบัญญัติให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนไปใช้บังคับ แก่ข้าราชการประเภทใด คำว่า "ข้าราชการพลเรือน" ให้หมายถึงข้าราชการประเภทนั้น ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน อนุกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งและได้รับเลือก ตาม (๒) ถ้าออกจากราชการพลเรือน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นที่มิใช่ตำแหน่งตาม (๒) หรือโอนไปรับราชการนอกส่วนราชการเดิม ให้พ้นจากตำแหน่งอนุกรรมการ มาตรา ๑๙ ให้ราชบัณฑิตยสถาน มี อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง ประกอบด้วยรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นประธาน นายกราชบัณฑิตยสถานเป็นรองประธาน เลขาธิการ ราชบัณฑิตยสถาน และผู้แทน ก.พ. ซึ่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนในสำนักงาน ก.พ. หนึ่งคน เป็น อนุกรรมการโดยตำแหน่ง และอนุกรรมการซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และ ด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับการสรรหาตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนสามคน ทั้งนี้ จะต้องเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการซึ่งดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ ๙ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า (๒) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ ๙ ในราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ในกฎ ก.พ. จำนวนห้าคน ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน อนุกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งและได้รับเลือก ตาม (๒) ถ้าออกจากราชการพลเรือน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นที่มิใช่ตำแหน่งตาม (๒) หรือโอนไปรับราชการนอกราชบัณฑิตยสถาน ให้พ้นจากตำแหน่งอนุกรรมการ มาตรา ๒๐ ให้นำความในมาตรา ๑๕ มาใช้บังคับแก่ อ.ก.พ. สำนักนายก รัฐมนตรีตามมาตรา ๑๖ อ.ก.พ. ทบวงตามมาตรา ๑๗ อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง ตาม มาตรา ๑๘ และมาตรา ๑๙ โดยอนุโลม มาตรา ๒๑ อ.ก.พ. กรมและ อ.ก.พ. ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ประกอบ ด้วยอธิบดีเป็นประธาน รองอธิบดีที่อธิบดีมอบหมายหนึ่งคนเป็นรองประธานและอนุกรรมการ ซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการและ ด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับการสรรหาตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนสามคน ทั้งนี้ จะต้องเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการซึ่งดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกองหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า (๒) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีที่มิได้รับมอบหมายให้เป็น รองประธาน ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไป ผู้ช่วยอธิบดี ผู้อำนวยการกอง หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่ากองหรือเลขานุการกรมในกรมนั้น ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรง ตำแหน่งดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนหกคน ในกรณีที่กฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทอื่นบัญญัติให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนไปใช้ บังคับแก่ข้าราชการประเภทใด คำว่า "ข้าราชการพลเรือน" ให้หมายถึงข้าราชการประเภทนั้น สำหรับสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง และสำนักงานเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการทบวง ให้ อ.ก.พ. สำนักงานปลัดกระทรวง หรือ อ.ก.พ. สำนักงานปลัดทบวง แล้วแต่กรณี ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กรม ส่วนราชบัณฑิตยสถานให้ อ.ก.พ. ตามมาตรา ๑๙ ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กรม ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน อนุกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งและได้รับเลือก ตาม (๒) ถ้าออกจากราชการพลเรือน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นที่มิใช่ตำแหน่งตาม (๒) หรือโอนไปรับราชการนอกกรมเดิม ให้พ้นจากตำแหน่งอนุกรรมการ มาตรา ๒๒ อ.ก.พ. กรมและ อ.ก.พ. ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมมีอำนาจ หน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณากำหนดนโยบายและระบบการบริหารงานบุคคลตลอดจนระเบียบ วิธีการปฏิบัติราชการในกรม (๒) พิจารณาการกำหนดและการเกลี่ยอัตรากำลังระหว่างส่วนราชการต่าง ๆ ภายในกรม (๓) พิจารณาปรับปรุงโครงสร้าง การบริหารงาน การจัดและการพัฒนาส่วน ราชการในกรม (๔) พิจารณากำหนดนโยบาย กำกับดูแล และส่งเสริมเกี่ยวกับการพัฒนา ข้าราชการภายในกรม เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดีคุณธรรมและจริยธรรม อันจะทำให้ ปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ (๕) พิจารณาเกี่ยวกับเรื่องการดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การ อุทธรณ์ และการร้องทุกข์ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (๖) พิจารณาให้ความเห็นแก่อธิบดีตามที่อธิบดีปรึกษา (๗) ปฏิบัติการตามที่ อ.ก.พ. กระทรวงมอบหมาย (๘) ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ และช่วย ก.พ. ปฏิบัติการให้เป็นไป ตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่ ก.พ. มอบหมาย (๙) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของ อ.ก.พ. กรม เสนอ ต่อกระทรวงเจ้าสังกัด และ ก.พ. มาตรา ๒๓ อ.ก.พ. จังหวัด ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายหนึ่งคนเป็นรองประธาน และอนุกรรมการซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และ ด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับการสรรหาตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนสามคน ทั้งนี้ จะต้องเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการซึ่งดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกองหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า (๒) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดที่มิได้รับ มอบหมายให้เป็นรองประธาน ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด หรือหัวหน้าส่วนราชการ ประจำจังหวัดที่กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ แต่งตั้งไปประจำจังหวัดนั้น ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนหกคน ซึ่งแต่ละคนสังกัดอยู่ต่างกระทรวง ทบวง หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวง ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน อนุกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งและได้รับเลือก ตาม (๒) ผู้ใดออกจากราชการพลเรือน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นที่มิใช่ตำแหน่งตาม (๒) ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในจังหวัดอื่น หรือโอนไปสังกัดกระทรวง ทบวง หรือส่วนราชการที่มี ฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงอื่นที่มีอนุกรรมการตาม (๒) สังกัดอยู่แล้ว ให้ผู้นั้น พ้นจากตำแหน่งอนุกรรมการ มาตรา ๒๔ อ.ก.พ. จังหวัด มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณากำหนดนโยบายและระบบการบริหารงานบุคคลตลอดจนระเบียบ วิธีปฏิบัติราชการในจังหวัด (๒) พิจารณากำหนดนโยบาย และประสานการพัฒนาข้าราชการในจังหวัดให้ สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวง ทบวง กรม ตลอดจนกำกับดูแลและส่งเสริมเกี่ยวกับการพัฒนาข้าราชการในจังหวัด เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดี คุณธรรมและจริยธรรม อันจะทำให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ (๓) พิจารณาเกี่ยวกับเรื่องการดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (๔) พิจารณาให้ความเห็นแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัด ปรึกษา (๕) ปฏิบัติการตามที่ อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. ทบวง หรือ อ.ก.พ.กรม มอบหมาย (๖) ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ และช่วย ก.พ. ปฏิบัติการให้เป็นไป ตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่ ก.พ. มอบหมาย (๗) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของ อ.ก.พ. จังหวัด เสนอต่อกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และ ก.พ. มาตรา ๒๕ อนุกรรมการตามมาตรา ๑๔ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๖ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๗ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๘ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๙ (๑) และ (๒) มาตรา ๒๑ (๑) และ (๒) และมาตรา ๒๓ (๑) และ (๒) ให้อยู่ในตำแหน่งได้คราวละสองปี ถ้าตำแหน่งอนุกรรมการว่างลงก่อนกำหนดและยังมีอนุกรรมการเหลืออยู่อีกไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของอนุกรรมการตามมาตรา ๑๔ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๖ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๗ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๘ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๙ (๑) และ (๒) มาตรา ๒๑ (๑) และ (๒) หรือมาตรา ๒๓ (๑) และ (๒) แล้วแต่กรณี รวมกัน ให้อนุกรรมการที่เหลือปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ เมื่อตำแหน่งอนุกรรมการว่างลงก่อนกำหนดให้ดำเนินการแต่งตั้งอนุกรรมการ แทนภายในกำหนดสามสิบวัน เว้นแต่วาระของอนุกรรมการเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่ แต่งตั้งอนุกรรมการแทนก็ได้ ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการแทนนั้นให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียง เท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน อนุกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่ง จะแต่งตั้งให้เป็นอนุกรรมการอีกก็ได้ ในกรณีที่อนุกรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้แต่งตั้งอนุกรรมการ ใหม่ให้อนุกรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ไปก่อนจนกว่าจะได้แต่งตั้งอนุกรรมการใหม่ มาตรา ๒๖ กระทรวงหรือทบวงใดมีเหตุพิเศษ ก.พ. จะอนุมัติให้มีแต่ อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. ทบวง แล้วแต่กรณีก็ได้ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. ทบวง ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กรมด้วย มาตรา ๒๗ กระทรวง ทบวง กรมใดมีเหตุพิเศษ ก.พ. จะกำหนดจำนวน อนุกรรมการตามมาตรา ๑๔ (๒) มาตรา ๑๖ (๒) มาตรา ๑๗ (๒) มาตรา ๑๘ (๒) มาตรา ๑๙ (๒) มาตรา ๒๑ (๒) หรือมาตรา ๒๓ (๒) แล้วแต่กรณี ให้น้อยกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ในมาตรานั้น ๆ ก็ได้ มาตรา ๒๘ ให้นำมาตรา ๑๐ มาใช้บังคับแก่การประชุมของ อ.ก.พ. วิสามัญ และ อ.ก.พ. สามัญ โดยอนุโลม ลักษณะ ๒ บททั่วไป มาตรา ๒๙ ข้าราชการพลเรือนมี ๓ ประเภท (๑) ข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับ เงินเดือนในอัตราสามัญ และได้รับแต่งตั้งตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะ ๓ (๒) ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่งในพระองค์พระมหากษัตริย์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา (๓) ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งได้รับ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในต่างประเทศในกรณีพิเศษโดยเหตุผลทางการเมืองตามที่บัญญัติไว้ใน ลักษณะ ๕ มาตรา ๓๐ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนต้องมีคุณสมบัติทั่วไป ดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี (๓) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธิ์ใจ (๔) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง (๕) ไม่เป็นผู้มีกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. (๖) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งให้พักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการ ไว้ก่อนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือตามกฎหมายอื่น (๗) ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม (๘) ไม่เป็นกรรมการพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (๙) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย (๑๐) ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะ กระทำความผิดทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิด ลหุโทษ (๑๑) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ หรือ หน่วยงานอื่นของรัฐ (๑๒) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออก เพราะกระทำผิดวินัยตาม กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือตามกฎหมายอื่น (๑๓) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก เพราะกระทำผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือตามกฎหมายอื่น (๑๔) ไม่เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนซึ่งขาดคุณสมบัติตาม (๗) (๙) (๑๐) หรือ (๑๔) ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ ส่วนผู้ที่ขาดคุณสมบัติตาม (๑๑) หรือ (๑๒) ถ้าผู้นั้นได้ออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้วหรือผู้ที่ขาดคุณสมบัติตาม (๑๓) ถ้าผู้นั้นได้ออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว และมิใช่เป็นกรณีออกจากงานหรือออกจากราชการเพราะกระทำผิดในกรณีทุจริตต่อหน้าที่ ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ มติของ ก.พ. ในการประชุมปรึกษายกเว้นเช่นนี้ต้องได้คะแนนเสียงสี่ในห้าของจำนวนกรรมการในที่ประชุม การลงมติให้กระทำโดยลับ การขอยกเว้นและการพิจารณายกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติทั่วไปให้เป็นไป ตามระเบียบที่ ก.พ. วางไว้ ผู้ที่เป็นข้าราชการพลเรือนต้องมีคุณสมบัติทั่วไปตามวรรคหนึ่งตลอดเวลาที่รับ ราชการ เว้นแต่คุณสมบัติตาม (๖) หรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามวรรคสอง มาตรา ๓๑ การให้ข้าราชการพลเรือนได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับข้าราชการพลเรือนแต่ละประเภท อัตราเงินเดือนและอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือนให้เป็นไปตาม บัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ภายใต้บังคับมาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๕ ให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการ พลเรือน หมายเลข ๑ และบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือน หมายเลข ๑ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๓๕ เป็นต้นไปและให้เปลี่ยนไปใช้บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน หมายเลข ๒ และบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือน หมายเลข ๒ บัญชี อัตราเงิน เดือนข้าราชการพลเรือน หมายเลข ๓ และบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือน หมายเลข ๓ บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน หมายเลข ๔ และบัญชีอัตราเงินประจำ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือน หมายเลข ๔ หรือบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนหมายเลข ๕ ตามความเหมาะสม โดยเปลี่ยนไปใช้บัญชีอัตราเงินเดือนและบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งใน ลำดับถัดไปลำดับใดก็ได้ตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนให้เข้าอันดับและขั้นเงินเดือนตาม บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน หมายเลข ๑ และการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการ พลเรือนให้เข้าอันดับและขั้นเงินเดือนของตำแหน่งประเภททั่วไป ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ และตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือบริหารระดับกลาง ตามบัญชีอัตรา เงินเดือนข้าราชการพลเรือน หมายเลข ๕ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรี กำหนด ในกรณีมีการเปลี่ยนการใช้บัญชีอัตราเงินเดือนตามวรรคสาม หรือมีการ ปรับอัตราเงินเดือนให้เข้าอันดับและขั้นเงินเดือนตามวรรคสี่ ให้มีผลเป็นการแก้ไขขั้นเงินเดือน ข้าราชการพลเรือนที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา กฎ ก.พ. ข้อบังคับ ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี และมติ ก.พ. ซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนตามไปด้วย การจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งให้แก่ข้าราชการพลเรือนให้เป็นไปตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการนั้น เงินประจำตำแหน่งตามมาตรานี้ไม่ถือเป็นเงินเดือนเพื่อเป็นเกณฑ์ใน การคำนวณบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา ๓๒ เพื่อประโยชน์ในการออมทรัพย์ของข้าราชการพลเรือน คณะ รัฐมนตรีจะวางระเบียบและวิธีการให้กระทรวงการคลังหักเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนไว้เป็น เงินสะสมก็ได้ โดยคิดดอกเบี้ยจากเงินสะสมนั้นให้ในอัตราไม่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทประจำของธนาคารพาณิชย์ เงินสะสมและดอกเบี้ยนี้ให้จ่ายคืนหรือให้กู้ยืมเพื่อดำเนินการตามโครงการ สวัสดิการสำหรับข้าราชการพลเรือนตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๓๓ ข้าราชการพลเรือนอาจได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่ประจำอยู่ใน ต่างประเทศ หรือตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตามระเบียบที่ ก.พ. และกระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๓๔ ข้าราชการพลเรือนอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะ เศรษฐกิจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๓๕ วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการ ประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการพลเรือน ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๓๖ เครื่องแบบของข้าราชการพลเรือนและระเบียบการแต่งเครื่องแบบ ให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น มาตรา ๓๗ บำเหน็จบำนาญข้าราชการพลเรือนให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย การนั้น ลักษณะ ๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญ หมวด ๑ การกำหนดตำแหน่ง และการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง มาตรา ๓๘ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมีชื่อในการบริหารงานตามที่ กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และอาจมีตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานตามที่กระทรวง ทบวง กรม ทำความตกลงกับ ก.พ. อีกก็ได้ มาตรา ๓๙ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมี ๓ ประเภท (๑) ตำแหน่งประเภททั่วไป (๒) ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ตามที่กำหนดใน พระราชกฤษฎีกา (๓) ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือบริหารระดับกลาง ตามที่กำหนด ในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๔๐ ระดับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมี ๑๑ ระดับ คือระดับ ๑ ระดับ ๒ ระดับ ๓ ระดับ ๔ ระดับ ๕ ระดับ ๖ ระดับ ๗ ระดับ ๘ ระดับ ๙ ระดับ ๑๐ และระดับ ๑๑ โดยตำแหน่งระดับ ๑ เป็นระดับต่ำสุดเรียงสูงขึ้นไป เป็นลำดับตามความยากและคุณภาพของ งานจนถึงตำแหน่งระดับ ๑๑ เป็นระดับสูงสุด ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญจะมีตำแหน่งใด ระดับใด อยู่ในส่วนราชการ ใด จำนวนเท่าใด ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด ทั้งนี้ ก.พ. จะมอบหมายให้องค์กรหรือส่วนราชการใดเป็นผู้กำหนดแทนตามหลักเกณฑ์มาตรฐานและวิธีการที่ ก.พ. กำหนดก็ได้ การกำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งใดเป็นตำแหน่งระดับใด ให้ประเมินความยากและคุณภาพของงานในตำแหน่งนั้นแล้วปรับเทียบกับบรรทัดฐานในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.พ. จัดทำไว้ตามมาตรา ๔๒ การปรับตำแหน่งเทียบกับบรรทัดฐานในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้จัดตำแหน่งที่มีลักษณะงานอย่างเดียวกันเข้าประเภทและสายงานเดียวกัน และจัดตำแหน่งในสายงานเดียวกัน ที่มีความยากและคุณภาพของงานอยู่ในระดับเดียวกันโดยประมาณเข้ากลุ่มตำแหน่งเดียวกันและระดับเดียวกัน ในกรณีที่ส่วนราชการใดเห็นว่า ก.พ. กำหนดจำนวนตำแหน่งของข้าราชการ พลเรือนสามัญในส่วนราชการนั้นไม่เหมาะสม ส่วนราชการนั้นจะเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อ พิจารณาก็ได้ ถ้าคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรแก้ไขการกำหนดจำนวนตำแหน่งนั้น ให้ส่งเรื่องให้ ก.พ. พิจารณาทบทวนใหม่ มาตรา ๔๑ เมื่อ ก.พ. กำหนดให้มีตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่ง ใด ระดับใด ในส่วนราชการใด จำนวนเท่าใด ตามมาตรา ๔๐ แล้วให้สำนักงาน ก.พ. ประสานกับ สำนักงบประมาณเพื่อจัดสรรเงินงบประมาณในแต่ละปี สำหรับตั้งเป็นอัตราเงินเดือนของตำแหน่ง ดังกล่าวให้สอดคล้องกัน มาตรา ๔๒ ให้ ก.พ. จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งไว้เป็นบรรทัดฐานในการ กำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญทุกตำแหน่งโดยจำแนกตำแหน่งเป็นประเภทและ สายงานตามลักษณะงาน และจัดตำแหน่งในประเภทเดียวกันและสายงานเดียวกันที่คุณภาพของงานอยู่ในระดับเดียวกันโดยประมาณเป็นกลุ่มเดียวกันและระดับเดียวกัน ทั้งนี้โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) ตำแหน่งระดับ ๑ ได้แก่ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับต้นมีลักษณะงาน ที่ไม่ยาก ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ ตรวจสอบ หรือสอนงานอย่างใกล้ชิด หรือปฏิบัติงานตาม คำสั่ง แบบอย่าง หรือแนวทางปฏิบัติที่มีอยู่อย่างแน่ชัด ละเอียดถี่ถ้วนซึ่งปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถระดับพื้นฐานขั้นต้น (๒) ตำแหน่งระดับ ๒ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับต้น มีลักษณะงานที่ค่อนข้างยาก ปฏิบัติ งานภายใต้การกำกับ ตรวจสอบ หรือสอนงานเป็นระยะหรือปฏิบัติงานตามคำสั่ง แบบอย่าง หรือ แนวทางปฏิบัติที่มีอยู่อย่างกว้าง ๆ ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ความสามารถระดับพื้นฐาน ขั้นสูง หรือ (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ มีลักษณะงานที่ค่อนข้างยาก ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ ตรวจสอบ หรือสอนงานเป็นระยะ หรือปฏิบัติงานตามคำสั่ง แบบอย่างหรือแนวทางปฏิบัติที่มีอยู่อย่างกว้าง ๆ ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้ได้รับการอบรมหรือมีประสบการณ์การปฏิบัติงานในงานที่ไม่ยากมาแล้ว (๓) ตำแหน่งระดับ ๓ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับต้น มีลักษณะงานที่ยากพอสมควร ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบบ้าง หรือปฏิบัติงานตามคำสั่ง แบบอย่างหรือ แนวทางปฏิบัติที่มีอยู่บ้าง ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาที่ ก.พ. รับรอง ให้บรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งระดับนี้ หรือ (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ มีลักษณะงานที่ยากพอ สมควร ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ ตรวจสอบ หรือแนะนำบ้างหรือปฏิบัติงานตามคำสั่ง แบบอย่าง หรือแนวทางปฏิบัติที่มีอยู่บ้าง ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้ได้รับการอบรมหรือมี ประสบการณ์การปฏิบัติงานในงานที่ค่อนข้างยากมาแล้ว (๔) ตำแหน่งระดับ ๔ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับต้น มีลักษณะงานที่ยากปฏิบัติงาน ภายใต้การกำกับ ตรวจสอบ หรือแนะนำเฉพาะในบางกรณีที่จำเป็นซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดย ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาที่ ก.พ. รับรองให้บรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งระดับนี้ (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ มีลักษณะงานที่ยาก ปฏิบัติ งานภายใต้การกำกับ ตรวจสอบ หรือแนะนำเฉพาะในบางกรณีที่จำเป็นในการปฏิบัติงานจำเป็น ต้องแก้ปัญหาค่อนข้างบ่อย ต้องประยุกต์ประสบการณ์และความชำนาญงาน เพื่อปรับวิธีการและ แนวดำเนินการให้เหมาะสมกับสถานการณ์ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้ได้รับการอบรมหรือมี ประสบการณ์การปฏิบัติงานในงานที่ยากพอสมควรมาแล้ว หรือ (ค) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้าหน่วยงานระดับต้นในงานสนับสนุนมีลักษณะงาน ต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และควบคุมผู้ปฏิบัติงานจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นงานที่มีหน้าที่ความ รับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานสูงพอสมควร (๕) ตำแหน่งระดับ ๕ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานซึ่งมีลักษณะงานที่ค่อนข้างยากมาก ปฏิบัติงาน โดยไม่จำเป็นต้องมีการกำกับ ตรวจสอบ หรือแนะนำซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้สำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาที่ ก.พ. รับรองให้บรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งระดับนี้ (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ มีลักษณะงานที่ค่อนข้าง ยากมาก ปฏิบัติงานโดยไม่จำเป็นต้องมีการกำกับ ตรวจสอบหรือแนะนำ ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดย ผู้ได้รับการอบรมหรือมีประสบการณ์การปฏิบัติงานในงานที่ยากมาแล้ว หรือ (ค) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้าหน่วยงานในงานเทคนิค งานสนับสนุน งานช่างฝีมือ หรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ มีลักษณะงานต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และควบคุม ผู้ปฏิบัติงานจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานสูง (๖) ตำแหน่งระดับ ๖ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ มีลักษณะงานที่ยากมาก ปฏิบัติงานโดยจำเป็นต้องมีการตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในงานที่รับผิดชอบค่อนข้างมาก ซึ่งจำเป็น ต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถความชำนาญงานและประสบการณ์ที่แสดงให้เห็นว่า สามารถปฏิบัติงานในความรับผิดชอบด้วยตนเองได้ (ข) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้าหน่วยงานเทียบเท่ากองในงานสนับสนุนของ ส่วนราชการ หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด หรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ มีลักษณะ งานต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบและบังคับบัญชาผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นงานที่มี หน้าที่ความรับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานค่อนข้างสูงมากหรือตำแหน่งหัวหน้า หน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานเทียบได้ระดับเดียวกัน หรือ (ค) ตำแหน่งสำหรับลักษณะงานวิชาชีพเฉพาะ ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มี ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญงาน และประสบการณ์สูงในงานวิชาชีพเฉพาะ (๗) ตำแหน่งระดับ ๗ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้าหน่วยงานที่เป็นกอง มีลักษณะงานจัดการ และต้อง กำกับ ตรวจสอบ และบังคับบัญชาผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำนวนมากพอสมควร ซึ่งเป็นงานที่มีหน้าที่ ความรับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานสูงมาก หรือตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานเทียบเท่า กอง หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ หรือหัวหน้าหน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานสูงมากเทียบได้ระดับเดียวกัน (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ มีลักษณะงานที่ยากเป็น พิเศษ ปฏิบัติงานโดยจำเป็นต้องมีการตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในงานที่รับผิดชอบมากซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถความชำนาญงาน และประสบการณ์สูงมากหรือลักษณะงานตรวจและแนะนำการปฏิบัติราชการ หรือลักษณะงานตรวจการในงานเทคนิคเฉพาะด้าน หรือตรวจการในงานหลักตามอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการระดับกรม หรือ (ค) ตำแหน่งสำหรับลักษณะงานวิชาชีพเฉพาะ ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มี ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญงาน และประสบการณ์สูงมากในงานวิชาชีพเฉพาะ (๘) ตำแหน่งระดับ ๘ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้าหน่วยงานที่เป็นกอง มีลักษณะงานจัดการ และต้อง กำกับ ตรวจสอบ และบังคับบัญชาผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำนวนมากพอสมควร ซึ่งเป็นงานที่มีหน้าที่ ความรับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานสูงมากเป็นพิเศษ หรือตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงาน เทียบเท่ากองหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด หรือหัวหน้าหน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานสูงมากเป็นพิเศษเทียบได้ระดับเดียวกัน (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ มีลักษณะงานที่ยากมากเป็น พิเศษ ปฏิบัติงานโดยจำเป็นต้องมีการตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในงานที่รับผิดชอบเป็นประจำ หรือ ลักษณะงานช่วยหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม หรือลักษณะงานตรวจและแนะนำการปฏิบัติ ราชการ หรือตรวจการในงานเทคนิคเฉพาะด้าน หรือตรวจการในงานหลักตามอำนาจหน้าที่ของ ส่วนราชการระดับกรม ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถความชำนาญงาน และ ประสบการณ์สูงมากเป็นพิเศษ หรือ (ค) ตำแหน่งสำหรับลักษณะงานวิชาชีพเฉพาะ ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มี ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญงาน และประสบการณ์สูงมากเป็นพิเศษในงานวิชาชีพเฉพาะ (๙) ตำแหน่งระดับ ๙ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้บริหารระดับสูง ในฐานะรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม หรือจังหวัด (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้บริหารระดับสูง ในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าส่วนราชการระดับ กระทรวงหรือทบวง ผู้ช่วยหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงแต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี หรือผู้ช่วยหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมี หัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี (ค) ตำแหน่งสำหรับลักษณะงานวิชาชีพเฉพาะหรือลักษณะงานเชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูง และมีความเชี่ยวชาญและผลงานเป็นที่ยอมรับในวงการด้านนั้น (ง) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้าหน่วยงานที่สูงกว่ากอง ซึ่งมีหน้าที่และความรับ ผิดชอบในงานหลักตามอำนาจหน้าที่ของกรม และเป็นงานที่มีความหลากหลาย ความยาก และมี คุณภาพของงานสูงมากกว่ากองหรือ (จ) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งมีลักษณะงานตรวจและแนะนำการปฏิบัติ ราชการ หรือลักษณะงานให้คำปรึกษาของส่วนราชการระดับกระทรวง ทบวง หรือลักษณะงานอื่น ที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ความยากและคุณภาพของงานเทียบได้ระดับเดียวกัน (๑๐) ตำแหน่งระดับ ๑๐ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้บริหารระดับสูง ในฐานะหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม หรือจังหวัด (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้บริหารระดับสูง ในฐานะรองหัวหน้าส่วนราชการระดับ กระทรวงหรือทบวง รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงแต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี หรือรองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี (ค) ตำแหน่งสำหรับลักษณะงานวิชาชีพเฉพาะหรือลักษณะงานเชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูง มาก และมีความเชี่ยวชาญและผลงานเป็นที่ยอมรับในวงการด้านนั้น (ง) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้าส่วนราชการระดับสถานเอกอัครราชทูตหรือ เทียบเท่า (จ) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานซึ่งมีลักษณะงานตรวจและแนะนำการปฏิบัติ ราชการ หรือลักษณะงานให้คำปรึกษาของส่วนราชการระดับกระทรวง ทบวง ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติ โดยผู้มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องมาแล้ว หรือลักษณะงานอื่นที่มีหน้าที่ ความรับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานเทียบได้ระดับเดียวกัน (๑๑) ตำแหน่งระดับ ๑๑ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้บริหารระดับสูง ในฐานะหัวหน้าส่วนราชการระดับ กระทรวงหรือทบวง (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้บริหารระดับสูง ในฐานะหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะ เป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงแต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี หรือหัวหน้า ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี (ค) ตำแหน่งสำหรับลักษณะงานวิชาชีพเฉพาะหรือลักษณะงานเชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน ตามอำนาจหน้าที่หลักของกระทรวงหรือทบวงซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงมากเป็นพิเศษ อีกทั้งทรงคุณวุฒิและมีผลงาน เป็นที่ยอมรับในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ หรือ (ง) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่รายงานตรงต่อนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีหน้าที่ ความรับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานสูงมากเป็นพิเศษเทียบได้ระดับเดียวกับตำแหน่ง อื่นในระดับนี้ ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้แสดงประเภทตำแหน่ง ชื่อของสายงาน ลักษณะงานโดยทั่วไปของสายงาน ชื่อของกลุ่มตำแหน่ง หน้าที่และความรับผิดชอบของกลุ่ม ตำแหน่ง ลักษณะงานที่ปฏิบัติ คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ผู้ดำรงตำแหน่งจะต้องมี และ ระดับของตำแหน่งในกลุ่มนั้นด้วย มาตรา ๔๓ ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ตำแหน่งใดบังคับบัญชาข้าราชการพลเรือนในส่วนราชการหรือหน่วยงานใด ในฐานะใดให้เป็นไป ตามที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ มอบหมายโดยทำเป็นหนังสือ มาตรา ๔๔ ให้ ก.พ. ตรวจสอบการกำหนดตำแหน่งและการใช้ตำแหน่ง ข้าราชการพลเรือนสามัญให้เหมาะสม ในกรณีที่ปรากฏว่าการกำหนดตำแหน่งใดไม่เหมาะสมก็ดี การใช้ตำแหน่งใดไม่เหมาะสมตามที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๔๐ ก็ดี หรือลักษณะหน้าที่และ ความรับผิดชอบปริมาณและคุณภาพของงานของตำแหน่งใดที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๔๐ เปลี่ยนแปลงไปก็ดี ให้ ก.พ. พิจารณาปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งนั้นเสียใหม่ให้เหมาะสม ทั้งนี้ ก.พ. จะมอบหมายให้องค์กรหรือส่วนราชการใดดำเนินการแทนก็ได้ ในการปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้ ก.พ. หรือผู้ที่ ก.พ. มอบหมายมีอำนาจยุบเลิกตำแหน่งหรือตัดโอนตำแหน่งหรือตัดโอนข้าราชการพลเรือนสามัญ หรือตัดโอนตำแหน่งและข้าราชการพลเรือนสามัญที่เกินอยู่ในส่วนราชการใดไปไว้ในส่วนราชการอื่นได้ตามความจำเป็น โดย ก.พ. หรือผู้ที่ ก.พ. มอบหมายอาจเปลี่ยนชื่อตำแหน่งสายงาน หรือระดับตำแหน่งเป็นอย่างอื่นได้ตามความเหมาะสม เมื่อ ก.พ. หรือผู้ที่ ก.พ. มอบหมายมีมติหรือสั่งตามวรรคสองให้ส่วนราชการ ฝ่ายรับโอนและส่วนราชการเดิมดำเนินการให้เป็นไปตามมติหรือคำสั่งนั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด การดำเนินการตามวรรคสาม หากจะต้องตัดโอนอัตราเงินเดือนของตำแหน่ง ไปด้วย ให้ส่วนราชการฝ่ายรับโอนและส่วนราชการเดิมดำเนินการได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกำหนด และให้ถือว่าการตัดโอนอัตราเงินเดือนดังกล่าวเป็นการโอน งบประมาณรายจ่ายตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ มาตรา ๔๕ ข้าราชการพลเรือนสามัญจะได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งผู้ได้รับ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ระดับใด จะได้รับเงินเดือนในอันดับใดตามบัญชีอัตราเงินเดือน ข้าราชการพลเรือนท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนดโดยให้ได้รับในขั้นต่ำของ อันดับในกรณีที่จะให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำหรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ ให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้นอกจากจะได้รับเงินเดือน ตามตำแหน่งแล้ว ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งอีกส่วนหนึ่งดังนี้ (๑) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะตามที่กำหนดใน พระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามมาตรา ๓๙ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเงินประจำตำแหน่ง ประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือน ท้ายพระราชบัญญัตินี้ นับตั้งแต่วันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดตำแหน่งประเภทวิชาชีพ เฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ (๒) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือบริหารระดับกลางตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ซึ่งออกตามมาตรา ๓๙ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเงินประจำตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือบริหารระดับกลาง ตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่ง ข้าราชการพลเรือนท้ายพระราชบัญญัตินี้ นับตั้งแต่วันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดตำแหน่ง ประเภทบริหารระดับสูงหรือบริหารระดับกลาง การรับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะและ ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือบริหารระดับกลางตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. หมวด ๒ การบรรจุและการแต่งตั้ง มาตรา ๔๖ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนั้น โดยบรรจุและ แต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับสำหรับการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการตามมาตรา ๕๐ มาตรา ๕๑ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ มาตรา ๖๕ และมาตรา ๖๖ มาตรา ๔๗ ผู้สมัครสอบแข่งขันในตำแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปหรือได้รับ การยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๓๐ และต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น ตามที่ ก.พ. กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งหรือได้รับอนุมัติจาก ก.พ. ตามมาตรา ๕๖ ด้วย สำหรับผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๓๐ (๔) ให้มีสิทธิสมัครสอบแข่งขันได้ แต่จะมีสิทธิได้รับบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญในตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้ต่อเมื่อพ้นจากตำแหน่งข้าราชการการเมืองแล้ว มาตรา ๔๘ ให้ ก.พ. เป็นผู้ดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ ในการนี้ ก.พ. จะมอบหมายให้องค์กรหรือส่วนราชการใดเป็นผู้ดำเนินการสอบแทนก็ได้ ทั้งนี้ ก.พ. จะกำหนดให้มีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุในกระทรวง ทบวง กรม เป็นการทั่วไปหรือในหน่วยราชการใดหรือในท้องที่ใดเป็นการเฉพาะแห่ง และจะกำหนดให้รับสมัครสอบแข่งขันเฉพาะผู้มีคุณสมบัติอย่างใด สำหรับการสอบแข่งขันครั้งใดก็ได้ หลักสูตร วิธีการสอบแข่งขัน และวิธีดำเนินการเกี่ยวกับการสอบแข่งขัน ตลอด จนเกณฑ์การตัดสิน การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ การนำรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งหนึ่งไปขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งอื่นและการยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ให้เป็นไปตามที่ ก.พ.กำหนด มาตรา ๔๙ ผู้สอบแข่งขันได้ซึ่งอยู่ในลำดับที่ที่จะได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งใด ถ้าปรากฏว่าขาดคุณสมบัติทั่วไปโดยไม่ได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตาม มาตรา ๓๐ หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งโดยไม่ได้รับอนุมัติจาก ก.พ. ตามมาตรา ๕๖ อยู่ก่อนหรือภายหลังการสอบแข่งขัน จะบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนั้นไม่ได้ มาตรา ๕๐ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษที่ ก.พ. เห็นว่าไม่จำเป็นต้องดำเนินการ สอบแข่งขัน ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๒ อาจคัดเลือกบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งได้ ทั้งนี้ ตามกรณี หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๕๑ กระทรวง ทบวง กรมใดมีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อ ประโยชน์แก่ราชการที่จะต้องบรรจุบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถและความชำนาญงานสูง เข้ารับ ราชการในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ชำนาญการ ให้กระทรวง ทบวง กรมนั้น ดำเนินการขออนุมัติ ก.พ. เมื่อ ก.พ. ได้พิจารณาอนุมัติให้บรรจุ และได้กำหนดระดับของตำแหน่งที่จะแต่งตั้งและเงินเดือนที่จะให้ได้รับแล้ว ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๒ บรรจุและแต่งตั้งได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๕๒ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ และ การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ให้ดำเนินการตามมาตรา ๔๖ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๑ มาตรา ๕๗ มาตรา ๕๘ มาตรา ๕๙ มาตรา ๖๐ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ มาตรา ๖๕ หรือมาตรา ๖๖ แล้วแต่กรณี และให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้เป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๑) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๑ ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดนำ เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้สั่งบรรจุ และให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง (๒) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๐ ให้ปลัดกระทรวงผู้บังคับ บัญชาเสนอรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติเมื่อได้รับอนุมัติจากคณะ รัฐมนตรีแล้ว ให้ปลัดกระทรวงผู้บังคับบัญชาเป็นผู้สั่งบรรจุและให้นายกรัฐมนตรีนำความ กราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง ยกเว้นการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๐ ที่ระบุไว้ใน (๓) ส่วนการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๐ ในส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงแต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี หรือในส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีให้อธิบดีผู้บังคับบัญชาเสนอรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี พิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชาเป็นผู้สั่งบรรจุ และให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง (๓) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๐ ในส่วนราชการที่มีฐานะ เป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงแต่อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรี หรือในสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้วให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้สั่งบรรจุ และให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง (๔) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ ให้ปลัดกระทรวงผู้บังคับ บัญชาเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง ส่วนการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ ในส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงแต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี หรือในส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชาเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง สำหรับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๙ ลงมาในส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม และไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงแต่อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรี หรือในสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๕) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๘ ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชา เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งเมื่อได้รับความเห็นชอบจากปลัดกระทรวง ส่วนการบรรจุ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๘ ในส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวง หรือทบวงแต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี หรือในส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีให้อธิบดีผู้บังคับ บัญชาเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๖) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๗ ลงมาให้อธิบดีผู้บังคับ บัญชาหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากอธิบดีตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนดเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๗) การบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา ๔๖ และการแต่งตั้งตามมาตรา ๕๗ ให้ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๗ ลงมาในราชการบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งมิใช่หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดผู้บังคับบัญชาเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง ในการเสนอเพื่อแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งให้รายงาน ความสมควรพร้อมทั้งเหตุผลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนดไปด้วย มาตรา ๕๓ ภายใต้บังคับมาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๖๐ให้มีการ สับเปลี่ยนหน้าที่ ย้ายหรือโอนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ ระดับ ๑๐ และ ระดับ ๑๑ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีลักษณะบริหารตามที่ ก.พ. กำหนด โดยมิควรให้อยู่ปฏิบัติหน้าที่ เดียวติดต่อกันเป็นเวลานานเกินกว่าสี่ปี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด ความในมาตรานี้ไม่ให้ใช้บังคับแก่ผู้ดำรงตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดว่าเป็น ตำแหน่งที่มีลักษณะงานเฉพาะอย่าง มาตรา ๕๔ ผู้ได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๔๖ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๕๐ และข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนและเป็นผู้ที่อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ พนักงานเทศบาล หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติงาน ซึ่งโอนมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๖๑ ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นเวลาตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. โดยอยู่ในความดูแลของผู้บังคับบัญชาผู้มีหน้าที่พัฒนาตามมาตรา ๗๖ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย และให้มีการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. เพื่อให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ พิจารณาว่า ผู้นั้นมีความเหมาะสมที่จะให้รับราชการต่อไปหรือไม่ ถ้าผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ เห็นว่าผู้นั้นมีผลการประเมินต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด ไม่ควรให้รับราชการต่อไป ก็ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้ไม่ว่าจะครบกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการแล้วหรือไม่ก็ตาม ถ้าพ้นกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการดังกล่าวแล้ว และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ เห็นว่าควรให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป ก็ให้รายงานต่อไปตามลำดับจนถึงผู้บังคับบัญชาตาม มาตรา ๑๐๙ วรรคหนึ่ง และ ก.พ. ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการผู้ใด ถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๑๑๘ และต่อมาปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออก จากราชการตามวรรคหนึ่งหรือตามมาตราอื่นก็ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ หรือผู้มีอำนาจตามมาตราอื่นนั้นแล้วแต่กรณี มีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ออกตามมาตรา ๑๑๘ เป็นให้ ออกจากราชการตามวรรคหนึ่ง หรือตามมาตราอื่นนั้นได้ ผู้อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการผู้ใดมีกรณีอันมีมูลที่ควรกล่าวหาว่า กระทำผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๕ และถ้าผู้นั้นมีกรณี ที่จะต้องออกจากราชการตามวรรคหนึ่งก็ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการตามวรรคหนึ่งไปก่อน หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง และการนับเวลา ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้ถือเสมือนว่าผู้นั้น ไม่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือ การรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการในระหว่างที่ผู้นั้นอยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ มาตรา ๕๕ การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งที่ ก.พ. ยัง มิได้กำหนดตามมาตรา ๔๐ จะกระทำมิได้ มาตรา ๕๖ ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่ง ใดต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามที่ ก.พ. กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็น ก.พ. อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการ พลเรือนสามัญที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่กำหนดไว้ในมาตร ฐานกำหนดตำแหน่งก็ได้ ในกรณีที่ ก.พ. กำหนดให้ปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิใดเป็น คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ให้หมายถึงปริญญาประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิที่ ก.พ. รับรอง มาตรา ๕๗ การย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งใดไปแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งอื่นในกรมเดียวกัน ต้องย้ายไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับเดียวกัน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด การย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ต่ำกว่า เดิม และการย้ายข้าราชการพลเรือนผู้มิได้ดำรงตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๔๐ ไปแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๔๐ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจาก ก.พ. แล้ว มาตรา ๕๘ การเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใน ระดับที่สูงขึ้น ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันหรือผู้สอบคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งนั้นได้ หรือจากผู้ได้รับคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งนั้น กรณีใดจะเลื่อนและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ ผู้สอบคัดเลือกได้หรือผู้ได้รับ คัดเลือก ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด การสอบแข่งขัน ให้เป็นไปตามมาตรา ๔๘ ส่วนการสอบคัดเลือกและคัดเลือก ให้กระทรวง ทบวง กรมเจ้าสังกัดเป็นผู้ดำเนินการ หลักสูตรและวิธีดำเนินการเกี่ยวกับการสอบ คัดเลือก คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครสอบคัดเลือก เกณฑ์การตัดสิน การขึ้นบัญชีและการยกเลิก บัญชีผู้สอบคัดเลือกได้ตลอดจนวิธีดำเนินการเกี่ยวกับการคัดเลือก ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๕๙ การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๕๘ สำหรับผู้สอบแข่งขันได้ ให้แต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ สำหรับผู้สอบคัดเลือก ได้หรือผู้ได้รับคัดเลือก ให้แต่งตั้งได้ตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ ความ ประพฤติและประวัติการรับราชการ ซึ่งจะต้องเป็นผู้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๖๐ การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ข้าราชการพลเรือนสามัญในต่างกระทรวง ทบวง กรม อาจทำได้เมื่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนนั้นแล้ว โดยให้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ไม่สูง กว่าเดิมและรับเงินเดือนในขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นการโอนตามวรรคสองวรรคสี่ วรรคหก และมาตรา ๔๔ การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๙ ขึ้นไป ไปแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในกระทรวงเดียวกันให้โอนไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ในระดับที่ไม่สูงกว่าเดิมและรับเงินเดือนในขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม เว้นแต่เป็นการโอนตามวรรคสาม การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งระดับ ๙ และระดับ ๑๐ ไปแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วน ราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี และการโอนข้าราชการพลเรือน สามัญตำแหน่งดังกล่าวซึ่งสังกัดส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบ ในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ ในกรม หรือต่างส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติ ราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีในกระทรวงเดียวกัน อาจทำได้เมื่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนนั้นแล้วทั้งนี้ ให้โอนไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับ ที่ไม่สูงกว่าเดิมและรับเงินเดือนในขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๑๐ ขึ้นไปไปแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในต่างกระทรวง ให้โอนไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ไม่สูงกว่าเดิมและรับเงินเดือนในขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม และต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือน สามัญในสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี และการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญสังกัดสำนักงาน เลขานุการรัฐมนตรี ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในกรมหรือต่างสำนักงาน เลขานุการรัฐมนตรี อาจทำได้เมื่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอม ในการโอนนั้นแล้ว ทั้งนี้ ให้โอนไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ไม่สูงกว่าเดิม และรับเงินเดือนในขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้สอบแข่งขันได้ ผู้สอบคัดเลือกได้หรือผู้ได้รับ คัดเลือก ให้ทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด การโอนข้าราชการพลเรือนผู้มิได้ดำรงตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๔๐ ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๔๐ ใน ต่างกระทรวง ทบวง กรม หรือต่างสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีหรือโอนจากกรมไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี หรือโอนจากสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในกรม จะทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจาก ก.พ. แล้ว ในการนี้ให้ ก.พ. พิจารณาโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับ และให้ ก.พ. กำหนดระดับของตำแหน่งที่จะแต่งตั้งและเงินเดือนที่จะให้ได้รับด้วย การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ต่ำกว่า เดิมต่างกระทรวง ทบวง กรม หรือต่างสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีหรือโอนจากกรมไปแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งในสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี หรือโอนจากสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในกรม จะทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจาก ก.พ. แล้ว ในการนี้ให้ ก.พ. พิจารณาโดยคำนึงถึงเหตุผลความจำเป็นและประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับ และให้ ก.พ. กำหนดเงินเดือนที่จะให้ได้รับด้วย มาตรา ๖๑ การโอนพนักงานเทศบาลที่ไม่ใช่พนักงานเทศบาลวิสามัญและการ โอนข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนตามพระราชบัญญัตินี้ และไม่ใช่ข้าราชการการเมือง หรือ ข้าราชการวิสามัญมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญอาจทำได้ถ้าเจ้าตัวสมัครใจ โดยผู้มี อำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ของกระทรวง ทบวง กรมที่จะรับโอนทำความตกลงกับผู้มีอำนาจ สั่งบรรจุของส่วนราชการหรือหน่วยงานสังกัดเดิม แล้วเสนอเรื่องไปให้ ก.พ. พิจารณาอนุมัติ ในการนี้ ให้ ก.พ. พิจารณาโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับ ส่วนจะบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับใด และจะให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้ ก.พ. เป็นผู้พิจารณากำหนด แต่จะต้องไม่สูงกว่าข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีคุณวุฒิ ความสามารถ และความชำนาญงานในระดับเดียวกัน ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นการโอนตามวรรคสาม การโอนข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนตามพระราชบัญญัตินี้และไม่ใช่ ข้าราชการการเมืองหรือข้าราชการวิสามัญ มาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญในกรมเดียวกัน หรือในส่วนราชการใดที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการ สังกัดเดิมด้วย ให้ทำได้ตามวรรคหนึ่ง โดยผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ไม่ต้องทำความตกลงในการโอน การโอนพนักงานเทศบาลและข้าราชการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ซึ่งเป็น ผู้สอบแข่งขันได้หรือผู้ได้รับคัดเลือก มาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญให้ทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด การโอนพนักงานส่วนท้องถิ่นที่ระเบียบพนักงานนั้นบัญญัติไว้ในพระราช บัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา และไม่ใช่พนักงานวิสามัญมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้ทำได้เช่นเดียวกับการโอนพนักงานเทศบาล เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้ที่ โอนมาตามมาตรานี้ในขณะที่เป็นข้าราชการ พนักงานเทศบาล หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นอื่นนั้นเป็นเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย มาตรา ๖๒ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตาม มาตรา ๕๗ มาตรา ๕๘ หรือมาตรา ๖๐ แล้ว หากภายหลังปรากฏว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติไม่ตรงตาม คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๒ แต่งตั้งผู้นั้นให้กลับไปดำรง ตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งอื่นในระดับเดียวกับตำแหน่งเดิมที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติ เฉพาะสำหรับตำแหน่งโดยพลัน แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการในระหว่างที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติไม่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะ สำหรับตำแหน่ง ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้กลับไปดำรงตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งอื่นตามวรรคหนึ่งให้รับเงินเดือนในขั้นที่พึงจะได้รับตามสถานภาพเดิม และให้ถือว่าผู้นั้นไม่มีสถานภาพอย่างใดในการที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ตนมีคุณสมบัติไม่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น มาตรา ๖๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการเพื่อไปรับ ราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร เมื่อผู้นั้นพ้นจากราชการทหาร โดยมิได้ กระทำการใด ๆ ในระหว่างรับราชการทหารอันเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรงหรือได้ชื่อว่าเป็น ผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง และผู้นั้นไม่เป็นผู้ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๓๐ และไม่ได้ถูกสั่ง เปลี่ยนแปลงคำสั่งตามมาตรา ๑๑๘ วรรคสอง เป็นให้ออกจากราชการตามมาตราอื่น หากประสงค์จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญในกระทรวง ทบวง กรมเดิมภายในกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันพ้นจากราชการทหาร ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๒ สั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง และรับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับบรรจุเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งให้มีสิทธิได้ นับวันรับราชการก่อนถูกสั่งให้ออกจากราชการ รวมกับวันรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และวันรับราชการเมื่อได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการเป็นเวลาราชการติดต่อกันเพื่อประโยชน์ตามพระราชบัญญัตินี้ และตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการเสมือนว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกสั่งให้ออกจากราชการ มาตรา ๖๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ ออกจากราชการไปปฏิบัติงานใด ๆ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญ เหมือนเต็มเวลาราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ถ้าผู้นั้นกลับเข้ารับ ราชการภายในกำหนดเวลาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติแต่ไม่เกินสี่ปีนับแต่วันไปปฏิบัติงานดังกล่าวให้ ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๒ สั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง และรับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๖๕ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดออกจากราชการไปแล้ว และไม่ใช่ เป็นกรณีออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการถ้าสมัครเข้ารับราชการและทาง ราชการต้องการจะรับผู้นั้นเข้ารับราชการให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๒ สั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งและรับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนดได้ มาตรา ๖๖ พนักงานเทศบาล พนักงานส่วนท้องถิ่นอื่นซึ่งระเบียบพนักงานนั้น บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา ที่ไม่ใช่พนักงานวิสามัญ หรือพนักงานซึ่งออก จากงานในระหว่างทดลองปฏิบัติงาน หรือข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราช บัญญัตินี้ และไม่ใช่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญ หรือข้าราชการซึ่งออกจากราชการใน ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ผู้ใดออกจากงานหรือออกจากราชการไปแล้ว ถ้าสมัครเข้ารับ ราชการในตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญและทางราชการต้องการจะรับผู้นั้นเข้ารับราชการ ให้ ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ของกระทรวง ทบวง กรมที่ต้องการจะรับเข้ารับราชการเสนอ เรื่องไปให้ ก.พ. พิจารณาอนุมัติ ในการนี้ให้ ก.พ. พิจารณาโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ทางราชการ จะได้รับ ทั้งนี้จะบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับใด และจะให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้ ก.พ. เป็นผู้พิจารณากำหนด แต่จะต้องไม่สูงกว่าข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีคุณวุฒิ ความสามารถและความชำนาญงานในระดับเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของ ผู้เข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งในขณะที่เป็นข้าราชการพนักงานเทศบาล หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น อื่นนั้นเป็นเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย มาตรา ๖๗ ผู้ได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดตามมาตรา ๔๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๑ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ มาตรา ๖๕ และมาตรา ๖๖ หากภายหลังปรากฏว่าขาดคุณสมบัติทั่วไปโดยไม่ได้ รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๓๐ หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นโดยไม่ได้รับอนุมัติจาก ก.พ. ตามมาตรา ๕๖ อยู่ก่อนก็ดี มีกรณีต้องหาอยู่ก่อนและภายหลังเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเนื่องจากกรณีต้องหานั้นก็ดีให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ สั่งให้ผู้นั้น ออกจากราชการโดยพลัน แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการก่อนมีคำสั่งให้ออกนั้นและถ้าการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้ว ให้ถือว่าเป็นการสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา ๖๘ ในกรณีที่ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญว่างลงหรือผู้ดำรง ตำแหน่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ และเป็นกรณีที่มิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วย ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการ พลเรือนที่เห็นสมควรรักษาการในตำแหน่งนั้นได้ ผู้รักษาการในตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้มีอำนาจหน้าที่ตามตำแหน่งที่รักษา การนั้น ในกรณีที่มีกฎหมายอื่น กฎ ระเบียบ ข้อบังคับมติคณะรัฐมนตรี มติคณะกรรมการตาม กฎหมายหรือคำสั่งผู้บังคับบัญชาแต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ๆ เป็นกรรมการ หรือให้มีอำนาจ หน้าที่อย่างใดก็ให้ผู้รักษาการในตำแหน่งทำหน้าที่กรรมการ หรือมีอำนาจหน้าที่อย่างนั้นในระหว่างที่รักษาการในตำแหน่งแล้วแต่กรณี มาตรา ๖๙ ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็น ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ มีอำนาจสั่งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ประจำกระทรวงประจำทบวง ประจำกรม ประจำกองหรือ ประจำจังหวัด แล้วแต่กรณีเป็นการชั่วคราว โดยให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่เดิมได้ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. การให้ได้รับเงินเดือน การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือนการดำเนินการทางวินัย และการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๗๐ ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็น ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญพ้นจากตำแหน่งหน้าที่และขาดจากอัตราเงินเดือนใน ตำแหน่งเดิมโดยให้รับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทนที่ ก.พ. กำหนดได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. การให้พ้นจากตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือน การแต่งตั้งการเลื่อนขั้นเงินเดือน การดำเนินการทางวินัย และการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. หมวด ๓ การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ มาตรา ๗๑ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็น ข้าราชการและปฏิบัติราชการมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทาง ราชการ ถือว่าผู้นั้นมีความชอบ จะได้รับบำเหน็จความชอบซึ่งอาจเป็นคำชมเชย เครื่องเชิดชูเกียรติ รางวัลหรือการได้เลื่อนขั้นเงินเดือนตามควรแก่กรณี มาตรา ๗๒ การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญให้ผู้บังคับบัญชา พิจารณาโดยคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณงาน ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานที่ได้ปฏิบัติมา ความสามารถและความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน ตลอดจนการรักษาวินัยและการปฏิบัติตน เหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. การเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ข้าราชการพลเรือนสามัญที่อยู่ในหลักเกณฑ์ตามวรรค หนึ่ง ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาที่จะพิจารณา ในกรณีที่ไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดให้ ผู้บังคับบัญชาแจ้งให้ผู้นั้นทราบพร้อมทั้งเหตุผลที่ไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนให้ มาตรา ๗๓ การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้ดำเนินการตาม มาตรา ๗๒ และให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) หรือ (๖) แล้วแต่กรณี เป็นผู้สั่งเลื่อน การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญในราชการบริหารส่วนภูมิภาคให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งข้อเท็จจริงและความเห็นเกี่ยวกับการควรเลื่อนหรือไม่ควรเลื่อนไปยังอธิบดีผู้บังคับบัญชาเพื่อประกอบการพิจารณา สำหรับการเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๗ ลงมาในราชการบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งมิใช่หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด คณะรัฐมนตรีจะมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดผู้บังคับบัญชาสั่งเลื่อนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. ตามมาตรา ๗๒ ก็ได้ มาตรา ๗๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติ หน้าที่ราชการ คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์ใน การคำนวณบำเหน็จบำนาญก็ได้ มาตรา ๗๕ ให้มีการพัฒนาผู้ได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน สามัญตามมาตรา ๔๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๕๐ ก่อนมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติเพื่อให้รู้ระเบียบ แบบแผนของทางราชการ หลักและวิธีปฏิบัติราชการ บทบาทและหน้าที่ของข้าราชการในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และแนวทางปฏิบัติตนเพื่อเป็นข้าราชการ ที่ดี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.กำหนด มาตรา ๗๖ ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่พัฒนาผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา เพื่อเพิ่มพูน ความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดี คุณธรรมและจริยธรรม อันจะทำให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๗๗ ให้มีการพัฒนาข้าราชการพลเรือนก่อนเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งบางตำแหน่ง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดี คุณธรรมและจริยธรรมอันจะทำให้ ปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๗๘ การพัฒนาข้าราชการพลเรือนโดยการให้ไปศึกษาเพิ่มเติมใน ประเทศ และการให้ไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในต่างประเทศให้เป็นไปตาม ระเบียบที่ ก.พ. วางไว้ เว้นแต่คณะรัฐมนตรีจะได้กำหนดเป็นอย่างอื่น มาตรา ๗๙ ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้อยู่ใต้ บังคับบัญชาเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแต่งตั้ง เลื่อนขั้นเงินเดือน พัฒนาข้าราชการพลเรือน เพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ และมีหน้าที่เสริมสร้างแรงจูงใจให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการและปฏิบัติราชการมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด หมวด ๔ วินัยและการรักษาวินัย มาตรา ๘๐ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาวินัยตามที่บัญญัติเป็นข้อห้าม และข้อปฏิบัติไว้ในหมวดนี้ โดยเคร่งครัดอยู่เสมอ มาตรา ๘๑ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องสนับสนุนการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วย ความบริสุทธิ์ใจ มาตรา ๘๒ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความ ซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม ห้ามมิให้อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจหน้าที่ราชการของตนไม่ว่าจะโดย ทางตรงหรือทางอ้อมหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่น ได้ประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการและเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๘๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้เกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการ มาตรา ๘๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความ อุตสาหะ เอาใจใส่ระมัดระวังรักษาประโยชน์ของทางราชการและต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ ราชการ การประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่าง ร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๘๕ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตาม กฎหมาย ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี และนโยบายของรัฐบาลโดยไม่ให้เสียหาย แก่ราชการ การปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบของทาง ราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของรัฐบาล อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๘๖ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องถือว่าเป็นหน้าที่พิเศษที่จะสนใจและ รับทราบเหตุการณ์เคลื่อนไหวอันอาจเป็นภยันตรายต่อประเทศชาติและต้องป้องกันภยันตรายซึ่งจะบังเกิดแก่ประเทศชาติจนเต็มความสามารถ มาตรา ๘๗ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาความลับของทางราชการ การเปิดเผยความลับของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการ อย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๘๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ โดยไม่ขัดขืนหรือ หลีกเลี่ยง แต่ถ้าเห็นว่าการปฏิบัติตามคำสั่งนั้นจะทำให้เสียหายแก่ราชการ หรือจะเป็นการไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการ จะเสนอความเห็นเป็นหนังสือทันทีเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนคำสั่งนั้นก็ได้ และเมื่อได้เสนอความเห็นแล้วถ้าผู้บังคับบัญชายืนยันให้ปฏิบัติตามคำสั่งเดิม ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม การขัดคำสั่งหรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการ อย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๘๙ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องปฏิบัติราชการโดยมิให้เป็นการ กระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้กระทำหรือได้รับอนุญาตเป็นพิเศษชั่วครั้งคราว มาตรา ๙๐ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องแจ้ง ถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย การรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้าย แรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๙๑ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องถือและปฏิบัติตามระเบียบและแบบ ธรรมเนียมของทางราชการ และจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือนตามข้อบังคับที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๙๒ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการจะละ ทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้ การละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นเหตุให้เสีย หายแก่ราชการอย่างร้ายแรง หรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๙๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคี และไม่กระทำการอย่างใดที่เป็นการกลั่นแกล้งกัน และต้องช่วยเหลือกันในการปฏิบัติราชการ ระหว่างข้าราชการด้วยกันและผู้ร่วมปฏิบัติราชการ มาตรา ๙๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความ เป็นธรรม และให้การสงเคราะห์แก่ประชาชนผู้ติดต่อราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตนโดยไม่ชักช้า และด้วยความสุภาพเรียบร้อย ห้ามมิให้ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงประชาชนผู้ติดต่อ ราชการ การดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงประชาชนผู้ติดต่อราชการอย่าง ร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๙๕ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำ การหาผลประโยชน์อันอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรมหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ ราชการของตน มาตรา ๙๖ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการหรือ ผู้จัดการหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท มาตรา ๙๗ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองใน การปฏิบัติหน้าที่ราชการ และในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชน กับจะต้องปฏิบัติตาม ระเบียบของทางราชการว่าด้วยมารยาททางการเมืองของข้าราชการด้วย มาตรา ๙๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาชื่อเสียงของตน และรักษา เกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสียโดยไม่กระทำการใด ๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว การกระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก หรือโทษที่หนักกว่าจำคุกโดย คำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก หรือให้รับโทษที่หนักกว่าจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้ กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ หรือกระทำการอื่นใดอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว อย่างร้ายแรงเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๙๙ ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่เสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้อยู่ใต้บังคับ บัญชามีวินัย ป้องกันมิให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัย และดำเนินการทางวินัยแก่ผู้อยู่ ใต้บังคับบัญชาซึ่งมีกรณีอันมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย การเสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีวินัย ให้กระทำโดยการปฏิบัติ ตนเป็นแบบอย่างที่ดี การฝึกอบรม การสร้างขวัญและกำลังใจ การจูงใจหรือการอื่นใดในอันที่จะ เสริมสร้างและพัฒนาทัศนคติ จิตสำนึก และพฤติกรรมของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาให้เป็นไปในทางที่ มีวินัย การป้องกันมิให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัย ให้กระทำโดยการเอาใจใส่ สังเกตการณ์ และขจัดเหตุที่อาจก่อให้เกิดการกระทำผิดวินัยในเรื่องอันอยู่ในวิสัยที่จะดำเนินการ ป้องกันตามควรแก่กรณีได้ เมื่อปรากฏกรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิด วินัยโดยมีพยานหลักฐานในเบื้องต้นอยู่แล้ว ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยทันที เมื่อมีการกล่าวหาโดยปรากฏตัวผู้กล่าวหา หรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการ พลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยโดยยังไม่มีพยานหลักฐานให้ผู้บังคับบัญชารีบดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณาในเบื้องต้นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยหรือไม่ ถ้าเห็นว่ากรณีไม่มีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย จึงจะยุติเรื่องได้ ถ้าเห็นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย ก็ให้ดำเนินการทางวินัยทันที การดำเนินการทางวินัยแก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาซึ่งมีกรณีอันมีมูลที่ควรกล่าวหา ว่ากระทำผิดวินัย ให้ดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๕ ผู้บังคับบัญชาผู้ใดละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรานี้ และตามหมวด ๕ หรือ ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวโดยไม่สุจริต ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย มาตรา ๑๐๐ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดฝ่าฝืนข้อห้ามหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ ปฏิบัติทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ ผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัย จักต้องได้รับโทษทางวินัย เว้นแต่มีเหตุอันควรงดโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๕ โทษทางวินัยมี ๕ สถาน คือ (๑) ภาคทัณฑ์ (๒) ตัดเงินเดือน (๓) ลดขั้นเงินเดือน (๔) ปลดออก (๕) ไล่ออก มาตรา ๑๐๑ การลงโทษข้าราชการพลเรือนสามัญให้ทำเป็นคำสั่ง วิธีการออก คำสั่งเกี่ยวกับการลงโทษ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. วางไว้ ผู้สั่งลงโทษต้องสั่งลงโทษให้เหมาะ สมกับความผิด และมิให้เป็นไปโดยพยาบาท โดยอคติ หรือโดยโทสะจริตหรือลงโทษผู้ที่ไม่มีความผิด ในคำสั่งลงโทษให้แสดงว่าผู้ถูกลงโทษกระทำผิดวินัยในกรณีใดตามมาตราใด หมวด ๕ การดำเนินการทางวินัย มาตรา ๑๐๒ การดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งมีกรณี อันมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย ให้สอบสวนเพื่อให้ได้ความจริงและยุติธรรมโดยไม่ชักช้า การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นกรณีกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่าง ไม่ร้ายแรง ให้ดำเนินการตามวิธีการที่ผู้บังคับบัญชาเห็นสมควรถ้าเป็นกรณีกล่าวหาว่ากระทำผิด วินัยอย่างร้ายแรง ให้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวน และในการสอบสวนนี้ต้องแจ้ง ข้อกล่าวหา และสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ โดยจะระบุหรือไม่ระบุชื่อพยานก็ได้ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหา เมื่อดำเนินการแล้วถ้าฟังได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดวินัยก็ให้ดำเนินการตามมาตรา ๑๐๓ หรือมาตรา ๑๐๔ แล้วแต่กรณี ถ้ายังฟังไม่ได้ว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัย จึงจะยุติเรื่องได้ การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามวรรคสอง ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตาม มาตรา ๕๒ เป็นผู้สั่งแต่งตั้ง ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งต่างระดับกันถูกกล่าวหาว่ากระทำ ผิดวินัยอย่างร้ายแรงร่วมกัน ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ สำหรับผู้ถูกกล่าวหาที่มีตำแหน่งในระดับสูงกว่าเป็นผู้ดำเนินการตามวรรคสามได้ นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ตามวรรคสองสำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญในทุกกระทรวง ทบวง กรม ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนผู้ถูกกล่าว หาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามวรรคสอง ในเรื่องที่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ผู้ถูกกล่าวหาตามมาตรา ๑๑๔ (๔) หรือมาตรา ๑๑๕ และคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ดังกล่าวได้สอบสวนไว้แล้ว คณะกรรมการสอบสวนตามวรรคสองจะนำสำนวนการสอบสวนตาม มาตราดังกล่าวมาใช้เป็นสำนวนการสอบสวน และทำความเห็นเสนอผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ สอบสวนโดยถือว่าได้มีการสอบสวนตามวรรคสองแล้วก็ได้ แต่ทั้งนี้ ต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุป พยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยจะระบุหรือไม่ระบุชื่อพยาน ก็ได้ และต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณากรณีที่ต้องแต่งตั้งคณะ กรรมการสอบสวนตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ในกรณีที่เป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. จะดำเนิน การทางวินัยโดยไม่สอบสวนก็ได้ มาตรา ๑๐๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงให้ ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสม กับความผิด ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่สำหรับการลง โทษภาคทัณฑ์ให้ใช้เฉพาะกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย หรือมีเหตุอันควรลดหย่อน ซึ่งยังไม่ถึงกับ จะต้องถูกลงโทษตัดเงินเดือน ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่าผู้นั้นควรจะต้องได้รับโทษสูงกว่าที่ตนมี อำนาจสั่งลงโทษ ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นที่มีอำนาจเพื่อให้พิจารณาดำเนินการเพื่อ ลงโทษตามควรแก่กรณี ในกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย และมีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยให้ทำ ทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้ การลงโทษตามมาตรานี้ ผู้บังคับบัญชาใดจะมีอำนาจสั่งลงโทษผู้อยู่ใต้บังคับ บัญชา ในสถานโทษและอัตราโทษใดได้เพียงใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๐๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้ ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก ตามความร้ายแรงแห่งกรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก ทั้งนี้ ภายใต้บังคับวรรคสอง ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนที่แต่งตั้งตามมาตรา ๑๐๒ หรือผู้มีอำนาจตาม มาตรา ๑๐๒ วรรคสาม วรรคสี่ หรือวรรคห้า แล้วแต่กรณี เห็นว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใด กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง สมควรลงโทษปลดออก หรือไล่ออก ให้ดำเนินการดังนี้ (๑) สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๑๑ ลงมาถึงระดับ ๘ และสำหรับผู้ดำรง ตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๗ ลงมาที่กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงร่วมกันกับผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๘ ขึ้นไป หรือที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ๑๐๒ วรรคห้า ในราชการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. กระทรวงซึ่งผู้ถูกกล่าวหาสังกัดอยู่พิจารณา และเมื่อ อ.ก.พ. กระทรวงมีมติเป็นประการใด ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้มีอำนาจสั่งบรรจุดังกล่าว แล้วแต่กรณี สั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น (๒) สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๗ ลงมา ในราชการบริหารส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. กรมซึ่งผู้ถูกกล่าวหาสังกัดอยู่พิจารณา และเมื่อ อ.ก.พ. กรมมีมติเป็นประการใด ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุดังกล่าวสั่งหรือ ปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น ทั้งนี้ ภายใต้บังคับ (๑) (๓) สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๗ ลงมาในราชการบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งมิใช่หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ (๕) ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. จังหวัดซึ่งผู้ถูกกล่าวหาสังกัดอยู่พิจารณา และเมื่อ อ.ก.พ. จังหวัดมีมติเป็นประการใด ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุดังกล่าวสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสาม หรือตามมาตรานี้ ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๕๒ ระดับเหนือขึ้นไปมีอำนาจดำเนินการตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสาม หรือตามมาตรานี้ได้ ผู้ใดถูกลงโทษปลดออกตามมาตรานี้ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่า ผู้นั้นลาออกจากราชการ มาตรา ๑๐๕ ให้กรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมาย อาญาและให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญาเพียงเท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของกรรมการสอบสวน และโดยเฉพาะให้มีอำนาจ ดังต่อไปนี้ด้วยคือ (๑) เรียกให้กระทรวง ทบวง กรม หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจหน่วยงานอื่นของ รัฐ หรือห้างหุ้นส่วนบริษัท ชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจง หรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน (๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำหรือให้ส่งเอกสาร และหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน มาตรา ๑๐๖ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำหรือ ละเว้นกระทำการใดที่พึงเห็นได้ว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง และเป็นการกล่าวหาเป็นหนังสือ ต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น หรือต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวน หรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือ ระเบียบของทางราชการ หรือเป็นการกล่าวหาเป็นหนังสือโดยผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นหรือมีกรณี ถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา เว้นแต่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทที่ ไม่เกี่ยวกับราชการ หรือความผิดลหุโทษแม้ภายหลังผู้นั้นจะออกจากราชการไปแล้ว เว้นแต่ออก จากราชการเพราะตาย ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสาม วรรคสี่ หรือวรรคห้า หรือมาตรา ๑๐๔ วรรคสาม แล้วแต่กรณี มีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณาตามมาตรา ๙๙ และดำเนิน การทางวินัยตามที่บัญญัติในหมวดนี้ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ เว้นแต่กรณี ที่ผลการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยที่จะต้องลงโทษภาคทัณฑ์ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน ก็ให้งดโทษเสียได้ มาตรา ๑๐๗ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย อย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสามวรรคสี่ หรือวรรคห้า แล้วแต่กรณี มีอำนาจสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาได้ แต่ถ้าภายหลังปรากฏผลการสอบสวนพิจารณาว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิด หรือกระทำผิดไม่ถึงกับจะถูกลงโทษปลดออก หรือไล่ออก และไม่มีกรณีที่จะต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่นก็ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิม หรือตำแหน่งในระดับเดียวกันที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๑๐๔ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม เมื่อได้มีการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดพักราชการหรือออกจากราชการ ไว้ก่อนตามวรรคหนึ่งแล้ว ภายหลังปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ในกรณีอื่นอีกผู้มีอำนาจตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสาม วรรคสี่ หรือวรรคห้า หรือมาตรา ๑๐๔ วรรค สามแล้วแต่กรณี มีอำนาจดำเนินการสืบสวน หรือพิจารณาตามมาตรา ๙๙ และแต่งตั้งคณะ กรรมการสอบสวนตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสอง ตลอดจนดำเนินการทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ใน หมวดนี้ต่อไปได้ ในกรณีที่สั่งให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนกลับเข้ารับราชการ หรือสั่งให้ ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนออกจากราชการด้วยเหตุอื่นที่มิใช่เป็นการลงโทษเพราะกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ก็ให้ผู้นั้นมีสถานภาพเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตลอดระยะเวลาระหว่างที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน เสมือนว่าผู้นั้นเป็นผู้ถูกสั่งพักราชการ เงินเดือน เงินอื่นที่จ่ายเป็นรายเดือน และเงินช่วยเหลืออย่างอื่นและการจ่ายเงิน ดังกล่าวของผู้ถูกสั่งพักราชการ และผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น สำหรับผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ถ้าไม่มีกฎหมายหรือระเบียบดังกล่าวให้ถือเสมือนว่าผู้นั้นเป็นผู้ถูกสั่งพักราชการ หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสั่งพักราชการ การสั่งให้ออกจากราชการ ไว้ก่อน ระยะเวลาให้พักราชการและให้ออกจากราชการไว้ก่อน และการดำเนินการเพื่อให้เป็นไป ตามผลการสอบสวนพิจารณาให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๐๘ การลงโทษข้าราชการพลเรือนสามัญในส่วนราชการที่มีกฎหมาย ว่าด้วยวินัยโดยเฉพาะ จะลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้ หรือลงทัณฑ์หรือลงโทษตามกฎหมายว่า ด้วยวินัยนั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามควรแก่กรณีและพฤติการณ์ก็ได้ แต่ถ้าเป็นกรณีกระทำผิดวินัย อย่างร้ายแรงตามพระราชบัญญัตินี้ ก็ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาดำเนินการตามที่กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๙ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการทางวินัยตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายว่าด้วยวินัยข้าราชการในส่วนราชการใดโดยเฉพาะ หรือดำเนินการสอบสวนตาม มาตรา ๑๑๔ (๔) หรือมาตรา ๑๑๕ แก่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใด หรือสั่งให้ข้าราชการ พลเรือนสามัญผู้ใดออกจากราชการไปแล้ว ให้รายงานการดำเนินการทางวินัยหรือการสอบสวนหรือการสั่งให้ออกจากราชการต่อผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นตามลำดับจนถึงอธิบดี ในกรณีที่เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญในสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีหรือราชบัณฑิตยสถาน ให้รายงานตามลำดับจนถึงรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ทั้งนี้ ตามระเบียบว่าด้วยการรายงานการดำเนินการทางวินัยที่ ก.พ. วางไว้ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาที่ได้รับรายงานตามวรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจตาม มาตรา ๑๐๓ และมีตำแหน่งเหนือผู้ดำเนินการทางวินัยเห็นว่าการยุติเรื่องการงดโทษหรือการลง โทษที่มิใช่เป็นการลงโทษหรือลงทัณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยข้าราชการในส่วนราชการใดโดย เฉพาะ และมิใช่เป็นการดำเนินการตามมติของ อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรมหรือ อ.ก.พ. จังหวัด เป็นการไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ก็ให้มีอำนาจสั่งลงโทษ เพิ่มโทษเป็นสถานโทษหรืออัตราโทษที่หนักขึ้นลดโทษลงเป็นสถานโทษหรืออัตราโทษที่เบาลง งดโทษโดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือน หรือยกโทษให้ถูกต้องหรือเหมาะสมตามควรแก่กรณีตลอดจนแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในคำสั่งเดิมให้เป็นการถูกต้องเหมาะสมได้ด้วย และในกรณีที่เห็นว่าควรดำเนินการอย่างใดเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาให้ได้ความจริงและยุติธรรม ก็ให้มีอำนาจดำเนินการ หรือสั่งดำเนินการได้ตามควรแก่กรณี ทั้งนี้ การสั่งลงโทษหรือเพิ่มโทษเป็นสถานโทษที่หนักขึ้น ต้องไม่เกินอำนาจของตนตามมาตรา ๑๐๓ และการเพิ่มอัตราโทษเมื่อรวมกับอัตราโทษเดิมต้องไม่เกินอำนาจนั้นด้วย ถ้าเกินอำนาจของตนก็ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นตามลำดับเพื่อให้พิจารณาดำเนินการตามควรแก่กรณี ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษหรือลงทัณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยวินัย ข้าราชการในส่วนราชการใดโดยเฉพาะหรือสั่งยุติเรื่อง งดโทษหรือสั่งลงโทษตามมาตรา ๑๐๓ หรือสั่งให้ออกจากราชการ ซึ่งมิใช่เป็นการดำเนินการตามมติของ อ.ก.พ. จังหวัด ตามมาตรา ๑๐๔ มาตรา ๑๑๔ (๔) มาตรา ๑๑๕ มาตรา ๑๑๖ หรือมาตรา ๑๒๕ แก่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไปแล้ว แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดหรืออธิบดีหรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดที่ได้รับรายงานตามวรรคหนึ่ง เห็นว่ากรณีเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงก็ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรืออธิบดีหรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด แล้วแต่กรณี มีอำนาจดำเนินการตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสาม และมาตรา ๑๐๔ วรรคสอง แต่ถ้าเป็นกรณีที่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสาม แล้ว ก็ให้ดำเนินการตามมาตรา ๑๐๔ วรรคสอง ในกรณีที่อธิบดีที่ได้รับรายงานตามวรรคหนึ่ง มีความเห็นขัดแย้งกับความเห็น ของผู้ว่าราชการจังหวัด หรือความเห็นหรือมติของ อ.ก.พ. จังหวัด ตามมาตรา ๑๐๔ วรรคสอง มาตรา ๑๑๔ (๔) มาตรา ๑๑๕ มาตรา ๑๑๖ หรือมาตรา ๑๒๕ เกี่ยวกับการพิจารณาข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย หรือการอื่นใดตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ว่าจะในทางเป็นโทษหรือเป็นคุณแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใด ก็ให้ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. กระทรวงซึ่งผู้นั้นสังกัดอยู่พิจารณา เมื่อ อ.ก.พ. กระทรวงมีมติเป็นประการใด ให้อธิบดีหรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด แล้วแต่กรณี สั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น และในกรณีที่จะต้องสั่งให้ผู้ซึ่งออกจากราชการไปแล้วกลับเข้ารับราชการตามมติของ อ.ก.พ. กระทรวง ก็ให้นำมาตรา ๑๐๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม เมื่อได้มีคำสั่งเพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ ถ้าเพิ่มโทษเป็นสถานโทษ ที่หนักขึ้นหรือลดโทษเป็นสถานโทษที่เบาลง หรืองดโทษหรือยกโทษ คำสั่งลงโทษเดิมให้เป็นอัน ยกเลิก ถ้าลดโทษเป็นอัตราโทษที่เบาลง อัตราโทษส่วนที่เกินก็ให้เป็นอันยกเลิก ในกรณีที่คำสั่ง ลงโทษตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือนเป็นอันยกเลิก หรืออัตราโทษส่วนที่เกินเป็นอันยกเลิก ให้คืนเงินเดือนที่ได้ตัดหรือลดไปแล้วตามคำสั่งที่เป็นอันยกเลิก หรืออัตราโทษส่วนเกินที่เป็นอันยกเลิกนั้นให้แก่ผู้ถูกลงโทษ แต่ถ้าคำสั่งที่เป็นอันยกเลิกเป็นคำสั่งลงโทษหรือลงทัณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยข้าราชการในส่วนราชการใดโดยเฉพาะ และผู้ถูกสั่งลงโทษหรือลงทัณฑ์ได้รับโทษหรือทัณฑ์นั้นไปแล้ว ก็ให้เป็นอันพับไป เมื่ออธิบดีได้ดำเนินการทางวินัย หรือได้รับรายงานตามวรรคหนึ่งและได้ พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่แล้ว ให้รายงานไปยัง อ.ก.พ. กระทรวง ซึ่งผู้ถูกดำเนินการ ทางวินัยสังกัดอยู่เพื่อพิจารณา ทั้งนี้ ตามกรณีที่กำหนดในระเบียบว่าด้วยการรายงานการดำเนิน การทางวินัยที่ ก.พ. วางไว้ ในกรณีที่ อ.ก.พ. กระทรวงที่ได้รับรายงานตามวรรคหก เห็นว่าการดำเนินการ ทางวินัยเป็นการไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม และมีมติเป็นประการใด ให้อธิบดีสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น มาตรา ๑๑๐ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการทางวินัย หรือสั่งให้ข้าราชการ พลเรือนสามัญออกจากราชการในเรื่องใดไปแล้ว ถ้า ก.พ. พิจารณาเห็นเป็นการสมควรที่จะต้อง สอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์แห่งความเป็นธรรม หรือเพื่อประโยชน์ในการ ควบคุมดูแลให้กระทรวง ทบวง กรมปฏิบัติการตามหมวด ๔ และหมวดนี้โดยถูกต้องและเหมาะสมตามความเป็นธรรม ก็ให้ ก.พ. มีอำนาจสอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมในเรื่องนั้นได้ตามความจำเป็น โดยจะสอบสวนเองหรือตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญหรือคณะกรรมการสอบสวน ให้สอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมแทนก็ได้ หรือกำหนดประเด็นหรือข้อสำคัญที่ต้องการทราบส่งไปเพื่อให้คณะกรรมการสอบสวนที่ผู้บังคับบัญชาได้แต่งตั้งไว้เดิมทำการสอบสวนเพิ่มเติมได้ด้วย ในกรณีที่ ก.พ. ตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญเพื่อทำหน้าที่พิจารณาเรื่องการดำเนินการ ทางวินัยหรือการออกจากราชการแทน ก.พ. ก็ให้ อ.ก.พ. วิสามัญนั้นมีอำนาจสอบสวนใหม่หรือ สอบสวนเพิ่มเติมโดยจะสอบสวนเองหรือแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้สอบสวนใหม่หรือ สอบสวนเพิ่มเติมแทนก็ได้ และมีอำนาจกำหนดประเด็นหรือข้อสำคัญที่ต้องการทราบส่งไปเพื่อให้ คณะกรรมการสอบสวนที่ผู้บังคับบัญชาได้แต่งตั้งไว้เดิมทำการสอบสวนเพิ่มเติมได้ด้วย ในการสอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติม ถ้า ก.พ. หรือ อ.ก.พ. วิสามัญ พิจารณาเห็นเป็นการสมควรส่งประเด็นหรือข้อสำคัญใดที่ต้องการทราบไปสอบสวนพยานหลักฐานซึ่งอยู่ต่างท้องที่ ก็ให้ ก.พ. และ อ.ก.พ. วิสามัญมีอำนาจกำหนดประเด็นหรือ ข้อสำคัญนั้นส่งไปเพื่อให้หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานในท้องที่นั้นทำการสอบสวนแทนได้ ในกรณีที่ ก.พ. หรือ อ.ก.พ. วิสามัญ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้สอบสวน ใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติม หรือส่งประเด็นหรือข้อสำคัญไปเพื่อให้คณะกรรมการสอบสวน หรือ หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานดำเนินการตามวรรคหนึ่ง วรรคสองและวรรคสามในเรื่องเกี่ยวกับกรณีกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสอง ให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณาตามมาตรา ๑๐๒ วรรคเจ็ด มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในการดำเนินการตามมาตรานี้ ให้นำมาตรา ๑๐๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย มาตรา ๑๑๑ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งโอนมาจากพนักงานเทศบาล พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือข้าราชการตามมาตรา ๖๑ ผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยอยู่ก่อนวันโอนมา บรรจุ ให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นดำเนินการทางวินัยตามหมวดนี้โดย อนุโลม แต่ถ้าเป็นเรื่องที่อยู่ในระหว่างการสืบสวนหรือสอบสวนของทางผู้บังคับบัญชาเดิม ก่อนวันโอน ก็ให้สืบสวนหรือสอบสวนต่อไปจนเสร็จ แล้วส่งเรื่องไปให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นพิจารณาดำเนินการต่อไปตามหมวดนี้โดยอนุโลม และในกรณีที่จะต้องสั่งลงโทษทางวินัย ให้ปรับบทความผิดและลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบพนักงานเทศบาล พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือข้าราชการนั้นโดยอนุโลม หมวด ๖ การออกจากราชการ มาตรา ๑๑๒ ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการเมื่อ (๑) ตาย (๒) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๓) ลาออกจากราชการและได้รับอนุญาตให้ลาออกหรือการลาออกมีผล ตามมาตรา ๑๑๓ (๔) ถูกสั่งให้ออกตามมาตรา ๕๔ มาตรา ๖๗ มาตรา ๑๐๗ มาตรา ๑๑๔ มาตรา ๑๑๕ มาตรา ๑๑๖ มาตรา ๑๑๗ มาตรา ๑๑๘ หรือมาตรา ๑๒๓ หรือ (๕) ถูกสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก วันออกจากราชการตาม (๔) และ (๕) ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. วางไว้ การต่อเวลาราชการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ต้องออกจากราชการตาม (๒) รับราชการต่อไป จะกระทำมิได้ มาตรา ๑๑๓ นอกจากกรณีตามวรรคสี่ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์ จะลาออกจากราชการ ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตาม มาตรา ๕๒ เป็นผู้พิจารณาอนุญาต ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ พิจารณาเห็นว่าจำเป็นเพื่อ ประโยชน์แก่ราชการจะยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกินเก้าสิบวันนับตั้งแต่วันขอลา ออกก็ได้ แต่ต้องแจ้งการยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกพร้อมทั้งเหตุผลให้ผู้ขอลาออกทราบ และเมื่อครบกำหนดเวลาที่ยับยั้งแล้วให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันถัดจากวันครบกำหนดเวลาที่ยับยั้ง ถ้าผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ไม่ได้อนุญาตให้ลาออกตามวรรคหนึ่ง และไม่ได้ยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกตามวรรคสอง ให้การลาออกนั้นมีผลตั้งแต่วันขอลาออก ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการเพื่อดำรง ตำแหน่งทางการเมือง หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือ ผู้บริหารท้องถิ่น ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชา และให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ ผู้นั้นขอลาออก หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการลาออก การพิจารณาอนุญาตให้ลาออกและ การยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสี่ให้เป็นไปตาม ระเบียบที่ ก.พ. วางไว้ มาตรา ๑๑๔ ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการ พลเรือนสามัญออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการได้ในกรณีที่กฎหมายดังกล่าวบัญญัติให้ผู้ถูกสั่งให้ออกมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญแต่ในการสั่งให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุรับราชการนานจะต้องมีกรณีตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ด้วย และการสั่งให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน นอกจากให้ทำได้ในกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตราอื่นแห่งพระราชบัญญัตินี้และกรณีที่กฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการบัญญัติให้ผู้ถูกสั่งให้ออกมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนแล้ว ให้ทำได้ในกรณีต่อไปนี้ด้วย คือ (๑) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของ ตนได้โดยสม่ำเสมอ ถ้าผู้มีอำนาจดังกล่าวเห็นสมควรให้ออกจากราชการแล้ว ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้ (๒) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดสมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความ ประสงค์ของทางราชการ ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ (๓) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๓๐ (๑) (๔) (๕) (๘) หรือ (๙) ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ (๔) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาหรือมีเหตุอันควรสงสัย ว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๓๐ (๓) และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ เห็นว่า กรณีมีมูล ก็ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยไม่ชักช้า และให้นำมาตรา ๑๑๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่ อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด มีมติว่าผู้นั้นเป็นผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๓๐ (๓) ก็ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจาก ราชการ (๕) เมื่อทางราชการเลิกหรือยุบตำแหน่งใด ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งนั้นออกจากราชการได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด (๖) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิ ภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการได้ ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๑๕ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาหรือมีเหตุอันควร สงสัยว่าหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการบกพร่องในหน้าที่ราชการหรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ เห็นว่ากรณีมีมูล ถ้าให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป จะเป็นการเสียหายแก่ราชการ ก็ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยไม่ชักช้า ในการสอบสวนนี้จะต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ โดยจะระบุหรือไม่ระบุชื่อพยานก็ได้และต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ด้วย ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๑๐๒ วรรคสี่ วรรคห้า และวรรคแปด มาตรา ๑๐๔ วรรคสองและมาตรา ๑๐๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่ อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัดมีมติให้ผู้นั้นออกจากราชการ ก็ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนผู้ถูกกล่าว หาตามมาตรา ๑๐๒ ในเรื่องที่จะต้องสอบสวนตามวรรคหนึ่งและคณะกรรมการสอบสวนตาม มาตรา ๑๐๒ ได้สอบสวนไว้แล้ว ผู้มีอำนาจตามวรรคหนึ่งจะใช้สำนวนการสอบสวนนั้นพิจารณา ดำเนินการโดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามวรรคหนึ่งก็ได้ หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณา ให้เป็นไปตามที่กำหนด ในกฎ ก.พ. ในกรณีที่เป็นกรณีที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. จะดำเนินการตาม วรรคหนึ่งโดยไม่สอบสวนก็ได้ มาตรา ๑๑๖ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกแต่งตั้งคณะกรรมการ สอบสวนตามมาตรา ๑๐๒ และคณะกรรมการสอบสวนหรือผู้มีอำนาจตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสาม วรรคสี่ หรือวรรคห้า หรือมาตรา ๑๐๙ วรรคสาม แล้วแต่กรณี เห็นว่ากรณีมีเหตุอันควรสงสัย อย่างยิ่งว่าผู้นั้นได้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่การสอบสวนไม่ได้ความแน่ชัดพอที่จะฟังลงโทษ ตามมาตรา ๑๐๔ วรรคหนึ่ง ถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ ก็ให้ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด แล้วแต่กรณี พิจารณาให้ออกจากราชการ ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๑๐๔ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลมในกรณีที่ อ.ก.พ. ดังกล่าวมีมติให้ผู้นั้นออกจากราชการเพราะมีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวน ก็ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา ๑๑๗ เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดต้องรับโทษจำคุกโดยคำสั่งของ ศาล หรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออก หรือไล่ออก ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ จะสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมาย ว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการก็ได้ มาตรา ๑๑๘ เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไปรับราชการทหารตาม กฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ สั่งให้ผู้นั้นออกจาก ราชการ ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคหนึ่ง และต่อมาปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีที่ จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตราอื่นอยู่ก่อนไปรับราชการทหาร ก็ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ ตามมาตรา ๕๒ มีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ออกตามวรรคหนึ่ง เป็นให้ออกจากราชการตาม มาตราอื่นนั้นได้ มาตรา ๑๑๙ ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตาม หมวดนี้ หรือตามมาตรา ๕๔ หรือมาตรา ๖๗ ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๕๒ ระดับเหนือขึ้นไปมีอำนาจดำเนินการตามหมวดนี้ หรือตามมาตรา ๕๔ หรือมาตรา ๖๗ แล้วแต่กรณีได้ มาตรา ๑๒๐ การออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งตั้งแต่ ระดับ ๑๐ ขึ้นไป ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่งนับแต่วันออกจากราชการ มาตรา ๑๒๑ ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัด อธิบดี หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดที่ได้รับ รายงานตามมาตรา ๑๐๙ วรรคหนึ่ง เห็นว่าสมควรให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดออกจาก ราชการตามมาตรา ๑๑๔ (๔) หรือมาตรา ๑๑๕ ก็ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรืออธิบดี หรือรัฐมนตรี เจ้าสังกัด แล้วแต่กรณี ดำเนินการตามมาตรา ๑๑๔ (๔) หรือมาตรา ๑๑๕ แต่ถ้าเป็นกรณีที่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตราดังกล่าวหรือมาตรา ๑๐๒ แล้ว ก็ให้ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. จังหวัด อ.ก.พ. กรมหรือ อ.ก.พ. กระทรวง แล้วแต่กรณี พิจารณา ในกรณีที่อธิบดีที่ได้รับรายงานตามมาตรา ๑๐๙ วรรคหนึ่งมีความเห็นขัดแย้ง กับความเห็นของผู้ว่าราชการจังหวัด หรือความเห็นหรือมติของ อ.ก.พ. จังหวัดตามมาตรา ๑๐๔ วรรคสอง มาตรา ๑๐๙ วรรคสาม มาตรา ๑๑๔ (๔) มาตรา ๑๑๕ มาตรา ๑๑๖ หรือมาตรา ๑๒๕ โดยเห็นสมควรให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดออกจากราชการตามหมวดนี้ หรือตามมาตรา ๕๔ หรือมาตรา ๖๗ หรือเห็นสมควรให้ยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใด ออกจากราชการตามหมวดนี้ หรือมาตรา ๕๔ หรือมาตรา ๖๗ หรือเห็นสมควรให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการผู้ใดกลับเข้ารับราชการ ก็ให้ดำเนินการตามมาตรา ๑๐๙ วรรคสี่ โดยอนุโลม ในกรณีที่จะต้องสั่งให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการกลับเข้ารับราชการให้นำ มาตรา ๑๐๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม เมื่ออธิบดีได้สั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการหรือดำเนินการ ตามมาตรา ๑๑๔ (๔) หรือมาตรา ๑๑๕ หรือได้รับรายงานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวตามมาตรา ๑๐๙ วรรคหนึ่งและได้พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่แล้ว ให้รายงานไปยัง อ.ก.พ. กระทรวง ซึ่ง ผู้ถูกดำเนินการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการสังกัดอยู่เพื่อพิจารณา ทั้งนี้ ตามกรณีที่กำหนดใน ระเบียบว่าด้วยการรายงานเกี่ยวกับการดำเนินการให้ออกจากราชการที่ ก.พ. วางไว้ และให้นำ มาตรา ๑๐๙ วรรคเจ็ด มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๒๒ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการทางวินัยหรือสั่งให้ข้าราชการ พลเรือนสามัญออกจากราชการในเรื่องใดไปแล้ว ถ้า ก.พ. พิจารณาเห็นเป็นการสมควรที่จะต้อง สอบสวนใหม่ หรือสอบสวนเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์แห่งความเป็นธรรม หรือเพื่อประโยชน์ในการ ควบคุมดูแลให้กระทรวง ทบวง กรมปฏิบัติการตามหมวดนี้ หรือตามมาตรา ๕๔ หรือมาตรา ๖๗ โดยถูกต้องและเหมาะสมตามความเป็นธรรม ก็ให้ ก.พ. มีอำนาจสอบสวนใหม่ หรือสอบสวนเพิ่ม เติมในเรื่องนั้นได้ตามความจำเป็น และให้นำมาตรา ๑๑๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่ ก.พ. หรือ อ.ก.พ. วิสามัญแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้สอบสวน ใหม่ หรือสอบสวนเพิ่มเติม หรือส่งประเด็นหรือข้อสำคัญไปเพื่อให้คณะกรรมการสอบสวนที่ผู้บังคับบัญชาได้แต่งตั้งไว้เดิมทำการสอบสวนเพิ่มเติม หรือเพื่อให้หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานในต่างท้องที่ทำการสอบสวนแทนในเรื่องเกี่ยวกับกรณีตามมาตรา ๑๑๔ (๔) หรือมาตรา ๑๑๕ ให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณาตามมาตรา ๑๑๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๒๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งโอนมาจากพนักงานเทศบาล พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือข้าราชการตามมาตรา ๖๑ ผู้ใดมีกรณีที่สมควรให้ออกจากงานหรือออก จากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบพนักงานเทศบาล พนักงานส่วนท้องถิ่นหรือข้าราชการนั้น อยู่ก่อนวันโอนมาบรรจุ ให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นมีอำนาจพิจารณา ดำเนินการตามหมวดนี้ หรือตามมาตรา ๖๗ ได้โดยอนุโลม แต่ถ้าเป็นเรื่องที่อยู่ในระหว่างการ สืบสวนหรือสอบสวนของทางผู้บังคับบัญชาเดิมก่อนวันโอนก็ให้สืบสวนหรือสอบสวนต่อไปจนเสร็จ แล้วส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นพิจารณาดำเนินการต่อไปตามหมวดนี้ หรือตามมาตรา ๖๗ แล้วแต่กรณีโดยอนุโลมและในกรณีที่จะต้องสั่งให้ออกจาก ราชการ ให้ปรับบทกรณีให้ออกตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบพนักงานเทศบาล พนักงานส่วนท้องถิ่นหรือข้าราชการนั้นโดยอนุโลม หมวด ๗ การอุทธรณ์ มาตรา ๑๒๔ ผู้ใดถูกสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ได้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ มาตรา ๑๒๕ การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงิน เดือน ให้อุทธรณ์ได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่งโดยให้อุทธรณ์ดังนี้ (๑) การอุทธรณ์คำสั่งของผู้บังคับบัญชาในราชการบริหารส่วนภูมิภาคที่ต่ำกว่า ผู้ว่าราชการจังหวัด ให้อุทธรณ์ต่อ อ.ก.พ. จังหวัดและให้ อ.ก.พ. จังหวัดเป็นผู้พิจารณาอุทธรณ์ เมื่อ อ.ก.พ. จังหวัดมีมติเป็นประการใด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น (๒) การอุทธรณ์คำสั่งของผู้บังคับบัญชาในราชการบริหารส่วนกลางที่ต่ำกว่า อธิบดีให้อุทธรณ์ต่อ อ.ก.พ. กรม และให้ อ.ก.พ. กรมเป็นผู้พิจารณาอุทธรณ์ เมื่อ อ.ก.พ. กรมมีมติเป็นประการใด ให้อธิบดีสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น (๓) การอุทธรณ์คำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด หรืออธิบดี ให้อุทธรณ์ต่อ อ.ก.พ. กระทรวงเจ้าสังกัด และให้ อ.ก.พ. กระทรวงเป็นผู้พิจารณา เมื่อ อ.ก.พ. กระทรวงมีมติเป็นประการใด ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น (๔) การอุทธรณ์คำสั่งของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือปลัดกระทรวง หรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีหรือตามมติของ อ.ก.พ. กระทรวง ให้อุทธรณ์ต่อ ก.พ. และให้นำมาตรา ๑๒๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๒๖ การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออกให้อุทธรณ์ต่อ ก.พ. ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง เมื่อ ก.พ. ได้พิจารณาวินิจฉัยแล้ว ให้รายงาน นายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่เห็นด้วยกับมติของ ก.พ. และ ก.พ. พิจารณาความเห็นของนายกรัฐมนตรีแล้วยังยืนยันตามมติเดิม ให้ ก.พ. รายงานต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาวินิจฉัย การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีสั่งการหรือคณะรัฐมนตรีมีมติตามวรรคหนึ่ง ให้ ผู้อุทธรณ์กลับเข้ารับราชการ หรือให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งของผู้บังคับบัญชาหรือให้ดำเนินการประการใด ให้กระทรวง ทบวง กรมดำเนินการให้เป็นไปตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีหรือมติคณะรัฐมนตรี และเมื่อนายกรัฐมนตรีสั่งการหรือคณะรัฐมนตรีมีมติตามวรรคหนึ่งเป็นประการใดแล้วจะอุทธรณ์ต่อไปอีกมิได้ ในกรณีที่สั่งให้ผู้อุทธรณ์กลับเข้ารับราชการ ให้นำมาตรา ๑๐๗ มาใช้บังคับโดย อนุโลม มาตรา ๑๒๗ ในการพิจารณาอุทธรณ์ ให้ ก.พ. มีอำนาจตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ๑๑๐ และมาตรา ๑๒๒ และในกรณีที่ ก.พ. ตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญเพื่อทำหน้าที่พิจารณาเรื่องการอุทธรณ์แทน ก.พ. ก็ให้ อ.ก.พ. วิสามัญนั้นมีอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๑๐ วรรคสองและวรรคสาม และมาตรา ๑๒๒ และให้นำมาตรา ๑๐๕ มาตรา ๑๑๐ วรรคสี่ และมาตรา ๑๒๒ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๒๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งโอนมาจากพนักงานเทศบาล พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือข้าราชการตามมาตรา ๖๑ ผู้ใดถูกสั่งลงโทษทางวินัยอยู่ก่อนวันโอนมา บรรจุและผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบพนักงานเทศบาล ระเบียบพนักงาน ส่วนท้องถิ่น หรือระเบียบข้าราชการที่โอนมา แต่ยังมิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ตามกฎหมายดังกล่าว ก็ให้ ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๒๕ ได้ แต่ถ้าผู้นั้นได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ พนักงานเทศบาลระเบียบพนักงานส่วนท้องถิ่นหรือระเบียบข้าราชการที่โอนมาไว้แล้วและในวันที่ ผู้นั้นได้โอนมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ยังไม่แล้วเสร็จ ก็ให้ส่งเรื่องให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๑๒๕ เป็นผู้พิจารณาอุทธรณ์ หมวด ๘ การร้องทุกข์ มาตรา ๑๒๙ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตาม พระราชบัญญัตินี้ด้วยเหตุใด ๆ ให้ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ได้ การร้องทุกข์ตามวรรคหนึ่งให้ร้องทุกข์ต่อ ก.พ. ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบ คำสั่ง และให้นำมาตรา ๑๒๖ ตลอดจนหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. และมาตรา ๑๒๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๓๐ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๒๙ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดเห็นว่า ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติต่อตนโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติต่อตนให้ถูกต้องตาม กฎหมาย หรือมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาต่อตนในกรณีตามที่ กำหนดในกฎ ก.พ. ผู้นั้นอาจร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชา อ.ก.พ. จังหวัด อ.ก.พ. กรม อ.ก.พ. กระทรวง หรือ ก.พ. แล้วแต่กรณี ตามที่กำหนดไว้ในกฎ ก.พ. เพื่อขอให้แก้ไขหรือแก้ความคับข้องใจได้ ทั้งนี้ เว้นแต่กรณีที่มีสิทธิอุทธรณ์ตามหมวด ๗ ซึ่งต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ตามที่กำหนดไว้ในหมวดนั้น การร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่กำหนดในกฎ ก.พ. ลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ มาตรา ๑๓๑* ภายใต้บังคับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การให้มี อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง และ อ.ก.พ. ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม การกำหนดตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง การบรรจุ การแต่งตั้ง การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ วินัยและการรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ของข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ให้ เป็นไปตามลักษณะ ๑ และลักษณะ ๓ เว้นแต่จะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดไว้เป็นพิเศษ *[มาตรา ๑๓๑ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗] ลักษณะ ๕ ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ มาตรา ๑๓๒ ตำแหน่งเอกอัครราชทูต กงสุลใหญ่ กงสุล และตำแหน่งอื่นที่ต้อง ปฏิบัติหน้าที่ในต่างประเทศตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. อาจแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนสามัญหรือข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษก็ได้ เมื่อมีเหตุผลสมควรในทางการเมือง รัฐมนตรีเจ้าสังกัดจะบรรจุบุคคลซึ่งมี คุณสมบัติทั่วไปหรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๓๐ เข้ารับราชการเป็น ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่งเป็นกรณีพิเศษโดย อนุมัติคณะรัฐมนตรีก็ได้ สำหรับตำแหน่งเอกอัครราชทูตและตำแหน่งเทียบเท่าอธิบดี ให้นำความ กราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง ภายใต้บังคับมาตรา ๓๑ ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษผู้ดำรงตำแหน่งใด จะได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด ให้นำมาตรา ๔๓ มาตรา ๗๒ มาตรา ๗๓ มาตรา ๗๔ และหมวด ๔ แห่ง ลักษณะ ๓ มาใช้บังคับแก่ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษโดยอนุโลม ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษจะโอนไปหรือกลับเข้ารับราชการเป็น ข้าราชการพลเรือนประเภทอื่นมิได้ มาตรา ๑๓๓ ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษออกจากราชการเมื่อ (๑) ตาย (๒) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๓) ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัดให้ลาออก (๔) รัฐมนตรีเจ้าสังกัดมีคำสั่งให้ออกโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี ไม่ว่าจะเป็นการ ออกโดยมีความผิดหรือไม่มีความผิดก็ตาม ในกรณีที่เป็นการออกจากราชการเพราะกระทำผิดวินัย ให้เป็นไปตามลักษณะ ๓ โดยอนุโลม (๕) คณะรัฐมนตรีที่อนุมัติให้แต่งตั้งออกจากตำแหน่งทั้งคณะ หรือรัฐมนตรี เจ้าสังกัดออกจากตำแหน่ง (๖) ขาดคุณสมบัติทั่วไปโดยไม่ได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติ ตามมาตรา ๓๐ การต่อเวลาราชการให้ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษที่ต้องออกจาก ราชการตาม (๒) รับราชการต่อไป จะกระทำมิได้ ให้นำมาตรา ๑๒๐ มาใช้บังคับแก่การออกจากราชการของข้าราชการ ประจำต่างประเทศพิเศษโดยอนุโลม บทเฉพาะกาล มาตรา ๑๓๔ ให้ ก.พ. อ.ก.พ. วิสามัญ และ อ.ก.พ. สามัญ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรง พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือจนกว่าจะได้แต่งตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญ หรืออนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญ แล้วแต่กรณี ตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ไม่เกินหนึ่ง ร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๓๕ ผู้ใดเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ หรือข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการพลเรือน สามัญ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ หรือข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ ตามพระราช บัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี ต่อไป ผู้ใดเป็นข้าราชการพลเรือนวิสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้นั้นเป็น ข้าราชการพลเรือนวิสามัญต่อไป และให้นำมาตรา ๑๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ มาใช้บังคับแก่ผู้นั้น เว้นแต่ข้าราชการพลเรือนวิสามัญผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งที่ ก.พ. พิจารณาเห็นว่าทำหน้าที่อย่างเดียวกับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ หรือข้าราชการ พลเรือนในพระองค์ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้นั้นเป็น ข้าราชการพลเรือนสามัญ หรือข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี โดยให้ได้รับเงินเดือนในอัตราเท่ากับเงินเดือนที่ได้รับอยู่ ทั้งนี้ เฉพาะผู้ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๓๐ (ข) เป็นผู้ได้รับประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาหรือที่กระทรวงศึกษาธิการ เทียบได้ไม่ต่ำกว่าประโยคมัธยมศึกษา และเป็นข้าราชการพลเรือนวิสามัญในตำแหน่งที่ทำหน้าที่ อย่างเดียวกับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญหรือข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ติดต่อกันมา เป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี ผู้ใดเป็นข้าราชการพลเรือนวิสามัญตามวรรคสอง แต่ไม่อยู่ในเกณฑ์ตาม (ข) ให้ ผู้นั้นเป็นข้าราชการพลเรือนวิสามัญไปพลางก่อน เมื่อเข้าเกณฑ์ตาม (ข) ก็ให้เป็นข้าราชการ พลเรือนสามัญ หรือข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี โดยให้ได้รับเงินเดือนในอัตราเท่ากับเงินเดือนที่ได้รับอยู่ มาตรา ๑๓๖ ในระหว่างที่บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนตามพระราช บัญญัตินี้ยังไม่มีผลใช้บังคับ ให้ข้าราชการพลเรือนได้รับเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือน ข้าราชการพลเรือน บัญชี ข. ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๑ มาตรา ๑๓๗ ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกา หรือออกกฎ ก.พ. ข้อบังคับ หรือระเบียบ หรือจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง หรือกำหนดกรณีใดเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำพระราชกฤษฎีกากฎ ก.พ. ข้อบังคับ ระเบียบ มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง หรือกรณีที่กำหนดไว้แล้วซึ่งใช้อยู่เดิมมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๓๘ ข้าราชการพลเรือนผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยหรือกรณีที่สมควรให้ ออกจากราชการอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้บังคับบัญชาตามพระราชบัญญัตินี้มี อำนาจสั่งลงโทษผู้นั้น หรือสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ พลเรือนที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ส่วนการสอบสวน การพิจารณา และการดำเนินการเพื่อลงโทษหรือให้ ออกจากราชการ ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ (๑) กรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งให้สอบสวนโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ใน ขณะนั้นไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และยังสอบสวนไม่เสร็จ ก็ให้สอบสวนตาม กฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะเสร็จ (๒) ในกรณีที่ได้มีการสอบสวนหรือพิจารณาโดยถูกต้องตามกฎหมาย ที่ใช้อยู่ในขณะนั้นเสร็จไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้การสอบสวนหรือพิจารณา แล้วแต่กรณีนั้นเป็นอันใช้ได้ (๓) กรณีที่ได้มีการรายงานหรือส่งเรื่อง หรือนำสำนวนเสนอ หรือส่งให้ อ.ก.พ. กระทรวงพิจารณาโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นและ อ.ก.พ. กระทรวงพิจารณา เรื่องนั้นยังไม่เสร็จ ก็ให้ อ.ก.พ. กระทรวงพิจารณาตามกฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะเสร็จ มาตรา ๑๓๙ ข้าราชการพลเรือนซึ่งโอนมาจากพนักงานเทศบาลพนักงาน ส่วนท้องถิ่นหรือข้าราชการประเภทอื่นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ผู้ใดมีกรณีกระทำผิด วินัยหรือกรณีที่สมควรให้ออกจากงานหรือให้ออกจากราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ พนักงานเทศบาล ระเบียบพนักงานส่วนท้องถิ่น หรือระเบียบข้าราชการนั้นอยู่ก่อนวันที่พระราช บัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้บังคับบัญชาตามพระราชบัญญัตินี้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยแก่ผู้นั้น หรือดำเนินการสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้ ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๑๑๑ และมาตรา ๑๒๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๔๐ ผู้ใดถูกสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ หรือตามมาตรา ๑๓๘ แห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามมาตรา ๑๒๕ หรือมาตรา ๑๒๖ แล้วแต่กรณี มาตรา ๑๔๑ ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๔๖ มาตรา ๕๙ มาตรา ๙๐ มาตรา ๙๖ มาตรา ๙๗ มาตรา ๙๘ มาตรา ๙๙ มาตรา ๑๐๐ หรือมาตรา ๑๒๑ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ หรือตามมาตรา ๑๓๘ แห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ได้ตามมาตรา ๑๒๙ มาตรา ๑๔๒ การใดอยู่ระหว่างดำเนินการตามพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับการดำเนินการต่อไป สำหรับ การนั้น ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๑๔๓ การใดที่เคยดำเนินการได้ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ พลเรือนที่ใช้อยู่ก่อนวันใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ และมิได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ จะ ดำเนินการได้ประการใด ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนดโดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวบางส่วนไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน เช่น ในส่วนที่เกี่ยวกับองค์ประกอบของ ก.พ. และ อ.ก.พ. สามัญอำนาจหน้าที่ของ ก.พ. และ อ.ก.พ. สามัญ การกำหนดตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือน การบรรจุและแต่งตั้ง การบำเหน็จความชอบ วินัยและการรักษาวินัย การออกจากราชการ การร้องทุกข์ การอุทธรณ์ สมควรแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น นอกจากนี้ สมควรที่จะให้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการเพื่อให้การปฏิบัติราชการของข้าราชการพลเรือนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ข้าราชการพลเรือนใน พระองค์และหน่วยงานที่ข้าราชการดังกล่าวสังกัดอยู่มีลักษณะพิเศษเกี่ยวพันกับราชการใน พระองค์โดยใกล้ชิด สมควรกำหนดให้มี อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง และ อ.ก.พ. ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมที่แตกต่างจากข้าราชการพลเรือนสามัญ ทั้งนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะพิเศษของข้าราชการดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ [รก.๒๕๓๗/๖๔ก/๕/๓๑ ธันวาคม ๒๕๓๗] ดวงใจ/แก้ไข ๐๕/๐๓/๔๕
315765
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 (Update ณ วันที่ 01/01/2538)
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นปีที่ ๔๗ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำ และยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕” มาตรา ๒* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป *[รก.๒๕๓๕/๓๑/๑/๓๑ มีนาคม ๒๕๓๕] มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ (๒) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๙ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๐ (๓) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ (๔) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๑ (๕) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๒๒ (๖) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๒๓ (๗) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๑ (๘) ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๓๕ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ บรรดากฎหมาย กฎ ข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน และมิให้นำคำสั่ง หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่ ๓๘/๒๕๑๙ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๙ มาใช้บังคับ แก่ข้าราชการพลเรือน มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “ข้าราชการพลเรือน” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งตาม พระราชบัญญัตินี้ให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือน “ข้าราชการฝ่ายพลเรือน” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้ง ตามกฎหมายให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือน ในกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือน “กระทรวง” หมายความรวมถึงส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวงหรือมีฐานะ เทียบเท่ากระทรวงด้วย “รัฐมนตรีเจ้าสังกัด” หมายความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงรัฐมนตรีว่าการ ทบวงและหมายความรวมถึงนายกรัฐมนตรีในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาสำนักนายกรัฐมนตรี นายก รัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัด กระทรวงหรือทบวงด้วย “ปลัดกระทรวง” หมายความรวมถึงปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและปลัดทบวงด้วย “รองปลัดกระทรวง” หมายความรวมถึงรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและ รองปลัดทบวงด้วย “กรม” หมายความรวมถึงส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมด้วย “อธิบดี” หมายความรวมถึงหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมด้วย “รองอธิบดี” หมายความรวมถึงรองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมด้วย “ผู้ช่วยอธิบดี” หมายความรวมถึงผู้ช่วยหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ด้วย “ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการ ปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี” หมายความว่า ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ซึ่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินบัญญัติให้หัวหน้าส่วนราชการนั้นรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี มาตรา ๕ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ลักษณะ ๑ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน มาตรา ๖ ให้มีคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.” ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและเลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านระบบราชการและการจัดส่วน ราชการ ด้านการพัฒนาองค์การ ด้านการบริหารและการจัดการและด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็น ที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับการสรรหาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน แต่ไม่เกินเจ็ดคน ทั้งนี้ ต้องเป็นผู้ที่ดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า แต่ถ้าจะแต่งตั้งผู้ที่ไม่เคยเป็นข้าราชการหรือเคยเป็นข้าราชการแต่ดำรงตำแหน่งต่ำกว่าอธิบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่าจะดำเนินการเพื่อแต่งตั้งได้ไม่เกินสามคน (๒) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวง หัวหน้าหรือรองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวง หัวหน้าหรือรองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี อธิบดี หรือผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวในกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนห้าคน ซึ่งแต่ละคนสังกัดอยู่ต่างกระทรวง ทบวง หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวง กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง ต้องไม่เป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรรมการพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง และมิได้เป็น กรรมการโดยตำแหน่งอยู่แล้ว กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรง ตำแหน่งตาม (๒) ผู้ใดออกจากราชการพลเรือน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นที่มิใช่ตำแหน่งตาม (๒) หรือโอนไปสังกัดกระทรวง ทบวง หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม และไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงอื่นที่มีกรรมการตาม (๒) สังกัดอยู่แล้ว ให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งกรรมการ มาตรา ๗ กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งได้ คราวละสองปี ถ้าตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนดและยังมีกรรมการดังกล่าวเหลืออยู่อีกไม่ น้อยกว่าห้าคน ให้กรรมการที่เหลือปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ เมื่อตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนดให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการแทน ภายในกำหนดสามสิบวัน เว้นแต่วาระของกรรมการเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่แต่งตั้ง กรรมการแทนก็ได้ ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการแทนนั้น ให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่ง จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้เป็น กรรมการอีกก็ได้ ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่ ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ไปก่อนจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่ มาตรา ๘ ก.พ. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายการบริหาร งานบุคคลของข้าราชการพลเรือน และการจัดระบบราชการพลเรือน (๒) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับมาตรฐานการบริหาร งานบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือน (๓) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือน การจัดและการพัฒนาส่วนราชการและวิธีปฏิบัติราชการของข้าราชการ ฝ่ายพลเรือน (๔) พิจารณากำหนดนโยบายเกี่ยวกับการวางแผนกำลังคนในราชการพลเรือน (๕) ออกกฎ ก.พ. ข้อบังคับ หรือระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎ ก.พ. เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ (๖) ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ มติของ ก.พ. ตามข้อนี้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วให้ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย (๗) กำกับ ดูแล ตรวจสอบ แนะนำและชี้แจงเพื่อให้กระทรวงทบวง กรม ปฏิบัติ การตามพระราชบัญญัตินี้ ในการนี้ ให้มีอำนาจเรียกเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากหน่วย ราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ ห้างหุ้นส่วนบริษัท หรือบุคคลใด ๆ หรือให้ผู้แทนหน่วย ราชการรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ ห้างหุ้นส่วนบริษัท ข้าราชการหรือบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำหรือชี้แจงข้อเท็จจริง และให้มีอำนาจออกระเบียบให้กระทรวง ทบวง กรมรายงานเกี่ยวกับการสอบ การบรรจุ การแต่งตั้งการเลื่อนขั้นเงินเดือน การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการตลอดจนการรายงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่งและของส่วนราชการ การเปลี่ยนแปลงการใช้ตำแหน่งทะเบียนประวัติของข้าราชการพลเรือน และการปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ไปยัง ก.พ. (๘) รายงานนายกรัฐมนตรีในกรณีที่ปรากฏว่ากระทรวง ทบวง กรม ไม่ปฏิบัติ การตามพระราชบัญญัตินี้ หรือปฏิบัติการโดยไม่เหมาะสมเพื่อนายกรัฐมนตรีจะได้พิจารณาและ สั่งการต่อไป (๙) รายงานคณะรัฐมนตรีในกรณีที่ค่าครองชีพเปลี่ยนแปลงไปมากหรือการ จัดสวัสดิการหรือประโยชน์เกื้อกูลสำหรับข้าราชการยังไม่เหมาะสมเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาใน อันที่จะปรับปรุงเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งเงินเพิ่มค่าครองชีพ สวัสดิการ หรือประโยชน์เกื้อกูล สำหรับข้าราชการพลเรือนให้เหมาะสม (๑๐) กำหนดนโยบายและออกระเบียบเกี่ยวกับทุนของรัฐบาลเพื่อสนองความ ต้องการกำลังคนของกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือน และทุนเล่าเรียนหลวง ตลอดจนการจัดสรรผู้รับทุนของรัฐบาลที่สำเร็จการศึกษาแล้วเข้ารับราชการในส่วนราชการต่าง ๆ (๑๑) ออกข้อบังคับหรือระเบียบเพื่อควบคุมดูแลข้าราชการฝ่ายพลเรือนที่ศึกษา หรือฝึกอบรมในต่างประเทศ และเพื่อดูแลจัดการการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศ รวมทั้งเพื่อควบคุมการศึกษา ความประพฤติ และการใช้จ่าย ตลอดจนการเก็บเงินชดเชยค่าใช้จ่ายในการดูแลจัดการการศึกษา การกำหนดวินัย และการลงโทษสำหรับนักเรียนดังกล่าว ทั้งนี้ ให้ถือว่าเงินชดเชยค่าใช้จ่ายในการดูแลจัดการการศึกษาเป็นเงินรายรับของส่วนราชการที่เป็นสถานอำนวยบริการอันเป็นสาธารณประโยชน์ตามความหมายในกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ (๑๒) พิจารณารับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือ คุณวุฒิอย่างอื่นเพื่อประโยชน์ในการบรรจุและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน และกำหนดเงินเดือนที่ควรได้รับและระดับตำแหน่งที่ควรแต่งตั้ง (๑๓) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ (๑๔) พิจารณาการแก้ไขทะเบียนประวัติเกี่ยวกับวันเดือนปีเกิดและการควบคุม เกษียณอายุของข้าราชการพลเรือน (๑๕) ปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้ในมาตราอื่นแห่งพระราชบัญญัติ นี้และกฎหมายอื่น มาตรา ๙ เมื่อนายกรัฐมนตรีได้รับรายงานของ ก.พ. ตามมาตรา ๘ (๘) ให้ นายกรัฐมนตรีพิจารณาสั่งให้กระทรวง ทบวง กรมปฏิบัติการให้ถูกต้องหรือเหมาะสมต่อไป และให้กระทรวง ทบวง กรม ปฏิบัติให้เป็นไปตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่เห็นด้วยกับมติของ ก.พ. ที่รายงานตามมาตรา ๘ (๘) ให้ส่งความเห็นของนายกรัฐมนตรีให้ ก.พ. พิจารณาและถ้า ก.พ. พิจารณาแล้วยังยืนยันตามมติ เดิม ให้ ก.พ. รายงานต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาวินิจฉัยและเมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติประการใด ให้ ก.พ. และกระทรวง ทบวง กรม ปฏิบัติให้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรี มาตรา ๑๐ การประชุม ก.พ. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม การประชุม ก.พ. ถ้าาประธานไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธาน ในการประชุม ก.พ. ถ้ามีการพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับตัวกรรมการผู้ใดโดยเฉพาะ ผู้นั้นไม่มีสิทธิเข้าประชุม ภายใต้บังคับมาตรา ๓๐ การวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือเสียงข้างมากถ้ามีคะแนนเสียง เท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๑๑ ก.พ. มีอำนาจตั้งคณะอนุกรรมการวิสามัญ เรียกโดยย่อว่า "อ.ก.พ. วิสามัญ" เพื่อทำการใด ๆ แทนได้ การตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญเพื่อทำหน้าที่พิจารณาเรื่องการดำเนินการทางวินัย การ ออกจากราชการ การอุทธรณ์หรือการร้องทุกข์ ให้ตั้งจากกรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งอย่างน้อยสองคนและข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนอนุกรรมการทั้งหมด อนุกรรมการซึ่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือน ถ้าออกจากราชการพลเรือน ให้พ้นจากตำแหน่ง ในกรณีที่กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง พ้นจากตำแหน่งตาม วาระ ให้ อ.ก.พ. วิสามัญที่ได้รับแต่งตั้งจาก ก.พ. คณะนั้นพ้นจากตำแหน่งไปด้วย ในระหว่างที่ยัง มิได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่ ให้ อ.ก.พ. วิสามัญปฏิบัติหน้าที่ไปก่อนจน กว่าจะได้มีการแต่งตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญใหม่ มาตรา ๑๒ ให้มีสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนเรียกโดยย่อว่า “สำนักงาน ก.พ.” โดยมีเลขาธิการ ก.พ. เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและบริหารราชการของสำนักงาน ก.พ. ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี สำนักงาน ก.พ. มีหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานในหน้าที่ของ ก.พ. และดำเนินการ ตามที่ ก.พ. มอบหมาย (๒) วิเคราะห์วิจัยเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและการจัดระบบราชการ พลเรือน (๓) ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับมาตรฐานการบริหารงานบุคคลของข้าราชการ ฝ่ายพลเรือน (๔) ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ฝ่ายพลเรือน การจัดและการพัฒนาส่วนราชการ และวิธีปฏิบัติราชการของข้าราชการฝ่ายพลเรือน (๕) พัฒนาระบบข้อมูลและจัดทำแผนกำลังคนในราชการพลเรือน (๖) ส่งเสริม ประสานงาน เผยแพร่ ให้คำปรึกษาแนะนำ และดำเนินการเกี่ยวกับ การจัดสวัสดิการสำหรับข้าราชการพลเรือน (๗) ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาข้าราชการพลเรือน (๘) ดำเนินการเกี่ยวกับทุนของรัฐบาลเพื่อสนองความต้องการกำลังคนของ กระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือน และทุนเล่าเรียนหลวงตลอดจนการจัดสรรผู้รับทุนของรัฐบาลที่ สำเร็จการศึกษาแล้วเข้ารับราชการในส่วนราชการต่าง ๆ ตามนโยบายและระเบียบที่ ก.พ. กำหนด (๙) ดำเนินการเกี่ยวกับการดูแลข้าราชการฝ่ายพลเรือนที่ศึกษาหรือฝึกอบรมใน ต่างประเทศ และการดูแลจัดการการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศ (๑๐) ดำเนินการเกี่ยวกับการรับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญาประกาศนียบัตร วิชาชีพ หรือคุณวุฒิอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน และการกำหนดเงินเดือนที่ควรได้รับและระดับตำแหน่งที่ควรแต่งตั้ง (๑๑) ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาทะเบียนประวัติและการควบคุมเกษียณอายุ ของข้าราชการพลเรือน (๑๒) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในราชการพลเรือน เสนอต่อ ก.พ. มาตรา ๑๓ ให้มีคณะอนุกรรมการสามัญเรียกโดยย่อว่า อ.ก.พ. สามัญดังนี้ (๑) คณะอนุกรรมการสามัญประจำกระทรวง ทบวง หรือส่วนราชการที่มีฐานะ เป็นกระทรวง เรียกโดยย่อว่า อ.ก.พ. กระทรวง ทบวง หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวงโดย ออกนามกระทรวง ทบวง หรือส่วนราชการนั้น ๆ (๒) คณะอนุกรรมการสามัญประจำกรม หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม เรียกโดยย่อว่า อ.ก.พ. กรม หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมโดยออกนามกรมหรือส่วนราชการ นั้น ๆ (๓) คณะอนุกรรมการสามัญประจำจังหวัด เรียกโดยย่อว่า อ.ก.พ. จังหวัด โดย ออกนามจังหวัดนั้น ๆ มาตรา ๑๔ อ.ก.พ. กระทรวง ประกอบด้วยรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นประธาน ปลัด กระทรวงเป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. ซึ่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนในสำนักงาน ก.พ. หนึ่งคน เป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่ง และอนุกรรมการซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการและ ด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับการสรรหาตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนสามคน ทั้งนี้ จะต้องเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการซึ่งดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า (๒) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง อธิบดหรือผู้ดำรง ตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไปในกระทรวงนั้น ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่ง ดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนห้าคน ในกรณีที่กฎหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการประเภทอื่นบัญญัติให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนไปใช้บังคับ แก่ข้าราชการประเภทใด คำว่า "ข้าราชการพลเรือน" ให้หมายถึงข้าราชการประเภทนั้น ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน อนุกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งและได้รับเลือก ตาม (๒) ถ้าออกจากราชการพลเรือน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นที่มิใช่ตำแหน่งตาม (๒) หรือโอนไปรับราชการนอกกระทรวงเดิม ให้พ้นจากตำแหน่งอนุกรรมการ มาตรา ๑๕ อ.ก.พ. กระทรวง มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณากำหนดนโยบายและระบบการบริหารงานบุคคลตลอดจนระเบียบ วิธีปฏิบัติราชการในกระทรวง (๒) พิจารณาการกำหนดและการเกลี่ยอัตรากำลังระหว่างส่วนราชการต่าง ๆ ภายในกระทรวง (๓) พิจารณาปรับปรุงโครงสร้าง การบริหารงาน การจัดและการพัฒนาส่วน ราชการในกระทรวง (๔) พิจารณากำหนดนโยบาย กำกับดูแล และส่งเสริมเกี่ยวกับการพัฒนา ข้าราชการภายในกระทรวง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดี คุณธรรมและจริยธรรม อันจะทำให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ (๕) พิจารณาเกี่ยวกับเรื่องการดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (๖) พิจารณาให้ความเห็นแก่รัฐมนตรีเจ้าสังกัดตามที่รัฐมนตรีเจ้าสังกัดปรึกษา (๗) ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ และช่วย ก.พ. ปฏิบัติการให้เป็นไป ตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่ ก.พ. มอบหมาย (๘) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของ อ.ก.พ. กระทรวง เสนอต่อ ก.พ. มาตรา ๑๖ อ.ก.พ. สำนักนายกรัฐมนตรีประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีหรือ รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. ซึ่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนในสำนักงาน ก.พ.หนึ่งคนเป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่ง และอนุกรรมการซึ่งประธาน อ.ก.พ.แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และ ด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับการสรรหาตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนสามคน ทั้งนี้ จะต้องเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการซึ่งดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า (๒) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีอธิบดี หรือ ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไปในสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนห้าคน ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน และให้ อ.ก.พ. นี้ทำหน้าที่อ.ก.พ.กระทรวง อนุกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งและได้รับเลือก ตาม (๒) ถ้าออกจากราชการพลเรือน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นที่มิใช่ตำแหน่งตาม (๒) หรือโอนไปรับราชการนอกสำนักนายกรัฐมนตรี ให้พ้นจากตำแหน่งอนุกรรมการ มาตรา ๑๗ อ.ก.พ. ทบวง ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการทบวงเป็นประธาน ปลัดทบวงเป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. ซึ่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนในสำนักงาน ก.พ. หนึ่งคน เป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่ง และอนุกรรมการซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และ ด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับการสรรหาตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนสามคน ทั้งนี้ จะต้องเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการซึ่งดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า (๒) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งรองปลัดทบวง อธิบดีหรือผู้ดำรง ตำแหน่งระดับ ๑๐ ขึ้นไปในทบวงนั้น ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่ง ดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนห้าคน ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน และให้ อ.ก.พ. นี้ทำหน้าที่ อ.ก.พ.กระทรวง อนุกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งและได้รับเลือกตาม (๒) ถ้าออกจากราชการ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นที่มิใช่ตำแหน่งตาม (๒) หรือโอนไปรับราชการนอกทบวงเดิม ให้พ้นจากตำแหน่งอนุกรรมการ มาตรา ๑๘ ให้ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวง แต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วน ราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี มี อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวงประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีในฐานะรัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือรองนายกรัฐมนตรี หรือ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน หัวหน้าส่วนราชการ นั้นเป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. ซึ่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนในสำนักงาน ก.พ. หนึ่งคน เป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่ง และอนุกรรมการซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และ ด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับการสรรหาตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนสามคน ทั้งนี้ จะต้องเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการซึ่งดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ ๙ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า (๒) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ดำรง ตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไปในส่วนราชการนั้น ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือน ผู้ดำรงตำแหน่ง ดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนห้าคน ในกรณีที่กฎหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการประเภทอื่นบัญญัติให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนไปใช้บังคับ แก่ข้าราชการประเภทใด คำว่า "ข้าราชการพลเรือน" ให้หมายถึงข้าราชการประเภทนั้น ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน อนุกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งและได้รับเลือก ตาม (๒) ถ้าออกจากราชการพลเรือน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นที่มิใช่ตำแหน่งตาม (๒) หรือโอนไปรับราชการนอกส่วนราชการเดิม ให้พ้นจากตำแหน่งอนุกรรมการ มาตรา ๑๙ ให้ราชบัณฑิตยสถาน มี อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง ประกอบด้วยรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นประธาน นายกราชบัณฑิตยสถานเป็นรองประธาน เลขาธิการ ราชบัณฑิตยสถาน และผู้แทน ก.พ. ซึ่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนในสำนักงาน ก.พ. หนึ่งคน เป็น อนุกรรมการโดยตำแหน่ง และอนุกรรมการซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และ ด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับการสรรหาตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนสามคน ทั้งนี้ จะต้องเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการซึ่งดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ ๙ หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า (๒) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ ๙ ในราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ในกฎ ก.พ. จำนวนห้าคน ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน อนุกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งและได้รับเลือก ตาม (๒) ถ้าออกจากราชการพลเรือน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นที่มิใช่ตำแหน่งตาม (๒) หรือโอนไปรับราชการนอกราชบัณฑิตยสถาน ให้พ้นจากตำแหน่งอนุกรรมการ มาตรา ๒๐ ให้นำความในมาตรา ๑๕ มาใช้บังคับแก่ อ.ก.พ. สำนักนายก รัฐมนตรีตามมาตรา ๑๖ อ.ก.พ. ทบวงตามมาตรา ๑๗ อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง ตาม มาตรา ๑๘ และมาตรา ๑๙ โดยอนุโลม มาตรา ๒๑ อ.ก.พ. กรมและ อ.ก.พ. ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ประกอบ ด้วยอธิบดีเป็นประธาน รองอธิบดีที่อธิบดีมอบหมายหนึ่งคนเป็นรองประธานและอนุกรรมการ ซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการและ ด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับการสรรหาตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนสามคน ทั้งนี้ จะต้องเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการซึ่งดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกองหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า (๒) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีที่มิได้รับมอบหมายให้เป็น รองประธาน ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ ขึ้นไป ผู้ช่วยอธิบดี ผู้อำนวยการกอง หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่ากองหรือเลขานุการกรมในกรมนั้น ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรง ตำแหน่งดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนหกคน ในกรณีที่กฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทอื่นบัญญัติให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนไปใช้ บังคับแก่ข้าราชการประเภทใด คำว่า "ข้าราชการพลเรือน" ให้หมายถึงข้าราชการประเภทนั้น สำหรับสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง และสำนักงานเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการทบวง ให้ อ.ก.พ. สำนักงานปลัดกระทรวง หรือ อ.ก.พ. สำนักงานปลัดทบวง แล้วแต่กรณี ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กรม ส่วนราชบัณฑิตยสถานให้ อ.ก.พ. ตามมาตรา ๑๙ ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กรม ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน อนุกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งและได้รับเลือก ตาม (๒) ถ้าออกจากราชการพลเรือน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นที่มิใช่ตำแหน่งตาม (๒) หรือโอนไปรับราชการนอกกรมเดิม ให้พ้นจากตำแหน่งอนุกรรมการ มาตรา ๒๒ อ.ก.พ. กรมและ อ.ก.พ. ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมมีอำนาจ หน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณากำหนดนโยบายและระบบการบริหารงานบุคคลตลอดจนระเบียบ วิธีการปฏิบัติราชการในกรม (๒) พิจารณาการกำหนดและการเกลี่ยอัตรากำลังระหว่างส่วนราชการต่าง ๆ ภายในกรม (๓) พิจารณาปรับปรุงโครงสร้าง การบริหารงาน การจัดและการพัฒนาส่วน ราชการในกรม (๔) พิจารณากำหนดนโยบาย กำกับดูแล และส่งเสริมเกี่ยวกับการพัฒนา ข้าราชการภายในกรม เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดีคุณธรรมและจริยธรรม อันจะทำให้ ปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ (๕) พิจารณาเกี่ยวกับเรื่องการดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การ อุทธรณ์ และการร้องทุกข์ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (๖) พิจารณาให้ความเห็นแก่อธิบดีตามที่อธิบดีปรึกษา (๗) ปฏิบัติการตามที่ อ.ก.พ. กระทรวงมอบหมาย (๘) ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ และช่วย ก.พ. ปฏิบัติการให้เป็นไป ตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่ ก.พ. มอบหมาย (๙) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของ อ.ก.พ. กรม เสนอ ต่อกระทรวงเจ้าสังกัด และ ก.พ. มาตรา ๒๓ อ.ก.พ. จังหวัด ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายหนึ่งคนเป็นรองประธาน และอนุกรรมการซึ่งประธาน อ.ก.พ. แต่งตั้งจาก (๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และ ด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และเป็นผู้ที่ได้รับการสรรหาตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนสามคน ทั้งนี้ จะต้องเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการซึ่งดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกองหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า (๒) ข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดที่มิได้รับ มอบหมายให้เป็นรองประธาน ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด หรือหัวหน้าส่วนราชการ ประจำจังหวัดที่กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ แต่งตั้งไปประจำจังหวัดนั้น ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. จำนวนหกคน ซึ่งแต่ละคนสังกัดอยู่ต่างกระทรวง ทบวง หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวง ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการหนึ่งคน อนุกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งและได้รับเลือก ตาม (๒) ผู้ใดออกจากราชการพลเรือน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นที่มิใช่ตำแหน่งตาม (๒) ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในจังหวัดอื่น หรือโอนไปสังกัดกระทรวง ทบวง หรือส่วนราชการที่มี ฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงอื่นที่มีอนุกรรมการตาม (๒) สังกัดอยู่แล้ว ให้ผู้นั้น พ้นจากตำแหน่งอนุกรรมการ มาตรา ๒๔ อ.ก.พ. จังหวัด มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณากำหนดนโยบายและระบบการบริหารงานบุคคลตลอดจนระเบียบ วิธีปฏิบัติราชการในจังหวัด (๒) พิจารณากำหนดนโยบาย และประสานการพัฒนาข้าราชการในจังหวัดให้ สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวง ทบวง กรม ตลอดจนกำกับดูแลและส่งเสริมเกี่ยวกับการพัฒนาข้าราชการในจังหวัด เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดี คุณธรรมและจริยธรรม อันจะทำให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ (๓) พิจารณาเกี่ยวกับเรื่องการดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (๔) พิจารณาให้ความเห็นแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัด ปรึกษา (๕) ปฏิบัติการตามที่ อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. ทบวง หรือ อ.ก.พ.กรม มอบหมาย (๖) ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ และช่วย ก.พ. ปฏิบัติการให้เป็นไป ตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่ ก.พ. มอบหมาย (๗) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของ อ.ก.พ. จังหวัด เสนอต่อกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และ ก.พ. มาตรา ๒๕ อนุกรรมการตามมาตรา ๑๔ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๖ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๗ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๘ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๙ (๑) และ (๒) มาตรา ๒๑ (๑) และ (๒) และมาตรา ๒๓ (๑) และ (๒) ให้อยู่ในตำแหน่งได้คราวละสองปี ถ้าตำแหน่งอนุกรรมการว่างลงก่อนกำหนดและยังมีอนุกรรมการเหลืออยู่อีกไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของอนุกรรมการตามมาตรา ๑๔ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๖ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๗ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๘ (๑) และ (๒) มาตรา ๑๙ (๑) และ (๒) มาตรา ๒๑ (๑) และ (๒) หรือมาตรา ๒๓ (๑) และ (๒) แล้วแต่กรณี รวมกัน ให้อนุกรรมการที่เหลือปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ เมื่อตำแหน่งอนุกรรมการว่างลงก่อนกำหนดให้ดำเนินการแต่งตั้งอนุกรรมการ แทนภายในกำหนดสามสิบวัน เว้นแต่วาระของอนุกรรมการเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่ แต่งตั้งอนุกรรมการแทนก็ได้ ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการแทนนั้นให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียง เท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน อนุกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่ง จะแต่งตั้งให้เป็นอนุกรรมการอีกก็ได้ ในกรณีที่อนุกรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้แต่งตั้งอนุกรรมการ ใหม่ให้อนุกรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ไปก่อนจนกว่าจะได้แต่งตั้งอนุกรรมการใหม่ มาตรา ๒๖ กระทรวงหรือทบวงใดมีเหตุพิเศษ ก.พ. จะอนุมัติให้มีแต่ อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. ทบวง แล้วแต่กรณีก็ได้ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. ทบวง ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กรมด้วย มาตรา ๒๗ กระทรวง ทบวง กรมใดมีเหตุพิเศษ ก.พ. จะกำหนดจำนวน อนุกรรมการตามมาตรา ๑๔ (๒) มาตรา ๑๖ (๒) มาตรา ๑๗ (๒) มาตรา ๑๘ (๒) มาตรา ๑๙ (๒) มาตรา ๒๑ (๒) หรือมาตรา ๒๓ (๒) แล้วแต่กรณี ให้น้อยกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ในมาตรานั้น ๆ ก็ได้ มาตรา ๒๘ ให้นำมาตรา ๑๐ มาใช้บังคับแก่การประชุมของ อ.ก.พ. วิสามัญ และ อ.ก.พ. สามัญ โดยอนุโลม ลักษณะ ๒ บททั่วไป มาตรา ๒๙ ข้าราชการพลเรือนมี ๓ ประเภท (๑) ข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับ เงินเดือนในอัตราสามัญ และได้รับแต่งตั้งตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะ ๓ (๒) ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่งในพระองค์พระมหากษัตริย์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา (๓) ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งได้รับ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในต่างประเทศในกรณีพิเศษโดยเหตุผลทางการเมืองตามที่บัญญัติไว้ใน ลักษณะ ๕ มาตรา ๓๐ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนต้องมีคุณสมบัติทั่วไป ดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี (๓) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธิ์ใจ (๔) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง (๕) ไม่เป็นผู้มีกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. (๖) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งให้พักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการ ไว้ก่อนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือตามกฎหมายอื่น (๗) ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม (๘) ไม่เป็นกรรมการพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (๙) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย (๑๐) ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะ กระทำความผิดทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิด ลหุโทษ (๑๑) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ หรือ หน่วยงานอื่นของรัฐ (๑๒) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออก เพราะกระทำผิดวินัยตาม กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือตามกฎหมายอื่น (๑๓) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก เพราะกระทำผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือตามกฎหมายอื่น (๑๔) ไม่เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนซึ่งขาดคุณสมบัติตาม (๗) (๙) (๑๐) หรือ (๑๔) ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ ส่วนผู้ที่ขาดคุณสมบัติตาม (๑๑) หรือ (๑๒) ถ้าผู้นั้นได้ออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้วหรือผู้ที่ขาดคุณสมบัติตาม (๑๓) ถ้าผู้นั้นได้ออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว และมิใช่เป็นกรณีออกจากงานหรือออกจากราชการเพราะกระทำผิดในกรณีทุจริตต่อหน้าที่ ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ มติของ ก.พ. ในการประชุมปรึกษายกเว้นเช่นนี้ต้องได้คะแนนเสียงสี่ในห้าของจำนวนกรรมการในที่ประชุม การลงมติให้กระทำโดยลับ การขอยกเว้นและการพิจารณายกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติทั่วไปให้เป็นไป ตามระเบียบที่ ก.พ. วางไว้ ผู้ที่เป็นข้าราชการพลเรือนต้องมีคุณสมบัติทั่วไปตามวรรคหนึ่งตลอดเวลาที่รับ ราชการ เว้นแต่คุณสมบัติตาม (๖) หรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามวรรคสอง มาตรา ๓๑* อัตราเงินเดือน อัตราเงินประจำตำแหน่งและการรับเงิน ประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือน ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและ เงินประจำตำแหน่ง การจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งให้แก่ข้าราชการพลเรือน ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น *[มาตรา ๓๑ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๘] มาตรา ๓๒ เพื่อประโยชน์ในการออมทรัพย์ของข้าราชการพลเรือน คณะ รัฐมนตรีจะวางระเบียบและวิธีการให้กระทรวงการคลังหักเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนไว้เป็น เงินสะสมก็ได้ โดยคิดดอกเบี้ยจากเงินสะสมนั้นให้ในอัตราไม่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทประจำของธนาคารพาณิชย์ เงินสะสมและดอกเบี้ยนี้ให้จ่ายคืนหรือให้กู้ยืมเพื่อดำเนินการตามโครงการ สวัสดิการสำหรับข้าราชการพลเรือนตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๓๓ ข้าราชการพลเรือนอาจได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่ประจำอยู่ใน ต่างประเทศ หรือตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตามระเบียบที่ ก.พ. และกระทรวงการคลังกำหนด มาตรา ๓๔ ข้าราชการพลเรือนอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะ เศรษฐกิจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๓๕ วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการ ประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการพลเรือน ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๓๖ เครื่องแบบของข้าราชการพลเรือนและระเบียบการแต่งเครื่องแบบ ให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น มาตรา ๓๗ บำเหน็จบำนาญข้าราชการพลเรือนให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย การนั้น ลักษณะ ๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญ หมวด ๑ การกำหนดตำแหน่ง และการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง มาตรา ๓๘ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมีชื่อในการบริหารงานตามที่ กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และอาจมีตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานตามที่กระทรวง ทบวง กรม ทำความตกลงกับ ก.พ. อีกก็ได้ มาตรา ๓๙ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมี ๓ ประเภท (๑) ตำแหน่งประเภททั่วไป (๒) ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ตามที่กำหนดใน พระราชกฤษฎีกา (๓) ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือบริหารระดับกลาง ตามที่กำหนด ในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๔๐ ระดับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมี ๑๑ ระดับ คือระดับ ๑ ระดับ ๒ ระดับ ๓ ระดับ ๔ ระดับ ๕ ระดับ ๖ ระดับ ๗ ระดับ ๘ ระดับ ๙ ระดับ ๑๐ และ ระดับ ๑๑ โดยตำแหน่งระดับ ๑ เป็นระดับต่ำสุดเรียงสูงขึ้นไป เป็นลำดับตามความยากและคุณภาพของงานจนถึงตำแหน่งระดับ ๑๑ เป็นระดับสูงสุด ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญจะมีตำแหน่งใด ระดับใด อยู่ในส่วนราชการ ใด จำนวนเท่าใด ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด ทั้งนี้ ก.พ. จะมอบหมายให้องค์กรหรือส่วนราชการใดเป็นผู้กำหนดแทนตามหลักเกณฑ์มาตรฐานและวิธีการที่ ก.พ. กำหนดก็ได้ การกำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งใดเป็นตำแหน่งระดับใด ให้ประเมินความยากและคุณภาพของงานในตำแหน่งนั้นแล้วปรับเทียบกับบรรทัดฐานในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.พ. จัดทำไว้ตามมาตรา ๔๒ การปรับตำแหน่งเทียบกับบรรทัดฐานในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้จัดตำแหน่งที่มีลักษณะงานอย่างเดียวกันเข้าประเภทและสายงานเดียวกัน และจัดตำแหน่งในสายงานเดียวกัน ที่มีความยากและคุณภาพของงานอยู่ในระดับเดียวกันโดยประมาณเข้ากลุ่มตำแหน่งเดียวกันและระดับเดียวกัน ในกรณีที่ส่วนราชการใดเห็นว่า ก.พ. กำหนดจำนวนตำแหน่งของข้าราชการ พลเรือนสามัญในส่วนราชการนั้นไม่เหมาะสม ส่วนราชการนั้นจะเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อ พิจารณาก็ได้ ถ้าคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรแก้ไขการกำหนดจำนวนตำแหน่งนั้น ให้ส่งเรื่องให้ ก.พ. พิจารณาทบทวนใหม่ มาตรา ๔๑ เมื่อ ก.พ. กำหนดให้มีตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่ง ใด ระดับใด ในส่วนราชการใด จำนวนเท่าใด ตามมาตรา ๔๐ แล้วให้สำนักงาน ก.พ. ประสานกับ สำนักงบประมาณเพื่อจัดสรรเงินงบประมาณในแต่ละปี สำหรับตั้งเป็นอัตราเงินเดือนของตำแหน่ง ดังกล่าวให้สอดคล้องกัน มาตรา ๔๒ ให้ ก.พ. จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งไว้เป็นบรรทัดฐานในการ กำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญทุกตำแหน่งโดยจำแนกตำแหน่งเป็นประเภทและ สายงานตามลักษณะงาน และจัดตำแหน่งในประเภทเดียวกันและสายงานเดียวกันที่คุณภาพของงานอยู่ในระดับเดียวกันโดยประมาณเป็นกลุ่มเดียวกันและระดับเดียวกัน ทั้งนี้โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) ตำแหน่งระดับ ๑ ได้แก่ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับต้นมีลักษณะงาน ที่ไม่ยาก ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ ตรวจสอบ หรือสอนงานอย่างใกล้ชิด หรือปฏิบัติงานตาม คำสั่ง แบบอย่าง หรือแนวทางปฏิบัติที่มีอยู่อย่างแน่ชัด ละเอียดถี่ถ้วนซึ่งปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถระดับพื้นฐานขั้นต้น (๒) ตำแหน่งระดับ ๒ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับต้น มีลักษณะงานที่ค่อนข้างยาก ปฏิบัติ งานภายใต้การกำกับ ตรวจสอบ หรือสอนงานเป็นระยะหรือปฏิบัติงานตามคำสั่ง แบบอย่าง หรือ แนวทางปฏิบัติที่มีอยู่อย่างกว้าง ๆ ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ความสามารถระดับพื้นฐาน ขั้นสูง หรือ (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ มีลักษณะงานที่ค่อนข้างยาก ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ ตรวจสอบ หรือสอนงานเป็นระยะ หรือปฏิบัติงานตามคำสั่ง แบบอย่างหรือแนวทางปฏิบัติที่มีอยู่อย่างกว้าง ๆ ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้ได้รับการอบรมหรือมีประสบการณ์การปฏิบัติงานในงานที่ไม่ยากมาแล้ว (๓) ตำแหน่งระดับ ๓ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับต้น มีลักษณะงานที่ยากพอสมควร ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบบ้าง หรือปฏิบัติงานตามคำสั่ง แบบอย่างหรือ แนวทางปฏิบัติที่มีอยู่บ้าง ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาที่ ก.พ. รับรอง ให้บรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งระดับนี้ หรือ (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ มีลักษณะงานที่ยากพอ สมควร ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ ตรวจสอบ หรือแนะนำบ้างหรือปฏิบัติงานตามคำสั่ง แบบอย่าง หรือแนวทางปฏิบัติที่มีอยู่บ้าง ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้ได้รับการอบรมหรือมี ประสบการณ์การปฏิบัติงานในงานที่ค่อนข้างยากมาแล้ว (๔) ตำแหน่งระดับ ๔ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับต้น มีลักษณะงานที่ยากปฏิบัติงาน ภายใต้การกำกับ ตรวจสอบ หรือแนะนำเฉพาะในบางกรณีที่จำเป็นซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดย ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาที่ ก.พ. รับรองให้บรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งระดับนี้ (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ มีลักษณะงานที่ยาก ปฏิบัติ งานภายใต้การกำกับ ตรวจสอบ หรือแนะนำเฉพาะในบางกรณีที่จำเป็นในการปฏิบัติงานจำเป็น ต้องแก้ปัญหาค่อนข้างบ่อย ต้องประยุกต์ประสบการณ์และความชำนาญงาน เพื่อปรับวิธีการและ แนวดำเนินการให้เหมาะสมกับสถานการณ์ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้ได้รับการอบรมหรือมี ประสบการณ์การปฏิบัติงานในงานที่ยากพอสมควรมาแล้ว หรือ (ค) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้าหน่วยงานระดับต้นในงานสนับสนุนมีลักษณะงาน ต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และควบคุมผู้ปฏิบัติงานจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นงานที่มีหน้าที่ความ รับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานสูงพอสมควร (๕) ตำแหน่งระดับ ๕ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานซึ่งมีลักษณะงานที่ค่อนข้างยากมาก ปฏิบัติงาน โดยไม่จำเป็นต้องมีการกำกับ ตรวจสอบ หรือแนะนำซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้สำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาที่ ก.พ. รับรองให้บรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งระดับนี้ (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ มีลักษณะงานที่ค่อนข้าง ยากมาก ปฏิบัติงานโดยไม่จำเป็นต้องมีการกำกับ ตรวจสอบหรือแนะนำ ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดย ผู้ได้รับการอบรมหรือมีประสบการณ์การปฏิบัติงานในงานที่ยากมาแล้ว หรือ (ค) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้าหน่วยงานในงานเทคนิค งานสนับสนุน งานช่างฝีมือ หรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ มีลักษณะงานต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และควบคุม ผู้ปฏิบัติงานจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานสูง (๖) ตำแหน่งระดับ ๖ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ มีลักษณะงานที่ยากมาก ปฏิบัติงานโดยจำเป็นต้องมีการตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในงานที่รับผิดชอบค่อนข้างมาก ซึ่งจำเป็น ต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถความชำนาญงานและประสบการณ์ที่แสดงให้เห็นว่า สามารถปฏิบัติงานในความรับผิดชอบด้วยตนเองได้ (ข) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้าหน่วยงานเทียบเท่ากองในงานสนับสนุนของ ส่วนราชการ หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด หรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ มีลักษณะ งานต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบและบังคับบัญชาผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นงานที่มี หน้าที่ความรับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานค่อนข้างสูงมากหรือตำแหน่งหัวหน้า หน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานเทียบได้ระดับเดียวกัน หรือ (ค) ตำแหน่งสำหรับลักษณะงานวิชาชีพเฉพาะ ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มี ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญงาน และประสบการณ์สูงในงานวิชาชีพเฉพาะ (๗) ตำแหน่งระดับ ๗ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้าหน่วยงานที่เป็นกอง มีลักษณะงานจัดการ และต้อง กำกับ ตรวจสอบ และบังคับบัญชาผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำนวนมากพอสมควร ซึ่งเป็นงานที่มีหน้าที่ ความรับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานสูงมาก หรือตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานเทียบเท่า กอง หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ หรือหัวหน้าหน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานสูงมากเทียบได้ระดับเดียวกัน (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ มีลักษณะงานที่ยากเป็น พิเศษ ปฏิบัติงานโดยจำเป็นต้องมีการตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในงานที่รับผิดชอบมากซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถความชำนาญงาน และประสบการณ์สูงมากหรือลักษณะงานตรวจและแนะนำการปฏิบัติราชการ หรือลักษณะงานตรวจการในงานเทคนิคเฉพาะด้าน หรือตรวจการในงานหลักตามอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการระดับกรม หรือ (ค) ตำแหน่งสำหรับลักษณะงานวิชาชีพเฉพาะ ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มี ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญงาน และประสบการณ์สูงมากในงานวิชาชีพเฉพาะ (๘) ตำแหน่งระดับ ๘ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้าหน่วยงานที่เป็นกอง มีลักษณะงานจัดการ และต้อง กำกับ ตรวจสอบ และบังคับบัญชาผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำนวนมากพอสมควร ซึ่งเป็นงานที่มีหน้าที่ ความรับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานสูงมากเป็นพิเศษ หรือตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงาน เทียบเท่ากองหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด หรือหัวหน้าหน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานสูงมากเป็นพิเศษเทียบได้ระดับเดียวกัน (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ มีลักษณะงานที่ยากมากเป็น พิเศษ ปฏิบัติงานโดยจำเป็นต้องมีการตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในงานที่รับผิดชอบเป็นประจำ หรือ ลักษณะงานช่วยหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม หรือลักษณะงานตรวจและแนะนำการปฏิบัติ ราชการ หรือตรวจการในงานเทคนิคเฉพาะด้าน หรือตรวจการในงานหลักตามอำนาจหน้าที่ของ ส่วนราชการระดับกรม ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถความชำนาญงาน และ ประสบการณ์สูงมากเป็นพิเศษ หรือ (ค) ตำแหน่งสำหรับลักษณะงานวิชาชีพเฉพาะ ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มี ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญงาน และประสบการณ์สูงมากเป็นพิเศษในงานวิชาชีพเฉพาะ (๙) ตำแหน่งระดับ ๙ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้บริหารระดับสูง ในฐานะรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม หรือจังหวัด (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้บริหารระดับสูง ในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าส่วนราชการระดับ กระทรวงหรือทบวง ผู้ช่วยหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงแต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี หรือผู้ช่วยหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมี หัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี (ค) ตำแหน่งสำหรับลักษณะงานวิชาชีพเฉพาะหรือลักษณะงานเชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูง และมีความเชี่ยวชาญและผลงานเป็นที่ยอมรับในวงการด้านนั้น (ง) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้าหน่วยงานที่สูงกว่ากอง ซึ่งมีหน้าที่และความรับ ผิดชอบในงานหลักตามอำนาจหน้าที่ของกรม และเป็นงานที่มีความหลากหลาย ความยาก และมี คุณภาพของงานสูงมากกว่ากองหรือ (จ) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งมีลักษณะงานตรวจและแนะนำการปฏิบัติ ราชการ หรือลักษณะงานให้คำปรึกษาของส่วนราชการระดับกระทรวง ทบวง หรือลักษณะงานอื่น ที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ความยากและคุณภาพของงานเทียบได้ระดับเดียวกัน (๑๐) ตำแหน่งระดับ ๑๐ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้บริหารระดับสูง ในฐานะหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม หรือจังหวัด (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้บริหารระดับสูง ในฐานะรองหัวหน้าส่วนราชการระดับ กระทรวงหรือทบวง รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงแต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี หรือรองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี (ค) ตำแหน่งสำหรับลักษณะงานวิชาชีพเฉพาะหรือลักษณะงานเชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูง มาก และมีความเชี่ยวชาญและผลงานเป็นที่ยอมรับในวงการด้านนั้น (ง) ตำแหน่งสำหรับหัวหน้าส่วนราชการระดับสถานเอกอัครราชทูตหรือ เทียบเท่า (จ) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานซึ่งมีลักษณะงานตรวจและแนะนำการปฏิบัติ ราชการ หรือลักษณะงานให้คำปรึกษาของส่วนราชการระดับกระทรวง ทบวง ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติ โดยผู้มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องมาแล้ว หรือลักษณะงานอื่นที่มีหน้าที่ ความรับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานเทียบได้ระดับเดียวกัน (๑๑) ตำแหน่งระดับ ๑๑ ได้แก่ (ก) ตำแหน่งสำหรับผู้บริหารระดับสูง ในฐานะหัวหน้าส่วนราชการระดับ กระทรวงหรือทบวง (ข) ตำแหน่งสำหรับผู้บริหารระดับสูง ในฐานะหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะ เป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงแต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี หรือหัวหน้า ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี (ค) ตำแหน่งสำหรับลักษณะงานวิชาชีพเฉพาะหรือลักษณะงานเชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน ตามอำนาจหน้าที่หลักของกระทรวงหรือทบวงซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงมากเป็นพิเศษ อีกทั้งทรงคุณวุฒิและมีผลงาน เป็นที่ยอมรับในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ หรือ (ง) ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่รายงานตรงต่อนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีหน้าที่ ความรับผิดชอบ ความยาก และคุณภาพของงานสูงมากเป็นพิเศษเทียบได้ระดับเดียวกับตำแหน่ง อื่นในระดับนี้ ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้แสดงประเภทตำแหน่ง ชื่อของสายงาน ลักษณะงานโดยทั่วไปของสายงาน ชื่อของกลุ่มตำแหน่ง หน้าที่และความรับผิดชอบของกลุ่ม ตำแหน่ง ลักษณะงานที่ปฏิบัติ คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ผู้ดำรงตำแหน่งจะต้องมี และ ระดับของตำแหน่งในกลุ่มนั้นด้วย มาตรา ๔๓ ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ตำแหน่งใดบังคับบัญชาข้าราชการพลเรือนในส่วนราชการหรือหน่วยงานใด ในฐานะใดให้เป็นไป ตามที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ มอบหมายโดยทำเป็นหนังสือ มาตรา ๔๔ ให้ ก.พ. ตรวจสอบการกำหนดตำแหน่งและการใช้ตำแหน่ง ข้าราชการพลเรือนสามัญให้เหมาะสม ในกรณีที่ปรากฏว่าการกำหนดตำแหน่งใดไม่เหมาะสมก็ดี การใช้ตำแหน่งใดไม่เหมาะสมตามที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๔๐ ก็ดี หรือลักษณะหน้าที่และ ความรับผิดชอบปริมาณและคุณภาพของงานของตำแหน่งใดที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๔๐ เปลี่ยนแปลงไปก็ดี ให้ ก.พ. พิจารณาปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งนั้นเสียใหม่ให้เหมาะสม ทั้งนี้ ก.พ. จะมอบหมายให้องค์กรหรือส่วนราชการใดดำเนินการแทนก็ได้ ในการปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้ ก.พ. หรือผู้ที่ ก.พ. มอบหมายมีอำนาจยุบเลิกตำแหน่งหรือตัดโอนตำแหน่งหรือตัดโอนข้าราชการพลเรือนสามัญ หรือตัดโอนตำแหน่งและข้าราชการพลเรือนสามัญที่เกินอยู่ในส่วนราชการใดไปไว้ในส่วนราชการอื่นได้ตามความจำเป็น โดย ก.พ. หรือผู้ที่ ก.พ. มอบหมายอาจเปลี่ยนชื่อตำแหน่งสายงาน หรือระดับตำแหน่งเป็นอย่างอื่นได้ตามความเหมาะสม เมื่อ ก.พ. หรือผู้ที่ ก.พ. มอบหมายมีมติหรือสั่งตามวรรคสองให้ส่วนราชการ ฝ่ายรับโอนและส่วนราชการเดิมดำเนินการให้เป็นไปตามมติหรือคำสั่งนั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด การดำเนินการตามวรรคสาม หากจะต้องตัดโอนอัตราเงินเดือนของตำแหน่ง ไปด้วย ให้ส่วนราชการฝ่ายรับโอนและส่วนราชการเดิมดำเนินการได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกำหนด และให้ถือว่าการตัดโอนอัตราเงินเดือนดังกล่าวเป็นการโอน งบประมาณรายจ่ายตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ มาตรา ๔๕* ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนตามตำแหน่ง ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ระดับใด จะได้รับเงินเดือนในอันดับ ใดตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนดโดยให้ได้รับในขั้นต่ำของอันดับ ในกรณีที่จะให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่า ขั้นต่ำหรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. *[มาตรา ๔๕ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๘] หมวด ๒ การบรรจุและการแต่งตั้ง มาตรา ๔๖ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนั้น โดยบรรจุและ แต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับสำหรับการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการตามมาตรา ๕๐ มาตรา ๕๑ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ มาตรา ๖๕ และมาตรา ๖๖ มาตรา ๔๗ ผู้สมัครสอบแข่งขันในตำแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปหรือได้รับ การยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๓๐ และต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น ตามที่ ก.พ. กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งหรือได้รับอนุมัติจาก ก.พ. ตามมาตรา ๕๖ ด้วย สำหรับผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๓๐ (๔) ให้มีสิทธิสมัครสอบแข่งขันได้ แต่จะมีสิทธิได้รับบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญในตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้ต่อเมื่อพ้นจากตำแหน่งข้าราชการการเมืองแล้ว มาตรา ๔๘ ให้ ก.พ. เป็นผู้ดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ ในการนี้ ก.พ. จะมอบหมายให้องค์กรหรือส่วนราชการใดเป็นผู้ดำเนินการสอบแทนก็ได้ ทั้งนี้ ก.พ. จะกำหนดให้มีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุในกระทรวง ทบวง กรม เป็นการทั่วไปหรือในหน่วยราชการใดหรือในท้องที่ใดเป็นการเฉพาะแห่ง และจะกำหนดให้รับสมัครสอบแข่งขันเฉพาะผู้มีคุณสมบัติอย่างใด สำหรับการสอบแข่งขันครั้งใดก็ได้ หลักสูตร วิธีการสอบแข่งขัน และวิธีดำเนินการเกี่ยวกับการสอบแข่งขัน ตลอด จนเกณฑ์การตัดสิน การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ การนำรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งหนึ่งไปขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งอื่นและการยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ให้เป็นไปตามที่ ก.พ.กำหนด มาตรา ๔๙ ผู้สอบแข่งขันได้ซึ่งอยู่ในลำดับที่ที่จะได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งใด ถ้าปรากฏว่าขาดคุณสมบัติทั่วไปโดยไม่ได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตาม มาตรา ๓๐ หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งโดยไม่ได้รับอนุมัติจาก ก.พ. ตามมาตรา ๕๖ อยู่ก่อนหรือภายหลังการสอบแข่งขัน จะบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนั้นไม่ได้ มาตรา ๕๐ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษที่ ก.พ. เห็นว่าไม่จำเป็นต้องดำเนินการ สอบแข่งขัน ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๒ อาจคัดเลือกบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งได้ ทั้งนี้ ตามกรณี หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๕๑ กระทรวง ทบวง กรมใดมีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อ ประโยชน์แก่ราชการที่จะต้องบรรจุบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถและความชำนาญงานสูง เข้ารับ ราชการในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ชำนาญการ ให้กระทรวง ทบวง กรมนั้น ดำเนินการขออนุมัติ ก.พ. เมื่อ ก.พ. ได้พิจารณาอนุมัติให้บรรจุ และได้กำหนดระดับของตำแหน่งที่จะแต่งตั้งและเงินเดือนที่จะให้ได้รับแล้ว ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๒ บรรจุและแต่งตั้งได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๕๒ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ และ การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ให้ดำเนินการตามมาตรา ๔๖ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๑ มาตรา ๕๗ มาตรา ๕๘ มาตรา ๕๙ มาตรา ๖๐ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ มาตรา ๖๕ หรือมาตรา ๖๖ แล้วแต่กรณี และให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้เป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๑) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๑ ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดนำ เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้สั่งบรรจุ และให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง (๒) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๐ ให้ปลัดกระทรวงผู้บังคับ บัญชาเสนอรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติเมื่อได้รับอนุมัติจากคณะ รัฐมนตรีแล้ว ให้ปลัดกระทรวงผู้บังคับบัญชาเป็นผู้สั่งบรรจุและให้นายกรัฐมนตรีนำความ กราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง ยกเว้นการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๐ ที่ระบุไว้ใน (๓) ส่วนการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๐ ในส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงแต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี หรือในส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีให้อธิบดีผู้บังคับบัญชาเสนอรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี พิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชาเป็นผู้สั่งบรรจุ และให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง (๓) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๐ ในส่วนราชการที่มีฐานะ เป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงแต่อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรี หรือในสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้วให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้สั่งบรรจุ และให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง (๔) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ ให้ปลัดกระทรวงผู้บังคับ บัญชาเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง ส่วนการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ ในส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงแต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี หรือในส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชาเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง สำหรับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๙ ลงมาในส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม และไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงแต่อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรี หรือในสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๕) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๘ ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชา เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งเมื่อได้รับความเห็นชอบจากปลัดกระทรวง ส่วนการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๘ ในส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวง หรือทบวงแต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี หรือในส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีให้อธิบดีผู้บังคับ บัญชาเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๖) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๗ ลงมาให้อธิบดีผู้บังคับ บัญชาหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากอธิบดีตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนดเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๗) การบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา ๔๖ และการแต่งตั้งตามมาตรา ๕๗ ให้ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๗ ลงมาในราชการบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งมิใช่หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดผู้บังคับบัญชาเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง ในการเสนอเพื่อแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งให้รายงาน ความสมควรพร้อมทั้งเหตุผลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนดไปด้วย มาตรา ๕๓ ภายใต้บังคับมาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๖๐ให้มีการ สับเปลี่ยนหน้าที่ ย้ายหรือโอนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ ระดับ ๑๐ และ ระดับ ๑๑ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีลักษณะบริหารตามที่ ก.พ. กำหนด โดยมิควรให้อยู่ปฏิบัติหน้าที่ เดียวติดต่อกันเป็นเวลานานเกินกว่าสี่ปี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด ความในมาตรานี้ไม่ให้ใช้บังคับแก่ผู้ดำรงตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดว่าเป็น ตำแหน่งที่มีลักษณะงานเฉพาะอย่าง มาตรา ๕๔ ผู้ได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๔๖ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๕๐ และข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนและเป็นผู้ที่อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ พนักงานเทศบาล หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติงาน ซึ่งโอนมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๖๑ ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นเวลาตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. โดยอยู่ในความดูแลของผู้บังคับบัญชาผู้มีหน้าที่พัฒนาตามมาตรา ๗๖ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย และให้มีการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. เพื่อให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ พิจารณาว่า ผู้นั้นมีความเหมาะสมที่จะให้รับราชการต่อไปหรือไม่ ถ้าผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ เห็นว่าผู้นั้นมีผลการประเมินต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด ไม่ควรให้รับราชการต่อไป ก็ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้ไม่ว่าจะครบกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการแล้วหรือไม่ก็ตาม ถ้าพ้นกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการดังกล่าวแล้ว และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ เห็นว่าควรให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป ก็ให้รายงานต่อไปตามลำดับจนถึงผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๑๐๙ วรรคหนึ่ง และ ก.พ. ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการผู้ใด ถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๑๑๘ และต่อมาปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออก จากราชการตามวรรคหนึ่งหรือตามมาตราอื่นก็ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ หรือผู้มีอำนาจตามมาตราอื่นนั้นแล้วแต่กรณี มีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ออกตามมาตรา ๑๑๘ เป็นให้ ออกจากราชการตามวรรคหนึ่ง หรือตามมาตราอื่นนั้นได้ ผู้อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการผู้ใดมีกรณีอันมีมูลที่ควรกล่าวหาว่า กระทำผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๕ และถ้าผู้นั้นมีกรณี ที่จะต้องออกจากราชการตามวรรคหนึ่งก็ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการตามวรรคหนึ่งไปก่อน หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง และการนับเวลา ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้ถือเสมือนว่าผู้นั้น ไม่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือ การรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการในระหว่างที่ผู้นั้นอยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ มาตรา ๕๕ การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งที่ ก.พ. ยัง มิได้กำหนดตามมาตรา ๔๐ จะกระทำมิได้ มาตรา ๕๖ ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่ง ใดต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามที่ ก.พ. กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็น ก.พ. อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการ พลเรือนสามัญที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่กำหนดไว้ใน มาตรฐานกำหนดตำแหน่งก็ได้ ในกรณีที่ ก.พ. กำหนดให้ปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิใดเป็น คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ให้หมายถึงปริญญาประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิที่ ก.พ. รับรอง มาตรา ๕๗ การย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งใดไปแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งอื่นในกรมเดียวกัน ต้องย้ายไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับเดียวกัน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด การย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ต่ำกว่า เดิม และการย้ายข้าราชการพลเรือนผู้มิได้ดำรงตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๔๐ ไปแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๔๐ จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจาก ก.พ. แล้ว มาตรา ๕๘ การเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใน ระดับที่สูงขึ้น ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันหรือผู้สอบคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งนั้นได้ หรือจากผู้ได้รับคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งนั้น กรณีใดจะเลื่อนและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ ผู้สอบคัดเลือกได้หรือผู้ได้รับ คัดเลือก ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด การสอบแข่งขัน ให้เป็นไปตามมาตรา ๔๘ ส่วนการสอบคัดเลือกและคัดเลือก ให้กระทรวง ทบวง กรมเจ้าสังกัดเป็นผู้ดำเนินการ หลักสูตรและวิธีดำเนินการเกี่ยวกับการสอบ คัดเลือก คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครสอบคัดเลือก เกณฑ์การตัดสิน การขึ้นบัญชีและการยกเลิก บัญชีผู้สอบคัดเลือกได้ตลอดจนวิธีดำเนินการเกี่ยวกับการคัดเลือก ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๕๙ การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๕๘ สำหรับผู้สอบแข่งขันได้ ให้แต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ สำหรับผู้สอบคัดเลือก ได้หรือผู้ได้รับคัดเลือก ให้แต่งตั้งได้ตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ ความ ประพฤติและประวัติการรับราชการ ซึ่งจะต้องเป็นผู้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๖๐ การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ข้าราชการพลเรือนสามัญในต่างกระทรวง ทบวง กรม อาจทำได้เมื่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนนั้นแล้ว โดยให้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ไม่สูง กว่าเดิมและรับเงินเดือนในขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นการโอนตามวรรคสองวรรคสี่ วรรคหก และมาตรา ๔๔ การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๙ ขึ้นไป ไปแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในกระทรวงเดียวกันให้โอนไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ในระดับที่ไม่สูงกว่าเดิมและรับเงินเดือนในขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม เว้นแต่เป็นการโอนตามวรรคสาม การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งระดับ ๙ และระดับ ๑๐ ไปแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วน ราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี และการโอนข้าราชการพลเรือน สามัญตำแหน่งดังกล่าวซึ่งสังกัดส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบ ในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ ในกรม หรือต่างส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติ ราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีในกระทรวงเดียวกัน อาจทำได้เมื่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนนั้นแล้วทั้งนี้ ให้โอนไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับ ที่ไม่สูงกว่าเดิมและรับเงินเดือนในขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๑๐ ขึ้นไปไปแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในต่างกระทรวง ให้โอนไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ไม่สูงกว่าเดิมและรับเงินเดือนในขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม และต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือน สามัญในสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี และการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญสังกัดสำนักงานเลขา นุการรัฐมนตรี ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในกรมหรือต่างสำนักงาน เลขานุการรัฐมนตรี อาจทำได้เมื่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอม ในการโอนนั้นแล้ว ทั้งนี้ ให้โอนไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ไม่สูงกว่าเดิม และรับเงินเดือนในขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้สอบแข่งขันได้ ผู้สอบคัดเลือกได้หรือผู้ได้รับ คัดเลือก ให้ทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด การโอนข้าราชการพลเรือนผู้มิได้ดำรงตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๔๐ ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๔๐ ใน ต่างกระทรวง ทบวง กรม หรือต่างสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีหรือโอนจากกรมไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี หรือโอนจากสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในกรม จะทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจาก ก.พ. แล้ว ในการนี้ให้ ก.พ. พิจารณาโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับ และให้ ก.พ. กำหนดระดับของตำแหน่งที่จะแต่งตั้งและเงินเดือนที่จะให้ได้รับด้วย การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ต่ำกว่า เดิมต่างกระทรวง ทบวง กรม หรือต่างสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีหรือโอนจากกรมไปแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งในสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี หรือโอนจากสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในกรม จะทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจาก ก.พ. แล้ว ในการนี้ให้ ก.พ. พิจารณาโดยคำนึงถึงเหตุผลความจำเป็นและประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับ และให้ ก.พ. กำหนดเงินเดือนที่จะให้ได้รับด้วย มาตรา ๖๑ การโอนพนักงานเทศบาลที่ไม่ใช่พนักงานเทศบาลวิสามัญและการ โอนข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนตามพระราชบัญญัตินี้ และไม่ใช่ข้าราชการการเมือง หรือ ข้าราชการวิสามัญมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญอาจทำได้ถ้าเจ้าตัวสมัครใจ โดยผู้มี อำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ของกระทรวง ทบวง กรมที่จะรับโอนทำความตกลงกับผู้มีอำนาจ สั่งบรรจุของส่วนราชการหรือหน่วยงานสังกัดเดิม แล้วเสนอเรื่องไปให้ ก.พ. พิจารณาอนุมัติ ในการนี้ ให้ ก.พ. พิจารณาโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับ ส่วนจะบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับใด และจะให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้ ก.พ. เป็นผู้พิจารณากำหนด แต่จะต้องไม่สูงกว่าข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีคุณวุฒิ ความสามารถ และความชำนาญงานในระดับเดียวกัน ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นการโอนตามวรรคสาม การโอนข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนตามพระราชบัญญัตินี้และไม่ใช่ ข้าราชการการเมืองหรือข้าราชการวิสามัญ มาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญในกรมเดียวกัน หรือในส่วนราชการใดที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการ สังกัดเดิมด้วย ให้ทำได้ตามวรรคหนึ่ง โดยผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ไม่ต้องทำความตกลงในการโอน การโอนพนักงานเทศบาลและข้าราชการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ซึ่งเป็น ผู้สอบแข่งขันได้หรือผู้ได้รับคัดเลือก มาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญให้ทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด การโอนพนักงานส่วนท้องถิ่นที่ระเบียบพนักงานนั้นบัญญัติไว้ในพระราช บัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา และไม่ใช่พนักงานวิสามัญมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้ทำได้เช่นเดียวกับการโอนพนักงานเทศบาล เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้ที่ โอนมาตามมาตรานี้ในขณะที่เป็นข้าราชการ พนักงานเทศบาล หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นอื่นนั้นเป็นเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย มาตรา ๖๒ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตาม มาตรา ๕๗ มาตรา ๕๘ หรือมาตรา ๖๐ แล้ว หากภายหลังปรากฏว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติไม่ตรงตาม คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๒ แต่งตั้งผู้นั้นให้กลับไปดำรง ตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งอื่นในระดับเดียวกับตำแหน่งเดิมที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติ เฉพาะสำหรับตำแหน่งโดยพลัน แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการในระหว่างที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติไม่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะ สำหรับตำแหน่ง ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้กลับไปดำรงตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งอื่นตามวรรคหนึ่งให้รับเงินเดือนในขั้นที่พึงจะได้รับตามสถานภาพเดิม และให้ถือว่าผู้นั้นไม่มีสถานภาพอย่างใดในการที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ตนมีคุณสมบัติไม่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น มาตรา ๖๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการเพื่อไปรับ ราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร เมื่อผู้นั้นพ้นจากราชการทหาร โดยมิได้ กระทำการใด ๆ ในระหว่างรับราชการทหารอันเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรงหรือได้ชื่อว่าเป็น ผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง และผู้นั้นไม่เป็นผู้ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๓๐ และไม่ได้ถูกสั่ง เปลี่ยนแปลงคำสั่งตามมาตรา ๑๑๘ วรรคสอง เป็นให้ออกจากราชการตามมาตราอื่น หากประสงค์จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญในกระทรวง ทบวง กรมเดิมภายในกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันพ้นจากราชการทหาร ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๒ สั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง และรับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับบรรจุเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งให้มีสิทธิได้ นับวันรับราชการก่อนถูกสั่งให้ออกจากราชการ รวมกับวันรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และวันรับราชการเมื่อได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการเป็นเวลาราชการติดต่อกันเพื่อประโยชน์ตามพระราชบัญญัตินี้ และตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการเสมือนว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกสั่งให้ออกจากราชการ มาตรา ๖๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ ออกจากราชการไปปฏิบัติงานใด ๆ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญ เหมือนเต็มเวลาราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ถ้าผู้นั้นกลับเข้ารับ ราชการภายในกำหนดเวลาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติแต่ไม่เกินสี่ปีนับแต่วันไปปฏิบัติงานดังกล่าวให้ ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๒ สั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง และรับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๖๕ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดออกจากราชการไปแล้ว และไม่ใช่ เป็นกรณีออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการถ้าสมัครเข้ารับราชการและทาง ราชการต้องการจะรับผู้นั้นเข้ารับราชการให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๒ สั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งและรับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนดได้ มาตรา ๖๖ พนักงานเทศบาล พนักงานส่วนท้องถิ่นอื่นซึ่งระเบียบพนักงานนั้น บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา ที่ไม่ใช่พนักงานวิสามัญ หรือพนักงานซึ่งออก จากงานในระหว่างทดลองปฏิบัติงาน หรือข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราช บัญญัตินี้ และไม่ใช่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญ หรือข้าราชการซึ่งออกจากราชการใน ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ผู้ใดออกจากงานหรือออกจากราชการไปแล้ว ถ้าสมัครเข้ารับ ราชการในตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญและทางราชการต้องการจะรับผู้นั้นเข้ารับราชการ ให้ ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ของกระทรวง ทบวง กรมที่ต้องการจะรับเข้ารับราชการเสนอ เรื่องไปให้ ก.พ. พิจารณาอนุมัติ ในการนี้ให้ ก.พ. พิจารณาโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ทางราชการ จะได้รับ ทั้งนี้จะบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับใด และจะให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้ ก.พ. เป็นผู้พิจารณากำหนด แต่จะต้องไม่สูงกว่าข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีคุณวุฒิ ความสามารถและความชำนาญงานในระดับเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของ ผู้เข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งในขณะที่เป็นข้าราชการพนักงานเทศบาล หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น อื่นนั้นเป็นเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย มาตรา ๖๗ ผู้ได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดตามมาตรา ๔๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๑ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ มาตรา ๖๕ และมาตรา ๖๖ หากภายหลังปรากฏว่าขาดคุณสมบัติทั่วไปโดยไม่ได้ รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๓๐ หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นโดยไม่ได้รับอนุมัติจาก ก.พ. ตามมาตรา ๕๖ อยู่ก่อนก็ดี มีกรณีต้องหาอยู่ก่อนและภายหลังเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเนื่องจากกรณีต้องหานั้นก็ดีให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ สั่งให้ผู้นั้น ออกจากราชการโดยพลัน แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการก่อนมีคำสั่งให้ออกนั้นและถ้าการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้ว ให้ถือว่าเป็นการสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา ๖๘ ในกรณีที่ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญว่างลงหรือผู้ดำรง ตำแหน่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ และเป็นกรณีที่มิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วย ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการ พลเรือนที่เห็นสมควรรักษาการในตำแหน่งนั้นได้ ผู้รักษาการในตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้มีอำนาจหน้าที่ตามตำแหน่งที่รักษา การนั้น ในกรณีที่มีกฎหมายอื่น กฎ ระเบียบ ข้อบังคับมติคณะรัฐมนตรี มติคณะกรรมการตาม กฎหมายหรือคำสั่งผู้บังคับบัญชาแต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ๆ เป็นกรรมการ หรือให้มีอำนาจ หน้าที่อย่างใดก็ให้ผู้รักษาการในตำแหน่งทำหน้าที่กรรมการ หรือมีอำนาจหน้าที่อย่างนั้นในระหว่างที่รักษาการในตำแหน่งแล้วแต่กรณี มาตรา ๖๙ ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็น ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ มีอำนาจสั่งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ประจำกระทรวงประจำทบวง ประจำกรม ประจำกองหรือ ประจำจังหวัด แล้วแต่กรณีเป็นการชั่วคราว โดยให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่เดิมได้ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. การให้ได้รับเงินเดือน การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือนการดำเนินการทางวินัย และการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๗๐ ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็น ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญพ้นจากตำแหน่งหน้าที่และขาดจากอัตราเงินเดือนใน ตำแหน่งเดิมโดยให้รับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทนที่ ก.พ. กำหนดได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. การให้พ้นจากตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือน การแต่งตั้งการเลื่อนขั้นเงินเดือน การดำเนินการทางวินัย และการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. หมวด ๓ การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ มาตรา ๗๑ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็น ข้าราชการและปฏิบัติราชการมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทาง ราชการ ถือว่าผู้นั้นมีความชอบ จะได้รับบำเหน็จความชอบซึ่งอาจเป็นคำชมเชย เครื่องเชิดชูเกียรติ รางวัลหรือการได้เลื่อนขั้นเงินเดือนตามควรแก่กรณี มาตรา ๗๒ การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญให้ผู้บังคับบัญชา พิจารณาโดยคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณงาน ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานที่ได้ปฏิบัติมา ความสามารถและความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน ตลอดจนการรักษาวินัยและการปฏิบัติตน เหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. การเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ข้าราชการพลเรือนสามัญที่อยู่ในหลักเกณฑ์ตามวรรค หนึ่ง ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาที่จะพิจารณา ในกรณีที่ไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดให้ ผู้บังคับบัญชาแจ้งให้ผู้นั้นทราบพร้อมทั้งเหตุผลที่ไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนให้ มาตรา ๗๓ การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้ดำเนินการตาม มาตรา ๗๒ และให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) หรือ (๖) แล้วแต่กรณี เป็นผู้สั่งเลื่อน การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญในราชการบริหารส่วนภูมิภาคให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งข้อเท็จจริงและความเห็นเกี่ยวกับการควรเลื่อนหรือไม่ควรเลื่อนไปยังอธิบดีผู้บังคับบัญชาเพื่อประกอบการพิจารณา สำหรับการเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๗ ลงมาในราชการบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งมิใช่หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด คณะรัฐมนตรีจะมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดผู้บังคับบัญชาสั่งเลื่อนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. ตามมาตรา ๗๒ ก็ได้ มาตรา ๗๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติ หน้าที่ราชการ คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์ใน การคำนวณบำเหน็จบำนาญก็ได้ มาตรา ๗๕ ให้มีการพัฒนาผู้ได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน สามัญตามมาตรา ๔๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๕๐ ก่อนมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติเพื่อให้รู้ระเบียบ แบบแผนของทางราชการ หลักและวิธีปฏิบัติราชการ บทบาทและหน้าที่ของข้าราชการในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และแนวทางปฏิบัติตนเพื่อเป็นข้าราชการ ที่ดี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.กำหนด มาตรา ๗๖ ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่พัฒนาผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา เพื่อเพิ่มพูน ความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดี คุณธรรมและจริยธรรม อันจะทำให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๗๗ ให้มีการพัฒนาข้าราชการพลเรือนก่อนเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งบางตำแหน่ง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดี คุณธรรมและจริยธรรมอันจะทำให้ ปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๗๘ การพัฒนาข้าราชการพลเรือนโดยการให้ไปศึกษาเพิ่มเติมใน ประเทศ และการให้ไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในต่างประเทศให้เป็นไปตาม ระเบียบที่ ก.พ. วางไว้ เว้นแต่คณะรัฐมนตรีจะได้กำหนดเป็นอย่างอื่น มาตรา ๗๙ ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้อยู่ใต้ บังคับบัญชาเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแต่งตั้ง เลื่อนขั้นเงินเดือน พัฒนาข้าราชการพลเรือน เพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ และมีหน้าที่เสริมสร้างแรงจูงใจให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการและปฏิบัติราชการมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด หมวด ๔ วินัยและการรักษาวินัย มาตรา ๘๐ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาวินัยตามที่บัญญัติเป็นข้อห้าม และข้อปฏิบัติไว้ในหมวดนี้ โดยเคร่งครัดอยู่เสมอ มาตรา ๘๑ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องสนับสนุนการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วย ความบริสุทธิ์ใจ มาตรา ๘๒ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความ ซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม ห้ามมิให้อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจหน้าที่ราชการของตนไม่ว่าจะโดย ทางตรงหรือทางอ้อมหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่น ได้ประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการและเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๘๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้เกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการ มาตรา ๘๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความ อุตสาหะ เอาใจใส่ระมัดระวังรักษาประโยชน์ของทางราชการและต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ ราชการ การประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่าง ร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๘๕ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตาม กฎหมาย ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี และนโยบายของรัฐบาลโดยไม่ให้เสียหาย แก่ราชการ การปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบของทาง ราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของรัฐบาล อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๘๖ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องถือว่าเป็นหน้าที่พิเศษที่จะสนใจและ รับทราบเหตุการณ์เคลื่อนไหวอันอาจเป็นภยันตรายต่อประเทศชาติและต้องป้องกันภยันตรายซึ่งจะบังเกิดแก่ประเทศชาติจนเต็มความสามารถ มาตรา ๘๗ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาความลับของทางราชการ การเปิดเผยความลับของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการ อย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๘๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ โดยไม่ขัดขืนหรือ หลีกเลี่ยง แต่ถ้าเห็นว่าการปฏิบัติตามคำสั่งนั้นจะทำให้เสียหายแก่ราชการ หรือจะเป็นการไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการ จะเสนอความเห็นเป็นหนังสือทันทีเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนคำสั่งนั้นก็ได้ และเมื่อได้เสนอความเห็นแล้วถ้าผู้บังคับบัญชายืนยันให้ปฏิบัติตามคำสั่งเดิม ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม การขัดคำสั่งหรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการ อย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๘๙ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องปฏิบัติราชการโดยมิให้เป็นการ กระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้กระทำหรือได้รับอนุญาตเป็นพิเศษชั่วครั้งคราว มาตรา ๙๐ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องแจ้ง ถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย การรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่าง ร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๙๑ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องถือและปฏิบัติตามระเบียบและแบบ ธรรมเนียมของทางราชการ และจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือนตามข้อบังคับที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๙๒ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการจะละ ทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้ การละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นเหตุให้เสีย หายแก่ราชการอย่างร้ายแรง หรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๙๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคี และไม่กระทำการอย่างใดที่เป็นการกลั่นแกล้งกัน และต้องช่วยเหลือกันในการปฏิบัติราชการ ระหว่างข้าราชการด้วยกันและผู้ร่วมปฏิบัติราชการ มาตรา ๙๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความ เป็นธรรม และให้การสงเคราะห์แก่ประชาชนผู้ติดต่อราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตนโดยไม่ชักช้า และด้วยความสุภาพเรียบร้อย ห้ามมิให้ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงประชาชนผู้ติดต่อ ราชการ การดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงประชาชนผู้ติดต่อราชการอย่าง ร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๙๕ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำ การหาผลประโยชน์อันอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรมหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ ราชการของตน มาตรา ๙๖ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการหรือ ผู้จัดการหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท มาตรา ๙๗ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองใน การปฏิบัติหน้าที่ราชการ และในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชน กับจะต้องปฏิบัติตาม ระเบียบของทางราชการว่าด้วยมารยาททางการเมืองของข้าราชการด้วย มาตรา ๙๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาชื่อเสียงของตน และรักษา เกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสียโดยไม่กระทำการใด ๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว การกระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก หรือโทษที่หนักกว่าจำคุกโดย คำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก หรือให้รับโทษที่หนักกว่าจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้ กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ หรือกระทำการอื่นใดอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว อย่างร้ายแรงเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๙๙ ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่เสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้อยู่ใต้บังคับ บัญชามีวินัย ป้องกันมิให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัย และดำเนินการทางวินัยแก่ผู้อยู่ ใต้บังคับบัญชาซึ่งมีกรณีอันมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย การเสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีวินัย ให้กระทำโดยการปฏิบัติ ตนเป็นแบบอย่างที่ดี การฝึกอบรม การสร้างขวัญและกำลังใจ การจูงใจหรือการอื่นใดในอันที่จะ เสริมสร้างและพัฒนาทัศนคติ จิตสำนึก และพฤติกรรมของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาให้เป็นไปในทางที่ มีวินัย การป้องกันมิให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัย ให้กระทำโดยการเอาใจใส่ สังเกตการณ์ และขจัดเหตุที่อาจก่อให้เกิดการกระทำผิดวินัยในเรื่องอันอยู่ในวิสัยที่จะดำเนินการ ป้องกันตามควรแก่กรณีได้ เมื่อปรากฏกรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิด วินัยโดยมีพยานหลักฐานในเบื้องต้นอยู่แล้ว ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยทันที เมื่อมีการกล่าวหาโดยปรากฏตัวผู้กล่าวหา หรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการ พลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยโดยยังไม่มีพยานหลักฐานให้ผู้บังคับบัญชารีบดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณาในเบื้องต้นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยหรือไม่ ถ้าเห็นว่ากรณีไม่มีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย จึงจะยุติเรื่องได้ ถ้าเห็นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย ก็ให้ดำเนินการทางวินัยทันที การดำเนินการทางวินัยแก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาซึ่งมีกรณีอันมีมูลที่ควรกล่าวหา ว่ากระทำผิดวินัย ให้ดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๕ ผู้บังคับบัญชาผู้ใดละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรานี้ และตามหมวด ๕ หรือ ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวโดยไม่สุจริต ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย มาตรา ๑๐๐ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดฝ่าฝืนข้อห้ามหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ ปฏิบัติทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ ผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัย จักต้องได้รับโทษทางวินัย เว้นแต่มีเหตุอันควรงดโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๕ โทษทางวินัยมี ๕ สถาน คือ (๑) ภาคทัณฑ์ (๒) ตัดเงินเดือน (๓) ลดขั้นเงินเดือน (๔) ปลดออก (๕) ไล่ออก มาตรา ๑๐๑ การลงโทษข้าราชการพลเรือนสามัญให้ทำเป็นคำสั่ง วิธีการออก คำสั่งเกี่ยวกับการลงโทษ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. วางไว้ ผู้สั่งลงโทษต้องสั่งลงโทษให้เหมาะ สมกับความผิด และมิให้เป็นไปโดยพยาบาท โดยอคติ หรือโดยโทสะจริตหรือลงโทษผู้ที่ไม่มีความผิด ในคำสั่งลงโทษให้แสดงว่าผู้ถูกลงโทษกระทำผิดวินัยในกรณีใดตามมาตราใด หมวด ๕ การดำเนินการทางวินัย มาตรา ๑๐๒ การดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งมีกรณี อันมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย ให้สอบสวนเพื่อให้ได้ความจริงและยุติธรรมโดยไม่ชักช้า การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นกรณีกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่าง ไม่ร้ายแรง ให้ดำเนินการตามวิธีการที่ผู้บังคับบัญชาเห็นสมควรถ้าเป็นกรณีกล่าวหาว่ากระทำผิด วินัยอย่างร้ายแรง ให้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวน และในการสอบสวนนี้ต้องแจ้ง ข้อกล่าวหา และสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ โดยจะระบุหรือไม่ระบุชื่อพยานก็ได้ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหา เมื่อดำเนินการแล้วถ้าฟังได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดวินัยก็ให้ดำเนินการตามมาตรา ๑๐๓ หรือมาตรา ๑๐๔ แล้วแต่กรณี ถ้ายังฟังไม่ได้ว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัย จึงจะยุติเรื่องได้ การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามวรรคสอง ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตาม มาตรา ๕๒ เป็นผู้สั่งแต่งตั้ง ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งต่างระดับกันถูกกล่าวหาว่ากระทำ ผิดวินัยอย่างร้ายแรงร่วมกัน ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ สำหรับผู้ถูกกล่าวหาที่มีตำแหน่งในระดับสูงกว่าเป็นผู้ดำเนินการตามวรรคสามได้ นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ตามวรรคสองสำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญในทุกกระทรวง ทบวง กรม ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนผู้ถูกกล่าว หาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามวรรคสอง ในเรื่องที่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ผู้ถูกกล่าวหาตามมาตรา ๑๑๔ (๔) หรือมาตรา ๑๑๕ และคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ดังกล่าวได้สอบสวนไว้แล้ว คณะกรรมการสอบสวนตามวรรคสองจะนำสำนวนการสอบสวนตาม มาตราดังกล่าวมาใช้เป็นสำนวนการสอบสวน และทำความเห็นเสนอผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ สอบสวนโดยถือว่าได้มีการสอบสวนตามวรรคสองแล้วก็ได้ แต่ทั้งนี้ ต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุป พยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยจะระบุหรือไม่ระบุชื่อพยาน ก็ได้ และต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณากรณีที่ต้องแต่งตั้งคณะ กรรมการสอบสวนตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ในกรณีที่เป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. จะดำเนิน การทางวินัยโดยไม่สอบสวนก็ได้ มาตรา ๑๐๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงให้ ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสม กับความผิด ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่สำหรับการลง โทษภาคทัณฑ์ให้ใช้เฉพาะกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย หรือมีเหตุอันควรลดหย่อน ซึ่งยังไม่ถึงกับ จะต้องถูกลงโทษตัดเงินเดือน ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่าผู้นั้นควรจะต้องได้รับโทษสูงกว่าที่ตนมี อำนาจสั่งลงโทษ ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นที่มีอำนาจเพื่อให้พิจารณาดำเนินการเพื่อ ลงโทษตามควรแก่กรณี ในกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย และมีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยให้ทำ ทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้ การลงโทษตามมาตรานี้ ผู้บังคับบัญชาใดจะมีอำนาจสั่งลงโทษผู้อยู่ใต้บังคับ บัญชา ในสถานโทษและอัตราโทษใดได้เพียงใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๐๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้ ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก ตามความร้ายแรงแห่งกรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก ทั้งนี้ ภายใต้บังคับวรรคสอง ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนที่แต่งตั้งตามมาตรา ๑๐๒ หรือผู้มีอำนาจตาม มาตรา ๑๐๒ วรรคสาม วรรคสี่ หรือวรรคห้า แล้วแต่กรณี เห็นว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใด กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง สมควรลงโทษปลดออก หรือไล่ออก ให้ดำเนินการดังนี้ (๑) สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๑๑ ลงมาถึงระดับ ๘ และสำหรับผู้ดำรง ตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๗ ลงมาที่กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงร่วมกันกับผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๘ ขึ้นไป หรือที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ๑๐๒ วรรคห้า ในราชการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. กระทรวงซึ่งผู้ถูกกล่าวหาสังกัดอยู่พิจารณา และเมื่อ อ.ก.พ. กระทรวงมีมติเป็นประการใด ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้มีอำนาจสั่งบรรจุดังกล่าว แล้วแต่กรณี สั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น (๒) สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๗ ลงมา ในราชการบริหารส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. กรมซึ่งผู้ถูกกล่าวหาสังกัดอยู่พิจารณา และเมื่อ อ.ก.พ. กรมมีมติเป็นประการใด ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุดังกล่าวสั่งหรือ ปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น ทั้งนี้ ภายใต้บังคับ (๑) (๓) สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๗ ลงมาในราชการบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งมิใช่หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ (๕) ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. จังหวัดซึ่งผู้ถูกกล่าวหาสังกัดอยู่พิจารณา และเมื่อ อ.ก.พ. จังหวัดมีมติเป็นประการใด ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุดังกล่าวสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสาม หรือตามมาตรานี้ ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๕๒ ระดับเหนือขึ้นไปมีอำนาจดำเนินการตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสาม หรือตามมาตรานี้ได้ ผู้ใดถูกลงโทษปลดออกตามมาตรานี้ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่า ผู้นั้นลาออกจากราชการ มาตรา ๑๐๕ ให้กรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมาย อาญาและให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญาเพียงเท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของกรรมการสอบสวน และโดยเฉพาะให้มีอำนาจ ดังต่อไปนี้ด้วยคือ (๑) เรียกให้กระทรวง ทบวง กรม หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจหน่วยงานอื่นของ รัฐ หรือห้างหุ้นส่วนบริษัท ชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจง หรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน (๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำหรือให้ส่งเอกสาร และหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน มาตรา ๑๐๖ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำหรือ ละเว้นกระทำการใดที่พึงเห็นได้ว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง และเป็นการกล่าวหาเป็นหนังสือ ต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น หรือต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวน หรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือ ระเบียบของทางราชการ หรือเป็นการกล่าวหาเป็นหนังสือโดยผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นหรือมีกรณี ถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา เว้นแต่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทที่ ไม่เกี่ยวกับราชการ หรือความผิดลหุโทษแม้ภายหลังผู้นั้นจะออกจากราชการไปแล้ว เว้นแต่ออก จากราชการเพราะตาย ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสาม วรรคสี่ หรือวรรคห้า หรือมาตรา ๑๐๔ วรรคสาม แล้วแต่กรณี มีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณาตามมาตรา ๙๙ และดำเนิน การทางวินัยตามที่บัญญัติในหมวดนี้ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ เว้นแต่กรณี ที่ผลการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยที่จะต้องลงโทษภาคทัณฑ์ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน ก็ให้งดโทษเสียได้ มาตรา ๑๐๗ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย อย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสามวรรคสี่ หรือวรรคห้า แล้วแต่กรณี มีอำนาจสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาได้ แต่ถ้าภายหลังปรากฏผลการสอบสวนพิจารณาว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิด หรือกระทำผิดไม่ถึงกับจะถูกลงโทษปลดออก หรือไล่ออก และไม่มีกรณีที่จะต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่นก็ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิม หรือตำแหน่งในระดับเดียวกันที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๑๐๔ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม เมื่อได้มีการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดพักราชการหรือออกจากราชการ ไว้ก่อนตามวรรคหนึ่งแล้ว ภายหลังปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ในกรณีอื่นอีกผู้มีอำนาจตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสาม วรรคสี่ หรือวรรคห้า หรือมาตรา ๑๐๔ วรรค สามแล้วแต่กรณี มีอำนาจดำเนินการสืบสวน หรือพิจารณาตามมาตรา ๙๙ และแต่งตั้งคณะ กรรมการสอบสวนตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสอง ตลอดจนดำเนินการทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ใน หมวดนี้ต่อไปได้ ในกรณีที่สั่งให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนกลับเข้ารับราชการ หรือสั่งให้ ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนออกจากราชการด้วยเหตุอื่นที่มิใช่เป็นการลงโทษเพราะกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ก็ให้ผู้นั้นมีสถานภาพเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตลอดระยะเวลาระหว่างที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน เสมือนว่าผู้นั้นเป็นผู้ถูกสั่งพักราชการ เงินเดือน เงินอื่นที่จ่ายเป็นรายเดือน และเงินช่วยเหลืออย่างอื่นและการจ่ายเงิน ดังกล่าวของผู้ถูกสั่งพักราชการ และผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น สำหรับผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ถ้าไม่มีกฎหมายหรือระเบียบดังกล่าวให้ถือเสมือนว่าผู้นั้นเป็นผู้ถูกสั่งพักราชการ หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสั่งพักราชการ การสั่งให้ออกจากราชการ ไว้ก่อน ระยะเวลาให้พักราชการและให้ออกจากราชการไว้ก่อน และการดำเนินการเพื่อให้เป็นไป ตามผลการสอบสวนพิจารณาให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๐๘ การลงโทษข้าราชการพลเรือนสามัญในส่วนราชการที่มีกฎหมาย ว่าด้วยวินัยโดยเฉพาะ จะลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้ หรือลงทัณฑ์หรือลงโทษตามกฎหมายว่า ด้วยวินัยนั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามควรแก่กรณีและพฤติการณ์ก็ได้ แต่ถ้าเป็นกรณีกระทำผิดวินัย อย่างร้ายแรงตามพระราชบัญญัตินี้ ก็ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาดำเนินการตามที่กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๐๙ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการทางวินัยตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายว่าด้วยวินัยข้าราชการในส่วนราชการใดโดยเฉพาะ หรือดำเนินการสอบสวนตาม มาตรา ๑๑๔ (๔) หรือมาตรา ๑๑๕ แก่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใด หรือสั่งให้ข้าราชการ พลเรือนสามัญผู้ใดออกจากราชการไปแล้ว ให้รายงานการดำเนินการทางวินัยหรือการสอบสวนหรือการสั่งให้ออกจากราชการต่อผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นตามลำดับจนถึงอธิบดี ในกรณีที่เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญในสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีหรือราชบัณฑิตยสถาน ให้รายงานตามลำดับจนถึงรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ทั้งนี้ ตามระเบียบว่าด้วยการรายงานการดำเนินการทางวินัยที่ ก.พ. วางไว้ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาที่ได้รับรายงานตามวรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจตาม มาตรา ๑๐๓ และมีตำแหน่งเหนือผู้ดำเนินการทางวินัยเห็นว่าการยุติเรื่องการงดโทษหรือการลง โทษที่มิใช่เป็นการลงโทษหรือลงทัณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยข้าราชการในส่วนราชการใดโดย เฉพาะ และมิใช่เป็นการดำเนินการตามมติของ อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรมหรือ อ.ก.พ. จังหวัด เป็นการไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ก็ให้มีอำนาจสั่งลงโทษ เพิ่มโทษเป็นสถานโทษหรืออัตราโทษที่หนักขึ้นลดโทษลงเป็นสถานโทษหรืออัตราโทษที่เบาลง งดโทษโดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือน หรือยกโทษให้ถูกต้องหรือเหมาะสมตามควรแก่กรณีตลอดจนแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในคำสั่งเดิมให้เป็นการถูกต้องเหมาะสมได้ด้วย และในกรณีที่เห็นว่าควรดำเนินการอย่างใดเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาให้ได้ความจริงและยุติธรรม ก็ให้มีอำนาจดำเนินการ หรือสั่งดำเนินการได้ตามควรแก่กรณี ทั้งนี้ การสั่งลงโทษหรือเพิ่มโทษเป็นสถานโทษที่หนักขึ้น ต้องไม่เกินอำนาจของตนตามมาตรา ๑๐๓ และการเพิ่มอัตราโทษเมื่อรวมกับอัตราโทษเดิมต้องไม่เกินอำนาจนั้นด้วย ถ้าเกินอำนาจของตนก็ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นตามลำดับเพื่อให้พิจารณาดำเนินการตามควรแก่กรณี ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษหรือลงทัณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยวินัย ข้าราชการในส่วนราชการใดโดยเฉพาะหรือสั่งยุติเรื่อง งดโทษหรือสั่งลงโทษตามมาตรา ๑๐๓ หรือสั่งให้ออกจากราชการ ซึ่งมิใช่เป็นการดำเนินการตามมติของ อ.ก.พ. จังหวัด ตามมาตรา ๑๐๔ มาตรา ๑๑๔ (๔) มาตรา ๑๑๕ มาตรา ๑๑๖ หรือมาตรา ๑๒๕ แก่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไปแล้ว แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดหรืออธิบดีหรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดที่ได้รับรายงานตามวรรคหนึ่ง เห็นว่ากรณีเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงก็ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรืออธิบดีหรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด แล้วแต่กรณี มีอำนาจดำเนินการตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสาม และมาตรา ๑๐๔ วรรคสอง แต่ถ้าเป็นกรณีที่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสาม แล้ว ก็ให้ดำเนินการตามมาตรา ๑๐๔ วรรคสอง ในกรณีที่อธิบดีที่ได้รับรายงานตามวรรคหนึ่ง มีความเห็นขัดแย้งกับความเห็น ของผู้ว่าราชการจังหวัด หรือความเห็นหรือมติของ อ.ก.พ. จังหวัด ตามมาตรา ๑๐๔ วรรคสอง มาตรา ๑๑๔ (๔) มาตรา ๑๑๕ มาตรา ๑๑๖ หรือมาตรา ๑๒๕ เกี่ยวกับการพิจารณาข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย หรือการอื่นใดตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ว่าจะในทางเป็นโทษหรือเป็นคุณแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใด ก็ให้ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. กระทรวงซึ่งผู้นั้นสังกัดอยู่พิจารณา เมื่อ อ.ก.พ. กระทรวงมีมติเป็นประการใด ให้อธิบดีหรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด แล้วแต่กรณี สั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น และในกรณีที่จะต้องสั่งให้ผู้ซึ่งออกจากราชการไปแล้วกลับเข้ารับราชการตามมติของ อ.ก.พ. กระทรวง ก็ให้นำมาตรา ๑๐๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม เมื่อได้มีคำสั่งเพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ ถ้าเพิ่มโทษเป็นสถานโทษ ที่หนักขึ้นหรือลดโทษเป็นสถานโทษที่เบาลง หรืองดโทษหรือยกโทษ คำสั่งลงโทษเดิมให้เป็นอัน ยกเลิก ถ้าลดโทษเป็นอัตราโทษที่เบาลง อัตราโทษส่วนที่เกินก็ให้เป็นอันยกเลิก ในกรณีที่คำสั่ง ลงโทษตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือนเป็นอันยกเลิก หรืออัตราโทษส่วนที่เกินเป็นอันยกเลิก ให้คืนเงินเดือนที่ได้ตัดหรือลดไปแล้วตามคำสั่งที่เป็นอันยกเลิก หรืออัตราโทษส่วนเกินที่เป็นอันยกเลิกนั้นให้แก่ผู้ถูกลงโทษ แต่ถ้าคำสั่งที่เป็นอันยกเลิกเป็นคำสั่งลงโทษหรือลงทัณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยข้าราชการในส่วนราชการใดโดยเฉพาะ และผู้ถูกสั่งลงโทษหรือลงทัณฑ์ได้รับโทษหรือทัณฑ์นั้นไปแล้ว ก็ให้เป็นอันพับไป เมื่ออธิบดีได้ดำเนินการทางวินัย หรือได้รับรายงานตามวรรคหนึ่งและได้ พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่แล้ว ให้รายงานไปยัง อ.ก.พ. กระทรวง ซึ่งผู้ถูกดำเนินการ ทางวินัยสังกัดอยู่เพื่อพิจารณา ทั้งนี้ ตามกรณีที่กำหนดในระเบียบว่าด้วยการรายงานการดำเนิน การทางวินัยที่ ก.พ. วางไว้ ในกรณีที่ อ.ก.พ. กระทรวงที่ได้รับรายงานตามวรรคหก เห็นว่าการดำเนินการ ทางวินัยเป็นการไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม และมีมติเป็นประการใด ให้อธิบดีสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น มาตรา ๑๑๐ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการทางวินัย หรือสั่งให้ข้าราชการ พลเรือนสามัญออกจากราชการในเรื่องใดไปแล้ว ถ้า ก.พ. พิจารณาเห็นเป็นการสมควรที่จะต้อง สอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์แห่งความเป็นธรรม หรือเพื่อประโยชน์ในการ ควบคุมดูแลให้กระทรวง ทบวง กรมปฏิบัติการตามหมวด ๔ และหมวดนี้โดยถูกต้องและเหมาะสมตามความเป็นธรรม ก็ให้ ก.พ. มีอำนาจสอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมในเรื่องนั้นได้ตามความจำเป็น โดยจะสอบสวนเองหรือตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญหรือคณะกรรมการสอบสวน ให้สอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมแทนก็ได้ หรือกำหนดประเด็นหรือข้อสำคัญที่ต้องการทราบส่งไปเพื่อให้คณะกรรมการสอบสวนที่ผู้บังคับบัญชาได้แต่งตั้งไว้เดิมทำการสอบสวนเพิ่มเติมได้ด้วย ในกรณีที่ ก.พ. ตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญเพื่อทำหน้าที่พิจารณาเรื่องการดำเนินการ ทางวินัยหรือการออกจากราชการแทน ก.พ. ก็ให้ อ.ก.พ. วิสามัญนั้นมีอำนาจสอบสวนใหม่หรือ สอบสวนเพิ่มเติมโดยจะสอบสวนเองหรือแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้สอบสวนใหม่หรือ สอบสวนเพิ่มเติมแทนก็ได้ และมีอำนาจกำหนดประเด็นหรือข้อสำคัญที่ต้องการทราบส่งไปเพื่อให้ คณะกรรมการสอบสวนที่ผู้บังคับบัญชาได้แต่งตั้งไว้เดิมทำการสอบสวนเพิ่มเติมได้ด้วย ในการสอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติม ถ้า ก.พ. หรือ อ.ก.พ. วิสามัญ พิจารณาเห็นเป็นการสมควรส่งประเด็นหรือข้อสำคัญใดที่ต้องการทราบไปสอบสวนพยานหลักฐานซึ่งอยู่ต่างท้องที่ ก็ให้ ก.พ. และ อ.ก.พ. วิสามัญมีอำนาจกำหนดประเด็นหรือข้อสำคัญนั้นส่งไปเพื่อให้หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานในท้องที่นั้นทำการสอบสวนแทนได้ ในกรณีที่ ก.พ. หรือ อ.ก.พ. วิสามัญ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้สอบสวน ใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติม หรือส่งประเด็นหรือข้อสำคัญไปเพื่อให้คณะกรรมการสอบสวน หรือ หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานดำเนินการตามวรรคหนึ่ง วรรคสองและวรรคสามในเรื่องเกี่ยวกับกรณีกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสอง ให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณาตามมาตรา ๑๐๒ วรรคเจ็ด มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในการดำเนินการตามมาตรานี้ ให้นำมาตรา ๑๐๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย มาตรา ๑๑๑ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งโอนมาจากพนักงานเทศบาล พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือข้าราชการตามมาตรา ๖๑ ผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยอยู่ก่อนวันโอนมา บรรจุ ให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นดำเนินการทางวินัยตามหมวดนี้โดย อนุโลม แต่ถ้าเป็นเรื่องที่อยู่ในระหว่างการสืบสวนหรือสอบสวนของทางผู้บังคับบัญชาเดิม ก่อนวันโอน ก็ให้สืบสวนหรือสอบสวนต่อไปจนเสร็จ แล้วส่งเรื่องไปให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นพิจารณาดำเนินการต่อไปตามหมวดนี้โดยอนุโลม และในกรณีที่จะต้องสั่งลงโทษทางวินัย ให้ปรับบทความผิดและลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบพนักงานเทศบาล พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือข้าราชการนั้นโดยอนุโลม หมวด ๖ การออกจากราชการ มาตรา ๑๑๒ ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการเมื่อ (๑) ตาย (๒) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๓) ลาออกจากราชการและได้รับอนุญาตให้ลาออกหรือการลาออกมีผล ตามมาตรา ๑๑๓ (๔) ถูกสั่งให้ออกตามมาตรา ๕๔ มาตรา ๖๗ มาตรา ๑๐๗ มาตรา ๑๑๔ มาตรา ๑๑๕ มาตรา ๑๑๖ มาตรา ๑๑๗ มาตรา ๑๑๘ หรือมาตรา ๑๒๓ หรือ (๕) ถูกสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก วันออกจากราชการตาม (๔) และ (๕) ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. วางไว้ การต่อเวลาราชการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ต้องออกจากราชการตาม (๒) รับราชการต่อไป จะกระทำมิได้ มาตรา ๑๑๓ นอกจากกรณีตามวรรคสี่ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์ จะลาออกจากราชการ ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตาม มาตรา ๕๒ เป็นผู้พิจารณาอนุญาต ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ พิจารณาเห็นว่าจำเป็นเพื่อ ประโยชน์แก่ราชการจะยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกินเก้าสิบวันนับตั้งแต่วันขอลา ออกก็ได้ แต่ต้องแจ้งการยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกพร้อมทั้งเหตุผลให้ผู้ขอลาออกทราบ และเมื่อครบกำหนดเวลาที่ยับยั้งแล้วให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันถัดจากวันครบกำหนดเวลาที่ยับยั้ง ถ้าผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ไม่ได้อนุญาตให้ลาออกตามวรรคหนึ่ง และไม่ได้ยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกตามวรรคสอง ให้การลาออกนั้นมีผลตั้งแต่วันขอลาออก ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการเพื่อดำรง ตำแหน่งทางการเมือง หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือ ผู้บริหารท้องถิ่น ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชา และให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ ผู้นั้นขอลาออก หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการลาออก การพิจารณาอนุญาตให้ลาออกและ การยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสี่ให้เป็นไปตาม ระเบียบที่ ก.พ. วางไว้ มาตรา ๑๑๔ ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการ พลเรือนสามัญออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการได้ในกรณีที่กฎหมายดังกล่าวบัญญัติให้ผู้ถูกสั่งให้ออกมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญแต่ในการสั่งให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุรับราชการนานจะต้องมีกรณีตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ด้วย และการสั่งให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน นอกจากให้ทำได้ในกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตราอื่นแห่งพระราชบัญญัตินี้และกรณีที่กฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการบัญญัติให้ผู้ถูกสั่งให้ออกมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนแล้ว ให้ทำได้ในกรณีต่อไปนี้ด้วย คือ (๑) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของ ตนได้โดยสม่ำเสมอ ถ้าผู้มีอำนาจดังกล่าวเห็นสมควรให้ออกจากราชการแล้ว ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้ (๒) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดสมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความ ประสงค์ของทางราชการ ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ (๓) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๓๐ (๑) (๔) (๕) (๘) หรือ (๙) ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ (๔) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาหรือมีเหตุอันควรสงสัย ว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๓๐ (๓) และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ เห็นว่า กรณีมีมูล ก็ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยไม่ชักช้า และให้นำมาตรา ๑๑๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่ อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด มีมติว่าผู้นั้นเป็นผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๓๐ (๓) ก็ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจาก ราชการ (๕) เมื่อทางราชการเลิกหรือยุบตำแหน่งใด ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งนั้นออกจากราชการได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด (๖) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิ ภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการได้ ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๑๕ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาหรือมีเหตุอันควร สงสัยว่าหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการบกพร่องในหน้าที่ราชการหรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ เห็นว่ากรณีมีมูล ถ้าให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป จะเป็นการเสียหายแก่ราชการ ก็ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยไม่ชักช้า ในการสอบสวนนี้จะต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ โดยจะระบุหรือไม่ระบุชื่อพยานก็ได้และต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ด้วย ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๑๐๒ วรรคสี่ วรรคห้า และวรรคแปด มาตรา ๑๐๔ วรรคสองและมาตรา ๑๐๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่ อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัดมีมติให้ผู้นั้นออกจากราชการ ก็ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนผู้ถูกกล่าว หาตามมาตรา ๑๐๒ ในเรื่องที่จะต้องสอบสวนตามวรรคหนึ่งและคณะกรรมการสอบสวนตาม มาตรา ๑๐๒ ได้สอบสวนไว้แล้ว ผู้มีอำนาจตามวรรคหนึ่งจะใช้สำนวนการสอบสวนนั้นพิจารณา ดำเนินการโดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามวรรคหนึ่งก็ได้ หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณา ให้เป็นไปตามที่กำหนด ในกฎ ก.พ. ในกรณีที่เป็นกรณีที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. จะดำเนินการตาม วรรคหนึ่งโดยไม่สอบสวนก็ได้ มาตรา ๑๑๖ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีกรณีถูกแต่งตั้งคณะกรรมการ สอบสวนตามมาตรา ๑๐๒ และคณะกรรมการสอบสวนหรือผู้มีอำนาจตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสาม วรรคสี่ หรือวรรคห้า หรือมาตรา ๑๐๙ วรรคสาม แล้วแต่กรณี เห็นว่ากรณีมีเหตุอันควรสงสัย อย่างยิ่งว่าผู้นั้นได้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่การสอบสวนไม่ได้ความแน่ชัดพอที่จะฟังลงโทษ ตามมาตรา ๑๐๔ วรรคหนึ่ง ถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ ก็ให้ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. จังหวัด แล้วแต่กรณี พิจารณาให้ออกจากราชการ ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๑๐๔ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลมในกรณีที่ อ.ก.พ. ดังกล่าวมีมติให้ผู้นั้นออกจากราชการเพราะมีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวน ก็ให้ผู้มีอำนาจดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา ๑๑๗ เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดต้องรับโทษจำคุกโดยคำสั่งของ ศาล หรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออก หรือไล่ออก ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ จะสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการก็ได้ มาตรา ๑๑๘ เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไปรับราชการทหารตาม กฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ สั่งให้ผู้นั้นออกจาก ราชการ ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคหนึ่ง และต่อมาปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีที่ จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตราอื่นอยู่ก่อนไปรับราชการทหาร ก็ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ ตามมาตรา ๕๒ มีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ออกตามวรรคหนึ่ง เป็นให้ออกจากราชการตาม มาตราอื่นนั้นได้ มาตรา ๑๑๙ ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๒ ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตาม หมวดนี้ หรือตามมาตรา ๕๔ หรือมาตรา ๖๗ ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๕๒ ระดับเหนือขึ้นไปมีอำนาจดำเนินการตามหมวดนี้ หรือตามมาตรา ๕๔ หรือมาตรา ๖๗ แล้วแต่กรณีได้ มาตรา ๑๒๐ การออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งตั้งแต่ ระดับ ๑๐ ขึ้นไป ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่งนับแต่วันออกจากราชการ มาตรา ๑๒๑ ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัด อธิบดี หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดที่ได้รับ รายงานตามมาตรา ๑๐๙ วรรคหนึ่ง เห็นว่าสมควรให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดออกจาก ราชการตามมาตรา ๑๑๔ (๔) หรือมาตรา ๑๑๕ ก็ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรืออธิบดี หรือรัฐมนตรี เจ้าสังกัด แล้วแต่กรณี ดำเนินการตามมาตรา ๑๑๔ (๔) หรือมาตรา ๑๑๕ แต่ถ้าเป็นกรณีที่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตราดังกล่าวหรือมาตรา ๑๐๒ แล้ว ก็ให้ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. จังหวัด อ.ก.พ. กรมหรือ อ.ก.พ. กระทรวง แล้วแต่กรณี พิจารณา ในกรณีที่อธิบดีที่ได้รับรายงานตามมาตรา ๑๐๙ วรรคหนึ่งมีความเห็นขัดแย้ง กับความเห็นของผู้ว่าราชการจังหวัด หรือความเห็นหรือมติของ อ.ก.พ. จังหวัดตามมาตรา ๑๐๔ วรรคสอง มาตรา ๑๐๙ วรรคสาม มาตรา ๑๑๔ (๔) มาตรา ๑๑๕ มาตรา ๑๑๖ หรือมาตรา ๑๒๕ โดยเห็นสมควรให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดออกจากราชการตามหมวดนี้ หรือตามมาตรา ๕๔ หรือมาตรา ๖๗ หรือเห็นสมควรให้ยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใด ออกจากราชการตามหมวดนี้ หรือมาตรา ๕๔ หรือมาตรา ๖๗ หรือเห็นสมควรให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการผู้ใดกลับเข้ารับราชการ ก็ให้ดำเนินการตามมาตรา ๑๐๙ วรรคสี่ โดยอนุโลม ในกรณีที่จะต้องสั่งให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการกลับเข้ารับราชการให้นำ มาตรา ๑๐๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม เมื่ออธิบดีได้สั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการหรือดำเนินการ ตามมาตรา ๑๑๔ (๔) หรือมาตรา ๑๑๕ หรือได้รับรายงานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวตามมาตรา ๑๐๙ วรรคหนึ่งและได้พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่แล้ว ให้รายงานไปยัง อ.ก.พ. กระทรวง ซึ่ง ผู้ถูกดำเนินการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการสังกัดอยู่เพื่อพิจารณา ทั้งนี้ ตามกรณีที่กำหนดใน ระเบียบว่าด้วยการรายงานเกี่ยวกับการดำเนินการให้ออกจากราชการที่ ก.พ. วางไว้ และให้นำ มาตรา ๑๐๙ วรรคเจ็ด มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๒๒ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการทางวินัยหรือสั่งให้ข้าราชการ พลเรือนสามัญออกจากราชการในเรื่องใดไปแล้ว ถ้า ก.พ. พิจารณาเห็นเป็นการสมควรที่จะต้อง สอบสวนใหม่ หรือสอบสวนเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์แห่งความเป็นธรรม หรือเพื่อประโยชน์ในการ ควบคุมดูแลให้กระทรวง ทบวง กรมปฏิบัติการตามหมวดนี้ หรือตามมาตรา ๕๔ หรือมาตรา ๖๗ โดยถูกต้องและเหมาะสมตามความเป็นธรรม ก็ให้ ก.พ. มีอำนาจสอบสวนใหม่ หรือสอบสวนเพิ่ม เติมในเรื่องนั้นได้ตามความจำเป็น และให้นำมาตรา ๑๑๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่ ก.พ. หรือ อ.ก.พ. วิสามัญแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้สอบสวน ใหม่ หรือสอบสวนเพิ่มเติม หรือส่งประเด็นหรือข้อสำคัญไปเพื่อให้คณะกรรมการสอบสวนที่ผู้บังคับบัญชาได้แต่งตั้งไว้เดิมทำการสอบสวนเพิ่มเติม หรือเพื่อให้หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานในต่างท้องที่ทำการสอบสวนแทนในเรื่องเกี่ยวกับกรณีตามมาตรา ๑๑๔ (๔) หรือมาตรา ๑๑๕ ให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณาตามมาตรา ๑๑๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๒๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งโอนมาจากพนักงานเทศบาล พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือข้าราชการตามมาตรา ๖๑ ผู้ใดมีกรณีที่สมควรให้ออกจากงานหรือออก จากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบพนักงานเทศบาล พนักงานส่วนท้องถิ่นหรือข้าราชการนั้น อยู่ก่อนวันโอนมาบรรจุ ให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นมีอำนาจพิจารณา ดำเนินการตามหมวดนี้ หรือตามมาตรา ๖๗ ได้โดยอนุโลม แต่ถ้าเป็นเรื่องที่อยู่ในระหว่างการ สืบสวนหรือสอบสวนของทางผู้บังคับบัญชาเดิมก่อนวันโอนก็ให้สืบสวนหรือสอบสวนต่อไป จนเสร็จ แล้วส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นพิจารณาดำเนินการต่อไปตามหมวดนี้ หรือตามมาตรา ๖๗ แล้วแต่กรณีโดยอนุโลมและในกรณีที่จะต้องสั่งให้ออกจากราชการ ให้ปรับบทกรณีให้ออกตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบพนักงานเทศบาล พนักงานส่วนท้องถิ่นหรือข้าราชการนั้นโดยอนุโลม หมวด ๗ การอุทธรณ์ มาตรา ๑๒๔ ผู้ใดถูกสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ได้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ มาตรา ๑๒๕ การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงิน เดือน ให้อุทธรณ์ได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่งโดยให้อุทธรณ์ดังนี้ (๑) การอุทธรณ์คำสั่งของผู้บังคับบัญชาในราชการบริหารส่วนภูมิภาคที่ต่ำกว่า ผู้ว่าราชการจังหวัด ให้อุทธรณ์ต่อ อ.ก.พ. จังหวัดและให้ อ.ก.พ. จังหวัดเป็นผู้พิจารณาอุทธรณ์ เมื่อ อ.ก.พ. จังหวัดมีมติเป็นประการใด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น (๒) การอุทธรณ์คำสั่งของผู้บังคับบัญชาในราชการบริหารส่วนกลางที่ต่ำกว่า อธิบดีให้อุทธรณ์ต่อ อ.ก.พ. กรม และให้ อ.ก.พ. กรมเป็นผู้พิจารณาอุทธรณ์ เมื่อ อ.ก.พ. กรมมีมติเป็นประการใด ให้อธิบดีสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น (๓) การอุทธรณ์คำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด หรืออธิบดี ให้อุทธรณ์ต่อ อ.ก.พ. กระทรวงเจ้าสังกัด และให้ อ.ก.พ. กระทรวงเป็นผู้พิจารณา เมื่อ อ.ก.พ. กระทรวงมีมติเป็นประการใด ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น (๔) การอุทธรณ์คำสั่งของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือปลัดกระทรวง หรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีหรือตามมติของ อ.ก.พ. กระทรวง ให้อุทธรณ์ต่อ ก.พ. และให้นำมาตรา ๑๒๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. มาตรา ๑๒๖ การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออกให้อุทธรณ์ต่อ ก.พ. ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง เมื่อ ก.พ. ได้พิจารณาวินิจฉัยแล้ว ให้รายงานนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่เห็นด้วยกับมติของ ก.พ. และ ก.พ. พิจารณาความเห็นของนายกรัฐมนตรีแล้วยังยืนยันตามมติเดิม ให้ ก.พ. รายงานต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาวินิจฉัย การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีสั่งการหรือคณะรัฐมนตรีมีมติตามวรรคหนึ่ง ให้ ผู้อุทธรณ์กลับเข้ารับราชการ หรือให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งของผู้บังคับบัญชาหรือให้ดำเนินการประการใด ให้กระทรวง ทบวง กรมดำเนินการให้เป็นไปตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีหรือมติคณะรัฐมนตรี และเมื่อนายกรัฐมนตรีสั่งการหรือคณะรัฐมนตรีมีมติตามวรรคหนึ่งเป็นประการใดแล้วจะอุทธรณ์ต่อไปอีกมิได้ ในกรณีที่สั่งให้ผู้อุทธรณ์กลับเข้ารับราชการ ให้นำมาตรา ๑๐๗ มาใช้บังคับโดย อนุโลม มาตรา ๑๒๗ ในการพิจารณาอุทธรณ์ ให้ ก.พ. มีอำนาจตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ๑๑๐ และมาตรา ๑๒๒ และในกรณีที่ ก.พ. ตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญเพื่อทำหน้าที่พิจารณาเรื่องการอุทธรณ์แทน ก.พ. ก็ให้ อ.ก.พ. วิสามัญนั้นมีอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๑๐ วรรคสองและวรรคสาม และมาตรา ๑๒๒ และให้นำมาตรา ๑๐๕ มาตรา ๑๑๐ วรรคสี่ และมาตรา ๑๒๒ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๒๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งโอนมาจากพนักงานเทศบาล พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือข้าราชการตามมาตรา ๖๑ ผู้ใดถูกสั่งลงโทษทางวินัยอยู่ก่อนวันโอนมา บรรจุและผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบพนักงานเทศบาล ระเบียบพนักงาน ส่วนท้องถิ่น หรือระเบียบข้าราชการที่โอนมา แต่ยังมิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ตามกฎหมายดังกล่าว ก็ให้ ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๒๕ ได้ แต่ถ้าผู้นั้นได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ พนักงานเทศบาลระเบียบพนักงานส่วนท้องถิ่นหรือระเบียบข้าราชการที่โอนมาไว้แล้วและในวันที่ ผู้นั้นได้โอนมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ยังไม่แล้วเสร็จ ก็ให้ส่งเรื่องให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๑๒๕ เป็นผู้พิจารณาอุทธรณ์ หมวด ๘ การร้องทุกข์ มาตรา ๑๒๙ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตาม พระราชบัญญัตินี้ด้วยเหตุใด ๆ ให้ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ได้ การร้องทุกข์ตามวรรคหนึ่งให้ร้องทุกข์ต่อ ก.พ. ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบ คำสั่ง และให้นำมาตรา ๑๒๖ ตลอดจนหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. และมาตรา ๑๒๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๓๐ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๒๙ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดเห็นว่า ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติต่อตนโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติต่อตนให้ถูกต้องตาม กฎหมาย หรือมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาต่อตนในกรณีตามที่ กำหนดในกฎ ก.พ. ผู้นั้นอาจร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชา อ.ก.พ. จังหวัด อ.ก.พ. กรม อ.ก.พ. กระทรวง หรือ ก.พ. แล้วแต่กรณี ตามที่กำหนดไว้ในกฎ ก.พ. เพื่อขอให้แก้ไขหรือแก้ความคับข้องใจได้ ทั้งนี้ เว้นแต่กรณีที่มีสิทธิอุทธรณ์ตามหมวด ๗ ซึ่งต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ตามที่กำหนดไว้ในหมวดนั้น การร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่กำหนดในกฎ ก.พ. ลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ มาตรา ๑๓๑* ภายใต้บังคับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การให้มี อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง และ อ.ก.พ. ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม การกำหนดตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง การบรรจุ การแต่งตั้ง การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ วินัยและการรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ของข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ให้ เป็นไปตามลักษณะ ๑ และลักษณะ ๓ เว้นแต่จะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดไว้เป็นพิเศษ *[มาตรา ๑๓๑ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗] ลักษณะ ๕ ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ มาตรา ๑๓๒ ตำแหน่งเอกอัครราชทูต กงสุลใหญ่ กงสุล และตำแหน่งอื่นที่ต้อง ปฏิบัติหน้าที่ในต่างประเทศตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. อาจแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนสามัญหรือข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษก็ได้ เมื่อมีเหตุผลสมควรในทางการเมือง รัฐมนตรีเจ้าสังกัดจะบรรจุบุคคลซึ่งมี คุณสมบัติทั่วไปหรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๓๐ เข้ารับราชการเป็น ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่งเป็นกรณีพิเศษโดย อนุมัติคณะรัฐมนตรีก็ได้ สำหรับตำแหน่งเอกอัครราชทูตและตำแหน่งเทียบเท่าอธิบดี ให้นำความ กราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง ภายใต้บังคับมาตรา ๓๑ ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษผู้ดำรงตำแหน่งใด จะได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด ให้นำมาตรา ๔๓ มาตรา ๗๒ มาตรา ๗๓ มาตรา ๗๔ และหมวด ๔ แห่ง ลักษณะ ๓ มาใช้บังคับแก่ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษโดยอนุโลม ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษจะโอนไปหรือกลับเข้ารับราชการเป็น ข้าราชการพลเรือนประเภทอื่นมิได้ มาตรา ๑๓๓ ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษออกจากราชการเมื่อ (๑) ตาย (๒) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๓) ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัดให้ลาออก (๔) รัฐมนตรีเจ้าสังกัดมีคำสั่งให้ออกโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี ไม่ว่าจะเป็นการ ออกโดยมีความผิดหรือไม่มีความผิดก็ตาม ในกรณีที่เป็นการออกจากราชการเพราะกระทำผิดวินัย ให้เป็นไปตามลักษณะ ๓ โดยอนุโลม (๕) คณะรัฐมนตรีที่อนุมัติให้แต่งตั้งออกจากตำแหน่งทั้งคณะ หรือรัฐมนตรี เจ้าสังกัดออกจากตำแหน่ง (๖) ขาดคุณสมบัติทั่วไปโดยไม่ได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติ ตามมาตรา ๓๐ การต่อเวลาราชการให้ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษที่ต้องออกจาก ราชการตาม (๒) รับราชการต่อไป จะกระทำมิได้ ให้นำมาตรา ๑๒๐ มาใช้บังคับแก่การออกจากราชการของข้าราชการ ประจำต่างประเทศพิเศษโดยอนุโลม บทเฉพาะกาล มาตรา ๑๓๔ ให้ ก.พ. อ.ก.พ. วิสามัญ และ อ.ก.พ. สามัญ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรง พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือจนกว่าจะได้แต่งตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญ หรืออนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญ แล้วแต่กรณี ตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ไม่เกินหนึ่ง ร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๓๕ ผู้ใดเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ หรือข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการพลเรือน สามัญ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ หรือข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ ตามพระราช บัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี ต่อไป ผู้ใดเป็นข้าราชการพลเรือนวิสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้นั้นเป็น ข้าราชการพลเรือนวิสามัญต่อไป และให้นำมาตรา ๑๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ มาใช้บังคับแก่ผู้นั้น เว้นแต่ข้าราชการพลเรือนวิสามัญผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งที่ ก.พ. พิจารณาเห็นว่าทำหน้าที่อย่างเดียวกับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ หรือข้าราชการ พลเรือนในพระองค์ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ผู้นั้นเป็น ข้าราชการพลเรือนสามัญ หรือข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี โดยให้ได้รับเงินเดือนในอัตราเท่ากับเงินเดือนที่ได้รับอยู่ ทั้งนี้ เฉพาะผู้ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๓๐ (ข) เป็นผู้ได้รับประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาหรือที่กระทรวงศึกษาธิการ เทียบได้ไม่ต่ำกว่าประโยคมัธยมศึกษา และเป็นข้าราชการพลเรือนวิสามัญในตำแหน่งที่ทำหน้าที่ อย่างเดียวกับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญหรือข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ติดต่อกันมา เป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี ผู้ใดเป็นข้าราชการพลเรือนวิสามัญตามวรรคสอง แต่ไม่อยู่ในเกณฑ์ตาม (ข) ให้ ผู้นั้นเป็นข้าราชการพลเรือนวิสามัญไปพลางก่อน เมื่อเข้าเกณฑ์ตาม (ข) ก็ให้เป็นข้าราชการ พลเรือนสามัญ หรือข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี โดยให้ได้รับเงินเดือนในอัตราเท่ากับเงินเดือนที่ได้รับอยู่ มาตรา ๑๓๖ ในระหว่างที่บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนตามพระราช บัญญัตินี้ยังไม่มีผลใช้บังคับ ให้ข้าราชการพลเรือนได้รับเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือน ข้าราชการพลเรือน บัญชี ข. ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๑ มาตรา ๑๓๗ ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกา หรือออกกฎ ก.พ. ข้อบังคับ หรือระเบียบ หรือจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง หรือกำหนดกรณีใดเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำพระราชกฤษฎีกากฎ ก.พ. ข้อบังคับ ระเบียบ มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง หรือกรณีที่กำหนดไว้แล้วซึ่งใช้อยู่เดิมมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๓๘ ข้าราชการพลเรือนผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยหรือกรณีที่สมควรให้ ออกจากราชการอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้บังคับบัญชาตามพระราชบัญญัตินี้มี อำนาจสั่งลงโทษผู้นั้น หรือสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ พลเรือนที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ส่วนการสอบสวน การพิจารณา และการดำเนินการเพื่อลงโทษหรือให้ ออกจากราชการ ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ (๑) กรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งให้สอบสวนโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ใน ขณะนั้นไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และยังสอบสวนไม่เสร็จ ก็ให้สอบสวนตาม กฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะเสร็จ (๒) ในกรณีที่ได้มีการสอบสวนหรือพิจารณาโดยถูกต้องตามกฎหมาย ที่ใช้อยู่ในขณะนั้นเสร็จไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้การสอบสวนหรือพิจารณา แล้วแต่กรณีนั้นเป็นอันใช้ได้ (๓) กรณีที่ได้มีการรายงานหรือส่งเรื่อง หรือนำสำนวนเสนอ หรือส่งให้ อ.ก.พ. กระทรวงพิจารณาโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นและ อ.ก.พ. กระทรวงพิจารณา เรื่องนั้นยังไม่เสร็จ ก็ให้ อ.ก.พ. กระทรวงพิจารณาตามกฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะเสร็จ มาตรา ๑๓๙ ข้าราชการพลเรือนซึ่งโอนมาจากพนักงานเทศบาลพนักงาน ส่วนท้องถิ่นหรือข้าราชการประเภทอื่นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ผู้ใดมีกรณีกระทำผิด วินัยหรือกรณีที่สมควรให้ออกจากงานหรือให้ออกจากราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ พนักงานเทศบาล ระเบียบพนักงานส่วนท้องถิ่น หรือระเบียบข้าราชการนั้นอยู่ก่อนวันที่พระราช บัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้บังคับบัญชาตามพระราชบัญญัตินี้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยแก่ผู้นั้น หรือดำเนินการสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้ ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๑๑๑ และมาตรา ๑๒๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๔๐ ผู้ใดถูกสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ หรือตามมาตรา ๑๓๘ แห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามมาตรา ๑๒๕ หรือมาตรา ๑๒๖ แล้วแต่กรณี มาตรา ๑๔๑ ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๔๖ มาตรา ๕๙ มาตรา ๙๐ มาตรา ๙๖ มาตรา ๙๗ มาตรา ๙๘ มาตรา ๙๙ มาตรา ๑๐๐ หรือมาตรา ๑๒๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ หรือตามมาตรา ๑๓๘ แห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ได้ตามมาตรา ๑๒๙ มาตรา ๑๔๒ การใดอยู่ระหว่างดำเนินการตามพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับการดำเนินการต่อไป สำหรับ การนั้น ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๑๔๓ การใดที่เคยดำเนินการได้ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ พลเรือนที่ใช้อยู่ก่อนวันใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ และมิได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ จะ ดำเนินการได้ประการใด ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนดโดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน* *[บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนและบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่ง ข้าราชการพลเรือน ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๘] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวบางส่วนไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน เช่น ในส่วนที่เกี่ยวกับองค์ประกอบของ ก.พ. และ อ.ก.พ. สามัญอำนาจหน้าที่ของ ก.พ. และ อ.ก.พ. สามัญ การกำหนดตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือน การบรรจุและแต่งตั้ง การบำเหน็จความชอบ วินัยและการรักษาวินัย การออกจากราชการ การร้องทุกข์ การอุทธรณ์ สมควรแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น นอกจากนี้ สมควรที่จะให้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการเพื่อให้การปฏิบัติราชการของข้าราชการพลเรือนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ข้าราชการพลเรือนใน พระองค์และหน่วยงานที่ข้าราชการดังกล่าวสังกัดอยู่มีลักษณะพิเศษเกี่ยวพันกับราชการใน พระองค์โดยใกล้ชิด สมควรกำหนดให้มี อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง และ อ.ก.พ. ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมที่แตกต่างจากข้าราชการพลเรือนสามัญ ทั้งนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะพิเศษของข้าราชการดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ [รก.๒๕๓๗/๖๔ก/๕/๓๑ ธันวาคม ๒๕๓๗] พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๘ มาตรา ๕ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน และบัญชี อัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือนท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ.๒๕๓๕ หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีการแยกบัญชีอัตราเงินเดือนและบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนไปบัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะแล้ว สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการพลเรือนให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ [รก.๒๕๓๘/๑ก/๓๔/๑ มกราคม ๒๕๓๘] ดวงใจ/แก้ไข ๐๕/๐๓/๔๕
665776
พระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม พ.ศ. 2551 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น ของกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม พ.ศ. ๒๕๕๑ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นปีที่ ๖๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม พ.ศ. ๒๕๕๑” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้กรรมการ ก.พ.ค. ได้รับเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มเป็นรายเดือน ตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มของกรรมการ ก.พ.ค. ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ตั้งแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง มาตรา ๔ ให้กรรมการ ก.พ.ค. มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาล หรือการประกันสุขภาพตามที่จ่ายจริงในอัตราเบี้ยประกันคนละไม่เกินสามหมื่นบาทต่อปี ให้นำพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลและระเบียบกระทรวงการคลังซึ่งออกตามความในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาใช้บังคับแก่ค่ารักษาพยาบาลของกรรมการ ก.พ.ค. ตามพระราชกฤษฎีกานี้โดยอนุโลม เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกานี้ คำว่า “การประกันสุขภาพ” ให้หมายถึง การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองทางด้านการเงินเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายต่าง ๆ สำหรับการรักษาตัวในสถานพยาบาลหรือคลินิก หรือเข้ารับการผ่าตัดโดยแพทย์ในกรณีเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ มาตรา ๕ ในกรณีที่กรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งขอรับการประกันสุขภาพเป็นผู้ซึ่งได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ให้ได้รับการชดเชยค่ารักษาพยาบาลจากการประกันสุขภาพก่อนและมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลจากทางราชการเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่จากส่วนราชการเจ้าสังกัดที่ผู้นั้นรับเบี้ยหวัดหรือบำนาญอยู่ มาตรา ๖ ให้กรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่น้อยกว่าหนึ่งปีบริบูรณ์ มีสิทธิได้รับบำเหน็จตอบแทนเป็นเงินซึ่งจ่ายครั้งเดียวเมื่อพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) ออกตามวาระ (๒) ลาออก (๓) มีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ ในการคำนวณบำเหน็จตอบแทนนั้น ให้นำอัตราเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชกฤษฎีกาคูณด้วยระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง การนับระยะเวลาดำรงตำแหน่งเพื่อคำนวณบำเหน็จตอบแทนตามวรรคหนึ่งนั้น ให้นับตั้งแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่สิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ โดยให้นับจำนวนปีรวมทั้งเศษของปีด้วย การคำนวณเศษของปีที่เป็นเดือนหรือเป็นวันให้เป็นปีนั้น ให้นำเศษที่เป็นเดือนหารด้วยสิบสอง และเศษที่เป็นวันหารด้วยสามสิบได้ผลลัพธ์เท่าใดจึงหารด้วยสิบสอง ในการคำนวณให้ใช้ทศนิยมสองตำแหน่ง และให้นำจำนวนที่คำนวณได้มารวมกันเป็นระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งซึ่งเป็นจำนวนปี สิทธิในบำเหน็จตอบแทนนั้น เป็นสิทธิเฉพาะตัว จะโอนไม่ได้ มาตรา ๗ ในกรณีที่กรรมการ ก.พ.ค. พ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุถึงแก่ความตาย ไม่ว่าผู้นั้นจะดำรงตำแหน่งครบหนึ่งปีบริบูรณ์หรือไม่ ให้จ่ายบำเหน็จตอบแทนเป็นเงินซึ่งจ่ายครั้งเดียวตามระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง โดยใช้เกณฑ์คำนวณตามมาตรา ๖ วรรคสอง และวรรคสาม โดยอนุโลม ให้แก่ทายาทโดยธรรมซึ่งเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘ ให้กรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอยู่แล้วในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นตามพระราชกฤษฎีกานี้นับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง มาตรา ๙ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑.[๒] บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มของกรรมการ ก.พ.ค. (แก้ไขเพิ่มเติม) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ บัญญัติให้กรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ได้รับเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ พระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔[๓] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มของกรรมการ ก.พ.ค. เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับบัญชีเงินเดือน ค่าจ้าง และค่าตอบแทนรายเดือนของบุคลากรภาครัฐ โดยปรับเพิ่มเงินประจำตำแหน่งในอัตราร้อยละห้า จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปณตภร/ผู้จัดทำ ๕ เมษายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๑๓๘ ก/หน้า ๗๔/๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ [๒] บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มของกรรมการ ก.พ.ค. แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๘๒ ก/หน้า ๑/๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔
657171
พระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น ของกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นปีที่ ๖๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มของกรรมการ ก.พ.ค. ท้ายพระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มของกรรมการ ก.พ.ค. ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้แทน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มของกรรมการ ก.พ.ค. (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มของกรรมการ ก.พ.ค. เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับบัญชีเงินเดือน ค่าจ้าง และค่าตอบแทนรายเดือนของบุคลากรภาครัฐ โดยปรับเพิ่มเงินประจำตำแหน่งในอัตราร้อยละห้า จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๘๒ ก/หน้า ๑/๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔
647147
พระราชกฤษฎีกาการปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2554
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา การปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. ๒๕๕๔[๑] ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นปีที่ ๖๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาการปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. ๒๕๕๔” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญตามบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภทบริหาร บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภทวิชาการ และบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภททั่วไป ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้เป็นไปตามเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงที่กำหนดไว้ในบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญให้เหมาะสมยิ่งขึ้นตามความจำเป็นก็ได้ โดยหากเป็นการปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงเพิ่มไม่เกินร้อยละสิบของเงินเดือนที่ใช้บังคับอยู่ ให้กระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ประกอบกับบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญในปัจจุบันไม่เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น สมควรปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยปรับเพิ่มบางอัตราและปรับเพิ่มเป็นร้อยละที่แตกต่างกันร้อยละห้าถึงร้อยละสิบ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๔ เมษายน ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๔ เมษายน ๒๕๕๔ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๒๒ ก/หน้า ๙/๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔
653996
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์ พ.ศ. 2519 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์ พ.ศ. ๒๕๑๙ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นปีที่ ๓๑ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในพระองค์ และวางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ได้รับเงินเดือนการบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน วินัยและการรักษาวินัย การออกจากราชการ การร้องทุกข์ และการอุทธรณ์ของข้าราชการพลเรือนในพระองค์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กับมาตรา ๒๓ (๒) และมาตรา ๑๐๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์ พ.ศ. ๒๕๑๙” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชกฤษฎีกานี้ คำว่า “อ.ก.พ. สำนัก” หมายความว่า อ.ก.พ. สำนักพระราชวัง หรือ อ.ก.พ. สำนักราชเลขาธิการ แล้วแต่กรณี มาตรา ๔ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ได้แก่ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสังกัดสำนักพระราชวังและสำนักราชเลขาธิการ ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับงานในพระองค์พระมหากษัตริย์ดังต่อไปนี้ คือ เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ หัวหน้าหมวด หัวหน้าแผนก หัวหน้ากอง ผู้อำนวยการกอง ผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง ผู้ช่วยราชเลขาธิการ รองเลขาธิการพระราชวัง รองราชเลขาธิการ เลขาธิการพระราชวัง ราชเลขาธิการ และที่เรียกชื่ออย่างอื่น ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตำแหน่งใดจะเทียบกับตำแหน่งดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ตำแหน่งใด ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในพระองค์จะมีในส่วนราชการใด จำนวนเท่าใด ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด มาตรา ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ให้ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่ง ดังต่อไปนี้ (๑) เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ หรือเทียบเท่า ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ๑ ถึงระดับ ๒ (๒) หัวหน้าหมวด หรือเทียบเท่า ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ๓ (๓) หัวหน้าแผนก หรือเทียบเท่า ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ๔ ถึงระดับ ๕ (๔)[๒] หัวหน้ากองหรือเทียบเท่า ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ๖ ระดับ ๖ ถึงระดับ ๗ หรือระดับ ๗ ตามที่ ก.พ. กำหนด (๕) ผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่า ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ๗ ถึงระดับ ๘ (๖) ผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง ผู้ช่วยราชเลขาธิการ หรือเทียบเท่าให้ได้รับเงินเดือนระดับ ๘ ถึงระดับ ๙ (๗) รองเลขาธิการพระราชวัง รองราชเลขาธิการ หรือเทียบเท่า ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ๙ ถึงระดับ ๑๐ (๘) เลขาธิการพระราชวัง ราชเลขาธิการ ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ๑๐ ถึงระดับ ๑๑ ทั้งนี้ ตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๖ การให้ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งตามมาตรา ๕ ให้เป็นไปตามมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ โดยอนุโลม ในกรณีที่ตำแหน่งใดได้รับเงินเดือนหลายระดับ เมื่อข้าราชการพลเรือนในพระองค์ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของระดับถัดไป ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ ตามมาตรา ๙ มีคำสั่งให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนในระดับถัดไปนั้น มาตรา ๗ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป หรือได้รับการยกเว้น ในกรณีที่ขาดคุณสมบัติ ตามมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ และมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่ อ.ก.พ. สำนักกำหนดตามเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ตำแหน่งเจ้าหน้าที่งานในพระองค์ หรือเทียบเท่าต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถตามที่ อ.ก.พ. สำนักเห็นสมควร (๒) ตำแหน่งหัวหน้าหมวด หรือเทียบเท่า ต้องเป็นผู้ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพเทียบได้ไม่ต่ำกว่าปริญญา ในสาขาวิชาที่ อ.ก.พ. สำนักกำหนด (๓) ตำแหน่งหัวหน้าแผนก หรือเทียบเท่า ต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถตามที่ ก.พ กำหนด มาตรา ๘ การบรรจุบุคคลเข้ารับข้าราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในพระองค์เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่หัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่าลงมา ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่ง ซึ่ง อ.ก.พ. สำนักคัดเลือกตามวิธีการที่ อ.ก.พ. สำนักกำหนด มาตรา ๙ การบรรจุและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในพระองค์ให้ดำรงตำแหน่ง ให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้เป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๑) นายกรัฐมนตรีในตำแหน่งบังคับบัญชาสำนักพระราชวังและสำนักราชเลขาธิการ เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ และนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง สำหรับตำแหน่งตั้งแต่ผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่าขึ้นไป (๒) นายกรัฐมนตรีในตำแหน่งบังคับบัญชาสำนักพระราชวังและสำนักราชเลขาธิการ เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง สำหรับตำแหน่งหัวหน้ากอง หรือเทียบเท่า โดยพระบรมราชานุมัติ (๓) เลขาธิการพระราชวัง หรือราชเลขาธิการ แล้วแต่กรณี เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง สำหรับตำแหน่งตั้งแต่หัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่าลงมา มาตรา ๑๐ ผู้ใดได้รับบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดตามมาตรา ๘ ให้ผู้นั้นทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งนั้นตามมาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชกรพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ โดยอนุโลม เว้นแต่กำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ. สำนักกำหนด มาตรา ๑๑ ให้นำมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ มาใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ โดยอนุโลม เว้นแต่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ให้เป็นอำนาจเลขาธิการพระราชวังหรือราชเลขาธิการ แล้วแต่กรณี มาตรา ๑๒ การเลื่อนข้าราชการพลเรือนในพระองค์ขึ้นเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ที่อยู่ในเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) การเลื่อนขึ้นเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าหมวดหรือเทียบเท่า ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ที่ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่งานในพระองค์หรือเทียบเท่า มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าเจ็ดปี กำหนดเวลาเจ็ดปีให้ลดเป็นสี่ปีสำหรับผู้ได้รับประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ และให้ลดเป็นสองปีสำหรับผู้ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ (๒) การเลื่อนขึ้นเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่า ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ที่ได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าหมวดหรือเทียบเท่า มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี กำหนดเวลาสองปีให้ลดเป็นหนึ่งปีสำหรับผู้ได้รับปริญญาโทหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ (๓) การเลื่อนขึ้นเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองหรือเทียบเท่า ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ที่ได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่า มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่ปี (๔) การเลื่อนขึ้นเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่า ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ที่ได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองหรือเทียบเท่า มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี (๕) การเลื่อนขึ้นเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง ผู้ช่วยเลขาธิการ หรือเทียบเท่า ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ที่ได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากอง หรือเทียบเท่ามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี หรือจากผู้ที่ได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่า มาแล้ว (๖) การเลื่อนขึ้นเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพระราชวัง รองราชเลขาธิการหรือเทียบเท่า ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ที่ได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกอง ผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง ผู้ช่วยราชเลขาธิการ หรือเทียบเท่า แล้วแต่กรณี มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (๗) การเลื่อนขึ้นเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพระราชวัง หรือราชเลขาธิการ ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ที่ได้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพระราชวัง รองราชเลขาธิการหรือเทียบเท่า แล้วแต่กรณี มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี การเลื่อนข้าราชการพลเรือนในพระองค์ขึ้นเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นตาม (๑) (๒) และ (๓) ให้ อ.ก.พ. สำนักเป็นผู้พิจารณา แต่สำหรับ (๓) นั้น จะต้องได้รับพระบรมราชานุมัติ การเลื่อนข้าราชการพลเรือนในพระองค์ขึ้นเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นตาม (๔) (๕) และ (๖) ให้เลขาธิการพระราชวังหรือราชเลขาธิการ แล้วแต่กรณี เป็นผู้พิจารณาและให้นำความกราบบังคมทูล เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุมัติ การเลื่อนข้าราชการพลเรือนในพระองค์เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นตาม (๗) ให้นายกรัฐมนตรีในตำแหน่งบังคับบัญชาสำนักพระราชวังและสำนักราชเลขาธิการนำความกราบบังคมทูล เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุมัติ มาตรา ๑๓ การออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ให้เป็นไปตามลักษณะ ๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ โดยอนุโลม เว้นแต่ (๑) การออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ตำแหน่งตั้งแต่ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไป ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง (๒) ความในมาตรา ๙๔ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ มิให้นำมาใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ มาตรา ๑๔ ในกรณีที่ให้เป็นไปตามลักษณะ ๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ โดยอนุโลมนั้น บรรดาอำนาจหน้าที่ของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๙ มาตรา ๑๕ ให้นำบทบัญญัติในหมวด ๒ ว่าด้วยการบรรจุและการแต่งตั้งหมวด ๓ ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน หมวด ๔ ว่าด้วยวินัยและการรักษาวินัย หมวด ๕ ว่าด้วยการออกจากราชการ และหมวด ๖ ว่าด้วยการร้องทุกข์ ของลักษณะ ๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ มาใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือนพระองค์ โดยอนุโลม เว้นแต่ที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ มาตรา ๑๖ การกำหนดตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือน การบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน วินัยและการรักษาวินัย และการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนในพระองค์ตามพระราชกฤษฎีกานี้ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นพิเศษเฉพาะราย โดยมีนายกรัฐมนตรีในตำแหน่งบังคับบัญชาสำนักพระราชวังและสำนักราชเลขาธิการรับสนองพระบรมราชโองการก็ได้ มาตรา ๑๗ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เพื่อกำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในพระองค์ และเพื่อวางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ได้รับเงินเดือน การบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน วินัยและการรักษาวินัย การออกจากราชการ การร้องทุกข์และการอุทธรณ์ของข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ตามนัยมาตรา ๒๓ (๒) และมาตรา ๑๐๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๓[๓] [๑] ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม ๙๓/ตอนที่ ๒๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙ [๒] มาตรา ๕ (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๓ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๑๑๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๔/๖ กรกฎาคม ๒๕๓๓
614435
พระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ พ.ศ. 2552
พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น ของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๒ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นปีที่ ๖๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๒” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ได้รับเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มเป็นรายเดือน ตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง มาตรา ๔ ให้กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลหรือการประกันสุขภาพตามที่จ่ายจริงในอัตราเบี้ยประกันคนละไม่เกินสามหมื่นบาทต่อปี ให้นำพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลและระเบียบกระทรวงการคลังซึ่งออกตามความในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาใช้บังคับแก่ค่ารักษาพยาบาลของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามพระราชกฤษฎีกานี้ โดยอนุโลม เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกานี้ คำว่า “การประกันสุขภาพ” ให้หมายถึง การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองทางด้านการเงินเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายต่าง ๆ สำหรับการรักษาตัวในสถานพยาบาลหรือคลินิก หรือเข้ารับการผ่าตัดโดยแพทย์ในกรณีเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ มาตรา ๕ ในกรณีที่กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ซึ่งขอรับการประกันสุขภาพเป็นผู้ซึ่งได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ให้ได้รับการชดเชยค่ารักษาพยาบาลจากการประกันสุขภาพก่อน และมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลจากทางราชการเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่จากส่วนราชการเจ้าสังกัดที่ผู้นั้นรับเบี้ยหวัดหรือบำนาญอยู่ มาตรา ๖ ให้กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่น้อยกว่าหนึ่งปีบริบูรณ์ มีสิทธิได้รับบำเหน็จตอบแทนเป็นเงินซึ่งจ่ายครั้งเดียวเมื่อพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) ออกตามวาระ (๒) ลาออก (๓) มีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ ในการคำนวณบำเหน็จตอบแทนนั้น ให้นำอัตราเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชกฤษฎีกานี้คูณด้วยระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง การนับระยะเวลาดำรงตำแหน่งเพื่อคำนวณบำเหน็จตอบแทนตามวรรคหนึ่งนั้นให้นับตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่สิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ โดยให้นับจำนวนปีรวมทั้งเศษของปีด้วย การคำนวณเศษของปีที่เป็นเดือนหรือเป็นวันให้เป็นปีนั้นให้นำเศษที่เป็นเดือนหารด้วยสิบสอง และเศษที่เป็นวันหารด้วยสามสิบได้ผลลัพธ์เท่าใดจึงหารด้วยสิบสอง ในการคำนวณให้ใช้ทศนิยมสองตำแหน่ง และให้นำจำนวนที่คำนวณได้มารวมกันเป็นระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งซึ่งเป็นจำนวนปี สิทธิในบำเหน็จตอบแทนนั้น เป็นสิทธิเฉพาะตัว จะโอนไม่ได้ มาตรา ๗ ในกรณีที่กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์พ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุถึงแก่ความตาย ไม่ว่าผู้นั้นจะดำรงตำแหน่งครบหนึ่งปีบริบูรณ์หรือไม่ ให้จ่ายบำเหน็จตอบแทนเป็นเงินซึ่งจ่ายครั้งเดียวตามระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งโดยใช้เกณฑ์คำนวณตามมาตรา ๖ วรรคสอง และวรรคสาม โดยอนุโลม ให้แก่ทายาทโดยธรรมซึ่งเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ บัญญัติให้กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ได้รับเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ปณตภร/ปรับปรุง ๕ เมษายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๗๐ ก/หน้า ๑๖/๒๓ กันยายน ๒๕๕๒
824273
พระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการ วินิจฉัยร้องทุกข์ พ.ศ. 2561
พระราชกฤษฎีกา เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น ของกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๖๑ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นปีที่ ๓ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๖๑” มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม พ.ศ. ๒๕๕๑ (๒) พระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ (๓) พระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๒ (๔) พระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ มาตรา ๔ ให้กรรมการ ก.พ.ค. กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ได้รับเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มเป็นรายเดือน ตามอัตราในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ตั้งแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหรือวันที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง แล้วแต่กรณี มาตรา ๕ ให้กรรมการ ก.พ.ค. กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาล หรือการประกันสุขภาพตามที่จ่ายจริงในอัตราเบี้ยประกันคนละไม่เกินสามหมื่นบาทต่อปี ให้นำพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลและระเบียบกระทรวงการคลังซึ่งออกตามความในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาใช้บังคับแก่ค่ารักษาพยาบาลของกรรมการ ก.พ.ค. กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ตามพระราชกฤษฎีกานี้ โดยอนุโลม เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกานี้ คำว่า “การประกันสุขภาพ” หมายความว่า การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองทางด้านการเงินเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายต่าง ๆ สำหรับการรักษาตัวในสถานพยาบาลหรือคลินิก หรือเข้ารับการผ่าตัดโดยแพทย์ในกรณีเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ มาตรา ๖ ในกรณีที่กรรมการ ก.พ.ค. กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ซึ่งขอรับการประกันสุขภาพเป็นผู้ซึ่งได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญ ให้ได้รับการชดเชยค่ารักษาพยาบาลจากการประกันสุขภาพก่อนและมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลจากทางราชการเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่จากส่วนราชการเจ้าสังกัดที่ผู้นั้นรับเบี้ยหวัดหรือบำนาญอยู่ มาตรา ๗ ให้กรรมการ ก.พ.ค. กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่น้อยกว่าหนึ่งปีบริบูรณ์ มีสิทธิได้รับบำเหน็จตอบแทนเป็นเงินซึ่งจ่ายครั้งเดียวเมื่อพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) ออกตามวาระ (๒) ลาออก (๓) มีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ ในการคำนวณบำเหน็จตอบแทนนั้น ให้นำอัตราเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกานี้คูณด้วยระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง การนับระยะเวลาดำรงตำแหน่งเพื่อคำนวณบำเหน็จตอบแทนตามวรรคหนึ่งนั้น ให้นับตั้งแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหรือวันที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่สิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ โดยให้นับจำนวนปีรวมทั้งเศษของปีด้วย การคำนวณเศษของปีที่เป็นเดือนหรือเป็นวันให้เป็นปีนั้น ให้นำเศษที่เป็นเดือนหารด้วยสิบสอง และเศษที่เป็นวันหารด้วยสามสิบ ได้ผลลัพธ์เท่าใดจึงหารด้วยสิบสอง ในการคำนวณให้ใช้ทศนิยมสองตำแหน่ง และให้นำจำนวนที่คำนวณได้มารวมกันเป็นระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งซึ่งเป็นจำนวนปี สิทธิในบำเหน็จตอบแทนนั้น เป็นสิทธิเฉพาะตัว จะโอนไม่ได้ มาตรา ๘ ในกรณีที่กรรมการ ก.พ.ค. กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ พ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุถึงแก่ความตาย ไม่ว่าผู้นั้นจะดำรงตำแหน่งครบหนึ่งปีบริบูรณ์หรือไม่ให้จ่ายบำเหน็จตอบแทนเป็นเงินซึ่งจ่ายครั้งเดียวตามระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง โดยใช้เกณฑ์คำนวณตามมาตรา ๗ วรรคสองและวรรคสาม โดยอนุโลม ให้แก่ทายาทโดยธรรมซึ่งเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๙ ให้กรรมการ ก.พ.ค. กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ จนถึงวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับมีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มตามอัตราในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ โดยให้รับเพิ่มขึ้นเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่ ให้นำอัตราเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ มาใช้บังคับแก่การคำนวณบำเหน็จตอบแทนตามพระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม พ.ศ. ๒๕๕๑ หรือพระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๒ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่ผู้ดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่งพ้นจากตำแหน่ง แล้วแต่กรณี มาตรา ๑๐ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่ม ของกรรมการ ก.พ.ค. กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ตำแหน่ง เงินประจำตำแหน่ง (บาท/เดือน) เงินเพิ่ม (บาท/เดือน) ประธานกรรมการ ก.พ.ค. ๘๐,๕๔๐ ๔๒,๕๐๐ กรรมการ ก.พ.ค. ๗๖,๘๐๐ ๔๑,๕๐๐ กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ ๗๔,๓๒๐ ๓๐,๐๐๐ กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ๗๔,๓๒๐ ๓๐,๐๐๐ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มของกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับบัญชีเงินเดือน ค่าจ้าง และค่าตอบแทนรายเดือนของบุคลากรภาครัฐ และเหมาะสมกับภาวะทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งเพื่อให้เกิดความสะดวกในการบังคับใช้กฎหมาย สมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ โดยกำหนดรวมไว้เป็นฉบับเดียวกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ ชญานิศ/จัดทำ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๑๑๒ ก/หน้า ๑๑๒/๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๑